ชีวประวัติบาบาอับดุลมาลิก เริงสมุทร์ อินชาอัลลอฮ-ไปตามประสงค์ของอัลลอฮ
1
ชีวประวัติบาบาอับดุลมาลิก เริงสมุทร์ อินชาอัลลอฮ-ไปตามประสงค์ของอัลลอฮ
หนังสือชีวประวัติ บาบา อับดุลมาลิก เริงสมุทร์
อินชาอัลลอฮ... ไปตามประสงค์ของอัลลอฮ
เขียนโดย ณรรธราวุธ เมืองสุข
2
ชีวประวัติบาบาอับดุลมาลิก เริงสมุทร์ อินชาอัลลอฮ-ไปตามประสงค์ของอัลลอฮ
หนังสือชีวประวัติ บาบา อับดุลมาลิก เริงสมุทร์ อินชาอัลลอฮ...ไปตามประสงค์ของอัลลอฮ
ผู้จัดพิมพ์ มูลนิธิประทีปธรรมเพื่อการศึกษาเพื่อการศึกษา อ.อ่าวลึก จ.กระบี่ 81110 โทรศัพท์. 0-75-685-050 โทรสาร. 0-75-685-050 E-mail: prateepthamschool@gmail.com Website: prateeptham.wordpress.com Facebook: facebook.com/prateeptham ผู้เขียน ณรรธราวุธ เมืองสุข บรรณาธิการ ซากี เริงสมุทร์ บรรณาธิการผู้ช่วย วิทยา เริงสมุทร์ รูปเล่มและปก ดุรรี ยะก๊บ พิมพ์ที่ อาร์ตออฟซุนวู ปีที่พิมพ์ มีนาคม 2556
ราคา 100 บาท
3
ชีวประวัติบาบาอับดุลมาลิก เริงสมุทร์ อินชาอัลลอฮ-ไปตามประสงค์ของอัลลอฮ
คํานํา แรกทีเดียวที่ข้าพเจ้าได้รับการบอกเล่าเรื่องราวจาก ปรีชา (ซากี) เริงสมุทร์ บุตรชายคนแรกของ โต๊ะครูฮัจยี อับดุลมาลิก (ดํารงค์ เริงสมุทร์) เกี่ยวกับบิดาของเขาที่ปัจจุบัน ทรงสถานะบาบอผู้มากด้วยภูมิปัญญา เป็นโต๊ะครูผู้มากด้วยภูมิรู้ทางศาสนา เป็นผู้เฒ่าที่มากด้วย เรื่องเล่าอันมากล้นประสบการณ์ และเขายังเล่าให้ทราบความเป็นไปอย่างเล็กน้อยเกี่ยวกับการ ทุ่มเทแรงกาย แรงใจ แรงทรัพย์และแรงปัญญาก่อตั้งโรงเรียนปอเนาะขึ้น ข้าพเจ้าได้ยินแล้วเกิด ความสนอกสนใจอย่างมาก และรับปากที่จะลงมือเขียนหนังสือเล่มนี้ขึ้น มิใช่เพียงเพราะข้าพเจ้า ใช้ชีวิตทํางานอยู่ในแวดวงสื่อมวลชน และมิใช่เพราะข้าพเจ้าเป็นนักเขียนที่แสวงหาวัตถุดิบเพื่อ สร้างงานอันต่อเนื่องของตนเอง แต่เพราะข้าพเจ้ามีชีวิตและการงานในช่วงเจริญวัยทางวุฒิปัญญา อยู่ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งเป็นพื้นที่อันมีประชากรส่วนใหญ่เป็นมุสลิม และช่วงเวลา แห่งความรุนแรงที่เกิดขึ้นในดินแดนดังกล่าว ข้าพเจ้าได้พานพบกับบาบอหรือโต๊ะครูเป็นจํานวน มากที่ล้วนแล้วแต่มีส่วนร่วมในการแสวงหาหนทางแห่งสันติ แม้ยากลําบากเหลือเกินเมื่อต้องต่อสู้ ด้วยสองมือเปล่ากับกลุ่มบุคคลผู้ตีความศาสนาไปในทิศทางที่ตรงกันข้ามหรือเบี่ยงเบนไปจาก หนทางแห่งอิสลาม(สันติภาพ) แต่ข้าพเจ้าก็ไม่เคยพานพบว่าโต๊ะครูหรือบาบอเหล่านี้จะหวาดกลัว หรือหมดสิ้นกําลังใจ เพราะเขาเชื่อมั่นด้วยศรัทธาในเอกองค์อัลลอฮ และในความหลากจํานวน ดังกล่าว ข้าพเจ้าพบว่าแต่ละท่านล้วนมีความเป็นมาน่าสนใจ หาใช่เพียงเพราะศาสนาอิสลาม รองรับสถานะดังกล่าวของผู้รู้หรือผู้เสียสละแต่เพียงถ่ายเดียว แต่ข้าพเจ้าคิดว่ากว่ามนุษย์ผู้หนึ่ง จะก้าวมาถึงจุดที่ผู้คนยอมรับในตัวตนและวุฒิปัญญาไม่ใช่เรื่องง่าย ซึ่งสังคมประเทศไทยทั้งมุสลิม และศาสนิกอื่นควรแก่การศึกษาเพื่อทําความเข้าใจวิถีแห่งมุสลิมที่แท้อย่างยิ่ง และควรนําไปลด อคติเดิมของบางคนที่เข้าใจว่าอิสลามคือศาสนาแห่งสงคราม -แห่งความรุนแรง
4
ชีวประวัติบาบาอับดุลมาลิก เริงสมุทร์ อินชาอัลลอฮ-ไปตามประสงค์ของอัลลอฮ
กล่าวในที่นี้ว่าข้าพเจ้ามิใช่มุสลิม แม้จะมีถิ่นฐานบ้านเกิดอยู่ห่างบ้านท่านโต๊ะครูอับดุลมา ลิกเพียงไม่กี่สิบกิ โลเมตร ขวบชี วิตที่ผ่านเลยเพิ่งมีโอกาสสัมผัส ชี วิตคนมุ ส ลิ มเมื่อทศวรรษนี้ ความรู้ทางศาสนาที่ศึกษามาเพื่อทําความเข้าใจอยู่ในระดับที่ว่าน้อยนิดยิ่ง แต่ข้าพเจ้าก็มั่นใจว่า หามีโองการใดในอัลกุรอาน ห้ามผู้ไม่ใช่มุสลิมเอ่ยพระนามของอัลลอฮและร่อซู้ลของพระองค์ ใน แง่มุมความเคารพยําเกรง และข้าพเจ้าก็มั่นใจอย่างยิ่งว่าผู้มิใช่มุสลิมก็สามารถพูดถึงหลักการแห่ง ศาสนาในแง่มุมของความชื่นชมยินดีได้เช่นกัน หลังการพูดคุยสัมภาษณ์ท่านโต๊ะครูฮัจยีอับดุลมา ลิกแล้ว ข้าพเจ้าเอ่ยถึงพระนามของอัลลอฮและร่อซู้ลของพระองค์หลายครั้งด้วยความชื่นชมว่า ศรัทธาของมนุษย์เรานี้ช่างน่าอัศจรรย์ใจ หนทางที่พระองค์กําหนดไว้หากหัวใจของมนุษย์มิได้ นําพาก็ไม่มีวันก้าวผ่านโลกดุนยาได้อย่างสมบูรณ์แท้ ข้าพเจ้าเขียนเรื่องราวของท่านด้วยความสุข และหวังว่าผู้อ่านจะรับรู้ความสุขนั้น ข้าพเจ้าพยายามจะสื่อสารด้วยข้อเขียนที่ง่ายต่อการเสพ แต่ ปรุงแต่งรสอักษรด้วยยกย่องเกียรติภูมิของโต๊ะครูอับดุลมาลิกและเคารพคุณค่าแห่งวรรณกรรม มิได้เบี่ยงเบน ตัดทอน หรือต่อเติมเสริมแต่งเรื่องราวเพิ่มแต่ประการใด
ขอความสันติสขุ จงบังเกิดมีแด่ทุกคน ‘กัณฐ์’ ณรรธราวุธ เมืองสุข
เมืองกระบี่, วสันตฤดู-มิถุนายน 2553
5
ชีวประวัติบาบาอับดุลมาลิก เริงสมุทร์ อินชาอัลลอฮ-ไปตามประสงค์ของอัลลอฮ
สารบัญ
คํานํา
บทที่ 1 อินชาอัลลอฮ...ตามความประสงค์ของพระเจ้า
7
บทที่ 2 ครั้งยังเยาว์ของ ‘บ่าวแห่งอัลลอฮ’
15
บทที่ 3 ก้าวเดินบนเส้นทางแห่งปอเนาะ (1)
21
บทที่ 4 ก้าวเดินบนเส้นทางแห่งปอเนาะ(2)
26
บทที่ 5 ฉากชีวิตกลาง ‘มักกะฮ’: คุกทะเลทรายใต้เสี้ยวจันทร์
32
บทที่ 6 บ้านเกิด: การกลับมาปลูกดอกไม้ของชายผู้มีความสุขกับทะเล
42
บทที่ 7 นกมองต้นไม้ : ทิศทางพัฒนา‘ชุมชนแหลมสัก’ ในทัศนะของโต๊ะครูอับดุลมาลิก
48
บทที่ 8 โต๊ะครูอับดุลมาลิกกับครอบครัวอันเป็นที่รกั
50
6
ชีวประวัติบาบาอับดุลมาลิก เริงสมุทร์ อินชาอัลลอฮ-ไปตามประสงค์ของอัลลอฮ
บทที่ 1 อินชาอัลลอฮ...ตามความประสงค์ของพระเจ้า บ่ายแก่ๆ 16 พฤษภาคม 2553 ,ยะมาดิลเอาวฺล-ยะมาดิลอาเครฺ 1431 เพิ่งผ่านพ้นช่วงเวลาละหมาดดุฮ์ริมาไม่นาน แต่ดูเหมือนเสียงอึกทึกที่เริ่มต้นมาตั้งแต่ช่วง สายก็ยังไม่เงียบลง แสงแดดที่แรงกล้าราวไฟฉายดวงใหญ่ส่งแสงสว่างให้มดงานหลายสิบชีวิตได้ ทํางานสะดวกมากขึ้น รถเกลี่ยดินด้านหลังครางครืนๆ เหมือนช้างป่วย แต่ก็ยังส่งพลังจนพื้นดิน แถบนั้นสั่นสะเทือน ควันสีหม่นของมันพวยพุ่งสะท้อนม่านแดด ส่วนคนงานก่อสร้างรายหนึ่ง สาละวนกับการผสมปูน อีกคนกําลังเลือกเครื่องไม้เครื่องมือที่จะใช้ ดูเหมือนบางคนกําลังเดินไป มาเหมือนกําลังตัดสินใจว่าจะทําอย่างไรก่อนดี แต่ห้วงเวลานั้น เสียงตอกตะปูดัง ปุกๆๆๆ ก็แว่ว เข้าโสตประสาท ชายชราในชุดนุ่งโสร่งสวมเสื้อแขนยาวสีเทาอ่อนสวมหมวกครอบศีรษะสีขาวหม่นๆ เดินออกมา จากบ้านสองชั้นครึ่งปูนครึ่งไม้ แกมองไกลออกไปที่รถกระบะคันหนึ่งที่แล่นเข้ามาจอดหน้าอาคาร ที่ มี ส ภาพเหมื อ นเพิ่ ง ก่ อ สร้ า งเสร็ จ ใหม่ ห มาด คนงานสอง-สามคนโร่ ล งจากรถและขนอะไร บางอย่างเข้าไปในอาคาร ก่อนจะกวาดสายตาไปรอบบริเวณบ้านที่ขวักไขว่ไปด้วยคนที่กําลังทํา หน้าที่ของตน แกส่งยิ้มให้เด็กชายสวมหมวกสีขาววัยไม่เกินสิบสามปีรายหนึ่งที่นอนหนุนแขนอยู่ในเปลญวนใต้ ต้นไม้หน้าบ้านแล้วส่งยิ้มเย็น... “พรุ่งนี้จะเปิดเทอมแล้ว แต่ยังไม่มีอะไรเรียบร้อย เลยต้องเร่งกันอย่างนี้” ชายชราเอ่ยปากด้วย สําเนียงปักษ์ใต้ก่อนยื่นสองมือมาสัมผัสมือกับผู้มาเยือนก่อนดึงกลับไปแตะหน้าอกของตนอย่าง เชื่องช้า
7
ชีวประวัติบาบาอับดุลมาลิก เริงสมุทร์ อินชาอัลลอฮ-ไปตามประสงค์ของอัลลอฮ
เมื่อหันไปสังเกตการณ์รอบๆ ตัวอีกรอบก็เห็นจริงอย่างชายชราว่า มีเพียงอาคารสูงสองชั้นเท่านั้น ที่ดูจะเป็นอาคารเก่าถูกปลูกสร้างมาก่อนแล้ว ที่เหลือดูเหมือนจะเพิ่งผุดขึ้นมาไม่เกินแรมเดือน ทั้งโรงอาหาร ห้องสมุด หอพัก และอาคารเรียน นั่น..ยังไม่นับรวมสนามกีฬาที่ยังเป็นลานดิน ลูกรังกว้างๆ มีหญ้าขึ้นแซมหรอมแหรม ยังไม่ถูกปรุงแต่งด้วยการก่อสร้างใดๆ จึงไม่แปลกที่ชายชราผู้มีผมสีขาวเด่นอยู่นอกหมวกกะปิเยาะและหนวดเครายาวขาวโพลนจะมี ท่าทีของความเหนื่อยล้า เพราะวันพรุ่งนี้คือวันเปิดเทอมวันแรกของอดีต ‘ปอเนาะแหลมสัก’ หรือ ‘ปอเนาะบ้านนา’
ต.แหลมสัก อ.อ่าวลึก จ.กระบี่ ที่กลายสภาพมาเป็น ‘โรงเรียนประทีปธรรม
มูลนิธิ’ โรงเรียนเอกชน 2 ระบบ สอนทั้งสายศาสนาและสายสามัญ แต่เมื่อเห็นสภาพของโรงเรียน ก่อนเปิดเทอมวันแรกแล้วก็เข้าใจว่าเหตุใดดวงตาสีดําจางๆ ในใบหน้าอันเหี่ยวย่นของผู้เฒ่าวัย 73 ปีจึงฉายความล้าให้เห็น แม้จะอาบด้วยแววแห่งอารีแก่ทุกชีวิตที่เคลื่อนไหวอยู่ข้างหน้าก็ตาม คนงานผู้หนึ่งถือกระติกน้ํามาตักน้ําแข็งในลังโฟมสีขาวที่ตั้งอยู่บนแคร่ปูนใต้ต้นไม้ข้างหน้าซึ่ง เจ้าของบ้านนํามาวางบริการ ก่อนที่หญิงวัยกลางคนในชุดคลุมฮิญาบสีดําจะยกแก้วน้ําหวานสี แดงมาวยางบนโต๊ะม้าหินอ่อนให้แก่ผู้มาเยือนและชายชรา “ยังไม่มีอะไรเรียบร้อยสักอย่าง แต่วันพรุ่งนี้จะเปิดเทอมและมีผู้ปกครองนําลูกหลานมาส่งมอบ ผมก็ยังหวั่นอยู่ว่าเขาจะรู้สึกอย่างไร แต่เราก็ตั้งใจให้มันเรียบร้อยให้เร็วที่สุด” เป็นคําเอ่ยที่เจือ ด้วยความประหวั่นเล็กน้อย แต่ก็มีความมั่นใจอยู่ในทีว่า ‘เอาอยู่’ “อินชาอัลลอฮ” ชายชรากล่าว ชราชราหรือผู้เฒ่าเจ้าของคําเอ่ยข้างต้นนี้คือ ‘โต๊ะครูอับดุลมาลิก’ หรือ ‘นายดํารง เริงสมุทร์’ ใน ชื่อไทย เขาเป็นเจ้าของบ้านครึ่งไม้ครึ่งปูนหลังนี้ ในสถานะของ ‘โต๊ะครู’ ที่อธิบายความแบบ ไทยๆ ว่า ‘ครูใหญ่’ หรือ ‘อาจารย์ใหญ่’ ที่มีคุณวุฒิพรั่งพร้อมด้วยความรู้ทางศาสนา และใช้ ความรู้นั้นรับใช้พระผู้เป็นเจ้ามามากกว่าครึ่งชีวิต หรือ...รวมทั้งชีวิตที่ผ่านมา หากนับรวมเอาเวลา ที่ถูกใช้ไปกับการศึกษาสายศาสนา ซึ่งก็เป็นการรับใช้พระเจ้าด้วยเช่นเดียวกัน
8
ชีวประวัติบาบาอับดุลมาลิก เริงสมุทร์ อินชาอัลลอฮ-ไปตามประสงค์ของอัลลอฮ
เพราะอย่างที่รู้กันว่ามุสลิมมีพระคําภีร์อัลกุรอานเป็นธงนําสู่สรวงสวรรค์ของอัลลอฮ ศาสนาคือวิถี ชีวิต อิสลามของพระผู้เป็นเจ้าอยู่ทุกห้วงลมหายใจ มีช่วงเวลาละหมาดวันละ 5 เวลาสําหรับ นมัสการเอกองค์อัลลอฮ จึงคงพูดได้ว่าไม่มีเวลาใดที่มุสลิมอย่างโต๊ะครูอับดุลมาลิกไม่ได้อยู่ใน เส้นทางของพระผู้เป็นเจ้า แม้แต่ภาพที่เคลื่อนไหวอยู่ตรงหน้าขณะนี้ ก็เป็นงานเพื่อพระเจ้าเช่นเดียวกัน “ผมเคยเปิดเป็นโรงเรียนปอเนาะหลังจากกลับจากซาอุดี้ (ภาษาพูดถึงประเทศซาอุดิอาระเบีย ของชาวมุสลิมส่วนใหญ่ -ผู้เขียน) ได้สองปี เขาเรียกว่าปอเนาะแหลมสัก หรือ ปอเนาะบ้านนา ก็ สอนมา 15-16 ปี จนร่างกายไม่ไหว หยุดระบบปอเนาะเมื่อปี 2534 แต่ก็ยังเปิดสอนให้ความรู้กับ เด็กๆ และชาวบ้านทั่วไปเกี่ยวกับศาสนาทุกเช้าวันศุกร์ครั้งละ 2 ชั่วโมง เพิ่งมาปีนี้ (2553) ที่การ สอนวันศุกร์หยุดไปแล้ว แต่มาสอนกีตาบเยาวชน 7-8 คน ลูกหลานของคนแถวนี้ในตอนเช้าหลัง ละหมาดซูบฮฺทุกวัน” โต๊ะครูอับดุลมาลิกบอกที่มากว่าจะเป็นโรงเรียนหลังนี้ “พอหยุดมา 18-19 ปี เมื่อปีที่แล้ว ลูกๆ เขาคิดกันว่า ทําไมเราไม่ทําเป็นโรงเรียนสามัญขึ้นมา และ พอดีก่อนหน้านี้ผมเพิ่งบริจาคที่ดินหน้าบ้านนี้ให้เทศบาลเพื่อสร้างโรงเรียน เขาก็มาสร้างอาคารไว้ เพราะผมคิดว่าทําอย่างไรให้ได้ช่วยเหลือสังคมต่อไปแม้ว่าโดยสังขารของเราจะไม่ไหวแล้วที่จะไป ลงแรงทําปอเนาะต่อ ก็เลยคุยกับทางเทศบาลว่าผมจะยกที่ดินให้เทศบาล จะได้สร้างโรงเรียนให้ เด็กๆ ในชุมชนได้ศึกษาทั้งสายศาสนาและสามัญ เพราะเด็กๆ ต้องเดินทางไปโรงเรียนไกล(ตําบล แหลมสักห่างจากอําเภออ่าวลึกที่มีโรงเรียนมัธยมประจําอําเภอตั้งอยู่ประมาณ
15 กิโลเมตร
–
ผู้เขียน) บางคนที่อยากเรียน 2 ระบบ โรงเรียนเอกชนที่สอนศาสนาควบกับสามัญก็อยู่ไกล ทั่วทั้ง อ่าวลึกมีแค่ 2 โรงเรียน ก็เดินทางกันลําบาก คนที่ยากจนก็ไม่มีปัญญาส่งลูกไปเรียน เขาก็บอกว่า จะสร้างให้แต่ต้องโอนที่ดินให้เป็นกรรมสิทธิ์ของเทศบาล เพราะอุทิศให้เฉยๆ ไม่ได้ ผมก็โอนไปให้ กว้าง 15 ยาว
50 เมตร”
ผู้เฒ่าขยับหมวกกะปิเยาะบนศรีษะให้เข้าที่ ขณะเม็ดเหงื่อจํานวนหนึ่ง
กําลังผุดพรายบนใบหน้าชรา
9
ชีวประวัติบาบาอับดุลมาลิก เริงสมุทร์ อินชาอัลลอฮ-ไปตามประสงค์ของอัลลอฮ
“แต่ลูกๆ ก็บอกว่าทําไมเราไม่ทําเอง พวกเขาจะช่วยกันดูแล ผมก็ปล่อยให้พวกเขาได้ทําตาม ความคิด ก็ได้จดทะเบียนเป็นมูลนิธิ ชื่อมูลนิธิประทีปธรรมเพื่อการศึกษาและก็ดําเนินการเรื่อง การจัดตั้งโรงเรียนขึ้นมา ก็มีการจัดสร้างอาคารต่างๆ ขึ้นมา ผมลงเงินเก็บส่วนตัวไปให้ล้านกว่า บาท ซึ่งเป็นเงินที่เก็บออมเอาไว้ และคิดว่าเอามาใช้ประโยชน์เพื่อสังคมเป็นแนวทางที่ดีที่สุด แต่ก็ ไม่พอ ก็มีการไปกู้เงินสหกรณ์อิบนูเอาฟฺมาจํานวน 2 ล้านบาท เสียเงินปันผลกลับไปเดือนละ 25,500 บาท แต่พอเอาเข้าจริงมันก็ไม่พอ เพราะการทํางานกับการศึกษามันลงทุนกับอุปกรณ์เยอะ
นี่เพิ่งไปกู้เพิ่มมาอีก 2 ล้านบาทจะมาต้นเดือนหน้า สรุปแล้วต้องจ่ายเงินคืนเดือนละ 5 หมื่นกว่า” โต๊ะครูบอกเล่าพร้อมให้ภาพของหนี้สินที่กําลังก่อตัวขึ้น ซึ่งก็ไม่อาจสรุปว่ามันจะหมดเพียงเท่านั้น “แต่ถ้าคิดถึงผลกําไร มันก็คุ้ม” โต๊ะครูอับดุลมาลิกกล่าวด้วยรอยยิ้ม นัยความหมายของ ‘ผลกําไร’ ที่ชายชรากล่าวถึงนั้น เข้าใจได้ไม่ยากว่ามิใช่ดอกผลของตัวเงินตรา แต่ก็อดตั้งคําถามไม่ได้ว่า เหตุใดต้องลงทุนลงแรงกันเสียขนาดนั้น “มันเป็นเรื่องที่หยุดไม่ได้ เพราะโรงเรียนมันไม่เสร็จ นี่หอพักก็ไม่เรียบร้อย เราต้องหาเงินมาลงอีก ผมว่ากว่าจะหยุดได้ก็ต้องรอถึง 6 ปี รอให้พวก ม.1 ปีนี้มันจบ ม.6 พวก ป.1 ได้จบ ป.6 ถึงตอนนั้น มันคงหมุนเวียนทุกอย่างได้แล้ว” โต๊ะครูพูดพลางถอนหายใจยาว “แต่ก็ไม่วายมีคนคิดว่าเราทําเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว เขาคิดว่าทําโรงเรียนเพื่อหาเงิน เขาไม่รู้ว่า ตอนนี้กําลังจะเปิดเทอมเราหมุนเงินไม่ทัน คนงานก่อสร้างก็เร่งมือไม่หยุดพัก รถยังมาเกลี่ยดิน เสียงอึกทึกครึกโครม ชีวิตที่เป็นส่วนตัวของเราหมดไปตั้งแต่ตัดสินใจทําตรงนี้ เขาไม่รู้ แต่ส่วนตัว ผม ผมอยากทําความดี เพราะนี่คือความดีที่ถาวร การให้อาหารให้เงินก็คือการทําความดี แต่การ บริจาคที่สร้างโรงเรียนนี่คือความดีที่ยิ่งใหญ่ เรากําลังทําเพื่อให้วิชาความรู้คน การให้การศึกษา กับผู้อื่นถือเป็นความดีอันยิ่งใหญ่ ในศาสนาอิสลาม การทําโรงเรียนเพื่อมอบวิชาความรู้ ครูที่มา สอน เราก็ได้เป็นหุ้นส่วนในความดีนั้นด้วย ในทางพุทธเขาเรียกว่าสวรรค์ในอก เพราะมันเป็นผล บุญที่สัมผัสได้ด้วยความสุข ถ้าเราทําไม่ดีนั่นคือนรกในใจ กรรมมันตามทัน เขาถึงว่าการให้ธรรม
10
ชีวประวัติบาบาอับดุลมาลิก เริงสมุทร์ อินชาอัลลอฮ-ไปตามประสงค์ของอัลลอฮ
เป็นทานชนะการให้ทั้งปวง ทางศาสนาอิสลามก็บอกว่าการให้วิชาความรู้นั่นคือความดีที่ยิ่งใหญ่ อัลลอฮทรงโปรดปราน” ในเส้นทางของการให้ โต๊ะครูอับดุลมาลิกบอกว่าปัญหาเดียวคือทุนรอนที่จะนํามาหมุนใช้เพื่อก่อ ร่างสร้างโรงเรียนแห่งนี้ให้สมบูรณ์แบบที่สุด แต่ในฐานะของคนที่เชี่ยวกรํากับการงานหน้าที่ใน โลกนี้มายาวนานก็แสดงความมั่นใจว่ามันจะคลี่คลายไปเอง “สิ่งที่เราอยากเห็นคือเด็กที่เรียนจบจากที่นี่ออกไปแล้วสามารถปฏิบัติศาสนกิจได้ไม่ขัดข้อง” ผู้ เฒ่าที่ผ่านการอุทิศชีวิตเพื่อเรียนรู้ด้านศาสนามากว่าครึ่งชีวิตเอ่ยขึ้น ภายหลังคําถามว่าต้องการ เห็นดอกผลใดงอกเงยขึ้นมา ภายหลังจากโรงเรียนแห่งนี้สมบูรณ์พร้อม “อยากเห็นเด็กๆ จบ ม.6 แล้วสื่อสารกับคนต่างชาติได้ในเบื้องต้นทั้งภาษาอังกฤษและภาษา อาหรับ เพราะผมอยากทําให้เป็นโรงเรียนระบบ 2 ภาษา ไม่นับรวมภาษาไทยนะที่ทุกคนต้องได้ อยู่แล้วเพราะเป็นภาษาของเรา เพราะเรื่องภาษาเป็นเรื่องสําคัญ เราจะสื่อสาร หรือทํางานด้าน ธุรกิจในปัจจุบันนี้ และเราต้องอยู่ในโลกที่มีความหลากหลายทางเชื้อชาติภาษา เราจึงต้องสื่อสาร ให้ได้ จะทําธุรกิจหรือคนที่เข้ามาท่องเที่ยว เราจะค้าขายกับเขาก็ต้องพูดภาษาเขาให้ได้ แต่ใน โรงเรียนนี้ผมจะเน้นที่ภาษาพูดก่อน อยากให้สื่อสารได้เป็นพื้นฐาน เรื่องไวยากรณ์เรียนรู้กันทีหลัง ได้” แม้ตัวของโต๊ะครูอับดุลมาลิกเองก็สื่อสารได้สองภาษา –ไม่รวมภาษาไทยที่เป็นภาษาแม่ นั่นคือ ภาษามลายูถิ่นปัตตานีและภาษาอาหรับ เกิดจากการเดินทางไปร่ําเรียนถึงดินแดนเจ้าของภาษา เป็นเวลานาน แต่แม้พูดภาษาอื่นได้ถึงสองภาษาก็ไม่เป็นที่พอใจของชายชราผู้นี้ เนื่องจากที่ยังติด ค้างอยู่ในใจคือภาษาอังกฤษ “ภาษาอังกฤษผมไม่เคยเรียน และไม่มีโอกาสได้เรียน เลยอยากให้เด็กรุ่นหลังได้เรียนรู้ เพราะผม คิดว่ามันสําคัญ มีเรื่องเล่าเรื่องหนึ่งคือ สมัยผมอยู่ซาอุดี้ อาจารย์ของผมชื่อชัยคฺอับดุลกอดีรฺ แก เดินทางไปประเทศอินโดนีเซียกับเพื่อนแกสองคน ปรากฏว่าต้องอยู่บนเครื่องบินนาน แกสื่อสาร
11
ชีวประวัติบาบาอับดุลมาลิก เริงสมุทร์ อินชาอัลลอฮ-ไปตามประสงค์ของอัลลอฮ
กับคนอื่นไม่ได้เลย นอกจากเพื่อนที่มาด้วยกัน เพราะผู้โดยสารคนอื่นเขาพูดภาษาอังกฤษกัน แก กลับมาเล่าและบอกเราว่า พวกเธอทั้งหลายถ้ามีลูกหลานต่อไปต้องให้เรียนภาษาอังกฤษด้วย อย่าเรียนแต่ภาษาอาหรับ เพราะมันสําคัญ สามารถสื่อสารกับคนส่วนใหญ่ในโลกนี้ได้ ผมจึงเห็น ว่าภาษามันมีความสําคัญ โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ และอยากให้เด็กๆ เยาวชนได้เรียนรู้และ สื่อสารได้” ใช่เพียงคําบอกเล่าจากประสบการณ์จริงของครูบาอาจารย์มาตกกระทบความคิดของ โต๊ะครู อับดุลมาลิกเท่านั้น แต่สิ่งที่อยู่ภายในของโต๊ะครูผู้นี้คือการเป็นผู้ที่ให้ความสําคัญกับการศึกษามา ทั้งชีวิต จากจุดเริ่มต้นของลูกหลานชาวบ้านธรรมดาในตําบลเล็กๆ ของอําเภอที่ไม่มีชื่อเสียงด้าน การศึกษาแต่ใช้สองเท้าเดินทางไกลไปแสวงหาวิชาความรู้ถึงต่างถิ่นหลากดินแดนด้วยตนเอง ก่อนกลับสู่บ้านเกิดและลงมือสร้างสถานบริการความรู้ทางศาสนาอย่างโรงเรียนปอเนาะด้วยสอง มือของตนเอง ด้านทิศตะวันออกริมทางเดินด้านหลังโรงเรียนประทีปธรรมมูลนิธิที่กําลังเร่งมือก่อสร้าง จึงยัง ปรากฏกระท่อมไม้เล็กๆ ตั้งเรียงรายอยู่หลายหลัง สภาพอันเก่าแก่และบางหลังที่กําลังผุพังน่าจะ บอกเล่าที่มาของมันได้อย่างสมบูรณ์ เพราะไม้ทุกท่อน กระดานทุกแผ่น ตะปูทุกตัว ชายชราผู้อยู่ เบื้องหน้ารู้จักมันดี หากย้อนเวลากลับไป ความทรงจํายังเด่นชัดอยู่ภายใน เพราะภายหลังจากเดินทางกลับจาก อาหรับและอุทิศความรู้ด้วยการเปิดสอนกีตาบอยู่ที่บ้านได้สองปี เขาเดินขึ้นมาดูแปลงที่ดินมรดก ของพ่อ ชายชราในวัยหนุ่มใหญ่เดินลุยเรือกสวนและเทือกเถาวัลย์รกชัฏขึ้นมายืนนิ่งก่อนหัน สํารวจไปรอบๆ ความคิดของเขาผุ ดพราย เขาต้ องการสร้างฝัน เป็นฝันที่อาจธรรมดาทั่วไป สําหรับผู้เรียนจบศาสนาขั้นสูงจากอาหรับ แต่สําหรับโต๊ะครูมาลิกในวัยหนุ่มรู้ดีว่านี่ไม่ใช่เรื่อง ธรรมดาของชาวมุสลิมบ้านแหลมสักทั่วไป ชุมชนชาวประมงริมทะเลแห่งนี้มีชีวิตดิ้นรนเพื่อปาก ท้องมาตลอด ส่วนใหญ่มีฐานะยากจน ความรู้ทางศาสนาก็มีเพียงพื้นฐาน ละหมาดครบ 5 เวลา ถือเป็นหน้าที่ของมุสลิมทั่วไปอยู่แล้ว และเขาสังเกตเห็นว่าลูกหลานของชาวบ้านมีจํานวนมากที่
12
ชีวประวัติบาบาอับดุลมาลิก เริงสมุทร์ อินชาอัลลอฮ-ไปตามประสงค์ของอัลลอฮ
ไม่มีโอกาสเรียนหนังสือ ยามลงงานของพ่อแม่ เด็กๆ กลับใช้เวลาสูญเสียไปอย่างว่างเปล่า ส่วนผู้ มีปัญญาเรียนนั่นหรือ ก็ร่ําเรียนมาแต่ทางโลกอย่างเดียว เขาตัดสินใจแน่วแน่และดุอาร์จากเอกองค์อัลลอฮก่อนลงมือหักร้างถางพง ขุดดิน ขนไม้และลงมือ ตอกตะปู ชาวบ้านใกล้เคียงที่รู้ข่าวคราวก็มาช่วยลงมือลงแรง ทั้งกระท่อมที่พัก อาคารเรียน ห้องน้ํา สถานที่ละหมาด ฯลฯ เพียงไม่นานปอเนาะเล็กๆ ก็ถูกก่อเป็นรูปเป็นร่างสมบูรณ์ และ พ่อแม่ที่มาช่วยสร้างนั่นแหละที่ส่งลูกหลานมาร่ําเรียน เขายืนมองด้วยความปีติขณะเด็กๆ หิ้ว สัมภาระเข้าไปสู่กระท่อมไม้ โต๊ะครูมาลิกวัยหนุ่มคือเด็กปอเนาะเก่า ฉะนั้นเขาจึงจํามันได้ดีว่า ปอเนาะหรือ ‘PUNNOK’ มาจาก ภาษาอินโดนีเซีย หมายถึงกระท่อมหรือเพิงพักอาศัย คือสถานที่สําหรับยุวชนใช้เป็นที่พักอาศัย เพื่อร่ําเรียนวิชาศาสนาตั้งแต่ขั้นพื้นฐานจนถึงระดับสูง ปอเนาะเก่าแก่ดั้งเดิมจริงๆ ผู้ที่ต้องการ ศึกษาต้องเดินทางไปหาผู้รู้หรือผู้ที่เรียนจบศาสนาขั้นสูงซึ่งอาศัยอยู่ในเมืองหรือหมู่บ้านต่างๆ เมื่อ ไปถึงก็ลงมือก่อสร้างกระท่อมที่พักของตนเองบนที่ดินที่เจ้าของอนุญาตหรืออุทิศให้ กระท่อมที่ว่า จึงมีความเล็กกะทัดรัดเพียงพอสําหรับนอนพักอาศัยและนั่งท่องอัลกุรอาน ไม่กว้างยาวเกินพอดี มีเครื่องมือเครื่องใช้ที่จําเป็นต่อการดํารงชีวิตเท่านั้น วิถีของเด็กปอเนาะจึงเป็นเป็นวิถีแห่งการ เสียสละความสุขสบายส่วนตัวเพื่ออุทิศให้การเรียนรู้ศาสนา ก่อนจะนําไปปรับใช้กับชีวิตตนเอง และเผยแพร่หรือ ‘ดะวะห์’ให้แก่ผู้ไม่รู้ต่อไป วั น และคื น ผ่ า นหอบลมฝนและฤดู ก าลผั น ผ่ า นอย่ า งเชื่ อ งช้ า ทว่ า ยั ง ประโยชน์ แ ก่ ผู้ ค นอย่ า ง มากมายและกว้างขวาง จากโต๊ะครูมาลิกในวัยหนุ่มก็อย่างเข้าสู่วัยกลางคนและเยื้อย่างสู่ความ ชรา สังขารร่วงโรยลงตามวัย เป็นความจริงของทุกชีวิตที่ว่าจิตใจกับร่างกายแยกส่วนกันเดินทาง และปลายทางก็แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง แม้เขาจะยังต้องการอุทิศมันสมองและความรู้ที่มีเพื่อ ประโยชน์ของผู้อื่น แต่ร่างกายก็ไม่อาจตอบสนองได้อย่างใจหวัง เมื่อถึงกาลต้องตัดสินใจว่ า จะต้องหยุดพักให้ร่างกาย โต๊ะครูมาลิกในวัยย่างสู่ต้นทางความชรา ก็ตรึกตรองใหม่ว่า เท่าที่ แรงกายยังทํางานเทียมข้อจํากัดแต่สมองและจิตวิญาณเพื่อสังคมยังคงแล่นไหล
13
ชีวประวัติบาบาอับดุลมาลิก เริงสมุทร์ อินชาอัลลอฮ-ไปตามประสงค์ของอัลลอฮ
หลังทอดถอนใจมองลมฝนและแดดแห่งฤดูกาลอาบทาบทาปอเนาะไร้ชีวิตอยู่เนิ่นนาน เขาแปลง เวลาที่สูญเปล่าให้มีคุณค่าด้วยการเปิดสอนกีตาบและอัลกุรอานแก่เยาวชน เปิดอบรมศาสนา ให้แก่ชาวบ้านเท่าที่แรงกายทําได้ กระทั่งล่วงเลยเวลาถึงเกือบสองทศวรรษ เมื่อลูกๆ เติบใหญ่ และเลือดอันเข้มข้นของผู้เป็นพ่อที่อยู่ภายกายในกระตุ้นเร้า โรงเรียนประทีปธรรมมูลนิธิจึงตั้งเด่น สง่าอยู่ภายในบริเวณที่ดินของปอเนาะเดิม แม้ปอเนาะที่ตนลงมือสร้างจะผ่านเลยและผุพังตามกาลเวลา แต่โรงเรียนแห่งใหม่ก็ใหญ่และเด่น สง่ากว่าเดิม เปลี่ยนจากกระท่อมไม้เป็นอาคารปูนอันมั่นคงถาวร ขยายการสอนจากเพียงทาง ศาสนาไปสู่วิชาการทางโลก และเริ่มเปิดต้อนรับเยาวชนจากหลากหลายทิศทาง แม้จะยังไม่เสร็จสมบูรณ์ แต่...อินชาอัลลอฮ มันต้องสมบูรณ์พร้อมในไม่ช้า แม้ไม่รู้ว่าจะต้องทุ่ม เงินทองและก่อร่างสร้างหนี้สินให้เพิ่มพูนขึ้นอีกสักเท่าไหร่ หากแต่จิตวิญาณภายในของ โต๊ะครู อับดุลมาลิกมันใหญ่โตเกินจะหวั่นกลัวบททดสอบใดๆ อีกต่อไปแล้ว วันพรุ่งนี้เมื่อพระอาทิตย์ทอแสงสีทองด้านทิศตะวันออก โรงเรียนแห่งใหม่ก็เริ่มต้นทําหน้าที่ของ มันให้ดีที่สุด ส่วนวันข้างหน้านั้น อินชาอัลลอฮ ...ตามความประสงค์ของพระเจ้า.
14
ชีวประวัติบาบาอับดุลมาลิก เริงสมุทร์ อินชาอัลลอฮ-ไปตามประสงค์ของอัลลอฮ
บทที่ 2 ครั้งยังเยาว์ของ ‘บ่าวแห่งอัลลอฮ’ (ก่อนการเดินทางไปสูป่ อเนาะของเด็กชายดํารงค์ เริงสมุทร์) เคราสีขาวโพลน และเส้นผมหงอกนอกหมวกกะปิเยาะ บ่งบอกว่าชายชราเดิน ทางผ่านวันคืนมาเนิ่นนาน แต่ร่องรอยบนหน้าผาก ใต้ดวงตาสีฝ้า รอยย่นใต้คางถึงลูกกระเดือก กระทั่ ง ฝ่ า มื อ ที่ ห ยาบหนาและสี ผิ ว คล้ํ า แดด นอกจากใบ้ บ อกถึ ง วั ย อย่ า งชั ด แจ้ ง ยั ง เป็ น ประกาศนียบัตรชั้นดีถึงการเคี่ยวกรําชีวิตด้วยการงาน หนักและเหนื่อยสาหัส แต่ผู้เดินทางผ่านขวบวัยมาอย่างโชกโชนเช่นโต๊ะครูอับดุลมาลิกมิส่งเสียง บ่นให้ลูกๆ สะท้านใจ แต่ปล่อยให้พวกเขาได้เรียนรู้ด้วยตนเองกับสิ่งที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบันขณะ ซึ่งนั่น คือบททดสอบของเอกองค์อัลลอฮ เพราะเขาคือบ่าวของอัลลอฮ ชายชราจึงพร้อมน้อมรับกับความเปลี่ยนแปลงแห่งวันวัยตามพระ ประสงค์ของพระผู้สร้าง แต่เขาก็พร้อมเป็นผู้เฒ่าผู้มากเรื่องเล่า ทั้งยังเป็นโต๊ะครู เป็นผู้รู้ที่พร้อม ให้คนรุ่นหลังมาร่ําเรียนเอาตามพอใจ “คนมุสลิมแหลมสักนี่ อพยพกันมาเป็นร้อยๆ ปีแล้วก่อนจะมาตั้งชุมชนที่นี่ มันไม่มีหลักฐานแน่ ชัดว่ามาเมื่อไหร่ แต่เข้าใจได้ว่ามากันเพราะปากท้อง มาเจอแหล่งอาหารอันอุดมสมบูรณ์ของอ่าว บ้านแหลมสักเลยตั้งถิ่นฐานอาศัยกันที่นี่สืบชั่วลูกชั่วหลานเรื่อยมา” โต๊ะครูอับดุลมาลิกย้อนความ เป็นมาของรากเหง้าของคนมุสลิมแห่งตําบลแหลมสัก อันเป็นหนึ่งในเรื่องเล่าที่เขาเต็มใจถ่ายทอด หากคําอธิบายทางความเชื่อ มนุษย์ย่อมสาแหรกจาก ‘นบีอาดัม’ และ ‘อาวา’ การเดินทางของ เหล่าบ่าวทั้งหลายของอัลลอฮจึงเป็นสิ่งน่ามหัศจรรย์
15
ชีวประวัติบาบาอับดุลมาลิก เริงสมุทร์ อินชาอัลลอฮ-ไปตามประสงค์ของอัลลอฮ
“คนเฒ่าคนแก่รุ่นปู่ย่าตาทวดผมบอกว่า คนที่นี่อพยพมาจากฝั่งมาเลเซีย เข้ามาทางสตูล ทํามา หากินและย้ายถิ่นฐานมาเรื่อยๆ ตามความอุดมสมบูรณ์ของแผ่นดินและผืนน้ํา กระทั่งมาถึงอ่าว บ้านแหลมสักและปักหลักอยู่ที่นี่” โต๊ะครูชราเชื่อว่ายังมีญาติพี่น้องอยู่ทางฝั่งมาเลย์ แต่กาลเวลาและพรมแดนแห่งเชื้อชาติที่เพิ่ง กําหนดขึ้นทําให้ห่างและหายไปจากความทรงจํา “หลักฐานที่เรามีว่าเรามาจากทางโน้นที่ชัดเจนที่สุดคือศาสนาอิสลามและภาษามลายูที่ถูกใช้เรียก สัตว์ สิ่งของ สถานที่ เพราะปรากฏภาษามาเลย์อยู่กับชื่อปลา เช่น ปลากระบอก เรียกปลาดา หรา ปลาเสียด ชาวบ้านเรียกปลาตาลัง เรียกปลาหางเขียวว่า ปลายุมปูน ยังมีปลาลอบังที่ใช้เรียก ปลาลักษณะคล้ายปลาหางเขียวแต่มีขนาดใหญ่กว่า ปลาดุก เราเรียกปลาสมิหลัง หรือ มิหลัง ส่วนเกาะแถบนี้เราเรียก “เหลา” เช่น เหลาบาตัง คือเกาะบาตัง เหลาหันคือเกาะหัน เหลากูดู และเหลาหัง ส่วนภูเขาเรียกบูเก็จ หรือ บูเก๊ะ ซึ่งต่อมาเพี้ยนเป็นจังหวัดภูเก็ต” โต๊ะครู อับดุลมา ลิก สาธยายประวัติศาสตร์ของรากเหง้าคนมุสลิมแหลมสักด้วยหลักฐานที่ปรากฏอยู่จริง “ก่อนหน้านี้ที่นี่มีสภาพเป็นป่าทั้งนั้น เป็นดง เป็นภูเขา ฝั่งโน้น(ตะวันตก)ติดทะเล สมัยผมเป็น เด็กที่นี่ก็ยังเป็นป่า สมัยออกโรงเรียนตอน ป.4 เขามีการดักยิงควาน (กวางประเภทหนึ่งที่พบมาก ในภาคใต้) แถวนี้ควานเยอะ หมาในก็มีจํานวนมาก มันชอบออกมาเยี่ยวใส่ใบไม้ เขาเรียกอีเก๋ง พอมันมาโดนก็ตาฟาง มองอะไรไม่เห็น ตกใจวิ่งลงในทะเล ชาวบ้านก็วิ่งไล่จับ เอามาทํากับข้าวได้ หลายตัว (หัวเราะ) “ยังมีเสือดําจํานวนมาก มันชอบออกมากัดแพะ ป๊ะ(พ่อ)ผมตอนนั้นรักษาแพะเยอะ(คําว่า ‘รักษา’ ในภาษาถิ่นปักษ์ใต้หมายถึงการเลี้ยงเอาไว้ มิใช่ในเชิงหมอหรือพยาบาล –ผู้เขียน) ป๊ะผมรักษา แพะเยอะแล้วยังรักษาควาย ควายเลี้ยงเอาไว้เหยียบนา เหยียบให้มันเป็นเทือก (โคลน –ผู้เขียน) พอเป็นเทือกแล้วก็คราด
16
ชีวประวัติบาบาอับดุลมาลิก เริงสมุทร์ อินชาอัลลอฮ-ไปตามประสงค์ของอัลลอฮ
“นั่นหมายถึงเป็นนาที่นําชุ่มแล้วนะ แต่ถ้านาแห้ง เราต้องไถก่อน” โต๊ะครูอับดุลมาลิกอธิบายพื้น ภูมิของการทํานา “พอไถแล้วค่อยเอาควายเหยียบ” โต๊ะครูผู้เป็นทั้งบาบอ(ผู้รู้)ทางศาสนา และยังเป็นผู้เฒ่าผู้มากเรื่องเล่าและประสบการณ์บอกว่า สมัยนั้นชาวมุสลิมแหลมสักแทบไม่มีใครรู้จักหรือเคยเห็นวัว เพราะแถบนี้ไม่มีใครเลี้ยงวัว ทั้งที่ เป็นเนื้อสําหรับการบริโภคที่สําคัญของชาวมุสลิมทั่วไป ใครอยากรู้จักวัวต้องไปดูที่เมืองดอน (เป็น คําที่ใช้เรียกพื้นที่สูง คือแถบตัวอําเภออ่าวลึกขึ้นไปจนถึงบ้านกลาง เพราะตั้งอยู่บนที่สูงกว่า) แต่ ไม่มีถนนสําหรับรถยนต์ ซึ่งต้องเดินเท้ากันไป แม้แต่เมื่อไปเมืองบี(คําเรียกเมืองกระบี่) ก็ต้องเดิน เท้ากันทั้งนั้น พอพูดถึงเรื่องรถยนต์ โต๊ะครูอับดุลมาลิกถึงกับหัวเราะออกมาเบาๆ แกขยับหมวกกะปิเยาะบน ศีรษะให้กระชับขึ้น ซึ่งดูเหมือนหยดเหงื่อที่ไหลลู่ลงใต้คอจนเปียกชุ่มไม่ทําให้ความรู้สึกอยากฟื้น เรื่องราววัยเด็กจะหมดไป “ผมรู้จักรถยนต์ครั้งแรกที่ตลาดวังหม้อแกง จ.พังงา” ชายชราหัวเราะออกมาราวกับว่ากําลังเฉลย เรื่องสําคัญ “ผมไปขึ้นรถที่หัวท่าวังหม้อแกง จะไปงานกินนุฮรี(งานบุญ -ผู้เขียน) ที่บ้านบางคลี โคกกลอย ตอนนั้นผมยังเรียนอยู่ชั้น ป.3 จําได้ว่าเป็นรถสองแถวไม้ที่เวลาสตาร์ทก็ต้องใช้วิธีหมุนกับมือ ดูมัน ประหลาดมาก เคยได้ยินแต่ชื่อ ทําให้สมัยนั้นกลายเป็นคนขลาดรถไปเลย” โต๊ะครูอับดุลมาลิก ขบขันตัวเอง แววตาเปล่งประกายสุขยิ่ง ราวกับภาพและเสียงแห่งห้วงเวลาแต่หนหลังมันย้อนมา ฉายเด่นชัดขึ้นในดวงตาสีฝ้านั้น ใครๆ ถึงว่า คนแก่กับเรื่องเก่าเป็นของคู่กัน ใครจะเข้าใจเหตุผลของมันได้ดีกว่าคนที่ผ่านร้อน หนาวล่วงเลยชีวิตมาสู่วัยปูนนี้ แต่ก็นั่นแหละ หากอดีตมันอวลด้วยเรื่องราวอันขื่นขมก็คงไม่มีใคร อยากคิดย้อนเวลาถึง ผิดกับคนที่มีต้นธารชีวิตอันน่าจดจํา จึงสามารถนําเรื่องราวเก่าๆ มาเล่าซ้ํา ได้ไม่มีเบื่อ อย่างที่บาบอวัยชรากําลังสุขอยู่ในแววตาขณะนี้
17
ชีวประวัติบาบาอับดุลมาลิก เริงสมุทร์ อินชาอัลลอฮ-ไปตามประสงค์ของอัลลอฮ
“สมัยนั้นไปไหนก็ต้องเดินเอา” โต๊ะครูอับดุลมาลิกกล่าวพลางเอื้อมมือเลื่อนแก้วน้ําหวานสีแดงให้ เด็กชายตัวเล็กที่มาคลอเคลียอยู่ข้างกาย –อีกนั่นแหละ นอกจากเรื่องเก่า คนแก่ยังต้องคู่กับเด็ก น้อยด้วย เพราะหากผู้เหยียบย่างขวบปีแห่งความชราคืออาทิตย์ยามอัสดง เด็กตัวเล็กๆ ก็คงเป็น ดั่งอาทิตย์ยามเช้า เพียงประสบหรือได้อยู่ใกล้ลูกหลานตัวจ้อยคราใด เป็นสุขใจเมื่อนั้น ในยุคที่ถนนยังไม่รู้จักยางมะตอย ถนนหนทางมีไว้สําหรับคนและวัวควาย การเดินทางไกลไปทํา ธุระต่างถิ่น ไม่ว่าจะไกลเพียงใดก็ต้องใช้สองเท้านําไป บาบอวัยชราบอกว่าเพียงแค่จะไปธุระที่ บ้านดอน –หมายถึงเขตตัวอําเภออ่าวลึกขึ้นไปก็ต้องใช้เวลากันเป็นวัน ตระเตรียมอาหารไปกินกัน ระหว่างทาง และที่สําคัญต้องมีสัญชาตญาณระวังภัยค่อนข้างสูง เพราะสัตว์เล็กๆ อย่างงูเงี้ยว เขี้ยวขอหรือสัตว์ใหญ่ดุร้ายอย่างเสือสิงห์ชุกชุมยิ่งนัก “ด้วยระยะทางมันไกลมากนี่แหละทําให้เด็กๆ สมัยนั้น ไม่ค่อยอยากเรียนหนังสือต่อ เรียน จบ ป. 4 กันที่แหลมสักก็ออกมาช่วยพ่อแม่ทํามาหากิน ส่วนผม ครูสุจิน ส่งแสง ก็คะยั้นคะยอให้เดินทาง
ไปเรียนต่อที่โรงเรียนมัธยมประจําอําเภอที่อ่าวลึกใต้ เพราะว่าแกเห็นผมเรียนหนังสือดี” โต๊ะครู อับดุลมาลิกเอ่ยชื่อครูประจําชั้นออกมาเสียงดังฟังชัด โดยไม่ต้องใช้เวลานึกแต่อย่างใด พิสูจน์ได้ เป็นอย่างดีว่าสมองของชายชรายังคงทํางานอย่างต่อเนื่องสม่ําเสมอ และไม่ลืมคนสําคัญในชีวิต เยี่ยงครู สุจิน ส่งแสง ผู้นั้น “ผมตรองดูแล้ว ถ้าไปเรียน ต้องเดินทางไปเป็นระยะทางไปน้อยกว่า 15 กิโลเมตร ไปกลับไม่ไหว แน่ เพราะต้องเดินเท้าไป เด็กสมัยนั้นถ้าจะไปเรียนต้องไปยกหนําอยู่เองแถวโรงเรียน” การ ยกหนํา หรือ ปลูกขนํา นี้มิใช่การปลูกบ้านเรือนเพื่ออาศัยอยู่ถาวร แต่เป็นไปในลักษณะ ชั่วคราว หากเทียบในสมัยปัจจุบันจะปรากฏอยู่สําหรับชาวไร่ชาวสวนที่บ้านเรือนอยู่ห่างไกล ซึ่ง ปลูกไว้สําหรับคราวต้องเดินทางมาใช้เวลาดูแลหรือทํางาน เช่นเดียวกัน วิถีแห่งการยกหนําสมัยสี่ สิบห้าสิบปีก่อน ดูจะเป็นวิถีอันน่าศึกษาอย่างยิ่ง การสร้างบ้านไม้หลังคามุงจากอย่างง่ายๆ (หาก ในภาคใต้ตอนบนจะนิยมใช้ใบ ‘ทัง’ พืชตระกูลปาล์มชนิดหนึ่งที่คล้ายต้นโตนด ซึ่งแผ่ใบหนาและ กว้างมาพับใส่ตับไม้ไผ่ ซึ่งจะคงทนถาวรกว่าใบจาก –ผู้เขียน) เพื่อใช้ชีวิตอยู่กับเรือกสวนไร่นา
18
ชีวประวัติบาบาอับดุลมาลิก เริงสมุทร์ อินชาอัลลอฮ-ไปตามประสงค์ของอัลลอฮ
หรือเพื่อการศึกษา แสดงถึงความมุ่งมั่น เอาจริงเอาจัง ทุ่มเทให้สิ่งที่ตนทํา เพราะชาวไร่ ปลูกขนํา เพื่อเฝ้ามิให้สัตว์เข้ามากัดกินพืชผล ชาวสวนยางยกหนําเพื่อใช้ชีวิตอยู่กับวิถีคนกรีดยางที่ตนเลือก ส่วนนักเรียนก็ใช้เพื่อวิถีแห่งการเรียน เมื่อจบแล้วก็เดินทางกลับ ทิ้งหนําไว้ให้กับผู้อื่นใช้ประโยชน์ ต่อไป “ผมคิดหน้าคิดหลังแล้ว บอกเลยว่าไม่ไหว เลยต้องหาวิธีการอื่นเพื่อให้ผมได้เรียนหนังสือต่อ เลย ตัดสินใจเดินทางไปเรียนปอเนาะที่นครศรีธรรมราช” การตัดสินใจครั้งนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะที่นี่คือจังหวัดกระบี่ คือชุมชนเล็กๆ ที่มีชาวมุสลิมอยู่ เยอะก็จริง แต่คนส่วนใหญ่ฝากวิถีของตนเองไว้กับการทํามาหากินในท้องทะเลและเรือกสวน มากกว่าการเรียนศาสนา ยิ่งการเดินทางที่ยากลําบากในสมัยนั้น โลกของมุสลิมในภาคใต้ตอนบน แต่ ล ะชุ ม ชนแทบจะตั ด ขาดกั บสั ง คมมุ ส ลิม อื่ น ๆ เว้ น เสี ย แต่ ผู้ ส นใจศึก ษา และไม่ ห วั่ น ความ ยากลําบากของการเดินทางไกล ซึ่งเด็กชายดํารงค์ เริงสมุทร์ ในอดีตหรือโต๊ะครูอับดุลมาลิกในวันนี้นั้น จัดว่าอยู่ในประเภทหลัง เพราะรู้แจ้งในใจด้วยพระประสงค์ของอัลลอฮว่าโลกแห่งดุนยานั้นมิใช่ปล่อยชีวิตให้ผ่านไปอย่าง ไร้แก่นสาร กลับเป็นโลกอันควรศึกษาหาภูมิรู้แห่งมหาคําภีร์อัลกุรอาน ใครผู้ใดจุดคบไฟแห่ง ปัญหาส่องทะลุหลักการของพระผู้เป็นเจ้า ใครผู้นั้นคือมนุษย์ผู้ก้าวผ่านดุนยาอย่างสมบูรณ์ “สมัยนั้น คนในแหลมสักออกไปเรียนศาสนาน้อย มีบ้าง แต่น้อย ถ้าเราเป็นมุสลิมมันสําคัญมาก เรื่องศาสนามันละทิ้งกันไม่ได้ แต่การเรียนสมัยนั้น นอกจากขึ้นอยู่กับความศรัทธาและความ มุ่งมั่นส่วนตัวแล้ว มันยังมีเรื่องปัจจัยอื่นๆ ด้วย บางคนก็คิดว่า แค่ละหมาดให้ครบ เรียนตาดีกาใน หมู่บ้านให้รู้หลักศาสนาก็พอแล้ว เพราะเขาต้องทํามาหากิน การเดินทางมันก็ไกลแสนไกล มัน ยากลําบากสําหรับคนบางคน แต่เราคิดว่าเราเกิดเป็นมุสลิมทั้งที ต้องเรียนศาสนาให้ลึกซึ้ง ต้องถึง แก่น มันเป็นประโยชน์กับเรา กลับมาหมู่บ้านมันก็เป็นประโยชน์กับคนอื่นได้ เลยตัดสินใจไปเรียน ศาสนา อยากให้ลึกซึ้งกับด้านนี้ เพราะเรายังเด็ก ยังมีเวลาให้ศึกษาค้นคว้า หาครู หาภูมิ เพราะ พอมันโตเป็นหนุ่มต้องรับผิดชอบครอบครัว ลูกเมีย ถึงตอนนั้นการเดินทางไปเรียนมันยากแล้ว
19
ชีวประวัติบาบาอับดุลมาลิก เริงสมุทร์ อินชาอัลลอฮ-ไปตามประสงค์ของอัลลอฮ
เพราะชีวิตมันมีบ่วง” ผู้เฒ่าที่มีสถานะเป็นบาบอหรือผู้รู้ในวันนี้ย้อนความคิดแรกตัดสินใจออก เดินทางไกล จากบ้าน จากถิ่น เรือกสวนไร่นา และจากครอบครัวของตนเอง เพื่อการศึกษาหา ความรู้ทางด้านศาสนาและโลกกว้าง กว่าจะเป็นโต๊ะครูอับดุลมาลิกในวันนี้ ไม่ใช่เรื่องง่าย... ไม่ง่ายเหมือนชีวิตบางชีวิตที่เกิด แก่ เจ็บ ตาย ปราศจากการเก็บเกี่ยว แม้แดดบ่ายจะส่องแสงสะท้อนร้อนแรง แต่ในดวงตาของชายชรากลับปรากฏอาทิตย์ยามเช้าเด่น ดวง เมฆหมอกขาวราวแพรไหมลอยเอื่อยโลมไล้ยอดภู แลประหนึ่งว่าน้ําในตานั้นคือหยาดน้ําค้าง ยามอรุณ เหมือนมีเรื่องเล่าที่อัดแน่นอยู่ในนั้น พร้อมฉากและสีสันของวันวานประกอบ รอเพียงให้ใครบาง คนตั้งใจฟัง เรื่องราวที่แฝงแน่นด้วยแรงบันดาลมากล้นจักไหลหลากพรั่งพรู.
20
ชีวประวัติบาบาอับดุลมาลิก เริงสมุทร์ อินชาอัลลอฮ-ไปตามประสงค์ของอัลลอฮ
บทที่ 3 ก้าวเดินบนเส้นทางแห่งปอเนาะ (1) (การเดินทางเพื่อแผ้วถางทางสวรรค์ของโต๊ะครูอบั ดุลมาลิกวัยเด็ก) หมู่บ้านในป่าริมฝั่งทะเลอันดามันยามเช้าตรู่ดูมีชีวิตชีวาอย่างเด่นชัดหลังพระ อาทิตย์กลมโตลอยเด่นเหนือมหาสมุทรและสาดแสงสีทองจนพื้นน้ําทะเลเปลี่ยนสีดูเป็นประกาย วิบวับ สัญญาณของวันใหม่เริ่มขึ้นแล้ว ความเป็นไปของขวบวันในโลกดั่งราวเครื่องย้ําเตือนจาก พระผู้เป็นเจ้าว่า ชีวิตของมนุษย์ต้องก้าวเดินไปข้างหน้า เพื่อแผ้วถางเส้นทางไปสู่สรวงสวรรค์ของ พระองค์ ฝันของใครก็ของมัน ผู้ใดมีฝันต้องทําให้มันเป็นจริงด้วยสองมือ เด็กหนุ่มสองสามคนเดินดิ่งไปสู่ท่าเรือเล็กๆ ชายฝั่ง หนึ่งในนั้นหอบสัมภาระเต็มแขนสองข้าง ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งจําเป็นในการดํารงชีวิตในหนทางข้างหน้า เขาและเพื่อนก้าวลงเรือแจวลําเล็ก พร้อมจัดสัมภาระให้เข้าที่ เมื่อนั่งประจําที่ของแต่ละคน หนึ่งในนั้นก็ถอดเชือกที่คล้องไว้ ก่อนยื่น มือมาผลักตลิ่ง ไสเรือของตนเองโคลงเคลงสู่ห้วงทะเลลึก “พรรคพวกแจวเรือไปส่งที่บ้านบากัน เพราะตรงนั้นเป็นท่าเรือใหญ่ เขาเรียกเมืองดอน ก็ออก เดินทางกันแต่เช้า แจวไปเรื่อย พระอาทิตย์ขึ้นหัวก็ร้อนจนเหงื่อเป็นมันปลาบ เสื้อผ้าเปียกหมด พอเที่ยงก็ไปถึงท่าเรือบ้านบากัน ขึ้นจากเรือก็ร่ําลาเพื่อนฝูงวัยเด็กก่อนเดินเท้าต่อไปทางป่าขี้ แกลบ ป่าเทือก ป่าพังกา เป้าหมายคือบ้านอ่าวลึกน้อย” โต๊ะครูอับดุลมาลิกย้อนอดีตของเด็กชาย ดํารงค์ เริงสมุทร์ ซึ่งก็คือตนในวัยเด็ก แววตาและน้ําเสียงของชายชรา ราวกับว่าภาพและเสียงใน ห้วงนั้นยังฉายชัดอยู่ในความทรงจํา เป้าหมายของเด็กชายผู้เพิ่งจบชั้น ป.4 จากโรงเรียนบ้านแหลมสัก คือปอเนาะบ้านตาล ซึ่งเป็น โรงเรียนสอนศาสนาแห่งหนึ่งในจังหวัดนครศรีธรรมราช เหตุที่เด็กชายดํารงค์ เริงสมุทร์ต้องพา สังขารของวัยประถมออกเดินทางไกล นอกจากโรงเรียนในตัวอําเภอมีระยะห่างผ่านป่าดงดิบกับ
21
ชีวประวัติบาบาอับดุลมาลิก เริงสมุทร์ อินชาอัลลอฮ-ไปตามประสงค์ของอัลลอฮ
บ้านแหลมสักกว่า 15 กิโลเมตร และที่สําคัญ ในห้วงเวลานั้นที่จังหวัดกระบี่ยังไม่ปรากฏว่ามี ปอเนาะสอนศาสนา “มือขวาหิ้วกระเป๋า มือซ้ายหิ้วห่อปลาแห้ง ตั้งใจเอาไปกินระหว่างทาง พอถึงอ่าวลึกน้อย ก็ขึ้นไป ทางปากทางบ้านหนองหลุมพอ ไปถึงก็เย็นแล้ว เลยนอนพักที่บ้านญาติที่นั่นหนึ่งคืน” รุ่งเช้า แสงอาทิตย์ยังไม่ทันร้อน ใบไม้ไม่ทันแห้งน้ําค้าง เด็กชายหยิบเอาห่อสัมภาระแล้วก้าวลง จากบ้านญาติสนิท เป้าหมายของเขาคือบ้านทุ่ง ชุมชนมุสลิมเขตแดนระหว่างอ่าวลึกและเมือง กระบี่ “ชาดเสดสาจริงๆ ... โอ้ย! ภาพตอนนั้นใครเห็นแล้วก็ว่าแลบอบครัน!” โต๊ะครูอับดุลมาลิกอุทาน ภาษาถิ่นพลางหัวเราะเสียงลั่น หากดูความหมายของคํานั้น ก็คงไม่มีใครคิดว่าเรื่องตลก เพราะ มันหมายถึงสภาพบอบช้ําทุลักทุเล และชวนเวทนา หากแต่มันแค่คําอุทาน เพราะเมื่อย้อนกลับไปถึงจิตใจอันมุ่งมั่นขณะนั้นของเด็กชายแล้วความน่า เวทนาควรแปรเปลี่ยนเป็นความชื่นชมต่ออุตสาหะ เพราะวัยที่น่าวิ่งเล่นกับเพื่อนในราวป่า ท้อง ทุ่ง หรือชายทะเล เขากลับพาตัวเองออกเดินทางไปสู่สํานักการศึกษาเพื่อเพิ่มพูนภูมิรู้ให้ตนเอง “ผมไปนอนที่บ้านทุ่งอีกหนึ่งคืน ไปพบกับคนแก่อีกคน เป็นญาติห่างๆ กัน ชื่อ ‘ชายล๊ะฮ์’ แกจะ ไปเยี่ยมลูกชายที่นครศรีฯ ด้วย ลูกชายแกเรียนอยู่ในปอเนาะแล้ว ผมจึงได้พลอยไปกับแก รุ่งเช้า เราไปขึ้นรถสองแถวประจําทางของ ‘โกสู่’ ที่วิ่งระหว่างเมืองตรัง เมืองกระบี่ และเลยมาจอด รับส่งคนที่แยกบ้านทุ่งด้วย นั่งรถไปถึงเมืองตรังก็เย็นแล้ว เลยคุยกับชายล๊ะฮ์ว่าจะหาโรงแรมนอน ไปดูที่โรงแรมแล้วปรากฏว่าเต็ม เลยไปนอนกันที่สถานีรถไฟ วางของแล้วก็นอนกันตรงชานชาลา เพราะรุ่งเช้าอีกวันเราจะขึ้นรถไฟที่นี่ไปเมืองนคร” เช้าตรู่ รถไฟเที่ยวแรกระหว่างเมืองตรัง-นครศรีธรรมราชก็เคลื่อนขบวนเข้าสู่ชานชาลา เด็กชาย หอบหิ้วกระเป๋าและถุงปลาแห้งขึ้นตู้โบกี้ เขาเพิ่งเห็นยานพาหนะแปลกตาเช่นนี้เป็นครั้งแรก มันดู แข็งแรงแต่เก่า และยาวเฟื้อยเหมือนงูใหญ่ยามเลื้อยผ่านหุบเขา เด็กชายคิดในใจว่า รถว่าหาดู
22
ชีวประวัติบาบาอับดุลมาลิก เริงสมุทร์ อินชาอัลลอฮ-ไปตามประสงค์ของอัลลอฮ
ยากแล้วในชีวิต นี่หากมิยอมตัดสินใจออกมาท่องโลกกว้าง ตนเองก็คงมิมีโอกาสได้เห็นยวดยานที่ มีเสียงแผดดังน่าตระหนกตกใจเยี่ยงนี้ “ไปถึงเมืองนครก็พลบค่ําพอดี” โต๊ะครูอับดุลมาลิกให้ภาพ ก่อนบอกว่าเขาลงจากรถไฟพร้อม ญาติวัยดึก และต้องพึ่งสองเท้าทําหน้าที่พาเขาออกเดินทางอีกครั้ง เนื่องจากไม่รู้จักใครในเมือง ใหญ่อดีตเมืองหลวงของอาณาจักรตามพรลิงค์ยุคโบราณ รถราที่วิ่งกันขวั่กไขว่ในเมืองใหญ่ก็ดู แปลกหน้าไปเสียหมด จนเด็กชายไม่กล้าขึ้นไปนั่งด้วยเกรงว่าจะพาเขาหลงทิศหลงทาง “เดินไปเรื่อยๆ ก็ถามเขาไปเรื่อย สุดท้ายไปถึงที่ปอเนาะนาเคียนชานเมืองนคร เป็นปอเนาะของ ‘โต๊ะครูยากู๊บ’
ซึ่งแก่มากแล้ว ที่นั่นผมมีญาติยายเดียวกัน เขามาเรียนอยู่ทั้งผัวทั้งเมียจนเป็นคน
สอนเด็กแล้ว ก็อาศัยนอนที่นั่นอยู่ 7 คืน ก็ออกเดินทางต่อไปยังปอเนาะบ้านตาลซึ่งที่นั่นมี ‘โต๊ะ ครูยากู๊บ’ วัยหนุ่มอยู่ ผมตั้งใจแต่แรกว่าจะไปเรียนที่นั่น กล่าวถึง ‘ปอเนาะบ้านตาล’ หลายคนคงได้ยินชื่อหรือคุ้นชื่อเป็นอย่างดี เนื่องจากเป็นปอเนาะของ ตระกูล ‘พิศสุวรรณ’ ซึ่งมี ‘อัลมัรฮุมฮัจยีอิสมาแอล พิศสุวรรณ’ อดีตประธานกรรมการอิสลาม ประจําจังหวัดนครศรีธรรมราช บิดาของ ‘ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ’ เลขาธิการอาเซียน และ ส.ส. ประชาธิ ปั ต ย์ ห ลายสมั ย เป็ น เจ้ า ของ อยู่ ใ นชุ ม ชนมุ ส ลิ ม ของ ม.6 ต.กํ า แพงเซา อ.เมื อ ง จ. นครศรีธรรมราช เปิดเป็นปอเนาะตั้งแต่ปีพ.ศ.2478 กระทั่งปี 2512 โรงเรียนได้แปรสภาพการ สอนระบบปอเนาะมาเป็นการสอนระบบโรงเรียน โดยใช้ชื่อภาษาอาหรับว่า “มะฮัดมิสบาฮุดดีน” หรือ โรงเรียนประทีปศาสน์ ห้วงเวลาที่โต๊ะครูอับดุลมาลิกวัยเด็กเข้าไปร่ําเรียนมิใช่โรงเรียนประทีปศาสน์ปัจจุบัน แต่คือ ปอเนาะบ้านตาลที่มีเพียงกระท่อมปลูกสูงยืนเรียงรายโย้เย้ แต่คลาคล่ําไปด้วยผู้ใฝ่รู้จากทั่วสารทิศ เขาบอกว่าวิถีของเด็กปอเนาะสมัยนั้นคือการเรียนศาสนาอย่างหนัก และพึ่งพาการดํารงชีพด้วย ตนเอง
23
ชีวประวัติบาบาอับดุลมาลิก เริงสมุทร์ อินชาอัลลอฮ-ไปตามประสงค์ของอัลลอฮ
“สมัยนั้น ดร.สุรินทร์ยังเด็ก ผมยังช่วยอุ้มและตัดผมให้กับกรรไกรบ่วง พอโตหน่อยแกไปเรียน ประถมที่โรงเรียนวัด ผมจําได้ว่าพ่อของแกอยากให้แกเป็นเด็กปอเนาะ เป็นโต๊ะครู แต่แกอยาก เป็นนายอําเภอ” เมื่อวกไปที่ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ นักการเมืองน้ําดีที่สังคมมุสลิมภูมิใจแล้วโต๊ะครูอับดุลมาลิกยัง มีเกร็ดเล่าให้ฟังอีกว่าสมัยที่อยู่ปอเนาะบ้านตาล เด็กชายสุรินทร์ก็มาหุงข้าวหุงน้ํากินกับแกบ่อยๆ มานอนพานั่งเล่นประหนึ่งคนสนิทชิดเชื้อ ครั้งหนึ่ง ดร.สุรินทร์ หรือ ‘อับดุลฮาหลีม บิน อิสมา แอล’ จบการศึกษากลับมาจากอเมริกาและลงการเมืองใหม่ๆ เดินทางมาปราศรัยที่บ้านกลาง อ.อ่าวลึก จ.กระบี่ ท่อนหนึ่งนักการเมืองมุสลิมหนุ่มที่ต่อมากลายเป็นเรี่ยวแรงสําคัญของพรรค ประชาธิปัตย์เล่าให้คนฟังว่า แกมีบุคคลในความทรงจําจํานวนมาก และหนึ่งในนั้นคือโต๊ะครู ‘ยี มาเล๊ะ’ ซึ่งเป็นคําเรียกสั้นๆ แบบคนใต้ของ ‘โต๊ะครูฮัจยีอับดุลมาลิก’ “แกบอกคนบ้านกลางว่า สมัยเด็กๆ แกผูกพันกับคนกระบี่มาก คือโต๊ะครูยีมาเล๊ะ อุ้มแก ตัดผม ให้แก” บาบอวัยชรากล่าวด้วยรอยยิ้มภาคภูมิใจ ความทรงจําของแกทํางานอีกครั้ง และหนึ่งใน นั้นคือคนสําคัญระดับนานาชาติที่แกภาคภูมิใจ “ผมเรียนอยู่ปอเนาะบ้านตาล 6 ปี ซึ่งนับว่ายาวนานมาก” โต๊ะครูอับดุลมาลิกย้อนกลับมาสู่ เส้นทางของวันวานแห่งชีวิต หลายคนโดยจําเพาะคนมิใช่มุสลิมอาจสงสัยว่า ในปอเนาะนั้นเรียนอะไร การที่โต๊ะครูอับดุลมาลิก วัยเด็กใช้ เวลาเรียนถึง 6 ปีนั้นจบชั้นอะไร หากอธิบายกันตามแบบหลักสูตรของสถานศึกษา ปอเนาะทั่วไปนั้น วิชาที่สอนในปอเนาะได้แก่ ได้แก่ การสอนภาคศรัทธา (เตาฮีด) ภาคปฏิบัติ (ฟิ ก หฺ ) ซึ่ ง รวมถึ ง ศาสตร์ ม รดกและครอบครั ว (ฟะรออิ ฏ ) ภาคจริ ย ธรรม (อั ค ลาก)ภาค ประวัติศาสตร์ (ตารีค) การอ่านอัลกุรอาน และการปฏิบัติตนที่ถูกต้องตามหลักศาสนา สอนเป็น ภาษามลายูและภาษาอาหรับ ระยะเวลาในการเรียนของแต่ละคนไม่เท่ากัน ขึ้นกับความสมัครใจ ส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง 2-6 ปี แต่ก็มีผู้ศึกษาจนถึง 10-15 ปี
24
ชีวประวัติบาบาอับดุลมาลิก เริงสมุทร์ อินชาอัลลอฮ-ไปตามประสงค์ของอัลลอฮ
ส่วนระดับของนักเรียน นักเรียนแบ่งเป็น ๓ ระดับ หรือเรียกว่า รุ่นอิบตีดาอี เป็นรุ่นเริ่มเรียน รุ่นมูตาวัซซิต เริ่มอ่าน เขียน แปลได้ รุ่นอาลี เป็นครูพี่เลี้ยงได้ แต่ละวิชาจะมีหนังสือเรียนตามรุ่น รุ่นอิบตีดาอี เรียนเล่มเล็ก รุ่นมูตาวัซซิต เรียนเล่มกลาง และรุ่นอาลีเรียนเล่มใหญ่ หากแต่โต๊ะครูอับดุลมาลิกบอกว่า สมัยนั้นไม่มีการแบ่งระดับชั้นชัดเจนเหมือนทุกวันนี้ การเรียนรู้ ไม่ จํ า กั ด ว่ า ใครเรี ย นถึ ง ขั้ น ไหนและสอบถึ ง ชั้ น อะไร แต่ เ รี ย นกั น ไปเรื่ อ ยๆ เพื่ อ ให้ เ ชี่ ย วชาญ แตกฉานทีละอย่าง เพราะฉะนั้นจึงเรียนชั้นเดียวกันหมดทุกคน “สมัยนี้มันแปลงระบบเป็นควบคู่สามัญ จึงแบ่งชั้นชัดเจน แต่ถ้าเป็นโรงเรียนระบบเก่า จะยังคง เหมื อ นเดิ ม เราเรี ย นกั น ให้ ฉ ลาดและรู้ ใ ห้ ม ากที่ สุ ด เพราะถื อ ว่ า เป็ น หน้ า ที่ ไม่ ไ ด้ ต้ อ งการ ประกาศนี ย บั ต รหรื อ ระดั บ ชั้ น การศึ ก ษา” ห้ ว งหนึ่ ง บาบอวั ย ชราพู ด ถึ ง ระบบการศึ ก ษาที่ เปลี่ยนไป หลังได้ความรู้ที่ตักตวงเอาจากปอเนาะบ้านตาล ชายชรานั่งลงทบทวนก่อนจะตัดสินใจออกเดิน ทางไกลอีกครั้ง หากแต่ครั้งนี้หนทางยาวไกลยิ่งกว่า “ผมไปเรียนต่อที่ปอเนาะสําหลา ใกล้มัสยิดกรือเซะ ได้ข่าวว่าที่นั่นโต๊ะครูมีความรู้ดี มีวิชา จึงนั่ง รถยนต์จากนครศรีไปลงที่หาดใหญ่ และนั่งรถไฟจากหาดใหญ่ไปลงที่สถานีโคกโพธิ์ จ.ปัตตานี แล้วนั่งสองแถวจากสถานีรถไฟไปบ้านกรือเซะ ผมจําได้ว่าปอเนาะแห่งนั้นใช้ระยะทางเดินเท้า จากมัสยิดกรือเซะประมาณ 2 กิโลเมตร ซึ่งผมใช้เวลาเรียนอยู่ที่นั่นทั้งหมด 4 ปี” เป็น 4 ปีอันน่าจดจําอย่างยิ่งของโต๊ะครูอับดุลมาลิกในวันนี้ ภาพความเคลื่อนไหว แสง สี กลิ่นและความรู้สึกยังผุดพรายอยู่ในห้วงความคํานึงของบาบอวัย ชราอันควรค่าแก่การทัศนาของคนรุ่นหลังยิ่ง โปรดติดตามพร้อมเปิดดวงใจทิ้งไว้รอเรื่องเล่าตอนต่อไป.
25
ชีวประวัติบาบาอับดุลมาลิก เริงสมุทร์ อินชาอัลลอฮ-ไปตามประสงค์ของอัลลอฮ
บทที่ 4 ก้าวเดินบนเส้นทางแห่งปอเนาะ(2) แผ่นดินฟาฏอนีในดวงตาของโต๊ะครูอบั ดุลมาลิก(วัยหนุ่ม) การศึกษาด้านศาสนา 4 ปีบนแผ่นดินปัตตานี หรือ ‘ฟาฏอนี’ ในคําเรียกขาน ‘นูซันตารา’ – ระเบียงมักกะฮของชาวอาราเบียนดูจะเป็นไปอย่างคร่ําเคร่งและเอาจริงเอาจังไม่ต่างจาก 6 ปีก่อน หน้านี้บนแผ่นดินนครศรีฯ จากเด็กชายรูปกายบอบบางแห่งริมฝั่งทะเลตะวันตก ขวบวัยกําลังพา เขาเยื้องย่างเข้าสู่รุ่นหนุ่ม ร่างกายเริ่มเติบโตล่ําสันพร้อมเผชิญกับชีวิตอันลําบากในวันข้างหน้า ชีวิตมนุษย์ก็เช่นนี้ รกพงดงหนามบนทางเดินมากขึ้นตามขวบวัย แต่สิ่งที่อัลลอฮประทานให้มา ต่อสู้กับบททดสอบ คือก้อนหัวใจที่ใหญ่โตขึ้นและมันมาพร้อมกับจิตใจอันห้าวหาญกล้าแกร่ง ถ้า เชื่อมั่นว่าสิ่งที่เลือกนั้นดีก็พร้อมจะทุ่มเทสุดแรงกายและใจ หากแต่ในทางกลับกัน เมื่อรู้ว่ามี อุปสรรคปัญหา ก็ตระหนักว่านั่นคือบททดสอบที่ต้องพร้อมลงแรงต่อสู้ฝ่าฝัน “ตอนเรียนที่ปัตตานีมันสนุกมากสําหรับคนวัยหนุ่ม เพราะที่นั่นมีอะไรให้เราทําเยอะแยะ อาจ เป็นเพราะว่าเป็นพื้นที่มีมุสลิมเยอะที่สุดในประเทศ เพื่อนก็มาก กิจกรรมก็มาก พอช่วงปิดเทอม เดื อ นเมาลิ ด (ตรงกั บ ห้ ว งเวลาประสู ติ ข องท่ า นนบี มู ฮั ม หมั ด ซบ. -ผู้ เ ขี ย น) และเดื อ นบวช (รอมฏอน) ปีละ 2 เดือนก็ไม่ค่อยได้กลับบ้าน เพราะกลับยาก ผมกับเพื่อนจึงคิดหารายได้พิเศษ ด้วยการไปรับจ้างตัดยางของชาวบ้านแถบนั้น” โต๊ะครูอับดุลมาลิกย้อนเวลา “ครั้งหนึ่งไปตัดยางที่บ้านกาแลมูตู ภาษาไทยคือบ้านท่าเรือ ปัจจุบันผมไม่แน่ใจว่าอยู่ในตัวอําเภอ อะไร ผมกับเพื่อนอีก 2 คนคือไอ้หมาน เด็กสะกอม (ตําบลชายทะเลใน อ.เทพา จ.สงขลา) และ บังดํา คนกระบี่หาสวนยางได้เป็นของเถ้าแก่คนไทย ชื่อพี่ชุมทอง ผัวชื่อทองดี ปีนั้นติดช่วงหน้า ฝนชุกติดต่อหลายวัน จึงไม่ค่อยได้ตัด พี่ชุมทองแกเลยให้ทํางานในร้าน แบกขี้ยาง ขนของให้แก พอฝนแล้ง สวนยางมันก็รกมาก เพราะหญ้ามันได้น้ําฝนหลายวัน เลยออกจากบ้านพี่ชุมทองมาอยู่
26
ชีวประวัติบาบาอับดุลมาลิก เริงสมุทร์ อินชาอัลลอฮ-ไปตามประสงค์ของอัลลอฮ
ที่กงสี (คํานี้คนภาคใต้ใช้เรียกกระท่อมที่คนรับจ้างกรีดยางหรือทําสวนใช้พักอาศัย -ผู้เขียน) ไป โล๊ะยางกลางคืน (การโล๊ะยางกลางคืนนี้ เป็นการเรียกขานวิธีการที่มีส่วนคล้ายกับการล่าสัตว์ใน เวลากลางคืน เช่น คนปักษ์ใต้มักเรียกคนหากบ กลางคืนว่า ไปโล๊ะกบ ซึ่งหากกรีดยางตอน กลางวันซึ่งหาแทบไม่ได้ จะไม่ใช้คําว่าโล๊ะ –ผู้เขียน) ตัดกันไปได้ประมาณสี่ห้าต้นก็ได้ยินเสียง แปร๋น!!! เราก็ตกใจทันที ใครสักคนอุทานขึ้นมาว่าช้างยิก(ไล่)แล้ว ก็วิ่งหน้าซีดกันไปคนละทิศละ ทาง ผมจําได้ว่าพวกเราวิ่งกันทั้งซ้ายขวาและทางตรง ผมออกมาทางขวา วิ่งมาออกถนนข้างนอก ปรากฏว่าช้างวิ่งไล่มาแค่ท่อนเดียว(หัวเราะ) บังดําวิ่งไปออกป่าแก ผมวิ่งไปออกบ้านคน คน ตะโกนถามเป็นภาษามลายูว่ามาจากไหน ผมตอบว่าช้างยิก คนที่ถามคงฟังออกว่าผมพูดมลายูไม่ ชัด ไม่น่าใช่คนแถวนั้น เลยถามออกมาอีกเป็นภาษาไทย คุยไปคุยมาเลยรู้ว่าเป็นช้างของคนแถว นั้น เขาเอาช้างไปตกปลอก(ล่าม –ผู้เขียน) เพราะข้างๆ สวนยางของพี่ชุมทองเป็นป่าไส(ป่าพรุ – ผู้เขียน) ช่วงหน้าฝนต้นไม้พืชพันธุ์มันขึ้นงาม และสวนยางไม่มีคนมาตัด เลยเอาช้างไปไว้ตรงนั้น ไอ้เราก็ไม่รู้เลยวิ่งกันไว้ก่อน(หัวเราะ)” โต๊ะครูอับดุลมาลิกบอกว่า พอคุยกันสักพักก็รู้ว่าคนแถวนั้นเป็นคนไทยพุทธ “เขาเรียกให้เราขึ้นบ้าน หุงหาข้าวให้กิน และให้นอนพักผ่อนเพราะเราจําทางกลับไม่ได้(หัวเราะ) ก็มันยังดึกมาก ยังไม่ทันสว่าง เลยไม่รู้จะไปทางไหน ก็นอนหลับ พอรุ่งเช้าเขาพาไปขึ้นลูกเงาะกับ ลูกลางสาด แถวนั้นผลไม้ดกมาก เขาให้ผมมาเป็นกระสอบใหญ่ และพามาส่งที่บ้านพี่ชุมทองด้วย เรียกว่าหนีช้างหนนั้นคุ้มมาก(หัวเราะ) “นั่งกินผลไม้อยู่บ้านพี่ชุมทองพักใหญ่เพื่อนๆ ก็กลับมา และพวกมันก็ได้ผลไม้กันมาเป็นกระสอบ เหมือนกัน เรียกว่าวิ่งไปทางไหนก็เจอชาวบ้านใจดีทั้งนั้น มานั่งเล่าให้ฟังกัน คนไทยพุทธที่พวก เราหนีช้างไปพบก็บอกเหมือนกันว่า ถ้าฝนตกให้กลับไปเอาผลไม้อีก ของผมนี่วันสารทเดือนสิบ เขาต้องไปทําบุญที่วัดก็ให้ผมไปเลี้ยงลูกให้ เราก็ได้ขนมพองขนมลามากินอีก พอจะกลับมาบ้าน เขายั ง ควั ก เงิ น ให้ อี ก คนละสิ บ บาทห้ า สิ บ บาท ได้ ร วมๆ แล้ ว สี่ ห้ า ร้ อ ย สมั ย นั้ น ไม่ เ บาเลยนะ (หัวเราะ)”
27
ชีวประวัติบาบาอับดุลมาลิก เริงสมุทร์ อินชาอัลลอฮ-ไปตามประสงค์ของอัลลอฮ
แต่ในความทรงจําที่งามงดยังมีสิ่งค้างคาใจของโต๊ะครูอับดุลมาลิกอยู่คือ ความจําบางส่วนที่ หายไปกระทั่งไม่รู้ว่าบ้านของชาวบ้านผู้เอื้ออารีเหล่านั้นอยู่ในหมู่บ้านไหน ตําบลและอําเภออะไร ในปัจจุบัน เพียงแต่จําได้รางๆ ว่าอยู่ละแวกบ้านท่าเรือในจังหวัดนราธิวาส “นี่ยังไง มันเป็นเสียอย่างนี้” ผู้เฒ่าส่ายหัวแล้วแตะที่ขมับตนเอง “มันจําไม่ได้แล้วว่าพวกเขาอยู่ ในหมู่บ้านอะไร รู้แต่ว่าใจดีมาก สมัยนั้นมันเป็นอย่างนี้ คนไทยพุทธ คนมลายูในระดับชาวบ้าน เขาอยู่กันไม่มีปัญหา ไม่มีทะเลาะเบาะแว้งกัน เรื่องทะเลาะกันส่วนใหญ่ไม่เกี่ยวกับศาสนา แต่ เป็นเรื่องของการแย่งชิงอํานาจอิทธิพลเสียมากกว่า” บาบอวัยชราหยุดเหมือนทําท่านึกอะไร บางอย่าง “เหมือนเรื่องของผมอีกเรื่อง” ในห้ วงของการปิดเรี ยนปีหนึ่ ง โต๊ะครูอับดุลมาลิกในวัยหนุ่มและผองเพื่อนออกเดินทางด้วย เป้าหมายเช่นเดิมคือใช้เวลานอกการเรียนศาสนาหารายได้มาจุนเจือชีวิตที่ลําพังห่างครอบครัว เขาและเพื่อนนั่งรถสองแถวเข้าไปในหมู่บ้านแห่งหนึ่งที่อยู่ในเขต จ.นราธิวาส “ก็ต้องการไปตัดยางเช่นเดิม ไปกับบังดํา คนในสระ(เมืองกระบี่) กับดาโอ๊ะคนนคร ตอนนั้นเข้า ไปที่หมู่บ้านลูกาฮีเล อันว่าชื่อลูกานั้นมีสองหมู่บ้านติดกันคือ ‘ลูกาฮีเล’ กับ ‘ลูกาฮูลู’ ทั้งสอง หมู่บ้านนี้มีเจ้าพ่อใหญ่อยู่หมู่บ้านละคน ที่ฮีเลชื่อ ‘แบเซ็ง’ ส่วนที่ฮูลูชื่อ ‘แวบาตง’ สองคนนี้เขาไม่ ถูกกัน ต่างก็มีอํานาจอิทธิพลสูงทั้งคู่ ผมเข้าไปหาเจ้าพ่อฮีเลก่อน ไปถึงก็ฝากเนื้อฝากตัว ว่าผมมา ทํางานที่บ้านนี้ ถ้าผิดพลาดประการใดก็ขอมาอัฟ(ขออภัย)ด้วย แกถามผมว่ามาตัดยางของใคร ผมก็บอกว่ามาตัดยางที่บ้านโต๊ะเยาะดี มีกงสี(กระท่อม)อยู่ไกล ต้องเดินไปกิโลกว่า แกก็บอกผม ว่า ที่กงสีไม่ต้องขบแจ(‘ขบ’หรือ ‘ยับ’ แจหรือกุญแจ คนปักษ์ใต้ใช้เรียกการใส่กุญแจ –ผู้เขียน) มี เงินเท่าไหร่ก็วางไว้ รับรองว่าไม่หาย ถ้าหายมาบอกแก ไม่ว่าจะนาฬิกา เสื้อผ้า เงินทองอะไรก็ แล้วแต่แกรับประกันให้หมด เรียกว่าหมู่บ้านนั้นไม่มีขโมยเลย เพราะแกรับรองให้ “ทุกวัน พอละหมาดอิซาเสร็จสักตีเก้ากว่าๆ (ประมาณ 3 ทุ่มกว่า)ก็ต้องออกเดินทาแล้ว ตัดสวนนี้ เสร็ จ ก็ ต้ อ งไปสวนโน้ น ตั ด สวนโน้ น เสร็ จ ก็ ว นมาเก็ บ สวนนี้ เพราะมั น มี ย างให้ ตั ด สองแปลง
28
ชีวประวัติบาบาอับดุลมาลิก เริงสมุทร์ อินชาอัลลอฮ-ไปตามประสงค์ของอัลลอฮ
หลังจากนั้นก็ให้อีกคนหาบน้ํายางกลับบ้าน อีกสองคนไปเก็บน้ํายางสวนโน้นต่อ ชีวิตมันเป็นอย่าง นี้” โต๊ะครูอัลดุลมาลิกเล่าว่ายางพาราที่หมู่บ้านดังกล่าวไม่ได้ปลูกเป็นแนว หรือที่ใต้เรียกว่า ‘เป็น โสด’ อย่างที่เราคุ้นตา แต่ปลูกกันเป็นหย่อมๆ ซึ่งกรรมวิธีที่เคยชินทั้งการตัด (กรีด) และการเก็บ น้ํายางจึงค่อนข้างยุ่งยากลําบากกว่าเดิมนัก ด้วยบางครั้งก็ยากแก่การจดจําว่าตรงไหนตัดแล้วหรือ ยังไม่ได้ตัด แต่ละหย่อมมีประมาณร้อยต้น เกร็ดบางเรื่องที่เกี่ยวข้องกับชีวิตในสวนยาง ‘งานช่วงปิดเรียน’ของเด็กปอเนาะหนุ่มคนนี้ก็ชวน ขบขันใช่หยอก “ตัดกันไปพลางก็หุงข้าวกันไปพลาง เพราะช่วงนั้นเป็นเดือนบวช(รอมฏอน) กินข้าวบวชเสร็จก็ เก็บสวนนี้ได้ แล้วผลัดเวรกันหาบ ตอนนั้นถึงเวรผมหาบพอดี หาบน้ํายางออกมาสักพัก ไม้หาบก็ ไปทับสายไฟ(ตะ)เกียงแก้ส มันก็ดับพรึ่บ! ไม่มีไฟ ไม้ขีดก็ไม่มี เดินต่อไปก็ไม่ได้เพราะเดี๋ยว(สะ)ดุด รากยางล้มหน้าทิ่มน้ํายางหก เมื่อทําอะไรไม่ถูกก็เลยนั่งอยู่ตรงนั้น พวกมา ตัดยางทีหลังเราเดิน มาเจอเงาตะคุ่มๆ อยู่ในความมืดก็ตกใจวิ่งกันอุตลุด ผมตะโกนบอกว่าอย่าวิ่งๆ เขาก็ถามเป็น ภาษามลายูว่ามาทําอะไร ก็เล่าให้ฟัง เขาจึงค่อยๆ ย่องมาจุดไฟให้ นึกเรื่องนี้แล้วขํามาก(หัวเราะ) ขณะใช้ชีวิตเป็นชาวสวนยางในช่วงเวลาสั้นๆ นั้น เด็กหนุ่มได้ยินเรื่องราวความดุของเจ้าพ่อสอง หมู่บ้านเสมอ ซึ่งก็น่าหวาดหวั่นอยู่หรอก ที่ความเป็นความตายในหมู่บ้านถูกบอกเล่าเข้าหูทุกวี่วัน “วันหนึ่งผมกําลังหมุนยางอยู่ที่จักรยาง ได้ยินเสียงเหมือนประทัด ดัง ปุๆๆๆ จึงถามคนที่มาทํา ยางว่าเขาจุดประทัดกันที่ไหน คนที่นั่นบอกว่าถ้าเสียงอย่างนี้น่าจะเป็นลูกปืน ซึ่งถ้าเป็นแถวบ้าน เราคงคิดว่าประทัด เพราะคุ้นเคยกับมันมากกว่า แต่ปรากฏว่าในบ่ายวันนั้น แวบาตง เจ้าพ่อลู กาฮูลูตายแล้ว ถามๆ กันก็รู้ว่า แวบาตงแกมีเมียสองคน คนหนึ่งถ้าจะไปหาต้องเดินทางผ่าน หมู่บ้านฮีเล ผ่านบ้านของแบเซ็ง สงสัยกันว่าลูกน้องแบเซ็งยิง ผมไปดู นอนตายอยู่ในปลักควาย คงจะออกวิ่งไป และเจอหนังสือพิมพ์รองนั่ง และมีก้นสูบยาอยู่ น่าจะดักรอยิง เขาก็วิจารณ์กัน
29
ชีวประวัติบาบาอับดุลมาลิก เริงสมุทร์ อินชาอัลลอฮ-ไปตามประสงค์ของอัลลอฮ
ซุบซิบว่าคงเป็นฝีมือของแบเซ็งแน่นอน พูดถึงแบเซ็งนั้น แกมีเมียอยู่ทั้งหมดสี่คน ถ้าแกทิ้งเมียคน ไหนก็ไม่มีใครกล้าเอาต่อเพราะถือว่าเป็นบากัส(รอย)ของแก แม้แกไม่พูดแต่ก็ไม่มีใครกล้า ก็คิด กันไปว่าใครเอาก็ตาย แบเซ็งแกทําตัวเหมือนพระยา เวลาไปหาแก ต้องคลานเข้าไปแกถึงจะ พอใจ เขาเรียก ‘ออแฆตีมู’ หรือ คนดังของที่นั่น เราต้องลีบเล็กเหมือนคนไม่มีอะไร คนดังอย่าง แก ใครไปทํ า ให้ ไ ม่ พ อใจก็ ต้ อ งหนี ลู ก เดี ย ว ขนาดทหารหรื อตํ า รวจจะผ่ า นถนนบ้ า นแกตอน กลางคืนยังต้องขออนุญาต เพราะแกก็คงกลัวถูกลอบยิง กลางคืนบ้านแกจะมีตํารวจลูกน้องแกมา เฝ้าด้วย ผมก็ทํางานไปอย่างเดียว จนกระทั่งปอเนาะเปิดเรียนก็กลับ” ชีวิตในปอเนาะสําหลาผ่านไปอย่างรวดเร็ว แต่โลกในดวงตากลับกว้างขวางขึ้น ต้นปีพุทธศักราช 2485
นายดํารงค์ เริงสมุทร์ ก็ตักตวงความรู้ทางศาสนาได้ในระดับที่น่าพอใจจึงเก็บสําภาระออก
เดินทางกลับ แต่เป้าหมายแรกที่เขาต้องการไม่ใช่บ้านเกิดที่จากมานานนับสิบปี แต่เขากลับเบี่ยง เส้นทางกลับเพื่อแวะไปที่ปอเนาะบ้านตาลเพื่อเยี่ยมครูบาอาจารย์ คือ‘อัลมัรฮุมฮัจยีเดช พิศ สุวรรณ’ ปู่ของ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ การแวะนอนเพียงหนึ่งคืนที่นั่นเพื่อเยี่ยมครูกลับเป็นการ จุดคบไฟให้เส้นทางแก่เด็กหนุ่มอีกครั้ง เมื่อครูบอกเขาว่าหยุดเรียนปอเนาะได้แล้ว ความรู้ที่ได้ เพียงพอต่อการทํางานศาสนาในบ้านรา แต่เขาควรเดินทางต่อไปยังประเทศอียิปต์เพื่อเรียนต่อ ด้านศาสนาขั้นสูงสุดที่นั่น และควรแวะทําฮัจย์ที่นครมักกะฮ ซาอุดิอาระเบียก่อน “เพราะลูกของเขา คือพ่อแม่ของ ดร.สุรินทร์อยู่ที่มักกะฮ แกอยากให้พ่อแม่ของ ดร.สุรินทร์อบรม สั่งสอนมารยาทของเราเสียก่อน ก่อนไปอียิปต์ แกบอกว่า นั่นแหละ มึงต้องหาเงินไปอียิปต์ แกสั่ง ว่าอย่างนี้เลย ต้องหาให้ได้อย่างน้อยสามหมื่นห้าพัน ถ้าแค่ไปมักกะฮแค่หมื่นเดียวก็พอ เพราะ ต้องขึ้นเรือน้ําจากไทยไปมักกะฮและจากมักกะฮขี่เรือบินไปอียิปต์อีกที” ประกายฝันวับวามทั้งยามหลับและตื่น เสียงอาซานแห่งมหาสุเหร่า ‘ฮารอม’ ณ มักกะฮ ดังก้อง ในห้วงคํานึงของชายหนุ่ม เช่นเดียวกับหลังคารูปโดมเหนือท้องทุ่งทะเลทรายดินแดนปีรามิดที่ วนเวียนมาให้ถวิลถึง
30
ชีวประวัติบาบาอับดุลมาลิก เริงสมุทร์ อินชาอัลลอฮ-ไปตามประสงค์ของอัลลอฮ
ชายหนุ่มหอบคําพูดของครูกลับบ้านในวันรุ่งขึ้น –บ้านเกิดรอเขาอยู่ปลายทาง แต่ใจของโต๊ะครู อับดุลมาลิกวัยหนุ่มเตลิดผ่านมหาสมุทรไปเรียบร้อยแล้ว แต่ไม่ว่าท้ายที่สุดผลของมันจะออกมา ในรูปแบบไหน อิชชาอัลลอฮ –ทุกสิ่งเป็นไปตามประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้า ซึ่งชายหนุ่มเชื่อมั่นด้วยศรัทธาว่า พระองค์ทรงมอบหนทางอันยาวไกลให้เขาได้สืบเท้าก้าวเดินอยู่ เสมอ.
31
ชีวประวัติบาบาอับดุลมาลิก เริงสมุทร์ อินชาอัลลอฮ-ไปตามประสงค์ของอัลลอฮ
บทที่ 5 ฉากชีวติ กลาง ‘มักกะฮ’: คุกทะเลทรายใต้เสี้ยวจันทร์ โต๊ ะ ครู อั บ ดุ ล มาลิ ก วั ย หนุ่ ม มุ่ ง มั่ น ว่ า ตนเองต้ อ งเดิ น ทางไปสู่ ดิ น แดนแห่ ง ทะเลทรายให้จงได้ เพราะประเทศแห่งคาบสมุทรอาระเบียนแห่งนั้นนอกจากเป็นแหล่งกําเนิดซึ่ง ร่อซู้ลแล้ว ดอกผลแห่งอิสลามยังงอกงามเบ่งบานและมีความรู้ให้เขาตักตวงได้มิมีสิ้นสุด ชายหนุ่มเดินทางกลับมาบ้านแหลมสักด้วยจิตใจอันมุ่งมั่น และไม่พูดพร่ําทําเพลง เขาจัดการ วางแผนขายสวนที่บ้านหนองหลุมพอซึ่งผู้เป็นบิดาแบ่งให้เขาไว้ 25 ไร่ โดยตั้งราคาไว้สามหมื่น บาท แต่บททดสอบปรากฏอยู่เสมอเมื่อที่ดินแปลงนั้นกลับขายไม่ได้ มีคนจํานวนมากอยากได้และ เข้ามาดูที่ แต่พวกเขาไม่มีเงินซื้อ เงินจํานวนนั้น เมื่อย้อนกลับไปเมื่อสี่ส้าห้าสิบปีก่อนไม่ใช่จํานวนน้อยๆ เฉพาะมหาเศรษฐีเท่านั้นที่ มีปัญญาครอบครอง “ตอนนั้น คิดว่าคงหมดหวังไปอียิปต์แล้ว เลยรวมเงินที่บ้านได้มาราวหนึ่งหมื่นห้าพันบาท สมัย นั้นไม่ใช่น้อยๆ เลยนะ เทียบกับสมัยนี้คงเป็นแสน เฉพาะค่าเรือไปกลับเขาคิดห้าพันบาท แต่เขา ประกาศว่าถ้าใครไปแล้วไม่กลับจะเก็บแค่ครึ่งเดียวคือสองพันห้าร้อยบาท เอาแต่ขากลับเท่านั้น แต่ เ ขาจะเก็ บ เงิ น ไว้ ก่ อ นเลยห้ า พั น ตอนนั้ น มี เ รื อ 2 ลํ า แข่ ง กั น ลํ า หนึ่ ง ชื่ อ กาวี น่ า เป็ น ของ อินโดนีเซีย อีกลําชื่อฮวยยิ่ง ของคนไต้หวัน เขาก็แย่งกันหาลูกค้าอุตลุด กาวีน่าใช้วิธีโฆษณาว่า หากใครไม่กลับเขาจะเก็บแค่ครึ่งเดียว ไปถึงมักกะฮแล้วถ้าใครไม่อยากกลับก็มาเอาเงินที่เรือครึ่ง ที่เหลือ ผู้ จัดการเรือชื่อ ‘อับดุลเราะมาน ยามู’ คนปัตตานี แกมีแ ผนการว่านักเรียนที่ อยาก เดินทางไปเรียนที่โน่นให้มาขึ้นเรือแกให้หมด สมัยนั้นไปกันร้อยกว่าคน”
32
ชีวประวัติบาบาอับดุลมาลิก เริงสมุทร์ อินชาอัลลอฮ-ไปตามประสงค์ของอัลลอฮ
การเดินทางไปทําฮัจย์ที่นครมักกะฮของโต๊ะครูอับดุลมาลิกเริ่มต้นขึ้นเมื่อราวปีพุทธศักราช 2507 แผ่นดินแม่เลือนรางอยู่ทางด้านหลัง เส้นทางที่อัลลอฮกําหนดให้ปรากฏอยู่ข้างหน้า ผิดแต่ชาย หนุ่มไม่รู้อุปสรรคอันเป็นบททดสอบ ไม่ทราบว่ามันจะเหน็บหนาวหรือเร่าร้อน ทุกสิ่งทุกอย่างที่ คอยเขาอยู่บนแผ่นดินของท่านร่อซู้ลมีแต่พระผู้เป็นเจ้าเท่านั้นที่รู้ล่วงหน้าและขีดเส้นเอาไว้ให้ “พอไปถึงที่มักกะฮ ก็แยกย้ายกันไปทําฮัจย์ แต่เขา(ผู้จัดการเรือกาวีน่า)เก็บพาสปอร์ตคนไทย ทั้งหมดเอาไว้ หลังจากทําประกอบฮัจย์กันเสร็จ ก็ได้ยินเขาประกาศก่อนเรือเดินทางออก 1 วันว่า ให้พวกที่ไม่กลับไปรับพาสปอร์ตที่เรือ รับพาสปอร์ตเสร็จแล้วค่อยนั่งรถกลับมักกะฮ แผนการของ เขาคือแจ้งเจ้าหน้าที่ตํารวจซาอุดี้ไว้แล้ว พวกที่ไปรับพาสปอร์ตจะถูกตํารวจจับขึ้นเรือทั้งหมด” โต๊ะครูอับดุลมาลิกย้อนความ ก่อนเว้นประโยคเพื่อเอื้อมไปหยิบแก้วน้ํามาจิบแก้คอแห้ง “แต่ผมโชคดี ขอบคุณอัลลอฮที่ประทานให้” เขากล่าวและแหงนใบหน้ามองข้างบนชั่วขณะหนึ่ง “อย่ า งที่ บ อกไว้ ว่ า ผมไปอยู่ กั บ พ่ อ ของ ดร.สุ ริ น ทร์ พิ ศ สุ ว รรณ ชื่ อ ท่ า น ‘อิ ส มาแอล ’ คน นครศรีธรรมราช ผมเลยขอให้ท่านเดินทางไปรับพาสปอร์ตมาให้ ผมพอเดาออกว่ามันเกิดอะไรขึ้น จึงไม่เดินทางไปเอง ท่านอิ สมาแอลไปรับพาสปอร์ตมาสั กพั กตํารวจก็ขึ้ นมา ถามว่าโต๊ะแซ๊ะ (หมายถึงตําแหน่งผู้จัดการฮัจย์ที่ต้องรับผิดชอบคณะบุคคลคณะหนึ่งขณะเดินทางไปทําฮัจย์ใน นครมักกะฮ –ผู้เขียน) อยู่ที่ไหน โต๊ะแซ๊ะของผมชื่อ ‘สุลัยมาน ยาบีรฺ’ ซึ่งพ่อของ ดร.สุรินทร์อยู่ กับแซ๊ะนี้ด้วย แต่ว่าท่านอิสมาแอลคงหลบไปอยู่ในมัสยิดฮารอมแล้ว เพราะข้างในนั้นตํารวจไม่ เข้าไปจับ ต่อให้ต้องคดีร้ายแรงแค่ไหนหากหลบเข้าไปอยู่ในนั้นเขาจะไม่จับ เพราะเป็นสถานที่ ศักดิ์สิทธิ์สําหรับมุสลิมทุกคนที่ไปทําฮัจย์ในมักกะฮ ออกมาถึงจะดําเนินการจับ” การตัดสินใจอยู่ต่อในนครมักกะฮทั้งที่รู้ว่าจะกลายเป็นคนมีความผิดฐานหลบหนีเข้าเมือง โต๊ะครู อับดุลมาลิกบอกตนเองว่าเขาตั้งใจทําผิดเพื่อการศึกษา มิใช่สิ่งอื่นใด ขณะนั้นเขามีเพื่อนอีกคน พร้อมภรรยาที่ร่วมทางด้วยคือ ‘อับดุลมุตตอลีบ’ ชาวบ้านท่าเสา จ.สงขลา
33
ชีวประวัติบาบาอับดุลมาลิก เริงสมุทร์ อินชาอัลลอฮ-ไปตามประสงค์ของอัลลอฮ
“หลังทําฮัจย์เสร็จ ผมรวบรวมเงินที่เหลือไปซื้อจักรเย็บหมวกมา 1 ตีน พร้อมผ้า ลูกด้าย และฝ้าย อยากทําหมวกกะปิเยาะ(หมวกครอบศีรษะไม่มีปีกของมุสลิม -ผู้เขียน)ขาย ไม่เคยทํา แต่คิดว่าเรา ต้องทําได้ ตอนนั้นราคาหมวกมันดี อาชีพคนไทยที่ไปอยู่ซาอุดี้สมัยนั้นก็มีแต่พวกนี้แหละ เย็บ หมวก เย็บเสื้อตุ้บ(เสื้อคลุมของมุสลิม) คนไทยฝีมือประณีต เขานิยม แต่ผมไม่เข้าเค้าที่ว่าเลย (หัวเราะ) ผมทํารึงรังกึงกัง ดูมั่วๆ แต่สุดท้ายก็ขายได้ สงสัยเขาเห็นว่ามันแปลก (หัวเราะ) น้ํามัน จักรติดหลุหละเสียหมด (หลุหละในภาษาถิ่นใต้คือความหมายเละเทะ ดูไม่ได้ –ผู้เขียน) ปรากฏว่า อาหรับชอบ เพราะถือว่าเป็นของใหม่ คนอาหรับเขาอย่างนี้ เปื้อนๆ มอมแมมเขาถือว่าใหม่ ไม่มี ใครเคยใช้(หัวเราะ) คนที่ซื้อไปมากเป็นพ่อค้าชาวเยเมน สวยไม่สวยมันเอาทั้งนั้น ทั้งที่ผมเย็บดอก ไม่เป็นดอก(หัวเราะ) มันมากว้านซื้อแล้วเอาไปขายที่ริยาด แล้วเอากลับไปเยเมน เดือนละครั้ง เราต้องตุนเอาไว้ให้ เพราะมันล็อคจํานวนไว้เลย มันบอกว่า “ซายูน” หมายถึงอย่าขายใครนะ ช่วงแรกๆ ก็ทําจนหลุดค่าผ้า ค่าน้ํามัน ได้กําไรมาบางส่วน หลังจากนั้นก็เริ่มชํานาญ จึงลงมือทํา ยาวจนกระทั่งกลับบ้าน” เมื่อจับเครื่องมือหาเลี้ยงชีพได้แล้วก็เหมือนการผลักภูเขาออกจากอกไปเปลาะหนึ่งสําหรับคน ต่างชาติต่างภาษาที่มีชนักความผิดฐานหลบหนีเข้าเมืองติดหลัง แต่เป้าประสงค์ตั้งใจแรกก็ก็ไม่ อาจทิ้งได้ “ผมเข้าเรียนในมัสยิดฮารอม กลางวันจะไปเรียนในโรงเรียนชื่อ ‘ดารุลอุลูม’ เรียนศาสนาผสม สามัญด้วย เกี่ยวกับเรื่องยุกรอเฟีย(ภูมิศาสตร์) ตาริก(ประวัติศาสตร์) อุลูมวัลซีห๊ะ(วิชาเกี่ยวข้อง กับสุขศึกษาอนามัย) อัลหิซาบ(คณิตศาสตร์) และฮันดาซะฮ์(เรขาคณิต) เรียน 7 โมงเช้าถึงบ่าย โมงก็หยุด หลังจากนั้นก็กลับมาบ้านพักเพื่อเย็บหมวกต่อ พอหัวค่ํา 6 โมงเย็นก็กลับไปละหมาด มักริบ ทุ่มหนึ่งก็เรียนกีตาบ เกี่ยวกับกฏหมายอิสลาม จนถึง 2 ทุ่มครึ่งก็ละหมาดอีซากันต่อ แล้ว จึงเรียนกีตาบกันต่ออีกเล่ม พอเสร็จก็กลับบ้านไปกินข้าว เย็บหมวกต่อจนถึงเที่ยงคืน จึงนอน พอ ตีห้าครึ่งก็ตื่นไปละหมาดซุบฮฺ แล้วเรียนกีตาบ 2 เล่มก่อนกลับมาอาบน้ํากินข้าวและแต่งตัวไป โรงเรียน เรียกว่าชีวิตวนเวียนอยู่อย่างนี้ทุกวี่วัน อยู่แต่กับมัสยิดฮารอม บ้านพัก เรียน แล้วก็เย็บ หมวก
34
ชีวประวัติบาบาอับดุลมาลิก เริงสมุทร์ อินชาอัลลอฮ-ไปตามประสงค์ของอัลลอฮ
“ในบ้านพักของผมมีเพื่อนอยู่ร่วมกันอีก 2-3 คน มีนายฮาฉิม คงดื่ม คนคลองเม่า กระบี่ ปัจจุบัน เสียชีวิตแล้ว กับนายสอและ ยมโดย คนทับปุด พังงา ปัจจุบันเสียชีวิตแล้วเหมือนกัน คนท้ายนี้ คือคนที่เป็นน้องเขยของผมปัจจุบัน” ชีวิตของผู้มีชนักติดหลังฟังดูราบเรียบเหมือนผิวน้ําทะเลยามบ่าย หารู้ไม่ว่า คลื่นใหญ่หลายลูก ม้วนตัวอย่างรุนแรงอยู่ใต้น้ํา รอวันพุ่งแรงขึ้นมาข้างบน “อยู่ๆ มาก็มีเรื่องจนได้ เมื่อสถานทูตไทยเขาประกาศให้นักเรียนไทยในซาอุดี้ไปประชุมรวมกัน เขาจะเลือกประธานและกรรมการนักเรียนไทย เขามีการจัดเลี้ยงใหญ่ มีการหุงข้าวหมกเลี้ยงกัน ด้วย และมีประกาศมาว่าถ้านักเรียนไทยคนไหนมีชุดสูทสากล ใครไม่มีให้ใส่เสื้อโต้บไป ผมมีชุด สากลจึงแต่งไป ออกเดินทางกันไปหลายคันรถ สมัยนั้นมีอาจารย์แช่ม พรหมยงค์ อยู่ที่ซาอุดี้ด้วย แกเพิ่งถูกคดีในเมืองไทยหลบไปอยู่จีนมั่ง รัสเชียมั่ง ซาอุดี้บ้าง ช่วงนั้นแกอยู่พอดีจึงไปด้วย พอไป ถึงเขาจัดงานเหมือนงานสนุกทั่วไป มีการสอยดาวด้วย ก็มีการเลือกประธานของนักเรียนไทยจน ดึกตี 3 กว่า ได้นายอาแซ คนยะลาเป็นประธาน นายอาลี คนนครเป็นรองประธาน ผมได้รับเลือก ให้เป็นกรรมการชุดนั้นด้วย “ขากลับก็นั่งรถบัสคันเดิมกลับ มาเจอด่านตรวจ เขามีไม้กั้นไม่ให้รถผ่าน แต่รถของอาจารย์แช่ม ผ่านไปแล้ว มี 3 คันที่ไม่ได้ผ่าน ผมอยู่คันแรกเลย ตํารวจก็ขึ้นมาตรวจ จริงๆ คนหลบหนีเข้าเมือง มีไม่กี่คนหรอก ผมก็เป็นต่างด้าว ตํารวจถามว่าใบต่างด้าวมีไหม ก็ตอบพร้อมกันทั้งรถว่า มีๆๆๆ เขาถามว่าอยู่ไหน ก็บอกกันว่าอยู่บ้านทั้งนั้น “คืนนั้นเดือนมันสว่าง เริ่มมองเห็นท่าไม่ดีแล้ว เพราะท่าทางตํารวจมันเอาจริง พวกเราก็ตัดสินใจ กรูกันลงจากรถ ตํารวจตกใจถามว่าจะไปไหน เราบอกว่าจะไปเยี่ยว(หัวเราะ) จากนั้นก็วิ่งกันสุด ฝีเท้า จากด่านที่ว่านี้ถึงบ้านพักมันไกลกว่าห้าสิบกิโลเมตร มีคนอ้วนชื่อนายหมีดกับนายหมุด มันวิ่งไม่ ทันเพื่อนก็ตะโกนบอกว่าอย่าวิ่งๆ ให้เดินเร็วๆ ก็พอ (หัวเราะ) เจอทางขึ้นเนิน วิ่งไม่ค่อยไหว
35
ชีวประวัติบาบาอับดุลมาลิก เริงสมุทร์ อินชาอัลลอฮ-ไปตามประสงค์ของอัลลอฮ
ตอนนั้นตัดสินใจว่าจะไม่วิ่งบนถนน แต่จะวิ่งฝ่าทะเลทรายเอา พอวิ่งมาสักพักหันไปมองเหลือ เพื่อนแค่ 12 คนเพราะที่เหลือมันวิ่งไปทางถนนหมด พอมาเจอทรายมันก็วิ่งไม่ค่อยไหว เพราะ รองเท้าเราหนาและใหญ่ จึงถอดรองเท้า มันมีหนามทะเลทรายเล็กๆ ตําเจ็บเท้ามาก เลยบอก เพื่อนว่าหยุดเถอะ อย่าเพิ่งวิ่งให้ประชุมกันก่อน (หัวเราะ) ถามเพื่อนว่าพวกมึงจะวิ่งไปไหน เพื่อน บอกวิ่งไปมักกะฮ เลยบอกว่าเราจะวิ่งไปได้อย่างไรสี่ห้าสิบกิโล เพื่อนอีกคนบอกว่าวิ่งไปทางวะดี ซึ่งเป็นทางลัด ผมชี้ให้เห็นว่าโน่น ตะวันจะขึ้นแล้ว ไม่มีต้นไม้ให้หลบร้อน น้ําจะกินก็ไม่มี เพื่อน ถามว่าแล้วจะเอาอย่างไร ผมเลยบอกให้วิ่งกลับไปทางด่านตรวจ แต่ถ้าตํารวจจะจับเราก็ไม่เป็นไร ดีกว่าตาย ถ้าเราสามารถเดินอ้อมด่านตรวจไปได้ เราจะไปสถานทูตไทย อีกกลุ่มไม่เห็นด้วย เขา จะไปต่อเลยแยกกันตรงนั้น 6 คน จับมือสลามกันแล้วอวยพรให้ปลอดภัย ผมหันมาบอกเพื่อนที่ เหลือว่าถ้าเราเดินผ่านด่านตรวจแบบเพ่นพ่านก็ถูกเอารถมาจับ เพราะเขารู้ว่าไอ้พวกเมื่อคืนแน่ๆ เลยให้เดินเรียงแถว เขาจะได้เห็นเหมือนเรามาคนเดียว ซึ่งอาจเป็นชาวบ้านก็ได้ เอารถออกจาก ด่านให้เปลืองทํ าไม พวกผมจึ งเดินผ่านด่ านมาได้ คิดตอนนั้น แล้วก็ ตลกตนเองว่าคิดได้ยังไง (หัวเราะ) “เดินเข้าหุบเขา ไปเจอบ่อน้ํา เอาก้อนหินโยนลงไปได้ยินเสียงน้ํา แต่ไม่มีที่ตัก บังเอิญคนอาหรับ เลี้ยงแกะ และผู้หญิงปิดหน้าเที่ยวหาเห็ดสะพายย่ามผ่านมา เขาบอกว่ามีน้ําขาย เลยรวมเงินกัน คนละเหรียญสองเหรียญมันเอาทั้งหมด มันไปเอาน้ําที่ขังไว้ในยางรถยนต์สําหรับให้แกะกับแพะ กินมาให้เรา โอ้โห! มันขมปร่า ขมติดลิ้นติดคอเลย แต่ก็กินหมดด้วยความกระหาย หลังจากนั้น ออกไปเจอถนน เลยบอกให้เพื่อนคนหนึ่งไปดักรถสักคัน อย่าไปทุกคนเพราะเรานุ่งกางเกง มันดู ประหลาด พวกที่เหลือจึงนอนราบกับพื้นให้เพื่อนคนเดียวไปยืนรอโบกรถ นัดแนะกันว่าให้บอก เขาว่ารถเรายางแตก หลายคันไม่จอดรับ พอดีเจอคนอาหรับขับรถกระบะบรรทุกถ่านไปขาย เขา ถามว่ามีค่ารถไหม เราบอกว่าไม่มีค่ารถ เรากําลังจะไปสถานทูตไทย เขาบอกไม่รู้จัก พวกเราก็ไม่ คุ้นเคย แต่ก็รับเราไป สภาพแต่ละคนตอนนั้นมอมแมมมาก “พอมาเจอธงชาติไทยรู้สึกโล่งใจมาก สบายใจแล้ว ใครก็ทําอะไรเราไม่ได้ เจ้าหน้าที่สถานทูตเขา ถามเราก็เล่าให้ฟัง สักพักมีโทรศัพท์เข้ามา บอกว่าพวกที่เหลือถูกจับเต็มตารางแล้ว(หัวเราะ)
36
ชีวประวัติบาบาอับดุลมาลิก เริงสมุทร์ อินชาอัลลอฮ-ไปตามประสงค์ของอัลลอฮ
“เพิ่งมารู้ทีหลังว่า 6 คนที่แยกจากเราไป พวกมันเดินไปเจอสวนแตงโม เขาเรียก ฮับ-ฮับ พวกมัน ก็ขโมยแตงโมมากินกันจนอิ่ม แตงโมนี่กินมากมันจะแน่น หมดแรงไปไม่รอด ก็เลยหลับกันอยู่ตรง นั้น (หัวเราะ) เจ้าของสวนมาเจอเลยเรียกตํารวจมาจับ แล้วเอาไปขังรวมกับพวกที่เหลือ ได้นอน ห้องเดียวกัน(หัวเราะ) “ท่านทูตไทยขณะนั้นบอกว่า “นั่นยังไง คนไทยเราต้องมีมันสมอง(หัวเราะ) ตอนเช้าได้กลับเข้ามา มักกะฮกับหน่วยพยาบาลของสถานทูตที่มาดูแลรักษาคนไทยที่เดินทางมาทําฮัจย์ ซึ่งรถคันนี้ไป ไหนจะไม่มีการตรวจค้นหรือจับกุม เพราะมีธงชาติไทยติดอยู่ เขาจะรู้ว่าเป็นรถสถานทูต” อีกครั้งหนึ่งที่เป็นประสบการณ์อันล้ําค่าที่โต๊ะครูอับดุลมาลิกสามารถนํามาถ่ายทอดเป็นเรื่องเล่า ได้อย่างน่าขบขันระคนความรู้สึกทึ่งต่อการใช้ชีวิตอย่างบากบั่นและสู้ทนกลางนครหลวงของโลก มุสลิมของเขา “มีตํารวจพาชาวอาหรับมาตรวจค้นบ้าน ตอนนั้นผมเพิ่งกลับจากจ่ายกับข้าวที่ตลาด อาบน้ําเสร็จ แล้วและกําลังใส่เสื้อก็ได้ยินเสียงตะโกนมาว่าตํารวจมา โก่งคอดูทางหน้าต่างก็เห็นเข้ามาแล้ว สัก พักมาเคาะประตู ผมรีบวิ่งไปแอบอยู่ในตู้เสื้อผ้า เขาเจอน้องสาวผม ซึ่งตอนนั้นเดินทางไปอยู่ด้วย ซึ่งตํารวจอาหรับเขาจะไม่จับผู้หญิง ถามน้องผมว่ามีผู้ชายไหม น้องสาวบอกไม่มี มันถามอีกว่านี่ รองเท้าใคร และขอเข้าไปตรวจค้น น้องผมก็ไม่กล้าห้าม มันจึงมาเจอผมในตู้เสื้อผ้า เลยถูกจับ “จับผมเสร็จมันก็ขึ้นไปจับข้างบนอีก ทีหลังมารู้ว่ามันขึ้นไปจับคนไทยมาให้คนอาหรับที่มาด้วยดู ตัว เพราะก่อนหน้านี้มีการทะเลาะกันระหว่างคนปัตตานีกับคนอาหรับที่เป็นระดับเจ้านาย มีการ ชกต่อยกัน พอต่อยเสร็จก็หนี มันก็เลยมาตามจับคนนั้น ซึ่งเราคนไทยถูกจับทั้งหมด 6 คน ปรากฏ ว่าไม่ใช่ตัวก่อเหตุเลยสักคน ผลสุดท้ายไอ้ตํารวจคนนั้นมันถามว่ามีบัตรต่างด้าวไหม ผมบอกว่ามี ตํารวจก็พาไปตรวจค้น ผมเลยไปเอาพาสปอร์ตให้มันดู ปรากฏว่าไม่เกี่ยวกับใบต่างด้าว มันก็พา ไปขังที่โรงพัก
37
ชีวประวัติบาบาอับดุลมาลิก เริงสมุทร์ อินชาอัลลอฮ-ไปตามประสงค์ของอัลลอฮ
“พอคืนที่สอง หลังละหมาดมักริบเสร็จ มันก็พาไปสืบสวน มันถามว่าอยู่ประเทศไหน ตอบว่าไทย แลนด์ มันถามว่ามาทําอะไร ตอบมันว่ามาเรียนศาสนา และถามอี กว่ามากี่ปี ก็บอกให้มั นดู พาสปอร์ตเอา เพราะบางคน 3 ปี บางคน 5 ปี บางคน 15 ปีก็มี ถามว่าอยู่บ้านอะไร ก็ตอบว่า ถูก จับที่ ต.ชัยอามีรฺ มันถามว่าเจ้าของบ้านชื่ออะไร ก็ตอบว่า ‘มูฮัมหมัดอารบีรฺ’ เพราะเราไม่รู้ว่าที่ เขาถามเช่นนั้นเพราะเขาต้องการเอาผิดเจ้าของบ้านด้วย จึงบอกตามตรงไป มันถามอีกว่ามีเมีย มี ลูกไหม ตอบไปว่าไม่มี แต่เพื่อนอีกคนรับบอกว่ามีทั้งลูกทั้งเมีย เพราะมันเข้าใจว่าเขาจะสงสาร เราจึงรีบบอกเป็นภาษาไทยว่ามึงระวังลูกเมียจะถูกจับด้วยนะ หลังจากนั้นมันก็สอบสวนทีละคน พอรุ่งเช้าก็ถูกส่งไปศาลในตัวเมือง เจอเจ้าของบ้าน พอเขารู้ว่าเราบอกว่าอยู่บ้านใคร เขาก็บอกว่า ตายแล้ว เขาถูกจับด้วยแน่ๆ และพอรู้ว่าเพื่อนบอกว่ามีลูกเมีย เขาแนะนําว่าให้กลับคําให้การใน ชั้นศาลเสีย พอขึ้นศาล เราก็กลับคําให้การทั้งหมดว่า อาศัยกินอยู่หลับนอนในมัสยิดฮารอม แต่ เรามาถูกจับที่บ้านหลังนี้ เพราะไปเที่ยวหาซื้อแพะ พอมีคนตะโกนว่าตํารวจมา เราก็ตกใจวิ่งเข้า ไปหลบในบ้านหลังนั้น เพื่อนอีกคนก็กลับคําให้การว่าที่บอกว่ามีลูกเมียอยู่หมายถึงอยู่ที่เมืองไทย โน่น ไม่ได้มามักกะฮด้วยกัน “พอเสร็จจากนั้น ก็ถูกพาไปขังคุกที่เมืองมีน่า เป็นคุกเล็กๆ ไม่มีช่องหน้าต่าง ร้อนจนดําเกรียม เป็นตอตะโก ไม่มีเสื่อ ไม่มีลมผ่าน พอกลางคืนก็หิวน้ําจนไส้กิ่ว เขามีสายยางมาให้ แต่ให้หาอะไร มารองน้ําเอาเอง เพราะไม่มีกระป๋องหรือแกลลอนให้ เราไม่มีอะไรติดตัวมาเลย แต่คนอียิปต์ อ้วนๆ ที่มาอยู่ก่อนคนหนึ่งมีกระป๋อง แกเอาไว้รับน้ําไว้ดื่มตอนกลางคืน พอแกหลับเราก็ไปขโมย น้ําแก(หัวเราะ)” “อยู่ในนั้น ได้ความรู้อีกว่า พวกคนไทย มาเลย์ อินโด ที่จมูกแบนๆ พวกจีน ฟิลิปปินส์ คนอาหรับ จะเรียกว่าพวก ‘ยาวา’ ซึ่งเป็นพวกอินโด พอตื่นเช้าคนอียิปต์อ้วนตื่นขึ้นมาแล้วน้ําหาย แกถามว่า ใครขโมยน้ําแก พวกนิโกรบอกว่าพวก ‘ยาวา’มาลัก แกก็เสียงดัง ด่าเป็นภาษาอาหรับ เพื่อนชื่อ ‘ฮาซัน
ซอและ’แกอยู่มา 15 ปี ภาษาอาหรับคล่องปรื๋อก็เถียง แกถอดเสื้อโต้บเหลือแต่กางเกงใน
แล้วบอกให้เราถอดเสื้อผ้าให้หมด พวกนิโกรถามว่าถอดทําไม ฮาซันกําหมัดและยกเป็นการ์ดขึ้น บอกว่าจะต่อยกันแล้ว บอกภาษาอาหรับว่า “มูซอรออะ” พวกนิโกรถามอีกว่า พวกแกมาจาก
38
ชีวประวัติบาบาอับดุลมาลิก เริงสมุทร์ อินชาอัลลอฮ-ไปตามประสงค์ของอัลลอฮ
ประเทศไหน เราตอบเสียงดังว่าไทยแลนด์ พอบอกไทยแลนด์มันก็โบกมือ บอกว่าไม่เอาๆ มัน ทําท่าศอก เข่า และต่อย แล้วส่ายหน้าบอกไม่เอาๆ สรุปว่าเราชนะกันเพี้ยนๆ (หัวเราะเสียงดัง) สงสัยมันเห็นมวยไทยในโทรทัศน์(หัวเราะ)” แม้แสดงท่าขึงขังใช้เชิงมวยไทยท้าทาย แต่ในใจของไอ้หนุ่มฉกรรจ์จากเมืองไทยมิวายหวาดหวั่น อยู่ข้างใน “พอเป็นมวยอยู่บ้าง แต่จริงๆ เราโดนมันจับหนีบก็ตายแล้ว ตัวโตยังกะยักษ์ สู้แรงกันได้ที่ไหน เรานี่ทําท่าเหมือนจะเหนือกว่านะ เพราะมีอาวุธมวยไทยอยู่ในตัว แต่ในใจคิดว่าจะโดนมันจับหัก คอเสียหรือเปล่า(หัวเราะลั่น)” อีกเกร็ดของคนไทยซึ่งมีดีอยู่ที่ชื่อเสียงของศิลปะป้องกันตัวยังเกิดขึ้นอีกรอบขณะโต๊ะครูอับดุลมา ลิกวัยหนุ่มและผองเพื่อนคนไทยถูกจองจําอยู่ในคุกแห่งดินแดนทะเลทราย “อยู่มาสามวัน ส้วมคุกมันเต็ม พวกผู้คุมมันก็บอกให้นักโทษรื้อส้วม โดยการเปิดบ่อให้นักโทษลง ไปตักแล้วเอาไปทิ้งข้างนอก เราคนไทยก็มานั่งหารือกันว่าจะทําอย่างไรกันดีโดยไม่ต้องรื้อส้วม (หัวเราะ) คิดเอาตัวรอดทั้งเพ(หัวเราะ) ก็ตกลงกันว่า พอเพื่อนลงไปคุ้ยส้วมเราก็ละหมาดทันที จังหวะยืนกอดอกก็นาน...นานเข้าไว้ ก้มลงแนบพื้นก็แช่เอาไว้ นักโทษพวกอื่นก็มาดูกันใหญ่ และ ด่าว่าเราว่าละหมาดอย่างนี้กันไม่ได้ ผู้คุมมาเห็นก็ปรามว่า อย่าว่าพวกเรานะ กําลังละหมาดกัน อยู่(หัวเราะ) พอพวกมันรื้อเสร็จเราก็ละหมาดเสร็จพอดี หลังจากนั้นพวกนิโกรมันก็บอกว่า พวก ‘ยาวา’ นี่มันเหลี่ยมที่สุด”
โต๊ะครูอับดุลมาลิกบอกว่า อยู่ในคุกของซาอุดี้ไม่ได้ถูกขังกันเปล่าๆ แต่มีโทษที่ต้องชําระสะสางกัน ตามคดี “เขาเอานักโทษขึ้นรถไปเฆี่ยน เอามือเกาะผนังแล้วเฆี่ยน ไล่น่อง สะโพก หลัง คนหนึ่งไม่ต่ํากว่า สิบที ส่วนใหญ่พวกนักโทษโดนคดีหลบหนีเข้าเมืองทั้งนั้น ตีเสร็จก็พาเข้าคุก มาถึงพวกเราเขา เรียก ‘ฮาซัน ซอและ’ ไปก่อน พอดีไปเจอคนตัดสินโทษมีเชื้อสายปัตตานี สมัยพ่อไปอยู่ได้สัญชาติ
39
ชีวประวัติบาบาอับดุลมาลิก เริงสมุทร์ อินชาอัลลอฮ-ไปตามประสงค์ของอัลลอฮ
และเป็นข้าราชการซาอุดี้ พอแกเห็นชื่อ ‘ฮาซัน ซอและ ปัตตานี’ แกเลยถามว่าเป็นคนที่ไหน ฮาซันบอกว่าปัตตานี แกก็บอกว่าสมัยปู่ของแกเป็นคนปัตตานี คนกรือเซะ แกก็เลยช่วยโดยการ อ่านคําพิพากษาว่า นายฮาซัน ซอและ ปัตตานีและพวกรวม 6 คนมาอาศัยมัสยิดฮารอมเพื่อ ศึกษาศาสนา จึงไม่มีความผิด เราจึงได้รับการปล่อยตัวกันไปไม่ต้องถูกเฆี่ยนสักคน พวกนิโกรมัน ก็หมั่นไส้กันอีก(หัวเราะ) ศาลบอกให้เราหาคนสัญชาติซาอุดี้มาเป็นนายประกัน เราไปได้คนกลัน ตัน(มาเลเซีย –ผู้เขียน)ที่มีสัญชาติซาอุดี้มาค้ําประกันให้ แกชื่อ ‘นายอับดุลเลาะ’ แต่เงื่อนไขของ การประกันนี้บอกว่าอยู่ได้สิบเอ็ดวันแล้วต้องหาทางกลับบ้านให้ได้ เราอยู่เฉยๆ กันจนครบสิบเอ็ด วันก็มีหมายศาลมาถึงนายอับดุลเลาะ แกต้องพาเราไปขอประกันต่ออีก ค่าใช้จ่ายครั้งหนึ่งเป็น ร้อยๆ เหรียญ พอต่อสองสามครั้งแกก็ไม่ยอมไปต่อประกันให้เราอีกเพราะกลัวเราหนี ซึ่งแก จะต้องรับโทษ และแกต้องมาเฝ้าเราตลอดไม่ให้ไปไหน เลยจะพาเราไปคืนประกัน จนพวกเราได้ ‘บังมูซา’
คนเชื้อสาย อ.สะเดา จ.สงขลา มาแนะนําว่าให้เราซื้อตั๋วเครื่องบินไปปากีสถาน แล้วแก
จะเอาตั๋วไปให้ที่ศาลพิจารณาก่อน ศาลได้บันทึกไว้ว่าเราได้เดินทางออกนอกประเทศแล้ว โทษทุก อย่างยกเลิกหมด ซึ่งตั๋วเครื่องบินนั้น บังมูซาเอาไปให้เพื่อนแกเดินทาง” รวมห้วงเวลาที่โต๊ะครูอับดุลมาลิกวัยหนุ่มติดคุกอันร้อนระอุกลางทะเลทรายเป็นเวลา 1 เดือน เว้นแต่เพื่อนชื่อ ‘ชารีฟ’ ที่สารภาพก่อนกลับคําให้การในชั้นศาลว่ามีลูกเมียแต่อยู่ที่เมืองไทยซึ่ง ต้องโทษต่อไปอีก 3 เดือน รวมทั้งสิ้น 4 เดือน รับประสบการณ์ต้องโทษในคุกต่างแดนก่อนพ้นโทษออกมา โต๊ะครูอับดุลมาลิกวัยหนุ่มก็อยู่ที่ เมืองมักกะฮต่ออีก 3 ปี ก็ตัดสินใจเดินทางกลับบ้าน แต่เหตุผลที่บาบอวัยชราบอกในวันนี้นั้น.... “ผมมีปัญหาอยู่อย่างหนึ่ง มีคนชื่อมูฮัมหมัดชารีกีรฺ คนอาหรับมาชอบผู้หญิงคนไทยที่เดินทางไป อยู่ในหอพักให้เช่าหลังเดียวกันกับผม เธออยู่กับญาติ มูฮัมหมัดชารีกีรฺมาชอบ เลยมาขอผู้หญิงคน นั้น แต่พี่ชายเขาไม่ให้มันเลยโกรธ เพราะพี่ชายเป็นเพื่อนกับเรา มันจึงเข้าใจว่าเราห้ามไม่ให้ พี่ชายของผู้หญิงยกน้องสาวให้มัน มันขู่ว่าจะเอาตํารวจมาจับเรา เราก็อยู่ไม่ได้ จึงตัดสินใจกลับ บ้านดีกว่า”
40
ชีวประวัติบาบาอับดุลมาลิก เริงสมุทร์ อินชาอัลลอฮ-ไปตามประสงค์ของอัลลอฮ
การตัดสินใจกลับบ้านเกิดแม้มาจากเหตุผลของคนที่มีชนักเรื่องการเดินทางเข้าเมืองผิดกฎหมาย แต่หากย้อนกลับไปวันนั้น โต๊ะครูอับดุลมาลิกบอกว่าไม่เสียใจ และไม่เสียดาย เพราะความตั้งใจ เรื่ อ งการไปหาความรู้ ด้ า นศาสนาและวิ ท ยาการแขนงต่ า งๆ ใจกลางนครมั ก กะฮบรรลุ ต าม เป้าประสงค์ อย่างน้อยที่สุด เขาก็ได้ลงมือทําอย่างที่มุสลิมคนหนึ่งพึงกระทํา ซึ่งห้วงเวลาเกือบ เต็มทศวรรษก็น่าจะเพียงพอแล้วสําหรับการใช้ชีวิตอยู่ที่นี่ “เพียง 3 เดือนเท่านั้นก็จะครบ 10 ปี ผมว่าก็นานครัน” โต๊ะครูอับดุลมาลิกกล่าวทิ้งท้าย ก่อน แสงอาทิตย์ร้อนแรงเหนือคลื่นทะเลทรายในดวงตาจะค่อยๆ พร่าเลือน คลื่นทะเลสีฟ้าครามกําลังรอโต๊ะครูอับดุลมาลิกวัยหนุ่มอยู่ที่บ้านเกิด พร้อมเส้นทางชีวิตที่ไม่ได้รู้ ล่วงหน้า -นอกจากอัลลอฮ.
41
ชีวประวัติบาบาอับดุลมาลิก เริงสมุทร์ อินชาอัลลอฮ-ไปตามประสงค์ของอัลลอฮ
บทที่ 6 บ้านเกิด: การกลับมาปลูกดอกไม้ของชาย ผู้มีความสุขกับทะเล พุทธศักราช 2516, บ้านเกิดในดวงตาของผู้จากจรไปยาวนานนับสิบปีไม่ได้เปลี่ยนไปมากอย่างที่คิด นอกจากบ้านเรือนที่ตั้งหนาแน่นขึ้นกว่าแต่ก่อน ‘ควน ป่า นา เล’ ยังตั้งอยู่และทําหน้าที่เดิมของ มันในการหล่อเลี้ยงชีวิตคนแหลมสักเสมอมา โต๊ะครู อับดุล มาลิกวั ยหนุ่มผู้ กลับมาพร้อมคําหน้านาม ‘ฮัจยี’ สําหรับผู้ก้าวฝ่าเปลวร้ อนแห่ง ทะเลทรายผ่านพิธี ‘ฮัจย์’ ณ เมืองมักกะฮมาแล้วเดินทางถึงบ้านเกิดและพักผ่อนร่างกายไม่กี่เพลา ก็ครุ่นคิดถึงเส้นทางที่ผ่านมาและทางแห่งอนาคตต่อไป “ชีวิตผมมาทางนี้ก็ต้องไปทางนี้” โต๊ะครูอับลิกย้อนห้วงความคํานึงขณะนั้น เขาเริ่มปรั บปรุงตัวบ้า น และเปิด สอนหนั งสื อ เด็กๆ ที่บ้า น ให้ เด็ กๆ ในชุม ชนมาเรี ยนกี ต าบ สอนอัลกุรอาน โต๊ะครูอับดุลมาลิกบอกว่าตอนนั้นมีเด็กๆ มาเรียนเยอะ และต้องสอนอยู่นาน หลายปี จึงตัดสินใจมาตั้งปอเนาะที่บ้านนา (ปัจจุบัน) ทําให้ชาวบ้านละแวกนี้เรียกกันติดปากว่า ปอเนาะแหลมสัก เป็นปอเนาะแห่งแรกของตําบลแหลมสัก เส้นทางสายผู้ให้ของโต๊ะครูอับดุลมาลิกในผืนแผ่นดินเกิดเริ่มต้นจริงๆ จังๆ หลังจากนั้น หากแต่ เมื่อย้อนกลับไปสู่ความเป็นตัวตนที่พระเจ้าสร้างขึ้น –ในระดับพื้นเพรากเหง้า โต๊ะครูอับดุลมาลิ กเล่าว่าตนเกิดที่บ้านใต้ หรือเรียกว่า ‘บ้านคลองทราย’ บิดาชื่อ ‘นายก้าสา เริงสมุทร์’ มารดาชื่อ ‘นางห้ํา
เริงสมุทร์’ สกุลเดิม ‘หมันการ’ มารดาเป็นคนเกาะหมาก จ.พังงา ส่วนบิดาเป็นคนเกาะ
ยาวน้อย จ.พังงาเหมือนกัน
42
ชีวประวัติบาบาอับดุลมาลิก เริงสมุทร์ อินชาอัลลอฮ-ไปตามประสงค์ของอัลลอฮ
“สมัยก่อนม๊ะมีคุณยายกับคุณตาแกเอาครอบครัวย้ายมาแหลมสัก ทําประมง สร้างสวน ส่วนป๊ะ เป็นคนเกาะยาวน้อย แต่ที่เกาะยาวน้อยมีหมูป่าเยอะ ทํานาทําสวนไม่ได้ ต้องทํารั้วชิดๆ กัน ไม่ งั้นหมูป่าเข้ามากินพืชผักหมด มีไร่มีนาก็ต้องทํารั้วหมด จริงๆ คนเกาะยาวหนีหมูมาตั้งรกรากที่ กระบี่เยอะ ก็เลยย้ายจากเกาะยาวน้อยมาตั้งถิ่นฐานที่นี่ ป๊ะมาคนเดียว มาอยู่กับญาติ แต่ย่ายังอยู่ เกาะยาวน้อยจนเกือบสิบปีจึงรับมาอยู่ด้วยกันที่นี่” โต๊ะครูอับดุลมาลิกย้อนเรื่องราวที่มาของ ตนเอง โต๊ะครูอับดุลมาลิกบอกว่าตนมีพี่น้องทั้งหมด 8 คน คนแรกคือ นางบ้อเหรี้ย โรมินทร์ คนที่สองคือ นายย้าฝาด เริงสมุทร(เสียชีวิตแล้ว) คนที่สามคือนายมี้เหร็น เริงสมุทร คนที่สี่คือตนเอง คนที่ห้า คือนางสาปี้น่า กองข้าวเรียบ (เสียชีวิตแล้ว) คนที่หกคือนางยาเหรี้ยย่า ยมโดย ซึ่งปัจจุบันอาศัย อยู่ที่ซาอุดี้ เช่นเดียวกับคนที่เจ็ดคือนายมูฮําหมัด เริงสมุทร ที่อยู่ซาอุดี้เช่นกัน และคนที่แปดคือ นายอิมหร่าน เริงสมุทร (เสียชีวิตแล้ว) ผู้เฒ่าบอกอีกว่าตระกูลเริงสมุทร์เป็นคนชายฝั่งทะเล มีพื้นเพรกรากอยู่แถวเกาะยาวมานานแล้ว แต่ตนไม่ทราบว่าใครตั้งนามสกุลนี้ มีความหมายอย่างงดงามว่า ‘มีความสุขกับทะเล’ “แต่บรรพบุรุษไม่รู้ใคร ไม่มีการบันทึกไว้ ของป๊ะก็รู้ว่าใครเป็นป๊ะ โต๊ะชาย(ปู่)ชื่อ ‘นายสัน เริงส มุทร์’ ป๊ะของโต๊ะชาย(ทวด) ชื่อ ‘นายสิน เริงสมุทร์’ ที่แหลมสักมีคนนามสกุลเริงสมุทร์อยู่แต่ใน เครือญาติผม นามสกุลอื่นๆ ก็มี นายาว,ตู้กังร่าเหม,เนื้ออ่อน, อีดเกิด, แก่เกิด, รูมิน, อันนี้มีเยอะใน แหลมสัก แต่เริงสมุทร์จะเยอะในเกาะยาว ส่วน ‘หมันการ’ นามสกุลแม่จะเยอะในแหลมสัก เพราะย้ายมาอยู่นานแล้ว ก่อนป๊ะเสียอีก” ชายชรายังย้อนภาพให้ฟังว่าสภาพบ้านเมื่อตอนเด็กๆ นั้นเขาจําได้ว่าเป็นบ้านไม้ชั้นเดียว เป็น ‘หลังคาโรงช้าง’ หมายถึงสูงเหมือนขังช้างไว้ข้างใน
มามุงกระเบื้องเมื่อ 20-30 ปีก่อนนี่เอง
43
ส่วนมากหลังคาจะมุงจาก และเพิ่งมาเปลี่ยน
ชีวประวัติบาบาอับดุลมาลิก เริงสมุทร์ อินชาอัลลอฮ-ไปตามประสงค์ของอัลลอฮ
“สมัยก่อนแหลมสักมีนาเยอะ คนทํากันมาก นอกจากนั้นก็ทําไร่ ทําประมง แต่ก่อนมีการลงนา ใครมีควายก็เอาควายมา ใครไม่มีควายก็เอาจอบมา เสร็จเจ้านี้ก็ไปเจ้านู้น มาทั้งหญิงทั้งชาย สมัยก่อน 30 ปีผ่านมาแล้ว ชุมชนมีการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน เอื้ออาทรกันมาก ผิดกับสมัยนี้ที่มี ความเป็นสังคมเมืองเข้ามาเสียแล้ว ต่างคนต่างอยู่กันเยอะ ถ้าไม่ใช่ญาติพี่น้องตัวเองก็ไม่ใคร่ ช่วยเหลือกัน สมัยก่อนใครมีอะไรก็ช่วยกัน ‘ลง’ เช่น ทํา ‘โม๊ะ’ หรือ ‘โป๊ะ’ก็มาช่วยกัน คนที่ได้กุ้ง ได้ปลาก็เอามาแจกกัน พาอวนไปทํากุ้ง ได้กุ้ง ได้ปลา ได้ปู ได้ของมากๆ เราเอาแต่กุ้ง อย่างอื่นเรา แจก คนมาช่วยเหลือก็เอาไปเลย ไม่ต้องให้เจ้าของอนุญาต” สิ่งที่โต๊ะครูอับดุลมาลิกกว่าถึงน่าสนใจ เพราะเป็นภาพอันแจ่มชัดของสังคมชนบทไทยเมื่อหลาย สิบปีก่อน การใช้ชีวิตในสังคมเกษตรกรรมที่ผืนแผ่นดินไร่นาและเรือกสวนไม่ได้บอกอาณาเขต ด้วยหลักรั้วรอบขอบชิดดั่งทุกวันนี้ คนในชุมชนรู้ขนาดที่นาหรือไร่ของแต่ละคนด้วยแนวต้นไม้ หรือเพียงคันนาเท่านั้น ไม่ได้แบ่งแยกโดดเดี่ยวซึ่งกันและกัน ปลูกผลไม้ก็สอยกินเอาได้โดยไม่มี การหวงแหน การลงแขกเกี่ยวข้าวหมายถึงการแบ่งปันจํานวนข้าวเปลือกให้อย่างเอื้ออาทรหลัง ฤดูเก็บเกี่ยว และวิธีคิดเช่นนี้ยังขยายไปสู่วิธีการทํามาหากินอื่นๆ ด้วย เช่น การหาปลาในท้อง ทะเลก็ยังเผื่อแผ่ให้ แม้ว่าไม่มีลักษณะของการลงแขกเหมือนทําไร่ไถนา แต่คนในชุมชนก็รู้ดีว่า การแสดงน้ําใจด้วยการแบ่งปันปลาให้เพื่อนบ้าน หมายถึงการตอบแทนอย่างไม่มีเงื่อนไขใน โอกาสที่เขาต้องการความช่วยเรื่องอื่นๆ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น การช่วยเหลือก็ไม่ได้คิดถึงผลตอบแทนใน เบื้องต้น แต่มันแทรกซึมอยู่ในวิถีชีวิตไปแล้ว ไม่รู้ว่าสังคมสมัยใหม่ทําให้คนมั่นใจว่าตนเองอยู่อย่างโดดเดี่ยวได้อย่างไร จึงยอมปลดปล่อยวิถี ดั้งเดิมของตน และถีบถ่างพื้นที่ของน้ําจิตน้ําใจกันให้ห่างออกไป “ปัจจุบันความเจริญกําลังเข้ามา การท่องเที่ยวกําลังบูมเข้ามา นี่เขากําลังพัฒนาท่องเที่ยวชุมชน ผลดีมันก็ มี เราก็ ต้องวางแผนจัดระบบให้ดี ถ้าการท่องเที่ยวเจริญจริงๆ เด็กในชุมชนจะเสีย ศีลธรรม โรงเหล้าโรงเบียร์เข้ามา แต่ถ้าจัดโซนไปเลย อันนั้นเห็นด้วย แต่เทศบาล ผู้นําศาสนา
44
ชีวประวัติบาบาอับดุลมาลิก เริงสมุทร์ อินชาอัลลอฮ-ไปตามประสงค์ของอัลลอฮ
เจ้าหน้าที่ ผู้นําชุมชนต้องมีบทบาท” โต๊ะครูอับดุลมาลิกเอ่ยถึงชุมชนแหลมสักปัจจุบัน ด้วยต่อ เนื่องมาจากภาพอดีตที่หาแทบไม่ได้ในชุมชนทุกวันนี้ “เราไม่ได้ปิดกั้น เพราะมันมีรายได้เลี้ยงปากท้องคน มีรายได้หล่อเลี้ยงชุมชน แต่ขอให้จัดระบบ รองรับ แบ่งโซนให้ชัด ตรงไหนเป็นที่ท่องเที่ยวธรรมชาติ ตรงไหนเป็นแหล่งสถานบันเทิง โรงเหล้า โรงเบียร์และคุมไม่ให้เยาวชนเข้าไปยุ่งเกี่ยว อันนั้นต้องเอาให้ชัด มันจะได้ไม่ทําร้ายวิถีชุมชนแล้ว ก็ศีลธรรมของคนที่นี่” น้ําเสียงของความเอื้ออาทรและห่วงใยแจ่มชัด จากเรื่องราวของรากเหง้าเทือกเถาเหล่ากอสู่ปัจจุบัน เราก็ย้อนกลับไปสู่เรื่องราวของการก่อเกิด ปอเนาะบ้านนา หรือ ‘ปอเนาะแหลมสัก’ “สอนเด็กได้พักหนึ่งก็มาตั้งปอเนาะที่นี่ เดินขึ้นจากบ้านมาโลกว่าๆ สมัยนั้นเป็นป่ารกทึบเลยนะ เป็นสวน เป็นป่า ต้องบุกป่าหญ้าคาเข้ามา ตรงนี้เป็นที่ดินเก่าแก่ของครอบครัว เราคิดว่ามันน่าจะ สร้างประโยชน์อะไรให้สังคมได้” ฟังดูเหมือนเป็นสูตรสําเร็จของผู้ไปใช้ชีวิตและร่ําเรียนมาจากตะวันออกกลางที่จะกลับมาเพื่อ สร้างปอเนาะเป็นของตน ส่วนใหญ่มักจะคิดและลงมือทํา หรือหากขาดแคลนทุนทรัพย์ในการลง มือสร้างก็ดํารงตนเป็นผู้สอนในปอเนาะต่างๆ ไปก่อน เป็น ‘อุซตาส’ ถ่ายทอดวิชาความรู้ทาง ศาสนาให้กับนักเรียน จนกว่าจะมีเงินมีที่ดินจึงเริ่มลงมือตั้งปอเนาะที่ตนเองเป็นเจ้าของ อธิบายกันให้ชัด, ในวิถีของมุสลิม การตั้งปอเนาะไม่ได้เกิดขึ้นด้วยการคิดถึงผลประโยชน์ทาง ธุรกิจ ยิ่งในปอเนาะยุคเก่าสิ่งเหล่านี้ไม่แจ่มชัดเท่ากับความเสียสละ การได้ลงมือสั่งสอนหรือ เผยแพร่สิ่งที่รู้ คือวิถีของการ ‘ดะวะห์’ ซึ่งเป็นการแผ้วถางทางสวรรค์ เป็นบุญเป็นกุศลที่จะสั่งสม ก่อนไปสู่โลก ‘อาคีเราะ’ จึงไม่ใช่สูตรสําเร็จในนิยามของความทะเยอทะยานอยาก แต่เป็นแนวทางของผู้รู้ที่ ต้องมอบ ความรู้แก่ผู้ไม่รู้ หากมีโอกาสหรือทุนทรัพย์ดําเนินการก็จะลงมือทํา นี่จึงเป็นหน้าที่ของมุสลิม
45
ชีวประวัติบาบาอับดุลมาลิก เริงสมุทร์ อินชาอัลลอฮ-ไปตามประสงค์ของอัลลอฮ
“ตอนนั้นที่นี่เป็นป่า ลูกสองคน ปรีชากับวิทยา เดินตามหลัง ผมอุ้มลูกคนที่สามคือกัลยาเดิน นําหน้า วิทยาเขาชอบเดินไปจับตั๊กแตนกับแมงบี้(แมงปอ)ไป ทําให้เดินช้า ปรีชาวิ่งตามหลังมา บอกว่า “ป๊ะๆ หยุดก่อน น้องกําลังจับตั๊กแตนอยู่โน่น” โต๊ะครูอับดุลมาลิกหัวเราะอย่างอารมณ์ดี เมื่อคิดถึงภาพอดีต ชายชราในวัยหนุ่มวันนั้นเริ่มลงมือสร้างบ้าน(หลังที่อยู่ปัจจุบัน) แม้จะมีการลงแรงของญาติพี่น้อง และเพื่อนฝูง แต่สิ่งที่ทําให้โต๊ะครูอับดุลมาลิกภาคภูมิใจคือการลงมือทําด้วยตัวเอง ไม้ทุกต้น ตะปู เกือบทุกตัวผ่านมือของแกมาหมดแล้ว “บ้านหลังนี้” ผู้เฒ่าชี้ขึ้นเหนือศรีษะ “ลูกๆ ทุกคนช่วยกันเหลาไม้ ลงกบไม้ มีเพื่อนมาช่วยด้วย ไม่ต้องจ้างใคร” เขาหัวเราะร่วนอย่างอารมณ์ดี เริ่มต้นสร้างปอเนาะเมื่อพุทธศักราช 2519 แล้วสอนอยู่ 14-15 ปี จนปี 2534 โต๊ะครูอับดุลมาลิกเริ่ม รู้ สึ กว่ าร่ า งกายของตนไม่ไ หว เมื่ อ ความมุ่ งมั่ น ผจญอุ ป สรรคทางร่า งกายก็จํา ต้อ งหยุด ระบบ ปอเนาะไปอย่างน่าเสียดาย เด็กนักเรียนเก่าถูกส่งไปร่ําเรียนที่ปัตตานีและยะลา เขาบอกในตอน หนึ่งว่า “ตอนนั้นบอกเด็กๆ ว่าบาบอไม่ไหวแล้วนะ ร่างกายมันไม่ไหว เราก็รู้ว่าทําให้ผลประโยชน์ ของชุมชนสูญเสียไป” การก่อเกิดของอุปสรรคทางร่างกายทําให้ชายชราผันมาสอนและให้ความรู้ประจําสัปดาห์แทน กระทั่งผ่านไปเกือบยี่สิบปีจึงมีความคิดของการก่อตั้งเป็นโรงเรียน 2 ระบบขึ้นมา “ผมมีทรัพย์สมบัติอยู่บ้าง แบ่งให้ลูกๆ คนละเล็กละน้อย แต่ก็เกิดคําถามในใจว่า แล้วผมจะได้ อะไร คนในแหลมสักเขาจะได้อะไรบ้าง ผมมีที่นิดหน่อยตรงนี้ที่สามารถสร้างประโยชน์ให้ชุมชน ได้ เลยคิดจดทะเบียนเป็นมูลนิธิขึ้นมาสองไร่ และดําเนินการจัดตั้งโรงเรียนขึ้นมา แต่มันยังไม่จบ หรอก ยังมีภาระให้อีกมาก ผมไม่ไหวก็เป็นหน้าที่ของลูกๆ ต่อไป”
46
ชีวประวัติบาบาอับดุลมาลิก เริงสมุทร์ อินชาอัลลอฮ-ไปตามประสงค์ของอัลลอฮ
ไม่มีใครอยู่ค้ําฟ้า สักวันหนึ่งจะกลับคืนลงสู่ดิน ชีวิตจะเดินทางจากโลกดุนยาสู่อาคีเราะ ชายชรารู้ ซึ้งกฎเกณฑ์ข้อนี้ดี จึงไม่ประมาทกับชีวิต และเพียรลงมือสร้างทุกอย่างให้ดีที่สุด แม้ในระหว่าง บรรทัดที่มนุษย์จักถูกพรากด้วยความตาย แต่เขายังมีลูกๆ สืบทอดและรับไม้ต่อไป ด้วยปณิธานเดิม, การเสียสละในหนทางของพระผู้เป็นเจ้า อย่างน้อยที่สุดชายชราผู้มีความสุขกับทะเลผู้นี้ก็มีส่วนปลูกดอกไม้งามในบ้านเกิดของตนเอง ด้วย ความเชื่อมั่นว่ามันจะเบ่งบานต่อไปเรื่อยๆ .
47
ชีวประวัติบาบาอับดุลมาลิก เริงสมุทร์ อินชาอัลลอฮ-ไปตามประสงค์ของอัลลอฮ
บทที่ 7 นกมองต้นไม้ : ทิศทางพัฒนา‘ชุมชนแหลมสัก’ ในทัศนะของโต๊ะครูอับดุลมาลิก “อยากเห็นชุมชนนี้เจริญ ก็เหมือนที่คนอื่นเขาอยากกัน แต่เรามองว่าถ้ามันจะเจริญก็ ต้องเจริญทั้งสองด้าน ทั้งทางการท่องเที่ยวและทางคุณธรรมจริยธรรม” “สองอย่างนี้ต้องไปด้วยกัน วัตถุต้องมาพร้อมกับคุณธรรมจริยธรรม เราต้องเตรียมความพร้อมที่ จะเปิดรับมัน จะออกแบบอย่างไรก็แล้วแต่ จะจัดโซนหรือแบ่งเขตพื้นที่ก็ได้ ส่วนนี้เป็นเชิงนิเวศน์ ก็ว่าไป ส่วนนี้เป็นแหล่งบันเทิงก็ว่ามา แต่ต้องมีมาตรการมารองรับ ทําอย่างไรไม่ให้เยาวชนเข้าไป มั่วสุม เข้าไปยุ่งเกี่ยว มีอะไรมาควบคุมมันได้ไหม” “ผมก็อยากให้พี่น้องประชาชนมีรายได้ เลี้ยงตัวเองเลี้ยงครอบครัวได้ เพราะการประมงเริ่มร่อย หรอลงมาก อันนี้มีปัจจัยอื่นเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ออกเรือไปก็ไม่หลุดค่าน้ํามัน อยากให้มีรายได้ เสริมกัน เพราะแหลมสักมีประชากรมากขึ้นเรื่อยๆ ทรัพยากรก็ถูกใช้ไปมากจนเหลือน้อยลง ใน ภาวะที่ถูกจํากัดเช่นนี้คนแหลมสักต้องมีรายได้เสริมให้พอเลี้ยงตัวเอง” “การท่องเที่ยวเพิ่งเข้ามาสู่แหลมสักไม่นาน แต่มันก็เป็นความหวัง หวังว่ามันจะเลี้ยงคนแหลมสัก ได้ ผมไม่เห็นแย้งในเรื่องนี้ อย่างที่บอกไว้ว่า ถ้าจะเจริญก็เจริญได้ แต่ต้องไม่ขัดกับหลักศาสนา อันนี้คือสิ่งที่ต้องยึดถือ ไม่อยากให้วัยรุ่น เด็กๆ เยาวชนเข้าไปปะปนกับสิ่งมอมเมา เราต้องแยกให้ ออก จัดโซนอย่างไรก็ว่ากันไป ต้องหามาตรการมาป้องกัน เราห้ามความเจริญไม่ได้ แต่เราห้ามสิ่ง มอมเมาหรือสิ่งที่ขัดกับหลักศาสนาได้ เราบริหารจัดการสิ่งเหล่านี้ได้” “เมื่อความเจริญมันเข้ามาอย่างไม่ลืมหูลืมตา ไม่มีอะไรไปรองรับมัน เยาวชนจะเป็นแพะรับบาป เสมอ เราต้องมาอบรมกันอีกว่าอะไรคือสิ่งมอมเมา มัวเมา ต้องให้เยาวชนรู้ นี่คือสิ่งที่คิดไว้แล้ว
48
ชีวประวัติบาบาอับดุลมาลิก เริงสมุทร์ อินชาอัลลอฮ-ไปตามประสงค์ของอัลลอฮ
จัดอบรมสัปดาห์ละหนึ่งครั้ง ชี้ดีชี้ชั่วให้เห็นกัน เราสร้างเกราะกันตรงนี้ได้แล้ว ผมไม่ห่วงว่ามันจะ เป็นปัญหาต่อไป” “ในทิศทางของการพัฒนาการท่องเที่ยว ผมอยากให้เอาชุมชนเป็นที่ตั้ง ชุมชนมีอะไรเป็นจุดแข็งก็ ว่ า มา ทรั พ ยากร คนในชุ ม ชนอี ก เราต้ อ งเอาสิ่ ง เหล่ า นี้ เ ป็ น ศู น ย์ ก ลาง ไม่ ใ ช่ ไ ปเอาวั ต ถุ เ ป็ น ศูนย์กลาง อย่างนั้นน่ะพังเลย คนนั้นก็บอกว่าแหลมสักต้องมีอย่างนั้น คนโน้นมาบอกว่าชุมชนยัง ขาดสิ่งนี้ แล้วทุกอย่างก็จะเข้ามาเรื่อยๆ แทนที่จะบอกว่าแหลมสักมีอย่างนั้น แหลมสักโดดเด่น เรื่องนี้แล้วรักษาดูแลหรือสนับสนุนมันให้เข้มแข็ง แบบนี้คือหัวใจของการท่องเที่ยวจริงๆ” “นักท่องเที่ยวก็ต้องมีจิตสํานึกเหมือนกัน เวลาเราจะไปเที่ยว เราต้องการอะไร ถ้าต้องการไป สัมผัสความเป็นชุมชนของเขาก็ไม่ต้องไปคาดหวังว่าเราจะไปเจออย่างนั้นอย่างนี้ ไม่ต้องเรียกร้อง ความเจริญให้พวกนายทุนมันฉวยโอกาสอ้างว่านักท่องเที่ยวต้องการ การท่องเที่ยวที่แท้จริงต้อง คิดถึงชุมชน เอาชุมชนเป็นหัวใจหลัก เขามีอะไรก็ไปศึกษา ไปสัมผัส นั่นคือนักท่องเที่ยว” “ผมไม่ขวางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงชุมชน แต่ขึ้นชื่อว่าการพัฒนาก็ต้องระมัดระวัง มันเป็น ดาบสองคม ถ้าดีตามแนวทางศาสนาก็ดีไป ไม่ขัดกับศาสนา รักษาระบบนิเวศน์ ทําให้ชาวบ้านมี รายได้ สิ่งเหล่านี้มันน่าสนับสนุน แต่ถ้าพัฒนาแล้วควบคุมมันไม่ได้ ในระยะยาวทุกอย่างจะเข้ามา เพราะไม่มีกฎเกณฑ์อะไรไปบังคับ ‘ทุน’ มันน่ากลัว มันทําลายทุกอย่างได้ถ้าคนใช้มันสนองกิเลส ตันหาตนเอง ตรงนี้ต้องคํานึงและจัดทําแผนรองรับมันดีๆ” “ผมอยากเห็นแหลมสักเติบโตไปในทิศทางที่ไม่ต้องให้ทุนมามีอํานาจ ชาวบ้านมีพลังต่อรอง มี รายได้เพื่อพอเลี้ยงตัวเองและครอบครัว มีคุณธรรมจริยธรรมเป็นเกราะคุมกันกิเลสตันหาของ นายทุน ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์และมีคุณค่าอย่างที่สุด และช่วยกันรักษาและฟื้นฟูสิ่ง ที่เหลืออยู่ ผมว่านี่คือการพัฒนาแหลมสักในทิศทางที่ควรจะเป็น”.
49
ชีวประวัติบาบาอับดุลมาลิก เริงสมุทร์ อินชาอัลลอฮ-ไปตามประสงค์ของอัลลอฮ
บทที่ 8 โต๊ะครูอบั ดุลมาลิกกับครอบครัวอันเป็นที่รกั ในชีวิตของมนุษย์ผู้เสียสละตนเองเพื่อสร้างสิ่งที่ยิ่งใหญ่กว่าย่อมมีครอบครัวที่รัก เป็ น รากฐานมั่ น คง เพราะสิ่ ง ที่ จ ะมาสนั บ สนุ น ความเสี ย สละอย่ า งบากบั่ น นั้ น อั น ดั บ แรกคื อ ครอบครัว ดั่งเช่นครอบครัวของโต๊ะครูอับดุลมาลิกที่มีความอบอุ่นและสมบูรณ์เป็นรากฐานมั่นคง ประดุจไม้ ใหญ่ที่แผ่ก้านกิ่งสาขาเอื้อสรรพชีวิตย่อมมีรากและน้ําหล่อเลี้ยงอันอุดม “ผมเคยสมรสมาครั้งหนึ่ง ตอนอายุ 38 ปี แต่บังเกิดอยู่กันไม่ได้ เพราะอยู่ใกล้กันไม่ได้ ตรงนี้มัน เป็นเรื่องของไสยศาสตร์ด้วย เขาว่ากันนะ ซึ่งมันก็หาคําอธิบายทางวิทยาศาสตร์ไม่ได้ ผมเองก็ไม่ เชื่อหรอก แต่พออยู่ใกล้กันแล้วเขาเป็นไข้บ้าง เจ็บพุง(ปวดท้อง)บ้าง ปวดหัวบ้าง ชักไปเลยก็มี พา ไปตรวจที่โรงพยาบาลก็ไม่เจอ แกหายไปเป็นเดือนพอกลับมาอยู่ด้วยกันสองสามวันก็เจ็บอีกแล้ว หมอไสยศาสตร์บอกว่าถูกของ แต่เราไม่เชื่อหรอก แต่มันก็เป็นไปได้ในความคิดของเขา เลยทําให้ ต้องแยกกัน มีลูกด้วยกันคนหนึ่ง เป็นผู้ชาย ปัจจุบันอายุ 37 ปีแล้ว ตอนนี้อยู่บ้านโคกไคร จ.พังงา ชื่อนายอับดุลห้าลีม แต่แกใช้นามสกุลแม่ ‘กสิรักษ์’ แต่งงานมีลูกมีเมียแล้ว และยังไปมาหาสู่กัน กับภรรยาเก่าก็ยังไปมาหาสู่กันเหมือนเพื่อน ไม่ได้โกรธกัน เข้าใจกันว่าเราอยู่กันไม่ได้” หลังจากตกพุ่มม่ายอยู่คนเดียวไม่ถึงสองปีก็มาแต่งงานกับคนที่สอง ก็คือคนปัจจุบันนี้ ในวัยที่โต๊ะ ครูอับดุลมาลิกมีอายุเกือบสี่สิบปีแล้ว “มามามีศักดิ์เป็นหลาน ลูกสาวของพี่ที่มียายเดียวกัน อายุอ่อนกว่าผม 23 ปี ตอนแต่งงานแกอายุ ประมาณ 16 ปี ตอนนั้นคิดว่าเอาคนนอกก็ลําบาก เพราะไม่รู้จักกัน เราก็เริ่มแก่แล้ว ไม่รู้คนดีคน ชั่ว อันนี้รู้แล้ว เลยไปสู่ขอ เขาก็ให้” โต๊ะครูอับดุลมาลิกหัวเราะเบาๆ มามา หรือ ภรรยาของโต๊ะครูอับดุลมาลิก ชื่อนางมี่หย้า หมันการ(เริงสมุทร์)
50
ชีวประวัติบาบาอับดุลมาลิก เริงสมุทร์ อินชาอัลลอฮ-ไปตามประสงค์ของอัลลอฮ
“เรามีอะไรก็ปรึกษาหารือกัน ไม่เคยทะเลาะตบตี แม้จะมีวัยห่างกันมาก ไม่เคยมีเลย มีขัดใจบ้าง เล็กน้อยเป็นธรรมดา แต่พูดคุยด้วยเหตุผล ถึงผมแก่กว่าแก แต่แกก็หวงเป็นเรื่องธรรมดา” หลังแต่งงาน โต๊ะครูครูอับดุลมาลิกและนางมี่หย้า มีบุตรด้วยกันรวม 5 คน ชาย 3 คนและหญิง 2 คน คนแรกคือปรีชา(ซากี) คนที่สองคือวิทยา(อับดุลเราะมาน) คนที่สามคือกัลยา(นุวัยรอ) คนที่สี่ คือหุสนา และคนสุดท้องคือชารีฟ “ซากี เป็นคนที่เอาความคิดตัวเองสูง จะทําอะไรก็ทําเลย บางสิ่งเราว่าไม่เหมาะสมมันก็จะทําต่อ แต่นานๆ พอเห็นเหตุเห็นผลก็จะซาลง เขาชอบทํางานเพื่อสังคม ต้องการพัฒนาสังคมไปในจุดที่ เขาเห็นว่าถูกต้อง” โต๊ะครูอับดุลมาลิกกล่าวถึงลูกชายคนโตของตนเอง “ไม่ค่อยห่วงอะไร ถ้าจะทําอะไรก็ต้องปรึกษาให้ละเอียดก่อน แต่ส่วนมากเตือนเขาแล้วจะฟังคน รอบข้างมากกว่า นานๆ ทีเขาจะตามผม” ฟังดูเหมือนเป็นคําตําหนิติติง แต่ในพื้นที่นั้นก็ยังมี ความอิสระทางความคิดที่ชายชราเผื่อไว้ให้ลูกชายสูง ทั้งยังฟังออกถึงน้ําเสียงที่ภาคภูมิใจไม่น้อย “ผมต้องการเห็นว่าเขาจะพัฒนาโรงเรียนและสังคมตามที่ถนัด เอาสังคมหมู่บ้านเรานี่แหละ และ ช่วยเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงให้ครอบครัวต่อไป” สําหรับคนที่สอง คือ ‘วิทยา’ นั้น โต๊ะครูอับดุลมาลิกสะท้อนภาพในฐานะของพ่อว่า “บางสิ่งมันก็ ดื้ อ แต่ มั น เป็ น คนสุ ขุ ม ถ้ า เป็ น ครู ก็ เ ด็ ก กลั ว ไว้ ห น้ า เก่ ง เด็ ก ส่ ว นใหญ่ จ ะกลั ว มั น คิ ด ได้ สุ ขุ ม แนบเนียน ในโรงเรียนมันคือเจ้าของผู้รับใบอนุญาตมา ไม่ค่อยห่วงอะไร แต่ให้ทํางานเดิมไป เรื่อยๆ อย่าลก อย่ารีบ ทําต่อไปคิดไปน่าจะไม่มีปัญหา” โต๊ะครูอับดุลมาลิกบอกชัดว่าอยากเห็นความสําเร็จของลูกชายทั้งสองคนที่เป็นหลักให้กับโรงเรียน คนที่สาม คือ ‘กัลยา’ ซึ่งทํางานเทศบาลอยู่ในปัจจุบัน ผู้เป็นพ่อกล่าวอย่างชื่นชมว่ารู้จักเก็บหอม รอมริบ รักจักเก็บเงินเก็บทองและกินใช้อย่างประหยัด ต้องทําหน้าที่เรื่องการเงินถึงจะดี ซึ่งโต๊ะ ครูอับดุลมาลิกยังชื่มชมต่อไปยังลูกสาวคนที่สี่ด้วยคือ ‘หุสนา’ ซึ่งทํางานเป็นพยาบาลและบริหาร โรงพยาบาลจริยธรรมรวมแพทย์กระบี่ว่า เป็นคนใจกว้าง ขี้สงสาร และชอบเห็นใจพี่ๆ น้องๆ
51
ชีวประวัติบาบาอับดุลมาลิก เริงสมุทร์ อินชาอัลลอฮ-ไปตามประสงค์ของอัลลอฮ
“ต้องการให้ลูก ทํางานบริหารโรงพยาบาลให้ประสบความสําเร็จ” สั้นแต่กระชับใจความของ ความชื่นชม ห่วงใย และคาดหวัง ส่ ว นคนสุ ด ท้ อ งคื อ ‘ชารี ฟ ’ ซึ่ ง ปั จ จุ บั น เรี ย นอยู่ ที่ ค ณะมนุ ษ ยศาสตร์ เอกภาษาอาหรั บ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ชายชราบอกว่าเป็นคนเรียนดี เรียนเก่ง แต่ขี้ เกียจ “ไม่ค่อยขยัน ไม่ปลุกก็เปล่า เรียน มอ.ก็กลัวว่าไปนอนอย่างเดียว ไม่ค่อยเรียน แต่ดีที่มันไม่ค่อย ตามเพื่อน เพื่อนกินใบกระท่อม กัญชา มันก็ตีตัวออกห่าง” สุดท้าย โต๊ะครูอับดุลมาลิกบอกว่า “อยากให้มันเรียนให้นานที่สุด สุดความสามารถที่จะเรียนได้ และอยากให้มันมาเป็นประธานมูลนิธินี้ต่อไป” แน่นอนที่สุด, การตําหนิติติงไม่ใช่ความโกรธหรือเกลียดชัง หากมันออกมาจากปากของผู้เป็นพ่อ สิ่งที่บอกกล่าวเป็นอื่นไปไม่ได้นอกจากความห่วงหาอาทรและความคาดหวัง อย่างน้อยที่สุด ทางที่พ่อถางไว้แล้วย่อมรอวันให้ลูกเดินตาม เพราะมันคือเส้นทางสู่สวรรค์ของพระผู้เป็นเจ้า.
52
ชีวประวัติบาบาอับดุลมาลิก เริงสมุทร์ อินชาอัลลอฮ-ไปตามประสงค์ของอัลลอฮ
53