àÁÅ紾ѹ¸Ø ªÕÇÔµºÙóҡÒà ¤Ù‹Á×ÍàÃÕ¹ÃÙŒ áÅз´Åͧ»¯ÔºÑµÔ¡ÒúÙóҡÒà ẺÃкº·ÕèÁÕªÕÇÔµà¾×èÍÊÌҧàÊÃÔÁÊØ¢ÀÒÇÐã¹Êѧ¤Á
ʹѺʹعâ´Â Êӹѡ§Ò¹¡Í§·Ø¹Ê¹ÑºÊ¹Ø¹¡ÒÃÊÌҧàÊÃÔÁÊØ¢ÀÒ¾
เมล็ดพันธุ์ชีวิตบูรณาการ คู่มือเรียนรู้ และทดลองปฏิบัติการบูรณาการ แบบระบบที่มีชีวิต เพื่อสร้างเสริมสุขภาวะในสังคม
เลขมาตรฐานสากลประจ�ำหนังสือ ISBN 978-974-350-799-1 พิมพ์ครั้งที่ ๑ เดือนกรกฎาคม ๒๕๕๔ จ�ำนวนพิมพ์ ๒,๐๐๐ เล่ม ผู้เขียน: กรรณจริยา สุขรุ่ง ชัยวัฒน์ ถิระพันธุ์ สุภาพ สิริบรรสพ ออกแบบปก รูปเล่ม และภาพประกอบ: สถาพร กาวีวงศ์ ภาพถ่ายปกหน้า-หลัง: สมคิด ชัยจิตวนิช สนับสนุนการผลิตและพิมพ์โดย: ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส) พิมพ์ที่:
เมล็ดพันธุ์ ชีวิตบูรณาการ คู่มือเรียนรู้ และทดลองปฏิบัติการบูรณาการ แบบระบบที่มีชีวิตเพื่อสร้างเสริมสุขภาวะในสังคม
ชัยวัฒน์ ถิระพันธุ์ กรรณจริยา สุขรุ่ง สุภาพ สิริบรรสพ
สนับสนุนโดย ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส)
ค�ำขอบคุณ
เพราะมีคุณ จึงมีเรา บนเส้นทางการเรียนรู้ และทดลองการบูรณาการ เราค้นพบว่า ความรู้สึกขอบคุณ เป็นสภาวะหนึ่ง ที่สะท้อนวิถีบูรณาการได้เป็น อย่างดี ในเวลาที่รู้สึกขอบคุณ เราก�ำลังเชื่อมใจของเรา กับผู้คน และสรรพสิ่งต่าง ๆ เรารู้ว่า ชีวิตและการงานที่เราท�ำนั้น เกิดขึ้น ไม่ได้ หากไม่ได้รับการสนับสนุน เกื้อกูลจากส่วนต่าง ๆ ในสังคม ตลอดช่วงเวลากว่า ๒ ปี ที่เราร่วมเรียนรู้ และฝึกอบรม การบู ร ณาการ จนต่ อ ยอดมาเป็ น หนั ง สื อ “เมล็ ด พั น ธุ ์ ชีวิตบูรณาการ” เล่มนี้ เราได้รับการสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง และ จริงจังจากหลายฝ่าย กล่าวคือ รศ. ดร. วิลาสินี อดุลยานนท์ ผู้อ�ำนวยการส�ำนักรณรงค์ และ สื่อสารสาธารณะเพื่อสังคม (ส�ำนัก ๕) ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุน 5
การสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ผู้ติดตามเวทีเรียนรู้ และให้ก�ำลังใจ เครือข่ายภาคี ที่สนใจร่วมงานบูรณาการอย่างใส่ใจใกล้ชิดเสมอมา และพยายามสนับสนุนช่องทางต่าง ๆ เพือ่ ให้งานบูรณาการในภาค เหนือตอนบนสร้างสุขภาวะให้กับพื้นที่อย่างแท้จริง อาจารย์ ชัยวัฒน์ ถิระพันธุ์ วิทยากรกระบวนเวทีเรียนรู้บูรณา การตลอดโครงการ ทั้ง ๘ เวที อาจารย์ทุ่มเทพลังใจ และสติปัญญา ค้นคว้า ย่อยหลักการความรูต้ า่ ง ๆ เพือ่ ให้ผเู้ ข้าอบรม เข้าใจปรัชญา บูรณาการ และสามารถปรับใช้ความรู้ กระบวนการต่าง ๆ ให้เกิด ประโยชน์ ทั้งกับชีวิตตนเอง ชุมชน และสังคม คุณ ชูชัย ฤดีสุขสกุล ผู้ให้ค�ำแนะน�ำ และข้อสังเกตที่เป็น ประโยชน์ ส� ำ หรั บ เวที เรี ย นรู ้ และติ ด ตามสนั บ สนุ น โครงการ บูรณาการต่าง ๆ ในพื้นที่โดยตลอด คณะกรรมการบริหารแผน คณะที่ ๕ ทุกท่านที่ร่วมทดลอง รูปแบบการบูรณาการ ที่ตั้งต้นจากการเรียนรู้ร่วมกัน ระหว่าง ทีม งานของ สสส. ทีมสนับสนุนติดตาม ทีมเวทีเรียนรู้ และทีมประสาน งานการบูรณาการในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน เพื่อให้เราทั้งหมด เป็นหุ้นส่วนการเรียนรู้ และทดลองงานเชิงบูรณาการสร้างเสริมสุข ภาวะด้วยกัน คุณ สุภาพ สิริบรรสพ และทีมงาน ผู้ทุ่มเทเวลา แรงกาย และความตั้งใจ ประสานงาน ติดตามเครือข่ายภาคีให้มาร่วมเวที
6
เมล็ดพันธุ์ชีวิตบูรณาการ
เรียนรู้ รวมถึงสนับสนุนการจัดเวทีพดู คุยในพืน้ ทีต่ า่ ง ๆ และช่วยให้ ค�ำแนะน�ำการคิดและเขียนโครงการเชิงบูรณาการให้เป็นรูปธรรม คุณ มนัญญา ไกรกิติการ เจ้าหน้าที่ติดตามโครงการ ส�ำนัก รณรงค์และสื่อสารสาธารณะเพื่อสังคม ผู้ช่วยอ�ำนวยความสะดวก ในการจัดเวทีเรียนรู้ต่าง ๆ และให้ก�ำลังใจผู้ท�ำงานเขียนหนังสือ เล่มนี้มาโดยตลอด ผูเ้ ข้าร่วมเรียนรูบ้ รู ณาการภาคเหนือตอนบนทุกท่าน ทีใ่ ห้ความ สนใจ ใส่ใจเรียนรูก้ ารบูรณาการ สะท้อนข้อคิดเห็นทีเ่ ป็นประโยชน์ และทดลองปฏิบัติการบูรณาการในพื้นที่ของท่าน สุดท้าย ขอขอบคุณทุกท่าน ทุกภาคส่วนในสังคม ทีม่ สี ว่ นร่วม สนับสนุน โครงการบูรณาการสุขภาวะ และ สสส. ทั้งทางตรงและ ทางอ้อม ทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลัง คณะผู้จัดท�ำหนังสือหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ความรู้ ทฤษฎี และ ทักษะกระบวนการในหนังสือเล่มนี้จะเป็นส่วนหนึ่ง ที่ช่วยให้เรา ได้พัฒนาและต่อยอดความรู้ ความเข้าใจเรื่องบูรณาการ รวมถึง น�ำความรู้ที่แจ้งชัดในใจแล้ว ลงสู่การปฏิบัติ เพื่อยังประโยชน์แก่ สังคมของเรา ด้วยจิตกตัญญู
7
สายธาร บูรณาการ เปิดเจตจ�ำนงค์ ........................................................... ...........๑๑ ก้าวแรก.................................................................... ........๑๓ บูรณาการ ท�ำไม? .......................................................... ..๒๕ ปรัชญาและชีวิตบูรณาการ ชีวิตบนวิถีปรัชญา ................................................ ...........๓๙ โลกทัศน์บูรณาการ ....................................... ...................๔๗ บูรณาการแบบระบบกลไก ..................... ...................๕๕ บูรณาการแบบระบบที่มีชีวิต ...................... ...............๖๐ ชาวสยามนักบูรณาการ.......................... .....................๖๕ บูรณาการโลกสองขั้ว .......................... .......................๖๘ แก่นวิถีบูรณาการ.......................... .............................๗๑ ภาวะผู้น�ำบนวิถีบูรณาการที่มีชีวิต.................... ....................๗๙ ลิขิตภาวะผู้น�ำ ............................................... ..................๘๕ ชีวิตและเป้าหมาย ......................................... ..................๘๙ ผู้น�ำในโลกสมัยใหม่...................................... ....................๙๐ นิเวศผู้น�ำ ............................................... ..........................๙๓ อิฐก้อนแรก ............................................... .......................๙๖ เปิดชีวิตบูรณาการ...................................... ......................๙๙ ผู้น�ำการเปลี่ยนแปลง ๓ ระดับ......................................๑๐๐ 8
เมล็ดพันธุ์ชีวิตบูรณาการ
ทฤษฎีกระบวนการบูรณาการ บริบทชีวิตและงานบูรณาการ ........................................๑๑๑ การคิดกระบวนระบบ ..................................................๑๓๓ พลังปฏิบัติการอันนุ่มนวล ............................................๑๕๙ การสนทนาที่มีพลัง และผลิดอกออกผล .......................๑๗๕ โมเดล ๓ มิติ ๓ ระดับบูรณาการ ..................................๑๙๕ การเรียนรู้ ชุมชนและเครือข่ายเรียนรู้ และจัดการตนเอง .........................................................๒๐๗ หนทางแห่งการฝึกตน: ทักษะส�ำคัญของนักบูรณาการ ....๒๔๓ จิตนุ่มนวล ควรแก่งาน และการเรียนรู้ลึกซึ้ง .................๒๔๗ ครุ่นคิด .........................................................................๒๕๒ การสังเกต และการฟัง .................................................๒๕๕ อยู่กับค�ำถาม ................................................. ...............๒๕๖ การถอดบทเรียน ...........................................................๒๖๐ เสียงสะท้อนจากสนามปฏิบัติบูรณาการ ............................๒๖๗ บทเรียนจากสนามทดลองบูรณาการ .............................๒๖๙ เหลียวหลังเรียนรู้วิถีบูรณาการ ....................... ..............๒๘๗ ความรู้สึกระหว่างบรรทัด ..........................................๒๙๙ หนังสือชวนอ่าน .................................................................๓๐๓ สายธารบูรณาการ
9
“การเดินทางพันลี้ เริ่มทีละก้าว”
...เล่าจื้อ
เปิดเจตจ�ำนง เมื่อมนุษย์มีเจตจ�ำนงชัดและตั้งใจมั่น เทพเทวาจะเข้าร่วมด้วยเสมอ
• เรามีเจตจ�ำนงอะไรในชีวิต? • เจตจ�ำนงในการท�ำงานเชิงบูรณาการของเราคืออะไร? • ก่อนที่จะท�ำอะไรสักอย่าง เราน่าจะได้ส�ำรวจตัวเองให้แจ่มชัดว่า เราจะท�ำอะไร ท�ำไปเพื่ออะไร และจะท�ำอย่างไร • ค�ำตอบที่เราจะได้ให้กับตัวเองเหล่านี้ จะเป็นเข็มทิศน�ำทางให้ เราเดินสู่เป้าหมายได้อย่างมั่นคง ไม่หลงออกนอกเส้นทาง และ เราจะรู้สึกเสมอว่า ได้รับพลังและการเกื้อกูลจากผู้คนมากมาย ตลอดการเดินทาง 11
“เมื่อรู้ว่าเราอาจจะยังไม่รู้ นับว่าประเสริฐ หากแสร้งว่ารู้ ในเรื่องที่เราอาจยังไม่รู้แน่ นั่นคือ โรคร้าย” –เล่าจื้อ ปราชญ์เมธีแห่งลัทธิเต๋า
12
เมล็ดพันธุ์ชีวิตบูรณาการ
ก้าวแรก
กว่าทศวรรษที่ผ่านมา นับตั้งแต่ช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๘ คือ ราวปี พ.ศ. ๒๕๔๐ “บูรณาการ” เป็น หนึ่งในหลักคิดและแนวทางส�ำคัญที่องค์กรต่าง ๆ น�ำมาใช้ท�ำแผน งาน นโยบาย ยุทธศาสตร์มากมาย ไม่ว่าจะบูรณาการงานวิจัยแห่ง ชาติ บูรณาการแก้ปัญหาความยากจน บูรณาการงานเกษตรกรรม ฯลฯ กล่าวกันว่า การบูรณาการจะช่วยลดความซ�้ำซ้อนในการ ท�ำงาน แก้ปญ ั หา และพัฒนาบ้านเมืองได้อย่างเป็นเอกภาพมากขึน้ ... เป็นอย่างนั้นหรือไม่ ? ก้าวแรก
13
ข่าวสารบ้านเมืองในรอบ ๑๐ ปีที่ผ่านมาแสดงภาพปัญหาที่ หนักหนาสาหัส ปัญหาความยากจน ความไม่เป็นธรรม ปัญหาทีด่ นิ ท�ำกินทางการเกษตร ปัญหาการศึกษา ยาเสพติด คอร์รัปชั่น ทวี ความรุนแรง สลับซับซ้อนขึ้นกว่าเดิมมาก แล้วยังมีปัญหาใหม่ ๆ อีก ไม่วา่ จะเป็นภัยพิบตั ทิ างธรรมชาติ วิกฤตเศรษฐกิจและพลังงาน นอกจากนั้นแล้ว ในช่วง ๓ – ๔ ปีที่ผ่านมา เรายังได้เห็นภาพความ ร้าวฉานของคนในสังคม ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากความขัดแย้งทางความ คิดและผลประโยชน์ทางการเมือง ทีท่ ำ� ให้คนไทยหลายคนพรัน่ พรึง ว่า จะพัฒนาไปสู่สงครามกลางเมือง เราบูรณาการกันอย่างไร ท�ำไมยิ่งบูรณาการ ความเข้มแข็งและ เสถียรภาพของสังคมยิ่งลดลง? เราบูรณาการกันได้ถูกทิศตรง ทางแล้วหรือ? หัวใจของการบูรณาการอยู่ที่ไหน ค� ำ ถามเหล่ า นี้ คื อ จุ ด ตั้ ง ต้ น ของโครงการทดลองงาน บูรณาการภาคเหนือตอนบน โดย ส�ำนักรณรงค์ และสื่อสาร สาธารณะเพือ่ สังคม (ส�ำนัก ๕) ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้าง เสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ อาจารย์ชัยวัฒน์ ถิระพันธุ์ เราเริ่มต้นด้วยการหยุด ... หยุดเพื่อทบทวนตัวเอง ตั้งค�ำถาม และเรียนรูเ้ พือ่ ท�ำความเข้าใจการบูรณาการให้ลกึ ซึง้ ขึน้ เพราะหาก เรารูจ้ กั และเข้าใจการบูรณาการดีแล้ว ปัญหาในสังคมทีก่ ล่าวไว้นนั้ ก็ไม่นา่ จะรุนแรงอย่างทีป่ รากฏ และงานเชิงบูรณาการทีเ่ ราได้ทำ� ๆ กันมา ก็น่าจะผลิดอกออกผลที่งดงาม เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๒ พวกเราเชื้อเชิญนักท�ำงานและ ปฏิบัติการเพื่อสังคมกว่า ๘๐ ชีวิต ใน ๘ จังหวัดภาคเหนือตอนบน มาร่วมงาน “เวทีระดมสมองสู่สุขภาวะเชิงบูรณาการ” เพื่อร่วม เรียนรู้ และทดลองรูปแบบการท�ำงานบูรณาการฝ่าวิกฤตชาติ 14
เมล็ดพันธุ์ชีวิตบูรณาการ
เราทบทวนตัวเองแบบคู่ขนานว่า ในช่วงเวลา ๑๐ ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๒ จนถึงปัจจุบัน พวกเราที่ท�ำงานในภาคสังคมได้ ท�ำอะไรกันมาแล้วบ้าง และในช่วงเวลาเดียวกันนั้น เหตุการณ์และ สถานการณ์ในสังคมไทยเป็นอย่างไร เมื่อเราถอยออกมามองปรากฏการณ์ภาพใหญ่ทั้งสังคม เรา ก็ได้เห็นว่า พวกเรานักพัฒนาสังคมท�ำงานกันอย่างหนักและทุ่มเท มีคณะท�ำงาน และองค์กรใหม่ ๆ เกิดขึ้นเพื่อท�ำงานหลากหลาย ด้าน งบประมาณกระจายสู่ท้องถิ่นมากมาย แต่กระนั้น ปัญหา ของประเทศยังวนเวียนที่เดิม และหนักกว่าเดิม ปัญหาเก่าที่ถมทับ มายาวนานเริ่มออกอาการรุนแรงขึ้น หลายปัญหาพัฒนาซับซ้อน ปัญหาใหม่เกิดขึ้นตามความเจริญแห่งยุคสมัย และที่ส�ำคัญปัญหา ต่าง ๆ เชือ่ มโยงกันอย่างเป็นเอกภาพ ส่งผลสะเทือนอย่างไร้ขอบเขต หลายคนสะท้อนว่า เราพูดเรื่องบูรณาการ แต่ยังมีวิธีคิดและ การท�ำงานเป็นส่วน ๆ และไม่สอดคล้องกับสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น เราต่างคนต่างท�ำงาน ไม่สัมพันธ์กัน แม้จะท�ำประเด็นเดียวกันและ ในพืน้ ทีเ่ ดียวกัน งบประมาณทีล่ งในพืน้ ทีก่ ซ็ ำ�้ ซ้อน อย่างบางชุมชน ได้รับงบประมาณเพื่อสนับสนุนงานเยาวชนจากแหล่งทุน ๕ หน่วย งานด้วยกัน ฯลฯ ผลงานที่เกิดขึ้นก็เป็นงานเชิงผลผลิต คือ เกิดงาน ได้กิจกรรม แต่หากงานและกิจกรรมนั้น ๆ ไม่ได้สร้างผลสะเทือนที่ เปลี่ยนแปลงสังคม เราจะยังท�ำงานแบบเดิม ๆ อย่างนีไ้ ด้อกี หรือ ท่ามกลางปัญหา ที่ทวีความรุนแรงและซับซ้อนหนักขึ้นทุกวัน มนุษย์และคุณภาพความเป็นมนุษย์ คือหัวใจของงานบูรณาการ ในการสงคราม แม้ยุทธศาสตร์ดี แต่หากขุนศึกไร้ทักษะ ขาด ความเข้าใจแผนการรบ ก็ยากที่จะได้รับชัยชนะ ก้าวแรก
15
การท�ำงานบูรณาการก็เช่นกัน เราไม่อาจมุ่งเน้นที่โครงการ ยุทธศาสตร์ แล้วมองข้ามบุคคลผู้ที่จะท�ำงานบูรณาการได้ เพราะ มนุษย์คือผู้คิด และแปรความคิดสู่การกระท�ำ ความเป็นคน ความคิด และคุณค่าที่คน ๆ นั้นยึดถือ ก�ำหนด แนวทางการด�ำเนินงานของเขา และชี้ชะตาความส�ำเร็จ หรือ ล้มเหลวของงานที่ท�ำ ดังนั้น โครงการทดลองแนวทางบูรณาการภาคเหนือตอนบน ของ สสส. โดยส�ำนัก ๕ ร่วมกับ อาจารย์ชัยวัฒน์ จึงให้ความส�ำคัญ กับการบ่มเพาะและพัฒนาศักยภาพบุคคล โดยเริ่มจากการค้นหา ผู้ที่สนใจ และอาสาทดลองท�ำงานเชิงบูรณาการด้วยกันกับเรา ในนาม “คณะท�ำงานบูรณาการของจังหวัด” เราไม่ได้เริ่มที่กิจกรรม หรือ โครงการ แต่ให้ทุกคนร่วม เรียนรู้ ท�ำความเข้าใจปรัชญา หลักการ และกระบวนการท�ำงาน เชิงบูรณาการด้วยกันก่อน ในหลักสูตรพัฒนาศักยภาพบูรณาการ ซึ่งจัดทั้งหมด ๘ ครั้งด้วยกัน ในช่วงระยะเวลา ๑ ปี (พ.ศ. ๒๕๕๒ - ๒๕๕๓) โดยมีอาจารย์ชัยวัฒน์ เป็นผู้ออกแบบ และเอื้ออ�ำนวย กระบวนการเรียนรู้ เนื้อหาที่อาจารย์ ชัยวัฒน์ น�ำเสนอในเวทีเรียนรู้บูรณาการ ตลอดช่วงเวลา ๑ ปีนนั้ น�ำมาจากหลักปรัชญา และทฤษฏีกระบวน จากภูมิปัญญาตะวันออก อย่าง ปรัชญาเต๋า พุทธธรรม ประสาน กับความรู้จากวิทยาศาสตร์กระบวนทัศน์ใหม่ ทฤษฎีทางสังคมว่า ด้วย ความซับซ้อนที่เป็นพลวัต และระบบองค์กรที่มีชีวิต เป็นต้น โดยทีอ่ าจารย์ชยั วัฒน์ ย่อยและเชือ่ มร้อยหลักการความรูต้ า่ ง ๆ ให้ เราเห็นภาพการบูรณาการได้กระจ่างขึน้ และได้แนวทางเพือ่ ลงมือ ปฏิบัติบูรณาการได้ในสนามการท�ำงาน 16
เมล็ดพันธุ์ชีวิตบูรณาการ
แผนที่การเดินทางของเวทีเรียนรู้ และหนังสือเมล็ดพันธุ์ชีวิต บูรณาการ หลายครัง้ เมือ่ มีโครงการ นโยบายอะไรลงมาทีภ่ าคประชาชน เรามักรับลูกความคิด และท�ำตาม โดยขาดการตั้งค�ำถามว่า สิ่งนั้น คืออะไร และเราจะท�ำไปเพื่ออะไร ฉะนั้น ก่อนที่เราจะเริ่มออก เดินทางบนถนนสายบูรณาการ เราน่าจะตั้งหลักในใจก่อนว่า เรา บูรณาการกันท�ำไม? งานนี้มีความหมายต่อเรา และสังคมอย่างไร ในโลกยุคกดปุ่ม ผู้คนมักแสวงหาเทคนิควิธีที่ง่ายและเร็ว เพื่อ แก้ปัญหาหรือท�ำเรื่องต่าง ๆ ให้ทันใจ ทว่าหลายเรื่องในชีวิตไม่ได้ เกิดขึ้นง่าย ๆ ตามใจเรา และไม่มีสูตรส�ำเร็จ หลักสูตรเวทีเรียนรู้ บูรณาการจึงไม่เน้นเทคนิคและวิธีการ (know-how) แต่เน้นหลัก คิด (know-why) เพือ่ ให้เราน�ำไปประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับบริบท สถานการณ์ทแี่ ปรเปลีย่ นอยูเ่ สมอ ดังนัน้ สิง่ ทีอ่ าจารย์ชยั วัฒน์เน้นใน หลักสูตรการอบรม คือ การท�ำความเข้าใจ หลักปรัชญาบูรณาการ บูรณาการไม่ใช่นวัตกรรมใหม่ หรือทฤษฏีทางสังคมจากตะวัน ตก หากแต่เป็นปรัชญาชีวิตที่มีอยู่แล้วในภูมิปัญญาโบราณตะวัน ออก อย่างในลัทธิเต๋า พุทธศาสนา ซึ่งสอดคล้องกับวิทยาศาสตร์ กระบวนทัศน์ใหม่ดว้ ย – แท้ทจี่ ริงแล้ว บูรณาการ เป็นกระบวนการ ของชีวิต – เราบูรณาการกันในลักษณะที่มีชีวิตหรือไม่ ปรัชญาไม่ใช่สิ่งที่แยกขาดจากชีวิต หรือเป็นสิ่งให้เราขบคิด ถกเถียงกัน เราต้องน�ำปรัชญาและทฤษฎีตา่ ง ๆ มาสูก่ ารปฏิบตั ิ และ รับใช้ชีวิตให้ได้ เราต้องการผู้ที่สามารถแปรปรัชญาสู่การปฏิบัติได้ จริง นั่นคือ มนุษย์ที่มีภาวะผู้น�ำ ภาวะผู้น�ำบนวิถีบูรณาการที่มีชีวิต ไม่ได้หมายความถึง ต�ำแหน่งหน้าที่สูงส่งในองค์กร หรือชุมชน แต่เป็นเรื่องสภาวะจิต ก้าวแรก
17
ของคน ทีส่ ามารถบูรณาการตัวเอง และประสานพลังเข้ากับคนอืน่ และสรรพสิ่งต่างๆ ได้อย่างสอดคล้องกลมกลืน ในยุคสมัยแห่งความซับซ้อน ปั่นป่วนเช่นนี้ เราต้องการผู้น�ำ กระบวนทัศน์ใหม่ทนี่ ำ� การเรียนรูแ้ ละการสนทนาทีส่ ร้างสรรค์ เพือ่ เชื่อมประสานผู้คนเข้าด้วยกัน และต้องการการน�ำแบบรวมหมู่ คือ คนที่มีภาวะผู้น�ำจ�ำนวนมาก และหลากหลาย เพื่อฝ่าวิกฤตที่ ซับซ้อน นอกจากหลักปรัชญาแล้ว เราน�ำเสนอแนวคิด ทฤษฏีและ กระบวนการบางอย่าง ซึ่งน่าจะเป็นเครื่องมือที่เป็นประโยชน์ ต่อ การท�ำงานบูรณาการตามแบบระบบที่มีชีวิต ดังนี้ บริบทชีวิตและบ้านเมือง มนุษย์อยู่ในกาละและเทศะเสมอ ไม่ว่าเราจะท�ำอะไร เราต้องตระหนักเห็นบริบทแวดล้อม และ ปฏิบตั ติ วั ให้สอดคล้องกลมกลืนกับบริบทแวดล้อมนัน้ ๆ – เป็นการ บูรณาการตัวเองกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งในบทนี้ เราน�ำเสนอ หลักคิด และแนวทางประเมินสถานการณ์อย่างรอบด้าน เห็นตัวเรา เห็น ผู้อื่น เห็นสถานการณ์ปัจจุบัน รวมถึงแนวโน้มของอนาคต เพื่อที่ เราจะได้วางแผนงานบูรณาการ ให้สอดคล้องกับความจ�ำเป็น และ ความต้องการของชีวติ ท่ามกลางบริบทบ้านเมือง และโลกทีเ่ ป็นอยู่ และก�ำลังจะเป็นไป การคิดกระบวนระบบ เป็นเครื่องมือส�ำคัญ และจ�ำเป็นอย่าง ยิ่งในการท�ำงานบูรณาการ และการอยู่ในโลกซับซ้อนเป็นพลวัต การคิดกระบวนระบบ ไม่ใช่การคิดเป็นระบบ แบบตรรกะ เหตุผลหรือแบบกลไก แต่หมายถึง การคิดแบบองค์รวม มองเห็น เส้นสาย ข่ายใยความสัมพันธ์ของสรรพสิ่ง บูรณาการ เป็นเรื่องการประสาน เชื่อมร้อยสิ่งต่าง ๆ เข้าด้วย กัน ซึง่ ต้องอาศัยมุมมองแบบองค์รวม การฝึกคิดแบบกระบวนระบบ 18
เมล็ดพันธุ์ชีวิตบูรณาการ
จะช่วยให้เราเห็นความเป็นเอกภาพของสิ่งต่าง ๆ ที่สัมพันธ์และส่ง ผลกระทบถึงกัน เมื่อเราเห็นเส้นใยแห่งความสัมพันธ์นี้ เราย่อมจะ มองเห็นทางที่จะเชื่อมโยงกับบางสิ่ง เพื่อสร้างสรรค์ปรากฎการณ์ ที่ปรารถนา หรือตัดทอนบางอย่าง ที่สร้างวงจรอุบาทว์ในสังคม เวลาที่เรานึกถึงการสร้างความเปลี่ยนแปลงในสังคม เรามัก นึกไปถึงการลงมือท�ำแบบปะทะกับสิ่งที่เราไม่ชอบใจ เผาผลาญ ท�ำลายสิ่งที่ไม่น่าปรารถนา เปลี่ยนคนหรือระบบที่ไม่สร้างสรรค์ ออกไป เพื่อจะได้สร้างสิ่งใหม่ การเปลี่ยนแปลงในลักษณะนี้ต้อง ใช้พลังมาก และผู้ที่เข้มแข็งกว่า มีโอกาสสูงที่จะชนะ ทว่า ชัยชนะ และผลที่เกิดขึ้นก็มักจะไม่ยั่งยืน การเปลี่ยนแปลงเกิดได้จากพลังอีกชนิดหนึ่งด้วย – พลัง ปฏิบัติการที่นุ่มนวล ซึ่งเป็นพลังที่มองไม่ค่อยเห็น จับต้องได้ยาก แต่ให้ผลที่ยั่งยืนกว่า เพราะเป็นพลังที่ซึมซาบ หยั่งลึกเข้าไปถึงวิธี คิด วิถีชีวิต เรียกว่า สร้างวัฒนธรรมใหม่กันเลยทีเดียว ซึ่งในบทนี้ เราจะได้น�ำเสนอบางตัวอย่างของพลังปฏิบัติการอันนุ่มนวล ที่ให้ ผลสะเทือนยิ่งใหญ่ กว้างไกล และยั่งยืน การสนทนาอย่างสร้างสรรค์และผลิดอกออกผล อาจกล่าว ได้ว่า เรื่องนี้เป็นหัวใจของงานบูรณาการเลยก็ว่าได้ เพราะงาน บูรณาการ คือ งานเชื่อมพลัง เราจะเชื่อมกันได้ เมื่อเราเรียนรู้ที่ จะสนทนากันให้มีพลัง และผลิดอกออกผลเป็นความคิด และการ งานที่สร้างสรรค์ ในบทนีเ้ ราน�ำเสนอกระบวนการจัดประชุมทีม่ สี ร้างแรงบันดาล ใจและเชื่อมพลัง ทักษะที่ผู้เข้าร่วมประชุม และน�ำการประชุมควร ฝึกฝนและตระหนักรู้ รวมถึงการดูแลสนามแห่งพลังของการสนทนา เพื่อหล่อเลี้ยงหัวใจของผู้คน ก้าวแรก
19
โดยมาก เรามักมองเรื่องราวต่าง ๆ อย่างแบน ๆ เป็น ๑-๒ มิติ อย่าง เวลาท�ำงาน เรามักมุง่ ทีผ่ ลของงาน จนเสียความสัมพันธ์กบั ทีม และครอบครัว รวมถึงบั่นทอนสุขภาพตัวเองด้วย หลายคนท�ำงาน เรื่องความสุข บนความทุกข์ของตัวเองและครอบครัว ซึ่งถ้าเป็น อย่างนี้ เราก็ยังห่างจากวิถีบูรณาการ ดังนั้น อาจารย์ชัยวัฒน์จึงน�ำ เสนอ โมเดลบูรณาการ ๓ มิติ ๓ ระดับ ให้เป็นเครื่องมือหนึ่งที่จะ ช่วยเราคิด วางแผน และประเมินผลงานให้รอบด้าน เพือ่ ให้ทกุ ฝ่าย ทีเ่ กีย่ วข้องได้รบั ประโยชน์ทวั่ กัน ทัง้ ตัวเรา องค์กร ชุมชนและสังคม งานบู ร ณาการเป็ น งานสร้ า งทุ น ทางสั ง คม เพราะงาน บูรณาการเป็นงานที่หลอมรวมคน ทั้งพลังกาย ใจ และสติปัญญา เพื่อสังคม ทุนทางสังคมมาจากชุมชนและเครือข่ายเรียนรู้ เรา อยู่ในโลกแห่งเครือข่าย ที่สิ่งมีชีวิตทั้งหลายพึ่งพิงอิงอาศัย และ เชื่อมโยงกันและกันอย่างไม่สิ้นสุด ในโลกแบบนี้ การจัดการและสั่งการจากศูนย์กลาง และใช้ มาตรฐานกลาง ไม่อาจรับมือกับปัญหา ที่มีความสลับซับซ้อนและ หลากหลายในแต่ละพื้นถิ่นได้ หน�ำซ�้ำ ความพยายามที่จะจัดการ จากศูนย์กลางแบบเป็นมาตรฐานเดียว จะยิ่งท�ำให้ปัญหาทวีความ รุนแรงและซับซ้อนขึ้นอีก เราต้องเปิดโอกาสให้ชุมชนจัดตั้งและจัดการตัวเอง และ เชื่อมโยงพื้นที่ต่าง ๆ ให้เป็นเครือข่ายที่มีความสามารถและรับมือ กับปัญหาร่วมกัน ทว่า ชุมชนจัดตัง้ และจัดการตัวเองไม่ใช่เรือ่ งของ รูปแบบ ระเบียบกฏหมาย โครงสร้างอาคาร หัวใจของชุมชนจัดตัง้ ตนเองอยูท่ คี่ วามสามารถของชุมชนและ เครือข่ายในการเรียนรูอ้ ย่างลึกซึง้ ยกระดับการเรียนรูข้ องตัวเองได้ สื่อสารข้อมูลความรู้ทั่วถึง รู้สึกเชื่อมโยงและสนิทชิดเชื้อกัน และมี ส่วนร่วมอย่างมีความหมาย 20
เมล็ดพันธุ์ชีวิตบูรณาการ
เรามีปรัชญา ความรู้ ทฤษฎีต่าง ๆ มากมาย แต่สิ่งที่เรายังท�ำ ไม่พอ คือ การลงมือปฏิบัติ ฝึกฝนให้เห็นจริงว่า ความรู้เหล่านั้น ใช้ได้ และเป็นประโยชน์กับเราจริงหรือไม่ ในบท หนทางแห่งการฝึกตน เราคัดสรรความรูแ้ ละทักษะบาง อย่างที่เห็นว่า หากท�ำความเข้าใจ และฝึกฝนอย่างเพียงพอแล้ว ก็ น่าจะเป็นจุดเริ่มต้นให้เราเข้าสู่วิถีบูรณาการที่มีชีวิต สิ่งที่นักบูรณาการต้องใส่ใจฝึกฝนที่สุด คือ จิต ฝึกให้มีจิตใจ นุ่มนวลควรแก่งาน ให้จิตสงบนิ่งและว่างพอ ที่ความคิดใหม่ ๆ จะ ผุดพรายขึ้นมาได้ นอกจากนัน้ ยังมีเรือ่ งการเรียนรูอ้ ย่างลึกซึง้ การฟัง การสังเกต การครุ่นคิดใคร่ครวญด้วยใจ การตั้งค�ำถามที่ดี การเล่าเรื่อง การ อ่านและการเขียน เวทีเรียนรู้บูรณาการไม่ใช่เป็นเพียงการเรียนรู้ภาคทฤษฎี แต่ ยังมีการออกแบบให้ผทู้ สี่ นใจทดลองน�ำความรูไ้ ปใช้ในภาคสนามทัง้ การงานและชีวิต ใน บทเรียนจากสนามทดลองปฏิบัติบูรณาการ ผู้ประสานงานกลางของภาคเหนือ คือ คุณสุภาพ สิริบรรสพ ได้บอกเล่าประสบการณ์การเรียนรู้ของเธอร่วมกับคณะท�ำงาน บูรณาการในแต่ละจังหวัด เรื่องราวความส�ำเร็จ และสิ่งที่ยังคง ท้าทายศักยภาพการบูรณาการ ของพวกเรา สุดท้าย วิทยากรกระบวนการ อาจารย์ ชัยวัฒน์ ร่วมเหลียว หลังเรียนรูว้ ถิ บี รู ณาการ สะท้อนข้อสังเกตจากกระบวนการอบรม และงานในพื้นที่ภาคสนาม ว่ามีอะไรที่เราควรใส่ใจเรียนรู้ และ พัฒนาเพิม่ เติม อาทิ ความพิการทางการเรียนรู้ บูรณาการหลักลอย ก�ำแพงแห่งตัวตน เป็นต้น ทั้งวิทยากรกระบวนการ ผู้จดบันทึกและเขียนหนังสือเล่มนี้ ได้รว่ มเดินทางเรียนรู้ ครุน่ คิด และฝึกฝนวิถบี รู ณาการ ไปพร้อม ๆ ก้าวแรก
21
กับผู้เข้าอบรมทุกคน เราตระหนักว่า ยังมีอีกหลายเรื่องที่เรายัง ไม่เข้าใจ หรือเข้าใจได้ไม่แจ่มชัดนัก แต่เราไม่หยุดเรียนรู้ ไม่หยุด เฝ้าสังเกต และไม่หยุดฝึกฝนตนเองให้อยู่บนวิถีบูรณาการที่มีชีวิต อย่างที่อาจารย์ชัยวัฒน์มักกล่าวเสมอว่า “บูรณาการไม่ใช่งาน แต่ เป็นกระบวนการของชีวิต เราต้องฝึกฝนให้มีในตนทุกเมื่อ ที่ใด มี การบูรณาการ ที่นั่น มีความเจริญงอกงามของชีวิต” เราจึงอยากเชื้อเชิญให้ทุกท่าน ร่วมครุ่นคิด ต่อยอด เพิ่มพูน ความเข้าใจ และทดลองปฏิบัติการบูรณาการอย่างมีชีวิตชีวา เพื่อ ให้เห็นจริงว่า ความรูเ้ หล่านีส้ ามารถช่วยเราเปลีย่ นแปลงตัวเอง และ สังคมไปในทางสร้างสรรค์ได้จริงหรือไม่ ผลจากการลงมือปฏิบตั จิ ะ เป็นข้อพิสูจน์ความรู้ และการเรียนรู้ร่วมกันของพวกเรา j
22
เมล็ดพันธุ์ชีวิตบูรณาการ
ผลลัพธ์ที่ยิ่งใหญ่ เริ่มจากคำ�ถาม ที่ยิ่งใหญ่
24
เมล็ดพันธุ์ชีวิตบูรณาการ
บูรณาการท�ำไม?
อาจารย์ ชั ย วั ฒ น์ เ ริ่ ม ต้ น เวที เ รี ย นรู ้ ก าร บูรณาการ ฯ ครั้งแรก ด้วยค�ำถามที่ฟังดูแสน จะเรียบง่าย “ท�ำไม เราต้องมาบูรณาการกัน?” ความเงียบงัน คือ หนึง่ ในค�ำตอบ เสียงอืน่ ๆ ทีพ่ ยายามจะตอบ พูดถึง การแก้ปัญหาต่าง ๆ ในบ้านเมืองอย่างเป็นเอกภาพ การลด ความซ�ำ้ ซ้อนในการท�ำงาน การท�ำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ และอีกหลายค�ำตอบที่เราคุ้นหู นั่นคือเหตุผลที่เราบูรณาการกัน และเป็นผลลัพธ์ส�ำหรับชีวิต และการงานที่เราปรารถนาแล้ว อย่างนั้นหรือ บูรณาการทำ�ไม
25
ในภาพยนตร์ ญี่ ปุ ่ น เรื่ อ ง ซามู ไรยามสนทยา (Twilight Samurai) มีฉากน่าประทับใจตอนหนึง่ เป็นการสนทนาระหว่างเด็ก หญิงวัย ๑๐ ขวบ กับพ่อของเธอทีเ่ ป็นซามูไรชัน้ ผูน้ อ้ ยฐานะยากจน เด็กหญิงถามพ่อของเธอว่า “ถ้าหนูเรียนเย็บปักถักร้อย หนูก็ สามารถท�ำเสื้อผ้าให้ตัวเองใส่ได้ แล้วถ้าหนูเรียนเขียนอ่าน หนูจะ ได้อะไรคะ ท�ำไมหนูต้องเรียนหนังสือ” ซามูไรผู้พ่อนิ่งไปสักพัก ก่อนจะตอบว่า “เรียนเขียนอ่าน จะ ท�ำให้หนูคิดเป็น แล้วถ้าหนูคิดเป็นแล้ว ไม่ว่าบ้านเมืองจะเปลี่ยน ไปอย่างไร หนูก็จะอยู่กับความเปลี่ยนแปลงนั้นได้” ซามู ไ รผู ้ พ ่ อ เห็ น ความหมายอั น ลึ ก ซึ้ ง ของการเรี ย นว่ า ช่วยให้เรา “รูอ้ ยู”่ กับชีวติ ทีเ่ ปลีย่ นแปลง ความหมายของการเรียน ในแง่นมี้ คี ณ ุ ค่ามากกว่าการได้งานดี ๆ ต�ำแหน่งใหญ่โต หรือเงินทอง ค�ำถามทีด่ ธู รรมดา ๆ อย่าง “ท�ำไมเราจึงท�ำสิง่ ทีเ่ ราท�ำอยู่ หรือ ก�ำลังจะท�ำ” ชวนให้เราสืบค้นความหมาย คุณค่า และแรงจูงใจ ของการกระท�ำต่าง ๆ ซึ่งหากแรงจูงใจของเรามีพลังมากพอ และ สัมพันธ์กับชีวิต ก็จะผลักดันให้เราท�ำงานนั้น ๆ ด้วยความปีติใจ และพากเพียรมุ่งมั่น เราจะเห็นตัวอย่างผูค้ นมากมายทีม่ แี รงขับภายในให้ทำ� สิง่ ดี ๆ ทั้งที่สิ่งนั้นไม่ใช่งานประจ�ำที่น�ำเงินตรามาให้ แต่เป็นงานแห่งหัวใจ อย่าง นายดาบต�ำรวจวิชัย สุริยุทธ (ปัจจุบัน ยศร้อยต�ำรวจตรี) ผู้อุทิศเวลาในชีวิตร่วม ๒๐ ปี ปลูกต้นไม้กว่า ๒ ล้านต้น โดยใช้ เวลาว่างจากงานราชการ ปลูกต้นไม้ตามทีร่ กร้างว่างเปล่า ไหล่ถนน ทีด่ นิ สาธารณะ งานนีไ้ ม่มนี ายสัง่ หรือค่าตอบแทนใด ๆ ต�ำรวจหัวใจ สีเขียวเคยกล่าวถึงแรงจูงใจในการปลูกต้นไม้ว่า “การปลูกต้นไม้ 26
เมล็ดพันธุ์ชีวิตบูรณาการ
เป็นการท�ำบุญที่ยั่งยืน และช่วยเหลือคนได้ชั่วลูกชั่วหลาน ... และ จะปลูกไปจนกว่าจะตาย ...” พลังแห่งความหมายและแรงจูงใจในชีวติ นีเ้ อง ทีท่ ำ� ให้ทกุ วันนี้ ผืนดินทีเ่ คยแห้งแล้งในอ�ำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ กลายเป็น พื้นที่สีเขียว อุดมด้วยต้นไม้นานาชนิด ตลอดหลายปีที่เรารู้จักและเริ่มท� ำงานเชิงบูรณาการ อาทิ โครงการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ นโยบายการจัดการ บูรณาการทำ�ไม
27
น�ำ้ อย่างบูรณาการ การตรวจราชการแบบบูรณาการ บูรณาการงบ ประมาณ แผนงานแก้ปัญหาความยากจนแบบบูรณาการ ฯลฯ เรา เคยถามตัวเองหรือไม่วา่ ท�ำงานเชิงบูรณาการไปท�ำไม? เพือ่ อะไร ... เป็นค�ำสั่ง เป็นงานโครงการ เป็นนโยบาย เป็นเพราะคนอื่นเขาท�ำ กัน ... หรือเพราะเหตุใด? เราปรารถนาผลลัพธ์ใดจากงานบูรณาการ? งานเชิงบูรณาการมีความหมายอย่างไรกับชีวิตเราและสังคม? หากเราตอบค�ำถามเหล่านี้ให้ตัวเองได้ เราจะพบขุมพลังยิ่งใหญ่ใน ใจ ที่น�ำพาเราไปสู่เป้าหมาย และผลลัพธ์ที่ปรารถนา ธรรมชาติพลังบูรณาการ
คลิปวีดโี อเรือ่ งหนึง่ บันทึกภาพชีวติ สัตว์ปา่ ในอุทยานแห่งชาติ ครูเกอร์ ประเทศแอฟริกาใต้ เป็นเหตุการณ์ที่ฝูงควายป่าถูกกลุ่ม สิงโตไล่ล่า แต่ก็รอดมาได้ เพราะความรวมพลังกัน 28
เมล็ดพันธุ์ชีวิตบูรณาการ
ในตอนแรก ที่ฝูงสิงโตเข้าจู่โจม บรรดาควายป่าต่างตกใจ วิ่ง แตกตื่นกระจัดกระจายกันไปคนละทิศคนละทาง จนกระทั่งสิงโต จับตัวลูกควายป่าได้ แต่ไม่นาน ควายทั้งฝูงก็กลับมารวมตัวกันเป็น ฝูง เดินดาหน้าเข้ามาหาเหล่าสิงโต ไล่นักล่าจนวิ่งกระเจิงไป และ ช่วยชีวิตลูกควายได้ส�ำเร็จ เรือ่ งราวของควายป่าสร้างแรงบันดาลใจให้คนจ�ำนวนมาก จาก การเข้าชมคลิปกว่า ๖๐ ล้านครั้ง จากเรื่องจริงของชีวิตสัตว์โลก เราจะเห็นพลังบูรณาการ คือ การประสานพลังเป็นหนึ่ง เพื่อฝ่าวิกฤตความเป็นความตาย ... มนุษย์เราก็มีศักยภาพนี้เช่นกัน ในช่วงวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๒ เราหลายคนหลั่งน�้ำตา เมื่อเห็นเปลวไฟพวยพุ่ง เผาไหม้อาคารและถนนหลายแห่งใน กรุงเทพมหานคร สภาพบ้านเมืองในเวลานัน้ ปัน่ ป่วนโกลาหล ผูค้ น บาดเจ็บ และชีวิต ขวัญของคนในชาติหายและแตกสลายที่เห็น คนในชาติรบพุ่งและท�ำลายกันเอง แต่อกี ๔ วันต่อมา เราก็ได้เห็นพลังอีกด้านของคนในชาติ ผูค้ น หลายวัย หลากอาชีพ ต่างปูมหลังชีวิต เดินทางจากทั่วสารทิศมาที่ ปลายทางเดียวกัน คือ ย่านราชประสงค์ สีลม และบ่อนไก่ ดินแดน ที่หลายวันก่อนหน้านี้ เป็นสมรภูมิสู้รบของคนในชาติ บางคนเป็นช่างซ่อมเสื้อผ้าริมถนน พนักงานโรงงาน พนักงาน บริษัท เจ้าของกิจการ คนในวัยเกษียณ นักเรียนนักศึกษา ชุมชน ออนไลน์ ชุมชนทางศาสนา แม้กระทั่งคนต่างชาติที่อยู่เมืองไทย เพียง ๒ ปีก็ออกมาร่วมท�ำความสะอาดกรุงเทพในปฏิบัติการวัน บิ๊กคลีนนิ่งเดย์ บูรณาการทำ�ไม
29
บางคนเตรียมอุปกรณ์ท�ำความสะอาดมาเอง เด็กบางคนไม่ เคยจับไม้กวาดท�ำความสะอาดบ้านเลย ก็อาสามาท�ำงานที่ไม่คุ้น บางคนไม่ได้มาท�ำความสะอาด ก็เอาน�้ำและอาหารมาแจกคนอื่น ๆ ที่เป็นมดงานในพื้นที่ ผู้ที่เป็นหมอพยาบาลก็ออกมาให้บริการ ดูแลผู้มีใจอาสา แม้ความเศร้ากับเหตุการณ์จะผลักดันให้พวกเขาเหล่านีม้ าอยู่ บนถนน ทว่าพวกเขาก็ท�ำความสะอาดด้วยใบหน้ายิ้มแย้ม คนที่ ไม่รจู้ กั กันก็พดู คุยกัน แบ่งปัน เอือ้ อาทรดูแลกันและกัน ท�ำให้ถนน หนทางในกรุงเทพกลับมาสะอาด ปลอดภัย ใช้งานได้ตามปรกติ อย่างรวดเร็ว งานนีไ้ ม่มใี ครเป็นผูน้ ำ� คอยสัง่ การ แต่ทกุ คนน�ำตัวเอง หลอมรวมกับคนอื่น ๆ เพื่อภารกิจเดียวกัน ด้วยแรงจูงใจที่ว่า “นี่ คือบ้านเมืองของเรา” แม้น�้ำที่ฉีดท�ำความสะอาดถนน ไม้กวาดเล็ก ๆ ที่เขี่ยขยะ จะ ไม่สามารถขจัดความขัดแย้ง ปมปัญหาที่ทับถมนอนเนื่องในสังคม มายาวนานได้ แต่เราก็ได้เห็นว่า เราทุกคนมีพลังสร้างสรรค์ และ ความสามารถในการบูรณาการกันเพื่อบรรเทาทุกข์ของแผ่นดิน วิกฤตบีบให้เราบูรณาการ เพือ่ ความรอดและการด�ำรงอยูร่ ว่ ม กัน เป็นเช่นนัน้ เองตามวิถขี องธรรมชาติ เหมือนร่างกาย ทีเ่ มือ่ ได้รบั เชื้อโรค เซลล์เม็ดเลือดขาว และเซลล์ทั้งหมดในร่างกาย จะระดม ก�ำลังรับมือและสู้กับเชื้อโรค เพื่อให้มีชีวิตรอด สังคมซึ่งเปรียบเสมือนกายของคนในสังคมก็เช่นกัน ในยามที่ เผชิญวิกฤต ภัยธรรมชาติ น�้ำท่วม พายุถล่ม คลื่นสึนามิ ทุกเซลล์ ของสังคมระดมใจ และกายออกมาฟื้นฟูประเทศ แต่น่าเสียดายว่า พลังบูรณาการตามธรรมชาติเช่นนี้ มักเกิด ภายใต้สถานการณ์ที่เข้มข้นคับขัน อย่างภาวะความเป็นความตาย 30
เมล็ดพันธุ์ชีวิตบูรณาการ
แต่เมื่อสถานการณ์ค่อย ๆ คลี่คลายกลับสู่สภาพ (เหมือน) ปรกติ พลังของคนที่จับมือกันก็หายไป พวกเราก็กลับสู่ห้วงชีวิตแบบเดิม ที่เคยด�ำเนินมา ผู้คนที่เคยร่วมมือกันอาสาบรรเทาทุกข์ อาจก่น ด่ากันบนท้องถนน แบ่งเขาแบ่งเรา ต่างคนต่างอยู่ ไม่ช่วยเหลือกัน หน�ำซ�้ำยังทะเลาะเบาะแว้งกัน ... จนเมื่อวิกฤตระลอกใหม่ซัดเข้า มา เราจึงจะมาบูรณาการกันอีกครัง้ วนเวียนอยูก่ บั ทีอ่ ย่างนีเ้ รือ่ ยไป คนเรามักรอให้เหตุการณ์ร้ายแรงเกิดขึ้นก่อน แล้วจึงลุกขึ้น จัดการหรือปรับตัว ทั้ง ๆ ที่หลายเรื่อง เราเห็นได้ว่า เหตุร้ายก�ำลัง จะเกิดขึ้น และมีเวลาพอที่จะตั้งรับ หรือดับต้นเหตุได้ทัน – นี่คือ ความท้าทายส�ำคัญในการท�ำงานเชิงงานบูรณาการ – การท�ำให้คน เห็นความจ�ำเป็นเร่งด่วน ที่เราจะต้องบูรณาการในตอนนี้ ในยามที่ ทุกอย่างดูเหมือนจะเป็นปรกติสุขดี วิกฤตเป็นสิ่งพิสูจน์จิตวิญญาณคนในชาติ ในยามที่บ้านเมืองประสบกับวิกฤต เราจะได้เห็นจิตวิญญาณ ของคนในชาตินั้นว่าเป็นอย่างไร เมื่อเผชิญกับไฟสงคราม ชาวญี่ปุ่นอาจจะพ่าย แต่ไม่ยอม แพ้ ความหวังยังลุกโชนอยู่ในหัวใจของชาวญี่ปุ่นทั้งหลาย รวมถึง ต้นไม้เก่าแก่ด้วย เมื่อวันที่ ๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๘ เครื่องบินรบอเมริกาทิ้ง ระเบิดปรมาณูทเี่ มือง ฮิโรชิมา ท�ำให้บา้ นเมืองราบพนาสูร ผูค้ นเสีย ชีวิต พิการ และบ้านแตกสาแหรกขาด หนึ่งเดือนให้หลังเหตุการณ์ความสูญเสีย ชาวฮิโรชิมาส�ำรวจ ความสูญเสียบริเวณใจกลางระเบิดลง พบว่า มีต้นไม้ใหญ่จ�ำนวน หนึ่งที่ไม่ยอมแพ้แรงระเบิด ต้นแป๊ะก๊วยไม้โบราณอายุกว่า ๒๐๐ ปี เส้นผ่าศูนย์กลาง บูรณาการทำ�ไม
31
ราว ๔ เมตร สูงประมาณ ๑๗ เมตร หักโค่นด้วยแรงระเบิด เพลิง เผาไหม้จนไม่เหลือใบ ล�ำต้นกิ่งก้านด�ำเป็นตอตะโก แต่หนึ่งเดือน ให้หลัง ตุ่มเขียวแตกหน่อจากล�ำต้นที่เป็นซาก ใบเขียวแทงออกมา จากต้นไม้ที่โค่นล้ม ภาพใบอ่อนที่แทงหน่อออกจากเถ้าถ่าน จุดประกายความ หวังในหัวใจชาวฮิโรชิมา ระเบิดอาจท�ำลายล�ำต้นให้หักพังได้ แต่ ไม่อาจท�ำลายชีวติ และจิตวิญญาณของต้นไม้ทปี่ รารถนาจะอยูร่ อด และเติบโตได้ ตอนที่สร้างเมืองใหม่ ชาวญี่ปุ่นไม่ตัดท�ำลายต้นไม้เหล่านี้ แต่ จะสร้างอาคารและสถานที่โอบล้อมต้นไม้เหล่านี้ไว้ เพราะต้นไม้ เหล่านี้เป็นสัญญลักษณ์ “แห่งความหวัง” จนทุกวันนี้ ต้นไม้นั้น เติบโตเป็นต้นสูงใหญ่งดงาม ชาวญี่ ปุ ่ น ได้ พิ สู จ น์ ค วามเข้ ม แข็ ง ของจิ ต ใจของคนในชาติ ปรับตัวหลังจากความพ่ายแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 ให้เป็นโอกาส สร้างสรรค์สนั ติภาพ และความหวัง สร้างเมืองฮิโรชิมาและนางาซากิ ที่ราบพนาสูรให้กลับมาเป็นเมืองสีเขียวและเมืองทันสมัย เช่นเดียวกับญีป่ นุ่ ประเทศเยอรมันไม่จำ� นนต่อชะตากรรมหลัง สงคราม ในวันที่ ๖ พค. ๒๔๘๘ หลังจากประกาศยอมแพ้สงคราม เยอรมันต้องจ่ายค่าเสียหายในสงครามจ�ำนวนมาก และสภาพบ้าน เมืองทีเ่ ป็นสนามรบด้วยก็พงั เสียหายไม่นอ้ ย แต่คนเยอรมันมีคติวา่ “ตึกพังได้ แต่จิตใจอย่าพัง” และด้วยนิสัยบุคลิกที่แกร่ง อดทน มี วินัย คนเยอรมัน “สู้จนนาทีสุดท้าย” ในการกอบกู้วิกฤตชาติ แม้ จะเป็นชาติที่แพ้สงคราม แต่ไม่นานหลังสงคราม เยอรมันสร้าง ปาฏิหาริย์ทางเศรษฐกิจได้ กลับมาเป็นชาติที่มีความเจริญและ เติบโตทางเศรษฐกิจมากกว่าอังกฤษและฝรั่งเศสเสียอีก 32
เมล็ดพันธุ์ชีวิตบูรณาการ
คนไทยเราผ่านวิกฤตอะไรกันมาบ้าง และเราผ่านพ้นวิกฤต ต่าง ๆ อย่างไร หากจะนับย้อนไปตั้งแต่หลังกรุงศรีอยุธยาแตก (๗ เมษายน พ.ศ. ๒๓๑๐) ที่ บ ้ า นเมื อ งวอดวายจนต้ อ งย้ า ยเมื อ ง ถึ ง ยุ ค ต้นรัตนโกสินทร์ เรามีวิกฤตส�ำคัญ คือ ช่วงภัยจักรวรรดินิยม เรา พ้นวิกฤตนี้ได้เพราะผู้น�ำที่มีวิสัยทัศน์ เล็งเห็นภัยคุกคามจากชาติ ตะวันตกและเตรียมตัวรับสถานการณ์ นับตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๓ จนถึง รัชกาลที่ ๕ พระบาทสมเด็จพระนัง่ เกล้าเจ้าอยูห่ วั เริม่ สังเกตว่า ฝรัง่ จะเป็น อันตราย จึงทรงแบ่งเงินส่วนก�ำไรจากการค้าใส่ไว้ในถุงแดง พร้อม กับมีพระราชด�ำรัสว่า “เอาไว้ไถ่บ้านไถ่เมือง” ซึ่งมาในช่วง ร.ศ. ๑๑๒ (พ.ศ. ๒๔๓๖) สมัยรัชกาลที่ ๕ ไทยรบกับฝรั่งเศส และพ่าย แพ้จงึ ถูกปรับโทษเป็นเงิน ๓ ล้านบาท จนท้องพระคลังมีไม่พอ ก็ได้ “เงินถุงแดง” ไปสมทบ ไถ่บ้านเมืองเอาไว้ได้จริงๆ ในวาระสุดท้ายของพระชนม์ชีพ เมื่อรัชกาลที่ ๓ ทรงประชวร หนักใกล้เสด็จสวรรคต ทรงพระราชทานพระบรมราโชวาทแก่ ขุนนางข้าราชบริพารที่เข้าเฝ้าเป็นครั้งสุดท้ายว่า “การศึกสงคราม ข้างญวนข้างพม่าก็เห็นจะไม่มแี ล้ว จะมีอยูก่ แ็ ต่ขา้ งพวกฝรัง่ ให้ระวัง ให้ดี อย่าให้เสียทีแก่เขาได้ การงานสิ่งใดของเขาที่คิด ควรจะเรียน เอาไว้กใ็ ห้เอาอย่างเขา แต่อย่าให้นบั ถือเลือ่ มใสไปทีเดียว” พระบรม ราโชวาทของรัชกาลที่ ๓ ได้รับการสานต่อในสมัยรัชกาลที่ ๔ และ ๕ อย่างที่รัชกาลที่ ๔ ทรงศึกษาภาษาอังกฤษ และวิทยาการต่าง ประเทศมากมาย ส่วนในสมัยรัชกาลที่ ๕ ท่านก็เตรียมตัวรับมือการ เปลีย่ นแปลง โดยเตรียมคน เตรียมเปลีย่ นโครงสร้างทางสังคม การ ศึกษา บ้านเมืองมากมาย บูรณาการทำ�ไม
33
วิ ก ฤตชาติ จ ากภั ย จั ก รวรรดิ นิ ย มผ่ า นพ้ น ไป หลั ง จากนั้ น ประเทศไม่ได้เผชิญกับภัยวิกฤตใหญ่ ๆ เช่นนั้นอีก จะมีก็ช่วง สงครามโลกครั้งที่สอง ที่หากไม่ได้ ขบวนการใต้ดินเสรีไทย ซึ่ง น� ำ โดย รั ฐ บุ รุ ษ ปรี ดี พนมยงค์ ประเทศไทยคงต้ อ งเสี ย ค่ า ปฏิกรรมสงครามจ�ำนวนมหาศาล ดูเหมือนว่า ที่ผ่านมาเราผ่านวิกฤตด้วยผู้น�ำที่มีวิสัยทัศน์ ท�ำให้เราไม่ต้องเผชิญชะตากรรมเหมือนประเทศที่วอดวายจากภัย สงคราม อย่าง ญี่ปุ่น หรือ เยอรมัน ปัจจุบันนี้ เราก�ำลังเผชิญวิกฤตอะไรบ้าง เหตุการณ์ภายใน ประเทศที่เกิดขึ้นหลายระลอก ที่หลายคนกล่าวว่า เฉียดความเป็น สงครามกลางเมือง จะเป็นบททดสอบส�ำคัญของคนไทยใน พ.ศ. นี้ ได้หรือไม่ ประวัติศาสตร์ร่วมสมัยก�ำลังทดสอบเรา และเราจะผ่าน บททดสอบนี้อย่างไร j
34
เมล็ดพันธุ์ชีวิตบูรณาการ
ทบทวนเจตนารมณ์ในการ ท�ำงานบูรณาการ เราต้องการอะไรในชีวิต • ทุกวันนี้ ปัญหาและทุกข์ใดที่กระทบชีวิตและชุมชน ของเรามากที่สุด ผลกระทบที่เกิดขึ้นนั้นเป็นอย่างไร และเราคิดว่า จะต้องท�ำอย่างไรบ้าง จะชวนใครบ้าง เพื่อช่วยกันคลี่คลายทุกข์ในชุมชน และอาจจะลอง จินตนาการด้วยว่า หากเราไม่ท�ำอะไรกับทุกข์ที่เกิดขึ้น ในชุมชน และสังคม จะเกิดอะไรขึ้นต่อไปบ้าง และชีวิต ในบรรยากาศเช่นนั้นจะเป็นอย่างไร • อะไรคือเจตนารมณ์ลึก ๆ ในตัวของเรา ที่กระตุ้น เร้าให้เราท�ำงานเพื่อสังคม และงานเชิงบูรณาการ และ สิ่งที่เราก�ำลังท�ำนี้ ยังอยู่บนหนทางของเจตนารมณ์ หรือไม่ • งานที่เราท�ำ มีความหมายและคุณค่าอย่างไรกับชีวิต และแผ่นดินของเรา แผ่นดินเรียกร้องอะไรจากเรา และเราให้อะไรแผ่นดินบ้าง • เราปรารถนาผลลัพธ์อะไรจากการท�ำงานเชิง บูรณาการ และผลลัพธ์นี้มีความหมายอย่างไรต่อ ชีวิตเรา และลูกหลานในอนาคต
บูรณาการทำ�ไม
35
ปรัชญา และชีวิตบูรณาการ
ในอดีต ผู้คนใช้ชีวิตอยู่อย่างเป็นหนึ่งสอดคล้อง และกลมกลืน พวกเขาไม่ให้ความส�ำคัญกับความรู้มาก จนเกินไป แต่จะให้คุณค่ากับจิตใจ กาย และจิตวิญญาณ ที่บูรณาการผสานเป็นหนึ่งกับสรรพสิ่ง สิ่งนี้เองที่ท�ำให้คนโบราณเป็นนายของความรู้ ไม่ใช่ เป็นเหยื่อ ของความคิดเห็น หากนวัตกรรมใหม่เกิดขึ้น พวกเขาจะมองหาจุดที่อาจก่อปัญหา รวมถึงข้อดีที่สิ่งใหม่ นี้จะมอบให้ พวกเขารู้คุณค่าของวิถีเก่าที่ได้ผ่านการพิสูจน์ มาแล้วว่าได้ผล มีประสิทธิภาพและให้คุณค่ากับสิ่งใหม่ หากสิ่งนั้นจะพิสูจน์ได้เช่นกันว่าให้ผลลัพธ์ที่ดีงาม” เล่าจื้อ
38
เมล็ดพันธุ์ชีวิตบูรณาการ
ชีวิต บนวิถีปรัชญา
คราวหนึ่ง ในเวทีเรียนรู้บูรณาการ อาจารย์ ชัยวัฒน์ให้พวกเรารวมตัวกันในยามเช้า ที่ลาน สนามหญ้ า บริ เ วณที่ พั ก เพื่ อ ทดลองฝึ ก ฝน กระบวนท่าศิลปะการป้องกันตัวไอคิโดของญี่ปุ่น เราฝึกยืนให้มั่นคง และสมดุล ขยับขาเคลื่อนที่ไปในทิศทาง ต่าง ๆ ลองฝึกท่าพื้นฐานในการตั้งรับ และเข้ารุกกับคู่ฝึก ชีวิตบนวิถีปรัชญา
39
ไม่วา่ เราจะเคลือ่ นตัวไปทางใด ช้าหรือเร็ว เราต้องรักษาความ มั่นคง และสมดุลนี้ไว้เสมอ “ทุกความเคลื่อนไหว กายต้องมั่นคง กายและใจไปด้วยกัน ท�ำความรู้สึกตัวด้วยว่า เราก�ำลังเชื่อมตัวเอง เข้ากับดิน ฟ้า และพลังของคู่ฝึก” อาจารย์ชัยวัฒน์เน้น การที่อาจารย์ให้เราทดลองฝึกไอคิโดในช่วงเวลาสั้น ๆ นี้ ก็ เพื่อให้เราเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงว่า ทุกท่วงท่าอิริยาบถของ ไอคิโด เคลื่อนไหวตามหลักปรัชญาเต๋า และเซน ที่เน้นความ กลมกลืน ประสานเป็นหนึ่ง สมดุล และสันติ การฝึ ก ไอคิ โ ด การเรี ย นรู ้ วิ ถี แ ห่ ง เต๋ า เกี่ ย วข้ อ งอะไรกั บ การบูรณาการ? คนเราในโลกอุตสาหกรรมกลไก มีแนวโน้มทีจ่ ะมองเรือ่ งต่าง ๆ แบบแยกส่วน เราแยกปรัชญาออกจากชีวิตประจ�ำวัน การงานไม่ เกี่ยวกับชีวิตส่วนตัว หลักธรรมแยกขาดจากการเมือง แต่ปราชญ์ ตะวันออกโบราณไม่เห็นอย่างนั้น ปรัชญาและวิถีชีวิตเป็นเรื่อง เดียวกัน อย่าง ปรมาจารย์ไอคิโดชาวญี่ปุ่น โมริเฮ อุเอชิบะ ท่าน ใช้ชีวิตเรียบง่าย ใกล้ชิดธรรมชาติ ไม่ต่อสู้เพื่อเอาชนะหรือท�ำร้าย ใคร การต่อสู้ทั้งในสนามฝึกไอคิโด และสนามชีวิต เป็นไปเพื่อ สันติภาพ และปรองดองกับผองเพือ่ นมนุษย์ ซึง่ เป็นเป้าหมายสูงสุด ของปรัชญาเต๋า คือ สันติในใจ และการเข้าถึงสัจจธรรม การหลอมหลักปรัชญาให้เป็นเนื้อเดียวกับวิถีชีวิต ถือเป็นการ บูรณาการหรือไม่? ที่ผ่านมา เราเห็นบูรณาการเป็น “งาน” และ “โครงการ” ที่ ไม่เกี่ยวกับวิถีชีวิตของเราเลย เวลาที่เราคิดท�ำงานเชิงบูรณาการ เราจึ ง มั ก พู ด ถึ ง รู ป แบบ นโยบาย ยุ ท ธศาสตร์ เชิ ง บู ร ณาการ วิธีการ โมเดล และเทคนิคการบริหารงานแบบสูตรส�ำเร็จที่ลงมือ 40
เมล็ดพันธุ์ชีวิตบูรณาการ
ปฏิบตั กิ ารได้ทนั ที ฯลฯ พวกเราในโลกยุคกดปุม่ ต้องการได้ผลลัพธ์ ผลส�ำเร็จที่รวดเร็วทันใจ สิง่ ทีเ่ ราไม่พดู ถึง คือ หลักปรัชญาของการบูรณาการ ทีไ่ ม่เพียง อยู่ในงานภาคสนาม แต่หากอยู่ในวิถีชีวิตประจ�ำวันของเราด้วย เมื่อวิถีของการงาน แยกออกจากวิถีของชีวิต – รูปแบบที่ขาด แก่น – สิ่งที่ตามมา ก็คือ ปัญหาและความกลวง อย่างที่โรงเรียนแห่งหนึ่ง พยายามส่งเสริมประชาธิปไตย ให้นักเรียน ทางโรงเรียนจัดให้มีการเลือกตั้งประธานนักเรียนใน ทุกระดับชั้นเรียน โดยเชื่อว่า การให้เด็กได้รู้จักการลงสมัครรับ เลื อ กตั้ ง และการเลื อ กผู ้ แ ทนนั ก เรี ย น จะท� ำ ให้ นั ก เรี ย นรู ้ จั ก ประชาธิปไตยในภาคปฏิบัติ เด็กนักเรียนชั้นประถมปีที่ ๑ ก็ร่วมโครงการนี้ด้วย เด็กวัย ๗ ขวบคนหนึ่งเอาขนมไปแจกเพื่อน ๆ พร้อมกล่าวว่า “ถ้าเลือกเรา เป็นประธาน เราจะเลี้ยงขนมเพื่อน ๆ อีก” การซื้อเสียงด้วยวิธี การต่าง ๆ ระบาดไปยังเด็ก ๆ ทุกระดับชั้น บ้างใช้ขนม บ้างใช้การ ตามใจเพื่อน ๆ บ้างใช้การขู่บังคับให้เกิดความกลัว เมือ่ เรานึกถึงประชาธิปไตย เรามักเน้นไปทีร่ ปู แบบของระบอบ คือ การเลือกตั้งแบบ “ประชาธิปไตย ๑๐ วินาที” รัฐธรรมนูญ กฏ หมาย รัฐสภา ระบบผูแ้ ทน แต่เราไม่คอ่ ยจะพูดถึงหลักปรัชญาของ ประชาธิปไตย ที่เน้นการเคารพสิทธิและให้เกียรติผู้อื่น พูดคุยกัน ด้วยเหตุดว้ ยผล ตัดสินใจและร่วมมือท�ำงานเพือ่ ประโยชน์สว่ นรวม สิง่ เหล่านีไ้ ด้รบั การปลูกฝังบ่ม เพาะน้อยมากในวิถชี วี ติ ในห้องเรียน และในชีวิตการท�ำงาน ความกลวงเช่นนี้ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะประชาธิปไตย แต่เกิดขึ้น ในแทบทุกมิตขิ องชีวติ อย่างแวดวงศาสนา คนจ�ำนวนมากให้ความ สนใจกับพิธีกรรมทางศาสนา มากกว่าสาระของพุทธธรรม จนเป็น ชีวิตบนวิถีปรัชญา
41
จุดอ่อน ให้คนบางกลุ่มกอบโกยผลประโยชน์เชิงพุทธพานิช ท�ำ ทุจริตมิชอบต่าง ๆ เราท�ำบุญด้วยหวังร�่ำรวย ชื่อเสียง ทั้งๆ ที่แก่น ของศาสนาเน้นให้ท�ำบุญ เพื่อช�ำระใจให้บริสุทธิ์ ละกิเลส และสละ ความเห็นแก่ตัว เวลาที่เรายึดติดกับรูปแบบ แล้วละเลยแก่นสาร เราจะหลง ทาง และไปไม่ถึงเป้าหมาย เหมือนที่เราเป็นประชาธิปไตยแบบ สุก ๆ ดิบ ๆ อย่างในปัจจุบัน เรือ่ งเช่นนีก้ อ็ าจเกิดขึน้ กับงานเชิงบูรณาการได้เหมือนกัน หาก เราให้เวลาครุ่นคิดเรื่องปรัชญาของบูรณาการไม่มากพอ หลักปรัชญาของการบูรณาการคืออะไร เป้าหมายสุงสุดของการบูรณาการคืออะไร เราจะหลอมปรัชญาบูรณาการให้เป็นเนื้อเดียวกับวิถีชีวิต จิตใจ และการกระท�ำของเราได้อย่างไร ปรัชญาไม่ใช่เนือ้ หาทฤษฎีให้เราขบคิด ถกเถียงกัน แต่ปรัชญา คือ แก่น คุณค่า ความหมาย ทีช่ ว่ ยน�ำทางชีวติ และการงานของเรา ให้ไปถึงปลายทางทีป่ รารถนา ซึง่ หากเราเข้าใจหลักให้ดแี ล้ว หนทาง มากมายจะปรากฎขึ้นเอง เหมือนอย่างที่ ปรัชญาเต๋าให้ก�ำเนิด ศาสตร์มากมาย เช่น ไอคิโด ศิลปะการต่อสูแ้ ละป้องกันตัวไทฉีช่ วน ศิลปะการจัดดอกไม้แบบญี่ปุ่น ศาสตร์ฮวงจุ้ย หรือแม้กระทั่งต�ำรา พิชัยสงครามซุนหวู่ ที่ภายหลังนักธุรกิจ ก็น�ำมาประยุกต์ใช้ในโลก ธุรกิจสมัยใหม่ด้วย เวลาที่เราอ่านต�ำราพิชัยสงคราม เราจะเห็นว่า ซุนหวู่ไม่ได้ให้ เทคนิค รูปแบบใด ๆ ที่ตายตัวในการท�ำการศึกเลย แต่ซุนหวู่ให้ หลักการรบ อย่าง “จงสู้รบให้เหมือนเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ” 42
เมล็ดพันธุ์ชีวิตบูรณาการ
หลายคนตีความหลักการนี้ได้ต่าง ๆ นานา บ้างว่า ให้รบเหมือนไฟ เช่น เวลาบุก ก็รกุ กระหน�ำ่ โหมจนทุกอย่างมอดไหม้ หรือรบเหมือน ภูเขา คือ เมื่อต้องตั้งรับ ก็ให้นิ่งสงบ ไม่ให้ศัตรูจับได้ว่าเราซ่อนตัว อยู่ที่ใด เป็นต้น หรือบางคนอาจตีความว่า ในการรบ เราต้องดู สถานการณ์รอบตัว และปรับตัวให้กลมกลืนกับธรรมชาติในเวลา นั้น และจากหลักการนี้ คนที่น�ำไปใช้ สามารถคิดค้นรูปแบบ วิธี การต่าง ๆ ทีเ่ ห็นว่าเหมาะสมกับบริบท และสถานการณ์ทเี่ ผชิญอยู่ โลกสมัยใหม่ผลิกผันรวดเร็ว และยากจะคะเน เทคนิควิธีการ สูตรส�ำเร็จ หรือโมเดลรูปแบบที่ตายตัวแบบอุตสาหกรรม ไม่อาจ ช่วยให้เรารับมือกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอได้ ในโลก แบบนี้ สิ่งส�ำคัญอยู่ที่ “เข้าใจหลัก” แล้วพลิกแพลงหลักให้เข้ากับ ทุกสถานการณ์ที่เผชิญ เหมือนจอมยุทธผู้มีกระบี่ในใจ ไม่ว่าอะไร จะเกิดขึน้ เขาหรือเธอก็สามารถหยิบจับทุกสิง่ ทุกอย่างให้เป็นอาวุธ และมีชัยในการต่อสู้ได้ ส�ำหรับงานเชิงบูรณาการ เมือ่ เราเข้าใจหลัก งานเชิงบูรณาการ จะแตก และโตได้หลากหลายวิธีการ และรูปแบบ ตามแต่สภาพ พื้นที่ ประเด็นปัญหาสถานการณ์ และตามความถนัดของผู้ท�ำงาน เชิงบูรณาการ และผู้ที่เกี่ยวข้องในโครงการนั้น ๆ และไม่ว่าวิธี การ รูปแบบบูรณาการจะแตกต่างหลากหลายอย่างไร หากยังอยู่ บนวิถีปรัชญาบูรณาการแล้ว ผลที่เกิดขึ้นก็เป็นไปตามเป้าหมาย บูรณาการด้วยกัน เหมือนการเดินทางจากกรุงเทพไปเชียงใหม่ เรา เลือกเดินทางได้หลายเส้นทาง และเลือกวิธกี ารเดินทางได้ตา่ ง ๆ กัน ไม่ว่าจะเป็นเครื่องบิน รถ เรือ จักรยาน หรือ เดิน ถ้าไปถูกทิศ เรา ทุกคนจะพบกันที่เชียงใหม่อย่างแน่นอน นอกจากการท�ำความเข้าใจหลักปรัชญาแล้ว สิ่งส�ำคัญที่ขาด ไม่ได้ คือ เราต้องน�ำหลักปรัชญา ลงสู่การปฏิบัติในชีวิตประจ�ำวัน ชีวิตบนวิถีปรัชญา
43
ด้วย (Philosophy of action) หลอมปรัชญาเข้ามาอยู่ในงาน และ ชีวิต ซึ่งในหนังสือเล่มนี้ เราจะร่วมกันสืบค้น เรียนรู้ ท�ำความเข้าใจ ปรัชญาบูรณาการ และวิถแี ห่งการฝึกฝนตน เพือ่ ทีช่ วี ติ และการงาน ของเรา จะหลอมกันเป็นหนึ่งบนวิถีบูรณาการ
ถามใจ ...เรามีปรัชญาอะไรในการด�ำเนินชีวิต ...ปรัชญาในการท�ำงานเพื่อสังคมของเราคืออะไร ...ลองส�ำรวจวิถีชีวิตของเราว่า สิ่งที่เราพูด และท�ำในชีวิต ประจ�ำวัน สอดคล้องกับหลักปรัชญาที่เรายึดถือหรือไม่
“ต้นไม้ที่แข็งแรงและสง่างาม ต้องมีทั้งเปลือกและแก่น เปลือกรักษาแก่น และแก่นคงความแข็งแรงของต้นไม้ไว้” 44
เมล็ดพันธุ์ชีวิตบูรณาการ
“สรรพสิ่งในจักรวาลเป็นส่วนหนึ่งของความ เป็นหนึ่งเดียวกันทั้งหมด ซึ่งไม่อาจแบ่งแยกออกมา ศึกษา หรือท�ำความเข้าใจเป็นส่วน ๆ ได้ แต่แทนที่ เราจะตระหนักเห็นความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันนี้ เรากลับมองตัวเองแยกขาดจากคนอื่น ทั้งในฐานะ ปัจเจกชน ประเทศ สถาบัน เมื่อเราแบ่งโลกเป็นเศษเสี้ยว เราได้สร้างก�ำแพง กั้นระหว่างกัน และพลาดที่จะเห็นความจริงที่เต็ม บริบูรณ์อยู่แล้วนั้นเอง” – เดวิด โบห์ม หนังสือ Wholeness and the Implicate Order ชีวิตบนวิถีปรัชญา
45
โลกทัศน์ บูรณาการ ในการเดินทางส�ำรวจดวงจันทร์ และดาวเคราะห์ ดวงอื่น ๆ เหล่านักบินอวกาศมักจะฉวยโอกาส เหลียวหลังกลับมามองดาวเคราะห์สีน�้ำเงินเสมอ และภาพโลกที่พวกเขาเห็น เปลี่ยนโลกทัศน์ของ เขาไปตลอดกาล “โลกใบนี้ช่างสวยงาม เปราะบาง เป็นหนึ่งเดียวกัน และมี ชีวติ ” นักบินอวกาศหลายคนกล่าว “ผมไม่รสู้ กึ ว่าตัวเองยิง่ ใหญ่ ตรงกันข้ามกลับรู้สึกว่า คนเราเล็ก ... เล็กเหลือเกิน” พวกเขากลับมายังโลกด้วยมุมมองใหม่ พวกเขาเห็นโลกที่มี ชีวิตและศักดิ์สิทธิ์ ควรค่าแก่การรักษาทะนุถนอม โลกที่เปราะ บาง ที่ซึ่งการกระท�ำเพียงนิด ก็ท�ำให้โลกทั้งใบสั่นสะเทือนได้ พวก เขาเห็นโลกไร้พรมแดน และนั่นช่วยให้ใจของเขาข้ามพรมแดนของ ความคิดต่าง ๆ ที่ปิดกั้นความสัมพันธ์ระหว่างผู้คน ไม่ว่า ชนชาติ ศาสนาหรือการเมือง โลกทัศน์บูรณาการ
47
การเปลีย่ นทีย่ นื หรือลอยอยูเ่ หนือเรือ่ งราวปรากฎการณ์ตา่ ง ๆ ช่วยให้เราเห็นภาพรวมของสิ่งต่าง ๆ ได้กว้างขวาง ชัดเจนขึ้น – นี่ หรือไม่ ที่เรียกว่า การเห็นแบบเป็นองค์รวม คือเห็นสิ่งต่าง ๆ เชื่อม โยงกันทั้งหมด ไม่อาจแยกสิ่งต่าง ๆ เป็นเสี้ยวส่วนได้ “บูรณาการเป็นงานทีเ่ ราต้องคิด และท�ำอย่างเป็นองค์รวม เรา ต้องเห็นภาพรวม ภาพใหญ่ทั้งหมด” เราคงได้ยินค�ำเหล่านี้บ่อย ๆ ในเวทีงานบูรณาการและการพัฒนาต่างๆ ภาพรวม ภาพใหญ่ และความเป็นองค์รวมของเราเป็นอย่างไร เราลองหยิบยืมวิธีการมองโลกจากข้างบนมาใช้ เพื่อท�ำความ เข้าใจโลกแห่งการบูรณาการที่เราก�ำลังท�ำกันอยู่ เราย้อนทบทวน งาน และท�ำความรู้สึกว่า ก�ำลังบินอยู่เหนืองานเชิงบูรณาการ ต่าง ๆ ที่เราท�ำ ... เราเห็นอะไรบ้าง ผู้ที่ท�ำงานบูรณาการด้านอนุรักษ์ทรัพยากรคนหนึ่ง เคยเล่า ให้ฟังว่า ในงานประชุมบูรณาการ มีผู้เชี่ยวชาญและท�ำงานด้านน�้ำ ป่าและสัตว์ป่า ป่าชุมชน ชนเผ่า พลังงาน มารวมตัวกัน และพูด จากมุมที่ตัวเองท�ำงานอยู่เป็นส่วน ๆ ความเป็นองค์รวมในที่นี้ จึง หมายถึง การเอาส่วนเสีย้ วต่าง ๆ ทีแ่ ยกออกจากกัน มาต่อประกอบ เข้ากันใหม่ เหมือนชิ้นส่วนจิ๊กซอว์ ที่มาวางรวมกันให้เห็นเป็นภาพ ใหญ่อีกครั้ง .... นี่คือองค์รวมที่เราเข้าใจหรือ? มาร์กาเรต เจ. วีตเลย์ ที่ปรึกษาและวิทยากรเกี่ยวกับองค์กร เรียนรู้ และผู้น�ำในกระแสวิทยาศาสตร์กระบวนทัศน์ใหม่ เขียนใน หนังสือ หันหน้าเข้าหากัน ว่า “เราจะสามารถเปลี่ยนแปลงการกระท�ำของตนเองได้ ก็ต่อ เมื่อตระหนักรู้ถึงความเชื่อและความคิดของตนเอง ความคิดมัก เผยตัวออกมาในรูปของการกระท�ำ ในความเป็นมนุษย์ เรามักท�ำ 48
เมล็ดพันธุ์ชีวิตบูรณาการ
สิ่งที่ขัดแย้งกับตัวเอง พูดอย่างหนึ่ง แต่กลับท�ำอีกอย่างหนึ่ง .... หากต้องการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม เราจะต้องสังเกตการกระท�ำ ของตัวเอง” ที่ผ่านมา เรามักมอง บูรณาการ ในแง่ค�ำนิยาม เทคนิควิธีการ หรือหลักการบริหารงานสมัยใหม่ (integration) ที่เรารับมาจาก ตะวันตก แต่สงิ่ ทีเ่ ราไม่คอ่ ยใคร่ครวญนัก คือ วิธคี ดิ และกระท�ำของ เรา สอดคล้องกับความเป็นองค์รวมหรือไม่ อย่างไร การส�ำรวจภาพพฤติกรรมการบูรณาการ ไม่ได้เพือ่ ตัดสิน ให้คา่ กันแต่อย่างใด หากแต่เพือ่ ให้เราเห็นความเป็นจริง และเข้าใจตัวเอง มากขึ้นว่า สิ่งที่เราท�ำอยู่นั้น มาจากโลกทัศน์แบบใด และหากสิ่งที่ เราท�ำ และโลกทัศน์เบื้องหลังการกระท�ำของเรา ไม่สอดคล้องกับ เป้าหมายที่เรามุ่งหวัง เราจะได้เรียนรู้ ปรับตัว เพื่อเปลี่ยนแปลง การกระท�ำของเราเสียใหม่ สองกระแสโลกทัศน์ สิ่งต่าง ๆ ในโลกด�ำรงอยู่ด้วยระบบ เรามีชีวิตอยู่ได้เพราะทุก อวัยวะในร่างกายท�ำงานตามระบบที่มีชีวิต เราท�ำงานกับเครื่อง คอมพิวเตอร์ได้ เพราะเครื่องกลท�ำงานตามระบบกลไกของมัน โดยหลักแล้ว สิ่งต่าง ๆ ในโลกด�ำเนินไปตามระบบหลัก ๆ ๒ ระบบ กล่าวคือ ระบบเปิด และระบบปิด ระบบปิ ด มี จิ น ตนาการว่ า โลกและจั ก รวาลเป็ น เสมื อ น เครือ่ งจักรขนาดใหญ่ ทีท่ กุ สิง่ ทุกอย่างเคลือ่ นไปเป็นเส้นตรง เหมือน การเดินของนาฬิกา ส่วนระบบเปิดเห็นว่า โลกและจักรวาลเป็นสิ่ง ทีม่ ชี วี ติ เชือ่ มโยงและส่งอิทธิพลต่อกันทัง้ หมด และเคลือ่ นไหว ไหล ลื่นตลอดเวลาและคาดเดาได้ยาก โลกทัศน์บูรณาการ
49
จินตนาการของทั้งสองระบบนี้ไหลเวียนอยู่ในกระแสความ คิด และการกระท�ำของเราทั้งในระดับปัจเจก ระดับชุมชน และ สังคม สร้างพฤติกรรมบูรณาการที่แตกต่าง และให้ผลไม่เหมือน กัน เราจะลองมาท�ำความเข้าใจ และส�ำรวจโลกทั้งสองจินตนาการ อย่างคร่าว ๆ ดังนี้ โลกทัศน์ระบบกลไก เป็นโลกของเครื่องยนต์ เครื่องจักร เช่น นาฬิกา รถยนต์ สิง่ เหล่านีเ้ ป็นระบบปิด คือ ไม่ปฏิสมั พันธ์หรือปรับ ตัว ตามสิ่งแวดล้อมภายนอก เครื่องกลไม่สามารถสร้างตัวเอง หรือ ซ่อมแซมตัวเองได้ แต่ตอ้ งพึง่ พิงปัจจัยจากภายนอก เช่น เมือ่ น�ำ้ มัน หมด เราต้องเอารถไปเติมน�้ำมัน หรือถ้านาฬิกาหยุดเดิน เราก็ต้อง เอาไปเปลี่ยนแบตเตอรี่ใหม่ เป็นต้น โลกทัศน์แบบระบบกลไก เป็นโลกตามกระบวนทัศน์แบบ กลศาสตร์นิวตัน ซึ่งตั้งเค้ามาตั้งแต่ก่อนยุคศิลปวิทยาการ คือ ช่วง ศตวรรษที่ ๑๗ ที่มนุษย์พัฒนาความรู้ ความเข้าใจโลก โดยแบ่งสิ่ง ต่าง ๆ ออกเป็นส่วน ๆ ก้อน ๆ เพื่อศึกษา สังเกตวิเคราะห์ เกิดเป็น ภาวะผู้สังเกต ที่แยกขาดจากสิ่งที่ถูกสังเกตอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ให้ความส�ำคัญกับความคิดเชิงตรรกะเหตุผล โดยแยกขาดจากความ รู้สึก และความรู้อันเกิดจากประสบการณ์เชิงอัตถวิสัย กระบวนการคิด และความรู้ในกระแสนี้ พัฒนาต่อยอดขึ้น จนถึงยุคปฏิบัติอุตสาหกรรม เราน�ำความรู้ทางวิทยาศาสตร์แบบ กลไก มาผลิตเครื่องยนต์กลไกต่าง ๆ รับใช้ชีวิตของเรามากมาย ท้ายที่สุด สิ่งที่เราผลิตขึ้นมานี้ ก็ย้อนกลับมาสร้างวิธีคิด และจิตใจ ของเรา เรามองโลกเป็น “สิ่งของ” น�้ำ ดิน หิน ป่า ที่เคยเป็นแม่และ 50
เมล็ดพันธุ์ชีวิตบูรณาการ
เทพเจ้า กลายเป็นทรัพยากร ที่เราเข้าไปจัดการ ควบคุม และใช้ ประโยชน์อย่างไม่มีขีดจ�ำกัด คนเป็นฟันเฟืองหนึ่งของเครื่องจักรขนาดใหญ่ ที่เรียกว่า องค์กร ชุมชน และสังคม การศึกษาแยกเป็นวิชา ๆ เกิดเป็นความ เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ในเวลาเจ็บป่วย แพทย์ดูแลร่างกายเราเป็น ส่วน ๆ เรามองชีวิต และพัฒนาการในเรื่องต่าง ๆ เป็นเส้นตรง คงที่ มีสูตรส�ำเร็จ โมเดลต้นแบบที่สามารถลอกเลียนแบบได้ เพื่อให้ผล ส�ำเร็จได้ในทันที แบบต้นแบบโมเดลทางอุตสาหกรรม ที่ใดมีความ ส�ำเร็จ อย่างเป็นต้นว่า ได้รับการประกาศให้เป็นหมู่บ้านต้นแบบ เราก็ไปลอกแบบความส�ำเร็จและต้นแบบนั้น โดยไม่ส�ำรวจปัจจัย เงื่อนไขของตัวเองว่าพร้อมหรือไม่ หรือไม่เห็นเส้นทางความส�ำเร็จ ของต้นแบบนั้น ว่าผ่านความล้มเหลวอะไรมาบ้าง และใช้เวลา ยาวนานเพียงใด ปัจจัยอะไรบ้างกว่าจะส�ำเร็จ เราให้ความส�ำคัญกับสิ่งที่วัดผลเป็นตัวเลขได้ สิ่งที่จับต้องได้ เป็นรูปธรรม เช่น ต�ำแหน่งตัวเลขในบัญชี เราไม่ให้คา่ กับนามธรรมที่ จับต้องหรือวัดผลเป็นตัวเลขเชิงประจักษ์ไม่ได้ เช่น ความสุข ความ ดี น�้ำใจ เป็นต้น เราเห็นชีวิตเป็นสิ่งที่วัดและประเมินผลเป็นตัวเลขได้ เหมือน ที่เราท�ำกับเครื่องยนต์ ตัวเลขที่ประมวลผลจากเครื่องมือทางการ แพทย์จะบอกสุขภาวะทางร่างกายของเรา เราประเมินผลส�ำเร็จ ทางการศึกษาด้วยตัวเลข ประสิทธิภาพในการท�ำงานก็มีตัวเลข ช่วยจัดการ รวมถึงความเจริญทางเศรษฐกิจของประเทศ ก็วัดได้ ด้วยตัวเลข ฯลฯ โลกทัศน์บูรณาการ
51
โลกทัศน์กลไกแบบนิวตันนี้สร้างโลก และส่งอิทธิพลต่อความ คิดของคนเรามานาน ส�ำหรับประเทศไทย เราเปิดรับกระบวนทัศน์ นี้ ในครั้งที่เราเปิดประเทศ เพื่อปรับตัวให้รอดพ้นจากการตกเป็น อาณานิคมของประเทศตะวันตก เมื่อ ๑๐๐ กว่าปีที่ผ่านมา ระบบการศึกษา วิธีคิดการพัฒนาสังคม การแทพย์สมัยใหม่ ทฤษฎีการบริหารจัดการ และระบบราชการ ก็ได้รับอิทธิพลจาก กระบวนทัศน์แบบกลไกนี้ ซึ่งยังคงท�ำงานในวิธีคิด จิตใจ ของคน เราและสังคม จนถึงปัจจุบัน ทว่า ในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา กระบวนทัศน์เก่าเริ่มถูก ท้าทาย ด้วยกระบวนทัศน์วิทยาศาสตร์ใหม่ หรือ กระบวนทัศน์ แบบควอนตัม ที่เริ่มก่อตัวขึ้นเมื่อต้นศตวรรษที่ ๒๐ โดยนักฟิสิกส์ ควอนตัม ที่เรารู้จักกันมากก็อย่างเช่น อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ เดวิด โบห์ม และ ฟริตจ๊อฟ คาปร้า ผู้เขียนหนังสือขายดี เต๋าแห่งฟิสิกส์ และโยงใยที่ซ่อนเร้น นักฟิสิกส์ทั้งหลายกล่าวว่า เราอยู่ในโลกแห่งข่ายใยความ สัมพันธ์ที่มีชีวิต สรรพสิ่งโยงใย และส่งผลกระทบต่อกันทั้งหมด ซึ่ง สอดคล้องกับพุทธศาสนาที่ว่า “เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี” ทุกสิ่งทุก อย่างในโลกเชื่อมโยงและพึ่งพิงอิงอาศัยกัน (inter-connectedness and inter-depence) และเพราะโลกเป็นข่ายใยแห่งความ เชือ่ มโยงนีเ้ อง ทีท่ ำ� ให้การกระท�ำของสิง่ หนึง่ สิง่ ใด ย่อมส่งผลต่อสิง่ อื่น ๆ เป็นทอด ๆ กันไปทั้งหมด หรือที่เรารู้จักกันว่าปรากฎการณ์ ผีเสื้อกระหยับปีก (butterfly effect) ฟริ ต จ๊ อ ฟ คาปร้ า กล่ า วว่ า “แก่ น แท้ ข องภู มิ ป ั ญ ญา ตะวันออก และวิทยาศาตร์ใหม่ คือการตระหนักรู้ในความเป็น เอกภาพ และความสัมพันธ์เนื่องกันของสรรพสิ่งและเหตุการณ์ 52
เมล็ดพันธุ์ชีวิตบูรณาการ
ทั้งมวล สิ่งทั้งหลายล้วนเป็นองค์ประกอบของเอกภาพ ซึ่งต้องอิง อาศัยกันอย่างไม่อาจแยกออกจากกันได้” โลกทัศน์แบบมีชีวิต ไม่มองแบบแยกส่วน “เรา” ที่แยกขาด จาก “เขา” หรือ “คน” ที่แยกอยู่จาก “ป่า” เราจะไม่เห็น “สิ่ง ๆ” แต่จะเห็นเรือ่ งราวทีส่ มั พันธ์กนั อย่างเป็นเอกภาพ ยกตัวอย่างว่า เรา จะท�ำความเข้าใจระบบการท�ำงานของสมอง เราจะดูแค่สมองไม่ได้ เราต้องเห็นระบบทั้งร่างกาย ระบบเลือด ระบบหายใจ ระบบอื่น ๆ เพือ่ ทีจ่ ะเข้าใจระบบการท�ำงานของสมอง เพราะสมองไม่ได้เกิดขึน้ และด�ำรงอยู่ได้โดยล�ำพัง การเห็นความเป็นเอกภาพองค์รวม ไม่ได้หมายถึง การเห็น ผลรวมของชิ้นส่วนต่าง ๆ ที่มาประชุมอยู่ร่วมกัน เหมือนการเอา จิก๊ ซอว์แต่ละชิน้ มาวางประกอบกันเป็นภาพ หรือชิน้ ส่วนต่าง ๆ มา ประกอบกันเป็นร่างกาย – หากแต่เป็นการเห็นภาพรวมทั้งหมด และเมื่อจะศึกษาส่วนเล็ก ๆ ส่วนใด ก็ศึกษาโดยตระหนักรู้ว่า ส่วน ๆ นี้ สัมพันธ์อย่างเป็นเอกภาพกับส่วนอื่น ๆ อย่างไร โลกแบบระบบทีม่ ชี วี ติ เป็นระบบเปิด คือ ระบบทีป่ ฏิสมั พันธ์ กับปัจจัยภายนอกอยูเ่ สมอ สรรพสิง่ ทีม่ ชี วี ติ จะเปิดตัวเอง รับพลังงาน มีขอ้ มูล ไหลเข้า-ออกตลอดเวลา อย่างร่างกายของเราทีห่ ายใจเข้าออก เพือ่ รักษาชีวติ ไว้ เรารับอาหาร รับความคิดจากภายนอก แล้ว ก็ถา่ ยเทผลของอาหาร และความคิดออกมาภายนอกด้วยเช่นกัน การเจริญเติบโตของคนและสิ่งต่าง ๆ ที่มีชีวิต ขึ้นกับเหตุและ ปัจจัย ทัง้ ภายในและภายนอก ซึง่ หากเราอยากจะสร้างสรรค์ความ งอกงามให้ระบบเปิดทีม่ ชี วี ติ แล้ว สิง่ ทีเ่ ราต้องใส่ใจ คือ ดูแลเงือ่ นไข ที่บ�ำรุงให้ สิ่งนั้นเติบโต ดูแลให้กระแสพลังงาน ข้อมูล ไหลเข้าและ ออกอย่างราบรื่น เหมือนอย่างที่ การแพทย์ตะวันออกมักกล่าวว่า โลกทัศน์บูรณาการ
53
เราต้องดูแลให้พลังปราณ หรือพลังชี่ ไหลเวียนทั่วร่างให้ดี หากมี การติดขัดหรือสะดุด นั่นหมายถึง ร่างกายขาดสมดุล และอาจมี ปัญหาสุขภาพได้ โลกระบบทีม่ ชี วี ติ ปรับตัวตามสภาพปัจจัยภายนอก สร้างสรรค์ และวิวัฒน์ตัวเองอยู่เสมอ เป็นระบบที่ยืดหยุ่น และซับซ้อน ไม่ ด�ำเนินไปเป็นเส้นตรงคงที่ แบบระบบกลไก ที่เดินเป็นล�ำดับ ๆ ๑-๒-๓ – เป็นโลกที่ไอน์สไตน์ กล่าวว่า ยากจะคาดเดา เพราะทุก สิง่ ทุกอย่างเป็นเรือ่ งสัมพัทธ์ ไม่อาจกะเกณฑ์ได้ตายตัวว่า สิง่ ต่าง ๆ จะเป็นเช่นที่เราคาดการณ์ และค�ำนวนได้คงที่เสมอไป ความงอกงามของโลกระบบที่มีชีวิต ขึ้นอยู่กับคุณภาพแห่ง ความสัมพันธ์ของปัจจัยต่าง ๆ มากกว่าปริมาณและตัวเลข ซึ่งเป็น สิ่งที่โลกกลไกให้ความส�ำคัญ ยกตัวอย่าง ชุมชนของเราอาจมีคนสนใจมาร่วมท�ำงานพัฒนา ชุมชนเพียงสิบคน แต่คนทั้งสิบคนนี้มีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน พูด คุยกันรู้เรื่อง สร้างสรรค์ เกิดแรงบันดาลใจ เป็นความสัมพันธ์ที่มี คุณภาพ งานพัฒนาก็ก้าวหน้าได้ ต่างจาก ชุมชนที่มีคนมาท�ำงาน ด้วยกัน มากมาย แต่ความสัมพันธ์ภายในระหว่างคนมากมายนั้น ร้าวฉาน ประสานกันไม่ได้ ไปกันคนละทาง อย่างนี้ งานพัฒนาของ ชุมชนคนเยอะแต่ไร้คุณภาพก็ไม่อาจก้าวไปไหนได้ การเห็น และเข้าใจโลกแบบระบบทีม่ ชี วี ติ ช่วยให้เราไม่มองสิง่ ใดสิ่งหนึ่ง คนใดคนหนึ่งแยกขาดจากสิ่งอื่น ๆ และคนอื่น ๆ เวลา เกิดปัญหา เราจะเห็นว่า ไม่ใช่ใครคนใดคนหนึ่งที่เป็นต้นเหตุโดย สมบูรณ์ และต้องรับผิดชอบอย่างเบ็ดเสร็จ แต่เราจะตระหนักเห็น ความเชือ่ มโยงสัมพันธ์ระหว่างเหตุปจั จัยทัง้ หลาย ซึง่ แน่นอนว่า เรา เองก็เป็นหนึ่งในสาเหตุของปัญหานั้นด้วย และเราก็จะเป็นหนึ่งใน ต้นทางสู่ทางออกจากปัญหานั้นด้วยเช่นกัน 54
เมล็ดพันธุ์ชีวิตบูรณาการ
“เมื่อเราแสวงหาและเห็นความเชื่อมโยง เราฟื้นคืนความ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของโลก ชีวิตของเราที่ดูเหมือนเป็น เอกเทศจะกลับมามีความหมาย เมื่อเราพบว่าเราส�ำคัญจ�ำเป็น ต่อกันและกันอย่างไร” มาร์กาเรต วีทเลย์
สองระบบบูรณาการ “ความคิด และวิธีคิด เป็นมารดาของการกระท�ำ” โลกทัศน์ทั้ง ๒ ระบบที่ก ล่ า วไว้ ข ้ า งต้ น นั้ น ได้ ก ่ อ ให้ เ กิ ด พฤติ ก รรมการบู ร ณาการในสั ง คม ๒ ลั ก ษณะด้ ว ยกั น คื อ บูรณาการแบบระบบกลไก และบูรณาการแบบระบบที่มีชีวิต ลองส�ำรวจดูว่า งานบูรณาการที่เราท�ำ และพบเห็นในสังคม คล้ายคลึงกับการบูรณาการระบบใด
บูรณาการแบบระบบกลไก บูรณาการกองอะไหล่
โลกทัศน์บูรณาการ
55
หนึ่งในค�ำนิยามของบูรณาการ คือ การรวมตัวกัน จึงไม่น่า แปลกใจว่าสิง่ ทีพ่ บเห็นได้บอ่ ยในหลายวงประชุมเชิงบูรณาการ คือ ภาพผูค้ นมากมายจากต่างสาขา อาชีพ วัย หลากกรม กอง หน่วย และพืน้ ที่ ฯลฯ มารวมตัวกัน ชนิด “พร้อมเพรียงเรียงหน้า” ผูค้ น ต่างน�ำเสนองาน และผลงานทีต่ นท�ำ บ้างถกเถียงกัน แสดงข้อคิดเห็น ของตน และเมือ่ เสร็จการประชุมแล้ว ทุกคนก็แยกย้ายกันไป ต่างคน กลับไปท�ำงานตามทางของตน เหมือนทีเ่ คยท�ำมา เราอยากจะเปรียบรูปแบบพฤติกรรมบูรณาการในลักษณะนี้ เหมือนการเอาอะไหล่ที่แตกต่าง หลากหลาย มากองรวมกันไว้ใน กล่องเดียวกัน ผลทีป่ รากฎชัด คือ ปริมาณ และความหลากหลายของอะไหล่ ในกล่องนัน้ ทว่า อะไหล่แต่ละชิน้ ยังเป็นเอกเทศ ไม่สมั พันธ์กนั และ การรวมตัวกันนั้น ไม่ได้ก่อให้เกิดสิ่งใหม่ ความสร้างสรรค์ใด ๆ ทั้ง ในระดับปัจเจก หรือระดับกลุ่ม หลายครั้ง การประชุมไม่ได้มีเป้าหมาย เพื่อค้นพบสิ่งใหม่ ร่วมกัน ขยายความรู้ ความเห็น แลกเปลี่ยนประสบการณ์ และ ตัดสินใจเรื่องราวส�ำคัญ ๆ ร่วมกัน หากแต่การประชุมในหลาย วง เป็นการบอกให้ทราบ ประกาศให้รู้ และตกลงตามสิ่งที่ผู้รู้ ผู้น�ำ หรือผู้จัดการประชุม ตั้งใจและเตรียมการไว้ก่อนแล้ว การประชุม เป็นเพียงพิธีกรรม ตรายาง หรือกลไกหนึ่ง ของการท�ำงานที่ต้อง ท�ำ ๆ ไป เท่านั้นเอง รูปแบบ ปริมาณ และความหลากหลายของผู้เข้าร่วมประชุม กลายเป็นมาตรวัดความส�ำเร็จของการประชุมแบบกองอะไหล่ เรา นับตัวเลขผู้เข้าร่วมประชุม บันทึกความคิดเห็นของแต่ละคนเป็น หน่วย ๆ แต่ไม่คอ่ ยใส่ใจคุณภาพของการประชุม และความสัมพันธ์ 56
เมล็ดพันธุ์ชีวิตบูรณาการ
ของคนในวงประชุมว่าเป็นอย่างไร ผูค้ นสนทนากันอย่างไร รูจ้ กั และ เชื่อมโยงกันมากขึ้นหรือไม่ ความเห็นที่แตกต่างหลากหลายในวง ประชุม ก่อให้เกิดการบูรณาการเชิงปัญญาหรือไม่ เราได้ปัญญา ใหม่ที่เกิดจากการคิดร่วมกันหรือเปล่า จึงไม่น่าแปลกใจ ที่ผู้ร่วม การประชุมในลักษณะนี้ มักจะบ่นว่า รู้สึกเบื่อ ขาดพลังและแรง บันดาลใจ เสียเวลา และไม่ได้อะไร บูรณาการเป็นรถยนต์ที่วิ่งได้
เมื่อเราน�ำอะไหล่ต่าง ๆ มาประกอบสร้าง จัดความสัมพันธ์ และหน้าที่ให้อะไหล่ต่าง ๆ ท�ำงานสัมพันธ์กันอย่างเป็นระบบ เรา ก็จะได้รถยนต์ทใี่ ช้การได้ขนึ้ มา จัดได้วา่ เราก�ำลังบูรณาการอะไหล่ ต่าง ๆ ให้เป็นรถยนต์ พฤติกรรมการท�ำงานเชิงบูรณาการในหลายหน่วยงาน ก็เป็น แบบระบบกลไกอย่างนี้ คนแต่ละคนจะถูกแบ่งหน้าที่ บทบาท ความ รับผิดชอบชัดเจน แต่ละคนแต่ละหน่วยเชื่อมโยงกันเป็นส่วน ๆ ต่อ กันเป็นทอด ๆ ภายใต้โครงสร้าง และระบบที่ตั้งขึ้น มีแผนผังชาร์ท องค์กรเป็นแนวดิ่ง ตามสายพานแห่งความสัมพันธ์เชิงอ�ำนาจ และ สายงานปฏิบัติการ (line of command) เพื่อท�ำให้องค์กร และ โครงการขับเคลื่อนไปได้ และให้ผลตามที่ปรารถนา โลกทัศน์บูรณาการ
57
“ในองค์กรแบบนิวตัน พวกเรากัน้ เขตแดนกันในทุกที่ เราสร้าง บทบาทหน้าทีร่ บั ผิดชอบ ก�ำหนดสายการบังคับบัญชาอย่างเฉพาะ เจาะจง และความรับผิดชอบที่มีขอบเขต เราขีดเส้นขอบเขตให้กับ ประสบการณ์ที่ลื่นไหล แบ่งเครือข่ายอันมีปฏิสัมพันธ์กันภายใน ออกมาเป็นขัน้ ตอนทีจ่ บั ต้องได้ และให้เป็นเสีย้ วส่วนเล็กลง” (ผูน้ ำ� กับวิทยาศาสตร์ใหม่ มาร์กาเร็ต เจ วีตเลย์) องค์กรระบบกลไก เป็นระบบตรวจสอบ ประเมินผล และ ลงโทษ คนต้องท�ำงานตามกฎ ระเบียบ ข้อบังคับมาตรฐาน เพื่อ ให้ได้งานตามเป้าที่วางไว้ ระบบนี้เน้นการจัดการแบบสั่งการ (line of command) บังคับ ควบคุม แยกงานออกจากชีวิต และแยกคนออกจากกันตาม สายงานและสายพานการผลิต โดยให้เอางานเป็นที่ตั้ง งานกับชีวิต ส่วนตัวแยกออกจากกัน ความสัมพันธ์ระหว่างคนท�ำงานด้วยกัน ไม่ใช่เรื่องส�ำคัญ ความเป็นมนุษย์ เรื่องอารมณ์ ความรู้สึก ความสัมพันธ์ ระหว่างมนุษย์และสิ่งต่าง ๆ เป็นสิ่งที่องค์กรแบบระบบกลไกให้ ความส�ำคัญน้อยที่สุด เพราะตามวิธีคิดแบบอุตสาหกรรม สิ่งที่ขับ เคลือ่ นเศรษฐกิจและโลก คือ เครือ่ งจักรและวัตถุ ดังนัน้ ระบบนีจ้ งึ สนใจ ผลิตผล ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ให้ความส�ำคัญกับผลผลิต เชิงปริมาณ ตัวเลข มนุษย์ในโลกทัศน์แบบนี้ จึงถูกบีบให้ท�ำงานแบบเครื่องจักร เป็น “หนูถีบจักร” ปั่นงาน สร้างผลผลิตสูงสุดให้องค์กร ระบบวัด และประเมินผลก็เน้นไปทางปริมาณของผลงาน และผลผลิต ระบบนี้เชื่อว่า เมื่อเราใส่ข้อมูล วัตถุดิบ รางวัล เวลา (input) 58
เมล็ดพันธุ์ชีวิตบูรณาการ
ในคนไปเท่าไร เราก็จะต้องได้รับผลผลิต ผลลัพธ์ในปริมาณและ คุณภาพที่กะเกณฑ์ได้ เหมือนเครื่องจักรที่เราใส่ข้อมูล วัตถุดิบไป เท่าไร ก็สามารถรู้ได้ว่า จะได้ผลลิตออกมาเท่าไร ทว่าเมื่อใด คน ให้ผลผลิตไม่ตรงเป้าหมายที่คาดไว้ คน ๆ นั้นก็จะถูกประเมินว่า ขาดประสิทธิภาพ ไร้ประสิทธิผล และถูกวางโทษด้วยมาตรการ ต่าง ๆ เช่นว่า ลดค่าจ้างตอบแทน โยกย้ายต�ำแหน่งหน้าที่ ซึ่งการ มองมนุษย์ในแง่สงิ่ สร้างผลลิต ผลลัพธ์ ท�ำให้เกิดภาวะความเครียด ในการท�ำงาน ความสัมพันธ์ระหว่างคนท�ำงานก็ย�่ำแย่ เพราะต้อง แข่งขันกันท�ำงาน เพือ่ ไม่ให้ตกมาตรฐานกลางทีร่ ะบบตัง้ ไว้ ในทีส่ ดุ คนก็แบ่งแยกกัน เมื่อมนุษย์ถูกลดทอนเป็นเพียงฟันเฟืองหนึ่งของระบบ ก็ขาด แรงบันดาลใจในการพัฒนาศักยภาพเรียนรู้ เราก็จะได้คนทีห่ มดพลัง ในการท�ำงาน ท�ำงานอย่างไร้พลัง ไร้แรงบันดาลใจ ดัชนีความสุข ของคนในระบบเช่นนี้ก็ต�่ำ และแน่นอนว่าจะส่งผลต่อประสิทธิผล แน่นอน องค์กรระบบกลไก ท�ำงานตามระบบปิด คือ ไม่ค่อยเปิดรับ ข้อมูลสะท้อนกลับ (feedback) และไม่ค่อยให้ความส�ำคัญกับการ ดูแลให้ข้อมูลต่าง ๆ ในองค์กรไหลลื่นอย่างทั่วถึง ข้อมูลบางอย่าง จ�ำกัดอยู่ในเฉพาะผู้บริหารระดับสูง บางทีเราอาจจะเห็นรูปแบบ วิธีการ หรือเครื่องมือเพื่อรับฟังความคิดเห็น เปิดโอกาสให้คน ท�ำงานสะท้อนข้อคิด แต่ขอ้ มูลทีน่ ำ� เสนอไปไม่คอ่ ยมีผลต่อการปรับ เปลีย่ นแนวทาง หรือการท�ำงานของระบบในองค์กรเท่าใดนัก สิง่ ที่ เกิดขึ้นเป็นเพียงรูปแบบเท่านั้นเอง โลกทัศน์บูรณาการ
59
บูรณาการระบบ ที่มีชีวิตดั่งเมล็ดไทร
“ชีวติ คือการเจริญงอกงาม หากเราหยุดงอกงาม ทัง้ ทางกายและ จิตวิญญาณ เราก็ไม่ต่างอะไรกับคนที่ตายไปแล้ว” หนังสือ The Art of Peace ของ Morihei Ueshiba translated by John Stevens เราจะท�ำความเข้าใจและเรียนรู้การบูรณาการแบบระบบที่มี ชีวติ นัน้ ไม่ยาก เพียงเราสัมผัสความมีชวี ติ ทีม่ อี ยูภ่ ายใน และสังเกต วิถคี วามเจริญงอกงามของสิง่ มีชวี ติ ว่าเป็นอย่างไร เกิดขึน้ ได้อย่างไร ซึ่งในที่นี้ เราจะน�ำเสนอเรื่องราววิถีความงอกงามของเมล็ดไทร เมล็ดไทรมีขนาดเล็กเท่าปลายนิ้วก้อย แต่เป็นสิ่งมีชีวิตที่มี “ศักยภาพชีวิตภายใน” มหาศาล และศักยภาพที่ว่านั้นจะส�ำแดง ฤทธิ์ก็ต่อเมื่อมีปัจจัยต่าง ๆ เกื้อหนุน เมื่อเราน�ำเมล็ดไทรไปไว้ในดิน ศักยภาพภายในของเมล็ดไทร ผนวกกับเนื้อดิน แร่ธาตุต่าง ๆ ความชื้น อากาศ น�้ำ เมล็ดไทรก็ สามารถแทงยอดเขียวออกมา และเมื่อได้รับแสงแดดที่พอเพียง 60
เมล็ดพันธุ์ชีวิตบูรณาการ
น�้ำฝนที่อุดม เมล็ดไทรนี้ก็จะค่อย ๆ ขยายล�ำต้น เติบใหญ่เป็นไทร ต้นงาม แผ่กิ่งก้านขยายคลุม ให้ร่มเงากับชีวิตต่าง ๆ จากไทรหนึ่งต้นที่งอกงามเติบโต ให้ดอกเมล็ด เมื่อเมล็ดพันธุ์ จากต้นกระเด็นไปตกลงในดิน ก็เกิดเป็นต้นไทรอีกต้น และอีก หลาย ๆ ต้น จนกลายเป็นป่าไทร นกกาและสัตว์อื่น ๆ ก็ตามมา อาศัยและน�ำพาพันธุไ์ ม้อนื่ ๆ มาด้วย นานวันก็กลายเป็นป่าไม้นานา พันธุ์ และสัตว์นานาชนิดมาอาศัยร่วมกัน เมื่อมีป่า ดินก็เปลี่ยนสภาพดีขึ้น ความชื้นมากขึ้นทั้งในดิน และอากาศ เอือ้ ให้เกิดเมฆและฝน เป็นป่าทีอ่ ดุ มสมบูรณ์ เกิดต้นน�ำ้ สายธารได้ จากเรื่องเล่าของเมล็ดไทรนี้ เราจะเห็นวงจรความสัมพันธ์ ระหว่างเมล็ดไทร กับปัจจัยภายนอกตลอดเวลา ดิน น�้ำ นก ป่า เมฆ ฝน และสัตว์ต่าง ๆ ในตอนแรก เมล็ดไทรต้องการปัจจัยภายนอก คือ น�้ำ อากาศ แสงแดด ดินที่มีแร่ธาตุ ที่เกื้อกูลให้เมล็ดไทรได้งอกงาม เติบใหญ่ แต่เมื่อเมล็ดไทรเติบใหญ่เป็นไทรใหญ่แข็งแรงแล้ว ไทรนั้นก็จะผลิ ดอก ออกผล ส่งอิทธิพลต่อสิ่งแวดล้อมภายนอก นี่คือ วิถีบูรณาการของระบบที่มีชีวิต ชีวิต คือ กระบวนการแห่งความสัมพันธ์ สิ่งมีชีวิตบูรณาการ ตนเอง เชื่อมโยงผสมผสานโลกภายนอกและโลกภายในอย่าง ต่อเนื่องเป็นพลวัต มนุษย์บูรณาการตนเองตลอดเวลา เริ่มต้นจากการบูรณาการ เซลล์ของพ่อและแม่ ก่อเกิดเป็นเซลล์มนุษย์คนใหม่ และชีวิต ใหม่นี้เติบโตได้ก็จากการบูรณาการกับสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและ โลกทัศน์บูรณาการ
61
ภายนอกตลอดเวลา เรารับอากาศ อาหาร น�ำ้ ความคิดใหม่ ๆ เข้าไป บูรณาการกับธาตุภายใน เกิดการเจริญเติบโตทัง้ กายและสติปญ ั ญา สุดยอดของบูรณาการแบบต้นไทร คือ เราเติบโต มีศักยภาพ ที่จะเอื้อเฟื้อตนเองให้เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น และสิ่งอื่น ๆ ที่เกื้อกูล ชีวิตของเรามาตลอด ฉะนั้น เมื่อเราพูดถึงงานเชิงบูรณาการ เรารู้หรือไม่ว่า หัวใจ ของงานนี้อยู่ที่การสร้างคน ผู้น�ำ คือ คนสวน ที่จะเอื้อเฟื้อปัจจัย ให้คนเติบโต เจริญงอกงาม สัมพันธ์กันอย่างสร้างสรรค์ เพื่อให้คน ชุมชน องค์กรแข็งแรงเติบใหญ่ เหมือนต้นไทร ที่ให้ร่วมเงาแก่สัตว์ ต่าง ๆ และขยายผลสะเทือนเรื่อยไป จนเกิดป่า ฝน ต้นน�้ำ ความ อุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศ บูรณาการแบบใด? ไม่ใช่ว่า โลกระบบแบบกลไกไม่ดี และระบบที่มีชีวิตดีกว่า ทั้ง สองระบบช่วยเกือ้ กูลชีวติ เรา ในแง่มมุ ทีต่ า่ งกัน ประเด็นส�ำคัญน่าจะ อยูท่ ี่ การท�ำความเข้าใจ รูจ้ กั คุณค่าของทัง้ สองระบบโลกทัศน์ และ เลือกใช้ให้เหมาะสมกับบริบทในชีวติ อย่างเป็นต้นว่า วิศวกรทีต่ อ้ ง ท�ำงานกับเครื่องจักร ก็ต้องใช้วิธีคิด กระบวนการแบบระบบกลไก เข้ามาจัดการเครือ่ งจักร แต่ในองค์กรทีเ่ ป็นสังคมมนุษย์ทมี่ ชี วี ติ เรา น่าจะเลือกสัมพันธ์กับผู้คนตามโลกทัศน์ระบบที่มีชีวิต เต๋าบอกว่า โลกประกอบด้วยพลังงาน ๒ ขั้วตรงข้าม คือ หยิน และ หยาง ทั้งสองพลังนี้ด�ำรงอยู่ในทุกสรรพสิ่ง และหมุนวน ก่อให้ เกิดการเปลีย่ นแปลง และเคลือ่ นไปข้างหน้า สิง่ ส�ำคัญ คือ การเห็น ทั้งสองพลังนี้ และใช้พลังนี้ได้อย่างสมดุล กลมกลืน
62
เมล็ดพันธุ์ชีวิตบูรณาการ
à»ÃÕºà·ÕººÙóҡÒÃẺÃкº¡Åä¡ áÅкÙóҡÒÃẺÃкº·ÕèÁÕªÕÇÔµ ºÙóҡÒÃẺÃкº¡Åä¡ à¹Œ¹¤Çº¤ØÁ ÊÑ觡ÒÃ
ºÙóҡÒÃẺÃкº·ÕèÁÕªÕÇÔµ ์¹»ÃÐÊÒ¹¤ÇÒÁËÇÁÁ×Í ¤Ô´Ã‹ÇÁ¡Ñ¹ ·Ó´ŒÇ¡ѹ ÊÌҧÊÑÁ¾Ñ¹¸ ÃÐËÇ‹Ò§Á¹ØÉ º‹Áà¾ÒÐà§×è͹䢻˜¨¨ÑÂãËŒ¤¹àµÔºâµ§Í¡§ÒÁ ...................................................................................................................................................................... ¼ÙŒ¹Ó์¹¡ÒÃÊÑ觡Òà ¼ÙŒ¹Ó·Ó˹ŒÒ·ÕèàËÁ×͹¤¹Êǹ ¤Í´ÙáÅ ¤Çº¤ØÁ ºÑ§¤ÑººÑÞªÒ ¤¹ãËŒàµÔºâµ áÅФ¹·ÕèàµÔºâµ¹Ñè¹àͧ ·Õè¨Ð¼ÅÔ´Í¡ÍÍ¡¼Å·Õ觴§ÒÁ ...................................................................................................................................................................... â¤Ã§ÊÌҧ¡Ò÷ӧҹ â¤Ã§ÊÌҧºÃÔËÒçҹͧ¤ ¡Ã໚¹á¹Ç ã¹Í§¤ ¡ Ã໚ ¹ á¹Ç´Ô § è ÃйҺ ¤¹·Ó§Ò¹Ã‹ÇÁ¡Ñ¹ ...................................................................................................................................................................... ์¹¡ÒÃÇÑ´¼Å·Õè¨ÑºµŒÍ§ä´Œ ໚¹àÃ×èͧ¢Í§¾ÅѧáË‹§¤ÇÒÁÊÑÁ¾Ñ¹¸ ·Õè ໚¹ÃÙ»¸ÃÃÁ áÅÐ์¹ ÍÒ¨¨Ð¨ÑºµŒÍ§äÁ‹ä´Œ ᵋÃÙŒÊÖ¡ä´Œ áÅÐ »ÃÔ Á Ò³ àËç ¹¼Åä´Œ ์¹¤Ø³ÀÒ¾ÁÒ¡¡Ç‹Ò»ÃÔÁÒ³ ...................................................................................................................................................................... ¤§·Õè äÁ‹àÃÕ¹ÃÙŒ á¢ç§µÑÇ Â×´ËÂØ‹¹ àÃÕ¹ÃÙŒáÅлÃѺµÑÇàͧãˌࢌҡѺ äÁ‹Â×´ËÂØ‹¹ ¾ÂÒÂÒÁ ¤ÇÒÁà»ÅÕè¹á»Å§·Õèà¡Ô´¢Öé¹àÊÁÍ à»ÅÕ Â è ¹»˜ ¨ ¨Ñ  ÀÒ¹͡ ...................................................................................................................................................................... ÁͧÊÔ觵‹Ò§ æ Ẻá¡ʋǹ ÁͧÊÔ觵‹Ò§ æ Ẻͧ¤ ÃÇÁ໚¹àÍ¡ÀÒ¾ ·Ó໚¹Ê‹Ç¹ æ áŌǤ‹Í áÅÐàË繤ÇÒÁÊÑÁ¾Ñ¹¸ ÃÐËÇ‹Ò§ÊÔè§ àÍÒÁÒ»ÃСͺ¡Ñ ¹ ãËÁ‹ (áÅФ¹) µ‹Ò§ æ ã¹ÃкºáÅÐà¤Ã×Í¢‹Ò ...................................................................................................................................................................... ÁդӵͺÊÓàÃç¨ÃÙ» Êٵà äÁ‹ÁÕÊÙµÃÊÓàÃç¨ ËÃ×ÍâÁà´Å·Õè¨ÐàÍÒä» ÊÓàÃç¨ âÁà´Å·ÕèÊÒÁÒö Å͡ẺáŌǨлÃСѹNjÒä´Œ¼ÅµÒÁ àÍÒä»ÅÍ¡àÅÕ¹ẺáÅŒÇ µŒ¹©ºÑºÊÔè§ÁÕªÕÇÔµµÍºÊ¹Í§µÒÁ ¤Ô´Ç‹Òä´Œ¼ÅàËÁ×͹µŒ¹áºº à˵ػ˜¨¨ÑÂáÅкÃÔº· ...................................................................................................................................................................... ÍÐäËÅ‹á·¹¡Ñ¹ä´ŒàÊÁÍ Á¹ØÉ ·Ø¡¤¹ÁÕÈÑ¡ÂÀÒ¾ÀÒÂã¹ ·ÕèÍÒ¨¨Ð àÊÕ Â ¡ç Ë ÒãËÁ‹ à»ÅÕ Â è ¹ «‹ Í Á ᵡµ‹Ò§¡Ñ¹ ᵋàµÔÁàµçÁ¡Ñ¹ä´Œ ...................................................................................................................................................................... ¤Ó¹Ç¹¼ÅÅѾ¸ ä´Œ NjҨРäÁ‹ÍÒ¨¤Ò´à´Òä´ŒªÑ´à¨¹ à¾ÃÒмÅÅѾ¸ à¡Ô´¢Öé¹àÁ×èÍäà ໚¹Í‹ҧäà ໚¹ä»ä´ŒÁÒ¡ÁÒ ÊÔ觷Õè·Óä´Œ ¤×Í ËÁÑè¹ãËŒ à§×è͹䢷Õè¨Ð¹Óä»ÊÙ‹¼Å·Õè»ÃÒö¹Ò àËÁ×͹ ¡ÒûÅÙ¡µŒ¹äÁŒ àÃÒäÁ‹ÍÒ¨¡Ðࡳ± ä´ŒÇ‹Ò ¼ÅäÁŒ¨ÐµŒÍ§ÍÍ¡ã¹àÇÅÒ·ÕèàÃÒµŒÍ§¡Òà โลกทัศน์บูรณาการ
63
กะเทาะโลกทัศน์แบบกลไก “เราไม่สามารถแก้ปัญหาด้วยวิธีคิด ความคิดเดิมที่สร้างปัญหา มาแล้ว” อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ปัญหาทีเ่ ราประสบอยูท่ กุ วันนี้ มีรากเหง้ามาจากกระบวนทัศน์ แบบกลไก ทีม่ องเห็นโลกทัง้ ภายในและภายนอก แบบแยกส่วน กาย แยกจากจิต คนแยกจากชุมชน และสิ่งแวดล้อม การเมืองแยกจาก ชีวิตประจ�ำวัน ฯลฯ การแบ่งแยกดูจะให้ความหมายที่เป็นคนละขั้วกับบูรณาการ ซึ่งหมายถึงหลอมรวม หากเราท�ำงาน ใช้ชีวิตแบบแยกส่วน ท�ำงาน เป็นระบบแบบแท่ง ๆ อะไหล่กลไก เราจะกล่าวได้อย่างไรว่า เรา บูรณาการกัน เราต้ อ งกระเทาะกระบวนทั ศ น์ เ ก่ า แบบกลไกออก และ กลับไปเชื่อมสัมพันธ์กับชีวิต แบบกระบวนทัศน์องค์รวม ซึ่งเป็น กระบวนทัศน์ทมี่ ใี นภูมปิ ญ ั ญาโบราณ และศาสนธรรมต่าง ๆ อยูแ่ ล้ว การเปลี่ยนกระบวนทัศน์เป็นเรื่องที่ท้าทาย พวกเราในยุคบริโภคชอบเสพและแสวงหาความส�ำเร็จทีไ่ ด้มา ง่าย ๆ ด่วน ๆ มีสูตรส�ำเร็จ ในทุกมิติของชีวิต ตั้งแต่การกิน การ ท�ำงานสูค่ วามส�ำเร็จ การเรียนลัดสัน้ รวมถึงการแก้ปญ ั หา เราเรียก ร้องค�ำตอบเร็ว ๆ การท�ำงานแก้ปัญหาให้ทันใจ และรับเอาค�ำตอบ ทีส่ ำ� เร็จในทีต่ า่ ง ๆ เข้ามาแก้ปญ ั หาของเรา โดยไม่พจิ ารณาถึงความ เหมาะสมกับบริบทของสังคม ที่ส�ำคัญ นักบริโภคมักไม่ค่อยลงมือท�ำ เรามักจะรอคอย 64
เมล็ดพันธุ์ชีวิตบูรณาการ
เรียกร้องให้คนอืน่ แก้ปญ ั หา จัดการเรือ่ งราวต่าง ๆ ให้ และถ้าไม่ทนั ใจ ไม่ได้ดั่งใจ เราก็บ่น วิพากษ์วิจารณ์ โดยที่ไม่ลุกขึ้นมาจัดการ ปัญหาด้วยตัวเอง ดังนัน้ เราจ�ำต้องปรับกระบวนทัศน์ของเราจากแบบกลไกแยก ส่วน เป็นองค์รวม ปรับตัวจากการเป็นนักเสพเป็นผู้ลงมือกระท�ำ และสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ ฝึกฝืนนิสัยความคุ้นเคยเดิม ๆ และ ใส่ใจเรียนรู้ฝึกฝนกระบวนทัศน์องค์รวม ทั้งภูมิปัญญาโบราณและ วิทยาศาสตร์กระบวนทัศน์ใหม่ ไอน์สไตน์ กล่าวว่า งานของเราคือปลดปล่อยตัวเองออกจาก กรงขังของโลกทัศน์แบบระบบกลไก “เรามีประสบการณ์ ความคิด ความรูส้ กึ ของเรา ราวกับเป็นสิง่ ทีแ่ ยกขาดจากสิง่ อืน่ ๆ ซึง่ เป็นภาพมายาของจิตส�ำนึก ความเห็นผิด เช่นนีเ้ ป็นเหมือนกรงขัง ทีก่ ดี กัน้ ขัดขวางเราไว้ จากความปรารถนา ภายใน และความรักให้กับบุคคลที่อยู่ใกล้กันกับเรา งานทีเ่ ราต้องท�ำ ก็คอื ปลดปล่อยตัวเองออกจากกรงขังนี้ ด้วย การขยายวงกลมแห่งความรักความกรุณา ให้โอบกอดสรรพสิง่ และ ธรรมชาติทั้งมวลไว้ ไม่มีใครที่อาจท�ำเรื่องนี้ได้อย่างสมบูรณ์ แต่ ความพยายามที่จะท�ำ ในตัวของมันเอง ก็เป็นหนทางสู่อิสรภาพ และรากฐานของความมั่นคงภายในใจ”
ชาวสยามนักบูรณาการ แนวคิด และหลักการ “บูรณาการ” ที่เข้ามามีบทบาทในงาน พัฒนาสังคมของไทย เมือ่ กว่าทศวรรษทีผ่ า่ นมา อาจจะเป็นศาสตร์ ทีเ่ รารับมาจากตะวันตก แต่กใ็ ช่วา่ ในประวัตศิ าสตร์ชาติไทย เราไม่ เคยมี หรือไม่เคยท�ำ “บูรณาการ” กันมาก่อนเลย โลกทัศน์บูรณาการ
65
อันที่จริง บรรพบุรุษชาวสยามเป็นยอดนักบูรณาการ เรา “เปิด” ประเทศรับวัฒนธรรมจากหลายชาติ ไม่ว่า จีน มอญ แขก พม่า ฝรั่ง เขมร เรารู้จักเลือกสรร คัดเฟ้น กลั่นและกรองสิ่งต่าง ๆ มาผสมผสานกับของเดิมที่มี ประยุกต์ให้ถูกกับจริตนิสัย กลายเป็น สิ่งใหม่ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของคนสยาม ไม่เพียงแต่อาหาร เท่านั้น แม้ในชาติพันธุ์ เราก็ผสมผสานกันจน ความเป็นคนไทย แท้ คือ ความผสมผสาน (integration อย่างที่คนสมัยใหม่นิยาม บูรณาการ) แกงกะทิของไทยไม่เหลือเค้ากลิ่นรสแกงอินเดีย สะเต๊ะไทย สลัดความเป็นมาเลย์ไปอย่างสิ้นเชิง อีกทั้งยังมีอาจาดสร้างความ แปลกใหม่ที่ต้นต�ำรับไม่มี หรือใครไปกินสุกี้ที่แดนอาทิตย์อุทัย ก็ คงจะงงว่าท�ำไมน�้ำจิ้มจึงไม่ถึงเครื่องเต้าเจี้ยวและกระเทียมพริก เหมือนสุกี้หม้อไทยเลย ในการอยูอ่ าศัย ชาวสยามแต่ละพืน้ ถิน่ สร้างบ้านให้สอดคล้อง กับสภาพภูมิประเทศและอากาศ เพื่อจะอยู่กับสิ่งแวดล้อมอย่าง กลมกลืน มีใต้ถุนสูงเพื่อหนีฤดูน�้ำหลาก หลังคาจั่วแหลมเพื่อ ระบายให้น�้ำฝนไหลลงอย่างรวดเร็ว และช่วยระบายความร้อนได้ ดีอีกด้วย เป็นต้น จิตวิญญาณความเป็นนักผสมผสานของชาวสยามหายไป? ในยุคสมัยใหม่นี้ เรานิยมลอกเลียนแบบ (ก๊อปปี)้ ทัง้ การศึกษา เศรษฐกิจ วัฒนธรรม โดยไม่คดิ ปรับแปลงเหมือนบรรพบุรษุ ของเรา ให้เข้ากับจริตนิสัย พื้นเพทางภูมิศาสตร์และวัฒนธรรมเดิมที่เรามี หลายเรื่อง เช่น บูรณาการ จึงเป็นนวัตกรรมใหม่ที่เราน�ำเข้า และ น�ำมาเฉพาะเทคนิควิธี รูปแบบ วิชาการความรู้จากต่างแดนที่เรา ต้องมาตั้งต้นเรียนรู้ นับหนึ่งกันใหม่ 66
เมล็ดพันธุ์ชีวิตบูรณาการ
ถามใจ เราจะผสานอดีตที่บรรพบุรุษสั่งสมไว้ ผสมผสานกับ ความทันสมัยแห่งยุค เพื่อก้าวต่อไปในอนาคตอย่างสง่า งามได้อย่างไร เราเห็นบูรณาการในมิติที่เชื่อมร้อย ต่อยอดกับอดีต หรือไม่
บูรณาการโลกขั้วตรงข้าม
ªÒµÔ
»ÃѪÞÒ
¡ÒþѲ¹Òä» ¢ŒÒ§Ë¹ŒÒ(͹Ҥµ)
à¹×éÍËÒ ÊÒÃÐ á¡‹¹
ÃٻẺ à»Å×Í¡
¡ÒÃËÂÑè§ÃÙŒ¤Ø³¤‹Ò µ‹ÍÂÍ´ ¤Ø³¤‹Òà´ÔÁ (¨Ò¡Í´Õµ)
¡Òû¯ÔºÑµÔ ·ŒÍ§¶Ôè¹
ทั้งศาสตร์ตะวันตกและตะวันออกกล่าวว่า โลกมีลักษณะเป็น สองขั้ว (World of Paradox) โลกทัศน์บูรณาการ
67
โลกมีกลางวันและกลางคืน มีน�้ำขึ้นและน�้ำลง มีฤดูกาลแห่ง ความหนาวเย็น และความร้อนผ่าว มีทะเลทราย และภูเขาน�้ำแข็ง มีเกิดและมีตาย สุขและทุกข์ และเพราะความเป็นทวิลกั ษณะนีเ้ อง ที่ท�ำให้โลกและสรรพชีวิตด�ำรงอยู่ได้อย่างสมดุล ปรัชญาตะวันออก ไม่ได้มองความต่างขั้ว แยกขาดจากกัน ทว่า ทุกสิ่งที่ต่างกันนั้นเป็นสิ่งที่ให้ก�ำเนิดอีกสิ่งหนึ่ง และไม่ได้เป็น อิสระจากกัน หากไม่มีมืด ก็ไร้สว่าง ไม่ร้อน ก็ไม่มีเย็น เป็นต้น และ วิทยาศาสตร์กระบวนทัศน์ใหม่ก็มองอย่างนั้นด้วยเช่นกัน “เราอาศัยอยู่ในจักรวาลที่มีความสัมพันธ์เป็นเบื้องต้น ไม่มี อะไรเกิดขึน้ ในโลกควอนตัม โดยปราศจากการเผชิญระหว่างสิง่ หนึง่ กับอีกสิ่งหนึ่ง ไม่มีอะไรอยู่อย่างอิสระโดยปราศจากความสัมพันธ์ ... นี่คือโลกแห่งกระบวนการ กระบวนการแห่งการเชื่อมโยง ที่ซึ่ง สรรพสิ่งด�ำรงอยู่ชั่วคราวได้เพราะความสัมพันธ์นั่นเอง” (ผู้น�ำกับ วิทยาศาสตร์ใหม่ มาร์กาเรต วีตเลย์) โลกเป็นเช่นนี้ เราต้องการขั้วตรงข้าม เพื่อที่จะอยู่ได้เช่นกัน หากโลกไม่มีกลางคืน มีแต่กลางวัน ย่อมเกิดชีวิตไม่ได้ และชีวิต ของเราจะเป็นอย่างไร? เราไม่ตอ้ งท�ำลายความจริงในขัว้ ตรงข้ามทีเ่ ราไม่ปรารถนา สิง่ ส�ำคัญอยู่ที่ เราต้องเรียนรู้ที่จะอยู่กับสิ่งตรงข้ามให้ได้อย่างสมดุล แม้เราจะบอกว่า เนื้อหาสาระและจิตวิญญาณของความเป็น ประชาธิปไตยเป็นสิ่งส�ำคัญ แต่ไม่ได้หมายความว่า เราต้องตัด รูปแบบ อย่าง ระบบเลือกตั้ง กฎหมาย รัฐสภา ทิ้งไป ประเด็นอยู่ที่ เราจะประสานทัง้ สองสิง่ คือ รูปแบบ (form) และเนือ้ หา (content) ให้ลงตัว เพื่อเกื้อกูลชีวิตของคนในสังคมได้อย่างไร เราจะท�ำอย่างไร ที่จะรักษาธรรมชาติ ในขณะที่เราก็ก้าวไป กับเทคโนโลยีได้ 68
เมล็ดพันธุ์ชีวิตบูรณาการ
เราจะท�ำอย่างไร ทีจ่ ะอนุรกั ษ์คณ ุ ค่าศิลปะวัฒนธรรมไทย และ พัฒนาร่วมกับ เทคโนโลยีสมัยใหม่ และความก้าวหน้าทางวัตถุ เราจะท�ำอย่างไร ที่เราจะสร้างผลผลิตทางอุตสาหกรรม โดย ไม่ท�ำลายระบบนิเวศ เราจะท�ำอย่างไร ทีเ่ ราจะได้รบั ความสะดวกสบายจากวัตถุ แต่ ก็ไม่ละทิ้งความหมายทางจิตวิญญาณ ฯลฯ ค�ำถามเหล่านี้ จะช่วยให้เรามองเห็นโลกทั้ง ๒ ด้าน พยายาม ประสานข้อดีของทัง้ สองด้าน โดยไม่ทงิ้ ประโยชน์ทจี่ ะได้รบั จากส่วน ใดส่วนหนึง่ ไป เช่นว่า หากเรามองเห็นด้านเดียว คือ พัฒนาประเทศ ด้านอุตสาหกรรม และละเลยอีกด้าน คือ การเกษตร ธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม เราก็จะเผาผลาญธรรมชาติ ละเลยการเกษตร แล้วมุ่ง ไปทางเดียว คือ เอนไปทางอุตสาหกรรม สังคมก็จะขาดสมดุลและ มีปัญหามากมายตามมา อย่างที่เราประสบอยู่ในปัจจุบัน ก�ำแพงศักดิ์สิทธิ์ หรือก�ำแพง ร้องไห้ เป็นสถานที่ ที่ชาวยิว ถือกันว่าต้องมาสวดอ้อนวอนที่ ก�ำแพงนี้ทุกปี ชายชาวยิวในภาพ นี้เอามือถือแปะไว้ที่ก�ำแพง เพื่อ ให้ญาติชราของเขา ที่ร่างกายไม่ อ�ำนวยให้เดินทางมาท�ำภารกิจ ศักดิ์สิทธิ์นี้ ได้มีโอกาสโทรเข้า มาสวดมนต์ผ่านก�ำแพง ท�ำให้ หญิงชราชาวยิวรู้สึก ปีติใจที่ได้ ท�ำภารกิจทางศาสนา โลกทัศน์บูรณาการ
69
นีค่ อื การผนวกความเชือ่ ทางจิตวิญญาณ เข้ากับเทคโนโลยีทนั สมัย ให้ไปกันได้ ไม่ใช่ตามความทันสมัยจนรากความเชื่อในจิตใจ ขาด หรืออนุรักษ์จนไม่พัฒนาไปพร้อมกับโลก “ชีวิตก็เหมือนการขี่จักรยาน ถ้าจะให้สมดุลละก็ จะต้องขี่ไป เรื่อย ๆ” ไอน์สไตน์ การอยู่กับโลกสองขั้วตรงข้าม เป็นเรื่องที่เราต้องเรียนรู้และ ท�ำไปตลอดชีวิต เพราะโลกไม่หยุดนิ่ง โลกจะมีเรื่องราวใหม่ ๆ เข้า มาให้เราปรับตัว รักษาสมดุลชีวิตและสังคมเรื่อยไป เหมือนการขี่ จักรยาน เราต้องรักษาสมดุลอยู่ตลอดเวลา ไม่ตกไปทางข้างซ้าย หรือขวา แน่นอนว่า เราไม่ได้ขี่ได้ตรงตลอดเวลา เราอาจจะมีเอน ไปทางขวาบ้าง ซ้ายบ้าง แต่เราสามารถประคองตัวเราและจักรยาน ได้โดยไม่ล้ม สภาวะความสมดุล ไม่ใช่สภาวะคงที่ ความเสถียรถาวรไม่มีใน โลก และสภาพสมดุลแบบเสถียรและถาวรก็ไม่มีเช่นกัน – ภาวะ สมดุลเกิดขึ้นจากภาวะไร้สมดุล ระบบทีม่ ชี วี ติ ปรับตัวเสมอเพือ่ ให้อยูใ่ นภาวะสมดุล ยกตัวอย่าง ว่า เมื่อร่างกายร้อน ก็ส่งสัญญาณบอกให้เราไปดื่มน�้ำเพื่อลดความ ร้อนในร่างกายลง แต่ก็ใช่ว่าอุณหภูมิในร่างกายจะคงที่ สมดุล เสถียรอยู่อย่างนั้น เมื่อเราเดินเข้าไปในห้องที่เปิดแอร์เย็นมาก ๆ ร่างกายสั่น เพื่อให้เกิดพลังงานให้ร่างกายอบอุ่นขึ้น และเราอาจ จะต้องไปหยิบเสือ้ มาใส่อกี สักตัว เพือ่ ให้รา่ งกายสมดุลขึน้ มาอีกครัง้ ตลอดทัง้ วัน ร่างกายจะต้องปรับตัวเพือ่ ให้เกิดภาวะสมดุลเสมอ ซึง่ หมายถึงภาวะไร้สมดุลนั้นเกิดขึ้นเสมอ ๆ เช่นกัน 70
เมล็ดพันธุ์ชีวิตบูรณาการ
วิ ท ยากร การเรี ย นรู ้ ต ามกระบวนทั ศ น์ วิ ท ยาศาตร์ ใ หม่ มาร์การเร็ต วีตเลย์ แนะให้เรามองภาวะที่ไร้สมดุล ยุ่งเหยิง วุ่นวาย และสับสน เป็นตัวกระตุน้ ให้เกิดกระบวนการสร้างสรรค์ ให้เราปรับ ตัวเข้าหาภาวะแห่งความสมดุลอยู่ตลอดเวลา โลกไม่หยุดนิง่ และปัน่ ป่วนอยูเ่ สมอ สิง่ ทีเ่ ป็นระบบมีชวี ติ อย่าง เรา ๆ ต้องท�ำ คือ สร้างสรรค์ เรียนรู้ ปรับตัวให้เข้าสู่ภาวะสมดุล ... ไร้สมดุล...สมดุล...ไร้สมดุล...สมดุล อย่างนีเ้ รือ่ ย ๆ ไป ไม่มวี นั จบสิน้ ต้นทาง และจุดหมายของบูรณาการ บูรณาการไม่ใช่งาน หรือ โครงการ แต่เป็นกระบวนการ ของชีวิต เป็น กระบวนการที่อยู ่ ใ นทุ ก อย่ า งที่ เราท� ำ และเป็ น ในการงาน ชีวิต และวิธีคิดของเรา ซึ่งหมายความว่า เราต้องฝึกฝน และน�ำวิถีการบูรณาการเข้าไปอยู่ในวิถีชีวิตประจ�ำวันของเรา เป้าหมายปลายทางของงานบูรณาการ ไม่ใช่เพื่อสร้างงาน ลด ความซ�้ำซ้อน แต่แท้จริงแล้ว เป้าหมายการบูรณาการ คือ สร้าง คน สร้างความเจริญงอกงามของชีวิต และสังคม ส่วนงานและ ผลงานที่เกิดนั้น จัดเป็นผลพลอยได้ที่เกิดจากการท�ำงานของคนที่ มีคุณภาพ นั่นเอง ลัทธิเต๋า ศาสตร์ตะวันออก และพุทธศาสนา ให้แนวทาง บูรณาการ ประสานสร้างความสมดุลของกายและใจหลายวิถี อาทิ การท�ำสมาธิภาวนา โยคะ ไทชี่ ศิลปะป้องกันตัวต่าง ๆ เป็นต้น วิถี ต่าง ๆ เหล่านี้ไม่เพียงเน้นความสมดุลของกาย และใจ แต่ยังช่วย ให้ผฝู้ กึ ฝนขยายความเข้าใจ และสร้างความสมดุลในชีวติ ส่วนอืน่ ๆ อีกด้วย คือ ประสานชีวิต เป้าหมาย และการงานให้สอดคล้องกัน นอกจากการบู ร ณาการชี วิ ต ภายในแล้ ว มนุ ษ ย์ ซึ่ ง เป็ น โลกทัศน์บูรณาการ
71
สัตว์สังคมต้องเรียนรู้ที่จะเชื่อมต่อ ถักทอเข้ากับคนอื่น ครอบครัว ชุมชน สังคม สิ่งแวดล้อม โลก และท้ายที่สุด สุดยอดของการ บูรณาการ คือ ความสามารถที่จะบูรณาการเป็นหนึ่งเดียวกับ จักรวาล และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อของแต่ละบุคคล คือ หลอม รวมกับพระเจ้า หรือ เข้าถึงพระนิพพาน (ในพุทธศาสนา) การบูรณาการเป็นงานแห่งชีวิต ที่ไม่มีวันสิ้นสุด ตราบเท่าที่ เรายังมีลมหายใจ ไม่ว่าเราจะรู้ตัวหรือไม่ กระบวนการของชีวิต บูรณาการตัวเองเสมอ แต่หากเราไม่ตระหนักเห็นกระบวนการทาง ธรรมชาตินี้ และน�ำโลกทัศน์ วิธคี ดิ และการกระท�ำทีเ่ ป็นแบบกลไก (mechanistic) มาแบ่งแยกสิ่งต่าง ๆ – เราก�ำลังขวางกระบวนการ ธรรมชาติ และผลที่เราได้รับคือ ทุกขภาวะ ฉะนั้น เราควรกลับมาใส่ใจกับกระบวนการบูรณาการที่มีชีวิต ในทุกก้าวย่าง และกับทุกอย่างที่เราเข้าไปเกี่ยวข้อง และต้องไม่ลืม ด้วยว่า วิถีบูรณาการเริ่มต้นที่ตัวของเรา บูรณาการบนความเคลื่อนไหว หนึ่งในความจริงของชีวิต คือ ความเคลื่อนไหว ซึ่งเราอาจ จะเรียกว่า การเปลี่ยนแปลง เพราะทุกอย่างเคลื่อนไหว และ เปลี่ยนแปลงนี่แอง ที่ท�ำให้เราเติบโต โลกวิวัฒนาการ มีมนุษย์เกิด ขึ้นในโลก สังคมเปลี่ยนแปลงจากสังคมเกษตรเป็นอุตสาหกรรม และสารสนเทศ โลกเป็ น อนิ จ จั ง ไม่ ว ่ า เราจะชอบ หรื อ ปรารถนาการ เปลี่ยนแปลงหรือไม่ก็ตาม ผู ้ ที่ ท� ำ งานบู ร ณาการจ� ำ ต้ อ งตระหนั ก ความจริ ง ในเรื่ อ งนี้ และเรียนรู้ที่จะอยู่กับกระแสความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงอย่าง 72
เมล็ดพันธุ์ชีวิตบูรณาการ
เท่าทัน ปรับตัว บูรณาการตนเอง และงานให้สอดคล้องไปกับความ เปลี่ยนแปลงรอบด้านที่เกิดขึ้นเสมอ เวลาทีเ่ ราวางแผนสร้างสรรค์งาน หรือแก้ปญ ั หา เราคิดกลยุทธ์ แผนการต่าง ๆ นั้น ด้วยความตระหนักรู้ถึงความเปลี่ยนแปลงหรือ ไม่วา่ ในขณะทีเ่ ราก�ำลังพูดคุยกันอยูน่ ี้ โลกทัง้ ใบก�ำลังเปลีย่ นแปลง เราเห็นเรือ่ งราวทัง้ หมดก�ำลังเคลือ่ นทีไ่ ปด้วยกันกับเราหรือไม่ หรือ เรามองปัญหาเหมือนเป็นสิ่งที่หยุดนิ่งกับที่ รอให้เราคิด วางแผน เสร็จก่อน พร้อมแก้ไข แล้วทุกอย่างจึงเริ่มเคลื่อนที่ต่อ เหมือนการ ซ่อมนาฬิกา ที่เมื่เราถอดชิ้นส่วนทุกอย่างออกมาส�ำรวจ เวลาใน นาฬิกานั้นหยุดนิ่ง เมื่อเราเปลี่ยนแบตเตอรี่แล้ว ซ่อมเสร็จ นาฬิกา ก็เดินได้ดังเดิม เรื่องราวต่าง ๆ ในสังคม และโลกใบนี้เคลื่อนที่ตลอดเวลา หากเราไม่ตระหนักเห็นกระแสความเคลื่อนไหวนี้ ก็เท่ากับ เรา ก�ำลังไล่ตามปัญหาที่วิ่งอยู่ข้างหน้าตลอดเวลา เราจึงวิ่งไม่เคยทัน ปัญหาสักที แต่หากเราตระหนักเห็นทิศทางว่า ปัญหาก�ำลังเคลื่อน ไปในทิศทางใด และเดาทางได้ถูก เราจะสามารถคิดงานที่ดักทาง ปัญหาได้ล่วงหน้า งานบูรณาการจึงเป็นงานทีไ่ ม่มวี นั จบสิน้ ชีวติ เคลือ่ นไหว ไหล ลืน่ และเปลีย่ นแปลงตลอดเวลา เราจึงต้องเติบโต พัฒนาตัวเอง และ เรียนรู้อยู่เสมอ ตามเงื่อนไขปัจจัยในโลกที่เปลี่ยนไป คุณภาพใหม่ และการผุดบังเกิดอันหลากหลาย ระบบทีม่ ชี วี ติ ไม่มรี ปู แบบตายตัว เหมือนสูตรทางอุตสาหกรรม แต่สงิ่ มีชวี ติ เต็มไปด้วยศักยภาพและความเป็นไปได้อนั หลากหลาย โลกทัศน์บูรณาการ
73
ก็ไม่เพราะคุณสมบัตินี้หรือ ที่ท�ำให้สัตว์ พืชวิวัฒนาการไปได้หลาก หลายสายพันธุ์ อย่างทุกวันนี้ ระบบทีม่ ชี วี ติ มีศกั ยภาพภายใน ทีแ่ ปรเปลีย่ นไปได้หลากหลาย ตามเหตุและปัจจัยเกื้อหนุน และไม่เดินเป็นเส้นตรง แบบ ๑ ไป ๒ ไป ๓ หรือผลค�ำนวนแบบคงที่ตายตัว อย่าง ๑+๑ เป็น ๒ แต่ผล รวมของการบูรณาการอาจเป็นได้ตา่ ง ๆ นานา ๑+๑ อาจกลายเป็น ๑๐๐ ก็ได้ ขึ้นอยู่กับคุณภาพและลักษณะของปฏิสัมพันธ์ ระหว่าง สิ่งต่าง ๆ เป็นแบบเพิ่มพลังทวีคูณ (synergy) หรือบางทีอาจจะ เป็นการผุดบังเกิด (โผล่ปรากฎ) ก็ได้ การเพิ่มพลังทวีคูณ และการผุดบังเกิด มาจากความสัมพันธ์ และปฏิสัมพันธ์ของปัจจัยที่แตกต่างหลากหลาย และก่อให้เกิดสิ่ง ใหม่ คุณภาพใหม่ ซึง่ สิง่ เก่าโดยตัวของมันเองแล้วไม่มคี ณ ุ สมบัตนิ นั้ ๆ ฟริตจ๊อป คาปร้า อธิบายการโผล่ปรากฏที่ก่อให้เกิดการ สร้างสรรค์สิ่งใหม่ โดยยกตัวอย่างโครงสร้างและคุณสมบัติของ น�้ำตาลว่า “เมื่ออะตอมของคาร์บอน ออกซิเจน และไฮโดรเจน เกาะ เกี่ยวกันในทิศทางหนึ่งอันแน่นอน ซึ่งท�ำให้เกิดน�้ำตาลขึ้น ผลของ สารประกอบนั้นจะให้รสหวาน ความหวานไม่ได้อยู่ในอะตอม ของคาร์บอน ออกซิเจน หรือไฮโดรเจน แต่อยู่ในแบบแผนที่โผล่ ปรากฎจากการเข้ามาปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ...” (หนังสือโยงใย ที่ซ่อนเร้น หน้า ๕๕) หรือเราจะลองนึกถึงโน้ตดนตรี เสียงโน้ตดนตรีนั้นมีไม่กี่เสียง แต่เมื่อเราร้อยเรียงตัวโน้ตแต่ละตัวเข้าด้วยกัน ในแบบแผนต่าง ๆ บทเพลงนับล้านก็เกิดขึน้ จากความสัมพันธ์ของตัวโน้ตแต่ละตัวนัน้ 74
เมล็ดพันธุ์ชีวิตบูรณาการ
ฉะนั้น หากเราอยากจะวัดผลของการบูรณาการ สิ่งหนึ่งที่พอ ช่วยให้แนวทางได้ คือ การดูว่า สิ่งที่เราท�ำนั้น ก่อให้เกิดคุณภาพ ใหม่ และความสร้างสรรค์ที่ไม่มีมาก่อนหรือไม่ บูรณาการ งานแห่งรัก “ไม่ว่าจะท�ำอะไร ขอให้คิดถึงคนรุ่นหลังอีก ๗ ชั่วคน” เป็น ภาษิตของชนเผ่าอินเดียนแดง ในทวีปอเมริกาเหนือ ภาษิตนีส้ ะท้อน โลกทัศน์ของชนเผ่าโบราณ ทีม่ องเห็นความเชือ่ มโยงระหว่างคน กับ สิง่ ต่าง ๆ ไม่เพียงแต่ในเวลาทีเ่ ขาด�ำรงอยูเ่ ท่านัน้ หากแต่ยงั เป็นเวลา ในอดีต และอนาคตด้วย ความรู้สึกเชื่อมโยง เป็นความรู้สึกบูรณาการ เมื่อเรารู้สึก “เกีย่ วข้อง” กับธรรมชาติ ผูค้ น สรรพสัตว์ และเห็นว่าสิง่ ต่าง ๆ นัน้ เกื้อกูลชีวิตเราอย่างไร สิ่งที่เราท�ำส่งผลต่อโลกอย่างไร เมื่อเราเห็น อย่างนัน้ ความรูส้ กึ ขอบคุณ และส�ำนึกรับผิดชอบต่อกันก็จะตามมา ยกตัวอย่าง รายได้จากการท่องเที่ยวที่ท�ำรายได้ให้ประเทศ มหาศาล เราเห็นหรือไม่ว่า นี่คือ มรดกที่บรรพบุรุษสร้างและรักษา ไว้ให้เรา เรามีธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์เป็นแหล่งอาหาร พลังงาน และการท่องเที่ยว เรามีศิลปวัฒนธรรมและต�ำรับอาหารที่ “ขาย” นักท่องเที่ยวได้ ท�ำเงินมหาศาล เราเห็นความเชื่อมโยงของบุคคล ในอดีตกับเราหรือไม่ ถ้าเราไม่เห็น ขอบคุณไม่เป็น เราก็บูรณาการไม่ได้ เพราะการ ทีเ่ ราขอบคุณสิง่ ใดได้ ก็เพราะเห็นว่าสิง่ นัน้ เชือ่ มโยงกับชีวติ ของเรา เราจะดูแลส่งต่อมรดกของบรรพบุรุษให้ลูกหลานของเรา อย่างไร โลกทัศน์บูรณาการ
75
เราเห็นหรือไม่ว่า สิ่งที่เราท�ำในวันนี้ สร้างอนาคตอะไรให้ ลูกหลาน? เวลาทีเ่ ราคิดกิจกรรมหรือท�ำโครงการใด ๆ เราเคยคิดถึงความ ยั่งยืนของกิจกรรมนั้นสู่รุ่นลูกรุ่นหลานของเราหรือไม่ การจะท�ำงานเชิงบูรณาการ เราต้องใส่ใจกระบวนทัศน์ระบบ ที่มีชีวิต เห็นสายสัมพันธ์แห่งชีวิตอย่างรอบด้าน โอบกอดความ เปลี่ยนแปลง และความเป็นไปได้อันไม่จ�ำกัด ให้ความส�ำคัญกับ คุณภาพ และความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และสิ่งแวดล้อม และ ที่ส�ำคัญที่สุด เราต้องตระหนักรู้ว่าการบูรณาการเริ่มต้นที่ตัวเรา ฝึกฝนตัวเอง และขยายขอบเขตความเชื่อมโยงออกไปเรื่อย ๆ ไม่มี วันสิ้นสุด j
ทวนใจ n เราเห็นวิธีคิด
พฤติกรรมการท�ำงาน และการด�ำเนิน ชีวิตของเรา เป็นแบบระบบกลไกหรือไม่ อย่างไร และ หากเราเห็นว่า เรามีชีวิตแบบระบบกลไก เราคิดว่า จะท�ำ อะไรได้บ้าง เพื่อเปลี่ยนตัวเองให้กลับมาสู่วิถีระบบที่มี ชีวิต n กิจกรรม และเงื่อนไขปัจจัยใดในชีวิต ที่ท�ำให้เรา รู้สึกมีพลัง สร้างสรรค์ และบูรณาการกับผู้คนและ สิ่งแวดล้อม เมื่อเรารู้เงื่อนไขเหล่านั้นแล้ว เราจะท�ำ อะไร อย่างไรบ้าง เพื่อที่จะสร้างเงื่อนไขปัจจัยแห่งความ งอกงามนั้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อบ่มเพาะพลังบูรณาการ ของเราให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป 76
เมล็ดพันธุ์ชีวิตบูรณาการ
แบบฝึกหัดเพื่อเรียนรู้ วิถีบูรณาการ หากิจกรรมที่จะช่วยให้เราได้ฝึกฝนเชื่อมกายและใจ อย่างเช่น ไทชี่ โยคะ ไอคิโด การท�ำสมาธิภาวนา ฯลฯ นอกจากนั้น ในการท�ำการงานและกิจกรรมต่าง ๆ ให้ เราลองเชื่อมใจของเราเข้ากับงานที่ท�ำ คนที่เราสนทนา ด้วย หรือสิ่งแวดล้อมที่เราอยู่ในขณะนั้น n ฝึกขยายข่ายใยความเชื่อมโยง ลองนั่งนิ่ง ๆ รู้สึก กายและใจของเรา จากนั้นค่อย ๆ ขยายความรู้สึกเชื่อม โยงจากตัวเราไปยังคนรอบข้าง สิ่งแวดล้อมใกล้ตัว ขยายการรับรู้แห่งความเชื่อมโยงนี้ไปให้ไกลที่สุดเท่าที่ จะท�ำได้ n ฝึกและหัด “ขอบคุณ” ในยามเช้า เราเคยขอบคุณ พระอาทิตย์ และธรรมชาติยามเช้าหรือไม่ ที่ให้พลังแก่ เรา หากเราฝึกใจให้เห็นคุณค่าของธรรมชาติ ที่เป็น แหล่งพลังงานของชีวิต เราจะรู้จักรักษ์ธรรมชาติมาก ขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ n ลองทบทวนชีวิตของเราว่า มีที่มาอย่างไร เราเกิดมา และด�ำรงชีวิตอูยู่ได้ถึงปัจจุบันนี้ ด้วย เหตุปัจจัย และใครบ้าง ในแต่ละวัน ฝึกทบทวนและขอบคุณบุคคล และสิ่ง ต่าง ๆ ที่ท�ำให้ชีวิตในแต่ละวันของเรายังมีอยู่ และ เป็นสุข n
โลกทัศน์บูรณาการ
77
ภาวะผู้น�ำ บนวิถีบูรณาการ ที่มีชีวิต
“ในยามที่เรามีแรงบันดาลใจในการท�ำการบางอย่าง โครงการพิเศษบางเรื่อง เพื่อรับใช้เป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ กว่าตัวตนของเรา ความคิดความเห็นของเรา จะทะลายพันธนาการและก�ำแพงทั้งหลายไปสิ้น ใจของเราจะก้าวข้ามข้อจ�ำกัดทั้งมวล และมโนส�ำนึก ของเราก็จะแผ่กว้างขยายออกไปทั่วสารทิศ เราจะพบว่าตัวเองอยู่ในโลกใบใหม่ที่ยิ่งใหญ่ และงดงาม พลังและศักยภาพที่หลับใหลจะตื่นขึ้นมา มีชีวิตชีวาอีกครั้ง และเราจะค้นพบว่า เราเป็นบุคคล ที่ดีและใหญ่ยิ่งเกินกว่าที่เราเคยฝันว่าจะเป็นได้” – ปตัญชลี 80
เมล็ดพันธุ์ชีวิตบูรณาการ
ในโลกปัจจุบัน ผู้คนเต็มไปด้วยความคิดแบ่งแยก แตกฝ่าย สลายความสัมพันธ์ เรารู้สึกแปลก แยกจากชุมชน แข่งขันกันในองค์กร แก่งแย่ง ผลประโยชน์กันในประเทศ มีปัญหาร้าวฉานกับ ประเทศเพือ่ นบ้าน ตัดสายสัมพันธ์กบั สิง่ แวดล้อม ในโลก ฯลฯ จึงไม่น่าแปลกใจ ที่คนยุคเราจะรู้สึก เป็นทุกข์ อ้างว้าง โดดเดีย่ ว และชีวติ รายล้อมด้วย วิกฤตปัญหาต่าง ๆ มากมาย ทางออกจากทุกข์และปัญหา คือ กลับมาเชื่อมโยงความ สัมพันธ์ต่อกันใหม่ และนี่น่าจะเป็นหัวใจของ แผนงาน โครงการ ยุทธศาสตร์บูรณาการทั้งหลาย คือ การบ่มเพาะนักบูรณาการ ผู้เห็นความเชื่อมโยงของสรรพสิ่ง และสามารถประสานเชื่อมความ สัมพันธ์ทั้งหลาย เพื่อประโยชน์สุขในชีวิตร่วมกัน ภาวะผู้นำ� บนวิถีบูรณาการที่มีชีวิต
81
ดัง่ เมล็ดไทร และสิง่ มีชวี ติ อืน่ ๆ มนุษย์ทกุ คนมีศกั ยภาพภายใน ทีเ่ กือ้ กูลโลกภายนอกได้ทงั้ สิน้ ขึน้ อยูก่ บั ว่า เราจะตระหนักเห็น และ ใช้ศักยภาพภายในนั้นเพื่อผู้อื่นหรือไม่ อย่างไร เมือ่ เดือน พฤษภาคม ๒๕๕๒ เกิดแผ่นดินไหวครัง้ ใหญ่ในมณฑล เสฉวน ยูนนาน ประเทศจีน เหตุการณ์แผ่นดินไหวครัง้ นัน้ คร่าชีวติ คน ไปกว่า ๖๐,๐๐๐ คน และผูค้ นอีกจ�ำนวนล้านไร้ทอี่ ยูอ่ าศัย เหตุ ก ารณ์ ค รั้ ง นี้ ใ ห้ ก� ำ เนิ ด วี ร บุ รุ ษ น้ อ ยคนหนึ่ ง เด็ ก ชาย หลิน เฮา วัย ๙ ขวบ นักเรียนชั้นประถมปีที่ ๒ ผู้รอดชีวิตจากภัย พิบัติ และยังสามารถช่วยเหลือเพื่อนนักเรียนอีก ๒ คนที่ติดอยู่ ในซากอาคารโรงเรียนที่ถล่มลงมาอีกด้วย หลินเองได้รับบาดเจ็บ เช่นกัน แต่เมือ่ สามารถพาตัวเองออกมาจากซากตึกได้แล้ว เขากลับ ไม่พยายามหาทางหลบภัย หรือหาผู้ช่วยเหลือ แต่เขากลับเข้าไปที่ ซากตึกเพื่อช่วยเพื่อน ๆ ที่ยังคงติดอยู่ที่นั่น เขาชวนเพื่อน ๆ ร้อง เพลงเพื่อปลุกใจไม่ให้กลัว เด็กชายหลินสามารถช่วยเพื่อน ๒ คน ออกมาจากซากตึกได้ อย่างปลอดภัย ก่อนที่ตึกจะถล่มและคร่าชีวิตเพื่อนร่วมห้องของ เขาไปกว่า ๓๐ ชีวิต จากนั้น เขากับเพื่อนที่รอดชีวิตเดินเท้าอีก ๗ ชั่วโมง เพื่อขอความช่วยเหลือ หลายคนที่รู้เรื่องวีรกรรมของเด็กชายหลิน เฮา อดรู้สึกชื่นชม ความกล้าหาญ และมีน�้ำใจของเด็กคนนี้ไม่ได้ และเราก็ได้เห็นด้วย ว่า อายุและประสบการณ์ชีวิตไม่ได้เป็นเครื่องชี้วัด ภาวะผู้น�ำ และ ความยิ่งใหญ่ในหัวใจมนุษย์ 82
เมล็ดพันธุ์ชีวิตบูรณาการ
ในหนังสือ คูม่ อื มนุษย์ พระอาจารย์พทุ ธทาสกล่าวไว้วา่ “มนุษย์ เราหากไม่คิดถึงตัวเอง แต่กลับมุ่งเสียสละตนเองเพื่อรับใช้บางสิ่ง บางอย่างทีส่ งู ส่ง ด้วยความรักความอุทศิ ตัวเท่าใด มนุษย์ผนู้ นั้ ก็จะ ยิ่งกลายเป็น มนุษย์ที่แท้ และ รู้แจ้งในตนเอง ยิ่งขึ้นเท่านั้น” ภาวะผูน้ ำ� ไม่ได้ขนึ้ กับเงือ่ นไขภายนอก แต่เป็นเรือ่ งของอ�ำนาจ ภายในของจิตใจที่ลึกซึ้ง และกว้างขวาง ยิ่งบุคคลลึกซึ้งในจิต วิญญาณเท่าไร ภาวะการน�ำของเขาก็จะยิง่ ใหญ่มากขึน้ เท่านัน้ อย่าง ท่านมหาตมะ คานธี ชายชราร่างเล็ก สวมผ้าเตีย่ วผืนเดียว สามารถ คานอ�ำนาจกับจักรวรรดิอังกฤษได้ และน�ำอินเดียสู่อิสรภาพโดย ไม่มีสงคราม ท่านท�ำได้อย่างไร อะไรคือพลังอ�ำนาจวิเศษของท่าน (ในขณะทีส่ หรัฐอเมริกาส่งกองทัพ และยุทโธปกรณ์มากมาย ไปท�ำ สงครามกับการก่อการร้าย ที่ประเทศอาฟกานิสถาน แต่จนบัดนี้ก็ ยังไม่อาจบรรลุความสงบสันติในประเทศของตน รวมถึงไม่ได้ทำ� ให้ การก่อการร้ายหมดสิ้นไปแต่อย่างใด) โลกไม่ได้ต้องการผู้น�ำมากขึ้น แต่ต้องการผู้ที่มี “ภาวะผู้น�ำ” มากขึ้น โทมัส โฮเมอร์ ดิกสัน (Thomas Homer Dixon) เขียนไว้ใน หนังสือ “The Ingenuity Gap” ว่า ในโลกนี้ มีไม่กี่ประเทศในโลก ทีผ่ คู้ นในประเทศมีศกั ยภาพในการรับมือกับปัญหา โดยมากแล้ว เรา ก้าวไม่ทนั กับปัญหา ระยะห่างระหว่างปัญหา และศักยภาพของคน กว้าง และมากขึ้นเรื่อย ๆ ชาติ ที่ จ ะรอดพั น วิ ก ฤตได้ คื อ ชาติ ที่ มี ช ่ อ งว่ า งระหว่ า ง ปัญหา และความสามารถของคนในชาติน้อย และการจะลด ภาวะผู้นำ� บนวิถีบูรณาการที่มีชีวิต
83
ÃдѺ¢Í§»˜ÞËÒ ช่องว่างระหว่างปัญหา และความสามารถของ คน ดิกสันกล่าวว่า เรา ต้องฝึกฝนคนในชาติให้ เป็น “ยอดมนุษย์” ซึง่ ก็ คือ ผู้ที่มีศักยภาพและ อ�ำนาจในตัวเอง แต่ อ� ำ นาจและ พลังแบบไหน? อ�ำนาจปืน อ�ำนาจ การสั่งการ อ�ำนาจทุน อ� ำ นาจกฏหมาย ไม่ อาจน�ำพาโลกสู่ความ สงบสั น ติ และเจริ ญ รุ ่ ง เรื อ ง ข้ อ พิ สู จ น์ ใ น เรื่ อ งนี้ มี ใ ห้ เ ห็ น ใน ประวั ติ ศ าสตร์ และ เหตุการณ์ร่วมสมัย ¢Õ´¤ÇÒÁÊÒÁÒö¢Í§àÃÒ อ� ำ นาจและพลั ง ที่ จ ะช่ ว ยให้ โ ลกสงบเย็ น คื อ อ� ำ นาจแห่ ง ปั ญ ญา และกรุ ณ า พระอาจารย์พุทธทาสกล่าวว่า “...การกอบกู้ค�้ำจุนโลก จะท�ำได้ ก็โดยผ่านวิถีแห่งความกรุณา และมีอยู่ในความกรุณาอย่างไม่มี เงื่อนไขเท่านั้น” j
84
เมล็ดพันธุ์ชีวิตบูรณาการ
ลิขิตภาวะผู้น�ำ
ภาวะผู้น�ำไม่ใช่เรื่องของ ชะตาฟ้าลิขิต เข้าท�ำนอง “เกิดมาเพื่อเป็นผู้น�ำ” (born to be) ทุกคนล้วน มีศักยภาพ และภาวะผู้น�ำอยู่ภายในแล้ว เหมือน เมล็ดไทรทีม่ ศี กั ยภาพ พร้อมเติบโต เมือ่ ได้ปจั จัย ส่งเสริม ลิขิตภาวะผู้นำ�
85
ก่อนที่ท่านมหาตมะ คานธีจะเป็นผู้น�ำขบวนการเอกราชจาก จักรวรรดิอังกฤษ ท่านเป็นเนติบณ ั ฑิตหนุม่ ร่างเล็ก ทีว่ า่ ความไม่คอ่ ยชนะ พูดไม่ เก่งและขีอ้ าย เรียกได้วา่ ใครเห็นท่านตอนนัน้ จะคิดไม่ถงึ เลยว่า วัน ข้างหน้า ท่านผู้นี้จะพูดน�ำหัวใจคนเรือนล้านให้ท�ำสิ่งที่ยิ่งใหญ่ได้ จุดเปลีย่ นในชีวติ ของท่าน เกิดขึน้ เมือ่ ท่านเห็นความอยุตธิ รรม ในใจคน ที่ก่อให้เกิดระบบ โครงสร้างทางสังคมที่เอารัดเอาเปรียบ เหยียดหยันความเป็นมนุษย์ จุดนั้นเองที่ท�ำให้ท่านเริ่มต้นหนทาง ของภาวะผู้น�ำ ท่านไม่ได้น�ำโดยการสั่งการ ไม่ได้น�ำด้วยเงิน และไม่ได้ใช้ ต�ำแหน่งฐานะอะไร แต่ท่านน�ำด้วยชีวิต และการกระท�ำของท่าน ที่ยึดมั่นอยู่บนหลักคุณธรรม ท่านจะน�ำคนในเรือ่ งใด ท่านก็ทำ� เป็นตัวอย่างในเรือ่ งนัน้ ท่าน เป็นตัวอย่างของผู้มีอหิงสธรรม ไม่เบียดเบียนท�ำร้ายใคร แม้แต่ผู้ที่ ท�ำร้ายท่าน ท่านไม่ตอ่ ต้านด้วยก�ำลัง ความรุนแรง เมือ่ ถูกจับเข้าคุก ด้วยข้อหาที่ไม่เป็นธรรม ท่านอยากเชิญชวนให้คนรู้จักพึ่งพาตัวเอง เพื่อตระหนักใน ศักดิศ์ รีแห่งตน ท่านก็ใช้ชวี ติ เป็นตัวอย่าง ท�ำอาศรม มีความเป็นอยู่ แบบเรียบง่าย ทอผ้าใส่เอง เป็นต้น ท่านเป็นอย่างที่ท่านเชื่อ และ พูดกับผู้อื่น ดังอมตะวาจาของท่านที่ว่า “Be the change you want the world to be”– จง เปลี่ยนแปลงตัวเอง ในแบบที่อยากเห็นโลกเปลี่ยนแปลง ภาวะผูน้ ำ� ไม่ใช่เป็นสิง่ ทีอ่ ยูด่ ี ๆ ก็จะเกิดขึน้ หรือเป็นคุณสมบัติ 86
เมล็ดพันธุ์ชีวิตบูรณาการ
ทีจ่ ะเสกให้มไี ด้ ภาวะผูน้ ำ� เกิดขึน้ จากการฝึกฝนตนเองอย่างเข้มข้น จริงจัง และหลายครั้งก็ผ่านความเจ็บปวด และน�้ำตา ในหนังสือ “การเดินทางของยอดคน” (The Hero’s Journey) โจเซฟ แคมเบล นักปรัชญาและเทพปกรณัมผูศ้ กึ ษาต�ำนานและเรือ่ ง เล่าทั่วโลก กล่าวว่า ผู้น�ำต้องผ่านหนทางที่ยากล�ำบาก อุปสรรค นานาในชีวิต รวมถึงความท้าทายที่เข้ามาทดสอบความแข็งแกร่ง ของจิตใจ ต่อเป้าหมายและคุณค่าที่ตนเองยึดถือ พระเยซูพสิ จู น์ศรัทธาในพระผูเ้ ป็นเจ้าด้วยชีวติ และเพือ่ ไถ่บาป ให้มนุษย์ พระพุทธเจ้าต้องสละความสุขสบายของชีวติ กษัตริย์ มาร่อนเร่ ฝึกฝนตนเพื่อการบรรลุธรรม เป็นเวลา ๖ ปี อดข้าว อดน�้ำ และทน กับความทุกข์ยากล�ำบากนานา ก่อนจะบรรลุธรรม ผูน้ ำ� ทางการเมืองและสังคมร่วมสมัย อย่าง อดีตประธานาธิบดี แอฟริกาใต้ เนลสัน แมนเดลลา ไม่ได้เสียเวลาไปกับความโกรธ เกลียด หรือคิดแก้แค้นฝ่ายตรงข้ามที่จับท่านเข้าคุก แต่ท่านใช้ เวลา ๒๗ ปีในที่กุมขัง เพื่อปลดปล่อยจิตใจตัวเองให้เป็นอิสระจาก ความชิงชัง แบ่งข้าง และฝึกฝน เรียนรู้ตัวเองเพื่อเข้าใจคน และ ความเป็นไปของโลก เมือ่ ท่านพ้นโทษ ตอนอายุ ๗๐ ปี ท่านได้รบั รางวัลโนเบล สาขา สันติภาพ ในปี ๒๕๓๖ และก้าวขึน้ สูต่ ำ� แหน่งผูน้ ำ� สูงสุดของประเทศ (ระหว่าง ๒๕๓๗ -๒๕๔๒) ท่านท�ำงานเชื่อมประสาน สร้างความ ปรองดองให้คนในชาติที่แตกแยกกันมาอย่างยาวนาน จนท�ำให้ แอฟริกาใต้เข้าสู่ยุคใหม่แห่งประชาธิปไตย หนทางแห่งผู้น�ำเป็นเส้นทางที่เราต้องเลือก และสร้างขึ้นมา เอง ไม่ใช่เลือกเพือ่ จะเป็นใหญ่ แต่เลือกทีจ่ ะเสียสละ และรับใช้ผอู้ นื่ ลิขิตภาวะผู้นำ�
87
เส้นทางของผู้น� ำทั้งหลาย ไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ แต่ ขวากหนามอุปสรรคต่าง ๆ ก็ไม่ได้ท�ำให้ผู้น�ำท้อถอย เพราะผู้น�ำมี เจตจ�ำนงในชีวิตที่แจ่มชัด และมีใจพร้อมยอมสละตน โจเซฟ จาวอสกี้ ผู้ก่อตั้งกลุ่มผู้น�ำอเมริกัน และที่ปรึกษา เรื่องผู้น�ำ และองค์กรเรียนรู้ เขียนไว้ในบทความ คุณลักษณะแห่ง ผู้น�ำ ๖ ประการ ว่า “ผู้น�ำที่พัฒนาความสามารถในการสรรสร้าง อนาคต ล้วนจ�ำต้องเดินสู่โลกภายใน เพื่อค้นหาเป้าหมาย ในชีวิต ของตนเองทั้งสิ้น” คนที่กระจ่างชัดว่า ตัวเองเกิดมาท�ำไม อยู่ไปเพื่ออะไร และ เป้าหมายในชีวิตของตนคืออะไร คนๆ นั้นก็จะสามารถน�ำทางให้ ตัวเองได้ และเดินทางสู่เป้าหมายด้วยความุ่งมั่น อุทิศตนต่อเป้า หมาย อุดมการณ์ความฝัน กูชายชาญชาติเชื้อ กูเกิดมาก็ที กูคาดก่อนสิ้นชี- กูจักไว้ลายเว้ย
ชาตรี หนึ่งเฮ้ย วาอาตม์ โลกให้แลเห็น
ค�ำโคลงสี่สุภาพนี้ เขียนบนกระดาษ แปะไว้หลังประตูห้องพัก ของนักศึกษานามว่า ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ตั้งแต่สมัยยังเป็นนักศึกษา เพื่อย�้ำเตือนปณิธานชีวิตว่า จะพัฒนาความเป็นอยู่ของเพื่อนร่วม ชาติ ชีวิตของท่านอาจารย์ก็ได้พิสูจน์แล้วว่า ท่านไม่เคยละทิ้ง เจตนารมณ์นี้เลย พระอาจารย์ พุ ท ธทาส ก็ เช่ น กั น ท่ า นเปลี่ ย นฉายาจาก อินทปัญโญ เป็น “พุทธทาส” เพื่อย�้ำเตือนเป้าหมายในชีวิตของ ท่าน ว่าจะรับใช้พระพุทธเจ้า 88
เมล็ดพันธุ์ชีวิตบูรณาการ
“คนไม่มีอุดมการณ์เปรียบได้กับเรือที่ไม่มีหางเสือ” – คานธี เป้าหมาย เป็นเหมือนหางเสือ น�ำทางชีวิตเราให้เดินไปใน ทิศทางที่ตั้งใจไว้ แม้จะเผชิญปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ หากเรา แจ่มชัดในเป้าหมายแล้ว เราอาจจะท้อบ้าง แต่จะไม่ถอย อย่างแม่ชี เทเรซ่า ผู้ได้รับการยกย่องให้เป็นนักบุญแห่งกัลกัตตา ประเทศ อินเดีย ท่านเลือกเส้นทางรับใช้พระเจ้า โดยการดูแลชาวอินเดีย ที่ยากไร้ เจ็บป่วย และทุกเข็ญ หลายครั้ง ทุกข์ที่รายล้อมตัวท่าน ก็ท�ำให้ท่านตกอยู่ในห้วงแห่งความท้อแท้สิ้นหวัง แต่ท่านไม่เคย หันหลังให้กับปณิธานในใจ ในภาวะอย่างนั้น ท่านจะเข้าเงียบ และภาวนาขอพลังจากพระผู้เป็นเจ้าให้ท่านด�ำเนินงานตามพระ ประสงค์ต่อไป มนุ ษ ย์ ทุ ก คนควรมี เ ป้ า หมายในชี วิ ต เพื่ อ เป็ น หางเสื อ คุ ม ทิศทาง ของชีวติ ให้ถงึ ฝัง่ ฝัน ในหนังสือธรรมนูญแห่งชีวติ พระพรหม คุณาภรณ์ กล่าวถึงเป้าหมายชีวิตของมนุษย์ ๓ ประการ ดังนี้ ๑. เป้าหมายขัน้ ตาเห็น หรือ ประโยชน์ตน เป็นเป้าหมายต่อชีวติ ของเรา เช่น สุขภาพดี มีอาชีพสุจริต พึง่ ตนเองได้ทางเศรษฐกิจ มี สถานภาพดี เป็นทีย่ อมรับนับถือในสังคม และมีครอบครัวอบอุน่ ฯลฯ ๒. เป้าหมายขั้นเลยตาเห็น หรือ ประโยชน์เพื่อส่วนรวมและ สังคม ๓. เป้าหมายสูงสุด หรือ ประโยชน์ตามความเชื่อทางศาสนา เช่น ชาวพุทธก็คือการบรรลุธรรม ศาสนาคริสต์และอิสลามก็เพื่อ ไปอยู่กับพระผู้เป็นเจ้า ส�ำหรับผู้ที่จะเป็นผู้น�ำ เป้าหมายในชีวิตต้องมีอย่างน้อย ๒ ประการ คือ เป้าหมายต่อชีวิต และสังคม j ลิขิตภาวะผู้นำ�
89
ผู้น�ำ ในโลกสมัยใหม่ ยิ่งโลกทวีความซับซ้อนขึ้น เราก็จะยิ่งเห็นว่าการ น�ำแบบเก่า ๆ ใช้ไม่ได้อีกต่อไป เราได้เห็นกระแส การชุมนุมประท้วงขับไล่ผู้น�ำในหลายประเทศ โลกอาหรับ ผู้คนขับไล่และทนไม่ได้กับการน�ำ ที่ ใช้อ�ำนาจบังคับบัญชาแบบทหาร อ�ำนาจอาวุธ และอ�ำนาจการเมืองแบบเผด็จการอันยาวนาน (แต่ อ�ำนาจที่ยังสู้ได้ยาก คือ อ�ำนาจทุน) โลกสมัยใหม่มีความสั่นไหว เปราะบาง และพลิกผันรวดเร็ว ผู้น�ำในโลกที่เปราะบางเช่นนี้ ต้องเป็นคนไวในการสัมผัสรับรู้ความ เป็นไปของโลก เข้าใจโลกตามกระบวนทัศน์ใหม่ คือ เห็นความเชือ่ ม โยงของสิ่งต่าง ๆ ที่เป็นหนึ่งเดียวกันทั้งหมด นักฟิสิกส์ทฤษฎีและปรัชญา เดวิด โบห์ม กล่าวถึง ผู้น�ำใน โลกสมัยใหม่ว่า 90
เมล็ดพันธุ์ชีวิตบูรณาการ
“หากเราสามารถเห็นตัวเองเป็นส่วนหนึ่งของความเป็นหนึ่ง เดียวกันทั้งหมดในจักรวาลแล้ว เราจะพัฒนาความสามารถที่จะ สัมผัสรับรู้วิถีของอนาคตที่ก�ำลังก่อตัวขึ้น ในปัจจุบัน และความ เห็นนั้น จะช่วยให้เราเข้าไปมีส่วนชักน�ำทิศทางของอนาคตในทาง ที่เราปรารถนา” นี่คือทักษะของผู้น�ำโลกสมัยใหม่ คือ เห็นโลกตามความเป็น จริงในปัจจุบัน และเห็นแนวโน้มโลกในอนาคต แล้วลงมือกระท�ำ การสร้างสรรค์อนาคต ปรับตนเองให้สอดคล้องกับจังหวะเวลา (rhythm) ของโลกและสังคม (ผู้น�ำจึงต้องมีความรู้เรื่องวิธีคิด กระบวนระบบ มีหลักคิดในการหยั่งรู้ปัจจุบันและอนาคต รวมถึงมี สภาวะจิตที่เอื้อให้เกิดทักษะนี้ ซึ่งทั้งหมดนี้ จะได้กล่าวขยายความ เพิ่มขึ้น ในบท บริบทบูรณาการ การคิดกระบวนระบบ และทักษะ ที่ว่าด้วย การฝึกจิต) ผู้น�ำในโลกสมัยใหม่ ตระหนักในคุณค่า และศักยภาพของ มนุษย์ทุกคน จึงไม่อาจใช้วิธีการสั่งการ บังคับ ควบคุมได้ แต่จะให้ ความส�ำคัญกับ การเอื้ออ�ำนวยให้เกิดการเรียนรู้ สร้างแรงบันดาล ใจให้คนภูมิใจในศักยภาพของตน และลงมือสร้างสรรค์พัฒนาชีวิต ของตนเอง และชุมชน ไปในทิศทางที่ปรารถนาร่วมกัน ถ้าจะเปรียบเทียบไป ผู้น�ำสมัยใหม่ จะเป็นเหมือนคนสวน ที่ ต้องคอยดูแล บ่มเพาะพืชพันธุ์ที่ปลูก หมั่นสังเกตว่า พืชที่เราปลูก เป็นอย่างไร ต้องการปุ๋ย น�้ำ ดิน หรืออะไรเพิ่มเติม มีวัชพืช แมลง กัดกินหรือไม่ แล้วจัดการกับสิ่งที่คุกคามการเติบโตของพืชพันธุ์ การเฝ้ า สั ง เกต บ่ ม เพาะดู แ ลให้ ค นเติ บ โต สร้ า งและ เชื่อมสัมพันธ์ จึงเป็นหัวใจของภาวะผู้น�ำในโลกสมัยใหม่ ซึ่งนั่น อาจกล่าวได้ว่า ในยุคนี้ ผู้น�ำที่เราต้องการ คือ ผู้น�ำการเรียนรู้ ผู้นำ�ในโลกสมัยใหม่
91
สร้างแรงบันดาลใจ และน�ำการสนทนา พาให้คนมานัง่ สนทนากัน เข้าใจกันมากขึ้น เกิดความตกลงในการท�ำการงานที่สร้างสรรค์ ประโยชน์รว่ มกัน (กล่าวเพิม่ เติมในบท การสนทนาทีผ่ ลิดอกออกผล) คุณสมบัติส�ำคัญ ๆ ของผู้น�ำในโลกสมัยใหม่ที่กล่าวไว้ข้างต้น นั้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเห็นโลกแบบเป็นองค์รวม เห็นแนวโน้ม ในอนาคต เห็นศักยภาพของคน รู้วิธีหล่อเลี้ยงพลังใจของคนและ ส่งเสริมความสามารถของคนได้ สามารถน�ำคนให้ร่วมสนทนากัน ได้อย่างสร้างสรรค์ ฯลฯ คุณสมบัติทั้งหลายเหล่านี้ เกิดมาจากจิต ที่มีคุณภาพ และศักยภาพ จิตที่เปิดพรมแดนของตัวเอง ก้าวข้าม ตัวตน จิตที่กรุณาต่อผู้อื่น จิตที่สงบนิ่งละเอียดและว่องไวพอที่จะ จับสัญญาณความเคลื่อนไหว แนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในโลก ท้ายทีส่ ดุ แล้ว ภาวะผูน้ ำ� หนีไม่พน้ การฝึกฝนจิต (เราจะได้กล่าว ต่อไปในบท หนทางแห่งการฝึกตน) จึงไม่น่าแปลกใจที่เราจะเห็น ต�ำรับต�ำราการบริหารยุคใหม่ทพี่ ดู ถึง สมาธิ การฝึกใจมากขึน้ เรือ่ ย ๆ ลักษณะผู้น�ำในโลกสมัยใหม่
92
• น�ำการเรียนรู้ (เชิงปัญญาปฏิบัติ) • น�ำการสนทนาที่สร้างสรรค์เพื่อก่อให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน เป็นปัญญาร่วม • สร้างแรงจูงใจ และแรงบันดาลใจอันงดงามให้ผู้คน • เชื่อมประสาน Collaborative leadership สามารถ ร่วมมือข้ามภาคส่วน และองค์กร • เห็ น ความเชื่ อ มโยง และพลั ง ปฏิ สั ม พั น ธ์ ข องผู ้ ค นและ สิ่งต่าง ๆ • มีจิตกรุณา รับใช้ผู้อื่น และสังคม เมล็ดพันธุ์ชีวิตบูรณาการ
นิเวศผู้น�ำ
ในธรรมชาติ ทุกอย่างพึ่งพิงอิงอาศัยกัน ไม่มี อะไรส�ำคัญกว่าอะไร ในป่า เราจะเห็นต้นไม้นานา พันธุ์อยู่ด้วยกัน เถาวัลย์อาศัยเกาะไม้ใหญ่ ไต่ พันต้นขึ้นไปเรื่อย ๆ เพื่อรับแสงตะวันบนยอดไม้ กล้วยไม้ที่สวยงาม ไม้เล็กนานาพันธุ์ก็อาศัยร่ม เงาจากไม้ใหญ่ในการเจริญเติบโต แต่ไม้ใหญ่กต็ อ้ งการไม้เล็ก ๆ และไม้คลุมดินอืน่ ๆ ด้วย ในเวลา ทีม่ ลี มพายุ ต้นไม้ใหญ่ไม่ถกู ลมพัดหักโค่น เพราะมีกลุม่ ต้นไม้ขนาด กลางที่อยู่รายล้อมอยู่ ช่วยต้านแรงลมเอาไว้ ในคราวที่ฝนตกหนัก บรรดาหญ้าทีม่ รี ากเป็นแขนงข่ายใยกระจายไปทัว่ ช่วยพยุงหน้าดิน ไว้ ไม่ให้ดนิ ถล่ม และต้นไม้ตา่ ง ๆ ไม่หลุดโค่นอย่างถอนรากถอนโคน นิเวศผู้นำ�
93
ธรรมชาติยั่งยืนได้ด้วยระบบนิเวศอันหลากหลาย สังคมของ เราก็เช่นกัน โลกสมัยใหม่ซับซ้อนเกินกว่าที่มนุษย์คนใดคนหนึ่งจะจัดการ หรือน�ำทางออกได้เพียงล�ำพัง เราต้องการผูน้ ำ� หลายรูปแบบ หลาก ความเชี่ยวชาญและทักษะ แตกต่างทางวิธีคิดมาท�ำงานร่วมกัน สัมพันธ์กนั อย่างพึง่ พิงอิงอาศัย และเติมเต็มกันและกัน เพือ่ ให้สงั คม “ป่ามนุษย์” ของเราอุดมสมบูรณ์ เราต้องมีผู้น�ำอยู่ในทุกระดับ ทั้งระดับท้องถิ่นผู้ปฏิบัติการติด พื้นที่ ผู้น�ำระดับกลาง และผู้น�ำระดับนโยบาย ซึ่งผู้น�ำในทุกระดับ นี้ไม่ได้หมายถึง ผู้น�ำแบบระบบราชการหรือการเมือง แต่หมายถึง ผูน้ ำ� ทีเ่ สียสละและท�ำงานเพือ่ ส่วนรวม ซึง่ จะเป็นผูน้ ำ� ทางการเมือง และราชการหรือไม่ก็ได้ ผู้น�ำในทุกระดับมีความหมายและความส�ำคัญทัดเทียมกัน และต้องท�ำงานเชื่อมร้อย สอดประสาน ไปสู่เป้าหมายเดียวกัน การท�ำลายความหลากหลาย และแตกต่างในสังคม และความ พยายามปลูกสังคมเชิงเดี่ยว มีผู้น�ำคนเดียว หรือกลุ่มเดียว มีความ เสี่ยงสูง จะพาให้สังคมเผชิญชะตากรรมแบบแปลงพืชเชิงเดี่ยว ที่ เมือ่ เกิดโรคระบาดขึน้ ก็หายนะกันหมดแปลง นอกจากนัน้ การปลูก พืชเชิงเดีย่ วยังท�ำลายความอุดมสมบูรณ์ของดินและทรัพยากรอืน่ ๆ เช่น น�้ำ อากาศ เพราะต้องใช้สารเคมีในการบ�ำรุงพืชพันธุ์ นานวัน เข้า ทุกอย่างก็หมดสภาพ ทั้งพืชผลที่ปลูก และผืนแผ่นดิน ผลัดกันน�ำแบบห่านป่า นอกจากความหลากหลาย และหลากระดับการน�ำแล้ว ในโลก ทีซ่ บั ซ้อนอย่างนี้ เราต้องผลัดกันน�ำด้วย เพราะไม่มใี ครเก่งทุกอย่าง ทุกเรื่อง และทุกเวลา 94
เมล็ดพันธุ์ชีวิตบูรณาการ
ผูท้ เี่ ป็นผูน้ ำ� ไม่จำ� เป็นต้องน�ำในทุกสถานการณ์ และทุกเมือ่ แต่ ผูน้ ำ� ต้องรูว้ า่ เวลาใดทีเ่ ราต้องน�ำจากข้างหน้า และเวลาใดทีเ่ ราต้อง น�ำจากข้างหลัง คือ ถอยตัวเองเพื่อให้ผู้อื่นน�ำบ้าง เราเรียนรู้เรื่องการผลัดกันน�ำได้จากฝูงห่านป่า ในช่วงการบินอพยพถิ่นฐาน ฝูงห่านป่าต้องบินเป็นระยะทาง ไกลกว่าสองหมื่นกิโลเมตร ห่านป่าจะจัดขบวนการบินเป็นรูปตัว วี (V) โดยห่านแต่ละตัวจะบินอยู่ในระยะห่างกันพอสมควร และ ขยับปีกประสานกันเป็นจังหวะ ซึ่งการบินในทิศทางเดียวกัน ด้วย ระยะห่างที่เหมาะสม ช่วยให้การบินมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะ กระแสลมจากการบินของห่านด้านหน้า ส่งก�ำลังให้ห่านตัวหลัง ๆ ออกแรงน้อยลง เมื่อห่านที่บินอยู่ข้างหน้าเริ่มหมดแรง ก็จะบินไป ต่อท้ายแถว เพื่อให้ห่านตัวถัดไปบินน�ำแทน นอกจากนั้น ฝูงห่านป่ายังมีการส่งเสียงร้องให้ก�ำลังใจกัน ในขณะบินอีกด้วย และหากมีห่านป่าตัวใดเหนื่อยล้า บาดเจ็บ ป่วย หรือหลุดออกจางฝูง ห่านจ�ำนวนหนึง่ ก็จะผละออกจากฝูง ไป บินคู่กับห่านป่าตัวที่อ่อนแอ คอยช่วยเหลือดูแลตลอดทาง จนกว่า ห่านป่าที่ป่วยจะแข็งแรงอีกครั้ง จากนั้นพวกมันก็จะบินกลับเข้าฝูง และเดินทางไปถึงจุดหมายปลายทาง “ผลัดกันน�ำ” และ “ให้ก�ำลังใจ ดูแลกัน” เป็นยุทธวิธีที่ท�ำให้ ฝูงห่านป่าไปถึงจุดหมายปลาย ทีอ่ ยูห่ า่ งไกลเป็นหมืน่ กิโลเมตร ห่าน ป่าไม่ยดึ ติดกับการเป็นผูน้ ำ� แถวหน้า เพราะหากท�ำอย่างนัน้ อาจจะ ไม่มหี า่ นตัวใดไปรอดถึงจุดหมาย หรือไม่ ก็อาจตีกนั บาดเจ็บล้มตาย เสียก่อนจะไปถึงปลายทาง j
นิเวศผู้นำ�
95
อิฐก้อนแรก
ราว ๔๖ ปีที่แล้ว มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ ผู้น�ำ ขบวนการสิทธิประชาชน เรียกร้องสิทธิเสรีภาพ และความเสมอภาคให้แก่ชนผิวด�ำในอเมริกาโดย สันติวิธี ปราศรัยความตอนหนึ่งว่า “... ข้าพเจ้ามี ความฝันว่าในวันหนึ่ง ลูกๆ ทั้งสี่คนของข้าพเจ้า จะอาศัยอยู่ในชาติที่พวกเขาไม่ถูกพิพากษาจากสี ผิว แต่ด้วยสาระแห่งอุปนิสัยของเขา...” ความฝันของท่านทรงพลัง และสร้างแรงบันดาลใจอันยิ่งใหญ่ แก่อเมริกันชน แม้ท่านจะถูกลอบสังหารจนเสียชีวิต แต่ความฝัน ของท่านทีป่ ลูกไว้แล้วในใจคน ก็ได้รบั การสานต่อ จนวันนี้ เราจึงได้ เห็น ประธานาธิบดีผิวสีคนแรกของประเทศสหรัฐอเมริกา การที่ประธานาธิบดี บารัค โอบามา ขึ้นมายืนอยู่ในต�ำแหน่ง ผู้น�ำสูงสุดของประเทศมหาอ�ำนาจอเมริกาได้ เพราะมีบุคคลหลาย คนในประวัติศาสตร์ได้วางอิฐปูฐานเอาไว้ก่อนแล้ว นับตั้งแต่สมัย 96
เมล็ดพันธุ์ชีวิตบูรณาการ
สงครามกลางเมือง เหล่าทหาร ประชาชน และประธานาธิบดี ลินคอล์น ที่ต่อสู้เพื่ออิสรภาพของบรรดาทาสผิวด�ำ จนถึงยุคของ มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ และปัจจุบัน ความฝันที่ทรงพลังสามารถสานพลังผู้คนให้ร่วมฝันร่วมกันได้ และส่งต่อผ่านกาลเวลาได้หลายรุ่น ผู้น�ำเป็นเสมือนผู้ลงอิฐก้อนแรก เป็นฐานให้ผู้อื่นวางอิฐก้อน ต่อ ๆ ไป ในการเป็นผู้ริเริ่ม มีราคาบางอย่างที่ต้องจ่ายเสมอ ซึ่ง ผู้น�ำต้องเข้าใจและยอมรับโดยไม่หวั่นไหว คนที่เริ่มท�ำอะไรแรก ๆ ซึ่งคนอื่นไม่คุ้นเคย มักจะถูกกล่าวหาว่า บ้า ถูกหัวเราะเยาะ อย่าง เช่น พี่น้องตระกูลไรท์ ตอนที่ทดลองเครื่องร่อน เครื่องบิน คนก็ หัวเราะเยาะว่าคิดท�ำอะไรที่เพ้อเจ้อ เพ้อฝัน เป็นไปไม่ได้ แต่เมื่อ เวลาผ่านไป เราก็ได้ประจักษ์แล้วว่า สิ่งที่คนหัวเราะเยาะในวัน นั้น เป็นไปได้จริง และเปลี่ยนโลกของเราไปอย่างไรบ้าง หรืออย่าง ท่านพุทธทาส ในสมัยที่ท่านไปตั้งสวนโมกข์ และท้าทายการ ตีความพระธรรมบางประการ ท่านก็ถูกหัวเราะดูถูกว่า เป็นพระ คอมมิวนิสต์ แต่มาวันนี้ พระอาจารย์พุทธทาสได้รับการยกย่องใน คุณูปการที่ท่านท�ำไว้ให้พุทธศาสนา หลายอย่างอาจไม่ผลิดอกออกผลชัดเจนในยุคทีเ่ ราท�ำงานเพือ่ การเปลี่ยนแปลง แต่ดอกผลอาจจะไปงอกงามในรุ่นลูกหลานก็ได้ “การท�ำงานเพือ่ เปลีย่ นแปลงสังคม เราต้องยอมรับและระลึก เสมอว่า ความเปลี่ยนแปลงอาจจะไม่เกิดขึ้นในระหว่างที่เรามีชีวิต แต่เราก็ต้องท�ำสิ่งที่เชื่อว่าจะน�ำมาซึ่งความเปลี่ยนแปลง และเชื่อ ว่า สิ่งที่เราท�ำนั้นจะน�ำความเปลี่ยนแปลงมาให้สังคมแม้ในยามที่ เราไม่อยู่แล้ว” เราจะให้ส่งมอบความฝันอะไรให้กับลูกหลาน? อิฐก้อนแรก
97
“เมื่อคุณเดินตามเสียงในหัวใจของตัวเอง ประตูทั้งหลายจะเปิดออก เป็นประตูที่จะเปิดออกให้เฉพาะคุณ ผู้ตามเสียงในใจเท่านั้น”
โจเซฟ แคมเบล
98
เมล็ดพันธุ์ชีวิตบูรณาการ
เปิดชีวิตผู้น�ำ บูรณาการ สิ่งที่ยากมากที่สุดอย่างหนึ่งในการบูรณาการ คือ ก�ำแพงภายในของคนแต่ละคน ก�ำแพงที่เรา สร้างขึ้น เพื่อกั้นเราออกจากผู้อื่น ผู้น�ำบูรณาการต้องก้าวข้ามพรมแดนภายใน ทะลายก�ำแพง ในใจออกไปหาผู้อื่นได้ เปิดให้ผู้อื่น ความคิดอื่น ๆ และความรู้ไหล เข้ามา เชื่อมโยงกับเราได้ ผู้น�ำต้องเป็นผู้ที่ “เปิด” (open) เปิดชีวิต เปิดหัวใจเรียนรู้ ปรับตัว พัฒนาไปเรื่อย ๆ ไม่หยุดนิ่ง ผู้น�ำต้องเปิดตัวเอง ๓ ส่วน ด้วยกัน คือ เปิดความคิด เปิดสมอง Open Mind คือ เปิดรับความรูใ้ หม่ ๆ เปิดรับความคิดของคนอืน่ เข้ามาอยูใ่ นเราบ้าง เพราะบางที ความ จริงบางส่วนอาจอยูใ่ นความคิดของคนอืน่ การเปิดรับความคิดอืน่ ๆ เข้ามาในตัวจะช่วยให้เราเห็นสิง่ ต่าง ๆ ได้รอบ กว้าง และละเอียดขึน้ เปิดหัวใจ Open Heart ใช้ความรูส้ กึ ให้มากขึน้ ในการด�ำเนิน ชีวิตและการท�ำงาน ใช้ใจสัมพันธ์รับรู้ผู้อื่น เพื่อเข้าใจกันและกันให้ มากขึ้น เชื่อมสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ให้ลึกซึ้ง เมื่อเราเปิด หัวใจ เราจะท�ำงานร่วมกันได้ดียิ่งขึ้น เปิดเจตนารมณ์ Open Will เปิดรับเจตจ�ำนงอันยิ่งใหญ่ของ ชีวิต อาจจะเป็นการเปิดเจตจ�ำนงกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เราศรัทธา เปิด เจตจ�ำนงต่อสังคมที่เรียกร้องให้เราท�ำอะไรสักอย่าง เป็นต้น เปิดชีวิตผู้นำ�บูรณาการ
99
ผู้น�ำ การเปลี่ยนแปลง ๓ ระดับ “เพื่อที่จะด�ำรงอยู่ เราต้องเปลี่ยนแปลง เพื่อที่จะเปลี่ยนแปลง เราต้องเติบโต เพื่อที่จะเติบโต เราต้องสรรสร้างตัวเองอย่างไม่รู้จบ” อองรี แบร์กซง นักปรัชญาชาวฝรั่งเศส
เวลาที่เราพูดถึงการเปลี่ยนแปลง เรามักนึกถึง เปลี่ยนการกระท�ำ เปลี่ยนแผน นโยบาย และ เปลี่ยนผู้อื่น เราไม่ค่อยคิดเปลี่ยนตัวเอง ซึ่ง แท้จริงเป็นสิ่งที่ยากและท้าทายกว่ามาก 100
เมล็ดพันธุ์ชีวิตบูรณาการ
à»ÅÕè¹á»Å§¡ÒáÃÐ·Ó à»ÅÕè¹á»Å§¤ÇÒÁ¤Ô´ à»ÅÕè¹á»Å§µÑǵ¹
เมื่อเราเปลี่ยนแปลง เราก็จะเปลี่ยนสิ่งต่าง ๆ รอบตัว แต่การ เปลี่ยนแปลงที่กล่าวถึง ไม่เพียงแต่เปลี่ยนการกระท�ำ ความคิดวิธี คิด แต่เป็นการเปลี่ยนตัวตน บุคลิก จิตใจด้วย ยิ่งเราเปลี่ยนแปลง ภายในได้ในระดับลึกขึ้นเท่าไร การเปลี่ยนแปลงที่ปรากฎภายนอก ก็จะลึกซึ้ง กว้างขวางมากเท่านั้น ผู้น�ำการเปลี่ยนแปลง ต้องท�ำงานกับการเปลี่ยนแปลง ๓ ระดับ กล่าวคือ Change Doing เปลี่ยนการกระท�ำ วิธีการท�ำงาน รวมถึงวิธี การสนทนากัน โดยมาก เวลาทีเ่ กิดปัญหา หรือเราคิดจะสร้างสรรค์ ผู้นำ�การเปลี่ยนแปลง ๓ ระดับ
101
อะไร เรามักจะมุง่ ความสนใจไปทีเ่ ปลีย่ นการกระท�ำและสิง่ ภายนอก เช่น เปลีย่ นวิธกี ารท�ำงานใหม่ ใช้เทคนิคใหม่ เครือ่ งมือใหม่ กิจกรรม แผนงาน หรือโครงสร้างอาคาร การเปลี่ยนแบบนี้เป็นการเปลี่ยนแบบชั้นเดียว ซึ่งไม่ค่อยได้ ผล หรือไม่อาจน�ำสู่ผลลัพธ์ที่สร้างสรรค์และยั่งยืนได้ มีตัวอย่าง ให้เห็นมากมาย เช่น การปฏิรูปการศึกษา เรามีแนวทาง นโยบาย และแผนงานมากี่แผนแล้ว และทุกวันนี้คุณภาพของนักเรียน และ การศึกษาเป็นอย่างไร การเปลี่ยนการกระท�ำ ที่จะส่งผลที่ลึกซึ้งขึ้นกว่าเดิม ต้อง เปลี่ยนความคิดที่ผลิตการกระท�ำใหม่ ๆ นั้นออกมาด้วย Change Thinking เปลี่ยนความคิด ปรับมุมมอง และยิ่ง ไปกว่านั้น คือ เปลี่ยนกระบวนทัศน์ภายใน จากระบบกลไกเป็น กระบวนทัศน์องค์รวม “คิดใหม่ ท�ำใหม่” – เราส�ำรวจกันบ้างหรือไม่ว่า สิ่งใหม่ ๆ ที่ เราท�ำนั้นมาจากฐานความคิดอะไร และความคิดนั้น “ใหม่” หรือ ต่างจากความคิดที่สร้างการกระท�ำครั้งก่อน (ที่ไม่ได้ผล) อย่างไร หลายครั้งเราท�ำใหม่ แต่ยังคิดเหมือนเดิม เพียงแต่เปลี่ยนรูปแบบ การกระท�ำไปเท่านั้น ขอยกตัวอย่าง แนวทางการแก้ปัญหาการจราจรในกรุงเทพ ด้วยการก่อสร้างสิง่ ใหม่ เราตัดถนนเพิม่ หลายสาย สร้างสะพานข้าม แยก สร้างอุโมงค์ลอดใต้ดิน สร้างรถไฟลอยฟ้า สร้างรถไฟฟ้าใต้ดิน สร้างแอร์พอร์ตลิงค์ แล้วปัญหาการจราจรลดไปแค่ไหน รถยนต์กย็ งั มาก ประชากรก็เพิ่ม เมืองก็ขยายและไร้การจัดการ ฯลฯ ทุกการกระท�ำที่เราท�ำ มาจากวิธีคิดเดิม ๆ หรือไม่ เราคิดแก้ ปัญหาในระดับสร้างของใหม่ แต่สิ่งที่ส�ำคัญ ยังไม่ได้คิด ซึ่งหากเรา 102
เมล็ดพันธุ์ชีวิตบูรณาการ
เปลี่ยนวิธีคิด และคิดใหม่ได้จริง ๆ เราอาจจะเห็นช่องทาง วิธีการ ใหม่ ๆ เพื่อลดปัญหาการจราจรก็ได้ เราไม่เพียงเปลี่ยนความคิด ในแง่การใช้เหตุผลเชิงตรรกะ แต่ เราควรต้องเปลี่ยนมาคิดด้วยหัวใจให้มากขึ้นด้วย โดยย่อ การคิด ด้วยหัวใจ คือ การใช้ระบบความรู้สึกให้มากขึ้น (ซึ่งไม่ได้หมายถึง การใช้อารมณ์) ความรู้สึกเป็นการเรียนรู้ที่ส�ำคัญของมนุษย์ เด็ก เรียนรูว้ า่ ไม่ควรแหย่มอื ลงในชามซุปทีม่ คี วันขึน้ เพราะเด็ก “รูส้ กึ ” ว่าความร้อนเป็นเช่นไร และท�ำให้เขารู้สึกอย่างไร ความรู้สึกทีส่ �ำคัญที่เราควรหันมาบ่มเพาะในใจ คือ ความรู้สึก เชื่อมโยง และกรุณาต่อเพื่อนมนุษย์ คนเราเชื่อมโยงกันด้วยใจและ ความรู้สึก มากกว่าความคิด อย่าง พ่อแม่เชื่อมโยงกับลูกด้วยความ รู้สึก ด้วยใจรัก ไม่ใช่ด้วยเหตุผลความคิด หากเรามีหัวใจที่คิดปรารถนาให้ คนในชุมชนเป็นสุขและ ทรัพยากรป่าไม้อุดมสมบูรณ์เพื่อลูกหลาน วิธีคิดนี้จะผลิตการ กระท�ำอะไรออกมา เปรียบเทียบกับการคิดว่า เราจะใช้ประโยชน์ อะไรจากชุมชนและป่าไม้ได้บ้าง เพื่อให้เราร�่ำรวยและมีอ�ำนาจ เพิ่มขึ้น ความคิดนี้จะสร้างการกระท�ำเช่นไร การเปลี่ยนความคิดเป็นการเปลี่ยนเชิงซ้อน พฤติกรรม และ การกระท�ำเปลี่ยนไป ให้ผลที่ลึกซึ้งและยั่งยืนขึ้น แต่เราก็ต้อง ตระหนักต่อไปอีกด้วยว่า นอกจากเปลีย่ นการกระท�ำ และความคิด แล้ว สิ่งที่เราจะต้องเปลี่ยนให้ลึกลงไปจนถึงที่สุด คือ .... Change Being เปลี่ ย นตั ว ตน พั ฒ นาศั ก ยภาพตั ว เอง เป็นการเปลี่ยนแปลงระดับที่ลึกซึ้งที่สุด และเมื่อท�ำได้ ก็จะส่งผล ต่อการเปลี่ยนแปลงทั้งในระดับความคิดและการกระท�ำด้วย เมื่อเราเปลี่ยนตัวเองได้ วิธีคิดเปลี่ยน วิธีท�ำก็เปลี่ยน และน�ำ ผู้นำ�การเปลี่ยนแปลง ๓ ระดับ
103
ไปสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริง ยกตัวอย่างการเปลี่ยนแปลง ตัวเอง ของท่านคานธี ก่อนหน้าที่ท่านจะเป็นผู้น�ำสังคมสู่การ เปลี่ยนแปลงแบบอหิงสานั้น ท่านเป็นทนายความที่ว่าความไม่ ประสบความส�ำเร็จ ท�ำให้ลูกความแพ้ ท่านขี้อายและขี้กลัว แต่ เมือ่ ท่านเปลีย่ นแปลงตัวเองได้ ท่านก็ทำ� การเปลีย่ นแปลงทางสังคม ได้มหาศาล ผู้น�ำที่มีปัญญาและกรุณาทั้งหลาย จะเข้าถึงการเปลี่ยนแปลง ตัวตนในระดับลึกด้วยกันทั้งสิ้น และท่านทั้งหลายเหล่านั้นก็เป็น มนุษย์เหมือนกับพวกเรา ฉะนั้น เราทุกคนสามารถสร้างความ เปลี่ยนแปลงให้โลกนี้ได้ โดยที่เริ่มจากการเปลี่ยนแปลงตัวเอง หัน มาใส่ใจส�ำรวจ พัฒนา การกระท�ำ ความคิด และศักยภาพตัวเอง อย่างต่อเนื่อง การเปลี่ยนแปลงทั้ง ๓ ระดับนี้เกิดขึ้นพร้อม ๆ กัน ในเวลาเดียวกันได้ ไม่ใช่ว่า เราต้องเริ่มจากเปลี่ยนอะไรก่อน แล้ว ค่อย ๆ ท�ำเป็นล�ำดับ ๆ อย่างเป็นระบบกลไก พลังและอ�ำนาจผู้น�ำบูรณาการ ผู้น�ำ คือ ผู้ที่เริ่มต้นเปลี่ยนแปลงตัวเอง และการเปลี่ยนแปลง ทั้งหลายล้วนต้องการพลังทั้งสิ้น ในเรื่องนี้ ขออ้างเอา ธรรมแห่ง พลัง ๔ ประการ จากพระธรรมปิฏก (พระพรหมคุณาภรณ์) มีดังนี้ ๑. ปัญญาพละ คือ ก�ำลังปัญญา เราต้องฝึกฝนตนเองให้มพี ลัง แห่งปัญญา หาความรู้ความเข้าใจต่าง ๆ ผ่านการอ่าน การฟัง การ เฝ้าสังเกต และการสนทนาแลกเปลี่ยนความเห็นความรู้กับคนอื่น (ขยายความเพิ่มเติมในบท การเรียนรู้ฯ) ๒. วิริยะพละ คือ ก�ำลังความเพียร ประกอบกิจท�ำหน้าที่การ งานต่างๆ ด้วยความบากบั่นพยายาม ไม่ทอดทิ้ง หรือย่อหย่อน ท้อถอยง่าย ๆ 104
เมล็ดพันธุ์ชีวิตบูรณาการ
๓. อนวัชชพละ คือ การท�ำสิง่ ต่าง ๆ ด้วยความบริสทุ ธิใ์ จ จริงใจ ไม่มวี าระซ่อนเร้น มีความประพฤติและหน้าทีก่ ารงาน สุจริตไร้โทษ ๔. สังคหพละ คือ ก�ำลังการสงเคราะห์ ท�ำตนให้เป็นประโยชน์ แก่ส่วนรวม ได้แก่ การแบ่งปันเจือจานผู้อื่น สื่อสารสนทนาด้วย ถ้อยค�ำที่ให้ก�ำลังใจ ผูกใจกัน ช่วยเหลือเกื้อกูลการงานต่าง ๆ ใน สังคม และให้ความเท่าเทียมเสมอภาค วางตัวเสมอต้นเสมอปลาย กับผู้อื่น ธรรมแห่งพลังทั้ง ๔ ประการนี้ จะช่วยให้ผู้ที่ฝึกฝนปฏิบัติมี พลังในการด�ำเนินชีวิตด้วยความมั่นใจ และเป็นพลังให้ผู้น�ำเอาไป ใช้สร้างสรรค์สังคม สู่เป้าหมายที่ปรารถนาได้ นอกจากพลังแล้ว อีกสิ่งที่เรามักพูดถึง คือ “อ�ำนาจ” เราต้อง มีทั้งพลังและอ�ำนาจ จึงจะสามารถสร้างสรรค์ความเปลี่ยนแปลง ได้ แต่เวลาที่พูดถึง “อ�ำนาจ” หลายคนมักคิดถึงอ�ำนาจการเมือง ต�ำแหน่งหน้าที่ อาวุธ ทุน ฯลฯ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ มีอ�ำนาจได้เพียงชั่ว ระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น อ�ำนาจที่มั่นคง ยั่งยืน และสร้างสรรค์ที่แท้ จริง คือ อ�ำนาจทางจิตวิญญาณ เราจะเห็นได้ชดั จากตัวอย่างอ�ำนาจ ทางจิตวิญญาณของท่านคานธี ที่สามารถสยบอ�ำนาจปืน อ�ำนาจ รัฐ กฎหมาย (ที่ไม่เป็นธรรม) และอ�ำนาจของจักรวรรดิอังกฤษได้ อ�ำนาจทางจิตวิญญาณ คือ อ�ำนาจของคุณงามความดี ซึ่งใน พุทธศาสนากล่าวถึง อินทรีย์ ๕ พละ ๕ ประการ หรือทีพ่ ระอาจารย์ เซน ติช นัท ฮันห์ กล่าวว่า ศิลปะแห่งอ�ำนาจ ซึ่งในที่นี้ ขอประยุกต์ กล่าวให้สอดคล้องกับการท�ำงานเพื่อสังคม ดังนี้ ๑. อ�ำนาจแห่งศรัทธา คือ ความเชือ่ มัน่ ในตัวเอง และเป้าหมาย ในชีวิต อีกทั้งยังหมายถึงเชื่อมั่นในศักยภาพของผู้คนที่เราท�ำงาน และเกี่ยวข้องด้วย ความเชื่อมั่นศรัทธาจะให้พลังเราในการ ท�ำงาน ได้อย่างเบิกบาน ปีติใจ ผู้นำ�การเปลี่ยนแปลง ๓ ระดับ
105
๒. อ�ำนาจแห่งวิริยะ คือ อ�ำนาจแห่งความพากเพียร มุ่งมั่น อดทน และกล้าลงมือท�ำในสิง่ ทีศ่ รัทธาเชือ่ มัน่ แม้จะมีอปุ สรรคเพียง ใด ใจก็ยังจะมุ่งมั่นเดินหน้าต่อไป ๓. อ�ำนาจแห่งสติ คือ การรูเ้ ท่าทันความเป็นจริง ทัง้ ความเป็น จริงภายในตัวเรา และภายนอก เช่นว่า เวลาสนทนาก็รู้ตัวว่า ก�ำลัง พูดอะไร พูดเพื่ออะไร ได้ประโยชน์หรือไม่ หากไม่มีสติ ก็อาจหลง ประเด็นพูดเรื่อยไป การท�ำการงานก็เช่นกัน สติช่วยประคองเราให้ อยูใ่ นแนวทางของงาน จะได้เกิดผลอย่างทีต่ งั้ ใจไว้ หากขาดสติ เราก็ อาจจะเผลอไปท�ำงานทีไ่ ม่กอ่ ประโยชน์ตรงตามเป้าหมาย นอกจาก นั้น การรู้เท่าทัน ยังรวมความไปถึง รู้เท่าทันผู้อื่น เท่าทันความ เป็นไปของโลกเพือ่ จะได้รบั มือกับสถานการณ์ทเี่ กิดขึน้ ได้ทนั ท่วงที ๔. อ�ำนาจแห่งสมาธิ คือ ความตั้งมั่นของใจ จดจ่อกับสิ่งที่ท�ำ ไม่วอกแวกแส่ส่ายไปในเรื่องอื่น ๆ ที่ทำ� ให้ไขว้เขว่ออกนอกเส้นทาง และเป้าหมายที่ศรัทธา ๕. อ�ำนาจแห่งปัญญา คือ ปัญญาทีเ่ กิดจากการอ่าน การฟังให้ มาก แตกฉาน ปัญญาจากการครุ่นคิดให้แยบคาย และปัญญาจาก จิตที่สงบนิ่ง จนเกิดเป็นปัญญาญาณ หรือ “ปิ้งแว้บ” อ�ำนาจทั้ง ๕ ประการนี้ต้องไปควบคู่กันทั้งหมด โดยเฉพาะ ศรัทธาและปัญญา จะขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งไปไม่ได้ ศรัทธาที่ปราศจาก ปัญญา จะกลายเป็นงมงาย และปัญญาที่ขาดศรัทธาจะแห้งแล้ง ท�ำงานอย่างไร้พลัง ขาดเป้าหมายและความเบิกบานใจ j
ด่วน!
สังคมไทยต้องการ ผู้น�ำบูรณาการ จ�ำนวนมาก 106
เมล็ดพันธุ์ชีวิตบูรณาการ
คุณพร้อมหรือไม่ ที่จะฝึกฝนตนเอง บ่มเพาะพลังปัญญา ความกรุณา และประสานพลังกับผู้น�ำคนอื่น ๆ ทั่วประเทศ เพื่อสร้างสรรค์ประเทศ ของเราร่วมกัน
ทวนในใจ จากหนังสือ ธรรมแห่งนูญชีวิต ที่กล่าวถึงเป้าหมายชีวิต ๓ ระดับ ลองส�ำรวจเป้าหมายในชีวิตของเราว่า • เป้าหมายในชีวิตส�ำหรับตนเองคืออะไร เป้าหมายที่จะ เกื้อกูลสังคมคืออะไร และเรามีเป้าหมายขั้นสูงสุดส�ำหรับ ชีวิตหรือไม่ – เราได้ลงมือท�ำอะไรบ้าง เพื่อพาตนเองไปสู่ เป้าหมายในชีวิตของเรา • ใครเป็นผู้น�ำต้นแบบส�ำหรับเรา เขาหรือเธอมีคุณสมบัติ อย่างไร ที่เรารู้สึกว่าเป็นคุณค่าที่น่าเดินตาม • อะไร หรือ ใครเป็นแรงบันดาลใจในชีวิตของเรา • อะไรเป็นคุณค่าที่เรายึดถือในชีวิต • ชีวิตที่ผ่านมา เราพบอุปสรรคปัญหาอะไรบ้าง และเรา ก้าวผ่านอุปสรรคนั้นได้อย่างไร • เรามีจุดเปลี่ยนในชีวิตหรือไม่ เหตุการณ์อะไรท�ำให้เรา เปลี่ยนชีวิตจากเดิม ลองทบทวนเหตุการณ์ หรือการงาน เรื่องราว ต่าง ๆ ในชีวิตที่เราเข้าไปเกี่ยวข้อง แล้วรู้สึกมีพลัง ภูมิใจ สุขใจ แล้วลองสกัดความรู้จากประสบการณ์นั้นดูว่า • พลังของเรามาจากไหน และเราจะสร้าง สานพลังชีวิตให้ ต่อเนื่องได้อย่างไร เราต้องท�ำอะไรบ้าง • เรามีศักยภาพอะไร ที่จะมอบเป็นของขวัญให้กับผู้ที่เรา รัก ครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศ • ทุกวันนี้ เราท�ำอะไรบ้าง ที่เป็นการฝึกฝนตัวเองให้ พัฒนายิ่ง ๆ ขึ้นไป ทั้งในชีวิตและการงาน
ผู้นำ�การเปลี่ยนแปลง ๓ ระดับ
107
เครื่องมือสู่วิถี บูรณาการ : หลักการและ ทฤษฎีกระบวนการ
“เมื่อมนุษย์ได้สูญเสียสายสัมพันธ์ที่มีต่อธรรมชาติ ต่อฟากฟ้าและแผ่นดิน เมื่อนั้น เขาก็ไม่รู้วิธีในการ บ�ำรุงรักษาสิ่งแวดล้อม หรือในการจัดการ กับโลกของตน – ซึ่งเป็นสิ่งเดียวกัน มนุษย์ได้ท�ำลายระบบนิเวศลง และในขณะเดียวกัน ก็ได้ท�ำลายกันและกันลงด้วย จากมุมมองนี้เอง การเยียวยารักษาสังคมของเรา จึงต้องด�ำเนินควบคู่ไปกับการเยียวยาบ�ำบัด สายสัมพันธ์ส่วนตัว อันเชื่อมโยงอยู่กับโลก แห่งปรากฎการณ์” – หนังสือ ชัมบาลา โดย เชอเกียม ตรุงปะ
110
เมล็ดพันธุ์ชีวิตบูรณาการ
บูรณาการบริบท เหตุการณ์น�้ำท่วมภาคใต้ที่ผ่านมาท�ำให้หลาย ฝ่ายเริม่ ตระหนกกับภัยพิบตั ทิ างธรรมชาติที่ นับ วันจะรุนแรง เกรี้ยวกราดขึ้นเรื่อย ๆ นอกจาก คิดวางแผนรับมือธรรมชาติแล้ว เราพยายาม ท�ำความเข้าใจเหตุที่มาของปัญหา เผื่อว่าอาจจะ พอปรับตัวและบางอย่างได้บ้างในเวลานี้ รายงานพิเศษ “หายนะใต้เตือน! ขวางทางน�้ำ รุกพื้นที่ป่า” ในเนชั่นสุดสัปดาห์ เมื่อเดือน เมษายน ๒๕๕๔ น�ำเสนอข้อมูลจาก ภาพถ่ายดาวเทียมชนิดเรดาร์ ที่แสดงให้เห็นว่า เส้นทางจราจรช่วง จ. นครศรีธรรมราช ทัง้ ถนนสายหลัก และสายรองนัน้ ตัดขวางทางน�ำ้ การเติบโตของสังคมเมือง ท�ำให้มีการสร้างถนน สิ่งปลูกสร้าง อาคารทั้งหลาย ตัดขวางทางน�้ำ ล�ำคลองที่เป็นทางระบายน�้ำก็ ถูกบุกรุกและท�ำให้ตื้นเขิน ส่งผลให้น�้ำไหลบ่าท่วมถนน และบ้าน เรือน ปริมาณน�้ำสะสมเป็นบริเวณกว้าง เพราะการระบายน�้ำก็เป็น ไปอย่างล่าช้า ปัจจัยเสริมเร่งให้ดนิ ถล่ม คือ การเปลีย่ นแปลงสภาพแวดล้อม จากป่าเป็นไร่พชื เชิงเดีย่ ว มีการปลูกยางพาราและปาล์มอย่างกว้าง ขวางในบริเวณที่ลาดเชิงเขา รากของพืชประเภทนี้ยึดเกาะดินไม่ แน่นพอ ซึ่งเมื่อฝนตกแรงและหนักต่อเนื่องนาน ๆ รากไม่สามารถ ดูดซับน�้ำได้ ท�ำให้ดินยวบและยุบลงมาได้ง่าย บูรณาการบริบท
111
รายงานข่าวนี้ ท�ำให้นึกถึงบทเรียนจากน�้ำท่วมใหญ่ที่จังหวัด น่าน เมื่อหลายปีก่อน ที่กล่าวถึงเหตุปัจจัยของสถานการณ์ใน ลักษณะคล้ายคลึงกันว่า การสร้างถนน เมืองและหมู่บ้านบ้าน จั ด สรรขวางทางน�้ ำ การตั ด ไม้ ท� ำ ลายป่ า เพื่ อ ใช้ พื้ น ที่ ท� ำ ไร่ พื ช เชิงเดี่ยว เรื่องเล่าซ�้ำ ๆ แบบนี้ท�ำให้เกิดค�ำถามว่า เวลาที่เราสร้างเมือง ถนน และท�ำพืน้ ทีเ่ พาะปลูก เราค�ำนึงถึงบริบทแวดล้อมในธรรมชาติ บ้างหรือไม่ เราคิดปรับชีวติ ให้สอดคล้องกับธรรมชาติหรือเปล่า คน โบราณสร้างบ้านใต้ถุนสูงเพื่ออยู่กับน�้ำได้ และไม่สร้างบ้านขวาง ทางน�้ำ (ซึ่งภูมิปัญญาและการสังเกตธรรมชาติท�ำให้รู้ว่า เวลาน�้ำ หลากหรือน�้ำมาก กระแสน�้ำไหลไปในเส้นทางใด) แต่สมัยนี้ เรา สร้างบ้านติดดินแบบตะวันตก และสร้างเมืองและถนนขวางทาง น�้ำ การคิดท�ำตามอ�ำเภอใจโดยพยายามปรับให้ธรรมชาติรับใช้เรา เพียงฝ่ายเดียว ให้ผลอย่างไร หากเราใส่ใจบริบทแวดล้อมชีวติ และเรียนรูท้ จี่ ะปรับตัวให้อยู่ กับบริบทต่าง ๆ ได้อย่างกลมกลืน ปัญหาต่าง ๆ จะน้อยกว่านี้ก็ได้ คนไทยโบราณมักสอนลูกหลานเสมอว่า “จะท�ำอะไร ให้ดู กาละเทศะ” ค�ำพูดที่แสนธรรมดา ๆ นี้ ถ้าครุ่นคิดให้ลึกซึ้ง และใช้ให้เป็น แล้ว เราจะได้หลักส�ำคัญในการบูรณาการชีวิตและงาน มนุษย์อยู่ในบริบทเสมอ เราอยู่ในเวลา สถานที่ เหตุการณ์ สิ่งแวดล้อมที่เป็นทั้งคนและธรรมชาติ สิ่งของ วัฒนธรรม บริบท เหล่านี้ ไม่คงที่ แต่เคลื่อนไหว เปลี่ยนแปลงไปพร้อม ๆ กับเรา จึง ส�ำคัญอย่างยิ่งที่ ผู้ปรารถนาท�ำงานสร้างสรรค์สังคม ต้องรู้เห็น “กาละ และเทศะ” เพือ่ สร้าง และปรับทิศทางของงาน ให้สอดคล้อง กับบริบทที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ 112
เมล็ดพันธุ์ชีวิตบูรณาการ
โจเซฟ จาวอสกี้ วิทยากรผู้น�ำการเรียนรู้ กล่าวไว้ในคุณสมบัติ ผู้น�ำประการหนึ่งว่า ผู้น�ำต้องมีความสามารถในการสดับรับฟัง “เพื่อที่จะได้ยินเสียงของสิ่งที่รอคอยจะผุดบังเกิดขึ้นในโลก แล้ว เราจะได้ร่วมมือกับสิ่งนั้น กระบวนการนั้น เพื่อเข้าไปร่วมก�ำหนด ทิศทางของอนาคตที่ก�ำลังจะมาถึง” การรูบ้ ริบท ไม่เพียงเพือ่ ให้เราอยูก่ บั ปัจจุบนั ได้อย่างลงตัว แต่ ยังช่วยให้เรามีวิสัยทัศน์ เห็นโอกาส และลงมือสร้างเงื่อนไขปัจจัย ในปัจจุบัน เพื่อพาเราไปสู่อนาคตที่ปรารถนา เป็น “ปาฏิหาริย์ ที่คาดเดาได้” นั่นเอง อย่างที่เดวิด โบห์ม พูดว่า “อนาคตและ ความจริงบางอย่างในระบบชีวิตก็รอคอยให้เราท�ำคลอดมันออก มาเหมือนกัน” “รู้เรา รู้เขา รู้ฟ้า รู้ดิน รบร้อยครั้ง มิเคยพ่าย” แม้โลกจะเปลี่ยนไปมาก แต่ยอดยุทธศาสตร์ในคัมภีร์ต�ำรา พิชัยสงครามซุนหวู่ ที่เขียนไว้เมื่อกว่าพันปี ก็ยังร่วมสมัยอยู่เสมอ หลักการรบของซุนหวู่ถูกน�ำมาใช้ทั้งในการสงคราม ในโลกการค้า ที่แข่งขันต่อสู้กันดุเดือด และในงานพัฒนาสังคม ที่ต้องต่อสู้กับ ปัญหาความท้าทายต่าง ๆ ซุนหวู่เน้นให้เราเห็นเรื่องราวรอบตัว อย่างรอบด้าน นอกจาก ความจัดเจนเรื่องคนแล้ว เรายังต้องรอบรู้เรื่องสภาพแวดล้อม และ บริบททางสังคมอีกด้วย ยิ่งเรารู้เห็นได้รอบด้านเท่าไร เราก็ยิ่งมี โอกาสมีชัยในสนามรบ และสนามชีวิตมากเท่านั้น ทัง้ นี้ เราต้องเข้าให้ถงึ แก่นของต�ำราพิชยั สงครามซุนหวูด่ ว้ ยว่า ชัยชนะที่สูงสุดนั้น คือ ชนะโดยไม่ต้องรบ ซึ่งเป็นชัยชนะที่มาจาก การรู้จักจัดปรับความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ ให้สมดุล และอยู่ร่วม กันอย่างกลมกลืนได้ทั้งหมด บูรณาการบริบท
113
รู้เรา หมายถึง รู้จักตัวเอง เราเป็นใคร จุดอ่อน จุดแข็งของเรา อยู่ตรงไหน และจะใช้ความเป็นเราอยู่กับโลกให้ลงตัวได้อย่างไร เป็นต้นว่า เราจะใช้ความเป็นเมืองเกษตรกรรมของเรา อยู่กับโลก ปัจจุบันที่ก�ำลังเผชิญปัญหาความมั่นคงทางอาหารอย่างไร รู้เขา หมายถึง รู้จักคู่ต่อสู้ คนอื่น ๆ ที่เราต้องเข้าไปเกี่ยวข้อง ด้วย เพื่อนบ้าน ประเทศอื่นที่เราต้องอยู่ร่วมด้วย หรืออาจจะเป็น ประเด็นปัญหาที่เราก�ำลังเผชิญอยู่ การรู้จักปัญหาและคนอื่น จะ ช่วยให้เราเห็นว่า เราจะท�ำ หรือไม่ท�ำอะไร เพื่อที่จะอยู่ร่วมกับ คนอื่น ได้อย่างสร้างสรรค์ เราก�ำลังจะเป็นประชาคมอาเซียน ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า เรา รู้ “เขา” คือ ประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนมากน้อยเพียงใด เพื่อนบ้านเป็นอย่างไร เขาก�ำลังท�ำอะไร นโยบายและปัญหาของ เพื่อนบ้านส่งผลกระทบกับเราอย่าไรบ้าง แกนเศรษฐกิจของโลก ที่ย้ายมาที่จีนและอินเดีย เรารู้ “เขา” อย่ า งไรบ้ า ง และจะอยู ่ กั บ “เขาที่ ก� ำ ลั ง เป็ น มหาอ� ำ นาจทาง เศรษฐกิจ” อย่างไร เราเห็นหรือไม่ว่า นโยบายและแผนพัฒนา ประเทศของจีนส่งผลสะเทือนกับภาคการเกษตร และแรงงาน ในประเทศ การสร้างเขื่อนในประเทศจีนส่งผลกับสิ่งแวดล้อม แม่น�้ำโขง และวิถีชีวิตของคนในชาติเราอย่างไร รู้ดิน หมายถึง รู้ความเป็นจริงในปัจจุบันที่เราเผชิญอยู่ ใน เวลานี้สังคมไทยและสังคมโลกเป็นอย่างไร เผชิญปัญหาอะไรบ้าง รู้ฟ้า หมายถึง อ่านแนวโน้มในอนาคตได้ว่าก�ำลังจะเกิด อะไรขึ้นบ้าง สังคมไทยและสังคมโลกจะต้องเผชิญกับเรื่องอะไร บ้าง ภาพเหตุการณ์ปัจจุบันชี้ให้เราเห็นแนวโน้มอย่างไร เราเห็น ทิศทางของกระแสทุนนิยมที่ก�ำลังระส�่ำระสายไหม อย่างข่าว การล้มระเนระนาดของบริษัทการเงินการธนาคารที่ก่อเป็นวิกฤต 114
เมล็ดพันธุ์ชีวิตบูรณาการ
แฮมเบอร์เกอร์ เราเห็นกระแสความสนใจในเรือ่ งจิตวิญญาณศาสนา และเกษตรกรรมธรรมชาติที่ก�ำลังก่อตัวมากขึ้นเรื่อย ๆ หรือไม่ ในเวทีเรียนรู้บูรณาการ เราน�ำหลักการของซุนหวู่ มาประเมิน สถานการณ์ เพื่อให้เห็นทิศทาง และวางแผนงานให้สอดคล้องกับ บริบทในปัจจุบัน และอนาคตที่ก�ำลังคืบคลานเข้ามา เราช่วยกัน มองภาพที่เชื่อมโยงทั้งในระดับชุมชน ระดับประเทศ และโลก เมื่อ เห็นภาพทั้งหมด และเห็นจุดเล็ก ๆ ที่เราอยู่ จะได้เห็นว่า เราจะ ท�ำอะไรได้บ้างในปัจจุบันเพื่อก�ำหนดอนาคตของประเทศ ซึ่งพอมี ตัวอย่างการประเมินเรื่องราว ตามหลักการซุนหวู่ ดังนี้ ฟื้นฟูสยาม ดินแดนแห่งอู่ข้าวอู่น�้ำ
เราคือใคร? จะตอบค�ำถามนี้ได้ เราต้องสืบสาวรากเหง้าของ ตัวเอง เพราะความเป็นเราไม่ได้เกิดขึ้นชั่วข้ามคืน บูรณาการบริบท
115
“สยามเมื อ งยิ้ ม ” เป็ น ค� ำ ชื่ น ชมที่ ส ะท้ อ นบุ ค ลิ ก นิ สั ย ของ บรรพบุรุษสยามว่า เป็นคนอารมณ์ดี มีน�้ำใจโอบอ้อมอารี เป็นคน สบาย ๆ ง่าย ๆ “ไม่เป็นไร” เป็นค�ำติดปากคนไทย สะท้อนอุปนิสัย ให้อภัย ปล่อยวาง “กินข้าวมาหรือยัง” เป็นค�ำทักทายปราศรัย ทีช่ ใี้ ห้เห็นว่า ชาว สยามใส่ใจเรือ่ งความเป็นอยูข่ องผูค้ น อาหารการกินเป็นเรือ่ งส�ำคัญ “ในน�้ำมีปลา ในนามีข้าว” ชาวสยามเป็นเกษตรกร มีชีวิตอยู่ กับดินและน�้ำ เราสั่งสมภูมิปัญญามากมายทางการเกษตร อาหาร ยา และสมุนไพร บรรพบุรุษของเราสร้างสรรค์ศิลปะ ประเพณีวัฒนธรรมที่ งดงาม อนุรักษ์ทรัพยากรรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ เป็นมรดกให้ เราได้ใช้ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว น�ำรายได้เข้าประเทศปีละ หลายล้านบาท เราเห็นจุดแข็งของความเป็นไทย และประเทศเราหรือไม่ จุด แข็งยังแกร่งอยู่หรือเปล่า ที่ผ่านมา ด้วยการพัฒนาทางเศรษฐกิจแบบอุตสาหกรรมและ ทุนนิยมอย่างเต็มเหนีย่ ว เรามองข้ามธรรมชาติของตัวเองไป และมุง่ เดินตามประเทศอุตสาหกรรมหนัก ทั้ง ๆ ที่ประเทศของเราไม่มีแร่ ธาตุหนักในการท�ำอุตสาหกรรมมากพอ เราเผาผลาญความอุดมสมบูรณ์ของแผ่นดินไม่น้อย ดินปาก แม่น�้ำในภาคกลาง ที่เคยเป็นอู่ข้าวอู่น�้ำ แปรเปลี่ยนเป็นโรงงาน อุตสาหกรรม การใช้สารพิษเคมีในการท�ำการเกษตร ท�ำให้เราเหลือ ที่ดินที่เหมาะสมกับการเพาะปลูกน้อยลง เกษตรกรไทยทิ้งที่นาให้ รกร้าง ให้ผู้อื่นเช่าต่อ หรือขายทิ้งที่นาเพื่อท�ำอุตสาหกรรม 116
เมล็ดพันธุ์ชีวิตบูรณาการ
กรมพัฒนาที่ดินชี้ว่า ดินไทยมีความสมบูรณ์ต�่ำกว่าธรรมชาติ เราเหลือพื้นที่ท�ำการเกษตรได้ดีจริง ๆ ประมาณ ๗๕ ล้านไร่ หรือ ๒๐ กว่าเปอร์เซ็นต์ ของพื้นที่ทั้งหมดของประเทศ ๓๒๐.๗ ล้านไร่ ความมั่นคงทางอาหารก�ำลังจะเป็นปัญหาในอนาคต แหล่ง พลังงานน�้ำมันก�ำลังจะหมด ภาวะสงครามและความไร้เสถียรภาพ ทางการเมืองในโลกอาหรับ อาจเร่ ง ให้ พ ลั ง งานฟอสซิ ล วิ ก ฤต เร็วขึ้นไปอีก พื้นที่การเกษตรในโลกลดน้อยลง เพื่อเปิดพื้นที่ให้กับความ เจริญของเมือง และอุตสาหกรรม ปัญหาภาวะโลกร้อนท�ำให้สภาพ อากาศแปรปรวน ฤดูกาลผันผวน พายุฝนรุนแรงขึ้น ภาวะน�้ำท่วม ภัยแล้ง แผ่นดินไหว ฯลฯ ท�ำให้พื้นที่เกษตรกรรมและกสิกรรมได้ รับผลกระทบอย่างหนัก น�ำ้ ท่วมที่นาแปลงเกษตร พืชพันธุเ์ สียหาย ผลผลิตไม่ออกตามฤดูกาล เหล่านี้ล้วนส่งผลต่อปริมาณอาหารใน ท้องถิ่นและระดับโลก นอกจากนั้น สารพิษจากขยะที่เราฝังกลบในดิน ก็สลายลงดิน เมือ่ ฝนตกสารพิษต่าง ๆ ก็ไหลลงสูแ่ หล่งน�ำ้ ท�ำให้สตั ว์และพืชน�ำ้ ได้ รับสารพิษ และเรามนุษย์ทอี่ ยูบ่ นสุดของห่วงโซ่อาหารก็เลีย่ งไม่พน้ ที่จะได้รับสิ่งที่เรากระท�ำลงไป เมื่อที่ดินท�ำกินมีน้อยลง ความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ ลดลง ผลผลิตทางการเกษตรน้อยลง สัตว์น�้ำในทะเลและแหล่งน�้ำ อื่น ๆ ลดจ�ำนวน ประชากรโลก ๖ พันล้านคนบนโลกนี้จะกินอะไร และอยู่กันอย่างไร หลายประเทศเริม่ ตระหนักถึงวิกฤตอาหารและเตรียมตัวรับมือ กับสภาพการณ์แล้ว เคยมีข่าวที่ประเทศเกาหลีไปเช่าพื้นทื่ท�ำการ บูรณาการบริบท
117
เกษตรจ�ำนวน ๖ ล้านไร่ เป็นระยะเวลา ๙๙ ปี ที่มาดากัสกา ซึ่ง เป็นประเทศยากจนในทวีปแอฟริกา พื้นที่การเกษตรนี้เพาะปลูก พืชไร่เพื่อไปเลี้ยงวัวที่เกาหลีใต้ และส่งเนื้อวัวออกต่างประเทศ เป็นมูลค่าเพิ่ม นายทุนต่างชาติจากโลกอาหรับและอีกหลายประเทศเข้ามา กว้านซือ้ หรือเช่าทีด่ นิ ท�ำการเกษตรในประเทศทีอ่ ดุ มสมบูรณ์ อย่าง เช่นประเทศไทย โดยให้คนไทยทีท่ ำ� การเกษตรปลูกข้าว ปลูกผักให้ แล้วนายทุนต่างชาติเหล่านัน้ ก็จะน�ำผลิตผลไปขายต่อ ซึง่ หมายรวม ถึงขายคนไทยที่เป็นเจ้าของแผ่นดินด้วย เราเห็นสิ่งที่ก�ำลังเกิดขึ้นหรือไม่ ปรัชญาและวิถีเศรษฐกิจพอเพียงเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ด้วย หรือไม่ เนื้อที่ท�ำกินในประเทศที่ยังพอมีคุณภาพประมาณ 75 ล้านไร่ จะเป็นสวน และครัวทีจ่ ะเลีย้ งประชากรในชาติกว่า 60 ล้านคน และ แบ่งปันให้เพือ่ นบ้านได้หรือไม่ เราจะใช้ความรุม่ รวยของภูมปิ ญ ั ญา ทางการเกษตร และต�ำรับอาหารไทย เพื่อสร้างชาติอย่างไร หากเรายังคงทุบหม้อข้าวตัวเอง ปล่อยให้มีการท�ำลายดิน ขายที่เพื่อท�ำอุตสาหกรรม หรือให้นายทุนต่างชาติ เราจะกินอยู่ กันอย่างไร เสียงของค�ำกล่าวที่ว่า “เงินทองสิมายา ข้าวปลาสิของจริง” ก�ำลังดังขึ้นทุกที ๆ
ครุ่นคิด
กวีนักปราชญ์เยอรมัน เกอเธ่ กล่าวไว้ว่า “สิ่งที่สูเจ้าได้รับ มาเป็นมรดกจากบรรพบุรุษนั้น จงรับเอาไว้ เพื่อที่จะท�ำให้ เป็นสมบัติของเจ้าเอง” เรารู้สึกอย่างไรกับค�ำพูดนี้ 118
เมล็ดพันธุ์ชีวิตบูรณาการ
การรับมรดกจากบรรพบุรุษและท�ำให้เป็นสมบัติของเราเอง หมายความว่าอย่างไร เราจะท�ำอย่างไรให้มรดกของพ่อแม่ เป็นสมบัติของเรา แผ่นดินสยามมอบอะไรให้เราบ้าง อะไรเป็นคุณค่าหลักของ แผ่นดินไทย เราจะรักษามรดกนี้อย่างไร เราจะมอบมรดก อะไรให้ลูกหลาน บนปากเหวแห่งรัฐที่ล้มเหลว? หากเราดูขา่ วคราวทีเ่ กิดขึน้ หลายแห่งทัว่ โลก เราคงจะอดรูส้ กึ ไม่ได้ว่า หลายเหตุการณ์ในต่างแดนช่างละม้ายคล้ายคลึงกับเรื่อง ราวในประเทศของเรา และบางทีการเรียนรูเ้ รือ่ งราววิกฤตจากเพือ่ น บ้าน ก็อาจท�ำให้เรามองย้อนดูและ “รู้จักตัวเรา” มากขึ้น ประเทศศรี ลั ง กาเป็ น ประเทศที่ มี ลั ก ษณะหลายอย่ า ง คล้ า ยคลึ ง กั บ ประเทศไทย แผ่ น ดิ น ศรี ลั ง กาอุ ด มสมบู ร ณ์ ด ้ ว ย ทรัพยากรธรรมชาติ ทั้งทางบกและทางทะเล มีประวัติศาสตร์และ ศิลปะวัฒนธรรมยาวนาน และศรีลังกายังเป็นเมืองพุทธด้วย ทว่าช่วงกว่า ๕๐ ปี ทีผ่ า่ นมา ภายหลังได้รบั เอกราชจากอังกฤษ ศรีลังกาต้องเผชิญกับสงครามกลางเมืองภายใน ซึ่งเกิดจากความ ขัดแย้งทางเชือ้ ชาติระหว่างทมิฬกับสิงหล และความเห็นทีแ่ ตกต่าง ทางการเมืองของคนทั้งสองกลุ่มและกลุ่มอื่น ๆ นับตั้งแต่ราวปี พ.ศ. ๒๕๐๐ เป็นต้นมา ศรีลังกาต้องเผชิญกับ เหตุการณ์ความรุนแรงหลายระลอก และดูเหมือนจะหนักข้อขึ้น เรื่อย ๆ เป็นการก่อการร้าย กองก�ำลังติดอาวุธ การระเบิดฆ่าตัว ตาย เป็นต้น กล่าวกันว่า ความรุนแรงทีเ่ กิดขึน้ อย่างต่อเนือ่ งภายใน ประเทศศรีลังกาได้คร่าชีวิตคนร่วมชาติไปแล้วกว่า ๖๐,๐๐๐ ราย บูรณาการบริบท
119
ไม่เพียงชีวิตที่ล้มตาย ผู้คนที่เศร้าโศก แต่ความขัดแย้งภายใน ประเทศเช่นนีท้ ำ� ให้ศรีลงั กาสูญเสียโอกาสมากมาย เศรษฐกิจตกต�ำ่ นักท่องเที่ยวหวาดกลัวที่จะมาชื่นชมธรรมชาติและศิลปวัฒนธรรม ดัชนีความสุขและความรูส้ กึ มัน่ คงในชีวติ ของชาวศรีลงั กาดิง่ ลง และ ในนาทีนี้ที่ความรุนแรงขัดแย็งยังไม่คลี่คลาย ประเทศศรีลังกาก็คง ฟื้นตัวยาก ประเทศศรีลังกาให้บทเรียนอะไรกับเราบ้าง ? ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยเผชิญกับเหตุการณ์ความ รุนแรงมากมาย การชุมนุมทางการเมืองจากหลายฝ่าย ต่างความ คิด การปะทะระหว่างเจ้าหน้าที่กับผู้ชุมนุม และระหว่างผู้คนต่าง ความคิดต่างความเชื่อ น�ำมาซึ่งการบาดเจ็บและเสียชีวิตมากมาย เหตุการณ์วางระเบิดตามจุดต่าง ๆ ถีม่ ากขึน้ เหตุการณ์ลอบสังหาร ผู้คนกลางเมืองอย่างอุกอาจ การทะเลาะเบาะแว้งกันกระจายทั่ว ข่ายใยสังคม ทัง้ ในรัฐสภา บนถนน บนพืน้ ทีอ่ นิ เตอร์เนท ในทีท่ ำ� งาน และหน้าจอทีวีในห้องนั่งเล่นที่บ้าน ปัญหาทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคมทั้งในระบบและทาง ความคิด ท�ำให้เราเสียโอกาสอะไรบ้าง เศรษฐกิจแย่ลง นักท่องเทีย่ ว ลด ธุรกิจปิดตัว คนตกงาน หนี้สินครัวเรือนเพิ่มสูงขึ้น บาทหลวงนักพัฒนาสังคมท่านหนึ่งให้ความเห็นว่า “ปัญหา ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นทุกวันนี้ มีรากเหง้ามาจากความตกต�่ำเชิงคุณค่า ผู้คนไม่ยึดถือคุณค่าที่จะช่วยให้เราอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข และ ยึดประโยชน์ตัวเองเป็นหลัก” ค่านิยมทีเ่ ห็นได้ชดั คือ การยอมรับการคอร์รปั ชัน่ ต้นปี ๒๕๕๔ นี้ ส�ำนักวิจยั เอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ รายงานผลการท�ำ โพลล์หนึ่ง ที่ระบุว่า ผู้คนกว่า ๖๐ เปอร์เซ็นต์จากทุกอาชีพ พื้นเพ 120
เมล็ดพันธุ์ชีวิตบูรณาการ
การศึกษา และท้องถิ่น เห็นว่า การคอรัปชั่นเป็นสิ่งที่พอยอมรับได้ หากประเทศชาติก้าวหน้าไป และเราได้ประโยชน์ แต่ประเทศชาติก้าวหน้าหรือไม่ ทรัพยากรธรรมชาติเสื่อมโทรมและลดลง ยาเสพติดระบาด มากขึน้ หนีส้ นิ ครัวเรือนเพิม่ พูน สินค้าอุปโภคบริโภคทีจ่ ำ� เป็นราคา สูง ผู้คนแก่งแย่งผลประโยชน์ ห่วงปากท้องของตนและพวกพ้อง มากกว่าส่วนรวม เด็กอนุบาลเริ่มเล่นพนันบอล เด็กป.๑ ให้ขนม เพื่อนเพื่อให้เลือกตัวเองเป็นหัวหน้าห้อง เยาวชนชายหญิงตีและ ท�ำร้ายกันจนถึงแก่ชีวิต สังคมไทยก�ำลังอยูใ่ นภาวะปัน่ ป่วน ทัง้ ทางการเมือง เศรษฐกิจ และสั ง คม เราเผชิ ญ ปั ญ หาทุ ก รู ป แบบ ตั้ ง แต่ ป ั ญ หาสั ง คม อาชญากรรม เศรษฐกิจ หนี้สินครัวเรือนที่สูงขี้น ปัญหาการเมือง คอร์รปั ชัน่ ทัง้ ส่วนกลางและท้องถิน่ อ�ำนาจเถือ่ นปัญหาสิง่ แวดล้อม ปัญหาศีลธรรมเสื่อมทรามของคนในสังคมและปัญหาวิกฤตทาง ปัญญาของสังคม ฯลฯ เราก�ำลังเป็นรัฐที่ล้มเหลวหรือไม่ เราจะท� ำ อะไรเพื่ อ คลี่ ค ลายปั ญ หา และก้ า วไปข้ า งหน้ า อย่างสร้งสรรค์ อะไรคือสิ่งจ�ำเป็นเร่งด่วนที่เราต้องท�ำ เพื่อไม่ให้ สถานการณ์เลวร้ายลง ขี่กระแสประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในปี ๒๕๕๘ ประเทศในภู มิ ภ าคอาเซี ย นจะรวมกั น เป็ น ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) เป็นเขตการผลิต และตลาดเดียว โดยแนวโน้มของโลกแล้ว ภูมิภาคต่าง ๆ ก�ำลังรวมตัวกัน บูรณาการบริบท
121
เหมือนสหภาพยุโรป เพื่อสร้างอ�ำนาจการต่อรอง และท�ำให้เกิด ความมั่นคงในภูมิภาคมากขึ้น การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนให้โอกาสอะไรกับประเทศ เราบ้าง และเรากับอาเซียนจะเติบโตไปด้วยกันได้อย่างไร อาเซียนมีจุดแข็งอะไร ภูมิภาคนี้เป็นอู่ข้าว อู่น�้ำของโลก ประเทศไทยและเวียดนาม (คู่แข่งการส่งออกข้าวส�ำคัญ) ผลิตข้าวให้คนในโลกเป็นจ�ำนวน มาก ภูมิประเทศและอากาศเอื้ออ�ำนวยกับการเพาะปลูกพืชพันธุ์ มากมาย และยังอุดมด้วยทรัพยากรทางทะเล ภูมิภาคนี้เป็นแหล่งผลิตยางพาราส�ำคัญของโลก ซึ่งยางพารา เป็นวัตถุดิบส�ำคัญในอุตสาหกรรมหลายประเภท ภูมภิ าคนีม้ สี ภาพภูมศิ าสตร์ และประวัตศิ าสตร์ ศิลปวัฒนธรรม หลากหลาย เอื้อต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และการอยู่อาศัย ฯลฯ หากภูมิภาคนี้บูรณาการกันได้จริงอย่างที่ตั้งใจ อาเซียนจะมี อ�ำนาจต่อรอง และศักยภาพในเวทีโลกมาก ผู้คนในภูมิภาคนี้จะได้ รับประโยชน์ ชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น เราจะเดินทางไปมาหาสู่ รู้จัก และเรียนรูจ้ ากกันและกันได้มากขึน้ การท่องเทีย่ วและเศรษฐกิจใน ภูมิภาคจะขยายตัว การจ้างงานขยายตัวขึ้น เป็นต้น เราท�ำอะไรเพื่อเตรียมตัวส�ำหรับโอกาสเหล่านี้บ้าง ไม่เพียง เฉพาะเตรียมตัวของเรา แต่เตรียมตัวบูรณาการกับประเทศเพื่อน บ้านด้วย
122
เมล็ดพันธุ์ชีวิตบูรณาการ
โอกาสที่มากมาย มาพร้อมความท้าทายเช่นกัน
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เปิดโอกาสให้มีการเคลื่อนย้ายปัจจัย การผลิตได้อย่างเสรี ใช้ทรัพยากรร่วมกัน และเปิดพรมแดนให้ปจั จัย การผลิต และผู้คน ไหลเข้า-ออกอาเซียนได้อย่างเสรี การเปิดพรมแดน ไม่เพียงแต่ให้โอกาสดี ๆ ไหลเข้ามา ปัญหา ก็ไหลเข้ามาได้ด้วย ประชาชนจากประเทศเพื่อนบ้านที่ขาดเสถียรภาพทางการ เมือง และเศรษฐกิจตกต�่ำ หนีออกนอกประเทศและมาอยู่ใน ประเทศที่สถานการณ์บ้านเมือง และโอกาสทางความเป็นอยู่ดี กว่า ในปัจจุบัน เราจะเห็น ผู้คนจากพม่า เขมร ฟิลิปปินส์ มาอยู่ ในประเทศจ�ำนวนมาก ปัญหาการเมืองในประเทศพม่า ท�ำให้ชนกลุ่มน้อยในพม่า จ�ำนวนมากหลัง่ ไหลเข้ามาตามจังหวัดตะเข็บชายแดน เรือ่ งนีส้ ง่ ผล อย่างไรต่อประเทศเราบ้าง ทรัพยากร อาชญกรรม ปัญหาแรงงาน การลักลอบท�ำบัตรปลอมให้ชาวต่างด้าว และอีกมาก ทรัพยากรใน ชาติมีเพียงพอหรือไม่ แรงงานราคาถูกเหล่านี้จะกระทบต่อตลาด แรงงานของคนไทยอย่างไร บูรณาการบริบท
123
ประเทศในภูมิภาคอาเซียนมีความสัมพันธ์กันมายาวนาน ตั้งแต่อดีต ทั้งในด้านการค้า ศิลปวัฒนธรรม ศาสนา การเมือง และสงคราม ประวัติศาสตร์เล่าเรื่องในทางลบที่เรามีต่อกัน เป็น ประวัตศิ าสตร์การเมืองเชิงอ�ำนาจเสียโดยมาก แต่หากเรามองอดีต ทางความสัมพันธ์ระหว่างชุมชน บุคคล และสายธารวัฒนธรรม เรา จะพบว่า เราเรียนรู้ เกื้อกูล ดูแลกันมาอย่างต่อเนื่อง เราจะสานอดีตกับปัจจุบัน เพื่อเดินด้วยกันสู่อนาคตของ อาเซียนอย่างไร กระแสลมเปลี่ยนทิศ: จิตวิญญาณ ความสุข และสิ่งแวดล้อม
ªÕÇÔµ
·Ø¹¹ÔÂÁ ภูเขาน�้ำแข็งขั้วโลกก�ำลังละลาย โลกขั้วทุนนิยมก็เช่นนั้น นั บ แต่ ก ารปฏิ วั ติ อุ ต สาหกรรม โลกถู ก พั ด พาโดย กระแสทุ น นิ ย มโลก การผลิ ต เชิ ง อุ ต สาหกรรม และวั ต ถุ นิ ย ม 124
เมล็ดพันธุ์ชีวิตบูรณาการ
หลังสงครามโลกครัง้ ที่ ๒ คือ ตัง้ แต่ปี พ.ศ. ๒๔๘๘ เป็นต้นมา ค�ำพูด ติดปากใครหลายคน คือ “Greed is Great.” โลภแล้วดี พาให้เจริญ แต่เมื่อฟองสบู่แตกในปี พ.ศ. ๒๕๔๐ บริษัทเงินทุนล้มละลาย จนล่าสุด วิกฤตทางการเงิน Hamburger ปี ๒๕๕๒ ผู้คนเริ่มตั้ง ค�ำถามกับทุนนิยม นายทุนอุตสาหกรรมถูกโจมตีในฐานะวายร้ายผู้ ท�ำลายสภาพอากาศ สิ่งแวดล้อม นายธนาคารถูกวิพากษ์วิจารณ์ที่ สถาบันการเงินทีด่ แู ลต้องล้มละลาย รัฐต้องใช้เงินภาษีมาค�ำ้ สถานะ ทางการเงินเอาไว้ แต่ผู้บริหารกลับได้รับเงินโบนัสมหาศาล ฯลฯ คนเริ่มมองเห็นว่า ทุนนิยมไม่ตอบสนองความสุขสมดุลของ ชีวิตมนุษย์ และผลจากการพัฒนาที่ถูกผลักดันด้วยความโลภเริ่ม แสดงผล ธรรมชาติเสียสมดุล อาหาร น�้ำ และอากาศที่ไร้คุณภาพ เป็นพิษกับผู้คน การเอาเปรียบแรงงานและก่อให้เกิดปัญหาความ เหลื่อมล�้ำทางรายได้และคุณภาพชีวิตในสังคม โลกเริ่ ม อิ่ ม ตั ว กั บ ความเจริ ญ ทางวั ต ถุ ที่ สั่ ง สมมาตั้ ง แต่ ยุ ค อุตสาหกรรม เราได้ไหลเข้าสู่ยุคข้อมูลข่าวสารเต็มตัว และกระแส เศรษฐกิจสร้างสรรค์ หนทางที่โลกก�ำลังจะเคลื่อนไป คือ โลกแห่ง ความหมาย คุณค่า ความเป็นมนุษย์ที่เน้นเรื่องมิติด้านใน เป็นยุค ของการวิวัฒนาการทางจิต เราจะเห็นความสนใจและความรู้ที่เน้นแนวคิดเรื่อง ระบบที่มี ชีวิต living systems ความรู้ที่มีชีวิต การเรียนรู้ที่มีชีวิต องค์กรมี ชีวิต ความสุข การพัฒนาจิต และกระบวนทัศน์แบบองค์รวม จาก ผลผลิตมวลรวมประชาชาติ (GDP) ทีว่ ดั ความเจริญของประเทศจาก ตัวเลขทางเศรษฐกิจ เราจะเริม่ ได้ยนิ เรือ่ งของดัชนีความสุขมวลรวม ประชาชาติ (GNH) ซึ่งเป็นมาตรวัดใหม่ของความเจริญ ว่าประเทศ ที่เจริญนั้น หมายถึง ดินแดนที่ผู้คนมีสุขภาวะ มีคุณภาพชีวิต คนให้ความใส่ใจเรื่องสุขภาพมากขึ้น ทั้งกายและใจ คนใส่ใจ บูรณาการบริบท
125
อาหารทีม่ คี ณ ุ ภาพมากกว่าปริมาณ สินค้าอาหารเริม่ มีการติดฉลาก อาหารปลอดสารพิษ อาหารอินทรีย์ธรรมชาติ เป็นต้น การอบรม ปฏิบัติธรรม และหนังสือธรรมะได้รับความนิยม ภูมิปัญญาตะวัน ออกและภูมิปัญญาดั้งเดิม ภูมิปัญาท้องถิ่น เริ่มกลับมา ของโหล ๆ ที่เป็นมาตรฐานเดียวแบบอุตสาหกรรม เริ่มถูก แทนที่ด้วยการผลิตที่สร้างสรรค์ งานท�ำด้วยฝีมือ มีการออกแบบ สร้างสรรค์เน้นรสนิยม เอกลักษณ์เฉพาะตัว นอกจากนั้น คุณค่า อย่าง การดูแลสิ่งแวดล้อม และความเป็นธรรม กลายเป็นจุดขาย ของสินค้าไปแล้ว ส�ำหรับคนยุคนี้ สินค้าทีไ่ ม่ทดลองกับสัตว์ สินค้าที่ เป็นธรรมกับทุกฝ่ายทีเ่ กีย่ วข้อง (fair trade) ได้รบั ความนิยมมากขึน้ องค์กรธุรกิจเริม่ ประยุกต์แนวคิดปรัชญาตะวันออก ทีเ่ กีย่ วกับ สมาธิจติ ใจในการบริหารงาน และธุรกิจ อย่าง กระแสธุรกิจน่านน�ำ้ สีขาว (White Ocean Strategy) คือการด�ำเนินธุรกิจที่เน้นคุณค่า คุณธรรมเป็นหลัก ขบวนการสีเขียวอนุรกั ษ์นยิ ม ใส่ใจสิง่ แวดล้อม สินค้าหลายชนิด ต้องหันมาให้ความส�ำคัญกับการผลิตที่ไม่ท�ำลายธรรมชาติ ธุรกิจ ต่าง ๆ อุตสาหกรรมก็มเี รือ่ งพวกนีเ้ ข้าไปอยูใ่ นสายพานการผลิต แม้แต่ในโลกการเมือง ประชาธิปไตยที่เลือกตั้งแบบระบบ ตัวแทนส่อปัญหามากขึ้นทั่วโลก ประชาธิปไตยที่ก�ำลังขึ้นมาเป็น กระแส คือ ประชาธิปไตยที่ประชาชนทุกคนมีส่วนร่วมมากขึ้นใน การท�ำงานระดับท้องถิน่ แก้ไขและสร้างสรรค์พนื้ ทีข่ องตนเองร่วมกัน กระแสที่ก�ำลังก่อตัวขึ้นเรื่อย ๆ นี้บอกอะไรเราบ้าง ถ้าหากกระแสทีก่ ำ� ลังเพิม่ พลังมากขึน้ ในสังคมโลกบอกทิศทาง เราว่าว่า โลกก�ำลังให้นำ�้ หนักกับเรือ่ งความหมายคุณค่า จิตวิญญาณ อาหารที่มีคุณภาพ ความรู้และคิดสร้างสรรค์ ฯลฯ เราเตรียมตัว พร้อมรับกระแสความเปลี่ยนแปลงที่ก�ำลังก่อตัวขึ้นนี้เพียงใด 126
เมล็ดพันธุ์ชีวิตบูรณาการ
เคยมีผลงานวิจัยชิ้นหนึ่ง เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา ระบุว่า เด็กไทย อ่านหนังสือโดยเฉลี่ยวันละ ๘ บรรทัด อีกงานวิจัยหนึ่งบอกว่า เด็กไทยมีไอคิวอยู่ระหว่าง ๘๗-๘๘ จุด ซึ่งนับว่าน้อยกว่าเด็กวัย เดียวกันในหลายประเทศ อย่างนี้แล้ว สังคมไทยจะอยู่กับกระแส ที่ใช้ข้อมูล เป็นฐานความรู้ ความสร้างสรรค์ได้อย่างไร นโยบาย แจกเครื่องคอมพิวเตอร์พกพาจะช่วยให้เด็กพัฒนาความคิด ความ สร้างสรรค์อย่างไร
ชวนครุ่นคิด กระแสทุนนิยมอุตสาหกรรมก�ำลังตกลง กระแสที่ก�ำลังขึ้น เป็นกระแสที่ให้ความสนใจเรื่องภูมิปัญญาท้องถิ่นดั้งเดิม อาหารสุขภาพ อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม วิถีชีวิตแบบช้า และ การพัฒนาจิตใจ – ประเทศไทยมีศักยภาพ ทรัพยากรที่ จะขี่กระแสโลกที่ก�ำลังขึ้นนี้อย่างไร หลายเมืองในประเทศไทยสามารถสร้างสรรค์เมืองของ ตัวเองให้เป็น “Slow City” ได้ไหม เช่นว่า ท�ำให้บ้านเมือง มีบรรยากาศเงียบสงบ ไม่มีมลพิษทางเสียง ต้นไม้ร่มรื่น ทุกถนนและทั้งเมือง การเดินทางในเมืองเป็นแบบ Slow travel อย่าง ขี่จักยาน พายเรือ นั่งรถสามล้อ รถลาก รถม้า เป็นต้น (ช่วยลดมลพิษทางอากาศด้วย) นอกจาก นั้น เราจะท�ำให้ Slow Food เป็นจุดเด่นของเราได้ไหม จับกระแส สร้างอนาคต การจับกระแส คือ การรู้แนวโน้มที่ก�ำลังจะเกิดขึ้น คือ รู้ฟ้า นั่นเอง โลกเปลี่ยนแปลงเสมอ และแนวโน้มในอนาคต โลกจะเปลี่ยน เร็วมากขึ้น เราต้องเตรียมตัวเตรียมใจรับมือสถานการณ์ อ่านเกม บูรณาการบริบท
127
ล่วงหน้า คาดคะเนให้ได้ และเตรียมแผนไว้หลาย ๆ แผน และ ฝึกฝนตนรับมือ อดัม คาเฮน (Adam Kahane) นักสันติวิธีผู้โด่งดังจากการน�ำ กระบวนการสร้างฉากทัศน์อนาคต (scenario) สร้างสันติภาพใน ประเทศแอฟริกาใต้ ได้มาเยือนประเทศไทยและบรรยายในงาน สัมมนา “เราจะส่งมอบประเทศไทย แบบไหนให้ลูกหลาน” และ แนะน�ำกระบวนการท�ำฉากอนาคต (scenario) เพื่อให้คน “ตื่น” และ “ตระหนัก” ว่าอะไรจะเกิดขึ้นบ้างในอนาคตและเตรียมตัว รับสถานการณ์เสียแต่ในวันนี้ การวาดภาพอนาคตคือการคาดเดาแนวโน้มความเป็นไปได้ อาจแบ่งได้เป็น ๒ ลักษณะ ดังนี้ Hard trends แนวโน้มที่จะต้องเกิดขึ้นแน่ ๆ อย่างเช่น ประเทศและโลกก�ำลังเข้าสู่ยุคสังคมผู้สูงอายุ เมืองเติบโตและ ต้องการพลังงานมากขึ้น ในขณะที่พลังงานน�้ำมันก�ำลังจะหมด ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสื่อสารที่จะเล็กลง ไวขึ้น Soft trends แนวโน้มที่อาจเปลี่ยนแปลงได้ ถ้าปัจจัยบาง อย่างเปลี่ยนแปลง เช่น กระแสยาเสพติดคาดการณ์ว่า เยาวชนจะ ติดยามากขึ้น ซึ่งยังไม่แน่ หากเรามีหนทางปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เสียในวันนี้ เราจ�ำเป็นต้องแยกแยะให้ได้ว่า อะไรเป็นแนวโน้มที่จะเกิด ขึ้นแน่ ๆ หรืออะไรเป็นแนวโน้มที่อาจเปลี่ยนแปลงได้ เพื่อที่จะได้ ลงมือกระท�ำ ปรับตัว เปลี่ยนแปลงเงื่อนไขปัจจัยบางอย่าง เพื่ออยู่ กับแนวโน้มนั้น ๆ เช่นว่า หากเราประเมินแล้วว่า แนวโน้มที่เกิด ขึ้นแน่ ๆ คือ โลกต้องการอาหาร และเมื่อหันมาดูตัวเรา เห็นว่า เรายังเป็นประเทศที่อุดมสมบูรณ์ในเรื่องนี้ เราจะได้ขยายฐานการ ผลิต พัฒนาคุณค่าและคุณภาพการเกษตรให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป เป็นการ 128
เมล็ดพันธุ์ชีวิตบูรณาการ
ขีก่ ระแสแนวโน้มทีม่ าแน่ ๆ นีไ้ ปเลย เหมือนนักโต้คลืน่ ถ้าขีก่ ระแส คลื่นได้ ก็ไปได้เร็ว แต่หากกระแสที่จะเกิดขึ้นแน่ ๆ นั้น ไม่เข้าทางเรา เราก็ต้อง คิดหาทางลดความรุนแรงของปัญหา เช่น พลังงานน�้ำมันก�ำลังจะ หมด และประเทศเรามีก�ำลังผลิตพลังงานประเภทนี้ต�่ำ เราจะได้ หนหนทางรับมือเสียตัง้ แต่วนั นี้ เพือ่ ลดความรุนแรงความขาดแคลน พลังงงานที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ส�ำหรับเรื่องที่เราดูว่าเป็นกระแสที่อาจจะเกิดขึ้นก็ได้ (soft trends) เปลีย่ นแปลงได้ เราจะได้ดวู า่ เรามีโอกาสพลิกสถานการณ์ ได้ตรงจุดไหนบ้าง ท�ำอย่างไร และลงมือท�ำเสียแต่วันนี้ สิ่งส�ำคัญให้การเห็นแนวโน้มที่ยังยวบยาบ เปลี่ยนแปลงได้ คือ เราเห็นเงื่อนไขปัจจัยที่ท�ำให้มันเกิดขึ้น และทิศทางที่กระแส นี้ก�ำลังมุ่งไป สิ่งที่เราจะท�ำคือ เข้าไปเปลี่ยนปัจจัยเงื่อนไขที่ไม่ดี หรือสร้าง เงื่อนไขที่ดี เพื่อเปลี่ยนแนวโน้มนั้น ๆ ซึ่งในเรื่องนี้ เราสามารถใช้ ความรู้ทักษะเรื่องการคิดกระบวนระบบ ซึ่งจะได้กล่าวในบทต่อไป จับสัญญาณบริบท ความสามารถในการเห็นและประเมินบริบท มีความส�ำคัญต่อ การวางแผนงานและยุทธศาสตร์ที่จะรับมือกับสถานการณ์ต่าง ๆ นั ก จั บ กระแสทางเศรษฐกิ จ มั ก ใช้ ข ้ อ มู ล ทางสถิ ติ ความรู ้ ปรากฏการณ์ทางสังคมตามหน้าหนังสือพิมพ์ ตามท้องตลาด และ สนามชีวิตจริง เป็นฐานในการคาดเดาสิ่งที่ก�ำลังจะเกิดขึ้น แต่ทสี่ ำ� คัญกว่าความรู้ ข้อมูลเหล่านัน้ คือ การรับรูท้ แี่ หลมคม ภายในตัวเรา ซึ่งสิ่งนี้จะเกิดขึ้นได้เมื่อเรามีจิตที่นิ่งพอ และสนใจ บูรณาการบริบท
129
เฝ้าติดตามสังเกตเห็นปรากฏการณ์ต่าง ๆ เราจะเห็นรูปแบบการ เคลื่อนไหว ทิศทาง และรายละเอียดบางอย่างได้ชัดเจน ใจที่ละเอียด และว่องไว จะจับสัญญาณความเคลื่อนไหว เปลี่ยนแปลงได้ดี แม้สิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ หรือเบาบางที่เกิดขึ้นได้ และ รู้ทันทีว่า อะไรก�ำลังก่อตัวขึ้น ในโลกแห่งข้อมูลข่าวสาร เราได้รับข้อมูล ความรู้ มากมาย เหลือเกิน แต่สิ่งที่เราขาด คือ สายตาในการมอง ย่อยและให้ความ หมายข้อมูลความรูเ้ หล่านัน้ ให้เกิดเป็นพลังปัญญา และพลังปฏิบตั ิ การเพื่อแก้ปัญหาในปัจจุบันและสร้างสรรค์อนาคต ถ้าพวกเราผูท้ ตี่ อ้ งการพัฒนาสร้างสรรค์สงั คมได้เรียนรูท้ จี่ ะจับ กระแสบริบททีเ่ ปลีย่ นไปอยูเ่ สมอ จะช่วยให้เราเตรียมตัวพร้อมรับมือ กับวิกฤตทีจ่ ะก�ำลังจะมาถึง และคิดงานให้สอดคล้องกับบริบทเพือ่ เกิดผลงานทีส่ ร้างความเปลีย่ นแปลงในสังคมได้อย่างแท้จริง หัวใจในการจับสัญญาณบริบท เปิดใจรับรู้บริบทแวดล้อมชีวิตเสมอ ๆ ทุกกาละเทศะ จับหลักให้มั่น “รู้เขา รู้เรา รู้ฟ้า รู้ดิน” ส�ำรวจอย่างรอบด้าน และรอบตัว ฝึกใจให้นิ่งและสงบ เพื่อรับฟังโอกาส และสัญญาณที่ละเอียด ลึกซึ้งรอบตัว เปิดใจรับข้อมูล ความรูแ้ ละความเห็นจากคนและแหล่งข้อมูล ที่หลากหลาย ครุ่นคิดให้ลึกซึ้ง และตระหนักว่า ทุกสิ่งทุกอย่าง รวมถึง ความรู้ ข้อมูลเคลื่อนไหว เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา คิดแบบเป็นองค์รวม แบบกระบวนระบบ (ซึ่งจะได้กล่าวใน บทต่อไป) j 130
เมล็ดพันธุ์ชีวิตบูรณาการ
ถามใจ • สภาพการณ์ในพื้นที่ที่เราท�ำงานเป็นอย่างไร เราเห็น โอกาส และปัญหา อะไรในพื้นที่ปฏิบัติการบ้าง ทั้งที่เป็น ตัวบุคคล และสภาพพื้นที่ • สถานการณ์ภายนอกพื้นที่ และสังคมโดยรวมเป็น อย่างไร อะไรที่เป็นโอกาสที่ดีให้กับพื้นที่ และงานของ เรา และอะไรที่อาจจะเป็นภัยคุกคามและส่งผลกระทบ มาสู่งานในพื้นที่ของเราได้ • งานที่เราท�ำ สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน และแนวโน้มในอนาคต ของสังคมไทย และโลกอย่างไร บ้างหรือไม่ • เพื่อรับมือกับอนาคตที่ก�ำลังจะมาถึง อย่าง การเป็น ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เราต้องเตรียมตัว ท�ำ อะไรเพิ่มเติมบ้างในตอนนี้ และมีงานอะไรที่เราน่าจะ สร้างสรรค์เพิ่มเติมจากงานที่ท�ำอยู่ • โลกก�ำลังก้าวเข้าสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ให้ความ สนใจเรื่องสุขภาพ จิตวิญญาณ คุณค่าชีวิต สิ่งแวดล้อม ฯลฯ งานที่เราก�ำลังท�ำ หรือวางแผนจะท�ำ สอดคล้องกับกระแสของโลกอย่างไร เราจะใช้ประโยชน์ ของกระแสโลกที่เกิดขึ้นนี้อย่างไร เพื่อสร้างสรรค์ ชุมชน และประเทศของเรา • เพื่อเตรียมตัวเข้าสู่สังคมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เรา ได้ท�ำอะไรบ้างหรือไม่ เพื่อเตรียมคนของเราให้เป็น นักเรียนรู้และสร้างสรรค์ เราต้องอาศัยปัจจัยเงื่อนไข อะไรบ้างที่จะพัฒนาคนให้มีคุณสมบัติอย่างนั้น
บูรณาการบริบท
131
“ปัญหาของวันนี้มาจากทางออกของวันวาน ยิ่งเราผลักไสปัญหาในวันนี้มากเท่าไร ระบบก็จะผลักดันปัญหานั้นกลับมาหาเรามาก และแรงขึ้นเท่านั้น พฤติกรรมมักจะถดถอยก่อนที่จะงอกงาม ทางออกที่ง่ายจะพาเราหวนกลับสู่ปัญหาเสมอ หนทางเยียวยาอาจจะเลวร้ายกว่าตัวโรคภัยเสียอีก ถ้าเราอยากแก้ปัญหาให้เร็วขึ้น เรายิ่งต้องช้าลง เหตุและปัจจัยของปัญหาในวันนี้ ไม่ได้เกี่ยวข้องกับเวลา และสถานที่ ที่เกิดเหตุขึ้นในปัจจุบัน (หากแต่เป็นเหตุและปัจจัยอันซับซ้อนมากมายในอดีต) การเปลี่ยนแปลงเล็ก ๆ น้อย ๆ น�ำไปสู่ผลลัพธ์ที่ ยิ่งใหญ่และสร้างสรรค์ได้ หากแต่พื้นที่ หรือสิ่งที่จะเป็น จุดคานงัดอันทรงประสิทธิภาพที่สุดนั้น ไม่อาจจะเห็นได้อย่างแจ้งชัดประจักษ์กับตา” ความ “จริง” อันหลากหลายในการคิดกระบวนระบบ โดย ปีเตอร์ เซงเก้ จาก The Fifth Discipline
132
เมล็ดพันธุ์ชีวิตบูรณาการ
วิธีคิด กระบวนระบบ (Systems thinking) การคิดกระบวนระบบ เป็นหนึ่งใน ๕ วิชาส�ำคัญ ที่กูรูด้านองค์กรเรียนรู้ ปีเตอร์ เซงเก้ แนะน�ำให้ เราฝึกฝน เพื่อจะได้เห็น เข้าใจ และอยู่ในโลกอัน แสนจะซับซ้อนและเป็นพลวัตได้ด้วยดี การคิดกระบวนระบบ ไม่ใช่การคิดอย่างเป็นระบบจักรกล ตรรกะคงที่ตายตัว เป็นเหตุเป็นผล (logical thinking) ที่เดินเรื่อง ในลักษณะเป็นเส้นตรง จาก ๑ - ๒ - ๓ เรื่อยไป ทว่า การคิดแบบ กระบวนระบบ คือ การคิดจากการมองเห็นว่า เราอยู่ในโลกแห่ง ระบบ ที่ทุกอย่าง ทุกองค์ประกอบสัมพันธ์กัน ส่งผลกระทบต่อกัน และท�ำให้สิ่งต่าง ๆ ด�ำรงอยู่ และด�ำเนินไปอย่างที่เป็น วิธีคิดกระบวนระบบ (Systems thinking)
133
“ระบบ” เป็นคนละสิ่งกับ “กอง” อย่างเวลาที่เราเอาสิ่งของ ๒ สิง่ หรือมากกว่านัน้ มากองรวมกัน เมือ่ เราหยิบสิง่ ของชิน้ หนึง่ ออก ไป สิง่ ของอืน่ ๆ จะไม่ได้รบั ผลกระทบอะไร นอกจากว่าจ�ำนวนของ ในกอง ๆ นัน้ ลดลงไป แต่สำ� หรับระบบ หากเราเอาสิง่ หนึง่ สิง่ ใดออก ไปจากระบบ ก็จะส่งผลกระทบทันทีตอ่ คุณภาพและการท�ำงานของ สิ่งต่าง ๆ ในระบบนั้น ยกตัวอย่าง ชีวิตของเรา ชีวิตไม่ใช่ “กองอวัยวะ” แต่เป็น การที่อวัยวะในระบบต่าง ๆ ท�ำงานประสานสัมพันธ์กันทั้งหมด ไม่ว่า ระบบย่อยอาหาร ระบบ ประสาท ระบบหายใจ ระบบขับถ่าย ระบบการไหลเวียนโลหิต และของเหลว – เราจึงมีชีวิตอยู่ได้ และถ้าเราเอาส่วนหนึ่งส่วนใด ออกไปจากร่างกาย อย่างเช่น เอาขาออกไปข้างหนึ่ง สิ่งนี้จะส่งผล ต่อการคุณภาพและการท�ำงานของระบบอื่น ๆ และท�ำให้คุณภาพ ชีวิตต่างไปจากเดิม ชีวิตเราไม่อาจแยกขาดจากระบบได้ ไม่เพียงเฉพาะร่างกาย ชีวิตในสังคมของเราก็อยู่ภายใต้ระบบอันหลากหลาย เช่น ระบบ ความเป็นอยูแ่ บบเมือง ระบบชุมชนชนบท ระบบวัฒนธรรมองค์กร ระบบการบริหารปกครองประเทศ ระบบการค้าเสรี ระบบนิเวศ สิ่งแวดล้อม ระบบสุริยจักรวาล ระบบต่าง ๆ มีคุณลักษณะส�ำคัญ ๓ ส่วน คือ ๑. ทุกระบบใหญ่ มีระบบย่อย ๆ ซ้อนกันอยูภ่ ายใน เช่น ระบบ ของร่างกายมนุษย์ประกอบด้วยการท�ำงานของหลายระบบย่อย เช่น ระบบการหายใจ ระบบย่อยอาหาร ระบบขับถ่าย ระบบเลือด ระบบสมอง เป็นต้น ๒. ระบบทุกระบบเชือ่ มสัมพันธ์กนั อยูไ่ ด้ดว้ ยการท�ำงานเชือ่ มโยง 134
เมล็ดพันธุ์ชีวิตบูรณาการ
กัน ของระบบ (interconnectedness) ปฏิสมั พันธ์ระหว่างกันและ กันของระบบย่อย ๆ ทั้งหลายเหล่านั้น ๓. ทุกระบบมีเป้าหมาย (เป้าประสงค์) ในการด�ำรงอยู่ ซึ่งเรา จะรู้เป้าหมายของระบบได้จากพฤติกรรมที่ปรากฎและแสดงออก บางครั้ง ระบบบางระบบอาจบอกว่ามีเป้าหมายอย่างหนึ่ง แต่ พฤติกรรมแสดงออกไปอีกทางก็ได้ การมองสิ่งต่าง ๆ แบบกระบวนระบบ คือ การเห็นความ สัมพันธ์ของสิง่ ต่าง ๆ ในระบบ อย่าง ระบบสุรยิ จักรวาล เราจะเห็น ภาพความสัมพันธ์ของดาวเคราะห์ต่าง ๆ กับดวงอาทิตย์ และยังมี ดาวหาง อุกาบาต และดวงจันทร์ของดาวต่าง ๆ เป็นต้น การเห็น ความเชื่อมโยงที่ซ่อ นเร้ น ในระบบ จะช่ ว ยให้ เรา วิเคราะห์ เรื่องราวต่าง ๆ ได้ใกล้เคียงความจริงมากขึ้น เห็นที่มาที่ ไปของเหตุการณ์ และสามารถเห็น จุด หรือพื้นที่ (คานงัด) ที่เราจะ เข้าไป “ร่วมเล่นกับระบบ” จัดปรับความสัมพันธ์ หรือเปลีย่ นปัจจัย เงื่อนไข เพื่อสร้างสรรค์ผลลัพธ์ใหม่ที่ปรารถนา ที่ส�ำคัญ ในการคิดแบบกระบวนระบบ เราจะเห็นตัวเอง เป็นส่วนหนึ่งของระบบ ซึ่งท�ำให้เราตระหนักว่า การกระท�ำ หรือ ไม่กระท�ำของเรา ย่อมมีผลกระทบต่อระบบด้วยเสมอ – เราเป็นทัง้ เหตุ และผลของระบบทีเ่ รามีสว่ นร่วม อย่างที่ มาร์กาเร็ต วีตเลย์ กล่าวว่า “ระบบมีอิทธิพลต่อบุคคล และบุคคลหลาย ๆ คนก็ก่อ ให้เกิดระบบ ความสัมพันธ์คือสิ่งที่ก่อให้เกิดสภาพความเป็นจริง ในปัจจุบัน” ยกตัวอย่างสมมติ สังคมชนบทหมู่บ้านหนึ่ง ในอดีต หมู่บ้าน นี้ค่อนข้างปิดตัว ไม่ค่อยเปิดรับข้อมูล และปัจจัยภายนอกสัก เท่าไร หมู่บ้านจึงไม่ค่อยเปลี่ยนแปลง ทั้งด้านวัฒนธรรม ประเพณี วิธีคิดกระบวนระบบ (Systems thinking)
135
วิถีชีวิต ผู้คนก็ยังอยู่ในหมู่บ้าน ทุกอย่างด�ำเนินไปคล้าย ๆ เดิม จน กระทั่งวันหนึ่ง โครงการรัฐตัดถนนเข้ามา หมู่บ้านจึงเริ่มเปิดรับ ข้อมูล และปัจจัยใหม่ ๆ จากภายนอก ลักษณะกายภาพของหมูบ่ า้ น เริ่มเปลี่ยนไป ผู้คนเดินทางเข้าและออกหมู่บ้านมากขึ้น วัฒนธรรม จากภายนอกหลั่งไหลเข้ามา คนในหมู่บ้านเริ่มเดินทางออกไปนอก หมู่บ้าน บ้างไปท�ำงานข้างนอก หมู ่ บ ้ า นนี้ ข ยายตั ว มากขึ้ น เมื่ อ ปฏิ สั ม พั น ธ์ กั บ ภายนอก ความเร็วในการพัฒนาท�ำให้วนั หนึง่ หมูบ่ า้ นนีถ้ งึ ทางแพร่งทีต่ อ้ งคิด กันว่า หมู่บ้านนี้จะไปในทิศทางใด ทางหนึง่ วุน่ วาย ปัน่ ป่วน ความสัมพันธ์ในชุมชนลดลง และอีก ทางหนึ่ง คนในหมู่บ้านร่วมกันคิดหาทางอยู่กับโลกสมัยใหม่ให้ได้ แม้ หมู ่บ ้า นนี้ จะไม่ เหมื อ นเดิ มได้อีก แล้ ว แต่ ค นทุ ก คนใน หมู่บ้านสามารถก�ำหนดทิศทางของคุณภาพใหม่ในการอยู่ร่วมกัน ได้ ว่าจะให้มีคุณภาพเช่นไร เกื้อกูลกับคนในชุมชนอย่างไร เวลาที่เรามองเรื่องราวต่าง ๆ ในชีวิตอย่างเป็นกระบวนระบบ เราจะรูว้ า่ เรามีศกั ยภาพในการสร้างและเปลีย่ นแปลงระบบ ขึน้ กับ ว่า เราจะเลือกเข้าร่วม และสัมพันธ์กับระบบอย่างไร คิด ๔ ระดับ ด�ำดิ่งเบื้องลึกภูเขาน�้ำแข็ง เวลาที่เราเห็นภูเขาน�้ำแข็งลอยอยู่บนผิวน�้ำ ถ้าหากเราเชื่อเท่า ที่ตาเห็น แล้วแล่นเรือเข้าไปใกล้ ๆ เราก็จะชนกับภูเขาน�้ำแข็งที่อยู่ เบื้องใต้ และเรือก็จะล่ม เหมือนโศกนาฏกรรมของเรือไทแทนิคที่ ล่มเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๕ เราจะเห็นภูเขาน�ำ้ แข็งเพียงระดับผิวน�ำ้ ไม่ได้ เราต้องเห็นให้ลกึ กว่านั้น ซึ่งวิธีคิดกระบวนระบบน�ำเสนอเครื่องมือ วิธีคิด ๔ ระดับ 136
เมล็ดพันธุ์ชีวิตบูรณาการ
เพื่อช่วยให้เรามองทะลุระดับปรากฏการณ์ ลงไปเห็นที่มาของ เรื่องราว รากเหง้าของปัญหาต่าง ๆ ที่ให้ก�ำเนิดภาพปรากฎการณ์ บนผิวน�้ำที่เราเห็นนั้นเอง ระดับ ๑ ปรากฎการณ์ ยอดภูเขาน�้ำแข็งเปรียบเหมือนปรากฏการณ์ที่เราเห็นได้ด้วย ตาเปล่า ได้ยินจากข่าว หรือคนบอกเล่ามา ในที่นี้ขอยกตัวอย่าง อุบัติเหตุทางถนน ในระดับปรากฎการณ์ ก็คือ เราเห็นอุบัติเหตุ คนได้รับบาดเจ็บ ฯลฯ ปฏิกิริยาที่เรามีต่อเหตุการณ์ในระดับนี้จะ เป็นแบบ Reactive คือ ตอบสนอง หรือตอบโต้กบั สิง่ ทีเ่ กิดขึน้ ก็คอื พอเกิดอุบัติเหตุทางถนน เราก็น�ำคนเจ็บส่งโรงพยาบาล ถ้าเราพอใจกับการเห็น และตอบสนองเรือ่ งราวทีเ่ กิดขึน้ เพียง
ÃдѺ»ÃÒ¡¯¡Òó
ẺἹ¾ÄµÔ¡ÃÃÁ â¤Ã§ÊÌҧÃкº âÅ¡·Ñȹ ¤ÇÒÁàª×èÍ
วิธีคิดกระบวนระบบ (Systems thinking)
137
ระดับผิว ๆ อย่างนี้ เราก็จะต้องเห็นอุบตั เิ หตุเกิดขึน้ ครัง้ แล้วครัง้ เล่า และสิ่งที่เราท�ำ ก็คือ ส่งคนเจ็บไปรับการรักษา ท�ำอยู่อย่างนี้ร�่ำไป แต่ถ้าเราอยากเห็นการเปลี่ยนแปลง อุบัติเหตุลดลง คนบาดเจ็บ ล้มตายน้อยลง เราต้องด�ำดิ่งลงไปใต้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อดูว่า อะไรคือเหตุที่ท�ำให้เกิดอุบัติการณ์นี้ ระดับที่ ๒ แบบแผนพฤติกรรม แบบแผนพฤติกรรมเหมือนการไหลของน�ำ้ ในแม่นำ�้ กระแสน�ำ้ ที่ไหลเป็นอย่างไร ก็ขึ้นกับโครงสร้างของตลิ่ง หินหรือสิ่งกีดขวาง ข้างใต้ล�ำน�้ำ การเห็นแบบแผนของปรากฎการณ์จะช่วยให้เรามองเห็นแนว โน้มของปรากฎการณ์ทจี่ ะเกิดขึน้ เพือ่ จัดการกับปัญหาแบบ Adaptive คือ ปรับตัว แก้ไขสถาการณ์โดยการออกแบบวิธีการที่จะลด หรือแก้ปญ ั หา อย่างเช่น หากเราเห็นอุบตั เิ หตุเกิดขึน้ บ่อย ๆ เราเริม่ สังเกตเห็น รูปแบบพฤติกรรมของปรากฎการณ์นี้ ว่าอุบตั เิ หตุมกั เกิด ที่ถนนสายไหน เวลาเท่าไร และเหตุที่เกิดมาจากอะไร เมือ่ มีขอ้ มูลแบบแผนพฤติกรรมแล้ว (โดยมากมาจากข้อมูลเชิง สถิต)ิ เราจะได้ดแู ลปรับพฤติกรรม อย่างเช่น ถ้าอุบตั เิ หตุเกิดบ่อยที่ ถนนสายเที่ยวราตรี ในเวลาช่วง ตีสองถึงตีสาม เราก็อาจจะจัดให้ มีด่านตรวจคนขับบนถนนเส้นนั้น เพื่อลดอัตราการขับรถเร็ว และ คอยเช็คผูท้ เี่ มาแล้วขับรถ หากการเกิดอุบตั เิ หตุมาจาก แสงไฟถนน ไม่เพียงพอ ถนนขรุขระเป็นหลุมบ่อ คนมองไม่เห็น เราจะได้เพิ่ม แสงไฟ ปรับพื้นผิวจราจรให้ดี นอกจากนั้น ทางโรงพยาบาลและ หน่วยกู้ชีพอาจจะเฝ้าระวัง และเตรียมการเป็นพิเศษ ในช่วงโมง ยามอันตราย เหล่านี้เป็นต้น 138
เมล็ดพันธุ์ชีวิตบูรณาการ
ระดับที่ ๓ โครงสร้าง และระบบ โครงสร้าง และระบบก่อให้เกิดแบบแผนพฤติกรรม เหมือน โครงสร้างของตลิ่ง หินและสิ่งกีดขวางในล�ำน�้ำเป็นตัวสร้างกระแส ของน�้ำว่าจะไหลอย่างไร หมุนวน ไหลเร็ว หรือช้า หากเราสามารถค้นหาโครงสร้างที่ก่อให้เกิดปัญหานั้น เรา จะคิดวิธีการจัดการปัญหาแบบสร้างสรรค์ มีนวันตกรรมใหม่ ๆ (Creative) และแก้ปัญหาได้ถึงแก่นยิ่งขึ้นอีก ยกตัวอย่างการลด อุบัติเหตุทางรถยนต์ เราอาจจะออกกฎหมายจ�ำกัดการดื่มเครื่อง ดืม่ ทีม่ แี อลกอฮอล์ หรือ ออกแบบระบบรถสาธารณะส�ำหรับนักดืม่ ในย่านชุมชนเมืองและชุมชนเมืองระดับกลาง เพื่อให้เดินทางกลับ บ้านได้สะดวกโดยไม่ต้องขับรถ เวลาทีเ่ ราพิจารณาเรือ่ งโครงสร้างภายใต้ปรากฏการณ์ตา่ ง ๆ เรา ต้องเห็นด้วยว่า ชีวติ และสังคมของเราอยูภ่ ายใต้หลายโครงสร้าง ทัง้ โครงสร้างทางเศรษฐกิจ เทคโนโลยี กฎหมาย ธุรกิจ การเมือง องค์กร ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ฯลฯ ฉะนัน้ เวลาพยายามท�ำความเข้าใจ แบบแผนพฤติกรรม เราต้องส�ำรวจให้กว้างด้วยว่า โครงสร้างอะไรบ้าง ทีส่ ร้างพฤติกรรมและปรากฎการณ์ทเี่ ราก�ำลังศึกษา ระดับที่ ๔ ภาพจ�ำลองความคิด (Mental models) เบือ้ งลึกของสิง่ ต่าง ๆ ทีเ่ กิดขึน้ คือ ทัศนคติ ความคิด ความเชือ่ โลกทัศน์ของคนเรา ทั้งในระดับปัจเจก และส่วนรวม จากตัวอย่าง อุบัติเหตุทางท้องถนน เราอาจจะลองดูว่า ความเชื่ออะไรในบุคคล และสังคมทีท่ ำ� ให้คนดืม่ แล้วขับรถ หรือความเชือ่ อะไรท�ำให้คนเทีย่ ว กลางคืนและดื่มสุรา และหากเราจะสร้างโครงสร้างใหม่ อย่างเช่น การรณรงค์ ดืม่ ไม่ขบั เราต้องปลูกฝังทัศนคติความเชือ่ ใดเพือ่ ให้เกิด โครงสร้างความคิดใหม่ในสังคม วิธีคิดกระบวนระบบ (Systems thinking)
139
การแก้ปัญหา หรือสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ จะท�ำได้ดีและยั่งยืน ต้องลงไปท�ำหรือปฏิบัติการให้ถึงความคิดความเชื่อของคน กล่าว คือ ต้องท�ำให้เกิดการคิดใหม่ (rethink) การคิดใหม่จะให้กำ� เนิดโครงสร้างใหม่ แบบแผนพฤติกรรมใหม่ และปรากฏการณ์ที่ต่างไปจากเดิม คิดเชื่อมโยงเหตุและผล (causal loops) ฝนเอย ท�ำไมจึงตก ฝนเอย ท�ำไมจึงตก จ� ำ เป็ น ต้ อ งตก เพราะว่ากบมันร้อง กบเอย ท�ำไมจึงร้อง กบเอย ท�ำไมจึงร้อง จ�ำเป็นต้องร้อง เพราะว่าท้องมันปวด ท้องเอย ท�ำไมจึงปวด ท้องเอย ท�ำไมจึงปวด จ�ำเป็นต้องปวด เพราะว่าข้าวมันดิบ ข้าวเอย ท�ำไมจึงดิบ ข้าวเอย ท�ำไมจึงดิบ จ� ำ เป็ น ต้ อ งดิ บ เพราะว่าฟืนมันเปียก ฟืนเอย ท�ำไมจึงเปียกฟืนเอย ท�ำไมจึงเปียก จ�ำเป็นต้องเปียก เพราะว่าฝนมันตก ฝนเอย ท�ำไมจึงตก ฝนเอย ท�ำไมจึงตก จ� ำ เป็ น ต้ อ งตก เพราะว่ากบมันร้อง กบเอย ท�ำไมจึงร้อง ........ เพลงร้องเล่นโบราณนี้ ไม่ได้พยายามให้ตรรกะอธิบายว่าฝนตก เพราะเหตุอะไร แต่จริง ๆ แล้ว เพลงก�ำลังสอดแทรกกระบวนการ คิดและการมองโลกที่ส�ำคัญตามหลักอิทัปปจยตาในพุทธศาสนา ที่ว่าทุกอย่างเกิดแต่เหตุและทุกสิ่งเป็นเหตุ สร้างผลต่อกันเป็น ทอด ๆ ส่งผลสะท้อนกันไปมา โยงใยกันเป็นวัฏจักรวนเวียนไม่จบสิน้ 140
เมล็ดพันธุ์ชีวิตบูรณาการ
หนึ่งในวิธีการคิดแบบกระบวนระบบ คือ การสาวหาความ สัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ ในลักษณะเหตุและผล (cause and effect) ด้วยการตั้งค�ำถามว่า “ท�ำไมจึงเกิดเรื่องราวนี้ขึ้น” เพื่อให้เห็นเหตุ และปัจจัยเงื่อนไขของผลที่เกิดขึ้น และถามลึกลงไปเรื่อยๆ ว่า เหตุ ที่เราเห็นนั้นเป็นผลจากอะไร ขอยกตัวอย่างเรื่องเล่า ความเจ็บป่วยของน้องส้ม ที่ทาง เครือข่ายถมช่องวางทางสังคม ท�ำขึน้ เพือ่ เป็นตุก๊ ตาเล่าเรือ่ งราวเพือ่ ให้สังคมเห็นว่า สิ่งต่าง ๆ ในสังคมเกี่ยวข้องกับความเหลื่อมล�้ำทาง โอกาสของคนในสังคมอย่างไรบ้าง
เรื่องของน้องส้ม ท�ำไมน้องส้มต้องเข้าโรงพยาบาล? หอบ หายใจไม่ออก แล้วท�ำไมหายใจไม่ออก? ฝุ่นฟุ้งตลบทั้งหมู่บ้าน รถบรรทุกเข้าออกทั้งวัน ทั้งคืน เขาท�ำเหมืองอยู่บนเขา แล้วท�ำไมมาโรงพยาบาลกับยาย พ่อแม่ไปไหน ? ไปขายล็อตเตอรีที่กรุงเทพ แล้วท�ำไมถึงมาขายล็อตเตอรีล่ะ? ก็เรียนไม่สูง แล้วท�ำไมไม่ท�ำก่อสร้างเหมือนคนอื่นเขา ท�ำก่อสร้าง ต้องไปอยู่ในเมืองเป็นเดือน ขายล็อตเตอรี เป็นงวดๆ ได้กลับบ้านไปอยู่กับลูกบ้าง วิธีคิดกระบวนระบบ (Systems thinking)
141
แล้วท�ำไมไม่ท�ำไร่ท�ำนา เหมือนรุ่นปู่ย่าละ? ก็เพราะผลผลิตไม่ค่อยดี แล้วท�ำไมผลผลิตถึงไม่ดี? ก็เพราะดินเสีย น�้ำไม่ดี แล้วท�ำไมดินเสีย น�้ำไม่ดี? ก็เพราะดินกับน�้ำมีสารไซยาไนด์ปนเปื้อน แล้วท�ำไมถึงมีสารไซยาไนด์ปนเปื้อน? ก็เพราะน�้ำจากการท�ำเหมืองทอง ไหลลงมาที่คูคลอง ในหมู่บ้าน แล้วท�ำไมน�้ำจากเหมืองทองถึงไหลมาที่หมู่บ้านได้? ก็เพราะคันเขื่อนดินที่กักน�้ำไว้ท�ำแบบถูกๆ แต่ไม่ถูกวิธี แล้วท�ำไมถึงไม่ท�ำคันเขื่อนดินอย่างถูกวิธี? ก็เพราะต้องการประหยัดต้นทุนน่ะสิ แล้วท�ำไมต้องท�ำเหมืองทอง? ก็เพราะคนชอบทอง แล้วเพราะอะไรคนชอบทองละ ? ก็เพราะ มันเป็นเครื่องประดับที่มีราคาแพง (อีกเสียง) ไม่ใช่ แหวนทอง เป็นตัวแทนความรัก นิรันดร์ (อีกเสียง) ไม่ใช่ ไม่ใช่ เพราะถ้าเก็งก�ำไรแล้วขาย รับรองราคาดีกว่าหุ้นทุกตัว (อีกเสียง) ไม่ใช่ ไม่ใช่ ไม่ใช่ เพราะถ้าส่งออกนอก ก�ำไรมหาศาล จีดีพีพุ่งกระฉูด 142
เมล็ดพันธุ์ชีวิตบูรณาการ
จากตัวอย่างนี้ เพียงการป่วยไข้ของคน ๆ หนึ่ง เราจะเห็น เรื่องราวมากมายที่เกี่ยวพันกับทั้งสังคมใหญ่ รวมถึงตัวเราเองด้วย ฉะนัน้ แนวทางรักษาความเจ็บป่วยของน้องส้ม คงไม่อาจจ�ำกัดเพียง ร่างกายของเด็กน้อย แต่น่าจะต้องดูแลชุมชนของเธอ ระบบนิเวศ ระบบธุรกิจเหมือง และความคิดความเชื่อของคนในสังคม ฯลฯ วิ ธี ก ารถาม “ท� ำ ไมปรากฏการณ์ นี้ จึ ง เกิ ด ขึ้ น ” ลึ ก ลงไป เรื่อย ๆ จะท�ำให้เราเห็นเรื่องราวละเอียดลึกซึ้งยิ่ง ๆ ขึ้นไป และ เราจะไม่ด่วนสรุปตัดสินแก้ปัญหาแบบฉาบฉวย ที่มักสร้างปัญหา ใหม่ไม่จบสิ้น อย่างปัญหาหนี้สินของเกษตรกร หากเราด่วนสรุปเอาว่า เหตุ มาจากรายได้น้อย ผลผลิตข้าวต�่ำ ราคาข้าวตก แล้วแก้ปัญหาโดย ให้ออกเงินกู้แก่เกษตรกร เพื่อเอาไปใช้หนี้ ตั้งมาตรการเพิ่มราคา ข้าว .... แต่ท�ำไมหนี้สินเกษตรกรไม่เคยหมดไปสักที มีเหตุอื่น ๆ อีกไหมที่เรายังสาวไปไม่ถึงในเรื่องหนี้สินเกษตรกร ความสัมพันธ์สะท้อนป้อนกลับ (Feedbacks) คุณสมบัติหนึ่งของวิธีคิดกระบวนระบบ คือ การเห็นสภาวะ เชื่อมสัมพันธ์ป้อนกลับระหว่างองค์ประกอบ หรือ ส่วนต่าง ๆ ที่ เป็นเครือข่ายในความสัมพันธ์ ระบบที่มีชีวิตเป็นระบบเปิด ที่มีข้อมูลไหลเข้าและออกตลอด เวลา หรืออาจกล่าวได้วา่ ระบบมีชวี ติ จะสะท้อนป้อนกลับข้อมูลกัน เสมอ (Feedback loop) การสะท้อนป้อนกลับนี้มีผลต่อการด�ำรงอยู่ของชีวิต ต่อการ ท�ำงานในองค์กร ชุมชน เป็นต้น อย่าง ร่างกายของเรา เวลาที่เรา รู้สึกร้อน และเพลีย ร่างกายจะส่งสัญญาณความต้องการน�้ำ เรา ต้องไปหาน�ำ้ มาดืม่ เพือ่ ดับกระหาย ให้รา่ งกายกระชุม่ กระชวยขึน้ มา วิธีคิดกระบวนระบบ (Systems thinking)
143
เมื่อนายจ้างปฏิเสธขึ้นเงินเดือน ให้โบนัส ทั้งที่บริษัทมีก�ำไร พนักงานจ�ำนวนหนึ่งก็อาจจะสะท้อนกลับด้วยการชุมนุมประท้วง เรียกร้องความเป็นธรรม การสะท้อนป้อนกลับอย่างนี้ ท�ำให้เราเรียนรู้และปรับตัวให้ อยู่ในภาวะสมดุล หลายองค์กรสมัยใหม่จึงให้ความส�ำคัญกับการ เปิดช่องทางให้ผู้คนได้สะท้อนความคิดเห็น ความรู้สึกอย่างอิสระ และสม�่ำเสมอ เพื่อให้ข้อมูลไหลเข้า-ออก เรียนรู้และปรับตัวกัน หลายปัญหาเกิดขึ้นจาก ไม่รับฟัง ไม่รับรู้ และปิดกั้นช่องทาง ป้อนกลับข้อมูล เมือ่ ข้อมูลไม่ลนื่ ไหลเชือ่ มโยง ระบบก็จะสะดุด เกิด ปัญหาขึน้ อย่างในเวลาทีร่ ฐั บาลไม่รบั ฟังความคิดเห็นของประชาชน พอคราวเลือกตั้งสมัยหน้า ประชาชนก็ไม่เลือกพรรคที่เคยเป็น รัฐบาลที่ไม่ฟังประชน การป้อนกลับมี 2 ลักษณะหลัก ๆ คือ การป้อนกลับแบบเพิ่มก�ำลังทวีคูณ (Reinforcing feedback) คือ การที่สิ่งหนึ่ง (ก) สัมพันธ์กับอีกสิ่ง (ข) และ (ข)
144
เมล็ดพันธุ์ชีวิตบูรณาการ
สัมพันธ์ในแบบเดียวกันกับ (ก) สะท้อนผลกันไปมา ท�ำให้เกิดการ ขยายก�ำลัง ซึ่งจะขยายก�ำลังในทางที่ดีขึ้น หรือ เลวลงก็ได้ อย่าง เช่น การใช้บัตรเครดิต เมื่อถึงก�ำหนดจ่ายเงิน เราไม่อาจจ่ายได้ หรือจ่ายได้เฉพาะขั้นต�่ำ ดอกเบี้ยและเงินที่ค้างไว้ก็จะทบเพิ่มไป เรื่อย ๆ บางคนจากที่รูดบัตรใช้เงินไปเพียงหลักหมื่น แต่เมื่อปล่อย ให้ดอกเบี้ยเพิ่มก�ำลังทวีคูณแล้ว ท้ายที่สุด ยอดเงินที่ต้องจ่ายอาจ สูงถึงหลักแสน การป้อนกลับแบบคานก�ำลังกัน Balancing Feedback
คือการที่สิ่งหนึ่ง (ก) กระท�ำกับอีกสิ่ง (ข) แต่ (ข) ไม่กระท�ำ แบบเดิมกลับไปยัง (ก) จึงท�ำให้เกิดการคานก�ำลัง ไม่เพิ่มพลัง ในทางเดียวกัน ท�ำให้เกิดความสมดุล เรื่องราวไม่บานปลาย ยก ตัวอย่างระบบแอร์ที่มีระบบปรับอุณหภูมิ เมื่ออากาศเย็น อุณหภูมิ ลดถึงระดับหนึ่ง ระบบจะตัดและป้อนกลับในทางตรงกันข้ามคือ ท�ำให้อุณหภูมิสูงขึ้น และเมื่ออากาศสูงขึ้นถึงระดับหนึ่ง ก็จะตัด วิธีคิดกระบวนระบบ (Systems thinking)
145
ปรับให้อุณหภูมิลดลง ท�ำอย่างนี้เพื่อรักษาสภาพอุณหภูมิให้คงที่ ที่เราต้องการ การป้อนกลับเชิงคานก�ำลังนี้ มีทั้งข้อดีและข้อด้อย ขึ้นกับ บริบทเรื่องราวที่เกี่ยวข้อง ยกตัวอย่างเช่น ในการท่องเที่ยวหากมี การคานก�ำลัง เช่น เปิดให้นักท่องเที่ยวมาเยี่ยมชมอุทยานช่วงหนึ่ง หลังจากนัน้ ก็มชี ว่ งพักเพือ่ ให้ธรรมชาติได้ฟน้ื ฟูตวั เองบ้าง ก็จะช่วย รักษาแหล่งท่องเที่ยวตามธรรมชาติไว้ ในทางกลับกัน การคานก�ำลังในบางเรือ่ ง ก็ทำ� ให้เราย�ำ่ อยูก่ บั ที่ ไม่พฒ ั นาไปข้างหน้า เพราะพอจะก้าวไปข้างหน้า ก็มกี ารป้อนกลับ ท�ำให้ถอยไปข้างหลังอีก เป็นอยู่อย่างนี้ ยกตัวอย่าง นโยบายการ พัฒนาประเทศ ที่เกี่ยวพันกับการเมืองและการปฏิรปู ประเทศ เมื่อ รัฐบาลโดยการน�ำของพรรคการเมืองหนึ่งเสนอนโยบาย กฎหมาย และท�ำงานไปได้สักระยะ พอเปลี่ยนรัฐบาลชุดใหม่ หากไม่รับลูก ต่อ แย้งหรือหยุดนโยบายหรือกฎหมาย (ที่ดี) นั้นไป ประเทศก็ไม่ ไปไหน เพราะก้าวหน้า-ก้าวหลังอยู่อย่างนี้ร�่ำไป การ Delay ในการสะท้อนป้อนกลับ การสะท้อนผล ไม่เดินทางเป็นเส้นตรง ไม่วา่ จะเป็นแบบก�ำลัง ทวีคณ ู หรือคานก�ำลัง หมายความว่า การกระท�ำทีเ่ กิดขึน้ ไม่จำ� เป็น ต้องส่งผลในทันทีทันใด หลายครั้ง กว่าผลจะสะท้อนกลับมาก็ใช้ เวลา มีการชะลอทอดเวลาออกไป ดังเช่นระบบในร่างกายของเรา กว่าที่เราจะรู้ตัวว่าเป็นมะเร็งปอด เราก็อาจจะได้สะสมเหตุ คือ สูบบุหรี่ หรืออยู่ในที่ที่อากาศเป็นพิษมานานมากเป็นปี ๆ กว่าผล ของพฤติกรรมจะปรากฎ และเรามักจะตัง้ รับผลในลักษณะทีช่ ะลอ ไว้มานานนี้ไม่ทัน เหตุหนึ่งเพราะที่เราไม่สังเกตเห็นว่า เหตุที่ท�ำ เล็ก ๆ น้อย ๆ นั้น สะสมผลอยู่เรื่อย ๆ 146
เมล็ดพันธุ์ชีวิตบูรณาการ
เราพอจะคาดเดาผลที่รอคอยปรากฎ (delay) หากเราเข้าใจ ว่าแต่ละระบบท�ำงานอย่างไร อย่าง การปลูกผักผลไม้ หากเรารู้ ว่า พืชแต่ละชนิดมีระบบการเจริญเติบโตอย่างไร เราจะรู้ว่า ผลจะ ออกเมื่อไร ผักบางชนิด ปลูกเดือนเดียวก็ให้ผล ในขณะที่บางชนิด อาจกินเวลาเป็นเดือน ๆ “ผลในวันนี้ อาจผลิดอกออกผลจากหลายเหตุปจั จัยในอดีต ที่ ห่างไกล ๆ ทั้งด้านเวลา และสถานที่” นอกจากนั้น ยังมีการสะท้อนป้อนกลับอีกลักษณะหนึ่งที่พบ ได้มากบ่อย จนเรียกว่า โคตรแบบ (archetype) คือ พฤติกรรม ที่มักเจอซ�้ำ ๆ และมักก่อให้เกิดปัญหาอื่น ๆ มากมายตามมา โดย มากลักษณะของโคตรแบบเกิดขึ้น เมื่อเรารีบลงมือแก้ปัญหาที่เห็น เฉพาะหน้าในทันที แก้ปญ ั หาแบบเห็นเป็นส่วน ๆ จนน�ำไปสูป่ ญ ั หา ทีซ่ บั ซ้อนยุง่ ยากเพิม่ ขึน้ แบบวงจรโคตรแบบยิง่ แก้ยงิ่ ยุง่ เพราะบาง ครัง้ การแก้ปญ ั หาของเรา ก่อให้เกิดผลทีย่ งั รอคอยเวลาแสดงผลอยู่ เรายังไม่เห็น พอไม่เห็น เรานึกว่า ได้แก้ปัญหานั้นแล้ว โดยไม่รู้เลย ว่า วิธีการที่เราแก้ปัญานั้น ก่อปัญหาใหม่ขึ้นมาแล้ว วิธีคิดกระบวนระบบ (Systems thinking)
147
ยกตัวอย่าง (จากหนังสือ การคิดกระบวนระบบ โดย ชัยวัฒน์ ถิระพันธุ์ ปิยนาถ ประยูร) เกษตรกรท�ำงานจนเกิดอาการปวดเมือ่ ย กล้ามเนื้อ แก้ปัญหาด้วยการซื้อยาบรรเทาปวดมาทานเอง ยานี้ ท�ำให้ความปวดเมื่อยบรรเทา แต่ก็ก่อให้เกิดปัญหาใหม่ขึ้นมา คือ โรคกระเพาะ และเมื่อทานยาประเภทนี้นาน ๆ เข้าก็เกิดปัญหา กระเพาะทะลุ ต้องได้รับการรักษาที่ใช้เวลา และค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น “เราอาจจะต้องเลิกมองสิ่งต่าง ๆ ในลักษณะการท�ำงานแบบ จักรกลของนาฬิกา” ซิดนีย์ เบรนเนอร์ นักอณูวิทยา ความซับซ้อนของเหตุและผลสะเทือน
148
เมล็ดพันธุ์ชีวิตบูรณาการ
โลกโกลาหล ปั่นป่วน และซับซ้อนขึ้นเรื่อย ๆ เป็นสมการ เชิงซ้อนที่เราต้องใช้ความเข้าใจ และความสามารถในการมองให้ ทะลุ ในบทความทฤษฎีไร้ระเบียบ กับซุนหวู่ อาจารย์ชัยวัฒน์ ถิระพันธุ์ ผู้เขียนกล่าวว่า ระบบที่ซับซ้อน (complex system) มี ความซับซ้อน ๓ ประเภทใหญ่ๆ คือ ความซับซ้อนที่มีพลวัต (Dynamic complexity) ความ ซับซ้อนในโลกเคลือ่ นไหวตลอดเวลา นอกจากนัน้ สิง่ ทีอ่ ยูไ่ กล (จาก สังคมเรา) ทั้งในเรื่องเวลาและสถานที่ ก็ส่งผลสะเทือนต่อความ ซับซ้อนที่เกิดขึ้นอยู่แล้ว (ในสังคมเรา) ด้วย ยกตัวอย่าง เหตุการณ์เศรษฐกิจตกต�่ำในอเมริกา (Great depression) เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๐ ส่งผลกระทบไปทั่วโลก รวม ถึงประเทศไทยด้วย แต่กว่าคลื่นพิษเศรษฐกิจตกต�่ำกว่าจะมาถึง เมืองไทยก็ใช้เวลาเป็นปี ส่งผลกระทบกับเงินในท้องพระคลัง เป็น เหตุให้เกิดการตัดงบและลดดุลข้าราชการจ�ำนวนมาก เมื่อบวกกับ เงือ่ นไขปัจจัยหลายประการอันซับซ้อนในประเทศด้วยแล้ว ทัง้ หมด จึงเป็นตัวเร่งไปสู่การเปลี่ยนแปลงการปกครองในสมัย ร. ๗ ในปี พ.ศ. ๒๔๗๕ ปัจจุบัน ยิ่งโลกหมุนเร็ว และเขยิบใกล้กันเพียงใด (ด้วย เทคโนโลยีระบบสื่อสาร) ผลกระทบก็ข้ามโลกได้เร็วเท่านั้น เรา จะเห็นได้ชัดจากอุบัติการณ์ของโรคระบาดต่าง ๆ การระบาดของ ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ H1N1 และอีกหลายโรคระบาด สามารถ ข้ามฟ้าได้ชั่วคืน จากจุดเริ่มต้นที่ทวีปอเมริกากลาง มาถึงเอเซียได้ เพียงไม่กี่วัน วิธีคิดกระบวนระบบ (Systems thinking)
149
ความซับซ้อนทางสังคม (Social complexity) สังคมมี ความซับซ้อนมากเกินกว่าทีเ่ ราจะชีน้ วิ้ ไปชัด ๆ ว่า ใครเป็นเหตุแห่ง ความเสือ่ ม และความเจริญ ใครเป็นต้นตอ และต้องรับผิดชอบเรือ่ ง ราวต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ในสังคม มีตัวละครมากมาย ที่สร้างเงื่อนไข เป็นตัวแปรส่งผล ต่อกันตลอดเวลา และไม่เคยหยุดนิง่ อย่างเหตุการณ์ความรุนแรงใน จังหวัดสามชายแดนใต้ เราจะระบุชัด ๆ ได้ว่าใคร หรือกลุ่มใดอยู่ เบื้องหลัง เหตุการณ์ปะทะกันระหว่างผู้ชุมนุมบนท้องถนนจนเกิด มีคนบาดเจ็บล้มตาย มีตัวละครอะไรบ้างที่เกี่ยวข้อง ผู้ที่จะแก้ปัญหาก็อาจเป็นส่วนที่สร้างปัญหาขึ้นมาด้วย เรื่อง ราวต่าง ๆ ซับซ้อน สับสน พันกันไปหมด เราจะมองเรื่องราวที่ ปั่นป่วนวุ่นวายนี้อย่างไร เริ่มจากตรงไหน การคิดแบบชั้นเดียว และเชิงเดี่ยว คือ มองโลกแบบแบ่งขั้ว ขาว-ด�ำ เลว-ดี และการมองแบบแบ่งฝ่าย คนสร้างปัญหา แยกจาก คนแก้ปัญหานั้น จะท�ำให้เราหลุดจากความเป็นจริง ความซับซ้อนผุดบังเกิดและบานปลาย (Emerging or generative complexity) เป็นความซับซ้อนที่ค่อย ๆ ก่อตัว ขึ้นเรื่อย ๆ (จนท�ำให้เรารู้สึกชิน) จนเมื่อถึงจุดหนึ่ง ผลของความ ซับซ้อนนัน้ จะก้าวกระโดด น�ำไปสูผ่ ลทีบ่ านปลาย คล้าย ๆ กับภาวะ “กบต้ม” ที่ถ้าเราจับกบลงอยู่ในหม้อบนเตาที่ค่อย ๆ ร้อน ร่างกาย ของกบจะปรับตัวเข้ากับความร้อน จึงไม่รสู้ กึ ว่าอันตรายจนต้องรีบ กระโดดออกจากหม้อไฟ เมื่ออุณหภูมิสูงถึงจุดหนึ่ง กบจะรู้สึกว่า ร้อนเกินไปและอันตราย ต้องกระโดดออกจากหม้อแล้ว แต่ก็สาย เกินไป เพราะร่างกายหมดเรีย่ วแรงแล้ว และต้องเป็นกบต้มในทีส่ ดุ 150
เมล็ดพันธุ์ชีวิตบูรณาการ
เรื่องราวแบบนี้เกิดขึ้นกับระบบนิวเศ ภาวะโลกร้อนด้วย เรา ก�ำลังท�ำตัวเป็นกบต้มหรือไม่ เมื่อถึงจุดวิกฤต เราจะไปไม่รอด? ในสังคมเราก็เช่นกัน ความเหลือ่ มล�ำ้ ไม่เป็นธรรมในสังคมมีมา ยาวนานแล้ว (จนบางคนชินชา) เรื่องนี้ทับถมต่อเนื่องมายาวนาน จนวันหนึง่ เมือ่ ได้ปจั จัยใหม่บางอย่าง แม้เพียงนิดเดียว ก็พร้อมทีจ่ ะ ก่อให้เกิดปฏิกริ ยิ าทีเ่ ร่งให้บางสิง่ บางอย่างผุดบังเกิดขึน้ โดยฉับพลัน สังคมใดที่ระบบความซับซ้อนยังไม่มาก การแก้ปัญหาแบบ วิธีเดิม ๆ เช่น บังคับสั่งการ แก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้น ก็พอจะ เอาตัวรอดไปได้ แต่ถ้าระบบมีความซับซ้อนสูง จนถึงสูงมาก วิธีแก้ ปัญหาแบบเดิมๆ ที่เคยใช้ได้ผลมาแล้ว จะไม่ได้ผลอีกต่อไป ยิ่ ง ถ้ า ความซั บ ซ้ อ นทั้ ง ๓ ประเภทที่ ก ล่ า วมาข้ า งต้ น นั้ น ปฏิสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน เรื่องราวก็จะยิ่งอลหม่าน คดเคี้ยวพลิกผัน ได้งา่ ย สถานการณ์และพฤติกรรมของระบบจะขึน้ ๆ ลงๆ มีทศิ ทาง ที่คาดเดายาก ระบบใดที่เข้ามาอยู่ในสภาวะเช่นนี้จะเปราะบางยิ่ง กระทบ ง่าย คือ เรื่องเล็กๆ เพียงเรื่องเดียว ก็สามารถส่งผลกระทบเป็น ปฏิกริ ยิ าลูกโซ่ และมีการป้อนกลับกันไปมาเชิงยกก�ำลัง (reinforcing feedback) บานปลายกลายเป็นเรื่องใหญ่ได้ อย่างที่ทฤษฎี ไร้ระเบียบ หรือทฤษฎีโกลาหล (chaos theory) พูดเชิงอุปมาว่า “ผีเสื้อกระหยับปีก” (butterfly effect) ผีเสื้อกระหยับปีก เหตุการณ์ที่บานปลายอยู่ทุกวันนี้ในโลกอาหรับโดยเฉพาะ อียิปต์ ถูกจุดประกายขึ้นจากจุดเล็ก ๆ ทางตอนใต้ของประเทศ ตูนีเซีย เรียกว่า ปฏิวัติมะลิ Jasmine Revolution วิธีคิดกระบวนระบบ (Systems thinking)
151
เมื่อวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๓ ชายหนุ่มชาวตูนีเซียชื่อ ซีดิ โบซิดิ จุดไฟเผาตัวเองเพือ่ ประท้วงผูน้ ำ� เผด็จการ สีส่ ปั ดาห์หลังจาก นั้น การประท้วงของประชาชนในตูนีเซียทวีความเข้มข้นรุนแรง ขึ้น และกองทัพก็ไม่สนับสนุนผู้น�ำเผด็จการอีก น�ำไปสู่การสิ้นสุด ของการครองอ�ำนาจของผู้น�ำ เบน อาลี ที่อยู่ในอ�ำนาจกว่า ๒๓ ปี เชือ้ ไฟแห่งการเปลีย่ นแปลงในตูนเี ซียกระพือไปทัว่ โลกอาหรับ อียิปต์และเยเมน หลายประเทศที่ผู้น�ำอยู่ในอ�ำนาจกว่า ๒๐ หรือ ๓๐ ปี ในประเทศเยเมน ผู้คนออกมาเรียกร้องบนท้องถนน ตะโกน ร้องเหมือน ๆ กับเพื่อนอาหรับในหลายประเทศว่า “เราต้องการ รัฐบาลที่มีธรรมาภิบาล และไม่คอร์รัปชั่น” ประชาชนชาวอียิปต์เองก็รับเชื้อการเปลี่ยนแปลงนี้เช่นกัน ที่ ผ่านมา ภายใต้การปกครองของผู้น�ำทหาร มูบารัค ปัญหาภาวะ เงินเฟ้อ การว่างงาน ราคาข้าวของอุปโภคบริโภคที่สูง ปัญหา ต่าง ๆ สะสมมาอย่างยาวนาน อีกทั้งยังมีปัญหาความไม่โปร่งใสใน การบริหารราชการแผ่นดิน และปัญหาคอร์รัปชั่นที่ท�ำให้ประชาน เอือมระอา จนในที่สุด ประชาชนทนไม่ไหว รับไม่ได้อีกต่อไป จึง ลุกขึ้นมาขับไล่ผู้น�ำเผด็จการ เหตุการณ์เล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เกิดขึ้นเป็นเหมือนผีเสื้อกระหยับ ปีก เปลี่ยนแปลงระบบและระบอบได้ สร้างผลสะเทือนไปทั่วและ อย่างรวดเร็ว เหตุปัจจัยส�ำคัญที่ท�ำให้เชื้อการเปลี่ยนแปลงระบาดไปอย่าง รวดเร็วแบบไฟลามทุ่ง คือ เทคโนโลยีการสื่อสารอย่าง เฟสบุ๊ค ทวิตเตอร์ เครือข่ายสังคมออน์ไลน์ต่าง ๆ และที่ส�ำคัญ คือ วิกิลีก (Wikileak) ทีเ่ ผยภาพความเป็นอยูแ่ ละชีวติ ของผูน้ ำ� เผ็จการ อาหรับ ที่ฟู่ฟ่า สิ่งเหล่านี้เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาที่ฝังซ่อนอยู่แล้วในใจผู้คน 152
เมล็ดพันธุ์ชีวิตบูรณาการ
ในโลกแห่งเครือข่ายและโยงใยชีวิต ความเปลี่ยนแปลงเพียง นิดในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ย่อมส่งผลสะเทือนเป็นโดมิโนกับสิ่งที่ต่าง ๆ ที่ เกี่ยวพันกันอย่างทั่วถึง ความเข้าใจนีม้ คี วามหมายอย่างไรกับชีวติ และการงานของเรา การคิดแบบกระบวนระบบท�ำให้เราละเอียดอ่อนกับสัญญาณ ความเปลี่ยนแปลงแม้เพียงเล็กน้อย ด้วยความเห็นที่ว่า ทุกสิ่งทุก อย่างล้วนเป็นเหตุและปัจจัยกับสิ่งต่าง ๆ และส่งผลกระทบต่อกัน เป็นทอด ๆ เรื่อยไป เราจะมองปรากฎการณ์ต่าง ๆ อย่างเชื่อมโยง และอาจคาดเดาล่วงหน้าได้ว่า อะไรอาจจะเกิดขึ้นได้บ้าง ไม่ว่าเราจะรู้สึก รู้ตัวหรือไม่ก็ตาม มนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของ ธรรมชาติที่เป็นข่ายใยโยงใยทั่วถึงกันหมด ดังนั้น ทุกสิ่งที่เราท�ำ และพูด ไม่ว่าจะดีหรือไม่ดี ย่อมก่อให้เกิดผลสะเทือนทั้งกับตัวเรา เอง ผู้อื่นสิ่งแวดล้อม สังคม และโลก จะเรียกว่า กฏแห่งกรรม (กฎ แห่งการกระท�ำ) ก็ได้ ไม่มีการกระท�ำใดที่ไม่ส่งผล เพียงแต่ผลที่ เกิดนั้นไม่เป็นไปแบบวิธีคิดแบบระบบกลไกของเรา คือ เมื่อกด สวิทซ์ปุ๊บ ไฟต้องติดปั๊บ เมื่อท�ำอะไรไปแล้ว ต้องเกิดผลที่เห็นได้ ชัด จับต้องได้ในทันที “ทุ ก อย่ า งเกิ ด แต่ เ หตุ ” เป็ น พุ ท ธพจน์ ที่ ส อดคล้ อ งกั บ วิทยาศาสตร์ใหม่ที่กล่าวว่า “ผลที่เกิดในวันนี้มาจากหลายเหตุ ปัจจัยที่อาจอยู่ไกลทั้งในเรื่องของเวลา และสถานที่” ผลสะเทือนที่จะเกิด อาจไปเกิดในที่อื่นที่ไกลจากจุดลงมือ กระท�ำการก็ได้ หรือผลอาจจะเกิดขึ้นในเวลาอันรวดเร็ว หรือช้า ไปนานก็ได้ ผลสะเทือนทีเ่ กิดอาจมีคณ ุ ภาพและระดับความเข้มข้น ที่มากหรือน้อยกว่า แรงของการกระท�ำที่ท�ำไปก็ได้อีกด้วย – นี่คือ วิธีคิดกระบวนระบบ (Systems thinking)
153
ผลสะเทือนของระบบที่มีชีวิต ซับซ้อน คาดเดายาก แต่ที่แน่ ๆ คือ ผลจะต้องเกิดแน่นอน และภายใต้ความคาดเดายากนี้ มีแบบแผน ของการให้ผลอยู่เบื้องหลัง หากเราตระหนักในเรือ่ งนี้ เราจะระมัดระวังการกระท�ำและค�ำ พูดของเรา เพราะทุกการกระท�ำ และค�ำพูดมีพลังการเปลีย่ นแปลง สร้างสรรค์ชีวิตในนั้น เมื่อเราเปลี่ยน สภาวะเชื่อมโยงกับผู้คนต่าง ๆ ก็เปลี่ยนด้วย และเมื่อกลุ่มแกนน�ำเปลี่ยน คนรอบวง กลุ่มอื่น ๆ ก็จะเปลี่ยนไป ด้วย เหมือนแรงกระเพื่อมของน�้ำ โลกเปลีย่ นแปลงอยูเ่ สมอ ไม่มอี ะไรหยุดนิง่ แต่เราจะเปลีย่ นไป ในทิศทางใด เจริญ หรือเสื่อม ก็ขึ้นอยู่กับการกระท�ำของเราทุกคน “ทุ ก ชี วิ ต ล้ ว นเชื่ อ มโยงสั ม พั น ธ์ กั น เราอยู ่ ใ นเครื อ ข่ า ยที่ แน่นแฟ้นไม่อาจแยกขาดจากกันได้ ใด ๆ ก็ตามที่ส่งผลกระทบต่อ เราทางตรง จะสะท้อนต่อคนอื่น ๆ ในทางอ้อมด้วย เราเป็นอย่าง ที่เราเป็น เพราะคนอื่นเป็นอย่างที่เขาเป็น นี่เป็นโครงสร้างแห่ง ความเป็นจริงที่เชื่อมสัมพันธ์ระหว่างกันและกัน” มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ ในวาระที่พูดเรื่อง ความเป็นธรรมทางสังคม และการ ผุดบังเกิดของยุคใหม่ แนวทางฝึกตน “ตาใน” สู่การคิดกระบวนระบบ • สภาวะจิตเป็นเรื่องส�ำคัญ การที่เราจะเห็นสิ่งที่มองไม่เห็น ได้ด้วยตา อย่างระบบความสัมพันธ์ เราต้องการสิ่งที่ละเอียดและ ไว – ใจที่นิ่งสงบ ฝึกใจให้นิ่ง สงบ และช้าลงได้บ้าง เพื่อสังเกต ปรากฏการณ์ต่าง ๆ รอบตัว ใจที่นิ่ง สงบ เหมือนน�้ำในทะเลสาบ ที่ใสกระจ่าง สามารถสะท้อนภาพความเป็นจริงให้เราเห็นได้ 154
เมล็ดพันธุ์ชีวิตบูรณาการ
• วางความเชื่อ ข้อสรุปเก่า ๆ โดยมาก เวลาที่เราจะมีค�ำถาม หรือต้องการค�ำตอบอะไรสักอย่าง เรามักกระโจนสูค่ วามคิด ค�ำตอบ สมมติฐานเดิม ๆ ที่เราคุ้นเคย และปักใจ การฝึกคิดกระบวนระบบ เราต้องฝึกฝืนความคุน้ ชินเดิม ๆ หัดห้อยแขวนสมมติฐานเก่าไว้กอ่ น วางความเชื่อเดิมไว้บ้าง แล้วส�ำรวจความเป็นไปได้อื่น ๆ ที่เราอาจ มองข้ามไป หรือละเลยที่จะมอง • ตั้งค�ำถามกับปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้น และสืบค้นหาเหตุ “ท�ำไม” • ฝึกเล่าเรือ่ งให้เห็นภาพ เหมือนเล่าชีวติ ตนเอง หรือเล่า นิทาน การคิดกระบวนระบบเป็นการคิดทีเ่ ห็นเรือ่ งราวของสิง่ ต่าง ๆ ทีส่ มั พันธ์กนั อย่างเป็นระบบ และอยูใ่ นระบบ ดังนัน้ การจะท�ำความ เข้าในเรือ่ งใดให้ลกึ ซึง้ ถึงแก่น เราต้องฝึกเล่าเรือ่ งราวนัน้ ให้เห็นภาพ เพราะเรื่องที่เล่านั้นจะสะท้อนระบบความสัมพันธ์ที่ซ่อนอยู่ • วาดเส้นความสัมพันธ์ การเขียนและวาดภาพความคิดลงมา บนกระดาษ ช่วยให้เราเห็นภาพความคิดที่เป็นนามธรรมในหัว ได้ ชัดเจนขึ้น และยังช่วยสื่อสารกับกลุ่มได้เป็นรูปธรรม ทว่า ในการ วาดภาพความคิดกระบวนระบบนั้น จะไม่เหมือนกับการวาดภาพ แบบ mind map ที่จะเขียนเส้นที่แตกแขนงออกไปเพื่ออธิบาย ว่า เรื่องราวที่เราต้องการท�ำความเข้าใจ ประกอบด้วยอะไรบ้าง เกี่ยวข้องกับอะไรบ้าง เป็นต้น แต่ส�ำหรับการคิดกระบวนระบบนั้น เราต้องวาดเส้นให้เห็นความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ ด้วย ว่า อะไร สัมพันธ์กับอะไร ในเชิงไหน เป็นเหตุ หรือเป็นผลของสิ่งใด และ ความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ ที่มีต่อกันเป็นในลักษณะ เพิ่มก�ำลัง ทวีคูณ หรือหักล้างกัน เป็นต้น • เปิดใจและคิดด้วยกัน เรื่องราวต่าง ๆ ในโลกซับซ้อน ยาก เกินที่ใครคนใดคนหนึ่งจะเข้าใจและรู้เห็นไปทั้งหมด ดังนั้น การคิด ท�ำความเข้าใจเรือ่ งราว ด้วยกันจากผูค้ นทีห่ ลากหลาย จะช่วยให้เรา วิธีคิดกระบวนระบบ (Systems thinking)
155
ทัง้ หมดเห็นภาพของเรือ่ งราวนัน้ ได้กว้างขวาง ลึกซึง้ ขึน้ เพราะแต่ละ คนมีชุดความรู้ ความคิด ประสบการณ์ที่เติมเต็มกันได้ j
“สิ่งที่สวยงามที่สุด ไม่อาจมองเห็นได้ด้วยตา แต่หากเห็นได้ด้วยใจ” – อองตวน เดอ แซง-เตกซูเปรี ในวรรณกรรมคลาสสิก เจ้าชายน้อย
แบบฝึกหัด ชีวิตในระบบ
ทบทวนดูว่า ชีวิตของเราอยู่ และเกี่ยวข้องกับระบบใด บ้าง และระบบต่างๆ ที่แวดล้อมชีวิตเรานั้นเป็นอย่างไร เราจะอยู่กับระบบนั้นให้สอดคล้อง และสร้างสรรค์ได้ อย่างไร แบบฝึกหัดคิด 4 ระดับภูเขาน�้ำแข็ง ลองดูปรากฏการณ์ในพื้นที่ ชุมชน องค์กร หรือ เรื่องราวในสังคมที่เราสนใจมาสักเรื่อง แล้วลอง ด�ำดิ่งดู เพื่อค้นหาต้นตอของปรากฏการณ์นั้น โดย เริ่มที่สาธยายปรากฏการณ์ที่เราเห็นว่าเป็นอย่างไร จากนั้น หาข้อมูลดูสถิติ แบบแผนพฤติกรรมของ ปรากฏการณ์นั้นว่าเป็นอย่างไรบ้าง แล้วค่อยด�ำดิ่งลง ไปอีกชั้นว่า ระบบ หรือโครงสร้างอะไรที่ท�ำให้เกิดรูป แบบพฤติกรรมเช่นนั้น และท้ายที่สุด ค้นลึกลงไปดูว่า ระบบ และโครงสร้างนั้น เกิดมากจากโลกทัศน์ ความ เชื่อ ทัศนคติอะไร 156
เมล็ดพันธุ์ชีวิตบูรณาการ
แบบฝึกหัด “เส้นสายแห่งความสัมพันธ์” ๑. ลองส�ำรวจดูว่า ปัญหาในท้องถิ่นมีสภาพเช่นไร แล้ว เลือกปัญหาส�ำคัญ ๆ ในจังหวัดที่เราอยากจะสืบค้น เข้าใจมาสัก ๑ เรื่อง จากนั้น ค้นหาว่า “เหตุการณ์นี้ เรื่องนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร อะไรเป็นสาเหตุบ้าง” ซึ่งอาจมี มากกว่า ๑ เงื่อนไขก็ได้ แล้วลองถามต่อไปเรื่อย ๆ ว่า เหตุที่พบเป็นผลจากอะไร ท�ำอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ และอย่า ลืมว่า เราต้องลากเส้นความสัมพันธ์ให้รู้ด้วยว่า อะไร เป็นเหตุน�ำไปสู่ผลอะไร เพราะเส้นความสัมพันธ์คือ หัวใจของแบบฝึกหัดนี้ นอกจากนั้น ให้เราลองมองด้วยว่า ปัญหา เหตุ และ ผลต่าง ๆ ที่เราเขียนลงไปบนกระดาษนั้น มีลักษณะ ความสัมพันธ์ต่อกันอย่างไร คือ เป็นแบบเพิ่มก�ำลัง ทวีคูณ คานก�ำลัง มีการชะลอผลแสดงออกบ้างหรือไม่ ๒. ลองทบทวนงาน (บูรณาการ) ที่เราท�ำ ดูว่า ตอนนี้ มีผลอะไรเกิดขึ้นบ้าง ไม่จ�ำเป็นต้องเป็นผลที่ส�ำเร็จ แต่ เป็นผลที่ไม่พึงปรารถนาด้วยก็ดี แล้วสืบหาเหตุว่า ผล ที่ปรากฎขึ้นนั้นมาจากเงื่อนไขปัจจัยอะไรบ้าง ลากเส้น ความสัมพันธ์เหตุ และผล สืบสาวหาเหตุของผลลึกไป เรื่อย ๆ และดูด้วยว่า เรื่องราวต่าง ๆ สัมพันธ์กันใน ลักษณะใด แบบเพิ่มก�ำลังทวีคูณ คานก�ำลัง และมีเรื่อง ใดที่ชะลอให้ผลบ้างหรือเปล่า เมื่อเราท�ำแบบฝึกหัดเส้นสายความสัมพันธ์แล้ว ลอง ดูข้อสืบค้นที่เราบันทึกลงไปบนกระดาษ เราเห็นอะไร ที่มองไม่เห็นมาก่อนหรือไม่ สิ่งที่ซ่อนเร้นอยู่ในความ สัมพันธ์ต่าง ๆ เหล่านั้นท�ำให้เราเห็นหนทางออกจาก ปัญหาที่เผชิญอยู่อย่างไร อะไรบ้าง วิธีคิดกระบวนระบบ (Systems thinking)
157
“คุณไม่อาจเปลี่ยนแปลงสิ่งต่าง ๆ
ด้วยการสู้รบปรบมือกับความจริงที่เป็นอยู่ ถ้าอยากเปลี่ยนแปลงอะไรสักอย่าง จงสร้างสิ่งใหม่ รูปแบบใหม่ ที่จะท�ำให้สิ่งที่เป็นอยู่ในปัจจุบันตกรุ่น และล้าหลังไป” – บัคมินสเตอร์ ฟูลเลอร์
158
เมล็ดพันธุ์ชีวิตบูรณาการ
พลังแห่ง ปฏิบัติการ อันนุ่มนวล Gentle Actions เวลาที่เรานึกถึงการเปลี่ยนแปลงสังคม เรามัก คิดถึงเรื่องใหญ่ ๆ อย่างเช่น สร้างโครงการ ใหม่ ๆ ท�ำระบบบางอย่าง ซึง่ พอนึกถึงทีไร ก็ตอ้ ง มีเรื่องให้คิดมาก ทั้งเรื่องงบประมาณ อ�ำนาจ รัฐ ระบบราชการ ฯลฯ คิดมากเข้า ก็พาลจะไม่ท�ำ เพราะรู้สึกท้อใจ พลังแห่งปฏิบัติการอันนุ่มนวล Gentle Actions
159
แต่ถา้ เราลองทบทวนเรือ่ งราวการเปลีย่ นแปลงในโลกให้ดี ๆ เรา จะเห็นว่า ทุกการเปลี่ยนแปลงเริ่มจากจุดเล็ก ๆ จากคนเพียงไม่ กี่คน ที่มีใจ และลุกขึ้นมาท�ำการเปลี่ยนแปลงด้วยตัวเอง ท�ำใน สิ่งที่ตนเชื่ออย่างต่อเนื่อง แบบ “กัดไม่ปล่อย” แล้วค่อยขยาย ผลออกไป บางที เพียงเราก้าวเดินออกจากบ้าน ไปเคาะประตูบา้ นข้าง ๆ ท�ำความรูจ้ กั และพูดคุยกัน โลกก็เปลีย่ นแล้ว อย่างเรือ่ งราวของสอง สามีภรรยาชาวอังกฤษ แคลร์ และกอร์ดอน ชิพพี ที่เปลี่ยนชุมชน เมืองมิดเดิลโบร จากพื้นที่เสื่อมโทรมจากอุตสาหกรรม ให้เป็นถิ่น ที่อยู่อาศัยที่มีชีวิตชีวา เมื่อความต้องการอุตสาหกรรมหนักบางประเภทลดลง และมี การรย้ายฐานการผลิตไปทีอ่ นื่ โรงงานต่าง ๆ ในเมืองมิดเดิลโบร ต้อง ปิดตัวไป อัตราการว่างงานเพิม่ ขึน้ อาชญากรรมและยาเสพติดตาม มา พร้อม ๆ กับการล่มสลายของสายสัมพันธ์ในชุมชน พื้ น ที่ บ างส่ ว นของเมื อ งสกปรก ขยะเกลื่ อ นถนน อาคาร ร้างกลายเป็นแหล่งมั่วสุม เสพและค้ายาเสพติด พื้นที่ในเมืองไม่ ปลอดภัยส�ำหรับเด็ก ๆ ทีจ่ ะออกมาสนุกข้างนอก สภาพเมืองย�่ำแย่ มากจนขนาดว่า รายการโทรทัศน์ชอ่ งหนึง่ ของอังกฤษให้เรตติง้ เมือง นี้ว่า เป็นเมืองที่ไม่น่าอยู่ที่สุดในอังกฤษ คราวหนึง่ สามีภรรยาคูน่ มี้ โี อกาสไปเห็นสภาพชุมชนแห่งหนึง่ ในเมืองปาริ ประเทศอิตตาลี ผู้คนที่นี่รู้จักและทักทายกันด้วยชื่อ เสียงเรียงนาม คนทั้งสองรู้สึกสะเทือนใจมาก เพราะพวกเขาไม่รู้ จักคนที่อยู่บ้านใกล้เรือนเคียงเลย เมื่อกลับบ้าน พวกเขาจึงเริ่มปฏิบัติการ “เคาะประตู” หลัง เลิกงานในแต่ละวัน พวกเขาจะเดินไปตามท้องถนน เคาะประตู 160
เมล็ดพันธุ์ชีวิตบูรณาการ
บ้านทีละบ้าน และแนะน�ำตัวเอง และท�ำความรู้จักกับเพื่อนบ้าน ไปเรื่อย ๆ จนทั่วชุมชน เมื่อความสัมพันธ์ในชุมชนดีขึ้น ผู้คนรู้จักกันมากขึ้น ก็เกิด การรวมตัวกัน ช่วยกันท�ำสิ่งดี ๆ พัฒนาถิ่นที่อยู่ในงดงาม จากที่ เคยต่างคนต่างอยู่ ไม่ยี่หระต่อสิ่งที่เกิดขึ้นในชุมชน ก็หันมาใส่ใจ ระแวดระวังภัยให้กันและกันมากขึ้น ชุมชนสะอาดขึ้น พื้นที่ที่เคย เป็นแหล่งมั่วสุมและอันตรายก็กลายเป็นพื้นที่สาธารณะให้ชุมชน ท�ำกิจกรรมร่วมกัน การเปลี่ยนแปลงเริ่มขึ้นเมื่อเราเปลี่ยน – เปลี่ยนความสัมพันธ์ กับผู้อื่น และสิ่งแวดล้อม เราเรียกยุทธวิธนี วี้ า่ การปฏิบตั กิ ารทีน่ มุ่ นวล เป็นหลักการทีย่ นื อยู่บนพื้นฐานความคิดแบบองค์รวม และทฤษฎีซับซ้อนเป็นพลวัต ซึง่ มองว่า ปรากฎการณ์และตัวบุคคลไม่ได้แยกจากกัน ปัญหาทีเ่ กิด ขึ้น และทางออกไม่ได้อยู่ภายนอก หรืออยู่ที่คนอื่น ตรงกันข้าม เรานั่นเอง คือ ส่วนหนึ่งของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และหนทางออกจากปัญหานั้นก็มีเราเป็นหนึ่งในตัวละครด้วย เมื่อ เราเห็นตัวเองในระบบและเรื่องราวที่เกิดขึ้น เราก็จะเห็นว่า เราจะ เข้าไป “ร่วมมีส่วนสัมพันธ์” (engage) กับในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ในอย่างไรบ้าง ปฏิบัติการอันนุ่มนวล อันเป็นกระบวนการบูรณาการที่มี ชีวิต จึงให้ความส�ำคัญกับความสัมพันธ์ และเน้นส่งเสริมปัจจัยที่ สร้างสรรค์ชีวิต มากกว่าการเข้าไปใช้ก�ำลัง บังคับควบคุมสิ่งต่าง ๆ ซึ่งเป็นปฏิบัติการจากพลังที่แข็งกร้าว แต่โดยมาก เรามักใช้ปฏิบัติการที่แข็งกร้าวจัดการปํญหา พลังแห่งปฏิบัติการอันนุ่มนวล Gentle Actions
161
ยิ่งถ้าปัญหาดูโกลาหล เข้าใจยาก จัดการล�ำบาก เราก็จะยิ่งลนลาน หาทางออก (อย่างรวบรัด และรวดเร็ว) ด้วยการเข้าไปควบคุม จัดการ (manage and control) สร้างกฎระเบียบเพิ่มขึ้น เพิ่ม อ�ำนาจให้กับการบริหารจัดการมากขึ้นกว่าเก่า เพื่อให้ทุกอย่าง คงที่ คงตัว ทว่า วิธีการปฏิบัติการอย่างนี้มักไม่ได้ผล และจะยิ่งท�ำให้ เรื่องราวเลวร้ายลงไปกว่าเดิมอีก เรื่องราวการประท้วงในโลก อาหรับเป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัดของผลกระทบจากปฏิบัติการอัน แข็งกร้าว ยิ่งรัฐบาลบังคับใช้ก�ำลังกับผู้ประท้วงมากเท่าไร ผลกระ ทบก็ยงิ่ มาก ลุกลามบานปลาย เป็นสงคราม ผูค้ นอพยพหนีภยั ฯลฯ ส�ำหรับโลกที่ซับซ้อน อ่อนไหว เปราะบาง เราต้องใช้พลัง ปฏิบตั ทิ นี่ มุ่ นวล เหมือนพลังของน�ำ้ ทีไ่ หลแทรกและซึมเข้าไปเปลีย่ น สิ่งต่าง ๆ ได้ เราได้เห็นตัวอย่างความยิง่ ใหญ่ของพลังปฏิบตั กิ ารอันนุม่ นวล มาแล้วในอดีต อย่าง ขบวนการสันติอหิงสาของท่านมหาตมะ คานธี ความอ่อนโยน การไม่ใช้ความรุนแรง และการวางความเกลียด ชังแบ่งแยก สามารถเอาชนะจักรวรรดิองั กฤษทีท่ รงพลัง ทัง้ อ�ำนาจ รัฐ อ�ำนาจกฎหมายและศาตราวุธมาแล้ว อ่อนสยบแข็ง แม้การเปลี่ยนแปลงจะเป็นกฎของธรรมชาติ (อนิจจัง) แต่ หลายครั้ง เวลาที่เราพยายามเปลี่ยนแปลงสิ่งต่าง ๆ เปลี่ยนระบบ เปลี่ยนผู้คน เราจะเจอกับแรงผลักและต่อต้านเสมอ เพราะสิ่ง ต่าง ๆ จะไม่ยอมให้เราเปลี่ยนมันง่าย ๆ แม้กระทั่งตัวเราเอง การ 162
เมล็ดพันธุ์ชีวิตบูรณาการ
เปลี่ยนแปลงตัวเอง ยังเป็นเรื่องยาก เราเผชิญกับแรงต้านภายใน และความคุ้นชินเดิม ๆ การทีจ่ ะสูก้ บั ระบบทีฝ่ นื และต้านการเปลีย่ นแปลง ด้วยวิธกี าร ปะทะ เผชิญหน้า ต้องอาศัยอ�ำนาจและพลังที่เหนือกว่า เหมือนว่า หากคู่ต่อสู้ของเราเป็นคนตัวใหญ่กว่า ก�ำลังมากกว่า แข็งแรงกว่า หากเราจะสู้แบบชกกัน ใช้ก�ำลังปะทะ เราก็คงแพ้ หากหวังชนะ เราต้องเปลี่ยนวิธีสู้ ซึ่งมีหลายวิธี แต่หลักการ เดียวคือ “อ่อนสยบแข็ง” หรือปฏิบัติการอันนุ่มนวล เวลาที่เราสู้กับระบบที่มีพลังเหนือกว่า เราต้องไม่ปะทะ แต่ ให้ใช้พลังของคู่ต่อสู้ให้เป็นประโยชน์กับเรา เหมือนการเล่นเรือใบ กระแสลมและคลื่นพัดเข้าหาฝั่ง เสมอ หากเราจะสู้กับลม และคลื่นน�้ำ โดยการแล่นเรือใบ ออกไปตรง ๆ เราย่อมถูก ซัดกลับเข้าฝั่งทุกครั้งไป เราจะแล่ น เรื อ ใบออก ทะเลได้ เราต้ อ ง เรียนรู้ที่จะใช้พลังธรรมชาติ ที่ เ ราไม่ อ าจ ควบคุ ม ได้ นี้ ให้ ส ่ ง เราไป ในทิ ศ ทางที่ ปรารถนา ... อย่างไร? ผู ้ เ ล่ น เรื อ ใบใช้ กระแส คลื่ น และลมใน การผลักตัว เรื อ ให้ อ อก นอกทะเล
พลังแห่งปฏิบัติการอันนุ่มนวล Gentle Actions
163
โดยค่อย ๆ ทะแยงตัวเรือให้รบั ลมแบบซิกแซก ไปซ้ายที ขวาที อย่าง นี้จนเรือออกไปอยู่กลางทะเลได้ และใช้กระแสน�้ำ และลมนี้เองใน การพาเรือออกไปสู่ฝั่ง เราจะปฏิบัติการอันนุ่มนวลอย่างนี้ได้ ก็ต่อเมื่อเราเห็นพลัง และเรียนรู้ที่จะใช้พลังต่าง ๆ ที่พุ่งเข้าหาเรา ผลักดัน ส่งเสริมเรา ไปในทิศทางแห่งจุดหมาย ศาสตร์ศลิ ปะป้องกันตัว ไอคิโด อธิบายเรือ่ งนีไ้ ด้ดี เมือ่ คูฝ่ กึ ทีม่ ี ก�ำลังมากกว่า ปรีเ่ ข้าหาเรา หากเราใช้ก�ำลังทีน่ อ้ ยกว่าโต้ตอบ เราก็ จะถูกทุม่ ได้โดยง่าย แต่หากเราใช้วธิ กี ารเบีย่ งตัว หลบคูฝ่ กึ ทีต่ วั ใหญ่ กว่าสักเล็กน้อยให้เขาเสียหลัก แล้วเราค่อยผลักเขาไปในทิศทางที่ เขาพลั้ง เขาก็จะล้มเองอย่างง่ายดาย ใหม่ล้างเก่า หลายครัง้ เวลาทีเ่ ราอยากเปลีย่ นแปลงระบบ หรือเปลีย่ นแปลง อะไรสั ก อย่ า ง เรามั ก พยายามต่ อ สู ้ ท� ำ ลายล้ า ง ให้ สิ่ ง ที่ เราไม่ ปรารถนาพังทลาย ไม่เหลือซาก แต่พลังปฏิบตั กิ ารอันนุม่ นวล สอน เราว่า เรามีวิธีที่สร้างสรรค์ได้กว่านั้น บัคมินสเตอร์ ฟูลเลอร์นักวิศวกร นักทฤษฎีระบบและอนาคต ศาสตร์ กล่าวว่า “คุณไม่อาจเปลีย่ นแปลงสิง่ ต่าง ๆ ได้ดว้ ยการสูร้ บ ปรบมือกับความจริงที่เป็นอยู่ ถ้าอยากเปลี่ยนแปลงอะไรสักอย่าง จงสร้างสิ่งใหม่ รูปแบบใหม่ ที่จะท�ำให้สิ่งที่เป็นอยู่ในปัจจุบันตก รุ่น และล้าหลังไป” เราจะเห็นเรือ่ งนีจ้ ากเทคโนโลยี ทีเ่ มือ่ สิง่ ใหม่ออกมาตอบสนอง ความต้องการผูบ้ ริโภคได้ดกี ว่า สิง่ เก่าก็ตกรุน่ ไป โดยทีเ่ ราไม่ตอ้ งใช้ พลังในการผลักไส หรือท�ำลายสิ่งที่ไม่ชอบ 164
เมล็ดพันธุ์ชีวิตบูรณาการ
บางครั้ง ในความพยายามเปลี่ยนแปลงบางสิ่งบางอย่างใน องค์กร และสังคม เราอาจไม่ตอ้ งใช้แรง และเวลาไปกับการพยายาม รื้อถอนสิ่งเก่า ๆ ระบบเก่า ๆ ที่ไม่น่าปรารถนา แต่เราน่าจะเอา เวลา พลังความคิดไปสร้างสรรค์สิ่งใหม่ และน�ำสิ่งใหม่นั้นเข้าไป ในระบบ องค์กร และให้สิ่งใหม่นี้ขยายผล งอกงาม และลบ ล้าง ของเก่าออกไปเอง สานสัมพันธ์ สร้างความเปลี่ยนแปลง วันที่ ๑๘ มกราคม ๒๕๔๑ ผู้คนทั้งในและต่างประเทศมารวม ตัวกันบนถนนสายเล็ก ๆ สนุกสนานกับกิจกรรมหลากหลายบนถนน พระอาทิตย์ ทีเ่ ปิดพืน้ ทีถ่ นนให้คนได้มารูจ้ กั และสานสัมพันธ์กนั ใน โครงการ “สนุกกับถนน ฟื้นชุมชนพระอาทิตย์” คนในชุมชนบางล�ำพูเป็นเจ้าบ้านต้อนรับผู้คนมากมายที่มา เยี่ยมถิ่น บอกเล่าประวัติความเป็นมาของชุมชน อวดแหล่งศิลป วัฒนธรรมเก่าแก่ บ้านครูเพลง ร้านอาหารมุสลิมแสนอร่อย และร้าน รวงเก่า ๆ ของคนในย่านนัน้ เป็นบรรยากาศแห่งสีสนั ของชาวเมือง กิจกรรมเพียง ๑ วันในวันนั้น ส่งผลสะเทือนมาจนวันนี้ เป็น เวลา ๑๔ ปีแล้ว กระแสปิดถนนที่ถนนพระอาทิตย์กระเพื่อมไปยัง ถนนอีกหลายสายทั่วประเทศ ทั้งในกรุงเทพ และหัวเมืองใหญ่ ๆ กลายเป็นกิจกรรมทางสังคมของชุมชนที่ได้รับความนิยมไปแล้ว ในปัจจุบัน ส�ำหรับที่บ้านบางล�ำพู นับแต่วันจัดงาน ความเป็นชุมชนเก่า ที่อยู่ร่วมประสานกับความใหม่ ก็ยังคงอยู่ ย่านนี้ยังคงสีสัน ความ มีชีวิตชีวา สภาพบ้านเรือนได้รับการดูแล ทางเดินเท้าสะอาด ปลอดภัย การท่องเที่ยว และการค้าของชุมชนกระเตื้องขึ้นเรื่อย ๆ พลังแห่งปฏิบัติการอันนุ่มนวล Gentle Actions
165
ผลจากงานในคราวนั้นท�ำให้ชุมชนร่วมผลักดันให้มีสวนสาธารณะ ที่งดงาม “สวนสันติชัยปราการ” เป็นแหล่งพักผ่อน และพื้นที่ใช้ ประโยชน์ของเมือง กระแสความสนใจและความภูมิใจในศิลวัฒนธรรมท้องถิ่นใน ชางบางล�ำพูยังมีให้เห็น คนในชุมชนภูมิใจในอัตตลักษณ์ของตัว เอง รักษาชุมชน และได้แรงบันดาลใจจากผู้คนจากต่างถิ่นด้วยที่ แวะเข้ามาเรียนรู้ เยี่ยมเยียนเสมอ ๆ อย่างอาจารย์และนักศึกษา ด้านสถาปัตยกรรมจากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ที่มักมาลงพื้นที่ศึกษา มรดกทางวัฒนธรรมที่บ้านในบางล�ำพูเสมอ ๆ ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในชุมชน และแรงกระเพื่อมจาก งานปิดถนนเพียงวันเดียวนั้น เกิดมาจากความสัมพันธ์ที่สร้างสาน มากว่า ๑ ปี งานปิดถนนไม่ใช่งานรื่นเริงสนุกสนานเท่านั้น แต่งาน ปิดถนน เป็นงานเปิดพื้นที่หัวใจของชุมชน และเปิดพื้นที่สาธารณะ ให้เมือง ให้ผคู้ นได้มที ที่ างพบปะสังสรรค์ แลกเปลีย่ นความคิด ความ รู้สึก และเชื่อมสัมพันธ์กันมากขึ้น ทางโครงการ น�ำโดยอาจารย์ชัยวัฒน์ ถิระพันธุ์ ใช้เวลาราว ๑ ปี ชวนคนในชุมชน พูดคุยสนทนากันให้เห็นคุณค่า ศักยภาพของ ชุมชน ให้ชุมชนจินตนาการภาพอนาคตของตัวเอง และให้คนใน ชุมชนรูจ้ กั และเชือ่ มใจกัน เพือ่ ให้ลงมือ ลงใจ ลงความคิดฟืน้ ฟูชมุ ชน ด้วยกัน ปรับกายภาพ เปลี่ยนชีวิต เรือ่ งราวของถนนท่าพระอาทิตย์ ชุมชนชาวบางล�ำพู ท�ำให้เรา เห็นว่า เมื่อคนเปลี่ยนวิธีที่ตนเองสัมพันธ์ระหว่างกัน ลักษณะพื้นที่ ทางกายภาพก็จะเปลี่ยนไป 166
เมล็ดพันธุ์ชีวิตบูรณาการ
ในทางกลับกัน เราอาจจะใช้การปรับเปลีย่ นพืน้ ทีท่ างกายภาพ เพือ่ ปรับเปลีย่ นวิถชี วี ติ ของคนได้เช่นกัน แต่สงิ่ แรกทีต่ อ้ งเกิดขึน้ คือ การเปลี่ยนมุมมอง และจินตนาการ ที่มหานครลอนดอน เมื่อประมาณ ๖๐ ปีที่แล้ว ด้านฝั่งตะวัน ออกของแม่น�้ำเทมส์ เป็นย่านที่ท�ำอู่ต่อเรือ หลังจากกิจการต่อเรือ เลิกร้างไป ย่านนี้ก็เสื่อมโทรม กลายเป็นดินแดนสนธยา ตึกร้าง คน ว่างงาน กลายเป็นถิ่นที่อยู่ของคนยากจน ไร้ที่อยู่ คนกินเหล้าเมา ยา และอาชญากรรม จัดว่าเป็นแหล่งอันตราย ไม่พัฒนา และไม่มี ใครอยากเข้ามาอยู่ จนวันหนึ่ง สถาปนิกคนหนึ่งพลิกมุมมอง เขาลองจินตนาการ ว่า หากรื้อตึกต่อเรือออกไป สภาพเมืองจะเป็นอย่างไร ภาพอะไร จะปรากฏ และเขาก็เห็นว่าหากเอาอู่ต่อเรือออกไป สิ่งที่จะเห็น คือ ทัศนียภาพอันงดงามของแม่น�้ำเทมส์ เมื่ออู่ต่อเรือถูกรื้อออกไป ทิวทัศน์ย่านนั้นก็เปลี่ยน ผู้คนเริ่ม เห็นความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ของเมือง จากนั้นย่านอีสเอ็น (East Ends) ที่เป็นแหล่งความยากจน และอาชญากรรมอันตราย กลาย เป็นดงของเหล่าศิลปิน กิจกรรมสร้างสรรค์ หนุ่มสาวสมัยใหม่เข้า มาพักอาศัย กลายเป็นย่านทันสมัย และเป็นแหล่งเศรษฐกิจใหม่ ของลอนดอน อีกเรื่องหนึ่งที่น่าสนใจไม่แพ้กัน คือ ทุบถนนและทางด่วน เพื่อคืนสายน�้ำเก่าให้เมือง เรื่องนี้เกิดที่กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ ประเทศที่ก�ำลังขี่กระแสเศรษฐกิจสร้างสรรค์ได้อย่างงดงาม แม่น�้ำล�ำธารในเมือง เปรียบเสมือนเส้นเลือดหล่อเลี้ยงผู้คน และความมีชีวิตชีวาของเมือง ซึ่งในทุก ๆ เมืองหลวงมักจะมีแม่น�้ำ ล�ำธารหลายสายหล่อเลี้ยงเมือง ในกรุงโซลก็เช่นกัน พลังแห่งปฏิบัติการอันนุ่มนวล Gentle Actions
167
หนึ่งในล�ำธารส�ำคัญที่ไหลผ่านกลางกรุงโซล คือ ล�ำธารชอง เกชอน (Cheonggyecheon) เป็นล�ำธารเก่าแก่อายุกว่า ๖๐๐ ปี และมีความยาวเกือบ ๖ กิโลเมตร แต่เมื่อช่วง ๖๐ ปีที่ผ่านมา ภาวะสงคราม และแนวทางการ พัฒนาประเทศในเชิงอุตสาหกรรม ท�ำให้ประชากรในเมืองเพิ่มขึ้น ผู้คนเริ่มลุกร�้ำเข้ามาอยู่ใกล้ล�ำธาร ท�ำให้น�้ำในล�ำธารเริ่มด�ำเน่า ตื้นเขินและแคบลงไปทุกที กลายเป็นแหล่งคนยากจน ในที่สุด คน ก็ไม่เห็นความจ�ำเป็นของล�ำธารอีกต่อไป จึงถมล�ำธารสร้างถนน จนกระทั่งปี ๒๕๔๖ เมื่อ นายลี มุน บัค (Lee Myung Bak) เข้ารับต�ำแหน่งนายกเทศมนตรีกรุงโซล เขาเริ่มด�ำเนินนโยบาย ฟื้นล�ำธารสายนี้ ตามที่ได้ประกาศไว้ตอนหาเสียง สิ่งที่เขาท�ำ คือ รื้ อ ถนน และทางด่ ว น (ที่ มี ร ถวิ่ ง วั น ละประมาณ ๑๖๘,๐๐๐ คัน) ปรับปรุงภูมิทัศน์สองฝั่งน�้ำความยาวเกือบ ๖ กิโลเมตร ให้ ประชาชนมาร่วมปลูกต้นไม้ คืนสายน�้ำให้ไหลดังเดิมด้วยการผัน น�้ำกว่า ๑๒๐,๐๐๐ ตันต่อวัน เพื่อให้ล�ำธารมีระดับน�้ำประมาณ ๔๐ เซนติเมตรตลอดปี โครงการนี้ใช้เวลาในการปรับปรุงกว่า ๒ ปี และใช้เงินลงทุน กว่า ๓๖๐ ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ ทุกวันนี้ ล�ำธารชองเกชอน กลับมาเป็นหัวใจของเมืองโซลอีก ครั้ง ตลอดเส้นทางกว่า ๖ กิโลเมตรของล�ำธาร กลายเป็นแหล่ง ท่ อ งเที่ ย ว สถานที่ พั ก ผ่ อ นหย่ อ นใจของเมื อ ง และเป็ น แหล่ ง เศรษฐกิจสร้างสรรค์สำ� คัญ พืน้ ทีบ่ ริเวณนีเ้ ป็นแหล่งทีอ่ ตุ สาหกรรม ภาพยนตร์มักใช้ในการถ่ายท�ำเสมอ ๆ ทั้งชาวเกาหลี และนักท่องเที่ยวต่างชาติ แวะเวียนมาเที่ยว ชมสถานที่แห่งนี้มากมายในแต่ละปี นอกนั้น ล�ำธารชองเกชอน 168
เมล็ดพันธุ์ชีวิตบูรณาการ
ยังบอกเล่าความเป็นมาและวัฒนธรรมของชนชาติเกาหลีอีกด้วย อาทิ บริเวณทีใ่ ช้ซกั ผ้าในยุคโบราณ และ ก�ำแพงแห่งความหวัง ทีท่ ำ� จากกระเบือ้ งเซรามิกทีใ่ หญ่ทสี่ ดุ ในโลก สร้างขึน้ เพือ่ เป็นสัญลักษณ์ แสดงถึงความเสียใจต่อการแบ่งแยกดินแดนออกเป็น เกาหลีเหนือ และเกาหลีใต้ และความหวังที่จะกลับมารวมกันอีกครั้ง นอกจากนี้ สองข้างฝัง่ ถนนริมล�ำธารยังมีรา้ นกาแฟ ร้านอาหาร และบาร์ให้ผู้คนได้สังสรรค์ ดื่มด�่ำบรรยากาศและเสน่ห์ของเมือง บริเวณนั้นอีกด้วย เมื่อเราคืนน�้ำให้ล�ำธาร สายน�้ำชองเกชอนนี้ก็ได้คืนชีวิตชีวา กลับสู่เมือง อากาศเสียและมลพิษทางเสียงที่เป็นผลมาจากถนน และทางด่วนน้อยลงไปมาก ตลอดล�ำธาร เริม่ พบพืชและสัตว์นานา ชนิด ผู้คนออกมาท�ำกิจกรรม ปฏิสัมพันธ์กันมากขึ้น จิตวิญญาณ และหัวใจผู้คนก็กลับสู่เมืองด้วยเช่นกัน จินตนาการชิคาโก บลิส บราวน์ เป็นชาวเมืองชิคาโก้ที่มีหัวใจรักและอยากเห็น เมืองทีเ่ ธอเกิดและมีชวี ติ เป็นเมืองทีน่ า่ อยู่ ปลอดภัย ด้วยความเป็น พลเมืองคนหนึ่ง เธอไม่รอที่จะให้เมืองมอบสิ่งที่เธอต้องการให้กับ เธอ แต่เธอลุกขึ้นมาท�ำอะไรสักอย่างเพื่อสร้างเมืองในจินตนาการ สิ่งที่เธอคิดสร้าง ไม่ใช่ ถนน อาคาร หรือสวนสาธารณะ แต่ สิ่งที่เธอคิดสร้าง คือ พลเมืองชิคาโก้ที่ตระหนักถึงคุณค่าของเมือง และสร้างความสัมพันธ์ระหว่างชาวเมืองชิคาโก้ เพื่อให้เกิดความ รูส้ กึ เป็นหนึง่ เดียวกัน และร่วมกันท�ำกิจกรรมต่าง ๆ เพือ่ สร้างสรรค์ เมืองที่น่าอยู่ต่อไป ในปีค.ศ. ๑๙๙๒ คุณแม่ลูกสามคนนี้ เริ่มสานจินตนาการของ พลังแห่งปฏิบัติการอันนุ่มนวล Gentle Actions
169
เธอด้วยการศึกษาเรียนรู้ประวัติศาสตร์เมืองชิคาโก รับฟังความ เห็นชองผู้คนในเมือง เดินทางไปเยี่ยมเมืองอื่น ๆ ที่มีความคิดริเริ่ม สร้างเมือง เธอชวนเชิญองค์กร ชุมชนต่าง ๆ ทั้งทางศาสนา สื่อมวลชน ผู้น�ำเยาวชน องค์กรธุรกิจ นักศึกษา รวมความแล้วหลายภาคส่วน ตัวแทนในเมืองชิคาโก้ จนเป็นเครือข่ายหลวม ๆ “จินตนาการ ชิคาโก้” เพือ่ ออกแบบกระบวนการสร้างกระบวนการพลเมืองมีสว่ น ร่วม สร้างสรรค์เมืองชิคาโก้ โดยมีแก่นแกนที่ค�ำ ๓ ค�ำ คือ เข้าใจ จินตนาการ และสร้างสรรค์ กระบวนการหลัก ๆ ที่องค์กรนี้ใช้จินตนาการเมืองมี ๔ ข้อ ด้วยกันคือ ใช้ค�ำถามเชิงสร้างสรรค์ โดยเริ่มจากการดึงแง่ดีของเมือง มา เป็นฐานคิดต่อว่าจะต่อยอดอนาคตให้ดีขึ้นได้อย่างไร การสนทนา ร่วมกันจากคนทีห่ ลากหลาย อายุ เชือ้ ชาติ อาชีพ การศึกษา เป็นต้น การสนทนาในเชิงบวกจะเป็นสะพานเชื่อม ประสบการณ์และภูมิปัญญาของคนรุ่นก่อน และพลังความตั้งใจ ของคนรุ่นใหม่ และเชื่อมร้อยส่งต่อคุณค่าระหว่างคนในเมือง เพื่อ สร้างอนาคตร่วมกัน ออกแบบเนือ้ หากิจกรรม เพือ่ ท�ำความเข้าใจจินตนาการ สร้าง โครงการเพื่อชุมชน น�ำวิสัยทัศน์มาขยายในพื้นที่ สร้างเครือข่าย คนและกลุ่ม องค์กรที่มีเป้าหมายเดียวกันใน การสร้างอนาคตชุมชน “จินตนาการชิคาโก้” เป็นกระบวนการสร้างพลังให้กบั พลเมือง แล้วให้พลเมืองไปรวมตัว ตั้งกลุ่ม ท�ำงานแก้ปัญหา และสร้างสรรค์ โอกาสต่าง ๆ ในพื้นที่ของตนเอง และร่วมมือเรียนรู้กับกลุ่มอื่น ๆ ในเมืองด้วย 170
เมล็ดพันธุ์ชีวิตบูรณาการ
ปฏิบัติการอันนุ่มนวล ไม่ใช้การปะทะตรง ๆ แต่จะใช้วิธีการที่ ท�ำในสิ่งที่จะพลิกเรื่องราวได้ ซึ่งหลายครั้ง สิ่งที่ท�ำอาจดูเป็นคนละ เรื่องกับสิ่งที่ตั้งใจให้เกิดผล อย่างเช่น การปิดถนนเพื่อรื้อฟื้นชุมชน และสร้างความตระหนักถึงคุณค่าของพื้นที่สาธารณะ ผลของปฏิบัติการอันนุ่มนวลจะไม่เกิดขึ้นอย่างฉับพลันทันที และจะยังไม่ชัดเจนในตอนเริ่มต้นด้วย แต่หากยังท�ำอย่างต่อเนื่อง ผลจะเริ่มปรากฏ และให้ผลสะเทือนยาวนานยั่งยืน ปฏิบัติการอันนุ่มนวล เป็นปฏิบัติการที่ท�ำงานตามกระบวน ทัศน์ระบบที่มีชีวิต ซึ่งมีหลักส�ำคัญ ๆ อยู่ที่ ความสัมพันธ์และ คุณภาพของความสัมพันธ์ของสิง่ ต่าง ๆ ในระบบ หากความสัมพันธ์ ในระบบเปลี่ยน สิ่งต่าง ๆ ในระบบก็จะเปลี่ยนไปด้วย ปฏิบัติการอันนุ่มนวลเหมือนการท�ำงานของคนสวน ที่คอย ใส่ใจดูแลพืชผล และให้เงือ่ นไขปัจจัยให้พชื พันธุง์ อกงามเติบโต และ หากมีสิ่งคุกคามก็ไปจัดการกับสิ่งคุกคามนั้น ๆ เราให้เหตุปัจจัย และเงื่อนไขใดกับระบบ ระบบก็จะเติบโตไป ในทิศทางนั้น ประเด็นส�ำคัญจึงอยู่ที่ เราเห็น และจินตนาการออก หรือไม่ว่า สิ่งที่เราท�ำ และคิดจะท�ำ จะให้ผลเช่นไร j “การเปลี่ยนแปลงไม่ใช่การเดินทางไปในอนาคต หรือเรื่องที่จะ เกิดขึ้นในอนาคต หากแต่การเปลี่ยนแปลงคือการลงมือกระท�ำ สิ่งต่าง ๆ เพื่อน�ำอนาคตมาในปัจจุบัน”
พลังแห่งปฏิบัติการอันนุ่มนวล Gentle Actions
171
แบบฝึกหัด ๑. จากตัวอย่างในบทนี้ เราได้เห็นว่าปฏิบัติการอัน นุ่มนวลอาศัยพลังจินตนาการไม่น้อยเลย ลองดูพื้นที่ ในชุมชนของเรา มีพื้นที่รกร้างว่างเปล่า หรือไม่ ลอง จินตนาการดูว่า พื้นที่นั้นเปลี่ยนเป็นอย่างอื่นได้ไหม เป็นอย่างไร เราจะปรับเปลี่ยนอะไรบางอย่างในชุมชนที่ จะท�ำให้เกิดพื้นที่ที่สร้างสีสันชีวิตชีวาให้บ้านเรา ๒. เลือกปัญหาความท้าทายในชุมชนสัก ๑ เรื่อง แล้ว ลองดูว่า เราจะท�ำอะไรในแบบปฏิบัติการอันนุ่มนวลได้ บ้าง เข้าไปเปลี่ยนเงื่อนไขของเหตุการณ์เสียใหม่ เพื่อ ให้เกิดผลที่ปรารถนา และ ปัญหาลดลง ๓. เห็นของดีที่มีอยู่ ชุมชนที่เราอยู่ องค์กรที่เราท�ำงาน จังหวัด ภูมิภาคที่ เราอยู่ มีอะไรดี ๆ บ้าง ของดีที่ว่านี้เป็นได้ทั้งสิ่งที่เป็น รูปธรรม และนามธรรม เช่น วิถีชีวิต ธรรมชาติ ศิลปะ วัฒนธรรม ความดี รอยยิ้ม ความรักสามัคคี เป็นต้น ในเวทีอบรม อาจารย์ชัยวัฒน์ให้เราร่วมสนทนาใน หัวข้อว่า “ในสายตาของเรา จังหวัดของเพื่อน ๆ มี อะไรที่ทรงคุณค่าแก่การอนุรักษ์และส่งเสริมบ้าง” เพื่อ ให้คนจากต่างพื้นที่สะท้อนสิ่งดี ๆ ของที่อื่น ๆ ให้กัน ฟัง เป็นต้นว่า คนเชียงใหม่สะท้อนสิ่งดี ๆ ในจังหวัด เชียงรายให้คนเชียงรายฟัง คนล�ำพูนสะท้อนความงาม ของเมืองแพร่ให้คนเมืองแพร่ฟัง
172
เมล็ดพันธุ์ชีวิตบูรณาการ
การที่ให้ท�ำแบบนี้ เพราะว่า หลายครั้ง เรามักรู้สึกว่า บ้านคนอื่น ประเทศอื่นดีกว่าเรา เพราะเราเห็นสิ่งที่เรา มีอยู่จนเคยชิน บางทีการที่คนอื่นบอกเราว่าเรามีดี อย่างไร จะสะท้อนให้เราเห็นความดีงามที่เรามองข้าม เหมือนอย่างที่บางครั้ง เราต้องให้คนต่างชาติมาบอก เราว่า สิ่งดีในบ้านเราคืออะไร เราจึงย้อนมาเห็นคุณค่า เราจะใช้ของดีที่มีอยู่แล้วนั้น ให้สร้างสรรค์ต่อยอดยิ่ง ๆ ขึ้นไปได้อย่างไร เราจะเอาของดีที่มี เพิ่มคุณภาพชีวิต ของชุมชน องค์กร จังหวัด ประเทศของเราอย่างไร ๔. จินตนาการภาพอนาคตของตัวเอง ในปี .... (สมมติ ว่า ๒๕๕๕) เราอยากเห็นตัวเองมีสุขภาพอนามัย จิตใจเป็นอย่างไร การงาน ชีวิต เป็นอย่างไร ภาพอนาคตในครอบครัวเป็นอย่างไร ทีมงาน และ เพื่อนร่วมงาน ชุมชนที่เราอยู่เป็นอย่างไร
พลังแห่งปฏิบัติการอันนุ่มนวล Gentle Actions
173
“… การพูดคุยกันของมนุษย์เป็นหนทางในการ ก่อให้เกิดปัจจัยไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่เก่าแก่ที่สุด และง่ายดายที่สุด ทั้งในระดับบุคคล ชุมชน และระดับโลก หากเราสามารถนั่งลงเพื่อพูดคุยกันถึงสิ่งที่พวกเรา ให้ความส�ำคัญ เราจะกลับมามีชีวิตชีวา ...” – มาร์กาเร็ต เจ. วีตเลย์ หนังสือ หันหน้าเข้าหากัน
174
เมล็ดพันธุ์ชีวิตบูรณาการ
การสนทนา ที่ผลิดอก ออกผล
ในบททีแ่ ล้ว เราได้เห็นตัวอย่างความเปลีย่ นแปลง ในสังคม อันเกิดจากพลังปฏิบตั กิ ารอันนุม่ นวล ถ้า เราลองสังเกตดูแหล่งทีม่ าของพลัง และแบบแผน พฤติกรรมของปฏิบตั กิ ารต่าง ๆ เหล่านัน้ ให้ดแี ล้ว เราจะพบว่า ความเปลี่ยนแปลงที่อัศจรรย์หลาย เรื่อง จุดประกายมาจากกระบวนการที่แสนจะ เรียบง่าย นั่นคือ การสนทนา การสนทนาที่ผลิดอกออกผล
175
ชุมชนในเมืองมิดเดิลโบร ประเทศอังกฤษ กลายสภาพจาก เมืองยอดแย่มาเป็นเมืองน่าอยู่ หลังจากทีส่ องสามีภรรยาเริม่ เปิดใจ คุยกับเพื่อนบ้าน แล้วขยายวงสนทนาไปยังกลุ่มคนต่าง ๆ ที่สนใจ พัฒนาชุมชนที่ตนอยู่ให้ดีขึ้น กระแสปิดถนนคนเดิน เป็นผลพวงจากวงสนทนาของกลุ่มคน ที่สนใจสร้างสรรค์พื้นที่สาธารณะในเมือง การสนทนาในประเด็นนี้ ขยายวง ลงสูช่ มุ ชนบางล�ำพู เรือ่ ยมาจนเกิดงาน “ปิดถนน ฟืน้ ชุมชน พระอาทิตย์” และกระแสปิดถนนก็ยงั คงกระเพือ่ มอยูใ่ นหลายเมือง ใหญ่จนทุกวันนี้ ในหนังสือ “หันหน้าเข้าหากัน” มาร์กาเร็ต วีตเลย์กล่าวถึง ตัวอย่าง การก่อตั้งกลุ่มสหภาพแรงงานในโปแลนด์ ที่เริ่มจากวง สนทนาของคนไม่ถึงสิบคนในอู่ต่อเรือ กดังสค์ พวกเขาคุยกันเรื่อง ความสิ้นหวัง และเสรีภาพ เพียงไม่ถึงเดือน มีคนงานเข้าร่วมกลุ่ม สหภาพแรงงานนี้ เกือบ ๑๐ ล้านคน พวกเขาใฝ่ฝันในสิ่งเดียวกัน และเสนอข้อเรียกร้องหลายประการเพือ่ คุม้ ครองสวัสดิภาพแรงงาน รวมถึงเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางการเมืองและเศรษฐกิจด้วย นอกจากนัน้ ตามความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบล อมาตยา เซน การสนทนายังเป็นบาทฐานอันส�ำคัญของระบอบ ประชาธิปไตยด้วย ท่านกล่าวว่า ประชาธิปไตย คือ การสนทนา กันอย่างใช้เหตุใช้ผล ที่ไม่เพียงเป็นเรื่องของตรรกะเท่านั้น แต่ยัง เป็นเรื่องความรู้สึกและความสัมพันธ์ด้วย เมื่อคนสนทนาในเรื่องที่พวกเขาสนใจและห่วงใยร่วมกัน บท สนทนาอันเรียบง่าย แต่สานใจคนในวงสนทนานั้น จะน�ำไปสู่การ เปลีย่ นแปลงทีม่ คี วามหมาย ดังทีม่ ผี กู้ ล่าวไว้วา่ “Conversation is a radical act.” การสนทนา คือ ปฏิบตั กิ ารสร้างความเปลีย่ นแปลง ที่ทรงพลัง 176
เมล็ดพันธุ์ชีวิตบูรณาการ
การล้อมวงสนทนาเป็นวิธีการพื้นฐานและดั้งเดิมของมนุษย์ คนโบราณและชนเผ่าหลายแห่งทั่วโลก นั่งล้อมวงรอบกองไฟ พูด คุยกันถึงเรื่องราวต่าง ๆ ส่งผ่านคุณค่า ความหมาย และความรู้สึก ต่อกัน รวมถึงพูดคุยปัญหา และแสวงหาทางออกในชีวติ ร่วมกันด้วย แม้ปัจจุบัน คนในสังคมสมัยใหม่จะไม่ได้นั่งล้อมวงคุยกัน แบบเห็นหน้าเห็นตา เราก็ยังสามารถใช้เทคโนโลยีสื่อสารทางไกล สนทนากันให้ผลิดอกออกผลได้เช่นกัน อย่าง กระแสใน social network เฟสบุ๊ค เมื่อปีที่แล้ว (๒๕๕๓) มีการรณรงค์ให้หยุด โครงการขยายถนนธนะรัชต์เส้นทางขึ้นอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ที่ท�ำลายต้นไม้ใหญ่สองข้างทาง สร้างมลพิษและส่งผลกระทบต่อ ระบบนิเวศในธรรมชาติ กระแสนี้เริ่มต้นจากกลุ่มคนเล็ก ๆ ที่นั่งคุยกันเรื่องผลกระทบ ของถนนต่อธรรมชาติ และเริม่ รูส้ กึ ว่าต้องท�ำอะไรสักอย่าง จึงน�ำไป สูก่ ารสร้างหน้ารณรงค์ผา่ น social media ชือ่ “หยุดขยายถนนบน เขาใหญ่!” ส่งต่อข้อความกันไป จนกระแสรณรงค์นี้ลามไปติดสื่อ กระแสหลัก เกิดการพูดคุยวิพากษ์วจิ ารณ์อย่างกว้างขวางในสังคม จนท�ำให้โครงการต้องชะลอไป (ชั่วคราว) ในโลกแห่งข่ายใยความสัมพันธ์ การสนทนาเป็นกระบวนการ ส�ำคัญของมนุษย์ เราคุยกันเพื่อเชื่อมความรู้ ความคิด ความรู้สึก และความสัมพันธ์ เพื่อที่เราจะอยู่รอด อยู่ร่วม และเผชิญปัญหา ได้ด้วยกัน ฉะนั้น ผู้ที่ท�ำงานเชิงบูรณาการ และนักบูรณาการต้องใส่ใจ เรื่องการสนทนาให้มาก ในฐานะที่เป็นเครื่องมือ และกระบวนการ อันส�ำคัญในการเชื่อมโยงผู้คน ความคิด จิตใจ หากเราคุยกัน แล้ว วงแตก ต่างคนต่างท�ำงานไปคนละเป้าหมาย การบูรณาการก็ไม่เกิด ยิ่งโลกซับซ้อนมากเท่าไร เรายิ่งต้องหันหน้ามาคุยกันให้มาก การสนทนาที่ผลิดอกออกผล
177
ขึ้นเท่านั้น เพราะคน ๆ เดียว กลุ่มเล็ก ๆ กลุ่มเดียวไม่อาจรับมือ กับความซับซ้อนของปัญหาได้ เราต้องการปัญญาร่วม การกระท�ำ ร่วม และหัวใจที่ร่วมกัน ซึ่งหมายความว่า เราต้องบูรณาการกัน ผ่านการสนทนาให้ได้ดี มีผเู้ คยกล่าวว่า ยุคนี้ ไม่ใช่ยคุ สือ่ สารอีกแล้ว แต่เป็นยุคแห่งการ สนทนา (From communication to conversation) การสื่อสาร อาจเป็นเครือ่ งมือ และกระบวนการหนึง่ ในการเชือ่ มร้อยผูค้ น หาก แต่การสนทนามีความหมายลึกซึง้ กว่านัน้ การสนทนา เป็นพืน้ ทีใ่ ห้ มนุษย์ได้สมั ผัสหัวจิตหัวใจ ความเป็นมนุษย์ของกันและกัน และเมือ่ มนุษย์เข้าถึงกันและกัน นั่นคือ การบูรณาการ สนทนา ๔ แบบ ๔ ระดับ ทุกครั้งที่เราสนทนา และประชุม เราก�ำลังสร้างความหมาย คุณค่า และการเปลี่ยนแปลงบางอย่างให้สังคม แต่จะเป็นคุณค่า ความหมาย และการเปลี่ยนแปลงลักษณะใด ก็ขึ้นอยู่กับคุณภาพ และพฤติกรรมการสนทนาของเรา ที่ผ่านมา เราคงได้สัมผัสรูปแบบการประชุมมากมาย งาน ประชุมขององค์กร เครือข่าย เวทีระดมสมอง เวทีประชาพิจารณ์ สานเสวนา เป็นต้น เราสนทนาและประชุมกันอย่างไร ประชุมแล้ว เรารู้สึกรักกัน และเข้าใจกันมากขึ้นหรือเปล่า เกิดความคิด ความรู้ ใหม่ ๆ ขึ้นบ้างหรือไม่จากวงสนทนา อดัม คาเฮน วิทยากรออกแบบกระบวนการสันติวธิ ใี ห้กบั หลาย พื้นที่ขัดแย้งในโลก อย่างแอฟริกาใต้ กล่าวถึง การสนทนาว่ามี ๔ ลักษณะด้วยกัน ลักษณะแรกเป็นแบบที่พบได้บ่อยในการประชุม และสนทนา ทั่วไป คือ การคุยแบบโต้เถียง (debate) เป็นการคุยแบบปะทะ 178
เมล็ดพันธุ์ชีวิตบูรณาการ
แต่ละคนมีมมุ มองหรือจุดยืนทีต่ า่ งกัน ถกเถียงกันเพือ่ หาข้อสรุป แต่ โดยมาก ผู้ร่วมสนทนาจะพยายามปกป้องจุดยืนและความคิดเห็น ของตัวเอง ฟาดฟันกันทางความคิด เอาแพ้-เอาชนะกัน พยายามให้ คนอืน่ เชือ่ และท�ำตามตนเอง ดังนัน้ การจะได้ขอ้ สรุปร่วมกันจึงยาก ยิง่ พูด ยิง่ ไม่เข้าใจ และบาดหมางกันจนไม่อาจท�ำงานด้วยกันอีกต่อ ไป การประชุมในรัฐสภาเป็นตัวอย่างทีช่ ดั เจนของการสนทนาแบบนี้ บางครั้ง การประชุมก็เป็นลักษณะของการรายงานว่า ใครท�ำ อะไร อยูท่ ไี่ หนกันบ้าง ผลัดกันพูดทีละคน หรืออาจจะมีเพียงคนใด คนหนึง่ หรือไม่กคี่ นทีค่ รองพืน้ ทีก่ ารสนทนา ส่วนคนอืน่ ๆ ก็มหี น้า ที่รับฟัง ดูดข้อมูลไป เหมือนที่อดัม คาเฮนเรียกว่า การสนทนา แบบ Downloading เอาข้อมูลจากอินเตอร์เนทเข้ามาเก็บไว้ใน ไฟล์ของคอมพิวเตอร์ การสนทนาแบบนี้ ไม่ค่อยเกิดความขัดแย้ง โต้เถียง แต่จะ ถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน ซึ่งจะว่าไปก็ดี หากแต่อาจไม่เกิดการเรียนรู้ อะไร หรือเกิดผลลัพธ์ที่ก้าวหน้า เพราะไม่มีการเสนอความเห็นใน มุมต่าง หรือซักถามเพื่อได้ข้อสรุปใหม่ ๆ การสนทนาและประชุมแบบนีเ้ กิดขึน้ บ่อยเช่นกัน ซึง่ เรามักได้ ยินเสียงสะท้อนว่า “ประชุมไปก็เหมือนเดิม ไม่มีอะไรใหม่ พูดกัน เป็นชัว่ โมง ไม่เห็นได้อะไรเลย ไม่มอี ะไรเกิดขึน้ ” ยิง่ คนมีทศั นคติตอ่ การประชุมอย่างนี้ เวลาเข้าประชุมก็ยิ่งท�ำให้การสนทนาจืดชืด ไร้ ชีวิตชีวา ไปนั่งในวงประชุมเพื่อดูดข้อมูลอย่างเดียว ช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ท่ามกลางบรรยากาศบ้านเมืองที่ค่อนข้าง ร้อนแรง และขัดแย้ง เราจะเห็นการจัดวงสนทนาแบบหนึง่ ค่อนข้าง บ่อย นั่นคือ Dialogue สุนทรียสนทนา หรือสานเสวนา หัวใจของการสนทนาแบบนี้ อยูท่ กี่ ารคุยกันอย่างเปิดใจ และรับ ฟังกัน ซึง่ ต้องอาศัยทักษะและสภาวะจิตของผูร้ ว่ มสนทนาอย่างมาก การสนทนาที่ผลิดอกออกผล
179
เป็นต้นว่า การครุ่นคิด สติรู้เนื้อรู้ตัว (ว่าก�ำลังพูดอะไร รู้สึกอะไร) และสามารถห้อยแขวนความคิด ความเชื่อตนเองได้บ้าง ชะลอการ พูดแสดงความเห็น เพือ่ ให้โอกาสความคิดใหม่ ๆ ผุดขึน้ มา นอกจาก นัน้ การคุยแบบใช้เหตุใช้ผล ไม่เพียงแต่ใช้ขอ้ มูล ความรู้ และเหตุผล แต่ยังต้องใช้หัวใจและการครุ่นคิดลึกซึ้งในการสนทนาด้วย สุนทรียสนทนา จึงไม่ใช่จะเกิดได้ง่าย ๆ บ่อยครั้ง เราจะเห็น การสนทนาแบบ downloading และการโต้เถียง อยู่ในวงสนทนา ที่ตั้งใจจะใช้กระบวนการ dialogue เสมอ ๆ จุดสูงสุดของการสนทนา ตามความเห็นของอดัม คาเฮน คือ Presencing การสนทนาแบบนีต้ อ่ ยอดทักษะจากการสนทนาแบบ dialogue ไม่เพียงจะเปิดใจ รับฟังกันอย่างเข้าอกเข้าใจเท่านั้น แต่ การสนทนาแบบ presencing อาศัยความสามารถของทั้งวงผู้ร่วม การสนทนา ในการคุยแบบเชื่อมสิ่งต่าง ๆ ทั้งที่เหมือนและต่างกัน ให้เกิดเป็นสิ่งใหม่ ความคิดใหม่ ความรู้ใหม่ เกิดเป็นปัญญาร่วม ของกลุม่ (ซึง่ แต่เดิม คนแต่ละคนยังไม่รู้ แต่คดิ ร่วมกันจึงรูข้ นึ้ มาได้) การสนทนาไม่ใช่เทคนิค แต่เป็นเรื่องสภาวะความเป็นมนุษย์ ของผู้สนทนา ทั้งการสนทนาแบบ dialogue และ presencing ต้องอาศัยทักษะทางจิตที่ส�ำคัญ คือ สติอยูก่ บั ปัจจุบนั รูต้ วั ว่าก�ำลังพูดอะไร พูดจากสมมติฐานแบบ ไหน พูดเพื่ออะไร พูดแล้วท�ำให้คนอื่น ๆ ในวงสนทนาเป็นอย่างไร การหยั่งเห็นแบบปัญญาญาณ (intuition) และการครุ่นคิด ด้วยหัวใจ (contemplation and reflection) ผู้ที่จะร่วมสนทนา ในลักษณะนีต้ อ้ งฝึกการฟังอย่างลึกซึง้ รูจ้ กั ห้อยแขวนความคิดของ ตัวเองได้ และจิตนิ่งพอเพื่อให้ความคิดสดใหม่ผุดขึ้นมา อดัมยังกล่าวอีกว่า ยิ่งโลกซับซ้อนโกลาหล และขัดแย้งสูง 180
เมล็ดพันธุ์ชีวิตบูรณาการ
เรายิ่งจ�ำเป็นต้องสนทนากันให้มาก และคุยกันให้หลากหลาย ประเด็น และที่ส�ำคัญ เราต้องบ่มเพาะความรู้สึกวางใจ และสนิท ใจกันให้ได้ เพราะความรู้สึกนี้จะเป็นฐาน ให้เราต่อยอดสนทนากัน ในเรื่องส�ำคัญที่เป็นปมขัดแย้ง โดยเนื้อแท้แล้ว สาระของการประชุม และการสนทนาไม่ได้ อยู่ที่เรื่องราวของการพูดคุย ภูมิรู้หรือความคิดเห็นของแต่ละคน แต่สิ่งส�ำคัญเบื้องต้นอยู่ที่ความรู้สึก และความสัมพันธ์ของผู้ร่วม สนทนา หากเราท�ำให้วงสนทนามีความรู้สึกสัมพันธ์เชื่อมโยงกันได้ จะคุยเรือ่ งราวใด ๆ คิดเห็นแตกต่างอย่างไร ข้อสรุป ความเห็น และ ความรู้ร่วมย่อมเกิดขึ้นได้ หัวใจของการสนทนาที่มีชีวิต ความส�ำเร็จของการประชุม ไม่ได้อยู่ที่ “หัว”สมอง แต่อยู่ที่ “หัว” ใจของผู้เข้าร่วมประชุมทุกคน การประชุมที่ขาดหัวใจของผู้ เข้าร่วมสนทนา เวทีนั้นก็ขาดพลัง เริม่ แรก ทุกคนทีเ่ ข้าร่วมการประชุมต้อง “มาด้วยใจ” คือไม่ใช่ มาเพราะถูกสัง่ บังคับ จ�ำใจมาเพราะเป็นหน้าที่ หรือเป็นนักประชุม อาชีพ ทีเ่ ดินเข้า-ออกทีป่ ระชุมมากมาย แต่ผลทีเ่ กิดจากการประชุม เป็นอะไรก็ไม่รู้ เราได้อะไร และเราได้ให้อะไรกับวงประชุมบ้าง การประชุมที่ดีต้องมีใจ – เปิดใจ จริงใจ และใส่ใจในการ สนทนา ผู้เข้าประชุมต้องเห็นความหมายและความส�ำคัญของการ สนทนา ว่าเกี่ยวข้องอย่างไรกับชีวิตตนเองและสังคม เราคุยกัน ท�ำไม เพื่ออะไร และเราต้องท�ำอย่างไรบ้างเพื่อให้ถึงเป้าประสงค์ ของการร่วมสนทนากัน หากเรารู้ชัดถึงความหมาย และเป้าหมายของการประชุม การสนทนาที่ผลิดอกออกผล
181
เราจะตั้งใจเตรียมตัวมาประชุม เตรียมข้อมูล ความเห็นมาให้กับวง ประชุม ใส่ใจรับฟัง และร่วมสนทนาอย่างจริงจัง อย่างนี้แล้ว เรา จะเป็นหนึ่งในปัจจัยคุณภาพที่จะสรรสร้างการประชุมให้ออกดอก ผลิผลได้ เวลาที่เราเข้าประชุม เราไปทั้งกายและใจหรือไม่ จิตใจเรา จดจ่อ ใส่ใจกับการสนทนาในที่ประชุมเพียงไร และเพราะเหตุใด จึงเป็นเช่นนั้น? มณฑลแห่งพลัง ตามกระบวนทัศน์วทิ ยาศาสตร์ใหม่ สรรพสิง่ ทัง้ หลายเป็นคลืน่ พลังงาน เราอาจจะมองไม่เห็น แต่เราสามารถสัมผัสคลืน่ พลังได้ทาง ความรู้สึก และผลที่เกิดขึ้นจากคลื่นเหล่านั้น อย่างเช่น คลื่นรังสี อุลตร้าไวโอเลตที่ท�ำให้ผิวหมอง และอาจก่อมะเร็งผิวหนังได้ คลื่น อินฟาเรดในไมโครเวฟที่ท�ำให้อาหารสุก ร่างกายของเราก็เป็นคลืน่ พลังงานเช่นกัน เรามีคลืน่ สมอง คลืน่ หัวใจ คลื่นเสียง แม้กระทั่งความรู้สึกของเราก็เป็นคลื่นด้วย อย่าง เวลาที่เรารู้สึกโกรธอยู่ในใจ คนอื่น ๆ ก็รู้สึกได้ และอาจจะถอยห่าง จากเราในช่วงทีเ่ ราอารมณ์ไม่ดี หรือเคยไหมทีเ่ รารูส้ กึ เย็นใจ อบอุน่ และปลอดภัยเมื่ออยู่ใกล้ใครบางคน ในเวลาที่เราสนทนากัน เสียง ภาษาถ้อยค�ำที่พูด ท่าทีสีหน้า และความรู้สึก ทั้งหมดเป็นกระแสคลื่นทั้งสิ้น คลื่นพลังของคนแต่ละคนในการประชุมและที่ชุมนุม จะสร้าง สนามพลังมวลรวมของวง ซึ่งอาจจะเป็นพลังความสับสนอลหม่าน พลังความสิ้นหวัง หรือพลังที่ฮึกเหิมมีก�ำลังใจก็ได้ ขึ้นอยู่กับคลื่น พลังของคนแต่ละคนที่ส่งสะท้อนเข้ามาในวงสนทนานั้น ๆ 182
เมล็ดพันธุ์ชีวิตบูรณาการ
ถ้าหากคลื่นที่เราส่งไปเป็นพลังบวก และคนอื่น ๆ ส่งพลัง บวกด้วย กระแสพลังบวกก็จะยิ่งเพิ่มก�ำลังทวีคูณ (Reinforcing feedback) วงสนทนาที่มีพลังบวกทวีคูณจะท�ำให้ทุกคนในวงรู้สึก ดี มีพลังมาก ในทางตรงกันข้าม ถ้าเราส่งความคิด และความรู้สึกในแง่ลบ ออกไป และคนอื่น ๆ ก็สะท้อนความรู้สึกเดียวกันกลับมาด้วย วง สนทนานีก้ จ็ ะมีเพิม่ ก�ำลังทวีคณ ู ในทางลบ ท�ำให้ทกุ คนในวงสนทนา รู้สึกห่อเหี่ยว สิ้นหวัง หรือหากบางคนในกลุ่มส่งพลังบวก แต่คนอื่น ๆ สะท้อนพลัง ลบกลับไป ก็จะเกิดผลในเชิงคานก�ำลัง (Balancing feedback) การสนทนาก็ไม่ไปไหน เพราะเมื่อก�ำลังจะไปข้างหน้า รู้สึกมีพลัง ก็จะมีคนดึงให้ถอยไปข้างหลัง อย่างนี้เรื่อยไป ฉะนั้น เรื่องคลื่น และสนามพลังการสนทนา จึงเป็นเรื่อง ส�ำคัญที่เราต้องใส่ใจอย่างยิ่งเพื่อให้การสนทนาเกิดพลัง และ ผลิดอกออกผล เราต้องการสร้างสนามพลังของวงสนทนาแบบไหน เราเลือกได้ ด้วยการลงมือสร้างพลังนั้นให้กับวง หากเราอยากให้การสนทนามี ชีวิตชีวา สร้างความหวังและก�ำลังใจ เราก็ต้องเป็นส่วนหนึ่งที่ส่ง คลื่นพลังเช่นนี้ออกไป เมื่อน�้ำเสียง ค�ำพูดของเราก้องกังวานในหัวใจของกันและกัน คลืน่ หัวใจของคนในวงสนทนาสอดรับเป็นจังหวะเดียวกัน ก็จะเกิด “มณฑลแห่งพลัง” เป็นสนามพลังระหว่างมนุษย์กบั มนุษย์ และเมือ่ มนุษย์สานพลังกัน ทุกสิ่งก็เป็นไปได้ เวลาทีเ่ ราประชุม เราสร้างคลืน่ พลังแบบไหนให้กบั วงสนทนา? การสนทนาที่ผลิดอกออกผล
183
จัดบรรยากาศ จัดพลังสนทนา ลองจินตนาการว่า เราก�ำลังนัง่ ล้อมวง สนทนากันใต้ตน้ ไม้ใหญ่ สายลมเย็นโชยอ่อนเป็นระยะ ๆ กิง่ ไม้ไหวเอนตามสายลม ... เรารูส้ กึ เช่นไรในบรรยากาศแบบนี้ คิดว่าการสนทนาของเราจะเป็นอย่างไร และถ้าเราสนทนากันในห้องประชุมสี่เหลี่ยม มีโต๊ะไม้ตัวใหญ่ กลางห้อง เก้าอี้เรียงราย เรารู้สึกอย่างไร บรรยากาศ ทั้งในแง่สถานที่ และผู้คน มีผลอย่างยิ่งต่อสภาวะ ใจ ความรู้สึก และคุณภาพในการสนทนา ระบบที่มีชีวิต อย่างมนุษย์ เปิดรับและสัมพันธ์กับปัจจัย ภายนอกตลอดเวลา สิ่งต่าง ๆ ส่งผลต่อความรู้สึก ศักยภาพการ คิด และคุณภาพของการกระท�ำของเรา อย่างถ้าเราต้องสนทนาอยู่ ในพื้นที่อากาศร้อน ๆ เราก็อาจจะคุยไม่ออก คิดไม่ได้ หรือจะพาล อารมณ์ฉุนเฉียวได้ง่ายด้วย แต่ถ้าเราเลือกจัดการสนทนากันในบรรยากาศ ที่ทางพุทธ ศาสนาเรียกว่า “สัปปายะ” คือสงบสบาย เกื้อกูลต่อจิตใจให้รู้สึก ผ่อนคลาย จูงใจให้เกิดความคิดสร้างสรรค์จินตนาการ และเชื่อม โยงความสัมพันธ์ การสนทนานั้นก็จะให้ผลดี ฉะนัน้ นักบูรณาการจึงต้องใส่ใจการเลือกสถานทีป่ ระชุม ให้ เป็นสถานที่ที่มีพลังและสร้างความหมายทางความรู้สึกกับคนที่มา ร่วมประชุม และเลือกสถานทีป่ ระชุมเพือ่ สร้างบรรยากาศ สอดคล้อง กับเป้าหมายที่เราต้องการจากการสนทนา อย่างเช่น ถ้าเราจะจัด ประชุมในวาระที่เกี่ยวข้องกับการสร้างบ้านแปลงเมือง บางทีเรา อาจจะเลือกประชุมทีแ่ หล่งประวัตศิ าสตร์ของชุมชน เพือ่ สร้างแรง บันดาลใจ ความรูส้ กึ เชือ่ มโยงวาระกับประวัตศิ าสตร์ของเมือง สมั ย โบราณ ผู ้ ค นมั ก รวมตั ว และสนทนากั น ที่ วั ด ซึ่ ง เป็ น ศูนย์กลางชุมชน แม้ปัจจุบันความส�ำคัญในแง่นี้ของวัดจะลดลงไป บ้าง แต่หากเราฟืน้ ความหมายของจิตวิญญาณ และวัดขึน้ มาอีกครัง้ 184
เมล็ดพันธุ์ชีวิตบูรณาการ
วัดบางแห่งก็อาจเป็นสถานที่หนึ่งที่ให้บรรยากาศ “สัปปายะ”ใน การสนทนาได้เป็นอย่างดี หลายครั้ง ผู้ที่เคยไปจัดการสนทนาที่ วัด เล่าว่า บรรยากาศในวัดท�ำให้ผู้ร่วมสนทนาใจเย็นขึ้นพอสมควร อย่าง การนั่งคุยในวิหารที่มีพระพุทธรูป ช่วยชะลอใจที่ฉุนเฉียว ไม่ พอใจอยากจะกระทบกระเทียบด้วยถ้อยค�ำรุนแรงไปได้เหมือนกัน (เพราะเกรงใจพระประธาน) แม้ว่า เราอาจจะต้องจัดวงสนทนาในห้องสี่เหลี่ยม แต่เราก็ สามารถสร้างบรรยากาศผ่อนคลาย น่าคุยได้ ไม่เพียงแต่เรือ่ งสถานที่ องค์ประกอบต่าง ๆ ทางด้านกายภาพ ก็เป็นเรื่องที่เราต้องให้ความส�ำคัญ อย่างเช่น จัดที่นั่งอย่างไร รูป แบบการนั่ง ระยะห่างของการนั่ง (สะท้อนระยะห่างความสัมพันธ์ ของการคุยด้วย) แสงแดดและแสงสว่างในห้องเป็นอย่างไร อุณหภูมิ ของสถานที่ เสียงจากภายนอกห้องประชุมเป็นอย่างไร มีธรรมชาติ อย่าง ต้นไม้ ดอกไม้ ในห้องบ้างหรือไม่ ความสัมพันธ์อันสนิทใจ (intimacy) การสนทนาเป็นกระบวนการสร้างสานความสัมพันธ์ กระชับ พื้นที่ของหัวใจ ให้คนรู้จักและเข้าใจ และสนิทสนมกันมากขึ้น ทั้งนี้ การสนทนาจะให้ผลแบบนี้ไม่ได้ หากเราไม่เปิด – เปิดใจ เปิดความ คิด และเปิดตัวตนเข้าหากัน คนเราจะกล้าเปิด เมื่ออยู่ในพื้นที่ที่รู้สึกว่าปลอดภัย สบายใจ อุ่นใจ ดังนั้น การสร้างพื้นที่ปลอดภัยส�ำหรับการสนทนาจึงเป็น เรื่องส�ำคัญ เมือ่ คนรูส้ กึ ว่าอยูใ่ นพืน้ ทีป่ ลอดภัย สบายใจ ไว้วางใจกันได้ ก็จะ กล้าเปิดใจ พูดข้ออ่อน ข้อดีของตัวเอง กล้าพูดความจริง ด้วยเชือ่ ว่า คนอื่นจะเข้าใจ ให้อภัย ไม่กลัวว่าคนอื่นจะโกรธ หรือเกลียดตัวเอง การสนทนาที่ผลิดอกออกผล
185
การสร้างและรักษาบรรยากาศแห่ง “ความเปิด” นี้ควรอยู่ใน ทุกขั้นตอนการสนทนา ตั้งแต่การจัดพื้นที่การสนทนา นักปรัชญาเทพปกรณัม โจเซฟ แคมเบล บอกว่า รูปทรงใน ธรรมชาติล้วนเป็นวงกลม (ซึ่งไม่จ�ำเป็นต้องกลมแบบเลขาคณิต) อย่าง โลก รังนก เป็นต้น หรือแม้สัญลักษณ์เต๋า วงกลมเป็นพื้นที่ที่แสดงความเป็นเอกภาพ การหลอมรวม พลังของคนรอบวงกลม เราจะเห็นการนั่งล้อมกันเป็นวงกลมนี้อยู่ ในวัฒนธรรมโบราณและชนเผ่าเสมอ ในพื้นที่สนทนาที่เป็นวงกลม ทุกคนจะได้เห็นหน้ากัน ทุกคน เท่าเทียมกัน เสียงทุกเสียงมีความหมาย ไม่มีใครอยู่ในต�ำแหน่ง ผู้น�ำ ผู้ให้ หรือผู้ที่เหนือกว่า การนั่งเป็นวงกลมท�ำให้ทุกคนรู้สึกมี พลัง และพร้อมที่จะส่งพลังให้กันและกันได้มากกว่า การนั่งเรียง หน้ากระดาน หรือการนั่งที่มีใครบางคนเป็นประธานการสนทนา นอกจากการนัง่ ล้อมวงแล้ว เราควรเปิดพืน้ ทีส่ นทนากันในเรือ่ ง ที่ไม่ใช่งานด้วย ให้คนได้เล่าเรื่องความทุกข์ สุข ความเจ็บปวด การ เรียนรู้ ประสบการณ์ชีวิตที่เขาสนใจ ให้ความส�ำคัญ การที่เราแลกเปลี่ยนแง่มุมชีวิตส่วนตัวบ้าง จะท�ำให้เรารู้สึก สนิทใจใกล้ชิดกันได้มากขึ้น เกิดความรู้สึกร่วมในความเป็นมนุษย์ และเมือ่ มนุษย์เห็นตัวตนของกันและกัน ก�ำแพงทีก่ นั้ ระหว่างมนุษย์ ด้วยกันก็จะบาง หรือทะลายลง และ ณ จุดที่ก�ำแพงใจของคนสลายลง เราจะเชื่อมใจ เชื่อม งานและความคิดกันได้ การสนทนาอันศักดิ์สิทธิ์ ส�ำหรับศิลปะการต่อสูแ้ ละป้องกันตัว ไอคิโด สนามฝึก ทีเ่ รียก ว่า โดโจ (Dojo) เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งทุกครั้ง เมื่อผู้ฝึกเข้าสนาม 186
เมล็ดพันธุ์ชีวิตบูรณาการ
จะต้องให้ความเคารพต่อความศักดิ์สิทธิ์ของสถานที่ และก่อนฝึก ต้องเคารพสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เคารพปรมาจารย์ ผู้ประสิทธิ์ประสาทวิชา ให้ เคารพครูผู้สอนในสนาม และเคารพคู่ฝึก ความศักดิ์สิทธิ์เป็นลมหายใจของวัฒนธรรมตะวันออก ใน วัฒนธรรมไทย ก่อนท�ำกิจกรรมการงานต่าง ๆ นักดนตรี นักแสดง นักมวย ต้องไหว้ครูก่อนขึ้นเวที และสังเวียนต่อสู้ คนโบราณเห็นธรรมชาติเป็นเทพศักดิ์สิทธิ์ เขาจึงดูแลรักษา ภูเขา ต้นไม้ ต้นน�้ำ มีพิธีกรรมมากมายที่เกี่ยวกับการเคารพและ รักษาธรรมชาติ แต่ปัจจุบัน ความศักดิ์สิทธิ์สลายไปจากสังคม เราไม่เคารพ ธรรมชาติ ท�ำลายภูเขา ทิง้ ขยะลงสายน�ำ้ ซึง่ ส่งผลสะท้อนเป็นปัญหา มากมายตามมาในชีวิตเรา นักเรียนที่ไม่เคารพครู และสถานที่เล่า เรียน ก็ไม่ได้วิชาความรู้ เพราะไม่ฟัง ไม่ใส่ใจ ความศักดิส์ ทิ ธิเ์ ป็นความรูส้ กึ ทีท่ ำ� ให้เราเชือ่ มสัมพันธ์กบั สิง่ ต่าง ๆ ภายนอกที่เราเห็นว่ามีความหมาย ความส�ำคัญกับชีวิต ความศักดิ์สิทธิ์ไม่ได้อยู่ที่สิ่งภายนอก แต่อยู่ที่ใจและการ กระท�ำของเรา เมื่อเราเห็นว่า สิ่งใดศักดิ์สิทธิ์ จิตของเราก็จะเคารพ นบนอบต่อสิ่งนั้น หากเราเห็ น การประชุ ม เป็ น เรื่ อ งศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ เราจะเคารพ สถานที่ เคารพเวลา เคารพผู้เข้าร่วมประชุม เคารพกระบวนการ กฎกติกาการสนทนา ใส่ใจรับฟัง และมีสติในการสนทนาแลกเปลีย่ น การสนทนาก็จะมีค่า มีความหมาย เกิดพลังแห่งความสุข ความรัก ความสัมพันธ์งอกงาม สร้างสรรค์การงานให้ก้าวหน้า สิง่ ศักดิส์ ทิ ธิแ์ ละความศักดิส์ ทิ ธิใ์ นชีวติ ของเรามีอะไรบ้าง เวลา ที่เรารู้สึกว่าสิ่งนั้นศักดิ์สิทธิ์ ใจเราเป็นอย่างไร เราปฏิบัติตัวอย่างไร หากเราเห็นการประชุมและสนทนาเป็นเรื่องศักดิ์สิทธิ์ เราจะ ร่วมประชุม หรือจัดการประชุมอย่างไร การสนทนาที่ผลิดอกออกผล
187
กระบวนการประชุม ก่อนการแสดงคอนเสิร์ต นักดนตรีจะปรับจูนเสียงเครื่อง ดนตรีของตน และปรับเสียงดนตรีให้เข้ากับเครื่องดนตรีของผู้เล่น คนอื่น ๆ เพื่อจะได้เล่นสอดประสานกันไปได้อย่างราบรื่น เกิดเป็น บทเพลงอันไพเราะ การประชุมก็เช่นกัน เราต้องให้เวลาในการปรับจูนคลื่นใจ ความรู้สึก ความสัมพันธ์กันก่อนที่จะกระโดดลงสู่เนื้องาน กิจกรรมโหมโรงก่อนการสนทนา จะช่วยสร้างบรรยากาศผ่อน คลาย สบายใจ ไว้ใจ ดึงพลังใจ หลอมความรู้สึกของคนไว้ เราอาจ โหมโรงการสนทนา ด้วยการอ่านบทกวี ฟังเพลงที่มีความหมายลึก ซึ้งสอดคล้องกับเป้าหมายและวาระการประชุม หรือสวดมนต์ ท�ำ สมาธิ เป็นต้น เมื่อจะเริ่มสนทนาตามวาระประชุม เราน่าจะท�ำความตกลง เรื่องกติกาการสนทนาร่วมกันก่อน เพื่อให้การพูดคุยด�ำเนินไปภาย ใต้กติการร่วม ซึ่งกติกาที่ว่านี้ก็ไม่ใช่เรื่องเคร่งเครียด หากแต่เป็น เรื่อง ข้อปฏิบัติที่จะเกื้อกูลให้การสนทนาด�ำเนินไปได้อย่างราบรื่น หนึ่งในกติกาที่น่าจะเป็นประโยชน์ส�ำหรับการสนทนา คือ กระบวนการเช็คอิน (Check-In) แนวคิดและกระบวนการเช็คอินนี้ เริม่ มาจาก นายเฟรด คอฟแมน (Fred Kofmann) ผูช้ ว่ ยของปีเตอร์ เซงเก้ ผูเ้ ชีย่ วชาญด้านองค์กรเรียนรูท้ สี่ ถาบัน เอ็มไอที สหรัฐอเมริกา นายเฟรดสังเกตว่า การประชุมทีด่ นี นั้ ผูเ้ ข้าร่วมต้องมาทัง้ กาย และใจ เมื่อกายมาแล้ว ท�ำอย่างไรให้ใจมาด้วย จึงเริ่มกระบวนการ เช็คอินขึ้นเพื่อให้ผู้เข้าร่วมได้ตั้งสติ พาใจมาอยู่ในที่ประชุมนั้นด้วย การเช็คอินเป็นการอุ่นเครื่องก่อนสนทนาจริง เป็นช่วงที่ให้ผู้ เข้าร่วมสนทนาได้แนะน�ำตัว ท�ำความรูจ้ กั กันมากขึน้ เพือ่ สร้างพืน้ ที่ ความรู้สึกความปลอดภัยไว้วางใจต่อกันในเบื้องต้น นอกจากนั้น 188
เมล็ดพันธุ์ชีวิตบูรณาการ
การเช็คอินยังเป็นช่วงทีใ่ ห้ผรู้ ว่ มสนทนาได้ “วาง” ความกังวล ความ ไม่สบายใจทีพ่ กติดตัวมาจากทีอ่ นื่ ๆ หรืออาจจะเป็นช่วงทีใ่ ห้ทกุ คน ได้ค้นใจว่า มาร่วมสนทนากันท�ำไม คาดหวังอะไร ผู้เอื้ออ�ำนวยการ สนทนาอาจจะให้ค�ำถามอุ่นเครื่อง เช่น เรามาประชุมในครั้งนี้ท�ำไม คาดหวังอะไร มีเรือ่ งหนักใจ รูส้ กึ อึดอัดคับข้องใจบ้าง (เพือ่ ให้คลายความวิตก กังวลที่ยังค้างอยู่ในใจ) หั ว ใจของกระบวนการเช็ ค อิ น และการสนทนาตลอด กระบวนการ คือ ความช้า ค่อย ๆ ฟัง ค่อย ๆ พูด ให้เวลากับการ ครุ่นคิด ผู้คนพูดจากใจ และรับฟังอย่างลึกซึ้ง ความเงียบและช่อง ว่างระหว่างการสนทนาเป็นสิง่ ทีย่ อมรับได้และจ�ำเป็น เพือ่ ให้ขอ้ มูล ความคิด ความรู้สึกตกผลึก เป็นพื้นที่ให้เกิดการใคร่ครวญ ผู้เข้าร่วมต้องเรียนรู้ที่จะพูดและฟังกันอย่างลึกซึ้ง พูดทีละ คน เมื่อผู้ใดพูด คนอื่น ๆ ในกลุ่มต้องเงียบฟัง บางทีเพื่อก�ำหนด เป็นพิธีกรรมร่วมกัน ก็จะให้ผู้พูดถืออะไรสักอย่าง อาจเป็นปากกา ดอกไม้ เพื่อเป็นสัญลักษณ์ศักดิ์สิทธิ์ (Talking stick) ว่าบุคคลนั้น มีสิทธิในการพูดเท่านั้น จากเวทีเรียนรู้บูรณาการ เราสังเกตเห็นว่า เมื่อวงสนทนา เคร่งครัดในกติกา “ไม้เจรจา” ผู้พูดจะครุ่นคิดก่อนที่จะหยิบไม้ ขึ้นมาพูด และเมื่อพูดก็ค่อนข้างกระชับ นิ่ง มีสมาธิ ส่วนผู้ฟังเองก็ ตัง้ ใจฟัง จะเห็นได้วา่ กติกาบางอย่าง ถ้าเราเคร่งครัดก็จะท�ำให้เกิด ความศักดิ์สิทธิ์ในการประชุม กระบวนการสนทนาไม่ได้เป็นเรื่องเทคนิค แต่เป็นเรื่องหัวใจ และสภาวะใจ มาร์การเร็ต วีตเลย์ ผู้เขียนหนังสือ “หันหน้าเข้าหากัน” แนะ การสนทนาที่ผลิดอกออกผล
189
ว่า เราต้องมีศรัทธาในเพื่อนมนุษย์ เมื่อเราเห็นคุณค่าศักดิ์ศรีในตัว มนุษย์ เราจะให้เกียรติ เคารพและอ่อนน้อมต่อกัน และท่าทีแบบนี้ จะช่วยสร้างสนามพลังการสนทนาที่ดี ศิลปะการจัดประชุม (Arts of hosting a meeting) การประชุมทีม่ คี วามหมาย เริม่ ต้นตัง้ แต่ขนั้ เตรียมการ ระหว่าง ด�ำเนินการประชุม ไปจนถึงภายหลังเสร็จการประชุมไปแล้ว ในทีน่ ี้ เราน�ำเสนอ ศิลปะแห่งการเก็บเกี่ยว ๕ ประการ ดังนี้ ๑. การเตรียมพื้นที่ในการประชุม หมายถึง การเตรียมสถาน ที่ในการจัดการประชุมให้เหมาะสม สร้างบรรยากาศศักดิ์สิทธิ์ ให้ คนรู้สึกดี เปิดใจ ไว้วางใจกัน นอกจากนั้น ยังหมายถึงการเตรียม ตัวผู้เข้าร่วมประชุมอีกด้วย โดยการสื่อสารเชื้อเชิญให้ชัดเจน บอก ที่มาที่ไปของการประชุม กระบวน และเป้าหมายของการประชุม ๒. วางแผนการเก็บเกี่ยว คือ วางแผนการประชุมว่า จะใช้ กระบวนการอะไร ข้อมูลอะไรบ้าง ต้องมีอุปกรณ์หรือเครื่องมือ ประกอบการประชุมอะไรบ้างหรือเปล่า เพื่อให้ทุกอย่างสอดรับ กับเป้าหมายที่ตั้งใจ ๓. เก็บพืชผล เป็นเรื่องการบันทึกการประชุมหรือสร้างความ ทรงจ�ำร่วม อาจจะเป็นการบันทึกเป็นข้อความ รูปถ่าย หรือ ถอด เสียงสิ่งที่พูดระหว่างการประชุม ๔. เตรียมและท�ำให้พืชผลมีราคาสูงขึ้น คือ เพิ่มความหมาย และคุณค่าให้กับการประชุมและสิ่งที่สนทนากัน หรือจะเรียกว่า เป็นการถอดบทเรียนความรู้จากการสนทนาขึ้นไปอีกระดับหนึ่ง ๕. วางแผนส�ำหรับฤดูหน้า ทุกครั้งหลังการเก็บเกี่ยวการ ประชุมน่าจะช่วยยกระดับความเข้าใจของเราในเรื่องที่ประชุม กันขึ้นไปอีกขั้น ที่ส�ำคัญคือการท�ำให้เราเห็นภาพร่วมกัน เมื่อเรา 190
เมล็ดพันธุ์ชีวิตบูรณาการ
เก็บเกี่ยวแล้ว ลองหันไปมองดูสิ่งที่เก็บเกี่ยวนั้นอีกครั้ง แล้วถาม ว่า เราได้เรียนรู้อะไรบ้าง เราเข้าใจอะไรเพิ่มขึ้น เราเดินทางมาถึง จุดไหนแล้วของเป้าหมายที่เราต้องการจะไปถึง จากนั้นมองไปข้าง หน้าว่า มีประเด็นอะไรอีกที่เราจ�ำเป็นต้องส�ำรวจค้นคว้า หรือท�ำ เพิ่มส�ำหรับการประชุมต่อไป ศิลปะของการรับแขก 4 ประการ นักบูรณาการเป็นผู้น�ำเรียนรู้ และผู้น�ำการสนนทนา ฉะนั้น เราควรวางตัวและท่าทีในการด�ำเนินการประชุม เฉกเช่น เจ้าบ้าน ที่ต้อนรับแขก มากกว่าวิทยากรผู้รู้ ในการประชุม เรามีหน้าที่ต้อนรับดูแลแขกในการประชุมให้ รู้สึกปลอดภัย อบอุ่น วางใจ เพื่อจะได้เปิดใจสนทนากัน และด้วย ท่าทีแบบนี้ ผู้เข้าประชุมจะเปิดใจเข้ามีส่วนร่วมกับการสนทนา ศิลปะของการเป็นเจ้าบ้าน มี ๔ ประการหลัก ๆ ดังนี้ อยูก่ บั ปัจจุบนั ขณะ ให้กายและใจอยูก่ บั การประชุมอย่างเต็ม เปีย่ ม ใส่ใจการประชุมอย่างเต็มร้อย ขจัดสิง่ รบกวนจิตใจออกไป ไม่ ว่าจะเป็นโทรศัพท์มือถือ อินเตอร์เน็ต ภาระการงานอื่น ๆ ตั้งใจฟังเต็มที่ ให้เกียรติกัน รับฟังกันและกัน โดยไม่ตัดสินว่า สิง่ ทีผ่ อู้ นื่ พูดผิดหรือถูก ไม่คดิ ว่าเรารูห้ รือมีคำ� ตอบอยูแ่ ล้ว ฝึกท�ำตัว ท�ำใจให้ว่าง และวางความคิดเก่า ๆ กล้าเปิดประเด็นใหม่ ๆ ทีเ่ ราไม่รู้ แต่เป็นประเด็นหรือค�ำถาม ที่มีความหมายและความส�ำคัญต่อกลุ่ม ร่วมกันเป็นเจ้าภาพการประชุมกับผูอ้ นื่ เชือ่ มงานของเรากับ งานคนอืน่ เห็นงานของตัวเองเป็นส่วนหนึง่ ของงานประเทศ ปัญหา ของเราเชื่อมกับปัญหาของคนอื่น นอกจากนั้ น เราต้ อ งดู ใ ห้ ก ารประชุ ม ตั้ ง แต่ ต ้ น จนจบ การสนทนาที่ผลิดอกออกผล
191
มีบรรยากาศของความศักดิ์สิทธิ์ และสุนทรียภาพด้วย เพื่อให้ทุก คนรู้สึกถึงคุณค่า ความหมายของการสนทนาร่วมกัน สนทนาในชีวิตประจ�ำวัน การสนทนาทีส่ ร้างสรรค์ไม่ใช่เทคนิค สุนทรียสนทนาไม่ใช่วาระ พิเศษที่เราต้องท�ำเพื่อหวังผลบางอย่าง ในเมื่อเราพูดคุยกันอยู่ทุก วัน ท�ำไมเราไม่ท�ำให้วิถีการสนทนาที่ทรงพลัง และสร้างสรรค์อยู่ ในชีวิตประจ�ำวันของเรา อาจารย์ชัยวัฒน์เล่าประสบการณ์ที่ได้พบและสนทนากับ ฮวนนิต้า บราวน์ และเดวิด ไอแซค คู่สามีภรรยาที่น�ำกระบวนการ สนทนา และเขียนหนังสือเรื่อง เวิลด์คาเฟ่: สภากาแฟ สนทนา ก่อพลังปัญญา สร้างอนาคต ครัง้ หนึง่ หลังการรับประทานอาหาร ฮวนนิตา้ หยิบกระปุกเกลือ มาวางบนโต๊ะอาหาร แล้วเริม่ กระบวนการสนทนา เธอบอกว่า “ที่ ผ่านมา ๓ วัน ทีเ่ ราได้อยูร่ ว่ มกันนัน้ เราได้เรียนรูอ้ ะไรจากกันและกัน บ้าง ใครพร้อมจะพูด ก็ให้หยิบกระปุกเกลือมาวาง แล้วพูดได้เลย” แม้จะเป็นการรับประทานอาหาร และสนทนากันตามสบาย ๆ แต่กรู ดู า้ นการสนทนาไม่ปล่อยโอกาสทีจ่ ะสร้างสรรค์พลัง และการ เรียนรู้จากการสนทนาเลย กระปุกเกลือบนโต๊ะอาหาร กลายเป็นไม้เจรจาอันศักดิ์สิทธิ์ และผู้ร่วมวงสนทนาทั้งสามคนก็ผลัดกันพูดเรื่องการเรียนรู้ของตน และเมื่อใครหยิบกระปุเกลือขึ้นมาพูด คนอื่นก็ตั้งใจฟัง “เมื่อเราฝึกการสนทนาอย่างสร้างสรรค์ให้เป็นนิสัย พลัง ความสร้างสรรค์จะอยูก่ บั ตัวเราตลอดเวลา ทุกครัง้ ทีเ่ ราสนทนา ให้ ตระหนักว่า เราก�ำลังท�ำงานสร้างความเปลี่ยนแปลง” 192
เมล็ดพันธุ์ชีวิตบูรณาการ
สนทนาให้ก�ำลังใจผู้คน สนทนาให้ผู้คนและตัวเองเกิดการเรียนรู้ สนทนาให้เกิดการเชื่อมร้อยหัวใจและความคิด ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน กับใคร ทุกครั้งที่พูด ให้การพูดของเราสร้าง อนาคตที่งดงามให้กับสังคม j
ส�ำรวจ และครุ่นคิด • อะไรคือเหตุผล และแรงจูงใจของเราในการเข้าร่วม ประชุมและสนทนาในวงต่าง ๆ เป้าหมาย หรือผลที่เรา ปรารถนาจะได้จากการเข้าร่วมประชุมต่าง ๆ เหล่านั้น คืออะไร และเราได้รับอย่างที่ตั้งใจหรือไม่ • เวลาไปสนทนา และประชุม เราเตรียมการอะไรส�ำหรับ เข้าประชุมบ้าง เราเอาอะไรไปให้กับวงประชุมบ้าง • นึกถึงการประชุม หรือวงสนทนาที่เราเคยเข้าร่วม เรา รู้สึกอย่างไรกับเวทีสนทนานั้น ฮึกเหิม เบิกบาน หรือ หดหู่ เพราะเหตุใด เราจึงรู้สึกเช่นนั้น การประชุมนั้นมี เงื่อนไข ปัจจัยใดที่ท�ำให้เรารู้สึกเช่นนั้น • ที่ผ่านมาในการประชุม เราใส่ใจเรื่องความศักดิ์สิทธิ์ และการปรับคลื่นพลังกันบ้างหรือไม่ เราจะท�ำอะไร ได้บ้าง เพื่อให้การประชุมมีพลัง และความศักดิ์สิทธิ์ สถานที่ในชุมชนที่ไหนที่จะสร้างบรรยากาศเช่นนั้น เรา จะใช้พิธีกรรมอะไรเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในตอนเริ่มการ ประชุมได้บ้าง • เราจะเปลี่ยนการสนทนาของเรา ให้สร้างความ เปลี่ยนแปลงในชุมชน องค์กรอย่างไร การสนทนาที่ผลิดอกออกผล
193
เมื่อปราศจากความแน่นอน เราต้องมีความกล้าหาญ ความกล้าที่จะก้าวข้ามความกลัวในสิ่งที่เราไม่รู้... เรากลัวที่จะปล่อยวาง เพราะเราเชื่อว่า โลกจะทะลาย ถ้าเราไม่ควบคุมจัดการ แต่กระนั้น วิทยาศาสตร์ใหม่แห่งทฤษฎีไร้ระเบียบ บอกเราว่า โลกนี้มีระเบียบอยู่ ที่ไม่จ�ำเป็นต้องควบคุมจัดการ และความวุ่นวายไร้ระเบียบนี้เป็นประตูที่เปิดสู่ ก้าวกระโดดทางควอนตัมแห่งวิวัฒนาการ”
– แดเนียล คิม
194
เมล็ดพันธุ์ชีวิตบูรณาการ
โมเดล ๓ ระดับ ๓ มิติ
ครั้งหนึ่งในช่วงเย็นหลังการอบรม ผู้เข้าร่วม อบรมจ�ำนวนหนึ่ง นั่งจับกลุ่ม พูดคุยกันเรื่อง ชีวิตและการงาน “เราท�ำงานเพื่อสุขภาวะชุมชน แต่ท�ำไม เรา คนท�ำงานจึง ไม่ค่อยมีความสุข เครียด สุขภาพย�่ำแย่ และก็ไม่ค่อยมีเวลาให้ กับครอบครัว เราท�ำให้คนนอกบ้านยิ้มได้ แต่พอเข้าบ้าน กลับ ยิ้มไม่ออก” อีกคนเสริม “คนที่ท�ำงานด้วยกันก็ทะเลาะกัน ยิ่งท�ำงาน ยิ่ง เสียเพื่อน” อีกคนสรุป “ยิ่งท�ำงานได้ถึงเป้าหมายเท่าไร เราก็ยิ่งขาดทุน ชีวิตเท่านั้น” โมเดล ๓ ระดับ ๓ มิติ
195
ผู้เข้าร่วมอบรมกลุ่มนี้ ระบายความในใจ และครุ่นคิดต่อเนื่อง จนดึก แม้กระนัน้ ทุกคนก็สามารถเข้าร่วมการอบรม ในเช้าวันรุง่ ขึน้ ได้ทัน และดูเหมือนว่าจะสดชื่น เบิกบานกว่าเก่าเสียอีก “เรามีความสุขมากที่ได้คุยกันเมื่อคืน ไม่รู้สึกเลยว่าคุยกันตั้ง หลายชั่วโมงแล้ว พอดูนาฬิกาอีกที ก็เลยเที่ยงคืนไปแล้ว” ผู้เข้า อบรมคนหนึ่งหัวเราะ และเล่าให้ฟังถึงข้อสรุปจากการสนทนายาม ดึกว่า “เราคุยกันว่า ต่อไป นอกจากผลของงานแล้ว คนท�ำงานต้อง เป็นสุขด้วย คนรอบข้าง ในครอบครัว ในทีมท�ำงานก็ต้องสุขด้วย เราต้องสุขและได้ประโยชน์กันทุกฝ่าย เราจะกลับไปปรับเปลี่ยน วิธีการท�ำงานใหม่” เราจะได้ยินเสียงสะท้อนคล้าย ๆ กันนี้ในหมู่คนท�ำงาน ไม่ว่า ในภาคธุรกิจ หรือภาคท�ำงานเพื่อสังคม เป็นความทุกข์ของมนุษย์ ท�ำงานตามกระบวนทัศน์วิทยาศาสตร์เก่า ที่มนุษย์เป็นเพียงกลไก ท�ำงานให้ได้ตามเป้า เราแยกงานออกจากชีวิต ท�ำงานโดยมุ่งที่ผลของงานเพียง อย่างเดียว ประเมินผลงาน แต่ไม่ประเมินผลชีวิต ดังนั้น งานอาจ จะประสบผลส�ำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ทว่าชีวิตล้มระเนระนาด สุขภาพโทรม ครอบครัวบาดหมาง ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน ร้าวฉาน อย่างนี้แล้ว สังคมโดยรวมก็มีเอกภาพได้ยาก แต่มนุษย์ไม่ใช่เครือ่ งจักร เวลาทีเ่ ราละเลยสายสัมพันธ์ระหว่าง มนุษย์ ละเลยทุกข์สุขในชีวิตของกันและกัน งานก็จะสะดุด ไม่เดิน หน้า หรือบางทีอาจพาถอยหลังตกเหวไปเลยก็ได้ เมื่อคนหันหลังให้กัน ก็ไม่ให้ความร่วมมือในการท�ำงานด้วย กัน ไม่สื่อสารพูดจากันให้เข้าใจ เกิดปัญหาการประสานงาน เมื่อ 196
เมล็ดพันธุ์ชีวิตบูรณาการ
มนุษย์มองกันด้วยสายตาแห่งอคติ ก็จะพูดจาขัดหู ขัดคอกัน การ ประชุมงานที่น่าจะสร้างสรรค์ก็กลายเป็นทะเลาะโต้เถียงกันอย่าง เอาเป็นเอาตาย เป็นต้น ฉะนั้น เมื่อเราต้องการท�ำงานแบบบูรณาการที่มีชีวิต เรา ต้องเห็นความเป็นมนุษย์ ในเรื่องราวและการงานที่เกี่ยวข้องกัน ทัง้ หมด คือ เห็นตัวเรา ทีมงาน ชุมชนทีเ่ ราท�ำงานด้วย และประสาน ประโยชน์ ให้ทุกอย่างสอดคล้องเป็นเนื้อเดียวกัน เข้าท�ำนอง “งาน เกิดผล คนเป็นสุข” เราเห็นว่าโมเดล ๓ มิติ ๓ ระดับ น่าจะเป็นเครื่องมือหนึ่ง ที่จะ ช่วยวางแผนและประเมินผล การท�ำงานของเราให้รอบด้าน โมเดลนี้ ประยุกต์มาจาก เฟรด คอฟฟ์แมน (Fred Kofman) ผู้เขียนหนังสือ ธุรกิจตระหนักรู้ Consciousness Business เขาบอกว่าชีวิตและ โลกของเรามีมิติ การที่เราจะใช้ชีวิตและท�ำงานให้สอดคล้องกับ ความเป็นจริงของโลก เราก็ต้องเห็นโลกเป็นหลายมิติด้วย ©Ñ¹
Product ¼ÅÅѾ¸ ¼Å¼ÅÔµ ¼ÅÊÐà·×͹
Ôè§ Ã×ÍÊ ¯ Ë Å ¼ Õè»ÃÒ¡ ·
Process ¡Ãкǹ¡Òà â¤Ã§ÊÌҧ áÅÐÃкºã¹¡Ò÷ӧҹ Platform »ÃѪÞÒ ¤Ø³¤‹Ò ¤ÇÒÁËÁÒ àÃÒ โมเดล ๓ ระดับ ๓ มิติ
197
ในแง่ของมิติ เราต้องมองเห็น ๓ มิตทิ เี่ กีย่ วข้องกับงาน ซึง่ หนีไม่ พ้น มิติแรก คือ มิติแห่งตัวฉัน มิติที่สอง คือ ทีม เครือข่ายที่ท�ำงาน ร่วมกันหรือเกี่ยวข้องกัน รวมถึงชุมชนที่เราท�ำงานด้วย และมิติที่ สาม คือ เนือ้ งาน วิสยั ทัศน์ เป้าหมาย ผลลัพธ์ ผลผลิต ของงานนัน้ ๆ ในแง่ของระดับ เป็นการมองเห็นสิ่งต่าง ๆ ว่ามีที่มาที่ไป โดย เริ่มจากระดับพื้นฐาน คือ ฐานรากของสิ่งต่าง ๆ เหมือนบ้านที่ต้อง มีงานฐานรากที่แข็งแรงมั่นคง เพื่อให้เราต่อเติมสร้างบ้านต่อขึ้นไป จนเกิดเป็นรูปร่างตัวบ้านในท้ายที่สุด เวลาที่เราใช้เครื่องมือ โมเดล ๓ มิติ ๓ ระดับ เราต้องพิจารณา ควบคูก่ นั ไปทัง้ มิติ และระดับต่าง ๆ ซึง่ จะขออธิบายพอสังเขป ดังนี้ ระดับแรก เป็นระดับพื้นฐาน ปรัชญา คุณค่า ความหมาย ซึ่ง มองไม่เห็นด้วยตา แต่เป็นสิ่งที่เป็นฐานให้กับสิ่งต่าง ๆ ได้ต่อยอด ขึ้นไปได้อย่างมั่นคง ระดับปรัชญาคุณค่า ในมิติความเป็นตัวฉัน ปรัชญาและความ หมายของชีวิตเราคืออะไร งานที่เราท�ำมีคุณค่าความหมายอย่างไร กับเรา สอดคล้องกับปรัชญาชีวิตของเราอย่างไร งานและชีวิตเป็น เรื่องเดียวกันหรือไม่ หากเราเห็นคุณค่าความหมายของงานที่เชื่อมโยงกับตัวเราได้ เราก็จะมีพลังท�ำงานนั้น ๆ ได้ แม้จะมีอุปสรรคก็ตาม ระดับปรัชญาคุณค่า ในมิติความเป็นเรา คุณค่าที่ทีมงาน ชุมชน และเครือข่ายยึดถือร่วมกันคืออะไร (อย่างเช่น คุณค่าความ พอเพียง คุณค่าตามศาสนาธรรม หรือคุณค่าของความรักในชุมชน เป็นต้น) และเรื่องที่เราท�ำมีคุณค่าความหมายกับทีม เครือข่าย และชุมชนของเราอย่างไร สอดคล้องสนับสนุนคุณค่าความหมาย ที่ทีมยึดถือหรือไม่ 198
เมล็ดพันธุ์ชีวิตบูรณาการ
ถ้าในทีมหรือชุมชน มีคุณค่าร่วมกัน (Shared core values) คุณค่าที่เราถือร่วมกันนี้ก็จะเป็นสิ่งยึดโยงใจเราให้ท�ำงานร่วมกัน ได้ มีความไว้วางใจกัน ช่วยเหลือเกื้อกูล ให้ก�ำลังใจกันและกัน ซึ่ง จะส่งผลต่อความงอกงามของการงาน (แต่โดยมาก เราเน้นร่วม งาน ที่ความคิดการท�ำงานที่สอดคล้องกัน แต่ละเลยที่จะหาคุณค่า ร่วมทางจิตใจ ทีล่ กึ ซึง้ และเป็นสิง่ เชือ่ มใจคน จึงง่ายทีเ่ ราจะแตกกัน ทะเลาะกันเพราะต่างคุณค่ากัน) ระดับปรัชญาคุณค่า ในมิติของงาน หลักปรัชญา คุณค่าของ งานที่เราท�ำอยู่ตรงไหน งานทุกอย่างล้วนมีพื้นฐานมาจากปรัชญา อย่างการท�ำไร่นาสวนผสม มาจากปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การ ท�ำงานตามระบอบประชาธิปไตยก็มาจากปรัชญาประชาธิปไตย การศึกษาแนวพุทธมาจากปรัชญาพุทธ การท�ำธุรกิจตามวิถที นุ นิยม เสรีก็แสดงออกตามปรัชญาทุกนนิยม เป็นต้น ดังนั้น ก่อนจะท�ำงานอะไร เราควรส�ำรวจดูปรัชญาพื้นฐาน ของงานนั้นเสียก่อน เพื่อให้เข้าใจหลักการของงาน จะได้ต่อยอด สร้างสรรค์กระบวนการ และผลของงานจากปรัชญาดังกล่าว รวม ถึงพิจารณาด้วยว่า ปรัชญาของงานสอดคล้องกับปรัชญาชีวิตของ เรา และของทีมหรือไม่ ระดับที่สอง เป็นเรื่องกระบวนการ และโครงสร้าง เป็นสิ่งที่ ต่อยอด ยืนอยู่บนฐานของปรัชญาคุณค่าที่เราวางไว้ กระบวนการ ต้องสอดคล้องกับหลักปรัชญาและคุณค่า เช่นว่า หากเราท�ำงาน เชิงบูรณาการ กระบวนการในการท�ำงานก็ต้องสอดรับกับปรัชญา บูรณาการที่มีชีวิต อย่างเช่น สนทนากันเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ร่วม กัน ไม่ใช้วิธีสั่งการ ควบคุม เป็นต้น ระดั บ กระบวนการ ในมิ ติ ข องฉั น หมายถึ ง ฉั น ท� ำ อะไร โมเดล ๓ ระดับ ๓ มิติ
199
ท�ำอย่างไร ฉันอยูจ่ ดุ ไหนของกระบวนการท�ำงาน และกระบวนการ ท�ำงานของฉันเป็นกระบวนการเรียนรูบ้ รู ณาการหรือไม่ กระบวนการ ท�ำงานสอดคล้องกับปรัชญาของงานและชีวติ ของฉันหรือเปล่า ระดับกระบวนการ ในมิติของเรา คือ เราท�ำอะไร เป็นอย่างไร ในกระบวนการ โครงสร้างการท�ำงานร่วมกันในทีมเป็นระบบใด โครงสร้างการท�ำงานร่วมกัน ความสัมพันธ์ของเราเป็นอย่างไร กระบวนการท�ำงานของเรา สอดคล้องกับคุณค่าร่วมที่ทีม ยึดถือหรือไม่ เช่นว่า ทีมและชุมชนยึดถือการมีส่วนร่วม แล้วการ สนทนา การท�ำงานร่วมกันของเราเปิดให้ทุกคนมีส่วนร่วมอย่าง อิสระ และเปิดใจหรือไม่ ระดั บ กระบวนการ ในมิ ติ ง าน คื อ ดู ว ่ า งานที่ ท� ำ นั้ น จะมี กระบวนการ โครงสร้าง กฏกติกาอะไร ทีส่ อดคล้องกับปรัชญาของ งาน และสอดคล้องกับคุณค่าความหมายชีวติ ของตัวเรา และชุมชน ระดับที่สาม คือ ระดับของดอกผลที่เกิดขึ้น ซึ่งต้องดูให้ สอดคล้องกับกระบวนการ และหลักปรัชญาพื้นฐานเช่นกัน ระดับผลที่เกิดขึ้น ในมิติตัวฉัน คือ การถามว่า ผลลัพธ์ที่ฉัน ต้องการจากการท�ำงานนี้ คืออะไร เช่น สุขภาพดี ฐานะการเงินและ ชีวติ มัน่ คงพอกินพอใช้ มีความสุขพึงพอใจในชีวติ ว่าได้ทำ� ประโยชน์ ระดับผลที่เกิดขึ้น ในมิติทีม เครือข่าย และชุมชน ผลลัพธ์ที่ เราต้องการร่วมกันคืออะไร ท�ำงานร่วมกันเพื่อให้ทุกคนมีความสุข มั่นคงในชีวิต ลูกหลานอยู่ในชุมชนที่ปลอดภัย ฯลฯ ระดับผลทีเ่ กิดขึน้ ในมิตขิ องงาน คือ ผลลัพธ์ทเี่ ราคาดหวังจาก การท�ำงาน อาจเป็นสิ่งของรูปธรรม อย่าง ถนน กฏหมาย อาคาร หลักสูตร เป็นต้น นอกจากนี้ ในระดับผลที่เราต้องการ เราอาจจะคิดถึงผล 200
เมล็ดพันธุ์ชีวิตบูรณาการ
ที่ต้องการได้รับเป็น ๓ ระดับด้วย คือ ผลผลิต ผลลัพธ์ และผล สะเทือน (output-outcome-impact) ซึ่งขออธิบายคร่าว ๆ ให้ พอเห็นภาพเบื้องต้น ดังนี้ ผลผลิ ต (Output) คื อ ผลที่ เ กิ ด ขึ้ น หลั ง จากการท� ำ งาน ยกตัวอย่างเช่น เราจัดงานรณรงค์บ้านเมืองสะอาด ให้คนมาร่วม กันเก็บขยะ ผลผลิตทีเ่ กิดคือ ผูค้ นมากมายออกมาเดินเก็บขยะตาม ท้องถนนในเมือง ผลผลิตที่ได้ คือ คนเก็บขยะ และขยะลดลง หรือ หมดไปในวันนั้น ๆ ที่ท�ำกิจกรรมรณรงค์ ผลลัพธ์ (Outcome) คือ ผลทีเ่ กิดขึน้ หลังจากการท�ำกิจกรรม ไปแล้ว คนเกิดการท�ำซ�้ำ เรียนรู้ และเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม อย่าง เป็นต้นว่า หลังจากกิจกรรมรณรงค์เก็บขยะแล้ว ผู้คนเกิดการ เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างต่อเนื่อง ไม่ทิ้งขยะตามมท้องถนน และพื้นที่สาธารณะอื่น ๆ ขยะในเมืองลดลง คนช่วยกันเก็บขยะที่ ผู้อื่นทิ้งไว้ เป็นต้น ผลสะเทือน (Impact) คือ กิจกรรมที่ท�ำลงไปแล้วส่งผล ต่อเนื่อง สะเทือนออกไปอย่างกว้างขว้างทั้งในเรื่องเดิม และเรื่อง อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เป็นต้นว่า กิจกรรมรณรงค์เก็บขยะ อาจจะท�ำให้ เกิดผลสะเทือน ให้เกิดแนวคิดจัดการขยะแบบใหม่ หรือ สะเทือน ไปยังเมืองอืน่ ๆ ให้เอาแบบอย่างกิจกรรม หรือส่งผลสะเทือนให้เกิด การดูแลความสะอาดบ้านเมืองในเรือ่ งอืน่ ๆ เช่น ลดการใช้ของทีก่ อ่ ให้เกิดขยะ สะเทือนยังสู่ระบบการผลิตบรรจุภัณฑ์อาหาร เป็นต้น หากเราวางแผนงานอย่างรอบด้าน ตั้งแต่ขั้นปรัชญาแนวคิด กระบวนการ จนถึงผลที่เราปรารถนาจะให้เกิดในทุกมิติ ดูให้ ทุกสิ่งทุกอย่างประสานคล้องจองกันทั้งหมด นี่เอง คือ ความ พยายามบูรณาการงานและชีวิตให้เป็นเนื้อเดียวกัน โมเดล ๓ ระดับ ๓ มิติ
201
นอกจากจะใช้เป็นแผนการด�ำเนินงานแล้ว สิ่งที่เราคิดไว้ตาม โมเดล ๓ มิติ และ๓ ระดับนี้ ยังเป็นเครื่องมือวัดและประเมินผล ของการท�ำงานได้ดว้ ยว่า เราสามารถท�ำได้ตามทีว่ างแผนและตัง้ ใจ ไว้หรือไม่ เกิดอะไรขึ้น มีอะไรที่เราควรปรับแก้อย่างไร ที่ส�ำคัญ โมเดล ๓ มิติ ๓ ระดับนี้ ยังช่วยให้เราประเมินผลที่ กว้างขวางกว่าผลของงานด้วย เราจะประเมินผลที่เกิดขึ้นกับคน ท�ำงาน ทีมงาน และชุมชนด้วยว่าเป็นเช่นไร และผลที่เกิดขึ้นในทุก มิติ ทัง้ ตัวเรา ทีมท�ำงาน และชุมชนนีเ้ อง ทีจ่ ะเป็นตัวชีว้ ดั แท้จริงว่า เราบูรณาการกันได้หรือไม่ งานบูรณาการสู่ความเป็นมนุษย์
ÊѨ¨¡ÒÅáË‹§µ¹ ࢌÒã¨áÅÐÃÙŒ¨Ñ¡µÑÇàͧ
¤ÇÒÁà¤ÒþµÑÇàͧ áÅÐÁÑè¹ã¨ã¹µÑÇàͧ ¤ÇÒÁ໚¹·ÕèÂÍÁÃѺ¹Ñº¶×Í ¤ÇÒÁÁÑ蹤§»ÅÍ´ÀÑÂ㹪ÕÇÔµ ¤ÇÒÁÍÂÙ‹ÃÍ´
เวลาที่เราสร้างสรรค์งานพัฒนาชุมชน และสังคม เราพิจารณาจาก อะไรบ้าง ปัญหาในท้องที่ ความสนใจและความถนัดของเรา แนว โน้มของปัญหาที่ก�ำลังจะมา หรือความต้องการของคนในชุมชน ในบท “บริบทบูรณาการ” เราได้น�ำเสนอสถานการณ์ โอกาส และภัยคุกคามทีเ่ ราน่าจะได้พจิ ารณาเพือ่ การสร้างงานพัฒนาสังคม และในบทนี้ เราขอเพิม่ อีกแง่มมุ จากสามเหลีย่ มมาสโลว์ ให้พจิ ารณา สร้างงานให้สอดคล้องและตอบสนองความต้องการของคนในสังคม จากขั้นพื้นฐาน ไปจนถึงขั้นสูงสุด 202
เมล็ดพันธุ์ชีวิตบูรณาการ
มาสโลว์จัดล�ำดับความปรารถนาและความพึงพอใจในชีวิต ของมนุษย์ไว้ ๕ ระดับโดยเรียงความต้องการของมนุษย์จากขั้นต้น ไปสู่ขั้นสูงสุด เริม่ จาก ขัน้ แรก มนุษย์ตอ้ งการการอยูร่ อดทางร่างกาย เมือ่ ได้ รับแล้ว เขาจะปราถนาสิง่ ทีส่ งู ขึน้ คือ ความต้องการทีจ่ ะได้รบั ความ ปลอดภัยในชีวิต จากนั้น มนุษย์ปรารถนา ความต้องการเป็นที่รัก เป็นที่ยอมรับจากคนอื่น ๆ มนุษย์ที่ได้รับความรัก เป็นที่รักและ ยอมรับแล้ว ขั้นต่อไปที่เขาปรารถนาในชีวิต คือ ความต้องการได้ รับการนับถือยกย่องจากสังคม และสุดท้าย เมื่อได้รับสิ่งต่าง ๆ นั้น แล้ว เขาจะแสวงหาความเข้าใจในตนเองอย่างถ่องแท้ เวลาทีเ่ ราคิดวางแผนหรือท�ำงานพัฒนาชุมชน เรามักเน้นตอบ สนองความปรารถนาของมนุษย์ในระดับล่าง ๆ เช่นเรื่อง ปัจจัย ๔ ความมั่นคงปลอดภัยในชีวิต ท�ำวนเวียนในเรื่องนั้น ๆ เรื่อยไป จริงอยู่ เรื่องพื้นฐานส�ำคัญของชีวิตเหล่านั้น เป็นสิ่งที่สมควร ต้องท�ำ แต่เราต้องไม่ลืมด้วยว่า มนุษย์มีศักยภาพที่จะเติบโตได้ มากกว่านั้น และถ้ามนุษย์มีความเติบโตด้านใน มีภาวะผู้น�ำ สังคม โดยภาพรวมก็จะขยับสูงขึ้น ฉะนัน้ นอกจากงานด้านสร้างความมัน่ คงในชีวติ ด้านปัจจัย ๔ และความปลอดภัยในชีวติ และทรัพย์สนิ แล้ว เราควรมองให้เนือ้ งาน ทีท่ ำ� ประสาน และส่งเสริมการพัฒนาด้านในของมนุษย์ให้สงู ขึน้ ด้วย เช่นว่า ให้คนมีความรู้สึกนับถือตัวเอง รู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของท้อง ถิ่น ประเทศ หรือขั้นสูงสุด คือ เข้าถึงความเป็นมนุษย์ (ภาวะผู้น�ำ) ที่ส�ำคัญ ในการท�ำงานบูรณาการ เราต้องไม่มองเรื่องราว ภายนอก แยกขาดจากชีวิตภายในของเราเอง ยิ่งเราท�ำงานพัฒนา ศักยภาพผู้คนให้สูงขึ้น นั่นหมายความว่า ตัวเราเองก็ต้องท�ำงาน โมเดล ๓ ระดับ ๓ มิติ
203
กับโลกภายในตัวเราเช่นนั้นด้วย สิ่งที่เราท�ำย่อมส่งผลสะท้อนกลับ มาภายในตัวเองเสมอ ปรับกระบวนทัศน์การวัดและประเมินผล แม้กระบวนทัศน์วิทยาศาสตร์ใหม่จะมีอิทธิพลมากขึ้นเรื่อย ๆ ในโลกสมัยใหม่ แต่เราก็ยังคงคุ้นเคย และ “ติดกับ” ระบบการ ท�ำงาน และคิดแบบกระบวนทัศน์กลไกอยู่ไม่น้อย เราอยากท�ำงานบูรณาการตามกระบวนทัศน์ใหม่ ทว่า กังวล เรื่องผลงานว่า เมื่อไรจะเห็นผล เราเร่งให้เกิดงาน จนบางครั้งลืม ใส่ใจเรื่องงานความสัมพันธ์ แล้วยังมีวิธีการประเมินและวัดผล งานอีกว่า เราจะมีวิธีวัดผลส�ำเร็จงานบูรณาการตามระบบที่มีชีวิต อย่างไร เรื่องที่เรายังกังขา กังวลเหล่านี้ เป็นสิ่งที่เราต้องขบคิดร่วม กัน งานบูรณาการตามกระบวนทัศน์ที่มีชีวิต ไม่มีสูตรส�ำเร็จ แต่ถ้า เราเอาหลักปรัชญาบูรณาการเป็นตัวตั้ง เรามั่นใจได้ว่า เราจะเห็น ทางในการท�ำงาน และวิธีการประเมินผลงานความส�ำเร็จร่วมกัน อย่างเป็นต้นว่า เมือ่ บูรณาการหมายถึงความงอกงามเติบโต สิง่ ทีเ่ รา จะใช้วัดผลเบื้องต้นของทิศทางบูรณาการว่ามาถูกทางหรือไม่ อาจ จะวัดที่ความเจริญงอกงามของคนท�ำงาน และงานที่ท�ำว่าผลิดอก ออกผล ในเชิงงอกงาม พัฒนาการดีขึ้นกว่าก่อนหรือไม่ เราพัฒนาความรู้ ความเข้าใจในงาน และชีวิตมากขึ้นหรือไม่ เก่งขึ้น ดีขึ้นหรือเปล่า แก้ปัญหาได้ดีขึ้น เร็ว และมีประสิทธิภาพ มากขึ้นไหม รับมือกับปัญาใหม่ ๆ ได้ดีขึ้นหรือเปล่า เราได้เพือ่ น รูจ้ กั คนมากขึน้ หรือไม่ ความสัมพันธ์ทเี่ รามีอยูเ่ ดิม กับเพื่อน ๆ คนท�ำงานแน่นแฟ้นขึ้นหรือเปล่า เรารู้สึกเต็มกับชีวิตมากขึ้นหรือไม่ j 204
เมล็ดพันธุ์ชีวิตบูรณาการ
แบบฝึกหัด ๑. โมเดล ๓ มิติ ๓ ระดับ พิจารณางานที่ก�ำลังท�ำอยู่ใน ปัจจุบัน • ปรัชญา และคุณค่าในชีวิตของท่าน คนในองค์กร และ ชุมชนเป็นอย่างไร • ในองค์กรและชุมชนมีคุณค่าหลักอะไรร่วมกันบ้าง และ เราจะใช้คุณค่าหลักที่มีร่วมกันนี้ ต่อยอดท�ำงานร่วมกัน อย่างบูรณาการได้อย่างไร • กระบวนการท�ำงานของเรา สอดคล้องกับปรัชญาของ งาน ชีวิตของเราและทีมงานหรือไม่ • ผลที่เกิดขึ้นเป็นอย่างไรบ้าง โดยเฉพาะผลที่เกิดขึ้นกับ ตัวเรา และทีมท�ำงาน ฯลฯ ๒. แนวคิดสามเหลี่ยมมาสโลว์ ประเมินความต้องการ ของคนในองค์กร และชุมชน คนในองค์กรของเรา ได้รับการตอบสนองความต้องการ ของชีวิตอยู่ในระดับใด มีสิ่งใดที่เราควรท�ำอะไรบ้าง เพื่อ เติมเต็มความต้องการของคนในองค์กรให้สูงขึ้น ตาม แนวคิดสามเหลี่ยมมาสโลว์ คนชุมชนของเรา ต้องการได้รับการตอบสนองความ ต้องการในด้านใดเพิ่มเติมบ้าง
โมเดล ๓ ระดับ ๓ มิติ
205
“ไม่ต้องสงสัยเลยว่า พลเมืองที่ช่างครุ่นคิดและเอาจริง เอาจังกลุ่มเล็ก ๆ สามารถเปลี่ยนแปลงโลกได้ เพราะ มันเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นมาแล้วจริง ๆ โดยไม่มีทางเป็น อย่างอื่นไปได้เลย”
– มาร์กาเรต มีดส์
206
เมล็ดพันธุ์ชีวิตบูรณาการ
ชุมชน และเครือข่าย เรียนรู้ ปฏิบัติการ
“ค�ำตอบอยู่ที่ชุมชน” “คนเล็ก ๆ คือ ความหวังของแผ่นดิน” ค�ำพูดดังกล่าวเกี่ยวข้องกับการบูรณาการอย่างไร ทฤษฎีซับซ้อนชี้ให้เราเห็นว่า ปัญหาต่าง ๆ เกิดขึ้นจากเหตุ ปัจจัยซับซ้อนหลายประการ และส่งผลสะเทือนอย่างกว้างขวางเกิน กว่าโครงสร้าง และระบบใหญ่ ๆ จากส่วนกลาง หรือใครคนใดคน หนึง่ กลุม่ ใดกลุม่ หนึง่ จะรับมือ และแก้ปมปัญหาทีย่ งุ่ เหยิงนีไ้ ด้ลำ� พัง ชุมชนและเครือข่ายเรียนรู้ ปฏิบัติการ
207
การมองเรื่องราวและให้แนวทางแก้ปัญหาจากส่วนกลาง ลงมายังท้องถิ่น จึงไม่อาจเข้าถึงแกนของปัญหาได้ และหลายครั้ง แนวทางแก้ปัญหาจากส่วนกลางที่ไม่เข้าใจท้องถิ่น กลับจะซ�ำ้ เติม และสร้างปัญหาเพิ่มให้ท้องถิ่นอีกด้วย การพลิกวิกฤตจึงต้องพิสูจน์กันในพื้นที่ ณ จุดที่เกิดปัญหา นั่นหมายความว่า คนเล็ก ๆ ที่กระจายอยู่ทั่วแผ่นดินนั่นเอง ที่เป็น ความหวังของประเทศ เราและประเทศชาติเป็นดั่งกันและกัน มีคนเคยเชื่อมโยงว่า การเมืองระดับชาติที่เต็มไปด้วยการ คอร์รัปชั่น ไม่ได้มาจากความทุจริตของนักการเมืองแต่เพียงล�ำพัง แต่การเมืองระดับชาติสะท้อนภาพการเมืองในระดับท้องถิ่นและ องค์กรด้วย เราต่างท�ำ สนับสนุน และมีคณ ุ สมบัตคิ ล้ายนักการเมือง ระดับชาติที่เราประณาม ดังจะเห็นได้จากผลการส�ำรวจความเห็น จากส�ำนักวิจัยต่าง ๆ ที่สะท้อนว่า ผู้คนมากกว่า ๖๐ เปอร์เซ็นต์ใน ประเทศยอมรับการคอร์รปั ชัน่ และการให้สนิ บนเริม่ เป็นธรรมเนียม ปฏิบัติในสังคม ระบบแฟรกทอล (fractal) ในทฤษฎีซบั ซ้อนบอกว่า ภาพย่อย มีลักษณะและแบบแผนเดียวกัน หรือคล้ายคลึงกับภาพใหญ่ อย่าง เช่น กะหล�่ำดอก เมื่อเราหักกิ่งเล็ก ๆ หรือตัดดอกกะหล�่ำออกมา แล้วเอากล้องส่องขยายดู เราจะเห็นว่าชิ้นส่วนเล็ก ๆ ที่ตัดออกมา นั้น มีลักษณะคล้ายกับดอกกะหล�่ำทั้งลูกใหญ่ สังคมไทยก็เปรียบได้ดั่งกะหล�่ำดอก และเราแต่ละคนเป็น เสมือนชิ้นส่วนต่าง ๆ ที่แม้จะถูกตัด หรือหักแยกออกมา ก็จะมี ลักษณะแบบแผนของภาพใหญ่ของทั้งประเทศ 208
เมล็ดพันธุ์ชีวิตบูรณาการ
ประเทศชาติเป็นเช่นไร เราก็เป็นเช่นนั้น และเราเป็นเช่นไร ประเทศก็จะเป็นเช่นนั้น ระบบใหญ่ อย่ า งการเมื อ งระดั บ ชาติ แ ละนโยบายระดั บ ประเทศอาจมีผลต่อชีวิตของเราก็จริง แต่เรื่องของ “ดอกกะหล�่ำ” ก็ชี้ชัดว่า ชีวิตของคนเล็กคนน้อยอย่างเรา ๆ ก็ส่งอิทธิพลต่อระบบ ใหญ่ดว้ ยเช่นกัน ถ้าเราเปลีย่ นแบบแผนปฏิสมั พันธ์และคุณภาพของ ตัวเอง และชุมชน อิทธิพลของระบบย่อย ร่ า งกายเป็ น ระบบ เครื อ ข่ า ย ที่ ด� ำ รงอยู ไ ด้ ด้วยเซลล์ อวัยวะ และ การท�ำงานของระบบต่าง ๆ เมื่อระบบย่อยต่าง ๆ อย่ า งระบบย่ อ ยอาหาร ระบบขั บ ถ่ า ย ระบบ หมุ น เวี ย นโลหิ ต ระบบ หายใจ ระบบประสาท ฯลฯ ท�ำงานประสานกัน ได้ ดี เราก็ จ ะมี สุ ข ภาวะ หรือเราอาจกล่าวได้ว่า สุขภาวะของร่างกาย เป็นผลรวม และผล สะท้อนของสุขภาวะในระบบย่อยของร่างกายนั่นเอง การดูแลสุขภาพร่างกาย ก็เหมือนกับการดูแลประเทศที่เป็น ระบบใหญ่ ถ้าเราต้องการให้ประเทศมีสุขภาวะ เราต้องดูแลให้ ระบบย่อย คือ ชุมชนต่าง ๆ ในสังคมมีสุขภาวะ มีศักยภาพในการ ชุมชนและเครือข่ายเรียนรู้ ปฏิบัติการ
209
ดูแลตนเอง ท�ำงานได้เต็มประสิทธิภาพและประสานงานกับชุมชน อื่น ๆ ได้ดี มนุษย์อยู่ในระบบย่อย ๆ เสมอ เราอยู่ที่บ้าน โรงเรียน ชุมชน หมู่บ้าน องค์กรที่ท�ำงาน ชมรมกีฬา สังคมเมือง แม้กระทั่งการ ประชุมก็จัดเป็นระบบย่อยด้วย คือ เป็นระบบย่อยขององค์กร ถ้าระบบย่อยเหล่านีม้ สี ขุ ภาวะ ระบบใหญ่กจ็ ะมีสขุ ภาวะไปด้วย เมื่อเราท�ำให้ครอบครัวเข้มแข็ง ระบบย่อยนี้ก็จะส่งผลต่อ ระบบใหญ่ คือ ท�ำให้ชุมชนหมู่บ้านเข้มแข็งไปด้วย และขยาย สุขภาวะอย่างนี้เรื่อยๆ สู่สังคมที่ใหญ่ขึ้น หรือหากระบบย่อยที่ เป็นการประชุมในองค์กรมีคุณภาพ ผลการประชุมก็จะส่งอิทธิพล เชิงบวกให้กับองค์กรในภาพใหญ่ด้วย ฉะนั้นแล้ว อ�ำนาจในการสร้างสรรค์ชีวิตและประเทศจึงอยู่ ในตัวเรา คนเล็ก ๆ ชุมชนย่อย ๆ เราทุกคนเลือกได้ว่าจะสร้าง ระบบย่อยและระบบใหญ่ให้มีคุณภาพและคุณลักษณะใด สิ่งที่เรา ท�ำ สนทนา และสัมพันธ์กันในชุมชนนั้นเองเป็นตัวก�ำหนดคุณภาพ และสุขภาวะของสังคม ยิง่ สังคมซับซ้อนมากเท่าไร เรายิง่ ต้องเสริมสร้างความเข้มแข็ง ให้ระบบย่อยมากเท่านัน้ เพือ่ ให้ระบบย่อยสามารถปรับตัวได้เร็ว รับ มือกับปํญหาที่เผชิญได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ครุ่นคิด จากค�ำพูดที่ว่า “คนเล็ก ๆ เป็นความหวังของชาติ” เราจะ เป็นความหวังแบบไหนให้กับประเทศ เราปรารถนาจะให้สังคมเป็นอย่างไร และเราพร้อมหรือไม่ ที่จะเป็น และท�ำในสิ่งที่เราปรารถนาจะเห็นในสังคมของเรา 210
เมล็ดพันธุ์ชีวิตบูรณาการ
ชุมชนจัดตั้งและจัดการตัวเอง (Self Organizing) แม้ปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนจะเชื่อมโยงกับปัญหาในระดับ ประเทศและระดับโลก แต่ปัญหาในแต่ละท้องถิ่นก็มีรายละเอียด แตกต่างกัน และทุนในการแก้ปัญหาก็ต่างกันด้วย ไม่ว่าจะเป็น ศักยภาพก�ำลังของผู้คน ลักษณะภูมิประเทศ องค์ความรู้ท้องถิ่น ประวัตศิ าสตร์ ฯลฯ ค�ำตอบในการรับมือกับปัญหา และสร้างสรรค์ ท้องถิ่นจึงอยู่ที่ชุมชน เมื่ อ เป็ น เช่ น นี้ สิ่ ง ที่ เราต้ อ งท� ำ คื อ เอื้ อ อ� ำ นวยให้ ท ้ อ งถิ่ น จัดการตัวเอง พัฒนาศักยภาพให้เป็นชุมชนเรียนรู้และปฏิบัติการ สร้างสรรค์ และเรียนรูก้ บั ชุมชนอืน่ ๆ อย่างเป็นเครือข่ายทัง้ ประเทศ ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เราจะได้ยินค�ำว่า “จัดการตนเอง” อยู่ บ่อยครั้ง ไม่ว่า ชุมชนจัดการตนเอง หรือจังหวัดจัดการตนเอง การจัดการตนเองหมายถึงอะไร เกีย่ วข้องอย่างไรกับการเรียน รู้ และบูรณาการ ระบบทีม่ ชี วี ติ จัดการตัวเองอยูเ่ สมอ สังคมก็เป็นระบบทีม่ ชี วี ติ ก็ย่อมจัดการตัวเองอยู่เสมอด้วยเช่นกัน และเหมือนกับหลายเรื่อง ในชีวิต จุดเริ่มต้นของเรื่องราวต่าง ๆ รวมถึงการจัดการตนเอง มัก เริ่มจากจุดเล็ก ๆ และจากคนเพียงไม่กี่คน เมือ่ กว่า ๑๐ ปีกอ่ น ถนนนิมมานเหมินต์ ในเมืองเชียงใหม่เป็น ย่านที่พักอาศัยที่ค่อนข้างเงียบสงบ ต่อมา มีบ้าน ๒-๓ หลังเปิด กิจการท�ำร้านกาแฟ จากนั้น ก็เริ่มมีบ้านเปิดพื้นที่ท�ำการค้ามาก ขึน้ ขายงานดีไซน์ งานออกแบบ ร้านกาแฟมีแบรนด์ทงั้ ต่างชาติและ ในประเทศ ร้านรวงต่าง ๆ ทะยอยเปิดกันเพิ่มขึ้น จนในวันนี้ ถนน นิมมานเหมินต์กลายเป็นถนนกาแฟ และงานดีไซน์ของเชียงใหม่ ไม่มีใครออกแบบและวางแผนให้ถนนสายนี้เป็นอย่างในวันนี้ ชุมชนและเครือข่ายเรียนรู้ ปฏิบัติการ
211
แต่สิ่งต่าง ๆ จัดการกันเองตามธรรมชาติ เราจะเห็นเรื่องราวการ จัดการตนเองอย่างนี้หลายแห่ง พื้นที่ตลาดนัด ย่านการค้าต่าง ๆ และอีกหลายเรื่อง ตัวอย่างของถนนนิมมานเหมินต์ เป็นการจัดการตัวเองใน ภาวะปรกติ ผู้คนตกลงกันได้ สิ่งต่าง ๆ สร้างสรรค์ปรับตัวอย่าง ค่อยเป็นค่อยไป ทว่า เมื่อใดที่สังคมปั่นป่วน โกลาหล ระส�่ำระสาย แตกแยก ไร้ระเบียบ สังคมนั้นก�ำลังถูกท้าทายให้ปรับตัว เรียนรู้ และจัดการ ตัวเองให้เร็วขึ้น เพื่อรับมือกับความโกลาหล ซึ่งผลของการรับมือ จะดีหรือไม่ ก็ขนึ้ อยูก่ บั คุณภาพและศักยภาพของคนในสังคมนัน้ ๆ ในพื้นที่แห่งความโกลาหล ซับซ้อนและมีพลวัตสูงอย่างที่เป็น อยู่ในสังคมไทยและโลก อะไรก็เกิดขึ้นได้ และอะไรก็เป็นไปได้ ไม่ ว่าจะในทางบวก หรือลบ ในภาวะปั่นป่วน เรื่องราวต่าง ๆ อ่อนไหวและเปราะบาง จึง มีโอกาสพลิกผันสูง เอาแน่นอนไม่ได้ ขึ้นกับปัจจัยที่เข้ามาเป็น ตัวแปรในสถานการณ์ต่าง ๆ ปัจจัยเพียงเล็กน้อยก็สามารถสร้าง ผลสะเทือนให้กับระบบได้มากและอย่างรวดเร็ว ทั้งผลสะเทือนใน ทางบวก หรือทางลบ เพราะฉะนั้น ... ตอนนี้ และตรงนี้ คือ โอกาสทองแห่งการ บูรณาการ ภาวะที่ปั่นป่วนวุ่นวายสับสน เป็นพื้นที่แห่งความสร้างสรรค์ และความเป็นไปได้ (Possibilities) เราจึงต้องฉกฉวยโอกาสนี้ จัดตัง้ และจัดการตนเองสูร่ ะบบระเบียบใหม่ทดี่ กี ว่า ชักน�ำพลังความ โกลาหลให้มุ่งสู่ทิศทางที่สร้างความสุขสงบและดีงามให้กับสังคม
212
เมล็ดพันธุ์ชีวิตบูรณาการ
äÁ‹Ã‹ÇÁÁ×Í
Ò ؋¹Ç ¡Ç º ¡á àºÕ ᵠäÃŒÃÐ
¾×é¹·Õè·Ñº«ŒÍ¹¾ÅÇѵ
ËÇÁÁ×Í
Ô¡Ò ¯¡µ ¨¹ ÃѺ¡ ªÑ´à ÂÍÁ ÕÃкº Á
»ÃѺµÑǨѴ¡ÒõÑÇàͧ
µ¡Å§
äÁ‹µ¡Å§
พลังของการจัดการตนเอง จากการศึกษาวิจัยทฤษฎี Synergetic ว่าด้วยการปฏิสัมพันธ์ จากการจัดระบบโมเลกุลของแสงเลเซอร์ แเฮร์มาน ฮาเคน นัก ฟิสิกส์รางวัลโนเบลพบว่า แสงไฟที่เราเห็นเป็นความสว่างนั้นมี โมเลกุลกระจัดกระจาย แสงให้ความสว่างได้กว่าจริง แต่ไม่มีพลัง ต่อเมื่อเราเพิ่มพลังให้แสง โดยจัดระบบระเบียบโมเลกุลของ แสงใหม่ ไม่กระจัดกระจาย และวิ่งชนกัน แสงนั้นจะมีอานุภาพ มากขึ้น กลายเป็นแสงเลเซอร์ที่สามารถทะลุทะลวง ตัดของแข็ง อย่าง หิน เหล็ก เพชรได้ เวลาที่เราต่างคนต่างท�ำงาน กระจัดกระจายกัน เราก็เหมือน กับแสงสว่าง มีพลังและศักยภาพพอที่จะรับมือปัญหาได้ในระดับ หนึง่ แต่ถา้ เรารวมกัน เพิม่ พลังให้กนั และกัน จัดระเบียบการอยูร่ ว่ ม ชุมชนและเครือข่ายเรียนรู้ ปฏิบัติการ
213
กันใหม่ ไม่กระจัดกระจายหรือวิ่งชนกัน เราก็จะยกระดับศักยภาพ ของเราให้เป็นเหมือนแสงเลเซอร์ ทีท่ รงอานุภาพ สามารถรับมือกับ วิกฤตที่ท้าทายได้ อะไรเป็นสิง่ ทีจ่ ะช่วยเราจัดระเบียบพลังของมนุษย์ให้เป็นพลัง ที่ทรงอานุภาพ? อาดัฟ ซูอีฟ (Ahdaf Soueif) ผู้เขียนหนังสือขายดี แผนที่แห่ง รัก (The Map of Love) บอกเล่าประสบการณ์ของเธอ ในครั้ง ที่ร่วมชุมนุมประท้วงขับไล่ผู้น�ำเผด็จการ ฮอสนี มูบารัค ที่จัตุรัส ทาห์รีร์ ประเทศอียิปต์ “... ผู้คนค้นพบตัวเอง เหมือนว่าก่อนนั้น เราต่างขังตัวเองใน กล่องมืดเล็ก ๆ ของตนเอง และเกรงที่จะท�ำอะไร แต่เมื่อเราเปิด กล่องแล้วก้าวออกมา เราจึงได้เห็นว่า มีผู้คนมากมายเหลือเกินที่ เหมือนเรา เพียงชั่วข้ามคืน เราเห็นพื้นที่ของพลเมือง เป็นสถานที่ใน อุดมคติทหี่ ลายคนเคยฝันใฝ่ ผูค้ นใส่ใจกันและกัน สุภาพต่อกัน ดูแล กันและกัน แบ่งปันของกิน น�้ำและยา เก็บขยะตามท้องถนน ผู้คน น�ำสิ่งดี ๆ ในตัวเองออกมามอบให้ผู้อื่น สิ่งนี้มันเหลือเชื่อจริง ๆ” การชุมนุมประท้วงทีจ่ ตั รุ สั ทาห์รรี ์ เป็นพลังยิง่ ใหญ่ทกี่ ระทบใจ คนหลายประเทศทัว่ โลก ผูค้ นส่งก�ำลังใจไปช่วยผูป้ ระท้วงชาวอียปิ ต์ และพยายามกดดันรัฐบาลเผด็จการให้วางอ�ำนาจ จนในทีส่ ดุ ผูน้ ำ� ที่ ครองอ�ำนาจมากว่า ๓๐ ปี ก็ตอ้ งก้าวลงจากอ�ำนาจอย่างไม่มเี งือ่ นไข เราจะได้ยินค�ำพูด ความรู้สึก และพลังของคนคล้าย ๆ กัน อย่างนี้ ในเหตุการณ์การชุมนุมหลายแห่งทั่วโลก ทั้งในยุคร่วมสมัย หรืออดีต อย่างในช่วงเหตุการณ์พฤษภา ๒๕๓๕ ผู้คนจากต่างที่ ต่างถิ่นรวมตัวกัน แบ่งปันอาหารและน�้ำในยามที่นั่งชุมนุม ถามไถ่ สารทุกข์สุขดิบ ช่วยเหลือกันและกันอย่างพี่น้อง 214
เมล็ดพันธุ์ชีวิตบูรณาการ
ชุมชนจัดการตนเองอย่างที่จัตุรัสทาห์รีร์ และช่วงพฤษภาคม ๒๕๓๕ เป็นการจัดการตัวเองที่ปราศจากการแทรกแซง ไร้การจัด วางแบบนักบริหารจัดการ หรือจัดตั้งจากภายนอกแบบทางการ และสั่งการ (top down) แต่พลังของชุมชนมาจากใจของผู้คนที่ มีเป้าหมายเดียวกัน และผูกพันกัน (Intimacy) ด้วยบริบทของ เป้าหมายในเวลานั้น ในหนังสือโยงใยที่ซ่อนเร้น ฟริตจ๊อฟ คาปร้า พูดถึงความคิด ของนักทฤษฎีองค์กร อีไตน์ เวนเจอร์ว่า ชุมชนแห่งการปฏิบัติการ เป็นชุมชนที่เกิด และยึดโยงกันด้วยความหมาย มากกว่าแบบแผน การจัดองค์กร เป็นชุมชนที่เกิดขึ้นเมื่อผู้คนร่วมประกอบการสิ่งใด ด้วยกันชั่วขณะหนึ่ง มีแบบแผนปฏิบัติร่วมกัน วิธีสัมพันธ์ต่อกันที่ ช่วยให้บรรลุเป้าประสงค์ และผลจากวิถกี ารปฏิบตั นิ นั้ ได้กลายเป็น ความผูกพันที่รับรู้ร่วมกันในหมู่ชนที่มาเกี่ยวข้อง กล่าวโดยสรุปก็คือ ชุมชนปฏิบัติการมีลักษณะหลัก ๆ ๓ ประการ คือ ความรูส้ กึ ผูกพันระหว่างกัน ร่วมกันท�ำกิจกรรมเพือ่ เป้า หมายและความหมายเดียวกัน และมีกจิ วัตรบางอย่างทีเ่ ป็นการท�ำซ�ำ้ สร้างพฤติกรรมของชุมชน วัฒนธรรม และองค์ความรู้ของกลุ่มขึ้น ระบบที่มีชีวิตจัดการตัวเองตามวิถีของระบบ และตามเหตุ ปัจจัยทีเ่ ข้ามาในระบบ ดังนัน้ ถ้าเราต้องการจัดตัง้ และจัดการชุมชน สิง่ ทีเ่ ราต้องท�ำ คือ สร้างเงือ่ นไขปัจจัยให้ระบบทีม่ ชี วี ติ เรียนรู้ เติบโต และจัดการตัวเองได้ตามธรรมชาติ หัวใจของการสร้างชุมชนปฏิบัติการตนเองจึงอยู่ที่การจัดการ ความสัมพันธ์ซึ่งมีเรื่องหลัก ๆ ดังนี้ • ความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของกันและกัน (Sense of belonging) ชุมชนจะเกิดและด�ำรงอยู่ได้อย่างเหนียวแน่น ถ้าคนในชุมชน รูส้ กึ เป็นส่วนหนึง่ ของกันและกัน ความส�ำเร็จขององค์กรหลายแห่ง ชุมชนและเครือข่ายเรียนรู้ ปฏิบัติการ
215
อยู่ที่การท�ำให้พนักงานรู้สึกว่า ตัวเองเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร มี เป้าหมายและวิสยั ทัศน์รว่ มกับองค์กร พนักงานจะท�ำงานและดูแล องค์กรเสมือนเป็นเรื่องของตัวเอง หนึง่ ในวิธกี ารทีจ่ ะสร้างความรูส้ กึ เป็นส่วนหนึง่ ของกันและกัน คือ กระบวนการมีสว่ นร่วม เมือ่ ผูค้ นมีสว่ นร่วมกับชุมชนในเรือ่ งต่าง ๆ วางเป้าหมายร่วม เห็นคุณค่าร่วมกัน ช่วยกันคิดกระบวนการ และวิธีการสร้างสรรค์งานสู่เป้าหมาย เมื่อคนรู้สึกว่าตัวเองเป็น เจ้าของชุมชน ก็จะร่วมมือ ร่วมใจกันท�ำงานเพื่อเป้าหมายเดียวกัน ของชุมชน • ความรูส้ กึ สนิทใจ เชือ่ ใจและวางใจกัน (Intimacy) ชุมชนเข้ม แข็งได้จากสายใยความสัมพันธ์ระหว่างผู้คน หากชุมชนใด ผู้คนรัก กัน ไว้วางใจกัน ความร่วมมือร่วมใจ ให้อภัย เข้าอกเข้าใจ ก็เป็น เรื่องง่าย และท�ำให้ทุกอย่างง่ายตามไปด้วย แต่หากชุมชนใด ผู้คน ระแวงกัน และแตกแยก การจะลงมือร่วมกันท�ำอะไรอย่างใดอย่าง หนึ่งก็ยาก และอาจจะจ้องท�ำลายกันด้วยซ�้ำไป • ความเชื่อมโยงกัน การสื่อสารเป็นหนทางที่จะช่วยรักษา พัฒนาความสัมพันธ์ในชุมชนให้งอกงาม ชุมชนปฏิบตั กิ ารต้องดูแล ให้การสื่อสารในชุมชน และเครือข่ายลื่นไหล (flow) เสมอ และ การสื่อสารที่จะเชื่อมใจมนุษย์ได้นั้น เป็นการสื่อสารฉันท์มิตร เปิด ใจ และไม่เป็นทางการ หลายองค์กรพยายามจัดสรรบรรยากาศและพื้นที่ให้คนเชื่อม โยงสัมพันธ์กันมากขึ้น อย่างเช่น จัดพื้นที่มุมกาแฟ ให้คนมานั่งคุย กันสบาย ๆ จัดบรรยากาศการท�ำงานให้คนมีปฏิสัมพันธ์กันง่ายขึ้น ให้คนได้เห็นหน้าเห็นตากันมากขึน้ หรืออาจจะมีกระดานสือ่ สารให้ คนได้ส่งข่าว ข้อความที่เป็นประโยชน์ส�ำหรับชุมชน ฯลฯ 216
เมล็ดพันธุ์ชีวิตบูรณาการ
ครุ่นคิด ในชุมชน องค์กร และเครือข่าย เราเห็นคุณภาพ และ ระดับความรู้สึกใกล้ชิดสนิทสนมในความสัมพันธ์ระหว่าง บุคคลหรือไม่ ความสัมพันธ์ในชุมชนและองค์กรที่เราอยู่ เป็นอย่างไร เราจะท�ำอะไร และอย่างไรบ้าง เพื่อที่จะท�ำให้ผู้คนรู้สึก ผูกพันกัน และช่วยกันหล่อเลี้ยงพลังแห่งความสัมพันธ์ ในชุมชนปฏิบัติการ ชุมชนเรียนรู้และกระบวนของชีวิต ปัจจุบนั เราพูดกันมากเรือ่ งสร้างศูนย์เรียนรู้ ชุมชนและองค์กร เรียนรู้ เรามองเห็นใบหน้ามนุษย์ในเวลาที่เราพูดถึงหน่วยองค์กร เครือข่ายเรียนรู้หรือไม่ ศูนย์เรียนรู้ องค์กรเรียนรูไ้ ม่ใช่รปู แบบ โครงสร้าง ความรู้ ต�ำรา คู่มือ หรือเทคนิค แต่ศูนย์เรียนรู้และองค์กรเรียนรู้ คือ มนุษย์ที่ เรียนรู้ ฉะนั้น แนวทางบ่มเพาะความเป็นชุมชนเรียนรู้ ต้องเริ่มจาก บ่มเพาะความเป็นนักเรียนรู้ของคนในท้องถิ่น และองค์กร การเรี ย นรู ้ ไ ม่ ใช่ เรื่ อ งยากหรื อ ไกลตั ว แต่ ก ารเรี ย นรู ้ เ ป็ น กระบวนการของชีวิต เราไม่ต้องสอนให้เด็กเรียนรู้ แต่ทารกเรียนรู้ ว่าจะสื่อสารความต้องการอย่างไรจึงจะมีน�้ำนมกิน เรียนรู้ที่จะพูด ฟัง และมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งต่าง ๆ รอบตัว ตามทฤษฎี ซ านติ อ าโกที่ พู ด ถึ ง การรั บ รู ้ - จิ ต -ส� ำ นึ ก รู ้ กระบวนการแห่ ง ชี วิ ต คื อ กระบวนการรู ้ - การั บ รู ้ ปรั บ ตั ว วิวัฒนาการตัวเอง เพื่อการด�ำรงอยู่ต่อไป เมื่ อ เราพู ด ถึ ง การบู ร ณาการที่ มี ชี วิ ต หรื อ การท� ำ งาน ชุมชนและเครือข่ายเรียนรู้ ปฏิบัติการ
217
เชิงบูรณาการอย่างเป็นองค์รวมแล้ว เราจึงเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องพูด ถึงกระบวนการเรียนรู้ด้วย ความรู้ และการสร้างความรู้ (Knowledge Creation) มนุษย์เรียนรู้เสมอ และเราสร้างความรู้ให้ตัวเองได้ ศาสตราจารย์อิคิวจีโร โนนากะ (Professor Ikujiro Nonaka) ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารความรู้และการสร้างความรู้ในองค์กร กล่าวถึงความรู้และการสร้างความรู้ที่ส�ำคัญไว้ ๓ ประเภท ดังนี้ Episteme คือ ความรู้ภายนอกตัว (explicit knowledge) อย่างเช่น ความรู้ที่สอนในระบบการศึกษา ความรู้จากครู ความรู้ ในต�ำราหนังสือ และเครื่องมือสื่อสารต่าง ๆ และห้องสมุด เป็นต้น ซึ่งเราคุ้นเคยกับความรู้ประเภทนี้ดีกันอยู่แล้ว ความรู้ชนิดนี้เกิดจากการอ่าน ฟัง คิด วิเคราะห์ วิจารณ์ ถกเถียงและสนทนากัน Techne คือ ความรู้ภายในตน (tacit knowledge) เป็น ความรู้เชิงทักษะฝีมือที่มีอยู่ในเนื้อตัวผู้ปฏิบัติ เช่น คนที่มีฝีมือใน การท�ำอาการ ช่างฝีมือ ศิลปิน ปราชญ์ชาวบ้าน ความรู้แบบนี้เกิด จากการท�ำซ�้ำ และฝึกปฏิบัติจนเชี่ยวชาญเป็นทักษะติดตัว อย่าง คนที่ท�ำอาหารเก่ง จะท�ำอาหารได้อย่างเป็นธรรมชาติ รวดเร็ว ไม่ ต้องตวงเครื่องปรุง ไม่ต้องชิม แต่ได้ผลลัพธ์ที่เป็นอาหารที่อร่อย น่ารับประทาน ความรู้ชนิดนี้เป็นความรู้ฝังลึกอยู่ในตัวของบุคคลที่ลอกแบบ กันไม่ได้ แต่สามารถเรียนรู้ถ่ายทอดจากคนสู่คน ผ่านการเรียนรู้ ด้วยการสังเกต ใช้ชีวิตร่วม ฝึกฝน ท�ำซ�้ำ เหมือนการเรียนรู้แบบ โบราณที่ลูกศิษย์ต้องฝากตัวกับอาจารย์ เฝ้าสังเกตการณ์ท�ำงาน 218
เมล็ดพันธุ์ชีวิตบูรณาการ
การใช้ชีวิตของครู สนทนาบ่อย ๆ กับครู ท�ำตามครู ฝึกฝนวิชาจน เชี่ยวชาญมีทักษะติดตัว ลักษณะการเรียนรูแ้ ละสร้างความรูใ้ นลักษณะนี้ หาได้ยากแล้ว ในสมัยนี้ ที่ความสัมพันธ์ระหว่างครูกับศิษย์ถอยห่าง การเรียนรู้ ระหว่างคนกับคนก็ไม่คอ่ ยมี เปลีย่ นเป็นการเรียนรูจ้ ากวัตถุ หนังสือ คอมพิวเตอร์ โทรทัศน์ เป็นต้น และทีส่ ำ� คัญ เราไม่คอ่ ยฝึกฝนทักษะ ที่เรียนรู้ และไม่น�ำความรู้จากภายนอกตัวที่เราได้ยิน ได้อ่าน และ สนทนามาฝึกฝน ผ่านการลงมือปฏิบัติจนเกิดเป็นความรู้ในตน Phronesis คือ ความรู้เชิงปัญญาปฏิบัติ high quality tacit knowledge เป็นความรู้กึ่ง ๆ ญาณทัศนะ (intuition) ที่เกิดจาก จิตที่เป็นสมาธิ หรือการครุ่นคิดด้วยหัวใจ หรือ “คิดโดยไม่คิด” ความรูป้ ระเภทนีเ้ กิดขึน้ ในภาวะทีจ่ ติ ผ่อนคลาย ว่าง เป็นสมาธิ และมักเป็นความรูท้ กี่ า้ วหน้า (Breakthrough) อย่างทีม่ ตี ำ� นานเล่า ขานว่า เซอร์ ไอแซค นิวตัน ค้นพบทฤษฎีแรงโน้มถ่วงของโลก เมื่อ ลูกแอปเปิ้ลหล่นใส่หัว เลยเกิด “ปิ๊งแว้บ” หรือ กฏของอาร์คีมีดีสเรื่องการหาความถ่วงจ�ำเพาะของวัตถุ เกิดขึ้นเมื่ออาร์คีมีดีสก�ำลังจะอาบน�้ำ เขาไม่ได้ตั้งใจจะคิดสมการ ทางคณิตศาสตร์ในเวลานัน้ แต่อยากท�ำกายและใจให้สบาย ใจตอน นั้นไม่ได้คิดอะไร เมื่อเอาเท้าจุ่มลงไปในอ่างอาบน�้ำ เห็นน�้ำไหลล้น ออกมา ความคิดทางทฤษฎีกผ็ ดุ ขึน้ มา “ปริมาตรของวัตถุสว่ นทีจ่ ม ลงในน�้ำย่อมเท่ากับปริมาตรของน�้ำที่ถูกแทนที่ด้วยวัตถุ” ส�ำหรับโลกสมัยใหม่ เรายิ่งต้องพัฒนาความรู้เชิงญาณทัศนะ หรือที่พระอาจารย์พุทธทาสเรียกว่า “จิตนุ่มนวลควรแก่งาน” เพราะหลายสิ่งหลายอย่างเกิดขึ้นรวดเร็วและซับซ้อนวุ่นวาย เกิน ความสามารถของการคิดจากสมองและประสบการณ์เก่าในอดีต จะเข้าใจและรับมือได้ทัน ชุมชนและเครือข่ายเรียนรู้ ปฏิบัติการ
219
ความรู้ทั้ง ๓ ประเภทนี้เป็นความฉลาดทางปัญญาและจิต วิญญาณ ซึง่ เป็นทุนทางสังคมทีส่ ำ� คัญส�ำหรับการพัฒนาประเทศ เรา ควรหมัน่ สร้างความรูท้ งั้ สามประเภทนีใ้ ห้มใี นตัวเอง ชุมชน องค์กร และเครือข่ายของเรา นอกจากนัน้ แล้ว เรายังต้องใส่ใจบ่มสร้างความ ฉลาดทางอารมณ์ และสังคมอีกด้วย ความฉลาดทางอารมณ์ เป็ น เรื่ อ งเกี่ ย วกั บ ความรู ้ สึ ก จินตนาการ ความสร้างสรรค์ การรู้จักดูแลอารมณ์ตัวเอง มีทักษะ ในการเชื่อมสัมพันธ์กับผู้อื่น รับฟังผู้อื่นและความเห็นที่แตกต่างได้ สามารถพูดสร้างก�ำลังใจ มีความเข้าอกเข้าใจ เห็นใจผู้อื่น (Sympathy and empathy) สังคมยุคใหม่ต้องการผู้ที่มีความฉลาดทางอารมณ์ เพื่อที่จะ ท�ำงานประสานความร่วมมือกับผู้อื่นให้ได้ดี (Cooperation and collaboration) และน�ำคนให้มาท�ำงานร่วมกัน เข้าใจกัน พูดคุย กันท่ามกลางความแตกต่าง และความโกลาหล องค์ทาไล ลามะ เคยกล่าวว่า เราต้องน�ำความกรุณากลับมาในสังคม ถ้ามนุษยชาติ ต้องการที่จะอยู่รอดในโลกนี้ เราจะสร้างความฉลาดทางอารมณ์ได้ด้วยสติ สมาธิ และ กิจกรรมอื่น ๆ ที่ส่งเสริมจิตใจ เช่น อาสาสมัครช่วยเหลือผู้อื่น เป็นต้น ความฉลาดทางสังคม เป็นเรื่องที่เนื่องกับความฉลาดทาง อารมณ์ เป็นความฉลาดที่รู้จักท�ำงานร่วมกับผู้อื่นได้ มีปฏิสัมพันธ์ กับมนุษย์ในสังคมที่มีความแตกต่างหลากหลาย เพื่อให้ส�ำเร็จตาม เป้าประสงค์ร่วมกัน นอกจากนั้น ความฉลาดทางสังคมยังหมายถึง ความสามารถที่จะเข้าใจความเป็นจริง เรื่องราวที่ซับซ้อนในสังคม (คิดแบบกระบวนระบบ หรืออิทัปปจยตาได้) 220
เมล็ดพันธุ์ชีวิตบูรณาการ
ความสามารถของชุมชนเรียนรู้ ปีเตอร์ เซงเก้ (Peter Senge) ผูเ้ ชีย่ วชาญและนักจัดการอบรม “องค์กรแห่งการเรียนรู”้ กล่าวถึง ความสามารถและทักษะทีส่ ำ� คัญ ในการเป็นชุมชนปฏิบตั กิ ารและเรียนรู้ (Community of Practice) ๓ ประการหลัก ๆ คือ ความสามารถในการสร้างแรงบันดาลใจและความมุ่งมั่น ให้คนท�ำงานร่วมกัน และท�ำงานสู่เป้าหมายด้วยกัน ชุมชนเรียนรู้ น�ำพาด้วยแรงแห่งหัวใจ ไม่ใช่ถูกชักพาโดยเงิน โครงการ กฏหมาย อาวุธ ความมุง่ มัน่ ทีช่ มุ ชนปฏิบตั กิ ารและเรียนรูค้ วรมี ๓ ประการ คือ • มุ่งมั่นศึกษาเรื่องราว ทฤษฏีวิธีการต่าง ๆ และหาความรู้ สม�่ำเสมอ • มุ่งมั่นฝึกปฏิบัติให้ความรู้อยู่ในเนื้อตัว เพื่อให้ความรู้ช่วย พัฒนาคุณภาพชีวิตและแก้ปัญหาได้จริง • มุ่งมั่นที่จะรับใช้สิ่งที่เหนือและใหญ่กว่าตน เช่น รับใช้ชุมชน สังคม โลก เป็นต้น ความสามารถในการสนทนาให้ลุ่มลึกและผลิดอกออกผล คุยกันแล้ว รู้สึกดีต่อกัน สัมพันธ์กันลึกซึ้งขึ้น และมีปัญญาขึ้น (ได้ กล่าวไว้ในบทการสนทนาที่ผลิดอกออกผล) ความสามารถในการเข้าใจระบบที่ซับซ้อน (กล่าวไว้ในบท วิธีคิดกระบวนระบบ) ถ้าเรามองไม่เห็นระบบที่ซับซ้อน เป็นพลวัต และเชื่อมโยงถึงกันหมด เราก็ไม่สามารถจับหลัก แนวทางในการ สร้างสรรค์งานร่วมกัน ไม่อาจยกระดับการกระท�ำของเราให้เกิด ผลสะเทือนในวงกว้างได้ ชุมชนและเครือข่ายเรียนรู้ ปฏิบัติการ
221
ÊØ¢ÀÒÇÐẺºÙóҡÒÃã¹¾×é¹·Õè ¤ÇÒÁÊÒÁÒö¢Í§ªØÁª¹àÃÕ¹ÃÙŒàªÔ§»¯ÔºÑµÔ¡Òà ¤ÇÒÁÊÒÁÒö㹡ÒÃàÃÕ¹ÃÙŒ·Õè·Óãˌ໚¹¨ÃÔ§
¤ÇÒÁÊÒÁÒö ¤ÇÒÁÊÒÁÒö ¤ÇÒÁÊÒÁÒö·Õè¨ÐࢌÒ㨠㹡ÒÃÊÌҧ 㹡ÒÃʹ·¹Ò Ãкº·Õè«Ñº«ŒÍ¹ àËç¹¾ÅÇѵ ¾ÅѧÁØ‹§ÁÑè¹ Í‹ҧ¤ÃØ‹¹¤Ô´ áÅФÇÒÁàª×èÍÁ⧢ͧâÅ¡ ¤ÇÒÁÁØ‹§ÁÑè¹ ´ŒÇÂËÑÇ㨠ËÃ×ͨÐàÃÕ¡NjÒࢌÒã¨àµŽÒ ¾Ò¡à¾ÕÂà Reflection ࢌÒã¨ÍÔ·Ñ»»˜¨¨ÂµÒ ãËŒ¶Ö§ÊÔ觷Õè (à¾ÃÒÐÊÔ觹ÕÁé Õ ÊÔ觹Õé¨Ö§ÁÕ) µŒÍ§¡Òä×Í Ê¹·¹ÒãËŒà¡Ô´ äÁ‹àËç¹ÊÔ觵‹Ò§æ ¾Åѧ㨠¡ÓÅѧ㨠¤ÇÒÁ¤Ô´ãËÁ‹ æ ໚¹ÊÔè§æ ᵋàË繤ÇÒÁ ·ÓÍ‹ҧäÃãËŒ ¼ÅÔ´Í¡ÍÍ¡¼Å ÊÑÁ¾Ñ¹¸ ¢Í§ÊÔ觵‹Ò§æ ͧ¤ ¡ÃàÃÕ¹ÃÙŒ µ‹ÍÂÍ´ «Öè§à»š¹¹ÒÁ¸ÃÃÁ ÁÕªÕÇÔµªÕÇÒ ¤ÇÒÁ¤Ô´à¡‹Ò µŒÍ§ãªŒµÒã¹Áͧ ¨Ö§¨ÐàËç¹
บุคคลและชุมชนเรียนรู้คือทุนทางปัญญาของสังคม ประเทศของเราต้องการทุนทางปัญญาอย่างมาก เพื่อที่จะ เท่าทันและก้าวหน้าไปกับโลกในยุคเศรษฐกิจข้อมูลข่าวสาร และ เศรษฐกิจสร้างสรรค์ การเรียนรู้ และการสร้างความรู้จึงเป็นเรื่องส�ำคัญที่เราต้อง ใส่ใจฝึกฝน ทั้งในระดับบุคคล และชุมชน เรามีข้อมูลข่าวสารมากมายก็จริง แต่นั่นยังไม่จัดว่าเป็นความ รู้ เราต้องมีทกั ษะความสามารถทีจ่ ะเชือ่ มโยงข้อมูลต่าง ๆ เหล่านัน้ สังเคราะห์ วิเคราะห์ กลัน่ กรองจนเป็นความรู้ ซึง่ ได้กล่าวถึงไปแล้ว ข้างต้นในเรื่องความรู้และการสร้างความรู้ ๓ ประเภท 222
เมล็ดพันธุ์ชีวิตบูรณาการ
ที่ส�ำคัญอย่างยิ่ง เราต้องยกระดับความรู้ให้เป็นปัญญาด้วย ปัญญาเปรียบได้ดังแสงสว่าง สังคมที่มีปัญญาจึงเป็นสังคมที่ สว่างไสว เห็นความเป็นจริงของสิ่งต่าง ๆ ได้ชัดเจน เห็นที่มาและ ทางออกจากปัญหา เห็นทิศทางสร้างความเจริญงอกงามให้ชีวิต และสังคม
ครุ่นคิด หากเราจะน�ำแนวทางสร้างความสามารถของชุมชน เรียนรู้ของปีเตอร์ เซงเก้ มาประยุกต์พัฒนาความ สามารถของชุมชนและองค์กรของเรา เราจะออกแบบ กระบวนการอะไร และท�ำอย่างไร เพื่อที่จะสร้างแรง บันดาลใจ ไฟแห่งความมุ่งมั่นในการเรียนรู้และท�ำงาน ร่วมกันของคนในชุมชน เราจะอกแบบกระบวนการสนทนาอย่างไรให้คนคุยกัน ได้อย่างสร้างสรรค์ ต่อยอดความรู้ร่วมกัน และเราจะร่วมกันเรียนรู้ ท�ำความเข้าใจโลกที่ซับซ้อน เรื่องราวปัญหาที่เราเผชิญในชุมชนและองค์กรอย่างไร เราต้องฝึกฝนทักษะอะไรบ้างเพื่อที่จะบ่มเพาะตัวเราและ ชุมชน ให้เป็นชุมชนปฏิบัติการเรียนรู้ที่มีความสามารถ รับมือกับปัญหาและความท้าทายต่าง ๆ “สังคมประชาธิปไตยจะเกิดขึ้นได้ก็ด้วยทุนทางสังคม ทุนทางสังคมเกิดขึ้นได้จากเครือข่ายทางสังคม เครือข่ายทางสังคมจะเกิดขึ้นได้เมื่อมีการสื่อสารพบปะ กันอย่างต่อเนื่อง และเป็นกัลยาณมิตรกัน” ดร. โรเบิร์ต พุทนัม ผู้ที่มีอิทธิพลหลักในแนวคิดทุนสังคม ชุมชนและเครือข่ายเรียนรู้ ปฏิบัติการ
223
โลกแห่งเครือข่าย
ฟริ ต จอฟ คาปร้ า กล่ า วไว้ ใ นหนั ง สื อ โยงใยที่ ซ ่ อ นเร้ น ว่ า “เครือข่ายเป็นรูปแบบที่พบได้ทั่วไปในสรรพสิ่งที่มีชีวิต ที่ใดที่เรา เห็นชีวิต ที่นั่นเราจะเห็นเครือข่าย” โลก ร่างกาย ต้นไม้ ธรรมชาติ สัตว์ สังคมมนุษย์ ฯลฯ ทั้งหมด ที่เราสัมผัสและสัมพันธ์ในชีวิตล้วนเป็นเครือข่าย ต้นไทรมีรากที่แตกแขนงลงดินทั้งแนวลึก และแนวระนาบ ยิ่งต้นไทรใหญ่เท่าไร รากก็จะยิ่งชอนไชแตกแขนงกว้างและไกล ขึ้นเท่านั้น รากของไทรเป็นเสมือนเครือข่าย ทีแ่ ตกแขนงครอบคลุมพืน้ ที่ กว้างขวาง ช่วยเพิ่มโอกาสให้รากดูดซึมธาตุอาหารจากพื้นดินที่ กว้างขึ้น เครือข่ายรากยังเป็นสื่อรับ-ส่งข้อมูลเรื่องราวต่าง ๆ จาก ภายนอก ทั้งภัยหรือโอกาสกลับมายังระบบต้นไม้ด้วย เราจะเห็นภาพการสือ่ สารระหว่างเครือข่ายต้นไม้ในภาพยนตร์ เรื่ อ ง “อวตาร” ที่ ต ้ น ไม้ ส ่ ง สั ญ ญาณเตื อ นภั ย ให้ กั น ทั่ ว ทั้ ง ป่ า 224
เมล็ดพันธุ์ชีวิตบูรณาการ
แนวคิดนี้ได้รับอิทธิพลจากทฤษฎีกายา โดยเจมส์ เลิฟล็อก ที่พูด ถึงโลกที่มีชีวิต ว่า โลกและสิ่งมีชีวิตทั้งหมดล้วนมีโครงข่ายสื่อสาร เชื่อมโยงกันได้ทั่วถึงทั้งหมด ร่างกายของเราก็เป็นเครือข่ายเหมือนกัน เครือข่ายใยประสาท ทั่วร่างกายช่วยให้เซลล์และอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายได้รับ-ส่งสาร อาหารและเคมีส�ำคัญหล่อเลี้ยงร่างกาย นอกจากนั้น ยังส่งข้อมูล เตือนภัยจากจุดต่าง ๆ ให้กับระบบใหญ่ด้วย อย่าง ผู้ที่มีอาการ เบาหวานบางราย อาจมีปัญหาประสาทรับความรู้สึกเสื่อม ท�ำให้ ต้องระวังเรื่องการเกิดบาดแผลบริเวณเท้า เพราะเมื่อเกิดบาดแผล เครื อ ข่ า ยประสาทที่ ไ ม่ แข็ ง แรงนั้ น ไม่ ส ามารถส่ ง ข้ อ มู ล ภาวะ อันตรายกลับไปให้ร่างกาย เพื่อจัดการดูแลปัญหาในจุดนี้ได้ จากเรื่ อ งเล่ า ข้ า งต้ น เราจะเห็ น ได้ อ ย่ า งชั ด เจนว่ า การ สื่อสารและความเชื่อมโยงเป็นหัวใจของเครือข่าย หรืออย่างที่นัก สังคมวิทยาแห่งทฤษฎีระบบซับซ้อน นิกลาส ลูหม์ าน กล่าวว่า การ สื่อสารเป็นองค์ประกอบเครือข่ายทางสังคม สังคมมนุษย์เป็นเครือข่ายและสื่อสารเชื่อมโยงกันเสมอ ใน อดีตโครงสร้างของเครือข่ายสังคมมนุษย์เป็นทางเดินเท้า เรือ เกวียน ฯลฯ แต่ปัจจุบัน เรามีโครงสร้างเครือข่ายที่เชื่อมโยงเราได้ สะดวกและรวดเร็วมากขึ้น เช่น ถนน เครื่องบิน เทคโนโลยีสื่อสาร โทรคมนาคม โทรศัพท์มือถือ อินเตอร์เนต วิทยุ โทรทัศน์ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ท�ำให้โลกแห่งเครือข่ายปรากฎชัดขึ้น ซึ่งเราน่าจะ ได้ใช้โอกาสโครงสร้างเครือข่ายอันทันสมัยเหล่านี้ เชื่อมโยงเข้าหา กันอย่างมีความหมายและสร้างสรรค์ อย่างที่เกิดขึ้นในช่วงวิกฤต เครือข่ายทางสังคมใช้เทคโนโลยีสื่อสารระดมความช่วยเหลือให้ คนที่อยู่ในจุดเดือนร้อนจากภัยสึนามิในประเทศญี่ปุ่น เรารายงาน ข่าวสารผ่านโทรทัศน์ทสี่ ง่ กระจายข่าวทางดาวเทียมได้แบบฉับพลัน ชุมชนและเครือข่ายเรียนรู้ ปฏิบัติการ
225
(Real time) ท�ำให้เราคิดอ่านหาทางช่วยเหลือกันได้รวดเร็ว และ เตรียมการระวังภัยที่อาจเกิดขึ้นได้ในพื้นที่อื่น ๆ รอบมหาสมุทร แปซิฟิก โครงสร้างเครือข่ายอาจเปิดช่องทางให้เราติดต่อ สือ่ สาร เชือ่ ม โยงกันได้รวดเร็ว แต่เราต้องไม่ลืมด้วยว่า เครือข่ายเชื่อมโยงกัน ด้วยข้อมูล และข้อมูลที่เราสื่อสารระหว่างกันนั้นจะสร้างตัวเอง ผลิตระบบความเชื่อ ค่านิยม วัฒนธรรม และด�ำรงอยู่ ซึ่งมีผลกับ พฤติกรรมร่วม ดังนัน้ เราต้องให้ความส�ำคัญกับข้อมูลข่าวสาร ความ หมายที่เราจะสื่อสัมพันธ์กันในเครือข่ายด้วย นอกจากนัน้ เครือข่ายจะด�ำรงอยูไ่ ด้อย่างมีประสิทธิภาพ และ งอกงามต้องมีการสื่อสาร รับ-ส่งข้อมูลอย่างไหลลื่น และทั่วถึงกัน ทั้งเครือข่าย เหมือนระบบไหลเวียนโลหิตในร่างกาย หากข้อมูล ข่าวสาร และสารอาหารไม่สามารถไหลเวียนทัว่ ร่างกาย มีการสะดุด หรือถูกปิดกั้นบางพื้นที่ เราก็จะมีปัญหาสุขภาพแน่นอน ลั ก ษณะความสัม พันธ์เชื่อ มโยงของเครือข่ า ยมี ๒ ลั ก ษณะ ใหญ่ ๆ คือ เครือข่ายที่เชื่อมโยงกันอย่างหลวม ๆ (weak ties) เครือข่ายที่เชื่อมโยงกันอย่างเหนียวแน่นลึกซึ้ง (strong ties) ในที่นี้ จะขอเล่าเรื่องราวการประท้วงผู้น�ำเผด็จการในหลาย ประเทศของโลกอาหรับ โดยเฉพาะประเทศอียิปต์ เพื่ออธิบาย ลักษณะและผลของเครือข่ายทั้ง ๒ ลักษณะ ดังนี้ เหตุการณ์ที่บานปลายอยู่ทุกวันนี้ในโลกอาหรับโดยเฉพาะ อียิปต์ ได้รับการจุดประกายจากจุดเล็ก ๆ ทางตอนใต้ของประเทศ ตูนีเซีย 226
เมล็ดพันธุ์ชีวิตบูรณาการ
เมื่ อ วั น ที่ ๑๗ ธั น วาคม ๒๕๕๓ ชายหนุ ่ ม ชาวตู นี เซี ย ชื่ อ ซีดิ โบซิดิ จุดไฟเผาตัวเองเพื่อประท้วงผูน้ �ำเผด็จการ สีส่ ปั ดาห์หลัง จากนัน้ การประท้วงของประชาชนในตูนเี ซียทวีความเข้มข้นรุนแรง ขึน้ เป็นการปฏิวตั ทิ เี่ รียกว่า Jasmine Revolution หรือปฏิวตั มิ ะลิ กองทัพไม่สนับสนุนผูน้ ำ� เผด็จการอีก ท�ำให้การครองอ�ำนาจของผูน้ ำ� เบน อาลี ที่อยู่ในอ�ำนาจกว่า ๒๓ ปีต้องสิ้นสุดลง ภาพการจุดไฟเผาตัวเองของชายคนนี้ และการประท้วงผู้น�ำ ในตูนีเซีย ถูกน�ำเผยแพร่ในโลกออน์ไลน์ กระจายอย่างแพร่หลาย และกระพือไฟแห่งการเปลี่ยนแปลงไปทั่วโลกอาหรับ ชาวอียิปต์ส่งข้อความทั้งภาพและเสียงแสดงความไม่พอใจ รัฐบาลเผด็จการ เชื่อมโยงกันทางเทคโนโลยีการสื่อสารอย่าง เฟสบุ๊ค ทวิตเตอร์ เครือข่ายสังคมออน์ไลน์ต่าง ๆ และที่ส�ำคัญ คือ วิกลิ กี (Wikileak) ทีเ่ ผยภาพความเป็นอยูแ่ ละชีวติ ของผูน้ ำ� เผด็จการ อาหรับที่ฟู่ฟ่า เมือ่ ผูค้ นจ�ำนวนมากส่งข้อมูลข่าวสาร และเชือ่ มโยงกัน ชักชวน กันออกมาประท้วงที่จัตุรัสทาห์รีร์ คนเรือนแสนชุมนุมประท้วงต่อ เนือ่ ง จนในทีส่ ดุ ผูน้ ำ� เผด็จการก็ตอ้ งลงจากอ�ำนาจอย่างไม่มเี งือ่ นไข เครื อ ข่ า ยลั ก ษณะที่ เ กิ ด ขึ้ น ในเหตุ ก ารณ์ ชุ ม นุ ม ในอี ยิ ป ต์ เป็นเครือข่ายแบบหลวม ๆ ที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลัน (Hastedly Formed Network) เครือข่ายอย่างนี้มักเกิดขึ้นในยามวิกฤต ซึ่ง เป็นสถานการณ์ทหี่ ลอมผูค้ นให้เข้ามาช่วยกันคลีค่ ลายปัญหา บริบท ที่เกิดขึ้นท�ำให้ผู้คนเกิดเป้าหมายและความหมายร่วมกัน ทว่า เมื่อวิกฤตจบ เครือข่ายก็สลายตัว เพราะบรรลุหน้าที่ได้ แล้ว เราจึงเห็นได้ว่า เมื่อผู้น�ำเผด็จการของอียิปต์ลงจากอ�ำนาจ กลุ่มคนก็สลายไป พลังของเครือข่ายหลวม ๆ นี้ก็ลดลงด้วย ผู้ที่ ดูเหมือนจะเข้ามามีบทบาทในการก�ำหนดทิศทางของประเทศ ชุมชนและเครือข่ายเรียนรู้ ปฏิบัติการ
227
อียิปต์ในตอนนี้ คือ กลุ่ม Muslim Brotherhood (MB) หรือกลุ่ม ภราดรภาพมุสลิม กลุม่ ภราดรภาพมุสลิม เป็นขบวนการทางศาสนาอิสลามทีเ่ ก่า แก่และใหญ่ที่สุดในอียิปต์ จัดตั้งมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๗๑ ได้สร้าง ระบบความสัมพันธ์ และแบบแผนพฤติกรรมในเครือข่ายอย่าง เหนียวแน่น อีกทัง้ มีความเชือ่ และเป้าประสงค์ของเครือข่ายชัดเจน คือ สร้างรัฐอิสลาม เมื่อชาวอียิปต์ที่รวมตัวกันเป็นเครือข่ายหลวม ๆ บรรลุเป้า หมายของตัวเองแล้ว ก็ไม่มเี ป้าหมาย หรือความหมายอืน่ ในการรวม ตัวกันต่อ จึงสลายตัวไป แต่กลุ่มภราดรภาพมุสลิมซึ่งเป็นเครือข่าย เหนียวแน่น มีเป้าหมายชัดเจน จึงเข้ามาใช้โอกาสที่ประเทศอียิปต์ ก�ำลังก�ำหนดทิศทางของชาติ มีข่าวว่ากลุ่มภราดรภาพมุสลิมก�ำลัง ตัง้ พรรคการเมือง ซึง่ บรรดาคนทีเ่ ป็นเครือข่ายหลวม ๆ ย่อมไม่อาจ รวมตัวกันและกระท�ำการแบบนี้ได้ เราจะเห็นว่า ข้อดีของเครือข่ายหลวม ๆ คือ สามารถกระพือ กระจายข้อมูลข่าวสารได้อย่างรวดเร็ว ขอความร่วมมือแบบฉับพลัน อย่างทีเ่ ราเห็นจากการส่งข่าวผ่านทางโทรศัพท์ อินเตอร์เนต และสือ่ โทรทัศน์ วิทยุ เพือ่ ขอความช่วยเหลือผูป้ ระสบภับต่าง ๆ หรือขอแรง อาสาสมัครเป็นต้น แต่เมือ่ เหตุการณ์คลีค่ ลาย ผูค้ นเหล่านีก้ จ็ ะสลาย ไป ฉะนัน้ หากเราต้องการขับเคลือ่ นงานใดให้ตอ่ เนือ่ งยัง่ ยืน เราต้อง สร้างหรือพัฒนาเครือข่ายหลวม ๆ ให้เป็นเครือข่ายแบบเหนียวแน่น เครือข่ายแบบเหนียวแน่นลึกซึง้ มีพลังในการท�ำเรือ่ งระยะยาว ได้ดีกว่า เพราะมีการจัดตั้งจัดการ มีความสัมพันธ์ระหว่างผู้คนที่ เหนียวแน่น ท�ำให้ร่วมท�ำงานสู่เป้าประสงค์ที่ต้องการได้ต่อเนื่อง
228
เมล็ดพันธุ์ชีวิตบูรณาการ
เราต้องเลือกใช้จุดเด่นของเครือข่ายทั้งสองแบบ เติมเต็มข้อ อ่อนของกันและกัน หลายเรื่อง เราอาจจะเริ่มด้วยเครือข่ายหลวม ๆ เพื่อกระจาย ข่าวสารให้แพร่หลาย กว้างขวาง แสวงหาความร่วมมือแบบฉับพลัน ในวาระวิกฤต แต่เราไม่ควรท�ำเท่านั้น หากเป็นไปได้ เราต้องหา ทางกระชับความสัมพันธ์ ท�ำให้เครือข่ายหลวม ๆ นี้แน่นแฟ้นขึ้น เป็นต้นว่า จัดเวทีและกระบวนการให้ผคู้ นท�ำความรูจ้ กั ปฏิสมั พันธ์ กันแบบเห็นหน้าเห็นตา เชือ่ มโยงคุณค่าความหมายชีวติ เพือ่ ทีว่ า่ จะ ได้ท�ำงานเรื่องส�ำคัญ ๆ ได้อย่างยั่งยืน ส�ำหรับเครือข่ายที่เหนียวแน่นอยู่แล้ว เราสามารถใช้ข้อเด่น ของเครือข่ายหลวม ๆ ในเรื่องการสื่อสาร เพื่อสนับสนุนให้เราได้ รับข่าวสารจากกันและกันอย่างต่อเนื่อง ท�ำงานได้ไหลลื่นขึ้น และ แพร่กระจายข่าวสารและการงานของเราให้กว้างขวางออกไปใน สังคมด้วย การเชื่อมโยงข้ามเครือข่าย (bridging network ties) เราทุ ก คนล้ ว นมี เ ครื อ ข่ า ย เรามี ข ่ า ยใยความสั ม พั น ธ์ ใ น ครอบครัว โรงเรียน องค์กร ชุมชน ฉะนั้น คนทุกคนสามารถเชื่อม โยงเครือข่ายได้ดว้ ยกันทัง้ สิน้ เราจะเห็นการเชือ่ มโยงเครือข่ายทาง สังคมออนไลน์ เฟสบุ๊ค หรือการท�ำธุรกิจขายตรง ที่ใช้เครือข่าย ของแต่ละคนเป็นต้นทุนในการต่อเชื่อมความสัมพันธ์และโอกาส ทางการตลาด ในการท�ำงานบูรณาการ เราต้องลองเชื่อมข้ามความสัมพันธ์ ระหว่างเครือข่ายด้วย เช่น เครือข่ายสตรีไปเชื่อมกับเครือข่าย
ชุมชนและเครือข่ายเรียนรู้ ปฏิบัติการ
229
นักธุรกิจ นักพัฒนาเชื่อมกับราชการ นักธุรกิจเชื่อมกับนักวิชาการ เป็นต้น การเชื่อมเครือข่ายข้ามสายพันธุ์ท�ำให้เกิดโอกาสใหม่ ๆ ความรู้ใหม่ ๆ และปรากฎการณ์ใหม่ ๆ แต่ ก็ ใช่ ว ่ า ทุ ก คนจะเชื่ อ มคนและเครื อ ข่ า ยได้ งานเชื่ อ ม เครือข่ายเป็นงานละเอียดอ่อน เกี่ยวข้องกับมนุษย์ ความสัมพันธ์ ระหว่างกัน เหมือนเป็นงานทางการทูตเจริญสัมพันธไมตรี คน ที่จะสร้างสะพานเชื่อมระหว่างเครือข่ายได้นั้น ต้องมีทักษะด้าน มนุษย์ ความฉลาดทางอารมณ์และสังคม รู้เป้าหมายของงาน มี ความสามารถที่จะสื่อสารให้คนเข้าใจ และกระทบใจ ท�ำให้คนก็ เกิดศรัทธาและอยากเข้าร่วมเครือข่าย ในตอนแรก ความสัมพันธ์ข้ามเครือข่ายอาจจะยังเป็นแบบ เครือข่ายหลวม ๆ แต่เมื่อเชื่อมกันบ่อยเข้า ก็อาจพัฒนาเป็น เครื อ ข่ า ยที่ แ น่ น แฟ้ น ได้ โ ดยธรรมชาติ กุ ญ แจส� ำ คั ญ ในการ เชื่อมเครือข่าย คือ การสื่อสารอย่างไม่เป็นทางการ อย่างเช่น วงจิบน�้ำชา สนทนาแบบไม่เคร่งเครียด ใครเป็นใครในเครือข่าย เครือข่ายเกิดขึน้ โดยมีเป้าประสงค์บางอย่างโดยตัวของมันเอง ด้วย เป็นเป้าประสงค์ที่ทุกคนเห็นพ้องกันว่ามีคุณค่า ความหมาย และยังมีการประสานพฤติกรรม สื่อสาร และสร้างความรู้สึกร่วม บางประการภายในเครือข่ายอีกด้วย เครือข่ายมีชีวิตในตัวของมันเอง และเหมือนระบบที่มีชีวิตอื่น ๆ เราต้องหล่อเลี้ยงดูแลเครือข่ายให้มีชีวิตชีวา และมีประสิทธิภาพ ด้วยการดูแลให้มีผู้ท�ำหน้าที่และบทบาทส�ำคัญ ๕ ประการ ดังนี้ ๑. บุคคลที่เป็นศูนย์ความสัมพันธ์ (Hub) คนผู้นี้เป็นเสมือน ศู น ย์ ร วมใจที่ ห ลอมรวมคนต่ า ง ๆ หลากหลายให้ ม าท� ำ งาน 230
เมล็ดพันธุ์ชีวิตบูรณาการ
ด้วยกันได้ โดยมากแล้ว ผูท้ จี่ ะเป็นศูนย์แห่งความสัมพันธ์มกั จะเป็น ผู้มีบารมี เป็นที่ยอมรับและเชื่อถือของผู้คน ยกตัวอย่างขบวนการเสรีไทย ผู้ที่เป็นศูนย์กลางใหญ่ คือ ท่าน อาจารย์ปรีดี พนมยงค์ ท่านเชื่อมโยงกับ มรว. เสนีย์ ปราโมช ที่ สหรัฐ เชือ่ มกับ อาจารย์ปว๋ ย อึง๊ ภากรณ์ทอี่ งั กฤษ เครือข่ายทัง้ หลาย นีเ้ ชือ่ มกันทีศ่ นู ย์ความสัมพันธ์ และท�ำงานไปในทิศทางเดียวกัน ใน จังหวะเดียวกัน ๒. นักเชื่อม (connector) เป็นผู้เชื่อมคนต่าง ๆ เข้าหากัน ทั้งในเครือข่าย และข้ามเครือข่าย นักเชื่อมมักมีบุคลิกยืดหยุ่น พลิกแพลง เปิดใจกว้าง เข้ากับคนได้ง่าย มนุษย์สัมพันธ์ดี ๓. นักขาย (Salesman) เป็นผูท้ ที่ ำ� หน้าทีข่ าย และขยายความ คิด เป็นนักพูดนักชี้แจงเรื่องราวต่าง ๆ ให้คนเข้าใจได้ง่าย มีความ สามารถทักษะด้านการพูด ๔. ยามเฝ้าประตู (Gate keeper) เป็นคนถือสมุดนัด เป็นข้อ ต่อ (link) ที่จะต่อสายไปสู่เครือข่ายต่าง ๆ หรือเปิดรับให้เครือข่าย และเรื่องราวอื่น ๆ เข้ามาในเครือข่าย ๕. นักจับชีพจร คือ ผู้ที่เห็นภาพรวมของเครือข่ายทั้งหมด มี ข้อมูล ข่าวสารรอบด้าน สามารถประเมินอาการของเครือข่ายได้ ว่า เป็นอย่างไร ข้อมูลไหลลื่นมากน้อยเพียงใด และสามารถบอก เครือข่ายให้เห็นสถานภาพของตัวเอง เพือ่ ปรับตัวเปลีย่ นกลยุทธ์ได้ บทบาทหน้าที่ทั้ง ๕ ประการนี้อาจมีในคน ๆ เดียวก็ได้ หรือ บางคนอาจจะท�ำมากกว่า ๑ บทบาท เป็นต้นว่า เป็นทั้งศูนย์ความ สัมพันธ์และนักเชื่อม เมื่อทุกบทบาทหน้าที่ท�ำงานประสานกันด้วยดี เครือข่ายก็จะ เติบโตขยายตัว บรรลุเป้าประสงค์ที่ตั้งไว้ ชุมชนและเครือข่ายเรียนรู้ ปฏิบัติการ
231
เครือข่ายผู้ริเริ่มพลิกแผ่นดิน การเปลี่ยนแปลงใด ๆ ในโลก มักเริ่มด้วยผู้ก่อการจ�ำนวนไม่ มาก อย่าง กองทัพพระเจ้าตากสินมีนักรบไม่มาก แต่สามารถกู้กรุง ศรีอยุธยาคืนมาจากกองทัพพม่าอันเกรียงไกร สั ง คมในพ.ศ. นี้ ก็ เช่ น กั น ประเทศชาติ อ าจต้ อ งการนั ก บูรณาการเพียง ๑.๖ ล้านคนเท่านัน้ ทีจ่ ะตัง้ ต้นขบวนการกูช้ าติจาก ความเสื่อม และสร้างสรรค์แผ่นดินในจินตนาการใหม่
¼ÙŒ ¹Ñ¡·´Åͧ ÃÔàÃÔèÁ ¢Í§ãËÁè
2.5% 13.5% 232
¾Ç¡µ×è¹ ¡ÃÐáÊ
¾Ç¡µÒÁ ¡ÃÐáÊ
34% 34%
เมล็ดพันธุ์ชีวิตบูรณาการ
¾Ç¡ äÁ‹áÂáÊ
16%
ตามทฤษฎีการแพร่กระจายความคิดใหม่ ๆ ของ ศาสตราจารย์ เอฟเวอร์เรธ โรเจอร์ส (Everett M. Rogers) นักสังคมวิทยาและ ผู้เชี่ยวชาญด้านการสื่อสาร การเผยแพร่แนวคิดต่าง ๆ มักเริ่มจาก คนกลุ่มเล็ก ๆ ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นผู้ริเริ่มเพียง ๒.๕ % ถ้าหากงานของผูร้ เิ ริม่ เข้าตานักทดลองของใหม่ในสังคม ซึง่ ใน ทุกสังคมจะมีนักทดลองของใหม่อยู่ราว ๑๓.๕ % พวกนักทดลอง นี้จะเข้าไปร่วมกับผู้ริเริ่ม ท�ำตามสิ่งที่ผู้ริเริ่มน�ำเสนอ ซึ่งจะท�ำให้ใน สังคมนั้น มีผู้ปฏิบัติแนวคิดนั้นรวมกันแล้ว ๑๖ % เมื่อคนในสังคมจ�ำนวน ๑๖ % เริ่มท�ำอะไรบางอย่างใหม่ ๆ จะเกิดเป็นกระแส ที่ท�ำให้พวกตื่นกระแสในสังคมประมาณ ๓๔ % หันมาสนใจและเข้าร่วมกระบวนการด้วย ถึงตอนนี้ แนวคิดหรือ นวัตกรรมใหม่ก็จะมีคนท�ำและร่วมทดลองแล้วถึง ๕๐ % ถึงจุดนี้ พวกตามกระแสอีกราว ๓๔ % ก็จะเข้ามาร่วมขบวน ด้วย กลายเป็นว่า แนวคิดริเริ่มใหม่นั้น ได้รับการตอบสนองจาก คนในสังคมถึง ๘๔ % ซึง่ เพียงพอเหลือเกินแล้วทีจ่ ะขับเคลือ่ นสังคม ไปในทิศทางที่ผู้ริ่เริ่ม (ผู้น�ำ) ตั้งใจ อีก ๑๖ เปอร์เซ็นต์ในสังคมเป็นพวกที่ไม่แยแส ซึ่งไม่ว่าใครจะ ท�ำอะไร คนกลุ่มนี้ไม่ค่อยสนใจให้ความร่วมมือนัก หลายครัง้ เวลาทีเ่ ราจะต้องการน�ำเสนอแนวคิด แนวทางอะไร ใหม่ ๆ ในสังคม เรามักจะหว่านพลังของเราไปในกลุ่มคนที่หลาก หลาย ซึ่งบ่อยครั้ง เราเสียพลังไปมากกับกลุ่มคนที่จัดอยู่ในพวกไม่ แยแส คือ ไม่ว่าเราจะพูดหรือท�ำอะไรสักเพียงใด คนเหล่านั้นจะไม่ เปลีย่ น หรือบางคนอาจเป็นพวกตามกระแส ซึง่ ถ้ายังไม่เกิดกระแส พวกเขาก็ยอ่ มจะไม่เอาด้วยกับความคิดของเรา หากเรายังคงลงแรง ชุมชนและเครือข่ายเรียนรู้ ปฏิบัติการ
233
ใช้พลังกับกลุม่ คนเหล่านี้ เราจะท้อแท้ หมดก�ำลังใจ และพาลเลิกล้ม สิ่งดี ๆ ที่ตั้งใจ เพราะรู้สึกว่า ไม่มีใครสนใจแนวทางที่เราน�ำเสนอ ทฤษฎีนี้ท�ำให้เราเห็นว่า การที่จะขายแนวคิดใหม่ ๆ เราต้อง เริ่มกับ “คนที่ใช่” บุคคลที่เราควรใส่ใจคือ กลุ่มผู้ริเริ่ม ๒.๕ % และผู้ทดลอง ของใหม่ ๑๓.๕ % ซึ่งรวม ๆ กันแล้ว คนสองกลุ่มนี้มีไม่มากเลย ในสังคม คือ ๑๖ % เท่านั้น และคนเหล่านี้ยังเป็นคนที่พร้อมรับ สิ่งใหม่ ๆ อยู่แล้ว ... ประเด็นคือ เราต้องหาคนเหล่านี้ให้เจอ และ เชื่อมโยงกับพวกเขาให้ได้ สังคมไทยมีคนดีและมีความสามารถมากมาย แต่คนเหล่า นั้นกระจัดกระจาย ต่างคนต่างท�ำงาน เหมือนแสงสว่างที่ยังไม่จัด ระเบียบโมเลกุลใหม่ ให้เป็นพลังของแสงเลเซอร์ที่มีอานุภาพตัด ของแข็งได้ ดังนัน้ ความท้าทายส�ำคัญของเรา คือ ผนึกก�ำลังเชือ่ มโยงคนดี ๆ ผู้ริเริ่มจ�ำนวน ๑.๖ ล้านคนทั่วประเทศ (ประชากรประมาณ ๖๕ ล้านคน) ถ้าเราสามารถเชือ่ มโยงกับผูค้ นทีม่ แี นวทางและ เป้าหมาย เดียวกัน ร่วมเรียนรู้ สร้างเป็นชุมชนปฏฺบัติการ และเครือข่ายทั้ง แบบหลวม ๆ และเครือข่ายแน่นแฟ้น เราก็จะเป็นกลุม่ ก้อนผูร้ เิ ริม่ ที่ มีพลังพอทีจ่ ะท�ำให้ผชู้ อบทดลองของใหม่ในสังคมหันมาสนใจ และ เข้ามาร่วมขบวนผลักดันความเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ ในสังคม เราต้องใช้พลังและความพยายามมากในช่วงต้นที่ต้องสร้าง พลังจากผู้ริเริ่มและนักทดลองให้ได้ ๑๖ เปอร์เซ็นต์ แต่เมื่อได้แล้ว ขบวนการก็จะด�ำเนินไปเองตามวิถี เพราะพวกตืน่ กระแส และตาม กระแสจะไหลเข้ามาร่วมขบวนเอง j
234
เมล็ดพันธุ์ชีวิตบูรณาการ
ครุ่นคิด เราเป็นผู้ริเริ่มหรือไม่ ผู้ริเริ่มอื่น ๆ เป็นใคร อยู่ที่ไหน กันบ้าง และเราจะเข้าไปเชื่อมโยงกับพวกเขาเป็นชุมชน ปฏิบัติการและเครือข่ายได้อย่างไร ประเทศไทยมีประชากรประมาณ ๖๕ ล้านคนทั่ว ประเทศ เราต้องการผู้ริเริ่ม ๒.๕ เปอร์เซ็นต์ คือ ประมาณ ๑.๖ ล้านคน หรือ ๒๐,๐๐๐ คนจากแต่ละ จังหวัด เราสามารถหาคนจ�ำนวนนี้ในแต่ละจังหวัดได้ หรือไม่ เราจะท�ำอย่างไรที่จะรวมคนจ�ำนวนนี้ให้ได้ เราจะใช้เทคโนโลยีการสื่อสารเชื่อมโยงกับนักทดลอง ของใหม่ ๑๓.๕ เปอร์เซ็นต์ (ประมาณ ๙ ล้านคน) เพื่อสร้างกระแสความเปลี่ยนแปลงที่สร้างสรรค์ได้ อย่างไรบ้าง หรือมีวิธีการอื่นใดที่ต่อติดกับกลุ่มนัก ทดลองของใหม่
ชุมชนและเครือข่ายเรียนรู้ ปฏิบัติการ
235
“เมื่อเราแสวงหาและเห็นความเชื่อมโยง เราฟื้นคืนความ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของโลก ชีวิตของเราที่ดูเหมือน เป็นเอกเทศจะกลับมามีความหมาย เมื่อเราพบว่าเรา ส�ำคัญจ�ำเป็นต่อกันและกันอย่างไร”
– มาร์กาเรต วีตเลย์
236
เมล็ดพันธุ์ชีวิตบูรณาการ
บูรณาการ: งานสร้างทุน ทางสังคม บูรณาการเป็นกระบวนการความเจริญงอกงาม ของชีวิต ที่เราเชื่อมโยงสั ม พั น ธ์ กั บ สรรพสิ่ ง ภายนอกอย่างต่อเนื่องไม่จบสิ้น เราจะมีสุขภาวะ ถ้าร่างกายและจิตใจ ชีวิต เป้าหมาย และ หน้าที่การงานบูรณาการเป็นเนื้อเดียว ครอบครัวของเราจะมีสุขภาวะ ถ้าคนในครอบครัวเชื่อมโยง สัมพันธ์กันทั้งในมิติร่างกาย จิตใจ คุณค่าความหมายชีวิต ชุมชน องค์กร และสังคมจะมีสุขภาวะ เมื่อคน ชุมชน สถาบัน องค์กรต่าง ๆ เชื่อมโยงคุณค่า จิตใจ พูดคุยสนทนากันอย่าง สร้างสรรค์ เอื้ออาทร ใส่ใจกัน และท�ำงานสู่เป้าหมายเดียวกัน โดยสรุปแล้ว เราอาจกล่าวได้ว่า งานบูรณาการเป็นงานแห่ง ความสัมพันธ์ และความสัมพันธ์เป็นต้นทุนที่ส�ำคัญมาก ส�ำหรับ การสร้างสุขภาวะของคนและสังคม บูรณาการ:งานสร้างทุนทางสังคม
237
สังคมใด ผูค้ นรูส้ กึ ดีตอ่ กัน ข่ายใยสายสัมพันธ์ดี ผูค้ นช่วยเหลือ เกื้อกูลดูแลกัน สังคมนั้นก็จะเจริญงอกงาม แต่ที่ใด คนรู้สึกระแวง กัน เป็นศัตรูต่อกัน สายสัมพันธ์แตกแยก ไม่ร่วมมือกัน ที่นั้นก็หา เอกภาพความเป็นหนึ่งเดียวได้ยาก เกิดทุกขภาวะที่เป็นค่าใช้จ่าย ราคาแพง ลองนึกถึงสภาพชุมชนทีผ่ คู้ นไว้วางใจกัน และมีศลี มีธรรม บ้าน ในชุมชนนั้นอาจไม่ต้องเสียเงินท�ำเหล็กดัดตามบานประตูหน้าต่าง ไม่ต้องซื้ออุปกรณ์สัญญาณกันขโมย ไม่ต้องซื้อกล้องวงจรปิดเพื่อ บันทึกพฤติกรรมไม่นา่ ไว้วางใจในชุมชน หรืออาจไม่จำ� เป็นต้องสร้าง รั้วหรือก�ำแพงราคาแพงในการปกป้องทรัพย์สิน ความไว้วางใจกัน และความสัมพันธ์ของผู้คนในสังคม ช่วย ลดต้นทุนชีวิตได้หลายอย่าง และยังเพิ่มมูลค่าความสุข ความรู้สึก ปลอดภัย ซึ่งประมาณมูลค่าไม่ได้ งานเชิงบูรณาการ ไม่ใช่งานที่จัดการเรื่องประเด็นสิ่งแวดล้อม เด็กเยาวชน ประวัติศาสตร์ หรือสุขภาพ แต่งานบูรณาการเป็นงาน ที่จัดการความสัมพันธ์ เพื่อให้เรากลับไปเชื่อมโยงสัมพันธ์กับสิ่ง ต่าง ๆ ได้อย่างสมดุล วิถกี ารบูรณาการทีม่ ชี วี ติ ทีเ่ ราได้กล่าวไปแล้วในหนังสือเล่มนี้ ช่วยให้แนวทางฟืน้ ฟูความสัมพันธ์ระหว่างผูค้ น ฟืน้ ฟูความสัมพันธ์ ระหว่างมนุษย์และสิ่งแลดล้อม ฟื้นฟูความสัมพันธ์จากการเข้าใจ ความจริงที่ว่า เราทั้งหมดอยู่ในข่ายใยชีวิตแห่งความสัมพันธ์อันไม่ อาจแบ่งแยก สิง่ ทีเ่ ราท�ำล้วนส่งผลกระทบต่อระบบใหญ่ทงั้ หมด ซึง่ จะสะท้อนกลับมาที่เราด้วย กระบวนทัศน์ระบบที่มีชีวิตช่วยเปิดใจเรา ให้เรียนรู้ร่วมกัน 238
เมล็ดพันธุ์ชีวิตบูรณาการ
ในชุมชนปฏิบัติการ ล้อมวงสนทนาอย่างสร้างสรรค์ รวมใจสัมพันธ์ กันเป็นเครือข่าย เพื่อท�ำงานให้บรรลุเป้าหมายเดียวกัน หากเรา บูรณาการเชือ่ มใจกันได้อย่างนี้ ก็จะเกิดความไว้เนือ้ เชือ่ ใจ ความรูส้ กึ สนิทใจ สายสัมพันธ์ทดี่ ี เหล่านีจ้ ะช่วยสร้างทุนทางสังคม ซึง่ มีความ หมายมากในการสร้างสังคมประชาธิปไตย ในความเห็นของ ดร. โรเบิร์ต พุทนัม ที่ว่า “ทุนทางสังคมคือเครือข่ายของผู้คนที่สนทนา กันอย่างสม�่ำเสมอ และด้วยความรู้สึกเป็นกัลยาณมิตรต่อกัน” เราเห็นหรือไม่ว่า งานบูรณาการเป็นงานสร้างทุนทางสังคม ทุนทางปัญญา และทุนทางจิตวิญญาณ สิ่งที่งานบูรณาการเน้นคือการสร้างปัญญาร่วม คนๆ เดียวมี ปัญญาจ�ำกัด เห็นภาพความจริงได้ไม่ครอบคลุม เราต้องการปัญญา ร่วม เพื่อให้เห็นเรื่องราวต่าง ๆ ได้กว้างขวาง ครอบคลุม เราจะสร้างปัญญาร่วมได้ ก็จากการสนทนาอย่างสร้างสรรค์ ผลิ อ กออกผล และเรี ย นรู ้ ร ่ ว มกั น ในชุ ม ชนปฏิ บั ติ ก าร ซึ่ ง ใน กระบวนการสนทนานี้เอง เป็นโอกาสให้ผู้คนในชุมชนได้สร้างสาน ความสัมพันธ์ ความรักความสามัคคี และได้เห็นความจริงที่ว่า เรา ล้วนมีผลกระทบต่อกันและกัน สิง่ ทีเ่ ราท�ำหรือทีผ่ อู้ นื่ กระท�ำย่อมส่ง ผลต่อชีวิตของพวกเราทั้งหมด ทั้งทางตรงและทางอ้อม ด้วยการเห็นความจริงเช่นนี้ เราจะบ่มเพาะความกรุณาต่อกัน และความส�ำนึกในการกระท�ำของเรา ความรู้สึกเชื่อมโยงกับเพื่อน มนุษย์ และสรรพสิง่ เป็นช่องทางให้เราสร้างทุนทางจิตวิญญาณด้วย เมือ่ ผูค้ นสนทนาด้วยสติปญ ั ญาและความรักความเมตตาต่อกัน ร่วมมือกันท�ำสิ่งต่าง ๆ เพื่อส่วนรวม เมื่อนั้นเราก�ำลังสร้างคุณค่า ความหมาย และจิตวิญญาณของชุมชน บูรณาการ:งานสร้างทุนทางสังคม
239
ทุนทางจิตวิญญาณ เป็นทุนทีส่ ำ� คัญทีส่ ดุ และก�ำกับความเจริญ ของทุก ๆ ต้นทุนชีวิตและสังคม ทุนทางจิตวิญญาณ เป็นเรื่องของคุณค่า ความหมายของ สังคม เป็นส่วนที่ก�ำกับหนทางความเจริญก้าวหน้าของสังคม อย่าง ประเทศภูฏาน ให้คณ ุ ค่าของจิตใจ ความสุข ความเรียบง่าย การอยู่ กับธรรมชาติ ความสงบสุข ด้วยคุณค่าที่สังคมภูตานยึดถือนี้ ท�ำให้ ประเทศเล็ก ๆ นี้ออกระเบียบจ�ำกัดปริมาณนักท่องเที่ยวที่จะเข้า ประเทศเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อธรรมชาติ และวัฒนธรรมท้อง ถิน่ นอกจากนัน้ ยังเป็นต้นแบบการวัดความเจริญของชาติดว้ ยความ สุขมวลรวมของชาติ แทนผลผลิตทางเศรษฐกิจ ทุนทางจิตวิญญานยังช่วยให้เราเผชิญกับวิกฤตทีไ่ หลบ่าเข้ามา ในสังคมด้วย อย่างที่ประเทศญี่ปุ่น เมื่อคราวประสบพิบัติแผ่นดิน ไหวและคลื่นยักษ์สึนามิ ท่ามกลางความวุ่นวาย อาหารน�้ำขาดแคลน เราจะเห็นภาพ ชาวญี่ปุ่นยืนต่อคิวอย่างเป็นระเบียบเพื่อรอรับอาหาร และซื้อ ข้าวของ ชาวญี่ปุ่นยึดถือคุณค่าเรื่องระเบียบวินัย ความอดทน และ ใจสูก้ บั ปัญหาอุปสรรคต่าง และจิตวิญญาณนีก้ ไ็ ด้ชว่ ยให้คนทัง้ ชาติ ประคับประคองกันผ่านวิกฤตที่เผชิญได้เป็นอย่างดี ลองคิดดูว่า ถ้าผู้คนแย่งชิงอาหารและน�้ำ เกิดบาดเจ็บล้มตายขึ้นมาอีก ก็จะ เป็นการสร้างปัญหาใหม่ ซ�้ำเติมปัญาเดิมที่มีอยู่ ประเทศใดมีทนุ ทางจิตวิญญาณต�ำ่ ประเทศนัน้ ก�ำลังเสือ่ มและ ล่มสลาย ยิ่งในเวลานี้ สังคมไทยอยู่บนทางแพร่ง ปั่นป่วน สับสน ซับซ้อน เรายิ่งต้องการทุนทางจิตวิญญาณเพื่อสร้างสรรค์ประเทศ ทุนทางจิตวิญญาณของสังคมไทยในเวลานี้คืออะไร สิง่ ใดทีค่ นในสังคมยึดถือเป็นคุณค่า ความหมายของชีวติ และจิตใจ 240
เมล็ดพันธุ์ชีวิตบูรณาการ
เราต้องการทุนทางจิตวิญญาณอะไร ที่จะช่วยให้เราผ่านพ้น วิกฤตของชาติได้อย่างสร้างสรรค์ เราจะท�ำอะไรได้บา้ งเพือ่ สร้างทุนทางจิตวิญญาณในสังคม หรือ เสริมความเข้มแข็งให้กับจิตวิญญาณเดิมที่มีอยู่ “หว่านพืชเช่นไร ได้ผลเช่นนั้น” เมื่อเราบูรณาการกัน สนทนาด้วยความรักความเมตตา รับ ฟังอย่างลึกซึ้ง พูดด้วยสติ เปิดใจสัมพันธ์กัน เข้าอกเข้าใจกัน เห็น ความเชื่อมโยงกับเพื่อนพี่น้องในชาติ ใส่ใจเรียนรู้ร่วมกัน สิ่งที่เรา ก�ำลังสร้างให้มีขึ้นในสังคมก็คือ พลังความรัก ความเมตตา สติ ปัญญา ความเข้าอกเข้าใจ การเรียนรู้ ซึ่งเมื่อเราสร้างพลังเหล่านี้ มากเข้า สังคมของเราก็จะเจริญงอกงาม ร่มเย็นเป็นสุข ... และนีเ่ อง คือกระบวนการและเป้าหมายของบูรณาการตามระบบที่มีชีวิต j
ครุ่นคิด เรามีทุนทางปัญญา ความสัมพันธ์ และจิตวิญญาณที่ จะมอบให้กับสังคมเพียงใด เราต้องท�ำหรือฝึกฝนสิ่ง ใดเพิ่มขึ้น เพื่อท�ำให้ทุนภายในของเราแข็งแกร่ง คนในองค์กร และชุมชนของเรามีทุนทางปัญญา ความ สัมพันธ์ และจิตวิญญาณแค่ไหน เราจะท�ำอะไรได้บ้าง เพื่อเพิ่มต้นทุนเหล่านั้น เพื่อให้สังคมโดยรวมของเรามี ทุนที่มากขึ้นทั้งปริมาณ และคุณภาพ
บูรณาการ:งานสร้างทุนทางสังคม
241
“รู้จักผู้อื่นนับได้ว่าฉลาด รู้จักตนเองจัดว่าเป็นปัญญา เหนือผู้อื่นคือแข็งแกร่ง เหนือตนเองคืออ�ำนาจอันแท้จริง”
หนทางแห่งการ ฝึกตน: ทักษะส�ำคัญของ นักบูรณาการ
การบูรณาการตามระบบที่มีชีวิตนั้น ส�ำคัญที่ศักยภาพภายใน เมล็ดไทรเจริญงอกงามเป็นไม้ไทรใหญ่ได้ เมื่อเมล็ดพันธุ์มี ศักยภาพที่จะบูรณาการตัวเองกับปัจจัยภายนอกได้อย่างกลมกลืน แต่ถา้ เมล็ดพันธุฝ์ อ่ ไร้ศกั ยภาพ ต่อให้ดนิ ดี น�ำ้ ถึงอย่างไร เมล็ดพันธุ์ นี้ก็ไม่อาจงอกงามเป็นไทรใหญ่ได้เลย มนุษย์และสังคมมนุษย์ก็เหมือนกัน เราจะบูรณาการชีวิตและ สังคมของเราได้ เมื่อเราสร้างสรรค์ศักยภาพภายในให้กล้าแกร่ง ศักยภาพภายใน หมายถึง สภาวะจิตใจ โลกทัศน์ ความ คิดความเชื่อ คุณค่าในใจที่ยึดถือ และการเรียนรู้ ซึ่ง “ด้านใน” ของเรานี้เองที่เป็นตัวก�ำหนดคุณภาพการคิด วิธีคิด ความรู้สึก การกระท�ำ และทุกอย่างที่ปรากฏออกมาภายนอก ผู้ที่ “ด้านใน” มีคุณภาพ ชีวิตของผู้นั้นจะเติบโต สง่างาม เป็นผู้น�ำที่สร้างสรรค์ประโยชน์ให้กับตัวเอง และผู้อื่น ยกตัวอย่าง พระอาจารย์พุทธทาส มหาตมะ คานธี เนลสัน แมนเดลลา แม่ชี เทเรซา เป็นต้น มนุษย์ทุกคนที่เกิดมาล้วนมีศักยภาพภายในทั้งสิ้น บางคน มีมาก บางคนมีน้อยกว่า ทว่า ศักยภาพภายในนี้มีชีวิตเหมือนเรา 244
เมล็ดพันธุ์ชีวิตบูรณาการ
มีขึ้น มีลง มีเติบโต มีหยุดชะงักและตาย ดังนั้น ไม่ว่าเราจะมี ศักยภาพเริม่ ต้นเท่าใด เราสามารถฝึกฝน อบรม และพัฒนาด้านใน ให้เติบโตยิ่ง ๆ ขึ้นได้เสมอ ซึ่งทักษะส�ำคัญที่นักบูรณาการควรหมั่น ฝึกฝน คือสภาวะจิต และการเรียนรู้อย่างลึกซึ้ง เรียนรู้อย่างลึกซึ้ง ชีวติ คือกระบวนการเรียนรูท้ ไี่ ม่มวี นั สิน้ สุด วันใดทีเ่ ราหยุดเรียน รู้ เมื่อนั้นเราก�ำลังถดถอยจากระบบที่มีชีวิต การเรียนรูไ้ ม่ได้หมายถึงการเรียนหนังสือในสถาบันการศึกษา หรือต�ำรับต�ำราที่เราอ่าน แต่การเรียนรู้หมายถึงความสามารถใน การรับรู้ และเรียนรู้จากสิ่งที่เราประสบพบเจอในชีวิต การเรียนรู้ จึงเป็นกระบวนการที่เราปฏิสัมพันธ์กับปัจจัยภายนอก และผลที่ เกิดจากกระบวนการเรียนรู้ก็คือ ความรู้ นั่นเอง เหตุที่เราต้องให้ความส�ำคัญกับความสามารถในการเรียนรู้ ก็ เพราะว่าความรู้ที่เรามีเป็นอดีต ซึ่งแม้จะมีคุณค่าและประโยชน์ แต่ถ้าหากเรายึดติดกับความรู้มากเกินไปจนไม่เปิดใจรับความ เปลีย่ นแปลง และเรียนรูจ้ ากปัจจุบนั ทีม่ ปี ญ ั หาใหม่ ๆ เข้ามาท้าทาย เราเสมอ เราจะเป็นอย่างส�ำนวนโบราณที่ว่า “ความรู้ท่วมหัว เอา ตัวไม่รอด” ดูตัวอย่างจากเหตุการณ์โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะ ประเทศญีป่ นุ่ ไม่มใี ครคาดคิด และเตรียมการรับมือกับสถานการณ์ เช่นนี้มาก่อน ความรู้และเครื่องมือเดิมที่มีอยู่ตามไม่ทันปัญหา เรา ต้องเรียนรู้ใหม่ให้ทันการณ์ ยิง่ เรามีศกั ยภาพเรียนรูไ้ ด้เร็วและมีประสิทธิภาพเท่าไร เราจะ สามารถแก้ปัญหาใหม่ ๆ ที่เข้ามาท้าทายเราได้รวดเร็วทันการณ์ เท่านั้น หนทางแห่งการฝึกตน: ทักษะสำ�คัญของนักบูรณาการ
245
พุทธศาสนาเสนอหนทางการเรียนรูไ้ ว้ ๓ ขัน้ ตอนด้วยกัน ซึง่ นัก บริหารองค์กรเรียนรู้สมัยใหม่ก็น�ำความรู้นี้มาปรับใช้ด้วย วงจรกระบวนการเรียนรูอ้ ย่างลึกซึง้ ๓ ขัน้ ตอน เริม่ จากปริยตั ิ คือ ฟัง อ่าน สนทนา ขบคิด วิพากษ์วิจารณ์ความรู้ ข้อมูล เรื่องราว ที่เป็นความรู้ภายนอก (explicit knowledge) จากนั้น น�ำความรู้ ภายนอกกลับเข้าสู่ภายใน ท�ำให้เป็นความรู้ฝังลึกในตัว ด้วยการ ปฏิบัติ ลงมือกระท�ำ ทดลองความรู้ ลองผิดลองถูก จนเห็นผลของ ความรู้ เกิดเป็นความรูจ้ ริงจากประสบการณ์ตรง จากนัน้ ก็ยกระดับ การเรียนรูส้ ขู่ นั้ ปฏิเวธ คือสรุปผลการเรียนรู้ สกัดกลัน่ ประสบการณ์ และผลการปฏิบัติให้เป็นความรู้ เป็นเนื้อหาทางทฤษฎีที่จับต้องได้ ถ่ายทอดให้ผู้อื่นได้ ซึ่งในขั้นนี้ ต้องใช้การสร้างความรู้แบบญาณ ทัศนะเข้ามาร่วมด้วย (ครุ่นคิดอย่างแยบคาย และคิดด้วยจิตว่าง) จากนัน้ เราก็เอาความรูป้ ริยตั ทีไ่ ด้ในขัน้ ตอนนีไ้ ปปฏิบตั ติ อ่ เกิดเป็น ผลปฏิเวธ ต่อยอดการเรียนรู้ วนขึ้นไปไม่รู้จบ
»ÃÔÂÑµÔ »¯ÔàǸ 246
เมล็ดพันธุ์ชีวิตบูรณาการ
»¯ÔºÑµÔ
สิ่งส�ำคัญในกระบวนการรับและเรียนรู้ คือ จิต และธรรมชาติ แห่งส�ำนึกรู้ ยิ่งจิตของเรามีคุณภาพเท่าไร การรับรู้ และเรียนรู้ของ เราก็จะมีประสิทธิภาพมากเท่านั้น ซึ่งเรื่องนี้เป็นสิ่งที่ฝึกฝนพัฒนา กันได้ สภาวะจิ ต ที่ ส ่ ง ผลต่ อ กระบวนการเรี ย นรู ้ อ ย่ า งลึ ก ซึ้ ง มี ๓ ประการ ดังนี้ Belief and attitude ความเชื่อและทัศนคติที่เรามีต่อเรื่อง ต่าง ๆ เป็นตัวก�ำหนดพฤติกรรม ท่าที และความสัมพันธ์ที่เรามีต่อ สิ่งต่าง ๆ เช่นว่า หากเราเชื่อและนอบน้อมต่อครู เราก็จะเปิดใจรับ ความรู้ที่ครูถ่ายทอด ตรงกันข้าม หากเราไม่เชื่อในฝีมือความรู้ของ ครู เราก็จะไม่ฟัง ไม่รับความรู้ ส�ำหรับในการท�ำงาน หากเราเชื่อใน ศักยภาพและความดีงามของมนุษย์ (ตัวเราเองด้วย) เราจะมีวิธีคิด และยุทธศาสตร์ในการท�ำงานร่วมกันที่ส่งเสริมความสามารถกัน และกัน ในทางกลับกัน หากเราไม่เชื่อในความดีและศักยภาพของ มนุษย์ เราจะใช้วิธีการควบคุม จับผิด ให้รางวัลและท�ำโทษ Awareness and sensitivity สติและจิตทีล่ ะเอียดอ่อนว่องไว ต่อการรับรู้ จิตตื่นและพร้อมที่จะเรียนรู้ หรือทางพุทธศาสนา เรียกว่า “จิตนุม่ นวลควรแก่งาน” จิตในสภาวะนีเ้ ป็นจิตทีม่ คี ณ ุ ภาพ สูง เพราะตั้งมั่นจดจ่อ รับรู้เรื่องราวต่าง ๆ ได้โดยง่าย นอกจากนั้น สภาวะจิตนี้เอื้อให้เกิดความรู้แบบปัญญาณ (คิดโดยไม่คิด) Skills ทักษะส�ำคัญและจ�ำเป็นต่อการเรียนรู้อย่างลึกซึ้ง คือ การครุ่นคิด และสืบค้น หรือเรียกได้เป็นทักษะคิดแบบแยบคาย “โยนิโสมนสิการ” เป็นการคิดแบบสืบสาวจากเหตุไปหาผล หรือ ผลไปหาเหตุ คิดแบบเห็นความเชื่อมโยงและผลกระทบของสิ่ง ต่าง ๆ ที่มีต่อกัน หนทางแห่งการฝึกตน: ทักษะสำ�คัญของนักบูรณาการ
247
Reflection คือ การครุ่นคิดใคร่ครวญ สะท้อนเรื่องราว ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น มองเรื่องราวเหล่านั้นอย่างเป็นผู้สังเกตการณ์ เห็น ตัวเองให้เรื่องราว พร้อมกับเห็นคนอื่น ๆ และสิ่งอื่น ๆ อย่างถี่ถ้วน Inquiry คือ การสืบค้นความจริง สนใจใคร่รู้เรื่องราวให้ลึก ซึ้งขึ้น ตั้งค�ำถามกับสมมติฐานของตัวเอง เช่นว่า แน่ใจไหมว่า สิ่ง ที่เราท�ำคือบูรณาการ อะไรคือบูรณาการ ผลของบูรณาการเป็น อย่างไร ฯลฯ
Belief
¤ÇÒÁàª×èÍ ¤ÇÒÁÈÃÑ·¸Ò ·ÕèàÃÒÁÕµ‹ÍÊÔ觵‹Ò§æ ¨Ð¡Ó˹´·‹Ò·Õ ¤ÇÒÁÊÑÁ¾Ñ¹¸ áÅСÒà »¯ÔºÑµÔ·ÕèàÃÒáÊ´§ ÍÍ¡ÁÒ໚¹¾ÄµÔ¡ÃÃÁ
Awareness and Sensitivity
ʵÔáÅШԵ·ÕèNjͧäÇÅÐàÍÕ´͋͹ ¾ÃŒÍÁ㹡ÒÃàÃÕ¹ÃÙŒ àËç¹áÁŒÊÀÒÇШԵ㨠¢Í§µÑÇàͧ
Skills
·Ñ¡ÉТÑé¹¾×é¹°Ò¹·ÕèÊÓ¤ÑÞ
Reflection
¤ÃØ‹¹¤Ô´ãËŒÅÖ¡«Ö駡NjҸÃÃÁ´Ò Inquiry ¡ÒÃÊ׺¤Œ¹ËÒ¤ÇÒÁ¨ÃÔ§ “ใจเป็นใหญ่ ใจเป็นประธาน ทุกอย่างส�ำเร็จได้ด้วยใจ” คราวหนึง่ มูซาชิ นักดาบผูเ้ กรียงไกรรับค�ำท้าประลองดาบกับ ผู้หนึ่งว่าจะดวลกันในเวลา ๘ โมงเช้า ณ สถานที่แห่งหนึ่ง 248
เมล็ดพันธุ์ชีวิตบูรณาการ
ในเช้าวันประลอง มูซาชิ ไม่ได้กุลีกุจอรีบไปสนามประลอง แต่อย่างใด เขากลับนั่งวาดรูปอย่างใจเย็นจนเสร็จแล้วจึงค่อยออก เดินทาง มูซาชิล่องเรือตามล�ำน�้ำไปอย่างเย็นใจ ระหว่างนั้น เขาเห็นใบ พายของเรือ จึงหยิบน�ำมาเหลาเป็นกระบี่ไม้พาย เมื่อถึงสนามประลอง เวลาก็เคลื่อนคล้อยเป็น ๑๐ นาฬิกา ผู้ ท้าประลองแสดงอาการหงุดหงิดใจมากทีต่ อ้ งรอคูต่ อ่ สูเ้ ป็นเวลานาน และต่อว่ามูซาชิที่ไม่รู้จักเวลา มูซาชินิ่ง ก่อนตอบว่า “ท่านแพ้แล้ว” ในการประลองดาบครัง้ นัน้ มูซาชิพชิ ติ คูต่ อ่ สูด้ ว้ ยกระบีไ่ ม้พาย เพียงการลงดาบเพียงครั้งเดียว นักดาบมือหนึ่งอย่างมูซาชิรู้ดีว่า ใจที่นิ่งสงบเป็นสมาธิเป็น ปัจจัยส�ำคัญต่อผลแพ้-ชนะในการดวลดาบ เขาจึงจงใจไปสายเพื่อ กวน “ใจ” ของคู่ต่อสู้ให้ขุ่น สภาวะจิตมีส่วนส�ำคัญอย่างยิ่งในการก�ำหนดคุณภาพชีวิต ประสิทธิภาพการท�ำงาน และความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ในสังคม ยิง่ โลกปัจจุบนั ซับซ้อน สับสน วุน่ วาย เรายิง่ ต้องฝึกฝนจิตให้นงิ่ และ มั่นคง เพื่อสยบความวุ่นวาย และหาทางออกจากปัญหาได้อย่างมี สติและประสิทธิภาพ การฝึกจิตไม่ใช่เรื่องล้าสมัย งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ทาง จิตจ�ำนวนมากชี้ว่า การท�ำสมาธิและเจริญสติ สร้างเสริมสุขภาวะ ในหลายด้าน ทั้งทางร่างกาย และอารมณ์ สมาธิยังช่วยเพิ่มพูน ประสิทธิภาพในการคิด การเรียนรู้ และการท�ำงาน ทีส่ ำ� คัญ การท�ำสมาธิอย่างสม�ำ่ เสมอในระยะตัง้ แต่ ๒-๓ เดือน ขึ้นไป ส่งผลต่อการท�ำงานของสมอง กล่าวคือ สมองในส่วนที่เชื่อม โยงกับพฤติกรรมก้าวร้าว รุนแรง จะอ่อนก�ำลังลง ท�ำงานได้ยาก หนทางแห่งการฝึกตน: ทักษะสำ�คัญของนักบูรณาการ
249
และช้าขึ้น ในขณะที่สมองส่วนที่คิดสร้างสรรค์จะท�ำงานว่องไวขึ้น สมองในส่วนจิตส�ำนึกผิดชอบชั่วดี ก็ท�ำงานได้ดีขึ้นด้วย โดยหลักแล้ว จิตของเราท�ำงานใน ๒ ลักษณะ คือ Active mind คือ จิตที่คิดไม่หยุด กระโดดจากความคิดหนึ่ง สูอ่ กี ความคิดหนึง่ อย่างรวดเร็ว อย่างทีเ่ ราอาจจะเคยได้ยนิ ค�ำพูดว่า “จิตไม่ว่าง” เราคุ้นเคยและคุ้นชินที่จะใช้จิตอย่างนี้คิด วิเคราะห์ ประมวลผล และท�ำกิจการงานต่าง ๆ ในชีวิตประจ�ำวันทั่วไป Quiet mind คือ จิตที่เงียบ สงบ นิ่ง เป็นจิตที่มีพลัง อย่าง จิตตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าที่ไม่ได้ตรัสรู้จากการคิดด้วยสมอง แต่ ความรูอ้ นั ยิง่ ใหญ่เกิดในภาวะทีจ่ ติ ไร้การคิด จิตเงียบเป็นจิตทีส่ บาย ผ่อนคลาย พร้อมด้วยสติและก�ำลังสมาธิ ในภาวะจิตเช่นนี้ การรับรู้ ของเราจะกระจ่างชัด ส่งผลต่อการเรียนรูข้ องเรา และยังช่วยให้เรา ท�ำงานได้เต็มประสิทธิภาพอีกด้วย จิตนิ่งสงบเป็นเหตุให้เกิดการหยั่งเห็น (intuition) ในภาวะจิตคิด (Active mind) ความคิดจะผุดขึ้นเป็นสายต่อ เนือ่ งอย่างรวดเร็วไม่หยุด จนเรียกได้วา่ เป็นภาวะ “จิตไม่วา่ ง” หรือ “จิตวุ่น” ในภาวะอย่างนี้ เราจะคิดจากข้อมูลเดิม ๆ ที่คุ้นอยู่แล้ว โอกาสจะเกิดความคิดใหม่ ๆ ความคิดดี ๆ ก็ยาก เราจึงมักได้ค�ำ ตอบเดิม ๆ วนเวียนอยู่กับปัญหา สร้างสรรค์ไม่ได้ แต่หากเราชะลอตัวเองให้ชา้ ลงไป ไม่กดดันตัวเอง ไม่เร่งคิด ไม่ ร้อนรนเอาค�ำตอบ แต่ปล่อยใจให้สบาย ผ่อนคลาย คลื่นความคิด จะช้าลง และรอบความถีก่ จ็ ะห่างออกไป ท�ำให้เกิดช่องว่างระหว่าง ความคิดขึ้น ซึ่งช่องว่างนี้เอง คือ ภาวะจิตเงียบ ภาวะจิตเงียบอาจจะเกิดเพียงเสีย้ ววินาที หรือนานกว่านัน้ ก็ได้ 250
เมล็ดพันธุ์ชีวิตบูรณาการ
ทว่าในเสี้ยววินาทีที่จิตเงียบนั่นเอง เป็นโอกาสให้เกิดปัญญาญาณ (intuition) เป็นความรู้ที่สดใหม่ที่ “จิตคิด” คิดไปไม่ถึง ยกตัวอย่าง ชายคนหนึ่งที่ค้นหาทางแก้ปัญหาน�้ำทะเลเซาะ ชายฝั่ง จากการนั่งมองทะเลอย่างผ่อนคลาย สบายใจ จังหวะหนึ่ง เขาก็ “ปิง๊ ” ขึน้ มา เมือ่ เห็นไม้ลำ� หนึง่ ปักอยูก่ ลางทะเล เขาเกิดความ คิดว่า ถ้าเราเอาไม้มาปักเป็นแนวเหมือนก�ำแพงในทะเล เราก็จะ สามารถชะลอแรงคลื่นลมที่พัดเข้ามาเซาะฝั่งได้ ไม้เป็นวัสดุที่หาได้ในพื้นถิ่น ราคาไม่ แพง ไม่ เ ป็ น พิ ษกั บ สิ่งแวดล้อม ชาวบ้านท�ำกันเองได้ ซ�้ำยังได้ประโยชน์เพิ่มอีกด้วย คือ สัตว์ทะเลอย่างหอยจะมาเกาะไม้ ท�ำให้ชาวประมงได้น�ำไปกิน เป็นอาหาร และขายได้อีกด้วย เราต้องฝึกฝนสภาวะจิตอย่างนี้ให้ดี และน�ำมาใช้ในชีวิตและ การงานให้มากขึ้น โดยเฉพาะในสภาพการณ์ของสังคมและโลก ในปัจจุบัน เพราะการที่จะเผชิญกับปัญหาที่ท้าทายและบีบคั้น ได้ดี เราต้องนิ่งได้ สงบเป็น มั่นคงอยู่เหนือปัญหา เพื่อให้เราเห็น เรื่องราวต่าง ๆ ได้ชัดเจนขึ้น และสามารถหาทางข้ามพ้นวิกฤตได้ อย่าง เซอร์วินสตัน เชอร์ชิล ผู้น�ำอังกฤษในช่วงสงครามโลกครั้ง ที่ ๒ ในเวลาที่สถานการณ์การรบคับขัน ท่านขอเวลานิ่งสงบ อยู่ เงียบ ๆ ล�ำพัง ปราศจากคนรบกวน ก่อนที่จะตัดสินใจสั่งการใด ๆ ที่ส�ำคัญ ๆ ออกไป การท�ำจิตให้ว่าง สงบนิ่ง เป็นทักษะที่เราต้องฝึกฝนให้เป็น นิสัยติดตัว มีหลายวิธีที่จะช่วยเราฝึกจิตให้สงบเป็นสมาธิได้ อย่าง เช่น นั่งสมาธิแล้วตามลมหายใจเข้า-ออก เจริญสติภาวนา ฟังเพลง ผ่อนคลาย ดูภาพที่นิ่งสงบ อยู่ในธรรมชาติ วาดรูป หรือแม้แต่ออก ก�ำลังกาย โดยเฉพาะการออกก�ำลังกายที่เน้นประสานกายและจิต ด้วยกัน เช่น โยคะ ชี่กง เป็นต้น หนทางแห่งการฝึกตน: ทักษะสำ�คัญของนักบูรณาการ
251
นอกจากการฝึ ก ฝนส่ ว นตั ว แล้ ว เราควรหาโอกาสท� ำ ใจ ให้อยู่ในสภาวะจิตเงียบ เป็นสมาธิเสมอ ๆ ในชีวิตประจ�ำวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวลาที่เราต้องสนทนา หรือท�ำงานส�ำคัญ ๆ อย่างเช่น ก่อนจะเริม่ ท�ำงาน และประชุมงาน เราอาจจะเริม่ ต้นด้วย การท�ำจิตให้นงิ่ และสงบสักครู่ สัก ๕ ถึง ๑๐ นาที เพือ่ ให้ทกุ คนผ่อน คลาย เตรียมใจให้พร้อมกับการท�ำกิจกรรมทีจ่ ะเกิดขึน้ ซึง่ วิธกี ารท�ำ สมาธิก็มีได้หลากหลาย อาจจะเป็นเปิดเพลงบรรเลงที่ผ่อนคลาย สวดมนต์ นั่งสงบตามลมหายใจเป็นต้น และเมื่อหลังจากกิจกรรม การงานเสร็จสิน้ แล้ว เราก็อาจนัง่ สงบ ให้ทกุ คนได้ตกผลึกทางความ คิด ความรู้สึกที่ได้จากการท�ำงาน หรือประชุมร่วมกันอีกครั้งด้วย ครุ่นคิดลึกซึ้ง (Contemplation) พุทธศาสนามีวิธีการคิดที่เรียกว่า โยนิโสมนสิการ ซึ่งหมายถึง การคิดอย่างแยบคาย ไม่มองสิ่งต่าง ๆ อย่างผิวเผิน คิดอย่างถูกวิธี มีระเบียบวิเคราะห์ (ในนัยยะทางธรรม คือ คิดเร้ากุศล และน�ำเรา ไปสู่จุดมุ่งหมายของพุทธธรรม) การคิดแบบโยนิโสมนสิการมี ๑๐ วิธีการหลัก ๆ ด้วยกัน (ซึ่งผู้ที่สนใจสามารถหาอ่านเพิ่มเติมได้ที่ หนังสือ พุทธธรรม โดย พระธรรมปิฎก ) กล่าวโดยย่อ คือ คิดจากเหตุไปหาผล คิดจาก ผลไปหาเหตุ คิดแบบเห็นความสัมพันธ์ต่อเนื่องเป็นลูกโซ่ คิดแบบ แยกแยะองค์ประกอบ คิดแบบมองเป็นองค์รวม เป็นต้น ซึง่ เราได้นำ� เสนอแล้วในบททีว่ า่ ด้วยทฤษฎีกระบวนการคิดแบบกระบวนระบบ การคิดโดยแยบคาย หรือโยนิโสมนสิการนี้อาศัยการคิดด้วย จิตเงียบ ฉะนั้น ในเวลาที่ครุ่นคิดเรื่องใดก็ตาม เราต้องท�ำใจให้ผ่อน คลาย เป็นสมาธิ ไม่รีบร้อนที่จะได้ค�ำตอบ และเงียบเสียงความ คิดภายในลงด้วย เพื่อให้ได้ยินเสียงจากปัญญาญาณที่จะเกิดขึ้น ระหว่างช่องว่างของความคิด 252
เมล็ดพันธุ์ชีวิตบูรณาการ
แบบฝึกหัดครุ่นคิดลึกซึ้ง หยิบยกอะไรสักอย่างในชีวิต แล้วทวนมองเส้นทางชีวิต ของสิ่งนั้นว่าสัมพันธ์กับอะไรบ้าง เช่น ถุงพลาสติก กล่องโฟม ขวดพลาสติก มาจากไหน เกี่ยวพันกับใคร บ้าง และจะเดินทางไปสิ้นสุดที่ตรงไหน ส่งผลอะไรต่อ ใคร อย่างไรบ้าง ทุกการกระท�ำของเราเป็นเหตุ ที่จะส่งผลบางประการ เราลองส�ำรวจตรวจค้นกันว่า การงานที่เราท�ำอยู่ใน ปัจจุบัน (ซึ่งเป็นเหตุ) จะก่อให้เกิดผลอะไรบ้างกับเรา กับองค์กร ชุมชนสังคม สะท้อนความคิดและความรู้สึก (Reflection) การเรียนรู้ไม่ได้มาจากโลกภายนอกเพียงอย่างเดียว เราเรียน รู้ได้มากจากโลกภายในด้วย ในเวทีอบรมพัฒนาศักยภาพนักบูรณาการ อาจารย์ชัยวัฒน์ มักจะชวนให้พวกเราทบทวนเสมอ ๆ ว่า ในระหว่างที่สนทนากัน ในกลุ่มย่อย เรารู้สึกอย่างไรเวลาที่แสดงความเห็น เรารู้สึกอย่างไร ในเวลาที่ฟังคนอื่นพูด “เรารูส้ กึ อิม่ ใจ ปีตใิ จเวลาทีเ่ พือ่ นพูดถึง แรงจูงใจในการท�ำงาน เพือ่ สังคม เขาเห็นความอยุตธิ รรมในสังคม และรูส้ กึ ว่าอยากท�ำอะไร สักอย่างเพือ่ ช่วยลดปัญหานี”้ เสียงผูเ้ ข้าอบรมคนหนึง่ สะท้อนความ รู้สึกจากบทสนทนาเกี่ยวกับ “พลังชีวิต” เมื่อให้ยกระดับการเรียนรู้จากความรู้สึกของเราที่มีปฏิกิริยา จากเรื่องเล่าของเพื่อน ผู้เข้าอบรมสะท้อนความรู้ว่า “เวลาที่เรา ได้ยนิ เรือ่ งทีด่ ี เรือ่ งทีฟ่ งั แล้วเกิดก�ำลังใจ เราก็มพี ลังไปด้วย นอกจาก นัน้ เรายังรูส้ กึ เชือ่ มใจกับคนพูด นับถือน�ำ้ ใจและความรูส้ กึ ของเขา” หนทางแห่งการฝึกตน: ทักษะสำ�คัญของนักบูรณาการ
253
จากตัวอย่างการสะท้อนความรู้สึกจากการสนทนาเรื่องพลัง ชีวติ เราได้เรียนรูว้ า่ ความรูส้ กึ ความเห็น และค�ำพูดของคน ๆ หนึง่ สามารถส่งทอดพลังทั้งทางบวก และลบให้กับผู้อื่นได้ ฉะนั้น หาก เราต้องการสร้างพลังให้กับวงสนทนา หรือทีมท�ำงาน เราควรใส่ใจ กับสิ่งที่เราพูด น�้ำเสียง ท่าที ทัศนคติ เพราะสิ่งเหล่านี้มีผลทางใจ และความคิดกับบุคคลรอบข้าง เราเรียนรูจ้ ากตัวเองได้ตลอดเวลา โดยการสังเกตตัวเองเวลาที่ ปฏิสมั พันธ์กบั สิง่ ภายนอก เมือ่ เราหยุดและทวนเข้ามาในใจ สะท้อน ความรูส้ กึ และความเห็นภายหลังทีท่ ำ� กิจกรรมต่าง ๆ เรารูจ้ กั ตัวเอง รูจ้ กั ทีจ่ ะสัมพันธ์กบั คนอืน่ รูว้ า่ อะไรท�ำแล้วดี อะไรท�ำแล้วให้ผลทาง ลบ ฯลฯ นอกจากนัน้ เราต้องสกัดประสบการณ์ทางความรูส้ กึ และ ความคิดเห็นเป็นความรูอ้ กี ชัน้ ด้วยว่า ท�ำไมเราจึงรูส้ กึ เช่นนัน้ อะไร เป็นเหตุปัจจัยให้เรารู้สึก ดีหรือแย่ เป็นต้น เราสามารถสะท้อนความรูจ้ ากตัวเองได้ทกุ เมือ่ และกับทุกเรือ่ ง ไม่ว่าจะอ่านหนังสือ ฟังเพลง พูดคุยกัน เล่นกีฬา ท�ำงาน ฯลฯ การ หมั่นสังเกตตัวเองและสะท้อนความรู้อย่างสม�่ำเสมอ จะท�ำให้เรา รู้จักและเข้าใจตัวเองมากขึ้น เราจะเห็นความคิด ความเชื่อ และ และคุณค่าที่เรายึดถือ เห็นว่าสิ่งใดมีคุณค่ากับเรา แรงจูงใจในการ ท�ำการงานต่าง ๆ ของเราคืออะไร ฯลฯ
แบบฝึกหัดสะท้อนความรู้สึก และความเห็น จัดเวลาในแต่ละวันเพื่อสะท้อนตัวเอง วางภารกิจต่าง ๆ ลง รวมถึงช่องทางสื่อสารต่าง ๆ ที่จะขัดจังหวะความ เงียบของเรา เป็นต้นว่าคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ 254
เมล็ดพันธุ์ชีวิตบูรณาการ
หาสถานที่สงัด สงบ หรือห่างไกลเสียงรบกวน เพื่อที่ เราจะสงบใจได้ ผ่อนคลาย เมื่อใจผ่อนคลาย สงบจากความคิดวุ่นวายแล้ว ลอง หยิบยกประเด็นที่เราสนใจมาพิจารณา อาจจะเป็น คุณค่าภายในที่เรายึดถือ ความเข้าใจ ความเห็นของ เราที่มีต่อบุคคล และองค์กร และไม่ว่าใจจะสะท้อนภาพ ความคิด ความรู้สึกใดออกมา ขอให้ยอมรับ ปล่อยให้ สิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นพรั่พรูออกมาเอง โดยที่เราไม่เข้าไป แทรกแซง ตัดสิน เฝ้าสังเกตและฟังอย่าลึกซึ้ง ครั้งหนึ่ง หนังสือพิมพ์ นิวยอร์คไทมส์ ท�ำการศึกษาเรื่อง ความเร่งรีบกับการเรียนรู้ โดยวิจยั พฤติกรรมของชาวนิวยอร์ค ด้วย การให้นักไวโอลินชื่อดังมาบรรเลงเพลงที่สถานีรถไฟใต้ดิน เช้าวันหนึ่ง ในชั่วโมงเร่งด่วน นักไวโอลินหนุ่มผู้มีชื่อเสียงคน หนึ่งของโลกชื่อ โจชัวร์ เบลล์ ยืนสีไวโอลินในสถานีรถไฟใต้ดิน เขา บรรเลงบทเพลงชัน้ ยอดจาก บาค นักประพันธ์ดนตรีเอกของโลก แต่ ไม่มใี ครสนใจนักดนตรีคา่ ตัวแพงคนนี้ และไม่มใี ครหยุดฟังบทเพลง จากคีตกวี ทุกคนต่างเร่งฝีเท้า เดินผ่านนักดนตรีผู้นี้ไป บางคนโยน เหรียญใส่กระเป๋าไวโอลินที่วางเปิดอยู่กับพื้น น่าสนใจว่า มีแต่เด็กเล็กทีใ่ ห้ความสนใจนักดนตรีคนนี้ เด็กมัก จะหยุดมอง และยิ้มให้นักดนตรีจนพ่อแม่ต้องลากเด็กให้เดินต่อไป บทเพลงอันไพเราะจากศิลปินไวโอลินเอกของโลกจบลง โดย ไม่มีใครสนใจหยุดฟัง ไม่มีใครสังเกตว่าผู้เล่นเป็นใคร ไม่มีใครรู้ว่า ไวโอลินที่เขาถือและเล่นนั้นราคากว่าล้านเหรียญสหรัฐ ในกล่อง ไวโอลินที่เขาวางไว้รับสตางค์จากผู้ชื่นชมในเสียงดนตรีมีเงินไม่ถึง หนทางแห่งการฝึกตน: ทักษะสำ�คัญของนักบูรณาการ
255
ร้อยเหรียญ ในขณะที่บัตรคอนเสิร์ตการแสดงไวโอลินของโจชัวร์ ที่ก�ำลังจะเปิดแสดงนั้น ขายหมดเกลี้ยง ทั้ง ๆ ที่บัตรราคาเริ่มต้น อย่างต�่ำที่ ๑๐๐ เหรียญ งานวิจัยนี้สะท้อนว่า เวลาที่เราเร่งรีบกับชีวิต เราจะมองไม่ เห็น หรือมองข้ามสิ่งดี ๆ ที่อยู่ตรงหน้า สิ่งดี ๆ ที่ว่า อาจหมายถึง ความงาม ความจริงบางอย่างของชีวิต เหมือนอย่างว่า เรานั่งรถไฟ ความเร็วสูง เราจะพลาดโอกาสที่จะเห็นรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ ข้างทาง ซึ่งบางทีอาจเป็นร้านค้าดี ๆ ผู้คนที่เรารู้จัก หรือป้ายบอก ทางสถานที่น่าสนใจสักแห่งก็ได้ คนสมัยใหม่ทำ� งานวิง่ เป็นหนูถบี จักร ไม่มเี วลา และวุน่ วายเกิน กว่าจะนั่งสังเกตดูสิ่งต่าง ๆที่เกิดขึ้นทั้งภายในและภายนอกตนเอง ซึ่งเป็นสิ่งที่ท�ำให้เราพลาดจากความจริง และความงามบางอย่าง ในตัวเอง ในตัวผู้อื่น และสิ่งรอบตัว ฉะนั้น ถ้าเราต้องการฟื้นคืนความสัมพันธ์กับสิ่งต่าง ๆ เรา ต้องช้าลงบ้าง ใส่ใจสังเกตเรื่องราวรอบตัวโดยไม่ตัดสินวิพากษ์ วิจารณ์ แล้วเราจะรู้จักและเข้าใจสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้น รวมถึงผู้คน ที่เราสัมพันธ์ด้วย ชีวิตกับค�ำถาม “มนุษย์จะพ้นทุกข์ได้อย่างไร” ค�ำถามนี้วนเวียนอยู่ในใจเจ้า ชายสิทธัตถะ กระตุ้นให้พระองค์ออกจากพระราชวัง ไปค้นหาค�ำ ตอบ พระองค์ร�่ำเรียนวิชาจากดาบส อาจารย์ต่าง ๆ เป็นเวลา ๖ ปี จนในที่สุดก็ทรงค้นพบค�ำตอบด้วยพระองค์เอง และตรัสรู้เป็น พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ค�ำถามเป็นต้นทางในการเรียนรู้ และพาให้เราค้นพบสิง่ ใหม่ ๆ นักวิทยาศาสตร์จำ� นวนมากเริม่ ต้นการคิดค้นทฤษฎีและสิง่ ประดิษฐ์ 256
เมล็ดพันธุ์ชีวิตบูรณาการ
จากค�ำถาม แต่ใช่ว่าค�ำตอบจะมาได้ง่าย ๆ อย่างพระพุทธเจ้า กว่า ท่านจะได้ค�ำตอบ ก็ใช้เวลา ๖ ปี นักวิทยาศาสตร์ก็เช่นกัน ต้องลอง ผิดครั้งแล้วครั้งเล่า กว่าจะพบค�ำตอบที่ถูก เรามีคำ� ถามอะไรในชีวติ หรือไม่ ค�ำถามทีจ่ ะพาเราเดินไปหาค�ำ ตอบทัง้ เพือ่ ตัวเอง และเพือ่ สังคม ในทีน่ ี้ ค�ำถามจะเป็นเหมือนปลาย ทางหรือเป้าหมายที่เราปรารถนาจะไปถึง อย่างถ้าเรามีค�ำถามว่า เราจะลดช่องว่างทางสังคมได้อย่างไร ต้องท�ำอะไรบ้าง ... ค�ำถาม อย่างนี้จะพาเราไปค้นหาวิธีการ พบผู้คน และทดลองความรู้ วิธี การต่าง ๆ เรียนรู้เพื่อหาค�ำตอบที่ใช่ไปเรื่อย ๆ การอยูก่ บั ค�ำถามทีย่ งั ไม่พบค�ำตอบนัน้ ไม่ใช่เรือ่ งง่าย หลายคน ไม่อดทนพอทีจ่ ะรอค�ำตอบทีอ่ าจใช้เวลาหลายปีกว่าจะพบ หลายคน อาจท้อแท้และเลิกล้มความตั้งใจไป ผู้ที่จะอยู่กับค�ำถามได้จะต้องรักค�ำถาม มุ่งมั่นที่จะพบค�ำ ตอบ อดทนต่ออุปสรรคและความผิดพลาดที่พบเจอ ไม่หยุดถาม และเรียนรู้ ไรเนอร์ มาเรีย ริลค์ เขียนใน “จดหมายถึง กวีหนุ่ม” ว่า “จง อดทนที่จะอยู่กับทุกสิ่งทุกอย่างที่ยังไม่คลี่คลายในหัวใจ จงรัก ค�ำถาม ไม่จ�ำเป็นต้องรีบหาค�ำตอบ เรียนรู้ที่จะอยู่กับค�ำถามให้ได้ ซึ่งบางที ในยามที่เราไม่สังเกต เราจะพบว่า ก�ำลังได้พบ หรือมีชีวิต บนค�ำตอบของค�ำถามนั้นในวันหนึ่งข้างหน้า”
ทวนใจ • เรามีค�ำถามอะไรในชีวิต • ค�ำถามที่เรามีเกิดจากแรงจูงใจอะไร • เราก�ำลังอยู่บนหนทางแสวงหาค�ำตอบหรือเปล่า หนทางแห่งการฝึกตน: ทักษะสำ�คัญของนักบูรณาการ
257
ค�ำถามของนักเรียนรู้ • ค�ำถามขุดค้น มนุษย์มีค�ำถามพื้นฐาน ๖ ประการส�ำคัญ คือ ใคร (ท�ำ)อะไร ทีไ่ หน เมือ่ ไร ท�ำไม และอย่างไร แต่โดยมาก ในปัจจุบนั เราจะได้ยนิ ข่าวสารหรือเรื่องเล่าต่าง ๆ ที่ตอบค�ำถามเพียงระดับปรากฎการณ์ เท่านั้น คือ เราจะได้ยินเพียง ใคร ท�ำอะไร ท�ำที่ไหน และท�ำเมื่อไร เราขาดค�ำถามที่ขุดค้นลงลึกว่า สิ่งต่าง ๆ คนต่าง ๆ เกิดขึ้นได้ “อย่างไร” และ “ท�ำไม หรือเพราะเหตุใด” ค�ำถามเหล่านี้จะช่วย ให้เรามีความรู้ความเข้าใจที่ลึกซึ้งขึ้นในเรื่องราวต่าง ๆ โดยเฉพาะ เรื่องราวที่เกี่ยวกับความส�ำเร็จ เรามักเล่ากันแต่เรื่องราวสวยงาม ของความส�ำเร็จที่เราชื่นชม แต่เราไม่ค่อยคุยหรือขุดคุ้ยลงไปที่เส้น ทางแห่งความส�ำเร็จ และปัจจัยที่ทำ� ให้ส�ำเร็จ บางเรื่องความส�ำเร็จ ผ่านความผิดพลาดล้มเหลวมากมาย และบางเรือ่ งความส�ำเร็จทีเ่ รา เห็นก็ไม่ใช่เกิดจากวิถีทางที่ถูกต้องนักก็ได้ • เปลี่ยนค�ำถาม ในหนังสือ “ผลิกค�ำถามเปลี่ยนชีวิต” แมรี่ลี จี อดัมส์ ผู้เขียน กล่าวว่า ค�ำถามคือโครงสร้างทางความคิดของเรา ถ้าหากเราเปลีย่ น ค�ำถาม เราก็จะเปลี่ยนแปลงชีวิตได้ ค�ำถามของเราหลายครัง้ เป็นค�ำถามของนักตัดสิน เมือ่ เกิดอะไร ขึ้น เรามักถามว่า “เป็นความผิดของใคร ใครท�ำ” ค�ำถามแบบนี้มา จากโครงสร้างทางความคิดที่ต้องการหาคนผิด และคนรับผิดชอบ เรื่องราวที่กวนใจเรา และโดยมากการถามแบบนี้สะท้อนว่า คนอื่น เป็นต้นเหตุของเหตุไม่ดีที่เกิดขึ้น หากเราเปลีย่ นค�ำถามเป็นว่า “เหตุการณ์นเี้ กิดขึน้ ได้อย่างไร” เราจะได้คำ� ตอบทีต่ า่ งออกไป และค�ำตอบทีเ่ ราจะสืบค้น อาจจะน�ำ เราไปสู่หนทางที่แก้ไขสถานการณ์ ได้มากกว่าจับคนผิดเพียงอย่าง 258
เมล็ดพันธุ์ชีวิตบูรณาการ
เดียว อย่างการแก้ปัญาคอร์รัปชั่น การจับผู้กระท�ำความผิดเพียง อย่างเดียวไม่อาจแก้ปัญหาได้ อย่างที่เราเรียกว่า แก้ปัญหาที่ปลาย เหตุ เราอาจต้องค้นลงไปว่า “คอร์รปั ชัน่ เกิดขึน้ ได้อย่างไร เกีย่ วข้อง กับอะไรบ้าง ฯลฯ...” ค�ำถามอย่างนี้จะให้แนวทางบางอย่างกับเรา ในการแก้ปญ ั หา ทีส่ ำ� คัญค�ำถามแบบนักเรียนรูจ้ ะท�ำให้เราเห็นช่อง ทางที่เราจะเข้าไปมีส่วนร่วมแก้ไขหรือสร้างสรรค์สถานการณ์ได้
ทวนใจด้วยค�ำถามส�ำคัญ มาการ์เรต วีตเลย์ ผู้เขียนหนังสือ “หันหน้าเข้าหากัน” เสนอแนวค�ำถาม ๕ ข้อที่เธอบอกว่าส�ำคัญในการฟื้นฟู ข่ายใยชีวิตส�ำหรับคนในโลกสมัยใหม่ ๑. เพื่อนบ้านของเราเป็นใคร เรารู้จักเพื่อนบ้านของ เราหรือไม่ และเราจะท�ำอะไร อย่างไรได้บ้างเพื่อสร้าง สัมพันธ์กับเพื่อนบ้าน ชุมชนเป็นขุมทรัพย์ของชีวิต ๒. “ความแตกต่างไม่ได้แยกเราจากกันหรอก แต่ เป็นการตัดสินผู้คนของเรานั่นเองที่สร้างความ แตกแยก” เราจะบ่มเพาะอุปนิสัยนักเรียนรู้ แทนอุปนิสัย นักตัดสินได้อย่างไร เราเต็มใจที่จะสนใจอยากรู้เรื่อง ราวของคนอื่นที่แตกต่างจากเราเพียงใด ๓. เรามีบทบาทอะไรในการสร้างความเปลี่ยนแปลงใน สังคม เราพร้อมหรือไม่ที่จะแสดงความรับผิดชอบต่อ ชีวิต และสังคม ๔. โลกที่เร่งรีบท�ำให้เราสูญเสียศักยภาพในการ ครุ่นคิด มีสติรู้ตัว จินตนาการ และสัมพันธ์กัน เราจะ ฟื้นคืนศักยภาพความเป็นมนุษย์ได้ เราต้องช้าลง ให้ เวลาครุ่นคิดมากขึ้น ชะลอและหยุดพักเพื่อเฝ้าสังเกต หนทางแห่งการฝึกตน: ทักษะสำ�คัญของนักบูรณาการ
259
ผู้คน เรื่องราวต่าง ๆ เราเต็มใจหรือไม่ที่จะให้เวลากับ การครุ่นคิด ๕. ลองส�ำรวจใจดูว่า ประเด็นใด เรื่องอะไร และใคร บ้าง ที่กระทบใจท�ำให้เรากล้าที่จะลุกขึ้นมาท�ำอะไรสัก อย่าง ความกล้าไม่ได้หมายถึงสภาวะที่ปราศจากความ กลัว แต่หมายความว่า เราจะไม่ปล่อยให้ความกลัวมา หยุด หรือปิดปากเรา
ถอดบทเรียนชีวิตและการท�ำงาน After Action Review (AAR) คือ “การเรียนรู้ระหว่างทํา งาน” เป็นขั้นตอนหนึ่งในการทบทวนวิธีการทํางาน ทั้งด้านความ สําเร็จและปัญหาที่เกิดขึ้น ทั้งนี้ไม่ใช่เพื่อค้นหาคนที่ทําผิดพลาด ไม่ใช่การกล่าวโทษใครทั้งสิ้นแต่เป็นการ ทบทวนเพื่อแลกเปลี่ยน ประสบการณ์การทํางาน เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น ค�ำถามหลัก ๆ เพื่อถอดความรู้ในการท�ำงานมี ๓ ประเด็น ส�ำคัญ ๆ คือ • เกิดอะไรขึ้น • แนวโน้มสถานการณ์จะเป็นอย่างไรต่อไป • สถานการณ์ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต และเราจะใช้ ศักยภาพสูงสุดที่มีเพื่อรับมือกับสถานการณ์ข้างหน้าอย่างไร หลังจากการท�ำการงานใด ๆ ก็ตาม เราน่าจะหาโอกาสถอด บทเรียนจากการท�ำงานนั้น ๆ ไม่เพียงถอดบทเรียนความรู้ด้วยตัว เองล�ำพัง แต่ชวนทีมงาน องค์กรชุมชนร่วมกันถอดบทเรียนด้วย 260
เมล็ดพันธุ์ชีวิตบูรณาการ
แบบฝึกหัด ถอดบทเรียนชีวิต ในแต่ละวันหากเราสามารถฝึกให้ตัวเองนิ่งสักพัก เพื่อ ทบทวน ครุ่นคิด ถึงสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นกับตัวเราหรือ กิจการงานที่ท�ำ โดยอาจถามตัวเองว่า วันนี้ท�ำอะไร ท�ำกับใคร เกิดอะไรขึ้น ผลเป็นอย่างไร ประสบการณ์ในวันนี้สอนอะไรเรา หรือ เราได้บทเรียน อะไรจากประสบการณ์นี้บ้าง และวันข้างหน้า เราจะท�ำ หรือไม่ท�ำอะไร (อันเป็นผลจากการเรียนรู้ในวันนี้)
บันทึกการเรียนรู้ การบันทึกถือเป็นหนึง่ ทักษะของหัวใจนักปราชญ์ (สุ จิ ปุ ลิ คือ ฟัง ครุ่นคิด ค�ำถามและบันทึก) โดยปรกติเราบันทึกควารู้ ข้อมูลที่ ได้รบั จากวิทยากร แต่อกี สิง่ หนึง่ ทีเ่ ราน่าจะลองมาบันทึกกันบ้าง คือ การถอดบทเรียนของตัวเองทั้งในเรื่องงาน และชีวิต การเขียนบันทึกเปิดโอกาสให้เราหยุด สงบจากกิจกรรมต่าง ๆ เพือ่ ครุน่ คิด ทบทวนประสบการณ์ ความรูท้ ไี่ ด้รบั แล้วท�ำให้เรือ่ งราว ต่าง ๆ ตกผลึกในใจ สกัดกรองเอาความรู้ ความเห็น แล้วเขียนบันทึก ลงไป เป็นการย�้ำความเข้าใจของเราในเรื่องราวนั้น ๆให้แน่นขึ้น นอกจากนั้นแล้ว ในเวลาที่เราย้อนกลับมาอ่านสิ่งที่เราบันทึก ไว้ เราอาจจะได้เห็น หรือเรียนรู้บางอย่างเพิ่มขึ้นอีกด้วย ทักษะการเล่าเรื่อง โรเจอร์ ซี แชงค์ (Roger C. Schank) นักวิทยาศาสตร์ด้าน
หนทางแห่งการฝึกตน: ทักษะสำ�คัญของนักบูรณาการ
261
การรู้กล่าวว่า “มนุษย์ไม่ได้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้เข้าใจเหตุผล แต่ เพื่อให้เข้าใจเรื่องราว” การเล่าเรื่องเป็นวิธีการสื่อสารที่ดีที่สุดวิธีหนึ่งที่จะท�ำให้ผู้อื่น เข้าใจ ยิ่งเรื่องซับซ้อนยุ่งยากเท่าไร เรายิ่งต้องใช้เรื่องเล่าในการ อธิบาย เล่าให้บรรยากาศ เห็นภาพ เกิดจินตนาการ เกิดอารมณ์ ความรูส้ กึ ผูฟ้ งั ฟังแล้วหัวใจตืน้ ตัน ขนลุก สัมผัสเข้าไปในใจ นึกออก ติดตามได้ อย่างที่อีสปเล่านิทานเพื่อสอนศีลธรรม และแทรก เหตุการณ์ทางสังคม การเมืองเข้าไปในเนื้อเรื่องด้วย ในสังคมไทย โบราณ เราส่งต่อคุณค่าทางธรรม ผ่านเรื่องราวในชาดก เรือ่ งเล่าเป็นการส่งผ่านความรูเ้ ชิงปฏิบตั ใิ ห้กนั และกัน การเล่า เรือ่ งจึงเป็นปัจจัยส�ำคัญต่อการจัดการความรูใ้ นองค์กร ซึง่ จะน�ำไป ส่าการเป็นองค์กรเรียนรู้
แบบฝึกหัดเล่าเรื่อง เราทุกคนเหมือนหนังสือเล่มโต ที่มีหลายเรื่องเล่าอยู่ ภายใน ทุกคนมีเรื่องเล่าเกี่ยวกับชีวิต ในแต่ละช่วงวัยและ บทบาท เรื่องเล่าฐานะลูก พี่หรือน้อง ฐานะพ่อแม่ นักเรียน วัยรุ่น เรื่องเล่ายามป่วย เรื่องเล่าในการ ท�ำงาน ฯลฯ เรื่องเล่าต่าง ๆ เป็นความรู้ระดับฝังลึก ภายใน ซึ่งการได้น�ำมาเล่าเป็นการส่งผ่านความรู้ ข้อมูล และการเรียนรู้ให้กันได้ เด็ก ๆ หลายคนเรียนรู้คุณค่าในการด�ำเนินชีวิต ความ รักความสัมพันธ์ จากการฟังเรื่องเล่าชีวิตของพ่อแม่
262
เมล็ดพันธุ์ชีวิตบูรณาการ
การเล่าเรื่องของตัวเองในอดีต หรือตอนอื่น ๆ เป็นการย้อนทวนบทเรียนเก่า ๆ ในอดีตด้วย เราจะได้ เห็นความหมายอันลึกซึ้งเกี่ยวกับตัวเอง และมองหาเป้า หมายในการด�ำรงชีวิต การเล่าเรื่องในชีวิตประจ�ำวัน หรือเรื่องราวในช่วงใด ช่วงหนึ่งของชีวิต นอกจากเป็นการฝึกเล่าเรื่องแล้ว ยัง เป็นเรื่องการฝึกสะท้อนความคิด ครุ่นคิดใคร่ครวญ อีกด้วย ลองเล่าเรื่องราวชีวิตของตัวเอง จุดเปลี่ยนในชีวิต ความสุขในชีวิต การก้าวข้ามอุปสรรคปัญหา วินัยในการฝึกตน เคล็ดลับสู่ความส�ำเร็จที่เราตั้งใจจะท�ำและเป็น คือ ฝึกฝน ฝึกฝน และฝึกฝน นักกีฬา นักดนตรี ศิลปิน แม้จะเป็นระดับมือโปรแล้ว ก็ยัง ต้องฝึกฝนทักษะทุกวัน ทักษะเหมือนใบมีด ถ้าเราไม่หมั่นลับ ก็จะ ไม่คมและใช้การได้ไม่ดี นักบูรณาการที่ต้องประสานเชื่อมสัมพันธ์กับคนอื่น และเรื่อง ราวต่าง ๆ อยู่เสมอ ก็ต้องฝึกฝนตัวเองทุกวันเช่นกัน ฝึกทักษะต่าง ๆ ทีเ่ ราได้กล่าวไปแล้ว ฝึกจิตให้มคี ณ ุ ภาพ ฝึกครุน่ คิดอย่างแยบคาย ฝึกยกระดับการเรียนรู้ เป็นต้น การฝึกฝนตนเองต้องอาศัยแรงจูงใจ และวินัยในตัวเองอย่าง มาก เราต้องเอาชนะตัวเอง ฝึกฝืนความคุ้นชินที่ไม่สร้างสรรค์ และ หมั่นบ่มสร้างคุณลักษณะและคุณสมบัติที่ปรารถนา หนทางแห่งการฝึกตนไม่ใช่ เ ส้ น ทางที่ ร าบเรี ย บ ง่ า ยดาย
หนทางแห่งการฝึกตน: ทักษะสำ�คัญของนักบูรณาการ
263
อุปสรรคหลักอยูท่ ตี่ วั เราเอง หลายครัง้ พวกเราเป็นพวกวูบวาบ คือ เมือ่ มีสงิ่ เร้ากระตุน้ เข้ามา เราก็มงุ่ มัน่ ตัง้ ใจฝึกฝนตนเองอย่างยิง่ ยวด แต่เราไม่มีความมุ่งมั่นและวินัยในตัวเองพอ และไม่รู้จักหล่อเลี้ยง แรงบันดาลใจ ท�ำให้เมื่อเวลาผ่านไป เราก็เริ่มเบื่อ การฝึกฝนแผ่ว ลง จนล้มเลิกไปในที่สุด
วิถกี ารฝึกตนเป็นเสมือนขึน้ บันได คือ เราค่อย ๆ พัฒนาฝึกฝน ตนเองขึ้นไปทีละขั้น เมื่อเราขึ้นอยู่ขั้นที่หนึ่ง เราจะรู้สึกเหมือนเรา ไม่พัฒนา ทุกอย่างเริ่มคงที่เหมือนเดิม ไม่ก้าวไปไหน แต่ถ้าหาก เรายังคงฝึกฝน อบรมตนเองต่อไปอย่างมีวินัย เราก็จะถึงจุดหนึ่ง 264
เมล็ดพันธุ์ชีวิตบูรณาการ
ที่ความสามารถ และความเข้าใจจะเขยิบขึ้นอีกขั้น เราจะก้าวขึ้น บันไดขั้นที่สอง อย่างนี้ไปเรื่อย ๆ หากเราไม่หยุด ไม่หน่าย ท้อแท้ เราก็จะพัฒนาขึ้นไปเรื่อย ๆ อย่างมั่นคง ไม่ตกวูบวาบเหมือนคน ประเภทแรก j
“หากเราละเลยวินัยในการท�ำซ�้ำ การฝึกฝนของเราก็จะยากล�ำบาก”
พระอาจารย์เซน ชุนเรียว ซูซูกิ หนังสือ Zen Mind, Beginner’s Mind
หนทางแห่งการฝึกตน: ทักษะสำ�คัญของนักบูรณาการ
265
เสียงสะท้อน จากสนามปฏิบัติงาน บูรณาการ “ความรู้เหมือนหีบสมบัติ ส่วนการฝึกปฏิบัติคือกุญแจ ที่จะไขเปิดหีบสมบัตินั้น”
บทเรียน จากสนามทดลอง บูรณาการ โดย สุภาพ สิริบรรสพ
บทเรียนจากสนามทดลองบูรณาการ
269
สนามชีวติ คือพืน้ ทีพ ่ สิ จู น์ความรู้ ความเข้าใจของ เราในเรื่องบูรณาการ โครงการบูรณาการภาค เหนือตอนบนจึงออกแบบเส้นทางคูข่ นาน ทางเส้น หนึง่ คือการอบรมท�ำความเข้าใจความรูเ้ ชิงทฤษฎี เรื่องบูรณาการ โดยอาจารย์ ชัยวัฒน์ ถิระพันธุ์ ส่วนทางอีกเส้นคือการทดลองน�ำความรูท้ ไี่ ด้จาก การอบรมไปปรับประยุกต์และท�ำงานบูรณาการ ในพื้นที่จริง โดยคณะท�ำงานบูรณาการในแต่ละ จังหวัดของภาคเหนือตอนบน ทั้งสองส่วนนี้เริ่มต้น และจูงมือเดินทางไปพร้อม ๆ กัน โดย ทุกคนที่ร่วมเดินทางบนเส้นทางนี้เป็นเสมือนหุ้นส่วนเรียนรู้และ ท�ำงานบูรณาการไปด้วยกัน ผู้ร่วมเดินทางมีทั้งคณะกรรมการของ ส�ำนัก ๕ จาก สสส. ผู้ประสานงานโครงการของ สสส. ทีมอบรม ของอาจารย์ชัยวัฒน์ ผู้ประสานงานโครงการระดับภาค และผู้ที่ สนใจและอาสาเป็นคณะท�ำงานบูรณาการจังหวัด 270
เมล็ดพันธุ์ชีวิตบูรณาการ
ในช่วงปีแรกของโครงการ เราได้ผู้ประสานงานและคณะท�ำ งานบูรณาการของแต่ละจังหวัด เราได้จัดการประชุมบูรณาการ หลายครั้งในแต่ละจังหวัดและมีบ้างบางครั้งที่มีการประชุมระดับ ภาค และท้ายที่สุด แต่ละจังหวัดก็ได้น�ำเสนอโครงการบูรณาการ ที่ตนสนใจและอยากจะร่วมกันท�ำในพื้นที่ กิจกรรมทั้งหมดเหล่านี้ท�ำให้เราเรียนรู้เรื่องการบูรณาการใน ความเป็นจริงว่า ความรู้ทฤษฎี กระบวนการ เทคนิคต่าง ๆ อะไรที่ ได้ผล อะไรที่ยังติดขัดอยู่ และอะไรเป็นเหตุของสิ่งนั้น ในบทนี้ เราอยากจะขอบอกเล่าบางเสีย้ วส่วนของประสบการณ์ จากผูป้ ระสานงานระดับภาค คือ คุณสุภาพ สิรบิ รรสพ ทีม่ สี ว่ นร่วม กับโครงการตั้งแต่เริ่มออกหา “นักบูรณาการ” ในพื้นที่ จนถึงการ ตั้งกลุ่มท�ำงานเสนอโครงการบูรณาการเพื่อปฏิบัติจริงในพื้นที่ของ แต่ละจังหวัด เริ่มต้นที่ “คน” คุณสุภาพ สิริบรรสพ เป็นคนเหนือแต่ก�ำเนิด เธอเกิด เติบโต และท�ำงานในภูมิล�ำเนามาตลอด เธอรับราชาการ ท�ำงานกับภาค ประชาสังคม ท�ำงานประเมินเพื่อพัฒนาโครงการให้กับ สสส. และ โครงการปิดทองหลังพระ ด้วยคุณสมบัตเิ บือ้ งต้นเหล่านี้ เธอจึงเป็น ผู้ที่เหมาะสมที่จะช่วยชวนเชิญคนในหลายภาคส่วน ทั้งนักพัฒนา สังคม ราชการ ประชาสังคม ฯลฯ ให้มาเข้าร่วมโครงการบูรณาการ นอกจากนั้ น การติ ด ตามประเมิ น ผลเพื่ อ พั ฒ นาโครงการ ต่าง ๆ ที่ได้รับการสนับสนุนจาก สสส. ท�ำให้เธอเห็นปัญหาการ ท�ำงานในพื้นที่ที่ขาดเอกภาพ เธอสะท้อนสิ่งที่เห็นว่า “พื้นที่ต่าง ๆ ท�ำงานซ�้ำซ้อนกันอยู่มาก บางหมู่บ้านได้รับงบจากหลายแหล่งทุน เพือ่ ท�ำงานในประเด็นเดียว ซึง่ มีแนวโน้มว่าจะเกิดการคอร์รปั ชัน่ ได้ บทเรียนจากสนามทดลองบูรณาการ
271
นอกจากนั้น งบประมาณ โครงการยังท�ำให้ชุมชนแตกแยก เพราะ คนในชุมชนแย่งงบ และโครงการกัน หากหมูบ่ า้ นใดได้งบจากหลาย แหล่งทุนไปท�ำเรือ่ งเดิม ๆ ชุมชนอืน่ ทีต่ อ้ งการการสนับสนุนบ้าง แต่ ไม่เคยได้รับก็รู้สึกไม่ดี น�ำไปสู่ความร้าวฉาน” จากปัญหาต่าง ๆ ที่เธอพบเห็น และอุดมการณ์เพื่อสังคม ที่มีอยู่ในใจ ท�ำให้คุณสุภาพตอบรับเป็นผู้ประสานงานโครงการ บูรณาการภาคเหนือตอนบนในทันที “อยากให้เราบูรณาการกัน ได้สักที ลดความซ�้ำซ้อนของงานในพื้นที่ และเสริมสร้างศักยภาพ ชุมชนให้ชุมชนจัดการตนเองได้” เธอพูดถึงความตั้งใจของเธอ หนึ่งเดือนเพื่อตามหา “คนที่ใช่” โจทย์แรกทีค่ ณ ุ สุภาพได้รบั ในการท�ำหน้าทีผ่ ปู้ ระสานงานกลาง คือ หาผู้จะมาท�ำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานจังหวัด และคณะท�ำงาน บูรณาการของจังหวัด ทั้ง ๘ จังหวัดในภาคเหนือตอนบน งานนี้ยากอยู่ไม่น้อย เพราะเธอมีเวลาประมาณ ๑ เดือน เธอ จึงเริ่มจากทุนทางสังคมที่มี ด้วยการท�ำงานกับพื้นที่ และแวดวงที่หลากหลาย คุณสุภาพ รู้จักนักพัฒนาที่มุ่งมั่นหลายคน ทั้งผู้ที่ท�ำงานกับ สสส. พอช. สช. และกลุ่มประชาสังคมที่เธอคุ้นเคยเมื่อครั้งท�ำงานกับกองทุนเพื่อ การลงทุนทางสังคม หรือ SIF (Social Investment Fund) “เรานึกถึงคนทีม่ ใี จเพือ่ สังคม มีฝมี อื และความรู้ มุง่ มัน่ เสียสละ เป็นต้นแบบของนักพัฒนา” เธอกล่าว คนกลุ่มแรกที่เธอนึกถึงคือคนที่เธอเรียกว่า “พี่ใหญ่” หรือผู้ที่ เป็นที่รู้จักโดยมากในภาคเหนือ บุคคลเหล่านี้จะเป็นสะพานเชื่อม เธอให้ต่อกับนักพัฒนาอื่น ๆ อีกที่เธออาจจะยังไม่รู้จัก เธอเริ่ ม โทรศั พ ท์ เชิ ญ ชวนบุ ค คลต่ า ง ๆ ที ล ะคน ชี้ แจง 272
เมล็ดพันธุ์ชีวิตบูรณาการ
เรื่องราว เป้าหมาย ความเป็นมาของโครงการ นอกจากนั้น คุณ สุภาพยังให้ความส�ำคัญกับการพูดคุยแบบเห็นหน้าเห็นตากันด้วย ท�ำให้เธอต้องเดินทางไปพบปะผู้คนในหลายจังหวัดในระยะเวลา เพียง ๑ เดือนนั้นเอง เธออธิบายว่า “เราอยากคุยอะไรกันลึก ๆ เราอยากรู้จักและ สัมพันธ์กับเขาในเบื้องต้นก่อน เห็นตัวจริง เสียงจริง รู้จักกันจริง ๆ และเผื่อว่าเขามีอะไรข้องใจ และอยากรู้เพิ่มเติม จะได้คยุ กัน บางที การคุยทางโทรศัพท์ก็ไม่ท�ำให้เราสื่อสารกันได้ลึกซึ้งเท่าไร” เธอบอกว่า การพูดคุยแบบเห็นหน้ากันได้ผลมากกว่าการคุย ทางโทรศัพท์ บางคนที่ยังลังเลอยู่ เมื่อได้พบและคุยกันแบบเห็น หน้าเห็นตา ก็เข้าใจและตกลงมาร่วมท�ำงานกัน นอกจากนั้น เธอยังมี “ทางลัด” ในการเข้าถึง “คนที่ใช่” หลาย ๆ คนในเวลาเดียวกัน นั่นคือ เวทีเสวนาระดับภาค ที่นัก พัฒนาหลายคนจะไปร่วมงานกัน ที่นั่น เธอได้โอกาสท�ำความรู้จัก กันกับหลายคนที่เธอไม่คุ้นมาก่อน รอยร้าวในพื้นที่ ระหว่างการเดินทางเชิญชวนผูค้ นมาร่วมงานบูรณาการ เธอได้ มีโอกาสรับฟังปัญหาหลายเรือ่ งในพืน้ ที่ โดยหลักคือปัญหากับแหล่ง ทุน และปัญหากับคนท�ำงานในพื้นที่เดียวกัน ผูท้ เี่ ธอไปชวนมาร่วมงานสะท้อนให้เธอฟังถึงปัญหาการท�ำงาน กับแหล่งทุน อาทิ เรือ่ งไม่ถนัดเขียนเอกสารเสนอโครงการ มีรายงาน ต้องท�ำส่งแหล่งทุนมากเกินไป ท�ำให้ไม่ได้ท�ำงานในพื้นที่ และเป้า หมายของแหล่งทุนไม่ตอบสนองความต้องการของชุมชน ฯลฯ นี่ยังนับว่าเป็นปัญหารอง ที่ยังพอต่อรองกันได้ แต่ปัญหาหลัก ในพืน้ ทีต่ า่ ง ๆ ทีเ่ ธอพบ คือ รอยร้าวในใจของคนท�ำงานพัฒนาสังคม คนแบ่งเป็นกลุ่ม ไม่คุยกัน ไม่ท�ำงานร่วมกัน บทเรียนจากสนามทดลองบูรณาการ
273
“เราไม่รู้เรื่องนี้มาก่อน พอเราไปคุยกับกลุ่มหนึ่ง อีกฝ่ายก็โทร มาคุยกับเราว่า หากเราท�ำงานกับกลุ่มนั้น จะยิ่งตอกย�้ำรอยร้าวใน พืน้ ที่ เพราะท�ำงานกับคนกลุม่ เดียว และทัง้ สองกลุม่ ไม่ถกู กัน” เธอ เล่าถึงเหตุการณ์วนั หนึง่ ทีเ่ ธอออกไปพบปะและชวนคนมาร่วมงาน งบประมาณ และโครงการต่าง ๆ จากแหล่งทุนที่ผ่าน ๆ มา เป็นเหตุส�ำคัญที่ท�ำให้คนท�ำงานแตกคอกัน เรื่ อ งนี้ ท� ำ ให้ คุ ณ สุ ภ าพคิ ด ในมุ ม กลั บ ว่ า “บางที โ ครงการ บูรณาการครั้งนี้อาจจะช่วยเชื่อมรอยร้าวในอดีตชของคนท�ำงาน ได้ เพราะพวกเขามาท�ำงานร่วมกัน ท�ำโครงการและใช้งบร่วมกัน” คุณสุภาพจึงเชิญคู่ขัดแย้งในพื้นที่ต่าง ๆ มาร่วมโครงการด้วย กันเสมอ แม้จะไม่ได้ร่วมงานกัน อย่างน้อยก็มาร่วมเรียนรู้กันใน เวทีเรียนรู้ “งานเวทีอบรมบูรณาการ อาจเป็นสะพานเชื่อมใจให้ คนทีม่ อี ดีตร้าวฉานกันได้” เธอกล่าว และเสริมด้วยว่า ในการอบรม เธอมักจัดให้ผู้ที่ขัดแย้งกันได้อยู่ร่วมห้องกันด้วย “เผื่อว่าจะได้เห็น และรู้จักกันในมุมอื่น ๆ บ้าง ได้หันมาพูดกันบ้าง” เธอกล่าว ส�ำคัญที่นักประสาน ผู้ที่คุณสุภาพทาบทามมาร่วมโครงการบูรณาการภาคเหนือ ตอนบน เป็นผู้ที่จะท�ำหน้าที่ประสานงานในจังหวัด เชิญชวนคน ให้เข้ามาเป็นคณะท�ำงานบูรณาการจังหวัดด้วยกัน ผู้ประสานงาน ในจังหวัดต่าง ๆ จะมาเข้าร่วมรับการอบรมเรียนรู้การบูรณาการ และฝึกฝนทักษะการสนทนาและประชุมที่สร้างสรรค์ เพื่อน�ำกลับ ไปท�ำงานเชื่อมต่อคนในพื้นที่ นั่นคือความคาดหวัง ... ความจริงที่เกิดขึ้นก็คือ ผู้ประสาน งานในหลายจังหวัดท�ำงานด้านธุรการและการจัดการมากเกินไป คือ เขียนและส่งจดหมายเชิญ ท�ำเอกสารและดูแลการลงทะเบียน 274
เมล็ดพันธุ์ชีวิตบูรณาการ
คนมาร่วมประชุม และบางคนท�ำตัวเหมือนเป็นหัวหน้าหรือผู้คุม โครงการในพื้นที่ นี่แสดงว่า ผู้ประสานงานยังไม่เข้าใจหน้าที่และบทบาทของ ตนเอง บทบาทของนั ก ประสาน คื อ เชื่ อ มคน วางยุ ท ธสาสตร์ บูรณาการในพื้นที่ได้ ผู้ประสานงานจะออกจดหมาย ดูแลเอกสาร และการประชุมก็ได้ แต่ต้องตระหนักว่า สิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นเราจะ ท�ำอะไร และอย่างไร เพื่อเชื่อมคนให้เข้าหากัน หลอมรวมคนเป็น ทีมเดียวกัน ผู้ประสานงานไม่อาจท�ำหน้าที่เป็น ”หัวหน้า” หรือ “เจ้าของ โครงการ” ได้ เพราะเมื่อใดที่ผู้ประสานงานแสดงตัวเป็นเจ้าของ โครงการและงาน คนอื่น ๆ ที่อยากมาร่วมก็จะถอยออกไป เพราะ รู้สึกว่ามีส่วนร่วมน้อย และมีผู้ที่เป็นเจ้าของโครงการแล้ว ผู้ประสานงานต้องเชื่อมคนให้มาร่วมท�ำงานเป็นเจ้าของงาน ด้วยกัน สร้างความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในทีม และสร้าง ความรู้สึกมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของงานด้วยกันทั้งหมด ผู้ประสานงานที่เปิดใจเรียนรู้ และพอจะเข้าใจเป้าหมายของ การบูรณาการ มักจะชวนคนจากต่างเครือข่ายมาร่วมประชุม อาทิ คนในภาคราชการ เอกชน องค์กรพัฒนาสังคม โรงเรียน วัด ฯลฯ ท�ำให้วงประชุมบูรณาการรุ่มรวยด้วยความเห็น และประสบการณ์ ที่แตกต่างหลากหลาย ทว่าผู้ประสานงานบางคนอาจจะจ�ำกัดเชิญคนเฉพาะที่ตัว เองรู้จัก และอยู่ในเครือข่ายของตัวเองมาประชุม ในลักษณะนี้ วงประชุมก็จะคุยกันแบบเดิม ๆ ผูป้ ระสานงานเป็นบุคคลทีส่ ำ� คัญมาก งานบูรณาการจะส�ำเร็จ หรือไม่กข็ นึ้ อยูก่ บั ผูป้ ระสานงานว่าจะเข้าใจงาน หน้าที่ และบทบาท บทเรียนจากสนามทดลองบูรณาการ
275
ของตนหรือไม่ และคุณสมบัตขิ องผูป้ ระสานงานก็มสี ว่ นอย่างมากที่ จะท�ำให้งานประสานโต หรือตาย ผูท้ จี่ ะเชือ่ มใจคนอืน่ ๆ ได้ ต้องมีบคุ ลิกนักประสาน มีวฒ ุ ภิ าวะ ทางอารมณ์ เป็นที่นับถือเคารพของผู้คน หลากสีสันในเวทีประชุมประจ�ำจังหวัด นอกจากจะเข้าเวทีอบรมพัฒนาศักยภาพนักบูรณาการทั้ง ๘ ครัง้ ใน ๑ ปีแล้ว คุณสุภาพยังรับผิดชอบดูแลคณะท�ำงานบูรณาการ ในแต่ละจังหวัดด้วย หนึ่งในงานส�ำคัญ คือ เข้าร่วมและสนับสนุน เวทีประชุมบูรณาการของจังหวัดต่าง ๆ ทุก ๆ เดือน การประชุมจัดเป็นพื้นที่บูรณาการอย่างหนึ่ง เพราะในการ ประชุม ผูค้ นจะได้สนทนา แลกเปลีย่ นความรูส้ กึ ความคิดเห็น และ รู้จักกัน เชื่อมสายสัมพันธ์กันมากขึ้น หากการประชุมเชื่อมร้อยใจ คน ความคิด อุดมการณ์ เป้าหมายให้เป็นหนึ่งเดียวกันได้ ก็จะเกิด ผล คือ เนื้องานที่สร้างสรรค์ เกิดปัญญาร่วมของกลุ่ม และเติบโต เป็นต้นทุนทางสังคมที่เหนียวแน่น ทุกจังหวัดในโครงการบูรณาการภาคเหนือตอนบน จึงใช้ เวทีการประชุมเป็นพื้นที่หลอมรวมคน แต่ละจังหวัดจัดประชุม บู ร ณาการทุ ก เดื อ น และงานประชุ ม ในแต่ ล ะจั ง หวั ด มี สี สั น บรรยากาศที่น่าสนใจต่าง ๆ กัน ดังนี้ อิ่มใจกับการสนทนาบนโต๊ะกินข้าว จั ง หวั ด หนึ่ ง เริ่ ม ต้ น การสนทนาและประชุ ม เชิ ง บู ร ณาการ ในมื้ อ เย็ น วั น หนึ่ ง ผู ้ ค นมานั่ ง ทานอาหารเย็ น ด้ ว ยกั น ถามไถ่ สารทุกข์สุขดิบ แลกเปลี่ยนข้อมูลความเป็นไปในชีวิต ได้พบเพื่อน เก่าและรู้จักเพื่อนใหม่ 276
เมล็ดพันธุ์ชีวิตบูรณาการ
บรรยากาศการสนทนาคราวนั้นออกรสชาติ จนท�ำให้หลาย คนเอ่ยว่า “เราน่าจะมีหัวหน้าคณะ และผู้ประสานงาน และอยาก มาพูดคุยกันอีก” การสนทนาระหว่างมื้อเย็นในวันนั้น ได้ตัวผู้จะมารับหน้าที่ เป็นหัวหน้าคณะท�ำงานบูรณาการ และผู้ประสานงานอีก ๓ คน ที่ จะท�ำหน้าที่เชื้อเชิญคนอื่น ๆ ที่มีใจพัฒนาสังคม และมีศักยภาพให้ เข้ามาร่วมวง และได้ตกลงกันว่า จะประชุมกันทุกเดือน โดยให้ทุก คนที่มาร่วมประชุมได้แลกเปลี่ยนข้อมูลกันว่า ใครท�ำอะไรกันบ้าง บรรยากาศการประชุมแบบไม่เป็นทางการอย่าง “กินไป คุย ไป” ช่วยกระชับความสัมพันธ์ และมิตรภาพระหว่างผู้คน ซึ่งเป็น รากฐานที่ดีในการท�ำงานร่วมกันต่อไป บรรยากาศการสนทนาที่คึกคัก มีพลังแบบนี้ไม่เกิดขึ้นบ่อย เพราะมักถูกแทนที่ด้วยรูปแบบการประชุมอย่างเป็นทางการ หมดพลังกับความเป็นทางการ การประชุมอย่างเป็นทางการไม่ได้หมายถึง องค์ประกอบของ ห้องประชุมที่ใหญ่โต โต๊ะรูปตัวยู หรือเสื้อสูทที่ผู้เข้าประชุมสวมใส่ ความเป็นทางการของการประชุมอยู่ในบรรยากาศ ความสัมพันธ์ แบบแผนพฤติกรรมที่เราท�ำร่วมกัน หลายวงประชุมที่มีข้าราชการ หรือคุ้นเคยกับวิธีของราชการ จะน� ำ กระบวนการประชุ ม ตามราชการมาใช้ ท� ำ ให้ ว งประชุ ม บูรณาการหมดพลัง การประชุมอย่างนี้มักเริ่มจากการอ่านบันทึกการประชุมจาก กระดาษ หรือไม่ก็พูดบอกเล่าวัตถุประสงค์ของการประชุมอย่าง การอ่านรายงาน ซึ่งเมื่อฟังไปเรื่อย ๆ ทั้งคนอ่าน คนฟังก็ล้าเหนื่อย พอถึงวาระที่จะพูดคุยงานกันจริง ๆ ทุกคนก็หมดพลัง รู้สึกเบื่อที่ บทเรียนจากสนามทดลองบูรณาการ
277
จะคิด หรือคุย และเมื่อจะพูด ก็ค่อนข้างแข็ง ๆ เป็นทางการตาม บรรยากาศที่สร้างไว้แต่ต้น เอาแต่งาน ไม่สานสัมพันธ์ หลายครั้งในการรวมตัวประชุมกันครั้งแรก ๆ (ไม่กี่ครั้ง) การ พูดคุยยังเป็นลักษณะกันเอง อย่างฉันท์มิตร คุยเรื่องงานและชีวิต แต่พอเริ่มเป็นการเป็นงานเข้าจริง ๆ สิ่งที่เหลือในวงสนทนาเป็น เรื่อง งาน งาน และงาน ในการอบรมพัฒนาศักยภาพ วิทยากรเน้นให้เห็นว่า บูรณาการ เป็นงานความสัมพันธ์ ทีต่ อ้ งเริม่ ทีค่ น เชือ่ มใจคนให้ได้ เพราะเมือ่ คน เชื่อมกันได้แล้ว งานและเรื่องอื่น ๆ ก็จะตามมาเอง แต่ในเวทีประชุมบูรณาการในหลายจังหวัด หลายคนลืมเรื่อง นี้ไป แต่ละคนพูดถึงงานของตัว เพื่อให้เห็นว่าใครท�ำอะไร จะเชื่อม งานกันได้อย่างไรบ้าง การสนทนาที่เน้นงาน ผลงาน เป้าหมาย (IT) เป็นหลัก ท�ำให้วงประชุมขาด “ความเป็นเรา” ไม่ได้คุยเรื่องเป้า หมายร่วมว่า ทีมเห็นอย่างไร และอยากท�ำอะไร เมื่ อ ไม่ มี “เรา” ก็ ท� ำ ให้ ต ่ า งคนต่ า งท� ำ งานเหมื อ นเดิ ม บูรณาการก็เกิดขึ้นไม่ได้ คุณสุภาพสะท้อนว่า “ไม่มีการประชุมที่ จังหวัดไหนสร้าง “ความเป็นเรา” ที่เข้มแข็งได้เลย” หลายจังหวัดพยายามท�ำท�ำเนียบนักพัฒนา และคนท�ำงาน ด้านต่าง ๆ ในจังหวัด เพื่อเป็นฐานข้อมูลในการเชื่อมต่องานกัน แต่ หลายจังหวัดท�ำงานนี้ไม่ส�ำเร็จ เพราะไม่มีใครรับไปท�ำ ที่เป็นอย่าง นีเ้ พราะไม่มี “ความเป็นเรา” ทีจ่ ะช่วยกันท�ำงานทีค่ ดิ ไว้ให้เป็นจริง อีกประการที่ส�ำคัญ คือ การมีรายชื่อคนท�ำงานเพื่อสังคม ไม่ได้หมายความว่าเราจะบูรณาการกับพวกเขาได้ ทุกอย่างขึ้นอยู่ 278
เมล็ดพันธุ์ชีวิตบูรณาการ
กับว่า เราสามารถเชื่อมใจ และเชื่อมงานกับเขา สร้างความเป็นเรา ร่วมกันได้หรือเปล่า ผู้ด�ำเนินการประชุม และกระบวนการที่ “ใช่” ในเวทีอบรมพัฒนาศักยภาพ อาจารย์ชัยวัฒน์ได้น�ำเสนอ กระบวนการประชุมที่สร้างสรรค์ และให้ผู้เข้าอบรมได้ฝึกการ สนทนาด้วย โดยใช้กระบวนการสนทนาแบบเช็คอิน และเช็คเอ้าท์ ให้ทุกคนผลัดกันพูด รับฟังอย่างตั้งใจ รู้จักสะท้อนความรู้สึก ความ เห็น และยังมีเรื่องของความศักดิ์สิทธิ์ในวงประชุมอีกด้วย บางคณะท�ำงานจังหวัดน�ำเอากระบวนการต่าง ๆ ไปใช้ บ้าง ก็ได้ผล บ้างก็ไม่ได้ผล เหตุหลักที่ไม่ได้ผลก็คือผู้น�ำกระบวนการ สนทนายึดกับวิธีการมากเกินไป ขาดความยืดหยุ่น ท�ำให้คนที่ไม่ คุ้นเคยกับกระบวนการสนทนาอยู่แล้ว รู้สึกไม่สะดวกใจ เคอะเขิน หรือไม่ก็แย้งอยู่ในใจ เมื่อเป็นอย่างนี้ การสนทนาก็ไม่ไหลลื่น คนก็ ไม่ค่อยฟังกันพูด คุยออกนอกเรื่องเสมอ ๆ กระบวนการทีด่ จี ะเกิดผลดีได้กต็ อ่ เมือ่ ใช้ให้ถกู จังหวะ และถูก บุคคลด้วย ทั้งผู้ที่ใช้กระบวนการและผู้ที่จะร่วมในกระบวนการ ถ้า ผู้น�ำกระบวนการไม่เข้าใจในสิ่งที่ท�ำ ไม่คล่องหรือไม่ยืดหยุ่นพอ ก็ จะท�ำเสียกระบวนการ หากเราจะใช้กระบวนการสนทนาที่วงประชุมไม่คุ้นเคยแล้ว เราต้องท�ำให้คนอื่นเข้าใจ เห็นคุณค่าความหมายของกระบวนการ อย่างนี้ก่อน และอาจจะค่อยเป็นค่อยไป คือ ท�ำให้คนคุ้นเคยไป ทีละเล็กน้อย ความศักดิส์ ทิ ธิข์ องวงประชุมไม่เกิด เพราะผูร้ ว่ มประชุมมาสาย บ้างครั้งก็เป็นผู้ประสานงานจังหวัดเองที่มาสาย เมื่อคนทะยอยกัน บทเรียนจากสนามทดลองบูรณาการ
279
เข้ามาในวงประชุมที่ได้เริ่มด�ำเนินการไปแล้วสักระยะ ก็ท�ำให้คน อืน่ ๆ ทีป่ ระชุมกันอยูส่ ะดุด เสียสมาธิ นอกจากนัน้ ยังมีการตัง้ กลุม่ คุยกันเอง ไม่ค่อยฟังกันสักเท่าไร การประชุมทีค่ อ่ นข้างลืน่ ไหลและรวมใจคนได้มอี ยูไ่ ม่กแี่ ห่ง ที่ สังเกตคือ ผูด้ ำ� เนินการประชุมเป็นทีน่ บั ถือและยอมรับของคนทีม่ า ร่วมประชุม นอกจากนัน้ ยังเป็นผูท้ มี่ คี วามเข้าใจและใช้กระบวนการ สนทนาได้เป็นอย่างดี และผู้ที่มาเข้าวงประชุมก็พอจะคุ้นเคย กับกระบวนการสนทนาอยู่บ้าง ท�ำให้การสนทนาของทีมราบรื่น สามารถสร้างวิสัยทัศน์ร่วมได้ นอกจากนัน้ การสนทนาทีส่ ร้างสานความสัมพันธ์ ท�ำให้ความ รูส้ กึ เป็นเราในกลุม่ เล็ก ๆ พัฒนาขึน้ ด้วย อย่างกลุม่ คนทีท่ ำ� งานด้าน อาหารปลอดภัยก็หันหน้ามาร่วมมือคิดงานร่วมกัน คุณสุภาพสะท้อนบทเรียนเพิ่มเติมว่า การที่ผู้ด� ำเนินการ ประชุม และผู้ประสานงานเข้าใจงาน กระจ่างชัดในเป้าหมายของ การประชุม ท�ำให้คุมประเด็นการสนทนาได้ ไม่ให้ออกนอกทาง ไปมากนัก และที่ส�ำคัญคงเป็นที่ความรับผิดชอบของผู้ด�ำเนินการ ประชุมและผูป้ ระสานงานด้วยทีม่ าเตรียมการประชุมก่อนล่วงหน้า เสมอ และกลับทีหลัง นอกจากจะท�ำให้การประชุมมีความพร้อม แล้ว ยังท�ำให้คนที่มาร่วมประชุมเห็นในความตั้งใจ และนับถือ เกรงใจผู้จัดการประชุมอีกด้วย วิวาทะในวงประชุม ในจังหวัดทีม่ เี บือ้ งหลังแตกแยกกันรุนแรง แม้มคี วามพยายาม มานั่งประชุมร่วมกัน แต่ถ้าไม่วางอดีตที่ร้าวฉานไว้นอกวงสนทนา การประชุมก็แตกกระเจิง 280
เมล็ดพันธุ์ชีวิตบูรณาการ
บางจังหวัดมีผู้ประสานงาน ๔ คนจาก ๔ ฝ่าย “เราต้องชวน ทุกฝ่ายมา ไม่เช่นนั้นจะเกิดปัญหาได้ ซึ่งคนต่างฝ่ายนี้ เขาก็มาร่วม ประชุมด้วยกัน แต่ไม่มองหน้ากัน ไม่ฟังกัน” คุณสุภาพเล่า นอกจากไม่ฟังกันแล้ว ต่างฝ่ายยังพูดแทรกขัดกัน พูดโทษกัน ไปมาจนเกิดเป็น “วงวิวาทะ” คู่กรณีหลายคนเริ่มจับคู่ต่อยกันทาง วาจา จนคุณสุภาพต้องเข้ามาเป็นกรรมการห้ามมวย ความแตกแยกในหลายจังหวัดมีเหตุมาจากงบประมาณ และ การท�ำงานในอดีต ที่บางคนได้โครงการ ได้งบประมาณ ในขณะ ที่อีกฝ่ายไม่ได้ เมื่อเป็นอย่างนี้ ก็เคืองใจกัน ไม่ร่วมงานกัน แม้จะ ท�ำงานในประเด็นเดียวกันก็ตาม บางครั้ง อาจารย์ชัยวัฒน์ลงไปช่วยน�ำการสนทนาในเวที ประชุมจังหวัด ด้วยหวังว่าอาจจะช่วยสมานรอยร้าวในอดีตได้ ... ก็ได้เพียงชั่วคราว เมื่อไม่มีคนกลาง ฝ่ายต่าง ๆ ก็ทะเลาะ วิพากษ์ วิจารณ์ ขัดแย้งกันเหมือนเดิม การบูรณาการจะท�ำได้ต้องสลายความรู้สึกในอดีตก่อน และ แหล่งทุนต้องระมัดระวัง รูถ้ งึ ผลกระทบทีต่ วั เองสร้างในพืน้ ทีช่ มุ ชน ที่ลงไป และต้องให้เวลา ความส�ำคัญกับกระบวนการเชื่อมรอยร้าว ต่าง ๆ ที่มีในแต่ละจังหวัดด้วย งานกับเงิน ละลายสายสัมพันธ์ ในบางจังหวัด การสนทนาในกลุม่ คนทีส่ นใจบูรณาการเป็นไป อย่างสนุกสนาน คึกคัก ผู้คนมาล้อมวงคุยกัน เล่าเรื่องราวชีวิต การ ท�ำงาน ความตั้งใจเป้าหมาย และความใฝ่ฝันไปเรื่อย ๆ ความเป็น มิตรความสัมพันธ์งอกงาม แต่เมื่อเริ่มเข้าสู่ช่วงการเขียนโครงการ มิตรสัมพันธ์ที่สร้างไว้ก็เริ่มสั่นคลอน บทเรียนจากสนามทดลองบูรณาการ
281
บางคนไม่พอใจที่ได้ร่วมคุยร่วมคิด และสร้างความเป็นเราใน ทีมมาหลายเดือน แต่เมื่อเริ่มเขียนโครงการ บางคนแอบเขียนและ คิดโครงการคนเดียวหรือกับคนไม่กี่คนในทีม และไม่ได้ให้คนอื่นมี ส่วนร่วมด้วย หรือไม่ก็เอาโครงการไปให้คนอื่นที่ไม่เคยเข้าร่วมใน ทีมบูรณาการเลย คณะท�ำงานในหลายจังหวัดแตกคอ และแตกตัวไปสร้างกลุ่ม ใหม่ บางคนหันหลังให้กับโครงการนี้ไปเลย “กับดัก” ความคิดเก่า แม้วา่ ในเวทีเรียนรูบ้ รู ณาการ อาจารย์ชยั วัฒน์จะพยายามเน้น เรื่องกระบวนทัศน์ใหม่ ที่เป็นกระบวนระบบที่มีชีวิต แต่นักท�ำงาน หลายคนยังคุ้นชินกับความคิด และการท�ำงานแบบเดิม ๆ ที่มอง สิ่งต่าง ๆ เป็นแท่ง ๆ เมื่อคิดโครงการบูรณาการออกมา เราจะเห็นการเชื่อมงานใน แบบจิ๊กซอว์ คือเอาเรื่องต่าง ๆ มาต่อกัน เอางานของแต่ละคนมา มัดรวมในโครงการเดียวกัน มีทั้งเรื่องสิ่งแวดล้อม อาหาร เยาวชน ประวิศาสตร์ ต่างคนต่างท�ำงานของตนไป ยังไม่เห็นภาพรวมของ การบูรณาการ และผลที่จะท�ำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ต่างไปจาก เดิมที่แต่ละคนท�ำอยู่แล้ว ชีวิตโครงการบูรณาการ บู ร ณาการเป็ น กระบวนการที่ มี ชี วิ ต มี ขึ้ น มี ล ง ความ เปลีย่ นแปลงเป็นเรือ่ งทีเ่ กิดขึน้ เป็นปรกติ หนึง่ ในความเปลีย่ นแปลง ที่ส�ำคัญ คือ ใบหน้าผู้เข้าร่วมเวทีอบรมในระดับภาค และผู้เข้า ประชุมในเวทีประจ�ำจังหวัด 282
เมล็ดพันธุ์ชีวิตบูรณาการ
แม้ว่าเราจะตั้งใจให้ผู้ประสานงานและคณะท�ำงานบูรณาการ เป็นคนทีเ่ ข้าอบรมทุกครัง้ ตามหลักสูตรทีอ่ อกแบบไว้ เพือ่ ให้ทกุ คน ได้เรียนรูเ้ นือ้ หา และกระบวนการอย่างครบถ้วน แต่กไ็ ม่เป็นไปตาม นัน้ ผูค้ นผลัดเปลีย่ นเวียนหน้าเข้ามาใหม่ทกุ ครัง้ มีบา้ งบางคนทีเ่ ข้า เวทีอบรมและการประชุมอย่างต่อเนื่องทุกครั้ง บางจังหวัด ไม่มีผู้ประสานงาน หรือคณะท�ำงานเข้าร่วมเวที เรียนรู้แม้แต่คนเดียว เหตุเพราะไม่เห็นความส�ำคัญของเวทีพัฒนา ศักยภาพ และกระบวนการพัฒนาโครงการอย่างมีส่วนร่วม บาง คนเปรยว่า “เคยเข้าร่วมเวทีแบบนี้มาบ่อยแล้ว” ผูป้ ระสานงานบางจังหวัดเข้าร่วมการอบรมเรียนรูอ้ ย่างพร้อม เพียงทั้งในเวทีระดับภาคและระดับจังหวัด เพราะมีความศรัทธา และเคารพในตัววิทยากรมาก บางจังหวัดก็เปลี่ยนหน้าใหม่ ๆ มาเรื่อย ๆ เหตุหลักเพราะ ผู ้ ป ระสานงานและคณะท� ำ งานบางคนไม่ ว ่ า ง ติ ด งาน มี ธุ ร ะ ท�ำให้ส่งคนอื่น ๆ มาร่วมเวที เปลี่ยนไปอย่างนี้เรื่อย ๆ ท�ำให้การ เรียนรูไ้ ม่ตอ่ เนือ่ ง แต่กม็ สี ว่ นดีดว้ ย ตรงทีว่ า่ บางครัง้ คนทีเ่ ข้ามาใหม่ เป็นผู้ที่มีใจ กระตือรือร้น และเรียนรู้เข้าใจได้เร็ว กลายเป็นก�ำลัง ส�ำคัญของโครงการไปเลยก็มี ส่งท้ายปีแรก เวทีอบรมโดยอาจารย์ชัยวัฒน์ ทั้ง ๘ ครั้งสิ้นสุดลง พร้อม กับโครงการบูรณาการภาคเหนือตอนบนในช่วงปีแรก ผลที่เกิด คือ โครงการบูรณาการจ�ำนวน ๑๒ โครงการใน ๗ จังหวัด ผู้คน เปลี่ยนแปลงทัศนคติที่มีต่อกันในทางที่ดีขึ้น เราได้บทเรียน และความรูม้ ากมายทัง้ จากการอบรม และการ บทเรียนจากสนามทดลองบูรณาการ
283
ลงมือทดลองปฏิบัติงานบูรณาการในแต่ละจังหวัด ที่ส� ำคัญ เรา เติบโตไปพร้อม ๆ กับงานบูรณาการ ความเชื่อเก่าที่เคยมีบางเรื่องสลายไป ที่เคยคิดว่านักพัฒนา บางคนจะเป็นผู้น�ำในการเชื่อมประสานคนในภาคเหนือกลับไม่ เป็นดังคาด ความหวังใหม่ที่เห็นกลับเป็นข้าราชการ และนักธุรกิจ ที่กระตือรือร้น ผู้คนที่เราเห็นว่า ไม่มีหวัง ไม่เรียนรู้ และไม่น่าจะเข้าใจงาน บูรณาการ เมื่อการอบรมผ่านไปจนเกือบสุดท้าย เรากลับเห็น พัฒนาการของเขา เขาเปลี่ยนแปลงตัวเอง ในเวลาสนทนาในกลุ่ม ย่อย เขาเปิดใจรับฟังคนอื่นมากขึ้น พูดได้ชัดเจน กระชับขึ้น มีท่าที ประนีประนอมกับสิ่งที่ไม่เห็นด้วยมากขึ้น นอกจากความรูส้ กึ และการเปลีย่ นแปลงในระดับปัจเจกของผู้ เข้าร่วมแล้ว ในระดับกลุ่มก็มีการเปลี่ยนแปลงบ้าง จากคนที่ไม่เคย คุยกันก็หันหน้าเข้าหากันมากขึ้น บางพื้นที่ก็เกิดโครงงานที่ท�ำร่วม กัน เพื่อเปลี่ยนแปลงสังคมในท้องถิ่น ผูท้ เี่ ข้าร่วมโครงการหลายคนสะท้อนความรูส้ กึ ระหว่างเข้าร่วม โครงการว่า “เวลาท�ำงานไปเรื่อย ๆ มีท้อแท้ หมดก�ำลังใจ แต่เมื่อ ได้พบปะพูดคุยกับคนที่เรารู้ว่ามีเจตนารมณ์สร้างสังคมที่ดี เหมือน ๆ กับเรา ท�ำให้รู้สึกมีพลังใจและพลังท�ำงานเพื่อสังคมต่อไป เพราะ เรารู้ว่า เราไม่ได้โดดเดี่ยว ท�ำงานตามล�ำพัง” “ขอบคุณผู้ประสานงาน และ สสส.ที่จัดเวทีอย่างนี้ ท�ำให้เรา ได้รจู้ กั ตัวเอง และได้พบปะกับเพือ่ น ๆ อีกครัง้ และทีส่ ำ� คัญได้เรียน รู้ว่าจะต้องท�ำอะไรต่อ” เสียงสะท้อนและรอยยิ้มจากผู้เข้าโครงการเป็นก�ำลังใจให้ คุณสุภาพท�ำงานต่อไปกับโครงการบูรณาการภาคเหนือตอนบน 284
เมล็ดพันธุ์ชีวิตบูรณาการ
ในปีที่ ๒ เธอยังคงท�ำหน้าที่ประสานงานกลาง เชื่อมทุกจังหวัดกับ แหล่งทุนทีส่ ว่ นกลาง คอยให้คำ� แนะน�ำเรือ่ งการเขียนโครงการ และ ร่วมเรียนรู้พัฒนางานบูรณาการร่วมกับทุกทีมจังหวัด ตลอดปีกว่า ๆ ที่ร่วมโครงการบูรณาการ คุณสุภาพกล่าวว่า เธอเติบโตและได้เรียนรู้มากมาย “เราเรียนรู้ที่จะรับฟังผู้อื่นมากขึ้น จากเมื่อก่อนที่เป็นฝ่ายพูด ฝ่ายสอนบอกคนอืน่ เมือ่ เราฟังมากขึน้ เราเรียนรูม้ ากขึน้ จริง ๆ เมือ่ เอาความรู้จากการอบรมไปใช้ในการท�ำงาน เปลี่ยนวิธีท�ำงาน เรา เรียนรูท้ จี่ ะเชือ่ มคน เชือ่ มงานมากขึน้ ท�ำให้เหนือ่ ยน้อยลง และงาน ก้าวหน้าขึ้นกว่าเดิม” เธอยิ้ม j
บทเรียนจากสนามทดลองบูรณาการ
285
เมื่อเราเปิดสู่วิถีแห่งเต๋า เราและเต๋ากลายเป็นหนึ่งเดียวกัน เมื่อเราเปิดตนสู่คุณธรรม เราจะเป็นผู้มีคุณธรรม หากเราเปิดตนสู่ความสูญเสียพ่ายแพ้ เราก็จะสิ้นหวังและแพ้พ่าย หากเราไม่ไว้วางใจในผู้คน ผู้คนก็จะไม่น่าไว้วางใจ
286
เมล็ดพันธุ์ชีวิตบูรณาการ
เหลียวหลัง เส้นทางบูรณาการ โดยอาจารย์ ชัยวัฒน์ ถิระพันธุ์
เหลียวหลังเส้นทางบูรณาการ
287
กว่านักวิทยาศาสตร์ โทมัส อัลวา เอดิสัน จะ ประดิษฐ์หลอดไฟฟ้าได้ เขาทดลองและล้มเหลว มากกว่า ๗๐๐ ครั้ง แต่ทุกครั้งที่ล้มเหลว เขา บอกว่า เขาได้เรียนรู้ “รู้แล้วว่าที่ผิดคืออะไร” เขา ทดลองเส้นทางใหม่ที่ไม่ซ�้ำรอยเดิมที่ผิดไปแล้ว ท�ำไปเรื่อย ๆ จนวันหนึ่ง แสงสว่างก็ปรากฎ หนทางของการบูรณาการที่มีชีวิตก็เป็นอย่างนั้น เราไม่ได้รู้ “ถูก” ตั้งแต่ทีแรก ฉะนั้นนักบูรณาการต้องใส่ใจเรียนรู้ ลองผิดไป เรื่อย ๆ และไม่ย่อท้อต่อความล้มเหลว แต่เห็นความผิดพลาดเป็น บันไดสู่ความรู้ และความเข้าใจที่สูงขึ้นไป ตลอดเวลา ๑ ปี ในการท� ำกระบวนการเรียนรู้บูรณาการ อาจารย์ชยั วัฒน์ไม่เคยหยุดเรียนรู้ อาจารย์พดู เสมอว่า ตนเองเรียนรู้ ไปด้วยกันกับผูเ้ ข้าอบรม ทุกครัง้ ทีท่ ำ� การอบรม ความรู้ ความเข้าใจ 288
เมล็ดพันธุ์ชีวิตบูรณาการ
เรื่องบูรณาการเพิ่มและลึกซึ้งขึ้นทุกครั้ง “มีอะไรอีกไหมที่เรายังไม่ เข้าใจ” อาจารย์มักถามตัวเองเสมอ และครุ่นคิดเรื่องที่ยังติดขัดใน ใจ บางครั้งอาจารย์ก็เกิดภาวะ “ปิ๊ง” ในขณะที่พูดคุยกับผู้คน และ ในระหว่างท�ำการอบรมในเวทีเรียนรู้ “ถ้าไม่มีโครงการนี้ ผมก็คงไม่มีโอกาสได้ครุ่นคิด เรียนรู้เรื่อง บูรณาการให้มากขึ้นอย่างที่เป็นในตอนนี้” อาจารย์ชัยวัฒน์กล่าว ผู้เข้าร่วมอบรมในโครงการบูรณาการทุกคนเป็น “ครู” ผู้ที่ ท�ำให้อาจารย์ชัยวัฒน์หมั่นครุ่นคิดเข้าใจบูรณาการให้ยิ่งขึ้น หาวิธี เนื้อหา ตัวอย่างประกอบการอบรมเพื่อที่จะถ่ายทอดให้ผู้อื่นได้ ชัดเจน “เราจะท�ำอย่างไรให้คนเข้าใจว่าบูรณาการไม่ใช่งาน แต่เป็น ชีวิต เป็นเรื่องความเจริญงอกงามของชีวิต และสังคม” บูรณาการเป็นเรื่องที่ดูเหมือนจะเข้าใจได้ไม่ยาก แต่เอาเข้า จริง สิ่งที่เราท�ำมักตรงข้ามกับปรัชญาบูรณาการเสมอ เหตุที่งาน บูรณาการงอกงามช้าหรือติดขัด เกิดจากหลายปัจจัยอุปสรรค ซึ่ง อาจารย์ชัยวัฒน์สังเกตและสะท้อนไว้อย่างนี้ ความคุ้นชินกับโลกทัศน์ระบบกลไก การบูรณาการเป็นกระบวนการที่ท�ำให้ระบบที่มีชีวิตเติบโต งอกงาม เป็นกระบวนการจากภายใน - สู่ภายนอก และภายนอก กลับเข้าไปข้างใน หมุนเวียนอย่างนีเ้ รือ่ ยไป เราบูรณาการภายในตัว เอง เชือ่ มกับผูอ้ นื่ ในครอบครัวและสังคม สิง่ แวดล้อม โลก และท้าย ทีส่ ดุ เราหลอมรวมเป็นหนึง่ กับธรรมชาติ และจักรวาล อย่างทีเ่ ต๋า บอกว่า เราต้องเป็นหนึง่ เดียวกับเต๋า หรือ ชาวมุสลิมและคริสตชน หลอมรวมกับพระเจ้า ชาวพุทธก็เป็นหนึง่ เดียวกับพระธรรม เหลียวหลังเส้นทางบูรณาการ
289
บูรณาการจึงเป็นเรื่องชีวิตที่ลึกซึ้ง แต่เราไม่เห็น คนจ�ำนวน มากมองบูรณาการเป็นงาน โครงการ และกิจกรรม ซึ่งเป็นการเห็น ที่ค่อนข้างตื้นเขิน เราติด “กับดัก” ความคิดส�ำเร็จรูป มองบูรณาการเป็นสิง่ ๆ ที่ ส�ำเร็จรูป จับต้องได้ และต้องการผลรวดเร็ว และง่าย ๆ เราขาดการ ครุ่นคิดลึก ๆ จากข้างใน ขาดความเข้าใจปรัชญาบูรณาการ ท�ำให้ บูรณาการที่เราท�ำขาดมิติทางความสัมพันธ์ และจิตวิญญาณที่เป็น รากฐานส�ำคัญของมนุษย์ เรายังมองบูรณาการเป็นแบบกลไก ที่ของต่าง ๆ มีส�ำเร็จอยู่ แล้ว เราเพียงเอามาประกอบกันเข้า แต่บูรณาการตามระบบที่มี ชีวิตไม่มีค�ำตอบส�ำเร็จรูป เช่นชีวิตของเราที่ไม่มีค�ำตอบส�ำเร็จรูป เมือ่ เราท�ำงานบูรณาการ เราควรตระหนักว่า เราก�ำลังท�ำงานกับ สิง่ ทีเ่ รายังไม่รู้ สิง่ ทีเ่ คลือ่ นไหวเปลีย่ นแปลง ความตระหนักรูเ้ ช่นนีจ้ ะ ท�ำให้เราใส่ใจสร้างเหตุและเงือ่ นไขให้สงิ่ ต่าง ๆ เจริญงอกงามตามวิถี กลัวปัญหา ทุกข์ท�ำให้เราพัฒนา อย่างที่เกอเธ่ว่า “เราท�ำให้ชีวิตของเรา งดงามได้ ในโลกที่ไม่สมบูรณ์” โลกทีไ่ ม่สมบูรณ์และมีขอ้ จ�ำกัดท�ำให้เราสร้างสรรค์ เพราะเรา อยากติดต่อกับคนที่อยู่ไกล ๆ ให้สะดวกเราจึงคิดค้นโทรศัทพ์ และ พัฒนาเรื่อย ๆ มาเป็นโทรศัพท์มือถือ หลายครั้ง เมื่อเราเจออุปสรรคปัญหา ความขุ่นใจ ไม่พอใจ กับคนอื่น หรือกับสิ่งที่เกิดขึ้น เราก็ท้อแท้ สิ้นหวังและหันหลังให้ กับงานตรงหน้า ในชี วิ ต มี ข ้ อ จ� ำ กั ด ตลอดเวลา มี สิ่ ง ที่ ไ ม่ เ ป็ น ดั่ ง ใจเสมอ 290
เมล็ดพันธุ์ชีวิตบูรณาการ
นักบูรณาการต้องมองข้อจ�ำกัดเหล่านีใ้ ห้เป็นพลัง และโอกาสในการ เรียนรู้และสร้างสรรค์ ชีวิตบูรณาการงอกงามได้เพราะเราเรียนรู้ และเอาชนะปัญหา ความท้าทาย อุปสรรคในชีวิต ประมาทกับชีวิต ที่เรายังบูรณาการกันไม่ได้ เพราะเรายังไม่ส�ำเหนียกบริบท สังคม และโลกที่ก�ำลังคุกคามชีวิตของเราทุกคน เรายังคงทะเลาะ ขุ่นใจ และไม่ร่วมมือกันเพราะเรื่องหยุมหยิมเล็กน้อย และไม่มอง เห็นภัยใหญ่ที่ก�ำลังคืบคลานเข้ามา หรือ “เรายังทุกข์ไม่พอ” ที่ ผ ่ า นมา เราบู ร ณาการกั น ได้ ใ นภาวะวิ ก ฤต เราร่ ว มกั น เอาชนะปัญหารุนแรง และน�ำความปรกติกลับมาได้ แต่หลังจาก นัน้ เราก็ตา่ งแยกย้าย ต่างคนต่างอยู่ ทะเลาะกันต่อ จนทุกข์ระลอก ใหม่เข้ามา เราจึงบูรณาการกันอีกครั้ง ก้าวข้ามความขุ่นใจส่วนตัว เพื่อฝ่าวิกฤตภายนอก การบูรณาการในภาวะปรกตินั้นยากเย็นกว่าในยามวิกฤต หลายเท่าตัว ที่ยากนั้น หมายความว่า ผู้คนมักไม่ตระหนักถึงความ ส�ำคัญที่จะต้องมาร่วมหัวจมท้ายท�ำงานเป็นหนึ่งเดียว ทุกสิ่งทุก อย่างดูเหมือนจะไม่หนักหนา “ไม่เป็นไร ไม่มอี ะไร” เราจึงยังท�ำงาน โครงการ กิจกรรม และธุรกิจกันแบบเดิม ๆ หากเราตระหนักเห็นวิกฤตที่ก�ำลังจะเข้ามาแน่ ๆ ทั้งในสังคม ไทย และสังคมโลก ภัยการเมือง เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และตั้งต้นบูรณาการกันเสียแต่เดี๋ยวนี้ เราจะสร้างสรรค์สังคมไปใน ทิศทางที่เป็นสุขร่วมกัน รวมถึงป้องกันวิกฤต ภัยคุกคามที่อาจเกิด ขึ้นได้อย่างเข้มแข็งอีกด้วย เหลียวหลังเส้นทางบูรณาการ
291
ความพิการทางการเรียนรู้ ตามทฤษฎีองค์กรเรียนรู้ The Fifth Discipline ปีเตอร์ เซง เก้ กล่าวว่าศักยภาพในการเรียนรู้มี ๕ ทักษะด้วยกัน ซึ่งอาจรวมได้ เป็นสามขา เหมือนเก้าอี้สามขา ขาแรกของเก้าอี้ คือ แรงบันดาลใจ วิสัยทัศน์ และการฝึกฝน ตนเอง ขาที่สอง คือ การสนทนากันอย่างสร้างสรรค์และผลิดอกออก ผล และการครุ่นคิด ขาทีส่ าม คือ ความรู้ หรือ ความสามารถในการเข้าใจความซับ ซ้อน เห็นตัวเองเชื่อมโยงกับสิ่งต่าง ๆ หากทักษะทัง้ ๕ ประการในสามขานีม้ นั่ คง เก้าอีแ้ ห่งการเรียน รู้ก็จะตั้งตรง ให้คนนั่งได้โดยไม่ล้ม พวกเราหลายคนพิการทั้งสามขานี้เลย ท�ำให้เก้าอี้แห่งการ เรียนรู้ของเรายังไม่แข็งแรง โยกเยก และอาจจะล้มครืนได้ ความพิการข้อแรก คือ หลายคนขาดแรงบันดาลใจ แรงใฝ่ฝัน และวิสยั ทัศน์ในการท�ำงาน เมือ่ แรงผลักภายในน้อย ความพากเพียร ที่จะฝึกฝนอบรมตนเองให้เก่งขึ้น มีศักยภาพมากขึ้นก็น้อย ในเวทีเรียนรู้ เราได้ฝึกฝนทักษะการสนทนาที่สร้างสรรค์ และ ครุน่ คิด แต่เมือ่ กลับไปในสนามชีวติ จริงทัง้ ทีบ่ า้ นและท�ำงาน ทักษะ ทั้งสองเรื่องนี้กลับไม่ได้น�ำไปใช้ หนึ่งในเหตุส�ำคัญ คือ ไม่ให้เวลาใน การฝึกฝนเรื่องนี้ ความพิการข้อที่สาม คือขาดความเข้าใจ และทักษะในการ คิดแบบกระบวนระบบ คิดแบบมองเห็นตัวเองเชื่อมโยงกับเรื่อง ราวต่าง ๆ เหตุที่ท�ำให้เราพิการทางการเรียนรู้มีหลายประการ คือ 292
เมล็ดพันธุ์ชีวิตบูรณาการ
ก�ำแพงในใจ “ฉันเป็น....” การยึดติดในต�ำหน่ง ฐานะของตนเช่นเป็น หัวหน้า เจ้าของโครงการ ท�ำงานด้านนี้มานานแล้ว เพราะฉะนั้น “ฉันรู้แล้ว ....” การเรียนรู้เกิดขึ้นไม่ได้ในเวลาที่เราคิดว่า “รู้แล้ว” หรือใน พื้นที่ที่เราคุ้นเคย เรามักสร้างก�ำแพง และขังตัวเองอยู่ในก�ำแพงนั้น เป็นพื้นที่ ปลอดภัย แต่นั่นจะไม่ท�ำให้เราเรียนรู้ เพราะเราจะอยู่กับความคุ้น ชินเดิม ๆ ทักษะเดิม ๆ ที่ท�ำเป็นแล้ว รู้แล้ว ไม่เห็น ไม่เข้าใจคนอื่น และไม่สามารถเชื่อมสัมพันธ์กับคนอื่นได้ การที่จะบูรณาการกับผู้อื่นได้ เราต้องก้าวข้ามก�ำแพงในใจ ของเราออกไปให้ได้ ด่านแรก เราต้องตระหนักรู้ก่อนว่า เรามีก�ำแพงในหัวใจ และ ก�ำแพงนั้นกั้นเราออกจากคนอื่น ๆ และการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ จาก นั้นก็หาทางเดินออกมาจากก�ำแพง คนแต่ละคนสร้างก�ำแพงไม่เหมือนกัน บางคนสร้างก�ำแพงหิน บางคนเป็นรั้วลวดหนาม สายน�้ำ ไม้ไผ่ หรือต้นไม้ หากเราเข้าใจ ก�ำแพงภายในตัวเรา เราจะเห็นช่องทางเดินออกมาจากก�ำแพง เช่นว่า เดินข้ามก�ำแพงออกมา มุดลอด กระโดดออกมา หรือไม่ก็ ท�ำลายก�ำแพงไป เราจ�ำเป็นต้องก้าวเดินไปในพื้นที่ไม่คุ้นเพื่อรู้จักสิ่งใหม่ กล้าที่ จะเดินออกจากก�ำแพงใจของตนเอง เพื่อรู้จักคนอื่น รับฟังความ เห็นต่าง
เหลียวหลังเส้นทางบูรณาการ
293
วิ่งกวดปัญหา ปัญหาเกิดขึ้นเสมอ และเราจ�ำนวนมากก็วิ่งไล่ตาม แก้ปัญหา จากปัญหาหนึ่งไปอีกปัญหาหนึ่ง ไม่จบสิ้น และดูเหมือนว่า ยิ่งวิ่ง แก้ปัญหา เรายิ่งก่อปัญหาให้หนักขึ้น การทีค่ ดิ ว่า “เราต้องท�ำทุกเรือ่ ง” ท�ำให้เราเสียพลังไปกับเรือ่ ง ต่าง ๆ จึงขาดพลังที่จะท�ำเรื่องที่ส�ำคัญ และมีความหมาย เราจัดล�ำดับความส�ำคัญของปัญหาไม่ดี เราไม่สามารถแยก เรื่องด่วน และส�ำคัญ ออกจากเรื่องที่ไม่ด่วนและไม่ส�ำคัญได้ เราจึง มักแก้ปญ ั หาและเรือ่ งราวไปตามปรากฎการณ์ทเี่ กิดขึน้ เป็นคราว ๆ แต่มองไม่เห็นว่าปัญหาใดส�ำคัญ ที่หากแก้ไขแล้วจะส่งผลสะเทือน ให้ปัญหาอื่น ๆ ได้รับการแก้ไขไปด้วย เราจะจัดล�ำดับความส�ำคัญและเร่งด่วนของปัญหาได้ ก็ตอ่ เมือ่ เราเรียนรู้ที่จะหยุด และมองภาพรวมของเรื่องราวต่าง ๆ ชาวอินเดียนแดงสอนลูกหลานว่า เวลาเดินป่า หากหลงทาง ให้ปีนขึ้นต้นไม้สูง เพื่อดูพื้นที่ให้รอบ ให้เห็นทิศทางทางออก แล้ว จึงออกเดินทางใหม่ เราก็เหมือนกัน เวลาที่เรารู้สึกว่าปัญหารุมเร้า ท�ำอะไรไม่ถูก เราน่าจะหยุดนิ่ง อย่าพิ่งท�ำอะไร และลองถอยตัวเองออกมาจาก ปัญหานัน้ เพือ่ เห็นภาพรวมของเรือ่ งราวทัง้ หมดให้ดกี อ่ น จะได้รวู้ า่ เราจะเดินไปทางทิศไหน ท�ำอะไรก่อน และอะไรทีหลัง แต่ดเู หมือน ว่า การหยุดเพื่อทบทวนเรื่องราวและตัวเองจะเป็นสิ่งฟุ่มเฟือย ส�ำหรับพวกเราหลายคน เราไม่ค่อยมีเวลาให้ตัวเอง ไม่มีช่วงเวลา ความสงบนิ่งให้กับใจ ไม่ฝึกฝนครุ่นคิด
294
เมล็ดพันธุ์ชีวิตบูรณาการ
คนอื่นผิดเสมอ เมือ่ เกิดปัญหาหรือข้อผิดพลาดอะไรขึน้ เรามักชีไ้ ปทีค่ นอืน่ สิง่ อื่น เพราะเหตุนี้ เราจึงคิดแก้ปัญหาแต่เพียงภายนอก ซึ่งไม่ยั่งยืน และท�ำได้ยาก เราลืมไปว่า เราเป็นส่วนหนึ่งของระบบ ดังนั้นแล้ว เราก็เป็น ส่วนหนึ่งของปัญหาและความผิดพลาดต่าง ๆ ในสังคมด้วยเช่น กัน ไม่ว่าจะมากหรือน้อย ทางตรงหรือทางอ้อมก็ตาม หากเรา เห็นความจริงว่า เราเป็นส่วนหนึ่งของปัญหา และเป็นส่วนหนึ่ง ของทางออกด้วย เราจะได้เริ่มต้นแก้ไขปัญหาที่ตัวเองด้วย ปรับ เปลี่ยนตัวเอง (ภายใน) ไปพร้อม ๆ กับการปรับเปลี่ยนปัจจัย ภายนอก และคนอื่น ๆ นักเรียนมากกว่านักเรียนรู้ เราไม่ค่อยใส่ใจเรียนรู้จากตัวเอง และเรียนรู้จากคนอื่น และ สิ่งรอบตัว เรารอครู วิทยากร ผู้เชี่ยวชาญมาบอกเรา สอนเราเสีย โดยมาก เราเคยชินวิถีของความเป็นนักเรียนที่รอครูป้อนความรู้ ใส่สมอง ท่องจ�ำ น�ำเทคนิคไปใช้โดยไม่ประยุกต์ปรับแปลงให้เข้า กับบริบทแวดล้อม ความรู้ที่เรามีจึงแข็งกระด้าง การเรียนรู้ที่แท้จริงและยั่งยืนอยู่ที่ตัวเรา เราเรียนรู้ได้ทุกเมื่อ และจากทุกคนรวมถึงตัวเราด้วย แต่การเรียนรู้อาศัยปัจจัยส�ำคัญ คือ เปิดใจ ใส่ใจ และมีเวลาในการครุ่นคิด เฝ้าสังเกตสิ่งต่าง ๆ รอบ ตัว และลองลงมือท�ำเพื่อพิสูจน์ความรู้
เหลียวหลังเส้นทางบูรณาการ
295
มณฑลแห่งพลัง งานบูรณาการระหว่างผู้คนในองค์กร และสังคมเกิดขึ้นยาก เพราะเราไม่ใส่ใจเรื่องพื้นที่สร้างพลัง เรื่องนี้กระจ่างมากขึ้น เมื่อ เราเห็นฉากหนึ่งในภาพยนตร์ที่เป็นเรื่องการแข่งขันและเชียร์กัน ในสนาม ผู้คนที่นั่งในสนามส่งเสียงเชียร์ผู้เล่น เสียงเชียร์ท�ำให้คนเล่น รู้สึกฮึกเหิม และเมื่อคนเล่นเล่นได้ดี เล่นสนุก คนดูก็ยิ่งสนุก และ ยิ่งเชียร์ เสริมพลังกันอย่างนี้เรื่อย ๆ ไป หันกลับมาดูสนามงานบูรณาการ เรารู้สึกมีพลัง มีแรง สนุก อย่างนี้หรือไม่ ในวงประชุมทีเ่ ป็นพืน้ ทีบ่ รู ณาการ เรากลับไม่สามารถสร้างการ ประชุมทีส่ านและเสริมพลังได้ หลายคนเข้าประชุมเป็นอาชีพ ไม่ตรง ต่อเวลา ไม่ใส่ใจฟังกัน ไม่เห็นความหมายของการประชุม และการ เชียร์ให้ก�ำลังใจกัน เราก็ประชุมเชื่อมใจกันไม่ได้ ความเปราะบางกับบูรณาการ “ความรู้สึกเศร้าและเปราะบางท�ำให้คนเราบูรณาการกันได้” อาจารย์ชัยวัฒน์ ร�ำพึงในคราวที่เราสะท้อนการเรียนรู้บูรณาการ ด้วยกัน เมื่อคนรู้สึก “สะเทือนใจ” ตัวตนของคน ๆ นั้นจะสลายหรือ ละลาย เปิดโอกาสให้บูรณาการกับคนอื่น ๆ ได้ไม่ยาก ยกตัวอย่าง เหตุการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติที่สะเทือนใจคนจ�ำนวนมาก คน ที่ไม่รู้จักกันเดินทางไปในจุดเกิดเหตุ เพื่อท�ำงานเยียวยาผู้ประสบ ภัยด้วยกัน อยู่กับความยากล�ำบากด้วยความรู้สึกเป็นหนึ่งเดียวกัน
296
เมล็ดพันธุ์ชีวิตบูรณาการ
หรือในเหตุการณ์การชุมนุมประท้วงในโลกอาหรับ ผู้คน หลั่งไหลชุมนุมกัน ช่วยเหลือ ดูแลกัน และตะโกนร้องเรียกเสรีภาพ อย่างเดียวกัน ยิ่งมีการท�ำร้ายเพื่อนผู้ชุมนุม ผู้คนยิ่งหลั่งไหลออก มาประท้วงรัฐบาล ความรู้สึกสะเทือนใจอย่างรุนแรงท�ำให้คนลุกขึ้นมาท�ำในสิ่งที่ ตนเองอาจไม่คาดคิดมาก่อน ยอมตายเพือ่ สิง่ ทีย่ งิ่ ใหญ่กว่า ลืมตัวตน เล็ก ๆ ของตัวเองไป และคิดถึงเป้าหมายที่สู้ร่วมกัน ความกลัวตาย หายไปจากใจ เหลือแต่ความรู้สึกดูแลพี่น้องร่วมชุมนุมกัน นี่คือการหลอมจิตใจมวลรวมขนานใหญ่ ตัวตนเล็ก ๆ ของ แต่ละคนหลอมเป็นอุดมการณ์ที่ใหญ่ และทุกคนยอมเสียสละเพื่อ สิ่ง ๆ นั้น เราบูรณาการกับผูอ้ นื่ ไม่ได้ ถ้าใจของเรากระด้าง ไม่รบั รูถ้ งึ ทุกข์ ยาก ปัญหาต่าง ๆ ที่ต้องการให้เราร่วมสู้กับคนอื่น ๆ ใจที่อ่อนไหว (ละเอียดอ่อน) และอ่อนโยน เป็นใจที่พร้อมเปิด บูรณาการกับผู้อื่น อย่างที่เชอเกียม ตรุงปะ เรียกว่า “ใจเศร้า” ใน หนังสือ ชัมบาลา “...ประสบการณ์ แ ห่ ง ดวงใจอั น เศร้ า แสนอ่ อ นโยนนี้ คื อ จุดก�ำเนิของความไม่หวาดหวัน่ ต่อสิง่ ใด ...... คุณเต็มใจทีจ่ ะเปิดมัน ออกโดยไม่ขดั ขืนหรือเขินอาย และเผชิญกับโลก คุณพร้อมทีจ่ ะแบ่ง ปันหัวใจของคุณกับผู้อื่น” หัวใจของการบูรณาการ อยู่ที่หัวใจของคน หากเราเปิดใจตัว เอง เปิดใจผู้อื่น และให้ใจเชื่อมใจได้แล้ว พลังบูรณาการก็เกิด j
เหลียวหลังเส้นทางบูรณาการ
297
ความรู้สึก ระหว่างบรรทัด
โดย กรรณจริยา สุขรุ่ง
ข้าพเจ้าเขียนหนังสือมาบ้าง และเขียนสารคดีข่าว ให้หนังสือพิมพ์มากว่า ๑๐ ปี แต่การการเขียน หนังสือ “เมล็ดพันธุ์ชีวิตบูรณาการ” ครั้งนี้ท�ำให้ ข้าพเจ้าเห็นว่า แท้ที่จริงแล้ว “หนังสือเขียนเรา” เคยมีผู้เปรียบการเขียนหนังสือเหมือนการผจญภัย ข้าพเจ้า เห็นด้วยอย่างยิ่ง ในตอนเริ่มเขียนหนังสือเล่มนี้ ข้าพเจ้าไม่รู้ว่า ปลายทางจะเป็นอย่างไร ระหว่างทางข้าพเจ้าจะพบกับอะไรบ้าง ไม่รวู้ า่ ค�ำและความคิดใดจะปรากฎขึน้ ในใจและส่งผ่านเป็นตัวอักษร ... ทั้งหมดคือดินแดนที่รอการค้นพบ ความรู้สึกระหว่างบรรทัด
299
๑ ปีกับการท�ำหนังสือ ข้าพเจ้าผลิตร่างหนังสือฉบับที่ ๑ ถึง ฉบับนี้ซึ่งเป็นร่างที่ ๓ จากหน้าแรกจนถึงหน้าสุดท้าย ข้าพเจ้าได้ เรียนรู้มากมาย เป็นต้นว่า การเขียนที่ลื่นไหล การพัฒนาตนเอง เนื้อหาต่าง ๆ ที่เขียน และที่ส�ำคัญคือรู้จักตัวเองยิ่งขึ้น เขียน...หยุด...เขียนต่อ...หยุด ....แล้วก็ถอนใจ “ไม่เข้าใจ เขียนไม่ออก” ข้าพเจ้าบ่นออกมาดัง ๆ อย่างนี้เสมอในช่วงที่เขียน หนังสือเล่มนี้ “เขียนเรื่องบูรณาการไม่ง่ายเลย” ข้าพเจ้าอดสงสัย ไม่ได้วา่ ท�ำไมจึงรูส้ กึ อย่างนี้ ในเมือ่ ข้าพเจ้าติดตามจดบันทึกเนือ้ หา และกระบวนการในเวทีเรียนรู้บูรณาการทั้ง ๘ ครั้ง ได้ฟังอาจารย์ ชัยวัฒน์พูดเรื่องบูรณาการซ�้ำ ๆ กันหลายครั้ง และก็คิดเสมอว่า ตัวเองเข้าใจบูรณาการพอสมควรแล้ว ทว่า เมื่อต้องลงมือเขียนเนื้อหาต่าง ๆ ที่ได้ท�ำโครงร่างไว้ ข้าพเจ้ากลับรู้สึกว่า ความเข้าใจที่คิดว่ามีอยู่นั้นแสนจะคลุมเครือ แล้วข้าพเจ้าจะเขียนอธิบายภาพที่ตัวเองก็เห็นไม่ชัดได้อย่างไร เมื่อความคิดความเข้าใจไม่กระจ่าง การเขียนก็สะดุดเป็น ห้วง ๆ และไม่มีความสุขกับการเขียนเลย ในตอนที่เขียนร่างที่ ๑ และ ๒ ข้าพเจ้าเขียนหนังสือเหมือน ท่องจ�ำ คือจ�ำค�ำอาจารย์มาเขียน ลอกความคิดอาจารย์มาเล่า “ไม่เห็นจะแปลก ก็ในเมือ่ เราเห็นด้วย และเห็นตามกับสิง่ ทีอ่ าจารย์ พูด และเข้าใจตามนั้น” ข้าพเจ้าหาเหตุผลให้ตัวเอง นีเ่ อง คือ ปัญหาในการเขียน ข้าพเจ้าไม่ทำ� ให้ความรูท้ ไี่ ด้ฟงั มา อยู่ในเนื้อในตัว และข้าพเจ้าไม่ได้เขียนหนังสือด้วยใจ เนื้อหาการบูรณาการยังไม่ “เข้าใจ” ข้าพเจ้า เมื่อไม่เข้าใจ ก็ไม่มั่นใจที่จะเขียน และเมื่อฝืนเขียนต่อไปทั้งที่ไม่มั่นใจ และไม่ เข้าใจ ก็เป็นทุกข์ 300
เมล็ดพันธุ์ชีวิตบูรณาการ
แม้จะยังไม่เข้าใจชัดเรือ่ ง “ภาวะบูรณาการ” แต่ขา้ พเจ้ามัน่ ใจ ว่า สิ่งที่ก�ำลังรู้สึกอยู่ คือภาวะไม่บูรณาการอย่างแน่นอน ข้าพเจ้าวางร่างหนังสือที่ท�ำไปได้กว่าครึ่งเล่ม แล้วเริ่มต้นใหม่ คราวนี้ ข้าพเจ้าเดินทางกับหนังสือด้วย “ใจ” อาจารย์ชยั วัฒน์ ย�้ำเสมอว่า สิ่งส�ำคัญในการเรียนรู้ และท�ำกิจกรรมต่าง ๆ คือ คุณภาพของจิต ดังนั้น ข้าพเจ้าจึงเริ่มที่ใจตนเองก่อน ข้าพเจ้ากลับไปทบทวนเรือ่ งราวเวทีอบรมทีผ่ า่ นมาทัง้ หมดอีก ครัง้ อ่านหนังสือต่าง ๆ ทีว่ า่ ด้วยกระบวนทัศน์ใหม่ พยายามท�ำความ เข้าใจทุกเนือ้ หาในการอบรมบูรณาการ ข้าพเจ้าพบว่า ตัวเองมีความ สุขกับการทบทวนเรื่องบูรณาการ และรู้สึกว่าเข้าใจเรื่องนี้มากขึ้น ข้าพเจ้าพร้อมที่จะเขียน และลงมือเขียนหนังสือเมื่อใจผ่อน คลาย และว่างจากความคิด ความรู้สึกทางลบ ... และวิธีนี้ได้ผล ความคิด (ที่ไม่ได้คิด) พรั่งพรู และข้าพเจ้าเขียนเรื่องราวออก มาตามที่เข้าใจ และรู้สึกมีความสุขมาก ยิ่งเขียน ยิ่งสุข อาจารย์ ชัยวัฒน์เรียกภาวะอย่างนี้ว่า Flow (ลื่นไหล) ข้าพเจ้ารู้สึกว่าตัวเอง ไหลไปพร้อม ๆ กับสิง่ ทีเ่ ขียนออกมา แต่ภาวะ “flow” ไม่ได้เกิดขึน้ ตลอดเวลา เมือ่ ใดทีเ่ กิดติดขัดขึน้ มา ข้าพเจ้าจะกลับไปสร้างพลังใจ ใหม่ แล้วจึงกลับมาเขียนต่อ เมื่อเขียนด้วยใจว่าง (Quiet mind) ข้าพเจ้ารู้สึกว่า เป็นผู้ถูก สัง่ ให้เขียนมากกว่าผูก้ ำ� หนดการเขียนเอง เนือ้ หาบางช่วงเปลีย่ นไป ล�ำดับเนื้อหาบางตอนเปลี่ยนสลับจากเดิม ซึ่งเมื่อข้าพเจ้ากลับมา อ่านดูอีกที เห็นว่าสิ่งที่ท�ำใหม่เข้าท่ากว่าของเดิมเสียอีก อาจารย์ชัยวัฒน์ย�้ำเสมอว่า บูรณาการคือกระบวนการที่เริ่ม จากภายในประสานกับภายนอก และภายนอกเข้าไปหลอมรวมกับ ภายใน ... การเขียนก็เป็นอย่างนั้น ข้าพเจ้าเขียนจากความเข้าใจ ภายใน และสิง่ ทีไ่ ด้เขียนออกมาแล้วนัน้ ช่วยย�ำ้ และเพิม่ ความเข้าใจ ความรู้สึกระหว่างบรรทัด
301
เรื่องบูรณาการกลับเข้าไปในใจของข้าพเจ้าอีกที ยิ่งเขียน ข้าพเจ้า ยิ่งพบว่าเข้าใจเนื้อหาต่าง ๆ ที่เขียนมากขึ้น ความเข้าใจของข้าพเจ้าเติบโตไปพร้อมกับจ�ำนวนหน้าของ หนังสือ เมือ่ ข้าพเจ้ากลับมาอ่านบทก่อน ๆ ทีไ่ ด้เขียนไปแล้ว ข้าพเจ้า เห็นว่า สิ่งที่เขียนไปนั้นยังลึกซึ้งไม่พอ แต่ถ้าข้าพเจ้าจะนั่งแก้ปรับ หนังสืออยู่อย่างนี้ ก็คงไม่มีวันเสร็จ ... ความรู้ความเข้าใจในเรื่อง ต่าง ๆ นั้นกว้างขวางลึกซึ้ง ซึ่งเราเรียนรู้ได้ไม่รู้จบ หนังสือเล่มนีส้ อนข้าพเจ้าให้รจู้ กั วิธบี รู ณาการชีวติ และการงาน ในฐานะนักเขียน ข้าพเจ้าขอร่วมปฏิบัติการทางสังคมกับทุก ท่านผ่านตัวหนังสือ ข้าพเจ้าหวังว่าเนื้อหาในหนังสือเล่มนี้จะมี ส่วนช่วยให้ท่านผู้อ่านสร้างสรรค์ความสุขสงบเย็นใจชีวิตของท่าน และสังคม j
302
เมล็ดพันธุ์ชีวิตบูรณาการ
หนังสือ ชวนอ่าน • การประชุมอย่างสร้างสรรค์ ศิลปะแห่งการสร้างพลังเพื่อ การเปลี่ยนแปลง: ชัยวัฒน์ ถิระพันธุ์ และดร.ปาริชาต สถาปิตานนท์ เขียน • วิธีคิดกระบวนระบบ ปิยนาถ ประยูร เขียน/เรียบเรียง • ปั้นแต่งอนาคตสังคมไทย: ชัยวัฒน์ ถิระพันธุ์ เขียน • มณฑลแห่งพลัง ญาณทัศนะแห่งการเข้าถึงตัวตนที่แท้: วิศิษฐ์ วังวิญญู เขียน • หันหน้าเข้าหากัน: มาร์กาเรต เจ. วีตเลย์ เขียน บุลยา แปล • วิธีแห่งเต๋า ปรัชญาคัมภีร์เต๋าเต็กเก็ง ของปราชญ์เหลาจื๊อ: พจนา จันทรสันติ แปล • ทฤษฏีไร้ระเบียบกับทางแพร่งของสังคมสยาม: ชัยวัฒน์ ถิระพันธุ์ เขียน • รู้ตื่นให้ทันการณ์: ปีเตอร์ รัสเซลล์ เขียน สุรพงษ์ สุวจิตตานนท์ แปล • พลิกค�ำถาม เปลี่ยนชีวิต: แมรี่ลี จี อดัมส์ เขียน กานต์ ธงไชย แปล • ผู้น�ำกับวิทยาศาสตร์ใหม่: มาร์กาเร็ต เจ. วีตเลย์ เขียน เพชรรัตน์ พงษ์เจริญสุข รัชดา อิสระเสนารักษ์ และวิชิต เปานิล แปล
303
• โยงใยที่ซ่อนเร้น: ฟริตจ๊อฟ คาปร้า เขียน วิศิษฐ์-ณัฐฬส วังวิญญู และสว่าง พงศ์ศิริพัฒน์ แปล • พลานุภาพแห่งเทพปกรณัม: โจเซฟ แคมพ์เบลล์ บิลล์ มอยเยอร์ส เขียน บารนี บุญทรง แปล • วิถีแมนเดลา: Richard Stengel เขียน ธิดา ธัญญประเสริฐกุล และกานต์ ยืนยง แปล • ชัมบาลา: เชอเกียม ตรุงปะ เขียน พจนา จันทรสันติ แปล • จดหมายถึงวาเนสสา: เจเรมี เฮย์เวิร์ด เขียน พิภพ อุดมอิทธิพงศ์ แปล • ศิลปะแห่งอ�ำนาจ: ติช นัท ฮันห์เขียน จิตร์ ตัณฑเสถียร และสังฆะหมู่บ้านพลัมประเทศไทย แปล • The 8th Habit from Effectiveness to Greatness: Stephen R. Covey • The Fifth Discipline: The Art & Practice of the Learning Organization: Peter M. Senge • Gentle Action: F. David Pert • Profiles in Audacity: Alan Axelrod • Leading Consciously: Debashis Chatterjee • Be the Change: How meditation can transform you and the world: ED and Deb Shapiro • The Art of Peace Morihei Ueshiba: Translated by John Stevens • Hope in the dark: Rebecca Solnit
304
เมล็ดพันธุ์ชีวิตบูรณาการ
บูรณาการไม่ใช่งานหรือโครงการ แต่เป็นกระบวนการของชีวิต ชีวิตคือข่ายใยแห่งความสัมพันธ์ สิ่งมีชีวิตบูรณาการตนเองเสมอ ประสานเชื่อมโยงตนเองกับโลกภายนอก อย่างต่อเนื่องเป็นพลวัต สูงสุดของการบูรณาการคือ ความเจริญงอกงามของชีวิตและสังคม