ThaiCycingClub Journal

Page 1

คณะกรรมการปี 2551-2553 คุณพิชิต เอื้อสกุลเกียรติ

ประธานชมรม

คุณมงคล วิจะระณะ

รองประธาน 1

คุณเกตุ วรกำธร (BOB USHER) รองประธาน 2 คณะกรรมการ คุณสุทธิชัย สุศันสนีย์

นายทะเบียน

คุณจารุกัญญา ราษฏร์ศิริ

ประชาสัมพันธ์

คุณศักดิ์รพงศ์ เกรียงพิชิตชัย

เหรัญญิก

คุณวิภาดา ภิราณุชิตพงศ์

บัญชี

คุณสุวิทย์ พิสุทธิพร

กรรมการฝ่ายกิจกรรม

คุณ ศรชัย ลิมะวรารัตน์

กรรมการฝ่ายกิจกรรม

คุณวีระพันธ์ โตมีบุญ

กรรมการฝ่ายกิจกรรม

ทพญ จินตนา โพคะรัตนศิริ

กรรมการฝ่ายกิจกรรม

คุณสมบูรณ์ กิจจา

กรรมการฝ่ายกิจกรรม

ร.ต.ลิขิต กุลสันเทียะ

กรรมการฝ่ายกิจกรรม

คุณสัจจา ขุทรานนท์

กรรมการฝ่ายกิจกรรม

คุณกัญญพัฒน์ บัณฑุกุล

กรรมการฝ่ายกิจกรรม

ISSN 1513-6-51

ฉบับที่ 215 ปที่ 18 พฤษภาคม 2552

ประชุมใหญ่ สามัญประจำปี สรุปทริปจักรยานทางไกล สิงคโปร์−มาเลเซีย

ชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทย Thailand Cycling Club www.thaicycling.com

ประชุมใหญ่สามัญประจำปี ซำเหมาอยุธยา รวมพลคนรักรถพับ ครั้งที่ 3 รีไซเคิลจักรยาน ครั้งที่ 33 สรุปทริปจักรยานทางไกล สิงโปร์-มาเลเซีย

สรุปทริปปั่นตามรอยฯ ครั้งที่ 7 มุมน้าเป็ด เชิงช่างหนึ่ง เก็บมาฝากฮอลแลนด์ ตอนจบ

รับเจาะเสาเข็ม

เครื่องสกัดคอนกรีต บริษัทปาริวรรธวิศวกรรม จำกัด

081-9192989 www.pariwat.info


ประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2552 21 มิ.ย. 2552

ชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทย ประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2552 อาทิตย์ที่ 21 มิถุนายน 2552

ณ ห้องประชุมอาคาร 7 ชั้น 2 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตอุเทนถวาย ถนนพญาไท ใกล้โรงเรียนเตรียมอุดม เยื้องมาบุญครอง อีกวาระหนึ่งที่สมาชิกทุกท่านจะได้มาร่วมกันผนึกกำลังระดมความคิด ร่วมสร้างสรรค์กิจกรรมต่างๆ เพื่อความก้าวหน้าของชมรมฯ พบปะพูดคุยกัน รับฟังรายงานผลงานกิจกรรมต่างๆ ในรอบปที่ผ่านมา รวมทั้งกิจกรรมที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต และรายงานงบการเงิน

กำหนดการ

11.00 น. ลงทะเบียน สมัครสมาชิก ต่ออายุสมาชิก ชมนิทรรศการภาพทริปต่างๆ พิเศษ!! สมาชิกท่านใดมีจักรยาน อะไหล่ หรือสิ่งของจำเปนสำหรับชาวจักรยาน สามารถนำมาแบ่งปนแลกเปลี่ยนจำหน่ายให้เพื่อนๆ ในราคาเพื่อนกันได้ สนทนาประสาชมรมฯ ร่วมรับประทานอาหารกลางวัน (สนับสนุนโดยคุณพิชิต เอื้อสกุลเกียรติประธานชมรมฯ ) 13.30 น. ชมสไลด์ภาพกิจกรรมชมรมฯ 14.00 น. เริ่มประชุม ดำเนินรายการโดยคุณมงคล วิจะระณะ มีวาระดังนี้ • เรื่องแจ้งเพื่อทราบ • รายงานงบการเงิน • รายงานผลงานและกิจกรรมต่างๆ 16.00 น. พิธีมอบเข็มกลัดและเกียรติบัตรสะสมระยะทาง โดยคุณพิชิต เอื้อสกุลเกียรติ จากนั้นร่วมสังสรรค์เฮฮาประสาชมรมฯ ร้องเพลงร่วมกัน 16.30 น. ปิดงาน

หมายเหตุ

สมาชิกและผู้สนใจท่านใดมีสินค้าหรืออุปกรณ์เกี่ยวกับจักรยานจะนำมาแลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายให้เพื่อนๆราคากันเอง ก็เชิญได้ ช่วงเวลาตั้งแต่ 11:00- 13:00 น. หรือหลังจากปิดประชุมแล้ว สำหรับสมาชิกที่เคยได้ร่วมทริปกับชมรมฯ ไม่ว่าปไหน กรุณามารับภาพถ่ายของท่านได้ ในวันนี้ มีภาพถ่ายจากทริปมากมาย รอให้ทุกท่านมารับไปด้วย ท่านใดประสงค์จะอาสาสมัครช่วยงานชมรมฯ เชิญลงชื่อสมัครได้เลยค่ะ สำหรับท่านที่สะสมระยะทางครบ 1000 ,3000 , 5000, 8000 และ10000 กม.กรุณาแจ้งชื่อเพื่อการเตรียมเกียรติบัตรและเข็มที่ระลึกที่จะมอบให้ โทร.03-6124747 อย่าลืม !! อาทิตย์ที่ 21 มิถุนายน 2552 พบกันที่ วิทยาเขตอุเทนถวาย ห้องประชุมชั้น 2 อาคาร 7 สามารถจอดรถยนต์ได้ที่ลานจอดด้านหน้าตึก จักรยานนำไปจอดหน้าห้องประชุมได้ค่ะ วิทยาเขตอุเทนถวายฯ หองประชุมชั้น 2 จอดรถ สยามสแควร

คณะเภสัชฯ

ถนนพญาไท มาบุญ ครอง

02

พฤษภาคม 2552

ที่ทำการชมรม

ร.ร.เตรียมฯ


ซำเหมาอยุธยา เยี่ยมคาราวะอาจารย์ปรีชา คนไทยคนแรกที่ปั่นจักรยานรอบโลก 417

6 -7 มิถุนายน 2552

สำหรับสมาชิกและผูร้ กั การปัน่ จักรยานซำเหมาแต่ตดิ ทีไ่ ม่มเี วลามากนักทริปนีเ้ ป็นทริปซำเหมาทีใ่ ช้เวลาไม่มากเพียงแค่2วันเท่านัน้ ระยะทางก็กำลัง พอดี พอเหมาะ ใกล้ๆกรุงเทพฯ ร่วมสัมผัสวิถชี วี ติ ชาวบ้านจากสวนรถไฟมุง่ สูพ่ ระนครศรีอยุธยา แบบง่ายๆ สไตล์นา้ หมี อีกทัง้ เป็นโอกาสทีด่ ี ทีจ่ ะได้เข้าเยีย่ ม คาราวะอาจารย์ปรีชาพิมพ์พนั ธุสมาชิ ์ กกิตติมศักดิหนึ ์ ง่ เดียวของชมรมฯพร้อมกับได้รบั รับฟังเรือ่ งราวการเดินทางด้วยจักรยานไปเรียนทีป่ ระเทศสหรัฐอเมริกาคนแรกของ ประเทศไทยที่ปั่นจักรยานรอบโลก เสาร์ที่ 6 มิถุนายน 2552 7:30 น. พบกันที่สวนรถไฟ หรือสวนวชิรเบญจทัศ กรุณารับประทานอาหารเช้ามาให้เรียบร้อยก่อน ฟังสรุปเส้นทางและแนะนำเทคนิคต่างๆในการ ปั่นจักรยานแบบต่อเนื่องเป็นกลุ่ม 8:00น.ล้อหมุนออกเดินทางตามเส้นทางสายคลาสสิคแวะพักเป็นระยะสบายๆไม่เร่งรีบและชมทัศนียภาพสองข้างทางผ่านทีท่ า่ นอาจจะได้คน้ พบความฝันและความ จริงจากประสบการณ์การปั่นจักรยานที่หลากหลายบรรยากาศ 11:30 น. ถึงพระราชวังบางปะอิน จอดรถจักรยานไว้ให้เป็นระเบียบ รับประทานอาหารกันตามอัธยาศัย ใครกินใครจ่าย (คกคจ.) แล้วไปนั่งกระเช้า ข้ามแม่น้ำชมความงดงามของวัดนิเวศน์ธรรมประวัติกัน พักผ่อนตามอัธยาศัย จากนั้นเดินออกเดินทางต่อไปในตัวเมืองพระนครศรีอยุธยา หากมีเวลา แวะเที่ยวชมวัดวาอารามเก่าแก่ที่สำคัญๆ 17:00 น. ปั่นเข้าที่พักโรงเรียนจิระศาสตร์วิทยา ใจกลางเมืองอยุธยา ซึ่งได้รับความอนุเคราะห์จากอาจารย์ปรีชาเปิดห้องเรียนอนุบาลซึ่งมีทั้งห้องพัดลม และห้องแอร์ให้พัก แยกห้องหญิง/ชาย หรือท่านใดชื่นชอบบรรยากาศส่วนตัว จะนำเต้นท์ไปกลางที่สนามก็ได้ อาหารเย็นแบบกระจายรายได้สู่ ท้องถิ่น (คกคจ.) 19:00 น. ร่วมรับฟังเรื่องเล่าการเดินทางด้วยจักรยานไปเรียนที่อเมริกาคนแรกของประเทศไทยที่ปั่นจักรยานรอบโลก และรับฟังโอวาทจากอาจารย์ปรีชา พิมพ์พันธุ์ เสร็จแล้วตั้งวงสภากาแฟเจ้าประจำ สนุกสนานเฮฮาสนทนาประชาชมรมฯ 21:00 น. แยกย้ายกันพักผ่อนตามอัธยาศัย อาทิตย์ที่ 7 มิถุนายน 2552 6:00 น. ตื่นเช้าทำธุระส่วนตัวให้เรียบร้อย 7:00 น. กราบลาและขอบคุณอาจารย์ปรีชา พิมพ์พันธุ์ แล้วออกเดินทางแวะหาของอร่อยเมืองเก่าเป็นอาหารเช้า (คกคจ.) ปั่นจักรยานท่องเที่ยวชม เมืองเก่า ได้เวลาอันสมควร เริ่มออกเดินทางกลับกรุงเทพมหานคร แวะทานอาหารกลางวันที่รังสิต (คกคจ.) 17:00 น.ถึงสวนรถไฟ ก่อนแยกย้ายกันกลับบ้าน รายละเอียดทริป • ระยะทางไปกลับประมาณ 160 กม. อาจมากหรือน้อยกว่าได้ สะสมระยะทาง • ค่าใช้จ่ายสนับสนุนกิจกรรมชมรมฯ และค่าประกันอุบัติเหตุ คนละ 200 บาท • ชำระค่าทริปโดยเงินสดที่ชมรมฯ หรือจะโอนเข้าบัญชีออมทรัพย์ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาบรรทัดทอง ในนาม พิชิต มงคล ศักดิ์รพงค์ เลขที่ 063-250311-5 แล้วกรุณาแฟกซ์สำเนาใบโอนมาที่ โทร -02 - 612 5511 หรือมาชำระที่ชมรมฯก็ได้ • เตรียมยางในอะไหล่ ชุดปะยาง(เผื่อไว้ได้หัดปะยาง) ครีมกันแดด หมวกกันกระแทก หมวกผ้า ไฟหน้า ไฟท้าย ถุงนอน ของใช้จำเป็นของแต่ละท่าน เงินสำหรับเป็นค่าอาหาร • เส้นทางลาดยางตลอด จักรยานอะไรก็มาได้ทุกประเภท ขึ้นอยู่กับกำลังของท่านแต่ควรจะมีความสามารถปั่นความเร็ว 20 กม.ต่อชั่วโมง อย่างต่อเนื่อง • สมาชิกท่านใดจะแยกกลับก่อนไม่ว่าช่วงไหน ขอความกรุณาแจ้งผู้นำทริปหรือกรรมการทราบก่อนนะครับ จะได้ไม่เป็นกังวลว่าท่านไปอยู่ที่ไหน • นำทริปโดย น้าหมี และทีมงานดูแลอย่างประทับใจ • รายการข้างต้นอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม

03

พฤษภาคม 2552


ปั่นกันเถอะเรา ครั้งที่ 23 ชวนปั่น ทริปทางไกลแต่ไม่ไกลมาก วัดพระพุทธฉาย – อทช.น้ำตกสามหลั่น จังหวัดสระบุรี

กำหนดการ วันเสาร์ที่ 13 มิถุนายน 2552 นัดเจอกันที่สวนรถไฟ เวลา 8.00 น.ล้อหมุน ปั่นไปตามถนนวิภาวดีขาออก เพราะว่ามีทางด่วนต่างระดับบังแดดให้และไม่มีไฟแดง ทำให้ไปได้คล่องตัว กระจายรายได้ไปตามร้านค้าข้างทางซึ่งมีอยู่มากมาย และอาศัยปั๊มน้ำมันเป็น ห้องน้ำได้ตลอดทางเช่นกัน....กระทั่งเลยหนองแคไปเล็กน้อยจนถึงที่หลัก กม.102 ขึ้นทางต่างระดับบายพาสไปนครราชสีมา และไปเลี้ยวขวาที่สี่แยก ไฟเขียวไฟแดงแรก....จนถึง อทช. น้ำตกสามหลั่นเข้าสู่ที่พักในเวลาประมาณ 14.00 น.รวมระยะทางขาไปประมาณ 112 กม. ถึงที่พักแล้วให้ทุกคนได้สัมผัส กับธรรมชาติของน้ำตกสามหลั่น ที่สามารถเดินป่าขึ้นเขาไปในระยะไม่ไกลนัก พร้อมทั้ง สามารถปั่นจักรยานท่องเที่ยวในบริเวณใกล้เคียง เช่นวัดพระพุทธฉาย และ อื่นอื่น สัมผัสกับวิวทิวทัศน์เรือกสวนไร่นาป่าเขาลำเนาไพร อย่างเพลิด เพลินเจริญใจ มื้อเย็นไปกระจายรายได้ที่ร้านอาหารเชิงวัดพระพุทธฉาย...ร้าน คุณต่อ อาหารตามสั่ง วันอาทิตย์ที่ 14 มิถุนายน 2552 ตื่นเช้ามาจัดการธุระส่วนตัวเสร็จสรรพ ในเวลา 6.00 น คุณต่อจะมาส่งข้าว เหนียวร้อนนุ่มติดน่องไก่ทอดมาด้วย 1 ชิ้น (คงจะเป็นน่องรวมสะโพกคุณต่อ ขอชุดละ 40 บาท มีข้าวเหนียว 10 บาท + น่องไก่ทอด 30 บาท ท่าน สามารถโทรฯสอบถามคุณต่อได้ที่เบอร์ 082−239−6277 ครับ หรือไปตกลงกัน ที่ร้านในตอนเย็นที่หน้าทางขึ้นวัดพระพุทธฉายนั่นเอง 7.00 น ล้อหมุนกลับสวน รถไฟ มาทางด้านหลังวัดพระพุทธฉาย นำไปชมอุโมงค์รถไฟ ที่ยาวเป็นอันดับ สองของประเทศไทยรองจากถ้ำขุนตาลที่จังหวัดลำปาง−ลำพูน ใช้เส้นทาง ซิงเกิ้ลเทร็กขึ้นข้ามเขาอุโมงค์นั้นเพื่อไปลงฝางนครนายกที่อำเภอวิหารแดง กลับมาทางหนองแค เข้าสู่บางกอกจนถึงสวนรถไฟต่อไป ในเวลาประมาณ 16.30 น.ระยะทางขากกลับ 120 กม.โดยประมาณครับ... เตรียมอะไรไปบ้าง คำแนะนำทั่วไปรถจักรยานพร้อมอุปกรณ์ใช้ในการเดินทาง ชุดซ่อมปะยาง หรือ ยางในเอาไว้เปลี่ยนเวลายางรั่ว เต็นท์ ถุงนอน ครีมกันแดด หมวกนิรภัยสำหรับขับขี่จักรยาน โทรฯสอบถามเพิ่มเติมที่น้าเป็ด 081 0789 532

ปั่นกันเถอะเรา

CMBKK ปั่นกันเถอะเรา” ครั้งที่ 24 เย็น วันศุกร์ที่ 26 มิถุนายน 2552 จุดนับพบ : บริเวณหน้าหอศิลป์แห่งกรุงเทพมหานคร แยกปทุมวัน ตรงข้ามมาบุญครอง
 19.30 น. ล้อหมุน

04

พฤษภาคม 2552

ปฏิทนิ ทริป ปฏิทนิ ทริป พฤษภาคม – กรกฏาคม 2552

28 ธันวาคม -3 มกราคม 2552 ศุกร์ 29 พ.ค. 52 ปัน่ กันเถอะเรา CMBKK/พบกันทีห่ อศิลป์ 6-7 มิ.ย. 52 ซำเหมาอยุธยา/พบกันทีส่ วนรถไฟ (ปัน่ ไป-กลับ) เสาร์ท่ี 13- 14 มิ.ย.52 ปัน่ กันเถอะเรา –พุทธฉาย สระบุรี 21-มิ.ย.-52 ประชุมสามัญประจำปี 2552/พบกันทีห่ อ้ งประชุมอุเทนถวายฯ ศุกร์ 26 มิ.ย. 52 ปัน่ กันเถอะเรา CMBKK/พบกันทีห่ อศิลป์ อาทิตย์ท่ี 28 มิ.ย. 52 นัดซ่อมจักรยาน /พบกันทีโ่ รงงานน้าหมี 4-8 ก.ค. 52 4Fs+ ครัง้ ที่ 3 เกาะกง-กัมพูชา อาทิตย์ท่ี 5 ก.ค.52 รวมพลคนรักรถพับ – นครปฐม /พบกันทีส่ นามศุภฯ เสาร์ท่ี 11 ก.ค. 52 ปัน่ กันเถอะเรา CMBKK/พบกันทีส่ วนรถไฟ อาทิตย์ท่ี 12 ก.ค. 52 มือใหม่หดั ขี่ – เกาะเกร็ด /พบกันทีส่ วนรถไฟ 18-19 ก.ค. 52 รีไซเคิลฉะเชิงเทรา / พบกันทีท่ ำการชมรมฯ ศุกร์ท่ี 31 ก.ค. 52 ปัน่ กันเถอะเรา CMBKK/พบกันทีห่ อศิลป์ 1-2 ส.ค. 52 ซำเหมานครนายก /พบกันทีส่ วนรถไฟ เสาร์ท่ี 8 ส.ค. 52 ปัน่ กันเถอะเรา CMBKK/พบกันทีส่ วนรถไฟ …แม่ลกู ชวนปัน่ 16 ส.ค. 52 พระประแดง บางกระเจ้า/พบกันใต้ทางด่วนสะพานแขวน ศุกร์ท่ี 28 ส.ค. 52 ปัน่ กันเถอะเรา CMBKK/พบกันทีห่ อศิลป์ 8 ก.ย. 52 สำรวจเส้นทางจักรยานประดิษฐมนูธรรม เสาร์ท่ี 12 ก.ย. 52 ปัน่ กันเถอะเรา CMBKK/พบกันทีส่ วนรถไฟ 13 .ก.ย. 52 คาราวานจักรยานทีถ่ นนสีลม 20 ก.ย. 52 Car Free Day 27 ก.ย. 52 สำรวจเส้นทางจักรยานวงแหวนรอบใน / สาธารณสุขนนทบุรี รายละเอียดอาจเปลีย่ นแปลงตามความเหมาะสม สอบถามรายละเอียดได้ท่ี 02-612-4747 หมายเหตุ สนใจทริปใดสามารถลงชือ่ จองทริปไว้ลว่ งหน้า


รวมพลคนรักรถพับ ครัง้ ที่ 3 ไหว้พระปฐมเจดีย์ นครปฐม 419

อาทิตย์ที่ 5 กรกฏาคม 2552

กระแสการใช้จักรยานนับวันจะเพิ่มจำนวนขึ้น รถพับคันเล็กๆ ก็เป็นจักรยานที่มีคนชื่นชอบและนิยมใช้เป็นจำนวนมาก เพราะมีความคล่องตัว ในการใช้ในเมืองสามารถนำพาติดตัวโดยสารไปกับรถไฟฟ้าได้ทั้งบนดิน และใต้ดิน เพื่อใช้เชื่อมต่อการเดินทางได้ระยะทางที่ไกลขึ้น อีกทั้งสะดวกในการ เก็บเมื่อถึงที่หมายไม่ว่าจะเป็นที่ทำงาน หรือสถานที่ต่างๆ ชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทย พาเพื่อนๆ ผู้รักการขี่จักรยานพับได้ ร่วมปั่น จักรยานคันโปรดไปเปลี่ยนบรรยากาศ ออกต่างจังหวัดบ้าง โดยจะพาปั่นไปเยี่ยมชม พิพิธภัณฑ์เจษฎาเทคนิคมิวเซี่ยม ซึ่งมีสิ่งของสะสมแปลกๆที่ไม่มี ใครเหมือนและหายาก เช่น รถเมล์อังกฤษสองชั้น เรือดำน้ำ เครื่องบิน รถยนต์ต่างๆ รถยนต์การ์ตูน และอื่นอีกมากมาย ชิมอาหารอร่อยๆที่ตลาด นครไชยศรี ไหว้พระปฐมเจดีย์ ที่จังหวัดนครปฐม....ส่วนพี่เสือทั้งหลายทั้งเสือหมอบ เสือภูเขาหรือรถประเภทไหนก็สามารถร่วมเดินทางไปด้วยกันได้ 06.30 น. นัดรวมพลคนรักการปั่นที่ สนามศุภชลาศัย ปทุมวัน โปรดตรงต่อเวลา สมาชิกทุกท่านรายงานตัวลงทะเบียนรับของที่ระลึก”เข็มกลัดรถพับ ครั้งที่3” และอื่นๆอีกมากมาย (ควรทานอาหารเช้ามาก่อน นำรถยนต์มาจอดได้ ณ สนามศุภฯ) 07.00 น. ฟังสรุปรายละเอียดเส้นทาง + ถ่ายรูปร่วมกัน เตรียมตัวออกเดินทาง 07.30 น. พร้อมแล้วล้อหมุนออกเดินทาง ใช้เส้นทาง สนามศุภฯ –ปั่นข้ามปิ่นเกล้า –ถ.อักษะ ถ.-พุทธมณฑล -ข้ามสะพานจักรยาน ม.มหิดล ศาลายา –ถ.ศาลายานครไชยศรี --จุดนับพบชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพจังหวัดนครปฐม ร่วมเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์เจษฎาเทคนิคมิวเซี่ยม มุ่งสู่เจษฎาเทคนิค มิวเซียมพิพิธภัณฑ์รถนานาชนิดที่หาชมได้ยาก เป็นพิพิธภัณฑ์ที่รวมรวบและจัดแสดงยานยนต์ เครื่องกล ยานพาหนะ หลากหลายชนิด เช่น รถเมล์อังกฤษสองชั้น เรือดำน้ำ เครื่องบิน รถยนต์ต่างๆ รถยนต์การ์ตูน และอื่นอีกมากมาย 12.00 น. ออกเดินทางต่อไป ข้ามสะพานนครไชย อาหารกลางวันที่ตลาดนครไชยศรีเลือกหาของอร่อยขึ้นชื่อของนครปฐมรับประทานกันตามอัธยาศัย (คกคจ.) แล้วมุ่งสู่วัดศรีษะทอง -พระปฐมเจดีย์จังหวัดนครปฐม ไหว้พระ จับจ่ายซื้อของฝากทางบ้านกระจายรายได้สู่ท้องถิ่น 16.00 น. เตรียมจัดกลุ่มแยกนำจักรยานขึ้นรถโดยสารสองแถวซึ่งจัดเตรียมไว้ให้เดินทางกลับกรุงเทพฯ 17.30 น. ถึงสนามศุภชลาศัย แยกย้ายกันกลับบ้าน รายละเอียดทริป • ระยะทางปั่นไปเที่ยวเดียว กรุงเทพฯ - นครปฐม ประมาณ 80 กิโลเมตร(สะสมระยะทาง) • เตรียมยางในอะไหล่ เครื่องมือซ่อม สูบลมพกพา หมวกกันกระแทก ถุงมือ ครีมกันแดด • เดินทางกลับด้วยรถสองแถวใหญ่นั่ง 25 คนพร้อมรถพับ และ รถจักรยานอื่นๆที่ใหญ่กว่า 20คนพร้อมรถจักรยาน • ค่าสมัครร่วมทริป พร้อม ค่ารถรับกลับ *รถจักรยานพับได้ รถจักรยานมินิทัวริ่ง รถจักรยานเล็ก 200 บาทพร้อมประกันอุบัติเหตุ *รถจักรยานเสือภูเขา หรือ รถจักรยานอื่น 250 บาทพร้อมประกันอุบัติเหตุ *สมัครร่วมทริปได้ที่ ชมรมจักยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทย 02-6124747 *แจ้งชื่อจริง นามสกุล อายุ เพศ หมายเลขโทรศัพท์ ให้ชัดเจนถูกต้อง *โอนเงินเข้าบัญชีออมทรัพย์ ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาบรรทัดทอง *ชื่อบัญชี พิชิต มงคล ศักดิ์พงค์ เลขที่ 063-250311-5 *แล้วแฟกซ์สำเนาใบโอนมาที่ FAX 02-6125511 *หรือจะนำมาชำระเองที่ชมรมTCCก็ได้....เก็บหลักฐานการโอนเงินไว้เพื่อแสดง • สมัครด่วนเพื่อการเตรียมรถให้เพียงพอ • รักชมรมขอรับใบเสร็จทุกครั้งที่ชำระเงิน • นำทริปและดูแลทริปโดย..คุณPOOMM คุณคากิ คุณNICK กรรมการชมรมฯพร้อมอาสาสมัคร สอบถามข้อมูลที่ คากิ 089-1250747 • รายละเอียดอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม

05

พฤษภาคม 2552


รีไซเคิลจักรยาน ครัง้ ที่ 33 ฉะเชิงเทรา Recycle Bicycle # 33 chachoensao

420

18 – 19 กรกฎาคม 2552

ขอเชิญชวนสมาชิกและประชาชนทั่วไปร่วมสัมผัสบรรยากาศกิจกรรมรีไซเคิลจักรยาน ครั้งที่ 33 ที่อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา และร่วม ปั่นจักรยานในเส้นทางที่สวยงาม ท่องเที่ยวชมวัด โบราณสถาน สถานที่น่าสนใจในจังหวัดฉะเชิงเทรา และจังหวัดชลบุรี ร่วมกิจกรรมรีไซเคิลจักรยาน มอบจักรยานและสิ่งของ ให้เด็กนักเรียนยากจน 2 โรงเรียน โรงเรียนวัดเสม็ดเหนือ และโรงเรียนบ้านปลายคลอง จังหวัดฉะเชิงเทรา วันเสาร์ที่ 18 ก.ค..52 05.30 น. พบกัน ณ ที่ทำการชมรมฯ ช่วยกันนำรถขึ้นรถบรรทุกจักรยาน 06.00 น. ออกเดินทางมุง่ สู่โรงเรียนวัดเสม็ดเหนืออำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทราด้วยรถบัสปรับอากาศแวะรับประทานอาหารเช้าระหว่างทาง(คกคจ.) 09.00 น. ถึงโรงเรียนวัดเสม็ดเหนือ ช่วยกันนำจักรยานและของบริจาคลงจากรถ ร่วมพิธีมอบจักรยานจำนวน 50 คันให้นักเรียนโรงเรียนวัดเสม็ดเหนือ และโรงเรียนบ้านปลายคลอง เสร็จแล้วช่วยกันสอน และซ่อมจักรยานของนักเรียนเพื่อคืนชีวิตของการเดินทางให้กลับคืนสู่สภาพที่ใช้งานได้ 12.00 น. ร่วมกันรับประทานอาหารกลางวัน 13.00 น. ทีมชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพจังหวัดฉะเชิงเทราจะนำปั่นไปชมสระสี่เหลี่ยม โบราณสถานที่น่าสนใจในอำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรีด้วยเส้น ทางคลาสสิกเลียบบ่อกุ้ง ท้องทุ่งนา 17.00 น. กลับถึงโรงเรียนวัดเสม็ดเหนือ เข้าพักให้ห้องที่โรงเรียนจัดให้ มีเครื่องนอนพร้อมตามอัธยาศัย 18.00 น. ร่วมรับประทานอาหารเย็นทีโ่ รงเรียน ตัง้ วงสนทนาประชาชมรมฯ พร้อมกาแฟรสชาติทไี่ ม่เหมือนใครของอาสุทธิชยั น้ำชารสเลิศของอาธีรยุทธ์ 21.00 น. แยกย้ายกันนอนตามอัธยาศัย ระยะทางวันนี้ประมาณ 40 กม. วันอาทิตย์ที่ 19 ก..ค. 52 07.00 น. เก็บสัมภาระให้เรียบร้อย ปั่นไปรับประทานอาหารเช้า ต้มเลือดหมูเจ้าอร่อยของบางคล้า กระจายรายได้สู่ท้องถิ่น (คกคจ.) 08.00 น. อิ่มแล้ว ปั่นไปเที่ยวชมฟาร์มม้า เมธีอาชาอุสุภาฟาร์ม ฟาร์มที่เลี้ยงม้าน่ารักๆ พร้อมวิทยากรให้ความรู้เรื่องการเลี้ยงม้า เสร็จแล้วเดินทาง ต่อไปตลาดบางบ่อแวะชิมข้าวหลามที่ขึ้นชื่อของชุมชนวัดหัวสำโรง ซึ่งโดยปกติจะทำการเผาข้าวหลามเพียงปละครั้งในวันมาฆะบูชาเท่านั้น โอกาสนี้ทางชุมชนจะทำการเผาข้าวหลามให้ชิมเป็นกรณีพิเศษ อิ่มอร่อยเรียบร้อยแล้วปั่นไปวัดเขาสุวรรณคีรี (วัดดงเขายาง)อำเภอ พนมสารคาม ขึ้นเขาไปนมัสการรอยพระพุทธบาทจำลอง ชมโบสถ์บนเขา แล้วปั่นไปหาของอร่อยเป็นอาหารกลางวันที่ตลาดน้ำบางคล้า ตามอัธยาศัยกระจายรายได้สู่ท้องถิ่น(คกคจ.) 16.00 น. กลับมาที่โรงเรียนวัดเสม็ดเหนือ นำจักรยานขึ้นรถบรรทุกจักรยาน อาบน้ำเปลี่ยนเสื้อผ้าเตรียมตัวเดินทางกลับกรุงเทพฯ แวะซื้อของฝากขึ้น ชื่อของฉะเชิงเทรา อาหารเย็นระหว่างทางตามอัธยาศัย (คกคจ.) รวมระยะทางวันนี้ประมาณ 60 กม. 20.00 น. เดินทางถึงกรุงเทพฯ ณ ที่ทำการชมรมฯ โดยสวัสดิ์ภาพพร้อมด้วยความสุขอิ่มใจที่ได้ร่วมกันสร้างสรรค์สิ่งดีๆ เนื่องจากทริปนี้เป็นทริปการกุศล นำจักรยานและสิ่งของไปมอบให้เด็นักเรียน ที่ด้อยโอกาส ขอให้ผลบุญที่เพื่อนชาวจักรยานและสมาชิกได้ ร่วมกันทำบุญในครั้งนี้ ขอให้ดลบันดาลให้เพื่อนๆ และครอบครัวที่ท่านรักมีความสุข สุขภาพแข็งแรงโดยทั่วกัน รายละเอียดทริป • ระยะทางทั้งหมดประมาณ 100 กม. อาจมากหรือน้อยกว่าได้ สะสมระยะทาง • เตรียม ถุงนอน รองเท้าแตะ กล้องถ่ายรูป ไฟฉาย ยาประจำตัว ครีมกันแดด ของใช้ส่วนตัว เตรียมยางในอะไหล่ ชุดปะยาง เครื่องมือซ่อมพื้นฐาน หมวกกันกระแทก หมวกผ้า • กรุณาตรวจเช็คสภาพรถจักรยานคู่ใจของท่านให้พร้อมปั่น เส้นทางเรียบ มือใหม่ มือเก่ามาได้ นอกจากจะได้ทำบุญช่วยให้น้องๆมีจักรยานใช้แล้ว ยังได้ท่องเที่ยวธรรมชาติอันงดงาม • ใครมีสิ่งของจะบริจาค เช่น รองเท้านักเรียน เสื้อผ้า อุปกรณ์การกีฬา เครื่องเขียน หนังสือ สามารถนำมาบริจาคได้ที่ชมรมฯ ก่อนออกเดินทาง • ค่าสมัครไปทริป สำหรับสมาชิกเพียง 700 บาท ไม่สมาชิก 900 บาท รวมค่ารถปรับอากาศ ค่ารถบรรทุกจักรยาน ค่าประกันอุบัติเหตุ ค่าอาหาร 2 มื้อ • สมัครได้ที่ชมรมฯ แจ้งชื่อ นามสกุล อายุ เบอร์โทรศัพท์ ให้ชัดเจนถูกต้อง ที่ 02-6124747 โอนเงินเข้าบัญชีออมทรัพย์ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาบรรทัดทอง เลขที่ 063-250311-5 ชื่อบัญชี คุณพิชิต คุณมงคล คุณศักดิ์รพงค์ แล้วแฟกซ์สำเนาใบโอนมาที่ 02-6125511 หรือจะมาชำระที่ชมรมฯเลยก็ได้ รักชมรมฯ..ขอรับใบเสร็จทุกครั้งที่ชำระเงิน • สมัครและชำระเงินก่อนมีสิทธิ์เลือกที่นั่งก่อน รับจำนวนจำกัด 50 ท่านเท่านั้น นำทริปโดยน้าหมี คุณยุ่ง คุณหมอวิรัตน์ และคุณหมอจินตนา และชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพฉะเชิงเทรา 06 รายการข้างต้นอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม

พฤษภาคม 2552


สรุปทริปจักรยานทางไกล สิงคโปร์−มาเลเซีย โดย..หลิน…….ในอีกมุมมองหนึง่

10-20 เมษายน 2552

ตั้งแต่เคยร่วมทริปกับ TCC มามากมายหลายครั้ง ทริปนี้เป็นทริปต่างประเทศที่มีโอกาสได้ไปเป็นครั้งแรก แต่ก่อนที่จะสามารถจัดเป็น ทริปที่ประสบความสำเร็จได้อย่างนี้ถ้าจะเปรียบเป็นภาพยนตร์สักเรื่องหนึ่งต้องบอกว่า BEHIND THE SCENE หรือเบื้องหลังการถ่ายทำนั้น วุ่นวายกันพอสมควร เพราะกว่าจะลงตัวทั้งผู้สมัครเอง การจองตั๋วเครื่องบิน ( แน่นอน ต้องรอจังหวะที่ราคาถูกที่สุด นั่นหมายว่าไม่เป็นอันทำ อย่างอื่นกันเลย ณ ช่วงเวลานั้น ) ไหนจะเรื่องที่พัก การตัดสินใจในแต่ละขั้นตอนของผู้จัดเอง การเตรียมคู่มือการเดินทาง ยังไม่รวมการนัด ประชุมอีกหลายครั้ง ทุกคำถามที่ประดังเข้ามา และการติดต่อประสานงานกับผู้ร่วมทริปทุกท่าน เล่นเอาเหงื่อหยดเลยครับพี่น้อง และแล้ววันที่รอคอยก็มาถึง.. ด้วยมีหลายท่านติดภารกิจหน้าที่การงาน เราจึงแบ่งการเดินทางไปเป็น 2 กลุ่มเป็นช่วงเช้า และเย็น รวม 35 คน กลุ่มแรกที่เดินทางถึงสิงคโปร์ เพราะส่วนใหญ่เป็นคนที่มีอาชีพอิสสระในเรื่องของเวลา ค่อนข้างได้เปรียบเล็กน้อย แต่เนื่องจากฝนตกหนักตลอด บ่ายที่ไปถึงกว่าจะได้ปั่นชมเมืองจริงๆก็ตกเย็น ซึ่งเป็นเวลาอิสสระพวกพี่ขาแรงก็รวมกลุ่มปั่นไปสถานที่น่าสนใจของเมืองสิงคโปร์ ตอนขาไปเป็น กลุ่มใหญ่ 13 คน ไหง ขากลับเหลือแค่ 8 คนได้เนี่ย ปรากฏว่าอีก 5 ท่านยังหลงใหลความสวยงามของเมืองยังไม่เสร็จค่ะ ดีว่าแต่ละท่านเป็น ผู้แก่กล้าเลยพากันกลับที่พักได้ในเวลาไม่นาน นี่แค่วันแรกนะคะก็สนุกตื่นเต้นแล้วนะเนี่ย กลางดึกกลุ่มที่สองก็ตามมาสมทบ วันแรกของการเริ่มต้นเดินทางไกลที่ปั่นจากสิงคโปร์เข้ามาเลเซียนั้น หลังจากชมรม Bike Aid พาปั่นไปเลี้ยงอาหารเช้าต้อนรับ มีเพื่อนนักปั่นชาว สิงคโปร์ 14 คนร่วมปั่นมาด้วย ทางที่เข้าด่านตรวจคนเข้าเมืองเป็นเนินส่วนใหญ่ เหมือนกับจะบอกเราว่า เดี๋ยวคุณเข้ามาเลเซียแล้วจะยิ่งกว่านี้นะจ๊ะ ในขณะที่กำลังรอคิวตรวจเข้าเมืองอยู่นั้นเจ้าหน้าที่เดินออกมาโวยวายว่า No photo! No photo! แชะ แชะ ไม่ทันแล้วละค่ะ สมาชิกของเราท่าน หนึ่ง กดถ่ายรูปไปซะแล้ว เลยต้องโดนเชิญตัวไปลบรูปภาพกันในออฟฟิศ ต่อมาก็ไม่คาดฝันว่าจะเกิดกับตัวข้าพเจ้าเอง ด้วยความที่ นานน๊านจะ ออกนอกประเทศซักที โดยการลืมบัตรผ่านเข้าเมืองไว้ที่โรงแรมในสิงคโปร์ โดนเชิญตัวเข้าออฟฟิศเหมียนกัลย์ ความเครียดเข้าครอบงำเลยค่ะพี่น้อง ไม่ได้เกรงกลัวความผิดแต่อย่างใด แต่เกรงใจที่ผู้ร่วมทริปทุกท่านที่กำลังเครื่องร้อนรอเราอยู่ต่างหาก กว่าจะดำเนินพิธีการผ่านการตรวจเรียบร้อย ปาเข้าไปเกือบ บ่าย 3 โมง ยังเหลือระยะทางเกือบ 90 กม.กว่าจะถึงที่พัก หลังจากนั้นพวกเราก็ปั่นไปเมืองแรก Kukup พักที่ Kukup Resort เนื่องจากฝนตกหนักตลอดบ่าย พวกเราก็ปั่นกันกลางสายฝนนี่แหละ เย็นดีแท้ (ก็หยุดไม่ได้เดี่ยวไม่ถึงที่พัก แทบไม่น่าเชื่อความฟิตความสดของ ทุกท่านเราถึงที่พักก่อนตะวันตกดิน…) แต่ที่น่าขำก็คือ ผ้าร่มกันฝนที่ข้าพเจ้าเอาไปสวมทับกระเป๋าเพื่อกันฝนนั้น พอถึงที่พักปรากฏว่ามีน้ำขัง อยู่เต็ม เลยกลายเป็นว่า แทนที่จะกันน้ำเข้ากลายเป็นกันน้ำออกซะนี่ ฮาฮาฮาห้องพักวันนี้เป็นแบบรวมแยกหญิง−ชาย ที่พักเป็นแบบชาวบ้าน (ยืนยันค่ะ เป็นแบบชาวบ้านจริงๆ ขนาดได้เวลานอนแล้ว ลูกๆเจ้าของที่พักวิ่งเล่นกระจายรอบๆที่พักที่เป็นเรือนไม้อยู่เลยค่ะ ค่ำนั้นมีปาร์ตี้บาบีคิว ริมทะเลแสนโรแมนติก ที่พักในวันต่อๆมานั้นอยู่ที่ระยะทางเหมาะสมที่เราสามารถปั่นไปถึง แม้จะมีของแถมบ้าง ส่วนใหญ่เป็นห้องพักเป็นคู่ ดูสุดหรูค่ะ มีบางวันที่พัก 3 −4 คนต่อห้องในเมืองเล็กๆ อ่านต่อหน้า 8 >>>

07

พฤษภาคม 2552


ตั้งแต่วันแรกที่ในมาเลเซียได้รับการทักทายต้อนรับด้วยฝนที่ตกหนัก หลังจากวันนั้นก็ไม่เจอฝนอีกเลยค่ะ อากาศที่มาเลเซีย สำหรับนักปั่นแล้ว ร้อนค่ะ ร้อนมาก กับ ร้อนที่สุด อากาศในเมืองไทยที่ว่าร้อนมากๆ เวลาที่พักใต้ต้นไม้แล้วก็เย็นหายเหนื่อย แต่ที่นี่เหมือนกับว่าจะร้อนได้ตลอด เวลา ใกล้เมืองใหญ่ที่นี่จะมีเส้นทางมอเตอร์ไซด์สัญลักษณ์ทาสีแดงไว้ เป็นทางที่จักรยานและมอเตอร์ไซด์ใช้ มาเลเซียเป็นเมืองที่ประชาชนเคารพ กฎจราจรดี ไม่มีรถยนต์เข้ามาจอดหรือขับเข้ามาในเส้นทางเฉพาะนี้เลย แต่อย่าหลงเข้าไปใช้ทางรถยนต์เชียวนะคะ พี่แกไม่ชะลอให้เลย เล่นแบบ ทางใครทางมัน อย่ามายุ่งกันนะ วันที่ปั่นจาก Kajang เข้าสู่ Kualalumpur นั้นระทึกใจไม่น้อย ต้องตื่นกันตั้งแต่ตีสี่ครึ่งเพื่อที่จะปั่นเข้ากรุงกัวลาลัมเปอร์ตอนตีห้าครึ่งเพราะ เป็นวันทำการปกติ ซึ่งบ้านเขารถติดสาหัสสากรรจ์ไม่แพ้บ้านเรา พวกเรามีโอกาสปั่นบนทางด่วน ลักษณะแบบบ้านเรา แต่ที่นี่จักรยานและ มอเตอร์ไซด์ขึ้นไปใช้ได้ ไม่เสียค่าผ่านทางเหมือนรถยนต์ เป็นประสบการณ์ที่ตื่นเต้นมาก พวกเราเรียงหน้ากระดานปั่นตามเส้นขาว มีรถยนต์วิ่ง แบบไม่ชะลอทั้งสองข้าง ระหว่างทางยางแตกกันเป็นระยะหลายคน เพราะเจอเศษเส้นใยเหล็กจากยางรถบรรทุกที่ยางเสื่อมสภาพหลุดร่วงบนพื้น เราปั่นไปท่ามกลางฝนที่ลงมาปรอยปลาย เป้าหมายคือตึกแฝด ปิโตรนัส นั่นเอง น้าหมีบอกว่าเปรียบเหมือนกองทัพพระเจ้าตาก ทุบหม้อข้าว ตรงนี้แล้วไปยึด เอ๊ย ไปหาทานมื้อเช้าในแถวๆตึกปิโตรนัสแหละ พอมาถึงแล้ว โอ้โห..ตึกอะไรหนอช่างสูงเสียดฟ้าเวลาแหงนมองเงี้ย คอหายเข้าไป ในบ่าเลยค่ะ พวกเราทุกคนดูจะตื่นตาตื่นใจ แถมตื่นเต้นที่ได้อุตส่าห์ปั่นมาถึงเป้าหมาย ไม่แพ้ผู้คนรอบข้างที่ดูเขาก็มีความรู้สึกคล้ายๆกันเวลาที่ มองมาที่พวกเรา แถมตอนที่พวกเรามารวมตัวกันหน้าตึกเพื่อรอเวลานัดพบ ทุกท่านอยู่ในอิริยาบถพักผ่อนเต็มที่ บ้างงีบนอน บ้างถ่ายรูปบ้างถอด รองเท้าผึ่งเอา ดูๆไป ถ้าพวกเราไม่ได้ใส่ชุดจักรยานที่เหมือนๆกันเป็นทีม เขาคงนึกว่าเราเป็นพวกอพยพมาจากประเทศไหนสักแห่งแน่ๆเลยค่า

ช่วงที่ปั่นจาก Kualalumpur เข้าสู่ Bentong สุดยอดเลย หลังจากปั่นร้อนมหาโหดมาซะหลายวัน เส้นทางวันนี้ปั่นผ่านเส้นทางในป่าอากาศ เย็นสบายถึงจะมีเนินก็เถอะ ช่วงที่ผ่านสายน้ำไหลที่มาจากน้ำตกที่อยู่เบื้องบน สมาชิกบางท่านอดไม่ได้ที่จะแช่สายน้ำที่อยู่ระหว่างทาง แต่ที่เด็ด สุดคือ มีบางช่วงที่จอดพัก มีพ่อค้าขับมอเตอร์ไซค์ผ่านมา เห็นเขียนข้างรถว่า AYAM SATAY ใช่แล้ว อาหารแหงๆ ไม่รอช้าโบกมือตะโกน เรียกทันใด พี่บังก็รวดเร็วทันใจ เบรกพรืดๆๆๆๆๆ รถยนต์ข้างหลังเกือบเบรกไม่ทันแน่ะ ปรากฏว่า แกเปิดท้ายกล่องจักรยาน โอ้โห.. มีทั้งไก่สะเต๊ะ และเนื้อสะเต๊ะ น้ำจิ้มยังร้อนๆอยู่เลยค่ะ สนนราคาไม้ละสามบาทเท่านั้น อิ่มอร่อยไปอีกมื้อแล้วค่ะคุณขาก่อนถึงที่ทานอาหารกลางวัน และ ทีพักที่ Bentong วันท้ายๆที่ก่อนที่จะมาถึงบางท่านก็มีการแยกตัวไปเที่ยวส่วนตัวบ้าง บางท่านก็เช่าเหมารถไปถึงที่หมายก่อนเวลาเพื่อที่จะมีเวลาสำรวจพื้นที่ได้ มากขึ้น วันที่สุดท้ายก่อนปั่นเข้า Singapore พวกเราปั่นกันมาถึง Mersing มีนักปั่นชาวสิงค์โปรกลุ่มใหญ่ ได้มาปั่นรอเพื่อที่จะร่วมปั่นเข้าสิงค์โปร ด้วยกันในวันรุ่งขึ้นน่าชื่นใจจริงๆเลยค่ะ ( อ่านต่อฉบับหน้า )

08

พฤษภาคม 2552


วันที่เราปั่นกลับมาถึงสิงคโปร์นั้น ได้เข้าพักโรงแรมเดิม ชาวชมรมจักรยาน Bike Aid ได้มาเตรียมต้อนรับนำรถรับส่งไปยังสถานที่เลี้ยงส่ง พวกเราในตอนเย็น อาหารอร่อยมาก ถือโอกาสมอบเกียรติบัตรชื่นชมเหล่าผู้กล้า โดยได้รับเกียรติจากประธานชมรม Bike Aid เป็นผู้มอบ พวกเราต่างฝ่ายต่างมีเรื่องเล่าสู่กันฟังมากมาย (ทั้งๆที่ส่วนใหญ่ไปด้วยกันแท้ๆ ฮาฮาฮา) วันรุ่งขึ้นมีเวลาเหลืออีกครึ่งวันต่างฝ่ายต่างแยกกันเที่ยวตามความชอบแต่ละท่าน บ้างก็ปั่นเที่ยวในสถานที่ที่กลุ่มที่สองยังไม่ได้มีโอกาสได้ไป บ้างก็ แยกไปช๊อปปิ้งตามอัธยาศัยก่อนที่ช่วยกันแพ็คจักรยานลงกล่องก่อนจะบินกลับประเทศไทย ต้องขอกล่าวถึง สองชาวสิงค์โปรที่รักสองท่าน Mr. Hwee Beng Ler และ Ms. Jennifer Oh สองท่านที่กล่าวมานี้เป็น สมาชิก ของ ของสิงคโปร์ และเป็นเพื่อนรักของ น้าหมีด้วย ทริปนี้จะไม่มีวันสำเร็จลงได้เลยถ้าปราศจากการ ช่วยเหลือ ความร่วมมือ ความมีน้ำใจ และความเสียสละเวลาของทั้งสองท่านนี้ จากการได้ร่วมมือกันทำงานทำให้ทราบการทำงานที่มีประสิทธิภาพ ของคนสิงคโปร การวางแผนที่รัดกุมทั้งแผนที่โดยการที่เขียนอย่างละเอียดปฏิบัติได้จริง สำหรับสถานที่ที่จะต้องปั่นในแต่ละวัน ถึงแม้จะผ่าน การสำรวจมาแล้ว เพื่อหลีกเลี่ยงการผิดพลาด ในทุกค่ำคืนขณะที่ทุกท่านเข้าที่พัก พักผ่อนกันแล้ว คุณ เลอจะต้องไปสำรวจอีกครั้งก่อนเสมอ อย่างเช่นคืนก่อนที่จะปั่นเข้า กัวลาลัมเปอร์ ในตอนเช้า คุณเลอก็พาไปสำรวจทางชี้ทางให้ผู้นำทริปทราบ เผื่อนักปั่นของเราจะหลงทางกัน ผลพลอยได้จากการสำรวจกับเขาด้วย ตึกปิโตรนัสที่เราเห็นยามค่ำคืนนั้นช่างอลังการงานสร้าง มะลังมะเลือง อะไรเช่นนี้หนอ ตึกสเตนเลสทั้งหลัง มีไฟที่ต่างสีกันเล็ดลอดออกมาจากทุกชั้นทุกช่องของตึกมองเด่นเป็นสง่าเห็นได้แต่ไกล ราวกับตึกที่ทำด้วยเพชรเงาแวววาว ช่างผิดกับบรรยากาศ ในยามกลางวันเสียนี่กระไร ด้วยที่ผู้ร่วมทริปมีจำนวนมาก มีไม่กี่คนที่คุณเลอรู้จัก ดังนั้นเขาจะมีเคล็ดลับในการจำผู้ร่วมทริปแต่ละท่าน และมี วิธีการจำชื่อไทยที่เขาไม่คุ้น โดยการตั้งชื่อให้ในสิ่งที่เขามองเห็นอย่างเช่น คุณ สันติ Mr. Fitness หรือ Handsome guy นาย กล้ามหญ่าย คุณนันทพล Mr. Young Man เพราะหนุ่มที่สุดในทีม คุณแต๋ว คนนี้ Mr. Ler ชมว่าท่าปั่นสวยที่สุด ตอนหลังได้ชื่อว่า Ms. Fell (เพราะตอนหลังหกล้ม) คุณวิชัย Mr. Tricycle Man เพราะพี่ท่านเปลี่ยนล้อใหม่หนึ่งข้างแทนข้างที่เสียแล้ว แต่ยังไม่ยอมทิ้งล้อเสียไป ปรากฏว่าท่านแบกไป ไหนไปด้วยตั้งแต่มาเลเซีย ถึง สิงค์โปร์ เดชะบุญว่าพวกเราไม่ได้ปั่นจากสิงค์โปรถึงเมืองไทยด้วยนะเนี่ย ม่ายง้าน….? คุณ ตุ๊ก Ms. Lost เพราะความที่เป็นสาวขาแรง เลยชอบแถมระยะทางให้ตัวเอง คุณ ชัยยันต์ The Hermit เพราะพี่ท่านมีนิสัยชอบใกล้ชิดธรรมชาติ และความสงบ สมกับที่ได้ชื่อว่าท่านฤาษี เหล่านี้เป็นต้น นี่ยังไม่รวมถึงรถคันเล็กๆของ คุณเจนนิเฟอร์ที่นำมาใช้บริการขนน้ำดื่ม ขนม ช่วยนำทาง และดูแลพวกเราชาวนักปั่นทุกคน สร้างความประทับใจ พวกเราทุกคน ขอขอบพระคุณจริงๆค่ะ อุแม่เจ้า..เจ้ารถมหัศจรรย์ ทำได้ทุกอย่าง บริการสุดยอด เป็นที่น่ายินดี ที่พวกเราได้มีส่วนช่วยโครงการรีไซเคิลตามวัตถุประสงค์ของการเดินทางครั้งนี้ หลังจากสรุปค่าใช้จ่ายต่างๆ เรียบร้อยแล้ว ส่วน ที่เหลือรวมกับส่วนที่ผู้สนับสนุนช่วยเหลือ มีเงินเข้าโครงการถึงกว่าสองแสนบาท ถึงแม้ว่าวุ่นวายและเหน็ดเหนื่อยก่อนที่จะจัดทริปได้สำเร็จดั งที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น อีกทั้งมีอุปสรรคอีกมากมายในระหว่างการเดินทาง ต้องเผชิญกับฝนที่ตกลงมาอย่างหนัก อีกทั้งเจอกับแดดที่มหาโหด เส้นทางที่ยาวไกลกว่าที่วางไว้ ..แบบมีแถมแทบทุกวัน แต่เราก็มีความสุขในการร่วมทริปนี้อย่างมากมาย ด้วยมิตรภาพระหว่างเพื่อนร่วมทริป จากเส้นทางปั่นที่สวยงาม ความอุดมสมบูรณ์ที่ยังมีอยู่ อีกมากของประเทศเพื่อนบ้าน ผู้คนและรอยยิ้มที่เป็นมิตร อาหารอร่อย ราคาไม่แพงใกล้เคียงกับของบ้านเรา เป็นความประทับใจความภาคภูมิใจ ที่สามารถปั่นได้สำเร็จ เป็นประวัติศาสตร์อีกหน้าหนึ่งที่พวกเราชาว TCC ต้องนำมาพูดคุยกันอีกอย่างไม่รู้เบื่อ และไม่รู้จบ แต่ที่แน่ๆ กลับมาถึง เมืองไทยแล้วทุกๆท่าน สุขภาพแข็งแรง และมีความสุข พวกเราชาว TCC หายเหนื่อยและมีความสุขค่ะ ขอกราบขอบพระคุณและปรบมือดังๆ ให้กับผู้กล้าที่ร่วมทริปทุกๆท่านค่ะ ขอพระขอบคุณ ชมรมจักรยาน Bike Aid (Singapore) และสมาชิกชมรม

09

พฤษภาคม 2552


สรุปทริปปัน่ ตามรอยประวัตศิ าสตร์กรุงรัตนโกสินทร์ ครัง้ ที่ ๗ โดย..แซงแซว

วันอาทิตยที่ 11 เมษายน 2552 เวลา 07.30 - 12.30 จำนวน ประมาณ 120 คัน

เช้านี้มีความกระตือรือร้นเป็นพิเศษ กับการเตรียมตัวไปร่วมปั่นจักรยานในกิจกรรม ย้อนรอยประวัติศาสตร์รัตนโกสินทร์ ครั้งที่ ๗ แม้จะเคยไปร่วม กิจกรรมนี้มาก่อนหน้านั้นแล้ว แต่ในคราวนี้มีความรู้สึกที่แตกต่าง เพราะครั้งนี้เป็นกิจกรรมที่จะได้มีโอกาสร่วมกลุ่มปั่นจักรยานไปชมสถานที่ทาง ประวัติศาสตร์อันสำคัญของรัตนโกสินทร์... เป็นครั้งสุดท้าย! จะด้วยเพราะการสิ้นสุดของโครงการ หรือด้วยเหตุผลอื่นใดก็ตาม กิจกรรมครั้งนี้ถือเป็นการ ส่งท้ายความรู้สึกดีๆ ที่ชุมชนคนรักการปั่นจักรยานเพื่อสุขภาพและท่องเที่ยว ได้มาร่วมเส้นทางที่ให้ทั้งสาระและความรู้ เคียงคู่การดูแลทั้งสุขภาพ สิ่งแวดล้อมและตัวผู้ปั่นจักรยาน จักรยานสีน้ำเงินคู่ใจพร้อมอุปกรณ์บันทึกภาพที่พกติดท้ายอาน พามาถึงสวนสราญรมย์แต่เช้าตรู่ มีเหล่านักปั่นย้อนรอย ประวัติศาสตร์มารอคอยกันปะปราย ได้ทักทายพูดคุยกันเป็นที่อบอุ่นเพลิดเพลินจนเมื่อเวลาล่วงเลยสู่กำหนดนัดหมาย มีจักรยานเข้ามาจอดเรียงราย หนาตารอบพื้นที่จุดนัดพบ ขณะเดียวกับที่คุณต่อ( คุณระพีพัฒน์ เกษโกศล )ปรากฏกายขึ้นพร้อมคุณหนูนาและทีมงานกับเอกสารปกใหญ่ จัดแจง เชิญชวนให้สมาชิกร่วมลงทะเบียนครั้งประวัติศาสตร์ พร้อมรับเอกสารคู่มือการปั่นจักรยานท่องเที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์ฉบับเล็ก แต่แน่นไป ด้วยข้อมูลแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ มากมาย กว่าจะลงทะเบียนกันเสร็จเวลาก็ล่วงเลยไปมากโข คุณต่อจึงเชิญชวนมาร่วมกลุ่มกันฟังสรุปเส้นทางในการปั่นไปชมกันเสียก่อนพร้อมทั้งแนะนำวิทยากร ( ชั้นเซียน ) สำหรับทริปส่งท้ายนี้คือคุณนัทหรือ คุณจุลภัสสร พนมวัน ณ อยุธยา ซึ่งเป็นนักวิชาการวัฒนธรรม ของสำนักงานคณะกรรมการ วัฒนธรรมแห่งชาติ และยังรับหน้าที่เป็นประธานชมรมสยามทัศน์อีกด้วย ทริปนี้ความรู้ไม่แน่นก็ไม่รู้จะว่าอย่างไรแล้ว เนื่องจากทริปนี้เป็นกิจกรรม ครั้งที่ ๗ และเป็นครั้งสุดท้ายของการปั่นย้อนรอยประวัติศาสตร์ฯ ซึ่งทางกองการท่องเที่ยวกรุงเทพฯได้กรุณาจัดให้มีขึ้น โดยมีเจ้าหน้าที่น่ารักๆ มาอำนวยความสะดวกนักปั่นทุกครั้ง และมีชาวชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทยมาร่วมกิจกรรมนี้ คอยช่วยกันดูแลนักปั่นทั้งทุกเพศทุกวัยเสมอ ทางคณะกรรมการชมรมจึงได้จัดของที่ระลึกเป็นหมวกสำหรับสวมขี่จักรยานให้กับทีมของคุณต่อเป็นที่ระลึก หลังจากทำความเข้าใจเรื่องเส้นทางเป็นทีเรียบร้อย ทุกท่านทุกคันต่างไปรวมพลกันที่ประตูทางออกของสวนสราญรมย์ เพื่อขับเคลื่อนพลังสองขาพา สองล้อไปสามเส้นทางเป้าหมาย กลุ่มจักรยานสารพัดรุ่นทยอยออกจากสวนฯ ไปตามเส้นทางจนถึงแยกหน้าสน.พระราชวัง รอกลุ่มกันเพื่อข้ามแยก ไปทางถนนมหาธาตุ เพื่อเลี้ยวเข้าวัดวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามหรือวัดโพธิ์ แล้วไปจอดรถกันที่ลานบริเวณด้านข้างวิหารของพระนอน จากนั้น เดินลัดเลาะไปสู่วิหารทิศตะวันออก เพื่อไปรับฟังเรื่องราวของพระโลกนาถภายในวิหารขนาดไม่เล็กไม่ใหญ่ เป็นที่ประดิษฐานองค์พระโลกนาถ ซึ่งคุณ นัทได้บอกเล่าเรื่องราวเหตุการณ์สำคัญที่เกี่ยวข้องเมื่อครั้งอยุธยาเสียกรุง ว่ามีความเกี่ยวข้องกับพระพุทธรูปองค์นี้ คือหนึ่งในลางบอกเหตุเมื่อครั้งเสียกรุง โดยก่อนที่จะเสียกรุงศรีอยุธยาในครั้งนี้ มีบันทึกจากคำบอกเล่าของคนกรุงเก่าว่า... ก่อนที่จะเสียกรุงฯ ได้เกิดเหตุการณ์อันเป็นลาง ๕ ประการ คือ.. ๑. เกิดมีน้ำไหลออกจากพระเนตรของหลวงพ่อโต ที่วัดพนัญเชิง ๒. เกิดมีฝูงอีกาตีกัน จนร่วงตกลงมาและถูกเสียบตายอยู่บนยอดเจดีย์วัดมหาธาตุ ๓. เกิดมีสุรเสียงก้องท้องพระโรงจากพระรูปขององค์พระนเรศวร ๔. นัยตาของพระพุทธรูปนาคได้หลุดลงมาอยู่ที่มือ ๕. องค์พระโลกนาถอกแตก

10

พฤษภาคม 2552


พระโลกนาถนั้นมีความสูงห้าวา หรือประมานสิบเมตร สร้างขึ้นเมื่อสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ นำมาประดิษฐานอยู่ภายในวิหารทิศตะวันออก มีความ เชื่อกันว่าหากมาอธิษฐานขอบุตรกับท่านแล้ว จะได้อภิชาตบุตรมากำเนิด ทุกคนต่างทึ่งในเรื่องราวแห่งอดีตขององค์พระโลกนาถ ที่มีความเกี่ยวข้องกับ เหตุการณ์สำคัญของประวัติศาสตร์ชาติ จึงทยอยนมัสการองค์พระ ก่อนที่จะเดินทางออกจากที่นั่น.. ชาวคณะนักปั่นเคลื่อนตัวออกจากวัดโพธิ์ ไปตามเส้นทางถนนมหาธาตุ เลี้ยวเข้าถนนหน้าพระลาน ผ่านมหาวิทยาศิลปากร เลี้ยวซ้ายตามเส้นทางข้างสนามหลวง แล้วเลี้ยวเข้าถนนราชนี เพื่อเข้าชม “วังหน้า” หลังจากแยกย้ายกันไปจอดเทียบจักรยานตามสะดวก และเป็นระเบียบเรียบร้อยแล้ว คุณต่อและคุณนัทได้นำทุกท่านขึ้นบันไดไปยังด้านหน้าของอุโบสถ วัดบวรสถานสุธาวาส ซึ่งคำว่า “บวร” หมายถึง “วังหน้า” นั่นเอง และบริเวณพื้นที่แห่งนี้ คือวัดซึ่งอยู่ในพื้นที่ประทับของวังหน้า เป็นตำแหน่ง รองมาจากพระมหากษัตริย์ในสมัยนั้น โดยมีอาณาบริเวณของวังหน้าเดิมตั้งแต่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิทยาลัยนาฏศิลป์ รวมถึงตอนเหนือของท้อง สนามหลวง ซึ่งเมื่อก่อนนั้นมีเพียงครึ่งเดียว ก็คือถึงช่วงที่มีถนนผ่ากลางในปัจจุบัน โดยในสมัยรัชกาลที่ ๕ ได้มีการยกเลิกตำแหน่งวังหน้า จึงรื้อถอน อาคารที่อยู่ในส่วนของสนามหลวงออก สนามหลวงจึงมีขนาดใหญ่เท่ากับที่เห็นในปัจจุบัน อุโบสถวัดบวรสถานสุธาวาสที่อยู่ต่อหน้าเราในวันนั้น ถือได้ว่าเป็นสถานที่ซึ่งน่าสนใจ และมีความสวยงาม ตลอดจนเต็มไปด้วยเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ อันน่าทึ่งมากมาย และที่สำคัญคือ.. ภายในอุโบสถแห่งนี้ไม่ได้เปิดให้เข้าชมบ่อยนัก และในวันนั้นพวกเราชาวนักปั่นได้รับความกรุณา ให้เป็นหนึ่งในคณะ ที่ได้มีโอกาสเข้าชื่นชมความงาม... อันสุดอลังการ ความสวยงามภายในอุโบสถคือ ภาพจิตรกรรมฝาผนังที่สวยงาม และยังคงสภาพเดิมอย่างมาก วาดเป็นเรื่องราวตำนานพระพุทธสิหิงค์ เริ่มเขียนตั้งแต่สมัย รัชกาลที่ ๓ ต่อจนถึงรัชกาลที่ ๔ และมีการซ่อมแซมเพิ่มเติมในสมัยรัชกาลที่ ๕ เรื่องราวที่ทำให้พวกเราถึง “บางอ้อ” อีกครั้งคือ ภาพวาดของทหาร ฝรั่งที่ปรากฏอยู่บนฝาผนัง ซึ่งเห็นความแตกต่างอย่างชัดเจน และมีเกร็ดน่าทึ่งเรื่องหนึ่งคือ ชุดของทหารที่ใส่ให้เห็นในภาพนั้น ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ จากรัชกาลที่ ๕ ที่ทรงคิดขึ้น เป็นเสื้อใส่แบบปิดตั้งแต่คอ และกำหนดให้มีคำเรียกว่า “ราชาแพทเทิ่น” ( ราชา + Pattern ) หรือ “แบบหลวง” แต่คนไทย ไม่สะดวกที่จะอ่านออกเสียง จึงได้มีการเรียกเป็นคำว่า “ราชปะแตน” แทน อืม..อย่างนี้นี่เอง อิ่มเอมกับภาพฝาผนังที่ตื่นตาตื่นใจ และเรื่องราวประวัติศาสตร์ที่สนุกสนานเป็นที่เรียบร้อย คณะนักปั่นจึงออกเดินทางต่อ โดยปั่นเป็นแถวไปทางถนน พระอาทิตย์ ผ่านไปทางถนนสิบสามห้างออกถนนราชดำเนิน เพื่อไปรวมพล ณ จุดกิโลเมตรที่ “ศูนย์” ตรงบริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ต่างแยกย้าย กันไปหาของอร่อยๆ รับประทานกัน อันเป็นธรรมเนียนปฏิบัติเช่นเดียวกับทุกครั้งที่ผ่านมา แต่พวกเรากลุ่มเล็กๆ ได้แยกไปจัดการบะหมี่เจ้าอร่อย ที่ถนนสิบสามห้าง ก่อนจะตามมาสมทบที่นี่ในภายหลัง อ่านต่อฉบับหน้า>>>

11

พฤษภาคม 2552


มุมน้าเป็ด

ตอนที่ 29

naaPed@yahoo.com เทคนิคการค้น Google อย่างมืออาชีพ ! (ต่อจากตอนที่แล้ว) ค้นหาข้อมูลจากไฟล์ชนิดอื่นๆ ที่ไม่ใช่ html (non-HTML File Types) เช่น pdf, ps, xlsm, ppt, doc, wri, rtf, swf, txt ให้ใช้ filetype:[extension] ตัวอย่างเช่น google scholar filetype:ppt Who Links To You? ต้องการทราบว่ามีเว็บเพจใดบ้างที่ทำ link เชื่อมโยงมาที่เว็บไซต์นี้ โดยใช้คำสั่ง link:<siteURL> ตัวอย่างเช่น link:stang.sc.mahidol.ac.th ถามความหมายหรือคำจำกัดความของคำศัพท์ (definition) ใช้คำว่า define <คำค้น> ตัวอย่างเช่น define archaeology Google สามารถใช้เป็นเครื่องคิดเลขได้ด้วย โดยใช้เครื่องหมาย + (บวก) – (ลบ) * (คูณ) / (หาร) % of (เปอร์เซ็นต์) ^ (ยกกำลัง) ตัวอย่างเช่น 5+(2*2) หรือ 10^5 หรือ 45% of 39 หรือพิมพ์คำว่า 5 kilometers in miles (เพื่อถามว่า 5 กิโลเมตรเท่ากับกี่ไมล์ ?) ถามอัตราแลกเปลี่ยนเงิน ตราต่างประเทศ เช่น 100 USD in GBP (เพื่อถามว่า 100 US$ เท่ากับกี่ British pounds) หรือพิมพ์ว่า currency of Japan in Thai money เป็นต้น พยากรณ์อากาศของเมืองต่างๆ ทั่วโลก (ภายในช่วงระยะเวลา 4 วัน) ให้ใช้ weather เช่น weather Bangkok หรือ weather London

ค้นหาภาพ โดยใช้ Google Image Search โดยเฉพาะ หรืออาจใช้วิธีพิมพ์คำว่า pics หรือ pictures ต่อท้ายคำค้นก็ได้ เช่นหาภาพพระอาทิตย์ตก ใช้คำค้นว่า sunset pictures หรือ sunset pics ค้นหาวิดีโอ โดยใช้ Google Video http://video.google.com หรือ YouTube http://www.youtube.com ค้นบทความทางวิชาการ หนังสือ วารสาร และสิทธิบัตร โดยใช้ Google Scholar http://scholar.google.com Google Book Search http://books. google.com และ Google Patent Search http://www.google.com/patents ค้นหาข่าวใหม่ที่ทันต่อเหตุการณ์โดยใช้ Google News http://news.google.com และค้นหาข่าวเก่าย้อนหลัง โดยใช้ News Archive Search http:// news.google.com/archivesearch ค้นหาข้อมูลทางภูมิศาสตร์ สำรวจแผนที่โลก และภาพถ่ายจากดาวเทียม โดยใช้ Google Maps http://maps.google.com และ Google Earth http://earth.google.com ค้นหาข้อมูลทางธุรกิจ การเงิน ตลาดหุ้น ซื้อขายสินค้าออนไลน์ โดยใช้ Google Finance http://finance.google.com Google Catalogs http:// catalogs.google.com และ Google Product Search http://www.google.com/products ใช้ Language Tool ในเว็บไซต์ http://www.google.com หรือเว็บไซต์ http://translate.google.com ในการแปลภาษาต่างๆ เช่น English to/from Arabic English to/from Chinese English to/from French English to/from German English to/from Italian English to/from Korean English to/from Japanese English to/from Russian English to/from Spanish English to/from Portuguese การค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลสำคัญ หน่วยงาน เหตุการณ์ หรือสถานที่ ให้มีรายละเอียดมากขึ้นจากการสืบค้นแบบปกติ (Info view) หรือแสดงเหตุกา รณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาต่างๆ (Timeline view) รวมทั้งแสดงสถานที่เกิดเหตุโดยใช้แผนที่ (Map view) โดยใช้คำสั่ง view:info, view:timeline, view:map ตัวอย่างเช่น King Bhumibol Adulyadej view:info 12 King Bhumibol Adulyadej view:timeline King Bhumibol Adulyadej view:map พฤษภาคม 2552


เชิงช่างหนึง่

ตอนที่ 21

ความหนาของเบาะซี๊ดดด..... Seat เบาะ Saddle = เบาะ

โอ้ย! อากาศช่างร้อนอบอ้าวเสียจริงๆ ประเทศไทย ช่วงสงกรานต์ที่ผ่านมามีเหตุการณ์ต่างๆนานา หลายท่านมีกิจกรรม ต่างๆ ที่วางแผนเอาไว้ อากาศร้อนแบบนี้ก็ควบคุมอารมณ์กันบ้างนะครับ และดื่มน้ำมากๆ มาพบกันเสมอกับ “เชิงช่าง 1” เหมือนเดิม เรื่องราวนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับ Saddle ก็คือเบาะนั่นเอง หลายท่านกลุ้มอกกลุ้มใจมากว่า ฉันปั่นๆ ทำไมมันเจ็บก้นจัง ก็ขอ อธิบายคร่าวๆ ก่อนว่าวัสดุที่นำมาใช้ผลิตเบาะนั้นมีทั้งหนังเทียมหนังแท้ ไฟเบอร์ พลาสติกที่นำมาหุ้มเบาะ ส่วนรางของเบาะก็มีหลายๆ วัสดุเช่นกัน อาทิ ไทเทเนี่ยม วานาเดี่ยม โครโมลี่คาร์บอนไฟเบอร์ และเหล็ก กลับมาที่ส่วนที่เป็นวัสดุโครงร่างของเบาะ เราจะเลือกใช้แบบไหนดี อันนี้ต้องเลือกตามหัวข้อใหญ่ๆก่อนเลยนะครับเบาะที่มีความหนามากๆ ขออธิบายความหนาก่อนคือ

ความสูงระหว่างเบาะด้านบนถึงตัวโครงเบาะ ความหนาของเบาะ ถ้ามีความสูงมาก จะนุ่มนวลมากแต่ตัองสัมพันธ์กับ ความกว้างของเบาะด้วย สมมุติว่าเบาะหนาแล้วมีความกว้าง 155 mm. ตามค่ามาตราฐานของเบาะ เบาะตัวนี้จะนุ่ม แต่เหมาะกับคนที่มีก้นใหญ่ เพราะเบาะจะรับน้ำหนักได้มาก เหมาะสำหรับคนที่มีน้ำหนักตัวเกิน 65 kg. โดยประมาณ เพราะ เหตุว่าเมื่อมีน้ำหนักตัวมากจะต้องเลือกใช้ส่วนที่นุ่มมากหน่อย ส่วนเบาะที่มีความกว้าง 130 mm. เบาะแบบนี้จะเหมาะกับนักกีฬา ที่มีน้ำหนักตัวไม่มาก เบาะบางรุ่นจะแข็งมากๆ เนื่องจากต้องการลดน้ำหนักของเบาะเพื่อใช้ในการแข็งขัน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นการปรับตั้ง ระยะห่างระหว่างแฮนด์กับเบาะ หรือระยะเบาะกับบันไดปั่นก็สำคัญในการเลือกเบาะเช่นเดียวกัน จะต้องเป็นตำแหน่งที่นั่งสบายที่สุด ไม่ห่างหรือใกล้จนเกินไป รวมถึงการตั้งความสูงของเบาะระหว่างขาจานกับเบาะก็เป็นสิ่งสำคัญ เพราะตำแหน่งนี้เป็นจุดที่แรงจาก ขาท่อนบนส่งกำลังไปที่บันไดเพื่อให้รถแล่นไปข้างหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด กลับมาแนะนำเรื่องการเลือกใช้เบาะอย่างไรดี อันดับแรก ควรจะดูเรื่องการใช้งานว่าใช้เพื่อการท่องเที่ยว ออกกำลังกาย หรือการแข่งขัน ในเชิงท่องเที่ยวเบาะควรจะมีความหนาและกว้าง ส่วนการปั่นเพื่อออกกำลังกายเบาะก็จะคล้ายๆ กับเชิงท่องเที่ยว แต่เบาะจะมีความหนามากกว่า ส่วนการใช้เพื่อการแข่งขันก็จะแบ่งออกเป็นการแข่งขันระยะสั้น และระยะไกล การแข่งขันระยะ สั้นตัวเบาะจะค่อนข้างเรียบ จะไม่มีความนุ่มนวล ด้านท้ายเบาะจะมีความกว้างประมาณ 130 mm. หรือขึ้นอยู่กับแบบของบริษัทผู้ผลิต ส่วนการแข่งขันระยะไกลก็ยังคงเน้นเพรียว เบา บาง และนุ่มกว่าการแข่งขันระยะสั้น เป็นอย่างไรบ้างครับ พอจะแยกแยะว่าควรจะใช้เบาะแบบไหนกับท่านดี เพราะเบาะบางรุ่นก็ไม่เหมาะสำหรับท่านแต่เหมาะ สำหรับคนอื่น เพราะว่าสรีระของกระดูกเชิงกราน และความกว้างของก้นแต่ละคนไม่เท่ากัน ก็ควรจะเลือกตามหลักการใช้งานของ ตัวเราเองเป็นอันดับแรก รองลงมาเป็นความหนา บาง ของฟองน้ำหรือโฟมด้านใน หวังว่าทุกท่านคงจะพอมีแนวทางในการเลือกซื้อ เบาะที่เหมาะสมกับตัวท่านเองไม่มากก็น้อยนะครับ รักนะ จุ๊ฟ จุ๊ฟ***

13

พฤษภาคม 2552


ฮอลแลนด์ ดินแดนที่ต้นไม้ออกลูกเป็นจักรยาน ตอนจบ

Oct 21st, 2008 by http:// BkBike.com

ต่อจากฉบับเดือนเมษายนค่ะ อันนี้เท็จจริงยังไงก็ไม่ทราบได้แต่ไม่ใช่ประเด็นที่ต้องเก็บมา คิดมาก ที่น่าสนใจกว่าคือ เค้ารักษาสภาพน้ำในลำคลองกันอย่างไรถึงได้ใส สะอาดอย่างนี้ เท่าที่ดูถึงจะมีคนอาศัยอยู่ในคลอง เค้าก็ไม่ทิ้งขยะลงใน น้ำกัน พวกเราไม่ว่าจะอยู่บนบก หรือมีบ้านอยู่ริมน้ำถ้าเห็นใครทิ้งขยะ ลงไป ทำลายแม่น้ำลำคลองของเราให้สกปรกเหม็นเน่า ก็ช่วยเตือนๆ เค้าให้ก่อนทิ้งหยุดคิดนิดหนึ่ง บางทีก็มีเผลอตัวได้ เวลานักท่องเที่ยว ต่างชาติ ต่างภาษา เค้ามาเที่ยวบ้านเรา อายเค้านะ เดี๋ยวจะหาว่าไม่บอก เค้าก็เอากลับไปเขียนเหมือนผมนี่แหละ

ไปซื้อปุ๋ยจริงๆ เค้ามีอีกเยอะ ถ้าท่านพยายามพูดอธิบายให้ฟัง เค้า อาจจะได้ฉุกคิดว่า ถ้าเจียดเงินซื้อมอเตอร์ไซค์มาซื้อจักรยานคันเล็กลง ไม่ต้องเปลืองเงินซื้อน้ำมัน ลูกหลานจะมีสุขภาพแข็งแรงไม่ต้องพาไปใช้ สิทธิ์ 30 บาทรักษาทุกโรคบ่อยๆ จะดีกว่ามั๊ย? หมู่บ้านรถไม่ติดไม่ต้อง บิดมอเตอร์ไซค์ก็ไปทัน ถ้าใครทำได้ผลบุญจะส่งให้ท่านนั้นมีความสุข ความเจริญยิ่งๆขึ้นไป โดยไม่ต้องไปโกงไปกินภาษีพ่อแม่พี่น้องคนไทย ด้วยกัน หาวิธีต่างๆ นาๆ เพื่อจะได้เงินแล้วหวังว่าจะมีความสุข ผมเชื่อ ว่าถ้าท่านทำดีด้วยความบริสุทธิ์ใจ ชาวบ้านก็รักท่าน ท่านย่อมมีความสุข แน่นอนครับ

นอกจากผู้คนทั่วไปที่ชอบใช้จักรยานกันแล้ว ตามร้านค้าร้าน อาหาร จะใช้จักรยานเป็นรถส่งของกันแทบทุกร้าน รถจักรยานอีก นั่นแหละ อะไรๆก็จักรยาน เฮ้อ เบื่อมากเลย เจอแต่จักรยานน่ารำคาญ มากๆ

เห็นภาพด้านบนแล้วพอมีความหวังกันมั๊ย เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ทั้งหลาย… การใช้จักรยานก็เป็นอีกวิธีนึงในอีกหลายๆวิธีที่ทำให้พวกเราคนไทย ยิ้มได้ ผมชอบยิ้มสยามของเรา ผมรักเมืองไทยครับ…! หมายเหตุ ถ้าใครอยากจะไปสัมผัสเมืองสวรรค์ของนักปั่นจักรยานดู ซักครั้ง ที่พักมีทั้งแบบโรงแรมหรูหราไปจนถึงห้องรูหนู เห็นที่พักแบบ Backpacker มีอยู่หลายที่ในเมือง ถ้าไม่ลำบากใจที่จะนอนรวมกับคน แปลกหน้า ก็ถือว่าเป็นทางเลือกที่ไม่เลว คือนอนห้องรวม แบบเตียง สองชั้น ใช้ห้องน้ำรวม น่าจะประมาณ 60-70 ยูโรต่อคืน ส่วนอาหาร การกินนั้น ค่อนข้างแพงมาก โหดสุดๆ น้ำ(โซดา)ขวดเล็ก 0.5 Ltr.ขวดละ ประมาณ 1.5 - 2 ยูโร (คนที่นั่นเค้าออกเสียง ออโร) ถ้ากินไม่จุ มื้อละ 10 - 15 ยูโร น่าจะเอาอยู่ ส่วนตั๋วเครื่องบินนั้น แนะนำให้สอบถาม ทางเอเย่นต์ขายตั๋วน่าจะได้ข้อมูลที่ใกล้เคียงความจริงมากกว่า เพราะขึ้น อยู่กับช่วงเวลาจองตั๋วและสายการบินที่เลือกใช้ด้วย

เค้าไปหาจักรยานมาจากไหนกันมากมาย? ร้านจักรยานอยู่นาน เจอแค่ร้านเล็กๆ ไม่กี่ร้าน

ผมปั่นตระเวนหา

และในที่สุดผมเจอคำตอบ ผมพบต้นตอแล้วว่าชาวอัมสเตอร์ดัม ไปเสาะหาจักรยานมาขี่จากไหนกัน ถึงได้เต็มบ้านเกลื่อนเมืองซะอย่างนั้น เพราะมันฟรีครับ แม้ว่าต้นไม้ที่นั่นไม่ได้ผลิใบเป็นแบงค์ยี่สิบแบงค์พัน อย่างที่ฝรั่งชอบอ้าง แต่ว่ามันพิสดารพันลึกกว่านั้น มันออกลูกเป็น จักรยาน!!? ลูกดกสุกคาต้นเต็มไปหมด ใครอยากได้ก็ไปเด็ดเอาตามสบาย ภาพมันฟ้อง ดูเอาเองครับ โอววว์ จอร์จ ไม่เฉพาะต้นไม้เท่านั้นที่ออกลูกเป็นจักรยานได้ ทั้งเสาไฟ ป้ายรถเมล์ รั้ว ม้านั่ง แม้แต่ตู้ไปรษณีย์ก็ยังอุตส่าห์มีลูกจักรยาน กับเค้าด้วย มันจะเกินไปแล้ว เอา…เอาเข้าไป ออกลูกกันให้เต็มที่ ก่อนจบเรื่องนี้ ผมพยายามใช้คำว่า “จักรยาน” แทรกอยู่ในทุก ย่อหน้าเพื่อสะกดจิตให้มีภาพจักรยานฝังหัวอยู่ น่ากลัวมั๊ย เหอๆๆๆ ระวัง อาเจียนเป็นรูปจักรยานออกมา ผมหวังให้เรื่องนี้เป็นฟันเฟืองเล็กๆ อีกชิ้น หนึ่งที่กระตุ้นให้เกิดจิตสำนึกกับเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ที่ได้อ่าน (หวังไม่สูงนะ) ช่วยกันขับเคลื่อนให้ท้องถิ่นที่เราอาศัยอยู่ไม่ว่าจะเมืองเล็กหรือใหญ่ ต่าง จังหวัดหรือกรุงเทพกลายเป็นที่ๆ พวกเราอยู่ได้อย่างมีรอยยิ้มตลอดไป อบต.ทุกท่านช่วยหน่อยนะครับ ผลักดันหน่อย อย่าเปิดโอกาสให้ อบต.บางคนที่เอาแต่พูดหลอกชาวบ้าน ไปปล่อยเงินกู้ให้ชาวบ้านที่รู้เท่า ไม่ถึงการณ์เอาไปซื้อมอเตอร์ไซค์ให้ลูกขับร่อนไปร่อนมาผลาญน้ำมัน ในหมู่บ้านเลย สงสารเค้า คุณตาคุณยายผมก็ทำไร่ทำนาจนแกสิ้นลม

14

ผมเห็นพวกชาวนาชาวไร่ที่เค้าจำเป็นต้องกู้ไปซื้อเมล็ดพันธุ์

พฤษภาคม 2552


ขอขอบคุณผู้บริจาค

วันอาทิตย์ที่ 28 มิถุนายน 2552

โครงการรีไซเคิลจักรยาน ขอขอบคุณ

อีกครั้งกับกิจกรรมร่วมด้วยช่วยซ่อมจักรยานสำหรับนำไป มอบให้เด็กนักเรียนในจังหวัดฉะเชิงเทรา ในโครงการรีไซเคิลจักรยาน ครั้งที่ 33 มีจักรยานที่สภาพเก่าชำรุดใช้งานไม่ได้ รอทีมช่างอาสา ไปช่วยกันฟื้นคืนสภาพ

คุณวิสิทธิ์ หรินันทนา บริจาคอุปกรณ์สำนักงาน คุณสุชาติ ใจสุภาพ บริจาคจักรยาน 1 คัน เงิน 200 บาท บริษัท สยามไวเนอรี่ เทรดดิ้งพลัส จำกัด บริจาคเงิน 10,000 บาท คุณนันทพล ตันติวีระวิทยา บริจาคอะไหล่จักรยาน เงิน 500 บาท คุณธนัท ประทีปอิศรุต บริจาคจักรยาน 3 คัน คุณวรรณา รามอินทรา บริจาคอุปกรณ์สำนักงาน คุณประสิทธิ์ สุทธิศิริกุล บริจาคอะไหล่จักรยาน คุณพิเชษฐ คล้ามเจริญ บริจาคเงิน 500 บาท

8:00 น. พบกันที่โรงงานของน้าหมี พุทธมณฑลสาย 1 ซอยทุ่งมังกร 7 ใครไปไม่ถูก โทรสอบถามที่น้าหมี 081-9192989 สมาชิกท่านใด จะนำขนม ผลไม้ไปแบ่งปันกันกิน ก็ยินดี เริ่มงานกันตั้งแต่ 8 โมงเช้า จนกว่าจะเสร็จ จักรยานมีประมาณ 50 คัน อาหารกลางวันอร่อยๆหลากหลายเมนู แบบเต็มอิ่ม ด้วยเมนูเด็ดที่หา ทานที่ไหนไม่ได้นอกจากบ้านน้าหมี ชิมฝมือลูกสาวคนสวยด้วยพะแนง หมูเนื้อนุ่ม และไข่พะโล้โอชารส ได้ลิ้มชิมรสกัน ส่วนท่านที่ทานเจก็ไม่ ต้องน้อยใจ..จะเตรียมมารับรองค่ะ. ท่านใดมีเมนูเด็ดนำมาให้ชิมกัน เยอะๆ นะคะ . อย่าลืม เตรียมเครื่องมือสำหรับซ่อมไปด้วยนะคะ จะได้ไม่ต้องรอกัน <<< แผนที่นัดซ่อมจักรยาน

ถ เลขที่

tcc_thaicycling@hotmail.com

เปดทำการเวลา 09.00-18.00.

หมูที่

ถนน

ซอย


ชำระคาไปรษณียากรแลว ใบอนุญาติเลขที่ 11/2548 ปณใ หลานหลวง 10102

จดหมายขาวชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแหงประเทศไทย 849/53 จุฬาซอย 6 ถนนบรรทัดทอง แขวงวังใหม เขตปทุมวัน กรุงเทพ 10330 โทร 02-6124747 โทรสาร 02-612-5511

www.thaicycling.com

tcc_thaicycling@hotmail.com

ฉบับที่ 215 ปที่ 18 พฤษภาคม 2552

รางวัลรองชนะเลิศ ป 2540 โครงการสงเสริมและพัฒนาการทองเที่ยว รางวัลดีเดนป 2545 ประเภทสงเสริมและพัฒนาการทองเที่ยว รางวัลดีเดนป 2551 ประเภทสงเสริมและพัฒนาการทองเที่ยว

วัตถุประสงคชมรม 1. สงเสริมการใชจักรยานในทุกกิจกรรม 2. สงเสริมการแกไขปญหาจราจรดวยการใชจักรยานทั่วประเทศ 3. เปนองคกรประสานงานระหวางผูใชจักรยานทั่วประเทศ 4. อนุรักษทรัพยากรและสิ่งแวดลอม 5. รวมกันทำกิจกรรมเพื่อสาธารณประโยชน และสันติภาพของมนุษยชาติ


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.