Nisit lightversion

Page 1


C o n t e n t

S t a f f s

B5-B6

. นิ สิ ต นั ก ศึ ก ษ า - B 1 .


มีรายงานกล่าวว่างานสัปดาห์หนังสือครั้งที่ผ่านมา มีเงินสะพัดในงานมากถึง 600 ล้านบาท (อ้างอิงจากคำ�ให้ สัมภาษณ์ของนายวรพันธ์ โลกิตสถาพร อดีตนายกสมาคม ผู้ จั ด พิ ม พ์ แ ละผู้ จำ � หน่ า ยหนั ง สื อ แห่ ง ประเทศไทย) เพิ่ ม ขึ้ น จากครั้งที่แล้วกว่า 100 ล้านบาทภายในระยะเวลาไม่กี่เดือน ซึ่งหากย้อนไปดูสถิติของปีที่ผ่านๆ มาก็จะพบว่า อัตราการจับ จ่ายใช้สอยในงานดังกล่าวก็ค่อยๆ เพิ่มขึ้นทุกปี สวนทางกับ รายได้รวมที่ปรับลดลงเล็กน้อยอันเนื่องมาจากต้นทุนการผลิต ตัวเลขเหล่านี้บอกอะไรเราได้บ้าง ? เมื่อเทียบกับประเทศอื่นแล้ว หนังสือในประเทศไทย ถือว่ามีราคาสูงเปรียบเทียบกับค่าเฉลีย่ รายได้ของคนในประเทศ ทำ�ให้เมื่อก่อนหนังสือกลายเป็น ‘สิ่งฟุ่มเฟือย’ สำ�หรับบางคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่อยู่ชั้นล่างๆ ของโครงสร้างทางสังคม หนังสือจึงแพร่หลายอยูใ่ นแวดวงสังคมชัน้ สูงมากกว่า ผมู้ อี าชีพ หาเช้ากินค่�ำ ทีจ่ ะอ่านหนังสือจริงๆ ก็ตอ้ งเป็นพวกใจรักและขยัน เพราะแค่เอาตัวให้รอดในแต่ละวันก็ถอื ว่าลำ�บากแล้ว เวลานอก เหนือจากการทำ�งานจึงมักถูกใช้ไปกับมหรสรรพอืน่ ๆ หรือการพัก ผ่อนมากกว่าการอ่านหนังสือ ต่อมาเมือ่ เศรษฐกิจเริม่ ดีขนึ้ มีการขยายตัวของชนชัน้ กลาง และการศึกษาเข้าถึงทุกพื้นที่ หนังสือจึงกลายเป็นสินค้า ประเภทหนึ่งซึ่งถูกมองว่าคุ้มค่าที่จะลงทุน ยิ่งหลังเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 หนังสือก็ยงิ่ เป็นทีต่ อ้ งการมากขึน้ เพราะประชาชน ต้องการรูค้ วามจริงทีถ่ กู ปิดและบิดเบือนเอาไว้ ครัน้ เมือ่ วิทยาการ ต่างๆ ในโลกเจริญขึ้น เทคโนโลยีการพิมพ์ก็พัฒนาขึ้นตาม ทำ�ให้บุคคลที่ต่างก็หลงในมนตร์นํ้าหมึกพากันเปิดสำ�นักพิมพ์ เป็นของตัวเอง มีทั้งนวนิยาย เรื่องสั้น เรื่องแปล กวี การ์ตูน สารคดี และหนั ง สื อ อี ก นานาประเภทออกมาจั ด จำ � หน่ า ย ซึง่ ในปี 2556 นี้ มีส�ำ นักพิมพ์ทเี่ ป็นสมาชิกของสมาคมผูจ้ ดั พิมพ์ฯ ทัง้ สิน้ กว่า 400 สำ�นักพิมพ์ โดยแบ่งออกเป็นกลุม่ ผูน้ �ำ ตลาด 9 ราย ขนาดใหญ่ 29 ราย ขนาดกลาง 41 และขนาดเล็กอีก 319 ราย ทว่าก็มสี �ำ นักพิมพ์อกี จำ�นวนไม่นอ้ ยทีท่ ยอยปิดตัวลงเพราะสูค้ า่ ใช้จ่ายในกระบวนการผลิตไม่ไหว อย่างไรก็ดี แม้ว่าคนจะนิยมอ่านหนังสือกันเพิ่มขึ้น แต่ค่าเฉลี่ยการอ่านหนังสือในประเทศไทยยังถือว่าน้อยมาก มากเสี ย จนเกิ ด ประโยคล้ อ เลี ย นที่ ว่ า “คนไทยอ่ า นหนั ง สื อ วันละ 7 บรรทัด” ทั้งนี้เป็นเพราะคนส่วนใหญ่ในประเทศยังเป็น ผูใ้ ช้แรงงาน และหนังสือก็มรี าคาแพงเกินกว่ารายได้ของพวกเขา มีงานวิจัยเรื่องหนึ่งกล่าวว่าสาเหตุที่คนไทยอ่านหนังสือน้อยลง เป็ น เพราะการเข้ า มาของสื่ อ สมั ย ใหม่ เช่ น โทรทั ศ น์ และ อินเตอร์เน็ต เป็นต้น ทำ�ให้คนใช้เวลาจดจ่ออยู่กับตัวเองน้อยลง และถ้าไม่ใช่เรือ่ งทีต่ นสนใจก็จะไม่หยิบขึน้ มาอ่านเด็ดขาด ดังนัน้ เพื่อความอยู่รอดทางธุรกิจ การสร้างสรรค์หนังสือดีจึงมาควบคู่ กับการสร้างอัตลักษณ์ใหม่ให้หนังสือด้วยเช่นกัน ปัจจุบนั นีต้ น้ ทุนการผลิตหนังสือหนึง่ เล่มนอกจากจะ เป็นค่าลิขสิทธิ์คนเขียน, ค่าพิมพ์, ค่ากระดาษ, ค่าพนักงานจัด รูปเล่ม, ค่าออกแบบหน้าปก ฯลฯ แล้ว สิ่งหนึ่งที่ทุกสำ�นักพิมพ์ ต้องแบกภาระเอาไว้ดว้ ยก็คอื เปอร์เซ็นต์ทตี่ อ้ งแบ่งให้สายส่งและ ร้านหนังสือที่ฝากวางจำ�หน่าย โดยทั่วไปแล้วสำ�นักพิมพ์จะให้ ส่วนลดกับสายส่งอยูป่ ระมาณ 40 เปอร์เซ็นต์ กล่าวคือ ถา้ หนังสือ ราคา 100 บาท สายส่งก็จะได้ในราคา 60 บาท และสายส่ง ก็จะส่งให้ตามร้านหนังสือในราคาประมาณ 30-35 เปอร์เซ็นต์ หรือประมาณ 70-75 บาท โดยสำ�นักพิมพ์และสายส่งจะได้เงิน ก็ต่อเมื่อหนังสือเล่มนั้นขายออก แต่ถ้าขายไม่ออกสำ�นักพิมพ์ ก็ต้องแบกรับต้นทุนในกระบวนการผลิตทั้งหมดเอาไว้เอง นี่จึง เป็นเหตุผลว่าทำ�ไมสำ�นักพิมพ์รายเล็กจึงปิดกิจการกันไปแล้ว

C o m m e n t a r y

หลายราย กอปรกับร้านหนังสือในเมืองไทยที่เป็น Chain store เช่น SE-ED และนายอินทร์ ก็เปิดพื้นที่ให้หนังสือทางเลือก อย่างจำ�กัด งานสัปดาห์หนังสือจึงเป็นเวทีที่ดีที่สุดในการพบกัน ระหว่างนักอ่านและนักเขียนโดยไม่ต้องผ่านตัวแปรใดๆ ทั้งสิ้น ที่ ผ่ า นมามี ก ารนำ � หลั ก การตลาดและการสร้ า ง Branding มาใช้กับหนังสือแล้วในวงกว้างซึ่งผู้ผลิตหลายคน ก็ยอมรับว่ายังเป็นเรื่องที่พวกเขาไม่ค่อยถนัดนัก ตลาดหนังสือ จำ�พวกนิยาย, Light Novel (นิยายกึ่งการ์ตูน), หนังสือแนวให้ กำ�ลังใจ และ How to ประเภทต่างๆ ยังคงเติบโตอย่างต่อเนือ่ ง และ มีแนวโน้มทีจ่ ะแข่งขันกันรุนแรงมากขึน้ เรือ่ ยๆ ผผู้ ลิตแต่ละราย จึ ง จำ � เป็ น ต้ อ งงั ด กลเม็ ด เด็ ด ในการขายออกมาเรี ย กลู ก ค้ า ตัวอย่างเช่น สำ�นักพิมพ์ Zenshu ผู้จัดพิมพ์ Light Novel เรื่อง ‘หนุ่มสามัญกับสาวหลุดโลก’ อันโด่งดังที่จัดโปรโมชั่นกระตุ้น ยอดขาย โดยใช้ของแถมที่เป็น Limited Edition มาล่อสาวก เชื่ อ หรื อ ไม่ ว่ า หนั ง สื อ ที่ ข ายดี ที่ สุ ด ในงานสั ป ดาห์ ห นั ง สื อ ครั้งที่แล้ว ตกเป็นของกลุ่มหนังสือการ์ตูน ซึ่งเมื่อพิจารณาจาก ความจงรักภักดี (loyalty) ของผูอ้ า่ นทีม่ ตี อ่ หนังสือ (หรืออีกนัยหนึง่ ก็คือสินค้า) เรื่องดังกล่าวก็ไม่น่าแปลกใจนัก นอกจากการ์ตูนแล้ว ตลาดของนิยายยังขยายตัว เพิม่ ขึน้ ด้วย ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าส่วนหนึง่ มาจากความสำ�เร็จของ นิยายตาหวานของ ‘แจ่มใส’ ทเี่ น้นเจาะกลุม่ ตลาดวัยรุน่ ความนิยม ของแจ่มใสวัดได้จากปีกอ่ นๆ ทีต่ อ้ งส่งรายการหนังสือทีต่ อ้ งการ ไว้ที่บูธแล้วกลับมาเอาในชั่วโมงต่อๆ มา และจากความสำ�เร็จ ของซีรีส์ ‘สี่หัวใจแห่งขุนเขา’ ก็กลายเป็นใบเบิกทางที่ทำ�ให้ ‘พิ ม พ์ คำ � ’ กลายเป็ น บู ธ ที่ มี แ ฟนละครเข้ า ไปเยี่ ย มชมเป็ น จำ � นวนมาก เป็ น ขยายตลาดจากกลุ่ ม คนดู ล ะครให้ ม าอ่ า น หนังสือด้วย ในปีนี้พิมพ์คำ�ก็ชูซีรีย์ชุด ‘สุภาพบุรุษจุฑาเทพ’ ทีเ่ พิง่ ลาจอไปเป็นหนังสือแนะนำ� ขายกันเป็น Box Set สวยงาม การทำ�หนังสือเป็นชุดแบบนี้ก็เป็นการกระตุ้นการขายอย่างหนึ่ง เพราะเมือ่ ตัดสินใจอ่านเล่มใดเล่มหนึง่ แล้วก็ยอ่ มอยากรูใ้ นส่วน ต่อไป จะเห็นได้ว่าในช่วงหลายปีหลังมานี้มีบทประพันธ์จำ�นวน มากทีถ่ กู นำ�ไปทำ�เป็นละคร ทัง้ จากนักเขียนชัน้ ครูอย่าง ‘กฤษณา อโศกสิน’ หรือจะเป็นนักเขียนหน้าใหม่เช่น ‘ณารา’ เองก็ตาม ในเรือ่ งของ Branding กรณีของ ‘ณารา’ เป็นตัวอย่าง ทีช่ ดั เจนมากอีกอันหนึง่ สังเกตได้จากหน้าปกหนังสือทีช่ อื่ ของเธอ จะเด่นกว่าชื่อเรื่องเสมอ เหมือนว่าแค่เป็นณาราหนังสือก็ขาย

. นิ สิ ต นั ก ศึ ก ษ า - B 2 .

ได้แล้ว นักเขียนอีกท่านหนึ่งที่ชื่อกลายเป็น Brand ไปแล้วก็คือ ‘นิ้วกลม’ ความโด่งดังของนิ้วกลมส่วนหนึ่งเป็นเพราะทัศนคติ การมองโลกและถ่ า ยทอดออกมาในเชิ ง ให้ กำ � ลั ง ใจผู้ อ่ า น แต่อีกสิ่งหนึ่งที่ปฏิเสธไม่ได้เลยก็คือ social network อย่าง Facebook หรือ Twitter ก็เป็นอีกปัจจัยทีท่ �ำ ให้ผอู้ า่ นรูส้ กึ ใกล้ชดิ นักเขียนมากขึ้นกว่าแต่เดิม การรับรู้ผลงานก็เป็นไปได้ง่ายกว่า การอ่ า นหนั ง สื อ ของนิ้ ว กลมกลายเป็ น กระแสนิ ย มสำ � หรั บ คนในยุคนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัยรุ่น เพราะคนวัยนี้เป็นกลุ่ม ทีพ่ ร้อมจะ “แชร์” ทุกสิง่ ลงในโลกออนไลน์ซง่ึ ถือเป็นการบอกต่อ แบบปากต่อปากทีด่ ที สี่ ดุ อย่างหนึง่ ความดังของนิว้ กลมประจักษ์ ได้เสมอจากยอดขายที่ติดอันดับ Best Seller ของทุกร้าน และจำ�นวนแฟนคลับที่มารอต่อคิวเพื่อให้นักเขียนในดวงใจ เซ็นต์หนังสือให้ในงานสัปดาห์หนังสือ หนั ง สื อ เป็ น สิ น ค้ า ที่ มี ลั ก ษณะเฉพาะ ยิ่ ง เวลา ผ่านไปนานเท่าไรคุณค่าในตัวเองก็ยิ่งเพิ่มขึ้น เพราะสิ่งที่ถูก เขี ย นเอาไว้ ล้ ว นแต่ เ ป็ น บั น ทึ ก ประวั ติ ศ าสตร์ ข องแต่ ล ะยุ ค และหนั ง สื อ ดี ๆ หลายเล่ ม ก็ เ ป็ น แรงขั บ เคลื่ อ นที่ ยิ่ ง ใหญ่ อันนำ�มาสูก่ ารเปลีย่ นแปลงทีใ่ หญ่ยงิ่ ของมนุษย์ การอ่านหนังสือ เป็ น เรื่ อ งสำ � คั ญ มากสำ � หรั บ การพั ฒ นาประเทศอย่ า งยั่ ง ยื น และเมื่อวันที่ 23 เมษายน ที่ผ่านมา กรุงเทพมหานครได้รับมอบ ตำ�แหน่ง “เมืองหนังสือโลก” อย่างเป็นทางการจากองค์การ การศึ ก ษาวิ ท ยาศาสตร์ แ ละวั ฒ นธรรมแห่ ง สหประชาชาติ หรือที่เรารู้จักกันดีในนามของยูเนสโก้ (UNESCO) รัฐออกกฎ ทีเ่ อือ้ ประโยชน์ให้แก่ส�ำ นักพิมพ์หลายข้อเพือ่ เป็นการกระตุน้ การ อ่านหนังสือของคนไทย แต่เมื่อพิจารณาดูดีๆ แล้วก็จะพบว่า ผลประโยชน์ส่วนใหญ่ก็ตกอยู่ที่สำ�นักพิมพ์รายใหญ่อยู่ดี เป็ น ที่ น่ า สนใจว่ า กรณี ที่ ย กตั ว อย่ า งมาทั้ ง หมด ล้วนสังกัดอยู่ที่สำ�นักพิมพ์ใหญ่ๆ ซึ่งมีส่วนแบ่งทางการตลาด เกือบครึง่ หนึง่ ในขณะทีส่ �ำ นักพิมพ์เล็กๆ ยังไม่มกี ารเปลีย่ นแปลง ที่ เ ห็ น ได้ ชั ด เจนนั ก แต่ อ ย่ า งน้ อ ยเราก็ ไ ด้ เ ห็ น วิ วั ฒ นาการ ของหนั ง สื อ และปั จ จั ย ที่ เ ป็ น ตั ว กำ� หนดทิ ศ ทางของหนั ง สื อ อย่างคร่าวๆ ผ่านตัวเลขการสะพัดของเงินข้างต้น เราใช้จ่าย กับหนังสือมากขึ้น แต่สถิติการอ่านหนังสือเรายังคงลดลงทุก ปี คำ�ถามที่น่าสนใจกว่าหนังสือเล่มหนึ่งขายได้กำ�ไรเท่าไรก็คือ เราอ่านหนังสือกันจริงๆ ใช่ไหม หรือเราเพียงแค่ซอื้ หนังสือเพราะ โดนชักจูงโดยการตลาดเท่านั้น ?


The real meaning of

วัตถุนิยม (Materialism) ดูจะเป็นคำ�ที่ แสลงหูสำ�หรับใครหลายๆ คน และเป็นคำ�ที่ถูกนำ�มาใช้ กั น อย่ า งแพร่ ห ลายตามพาดหั ว ข่ า วหนั ง สื อ พิ ม พ์ ไม่ ว่ า จะมีปัญหาทางสังคมเรื่องใดที่เกิดขึ้น คำ�คำ�นี้มักจะเป็น จำ�เลยในสังคมที่ถูกซัดทอดให้เป็นต้นเหตุของสาเหตุต่างๆ อยู่รํ่าไป

คำ�ตอบที่วัตถุนิยมให้คือ ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นบนโลกใบ นี้แม้กระทั่งความคิดของคนเรามีจุดเริ่มต้นมาจากวัตถุทั้ง สิ้น ไม่ว่าจะเป็นกำ�เนิดของจักรวาล, การกระทำ�ทุกอย่าง ของมนุษย์, ปัญหาสภาพสังคม ฯลฯ ทุกสิ่งล้วนมีที่มาจาก สสารและวัตถุ

วัตถุนิยมเป็นตัวแทนของวิทยาศาสตร์ เป็นการ ไม่ ใ ช่ เรื่ องแปลกหากเราและใครหลายๆ คน ศึ ก ษาหาที่ ม าของสิ่ ง ต่ า งๆ ที่ เ กิ ด ขึ้ น ในแง่ ข องคำ � ตอบ จะรู้ สึ ก ไปในทางลบต่ อ คำ � ว่ า วั ต ถุ นิ ย ม นั่ น เป็ น เพราะ ที่จับต้องได้ มิใช่โยนให้ในสิ่งที่เป็นนามธรรมเช่นความดี, ในบางครั้ง เราอาจไม่ทันได้นึกถึงความเป็นมาและสาเหตุ พระเจ้า และวิญญาณ ซึง่ เป็นแนวคิดของปรัชญาขัว้ ตรงข้าม แห่ ง การเกิ ด มาของคำ � คำ � นี้ กั น มากนั ก ในความคิ ด ของ คือ แนวคิดจิตนิยม ที่ให้สาเหตุแห่งการเกิดขึ้นของสิ่งต่างๆ หลายคน วั ต ถุ นิ ย มเป็ น คำ � ที่ ใ ช้ เ พื่ อ เรี ย กคนที่ ฟุ้ ง เฟ้ อ ว่าอยูท่ คี่ วามคิดทีม่ ใี นจิตใจ ความคิดก่อให้เกิดภาพสะท้อน ใช้เงินเกินตัว ไม่พอใจกันสิ่งที่ตนเองมี รวมไปถึงการตัดสิน ของสิ่งต่างๆ และวัตถุที่เราเห็นบางครั้งอาจไม่มีอยู่จริง คนอื่นจากวัตถุที่อยู่นอกกาย ซึ่งตรงกับการให้ความหมาย รากฐานของความคิดและการให้ความหมาย ของคำ�คำ�นี้ในทางจริยธรรมที่ว่า ของคำ�ว่าวัตถุนิยมในสังคมของเราอาจมีที่มาความเชื่อ “ วั ต ถุ นิ ย ม หมายถึ ง ลั ก ษณะเฉพาะทาง ทางปรั ช ญาที่ อ ยู่ ภ ายใต้ ค วามคิ ด ของคนแต่ ล ะคนซึ่ ง บุคลิกภาพรูปแบบหนึ่ง ซึ่งเป็นแบบแผนการใช้ชีวิตของ ไม่ เ หมื อ นกั น แก่ น ความคิ ด สู ง สุ ด ทางปรั ช ญาทั้ ง สอง คนในสังคม ที่ปรารถนาเพียงความสุขทางอารมณ์ ต้องการ เป็นสิง่ ทีก่ อ่ ให้เกิดความคิด ความเชือ่ และค่านิยมทางสังคม ที่จะครอบครองเป็นเจ้าของวัตถุสิ่งของหรือ ความสะดวก จนประกอบหลอมรวมกันเป็นสถาบันต่างๆ ทางการเมือง, สบายทางกายภาพ โดยมองข้ามคุณค่าทางศีลธรรมและ การปกครอง, เศรษฐกิจและสังคม และสะท้อนออกมาผ่าน จิตใจ และไม่ใส่ใจและให้ความสำ�คัญกับสิ่งที่ตนเองมีอยู่ ” ทางความคิดของผู้ที่ใช้ชีวิตอยู่ในสังคมนั้นๆ ถึงแม้บางครั้ง Marsha L. Richins และ Scott Dawson การใช้ชีวิตภายใต้สังคมที่อาศัยกับความเชื่อภายใจจิตใจ ได้ ม องวั ต ถุ นิ ย มเป็ น สิ่ ง ที่ ใ ห้ คุ ณ ค่ า ต่ อ ตั ว บุ ค คลที่ ใ ห้ จะแตกต่างกัน จนบางครั้งเราอาจมองข้ามและเลือกที่จะ ความสำ � คั ญ ต่ อ วั ต ถุ สิ่ ง ของออกเป็ น 3 ด้ า นคื อ ไม่คิดค้นหาถึงที่มาซึ่งก่อให้เกิดสิ่งต่างๆ อย่างที่มันเป็นอยู่ ด้ า นความสำ � เร็ จ (Success) คื อ บุ ค คลนั้ น จะให้ ค่ า ก็ตามที หากเราลองย้ อ นออกมาพิ จ ารณาและทำ � ความสำ�เร็จในชีวติ จากการถือครองวัตถุตา่ งๆ และวัดคุณค่า จากจำ�นวนและคุณภาพของสิง่ นัน้ ๆ, ด้านการเป็นศูนย์กลาง ความเข้ า ใจถึ ง ความเป็ น มาและสาเหตุ ที่ ทำ � ให้ ส ภาพ (Centrality) คื อ บุ ค คลนั้ น จะมองว่ า การครอบครอง สั ง คมในปั จ จุ บั น ที่ เ รามองว่ า เป็ น สั ง คมที่ เ ต็ ม ไปด้ ว ย และการได้มาเป็นศูนย์กลางของชีวิตของตน และสุดท้าย ความเป็นวัตถุนิยม ซึ่งเป็นสิ่งที่กัดกร่อนทำ�ลายความดีงาม คือ ด้านความสุข (Happiness) คือการที่บุคคลมองว่าการ ของการใช้ชีวิต สังคมที่เรามองว่ากำ�ลังเสียหายจากความ ครอบครองและได้มา มีความจำ�เป็นต่อชีวิตที่ทำ�ให้เกิด นับหน้าถือตากันในวัตถุอย่างที่เราชอบให้คำ�นิยามกับมัน บางทีเราอาจจะเข้าใจมันมากขึ้น, เรียนรู้ที่จะอยู่กับมัน ความสุขและความเป็นอยู่ที่ดี นัน่ คือความหมายของคำ�คำ�นีใ้ นแง่ของจริยธรรม และเข้าใจว่าทำ�ไมคำ�คำ�นี้จึงเกิดขึ้นมา เมือ่ เราย้อนมองกลับมา ไม่แน่วา่ เราอาจกำ�ลังใช้ แต่ในอีกมุมหนึ่ง วัตถุนิยมเป็นขั้วหนึ่งทางหลักการของ ปรัชญา เป็นการตอบคำ�ถามพื้นฐานที่สุดของปรัชญาที่ว่า ชีวิตในแบบที่เรากำ�ลังกล่าวหาอยู่โดยที่ไม่รู้ตัว ก็เป็นได้. ‘อะไรคือความสัมพันธ์ระหว่างจิตสำ�นึกและความเป็นจริง?’

: เทพพิทักษ์ มณีพงษ์

นิ สิ ต นั ก ศึ ก ษ า - B 3


หากเราจะเริ่มศึกษาความสัมพันธ์ของวัตถุนิยม และแง่มุมทางสังคมและวัฒนธรรม มิติที่ง่ายที่สุดที่เราควร รู้คือความสัมพันธ์ระหว่างความเป็นวัตถุนิยมกับเศรษฐกิจ เมื่อคำ�ว่าวัตถุนิยมหมายความถึงการให้คุณค่ากับวัตถุสิ่งของ จึงปฏิเสธไม่ได้วา่ แหล่งทีม่ าของวัตถุทกุ สิง่ นัน้ มีทมี่ าจากตัวเรา และสังคมที่ก่อให้เกิดระบบเศรษฐกิ จ โดยเฉพาะอย่ า งยิ่ ง ในระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ซึ่งเอกชนที่เป็นเจ้าของปัจจัย การผลิต มีอิสระเสรีในการผลิตและกำ�หนดราคาสินค้าและ บริการ เพือ่ ออกมาตอบสนองความต้องการของผูค้ นในสังคมที่ ไม่มที สี่ นิ้ สุด ความต้องการเหล่านีเ้ ป็นสิง่ ทีท่ �ำ ให้เกิดกำ�ไร ซึง่ เป็น เป้าหมายสูงสุดในการลงทุนและการผลิต วนเวียนไปเรื่อยมา ทำ�ให้เกิดการหมุนเวียนของเศรษฐกิจและเงินตราในระบบ จะเห็นได้ว่า รากฐานที่สำ�คัญของทุกสิ่งทุกอย่าง ในระบบเศรษฐกิจทุนนิยม คือความต้องการของคนในสังคมที่ มีต่อสินค้าหรือวัตถุต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นราคาสูงหรือตํ่า เพื่อก่อ ให้เกิดความสุขทั้งทางกายและทางใจที่เกิดจากการได้ครอบ ครอง นี่เองจึงเป็นที่มาของคำ�ว่า วัตถุนิยม --- ความเชื่อที่ว่า วัตถุเป็นที่มาซึ่งความสุขในชีวิต และเพื่อให้ได้มาซึ่งกำ�ไร บริษัทผู้ผลิตต่างๆ จึงต้อง สรรหากลวิธีเพื่อดึงดูดใจให้พวกเราอยากซื้อสินค้าเหล่านั้น แม้โดยปกติแล้วการซื้อสินค้าจะเกิดจากความต้องการของ ตัวเราเอง แต่การกระตุน้ ความต้องการในสิง่ ทีเ่ ราอาจไม่เคยคิด ว่าจำ�เป็นก็เป็นสิ่งหนึ่งที่เหล่าผู้ผลิตใช้ เพื่อสร้างกำ�ไรให้กับตน นั่นเองจึงเป็นที่มาให้เกิดแนวคิดในเรื่องของหลักการตลาด ขึ้นมาบนโลกใบนี้ การตลาดในความหมายอย่างคร่าวๆ หมายถึงการ วางแผนและการกระทำ�กิจกรรมต่างๆ ของผูผ้ ลิต เพือ่ ก่อให้เกิด การเคลื่อนที่ของสินค้าและบริการให้ไปถึงมือของผู้บริโภค ก่อ ให้เกิดความพึงพอใจของทัง้ ผูซ้ อื้ สินค้า (ความสุขจากการใช้และ ครอบครอง) และผูผ้ ลิต (รายได้และกำ�ไรจากการซือ้ สินค้าของ ผู้บริโภค) ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการพัฒนาสินค้า, การวางแผน การวางขายสินค้า, วิธกี ารตัง้ ราคา, และการสือ่ สารเพือ่ ส่งเสริม ยอดขายสินค้า ซึง่ เราเรียกรวมๆ ว่า 4P (Product, Price, Place, Promotion) ในทั้งสี่ขั้นตอนนี้ บริษัทต่างๆ ล้วนให้ความสำ�คัญ กั บ การส่ ง เสริ ม การตลาดหรื อ Promotion เป็ น อย่ า งมาก โดยเฉพาะอย่ า งยิ่ ง ในส่ ว นของการโฆษณาเพื่ อ กระตุ้ น ความต้องการของผู้บริโภค หน้าทีท่ สี่ �ำ คัญทีส่ ดุ ของสือ่ โฆษณาและการส่งเสริม การขายอื่นๆ ซึ่งบริษัทได้ลงทุนไปนั่นคือ การกระตุ้นให้เกิด ความต้องการซื้อภายในจิตใจของผู้บริโภค หากจะยกตัวอย่าง ให้เข้ากับประเด็นนี้ เมื่อกล่าวถึงวัตถุนิยม จำ�เลยที่มักจะถูก ยกขึ้นมากล่าวถึงนั่นคือสินค้าจำ�พวกสินค้าแฟชั่นและสินค้า แบรนด์เนมต่างๆ สินค้าประเภทนีม้ กั นำ�เสนอโฆษณาในแง่ของ การสร้างภาพลักษณ์และทำ�ให้ผู้ที่ใช้สินค้าเหล่านี้เป็นคนดูดี มี ร ะดั บ เมื่ อ ผู้ บ ริ โ ภคเกิ ด ความต้ อ งการความอยากเป็ น คนที่ดูดีมีระดับ ต้องการเติมเต็มความต้องการทางด้านจิตใจ จึงก่อให้เกิดการซือ้ สินค้าตามมา แต่ใช่วา่ แค่สนิ ค้าแบรนด์เนม จะใช้วธิ กี ารนีเ้ ท่านัน้ ทุกสินค้าและบริการในตลาดล้วนแล้วแต่ ใช้วธิ กี ารจูงใจผูบ้ ริโภคแบบนีท้ งั้ สิน้ เพียงแต่อาจไม่ใช่ในแง่ของ ภาพลักษณ์ แต่อาจเป็นแง่ของคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ ฯลฯ จากข้อมูลในปีที่ผ่านมา บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านการ สื่อสารของสหรัฐอเมริกาอย่าง AT&T ใช้งบประมาณไปกับ การโฆษณาถึง 1.5 พันล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณ 46,000 ล้านบาท ซึง่ ผลที่ AT&T ได้กลับมานัน่ คือรายได้ทงั้ ปีเป็นมูลค่า ถึง 126.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 3.9 ล้านล้านบาท จะเห็นได้ว่าบริษัทได้รายรับกลับมาถึง 84 เท่าของค่าโฆษณา ที่เสียไป ทั้งนี้ แม้ว่าจะมีปัจจัยอื่นๆ ที่ส่งผลต่อรายได้ของ

บริษัทบ้าง แต่เราก็ไม่อาจปฏิเสธได้ว่าการกระตุ้นให้เกิดแรง จูงใจในการบริโภคด้วยการโฆษณาและการส่งเสริมการขาย ก็มีผลอย่างมากเช่นกัน ดังนัน้ หากย้อนถอยออกมามองภาพรวม เราจะเห็น ได้วา่ ความสัมพันธ์ของเศรษฐกิจและความเป็นวัตถุนยิ มเกิดขึน้ อย่างเป็นวัฏจักร นัน่ คือ ความอยากได้และถือครองวัตถุทกี่ อ่ ให้ เกิดความสุข (ไม่วา่ จะเป็นวัตถุประเภทใดก็ตาม) ก่อให้เกิดการ ขับเคลือ่ นเศรษฐกิจด้วยการเกิดการผลิตสินค้าเพือ่ สนองความ ต้องการต่างๆ ทีเ่ กิดขึน้ นัน้ โดยการขับเคลือ่ นนีก้ อ่ ให้เกิดแนวคิด เรือ่ งการตลาด เพือ่ กระตุน้ ให้เกิดความต้องการในการซือ้ สินค้า และบริการที่ผลิตขึ้น วนไปเรื่อยๆ ไม่มีจุดสิ้นสุด เราจะเห็นได้ว่าคำ�ว่าวัตถุนิยมไม่อาจแยกออกจาก ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมที่เราอาศัยอยู่ได้ ในเมื่อเราทุกคน ต่ า งเป็ น ฟั น เฟื อ งที่ ขั บ เคลื่ อ นระบบเศรษฐกิ จ ที่ เ น้ น ไปที่ ความต้องการสูงสุดจากเราเอง ในที่นี้ เราไม่ได้มองวัตถุนิยม ในแง่ของมิติทางสังคมหรืออื่นๆ ที่ให้ความสำ�คัญกับคำ�ว่า วัตถุนิยมในแง่คุณธรรมและจริยธรรม แต่ในมิติทางเศรษฐกิจ เรามองวัตถุนิยมเป็นสิ่งที่เสริมสร้างระบบ ส่งเสริมการผลิต ก่อให้เกิดการจ้างงานในหน่วยย่อยและการพัฒนาทางสังคม อย่างเป็นวัฏจักร แต่ ใ ช่ ว่ า วั ต ถุ นิ ย มจะมี คุ ณ ค่ า ต่ อ เศรษฐกิ จ เพี ย ง อย่างเดียวเท่านั้น โทษของวัตถุนิยมอาจร้ายแรงกว่าที่เราคิด จากที่ เ ราได้ รั บ รู้ ถึ ง การกระตุ้ น ให้ เ กิ ด ความต้ อ งการซื้ อ โดยการโฆษณาหรือการส่งเสริมการขายต่างๆ กิจกรรมทางการ ตลาดเหล่านีอ้ าจก่อให้เกิดผลเสียต่อระบบเศรษฐกิจได้เช่นกัน หากผู้ ที่ ไ ด้ รั บ การกระตุ้ น ไม่ ไ ด้ มี กำ � ลั ง ซื้ อ มากพอกั บ ราคา และระดับของสินค้านั้น ซึ่งจะทำ�ให้เกิดปัญหา “หนี้สิน” ได้ โดยส่วนหนึ่งมาจากการใช้เงินอย่างเกินตัวเพื่อนำ�ไปจับจ่าย ซื้อสิ่งของที่ต้องการโดยมิได้ตระหนักถึงฐานะทางเศรษฐกิจ ของตน จากข้ อ มู ล ของหอการค้ า ไทยพบว่ า ประชาชน ที่มีรายได้เกิน 15,000 บาทต่อเดือน เป็นหนี้บัตรเครดิตสูงกว่า รายได้ประมาณ 2-4 เท่า ซึ่ง 8.9% เกิดจากการผ่อนสินค้า มากจนเกินไป ส่งผลให้หนี้สินภาคครัวเรือนเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งเรา อาจอนุมานได้ว่า ความเป็นวัตถุนิยมอย่างไม่ประมาณตน น่าจะเป็นสาเหตุของปัญหานี้ และหากจำ�นวนหนี้ที่ไม่ได้ชำ�ระ มีมากจนเกินไป ระบบเศรษฐกิจอาจจะได้รับผลกระทบทำ�ให้ การกระตุ้นเศรษฐกิจเป็นไปได้ยากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ แม้ ว่ า วั ต ถุ นิ ย มจะเป็ น ตั ว ขั บ เคลื่ อ น เศรษฐกิจอย่างที่ได้กล่าวมาแล้ว คำ�ถามคือ มันได้ขับเคลื่อน เศรษฐกิจทั้งระบบหรือไม่ กล่าวคือ มีคนทุกคน ทุกชนชั้นใน ระบบหรือไม่ที่ได้รับประโยชน์จากความเป็นวัตถุนิยม แน่นอน ว่าเราไม่อาจปฏิเสธได้วา่ ความเป็นวัตถุนยิ มมักเกิดในคนชนชัน้ ที่มีรายได้สูงและชนชั้นกลาง ด้วยความที่สินค้าหลายอย่าง ที่ก่อให้เกิดความสุขจากการถือครองมักเป็นสินค้าระดับสูง และมีราคาแพง แต่ทว่าสำ�หรับผู้ที่มีรายได้น้อยหรือชนชั้น ล่างนั้น เขาได้รับประโยชน์จากความเป็นวัตถุนิยมจริงหรือ? เนื่องจากคนเหล่านี้ไม่ได้มีเงินเพียงพอที่จะซื้อสินค้าฟุ่มเฟือย มากนั ก แต่ แ น่ น อนว่ า ประโยชน์ ข้ อ หนึ่ ง ที่ พ วกเขาได้ รั บ คือการจ้างงานจากผูผ้ ลิต เพือ่ ทำ�งานตอบสนองความต้องการ ของคนที่อยู่ในระดับที่สูงกว่า คำ�ถามคือ ทุกคนหรือไม่ที่ได้รับ ประโยชน์ดังกล่าว และปริมาณของคนชนชั้นล่างที่เพิ่มสูงขึ้น นั้นสามารถเข้าไปอยู่ในระบบการผลิตได้เต็มจำ�นวนหรือไม่? คำ�ถามเหล่านีย้ งั คงเป็นข้อสนับสนุนคำ�กล่าวโจมตี ของผู้ ต่ อ ต้ า นความเป็ น วั ต ถุ นิ ย ม แต่ แ น่ น อนว่ า ในมิ ติ ท าง เศรษฐกิจ เราทุกคนต่างใช้ชีวิตอยู่ภายใต้ความเป็นวัตถุนิยม ที่ มี อ ยู่ ใ นตั ว ของเราทุ ก คน ไม่ เ ว้ น แม้ แ ต่ ค นที่ ต่ อ ต้ า นมั น ตราบใดที่ เ รายั ง อาศั ย อยู่ ใ นระบบเศรษฐกิ จ แบบทุ น นิ ย ม และยังคงใช้ชีวิตด้วยการซื้อสิ่งของเพื่อเติมเต็มความต้องการ ของตนเอง.

. นิ สิ ต นั ก ศึ ก ษ า - B 4 .

วัตถุนิยม : ฟันเฟือง ขับเคลื่อน เศรษฐกิจ : ชฎารัตน์ โภคธนวัฒน์ เทพพิทักษ์ มณีพงษ์

¥

$

M a i n c o u r s e


เมื่อ “วัตถุนิยม” สร้าง “ประวัติศาสตร์”

24,000 BC

: วรรษมน โฆษะวิวัฒน์

หากจะกล่าวว่า ”วัตถุนิยม” คือความเชื่อว่าวัตถุ เป็ น เสมื อ นตั ว แทนแห่ ง อำ � นาจ บั น ดาลซึ่ ง ความสุ ข ความ มั่ ง คั่ ง เราคงจะสามารถย้ อ นกลั บ ไปได้ ถึ ง 4,000 ปี ก่ อ น คริสต์ศักราชเลยทีเดียว ปรากฏหลักฐานที่เกี่ยวข้องอยู่ทั่วทุก มุมโลกว่ามนุษย์มีการใช้วัตถุเป็นสัญลักษณ์แทนพลังอำ�นาจ มาเป็นเวลาช้านาน โดยเฉพาะหลังการค้นพบทองคำ�ในครั้งแรก ทองคำ�ได้กลายเป็นสัญลักษณ์แทนอำ�นาจและความรุ่งเรือง มาแทบทุ ก ยุ ค ทุ ก สมั ย ตั้ ง แต่ อ ารยธรรมโบราณของอี ยิ ป ต์ หลายพันปีก่อนคริสตกาล ไปจนถึงยุคตื่นทองในสหรัฐอเมริกา ศตวรรษที่ 19 ทองคำ � จึ ง เป็ น ตั ว แทนภาพวั ต ถุ นิ ย มใน ประวัติศาสตร์โลกที่ชัดเจนที่สุดอย่างหนึ่ง ที่ ก ล่ า วว่ า ทองคำ � เป็ น ตั ว แทนความเป็ น วั ต ถุ นิ ย ม ในประวั ติ ศ าสตร์ ไ ด้ อ ย่ า งชั ด เจนนั้ น เป็ น เพราะหากเรามอง ภาพรวมของวัตถุนิยมในประวัติศาสตร์แล้ว จะเห็นได้ว่าในอดีต ความเป็นวัตถุนิยมมักจำ�กัดอยู่เฉพาะในหมู่ราชวงศ์ ชนชั้นสูง และสถาบันศาสนาเท่านั้น ตรงตามทฤษฎีความต้องการของ มาสโลว์ (Maslow’s Hierarchy of Need Theory) ที่ ว่ า ความต้องการของคนเรามักเริ่มจากความต้องการด้านร่างกาย ความต้องการด้านความปลอดภัย ความต้องการด้านสังคม ความต้องการด้านเกียรติยศชื่อเสียง และความต้องการด้าน การเข้าใจตัวเองอย่างแท้จริง และจะไม่มีความต้องการข้ามขั้น หากขัน้ ก่อนหน้ายังไม่ถกู เติมเต็ม ลำ�พังชาวบ้านธรรมดามีกนิ มีใช้ มีคนคุ้มครอง มีสังคมที่ครบถ้วนสมบูรณ์ก็นับว่ายากแล้ว หาคน ที่สามารถข้ามไปยังความต้องการลำ�ดับสี่หรือห้าแทบไม่มี หรือ ถ้าสามารถข้ามไปได้ บุคคลนั้นก็ได้กลายเป็นชนชั้นสูงไปโดย ปริยาย ในอดีตผูท้ สี่ ามารถครอบครองอำ�นาจและชือ่ เสียงเงินทอง จึ ง จำ � กั ด อยู่ ใ นหมู่ ช นชั้ น สู ง และสถาบั น ศาสนาที่ ผู้ ค นเคารพ เท่านั้น เช่นเดียวกันกับทองคำ�ที่เป็นตัวแทนแห่งอำ�นาจ และ ความรุง่ เรือง ทองคำ�จึงเป็นสิง่ ต้องห้ามสำ�หรับราษฎรในบางแห่ง และถึงจะได้รับอนุญาตให้ครอบครองทองคำ� ก็แทบจะไม่มี ราษฏรคนใดมีบารมีพอที่จะครอบครองทองคำ�ได้เท่ากับเหล่า เศรษฐีหรือชนชั้นสูงต่างๆ หากจะให้ ย กตั ว อย่ า งให้ เ ห็ น ภาพ ตั้ ง แต่ ใ นยุ ค อารยธรรมแห่งลุ่มแม่นํ้าไนล์ยังรุ่งเรือง ชาวอียิปต์สามารถทำ� เหมืองทองได้จำ�นวนมาก นำ�มาซึ่งความรุ่งเรืองของอาณาจักร ชาวอียิปต์เชื่อกันว่าทองคำ�เป็นร่างกายของเทพเจ้าอาเมนรา เทพแห่งพระอาทิตย์ และถือเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นอมตะ ทองคำ�จึงมีราคาสูงและมีเพียงกษัตริย์เท่านั้นที่มีสิทธิสวมใส่ ก่ อ นที่ จ ะขยายสิ ท ธิ นั้ น ลงมายั ง นั ก บวชและสมาชิ ก คนอื่ น ๆ ในราชวงศ์ในภายหลัง การสร้างพีระมิดเพื่อเก็บพระศพและ ทรัพย์สมบัตเิ พือ่ รอการฟืน้ คืนชีพก็ถกู จำ�กัดเฉพาะสมาชิกราชวงศ์ และครอบครัวของนักบวช และเรายังพบว่ามีการใช้ทองคำ�เป็น หน้ากากให้มัมมี่ หรือทำ�เป็นโลงศพหรือเครื่องประดับต่างๆ ตามที่พบที่สุสานมัมมี่ทองคำ � หรื อสุ สานฟาโรห์ ตุ ตั น คาเมน ที่มีชื่อเสียง ถั ด มาทางตะวั น ออก อารยธรรมจี น ที่ มี ป ระเพณี และวั ฒ นธรรมสื บ ทอดกั น มายาวนานมี ค วามเชื่ อ ว่ า ทอง เป็นสัญลักษณ์แห่งโชคลาภ ชาวจีนผู้รักการค้าขายมีความเป็น วัตถุนิยมให้เห็นอย่างชัดเจนอีกอย่างหนึ่งคือต้องกราบไหว้เทพ ไฉ่ซิงเอี๊ยหรือไฉเฉินเหย่แห่งโชคลาภเป็นองค์แรกในวันปีใหม่ ทั้งเพื่อให้ค้าขายดี ให้มั่งคั่งร่ำ�รวย มีโชคลาภ รวมไปถึงให้ตาม เก็บหนี้ได้ง่าย ในด้านสัญลักษณ์แห่งอำ�นาจชาวจีนมีสุสานจิ๋นซี

ทีพ่ อจะสูก้ บั สุสานตุตนั คาเมนของอียปิ ต์ได้สสู ที เี ดียว สุสานจิน๋ ซี นอกจากความยิ่งใหญ่แล้วยังมีการฝังคนเป็น ม้าเป็น พร้อมทั้ง ทรัพย์สินเงินทองไปพร้อมกับร่างขององค์ฮ่องเต้ที่สวรรคตแล้ว เพือ่ ให้น�ำ ไปใช้ในภพหน้า และเมือ่ ทองคำ�สำ�หรับชาวจีนไม่ได้ถกู จำ�กัดเฉพาะในหมู่ชนชั้นสูง ความเชื่อเรื่องทองคำ�จึงถูกกระจาย มายังประชาชนที่ฝังกระดาษเงินกระดาษทอง และเผาตามไป ให้กบั คนตายตัง้ แต่สมัยราชวงศ์ฮนั่ และสืบทอดความเชือ่ เหล่านี้ มาจนปัจจุบัน สำ�หรับไทยเราก็ไม่น้อยหน้าไปกว่ากันเลย พื้นที่แถบ พม่า ไทย มลายูถูกขนานนามว่า “สุวรรณภูมิ” มาแต่โบราณ พระพุ ท ธรู ป ทองคำ � ตั้ ง แต่ ส มั ย เชี ย งแสนอายุ ก ว่ า 2,000 ปี เป็นหลักฐานชิ้นสำ�คัญว่าไทยเรามีความรุ่งเรืองด้านศาสนา มากทีเดียว และความเชื่อว่าทองคำ�คือความรุ่งเรืองและอำ�นาจ เป็นสมบัติที่ใครๆ ต่างอยากครอบครองในแถบสุวรรณภูมินี้ เราจะเห็ น ได้ จ ากประวั ติ ศ าสตร์ เ มื่ อ ครั้ ง เสี ย กรุ ง ศรี อ ยุ ธ ยา ครั้งที่ 2 นอกจากพม่าจะได้ยึดครองกรุงแล้ว ยังได้นำ�สัญลักษณ์ แห่งความรุ่งเรืองกลับบ้านเมืองตนอีก นั่นคือทองคำ�ที่ถูกเผาเอา จากวัดและพระราชวังแห่งกรุงศรีอยุธยานัน่ เอง เมือ่ ทองคำ�ถูกเผา เอาไปหมด ความสวยงามและความรุ่งโรจน์ของอดีตเมืองหลวง ก็เหมือนจะถูกนำ�ไปด้วย จนกระทัง่ พระเจ้าตากสินมหาราชเห็นว่า อยุธยายากที่จะฟื้นฟูกลับมาเป็นเมืองหลวงอีกต่อไป ช่ ว งเปลี่ ย นผ่ า นที่ ค วามเป็ น วั ต ถุ นิ ย มขยายตั ว มายั ง ชนชั้ น อื่ น ๆ เห็ น จะเป็ น การปฏิ วั ติ อุ ต สาหกรรมที่ ก่ อ ให้ เกิดชนชั้นกลางขึ้น การปฏิวัติอุตสาหกรรมทำ�ให้การขยายตัว ของรายได้มวลรวมและประชากรเติบโตขึ้นมากในระยะเวลา อันรวดเร็ว และอาจเรียกได้วา่ เป็นการขยายความเป็น “วัตถุนยิ ม” จากแค่ในหมู่ราชวงศ์ นักบวช ชนชั้นสูง และคนตาย ไปสู่ชนชั้น ที่ ต่ำ � ลงมา ประกอบกั บ ช่ ว งนั้ น เป็ น ช่ ว งที่ มี ก ารเปลี่ ย นแปลง สู ง ทั่ ว โลก ทั้ ง ด้ า นเศรษฐกิ จ และด้ า นการเมื อ งการปกครอง ทำ�ให้คนในยุคนั้นพร้อมที่จะเสี่ยงกับสิ่งใหม่ๆ จึงไม่น่าแปลกใจ ว่าเมื่อมีข่าวการค้นพบทองที่รัฐแคลิฟอร์เนียแพร่สะพัดออกไป เมือ่ ปี ค.ศ.1848 จะทำ�ให้มคี นอพยพมาหาความหวังจำ�นวนมาก จนกลายเป็นยุคตื่นทอง บางคนที่เดินทางมาไม่ถึงได้ตั้งรกราก อยู่ระหว่างทางเกิดเป็นชุมชน ทำ�ให้เส้นทางที่ทุรกันดารเจริญ รุ่งเรืองขึ้น ก่อให้เกิดการเปิดเส้นทางคมนาคมจากตะวันออกสู่ ตะวันตก เหตุการณ์นี้ได้แสดงให้เห็นถึงคุณค่าของทองคำ� และ อิทธิพลของมันที่ทำ�ให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองทั้งทางตรงและ ทางอ้ อ ม เพราะการให้ ค วามสำ � คั ญ กั บ วั ต ถุ ข องมนุ ษ ย์ ที่ เ ริ่ ม แพร่ขยายมายังประชาชนทั่วไปมากขึ้น ศตวรรษที่ 19 มาตรฐานทองคำ�เริ่มมีบทบาทกับ ระบบการเงินหลายประเทศ ก่อนกลายเป็นอีกหนึ่งหน่วยใน เศรษฐกิจโลก บทบาทของทองก็กว้างขึ้น นอกจากจะเป็นเครื่อง ประดับหรือเป็นเครื่องหมายแสดงอำ�นาจตามความเชื่อเดิม ยังกลายเป็นสื่อกลางการลงทุนซึ่งทำ�ให้การเข้าถึงทองเป็นไป ได้ง่ายขึ้น คนทั่วไปสามารถซื้อหาทองคำ�ได้ตามท้องตลาดและ อิงราคาจากตลาดโลก เช่นกันกับวัตถุนยิ มทีแ่ พร่ไปกว้างขึน้ และมี ความเป็นโลกาภิวตั น์มากขึน้ อย่างรวดเร็ว เราใช้มอื ถือรุน่ เดียวกัน ใช้เครื่องสำ�อางยี่ห้อเดียวกัน ทั้งๆ ที่อยู่กันคนละมุมโลก แท้จริงแล้ว วัตถุเป็นสิ่งสร้างอำ�นาจ มนุษย์ทั้งหลาย จึงต้องแย่งกันไขว่คว้า หรือเพราะมนุษย์แย่งกันไขว่คว้ามัน จึงสร้างอำ�นาจให้กบั ผูค้ รอบครอง? คำ�ถามนีอ้ าจไม่จ�ำ เป็นต้องหา คำ�ตอบหากเราทำ�ความเข้าใจและยอมปรับตัวให้เป็นกลาง เข้ากับวัตถุนิยมแต่ละยุคสมัยเฉกเช่นที่บรรพบุรุษของพวกเรา ทำ�กันมาช้านาน เพราะเมื่อถึงจุดหนึ่งคำ�ตอบที่เราได้ในวันนี้ อาจไม่ใช่คำ�ตอบสำ�หรับอนาคตก็เป็นได้

. นิ สิ ต นั ก ศึ ก ษ า - B 5 .

English East India

Apple


วัตถุศิลป์ : การะเกด นรเศรษฐาภรณ์

1,323 BC

‘Cinderella’

iPhone5 Materialism

เมื่อหลายปีก่อนหน้านี้ มีสารคดีเรื่องหนึ่งซึ่งนำ�เสนอ เรื่องราวเกี่ยวกับผ้าพันคอ Hermès เล่าถึงขั้นตอนในการทำ� ผ้าพันคอที่จัดว่าสวยงามที่สุด ทั้งความละเอียดของลวดลาย ความสดใสของสีที่ไม่มีจืดจางลง หรือความเรียบลื่นของเนื้อผ้า ที่ใส่แล้วก็อุ่นสบาย สารคดีสั้นๆ นี้เล่าเกี่ยวกับ 40 กว่าขั้นตอน ในการผลิตผ้าพันคอผืนหนึง่ ได้อย่างน่าสนใจ ทัง้ การเริม่ ออกแบบ ลวดลายโดยดีไซน์เนอร์ฝมี อื ดี การออกแบบสี โดยปกติผา้ พันคอ ผืนหนึ่งจะมีสีเฉลี่ยประมาณ 30 สี โดยวาดลงบนแผ่นฟิลม์ 1 แผ่นต่อ 1 สี แล้วค่อยๆ ลงสีจากสีเข้มสุดไปอ่อนสุด ค่อยๆ สกรีน ลงบนผ้าทีละสีๆ ค่อยๆ ตรวจสีว่าคมชัดไหมในการรีดแต่ละครั้ง ขั้ น ตอนซั บ ซ้ อ นมาก จนมี ค นกล่ า วว่ า ผ้ า พั น คอแอร์ เ มสนี้ เทียบเท่ากับศิลปะงานภาพพิมพ์เลยทีเดียว มี สิ่ ง ที่ น่ า สนใจอย่ า งหนึ่ ง คื อ ความสวยงาม ละเอียดอ่อนที่ว่า แลกมากับกระบวนการซับซ้อน อันนำ�ไปสู่ “ราคา” ที่น่าตกใจ สังเกตได้ว่าทุกกระบวนการล้วนมีค่าใช้จ่าย สูงทั้งนั้น ตั้งแต่การเลือกคนวาดลาย การใช้ผ้า การใช้สีต่างๆ และเป็นราคาจ่ายจำ�นวนมากเสียด้วย น่าคิดไปถึงศิลปะแขนง อื่นๆ ที่ความละเอียดอ่อน ปราณีตบรรจงเท่ากับความสวยงาม จะมีราคาจ่ายสูงเท่าใด ลองนึกถึงสถาปัตยกรรม ภาพวาด ปูน ปั้น แกะสลักต่างๆ ทีเ่ ห็นกันมากมายมาตั้งแต่อดีต ทัง้ ทัชมาฮาล ที่ยิ่งใหญ่ กระจกสีที่ละเอียด หรือรูปปั้นที่ปราณีต เมือ่ ศิลปะต้องใช้เงินมากมายขนาดนี้ แล้วเงินทีศ่ ลิ ปิน ใช้สร้างสรรค์มาจากไหน? การสร้างอะไรสักหนึ่งอย่างนั้น เงิน ย่อมเป็นปัจจัย หลักๆ ที่ต้องใช้ ทุกอย่างล้วนมีราคาค่างวด ศิลปินเองก็เช่นกัน จะสร้างผลงานได้ ต้องมี “ทุน” ซึ่งทุนดังกล่าวศิลปินไม่สามารถ สร้างได้เอง ถ้าไม่ได้มาจากครอบครัวที่มีฐานะ ก็ต้องหาเอาจาก ผูอ้ ปุ ถัมป์ ผูอ้ ปุ ถัมป์นเี่ อง คือคนทีจ่ ะรับศิลปินเข้าสูส่ งั กัดของตัวเอง ให้เงินและโอกาสกับศิลปินเหล่านัน้ ในการสร้างผลงาน และเสพ ศิลป์จากผลงานเหล่านั้น เป็นเสมือนการแลกเปลี่ยนระหว่าง ความสุนทรีย์ทางศิลปะและการอวดฝีมือให้โลดแล่น การอุ ป ถั ม ป์ ศิ ล ปะนั้ น มี ม าเนิ่ น นาน เรี ย กว่ า มี ม า ตลอดเลยก็ว่าได้ ดร.เพ็ญสุภา สุขตะ ใจอินทร์ กวีณี นักเขียน และนักวิชาการด้านศิลปวัฒนธรรม ปัจจุบันเป็นภัณฑารักษ์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จังหวัดลำ�พูน ได้แบ่งการอุปถัมป์ทาง ศิลปะเป็นสามแบบ คือ อำ�นาจ, ศรัทธา และทุน หลั ง จากศิ ล ปะยุ ค ก่ อ นประวั ติ ศ าสตร์ ที่ ไ ม่ มี ก าร อุปถัมป์ ก็จะเข้าสู่การอุปถัมป์ด้วยอำ�นาจ ในลักษณะของผู้นำ� กั บ ผู้ ใ ต้ บั ง คั บ บั ญ ชา งานโดยมากจะแสดงถึ ง ความยิ่ ง ใหญ่ ไม่ค่อยสวยงาม เช่น โคลอสเซียม, พีระมิด, วิหารของสุเมเรียน ฯลฯ การอุปถัมป์อย่างที่สอง คือ การอุปถัมป์ด้วยศรัทธา คือ ใช้ศาสนามาแทนที่ กษัตริย์ก็สร้างให้เป็นสมมติเทพ เป็นต้น งานจะมีหลายรูปแบบตามแต่ความเชื่อ แต่โดยหลักคือเน้น ไปที่ความศรัทธาต่อสิ่งหนึ่งๆ อาจทำ�เพื่อบูชา เพื่อให้ได้นิพพาน หรือเพื่อพระเจ้าก็ตามแต่ สุดท้าย คือการอุปถัมป์ด้วยทุน เมื่อศาสนาเริ่มถูก พิสูจน์ด้วยความจริง ศิลปะจึงเป็นไปเพื่อการอื่น เริ่มมีคนสะสม งานเหล่านี้ โดยดร.เพ็ญสุภาได้กล่าวถึงความสัมพันธ์รูปแบบนี้ ไว้วา่ “...ศิลปะเป็นเครือ่ งย้อมใจให้ดดู มี รี สนิยม เพือ่ ความศิวไิ ลซ์ เริ่มข้ามชาติไร้พรมแดน เมื่อยุคทุนเป็นใหญ่ ทุนคือการจ้าง

. นิ สิ ต นั ก ศึ ก ษ า - B 6 .

จึงมีการจ้างงานให้จดั แสดงในแกลเลอรี” ข้อดีของความสัมพันธ์ รู ป แบบนี้ คื อ ผู้ อุ ป ถั ม ป์ แ ละศิ ล ปิ น เป็ น ไปในลั ก ษณะพึ่ ง พา กั นและกั น ศิ ล ปิ นก็ ไ ด้ ส ร้ า งสรรค์ ผ ลงานโดยมี เ งิ น สนั บ สนุ น และผู้อุปถัมป์ก็ได้เชิดหน้าชูตา จากบรรดาศิลปินในสังกัดที่จะ สร้างผลงานเพื่อตอบสนองรสนิยม การที่ศิลปะเป็นตัวแสดงถึง รสนิยมของผู้ครอบครองอาจจะเริ่มตั้งแต่ตอนนี้ก็เป็นได้ เมือ่ ยุคกลางหมดไป ทุกคนต่างมีโอกาสทีจ่ ะยกระดับ ชีวิตความเป็นอยู่ ฐานะทางสังคมเริ่มมีความสำ�คัญมากขึ้น เรื่อยๆ แต่ละคนจึงพยายามจะแสดงความเป็นตัวตนของตัวเอง หรือสิ่งที่อยากจะให้คนเห็นออกมา วัตถุกลายเป็นสัญญะถึง อะไรบางอย่าง ศิลปะก็เช่นกัน ศิลปะอาจจะหมายถึงอำ�นาจ ยิ่งใหญ่ หมายถึงความมั่งคั่ง หมายถึงรสนิยม หมายถึงจิตใจ อุ ป ถั ม ป์ หรื อ อาจจะหมายถึ ง ความคิ ด ความเชื่ อ แต่ ไ ม่ ว่ า จะหมายถึงอะไรก็ตามแต่ ศิลปะได้รับความเชื่อนี้มา จนทำ�ให้ เกิดวัฒนธรรมการอุปถัมป์ศิลปินขึ้น ความเชื่อในเรื่องที่ว่าวัตถุแสดงถึงอะไรบางอย่าง มีผลต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน กลายเป็นค่านิยม เป็นเปลือกที่ จะใช้ตัดสินคน คนที่ฟังเพลงแบบนี้จะต้องชอบชีวิตอย่างหนึ่ง คนอ่านหนังสือประเภทนีจ้ ะมีความคิดอีกอย่างหนึง่ ของภายนอก กลายเป็นเครื่องตัดสินคนไปเสียสิ้น ศิลปะเองก็ด้วย คนอินดี้ จะต้องวาดรูปแบบนี้ สาวกุก๊ กิก๊ ทำ� DIY จะวาดรูปแบบนัน้ ศิลปะ ที่ยิ่งใหญ่ต้องเข้าใจยาก รูปสวยคือรูปเหมือน ทุกอย่างเป็นวัตถุ แสดงตัวตนไปเสียหมด อาจจะเป็นตัวตน หรือตัวตนทีอ่ ยากจะเป็น โดยเฉพาะในเรือ่ งของราคา เพราะเมือ่ ศิลปะแขนงต่างๆ ทีส่ วยทีด่ ี คือเป็นงานที่ละเอียดอ่อน มีขั้นตอนมากมาย มีเรื่องราว หรือ สามารถตีความได้ อย่างที่ได้กล่าวไปว่าสิ่งเหล่านี้แลกมากับ ราคาต้นทุนที่สูง เมื่อมาเป็นชิ้นงานย่อมมีราคาสูงไปด้วย ทำ�ให้ ผู้ครอบครองดูมีเป็นผู้มีอันจะกิน สามารถจ่ายราคางานเหล่านี้ ได้ตามความคิดเห็นของคนภายนอก ราคาและเรื่องราวเบื้องหลังของชิ้นงานนี้เองที่เพิ่ม มูลค่า ทัง้ ทีเ่ ป็นเม็ดเงิน และทางจิตใจ ของสิง่ หนึง่ อาจมีมลู ค่ามาก เพิม่ ขึน้ เพราะเรือ่ งราว เช่น แจกันปัน้ ดินของญีป่ นุ่ หากเทียบตาม มูลค่าของแล้วอาจจะราคาเป็น 1 แต่เมือ่ พบว่าแจกันนีเ้ คยตกอยู่ ในการครอบครองของโชกุนคนหนึ่ง ราคาอาจจะเพิ่มมากถึง 10 นี่คือการที่ชิ้นงานถูกเพิ่มมูลค่าด้วยเรื่องราว หรือหมวกสาน ธรรมดา อาจเพิม่ ค่าได้ส�ำ หรับแฟนคลับ เมือ่ ศิลปินเกาหลีได้ใส่มนั ไปแล้ว ก็เป็นการเพิ่มคุณค่าทางจิตใจ เป็นต้น เหล่านี้ล้วนแต่เป็นการให้ความสำ�คัญกับวัตถุทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นการเห็นคุณค่าของชิ้นงานแบบไหน แต่สุดท้ายแล้ว ก็ลว้ นแต่เป็นการยึดติดในวัตถุนนั้ ๆ การให้ความสำ�คัญกับวัตถุที่ แสดงถึงอะไรบางอย่าง มากกว่าการแสดงสิง่ เหล่านัน้ ออกมาด้วย ตัวเอง เราต่างให้ความสนใจกับปัจจัยภายนอก ในรูปลักษณะที่ ประสาทสัมผัสทั้งห้าจะรับรู้ได้ มันอาจจะเป็นการดีในบางแง่มุม แต่ก็มีบางจุดที่เราอาจจะต้องพิจารณาถึงผลเสียของมันด้วย เราอาจจะต้องลองคิดตัวตนของเราที่ยึดไว้กับวัตถุ เหล่านี้ มันจะยัง่ ยืนไปกับเราได้นานแค่ไหน และเมือ่ ใดทีว่ ตั ถุนนั้ สลายไป เราจะเหลือความเป็นตัวเองอยูอ่ กี หรือเปล่า อำ�นาจทีต่ ดิ อยูก่ บั สถาปัตยกรรมทีย่ งิ่ ใหญ่ เมือ่ มันถูกทำ�ลายไป จะทำ�อย่างไร เมื่ออำ�นาจที่เคยมีก็มาพร้อมความรับผิดชอบ แต่เมื่ออำ�นาจ หายไปแล้ ว ความรั บ ผิ ด ชอบยั ง อยู่ ทางแก้ จ ะอยู่ ที่ ต รงไหน เบื้องหลังสัญญะต่างๆ มีอะไรแฝงอยู่เสมอ นัน่ คือสิง่ ทีจ่ ะต้องคิด และหาคำ�ตอบ ก่อนทีต่ วั ตนของ เราจะกลืนไปกับวัตถุเสียจนแยกไม่ออก

M a i n c o u r s e


เพื่ อ ดึ ง ดู ด คนให้ ศ รั ท ธา ซํ้ า ร้ า ยบางที่ แ ปะป้ า ยไว้ ชั ด เจนว่ า : ศิลป์ศุภา โยคะกุล ‘บริจาคมากได้บุญมาก’ ไม่แปลกที่วัดต่างๆ จะพยายามหา ษฎาวุฒิ อุปลกะลิน วิ ธี ก ารทางการตลาดมาดึ ง ดู ด ให้ ค นเข้ า วั ด ทำ � บุ ญ เพื่ อ การ หมุนเวียนของปัจจัย แต่วดั ๆ หนึ่งจะต้องระดุมทุนมากมายขนาด นั้นไปทำ�ไมกัน เราไม่เคยนึกแปลกใจกับสิ่งเหล่านี้เลย เรากลับทำ�ตัว เป็นส่วนหนึ่งกับมันด้วยซํ้า เพราะวิถีชีวิตของเราที่เปลี่ยนไป เราอาจไม่ต้องการเวลาเพื่อนั่งสมาธิเงียบๆ ในลานวัด หรือใช้ เวลาช่วงเช้าวันหยุดในการฟังพระเทศน์ เราเพียงต้องการใช้เวลา เล็กน้อยไปกับการทำ�บุญเพื่อความสบายใจ และวัดก็พยายาม ตอบโจทย์เราด้วยการหยิบยื่นความสะดวกสบายในการเข้าถึง การทำ�บุญและ จับต้อง บุญได้มากขึน้ ซึง่ นัน่ อาจเพียงพอกับการ ทำ�ให้ ‘วัด ’ ดำ�รงอยู่ แต่เพียงพอกับการธำ�รง ‘ศาสนา ’ หรือไม่ ? ทุ ก วั น นี้ ก ารทำ � บุ ญ ครั้ ง หนึ่ ง เหมื อ นการเข้ า ร้ า น สะดวกซื้ อ หยิ บ จั บ สิ น ค้ า ตอบชอบใจแล้ ว จ่ า ยเงิ น ใช้ เ วลา ไม่ถึงสิบนาที และที่สำ�คัญคือเราซื้อแล้วกินได้ทันที ไม่ต้องรอ ให้ถึงชาติหน้า เผลอ ๆ อาจมีพนักงานถามเราว่า ‘รับซองผ้าป่าทำ�บุญ เพิ่มมั้ยคะ’ จากที่ศาสนาเคยดึงเอาวัตถุนิยมมาเป็นเครื่องมือใน การเผยแผ่ศาสนา แต่ทุกวันนี้กลับถูกกลืนกินด้วยเครื่องมือของ ตนเอง นัยหนึ่งศาสนาไม่อาจดำ�รงอยู่ได้โดยขาดเครื่องมือชิ้นนี้ แต่วัตถุนิยมเองก็บดบังไม่ให้เห็นแก่นที่แท้จริงของพุทธศาสนา เมื่ อ ด้ า นใดด้ า นหนึ่ ง ไม่ ใ ช่ คำ � ตอบที่ ดี ที่ สุ ด เราอาจต้ อ งใช้ ทางสายกลางหรือ มัชฌิมาปฏิปทา ในการถ่วงดุลไม่ให้ตาชั่ง เอียงไปทางใดทางหนึ่งมากเกินไป โลกเปลี่ยน สังคมเปลี่ยน วัดเปลี่ยน แต่สิ่งที่ไม่เคย เปลี่ยนคือใจความสำ�คัญของศาสนา เมื่อต้นไม้โตขึ้นแน่นอน ว่าเปลือกของมันย่อมเปลี่ยนแปลง อาจหลุดร่อน อาจสร้างใหม่ อาจเติ บ โตออกไปในทิ ศทางต่ า งๆ แต่ แก่ นเดิ มของมั นยั งคง ดำ�รงอยู่ ต้นไม้ยังเป็นต้นเดิม อยู่ที่เราจะค้นมันจนเจอหรือไม่ก็ เท่านั้น

ในยุ ค ที่ ป ระชากรโลกต่ า งเร่ ง จั ง หวะการเดิ น ของ ตัวเองเพื่อก้าวให้ทันกระแสของสังคม ความสะดวกและรวดเร็ว กลายมาเป็นบรรทัดฐานหลักในการดำ�เนินชีวติ แน่นอนเมือ่ ความ เปลี่ยนแปลงเข้ามาเขย่าชั้นบรรยากาศของโลก ทุกสิ่งทุกอย่างก็ ย่อมหาทางปรับตัวเพือ่ ให้อยูร่ อดในระบบนิเวศแบบสะดวกนิยมนี้ พุทธศาสนาเองก็เช่นกัน โลกที่เม็ดเงินหมุนเร็วกว่า ใจคน แก่ น หลั ก ของศาสนาที่ เ คยยึ ด ตามหลั ก จิ ต นิ ย มก็ ถู ก แทรกซึ ม ด้ ว ยความนิ ย มในวั ต ถุ จึ ง ไม่ น่ า แปลกใจที่ ทุ ก วั น นี้ เรามีภาพของความศรัทธาเป็นองค์พระเลี่ยมทอง และอุโบสถ ที่ประดับประดาอย่างงดงาม เราคงปฏิเสธไม่ได้วา่ เจดียเ์ นือ้ ทองทีช่ ะลูด ย่อมเห็นได้ ง่ายกว่าความบริสุทธิ์ทางใจ -- เพราะนั่นคือข้อดีของวัตถุ พุทธศาสนาดึงเอาข้อดีนี้มาใช้ในการเผยแผ่ศาสนา ตั้ ง แต่ รั ช สมั ย ของพระเจ้ า อโศกมหาราชที่ ใ ช้ ธ รรมจั ก รและ กวางหมอบเป็ น ธงรบในการประกาศพระธรรมคำ � สอน และ ต่ อ มาในสมั ย แม่ ทั พ กรี ก เมนั น เดอร์ หรื อ พระเจ้ า มิ ลิ น ท์ ต้ น เรื่องแห่ง ‘มิลินทปัญหา’ ได้นำ�การนับถือรูปเคารพแบบกรีก เข้ามาผสม จนกำ�เนิดเป็นพุทธปฎิมากรรมรุ่นแรกที่ดูจะมีเชื้อ อพอลโลอยู่ ใ นตั ว สู ง ลิ่ ว ถึ ง แม้ ว่ า ภายหลั ง พระพุ ท ธรู ป จะถู ก ดัดแปลงไปตามยุคสมัย เปลี่ยนเชื้อสายไปตามถิ่นฐาน แต่ก็ยัง ถูกใช้เป็นเครื่องมือสำ�คัญในการ ‘ยึดเหนี่ยวจิตใจ’ ให้กับผู้คน ก่อนจะนำ�ทางพวกเขาไปถึงแก่นจริงๆ ทีไ่ ม่ใช่เพียงเปลือกทองคำ� เปลวรอบนอก แต่หลายครัง้ ทองคำ�เปลวก็เหนียวและหนาเกินกว่าจะ ทะลุไปถึงเนื้อใน ไม่ใช่เพียงพระพุทธรูปเท่านั้นที่สร้างความศรัทธา ให้กับปวงชน แต่ยังหมายรวมถึงวัด ที่ถูกปลูกสร้างอย่างวิจิตร เพื่อเป็นศูนย์รวมจิตใจ(?) วัดและที่ดินของวัดจึงเป็นอีกหนึ่งสิ่ง ที่เรียกคะแนนศรัทธาได้มากทีเดียว ความสวยงามและกว้าง ใหญ่นี่เองที่สร้างความแตกต่างให้แต่ละวัด แม้เนื้อในของวัดจะ ไม่ ต่ า งกั น เลยก็ ต าม จนน่ า สงสั ย ว่ า ทุ ก วั น นี้ เ ราไปวั ด เพื่ อ หรื อ บางที เ ราเองนี่ แ หละที่ เ ป็ น คนดั ด และตั ด สงบจิตใจ หรือไปวัดเพราะมันเป็น ‘สถานที่ท่องเที่ยว’ กันแน่ ต้นไม้ต้นนั้น . เมื่อโลกกระเถิบตัวเองสู่ยุคทุนนิยม ศาสนาจึงต้อง พาตัวเองเข้าสู่กลไกทางเศรษฐกิจอย่างเลี่ยงไม่ได้ เงินกลาย เป็นปัจจัยที่สำ�คัญกว่าจตุปัจจัย (จีวร, บิณฑบาต, เสนาสนะ, คิลานเภสัช) ความศรัทธาจึงต้องผันตัวเองไปเป็น ‘สินค้าทีข่ ายได้’ เพื่อให้วัดดำ�รงอยู่ รูปเคารพบูชาจึงผุดขึ้นมากมายแปะยี่ห้อ เป็ น ชื่ อ วั ด หรื อ หลวงปู่ ธู ป เที ย นและดอกบั ว ต้ อ งจั ด ไว้ ข้ า ง ตู้ บ ริ จ าค จะถวายสั ง ฆทานก็ มี ร้ า นขาย บางที่ มี พิ ธี ก รรม

นิ สิ ต นั ก ศึ ก ษ า - B 7


: กุลนันทน์ ไตรเจริญวิวัฒน์

เราพบพาดหัวข่าวเหล่านี้ได้แทบจะทุกวันบนหน้า หนังสือพิมพ์ และเราปฎิเสธไม่ได้เลยว่าเป็นภาพสะท้อนปัญหา ของสังคมไทยในปัจจุบัน หากเราพิจารณาดีๆ เราจะเห็นได้ว่า ปั ญ หาส่ ว นใหญ่ ที่ เ กิ ด ขึ้ น เนื่ อ งมาจากองค์ ป ระกอบหลาย ด้ า น ไม่ ว่ า จะเป็ น วั ฒ นธรรมทางสั ง คมที่ เ ปลี่ ย นแปลงไป การเติบโตของระบบทุนนิยม นวัตกรรมใหม่ๆ ทางสุนทรียศาสตร์ การโฆษณาชวนเชือ่ เมือ่ สิง่ เหล่านีร้ วมเข้ากับเทคโนโลยี ทำ�ให้ วัฒนธรรมลวงใหม่ๆ เผยแพร่อย่างรวดเร็วไปทั่วโลก

สั ง คมไทยได้ เ ปลี่ ย นจากสั ง คม “ในนํ้ า มี ป ลา ในนามีข้าว” ที่เน้นการกินดีอยู่ดี มาเป็นสังคมที่เน้นการมี เอกลักษณ์ของกลุ่ม การอวดความเป็นตัวตน และเมื่อชุด ความเชื่อที่ว่า “เรียนจบ ทำ�งาน ซื้อบ้าน ซื้อรถ” กลายเป็นสิ่งที่ บ่งบอกความเป็นคนเมือง ก็หมายความว่า เมื่อเราเรียนจบ แล้วเราเริ่มทำ�งาน เก็บเงินไปได้ซักระยะหนึ่ง ก็จะเริ่มซื้อรถ ต่อมาจะเริม่ ขยับขยายไปซือ้ บ้านหรือคอนโดของตนเอง ทัง้ ๆ ที่ ในความเป็นจริงแล้ว คนที่เพิ่งเริ่มจะทำ�งาน ฐานะทางการเงิน อาจจะไม่มนั่ คงเท่าไหร่นกั แต่แรงจูงใจของโฆษณา “รถคันแรก” “คอนโดใจกลางเมืองเริ่มผ่อนเพียงเดือนละหลักพัน” ฯลฯ ก็ ล้ ว นกระตุ้ น ต่ อ มความอยากที่ จ ะซื้ อ จนทำ � ให้ ข้ อ เท็ จ จริ ง ของเงินในกระเป๋ากลายเป็นสิ่งที่ถูกชะลอไปก่อน คิดไปเอง ว่าเดี๋ยวก็หาวิธีได้ นอกจากนี้ ความพยายามจะขายสินค้า ในสังคมปัจจุบันกับการแข่งขันทางการตลาด ทำ�ให้ผู้บริโภค ถูกล่อใจเต็มที่โดยไม่รู้เนื้อรู้ตัว ผู้บริโภคได้รับการหยิบยื่น ข้อเสนอว่า เราควรจะละทิ้งโลกใบเก่า เปิดรับโลกใบใหม่ รับสิ่งใหม่ คุณค่าใหม่ แล้วชีวิตของคุณก็จะสะดวกสบายขึ้น ดังนัน้ การขับรถมาทำ�งานหรือมีคอนโดเป็นของตัวเอง จึงนำ�มา ซึ่ ง ความสะดวกสบายและความโก้ ห รู สิ่ ง เหล่ า นี้ ทำ � ให้ คนทำ � งานบางคนประเมิ น ฐานะทางการเงิ น ของตนผิ ด ไป คิดว่าตนสามารถที่จะแบกรับภาระผ่อนในแต่ละเดือนได้ คน ที่มีกำ�ลังผ่อนไปได้ตลอดรอดฝั่งได้ก็ถือว่าโชคดีกว่าคนที่ไม่มี ปัญญาผ่อนจ่ายในแต่ละเดือน จนท้ายที่สุดก็โดนยึดบ้าน ยึ ด รถยนต์ อย่ า งที่ เ ราเห็ น ในข่ า วว่ า ไฟแนนซ์ เ ริ่ ม ที่ จ ะยึ ด รถยนต์จากลูกหนี้ที่ไม่สามารถผ่อนจ่ายได้ ประกอบกับสภาพ เศรษฐกิ จ ที่ ไ ม่ สู้ ดี นั ก ทำ � ให้ มี ก ารคาดการณ์ กั น ว่ า น่ า จะมี ปริมาณรถที่ถูกยึดมากขึ้นเรื่อยๆ วัยรุ่นก็ยิ่งเป็นกลุ่มคนที่ถูกครอบงำ�โดยวัตถุนิยม ได้ง่าย เนื่องจากวัยรุ่นเป็นวัยที่ต้องการการยอมรับจากสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มเพื่อน จึงทำ�ให้วัยรุ่นไทยถูกครอบงำ� โดยกระแสวัตถุนยิ มได้ไม่ยาก วัยรุน่ บางกลุม่ นิยมการแต่งกาย แบบแปลกแหวกแนวเพื่อให้ดูมีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง บางคนแต่ ง ตั ว ตามดาราที่ ต นชื่ น ชอบ บางคนนิ ย มใช้ ข อง แบรนด์เนมตามกลุ่มเพื่อนของตน หรือใช้เพื่อเป็นการโอ้อวด ฐานะ นำ�มาซึ่งการใช้จ่ายอย่างเกินตัวจนลืมคำ�นึงถึงฐานะ ของตน เนื่ อ งจากแต่ ล ะคนนั้ น มาจากครอบครั ว ที่ มี พื้ น เพ แตกต่างกัน บางครอบครัวมีฐานะดี สามารถซือ้ ของแบรนด์เนม ฟุ่มเฟือยต่างๆ ให้ได้ แต่เพื่อนบางคนในกลุ่มอาจไม่ได้มีกำ�ลัง ซือ้ แบบนัน้ แต่ดว้ ยความทีต่ อ้ งการการยอมรับว่าเป็นส่วนหนึง่ และกลัวว่าจะน้อยหน้าเพือ่ นๆ จึงพยายามทำ�ทุกวิถที างเพือ่ ให้ มีเงินไปซื้อของแบรนด์เนม วัยรุ่นไทยจำ�นวนไม่น้อยจึงหาเงิน เพื่อมาเติมเต็มค่านิยมเรื่องการบริโภคด้วยการขายบริการ ทางเพศ เพราะเป็นวิธหี าเงินที่ง่าย ใช้เพียงแค่ร่างกายเข้าแลก โดยไม่ได้คำ�นึงถึงศักด์ศรีความเป็นมนุษย์ของตน ที่น่าตกใจ คือปัจจุบันไม่ได้มีเพียงแค่วัยรุ่นหญิงเท่านั้น แต่วัยรุ่นชาย ก็เริม่ ทีจ่ ะขายบริการเพือ่ หาเงินมาจับจ่ายใช้สอยของฟุม่ เฟือย เช่นเดียวกัน กระแสคลั่งวัตถุนิยมยังทำ�ให้เกิดปัญหาด้านการ ใช้สินค้าเลียนแบบ วัยรุ่นไทยบางคนไม่ได้สนใจว่าสินค้านั้น จะเป็นของจริงหรือของปลอม ขอแค่ตนได้มีใช้เหมือนเพื่อน หรือดูดีในสายตาคนอื่นก็ถือว่าเพียงพอแล้ว ส่งผลให้การใช้ สินค้าเลียนแบบเป็นเรือ่ งปกติในสังคมไทย แต่เมือ่ เราอยูใ่ นยุค โลกาภิวตั น์ เราต้องยอมรับกฎเกณฑ์ของประชาคมโลกในเรือ่ ง ลิขสิทธ์ จึงทำ�ให้สินค้าลอกเลียนแบบถูกประนาม ภาพลักษณ์ ของประเทศที่ใช้สินค้าลอกเลียนแบบเสื่อมเสีย เห็นได้จาก ข่าวนักร้องดัง เลดี้กาก้า เมื่อครั้งที่เธอได้มีโอกาสมาจัดแสดง คอนเสิร์ตที่เมืองไทย เธอได้ทวีตข้อความทางทวิตเตอร์ว่า

. นิ สิ ต นั ก ศึ ก ษ า - B 8 .

“ต้องการไปช็อปปิง้ เทีย่ วกลางคืนและซือ้ นาฬิกาโรเล็กซ์ปลอม ระหว่ างมาเล่ นคอนเสิ ร์ ต ในกรุ ง เทพฯ” ซึ่ ง ได้ กลายมาเป็ น ประเด็นร้อนอยู่ช่วงหนึ่ง รัฐบาลไทยได้ตอบโต้กลับว่าการ กระทำ�ของเลดี้กาก้าจะทำ�ให้ภาพพจน์ไทยเสื่อมเสีย แต่ก็ไม่ วายโดนสื่อต่างชาติตอกกลับว่า สิ่งที่นักร้องชาวอเมริกันกล่าว ถึงล้วนเป็นความจริงทั้งสิ้น นักท่องเที่ยวสามารถหาซื้อของ ลอกเลียนแบบแบรนด์เนมหรูได้งา่ ยในไทย อีกทัง้ ยังเป็นปัญหา ที่รัฐบาลควรให้ความใส่ใจเนื่องจากจะเป็นบ่อเกิดของโสเภณี การค้ามนุษย์ เพื่อหารายได้มาสนองความต้องการ นอกจากนีค้ นไทยยังสร้างความเชือ่ ผิดๆ ว่า คนรวย เป็นอภิสิทธิ์ชนสามารถทำ�ได้ทุกอย่าง นำ�มาซึ่งการตัดสินคน จากเปลือกนอก เช่น คนไทยจะมองคนที่ขับรถยุโรปว่าเป็น คนรวย หากขับรถยุโรปไปที่ไหน รปภ.ก็มักจะหาที่จอดรถดีๆ และบริการดีกว่ารถญีป่ นุ่ ธรรมดาทัว่ ไป บางทีรถยุโรปทีม่ รี าคา แพง ขับรถฝ่าไฟแดงตำ�รวจก็ไม่กล้าจับ เนือ่ งจากกลัวว่าจะเป็น ผู้มีอิทธิพลแล้วตนจะเดือดร้อน หรือแม้กระทั่งเรื่องเล็กน้อย อย่างโทรศัพท์มือถือ ที่สำ�หรับคนไทยแล้ว ไม่ใช่แค่เครื่องมือ สื่อสารเท่านั้น แต่เป็นเครื่องบ่งบอกสถานะทางสังคม คนไทย มักเปลี่ยนรุ่นโทรศัพท์เพื่อเป็นการโอ้อวดฐานะว่าตนเป็นคน ทันสมัย และเป็นคนมีฐานะดีเปลี่ยนโทรศัพท์ได้ทันทีที่มีรุ่น ใหม่ออกมา เห็นได้จากไอโฟน โทรศัพท์ยอดฮิตของสังคมไทย เมื่อไอโฟนออกรุ่นใหม่เรามักเห็นคนไปต่อคิวยาวกันแต่เช้าตรู่ เสมอ ทั้งๆที่รุ่นเก่าก็ยังใช้ได้ดีอยู่ ดังนั้นการบริโภคสินค้าใน ปัจจุบันจึงไม่ใช่การตอบสนองความต้องการเพียงพื้นฐาน เท่านั้น แต่เป็นการบริโภคที่บ่งบอกสถานะทางสังคมอีกด้วย ถึงกระนั้นก็มีหลายฝ่ายออกมาพูดแก้ต่างว่าการ นิยมใช้ของแบรนด์เนม หรือการขับรถหรูนนั้ เปรียบเสมือนภาษี ทางสังคมอย่างหนึ่ง เพราะถ้าหากเขาเป็นผู้บริหารระดับสูง แล้วต้องมาใช้บริการรถสาธารณะหรือใช้ย่ามใบละไม่กี่ร้อย ก็ดูจะไม่เหมาะ หรือวัยรุ่นบางคนที่ฐานะทางบ้านสามารถ เกื้อหนุนให้เขาใช้ชีวิตได้อย่างฟุ่มเฟือย และยังมีคนอีกหลาย คนที่ออกมาบอกว่าเขาใช้ของแบรนด์เนมเพราะของเหล่านี้ มักมีคุณภาพดีกว่า สามารถใช้งานได้นานกว่าสินค้าทั่วไป ซึ่งเหตุผลเหล่านี้ฟังดูมีนํ้าหนัก เพราะด้วยฐานะทางการเงิน และฐานะทางสังคมแล้ว เขาก็สามารถที่จะมีกำ�ลังซื้อของ แบรนด์เนมหรือใช้ชีวิตอย่างหรูหราได้ แต่ในขณะเดียวกัน ผู้ที่ไม่ได้มีความจำ�เป็น เช่น วัยรุ่นทั่วไปที่ยังไม่มีรายได้เป็น ของตนเอง ประกอบกับฐานะทางบ้านไม่ได้อยู่ในระดับที่จะ สามารถฟุม่ เฟือยได้ การใช้แบรนด์เนมหรือใช้ชวี ติ อย่างฟุง้ เฟ้อ อาจก่อให้เกิดปัญหาทางสังคมดังที่กล่าวมาข้างต้น ดังนั้นมายาคติกับการบริโภคนิยมจึงเป็นปัญหา ที่ ส่ งผลกระทบในวงกว้ า ง ทั้ ง ในด้ า นภาพลั ก ษณ์ อั น ดี ง าม ของประเทศ ด้านเศรษฐกิจ ด้านอาชญากรรมและปัญหา การขายบริการทางเพศ สาเหตุของปัญหานั้นไม่ใช่เป็นเพราะ คนที่ใช้เงินฟุ่มเฟือย แต่รวมถึงสภาพทางสังคมที่สนับสนุน ให้คนซื้อบ้าน ซื้อรถยนต์ คำ�ถามคือ เราจะต่อสู้กับวัฒนธรรม ลวงเหล่านี้อย่างไร? ดูเหมือนว่าปัญหาทั้งปวงก็ต้องแก้ที่การ ปลูกฝังของครอบครัว การฉีดวัคซีนป้องกันโรคย่อมดีกว่า การรักษาโรคทีหลัง พ่อแม่จึงควรเลี้ยงดูลูกให้เรียนรู้คุณค่า ทางด้ า นจิ ต ใจมากกว่ า วั ต ถุ ทำ � ให้ ลู ก รู้ สึ ก ว่ า ตนมี คุ ณ ค่ า เพราะการใช้เงินอย่างฟุง้ เฟ้อของวัยรุน่ ส่วนหนึง่ มีสาเหตุมาจาก การขาดความเชื่อมั่นในตนเอง อีกทั้งยังควรสอนให้ลูกเข้าใจ สถานการณ์ของครอบครัว รู้จักฝึกฝนให้เด็กรู้จักการใช้จ่าย เงินทองอย่างเหมาะสมกับฐานะ หากผูป้ กครองรูจ้ กั ทีจ่ ะปลูกฝัง เด็กดังที่กล่าวมาข้างต้น ก็จะทำ�ให้เขาได้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ ที่มีความคิดไตร่ตรอง สามารถลดความเสี่ยงจากการถูกการ บริโภคแบบวัตถุนิยมครอบงำ�ได้

M a i n c o u r s e


ประชา(ธิปไตย+ทุน)นิยม เมื่อครั้งที่ประชาธิปไตยก้าวเข้ามาในบ้านเราเป็น ครั้งแรก สิ่งที่มันนำ�ติดตัวเข้ามาด้วยไม่ใช่แค่การเปลี่ยนแปลง ที่ดูคล้ายจะยิ่งใหญ่แต่น่ากังขาอยู่ในทีเท่านั​ั้น ลิ่วล้อที่ตามมา ติดๆ ไม่หา่ งกันคือระบบทุนนิยมทีเ่ ริม่ ก่อร่างสร้างตัวขึน้ มาอย่าง เงียบงันโดยที่เราไม่ทันสังเกต ในระยะแรกมั น คงเป็ น เพี ย งต้ น กล้ า ที่ ดู อ่ อ นแรง แต่เมื่อลมฝนแห่งความโลภและการช่วงชิงหล่อเลี้ยงให้เติบโต ไม้ใหญ่ที่ผงาดงํ้าในวันนี้แทนที่จะคอยให้ร่มเงา กลับแผ่กิ่งก้าน สาขาบดบังแสงตะวันจนมืดมิด ทุนนิยม ตามความหมายทีเ่ ราถูกยัดเยียดให้ทราบกัน มาตลอดนั้น จะมีวลีหนึ่งที่อ่านดูแล้วเห็นแก่ตัวอย่างไรชอบกล สอดแทรกอยู่เสมอว่า ‘...โดยมีเป้าหมายอยู่ที่ผลกำ�ไรสูงสุด โดยใช้ปัจจัยการผลิตน้อยที่สุด...’ เมื่อทุนนิยมเกิดขึ้นพร้อมการ มาถึงของประชาธิปไตย ความหมายของมันจึงหลอมรวมกลาย เป็นการเปิดโอกาสให้เหล่านักธุรกิจเข้ามาลงทุนได้อย่างเสรี สร้างพื้นที่ตลาดการค้าให้นายทุนแข่งขันกันอย่างถูกต้องและ เท่าเทียมเพื่อแย่งชิงผลประโยชน์ได้อย่างเป็นอิสระ ต่อมา ประชาธิปไตยเบ่งบานถึงขีดสุด ทุนนิยมเติบโต ตามไปไม่ห่างกัน คู่แข่งทางการค้าของเหล่านายทุนก็ยิ่งเพิ่ม จำ�นวนมากขึน้ ตาม ต่างฝ่ายต่างหาวิธกี ารทีต่ นจะได้เปรียบมาก ที่สุดเพื่อเอาชนะอีกฝ่าย กลยุทธ์หลากหลายถูกสร้างขึ้นมาให้ ตอบโจทย์กับแนวทางขององค์กรและบริษัทร้านค้า หลายครั้ง หลายหนที่กลวิธีเหล่านั้นมุ่งแต่จะนำ�มาให้ได้ซึ่งผลกำ�ไร โดย ไม่สนใจถึงผลกระทบมหาศาลที่ตามมาในภายหลัง กลายเป็น ความเสียหายหลายอย่างทีเ่ กิดขึน้ แล้วไม่อาจซ่อมแซมให้ฟนื้ คืน ประเทศไทยในตอนนีจ้ งึ ไม่ตา่ งอะไรกับซากเน่าทีโ่ ดน ฝูงแร้งการุมจิกทึ้งอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน ดอกผลของทุนนิยมที่ดูเหมือนจะเติบโตขึ้นมาอย่าง เห็นได้ชัดในทุกวันนี้คือกระแสบ้าคลั่งวัตถุที่หลั่งไหลเข้ามา ไม่ขาดสาย เมื่อทุนนิยมกระตุ้นให้เกิดการบริโภคนิยมอย่าง ไม่รู้จักพอ สินค้าและบริการมากมายจึงได้โอกาสแสดงตัวตน หลอกล่อเย้ายวนสายตาเราไม่รจู้ บ จนเกิดอาการอยากได้สงิ่ ของ ที่ไม่จำ�เป็นมากขึ้นเรื่อยๆ ...หรือที่เราเรียกกันว่า วัตถุนิยม นั่นเอง ครรลองดังกล่าว (ที่มีตัวละครหลักชื่อว่า “เงิน” นี้) ดำ�เนินเรื่อยไปไม่หยุดยั้งในปัจจุบัน รูปแบบของทุนนิยมนั้น เรียกร้องให้มกี ารแข่งขันระหว่างผูผ้ ลิตและจำ�เป็นต้องหลอกล่อ ผู้บริโภคอยู่เสมอๆ กิเลสมนุษย์ถูกนำ�มาใช้เป็นเครื่องมือในทุก กระบวนการของระบบตั้งแต่ต้นตอจนถึงผลลัพธ์ จากจุดที่เล็ก ที่สุดไปสู่จุดที่ใหญ่ที่สุด ไม่ช้าก็กลายเป็นเรื่องที่ช่วยไม่ได้ถ้า สังคมเราจะถูกวัตถุนิยมครอบงำ� เราค่อยๆ กลายเป็นสังคมที่ เต็มไปด้วยการวัดค่าในสิง่ ของอย่างฉาบฉวย แต่ละคนพยายาม ไขว่คว้าหาอะไรบางอย่างที่สามารถสร้างความรู้สึกพึงพอใจได้ โดยที่ไม่จำ�เป็นต้องมองเห็นถึงคุณค่าที่แท้จริงของมัน ขณะที่ โ ลกใกล้ กั น อิ ท ธิ พ ลของวั ฒ นธรรมเข้ า มา เปลีย่ นรสนิยมในการใช้ชวี ติ ของพวกเราอย่างรวดเร็ว ม่านหมอก แห่งวัตถุนยิ มทีด่ บู างเบา ค่อยๆ เคลือบตัวแฝงรวมเข้ากับค่านิยม ในการเสพสื่อ การซื้อสินค้าแบรนด์เนม การบริโภคทั้งสินค้า อาหารและบริการ มาตรฐานการมีชวี ติ อยูข่ องพวกเราสูงขึน้ โดย ไม่รู้ตัวอีกครั้งหนึ่ง

มาเข้าเรื่องกันดีกว่า เห็นได้ชัดจนแทบไม่ต้องถกเถียงกันอีกต่อไปแล้วว่า ประเทศไทยนัน้ เปราะบาง (จนอาจเรียกได้วา่ อ่อนแอ) เหลือเกิน กับระบบการเมืองการปกครองและการทำ�งานในส่วนของภาครัฐ นายทุนหัวใสบางคนจึงหาลู่ทางในการขยายอำ�นาจทางธุรกิจ ง่ายๆ ด้วยการลงเล่นการเมืองซะเลย ทุนนิยมนัน้ สิง่ หนึง่ ทีจ่ �ำ เป็น คือฐานลูกค้าและอำ�นาจทีก่ ว้างขวาง เกมการเมืองตอบโจทย์ได้ ดีพอในปัจจัยนี้ ส่วนอีกปัจจัยหนึง่ ทีเ่ กมนีม้ อบให้ได้ (แต่เราจะไม่ พูดถึงกัน) คือการปรับเปลี่ยนฟันเฟืองบางตัวในระบบให้มือไม้ ของตน ‘คล่องตัว’ ขึ้นมามากพอที่จะหยิบจับอะไรได้ง่ายขึ้น แน่นอน เกมสนามนี้ลงมาเล่นแล้วใช่ว่าใครจะเป็น ที่หนึ่งกันได้ง่ายๆ ถ้าไม่มีฝีมืออยู่พอตัวบวกกับลูกไม้ลายมือ อีกเล็กน้อยคงตกเป็นผู้แพ้ตั้งแต่ยังไม่เห็นหน้าคู่แข่งเสียด้วยซํ้า อาวุธของผู้เล่นแต่ละคนก็คงแพรวพราวอวดฝีมือกันน่าดูชม แตกต่างกันไปตามอาชีพและความถนัดของตนแล้วแต่ว่าใคร จะเอาอะไรมาอวด ส่วนศาสตราวุธอันใหม่เอีย่ มทีด่ เู หมือนว่าถือ กำ�เนิดขึ้นมาได้ไม่นานนั้น แม้ผลลัพธ์จะน่าพอใจแต่กลับทำ�ให้ พวกเรารู้สึกครั่นเนื้อครั่นตัวแปลก ๆ ‘ประชานิยม’ อาวุธใหม่ทรงพลานุภาพทีป่ ราบพวกเรา ได้อยู่หมัด ไม่ยากเลยที่จะตกเป็นเหยื่อในเมื่อเราอยู่ในสังคม ที่ทุนนิยมกับประชาธิปไตยถูกนำ�มาใช้ด้วยกันอย่างผิดวิธีและ ไม่มีการวางแผนล่วงหน้า ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ เคยบอกเอาไว้ว่า ประชานิยมที่ดีและเป็นไปได้นั้น ต้องไม่เกิดในสังคมที่มีความ เป็นเกษตรกรรมและเหลื่อมลํ้ากันสูงอย่างประเทศไทย เห็นท่า ว่าจะจริงเสียแล้วเพราะตอนนี้เราติดนิสัยที่ระบบทุนนิยมสร้าง ให้เราเป็นพวกอยากได้อยากมีกนั ไปหมด เมือ่ ถูกล่อด้วยนโยบาย สวยหรูกเ็ ลยติดกับ ระบบสังคมทีห่ ล่อหลอมเราขึน้ มาทำ�ให้ใจเรา ถูกซื้อได้ง่ายดายเหลือเกิน ไม่ น าน ผู้ ช นะก็ ป รากฎตั ว เสี ย งเกิ น ครึ่ ง ยิ น ยอม พร้ อ มใจให้ ผู้ นำ � มอบหนทางที่ ง่ า ยดายกว่ า ในชี วิ ต ให้ แ ก่ ต น ยุทธการต่อไปคือการรักษาฐานเสียงนั้นไว้โดยการทำ�สิ่งที่เคย พูดให้เป็นจริง ตัวอย่างก็พอมีให้เห็นกันอยู่บ้าง ดังนี้ โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค เริ่มต้นได้ดีและ จี้ได้ถูกจุด จะมีอะไรประเสริฐลํ้าไปกว่าการรักษาพยาบาลด้วย ค่าใช้จ่ายที่ถูกลง เป็นสิทธิ์อันชอบธรรมที่ประชาชนในประเทศ พึงได้รับการดูแลรักษาด้านสาธารณสุขอย่างทั่วถึงจากภาครัฐ แต่ ป ระเด็ น สำ � คั ญ สำ � หรั บ นโยบายนี้ ก็ คื อ มาตรฐานและ ประสิทธิภาพของการรักษาในทุกๆ ด้าน ต้องรักษาระดับไว้ให้ ได้เท่ากับตอนทีไ่ ม่ได้ใช้สทิ ธิ์ ทุกวันนีว้ งการการแพทย์ตอ้ งรับมือ กับปัญหาหนักอยูต่ ามลำ�พัง เพราะขาดงบประมาณทีเ่ พียงพอใน การใช้จ่ายโครงการจากรัฐบาล นโยบายรถคันแรก ตอบโจทย์การเป็นชนชั้นกลาง ในอุดมคติได้ดีทีเดียวสำ�หรับผู้ใช้รถใช้ถนน ด้วยการให้ผู้ซื้อรถ คันแรกไม่ตอ้ งเสียภาษีโดยมีจดุ ประสงค์สวยหรูวา่ ‘เพือ่ ยกระดับ คุณค่าชีวิตของประชาชน’ แต่ผลกระทบที่ตามมาเห็นจะมีแต่ ด้านลบและกลายเป็นลดคุณค่าความเป็นคนลงไปทุกที ไม่วา่ จะ เป็นในด้านการคมนาคม สิ่งแวดล้อม มลภาวะทางอากาศ, ทาง เสียงหรือทางนาํ้ นอกจากนัน้ ยังมีมลภาวะทางสังคม คือพืน้ ทีท่ าง สังคมของคนเราหดแคบลงเพราะมัวแต่เอาทีไ่ ปใช้จอดรถกันซะ หมด โครงการรถเมล์ฟรี (จากภาษีประชาชน) หรือ โครงการลดค่าครองชีพของประชาชนแบบชั่วคราว นำ�ภาษีไป

. นิ สิ ต นั ก ศึ ก ษ า - B 9 .

จิตรินทร์ เลิศรัตนวิสุทธิ์ จาตุรณต์ พูลสวัสดิ์ ชดเชยค่านํ้า ค่าไฟ ค่ารถเมล์-รถไฟ มันได้ผลดีในระยะสั้นอย่าง ทีก่ ล่าวอ้างไว้วา่ 6 เดือน แต่ชว่ งเวลาเพียงเท่านีก้ ใ็ ช้งบประมาณ แก้ลำ�ไปมหาศาล นี่หรือเปล่าที่เรียกว่าจัดสรรงบประมาณผิด แก้ปัญหาที่ปลายเหตุ และตอบโจทย์ไม่ตรงคำ�ถาม ให้เปรียบก็คงเหมือนปูพื้นกระเบื้องลวดลายวิจิตร งดงาม แต่ขาดการวางแผนจากช่างที่เชี่ยวชาญและรู้จริง ส่วน ผสมหรือคุณภาพของปูนทีใ่ ช้จงึ ไม่ได้มาตรฐาน ไม่ชา้ ไม่นานพืน้ กระเบือ้ งก็เริม่ หลุดลอกล่อนส่อให้เห็นถึงการทำ�งานของคนทำ�ว่า ขาดการพินจิ พิเคราะห์อย่างละเอียดถีถ่ ว้ นก่อนลงมือ ค่าใช้จ่าย เลยบานปลายเพราะต้องตามซ่อมแซมอยู่รํ่าไป ในความหมายที่ควรจะเป็น ประชานิยมจริงๆ แล้ว โดยสรุปคือ ‘การให้ความสำ�คัญหรือให้คุณค่าแก่ประชาชน เป็นอันดับหนึ่ง เป็นการบริหารประเทศที่เน้นการให้คุณค่าแก่ ประชาชนโดยเฉพาะประชาชนทัว่ ไป การเมืองทีเ่ ห็นความสำ�คัญ ของประชาชนทั่วไปจึงเป็นประชานิยมเสมอ’ แต่ บ ริ บ ทของสั ง คมไทยได้ เ ปลี่ ย นประชานิ ย มใน ความหมายสากลให้กลายเป็นในอีกรูปแบบหนึ่ง นักการเมือง ที่ ค วรจะทำ � งานตามจรรยาบรรณกลั บ ทำ � ตั ว เป็ น นั ก ธุ ร กิ จ ใช้วิธีการของนายทุนมาบริหารบ้านเมือง นั ก การเมื อ งคื อ คนที่ ต้ อ งเห็ น ผลประโยชน์ ข อง ประชาชนและส่วนรวมมาเป็นอันดับหนึ่ง แต่นายทุนคือคนที่ ถือผลประโยชน์ของตัวเองมาก่อนเสมอ การใช้อำ�นาจรัฐในการ ผูกขาดธุรกิจบางส่วนที่ให้ผลประโยชน์สูงสุดในระบบเศรษฐกิจ ของประเทศอาจถื อ ได้ ว่ า อำ � นวยประโยชน์ ใ ห้ แ ก่ ตั วเองและ ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย หรือแม้แต่อำ�นาจในการกำ�หนดนโยบาย ให้ เ กิ ด ช่ อ งว่ า งเว้ น ให้ ต นได้ เ ข้ า ไปกอบโกยได้ อ ย่ า งเต็ ม ที่ นายทุนใหญ่กลายเป็นนักการเมืองทีเ่ ข้ายึดกุมอำ�นาจรัฐโดยตรง ใช้อ�ำ นาจรัฐผูกขาดและแสวงหากำ�ไรทางธุรกิจทีม่ ผี ลประโยชน์ สูง เรียกง่ายๆ ว่า ‘นายทุนใหญ่ผูกขาดสามานย์’ เมื่อเป็นเช่นนี้ นักการเมืองก็เลยไม่ต่างจากนายทุน (ร้ายกว่าด้วยซํ้าเพราะอยู่ ในจุดทีเ่ อาเปรียบได้งา่ ยกว่า มือไม้คล่องตัวกว่านายทุนธรรมดา หลายเท่า) การเมืองใช้อำ�นาจที่ตัวมันและผู้ครอบครองมีอยู่ มาบริหารจัดการองค์การ ตลอดจนการวางระบบ วางหลักเกณฑ์ และมาตรฐานในการทำ�งานให้บรรลุตามเป้าหมายและคุณค่า ทีก่ �ำ หนดไว้ ซึง่ มีผลต่อการควบคุมการรัว่ ไหล การตรวจสอบดูแล พฤติกรรมที่ไม่ถูกต้องเหมาะสม หรือแม้แต่การเอื้อประโยชน์ ส่วนตน ‘การเลือกปฏิบตั เิ ล่นพรรคเล่นพวก การไม่ยอมรับองค์กร อิสระหรือองค์กรศาล’ ทำ�ให้ฐานตำ�แหน่งที่ยืนอยู่นั้นแข็งแกร่ง ยิ่งได้คนมาเป็นพวกกว้างขวางมากเท่าใด ยิ่งเอื้ออำ�นวยและ เสริมกำ�ลังมากขึ้นเท่านั้น คงไม่ ผิ ด อะไรถ้ า จะใช้ อ าวุ ธ ใหม่ ที่ มี ใ นการต่ อ สู้ บนสนามของเกมที่ รู้ กั น ดี ว่ า ทั้ ง สกปรกและอั น ตราย แต่ ตั ว ผู้เล่นเองก็พึงจำ�เอาไว้ให้ดีว่า จงระวังตัว อาวุธชิ้นใหม่ที่ยัง ไม่ รู้ จั ก มั น ดี พ อนี้ อ าจพาหายนะมาให้ ทั้ ง ตั ว เองและคู่ ต่ อ สู้ ขืนดันทุรังใช้ไปทั้งๆ ที่ยังไม่คุ้นมือ ไม่ศึกษามาให้ดีก่อนว่ามี ข้อเด่นข้อด้อยอะไรบ้าง อ่อนซ้อมแบบนี้ดีไม่ดีจะพาเอาคนดูทั้ง สนามโดนลูกหลงไปด้วย โลภได้แต่ก็อย่าให้มากนัก ทำ�อะไร ไม่ใช้สติไม่ไตร่ตรอง สุดท้ายต่อให้เป็นผูก้ ล้าหรือเก่งกาจมาจาก ไหนก็ลงท้ายอีหรอบเดิมกันทุกคน

แพ้.


มนต์ทิพา_วิโรจน์พันธุ์ “อย่าเพิง่ !” ฉันร้องห้ามเพือ่ นทีจ่ ะใช้สอ้ มจิม้ เชอร์รี่ชีสเค้กที่สุดแสนจะน่ารับประทานตรงหน้า “ถ่ายรูปก่อน” เพื่อนมองฉันด้วยสายตาเอือมระอา ในใจคงบ่นว่าทำ�ไมจะกิน แต่ละทีมันต้องถ่ายรูปลง Instagram ตลอด นี่คงจะเป็นคำ�ถาม ที่หลายๆคนสงสัย และเพราะอะไร การถ่ายภาพอาหารหรือ ขนมแล้วแชร์ตามพื้นที่ส่วนตัวบนโลกออนไลน์จึงกลายมาเป็น วัฒนธรรมของคนบางกลุ่ม พร้อมกับใจที่ลึกๆ ก็อยากจะแขวะ คนพวกนี้ว่าขนมมันมีไว้กินนะยะ ไม่ได้มีไว้ถ่ายอวดชาวบ้าน! คงปฏิ เ สธไม่ ไ ด้ ว่ า โซเชี ย ลมี เ ดี ย เข้ า มามี บ ทบาท ในชีวติ ของคนยุคใหม่อย่างมาก อย่างน้อยๆ คนหนึง่ คนจะต้องมี แอคเคาท์โซเชียลมีเดียไว้อย่างน้อย 1 เจ้าในครอบครอง ไม่วา่ จะ เป็น Facebook, Twitter, Tumblr, Pinterest และทีฮ่ ติ สุดๆคงหนี ไม่พน้ Instagram ทีว่ า่ กันว่า ยิง่ มี Follower เท่าไหร่ ยิง่ ดี Instagram ถื อ เป็ น แอพพลิ เ คชั่ น แรกๆ ที่ทำ�ออกมาเพื่อให้ผู้ใช้ได้แบ่งปัน ภาพกับผู้ติดต่อคนอื่นๆ รวมไปถึง คนแปลกหน้ า เมื่ อ ไม่ ไ ด้ ตั้ ง ค่ า ความเป็ น ส่ ว นตั ว เขาก็ จ ะมา กดไลค์ได้ตามใจ ช่วงแรกๆ คนก็ ถ่ า ยรู ป สั พ เพเหระด้ ว ยมื อ ถื อ ของ ตัว ยํ้าอีกทีว่าถ่ายรูปอะไรก็ ได้ ไม่ จำ � กั ด แล้ ว จั ด การอั พ โหลดทั น ที ที่ถ่าย หลังๆ ก็เริ่มเอารูปมาจากที่ นู่นที่นี่ ไม่ก็ถ่ายฟิล์มแล้วสแกนไฟล์มา ลงก็มี Instagram ถือเป็นพื้นที่หนึ่งที่ใช้แสดง ตัวตนหรือความสนใจของผูใ้ ช้ ไม่กเ็ ป็นทีร่ ะบายอารมณ์ เรี ย กร้ อ งความสนใจ แม้ แ ต่ เ ป็ น ช่ อ งทางทำ � เงิ น (รวยกั น มาหลายร้ า นแล้ ว เหมื อ นกั น !) แต่ ที่ ฮิ ต สุ ด ๆ น่ า จะเป็ น การ ถ่ า ยภาพอาหาร ขนม เครื่ อ งดื่ ม ที่ ห น้ า ตาดู น่ า อร่ อ ย คน ยิ่ ง เห็ น ก็ ยิ่ ง หิ ว ยิ่ ง ชอบ ยิ่ ง ไลค์ ก็ มี ห ลายคนเริ่ ม ทำ � ตามๆ กั น เชื่ อ กั น ว่ า คนเล่ น Instagram หรื อ โซเชี ย ลมี เ ดี ย ที่ ต้ อ งมี ค นฟอลโลว์ พอมี ค นไลค์ เ ยอะแล้ ว สบายใจ กิ น อิ่ ม นอนหลับ จริงหรือ? งานของบล็อกเกอร์ที่ใช้ชื่อว่า “Cultural Omnivore” ได้ยกคำ�กล่าวของบุคคลทีเ่ ขาเรียกว่า “นักปราชญ์” มาเป็นบทนำ� ในบทความเรื่อง “The Instagram Phenomenon – Evolving Materialism” โดยมีใจความที่แปลได้ว่า นักจิตวิทยามวลชน เชื่อว่า ความนิยมของ Instagram เป็นผลที่มาจากแรงกระตุ้น เดียวกันกับเกมทีค่ นทัว่ โลกติดมากทีส่ ดุ อย่าง World of Warcraft จากแต่ก่อนคนเราพยายามทำ�ตนเองให้เป็นที่นิยมชมชอบจาก คนใกล้ตัว ในปัจจุบันได้กลายเป็นการเรียกร้องความสนใจและ การยอมรับจากคนอื่นๆ ในสังคมแทน และพลังของ Instagram นั้นมีผลเป็นวงกว้าง ที่ว่าคนสิบล้านคนที่ติดตามผลงานของเรา

commentary

นั้นยังน้อยไป เพราะทุกคนสามารถเข้าถึงมันได้! ก็ดว้ ยเหตุนเี้ อง การรูม้ าก เห็นมาก ทำ�ให้ขอบเขตของ สังคมความเป็นอยู่นั้นสะบั้นลงเพราะการเข้าถึงโซเชียลมีเดีย จากชนชั้นสูง สู่ชนชั้นกลาง และชนชั้นล่างบางส่วน หากคุณ มีอินเทอร์เน็ตคุณก็สามารถเข้าถึงสิ่งเหล่านี้ได้เพียงปลายนิ้ว สัมผัส และความไม่มีขอบเขตนี้เองที่ได้สร้างความเชื่อเกี่ยวกับ ความเท่าเทียมกันในสังคม รวมไปถึงการเข้าถึง หรือบริโภคสิ่ง ต่างๆ ได้ใกล้เคียงกันมากขึ้น สิ่งเหล่านี้ส่งผลไปถึงรูปแบบการ ใช้ชวี ติ ทีเ่ ปลีย่ นไป คนสมัยใหม่เสพไลฟ์สไตล์ มากกว่าการสนอง ตอบต่อความต้องการของร่างกายขัน้ พืน้ ฐาน ปัจจัยสีไ่ ม่เพียงพอ ต้องมีปัจจัยห้า หก เจ็ด ตามมาอีกมากมาย

สำ�หรับเรื่องอาหาร นับว่าเป็นผลกระทบที่ชัดเจน เรื่องหนึ่งของปรากฏการณ์นี้ คนบางกลุ่มที่กลายเป็นพวกติด แชร์โพสท์ เรื่องราวส่วนตัวลงในหน้าโซเชียลมีเดีย พยายาม ที่ จ ะเสาะหาร้ า นแปลกๆ ที่ มี อ าหารหน้ า ตาน่ า รั บ ประทาน โดยมองข้ามรสชาติอาหารและความอิ่มท้องไป แต่คนเหล่า นี้ ส่ ว นใหญ่ ก็ เ ป็ น มนุ ษ ย์ เ งิ น เดื อ นชนชั้ น กลางที่ ข ยั น จะขยั บ บรรทัดฐานทางสังคมของตัวเองขึ้นไปเทียบกับคนที่มีเงินใช้ไม่ ขาดมือ ขยันจะไปใช้เงิน ไปเสพความโก้เก๋อยู่บ่อยครั้ง แลก กับการได้ไลค์ และให้ผู้คนมาตามฟอลโลว์ ภาพถ่ายอาหาร สุดชิคที่ใส่ฟิลเตอร์และสติ๊กเกอร์ไปประมาณ 10 ชั้น และช่วง กลางเดือนก็จะบ่นโอดโอยว่า “ต้องกินแกลบอีกแล้ว” พร้อม อีโมติค่อนสามสี่ตัว อยู่รํ่าไป ค่ า นิ ย มนี้ ทำ � ให้ เ กิ ด ดราม่ า บนโลกไอที เ มื่ อ หลาย เดือนก่อน ช่วงที่ Instagram ยังเป็นแอพพลิเคชั่นที่เดิมที่ให้ บริการเฉพาะสมาร์ทโฟนระบบปฏิบัติการ iOS แต่ภายหลังก็ได้ ขยายกลุ่มตลาดมายังผู้ใช้ Android น่าตกใจที่โปรแกรมเพียง

นิ สิ ต นั ก ศึ ก ษ า - B 1 0

โปรแกรมเดียวกลายเป็นการแบ่งแยกชนชั้นของผู้ใช้เครื่องมือ อิเล็กทรอนิกส์ไปได้ ผู้ใช้ที่เคารพที่ชื่อ m0nster ได้ก่อดราม่า จากแสดงความคิดเห็นผ่านทวิตเตอร์แบบแปลแล้วได้ใจความ เริ่ดเชิดหยิ่งว่า “โอ้ว แจ่มจ้ะ ตอนนี้คนใช้โทรศัพท์แอนดรอยด์ เล่น Instagram กันได้แล้วนะ ต่อไปนี้คงจะได้รู้แล้วล่ะว่าคนจน เขากินอะไรเป็นอาหาร” พวกสาวกตัวเขียวก็โกรธเป็นฟืนเป็นไฟ กันสิงานนี้ มือถือแอนดรอยด์ราคาครึง่ แสนดอลลาร์กม็ นี ะโหวย รู้จักไหม Ulysse Nardin Chairman น่ะ อย่าเอาเรื่องระบบ ปฏิบัติการมาโยงกับคุณภาพชีวิตสิ มันเป็นเรื่องของรสนิยมนะ คุณ! เอ้อ! อย่างไรก็ดี จากเหตุการณ์นี้ทำ�ให้อาหารยกระดับ กลายเป็นสิ่งของในหมวด Materialism และ Consumerism ไปเป็นที่เรียบร้อย นอกจากอาหารแล้วก็ยังมีข้าวของ เครื่อง ใช้ ที่ พ อเห็ น ราคาก็ ต้ อ งซั บ เหงื่ อ ซึ่ ง ต่ า งคนต่ า งขุ ด กั น มาอวดต่อสาธารณชน มีบล็อกใน Tumblr ที่จิกกัด เด็กพวกนี้อย่างแสบๆคันๆ ที่ชื่อ “Rich Kids of Instagram” ซึ่ ง มี คำ � โปรยว่ า “เด็ ก พวกนี้ รวยกว่ า เอ็ ง นะ เรามาดู สิ่ ง ที่ พ วกนี้ ทำ � กันเถอะ” โดยเขารวบรวมภาพของวัย รุ่ น บ้ า นรวยอเมริ กั น ที่ ถ ลุ ง เงิ น พ่ อ แม่ กันอย่างสนุกมือ พร้อมกับคำ�บรรยาย ใต้ภาพที่สุดจะน่าหมั่นไส้ เช่น “ดูชีวิต ประจำ�วันของพวกเราสิ บางทีมันอาจ จะดีกว่าวันที่ดีที่สุดในชีวิตของพวกคุณอีก นะ คริ” หรือ “นายมีม้าอยู่ที่สวนหลังบ้านของ ตัวเองไหม ฉันว่าไม่น่าจะมีนะ” คน Like ก็เห็นดีเห็น งามปนอิจฉากันไป แต่หารู้ไม่ว่า ตนตกเป็นเหยื่อบริโภค นิยมเกินความจำ�เป็นไปเสียแล้ว เพราะความอิจฉาอยากมีเห มือนเขาเนี่ยแหละ โถ เด็กหนอเด็ก คงพู ด อะไรมากไม่ ไ ด้ เพราะอย่ า งไรก็ ดี การใช้ Instagram ถื อ เป็ น สิ ท ธิ ส่ ว นบุ ค คลของผู้ ใ ช้ แ ต่ ล ะรายว่ า มี จุดประสงค์จะโพสท์อะไร แบ่งปันอะไร ถ้าไม่ชอบก็ไม่ต้อง ฟอลโลว์สคิ ะ! ถ้าแน่ใจว่าเงินเดือนของคุณครอบคลุมค่าใช้จา่ ย ทีค่ ณ ุ พร้อมจะเสียไป ไม่ท�ำ ให้เดือดร้อนลุกลามไปต้นเดือนหน้าๆ หรือเป็นหนี้บัตรเครดิตบานตะไทก็เป็นอันโอเค ฉันเองก็เป็นคน หนึ่งที่ชอบถ่ายภาพอาหารก่อนรับประทาน แต่เพราะฉันเห็นว่า การทำ�รีวิวอาหารเป็นความสุขของฉัน และไม่เดือดร้อนใคร ตราบใดที่ฉันหาเงินเองได้ แถมคนอื่นๆ ที่ติดตามผลงานของ ฉันก็ได้ประโยชน์เวลานึกไม่ออกว่าจะกินอะไร แต่ฉันเลือกร้าน เลือกรสชาติ บรรยากาศ และความคุ้มค่าเหมือนกันนะ สุดท้ายนี้ ขอให้มคี วามสุขกับชีวติ โลดโผนบนโลก ออนไลน์ค่ะ


A r t & C u l t u r e

“...แล้วเทพนิยายก็จบลง อย่างมีความสุขชั่วนิรันดร์” เทพนิยายชวนฝันที่เหล่าเด็กน้อยทั่วทั้ง โลกต่ า งหลงใหล บทสรุ ป ที่ แ ต่ ง แต้ ม จิ น ตนาการ ให้เฝ้าฝันถึงความสุขอันเป็นนิรันดร์ อีกทั้งเหล่าผู้ ปกครองต่างก็วางใจว่ามันปราศจากพิษภัยใดใด หารู้ไม่ว่าภายใต้ความสวยงามของเรื่องราวนี้ จะ ปลูกฝังค่านิยมอันน่ากลัวให้กับเหล่าเด็กน้อยแสน บริสุทธิ์ และแอบแฝงไปด้วยกลยุทธ์ทางการตลาด ของบริษัทผู้สร้าง สโนว์ ไ วท์ ซิ น เดอเรลล่ า ออโรร่ า เจ้าหญิงนิทรา เงือกน้อยแอเรียล เบลล์จากบิวตี้ แอนด์ เ ดอะบี ส ต์ เจ้ า หญิ ง จั ส มิ น จากอาละดิ น โพคาฮอนทัส มู่หลาน เทียน่าจากพรินซ์เซสแอนด์ เดอะฟรอค ราพันเซล เหล่านางเอกในเทพนิยาย อมตะทีแ่ ทบทุกคนรูจ้ กั ต่างถูกวางภาพลักษณ์ให้เป็น เจ้าหญิงและได้ครองคูก่ บั เจ้าชายรูปงามในท้ายทีส่ ดุ หลังฝ่าฟันอุปสรรค ทำ�ไมต้องเป็นเจ้าหญิง ? แม้ในบางเรื่องนางเอกอาจไม่ได้เกิดมา มีสายเลือดกษัตริย์กล่าวคือไม่ได้มีฐานันดรเป็นเจ้า หญิงจริงๆ ตามท้องเรื่องแต่ด้วยการวางภาพลักษณ์ ของผู้ ส ร้ า งทำ � ให้ พ วกเธอได้ ชื่ อ ว่ า เป็ น ‘เจ้ า หญิ ง แห่งดิสนีย์’ ในโลกความเป็นจริง สถานะความเป็น เจ้ า หญิ ง ความสวยงามของภาพวาด เสื้ อ ผ้ า ที่ พวกเธอใส่ กิ ริ ย าท่ า ทางที่ ต อบโจทย์ ‘เจ้ า หญิ ง ในอุ ด มคติ ’ ของเด็ ก ผู้ ห ญิ ง ในแต่ ล ะยุ ค สมั ย และ ทุ ก ภู มิ ภ าคซึ่ ง แตกต่ า งกั น ไป สิ่ ง เหล่ า นี้ ช่ ว ยให้ พวกเธอกลายเป็นต้นแบบที่น่าใฝ่ฝันถึงของเด็กผู้ หญิงทั่วโลกอย่างง่ายดาย ‘Princess Syndrome’ กลายเป็นหัวข้อ ที่นักจิตวิทยาให้ความสนใจเป็นอย่างมาก เมื่อเด็ก ผู้ ห ญิ ง ถู ก ปลู ก ฝั ง ความคิ ด ที่ ว่ า ถ้ า พวกเธอสวย มี เสื้อผ้ารองเท้าที่งดงามเหมือนในเทพนิยายเหล่านั้น พวกเธอจะได้พบกับความรักและได้รับการชื่นชม เฉกเช่นเดียวกัน ความคิดนี้ส่งผลต่อรูปแบบความ เชื่อมั่นในตัวเองของเด็กๆ ที่ติดอยู่เพียงแค่รูปลักษณ์ ภายนอกและข้าวของที่พวกเธอมีเท่านั้น และนั้นก่อ ให้เกิดค่านิยมความเชื่อด้านวัตถุนิยมในเด็กๆ วัตถุนิยมคืออะไร? หากกล่ า วอย่ า งง่ า ยแล้ ว มั น คื อ การ ยึ ด ถื อ เอาวั ต ถุ สิ่ ง ของนอกกายเป็ น สิ่ ง สำ � คั ญ ใน ชีวิตและเป็นที่ตั้งความสุขของเรา ดังเช่นเด็กสาว

(และหญิ ง สาว?) ต้ อ งมี เ สื้ อ ผ้ า แบรนด์ เ นมที่ ดู ดี กระเป๋า รองเท้า เครื่องสำ�อาง และเครื่องประดับ มากมายมาตบแต่งเพื่อยกระดับตัวเองให้มีคุณค่า และเป็ น ที่ ย อมรั บ ในสั ง คม ซึ่ ง นั่ น จะไม่ เ กิ ด ขึ้ น เลยหากพวกเธอมี ค วามมั่ น ใจในคุ ณ ค่ า ของ ตัวเองในสิ่งที่เธอเป็น ไม่ใช่สิ่งที่เธอใฝ่ฝันที่จะเป็น และมันจะไม่เกิดขึ้นเลยหากพวกเธอจะไม่มีความ คิดว่าสิ่งเหล่านี้จะทำ�ให้พวกเธอได้รับการยอมรับ มากกว่าคุณค่าภายในของตัวเธอเอง ผู้ ใ หญ่ ห ลายคนอาจคิ ด ว่ า เด็ ก ๆ จะ สามารถเข้ า ใจกั บ ความคิ ด ที่ แ ฝงมาในการ์ ตู น เหล่านั้นและไม่ถูกมันครอบงำ�ได้ แต่จริงๆ แล้วมัน ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยเมื่อพวกเขาถูกตอกยํ้าความเชื่อ ทางวัตถุอยู่เสมอๆ ว่าวัตถุมีคุณค่าจากทุกเรื่องที่ พวกเขาดู (ไม่ใช่เฉพาะการ์ตูนแนวเจ้าหญิงเจ้าชาย เท่ านั้น) จนเกิดความเคยชินในการมี อ ยู่ของวั ตถุ เหล่านั้น บางเรือ่ งตัวเอกสามารถแก้ปมปัญหาของ เรือ่ งได้เพราะได้วตั ถุชว่ ย (ไม่วา่ จะเป็นวัตถุทเี่ ป็นของ ทีเ่ ห็นได้ในชีวติ จริงหรือวัตถุทเี่ ป็นของวิเศษ) ฉากของ บางเรือ่ งก็มวี ตั ถุเพือ่ แสดงความหมายและบริบทของ สถานที่ บางเรื่องเนื้อหาก็ผูกติดอยู่กับสิ่งของบาง อย่างที่มีความสำ�คัญ และบางเรื่องวัตถุก็ถูกแทนค่า ถึงสิ่งอื่นที่มีคุณค่า เช่น อำ�นาจ สถานะ หรือความรัก ยิ่ ง ไปกว่ า นั้ น นอกจากผลกระทบทาง ความคิ ด และความเชื่ อ ที่ ทำ� ให้ เ ด็ ก ๆ รู้ สึ ก ‘อยาก เป็น’ อย่างตัวละครแล้ว เรื่องราวเหล่านี้ยังกระตุ้น ให้เด็กๆ เกิดความรู้สึก ‘อยากได้’ สิ่งที่พวกเขามี หรื อ สิ่ ง ที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ พวกเขาด้ ว ย เมื่ อ ชอบ และหลงใหลย่ อ มอยากได้ ม าครอบครองซึ่ ง นั้ น กลายเป็ น ช่ อ งทางทางการตลาดให้ บ ริ ษั ท ผู้ ส ร้ า ง

สามารถขายของอย่างอืน่ นอกเหนือจากตัวเรือ่ งราวได้ ทั้งตุ๊กตา โปสเตอร์ ของเล่น หรือสินค้าอื่นๆ ที่อาจมี รูปตัวละครนั้นๆ สินค้าพวกนี้หากไม่ใช่บริษัทผู้สร้างผลิต เอง ก็ เ ป็ น บริ ษั ท อื่ น ที่ ม าซื้ อ ลิ ข สิ ท ธิ์ ตั ว ละครเพื่ อ นำ�ไปผลิตเป็นสินค้า ซึ่งสามารถเพิ่มมูลค่าให้กับ สินค้านั้นได้อย่างมหาศาล กล่องดินสอธรรมดาหาก สกรีนด้วยลาย ‘เจ้าหญิงดิสนีย์’ ‘มิคกี้เมาส์’ หรือ ‘วิ น นี่ เดอะ พู ห์ ’ ก็ จ ะสามารถขายในราคาแพง และวางบนห้ า งหรู ไ ด้ อ ย่ า งสบายๆ ด้ ว ยความที่ ตัวละครเหล่านี้กลายเป็น ‘บุคคล’ ที่มี ‘แฟนคลับ’ คลั่งไคล้ไม่ต่างอะไรกับดาราฮอลลีวู้ด (หรือยิ่งกว่า?) จนแทบจะรั บ ประกั น ได้ เ ลยว่ า ผลิ ต ออกมาแล้ ว จะขายได้แน่เพราะนอกจากกลุ่มแฟนคลับที่นิยม ในตั ว ละครแล้ ว ด้ ว ยตำ � แหน่ ง ทางการตลาดของ พวกเขาทำ�ให้แม้จะราคาแพงกว่าแต่ผู้ซื้อก็ไม่รู้สึก ตะขิ ด ตะขวงใจด้ ว ยมองว่ า มั น มี คุ ณ ค่ า และ ดูดีกว่ามากหากจะซื้อให้เป็นของขวัญ ไม่ว่าแรกสุดนั้นผู้สร้างจะคิดการณ์ไกล ถึงช่องทางการตลาดนี้หรือไม่ แต่ปัจจุบันไม่อาจ ปฏิเสธได้วา่ ผูส้ ร้างการ์ตนู ทีส่ ามารถผลิต ‘ตัวการ์ตนู ’ ให้กลายเป็น ‘บุคคล’ ที่รักของเด็กๆ ได้ก็จะได้กำ�ไร จากมันอย่างมหาศาล ทั้งจากตัวเรื่องราวที่สามารถ แตกออกเป็นหลายสือ่ ถ้าภาคแรกติดตลาดก็สามารถ ผลิตภาคสองออกมาขายต่อได้อกี ทัง้ จากของทีร่ ะลึก ที่ออกคู่ตามกันมา จากค่าลิขสิทธิ์ที่ผู้ผลิตสินค้าราย อื่นมาขอซื้อ และจากค่าโฆษณาชื่อแบรนด์ต่างๆ ซึ่ง ถูก Tie-in เข้ามาในเนื้อเรื่องที่แม้แค่ฉากเล็กๆ ฉาก เดียวก็มีมูลค่ามหาศาล ผลประโยชน์มากมายเช่นนี้ทำ�ให้วงการ อุตสาหกรรมการ์ตูนเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว มีบริษัท ที่ใช้กลยุทธ์เดียวกันเกิดขึ้นมากมายเพื่อกอบโกย ผลกำ�ไร บางบริษัทที่แต่เดิมขายของเล่นหรือตุ๊กตา ก็หันมาสร้างอนิเมชั่นเพื่อเพิ่มความนิยมและขยาย ช่ อ งทางการตลาด โดยไม่ คำ � นึ ง ถึ ง เด็ ก ๆ ที่ ต้ อ ง มาตกเป็ น เหยื่ อ ทางธุ ร กิ จ ถู ก ยั่ ว ยุ ใ ห้ เ กิ ด ความ โลภอยากได้ อ ยากครอบครองสิ น ค้ า ที่ มี แ บรนด์ ตัวละคร หลงใหลในรูปลักษณ์ภายนอกต้องการให้ ตัวเองได้รับการยอมรับจากสิ่งผิวเผินนอกกาย และ ตกอยู่ภายใต้ค่านิยมทางความคิดอย่างวัตถุนิยมที่ มองวัตถุเป็นสิ่งสำ�คัญซึ่งยิ่งสนับสนุนให้สังคมขับ เคลื่อนไปแบบทุนนิยมต่อไป “...แล้ววัตถุนิยมก็จะยังคงอยู่ชั่วนิรันดร์”

. นิ สิ ต นั ก ศึ ก ษ า - B 1 1 .


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.