ต่ำ�หูกงานศิลป์ ถิ่นน่านใต้
ต่ำ�หูกงานศิลป์ ถิ่นน่านใต้ เอกอนันต์ โพธิ์สุยะ ต่ำ�หูกงานศิลป์ ถิ่นน่านใต้ 1
น่านคือจังหวัดเล็กๆ จังหวัดหนึ่งในจำ�นวน 8 จังหวัด ภาคเหนือ ตอนบนของ ประเทศไทยซ่งึ เป็นทีร่ จ ู้ ก ั กันดีนามของดินแดน “ล้านนา” ดินแดนทีง่ ดงามด้วยศิลปวัฒนธรรมอันสั่งสมมาแต่อดีตอันยาวนาน มีอาณาเขตทิศเหนือและทิศตะวันออก ติดต่อกับประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ทิศตะวันตกติดต่อกับ จังหวัดพะเยา ทิศใต้ตด ิ ต่อกับจังหวัดแพร่ และ อุตรดิตถ์ สภาพภูมป ิ ระเทศส่วนใหญ่ เป็นภูเขา มีดอยภูคาเป็นภูเขาสูงสุด ที่ราบมีเพียง 1 ใน 3 ส่วนของพื้นที่ทั้งหมด จะเป็นทีแ ่ ถบราบลุม ่ แม่น�ำ้ น่าน นำ�ป ้ ว ั และนำ�แ ้ หง นำ�ส ้ า นำ�ส ้ มุน นำ�ล ้ ี และห้วยนำ�้ ลำ � ธารใหญ่ น้ อ ยอี ก หลายสายตลอดจนที่ ร าบระหว่ า งหุ บ เขาอี ก ด้ ว ยปั จ จุ บั น จังหวัดน่านแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 15 อำ�เภอ
2 ต่ำ�หูกงานศิลป์ ถิ่นน่านใต้
ได้แก่ อ.เมืองน่าน อ.เฉลิมพระเกียรติ อ.เชียงกลาง อ.ท่าวังผา อ.ทุ่งช้าง อ.นาน้อย อ.นาหมื่น อ.บ่อเกลือ อ.บ้านหลวง อ.ปัว อ.แม่จริม อ.เวียงสา อ.สันติสุข อ.สองแคว และ อ.ภูเพียง อาณาเขตเมืองน่านในอดีตนั้นกว้างขวางกว่าปัจจุบัน แต่เดิม อ.เชียงคำ� อ.เชียงม่วน และ อ.เชียงของ (ซี่งปัจจุบันเป็นเขตการปกครอง ของจังหวัดพะเยาและเชียงราย)
เคยเป็นเขตจังหวัดน่านมาก่อน
บริเวณหัวเมืองฝัง่ ขวาของแม่น�ำ โ้ ขง
นอกจากนี้
ซึง่ ปัจจุบน ั คือเขตในประเทศสาธารณรัฐ
ประชาธิปไตยประชาชนลาว ได้แก่เมืองเงิน (หรือเมืองกุสาวดี) เมืองเชียงลม เมืองเชียงฮ่อน และเมืองคอบ เมืองเหล่านี้ก็เคยเป็นหัวเมืองที่ขึ้นกับเมืองน่านแต่ ต้องสูญเสียให้แก่ฝรั่งเศสไปในปี พ.ศ. 2466 (ร.ศ. 122) สิ่งที่น่าสนใจคือ บริเวณ ดังกล่าวเหล่านี้ล้วนแต่เป็นที่อยู่อาศัยของชุมชนชาวไทลื้อ
ต่ำ�หูกงานศิลป์ ถิ่นน่านใต้ 3
ภาพบน วัดหัวข่วงในสมัย เจ้ามหาพรมสุรธาดา ภาพล่าง เหล่านักเรียนโรงเรียนรังษีเกษม ภาพจาก หอจดหมายเหตุ ม.พายัพ
4 ต่ำ�หูกงานศิลป์ ถิ่นน่านใต้
แม้ว่าในปัจจุบันชาวเมืองน่าน จะเรียกตนเองว่า “คนเมือง” และ “อู้คำ�เมือง” เฉกเช่นเดียวกันกับชาวไทยวนล้านนาอื่นๆ แต่สิ่งที่เป็นเอกลักษณ์ของวัฒนธรรม เมืองน่านก็คือการผสมผสานกันระหว่างวัฒนธรรมของชาวไทยวนและชาวไทลื้อ จนแทบจะแยกกั น ไม่ อ อกกลุ่ ม ชาวไทลื้ อ ที่ อ าศั ย อยู่ ใ นเมื อ งน่ า นในปั จ จุ บั น จะ อาศัยอยู่มากในแถบ อ.ท่าวังผา อ.ปัว อ.เชียงกลาง อ.ทุ่งช้าง ชาวไทลื้อ เหล่านี้ ได้อพยพจากสิบสองปันนาเข้ามาอยู่ในเมืองน่าน เมื่อประมาณ 200 ปีที่ผ่านมา ดังตัวอย่างหลักฐานที่กล่าวถึงในพงศาวดารเมืองน่านว่ามีการกวาดต้อนผู้คน ชาวไทลื้อเข้ามาในสมัย พ.ศ. 2355 สมัยพญาสุมนเทวราชครองเมืองน่าน และ ใน พ.ศ. 2399 สมัยเจ้าอนันตววรฤทธิเดช เป็นต้น ความเป็นไทลื้อเมืองน่าน มิได้จำ�กัดอยู่แต่แวดวง 4 อำ�เภอดังกล่าวเท่านั้น น่าเชื่อว่าความสัมพันธ์ระหว่างชาติพันธุ์และวัฒนธรรมของชาวไทยวนและไทลื้อ ในเมืองน่านได้ดำ�เนินมายาวนานกว่า
200
ปีแล้ว
และได้หล่อหลอมจนเป็น
ลักษณะเฉพาะที่ปรากฏเป็นรูปแบบของศิลปวัฒนธรรมเมืองน่าน
ต่ำ�หูกงานศิลป์ ถิ่นน่านใต้ 5
6 ต่ำ�หูกงานศิลป์ ถิ่นน่านใต้
ฝ้ายแก้ว ไหมคำ�
วัฒนธรรมการทอผ้าและการใช้สอยผ้าที่ปรากฏในเมืองน่านมาแต่ อดีตบ่งบอกถึงการผสมผสานทางวัฒนธรรมระหว่างไทลื้อและไทยวนซึ่ง ทำ�ให้ผ้าทอเมืองน่านมีเอกลักษณ์ที่น่าสนใจศึกษาไม่น้อยแม้ว่าการทอผ้า และการใช้สอยผ้าโดยเฉพาะด้านการแต่งกายจะแปรเปล่ี่ยนได้ด้วยผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และวัฒนธรรมอื่นๆ แต่ผ้าทอที่เป็นร่องรอย จากอดีตก็เป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงวิถีชีวิตของผู้คนในสังคมและความแปรเปลี่ยน ทางด้านวัฒนธรรมของกลุ่มชนชั้นนั้นๆได้
นอกจากนี้ผ้าทอพื้นเมืองก็เป็น
ผลงานหัตถกรรมที่มีคุณค่าในเชิงศิลปะ มีความงดงามประณีต ด้วยวิธีการ ทอที่ละเอียดซับซ้อน
และเป็นภูมิปัญญาพื้นบ้านจากอดีตที่ควรได้รับการ
ศึกษา อนุรักษ์ และฟื้นฟูต่อไป ชาวไทยวนและชาวไทลื้อไม่นิยมเลี้ยงไหม ผ้าทอเมืองน่านจึงล้วนแต่เป็นผ้าฝ้ายแต่ก็ได้มีการนำ�ไหมมาทอปนฝ้ายโดย เรียกกันว่า “ไหมลาว” ซึ่งมีแหล่งผลิตในอดีตอยู่ในหมู่บ้านชาวไทลาว เช่น ที่ ตำ�บลน้ำ�ปั้ว อ.เวียงสา กลุ่มชาวไทลาวเหล่านี้ยังไม่มีผู้ใดได้ทำ�การศึกษา อย่างจริงจัง สันนิษฐานว่าอาจเป็นชาวลาวอพยพมาจากหลวงพระบาง และ นี่ เ ป็ น ตั ว อย่ า งหนึ่ ง ที่ แ สดงให้ เ ห็ น ถึ ง วั ฒ นธรรมลาวที่ ป รากฏในเมื อ งน่ า น ด้วย
ต่ำ�หูกงานศิลป์ ถิ่นน่านใต้ 7
ผ้าซิ่นเมืองน่านมีโครงสร้างของผ้าซิ่นโดยทั่วไป
จะประกอบด้วย
3
ส่วน คือ ส่วนเอว ส่วนกลางตัวซิ่น และส่วนตีน ซึ่งวิธีการเย็บเป็นถุงจะมี 2 วิธี คือ เย็บตะเข็บข้างเดียว กับเย็บตะเข็บ 2 ข้างชาวไทยวนในจังหวัดอื่นๆ ในล้านนา ทั่วไปจะเย็บด้วยวิธีแรก
ดังนั้นลายขวางตรงส่วนส่วนกลางของตัวซิ่นจึงเกิด
จากด้ายเส้นยืน แต่ชาวไทลื้อจะใช้วิธีเย็บแบบที่ 2 ซึ่งปรากฏว่าผ้าซิ่นในเมือง น่านล้วนแต่เย็บด้วยวิธีที่ 2 นี้ไม่ว่าจะเป็นซิ่นแบบใด อันแสดงให้เห็นว่าเป็น อิทธิพลแบบไทลื้อทั้งสิ้น ผ้าซิ่นน่านในอดีตนิยมทอด้วยวิธีการ เก็บมุก สลับสีพื้น เป็นช่วงๆโดยมักใช้ดิ้นเงินดิ้นทอง (เรียกกันว่า ไหมเงินไหมคำ�) เป็นเส้นพุ่ง ลักษณะโครงสร้างของซิ่นที่ทอด้วยลวดลายเก็บมุกนี้มี 2 แบบคือ
การทอผ้าของสตรีชาวน่าน
8 ต่ำ�หูกงานศิลป์ ถิ่นน่านใต้
1.ซิ่นป้อง ชื่อซิ่นพื้นบ้านของเมืองน่านแบบหนึ่ง เป็นผ้าซิ่นเย็บ 2 ตะเข็บทอด้วย เทคนิคขิดเป็นลายขวางสลับริ้วสีพื้น
มีช่วงขนาดของลายที่เท่ากันโดย
ตลอด คำ�ว่า “ป้อง” อาจมากจากการจัดโครงสร้างลายขวางเป็นปล้องๆ บางทีก็ เรียกว่า “ซิ่นตาเหล้ม” ซึ่งหมายถึงการจัดลายขวางที่มีลักษณะเป็น “ตาๆ” เข้า เป็นกลุ่มลายสลับสีด้วยช่วงระยะห่างเท่าๆ
กันทั้งผืน
ลายขวางนี้อาจใช้หลาย
เทคนิคผสมกัน เช่น มีทั้งทอด้วยเทคนิคขิด จก ล้วง ปั่นไก มัดก่าน โดยมีลายขิด เป็นหลัก วัสดุด้ายเส้นยืนเป็นฝ้าย เส้นพุ่งเป็นฝ้าย ไหม ดิ้นเงิน ดิ้นทอง สลับกัน โดยนิยมดิ้นเป็นลักษณะเด่น สีที่นิยมเป็นพื้นคือ สีนำ�้เงิน หรือ สีม่วง ซิ่นป้องนี้ถ้า ใช้วัสดุดิ้นเงินดิ้นทองเป็นเส้นพุ่งพิเศษมากก็จะทำ�ให้มีความแวววาว
ในภาษา
ล้านนา มักเรียกดิ้นทองว่า “ไหมคำ�” ลักษณะซิ่นป้องที่ทอตกแต่งด้วยดิ้นเงินดิ้น ทองมากนี้จึงนิยมเรียกกันว่า “ซิ่นไหมคำ�”
ซิ่นป้อง
ต่ำ�หูกงานศิลป์ ถิ่นน่านใต้ 9
2.ซิ่นม่าน คำ�ว่าม่านในภาษาล้านนาทั่วไปหมายถึง พม่า แต่ชื่อเรียกซิ่นชนิดนี้ไม่ เกี่ ย วกั บ พม่ า แต่ อ ย่ า งใดเป็ น ชื่ อ เรี ย กที่ มี ก ารจั ด ช่ ว งของลายมุ ก สลั บ สี พื้ น เป็ น โครงสร้างที่แน่นอน 4 ระดับด้วยกัน กล่าวคือ ระดับที่ 1 เป็นลายมุกแถวบนสุดกับ ช่วงสีพื้น ซึ่งมีช่วงขนาดใหญ่กว่าช่วงอื่นๆ ระดับที่ 2 และระดับที่ 3 เป็นลายมุก สลับสีพื้นเป็นช่วงเล็กลงมาขนาดเท่าๆ กัน ช่วงสีพื้นทั้ง 3 ระดับนี้นิยมสลับสีเช่น สี คราม สีแดง และสีเขียว เป็นต้น ช่วงสุดท้ายคือ ระดับที่ 4 เป็นกลุ่มของช่วงลายมุก หลายๆ แถวแล้วจึงถึงตีนซิ่น ซึ่งเป็นสีพื้น (นิยมสีครามและสีแดงต่อกันไป) เป็น กลุ่มของช่วงลายมุกหลายๆ แถวแล้วจึงถึงตีนซิ่น ซึ่งเป็นสีพื้นนิยมสีคราม และสีแดงต่อกันไปโครงสร้างและชื่อเรียกซิ่นทั้ง 2 แบบนี้น่าสนใจมาก เข้าใจว่า ซิ่นป้อง จะเป็นแบบของชาวไทยวน ส่วนซิ่นม่าน จะเป็นแบบของชาวไทลื้อ ซิ่น ทั้งสองแบบใช้นุ่งกันทั่วไปในเมืองน่านมาแต่อดีตลักษณะโครงสร้างแบบซิ่นป้อง คือมีลายขวางเท่าๆกันนั้น ยังมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ซิ่นตาเหล้ม ซึ่งน่าจะ หมายถึงการจัดโครงสร้างลายขวางเท่าๆ กันเป็นแถวๆ ชาวบ้านบางแห่งอธิบาย ว่า ซิ่นป้อง กับ ซิ่นตาเหล้ม ต่างกันตรงขนาดของลายมุก แต่ส่วนใหญ่จะบอกว่า เหมือนกัน
นอกจากนี้แล้ว
อีก2แบบคือ
10 ต่ำ�หูกงานศิลป์ ถิ่นน่านใต้
ซิ่นเมืองน่าน
ยังมีการเรียกชื่อตามลักษณะพิเศษ
1.ซิ่นคำ�เคิบ หมายถึงซิ่นที่ทอด้วยดิ้นทอง (ไหมคำ�) ตลอดทั้งตัวซิ่นโดยอาจมีริ้วสีพื้น สลับ (แบบเดียวกับซิ่นป้อง) แต่เป็นช่วงเล็กๆ เมื่อดูรวมๆ จะเป็นสีทองทั้งผืน ตรง ตีนซิ่นอาจทอเป็นผ้าสีพื้นธรรมดาต่อจนสุดผืน หรืออาจต่อด้วยตีนจกก็ได้ซึ่งถ้า ต่อด้วยตีนจก
ก็จะเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าซิ่นตีนจก
ลักษณะตีนจกของเมืองน่านมี
ลวดลายจกเป็นลายสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนเหมือนตีนจกของชาวไทยวนเชียงใหม่ นิยมใช้ผ้าฝ้ายสีดาเป็นผ้าพื้นและจกด้วยดิ้นทองลวดลายจกจะอยู่ช่วงบนของตีน ซิ่น ส่วนช่วงล่างของตีนซิ่นจะเป็นผ้าพื้นสีแดง ซิ่นตีนจกหรือ คำ�เคิบ นี้จะใช้นุ่ง เฉพาะโอกาสพิเศษเช่นเวลาไปทำ�บุญที่วัดเป็นต้น
ต่ำ�หูกงานศิลป์ ถิ่นน่านใต้ 11
2.ซิ่นเชียงแสน เป็นซิ่นลายขวางเป็นริ้วๆ
ทอด้วยเทคนิคลายขัดธรรมดาตลอดทั้งผืนไม่มี
การจกหรือขิด การจัดโครงสร้างของริ้วลายขวางเป็นระยะที่แน่นอน นิยมทอสี แดงเป็นพื้น ส่วนริ้วลายขวางจะใช้สีต่างๆ กันไป บางผืนอาจมีเส้นพุ่งเป็นลายมัด หมี่เป็นจุดเล็กๆ สลับเรียกว่า ก่านข้อ และนิยมใช้ฝ้าย 2 สีปั่นเข้าด้วยกันเป็นเส้น พุ่งในช่วงแถวสุดท้าย (ช่วงบนของตีนซิ่น) เรียกว่า ปั่นไกซิ่นเชียงแสนนี้เป็นซิ่น พื้นเมืองของชาวเมืองน่านที่ใช้นุ่งในเวลาปกติทั่วไป ชื่อเรียกของซิ่นชนิดนี้ บ่ง บอกถึงกำ�เนิดว่าเป็นซิ่นแบบเก่าแก่ของชาวไทยวน
ซิ่นเชียงแสน
12 ต่ำ�หูกงานศิลป์ ถิ่นน่านใต้
มาแต่อดีตสำ�หรับซิ่นในเมืองน่าน แม้จะมีโครงสร้างเป็น ซิ่นป้อง และ ซิ่น ม่าน แบบเดียวกับซิ่นของชาวไทยวนทั่วไปแต่ก็มีลักษณะเด่นอันแสดงให้เห็นถึง เอกลักษณ์ของกลุ่มชนและความสามารถในการทอเป็นพิเศษ กล่าวคือ ลวดลาย มุกบนตัวซิ่นนั้นโดยทั่วไปในเมืองน่านจะนิยมทอลายพื้นฐานเล็กๆ ลายกาบ ลาย ขอ เป็นต้น และตรงเชิงก็จะนิยมทอลายสายย้อย (คล้ายกับลายตีนจก) นอกจากนี้ ก็จะมีการทอลายเก็บมุกสลับมัดก่าน (มัดหมี่) ทำ�ให้มีลักษณะเด่นเฉพาะกลุ่มต่าง จากซิ่นไทยวนทั่วไป
ต่ำ�หูกงานศิลป์ ถิ่นน่านใต้ 13
ต่ำ�หูกงานศิลป์ ถิ่นน่านใต้ จัดทำ�โดย นายเอกอนันต์ โพธิ์สุยะ ระหัสประจำ�ตัว 530310150 ภาษาไทย © 2556 ภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สงวนลิขสิทธิ์ พิมพ์ครั้งแรก กรกฎาคม 2556 จัดพิมพ์โดย ภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ออกแบบโดย นายเอกอนันต์ โพธิ์สุยะ 2556 14 ต่ำ�หูกงานศิลป์ ถิ่นน่านใต้