Asipa a7 forma5

Page 1

100

AsIPA A7 / ก7

“วิธีการกระจกสะท้อนภาพพระคัมภีร์” (การตอบรับเป็นกลุ่ม) วัตถุประสงค์ของ “วิธีการกระจกสะท้อนภาพ พระคัมภีร”์

“วิธีการกระจกสะท้อนภาพพระคัมภีร์” ช่วยให้กลุ่มคริสตชน มองไกลออกไปเหนือความต้องการและผลประโยชน์ส่วนตัวของเขา ที่เกิดขึ้นในขณะนั้น จะไม่มี “การแบ่งปันส่วนตัว” อย่างในวิธี แบ่งปันพระวรสาร 7 ขั้นตอน แต่มีการร่วมกันแสวงหาพระประสงค์ ของพระเจ้ายามเผชิญกับสถานการณ์ยุ่งยากภายในวัด ในหมู่บ้าน ในเมือง หรือในประเทศ “วิธีการกระจกสะท้อนภาพพระคัมภีร์” ยังใช้เพื่อช่วยจัดเตรียม พิธีกรรมวันอาทิตย์พร้อมกันเป็นกลุ่มได้อีกด้วย เป็นขั้นตอนที่เป็น รู ป ธรรมในการสอดแทรกเข้ า สู่ วั ฒ นธรรม เพราะมั น ช่ ว ยทํา ให้ พิธีกรรมสอดคล้องและมีความหมายต่อชีวิตประจําวัน วิธีการแบ่งปันพระวรสาร 7 ชั้นตอน ยังเป็นวิธีการปกติและ เป็ น พื้ น ฐานของกลุ่ ม แบ่ ง ปั น พระวรสารหรื อ ชุ ม ชนคริ ส ตชนย่ อ ย เอกสาร AsIPA ก7 หน้า 1/20


101 “วิธีการกระจกสะท้อนภาพพระคัมภีร์” ควรนํามาใช้เพียงบางโอกาส เท่านั้น เช่น เดือนละครั้ง ขึ้นอยู่กับว่าปัญหาครั้งก่อน ๆ ได้รับการ แก้ไขแล้วหรือไม่

ก. ขั้นตอนต่างๆ ของ “วิธีการกระจกสะท้อน ภาพพระคัมภีร”์ ? ผู้ เ ข้ า ร่ ว มโครงการผลั ด กั น อ่ า นขั้ น ตอนต่ า ง ๆ ของ “วิธีการกระจกสะท้อนภาพพระคัมภีร์” ช้า ๆ ไม่ควรมี การแสดงความคิดเห็นหรืออธิบายอะไรในขั้นตอนนี้ :

1. เราฟังพระวาจาของพระเจ้าอย่างจดจ่อ * * * *

เราทูลเชิญพระเยซูเจ้ามาประทับ กับเราในบทภาวนา และต้อนรับ พระองค์ เราอ่านบทอ่านซ้ํา 2 ครั้ง เราหยิบวลีสั้นๆ ขึ้นมา อ่านวลี นั้นด้วยเสียงดัง 3 ครั้ง และหยุด เป็นช่วงๆระหว่างทีอ่ ่านแต่ละครั้ง เราอ่านบทอ่านนั้นซ้ําอีกครั้ง เอกสาร AsIPA ก7 หน้า 2/20


102

2. เรามองชีวิตของเราสะท้อนเข้าไปในบทอ่าน * *

ให้อภิปรายคําถามต่อไปนี้กับคน ที่นั่งติดกับเรา รายงานกลุ่มรวมหลังจาก 3 – 5 นาที

คําถาม : มีเ หตุก ารณ์ใ นชีวิต หรือ ปัญ หาอะไรในวัด ของเรา หมู่ บ้ า นของเรา เมื อ ง หรื อ ประเทศของเรา ที่ คล้ายคลึงกับเหตุการณ์ที่กล่าวถึงในบทอ่าน (กรุณา อย่าพูดถึงปัญหาส่วนตัว) *

หลังจากใช้เวลา 3-5 นาที กลับมารายงานกลุ่มรวม

(หลังจากรายงานแล้ว) ? คัดเลือกปัญหาขึ้นมาหนึ่งปัญหาเพื่ออภิปรายต่อ - มีใครรู้ปัญหานี้มากกว่านี้บ้าง ? - ทําไมคุณจึงคิดว่าเรามีปัญหาเช่นนี้ ? - ถ้ า สถานการณ์ ยั ง คงเหมื อ นที่ เ ป็ น อยู่ ใครจะได้ รั บ ประโยชน์และใครจะ เสียหาย ? เอกสาร AsIPA ก7 หน้า 3/20


103

3. เรามองดูเหตุการณ์ในชีวิตของเราด้วยสายตา ของพระเจ้า เวลานี้ให้เราจินตนาการว่าเราอยู่ข้างเดียวกับพระเจ้า เราทําตัว เราให้เป็นหนึ่งเดียวกับพระองค์และพยายามมองดูสถานการณ์ชีวิตที่ ได้เลือกไว้ด้วยสายตาของพระองค์ ให้เราสงบเงียบ 3 นาที แล้วถามตัวเราเองว่า :

“พระเจ้าทรงมองปัญหาของเราอย่างไร ?” “พระเจ้าทรงคิด รู้สึก และพูดอะไรเกี่ยวกับ ปัญหานี้ ?”

(บางทีเราอาจนึกถึงบทเพลงสดุดี และบทอ่านอื่นๆ จากพระ คัมภีร์ซึ่งอาจมีบางสิ่งเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ในชีวิตของเรา) เอกสาร AsIPA ก7 หน้า 4/20


104

4. เราแบ่งปัน “แง่คิดของพระเจ้า” ด้วยกัน เราพูดกันถึงสิ่งทีเ่ ราคิดว่า พระเจ้ า กํา ลั ง ตรั ส กั บ เรา เกี่ยวกับปัญหาของเรา…

5. เราวางแผนใน “หนทางแห่งพระอาณาจักร” เราถามตัวเราเองว่า : พระเจ้าประสงค์ให้เราทําอะไร ? ใครจะทําอะไรและเมื่อไร ? (ถ้ากลุ่มเลือกปัญหาที่สําคัญและยากลําบากในการแก้ ขอให้ แยกการวางแผนเชิงปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหานั้นไปกระทําในการประชุม ต่างหาก) เพื่ อ จะวางแผนเชิ ง ปฏิ บั ติ ก าร ให้ เ ราใช้ “แบบแผนในการ แก้ปัญหา” ซึ่งอยู่ในหน้าถัดไป คําอธิบายโดยละเอียดและตัวอย่าง วิธีใช้แบบแผนดังกล่าว ท่านจะหาดูได้ในคู่มือ AsIPA ชุด ก8 (A8) เอกสาร AsIPA ก7 หน้า 5/20


105 ก่อนที่ท่านจะใช้แบบแผนในการแก้ปัญหานี้ ท่านควรจํากัด “ปัญหาใหญ่โตมหึมา” (เช่น การว่างงาน) ให้แคบลงเป็นการ แสดงออกหรือเป็นตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมของปัญหาดังกล่าว (เช่น บนถนนของเรามีเยาวชนบางคนไม่มีงานทํา !)

แบบแผนในการแก้ปัญหา กําหนดปัญหา กําหนดปัญหาที่เป็นรูปธรรมซึ่งเรา สามารถจัดการได้จริง เขียนลงบน กระดาษขาวแผ่นใหญ่

เสนอทางออกที่หลากหลาย ระดมพลังสมอง สมาชิกแต่ละท่าน เสนอวิ ธี แ ก้ ปั ญ หาโดยยั ง ไม่ ต้ อ ง อภิปราย

เอกสาร AsIPA ก7 หน้า 6/20


106

นําเอาทางออกบางข้อมา อภิปราย ช่ ว ยกั น ค้ น หาข้ อ ได้ เ ปรี ย บและ เสียเปรียบของทางออกบางประการ โดยถามว่า ทางออกใดใกล้เคียงกับ ความความคิดของพระคริสตเจ้ามาก ที่สุด ?

ตัดสินใจเลือกทางออกเดียว กลุ่ ม รวมทั้ ง หมดตั ด สิ น เลื อ ก ทางออกเพียงข้อเดียว โดยให้ทั้งหมด เห็นพ้องต้องกัน

กําหนดงาน ใคร ทําอะไร ? เมื่อไร ? ที่ไหน ? (พรุ่งนี้ ? สัปดาห์หน้า ?….)

ตรวจสอบอีกในภายหลัง ให้กําหนดวันเวลาที่จะต้องกลับมา รายงาน เปลี่ยนวิธีการได้หากจําเป็น ปรับปรุงให้เหมาะสมได้แต่อย่ายกเลิก เอกสาร AsIPA ก7 หน้า 7/20


107

ข. คําอธิบาย “วิธีการกระจกสะท้อนภาพพระคัมภีร”์ ขั้นที่ 1 : เราฟังพระวาจาของพระเจ้าอย่างจดจ่อ * * * *

เราทู ล เชิ ญ พระเยซู เ จ้ า มาประทั บ กั บ เราในบทภาวนา และ ต้อนรับพระองค์ เราอ่านบทอ่านซ้ํา 2 ครั้ง เราหยิบวลีสั้น ๆ ขึ้นมา อ่านวลีนั้นด้วยเสียงดัง 3 ครั้ง และ หยุดเป็นช่วง ๆ ระหว่างที่อ่านแต่ละครั้ง เราอ่านบทอ่านนั้นซ้ําอีกครั้ง

? อภิปรายในกลุ่มใหญ่

คําถาม : ในการอ่ า นบทอ่ า นหลายครั้ ง และหยิ บ วลี สั้ น ๆ ออกมา เราคาดหวังผลอะไร ?

เอกสาร AsIPA ก7 หน้า 8/20


108

บทเสริม : *

* *

การแบ่งปันพระคัมภีร์ ไม่ว่าวิธีใดก็ตาม จะต้องเริ่มด้วยการฟัง ถ้อยคําของพระเจ้าเสียก่อน ดังนั้นเราจึงเริ่ม “วิธีการกระจก สะท้อนภาพพระคัมภีร์” แบบเดียวกันกับการแบ่งปันพระ วรสาร 7 ขั้นตอน การอ่านบทอ่านซ้ํา ๆ และหยิบเอาถ้อยคําออกมาจะช่วยให้ เกิดความสงบเงียบภายในตัวเรา ทําให้เราสามารถรับฟังด้วย ความคิดและจิตใจที่เปิดกว้าง ถ้อยคําในบทอ่านกลายเป็นสัญลักษณ์ (เทียบเท่าศีลศักดิ์สิทธิ์) ที่ เ ป็ น รู ป ธรรมของพระคริ ส ตเจ้ า ผู้ ก ลั บ คื น พระชนม์ ชี พ ท่ามกลางเรา

เอกสาร AsIPA ก7 หน้า 9/20


109

ขัน้ ที่ 2 : เรามองชี วิ ต ของเราสะท้ อ นเข้ า ไปในบท อ่าน ? ให้เราอภิปรายคําถามต่อไปนี้กับบุคคลที่นั่งติดกับเรา แล้ว รายงานกลุ่มใหญ่ หลังจาก 3 – 5 นาที

คําถาม : มีเหตุการณ์ในชีวิตหรือปัญหาอะไรในวัด หมู่บ้าน เมือง หรือประเทศของเรา ที่คล้ายคลึงกับเหตุการณ์ที่ กล่าวถึงในบทอ่าน ? (กรุณาอย่าพูดถึงปัญหาส่วนตัว) *

ใช้เวลา 3 – 5 นาทีแล้วรายงานกลุ่มใหญ่

(หลังจากรายงานแล้ว) ? ให้เราเลือกเพียงปัญหาเดียวเพื่ออภิปรายต่อ - มีใครรู้ปัญหามากกว่านี้บ้าง ? - ทําไมคุณจึงคิดว่าเรามีปัญหาเช่นนี้ ? - ถ้ า สถานการณ์ ยั ง คงเหมื อ นที่ เ ป็ น อยู่ ใครจะได้ รั บ ประโยชน์และใครจะ เสียหาย ?

เอกสาร AsIPA ก7 หน้า 10/20


110

*

ตัวอย่างทีผ่ ู้คนมองชีวิตของพวกเขาสะท้อนจากบทอ่าน -

“เราไม่ได้ฟังเสียงร้องขอความช่วยเหลือจากผู้คนในเขต วัดของเรา” - “เราอยากให้ ช นกลุ่ ม น้ อ ยต่ า งภาษาในเขตวั ด ของเรา นิ่งเงียบ และไม่อยากเป็นกันเองกับพวกเขา !” - “บรรดาผู้มีอํานาจบอกให้เราปิดปาก ยิ่งพวกเขาบอกให้ เราเงี ย บมากเท่ า ใด เรายิ่ ง เรี ย กร้ อ งสิ ท ธิ ข องเราดั ง มากขึ้นเท่านั้น !”

เราจะคัดเลือกปัญหาใดออกมาจากปัญหามากมาย ดังกล่าว ? ? อภิปรายในกลุ่มใหญ่

คําถาม :

มีอะไรบ้างที่จะช่วยเราตัดสินใจเลือกปัญหาที่ควร คัดเลือกจากข้อเสนอแนะมากมาย ?

บทเสริม : * เราคัดเลือกเอาปัญหาที่มีหลายคนกล่าวถึง * เราค้นหาปัญหาที่กระทบกับชีวิตของสมาชิกส่วนมาก * กลุ่มคัดเลือกเอาเพียงหนึ่งปัญหาเท่านั้นเพื่อจะดําเนินการ แก้ไขทันที เอกสาร AsIPA ก7 หน้า 11/20


111 ? ให้เราเลือกปัญหาดังต่อไปนี้มาพิจารณาขยายผลต่อไปอีก “ในเขตวัดของเรามีชนกลุ่มน้อยต่างภาษากลุ่มหนึ่ง ไม่มีใคร ห่วงใยพวกเขาเลย พวกเขาเป็นเสมือนชนไร้เสียง”

มีใครรู้ปัญหามากไปกว่านี้บ้าง ?

? อภิปรายในกลุ่มใหญ่

คําถาม : ทําไมเราจึงถามตัวเองว่า “มีใครรู้ปัญหามากไปกว่า นี้บ้าง ? ทําไมคุณจึงคิดว่าเรามีปัญหาเช่นนี้ ?”

บทเสริม : * * *

โดยการพูดถึงคําถามเหล่านี้ เราเข้าถึงปัญหาลึกซึ้งยิ่งขึ้น การ รู้เบื้องหลังของปัญหาใดก็ตามจะช่วยให้เราพบวิธีจัดการปัญหา นั้นอย่างมีประสิทธิผล อย่างเช่นในกรณีของเรา ชาวบ้านค้นพบว่าชนกลุ่มน้อยต่าง ภาษามาตั้งรกรากอยู่ในเขตวัดของเราเพราะว่า หลายปีก่อน หน้านั้นพวกเขาถูกเรียกให้มาทํางานที่ไม่มผี ู้ใดอยากทํา ในขั้ น นี้ เ รา ยั ง ไม่ พู ด ถึ ง ปฏิ บั ติ ก ารใด ๆ ทั้ ง สิ้ น เราอยาก ร่วมกันแสวงหา “ความคิดของพระเจ้า” มากกว่า และพยายาม ค้นหาว่าพระองค์ทรงรู้สึกอย่างไรกับสถานการณ์ของเรา เอกสาร AsIPA ก7 หน้า 12/20


112

ขั้นที่ 3 : เรามองดู เ หตุ ก ารณ์ ใ นชี วิ ต ของเราด้ ว ย สายตาของพระเจ้า เวลานี้ ให้เราจินตนาการว่าเราอยู่ข้างเดียวกับพระเจ้า เราทํา ตัวเราให้เป็นหนึ่งเดียวกับพระองค์และพยายามมองดูเหตุการณ์ที่เรา ได้เลือกไว้ด้วยสายตาของพระองค์ ให้เราเงียบ 3 นาทีและถามตัวเองว่า : - “พระเจ้าทรงมองปัญหาของเราอย่างไร ?” - “พระเจ้าทรงคิด รู้สึก และพูดอะไรเกี่ยวกับปัญหานี้ ?”

ความหมายอันลึกซึ้งของขั้นตอนนี้ ? จงพิจารณาภาพวาดข้างล่างนี้ อภิปรายในกลุ่มใหญ่ รายงานหลังจากใช้เวลา 3 นาที

เอกสาร AsIPA ก7 หน้า 13/20


113

คําถาม :

ในภาพนี้มีอะไรเหมือนกับขั้นตอนที่ 3 ของ “วิธีการ กระจกสะท้อนภาพพระคัมภีร์” บ้าง ?

บทเสริม : * *

เราถอยออกมาจากปัญหาของเราและมองดูมันห่าง ๆ เรา “ขอยืม” สายตาของพระเจ้า และพยายามตัดสินปัญหาด้วย ความคิดและจิตใจของพระเจ้า

เอกสาร AsIPA ก7 หน้า 14/20


114 * *

* *

ข้อความจากพระคัมภีร์อื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบทเพลงสดุดี อาจเข้ามาในความคิดซึ่งสามารถช่วยเราให้มองปัญหา “ด้วย สายตาของพระเจ้า” ในขั้ น นี้ เราทํา แบบเดี ย วกั บ บรรดาประกาศกทั้ ง หลายได้ กระทําคือ : พวกเขาอยู่ข้างพระเจ้าและมองดูเหตุการณ์ต่าง ๆ ทั้งที่เป็นเรื่องส่วนตัว เรื่องเกี่ยวกับศาสนา และเรื่องการเมือง ด้วยสายตาของพระเจ้า พวกเขาพยายามอ่านความคิดของ พระเจ้าและทําตัวให้เป็นหนึ่งเดียวกับพระองค์อย่างสมบูรณ์ ดังนั้นพวกเขาจึงเริ่มประกาศสารของพวกเขาด้วยคําพูดที่ว่า : “เป็นองค์พระผู้เป็นเจ้าที่ตรัสว่า !” เป็นบทบาทในฐานะประกาศกของบรรดาประชากรของพระเจ้า ที่จะ “อ่านเครื่องหมายแห่งกาลเวลา” และ “ตัดสินทําสิ่งที่ ถูกต้องให้แก่ตัวเอง” ดังทีพ่ ระเจ้าได้ตรัสไว้ (ลก 12:56-57) ในอีกแง่หนึ่ง บทบาทในฐานะประกาศกของเราก็คือ มองดู เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นรอบตัวเรา และตัดสินตามความคิด และจิตใจของพระเจ้า

เอกสาร AsIPA ก7 หน้า 15/20


115

ขั้นที่ 4 : เราแบ่งปัน “แง่คิดของพระเจ้า” ด้วยกัน เราพูดกันถึงสิ่งที่เราคิดว่าพระเจ้ากําลังตรัสกับเราเกี่ยวกับ ปัญหาของเรา…

ตัวอย่าง : 1.

2. 3.

“พระเจ้าทรงแสดงให้ฉันเห็นว่าพระเยซูเจ้าทรงยืนหยัด ต่อสู้เพื่อผู้ที่ไม่มีปากเสียงในชุมชน บรรดาหญิงโสเภณี เด็กๆ และคนโรคเรื้อนอย่างไร ! ฉันได้ยินพระเยซูเจ้า ตรัสว่า : จงทําเช่นเดียวกันเถิด !” “ฉันระลึกถึงวันพิพากษาครั้งสุดท้าย คงดีถ้าพระเยซูเจ้า จะตรัสกับเราว่า : เราเป็นแขกแปลกหน้า และท่านได้ ต้อนรับเราเข้าไปในบ้านของท่าน” “พระเจ้ า ทรงแสดงให้ ฉั น เห็ น ว่ า แขกแปลกหน้ า อาจจะ ดีกว่าตัวฉันเองก็ได้ ฉันระลึกถึงชาวสะมาเรียผู้ใจดีซึ่งก็ เป็นแขกแปลกหน้าคนหนึ่งในหมู่ชาวยิวด้วยเหมือนกัน”

เอกสาร AsIPA ก7 หน้า 16/20


116

เมื่อมีความขัดแย้งกันเกี่ยวกับความเห็นของ พระเจ้า ? อภิปรายในกลุ่มใหญ่

คําถาม : กลุ่ ม ควรจะทํา อะไร ถ้ า สมาชิ ก ซึ่ ง แตกต่ า งกั น มี ผลสรุ ป ออกมาแตกต่ า งกั น เกี่ ย วกั บ ความเห็ น ของ พระเจ้า ?

บทเสริม : * * * *

การมองเห็นพระประสงค์ของพระเจ้าอาจเป็นกระบวนการอัน เจ็บปวด มันอาจเหมือน “ปล้ํากับพระเจ้า” คล้าย ๆ กับ ประสบการณ์ของยาโคบกับเทวดา (ปฐก 32:25-29) จงค้นหาข้อเท็จจริงเพิ่มเติมเกี่ยวกับปัญหาดังกล่าว สวดภาวนาร่วมกันนาน ๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้ มองดูกันอีกครั้งในภายหลัง

เอกสาร AsIPA ก7 หน้า 17/20


117

ขั้นที่ 5 : เราวางแผนใน “หนทางแห่งพระอาณาจักร” เราถามตัวเองว่า : - พระเจ้าประสงค์ให้เราทําอะไร ? - ใครจะทําอะไรและทําเมื่อไร ?

? ในขั้นนี้เราต้องตัดสินใจว่า : (ก) เราสามารถจัดการกับปัญหาได้ทันทีหรือไม่ หรือ (ข) เราควรถกเถียงปัญหาในการประชุมครั้งต่อไป เพื่อจะได้ รวบรวมข้ อ เท็ จ จริ ง เพิ่ ม มากขึ้ น และมี เ วลาเพี ย งพอสํา หรั บ วางแผน ในกรณีเช่นว่านี้กลุ่มก็จะเดินตาม “แบบแผนในการ แก้ปัญหา” อย่างที่เสนอไว้ในคู่มือ AsIPA ก8 (A8) ในแต่ละกรณี กลุ่มจะถามตัวเองว่า :

วิธีแก้ปัญ หาใดใกล้เคียงกับความรู้สึกนึกคิด ของพระคริสตเจ้ามากที่สุด ? “หนทางแห่งพระ อาณาจักร” ในการแก้ปัญหานี้คืออะไร ?

เอกสาร AsIPA ก7 หน้า 18/20


118

ค. “วิธีการกระจกสะท้อนภาพพระคัมภีร”์ เพื่อ จัดเตรียมพิธีกรรมวันอาทิตย์ “วิธีการกระจกสะท้อนภาพพระคัมภีร์” คือ หนทางปฏิบัติใน การเตรี ย มพิ ธี ก รรมวั น อาทิ ต ย์ ร่ ว มกั น เป็ น กลุ่ ม ไม่ ว่ า จะใน คณะกรรมการพิธีกรรม หรือในชุมชนคริสตย่อยก็ตาม อย่างไรก็ตาม ยังคงเป็นเรื่องสําคัญที่ว่า การแบ่งปันพระวรสาร ตามวิธีการกระจกสะท้อนภาพต้องเป็นเรื่องของจิตใจ ไม่ควรทําให้ กลายเป็นเพียงเครื่องมือในการเตรียมพิธีกรรม พระสงฆ์ แ ละกลุ่ ม ช่ ว ยเตรี ย มพิ ธี ก รรมวั น อาทิ ต ย์ จ ะค้ น พบ องค์ประกอบต่อไปนี้ สําหรับการเตรียมพิธีกรรมของพวกเขา 1.

หัวข้อพิธกี รรม จะออกมาจากสถานการณ์ชีวิตที่เลือก ในขั้นที่ 2 มันอาจช่วยทีมเตรียมพิธีกรรมในการหาบทสดุดี บท สร้อย บทอัลเลลูยา โปสเตอร์ คําขวัญ บทแสดงประกอบ ที่เหมาะสม ฯลฯ

2.

หัวเรื่องบทเทศน์ จะได้รับการดลใจจากความต้องการ ต่าง ๆ ของชุมชนท้องถิ่น และจะช่วยทําให้พระวาจาของ พระเจ้าน่าสนใจและสอดคล้องกับสภาพชีวิต เอกสาร AsIPA ก7 หน้า 19/20


119 “การรับฟังความต้องการต่าง ๆ ของผู้คน” คือหนทาง ที่ พ ระเยซู เ จ้ า เองทรงใช้ ก่ อ นการประกาศข่ า วดี ข อง พระองค์

3.

วิธีการกระจกสะท้อนภาพพระคัมภีร์ ยึดถือเอาบทบาท หน้ า ที่ ข องสั ต บุ รุ ษ ในฐานะประกาศกมาใช้ อ ย่ า ง จริงจัง คําตอบต่อการแสวงหาของพวกเขาที่วา่ “พระเจ้าทรง คิดและรู้สึกอะไรกับสถานการณ์ของเรา” จะช่วยให้ผู้ เทศน์ ส ามารถอธิ บ ายสถานการณ์ ชี วิ ต ในท้ อ งถิ่ น โดย อาศัยแสงสว่างแห่งพระวรสาร

4.

ในแนวทางนี้ วิ ธี ก ารกระจกสะท้ อ นภาพพระคั ม ภี ร์ สามารถทําให้พิธีกรรมมีชีวิตชีวาล้ําลึกได้ ประชากร ของพระเจ้าจะสามารถพบเห็นและเฉลิมฉลองชีวิตของ พวกเขาเองได้ในพิธีกรรม !

5.

เมื่อสิ่งนี้เกิดขึ้น กระบวนการ “ปรับเข้าสู่วัฒนธรรม” และ “การจุต”ิ ของข่าวดีก็จะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง : ประชากรของพระเจ้ายอมให้พระคริสตเจ้าและข่าวดีของ พระองค์ ซึ ม ซาบเข้ า ไปในชี วิ ต และนํา ทางชี วิ ต ของ พวกเขา

เอกสาร AsIPA ก7 หน้า 20/20


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.