งานอภิบาลพิธีกรรมกับเยาวชน

Page 1

1

เอกสารจากสัมมนา 18th ASIAN LITURGY FORUM งานอภิบาลพิธกี รรมกับเยาวชน (คุณพ่อ อาเมลีโต นาร์ชีโซ ดี ราเชลิส ซ.ด.บ.)

คํานํา เยาวชนกับพิธีกรรมเป็นเรื่องที่ข้าพเจ้าสนใจมาก ตอนที่ข้าพเจ้าศึกษาเรื่องจารีต พิธีกรรมที่มหาวิทยาลัยซานอัลเซลโม ข้าพเจ้าอยากทําวิทยานิพนธ์เรื่องพิธีกรรมสําหรับ เยาวชนหรือเรื่องบทเทศน์ต่างๆของสมเด็จพระสันตะปาปาในวันเยาวชนโลกเป็นพิเศษ แต่ อาจารย์ที่ปรึกษาไม่อนุญาต ท่านบอกว่า ข้าพเจ้าจะเขียนบทความเกี่ยวกับเรื่องนี้เมื่อใดก็ได้ หลังที่ทําวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับเรื่องที่ลึกมากกว่าเพื่อการค้นคว้า เมื่อเป็นนักบวชที่ต้องนบนอบข้าพเจ้าต้องยอมฟังการแนะนําของท่าน ข้าพเจ้าเลือก อีกหัวข้อหนึ่ง อาศัยคําแนะนําปรึกษาของท่านข้าพเจ้าจบการศึกษาในปี 1999 นั่นเป็นเวลา 15 ปีแล้ว และวันนี้ข้าพเจ้าก็ได้มายืนอยู่ตรงนี้พร้อมกับท่าน ข้าพเจ้ารู้สึกดีใจมากที่ในที่สุด ข้าพเจ้าก็สามารถทําความฝันให้เป็นจริงโดยการเขียนอะไรบางอย่างเกี่ยวกับเยาวชนและ พิธีกรรม ต้องขอบใจคุณพ่อบอยที่ขอให้ข้าพเจ้ามาพูดเรื่องสําคัญนี้ในการประชุมอาเซียน ครั้งที่ 18 เกี่ยวกับจารีตพิธีกรรม ตอนแรกข้าพเจ้าลังเลที่จะรับปากเพราะช่วงนั้นมีงานมาก แต่พอคิดไปสักครู่หนึ่งคุณพ่อบอยเป็นผู้ชนะ เพราะเหตุใดหรือ? เพราะข้าพเจ้าคิดถึงคุณ พ่ออันสการ์ บิดาผู้ยิ่งใหญ่ของเราในการฟื้นฟูจารีตพิธีกรรมในประเทศฟิลิปปินส์และเอเชีย ข้าพเจ้านั่งอยู่แทบเท้าของท่านนับครั้งไม่ถ้วนเพื่อศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับพิธีกรรมดังที่ สังคายนาวาติกัน 2 สอนไว้ แต่ที่สําคัญที่สุดคือ ข้าพเจ้าคิดถึงนักบุญยอห์น บอสโก บิดา และอาจารย์ของเยาวชน ท่านเป็นผู้ส่งเสริมที่ยิ่งใหญ่เกี่ยวกับความศรัทธาต่อศีลมหาสนิทใน หมู่เยาวชน และยังเป็นโอกาสครบวันเกิด 200 ปีของท่านที่เรากําลังเฉลิมฉลองกันในปีนี้ จนถึงวันที่ 16 สิงหาคม 2015


2

ที่เรามาชุมนุมกันในปีนี้มีความหมายพิเศษเพราะว่าสมเด็จพระสันตะปาปาเปาโลที่ 6พึ่งจะได้รับการสถาปนาเป็นบุญราศีเมื่อเร็วๆ นี้ เป็นพระสันตะปาปาพระองค์นี้นั่นเองที่ สานต่องานที่เริ่มโดยสมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ที่ 23 เกี่ ยวกับการประชุมสังคายนา วาติกัน 2 พระองค์ทรงสร้างหลักประกันว่าการปฏิรูปจารีตพิธีกรรมดังที่ระบุไว้ในพระสังฆ ธรรมนูญ Sacrosanctum

Concilium

นั้นจะต้องมีการนําเอามาปฏิบัติกันให้ครบถ้วน เพื่อที่

บรรดาสั ต บุ รุ ษ จะได้ ส ามารถทํ า การเฉลิ ม ฉลองพิ ธี ก รรมของพระศาสนจั ก รได้ อ ย่ า งมี ประสิทธิผล นอกจากนี้แล้วในต้นปีนี้สมเด็จพระสันตะปาปาสองพระองค์ คือ ยอห์น ที่ 23 และ ยอห์น ปอล ที่ 2 ได้รับการสถาปนาเป็นนักบุญ ระหว่างสมเด็จพระสันตะปาปาสอง พระองค์นี้เราต่างทราบกันดีว่าสมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอล ที่ 2 ทรงเป็นที่รักและเป็น ที่นิยมกันมากสําหรับบรรดาเยาวชนเพราะท่านเป็นผู้ริเริ่มวันเยาวชนโลก เพราะฉะนั้นการ เลือกหัวข้อ “พิธีกรรมกับเยาวชน” เป็นเรื่องที่เหมาะกับกาลเวลาและเป็นพระสัพพันญูญาณ ของพระเจ้าจริงๆ หวังว่าในการประชุมครั้งนี้ข้าพเจ้าคงจะสามารถถวายเกียรติแด่พระ สันตะปาปาผู้ที่เป็นบุญราศีและนักบุญทั้งสามท่านนี้รวมถึงคุณพ่ออันสการ์ ชูปุงโก ผู้ที่ได้ ทํางานหนักและมีส่วนช่วยให้การฟื้นฟูจารีตพิธีกรรมสําเร็จไปในทุกวันนี้ดังที่พระศาสนจักร ต้องการ พิธีกรรมกับเยาวชนคาทอลิกในวันนี้ ประสบการณ์ ค รั้ ง สํ า คั ญ ที่ สุ ด ที่ ข้ า พเจ้ า ไม่ มี วั น ลื ม เรื่ อ งพิ ธี ก รรมกั บ เยาวชนหรื อ พิธีกรรมสําหรับเยาวชนย้อนหลังกลับไปเมื่อปี 1995 ซึ่งเป็นโอกาสวันเยาวชนโลกครั้งที่ 10 ที่มะนิลา ตอนนั้นข้าพเจ้าพึ่งบวชเป็นพระสงฆ์ได้เป็นปีที่สอง ประมาณการณ์ว่ามีประชาชน สี่หรืออาจถึงห้าล้านคนที่มาต้อนรับสมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอล ที่ 2 ถือว่าเป็นการ ชุมนุมเยาวชนครั้งที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก วันปิดการประชุมมีพระสงฆ์นับพันนับหมื่นมาร่วม ในพิธีบูชาขอบพระคุณพร้อมกับสมเด็จพระสันตะปาปา ในคืนวันก่อนวันสมโภชสมเด็จพระ สันตะปาปาทรงมีความสุขมากกับเยาวชน เยาวชนจํานวนนับล้านก็รักพระองค์เช่นเดียวกัน และแสดงความรักออกมาอย่างเปิดเผยอย่างทันควันด้วยการร้องตะโกนสุดเสียงว่า “ยอห์น


3

ปอล ที่ 2 พวกเรารักพระองค์” สําหรับตัวข้าพเจ้าแล้วประสบการณ์นี้มันช่างน่าพิศวงจริงๆ ที่ได้อยู่ท่ามกลางสัตบุรุษเป็นล้านๆ คนโดยเฉพาอย่างยิ่งเยาวชน ทุกคนต่างขับร้อง ตะโกน โบกไม้ โ บกมื อ และเต้ น รํ า ไปพร้ อ มกั บ สมเด็ จ พระสั น ตะปาปา ข้ า พเจ้ า ถื อ ว่ า นี่ เ ป็ น ประสบการณ์ที่จะลืมเสียมิได้และเป็นเพียงแค่ครั้งเดียวในชีวิตที่เห็นสายสัมพันธ์อันแนบแน่น ระหว่ า งเยาวชนกั บ สมเด็ จ พระสั น ตะปาปาซึ่ ง สุ ด ท้ า ยแล้ ว ก็ คื อ กั บ พระคริ ส ตเจ้ า นั่ น เอง ข้าพเจ้าคิดว่าการพบกับสมเด็จพระสันตะปาปาครั้งนี้ช่วยจรรโลงพันธกิจของข้าพเจ้าในฐานะ ที่เป็นสงฆ์หนุ่ม เหตุการณ์น้ีทําให้เราเห็นว่าพิธีกรรมนั้นสามารถมีพลังแค่ไหนในการทําให้ เยาวชนได้ สัม ผัส กั บ พระเจ้ า ข้ า พเจ้ า เชื่ อ ว่ าพวกท่ า นบางคนที่ ไ ปบราซิ ลปี ที่ แ ล้ ว ในวั น เยาวชนโลกครั้งที่ 28 อาจพูดได้ในทํานองเดียวกัน เฉกเช่นคนที่ไปงานเยาวชนเอเชียที่ เกาหลีเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา แต่ในอีกมุมมองหนึ่งนั้นเราต้องเผชิญกับปัญหานี้: เมื่อสมเด็จพระสันตะปาปาไม่อยู่ ด้วย พิธีกรรมวันธรรมดาและวันอาทิตย์ของเรามีพลังดึงดูดเยาวชนให้สัมผัสกับพระเจ้าหรือ เปล่า? เยาวชนคาทอลิกของเรายังได้รับแรงดึงดูดและได้รับแรงบันดาลใจจากพิธีกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากพิธีบูชาขอบพระคุณหรือไม่? เมื่อไม่กี่เดือนมานี้ข้าพเจ้าเปิดกูเกิ้ลหาสถิติล่าสุดเรื่องเยาวชนกับพิธีกรรมในสหรัฐ ข้ า พเจ้ า ต้ อ งตกใจกั บ สิ่ ง ที่ พ บ คํ า ตอบต่ อ คํ า ถามส่ ว นใหญ่ น่ า ตกใจเป็ น อย่ า งยิ่ ง เช่ น “เยาวชนที่ทิ้งพระศาสนจักรมีจํานวนเท่าใด” “สถิติเยาวชนไม่เอาถ่านที่ทิ้งวัด” “เยาวชน ที่ทิ้งวัดมีถึง 80%/” “เหตุใดผู้คนจึงไม่อยากไปวัดกัน” “เหตุผลสิบประการที่เยาวชนทิ้งวัด” “ปัญหาเยาวชนพากันทิ้งวัด – การสํารวจอย่างใกล้ชิด” ภาพที่ออกมาดูมันดํามืดและน่า กลัวมากในอีกด้านหนึ่งของโลก เมื่อสองสามปีที่แล้วสภาพระสังฆราชแห่งฟิลิปปินส์ทําการสํารวจเยาวชนคาทอลิก เกี่ยวกันการไปฟังมิสซา จาก 1,067 คําตอบ มี 60.4% หรือ 6 ในจํานวน 10 คนที่บอกว่า พวกเขาไปวัดกันทุกวันอาทิตย์ และอีก 3% ตอบว่าไปวัดทุกวัน สําหรับเราฟังแล้วยังพอไหว


4

ใช่ไหม? นี่แสดงว่าเยาวชนคาทอลิกฟิลิปปินส์ยังมีความเชื่อดีอยู่ การสํารวจดังกล่าวยัง พบว่าเยาวชนคาทอลิกฟิลิปปินส์ส่วนใหญ่ยังคงแสดงความเชื่อด้วยการสวดภาวนา 46.5% บอกว่าพวกเขาสวดภาวนาเสมอ และอีก 33.3% ตอบว่าพวกเขาสวดบ่อยๆ นี่หมายความ ว่าประมาณ 80% ของเยาวชนสวดภาวนากันบ่อย นี่ดูจะเป็นข่าวดีสําหรับเราที่ทําพันธกิจอยู่ กับเยาวชน ทว่าการสํารวจนั้นทํากันในปี 2002 หรือราว 12 ปีที่แล้ว และข้าพเจ้าก็ไม่ทราบ ว่ามีการสํารวจสถิติใหม่กันหรือไม่ ปีที่แล้วพระสงฆ์เยซุอิตท่านหนึ่งที่ชื่อว่า คุณพ่อ โจเอล ตาโบรา แห่งมหาวิทยาลัยอา เตเนโอที่เมืองดาเวาเขียนลงในบล็อกของตนว่า “พระศาสนจักรคาทอลิกกําลังตกอยู่ใน ปัญหา แม้พี่น้องคาทอลิกในฟิลิปปินส์ก็เช่นเดียวกัน” เหตุผลที่ท่านให้ไว้คือ “ผู้คนได้ ทอดทิ้งพระศาสนจักร ผู้คนกําลังจะทอดทิ้งพระศาสนจักร ข้าพเจ้าคิดว่า ถึงเวลาแล้วที่ พระศาสนจักรจะต้องทําการสํารวจเพื่อช่วยให้เราเข้าใจว่าอะไรกําลังเกิดขึ้น” หลังจากนั้น หนึ่งสัปดาห์สถาบันสังคมแห่งหนึ่งได้โพสต์ข้อความลงในอินเตอร์เน็ตวันที่ 7 เมษายน 2013 ว่า “คาทอลิก 9% คิดที่จะทิ้งศาสนา” วันต่อมา

ABS-CBN รายงานบนเว็บไซด์ว่า

“คาทอลิก

ที่ไปวัดวันอาทิตย์ลดลงเหลือแค่ 37%” ดังนั้น ขณะที่ความเชื่อของเยาวชนคาทอลิกอาจจะยังดูเหมือนเข้มแข็ง แท้จริงแล้ว มั น อาจจะเริ่ ม ถดถอยและเสื่ อ มลง เพราะฉะนั้ น เราต้ อ งถามตั ว เราเองว่ า พิ ธี บู ช า ขอบพระคุณและพิธีกรรมของเราทุกวันนี้ยังสร้างความประทับใจให้กับผู้คนโดยเฉพาะอย่าง ยิ่งกับเยาวชนหรือไม่? บริบทแห่งเอเชีย เราลองหันมาดูสถานการณ์ในเอเชียของเรากันหน่อย ในปี 2007 มีการสํารวจโดย แผนกเยาวชนของ FABC ซึ่งอยู่ในคณะกรรมการเพื่อฆราวาสและครอบครัว 62% ของผู้ตอบ คําถามบอกว่าตนไปรับศีลมหาสนิททุกวันอาทิตย์ 21% ตอบว่าไปรับศีลเฉพาะวันฉลองสําคัญ


5

75% ตอบว่าไปรับศีลทุกวัน 2% ตอบว่าไม่เคยไปรับศีลเลย สถิตินี้ยืนยันความจริงว่าเยาวชน เอเชียที่ตอบคําถามนี้มีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ในพิธีเฉลิมฉลองศีลมหาสนิท หากเป็นเช่นนั้นเราควรทําอย่างไร? เราจะทําให้พิธีกรรมของเราดึงดูดใจคนและมี ความหมายในเวลาเดียวกันได้อย่างไรเพื่อที่เยาวชนจะได้สํานึกว่าพระเจ้าทรงประทับอยู่ มี ส่วนร่วมในพิธีอย่างเต็มที่เพื่อที่จะทําให้พิธีกรรมบังเกิดผลในชีวิต? การคิดใหม่และฟื้นฟูใหม่เป็นความจําเป็น พีน้องในพระคริสตเจ้าครับ... การชุมนุมที่สามพรานของเราในปีนี้เป็นโอกาสที่เราจะ ช่วยกันคิดใหม่ ทําการประเมิน และรื้อฟื้นวิธีที่เราใช้พิธีกรรมเป็นการอภิบาลโดยเฉพาะ อย่างยิ่งสําหรับเยาวชน สังฆธรรมนูญ Sacrosanctum Concilium ประกาศใช้มา 50 ปีแล้ว และ การฟื้นฟูจารีตพิธีกรรมบังเกิดผลดีมากในบางประเทศ แต่ปัญหามันอยู่ตรงนี้: เราทําการ ฟื้นฟูกันเพียงพอแล้วหรือยัง? เป้าหมายของเราคือ เยาวชนมีส่วนร่วมในจารีตพิธีกรรม อย่างรู้ตัวและเข้มแข็งเต็มที่ แต่สิ่งแรกที่เราอยากตั้งคําถามคือ พวกเขาเข้าใจจารีตพิธีกรรม เพียงพอแล้วหรือ? ประการแรก เยาวชนทุกวันนี้จําเป็นต้องมีความเข้าใจอย่างเพียงพอเกี่ยวกับจารีต พิธีกรรมโดยเฉพาะอย่างยิ่งพิธีบูชาขอบพระคุณ รวมถึงภาษา เครื่องหมาย และสัญลักษณ์ ต่างๆ ในพิธี พิธีกรรมเป็นเพียงการปฏิบัติหน้าที่ของเราในการนมัสการพระเจ้าหรือ? แล้ว เครื่ อ งหมายต่ า งๆ แห่ ง พิ ธี ก รรมล่ ะ เช่ น ไม้ ก างเขน กํ า มะยาน กระดิ่ ง แค่ เ พี ย งบาง ตัวอย่าง เยาวชนเข้าใจจริงหรือเปล่าว่าเครื่องหมายเหล่านี้หมายถึงอะไร? และพิธีมิสซาล่ะ พวกเขารู้จริงเกี่ยวกับภาคต่างๆ ของมิสซาหรือเปล่า? ในการสํารวจปี 2007 ที่ข้าพเจ้าเอ่ยถึงเมื่อสักครู่คําถามหนึ่งที่เปิดกว้างให้เยาวชน เอเชียตอบคือให้พวกเขาระบุว่าส่วนไหนของมิสซาที่โดนใจพวกเขามากที่สุด เนื่องจากเป็น คําถามที่เปิดกว้าง เราให้เลือกคําตอบเดียว ผลของคําตอบน่าตกใจมาก 60% ของผู้ที่ตอบ


6

ไม่มีคําตอบ ส่วนคําตอบอื่นๆ นั้นก็กระจายทั่วไปหมด พิธีอภัยบาป 1% การขับร้อง 1% บท อ่าน 1% พระวรสาร 2% การสวดภาวนา 2% การถวาย 2% การเสกศีล 3% บทภาวนาศีลมหา สนิท 5% การรับศีลมหาสนิท 8% คําเทศน์ 12% นี่แสดงว่าทัศนะคติของเยาวชนไม่มีความ แน่นอนหรือตอบไม่ชัดว่าส่วนไหนของบูชามิสซาขอบพระคุณมีความสําคัญสําหรับพวกเขา มากที่สุด ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของเราที่ต้องสอนพวกเขาในประเด็นนี้ หวังว่าจะช่วยให้พวกเขา มี ความเข้าใจเพียงพอและมีทัศนคติที่มีวุฒิภาวะต่อจารีตและพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ของพระศาสน จักร ข้าพเจ้าเชื่อว่าพอพวกเขามีความเข้าใจถูกต้อง มีทัศนคติที่ดี และมีความตั้งใจดี ทุก อย่าง ก็จะตามมาเองในไม่ช้า สมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอล ที่ 2 ครั้งหนึ่งเคยตรัสกับบรรดา พระสังฆราชที่มาเฝ้า ณ กรุงโรมว่า “การมีส่วนร่วมอย่างศรัทธาเรียกร้องให้มีการอบรม สัตบุรุษ เป็นอย่างดีในเรื่องพระธรรมล้ําลึกแห่งพิธีกรรม มิฉะนั้นแล้วพิธีนมัสการก็จะค่อยๆเสื่อมลง เป็นแค่ประเพณีภายนอกอย่างหนึ่ง” สําหรับตัวเราเองข้าพเจ้าคิดว่าเราจําเป็นต้องตามให้ทันกับเรื่องราวของพิธีกรรมเพือ่ ปรับชีวิตฝ่ายจิตของเราและพัฒนาพันธกิจแห่งการแพร่ธรรม เพื่อที่เราจะได้สามารถเป็น ประจักษ์พยานของพระคริสตเจ้าได้อย่างแท้จริง เป็นเครื่องหมายที่ชัดเจน และเป็นผู้แบ่ง ความ รักของพระองค์ให้กับบรรดาเยาวชน 2. พิธีกรรมจากมิติใหม่และบทบาทของการอภิบาลเยาวชน หากเราถามเยาวชนว่าจารีตพิธีกรรมคืออะไร บางทีพวกเขาส่วนใหญ่จะสามารถ ตอบได้ว่า จารีตพิธีกรรมเป็นการทีป่ ระชาชนมาร่วมกันนมัสการพระเจ้า เป็นการถูกต้องแล้ว


7

แต่พิธีกรรมไม่ใช่เรื่องทีจ่ ะเป็นพิธีนา่ เบื่อที่มีแต่คําพูดไร้ความหมาย มีการสวดยาวๆ มีการ เทศน์เสียงดัง และไม่ใช่เรื่องที่จะไปคิดกันว่าเป็นภาระที่เราต้องปฏิบัติเพือ่ ที่จะไม่ทําให้พระ เจ้าโกรธ (จําได้ว่าตอนที่ข้าพเจ้าเป็นเด็ก ข้าพเจ้าไม่ชอบแปรงฟันก่อนนอน ดังนั้น บ่อยครั้งพี่สาวต้องมาลากข้าพเจ้าจากเตียงไปยังห้องน้ําแล้วเธอก็จะบังคับให้ข้าพเจ้าสีฟัน) เปล่าเลย พิธีกรรมไม่ควรที่จะเป็นสิ่งน่าเบื่อหรือเป็นภาระยุ่งยาก ในอีกมุมมองหนึ่ง การอภิบาลเยาวชนไม่ควรทําอะไรจนเกินไปเพื่อขจัดความน่าเบือ่ ของพิธีกรรม คือหาวิธสี ร้างสรรค์เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้กับพิธีกรรมจนกลายเป็นการ แสดงที่สนุก หรือเป็นการบันเทิง หรือเหมือนกับเป็นการแสดงบนเวทีไป โดยพื้นฐานแล้ว พิธีกรรมเป็นวิธีนมัสการพระเจ้า และยอมรับความยิ่งใหญ่ของพระองค์เหนือเรา หนังสือคํา สอนของพระศาสนจักรซึ่งสมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอล ที่ 2 ทรงรับรองทําให้เราเข้าใจ พิธีกรรมจากอีกมุมมองหนึ่งแต่ก็อยูใ่ นแนวของสังคายนาวาติกัน 2 คําสอนนั้นยืนยันว่า พิธีกรรมเป็น “การมีส่วนร่วมแห่งประชาชนของพระเจ้าในผลงานของพระองค์” (CCC 1069) แต่ความหมายนี้ยังเป็นรองจากความเข้าใจที่เป็นพื้นฐานมากกว่า นั่นคือพิธีกรรมคือผลงาน ของพระเจ้า 2.1 พิธีกรรมในฐานะที่เป็นงานของพระเจ้า ถ้ า จะเข้ า ใจกั น ให้ ลึ ก ซึ้ ง แล้ ว พิ ธี ก รรมเป็ น งานของพระเจ้ า ในตั ว เราและสํ า หรั บ มนุษยชาติ ตราบเท่าที่เป็นพระเจ้าผู้ทรงสร้างเราให้เกิดมาในครรภ์มารดาและคลอดเรา ออกมา พระองค์ทรงให้กําเนิดเราใหม่ในศีลล้างบาป และทรงหล่อเลี้ยงเราอย่างเสมอต้น เสมอปลายในศีลมหาสนิท พระองค์ทรงประทานพลังให้กับเราในศีลกําลัง อภัยเราในศีลแก้ บาป รักษาและเจิมเราในศีลเจิม ฯลฯ พูดสั้นๆ คือ อาศัยพิธีกรรมพระองค์ทรงช่วยเราให้ รอดพ้นจากบาปและความตายนิรันดร แล้วยังทําให้เราศักดิ์สิทธิ์โดยทําให้เรายิ่งทียิ่งละม้าย คล้ายกับพระองค์ เราทุกคนทราบว่างานที่ช่วยให้เรารอดพ้นและทําให้เราเป็นคนศักดิ์สิทธิ์ นั้นพระเจ้าทรงทําสําเร็จลุล่วงไปอาศัยการทรมาน การสิ้นพระชนม์ และการกลับคืนพระชนม


8

ชีพของพระเยซูคริสต์พระบุตรของพระองค์ พระสันตะปาปายอห์น ปอล ที่ 2 ครั้งหนึ่งตรัส ว่า “แก่นพระธรรมล้ําลึกแห่งการนมัสการของคริสตชนคือการบูชาของพระคริสตเจ้าที่ทรง ถวายแด่พระบิดาและเป็นผลงานของพระคริสตเจ้าผู้ทรงเสด็จกลับคืนพระชนมชีพ ผู้ทรงทํา ให้ประชากรของพระองค์ศักดิ์สิทธิ์โดยอาศัยเครื่องหมายแห่งจารีตพิธีกรรม” ทุกวันนี้ผลงานเดียวกันยังสําเร็จไปในจารีตพิธีกรรมโดยอาศัยอํานาจของพระจิต เพราะฉะนั้นในจารีตพิธีกรรมเป็นพระเจ้าเองที่ทรงกระทําการ ความจริงแล้วความหมาย ตามรากศัพท์ของคําว่าพิธีกรรม liturgy มาจากคําภาษากรีก Leitourgia ที่แปลว่า “ผลงาน สําหรับประชาชน” ดังนั้น พิธีกรรมที่กลายเป็นการนมัสการพระเจ้าจึงเป็นเรื่องที่ตามมาเอง กล่าวคือ การนมัสการ การสรรเสริญ การโมทนาคุณ ที่เรามอบให้กับพระองค์เพื่อเป็นการ ตอบแทนคุณความดีที่พระองค์ทรงมีต่อเรา ดังนั้น เราต้องถามตัวเราเองว่า เรายอมให้พระเจ้ากระทําการมากเพียงใดในตัวเราที่ มีส่วนร่วมในพิธีกรรม? เราสามารถหาการเปลี่ยนไปในทางที่ดีที่เกิดขึ้นเนื่องจากผลของการ มีส่วนร่วมในพิธีกรรมบ้างไหม? คําถามเหล่านี้มีไว้ให้เราไตร่ตรองเป็นการส่วนตัว แต่ คําถามที่สามเป็นเรื่องที่เราต้องมาจับเข่าคุยกัน:

เราให้ความช่วยเหลือพระเจ้ามากน้อย

เพี ย งใดเพื่ อ ที่ พ ระองค์ จ ะได้ ก ระทํ า การของพระองค์ ไ ด้ อ ย่ า งมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพมากยิ่ ง ขึ้ น ท่ามกลางประชากรของพระองค์โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่เยาวชน? เราต้องทําอะไรบ้างเพื่อเป็นการสร้างหลักประกันว่าในจารีตพิธีกรรมโดยเฉพาะอย่าง ยิ่งในพิธีบูชาขอบพระคุณซึ่งเป็นงานของพระเจ้านั้นกระทําไปอย่างจริงจังและเป็นผล? ท่าน อาจแอบยิ้มกับคําถามนี้ แต่ข้อเสนอต่อไปนี้เป็นเรื่องที่ไม่มีการต่อรอง 1. ต้องมั่นใจว่ามีแต่พระสงฆ์ที่ได้รับศีลบรรพชาอย่างถูกต้องแล้วเท่านั้นที่จะเป็นผูถ้ วาย บูชามิสซา เพราะพระเยซูทรงกระทําการโดยอาศัยพระสงฆ์หรือศาสนบริกรอื่นที่ ได้รับศีลบรรพชาแล้ว หากเป็นได้ควรเชิญศาสนบริกรที่เหมาะสมมีความสันทัดและ สื่อสารได้เป็นอย่างดี เราต้องมีการประสานกันล่วงหน้าเกี่ยวกับการสมโภชหรือ โอกาสที่เราจะทําการเฉลิมฉลอง ต้องเตรียมบทอ่าน แผนพิธีกรรม ประเภทของ


9

บุค คลที่จ ะมาร่ ว มพิ ธี สถานที่ รวมถึ ง การเดิ น ทางไปกลั บ ด้ ว ย เราต้ อ งให้ ก าร ต้อนรับเขา จัดหาสิ่งที่เขาต้องการ และต้องไม่ลืมที่จะปล่อยให้เขากลับไปมือเปล่า โดยไม่มีค่ารถค่าตอบแทน 2. ต้องมั่นใจว่าบทอ่านต่างๆ ต้องเอามาจากพระคัมภีร์หรือบทอ่าน วันธรรมดาอาจ เปลี่ยนบทอ่านได้ หากบทอ่านดังกล่าวอาจยากเกินความเข้าใจของเด็ก (DMC 43) 3. ต้องมั่นใจว่าบทสวดที่พระสงฆ์นํามาใช้ (บทภาวนาเริ่มพิธี บทภาวนาเตรียมเครื่อง บูชา บทภาวนาหลังรับศีล) ต้องนํามาจากหนังสือจารีตพิธีกรรมที่ได้รับการอนุมัติ แล้ว (สําหรับพิธีบูชาขอบพระคุณเอามาจากหนังสือมิสซาจารีตโรมัน) โอกาสวัน สมโภช หรือวันฉลองบังคับ ควรใช้บทภาวนาที่กําหนดไว้ในแต่ละโอกาส ส่วนวัน ธรรมดาอาจเลือกบทภาวนาเองได้ตามความต้องการและความเหมาะสมของเยาวชน และหากบทภาวนาเหล่ า นี้ ย ากเกิ น ที่ จ ะเข้ า ใจ อาจปรั บ ได้ ต ามความจํ า เป็ น ของ เยาวชนโดยที่ไม่สูญเสียเป้าหมายและเนื้อหา ในมิสซาสําหรับเด็กบทภาวนาไหนใน จํานวนบทเสกศีลสามบทล้วนนํามาใช้ได้ทั้งนั้น บทภาวนาเหล่านี้ได้รับการอนุมัติ จากสมณกระทรวงเพื่อพิธีกรรมแล้ว (เทียบ DMC

51)

แต่ห้ามผู้ใด แม้แต่พระสงฆ์

แต่งบทภาวนาเอง ข้อยกเว้นมีแต่บทภาวนาของมวลชนเท่านั้น 2.2 พิธีกรรมในฐานะที่เป็นการมีส่วนร่วมแห่งประชากรของพระเจ้าในงาน ของพระเจ้า จารีตพิธีกรรมมิใช่เป็นงานของพระเจ้าเท่านั้นดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น มัน ยังเป็นการมีส่วนร่วมแห่งประชากรของพระเจ้าในงานของพระองค์ด้วย หลายปีก่อน สังคายนาวาติกัน 2 มิติพิธีกรรมในแง่นี้ไม่ค่อยจะมีการเน้นกันสักเท่าใด เพราะไป มองกันว่าพิธีกรรมเป็นงานของพระสงฆ์และพระสังฆราช เพราะฉะนั้นในเอกสาร ฉบับแรกของสังคายนาวาติกัน 2 จึงมีชื่อว่า Constitution

on the Sacred Liturgy

(พระ

ธรรมนูญว่าด้วยพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์) ซึ่งพระศาสนจักรเน้นให้สัตบุรุษมีการเตรียมตัว


10

ในการร่วมพิธีกรรม: พระศาสนจักรผู้เป็นมารดาปรารถนาอย่างยิ่งที่จะให้บรรดาผู้มี ความเชื่อจะได้รับการแนะนําให้มีส่วนร่วมประกอบพิธีกรรมอย่างเต็มที่ โดยมีความรู้ และอย่างแข็งขัน” (SC 14) ดังนั้น เราต้องถามตัวเราเองว่า เรามีส่วนร่วมในการกระทําของพระเจ้าในตัว เราโดยทางพิธีกรรมมากน้อยเท่าใด? เราได้ทําอะไรบ้างเพื่อช่วยเยาวชนให้มีส่วน ร่วมในการกระทําของพระเจ้าซึ่งพระองค์ทรงกระทําต่อพวกเขา? เรายังพอที่จะทํา อะไรได้ บ้า งเพื่ อ เยาวชนจะได้ มี ส่ว นร่ ว มในพิ ธี ก รรมมากขึ้ น ตระหนั ก ดี ขึ้น และ เข้มแข็งยิ่งขึ้น เพื่อที่การสัมผัสกับพระเจ้าของพวกเขาจะมีผลในชีวิต? ขอเน้นอีก ครั้งหนึ่ง ความสําคัญประการแรกเพื่อการไตร่ตรองส่วนตัว ความสําคัญประการที่ สองและสามข้าพเจ้าจะพยายามอธิบายต่อไป การมีส่วนร่วมอย่างสมบูรณ์และแข็งขันในจารีตพิธีกรรม เมื่อพูดถึงการมีส่วนร่วมอย่างเข้มแข็งในจารีตพิธีกรรมโดยปกติเราหมายถึง การมีส่วนร่วมทั้งแบบปกติและแบบพิเศษในขณะที่ทําพิธี เช่นว่าการมีส่วนร่วมโดย ปกติของสัตบุรุษในพิธีหมายถึงการตั้งใจฟังบทอ่านและบทภาวนา ร้องเพลง ขาน ตอบคําภาวนาของผู้ประกอบพิธี และสํารวมกิริยาท่าทางต่างๆ ส่วนการมีส่วนร่วม แบบพิเศษนั้นหมายถึงการมีส่วนร่วมจริงในพิธีกรรมต่างๆ เช่น (ช่วยต้อนรับสัตบุรุษ ทักทาย พาสัตบุรุษไปยังที่นั่ง เวียนถุงทาน) พันธกิจเกี่ยวกับดนตรี เช่น (ร้องเพลง เป็นสมาชิกของคณะนักร้อง เล่นดนตรีประกอบเพลง นําสัตบุรุษในการร้องเพลง) พันธกิจเครื่องเสียง เช่น (เตรียมงานแสดง power point ตั้งโทรทัศน์วงจรปิด ควบคุม เครื่องฉาย projector ควบคุมเครื่องเสียง) พันธกิจแห่งพระวาจา เช่น (อ่านพระวาจา ของพระเจ้า อ่านบทภาวนาของมวลชน อ่านบทนําก่อนพิธี) พันธกิจบนพระแท่น เช่น (ช่วยมิสซา ถือไม้กางเขน ถือเทียน ถือธงเวลาแห่ ถือของถวาย) เนื่องจาก เหล่านี้เป็นการมีส่วนอย่างพิเศษ เยาวชนที่ถูกเลือกให้ทําพันธกิจเหล่านี้ควรต้องรู้จัก


11

ปฏิบัติ และข้าพเจ้าอยากบอกว่าต้องปฏิบัติได้เป็นอย่างดีด้วย ซึ่งหมายความว่า พวกเขาจะต้องได้รับการฝึกซ้อมด้วย หากเยาวชนได้รับการชี้นําให้ปฏิบัติสิ่งเหล่านี้ทั้งปกติและพิเศษให้ดีที่สุด เท่าที่จะทําได้พร้อมกับ “จิตใจที่ร่วมมือกับพระหรรษทานจากเบื้องบน” (SC 11) และมี หัวใจที่เต้นเข้าจังหวะกับกิริยาท่าทาง แน่นอนว่าพวกเขากําลังสรรเสริญพระเจ้า กําลังสร้างพระศาสนจักร และจะได้รับพระพรจากพระหรรษทานที่พวกเขาได้รับ จะอย่างไรก็ตาม ต้องระมัดระวังอยู่อย่างหนึ่งดังที่ Sacrosanctum

Concilium

เตือนไว้: “ไม่ว่าจะเป็นศาสนบริกรหรือสัตบุรุษที่มีหน้าที่ในจารีตพิธีควรที่จะปฏิบัติ ตามทุ ก สิ่ ง แต่ ต้ อ งเป็ น ส่ ว นจํ า เพาะที่ เ ป็ น หน้ า ที่ ข องตนเท่ า นั้ น ” สมเด็ จ พระ สันตะปาปายอห์น ปอล ที่ 2 เมื่ออธิบายประเด็นนี้ตรัสว่า “... การมีส่วนร่วมอย่าง สมบูรณ์มิได้หมายความว่าทุกคนทําทุกอย่าง เพราะนี่เท่ากับเป็นการทําให้ฆราวาส เป็นสงฆ์และทําสงฆ์ให้เป็นฆราวาส นี่เป็นสิ่งที่สังคายนาไม่ต้องการให้มันเกิดขึ้น พิธีกรรมก็เช่นเดียวกับพระศาสนจักรเป็นเรื่องของพระฐานานุกรม คือเป็นเรื่องของ สงฆ์ ต้องให้ความเคารพต่อบทบาทต่างๆ ที่พระคริสตเจ้ากําหนดและปล่อยให้เสียง ต่างๆ กลมกลืนกันเป็นบทเพลงสรรเสริญ” การขับร้องและดนตรี หากจะมี อ ะไรที่ ทํ า ให้ พิ ธี ก รรมสํ า หรั บ เยาวชนยึ ด ติ ด กั บ ขนบธรรมเนี ย ม ประเพณีแต่ในขณะเดียวกันมีชีวิตชีวาและเร้าใจ ก็คงจะไม่พ้นดนตรีและการขับร้อง ประการแรก การขับร้องเป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรมของพระศาสนจักรมาตั้งแต่สมัย ของพระเยซู เ จ้ า และอั ค รสาวกและสื บ เนื่ อ งมาจนทุ ก วั น นี้ ประการที่ ส อง โดย ธรรมชาติเยาวชนชอบดนตรี ทว่าบทเพลงและเครื่องดนตรีประกอบเพลงต้องมีการ เลื อ กอย่างถี่ ถ้ วนและเพลงต้อ งมีก ารขั บ ร้อ งอย่างถู ก ต้ อ ง ต่ อ ไปนี้ เป็ น คํา แนะนํ า บางอย่าง


12

ประการแรก เราต้องเลือกบทเพลงที่แต่งขึ้นเพื่อพิธีกรรม ต้องใช้เนื้อหาของ จารีตพิธีและต้องได้รับการอนุมัติจากผู้มีอํานาจ บทเพลงที่เลือกต้องเหมาะสมกับ ภาคต่ า งๆ ของมิ ส ซาหรื อ การเฉลิ ม ฉลองพิ ธี ก รรมนั้ น ๆ ควรที่ จ ะต้ อ งมี ค วาม เหมาะสมสําหรับโอกาสพิเศษรวมถึงบทอ่านจากพระคัมภีร์ด้วย เพลงที่เลือกต้อง ง่ายกับการขับร้องและเป็นที่นิยมของสัตบุรุษ เด็กเล็ก เด็กวัยรุ่น และเยาวชน ตาม คู่มือพิธีมิสซา เพื่อทําให้มันง่ายสําหรับเด็กที่จะมีส่วนร่วมในการขับร้อง Gloria, Credo, และ Agnus Dei การดัดแปลงบทเหล่านี้พร้อมกับดนตรีที่เหมาะสมอาจทําได้

Sanctus

โดยได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ แม้จะไม่ตรงกับข้อความในจารีตพิธีก็ ตาม”

(DMC 31)

ประการที่สอง เราจําเป็นต้องฝึกซ้อมกลุ่มนักร้องประสานเสียง นักร้องเดี่ยว และนักดนตรีด้วย การขับร้องจะให้ถึงใจผู้ฟังต้องมีเสียงขับร้องเป็นแบ๊คกราวด์ของ นั ก ร้ อ งประสานเสี ย งซึ่ ง มี ก ารคั ด เลื อ กมาเป็ น อย่ า งดี นั ก เดี่ ย วเพลงที่ มี คุ ณ ภาพ รวมถึงผู้กํากับดนตรีที่เก่งด้วย ผู้นําดนตรีจะยืนหน้าไมโครโฟนเพื่อตีส่วนให้กับคณะ นักขับร้องและสัตบุรุษ ต้องคอยให้จังหวะเป็นต้นตอนที่จะเริ่มขับร้องท่อนต่อไปหรือ ตอนจบ ประการที่สาม เป็นความไพเราะที่จะมีเครื่องดนตรีหลายชนิด บางครั้งแม้ การขับร้องประสานเสียงอาจมีการใช้เครื่องดนตรี แต่ความเร้าใจของการร้องส่วน ใหญ่มักจะมีเครื่องดนตรีชนิดต่างๆ ประกอบ ซึ่งเยาวชนที่ได้รับการฝึกฝนเป็นอย่างดี เป็นผู้บรรเลงเอง เครื่องดนตรีเหล่านี้ช่วยให้เพลงมีความไพเราะมากขึ้นและช่วยการ รําพึงภาวนาได้เป็นอย่างดี จะไพเราะเป็นพิเศษเมื่อมันแสดงถึงความชื่นชมยินดีใน โอกาสเฉลิมฉลองหรือการสรรเสริญพระเจ้า พระศาสนจักรนิยมส่งเสริมออร์แกนหลอดมากในจารีตพิธีกรรม แต่เราก็อาจ ใช้เครื่องดนตรีอื่นๆ ได้ด้วยเช่นกัน เช่น ดนตรีพวกที่ใช้คีย์บอร์ด (ที่คล้ายออร์แกน หลอด) ควบคู่กับเครื่องดนตรีเคาะ เพื่อทําให้มันเป็นดนตรีของชาวเอเชีย เครื่อง


13

ดนตรีท้องถิ่น เช่น สําหรับชาวฟิลิปปินส์มี banduria, octavina, bajo de arco เป็นต้น ผู้ อภิบาลเยาวชนควรสอนและแนะนํานักดนตรีให้บรรเลงแบบที่ช่วยให้สัตบุรุษขับร้อง เพื่อจะได้ยกจิตใจขึ้นหาพระเจ้า การสํารวมกิริยาท่าที เมื่อเข้าใจดีแล้วว่าพิธีกรรมไม่ได้เป็นเพียงงานไถ่กู้ของพระเจ้าต่อประชากรแต่ ยังเป็นการตอบสนองหรือปฏิกิริยาโต้ตอบของเราต่อพระเจ้า และเยาวชนชอบการ แสดงออกตลอดจนการเคลื่อนไหวทางกายภาพโดยธรรมชาติ พระศาสนจักรยุคนี้จึง สนับสนุนให้ใช้กิริยาท่าทีและการเคลื่อนไหวของกายรวมไปถึงการแห่แหนต่างๆ ด้วย (การแห่เข้า การแห่พระวรสาร การแห่ถวาย การแห่ศีลมหาสนิท (see

DMC 33-34)

สิ่งที่น่าจะประทับใจได้มากเป็นพิเศษคือการที่เยาวชนถือไม้กางเขนใหญ่ไปยังพระ แท่นหรือถือกลับบ้านหลังจากเสร็จจารีตพิธีกรรมแล้ว ในการแห่เข้านอกเหนือไปจากเด็กช่วยมิสซา ศาสนบริกร เด็ก เยาวชนถือ กํายาน ธงชาติต่างๆ ธงประจําวัดต่างๆ เหรียญ ถ้วยรางวัล หรือใบประกาศนียบัตร อาจนํ า มาแห่ ไ ด้ ทั้ ง นั้ น แต่ สิ่ง เหล่ า นี้ ค วรจั ด วางไว้ ใ นที่ เหมาะสมเพื่อ ที่ จ ะไม่เ ป็ น อุปสรรคต่อเครื่องหมายอื่นของพิธีกรรม เช่น (ไม้กางเขน พระแท่น ที่เทศน์ ที่นั่งของ ประธาน) การแห่พระวรสารอาจใช้เยาวชนมาช่วยถือเทียน การแห่ที่ใช้เด็กและ เยาวชนมาช่วยถือแผ่นปัง เหล้าองุ่น หรือของถวายอื่นๆ เป็นการแสดงให้เห็นได้ อย่างชัดเจนว่าพวกเขาปรารถนาที่จะถวายตนเองแด่พระคริสตเจ้า ในช่วงที่มีการรับ ศีลมหาสนิทการแห่เข้าไปรับศีลโดยที่ไม่ต้องจัดเป็นแถวๆ อาจช่วยส่งเสริมความ ศรัทธาได้ หลังการเทศน์การรื้อฟื้นคําสัญญาในเวลารับศีลล้างบาปโดยถือเทียนที่จุด แล้ ว อาจทํ า ให้ ม องเห็ น ได้ ชั ด ว่ า เยาวชนพร้ อ มที่ จ ะรั บ ใช้ พ ระคริ ส ตเจ้ า ด้ ว ยการ ตอบสนองต่ อ พระวาจาของพระองค์ การหยอดเงิ น ลงในถุ ง ทานอาจเป็ น การ แสดงออกอย่างเป็นรูปธรรมถึงความตั้งใจของเด็กที่จะสร้างพระศาสนจักร พิธีบูชา


14

ขอบพระคุ ณ ในระหว่ า งที่ มี ก ารเข้ า เงี ย บ ช่ ว งที่ มี ก ารมอบเครื่ อ งหมายแห่ ง สั น ติ เยาวชนอาจเดินไปทั่วเพื่อมอบเครื่องหมายแห่งสันติที่มีความหมายแก่ทุกคนรวมถึง พระสงฆ์และคุณครูด้วย แล้วเรื่องการเต้นรําล่ะ? หนังสือคู่มืออาจไม่ได้พูดอะไรเกี่ยวกับการเต้นรําใน พิธีกรรม แต่มันแนะนําให้มี “กิจกรรมที่กินไปถึงการเคลื่อนไหวของร่างกายด้วย” เพื่อให้สัตบุรุษมีส่วนร่วมมากยิ่งขึ้น ดังนั้น ข้าพเจ้าเชื่อว่าโดยพฤตินัยแล้วมีการ สนั บ สนุ น ให้ มี “การเต้ น รํ า ” โดยเฉพาะอย่ า งยิ่ ง เมื่ อ มั น เป็ น การกระทํ า ที่ มี ความหมายหรือมีการเคลื่อนไหวเพื่อให้เข้ากับจังหวะของเพลง ความจริงมีวัดและ โรงเรียนหลายแห่งที่ใช่กลยุทธ์นี้เพื่อทําให้จารีตพิธีกรรมมีชีวิตชีวาโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ช่วงที่มีการขับร้องบท พระสิริรุ่งโรจน์ อัลเลลูยา บทยอพระเกียรติ ข้าแต่พระบิดา ลูกแกะพระเจ้า แต่สงฆ์ผู้ประกอบพิธีกรรมควรแน่ใจว่ากิจกรรมหรือการเคลื่อนไหว ดังกล่าวจะต้องเข้ากันได้กับทํานองเพลงและสร้างศรัทธาเพิ่มขึ้นให้กับพิธีกรรม ก็ เช่ น เดี ย วกั น กั บ การขั บ ร้ อ ง ต้ อ งเตรี ย มกลุ่ ม นั ก ร้ อ งเยาวชนให้ ยื น หั น หน้ า เข้ า หา สัตบุรุษหรือบางแห่งก็หันหน้าเข้าหาพระแท่น จุดประสงค์ก็เพื่อที่จะให้สัตบุรุษที่ มาร่วมพิธีสรรเสริญพระเจ้าพร้อมกับตอบรับสิ่งที่พระเจ้าตรัสและกระทําการ ไม่ใช่ ด้วยเสียงเท่านั้น แต่ต้องด้วยกาย ใจ และจิตวิญญาณ อุปกรณ์สื่อและบทอ่านที่แสดงเป็นละคร เราตระหนั ก ดี ว่ า เด็ ก และเยาวชนมี ส มาธิ สั้ น ดั ง นั้ น ต้ อ งใช้ เ ครื่ อ งมื อ ที่ เหมาะสมช่วยให้พวกเขามีส่วนร่วมอย่างจริงจัง เช่น บทเพลงและการขานตอบควร ใช้โปรเจคเตอร์ฉายขึ้นบนจอแทนแผ่นกระดาษหรือหนังสือคู่มือมิสซา ควรติดตั้ง จอโทรทัศน์ในจุดที่มองไม่เห็นพระสงฆ์ ไมโครโฟนและลําโพงควรจัดไว้ในจุดที่ไม่ ค่อยได้ยินเสียง พูดสั้นๆ คือ ต้องมีระบบเสียงที่ดีเพื่อสื่อระหว่างศาสนบริกรกับ เยาวชนจะไม่มีสิ่งใดมาขัดขวาง


15

ช่วงวจนพิธีกรรมอาจใช้ผู้อ่านหลายคนในการอ่านข้อความพระคัมภีร์ตาม ความเหมาะสม เช่น การอ่านบทพระทรมานในสัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์ (DMC

47)

เหล่านี้

ได้รับการยืนยันจากคู่มือพิธีบูชาขอบพระคุณสําหรับเด็ก. ในหลายท้องที่มีการปฏิบัติ เช่นนี้กันแล้ว บางครั้ งแม้บทเทศน์แ ละบทภาวนาของมวลชนอาจนํ าแสดงโดยรู ปภาพที่ เยาวชนวาดขึ้นหรือฉายภาพบนจอ (DMC

36)

อาจทําเช่นนี้ได้โดยเฉพาะอย่างยิ่ง

สําหรับกลุ่มเล็กๆ ทุกวันนี้พระศาสนจักรต้องการเน้นว่า “ต้องไม่ทําพิธีกรรมให้เป็น อะไรที่แห้งแล้งน่าเบื่อและเป็นเรื่องของสมองล้วนๆ” (DMC 53) แต่คู่มือมิสซาสําหรับเด็กได้เตือนไว้อย่างหนึ่ง: “ต้องใช้ความระมัดระวังเป็น พิเศษโดยเฉพาะช่วงคริสต์มาส ช่วงสัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์ และช่วงตรีวารที่จะต้องไม่เอา พิธีกรรมมาเป็นการแสดง (no.52)

และข้าพเจ้าใคร่กล่าวเพิ่มเติมว่าต้องไม่ใช้วีดีโอ

คลิปมาแทนการประกาศพระวาจา ผู้ประกอบพิธีควรจําไว้ว่าวีดีทัศน์เหล่านี้เป็นแค่ ตัวช่วยให้เด็กมีส่วนร่วมในพิธีเท่านั้น มันไม่ควรที่จะเป็นองค์ประกอบหลักของจารีต พิธี การใช้อย่าให้เกินพอดี ความเงียบ ดูเผินๆ เหมือนว่าคู่มือให้ความสําคัญมากกับกิจกรรมภายนอกที่ส่งเสริมให้ เด็กมีส่วนร่วม แต่ความจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ เพราะว่ามันให้ความสําคัญกับการ รักษาความเงียบที่ศักดิ์สิทธิ์ด้วย ครั้งหนึ่งสมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอล ที่ 2 ตรัสว่า “การมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันมิได้ขจัดการรักษาความเงี ยบ การหยุดนิ่ง และการฟังออกไป อันที่จริงแล้วมีการเรียกร้องให้ต้องปฏิบัติด้วย เช่น ผู้นมัสการ มิได้นิ่งเฉยเมื่อฟังบทอ่านหรือบทเทศน์ หรือติดตามบทภาวนาของผู้ประกอบพิธี พวกเขามีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในวิถีทางของตนเอง”


16

มันสอดคล้องกับคู่มือกฎระเบียบในการประกอบพิธีบูชาขอบพระคุณที่มีกล่าว ไว้ในข้อ 45 ว่า “ควรรักษาความเงียบศักดิ์สิทธิ์ในเวลาที่กําหนดไว้ในฐานะที่มันเป็น ส่วนหนึ่งของการเฉลิมฉลอง” พระศาสนจักรเชื่อว่า “แม้นเด็กในวิถีของตนเองก็ สามารถที่จะรําพึงภาวนาได้ แน่นอนว่าพวกเขาต้องได้รับความช่วยเหลือ” (DCM 37) ในกรณีที่มีผู้ชุมนุมมาก ครูสอนคําสอน ครู ผู้ดูแลเยาวชน และผู้นําเยาวชนอาจ กระจายไปตามจุดต่างๆ ท่ามกลางเด็กภายในวัด หน้าที่พวกเขาคือเป็นแบบฉบับที่ดี และก็ขอเตือนว่าพวกเขาต้องประพฤติตนอย่างเหมาะสมด้วย พวกเขาอาจถือป้ายที่ เขียนตัวโตๆ ว่า “โปรดรักษาความเงียบ” พระศาสนจักรเชื่อว่ามันเป็นช่วงเวลา เงียบนี่เองที่พระจิตเจ้าจะทรงกระทําการได้อย่างมีประสิทธิผลมากกว่าท่ามกลาง สัตบุรุษที่เปิดใจกว้างและมีใจสุภาพ การสํารวมที่เหมาะสม บัดนี้ขอพูดถึงองค์ประกอบที่มีความสําคัญประการที่สองซึ่งเป็นสิ่งจําเป็นที่จะ ทําให้พิธีกรรมบังเกิดผล กล่าวคือ การสํารวมที่เหมาะสม ซึ่งก็มีความสัมพันธ์กับ ประเด็นที่พึ่งจะกล่าวไป เป็นความจริงว่าพระเจ้าทรงพระทัยดี พระองค์ประทานพระหรรษทานให้เรา ทุกครั้งเมื่อเรามาร่วมในพิธีกรรม แต่พระหรรษทานที่พระองค์ประทานให้นั้นอาจไม่ บังเกิดผลในตัวเราหากเราปิดจิตใจของเราไม่ว่าเราจะมีส่วนร่วมในพิธีกรรมอย่าง เข้ม แข็งขนาดไหน ดั ง นั้น พระศาสนจั ก รจึงสอนเราว่า ผู้ มีความเชื่อ จําเป็น ต้ อ ง เตรี ย มจิ ต ใจอย่ า งเหมาะสมเมื่ อ มาร่ ว มพิ ธี ก รรม เพื่ อ จะได้ รั บ ผลอย่ า งเต็ ม ประสิทธิภาพ” (SC 11) การสํารวมทั้งภายในและภายนอกจึงมีความสําคัญยิ่ง การสํารวมภายใน: เราไปร่วมพิธีโดยรักษาความเงียบ มีจิตใจสงบ ดวงใจ เป็นอิสระจากบาป มโนธรรมแจ่มใส เป็นมิตรกับพระเจ้าและกับเพื่อนมนุษย์ทุกคน นี่เท่ากับเป็นการอธิบายว่าในตอนเริ่มพิธีบูชาขอบพระคุณหลังจากที่พระสงฆ์ทักทาย


17

สัตบุรุษแล้วจะมีพิธีสารภาพผิดตามมา เป้าหมายก็เพื่อเตรียมตัวภายในเพื่อที่จะ สัมผัสกับพระเจ้า ความจริงพิธีเริ่มต้นทั้งหมดล้วนมีเป้าหมายเดียวกัน บทเพลงเริ่ม พิ ธี ช่วยให้ เรามีอ ารมณ์ที่จ ะทํา การเฉลิ ม ฉลอง และสร้า งความเป็ น หนึ่ งเดี ย วกั น สําหรับผู้ที่มาร่วมชุมนุมในพระนามของพระคริสตเจ้า การทักทายของพระสงฆ์เป็น การแสดงออกถึงการต้อนรับอันอบอุ่นของพระศาสนจักรต่อสัตบุรุษเพื่อที่พวกเขาจะ ได้สัมผัสได้กับการประทับอยู่ของพระเจ้าและรู้สึกว่าตนเป็นคนของพระองค์ บางครั้ง แทนที่จะมีพิธีสารภาพผิดเราอาจใช้พิธีอวยพรและพรมน้ําเสก นี่เป็นการเตือนใจเรา อย่างชัดเจนว่าศีลล้างบาปหนึ่งเดียวของเราในพระคริสตเจ้านั้นชําระล้างมลทินของ เรา แต่ เ ราก็ ค วรสอนเยาวชนและเตื อ นใจพวกเขาว่ า พิ ธี ก รรมนี้ ป กติ แ ล้ ว ไม่ รวมถึงผู้ที่ทําบาปหนัก สําหรับพวกเขาต้องไปแก้บาป ดังนั้น นี่เท่ากับเป็นการ อธิบายว่าเพราะเหตุใดในวัดและวิทยาลัยหลายแห่งทุกวันนี้ต้องมีพระสงฆ์อย่างน้อย องค์หนึ่งที่นั่งฟังแก้บาปก่อนพิธีบูชาขอบพระคุณ และอาจนั่งคอยฟังแก้บาปขณะที่มี พิธีมิสซา เพื่อเป็นการเตรียมตัวร่วมบูชาขอบพระคุณ นักเรียนอาจสวดสายประคํา หรื อ ทํ า วั ต ร หรื อ นั่ ง สวดภาวนาเงี ย บๆ ในโรงเรี ย นบางแห่ ง ที่ “ระเบี ย ง” จะมี พระสงฆ์คอยฟังแก้บาปทุกวันเพื่อให้นักเรียนเตรียมตัวฟังมิสซาในโอกาสต่างๆ ใน บริบทแห่งการเตรียมตัวเช่นนี้และเตรียมตัวนักเรียนให้ร่วมพิธีกรรมได้อย่างสมควร ควรจัดให้มีการเข้าเงียบ ประสบการณ์ที่ได้ไม่เพียงแต่จะเป็นโอกาสให้พวกเขามี ความรู้ลึกซึ้งเกี่ยวกับพระคริสตเจ้าและเกี่ยวกันตนเองเท่านั้น แต่ยังจะช่วยพวกเขา ชําระจิตใจให้สะอาดโดยอาศัยศีลอภัยบาป และช่วยให้พวกเขาตั้งใจที่จะเป็นคนดีขึ้น ศักดิ์สิทธิ์ขึ้น และมีชีวิตที่เป็นประจักษ์พยานมากขึ้น จะมีบางเวลาที่น่าจะจัดเวลาสั้นๆ ในคืนก่อนวันสมโภชด้วยการตั้งศีลมหา สนิทหรือตั้งไม้กางเขน เพื่อเปิดโอกาสให้เยาวชนไปแก้บาปกับพระสงฆ์องค์ไหนก็ได้ ที่ เ ชิ ญ มา พู ด สั้ น ๆ คื อ คื น ก่ อ นสมโภชสํ า หรั บ เยาวชน ชั่ ว โมงศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ การ


18

นมั ส การและพิ ธี อ วยพรด้ ว ยศี ล มหาสนิ ท สามารถเป็ น ดิ น อุ ด มที่ ชี วิ ต ฝ่ า ยจิ ต ของ เยาวชนจะเจริญงอกงาม การเข้าเงียบและการรําพึ งภาวนาอาจเป็ นเวลาสํ าคัญ สําหรับการไตร่ตรองและการกลับใจ การสํารวมภายในยังรวมถึงความเข้าใจเพียงพอ ความเชื่อที่มีวุฒิภาวะ และ แรงบันดาลใจที่ถูกต้อง นี่เป็นสิ่งที่ครูสอนเรื่องศีลศักดิ์สิทธิ์ต้องตั้งเป้าหมายเอาไว้ ในฐานะที่เป็นผู้อภิบาลเยาวชนเราไม่ควรจํากัดหน้าที่เพียงทําให้จารีตพิธีกรรมมี ชีวิตชีวา การสอนคําสอน การสอนเรื่องจารีตพิธีกรรมก็มีความสําคัญไม่แพ้กัน ใน โรงเรียนดอน บอสโกแห่งหนึ่ง พระสงฆ์ที่ดูแลนักเรียนไม่ทําให้ศีลมหาสนิทและศีล กําลังเป็นสิ่งต้องบังคับสําหรับนักเรียนทุกคน สิ่งที่ท่านทําคือถามคนที่ถึงอายุต้องรับ ศี ล เหล่ า นี้ ก่ อ นว่ า พวกเขาสนใจหรื อ ไม่ หากสนใจก็ ใ ห้ เ ขี ย นจดมายลงชื่ อ แสดง เจตจํานงพร้อมการเห็นชอบของผู้ปกครอง อาศัยวิธีนี้ท่านสามารถกรองผู้ที่ไม่มีแรง บันดาลใจอย่างจริงจังที่จะรับศีลทั้งสองนี้ การสํารวมภายนอก นี่หมายถึงการแต่งตัวอย่างเหมาะสมภายในวัด ปิดโทรศัพท์มือถือ หรือปิด เสี ย ง รั ก ษาความเงี ย บ และหลี ก เลี่ ย งทุ ก สิ่ ง ที่ จ ะก่ อ ให้ เ กิ ด การวอกแวก นี่ ต้ อ ง เคร่งครัดยิ่งขึ้นสําหรับผู้ที่ต้องประกอบพิธี เช่น เด็กช่วยมิสซา ผู้อ่าน สมาชิกนักขับ ร้อง นักดนตรี ฯลฯ สําหรับคุณพ่อบอสโกแล้วการแก้บาปบ่อยๆ และความศรัทธาต่อศีลมหาสนิท เป็นเครื่องมือที่สําคัญที่สุดที่จะบรรลุถึงความศักดิ์สิทธิ์ การไปเฝ้าศีลมหาสนิทบ่อยๆ จะช่วยให้เยาวชนสัมผัสกับบ่อเกิดแห่งพระหรรษทาน


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.