Koine

Page 1

ครั้งแรกที่ไดไป Koine’ งานแสดงศาสนภัณฑระดับนานาชาติ โดย วัชระ ฮีมนิ กูล

ในช่วงระหว่างวันที่ 18-21 เมษายน ค.ศ.2015 ผมซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่เล็กๆ คนหนึ่งของ คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อพิธีกรรมได้มีโอกาสไปร่วมงาน Koine’ ครั้งที่ 16 ซึ่งเป็นงานจัด แสดงศาสนภัณฑ์และศิลปะที่ใช้ในพิธีกรรม ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจําทุก 2 ปี ช่วงเทศกาลปัสกา ที่ศูนย์จัดแสดงสินค้าและนิทรรศการ Fiera เมืองวิเซนซ่า (Vicenza) ซึ่งอยู่ทาง ตะวันออกเฉียงเหนือประเทศอิตาลี งาน Koine’ ครั้งแรกจัดขึ้นในปี 1989 เป็นการชุมนุมกัน ของผู้ผลิตและผู้ออกแบบสิ่งของเครื่องใช้และสิ่งก่อสร้างที่ใช้ในพิธีกรรมของพระศาสนจักร คาทอลิกจากทั่วโลก


Koine’ เป็นงานแสดงสินค้าที่สําคัญที่สุดสําหรับสินค้าประเภทเครื่องใช้ในศาสนา ซึ่ง มี บ ริ ษั ทที่ เ ข้ า ร่ ว มกว่ า 300 บริ ษั ท จาก 21 ประเทศ พื้ น ที่ จั ด แสดงประกอบด้ ว ยส่ ว นที่ สะท้อนให้เห็นถึงการออกแบบในปัจจุบัน มีการประชุมอภิปรายและการฝึกอบรม ซึ่งหัวข้อ ของการอบรมจะเน้นไปที่ “ความเรียบง่ายอย่างมีคุณค่า” หรือ “Noble Simplicity” ส่วน หัวข้อหลัก (Themes) ของการจัดงาน Koine’ ในปี 2015 คือ The Exhibitions 50 Years after Vatican II “นิทรรศการโอกาสครบรอบ 50 ปี หลังสังคายนาวาติกันที่ 2” เพื่อต้องการ นําเสนอผลงานการออกแบบสิ่งของเครื่องใช้สําหรับพิธีกรรมในโบสถ์ปัจจุบันตามแนวทาง ของสังคายนาวาติกันที่ 2


งาน Koine’ ครั้งที่ 16 เป็นการจัดแสดงระดับนานาชาติเกี่ยวกับเฟอร์นิเจอร์ เครื่องใช้ ในพิธีกรรม และส่วนประกอบต่างๆ สําหรับอาคารที่ใช้ในการประกอบพิธีกรรม การจัด งานในครั้งนี้อุทิศให้กับการเฉลิมฉลองครบรอบ 50 ปี ของการสิ้นสุดสังคายนาวาติกันที่ 2 พร้อมกับการนําเสนอสังฆธรรมนูญสําหรับงานอภิบาล "Gaudium et Spes" สําหรับพระ ศาสนจักรในโลกปัจจุบัน การจัดงานในครั้งนี้ได้รับการร่วมมือและสนับสนุนจากสังฆมณฑล วิ เ ซนซ่ า สํ า นั ก งานแห่ ง ชาติ เ พื่ อ มรดกทางวั ฒ นธรรมของพระศาสนจั ก ร และสภา พระสังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศอิตาลี งาน Koine’ ถือเป็นงานระดับนานาชาติที่สําคัญ ที่สุดในแวดวงผู้ผลิตศาสนภัณฑ์ นับตั้งแต่การจัดงานในครั้งแรก มีการจัดแสดงผลงานอย่าง กว้ า งขวางและชั ด เจนที่ แ สดงให้ เ ห็ น ถึ ง การอุ ทิ ศ ตนเพื่ อ การวิ จั ย และออกแบบสิ่ ง ของ เครื่องใช้ในพิธีกรรมซึ่งสังคายนาวาติกันที่ 2 ได้ให้แนวทางเอาไว้

งาน Koine’ ครั้งนี้มีบริษัทที่มาเข้าร่วมกว่า 300 บริษัททั้งจากอิตาลีและชาติต่างๆ 21 ประเทศ บนพื้นที่กว่า 22,000 ตร.ม. พื้นที่จัดแสดงถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่จัด แสดงสินค้าที่เกี่ยวกับโบสถ์และพิธีกรรม (Church and Liturgy) ซึ่งครอบคลุมถึง เฟอร์นิเจอร์ที่ใช้ในโบสถ์ การตกแต่ง อาภรณ์ที่ใช้ในพิธีกรรม หน้าต่างกระจกสี ภาพโมเสก รูปพระขนาดใหญ่ รวมทั้งสินค้าที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีระบบเสียงชั้นสูง รวมทั้งเครื่องดนตรี ไปป์ออร์แกน รวมทั้งระบบแสงสว่างที่ใช้ภายในโบสถ์ สําหรับส่วนที่ 2 เรียกว่า “ความเชื่อ และความศรัทธา” (Faith and Devotion) เป็นโซนที่จัดแสดงสินค้าจําพวกรูปพระขนาดเล็ก


สายประคํา รูปภาพไอคอน และเครื่องใช้อื่นๆ ที่เสริมความศรัทธาแบบคริสตชน ในช่วง ระยะเวลา 4 วันที่จัดงาน มีผู้มาเข้าชมงานประกอบไปด้วย พระสงฆ์ นักบวช สถาปนิก นัก ออกแบบ จิตกร นักวิชาการ และบุคคลทั่วไปที่สนใจ การจัดงานในครั้งนี้เป็นที่สนใจของ ผู้คนและสื่อมวลชนต่างๆ อีกทั้งยังเป็นโอกาสที่ผู้อยู่ในธุรกิจศาสนภัณฑ์จากทั่วโลกจะได้มา พบปะและเจรจาทางธุรกิจ การไปงาน Koine’ ครั้งนี้ ผมและผู้ผลิตอาภรณ์ศักดิ์สิทธิ์ของ ไทยรายหนึ่งได้ร่วมในฐานะ Exhibitor ถือเป็นครั้งแรกที่คนไทยได้ไปเป็นส่วนหนึ่งในงานศา สนภัณฑ์ระดับโลกครั้งนี้ Koine’ เป็นเพียงงานเดียวในยุโรปที่จัดขึ้นโดยมีจุดประสงค์ที่จะสร้างผลงานด้าน ศาสนภั ณ ฑ์ ต ามที่ ส ภาสั ง คายนาและเอกสารที่ เ กิ ด จากการสั ง คายนาได้ ใ ห้ ไ ว้ รวมถึ ง คํ า แนะนํ า ด้ า นอภิ บ าลของสภาพระสั ง ฆราชแห่ ง ประเทศอิ ต าลี เกี่ ย วกั บ การออกแบบ ก่อสร้างโบสถ์ใหม่ และการประยุกต์กับพิธีกรรมซึ่งเป็นสิ่งที่มีมาตั้งแต่ด้ังเดิมของพระศาสน จักร การวิจัยและการศึกษาที่จัดโดย Koine’ ยังได้รับการตีพิมพ์ไว้ในหนังสือที่แจกแก่ผู้ มาร่วมงานโอกาสครบรอบ 20 ปีแห่งการจัดงาน ซึ่งทางผู้จัดไม่ต้องการให้เป็นเพียงคู่มือ สําหรับใช้ประกอบในการเดินชมงานเท่านั้น แต่ยังให้คุณประโยชน์โดยเฉพาะอย่างยิ่งการ พัฒนาเกี่ยวกับการเสวนาที่พยายามให้มีขึ้นระหว่างโลกของนักวิชาการกับโลกของการผลิต งาน Koine’ จึงเป็นการแบ่งปันมรดกที่เกิดขึ้นจากสภาสังคายนา ซึ่งให้แนวคิดซึ่งไม่ขึ้นกับ กาลเวลา ไม่ว่าโบสถ์น้ันๆ จะได้รับการก่อสร้างขึ้นในช่วงเวลาใด โดยให้หลักการที่เป็น แนวทางควรจะทําให้พื้นที่ทางพิธีกรรมมีชีวิตที่เป็นปัจจุบัน รวมทั้งการเลือกวัตถุสิ่งของ เครื่องใช้และอาภรณ์ต่างๆ ซึ่งเป็นเครื่องหมายแห่งกาลเวลาในยุคของเรา สําหรับวันที่มีการจัดอบรม มีการจัดสัมมนาที่สําคัญ 2 เรื่อง โดยเรื่องที่ 1 คือ "The appearance climate in churches and parish" (บรรยากาศที่ปรากฏให้เห็นในโบสถ์และวัด) และปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างโบสถ์จํานวนมากที่สร้างในย่านชานเมืองในช่วงยุค 1960 ส่วนเรื่องที่ 2 จะครอบคลุมถึงบริบทการพัฒนาของการวิจัยของ SNEC (National Service for the Construction of Worship of the CEI) ซึ่งดําเนินงานภายใต้สภาพระสังฆราช แห่งประเทศอิตาลี เกี่ยวกับ “กําหนดการซ่อมบํารุงโบสถ์และวัดต่างๆ” หัวข้อหลักของการอบรมคือ “ความเรียบง่ายอย่างมีคุณค่า” “Noble Simplicity” ซึ่ง เกี่ยวข้องกับคําสอนของพระศาสนจักร ตั้งแต่หลักการที่กําหนดโดยสังฆธรรมนูญว่าด้วย


พิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ "Sacrosanctum Concilium" ซึ่งถูกกําหนดให้เป็นหัวข้อของการประชุม ตลอดทั้งวัน ซึ่งต้องการที่จะเปิดให้มีการไตร่ตรองถึงลักษณะและรูปแบบที่ถ่ายทอดออกมา เป็นเครื่องใช้และอาภรณ์ศักดิ์สิทธิ์ในพิธีกรรม การเปรียบเทียบทางด้านสถาปัตยกรรม สีที่ ใช้ นั กออกแบบ จิต กร ซึ่ ง ล้ ว นเกี่ยวข้ องกับการผลิตสิ่ ง ที่ ใ ช้ ใ นพิ ธีก รรม เพื่ อ ให้ เ กิ ด การ กระตุ้นให้ประสบผลถึงความเรียบง่ายมากที่สุดแต่ก็ไม่มักง่ายที่จะใช้อะไรก็ได้ เพื่อให้ สอดคล้องกับการใช้งานในบริบทของการเฉลิมฉลองพิธีกรรมในปัจจุบัน

เพื่อทําให้งานนี้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้นโดยการริเริ่มของงาน Koine’ ปี 2015 นี้ ยัง มี 2 กิ จ กรรมที่ สํา คั ญ ซึ่ ง จั ดขึ้ นในเมื อ ง เพื่ อ แสดงให้ เ ห็ น ถึ ง การมี ส่ ว นร่ ว มอย่ า งแข็ ง ขั น ของสังฆมณฑลวิเซนซ่า ซึ่งจะทําให้ประชาชนจํานวนมากขึ้นได้เข้ามาใกล้ชิดกับงานนี้ โดยที่ พิพิธภัณฑ์ของสังฆมณฑลวิเซนซ่าถูกจัดให้เป็นที่จัดแสดงนิทรรศการอาภรณ์ศักดิ์สิทธิ์ใน พิ ธี ก รรม (กาสุ ล า) ที่ แ สดงให้ เ ห็ น ถึ ง รู ป แบบที่ เ รี ย บสุ ขุ ม การแสวงหาสิ่ ง ที่ มี คุ ณ ภาพ ประกอบด้วยการเลือกกาสุลาที่ผลิตโดยผู้ผลิตในยุโรป และในส่วนประวัติศาสตร์ซึ่งจัด แสดงกาสุลาซึ่งสะสมโดย Bishop Rodolfi ในช่วงตลอดศตวรรษที่ 20 และสําหรับอาสน วิหารของเมืองวิเซนซ่า ก็ได้รับการเปลี่ยนให้เป็นเสมือนโบสถ์ที่ใช้เป็นห้องปฏิบัติการสําหรับ โอกาสที่ต้องมีการประดับตกแต่งดอกไม้ในช่วงเทศกาลปัสกา การจัดแสดงนี้มีจุดมุ่งหมาย


เพื่อสนับสนุนพระสงฆ์และชุมชนของวัดเพื่อจะทําให้วัดดูมีบรรยากาศแห่งการ ต้อนรับมากยิ่งขึ้น สิ่งที่ผมได้รับจากการไปร่วมงาน Koine’ ในครั้งนี้จึงเป็นการเปิดโลกทัศน์ให้กับคริสต ชนไทยคนหนึ่งที่ทํางานรับใช้พระศาสนจักรในฐานะฆราวาส ได้เห็นถึงสิ่งที่แสดงออกถึง ความเชื่อของพระศาสนจักรที่ถ่ายทอดออกมาให้งานออกแบบและศิลปกรรมแขนงต่างๆ ที่ ใช้ในโบสถ์ แม้ว่าในปัจจุบันงานเหล่านี้จําดําเนินการโดยฆราวาสเป็นส่วนใหญ่แล้ว หาใช่เป็น งานที่จํากัดเพียงในอารามเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นการผลิตอาภรณ์ศักดิ์สิทธิ์ เหล้าองุ่น แผ่นปัง เทียน ถึงแม้ในปัจจุบันการผลิตสิ่งของเครื่องใช้ในวัดและพิธีกรรมจะดําเนินการโดยฆราวาส แต่สิ่งสําคัญที่ผู้ผลิตทุกๆ รายต้องคํานึงถึงและรักษาไว้ก็คือคุณภาพของผลงานที่ออกมา เพื่อให้คงไว้ซึ่งจิตตารมณ์ของสังคายนาวาติกันที่ 2 ที่เน้นความเรียบง่ายในขณะเดียวกันก็ไม่ ทิ้งซึ่งคุณค่าของสิ่งที่เราใช้ในการถวายคารวกิจแด่พระเจ้า


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.