สาสน์จากพระอัครสังฆราชฟรังซิสเซเวียร์ เกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช “เวลาที่ก�ำหนดไว้มาถึงแล้ว พระอาณาจักรของพระเจ้าอยู่ ใกล้แล้ว จงกลับใจ และเชื่อข่าวดีเถิด” (มก 1:15) นี่เป็นพระวาจาที่พระเยซูเจ้าทรงประกาศแก่ประชาชน เมื่อทรงเริ่มต้นภารกิจของพระองค์ ทรงสอนเขาให้กลับใจมาหา พระเจ้าด้วยการละทิ้งบาปและเชื่อฟังพระวาจา เราก�ำลังอยู่ ในเทศกาลมหาพรต ซึง่ เป็นช่วงเวลาทีพ่ ระศาสนจักรก�ำหนดเพือ่ เตรียมสมโภชปัสกา ส�ำหรับผู้ ใหญ่ที่ เตรียมตัวรับศีลล้างบาป เป็นการเตรียมในขัน้ ตอนสุดท้ายของพิธรี บั ผู้ ใหญ่เข้าเป็นคริสตชน ส�ำหรับคริสตชน เทศกาลมหาพรต เป็นโอกาสให้คริสตชนรื้อฟื้นคุณค่าและศักดิ์ศรีของศีลล้างบาปที่เขาได้รับ (เทียบ CIRCULAR LETTER CONCERNING THE PREPARATION AND CELEBRATION OF THE EASTER FEASTS 6) ในพระคัมภีร์บรรดาประกาศกต่างให้ความส�ำคัญกับ การกลับใจ การเปลี่ยนแปลงภายใน ซึ่งเป็นรากฐานส�ำคัญ ของการปฏิบัติกิจใช้ โทษบาปภายนอก ความส�ำนึกผิดภายในของคริสตชน สามารถแสดงออกได้หลายรูปแบบ พระคัมภีร์ และบรรดาปิตาจารย์ได้นำ� เสนอ 3 รูปแบบ คือ การถือศีลอดอาหาร การภาวนา และการท�ำบุญให้ทาน (ทบต 12:8; มธ 6:1-8) เพื่อแสดงว่าการกลับใจมีส่วนสัมพันธ์ต่อตนเอง ความสัมพันธ์กับพระเจ้า และความสัมพันธ์กับผู้อื่น จะเห็นได้ว่า การปฏิบัติตนของคริสตชนในเทศกาลมหาพรต เป็นการติดตามเส้นทางแห่งไม้กางเขนเพื่อมุ่งสู่ การกลับคืนชีพของพระเยซูเจ้า เราพบว่าพระศาสนจักรเสนอหนทางนี้ ให้แก่คริสตชนในพิธีกรรมตลอดเทศกาลมหาพรต ซึ่งพี่น้องคริสตชนทุกคนควรให้ความส�ำคัญ ร่วมพิธีกรรม และรับศีลมหาสนิท โดยเฉพาะในวันอาทิตย์และวันธรรมดาที่เรา อาจมาร่วมพิธี ได้ เส้นทางมหาพรตเป็นเส้นทางของการกลับใจ เป็นการเดินทาง “กลับบ้าน” สูบ่ า้ นเทีย่ งแท้ ในเมืองสวรรค์ ทีม่ ี พระเจ้าพระบิดาผู้พระทัยดีทรงรอคอยเรา ดังนั้น การรับศีลอภัยบาปจึงเป็นพระพรของพระที่คริสตชนควรให้ความส�ำคัญ กิจการต่างๆ ทีค่ ริสตชนปฏิบตั ิในเทศกาลมหาพรต ไม่ ได้มงุ่ แค่เพียงการเสริมสร้างความดี โดยช�ำระจิตใจของแต่ละคน เท่านั้น แต่ความดีที่เราท�ำในเทศกาลมหาพรตจะต้องมีรากฐานอยู่ที่ความรักต่อพระเจ้าและเพื่อนมนุษย์ และเป็น ความดีเพื่อผู้อื่นด้วย ดังเช่นพระเยซูเจ้าผู้มิได้ทรงหวงแหนชีวิตของพระองค์ แต่ ได้ทรงมอบชีวิตของพระองค์บนไม้กางเขน เพื่อความรอดพ้นของมนุษย์ทุกคน สภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศไทยเชิญชวนพวกเราทุกคนให้อดอาหารและอดออม พร้อมกับน�ำเงินจ�ำนวน นั้นบริจาคช่วยเหลือพี่น้องผู้ตกทุกข์ได้ยากในโครงการ “รณรงค์มหาพรต” ขอพระเจ้าทรงอ�ำนวยพระพรพี่น้องทุกท่าน พระอัครสังฆราชฟรังซิสเซเวียร์ เกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช ประธานคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อพิธีกรรม สภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศไทย
Liturgy Journal 1
ภาคที่ 1 : ภาควจนพิธีกรรม 10. บทอ่าน พิธีกรรมมีความสัมพันธ์แนบแน่นกับพระคัมภีร์ อันหมายถึง พระวาจาของพระเจ้า เพราะโดยการ ฉลองพิธีกรรม พระวาจาของพระเจ้าจะได้รับการ ประกาศ รวมทัง้ ในบทพิธตี า่ ง ๆ ทีพ่ ระสงฆ์ หรือแม้แต่ ในบทตอบรับของสัตบุรุษ และเนื้อร้องในบทเพลง ก็ล้วนมีที่มา หรือมีข้อความอ้างอิงจากพระคัมภีร์เสมอ อย่างไรก็ตาม ช่วงเวลาทีพ่ ระวาจาของพระเจ้า ได้รบั การประกาศอย่างเด่นชัด ก็คอื ช่วงการอ่านบท อ่าน และพระวรสาร ทั้งการอ่านและการรับฟังบทอ่านในระหว่าง การฉลองพิธีกรรม เรียกร้องท่าทีที่เหมาะสม ผู้อ่าน จะต้องเป็นผู้ที่ ได้เตรียมตัวมาอย่างดี ทั้งเตรียมด้าน จิตใจ และเตรียมการอ่านให้ถูกต้อง ชัดเจน น่าฟัง
สารพิธธีกีกรรม รรม 22 จุจุลลสารพิ
โดยตระหนักดีว่า สิ่งที่ตนท�ำไม่ ใช่แค่การอ่าน แต่เป็น การประกาศ ส�ำหรับผู้ฟัง คือประชาสัตบุรุษทุกคนก็เช่นกัน ต้องรับฟังอย่างตั้งใจ ให้ความเคารพ อิริยาบถของผู้ ฟังคือนัง่ ฟังอย่างตัง้ ใจ เสมือนศิษย์ตงั้ ใจฟังอาจารย์สอน เนือ้ หาของบทอ่าน จะมาจากทัง้ พันธสัญญาเดิม และพันธสัญญาใหม่ (ยกเว้นพระวรสาร) ที่มีความ สัมพันธ์และต่อเนื่องกัน โดยมีพระเยซูเจ้าเป็นผู้ท�ำให้ สมบูรณ์ พระวาจาของพระเจ้าจึงได้รับการประกาศ จากที่เดียวกัน คือ จากบรรณฐาน พิธีกรรมยุคแรก ๆ ตามค�ำเล่าของ น.ยุสติน คริสตชนยุคแรก ๆ ให้ความส�ำคัญอย่างมากกับการ รับฟังพระวาจาของพระเจ้า พวกเขาให้เวลาเต็มที่ กับการอ่านและฟังพระวาจา ในปัจจุบนั ส�ำหรับวันธรรมดา จะมีบทอ่าน 1 บท ต่อด้วยบทเพลงสดุดี ส�ำหรับวันอาทิตย์ วันสมโภช
และวันฉลองส�ำคัญ จะมีบทอ่าน 2 บท ผูท้ ำ� หน้าทีอ่ า่ น คือ ผูอ้ า่ นที่ ได้รบั การแต่งตัง้ หรือแม้ ไม่ ได้รบั การแต่งตัง้ ก็สามารถอ่านได้ เมื่อได้รับการเตรียมตัวมาอย่างดี (ส�ำหรับหน้าที่ และค�ำแนะน�ำส�ำหรับผู้อ่าน จะมีราย ละเอียดเพิ่มเติม เมื่อกล่าวถึงเรื่อง “ศาสนบริกรของ พิธีกรรมคริสตชน”) การกล่าวถ้อยค�ำลงท้ายของผู้อ่านเมื่ออ่านจบ แล้วว่า “พระวาจาของพระเจ้า” เป็นสิ่งยืนยันว่า การอ่านบทอ่านเป็นการ “ประกาศ” ค�ำกล่าวตอบรับ “ขอขอบพระคุณพระเจ้า” เป็นค�ำตอบรับเดียวกันกับพิธีอื่น ๆ เมื่อเราต้องการ แสดงความกตั ญ ญู รู ้ คุ ณ ในพระกรุ ณ าของพระเจ้ า หรือเพื่อตอบรับน�้ำพระทัยของพระองค์
รูปแบบของการเป็นบทประพันธ์ไว้ (ทั้งร้อยแก้วและ ร้องกรอง) นั่นคือ ค่อย ๆ อ่านเป็นจังหวะ บทสร้อย สลับเพลงสดุดี เป็นบทบาทของที่ ชุมนุม ที่ตอบรับพระวาจาของพระเจ้า จึงควรขับร้อง อย่างพร้อมเพียง
ข้อสังเกตและค�ำแนะน�ำบางประการ 1. พระวาจาของพระเจ้า ควรได้รับการประกาศ อย่างดี และเหมาะสม บรรณฐานจึงควรอยู่ในที่ ที่ โดดเด่ น และเมื่อ ใช้เครื่อ งเสียง ก็ควรมี ประสิทธิภาพช่วยให้ที่ชุมนุมรับฟังได้ชัดเจน 2. ส�ำหรับผูอ้ า่ น เมือ่ เดินขึน้ ไปอ่าน เมือ่ ผ่านพระแท่น ต้องแสดงความเคารพพระแท่นก่อนเสมอ 3. จะดียิ่งที่ผู้อ่านบทอ่านแต่ละบทจะไม่ซ�้ำคนเดิม รวมทั้งผู้อ่านหรือขับร้องบทเพลงสดุดี
“อัลเลลูยา” เป็นค�ำภาษาฮีบรู มาจากค�ำ 2 ค�ำ คือ “อัลเลลู” และ “ยา” มีความหมายว่า “จงขับร้อง สรรเสริญพระเจ้า” ในพิธีกรรมดั้งเดิมของชาวยิวก็ ใช้ ถ้อยค�ำนี้บ่อย ๆ อัลเลลูยา มีลกั ษณะเป็นบทเพลง จึงควรขับร้อง และขับร้องด้วยความชื่นชมยินดี เทศกาลมหาพรต เป็นช่วงเวลาของการส�ำนึกผิด กลับใจ ใช้ โทษบาป จึงงดการขับร้อง “อัลเลลูยา” แต่ จะแทนด้วยการร้องบทเพลงอื่น เช่น “ขอสรรเสริญ เยินยอพระองค์ ราชาธิราชผู้ทรงเกียรตินิรันดร” อิริยาบถระหว่างขับร้องอัลเลลูยา จะยืนขึ้น เสมอ เมื่อมีการแห่พระวรสารอย่างสง่า บทเพลงนี้ ยังใช้ประกอบการแห่ เพิ่มความสง่างามให้กับการ ประกาศพระวรสาร
11. เพลงสดุดี สลับบทสร้อย เพลงสดุดี เป็นส่วนหนึง่ ของพระคัมภีรท์ มี่ รี ปู แบบ เป็นบทประพันธ์ เพลงสดุดีที่ ใช้ ในพิธีบูชาขอบพระคุณ จะถูกเลือกไว้ ให้มีเนื้อหาเกี่ยวเนื่องกับบทอ่านและบท พระวรสาร มีคุณลักษณะของบทร�ำพึง จะเป็นการดียงิ่ หากขับร้องเพลงสดุดเี ป็นท�ำนอง แทนการอ่าน แต่แม้จะอ่าน ก็ควรรักษาลักษณะหรือ
ข้อสังเกตและค�ำแนะน�ำบางประการ 1. การเลือกบทเพลงอื่นที่เนื้อหาไม่ตรงกับเพลง สดุดเี ลย มาใช้ขบั ร้องแทนเพลงสดุดที กี่ ำ� หนดไว้ ยังถือว่าไม่ถูกต้อง 2. บางโอกาส สามารถให้ทุกคนร่วมอ่าน หรือขับ เพลงสดุดีเป็นท�ำนองพร้อม ๆ กัน ก็ ได้
12. อัลเลลูยา
(ยังมีต่อในฉบับหน้าครับ)
Liturgy Liturgy Journal Journal 33
สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสทรงแต่งตัง้ พระคาร์ดนิ ลั ชาวแอฟริกนั อายุ 69 ปี เป็นสมณมณตรี ของสมณกระทรวงพิธีกรรมในพระศาสนจักรโรมันคาทอลิก ท่านด�ำรงต�ำแหน่งที่ว่างลงต่อจาก พระคาร์ดินัลกานีซาเรส ทุกคนต่างพากันตั้งหน้าตั้งตารอคอยดูว่า ใครจะขึ้นมาแทนพระคาร์ดินัล อันโตนี โอ กานีซาเรส ชาวสเปน ซึ่งเป็นสมณมณตรีกระทรวงพิธีกรรม ค�ำตอบมาถึงเมื่อบุคคลที่สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส ทรงเลือกให้เป็นสมณมนตรีกระทรวงพิธีกรรมของพระศาสนจักร คือ พระคาร์ดินัล โรเบิร์ต ซาราห์ ซึ่งปัจจุบันเป็นสมณมนตรีของสมณสภา Cor Unum ซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งของคูเรียวาติกัน พระคาร์ดินัลซาราห์เกิดวันที่ 15 มิถุนายน 1945 ที่ประเทศกีนี ได้รับศีลบวช เมือ่ วันที่ 20 กรกฎาคม 1969 ท่านศึกษาเทววิทยาทีม่ หาวิทยาลัยเกรโกเรียน กรุงโรม ได้รับปริญญาโทที่สถาบัน “Studium Biblicum Franciscanum” ที่นครเยรูซาเล็ม ในปี 1979 สมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอล ที่ 2 ทรงแต่งตั้งท่านให้เป็นพระ อัครสังฆราชตอนที่ท่านมีอายุเพียง 34 ปี ต่อมาในปี 1985 ท่านได้รับการแต่งตั้ง เป็นประธานสภาพระสังฆราชแห่งกีนี เดือนตุลาคม 2001 สมเด็จพระสันตะปาปาทรงแต่งตั้งท่านเป็นเลขาธิการแห่ง กระทรวงเผยแพร่ความเชื่อ ท่านจึงต้องย้ายมาอยู่ที่ โรม ต่อจากนั้นอีก 9 ปี เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2010 สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ ที่ 16 ทรงแต่งตั้งท่านเป็น ประธานสมณสภา Cor Unum ท่านเป็นพระคาร์ดินัลองค์แรกแห่งกีนี พระคาร์ดนิ ลั ซาราห์เป็นผูท้ ขี่ นึ้ ชือ่ ว่ามีชวี ติ จิตลึกซึง้ ในการเลือก ผูน้ ำ� กระทรวงพิธกี รรมของพระศาสนจักร พระสันตะปาปาฟรังซิส ทรงเลือกผูน้ ำ� สังฆมณฑลทีม่ ปี ระสบการณ์ ในงานอภิบาลถึง 22 ปี ในปีหลังๆ นี้ท่านได้รับความสนใจจากบรรดาสื่อเป็นอันมาก หลังจากทีท่ า่ นเตือนโลกว่า แอฟริกาก�ำลังถูกเอารัดเอาเปรียบจาก บรรดาประเทศมหาอ�ำนาจในโอกาสทีท่ า่ นเป็นประธานพิธบี วช พระสงฆ์และสังฆานุกร ช่วงนี้ ใครๆ ต่างพากันมุง่ ทีจ่ ะปฏิรปู จารีตพิธีกรรมกัน แต่พระคาร์ดินัลซาราห์ ได้เตือนบรรดา ผู้อภิบาลให้นึกถึงหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติตามค�ำสอนของ พระเยซูอย่างซื่อสัตย์
ลสารพิ ีกรรม 4 4 จุลจุสารพิ ธีกธรรม
จาก VATICANINSIDER.COM BY ANDREA TORNIELLI
บทเพลงภาคปกติของมิสซา มีลกั ษณะโครงสร้าง ของเนื้อเพลงที่ ไม่เปลี่ยนแปลง โดยมีถ้อยค�ำต่าง ๆ เหมื อ นเดิ ม ตรงกั บ เนื้ อ หาการตอบรั บ ในบทประจ� ำ มิสซา (Ordo Missae) แต่ทว่าท�ำนองดนตรีอาจจะมี ความแตกต่างไป บทเพลงภาคปกติของพิธีมิสซามี บทบาทในขั้นตอนของการถวายบูชามิสซา หลังจาก การสังคายนาวาติกันที่ 2 บทเพลงภาคปกติของพิธี มิสซา แบ่งได้ดังต่อไปนี้ คือ
1. บทร�่ำวิงวอน (Kyrie eleison) “ข้ า แต่ พ ระเจ้ า ขอทรงพระกรุ ณ าเทอญ” บทเพลงเป็นค�ำร้องขอพระเมตตา “กีรีเอ เอเลอีซอน” (Kyrie eleison) แปลว่า ข้าแต่พระเจ้า ทรงพระ กรุณาเทอญ เป็นภาษากรีก และใช้ ในพระศาสนจักร ตะวันออกมาก่อน เมื่อน�ำมาใช้ ในพิธีกรรมละตินก็ยัง คงรักษาค�ำกรีกเดิมนี้ ไว้ แต่เดิมค�ำร้องขอทรงพระ กรุณานี้ เป็นค�ำอ้อนวอนหลังจากแจ้งความต้องการ ความช่วยเหลือจากพระผูเ้ ป็นเจ้าแต่ละครัง้ ตามรูปแบบ ของบทภาวนาเพื่อมวลชน (ท�ำนองก่อ “ให้เราภาวนา”
โดยเน้นใจความถึงพระคริสต์ผู้กลับคืนพระชนมชีพ จากผู้ตาย ส่วนรูปแบบของบทเพลงมักเป็นการร้องซ�้ำ ไปซ�้ำมา ซึ่งจ�ำนวนที่ซ�้ำนั้นแตกต่างกันไปในแต่ละสมัย
ข้อแนะน�ำ • ควรขับร้องบทเพลงนี้ ในพิธีบูชาขอบพระคุณวัน อาทิตย์ และวันฉลอง • ไม่ควรใช้การอ่านตอบรับกับพระสงฆ์เท่านั้น • ควรเลือกบทเพลงที่มีลักษณะโครงสร้าง 3 ข้อ มากกว่าบทเพลงที่ ใช้ถ้อยค�ำบรรยายยืดยาวที่ ผิดไปจากรูปแบบดั้งเดิมของบทเพลง • ควรสนับสนุนนักแต่งเพลง แต่งบทเพลงร�ำ่ วิงวอน (Kyrie) มากขึ้นและควรใช้ถ้อยค�ำให้สอดคล้อง กับบทประจ�ำพิธีมิสซา • การแต่งท�ำนองให้กับบทร�่ำวิงวอน ต้องให้ สอดคล้องกับความหมาย มีการเคลื่อนที่ของ ท� ำ นองที่ แ สดงถึ ง การอ้ อ นวอนร้ อ งขอต่ อ พระเจ้า จังหวะการเคลื่อนที่ของท�ำนองจึงไม่ ควรใช้ ลี ล าที่ ส นุ ก สนานเพราะจะขั ด กั บ วัตถุประสงค์ของบทร�่ำวิงวอน
ท�ำนองรับ “โปรดสดับฟังเถิดพระเจ้าข้า”)
เดิมใช้เพียงประโยคว่า Kyrie eleison (ข้าแต่ พระเจ้า ทรงพระกรุณาเทอญ) ภายหลังได้เพิม่ ค�ำ Christe eleison (ข้าแต่พระคริสตเจ้า ทรงพระกรุณาเทอญ) เข้าไป
2. บทพระสิริรุ่งโรจน์ (Gloria) บทเพลง “พระสิริรุ่งโรจน์” (Gloria) นับเป็น บทเพลงประเภท Hymn ที่เก่าแก่ที่สุดเพลงหนึ่งของ
Liturgy LiturgyJournal Journal 55
คริสตชน ความหมายของบทเพลงกล่าวถึงการร่วม ประชุมกันของพระศาสนจักร ภายใต้การน�ำของพระ จิตเจ้า สรรเสริญพระเจ้าพระบิดา และลูกแกะพระเจ้า รวมทั้งแสดงคารวะต่อพระองค์ เพลงนี้มีลักษณะยอ พระเกียรติพระเจ้า โดยเน้นถึงองค์พระบุตร น่าสังเกต ว่าบท Gloria นี้ แต่แรกมิได้ ใช้ ในมิสซา แต่ ใช้ส�ำหรับ สวดภาวนาในบทท�ำวัตรเช้า แล้วค่อยเริ่มมีการน�ำเข้า มาร้องในมิสซาคืนวันสมโภชพระคริสตสมภพ เพราะ ถือเป็นเพลงที่ทูตสวรรค์ร้องที่เบธเลเฮม (ลก 2:14) บทเพลงนี้ถือว่าเป็นเพลง “พิเศษสุด” ในระยะเริ่มแรกพระศาสนจักรให้พระสังฆราช เท่านั้นมีสิทธิพิเศษ ขับร้องเพลงนี้ ในศตวรรษที่ 7 เริ่ม อนุญาตให้พระสงฆ์ขับร้องเพลงนี้ ได้ เฉพาะวันสมโภช ปัสกาวันเดียวเท่านัน้ จนมาถึงศตวรรษที่ 11 จึงอนุญาต ให้พระสงฆ์ขับร้องในมิสซาฉลองใหญ่ ๆ ทั้งหลายได้
ข้อแนะน�ำ • ควรขับร้องบทเพลงนี้ ในพิธีบูชาขอบพระคุณวัน อาทิตย์ และวันฉลอง ไม่ควรใช้การอ่านตอบรับ กับพระสงฆ์เท่านั้น • ให้เลือกบทเพลงที่มีเนื้อร้องครบ เหมือนกับบท ที่ ใช้ตอบรับในหนังสือบทประจ�ำมิสซา • ควรหลีกเลี่ยงบทพระสิริรุ่งโรจน์ที่มี โครงสร้าง เป็นข้อๆสั้นๆ หรือสรุป เพราะจะขาดใจความ ส�ำคัญไป • เทศกาลมหาพรต และ เทศกาลเตรียมรับเสด็จ พระคริสตเจ้า งดขับร้องเพลงนี้ ยกเว้นวันสมโภช ส�ำคัญที่ฉลองตรงกับ 2 เทศกาลนี้ รวมทั้งงด ขับร้องในพิธบี ชู าขอบพระคุณส�ำหรับผูล้ ว่ งลับด้วย • ควรสร้างท�ำนองเพลงที่มีความสง่างามก่อให้
สารพิธธีกีกรรม รรม 66 จุจุลลสารพิ
เกิดความศักดิ์สิทธิ์ เนื่องจากบทพระสิริรุ่งโรจน์ ใช้ขับร้องต่อจากบท ร�่ำวิงวอน จึงควรมีอารมณ์ เพลงที่แตกต่างจากบทร้องวิงวอนต่อพระเจ้า กล่าวคือ ท�ำนอง จังหวะ และอารมณ์เพลงของ บทพระสิริรุ่งโรจน์ต้องเต็มไปด้วยความมีชีวิต ชีวาความยิ่งใหญ่และความสง่างาม • พระสงฆ์ควรร้องก่อประโยคแรก “พระสิริ รุ่งโรจน์แด่พระเจ้าในสรวงสวรรค์” หลังจาก นั้นร่วมร้องกับสัตบุรุษทั้งหมด • ควรสนั บ สนุ น การแต่ ง เพลงพระสิ ริ รุ ่ ง โรจน์ (Gloria) ที่มีเนื้อหาครบถ้วน และสอดคล้องกับ บทประจ�ำพิธีมิสซา
3. บทข้าพเจ้าเชื่อ (Credo) แต่เดิมนั้นการยืนยันความเชื่อ เป็นการยืนยัน ความเชื่อในที่ล้างบาปของคนเดียวเท่านั้น จึงเป็นที่มา ของค�ำแรกก็คือ “ข้าพเจ้าเชื่อใน.........” (เป็นเอกพจน์ ทั้งๆ ที่หลายคนอ่าน)
ข้อแนะน�ำ • ควรมี ก ารประกาศยื น ยั น ศรั ท ธา หรื อ บท ข้าพเจ้าเชื่อ ทุกวันอาทิตย์ และวันสมโภช หรือ วันฉลองส�ำคัญโดยพระสงฆ์ประกาศพร้อมกับ ประชาสัตบุรษุ ในพิธบี ชู ามิสซา “อย่างสง่า” ไม่วา่ ในรู ป แบบการร้ อ งเพลง หรื อ การประกาศ ยืนยันก็ตาม • พระสงฆ์ควรก่อหรือร้องในประโยคแรกก่อน “ข้าพเจ้าเชื่อในพระเจ้าหนึ่งเดียว” หลังจาก นั้นทุกคนรับพร้อมกัน • ส�ำหรับประเทศไทยบทเพลง “ข้าพเจ้าเชื่อ”
ควรได้รับการฝึกขับร้องเพื่อใช้ ในพิธีกรรม และ ควรส่งเสริมการแต่งขึ้นใหม่ ให้มากขึ้น
4. บทศักดิ์สิทธิ์ (Sanctus/Benedictus) บทเพลงที่ประชาสัตบุรุษถวายสรรเสริญสดุดี พระเจ้า เพลงนีอ้ าจเรียกได้วา่ เป็นเพลงสวรรค์ เพราะ สวรรค์ และแผ่นดินต่างร่วมร้องเพลงเป็นหนึ่งเดียว ประกาศสดุดีความยิ่งใหญ่ และความศักดิ์สิทธิ์ของ พระผู้สร้าง เนื้อร้องของบทเพลงนี้มี 2 ส่วน ประกอบไป ด้วยพระธรรมเดิม และพระธรรมใหม่ 4.1 เนื้ อ ร้อ งตอนแรกของบทนี้มาจากพระ ธรรมเดิม (อสย 6:3) โดยที่ผู้เข้าฌานได้ยินเสียงเทพ เซราฟิมแห่งสวรรค์ร้องเพลง “ศักดิ์สิทธิ์ ศักดิ์สิทธิ์ ศักดิส์ ทิ ธิ์ พระเจ้าจอมจักรวาล” ซึง่ เป็นการบรรยายภาพ ของพิธีกรรมในวิหารสมัยของท่านประกาศกนั่นเอง 4.2 เนื้อร้องตอนสองมาจากพระธรรมใหม่ (มธ 21:9) เป็นส่วนทีค่ ริสตชนเพิม่ เข้าไปทีห่ ลังตามที่ ได้ รับมรดกตกทอดมาจากพวกยิวในศาลาธรรม คือ เนือ้ ร้อง ส่วนของ “สาธุการ” และ “ขอถวายพระพร”
ข้อแนะน�ำ • บทศักดิ์สิทธิ์น่าจะขับร้องทุกครั้งในมิสซาแทน การอ่าน เพราะลักษณะเป็นการร้องประกาศ รวมทัง้ เป็นบทส�ำคัญ และไม่ยาวจนเกินไป ซึง่ จะ สอดคล้องกับตอนสุดท้ายของบทขอบพระคุณ ที่กล่าวว่า “ดังนั้น ข้าพเจ้าทั้งหลายจึงประกาศ สดุ ดี พ ระสิ ริ รุ ่ ง โรจน์ พ ร้ อ มกั บ เทพนิ ก รและ บรรดานักบุญ โดยพร้อมเพรียงกันว่า ดังนี้” • ควรระวังจังหวะการขึ้นต้นของบทเพลงนี้ มิให้
เป็นการขัดจังหวะค�ำพูดของพระสงฆ์ ในตอน สุดท้ายของบทน�ำขอบพระคุณ เพื่อจะได้ขับ ร้องค�ำว่า “ศักดิ์สิทธิ์” ทันที • ควรเลือกเพลงที่มีเนื้อหาครบถ้วนเหมือนกับที่มี เขียนไว้ ในบทประจ�ำมิสซา เพราะทุกประโยค ล้ ว นแต่ พั ฒ นามาจากถ้ อ ยค� ำ ในพระคั ม ภี ร ์ ทั้งพระธรรมเดิมและพระธรรมใหม่
5. บทลูกแกะพระเจ้า (Agnus Dei) บทเพลงนี้ เป็นถ้อยค�ำที่ปรับเปลี่ยนมาจากค�ำ พูดดั้งเดิมของท่านนักบุญยอห์น บัปติสต์ ที่กล่าวว่า “ลูกแกะพระเจ้า ผูท้ รงลบล้างบาปของโลก” (ยน 1 :29) เป็นการวอนขอต่อ ลูกแกะพระเจ้า ผู้ทรงลบล้างบาป ของโลก ด้วยการถวายองค์เป็นบูชานิรันดร โดยถูกฆ่า บูชายัญ สมเด็จพระสันตะปาปา Sergius ที่ 1 (ค.ศ. 687-701) ทรงก�ำหนดให้นำ� เพลงนีม้ าใช้ ในพิธบี ชู ามิสซา ทั่วไปในกรุงโรมในปลายศตวรรษที่ 7 เพลง “ลูกแกะพระเจ้า” เป็นเพลง (หรือการสวด) “ประกอบการ บิศีลมหาสนิท” เพราะฉะนั้น ในสมัย ก่อนบทเพลงนี้จะขับร้องช้าๆ นานเท่าใดก็ ได้ตราบใดที่ การบิศีลมหาสนิทยังไม่เสร็จ เพราะสมัยก่อนแผ่นศีล ใหญ่มากต้องใช้เวลา การร้องจึงซ�้ำไปซ�้ำมาหลายรอบ ไม่จ�ำกัด แต่ปัจจุบันแผ่นศีลพัฒนาเล็กลง การขับร้อง จึงมีการจ�ำกัดอยู่ที่การร้องซ�้ำ 3 ครั้ง และท่อนจบลง ที่ค�ำว่า “โปรดประทานสันติเทอญ” เหมือนที่เป็นอยู่ ใน ปัจจุบัน
ข้อแนะน�ำ • ควรดูความเหมาะสมของเวลาในการที่จะร้อง หรือการอ่านเพราะบทในภาคนี้ ใช้ประกอบใน
Liturgy LiturgyJournal Journal 77
การบิศีลมหาสนิทของพระสงฆ์ บางครั้งอาจ จะท�ำให้รอนานและท�ำให้พิธียาวขึ้นเกินความ จ�ำเป็น • ควรเลื อ กรู ป แบบเพลงที่มีลักษณะซ�้ำ 3 ข้อ มากกว่ารูปแบบที่บรรยายเป็นเนื้อเพลง
6. บทปิดพิธี (Closing Song) บทเพลงปิดพิธี ตามกฎจารีตไม่มีเพลงพิเศษ ส�ำหรับปิดพิธี แต่ก็ ไม่มกี ฎห้ามร้องบทเพลงตอนจบพิธี ในทางปฏิบัติดูเหมือนว่าบทเพลงปิดพิธีมีความจ�ำเป็น เพือ่ บอกว่าพิธกี รรมนัน้ จบจริงๆ และบทเพลงทีน่ ำ� มาใช้ ก็บ่งบอกถึงลักษณะของข้อคิดการด�ำเนินชีวิตคริสตชน หรือลักษณะของการฉลองพิเศษในวันนั้น
ข้อแนะน�ำ • ควรเลือกเพลงปิดพิธีที่มีเนื้อหาสรุปข้อคิดจาก บทอ่ า นหรื อ บทเทศน์ ห รื อ เป็ น เพลงเฉพาะ เทศกาลหรือเป็นเพลงที่แต่งเพื่อการฉลองนั้นๆ
สารพิธธีกีกรรม รรม 88 จุจุลลสารพิ
• ควรเป็นช่วงที่ผู้เล่นออร์แกนได้มี โอกาสบรรเลง รวมทั้งกลุ่มนักขับร้องประสานเสียงที่จะขับร้อง เมื่อจบพิธีแล้ว
หมายเหตุ บทเพลงปิดพิธี (Closing Song) ต่างจากการ ประกาศพิธี (Dismissal) “พิธบี ชู าขอบพระคุณจบแล้ว ... ขอขอบพระคุณพระเจ้า” (ก่อ Ite missa est : ตอบ Deo Gratias) ซึ่งการประกาศปิดพิธีนี้เป็นบท ประจ�ำมิสซา ในประเทศไทยยังมิได้แต่งท�ำนองส�ำหรับ การประกาศปิดพิธีนี้ • ควรได้รบั การสนับสนุนให้แต่งเป็นเพลงและขับร้อง บทเพลงประกาศปิดพิธี เพื่อความงดงามของ พิธีบูชาขอบพระคุณ • ควรให้สังฆานุกรได้เป็นผู้ขับร้อง หรือ กล่าวน�ำ ประโยคดังกล่าว (หากมีสังฆานุกรร่วมในพิธี บูชาขอบพระคุณนั้น)
โครงการอบรมสิ่งน่ารู้เรื่องดนตรี ในพิธีกรรม 7 ครั้ง 7 เรื่องราว - ครั้งที่ 4 หัวข้อเรือ่ ง “การอ่านเพลงและการน�ำซ้อมเพลง เพื่อร้องในพิธีกรรม” โดย อ.ปานดวงเนตร วิริยะวัลย์ เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2557 ผู้เข้าร่วมอบรม 35 คน
โครงการอบรมสิ่งน่ารู้เรื่องดนตรี ในพิธีกรรม 7 ครั้ง 7 เรื่องราว - ครั้งที่ 5 หัวข้อเรื่อง “การเล่นเครื่องดนตรีประกอบใน พิธีกรรม” โดย อ.เรมีย์ นามเทพ เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2557 ผู้เข้าร่วมอบรม 35 คน
โครงการอบรมสิ่งน่ารู้เรื่องดนตรี ในพิธีกรรม 7 ครั้ง 7 เรื่องราว - ครั้งที่ 6 หัวข้อเรือ่ ง “จิตตารมณ์ ความหมายของบทเพลง ศักดิ์สิทธิ์ และการจัดเพลงในพิธี” โดย คพ.ประชาชาติ ปรีชาวุฒิ เมือ่ วันที่ 11 มกราคม 2558 ผูเ้ ข้าร่วมอบรม 30 คน
ส่งมอบเครื่องอิเล็กโทนให้กับสังฆมณฑลต่างๆ แผนกดนตรีศกั ดิส์ ทิ ธิฯ์ ได้รบั การสนับสนุนบริจาค เครื่องอิเล็กโทนมือสองจากบริษัท สยามดนตรียามาฮ่า จ�ำกัด และได้มอบเครื่องอิเล็กโทนให้กับสังฆมณฑลต่างๆ จ�ำนวน 16 เครื่อง
Liturgy LiturgyJournal Journal 99
โครงการต่างๆ ในปี 2015 • ทางแผนกดนตรีศักดิ์สิทธิ์ฯ ก�ำลังรวบรวมโน้ตเพลงใหม่ หรือเพลงที่แต่งขึ้นแล้ว แต่ยงั ไม่ ได้บรรจุลงในหนังสือเพลงสาธุการ รวมทัง้ โน้ตเพลงทีป่ รับปรุงแก้ ไขเพิม่ เติม หากท่านใด บ้านนักบวช วัด หรือสถาบันใด มีความประสงค์ที่จะแต่งเพลงวัดเพื่อ ใช้ส�ำหรับขับร้องในพิธีกรรม สามารถส่งมายังแผนกดนตรีศักดิ์สิทธิ์ฯ ได้ โดยตรง • อบรมสิ่งน่ารู้เรื่องดนตรี ในพิธีกรรม (7 ครั้ง 7 เรื่องราว) ทุกวันอาทิตย์แรกของ เดือน ตั้งแต่เวลา 13.30–17.00 น. ณ ส�ำนักพระสังฆราช ชั้นใต้ดิน อัสสัมชัญ (บางรัก) ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ถึง พฤศจิกายน • อบรมเชิงปฏิบัติเทคนิค การเล่นอิเล็กโทนประจ�ำ ปี 2558 โดย อ.เรมีย์ นามเทพ–เดือนมิถนุ ายน
• อบรมหลั ก สู ต รการ เรี ย นร้ อ งเพลงและ พื้นฐานทางดนตรี
• ฝึก-ซ้อม-ร้องเพลงวัด โดย อ.พรเทพ วิชชุชยั ชาญ และ อ.ศิรารัตน์ สุขชัย ทุกวันเสาร์ เวลา 13.00–17.30 น. ณ บ้านเณรใหญ่แสงธรรม สามพราน เพื่อเตรียมส�ำหรับ การร้องเพลงในพิธีมิสซาอย่างมีชีวิตชีวา • รั บ มอบอิ เ ล็ ก โทนมื อ สอง จากสยามดนตรียามาฮ่า ให้กบั วัดทีย่ งั ขาดแคลนและ มีความจ�ำเป็นต้องใช้ ในพิธี
10 จุจุลลสารพิ สารพิธธีกีกรรม รรม 10
• รวมพลคนดนตรีวดั
ชมรมผูท้ ำ� งานอภิบาลพิธกี รรม ในภูมภิ าคเอเชียใต้และตะวันออก (Asian Liturgy Forum : South-East Asian Region) จัดประชุมประจ�ำปี ในหัวข้อ “เยาวชนและพิธีกรรม” ซึ่งในปีนี้ประเทศไทยรับเป็นเจ้าภาพ ระหว่าง วันที่ 27-31 ตุลาคม ค.ศ. 2014 ณ บ้านผู้หว่าน อ.สามพราน จ.นครปฐม โดยมีผู้ท�ำงานพิธีกรรมและผู้อภิบาลเยาวชน เข้าร่วมจาก 8 ประเทศ ได้แก่ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ไต้หวัน ศรีลังกา เมียนมาร์ กัมพูชา และไทย การประชุม ครั้งนี้จัดผู้เข้าร่วมเป็นผู้แทนพิธีกรรมจากต่างประเทศ จ�ำนวน 53 คน นอกจากนี้ ได้เชิญคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อ พิธีกรรมของไทยจ�ำนวน 10 คน และเนื่องจากเป็นหัวข้อเกี่ยวกับเยาวชน จึงได้เชิญผู้ท�ำงานอภิบาลเยาวชนผู้ประสาน งานและผูน้ ำ� เยาวชน จ�ำนวน 30 คน และสามเณรใหญ่วทิ ยาลัยแสงธรรมชัน้ ปีที่ 2 จ�ำนวน 35 คนซึง่ ก�ำลังท�ำ Practicum มาเป็นผู้สังเกตการณ์ด้วย ในวันแรกเป็นพิธตี อ้ นรับในช่วงเวลาเย็น โดยเริม่ จาก พระอัครสังฆราชฟรังซิสเซเวียร์ เกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช พระอัครสังฆราชแห่งอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ และประธานคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อพิธีกรรม สภาพระ สังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศไทย กล่าวต้อนรับผู้มาร่วมประชุม และหลังจากนั้นพระสังฆราช แอนโทนี ลี พระสังฆราชกิตติคุณแห่งสังฆมณฑลมีรี ประเทศมาเลเซีย ประธาน Asian Liturgy Forum กล่าวปราศรัย และพระคาร์ดินัล ไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู พระอัครสังฆราชกิตติคุณแห่งอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ เป็นผู้ตีฆ้อง เปิดงาน ในระหว่างงานเลี้ยงต้อนรับมีการแสดงร�ำอวยพรของนักเรียนจากโรงเรียนนักบุญเปโตร สามพราน และการ บรรเลงดนตรี ไทย โดยผูพ้ กิ ารทางสายตาจากโรงเรียนมารียอ์ ปุ ถัมภ์ ซิง่ อยู่ ในความดูแลของคณะธิดาแม่พระองค์อปุ ถัมภ์ ส�ำหรับวันที่ 28-29 ตุลาคมเป็นการประชุมและรายงาน โดยวันที่ 28 Fr. Amelito Racelis, SDB ได้ ให้หลัก การเกี่ยวกับหัวข้อการประชุมครั้งนี้ ต่อจากนั้นเป็นการรายงานของผู้แทนจากประเทศต่างๆ ถึงสภาพการอภิบาล พิธีกรรมส�ำหรับเยาวชน ซึ่งหลังจากที่แต่ละประเทศรายงานได้เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมได้สอบถามถึงประเด็นที่ต้องการ
Liturgy Liturgy Journal Journal 11 11
รายละเอียดเพิ่มเติมเพื่อความกระจ่างชัด โดยสรุปนั้น ผู้ร่วมประชุมได้ร่วมกันออกแถลงการณ์ว่า พระเจ้าทรงเรียก ทุกคนให้เป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์ (LG, n. 40) ขณะที่เราชื่นชมเห็นว่าบรรดาเยาวชนชาวเอเชียมีส่วนร่วมพิธีกรรมอย่างแข็งขัน ด้วยวิธีการต่างๆ เราก็เห็นด้วยว่าเรายังต้องตั้งใจฟังพวกเขา เพื่อจะอบรมเขาอย่างเหมาะสม และใช้การสอนค�ำสอน แบบอย่างที่ดี และวิธีการแนะน�ำและคอยดูแลเพื่อช่วยให้เราสามารถมีประสบการณ์พบพระคริสตเจ้าได้ ในการประกอบ พิธีกรรมและกิจศรัทธาอื่นๆ กิจกรรมหลายอย่างได้รับการปฏิบัติแล้วและยังท�ำอยู่ต่อไปเพื่อตอบสนองความต้องการของบรรดาเยาวชนใน ปัจจุบัน ถึงกระนั้น การเชิญชวนให้มีการประกาศข่าวดี ในรูปแบบใหม่ก็เรียกร้องวิธีการใหม่ๆ เพื่อเผชิญกับการท้าทาย ใหม่ที่เขาต้องพบ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จะต้องประกอบพิธีกรรมในรูปแบบที่ปลุกให้บรรดาเยาวชนมีส่วนร่วมด้วยอย่าง เต็มที่ โดยรู้ส�ำนึกและอย่างแข็งขัน ช่วยเขาให้ ได้รับการอบรมด้านพิธีกรรมอย่างเหมาะสมและเพียงพอ ยิ่งกว่านั้น บรรดาผู้อภิบาลและผู้รับมอบให้ดูแลเยาวชนยังต้องแสดงความยินดีจากข่าวดีของพระเยซูคริสตเจ้าให้ปรากฏด้วย ไม่ต้องสงสัยว่าอุปกรณ์เทคโนโลยีต่างๆ มีอิทธิพลอย่างมากต่อโลกของเยาวชน ดังนั้น จึงจ�ำเป็นที่ทั้งผู้อภิบาล และเยาวชนจะต้องรับรู้ว่าอุปกรณ์เหล่านี้มีผลทั้งด้านบวกและด้านลบในการประกอบพิธีกรรม เมื่อค�ำนึงถึงความจริงที่ว่าชาวเอเชียมีแนวโน้มนิยมการบ�ำเพ็ญฌาน ผู้อภิบาลเยาวชนจึงจ�ำเป็นต้องเน้นความ ส�ำคัญของมิติด้านจิตใจของการมีส่วนร่วมพิธีกรรม ได้แก่การภาวนาอย่างเงียบๆ การเตรียมจิตใจเพื่อร่วมพิธีกรรม การตั้งใจฟังพระวาจาด้วยจิตใจที่ตื่นตัวในความเชื่อ ความหวัง และความรัก ในหลายท้องที่ กิจกรรมต่างๆ ส�ำหรับเยาวชน เช่น ค่ายเยาวชน การประชุมอบรมจิตใจ การชุมนุมเพื่ออธิษฐาน ภาวนาร่วมกัน การตื่นเฝ้า Lectio divina การภาวนาแบบเทเซ่ การเข้าเงียบและฟื้นฟูจิตใจ รวมทั้งกิจกรรมแสดงความ รัก ล้วนได้พิสูจน์ ให้เห็นแล้วว่ามีประโยชน์ส�ำหรับเยาวชน เรายังต้องพยายามแสวงหาอย่างสร้างสรรค์เพื่อจะได้พบกิจ ศรัทธาแบบชาวบ้านและวิธีการอื่นๆ เพื่อช่วยน�ำเยาวชนให้เข้ามาใกล้กับพระคริสตเจ้าในพิธีกรรมได้อีกด้วย เป็นทีเ่ ข้าใจกันแล้วว่ากิจกรรมส�ำหรับเยาวชนเป็นศาสนบริการส�ำหรับเยาวชน พร้อมกับเยาวชน และโดยเยาวชน เมื่อประกอบพิธีกรรมพร้อมกับเยาวชน พระศาสนจักรเข้าใจว่าเขาทั้งหลายเป็นทั้งผู้รับและผู้ประกอบศาสนบริการด้าน พิธีกรรม จากการที่เขาได้พบพระคริสตเจ้าเป็นการส่วนตัวและจากประสบการณ์ที่มีชีวิตชีวาของการเป็นพระศาสนจักร ในพิธีกรรม บรรดาเยาวชนย่อมออกไปในโลกในฐานะที่เป็น “ผู้ประกาศสอนความเชื่อตามถนน” (EG, no. 106) ขณะที่รับว่าเยาวชนไม่เป็นเพียง “อนาคตของพระศาสนจักร” และยังเป็น “ปัจจุบันของพระศาสนจักร” ด้วย พวกเราในฐานะผู้ร่วมเดินทางกับบรรดาเยาวชนในหนทางความเชื่อของเขา ขอมอบตนไว้ ในการแนะน�ำของพระจิตเจ้าผู้ ประทับอยู่ ในพระศาสนจักรและทรงบันดาลให้พระศาสนจักรมีความกระชุ่มกระชวยอยู่เสมอไป ส�ำหรับวันสุดท้าย หลังจากที่ประชุมได้จัดท�ำค�ำแถลงการณ์ (Statement) และปรึกษากันถึงหัวข้อและประเทศ ที่จะเป็นเจ้าภาพในครั้งหน้า โดยได้ก�ำหนดหัวข้อ “พิธีกรรมและครอบครัว” ผู้ร่วมประชุมได้ออกเดินทางจากบ้านผู้หว่าน ไปสู่สักการสถานบุญราศีนิโคลาส บุญเกิด กฤษบ�ำรุง เพื่อเฉลิมฉลองพิธีบูชาขอบพระคุณแบบเยาวชน เวลา 10.30 น. จัดเตรียมโดย คุณพ่อประชาติ ปรีชาวุฒิ คุณพ่อเชษฐา ไชยเดช และคุณพ่ออนุสรณ์ แก้วขจร และแผนกเยาวชน มีเยาวชนจ�ำนวนกว่า 200 คนมาสมทบ ส่วนในช่วงบ่ายได้น�ำคณะผู้ร่วมสัมมนาไปล่องเรือเพื่อเยี่ยมชมโบสถ์คาทอลิกที่ ตั้งอยู่ริมแม่น�้ำเจ้าพระยา และจบท้ายด้วยงานเลี้ยงอ�ำลาซึ่งจัดขึ้นที่ โรงเรียนพระแม่มารีสาทร อันเป็นที่ประทับใจของผู้ มาร่วมประชุมทั้งจากประเทศไทยและต่างประเทศ
12 จุจุลลสารพิ สารพิธธีกีกรรม รรม 12
ประเทศไทยเป็นประเทศในแถบเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ สภาพภูมิอากาศอยู่ ในเขต ร้อนชื้น (HOT-WET ZONE) ได้รับอิทธิพลจาก ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ในฤดูร้อนและฤดูฝน ส่ ว นในฤดู ห นาวได้ รั บ อิ ท ธิ พ ลจากลมทางทิ ศ ตะวันออกเฉียงเหนือทีพ่ ดั ผ่านมาจากประเทศจีน เนื่องจากเป็นพื้นที่ทีตั้งอยู่ ในเขตร้อน-ชื้น และมี อิทธิพลมาจากลมมรสุม สภาพอากาศโดยทั่วไป จึงร้อน และมีความชื้นในอากาศสูง อีกทั้งมีลม และฝนแรงในฤดูที่มีลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ พัดผ่าน ซึง่ ถือว่าเป็นสภาพแวดล้อมทางกายภาพ ทั่ ว ไปในเบื้อ งต้น นอกจากนั้นแล้ว ลักษณะ ภูมิประเทศ ภูมิอากาศ และวัสดุท้องถิ่น ย่อมมี ผลต่อรูปแบบสถาปัตยกรรม เช่น ภาคใต้ของ ประเทศไทย มีอากาศร้อน-ชื้น และฝนตกชุก
ตลอดทั้งปี ย่อมต้องมีรูปแบบสถาปัตยกรรม ที่แตกต่างจากภาคเหนือ หรือภาคตะวันออก เฉียงเหนือ (ภาคอีสาน) ที่มีแดดจัด อากาศร้อน และหนาวจัดในบางช่วงของปี นอกจากนั้นแล้ว การเลือกใช้วัสดุท้องถิ่นที่เหมาะสม นอกจาก ช่ ว ยประหยั ด ค่ า ก่ อ สร้ า งแล้ ว ยั ง ช่ ว ยให้ สถาปัตยกรรมมีความสอดคล้อง กลมกลืนกับ สภาพท้องถิ่นมากขึ้น ปั จ จุ บั น ข้ อ มู ล ด้ า นธรณี วิ ท ยา พบว่ า ประเทศไทยยั ง ตั้ ง อยู ่ บ นพื้ น ที่ ที่ เ ป็ น รอยแยก ของพื้นผิวโลกที่อาจเกิดแผ่นดินไหวรุนแรงที่ท�ำ อันตรายต่อสิ่งก่อสร้างได้ (ได้เกิดขึ้นแล้วที่ภาค เหนื อ อ� ำ เภอแม่ ล าว อ� ำ เภอพาน จั ง หวั ด เชียงราย เมื่อ 5 พฤษภาคม พ.ศ.2557 (ค.ศ. 2014) ขนาด 6.3 ริกเตอร์ สร้างความเสียหาย
Liturgy LiturgyJournal Journal 13 13
กับอาคารและสิ่งก่อสร้างมากมาย) ควรได้รับ การพิ จ ารณาประกอบความแข็ ง แรงของ โครงสร้างงานสถาปัตยกรรมด้วย
วัดนักบุญอักแนส อ.เมือง จ.กระบี่ (ภาคใต้)
วัดพระกุมารเยซู อ.เวียงแก่น จ.เชียงราย (ภาคเหนือ)
วัดนักบุญฟิลิปและยากอบ หัวไผ่ จ.ชลบุรี (ภาคตะวันออก)
14 จุจุลลสารพิ สารพิธธีกีกรรม รรม 14
ด้านประโยชน์ ใช้สอย โบสถ์จะต้องมีบริเวณพื้นที่และห้องต่างๆ ครบถ้วนตามความต้องการในการใช้สอย ซึง่ นอก จากจะต้ อ งสอดคล้ อ งกั บ แบบแผนและข้ อ ก�ำหนดของพระศาสนจักรแล้ว ยังควรค�ำนึงถึง ลักษณะของ “ผู้ ใช้” หรือชุมชนคาทอลิกของ โบสถ์แห่งนั้นด้วย ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม ประเพณี และวัฒนธรรม มีค�ำอยู่สองค�ำที่เหล่าสถาปนิกรู้จักกันดี คือ FORM FOLLOW FUNCTION และ LESS IS MORE ถ้าเราจะพิจารณาจากความหมายของ ค�ำทั้งสอง FORM FOLLOW FUNCTION หมายถึงรูปร่างอันเกิดขึน้ เพือ่ ตอบสนองประโยชน์ ใช้สอย อันเป็นสัจจะในทางสถาปัตยกรรม LESS IS MORE หมายถึงความพอดี ทั้งในด้านการใช้วัสดุ การตกแต่ง เพื่อให้เกิด ความงามในสถาปัต ยกรรม หรือจะเรียกว่ า “งามแต่พอดี ไม่แข่งกันงาม” จากความหมายของทั้ ง สองค� ำ ที่ ก ล่ า ว มาแล้ว จะเห็นได้ว่าสอดคล้องกับความหมาย ของโบสถ์ที่ว่า โบสถ์จะต้องตอบสนองกิจกรรม นัน้ ก็คอื “พิธกี รรม” ทีจ่ ะมีขนึ้ ในโบสถ์อย่างครบถ้วน
สมบู ร ณ์ และสง่ า งาม เป็ น ประการส� ำ คั ญ ส่ ว นรูปร่า งลักษณะ ก็เป็นไปเพื่อตอบสนอง พิธีกรรม ศิลปวัฒนธรรมของชุมชนและท้องถิ่น ดังความบางตอนในกฎทั่วไปส�ำหรับมิสซาตาม จารีตโรมัน บทที่ 5 “การจัดและตกแต่งโบสถ์ เพื่อการถวายบูชาขอบพระคุณ” ข้อ 289 ...พระศาสนจักรจึงประสงค์ ให้ โบสถ์ มี ศิ ล ปะ ตกแต่ ง อย่ า งมี คุ ณ ค่ า แต่ ไ ม่ หรูหราจนเกินไป และยังอนุญาตให้น�ำศิลปะ ของทุกชนชาติหรือท้องถิ่นมาใช้ ได้ด้วย... ข้อ 292 เครื่องประดับโบสถ์ จะต้อง แสดงให้เห็นความเรียบง่าย แต่ ไม่ ไร้คุณค่า... ดังนัน้ จึงเป็นหน้าทีน่ บั ตัง้ แต่ พระสังฆราช ผู้เป็นประมุขของสังฆมณฑล คณะสงฆ์ และเจ้า อาวาส สภาภิบาล สถาปนิก วิศวกร มัณฑนากร จิตรกร ประติมากร และผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน จะต้องตระหนัก ศึก ษาข้อมูล อย่างครบถ้วน เพือ่ การน�ำมาพัฒนาให้ ได้รปู แบบของโบสถ์ (วัด) ทีส่ อดคล้องตามประมวลกฎหมายพระศาสนจักร บรรพ 4 หมวด 1 วัด มาตรา 1214 วัดหมายถึง อาคารศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ เพื่ อ การถวายคารวกิ จ แด่ พระเจ้า ซึ่งบรรดาสัตบุรุษมีสิทธิเข้าไปใช้ เพื่อ ปฏิบัติคารวกิจสาธารณะ และข้อก�ำหนดอื่นๆ ของพระศาสนจักร และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง คณะกรรมการแผนกศิ ล ปะในพิ ธี ก รรม เป็ น องค์ ก รที่ จ ะช่ ว ยให้ ค� ำ ปรึ ก ษากั บ พระ สังฆราช และทุกภาคส่วนได้อย่างเหมาะสม
วัดพระจิตเจ้า สวนเจ็ดริน จ.เชียงใหม่ (ภาคเหนือ)
วัดอัครเทวดามีคาแอล บ้านซ่งแย้ จ.ยโสธร (ภาคอีสาน)
วัดนักบุญมัทธิว ทุ่งลูกนก อ.บางเลน จ.นครปฐม (ภาคกลาง)
Liturgy LiturgyJournal Journal 15 15
Buon Anno! สวัสดีปี ใหม่ ผู้ติดตามอ่านจุลสารพิธีกรรมทุกท่าน ในปี ค.ศ. 2015 พระศาสนจักรไทยก�ำหนด ให้เป็นปีปีติแห่งพระคุณการุณย์ (Jubilee) โอกาสครบรอบ 350 ปี ของสมัชชาแห่งอยุธยา (Synod of Ayudhaya) และ ครบรอบ 50 ปี การได้รับสถาปนาพระฐานานุกรมของพระศาสนจักรในประเทศไทย โดยมี 2 อัครสังฆมณฑล กล่าวคือ กรุงเทพฯ และท่าแร่-หนองแสง กับอีก 6 สังฆมณฑล อันได้แก่ จันทบุรี ราชบุรี เชียงใหม่ อุบลราชธานี อุดรธานี และนครราชสีมา อีกทั้งพระศาสนจักรสากลยังก�ำหนดให้เป็นปีนักบวชสากล (Year of Consecrated Life) อีกด้วย และในวันสมโภชพระคริสตเจ้าแสดงองค์เรายังมีข่าวที่น�ำความชื่นชมยินดีที่สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส ทรงประกาศรายชือ่ ผูท้ จี่ ะได้รบั แต่งตัง้ เป็นพระคาร์ดนิ ลั ใหม่จำ� นวน 20 องค์ โดย 1 ในนัน้ ก็คอื พระอัครสังฆราชฟรังซิส เซเวียร์ เกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช จากประเทศไทย ท่านเป็นพระอัครสังฆราชแห่งอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ และยัง ด�ำรงต�ำแหน่งเป็นประธานคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อพิธีกรรมอีกด้วย โดยพิธีแต่งตั้งอย่างเป็นทางการจะจัดขึ้นที่ มหาวิหารนักบุญเปโตร นครรัฐวาติกัน วันเสาร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2015 ในปีนี้อีกไม่นานคณะกรรมการฯ พิธีกรรม จะจัดพิมพ์หนังสือพิธีปลงศพ ซึ่งฉบับที่ ใช้อยู่ก็จัดพิมพ์มานานแล้ว จึงได้เวลาที่จะต้องพิมพ์ฉบับใหม่ นอกจากนี้คณะกรรมการแปลก็ก�ำลังตรวจค�ำแปลหนังสือพิธีศีลบวชพระสังฆราช พระสงฆ์ และสังฆานุกร ตามฉบับล่าสุดของสมณกระทรวงพิธีกรรม ที่ประกาศรับรองเมื่อ ค.ศ.1989 ซึ่งเป็นครั้ง แรกที่เราได้แปลหนังสือเล่มนี้ทั้งฉบับเป็นภาษาไทย คาดว่าอีกไม่นานก็จะเสร็จเรียบร้อยเช่นเดียวกัน สุดท้ายนี้ พ่อขอส่งความสุขและความปรารถนาดีแก่ผู้อ่านทุกท่าน ให้ตลอดปีนี้เป็นปีศักดิ์สิทธิ์แห่งพระพร และพระหรรษทานส�ำหรับทุกคนที่จะมีชีวิตที่ ใกล้ชิดกับพระเจ้ามากขึ้นในพิธีบูชาขอบพระคุณและศีลศักดิ์สิทธิ์ของ พระศาสนจักร
16 จุลสารพิธีกรรม
คุณพ่ออันโตนี โอ วาลแซ็กกี O.F.M.Cap เลขาธิการคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อพิธีกรรม