Liturgy journal 2 2014

Page 1

สาสน์จากพระอัครสังฆราชฟรังซิสเซเวียร์ เกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช “พระเยซูเจ้าทรงประทับอยู่เมื่อพระศาสนจักรอธิษฐานภาวนาและขับร้องเพลงสดุดี เพราะพระองค์ ทรงสัญญาว่า “ที่ ใดมีสองหรือสามคนชุมนุมกันในนามของเรา เราอยู่ที่นั่นในหมู่พวกเขา” (มธ 18:20) (เทียบ SC 7) การประทับอยูข่ องพระเจ้าในพิธกี รรมเห็นได้อย่างดีทสี่ ดุ ในพิธบี ชู าขอบพระคุณ ในเวลา ที่พี่น้องคริสตชนมาร่วมใจกันสวดภาวนาและขับร้องบทเพลงสรรเสริญพระเจ้า ในพระสงฆ์ผู้เป็น ประธานในพิธี ในการประกาศพระวาจา และในศีลมหาสนิท ด้วยตระหนักถึงการประทับอยู่อย่างหลากหลายรูปแบบของพระเยซูเจ้าในพิธีกรรม ในจุลสาร พิธีกรรมฉบับแรกๆ นี้ เราจึงเริ่มต้นด้วยการอธิบายให้พี่น้องเข้าใจความหมายและจิตตารมณ์ของพิธีบูชา ขอบพระคุณ ความหมายของการขับร้องและดนตรีศักดิ์สิทธิ์ ในพิธีกรรม บทบาทของพระวาจาพระเจ้า ในพิธกี รรม รวมทัง้ ความรูแ้ ละความเข้าใจเกีย่ วกับสภาพแวดล้อมในพิธกี รรม ฯลฯ โดยมุง่ หวังว่า พี่น้องคริสตชนจะร่วมพิธีกรรมได้อย่างรู้ตนเอง แข็งขัน มีชีวิตชีวา ทั้งในด้านจิตใจ และภายนอก (เทียบ SC 19) โดยเฉพาะพิธบี ชู าขอบพระคุณในวันพระเจ้า ทัง้ นี้ มิใช่ เพียงเพื่อพี่น้องคริสตชนจะได้ร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณอย่างดีเท่านั้น แต่พร้อมกับ พระสังฆราชหรือพระสงฆ์ผู้ประกอบพิธี พวกเราจะได้เรียนรู้ที่จะถวายตนแด่ พระเจ้า และอาศัยพระคริสตเจ้าในบูชาชีวติ ของพวกเรา เพือ่ เราจะได้กา้ วหน้า ยิง่ วันยิง่ มากขึน้ ในความเป็นหนึง่ เดียวกับพระเจ้าและระหว่างกัน เพือ่ ในทีส่ ดุ พระเจ้าจะได้ทรงเป็นทุกสิ่งในทุกคน” (เทียบ SC 48) ในจุลสารฉบับนี้ พ่อจึงขอเชิญชวนพีน่ อ้ งทุกท่านตระหนักถึงการ ประทับอยูข่ องพระเจ้า โดยร่วมพิธกี รรมอย่างรูต้ น แข็งขัน และมีชวี ติ ชีวา ขอพีน่ อ้ งในทุกภาคส่วนไม่วา่ จะเป็นพระสงฆ์ นักบวช และฆราวาส ได้รว่ ม ใจกันและมีส่วนร่วมในพิธีกรรมตามบทบาทหน้าที่ของตนอย่างดี เป็นพิเศษ ในการจัดและการมีสว่ นร่วมในพิธมี สิ ซาวันอาทิตย์ ทัง้ นี้ เพือ่ พระเกียรติมงคล ของพระเจ้าเพื่อความเป็นหนึ่งเดียวกันและความดีของพวกเรา และเพื่อเป็น ประจักษ์พยานถึงความรักของพระเจ้าต่อพี่น้องผู้ต่างความเชื่อกับเราด้วย

ขอพระเจ้าทรงอ�ำนวยพระพรพี่น้องทุกท่าน พระอัครสังฆราชฟรังซิสเซเวียร์ เกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช ประธานคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อพิธีกรรม สภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศไทย


ก่อนพิธี

พิธีกรรมคริสตชนเป็นพิธีกรรม “ศักดิ์สิทธิ์” มี จุ ด มุ ่ ง หมายประการหนึ่ ง เพื่ อ บั น ดาลความ ศักดิ์สิทธิ์ ให้แก่ผู้ร่วมพิธีกรรม ด้วยเหตุนี้ จ�ำเป็น ต้องมีการเตรียมอย่างดี ทั้งภายนอกและภายใน การเตรียมด้านภายนอก คือการเตรียม สถานที่ ตลอดจนสิ่งต่างๆ ที่ต้องใช้เพื่อการฉลอง พิธีกรรม รวมไปถึงการเตรียมเป็นพิเศษของผู้ท�ำ หน้าทีศ่ าสนบริกรด้านต่างๆ ทัง้ พระสงฆ์ผเู้ ป็นประธาน ในพิธี สังฆานุกร ผู้ช่วยพิธีกรรม ผู้อ่านพระคัมภีร์ พิธีกร นักขับร้อง นักดนตรี คนจัดวัด รวมถึงผู้ที่คอย ต้อนรับ-ให้ความสะดวกเรื่องที่นั่ง และที่ ไม่อาจลืม คือประชาสัตบุรุษทั่วไป ก็ต้องมีการเตรียมด้าน ภายนอกในส่วนของตนด้วยเช่นเดียวกัน

2 จุลสารพิธีกรรม

การเตรียมด้านภายใน ภายถึงการเตรียม ด้านจิตใจ ทั้งพระสงฆ์ ศาสนบริกรทุกบทบาท และ ฆราวาสทั่วไป ล้วนถูกเรียกร้องให้มีการเตรียมจิตใจ เพื่อให้ตนเองอยู่ ในสถานภาพที่เหมาะสมที่จะเข้ามา ร่วมงานเลี้ยงของพระเยซูเจ้า รับการหล่อเลี้ยงด้วย พระวาจาและศีลมหาสนิท การเตรียมจิตใจร่วมกันเป็นหมูค่ ณะ ด้วยการ ภาวนา เป็นสิง่ น่าชมเชย สะท้อนภาพคริสตชนใน อดีตทีร่ วมกลุม่ กันภาวนา ขับร้องเพลงสดุดี รอคอยที่ จะฉลองพิธมี สิ ซา เมือ่ พระสังฆราชของตน หรือพระ สงฆ์ เดินทางมาถึง (ในอดีตไม่สามารถก�ำหนดเวลา มิสซาได้ ขึน้ อยูก่ บั การเดินทางของพระสังฆราช หรือ พระสงฆ์)


หลังสังคายนาวาติกันที่ 2 พระศาสนจักร เน้นการมีส่วนร่วมของประชาสัตบุรุษ ความพร้อม ของที่ชุมนุมจึงได้รับความส�ำคัญ ดังปรากฏ ในค�ำ อธิบายพิธตี อนเริม่ ต้นว่า “เมือ่ สัตบุรษุ ประชุมพร้อม กันแล้ว พระสงฆ์ผู้ประกอบพิธีกับผู้ช่วย เดินไป ยังพระแท่น ระหว่างนั้นขับร้องเพลงเริ่มพิธี”

การชุมนุมกันของสัตบุรุษ เพื่อร่วมพิธีกรรม มีความหมายและมีความส�ำคัญ ดังถ้อยค�ำของพระเยซู ทีว่ า่ “ที่ ใดมีสอง หรือสามคนชุมนุมกันในนามของเรา เราอยู่ที่นั่นในหมู่พวกเขา” (มธ 18:20) ในอดีต พระศาสนจักรตะวันออก เรียกพิธมี สิ ซา พรือพิธบี ชู า ขอบพระคุณว่า “Synaxis” แปลว่า “การร่วมชุมนุมกัน”

ข้อสังเกตและค�ำแนะน�ำบางประการ 1. ปัจจุบัน แม้จะก�ำหนดเวลาของพิธีมิสซาไว้อย่างชัดเจน การใช้เวลาร่วมกันเพื่อภาวนาเตรียมจิตใจ ยังเป็นสิ่งที่ ไม่ผิดหรือขัดกับการใช้เวลาเพื่อการเตรียมพิธีกรรม อย่างไรก็ตาม ไม่ควรมุ่งสวดตาม สูตรหรือรูปแบบให้จบจนครบเวลา โดยไม่มีเวลาเงียบ ควรหยุดการภาวนาก่อนที่พิธีจะเริ่ม ทั้งเพื่อ ให้แต่ละคนได้เตรียมจิตใจเป็นการส่วนตัว และเพือ่ การเริม่ ต้นพิธมี สิ ซาจะได้มคี วามสง่างาม และเด่นชัด 2. บางแห่งใช้ช่วงเวลาของพิธีเริ่ม ส�ำหรับการเตรียมบทเพลงร่วมกัน ขอแนะน�ำให้เป็นการร่วมร้อง เพลงเพื่อสร้างความคุ้นเคยกับบทเพลง แต่ ไม่ฝึกทักษะการร้องบทเพลงในช่วงเวลานี้ 3. การรับศีลอภัยบาป : เพื่อจะได้มีส่วนร่วมในพิธีมิสซาอย่างครบถ้วน ควรรับศีลอภัยบาปก่อนพิธี มิสซา อย่างไรก็ตาม ด้วยเหตุผลเพื่อการอภิบาล (มีผู้รับศีลอภัยบาปมาก) พระสงฆ์ ผู้ ไม่ ได้ร่วม ประกอบพิธีมิสซา อาจจะยังคงโปรดศีลอภัยบาป ระหว่างพิธีมิสซาได้ ในสถานที่ที่เหมาะสม และ ควรหยุดชั่วขณะ เมื่อถึงตอนอ่านพระวรสาร และเมื่อถึงช่วงเสกศีล 4. การเตรียมเรื่องอื่น ๆ เช่น เตรียมอ่านบทอ่าน ผู้ถือของถวาย เตรียมบทเพลง ฯลฯ ควรกระท�ำเสร็จ สิ้นตั้งแต่ ในช่วงนี้

1. เพลงเริ่มพิธี (เริ่มขบวนแห่)

จุดมุ่งหมายของการขับร้องเพลงเริ่มพิธี มีอยู่ 4 ประการ ด้วยกัน คือ 1. เป็นสัญญาณบอกถึงการเริ่มพิธี 2. รวมใจที่ชุมนุมให้เป็นหนึ่งเดียวกัน 3. ประกอบขบวนแห่ 4. เกริน่ น�ำหรือเน้นย�ำ้ ถึงการฉลองธรรมล�ำ้ ลึก ของวันนั้น ๆ เนื้อเพลง และท่วงท�ำนองของเพลงเริ่มพิธี จึงควรสอดคล้องกับจุดมุ่งหมาย 4 ประการ นี้ ขบวนแห่ และการขับร้องเพลงแห่เข้า (หรือ เพลงเริ่มพิธี) ท�ำให้พิธีกรรมมีความสง่างามมากขึ้น

รวมทั้งมีสัญลักษณ์อื่น ๆ ประกอบขบวนแห่ ที่ล้วนมี ความหมาย ไม่ว่าจะเป็นการน�ำขบวนด้วยก�ำยาน ที่มีควันพวยพุ่ง ส่งกลิ่นหอม ผู้ถือกางเขน และเทียน การแห่พระวรสาร และขบวนแห่ของศาสนบริกรที่ เรียงล�ำดับตามล�ำดับขั้น ฯลฯ ขณะขับร้อง ที่ชุมนุมจะยืนขึ้น แสดงออกถึง การต้อนรับ และเพื่อให้การแสดงออกดังกล่าวนี้ แสดงถึงความพร้อมเพียง และความเป็นหนึง่ เดียวกัน เพลงเริ่มพิธีจึงควรเป็นเพลงที่ทุกคนสามารถมีส่วน ร่วมในการขับร้อง

Liturgy Journal 3


ข้อสังเกตและค�ำแนะน�ำบางประการ 1. ระยะทางของขบวนแห่ บ่งบอกถึงความสง่า และระดับของการฉลอง เมือ่ มีฉลองใหญ่ ควรมีระยะทาง ของการแห่พอสมควร และจัดเตรียมเพลงไว้ ให้เหมาะสมจะเป็นการดี หากวันอาทิตย์ เลือกทีจ่ ะแห่เข้า สูพ่ ระแท่น ทางประตูดา้ นหน้าของวัด ซึง่ แตกต่างจากวันธรรมดา ทีแ่ ห่จากห้องแต่งตัวพระสงฆ์ 2. ในวันธรรมดา บางโอกาสไม่ขับร้องเพลงเริ่มพิธี สามารถอ่านบท “เพลงเริ่มพิธี” ที่มีอยู่ ในหนังสือบท อ่านแทนได้

2. การค�ำนับพระแท่น-การถวายก�ำยาน

พระแท่น เป็นทั้งศูนย์กลางของวัด และศูนย์ กลางของพิธีกรรม เพราะพระแท่นเป็นสัญลักษณ์ หมายถึง องค์พระคริสตเจ้า ผู้ประทับอยู่กับที่ชุมนุม เมื่อขบวนแห่ของผู้ช่วยพิธี และพระสงฆ์มาถึงที่หน้า พระแท่น ทุกคนจะแสดงความเคารพพระแท่นเสมอ (ยกเว้นแต่ผู้ถือพระวรสาร จะเพียงยืนตรงที่หน้า พระแท่น และจะแสดงความเคารพ (กราบ) พระแท่น หลังจากวางหนังสือพระวรสารแล้ว) (การแสดงความเคารพอย่างใกล้ชดิ ด้วยการ กราบพระแท่นของประธานนั้น ประธานท�ำในนาม ของประชาสัตบุรุษทั้งหมด ด้วยเหตุนี้ ในช่วงเวลา ดังกล่าว เมื่อประธานก้มลงกราบพระแท่น หากเห็น ควร ประชาสัตบุรุษก็อาจจะก้มศีรษะของตน แสดง ความเคารพพระแท่นไปพร้อม ๆ กับประธานด้วยก็ ได้) (การแสดงความเคารพพระแท่น ด้วยการ วางมือทั้งสองบนพระแท่น แล้วก้มลงจูบ ถือเป็นการ

แสดงความเคารพที่ มี ค วามหมายยิ่ ง ส� ำ หรั บ โลก ตะวันตก ส�ำหรับประเทศไทย เพื่อให้สอดคล้องกับ วัฒนธรรมไทย ได้เปลี่ยนจากการจูบ มาเป็นการ กราบ) ในวันฉลองส�ำคัญ (รวมทั้งทุกวันอาทิตย์ ถ้า เห็นสมควร) ประธานจะถวายก�ำยานรอบพระแท่น มีความหมายว่า เป็นการแสดงความเคารพ นอกจากถวายก� ำ ยานรอบพระแท่ น แล้ ว เมื่ อ ผ่ า นกางเขนที่ มี อ งค์ พ ระเยซู เ จ้ า ถู ก ตรึ ง ประธานจะถวายก�ำยานแสดงความเคารพกางเขน ด้ ว ยเช่ น กั น กางเขนที่ มี อ งค์ พ ระเยซู เ จ้าถูกตรึง ไม่ ว ่ า จะอยู ่ ห ลั ง แท่ น หรื อ เคี ย งข้ า งพระแท่ น เป็นสัญลักษณ์ที่มีความหมายยิ่ง ท�ำให้เราระลึกถึง บูชาบนไม้กางเขนของพระเยซู ให้ความหมายส�ำคัญ ของพิธีมิสซาว่า ไม่ ใช่แค่ “งานเลี้ยง” แต่เป็นการ ถวายชีวิตของพระเยซู เพื่อไถ่บาปเรา

ข้อสังเกตและค�ำแนะน�ำบางประการ 1. เพื่อให้พระแท่น เป็นเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ที่ชัดเจน หมายถึงองค์พระเยซูเจ้าผู้ประทับ ท่ามกลางเรา จึงไม่ควรมีหลายสิ่งหลายอย่างมากเกินไป ทั้งบนพระแท่น และที่หน้าพระแท่น 2. เมื่ อ มี ก ารถวายก�ำยาน ควรขับร้องเพลงเริ่ ม พิ ธี อ ย่ า งต่ อ เนื่ อ ง ไม่ ถวายก� ำ ยานในความเงีย บ หรืออย่างน้อย ยังมีเสียงดนตรีบรรเลงอยู่ (ยังมีต่อ ในฉบับหน้าครับ)

4 จุลสารพิธีกรรม


ในช่วงวันที่ 27-31 ตุลาคม 2014 จะมีการประชุม Asian Liturgy Forum ครั้งที่ 18 ในประเทศไทย การประชุม Asian Liturgy Forum มีคุณพ่อ Anscar Chupungco, OSB เป็นผู้ริเริ่ม ท่านเป็น อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านพิธีกรรมของพระศาสนจักร ท่านเคยสอนพิธีกรรมที่ Pontifical Atheneum of St. Anselm กรุงโรม เป็นเวลานานพอสมควร และภายหลังกลับมาสอนที่วิทยาลัย San Beda ประเทศ ฟิลิปปินส์ ซึ่งเป็นบ้านเกิดของท่านจวบจนวาระสุดท้ายแห่งชีวิตของท่าน (9 มกราคม ค.ศ. 2013) แต่กระนั้น ก็ยังมีผู้สืบต่องานของท่านจวบจนปัจจุบัน ในการประชุมนี้ ซึ่งจัดเป็นประจ�ำทุกปี ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1996 ผู้รับผิดชอบงานด้านพิธีกรรมของประเทศ ต่างๆ บริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะมาประชุมกันเพื่อรายงานสถานการณ์ด้านพิธีกรรมตามประเด็น หัวข้อหลักของแต่ละปีที่ก�ำหนดให้ มีการพบปะ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับงานด้านพิธีกรรม โดยแต่ละ ประเทศในภูมิภาคนี้ ได้ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพ โดยประเทศไทยก็เคยรับเป็นเจ้าภาพมาแล้ว 2 ครั้ง คือ ALF 3rd ณ บ้านผู้หว่าน สมัยคุณพ่อส�ำราญ วงศ์เสงี่ยม เป็นเลขาธิการ และ ALF 10th เชียงใหม่ สมัยคุณพ่อไพศาล อานามวัฒน์ เป็นเลขาธิการ ในการประชุม ALF 17th ครั้งที่ผ่านมาซึ่งจัดที่เกาะฮ่องกง คณะผู้ด�ำเนินการตลอดจนบรรดาสมาชิก ผู้ร่วมประชุม ต่างมีความเห็นว่า การประชุม ALF 18th ควรจะมาจัดที่ประเทศไทย เนื่องจากมีศักยภาพ และความเหมาะสมในด้านสถานที่ • • • •

หัวข้อของ ALF 18th คือ “พิธีกรรมกับเยาวชน” สถานทีจ่ ดั ศูนย์ฝกึ อบรมงานอภิบาลอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ (บ้านผูห้ ว่าน) อ.สามพราน จ.นครปฐม ระหว่างวันที่ 27-31 ตุลาคม ค.ศ.2014 จ�ำนวนผู้เข้าร่วมประมาณ 80 คน (ประกอบด้วย พระสังฆราช พระสงฆ์ นักบวช และฆราวาสที่ ท�ำงานด้านพิธีกรรม)

ค่าใช้จ่าย

ส�ำหรับการประชุม ALF ทุกครั้ง ประเทศที่รับเป็นเจ้าภาพจะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในเรื่องต่อไปนี้ 1. ค่าที่พักตลอดระยะเวลาการประชุม 2. ค่ารถรับส่งจากสนามบินมายังสถานที่จัดงาน 3. ค่ายานพาหนะในการออกไปทัศนศึกษานอกสถานที่ 4. ค่าสันทนาการรับรองพิเศษ 5. ค่าของที่ระลึก

Liturgy Journal 5


รายละเอียดของ ALF ครั้งที่ 1-17 (ประเทศเจ้าภาพและหัวข้อ)

1. ปี 1996 ฟิลิปปินส์ หัวข้อ “วิธีการและรูปแบบของการน�ำวัฒนธรรมเข้าสู่พิธีกรรม” 2. ปี 1997 ฟิลิปปินส์ หัวข้อ “บทขอบพระคุณส�ำหรับพิธีสมรส, จารีตพิธีตรีวารปัสกา ซึ่งไม่มี พระสงฆ์เป็นประธาน” 3. ปี 1998 ไทย หัวข้อ “การชุมนุมในวันอาทิตย์ ในกรณีที่ ไม่มีพระสงฆ์” 4. ปี 1999 มาเลเซีย หัวข้อ “เครื่องหมายและสัญลักษณ์ ในพิธีกรรม” 5. ปี 2000 อินโดนีเซีย หัวข้อ “สิ่งแวดล้อมด้านพิธีกรรม” 6. ปี 2001 บรูไน หัวข้อ “ดนตรีส�ำหรับพิธีกรรม” 7. ปี 2002 สิงคโปร์ หัวข้อ “พิธีกรรมส�ำหรับเด็ก” ปี 2003 ยกเว้นการจัด 8. ปี 2004 ไต้หวัน หัวข้อ “ศึกษาเอกสาร Redemtionis Sacramentum” 9. ปี 2005 ฟิลิปปินส์ หัวข้อ “ชีวิตจิตด้านพิธีกรรม” 10. ปี 2006 ไทย หัวข้อ “พิธีกรรมและการแพร่ธรรม” 11. ปี 2007 มาเลเซีย หัวข้อ “การเฉลิมฉลองในวันอาทิตย์” 12. ปี 2008 อินโดนีเซีย หัวข้อ “การน�ำวัฒนธรรมเข้าสู่พิธีกรรมเกี่ยวกับพิธีสมรส” 13. ปี 2009 ฟิลิปปินส์ หัวข้อ “ปีพิธีกรรมและการน�ำวัฒนธรรมเข้าสู่พิธีกรรม” 14. ปี 2010 มาเลเซีย หัวข้อ “การน�ำวัฒนธรรมเข้าสู่พิธีกรรมเกี่ยวกับพิธีศีลล้างบาป” 15. ปี 2011 ไต้หวัน หัวข้อ “การน�ำวัฒนธรรมเข้าสู่พิธีกรรมเกี่ยวกับพิธีปลงศพ” 16. ปี 2012 มาเลเซีย หัวข้อ “50 ปีของสังฆธรรมนูญว่าด้วยพิธกี รรม Sacrosanctum Concilium” 17. ปี 2013 ฮ่องกง หัวข้อ “การอภิบาลด้านพิธีกรรมในเอเชีย”

66 จุลจุสารพิ ธีกรรม ลสารพิ ธีกรรม


วันประวัติศาสตร์ทั่วโลกร่วมสถาปนานักบุญผู้ยิ่งใหญ่ สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส ทรงเป็นประธานในพิธบี ชู าขอบพระคุณ สถาปนานักบุญยอห์น ที่ 23 และนักบุญยอห์น ปอล ที่ 2 พระสันตะปาปา ณ ลานหน้ามหาวิหารนักบุญเปโตร วาติกัน ท่ามกลางสัตบุรุษที่มาร่วมยินดีนับ ล้านคน ในวันอาทิตย์ที่ 27 เมษายน 2014 โอกาสนี้ สมเด็จพระสันตะปาปา กิตติคุณเบเนดิกต์ที่ 16 เสด็จเข้าร่วมพิธีด้วย Udomsarn Weekly – May 11-17, 2014

พระสันตะปาปาทรงถวายมิสซา ณ ห้องที่พระเยซูเจ้าทรงเลี้ยงอาหารค�่ำมื้อสุดท้าย ในโอกาสเสด็จเยือนแผ่นดินศักดิ์สิทธิ์ ระหว่างวันที่ 24-26 พฤษภาคม 2014 ช่วงเย็นวันจันทร์ที่ 26 พฤษภาคม สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส ทรง ถวายมิสซาใน "ห้องชั้นบน" ห้องที่พระเยซูทรงเลี้ยงอาหารค�่ำมื้อสุดท้าย พร้อม ตั้งศีลมหาสนิท รวมถึงล้างเท้าอัครสาวก นอกจากนี้ เป็นห้องที่พระจิตเสด็จลง มาในวันเปนเตกอสเต และเป็นห้องที่เลือก "มัทธีอัส" เป็นอัครสาวกด้วย

Popereport.com – May 26, 2014

ผู้น�ำพระศาสนจักรคอปติกเขียนจดหมายถึงพระสันตะปาปา เสนอให้ฉลองปัสกาวันเดียวกันส�ำหรับคาทอลิก และออร์ โธดอกซ์ ผูน้ ำ� พระศาสนจักรออร์ โธดอกซ์คอปติกได้เขียนจดหมายถึงพระสันตะปาปา ฟรังซิส เสนอว่าคาทอลิก และออร์ โธดอกซ์มีความเห็นพ้องเกี่ยวกับวันฉลองปัสกา ส�ำนักข่าว Fides รายงาน พระสังฆอัยกา ทาวาดรอสที่ 2 ทรงส่งสาส์นถึงพระสันตะปาปาฟรังซิส ในโอกาสครบรอบการพบกันครั้งแรก ที่กรุงโรม หลังจากที่พระสังฆราชแห่งกรุงโรมทรงขอให้ผู้น�ำพระศาสนจักรอียิปต์ส่งผู้แทนมาเข้าร่วมการประชุมสมัชชา พระสังฆราชในเดือนตุลาคม การฉลองวันปัสกาวันเดียวกันอาจจะเป็นประโยชน์ต่อคริสตชนในตะวันออกกลาง ที่บ่อยครั้งชุมชนคาทอลิก และออร์ โธดอกซ์อาศัยอยู่ท่ามกลางคนส่วนใหญ่ซึ่งเป็นมุสลิม Catholic World News – May 07, 2014

LiturgyJournal Journal 77 Liturgy


เอกสารค� ำ แนะน� ำ ของสมณกระทรวง พิธีกรรม หรือ Sacred Congregation of Rites ว่า ด้วยเรื่องดนตรีศักดิ์สิทธิ์ ในพิธีกรรม (Musicam Sacram) ปี ค.ศ. 1967 ได้กล่าวให้คำ� แนะน�ำไว้ ดังนี้ 1. ดนตรีศักดิ์สิทธิ์มีจุดประสงค์หลัก คือ ให้ สัตบุรุษผู้มาร่วมในพิธี ได้มีส่วนร่วมอย่างแข็งขัน ในการขับร้องเพลงสรรเสริญพระเจ้า (MS 5) ในพิ ธี ก รรมที่ แ สดงออกถึ ง ความเป็ น น�้ ำ หนึ่ ง ใจ เดียวกัน ดังนั้นเพื่อให้สัตบุรุษสามารถขับร้องเพลง ร่วมกัน ผู้มีหน้าที่เรื่องดนตรีควรหลีกเลี่ยงการใช้ บทเพลงที่ต้องใช้ทักษะในการขับร้องที่สูงมากเกินไป หรือใช้บทเพลงใหม่ ๆ ที่ยังไม่เป็นที่รู้จักส�ำหรับการ ร้องเพลงในพิธีกรรม 2. ควรใช้รูปแบบดนตรีที่เหมาะสม และ ส่งเสริมพิธีกรรมเป็นส�ำคัญ และควรมีการเตรียม พร้อมส�ำหรับนักดนตรีและนักร้อง เพื่อเป็นผู้น�ำและ รับผิดชอบในพิธีกรรม (MS 6) พระศาสนจักร ยอมรับและเปิดกว้างส�ำหรับรูปแบบของดนตรี ทัง้ ใน การใช้ภาษาท้องถิ่น (แทนภาษาละติน) การใช้เครื่อง ดนตรี แนวท� ำ นอง เนื้ อ เพลง ที่ เ หมาะสมกั บ วัฒนธรรมและประเพณีท้องถิ่น เพื่อให้ผู้ร่วมฉลอง พิธีกรรมได้มีส่วนร่วมในพิธีอย่างเต็มที่ อย่างรู้

8 จุลสารพิธีกรรม

ส�ำนึก และอย่างมีชีวิตชีวา เพื่อประโยชน์ ในด้าน การอภิบาลสัตบุรุษ พร้อมทั้งต้องรักษาความ หมาย และธรรมชาติอันถูกต้อง ของแต่ละภาค ส่วนในพิธีกรรม ทั้งนี้ คณะกรรมการดนตรีศักดิ์สิทธิ์ ภายใต้ความรับผิดชอบของสภาพระสังฆราช ที่จะ ดูแลให้ความรู้และค�ำแนะน�ำ เพื่อการอภิบาลงาน ด้านดนตรี (MS 7) 3. ผูม้ หี น้าทีร่ บั ผิดชอบดูแลบทเพลงในพิธกี รรม ควรได้มีการจัดเตรียมความพร้อมอย่างดี มีการ คั ด เลื อ กบทเพลงให้ เหมาะสม มี ความหมาย และสอดคล้องในแต่ละภาคของพิธี ตลอดจน วางแผนรูปแบบการขับร้อง และการบรรเลงดนตรี ให้เหมาะสมกับพิธีกรรม (MS 36) เช่นวันฉลอง ควรเพิ่มการเตรียมการฝึกซ้อมพิเศษ และเพิ่มการ ร้องเพลงในภาคส่วนต่างๆ ของพิธกี รรม ความสง่างาม ในการเพิ่มเติมเครื่องดนตรีเป็นวงหรือเพิ่มจ�ำนวนนัก ขับร้องหรือเพิม่ เสียงประสาน ทัง้ นี้ ขึน้ อยูก่ บั ศักยภาพ ของคณะนักขับร้องของวัด และความประสานกลมกลืน ที่งดงามเหมาะสมในพิธีกรรมวันฉลอง พระศาสนจั ก รเน้ น ให้ มี ก ารเตรี ย มพร้ อ ม อย่างดีส�ำหรับพิธีกรรม การขับร้องแบบมีส่วนร่วม ของผูเ้ ข้าร่วมพิธี ตัวอย่างเช่น บทเพลงรับศีลมหาสนิท


ที่มีลักษณะเป็นข้อๆ (Strophic Form) ท�ำให้ผู้ร่วม พิธีมีส่วนร่วมในการขับร้องได้อย่างดี โดยสามารถ ขับร้องในส่วนท่อนรับ (Refrain) สลับกับการขับร้อง ในแต่ละข้อโดยกลุม่ นักขับร้อง หรือผูร้ อ้ งน�ำในบทสดุดี ที่ ได้รับการซ้อมเตรียมมาอย่างดี โดยร้องสลับกับ กลุ่มนักร้องและสัตบุรุษทุกคนร้องรับ เป็นต้น 4. ดนตรี ต้องไม่เป็นอุปสรรคต่อการให้ สัตบุรุษมีส่วนร่วมในพิธีกรรม (MS 9) นักดนตรี ในพิธีกรรม ต้องมีเจตนารมณ์ของการรับใช้ (Serve) ไม่ ใ ช่ก ารแสดงออกในฝีมือการบรรเลง (Show) นักดนตรี ในพิธีกรรมจึงจ�ำเป็นต้องได้รับการฝึกฝน มาเป็นอย่างดี มีความเข้าใจในบทบาทของดนตรี เพื่อพิธีกรรม สามารถบรรเลงดนตรีประคองเสียง ร้องที่เป็นการสร้างเสริมบรรยากาศของพิธีกรรม เพื่อให้ผู้เข้าร่วมในพิธี ได้สามารถร้องเพลงและได้ สัมผัสถึงความหมายของพิธี ได้ดียิ่งขึ้น 5. ค�ำนึงถึงความสมบูรณ์ (Integrity) และ ความส�ำคัญของพิธกี รรมเป็นหลัก (MS 11) ดนตรี ต้องส่งเสริมให้พิธีกรรมสมบูรณ์ ไม่ ใช่ท�ำลาย หรือ ปรับเปลี่ยนขั้นตอนของพิธีกรรม เช่น การตัดบท เพลงบางส่วนทิ้ง อาจท�ำให้ความหมายและความ ส�ำคัญของพิธีกรรมในส่วนนั้นเสียไป หรือใช้ วิธีการ ตอบรับในบางบทแทนการขับร้อง เพราะวิธีการนี้ ไม่เป็นการท�ำลายขั้นตอนของพิธี และไม่ท�ำให้พิธี เสียความสมบูรณ์ เช่น การงดขับร้องเพลงเตรียม เครื่องบูชา (ถวาย) และใช้การตอบรับแทน ก็ ไม่ ท�ำให้พิธีกรรมขาดหายไป ขณะเดียวกัน ถ้าสามารถ ขับร้องได้ โดยเฉพาะบทเพลงที่มีความหมายและ เหมาะสมกับขัน้ ตอนของพิธกี รรมนัน้ จะท�ำให้พธิ กี รรม มีความสง่างาม และสมบูรณ์ยิ่งขึ้น เช่น บทเพลงใน ภาคศักดิ์สิทธิ์ หรือบทร�่ำวิงวอน เป็นต้น 6. สัตบุรุษต้องไม่ถูกตัดออกไปจากการมี ส่วนร่วมในการขับร้อง (MS 16) จุดประสงค์สำ� คัญ

คือ ความเป็นน�้ำหนึ่งใจเดียวกัน และการมีส่วนร่วม ของผู ้ เ ข้ า ร่ ว มพิ ธี ทุ ก คนในการขั บ ร้ อ งบทเพลง สรรเสริญพระเจ้าร่วมกันในพิธกี รรม ดังนัน้ ควรหลีก เลีย่ งทุกอย่างที่ท�ำให้ดนตรี ในพิธีกรรม เป็นเหมือน การแสดงคอนเสิร์ตที่ผู้ร่วมพิธี ได้แต่เป็นผู้ฟังเท่านั้น โดยไม่สามารถร่วมในการขับร้องได้เลย 7. ควรมีช่วงเวลาของความเงียบหลังจาก การฟังพระวาจา และ การขับร้องบทเพลงเพื่อ เป็นการยกจิตใจในการร�ำพึงภาวนา (MS 17) ความเงียบเป็นส่วนส�ำคัญของการภาวนาในพิธกี รรม หลังจากการฟังพระวาจาของพระเจ้า และการขับร้อง เพลงสรรเสริญพระเจ้า ตลอดจนการมีส่วนสัมพันธ์ อย่างลึกซึง้ ยิง่ ขึน้ ในความเงียบการไตร่ตรอง และน�ำมา ปฏิบัติ ในชีวิตประจ�ำวัน ตัวอย่างเช่น ช่วงเวลาหลัง การรับศีลหรือในภาคเตรียมเครือ่ งบูชา ควรมีเวลาเงียบ เพื่อให้สัตบุรุษได้มีเวลาภาวนาและเข้าถึงพระเจ้า ได้ซาบซึ้งถึงคุณค่าและความหมายของศีลมหาสนิท และพระวาจาของพระเจ้า ดนตรี ในพิธกี รรมไม่จำ� เป็น ต้องใช้การขับร้องตลอดทั้งภาคของพิธี หรือ สลับไป กับการบรรเลงดนตรี 8. ควรจัดให้มกี ารฝึกสอนการขับร้องเพลง ศักดิส์ ทิ ธิ์ ในพิธกี รรม ให้กบั สัตบุรษุ (MS 18) เพื่อ จะท�ำให้ทกุ คนได้มสี ว่ นร่วมอย่างแท้จริง ทัง้ นีเ้ พือ่ “ถวายสิริมงคลแด่พระเจ้า และท�ำให้คริสตชนเป็นผู้ ศักดิ์สิทธิ์” ไม่ ได้ถูกจ�ำกัด หรือถูกตัดออกไปจากการ ร้องเพลงของบรรดาสัตบุรุษ ตามสถานภาพ กลุ่ม ชุมชนวัด วิถีชีวิตหรือตามระดับกลุ่มต่าง ๆ ที่จะ ได้รับการส่งเสริม สนับสนุน และการสอนอบรม ส�ำหรับการฝึกร้องเพลงในพิธีกรรม 9. ควรจัดตั้งและส่งเสริมดูแล ให้มีการ ขับร้องอย่างถูกต้องเหมาะสม และช่วยสัตบุรุษ ให้มีส่วนร่วมอย่างแข็งขัน (MS 19) ผู้มีบทบาท หน้ า ที่ ดู แ ลรั บ ผิ ด ชอบดนตรี ในพิ ธี ก รรมของวั ด

Liturgy Journal 9


คุณพ่อเจ้าอาวาส และหัวหน้าคณะนักขับร้องของวัด โดยเฉพาะในอาสนวิหาร สามเณราลัย และบ้านฝึก อบรมนักบวช ควรได้รับการส่งเสริม สนับสนุนเป็น อย่างดีรวมทั้งสถาบันการศึกษา และในโรงเรียน คาทอลิกด้วย (MS 52) 10. ควรอบรมให้ความรู้ทางด้านพิธีกรรม และสร้างเสริมคุณค่าจิตตารมณ์ส�ำหรับการขับ ร้องเพลงในพิธีกรรม (MS 24) การสอนอบรม และการฝึกขับร้องดนตรีศักดิ์สิทธิ์ทุกครั้ง ต้องให้ จิตตารมณ์ และความรู้ทางด้านพิธีกรรมด้วยเสมอ เพราะถึงแม้จะมีทักษะความสามารถทางด้านดนตรี มากมาย แต่ หากไม่มีจิตตารมณ์ หรือไม่ เ ข้ า ใจ ความหมายของพิธกี รรมในแต่ละภาค ดนตรีทสี่ อื่ ออกมา ก็ ไ ร้ความหมาย ขาดการมีส่วนร่วมในพิธี ก รรม ศักดิ์สิทธิ์อย่างแท้จริง 11. หน่วยงานดนตรีศักดิ์สิทธิ์ ควรให้ ความช่วยเหลือดูแล ให้ความรู้และการอบรม แนะน�ำ พร้อมการปรับปรุงพัฒนาดนตรีสืบไป (MS 25) หน่วยงานดนตรีศักดิ์สิทธิ์ พร้อมกับผู้ เชี่ยวชาญและที่ปรึกษาทางด้านดนตรี ร่วมประสาน งานกั บ หน่ ว ยงานดนตรี ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ ข องแต่ ล ะ สังฆมณฑล เพื่อให้การส่งเสริม สนับสนุน อบรม ให้ความรู้ ค�ำแนะน�ำ ตลอดจนการพัฒนาทางด้าน ดนตรี การขับร้องเพลงในพิธีกรรม ได้ก้าวหน้า พัฒนาไปได้ อ ย่ า งดี ตามจิตตารมณ์และบรรลุ

10 จุลสารพิธีกรรม

วัตถุประสงค์อย่างแท้จริง โดยร่วมงานกันภายใต้ คณะกรรมการคาทอลิ ก เพื่ อ พิ ธี ก รรมในสภาพระ สังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศไทย อาจสรุ ป ได้ ว ่ า แนวทางปฏิ บัติด้านดนตรี ศักดิส์ ทิ ธิ์ ในพิธกี รรมนัน้ ควรพิจารณาถึงแง่มมุ ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ แง่มุมทางด้านดนตรี พิธีกรรม และการอภิบาล โดยตัง้ อยูบ่ นพืน้ ฐานหลัก คือ การมี ส่วนร่วมเพือ่ ถวายสิรมิ งคลแด่พระเจ้า ดังนัน้ ทุกเพลง จะต้องมีลกั ษณะทีเ่ อือ้ อ�ำนวย และส่งเสริมให้ทกุ คน ในที่ชุมนุม ได้ร่วมกันขับร้องโดยพร้อมเพรียงกัน อย่างแท้จริง ไม่มีอุปสรรคใดๆ ที่ท�ำให้เกิดความ ไม่เป็นเอกภาพ หรือท�ำให้คนบางกลุ่มไม่สามารถ ร่วมขับร้องได้ ทั้งนี้ ก็ต้องเกิดขึ้นจากการวางแผน ที่รอบคอบ และพิจารณาร่วมกันในกลุ่มคณะของวัด ควรมีการ “เตรียม” การขับร้องบทเพลงที่เหมาะสม ทั้ ง นี้ ก็ เ พื่ อ ให้ ทุ ก คนมี ส ่ ว นร่ ว มอย่ า งดี ทุกแง่มุม ทีก่ ล่าวมานี้ จ�ำเป็นต้องถูกน�ำมาพิจารณาพร้อมๆ กัน เพื่อให้เกิดผลดีที่สุดและเหมาะสมที่สุด “มอบถวายสิ่งที่ดีที่สุดนี้ เพื่อเทิดพระ เกียรติมงคลของพระเจ้า” ทั้งนี้ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ ตามจิตตารมณ์ และเป้ า หมายที่ แ ท้ จ ริ ง ของดนตรี ศั ก ดิ์ สิทธิ์ คือ “เพือ่ ถวายสิรมิ งคลแด่พระเจ้า และท�ำให้คริสตชน เป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์” (SC 112 ; MS 4) ................................


• โครงการอบรมการเล่นอิเล็กโทนในวัด

• โครงการฝึก-ซ้อม-ร้องบทเพลงในหนังสือเพลงสาธุการ

เพื่อให้ดนตรีศักดิ์สิทธิ์สามารถเข้าสู่สัตบุรุษได้ดียิ่งขึ้น นอกจากจัดท�ำ Backing Track เพื่อใช้ขับร้อง ในวัดแล้ว ทางแผนกยังได้จัดท�ำโครงการนี้ เพื่อสัตบุรุษสามารถฝึกซ้อมร้องเพลงที่บ้านร่วมกันในครอบครัว ท่านที่สนใจสามารถเข้าไปที่ http://smusic.mydontree.net/0/index.html เพื่อดาวน์ โหลดท�ำนอง และเนื้อเพลงเพื่อน�ำไปฝึก-ซ้อม-ร้องเพลงได้

Liturgy Journal Journal 11 11 Liturgy


• โครงการจัดอบรมการเรียนร้องเพลง 8 สัปดาห์

แผนกดนตรีศกั ดิส์ ทิ ธิฯ์ เห็นว่าบุคลากรในพระศาสนจักร มีบทบาทส�ำคัญต่องานด้านดนตรี ในพิธกี รรม จึงควรสนับสนุนให้ทุกคนได้เรียนรู้ความส�ำคัญของดนตรี ในพิธีกรรม และเพิ่มทักษะความสามารถด้านดนตรี สากลด้วยโดยอาจารย์พรเทพ วิชชุชัยชาญ และอาจารย์สิรารัตน์ สุขชัย ระยะเวลา : กรกฎาคม – กันยายน 2557

• โครงการฝึกปฏิบัติดนตรี ในพิธีกรรม

ทุกวันอาทิตย์สุดท้ายของเดือน เริ่มเดือนกรกฎาคม เป็นต้นไป ตั้งแต่เวลา 13.00 – 16.00 น. โปรดติดตามข่าวสารของแผนกต่อไป ครั้งที่ 1 - ดนตรี ในพิธีกรรมและการเขียนเพลงวัด ครั้งที่ 2 - การเล่นเครื่องดนตรีประกอบในพิธีกรรม “เล่นอย่างไรถึงจะไพเราะและลงตัวในพิธีกรรม" ครั้งที่ 3 - การร้องเพลงวัดในพิธีอย่างมีชีวิตชีวา ครั้งที่ 4 - วิวัฒนาการดนตรีศักดิ์สิทธิ์ ในพระศาสนจักรคาทอลิก ครั้งที่ 5 - การอ่านเพลง และการน�ำซ้อมเพลง ครั้งที่ 6 - ความเป็นผู้น�ำและจิตตารมณ์ นักดนตรีวัด ครั้งที่ 7 - คู่มือหัวใจการเป็นนักร้อง นักดนตรีวัด จิตตารมณ์และความหมายของบทเพลงศักดิ์สิทธิ์ ในพิธีกรรม

12 จุลสารพิธีกรรม


แนวทางการใช้เครื่องฉายโปรเจคเตอร์ ในพิธีกรรม

คณะกรรมการคาทอลิกเพือ่ พิธกี รรม ได้ออกค�ำประกาศและแนวทางการใช้เครือ่ งฉายโปรเจคเตอร์ ในพิธกี รรม เพื่อให้วัดที่ต้องการใช้เครื่องมือนี้ มีแนวทางการใช้เครื่องฉายโปรเจคเตอร์ ในพิธีกรรมอย่างเหมาะสม คณะกรรมการคาทอลิ ก เพื่ อ พิ ธีก รรม สภาพระสั ง ฆราชคาทอลิ ก แห่ ง ประเทศไทยได้พจิ ารณาเรือ่ งนี้ และไม่ขดั ข้องทีจ่ ะมีการใช้อปุ กรณ์ดงั กล่าวในพิธกี รรม กระนั้นก็ตามเพื่อความเหมาะสมกับการใช้ ในโบสถ์ ให้สอดคล้อง เป็นการส่งเสริม บรรยากาศและความหมายของพิ ธีก รรม ตลอดจนความลงตั วทางศิ ล ปกรรม ศักดิ์สิทธิ์ จึงได้ ให้แนวทางและวิถีปฏิบัติที่เหมาะสมส�ำหรับการใช้อุปกรณ์ดังกล่าว ในพิธีกรรม โดยผู ้ ที่ สนใจสามารถดาวน์ โหลดเอกสารค� ำ แนะน� ำ ดั งกล่ า วได้ ที่ http://www.thailiturgy.in.th/admin/picture/myfile/norm_projector.pdf

สังฆมณฑลจันทบุรี จัดอบรมเด็กช่วยมิสซาและผู้อ่านพระคัมภีร์

ระหว่างวันที่ 21-25 เมษายน 2014 แขวงสระแก้ว จัดค่าย เด็กค�ำสอนและเยาวชน ในค่ายมีการอบรมเด็กช่วยมิสซา วันอังคาร 29 เมษายน 2014 แขวงปราจีนบุรี จัดอบรม และเยาวชนผู้อ่านพระคัมภีร์ ที่ศูนย์สังคมพัฒนา สระแก้ว เด็กช่วยมิสซา ที่วัดอารักขเทวดา โคกวัด

สังฆมณฑลอุดรธานี จัดอบรมอบรมพิธีกรรม และผู้ช่วยพิธีกรรม วันที่ 15 มิ.ย. 2014 บ้านเณรสันติราชาได้ จัดอบรมพิธีกรรม และผู้ช่วยพิธีกรรม ที่บ้าน เณรสันติราชา โดย คุณพ่อพงษ์พันธ์ ม่วงมีรส

LiturgyJournal Journal 13 13 Liturgy


ก่อนอื่นผู้เขียนใคร่ขอให้ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยว กับคณะกรรมการแผนกศิลปะในพิธีกรรม เพื่อที่เรา จะได้รู้จักกัน และอาจจะได้ท�ำงานร่วมกันในโอกาส ข้างหน้า กล่าวคือ เมื่อประมาณ 10 ปีที่ผ่านมา คุณพ่อยอแซฟ ไพศาล อานามวัฒน์ หรือที่ทุกคนรู้จักท่านในนาม “คุณพ่อเขียว” ได้เห็นความส�ำคัญเกี่ยวกับศิลปะ ศักดิ์สิทธิ์ จึงได้ชักชวนคุณพ่อหลายท่านที่มีความรู้ ในเรื่องพิธีกรรมและศิลปศักดิ์สิทธิ์ ตลอดจนสัตบุรุษ ที่เป็นสถาปนิก มัณฑนากร นักวิชาการ มาร่วมกัน ท�ำงานให้พระศาสนจักร ในรูปคณะอนุกรรมการ ศิลปะในพิธีกรรม ในคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อ พิธีกรรม หลังจากคุณพ่อเขียวได้มรณภาพ และพระ สังฆราชฟรังซิส เซเวียร์ เกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช ขณะนั้ น ด� ำ รงต� ำ แหน่ ง พระสั ง ฆราชสั ง มณฑล

14 จุลสารพิธีกรรม

นครสวรรค์ ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นพระอัคร สังฆราชแห่งอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ และพระคุณ เจ้ า ก็ ได้ ด� ำ รงต� ำ แหน่ ง ประธานคณะกรรมการ คาทอลิกเพื่อพิธีกรรมด้วย พระคุณเจ้าได้เห็นถึง ความส�ำคัญของศิลปะศักดิ์สิทธิ์ ได้รับทราบและมี ส่ ว นร่ ว มในการท� ำ งานร่ ว มในการท� ำ งานของ คณะอนุกรรมการศิลปะในพิธีกรรมมาโดยตลอด จึง ได้จัดตั้งให้เป็น “คณะกรรมการแผนกศิลปะใน พิธีกรรม” ในคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อพิธีกรรม ทั้งนี้เพื่อให้ท�ำหน้าที่ตามที่ก�ำหนดไว้ ใน กฎทั่วไป ส�ำหรับมิสซาตามจารีตโรมัน (Institutio Generalis Missalis Romani) ตามข้อก�ำหนดของสภาสังคายนา สากลวาติกันที่ 2 บทที่ 5 ข้อ 291 เป็นที่ทราบกันดีว่าพระศาสนจักร ยังขาด แคลนบุคลากรทางด้านศิลปะในพิธีกรรม ดังนั้น


คณะกรรมการคณะนี้ นอกจากท�ำหน้าที่ ให้กับอัคร สังฆมณฑลกรุงเทพฯแล้ว ก็ยังช่วยให้ค�ำแนะน�ำกับ สังฆมณฑลอื่น ๆ อีกด้วย เช่น การบูรณะปรับปรุง อาสนวิ ห ารพระนางมารี อ าปฏิ ส นธิ นิ ร มล สังฆมณฑลจั นทบุรี การออกแบบและก่อ สร้ า ง อาสนวิหารอัครเทวดาราฟาแอล สังฆมณฑล สุราษฎร์ ธ านี การบูร ณะปรับปรุงโบสถ์ป ระจ� ำ อารามนักบวชหญิงคณะกลาริส กาปูชิน บ้านโป่ง สังฆมณฑลราชบุ รี การปรับปรุงวัดอัครเทวดา มีค าแอล หนองซ่งแย้ (โบสถ์ ไ ม้มหัศจรรย์ ) จังหวัดยโสธร สังฆมณฑลอุบลราชธานี เป็นต้น “โบสถ์” (Church) คืออาคารศักดิ์สิทธิ์ สร้าง ขึ้นเพื่อการนมัสการพระเจ้า นอกจากนั้นแล้วโบสถ์ หมายถึง “บ้านพระเจ้า” และยังหมายถึง “บ้าน ประชากรของพระเจ้ า ” ดั ง นั้ น โบสถ์ จึ ง เป็ น เอกลักษณ์ประการหนึ่งของวิถีชีวิตคริสตชน และ เป็ น สถาปั ต ยกรรมอั น ทรงคุ ณ ค่ า ทั้ ง ในด้ า นจิ ต วิญญาณ ศิลปะสถาปัตยกรรม ศิลปกรรม เป็นที่รัก

ผูกพัน และหวงแหน ของชุมชนคริสตชนในท้องถิ่น นั้น ๆ ดังนั้นการจะท�ำการใด ๆ เกี่ยวกับโบสถ์และ สภาพแวดล้อมของโบสถ์ จึงควรได้รับการพิจารณา โดยรอบคอบร่วมกันทุกฝ่าย คณะกรรมแผนกศิลปะ ในพิธีกรรมมีแนวทางปฏิบัติ และมีผู้ทรงคุณวุฒิ ที่จะช่วยให้ค�ำแนะน�ำที่เหมาะสมดังนั้นหากวัดใด ประสงค์จะขอค�ำแนะน�ำโปรดติดต่อ คุณพ่ออันโตนี โอ วาลแซ็กกี เลขาธิการคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อ พิธีกรรม คณะกรรมการฯ พร้อมที่จะท�ำงานเพื่อ รั ก ษาไว้ ซึ่ ง สถาปั ต ยกรรมอั น ทรงคุ ณ ค่ า ของพระ ศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย และโบสถ์อันทรง คุณค่าทางจิตวิญญาณของท่านเสมอ แต่ถึงอย่างไรก็ดี อยากจะเชิญชวนให้ทุก สังฆมณฑลได้มีการพิจารณาจัดตั้งคณะกรรมการ ศิลปะในพิธีกรรมของแต่ละสังฆมณฑล เพราะเมื่อ ถึงเวลานั้นเราจะได้มีการประชุมปรึกษาหารือร่วม กัน เพื่อการให้ค�ำแนะน�ำต่าง ๆ เกิดประโยชน์สูงสุด ต่อพระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย

Liturgy Journal 15


สวัสดีครับผูอ้ า่ นทุกท่าน.. เดือนกรกฎาคม ถึง กันยายน อยู่ในช่วงเทศกาลธรรมดา แม้วา่ จะชือ่ ว่า “เทศกาลธรรมดา” แต่ ในช่วงเวลาดังกล่าวก็มีความส�ำคัญต่อชีวิตของคริสตชนที่จะได้เจริญเติบโต อาศัยพระวาจาที่ ได้รบั ฟังอย่างต่อเนือ่ งในพิธบี ชู าขอบพระคุณแต่ละวัน โดยเฉพาะอย่างยิง่ ในวันอาทิตย์ ซึ่งเราเฉลิมฉลองธรรมล�้ำลึกปัสกาของพระคริสตเจ้า นอกจากนั้น ในเทศกาลธรรมดานี้ยังมีวันฉลอง ส�ำคัญๆ หลายโอกาส เช่น วันฉลองพระเยซูเจ้าทรงประจักษ์พระวรกายต่อหน้าอัครสาวก (6 ส.ค.) วันสมโภชพระนางมารีย์รับเกียรติเข้าสู่สวรรค์ทั้งกายและวิญญาณ (15 ส.ค.) วันฉลองแม่พระบังเกิด (8 ก.ย.) วันฉลองเทิดทูนไม้กางเขน ( 14 ก.ย.) วันฉลองอัครทูตสวรรค์มคี าเอล คาเบรียล และราฟาเอล (29 ก.ย.) และส�ำหรับพ่อซึ่งเป็นสมาชิกคณะภราดาน้อยกาปูชิน ยังมีวันระลึกถึงนักบุญปีโอแห่งปีเอ เตรลชีนา หรือคุณพ่อปีโอ (23 ก.ย.) ซึ่งเป็นวันระลึกถึงบังคับที่พระศาสนจักรได้เพิ่มเข้ามาในปฏิทิน พิธกี รรม สิง่ นีแ้ สดงให้เห็นว่า แม้ชวี ติ ประจ�ำวันของเราจะดูเหมือนว่าไม่มอี ะไรพิเศษ แต่ทกุ ๆ วันพระเจ้า ก็มักจะประทานบางสิ่งที่พิเศษแก่เราอย่างสม�่ำเสมอจนเรารู้สึกว่าเป็นเรื่องธรรมดา นั่นก็คือ พระพรที่ ให้เราได้มีชีวิตอยู่ ในวันนี้ ซึ่งท�ำให้เรายังมี โอกาสแสดงความรักต่อเพื่อนพี่น้องรอบข้าง และแสดงความ รักต่อพระองค์ผู้ทรงเป็นพระผู้สร้างของเราโดยเฉพาะเมื่อเรามาร่วมในพิธีบูชาขอบพระคุณ พ่อหวังว่าจุลสารฉบับนี้จะเป็นประโยชน์ส�ำหรับแต่ละท่านที่ ได้อ่าน ทั้งในรูปแบบของสิ่งพิมพ์ และทางสื่อออนไลน์ เพื่อเป็นแนวทางในการอภิบาลด้านพิธีกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในชุมชนความเชื่อ ของพี่น้อง ขอองค์พระผู้เป็นเจ้าประทานพรแก่ทุกท่าน และขอสันติสุขและความดีจงสถิตในจิตใจของ ทุกท่านเสมอไป คุณพ่ออันโตนี โอ วาลแซ็กกี O.F.M. Cap. เลขาธิการคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อพิธีกรรม


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.