สาสน์จากพระคาร์ดินัลฟรังซิสเซเวียร์ เกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช ก่อนอื่น พ่อขอส่งความสุขในโอกาสปัสกาแด่พี่น้องทุกท่าน และขอขอบคุณพี่น้องคริสตชนผู้มีน�้ำใจดีทุก ท่าน ทั้งพระสงฆ์ นักบวช และฆราวาส ที่ ได้ร่วมใจกันภาวนาเพื่อการประชุมสมัชชาใหญ่ของพระศาสนจักร คาทอลิกในประเทศไทย ค.ศ. 2015 จนการประชุมในครั้งนี้ส�ำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดีภายใต้การน�ำของพระจิตเจ้า เราได้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์มากมายในการขับเคลื่อนพระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย ในการประชุมสมัชชาใหญ่ ในครั้งนี้ซึ่งใช้หัวข้อ “ศิษย์พระคริสต์เจริญชีวิตประกาศข่าวดี ใหม่” เรื่องหนึ่ง ที่สมาชิกในที่ประชุมให้ความส�ำคัญ มีการแสดงความคิดเห็น และให้ข้อเสนอแนะที่มีประโยชน์เป็นอย่างมาก คือ เรื่องพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ พ่อมั่นใจว่าที่เป็นเช่นนั้นเพราะ “พิธีกรรมเป็นจุดยอดที่กิจกรรมของพระศาสนจักรมุ่งไป หา และในเวลาเดียวกันก็เป็นบ่อเกิดที่พลังทั้งหมดของพระศาสนจักรหลั่งไหลออกมา เพราะงานแพร่ธรรม ทุกชนิดมีจุดประสงค์ ให้ทุกคนที่มีความเชื่อ รับศีลล้างบาปเข้ามาเป็นบุตรของพระเจ้าแล้ว จะได้มาชุมนุม กันในพระศาสนจักรเพื่อสรรเสริญพระเจ้า มีส่วนร่วมถวายบูชาและรับประทานอาหารมื้อค�่ำขององค์พระ ผู้เป็นเจ้า” (SC 10) แน่นอนในหลายๆ เรื่องเป็นสิ่งที่คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อพิธีกรรมทั้งในระดับชาติและระดับสังฆมณฑล ได้ด�ำเนินการไปแล้ว เช่น การให้ความส�ำคัญกับการจัดพิธีกรรมวันพระเจ้า การอบรมให้ความรู้เรื่องพิธีกรรมแก่ ศาสนบริกรและสัตบุรุษทั่วไป ฯลฯ พ่อขอเป็นก�ำลังใจ และมั่นใจว่าเราจะท�ำให้เป็นระบบและลึกซึ้งยิ่งขึ้น รวมทั้งข้อ เสนอแนะต่างๆ ที่ ได้รับซึ่งเราจะพิจารณาร่วมกัน และก�ำหนดแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการในการด�ำเนินงาน ต่อไป ขอพี่น้องภาวนาเพื่อเราด้วย เพื่อว่า “การฉลองพระธรรมล�้ำลึกของพระเยซูเจ้าในพิธีกรรม จะได้น�ำเรา มุ่งสู่พันธกิจแห่งการเป็นประจักษ์พยานแห่งความรักของพระองค์ด้วยชีวิตของเรา” (เทียบ Sacramentum Caritatis ข้อ 85) ขอพระเจ้าทรงอ�ำนวยพระพรพี่น้องทุกท่าน
พระคาร์ดินัลฟรังซิสเซเวียร์ เกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช ประธานคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อพิธีกรรม สภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศไทย
13. พระวรสาร
ก่อนจะประกาศพระวรสาร พระสงฆ์ (หรือ ศูนย์กลาง หรือช่วงเวลาที่ส�ำคัญที่สุดของภาค สังฆานุกร) จะกล่าวว่า “พระเจ้าสถิตกับท่าน” ถ้อยค�ำนี้ วจนพิธกี รรม คือ การประกาศพระวรสาร โดยพระสงฆ์ ณ เวลานี้ ที่ผู้อ่านยืนอยู่ต่อหน้าประชาสัตบุรุษ โดยมี หรือสังฆานุกร พระคัมภีร์ (พระวรสาร) อยู่ระหว่างกลาง ไม่ ได้เป็น ในพิธีมิสซาฉลองใหญ่ มีการแห่พระวรสาร ถ้อยค�ำทักทาย เหมือนตอนต้นมิสซา แต่เป็นการ อย่างสง่า น�ำหน้าด้วยเทียนและก�ำยาน ที่จะถวาย “ประกาศ” ประกาศให้ประชาสัตบุรุษทราบว่า เวลานี้ โดยผู้อ่านพระวรสาร พระเจ้าประทับอยู่กับเราในพระวาจาที่ท่านก�ำลังจะ พระวรสารเป็น สาร หรือ ข่าวดีของพระเยซู อ่านต่อไป โดยตรง ในพิธีกรรมจึงให้ความส�ำคัญ และให้ที่ชุมนุม “ขอถวายพระเกียรติแด่พระองค์ พระเจ้าข้า” แสดงความเคารพ ให้เกียรติมากกว่าบทอ่านอืน่ ๆ ผูอ้ า่ น ค�ำกล่าวของทีช่ มุ นุม เมือ่ ผูอ้ า่ นพระวรสาร กล่าวเกริน่ น�ำ เอง ก็จะประกาศในนามของพระเยซู หากสังฆานุกรอ่าน ทีม่ าของพระวรสาร เป็นการแสดงความเคารพ เทิดเกียรติ ก็จะไปขอพรจากพระสงฆ์ผู้เป็นประธานก่อน และเมื่อ เหมือนการรับเสด็จกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ พร้อมกับการท�ำ พระสงฆ์เป็นผูอ้ า่ น ก็จะก้มศีรษะไปทางพระแท่น ภาวนา เครื่องหมายกางเขน ที่หน้าผาก (เราจะคิด ไตร่ตรอง เงียบ ๆ วอนขอองค์พระจิตเจ้า ประทับอยูท่ ปี่ ากของเขา พระวาจา) ที่ปาก (เราจะประกาศพระวาจา) ที่หัวใจ เพื่อจะได้ประกาศพระวาจาอย่างถูกต้อง (เราจะรัก และเจริญชีวิตด้วยพระวาจา)
2 จุลสารพิธีกรรม
ข้อสังเกตและค�ำแนะน�ำบางประการ 1. ในมิสซาฉลองใหญ่ ที่พระสังฆราชเป็นประธาน มีธรรมเนียมทีพ่ ระสังฆราชจะแสดงความเคารพ พระวรสารหลังจากประกาศพระวรสารจบแล้ว ในพิธีกรรม ให้ความส�ำคัญกับอิริยาบถของ ประธานเสมอ ช่วงเวลาดังกล่าวทีช่ มุ นุมจึงควรยืน อย่างไรก็ตาม ไม่เป็นข้อบังคับว่า ประธาน (พระสังฆราช) จะต้องเป็นผู้แสดงความเคารพ พระวรสาร พระสังฆราชสามารถให้ผู้อ่านเป็น ผู้แสดงความเคารพพระวรสาร ณ บรรณฐาน เมื่ออ่านจบแล้ว ก็ ได้ 2. มีการเรียงล�ำดับพระวรสารไว้ ให้อา่ นครบ ทัง้ 4 เล่ม ในรอบ 3 ปี คือ ปี A ใช้พระวรสารนักบุญ มัทธิว ปี B นักบุญมาร์ โก ปี C นักบุญลูกา ส่วนในเทศกาลปัสกา จะใช้พระวรสารนักบุญ ยอห์น
14. บทเทศน์ เป็นหน้าทีท่ สี่ งวนไว้สำ� หรับพระสงฆ์ และสังฆานุกร ที่ ได้รับมอบหมายจากประธาน การเทศน์เป็นมากกว่า การสอนเรื่องศีลธรรมทั่วไป เป็นการหล่อเลี้ยงความ เชื่อคริสตชนด้วยพระวาจาของพระเจ้า การเทศน์จึง ต้องมีเนื้อหาที่มีเรื่องราวจากพระคัมภีร์เป็นพื้นฐาน ส�ำคัญ เพื่อเชื่อมโยงให้เข้ากับธรรมล�้ำลึกหรือเนื้อหา ของการฉลองในวันนั้น รวมไปถึงการประยุกต์ ให้ สามารถน�ำไปเป็นแนวทางการเจริญชีวิต เนื้อหาสาระ หรือรูปแบบการเทศน์ ยังสรุปได้ เป็น 5 ลักษณะด้วยกัน คือ 1. เป็นการช่วยกระตุ้นเตือน และน�ำจิตใจสัตบุรุษให้
มุง่ พัฒนาชีวติ ภายใน ให้ยกจิตใจหาพระ ขจัดความ กังวล เปิดเนื้อที่ของชีวิตให้พระท�ำงาน 2. เป็นการอธิบายเรื่องราวจากพระคัมภีร์ ท�ำให้สาร หรือสาระ ของบทอ่านและพระวรสารเป็นที่เข้าใจ ของสัตบุรุษ 3. เป็นการอธิบายความหมายของบางล�ำดับขั้นตอน ของพิธี โดยเฉพาะเรื่องสัญลักษณ์ต่าง ๆ 4. เป็นการสอนแบบดัง้ เดิมของพระศาสนจักร ทีเ่ ชือ่ ม โยงธรรมล�ำ้ ลึกให้เข้ากับชีวติ ประจ�ำวัน (การเทศน์ แบบ Mystagogy) 5. เป็นการน�ำเอาสถานการณ์ หรือปัญหาในปัจจุบัน มาเชื่อมโยงกับพระวาจาของพระเจ้า เพื่อค้นพบ แนวทาง และค�ำตอบ ทุกวันอาทิตย์ และวันฉลองบังคับ ถือเป็น หน้ า ที่ ท่ี พ ระสงฆ์ ผู ้ ป ระกอบพิ ธี จ ะต้ อ งเทศน์ ส อน สัตบุรษุ (หรือมอบหมายให้พระสงฆ์ทา่ นอืน่ หรือสังฆานุกร เทศน์แทนก็ ได้) ส�ำหรับวันธรรมดา ไม่ ได้เป็นข้อบังคับ แต่เมื่อมีการถวายมิสซาร่วมกับกลุ่มประชาสัตบุรุษ ก็เชื้อเชิญและส่งเสริมให้มีการเทศน์ ด้วยระยะเวลาที่ เหมาะสม ข้อสังเกตและค�ำแนะน�ำบางประการ 1. มีระบุไว้ ในหนังสือพิธมี สิ ซาว่า หลังบทเทศน์แล้ว มีการเงียบสักครู่หนึ่ง เพื่อให้ทุกคนได้ร�ำพึง ไตร่ตรองส่วนตัว และให้พระจิตเจ้าได้ท�ำงาน ในใจของแต่ละคน ที่มีสถานการณ์ชีวิตแตกต่าง กันไป ด้วยเหตุนี้ หลังจากเทศน์จบแล้ว ไม่ควร ต่อด้วยบทข้าพเจ้าเชื่อ หรือล�ำดับพิธีอื่นทันที 2. การเทศน์ ในพิธีมิสซา มีลักษณะเด่นชัดในเรื่อง การประกาศพระวาจา ใช้พระวาจาที่ ได้ประกาศ
Liturgy Journal 3
เป็น “เสียง” เป็น “ถ้อยค�ำ” น�ำมาเป็น “สื่อ” ที่ส�ำคัญ แตกต่างจากการเทศน์นอกพิธีมิสซา ที่อาจใช้สื่ออื่น ๆ ประกอบการเทศน์ ได้
15. บทข้าพเจ้าเชื่อ หลังจากได้ฟังพระวาจาของพระเจ้า รับฟังบท เทศน์ และมีเวลาสั้น ๆ ได้ ไตร่ตรอง ร�ำพึงส่วนตัวแล้ว ประธานและประชาสัตบุรษุ จะยืนยันความเชือ่ “ของตน” แม้ จ ะประกาศยื น ยั น ร่ ว มกั น เป็ น หมู ่ ค ณะ ถ้อยค�ำในบทข้าพเจ้าเชื่อ ยังใช้ค�ำว่า “ข้าพเจ้า” ไม่ ใช่ “ข้าพเจ้าทั้งหลาย” เน้นการยืนยันความเชื่อของตนเอง เนื้อหาของบทข้าพเจ้าเชื่อ รวมข้อความเชื่อ ของพระศาสนจักรคาทอลิกไว้ การไตร่ตรองและคิด ตามไปด้วย จึงท�ำให้การประกาศความเชือ่ มีความหมาย รูปแบบการประกาศความเชื่อ สามารถท�ำได้ 2 แบบ ด้วยกัน คือ กล่าวพร้อมกันทั้งหมด หรือกล่าว สลับกับประธานก็ ได้ หากใช้การขับร้อง แทนการกล่าว ก็จะช่วย ให้การประกาศความเชื่อมีความสง่ามากขึ้น ทุกวันอาทิตย์ วันสมโภช และวันฉลองใหญ่ โอกาสพิเศษ จะสวดบทข้าพเจ้าเชื่อ
16. บทภาวนาเพื่อมวลชน ภาควจนพิ ธี ก รรมจบลงด้ ว ยบทภาวนาเพื่ อ มวลชน ที่เริ่มต้นด้วยการเกริ่นน�ำจากประธานในพิธี และมีผู้แทนกล่าวเนื้อหาของบทภาวนาเป็นข้อ ๆ ที่ ไม่
4 จุลสารพิธีกรรม
ยาวเกินไป มีจ�ำนวนข้อที่พอเหมาะ และเรียงล�ำดับ อย่างถูกต้อง 1. เพื่อความต้องการของพระศาสนจักร : เพื่อผู้น�ำ พระศาสนจักร 2. เพือ่ ผูป้ กครองบ้านเมือง และเพือ่ ความรอดพ้นของ มนุษย์ทั่วโลก 3. เพื่อผู้ต้องทนทุกข์ต่าง ๆ 4. เพื่อชุมชนท้องถิ่น 5. เพื่อผู้ร่วมชุมนุม เนื้ อ หาของบทภาวนาเพื่ อ มวลชน ยั ง ไม่ ใ ช่ “ค�ำภาวนา” เป็นแต่เพียงการกล่าวเจตนา “เพือ่ ...…..” และเมื่อกล่าวเจตนาครบทุกข้อแล้ว ประธานผู้เดียว จะเป็นผู้แทนประชาสัตบุรุษภาวนาสรุป แล้วทุกคน ตอบว่า “อาแมน” ข้อสังเกตและค�ำแนะน�ำบางประการ 1. แม้จะมีบทภาวนาเพือ่ มวลชน ทีจ่ ดั พิมพ์ไว้ ให้แล้ว เมื่อมีกลุ่มเตรียมพิธีกรรม ควรเตรียมเรื่องบท ภาวนาเพื่อมวลชนด้วย โดยปรับเปลี่ยนเนื้อหา ให้สอดคล้องกับสถานการณ์เฉพาะของชุมชน นั้น ๆ 2. ไม่ ค วรมี จ� ำ นวนข้ อ ของบทภาวนาเพื่ อ มวลชน มากเกินไป และเนื้อหาควรกระชับ 3. ในโอกาสพิเศษ อาจจะมีผู้อ่านบทภาวนาเพื่อ มวลชนหลายคน ในกรณีนี้ แต่ละคนควรเตรียม อย่างดี และอยู่ในต�ำแหน่งทีพ่ ร้อมจะกล่าวเจตนา ของบทภาวนานี้ อย่างต่อเนื่อง ไม่ติดขัด
สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสเสด็จไปยังวัดนักบุญทั้งหลายเมื่อช่วงเย็นของวันที่ 1 มีนาคม ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นวัดที่บุญราศีเปาโลที่ 6 พระสันตะปาปาทรงประกอบพิธีมิสซาครั้งแรกเป็นภาษา อิตาเลียนซึ่งเป็นภาษาท้องถิ่น เมื่อ 50 ปีที่แล้ว ในเดือนธันวาคม ค.ศ.1963 สังคายนาวาติกันที่ 2 ได้ออกสังฆธรรมนูญเรื่องพิธีกรรม ศักดิ์สิทธิ์ Sacrosanctum Concilium ในเดือนกันยายน ค.ศ.1964 สมณกระทรวงว่าด้วยพิธีกรรม และคณะกรรมการเพื่อการด�ำเนินงานให้ธรรมนูญว่าด้วยพิธีกรรมบังเกิดผลส�ำเร็จได้ออกเอกสาร Inter Oecumenici ซึ่งเป็นคู่มือฉบับแรกส�ำหรับการประยุกต์ ใช้สังฆธรรมนูญว่าด้วยพิธีกรรม ศักดิ์สิทธิ์อย่างถูกต้องของสภาสังคายนาวาติกันที่ 2 เอกสาร Inter Oecumenici ได้มีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 7 มีนาคม ค.ศ. 1965 การไตร่ตรองถึงพระวรสารในมิสซาของเย็นวันนัน้ สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสทรงตรัสว่า การช�ำระพระวิหารของพระคริสตเจ้าคือการเรียกไปสู่ “การนมัสการที่แท้จริง คือความสอดคล้อง
Liturgy Journal 5
กันระหว่างพิธีกรรมและชีวิต” พระสันตะปาปาทรงใช้ศาสนภัณฑ์ชุดเดิม บรรณฐานเดิม เชิงเทียน เดิม ที่พระสันตะปาปาเปาโล ที่ 6 ทรงใช้ ในวันนั้น เมื่อ 50 ปี ที่แล้ว พระสันตะปาปาฟรังซิสยังได้ทรงตรัสอีกว่า “พิธีกรรมไม่ ใช่เรื่องแปลกประหลาดที่อยู่ห่าง ไกล ซึ่งเมื่อก�ำลังประกอบแล้วท�ำให้ผู้คนไม่สามารถคิดเข้าใจถึงสิ่งต่างๆ หรือได้แต่สวดสายประค�ำ ไม่..ไม่ ใช่เลย แต่มีปฏิสัมพันธ์ ในระหว่างพิธีกรรมที่เราฉลอง เพราะพิธีกรรมน�ำบางสิ่งเข้ามายัง ชีวิตของเรา” พระสันตะปาปาตรัสว่ากุญแจแก้ปัญหาก็คือ จะต้องมีความกลมกลืนระหว่างพิธีกรรมและ ชีวิตประจ�ำวันของคริสตชน ยกตัวอย่างเช่น พระองค์ตรัสว่าคาทอลิกไม่อาจกระท�ำผิดต่อผู้อื่น และก็ยังต้องเป็นเนื้อหาส�ำคัญที่อยู่ ในพิธีมิสซา พระสันตะปาปาฟรังซิสทรงเสริมอีกว่า “ผู้เป็นศิษย์ของพระเยซูเจ้าไม่ ได้ ไปวัดเพียงเพื่อจะ ต้องถือกฎ หรือเพื่อจะได้รู้สึกดีกับพระเจ้าผู้ซึ่งไม่มารบกวนเราจนมากเกินไป...” แต่ศิษย์ของพระ เยซูเจ้าไปวัดเพื่อพบกับพระเจ้าและได้รับพระหรรษทาน ซึ่งบังเกิดผลหลั่งลงมาในศีลศักดิ์สิทธิ์ ให้มีพลังที่จะคิดและปฏิบัติตามพระวรสาร” ก่อนจะเสด็จกลับ พระองค์ทรงเตือนให้คิดว่าการปรับปรุงพิธีกรรม เป็น “ความกล้าหาญ ของพระศาสนจักร” ซึ่งช่วยให้ผู้คนได้เข้าใจว่า พิธีมิสซาคืออะไร พระองค์ตรัสว่า “เป็นเรื่องส�ำคัญ ที่จะร่วมพิธีมิสซาในลักษณะนี้” และดังนั้นการปฏิรูปปรับปรุง จึงเป็นสิ่งที่ ไม่ท�ำไม่ ได้ พระสันตะปาปาทรงกล่าวติดตลกถึงนักขับร้องที่ร้องเพลงเพราะมาก แต่พระองค์ทรง อยากให้สัตบุรุษได้มีส่วนร้องเพลงในพิธีด้วย “พิธีกรรมในพระศาสนจักรเชิญชวนเราให้เดินบน หนทางของการกลับใจและเป็นทุกข์ถึงบาป เฉพาะอย่างยิ่งในเทศกาลมหาพรต นี่คือเวลาของการ ฟื้นฟูจิตใจ นี่คือเวลาของการรักษาบาปผิดของเรา นี่คือเวลาที่เราถูกเรียกให้กลับมาแสวงหาศีล อภัยบาปและคืนดีกับพระเจ้า สิ่งนี้จะท�ำให้เราก้าวออกจากความมืดของบาป เพื่อไปสู่ความสว่าง แห่งพระหรรษทานและมิตรภาพกับพระเยซู” สมเด็จพระสันตะปาปายังทรงตรัสอีกว่า “ณ ที่นี้ เมื่อ 50 ปีมาแล้ว บุญราศีเปาโลที่ 6 ทรงเริ่มต้นการปฏิรูปพิธีกรรม” พระองค์ยังได้ทรงสวดภาวนาขอให้เขตวัดได้เป็นสถานที่ซึ่งผู้มี ความเชื่อมาชุมนุมกันเพื่อสวดภาวนาทั้งในแบบส่วนตัวและเป็นหมู่คณะ ให้การต้อนรับซึ่งกันและ กันดังเช่นพี่น้องไม่ ใช่เยี่ยงคนแปลกหน้า รับฟังพระวาจาของพระเจ้าในที่ชุมนุมซึ่งมาร่วมพิธีกรรม และจะได้พบการสนับสนุนเพื่อการด�ำเนินชีวิตแบบคริสตชน Catholic World News : March 09, 2015
6 จุลสารพิธีกรรม
“ดนตรีศักดิ์สิทธิ์ หมายถึง บทเพลงที่แต่งขึ้นเพื่อช่วย ส่งเสริมให้สัตบุรุษได้มีส่วนร่วมในศาสนพิธีกรรม สรรเสริญ พระเจ้าได้อย่างสง่างามและศักดิ์สิทธิ์” (Sacrosanctum Concilium 112) ดนตรี ในพิธีมิสซา นับเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่ ล�้ำค่าของพระศาสนจักรคาทอลิก ที่สืบทอดมานานตั้งแต่ จักรวรรดิโรมัน (Holy Roman Empire) ยังเรืองอ�ำนาจกว่า สองพันปี ดนตรี การภาวนา และพิธีกรรม ถูกผนวกเข้าเป็น อันหนึ่งอันเดียวกัน เพื่อส่งเสริมความเชื่อ ความศรัทธา ให้ สืบต่อเนือ่ งจากยุคสมัยหนึง่ สูส่ มัยหนึง่ จนถึงปัจจุบนั เช่นเดียว กับบทเพลงศักดิ์สิทธิ์ที่ขับร้องตามวัดต่างๆ ในประเทศไทยทุก วันนี้นั้น มีความเป็นมาที่ยาวนานควบคู่ ไปกับประวัติศาสตร์ ในความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งประเทศของโลกตะวั น ตกและ ประเทศไทย ที่เริ่มขึ้นตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 จากการเข้ามาใน ประเทศไทยของชาวสเปนและโปรตุเกส และมิชชัน นารี ฝรั่งเศสคณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส (Missions Étrangères de Paris) หรือเรียกโดยย่อว่าคณะ M.E.P. ใน ปี ค.ศ. 1662 ซึ่งตรงกับแผ่นดินของสมเด็จพระนารายณ์ มหาราชและพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ของฝรั่งเศส มิ ช ชั น นารี ไ ด้ รั บ พระราชทานที่ ดิ น ให้ ก ่ อ สร้ า งวั ด นักบุญยอเซฟและวิทยาลัยกลาง รวมทัง้ มีพระบรมราชานุญาต
ให้เผยแพร่ศาสนาคริสต์ ในแผ่นดินสยามได้ จึงกล่าวได้ว่า นับตั้งแต่ครึ่งหลังของศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมาพิธีกรรมทาง คริสตศาสนาได้เติบโตด้วยคริสตชนซึ่งเป็นชาวยุโรปที่พ�ำนัก ในสยาม ตลอดจนชาวญวน ชาวจีน ชาวญี่ปุ่น ที่ตั้งบ้านเรือน ในอยุธยา บทบาทของดนตรี ในสมัยนั้น นอกจากขับร้องใน พิธีกรรมแล้วยังใช้เพื่อสอนค�ำสอน ดนตรีจึงเป็นมากกว่า บทเพลง แต่ยังเป็นข้อความเชื่อที่ขยายชุมชนชาวคริสต์ ให้ เติบโตขึ้นด้วย เมื่อมิชชันนารีเข้ามาในแผ่นดินสยามนั้น ต้อง ใช้กฎเกณฑ์และข้อปฏิบัติต่างๆ รวมทั้งการขับร้องบทเพลง ตามแบบแผนการปฏิบัติในยุโรปศตวรรษที่ 17 คือ ใช้ภาษา ลาตินเป็นภาษาหลักในการท�ำมิสซา ใช้การขับร้องบทเพลง เกรโกเรียนชานท์ และใช้ออร์แกนเป็นเครื่องดนตรีหลัก แต่ ใน การปฏิบตั จิ ริงนัน้ สัตบุรษุ ไม่ได้มสี ว่ นร่วมในการขับร้องบทเพลง ในพิธี แต่ ใช้การภาวนาด้วยภาษาของตน เกิดเป็นท�ำนองสวด ในภาษาต่างๆ ในแผ่นดินสยาม ได้แก่ ท�ำนองสวดญวน ท�ำนองสวดจีน เป็นต้น แม้การเฉลิมฉลองบรรเลงดนตรี ใน ขบวนแห่ก็เช่นกัน ชุมชนชาวคริสต์ชาติต่างๆ ที่อยู่ ในอยุธยา จะน�ำเครือ่ งดนตรีของตนมาบรรเลงรวมกัน นับเป็นการประสม วงดนตรีขา้ มวัฒนธรรมเป็นครัง้ แรกในแผ่นดินสยาม ดังหลักฐาน ที่กล่าวบันทึกไว้ ในหนังสือประวัติคริสตศาสนจักรคาทอลิกใน ประเทศไทย ความว่า
Liturgy Journal 7
“วงซอของค่ า ยคริ ส ตั ง มี ชื่ อ มากทุ ก ๆค่ า ยก็ มี ซ อวง หนึ่ งเครื่ อ ง ดนตรี ที่ ใช้ คือ ซอฝรั่ง ซอจีน ขลุ่ย กีตาร์ หีบเพลง ปากกลอง กลองเล็ก ฉิ่ง และฆ้องวง วันฉลองวัดถือ เป็นวันฉลองใหญ่มีการสวดภาวนาและมิสซาใหญ่...เวลาบ่าย สามโมงมีการขับแวสเปรัสและแห่” (วิกเตอร์ลาร์เก, 2539: 158-159) ในสมัยอยุธยานั้นมิชชันนารี ได้พยายามค้นหาวิธี ใน การเผยแพร่ความเชื่อในรูปแบบต่างๆ เช่นน�ำท�ำนองเพลง ลาตินมาใส่ค�ำร้องในภาษาไทย เพื่อสร้างความเข้าใจในข้อ ค�ำสอนแทนภาษาลาติน ที่มีแต่มิชชันนารีเท่านั้นที่สามารถ เข้าใจได้รวมทั้งในสมัยพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ (พ.ศ. 22512275) มีการห้ามใช้ภาษาไทยในการเผยแพร่คริสตศาสนา มิชชันนารีจึงใช้ตัวอักษรโรมันในการเขียน ค�ำอ่านภาษาไทย เพื่ อ ใช้ ในการสอนค� ำ สอนและเขี ย นเนื้ อ ร้ อ งของบทเพลง ก่อก�ำเนิดเป็นที่มาของบทเพลงภาษาวัด (ตัวอย่างที่ 1) และ เป็นพัฒนาการเริ่มแรกของบทเพลงศักดิ์สิทธิ์ ในประเทศไทย ที่เมื่อเวลาผ่านไป ได้เติบโตควบคู่กับงานแพร่ธรรมของ มิชชันนารีคณะต่างๆ ที่เข้ามาสร้างกิจการของพระศาสนจักร ให้ เ ติ บ โตขึ้ น เป็ น สั ง ฆมณฑลและอั ค รสั ง ฆมณฑลต่ า งๆ ในประเทศไทย
ตัวอย่างที่ 1 บทเพลง ณ เพลาดึกดื่นในหนังสือบทเพลง ต่างๆและบทเพลงภาษาวัดที่พบในสมัยต่อมา
8 จุลสารพิธีกรรม
ในพัฒนการทางด้านดนตรีนั้น ได้เปลี่ยนแปลงอย่าง เห็นได้ชดั ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมหาราช ที่มี คณะมิชชันนารีคณะต่างๆ รวมทั้งชาวต่างชาติเข้ามาท�ำงาน ในแผ่นดินสยามเป็นจ�ำนวนมาก ประกอบกับมีพระบรมราชานุญาต ให้ มิ ช ชั น นารี ใ ช้ ภ าษาไทยในการเผยแพร่ ค ริ ส ตศาสนาได้ ท�ำให้จ�ำนวนคริสตชนที่เป็นชาวไทยเพิ่มขึ้น มิชชันนารีเหล่านี้ เมือ่ เข้ามาในสยาม ได้นำ� หนังสือเพลงต่างๆ เข้ามาเป็นจ�ำนวนมาก ซึ่งเป็นเพลงประเภทส่งเสริมความศรัทธาในภาษาต่างๆ เช่น เพลงฝรัง่ เศส เพลงอิตาเลียน และเพลงเยอรมัน รวมทัง้ เพลง ประสานเสียงทางศาสนาที่ประพันธ์ โดยคีตกวีเอกของโลก เช่น บาค (J.S. Bach) และฮันเดล (Handel) ที่มิชชันนารี ได้ แปลเนื้อร้องเป็นภาษาไทย รวมทั้งมีการพิมพ์หนังสือเพลง เป็นภาษาไทยเล่มแรกในปี พ.ศ. 2476 โดยพระสังฆราชแจง เกิดสว่าง พระสังฆราชไทยคนแรก หนังสือนี้ประกอบด้วย บทเพลงลาตินที่ ใช้ขับร้องในพิธีมิสซา แต่เขียนค�ำอ่านด้วยตัว อักษรภาษาไทย (ตัวอย่างที่ 2) บทเพลงลาตินทีแ่ ปลเป็นภาษาไทย ตลอดจนบทเพลงใหม่ที่ประพันธ์ขึ้นโดยพระสังฆราชแจงเอง นับเป็นความพยายามของท่านที่จะให้สัตบุรุษได้มีส่วนร่วมใน การขับร้องบทเพลง และเข้าใจความหมายของบทภาวนาและ บทขับร้องในพิธีกรรม อีกทั้งท่านยังสอนการขับร้อง การอ่าน โน้ตเพลงด้วยท่านเอง นอกจากพระสังฆราชแจง เกิดสว่างแล้ว บราเดอร์ลูโดวิโก แห่งคณะเซนต์คาเบรียล นับเป็นอีกผู้หนึ่งที่ มีคุณูปการต่อพัฒนาการของดนตรีศักดิ์สิทธิ์ ในประเทศไทย บราเดอร์ลูโดวิโกได้แปลบทเพลงฝรั่งเศสจ�ำนวนมาก น�ำมา ซึ่งบทเพลงสรรเสริญแม่พระที่ยังใช้ขับร้องอยู่จนถึงปัจจุบัน และจัดท�ำหนังสือเพลงไทยคริสตังขึน้ ซึง่ บรรจุบทเพลงเกีย่ วกับ แม่พระและพระเยซูเป็นจ�ำนวนมาก (ตัวอย่างที่ 3)
ยุคแห่งการทดลองค้นหารูปแบบของเพลงไทยในพิธีที่มีความ เหมาะสม สามารถขับร้องร่วมกันเป็นหมู่คณะมีความหมายที่ สอดคล้องกับพิธีกรรมและมีความเป็นไทยในบทเพลง ผลของการสั ง คายนาวาติ กั น ครั้ ง ที่ 2 นั้ น ท� ำ ให้ แต่ละสังฆมณฑลมีจ�ำนวนบทเพลงศักดิ์สิทธิ์ ไทยเกิดขึ้นเป็น จ�ำนวนมาก แต่หลายบทเพลงทีป่ ระพันธ์ขนึ้ มานัน้ ไม่ ได้รบั ความ ตัวอย่างที่ 2 (บน) การ นิยมน�ำมาขับร้อง เพราะไม่สามารถสร้างการมีส่วนร่วมใน เขี ย นค� ำ อ่ า นภาษาลาติ น พิธีกรรมได้ ด้วยมีท�ำนองที่ยากต่อการขับร้อง มีช่วงเสียงที่ ด ้ ว ย ตั ว อั ก ษ ร ไ ท ย ใ น ห นั ง สื อ เ พ ล ง ข อ ง พ ร ะ สูงเกินไป หรือมีความยาวของบทเพลงมาก หลังการสังคายนา สังฆราชแจง เกิดสว่าง วาติกัน พระสงฆ์รุ่นใหม่ๆ ได้รับการศึกษาทางการประพันธ์ ตัวอย่างที่ 3 (ขวา) การ เพลงเพิ่มขึ้น ทางพระศาสนจักรให้ทุนสามเณรไปศึกษาทฤษฎี แปลบทเพลงฝรั่งเศสเป็น ดนตรี การเรียบเรียงเสียงประสาน และการประพันธ์เพลง ภาษาไทยของบราเดอร์ ลู โดวิ โกในหนังสือเพลงไทย โดยตรง บทเพลงมีการพัฒนาให้เข้ากับความต้องการของยุคสมัย คริสต์ตัง เช่น ใช้ลกั ษณะท�ำนองและจังหวะแบบเพลงไทยสากล การสร้าง อย่างไรก็ดี แม้บทเพลงไทยจะมีจ�ำนวนเพิ่มขึ้น แต่ก็ ท�ำนองและเสียงประสานตามแบบดนตรีตะวันตก ท�ำให้บทเพลง หลายบทที่ประพันธ์ขึ้นในช่วงหลังการสังคายนาวาติกันที่ 2 เป็นบทเพลงประเภทส่งเสริมความศรัทธา หาใช่บทเพลงที่ขบั ร้องในพิธีมิสซาไม่ จนกระทั่งการสังคายนาวาติกันครั้งที่ 2 เป็นที่นิยมและยังใช้ขับร้องในทุกวันนี้ บทเพลงเกรโกเรียนชานท์ ที่เข้ามาในประเทศไทย เกิดขึน้ ในช่วงปี พ.ศ. 2505 ถึง พ.ศ. 2510 ได้มกี ารปฏิรปู พิธกี รรม ู หายไปอย่างทีห่ ลายคนเข้าใจ แต่ถกู โดยมีเจตนารมณ์เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของสัตบุรุษ และส่ง ตัง้ แต่สมัยอยุธยา ไม่ได้สญ เสริมการประยุกต์ ใช้วฒ ั นธรรมท้องถิน่ ในพิธกี รรม ซึง่ ครอบคลุม พัฒนาแต่งเติมสร้างสรรค์ดว้ ยใจรักและความศรัทธาของบรรดา ถึงการแปลบทตอบรับระหว่างพระสงฆ์ผู้ท�ำพิธีและสัตบุรุษ มิชชันนารี พระสังฆราช พระสงฆ์ และสัตบุรุษ เป็นเวลากว่า บทภาวนาต่ า งๆ และบทเพลงที่ขับร้อ งในพิธีมิสซาให้เป็น 300 ปี เพื่อให้บทเพลงในพิธีกรรมทุกวันนี้ ท�ำหน้าที่ตาม ภาษาไทย ท�ำให้บรรดาพระสงฆ์และสัตบุรษุ ทีม่ คี วามสามารถ ความหมายของดนตรีศักดิ์สิทธิ์ ได้อย่างครบถ้วน ดังเอกสาร ทางดนตรีตอ้ งสร้างบทประพันธ์ขนึ้ เป็นจ�ำนวนมาก เพือ่ ใช้เป็น ของการสังคายนาวาติกันที่ 2 กล่าวว่า “เป้าหมายที่แท้จริง บทเพลงในพิธีมิสซา เกิดการผสมผสานวัฒนธรรมดนตรีของ ของดนตรีศักดิ์สิทธิ์ คือ เพื่อถวายสิริมงคลแด่พระเจ้าและ ไทยในรูปแบบต่างๆ เช่น การน�ำบันไดเสียงเพนตาโทนิก ท�ำให้ คริสตชนเป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์” (Sacrosanctum Concilium (Pentatonic scale) ของไทยมาใช้ ในการประพันธ์ เพื่อให้ ได้ 112, Musicam Sacram 4) เสียงแบบท�ำนองเพลงไทยเดิม การเขียนค�ำร้องภาษาไทยโดยใช้ บรรณานุกรม ฉันทลักษ์ของโคลงฉันท์กาพย์กลอนของไทยเพื่อสร้างสัมผัส Large, Victor. The History of The Catholic Church in Thailand .Chacherngsao: MaephraYook Mai ทางภาษา การน�ำเครื่องดนตรี ไทยมาใช้บรรเลงในพิธี มีการ Press of Thailand, 1996. สร้างวงเครื่องสายไทย วงแคน วงสะล้อซอซึง รวมไปถึง การน�ำปี่พาทย์มาบรรเลงในพิธีมิสซา มีการน�ำท�ำนองเพลง Vatican Council, and Walter M. Abbott. The Documents of Vatican II. New York: Guild Press, 1966. ไทยเดิม เช่น เพลงลาวกระทบไม้ เพลงเขมรโพธิสัตว์ เพลง ขับไม้บัณเฑาะว์ มาใส่ค�ำร้องใหม่ ให้เหมาะสมกับพิธีมิสซา Yamprai, Jittapim. Music in Roman Catholic Mass of Thailand. M.A. Thesis, Mahidol University, นับเป็นยุคสมัยแห่งการสร้างสรรค์บทเพลงไทยในพิธีกรรมที่ 2005. น�ำเสนอเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมไทยชัดเจนที่สุด เป็นเสมือน
Liturgy Journal 9
โครงการอบรมสิ่งน่ารู้เรื่องดนตรี ในพิธีกรรม 7 ครั้ง 7 เรื่องราว-ครั้งที่ 7
หัวข้อเรื่อง “รวมพลคนดนตรีวัด - เสวนาให้ความรู้ด้านดนตรีศักดิ์สิทธิ์” เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2558 มีผู้เข้าร่วมอบรม : 60 คน
ฝึกซ้อมร้องเพลง –เพื่อร่วมเฉลิมฉลองพระสมณศักดิ์พระคาร์ดินัลใหม่
ทางแผนกดนตรีศักดิ์สิทธิ์ฯ ได้มีส่วนร่วมในการจัดงานเฉลิมฉลองพระสมณศักดิ์พระคาร์ดินัลใหม่ และเพื่อ ให้การขับร้องบทเพลงในมิสซาเป็นไปอย่างสง่างามและมีชวี ติ ชีวาด้วยการเตรียมซ้อมร้องเพลงครัง้ นีอ้ ย่างพร้อมเพรียง ทางแผนกดนตรีศกั ดิส์ ทิ ธิฯ์ ได้รบั ความร่วมมือจากนักขับร้องตามวัดต่างๆ เข้าฝึกซ้อมร้องเพลง เมือ่ วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2015 วันที่ 1 มีนาคม 2015 และวันที่ 8 มีนาคม 2015 ณ อัสสัมชัญ (บางรัก) เวลา 13.30 – 16.30 น. มีผเู้ ข้าร่วม 60 ท่าน
10 จุลสารพิธีกรรม
ร่วมร้องเพลงมิสซาเฉลิมฉลอง พระสมณศักดิ์พระคาร์ดินัลใหม่
ทางแผนกดนตรีศักดิ์สิทธิ์ฯ ร่วมกับ นักขับร้องจากวัดต่างๆ นักเรียนวง Assumption College Orchestra ควบคุมโดยมาสเตอร์ ทรงศักดิ์ งามศรี ร่วมบรรเลงดนตรี ในพิธี มิ ส ซาเฉลิ ม ฉลองพระสมณศั ก ดิ์ พ ระ คาร์ดินัลใหม่ ในวันเสาร์ที่ 14 มีนาคม 2015 เวลา 10.30 น. ณ โรงเรียนยอแซฟอุปถัมภ์ สามพราน และขับร้องบทเพลงในมิสซาเป็น ไปอย่างสง่างามและมีชีวิตชีวา
โครงการต่างๆ ปี 2015
• อบรมสิ่งน่ารู้เรื่องดนตรี ในพิธีกรรม (7 ครั้ง 7 เรื่องราว) ทุกวันอาทิตย์แรกของเดือน เริ่มเดือนกรกฎาคม 2558 เป็นต้นไปตั้งแต่เวลา 13.30 – 17.00 น. ณ ส�ำนักพระสังฆราช ชั้นใต้ดิน อัสสัมชัญ บางรัก ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2558 ถึงมกราคม 2559 • อบรมเชิงปฏิบัติเทคนิคการเล่นอิเล็กโทนประจ�ำปี 2558 วันที่ 31 กรกฎาคม และ 1 สิงหาคม 2558 ณ ชั้น 4 อาคารสยามกลการ ปทุมวัน • รับมอบอิเล็กโทนมือสองจากสยามดนตรียามาฮ่าให้กับวัดที่มีความจ�ำเป็น • หลักสูตรการเรียนร้องเพลงและพื้นฐานทางดนตรีเบื้องต้น 8 สัปดาห์ โดย อาจารย์พรเทพ วิชชุชัยชาญ และ อาจารย์ศิรารัตน์ สุขชัย ทุกวันอาทิตย์เวลา 13.00 – 17.30 น. เริ่มวันที่ 5 กรกฎาคม – 6 กันยายน 2558 ณ วัดเซนต์หลุยส์ สาทร ตึกวันทามารีย์ ชั้น 2 เพื่อใช้ส�ำหรับขับร้องบทเพลงในพิธีกรรม • รวบรวมโน้ตเพลงใหม่ ทางแผนกดนตรีศักดิ์สิทธิ์ฯ ก�ำลังรวบรวมโน้ตเพลงใหม่ หรือเพลงที่แต่งขึ้นแล้วยังไม่ ได้ บรรจุลงในหนังสือเพลงสาธุการ รวมทั้งโน้ตเพลงที่ปรับปรุงแก้ ไขเพิ่มเติม หากท่านใด หรือบ้านนักบวช วัด สถาบันใดมีความประสงค์ทแี่ ต่งเพลงวัดแล้วจะได้ ใช้รอ้ งเพลงในพิธตี อ่ ไป ขอโปรดได้สง่ มายังแผนกดนตรีศกั ดิส์ ทิ ธิฯ์ 122/11 ซ.นาคสุวรรณ ถ.นนทรี แขวงยานนาวา เขตยานนาวา กรุงเทพฯ 10120 โทร 02-681-3900 ต่อ 1470 หรือ 089-1086850 อีเมล์ thaisacredmusic@gmail.com
Liturgy Journal 11
ตั้งแต่ปี 2010 คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อพิธีกรรมได้ด�ำเนินการอย่างจริงจังและต่อเนื่องเพื่อที่พระศาสนจักร ในประเทศไทยจะมีหนังสือพิธีกรรมฉบับที่สมบูรณ์ ใช้ จนในที่สุดเราก็สามารถด�ำเนินการจัดท�ำหนังสือบทอ่านที่จ�ำเป็น จนครบสมบูรณ์ คู่ขนานไปกับการจัดพิมพ์หนังสือพระคัมภีร์คาทอลิกฉบับสมบูรณ์ของแผนกพระคัมภีร์ ในการจัดพิมพ์หนังสือที่ ใช้ ในพิธกี รรมแต่ละเล่ม คณะกรรมการคาทอลิกเพือ่ พิธกี รรมได้คำ� นึงถึงจ�ำนวนวัดทีจ่ ะใช้ หากมองในด้านการตลาดที่มีอยู่ ในจ�ำนวนที่จ�ำกัด การจัดพิมพ์จึงไม่สามารถพิมพ์จ�ำนวนมากๆ ได้ จึงท�ำให้ราคาหนังสือ แต่ละเล่มมีราคาทีส่ งู ขึน้ แต่ทางคณะผูจ้ ดั พิมพ์ก็ ได้ปรับปรุงคุณภาพการพิมพ์ ให้ดขี นึ้ ทัง้ ขนาดและวัสดุท่ี ใช้ ไปพร้อมกันด้วย ตลอดเวลาที่ผ่านมามีวัดจ�ำนวนมากได้ ใช้หนังสือบทอ่านฉบับที่ปรับปรุงแล้ว จนท�ำให้หนังสือบางเล่มขาดตลาด ไม่เพียงพอต่อความต้องการสั่งซื้อที่บางวัดอาจจะพึ่งมี โครงการที่จะซื้อหนังสือเล่มใหม่ๆ ดังนั้น จึงขอแจ้งว่ามีหนังสือพิธีกรรมเล่มใดอยู่ ในบ้างเวลานี้ เพื่อแต่ละท่านได้รับทราบว่า มีหนังสือเล่มใดบ้างที่ ยังสามารถสั่งซื้อได้ ซึ่งมีดังนี้ 1) บทอ่านวันอาทิตย์ปี A 6) บทประจ�ำมิสซาส�ำหรับใช้บทพระแท่น 2) บทอ่านวันอาทิตย์ปี C 7) พิธีสัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์เล่มใหญ่ 3) บทอ่านวันธรรมดาปีคี่ 8) พิธีสัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์เล่มเล็ก 4) บทอ่านฉลองนักบุญ 9) บทภาวนาของคริสตชนเล่มเล็ก 5) บทภาวนาของมวลชนปี B
นอกจากนั้น ก็ยังมีหนังสือที่ ให้ความรู้เกี่ยวกับพิธีกรรม ได้แก่ 10) แนวทางการออกแบบและก่อสร้างโบสถ์ 11) สังฆธรรมนูญว่าด้วยพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์
หากท่านมีความสนใจหนังสือดังกล่าว สามารถติดต่อได้ทสี่ ำ� นักงานคณะกรรมการคาทอลิกเพือ่ พิธกี รรม ในสภา พระสังฆราชฯ โทร.084-141-5844 ส่วนหนังสือที่จ�ำหน่ายหมดแล้วนั้น คงต้องใช้เวลาในการรวบรวมจ�ำนวนความต้องการที่มากพอที่จะพิมพ์ ใน ครั้งต่อไป นอกจากนั้น ในอนาคตอันใกล้นี้จะจัดพิมพ์หนังสือพิธีปลงศพซึ่งเป็นฉบับปรับปรุงใหม่ที่ง่ายต่อการใช้ และ หนังสือพิธบี วชพระสังฆราช พระสงฆ์ และสังฆานุกร เพือ่ พระศาสนจักรไทยจะมีหนังสือพิธบี วชฉบับทางการเป็นครัง้ แรก คณะกรรมการฯ พิธีกรรมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้รับการสนับสนุนจากพี่น้องคริสตชนทุกๆ ท่าน โดยเฉพาะ อย่างยิ่งคุณพ่อเจ้าวัดซึ่งมีหน้าที่ โดยตรงในการรับผิดชอบดูแลพิธีกรรมในแต่ละวัด
12 จุลสารพิธีกรรม
อารามแม่พระปฏิสนธินิรมล เป็นอารามแห่งแรกในประเทศไทยของคณะซิสเตอร์กลาริส กาปูชนิ The Capuchin Poor Clare (O.S.C.Cap.) ผูส้ ถาปนคณะ คือ นักบุญฟรังซิสแห่งอัสซีซี และนักบุญเคียร่าหรือกลาราแห่งอัสซีซี
รูปบริเวณด้านหน้าของโบสถ์
Liturgy Journal 13
คณะซิสเตอร์กลาริส กาปูชิน เปิดอารามแห่งแรกในประเทศไทยเมื่อปี ค.ศ. 1936 โดย ขยายจากอารามกาปูชิน เมืองฟลอเรนส์ ประเทศอิตาลี เมื่อแรกมีสมาชิก 5 ท่านคือ 1. ซิสเตอร์ มาเรีย เซราฟินา 2. ซิสเตอร์ มาเรีย มาการิตา 3. ซิสเตอร์ มาเรีย อันนุนเซียตา 4. ซิสเตอร์มาเรีย เอลิซาเบตตา 5. ซิสเตอร์ มาเรีย อาร์คานโยลา ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1936 ได้มีการประชุมเพื่อตกลงให้คณะมิชชันนารี ทั้ง 5 ท่าน ไปเปิดอารามใหม่ โดยพระสังฆราชนอนาร์ดี พระสังฆราชผู้ช่วยแห่งเมืองฟลอเรนส์เป็นประธาน และเลือกตั้งอธิการิณี ได้แก่ ซิสเตอร์ มาเรีย เอลีซาเบตตา คณะมิชชันนารีทั้ง 5 ท่าน ได้เดิน ทางมาถึงประเทศไทย ที่อ�ำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี เมื่อวันที่ 24 เมษายน ค.ศ. 1936
รูปบริเวณสักการสถานก่อนการบูรณะ วันที่ 9 พฤษภาคม ค.ศ.1936 ถือได้ว่าเป็นวันเปิดอารามอย่างเป็นทางการ โดยพระ สังฆราชกาเยตาโน ปาซอสตี เป็นประธานถวายพิธีบูชาขอบพระคุณ อารามใหม่นี้สร้างด้วยไม้ มีวัดเล็กๆ เฉพาะของซิสเตอร์และสัตบุรุษภายนอก นับถึงเมื่อปี ค.ศ. 2014 มีอายุมากถึง 78 ปี อาคารย่อมจะต้องช�ำรุดทรุดโทรมไปตามกาลเวลา
14 จุลสารพิธีกรรม
ดังนั้น ในปี ค.ศ.2013 คุณพ่ออันโตนี โอ วาลแซ็กกี เลขาธิการคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อ พิธีกรรมและผู้อ�ำนวยการแผนกศิลปะในพิธีกรรม ได้รับมอบหมายให้ด�ำเนินการบูรณะปรับปรุง “โบสถ์ประจ�ำอารามแม่พระนิรมล” คุณพ่อจึงขอให้คณะกรรมการแผนกศิลปะในพิธีกรรม เข้าไป ช่วยให้ค�ำแนะน�ำ ออกแบบ ซึ่งในระหว่างด�ำเนินการได้มีการประชุมร่วมกันทั้งคณะซิสเตอร์ คณะกรรมการฯ ผูร้ บั เหมาก่อสร้าง เพือ่ ให้การบูรณะปรับปรุงเป็นไปตามวัตถุประสงค์ โดยยึดถือ พิธีกรรมเป็นส�ำคัญ เมื่อการบูรณะปรับปรุงแล้วเสร็จ จึงมีพิธีเสกวัดเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม ค.ศ. 2014 ปัจจุบันคุณแม่มารีอาอันนูนเซียตา สิริเพ็ญ มณีสอดแสง เป็นอธิการิณี
รูปบริเวณสักการสถานหลังการบูรณะ การบูรณะครั้งนี้ส�ำเร็จได้ด้วยความร่วมมือของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คุณพ่ออันโตนี โอ วาลแซ็กกี ที่ ให้ความส�ำคัญในทุกรายละเอียด และถูกต้องตามแนวทาง พิธีกรรมของสังคายนาวาติกันที่ 2 จิตตารมณ์ของคณะ ความยากจนเจริญชีวิตในความสุภาพต�่ำต้อย และอยู่ร่วมกันฉันพี่น้อง ด้วยความซื่อๆ และร่าเริงยินดี ในพระเจ้า ภาวนา วอนขอเพื่อความรอดพ้นของเพื่อนมนุษย์
Liturgy Journal 15
เรามาพบกันอีกครัง้ หนึง่ ในจุลสารพิธกี รรมฉบับที่ 2 ของปี ค.ศ. 2015 นี ้ พ่อขอกล่าว “สุขสันต์ปสั กา” แด่พี่น้องที่รักในพระคริสตเจ้าทุกท่าน ตามปกตินั้นทุกวันอาทิตย์ก็คือวันปัสกาย่อยๆ ที่พระศาสนจักรก�ำหนด ให้คริสตชนได้สัมผัสถึงพระธรรมล�้ำลึกปัสกาในการร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณ ซึ่งเป็นการรื้อฟื้นกิจการไถ่กู้ มนุษยชาติและการถวายเกียรติแด่พระเจ้าอย่างสมบูรณ์ ได้เริ่มต้นในพระราชกิจน่าพิศวงที่พระเจ้าทรง กระท�ำในหมู่ประชากรแห่งพันธสัญญาเดิม และส�ำเร็จไปโดยพระคริสต์ องค์พระผู้เป็นเจ้า โดยเฉพาะอาศัย พระธรรมล�้ำลึกปัสกา คือการรับทรมาน การกลับคืนพระชนมชีพจากบรรดาผู้ตาย และการเสด็จสู่สวรรค์ อย่างรุ่งโรจน์ โดยพระธรรมล�้ำลึกนี้ “พระองค์สิ้นพระชนม์เพื่อท�ำลายความตายของเรา และทรงกลับคืน พระชนมชีพเพื่อคืนชีวิตแก่เรา” (เทียบ SC 5) ในระหว่างวันที่ 24-27 เมษายนนี้ พ่อได้รบั มอบหมายให้เป็นผูแ้ ทนของพระคุณเจ้าเกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช ไปร่วมประชุมเพื่อเตรียมงานชุมนุมเคารพศีลมหาสนิทนานาชาติที่เมืองเซบู ประเทศฟิลิปปินส์ หลังจากการ ประชุมพ่อจะแจ้งความคืบหน้าและรายละเอียดของงานซึง่ จะมีขนึ้ ในปลายเดือนมกราคม ค.ศ. 2015 ให้พนี่ อ้ ง ทุกท่านได้ทราบในโอกาสต่อไป เพื่อเราจะได้มี โอกาสเตรียมตัวในการเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมส�ำคัญนี้ของ พระศาสนจักรสากล สุดท้ายนี้ พ่อขอส่งความปรารถนาดีและค�ำภาวนามายังพี่น้องทุกท่าน ขอพระคริสตเจ้าผู้ทรงกลับคืน พระชนม์ชีพทรงอ�ำนวยพระพร และพระหรรษทานอย่างอุดมบริบูรณ์มายังทุกๆ ท่าน รักในพระคริสตเจ้า
คุณพ่ออันโตนี โอ วาลแซ็กกี O.F.M.Cap เลขาธิการคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อพิธีกรรม