คู่มือประกันคุณภาพการศึกษา ระดับสาขาวิชา

Page 1


คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสาขาวิชา วงรอบปีการศึกษา 2555-2556 พิมพ์ครั้งที่ 1

ตุลาคม 2555

จํานวนพิมพ์

-

จัดพิมพ์และเผยแพร่

กองงานประกันคุณภาพการศึกษา สํานักแผนและประกันคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา ที่อยู่ 135/8 หมู่ 3 บ้านโสร่ง ตําบลเขาตูม อําเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี 94160 โทรศัพท์มือถือ:091 -3128196 โทรสาร:073-418615-6 http://www.qa.yiu.ac.th e-mail:qa.yiu.ac.th@gmail.com

ผู้จัดทํา

กองงานประกันคุณภาพการศึกษา

ออกแบบปก

กองงานประกันคุณภาพการศึกษา


คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสาขาวิชา มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา (พ.ศ.2555-2556)

คํานํา สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ได้ทบทวนองค์ประกอบและตัวบ่งชี้การ ประกัน คุณภาพการศึกษาภายในให้มีความทัน สมัยสอดคล้องกับบริบทที่เปลี่ยนแปลงไปและความ เคลื่อนไหวด้านคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาระดับอุดมศึกษาต่างๆ และจัดทํา คู่มือการประกัน คุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ระดับอุดมศึกษา พ.ศ.2553 ขึ้น รวมทั้งสํานักงานรับรองมาตรฐาน และประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) (สมศ.) ได้จัดทําคู่มือการประเมินคุณภาพภายนอก รอบสาม (พ.ศ.2554-2558) ระดับอุดมศึกษา เพื่อให้สถานศึกษามีความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานตัวบ่งชี้ เกณฑ์การประเมิน และเกณฑ์ในการรับรองมาตรฐานคุณภาพของ สมศ. มหาวิทยาลัยอิสลามยะลาจึง จําเป็นต้องปรับปรุงระบบประกันคุณภาพให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงจากภายนอก ดังนั้นคณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา ได้จัดทําคู่มือการ ประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสาขาวิชาให้มีความสอดคล้องกับการประเมินฯ ของ สกอ. และ สมศ. พร้อมกันนี้ก็ห วัง เป็น อย่างยิ่ง ว่าคู่มือฉบับนี้จะเป็น แนวทางในการดําเนิน งานในระบบประกัน คุณภาพที่ก่อให้เกิดประสิทธิภาพ และประสิทธิผล อย่างไรก็ตามหากท่านเห็นว่าคู่มือฉบับนี้ยังมีสิ่งใดที่ ควรปรับปรุงหรือพัฒนา โปรดให้ข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะต่อสํานักงานประกันคุณภาพการศึกษา เพื่อ นําไปแก้ไขปรับปรุงต่อไป เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายปลายทางของการดําเนินงานร่วมกัน คือการขับเคลื่อน องค์กรไปสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการ และมีคุณภาพ (นายซาฟีอี บารู) รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร ประธานคณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา


คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสาขาวิชา มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา (พ.ศ.2555-2556)


คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสาขาวิชา มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา (พ.ศ.2555-2556)

สารบัญ หน้า คํานํา สารบัญ บทที่ 1 การประกันคุณภาพการศึกษาภายในและการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน • การประกันคุณภาพการศึกษาภายใน • ขั้นตอนการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน บทที่ 2 ตัวบ่งชี้และเกณฑ์การประเมินคุณภาพตามองค์ประกอบคุณภาพ • องค์ประกอบที่ 1 ปรัชญา ปณิธาน วัตถุประสงค์ และแผนการดําเนินการ • องค์ประกอบที่ 2 การผลิตบัณฑิต • องค์ประกอบที่ 3 กิจกรรมการพัฒนานักศึกษา • องค์ประกอบที่ 4 การวิจัย • องค์ประกอบที่ 5 การบริการวิชาการแก่สงั คม • องค์ประกอบที่ 6 การทํานุบาํ รุงศิลปะและวัฒนธรรม • องค์ประกอบที่ 7 การบริหารและการจัดการ • องค์ประกอบที่ 9 ระบบและกลไกการประกันคุณภาพ บรรณานุกรม ภาคผนวก • คําชี้แจงในการนําตัวบ่งชี้ไปใช้ประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน • นิยามศัพท์ที่ใช้ในตัวบ่งชี้ • ตัวบ่งชี้กลาง

ก ค 1 1 4 13 16 19 38 40 50 54 56 64 66 67 68 74


คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสาขาวิชา มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา (พ.ศ.2555-2556)


คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสาขาวิชา มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา (พ.ศ.2555-2556)

บทที่ 1 การประกันคุณภาพการศึกษาภายใน และการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน การประกันคุณภาพการศึกษาภายใน สาระสําคัญ ที่ระบุในพระราชบัญญั ติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 คือ การประกันคุณภาพภายในจะดําเนินการโดยบุคลากรของสถานศึกษาร่วมกับหน่วยงานต้น สังกัดที่มีหน้าที่กํากับดูแลสถานศึกษา ประกอบกับพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 และกฎกระทรวงศึกษาธิการ กําหนดให้สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) มีหน้าที่ พิจารณาเสนอนโยบาย แผนพัฒนา และมาตรฐานการอุดมศึกษาที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ และแผนการศึกษาแห่งชาติ การสนับสนุนทรัพยากร การติดตามตรวจสอบและประเมินผลการจัด การศึ ก ษาระดั บ อุ ด มศึ ก ษา โดยคํ า นึ ง ถึ ง ความเป็ น อิ ส ระและความเป็ น เลิ ศ ทางวิ ช าการของสถานศึ ก ษา ระดับอุดมศึกษา โดยมีการประกาศนโยบายและแนวปฏิบัติในการประกันคุณภาพการศึกษา ระดับอุดมศึกษา มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539 เพื่อเป็นแนวทางในการประกันคุณภาพการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษา ภายใต้หลักการ สําคัญสามประการ คือ การให้เสรีภาพทางวิชาการ (Academic Freedom) ความมีอิสระในการดําเนินการ ของสถาบัน (Institutional Autonomy) และความพร้อมของสถาบันที่จะรับการตรวจสอบคุณภาพจาก ภายนอกตามหลักการของความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ (Accountability) ต่อมาสํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้จัดทํากฎกระทรวงว่าด้วยระบบหลักเกณฑ์และวิธีการ ประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2546 เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 ในมาตรา 5 และมาตรา 47 วรรคสอง โดยสาระสําคัญเกี่ยวกับระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของกฎกระทรวงฉบับนี้ยังคงไว้ ตามประกาศนโยบายและแนวปฏิบัติฯ ฉบับปี พ.ศ. 2545 จนกระทั่งกระทรวงศึกษาธิการได้ออกกฎกระทรวง ว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ.2553 แทนฉบับเดิม (พ.ศ.2546) โดยรวม การประกันคุณภาพภายในและภายนอกของการศึกษาทุกระดับไว้ในฉบับเดียวกัน มีคณะกรรมการประกัน คุ ณ ภาพภายในระดั บ อุ ด มศึ ก ษาทํ า หน้ า ที่ ห ลั ก 2 ประการคื อ 1) วางระเบี ย บหรื อ ออกประกาศกํ า หนด หลั ก เกณฑ์ แ ละแนวปฏิ บั ติ เ กี่ ย วกั บ การประกั น คุ ณ ภาพภายในระดั บ อุ ด มศึ ก ษา เพื่ อ ส่ ง เสริ ม สนั บ สนุ น และพัฒนาการประกันคุณภาพภายในระดับอุดมศึกษา โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการอุดมศึกษา และ 2) เสนอแนะแนวทางปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการศึกษาแก่สถานศึกษา โดยนําผลการประเมินคุณภาพ ทั้งภายในและภายนอกไปปรับปรุงคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ยังมีการปรับเปลี่ยนให้ระบบ การประกันคุณภาพภายในประกอบด้วย การประเมินคุณภาพ การติดตามตรวจสอบคุณภาพ และการพัฒนา คุณภาพ และกําหนดให้หน่วยงานต้นสังกัดจัดให้มีการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษาอย่างน้อยหนึ่งครั้งใน ทุกสามปีและแจ้งผลให้สถานศึกษาระดับอุดมศึกษาทราบ รวมทั้งเปิดเผยผลการติดตามตรวจสอบคุณภาพ การศึกษาต่อสาธารณชน มหาวิ ท ยาลั ย อิ ส ลามยะลาในฐานะสถาบั น อุ ด มศึ ก ษา มี น โยบายและหลั ก เกณฑ์ ก ารดํ า เนิ น การ สอดคล้องตามหลักเกณฑ์การประกันคุณภาพการศึกษาภายในที่ระบุในกฎกระทรวงว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ.2553 โดยมีแนวทางการพัฒนาระบบและกลไกการประกันคุณภาพ การศึกษาภายใน ดังนี้ 1


คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสาขาวิชา มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา (พ.ศ.2555-2556)

1. ระบบการประกันคุณภาพการศึกษา จะคํานึงถึง 1.1 องค์ประกอบคุณภาพการศึกษา ระดับอุดมศึกษา 9 ด้าน คือ 1) ปรัชญา ปณิธาน วัตถุประสงค์ และแผนดําเนินการ 2) การผลิตบัณฑิต 3) กิจกรรมการพัฒนานักศึกษา 4) การวิจัย 5) การบริการทางวิชาการแก่สังคม 6) การทํานุบํารุงศิลปะและวัฒนธรรม 7) การบริหารและการจัดการ 8) การเงินและงบประมาณ 9) ระบบและกลไกการประกันคุณภาพ ระบบและกลไกการประกั นคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัย อิสลามยะลานั้ น คํา นึงถึ ง องค์ประกอบคุณภาพการศึกษา รวมทั้งนโยบายและมาตรการของภาครัฐ โดยถือเป็นกลไก เป็นเครื่องมือที่จะ ตรวจสอบ ประเมิน กระตุ้นการปฏิบัติพันธกิจของมหาวิทยาลัย เพื่อมุ่งให้เกิดคุณภาพและการสร้างวัฒนธรรม คุณภาพให้เกิดขึ้นในมโนสํานึกของคณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษาทุกคน ระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัย มุ่งเน้นให้เกิดวงจรคุณภาพ PDCA ในการดําเนินงานทุกพันธกิจ ทั้งในระดับมหาวิทยาลัย และระดับคณะ/หน่วยงานเทียบเท่า โดยมีการ จัดทํารายงานการประเมินตนเองที่ครอบคลุมการดําเนินงานตามองค์ประกอบคุณภาพการศึกษาที่กําหนด 1.2 คํา นึ งถึ งประสิทธิ ภ าพและประสิ ทธิ ผลการดํา เนิ น งานตามระบบและกลไกการประกั น คุณภาพที่ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาตามตัวบ่งชี้คุณภาพการศึกษา 2. กลไกการประกันคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา ในด้านของกลไกการประกันคุณภาพ ผู้ที่มีความสําคัญส่งผลให้การดําเนินงานประสบความสําเร็จ และนําไปสู่การพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง คือ คณะกรรมการต่างๆ ที่มหาวิทยาลัยจัดตั้งขึ้น เพื่อทําหน้าที่ ขั บ เคลื่ อนระบบการประกั น คุ ณภาพการศึ ก ษาให้ ไ ปสู่ เ ป้ า หมาย โดยแบ่ งเป็ น หลายระดั บ ตามหน้ า ที่ และ ความสําคัญ ดังนี้ 2.1 สภามหาวิทยาลัย โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกเป็นประธาน ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ อธิการบดี รองอธิการบดี ผู้แทนฝ่ายบริหาร ผู้แทนคณาจารย์ เป็นกรรมการ โดยมีหน้าที่หลักดังนี้ 1) กําหนดนโยบายในการปฏิบัติพันธกิจของมหาวิทยาลัยอย่างมีคุณภาพ 2) กํากับและติดตามผลการปฏิบัติพันธกิจของมหาวิทยาลัย 3) กํากับและติดตามมาตรฐานของหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัย 4) พิจารณาและเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาคุณภาพการปฏิบัติพันธกิจของมหาวิทยาลัย 2.2 คณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย โดยมีอธิการบดีเป็นประธาน ประกอบด้วยรองอธิการบดี คณบดี และผู้อํานวยการสถาบัน/สํานัก/ศูนย์เป็นกรรมการ โดยมีหน้าที่หลักดังนี้ 1) กํากับนโยบายและให้ความเห็นชอบแผนดําเนินงานของคณะกรรมการประกันคุณภาพ 2) กํากับมาตรฐานของหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัย 3) พิจารณาเป้าหมายและผลการประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อเสนอการรับรอง 4) กํากับและติดตามผลการประเมินคุณภาพภายใน 2


คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสาขาวิชา มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา (พ.ศ.2555-2556)

2.3 คณะกรรมการประกันคุณภาพ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา โดยมีอธิการบดีเป็นที่ปรึกษา รองอธิการบดีที่กํากับดูแลเป็นประธาน ประกอบด้วยรองคณบดี/รองผู้อํานวยการที่รับผิดชอบงานประกัน คุ ณ ภาพการศึ ก ษาของคณะ/หน่ ว ยงานเที ย บเท่ า เป็ น กรรมการ และหั ว หน้ า สํ า นั ก งานประกั น คุ ณ ภาพ การศึกษาเป็นกรรมการและเลขานุการ โดยมีหน้าที่ดังนี้ 1) วางระบบกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาภายในมหาวิทยาลัย 2) กําหนดและพัฒนามาตรฐานคุณภาพการศึกษา 3) จัดทําแผนและควบคุมติดตามกิจกรรมต่างๆ ของการประกันคุณภาพการศึกษา 4) จัดทํารายงานการประเมินตนเองระดับมหาวิทยาลัย 5) ประสานงานกั บหน่ว ยงานภายในและภายนอกมหาวิทยาลั ยในการดํ าเนินการประกั น คุณภาพการศึกษา และการรับรองมาตรฐาน 6) เตรียมความพร้อมในการรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาจากภายนอก 2.4 คณะกรรมการเครือข่ายผู้ปฏิบัติงานประกันคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา โดย มีรองอธิการบดีที่กํากับดูแลเป็นที่ปรึกษา และหัวหน้าสํานักงานประกันคุณภาพเป็นประธาน ประกอบด้วย บุคลากรผู้ปฏิบัติงานประกันคุณภาพของคณะ/หน่วยงานเทียบเท่า เป็นกรรมการ โดยมีหน้าที่ดังนี้ 1) เพื่อสร้างเครือข่ายผู้ปฏิบัติงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในมหาวิทยาลัย และร่วม แลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการ/ปัญหา และวิธีการแก้ไขการทํางานด้านการประกันคุณภาพการศึกษา 2) ติดตามความก้าวหน้าและดําเนินงานประกันคุณภาพของหน่วยงานตนเอง 3) ประสานงานและดําเนินการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการประเมินคุณภาพการศึกษา ภายใน 4) ร่วมพิจารณานําผลการประเมินคุณภาพการศึกษาของหน่วยงานตนเองมาปรับปรุงแก้ไข การดําเนินงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น 5) เพื่ อเสริ ม สร้ า งและพั ฒ นาผู้ ป ฏิ บั ติ งานให้ มีความเข้ มแข็ ง และมี ป ระสิ ทธิ ภ าพ รวมทั้ ง ร่วมกันยกระดับการทํางานประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัย 6) ร่วมกิจกรรมงานประกันคุณภาพการศึกษาทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย 3. กระบวนการในการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับคณะ/หน่วยงานเทียบเท่า 3.1 คณะ/หน่วยงานเทียบเท่า จัดให้มีหน่วยงานหรือคณะกรรมการที่รับผิดชอบการดําเนินงาน ด้านการประกันคุณภาพขึ้น โดยมีหน้าที่พัฒนา บริหาร และติดตามการดําเนินการด้านการประกันคุณภาพ การศึกษาภายในหน่วยงาน ตลอดจนประสานงานกับมหาวิทยาลัย และหน่วยงานภายนอก เพื่อให้เกิดความ มั่นใจว่าการจัดการศึกษาจะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ 3.2 คณะ/หน่วยงานเทียบเท่า พัฒนาระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของ หน่วยงาน ให้สอดคล้องกับวงจรคุณภาพ PDCA เพื่อใช้กํากับการตรวจสอบและประเมินคุณภาพการศึกษาให้มี ประสิทธิภาพ 3.3 คณะ/หน่วยงานเทียบเท่า จัดให้มีระบบและกลไกควบคุมคุณภาพขององค์ประกอบต่างๆ ที่ใช้ ในการผลิตบัณฑิต ดังนี้ (1) หลักสูตรการศึกษาในสาขาวิชาต่างๆ (2) คณาจารย์และระบบการพัฒนาคณาจารย์ (3) สื่ อ การสอนและเทคนิ ค การสอน (4) ห้ องสมุ ด และแหล่ งการเรี ย นรู้ อื่ น (5) การวั ด ผลการศึ กษาและ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา (5) อุปกรณ์การศึกษา (6) สภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ และบริการ การศึกษา (7) การวัดผลการศึกษาและสัมฤทธิผลทางการเรียนของนักศึกษา (8) องค์ประกอบอื่นตามที่แต่ละ คณะ/หน่วยงานเทียบเท่าเห็นสมควร 3


คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสาขาวิชา มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา (พ.ศ.2555-2556)

3.4 คณะ/หน่ ว ยงานเที ย บเท่ า กํ า หนดองค์ ป ระกอบ ตั ว บ่ งชี้ และเกณฑ์ การประเมิ น คุ ณภาพ การศึกษาภายในที่สอดคล้องตามที่มหาวิทยาลัยกําหนด รวมทั้งกําหนดตัวบ่งชี้อัตลักษณ์ที่แสดงให้เห็นจุดยืน/ ตัวตนของคณะ/หน่วยงาน 3.5 คณะ/หน่ ว ยงานเที ย บเท่ า จั ด ทํ า แผนการประกั น คุ ณ ภาพการศึ ก ษาของหน่ ว ยงานซึ่ ง ครอบคลุมกิจ กรรมการประกัน คุณภาพที่ประกอบด้วยการควบคุม ตรวจสอบและประเมินคุ ณภาพภายใน รวมทั้งการพัฒนาบุคลากร และสารสนเทศเพื่อการประกันคุณภาพของหน่วยงาน 3.6 คณะ/หน่ วยงานเทีย บเท่า จั ดให้ มีร ะบบการตรวจสอบและประเมิ นผลการดํา เนิ นงานขึ้ น เป็นการภายในได้ตามที่จะเห็นสมควร โดยมีการแสดงผลการตรวจสอบและประเมินผลการดําเนินงานอย่าง เป็นรูปธรรมชัดเจน และมีการพัฒนาปรับปรุงคุณภาพการดําเนินงานอย่างต่อเนื่อง 3.7 คณะ/หน่วยงานเทียบเท่า จัดทํารายงานการประเมินคุณภาพตนเอง และเตรียมความพร้อม เพื่อรองรับการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายในจากมหาวิทยาลัย ตามองค์ประกอบคุณภาพที่กําหนด 3.8 คณะ/หน่วยงานเทียบเท่า จัดทําแผนการพัฒนาคุณภาพตามองค์ประกอบ/ตัวบ่งชี้คุณภาพ และตามข้อเสนอแนะของกรรมการผู้ประเมินคุณภาพเสนอต่อมหาวิทยาลัย โดยหน่วยงานต้องดําเนินการตาม แผนดังกล่าวให้ครบตามวงจรคุณภาพ PDCA และรายงานผลการดําเนินการในรายงานการประเมินตนเองของ หน่วยงานในปีการศึกษาถัดไป

ขั้นตอนการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับคณะและหน่วยงานเทียบเท่า และระดับมหาวิทยาลัย การประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับคณะและหน่วยงานเทียบ และระดับมหาวิทยาลัย มี ขั้นตอนการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน แบ่งเป็น 3 ขั้นตอน คือ 1. การเตรียมการของหน่วยงานก่อนการตรวจเยี่ยมของผู้ประเมิน 2. การเตรียมการของหน่วยงานระหว่างการตรวจเยี่ยมของผู้ประเมิน 3. การดําเนินการของหน่วยงานภายหลังการประเมินคุณภาพ โดยในแต่ละขั้นตอนมีรายละเอียดในการดําเนินการ ดังนี้ การเตรียมการของหน่วยงานก่อนการตรวจเยี่ยมของผู้ประเมิน 1. การเตรียมรายงานประจําปี 1.1 จัดทํารายงานประจําปีที่เป็นรายงานการประเมินคุณภาพภายใน โดยใช้รูปแบบการจัดทํา รายงานประจําปีที่เป็นรายงานการประเมินคุณภาพภายในตามที่กําหนดในระบบฐานข้อมูลด้านการประกัน คุณภาพ (CHE QA Online) ที่สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ได้พัฒนาขึ้น เป็นฐานข้อมูลกลาง เพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงนโยบายและการส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพอุดมศึกษา ตลอดจนอํานวยความ สะดวกให้กับสถาบันอุดมศึกษาในการดําเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาผ่านทางระบบออนไลน์ ตั้งแต่การ จัดเก็บข้อมูลพื้นฐาน (common data set) และเอกสารอ้างอิง การประเมินตนเอง การประเมินของคณะกรรมการ ประเมินคุณภาพ รวมทั้งการจัดทํารายงานประจําปีที่เป็นรายงานการประเมินคุณภาพภายในบนระบบฐานข้อมูล อิเล็กทรอนิกส์ และการเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค โดยมีนโยบายให้สถาบันอุดมศึกษา ทุกแห่งในสังกัดใช้ฐานข้อมูลดังกล่าวในการดําเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในและจัดส่งรายงานประจําปี ที่เป็นรายงานการประเมินคุณภาพภายในผ่านทางระบบออนไลน์และเปิดเผยต่อสาธารณชนตามกฎหมาย 4


คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสาขาวิชา มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา (พ.ศ.2555-2556)

1.2 จัดการเตรียมเอกสารหรือหลักฐานอ้างอิงในแต่ละองค์ประกอบคุณภาพ 1) เอกสารหรือหลักฐานอ้างอิงในแต่ละตัวบ่งชี้ต้องเป็นข้อมูลในช่วงเวลาเดียวกับที่นําเสนอใน รายงานการประเมินตนเอง ตลอดจนสาระในเอกสารต้องตรงกับชื่อเอกสารที่ระบุในรายงานการประเมินตนเอง ตามที่กําหนดในระบบฐานข้อมูลด้านการประกันคุณภาพ (CHE QA Online) 2) การนําเสนอเอกสารในช่วงเวลาตรวจเยี่ยม โดยจัดให้เป็นระบบที่สะดวกต่อการเรียกใช้ใน ระบบฐานข้อมูลด้านการประกันคุณภาพ (CHE QA Online) ซึ่งสามารถเรียกหาเอกสารได้รวดเร็วและดูความ เชื่อมโยงในเอกสารฉบับต่างๆ ได้ในคราวเดียว เอกสารหรือหลักฐานอ้างอิงที่เกี่ยวข้องกับตัวบ่งชี้แต่ละตัวและ องค์ประกอบคุณภาพสามารถบรรจุหรือจัดเก็บ (upload) หรือเชื่อมโยง (link) ไว้บนระบบฐานข้อมูลด้าน การประกันคุณภาพ (CHE QA Online) ซึ่งทําให้การจัดเก็บเป็นระบบและง่ายต่อการค้นหาของคณะกรรมการ ประเมิน และไม่เป็นภาระเรื่องการจัดเตรียมเอกสารหลักฐานของหน่วยงาน 2. การเตรียมข้อมูล 2.1 มหาวิทยาลัย และคณะหรือหน่วยงานเทียบเท่า ดําเนินงานตามพันธกิจในด้านต่างๆ โดยบันทึก ข้อมูลและประมวลข้อมูลในระบบสารสนเทศของมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นระบบที่จะต้องดําเนินการกรอกหรือปรับปรุง ข้อมูลให้เป็นปัจจุบันอย่างต่อเนื่อง เพื่อตรวจสอบสถานะของหน่วยงาน และใช้เป็นข้อมูล/หลักฐานประกอบการ ตรวจประเมิน 2.2 มหาวิทยาลัย และคณะหรือหน่วยงานเทียบเท่า จัดทํารายงานการประเมินตนเองและบันทึก หลักฐานอ้างอิงของแต่ละเกณฑ์การประเมินในระบบฐานข้อมูลด้านการประกันคุณภาพ (CHE QA Online) ทั้งหมดทุกรายการ เพราะหลักฐานทั้งหมดจะต้องพร้อมในการเปิดดูได้เสมอทุกครั้ง 3. การเตรียมบุคลากร 3.1 การเตรียมบุคลากรทุกระดับควรมีความครอบคลุมประเด็นต่างๆดังต่อไปนี้ 1) ทํ า ความเข้ าใจเกี่ ย วกั บ การประเมิ น คุ ณ ภาพในประเด็ น ที่ สํ า คั ญ ๆ อาทิ การประเมิ น คุณภาพคืออะไรมีความสําคัญต่อการพัฒนาอย่างไร ขั้นตอนการประเมินคุณภาพเป็นเช่นไร 2) เน้นย้ํากับบุคลากรในการให้ความร่วมมือการตอบคําถาม หรือการสัมภาษณ์โดยยึดหลักว่า ตอบตามสิ่งที่ปฏิบัติจริงและผลที่เกิดขึ้นจริง 3) เปิ ด โอกาสให้ มีก ารอภิ ป รายซั กถามแสดงความคิ ด เห็ น เพื่ อสร้ า งความกระจ่ า งในการ ดําเนินงานของทุกหน่วยงานในทุกประเด็นเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องของบุคลากร 4) เน้นย้ําให้บุคลากรทุกคนตระหนักว่าการประกันคุณภาพคือภารกิจประจําของทุกคนที่ต้อง ร่วมมือกันทําอย่างต่อเนื่อง 3.2 การเตรียมบุคลากรเพื่อทําหน้าที่ผู้ประสานงาน 1) ในระหว่างการตรวจเยี่ยมจําเป็นต้องมีบุคลากร 1 - 3 คน ทําหน้าที่ประสานงานระหว่าง คณะผู้ประเมินกับบุคลากรภายในหน่วยงาน และอํานวยความสะดวกอื่นๆ 2) ทําความเข้าใจทุกกิจกรรมของแผน/กําหนดการประเมินอย่างถ่องแท้ 3) ทําความเข้าใจอย่างดีกับภารกิจของหน่วยงานเพื่อสามารถให้ข้อมูลต่อผู้ประเมิน รวมทั้ง ต้องรู้ว่าจะต้องติดต่อกับใครหรืองานใดหากผู้ประเมินต้องการข้อมูลเพิ่มเติมที่ตนเองไม่สามารถตอบได้ และ มีรายชื่อสถานที่ หมายเลขโทรศัพท์ของผู้ที่คณะกรรมการประเมินจะเชิญมาให้ข้อมูลอย่างครบถ้วน 4) ประสานงานล่ ว งหน้ า กั บผู้ ที่จ ะให้ ข้อมู ล ที่ เป็ น บุ คลากรภายในและภายนอกสถาบั น ว่ า จะเชิญมาเวลาใด ห้องใดหรือพบกับใคร 5


คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสาขาวิชา มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา (พ.ศ.2555-2556)

5) เมื่อมีปัญหาในการอํานวยความสะดวกแก่คณะผู้ประเมินสามารถประสานงานแก้ไขได้ ทันที 4. การเตรียมสถานที่สําหรับคณะผู้ประเมิน 4.1 ห้องทํางานของคณะผู้ประเมิน 1) จัดเตรียมห้องทํางาน และโต๊ะที่กว้างพอสําหรับวางเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยเป็นห้องที่ ปราศจากการรบกวนขณะทํางานเพื่อความเป็นส่วนตัวของคณะกรรมการ 2) จัดเตรีย มอุป กรณ์ เครื่ องเขียนในห้ องทํ างาน และอุ ปกรณ์เสริมอื่ นๆ ให้คณะผู้ ประเมิ น พร้อมใช้งานได้ตามความต้องการ 3) จัดเตรียมโทรศัพท์พร้อมหมายเลขที่จําเป็น ไว้ในห้องทํางานหรือบริเวณใกล้เคียง 4) จัดเตรียมคอมพิวเตอร์ สําหรับการตรวจประเมินให้คณะกรรมการทุกท่าน โดยจะต้องมี โปรแกรม Internet Explorer, Adobe Acrobat และ Microsoft office เป็นอย่างน้อยและจัดเตรียม แบบฟอร์มต่างๆ และตารางคํานวณไว้ให้พร้อมในเครื่องคอมพิวเตอร์ 5) ห้ อ งทํ า งานควรอยู่ ใ กล้ กั บ ที่ จั ด เตรี ย มอาหารว่ า ง อาหารกลางวั น ตลอดจนบริ ก าร สาธารณูปโภคอื่นๆ 6) ควรประสานงานกับคณะผู้ประเมินเพื่อทราบความต้องการพิเศษอื่นๆ เพิ่มเติม 4.2 ห้องที่ใช้สัมภาษณ์ผู้บริหาร อาจารย์ บุคลากร นักศึกษา ฯลฯ ควรจัดไว้เป็นการเฉพาะให้ เหมาะสมกับการใช้งาน 5. การเตรียมการประสานงานกับคณะผู้ประเมิน 5.1 หน่วยงานประสานงานติดต่อคณะกรรมการตรวจประเมิน และแจ้งรายชื่อมายังสํานักงาน ประกันคุณภาพการศึกษา เพื่อจัดทําคําสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการตามหลักเกณฑ์ที่กําหนด ดังนี้ 1) คณะกรรมการประเมินระดับกลุ่มสาขาวิชาหรือหน่วยงานเทียบเท่า จํานวนอย่างน้อย 3 คน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับขนาดของกลุ่มสาขาวิชาหรือหน่วยงานเทียบเท่า ประกอบด้วย • ประธานคณะกรรมการ เป็ น ผู้ ป ระเมิ น จากภายนอกกลุ่ ม สาขาวิ ช าหรื อหน่ ว ยงาน เทียบเท่า โดยต้องเป็นผู้ที่ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรผู้ประเมินของ สกอ. หรือที่มหาวิทยาลัยจัดฝึกอบรมให้โดยใช้ หลักสูตรของ สกอ. • กรรมการ เป็นผู้ประเมินจากภายนอกกลุ่มสาขาวิชาหรือหน่วยงานเทียบเท่า เป็นผู้ผ่าน การฝึกอบรมหลักสูตรผู้ประเมินของ สกอ. หรือเป็นผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์สูง ซึ่งสามารถให้คําแนะนํา ที่จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อกลุ่มสาขาวิชาหรือหน่วยงานเทียบเท่าที่รับการประเมิน อาจอนุโลมให้ไม่ต้องผ่าน การฝึกอบรมหลักสูตรผู้ประเมินของ สกอ. ก็ได้ • กรรมการและเลขานุ การ เป็ นผู้ ประเมิ นจากภายในหรื อภายนอกกลุ่ มสาขาวิ ชาหรื อ หน่วยงานเทียบเท่า โดยต้องเป็นผู้ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรผู้ประเมินของ สกอ. หรือที่มหาวิทยาลัยจัดฝึกอบรมให้ โดยใช้หลักสูตรของ สกอ. 2) คณะกรรมการประเมินระดับคณะหรือหน่วยงานเทียบเท่า จํานวนอย่างน้อย 3 คน โดยมี ผู้ประเมินจากภายนอกมหาวิทยาลัยอย่างน้อย 1 คน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับขนาดของคณะหรือหน่วยงานเทียบเท่า

6


คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสาขาวิชา มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา (พ.ศ.2555-2556)

• ประธานคณะกรรมการ เป็นผู้ประเมินจากภายในหรือนอกมหาวิทยาลัยก็ได้ ในกรณีที่ เป็นผู้ประเมินภายในมหาวิทยาลัยต้องอยู่นอกสังกัดคณะที่ประเมิน โดยประธานต้องเป็นผู้ที่ขึ้นบัญชีประธาน คณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในของ สกอ. • กรรมการ o กรณี เ ป็ น ผู้ ป ระเมิ น จากภายนอกมหาวิ ท ยาลั ย ที่ ผ่ า นการฝึ ก อบรมหลั ก สู ต ร ผู้ประเมินของ สกอ. หรือเป็นผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์สูง ซึ่งสามารถให้คําแนะนําที่จะเป็นประโยชน์ อย่างยิ่งต่อคณะที่รับการประเมิน อาจอนุโลมให้ไม่ต้องผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรผู้ประเมินของ สกอ. ก็ได้ o กรณี เ ป็ น ผู้ ป ระเมิ น จากภายในมหาวิ ท ยาลั ย เป็ น ผู้ ผ่ า นการฝึ กอบรมหลั ก สู ต ร ผู้ประเมินของ สกอ. หรือที่มหาวิทยาลัยจัดฝึกอบรมให้โดยใช้หลักสูตรของ สกอ. • กรรมการและเลขานุการ เป็นผู้ประเมินจากภายนอกคณะหรือหน่วยงานเทียบเท่า โดยต้องเป็นผู้ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรผู้ประเมินของ สกอ. หรือที่มหาวิทยาลัยจัดฝึกอบรมให้โดยใช้หลักสูตร ของ สกอ. • คณะกรรมการไม่สามารถประเมินในหน่วยงานที่ตนเองสังกัดได้ • มีผู้ประเมินคนเดิมจากการประเมินปีก่อนอย่างน้อย 1 คน • จํานวนวันที่ใช้ในการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน o ระดับกลุ่มสาขาวิชา/หน่วยงานเทียบเท่า ไม่เกิน 2 วัน o ระดับคณะ/หน่วยงานเทียบเท่า 2 วันแต่ไม่เกิน 4 วัน 3) คณะกรรมการประเมินระดับมหาวิทยาลัย จํานวนอย่างน้อย 5 คน • ประธานคณะกรรมการ เป็นผู้ประเมินจากภายนอกมหาวิทยาลัยที่ขึ้นบัญชีประธาน คณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในของ สกอ. • เป็นผู้ประเมินจากภายนอกสถาบันที่ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรผู้ประเมินของ สกอ. อย่างน้อยละร้อยละ 50 ส่วนผู้ประเมินจากภายในสถาบันต้องผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรผู้ประเมินของ สกอ. หรือที่สถาบันจัดฝึกอบรมให้โดยใช้หลักสูตรของ สกอ. 5.2 หน่วยงานแจ้งให้คณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน รับทราบข้อมูลดังนี้ 1) รูปแบบการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน เป็นการประเมินผ่านระบบ CHE QA Online พร้อมจัดส่ง username และ password ของกรรมการฯ ทุกท่าน เพื่อใช้ login เข้าสู่ระบบ CHE QA Online เพื่อให้กรรมการฯ เข้าไปศึกษารายงานการประเมินตนเองล่วงหน้าก่อนวันรับการตรวจประเมินอย่างน้อย 2 สัปดาห์ 2) แจ้งรายชื่อผู้ทําหน้าที่ประสานงานการประเมินฯ กับคณะกรรมการประเมินฯ รวมทั้งหมายเลข โทรศัพท์ และ e-mail address สําหรับติดต่อประสานงานกับประธานหรือตัวแทนของคณะกรรมการประเมิน คุณภาพ เพื่อร่วมเตรียมแผนการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน อาทิ การจัดตารางเวลาเข้าตรวจเยี่ยม การ ให้ข้อมูลที่คณะกรรมการประเมินฯ ต้องการเพิ่มเติมก่อนการตรวจเยี่ยม การนัดหมายต่างๆ เป็นต้น 3) จัด ส่ งคู่ มือของหน่ ว ยงานและแจ้ งคณะผู้ ป ระเมิ นคุ ณภาพการศึ กษาเกี่ ย วกั บ การตรวจ ประเมิน ในระบบ CHE QA Online ต่อคณะผู้ประเมินก่อนวันรับการตรวจเยี่ยมอย่างน้อย 2 สัปดาห์ การเตรียมการของหน่วยงานระหว่างการตรวจเยี่ยมของผู้ประเมิน 1. เปิดโอกาสให้บุคลากรทุกระดับในหน่วยงานได้ร่วมรับฟังคณะผู้ประเมินชี้แจงวัตถุประสงค์ และวิธีการ ประเมินในวันแรกของการตรวจเยี่ยม 7


คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสาขาวิชา มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา (พ.ศ.2555-2556)

2. บุคลากรพึงปฏิบัติงานตามปกติ ระหว่างการตรวจเยี่ยม แต่เตรียมพร้อมสําหรับการนําเยี่ยมชมหรือ ตอบคําถาม หรือรับการสัมภาษณ์จากคณะผู้ประเมิน 3. จัดให้มีผู้ประสานงานทําหน้าที่ตลอดช่วงการตรวจเยี่ยม ทั้งนี้เพื่อประสานงานกับบุคลากรที่เกี่ยวข้อง กับข้อมูลที่คณะผู้ตรวจเยี่ยมต้องการเพิ่มเติม และเพื่อนําเยี่ยมชมหน่วยงานตลอดจนอํานวยความสะดวกอื่นๆ 4. กรณีที่คณะกรรมการประเมินฯ ทํางานต่อหลังเวลาราชการ ควรมีผู้ประสานงานอํานวยความสะดวกให้ คณะกรรมการประเมินฯ 5. บุคลากรทั้งหมดควรได้มีโอกาสรับฟังการให้ข้อมูลป้อนกลับจากคณะกรรมการประเมินฯ เมื่อสิ้นสุด การตรวจเยี่ยมตลอดจนเปิดโอกาสให้ซักถาม หรือขอความคิดเห็นได้ตามความเหมาะสม การดําเนินการของหน่วยงานภายหลังการประเมินคุณภาพ 1. ระดับคณะหรือหน่วยงานเทียบเท่า 1.1 ผู้ ป ระสานงานการประเมิ น ฯ ติ ด ตามรายงานผลการประเมิ น คุ ณภาพการศึ ก ษาภายใน ที่มีลายเซ็นของคณะกรรมการประเมินฯ จากคณะกรรมการประเมินฯ และดําเนินการเพิ่มเติมหลักฐานใน ระบบ CHE QA Online ให้สอดคล้องกับผลการประเมินฯ กรณีที่ผลการประเมินฯ แตกต่างจากการประเมิน ตนเองในระบบ CHE QA Online ให้แล้วเสร็จ 1.2 คณะหรือหน่วยงานเทียบเท่า ดําเนินการจัดส่งรายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ที่มีลายเซ็นของคณะกรรมการประเมินฯ โดยจัดทําเป็นไฟล์ PDF มาที่ระบบจัดการรายงาน และ หลักฐานการ เบิกจ่ายค่าใช้จ่ายทั้งหมด (ค่าตอบแทนกรรมการประเมินฯ และ/หรือค่าใช้จ่ายในการเดินทางของกรรมการ ประเมินฯ) นําส่งสํานักงานประกันคุณภาพการศึกษา ภายใน 15 วัน หลังจากวันตรวจประเมิน 1.3 สํานักงานประกันคุณภาพการศึกษาปิดระบบ CHE QA Online ณ วันที่ 15 กรกฎาคม ของปีที่ ตรวจประเมิน และดําเนินการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลในระบบ CHE QA Online กับผลการประเมินฯ (AS3) 1.4 สํานักงานประกันคุณภาพการศึกษา แจ้งประธานกรรมการประเมินฯ ของแต่ละคณะหรือ หน่วยงานเทียบเท่าให้เข้าไปยืนยันข้อมูลและผลการประเมินฯ ในระบบ CHE QA Online 1.5 ผู้บริหารคณะหรือหน่วยงานเทียบเท่า และผู้เกี่ยวข้องนําผลการประเมินฯ เข้าสู่การประชุม หรื อ สั ม มนาระดั บ ต่ า งๆ เพื่ อ วางแผนพั ฒ นา หรื อ ปรั บ ปรุ ง การดํ า เนิ น ภารกิ จ อย่ า งเป็ น รู ป ธรรมต่ อ ไป โดยจัดทําแผนพัฒนาคุณภาพ เพื่อแก้ไขจุดอ่อนและเสริมจุดแข็งตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประเมินฯ และการพัฒนาคุณภาพในแต่ละตัวบ่งชี้ ซึ่งประกอบด้วยแนวทางและกิจกรรมที่ต้องดําเนินการ กําหนดเวลา เริ่มต้นจนถึงเวลาสิ้นสุดกิจกรรม ตลอดจนผู้รับผิดชอบกิจกรรมเหล่านั้น ทั้งนี้เพื่อให้สามารถติดตามตรวจสอบ ผลการพัฒนาได้อย่างต่อเนื่อง และเสนอต่อที่ประชุมประจําหน่วยงานพิจารณาให้ความเห็นชอบกับแผนพัฒนา คุณภาพ 1.6 คณะหรือหน่วยงานเทียบเท่า จัดส่งแผนพัฒนาคุณภาพ ที่สํานักงานประกันคุณภาพการศึกษา ภายในวันที่ 30 กรกฎาคม ของปีที่ตรวจประเมิน 1.7 คณะหรือหน่วยงานเทียบเท่า พิจารณาการจัดกิจกรรมเสริมสร้างขวัญ และกําลังใจโดยแสดงให้ เห็นว่าหน่วยงานชื่นชมผลสําเร็จที่เกิดขึ้น และตระหนักว่าทั้งหมดมาจากความร่วมมือร่วมใจของทุกฝ่าย 1.8 คณะหรื อ หน่ ว ยงานเที ย บเท่ า อาจพิ จ ารณาให้ ข้ อ มู ล ย้ อ นกลั บ แก่ ค ณะผู้ ป ระเมิ น เพื่ อ ประโยชน์ในการพัฒนาผู้ประเมินคุณภาพภายในต่อไป

8


คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสาขาวิชา มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา (พ.ศ.2555-2556)

2. ระดับมหาวิทยาลัย 2.1 สํานักงานประกันคุณภาพการศึกษา ติดตามรายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ที่มีลายเซ็นของคณะกรรมการประเมินฯ จากคณะกรรมการประเมินฯ และดําเนินการเพิ่มเติมหลักฐานใน ระบบ CHE QA Online ให้สอดคล้องกับผลการประเมินฯ กรณีที่ผลการประเมินฯ แตกต่างจากการประเมิน ตนเองในระบบ CHE QA Online ให้แล้วเสร็จ 2.2 สํ า นั ก งานประกั น คุ ณ ภาพการศึ ก ษา เสนอผลการประเมิ น ฯ ฉบั บ สมบู ร ณ์ ใ ห้ ที่ ป ระชุ ม คณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยรับทราบ และเสนอที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยพิจารณาให้ข้อเสนอแนะเพื่อ วางแผนพัฒนาคุณภาพมหาวิทยาลัยในปีการศึกษาต่อไป 2.3 ผู้บริหาร และผู้เกี่ยวข้องนําผลการประเมินเข้าสู่การประชุม หรือสัมมนาระดับต่างๆ เพื่อวางแผน พัฒนา หรือปรับปรุงการดําเนินภารกิจอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป โดยจัดทํา แผนพัฒนาคุณภาพ เพื่อแก้ไขจุดอ่อน และเสริมจุดแข็ง ตามข้อเสนอแนะของคณะผู้ประเมิน และการพัฒนาคุณภาพในแต่ละตัวบ่งชี้ ซึ่งประกอบด้วย แนวทางและกิจกรรมที่ต้องดําเนินการกําหนดเวลาเริ่มต้นจนถึงเวลาสิ้นสุดกิจกรรม ตลอดจนผู้รับผิดชอบ กิจกรรมเหล่านั้น ทั้งนี้เพื่อให้สามารถติดตามตรวจสอบผลการพัฒนาได้อย่างต่อเนื่อง นําเสนอต่อที่ประชุม คณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย และสภามหาวิทยาลัยพิจารณาให้ความเห็นชอบกับแผนพัฒนาคุณภาพ 2.4 มหาวิทยาลัยโดยผู้รับผิดชอบกิจกรรมดําเนินการตามแผนพัฒนาคุณภาพ และรายงานผลการ ดําเนินการเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย และสภามหาวิทยาลัยเป็นระยะๆ (6, 9 หรือ 12 เดือน) 2.5 มหาวิทยาลัยประเมินความสําเร็จในการดําเนินการตามแผนพัฒนาคุณภาพ และรายงานผล การประเมินเสนอสภามหาวิทยาลัยเพื่อรับคําแนะนําและข้อเสนอเพื่อการปรับปรุง

9


คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสาขาวิชา มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา (พ.ศ.2555-2556)

ขั้นตอนการประเมินคุณภาพภายใน มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา เริ่มต้น

หน่วยงานกรอก ปรับปรุงข้อมูลในระบบสารสนเทศของมหาวิทยาลัย หน่วยงานประเมินตนเองและบักทึกหลักฐานในระบบ CHE QA Online หน่วยงานเสนอรายชื่อคณะกรรมการตรวจประเมินคุณภาพฯตาม หลักเกณฑ์ที่กําหนด หน่วยงานส่ง Username และ Password ของระบบ CHE QA Online ให้คณะกรมการตรวจประเมินล่วงหน้าอย่างน้อย 2 สัปดาห์ คณะกรรมการตรวจประเมินหน่วยงานผ่านระบบ CHE QA Online หน่วยงานรับการตรวจประเมิน ภายในเดือนมิถุนายน จัดทํารายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ผู้ประสานงานเพิ่มเติมหลักฐานในระบบ CHE QA Online ตามผลการตรวจประเมิน • หน่วยงานส่งไฟล์รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษา ที่มี ลายเซ็นเป็นไฟล์ PDF. มาที่สํานักงานประกันคุณภาพ • หน่วยงานส่งหลักฐานประกอบการเบิกค่าใช้จ่ายทั้งหมดมาที่ สํานักงานประกันคุณภาพการศึกษา สํานักงานประกันคุณภาพการศึกษา ปิดระบบ CHE QA Online ณ วันที่ 15 ก.ค. ของปีที่ตรวจประเมิน สํานักงานประกันคุณภาพการศึกษา ตรวจผลการประเมินกับระบบ CHE QA Online สํานักงานประกันคุณภาพการศึกษา แจ้งประธานตรวจประเมินแต่ละ หน่วยงานในระบบ CHE QA Online พร้อมยืนยันผล หน่วยงานส่งแผนพัฒนาคุณภาพ

สิ้นสุดการตรวจประเมิน

10


คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสาขาวิชา มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา (พ.ศ.2555-2556)

แนวทางการจัดการกระบวนการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน จุดมุ่งหมายของการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในก็เพื่อตรวจสอบและประเมินการดําเนินงานของ สถาบันตามระบบและกลไกที่สถาบันนั้นๆ ได้กําหนดขึ้น ทั้งนี้ เพื่อให้สถาบันได้ทราบสถานภาพที่แท้จริง อัน จะนําไปสู่การกําหนดแนวทางและพัฒนาคุณภาพตามเกณฑ์และมาตรฐานที่ตั้งไว้อย่างต่อเนื่อง การประเมิน คุณภาพที่มีประสิทธิภาพนั้น ทั้งคณะผู้ประเมินและสถาบันที่รับการประเมินจําเป็นต้องกําหนดบทบาทหน้าที่ ของตนเองอย่างเหมาะสม และสอดคล้องกับกฎกระทรวงว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพ การศึกษา พ.ศ. 2553 ทั้ ง นี้ สถาบั น ต้ อ งวางแผนจั ด กระบวนการประเมิ น คุ ณ ภาพการศึ ก ษาภายในให้ เ สร็ จ ก่ อ นสิ้ น ปี การศึกษาที่จะเริ่มวงรอบการประเมิน เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถาบัน ดังนี้ 1) เพื่อให้สามารถนําผลการประเมินและข้อเสนอแนะไปใช้ปรับปรุงและพัฒนาการจัดการศึกษา ได้ ทั น ในปี ี การศึ ก ษาถั ดไป และตั้ ง งบประมาณได้ ทั น ก่ อ นเดื อนตุ ล าคม (กรณี ที่เ ป็ น สถาบั น อุดมศึกษาของรัฐ) 2) เพื่อให้สามารถจัดทํารายงานประจําปีที่เป็นรายงานประเมินคุณภาพภายในส่งให้สํานักงาน คณะกรรมการการอุดมศึกษาและเผยแพร่ต่ อสาธารณชนได้ภ ายใน 120 วัน นับ จากวัน สิ้น ปี การศึกษาของแต่ละสถาบัน เพื่อให้การประกันคุณภาพการศึกษาเกิดประโยชน์ดังที่กล่าวข้างต้น จึงควรมีแนวทาง การจัดกระบวนการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ดังปรากฏในตารางต่อจากนี้ ตารางดังกล่าว สามารถแยกได้เป็น 4 ขั้นตอนตามระบบการพัฒนาคุณภาพ PDCA คือ การวางแผน (plan) การดําเนินงานและเก็บข้อมูล (do) การประเมินคุณภาพ (check) และการเสนอแนวทางปรับปรุง (act) โดยมีรายละเอียดดังนี้ P = กิจกรรมข้อที่ 1 เริ่มกระบวนการวางแผนการประเมินตั้งแต่ต้นปีการศึกษา โดยนําผลการ ประเมินปีก่อนหน้านี้มาใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนด้วย กรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงระบบประกัน คุณภาพหรือตัวบ่งชี้หรือเกณฑ์การประเมิน จะต้องมีการประกาศให้ทุกหน่วยงานในสถาบันได้ รับทราบและถือปฏิบัติโดยทั่วกันก่อนเริ่มปีการศึกษา เพราะต้องเก็บข้อมูลตั้งแต่เดือนมิถุนายน D = กิจกรรมข้อที่ 2 ดําเนินงานและเก็บข้อมูลบันทึกผลการดําเนินงานตั้งแต่ต้นปีการศึกษา คือเดือนที่ 1–เดือนที่ 12 ของปีการศึกษา (เดือนมิถุนายน–เดือนพฤษภาคม ปีถัดไป) C = กิจกรรมข้อที่ 3–8 ดําเนินการประเมินคุณภาพในระดับสาขาวิชา คณะวิชาหรือหน่วยงาน เทียบเท่า และสถาบัน ระหว่างเดือนมิถุนายน–สิงหาคม ของปีการศึกษาถัดไป A = กิจกรรมข้อที่ 9 วางแผนปรับปรุงและดําเนินการปรับปรุงตามผลการประเมิน โดย คณะกรรมการบริ ห ารของสถาบั น อุ ด มศึ ก ษานํ า ข้ อ เสนอแนะและผลการประเมิ น ของ คณะกรรมการประเมินคุณภาพภายในมาวางแผนปรับปรุงการดําเนินงาน (รวมทั้งข้อเสนอแนะ ของสภามหาวิทยาลัย) มาทําแผนปฏิบัติการประจําปีและเสนอตั้งงบประมาณปีถัดไป หรือ จัดทําโครงการพัฒนาและเสนอใช้งบประมาณกลางปีหรืองบประมาณพิเศษก็ได้ สําหรับกิจกรรมข้อที่ 10 ในตารางดังกล่าวเป็นกิจกรรมที่สถาบันอุดมศึกษาทุกแห่งต้องดําเนินการตาม กฎหมาย เพื่อประโยชน์ของสถาบันในการปรับปรุงคุณภาพ และเพื่อประโยชน์ของสํานักงานคณะกรรมการ การอุ ด มศึ กษาและหน่ ว ยงานต้ น สั ง กั ด ใช้ เ ป็ น ข้ อ มู ล ประกอบการตั ด สิ น ใจเชิ งนโยบาย เพื่ อ การส่ ง เสริ ม สนับสนุนคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของชาติให้ทัดเทียมกับนานาอารยะประเทศและมีความเป็นสากล 11


คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสาขาวิชา มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา (พ.ศ.2555-2556)

12


คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสาขาวิชา มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา (พ.ศ.2555-2556)

บทที่ 2 ตัวบ่งชี้และเกณฑ์การประเมินคุณภาพตามองค์ประกอบคุณภาพ ตามที่ ร ะบุ ใ นพระราชบั ญ ญั ติ ก ารศึ ก ษาแห่ ง ชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ ไ ขเพิ่ ม เติ ม (พ.ศ. 2545) ให้ ส ถานศึ ก ษาจั ด ให้ มี ร ะบบประกั น คุ ณ ภาพการศึ ก ษาภายในสถานศึ กษา ซึ่ ง มหาวิ ท ยาลั ย อิ ส ลามยะลา ได้มีการจัดวางระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายในโดยพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้มีมาตรฐานตามเกณฑ์ มาตรฐานคุ ณภาพที่มหาวิทยาลั ย และสํ านั กงานคณะกรรมการการอุ ดมศึ กษา (สกอ.) ในฐานะหน่วยงาน ต้นสังกัดกําหนด รวมทั้งสอดคล้องกับเกณฑ์การประเมินคุณภาพภายนอกของสํานักงานรับรองมาตรฐานและ ประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) หรือ สมศ. สําหรับมหาวิทยาลัยอิสลามยะลา และคณะหรือหน่วยงาน นั้น กําหนดให้มีองค์ประกอบคุณภาพ 9 องค์ประกอบ ดังนี้ องค์ประกอบที่ 1 ปรัชญา ปณิธาน วัตถุประสงค์ และแผนการดําเนินการ องค์ประกอบที่ 2 การผลิตบัณฑิต องค์ประกอบที่ 3 กิจกรรมการพัฒนานักศึกษา องค์ประกอบที่ 4 การวิจัย องค์ประกอบที่ 5 การบริการวิชาการแก่สังคม องค์ประกอบที่ 6 การทํานุบํารุงศิลปะและวัฒนธรรม องค์ประกอบที่ 7 การบริหารและการจัดการ องค์ประกอบที่ 8 การเงินและงบประมาณ องค์ประกอบที่ 9 ระบบและกลไกการประกันคุณภาพ นโยบายรัฐบาล องค์ประกอบที่ 99 นโยบายรัฐบาล “สถานศึกษา 3 ดี”

13


คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสาขาวิชา มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา (พ.ศ.2555-2556)

องค์ประกอบและตัวบ่งชีค้ ุณภาพ การเทียบเคียงตัวบ่งชี้ กลุ่มตัวบ่งชี้ ตัวบ่งชี้

องค์ประกอบ/ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ 1 ปรัชญา ปณิธาน วัตถุประสงค์ และแผนการดําเนินการ 1.1 (P) การพัฒนาแผนปฏิบัติการประจําปี 1.2 (O) ร้อยละของการบรรลุเป้าหมายตามตัวบ่งชี้ของแผนปฏิบัติการประจําปี องค์ประกอบที่ 2 การผลิตบัณฑิต 2.1 (P) ระบบและกลไกการพัฒนาและการบริหารหลักสูตร 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6

(I) (I) (P) (P) (P)

2.7 (P) 2.8 (P)

2.9 (P) 2.10 (O) 2.11 2.12 2.13 2.14 2.15

(O) (O) (O) (O) (O)

อาจารย์ประจําที่มีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่า อาจารย์ประจําที่ดํารงตําแหน่งทางวิชาการ ระบบและกลไกการจัดการเรียนการสอน ระบบและกลไกการพัฒนาสัมฤทธิผลการเยนตามคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ ร้อยละของรายวิชาที่นําผลการประเมินการจัดการเรียนการสอนมาปรับปรุงหรือ พัฒนาการจัดการเรียนการสอน มีรายละเอียดของรายวิชา และรายละเอียดของประสบการณ์ภาคสนาม (ถ้ามี) ตามแบบ ม.ค.อ.3 และ ม.ค.อ.4 อย่างน้อยก่อนการเปิดสอน ในแต่ละภาคการศึกษาให้ครบทุก รายวิชา หลักสูตรที่เข้ากรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ จัดทํารายงานผลการ ดําเนินการของรายวิชา และรายงานผลการดําเนินการของประสบการณ์ภาคสนาม (ถ้ามี ๗ ตามแบบ ม.ค.อ.5 และม.ค.อ.6 ภายใน 30 วัน หลังสิ้นสุดภาคการศึกษาที่เปิดสอนให้ ครบทุกรายวิชา จัดทํารายงานผลการดําเนินการของหลักสูตร ตามแบบ ม.ค.อ.7 ภายใน 60 วันหลังสิ้นสุด ปีการศึกษา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่กําหนดใน ม.ค.อ.3 และ ม.ค.อ.4 (ถ้ามี) อย่างน้อยร้อยละ 25 ของรายวิชาที่เปิดสอนในแต่ละปีการศึกษา ระดับความพึงพอใจของนักศึกษาปีสุดท้ายที่มีต่อคุณภาพหลักสูตร บัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทํา หรือประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี คุณภาพของบัณฑิตปริญญาตรี โทและเอก ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิอุดมศึกษาแห่งชาติ ผลงานของผู้สาํ เร็จการศึกษาระดับปริญญาโทที่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ ร้อยละของระดับความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตต่อบัณฑิต

2.16 (P) ทรัพยากรประกอบการเรียนการสอนและการวิจยั องค์ประกอบที่ 3 กิจกรรมการพัฒนานักศึกษา 3.1 (P) การให้คําปรึกษาและบริการแก่นักศึกษา องค์ประกอบที่ 4 การวิจัย 4.1 (P) การสนับสนุนการผลิตงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์และองค์ความรู้จากางานวิจัยหรืองาน สร้างสรรค์ 4.2 (I) เงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ต่อจํานวนอาจารย์และนักวิจัยประจํา 4.3 (O) งานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ที่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่

14

ม.อ.ย. ม.อ.ย.

-

ส.ก.อ. ก.ม.ส..2548 ส.ก.อ. ส.ก.อ. ส.ก.อ. ส.ก.อ. ส.ก.อ. ต.ช.ก.

2.1* 1 2.2 2.3 2.6* 2.7* 2.6* 7

ต.ช.ก

3

ต.ช.ก.

4

ต.ช.ก.

5

ต.ช.ก.

6

ต.ช.ก. ส.ม.ศ. ส.ม.ศ. ส.ม.ศ. ต.ช.ก. ก.ม.ส.2548 ก.ม.ส.2548

11 1 2 3 12 4 2

ส.ก.อ. ก.ม.ส.2548

3.1* 3

ส.ก.อ.

4.1,4.2*

ส.ก.อ. ส.ม.ศ.

4.3 5


คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสาขาวิชา มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา (พ.ศ.2555-2556)

องค์ประกอบ/ตัวบ่งชี้ 4.4 (O) งานวัยหรืองานสร้างสรรค์ที่นําไปใช้ประโยชน์ 4.5 (O) ผลงานวิชาการที่ได้รับการรับรองคุณภาพ องค์ประกอบที่ 5 การบริการทางวิชาการแก่สังคม 5.1 (P) การบูรณาการบริการทางวิชาการแก่สังคมกับพันธกิจอื่น 5.2 (P) การมีส่วนร่วมของอาจารย์ในการบริการทางวิชาการแก่ชุมชนหรือองค์กรภายนอก 5.3 (O) จํานวนโครงการ/กิจกรรมบริการวิชาการที่มีการนําความรู้และประสบการณ์จากการ ให้บริการมาใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนและ/หรือการวิจัย (รายงานแต่ไม่ต้องประเมิน) องค์ประกอบที่ 6 การทํานุบํารุงศิลปะและวัฒนธรรม 6.1 (P) การบูรณาการงานด้านทํานุบํารุงศิลปะและวัฒนธรรมกับการเรียนการสอน องค์ประกอบที่ 7 การบริหารและการจัดการ 7.1 (P) ภาวะผู้นําของผู้บริหารระดับหัวหน้าสาขาวิชา/หลักสูตร/กลุ่มสาขาวิชา 7.2 (P) กระบวนการจัดการความรู้ 7.3 (O) อาจารย์ประจําหลักสูตรมีส่วนร่วมในการประชุมเพื่อวางแผน ติดตามและทบทวนการ ดําเนินงานของหลักสูตร 7.4 (O) อาจารย์ใหม่ (ถ้ามี) ทุกคน ได้รับการปฐมนิเทศหรือคําแนะนําด้านการจัดการเรียนการ สอน 7.5 (O) อาจารย์ประจําทุกคนได้รับการพัฒนาทางวิชาการและ/หรือวิชาชีพอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง 7.6 (O) จํานวนบุคลากรสนับสนุนการเรียนการสอน (ถ้ามี) ได้รับการพัฒนาวิชาการและ/หรือ วิชาชีพ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ต่อปี องค์ประกอบที่ 9 ระบบและกลไกการประกันคุณภาพ 9.1 (P) ระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน รวมตัวบ่งชี้ทั้งหมด

การเทียบเคียงตัวบ่งชี้ กลุ่มตัวบ่งชี้ ตัวบ่งชี้ ส.ม.ศ. 6 ส.ม.ศ. 7 ส.ก.อ. ม.อ.ย. ส.ม.ศ.

5.1*,5.2* 8*

ส.ก.อ.

6.1*

ส.ก.อ. ส.ก.อ.

7.1* 7.2*

ต.ช.ก.

1

ต.ช.ก.

8

ต.ช.ก.

9

ต.ช.ก.

10

ส.ก.อ. 35

9.1* 35

คําชี้แจง ม.อ.ย. ส.ก.อ. ส.ม.ศ. ต.ช.ก. ก.ม.ส.2548 *

หมายถึง มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา หมายถึง สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา หมายถึง สํานักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) หมายถึง ตัวบ่งชี้กลาง กรอบมาตรฐานคุณวุฒริ ะดับอุดมศึกษาแห่งชาติ หมายถึง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร พ.ศ.2548 หมายถึง การดัดแปลงตัวบ่งชี้และเกณฑ์มาตรฐานเดิม

หมายเหตุ : ระดับสาขาวิชา การกําหนดตัวชี้ขึ้นอยู่กับดุลพินจิ ของคณะกรรมการบริหารหน่วยงานคณะ และหน่วยงาน ระดับสาขาวิชาสามารถเพิม่ อัตลักษณ์หรือตัวบ่งชี้เพิ่มเฉพาะของตนเองได้ โดยผ่านกระบวนการรับรองจากหน่วยงานต้นสังกัด พร้อมแจ้งให้สํานักงานประกันรับทราบเป็นลายลักษณ์อักษร

15


คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสาขาวิชา มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา (พ.ศ.2555-2556)

องค์ประกอบที่ 1 ปรัชญา ปณิธาน วัตถุประสงค์ และแผนดําเนินการ หลักการ หน่วยงานแต่ละแห่งมีปรัชญา ปณิธาน และจุดเน้นที่อาจแตกต่างกัน ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ที่หน่วยงาน จะกําหนดวิสั ยทัศน์ แผนกลยุทธ์ และแผนปฏิบั ติการประจํา ปีให้ชั ดเจนและสอดคล้องกับปรั ชญา ปณิธาน กฎหมาย และจุดเน้นของหน่วยงาน ที่สนับสนุนภารกิจของมหาวิทยาลัยอิสลามยะลาตามหลักการอุดมศึกษา มาตรฐานการศึกษาของชาติ มาตรฐานการอุดมศึกษา มาตรฐานวิชาชีพ (ถ้ามี) ตลอดจนสอดคล้องกับกรอบ แผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปี ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2551-2565) และการเปลี่ยนแปลงของกระแสโลก กระบวนการกําหนดวิสัยทัศน์และแผนกลยุทธ์ คณะกรรมการบริหารหน่วยงานเปิดโอกาสให้มีส่วน ร่วมของสมาชิกทุกกลุ่มในหน่วยงาน และมีการถ่ายทอดวิสัยทัศน์และแผนกลยุทธ์ที่กําหนดแล้วให้รับทราบ ทั่วกันทั้งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ นักศึกษา ตลอดจนผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย เช่น ผู้ปกครอง ชุมชน ผู้ใช้บริการและ สังคมโดยรวม

มาตรฐานและเอกสารที่เกี่ยวข้อง 1. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 สํานักงาน เลขาธิการสภาการศึกษา 2. พระราชบัญญัติหน่วยงานอุดมศึกษาของรัฐและเอกชน 3. กรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปี ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2551-2565) สํานักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษา 4. มาตรฐานการศึกษาของชาติ พ.ศ. 2547 สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา 5. มาตรฐานการอุดมศึกษา พ.ศ. 2549 สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 6. มาตรฐานสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2551 สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 7. กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 (Thai Qualification Framework for Higher Education) (TQF : HEd.) สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 8. หลักการอุดมศึกษา 9. ข้อกําหนดและข้อบังคับมหาวิทยาลัยอิสลามยะลา 10. ปรัชญา และปณิธานของมหาวิทยาลัยอิสลามยะลา และของหน่วยงาน 11. แผนยุทธศาสตร์ 5 ปี (พ.ศ. 2554–2558) มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา ตัวบ่งชี้ จํานวน 2 ตัวบ่งชี้ คือ 1.1 (P) 1.2 (O)

การพัฒนาแผนปฏิบัติการประจําปี ร้อยละของการบรรลุเป้าหมายตามตัวบ่งชี้ของแผนปฏิบัติการประจําปี

16


คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสาขาวิชา มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา (พ.ศ.2555-2556)

ตัวบ่งชี้ 1.1 : การพัฒนาแผนปฏิบัติการประจําปี ชนิดของตัวบ่งชี้ : กระบวนการ (P) การคิดรอบปี : ปีงบประมาณหรือปีการศึกษา คําอธิบาย : สาขาวิ ช ามี พัน ธกิ จ หลั ก คื อ การเรี ย นการสอนและการพั ฒ นานั กศึ ก ษา การวิ จั ย การบริ การทาง วิชาการแก่สังคมและการทํานุบํารุงศิลปะและวัฒนธรรม ในการดําเนินพันธกิจหลัก สาขาวิชาต้องมีการกําหนด ทิศทางการพัฒนาและแนวทางการดําเนินงานของสาขาวิชา โดยการพัฒนาแผนปฏิบัติการประจําปีขึ้น ทั้งนี้ ต้องมีสาระที่สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ของคณะ เพื่อให้สาขาวิชาสามารถสนับสนุนการบรรลุวิสัยทัศน์ของคณะ และมีทิศทางการดําเนินพันธกิจต่างๆเป็นแนวทางเดียวกับคณะ ในกระบวนการพัฒนาแผนปฏิบัติการประจําปี สาขาวิชาต้องเปิดโอกาสให้สมาชิกทุกคนมีส่วนร่วมทั้ง ในการจัดทําและการร่วมกันรับผิดชอบดําเนินการตามแผนปฏิบัติการที่กําหนดขึ้น แผนปฏิบัติการประจําปี หมายถึง แผนระยะสั้นที่มีระยะเวลาในการดําเนินงานภายใน 1 ปี แบ่งเป็น แผนปฏิ บั ติ ง านประจํ า 1(routine)1และแผนปฏิ บั ติ ง านเชิ ง กลยุ ท ธ์ ห รื อ แผนที่ แ ปลงจากแผนกลยุ ท ธ์ ล งสู่ ภาคปฏิบัติ แผนปฏิบัติการประจําปีควรประกอบด้วย โครงการหรือกิจกรรมที่ต้องการดําเนินการ ผู้รับผิดชอบ หลั ก หรื อ หั ว หน้ า โครงการ ตั ว บ่ ง ชี้ ค วามสํ า เร็ จ ของผลการดํ า เนิ น การ ค่ า เป้ า หมายของตั ว บ่ ง ชี้ เ หล่ า นั้ น งบประมาณในการดําเนินการและรายละเอียดการดําเนินโครงการที่ชัดเจน ตัวบ่งชี้ หมายถึง สิ่งที่ใช้บ่งชี้ความสําเร็จของผลการดําเนินการ เช่น จํานวนงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร ต่างประเทศ ค่ า เป้ า หมาย (Target) หมายถึ ง ตั ว เลขหรื อ สิ่ ง ที่ ส ามารถวั ด หรื อ ประเมิ น ได้ ของตั ว บ่ ง ชี้ เช่ น ค่าเป้าหมายของตัวบ่งชี้จํานวนผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารต่างประเทศของสาขาวิชาในปี 2555 คือ > 5 เรื่อง เป็นต้น เกณฑ์มาตรฐาน : ข้อ 1. บุคลากรในสาขาวิชามีส่วนร่วมในการจัดทําหรือทบทวน แผนกลยุทธ์ของคณะ 2. สาขาวิ ชานํ าแผนกลยุ ทธ์ ของคณะ ไปทํ าแผนปฏิบั ติการประจํ าปี ของสาขาวิชา โดยการมีส่ วนร่ วมของ บุคลากรในสาขาวิชาและมีสาระของแผนปฏิบัติการประจําปีครอบคลุมพันธกิจ อย่างน้อย 2 ด้าน ได้แก่ ด้านการเรียนการสอนและพัฒนานักศึกษา และด้านการวิจัย 3. มี ก ารกํ า หนดตั ว บ่ ง ชี้ ข องแผนปฏิ บั ติ ก ารประจํ า ปี แ ละค่ า เป้ า หมายของแต่ ล ะตั ว บ่ งชี้ ใ ห้ ส อดคล้ อ งกั บ เป้าประสงค์ของแผนกลยุทธ์ของคณะ เพื่อวัดความสําเร็จของการดําเนินงานตามแผนปฏิบัติการประจําปี 4. บุคลากรในสาขาวิชามีส่วนร่วมในการกระจายหรือมอบหมายความรับผิดชอบโครงการหรือกิจกรรมตาม แผนปฏิบัติการประจําปีของสาขาวิชาให้แก่บุคลากรในสาขาวิชา 5. มีการดําเนินงานตามแผนปฏิบัติการประจําปีครบตามพันธกิจที่ระบุในข้อ 2 6. มีการติดตามและประเมินผลการดําเนินงานตามตัวบ่งชี้ของแผนปฏิบัติการประจําปีอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง และรายงานผลในที่ประชุมสาขาวิชาเพื่อพิจารณา 7. มีการนําผลการพิจารณา ข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะของที่ประชุมสาขาวิชาไปปรับปรุงแผนปฏิบัติการ ประจําปี หรือการปฏิบัติงานของสาขาวิชา

17


คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสาขาวิชา มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา (พ.ศ.2555-2556)

เกณฑ์การประเมิน : คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 ดําเนินการ 1 ข้อ ดําเนินการ 2-3 ข้อ ดําเนินการ 4-5 ข้อ

คะแนน 4 ดําเนินการ 6 ข้อ

คะแนน 5 ดําเนินการ 7 ข้อ

ตัวบ่งชี้ 1.2 : ร้อยละของการบรรลุเป้าหมายตามตัวบ่งชี้ของแผนปฏิบัติการประจําปี ชนิดของตัวบ่งชี้ : ผลผลิต (O) การคิดรอบปี : ปีงบประมาณหรือปีการศึกษา (สอดคล้องกับตัวบ่งชี้ 1.1) เกณฑ์มาตรฐาน

: เชิงปริมาณ คิดเป็นร้อยละ

จํานวนตัวบ่งชี้ในแผนปฏิบัติการประจําปีที่ผลการดําเนินการบรรลุตามค่าเป้าหมาย จํานวนตัวบ่งชี้ทั้งหมดในแผนปฏิบัติการประจําปี

เกณฑ์การประเมิน : เทียบบัญญัติไตรยางศ์ ร้อยละ 100 คิดเป็น 5 คะแนน

18

x 100


คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสาขาวิชา มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา (พ.ศ.2555-2556)

องค์ประกอบที่ 2 การผลิตบัณฑิต หลักการ พันธกิจที่สําคัญที่สุดของสถาบันอุดมศึกษา คือ การผลิตบัณฑิต หรือการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ให้ผู้เรียนมีความรู้ในวิชาการและวิชาชีพ มีคุณลักษณะตามหลักสูตรที่กําหนด การเรียนการสอนในยุคปัจจุบัน ใช้ ห ลั กการของการจั ด กระบวนการเรี ยนรู้ ที่เ น้ น ผู้ เ รีย นเป็ น สํ า คั ญ ดั งนั้ น พั น ธกิ จ ดั งกล่ า วจึงเกี่ ย วข้ องกั บ การบริ หารจัด การหลักสูต รและการเรี ย นการสอน เริ่ มตั้งแต่การกํ าหนดปั จ จัย นํ าเข้า ที่ ได้ มาตรฐานตามที่ กําหนด ประกอบด้วย การมีอาจารย์ที่มีปริมาณและคุณภาพตามมาตรฐานหลักสูต รมีกระบวนการบริหาร จัดการการเรียนการสอนที่อาศัยหลักการร่วมมือรวมพลังของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกสถาบัน ดังนั้ น จึ งจํ าเป็ นต้ องมี การวางระบบและกลไกการควบคุมคุ ณภาพขององค์ ประกอบต่า งๆ ที่ใช้ใน การผลิตบัณฑิต ได้แก่ (ก) หลักสูตรการศึกษาในสาขาวิชาต่างๆ (ข) คณาจารย์และระบบการพัฒนาอาจารย์ (ค) สื่ อ การศึ ก ษาและเทคนิ ค การสอน (ง) ห้ อ งสมุ ด และแหล่ ง การเรี ย นรู้ อื่ น (จ) อุ ป กรณ์ ก ารศึ ก ษา (ฉ) สภาพแวดล้อมในการเรียนรู้และบริการการศึกษา (ช) การวัดผลการศึกษาและสัมฤทธิผลทางการเรียนของ นักศึกษา (ซ) องค์ประกอบอื่นตามที่แต่ละสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาเห็นสมควร ตามที่กฎกระทรวงว่าด้วย ระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ.2553 กําหนด

มาตรฐานและเอกสารที่เกี่ยวข้อง 1. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 สํานักงาน เลขาธิการสภาการศึกษา 2. กรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปี ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2551-2565) สํานักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษา 3. มาตรฐานการศึกษาของชาติ พ.ศ. 2547 สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา 4. มาตรฐานการอุดมศึกษา พ.ศ. 2549 สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 5. มาตรฐานสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ.2551 สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 6. ประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง มาตรฐานของจรรยาบรรณที่พึงมีในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2551 7. กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 (Thai Qualification Framework for Higher Education) (TQF: HEd.) สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 8. กฎกระทรวง ว่ า ด้ ว ยระบบ หลั ก เกณฑ์ และวิ ธี ก ารประกั น คุ ณ ภาพการศึ ก ษา พ.ศ.2553 กระทรวงศึกษาธิการ 9. แนวทางการปฏิบัติตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 สํานักงาน คณะกรรมการการอุดมศึกษา 10. เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2548 สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 11. มาตรฐานการประเมินคุณภาพภายนอกระดับอุดมศึกษารอบสาม พ.ศ. 2554 สํานักงานรับรอง มาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) (สมศ.)

19


คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสาขาวิชา มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา (พ.ศ.2555-2556)

ตัวบ่งชี้ จํานวน 14 ตัวบ่งชี้ คือ 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6

(P) (I) (I) (P) (P) (P)

2.7 (P) 2.8 (P) 2.9 (P) 2.10 (O) 2.11 (O) 2.12 (O) 2.13 (O) 2.14 (O) 2.15 (O) 2.16 (P)

ระบบและกลไกการพัฒนาและการบริหารหลักสูตร อาจารย์ประจําที่มีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่า อาจารย์ประจําที่ดํารงตําแหน่งทางวิชาการ ระบบและกลไกการจัดการเรียนการสอน ระบบและกลไกการพัฒนาสัมฤทธิผลการเยนตามคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ ร้อยละของรายวิชาที่นําผลการประเมินการจัดการเรียนการสอนมาปรับปรุงหรือพัฒนาการจัดการเรียน การสอน มีรายละเอียดของรายวิชา และรายละเอียดของประสบการณ์ภาคสนาม (ถ้ามี) ตามแบบ ม.ค.อ.3 และ ม.ค.อ.4 อย่างน้อยก่อนการเปิดสอน ในแต่ละภาคการศึกษาให้ครบทุกรายวิชา หลักสูตรที่เข้ากรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ จัดทํารายงานผลการดําเนินการของ รายวิชา และรายงานผลการดําเนินการของประสบการณ์ภาคสนาม (ถ้ามี๗ ตามแบบ ม.ค.อ.5 และ ม.ค.อ.6 ภายใน 30 วัน หลังสิ้นสุดภาคการศึกษาที่เปิดสอนให้ครบทุกรายวิชา จัดทํารายงานผลการดําเนินการของหลักสูตร ตามแบบ ม.ค.อ.7 ภายใน 60 วันหลังสิ้นสุดปีการศึกษา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่กําหนดใน ม.ค.อ.3 และ ม.ค.อ.4 (ถ้ามี) อย่างน้อยร้อยละ 25 ของรายวิชาที่เปิดสอนในแต่ละปีการศึกษา ระดับความพึงพอใจของนักศึกษาปีสุดท้ายที่มีต่อคุณภาพหลักสูตร บัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทํา หรือประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี คุณภาพของบัณฑิตปริญญาตรี โทและเอก ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิอุดมศึกษาแห่งชาติ ผลงานของผู้สําเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทที่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ ร้อยละของระดับความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตต่อบัณฑิต ทรัพยากรประกอบการเรียนการสอนและการวิจัย

20


คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสาขาวิชา มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา (พ.ศ.2555-2556)

ตัวบ่งชี้ 2.1 : ระบบและกลไกการพัฒนาและบริหารหลักสูตร ชนิดของตัวบ่งชี้ : กระบวนการ (P) การคิดรอบปี : ปีการศึกษา คําอธิบาย : ประเมินเฉพาะสาขาวิชาที่เป็นเจ้าของหลักสูตร สถาบันอุดมศึกษามีหน้าที่พัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับปรัชญาปณิธาน วิสัยทัศน์ พันธกิจและ ความพร้อมของสถาบัน ตลอดจนสอดคล้องกับความต้องการทางด้านวิชาการและวิชาชีพของสังคม มีการ ประเมินหลักสูตรอย่างสม่ําเสมอตามหลักเกณฑ์และตัวบ่งชี้ของการประกันคุณภาพหลักสูตร มีการวางระบบ และกลไกบริหารหลักสูตรอย่างมีประสิทธิภาพและมีการปรับปรุงหลักสูตรให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง เกณฑ์มาตรฐาน: ข้อ 1. มีการติดตามผลการดําเนินงานของหลักสูตรทุกหลักสูตรในที่ประชุมสาขาวิชาอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง 2. ทุกหลั กสู ต รมี การดํ าเนิ น งานให้ เป็ นไปตามเกณฑ์ มาตรฐานหลั กสู ตรระดั บอุ ด มศึกษาและกรอบ มาตรฐานคุ ณ วุ ฒิ ร ะดั บ อุ ด มศึ ก ษาแห่ ง ชาติ 1 (การดํ า เนิ น งานตามกรอบมาตรฐานคุ ณ วุ ฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ หมายถึง ต้องมีการประเมินผลตาม “ตัวบ่งชี้ผลการดําเนินงานตามประกาศ มาตรฐานคุณวุฒิสาขาหรือสาขาวิชา เพื่อการประกันคุณภาพหลักสูตรและการเรียนการสอน” กรณีที่ หลักสูตรใดยังไม่มีประกาศมาตรฐานคุณวุฒิสาขาหรือสาขาวิชา ให้ประเมินตาม ตัวบ่งชี้กลางที่ กําหนดในภาคผนวก ก) สําหรับหลักสูตรสาขาวิชาชีพต้องได้รับการรับรองหลักสูตรจากสภาหรือ องค์กรวิชาชีพที่เกี่ยวข้องด้วย (หมายเหตุ:1สํ า หรับ หลั กสู ตรเก่ า หรือ หลั กสู ตรปรั บปรุง ที่ยั ง ไม่ไ ด้ดํ า เนิน การตามกรอบ มาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติก่อนปีการศึกษา12556 1ให้ยึดตามเกณฑ์มาตรฐาน หลักสูตรระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2548 ) 3. คณะกรรมการบริหารหลักสูตรและ/หรืออาจารย์ประจําหลักสูตร ควบคุม กํากับให้มีการดําเนินการ ได้ครบถ้วนตามข้อ 2 ข้างต้นตลอดเวลาที่จัดการศึกษา และมีการประเมินหลักสูตรทุกหลักสูตรอย่าง น้อยตามกรอบเวลาที่กําหนดในเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรฯ1กรณีหลักสูตรที่ดําเนินงานตามกรอบ มาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ1จะต้องควบคุมกํากับให้การดําเนินงานตามตัวบ่งชี้ในข้อ 2 ผ่านเกณฑ์การประเมิน 5 ข้อแรกและอย่างน้อยร้อยละ 80 ของ ตัวบ่งชี้ที่กําหนดในแต่ละปี ทุก หลักสูตร 4. คณะกรรมการบริหารหลักสูตรและ/หรืออาจารย์ประจําหลักสูตร ควบคุมกํากับให้มีการดําเนินการได้ ครบถ้วนตามข้อ 2 ข้างต้นตลอดเวลาที่จัดการศึกษา และมีการพัฒนาหลักสูตรทุกหลักสูตรตามผล การประเมินในข้อ 3 กรณีหลักสูตรที่ดําเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ จะต้องควบคุมกํากับให้การดําเนินงานตามตัวบ่งชี้ในข้อ 2 ผ่านเกณฑ์การประเมินครบ ทุกตัวบ่งชี้และ ทุกหลักสูตร 5. มีความร่วมมือในการพัฒนาและบริหารหลักสูตรที่เป็นหลักสูตรวิชาชีพระหว่างสาขาวิชากับภาครัฐหรือ ภาคเอกชน หรือชุมชน หมายเหตุ 1. หลักสูตรวิชาชีพ หมายถึง รายวิชาและประสบการณ์ทั้งหมดที่ผู้เรียนต้องศึกษาเพื่อให้ได้รับการรับรองจากสภา หรือองค์กรวิชาชีพที่กําหนดตามกฎหมาย

21


คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสาขาวิชา มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา (พ.ศ.2555-2556)

2. กรณีไม่มีหลักสูตรวิชาชีพในความรับผิดชอบของสาขาวิชา ให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานข้อ 5 โดยอนุโลม 3. ความร่วมมือในการพัฒนาและบริหารหลักสูตร เช่น การจัดให้มีผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกสถาบันจากองค์กรที่ เกี่ ย วข้ อ งกั บ วิ ช าชี พ ของหลั ก สู ต ร ร่ ว มเป็ น ที่ ป รึ ก ษา หรื อ คณะกรรมการร่ า งหลั ก สู ต ร คณะกรรมการบริ ห ารสาขาวิ ช า คณะกรรมการบริหารหรือพัฒนาหลักสูตร หรือร่วมเป็นคณะกรรมการอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับความรู้ ความสามารถและทั กษะที่ จํ าเป็น ในการปฏิบั ติง านจริง ที่จ ะเป็ นประโยชน์ต่ อ การพั ฒ นาและบริ หารหลั กสู ตร ตลอดจน กระบวนการจัดการเรียนการสอนให้นักศึกษาสามารถออกไปปฏิบัติงานได้จริงเมื่อสําเร็จการศึกษา 4. กรณีหลักสูตรร่วมหรือมีมากกว่า1สาขาวิชาที่ดําเนินการบริหารจัดการหลักสูตรร่วมกัน ให้ใช้ผลประเมินร่วมกัน

เกณฑ์การประเมิน : คะแนน 1 คะแนน 2 มีดําเนินการ 1 ข้อ มีดําเนินการ 2 ข้อ

คะแนน 3 มีดําเนินการ 3 ข้อ

คะแนน 4 มีดําเนินการ 4 ข้อ

คะแนน 5 มีดําเนินการ 5 ข้อ

ตัวบ่งชี้ 2.2 : อาจารย์ประจําที่มีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่า ชนิดของตัวบ่งชี้ : ปัจจัยนําเข้า (I) การคิดรอบปี : ปีการศึกษา คําอธิบาย : การศึกษาระดับอุดมศึกษาถือเป็นการศึกษาระดับสูงสุดที่ต้องการบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ และความลุ่ ม ลึ ก ทางวิ ช าการ เพื่ อ ปฏิ บั ติ พั น ธกิ จ สํ า คั ญ ของหน่ ว ยงานในการผลิ ต บั ณ ฑิ ต ศึ ก ษาวิ จั ย เพื่ อ การติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและการพัฒนาองค์ความรู้ ดังนั้น หน่วยงานจึงควรมีอาจารย์ที่มีระดับ คุณวุฒิทางการศึกษาในสัดส่วนที่เหมาะสมกับพันธกิจหรือจุดเน้นของหน่วยงาน เกณฑ์การประเมิน : หน่วยงานสามารถเลือกใช้เกณฑ์การประเมินจาก 2 แนวทาง ดังนี้ แนวทางที่ 1 ค่า ร้ อยละของอาจารย์ป ระจํ า ที่ มีคุณวุ ฒิป ริ ญญาเอกที่ กํา หนดให้ เ ป็น คะแนนเต็ ม 5 เท่ากับ ร้อยละ 30 ขึ้นไป แนวทางที่ 2 ค่าการเพิ่มขึ้นของร้อยละของอาจารย์ประจําที่มีคุณวุฒิปริญญาเอกเปรียบเทียบกับปีที่ ผ่านมา ที่กําหนดให้เป็นคะแนนเต็ม 5 เท่ากับ ร้อยละ 6 ขึ้นไป สูตรการคํานวณ : แนวทางที่ 1 1. คํานวณค่าร้อยละของอาจารย์ประจําที่มีวุฒิปริญญาเอก เท่ากับ จํานวนอาจารย์ประจําที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก จํานวนอาจารย์ประจําทั้งหมด

x 100

2. แปลงค่าร้อยละที่คํานวณได้ในข้อ 1 เทียบกับคะแนนเต็ม 5 คะแนนที่ได้ เท่ากับ ร้อยละของอาจารย์ประจําที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก ร้อยละของอาจารย์ประจําที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก ที่กําหนดให้เป็นคะแนนเต็ม 5 22

x5


คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสาขาวิชา มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา (พ.ศ.2555-2556)

แนวทางที่ 2 1. ค่าการเพิ่มขึ้นของร้อยละของอาจารย์ประจําที่มีคุณวุฒิปริญญาเอกเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา เท่ า กั บ ร้ อยละของอาจารย์ ป ระจํา ที่ มีคุณวุ ฒิ ปริ ญ ญาเอกในปี ที่ป ระเมิ น ลบด้ วยร้ อยละของ อาจารย์ประจําที่มีคุณวุฒิปริญญาเอกในปีก่อนหน้าปีที่ประเมิน 2. แปลงค่าการเพิ่มขึ้นของร้อยละของอาจารย์ประจําที่มีคุณวุฒิปริญญาเอกเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา ที่คํานวณได้ในข้อ 1 เทียบกับคะแนนเต็ม 5 คะแนนที่ได้ เท่ากับ ค่าการเพิ่มขึ้นของร้อยละของอาจารย์ประจําที่มีคุณวุฒิปริญญา เอกเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา ค่าการเพิ่มขึ้นของร้อยละของอาจารย์ประจําที่มีคุณวุฒิปริญญา เอกเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมาที่กําหนดให้เป็นคะแนนเต็ม 5

X5

หมายเหตุ : 1. คุณวุฒิปริญญาเอก พิจารณาจากระดับคุณวุฒิที่ได้รับหรือเทียบเท่าตามหลักเกณฑ์การพิจารณาคุณวุฒิของ กระทรวงศึกษาธิการ กรณีที่มีการปรับวุฒิการศึกษาให้มีหลักฐานการสําเร็จการศึกษาภายในรอบปีการศึกษานั้น ทั้งนี้ อาจใช้คุณวุฒิอื่นแทนคุณวุฒิปริญญาเอกได้ สําหรับกรณีที่บางสาขาวิชาชีพ มีคุณวุฒิอื่นที่เหมาะสมกว่า ทั้งนี้ ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการการอุดมศึกษา 2. การนับจํานวนอาจารย์ประจํา ให้นับตามปีการศึกษาและนับทั้งที่ปฏิบัติงานจริงและลาศึกษาต่อ ในกรณีที่มี อาจารย์บรรจุใหม่ให้คํานวณตามเกณฑ์อาจารย์ประจําที่ระบุในคําชี้แจงในการนําตัวบ่งชี้ไปใช้ประเมินคุณภาพ การศึกษาภายใน 3. คณะหรื อ หน่ ว ยงานสามารถเลื อ กประเมิ น ตามเกณฑ์ ก ารประเมิ น แนวทางใดแนวทางหนึ่ ง ก็ ไ ด้ ไม่จําเป็นต้องเลือกเหมือนกับมหาวิทยาลัย

ตัวบ่งชี้ 2.3 : อาจารย์ประจําที่ดํารงตําแหน่งทางวิชาการ ชนิดของตัวบ่งชี้ : ปัจจัยนําเข้า (I) การคิดรอบปี : ปีการศึกษา คําอธิบาย : สถาบันอุดมศึกษาถือเป็นขุมปัญญาของประเทศ และมีความรับผิดชอบที่จะต้องส่งเสริมให้อาจารย์ ในสถาบันทําการศึกษาวิจัยเพื่อแสวงหาและพัฒนาองค์ความรู้ในศาสตร์สาขาวิชาต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อ นําไปใช้ในการเรียนการสอน รวมทั้งการแก้ไขปัญหาและพัฒนาประเทศ การดํารงตําแหน่งทางวิชาการเป็นสิ่ง สะท้อนการปฏิบัติงานดังกล่าวของอาจารย์ตามพันธกิจของสถาบัน เกณฑ์การประเมิน : หน่วยงานสามารถเลือกใช้เกณฑ์การประเมินจาก 2 แนวทาง ดังนี้ 1) แปลงค่าร้อยละของอาจารย์ประจําที่ดํารงตําแหน่งทางวิชาการเป็นคะแนนระหว่าง 0-5 หรือ 2) แปลงค่าการเพิ่มขึ้นของค่าร้อยละของอาจารย์ประจําที่ดํารงตําแหน่งทางวิชาการเปรียบเทียบกับ ปีที่ผ่านมาเป็นคะแนนระหว่าง 0-5 แนวทางที่ 1 ค่าร้อยละของอาจารย์ประจําที่ดํารงตําแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์รวมกัน ที่กําหนดให้เป็นคะแนนเต็ม 5 เท่ากับ ร้อยละ 60 ขึ้นไป 23


คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสาขาวิชา มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา (พ.ศ.2555-2556)

แนวทางที่ 2 ค่ า การเพิ่ มขึ้ น ของร้ อยละของอาจารย์ ป ระจํ า ที่ ดํ า รงตํ า แหน่ ง ผู้ ช่ ว ยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์และศาสตราจารย์รวมกัน เปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา ที่กําหนดให้เป็นคะแนนเต็ม 5 เท่ากับ ร้อยละ 12 ขึ้นไป สูตรการคํานวณ : แนวทางที่ 1 1. คํานวณค่าร้อยละของอาจารย์ประจําที่ดํารงตําแหน่งทางวิชาการ เท่ากับ จํานวนอาจารย์ประจําที่ดํารงตําแหน่งทางวิชาการ จํานวนอาจารย์ประจําทั้งหมด

x 100

2. แปลงค่าร้อยละที่คํานวณได้ในข้อ 1 เทียบกับคะแนนเต็ม 5 คะแนนที่ได้ เท่ากับ ร้อยละของอาจารย์ประจําที่ดํารงตําแหน่ง ทางวิชาการ ร้อยละของอาจารย์ประจําที่ดํารงตําแหน่ง ทางวิชาการที่กําหนดให้เป็นคะแนนเต็ม 5

x5

แนวทางที่ 2 1. ค่าการเพิ่มขึ้นของร้อยละของอาจารย์ประจําที่ดํารงตําแหน่งทางวิชาการเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา เท่ากับ ร้อยละของอาจารย์ประจําที่ดํารงตําแหน่งทางวิชาการในปีที่ประเมิน ลบด้วย ร้อยละของ อาจารย์ประจําที่ดํารงตําแหน่งทางวิชาการในปีก่อนหน้าปีที่ประเมิน 2. แปลงค่าการเพิ่มขึ้นของร้อยละของอาจารย์ประจําที่ดํารงตําแหน่งทางวิชาการเปรียบเทียบกับปีที่ ผ่านมา ที่คํานวณได้ในข้อ 1 เทียบกับคะแนนเต็ม 5 คะแนนที่ได้ เท่ากับ ค่าการเพิ่มขึ้นของร้อยละของอาจารย์ประจําที่ดํารงตําแหน่ง ทางวิชาการเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา ค่าการเพิ่มขึ้นของร้อยละของอาจารย์ประจําที่ดํารงตําแหน่ง ทางวิชาการเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมาที่กําหนดให้เป็นคะแนนเต็ม 5

X5

หมายเหตุ : 1. การนับจํานวนอาจารย์ประจํา ให้นับตามปีการศึกษาและนับทั้งที่ปฏิบัติงานจริงและลาศึกษาต่อ 2. คณะสามารถเลือกประเมินตามเกณฑ์การประเมินแนวทางใดแนวทางหนึ่งก็ได้ ไม่จําเป็นต้องเลือกเหมือนกับ มหาวิทยาลัย

24


คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสาขาวิชา มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา (พ.ศ.2555-2556)

ตัวบ่งชี้ 2.4 : ระบบและกลไกการจัดการเรียนการสอน ชนิดของตัวบ่งชี้ : กระบวนการ (P) การคิดรอบปี : ปีการศึกษา คําอธิบาย : กระบวนการจั ด การเรี ย นการสอนต้ องเป็ น ไปตามแนวทางที่ กําหนดในพระราชบั ญ ญั ติ การศึ กษา แห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 ที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ มีการจัดรูปแบบการจัดการ เรียนการสอนที่เหมาะสมและยืดหยุ่น โดยการมีส่วนร่วมจากบุคคล สถาบัน หรือชุมชนภายนอก มีการจัด กระบวนการเรียนรู้ที่คํานึงถึงความแตกต่างเฉพาะตัวของนักศึกษา ซึ่งเป็นเรื่องที่สําคัญมากต่อความสนใจใฝ่รู้ และต่อศักยภาพในการแสวงหาความรู้ของนักศึกษา เช่น การเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ค้นคว้าวิจัยโดยอิสระใน รู ป โครงการวิ จั ย ส่ ว นบุ ค คล การจั ด ให้ มี ชั่ ว โมงเรี ย นในภาคปฏิ บั ติ ในห้ อ งปฏิ บั ติ ก าร รวมทั้ ง มี ก ารฝึ ก ประสบการณ์ภาคสนามอย่างพอเพียง มีการจัดสัมมนา จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ จัดทําโครงการมีการเรียนการ สอนทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (internet) ที่เพียงพอสําหรับการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง เกณฑ์มาตรฐาน: ข้อ 1. มีรายละเอียดของรายวิชาและของประสบการณ์ภาคสนาม (ถ้ามี) ทุกรายวิชา (มคอ. 3 และ มคอ.4) ก่อน การเปิดสอนในแต่ละภาคการศึกษา ตามที่กําหนดในกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ 2. มีการจัดประชุม/สัมมนา ในระดับสาขาวิชา เพื่อพิจารณาแผนการสอนรายวิชา อย่างน้อยในด้านความ สอดคล้องของวัตถุประสงค์ และวิธีการเรียนการสอน การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็น สําคัญ และเกณฑ์การวัดและประเมินผลการเรียนที่เหมาะสมในแต่ละรายวิชา 3. มีผลการประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาต่อคุณภาพการจัดการเรียนการสอนและสิ่งสนับสนุนการ เรียนรู้ทุกรายวิชา ทุกภาคการศึกษา ไม่น้อยกว่า 3.51จากคะแนนเต็ม 5 คะแนน 4. มีการพัฒนาหรือปรับปรุงรายวิชาและ/หรือการเรียนการสอนอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง โดยอาศัยข้อมูลจาก การประเมินรายวิชา (ได้แก่ ข้อมูลจาก มคอ. 5 หรือ มคอ. 6 หรือแบบประเมินรายวิชาตามระบบของ สาขาวิชา/คณะ) 5. มีการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาจากการวิจัยในชั้นเรียน (Classroom research) ที่จัดทําโดยอาจารย์ใน สาขาวิชา/คณะ หรือจากกระบวนการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน 6. มีการส่ งเสริ มทั กษะการเรี ย นรู้ ด้ วยตนเอง และการให้ ผู้ เ รี ย นได้ เรี ย นรู้ จ ากการปฏิ บั ติ ทั้งในและนอก ห้องเรียนหรือจากการทําวิจัย เกณฑ์การประเมิน : คะแนน 1 มีการดําเนินการ 1 ข้อ

คะแนน 2 มีการดําเนินการ 2 ข้อ

คะแนน 3 มีการดําเนินการ 3 หรือ 4 ข้อ

คะแนน 4 มีการดําเนินการ 5 ข้อ

คะแนน 5 มีการดําเนินการ 6 ข้อ

หมายเหตุ 1. กระบวนการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน คือ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการวิจัยและ ประสบการณ์การจัดการเรียนการสอนระหว่างอาจารย์ เพื่อการปรับปรุงและการพัฒนาการเรียนการสอน

25


คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสาขาวิชา มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา (พ.ศ.2555-2556)

2. การประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาต่อคุณภาพการจัดการเรียนการสอนและสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ ต้องประเมินทุกรายวิชา ทุกภาคการศึกษา ยกเว้นรายวิชาที่ไม่มีการเรียนการสอนในชั้นเรียนหรือในห้องปฏิบัติการ เช่น การ ฝึกงาน สหกิจศึกษา การค้นคว้าอิสระ วิชาโครงงาน สารนิพนธ์ และปริญญานิพนธ์ เป็นต้น

ตัวบ่งชี้ 2.5

: ระบบและกลไกการพั ฒ นาสั ม ฤทธิ ผ ลการเรี ย นตามคุ ณ ลั ก ษณะของบั ณ ฑิ ต ที่ พึ ง ประสงค์ ชนิดของตัวบ่งชี้ : กระบวนการ (P) การคิดรอบปี : ปีการศึกษา คําอธิบาย : คุณลักษณะของบัณฑิต หมายถึง คุณสมบัติที่พึงประสงค์ซึ่งผู้สําเร็จการศึกษาระดับอุดมศึกษาพึงมี ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ คุณลักษณะของบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิแห่งชาติของแต่ละหลักสูตร และ คุณลักษณะของบัณฑิตตามความต้องการของผู้ใช้บัณฑิต คุณลักษณะตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิแห่งชาติมี 5 ด้าน ได้แก่ ด้านคุณธรรมจริยธรรม ด้านความรู้ ด้านทักษะทางปัญญา ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และความรับผิดชอบ ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ส่วน คุณลักษณะบัณฑิตตามความต้องการของผู้ใช้บัณฑิต อาจมีความแตกต่างกันตามลักษณะอาชีพหรือบริบทของ ผู้ใช้ และอาจปรากฏในกรอบมาตรฐานคุณวุฒิแห่งชาติ หรือที่มีลักษณะเพิ่มเติมจากกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ เช่น การบริหารจัดการ การเป็นผู้ใฝ่รู้ใฝ่เรียน การก้าวทันวิทยาการ ความสามารถในการประยุกต์ความรู้กับการ ปฏิบัติงานจริง สําหรับผู้สําเร็จการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา หรือผู้สําเร็จการศึกษาในหลักสูตรที่เน้นการวิจัย ควรมีคุณลักษณะเพิ่มเติมด้านความเป็นนักวิชาการ การเป็นผู้นําทางความคิด โดยเฉพาะความสามารถด้านการ คิดเชิงวิพากษ์ และการนําเสนอผลงาน เกณฑ์มาตรฐาน: เชิงคุณภาพ คิดเป็นข้อ 1. มี ก ารสร้ า งเสริ ม คุ ณ ลั ก ษณะบั ณ ฑิ ต ที่ พึ ง ประสงค์ ที่ กํ า หนดไว้ ใ นหลั ก สู ต ร โดยระบุ อ ย่ า งชั ด เจนใน วัตถุประสงค์และวิธีการจัดการเรียนการสอนใน มคอ. 3 หรือ มคอ. 4 ของทุกรายวิชา 2. มีกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม ตามประกาศพฤติกรรมด้านคุณธรรม ที่คณะต้องการส่งเสริม หรือสอนสอดแทรกจรรยาบรรณวิชาชีพแก่ผู้เรียน 3. มีกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่ให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะการสื่อสารตามอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัย 4. มีกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่ให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะด้านภาษาต่างประเทศ 5. มีกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่ให้ผู้เรียนทํางานเป็นทีมเพื่อฝึกทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และความรับผิดชอบต่อส่วนรวม 6. มีกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และ/หรือการวิเคราะห์เชิง ตัวเลข เกณฑ์การประเมิน : คะแนน 1 มีการดําเนินการ 1 ข้อ

คะแนน 2 มีการดําเนินการ 2 ข้อ

คะแนน 3 มีการดําเนินการ 3 หรือ 4 ข้อ

26

คะแนน 4 มีการดําเนินการ 5 ข้อ

คะแนน 5 มีการดําเนินการ 6 ข้อ


คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสาขาวิชา มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา (พ.ศ.2555-2556)

ตัวบ่งชี้ 2.6

: ร้อยละของรายวิชาที่นําผลการประเมินการจัดการเรียนการสอนมาปรับปรุง หรือพัฒนาการจัดการเรียนการสอน ชนิดของตัวบ่งชี้ : กระบวนการ (P) การคิดรอบปี : ปีการศึกษา คําอธิบาย : ข้อมู ลจากผลการประเมิ น ความพึงพอใจของผู้ เ รี ยนต่ อคุณภาพการจั ด การเรี ยนการสอนและสิ่ ง สนับสนุนการเรียนรู้ จะต้องนํามาพัฒนาหรือปรับปรุงรายวิชาและ/หรือการเรียนการสอนอย่างสม่ําเสมอ

เกณฑ์มาตรฐาน: เชิงปริมาณ คิดเป็นร้อยละ จํานวนรายวิชาที่นําผลการประเมินการเรียนการสอนมาปรับปรุงหรือ พัฒนาการเรียนการสอน ในปีการศึกษาที่ประเมิน จํานวนรายวิชาที่ผู้ลงทะเบียนเรียนในปีการศึกษาที่ประเมิน เกณฑ์การประเมิน : เทียบบัญญัติไตรยางศ์ ร้อยละ 100 คิดเป็น 5 คะแนน

x 100

หมายเหตุ 1. กรณีที่มรี ายวิชาที่จัดการเรียนการสอนภาคฤดูร้อน ให้นําผลการประเมินไปใช้ปรับปรุงรายวิชาหรือการ เรียนการสอนในปีการศึกษาถัดไป (นับเป็นตัวตั้งและตัวหารในปีการศึกษาถัดไป) 2. ไม่นับรวมรายวิชาที่ไม่มีการเรียนการสอนในชั้นเรียนหรือในห้องปฏิบัติการ เช่น การฝึกงาน สหกิจศึกษา การค้นคว้าอิสระ วิชาโครงการ สารนิพนธ์ และปริญญานิพนธ์ เป็นต้น

ตัวบ่งชี้ 2.7

: มีรายละเอียดของรายวิชา และรายละเอียดของประสบการณ์ภาคสนาม(ถ้ามี) ตามแบบ มคอ.3 และ มคอ.4 อย่างน้อยก่อนเปิดสอนในแต่ละภาคการศึกษาให้ครบทุกรายวิชา ชนิดของตัวบ่งชี้ : ผลลัพธ์ (O) การคิดรอบปี : ปีการศึกษา คําอธิบาย : หลักสูตรมีหน้าที่พัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับปรัชญา ปณิธาน วิสัยทัศน์ พันธกิจ และความพร้อม ของมหาวิทยาลัย ตลอดจนสอดคล้องกับความต้องการทางด้านวิชาการและวิชาชีพของสังคมมีการจัดทํา รายละเอียดของรายวิชา และรายละเอียดของประสบการณ์ภาคสนาม ตามแบบมคอ.3 และ มคอ.4 อย่างน้อย ก่อนเปิดสอนในแต่ละภาคการศึกษาให้ครบทุกรายวิชา สามารถนําไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธผล เกณฑ์การประเมิน แปลงค่าร้อยละของรายวิชาที่จัดทํารายละเอียดของรายวิชา และรายละเอียดของ ประสบการณ์ภาคสนาม ตามแบบมคอ.3 และ มคอ.4 เป็นคะแนนระหว่าง 0-5 โดยค่าร้อยละของรายวิชาที่ จัดทํารายละเอียดของรายวิชา และรายละเอียดของประสบการณ์ภาคสนาม ตามแบบมคอ.3 และ มคอ.4 ที่ กําหนดให้มีคะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 100

27


คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสาขาวิชา มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา (พ.ศ.2555-2556)

วิธีคํานวณ 1. คํานวณค่าร้อยละของรายวิชาที่จัดทํารายละเอียดของรายวิชา และรายละเอียดของประสบการณ์ ภาคสนาม ตามแบบมคอ.3 และ มคอ.4 1. คํานวณค่าร้อยละ เท่ากับ รายวิชาที่จัดทํารายละเอียดของรายวิชาและ รายละเอียดของประสบการณ์ภาคสนาม ตามแบบ มคอ.3 และมคอ.4

x 100

จํานวนรายวิชาที่เปิดสอนทั้งหมดในปีการศึกษา 2. แปลงค่าร้อยละที่คํานวณได้ในข้อ 1 เทียบกับคะแนนเต็ม 5 คะแนนที่ได้ เท่ากับ ร้อยละของรายวิชาที่ที่จัดทํารายละเอียดของ รายวิชาและรายละเอียดของประสบการณ์ ภาคสนาม ตามแบบ มคอ.3 และมคอ.4

x5

100 ข้อมูลที่ต้องการ 1. รายวิชาที่จัดทํารายละเอียดของรายวิชา และรายละเอียดของประสบการณ์ภาคสนาม ตามแบบ มคอ.3 และ มคอ.4 ทุกรายวิชา 2. รายงานสรุปจํานวนและรายชื่อวิชาที่เปิดสอนในแต่ละภาคการศึกษา ตัวบ่งชี้ 2.8

: หลักสูตรที่เข้ากรอบมาตรฐานคุณวุฒิอุดมศึกษาแห่งชาติจัดทํารายงานผลการดําเนินการ ของรายวิชา และรายงานผลการดําเนินการของประสบการณ์ภาคสนาม(ถ้ามี) ตามแบบ มคอ.5 และ มคอ.6 ภายใน 30 วัน หลังสิ้นสุดภาคการศึกษาที่เปิดสอนให้ครบทุกรายวิชา ชนิดของตัวบ่งชี้ : ผลลัพธ์ (O) การคิดรอบปี : ปีการศึกษา คําอธิบาย : หลักสูตรมีหน้าที่พัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับปรัชญา ปณิธาน วิสัยทัศน์ พันธกิจ และความพร้อม ของมหาวิทยาลัย ตลอดจนสอดคล้องกับความต้องการทางด้านวิชาการและวิชาชีพของสังคมหลักสูตรที่เข้า กรอบมาตรฐานคุณวุฒิอุดมศึกษามีการจัดทํารายงานผลการดําเนินการของรายวิชา และรายงานผลการ ดําเนินการของประสบการณ์ภาคสนาม(ถ้ามี) ตามแบบมคอ.5 และ มคอ.6 ภายใน 30 วัน หลังสิ้นสุดภาค การศึกษาภาคการศึกษาที่เปิดสอนให้ครบทุกรายวิชา เกณฑ์การประเมิน แปลงค่าร้อยละของรายวิชาที่จัดทํารายงานผลการดําเนินการของรายวิชา และรายงานผลการ ดําเนินการของประสบการณ์ภาคสนาม(ถ้ามี) ตามแบบมคอ.5 และ มคอ.6 ภายใน 30 วัน หลังสิ้นสุดภาค การศึกษาภาคการศึกษาที่เปิดสอนให้ครบทุกรายวิชา เป็นคะแนนระหว่าง 0-5 โดยค่าร้อยละของรายวิชาที่ 28


คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสาขาวิชา มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา (พ.ศ.2555-2556)

จัดทํารายงานผลการดําเนินการของรายวิชา และรายงานผลการดําเนินการของประสบการณ์ภาคสนาม(ถ้ามี) ตามแบบมคอ.5 และ มคอ.6ที่กําหนดให้มคะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 100 วิธีการคํานวณ 1. ค่าร้อยละของรายวิชาที่จัดทํารายงานผลการดําเนินการของรายวิชา และรายงานผลการดําเนินการ ของประสบการณ์ภาคสนาม(ถ้ามี) ตามแบบมคอ.5 และ มคอ.6 ภายใน 30 วัน หลังสิ้นสุดภาคการศึกษาภาค การศึกษาที่เปิดสอน 1. คํานวณค่าร้อยละ เท่ากับ รายวิชาที่มีการจัดทํารายงานผลการดําเนินการ ของรายวิชาและรายงานผลการดําเนินการของ ประสบการณ์ภาคสนาม (ถ้ามี) ตามแบบ มคอ.5 และมคอ.6 ภายใน 30 วัน หลังสิ้นสุดภาค การศึกษาที่เปิดสอนในปีการศึกษา จํานวนรายวิชาที่เปิดสอนในปีการศึกษา

x 100

2. แปลงค่าร้อยละที่คํานวณได้ในข้อ 1 เทียบกับคะแนนเต็ม 5 คะแนนที่ได้ เท่ากับ รายวิชาที่มีการจัดทํารายงานผลการดําเนินการ ของรายวิชาและรายงานผลการดําเนินการของ ประสบการณ์ภาคสนาม (ถ้ามี) ตามแบบ มคอ.5 และมคอ.6 ภายใน 30 วัน หลังสิ้นสุดภาค การศึกษาที่เปิดสอนในปีการศึกษา

x5

100 ข้อมูลที่ต้องการ 1. รายงานผลการดําเนินการของรายวิชา และรายงานผลการดําเนินการของประสบการณ์ ภาคสนาม(ถ้ามี) ตามแบบ มคอ.5และ มคอ.6 ทุกรายวิชา 2. รายงานสรุปจํานวนและรายชื่อวิชาที่เปิดสอนในแต่ละภาคการศึกษา ตัวบ่งชี้ 2.9

: จัดทํารายงานผลการดําเดินการของหลักสูตร ตามแบบ มคอ. 7 ภายใน 60 วัน หลังสิ้นสุด ปีการศึกษา ชนิดของตัวบ่งชี้ : กระบวนการ (P) การคิดรอบปี : ปีการศึกษา คําอธิบาย : หลักสูตรมีหน้าที่พัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับปรัชญา ปณิธาน วิสัยทัศน์ พันธกิจ และความพร้อม ของมหาวิทยาลัย ตลอดจนสอดคล้องกับความต้องการทางด้านวิชาการและวิชาชีพของสังคมมีการจัดทํา รายงานผลการดําเดินการของหลักสูตร ตามแบบ มคอ. 7 ภายใน 60 วัน หลังสิ้นสุดปีการศึกษา 29


คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสาขาวิชา มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา (พ.ศ.2555-2556)

เกณฑ์มาตรฐานทั่วไป : 1. มีการแต่งตั้งคณะกรรมการหรือคณะทํางานที่มีหน้าที่ในการจัดทํารายงานผลการดําเดินการ ของหลักสูตร ตามแบบ มคอ. 7 2. มีแผนการจัดทํารายงานผลการดําเนินการของหลักสูตร ตามแบบ มคอ. 7 3. มีการประชุมคณะกรรมการในข้อ 1 ในการวางแผนหรือติดตามผลการดําเนินงานของ หลักสูตร อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง 4. มีรายงานผลการดําเนินการของหลักสูตร ตามแผน มคอ. 7 5. มีการพัฒนา/ปรับปรุงการจัดการเรียนการสอน กลยุทธ์การสอน หรือการประมวลผลการ เรียนรู้จากผลการประเมินการดําเนินงานที่รายงานในมคอ. 7 ปีที่ผ่านมา เกณฑ์การประเมิน : คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5 มีการดําเนินการ มีการดําเนินการ มีการดําเนินการ มีการดําเนินการ มีการดําเนินการ 1 ข้อ 2 ข้อ 3 ข้อ 4 ข้อ 5 ข้อ ข้อมูลที่ต้องการ 1. คําสั่งแต่งตั้งคณะอณุกรรมการประกันคุณภาพหลักสูตร 2. แผนการการจัดทํารายงานผลการดําเดินการของหลักสูตร ตามแบบ มคอ. 7 3. รายงานการประชุมคณะอณุกรรมการประกันคุณภาพหลักสูตรในการจัดทํารายงานผลการดําเดิน การของหลักสูตร ตามแบบ มคอ. 7 4. ในกรณีที่ยังจัดทําไม่แล้วเสร็จให้รายงานความก้าวหน้าในการจัดทํารายงานผลการดําเดินการของ หลักสูตร ตามแบบ มคอ. 7 5. มีรายงานผลการดําเดินการของหลักสูตร ตามแบบ มคอ. ตัวบ่งชี้ 2.10

: มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ ที่กําหนดใน มคอ. 3 และ มคอ. 4 (ถ้ามี) อย่างน้อยร้อยละ 25 ของรายวิชาที่เปิดสอนในแต่ละปีการศึกษา ชนิดของตัวบ่งชี้ : ผลลัพธ์ (O) การคิดรอบปี : ปีการศึกษา คําอธิบาย : กระบวนการจัดการเรียนการสอนจําเป็นจะต้องมีการบริหารจัดการที่ดี ทั้งในส่วนของการเตรียมการ สอน กระบวนการสอน และการวัดผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษา เพื่อก่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อการ จัดการสอนได้อย่างเต็มที่ เกณฑ์มาตรฐาน แปลงค่าร้อยละของรายวิชาที่มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่ กําหนดใน มอค. 3 และ มคอ. 4 (ถ้ามี) เป็นคะแนนระหว่าง 0 – 5 โดยค่าร้อยละของรายวิชาที่มีการทวนสอบ ผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ ที่กําหนดใน มคอ. 3 และ มคอ. 4 (ถ้ามี) ที่กําหนดให้เป็น คะแนนเต็ม 5 เท่ากับ ร้อยละ 25 วิธีการคํานวณ 30


คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสาขาวิชา มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา (พ.ศ.2555-2556)

1. คํานวณค่าร้อยละของรายวิชาที่มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่ กําหนดใน มคอ. 3 และ มคอ. 4 (ถ้ามี) 1. คํานวณค่าร้อยละ เท่ากับ รายวิชาที่มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษา ตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่กําหนดใน มคอ.3 และมคอ.4 (ถ้ามี)

x 100

รายวิชาทั้งหมดที่เปิดสอนในปีการศึกษา 2. แปลงค่าร้อยละที่คํานวณได้ในข้อ 1 เทียบกับคะแนนเต็ม 5 คะแนนที่ได้ เท่ากับ ร้อยละของรายวิชาที่มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของ นักศึกษาตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่กําหนดใน มคอ.3 และมคอ.4

x5

25 ข้อมูลที่ต้องการ 1. รายงานจํานวนรายวิชาทั้งหมดที่เปิดสอนในปีการศึกษา 2. รายงานจํานวนและรายชื่อรายวิชาที่มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาตามมาตรฐานผลการ เรียนรู้ที่กําหนดใน มคอ. 3 และ มคอ. 4 (ถ้ามี) ตัวบ่งชี้ 2.11 : ระดับความพึงพอใจของนักศึกษาปีสุดท้ายที่มีต่อคุณภาพหลักสูตร ชนิดของตัวบ่งชี้ : ผลลัพธ์ (O) การคิดรอบปี : ปีการศึกษา คําอธิบาย : หลักสูตรมีหน้าที่พัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับปรัชญา ปณิธาน วิสัยทัศน์ พันธกิจ และความพร้อม ของมหาวิทยาลัย ตลอดจนสอดคล้องกับความต้องการทางด้านวิชาการและวิชาชีพของสังคม นอกจากนี้ยังต้อง คํานึงถึงความพึงพอใจของนักศึกษาปีสุดท้ายที่มีต่อคุณภาพหลักสูตรอีกด้วย เพื่อที่จะได้มีการปรับปรุงหลักสูตร ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้น วิธีการคํานวณ ผลรวมของค่าคะแนนความพึงพอใจของนักศึกษาปีสุดท้ายที่มีต่อคุณภาพหลักสูตรที่ตอบแบบประเมิน จํานวนนักศึกษาปีสุดท้ายที่ตอบแบบประเมินทั้งหมด เกณฑ์การให้คะแนน ใช้ค่าเฉลี่ยของคะแนนประเมินนักศึกษาปีสุดท้าย (คะแนนเต็ม 5) 31


คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสาขาวิชา มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา (พ.ศ.2555-2556)

ข้อมูลที่ต้องการ ค่าเฉลี่ยระดับความพึงพอใจของนักศึกษาปีสุดท้ายที่มีต่อคุณภาพหลักสูตร ตัวบ่งชี้ 2.12 : บัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทําหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน ๑ ปี ชนิดของตัวบ่งชี้ : ผลลัพธ์ (O) การคิดรอบปี : ปีการศึกษา คําอธิบาย : บัณฑิตปริญญาตรีที่สําเร็จการศึกษาในหลักสูตรภาคปกติ ภาคพิเศษ และภาคนอกเวลาในสาขาต่างๆ ที่ได้งานทํา หรือมีกิจการของตนเองที่มีรายได้ประจํา ภายในระยะเวลา 1 ปีนับจากวันที่สําเร็จการศึกษา เมื่อ เทียบกับบัณฑิตที่สําเร็จการศึกษาในปีการศึกษานั้น การนับการมีงานทํา นับกรณีการทํางานสุจริตทุกประเภทที่สามารถสร้างรายได้เข้ามาประจําเพื่อเลี้ยง ชีพตนเองได้ โดยการนับจํานวนผู้มีงานทําของผู้สําเร็จการศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนในภาคพิเศษหรือภาคนอก เวลา ให้นับเฉพาะผู้ที่เปลี่ยนงานใหม่หลังสําเร็จการศึกษาเท่านั้น สูตรการคํานวณ : บัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทําหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี เท่ากับ จํานวนบัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทําหรือ ประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี (ปีการศึกษา)

x 100

จํานวนบัณฑิตที่ตอบแบบสํารวจทั้งหมด (ปีการศึกษา) หมายเหตุ : 1. ไม่ นั บ รวมบั ณ ฑิ ต ที่ มี ง านทํ า ก่ อ นเข้ า ศึ ก ษาหรื อ มี กิ จ การของตนเองที่ มี ร ายได้ ป ระจํ า อยู่ แ ล้ ว ผู้ที่ศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษา ผู้อุปสมบท และผู้ที่เกณฑ์ทหาร 2. ข้อมูลจากการสํารวจต้องมีความเป็นตัวแทนของผู้สําเร็จการศึกษาทั้งในเชิงปริมาณ อย่างน้อยร้อยละ 70 และ ในเชิงคุณลักษณะ ครอบคลุมทุกคณะ กรณีบัณฑิตที่ตอบแบบสํารวจไม่ถึงร้อยละ 70 ของบัณฑิตที่สําเร็จ การศึกษา ให้มีการติดตามซ้ําให้ครบและรายงานผลที่ติดตามซ้ําเปรียบเทียบกับผลที่เก็บได้ในครั้งแรก

เกณฑ์การประเมิน : ใช้บัญญัติไตรยางศ์เทียบกําหนดร้อยละ 100 เท่ากับ 5 คะแนน ทุกกลุ่มสาขาวิชา ตัวอย่างการคํานวณ : จากสูตรการคํานวณ เท่ากับ ร้อยละ 85 ใช้บัญญัติไตรยางศ์เทียบ ดังนี้ 1) กําหนดร้อยละ 100 เท่ากับ 5 คะแนน 2) ดังนั้น ร้อยละ 85 จะเท่ากับกี่คะแนน 3) การคํานวณ คือ (85 x 5) ÷ 100 = 4.25 4) หน่วยงาน จะได้ค่าคะแนนการประเมินเท่ากับ 4.25 คะแนน

32


คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสาขาวิชา มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา (พ.ศ.2555-2556)

ตัวบ่งชี้ 2.13 : คุณภาพของบัณฑิตปริญญาตรี โทและเอก ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิอุดมศึกษาแห่งชาติ ชนิดของตัวบ่งชี้ : ผลลัพธ์ (O) การคิดรอบปี : ปีการศึกษา คําอธิบาย : คุ ณ ภาพบั ณ ฑิ ต ตามกรอบมาตรฐานคุ ณ วุ ฒิ อุ ด มศึ ก ษาแห่ ง ชาติ (TQF: HEd. หรื อ Thai Qualifications Framework for Higher Education) หมายถึง คุณลักษณะของบัณฑิตระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติที่ สํานักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษา (สกอ.) ระบุ โดยเป็นคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ตามที่มหาวิทยาลัยกําหนด ครอบคลุม มาตรฐานผลการเรียนรู้ 5 ด้าน คือ 1) ด้านคุณธรรมจริยธรรม 2) ด้านความรู้ 3) ด้านทักษะทางปัญญา 4) ด้าน ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5) ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ รวมทั้ง TQF ตามสาขาวิชาชีพที่ประกาศใช้ ตลอดจนสอดคล้องกับคุณลักษณะ ของบัณฑิตที่พึงประสงค์ที่สภาหรือองค์กรวิชาชีพกําหนดเพิ่มเติม หรือสอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้ บัณฑิต กรณีที่เป็นวิชาชีพที่มีการเพิ่มเติมคุณลักษณะของบัณฑิตจากกรอบมาตรฐานทั้ง 5 ด้าน ต้องทําการ ประเมินครบทุกด้าน สูตรการคํานวณ : คุณภาพของบัณฑิตปริญญาตรี โทและเอก ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิอุดมศึกษาแห่งชาติ เท่ากับ ผลรวมของค่าคะแนนที่ได้จากการประเมินบัณฑิต (ปีการศึกษา) จํานวนบัณฑิตที่ได้รับการประเมินทั้งหมด (ปีการศึกษา) หมายเหตุ : ข้อมูลจากการสํารวจต้องมีความเป็นตัวแทนของผู้สําเร็จการศึกษาทั้งในเชิงปริมาณและในเชิงคุณภาพครอบคลุมทุก คณะ อย่างน้อยร้อยละ 20 ของจํานวนผู้สําเร็จการศึกษาในแต่ละระดับการศึกษา

เกณฑ์การประเมิน : ใช้ค่าเฉลี่ยของคะแนนประเมินบัณฑิต (คะแนนเต็ม 5) ตัวบ่งชี้ 2.14 : ผลงานของผู้สําเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทที่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ ชนิดของตัวบ่งชี้ : ผลผลิต(O) คําอธิบาย : ผลงานของผู้สําเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทที่ได้รับการตีพิมพ์ หรือเผยแพร่เป็นปัจจัยสําคัญของ คุณภาพของผู้สําเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทที่แสดงถึงความเป็นผู้นําทางความคิด ความสามารถด้านการคิด เชิงวิพากษ์ การนําเสนอผลงาน มีทักษะในการวิจัย ทักษะและภูมิปัญญาในฐานะนักวิชาการและนักวิชาชีพ ขั้นสูง ผลงานผู้สําเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท หมายถึง บทความที่เป็นผลจากวิทยานิพนธ์ หรือบทความ จากสารนิพนธ์ หรือบทความจากศิลปนิพนธ์ 33


คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสาขาวิชา มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา (พ.ศ.2555-2556)

การเผยแพร่สู่สารธารณะในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง หมายถึง การเผยแพร่ในลักษณะของรายงาน สืบเนื่องจาการประชุมวิชาการ วารสารวิชาการ หรือสิ่งพิมพ์ทางวิชาการในระดับมหาวิทยาลัย หรือระดับคณะ และต้องเป็นผลงานที่ผ่านการกลั่นกรอง (peer review) โดยมีบุคคลภายนอกสถาบันร่วมเป็นกรรมการ พิจารณาด้วย การส่งบทความเพื่อพิจารณาคัดเลือกให้นําเสนอในการประชุมวิชาการต้องส่งเป็นฉบับสมบูรณ์ (Full Paper) และเมื่อได้รับการตอบรับและตีพิมพ์แล้ว การตีพิมพ์ต้องตีพิมพ์เป็นฉบับสมบูรณ์ซึ่งสามารถอยู่ใน รูปแบบเอกสารหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้ งานวิจั ยที่ เผยแพร่ ในที่ป ระชุมวิช าการระดับ ชาติ หมายถึง การนํา เสนอบทความวิจั ยในที่ ประชุ ม วิชาการและบทความฉบับสมบูรณ์ (Full paper) ได้รับการตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการ (Proceedings) ระดับชาติ ที่มีกองบรรณาธิการจัดทํารายงาน หรือคณะกรรมการ จัดประชุม ประกอบด้วย ศาสตราจารย์ หรือผู้ทรงคุณวุฒิระดับปริญญาเอก หรือผู้ทรงคุณวุฒิที่มีผลงานเป็นที่ยอมรับในสาขาวิชานั้นๆ นอกสถาบันเจ้าภาพอย่างน้อยร้อยละ 25 งานวิจัยที่เผยแพร่ในที่ประชุมวิชาการระดับนานาชาติ หมายถึง การนําเสนอบทความวิจัยในที่ประชุม วิชาการและบทความฉบับสมบูรณ์ (Full paper) ได้รับการตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการ (Proceedings) ระดั บ นานาชาติ ที่ มี ก องบรรณาธิ ก ารจั ด ทํ า รายงาน หรื อ คณะกรรมการจั ด ประชุ ม ประกอบด้วยศาสตราจารย์ หรือผู้ทรงคุณวุฒิระดับปริญญาเอกหรือผู้ทรงคุณวุฒิที่มีผลงานเป็นที่ยอมรับใน สาขาวิชานั้นๆ นอกสถาบันเจ้าภาพอย่างน้อยร้อยละ 25 งานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับชาติ หมายถึง บทความจากผลงานวิจัยที่ได้รับการ ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ (Journal) ที่มีชื่อปรากฏอยู่ในฐานข้อมูล Thai – Journal Citation Index Centre (TCI) หรือวารสารวิชาการระดับชาติตามประกาศของ สมศ. งานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ หมายถึง บทความจากผลงานวิจัยที่ได้รับ การตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ (Journal) ที่ปรากฏในฐานข้อมูลสากล ได้แก่ ฐานข้อมูลการจัดอันดับวารสาร SJR (SCImago Journal Rank : www.scimagojr.com) หรือฐานข้อมูล ISI Web of Science (Science Citation Index Expand, Social Sciences Citation Index, Art and Humanities Citation Index) หรือ ฐานข้อมูล Scopus หรือวารสารวิชาการระดับนานาชาติตามประกาศของ สมศ. ระดับคุณภาพบทความวิจัยที่ตีพิมพ์ ดังนี้ ค่าน้ําหนัก 0.25 0.50 0.75 1.00

ระดับคุณภาพงานวิจัย มีการตีพิมพ์เผยแพร่ในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง มีการตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ (proceeding) มีการตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ (proceeding) หรือมีการตีพิมพ์ ในวารสารวิชาการระดับชาติ มีการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ

ระดับคุณภาพงานสร้างสรรค์ที่เผยแพร่ ดังนี้ ค่าน้ําหนัก 0.125 0.25 0.50 0.75 1.00

ระดับคุณภาพงานสร้างสรรค์ งานสร้างสรรค์ทไี่ ด้รับการเผยแพร่ในระดับสถาบัน หรือจังหวัด งานสร้างสรรค์ทไี่ ด้รับการเผยแพร่ในระดับชาติ งานสร้างสรรค์ทไี่ ด้รับการเผยแพร่ในระดับความร่วมมือระหว่างประเทศ งานสร้างสรรค์ทไี่ ด้รับการเผยแพร่ในระดับภูมิภาคอาเซียน งานสร้างสรรค์ทไี่ ด้รับการเผยแพร่ในระดับนานาชาติ

34


คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสาขาวิชา มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา (พ.ศ.2555-2556)

*องค์ประกอบของคณะกรรมการไม่น้อยกว่า 3 คน และต้องมีบุคลากรภายนอกสถานศึกษาร่วมพิจารณาด้วย สูตรการคํานวณ : ผลงานของผู้สําเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทที่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ เท่ากับ ผลรวมถ่วงน้ําหนักของผลงานที่ตพี ิมพ์หรือเผยแพร่ ของผู้สําเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท

x 100

จํานวนผู้สําเร็จการศึกษาระดับปริญญาโททั้งหมด หมายเหตุ : 1. อาเซียน หมายถึง สมาคมประชาชาติอาเซียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations) มี 10 ประเทศ ได้แ ก่ บูร ไน กัม พูช า อิ นโดนี เชี ย สปป.ลาว มาเลเซี ย พม่า ฟิ ลิป ปิ นส์ สิ งคโปร์ ไทย และ เวียดนาม 2. การเผยแพร่ในระดับความร่วมมือระหว่างประเทศ เป็นโครงการร่วมมือระหว่างประเทศไทยกับประเทศอื่น 3. การเผยแพร่ ใ นระดั บ ภู มิ ภ าคอาเซี ย น เป็ น การเผยแพร่ เ ฉพาะในกลุ่ ม อาเซี ย น 10 ประเทศ (อย่างน้อย 5 ประเทศหมายถึงนับรวมประเทศไทย) และการให้คะแนนตามแหล่งเผยแพร่ ไม่จําเป็นต้องไป แสดงในต่างประเทศ 4. การเผยแพร่ ใ นระดั บ นานาชาติ เป็ น การเผยแพร่ ที่ เ ปิ ด กว้ า งสํ า หรั บ ทุ ก ประเทศ (อย่ า งน้ อ ย 5 ประเทศ ที่ไม่ได้อยู่ในกลุ่มอาเซียน)

เกณฑ์การประเมิน : ใช้บัญญัติไตรยางศ์เทียบกําหนดร้อยละ 25 เท่ากับ 5 คะแนน ทุกกลุ่มสาขาวิชา ตัวอย่างการคํานวณ : จากสูตรการคํานวณ เท่ากับ ร้อยละ 15.5 ใช้บัญญัตไิ ตรยางศ์เทียบ ดังนี้ 1) กําหนดร้อยละ 25 เท่ากับ 5 คะแนน 2) ดังนั้น ร้อยละ 15.5 จะเท่ากับกี่คะแนน 3) การคํานวณ คือ (15.5 x 5) ÷ 25 = 3.10 4) หน่วยงาน จะได้ค่าคะแนนการประเมินเท่ากับ 3.10 คะแนน

ตัวบ่งชี้ 2.15 : ร้อยละของระดับความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตต่อบัณฑิต ชนิดของตัวบ่งชี้ : ผลลัพธ์ (O) การคิดรอบปี : ปีการศึกษา คําอธิบาย : เพื่ อ ให้ ส ถาบั น อุ ด มศึ กษามุ่ ง มั่ น พั ฒ นาศั ก ยภาพในการจั ด การเรี ย นการสอนและการให้ บ ริ ก ารที่ สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้บัณฑิต รวมถึงการมุ่งผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพตามความร้องการของผู้ใช้ บัณฑิต บัณฑิต หมายถึง ผู้ที่สําเร็จการศึกษาจากสถาบัน ผู้ใช้บัณฑิต หมายถึง นายจ้าง ผู้ประกอบการ ประเด็ น การสํ า รวจความพึ ง พอใจ พิ จ ารณาจากคุ ณ สมบั ติ ห ลั ก ของบั ณ ฑิ ต ที่ ส อดคล้ อ งกั บ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 คุณภาพบัณฑิตตาม กรอบมาตรฐานคุณวุฒิอุดมศึกษาแห่งชาติ (TQF: HEd. หรือ Thai Qualifications Framework for Higher 35


คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสาขาวิชา มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา (พ.ศ.2555-2556)

Education) หมายถึง คุณลั กษณะของบัณฑิต ระดับ ปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก ตามกรอบ มาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติที่ สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ระบุ โดยเป็น คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ตามที่มหาวิทยาลัยกําหนด ครอบคลุมมาตรฐานผลการเรียนรู้ 5 ด้าน คือ 1) ด้านคุณธรรมจริยธรรม 2) ด้านความรู้ 3) ด้านทักษะทางปัญญา 4) ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5) ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ รวมทั้ง TQF ตามสาขาวิช าชีพที่ประกาศใช้ ตลอดจนสอดคล้องกับคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึง ประสงค์ที่สภาหรือองค์กรวิชาชีพกําหนดเพิ่มเติม หรือสอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้บัณฑิต กรณีที่เป็นวิชาชีพที่มีการเพิ่มเติมคุณลักษณะของบัณฑิตจากกรอบมาตรฐานทั้ง 5 ด้าน ต้องทําการ ประเมินครบทุกด้าน สูตรการคํานวณ : ผลรวมของคะแนนสํารวจความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต ผลรวมคะแนนเต็มทั้งหมด

x

100

แปลงค่าร้อยละที่คํานวณได้ เทียบกับคะแนนเต็ม 5 คะแนนที่ได้ เท่ากับ ร้อยละของคะแนนสํารวจความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต 100

x5

หมายเหตุ : 3. ข้อมูลการสํารวจต้องมีความเป็นตัวแทนของผู้ใช้บัณฑิตจากผู้สําเร็จการศึกษาในเชิงปริมาณและ เชิงคุณภาพครอบคลุมทุกหลักสูตร อย่างน้อยร้อยละ 20 เกณฑ์การประเมิน : ใช้บัญญัติไตรยางศ์เทียบกําหนดร้อยละ 100 เท่ากับ 5 คะแนน ตัวอย่างการคํานวณ : จากสูตรการคํานวณ เท่ากับ ร้อยละ 85 ใช้บัญญัติไตรยางศ์เทียบ ดังนี้ 5) กําหนดร้อยละ 100 เท่ากับ 5 คะแนน 6) ดังนั้น ร้อยละ 85 จะเท่ากับกี่คะแนน 7) การคํานวณ คือ (85 x 5) ÷ 100 = 4.25 8) หน่วยงาน จะได้ค่าคะแนนการประเมินเท่ากับ 4.25 คะแนน

36


คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสาขาวิชา มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา (พ.ศ.2555-2556)

ตัวบ่งชี้ 2.16 : ทรัพยากรประกอบการเรียนการสอนและการวิจัย ชนิดของตัวบ่งชี้ : กระบวนการ (P) การคิดรอบปี : ปีการศึกษา คําอธิบาย : นอกเหนือจากการเรียนการสอน หน่วยงานควรจัดบริการด้านกายภาพอย่างครบถ้วน โดยเฉพาะในเรื่อง การบริการสิ่งอํานวยความสะดวกที่เอื้อต่อการเรียนการสอนและการวิจัย เช่น สื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ห้องสมุดและแหล่งการเรียนรู้อื่นๆ นอกจากนั้นยังจําเป็นต้องมีสภาพแวดล้อมและการบริการด้านกายภาพที่ ส่งเสริมคุณภาพชีวิตของนักศึกษา เกณฑ์มาตรฐาน: ข้อ 1. มีบริการแหล่งเรียนรู้ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 2. มีบริการด้านกายภาพที่เหมาะสมต่อการจัดการเรียนการสอนและการพัฒนานักศึกษาอย่างน้อยในด้าน ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ อุปกรณ์การศึกษา และจุดเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตในระบบไร้สาย 3. มีการจัดสรรงบประมาณของหน่วยงาน เพื่อเป็นทุนวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ 4. มีการสนับสนุนพันธกิจด้านการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ตามอัตลักษณ์ของหน่วยงานอย่างน้อยในประเด็น ต่อไปนี้ • ห้องปฏิบัติการวิจัยฯ หรือหน่วยวิจัยฯ หรือศูนย์เครื่องมือ หรือศูนย์ให้คําปรึกษาและสนับสนุน การวิจัยฯ • ห้องสมุดหรือแหล่งค้นคว้าข้อมูลสนับสนุนการวิจัยฯ • สิ่ ง อํ า นวยความสะดวกหรื อ การรั กษาความปลอดภั ย ในการวิ จั ย ฯ เช่ น ระบบเทคโนโลยี สารสนเทศ ระบบรักษาความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการวิจัย • กิจกรรมวิชาการที่ส่งเสริมงานวิจัยฯ เช่น การจัดประชุมวิชาการ การจัดแสดงงานสร้างสรรค์ การจัดให้มีศาสตราจารย์อาคันตุกะหรือศาสตราจารย์รับเชิญ (visiting professor) 5. มีการติดตามและประเมินผลการดําเนินงานในข้อ 2 - 4 และนําผลการประเมินไปปรับปรุงการสนับสนุน พันธกิจด้านการเรียนการสอนและการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ของหน่วยงาน เกณฑ์การประเมิน : คะแนน 1 คะแนน 2 ดําเนินการ 1 ข้อ ดําเนินการ 2 ข้อ

คะแนน 3 ดําเนินการ 3 ข้อ

37

คะแนน 4 ดําเนินการ 4 ข้อ

คะแนน 5 ดําเนินการ 5 ข้อ


คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสาขาวิชา มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา (พ.ศ.2555-2556)

องค์ประกอบที่ 3 กิจกรรมการพัฒนานักศึกษา หลักการ การดําเนินงานด้านกิจการนักศึกษาเป็นกิจกรรมที่หน่วยงานสนับสนุนส่งเสริมเพื่อให้นักศึกษาเป็น บัณฑิตที่มีคุณสมบัติพร้อม นอกเหนือจากการจัดการเรียนการสอนที่จัดขึ้นตามหลักสูตร กิจกรรมการพัฒนา นักศึกษาแบ่งออกได้ เป็ นสองส่ วน คื อ (1) การจั ดบริ การแก่นั กศึกษาและศิษย์เ ก่ า ซึ่ งหน่ วยงานจัด ขึ้น ให้ สอดคล้ อ งกั บ ความต้ อ งการ และเกิ ด ประโยชน์ สู งสุ ด ต่ อนั กศึ ก ษาและศิ ษย์ เ ก่ า และ (2) การจั ด กิ จ กรรม นักศึกษาที่ดําเนินการโดยองค์กรนักศึกษา ซึ่งได้รับการสนับสนุนส่งเสริมจากหน่วยงาน ทั้งนี้ เพื่อให้นักศึกษา ได้พัฒนาร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา ตลอดจนคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์

มาตรฐานและเอกสารที่เกี่ยวข้อง 1. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 สํานักงาน เลขาธิการสภาการศึกษา 2. กรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปี ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2551-2565) สํานักงานคณะกรรมการการ อุดมศึกษา 3. มาตรฐานการศึกษาของชาติ พ.ศ. 2547 สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา 4. มาตรฐานการอุดมศึกษา พ.ศ. 2549 สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 5. มาตรฐานสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2551 สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 6. กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 (Thai Qualification Framework for Higher Education) (TQF: HEd.) สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 7. มาตรฐานกิจการนักศึกษา พ.ศ. 2541 สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 8. มาตรฐานการประเมินคุณภาพภายนอกระดับอุดมศึกษารอบสาม พ.ศ. 2554 สํานักงานรับรอง มาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) (สมศ.)

ตัวบ่งชี้ จํานวน 1 ตัวบ่งชี้ คือ 3.1 (P)

การให้คําปรึกษาและบริการแก่นักศึกษา

38


คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสาขาวิชา มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา (พ.ศ.2555-2556)

ตัวบ่งชี้ 3.1 : การให้คําปรึกษาและบริการแก่นักศึกษา ชนิดของตัวบ่งชี้ : กระบวนการ (P) การคิดรอบปี : ปีการศึกษา คําอธิบาย : สาขาวิชาควรจัดบริการด้านต่างๆ ให้นักศึกษาอย่างครบถ้วน โดยเฉพาะกิจกรรมต่อไปนี้ (1) การ กําหนดเส้นทางความก้าวหน้าทางอาชีพ1(career1path)1ให้กับนักศึกษา (2) การบริการด้านการแนะแนวและ การให้คําปรึกษา ทั้งด้านวิชาการและการใช้ชีวิต (3) การบริการด้านข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อนักศึกษา เช่น ทุนกู้ยืมการศึกษา แหล่งทุนการศึกษาต่อ แหล่งทุนวิจัยและการประชุมนําเสนอผลงานทางวิชาการ การ บริการจัดหางาน แหล่งข้อมูลการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ข้อมูลข่าวสารความเคลื่อนไหวในและนอกสถาบันที่ เกี่ยวข้องกับความก้าวหน้าของศาสตร์หรือสาขาวิชาที่จําเป็นแก่นักศึกษา เป็นต้น และ (4) การจัดโครงการหรือ กิจกรรมเพื่อพัฒนาประสบการณ์ทางวิชาชีพแก่นักศึกษาในรูปแบบต่างๆ เกณฑ์มาตรฐาน: ข้อ 1. มีการกําหนดกิจกรรม/โครงการ พัฒนานักศึกษาไว้ในแผนปฏิบัติการประจําปีของสาขาวิชา 2. มีการดําเนินการพัฒนานักศึกษาตามวงจรคุณภาพ (PDCA) โดยการมีส่วนร่วมของบุคลากรในสาขาวิชา 3. มีการจัดบริการให้คําปรึกษาทางวิชาการและแนะแนวการใช้ชีวิตแก่นักศึกษา 4. มีการจัดบริการข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อนักศึกษา 5. มีการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรเพื่อพัฒนาประสบการณ์ทางวิชาการและวิชาชีพแก่นักศึกษา เกณฑ์การประเมิน: คะแนน 1 มีการดําเนินการ 1 ข้อ

คะแนน 2 มีการดําเนินการ 2 ข้อ

คะแนน 3 มีการดําเนินการ 3 ข้อ

39

คะแนน 4 มีการดําเนินการ 4 ข้อ

คะแนน 5 มีการดําเนินการ 5 ข้อ


คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสาขาวิชา มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา (พ.ศ.2555-2556)

องค์ประกอบที่ 4 การวิจัย หลักการ หน่วยงานแต่ละแห่งอาจมีจุดเน้ นในเรื่องการวิ จัยที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับ สภาพแวดล้อมและความ พร้อมของแต่ละหน่วยงาน อย่างไรก็ตามทุกหน่วยงานจําเป็นต้องมีพันธกิจนี้เป็นส่วนหนึ่งของพันธกิจหน่วยงาน ดังนั้น จึงต้องมีระบบและกลไกควบคุมให้สามารถดําเนินการในพันธกิจด้านนี้อย่างมีประสิทธิภาพและคุณภาพ ตามจุดเน้นเฉพาะของแต่ละหน่วยงาน เพื่อให้ได้ผลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ที่เกิดประโยชน์ การวิจัย จะประสบความสําเร็จและเกิดประโยชน์จําเป็นต้องมีส่วนประกอบที่สําคัญ 3 ประการ คือ (1) หน่วยงานต้องมี แผนการวิจัย มีระบบและกลไก ตลอดจนมีการสนับสนุนทรัพยากรให้สามารถดําเนิ นการได้ ตามแผน (2) คณาจารย์มีส่วนร่วมในการวิจัยอย่างเข้มแข็ง โดยบูรณาการงานวิจัยกับการจัดการเรียนการสอนและ พันธกิจด้านอื่นๆ ของหน่วยงาน และ (3) ผลงานวิจัยมีคุณภาพมีประโยชน์ สนองยุทธศาสตร์ของชาติและ มีการเผยแพร่อย่างกว้างขวาง

มาตรฐานและเอกสารที่เกี่ยวข้อง 1. กรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปี ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2551-2565) สํานักงานคณะกรรมการการ อุดมศึกษา 2. มาตรฐานการอุดมศึกษา พ.ศ. 2549 สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 3. มาตรฐานสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2551 สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 4. มาตรฐานการประเมินคุณภาพภายนอกระดับอุดมศึกษารอบสาม พ.ศ. 2554 สํานักงานรับรอง มาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) (สมศ.) 5. นโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ (พ.ศ. 2551-2554) สํานักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ 6. แนวทางปฏิบัติจรรยาบรรณนักวิจัย พ.ศ. 2541 สํานักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ 7. แผนยุทธศาสตร์การวิจัย มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา (พ.ศ. 2554-2558) 8. คู่มือบริหารงานวิจัย มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา

ตัวบ่งชี้ จํานวน 5 ตัวบ่งชี้ คือ 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5

(P) (I) (O) (O) (O)

การสนับสนุนการผลิตงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์และองค์ความรู้จากางานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ เงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ต่อจํานวนอาจารย์และนักวิจัยประจํา งานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ที่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ งานวัยหรืองานสร้างสรรค์ที่นําไปใช้ประโยชน์ ผลงานวิชาการที่ได้รับการรับรองคุณภาพ

40


คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสาขาวิชา มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา (พ.ศ.2555-2556)

ตัวบ่งชี้ 4.1

: การสนับสนุนการผลิตงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ และองค์ความรู้จากงานวิจัยหรือ งานสร้างสรรค์ ชนิดของตัวบ่งชี้ : กระบวนการ (P) การคิดรอบปี : ปีการศึกษา คําอธิบาย : คณาจารย์และนักวิจัยในสาขาวิชา มีพันธกิจหลักในการผลิตองค์ความรู้ใหม่ ผ่านกระบวนการวิจัย หรือกระบวนการผลิตผลงานสร้างสรรค์ และเผยแพร่ผลงานที่ผลิตขึ้น เพื่อการใช้ประโยชน์ของสังคม รวมทั้ง เพื่อการใช้ประโยชน์ในการสอนนักศึกษา และ/หรือการปรับปรุงพัฒนาการดําเนินภารกิจต่างๆ ของสาขาวิชา คณะ และสถาบัน งานวิจัย1หมายถึง1ผลงานทางวิชาการที่ได้มีการศึกษาค้นคว้าตามกระบวนการระเบียบวิธีวิจัยที่ เหมาะสมกับสาขาวิชา เพื่อให้เกิดเป็นองค์ความรู้ใหม่หรือเป็นการต่อยอดองค์ความรู้เดิม ทั้งนี้ รวมถึงการวิจัย เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนหรือการวิจัยในชั้นเรียน (classroom research) และการวิจัยสถาบัน เกณฑ์มาตรฐาน: ข้อ 6. อาจารย์ในสาขาวิชาเข้าร่วมกิจกรรม/โครงการพัฒนาศักยภาพด้านการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ที่จัดขึ้น ภายในหรือภายนอกมหาวิทยาลัย 7. มีการบูรณาการงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ที่ดําเนินการโดยอาจารย์ในสาขาวิชากับการเรียนการสอน อย่างน้อย 1 รายวิชาที่เปิดสอนในคณะนั้นๆ 8. มีการรวบรวม คัดสรร วิเคราะห์และสังเคราะห์ความรู้จากงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นผลงานของ อาจารย์ในสาขาวิชา เพื่อเป็นองค์ความรู้ที่คนทั่วไปเข้าใจได้ และมีการเผยแพร่องค์ความรู้นั้นสู่สาธารณชน และผู้ที่เกี่ยวข้อง 9. อาจารย์และนักวิจัยอย่างน้อยร้อยละ 60 ของอาจารย์และนักวิจัยทั้งหมดของสาขาวิชาที่ปฏิบัติงานอยู่จริง ส่งเรื่องขอทุนสนับสนุน * หรือขออนุมัติ **ดําเนินการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ 10. อาจารย์และนักวิจัยอย่างน้อยร้อยละ 30 ของอาจารย์และนักวิจัยทั้งหมดของสาขาวิชาที่ปฏิบัติงานอยู่จริง ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ จากการขอการสนับสนุนในเกณฑ์ข้อ 4 เกณฑ์การประเมิน : คะแนน 1 คะแนน 2 ดําเนินการ 1 ข้อ ดําเนินการ 2 ข้อ

คะแนน 3 ดําเนินการ 3 ข้อ

คะแนน 4 ดําเนินการ 4 ข้อ

คะแนน 5 ดําเนินการ 5 ข้อ

หมายเหตุ 1. การส่งเรื่องขอทุนวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ หมายถึง การส่งเค้าโครงหรือโครงร่างงานวิจัย(research proposal) หรือ โครงการผลิตงานสร้างสรรค์ อย่างเป็นทางการ (ผ่านหัวหน้าสาขาวิชา) ต่อแหล่งทุน และอยู่ระหว่างการพิจารณาว่า จะได้รับการสนับสนุนหรือไม่ หรือทราบผลการตัดสินแล้ว ทั้งนี้ ให้นับรวมการยื่นขอรับการสนับสนุนทุนวิจัยในปี การศึกษานั้นๆ แต่ไม่ได้รับการสนับสนุน 2. การขออนุมัติดําเนินการวิจยั หรืองานสร้างสรรค์ หมายถึง การแจ้งต่อหัวหน้าสาขาวิชาอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร ว่า อาจารย์หรือนักวิจัยกําลังจะดําเนินการวิจัยหรือทํางานสร้างสรรค์ในเรื่องใด พร้อมแนบโครงร่างงานวิจัย(research proposal) หรือโครงการผลิตงานสร้างสรรค์ ซึ่งจะมีทุนหรือไม่มีทุนวิจัยก็ได้ 3. การนับจํานวนอาจารย์หรือนักวิจยั ที่ขออนุมัติดําเนินการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ตามเกณฑ์มาตรฐานในข้อ 4 จะนับ เฉพาะการขออนุมัตดิ ําเนินการวิจยั หรืองานสร้างสรรค์ที่เป็นงานใหม่ในปีการศึกษานั้น

41


คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสาขาวิชา มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา (พ.ศ.2555-2556)

ตัวบ่งชี้ 4.2 : เงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ต่อจํานวนอาจารย์และนักวิจัยประจํา ชนิดของตัวบ่งชี้ : ปัจจัยนําเข้า (I) การคิดรอบปี : ปีงบประมาณ (จํานวนเงินวิจัย) และปีการศึกษา (จํานวนอาจารย์/นักวิจัย) คําอธิบาย : ปัจจัยสําคัญที่ส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดการผลิตงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ในสถาบันอุดมศึกษา คือ เงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ ซึ่งมาจากการจัดสรรเงินจากภายในสถาบัน และการสนับสนุนจาก แหล่งทุนภายนอกสถาบัน ซึ่งเป็นตั วบ่งชี้ที่สําคัญ ซึ่งแสดงถึงศักยภาพด้านการวิจัยของสถาบัน คณะ และ สาขาวิชา โดยเฉพาะในสถาบันที่อยู่ในกลุ่มที่เน้นการวิจัย ให้ เ ปรี ย บเที ย บจํ า นวนเงิ น สนั บ สนุ น งานวิ จั ย หรื อ งานสร้ า งสรรค์ ที่ ส ถาบั น อุ ด มศึ ก ษาได้ รั บ ใน ปีงบประมาณนั้น จากภายในและภายนอกสถาบันต่อจํานวนอาจารย์ประจําและนักวิจัยประจําที่อยู่ปฏิบัติงาน จริงในปีการศึกษานั้น โดยให้นําเสนอในรูปสัดส่วน (บาทต่อคน) เงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ หมายถึง จํานวนเงินที่อาจารย์และนักวิจัยประจําได้รับการ สนับสนุนจากภายในและภายนอกสถาบัน สําหรับงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ จํานวนเงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์จากภายในสถาบัน หมายถึง เงินอุดหนุนการวิจัยที่ สถาบันจัดสรรเพื่อการสนับสนุนการทําวิจัยและงานสร้างสรรค์ ซึ่งจะนับได้ต่อเมื่อได้รับการอนุมัติแล้ว หรือทํา สัญญารับทุนแล้ว ได้แก่ เงินอุดหนุนจากคณะ หรือ มหาวิทยาลัย และเงินงบประมาณแผ่นดิน จํานวนเงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์จากภายนอกสถาบัน หมายถึง เงินอุดหนุนการวิจัย ที่ได้รับจัดสรรจากหน่วยงานภายนอก ทั้งในประเทศ เช่น สวทช. สสส. สวรส. สกว. สกอ. วช.ฯลฯ และแหล่ง ทุนต่างประเทศ สูตรการคํานวณ : 1. คํานวณจํานวนเงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์จากภายในและภายนอกหน่วยงานต่อ จํานวนอาจารย์ประจําและนักวิจัยประจํานับเฉพาะที่ปฏิบัติงานจริง ไม่นับรวมผู้ลาศึกษาต่อ จํานวนเงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์จากภายในและ ภายนอก (ปีการศึกษา) จํานวนอาจารย์ประจําและนักวิจัยประจํา (ปีการศึกษา) (นับเฉพาะที่ปฏิบัติงานจริงไม่นับรวมผู้ลาศึกษาต่อ) 2. แปลงจํานวนเงินที่คํานวณได้ในข้อ 1 เทียบกับคะแนนเต็ม 5 จํานวนเงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ จากภายในและภายนอก จํานวนเงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ ที่กําหนดให้เป็นคะแนนเต็ม 5

42

x5


คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสาขาวิชา มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา (พ.ศ.2555-2556)

เกณฑ์การประเมิน : 1. กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี : จํานวนเงินสนับสนุนงาน วิจัยหรืองานสร้างสรรค์จาก ภายในและภายนอกหน่วยงานที่กําหนดให้เป็นคะแนนเต็ม 5 = 60,000 บาทขึ้นไปต่อคน 2. กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ : จํานวนเงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์จากภายใน และภายนอกหน่วยงานที่กําหนดให้เป็นคะแนนเต็ม 5 = 50,000 บาทขึ้นไปต่อคน 3. กลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ : จํานวนเงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ จากภายในและภายนอกหน่วยงานที่กําหนดให้เป็นคะแนนเต็ม 5 = 25,000 บาทขึ้นไปต่อคน การสรุปคะแนนที่ได้ในระดับคณะหรือหน่วยงาน หรือระดับมหาวิทยาลัย 1. คะแนนที่ได้ในระดับคณะหรือหน่วยงาน เท่ากับ ค่าเฉลี่ยของคะแนนที่ได้ของทุกกลุ่มสาขาวิชา ในคณะหรือหน่วยงาน 2. คะแนนที่ได้ในระดับมหาวิทยาลัย เท่ากับ ค่าเฉลี่ยของคะแนนที่ได้ของทุกคณะหรือหน่วยงาน ในมหาวิทยาลัย หมายเหตุ : 1. จํ านวนอาจารย์ และนั กวิ จั ยประจํ า ให้ นั บตามปี การศึ กษา และนั บเฉพาะที่ ปฏิ บั ติ งานจริ งไม่ นั บรวม ผู้ลาศึกษาต่อ 2. ให้นับจํานวนเงินที่มีการลงนามในสัญญารับทุนในปีการศึกษานั้นๆ ไม่ใช่จํานวนเงินที่เบิกจ่ายจริง 3. กรณีที่มีหลักฐานการแบ่งสัดส่วนเงินสนับสนุนงานวิจัย ซึ่งอาจเป็นหลักฐานจากแหล่งทุนหรือหลักฐานจากการ ตกลงร่วมกันของสถาบันที่ร่วมโครงการ ให้แบ่งสัดส่วนเงินตามหลักฐานที่ปรากฏกรณีที่ไม่มีหลักฐาน ให้แบ่งเงิน ตามสัดส่วนผู้ร่วมวิจัยของแต่ละสถาบัน 4. การนั บ จํ า นวนเงิ น สนั บ สนุ น โครงการวิ จั ย สามารถนั บ เงิ น โครงการวิ จั ย สถาบั น ที่ ไ ด้ ล งนาม ในสั ญ ญารั บ ทุ น โดยอาจารย์ ห รื อ นั ก วิ จั ย แต่ ไ ม่ ส ามารถนั บ เงิ น โครงการวิ จั ย สถาบั น ที่ บุ ค ลากร สายสนับสนุนที่ไม่ใช่นักวิจัยเป็นผู้ดําเนินการ

ตัวบ่งชี้ 4.3 : งานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ที่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ ชนิดของตัวบ่งชี้ : ผลลัพธ์ (O) การคิดรอบปี : ปีปฏิทิน (ผลรวมถ่วงน้ําหนัก) และปีการศึกษา (จํานวนอาจารย์/นักวิจัย) คําอธิบาย : การวิจัยเป็นพันธกิจหนึ่งที่สําคัญของหน่วยงาน การดําเนินการตามพันธกิจอย่างมีประสิทธิภาพและ ประสบความสําเร็จนั้น สามารถพิจารณาได้จากผลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ที่มีคุณภาพ และมีการเผยแพร่ อย่างกว้างขวาง จากการเปรียบเทียบจํานวนบทความวิจัยที่ตีพิมพ์และจํานวนผลงานสร้างสรรค์ที่เผยแพร่ใน ระดับชาติหรือระดับนานาชาติของอาจารย์ประจําและนักวิจัยประจํา งานวิจั ยที่ เผยแพร่ ในที่ป ระชุมวิช าการระดับ ชาติ หมายถึง การนํา เสนอบทความวิจั ยในที่ ประชุ ม วิชาการและบทความฉบับสมบูรณ์ (Full paper) ได้รับการตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการ (Proceedings) ระดับชาติ ที่มีกองบรรณาธิการจัดทํารายงาน หรือคณะกรรมการ จัดประชุม ประกอบด้วย ศาสตราจารย์ หรือผู้ทรงคุณวุฒิระดับปริญญาเอก หรือผู้ทรงคุณวุฒิที่มีผลงานเป็นที่ยอมรับในสาขาวิชานั้นๆ นอกสถาบันเจ้าภาพอย่างน้อยร้อยละ 25 งานวิจัยที่เผยแพร่ในที่ประชุมวิชาการระดับนานาชาติ หมายถึง การนําเสนอบทความวิจัยในที่ประชุม วิชาการและบทความฉบับสมบูรณ์ (Full paper) ได้รับการตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการ 43


คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสาขาวิชา มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา (พ.ศ.2555-2556)

(Proceedings) ระดั บ นานาชาติ ที่ มี ก องบรรณาธิ ก ารจั ด ทํ า รายงาน หรื อ คณะกรรมการจั ด ประชุ ม ประกอบด้วยศาสตราจารย์ หรือผุ้ทรงคุณวุฒิระดับปริญญาเอกหรือผู้ทรงคุณวุฒิที่มีผลงานเป็นที่ยอมรับใน สาขาวิชานั้นๆ นอกสถาบันเจ้าภาพอย่างน้อยร้อยละ 25 งานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับชาติ หมายถึง บทความจากผลงานวิจัยที่ได้รับการ ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ (Journal) ที่มีชื่อปรากฏอยู่ในฐานข้อมูล Thai – Journal Citation Index Centre (TCI) หรือวารสารวิชาการระดับชาติตามประกาศของ สมศ. งานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ หมายถึง บทความจากผลงานวิจัยที่ได้รับ การตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ (Journal) ที่ปรากฏในฐานข้อมูลสากล ได้แก่ ฐานข้อมูลการจัดอันดับวารสาร SJR (SCImago Journal Rank : www.scimagojr.com) หรือฐานข้อมูล ISI Web of Science (Science Citation Index Expand, Social Sciences Citation Index, Art and Humanities Citation Index) หรือ ฐานข้อมูล Scopus หรือวารสารวิชาการระดับนานาชาติตามประกาศของ สมศ. การส่งบทความเพื่อพิจารณาคัดเลือกให้นําเสนอในการประชุมวิชาการต้องส่งเป็นฉบับสมบูรณ์ (Full Paper) และเมื่อได้รับการตอบรับและตีพิมพ์แล้ว การตีพิมพ์ต้องพิมพ์เป็นฉบับสมบูรณ์ซึ่งสามารถอยู่ในรูปแบบ เอกสารหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้ วิธีการนับ การนั บ จํ า นวนบทความจากผลงานวิ จั ย หรื อผลงานสร้ า งสรรค์ ของอาจารย์ ที่ตี พิมพ์ ห รื อเผยแพร่ บทความจากผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ที่สามารถนํามานับได้มีเฉพาะ Article หรือ Conference Paper หรือ Review เท่านั้น ส่วนบทความจากผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการนั้น สามารถนํามานับได้เฉพาะที่เป็นบทความฉบับสมบูรณ์ (full paper) เท่านั้น การนับบทความจากผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์หรือผลงานสร้างสรรค์ที่เผยแพร่ให้นับตามระบบที่กําหนดโดย มหาวิทยาลัย คือนับการเผยแพร่เป็นปีปฏิทิน ในกรณีที่บทความจากผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์หรือผลงานสร้างสรรค์ ที่เผยแพร่เป็นผลงานเดิมแต่นําไปตีพิมพ์หรือเผยแพร่มากกว่า 1 ครั้ง ให้นับได้เพียง 1 ผลงาน ทั้งนี้จะนับเมื่อ บทความจากผลงานวิจัยหรือผลงานสร้างสรรค์ได้ตีพิมพ์หรือเผยแพร่ไปแล้ว ระดับคุณภาพบทความวิจัยที่ตีพิมพ์ ดังนี้ ค่าน้ําหนัก 0.25 0.50 0.75

1.00

ระดับคุณภาพงานวิจัย มีการตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ/ระดับนานาชาติ หรือมีการตีพิมพ์ใน วารสารวิชาการที่ปรากฏในฐานข้อมูล TCI มีการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับชาติที่มีชื่อปรากฏอยู่ในประกาศของ สมศ. มีการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการที่มีชื่อปรากฏในฐานข้อมูลการจัดอันดับวารสาร SJR (SCImago Journal Rank: www.scimagojr.com) โดยวารสารนั้นถูกจัดอยู่ในควอไทล์ที่ 3 หรือ 4 (Q3 หรือ Q4) ในปีล่าสุด ใน subject category ที่ตีพิมพ์ หรือมีการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติที่มีชื่อ ปรากฏอยู่ในประกาศของ สมศ. มีการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการที่มีชื่อปรากฏในฐานข้อมูลการจัดอันดับวารสาร SJR (SCImago Journal Rank :www.scimagojr.com) โดยวารสารนั้นถูกจัดอยู่ในควอไทล์ที่ 1 หรือ 2 (Q1 หรือ Q2) ในปีล่าสุด ใน subject category ที่ตีพิมพ์ หรือมีการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติที่มีชื่อ ปรากฏในฐานสากล ISI หรือ Scopus

44


คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสาขาวิชา มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา (พ.ศ.2555-2556)

ระดับคุณภาพงานสร้างสรรค์ที่เผยแพร่ ดังนี้ ค่าน้ําหนัก 0.125 0.25 0.50 0.75 1.00

ระดับคุณภาพการเผยแพร่ งานสร้างสรรค์ทไี่ ด้รับการเผยแพร่ในระดับสถาบัน หรือจังหวัด งานสร้างสรรค์ทไี่ ด้รับการเผยแพร่ในระดับชาติ งานสร้างสรรค์ทไี่ ด้รับการเผยแพร่ในระดับความร่วมมือระหว่างประเทศ งานสร้างสรรค์ทไี่ ด้รับการเผยแพร่ในระดับภูมิภาคอาเซียน งานสร้างสรรค์ทไี่ ด้รับการเผยแพร่ในระดับนานาชาติ

*องค์ประกอบของคณะกรรมการไม่น้อยกว่า 3 คน และต้องมีบุคคลภายนอกสถานศึกษาร่วมพิจารณาด้วย

สูตรการคํานวณ : ผลรวมถ่วงน้ําหนักของงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ ที่ตีพิมพ์หรือเผยแพร่

x 100

จํานวนอาจารย์ประจําและนักวิจยั ประจําทั้งหมด หมายเหตุ : 1. อาเซียน หมายถึง สมาคมประชาชาติอาเซียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations) มี 10 ประเทศ ได้แก่ บูรไน กัมพูชา อินโดนีเชีย สปป.ลาว มาเลเซีย พม่า ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม 2. การเผยแพร่ในระดับความร่วมมือระหว่างประเทศ เป็นโครงการร่วมมือระหว่างประเทศไทยกับประเทศอื่น 3. การเผยแพร่ในระดับภูมิภาคอาเซียน เป็นการเผยแพร่เฉพาะในกลุ่มอาเซียน 10 ประเทศ (อย่างน้อย 5 ประเทศ หมายถึงนับรวมประเทศไทย) และการให้คะแนนตามแหล่งเผยแพร่ ไม่จําเป็นต้องไปแสดงในต่างประเทศ 4. การเผยแพร่ในระดับนานาชาติ เป็นการเผยแพร่ที่เปิดกว้างสําหรับทุกประเทศ (อย่างน้อย 5 ประเทศ ที่ไม่ได้อยู่ใน กลุ่มอาเซียน)

เกณฑ์การประเมิน : ใช้บัญญัติไตรยางศ์เทียบกําหนดร้อยละ เท่ากับ 5 คะแนน จําแนกตามกลุ่มสาขาวิชา ดังนี้ • กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ กําหนดร้อยละ 20 เท่ากับ 5 คะแนน • กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กําหนดร้อยละ 20 เท่ากับ 5 คะแนน • กลุ่มสาขาวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ กําหนดร้อยละ 10 เท่ากับ 5 คะแนน ตัวอย่างการคํานวณ : กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพจากสูตรการคํานวณ เท่ากับ ร้อยละ 15.5 ใช้ บัญญัตไิ ตรยางศ์เทียบ ดังนี้ 1. กําหนดร้อยละ 20 เท่ากับ 5 คะแนน 2. ดังนั้น ร้อยละ 15.5 จะเท่ากับกี่คะแนน 3. การคํานวณ คือ (15.5 x 5) ÷ 20 = 3.875 4. หน่วยงาน จะได้ค่าคะแนนการประเมินเท่ากับ 3.875 คะแนน

รายการหลักฐานประกอบการประเมิน 1. กรณีการเผยแพร่งานวิจัย 1.1 การตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการ ให้แสดง (1) บทความจากรายงานสืบเนื่องฯ และ (2) เอกสารจากการประชุมที่แสดงรายชื่อและจํานวนของกองบรรณาธิการจัดทํารายงาน หรือคณะกรรมการจัดประชุม 45


คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสาขาวิชา มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา (พ.ศ.2555-2556)

1.2 การตีพิมพ์ในวารสาร ให้แสดง (1) บทความจากวารสารหรือ reprint (2) หลักฐานประกอบการ คิดค่าน้ําหนัก เช่น หน้าที่พิมพ์จาก scopus หรือ TCI ที่แสดงชื่อวารสารนั้นๆ ตัวบ่งชี้ 4.4 : งานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ที่นําไปใช้ประโยชน์ ชนิดของตัวบ่งชี้ : ผลลัพธ์ (O) การคิดรอบปี : ปีปฏิทิน (ตัวตั้ง) และปีการศึกษา (ตัวหาร) คําอธิบาย : การวิจัยเป็นพันธกิจหนึ่งที่สําคัญของหน่วยงาน การดําเนินการตามพันธกิจอย่างมีประสิทธิภาพและ ประสบความสําเร็จนั้น สามารถพิจารณาได้จากผลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ที่มีคุณภาพ และมีการเผยแพร่ อย่างกว้างขวาง จากการเปรียบเทียบจํานวนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ของอาจารย์ประจําและนักวิจัยประจํา ที่นํามาใช้ประโยชน์ในการแก้ปัญหาตามวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ในโครงการวิจัยและรายงานการวิจัยโดยได้รับ การรับรองการใช้ประโยชน์จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของอาจารย์ประจําและนักวิจัยประจํา งานวิ จั ย หรื องานสร้ า งสรรค์ ที่นํ า ไปใช้ ป ระโยชน์ หมายถึ ง งานวิ จั ย หรื องานสร้ า งสรรค์ ที่นํ าไปใช้ ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ในโครงการ โครงการวิจัย และรายงานการวิจัยอย่างถูกต้อง สามารถนําไปสู่ การแก้ปัญหาได้อย่างเป็นรูปธรรม มีความคิดเห็นริเริ่มสร้างสรรค์ในการประยุกต์ใช้กับกลุ่มเป้าหมายโดยมี หลักฐานปรากฏชัดเจนถึงการนําไปใช้จนก่อให้เกิดประโยชน์ได้จริงอย่างชัดเจน ตามวัตถุประสงค์และ/หรือ ได้รับการรับรองการใช้ประโยชน์จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมีหลักฐานเชิงประจักษ์หรือการรับรอง/การ ตรวจรับงานโดยหน่วยงานภายนอกสถานศึกษา ประเภทของการใช้ประโยชน์จากงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ ที่สามารถนําไปสู่การแก้ปัญหาได้อย่าง เป็นรูปธรรม มีดังนี้ 1. การใช้ประโยชน์ในเชิงสาธารณะ เช่น ผลงานวิจัยที่นําไปใช้ให้เกิดประโยชน์แก่สาธารณะชนใน เรื่องต่างๆ ที่ทําให้คุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจของประชาชนดีขึ้น ได้แก่ การใช้ประโยชน์ด้านสาธารณสุข ด้าน การบริหารจัดการสําหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) ด้านการส่งเสริมประชาธิปไตยภาค ประชาชน ด้านศิลปะและวัฒนธรรม ด้านวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นต้น 2. การใช้ประโยชน์ในเชิงนโยบาย เช่น ใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัยเชิงนโยบายในการนไปประกอบ เป็นข้อมูลการประกาศใช้กฎหมาย หรือกําหนดมาตรการ กฎเกณฑ์ต่างๆ โดยองค์กร หรือหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน เป็นต้น 3. การใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ เช่น งานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ที่นําไปสู่การพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ หรือผลิตภัณฑ์ซึ่งก่อให้เกิดรายได้ หรือนําไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต เป็นต้น 4. การใช้ ป ระโยชน์ ทางอ้ อมของงานสร้ า งสรรค์ ซึ่ งเป็ น การสร้ างคุ ณค่ า ทางจิ ตใจ ยกระดั บ จิ ตใจ ก่อให้เกิดสุนทรียภาพ สร้างความสุข เช่น งานศิลปะที่นําไปใช้ในโรงพยาบาล ซึ่งได้มีการศึกษาและการประเมิน ไว้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการรับรองการนํางานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ไปใช้ประโยชน์ หมายถึง หน่วยงานหรือองค์กร หรือชุมชนภายนอกสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา ที่มีการนํางานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ ของสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาไปใช้ก่อให้เกิดประโยชน์ โดยมีหลักฐานเชิงประจักษ์หรือการรับรอง/การตรวจ รับงานโดยหน่วยงานภายนอกสถานศึกษา การนับจํานวนผลงานวิจัยหรือผลงานสร้างสรรค์ที่นําไปใช้ประโยชน์ ให้นับจากวันที่นําผลงานวิจัยหรือ งานสร้างสรรค์มาใช้และเกิดผลชัดเจนโดยที่ผลงานวิจัยจะดําเนินการในช่วงเวลาใดก็ได้ ช่วงเวลาที่ใช้จะเป็น 46


คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสาขาวิชา มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา (พ.ศ.2555-2556)

ตามปีปฏิทิน หรือปีงบประมาณ หรือปีการศึกษา อย่างใดอย่างหนึ่งตามระบบที่มหาวิทยาลัยจัดเก็บข้อมูล ใน กรณีที่งานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์มีการนําไปใช้ประโยชน์มากกว่า 1 ครั้ง ให้นําการใช้ประโยชน์ได้เพียงครั้ง เดียวยกเว้นในกรณีที่มีการใช้ประโยชน์ที่แตกต่างกันชัดเจนตามมิติของการใช้ประโยชน์ที่ไม่ซ้ํากัน สูตรการคํานวณ : ผลรวมของจํานวนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ ที่นําไปใช้ประโยชน์ จํานวนอาจารย์ประจําและนักวิจัยประจําทั้งหมด รวมลาศึกษาต่อ

x 100

เกณฑ์การประเมิน : ใช้บัญญัติไตรยางศ์เทียบกําหนดร้อยละ 20 เท่ากับ 5 คะแนน ทุกกลุ่มสาขาวิชา ตัวอย่างการคํานวณ : จากสูตรการคํานวณ เท่ากับ ร้อยละ 15.5 ใช้บัญญัติไตรยางศ์เทียบ ดังนี้ 1. กําหนดร้อยละ 20 เท่ากับ 5 คะแนน 2. ดังนั้น ร้อยละ 15.5 จะเท่ากับกี่คะแนน 3. การคํานวณ คือ (15.5 x 5) ÷ 20 = 3.875 4. หน่วยงาน จะได้ค่าคะแนนการประเมินเท่ากับ 3.875 คะแนน หมายเหตุ: ประเภทของการใช้ประโยชน์ ไม่นับรวม การใช้ประโยชน์ในเชิงวิชาการ เช่น การต่อยอดเป็นงานวิจัย อื่น หรือ การได้รับการอ้างอิง (citation)

รายการหลักฐานประกอบการประเมิน 1. เล่มรายงานวิจัย1หรือ1บทความวิจัย1หรือหลักฐานแสดงชิ้นงานสร้างสรรค์ที่แสดงชื่ออาจารย์หรือ นักวิจัยประจําที่เป็นเจ้าของผลงาน (งานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ เป็นผลงานที่เก่าแก่เพียงใดก็ได้) 2. เอกสารการรับรองการใช้ประโยชน์หรือการตรวจรับงาน ลงนามโดยหัวหน้าหรือผู้ที่ตําแหน่งสูงสุด ของหน่ วยงานนั้ น ๆหรื อ ผู้ ที่รั ก ษาการแทนหั ว หน้ า หน่ ว ยงาน(ให้ ร ะบุ ก ารรั ก ษาการแทนอย่ า ง ชัดเจน)หรือหลักฐานเชิงประจักษ์อื่นที่แสดง (1) ลักษณะการใช้ประโยชน์ (2) ผลดีที่เกิดขึ้นอย่าง ชัดเจน และ (3) ช่วงเวลาที่มีการใช้ประโยชน์และเกิดผลดีขึ้น อย่างครบถ้วน 3. กรณีที่เป็นผลงานที่ได้รับการจดสิทธิบัตร สามารถใช้เอกสารแสดงการได้รับสิทธิบัตรแทนเอกสาร รับรองการใช้ประโยชน์ในข้อ 2 ได้

47


คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสาขาวิชา มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา (พ.ศ.2555-2556)

ตัวบ่งชี้ 4.5 : ผลงานวิชาการที่ได้รับการรับรองคุณภาพ ชนิดของตัวบ่งชี้ : ผลผลิต (O) การคิดรอบปี : ปีปฏิทิน (ตัวตั้ง) และปีการศึกษา (ตัวหาร) คําอธิบาย : ผลงานวิ ช าการที่ มีคุณภาพสะท้ อนถึ งสมรรถนะในการศึ กษา ค้ น คว้ า วิ เ คราะห์ สั งเคราะห์ วิ จั ย การปฏิบัติจริง และได้นําไปใช้ในการแก้ไขปัญหา หรือพัฒนางานในหน้าที่จนเกิดผลดีต่อการพัฒนาคุณภาพ การจัดการศึกษา และเป็นประโยชน์ต่อความก้าวหน้าทางวิชาการ การนับจํานวนผลงานทางวิชาการที่ได้รับการรับรองคุณภาพ จะนับผลงานวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์ เผยแพร่ในรูปแบบของบทความวิชาการในวารสารวิชาการทั้งในระดับชาติและ/หรือนานาชาติ หนังสือ หรือ ตําราทางวิชาการ ซึ่งมีระบบการพิจารณาต้นฉบับจากคณะกรรมกรผู้ทรงคุณวุฒิก่อนการตีพิมพ์ และผลงาน จะต้องเกินร้อยละ 50 ของชิ้นงาน ในกรณีที่มีการตีพิมพ์มากกว่า 1 ครั้ง ให้นับการตีพิมพ์เพียงครั้งเดียวต่องาน วิชาการ 1 ชิ้น ระดับคุณภาพผลงานวิชาการ ดังนี้ ค่าน้ําหนัก 0.25 0.50 0.75 1.00

ระดับคุณภาพผลงานวิชาการ บทความวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติ บทความวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติ ตําราหรือหนังสือที่มีการประเมินผ่านตามเกณฑ์โดยผู้ทรงคุณวุฒิที่สถานศึกษากําหนด ตําราหรือหนังสือที่ใช้ในการขอผลงานทางวิชาการและผ่านการพิจารณาตามเกณฑ์การขอ ตําแหน่งทางวิชาการแล้ว หรือตําราหรือหนังสือที่มีคุณภาพสูงมีผู้ทรงคุณวุฒิตรวจอ่าน ตามเกณฑ์การขอตําแหน่งทางวิชาการ

สูตรการคํานวณ : ผลรวมถ่วงน้ําหนักของผลงานวิชาการที่ได้รับรองคุณภาพ จํานวนอาจารย์และนักวิจัยประจําทั้งหมด

x 100

เกณฑ์การประเมิน : ใช้บัญญัติไตรยางศ์เทียบกําหนดร้อยละ 10 เท่ากับ 5 คะแนน ทุกกลุ่มสาขาวิชา ตัวอย่างการคํานวณ : จากสูตรการคํานวณ เท่ากับ ร้อยละ 5.5 ใช้บัญญัติไตรยางศ์เทียบ ดังนี้ 1. กําหนดร้อยละ 10 เท่ากับ 5 คะแนน 2. ดังนั้น ร้อยละ 5.5 จะเท่ากับกี่คะแนน 3. การคํานวณ คือ (5.5 x 5) ÷ 10 = 2.75 4. หน่วยงาน จะได้ค่าคะแนนการประเมินเท่ากับ 2.75 คะแนน รายการหลักฐานประกอบการประเมิน 1. กรณีการเผยแพร่ บ ทความวิช าการ ให้แสดง (1) บทความจากวารสารหรือ reprint (2) หลั กฐาน สัดส่วนการเป็นเจ้าของผลงาน 48


คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสาขาวิชา มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา (พ.ศ.2555-2556)

2. กรณีหนังสือหรือตําราที่มีการตรวจอ่านโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ให้แสดง (1) เล่มหนังสือหรือตํารานั้น หรือ ถ่ายเอกสารปก คํานํา และสารบัญที่แสดงให้เห็นสัดส่วนผลงาน และ (2) เอกสารการประเมินจาก ผู้ทรงคุณวุฒิ 3. กรณีหนังสือหรือตําราที่ผ่านการขอตําแหน่งทางวิชาการ ให้แสดง (1) เล่มหนังสือหรือตํารานั้น หรือ ถ่ายเอกสารปก คํานํา และสารบัญที่แสดงให้เห็นสัดส่วนผลงาน (2) เอกสารการใช้หนังสือหรือตํารา นั้นๆประกอบการขอตําแหน่งทางวิชาการ และ (3) เอกสารการได้รับการแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งทาง วิชาการ

49


คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสาขาวิชา มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา (พ.ศ.2555-2556)

องค์ประกอบที่ 5 การบริการทางวิชาการแก่สังคม หลักการ การบริ ก ารทางวิ ช าการแก่ สั ง คมเป็ น หนึ่ ง ในภารกิ จ หลั ก ของหน่ ว ยงานอุ ด มศึ ก ษา หน่ ว ยงาน พึ ง ให้ บ ริ การทางวิ ช าการแก่ ชุ ม ชน สั งคม และประเทศชาติ ในรู ป แบบต่ า งๆ ตามความถนั ด และในด้ า น ที่หน่วยงานมีความเชี่ยวชาญ การให้บริการทางวิชาการอาจให้เปล่าโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายหรืออาจคิดค่าใช้จ่าย ตามความเหมาะสม โดยให้บริการทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน หน่วยงานอิสระ หน่วยงานสาธารณะ ชุมชน และสังคมโดยกว้าง รูปแบบการให้บริการทางวิชาการมีความหลากหลาย เช่น การอนุญาตให้ใช้ประโยชน์ ทรัพยากรของหน่ วยงาน เป็นแหล่งอ้ างอิงทางวิ ชาการ ให้คําปรึกษา ให้ การอบรม จัดประชุมหรือสั มมนา วิ ช าการ ทํ า งานวิ จั ย เพื่ อ ตอบคํ า ถามต่ า งๆ หรื อเพื่ อชี้ แนะสั งคม การให้ บ ริ การทางวิ ช าการนอกจากเป็ น การทําประโยชน์ให้สังคมแล้ว หน่วยงานยังได้รับประโยชน์ในด้านต่างๆ คือ เพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ ของอาจารย์ อัน จะนํ า มาสู่ การพั ฒ นาหลั กสู ต ร มี การบูร ณาการเพื่ อใช้ ป ระโยชน์ ทางด้ า นการจั ด การเรี ย น การสอนและการวิจัย พัฒนาตําแหน่งทางวิชาการของอาจารย์ สร้างเครือข่ายกับหน่วยงานต่างๆ ซึ่งเป็นแหล่งงาน ของนักศึกษาและเป็นการสร้างรายได้ของหน่วยงานจากการให้บริการทางวิชาการด้วย

มาตรฐานและเอกสารที่เกี่ยวข้อง 1. กรอบแผนอุดมศึ กษาระยะยาว 15 ปี ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2551-2565) สํ านักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษา 2. มาตรฐานการอุดมศึกษา พ.ศ. 2549 สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 3. มาตรฐานสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2551 สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 4. มาตรฐานการประเมินคุณภาพภายนอกระดับอุดมศึกษารอบสาม พ.ศ. 2554 สํานักงานรับรอง มาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) (สมศ.) 5. ข้อกําหนดและข้อบังคับมหาวิทยาลัยอิสลามยะลา 6. ปรัชญา และปณิธานของมหาวิทยาลัยอิสลามยะลา และของหน่วยงาน 7. แผนยุทธศาสตร์ 5 ปี (พ.ศ. 2554–2558) มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา 8. นโยบายด้านการบริการทางวิชาการแก่สังคม มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา

ตัวบ่งชี้ จํานวน 3 ตัวบ่งชี้ คือ 5.1 (P) 5.2 (P) 5.3 (O)

การบูรณาการบริการทางวิชาการแก่สังคมกับพันธกิจอื่น การมีส่วนร่วมของอาจารย์ในการบริการทางวิชาการแก่ชุมชนหรือองค์กรภายนอก จํานวนโครงการ/กิจกรรมบริการวิชาการที่มีการนําความรู้และประสบการณ์จากการให้บริการ มาใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนและ/หรือการวิจัย

50


คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสาขาวิชา มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา (พ.ศ.2555-2556)

ตัวบ่งชี้ 5.1 : การบูรณาการบริการทางวิชาการแก่สังคมกับพันธกิจอื่น ชนิดของตัวบ่งชี้ : กระบวนการ (P) การคิดรอบปี : ปีการศึกษา คําอธิบาย : การบริการทางวิชาการแก่สังคมเป็นภารกิจหลักอย่างหนึ่งของสถาบันอุดมศึกษา สถาบันและคณะ พึงมีระบบและกลไกในการบริการทางวิชาการแก่สังคมที่เป็นรูปธรรม และมีการจัดโครงสร้างหน่วยงานเพื่อเป็น กลไกในการขับเคลื่อนระบบดังกล่าว โดยสาขาวิชา ซึ่งเป็นหน่วยย่อยของคณะ ก็มีภารกิจที่สําคัญที่จะร่วม ให้บริการทางวิชาการ ทั้งนี้ การให้บริการวิชาการต้องเชื่อมโยง/บูรณาการกับการจัดการเรียนการสอนและการ วิจัยอย่างเป็นรูปธรรม และสนองความต้องการของชุมชน ภาครัฐ ภาคเอกชน หน่วยงานวิชาชีพ และสังคมได้ อย่างมีคุณภาพตามศักยภาพและความพร้อมตามจุดเน้นของสถาบัน คณะ และสาขาวิชา เกณฑ์มาตรฐาน: เชิงคุณภาพ คิดเป็นข้อ 1. มีการบูรณาการงานบริการวิชาการแก่สังคมที่คณะหรือสาขาวิชาจัดดําเนินการกับการเรียนการสอนอย่าง น้อย 1 รายวิชาในหลักสูตรที่เปิดสอนของคณะ 2. มีการบูรณาการงานบริการวิชาการแก่สังคมที่คณะหรือสาขาวิชาจัดดําเนินการกับงานวิจัย 3. มีการประเมินผลความสําเร็จของการบูรณาการงานบริการวิชาการกับการเรียนการสอนตามเกณฑ์ข้อ 1 4. มีการประเมินผลความสําเร็จของการบูรณาการงานบริการวิชาการกับการวิจัยตามเกณฑ์ข้อ 2 5. มีการนําผลการประเมินในเกณฑ์ข้อ 3 และ/หรือ 4 ไปปรับปรุงการบูรณาการงานบริการวิชาการกับการ เรียนการสอนและ/หรือ การบูรณาการงานบริการวิชาการกับการวิจัย เกณฑ์การประเมิน : คะแนน 1 มีการดําเนินการ 1ข้อ

คะแนน 2 มีการดําเนินการ 2 ข้อ

คะแนน 3 มีการดําเนินการ 3 ข้อ

ตัวบ่งชี้ 5.2

คะแนน 4 มีการดําเนินการ 4 ข้อ

คะแนน 5 มีการดําเนินการ 5 ข้อ

: การมีส่วนร่วมของอาจารย์ในการบริการทางวิชาการแก่ชุมชนหรือองค์กร ภายนอก ชนิดของตัวบ่งชี้ : กระบวนการ (P) การคิดรอบปี : ปีการศึกษา คําอธิบาย : คณาจารย์ให้ความร่วมมือกับสาขาวิชาหรือคณะในการดําเนินการให้บริการวิชาการแก่สังคมและ ชุมชนภายนอกมหาวิทยาลัย เพื่อก่อให้เกิดการพัฒนาหรือเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ทั้งนี้ ต้องร่วม แก้ปัญหาสังคม ตามนโยบายของสาขาวิชา หรือคณะ หรือมหาวิทยาลัย หรือของรัฐ หรือของประเทศ โดยมี เป้าหมายที่แสดงถึงความเป็นผู้ชี้นําสังคมและแก้ปัญหาสังคมในเรื่องต่างๆ ทั้งนี้ สาขาวิชาอาจดําเนินการด้วย ตนเอง หรือร่วมดําเนินการกับคณะ

51


คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสาขาวิชา มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา (พ.ศ.2555-2556)

สูตรคํานวณ จํานวนอาจารย์ประจําที่มีส่วนร่วมในการให้บริการทางวิชาการ แก่สังคม x 100 จํานวนอาจารย์ประจําที่ปฏิบัติงานจริง เกณฑ์การประเมิน : เทียบบัญญัติไตรยางศ์ ร้อยละ 50 เท่ากับ 5 คะแนน หมายเหตุ 1. การมีส่วนร่วมในการบริการวิชาการแก่สังคม หมายถึง การเข้าร่วมให้บริการในโครงการ/กิจกรรมที่ตอบสนอง เอกลักษณ์ หรือมาตรการส่งเสริมของมหาวิทยาลัย หรือโครงการ/กิจกรรมตามแผนบริการวิชาการของคณะ/ สาขาวิชา 2. เอกลักษณ์ของมหาวิทยาลัย “นําสัจธรรมสร้างสังคมสันติสุข” 3. มาตรการส่งเสริมในประเด็น ผลการชี้นํา ป้องกัน หรือแก้ปัญหาของสังคมประเด็นภายในสถาบัน “ส่งเสริมการ พัฒนาศักยภาพนักศึกษาและบุคลากรด้วยกระบวนการกลุ่มศึกษา”และผลการชี้นํา ป้องกัน หรือ แก้ปัญหาของสังคมประเด็นภายนอกสถาบัน “บริการวิชาการแก่สังคมเพื่อเสริมสร้างสังคมอารยะ”

ตัวบ่งชี้ 5.3 : จํานวนโครงการ/กิจกรรมบริการวิชาการระดับมหาวิทยาลัย ระดับคณะหรือสาขาวิชา หรือโครงการ/กิจกรรมภายใต้โครงการบริการวิชาการ ที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณทั้งภายในภายนอก ที่มี การนําความรู้และประสบการณ์จากการให้บริการมาใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนและ/หรือการวิจัย ชนิดของตัวบ่งชี้ : ผลผลิต (O) การคิดรอบปี : ปีการศึกษา คําอธิบาย : การให้บริการทางวิชาการ จะต้องมีการนําความรู้และประสบการณ์จากการให้บริการมาใช้ในการ พัฒนาการเรียนการสอนและ/หรือการวิจัย จึงจะเป็นประโยชน์ต่อการยกระดับคุณภาพทั้งผู้สอนและผู้เรียน โครงการบริการวิชาการที่นับได้จะต้อง (1) เป็นโครงการตามแผนปฏิบัติการประจําปีของมหาวิทยาลัย หรือ แผนปฏิบัติการประจําปีของคณะหรือสาขาวิชา และ (2) มีผลการบูรณาการโดยอาจารย์ในสาขาวิชาที่รับการ ประเมินเสร็จสิ้นในปีที่ประเมิน โดยโครงการหนึ่งๆจะบูรณาการเฉพาะกับการเรียนการสอน หรือเฉพาะกับ การวิจัย หรือจะบูรณาการกับทั้งการเรียนการสอน และการวิจัยก็ได้ การรายงาน: นับจํานวนโครงการ/กิจกรรมบริการวิชาการที่มีการนําความรู้และประสบการณ์จาก การให้บริการมาใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนและ/หรือการวิจัย โดยมีหลักฐานเชิงประจักษ์ โดย นับจํานวนโครงการ/กิจกรรมบริการวิชาการระดับมหาวิทยาลัย ระดับคณะหรือสาขาวิชาหรือโครงการ/ กิจกรรมภายใต้โครงการบริการวิชาการ ที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณทั้งภายในภายนอก ที่อาจารย์ใน สาขาวิชาได้ร่วมดําเนินการและนํามาความรู้และประสบการณ์จากการร่วมดําเนินการมาพัฒนาการเรียน การสอนและ/หรือต่อยอดเป็นงานวิจัย 52


คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสาขาวิชา มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา (พ.ศ.2555-2556)

หลักฐานประกอบการรายงาน 1. เอกสารสรุปโครงการ/กิจกรรมบริการวิชาการ ที่แสดงให้เห็นว่าอาจารย์ในสาขาวิชาได้มีส่วนร่วมบริการ 2. เอกสารการนําความรู้และประสบการณ์จากการให้บริการทางวิชาการมาใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอน เช่น การต่อยอดเป็นหนังสือ ตํารา การนํามาใช้เป็นข้อมูลนําเข้าในการประชุมเตรียมการสอน การใช้ทําเอกสาร ประกอบการสอน การปรับปรุงรายวิชาหรือหลักสูตร การขยายผลไปสู่การเปิดรายวิชาใหม่ เป็นต้น 3. รายงานการวิจัยที่แล้วเสร็จที่พัฒนามาจากการต่อยอดจากความรู้และประสบการณ์จากการให้บริการทาง วิชาการ

53


คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสาขาวิชา มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา (พ.ศ.2555-2556)

องค์ประกอบที่ 6 การทํานุบํารุงศิลปะและวัฒนธรรม หลักการ การทํานุบํารุงศิลปะและวัฒนธรรมถือเป็นพันธกิจสําคัญประการหนึ่งของหน่วยงาน ดังนั้น หน่วยงาน จึงต้องมีระบบและกลไกการดําเนินงานด้านนี้ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและคุณภาพ โดยอาจมีจุดเน้น เฉพาะที่แตกต่างกันตามปรัชญา และธรรมชาติของแต่ละหน่วยงาน และมีการบูรณาการเข้ากับพันธกิจอื่นๆ โดยเฉพาะการผลิ ต บั ณ ฑิ ต รวมทั้ ง มี ก ารจั ด กิ จ กรรมที่ ฟื้ น ฟู อนุ รั ก ษ์ สื บ สานพั ฒ นา เผยแพร่ ศิ ล ปะและ วัฒนธรรม สร้างสรรค์ ส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เป็นรากฐานการพัฒนาองค์ความรู้ที่ดีขึ้น

มาตรฐานและเอกสารที่เกี่ยวข้อง 1. 2. 3. 4.

กรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปี (พ.ศ. 2551-2565) สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา มาตรฐานการอุดมศึกษา พ.ศ. 2549 สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา มาตรฐานสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2551 สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา มาตรฐานการประเมินคุณภาพภายนอกระดับอุดมศึกษารอบสาม พ.ศ. 2554 สํานักงานรับรอง มาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) (สมศ.)

ตัวบ่งชี้ จํานวน 1 ตัวบ่งชี้ คือ 6.1 (P)

การบูรณาการงานด้านทํานุบํารุงศิลปและวัฒนธรรมกับการเรียนการสอน

54


คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสาขาวิชา มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา (พ.ศ.2555-2556)

ตัวบ่งชี้ 6.1 : การบูรณาการงานด้านทํานุบํารุงศิลปและวัฒนธรรมกับการเรียนการสอน ชนิดของตัวบ่งชี้ : กระบวนการ (P) การคิดรอบปี : ปีการศึกษา คําอธิบาย : สาขาวิชามีภารกิจที่จะสนับสนุนพันธกิจด้านทํานุบํารุงศิลปวัฒนธรรมของคณะและสถาบัน และต้อง นําไปบูรณาการกับการเรียนการสอน เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษามีความรักและซาบซึ้งในศิลปะและวัฒนธรรมที่ดี ขององค์กรและของชาติ ศิลปะ คือ งานสร้างสรรค์ที่ส่งเสริมความสุนทรีย์ ความงาม และความสุข แก่ผู้คน สภาพแวดล้อม และสังคม ซึ่งพัฒนาการยกระดับความมีรสนิยม ความสุนทรีย์ และเข้าใจคุณค่าทางศิลปะ ซึ่งมีอิทธิพลต่อวิถี ชีวิตของมนุษย์ เป็นการนําศิลปะไปใช้ในการส่งเสริมพัฒนาอาจารย์และตัวบ่งชี้ วัฒนธรรม หมายถึง ความเจริญงอกงามที่มีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง เช่น เรื่องความคิด ความรู้สึก และความเชื่อ ก่อให้เกิดวัฒนธรรม สามารถเห็นได้จากพฤติกรรมในวิถีชีวิต สังคม และผลที่เกิดจากกิจกรรม และผลผลิตกิจกรรมของมนุษย์ วัฒนธรรมมีลักษณะเฉพาะและมีลักษณะสากล ซึ่งเปลี่ยนแปลงตามสมัยนิยม วัฒนธรรมปัจจุบันที่ดีจึงควรมีความสอดคล้องกับความเป็นสากล แต่มีรากฐานของวัฒนธรรมตนเองที่มีคุณค่า อย่างมั่นคง และมั่นใจ ทั้งนี้ หมายความรวมถึงภูมิปัญญาทางวิชาชีพและภูมิปัญญาท้องถิ่น เกณฑ์มาตรฐาน: ข้อ 1. มีการบูรณาการงานด้านทํานุบํารุงศิลปะและวัฒนธรรมกับการเรียนการสอนอย่างน้อย 1 รายวิชา 2. มีการประเมินผลความสําเร็จของการบูรณาการงานด้านทํานุบํารุงศิลปะและวัฒนธรรมกับการเรียนการ สอนในเกณฑ์ข้อ 1. 3. มีการนําผลการประเมินในข้อ 2 ไปปรับปรุงการบูรณาการงานด้านทํานุบํารุงศิลปะและวัฒนธรรมกับการ เรียนการสอน 4. มีการเผยแพร่ผลงานการบูรณาการงานด้านทํานุบํารุงศิลปะและวัฒนธรรมกับการเรียนการสอนสู่ตัวบ่งชี้ และบุคลากรในคณะ และสู่สาธารณชน 5. อาจารย์อย่างน้อยละ 20 เข้าร่วมกิจกรรมทํานุบํารุงศิลปะและวัฒนธรรมที่จัดโดยสาขาวิชา คณะหรือ มหาวิทยาลัย เกณฑ์การประเมิน : คะแนน 1 มีการดําเนินการ 1 ข้อ

คะแนน 2 มีการดําเนินการ 2 ข้อ

คะแนน 3 มีการดําเนินการ 3 ข้อ

55

คะแนน 4 มีการดําเนินการ 4 ข้อ

คะแนน 5 มีการดําเนินการ 5 ข้อ


คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสาขาวิชา มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา (พ.ศ.2555-2556)

องค์ประกอบที่ 7 การบริหารและการจัดการ หลักการ หน่ ว ยงานต้ อ งให้ ค วามสํ า คั ญ กั บ การบริ ห ารจั ด การ โดยมี ค ณะผู้ บ ริ ห าร สภามหาวิ ท ยาลั ย หรื อ คณะกรรมการประจํ า หน่ ว ยงานทํ า หน้ า ที่ ใ นการกํ า กั บ ดู แ ลการทํ า งานของหน่ ว ยงานให้ มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ หน่วยงานจะต้องบริหารจัดการด้านต่างๆ ให้มีคุณภาพ เช่น ทรัพยากรบุคคล ระบบฐานข้อมูล การบริหาร ความเสี่ ยง การบริห ารการเปลี่ย นแปลง การบริห ารทรัพยากรทั้งหมด ฯลฯ เพื่ อสัมฤทธิ ผลตามเป้าหมาย ที่กําหนดไว้ โดยใช้หลักธรรมาภิบาล (Good Governance)

มาตรฐานและเอกสารที่เกี่ยวข้อง 1. กรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปี ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2551-2565) สํานักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษา 2. มาตรฐานการอุดมศึกษา พ.ศ. 2549 สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 3. มาตรฐานสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2551 สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 4. มาตรฐานการประเมิ น ผลการปฏิ บั ติ ร าชการตามคํ า รั บ รองการปฏิ บั ติ ร าชการ สํ า นั ก งาน คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) 5. มาตรฐานการประเมินคุณภาพภายนอกระดับอุดมศึกษารอบสาม พ.ศ. 2554 สํานักงานรับรอง มาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) (สมศ.) 6. เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดําเนินการที่เป็นเลิศ พ.ศ. 2552-2553 7. ประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง คู่มือและแนวปฏิบัติในการพิจารณาออกใบอนุญาต ให้จัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ. 2551 8. ประกาศทบวงมหาวิทยาลัย เรื่อง มาตรฐานห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2544

ตัวบ่งชี้ จํานวน 5 ตัวบ่งชี้ คือ 7.1 (P) 7.2 (P) 7.3 (O) 7.4 (O) 7.5 (O) 7.6 (O)

ภาวะผู้นําของผู้บริหารระดับหัวหน้าสาขาวิชา/หลักสูตร/กลุ่มสาขาวิชา กระบวนการจัดการความรู้ อาจารย์ประจําหลักสูตรมีส่วนร่วมในการประชุมเพื่อวางแผน ติดตามและทบทวนการดําเนินงาน ของหลักสูตร อาจารย์ใหม่ (ถ้ามี) ทุกคน ได้รับการปฐมนิเทศหรือคําแนะนําด้านการจัดการเรียนการสอน อาจารย์ประจําทุกคนได้รับการพัฒนาทางวิชาการและ/หรือวิชาชีพอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง จํานวนบุคลากรสนับสนุนการเรียนการสอน (ถ้ามี) ได้รับการพัฒนาวิชาการและ/หรือวิชาชีพ ไม่ น้อยกว่าร้อยละ 50 ต่อปี

56


คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสาขาวิชา มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา (พ.ศ.2555-2556)

ตัวบ่งชี้ 7.1 : ภาวะผู้นําของผู้บริหารระดับสาขาวิชา ชนิดของตัวบ่งชี้ : กระบวนการ (P) การคิดรอบปี : ปีการศึกษา คําอธิบาย : ปัจจัยสนับสนุนที่สําคัญต่อการเจริญก้าวหน้าของสถาบันอุดมศึกษา คือ สภาสถาบันและผู้บริหารทุก ระดับของสถาบันนั้น ๆ ซึ่งหมายรวมถึงผู้บริหารระดับสาขาวิชาด้วย หากผู้บริหารระดับสาขาวิชามีวิสัยทัศน์ เป็ นผู้ นํ าที่ ดี มี ธ รรมาภิ บ าล ดู แลบุ คลากรอย่ างดี เปิ ดโอกาสให้ บุคลากรเข้ า มามีส่ ว นร่ ว มในการบริ ห าร มี ความสามารถในการตัดสินใจแก้ปัญหา และกํากับดูแลติดตามผลการดําเนินงานของสาขาวิชาไปในทิศทางที่ ถูกต้อง จะทําให้สาขาวิชาเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว หลักธรรมาภิบาล หมายถึง การปกครอง การบริหาร การจัดการ การควบคุม ดูแลกิจการต่างๆ ให้ เป็นไปในครรลองธรรม นอกจากนี้ ยังหมายถึงการบริห ารจัด การที่ ดี ซึ่งสามารถนําไปใช้ ได้ทั้งภาครั ฐและ เอกชน ธรรมที่ใช้ในการบริหารงานนี้มีความหมายอย่างกว้างขวาง กล่าวคือ หาได้มีความหมายเพียงหลักธรรม ทางศาสนาเท่านั้น แต่รวมถึงศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรมและความถูกต้อง ชอบธรรมทั้งปวง ซึ่งวิญญูชนพึงมี และพึงประพฤติปฏิบัติ อาทิ ความโปร่งใสตรวจสอบได้ การปราศจากการแทรกแซงจากองค์การภายนอก เป็น ต้น หลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (good governance) ที่เหมาะสมจะนํามาปรับใช้ใน ภาครัฐอย่างน้อย 10 องค์ประกอบ ดังนี้ 1) หลั กประสิ ทธิ ผ ล (Effectiveness) คื อ ผลการปฏิ บั ติ ราชการที่ บ รรลุ วัต ถุ ป ระสงค์ และ เป้าหมายของแผนการปฏิบัติราชการตามที่ได้รับงบประมาณมาดําเนินการ รวมถึงสามารถ เทียบเคียงกับส่วนราชการหรือหน่วยงานที่มีภารกิจคล้ายคลึงกันและมีผลการปฏิบัติงานใน ระดับชั้นนําของประเทศเพื่อให้เกิดประโยชน์สุขต่อประชาชน โดยการปฏิบัติราชการจะต้องมี ทิศทางยุทธศาสตร์ และเป้าประสงค์ที่ชัดเจน มีกระบวนการปฏิบัติงานและระบบงานที่เป็น มาตรฐาน รวมถึงมีการติดตามประเมินผลและพัฒนา ปรับปรุงอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ 2) หลักประสิทธิภาพ (Efficiency) คือ การบริหารราชการตามแนวทางการกํากับดูแลที่ดีที่มีการ ออกแบบกระบวนการปฏิบัติงานโดยใช้เทคนิคและเครื่องมือการบริหารจัดการที่เหมาะสมให้ องค์การสามารถใช้ทรัพยากรทั้งด้านต้นทุน แรงงานและระยะเวลาให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อ การพัฒนาขีดความสามารถในการปฏิบัติราชการตามภารกิจเพื่อตอบสนองความต้องการของ ประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม 3) หลักการตอบสนอง (Responsiveness) คือ การให้บริการที่สามารถดําเนินการได้ภายใน ระยะเวลาที่กําหนด และสร้างความเชื่อมั่น ความไว้วางใจ รวมถึงตอบสนองความคาดหวัง หรือความต้องการของประชาชนผู้รับบริการ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีความหลากหลายและ มีความแตกต่าง 4) หลักภาระรับผิดชอบ (Accountability) คือ การแสดงความรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่ และผลงานต่อเป้าหมายที่กําหนดไว้ โดยความรับผิดชอบนั้นควรอยู่ในระดับที่สนองต่อความ คาดหวังของสาธารณะ รวมทั้งการแสดงถึงความสํานึกในการรับผิดชอบต่อปัญหาสาธารณะ 5) หลักความโปร่งใส (Transparency) คือ กระบวนการเปิดเผยอย่างตรงไปตรงมา ชี้แจงได้เมื่อ มีข้อสงสั ย และสามารถเข้ า ถึงข้ อมูล ข่ า วสารอัน ไม่ต้ องห้า มตามกฎหมายได้ อย่ างเสรี โดย ประชาชนสามารถรู้ทุกขั้นตอนในการดําเนินกิจกรรมหรือกระบวนการต่างๆ และสามารถ ตรวจสอบได้ 57


คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสาขาวิชา มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา (พ.ศ.2555-2556)

6) หลักการมีส่วนร่วม (Participation) คือ กระบวนการที่ข้าราชการ ประชาชนและผู้มีส่วนได้ ส่วนเสียทุกกลุ่มมีโอกาสได้เข้าร่วมในการรับรู้ เรียนรู้ ทําความเข้าใจ ร่วมแสดงทัศนะ ร่วม เสนอปัญหาหรือ ประเด็นที่สําคัญที่เกี่ยวข้อง ร่วมคิดแนวทาง ร่วมการแก้ไขปัญหา ร่วมใน กระบวนการตัดสินใจ และร่วมกระบวนการพัฒนาในฐานะหุ้นส่วนการพัฒนา 7) หลักการกระจายอํานาจ (Decentralization) คือ การถ่ายโอนอํานาจการตัดสินใจ ทรัพยากร และภารกิจจากส่วนราชการส่วนกลางให้แก่หน่วยการปกครองอื่นๆ1 (ราชการบริหารส่วน ท้องถิ่น) และภาคประชาชนดําเนินการแทนโดยมีอิสระตามสมควร รวมถึงการมอบอํานาจ และความรับผิดชอบในการตัดสินใจและการดําเนินการให้แก่บุคลากร โดยมุ่งเน้นการสร้าง ความพึ ง พอใจในการให้ บ ริ ก ารต่ อ ผู้ รั บ บริ ก ารและผู้ มี ส่ ว นได้ ส่ ว นเสี ย การปรั บ ปรุ ง กระบวนการ และเพิ่มผลิตภาพเพื่อผลการดําเนินงานที่ดีของส่วนราชการ 8) หลักนิติธรรม (Rule1of1Law) คือ การใช้อํานาจของกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับในการ บริหารราชการด้วยความเป็นธรรม ไม่เลือกปฏิบัติ และคํานึงถึงสิทธิเสรีภาพของผู้มีส่วนได้ ส่วนเสีย 9) หลักความเสมอภาค (Equity) คือ การได้รับการปฏิบัติและได้รับบริการอย่างเท่าเทียมกันโดย ไม่มีการแบ่งแยกด้าน ชายหรือหญิง ถิ่นกําเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพ ทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษา การฝึกอบรม และอื่นๆ 10) หลักมุ่งเน้นฉันทามติ (Consensus Oriented) คือ การหาข้อตกลงทั่วไปภายในกลุ่มผู้มีส่วนได้ ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นข้อตกลงที่เกิดจากการใช้กระบวนการเพื่อหาข้อคิดเห็นจากกลุ่ม บุคคลที่ได้รับประโยชน์และเสียประโยชน์ โดยเฉพาะกลุ่มที่ได้รับผลกระทบโดยตรงซึ่งต้อง ไม่มีข้อคัดค้านที่ยุติไม่ได้ในประเด็นที่สําคัญ โดยฉันทามติ ไม่จําเป็นต้องหมายความว่าเป็น ความเห็นพ้องโดยเอกฉันท์ เกณฑ์มาตรฐาน: ข้อ 1. หัวหน้าสาขาวิชาหรือทีมผู้บริหารสาขาวิชาปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายกําหนดครบถ้วน และมีการประเมิน การบริหารงานของหัวหน้าสาขาวิชาหรือทีมผู้บริหารสาขาวิชาโดยการมีส่วนร่วมของบุคลากรในสาขาวิชา 2. หัวหน้าสาขาวิชาหรือทีมผู้บริหารสาขาวิชามีการกําหนดทิศทางการดําเนินงานและสามารถถ่ายทอดไปยัง บุคลากรทุกระดับ มีการนําข้อมูลสารสนเทศเป็นฐานในการปฏิบัติงานและพัฒนาสาขาวิชา 3. หั ว หน้ า สาขาวิ ช าหรื อ ที ม ผู้ บ ริ ห ารสาขาวิ ช ามี ก ารกํ า กั บ ติ ด ตามและประเมิ น ผลการดํ า เนิ น งานตามที่ มอบหมาย รวมทั้งสามารถสื่อสารแผนปฏิบัติงานประจําปีและผลการดําเนินงานของสาขาวิชาไปยังบุคลากร ในสาขาวิชา 4. หัวหน้าสาขาวิชาหรือทีมผู้บริหารสาขาวิชาบริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาล โดยคํานึงถึงประโยชน์ของ สาขาวิชาและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 5. หัวหน้าสาขาวิชาหรือทีมผู้บริหารสาขาวิชาประเมินผลการบริหารงานของตนเอง และนําผลการประเมินไป ปรับปรุงการบริหารงานอย่างเป็นรูปธรรม

58


คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสาขาวิชา มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา (พ.ศ.2555-2556)

เกณฑ์การประเมิน : คะแนน 1 คะแนน 2 มีดําเนินการ 1 ข้อ มีดําเนินการ 2 ข้อ

คะแนน 3 มีดําเนินการ 3 ข้อ

คะแนน 4 มีดําเนินการ 4 ข้อ

คะแนน 5 มีดําเนินการ 5 ข้อ

ตัวบ่งชี้ 7.2 : กระบวนการจัดการความรู้ ชนิดของตัวบ่งชี้ : กระบวนการ (P) การคิดรอบปี : ปีการศึกษา คําอธิบาย : การจัดการความรู้ (Knowledge Management, KM) เป็นกิจกรรมเพื่อมุ่งสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ โดย การรวบรวมความรู้ที่สะสมอยู่ในตัวบุคลากรหรือประสบการณ์จากการทํางาน (tacit knowledge) และ เอกสารต่างๆ (explicit knowledge) มาสร้างเป็นคลังความรู้ (knowledge asset) หรือแนวทางปฏิบัติ (good practice) ที่บุคคลที่เกี่ยวข้องทั้งในและนอกสาขาวิชาได้นําไปทดลองปฏิบัติหรือยึดถือปฏิบัติสําหรับ การทํางานที่มีประสิทธิภาพ กิจกรรมการจัดการความรู้ได้แก่ การระบุประเด็นความรู้ การกําหนดวิธีการจัด กิจกรรมเช่น การเล่าประสบการณ์ที่ดี/แบบอย่างที่ดี (Springboard storytelling), การทบทวนหลังปฏิบัติการ หรือการถอดบทเรียน (After Action Review : AAR), การจัดเวทีเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (dialogue), หรือ การสร้างชุมชนนักปฏิบัติ (Community of Practice: CoP) เป็นต้น การรวบรวมและจัดเก็บความรู้ในรูปของ คลังความรู้หรือแนวทางปฏิบัติ การเผยแพร่คลังความรู้หรือแนวทางปฏิบัติ การนับการเข้าร่วมกิจกรรมการจัดการความรู้ ให้นับกิจกรรมการจัดการความรู้ที่สาขาวิชา คณะ หรือ มหาวิทยาลัยจัดดําเนินการ ในประเด็นการผลิตบัณฑิตและการวิจัย เกณฑ์มาตรฐาน: เชิงคุณภาพ คิดเป็นข้อ 1. บุคลากรในสาขาวิชามีส่วนร่วมในการจัดทําแผนหรือดําเนินการจัดการความรู้กับคณะ 2. อาจารย์ในสาขาวิชาเข้าร่วมกิจกรรม/โครงการการจัดการความรู้ในด้านการผลิตบัณฑิต 3. อาจารย์ในสาขาวิชาเข้าร่วมกิจกรรม/โครงการการจัดการความรู้ในด้านการวิจัย 4. มีการเผยแพร่องค์ความรู้ที่ได้จากการจัดการความรู้ให้กับบุคลากรในสาขาวิชา 5. มีการนําความรู้จากการจัดการความรู้ในปีการศึกษาปัจจุบันหรือปีการศึกษาที่ผ่านมาที่เป็นลายลักษณ์ อักษรมาปรับใช้ในการปฏิบัติงานจริง เกณฑ์การประเมิน : คะแนน 1 คะแนน 2 ดําเนินการ 1 ข้อ ดําเนินการ 2 ข้อ

คะแนน 3 ดําเนินการ 3 ข้อ

59

คะแนน 4 ดําเนินการ 4 ข้อ

คะแนน 5 ดําเนินการ 5 ข้อ


คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสาขาวิชา มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา (พ.ศ.2555-2556)

ตัวบ่งชี้ 7.3

: อาจารย์ประจําหลักสูตรมีส่วนร่วมในการประชุมเพื่อวางแผน ติดตามและทบทวนการ ดําเนินงานหลักสูตร ชนิดของตัวบ่งชี้ : ผลลัพธ์ (O) การคิดรอบปี : ปีการศึกษา คําอธิบาย : สถาบันอุดมศึกษามีหน้าที่พัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับปรัชญา ปณิธาน วิสัยทัศน์ พันธกิจและ ความพร้อมของหน่วยงานและสถาบัน ตลอดจนสอดคล้องกับความต้องการด้านวิชาการและวิชาชีพของสังคม ซึ่งอาจารย์ประจําหลักสูตรมีส่วนสําคัญอย่างยิ่งในการวางแผน ติดตามและทบทวนการดําเนินงานของหลักสูตร ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เกณฑ์การประเมิน แปลงค่ าร้ อยละของอาจารย์ ประจํ าหลักสู ตรที่มีส่ว นร่ วมในการประชุ มเพื่อวางแผน ติด ตาม และ ทบทวนการดําเนินงานของหลักสูตรเป็นคะแนนระหว่าง 0 -5 โดยค่าร้อยละของอาจารย์ประจําหลักสูตรที่มี ส่วนร่วมในการประชุมเพื่อวางแผน ติดตาม และทบทวนการดําเนินงานของหลักสูตร ที่กําหนดให้เป็นคะแนน เต็ม 5 = ร้อยละ 80 ขึ้นไป วิธีการคํานวณ คํานวณค่าร้อยละอาจารย์ประจําหลักสูตรที่มีส่วนร่วมในการประชุมเพื่อวางแผน ติดตามและทบทวน การดําเนินงานของหลักสูตรเท่ากับ จํานวนอาจารย์ประจําหลักสูตรที่มีส่วนร่วมในการ ประชุมเพื่อวางแผน ติดตามและทบทวนการ x 100 ดําเนินงานหลักสูตร จํานวนอาจารย์ประจําหลักสูตรทั้งหมด แปลงค่าร้อยละที่คํานวณได้ในข้อ 1 เทียบกับคะแนนเต็ม 5 คะแนนที่ได้ เท่ากับ ร้อยละอาจารย์ประจําหลักสูตรที่มีส่วนร่วมในการประชุมเพื่อวางแผน ติดตามและ ทบทวนการดําเนินงานหลักสูตร 80

x 5

ข้อมูลที่ต้องการ 1. รายชื่ออาจารย์ประจําหลักสูตร 2. รายงานการประชุมอาจารย์ประจําหลักสูตร ซึ่งแสดงรายชื่ออาจารย์ผู้เข้าร่วมประชุม โดยจัดประชุม อาจารย์ประจําหลักสูตรอย่างน้อยภาคการศึกษาละ 2 ครั้ง 3. รายงานสรุปจํานวนอาจารย์ประจําหลักสูตรที่มีส่วนร่วมในการประชุมเพื่อวางแผน ติดตาม และ ทบทวนการดําเนินงานหลักสูตร ในแต่ละปีการศึกษา 60


คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสาขาวิชา มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา (พ.ศ.2555-2556)

ตัวบ่งชี้ 7.4 : อาจารย์ใหม่ (ถ้ามี) ทุกคน ได้รับการปฐมนิเทศหรือคําแนะนําด้านการจัดการเรียนการสอน ชนิดของตัวบ่งชี้ : ผลลัพธ์ (O) การคิดรอบปี : ปีการศึกษา คําอธิบาย การจัดการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ จําเป็นต้องมีการบริหารและพัฒนาอาจารย์อย่าง เหมาะสม โดยเฉพาะอาจารย์ใหม่ ซึ่งจําเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับการปฐมนิเทศและคําแนะนําด้านการจัดการ เรียนการสอนให้สามารถเตรียมแผนการสอน วิธีการสอน สื่อการสอน และการประเมินผลการเรียนรู้ได้อย่าง เหมาะสมก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียน เกณฑ์การประเมิน แปลงค่าร้อยละของอาจารย์ใหม่ที่ได้รับการปฐมนิเทศหรือคําแนะนําด้านการจัดการเรียนการสอนเป็น คะแนนระหว่าง 0 – 5 โดยค่าร้อยละของอาจารย์ใหม่ที่ได้รับการปฐมนิเทศหรือคําแนะนําด้านการจัดการเรียน การสอน ที่กําหนดให้เป็นคะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 100 วิธีการคํานวณ 1. คํานวณค่าร้อยละของอาจารย์ใหม่ที่ได้รับการปฐมนิเทศหรือคําแนะนําด้านการจัดการเรียนการสอน เท่ากับ จํานวนอาจารย์ใหม่ที่ได้รับการปฐมนิเทศหรือ คําแนะนําด้านการจัดการเรียนการสอน

x 100

จํานวนอาจารย์ใหม่ทั้งหมด แปลงค่าร้อยละที่คํานวณได้ในข้อ 1 เทียบกับคะแนนเต็ม 5 คะแนนที่ได้ เท่ากับ ร้อยละอาจารย์ใหม่ที่ได้รับการปฐมนิเทศหรือ คําแนะนําด้านการจัดการเรียนการสอน 100

x5

ข้อมูลที่ต้องการ 1. รายงานจํานวนและรายชื่ออาจารย์ใหม่แต่ละคณะในปีการศึกษา 2. รายงานสรุปจํานวนอาจารย์ใหม่ที่เข้าร่วมการปฐมนิเทศหรือคําแนะนําด้านการจัดการเรียนการสอนใน แต่ละปีการศึกษา 3. รายงานสรุปโครงการปฐมนิเทศหรือโครงการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

61


คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสาขาวิชา มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา (พ.ศ.2555-2556)

ตัวบ่งชี้ 7.5

: อาจารย์ประจําหลักสูตรทุกคนได้รับการพัฒนาทางวิชาการและ/หรือวิชาชีพอย่างน้อยปี ละ 1 ครั้ง ชนิดของตัวบ่งชี้ : ผลลัพธ์ (O) การคิดรอบปี : ปีการศึกษา คําอธิบาย การจัดการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ จําเป็นต้องมีการบริหารและพัฒนาอาจารย์อย่าง เหมาะสม ทั้ ง ในด้ า นวิ ช าการและวิ ช าชี พ อาจารย์ ทุ ก คนจึ ง ควรแสวงหาและพั ฒ นาตนเองให้ มี ค วามรู้ ความสามารถในด้านวิชาการหรือวิชาชีพ อย่างสม่ําเสมอ เพื่อนําความรู้ที่ได้ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน และถ่ายทอดให้กับนักศึกษาต่อไป เกณฑ์การประเมิน แปลงค่าร้อยละของอาจารย์ประจําที่ได้รับการพัฒนาทางวิชาการ และ/หรือวิชาชีพ อย่างน้อยปีละ หนึ่งครั้งเป็นคะแนนระหว่าง 0 – 5 โดยค่าร้อยละของอาจารย์ประจําที่ได้รับการพัฒนาทางวิชาการ และ/หรือ วิชาชีพ อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง ที่กําหนดให้เป็นคะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 100 วิธีการคํานวณ คํานวณค่าร้อยละของอาจารย์ประจําที่ได้รับการพัฒนาทางวิชาการ และ/หรือวิชาชีพ อย่างน้อยปีละ หนึ่งครั้งเท่ากับ จํานวนอาจารย์ประจําที่ได้รับการพัฒนาทาง วิชาการและ/หรือวิชาชีพอย่างน้อยปีละ1ครั้ง

x 100

จํานวนอาจารย์ประจําทั้งหมด แปลงค่าร้อยละที่คํานวณได้ในข้อ 1 เทียบกับคะแนนเต็ม 5 คะแนนที่ได้ เท่ากับ ร้อยละของอาจารย์ประจําที่ได้รับการพัฒนาทาง วิชาการและ/หรือวิชาชีพอย่างน้อยปีละ1ครั้ง 100

x5

ข้อมูลที่ต้องการ 1. รายงานจํานวน และรายชื่ออาจารย์ประจําทั้งหมดในหน่วยงานในปีการศึกษา 2. รายงานสรุปจํานวนอาจารย์ประจําที่ได้รับการพัฒนาทางวิชาการและ/หรือวิชาชีพ ในแต่ละปี การศึกษา 3. เอกสาร/หลักฐานการเข้าร่วมโครงการพัฒนาทางวิชาการและ/หรือวิชาชีพของอาจารย์ประจําแต่ละ คน

62


คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสาขาวิชา มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา (พ.ศ.2555-2556)

ตัวบ่งชี้ 7.6

: จํานวนบุคลากรสนับสนุนการเรียนการสอน (ถ้ามี) ที่ได้รับการพัฒนาวิชาการ และ/หรือ วิชาชีพไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ต่อปี ชนิดของตัวบ่งชี้ : ผลลัพธ์ (O) การคิดรอบปี : ปีการศึกษา คําอธิบาย การจั ด การเรี ย นการสอนโดยเน้ น ผู้ เ รี ย นเป็ น สํ า คั ญ จํ า เป็ น ต้ องมี การบริ ห ารจั ด การที่ ดี บุ คลากร สนับสนุนการเรียนการสอนนับว่ามีสําคัญในการขับเคลื่อนให้การเรียนการสอนเป็นไปอย่างเรียบร้อย จึงมีความ จําเป็นที่บุคลากรสนับสนุนการเรียนการสอนต้องได้รับการพัฒนาทางด้านวิชาการและ/หรือวิชาชีพ เป็นประจํา ทุกปี เพื่อนําความรู้ที่ได้มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์กับการทํางานต่อไป เกณฑ์การประเมิน แปลงค่าร้อยละของจํานวนบุคลากรสนับสนุนการเรียนการสอนที่ได้รับการพัฒนาทางวิชาการและ/ หรือวิชาชีพ เป็นคะแนนระหว่าง 0 – 5 โดยค่าร้อยละของจํานวนบุคลากรสนับสนุนการเรียนการสอนที่ได้รับ การพัฒนาวิชาการและ/หรือวิชาชีพ ที่กําหนดให้เป็นคะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 50 วิธีการคํานวณ คํานวณค่าร้อยละของจํานวนบุคลากรสนับสนุนการเรียนการสอนที่ได้รับการพัฒนาวิชาการและ/หรือ วิชาชีพเท่ากับ จํานวนบุคลากรสนับสนุนการเรียนการสอนที่ได้รับ การพัฒนาทางวิชาการและ/หรือวิชาชีพ อย่างน้อย ปีละ1ครั้ง x 100 จํานวนบุคลากรสายสนับสนุนการเรียนการสอน ทั้งหมด แปลงค่าร้อยละที่คํานวณได้ในข้อ 1 เทียบกับคะแนนเต็ม 5 คะแนนที่ได้ เท่ากับ ร้อยละของบุคลากรสนับสนุนการเรียนการสอนที่ ได้รับการพัฒนาทางวิชาการและ/หรือวิชาชีพ x5 อย่างน้อยปีละ1ครั้ง 50 ข้อมูลที่ต้องการ 1. รายงานจํานวน และรายชื่อบุคลากรสนับสนุนการเรียนการสอน ในปีการศึกษา 2. รายงานสรุปจํานวนบุคลากรสนับสนุนการเรียนการสอนที่ได้รับการพัฒนาทางวิชาการและ/หรือ วิชาชีพ ในปีการศึกษา 3. เอกสาร/หลักฐานการเข้าร่วมโครงการพัฒนาทางวิชาการ และ/หรือวิชาชีพของบุคลากรสนับสนุนการ เรียนการสอนแต่ละคน 63


คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสาขาวิชา มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา (พ.ศ.2555-2556)

องค์ประกอบที่ 9 ระบบและกลไกการประกันคุณภาพ หลักการ ระบบและกลไกในการประกันคุณภาพการศึกษาภายในเป็นปัจจัยสําคัญที่แสดงถึงศักยภาพการพัฒนา คุ ณ ภาพของสถาบั น อุ ด มศึ ก ษา โดยต้ อ งครอบคลุ ม ทั้ ง ปั จ จั ย นํ า เข้ า กระบวนการ ผลผลิ ต ผลลั พ ธ์ และ ผลกระทบที่เกิดขึ้น หน่วยงานจะต้องพัฒนาระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาภายในอย่างต่อเนื่อง และมี ก ระบวนการจั ด การความรู้ เพื่ อ ให้ เ กิ ด นวั ต กรรมด้ า นการประกั น คุ ณ ภาพการศึ ก ษาภายในที่ เ ป็ น ลักษณะเฉพาะของหน่วยงาน

มาตรฐานและเอกสารที่เกี่ยวข้อง 1. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 สํานักงาน เลขาธิการคณะกรรมการบริหารการศึกษา 2. กรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปี ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2551-2565) สํานักงานคณะกรรมการการ อุดมศึกษา 3. กฎกระทรวงว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2553 4. มาตรฐานการศึกษาของชาติ พ.ศ. 2547 สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา 5. มาตรฐานการอุดมศึกษา พ.ศ. 2549 สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 6. มาตรฐานสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2551 สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 7. กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 (Thai Qualification Framework for Higher Education) (TQF : HEd.) สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 8. เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2548 สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 9. มาตรฐานการประเมินคุณภาพภายนอกระดับอุดมศึกษารอบสาม พ.ศ. 2553 สํานักงานรับรอง มาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) (สมศ.) 10. ปรัชญา และปณิธานของมหาวิทยาลัยอิสลามยะลา และของหน่วยงาน 11. แผนยุทธศาสตร์ 15 ปี (พ.ศ. 2553–2567) มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา

ตัวบ่งชี้ จํานวน 1 ตัวบ่งชี้ คือ 9.1 (P) ระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน

64


คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสาขาวิชา มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา (พ.ศ.2555-2556)

ตัวบ่งชี้ 9.1 : ระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ชนิดของตัวบ่งชี้ : กระบวนการ (P) คําอธิบาย : การประกันคุณภาพการศึกษาภายในเป็นภารกิจของมหาวิทยาลัยตามที่กําหนดไว้ในพระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 ซึ่งมหาวิทยาลัยต้องระบบและกลไกการ ควบคุม ตรวจสอบ ประเมินและพัฒนาการดําเนินงานของมหาวิทยาลัยให้เป็นไปตามนโยบาย เป้าประสงค์ และระดั บ คุ ณภาพตามมาตรฐานที่ กํา หนดโดยมหาวิ ทยาลั ย และหน่ ว ยงานต้ น สั งกั ด ตลอดจนหน่ ว ยงาน ที่เกี่ยวข้อง มีการวัด ผลสําเร็จของการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน รวมทั้งการรายงานผลการประกั น คุณภาพต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเปิดเผยต่อสาธารณชน มีการประเมินและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง และ มีนวัตกรรมที่เป็นแบบอย่างที่ดี สําหรับหน่วยงานถือว่าการประกันคุณภาพการศึกษาภายในเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหาร การศึกษาที่ต้ องดํา เนินการอย่า งต่อเนื่องตามระบบและกลไกของมหาวิทยาลัย และของหน่ว ยงานที่มีการ กําหนดขึ้น ซึ่งประกอบด้วยการควบคุม ตรวจสอบ ประเมินและพัฒนาการดําเนินงานอย่างต่อเนื่อง โดยมีการ สร้างจิตสํานึกให้เห็นว่าเป็นความรับผิดชอบร่วมกันของทุกคนในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ทั้งนี้ เพื่อเป็น หลักประกันแก่สาธารณชนให้มั่นใจได้ว่าหน่วยงานและมหาวิทยาลัยสามารถสร้างผลผลิตทางการศึกษาที่มี คุณภาพ เกณฑ์มาตรฐาน: ข้อ 1. มีการกําหนดนโยบายและให้ความสําคัญเรื่องการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน โดยหัวหน้าสาขาวิชา ภายใต้การมีส่วนร่วมของบุคลากรในสาขาวิชาทุกคน 2. มีระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาภายในที่เหมาะสมกับระดับการพัฒนาของสาขาวิชา และ ดําเนินการตามระบบที่กําหนด 3. มีการนําผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในมาปรับปรุงการทํางาน และส่งผลให้มีการพัฒนาผลการ ดําเนินงานตามตัวบ่งชี้ของแผนปฏิบัติการประจําปีของสาขาวิชาอย่างน้อยใน 2 พันธกิจหลัก ได้แก่ ด้าน การเรียนการสอนและการพัฒนานักศึกษา และด้านงานวิจัย 4. ผลประเมินการประกันคุณภาพภายในของสาขาวิชารับรองโดยต้นสังกัดมีพัฒนาการจากปีการศึกษาที่ผ่าน มา 5. บุคลากรในสาขาวิชาทุกคนให้การสนับสนุนกิจกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาของสาขาวิชา คณะและ หรือมหาวิทยาลัย โดยมีส่วนร่วมในลักษณะต่างๆ ได้แก่ การเข้าร่วมอบรม/ประชุม/ประชาพิจารณ์ด้านการ ประกันคุณภาพการศึกษา ร่วมเป็นผู้ประเมินและ/หรือผู้ประสานงานในการประเมินระดับสาขาวิชา/คณะ/ มหาวิทยาลัย หรือร่วมเป็นกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาระดับต่างๆ 6. มีแนวปฏิ บัติ ที่ดี ห รื องานวิ จั ยด้ า นการประกั น คุณภาพการศึ กษาที่ส าขาวิ ชาพั ฒ นาขึ้น และเผยแพร่ ให้ หน่วยงานนอกสาขาวิชาสามารถนําไปใช้ประโยชน์ เกณฑ์การประเมิน : คะแนน 1 มีการดําเนินการ 1 ข้อ

คะแนน 2 มีการดําเนินการ 2 ข้อ

คะแนน 3 มีการดําเนินการ 3 ข้อ 65

คะแนน 4 มีการดําเนินการ 4 ข้อ

คะแนน 5 มีการดําเนินการ 5 หรือ 6 ข้อ


คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสาขาวิชา มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา (พ.ศ.2555-2556)

บรรณานุกรม สํ า นั ก งานคณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษา. คู่ มื อ การประกั น คุ ณ ภาพการศึ ก ษาภายในสถานศึ ก ษา ระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ : สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา, 2553. สํา นั กงานรับ รองมาตรฐานและประเมิน คุ ณภาพการศึ กษา (องค์ การมหาชน). คู่มือการประเมิ น คุณ ภาพ ภายนอกรอบสาม (พ.ศ. 2554-2558) ระดั บ อุ ด มศึ ก ษา ฉบั บ สถานศึ ก ษา (แก้ ไ ขเพิ่ ม เติ ม พฤศจิกายน 2554. กรุงเทพฯ : สํานักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การ มหาชน), 2554.

66


คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสาขาวิชา มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา (พ.ศ.2555-2556)

ภาคผนวก คําชี้แจงในการนําตัวบ่งชี้ไปใช้ประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน 1. การประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับกลุ่มสาขาวิชาหรือหน่วยงานเทียบเท่าที่มีการเรียนการ สอนให้คณะหรือหน่วยงานเลือกตัวบ่งชี้ที่จะนําไปใช้ให้สอดคล้องกับบริบท โครงสร้าง และระบบการบริหาร และปรับข้อความในตัวบ่งชี้และเกณฑ์มาตรฐานให้สอดคล้องกับระดับของหน่วยงานที่รับการประเมิน 2. อาจารย์ประจํา หมายถึง บุคลากรที่มีสัญญาจ้างกับมหาวิทยาลัยทั้งปีการศึกษา ซึ่งมีหน้าที่ความ รับผิดชอบตามพันธกิจหลักของมหาวิทยาลัย 3. นักวิจัยประจํา หมายถึง บุคลากรที่มีสัญญาจ้างกับมหาวิทยาลัยทั้งปีการศึกษา ที่มีตําแหน่งเป็น เจ้าหน้าที่วิจัยหรือนักวิจัย 4. การนับจํานวนอาจารย์ประจําและนักวิจัยประจํา ให้นับระยะเวลาการทํางาน ดังนี้ 9 – 12 เดือน คิดเป็น 1 คน 6 เดือนขึ้นไปแต่ไม่ถึง 9 เดือน คิดเป็น 0.5 คน น้อยกว่า 6 เดือน ไม่สามารถนํามานับได้ 5. ตัวบ่งชี้ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ตัวบ่งชี้เชิงคุณภาพและตัวบ่งชี้เชิงปริมาณ ดังนี้ 5.1 ตัวบ่งชี้เชิงคุณภาพจะระบุเกณฑ์มาตรฐานเป็นข้อๆ กําหนดเกณฑ์การประเมินตัวบ่งชี้เป็น 5 ระดับ มีคะแนนตั้งแต่ 1 ถึง 5 การประเมินจะนับจํานวนข้อและระบุว่าผลการดําเนินงานได้กี่ข้อ ได้คะแนน เท่าใด กรณีที่ไม่ดําเนินการใดๆ หรือดําเนินการไม่ครบที่จะได้ 1 คะแนน ให้ถือเป็นว่าได้ 0 คะแนน 5.2 ตัวบ่งชี้เชิงปริมาณอยู่ในรูปของร้อยละหรือค่าเฉลี่ย กําหนดเกณฑ์การประเมินเป็นคะแนน ระหว่าง 1 ถึง 5 โดยเป็นค่าต่อเนื่อง (มีจุดทศนิยม) 6. การแปลงค่าร้อยละหรือค่าเฉลี่ยเป็นคะแนน 6.1 ผลการดําเนินงานเท่ากับหรือสูงกว่าค่าร้อยละหรือค่าเฉลี่ยที่กําหนดให้เป็นคะแนน 5 จะได้ คะแนน 5 6.2 ผลการดําเนินงานต่ํากว่าค่าร้อยละหรือค่าเฉลี่ยที่กําหนดให้เป็นคะแนน 5 คํานวณคะแนนที่ได้ ดังนี้ ค่าร้อยละที่ได้จากผลการดําเนินงาน ร้อยละที่กําหนดให้เป็นคะแนนเต็ม 5

x 5 = คะแนนที่ได้

7. ข้อปฏิบัติเรื่องจุดทศนิยม การคํ า นวณค่ า ร้ อยละ ค่ า เฉลี่ ย และค่ า คะแนนให้ ใช้ ทศนิ ย ม 2 ตํ า แหน่ ง โดยการปั ด ทศนิ ย ม ตําแหน่งที่ 3 ตามหลักการปัดทศนิยม (ตั้งแต่เลข 5 ขึ้นไปปัดขึ้น) เช่น 72.364 เป็น 72.36 3.975 เป็น 3.98 67


คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสาขาวิชา มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา (พ.ศ.2555-2556)

8. เกณฑ์การประเมินตัวบ่งชี้เป็นแบบ 5 ระดับ มีคะแนนตั้งแต่ 1 ถึง 5 กรณีที่ไม่ดําเนินการใดๆ หรือ ดําเนินการไม่ครบที่จะได้ 1 คะแนน ให้ได้ 0 คะแนน โดยมีความหมายของคะแนน ดังนี้ คะแนน 0.00 – 1.50 หมายถึง การดําเนินงานต้องปรับปรุงเร่งด่วน คะแนน 1.51 – 2.50 หมายถึง การดําเนินงานต้องปรับปรุง คะแนน 2.51 – 3.50 หมายถึง การดําเนินงานระดับพอใช้ คะแนน 3.51 – 4.50 หมายถึง การดําเนินงานระดับดี คะแนน 4.51 – 5.00 หมายถึง การดําเนินงานระดับดีมาก

นิยามศัพท์ที่ใช้ในตัวบ่งชี้ กระบวนการเรียนรู้ที่เน้น ผู้เ รียนเป็ นสํ าคัญ หมายถึง การจั ดการศึ กษาที่ถือว่ าผู้เ รีย นสํา คัญ ที่สุ ด เป็นกระบวนการจัดการศึกษาที่ต้องเน้นให้ผู้เรียนแสวงหาความรู้ และพัฒนาความรู้ได้ด้วยตนเอง หรือรวมทั้ง มีการฝึกและปฏิบัติในสภาพจริงของการทํางาน มีการเชื่อมโยงสิ่งที่เรียนกับสังคมและการประยุกต์ใช้ มีการจัด กิจกรรมและกระบวนการให้ผู้เรียนได้คิด วิเคราะห์ สังเคราะห์ ประเมินและสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ นอกจากนี้ต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ โดยสะท้อนจาก การที่นักศึกษาสามารถเลือกเรียนรายวิชา หรือเลือกทําโครงงานหรือชิ้นงานในหัวข้อที่สนใจในขอบเขตเนื้อหา ของวิชานั้นๆ รูปแบบการจัดการเรียนรู้ในระดับอุดมศึกษาตามแนวทางเน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ ซึ่งมุ่งพัฒนาความรู้ และทักษะทางวิชาชีพ ทักษะชีวิตและทักษะสังคม มีปรากฏในวงการศึกษาไทยหลายรูปแบบ ตัวอย่างเช่น 1) การเรียนรู้จากกรณีปัญหา (Problem-based Learning : PBL) 2) การเรียนรู้เป็นรายบุคคล (Individual Study) 3) การเรียนรู้แบบสรรคนิยม (Constructivism) 4) การเรียนรู้แบบแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง (Self-Study) 5) การเรียนรู้จากการทํางาน (Work-based Learning) 6) การเรียนรู้ที่เน้นการวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ (Research–based Learning) 7) การเรียนรู้ที่ใช้วิธีสร้างผลงานจากการตกผลึกทางปัญญา (Crystal-based Approach) การบูรณาการ (Integration) หมายถึง การผสมกลมกลืนของแผน กระบวนการ สารสนเทศ การจัดสรร ทรัพยากร การปฏิบัติการ ผลลัพธ์ และการวิเคราะห์ เพื่อสนับสนุนเป้าประสงค์ที่สําคัญของหน่วยงานหรือ มหาวิทยาลัย (organization-wide goal) การบูรณาการที่มีประสิทธิผล เป็นมากกว่าความสอดคล้องไปใน แนวทางเดียวกัน (alignment) ซึ่งการดําเนินการของแต่ละองค์ประกอบภายใน ระบบการจัดการ ผลการ ดําเนินการมีความเชื่อมโยงกันเป็นหนึ่งเดียวอย่างสมบูรณ์ การเผยแพร่ผลงานวิจัยในที่ประชุมวิชาการระดับชาติ หมายถึง การนําเสนอบทความวิจัยในที่ประชุม วิชาการ และบทความฉบับสมบูรณ์ (Full paper) ได้รับการตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุม (Proceedings) โดยมีกองบรรณาธิการจัดทํารายงานฯ หรือคณะกรรมการจัดประชุม ประกอบด้วยศาสตราจารย์ หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ระดับปริญญาเอก หรือผู้ทรงคุณวุฒิที่มีผลงานเป็นที่ยอมรับในสาขาวิชานั้นๆ จากนอกสถาบันเจ้าภาพอย่างน้อย ร้อยละ 25 และมีผู้ประเมินบทความที่เป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้นจากนอกสถาบันของเจ้าของบทความ 68


คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสาขาวิชา มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา (พ.ศ.2555-2556)

การเผยแพร่ผลงานวิจัยในที่ประชุมวิชาการระดับนานาชาติ หมายถึง การนําเสนอบทความวิจัยในที่ ประชุมวิชาการ และบทความฉบับสมบูรณ์ (Full paper) ได้รับการตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุม (Proceedings) โดยมีกองบรรณาธิการจัดทํารายงานฯ หรือคณะกรรมการจัดประชุม ประกอบด้วยศาสตราจารย์ หรือผู้ทรงคุณวุฒิระดับปริญญาเอก หรือผู้ทรงคุณวุฒิที่มีผลงานเป็นที่ยอมรับในสาขาวิชานั้นๆ จากต่างประเทศ อย่างน้อยร้อยละ 25 และมีผู้ประเมินบทความที่เป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้นจากต่างประเทศ การให้บริก ารทางวิ ชาการแก่สังคม หมายถึ ง กิจ กรรมหรื อโครงการให้บ ริการแก่ สังคมภายนอก มหาวิทยาลัย หรือเป็นการให้บริการที่จัดในมหาวิทยาลัยโดยมีบุคคลภายนอกเข้ามาใช้บริการ การให้อํานาจในการตัดสินใจ หมายถึง การให้อํานาจและความรับผิดชอบในการตัดสินใจและในการ ปฏิบัติแก่ผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งเป็นผู้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับงาน เพื่อให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล งานวิจัย หมายถึง กระบวนการที่มีระเบียบแบบแผนในการค้นหาคําตอบของปัญหา หรือการเสาะ แสวงหาความรู้ใหม่ ตลอดจนถึงการประดิษฐ์คิดค้นที่ผ่านกระบวนการศึกษา ค้นคว้าหรือทดลอง วิเคราะห์และ ตีความข้อมูลตลอดจนสรุปผลอย่างเป็นระบบ งานสร้ า งสรรค์ หมายถึ ง ผลงานวิ ช าการ (ไม่ จํ า เป็ น ต้ อ งเป็ น งานวิ จั ย ) ที่ มี ก ารศึ ก ษา ค้ น คว้ า ที่แสดงออกทางศิลปะหรือดนตรีอันเป็นที่ยอมรับ (นิยามศัพท์ สกอ.) งานสร้างสรรค์ หมายถึง ผลงานศิลปะและสิ่งประดิษฐ์ประเภทต่างๆที่มีความเป็นนวัตกรรม โดยมี การศึกษาค้นคว้าอย่างเป็นระบบที่เหมาะสมตามประเภทของงานศิลปะซึ่งมีแนวทางการทดลองหรือการพัฒนา จากแนวคิดสร้างสรรค์เดิมเพื่อเป็นต้นแบบหรือความสามารถในการบุกเบิกศาสตร์อันก่อให้เกิดคุณค่าทาง สุนทรีย์และคุณประโยชน์ที่เป็นที่ยอมรับในวงวิชําชีพ ตามการจัดกลุ่มศิลปะของอาเซียน งานสร้างสรรค์ทาง ศิลปะ ได้แก่ (๑) ทัศนศิลป์ (Visual Arts) ประกอบด้วย ผลงานด้านจิตรกรรม ประติมากรรม ภาพพิมพ์ ภาพถ่ า ย ภาพยนตร์ สื่ อ ประสม สถาปั ต ยกรรมและงานออกแบบประเภทอื่ น ๆ (๒) ศิ ล ปะการแสดง (Performing Arts) ประกอบด้วย ดุริยางคศิลป์ นาฏยศิลป์ รวมถึงการแสดงรูปแบบต่างๆ และ (๓) วรรณศิลป์ (Literature) ซึ่งประกอบด้วย บทประพันธ์และกวีนิพนธ์รูปแบบต่างๆ (นิยามศัพท์ สมศ.) จรรยาบรรณนักวิจัย หมายถึง หลักเกณฑ์ควรประพฤติปฏิบัติของนักวิจัยทั่วไป เพื่อให้การดําเนินงาน วิจัยตั้งอยู่บนพื้ นฐานของจริย ธรรมและหลั กวิชาการที่เหมาะสม ตลอดจนประกันมาตรฐานของการศึกษา ค้นคว้าให้เป็นไปอย่างสมศักดิ์ศรีและเกียรติภูมิของนักวิจัย ดังนี้ 1) นักวิจัยต้องซื่อสัตย์และมีคุณธรรมในทางวิชาการและการจัดการ 2) นั กวิ จั ย ต้ อ งตระหนั กถึ งพั น ธกรณี ใ นการทํ า วิ จั ย ตามข้ อ ตกลงที่ ทํ าไว้ กั บ หน่ ว ยงานที่ ส นั บ สนุ น การวิจัยและต่อหน่วยงานที่ตนสังกัด 3) นักวิจัยต้องมีพื้นฐานความรู้ในสาขาวิชาการที่ทําวิจัย 4) นักวิจัยต้องมีความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ศึกษาวิจัย ไม่ว่าจะเป็นสิ่งมีชีวิตหรือไม่มีชีวิต 5) นักวิจัยต้องเคารพศักดิ์ศรี และสิทธิของมนุษย์ที่ใช้เป็นตัวอย่างในการวิจัย 6) นักวิจัยต้องมีอิสระทางความคิด โดยปราศจากอคติในทุกขั้นตอนของการทําวิจัย 7) นักวิจัยพึงนําผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในทางที่ชอบ 8) นักวิจัยพึงเคารพความคิดเห็นทางวิชาการของผู้อื่น 9) นักวิจัยพึงมีความรับผิดชอบต่อสังคมทุกระดับ 69


คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสาขาวิชา มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา (พ.ศ.2555-2556)

จรรยาบรรณอาจารย์และบุคลากรสายสนับสนุน หมายถึง ประมวลความประพฤติที่อาจารย์และ บุคลากรสายสนับสนุนพึงปฏิบัติเพื่อรักษา ส่งเสริมเกียรติคุณ ชื่อเสียง และฐานะของอาจารย์และบุคลากรสาย สนั บ สนุ น ตามที่ มหาวิ ท ยาลั ย กํ า หนด โดยอาจใช้ กรอบแนวทางตามประกาศ ก.พ.อ. เรื่ องมาตรฐานของ จรรยาบรรณที่พึงมีในสถาบันอุดมศึกษา โดยต้องยึดมั่นในหลักการ 6 ประการ คือ 1) ยึดมั่นและยืนหยัดในสิ่งที่ถูกต้อง 2) ซื่อสัตย์สุจริตและรับผิดชอบ 3) ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความโปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้ 4) ปฏิบัติหน้าที่โดยไม่เลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม 5) มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน 6) ไม่ใช้อํานาจครอบงําผิดทํานองคลองธรรมต่อนักศึกษา และต้องครอบคลุมจรรยาบรรณ 10 ประการ คือ 1) จรรยาบรรณต่อตนเอง 2) จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ 3) จรรยาบรรณต่อการปฏิบัติงาน 4) จรรยาบรรณต่อหน่วยงาน 5) จรรยาบรรณต่อผู้บังคับบัญชา 6) จรรยาบรรณต่อผู้ใต้บังคับบัญชา 7) จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมงาน 8) จรรยาบรรณต่อนักศึกษาและผู้รับบริการ 9) จรรยาบรรณต่อประชาชน และ 10) จรรยาบรรณต่อสังคม นักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่า (Full Time Equivalent Student : FTES) หมายถึง นักศึกษาที่ ลงทะเบียนเรียนตามเกณฑ์จํานวนหน่วยกิตมาตรฐานของการลงทะเบียน ดังนี้ • ระบบทวิภาค o สําหรั บนักศึกษาระดับปริญญาตรี : ลงทะเบีย น 36 หน่ว ยกิต ต่อปี การศึกษา (18 หน่ วยกิ ต ต่อภาคการศึกษา) o สําหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาทั้งโครงการปกติและโครงการภาคพิเศษ : ลงทะเบียน 24 หน่วยกิตต่อปีการศึกษา (12 หน่วยกิตต่อภาคการศึกษาปกติ) • ระบบไตรภาค o สําหรั บนักศึกษาระดับปริญญาตรี : ลงทะเบีย น 45 หน่ว ยกิต ต่อปี การศึกษา (15 หน่ วยกิ ต ต่อภาคการศึกษา) o สําหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา : ลงทะเบียน 30 หน่วยกิตต่อปีการศึกษา (10 หน่วยกิต ต่อภาคการศึกษา) ขั้นตอนการคํานวณค่า FTES มีดังนี้ 1) คํานวณค่าหน่วยกิตนักศึกษา (Student Credit Hours : SCH) ซึ่งก็คือ ผลรวมของผลคูณระหว่าง จํ านวนนั กศึ กษาที่ ลงทะเบี ยนเรี ยนกั บจํ านวนหน่ วยกิ ตแต่ ละรายวิ ชาที่ เปิ ดสอนทุ กรายวิ ชาตลอดปี การศึ กษา รวบรวมหลังจากนักศึกษาลงทะเบียนแล้วเสร็จ (หมดกําหนดเวลาการเพิ่ม-ถอน) โดยมีสูตรการคํานวณ ดังนี้ 70


คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสาขาวิชา มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา (พ.ศ.2555-2556)

SCH = Σnici เมื่อ ni = จํานวนนักศึกษาที่ลงทะเบียนในวิชาที่ i Ci = จํานวนหน่วยกิตของวิชาที่ i 2) คํานวณค่า FTES โดยใช้สูตรคํานวณดังนี้ SCH FTES =

จํานวนหน่วยกิตต่อปีการศึกษาตามเกณฑ์มาตรฐาน การลงทะเบียนในระดับปริญญานั้นๆ

นั ก ศึ ก ษาภาคปกติ หมายถึ ง นั ก ศึ ก ษาที่ เ รี ย นในช่ ว งเวลาราชการ หรื อ นอกเวลาราชการ โดย มหาวิทยาลัยได้มีการคํานวณเป็นภาระงานสอนของอาจารย์ และไม่มีการจ่ายค่าตอบแทนเป็นการพิเศษ นั ก ศึ ก ษาภาคพิ เ ศษ หมายถึ ง นั กศึ กษาที่ เ รี ย นในช่ ว งเวลาราชการ หรื อ นอกเวลาราชการ โดย มหาวิทยาลัยมิได้นับว่าการสอนดังกล่าวเป็นภาระงานสอนของอาจารย์ และ/หรือได้มีการจ่ายค่าตอบแทน ให้กับการสอนของอาจารย์เป็นการพิเศษ แนวปฏิบัติที่ดี หมายถึง วิธีปฏิบัติ หรือขั้นตอนการปฏิบัติที่ทําให้องค์การประสบความสําเร็จ หรือ สู่ความเป็นเลิศตามเป้าหมาย เป็นที่ยอมรับในวงวิชาการหรือวิชาชีพนั้นๆ มีหลักฐานของความสําเร็จปรากฏ ชัดเจน โดยมีการสรุปวิธีปฏิบัติ หรือขั้นตอนการปฏิบัติ ตลอดจนความรู้และประสบการณ์ บันทึกเป็นเอกสาร เผยแพร่ให้หน่วยงานภายในหรือภายนอกสามารถนําไปใช้ประโยชน์ได้ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) หมายถึง กลุ่มคนต่างๆ ที่ได้รับผลกระทบ หรืออาจได้รั บ ผลกระทบจากการดําเนินการและความสําเร็จของมหาวิทยาลัย ตัวอย่างของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่สําคัญ เช่น นักศึกษา ผู้ปกครอง สมาคมผู้ปกครอง ผู้ปฏิบัติงาน คู่ความร่วมมือทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ คณะกรรมการกํากับดูแลมหาวิทยาลัยในด้านต่างๆ ศิษย์เก่า นายจ้าง สถาบันการศึกษาอื่นๆ องค์การที่ทํา หน้าที่กํากับดูแลกฎระเบียบ องค์การที่ให้เงินสนับสนุน ผู้เสียภาษี ผู้กําหนดนโยบาย ผู้ส่งมอบ ตลอดจนชุมชน ในท้องถิ่นและชุมชนวิชาการหรือวิชาชีพ แผนกลยุทธ์ หมายถึง แผนระยะยาวของหน่วยงานหรือมหาวิทยาลัย โดยทั่วไปมักใช้เวลา 5 ปี เป็น แผนที่กําหนดทิศทางการพัฒนาของหน่วยงานหรือมหาวิทยาลัย แผนกลยุทธ์ประกอบไปด้วยวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ วัตถุประสงค์ ผลการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและภัยคุกคาม กลยุทธ์ต่างๆ ของหน่วยงาน หรือมหาวิทยาลัยควรครอบคลุมทุกภารกิจของหน่วยงานหรือมหาวิทยาลัย มีการกําหนดตัวบ่งชี้ความสําเร็จ ของแต่ละกลยุทธ์และค่าเป้าหมายของตัวบ่งชี้เพื่อวัดระดับความสําเร็จของการดําเนินงานตามกลยุทธ์ โดย หน่วยงานหรือมหาวิทยาลัยนําแผนกลยุทธ์มาจัดทําแผนดําเนินงานหรือแผนปฏิบัติการประจําปี แผนปฏิบัติการประจําปี หมายถึง แผนระยะสั้นที่มีระยะเวลาในการดําเนินงานภายใน 1 ปี เป็นแผน ที่ถ่ายทอดแผนกลยุทธ์ลงสู่ภาคปฏิบัติ เพื่อให้เกิดการดําเนินงานจริงตามกลยุทธ์ ประกอบด้วย โครงการหรือ กิจกรรมต่างๆ ที่จะต้องดําเนินการในปีนั้นๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามแผนกลยุทธ์ ตัวบ่งชี้ความสําเร็จของ 71


คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสาขาวิชา มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา (พ.ศ.2555-2556)

โครงการหรือกิจกรรม ค่าเป้าหมายของตัวบ่งชี้เหล่านั้น รวมทั้งมีการระบุผู้รับผิดชอบหลักหรือหัวหน้าโครงการ งบประมาณในการดําเนินการ รายละเอียดและทรัพยากรที่ต้องใช้ในการดําเนินโครงการที่ชัดเจน ระบบและกลไก ระบบ หมายถึง ขั้นตอนการปฏิบัติงานที่มีการกําหนดอย่างชัดเจนว่าต้องทําอะไรบ้างเพื่อให้ได้ผล ออกมาตามที่ต้องการ ขั้นตอนการปฏิบัติงานจะต้องปรากฏให้ทราบโดยทั่วกันไม่ว่าจะอยู่ในรูปของเอกสารหรือ สื่ออิ เล็ กทรอนิ กส์ ห รือโดยวิ ธี การอื่ น ๆ องค์ ประกอบของระบบ ประกอบด้ วย ปัจ จั ย นํา เข้า กระบวนการ ผลผลิตและข้อมูลป้อนกลับ ซึ่งมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน กลไก หมายถึง สิ่งที่ทําให้ระบบมีการขับเคลื่อนหรือดําเนินอยู่ได้ โดยมีการจัดสรรทรัพยากร มีการจัด องค์การ หน่วยงาน หรือกลุ่มบุคคลเป็นผู้ดําเนินงาน ระบบสารสนเทศ หมายถึง ระบบที่ทําหน้าที่ในการรวบรวมข้อมูลเข้ามาทําการประมวลผลรวมทั้งการ วิเคราะห์เพื่อจัดทําเป็นสารสนเทศในรูปแบบต่างๆ และนําส่งไปยังผู้ที่มีสิทธิได้รับสารสนเทศเพื่อใช้ในการ ปฏิบัติงาน การบริหาร หรือการตัดสินใจ โดยมีคอมพิวเตอร์ รวมทั้งอุปกรณ์ต่างๆ เป็นเครื่องมือสนับสนุนการ ทํางานของระบบสารสนเทศ ระบบสารสนเทศในองค์การมีหลายประเภทในแต่ละประเภทมีได้หลายระบบ ทั้งนี้ เพื่อตอบสนองวัตถุประสงค์เฉพาะด้านในการทํางานที่แตกต่างกันออกไป วารสารระดับชาติ หมายถึง วารสารวิชาการ (Journal) ที่ยอมรับโดยสํานักงานคณะกรรมการการ อุ ด มศึ ก ษา (สกอ.) ให้ เ ป็ น วารสารระดั บ ชาติ และมี ชื่ อ ปรากฏในบั ญ ชี ร ายชื่ อ ที่ เ ผยแพร่ โ ดยสํ า นั ก งาน คณะกรรมการอุดมศึกษา (สกอ.) หรือวารสารวิชาการ ที่มีชื่อปรากฏอยู่ในฐานข้อมูล Thai-Journal Citation Index Centre (TCI) วารสารระดับนานาชาติ หมายถึง วารสารวิชาการ (Journal) ที่ปรากฏในฐานข้อมูลสากล เช่น ฐานข้อมูล Web of Science (Science Citation Index Expand, Social Sciences Citation Index, Art and Humanities Citation Index) หรือฐานข้อมูล Scopus หรือในฐานข้อมูลสากลอื่นๆ ที่เป็นที่ยอมรับใน ศาสตร์นั้นๆ หรือวารสารวิชาการที่ยอมรับโดยสํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ให้เป็นวารสาร ระดับนานาชาติ และมีชื่อปรากฏในบัญชีรายชื่อที่เผยแพร่โดยสํานักงานฯ หน่วยงานหรื อองค์กรระดับชาติ หมายถึง หน่วยงานราชการระดับกรมหรือเทียบเท่ าขึ้นไป หรื อ รัฐวิสาหกิจ หรือองค์การมหาชน หรือองค์กรกลางระดับชาติทั้งภาครัฐและเอกชน หลั ก ธรรมาภิ บาล หมายถึง การปกครอง การบริห าร การจั ด การ การควบคุม ดูแลกิ จการต่ า งๆ ให้เป็นไปในครรลองธรรม นอกจากนี้ ยังหมายถึงการบริหารจัดการที่ดี ซึ่งสามารถนําไปใช้ได้ทั้งภาครัฐและ เอกชน ธรรมที่ใช้ในการบริหารงานนี้มีความหมายอย่างกว้างขวาง กล่าวคือ หาได้มีความหมายเพียงหลักธรรม ทางศาสนาเท่านั้น แต่รวมถึงศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรมและความถูกต้อง ชอบธรรมทั้งปวง ซึ่งวิญญูชนพึงมี และพึงประพฤติปฏิบัติ อาทิ ความโปร่งใสตรวจสอบได้ การปราศจากการแทรกแซงจากองค์การภายนอก เป็นต้น หลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (Good Governance) ที่เหมาะสมจะนํามาปรับ ใช้ในภาครัฐมี 10 องค์ประกอบ ดังนี้ 1) หลักประสิทธิผล (Effectiveness) คือ ผลการปฏิบัติราชการที่บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายของ แผนการปฏิบัติราชการตามที่ได้รับงบประมาณมาดําเนินการ รวมถึงสามารถเทียบเคียงกับส่วนราชการหรือ 72


คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสาขาวิชา มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา (พ.ศ.2555-2556)

หน่วยงานที่มีภารกิจคล้ายคลึงกันและมีผลการปฏิบัติงานในระดับชั้นนําของประเทศเพื่อให้เกิดประโยชน์สุขต่อ ประชาชนโดยการปฏิ บั ติ ร าชการจะต้ อ งมี ทิ ศ ทางยุ ทธศาสตร์ และเป้ า ประสงค์ ที่ชั ด เจน มี กระบวนการ ปฏิบัติงานและระบบงานที่เป็นมาตรฐาน รวมถึงมีการติดตามประเมินผลและพัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่องและ เป็นระบบ 2) หลักประสิทธิภาพ (Efficiency) คือ การบริหารราชการตามแนวทางการกํากับดูแลที่ดีที่มีการ ออกแบบกระบวนการปฏิบัติงานโดยใช้เทคนิคและเครื่องมือการบริหารจัดการที่เหมาะสมให้องค์การสามารถ ใช้ทรัพยากรทั้งด้านต้นทุน แรงงานและระยะเวลาให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาขีดความสามารถในการ ปฏิบัติราชการตามภารกิจเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม 3) หลั กการตอบสนอง (Responsiveness) คื อ การให้ บ ริ ก ารที่ ส ามารถดํ า เนิ น การได้ ภ ายใน ระยะเวลาที่กําหนด และสร้างความเชื่อมั่น ความไว้วางใจ รวมถึงตอบสนองความคาดหวังหรือความต้องการ ของประชาชนผู้รับบริการ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีความหลากหลายและมีความแตกต่าง 4) หลักภาระรับผิดชอบ (Accountability) คือ การแสดงความรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่และ ผลงานต่อเป้าหมายที่กําหนดไว้ โดยความรับผิดชอบนั้นควรอยู่ในระดับที่สนองต่อความคาดหวังของสาธารณะ รวมทั้งการแสดงถึงความสํานึกในการรับผิดชอบต่อปัญหาสาธารณะ 5) หลักความโปร่งใส (Transparency) คือ กระบวนการเปิดเผยอย่างตรงไปตรงมา ชี้แจงได้เมื่อมีข้อ สงสัยและสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารอันไม่ต้องห้ามตามกฎหมายได้อย่างเสรี โดยประชาชนสามารถรู้ทุก ขั้นตอนในการดําเนินกิจกรรมหรือกระบวนการต่างๆ และสามารถตรวจสอบได้ 6) หลักการมีส่วนร่วม (Participation) คือ กระบวนการที่ข้าราชการ ประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทุกกลุ่มมีโอกาสได้เข้าร่วมในการรับรู้ เรียนรู้ ทําความเข้าใจ ร่วมแสดงทัศนะ ร่วมเสนอปัญหาหรือประเด็นที่สําคัญ ที่เกี่ยวข้อง ร่วมคิดแนวทาง ร่วมการแก้ไขปัญหา ร่วมในกระบวนการตัดสินใจ และร่วมกระบวนการพัฒนา ในฐานะหุ้นส่วนการพัฒนา 7) หลักการกระจายอํานาจ (Decentralization) คือ การถ่ายโอนอํานาจการตัดสินใจทรัพยากร และ ภารกิ จ จากส่ ว นราชการส่ ว นกลางให้ แก่ ห น่ ว ยการปกครองอื่ น ๆ (ราชการบริ ห ารส่ ว นท้ อ งถิ่ น ) และภาค ประชาชนดําเนินการแทนโดยมีอิสระตามสมควร รวมถึงการมอบอํานาจและความรับผิดชอบในการตัดสินใจ และการดําเนินการให้แก่บุคลากร โดยมุ่งเน้นการสร้างความพึงพอใจ ในการให้บริการต่อผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การปรับปรุงกระบวนการ และเพิ่มผลิตภาพเพื่อ ผลการดําเนินงานที่ดีของส่วนราชการ 8) หลักนิติธรรม (Rule of Law) คือ การใช้อํานาจของกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับในการบริหาร ราชการด้วยความเป็นธรรม ไม่เลือกปฏิบัติ และคํานึงถึงสิทธิเสรีภาพของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 9) หลักความเสมอภาค (Equity) คือ การได้รับการปฏิบัติและได้รับบริการอย่างเท่าเทียมกันโดยไม่มี การแบ่งแยกด้าน ชายหรือหญิง ถิ่นกําเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษา การฝึกอบรม และอื่นๆ 10) หลักมุ่งเน้นฉันทามติ (Consensus Oriented) คือ การหาข้อตกลงทั่วไปภายในกลุ่มผู้มีส่วนได้ ส่ว นเสี ยที่ เกี่ ย วข้ อง ซึ่งเป็ น ข้อตกลงที่ เกิ ด จากการใช้กระบวนการเพื่ อหาข้อคิ ดเห็น จากกลุ่ มบุคคลที่ ได้ รั บ ประโยชน์ และเสี ย ประโยชน์ โดยเฉพาะกลุ่ มที่ ได้ รั บผลกระทบโดยตรงซึ่ งต้ องไม่ มีข้อคั ด ค้ า นที่ยุ ติไม่ ได้ ใน ประเด็นที่สําคัญ โดยฉันทามติไม่จําเป็นต้องหมายความว่าเป็นความเห็นพ้องโดยเอกฉันท์ หลักสูตรสาขาวิชาชีพ หมายถึง รายวิชาและประสบการณ์ทั้งหมดที่ผู้เรียนต้องศึกษาเพื่อให้ได้รับการ รับรองจากสภาหรือองค์กรวิชาชีพที่กําหนดตามกฎหมาย 73


คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสาขาวิชา มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา (พ.ศ.2555-2556)

ตัวบ่งชี้กลาง กรณีที่หลักสูตรใดยังไม่ประกาศมาตรฐานคุณวุฒิสาขาหรือสาขาวิชา ให้พิจารณาตามตัวบ่งชี้กลาง ดังนี้ 1. อาจารย์ประจําหลักสูตรอย่างน้อยร้อยละ 80 มีส่วนร่วมในการประชุมเพื่อวางแผน ติดตาม และ ทบทวนการดําเนินงานหลักสูตร 2. มี ร ายละเอี ย ดของหลั ก สู ต ร ตามแบบ มคอ.2 ที่ ส อดคล้ อ งกั บ กรอบมาตรฐานคุ ณ วุ ฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ หรือ มาตรฐานคุณวุฒิสาขา/สาขาวิชา (ถ้ามี) 3. มีรายละเอียดของรายวิชา และรายละเอียดของประสบการณ์ภาคสนาม (ถ้ามี) ตามแบบ มคอ.3 และ มคอ.4 อย่างน้อยก่อนการเปิดสอนในแต่ละภาคการศึกษาให้ครบทุกรายวิชา 4. จัดทํา รายงานผลการดํ าเนิน การของรายวิชา และรายงานผลการดําเนิ นการของประสบการณ์ ภาคสนาม (ถ้ามี) ตามแบบ มคอ.5 และ มคอ.6 ภายใน 30 วัน หลังสิ้นสุดภาคการศึกษาที่เปิดสอนให้ครบ ทุกรายวิชา 5. จั ด ทํ า รายงานผลการดํ า เนิ น การของหลั ก สู ต ร ตามแบบ มคอ.7 ภายใน 60 วั น หลั ง สิ้ น สุ ด ปีการศึกษา 6. มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่กําหนดใน มคอ.3 และ มคอ.4 (ถ้ามี) อย่างน้อยร้อยละ 25 ของรายวิชาที่เปิดสอนในแต่ละปีการศึกษา 7. มีการพัฒนา/ปรับปรุงการจัดการเรียนการสอน กลยุทธ์การสอน หรือ การประเมินผลการเรียนรู้ จากผลการประเมินการดําเนินงานที่รายงานใน มคอ.7 ปีที่แล้ว 8. อาจารย์ใหม่ (ถ้ามี) ทุกคน ได้รับการปฐมนิเทศหรือคําแนะนําด้านการจัดการเรียนการสอน 9. อาจารย์ประจําทุกคนได้รับการพัฒนาทางวิชาการ และ/หรือวิชาชีพ อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง 10. จํานวนบุคลากรสนับสนุนการเรียนการสอน (ถ้ามี) ได้รับการพัฒนาวิชาการ และ/หรือวิชาชีพ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ต่อปี 11. ระดับความพึงพอใจของนักศึกษาปีสุดท้าย/บัณฑิตใหม่ที่มีต่อคุณภาพหลักสูตร เฉลี่ยไม่น้อยกว่า 3.5 จากคะแนนเต็ม 5.0 12. ระดับความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตที่มีต่อบัณฑิตใหม่ เฉลี่ยไม่น้อยกว่า 3.5 จากคะแนนเต็ม 5.0 หมายเหตุ : สถาบันอุ ดมศึ กษาอาจกํ าหนดตัวบ่ งชี้เพิ่ มเติ มให้ สอดคล้ องกั บพั นธกิ จและวั ตถุ ประสงค์ของสถาบันฯ หรื อ กํา หนด เป้าหมายการดําเนินงานที่สูงขึ้น เพื่อการยกระดับมาตรฐานของตนเอง โดยกําหนดไว้ในรายละเอียดของหลักสูตร ทั้งนี้ หลักสูตรของสถาบันอุดมศึกษาทุกระดับคุณวุฒิต้องมีผลการดําเนินการที่บรรลุตามเป้าหมายตัวบ่งชี้ทั้งหมดอยู่ในเกณฑ์ดีจึงจะ ได้รับการเผยแพร่หลักสูตรที่ได้มาตรฐานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ โดยเกณฑ์การประเมินผ่านคือ มี การดําเนินงานตามข้อ 1- 5 และอย่างน้อยร้อยละ 80 ของตัวบ่งชี้ผลการดําเนินงานที่ระบุไว้ในแต่ละปี

74


คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสาขาวิชา มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา (พ.ศ.2555-2556)

ตาราง เปรียบเทียบตัวบ่งชี้การประเมินคุณภาพ ของสํานักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) และ สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) การประเมินคุณภาพภายนอก (สมศ.) (ประกอบด้วย 3 กลุ่ม 6 ด้าน 18 ตัวบ่งชี้)

การประเมินคุณภาพภายใน (สกอ.) (ประกอบด้วย 9 องค์ประกอบ 23 ตัวบ่งชี้) 1.1 กระบวนการพัฒนาแผน

2.1 2.2 2.3 2.4 2.5

ระบบและกลไกการพัฒนาและบริหารหลักสูตร อาจารย์ประจําที่มีคณ ุ วุฒิปริญญาเอก อาจารย์ประจําที่ดํารงตําแหน่งทางวิชาการ ระบบการพัฒนาคณาจารย์และบุคลากรสายสนับสนุน ห้องสมุด อุปกรณ์การศึกษา และสภาพแวดล้อม การเรียนรู้ 2.6 ระบบและกลไกการจัดการเรียนการสอน 2.7 ระบบและกลไกการพัฒนาสัมฤทธิผลการเรียนตาม คุณลักษณะของบัณฑิต

2.8 ระดับความสําเร็จของการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมที่จัด ให้กับนักศึกษา 3.1 ระบบและกลไกการให้คาํ ปรึกษาและบริการด้านข้อมูล ข่าวสาร 3.2 ระบบและกลไกการส่งเสริมกิจกรรมนักศึกษา 4.1 ระบบและกลไกการพัฒนางานวิจยั หรืองานสร้างสรรค์ 4.2 ระบบและกลไกการจัดการความรูจ้ ากงานวิจัยหรืองาน สร้างสรรค์

16. ผลการพัฒนาตามอัตลักษณ์ของสถาบัน 16.1 ผลการบริหารสถาบันให้เกิดอัตลักษณ์ 16.2 ผลการพัฒนาบัณฑิตตามอัตลักษณ์ 17. ผลการพัฒนาตามจุดเน้นและจุดเด่นที่ส่งผลสะท้อนเป็น เอกลักษณ์ของสถาบัน

14. การพัฒนาคณาจารย์

1.

บัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทําหรือประกอบอาชีพอิสระ ภายใน 1 ปี 2. คุณภาพของบัณฑิตปริญญาตรี โทและเอกตามกรอบ มาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ 3. ผลงานของผู้สาํ เร็จการศึกษาระดับปริญญาโทที่ได้รับ การตีพิมพ์หรือเผยแพร่ 4. ผลงานของผู้สาํ เร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกที่ได้รับ การตีพิมพ์หรือเผยแพร่

5. 6. 7.

4.3 เงินสนับสนุนงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ต่อจํานวนอาจารย์ ประจําและนักวิจัย 5.1 ระบบและกลไกการบริการทางวิชาการแก่สังคม

8.

75

งานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ที่ได้รบั การตีพิมพ์หรือ เผยแพร่ งานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ที่นํามาใช้ประโยชน์ ผลงานวิชาการทีไ่ ด้รับการรับรองคุณภาพ ผลการนําความรู้และประสบการณ์จากการให้บริการ วิชาการมาใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนและ/หรือ การวิจัย


คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสาขาวิชา มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา (พ.ศ.2555-2556)

การประเมินคุณภาพภายนอก (สมศ.) (ประกอบด้วย 3 กลุ่ม 6 ด้าน 18 ตัวบ่งชี้)

การประเมินคุณภาพภายใน (สกอ.) (ประกอบด้วย 9 องค์ประกอบ 23 ตัวบ่งชี้) 5.2 กระบวนการบริการทางวิชาการให้เกิดประโยชน์ ต่อสังคม

6.1 7.1 7.2 7.3 7.4 8.1 9.1

9. ผลการเรียนรู้และเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนหรือ องค์กรภายนอก 18. ผลการชี้นําและ/หรือแก้ปญ ั หาสังคมในด้านต่างๆ ของ สถาบัน 18.1. ผลการชี้นํา ป้องกัน หรือแก้ปัญหาของสังคมใน ประเด็นที่ 1 ภายในสถาบัน 18.2 ผลการชี้นํา ป้องกัน หรือแก้ปัญหาของสังคมใน ประเด็นที่ 1 ภายนอกสถาบัน ระบบและกลไกการทํานุบาํ รุงศิลปวัฒนธรรม 10. การส่งเสริมและสนับสนุนด้านศิลปะและวัฒนธรรม 11. การพัฒนาสุนทรียภาพในมิติทางศิลปะและวัฒนธรรม ภาวะผู้นําของสภาสถาบันและผู้บริหารทุกระดับของสถาบัน 12. การปฏิบัตติ ามบทบาทหน้าที่ของสภาสถาบัน 13. การปฏิบัตติ ามบทบาทหน้าที่ของผู้บริหารสถาบัน การพัฒนาสถาบันสู่สถาบันเรียนรู้ ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารและการตัดสินใจ ระบบบริหารความเสี่ยง ระบบและกลไกการเงินและงบประมาณ ระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน 15. ผลประเมินการประกันคุณภาพภายในรับรองโดยต้น สังกัด

76



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.