เอกสารสาหรับนักเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 ท่องโลก องโลก Cyber
ใบความรู้ที่ 3.1 หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 ท่องโลก Cyber ชั้นมัธยมศึกษาปีที่4 สาระการเรียนรู้พื้นฐาน เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เวลา 2 ชั่วโมง เรื่อง ระบบสื่อสารและเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ความหมายของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เครือข่าย หมายถึง การนาคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ข้างเคียงต่างๆ มาเชื่อมต่อถึงกัน เพื่อให้ผู้ใช้เครือข่าย สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูล ชุดคาสั่ง และข่าวสารต่างๆ ระหว่าง คอมพิวเตอร์กับคอมพิวเตอร์ และคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์ข้างเคียง ต่างๆ เป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลสารสนเทศ และการใช้ทรัพยากร ต่างๆ ที่มีในเครือข่ายร่วมกัน ปัจจุบันเราสามารถสื่อสารส่งข้อมูลระหว่างกันผ่านทาง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ได้สะดวกขึ้น ทั้งสื่อสารกัน โดยใช้เครือข่าย ภายในองค์กรและสามารถสื่อสารกันระหว่างเครือข่ายครอบคลุมทั่ว โลก หรือที่เรียกกันว่า อินเทอร์เน็ต
จุดประสงค์ของเครือข่าย เพื่อให้สามารถใช้ทรัพยากรร่วมกันได้ เช่น เครื่องพิมพ์ ฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอม เป็นต้น เพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ระหว่างผู้ใช้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้สามารถประมวลผลแบบกระจายได้ ช่วยให้มีการทางานแบบกระจายจากคอมพิวเตอร์เครื่อง ใหญ่ไปสู่เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องเล็ก ๆ เพื่อให้สามารถควบคุมและจัดสรรทรัพยากรจากส่วนกลางได้ ช่วยให้อุปกรณ์ที่มีความแตกต่างกันสามารถใช้งานร่วมกันได้
โหนดในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โหนด (Node) คื อ คอมพิ ว เตอร์ ที่ เ ชื่ อ มต่ อ เข้ า มาในเครื อ ข่ า ย ติ ด ต่ อ สื่ อ สารซึ่ ง กั น และกั น ซึ่งในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วยโหนด 2 ชนิด คือ Computing Node คือ โหนดที่ทาหน้าที่ประมวลผลข้อมูล Switching Node คือ โหนดที่ทาหน้าที่ส่งข้อมูลออก นอกจากนี้เรายังสามารถแบ่งเครือข่ายคอมพิวเตอร์ออกเป็น 2 ส่วน คือ เครือข่ายย่อยในส่วนของผู้ใช้ ประกอบด้วย คอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Host Computer) ตัวควบคุมเครื่องปลายทาง (Terminal Controllers) เครื่องปลายทาง (Terminal)
ตัวควบคุมเครือ ่ งปลายทาง
ภาพแสดงเครือข่ายย่อยในส่วนของผู้ใช้ เครือข่ายย่อยในส่วนของการสื่อสาร ประกอบด้วย โหนดเครือข่าย (Network Node) ทาหน้าที่เป็นตัวเชื่อมประสานงานกับเครือข่าย ย่อยส่วนของผู้ใช้และส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายได้อย่างถูกต้องรวดเร็ว อาจเรียกโหนดเครือข่ายนี้ว่า เราท์เตอร์ (Router) ก็ได้ ช่องทางการสื่อสาร (Communication Channels) หรือตัวกลางการสื่อสาร อาจ เป็นสายส่งสัญญาณ หรือช่องทางการสื่อสารแบบไร้สาย ได้แก่ สายโทรศัพท์ สายเคเบิลใยแก้วนาแสง สัญญาณ วิทยุ สัญญาณดาวเทียม เป็นต้น อุปกรณ์แปลงสัญญาณ (Signals Converters) ทาหน้าที่เปลี่ยนสัญญาณดิจิตอล เป็นสัญญาณอื่นที่เหมาะสมในการส่งข้อมูลผ่านตัวกลางส่งข้อมู ลชนิดต่าง ๆ อุปกรณ์แปลงสัญญาณ เช่น โมเด็ม ทาหน้าที่แปลงสัญญาณดิจิตอลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เป็นสัญญาณอนาลอกเพื่อให้สามารถส่งข้อมูลผ่าน สายโทรศัพท์ได้
โมเด็ม
สัญญาณอนาล็อก
โหนด
โมเด็ม
สัญญาณดิจต ิ อล
ภาพแสดงเครือข่ายย่อยในส่วนของการสื่อสาร
โหนด
โหนด
องค์ประกอบพื้นฐานการเชื่อมต่อเป็นเครือข่าย คอมพิวเตอร์ 2 เครื่องขึ้นไป Lan card เป็นจุดที่ใช้เชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์และเครือข่าย สื่อที่ใช้ในการส่งข้อมูล เป็นตัวเชื่อมสถานีงานต่าง ๆในแต่ละเครือข่ายเข้าด้วยกัน อุปกรณ์เชื่อมต่อเครือข่ายต่าง ๆ เช่น ฮับ เราท์เตอร์ สวิตซ์ เป็นต้น โปรโตคอล (Protocol) เป็นมาตรฐานที่ใช้ในการสื่อสารของคอมพิวเตอร์ ระบบปฏิบัติการเครือข่าย (NOS : Network Operating System) เป็นระบบปฏิบัติการที่ช่วย จัดการเกี่ยวกับการใช้งานเครือข่ายของผู้ใช้แต่ละคน โปรโตคอล ระบบปฏิบตั ก ิ าร
LAN Card
LAN Card
ระบบปฏิบตั ก ิ าร
ฮับ
LAN Card (Network Interface Card หรือ Adapter Card ) เป็นแผงวงจรทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ทาหน้าที่แปลงสัญญาณที่ส่งออก และรับเข้า ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับตัวกลางในการสื่อสาร ให้อยู่ในรูปแบบสัญญาณทีจ่ ะส่งไปบน สายสัญญาณ เพื่อส่งไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้รับได้ ส่วนใหญ่จะออกแบบเป็นการ์ด (Card) หรือแผงวงจรไฟฟ้าที่ใส่ลงในช่องสล็อต (Slot) ของเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ เรียกว่า Network Interface Card (NIC) หรือที่เรียกโดยทั่วไปว่า LAN Card
สื่อที่ใช้ในการส่งข้อมูล แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ สื่อประเภทมีสาย ได้แก่ สายโคแอกเชียล สายคู่บดิ เกลียว สายใยแก้วนาแสง สื่อประเภทไร้สาย ได้แก่ ระบบไมโครเวฟ ดาวเทียม โทรศัพท์เคลื่อนที่ ระบบวิทยุ ระบบอิน ฟาเรด เป็นต้น
สายคู่บดิ เกลียว (twisted-pair cable)
รูปฉนวน มีอยู่ 2 แบบ คือ แบบหุ้มฉนวน และแบบไม่หุ้มฉนวน สาย คู่บิดเกลียว ไม่หุ้มฉนวน (Unshield Twisted-Pair : UTP) หรือ สายยูทีพี เป็นสื่อส่งข้อมูลพื้นฐานที่สุดในการสื่อสารโทรคมนาคม ประกอบด้วยสายทองแดง 2 เส้น แต่ละเส้นมีฉนวนหุ้มจับคู่พันกัน เป็นเกลียว สามารถลด การรบกวน จากสนามแม่เหล็กไฟฟ้าได้ แต่ไม่สามารถป้องกัน การสูญเสียพลังงาน จาก การแผ่รังสี ความร้อน ในขณะที่มีสัญญาณส่งผ่านสายได้ สายคู่ตีเกลียว 1 คู่ จะแทนการสื่อสารได้ 1 ช่องทาง สื่อสาร (Channel) ในการใช้งานจริง เช่น สายโทรศัพท์ จะเป็นสายรวมที่ประกอบ ด้วยสายคู่ตีเกลียว อยู่ภายใน เป็นร้อย ๆ คู่ สายคู่ตีเกลียว 1 คู่ จะมีขนาดประมาณ 0.016 – 0.036 นิ้ว
ข้อดีของสายยูทีพี คือ ราคาถูก มีความยืดหยุ่นและติดตั้งง่าย คุณภาพสูงถูกใช้ในเทคโนโลยี เครือข่ายท้องถิ่น หลายแบบ เช่น อีเทอร์เน็ตและโทเคนริงสมาคมอุตสาหกรรม ไฟฟ้า ของ สหรัฐอเมริกา (EIA) ได้กาหนดมาตรฐาน ของสายตามคุณภาพที่เรียกว่าชั้นคุณภาพ (category) ที่มีตัวเลข 1 เป็นขั้นต่าและ 5
เป็นขั้นคุณภาพสูงสุด ชั้นคุณภาพแต่ละชั้นเหมาะสม กับการใช้งาน แต่ละอย่างเท่านั้น เราควรทราบ คุณลักษณะของแต่ชั้น ดังต่อไปนี้ ชั้นที่ 1 (category 1) เป็นสายคู่บิดเกลียวที่ใช้ในระบบโทรศัพท์ ในชั้นนี้คุณภาพ สายดี เพียงพอ สาหรับข้อมูลเสียง แต่ไม่เหมาะสมกับข้อมูลชนิดอื่น ๆ ยกเว้นการสื่อสาร ที่ใช้ความเร็ว ต่าเท่านั้น ชั้นที่ 2 (category 2 ) คุณภาพของสายสูงขึ้น เหมาะสมกับข้อมูลเสียงและการส่งข้อมูลความเร็วสูง สามารถส่งได้ถึง 4 Mbps ชั้นที่ 3 (category 3) เป็นแบบของสายที่ต้องการทาบิดไขว้ 3 ครั้งทุกๆ 1 ฟุต และสามารถส่งข้อมูล ได้สูงถึง 10 Mbps ในปัจจุบนั กลายเป็นสายแบบมาตรฐานของระบบโทรศัพท์ที่ใช้กันทั่วไป ชั้นที่ 4 (category 4) เป็นแบบของสายที่ต้องการทาบิดไขว้ 3 ครั้งทุก ๆ 1 ฟุต เช่นกัน และ สามารถส่งข้อมูลได้สูงถึง 16 Mbps ชั้นที่ 5 (category 5) เป็นสายที่ส่งข้อมูลได้สูงถึง 100 Mbps เป็นความเร็วสูงที่สุด สายยูทีพีนิยมใช้เชื่อมต่ออุปกรณ์เครือข่ายโดยที่ปลายสายแต่ละข้างต้องมีคอนเน็กเตอร์แบบ เดียว กับแจ็คของโทรศัพท์ คอนเน็กเตอร์มีทั้งแบบตัวผู้และตัวเมีย คอนเน็กเตอร์ ตัวผู้มีตัวยึดให้ คอนเน็กเตอร์ทั้ง 2 อัน ติดกันแน่นและในคอนเน็กเตอร์ตัวผู้มีส่วนของทองแดงเป็นร่องเล็ก ๆ อยู่ใน พลาสติก ส่วนตัวเมียเป็นท่อพลาสติก เล็ก ๆ ภายในมีเส้นทองแดงโผล่มาเล็กน้อย คอนเน็กเตอร์ ที่นิยมใช้มีชื่อว่า อาร์เจ -45 (RJ-45) ซึ่งมีสายทองแดง เล็ก ๆ 8 เส้น เพื่อใช้กับสายคู่บิดเกลียว 4 คู่
สายคู่บดิ เกลียวแบบมีฉนวนหุ้ม (Shielded Twisted-pair : STP) หรือสายเอสทีพี ต่างจากสายยูทีพี คือมีฉนวนที่เป็นโลหะเล็ก ๆ ถักเป็นตาข่ายหรือเป็น ผ่านหุ้มทองแดง ที่มีพลาส ติ กหุ้มแต่ละเส้นอีกทีหนึ่ง ฉนวนโลหะเปล่านี้ทาหน้าที่ป้องกันคลื่นรบกวน นอกจาก นี้ยัง ขจัดสถานการณ์ที่เรียกว่า ครอสทอร์ค ซึ่งเป็นผลกระทบจากวงจรอื่นมากระทบกับอีกวงจรหนึ่ง เช่นการได้ยินเสียงคนอื่นพูดในคราวเดียวกัน สายเอสทีพีมีคณ ุ ภาพเช่นเดียวกับสายยูทีพีและใช้คอนเน็กเตอร์แบบเดียวกันคือ RJ-45 แต่ละสายแบบเอสทีพี ต้องต่อกราวด์ นอกจากนี้สายเอสทีพีมีต้นทุนการผลิตสูงกว่าราคาจึงแพง กว่าและ ทนต่อคลื่นรบกวนได้มากกว่า สายยูพีที
สายโคแอกเชียล สายโคแอกเชียล (coaxial cable) หรือมักเรียกสั้นๆ ว่าสายโคแอก เป็นสายที่มีความกว้างของ สัญญาณ หรือแบนด์วิดท์สูงมากกว่าสายคู่แบบเกลียวเพราะโครงสร้างของสายแตกต่างกัน สายโคแอกเชียลมักใช้เส้น ทองแดงเป็นแกนศูนย์กลางและเป็นตัวนาสัญญาณ ชั้นในมีฉนวนหุ้มแกน ส่วนฉนวนยังถูกหุ้มด้วยและทาหน้าที่ ป้องกันคลื่นรบกวนอีกด้วยเส้นโลหะถักทอ เป็นตาข่าย ทา หน้าที่เป็นตัวนาสัญญาณชั้นนอกทาให้ครบวงจรที่หุ้ม ด้วยฉนวน อีกชั้นหนึ่ง ชั้นนอกสุด เป็น พลาสติกหุ้มในชั้นสุดท้าย
รูปสายโคแอกเชียล
มาตรฐานของสายโคแอกเชียล มาตรฐานของสายโคแอกเชียลที่กาหนดโดยคณะกรรมการ บริหารวิทยุ (Radio Government: RG ) แบ่งชั้นของสายออกเป็นระดับๆ มีหมายเลข ระบุระดับที่สื่อความซึ่งหมายถึง คุณลักษณะ เฉพาะของสาย รวมทั้ง ขนาดของเส้นผ่าศูนย์กลางของเส้นทองแดงแกนกลางชนิดของฉนวนและอื่นๆสายโคแอกเชียลที่กาหนดระดับอาร์ จี ยั ง ร ะ บุ ห น้ า ที่ ข อ ง ส า ย แ ต่ ล ะ แ บ บ ไ ว้ ด้ ว ย อ า ร์ จี ร ะ ดั บ ต่ า ง ๆ ที่ น า ไปใช้งานด้านต่างๆ ได้แก่อาร์จี-8 ใช้กับ อีเทอร์เน็ตแบบสายบาง ( tin ethermet ) อาร์จี - 9 ใช้กับ อีเทอร์เน็ตแบบสายหนา ( thick ethermet ) อาร์จี – 10 ใช้กับ อีเทอร์เน็ตแบบสายหนา ( thick ethermet ) อาร์จี – 58 ใช้กับ อีเทอร์เน็ตแบบสายบาง ( thin ethermet ) อาร์จี - 75 ใช้กับ สายอากาศโทรทัศน์
คอนเน็กเตอร์ของสายโคแอกเชียล คอนเน็กเตอร์ของสายโคแอกชียลมี หลายแบบมีการพัฒนา ออกแบบมาหลายปี แต่มีเพียงไม่กี่แบบที่ใช้กัน แพร่หลายกลายเป็นมาตรฐานคอนเน็กเตอร์ ที่นิยมมากที่สุดมีชื่อว่า คอนเน็กเตอร์แบบถังน้ามัน เพาะรูปร่างคล้าย ถังน้ามัน (หรือถังเบียร์) และคอนเน็กเตอร์แบบถังน้ามันมีหลายแบบ แบบที่นิยมใช้มากที่สุดคือ แบบบีเอ็นซี ( Bayonet network Connector : BNC ) ที่ใช้ระบบดันเข้าแล้วหมุนเพียงครึ่งวงกลม ก็สามารถทา การ ยึดติดได้ คอนเน็กเตอร์แบบถังน้ามันชนิดอื่นอาจใช้เป็นแบบหมุนเกลียวแต่มีความปลอดภัย น้อยกว่า คอนเน็กเตอร์ของสาย โคแอกเชียลที่เราคุ้นเคยพบได้ที่ปลายสายทีวี และสายวีอาร์ซี คอนเน็กเตอร์ชนิดอื่นได้แก่ ทีคอนเน็กเตอร์( Tconnnector ) และตัวปิด ( terminator ) สาหรับคอนเน็กเตอร์ใช้กับอีเทอร์เน็ตแบบสายบาง( thin ethermet ) โดยทีคอนเน็กเตอร์ เป็น ตัวที่ทาให้สายอีกเส้นหนึ่งที่ต้องการต่อเครือข่ายกระจายออกไปจากสายหลัก เช่น เครือ่ ง คอมพิวเตอร์ เครื่องหนึ่งให้เทอร์มินัลหลายๆ คอนเน็กเตอร์เข้ามาโดยใช้สายหลักเส้นเดียว ส่วนตัวปิดใช้กับโทโพโลยี แบบบัส โดยใช้สายเส้นหนึ่งเป็นสายหลักที่ทาหน้าที่เป็นแกนหลัก (backbone) ให้อุปกรณ์หรือเครือ่ งคอมพิวเตอร์ แยกเป็นสาขาจึงต้องใช้คอนเน็กเตอร์ทีละส่วน ปลาย สายหลักต้องมีตัวปิดทั้ง 2 ปลายสาย ถ้าสายแกนหลักไม่มีตัว ปิด สัญญาณ ที่ส่งในสาย จะสะท้อนกลับ และไปรบกวนสัญญาณเดิม เพราะตัวปิดทาหน้าที่ดูดซับคลื่น ที่ปลายสาย และช่วยขจัดสัญญาณสะท้อนกลับ
สายใยแก้วนาแสง ทาจากแก้วหรือพลาสติกมีลักษณะเป็นเส้นบางๆ คล้าย เส้นใยแก้วจะทาตัว เป็นสื่อในการส่งแสงเลเซอร์ที่มีความเร็วในการส่งสัญญาณเท่ากับความเร็ว ของแสงสายทัง้ 2 แบบทั้งสายคู่บิดเกลียวและสายโคแอกเชียลที่เรากล่าว มาแล้วล้วนใช้ตัวนาที่เป็นโลหะ เพราะเป็นการส่งสัญญาณ ในรูปแบบของ กระแสไฟฟ้า ตรงกันข้ามกับสายใยแก้วนาแสง ที่ใช้แก้วหรือพลาสติก และ การส่งสัญญาณจะอยู่ในรูปของแสง ข้อดีของใยแก้วนาแสดงคือ ป้องกันการรบกวนจากสัญญาณไฟฟ้าได้มาก ส่งข้อมูลได้ระยะไกลโดยไม่ต้องมีตัวขยายสัญญาณ การดักสัญญาณทาได้ยาก ข้อมูลจึงมีความปลอดภัยมากกว่าสายส่งแบบอื่น ส่งข้อมูลได้ด้วยความเร็วสูงและสามารถส่งได้มาก ขนาดของสายเล็กและน้าหนักเบา
UTP, STP Low Short (100 m) ง่าย ข้อมูล ปานกลาง รบกวน สามารถทาได้
ค่าใช้จ่าย ระยะทาง การติดตั้ง สื่อที่เหมาะสม ความเร็ว การรบกวนของคลื่น แม่เหล็ก การดักสัญญาณ
COAXIAL Med 500 M ไม่ยาก เสียง ภาพ ข้อมูล ปานกลาง รบกวน สามารถทาได้
FIBER OPTIC Hight 2KM ต้องใช้ความชานาญ ข้อมูลมัลติมีเดีย สูงมาก ไม่มีผลใด ๆ ไม่สามารถทาได้
ตารางเปรียบเทียบการใช้งานสายเคเบิลชนิดต่างๆ
ระบบไมโครเวฟ (Microwave system) ระบบไมโครเวฟใช้วิธีส่งสัญญาณที่มีความถี่สูงกว่าคลื่นวิทยุเป็นทอด ๆ จากสถานีหนึ่งไปยังอีกสถานีหนึ่ง บ่อยครั้งที่สัญญาณของไมโครเวฟจะถูกเรียกว่าสัญญาณแบบ เส้นสายตา (Line of sight) เนื่องจากสัญญาณที่ส่ง จากสถานีหนึ่งไปยังอีกสถานีจะไปได้ไม่ไกลกว่าเส้นขอบฟ้าของโลกเพราะสัญญาณเดินทางเป็นเส้นตรงนั่นเอง ดังนั้นสถานีจะต้องพยายามอยู่ในที่ ๆ สูงเพื่อช่วยให้ส่งสัญญาณไปได้ไกลขึ้นและลดจานวนสถานีที่จาเป็นต้องมี โดยปกติแล้วสถานีหนึ่งจะครอบคลุมพื้นที่รบั สัญญาณได้ประมาณ 30-35 กม สัญญาณไม่โครเวฟเป็นคลื่นวิทยุเดินทางเป็นเส้นตรง อุปกรณ์ที่ใช้ในการรับ-ส่งคือจานสัญญาณไม่โครเวฟ ซึ่งมักจะต้องติดตั้งในที่สูงและมักจะให้อยู่หา่ งกันประมาณ 25-30 ไมล์ ข้อดี ของการส่งสัญญาณด้วยระบบไมโครเวฟ ก็คือ สามารถส่งสัญญาณด้วยความถี่กว้างและ การรบกวนจากภายนอกจะน้อยมากจนสัญญาณไม่ดี หรืออาจส่งสัญญาณไม่ได้ การส่งสัญญาณโดยใช้ระบบ ไมโครเวฟนี้จะใช้ในการที่ไม่สามารถจะติดตั้งสายเคเบิลได้เช่นอยู่ในเขตป่าเขา
ดาวเทียม (Setellite system) ระบบดาวเทียมจะคล้ายกับระบบไมโครเวฟในส่วนของการใช้หลักการยิงสัญญาณจากแต่ละสถานี ต่อกันไป ยังจุดหมายที่ต้องการ แต่ในที่นี้จะใช้ดาวเทียมที่ลอยอยู่เหนือพื้นโลก 36,000 กม. เป็นสถานีในการยิงสัญญาณไปยัง จุดหมายที่ต้องการ ซึ่งจากการที่ดาวเทียมลอยอยู่สูงมากนี่เองทาให้สามารถใช้ดาวเทียมซึ่งลอยอยู่ในพิกัดที่แน่นอน เพียง 3 ดวง ก็ส่งสัญญาณครอบคลุมไปยังทุกจุดในโลกได้ โดยสถานีต้นทางจะส่งสัญญาณขึ้นไปยังดาวเทียมที่ลอย อยู่เหนือพื้นที่ของตนเองเรียกว่าสัญญาณเชื่อมต่อขาขึ้น (Up-link) และดาวเทียมจะทาการตรวจสอบตาแหน่งของ สถานีปลายทางหากอยู่ในขอบเขตพื้นที่ที่ครอบคลุมอยู่ ก็จะทาการส่งสัญญาณในยังสถานีปลายทางทันทีเรียกว่า สัญญาณเชื่อมต่อขาลง (Down-link) หากสถานีปลายทางอยู่นอกขอบเขตสัญญาณ ดาวเทียมจะส่งต่อไปยัง ดาวเทียมที่ครอบคลุมสถานีปลายทางนั้นเพื่อส่งสัญญาณ Down-link ต่อไป ในปัจจุบันมีการใช้สัญญาณผ่าน ดาวเทียมกันอย่างแพร่หลาย ทั้งในการส่งสัญญาณข้อมูลคอมพิวเตอร์ สัญญาณโทรทัศน์รวมทั่งการใช้ในทาง ภูมิศาสตร์ ทางทหารต่าง ๆ อย่างมากมายข้อเสียที่สาคัญของระบบดาวเทียมคือถูกรบกวนได้จากสภาพอากาศ ฝน หรือพายุ รวมทั้งตาแหน่งโคจรของดวงอาทิตย์ด้วย นอกจากนี้ข้อเสียที่สาคัญอีกอย่างคือจะมีเวลาหน่วง (Delay Time) ในการส่งสัญญาณ ทาให้ฝ่ายรับได้รับข้อมูลช้ากว่าเวลาที่เกิดขึ้นจริง เนื่องจากแม้ว่าสัญญาณจะเดินทางด้วย ความเร็วแสง แต่ระยะทางที่สัญญาณต้องวิ่งระหว่างดาวเทียมกับพื้นโลกถึง 2 รอบ (ขึ้น-ลง) คือ 70000 กม. ทาให้ เกิดเวลาหน่วงขึ้น ซึ่งสาหรับบางงานอาจเป็นสิ่งที่ไม่สามารถยอมรับได้
ข้อดี ของการสื่อสารผ่านดาวเทียมคือ ส่งข้อมูลได้มาก และมีความผิดพลาดน้อย ส่วนข้อเสีย คือ อาจจะมีความล่าช้าเพราะระยะทางระหว่างโลกกับดาวเทียม หรือถ้าสภาพอากาศไม่ดีอาจจะ ก่อให้เกิดความผิดพลาดได้ แหล่งอ้างอิง อนรรฆนงค์ คุณมณี. คอมพิวเตอร์เบื้องต้น เล่มที่ ๖ : ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์. เอส.พี.ซี.บุ๊คส์ จากัด, ๒๕๔๗. http://www.tanti.ac.th/ :โรงเรียนวิเศษไชยชาญ http://www.it.msu.ac.th/datacom/lesson3/lesson3-1.asp มหาวิทยาลัยมหาสารคาม http://www.udomsuksa.ac.th/Latphrao/Knowledge/Technology/network/mainnetwork.html http://www.montfort.ac.th/mcs/dept/computer/computer/0247/4Network.htm
อุปกรณ์ที่ใช้การสื่อสารข้อมูลคอมพิวเตอร์ โมเด็ม (Modem) เป็นอุปกรณ์สาหรับคอมพิวเตอร์อย่างหนึ่งที่ช่วยให้คุณสัมผัสกับโลกภายนอกได้ อย่างง่ายดาย โมเด็มเป็นเสมือนโทรศัพท์สาหรับคอมพิวเตอร์ที่จะช่วยให้ระบบคอมพิวเตอร์ของคุณสามารถ สื่อสารกับคอมพิวเตอร์อื่นๆได้ทั่วโลกโมเด็มสามารถทางานของคุณให้สาเร็จได้ก็ด้วยการเชื่อมต่อระหว่าง คอมพิวเตอร์ของคุณเข้าคู่สายของโทรศัพท์ธรรมดาคู่หนึ่งซึ่ง โมเด็มจะทาการแปลงสัญญาณดิจิตอล (digital signals) จาก เครื่องคอมพิวเตอร์ให้เป็นสัญญาณอนาล็อก (analog signals) เพื่อให้สามารถส่งไปบนคู่สายโทรศัพท์ คาว่า โมเด็ม(Modems) มาจากคาว่า (modulate/demodulate) ผสมกัน หมายถึง กระบวนการแปลงข้อมูลข่าวสารดิจิตอลให้อยู่ในรูปของอนาล็อกแล้วจึงแปลงสัญญาณกลับเป็นดิจิตอลอีกครั้งหนึ่ง เมื่อโมเด็มของคุณต่อเข้ากับโมเด็มตัวอื่นความแตกต่างของโมเด็มแต่ละประเภท
โมเด็มแต่ละประเภทจะมีคุณลักษณะที่แตกต่างกันดังนี้ ความเร็วในการรับ - ส่งสัญญาณ หมายถึง อัตรา (rate) ที่โมเด็มสามารถทาการแลกเปลี่ยน
ข้อมูลกับโมเด็มอื่นๆ มีหน่วยเป็น บิต/วินาที (bps) หรือ กิโลบิต/วินาที (kbps) ในการบอกถึงความเร็วของโมเด็ม เพื่อให้ง่ายในการพูดและจดจา มักจะตัดเลขศูนย์ออกแล้วใช้ตัวอักษรแทน เช่น โมเด็ม 56,000 bps จะเรียกว่า โมเด็มขนาด 56 K ความสามารถในการบีบอัดข้อมูล ข้อมูล ข่าวสารที่ส่งออกไปบนโมเด็มนั้นสามารถทาให้มีขนาด กะทัดรัดด้วยวิธีการบีบอัดข้อมูล (compression) ทาให้สามารถส่งข้อมูลได้ครั้งละเป็นจานวนมากๆ เป็นการเพิ่ม ความเร็วของโมเด็มในการรับ - ส่งสัญญาณ
ความสามารถในการใช้เป็นโทรสาร โมเด็มรุ่นใหม่ๆ สามารถส่งและรับโทรสาร (Fax capabilities) ได้ดีเช่นเดียวกับการรับ - ส่งข้อมูลหากคุณมีซอฟท์แวร์ที่เหมาะสมแล้วคุณสามารถใช้แฟคซ์โมเด็มเป็นเครื่องพิมพ์ (printer) ได้เมื่อคุณพิมพ์เข้าไปที่แฟคซ์โมเด็มมันจะส่งเอกสารของคุณไปยังเครื่องโทรสารที่ปลายทางได้ ความสามารถในการควบคุมความผิดพลาด โมเด็มจะใช้วิธีการควบคุมความผิดพลาด (error control) ต่างๆ มากมายหลายวิธีในการตรวจสอบเพื่อการยืนยันว่าจะไม่มีข้อมูลใดๆสูญหายไประหว่างการส่งถ่าย ข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง ออกแบบให้ใช้ได้ทั้งภายในและภายนอก โมเด็มที่จาหน่ายในท้องตลาดทั่วๆ ไปจะมี 2 รูปแบบ คือ โมเด็มแบบติดตั้งภายนอก (external modems) และ แบบติดตั้งภายใน (internal modems) ใช้เป็นโทรศัพท์ได้ โมเด็มบางรุ่นมีการใส่วงจรโทรศัพท์ธรรมดาเข้าไปพร้อมกับความสามารถในการ รับ - ส่งข้อมูลและโทรสารด้วย สิ่งที่ต้องใช้ร่วมกับโมเด็ม การที่สามารถใช้โมเด็มให้เกิดประโยชน์จากแหล่งข้อมูลนั้นจะต้อง ตรวจสอบว่ามีสิ่งเหล่านี้พร้อมหรือไม่ ซอฟท์แวร์สื่อสาร พอร์ทอนุกรม (serial port) fast UART เป็นซิฟตัวหนึ่งที่ติดตั้งบนพอร์ทอนุกรมของ คอมพิวเตอร์ เพื่อควบคุมการไหลของข้อมูลเข้าและออกจากพอร์ทอนุกรม serial cable เป็นสาย cable ที่นามาต่อโมเด็มกับพอร์ทอนุกรมของคอมพิวเตอร์ (ต้องตรวจสอบดู ว่าเป็น connector แบบ ๙ ขา หรือ 25 ขา) expansion slot ถ้าโมเด็มเป็นแบบติดตั้งภายในจะต้องมี expansion slot ใช้งาน โดยจะต้องถอด ฝาครอบตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ออกและติดตั้งโมเด็มลงไปบน expansion slot
ประเภทโมเด็ม แบ่งออกได้ดังนี้ โมเด็มภายใน (Internal Modem) ข้อดีก็คือ ไม่เปลืองเนื้อที่ ไม่เกะกะ ราคาถูก เปิดเครื่องใช้งานได้ทันที เนื่องจากติดตั้งอยู่ในเครื่องแล้ว ไม่มีปัญหากับเครือ่ งคอมรุ่นเก่าที่มีชิพ UART ที่มีความไวต่า ส่งถ่ายข้อมูลได้สูงกว่าแบบที่อยู่ภายนอก ข้อเสียคือ ติดตั้งยากกว่า แบบภายนอก เคลื่อนย้ายไปใช้เครื่องอื่นได้ยาก เสียสล็อตของเครื่องไปหนึ่งสล็อต ไม่สามารถใช้งานกับ Note Book ได้ โมเด็มภายนอก(External Modem) ข้อดีคือ สามารถเคลื่อนย้ายไปใช้กับเครื่องอื่นได้ง่าย ติดตั้งได้ง่ายกว่า ไม่เพิ่มความร้อนให้ กับเครื่องคอมพิวเตอร์ สามารถใช้ งานกับเครื่อง Note Book ได้
ข้อเสีย มีราคาแพง เกะกะ เกิดปัญหาจากสายต่อได้ง่าย เสียพอร์ต Serial หรือ Parallel Port ไปหนึ่งอัน โมเด็ม PCMCIA ข้อดี ไม่มีสัญญาณรบกวน ข้อเสีย ความเร็วลดลงหรือทาให้หลุดง่าย ฮับ หรือ รีพที เตอร์ (Hub, Repeater) เป็นอุปกรณ์ที่ ทวน และขยายสัญญาณ เพือ่ ส่งต่อไปยังอุปกรณ์อื่น ให้ ได้ระยะทางที่ยาวไกลขึ้น ไม่มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลก่อน และหลัง การรับ-ส่ง และไม่มีการใช้ซอฟท์แวร์ใดๆ มาเกี่ยวข้องกับ อุปกรณ์ชนิดนี้ การติดตั้งจึงทาได้ง่าย ข้อเสียคือ ความเร็วในการส่ง ข้อมูล จะเฉลี่ยลดลงเท่ากันทุกเครื่อง เมือ่ มีคอมพิวเตอร์มาเชื่อมต่อ มากขึ้น ฮับจะมีจานวน Port แตกต่างกันและการรองรับความเร็วของสัญญาณแตกต่างกันความเร็วของสัญญาณ พอร์ทมากประสิทธิภาพของระบบเครือข่ายจะยิ่งมีมากขึ้น และฮับแบบธรรมดากับแบบสวิทชิ่ง แบบสวิทชิ่งจะดี มากกว่าแต่จะมีราคาแพงมากขี้นเกือบเท่าตัว
การพิจารณาซื้อฮับขึ้นอยู่กับปัจจัยดังต่อไปนี้ ความเร็ว ถ้าหากการ์ดเครือข่ายในระบบมีความเร็ว 10/100 Mbps ก็ควรใช้ฮับที่มคี วามเร็วเท่ากัน คือ 10/100Mbps จานวนช่องต่อเข้าคอมพิวเตอร์(Ports) และควรจะเลือกช่องที่ต่อพอร์ทเผื่อไว้ในอนาคตด้วย สวิทช์ หรือ บริดจ์ (Switch, Bridge) เป็นอุปกรณ์สาหรับเชื่อมต่อ เครือข่ายท้องถิ่น หรือ แลน (LAN) ประเภท เดียวกัน ใช้โปรโตคอลเดียวกัน สองวงเข้าด้วยกัน เช่น ใช้เชื่อมต่อ อีเธอร์เน็ตแลน (Ethernet LAN) หรือ โทเคน ริงก์แลน (Token Ring LAN) ทั้งนี้ สวิทช์ หรือ บริดจ์ จะมีความ สามารถในการเชื่อมต่อ ฮาร์ดแวร์ และตรวจสอบข้อผิดพลาด ของการส่งข้อมูล ได้ด้วย ความเร็วในการส่งข้อมูล ก็มิได้ลดลง และติดตั้งง่าย บริดจ์จะรับข้อมูล จากแลนต้นทางและส่งข้อมูลนั้นให้กับแลนปลายทาง โดยที่ไม่ทาการแก้ไขข้อมูล
ลักษณะที่สาคัญของบริดจ์ มีดังนี้ ทาหน้าที่ในการส่งข้อมูลจากแลนต้นทางไปยังแลนปลายทางโดยจะรับข้อมูลทั้งหมดที่ส่งมาจากต้น ทางและปลายทาง ข้อมูลที่ได้มาจากต้นทางจะถูกส่งผ่านเลเยอร์ชั้น Data Link ของ OSI โดยไม่มีการแก้ไขหรืเพิ่มเติม บริดจ์จะต้องมีบัฟเฟอร์เพียงพอสาหรับจานวนข้อมูล เพื่อให้การส่ง ข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
บริดจ์จะสามารถพิจารณาจัดเส้นทางการไหลของข้อมูลได้ในกรณีที่มกี ารเชื่อมต่อแลนมากกว่า 2 เครื่อง และเลือกเส้นทางที่ดีที่สุดในการส่งข้อมูล เราท์เตอร์ (Router) เป็นอุปกรณ์ที่ทางานคล้าย สวิทช์ แต่จะสามารถเชื่อมต่อ ระบบที่ใช้สื่อ หรือ สายสัญญาณต่างชนิดกันได้ เช่น เชื่อมต่อ อีเธอร์เน็ตแลน (Ethernet LAN) ที่ ส่งข้อมูลแบบ ยูทีพี (UTP: Unshield Twisted Pair) เข้ากับ อีเธอร์ เน็ตอีกเครือข่าย แต่ใช้สายแบบโคแอ็กเชียล (Coaxial cable) ได้ นอกจากนี้ ยังช่วยเลือก หรือกาหนดเส้นทางที่จะส่งข้อมูลผ่าน และแปลงข้อมูลให้ เหมาะสมกับการนาส่ง แน่นอนว่าการติดตั้งย่อมยุ่งยากมากขึ้น Router เป็นอุปกรณ์ที่ทางานอยู่ในระดับที่สูงกว่าบริดจ์ นั่นคือในระดับ Network Layer ใน OSI Model ทาให้สามารถใช้ในการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายที่ใช้โปรโตคอลเครือข่ายต่างกัน และสามารถทาการ กรอง (filter) เลือกเฉพาะชนิดของข้อมูลที่ระบุไว้ว่าให้ผ่านไปได้ ทาให้ช่วยลดปัญหาการจราจรที่คับคั่งของข้อมูล และเพิ่มระดับความปลอดภัยของเครือข่าย นอกจากนี้เราท์เตอร์ยังสามารถหาเส้นทางการส่งข้อมูลที่เหมาะสมให้ โดยอัตโนมัติด้วย (ในกรณีที่สามารถส่งได้หลายเส้นทาง) อย่างไรก็ดี เราท์เตอร์จะเป็นอุปกรณ์ที่ขึ้นกับโปรโตคอล นั่นคือในการใช้งานจะต้องเลือกซื้อเราท์เตอร์ที่สนับสนุนโปรโตคอลของเครือข่ายที่ต้องการจะเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน เราท์เตอร์อาจเป็นฮาร์ดแวร์เฉพาะหรือซอฟท์แวร์เราท์เตอร์ก็ได้ เกทเวย์ (Gateway) เป็นอุปกรณ์ที่มีความสามารถสูงสุด ในการเชื่อมต่อเครือข่ายต่างๆ เข้าด้วยกัน โดยไม่มี ขีดจากัด ทั้งระหว่างเครือข่ายต่างระบบ หรือแม้กระทั่งโปรโตคอล จะแตกต่างกันออกไป เกทเวย์ จะแปลง โปรโตคอล ให้เหมาะสมกับอุปกรณ์ที่ต่างชนิดกัน จัดเป็นอุปกรณ์ที่มีราคาแพง และ ติดตั้งใช้งานยุ่งยาก เกทเวย์บางตัว จะรวมคุณสมบัติในการเป็น เร้าเตอร์ ด้วยในตัว หรือ แม้กระทั่ง อาจรวมเอาฟังก์ชั่นการทางานด้านการรักษาความปลอดภัย ที่เรียกว่า ไฟร์ วอลล์ (Firewall) เข้าไว้ด้วย
Gateway เป็นอุปกรณ์ที่ทางานอยู่ในระดับ Transport Layer จนถึง Application Layer ของ OSI Model มีหน้าที่ในการเชื่อมต่อและแปลงข้อมูลระหว่างเครือข่ายที่แตกต่างกันทั้งในส่วนของโปรโตคอล และสถาปัตยกรรมของเครือข่าย LAN และระบบ Mainframeหรือเชื่อมระหว่างเครือข่าย SNAของ IBM กับ DECNet ของ DEC เป็นต้น โดยปกติ Gateway มักจะเป็น Software Packageที่ใช้ในงานบนเครื่อง คอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่ง (ซึ่งทาให้เครื่องนั้นมีสถานะเป็น Gateway)และมักใช้สาหรับเชื่อม Workstation เข้าสู่เครื่องที่เป็นเครื่องหลัก ทาให้เครื่องทีเ่ ป็น Workstation สามารถทางานติดต่อกับเครื่อง หลักได้โดยไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับข้อแตกต่างของระบบเลย
โปรโตคอล (Protocol) คือ ระเบียบวิธีการในการติดต่อสื่อสาร เมื่อมาใช้กับเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม จึงหมายถึงขั้นตอนการติดต่อสื่อสาร ซึ่งรวมถึง กฎระเบียบ และข้อกาหนดต่างๆ รวมถึงมาตรฐานที่ใช้ เพื่อให้ ตัวรับและส่งสามารถดาเนินกิจกรรมทางด้านการสื่อสารได้สาเร็จ ซึ่งมีมากมายหลายชนิด แต่ในที่นี้จะขอกล่าว เฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องกับการใช้ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์เท่านั้น
NetBEUI (NetBIOS Extended User Interface) เป็นโปรโตคอลที่ใช้กับเครือข่ายแบบไมโครซอฟต์ (Microsoft Network) ใช้ในการติดต่อสื่อสารระหว่างเครื่องที่ใช้ระบบปฏิบัติการของไมโครซอฟต์ โปรโตคอลชนิด นี้เหมาะในการใช้งานเครือข่ายขนาดเล็ก และไม่สามารถ Route ผ่านอุปกรณ์หาเส้นทาง (Router) ได้ทาให้ไม่ สามารถใช้งานในเครือข่ายระยะไกล เช่น อินเตอร์เน็ตได้ IPX/SPX (Inter-network Packet Exchange/Sequenced Packet Exchange) เป็นโปรโตคอลที่ พัฒนาโดยบริษัท โนเวลเพื่อใช้กับระบบปฏิบัติการเน็ตแวร์ โปรโตคอลชนิดนี้สามารถ Route ผ่าน Router ได้ แต่มี ประสิทธิภาพต่า TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol) เป็นโปรโตคอลมาตรฐานทีใ่ ช้กัน อยู่ในระบบปฏิบัติการแบบยูนิกซ์ เพื่อเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์หลายชนิดที่อยู่ห่างไกลกัน ต่อมาได้พัฒนาเป็น เครือข่ายอินเตอร์เน็ต โปรโตคอลนี้เหมาะสาหรับเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ทั้งใกล้และไกลเข้าด้วยกัน และมีมาตรฐาน รองรับทาให้ผู้ผลิตฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์สามารถสร้างอุปกรณ์และโปรแกรมที่จะรองรับการทางานของ โปรโตคอลนี้ทาให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถรับส่งข้อมูลกันได้ไม่ว่าจะเป็นเครื่องขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ หรือจะ ใช้ระบบปฏิบัติการอะไรก็ตาม TCP/IP เป็นชุดโปรโตคอลที่ประกอบด้วยโปรโตคอลต่างๆ หลายโปรโตคอล แต่ละ โปรโตคอลมีคุณลักษณะและมีความสามารถในการทางานแตกต่างกัน ในที่นี้จะได้กล่าวถึงรายละเอียดและ คุณสมบัติของโปรโตคอลที่สาคัญบางโปรโตคอลเท่านั้น คือ FTP (File Transfer Protocol) ใช้ในการรับ-ส่ง แฟ้มข้อมูลระหว่างเครื่องลูกข่ายและ เครื่องเซิร์ฟเวอร์ โดยที่เครื่องเซิร์ฟเวอร์จะต้องมีโปรแกรมให้บริการ FTP (FTP Server) ติดตั้งและทางานอยู่ เพื่อให้เครื่องลูกข่ายที่รันโปรแกรม FTP Client สามารถเข้ามาขอใช้บริการได้ นอกจากรับส่งแฟ้มข้อมูลแล้ว FTP ยังมีคาสั่งที่ใช้ในการแสดงชื่อแฟ้มข้อมูลบนเครื่องเซิร์ฟเวอร์ เปลี่ยนชื่อแฟ้มหรือลบแฟ้มข้อมูล TELNET เป็นบริการที่ให้เครื่องลูกข่ายสามารถเข้าไปใช้เครื่องเซิร์ฟเวอร์ โดยการจาลอง ตัวเองให้ทางานเป็นเทอร์มินัล ผู้ใช้งานจะต้องใส่รหัสผู้ใช้และรหัสผ่านเพื่อแจ้งการเข้าใช้เครื่อง เมื่อเข้าไปได้แล้ว การทางานต่างๆจะเหมือนกับการเข้าไปทางานที่หน้าจอของเครื่องเซิร์ฟเวอร์
SMTP เป็นการให้บริการเพื่อรับส่งจดหมายอิเลคทรอนิคส์ (E-Mail) โดยที่ SMTP จะมีตู้ ไปรษณีย์เพื่อทาหน้าที่รับจดหมายจากผู้อื่นที่ต้องการส่งให้ และเก็บจดหมายของผู้ใช้ที่ต้องการส่งไปยังผู้ใช้อื่น เมื่อถึงกาหนดเวลาที่ตั้งไว้โปรแกรมจะทาการส่งจดหมายออกและรับจดหมายเข้ามา ผู้ใช้ก็สามารถจะเปิดอ่านได้ เมื่อต้องการ ส่วนการรับส่งจดหมายระหว่างเครื่องลูกข่ายกับ SMTP Server ในลักษณะที่เป็น Client/Server จะ ใช้โปรโตคอลที่ชื่อว่า POP3 (Post Office Protocol) HTTP (Hyper Text Transfer Protocol) ใช้ในการติดต่อรับส่งข้อมูลชนิดไฮเปอร์เท็กซ์ (Hypertext) ระหว่างเครื่องลูกข่ายกับ WWW Server (World Wide Web) โดยที่เอกสารนี้จะอยู่ในรูปแบบที่ เขียนในภาษา HTML (Hyper Text Markup Language) เอกสารแต่ละชิ้นจะสามารถเชื่อมโยงไปยังเอกสารชิ้น อื่นได้ ซึ่งเอกสารที่ถูกเชื่อมโยงนี้อาจจะอยู่บนเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องเดียวกันหรือต่างเครื่องกันก็ได้ DNS ( Domain Name System) ในการเชื่อมโยงเครือข่ายแบบที่ใช้โปรโตคอล TCP/IP นัน้ เครื่องเซิร์ฟเวอร์และเครื่องลูกข่ายทุกตัวจะต้องมีหมายเลขที่ใช้ในการระบุตัวเองคล้ายกับ ชื่อ-นามสกุล ของคนเรา หมายเลขที่กล่าวมานี้เรียกว่า IP Address โดยเขียนในลักษณะนี้ 203.154.126.134 การจดจา IP Address เป็นสิ่งที่ทาได้ยากกว่าการจาชื่อของเครื่องคอมพิวเตอร์ ดังนั้นจึงเกิดการสร้างเซิร์ฟเวอร์ที่จะให้บริการ การสอบถามชื่อเครื่องและ IP Address ในเครือข่ายอินเตอร์เน็ตขึ้นมา ซึ่งเรียกว่า Domain Name Services ใน การใช้งานนั้นผู้ใช้เพียงแต่ระบุ IP Address ของเครื่องที่ให้บริการนี้แล้วเมือ่ ต้องการจะติดต่อกับเครื่อง คอมพิวเตอร์เครื่องใดในเครือข่ายอินเตอร์เน็ต DNS จะช่วยค้นหา IP Address ของเครื่องที่ต้องการให้เพื่อให้ โปรแกรมสามารถใช้ IP Address ที่ได้ในการติดต่อ
แสดงการติดต่อสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ที่ใช้ DNS
วิธีการถ่ายโอนข้อมูล วิธีการถ่ายโอนข้อมูลเป็นการส่งสัญญาณออกจากเครื่องและรับสัญญาณเข้าไปในเครื่อง การถ่ายโอน ข้อมูลสามารถจาแนกได้ 2 แบบ คือ การถ่ายโอนข้อมูลแบบขนาน การถ่ายโอนข้อมูลแบบขนาน ทาได้โดยการส่งข้อมูลออกทีละ 1 ไบต์ หรือ 8 บิตจากอุปกรณ์ส่งไปยัง อุปกรณ์รับ อุปกรณ์ตัวกลางระหว่างสองเครื่องจึงต้องมีช่องทางให้ข้อมูลเดินทางอย่างน้อย 8 ช่องทาง เพื่อให้ กระแสไฟฟ้าผ่านโดยมากจะเป็นสายสัญญาณแบบขนาน ระยะทางของสายสัญญาณแบบขนานระหว่างสองเครื่อง ไม่ควรยาวเกิน 100 ฟุต เพราะอาจทาให้เกิดปัญหาสัญญาณสูญหายไปกับความต้านทานของสาย นอกจากนี้อาจ มีปัญหาที่เกิดจากระดับไฟฟ้าสายดินที่จุดรับผิดไปจากจุดส่ง ทาให้เกิดการผิดพลาดในการรับสัญญาณทางฝ่ายรับ
นอกจากแกนหลักแล้วอาจจะมีทางเดินของสัญญาณควบคุมอื่น ๆ อีก เช่น บิตพาริตี ที่ใช้ในการตรวจสอบความ ผิดพลาดของการรับสัญญาณที่ปลายทางหรือสายที่ควบคุมการโต้ตอบ (hand-shake)
การถ่ายโอนข้อมูลแบบอนุกรม ในการถ่ายโอนข้อมูลแบบอนุกรม ข้อมูลจะถูกส่งออกมาทีละบิต ระหว่างจุดส่งและจุดรับ การส่งข้อมูล แบบนี้จะช้ากว่าแบบขนาน การถ่ายโอนข้อมูลแบบอนุกรมต้องการตัวกลางสาหรับการสื่อสารเพียงช่องเดียวหรือ สายเพียงคู่เดียว ค่าใช้จ่ายจะถูกกว่าแบบขนานสาหรับการส่งระยะทางไกลๆ โดยเฉพาะเมื่อเรามีระบบการสื่อสาร ทางโทรศัพท์ไว้ใช้งานอยู่แล้ว ย่อมจะเป็นการประหยัดกว่าที่จะทาการติดต่อสื่อสารทีละ 8 ช่อง เพื่อการถ่ายโอน ข้อมูลแบบขนาน การถ่ายโอนข้อมูลแบบอนุกรมจะเริ่มโดยข้อมูลจากจุดส่งจะถูกเปลี่ยนให้เป็นสัญญาณอนุกรม เสียก่อน แล้วคอยทยอยส่งออกทีละบิตไปยังจุดรับ และที่จุดรับจะต้องมีกลไกในการเปลี่ยนข้อมูลที่ส่งมาทีละบิต ให้เป็นสัญญาณแบบขนานซึง่ ลงตัวพอดี เช่น บิตที่ 1 ลงที่บัสข้อมูลที่ส่งมาทีละบิต ให้เป็นสัญญาณแบบขนานซึง่ ลงตัวพอดี เช่น บิตที่ 1 ลงที่บัสข้อมูลเส้นที่ 1 ดังแสดงในรูป
การติดต่อแบบอนุกรมอาจจะแบ่งตามรูปแบบการรับ-ส่ง ได้ 3 แบบ คือ สื่อสารทางเดียว (simplex) ข้อมูลส่งได้ทางเดียวเท่านั้น บางครั้งก็เรียกว่าการส่งทิศทาง เดียว (unidirectional data bus) สื่อสารสองทางครึ่งอัตรา (half duplex) ข้อมูลสามารถส่งได้ทั้งสองสถานี แต่จะต้องผลัด กันส่งและผลัดกันรับ จะส่งและรับพร้อมกันไม่ได้ สื่อสารสองทางเต็มอัตรา (full duplex) ทั้งสองสถานีสามารถรับและส่งได้ในเวลา เดียวกัน
ความเร็วของการถ่ายโอนข้อมูลแบบอนุกรม หน่วยวัดเป็นบิตต่อวินาที (bps) หน่วยที่บรรยายถึง การเปลี่ยนแปลงของสัญญาณใน 1 วินาที เรียกว่าอัตราบอด (baud rate) ซึ่งเมื่อนามาคูณกับจานวนบิตใน 1 บอด จะได้อัตราบิต (bit rate) ซึ่งแสดงถึงการเปลี่ยนแปลงของสัญญาณ 1 ครั้ง ถ้าเขียนในรูปของสมการ คณิตศาสตร์ก็จะได้ อัตราบิต (bit rate) = อัตราบอด (baud rate) x (จานวนบิตใน 1 บอด)
ประเภทเครือข่ายในองค์กร ระบบอินเทอร์เน็ต (Internet) เป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์หลายๆ เครือข่าย ที่มีการเชื่อมโยง เข้าด้วยกัน โดยที่คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะสามารถเชื่อมต่อถึงกันได้ทั่วโลก ระบบอินทราเน็ต (Intranet) เป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ใช้สื่อสารภายในกลุ่มขององค์กรนั้น ๆ โดยอาศัยเทคโนโลยีของอินเทอร์เน็ต (Inernet) เป็นพื้นฐาน ระบบเอ็กซ์ทราเน็ต (Extranet) เป็นการเชื่อมโยงระหว่างองค์กรต่าง ๆ ที่มีอินทราเน็ตเข้าด้วยกัน การใช้เอ็กซ์ทราเน็ตนั้น องค์กรที่เชื่อมกันอยู่จะสามารถแบ่งข้อมูลภายในได้ตลอดเวลาระหว่างเครือข่าย อินทราเน็ตของตนกับองค์กรอื่น ๆ หรือผู้ใช้บริการได้อย่างปลอดภัย
ความปลอดภัยในระบบเครือข่าย การคุกคามต่อข้อมูลในเครือข่าย เกิดจากคอมพิวเตอร์เสียหาย สาเหตุหลักที่ทาให้ข้อมูลสูญหายส่วนใหญ่เกิดจากอุปกรณ์ (Hardware) ในการเก็บข้อมูลนั่นเอง ไม่ได้รับการอบรมในการใช้ เพราะผู้ใช้ไม่ทราบถึงระบบการใช้งานจริงก่อนมีการใช้ เมื่อใช้ จึงปฏิบัติไม่ถูกต้อง จึงเกิดความเสียหายกับข้อมูลได้ อุบัติเหตุ เพราะเมื่อเครื่องมีปัญหา ผู้ใช้มักจะลบบางไฟล์ทิ้ง ทั้งที่ตั้งใจและไม่ตั้งใจ ทาให้ ข้อมูลนั้นเกิดสูญหายไป ไฟไหม้ เป็นอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นแล้วทุกสิ่งทุกอย่างจะสูญหายหมด รวมทั้งข้อมูลใน คอมพิวเตอร์ด้วย ภัยธรรมชาติ ภัยธรรมชาติก็นับว่าเป็นภัยร้ายแรงอีกประเภทหนึ่งที่สามารถทาลาย คอมพิวเตอร์และข้อมูลในเครือข่ายทั้งหมดในทันที
การป้องกันข้อมูลในเครือข่าย กาแพงไฟ (Firewall ) กาแพงไฟเป็นซอฟต์แวร์หรือฮาร์ดแวร์พิเศษที่ถูกออกแบบมา สาหรับทาหน้าที่ป้องกันผู้อื่นที่ไม่มีสิทธิบุกรุกเข้ามาในเครือข่ายได้
รหัสผ่าน (Password) คือ ต้องป้อนบัญชีสมาชิกของผู้ใช้และรหัสผ่านเสียก่อน ซึ่งสิ่งนี้จะ เป็นตัวกาหนดว่าผู้ใช้คนนั้นสามารถเข้าถึงข้อมูลได้แค่ไหน แต่ระบบป้องกันโดยใช้บัญชีสมาชิกและรหัสผ่านนั้น อาจจะหละหลวมได้ เพราะผู้ใช้ที่เป็นผู้ไม่ได้รับอนุญาตใช้เทคนิคการเดารหัสผ่านโดยสุม่ จากเรื่องใกล้ตัว ดังนั้นผู้ ตั้งรหัสควรที่ตั้งให้ยาก และเรื่องไกลตัวด้วย การสารองข้อมูลในเครือข่าย (Back up) คือการเก็บข้อมูลไว้ในอุปกรณ์อื่น ๆ ที่ นอกเหนือจากเซิร์ฟเวอร์ของเครือข่ายนั้น ๆ
การประยุกต์ใช้งานของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ( Electronic mail : e-mail ) เป็นการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ส่งข้อความ ในรูปแบบของจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ไปยังบุคคลอื่นโดยการสื่อสารนี้บุคคลที่ทาการสื่อสารจะต้องมีชื่อและที่อยู่ ในรูป e-mail addres ไปรษณีย์เสียง (Voice mail ) เป็นการส่งข้อความในรูปแบบของเสียงผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ เสียงจะถูกส่งผ่านสื่อและนาไปเก็บไว้ในอุปกรณ์บันทึกเสียงจนกว่าจะมีการเปิดฟัง โทรสาร (Facsimile or Fax) เป็นการส่งข้อความที่เป็นหน้ากระดาษ จากเครื่องส่งไปยังเครื่องรับ โทรสาร สามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการส่งข้อมูลได้เช่นเดียวกับเครื่องโทรสาร โดยจะต้องมีโปรแกรม คอมพิวเตอร์เฉพาะงาน Video conferencing เป็นการสื่อสารข้อมูลโดยการส่งภาพและเสียง จากฝ่ายหนึ่งไปสู่อีกฝ่ายหนึ่ง ในการใช้ Video conferencing จะต้องมีอุปกรณ์สาหรับการบันทึกภาพและอุปกรณ์บันทึกเสียง โดยที่ภาพและ เสียงที่ส่งไปนั้นอาจเป็นภาพเคลื่อนไหวที่มีเสียงประกอบได้ Global Positioning System (GPSs) เป็นระบบที่ใช้วิเคราะห์และระบุตาแหน่งของคน สัตว์ หรือสิ่งของที่เป็นเป้าหมายของระบบโดยใช้ดาวเทียม ปัจจุบันมีการนาไปใช้ในระบบการเดินเรือ เครื่องบิน และ เริ่มพัฒนามาใช้เพื่อระบุตาแหน่งของรถยนต์ด้วย
ใบงานกิจกรรมที่ 3.1 หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 ท่องโลก Cyber ชั้นมัธยมศึกษาปีที่4 สาระการเรียนรู้พื้นฐาน เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เรื่อง ระบบสื่อสารและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 10 คะแนน 1. จงอธิบายความหมายของคาต่อไปนี้ 1.1 การสื่อสารข้อมูล ................................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................................. 1.2 เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ................................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................................. 2. ประโยชน์ของการสื่อสารข้อมูลผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีอะไรบ้าง ................................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................................ 3. องค์ประกอบของระบบสื่อสารผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มีอะไรบ้าง ................................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................................................. 4. โมเด็มเกี่ยวข้องกับระบบการสื่อสารข้อมูลอย่างไร ................................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................................. 5. รูปแบบการเชื่อมต่อเครือข่ายมีอะไรบ้าง ................................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................................. ชื่อ......................................................ชั้น...............เลขที่...................
ใบความรู้ที่ 3.2 หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 ท่องโลก Cyber สาระการเรียนรู้พื้นฐาน เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เรื่อง รู้จักอินเทอร์เน็ต
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่4 เวลา 1 ชั่วโมง
มารู้จักอินเทอร์เน็ตกันเถอะ อะไรคืออินเทอร์เน็ต อินเทอร์เน็ต คือช่องทางหรือ เครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ทั้งโลกเข้าด้วย กันทาให้สามารถรับส่งข้อมูลกันได้ซึ่ง คอมพิวเตอร์ทั้งหลายที่เชื่อมต่อกันเป็นแหล่ง รวมของข้อมูลมหาศาลมีทั้งข้อความ ภาพ เสียง วิดีโอโปรแกรมและอื่นๆนอกจากนี้อินเทอร์เน็ตยังเป็นช่องทางที่ช่วยให้ติดต่อสื่อสารกันได้โดยสะดวก รวดเร็วทันทันใด อินเทอร์เน็ตนับเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดครอบคลุมพื้นที่กว้างที่สุดและมีอัตรา การขยายตัวเร็วที่สุดตลอดช่วง 30 ปีที่ผ่านมาอินเทอร์เน็ตได้พัฒนาศักยภาพขึ้นมาอย่างรวดเร็วกระทั่งถึงปัจจุบัน มีเครื่องคอมพิวเตอร์หลายล้านเครื่องทั่วโลกเชื่อมต่อกับระบบทาให้คนในโลกทุกชาติทุกภาษาสามารถ ติดต่อสื่อสารกันได้โดยไม่ต้องเดินทางไปโลกทั้งโลกเปรียบเสมือนเป็นบ้านหนึ่งหลังที่ทุกคนในบ้านสามารถพูดคุย กันได้ตลอด 24 ชั่วโมงประหยัดทั้งเวลาค่าใช้จ่ายแต่เกิดประโยชน์ต่อสังคมโลกปัจจุบัน
ความหมายของอินเทอร์เน็ต อินเทอร์เน็ต (Internet) คือ เครือข่ายของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระบบต่าง ๆที่เชื่อมโยงกันเป็นระบบ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่มีขนาดใหญ่เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องทั่วโลกสามารถติดต่อสื่อสารถึงกันได้โดยใช้ มาตรฐานในการรับส่งข้อมูลที่เป็นหนึ่งเดียวหรือที่เรียกว่าโปรโตคอล (Protocol)ซึ่งโปรโตคอล ที่ใช้บนระบบ เครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีชื่อว่า ทีซีพี/ไอพี (TCP/IP : Transmission Control Protocol/Internet Protocol) ลักษณะของระบบอินเทอร์เน็ตเป็นเสมือนใยแมงมุมที่ครอบคลุมทั่วโลกในแต่ละจุดที่เชื่อมต่อ อินเทอร์เน็ตนั้น สามารถสื่อสารกันได้หลายเส้นทางตามความต้องการโดยไม่กาหนดตายตัวและไม่จาเป็นต้องไป ตามเส้นทางโดยตรง อาจจะผ่านจุดอื่น ๆ หรือเลือกไปเส้นทางอื่นได้หลาย ๆเส้นทางการติดต่อสื่อสารผ่านระบบ เครือข่ายอินเทอร์เน็ต นั้นอาจเรียกว่าการติดต่อสื่อสารแบบไร้มิติ
เราเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตได้อย่างไร ในฐานะของผู้ใช้ทั่วไปจะเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้โดยผ่าน ISP แต่คอมพิวเตอร์ของเราอุปกรณ์ที่เหมาะสม ในการแปลงสัญญาณผ่านสื่อที่จะใช้แต่ละประเภท เช่น ต่อผ่านสายโทรศัพท์ธรรมดา โดยต้องมีโมเด็ม (Modem) ที่ต่อกับคอมพิวเตอร์แล้วเอาสายโทรศัพท์ต่อเข้าไปอีกที
ต่อสายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง โดยต้องอาศัยโมเด็มชนิดพิเศษ ( ADSL ) ที่ต่อคอมพิวเตอร์เข้ากับสายโทรศัพท์เช่นเดียวกันแต่ การรับส่งสัญญาณในสายคนละแบบคนละความถี่ทาให้ได้ความเร็วสูงขึ้นกว่าโมเด็มธรรมดา 10 -100 เท่า
ต่ออินเทอร์เน็ตแบบไร้สาย ก็ต้องมีโมเด็มแบบไร้สายที่ใช้เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ของเราเข้ากับเครือข่ายของผู้ใช้บริการ โทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบใดระบบหนึ่ง
ต่ออินเทอร์เน็ตแล้วทาอะไรได้บ้าง เมื่อต่ออินเทอร์เน็ตได้แล้วสามารถใช้ประโยชน์ได้ดังต่อไปนี้ เข้าเว็บ ( Web ) เว็บหรือเวิลด์ไวด์เว็บ ( World Wide Web หรือ www ) เป็นรูปแบบ เอกสารที่เรียกดูได้ในเว็บเพจนี้อาจมีทั้งข้อความภาพประกอบเป็นหน้าๆในแต่ละหน้าจะมีการเชื่อมโยง หรือ ลิงค์ ( Link) ให้เรียกดูเอกสารที่เกี่ยวข้องได้ง่าย รับ / ส่งอีเมลล์ ( E - mail )อีเมลล์เป็นบริการสื่อสารที่ใช้กันมานาน เทียบได้กับการรับส่ง จดหมายธรรมดาคือส่งข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ของเราไปยังที่ประชุมซึ่งข้อมูลจะไปเข้าที่เมลล์บอกซ์หรือตู้จดหมาย ของผู้รับรอให้เปิดดูเมื่อต้องการ การแชท ( Chat ) เป็นการพุดคุยกันโดยผ่านทางอินเทอร์เน็ตจากเป็นข้อความเสียงและ เห็นภาพในการพุดคุย อ่านข่าวประจาวัน จากเว็บไซต์หนังสือพิมพ์ต่างๆได้ไม่ว่าจะเป็นข่าวใหม่หรือข่าวเก่าก็ สามารถค้นหาอ่านได้สะดวก บางเว็บไซต์อาจทาลิงค์ที่เกี่ยวข้องกับแต่ละข่าวได้ด้วยเพื่อนให้สะดวกในการเปิดอ่าน ข่าวที่มีเนื้อหาเกี่ยวโยงกัน ค้นหาข้อมูล ( Search ) ปัจจุบันผู้ใช้นิยมใช้บริการค้นหาข้อมูลในอินเทอร์เน็ตกันมากขึ้น เนื่องจากได้สารพัดทั้งรูป เว็บ โปรแกรม ข่าว เว็บไซต์ที่นิยมเข้าไปบริการคือ Google Yahoo MSN เป็น ต้น ดาวน์โหลดไฟล์ข้อมูล โปรแกรม เพลง หนัง หรืออื่นๆโดยเรียกจากบราวเซอร์หรือจะรับส่ง ไฟล์ด้วยบริการอื่น โทรศัพท์ผา่ นอินเทอร์เน็ตทั้งโทรไปยังผู้รับที่ใช้อินเทอร์เน็ตด้วยกัน ซึ่งจะคุยกันโดยตรงเลย หรือโทรไปเข้าเครื่องโทรศัพท์ธรรมดา ซึ่งจะต้องผ่านระบบแปลงสัญญาณของผู้ให้บริการแต่ละรายก่อน ส่ง SMS บางเว็บหรือบางโปรแกรมจะสามารถรับส่งข้อความกับโทรศัพท์มือถือได้ การประชุมแบบเห็นหน้าผ่านทางอินเทอร์เน็ตซึ่งทั้งสองฝ่ายจะต้องมีกล้องไมโครโฟนและ เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูง แลกเปลี่ยนความคิดบนเว็บบอร์ด หรือสอบถามปัญหาในเรื่องต่างๆ กัน ปัจจุบันเกือบทุก เว็บไซต์จะมีบริการนี้อยู่ด้วย ซื้อขายสินค้าออนไลน์มีทั้งสินค้ามือใหม่และมือสอง ทั้งกระทู้ประกาศและร้านที่เป็นเว็บขาย สินค้าโดนเฉพาะซึ่งอาจมีร้านจริงหรือไม่จริงก็ได้
เล่นเกมออนไลน์ เกมที่เล่นออนไลน์นี้มีหลายแบบ เช่นเล่นบนเว็บคนเดียวโดยไม่ต้องมีผู้ร่วม เล่น หรือเล่นเป็นกลุ่มที่ต้องมีผู้ออนไลน์อื่นๆมาร่วมเล่นด้วย ดูหนังฟังเพลงผ่านทางอินเทอร์เน็ต เป็นการเรียกดูช่วงใดในหนังหรือเพลงนั้นทันทีโดยไม่ ต้องโหลดไฟล์ ซึ่งต้องใช้โปรแกรมรับส่งข้อมูลบนเครื่องทั้งสองฝ่าย
อุปกรณ์ที่ในการเชื่อมอินเทอร์เน็ต โมเด็ม จะใช่คู่กับสายโทรศัพท์ในการแปลงสัญญาณเพื่อเชื่อมต่อซึ่งปัจจุบันมีความเร็วมาก โมเด็มมีหลายรูปแบบให้เลือกคือ โมเด็มแบบภายนอก ( Extemal ) ซึ่งจะต้องเต่อเข้าที่พอร์ตอนุกรมหรือพอร์ต USB ภายนอกตัวเครื่อง โมเด็มแบบภายใน ( Intemal )ซึ่งเป็นการ์ดเสียบเข้ากับสล๊อตภายในเครื่อง
LAN เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่าน LAN เป็นอีกวิธีหนึ่งในการเชื่อมต่อที่พบได้ในหน่วยงานหรือร้าน อินเทอร์เน็ตทั่วไปโดยจะต้องมีการ์ด LAN แบบมีสายหรือไร้สายก็ตามแล้วเช็คอัพที่โปรโตคอล TCP / IP ให้ต่อ อินเทอร์เน็ตผ่าน LAN ได้อีกวิธีหนึ่ง การเชื่อมต่อ LAN ในร้านอินเทอร์เน็ต
การเรียกใช้งาน Internet Explorer Start > All Programs > Internet Explorer
ส่วนประกอบในหน้าจอของ Internet Explorer (IE)
หมายเลข 1 แถบชื่อเอกสาร ( Address bar ) แสดงตาแหน่งหรือแอสเดรสของเว็บเพจ หมายเลข 2 แถบชื่อ ( Title bar) แสดงชื่อเว็บเพจที่เรียกดูและชื่อโปรแกรม หมายเลข 3 แถมเมนู ( Menu bar) คือแถบคาสั่งหลักๆเมื่อคลิกจะแสดงคาสั่งย่อยออกมา หมายเลข 4 แถบลิงค์ ( Links ) แสดงลิงค์ไปยังเว็บเพจต่างๆ หมายเลข 5 แถบเครื่องมือ ( Tool bar ) เป็นแถบปุ่มเครื่องมือที่ใช้กันบ่อยๆ หมายเลข 6 แถบสถานะ ( Status bar ) แสดง URL ของลิงค์ที่เมาส์ชี้ URL ที่กาลังติดต่อดึงข้อมูลบางครั้งก็แสดงความคืบหน้าในการดึงข้อมูล
ค้นหาข้อมูลด้วย www.google.co.th
ข้อดีและข้อจากัดการใช้อินเทอร์เน็ต อินเทอร์เน็ตเป็นเทคโนโลยีใหม่ในการสื่อสารสารสนเทศ เปรียบเสมือนชุมชนแห่งใหม่ของโลกซึ่งรวมคนทั่วทุก มุมโลกเข้าด้วยกันจึงทาให้มีบริการต่างๆเกิดขึ้นใหม่ ตลอดเวลาซึ่งมีทั้งข้อดีทเี่ ป็นประโยชน์และข้อจากัด บางประการดังนี้
ข้อดีของอินเทอร์เน็ต อินเทอร์เน็ตประกอบไปด้วยบริการที่หลากหลาย ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ใช้บริการมากมาย ดังต่อไปนี้ ค้นคว้าข้อมูลในลักษณะต่างๆ เช่น งานวิจัยบทความในหนังสือพิมพ์ความก้าวหน้าทาง การแพทย์ ฯลฯได้จากแหล่งข้อมูลทั่วโลกเช่น ห้องสมุด สถาบันการศึกษาและสถาบันวิจัยโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย และเสียเวลาในการเดินทางและสามารถสืบค้นได้ตลอดเวลา 24 ชั่วโมง ติดตามความเคลื่อนไหวต่างๆทั่วโลกได้อย่างรวดเร็วจากการรายงานข่าวของสานักข่าวต่างๆ อยู่รวมทั้งอ่านบทความเรื่องราวที่ลงในนิตยสารหรือวารสารต่างๆได้ฟรีโดยมีทั้งข้อความและภาพประกอบด้วย
รับส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ทั่วโลกได้อย่างรวดเร็วโดยไม่ต้องเสียเงินค่าตราไปรษณีย์ยากร ถึงแม้จะเป็นการส่งข้อความไปต่างประเทศก็ไม่ต้องเสียเงินเพิ่มขึ้นเหมือนการส่งจดหมายการส่งไปรษณีย์ อิเล็กทรอนิกส์นี้นอกจากจะส่งข้อความตัวอักษรแบบจดหมายธรรมดาแล้วยังสามารถส่งแฟ้มภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียงพร้อมกันไปได้ด้วย สนทนากับผู้อื่นที่อยู่ห่างไกลได้ทั้งในลักษณะการพิมพ์ข้อความและเสียง ร่วมกลุ่มอภิปรายหรือกลุ่มข่าวเพื่อแสดงความคิดเห็นหรือพูดคุยถกปัญหากับผูท้ ี่สนใจใน เรื่องเดียวกัน เป็นการขยายวิสัยทัศน์ในเรื่องที่สนใจนั้นๆ ถ่ายโอนแฟ้มข้อความ ภาพ และเสียงจากที่อื่นๆ รวมทั้งโปรแกรมต่างๆได้จากแหล่งที่มผี ู้ ให้บริการ ตรวจดูราคาสินค้าและสั่งซื้อสินค้ารวมทั้งบริการต่างๆ ได้โดยไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไป ห้างสรรพสินค้า ให้ความบันเทิงหลายรูปแบบ เช่น การฟังเพลง รายการวิทยุ การชมรายการโทรทัศน์ ภาพยนตร์ รวมไปถึงการแข่งขันเกมกับผู้อื่นได้ทั่วโลก ติดประกาศข้อความที่ต้องการให้ผู้อื่นทราบได้อย่างทั่วถึง ให้เสรีภาพในการสื่อสารทุกรูปแบบแก่บุคคลทุกคน
ข้อจากัดของอินเทอร์เน็ต ถึงแม้อินเทอร์เน็ตจะก่อให้เกิดผลดีต่อผู้ใช้มากมายแต่ก็ยังมีข้อจากัดบางประการดังต่อไปนี้ อินเทอร์เน็ตเป็นข่ายงานขนาดใหญ่ที่ไม่มีใครเป็นเจ้าของทุกคนจึงสามารถสร้างเว็บไซด์หรือ ติดประกาศข้อความได้ทุกเรื่อง บางครั้งข้อความนั้นอาจจะเป็นข้อมูลที่ไม่ถูกต้องหรือไม่ได้รับการรับรองเช่น ข้อมูลด้านการแพทย์หรือผลการทดลองต่างๆจึงเป็นวิจารณญาณของผู้อา่ นที่จะต้องไตร่ตรองข้อความที่อ่านนั้น ด้วยว่าควรจะเชื่อถือได้หรือไม่ นักเรียนและเยาวชนอาจติดต่อเข้าไปในเว็บไซด์ทไ่ี ม่เป็นประโยชน์หรืออาจยัว่ ยุอารมณ์ทาให้ เป็นอันตรายตัวตัวเองและสังคม
ใบงานกิจกรรมที่ 3.2 หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 ท่องโลก Cyber สาระการเรียนรู้พื้นฐาน เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เรื่อง รู้จักอินเทอร์เน็ต
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 10 คะแนน
1. ความหมายของอินเทอร์เน็ต ................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................... 2. เราเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตได้อย่างไร ................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................... 3. ต่อสายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................... 4. ต่ออินเทอร์เน็ตแบบไร้สาย ................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................... 5. ต่ออินเทอร์เน็ตแล้วทาอะไรได้บ้าง ................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................... ...................................................................................................................................................................................
6. อุปกรณ์ที่ในการเชื่อมอินเทอร์เน็ต ................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................... 7. LAN ................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................... 8. ข้อดีและข้อจากัดการใช้อินเทอร์เน็ต ................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................... 9. ข้อดีของอินเทอร์เน็ต ................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................... 10. ข้อจากัดของอินเทอร์เน็ต ................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................... ...................................................................................................................................................................................
ชื่อ............................................................ชั้น................เลขที่...................
ใบความรู้ที่ 3.3 หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 ท่องโลก Cyber ชั้นมัธยมศึกษาปีที่4 สาระการเรียนรู้พื้นฐาน เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เวลา 1 ชั่วโมง เรื่อง คุณธรรมและจริยธรรมในการใช้อินเตอร์เน็ต
คุณธรรมและจริยธรรมในการใช้อินเตอร์เน็ต ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมีเป็นจานวนมากและเพิ่มขึ้นทุกวัน การใช้งานระบบเครือข่ายที่ออนไลน์และส่งข่าวสาร ถึง กัน ย่ อมมีผู้ ที่ มี ค วามประพฤติไ ม่ ดีป ะปนและสร้ างปั ญ หาให้ กับ ผู้ใ ช้ อื่น อยู่ เ สมอ หลายเครือ ข่ ายจึง ได้อ อก กฎเกณฑ์การใช้งานภายในเครือข่าย เพื่อให้สมาชิกในเครือข่ายของตนยึดถือ ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์และได้รับ ประโยชน์สูงสุด ดังนั้น ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทุกคนที่เป็นสมาชิกเครือข่ายจะต้องเข้าใจกฎเกณฑ์ข้อบังคับของ เครือข่ายนั้นมีความรับผิดชอบต่อตนเองและผู้ร่วมใช้บริการคนอื่นและจะต้องรับผิดชอบต่อการกระทาของตนเอง ที่เข้าไปขอใช้บริการต่างๆ บนเครือข่ายบนระบบคอมพิวเตอร์เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเรียกเข้ามิได้ เป็นเพียงเครือข่ายขององค์กรที่ผู้ใช้สังกัด แต่เป็นการเชื่อมโยงของเครือข่ายต่างๆเข้าหากันหลายพันหลายหมื่น เครือข่ายมีข้อมูลข่าวสารอยู่ระหว่างเครือข่ายเป็นจานวนมาก การส่งข่าวสารในเครือข่ายนั้นอาจทาให้ข่าวสาร กระจายเดินทางไปยังเครือข่ายอื่ น ๆ อีกเป็นจานวนมากหรือแม้แต่การส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ฉบับหนึ่งก็ อาจจะต้องเดินทางผ่านเครือข่ายอีกหลายเครือข่ายกว่าจะถึงปลายทาง ดังนั้นผู้ใช้บริการต้องให้ความสาคัญและ ตระหนักถึงปัญหาปริมาณข้อมูลข่าวสารที่วิ่งอยู่บนเครือข่าย การใช้งานอย่างสร้างสรรค์และเกิดประโยชน์จะทาให้สังคมอินเทอร์เน็ตน่าใช้และเป็นประโยชน์ร่วมกัน อย่างดี กิจกรรมบางอย่างที่ไม่ควรปฏิบัติจะต้องหลีกเลี่ยงเช่นการส่งกระจายข่าวไปเป็นจานวนมากบนเครือข่าย การส่งเอกสารจดหมายลูกโซ่ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้จะเป็นผลเสียโดยรวมต่อผู้ใช้และไม่เกิดประโยชน์ใด ๆ ต่ อสังคม อินเทอร์เน็ต เพื่อให้การอยู่ร่วมกันในสังคมอินเทอร์เน็ตสงบสุข Arlene H.Rinaldi แห่งมหาวิทยาลัย ฟอร์ริดา แอตแลนติก จึงรวบรวมกฎกติกามารยาทและวางเป็นจรรยาบรรณอินเทอร์เน็ตหรือที่เรียกว่า Netiquette ไว้ ดังนี้
จรรยาบรรณสาหรับผู้ใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทุกคนมีเมล์บล็อกหรืออีเมล์แอดเดรสที่ใช้อ้างอิงในการรับส่งจดหมาย ความ รับผิดชอบต่อการใช้งานอีเมล์ในระบบจึงเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องให้ความสาคัญ เพราะจดหมายมีการรับส่งโดยระบบ ซึ่งหากมีจดหมายค้างในระบบจานวนมากจะทาให้พื้นที่ บัฟเฟอร์ของจดหมายในระบบหมด จะเป็นผลให้ ระบบไม่สามารถรับส่งจดหมายต่อไปได้ หลายต่อหลายครั้งระบบปฏิเสธการรับส่งจดหมายเพราะไฟล์ระบบเต็ม ดังนั้นจึงควรมีความรับผิดชอบในการดูแลตู้จดหมาย (mail box) ของตนเองดังนี้ ลบข้อความหรือจดหมายที่ไม่ต้องการแล้วออกจากดิสต์เพื่อลดปริมาณการใช้ดิสด์ก็ให้จานวน จดหมายที่อยู่ในตู้จดหมาย (mail box) มีจานวนน้อยที่สุด ให้ทาการโอนย้ายจดหมายจากระบบไปไว้ยังพีซีหรือฮาร์ดดิสก์ของตนเองเพื่อใช้อ้างอิงในภายหลัง พึงระลึกเสมอว่าจดหมายที่เก็บไว้ในตู้จดหมายนี้อาจถูกผู้อื่นแอบอ่านได้ ไม่ควรเก็บข้อมูลหรือ จดหมายที่คุณคิดว่าไม่ใช้แล้วเสมือนเป็นประกาศไว้ในตู้จดหมาย
จรรยาบรรณสาหรับผู้สนทนา บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีคาสั่งให้ใช้ในการโต้ตอบกันอย่างออนไลน์หลายคาสั่งเช่น write, talk หรือมี การสนทนา เป็นกลุ่มเช่น IRC เป็นต้น ในการเรียกหาหรือเปิดการสนทนาตลอดจนการสนทนาจะต้องมีมารยาทที่ สาคัญได้แก่ ควรเรียกสนทนาจากผูท้ ี่เรารู้จักและต้องการสนทนาด้วย หรือมีเรื่องสาคัญที่จะติดต่อด้วยควรระลึก เสมอว่าการขัดจังหวะผู้อื่นที่กาลังทางานอยู่อาจสร้างปัญหาให้ได้ ก่อนการเรียกคู่สนทนาควรสอบสถานการใช้งานของคู่สนทนาที่ต้องการเรียกเพราะการเรียกแต่ละ ครั้งจะมีข้อความไปปรากฏบนจอภาพของฝ่ายถูกเรียกซึ่งก็สร้างปัญหาการทางานได้ เช่น ขณะกาลังทางานค้าง ftp ซึ่งไม่สามารถหยุดได้ หลังจากเรียกไปชั่วขณะคู่ที่ถูกเรียกไม่ตอบกลับ แสดงว่าคู่สนทนาอาจติดงานสาคัญ ขอให้หยุดการ เรียกเพราะข้อความที่เรียกไปปรากฏบนจออย่างแน่นอนแล้ว ควรให้วาจาสุภาพ และให้เกียรติซึ่งกันและกัน การแทรกอารมณ์ขนั ควรกระทากับคนที่รู้จักคุน้ เคย แล้วเท่านั้น
จรรยาบรรณสาหรับผู้ใช้กระดานข่าวระบบสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ ระบบข่าวสารที่ให้บริการในสังคมอินเทอร์เน็ตมีหลายระบบ เช่น ยูสเน็ตนิสว์ (UseNet News) ระบบสมาชิกแจ้งข่าวหลายสมาคม บอกรับสมาชิกและให้ข่าวสารที่สม่าเสมอกับสมาชิกด้วยการส่งเป็นจดหมาย อิเล็กทรอนิกส์ ที่เรียกว่า Mailing lists ผู้เสนอ ข่าวและผู้อภิปราเรื่องต่าง ๆที่เขียนลงไปจะกระจายออกไปทั่ว โลก เช่นข่าวบนยูสเน็ตนิวส์แต่ละกลุ่มเมื่อส่งออกจะกระจายไปยังเซิร์ฟเวอร์อื่น ๆ ทัว่ โลกผู้ใช้บริการโดยเฉพาะที่ ต้องการเขียนข่าวสารบนกระดาษ ข่าวจะต้องเคารพกฏกติกามารยาทโดยเคร่งครัดข้อปฏิบัติที่สาคัญได้แก่ ให้เขียนเรื่องให้กระชับ ข้อความควรสั้นและตรงประเด็กไม่กากวม ใช้ภาษาที่เรียบงาน สุภาพเข้าใจได้ ในแต่ละเรือ่ งที่เขียนให้ตรงโดยข้อความที่เขียนควรจะมีหัวข้อเดียวต่อเรื่อง ในการเขียนพาดพิงถึงผู้อื่น ให้ระมัดระวังในการละเมิดหรือสร้างความเสียหายให้ผู้อื่น การ ให้อีเมล์อาจตรงประเด็นกว่า ให้แหล่งทีม่ าของข้อความ ควรอ้างอิงแหล่งข่าวได้ ไม่เรียกว่าโคมลอยหรือข่าวลือหรือเขียน ข่าวเพื่อความสนุก โดยขาดความรับผิดชอบ จากัดความยาวของข่าว และหลีกเลี่ยงตัวอักษรควบคุมพิเศษอื่น ๆ เพราะหลายเครื่องที่อ่าน ข่าวอาจมีปัญหาในการแสดงผล ข่าวบางข่าวมีการกระจายกันมาเป็นลาดับให้ และอ้างอิงต่อ ๆ กันมาการเขียนข่าวจึงควร พิจารณาในประเด็นนี้ด้วย โดยเฉพาะอย่าส่งจดหมายตอบโต้ไปยังผู้รายงานข่าวผู้แรก ไม่ควรให้เครือข่ายของมหาวิทยาลัยเพื่อประโยชน์ทางการค้าหรืองานเฉพาะของตนเพื่อ ประโยชน์ส่วนตนในเรื่องการค้า การเขียนข่าวทุกครั้งจะต้องลงชื่อ และลายเซนตอนล่างของข้อความเพื่อบอกชื่อ ตาแหน่ง แอดเดรสที่อ้างอิงได้ทางอินเทอร์เน็ต หรือให้ที่อยู่และหมายเลขโทรศัพท์ที่ติดต่อได้
ในการทดสอบการส่งไม่ควรทาพร่าเพื่อการทดสอบควรกระทาในกลุ่มข่าวท้องถิ่นที่เปิดให้ ทดสอบการส่งข่าวอยู่แล้ว เพราะการส่งข่าวแต่ละครั้งจะกระจายไปทั่วโลก หลีกเลี่ยงการใช้ตัวอักษรใหญ่ตัวอักษรใหญ่ที่มคี วามหมายถึงการตะโกนหรือการแสดงความ ไม่พอใจในการเน้น คาให้ใช้เครื่องหมาย * ข้อความ* แทน ไม่ควรนาข้อความที่ผู้อื่นเขียนไปกระจายต่อโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของเรื่อง ไม่ควรใช้ข้อความตลกขบขันหรือคาเฉพาะคากากวม หรือคาหยาบคายในการเขียนข่าว ให้ความสาคัญในเรื่องลิขสิทธิ์ไม่ควรละเมิดลิขสิทธิ์ผอู้ ื่น ไม่ควรคัดลอกข่าวจากที่อื่นเช่น จากหนังสือพิมพ์ทั้งหมดโดยไม่มีการสรุปย่อและเมือ่ ส่งข่าว ย่อจะต้องอ้างอิงที่มา ไม่ควรใช้กระดานข่าวเป็นที่ตอบโต้หรือละเมิดผู้อื่น เมื่อต้องการใช้คาย่อ คาย่อที่เป็นที่รู้จักกันทั่วไป เช่น IMHO-in my humble / honest opinion FYI-for your information BTW-by the way การเขียนข้อความจะต้องไม่ใช้อารมณ์หรือความรู้สึกส่วนตัวและระลึกเสมอว่าข่าวที่เขียน หรืออภิปรายนี้กระจายไปทั่วโลก และมีผู้อ่านข่าวจานวนมาก ในการเขียนคาถามลงในกลุ่มข่าวจะต้องส่งลงในกลุ่มที่ตรงกับปัญหาที่เขียนนั้น และเมื่อจะ ตอบก็ต้องให้ตรงประเด็น ในการบอกรับข่าวด้วย mailing list และมีข่าวเข้ามาจานวนมากทางอีเมล์จะต้องอ่านข่าว และโอนมาไว้ที่เครื่องตน (พีซี) หรือลบออกจาก mail box และหากไม่อยู่หรือไม่ได้เปิดตู้จดหมายเกินกว่าหนึ่ง สัปดาห์จะต้องส่งไปบอกยกเลิกการรับ เพื่อว่าจะได้ไม่มีจดหมายส่งเข้ามามาก
บัญญัติ 10 ประการ ต่อไปนี้เป็นจรรยาบรรณที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตยึดถือไว้เสมือนเป็นแม่บทแห่งการปฏิบัติเพื่อระลึกและเตือน ความจาเสมอ ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทาร้ายหรือละเมิดผู้อื่น ต้องไม่รบกวนการทางานของผู้อื่น ต้องไม่สอดแนมหรือแก้ไขเปิดดูในแฟ้มของผู้อื่น ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ ต้องไม่คัดลอกโปรแกรมผู้อื่นที่มีลขิ สิทธิ์ ต้องไม่ละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์โดยที่ตนเองไม่มีสิทธิ์ ต้องไม่นาเอาผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน ต้องคานึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสังคมอันติดตามมาจากการกระทา ต้องใช้คอมพิวเตอร์โดยเคารพกฎระเบียบ กติกามารยาท จรรยาบรรณเป็นสิ่งที่ทาให้สงั คมอินเทอร์เน็ตเป็นระเบียบความรับผิดชอบต่อสังคมเป็นเรื่องที่จะต้อง ปลูกฝังกฎเกณฑ์ของแต่ละเครือข่ายจึงต้องมีการวางระเบียบเพื่อให้การดาเนินงานเป็นไปอย่างมีระบบและเอื้อ
ประโยชน์ซึ่งกันและกัน บางเครือข่ายมีบทลงโทษและจรรยาบรรณที่ชัดเจน การละเมิดรุนแรงกฎหมายก็จะเข้ามามีบทบาทได้เช่นกัน
เพื่อช่วยให้สังคมสงบสุขและหาก
อินเทอร์เน็ตกับผลกระทบต่อสังคมไทย อินเทอร์เน็ตเริ่มเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทย ดังจะเห็นได้จากหนังสือพิมพ์วารสาร รายการทาง โทรทัศน์ และวิทยุต่างๆ ได้นาเรื่องของอินเทอร์เน็ตเป็นส่วนหนึ่งของเนื้อหาที่นาเสนอต่อสารธารณะในแง่มุมต่างๆ มีทั้งนาเสนอเรื่องราวที่เป็นแง่บวกและลบ จึงเป็นเรื่องที่ต้องมีการพิจารณากันให้ถี่ถ้วนมายิ่งขึ้น แนวโน้มของการ เผยแพร่ข้อมูลผ่านทางอินเทอร์เน็ตนั้นมีมากขิ่งขึ้นและในรูปแบบที่หลากหลายมากว่าเดิม การห้ามไม่ให้มีการ เผยแพร่วัฒนธรรมต่างชาติเข้ามานั้นเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ดังนั้นแต่ละสังคมหรือประเทศนั้นจาเป็ นต้องมีการ ดาเนินการบางประการเพื่อให้วัฒนธรรมท้องถิ่นที่ดีไม่ถูกกลืนหรือสูญหายไปจากสังคม วิธีการหนึ่งก็คือการ ส่งเสริมและให้มีการเผยแพร่วัฒนธรรมผ่านทางสื่ออินเทอร์เน็ตซึ่งสามารถทาได้ง่าย และได้กลุ่มผู้รับข่าวสารมาก ยิ่งขึ้น การใช้อินเทอร์เน็ตมีผลกระทบทั้งด้านบวกและลบ ผลกระทบทางด้านบวก เช่น สามารถได้รับความรู้และ ข้ อ มู ล ข่ า วสารมากยิ่ ง ขึ้ น ท าให้ ป ระชาชนมี ค วามรู้ สามารถหาข้ อ มู ล ที่ เ ป็ น ประโยชน์ ป ละทั น สมั ย ได้ จ าก แหล่งข้อมูลต่างๆ ในอินเทอร์เน็ต และยังทาให้สามารถติดต่อสื่อสารถึงกันได้สะดวก รวดเร็ว และไม่ต้องเสีย ค่าใช้จ่ายสูง สาหรับผลกระทบทางด้านลบ เช่น อาจจะทาให้เยาวชนได้รับข้อมูลหรือภาพในทางที่ไม่ดีได้ ดังนั้น ผู้ปกครองจาเป็นต้องช่วยดูและบุตรหลานในการใช้อินเทอร์เน็ต เช่น ดูแลให้ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อหาข้อมูลเกี่ยวกับ การเรียนหรือเทคโนโลยีที่ทันสมัยและใช้ในการติดต่อสื่อสารกับผู้ อื่น ไม่ว่าจะเป็นการส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือการสนทนาบนเครือข่าย แต่อย่างไรก็ตามต้องใช้ด้วยความรอบคอบ ควรตระหนักถึงประโยชน์ที่จะได้รับ สนทนาในเรื่องที่เป็นประโยชน์ และต้องตระหนักถึงความจาเป็นและความเหมาะสมในเรื่องของเวลา และเนื้อหา ที่ใช้ในการสนทนาด้วย
ข้อควรระวัง การใช้งานอินเทอร์เน็ตในการส่งข้อมูลอาจจะทาให้เกิดความไม่เสมอภาคกันในเรื่องของการรับข้อมูล ข่าวสารได้ ยกตั วอย่า ง เช่ น ในขณะนี้ กระทรวงสาธารณสุ ขได้เ ผยแพร่ข้ อมู ลเรื่อ งโรคระบาดผ่ านเครือ ข่า ย อินเทอร์เน็ต คนที่อาศัยอยู่ในเมืองสามารถรับทราบข่าวนี้ไ ด้ และมีการเตรียมตัวเพื่อป้องกันโรคระบาดเพื่อไม่ให้ เกิดขึ้นกับตน แต่คนที่อาศัยอยู่ในชนบทไม่สามารถรับข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตได้ อาจจะเนื่องจากไม่มีอุปกรณ์ เทคโนโลยี และความรู้ในการติดต่อสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ต ทาให้ไม่สามารถเตรียมตัวป้องกันและติดโรคระบาดนี้ ในที่สุด จะเห็นว่าจากตัวอย่างนี้ เป็นผลกระทบของอินเทอร์เน็ตในเรื่องของความเสมอภาคในการรับข้อมูล ข่าวสารฉะนั้นการใช้อินเทอร์เน็ตต้องพิจารณาอย่างถี่ถ้วนและนาเสนอให้คนทั่วไปเข้าใจว่าอินเทอร์เน็ตเป็นเพียง สื่อหนึ่งเหมือนกับสื่อทั่วไป สื่อจะดีหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับผู้ใช้
ใบงานกิจกรรมที่ 3.3 หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 ท่องโลก Cyber ชั้นมัธยมศึกษาปีที่4 สาระการเรียนรู้พื้นฐาน เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เรื่อง คุณธรรมและจริยธรรมในการใช้อินเตอร์เน็ต 10 คะแนน 1. คุณธรรมและจริยธรรมในการใช้อินเตอร์เน็ตคือ ................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................... 2. จรรยาบรรณสาหรับผู้ใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................... 3. จรรยาบรรณสาหรับผู้สนทนา ................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................... 4. จรรยาบรรณสาหรับผู้ใช้กระดานข่าว ระบบสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ ................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................... 5. บัญญัติ 10 ประการ ................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................... ...................................................................................................................................................................................
แบบฝึกทบทวนกิจกรรมหน่วยที่ 3 หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 ท่องโลก Cyber สาระการเรียนรู้พื้นฐาน เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เรื่อง ท่องโลก Cyber 1. อินเทอร์เน็ตคืออะไร ก. เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันเป็น จานวนมากครอบคลุมไปทั่วโลก ข. เครือข่ายนานาชาติ ที่เกิดจากเครือข่ายเล็ก ๆ มากมาย รวมเป็นเครือข่ายเดียวกันทั้งโลก ค. เครือข่ายของเครือข่าย ง. ถูกทุกข้อ 2. www คืออะไร ก. พื้นทีท่ ี่เก็บข้อมูลข่าวสารที่เชื่อมต่อกันทาง อินเทอร์เน็ต โดยการกาหนด URL ข. เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนหนึ่งบนอินเตอร์เน็ต ที่ถูกเชื่อมต่อกันในแบบพิเศษ ค. ชุดสมบูรณ์ของเอกสารระบบเครือข่าย คอมพิวเตอร์ ง.เน็ตเวิร์คที่มีการเชื่อมต่อกัน 3. ข้อดีของโมเด็มภายใน ก. มีไฟแสดงสถานะ ข. ติดตั้งง่ายไม่ต้องเปิดเคส ค. ราคาแพง ง. ราคาถูกไม่เกะกะพื้นที่ 4. จากภาพที่ลอ้ มด้วยสีแดงคือส่วนประกอบใน หน้าจอของ Internet Explorer (IE) ก. status bar ข. Title bar ค. Menu bar ง. Address bar 5. อะไรที่เป็นข้อเสียของอินเทอร์เน็ต ก. ทาให้เกิดการใช้ภาษาผิด ๆได้จากการเล่น พูดคุย สื่อสารผ่านโปรแกรมสนทนาออนไลน์ ข. สื่อลามกอนาจาร การพนัน เข้าถึงผู้ใช้ได้ง่าย ค. เป็นช่องทางของมิจฉาชีพ ล่อลวง ลักพาตัว จากการ Chat ง. ถูกทุกข้อ
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 10 คะแนน
6. Google เปิดเผยสถิติเว็บไซต์ที่คนเข้าดูมากที่สุด อันดับหนึ่งคือ ก. www.youtube.com ข. www.facebook.com ค. www.yahoo.com ง. www.Live.com 7. พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทาความผิด เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มีผลใช้บังคับตั้งแต่ ก. 19 มิถุนายน พ.ศ. 2550 ข. 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 ค. 18 มิถุนายน พ.ศ. 2550 ง. 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 8. Address Bar ของกระทรวงศึกษาธิการคือ ก. http://www.moe.go.th ข. http://www.nfe.go.th ค. http://www.onec.go.th ง. http://www.nfe.go.th 9. บุคคลใดดารงตาแหน่งรัฐมนตรีวา่ การ กระทรวงศึกษาธิการรัฐบาลชุดที่ 27 ก. นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล ข. นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ ค. นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ง. นายศรีเมือง เจริญศิริ 10. จุดประสงค์ของเครือข่ายคือข้อใด ก. เพื่อให้สามารถใช้ทรัพยากรร่วมกันได้ เช่น เครื่องพิมพ์ ฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอม ข. เพื่อให้มีการแลกเปลีย่ นข้อมูลกันได้ระหว่าง ผู้ใช้อย่างมีประสิทธิภาพ ค. เพื่อให้สามารถควบคุมและจัดสรรทรัพยากร จากส่วนกลางได้ ง. ถูกทุกข้อ
แบบทดสอบก่อนเรียน - หลังเรียนหน่วยที่ 3 หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 ท่องโลก Cyber ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 สาระการเรียนรู้พื้นฐาน เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เรื่อง ท่องโลก Cyber 1. อินเทอร์เน็ตคืออะไร ก. เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันเป็น จานวนมากครอบคลุมไปทั่วโลก ข. เครือข่ายนานาชาติ ทีเ่ กิดจากเครือข่ายเล็ก ๆ
มากมาย รวมเป็นเครือข่ายเดียวกันทั้งโลก ค. เครือข่ายของเครือข่าย ง. ถูกทุกข้อ 2. www คืออะไร ก. พื้นทีท่ ี่เก็บข้อมูลข่าวสารที่เชื่อมต่อกันทาง อินเทอร์เน็ต โดยการกาหนด URL ข. เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนหนึ่งบนอินเตอร์เน็ต ที่ถูกเชือ่ มต่อกันในแบบพิเศษ ค. ชุดสมบูรณ์ของเอกสารระบบเครือข่าย คอมพิวเตอร์ ง.เน็ตเวิร์คที่มีการเชื่อมต่อกัน 3. ข้อดีของโมเด็มภายใน ก. มีไฟแสดงสถานะ ข. ติดตั้งง่ายไม่ต้องเปิดเคส ค. ราคาแพง ง. ราคาถูกไม่เกะกะพื้นที่ 4. จากภาพที่ลอ้ มด้วยสีแดงคือส่วนประกอบใน หน้าจอของ Internet Explorer (IE) ก. Status bar ข. Title bar ค. Menu bar ง. Address bar 5. อะไรที่เป็นข้อเสียของอินเทอร์เน็ต ก. ทาให้เกิดการใช้ภาษาผิด ๆได้จากการเล่น พูดคุย สื่อสารผ่านโปรแกรมสนทนาออนไลน์ ข. สื่อลามกอนาจาร การพนัน เข้าถึงผู้ใช้ได้ง่าย ค. เป็นช่องทางของมิจฉาชีพ ล่อลวง ลักพาตัว จากการ chat ง. ถูกทุกข้อ
6. บุคคลใดต่อไปนี้กระทาผิดจรรยาบรรณการใช้ อินเทอร์เน็ต ก. นางสาวจิดาภา นาเอาผลงานของผู้อื่นมา เป็นของตน ข. นางสาวเอกอังคนาละเมิดการใช้ ทรัพยากรคอมพิวเตอร์โดยที่ตนเองไม่มีสิทธิ์ ค. นางสาววริษาใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการ โจรกรรมข้อมูลข่าวสาร ง. ถูกทุกข้อ 7. โปรโตคอล (Protocol) หมายถึง ก. ขั้นตอนการติดต่อสื่อสาร ซึ่งรวมถึง กฎระเบียบ และข้อกาหนดต่างๆ ข. การติดต่อสื่อสารระหว่างเครื่องที่ใช้ ระบบปฏิบัติการของไมโครซอฟต์ ค. มาตรฐานที่ใช้กันอยูใ่ นระบบปฏิบัติการ แบบยูนิกซ์ ง. แฟ้มข้อมูลระหว่างเครื่องลูกข่ายและเครื่อง เซิร์ฟเวอร์
8. จากภาพเป็นการถ่ายโอนข้อมูลแบบใด ก. แบบขนาน ข. แบบอนุกรม ค. สื่อสารทางเดียว ง. สื่อสารสองทางครึ่งอัตรา 9. สื่อที่ใช้ในการส่งข้อมูลแบ่งเป็นกี่ประเภท ก. 1 ข. 2
ค. 3 ง. 4 10. โหนด (Node) คือ ก. คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้ามาในเครือข่าย ติดต่อสื่อสารซึ่งกันและกัน ข. โหนดที่ทาหน้าที่ประมวลผลข้อมูล ค. ที่ทาหน้าที่ส่งข้อมูลออก ง. ตัวควบคุมเครือ่ งปลายทาง 11. ข้อใดเป็นประเภทเครือข่ายในองค์กร ก. ระบบอินเทอร์เน็ต (Internet) ข. ระบบอินทราเน็ต (Intranet) ค. ระบบเอ็กซ์ทราเน็ต (Extranet) ง. ถูกทุกข้อ 12. บุคคลใดใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ที่เหมาะสม ในงาน ก. นางสาวเกญญาดาโฆษณาหรือเสนอขายสินค้า
ข. นางสาวหทัยชนกส่งข่าวสารที่กล่าวร้าย หลอกลวง หยาบคาย ข่มขู่ ผู้อื่น ค. นางสาวอารมณ์รู้ตัวว่ากาลังกล่าวอะไร ถ้า สงสัยไม่ทาดีกว่า ง.นางสาวพิมพ์พรส่งต่อจดหมายลูกโซ่หรือเมล์ขยะ
13. การใช้บริการกระดานข่าวหรือเว็บบอร์ด ควร ปฏิบัติอย่างไรให้ถูกวิธี ก. ในการเขียนพาดพิงถึงผู้อื่น ไม่ควร ระมัดระวังการละเมิดหรือสร้างความ เสียหายแก่ผู้อื่น ข. ควรนาข้อความที่ผู้อื่นเขียน ไปกระจายต่อ โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเข้าของเรื่อง ค. การเขียนคาถามลงในกลุ่มข่าวจะต้องเขียน ให้ตรงกับกลุ่มและเมือ่ จะตอบต้องตอบให้ ตรงประเด็น ง. ใช้ข้อความขบขัน คาเฉพาะ คากากวม และ คาหยาบคายในการเขียนข่าว 14. อินทราเน็ตคืออะไร ก. เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันเป็น จานวนมากครอบคลุมไปทั่วโลก ข. เครือข่ายนานาชาติ ทีเ่ กิดจากเครือข่ายเล็ก ๆ
มากมาย รวมเป็นเครือข่ายเดียวกันทั้งโลก ค. เครือข่ายของเครือข่าย
ง. เป็นรูปแบบของระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ที่ใช้ในองค์กร 15. ผู้ใช้ทั่วไปจะเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้โดยผ่าน อะไร ก. ISP ข. IPS ค. ADSL ง. TCP/IP 16. Google เปิดเผยสถิติเว็บไซต์ที่คนเข้าดูมากที่สุด อันดับหนึ่งคือ ก. www.youtube.com ข. www.facebook.com ค. www.yahoo.com ง. www.Live.com 17. พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทาความผิด เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มีผลใช้บังคับตั้งแต่ ก. 19 มิถุนายน พ.ศ. 2550 ข. 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 ค. 18 มิถุนายน พ.ศ. 2550 ง. 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 18. Address Bar ของกระทรวงศึกษาธิการคือ ก. http://www.moe.go.th ข. http://www.nfe.go.th ค. http://www.onec.go.th ง. http://www.nfe.go.th 19. บุคคลใดดารงตาแหน่งรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงศึกษาธิการรัฐบาลชุดที่ 27 ก. นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล ข. นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ ค. นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ง. นายศรีเมือง เจริญศิริ 20. จุดประสงค์ของเครือข่ายคือข้อใด ก. เพื่อให้สามารถใช้ทรัพยากรร่วมกันได้ เช่น เครื่องพิมพ์ ฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอม ข. เพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ระหว่าง ผู้ใช้อย่างมีประสิทธิภาพ ค. เพื่อให้สามารถควบคุมและจัดสรร ทรัพยากรจากส่วนกลางได้ ง. ถูกทุกข้อ