ADDtrang Free Copy Magazine Vol.4 November 2015
TUB-TIENG VERNADOC 2015 I DO WEDDING PLANNER & ORGANIZER ให้วันพิเศษของคุณอยู่ในความทรงจำ�ตลอดไป I DO studio ครบเครื่องเรื่องแต่งงาน Wedding Photography & Organizer Tel: 086-885-9898
EDITOR’S TALK
ได้มีโอกาสรับรู้เรื่องราวของโครงการดีๆ ที่เกิดขึ้นในเมืองตรังบ้านเรา เริ่มที่ “เมืองทับเที่ยง” กับ “โครงบริการวิชาการเพื่อสังคมโครงการอนุรักษ์มรดก สถาปัตยกรรม : ทับเที่ยง Vernadoc” ระหว่างวันที่ 13-22 พฤศจิกายน 2558 00 น. ณ สมาคมจีนฮากกา(แคะ) ถนนราชดำ�เนิน ซอย 5 ตำ�บลทับ เที่ยง อำ�เภอเมือง จังหวัดตรัง โดย “คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง” ภายใต้การสนับสนุนของ “คณะครุศาสตร์ อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง” “สำ�นักงานจังหวัดตรัง” “สำ�นักงานเทศบาลนครตรัง” “เครือข่าย Trang Positive” “ชมรมสร้างศิลป์ถิ่นตรัง” และ องค์กรภาคเอกชน-ประชาชนใน จังหวัดตรัง จึงขอช่วยประสาสัมพันธ์เต็มที่ ถามว่า Vernadoc คืออะไร “อาจารย์ตรีชาติ เลาแก้วหนู” รองคณบดีสถา ปัตย์มอ.ตรัง อธิบายว่า คือการรังวัดตัวอาคารโดยละเอียด โดยกิจกรรมหลัก คือ การปฏิบัติการสำ�รวจและรังวัดอาคารที่เป็นมรดกทางสถาปัตยกรรมใน เมืองทับเที่ยง จำ�นวนทั้งสิ้น 12 อาคาร โดยเทคนิครังวัดแบบใช้ลายเส้น (Vernadoc) และนำ�ผลงานมาจัดแสดงนิทรรศการประกอบกิจกรรมเสวนา สาธารณะในวันที่ 22 พฤศจิกายน 2558 ไม่เพียงแค่เรื่องรังวัดและร่างแบบเท่านั้น แต่จะมีการพูดคุยสอบถามประวัติ ความเป็นมาของตัวอาคารหรือตัวสถาปัตยกรรมเพื่อบันทึกไว้อีกด้วย แล้ว ถามว่า Vernadoc ทำ�ขึ้นเพื่อจุดมุ่งหมายใด อาจารย์บอกว่า เพื่อให้เกิดการ ปลูกจิตสำ�นึกด้านการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมให้กับประชาชนในพื้นที่ และเป็นการสร้างฐานข้อมูลด้านมรดกทางสถาปัตยกรรมอันเป็นกระบวน การขั้นพื้นฐานในการวางแผนอนุรักษ์และฟื้นฟูชุมชนเมืองในอนาคต (ขอบคุณภาพประกอบจาก : คุณปกรณ์กานต์ ทยานศิลป์ , คุณพยุงศักดิ์ ช่อ ลมกลด , คณะทำ�งาน 100ปี เมืองทับเที่ยง , เครือข่าย Trang Positive , ภาพถ่ายทางอากาศ โดย จรุวัฒน์ จำ�ปา คณะทำ�งานหนังสือที่ระลึกเนื่องใน โอกาสครบรอบ 60 ปี โรงพยาบาลศูนย์ตรัง , ข้อมูลอ้างอิง : แผนที่มรดกทาง วัฒนธรรมทับเที่ยง Cultural Heritage Atlas of Tub-Tieng) จำ�นง ศรีนคร บรรณาธิการ
ADDtrang Free Copy Vol.3 E-book (ประจำ�เดือนพฤศจิกายน 2558) นิตยสารแจกฟรี(Free Copy) รายเดือนจังหวัดตรัง นำ�เสนอมุมมองใหม่ๆ ด้านศิลปะ เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ท่องเที่ยว ในเมืองตรัง ในระบบ E-book ติดต่อลงโฆษณา/ฝากข่าวประชาสัมพันธ์/สกู๊ป/รีวิว โทร 081-371-6387 หรืออีเมล์มายัง newstoe@hotmail.com กองบรรณาธิการ www.addtrang.com , ADDtrang Free Magazine สำ�นักงาน : ร้าน Playground Café Trang 89 ม.7 ถ.พัทลุง ต.บ้านโพธิ์ อ.เมือง จ.ตรัง 92000 โทร 075-219-330 , 081-371-6387 บรรณาธิการบริหาร : จำ�นง ศรีนคร บรรณาธิการศิลปกรรม : ปกรณ์กานต์ ทยานศิลป์ ถ่ายภาพ : Ta Trangtoday ประสานงานกองบรรณาธิการ/การตลาด : FourDevil TrangToday Fanpage : @Trang ที่นี่จังหวัดตรัง
“โครงการอนุรักษ์มรดกสถาปัตยกรรม : ทับเที่ยง Vernadoc” ณ สมาคมจีนฮากกา(แคะ) ถนนราชดำ�เนิน ซอย 5 ตำ�บลทับ เที่ยง อำ�เภอเมือง จังหวัดตรัง ก้าวแรกจากความร่วมมือของทุกภาคส่วน “รู้คุณค่า l รักษา l สืบสาน” บ้านของเรา “เมืองทับเที่ยง” หรือ เทศบาลนครตรัง เป็นเมืองที่เก่าแก่มี ประวัติศาสตร์การตั้งถิ่นฐานมากว่า 200 ปี มีหลักฐานปรากฏชัดเจน ถึงความรุ่งเรืองของเมืองทับเที่ยงในฐานะเองท่าค้าขายที่สำ�คัญมาก ที่สุดแห่งหนึ่งของภาคใต้ ดึงดูดให้กลุ่มคนจากหลากหลายชาติพันธ์ เข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ย่านใจกลางทำ�ให้เกิดสถาปัตยกรรมที่มีรูปแบบ เฉพาะอันเกิดจากการผสมผสานกันของวัฒนธรรม ในปัจจุบันจึงถือได้ว่า “เมืองทับเที่ยง” เป็นแหล่งมรดกทาง สถาปัตยกรรมที่มีคุณค่ามากแห่งหนึ่งของประเทศไทย ประกอบกับ ใน พ.ศ. 2558-2559 นี้ เป็นช่วงก้าวย่างสู่การครบรอบ 100 ปี แห่ง การเป็นศูนย์กลางการปกครองของ “เมืองทับเที่ยง” “คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง” ที่ส่งตัวแทนนักศึกษาเข้าร่วมกว่า 30 คน ภายใต้ การสนับสนุนของ “คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง” ซึ่งนำ�นักศึกษาเดินทางมา โดยรถไฟจำ�นวน 22 คน รวมทั้งอาจารย์ผู้ควบคุม และคณะทำ�งานใน พื้นที่ รวมแล้วกว่า 60 ชีวิต ภาคีสนับสนุนจากทุกภาคส่วน อาทิ “สำ�นักงานจังหวัด ตรัง” “สำ�นักงานเทศบาลนครตรัง” “เครือข่าย Trang Positive” “ชมรมสร้างศิลป์ถิ่นตรัง” และ องค์กรภาคเอกชนในจังหวัดตรัง จึง ได้จัด “โครงการบริการวิชาการเพื่อสังคมโครงการอนุรักษ์มรดก สถาปัตยกรรม : ทับเที่ยง Vernadoc” ขึ้น โดยกิจกรรมหลัก คือ การปฏิบัติการสำ�รวจและรังวัดอาคาร ที่เป็นมรดกทางสถาปัตยกรรมในเมืองทับเที่ยงจำ�นวนทั้งสิ้น 12 อาคาร โดยเทคนิครังวัดแบบใช้ลายเส้น (Vernadoc) ระหว่างวัน ที่ 13-21 พฤศจิกายน 2558 และนำ�ผลงานมาจัดแสดงนิทรรศการ ประกอบกิจกรรมเสวนาสาธารณะในวันที่ 22 พฤศจิกายน 2558 อัน เป็นกระบวนการขั้นพื้นฐานในการวางแผนอนุรักษ์และฟื้นฟูชุมชน เมืองในอนาคต จึงใคร่เรียนเชิญผู้สนใจ ร่วมชมนิทรรศการ พิธีเปิดโดย นายเดชรัฐ สิมศิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง ในวันที่ 22 พฤศจิกายน 2558 เวลา 13.00 น. ณ สมาคมจีนฮากกา(แคะ) ถนนราชดำ�เนิน ซอย 5 ตำ�บลทับเที่ยง อำ�เภอเมือง จังหวัดตรัง พร้อมรับฟังเสวนา จากวิทยากรด้านการอนุรักษ์เมืองเก่าใน 18.00 น. พบกับกิจกรรม มากมาย อาทิ นิทรรศการภาพถ่ายเมืองทับเที่ยง ภาพหายาก การ แสดงทำ�อาหาร-ขนมโบราณ ตลอดจนกิจกรรมทางศิลปวัฒนธรรม อื่นๆอีกมากมาย
ทับเที่ยง เมืองมรดกสถาปัตยกรรม อาจารย์ตรีชาติ เลาแก้วหนู รองคณะบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง
“เมืองทับเที่ยง หรือ เทศบาลนครตรัง เป็นเมืองที่เก่าแก่มี ประวัติศาสตร์การตั้งถิ่นฐานมากว่า 200 ปี มีหลักฐานปรากฏชัดเจนถึงความ รุ่งเรืองของเมืองทับเที่ยงในฐานะเองท่าค้าขายที่สำ�คัญมากที่สุดแห่งหนึ่งของ ภาคใต้ แม้ในขณะนั้นศูนย์กลางการปกครองของเมืองตรังไม่ได้ตั้งที่ทับเที่ยง แต่ความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจที่สืบทอดมายาวนานนี้เองที่เป็นแรงดึงดูดให้ กลุ่มคนจากหลากหลายชาติพันธ์เข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ย่านใจกลาง จนทำ�ให้เกิด สถาปัตยกรรมที่มีรูปแบบเฉพาะ อันเกิดจากการผสมผสานกันของวัฒนธรรม ทั้งสถาปัตยกรรมแบบพื้นถิ่นดั้งเดิม สถาปัตยกรรมเรือนแถวไม้แบบจีน สถาปัตยกรรมตึกแถวแบบจีน อาคารตึกแถวแบบชิโนยูโรเปียน สถาปัตยกรรม แบบอาณานิคม ที่มักเรียกกันว่า ชิโนโปรตุกีส ในปัจจุบันจึงถือได้ว่า เมืองทับ เที่ยง เป็นแหล่งมรดกทางสถาปัตยกรรมที่มีคุณค่ามากแห่งหนึ่งของประเทศ ประกอบกับใน พ.ศ. 2558-2559 นี้ เป็นช่วงครบรอบ 100 ปี แห่งการเป็น ศูนย์กลางการปกครองของเมืองทับเที่ยง”
เรือนแถวไม้ยาวๆเพื่อประหยัดพื้นที่ หน้ากว้างติดถนนนิดเดียว แต่พื้นที่ยาว ไปข้างใน ถ้าลองสังเกตบ้านไม้เก่าแก่ในตรัง จะเห็นว่าหน้ากว้างอาจจะแค่ 5-6 เมตร แต่ด้านยาวยาวถึง 100-200 เมตรก็มี เพราะในยุคที่ จอมพล.ป. พิบูลย์สงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี มีการจัดเก็บภาษีตามหน้ากว้างของบ้านที่ ติดถนน ยิ่งหน้ากว้างมากก็ต้องเสียภาษีมาก ส่วนรูปแบบหลังคาเป็นแบบมะ นิลาปั้นหยาผสมกับหน้าจั่ว ช่องลมเป็นแบบทางตั้งง่ายๆ ผนังตีเกล็ดซ้อนด้วย แผ่นไม้ ลักษณะสำ�คัญทั้งงานในมาเลเซียและในภาคใต้ของไทย คือ ระหว่าง หลังคาจะมีการเปิดช่องว่างลงไปถึงพื้นล่าง ภาษาจีนฮกเกี้ยนเรียกว่า “ฉิมแจ้” ประโยชน์ของการออกแบบดังกล่าว คือ เป็นช่องระบายน้ำ�ฝนลงมาและมีบ่อจัด เก็บน้ำ�ฝนไว้ใช้ บ้านโบราณจึงมีห้องซักล้างไว้กลางบ้านรวมถึงบ่อน้ำ� และยัง ช่วยเรื่องการระบายอากาศออกจากตัวอาคารไม่ให้อาคารร้อนหรือชื้นจนเกิน ไป กระทั่งเป็นตึกแถวชิโนโปรตุกีสก็ยังใช้แบบเดียวกัน ถือเป็นภูมิปัญหาที่น่า อัศจรรย์”
“เดิมทับเที่ยงเป็นชุมชนการค้ามาก่อน ใช้การขนส่งทางแม่น้ำ�ตรังหรือ แม่น้ำ�ท่าจีนเพื่อส่งต่อไปกันตัง จากตัวแม่น้ำ�ตรังจะมีสายน้ำ�เล็กๆเรียกว่า คลอง ห้วยยาง ซึ่งเป็นคลองที่ไหลเข้ามาในตัวเมืองทับเที่ยง คลองเล็กๆนี้เองที่กลาย เป็นจุดเชื่อมโยงการค้าทั้งหมดในเวลานั้น มีการตั้งตลาดแลกเปลี่ยนสินค้า เกิด เป็นชุมชนใหม่ เมืองเล็กๆค่อยๆขยายขึ้น และเริ่มมีการขยับโยกย้ายของชุมชน จากกันตังมายังทับเที่ยง ส่วนชุมชนใหม่ที่ทับเที่ยง รูปแบบของสถาปัตยกรรมเป็น บ้านไม้หลังคามุงจากที่สร้างแบบง่ายๆ หรือเป็นบ้านไม้สองชั้นซึ่งปัจจุบันยังพอ เหลืออยู่ อายุประมาณ 80-100 ปี จนยุคที่มีการนำ�เอาคอนกรีตเข้ามา เอาผนัง มารับน้ำ�หนัก จนถึงยุคเสาและคาน รูปแบบเป็นตึกแถวแบบจีน เป็นตึกแถวชิโน โปรตุกีส แต่ลักษณะเด่นของบ้านบางหลังจะเป็นการผสมอิทธิพลของมุสลิมเข้า มาด้วย เราจะเห็นหลังคาเป็นยอดโครงแหลม หรือลักษณะสถาปัตยกรรมแบบแข กมัวร์”
“อย่างไรก็ตามในปัจจุบันเรือนแถวไม้คงเหลืออยู่น้อยมาก ด้วย ความที่เป็นไม้จึงเสื่อมสภาพและพังลง แต่ที่ยังหลงเหลือเป็นมรดกทาง สถาปัตยกรรมจะเป็นพวกตึกแถวหรือเรือนแถวที่สร้างด้วยคอนกรีตช่วงเดียว กับที่เรารับเอาสถาปัตยกรรมจากปีนังเข้ามามากขึ้น คือจีนผสมยุโรป รูปแบบ เป็นตึกแถวแบบจีน แต่ทำ�ด้วยคอนกรีต ใช้เสาและคาน มีลวดลายตกแต่งด้วย ซุ้มหน้าโค้ง ลวดลายแบบโรมันก็ถูกดึงมาใช้ ผสมจนกลายเป็นสถาปัตยกรรมที่ มีความเฉพาะ ตัวอย่างรูปแบบที่คล้ายๆกันคือ ตรัง ภูเก็ต พังงา ตะกั่วป่า”
สำ�หรับถนนราชดำ�เนิน ในตัวเมืองทับเที่ยง ถือเป็นถนนสายที่มีมรดก ทางสถาปัตยกรรมหนาแน่นที่สุด หากลองเดินสำ�รวจอย่างปราณีต จะพบอาคาร รูปทรงแปลกตามากมาย ทั้งยังเป็นย่านชุมชนตลาดเก่าในยุคแรกๆ อย่างไร ก็ตามราว 50 ปีก่อน ย่านถนนราชดำ�เนินเคยถูกไฟไหม้ครั้งใหญ่ อาคารเดิมที่ เป็นไม้ก็หายสิ้น ซึ่งเป็นความน่าเสียดายยิ่ง อย่างไรก็ตามได้ถูกแทนที่ด้วยตึก สไตล์โมเดิร์นที่มีรูปแบบเป็นแนวตั้ง “ยุคแรกๆ สถาปัตยกรรมทับเที่ยงจะเป็นบ้านไม้ บ้านแถว ที่เรียกว่า เรือนแถวไม้ เนื่องจากด้วยพื้นที่จำ�กัด ราคาที่ดินแพง จึงสร้างบ้านในลักษณะ
“ที่จริงแล้วสถาปัตยกรรมแบบ “ชิโนโปรตุกีส” ที่เรียกกันติดปากนั้น เป็นการเรียกตามสนธิสัญญาที่มาเก๊าทำ�กับโปตุเกสในยุคที่โปรตุเกสไปครอบ ครองมาเก๊า แต่ที่จริงแล้ว ในภาคใต้ได้รับอิทธิพลจากโปรตุเกสไม่เยอะมาก แต่ได้รับอิทธิพลจากอังกฤษในยุคล่าอาณานิคมมากกว่า ในมาเลเซียจะเรียก สถาปัตยกรรมที่เราเรียกว่า “ชิโนโปรตุกีส” ว่า “บริติช โคโรเนียล สไตล์” หรือ “สถาปัตยกรรมจักรวรรดินิยมอังกฤษ” มากกว่า” “สุดท้ายอยากฝากว่า หลักในการอนุรักษ์สถาปัตยกรรม คือ ตัว อาคาร กับวิถีที่อยู่ในอาคาร ตัวอาคารคือเปลือก เราอนุรักษ์อาคารให้คง อยู่ สมบูรณ์ สวยงาม เพราะสถาปัตยกรรมเป็นตัวบ่งบอกประวัติศาสตร์และ ยุคสมัย แต่ขณะเดียวกัน เราต้องอนุรักษ์คนที่อยู่ในอาคาร วิถีชีวิต ประเพณี วัฒนธรรมเอาไว้ด้วย จึงจะเป็นการอนุรักษ์ที่สมบูรณ์”
VERNADOC คือ เมล็ดพันธุ์แรก อาจารย์ณธชัย จันเสน อาจารย์ประจำ�สาขาครุศาสตร์ สถาปัตยกรรม คณะครุศาสตร์ อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
“ภาพรวมของการทำ�งานในช่วง 1 สัปดาห์อาจมีข้อจำ�กัดเรื่องเวลา เพราะปกติงาน Vernadoc ต้องใช้เวลา ราว 15-20 วัน แต่ผลปรากฏว่าจาก ความร่วมมือระหว่างนักศึกษา 2 สถาบัน ผลออกมาเกินเป้าที่ตั้งไว้มาก ตอน แรกคิดว่าเฉพาะลงลายเส้นดินสอ แต่คืบหน้าไปจนถึงขั้นตอนการลงหมึกได้ การทำ�งานของนักศึกษาทั้ง 2 สถาบัน เป็นที่น่าภูมิใจ เพราะส่วนใหญ่ไม่ได้มี ประสบการณ์ด้าน Vernadoc มาก่อน มีเพียงไม่กี่คนที่เคยผ่านงานลักษณะนี้ มา แต่นักศึกษามีการแลกเปลี่ยนและถ่ายทอดซึ่งกันและกัน เรียนรู้ไปด้วยกัน” “สำ�หรับเมืองทับเที่ยง ถือว่ายังคงมีมรดกทางสถาปัตยกรรมค่อนข้าง สูง แม้จะมีบางส่วนที่หายไปบ้าง แต่ก็ยังเห็นร่องรอย ดังนั้นโจทย์ของเราคือ การ Vernadoc หรือ เขียนแบบสำ�รวจรังวัด ทำ�อย่างไรให้คนเห็นและรู้สึกได้ถึงรูป แบบดั้งเดิม Vernadoc จึงเหมือนเป็นตัวแทนของอดีต เราเคยทำ� Vernadoc แบบเดียวกันนี้ที่เชียงคาน จังหวัดเลย มันเป็นกระบวนการต่อยอดต่อเนื่อง เราเริ่มที่มอบรูปเขียน Vernadoc ให้เจ้าของบ้าน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ และ ผู้คนเหล่านั้นเขาภูมิใจมาก เอารูปที่เรามอบให้แขวนไว้หน้าบ้าน ใครไปใครมา ก็จะเล่าเรื่องราวให้ฟังอย่างภาคภูมิใจ สิ่งนี้เป็นแรงจูงใจให้คนในบ้านดูแลรักษา บ้านหลังนั้นได้เป็นอย่างดี มีการจัดทำ�ชุดข้อมูลต่อเนื่อง เพื่ออธิบายประวัติ อาคารและเรื่องราวต่างๆ เราอยากให้เมืองทับเที่ยงสานต่อจากสิ่งที่เราทำ�ไว้”
ชุมชน การลงมาทำ�งานที่ทับเที่ยงได้เกิดปรากฎการณ์ในระดับหนึ่ง ที่คนที่นี่ เริ่มให้ความสนใจ หลายคนมาดูนักศึกษาทำ�งาน มาสอบถาม เพราะสงสัยว่า มาทำ�อะไร สิ่งนี้คือการสร้างการรับรู้ เป็นเรื่องระหว่างทาง จนอาจเกิดคำ�ถาม กับคนในเมืองเองว่า ขนาดคนนอกยังมาทำ�อะไรให้เมืองเรา แล้วถึงเวลาที่เรา จะทำ�อะไรให้เมืองเราเองบ้าง” “ส่วนผลงานที่ออกมา จุดประสงค์ไม่ใช่เรื่องการการนำ�มาจัดแสดง เพียงอย่างเดียว แต่ต้องมีการนำ�ไปต่อยอดในแง่ของการบอกเล่าเรื่องราวบาง อย่าง งาน Vernadoc ไม่ใช่พระเอก แต่หลังจากนี้จะเป็นส่วนสำ�คัญ สิ่งที่ เราได้จากโครงการนี้อาจไปแทรกอยู่ในบทความเล่าเรื่องความเป็นมา เอา ไปทำ�ชุดข้อมูลการเรียนรู เอาไปใช้ออกแบบโปสเตอร์ โปสการ์ด และอื่นๆอีก มากมาย”
“ในโลกของสถาปนิก Vernadoc มีความสำ�คัญมาก ช่วยฝึกทักษะ การใส่ใจในรายละเอียด ช่วยขัดเกลาจิตใจ เขียนส่วนประกอบของไม้อย่างไรให้ รู้สึกว่าเป็นไม้ ส่วนไหนเป็นคอนกรีต สถาปนิกต้องเรียนรู้อารมณ์ความรู้สึกใน สิ่งเหล่านี้ ที่สำ�คัญโครงการลักษณะนี้ สะท้อนถึงการทำ�งานร่วมกัน คนหนึ่งวัด คนหนึ่งบันทึก คนหนึ่งเขียน คือ การทำ�งานเป็นทีม การวางแผน การบริหาร เวลา งานสถาปนิกคือการออกแบบรวมทั้งการอนุรักษ์ควบคู่กันไป หัวใจของ “Vernadoc จึงไม่ใช่คำ�ตอบสุดท้ายหรือทุกสิ่งทุกอย่างของงานด้าน การเป็นสถาปนิกที่ดีคือ ต้องเรียนรู้ ศึกษา เข้าใจ ที่มา ที่ตั้ง ในสิ่งที่ตัวเองจะ การอนุรักษ์ แต่เป็นส่วนสำ�คัญของการใช้กิจกรรมเพื่อกระตุ้นการรับรู้ของคนใน ออกแบบ จินนตนาการในการออกแบบก็จะไม่ไปทำ�ลายของเดิมที่ทรงคุณค่า”
รากเหง้าของเราเอง อาจารย์วรวุฒิ มัธยันต์ อาจารย์ประจำ�คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง
“ทั้งอาจารย์และนักศึกษาที่เข้าไปทำ�งาน รู้สึกภาคภูมิใจ เพราะสิ่ง ที่เราไปพบ คือ มรดกอันล้ำ�ค่า และความเฉียบคมในแง่การก่อสร้างแต่ครั้ง โบราณ และสถาปัตยกรรมในทับเที่ยงยังคงสมบูรณ์เพราะยังมีผู้คนอาศัยอยู่ ภายใน” “หลักการซ่อมแซมในเชิงอนุรักษ์นอกจากซ่อมความเสียหายแล้ว จะต้องซ่อมให้เหมือนเดิมมากที่สุด ใช้ช่างฝีมือที่มีความเข้าใจและพิถีพิถัน ซึ่ง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์มอ.ตรัง พร้อมให้ความร่วมมือ ทั้งแบบแปลน รวม ถึงคำ�ปรึกษาตลอดจนกำ�กับดูแลตรวจสอบการซ่อมแซมให้ถกู ต้องแม่นยำ�มาก ที่สุด” “ผมว่าถ้าเราไม่ช่วยกัน อาคารเหล่านี้คืออดีต คือความเป็นมา ถ้าต้องผุพังลง คิดให้ดีมันก็คือการที่เราจะสูญเสียรากเหง้าของเราไปเลยทีเดียว”
รอยยิ้มของ มดงาน
“ได้ร่วมโครงการนี้เหมือนหนูได้รับของขวัญพิเศษ ได้เพื่อน ได้แลกเปลี่ยน ประสบการณ์ หนูอาสาสมัครมาเองเพราะที่ผ่านมาเราทำ�งานแต่เพื่อตัวเอง ก็ อยากมาทำ�งานที่เพื่อคนอื่นบ้าง หนูเป็นคนหาดใหญ่ ไม่เคยมาตรังมาก่อน พอได้มาเรียนที่ตรัง ได้เห็นเมืองทับเที่ยงก็ประทับใจ เพราะที่นี่สวย สงบ ไม่เจริญ และพลุกพล่านมากเกินไป ที่สำ�คัญคนที่นี่มีการอนุรักษ์หลายสิ่งที่มีคุณค่าเอาไว้ บ้านเรือนยังคงแบบดั้งเดิม ประตู หน้าต่างไม่ทรุดโทรม ทั้งเมืองมีกลุ่มอาคารที่มี ความเชื่อมโยงกัน คนในเมืองใช้ชีวิตเหมือนเป็นญาติกัน” “อาคารร้านสิริบรรณสวยมาก มีรายละเอียดที่งดงาม ทั้งช่องลมที่เป็นเอกลักษณ์ คิ้วหน้าต่าง ทุกอย่างยังดั้งเดิม สวยงามแต่มีลูกเล่น เพราะเจ้าของดูแลดี หนู ประทับใจร้านสิริบรรณเพราะมีเรื่องราว เป็นร้านหนังสือเก่าแก่ที่คนตรังไปซื้อ หนังสือกัน เสน่ห์ของร้านสิริบรรณในความคิดหนู คือ ความเก่าแก่แต่สมบูรณ์ จึง สื่อถึงอดีต บ้านหลังนี้จะต้องอยู่ต่อไป หนูเชื่อว่าผลงานเล็กๆของเรา จะช่วยเรื่อง การรับรู้ของผู้คนได้ หนูภูมิใจค่ะ”
น.ส.อารียา ศิลปเมธากุล (เอ๋) นักศึกษาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง ชั้นปีที่2 : รับผิดชอบเขียนลายเส้น ร้านสิริบรรณ ถนนราชดำ�เนิน
“ตอนแรกยังไม่เคยเขียน Vernadoc มาก่อน จึงไม่รู้ว่าเขียนไปทำ�ไม แต่พอได้ เข้าร่วมโครงการนี้ จึงรู้ว่า สิ่งที่เราเขียนจะช่วยเรื่องการอนุรักษ์บ้านเก่า เป็นฐาน ข้อมูลสำ�หรับการทำ�งานด้านอนุรักษ์สถาปัตยกรรมที่ทรงคุณค่า ได้มาที่นี่คน ทับเที่ยงน่ารัก อัธยาศัยดี ต้อนรับเป็นอย่างดี ผมดีใจที่เจ้าของบ้านยังคงอนุรักษ์ ความดั้งเดิมไว้ บ้านที่ทับเที่ยงยังคงสมบูรณ์เพราะคนที่นี่ยังใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับ บ้าน” “อาคารตั้งจินเม้งที่ผมเขียน ค่อนข้างเก่าแก่ แต่เจ้าของบ้านรักษาไว้ดีมาก ผม ไปเจอหลังคาเดิมยังอยู่ แม้จะผ่านการซ่อมแซมมา แต่เจ้าของบ้านไม่ยอมรื้อของ เดิมออก แต่กลับทำ�หลังคาใหม่ซ้อนของเก่า ให้ของเก่ายังคงความดั้งเดิม ซึ่งน่า ภูมิใจมาก”
นายกษิดิษ ณ ระนอง (ท้อป) นักศึกษาสาขาครุศาสตร์ สถาปัตยกรรม คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณ ทหารลาดกระบัง ชั้นปีที่ 3
“ผมตื่นเต้นและดีใจมากที่ได้ร่วมโครงการนี้ เพราะได้เจอเพื่อนๆจากต่างสถาบัน พอมาทำ�งานร่วมกันทุกคนดีมากๆ เราได้แลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน ได้ร่วมแรง ร่วมใจกัน ทับเที่ยงมีความเป็นเมืองเก่า ในตัวเมืองดูเผินๆเหมือนจะไม่มีอะไร แต่ถ้าเราลองสังเกตดีๆจะเห็นความหลากหลาย และความมีเสน่ห์ของแต่ละ อาคาร” “วิหารคริสศาสนาตรัง อายุ 100 ปี ถือว่าเก่าแก่ แต่ยังสมบูรณ์มาก มีความสวย วามมาก สะท้อนว่าได้รับการดูแลเอาใจใส่โดยตลอด ถ้าเป็นบ้านอายุ 100 ปี อาจดูโทรมกว่านี้ แต่อาคารนี้ยังสมบูรณ์ และมีเอกลักษณ์ตรงที่มีหอระฆังสูง 3 ชั้น เป็นความสวยงามเมื่อร้อยปีก่อนของการผสมผสานแลกเปลี่ยนระหว่างเชื้อ ชาติที่แท้จริง”
นายธนัท ผลพานิชย์ (บูม) นักศึกษาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง ชั้นปีที่2 : รับผิดชอบเขียนลายเส้น วิหารคริสศาสนาตรัง ถนนห้วยยอด
จวนผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง
หอนาฬิกาเมืองตรัง
“ผังเมืองของทับเที่ยงค่อนข้างดี เดินเที่ยวได้ ถ้าจำ�ทางดีๆจะไม่หลง บ้านเรือน ส่วนใหญ่มีโครงสร้างแปลกตา แต่สวยงาม เป็นต้นทุนเดิม และมีความคลาสสิค ในตัวอยู่แล้ว ถนนหนทางในตัวเมืองเป็นแนว Perspective มีมิติที่สวยงาม เหมาะกับคนที่ชอบถ่ายภาพ โดยเฉพาะ Pre Wedding แม้ระยะเวลาจะผ่านไป แค่ไหน ทับเที่ยงก็ไม่ได้เปลี่ยนไปมากนัก แง่มุมเหล่านี้สามารถชวนคนนอกมา เที่ยวได้ เพราะนักท่องเที่ยวแนวใหม่รวมถึงต่างชาติชอบแบบนี้ ผมดีใจที่ได้ร่วม โครงการนี้ นอกจากเราจะได้พัฒนาตัวเองแล้ว ยังได้มิตรภาพ ทั้งจากเพื่อนๆและ คนในทับเที่ยง ผมอยากเห็นคนทับเที่ยงช่วยกันรักษาสิ่งนี้เอาไว้และสร้างสมดุล ระหว่างการอนุรักษ์และการพาณิชย์” “ร้าน ช วัฒนภัณฑ์ ที่ผมเขียน เจ้าของใจดีมาก โครงสร้างอาคารก็สวย ตอน แรกคิดว่าเป็นบ้านธรรมดา แต่พอได้เข้าไปรังวัดทุกอย่างสมบูรณ์มาก สมดุล ลวดลายไม่มากหรือน้อยเกินไป ช่องลมยังคงความดั้งเดิม โดยเฉพาะเหล็ก ลูกกรงหน้าต่างยังเป็นแนวตั้งแบบโบราณ แม้จะผ่านการปรับปรุง แต่ยังคงรักษา รูปแบบเดิมเอาไว้มาก”
นายฐากร ภักดีชุมพล (ปอ) นักศึกษาสาขาครุศาสตร์ สถาปัตยกรรม คณะครุศาสตร์ อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ชั้นปีที่ 3 : รับผิดชอบเขียนลายเส้น ร้าน ช วัฒนภัณฑ์ ถนนราชดำ�เนิน
“ภูมิประเทศที่ทับเที่ยงสวยงามและสนุกมาก เพราะเป็นที่ราบสลับเนิน เป็น เอกลักษณ์เฉพาะที่ไม่เหมือนที่อื่น จุดเด่นของที่นี่ คือ ผู้คนมีน้ำ�ใจ พวกเราทำ�งาน ก็มีชาวบ้านมาให้กำ�ลังใจ บางคนเอาน้ำ�เอาขนมมาให้ ซาบซึ้งใจมากๆ บ้านเรือน ที่นี่ก็ยังคงความดั้งเดิมและค่อนข้างสมบูรณ์” “บ้านสามชั้นตระกูลไทรงามถือเป็นไฮไลท์หนึ่งของทับเที่ยง ความสวยงามนี้ เกิดขึ้นได้ในสมัยก่อน สะท้อนถึงฐานะทางเศรษฐกิจของคนทับเที่ยง จะสร้างได้ ขนาดนี้ต้องใช้เทคโนโลยีและได้รับอิทธิพลจากต่างประเทศ โดยเฉพาะช่างฝีมือ ซึ่งหาไม่ได้ง่ายๆ ส่วนต่างๆของบ้านมีรายละเอียดเยอะมาก ขนาดบนจั่วยังมี ลวดลายซับซ้อน เห็นแล้วชอบเลย มีครบทุกอย่าง โดดเด่นมาก เป็นอีกหลังที่จะ อยู่ในความทรงจำ�ของพวกหนู”
น.ส.โมรีอาห์ ขาวสังข์ (โม) นักศึกษาสาขาครุศาสตร์ สถาปัตยกรรม คณะครุศาสตร์ อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ชั้นปีที่ 3 : รับผิดชอบเขียนลายเส้น บ้านสามชั้นตระกูลไทรงาม ถนนราชดำ�เนิน ซอย 5
“สถาปัตยกรรมทับเที่ยงมีเสน่ห์ที่การผสมผสานระหว่างจีนกับยุโรป มีความโดด เด่นของตัวเองอยู่ในตัว มีอาคารที่สวยและสมบูรณ์เยอะ แม้จะมีบางอาคารที่ เริ่มทรุดโทรม ผมชอบย้อนคิดไปถึงขั้นตอนออกแบบและก่อสร้างในอดีตซึ่งต้อง อาศัยฝีมือ ร้านกาแฟลูกหมูค่อนข้างเก่าแก่มาก เป็นเรือนแถวไม้ 2 ชั้น เป็น ความมหัศจรรย์ เพราะเรือนแถวไม้ในทับเที่ยงเหลืออยู่น้อยมาก เพราะในอดีต เคยเกิดไฟไหม้ใหญ่ในทับเที่ยง แต่เรือนแถวไม้หลังนี้รอดมาได้” “ร้านกาแฟลูกหมูน่าจะถือเป็นสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นจริงๆ เพราะเป็นเรือนไม้ใน ยุคแรกๆ มีหลังคาทรงมะนิลา ลวดลายต่างๆทำ�ด้วยไม้ทั้งหมด และใช้ช่างท้องถิ่น จินตนาการย้อนกลับไปได้เลยว่า ในอดีตทับเที่ยงต้องมีความเจริญอย่างมากจึง จะเกิดอาคารแบบนี้ได้ ผมรู้สึกประทับใจและอยากให้มีโครงการแบบนี้อีกครับ”
นายธนชัย ไกรทิพย์ (กันย์) นักศึกษาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลา นครินทร์ วิทยาเขตตรัง ชั้นปีที่2 :รับผิดชอบเขียนลายเส้น ร้านกาแฟลูกหมู ถนนพระรามหก
“ทับเที่ยงน่าเดินเล่นมาก สงบ เรียบง่าย ผมชอบเดิน มันทำ�ให้เราได้เห็นหลายๆ อย่าง” Cr. ธนชัย อุชชิน(ป๊อด โมเดิร์นด็อก) มกราคม 2558 Photo : Jutharath Phumphey Location : ตรงข้ามร้านกาแฟลูกหมู ถนนพระรามหก ทับเที่ยง เมืองตรัง
Walk in TUB-TIENG “การเดินช่วยทำ�ให้เราเห็นอะไรหลายๆอย่าง ผมจึงชอบเดิน ถ้าเป็นไปได้และ ไม่ไกลมาก ผมก็จะเดิน ตอนไปเรียนอเมริกาก็เดิน อยู่กรุงเทพฯก็เดิน มาต่าง จังหวัดผมก็ชอบเดินดูนั่นนี่ ดูผู้คน มาถึงตรังตั้งใจไว้แล้วว่าจะเดินเที่ยวตลาด เพราะตึกบ้านเรือนที่นี่สงบและสวยมาก” Cr. ตุล ไวฑูรเกียรติ” อพาร์ตเมนต์คุณป้า ตุลาคม 2558 Photo : จำ�นง ศรีนคร Location : ประตูบานเฟี้ยมร้านกาแฟลูกหมู ถนนพระรามหก ทับเที่ยง เมือง ตรัง
บ้านสามชั้นตระกูลไทรงาม
ภายในตรอกเล็กๆ ถนนราชดำ�เนิน ซอย 5 ตำ�บลทับเที่ยง อำ�เภอเมือง จังหวัดตรัง หากเดินเท้าผ่านหน้าตลาดทับเที่ยง เลี้ยวขวาเข้าซอยแคบๆจากถนนราชดำ�เนิน ก่อนถึงสมาคมสมาคมจีนฮากกา(แคะ) มองทางซ้ายมือทุกคนต้องสะดุดตากับ อาคารเก่าแก่สูง 3 ชั้นตั้งตระหง่านอยู่ในซอยแคบๆ แต่กลับทรงมนต์เสน่ห์อย่าง น่าอัศจรรย์ อาคารหลังนี้เป็นของ “ตระกูลไทรงาม” ตระกูลเก่าแก่ในทับเที่ยง คือ “นายฝอง ไทรงาม” หรือที่คนทับเที่ยงในยุคก่อนเรียกว่า “เถ้าแก่ฝอง” เชื้อสาย จีนกวางตุ้ง หนึ่งในผู้บุกเบิกการค้าการขายระหว่าง “เมืองทับเที่ยง” กับ “ปีนัง” ด้วยเรือสำ�เภา ซึ่งเดิมเครือข่ายตระกูลอยู่ที่ท่าจีน กระทั่งย้ายมาอยู่ในตัวเมืองทับ เที่ยง นอกจากนี้ “เถ้าแก่ฝอง” ยังมีส่วนในการบุกเบิก “หมูย่างเมืองตรัง” ในยุค แรกชื่อ “ฟองจั่น” โดยนำ�สูตรมาจากมลฑลกวางตุ้งของจีน นางวีนา พันธุมณี วัย 75 ปี บุตรสาวเถ้าแก่ฝอง เล่าว่า บ้านสามชั้นหลังนี้สร้าง โดยเถ้าแก่ฝอง อายุอาคารไม่ต่ำ�กว่า 80 ปี โดยเถ้าแก่ฝองนำ�ช่างชาวจีนมาส ร้าง แต่พาเดินทางไปดูแบบตัวอาคารถึงเมืองปีนัง ชาวบ้านจะเรียกติดปากกัน ว่า “บ้านสามชั้น” เพราะในสมัยนั้นส่วนใหญ่จะเป็นบ้านชั้นเดียว หรือ สองชั้น เดิมทีตระกูลคิดทำ�เป็นโรงแรมเพื่อรองรับการค้าขายที่คึกคักมากในอดีต จึงสร้าง อาคารให้มีหลายชั้น แต่เมื่อสร้างเสร็จกลับนึกเสียดายจึงไม่ได้ทำ�เป็นโรงแรม แต่ก็ทำ�เป็นบ้านพักของคนในตระกูลและเป็นสถานที่รับรองแขกสำ�คัญๆ ทั้งทาง ธุรกิจรวมถึงแขกของเจ้าเมืองในอดีต “ตระกูลเรารักษาบ้านหลังนี้เอาไว้ เราซ่อมแซมให้คงสภาพเดิมมากที่สุด ทุกวัน นี้มีคนไม่น้อยเดินผ่านมาถ่ายรูปและสอบถามความเป็นมา นักท่องเที่ยวชาวต่าง ชาติมาถามก็มี สำ�หรับป้ายเก่าแก่ข้อความภาษาจีนด้านหน้าบ้าน แปลเป็นไทย คือ การศึกษาก้าวหน้า เพราะคุณพ่อให้ความสำ�คัญกับเรื่องการศึกษามาก” นาง วีนากล่าวอย่างภาคภูมิ
วิหารคริสศาสนาตรัง
สำ�หรับเมืองตรัง คริสต์ศาสนา เริ่มเข้ามาราว พ.ศ.2448 คณะมิชชันนารีอเมริกัน โดย E.P.Dunlap มีการก่อตั้งโรงพยาบาลทับเที่ยงและเผยแพร่ศาสนา ใช้ห้อง ประชุมโรงพยาบาลทับเที่ยงประกอบศาสนกิจในยุคแรก ต่อมาสร้างโบสถ์ด้วย ไม้ไผ่มุงจากชาวบ้านเรียก “โรงสวดทับเที่ยง” กระทั่ง “วิหารคริสศาสนาตรัง” ก่อสร้างเมื่อ พ.ศ.2458 ในสมัยรัชกาลที่ 6 ห่าง จากถนนห้วยยอดประมาณ 20 เมตร การก่อสร้างมีลักษณะโดดเด่นด้วยรูป แบบทางสถาปัตยกรรมตะวันตก ก่ออิฐถือปูน พื้นยกสูง 1 เมตร มีขนาดกว้าง 11 เมตร ยาว 20 เมตร ประตูหน้าต่างรูปโค้งมน ส่วนช่องลมดัดแปลงเป็น ทรงแปดเหลี่ยมกับรูปโค้งแปดเหลี่ยม หลังคามุงกระเบื้องแผ่นจัตุรัสเล็กแบบพื้น เมือง เหนือประตูด้านหน้ามีอักษรจารึกไว้บนผนังว่า “วิหารคริสศาสนาสร้าง ค.ศ.๑๙๑๕” ทราบหรือไม่ว่า “วิหารคริสศาสนาตรัง” ได้รับรางวัลอนุรักษ์ศิลปะสถาปัตยกรรม ดีเด่น ประจำ�ปี 2552 ประเภท “ปูชนียสถานและวัดวาอาราม” โดย สมาคม สถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ และเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายนที่ผ่านมา “วิหารคริสศาสนาตรัง” มีอายุครบ 100 ปี
ร้านสิริบรรณ
ถนนราชดำ�เนินเป็นย่านการค้าแห่งแรกๆของเมืองทับเที่ยง มุมนี้เป็นมุมยอด นิยม ใครไปใครมาต้องมาถ่ายภาพ มีร้านสิริบรรณร้านหนังสือและเครื่องเขียน เก่าแก่ตรงหัวมุมถนน ถัดไปอาคารสูงคือตึกของ จ.จินฉุ้น ซึ่งเป็นอาคารที่สูงที่สุด ในอดีต ตึกสิริบรรณสร้างเมื่อพ.ศ.2478 ใช้วิธีการหล่อเสาและผนัง ออกแบบโดยบิดาของ ครูจิระ พิตรปรีชา มารดาของ คุณจิระนันท์ พิตรปรีชา กวีไซไรต์ชาวตรัง
สมาคมจีน
ผู้คนในตลาดทับเที่ยงส่วนใหญ่ที่เป็นคนจีนในยุคแรกนั้นยังรู้สึกเป็นคนต่างถิ่น จึงทำ�ให้เกิดการรวมหมู่กันขึ้นมาตามเชื้อสายแซ่ตระกูล หรือถิ่นที่มา ทำ�ให้เกิด เป็นสมาคมต่างๆ เช่น สมาคมฮั่วเฉียว ฮกเกี้ยน แต้จิ๋ว ฮากกา เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อช่วยเหลือเกื้อหนุนกัน และส่งความช่วยเหลือไปถึงญาติพี่น้องในบ้าน เกิด แม้มาในยุคหลังที่คนเชื้อสายจีนที่เกิดในทับเที่ยงได้กลายเป็นคนตรังตาม ถิ่นกำ�เนิด ส่วนสมาคมจีนก็ยังคงอยู่เพียงแต่มีการเปลี่ยนแปลงกิจกรรมไปตาม สภาพสังคม ตัวอย่างเช่น สมาคมจีนฮากกา(แคะ) ถนนราชดำ�เนิน ซอย 5 เป็นสมาคมเก่า แก่ที่เกิดขึ้นในย่านศูนย์กลางเมืองพร้อมๆกับอีกหลายสมาคม ซึ่งเป็นของคนเชื้อ สายจีนแคะที่อพยพเข้ามาตั้งรกรากและประกอบอาชีพค้าขาย การรวมกลุ่มกัน ในลักษณะของการตั้งสมาคมต่างๆขึ้น เพื่อแสดงให้เห็นถึงการ สร้างความสมัครสมานเป็นกลุ่มก้อน มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการสร้าง ฐานอำ�นาจเพื่อต่อรองสินค้า โดยชื่อที่ใช้ตั้งสมาคมต่างๆนั้นเป็นชื่อตามชาติพันธุ์ เดิมที่อพยพมา
behind the scenes
คบเด็กวาดบ้าน