ADDtrang Free Copy Magazine Vol.1 15-30 June 2015
จาก “ทับเที่ยง” ถึง “ปีนัง”
-กำ�เนิด โตทับเที่ยง -กินตรังให้มีความสุข -จักรยานแม่บ้านเมืองตรัง
ให้วันพิเศษของคุณอยู่ในความทรงจำ�ตลอดไป
I-Do wedding & organizer I-Do Wedding Studio 36-15 ถ.วิเศษกุลซอย11 อ.เมือง จ.ตรัง 92000
tel: 081-3716387
P-3
จักรยานแม่บ้าน “จีเหลี่ยน” เมืองตรัง
TALK
กองบรรณาธิการ www.addtrang.com
ไม่ว่าจะเป็นทางราบหรือเนินควนใน “เมืองทับเที่ยง” อาทิ ถนนพระรามหก ถนนราชดำ�เนิน ถนนห้วยยอด ถนนวิเศษกุล ถนน รัษฎา ถนนกันตัง ฯลฯ หรือตามตรอกซอกซอยต่างๆ ทั้งในยาม เช้า ยามเย็น หรือแม้แต่ยามค่ำ� เราจะคุ้นกับภาพหญิงวัย 60 ปี กับ จักรยานแม่บ้านคู่ใจ ในตระกร้าจักรยานรวมถึงอานบรรทุกด้าน หลัง มีหนังสือสารพัดชนิด ทั้งหนังสือพมิพ์ นิตยสาร ไปจนถึงพ็อก เก็ตบุ๊ค เพื่อส่งให้กับลูกค้านักอ่านในเมืองเล็กๆ ที่ขึ้นชื่อว่ายังมีคน อ่านหนังสือหลงเหลืออยู่ในจำ�นวนไม่น้อย “จีเหลี่ยน” หรือ “น.ส.กุลชลี งามจี้” กับจักรยานแม่บ้าน คู่ใจ ตลอดระยะเวลา 31 ปีของการตัดสินใจเลือกใช้จักรยานเป็น พาหนะในชีวิตประจำ�วันของ “ร้านเจริญวิทย์” ร้านหนังสือเก่าแก่ แห่งหนึ่งใน “เมืองทับเที่ยง” ริมถนนพระรามหก “จีเหลี่ยน” เป็น ที่รู้จักมักคุ้นของหนอนหนังสือเมืองตรังหลายรุ่น ตั้งแต่เด็กนักเรียน ที่ต้องไปหาหนังสือแบบเรียน คู่มือกวดวิชา เพราะถ้าหาเองไม่เจอ บอก “จีเหลี่ยน” คำ�เดียว แกก็จะไปรื้อค้นมาให้ไม่เคยพลาด แถม ยังลดราคาให้อีก แต่ถ้าที่ร้านไม่มี แกก็จะแนะนำ�ต่อว่าที่ไหนมี ไม่ เท่านั้น คอเรื่องสั้น นิยาย นวนิยาย หลายคนก็คุ้นเคยกับ “จีเหลี่ ยน” แห่ง “ร้านเจริญวิทย์” ในฐานะกูรูด้านการอ่านเช่นกัน “จีเหลี่ยน” กับครอบครัวได้แก่แม่และน้องสาว เปิดร้าน หนังสืออยู่ริมถนนพระรามหกมา 31 ปีแล้ว และนั่นเองที่เป็นจุด เริ่มต้นของการใช้ “จักรยาน” ในชีวิตประจำ�วันอย่างแท้จริง ภาพ จักรยานแม่บ้านคันเก่าของ “จีเหลี่ยน” จอดในตำ�แหน่งเดิมด้าน หน้าร้านทุกวัน เป็นภาพที่หลายคนคุ้นเคย แต่หากจักรยานคันดัง กล่าวไม่อยู่ แสดงว่า “จีเหลี่ยน” ออกไปส่งหนังสือข้างนอก ซึ่งไปไม่ นานก็กลับมา กว่า 31 ปีของการทำ�ธุรกิจร้านหนังสือเล็กๆ ย่อมมี กำ�ลังพอที่จะซื้อหารถราที่มีเครื่องยนต์กลไกมาใช้เพื่อรองรับความ สะดวกสบายได้ แต่ “จีเหลี่ยน” กลับไม่ต้องการ
“31 ปีที่ผ่านมา ฉันใช้จักรยานมา 5 คันแล้ว คันแรกฉัน ใช้นานถึง 11 ปี เพราะรถสมัยก่อนทำ�มาคุณภาพดีมากๆ แต่ละคัน ฉันจะใช้จนคุ้ม ใช้จนพัง(หัวเราะ) คือจะซื้อใหม่ก็ต่อเมื่อซ่อมแล้วไม่ คุ้ม ดังนั้นจักรยานแต่ละคันชองฉันจะใช้งานอย่างคุ้มค่ามากๆ และ ไม่ใช้เฉพาะส่งหนังสือเท่านั้น ฉันใช้จักรยานสำ�หรับทุกอย่าง ใช้เป็น ชีวิตประจำ�วันเลย ไปซื้อข้าวซื้อแกงซื้อของอะไรก็ปั่นจักรยานไป” “สมั ย ก่ อ นที่ ฉั น เริ่ ม ใช้ จั ก รยานใหม่ ๆ ตอนมาเปิ ด ร้ า น หนังสือ คนตรังในเมืองใช้จักรยานกันมากนะ ในตลาดสมัยก่อน มีแต่คนปั่นจักรยาน รถราต่างๆก็ยังมีไม่เยอะ สมัยนั้นร้านหนังสือ ส่วนใหญ่ในทับเที่ยงใช้จักรยานส่งหนังสือหมด ร้านมิตรสาส์นยุค แรกๆก็ใช้จักรยานส่งหนังสือ คนรุ่นเก่าๆเขาใช้จักรยานกันเยอะ ใช้ จริงในชีวิตประจำ�วันกันเลย แต่พอมาสมัยใหม่คนก็ใช้จักรยานน้อย ลง เพราะใครๆก็มีรถ บางคนก็คิดว่าจักรยานมันไม่ทันใจ แต่ฉัน คิดว่าการใช้จักรยานเป็นสิ่งที่ดีนะ อย่างน้อยฉันก็ได้ออกกำ�ลังกาย เพราะเราทำ�งานทุกวันไม่มีเวลาออกกำ�ลังกาย การปั่นจักรยานใน การทำ�งานก็เท่ากับเราได้ออกกำ�ลังกายไปในตัว” เป็นการสนทนาแบบสั้นๆก่อนที่ “จีเหลี่ยน” จะกล่าวลา ด้วยสีหน้ายิ้มแย้มแล้วหยิบแว่นกันแดดมาสวมและฉวยเอาจักรยาน คันเก่งปั่นออกไปเหมือนทุกๆวัน...
ADDtrang Free Copy Vol.1 (ฉบับทดลองเผยแพร่ ปักษ์หลังประจำ�เดือนมิถุนายน 2558 จำ�นวน 1,000 ฉบับ) นิตยสารแจกฟรี(Free Copy) รายปักษ์ ทุก 15 วัน นำ�เสนอมุมมองใหม่ๆ ด้านศิลปะ เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ท่องเที่ยว ในเมืองตรัง ส่งตรงให้คุณถึงบ้าน-สำ�นักงาน ฯลฯ สำ�หรับท่านที่ใช้บริการสายส่งหนังสือพิมพ์ในเครือร้านมิตรสาส์น , โรงแรม , เกสต์เฮาส์ , ร้านกาแฟ , แหล่งท่องเที่ยวชั้นนำ�ในเมืองตรัง พบกับเราได้ที่ ร้านมิตรสาส์น , หอการค้าจังหวัดตรัง , ร้าน Playground Café Trang , ร้าน 3rd place coffee , โรงแรมศรีตรัง , โรงแรมบ้านอ่าวทอง-มายเฟรนด์ , ร้านอบอิ่ม , ร้าน Restore , ร้านสินโอชา , ร้าน 1952 café , ร้านหลงตรัง , ร้านชาล้นถ้วย , ร้านพิศวาสแฟชั่น , ร้านสตางค์ย่านตาขาว , ร้านบายใจ caffe กันตัง , ร้านอินทนิล คอฟฟี่ ห้วยยอด ติดต่อลงโฆษณา/ฝากข่าวประชาสัมพันธ์/สกู๊ป/รีวิว โทร 081-371-6387 หรืออีเมล์มายัง newstoe@hotmail.com กองบรรณาธิการ www.addtrang.com , ADDTRANG Free Magazine สำ�นักงาน : ร้าน Playground Café Trang 89 ม.7 ถ.พัทลุง ต.บ้านโพธิ์ อ.เมือง จ.ตรัง 92000 โทร 075-219-330 , 081-371-6387 บรรณาธิการบริหาร : จำ�นง ศรีนคร บรรณาธิการศิลปกรรม : ปกรณ์กานต์ ทยานศิลป์ ถ่ายภาพ : Ta Trangtoday ประสานงานกองบรรณาธิการ/การตลาด : FourDevil TrangToday Fanpage : @Trang ที่นี่จังหวัดตรัง
HOT
P-4
จาก โต๋วง่วนเตียง ถึง โตทับเที่ยง ศึกสายเลือดตระกูล “โตทับเที่ยง” ที่พี่น้องในตระกูลรวม ตัวกันไม่ให้ “สุรินทร์ โตทับเที่ยง” และทายาทสายตรงใช้นามสกุล “โตทับเที่ยง” อีกต่อไป เป็นข่าวช็อกเมืองตรังและช็อกไปถึงวงการ ธุรกิจที่คนทั้งประเทศค้นหาที่มาที่ไป เพราะที่ผ่านมาภาพของ “โต ทับเที่ยง” เป็นบวกมาตลอดในหลายๆด้าน โดยเฉพาะภาพของการ เป็นตระกูลบุเบิกและพัฒนาเมืองตรังในเรื่องเศรษฐกิจ การค้า และ ส่งเสริมการท่องเที่ยว เมื่อพี่น้องเกิดศึกกันเอง หลายฝ่ายจึงเอาใจ ช่วยให้พี่น้องทำ�ความเข้าใจกันโดยเร็ว แต่ทว่าอาจเป็นไปได้ยาก เพราะมูลเหตุได้สั่งสมมานานโดยเฉพาะสิ่งที่ค้างคาอยู่ในใจ ส่งผล ให้เกิดคดีความระหว่างพี่น้องสะสมมานับสิบคดี ศึกครั้งนี้จะยุติลงได้ คงต้องปรับความเข้าใจระหว่าง “สุ ธรรม โตทับเที่ยง” พี่ชายคนโต และน้องคนที่สอง คือ “สุรินทร์” ส่วน พี่น้องคนอื่นๆ รวมถึงลูกหลานนั้นเป็นแถวรอง แต่ก็มีบทบาทอยู่ไม่ น้อย ย้อนกลับไปในรุ่นพ่อ “โต๋วง่วนเตียง” หนุ่มชาวจีนโพ้น ทะเลวัย 20 ปี จากตำ�บลไซเล่ง อำ�เภอโผวเล้ง ประเทศจีน ที่ต้อง อพยพย้ายถิ่นฐานในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 เนื่องด้วยความ เป็นอยู่ในจีนแผ่นดินใหญ่ประสบปัญหาข้าวยากหมากแพง มีความ เป็นอยู่อย่างแร้นแค้น จึงตัดสินใจขอไปตายเอาดาบหน้าที่เมืองไทย ขอให้ขยันขันแข็งเข้าไว้ ไม่มีอดแน่ มาถึงเมืองตรังก็เริ่มสร้างงานสร้างอาชีพให้กับตัวเองและ ครอบครัวเปิดร้าน “โต๋วง่วนเตียง” ใจกลางเมืองตรัง เลขที่ 121 ถนนตลาด อ.เมือง จ.ตรัง จำ�หน่ายสินค้าส่งให้แก่ร้านค้าทั่วไปทั่วทั้ง จังหวัด เพียงไม่นานธุรกิจก็เริ่มใหญ่โต ต่อมา “โต๋ว ง่วนเตียง” ตั้ง ครอบครัว แต่งงานกับ “นางยิ่ง” มีบุตรและธิดา 10 คน และในรุ่นลูก ยังก็ได้ขยายจนมีลูกเป็นรุ่นหลานสืบตระกูลจนและช่วยก่อร่างสร้าง ธุรกิจตระกูลที่เป็นระบบกงสีใหญ่โต ได้แก่ 1.สุธรรม โตทับเที่ยง สมรสกับนางชุติมา มีบุตร 3 คน คือ นพ.ไกรสร นายไกรเสริม น.ส.กุลเกตุ 2.สุภัทรา โตทับเที่ยง (บุตรสาว) สมรสกับสมศักดิ์ มีบุตร 3 คน คือ บุษราคัม สายสิญจน์ เสริมสันต์ 3.สุรินทร์ โตทับเที่ยง สมรสกับอุทัยวรรณ มีบุตร 4 คน คือ
ขิมพริ้ง ไกรสิน กรพินธุ์ ไกรฤทธิ์ 4.จุรี โตทับเที่ยง (บุตรสาว) สมรส กับสมชาย สัมพันธวรบุตร มีบุตร 1 คน คือ พฤกษ์ สัมพันธวรบุตร 5.สวัสดิ์ โตทับเที่ยง สมรสกับสุวรรณี มีบุตร 4 คน คือ ไกรลาภ ไกรภพ ไกรภูมิ น.ส.เขมพร 6.จุฬา โตทับเที่ยง (บุตรสาว) สมรส กับธีรวัฒน์ หวังศิริเลิศ มีบุตร 2 คน คือ น.ส.เลอลักษณ์ น.ส.ชุลี 7.จุรัตน์ โตทับเที่ยง (บุตรสาว) สมรสกับ พิชัย มะนะสุทธิ์ มีบุตร 3 คน คือ ณัฐพล กฤตพร มนต์ฤทัย 8.สลิล โตทับเที่ยง สมรสกับสิริ นทร์ มีบุตร 3 คน คือ น.ส.กรกมล น.ส.กรกานต์ ไกรวงศ์ 9.สุนีย์ โตทับเที่ยง (บุตรสาว) และ 10.ศิริพร โตทับเที่ยง (บุตรสาว) ดังนั้นสิ่งหนึ่งที่สังคมต้องทำ�ความเข้าใจใหม่ คือ “สุรินทร์” ในฐานะประธานกรรมการบริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารกว้าง ไพศาล จำ�กัด (มหาชน) บริษัท โรงแรมธรรมรินทร์ จำ�กัด และบริษัท ในเครืออีกหลายแห่ง แต่ในภาพของการเป็นเจ้าของธุรกิจที่แท้จริง ก็คือพี่น้องทุกคน ก็คือ กงสี ส่วนใครเก่งไม่เก่ง มีความสามารถ ใครทำ�ให้ธุรกิจเติบโตรุ่งเรืองนั้นเป็นอีกเรื่อง ซึ่งกิจการปลากระป๋อ งปุ้มปุ้ยรุดหน้าไปอย่างรวดเร็วจนถูกผลักดันเข้าสู่บริษัทมหาชนใน เวลาต่อมาจดทะเบียนในนามบริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล จำ�กัด (มหาชน) บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น ณ วันที่ 27 เมษายน 2558 มูลค่าหุ้นละ 10 บาท ผู้ถือหุ้นแยกเป็นคนไทย 1,107 คน จำ�นวน 37,583,199 หุ้น ต่างด้าว 6 คน จำ�นวน 36,800 หุ้น รวม 1,113 คน รวมจำ�นวนทั้งสิ้น 37,619,999 หุ้น กิจการในเครือที่สมาชิกโตทับเที่ยงร่วมสานฝันบุกเบิก ประกอบด้วย บริษัท ตรังผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล จำ�กัด (มหาชน) โรงงานผลิตและจำ�หน่ายอาหารทะเลสำ�เร็จรูปบรรจุ กระป๋อง บริษัท ตรังแคนเนอรี่ จำ�กัด (โรงงานผลิตภาชนะอาหาร กระป๋อง) บริษัท ตรังชัวร์ จำ�กัด โรงงานผลิตอาหารทะเลแช่ แข็ง ส่งจำ�หน่ายต่างประเทศ บริษัท โรงแรมธรรมรินทร์ จำ�กัด (ธุรกิจโรงแรม) และบริษัท เอส.ตรังคอมเพล็กซ์ จำ�กัด (ธุรกิจ อสังหาริมทรัพย์) ทำ�ให้มีการดึงลูกหลานของแต่ละสายเข้ามาช่วย งานมากมาย นับว่าเป็นปรากฎการณ์สะท้านเมืองจริงๆ (ข้อมูลประกอบจากประชาชาติธุรกิจ/ภาพจาก I am trang)
P-5
EAT
กิน “ตรัง” ให้มีความสุข
กองบรรณาธิการ www.addtrang.com
เมื่อถึงยุคที่ “เรื่องราว” อร่อยพอๆกับ “รสชาติ” และ อาหารการกินของ “คนตรัง” ไม่แพ้ใคร ใน “เรื่องราว” ถ้าเราจะ มองเสน่ห์ของอาหารตรัง อันดับแรกคือต้องมากิน มาลิ้มรส มา สัมผัสบรรยากาศที่ตรัง เพราะบางอย่าง อาทิ หมูย่างเหมืองตรัง ซื้อ ไปกินกรุงเทพฯก็ไม่เหมือนกับกินที่ตรัง การกินน้ำ�ชา กินที่กรุงเทพฯ ก็ไม่เหมือน เพราะเป็นการเสพในเรื่องของเรื่องราวไปด้วย ตรงนี้ถือ เป็นจุดขายที่แข็งแรงของอาหารตรัง เมืองตรังเป็นเมืองรวมทุกชาติอยู่ด้วยกันอย่างไม่น่าเชื่อ ดูลึกๆอาหารของคนตรังแบ่งออกเป็น 3 สายคือ 1.อาหารคนจีน 2.อาหารไทย และ 3.อาหารมุสลิม แต่ละอย่างล้วนมีเรื่องราวของ ชาติพันธุ์ที่อยู่ร่วมกัน ด้วยความที่ตั้งแต่อดีตเมืองตรังเป็นเมืองผ่าน ไปยังเมืองอื่น สมัยก่อนจากปีนังจะไปภูเก็ตก็ต้องผ่านมาลงกันตัง ก่อนต่อไปภูเก็ต และด้วยความที่เรามีพระยารัษฎานุประดิษฐ์ฯเป็น อดีตเจ้าเมืองที่เก่ง ท่านสร้างทางรถไฟไปสุดที่กันตัง คนก็หลั่งไหล มา เกิดการรวมกลุ่มของชาติพันธุ์ ทำ�ให้เกิดวัฒนธรรมผสมผสานที่ ไม่เหมือนที่อื่น ชาวจีนใน “ตรัง” หลักๆจะมี “จีนฮกเกี้ยน” “จีนกวางตุ้ง” “จีนแต่จิ๋ว “จีนแคะ” “จีนไหหลำ�” และย่อยๆอีกมาก ซึ่งตาม ภูมิศาสตร์ของประเทศจีน เมืองฟูเจี้ยน(ฮกเกี้ยน) กับ เมืองกวางตุ้ง
จะอยู่ติดกัน โดยมีคนแต้จิ๋วเป็นคนกลุ่มน้อยที่อยู่คั่นกลางระหว่าง ฟูเจี้ยนกับกวางตุ้งตามแนวภูเขา จีนแคะก็เป็นชนกลุ่มน้อย โดย จีนฮกเกี้ยนกับจีนกวางตุ้งจะเป็นคนเมืองใหญ่กลุ่มใหญ่ ดังนั้น “ฮกเกี้ยน” กับ “กวางตุ้ง” จะมีขนาดของวัฒนธรรมมีการถ่ายทอด วัฒนธรรมจากรุ่นสู่รุ่น ดังนั้น “อาหารฮกเกี้ยน” กับ “อาหารกวาง ตุ้น” จึงมีชื่อเสียง สำ�หรับอาหารเมืองตรัง สาย “จีนกวางตุ้ง” จะ มี เกาหยก หมูย่าง ส่วน “จีนฮกเกี้ยน” จะมี หมี่ฮกเกี้ยน เป็นต้น แต่ด้วยการที่ลงเรือมาลำ�เดียวกัน หรือมาใช้ชีวิตร่วมกัน ก็จะมีการ แลกเปลี่ยนผสมผสานด้านการกิน ดั ง นั้ น สิ่ ง ที่ ติ ด มากั บ การเคลื่ อ นย้ า ยของชาติ พั น ธุ์ คื อ “อาหาร” ดังตัวอย่างหนึ่งที่ สวนดุสิตตรังเคยศึกษาด้วยการทำ� GI (สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ บ่งบอกแหล่งผลิตสินค้าด้วยลักษณะเฉพาะ ทางภูมิศาสตร์ ประกอบทักษะ ความชำ�นาญ และภูมิปัญญาของ มนุษย์) เกี่ยวกับ “หมูย่างเมืองตรัง” ร่วมกับกรมทรัพย์สินทาง ปัญญา และพาณิชย์จังหวัด สุดท้าย สิ่งสำ�คัญที่ทำ�ให้ “เมืองตรัง” ขึ้นชื่อว่าเป็นเมือง “คนช่างกิน” ก็คือ “คนตรังมีน้ำ�ใจ” เรื่องนี้ใครหลายๆคนเล่าตรง กัน โดยเฉพาะผู้มาเยือน แขกไปใครมาต้องดูแลอย่างดี สิ่งที่ทำ�ให้ รู้สึกว่าดูแลอย่างดีคือเรื่องอาหารนั่นเอง
(ข้อมูลจากสาขาวิชาเทคโนโลยีการประกอบอาหารและการบริการ โรงเรียนการเรือน มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต ศูนย์การศึกษานอกที่ตั้งตรัง)
PENANG
P-6
จาก “ทับเที่ยง” ถึง “ปีนัง” การเดินทางทวนเข็มนาฬิกา กองบรรณาธิการ www.addtrang.com
TUB-TIENG
P-7
“เทคนิคการซุกซ่อน Item ของภาพวาดต่างๆไว้ ให้เดินค้นหา ทำ�ให้คนจากทั่วโลกเดินทางมาเพื่อค้นหาและบันทึกภาพ ผู้มา เยือนจึงได้ซึมซับทั้งบรรยากาศและความเป็นอยู่ของคนที่นี่”
ตรังสวยด้วยโรตารี่
จากจุดเริ่มต้นเล็กๆของกลุ่มสร้างสรรค์ ที่ต้องการเนรมิต ย่านตรอกซอกซอยในเมืองเก่าให้กลายเป็น “ถนนสายศิลปะ” ที่ สอดคล้องและเชื่อมโยงกับ “เรื่องราว” “ความเป็นมา” และ “ตัว ตน” Street Art ใน George Town ของ “เมืองปีนัง” มาเลเซีย จิ่ง เริ่มเกิดขึ้น จากการพูดคุยทำ�ความเข้าใจกับชาวบ้านในพื้นที่ ตาม ตรอกจุดตัดถนน Lebuh Chulia , Lebuh Pantai เพื่อขอพื้นที่ ผนังบ้าน กำ�แพง และพื้นที่ว่างมาแต่งแต้มด้วยงาน Painting เล่า เรื่องราวของชีวิตใน “ปีนัง” อย่างมีชั้นเชิง ใช้เงินลงทุนไม่มาก แต่ใช้ แรงกาย แรงใจ ความร่วมมือ ความเสียสละ โดยเฉพาะการมีส่วน ร่วมอย่างมหาศาล เทคนิคการซุกซ่อน Item ภาพวาดต่างๆไว้ให้เดินค้นหา ทำ�ให้คนจากทั่วโลกเดินทางมาเพื่อค้นหาและบันทึกภาพ ทุกคน ต้องตั้งใจเดินค้นหาอย่างละเอียด มีการทำ�แผนที่รหัสสำ�หรับเดิน ค้นหา ตลอดสองข้างทางที่สองขาพาเดิน ผู้มาเยือนจึงได้ซึมซับ ทั้งบรรยากาศ ความเป็นอยู่ และวิถีชีวิตของ “คนปีนัง” ขณะที่คน ปีนังสามารถขายของ ไปจนเปิด Gallery นำ�เสนอเรื่องราวของตัว เองแก่ผู้มาเยือน ดังจะเห็น Gallery รวมถึงพิพิธภัณฑ์พื้นเมืองของ หลากหลายตระกูล หลายภาพนำ�เสนอเรื่องราวความสัมพันธ์ของชีวิต โดยใช้ เด็กเป็นสัญลักษณ์ ได้อย่างสวยงามและอ่อนโยน และผู้มาเยือนทุก คนสามารถท่องเที่ยวได้ด้วยการเดินเท้าและปั่นจักรยาน คนรุ่นเก่าหลายคนทั้งในตรังและภูเก็ต เล่าถึง “ปีนัง”(ชื่อ ไทยเรียก) ของมาเลเซียเรียก George Town ว่า สมัยก่อนคน นิยมส่งลูกหลานไปเรียนหนังสือที่ “ปีนัง” โดยเฉพาะที่โรงเรียน “หานเจียง” โรงเรียนไฮสคูลที่มีชื่อเสียงของปีนัง หรือแม้แต่ “โรง เรียนปินหัว” “โรงเรียนจุงหลิง” สำ�หรับระดับอุดมศึกษา ในปัจจุบัน มหาวิทยาลัยใน “ปีนัง” ที่ได้รับความนิยมสำ�หรับคนไทย อาทิ University Sains Malaysia หรือ USM ในยุคนั้นปีนังเป็นในเมืองที่สงบ ความเป็นอยู่เรียบง่าย รถ ราไม่มาก ในเมืองมีทั้งห้างร้านของคนจีน มัสยิด ปะปนกันอยู่อย่าง
แนบเนียน นอกจากนี้ยังมีอาหารการกินที่หลากหลายตามชาติพันธุ์ คนรุ่นเก่าๆส่งลูกหลานไปเรียนที่ “ปีนัง” เพราะต้องการ ให้เรียนภาษาจีน และการเดินทางไป “ปีนัง” ในสมัยก่อนสะดวก กว่าเดินทางไปกรุงเทพฯมาก และการเป็นนักเรียน “ปีนนัง” ก็ได้ทั้ง ภาษาอังกฤษ ภาษาจีนกลาง ภาษาจีนฮกเกี้ยน รวมถึงภาษามาลา ยู ที่สำ�คัญคือใช้เงินไม่เยอะเท่าไปเรียนยุโรปหรืออเมริกา ในปั จ จุ บั น ปี นั ง ถู ก กล่ า วขานว่ า เป็ น ไข่ มุ ก แห่ ง ตะวั น ออก เนื่องจากมีบ้านเมืองที่สวยงามและโรแมนติกที่สุดแห่งหนึ่ง สถาปัตยกรรมส่วนใหญ่ของ “ปีนัง” โดยเฉพาะ George Town ที่เรียกกันว่า “ชิโนโปรตุกีส” หรือทางปีนังเรียก “บริติช โคโรเนีย ล สไตล์” หรือ “สถาปัตยกรรมจักรวัรรดินิยมอังกฤษ” เป็นต้นแบบ แผ่อิทธิพลมายัง “เมืองตรัง” โดยเฉพาะ “เมืองทับเที่ยง” โดยผู้ที่มี บทบาทในการนำ�พาและผสมผสานก็คือ “พระยารัษฎานุประดิษฐ มหิศรภักดี (คอซิมบี๊ ณ ระนอง)” ผู้มีเชื้อสายจีนฮกเกี้ยน ที่ “ปีนัง” มีถนนที่ชื่อ “Jalan Trang” หรือ “Trang Road” ด้วย ทั้งนี้ในปัจจุบัน “ปีนัง” ได้ก้าวข้ามไปอีกขั้น ไม่เฉพาะ การได้ขึ้นทะเบียนเป็น “เมืองมรดกโลก” แต่ยังมีการนำ� “ศิลปะ” เข้ามาผสมผสานกับงานด้านสถาปัตยกรรมอันทรงเสน่ห์เดิมได้ อย่างสร้างสรรค์และลงตัว.. ปัจจุบันเมืองทับเที่ยงได้ริเริ่มโครงการศิลปภาพวาดบน ผนังแล้วโดยสโมสรโรตารี่ ในโครงการ “ตรังสวยด้วยโรตารี” ถือ เป็นก้าวย่างเล็กๆที่มีความสำ�คัญ
การเดินทาง การเที่ยวปีนัง จากหาดใหญ่สามารถเดินทางโดยรถตู้มีหลายบริษัทให้ บริการ เดินทาง 3-4 ชั่วโมงรับ-ส่งถึงปีนัง ค่าบริการจากหาดใหญ่ ปีนังราคาท่านละ 450 บาท ไป - กลับ ท่านละ 800 บาท โดยมีเวลา ออกดังนี้ 9.30 , 12.30 , 14.30 , 17.00 น.
พบกับเมืองตรังในมุมมองใหม่ๆได้ที่นี่ เร็วๆนี้ by @Trang ที่นี่จังหวัดตรัง