วารสารธุรกิจอาหารสัตว์เล่มที่ 185

Page 1


ของรางวัล มูลคากวา

18 ลานบาท อาทิ

สแกน คิวอารโคด บนคูปอง แลวกรอกขอมูล (สงฟรี) สงรหัสชิงโชคมาที่ SMS หมายเลข 4141234 (คาบริการครั้งละ 3 บาท)

รหัสชิงโชค xxxxxxxxxx สงรหัสชิงโชคมาที่ SMS หมายเลข 4141234

วิธีที่

หยอนลงกลองรับชิ้นสวน ณ รานคาที่รวมรายการ

4

สงคูปองมาที่ตู ปณ.8 ปณ.หลักสี่ กรุงเทพ 10210


รายนามสมาชิก สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8. 9. 10. 11. 12. 13. 14. 15. 16. 17. 18. 19. 20. 21. 22. 23. 24. 25. 26. 27.

บริษัท เบทาโกร โฮลดิ้ง จ�ำกัด บริษัท แหลมทองสหการ จ�ำกัด บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารเซ็นทรัล จ�ำกัด บริษัท ป.เจริญพันธ์อาหารสัตว์ จ�ำกัด บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จ�ำกัด (มหาชน) บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จ�ำกัด (มหาชน) บริษัท กรุงไทยอาหาร จ�ำกัด (มหาชน) บริษัท ลีพัฒนาผลิตภัณฑ์ จ�ำกัด (มหาชน) บริษัท คาร์กิลล์สยาม จ�ำกัด บริษัท ลีพัฒนาอาหารสัตว์ จ�ำกัด บริษัท ฟีดสเปเชียลตี้ จ�ำกัด บริษัท โกรเบสท์คอร์โพเรชั่น จ�ำกัด บริษัท เอเชี่ยน ฟีด จ�ำกัด บริษัท ไทยลักซ์เอ็นเตอร์ไพรส์ (ประเทศไทย) จ�ำกัด บริษัท ทีเอฟเอ็มเอส (สระบุรี) จ�ำกัด บริษัท เบทาโกร จ�ำกัด (มหาชน) บริษัท ท็อป ฟีด มิลล์ จ�ำกัด บริษัท คาร์กิลล์มีทส์ (ไทยแลนด์) จ�ำกัด บริษัท ยูไนเต็ดฟีดมิลล์ จ�ำกัด บริษัท มิตรภาพอาหารสัตว์ จ�ำกัด บริษัท เหรียญทอง ฟีด (1992) จ�ำกัด บริษัท แหลมทองเกษตรภัณฑ์ จ�ำกัด บริษัท ทีเอฟเอ็มเอส จ�ำกัด บริษัท เอส พี เอ็ม อาหารสัตว์ จ�ำกัด บริษัท อีสเทิร์น ฟีดมิลล์ จ�ำกัด บริษัท ซันฟีด จ�ำกัด บริษัท ยูนีโกร อินเตอร์เนชั่นแนล จ�ำกัด

28. 29. 30. 31. 32. 33. 34. 35. 36. 37. 38. 39. 40. 41. 42. 43. 44. 45. 46. 47. 48. 49. 50. 51. 52. 53. 54.

บริษัท พนัสโภคภัณฑ์ จ�ำกัด บริษัท ยู่สูง จ�ำกัด บริษัท แหลมทองอะควอเทค จ�ำกัด บริษัท บางกอกแร้นซ์ จ�ำกัด (มหาชน) บริษัท กาญจนาอาหารสัตว์ จ�ำกัด บริษัท ก้าวหน้าอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ จ�ำกัด บริษัท กรุงเทพโปรดิ๊วส จ�ำกัด (มหาชน) บริษัท วี.ซี.เอฟ. กรุ๊ป จ�ำกัด บริษัท ชัยภูมิฟาร์มผลิตภัณฑ์การเกษตร จ�ำกัด บริษัท ไทยยูเนี่ยน ฟีดมิลล์ จ�ำกัด บริษัท อินเทคค์ ฟีด จ�ำกัด บริษัท บุญพิศาล จ�ำกัด บริษัท เฮกซ่าแคลไซเนชั่น จ�ำกัด บริษัท หนองบัว ฟีด มิลล์ จ�ำกัด บริษัท ไทย ฟู้ดส์ อาหารสัตว์ จ�ำกัด บริษัท โกลด์ คอยน์ สเปเชียลิตี้ส์ (ประเทศไทย) จ�ำกัด บริษัท วีพีเอฟ กรุ๊ป (1973) จ�ำกัด บริษัท อาร์ที อะกริเทค จ�ำกัด บริษัท ฟาร์มจงเจริญ จ�ำกัด บริษัท เจบีเอฟ จ�ำกัด บริษัท อินเว (ประเทศไทย) จ�ำกัด บริษัท ทีอาร์เอฟ ฟีดมิลล์ จ�ำกัด บริษัท บีอาร์เอฟ ฟีด (ไทยแลนด์) จ�ำกัด บริษัท เกษมชัยฟาร์มอาหารสัตว์ จ�ำกัด บริษัท พนัส ฟีดมิลล์ จ�ำกัด บริษัท เอพีเอ็ม อะโกร จ�ำกัด บริษัท แสงทองอาหารสัตว์ จ�ำกัด

อภินันทนาการ


คณะกรรมการบริหาร สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย ประจ�ำปี 2562-2563

1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8. 9. 10. 11. 12. 13. 14. 15. 16.

นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล นายชยานนท์ กฤตยาเชวง นายประจักษ์ ธีระกุลพิศุทธิ์ นายไพศาล เครือวงศ์วานิช นางเบญจพร สังหิตกุล นายบุญธรรม อร่ามศิริวัฒน์ น.ส. สุวรรณี แต้ไพสิฐพงษ์ นายสมภพ เอื้อทรงธรรม นายโดม มีกุล นายวิโรจน์ กอเจริญรัตน์ นายเธียรเทพ ศิริชยาพร นายสุจิน ศิริมงคลเกษม น.ส. รติพันธ์ หิตะพันธ์ นายสุทธิชัย ศักดิ์ชัยเจริญกุล นายจ�ำลอง เติมกลิ่นจันทน์ นายพน สุเชาว์วณิช

นายกสมาคม อุปนายก อุปนายก อุปนายก เหรัญญิก เลขาธิการ รองเลขาธิการ รองเลขาธิการ ประชาสัมพันธ์ ปฏิคม นายทะเบียน กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ

บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จ�ำกัด (มหาชน) บริษัท เบทาโกร จ�ำกัด (มหาชน) บริษัท ป. เจริญพันธ์อาหารสัตว์ จ�ำกัด บริษัท กรุงเทพโปรดิ๊วส จ�ำกัด (มหาชน) บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จ�ำกัด (มหาชน) บริษัท ลีพัฒนาผลิตภัณฑ์ จ�ำกัด (มหาชน) บริษัท เบทาโกรโฮลดิ้ง จ�ำกัด บริษัท อินเทคค์ ฟีด จ�ำกัด บริษัท ทีเอฟเอ็มเอส (สระบุรี) จ�ำกัด บริษัท ลีพัฒนาอาหารสัตว์ จ�ำกัด บริษัท ทีเอฟเอ็มเอส จ�ำกัด บริษัท กรุงไทยอาหาร จ�ำกัด (มหาชน) บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารเซ็นทรัล จ�ำกัด บริษัท ท็อป ฟีด มิลล์ จ�ำกัด บริษัท ซันฟีด จ�ำกัด บริษัท บางกอกแร้นช์ จ�ำกัด (มหาชน)


บรรณาธิการแถลง ครม. ชูแผนรับมือ โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร เป็น วาระแห่งชาติ นับเป็น การตัดสินใจทีร่ วดเร็ว ถูกต้อง เพราะข้อมูลทีห่ น่วยงานทีเ่ กีย่ วข้องมีชดั เจน และ พร้อมจะต้องรีบด�ำเนินการอย่างรอบคอบ รัดกุม เพือ่ มิให้โรคนี้ เข้ามาในประเทศ ให้ได้ ซึง่ หากประเทศไทยมีระบบการป้องกันโรคทีด่ ี รวมทัง้ ระบบการท�ำลายสุกร ที่เป็นโรค และซากสัตว์ที่เป็นพาหะของโรคระบาดที่เป็นไปตามมาตรฐานสากล สามารถป้องกันไม่ให้เกิดโรคในประเทศได้ จะเป็นโอกาสทางธุรกิจ เนื่องจาก ความต้องการสุกรที่เพิ่มขึ้น จากประเทศที่ประสบปัญหา ดังนั้น การยกระดับ แผนเตรียมพร้อมรับมือโรค ASF เป็นวาระแห่งชาติ จึงส่งผลดีทงั้ การป้องกันโรค การเผชิญเหตุ การฟื้นฟู ตลอดจนการเพิ่มโอกาสทางเศรษฐกิจจากการส่งออก สุกรไปยังประเทศเพื่อนบ้านที่ขาดแคลนสุกร แต่ก็อย่าท�ำให้คนในประเทศต้อง กินหมูแพงตามไปด้วย จากการเร่งส่งออกจนเพลิน โครงการข้าวโพดหลังนา ก็เป็นทางเลือกหนึง่ ทีช่ าวนาให้ความสนใจ และก็ไม่ได้ ท�ำให้ผิดหวัง เพราะเกษตรกรสามารถที่จะปรับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในแต่ละท้องที่ เพราะการส่งเสริมแต่ละแห่งก็มีอุปสรรคแตกต่างกันไป แต่ด้วยปริมาณที่เริ่มต้น ไม่มาก ก็หาทางแก้กันไป แต่ด้วยรายได้ที่เกิดขึ้น ย่อมดีกว่าที่จะทนฝืนท�ำนาปรัง แบบไม่มอี นาคต โดยปรับเปลีย่ นวิธกี ารน�ำการตลาดมาน�ำการผลิต โดยมีเป้าหมาย ชัดเจนถึงความต้องการทีม่ อี ยู่ แล้วท�ำให้ได้ตามแผนและเป้าหมายก็จะบรรลุผลตาม ที่ตั้งใจ โดยมีกรมส่งเสริมคอยเป็นพี่เลี้ยงที่ดี สภาพอากาศในปีนี้ ค่อนข้างร้อนมาก ดูแลสัตว์ที่เลี้ยงให้ดี ให้รอด เพื่อ เตรียมรับทรัพย์จากความเหนือ่ ยยากทีล่ งทุนลงแรงไป ขอให้เป็นปีทองของเกษตรกร ผู้เลี้ยงสัตว์ ทุกคน..... บก.


วารสาร

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36  เล่มที่ 185  ประจำ�เดือน มีนาคม - เมษายน 2562 วัตถุประสงค์ 1. เพื่อส่งเสริมความรู้และเผยแพร่อุตสาหกรรมอาหารสัตว์และการปศุสัตว์ 2. เพื่อเป็นสื่อกลางระหว่างสมาชิกและผู้ที่เกี่ยวข้องทั่วไป 3. เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารสัตว์และการปศุสัตว์ของประเทศให้เจริญรุ่งเรืองในแนวทาง ที่เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของชาติ 4. ไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง

Contents 

Thailand Focus ครม. อนุมัติแผนรับมือโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร เป็นวาระแห่งชาติ..................................................................................................................5 ครม. ชูแผนรับมือ โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร ‘วาระแห่งชาติ’ ระบาดจีน สู่เวียดนาม เข้ากัมพูชา.......................................................................6 จับมือประเทศกลุ่มอาเซียนเพื่อเตรียมความพร้อม และสร้างเครือข่ายเกี่ยวกับโรค ASF ระดับภูมิภาค.................................................................9 กรมปศุสัตว์ ร่วมกับ สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ จัดสัมมนา Seminar on African Swine Fever (ASF) Risk Preparedness จับมือประเทศกลุ่มอาเซียน เพื่อเตรียมความพร้อม และสร้างเครือข่ายเกี่ยวกับโรค ASF ระดับภูมิภาคฯ....................................................11 พบ ASF ครั้งแรกในประเทศกัมพูชา................................................................................................................................................................. 13 โรคระบาดหมูจีนยังน่าหวั่นใจ คาดปี 62 ยังส่งผลร้าย.......................................................................................................................................15 เวียดนามยกเลิกใช้สารไกลโฟเซต หวั่นเกิดมะเร็ง แถมยื่นฟ้องที่สหรัฐฯ กว่า 11,200 คดี.................................................................................16 ประมงเปิดทางรัฐบาลใหม่ ยกระดับ พ.ร.ก. เป็น พ.ร.บ. ประมง......................................................................................................................18

Food Feed Fuel

สถานการณ์ถั่วเหลือง........................................................................................................................................................................................20 สถานการณ์กากถั่วเหลือง..................................................................................................................................................................................23 สถานการณ์ปลาป่น......................................................................................................................................................................................... 26 กินไข่ทุกวัน กินได้ทุกวัย บ�ำรุงสมอง ลดเสี่ยงอัลไซเมอร์..................................................................................................................................29 ผู้เลี้ยงไก่ไข่พอใจมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาไข่ไก่ได้ผล............................................................................................................................... 31 ข้าวโพดหลังนา...พาหนองคายสุขใจ...................................................................................................................................................................33 เก็บเกี่ยวข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ พ่อค้ารับซื้อถึงไร่ ให้ราคาสูง....................................................................................................................................35

Market Leader

พิกบอร์ด (Pig board) เตรียมแผนการผลิต และการตลาดสุกร ปี 2562 คาดมีการขยายตัวการน�ำเข้า และส่งออกเพิ่มมากขึ้น......................37 องค์กรพิทักษ์สัตว์ฯ ชี้ ซีพี. ต้องยุติการเลี้ยงแม่หมูแบบยืนซอง..........................................................................................................................39 เกษตรฯ ชูมาตรฐานไก่ รุกส่งออกอียู............................................................................................................................................................... 41 จีนจะเลิกห้ามน�ำเข้าสัตว์ปีก และซื้อเนื้อหมูสหรัฐฯ............................................................................................................................................43 กรมประมงชูความส�ำเร็จของโครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ ดัน “กะพงขาว” บินจนติดลมบน ป้อนออร์เดอร์สู่ครัวการบินไทยได้อย่างต่อเนื่อง......................................................................................................................................... 45 ปศุสัตว์ไทยจะล่ม ถ้ามองและแก้ไขปัญหาจริงไม่ทะลุ....................................................................................................................................... 48 เกษตรแจง ข้าวโพดประชารัฐ ไม่ใช่ต้นเหตุเกิดจุดความร้อน.............................................................................................................................. 54 เปิดตัว Zero Burn เกษตรปลอดการเผา.......................................................................................................................................................... 56

Around the World

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดงาน ประชุมวิชาการนานาชาติทางสัตวแพทย์และการเลี้ยงสัตว์ ครั้งที่ 43....... 58 โรค ขี้ขาว กับ สาเหตุ?............................................................................................................................................................... 60 ประกาศกรมปศุสัตว์..................................................................................................................................................................70 ขอบคุณ.................................................................................................................................................................................... 80   ด�ำเนินการโดย : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ ไทย   ประธานกรรมการที ป ่ รึ ก ษา : นายประเสริ ฐ พุ ง ่ กุมาร    รองประธานกรรมการที่ปรึกษา : นายวีรชัย รัตนบานชื่น  นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล       กรรมการที่ปรึกษา : นายสมชาย กังสมุทร  นายพงษ์ เหล่าวรวิทย์  นายประสิทธิ์ ศิริมงคลเกษม  นายอดิเรก ศรีประทักษ์  นายนิพนธ์ ลีละศิธร นางเบญจพร สังหิตกุล  นายณรงค์ชัย ศรีสันติแสง  นายบุญธรรม อร่ามศิริวัฒน์  นายประจักษ์ ธีระกุลพิศุทธิ ์    บรรณาธิการ : นายปรีชา กันทรากรกิต ิ    กองบรรณาธิการ : นายไพบูลย์ ขุนทอง  นายอรรถพล ชินภูวดล  นางสาวปัทมา ศรีเที่ยงตรง  นางสาวกรดา พูลพิเศษ   ส�ำนักงาน : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ ไทย 43 ไทย ซีซี ทาวเวอร์ ห้อง 170 ชั้น 17 ถนนสาทรใต้ ยานนาวา สาทร กรุงเทพฯ 10120 โทรศัพท์ 0-2675-6263-4   โทรสาร 0-2675-6265   Email: tfma44@yahoo.com   Website: www.thaifeedmill.com



ระบบมาตรฐานที่ได้รับการรับรอง

GMP / HACCP

ISO 9001 : 2015 / ISO 14001 : 2015


Thailand Focus

ครม. อนุมัติแผนรับมือ

โรคอหิวาต์แอฟร ิกาในสุกร เป็นวาระแห่งชาติ

พ.อ.อธิสิทธิ์ ไชยนุวัติ ผู้ช่วยโฆษกประจ�ำ ส�ำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะ รัฐมนตรี (ครม.) ได้อนุมตั แิ ผนเตรียมความพร้อม รับมือโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรของประเทศไทย ให้เป็นวาระแห่งชาติ พร้อมอนุมัติงบประมาณ ส�ำหรับใช้ในแผนการเฝ้าระวัง 148 ล้านบาทเศษ ทั้งนี้ สืบเนื่องจากสถานการณ์การระบาด ในโรคดังกล่าวขยายเป็นวงกว้างอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 61 จนถึงปัจจุบันพบการระบาดทั้งสิ้น ใน 17 ประเทศทั่วโลก ได้แก่ ยุโรป 10 ประเทศ แอฟริกา 4 ประเทศ และเอเชีย 3 ประเทศ โดย ประเทศในเอเชียที่มีการระบาดของโรคอหิวาต์ แอฟริกาในสุกร คือ จีน มองโกเลีย และเวียดนาม โดยรายงานล่าสุด เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2562 พบว่ามีการท�ำลายสุกรในจีนไปแล้ว 9.5 แสนตัว ในมองโกเลีย 2,992 ตัว และในเวียดนาม 46,600 ตัว รวมทัง้ สิน้ 999,592 ตัว ซึง่ ความเสียหายของ ทั้ง 3 ประเทศ คิดเป็นมูลค่ากว่า 6 พันล้านบาท โดยประเทศไทยมีความเสี่ยงที่จะเกิดการระบาด ของโรคดังกล่าวได้จากหลายปัจจัย เช่น การ ลักลอบน�ำผลิตภัณฑ์สุกรของนักท่องเที่ยวจาก ประเทศที่มีการระบาดเข้ามาในประเทศไทย การ ลักลอบน�ำผลิตภัณฑ์สุกร และซากสุกรผ่านช่อง ทางชายแดน ความเสี่ยงในการปนเปื้อนไวรัสจาก ตั ว เกษตรกร หรื อ สั ต วแพทย์ ที่ ไ ปศึ ก ษาดู ง าน

ในประเทศที่เกิดการระบาดของโรค ความเสี่ยง จากการปนเปื้อนเชื้อไวรัสที่ยานพาหนะ วัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ส่งออกสุกร และอาหารสุกรไปยัง ประเทศเพื่อนบ้าน ส�ำหรับแผนปฏิบัติการรับมือ การระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร แบ่ง เป็น 2 ส่วน ได้แก่ 1. โครงการบริหารจัดการและ ขับเคลื่อนมาตรการ โดยจัดให้มีคณะกรรมการ อ�ำนวยการป้องกัน ควบคุม และก�ำจัดโรคอหิวาต์ แอฟริกาในสุกรแห่งชาติ โดยมีรองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็น กรรมการและเลขานุการ 2. แผนการด�ำเนินงาน และ แผนใช้จ่ายงบประมาณ โดยแผนการด�ำเนินงาน จะแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ช่วงแรก ระยะก่อนเผชิญ เหตุการณ์ระบาด เป็นการเฝ้าระวัง เตือนภัย ป้องกัน โรค และเตรียมความพร้อมเผชิญเหตุในช่วงก่อน มีการระบาด ช่วงที่สอง ระยะเผชิญเหตุการณ์ ระบาด จะมีการตอบสนองในภาวะฉุกเฉินเมื่อมี การระบาดของโรค โดยการจัดการและควบคุมโรค อย่างมีมาตรฐาน และช่วงที่สาม ระยะหลังเผชิญ เหตุการณ์ระบาด เป็นการฟื้นฟู ปรับสภาพความ เป็นอยูข่ องเกษตรกร และผูไ้ ด้รบั ผลกระทบให้กลับ สู่ภาวะปกติ อย่างไรก็ดี มีค�ำยืนยันว่าโรคอหิวาต์ แอฟริกาในสุกร ยังไม่มีการติดต่อไปสู่คน ดังนั้น ขอให้ประชาชนรวมทั้งเกษตรกรอย่าตื่นตระหนก กับเรื่องนี้

ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ มัลติมีเดีย วันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2562 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 185 มีนาคม - เมษายน 2562

5


Thailand Focus

ครม. ชูแผนรับมือ โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุ กร ‘วาระแห่งชาติ’ ระบาดจีน สู่ เวียดนาม เข้ากัมพู ชา ครม. เห็นชอบแผนเตรียมความพร้อมรับมือโรคอหิวาต์แอฟริกา ในสุกรของประเทศไทยเป็นวาระแห่งชาติตามทีก่ ระทรวงเกษตรฯ เสนอ แล้ว ล่าสุดระบาดจากจีน สูเ่ วียดนาม เข้ากัมพูชา โรคนีเ้ ป็นโรค ติดต่อร้ายแรงในสุกร หากติดเชือ้ ไวรัสก่อโรค อัตราการตาย ของสุกรเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ จึงต้องเตรียมพร้อม ที่ป้องกันความเสียหายต่อเกษตรที่เลี้ยงสุกร รวม ถึงอุตสาหกรรมต่อเนื่องมูลค่ากว่า 100,000 ล้านบาท เมื่ อ วั น ที่ 9 เมษายน นายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ กล่าวว่า ได้นำ� เสนอให้ ครม. พิจารณา เรื่องดังกล่าว เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (African Swine Fever: ASF) แพร่ระบาดขยายเป็นวงกว้างขึ้น โดยตั้งแต่ปี 2561 ถึงปัจจุบัน พบการระบาดใน 17 ประเทศ ได้แก่ ทวีปยุโรป 10 ประเทศ ทวีป แอฟริกา 4 ประเทศ และทวีปเอเชีย 4 ประเทศ โดยในทวีปเอเชียมีรายงานการ ระบาดครั้งแรกที่สาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2561 ต่อมาพบที่ ประเทศมองโกเลีย สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ล่าสุดพบในราชอาณาจักร กัมพูชาแล้ว มีรายงานการท�ำลายสุกรในจีน 950,000 ตัว มองโกเลีย 2,992 ตัว เวียดนาม 46,600 ตัว ส่วนทีก่ มั พูชาเพิง่ พบการติดเชือ้ ประมาณการความเสียหาย เบื้องต้นมูลค่ารวม 6,000 ล้านบาท นายกฤษฎา กล่าวว่า สถานการณ์การระบาดของโรค ASF ยังไม่สามารถ ควบคุมได้ ในจีนพบ 113 ครั้งใน 28 จังหวัด มองโกเลีย 10 ครั้งใน 6 จังหวัด เวียดนาม 221 ครัง้ ใน 17 จังหวัด และกัมพูชา 1 ครัง้ ใน 1 จังหวัด จึงมีความเสีย่ งสูง

ที่มา : มติชน ออนไลน์ วันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2562

6

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 185 มีนาคม - เมษายน 2562


นายกฤษฎา กล่าวต่อว่า โรค ASF แม้ไม่ได้ เป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน แต่เป็นโรคระบาด ร้ายแรงในสุกร ยังไม่มีวัคซีนป้องกันและควบคุม โรค เชื้อโรคทนทานในผลิตภัณฑ์จากสุกรและ สิ่งแวดล้อมสูง สุกรที่หายป่วยแล้วจะเป็นพาหะ ของโรคได้ตลอดชีวิต สุกรที่ติดเชื้อมีการตาย เฉียบพลันเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ ทัง้ นีแ้ ผนเตรียม ความพร้อมดังกล่าวได้เชิญผู้เกี่ยวข้องมาจัดท�ำ ทัง้ ภาคเอกชน นักวิชาการจากมหาวิทยาลัย สัตวแพทยสภา สมาคมสัตวแพทย์ควบคุมฟาร์มสุกร ไทย สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ ซึ่งเห็นพ้อง ว่า ควรจัดให้มีคณะกรรมการอ�ำนวยการป้องกัน ควบคุมและก�ำจัดโรค โดยมีรองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นกรรมการ และเลขานุการ และอธิบดีกรม ปศุสัตว์ เป็นกรรมการ และผู้ช่วยเลขานุการ โดย

Thailand Focus

ที่จะระบาดเข้าสู่ไทยได้ ทั้งจากการลักลอบน�ำ ผลิตภัณฑ์สุกรติดตัวของนักท่องเที่ยว ซึ่งกรม ปศุสัตว์ได้เข้มงวดจับกุมการลักลอบเคลื่อนย้าย สุกร ซากสุกร และผลิตภัณฑ์สุกรที่นักท่องเที่ยว น�ำมาบริโภคอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่มีการระบาด ของโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรที่จีนตรวจยึดการ ลักลอบเคลื่อนย้ายผลิตภัณฑ์จากสุกร 269 ครั้ง และผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมีการปนเปื้อนสารพันธุกรรมเชื้อไวรัสนี้ 49 ตัวอย่าง ล่าสุดพบการ ลักลอบน�ำผลิตภัณฑ์สุกรและซากสุกรผ่านช่อง ทางน�ำเข้าชายแดนที่มีระยะทางยาว อีกทั้งยังมี ความเสี่ยงจากการปนเปื้อนของเชื้อไวรัสจากตัว เกษตรกร หรือสัตวแพทย์ที่ไปดูงานในประเทศ ที่มีการระบาดของโรค การปนเปื้อนเชื้อไวรัสที่ ยานพาหนะ วัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ส่งออกสุกร และ อาหารสุกรไปยังประเทศเพื่อนบ้าน

คณะกรรมการ ประกอบไปด้วย หน่วยงานที่ เกีย่ วข้อง ทัง้ ภาครัฐ ภาคสหกรณ์ผเู้ ลีย้ งสัตว์ และ ภาคเอกชน ในระยะเผชิญเหตุการระบาด การ ตอบสนองในภาวะฉุกเฉินเมื่อมีการระบาด โดยมี มาตรการควบคุมโรคที่มีประสิทธิภาพ ส่วนระยะ ภายหลังเผชิญเหตุการระบาดนั้น สามารถฟื้นฟู เพือ่ ปรับสภาพความเป็นอยูข่ องเกษตรกร และผูท้ ี่ ได้รับผลกระทบให้กลับสู่สภาวะปกติ หรือพัฒนา ให้ดกี ว่า และปลอดภัยกว่าเดิม ลดปัญหาการเกิด โรคอุบัติซ�้ำ ในวันนี้ ครม. อนุมตั แิ ผนใช้งา่ ย งบประมาณ ในการด�ำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุม โรค วงเงินงบประมาณทัง้ สิน้ 148,542,900 บาท โดยปีงบประมาณ 62 เป็นเงิน 53,604,900 บาท ใช้งบกลาง รายการเงินส�ำรองจ่ายเพื่อกรณี ฉุกเฉิน หรือจ�ำเป็น ในปีงบประมาณ 63 เป็นเงิน 52,419,000 บาท และปีงบประมาณ 64 เป็นเงิน 42,519,000 บาท โดยด�ำเนินการระยะเร่งด่วน ในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรค ส�ำหรับ ระยะยาวให้ยกระดับมาตรการการควบคุมป้องกัน โรคให้มีมาตรฐานสากล โดยจัดสร้างโรงท�ำลาย ซากสัตว์ติดเชื้อ เนื่องจาก ASF คงทนในสภาพแวดล้อมสูง อีกทัง้ หากท�ำลายโดยการฝัง จะต้องใช้ พืน้ ทีจ่ ำ� นวนมาก และการด�ำเนินการท�ำลายเป็นไป ด้วยความยากล�ำบาก มีโอกาสที่เชื้อจะตกค้าง และแพร่กระจายในสิ่งแวดล้อม หรือหากท�ำลาย โดยวิธีการเผาจะก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม จึงจ�ำเป็นต้องมีวิธีการก�ำจัดซากที่ติดเชื้ออย่าง เหมาะสม เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาข้างต้น ประเทศไทย มี เ กษตรกรผู ้ เ ลี้ ย งสุ ก ร 210,978 ราย เป็นเกษตรกรรายย่อย 208,192 ราย เลีย้ งสุกรขุน 80,000 ตัว สุกรพันธุ์ 63,000 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 185 มีนาคม - เมษายน 2562

7


“หากประเทศไทยมีระบบการป้องกันโรคที่ดี รวมทั้งระบบการท�ำลายสุกรที่ เป็นโรค และซากสัตว์ทเี่ ป็นพาหะของโรคระบาดเป็นไปตามมาตรฐานสากล สามารถ ป้องกันไม่ให้เกิดโรคในประเทศได้ จะเป็นโอกาสทางธุรกิจ เนื่องจากความต้องการ สุกรของจีน เวียดนาม และกัมพูชา เพิม่ สูงขึน้ จากเดิมก่อนเกิดโรค ราคาสุกรมีชวี ติ ของประเทศไทยกิโลกรัมละ 60 บาท ภายหลังเกิดโรค คาดการณ์วา่ จะท�ำให้ราคา สุกรในประเทศมีราคาเพิ่มขึ้นไม่ต�่ำกว่ากิโลกรัมละ 80 บาท เกษตรกรมีรายได้ เพิ่มขึ้น 44,000 ล้านบาทต่อปี ดังนั้น การยกระดับแผนเตรียมพร้อมรับมือโรค ASF เป็นวาระแห่งชาติจงึ ส่งผลดีทงั้ การป้องกันโรค การเผชิญเหตุ การฟืน้ ฟู ตลอดจน การเพิม่ โอกาสทางเศรษฐกิจจากการส่งออกสุกรไปยังประเทศเพือ่ นบ้านทีข่ าดแคลน สุกร” นายกฤษฎา กล่าว

8

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 185 มีนาคม - เมษายน 2562

ภาพประกอบ : Ehrecke - pixabay

Thailand Focus

ตัว ลูกสุกร 733,000 ตัว เป็นเกษตรกรรายใหญ่ 2,758 ราย เลี้ยงสุกรขุน 8,800,000 ตัว สุกรพันธุ์ 1,137,000 ตัว และลูกสุกร 4,670,000 ตัว ดังนั้น หากเกิดการระบาดของโรคแล้วท�ำลายสุกร กรณี เกิดโรคร้อยละ 30 ของสุกรที่เลี้ยง เสียหายรวม 21,168 ล้านบาท กรณีเกิดโรคร้อยละ 50 ของสุกร ที่เลี้ยง เสียหายรวม 35,280 ล้านบาท หากเกิดโรค ร้อยละ 80 ของสุกรที่เลี้ยง เสียหายรวม 56,448 ล้านบาท และถ้าเกิดการระบาดทั้งหมดจะเสียหาย รวม 70,560 ล้านบาท รวมถึงผลกระทบต่อการ ส่งออกเนื้อสุกรช�ำแหละ เนื้อสุกรแปรรูป เนื้อสุกร มีชีวิต ด้านธุรกิจอาหารสัตว์ ด้านธุรกิจเวชภัณฑ์อีกมหาศาล รวมถึงค่าใช้จ่าย ในการฟื้นฟูอาชีพ และความเป็นอยู่เกษตรกรเป็นจ�ำนวนมาก และใช้ระยะเวลา ในการฟื้นฟูเป็นเวลานาน


Thailand Focus

จับมือประเทศกลุ่มอาเซียนเพื่อเตร ียมความพร้อม และสร้างเคร ือข่ายเกี่ยวกับโรค ASF ระดับภูมิภาค

นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เป็นประธานเปิดงาน สัมมนา “Seminar on African Swine Fever (ASF) Risk Preparedness” เชิญ ประเทศกลุ่มอาเซียน อาทิ กัมพูชา ลาว และเวียดนาม ร่วมเพื่อเตรียมความพร้อม และสร้างเครือข่ายเกี่ยวกับโรค ASF ระดับภูมิภาค พร้อมทั้งปล่อยขบวนคาราวาน ความร่วมมือเฝ้าะวังและป้องกันโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรตามแนวชายแดน ระหว่างวันที่ 26 - 27 มีนาคม 2562 ณ โรงแรมอัศวรรณ จังหวัดหนองคาย โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (African Swine Fever: ASF) เป็นโรคที่ไม่มี วัคซีน เกิดโรคเฉพาะในสุกร ไม่ตดิ ต่อสูค่ น ท�ำให้เกิดอัตราการตายสูงในสุกร ส่งผล กระทบและสร้างความเสียหายอย่างมากต่ออุตสาหกรรมผู้ผลิตและผู้เลี้ยงสุกร ซึ่ง ปัจจุบนั สถานการณ์การระบาดของโรค ASF มากขึน้ ในหลายประเทศทัว่ โลก รวมทัง้ สาธารณรัฐประชาชนจีน และเวียดนาม ซึ่งอยู่ในภูมิภาคเอเชีย ส่งผลกระทบและ สร้างความเสียหายต่อความมั่นคงทางด้านอาหาร (Food Security) ระดับภูมิภาค ด้วย ที่มา : วารสารข่าวปศุสัตว์ เดือนกุมภาพันธ์ 2562 - มีนาคม พ.ศ. 2562 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 185 มีนาคม - เมษายน 2562

9


Thailand Focus ดังนั้น เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมใน การรับมือ และสร้างเครือข่ายปฏิบตั งิ านทีเ่ กีย่ วข้อง กับโรค ASF ระดับภูมิภาค กรมปศุสัตว์ ร่วมกับ สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ ได้จัดงานสัมมนาขึ้น โดยจุดประสงค์เพือ่ ทบทวนสถานการณ์ และความ เสี่ยงของโรค ASF ในสุกรที่มีต่อประเทศในแถบ ภูมิภาค สร้างกลไกความร่วมมือเพื่อเตรียมความ พร้อมในการป้องกันการเกิดโรค สร้างเครือข่าย ระหว่างหน่วยงาน สร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายตามชายแดน โดยมีองค์การสุขภาพสัตว์โลก (OIE) ให้การสนับสนุนข้อมูลทางด้านวิชาการ นอกจากนี้ ในการสัมมนามีการน�ำเสนอข้อมูล สถานการณ์ปัจจุบันของโรค ASF และความเสี่ยง ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แผนในการ

10

เตรียมความพร้อมและการรับมือของโรค ASF ระดับชาติของประเทศต่างๆ การประเมินความเสีย่ ง ในการระบาดของโรค ASF และการแลกเปลี่ยน ข้อมูลระหว่างประเทศต่างๆ ด้านความร่วมมือ การสร้างความเข้มแข็งตามแนวชายแดนระหว่าง ประเทศ การสร้างเครือข่าย และการระบุจดั ความ ส�ำคัญในการเตรียมพร้อมและความร่วมมือระดับ ภูมิภาค เพื่อให้กลไกความร่วมมือเกี่ยวกับโรค ASF ระดับภูมิภาคสามารถด�ำเนินการได้อย่างมี ประสิทธิภาพ นอกจากนั้น จะมีขบวนคาราวาน ความร่ ว มมื อ เฝ้ า ระวั ง และป้ อ งกั น โรคอหิ ว าต์ แอฟริกาในสุกร ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่หน่วย ปฏิบัติการพิเศษกว่า 45 ราย พร้อมยานพาหนะ 15 คัน ร่วมกับผูแ้ ทนจากประเทศกัมพูชา ลาว และ เวียดนาม เพือ่ พ่นน�ำ้ ยาฆ่าเชือ้ ต้านโรค ASF ตาม พื้นที่ชายแดน และประเทศเพื่อนบ้าน ร่วมมือ ด�ำเนินการตามมาตรการป้องกันโรค ASF ของ กรมปศุสัตว์ต่อไป โดยเริ่มปฏิบัติการตั้งแต่วันที่ 27 มีนาคม - พฤษภาคม 2562

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 185 มีนาคม - เมษายน 2562


Thailand Focus

กรมปศุสัตว์ ร่วมกับ สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ จัดสัมมนา Seminar on African Swine Fever (ASF) Risk Preparedness จับมือประเทศกลุ่มอาเซียน เพื่อเตรียมความพร้อม และสร้างเครือข่ายเกี่ยวกับโรค ASF ระดับภูมิภาคฯ » คุณสุวรรณี กาญจนภูสิต «

วันที่ 27 มีนาคม 2562 เวลา 9.00 น. นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เป็นประธานเปิดงานสัมมนา “Seminar on African Swine Fever (ASF) Risk Preparedness” ระหว่างวันที่ 26 - 27 มีนาคม 2562 พร้อมด้วย นายสั ต วแพทย์ จี ร ะศั ก ดิ์ พิ พั ฒ นพงศ์ โ สภณ รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ นายรณชัย จิตรวิเศษ ผูว้ า่ ราชการจังหวัดหนองคาย ปศุสตั ว์เขต 2, 3, 4 และ 5 ผอ.ส�ำนักควบคุม ป้องกันและบ�ำบัดโรค สัตว์ ผอ.กองสารวัตรและกักกัน ผูแ้ ทนจากปศุสตั ว์ จังหวัด เจ้าหน้าที่ด่านกักกันสัตว์ ผู้แทนจากกอง ความร่วมมือด้านการปศุสัตว์ระหว่างประเทศ ผู้แทนจากสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ ผู้แทนจาก ประเทศกลุ่มอาเซียนประกอบด้วย อธิบดีจาก ประเทศกัมพูชา รองอธิบดีจาก สปป. ลาว และ

รองอธิบดีจากเวียดนาม และเจ้าหน้าทีท่ เี่ กีย่ วข้อง โรคอหิ ว าต์ แ อฟริ ก าในสุ ก ร (African Swine Fever: ASF) เป็นโรคทีไ่ ม่มวี คั ซีน เกิดโรคเฉพาะ ในสุกร ไม่ติดต่อสู่คน ท�ำให้เกิดอัตราการตายสูง ในสุกร ส่งผลกระทบและสร้างความเสียหายอย่าง มากต่ออุตสาหกรรมผู้ผลิตและผู้เลี้ยงสุกร ซึ่ง ปัจจุบนั สถานการณ์การระบาดของโรค ASF มาก ขึ้นในหลายประเทศทั่วโลก รวมทั้งสาธารณรัฐ ประชาชนจีน และเวียดนาม ซึง่ อยูใ่ นภูมภิ าคเอเชีย ส่งผลกระทบ และสร้างความเสียหายต่อความ มั่นคงทางด้านอาหาร (Food Security) ระดับ ภูมิภาคด้วย เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมใน การรับมือและสร้างเครือข่ายปฏิบตั งิ านทีเ่ กีย่ วข้อง กับโรค ASF ระดับภูมิภาค กรมปศุสัตว์ ร่วมกับ สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ ได้จัดงานสัมมนาขึ้น

ที่มา : กรมปศุสัตว์ วันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2562 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 185 มีนาคม - เมษายน 2562

11


Thailand Focus

โดยจุดประสงค์เพือ่ ทบทวนสถานการณ์ และความ เสี่ยงของโรค ASF ในสุกรที่มีต่อประเทศในแถบ ภูมิภาค สร้างกลไกความร่วมมือเพื่อเตรียมความ พร้อมในการป้องกันการเกิดโรค สร้างเครือข่าย ระหว่างหน่วยงาน สร้างความเข้มแข็งของเครือข่าย ตามชายแดน โดยมีองค์การสุขภาพสัตว์โลก (OIE) ให้การสนับสนุนข้อมูลทางด้านวิชาการ นอกจากนี้ ในการสัมมนามีการน�ำเสนอข้อมูลสถานการณ์ ปัจจุบันของโรค ASF และความเสี่ยงของภูมิภาค เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แผนในการเตรียมความ พร้อมและการรับมือของโรค ASF ระดับชาติของ ประเทศต่างๆ การประเมินความเสีย่ งในการระบาด ของโรค ASF และการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่าง ประเทศต่างๆ ด้านความร่วมมือ การสร้างความ เข้มแข็งตามแนวชายแดนระหว่างประเทศ การ สร้างเครือข่าย และการระบุจัดความส�ำคัญใน การเตรียมความพร้อม และความร่วมมือระดับ ภูมิภาค เพื่อให้กลไกความร่วมมือเกี่ยวกับโรค ASF ระดับภูมิภาคสามารถด�ำเนินการได้อย่างมี ประสิทธิภาพต่อไป นอกจากนี้ เป็นประธาน ปล่อย ขบวนคาราวานความร่วมมือเฝ้าระวังและป้องกัน โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ หน่วยปฏิบัติการพิเศษกว่า 45 ราย พร้อมยานพาหนะ 15 คัน ร่วมกับผูแ้ ทนจากประเทศกัมพูชา ลาว และเวียดนาม เพื่อพ่นน�้ำยาฆ่าเชื้อต้านโรค ASF ตามพื้นที่ชายแดน และประเทศเพื่อนบ้าน ร่วมมือด�ำเนินการตามมาตราการป้องกันโรค ASF ของกรมปศุสัตว์ต่อไป โดยเริ่มปฏิบัติการตั้งแต่ วันที่ 27 มีนาคม - พฤษภาคม 2562 นี้ ณ โรงแรม อัศวรรณ จังหวัดหนองคาย ที่มาของข้อมูล : คณะท�ำงานโฆษกกรมปศุสัตว์

12

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 185 มีนาคม - เมษายน 2562




Thailand Focus

พบ ASF ครั้งแรก ในประเทศกัมพูชา

กัมพูชา รายงานพบการระบาดครัง้ แรกของโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (ASF) ใกล้กับชายแดนประเทศเวียดนาม ด้านองค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE) เปิดเผยเมื่อวันพุธที่ 3 เมษายน 2562 ตามรายงานกระทรวง เกษตรฯ กัมพูชา พบว่า โรค อหิวาต์แอฟริกาในสุกร (ASF) เกิดขึ้นที่ Soamkanign, Soam Thom, Oyadav, Rattanakiri. (จังหวัดรัตนคีรี) ในฟาร์มสุกร ขนาด 500 ตัว (ป่วยตาย 400 ตัว และท�ำลาย 100 ตัว) ซึ่ง เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 22 มีนาคม ที่ผ่านมา ตามรายงานของกระทรวง เกษตรฯ กัมพูชา ทั้งนี้กระทรวงเกษตรฯ กัมพูชา ลงนามโดย รัฐมนตรี วันที่ 2 เมษายน 2562 ได้ประกาศเพิม่ เติม โดยมีใจความส�ำคัญดังนี้

ที่มา : ปศุศาสตร์ นิวส์ วันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2562 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 185 มีนาคม - เมษายน 2562

13


Thailand Focus

1. ประกาศให้พื้นที่อ�ำเภอโอยาดาว (Oyadav) เป็นพื้นที่ที่มีการระบาดของโรค ASF 2. ให้เจ้าหน้าที่ด�ำเนินการ - ท�ำลายสุกรทุกประเภทในพื้นที่ที่มีการระบาด - งดเว้นการซื้อขาย ขนส่ง สุกร เนื้อสุกร หรือผลิตภัณฑ์ ในรัศมี 3 กิโลเมตร - ติดตามสถานะสุขภาพสัตว์ ในระยะรัศมี 10 กิโลเมตร

3. ก�ำหนดให้พื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ห้ามเลี้ยง ซื้อ - ขาย ขนส่งสุกร จนกว่าจะมีประกาศ เปลี่ยนแปลง

4. ระบุว่าโรค ASF ไม่ติดต่อสู่คน สร้างความเสียหายต่อสุกร อาจสูญเสียถึง 100% และ ห้ามไม่ให้เผยแพร่ข่าวสารที่บิดเบือนจากนี้ ส่วนข้อ 5 - 7 ระบุถึงข้อกฎหมาย ห้ามละเมิด และให้ปฏิบัติตามประกาศนี้

ส�ำหรับไทยเรา อยากให้ทุกคนช่วยกัน และตระหนักถึงระบบ Biosecurity มาตรฐาน GAP และมาตรฐานการป้องกันและการเลีย้ งสัตว์ทเี่ หมาะสม หรือ GFM จริงอยู!่ !! เดิมทีมองว่าโรคนีอ้ าจดู เหมือนไกลตัว แต่วันนี้ไม่ใช่แล้ว มันเริ่มเข้ามาป้วนเปี้ยนใกล้บ้านเราเข้าไปทุกที

14

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 185 มีนาคม - เมษายน 2562


Thailand Focus

โรคระบาดหมูจีนยังน่าหวัน ่ ใจ

คาดปี 62 ยังส่งผลร้าย ผู้อ�ำนวยการแผนกวิจัยอาหารและธุรกิจการเกษตรของ Rabobank เผยว่า การระบาดของโรคอหิวาต์สุกรแอฟริกัน (African Swine Fever: ASF) ในจีนที่มี รายงานการระบาดของโรคถึง 113 ครั้ง ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2561 จะส่งผลให้ ปริมาณการผลิตสุกรลดลงมากกว่า 20% ในปี 2562 ซึ่งหมายความว่าปริมาณ การผลิตสุกรในประเทศจะอยู่ที่ปริมาณ 50 - 51 ล้านตัน ลดลงจากปี 2561 ที่มี ปริมาณ 54 - 55 ล้านตัน เช่นเดียวกับทูตการเกษตรสหรัฐอเมริกาประจ�ำกรุงปักกิง่ ที่คาดการณ์ว่า ในปี 2562 ปริมาณการผลิตสุกรจะอยู่ที่ 51.4 ล้านตัน ลดลง 5% จากปี 2561 การแพร่ระบาดของโรค ASF ท�ำให้แผนการผลิตของสถานประกอบการ หลายแห่งหยุดชะงัก รวมถึงการยุตกิ ารขยายงานเพราะโรคระบาด ด้วยเหตุนที้ ำ� ให้ ผลผลิตลดลง และมีผลอย่างมากต่อความต้องการอาหารสัตว์ โดยคาดว่า ความ ต้องการอาหารสุกรของจีนในเดือนตุลาคม 2561 - กันยายน 2562 จะลดลง 12% และความต้องการกากถั่วเหลืองจะลดลง 5.5% ในช่วงเวลาเดียวกัน รวมถึงมีการ คาดการณ์อีกว่า ปี 2562 การใช้ประโยชน์อาหารสุกรจะลดลง 25 - 30% และ ภาพรวมของความต้องการอาหารสัตว์ทั้งหมดจะลดลง 12 - 15% ทั้งนี้ ในปี 2561 ผลิตภัณฑ์สุกรเพิ่มขึ้นใน 3 ไตรมาสแรก แต่ในไตรมาสที่ 4 กลับลดลงอย่างมากหลังจากที่โรคติดต่อแพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว จากข้อมูลของ กรมสถิติจีนรายงานว่า ปี 2561 มีปริมาณการเชือดสุกรลดลง 1.2% เหลือเพียง 639.8 ล้านตัว ท�ำให้ปริมาณการผลิตสุกรอยู่ที่ 54 ล้านตัน และปริมาณการเลี้ยง สุกรทั่วประเทศลดลงถึง 15%

ที่มา : www:thepigsite.com สรุปโดย : มกอช. วันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2562 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 185 มีนาคม - เมษายน 2562

15


Thailand Focus

เวียดนามยกเลิกใช้สารไกลโฟเซต ่ หรัฐฯ ่ ฟ้องทีส หวั่นเกิดมะเร็ง แถมยืน กว่า 11,200 คดี

ภาพประกอบ: vitieubao - pixabay

รัฐบาลเวียดนามยกเลิกการใช้ไกลโฟเซต หวั่นเกิดมะเร็ง แถมมีการยื่นฟ้อง ที่สหรัฐฯ กว่า 11,200 คดี ด้าน บ.ไบเออร์ ออกแถลงการณ์ตอบโต้การยกเลิก ไกลโฟเซตปราศจากหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ เชื่อซ�้ำรอยศรีลังกาที่ต้องหวนกลับ มาใช้ใหม่ มีรายงานว่า วันที่ 10 เมษายน 2562 รัฐบาลเวียดนาม โดย Plant Protection Department ออกแถลงการณ์เรื่อง ยกเลิกการใช้ไกลโฟเซตในประเทศเวียดนาม สาระส�ำคัญของแถลงการณ์ได้ชี้แจงเหตุผลหลักยกเลิกใช้ โดยอ้างรายงาน ของ IARC ว่า สารไกลโฟเซตอาจก่อให้เกิดมะเร็ง ประกอบกับมีการยืน่ ฟ้องเรือ่ งนีท้ สี่ หรัฐฯ จ�ำนวนมากกว่า 11,200 คดี โดยผูป้ ว่ ย ทีเ่ ป็นมะเร็ง ต่อบริษทั มอนซานโต้ จ�ำกัด ซึง่ จนถึงขณะนี้ คณะลูกขุนได้พจิ ารณาว่า ไกลโฟเซตก่อให้เกิดมะเร็งชนิด Non - Hodgkin Lymphoma ไปแล้ว 2 คดี ด้วยเหตุผลดังกล่าว รัฐบาลเวียดนามจึงเห็นควรให้ยกเลิกการใช้ไกลโฟเซต เพื่อปกป้องสุขภาพ และสิ่งแวดล้อม โดยยังมีสารก�ำจัดวัชพืชอีก 54 ชนิดที่มี ประสิทธิภาพและความปลอดภัย สามารถใช้ทดแทนไกลโฟเซตได้ ที่มา : www.prachachat.net วันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2562

16

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 185 มีนาคม - เมษายน 2562


Thailand Focus

ทั้งนี้ ภายหลังการออกแถลงการณ์ของรัฐบาลเวียดนาม บริษัท ไบเออร์ จ�ำกัด (ซึ่งเป็นผู้ครอบครองกิจการของ บริษัท มอนซานโต้ จ�ำกัด) ได้ออกแถลงการณ์ต่อการประกาศยกเลิก โดย บริษัท ไบเออร์ จ�ำกัด ระบุว่า บริษัทฯ เคารพการ ตัดสินใจของรัฐบาลเวียดนาม แต่การยกเลิกการใช้ไกลโฟเซต จะส่งผลกระทบต่อความมัน่ คง ความปลอดภัย และความยัง่ ยืน ของอาหารในประเทศเวียดนาม เนื่องจากการตัดสินใจยกเลิกครั้งนี้ ประเทศเวียดนาม ใช้การฟ้องร้องในสหรัฐอเมริกาเป็นเหตุผลหลักเพื่อการยกเลิก โดยมิได้ทำ� การประเมินไกลโฟเซตด้วยวิธกี ารทางวิทยาศาสตร์แต่อย่างใด การฟ้องร้องที่เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกานั้น มิได้หักล้างหลักฐาน และรายงาน การประเมินความปลอดภัยโดยหน่วยงานด้านสุขภาพ และด้านการก�ำกับดูแลสารเคมี ทั่วโลก ได้แก่ สหภาพยุโรป แคนาดา ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ บราซิล สหรัฐอมริกา และ JMPR (หน่วยงานร่วมของ WHO และ FAO) ที่ล้วนให้ข้อสรุป ตรงกันว่า ไกลโฟเซต มิใช่สารก่อมะเร็ง พร้ อ มทั้ ง ยกตั ว อย่ า งการยกเลิ ก ไกลโฟเซตโดยปราศจากหลั ก ฐานทาง วิทยาศาสตร์ที่ตรวจพิสูจน์ได้ เคยเกิดขึ้นในประเทศศรีลังกาในปี 2015 ซึ่งการ ยกเลิกได้ส่งผลกระทบอย่างมากต่อเกษตรกรและเศรษฐกิจของศรีลังกา จนท�ำให้ ในปี 2018 ศรีลังกาต้องประกาศให้กลับมาใช้ไกลโฟเซตได้อีก เพื่อให้เกษตรกร ผู้ปลูกชาซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจส�ำคัญของศรีลังกา สามารถกลับมาแข่งขันได้ “เกษตรกรเวียดนามไม่ควรต้องประสบชะตากรรมเช่นทีเ่ คยเกิดกับศรีลงั กา และควรได้รับการสนับสนุนให้สามารถใช้ไกลโฟเซต ในการควบคุมวัชพืชอย่างมี ประสิทธิภาพเช่นเดียวกับเกษตรกรในประเทศต่างๆ ทั่วโลก”

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 185 มีนาคม - เมษายน 2562

17


Thailand Focus

ประมงเปิดทางรัฐบาลใหม่ ยกระดับ

พ.ร.ก. เป็น พ.ร.บ. ประมง นายอดิศร พร้อมเทพ อธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่า หลังจากสหภาพยุโรป (อีย)ู ปลดใบเหลือง การท�ำประมงผิดกฎหมายขาดการรายงานและ ไร้การควบคุม (ไอยูย)ู ให้การท�ำประมงไทย แต่ไทย ยังต้องเพิ่มความเข้มงวดภายใต้พระราชก�ำหนด (พ.ร.ก.) การประมงมากขึ้น เพื่อให้สร้างความ เชือ่ มัน่ ต่อประเทศผูน้ ำ� เข้า โดยมัน่ ใจว่าการส่งออก ของประมงไทยจะเพิ่มมากขึ้นตามล�ำดับ เพราะ ช่วงทีไ่ ทยได้รบั ใบเหลืองไอยูยู แม้ไม่ใช่การสัง่ แบน สินค้าประมงไทย แต่การส่งออกลดลงต่อเนื่อง ทุกปี เพราะผูน้ ำ� เข้าได้รบั การร้องเรียนจากผูบ้ ริโภค ว่าไม่อยากเลือกซื้อสินค้าจากประเทศที่มีปัญหา ไอยูยู ในขณะเดียวกัน พ.ร.ก. การประมงดังกล่าว หลังจากทีม่ รี ฐั บาลชุดใหม่เข้ามาบริหารงาน คาดว่า จะมีการปรับเปลี่ยนเพื่อยกระดับขึ้นเป็นพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ซึง่ ตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบนั ไม่จ�ำเป็นต้องเปลี่ยนเพราะมีสิทธิเท่าเทียมกัน เพียงแต่ พ.ร.ก. นัน้ ไม่จำ� เป็นต้องผ่านการพิจารณา ของสภาผูแ้ ทนราษฎร จึงเท่ากับว่า สภาฯ ไม่มสี ทิ ธิ์ ปรับเปลีย่ น ต่างไปจาก พ.ร.บ. ทีท่ กุ ฉบับต้องผ่าน ความเห็นชอบจากสภาฯ

“มาตรการที่เข้มงวดใน 3 ปีที่ผ่านมา ท�ำ ให้ปลาเข้ามาอยูใ่ นน่านน�ำ้ ไทยมากขึน้ ปลาตัวใหญ่ ขึน้ กรมประมงจะเพิม่ โควตา และวันจับปลาให้กบั เรือ แต่ตอ้ งใช้เครือ่ งมือทีถ่ กู ต้องเท่านัน้ กรณีทเี่ ป็น เครื่องมือใหม่ๆ เข้ามาขอใบอนุญาตก็จะพิจารณา ตามข้ อ เท็ จ จริ ง ทั้ ง หมดนี้ เ พื่ อ ความยั่ ง ยื น ของ ทรัพยากรประมง” นายอดิศร กล่าวว่า แม้รัฐบาลจะพิจารณา ปรับเปลีย่ น พ.ร.ก. การประมงในรูปแบบใด ก็ตอ้ ง ยึดหลักความเข้มงวดทุกมาตราเป็นหลัก ในขณะที่ ไม่ควรมีโทษทางอาญา แต่ใช้วธิ ที างแพ่ง ปรับด้วย มูลค่าสูงสุด หรือยึดใบอนุญาต เพราะเป็นการ ลงโทษที่เรือทุกล�ำกลัว เนื่องจากการประมงใน ปัจจุบันเป็นเรื่องทางเศรษฐกิจไปแล้ว ทั้งนี้ เพื่อคุ้มครองชาวประมงทุกประเภท กรมประมง จะเร่งตัง้ กองทุนช่วยเหลือ หรือชดเชย กรณีที่เกิดผลกระทบ รวมทั้งใช้ในการพัฒนา ซึ่ง ขณะนีอ้ ยูร่ ะหว่างการร่างแนวทาง คาดว่าสิน้ เดือน นี้ จะมีความก้าวหน้าบางอย่างเกิดขึ้น ส�ำหรับ เรือประมงพื้นบ้าน 27,000 ล�ำ ที่ขณะนี้ยังไม่ จ�ำเป็นต้องออกใบอนุญาต ไม่ก�ำหนดเขตจับปลา แต่เรือทุกล�ำต้องสร้างอัตลักษณ์ขนึ้ ซึง่ กรมประมง

ที่มา : www.khaosod.co.th วันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2562

18

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 185 มีนาคม - เมษายน 2562


Thailand Focus จะเร่งด�ำเนินการเริ่มให้ได้ภายในปีนี้ ซึ่งยอมรับว่าเป็นเรื่องยาก เนื่องจากเรือ มีจ�ำนวนมาก และส่วนใหญ่อยู่ท้องถิ่นห่างไกล “ในส่วนของเรือนอกน่านน�ำ้ ทีผ่ า่ นมา ตาม พ.ร.ก. ประมง ไม่ได้ปดิ กัน้ ให้ออก ประมง แต่เนื่องจากไม่มีน่านน�้ำประเทศใดเปิดรับ ท�ำให้เรือทุกล�ำยังไม่สามารถ ด�ำเนินการได้ แต่ในขณะนี้มีข่าวดีจากพม่า และปาปัวนิกีนี ที่แจ้งว่าพร้อมให้เรือ ประมงไทยเข้าไปจับปลาได้แล้ว แต่ตอ้ งอยูภ่ ายใต้เงือ่ นไขตามกฎหมายของรัฐเจ้าท่า เท่านั้น” ปัจจุบนั ก�ำหนดเกณฑ์ออกมาแล้ว แต่ตอ้ งพิจารณาข้อมูลของเรือแต่ละล�ำ เพือ่ ก�ำหนดวงเงิน คาดว่าภายในสัปดาห์หน้าจะแล้วเสร็จเสนอให้กระทรวงเกษตรฯ เพือ่ ให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาต่อไป

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 185 มีนาคม - เมษายน 2562

19


Food Feed Fuel

สถานการณ์

ถั่วเหลือง 1. ผลผลิตและการใช้ (ล้านตัน) 1.1 ผลผลิตพืชน�้ำมัน - โลก (USDA) 1.2 ผลผลิตถั่วเหลือง 1.2.1 โลก (USDA) 1.2.2 ไทย (สศก.) - ถั่วฤดูแล้ง - ถั่วฤดูฝน 1.3 ความต้องการใช้ 1.3.1 โลก (USDA) 1.3.2 ไทย (สศก.) 1.4 ต้นทุนการผลิต (บาท/กก.) : (สศก.) 1.5 น�ำเข้า : กรมศุลกากร 1.6 ส่งออก : กรมศุลกากร ไทยน�ำเข้าจาก ไทยส่งออกไป

ปี 59

ปี 60

ปี 61

ปี 62

(ประมาณการ)

524.110

572.850

576.230

593.030

316.565 0.038 0.021 0.017

349.309 0.045 0.025 0.020

340.472 0.045 0.026 0.020

360.076 0.046 0.027 0.019

316.240 2.990 15.790

330.610 2.787 15.550

338.050 2.956

348.490 2.946

2.958 2.746 2.723 0.005 0.004 0.003 สหรัฐอเมริกา 53% บราซิล 45% แคนาดา 1% ลาว 53% กัมพูชา 36% เวียดนาม 10%

2. ราคา (บาท/กก.) ปี 60 2.1 เกษตรกรขายได้ (ชนิดคละ) : สศก. 14.91 2.2 ขายส่ง ตลาด กทม. : กรมการค้าภายใน - เกรดแปรรูปอาหาร 20.55 - เกรดผลิตอาหารสัตว์ 18.64 - เกรดสกัดน�้ำมัน 18.32 2.3 ซื้อขายล่วงหน้าตลาดชิคาโก : www.cmegroup.com - บาท/กก. 12.24 - เหรียญสหรัฐฯ/ตัน 358.65

20

ภาพประกอบ : pnmralex - pixabay

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 185 มีนาคม - เมษายน 2562

(ม.ค.-ก.พ. 62)

0.593 7.503

ปี 61 16.68

ก.พ. 62 16.96

มี.ค. 62 15.72

20.53 18.53 18.50

19.50 17.50 18.50

19.50 17.50 18.50

11.11 342.50

10.52 334.46

10.50 329.20


Food Feed Fuel

1. สถานการณ์เดือนมีนาคม 2562

ในประเทศ ส�ำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) รายงานราคาเมล็ดถั่วเหลืองที่เกษตรกร ขายได้ชนิดคละปรับลดลงจากเดือนก่อน กก. ละ 1.24 บาท ด้านราคาขายส่งตลาด กทม. เกรดแปรรูป ผลิตภัณฑ์อาหาร เกรดผลิตอาหารสัตว์ และเกรดสกัดน�้ำมันยังทรงตัวเท่ากับเดือนก่อน ส�ำหรับการน�ำเข้าเมล็ดถัว่ เหลือง เดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ 2562 มีจำ� นวน 592,618 ตัน เพิม่ ขึน้ จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีจ�ำนวน 399,471 ตัน โดยน�ำเข้าจากประเทศสหรัฐอเมริกา (98%) แคนาดา (2%) ต่างประเทศ นักลงทุนรอดูความชัดเจนของผลการเจรจาระหว่างสหรัฐฯ และจีน จึงชะลอการ ท�ำสัญญาซื้อขายส่งผลให้ราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดชิคาโกปรับลดลงจากเดือนก่อนเฉลี่ยตันละ 5.26 US$ 2. แนวโน้มเดือนเมษายน 2562 คาดว่าผลผลิตในประเทศจะมีปริมาณลดลง ความต้องการใช้ มีมากตามปกติ ราคามีแนวโน้มปรับสูงขึ้นระดับหนึ่ง กองส่งเสริมการค้าสินค้าเกษตร 1 กรมการค้าภายใน เมษายน 2562

ราคาเมล็ดถั่วเหลือง

หน่วย : บาท/กก.

ปี ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. 1. ราคาที่เกษตรกรขายได้ เมล็ดถั่วเหลืองชนิดคละ 2559 - 15.00 14.50 14.02 14.22 2560 - 16.45 16.78 16.95 - 12.90 13.45 2561 16.39 16.75 15.94 17.06 17.23 16.60 2562 16.43 16.96 15.72 2. ราคาขายส่งเมล็ดถั่วเหลืองเกรดแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหาร ตลาด กทม. 2559 19.50 18.90 18.50 18.50 18.50 19.27 19.50 19.50 2560 18.50 20.39 20.50 20.50 20.50 20.59 21.50 21.50 2561 21.26 21.50 21.50 21.50 21.21 20.50 20.50 20.41 2562 19.50 19.50 19.50 3. ราคาขายส่งเมล็ดถั่วเหลืองเกรดผลิตอาหารสัตว์ ตลาด กทม. 2559 18.50 17.90 17.50 17.50 17.50 18.27 18.50 18.50 2560 17.50 18.45 18.50 18.50 18.50 18.59 19.50 19.50 2561 19.26 19.50 19.50 19.50 19.21 18.50 18.50 18.41 2562 17.50 17.50 17.50

ก.ย.

ต.ค.

พ.ย.

ธ.ค.

เฉลี่ย

14.17 13.20 14.00 - 14.16 13.17 12.52 15.75 16.24 14.91 - 15.00 16.31 18.88 16.68 16.37 19.50 19.50 18.55 18.50 19.02 21.12 20.50 20.50 20.50 20.55 19.50 19.50 19.50 19.50 20.53 19.50 18.50 18.50 17.55 17.50 18.02 19.12 18.50 18.50 18.50 18.64 17.50 17.50 17.50 17.50 18.53 17.50 

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 185 มีนาคม - เมษายน 2562

21


Food Feed Fuel

 ปี ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. 4. ราคาขายส่งเมล็ดถั่วเหลืองเกรดสกัดน�้ำมัน ความชื้น 13.0% ตลาด กทม. 2559 16.50 16.50 16.50 16.50 16.50 16.99 17.25 16.80 16.60 16.50 16.50 2560 16.50 18.39 18.50 18.50 18.50 18.50 18.50 18.50 18.50 18.50 18.50 2561 18.50 18.50 18.50 18.50 18.50 18.50 18.50 18.50 18.50 18.50 18.50 2562 18.50 18.50 18.50 5. ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง ตลาดชิคาโก 2559 11.74 11.44 11.57 12.54 13.81 14.94 13.76 12.92 12.43 12.62 13.09 2560 13.52 13.41 12.85 12.04 12.15 11.48 12.39 11.58 11.78 11.97 11.96 2561 11.46 11.75 12.01 11.98 12.02 11.09 10.45 10.52 10.05 10.40 10.68 2562 10.67 10.52 10.50 6. ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง ตลาดชิคาโก (US$ : ton , 1 ton = 36.743 Bushel) 2559 323.17 319.90 326.91 355.65 388.47 421.20 390.37 370.28 355.64 358.35 368.87 2560 379.56 381.13 366.07 347.82 350.15 336.35 365.41 345.50 353.68 358.24 361.39 2561 356.84 371.20 381.85 381.23 374.81 339.93 312.53 316.62 306.41 315.82 322.25 2562 333.75 334.46 329.20

ธ.ค.

เฉลี่ย

16.50 16.64 18.50 18.32 18.50 18.50 18.50 13.49 12.86 11.77 12.24 10.86 11.11 10.56 375.25 362.84 358.44 358.65 330.45 342.50 332.47

ที่มา : 1 ส�ำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเฉลี่ยทั้งปีแบบถ่วงน�้ำหนักจ�ำนวนผลผลิต 2 - 4 กรมการค้าภายใน 5 - 6 www.cmegroup.com

ปริมาณการน�ำเข้าและส่งออกเมล็ดถั่วเหลือง ปี ม.ค. ก.พ. ปริมาณน�ำเข้า 2559 308,363 104,921 2560 123,980 332,007 2561 145,133 254,338 2562 370,101 222,517 ปริมาณส่งออก 2559 599 218 2560 486 271 2561 269 279 2562 240 261

มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย.

ก.ค.

ก.ย.

ต.ค. พ.ย.

ธ.ค.

รวม

254,770 250,275 222,404 299,465 187,572 300,477 278,178 224,440 162,008 364,856 2,957,729 214,215 266,820 291,089 270,122 354,438 195,851 110,752 176,699 192,104 217,611 2,745,687 295,791 260,211 278,182 145,627 124,922 280,523 358,573 79,640 287,835 212,195 2,722,969 592,618 640 317 309

744 269 240

390 516 239

222 529 240

287 458 158

ที่มา : กรมศุลกากร ปี 2558-2561 พิกัด 12011009000 12019010001 และ 12019090090

22

ส.ค.

หน่วย : ตัน

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 185 มีนาคม - เมษายน 2562

600 117 159

608 219 346

157 305 391

523 278 300

488 195 252

5,477 3,960 3,183 501


Food Feed Fuel

สถานการณ์

กากถั่วเหลือง 1. ผลผลิตและการใช้ (ล้านตัน) 1.1 ผลผลิต - โลก (USDA) 1.1.1 วัตถุดิบอาหารสัตว์หมวดโปรตีน 1.1.2 กากถั่วเหลือง 1.2 ผลผลิต - ไทย (รายงานตามบันทึกข้อตกลงการรับซื้อกากถั่วเหลือง) 1.2.1 จากเมล็ดถั่วเหลืองในประเทศ 1.2.2 จากเมล็ดถั่วเหลืองน�ำเข้า 1.3 ความต้องการใช้ 1.3.1 โลก (USDA) 1.3.2 ไทย 1.4 น�ำเข้า : กรมศุลกากร 1.5 ส่งออก (ตัน) : กรมศุลกากร ไทยน�ำเข้าจาก (ข้อมูลปี 61) ไทยส่งออกไป (ข้อมูลปี 61)

ปี 59

ปี 60

ปี 61

305.230 215.971 1.434 0.011 1.423

319.760 225.549 1.413 0.008 1.405

330.460 232.331 1.445 0.009 1.437

337.860 238.196 1.508 0.009 1.499

213.150 4.506

221.660 4.674

229.400 4.789

234.550 4.789

2.578 2.949 2.954 27,240 15,900 44,596 บราซิล 71% สหรัฐอเมริกา 14% อาร์เจนตินา 12% ลาว 59% กัมพูชา 36% พม่า 4%

2. ราคา (บาท/กก.) ปี 60 2.1 ขายส่ง ตลาด กทม. : กรมการค้าภายใน - กากถั่วเหลืองในประเทศ - เมล็ดฯ ในประเทศ โปรตีน 44-48% 20.50 - เมล็ดฯ น�ำเข้า โปรตีน 44-46% 14.08 - กากถั่วเหลืองน�ำเข้า โปรตีน 46-48% 13.87 2.2 ซื้อขายล่วงหน้าตลาดชิคาโก : www.cmegroup.com - บาท/กก. 11.86 - เหรียญสหรัฐฯ/ตัน 347.50

ปี 61

ก.พ. 62

ปี 62

(ประมาณการ)

(ม.ค.-ก.พ. 62)

0.540 9,977

มี.ค. 62

20.50 14.64 14.36

13.18 13.10

13.47 13.37

12.05 371.75

10.65 338.04

10.77 337.61

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 185 มีนาคม - เมษายน 2562

23


Food Feed Fuel

1. สถานการณ์เดือนมีนาคม 2562

ในประเทศ ราคาขายส่งกากถั่วเหลืองผลิตจากเมล็ดถั่วเหลืองน�ำเข้า โปรตีน 44 - 46% และ กากถั่วเหลืองน�ำเข้าโปรตีน 46-48% ตลาด กทม. ปรับสูงขึ้นจากเดือนก่อนเล็กน้อย ตามต้นทุนการ น�ำเข้าที่ปรับสูงขึ้นก่อนหน้านี้ (เฉลีย่ เดือน ธ.ค. 61 ตันละ 340.21 US$ และเฉลี่ยเดือน ม.ค. 62 ตันละ 344.7 3US$) ส�ำหรับการน�ำเข้ากากถั่วเหลือง เดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ 2562 มีจ�ำนวน 540,379 ตัน สูงขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีจ�ำนวน 383,145 ตัน โดยน�ำเข้าจากประเทศบราซิล (75%) อาร์เจนติน่า (25%) ต่างประเทศ USDA ประมาณการผลผลิตกากถัว่ เหลืองโลกมีปริมาณเพิม่ ขึน้ จากปีกอ่ น 2.52% ประกอบกับผลผลิตได้รบั ความเสียหายจากปัญหาสภาพอากาศทีห่ นาวจัด ส่งผลให้ราคาซือ้ ขายล่วงหน้า ตลาดชิคาโกปรับลดลงจากเดือนก่อนเฉลี่ยตันละ 0.43 US$ 4. แนวโน้มเดือนเมษายน 2562 ผลผลิตกากถั่วเหลืองโลกยังคงมีปริมาณเพียงพอต่อความ ต้องการของตลาด ด้านราคากากถั่วเหลืองน�ำเข้ามีแนวโน้มเคลื่อนไหวตามภาวะตลาดโลก กองส่งเสริมการค้าสินค้าเกษตร 1 กรมการค้าภายใน เมษายน 2562

24

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 185 มีนาคม - เมษายน 2562


Food Feed Fuel

ราคากากถั่วเหลือง

หน่วย : บาท/กก.

ปี ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. เฉลี่ย 1. ราคาขายส่งกากถั่วเหลืองผลิตในประเทศจากเมล็ดในประเทศ โปรตีน 44-48% ณ หน้าโรงงานสกัดน�้ำมัน ตลาด กทม. 2559 18.35 18.35 18.35 18.35 18.35 19.78 20.50 20.50 20.50 20.50 20.50 20.50 19.54 2560 20.50 20.50 20.50 20.50 20.50 20.50 20.50 20.50 20.50 20.50 20.50 20.50 20.50 2561 20.50 20.50 - 20.50 2. ราคาขายส่งกากถั่วเหลืองผลิตในประเทศจากเมล็ดน�ำเข้า โปรตีน 44-46% ณ หน้าโรงงานสกัดน�้ำมัน ตลาด กทม. 2559 15.67 15.55 15.33 15.05 15.58 17.18 17.75 16.30 15.19 14.45 15.40 15.40 15.74 2560 15.19 15.03 14.59 14.30 14.18 13.49 13.57 13.52 13.51 13.64 13.53 14.35 14.08 2561 15.11 14.88 14.73 14.73 14.91 15.52 15.31 14.98 14.31 13.92 13.76 13.51 14.64 2562 13.33 13.17 13.47 13.32 3. ราคาขายส่งกากถั่วเหลืองน�ำเข้าจากต่างประเทศ โปรตีน 46-48% ณ โกดังผู้น�ำเข้า ตลาด กทม. 2559 15.26 15.05 14.83 14.55 14.75 16.41 16.75 15.89 15.19 14.45 15.31 15.13 15.30 2560 14.93 14.81 14.51 14.16 14.03 13.30 13.46 13.32 13.31 13.39 13.15 14.06 13.87 2561 14.65 14.49 14.40 14.40 14.59 15.20 15.01 14.81 14.12 13.75 13.58 13.35 14.36 2562 13.27 13.09 13.37 13.24 4. ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง ตลาดชิคาโก 2559 10.79 10.42 10.48 11.65 14.52 15.73 14.21 12.72 11.97 11.87 12.27 12.44 12.42 2560 12.99 13.07 12.53 11.86 11.36 11.08 12.11 11.21 11.21 11.64 11.58 11.68 11.86 2561 11.54 12.58 13.00 13.19 13.60 12.44 12.21 11.21 11.15 11.33 11.22 11.18 12.05 2562 11.02 10.64 10.77 10.81 5. ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง ตลาดชิคาโก (US$ : ton , 1 ton = 1.1023 shortton) 2559 297.17 291.33 296.07 330.53 408.26 443.41 403.28 364.48 342.40 337.13 345.84 345.83 350.48 2560 364.70 371.52 356.88 342.63 327.30 324.52 357.23 334.55 336.64 348.42 349.90 355.76 347.50 2561 359.30 397.39 413.49 419.73 423.84 381.34 365.13 337.45 340.17 344.18 338.75 340.21 371.75 2562 344.73 338.04 337.61 340.13 ที่มา : 1 - 3 กรมการค้าภายใน, 4 - 5 www.cmegroup.com

ปริมาณการน�ำเข้ากากถั่วเหลือง ปี 2559 2560 2561 2562

ม.ค. 156,369 326,955 185,592 395,499

ก.พ. 183,446 124,199 197,553 144,879

มี.ค. 230,664 230,786 307,289

เม.ย. 333,744 201,149 325,283

พ.ค. 267,025 387,340 393,991

หน่วย : ตัน

มิ.ย. 239,435 257,665 300,001

ก.ค. 254,968 166,003 105,019

ส.ค. 84,030 256,745 366,400

ก.ย. 243,874 292,628 236,350

ต.ค. 97,205 168,728 267,475

พ.ย. 263,869 359,410 116,480

ธ.ค. รวม 223,371 2,578,000 186,331 2,957,938 152,351 2,953,783 540,379

ที่มา : กรมศุลกากร  ปี 2558 - มิ.ย. 60 พิกัด 23040090000  ตั้งแต่ มิ.ย. 60 เป็นต้นไป พิกัด 23040090001

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 185 มีนาคม - เมษายน 2562

25


Food Feed Fuel

สถานการณ์

ปลาป่น 1. ผลผลิตและการใช้ (ล้านตัน) 1.1 ผลผลิต 1.1.1 โลก : USDA 1.1.2 ไทย : สมาคมผู้ผลิตปลาป่นไทย 1.2 ความต้องการใช้ 1.2.1 โลก : USDA 1.2.2 ไทย : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย 1.3 น�ำเข้า (ตัน) : กรมศุลกากร 1.4 ส่งออก (ตัน) : กรมศุลกากร ไทยน�ำเข้าจาก ไทยส่งออกไป 2. ราคา (บาท/กก.) : สมาคมผู้ผลิตปลาป่นไทย 2.1 ปลาเป็ด - ดี (สด) - รอง (ไม่สด) 2.2 ปลาป่น ขายส่ง โปรตีน ต�่ำกว่า 60% - เบอร์ 1 - เบอร์ 2 2.3 ปลาป่น ขายส่ง โปรตีน 60% ขึ้นไป - เบอร์ 1 - เบอร์ 2

ปี 59

ปี 60

ปี 61

4.51 0.31

4.89 0.29

4.83 0.39

4.73 0.35

4.75 0.73

5.43 0.77

5.30 0.78

5.17 0.78

72,654 62,601 62,912 154,572914 78,829 105,922 เยอรมนี 26.09% สเปน 15.85% ฝรั่งเศส 14.57% จีน 53.42% ญี่ปุ่น 16.91% เวียดนาม 12.14% ปี 60

ปี 61

ก.พ. 62

(ม.ค.-ก.พ. 62)

9,284 15,309

มี.ค. 62

8.64 6.87

8.78 6.87

8.14 6.56

8.12 6.51

34.33 31.64

34.51 31.13

30.32 26.32

29.00 25.00

37.33 33.96

37.65 33.82

33.32 30.32

32.00 29.00

1,223 35.52

1,200 35.32

2.4 ปลาป่น ตลาดเปรู โปรตีน 65% ขึ้นไป : https://hammersmithltd.blogspot.com/ - เหรียญสหรัฐฯ/ตัน 1,207 1,350 - (คิดเป็น โปรตีน 60% : บาท/กก.) 37.97 40.43

26

ปี 62

(ประมาณการ)

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 185 มีนาคม - เมษายน 2562


Food Feed Fuel

1. สถานการณ์เดือนมีนาคม 2562

ในประเทศ ผลผลิตปลาป่นมีเพียงพอต่อความต้องการใช้ในประเทศ ภาวะการค้าโดยรวมทรงตัว ราคาขายส่งปลาเป็ด และปลาป่นทุกเกรดปรับลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเดือนก่อน ส�ำหรับการน�ำเข้าปลาป่น ปี 2562 (ม.ค. - ก.พ. 62) มีจำ� นวน 9,284 ตัน ลดลงจากช่วงเดียวกัน ของปีก่อนที่มีจ�ำนวน 15,909 ตัน หรือลดลงร้อยละ 41.64 โดยน�ำเข้าจากประเทศเมียนมาร์ (55%) เวียดนาม (28%) สหรัฐอเมริกา (5%) ต่างประเทศ การจับปลาในเปรูยงั มีปริมาณน้อยเนือ่ งจากเป็นปลาขนาดเล็ก ภาวะการค้าชะลอตัว ผู้ขายและผู้ซื้อยังไม่สามารถตกลงราคาที่เหมาะสมได้ ส่งผลให้ราคาปลาป่นตลาดเปรูปรับลดลงจาก เดือนก่อนที่ราคาตันละ 1,223US$ เหลือตันละ 1,200 US$ 4. แนวโน้มเดือนเมษายน 2562 ผลผลิตมีปริมาณเพียงพอกับความต้องการของตลาด ความ ต้องการใช้ปลาป่นทรงตัว ด้านราคามีแนวโน้มทรงตัวเท่ากับเดือนก่อน กองส่งเสริมการค้าสินค้าเกษตร 1 กรมการค้าภายใน เมษายน 2562

ราคารับซื้อปลาเป็ดและปลาป่น เดือน/ปี ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. เฉลี่ย 1. ปลาเป็ด (ดี/สด) (บาท/กก.) (สมาคมผู้ผลิตปลาป่นไทย) 2560 9.22 9.31 9.20 8.81 8.33 8.20 8.20 8.34 8.37 8.37 8.42 8.86 8.64 2561 8.95 8.98 9.31 9.28 9.09 8.56 8.53 8.53 8.61 8.64 8.48 8.37 8.78 2562 8.30 8.14 8.12 8.19 2. ปลาเป็ด (รอง/ไม่สด) (บาท/กก.) (สมาคมผู้ผลิตปลาป่นไทย) 2560 6.83 6.91 6.95 6.90 6.80 6.76 6.74 6.78 6.87 6.95 6.94 6.95 6.87 2561 6.99 7.05 7.13 7.07 7.00 6.74 6.76 6.78 6.80 6.80 6.70 6.59 6.87 2562 6.55 6.56 6.51 6.54 3. ปลาป่น เกรดกุ้ง (บาท/กก.) (สมาคมผู้ผลิตปลาป่นไทย) 2560 39.00 40.00 39.87 37.84 36.50 36.50 36.92 38.32 39.00 39.00 39.00 40.53 38.54 2561 42.00 42.00 42.00 40.24 38.38 37.00 37.00 37.73 39.65 39.57 36.68 35.28 38.96 2562 35.00 34.32 33.00 34.11 

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 185 มีนาคม - เมษายน 2562

27


Food Feed Fuel

 เดือน/ปี ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. 4. ปลาป่น โปรตีน ต�่ำกว่า 60% เบอร์ 1 (บาท/กก.) 2560 33.25 35.00 34.87 33.81 33.00 33.00 33.42 2561 37.00 37.00 37.00 35.47 34.38 33.00 33.00 2562 31.00 30.32 29.00 5. ปลาป่น โปรตีน ต�่ำกว่า 60% เบอร์ 2 (บาท/กก.) 2560 30.25 32.00 31.87 31.00 31.00 31.00 31.42 2561 34.00 34.00 34.00 32.47 31.38 30.00 30.00 2562 27.00 26.32 25.00 6. ปลาป่น โปรตีน 60% ขึ้นไป เบอร์ 1 (บาท/กก.) 2560 36.25 38.00 37.87 36.81 36.00 36.00 36.42 2561 40.00 40.00 40.00 38.47 37.38 36.00 36.00 2562 34.00 33.32 32.00 7. ปลาป่น โปรตีน 60% ขึ้นไป เบอร์ 2 (บาท/กก.) 2560 33.25 35.00 34.87 33.81 33.00 33.00 33.42 2561 36.00 36.00 36.00 34.47 33.38 32.00 32.00 2562 31.00 30.32 29.00 8. ปลาป่น โปรตีน 65% F.O.B. ตลาดเปรู (เหรียญสหรัฐฯ/ตัน) 2560 1,277 1,272 1,217 1,180 1,118 1,060 1,122 2561 1,569 1,545 1,472 1,403 1,304 1,343 2562 1,230 1,223 1,200 9. ปลาป่น โปรตีน 60% F.O.B. ตลาดเปรู (บาท/กก.) 2560 41.99 41.30 39.38 37.71 35.74 33.42 35.11 2561 46.43 45.12 42.71 40.77 37.31 39.31 41.44 2562 36.31 35.52 35.32

ส.ค.

ก.ย.

ต.ค.

พ.ย.

ธ.ค.

เฉลี่ย

(สมาคมผู้ผลิตปลาป่นไทย)

34.55 35.00 35.00 35.00 36.11 34.33 33.73 35.00 34.71 32.59 31.28 34.51 30.11 (สมาคมผู้ผลิตปลาป่นไทย)

32.00 32.00 32.00 32.00 33.11 31.64 30.14 31.00 30.71 28.59 27.28 31.13 26.11 (สมาคมผู้ผลิตปลาป่นไทย)

37.55 38.00 38.00 38.00 39.11 37.33 36.73 38.65 38.57 35.68 34.28 37.65 33.11 (สมาคมผู้ผลิตปลาป่นไทย)

34.00 34.00 34.00 34.00 35.11 33.96 32.73 34.65 34.71 32.59 31.28 33.82 30.11 (http://hammersmithltd.blogspot.com)

1,160 1,280

1,160 1,275

1,191 1,260 1,463 1,207 1,278 1,240 1,230 1,358 1,218 (ค�ำนวณเป็นเงินบาท)

35.79 35.67 36.74 38.50 44.28 37.97 39.26 38.60 38.84 37.94 37.39 40.43 35.72

ปริมาณน�ำเข้าและส่งออกปลาป่น เดือน/ปี ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ปริมาณน�ำเข้า (ตัน) (รวมพิกัดอัตราศุลกากร) 2560 7,493 3,829 6,933 5,306 7,181 7,401 2561 8,652 7,258 5,962 5,032 5,617 2,757 2562 5,208 4,073 ปริมาณส่งออก (ตัน) (รวมพิกัดอัตราศุลกากร) 2560 8,710 9,184 9,317 7,340 8,861 7,862 2561 16,891 11,638 13,526 9,109 7,774 7,781 2562 5,447 9,862

ก.ค.

ส.ค.

ก.ย.

พ.ย.

ธ.ค.

รวม

(กรมศุลกากร)

3,269 3,923 3,169 5,867 4,175 4,055 62,601 4,038 4,299 4,713 5,532 4,831 4,221 62,912 9,281 (กรมศุลกากร)

7,963 6,187 4,133 3,337 3,024 2,912 78,829 7,749 9,130 6,442 5,131 2,970 7,780 105,922 15,309

หมายเหตุ : พิกัดอัตราศุลกากร 2301 2010 000, 2301 2020 000 , 2301 2090 001 และ 2301 2090 090

28

ต.ค.

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 185 มีนาคม - เมษายน 2562



ไดเจสตารอม ดีซี

เพิ่มประสิทธิภาพการไดรับประโยชนจากสารอาหาร

Digestarom DC ®

The Feed Converter.

ไดเจสตารอม ดีซี Digestarom® DC

ใหประโยชนอยางชัดเจนตอสัตวเลี้ยงและตอผูประกอบการ • นวัตกรรมใหมลาสุดของผลิตภัณฑไฟโตเจนนิกเพื่อเพิ่มการกินไดของสัตว • ดวยสูตรการทํางาน 3 ขั้นตอน เพื่อประสิทธิภาพการเลี้ยงที่ดีขึ้น • ดวยเทคโนโลยี ไบโอมิน ดูเพล็กซ แคปซูล Biomin® Duplex Capsule ที่มีคุณลักษณะเฉพาะ เพื่อชวยปรับปรุงประสิทธิภาพการแลกเนื้อ บริ ษัท เออร์ เบอร์ ไบโอเทค (ประเทศไทย) จํากัด 1/913 ถ.พหลโยธิน 60 ต.คูคต อ.ลําลูกกา จ.ปทุมธานี 12130 โทรศัพท: (02) 993 7500, แฟกซ: (02) 993 8499

www.thefeedconverter.com

Naturally ahead


Food Feed Fuel

กินไข่ทุกวัน กินได้ทุกวัย บ�ำรุงสมอง ลดเสี่ยงอัลไซเมอร์ ไข่ไก่ อาหารทีห่ าซือ้ ได้งา่ ย ทานได้ทกุ วัน ไม่วา่ จะน�ำมาท�ำอาหาร เช้า อาหารกลางวัน อาหารเย็น อย่างไรก็ตาม ปัจจุบัน ปริมาณการ บริโภคไข่ของประเทศไทยยังถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับประเทศ เพื่อนบ้าน เช่น มาเลเซีย ที่บริโภคไข่ 300 - 400 ฟองต่อคน/ปี ญีป่ นุ่ บริโภค 400 ฟองต่อคน/ปี จีน ปริมาณการบริโภคไข่อยูท่ ี่ 380 ฟองต่อคน/ปี ขณะทีป่ ระเทศไทย มีการบริโภคอยูแ่ ค่ 260 ฟองต่อคน/ปี โดยมีมาตรการรณรงค์คนไทยบริโภคไข่ให้ได้ 300 ฟองต่อคน/ปี ไข่ ถือเป็นแหล่งโปรตีนชั้นดี โดยในไข่ 1 ฟอง ให้พลังงาน 70 - 80 กิโลแคลอรี่นั้น มีโปรตีนที่มีคุณค่าสูงประมาณ 7 กรัม นอกจากนี้ ในไข่ยังมีสารอาหารที่ส�ำคัญคือ ลูทีน ซีแซนทีน ที่มีอยู่ใน ไข่แดง ซึง่ เป็นสารต้านอนุมลู อิสระทีม่ สี ว่ นช่วยบ�ำรุงสมอง ลดความเสีย่ ง การเกิดอัลไซเมอร์ ชะลอ หรือลดความเสื่อมของเซลล์ต่างๆ ของ ร่างกายได้

น.สพ.ดร.มงคล แก้วสุทัศน์

กรรมการบริหารสมาคมวิทยาศาสตร์สัตว์ปีกโลก สาขาประเทศไทย

ดังนัน้ ไข่จงึ เป็นอาหารทีม่ ปี ระโยชน์สำ� หรับทุกวัย โดยปริมาณ ที่เหมาะสมส�ำหรับในช่วงวัยเด็ก ควรบริโภคอย่างน้อยวันละ 1 ฟอง ช่วงอายุ 15 - 40 ปี บริโภคได้วันละ 2 ฟอง ช่วงอายุ 40 ปีขึ้นไป บริโภคได้วันละ 1 - 2 ฟอง หรือในช่วงวัย 40 ปีขึ้นไป ซึ่งไม่มีปัญหา สุขภาพก็สามารถบริโภคไข่ได้วันละ 1 - 2 ฟองเช่นกัน ปัจจุบัน ยังมีผู้บริโภคที่มีความเชื่อที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการ บริโภคไข่กับผลต่อคอเรสเตอรอล ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว คอเลสเตอรอลในร่างกายเกิดขึ้นจาก 2 ส่วน คือ คอเลสเตอรอลที่ร่างกาย

ที่มา : ประชาชาติธุรกิจ ฉบับที่ 5147 วันพฤหัสบดีที่ 9- วันอาทิตย์ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 185 มีนาคม - เมษายน 2562

29


Food Feed Fuel

ภาพประกอบ: jillwellington - pixabay

สร้ า งขึ้ นที่ ตั บ จากพลั งงานส่ วนเกิ น ที่ร ่ างกาย ต้องการ เช่น การรับประทานคาร์โบไฮเดรตทีม่ าก เกินไป โดยคอเลสเตอรอลส่วนนี้มีมากถึง 75% ของร่างกาย อีกส่วนคือ สารคอเลสเตอรอลที่ ได้รบั จากการรับประทานอาหารโดยตรง ซึง่ มีเพียง 25% เท่านั้น ดังนั้น การลดกินไข่ ก็ไม่ได้ท�ำให้ ระดับคอเลสเตอรอลต�่ำลงแต่อย่างใด ขณะที่ ก ระทรวงเกษตรสหรั ฐ อเมริ ก า (United States Department of Agriculture: USDA) ได้ถอดคอเลสเตอรอลออกจากสารอาหาร ที่คนอเมริกันต้องควบคุม ในปี 2558 หลังจาก ค้นพบว่า คอเลสเตอรอลที่ได้รับจากอาหาร ไม่ สัมพันธ์กับปริมาณคอเลสเตอรอลในเลือด ขณะเดียวกัน ยังมีงานวิจัยใหม่ๆ เกี่ยวกับไข่ ซึ่งพบ ว่า เป็นแหล่งของโอเมก้า 3 ทั้งกรดไขมัน DHA (Docosahexaenoic acid) และ EPA (Eicosapentaenoic acid) ที่มีความจ�ำเป็นต่อการท�ำงาน ของสมอง สายตา หัวใจ และระบบหลอดเลือด รวมถึงช่วยป้องกันโรคสมาธิสั้นในเด็ก โดยพบว่า สมองสามารถตอบสนองได้ไวขึ้นกว่า 25% เมื่อ เทียบกับคนที่ไม่ได้บริโภคไข่ไก่ และยังช่วยลด ความเสีย่ งการเป็นโรคสมองเสือ่ ม หรืออัลไซเมอร์ และโรคหัวใจ

30

นอกจากนี้ ยังมีงานวิจัยเกี่ยวกับประเภท ของไข่ที่รับประทานกับระดับคอเลสเตอรอลใน กระแสเลือด ซึ่งพบว่ากลุ่มคนที่ไม่ได้รับประทาน ไข่ เปรียบเทียบกับกลุ่มที่รับประทานไข่ต้ม และ กลุ่มที่รับประทานไข่ดาววันละ 1 ฟอง โดยรับ ประทานติดต่อกันประมาณ 2 เดือน พบว่าทั้ง 3 กลุม่ ระดับของคอเลสเตอรอล ไม่วา่ จะเป็น HDL, LDL, ไตรกรีเซอร์ไรด์ ไม่แตกต่างกัน งานวิจัยนี้ จึงพิสูจน์ให้เห็นว่า การรับประทานไข่ไม่มีความ สัมพันธ์กับระดับคอเลสเตอรอลในเลือด ส่วนผูบ้ ริโภคมีคำ� ถามเข้ามามากว่าจะเลือก กินไข่แบบไหนดี จากข้อมูลเปรียบเทียบพลังงาน ที่ได้จากไข่แต่ละประเภท พบว่า ไข่ต้ม 1 ฟอง ให้พลังงาน 75 กิโลแคลลอรี่ ไข่ดาว 1 ฟอง ให้ พลังงาน 150 กิโลแคลลอรี่ ไข่เจียว 1 ฟอง ให้ พลังงาน 250 กิโลแคลลอรี่ ดังนั้น ไข่ต้มจึงเป็นไข่ที่ให้พลังงานต�่ำที่สุด และมีสัดส่วนระหว่างโอเมก้า 6 ต่อโอเมก้า 3 ต�่ำที่สุด ซึ่งถือว่าดีต่อสุขภาพ ปลอดภัย ทานได้ ทุกวัน และทานได้ทุกวัย

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 185 มีนาคม - เมษายน 2562


Food Feed Fuel

ผู้เลี้ยงไก่ไข่พอใจ มาตรการรักษาเสถียรภาพราคาไข่ ไก่ ได้ผล รมว.เกษตรฯ ปลืม้ เกษตรกรพึงพอใจ ราคาไข่ไก่คละหน้าฟาร์มปรับตัว อยูท่ ี่ ฟองละ 2.50 บาท ผลจากมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาไข่ไก่ของกรมปศุสัตว์ โดยไม่ใช้งบประมาณรัฐ อาศัยความร่วมมือจากผู้เลี้ยงไก่ไข่ทั่วประเทศ มั่นใจ เดินถูกทาง มาตรการถูกต้องเหมาะสม ยุติธรรมและมีประสิทธิภาพ นายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีวา่ การกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึง กรณีที่ สมาคมผูผ้ ลิต ผูค้ า้ และผูส้ ง่ ออกไข่ไก่ ระบุวา่ ราคารับซือ้ ไข่ไก่คละหน้าฟาร์ม เกษตรกร ปรับเพิ่มขึ้นอยู่ที่ฟองละ 2.50 บาท สะท้อนถึงสัญญาณภาวะปริมาณ ผลผลิตไข่ไก่ที่เคยล้นตลาดเมื่อช่วงก่อนนี้ว่าเริ่มเข้าสู่สมดุล หลังจากภาคเอกชน ผูน้ ำ� เข้าปูย่ า่ พันธุ์ (GP) และพ่อแม่พนั ธุไ์ ก่ไข่ (PS) ทัง้ 16 บริษทั และเจ้าของฟาร์ม ไก่ไข่ขนาด 2 แสนตัวขึน้ ไป ให้ความร่วมมือในการลดจ�ำนวนไก่พนั ธุ์ และลดแม่ไก่ไข่ ยืนกรง พร้อมผลักดันการส่งออกไข่ไก่ไปจ�ำหน่ายต่างประเทศ ตามแผนปฏิบัติการ “PS Support” ของกรมปศุสัตว์ ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการนโยบายพัฒนา ไก่ไข่และผลิตภัณฑ์ หรือ Egg Board ที่มุ่งเน้นการแก้ปัญหาไข่ไก่ทั้งระยะสั้น และ ระยะยาว ตามนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทีม่ เี ป้าหมายมุง่ สร้างความ ยั่งยืนแก่เกษตรกรไทย โดยเฉพาะการรักษาเสถียรภาพราคาไข่ไก่ ด้วยการปรับ สมดุลการผลิตให้เหมาะสมกับความต้องการบริโภคในประเทศ ลดผลกระทบต่อ อุตสาหกรรมไข่ไก่ของไทยจากปัญหาไข่ไก่ล้นตลาด เพื่อให้เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่ สามารถขายไข่ไก่ได้ในราคาที่น่าพึงพอใจ โดยไม่ส่งผลกระทบต่อผู้บริโภค “การแก้ปัญหาราคาไข่ไก่อย่างเป็นระบบและจริงจังเริ่มตั้งแต่ปี 2561 จนถึง ปัจจุบัน อาศัยการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนรายใหญ่ และเกษตรกรผู้เลี้ยง ในการ ให้ความร่วมมือตามมาตรการทีก่ รมปศุสตั ว์กำ� หนด โดยไม่ใช้งบประมาณของภาครัฐ วันนี้สิ่งที่ทุกฝ่ายด�ำเนินการอย่างต่อเนื่องเริ่มบรรลุผล ท�ำให้ราคาไข่ไก่ขยับขึ้น ใกล้เคียงต้นทุนการผลิต ช่วยให้เกษตรกรสามารถต่อยอดอาชีพต่อไป หลังจากนี้ จะยังคงสานต่อมาตรการเพื่อให้ราคาไข่ไก่มีเสถียรภาพ จากกิจกรรมส่งออกไข่ไก่ ที่มา : วารสารข่าวปศุสัตว์ เดือนกุมภาพันธ์ 2562 - มีนาคม พ.ศ. 2562 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 185 มีนาคม - เมษายน 2562

31


ภาพประกอบ : Hans - pixabay

Food Feed Fuel ที่ยังคงเดินหน้าต่อ โดยเฉพาะกรมปศุสัตว์ได้เปิด ตลาดสิงคโปร์เพิ่มอีก 49 ล้านฟองต่อเดือน จาก เดิมที่ส่งออกในตลาดฮ่องกงอยู่แล้ว และในช่วง เดือนพฤษภาคม ที่โรงเรียนเปิดภาคเรียน ราคา ไข่น่าจะดีขึ้นเป็นล�ำดับจากการบริโภคที่เพิ่มขึ้น” นายกฤษฎา กล่าว ด้าน นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดี กรมปศุสตั ว์ กล่าวว่า จากการพูดคุยกับเกษตรกร พบว่า ต่างพอใจกับราคาไข่ไก่ที่ปรับขึ้นนี้ เนื่อง จากส่งผลดีตอ่ เกษตรกรผูเ้ ลีย้ งไก่ไข่ทงั้ ประเทศ ที่ แบกรับภาระขาดทุนมาอย่างต่อเนื่อง และคาดว่า ต่อไปราคาจะดีขนึ้ เรือ่ ยๆ หากทุกภาคส่วนร่วมกัน แก้ปัญหาคนละไม้คนละมือ ซึ่งเกษตรกรก็มีส่วน ช่วยในเรื่องนี้ หากผลผลิตไข่มากก็ต้องปรับลด แม่ไก่ยืนกรง เมื่อผนวกกับภาคเอกชนที่เดินหน้า ทั้งลดจ�ำนวน GP และ PS รวมถึงแม่ไก่ยืนกรง และผลักดันการส่งออกไข่ไปต่างประเทศเพิ่มอีก ย่อมช่วยสร้างสมดุล และสร้างเสถียรภาพราคา ไข่ไก่ได้อย่างยั่งยืน

ทั้งนี้ราคาไข่ไก่คละหน้าฟาร์มที่ปรับตัวขึ้น เป็นผลมาจากมาตรการระยะสั้นครั้งล่าสุดที่กรม ปศุสตั ว์ประสานกับผูป้ ระกอบการทุกภาคส่วน ให้ รวบรวมไข่ไก่สดส่งออกไปจ�ำหน่ายต่างประเทศ แล้ว 138 ล้านฟอง ควบคูก่ บั การลดจ�ำนวนแม่ไก่ไข่ ยืนกรง 4,000,000 ตัว พร้อมด�ำเนินกิจกรรมลด พ่อแม่พันธุ์ PS ให้เหลือ 460,000 ตัว รวมถึงลด ปู่ย่าพันธุ์ GP ให้เหลือ 3,800 ตัว ส่วนมาตรการ ระยะยาว นอกจากการปรับลดแม่พันธุ์ไก่ไข่ให้มี จ�ำนวนที่เหมาะสมตามหลักการ “ตลาดน�ำการ ผลิต” แล้ว ยังมีการตั้งคณะอนุกรรมการจัดท�ำ ยุทธศาสตร์ไก่ไข่ ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2562 - 2566) เพือ่ ทบทวนยุทธศาสตร์เดิม และเพิม่ เติมเรือ่ งการ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ทั้งการลด ต้นทุนการผลิต การส่งเสริมการบริโภค การสร้าง มูลค่าเพิ่ม รวมถึงการบริหารจัดการปริมาณการ เลี้ ย งที่ เ หมาะสม ตลอดจนการจั บ คู ่ ร ะหว่ า ง เกษตรกรผูเ้ ลีย้ งรายย่อยกับผูซ้ อื้ โดยตรง และการ สร้างแรงจูงใจต่างๆ ให้กับเกษตรกรที่ปฏิบัติตาม มาตรการแก้ปัญหา

ข่าว/ข้อมูล : คณะท�ำงานโฆษกกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (30 มีนาคม 2562)

32

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 185 มีนาคม - เมษายน 2562


Food Feed Fuel

ข้าวโพดหลังนา... พาหนองคายสุขใจ

เกษตรกรผูป้ ลูกข้าวจังหวัดหนองคาย ปลูก ข้าวโพดทดแทนการท�ำข้าวนาปรังเพื่อผลิตเมล็ด ข้าวโพดอาหารสัตว์จ�ำหน่ายเป็นรายได้ แทนการ ปลูกข้าว ตามโครงการสานพลังประชารัฐ พืน้ ทีป่ ลูก ข้าวนาปรังของจังหวัดหนองคาย ปีการเพาะปลูก 2561/62 เกษตรกรเข้าร่วมโครงการปลูกข้าวโพด จ�ำนวน 4,818.5 ไร่ มีเกษตรกรทีเ่ ข้าร่วมโครงการ มากที่สุดที่อ�ำเภอโพนพิสัย อ�ำเภอเมือง อ�ำเภอ ศรีเชียงใหม่ อ�ำเภอท่าบ่อ และอ�ำเภอสระใคร ตาม ล�ำดับ เฉลี่ยรายละ 5 - 15 ไร่ ช่วงเดือนมีนาคม 2562 ข้าวโพดจะมีอายุระหว่าง 90 - 120 วัน และ จะเก็บเกี่ยวฝักข้าวโพดที่อายุ 140 วัน เพื่อให้ ความชื้นในฝักและเมล็ดลดลง จะท�ำให้ได้ราคาดี ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์หนองคาย ได้เข้าไปส่งเสริมแนะน�ำเกษตรกรในโครงการ จาก การติดตามการเจริญเติบโตของข้าวโพดระยะการ เจริญเติบโต พบว่า เกษตรกรหลายรายได้จัดการ

ดูแลเอาใจใส่ดี ข้าวโพดมีความสม�่ำเสมอกันทั่ว ทั้งแปลง แต่เกษตรกรรายที่ปลูกในพื้นที่ค่อนข้าง มาก เช่น นางนราพร แสนวงศ์ บ้านโคกสว่าง ต�ำบล นาข่า อ�ำเภอท่าบ่อ ปลูกข้าวโพดตามโครงการ ทัง้ หมด 15 ไร่ แรงงานหลัก 1 คน คือตัวเอง และ มีลกู ชายอีก 1 คนช่วยเสริมบ้าง นางนราพรเล่าว่า การปลูกข้าวโพด 15 ไร่ อาจจะมากเกินไป ท�ำให้ดแู ล ไม่ทั่วถึง โดยเฉพาะแปลงที่อยู่ปลายน�้ำ ข้าวโพด ทีม่ อี ายุประมาณ 90 วัน จะไม่คอ่ ยโต ฝักมีขนาด เล็ก ล�ำต้นเริม่ แห้ง ศูนย์วจิ ยั และพัฒนาอาหารสัตว์

ที่มา : วารสารข่าวปศุสัตว์ เดือนกุมภาพันธ์ 2562 - มีนาคม พ.ศ. 2562 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 185 มีนาคม - เมษายน 2562

33


Food Feed Fuel หนองคาย จึงแนะน�ำให้ตดั ไปท�ำข้าวโพดพร้อมฝัก หมัก และน�ำไปเลี้ยงสัตว์ หรือจ�ำหน่าย เช่นเดียว กับแปลงของก�ำนันประกอบ ใจใส ก�ำนันต�ำบล นาข่า ปลูกข้าวโพด 6 ไร่ พื้นที่อยู่ต่อจากแปลง นางนราพร แปลงข้าวโพดของก�ำนัน อายุประมาณ 80 - 90 วัน อยู่ห่างจากคลองน�้ำ มีล�ำต้นเล็ก ฝัก เล็ก ใบเริ่มแห้ง ทางศูนย์จึงได้ประสานให้ผู้รับซื้อ คือ ฟาร์ม ส.ซุม้ เจริญ เบอร์โทร. 093 324 7704 มารับซื้อ และตัดเอง ราคาตันละ 800 บาท

จากการค�ำนวณต้นทุนการปลูก และการ จัดการข้าวโพดของ นางนราพร แสนวงศ์ บ้าน โคกสว่าง ข้าวโพดที่อายุ 90 วัน ในพื้นที่ 1 ไร่ มีค่าเตรียมดิน 3 ครั้ง จนพร้อมปลูก 700 บาท ค่าเมล็ดพันธุ์ 3.5 กก. เป็นเงิน 630 บาท ปลูก โดยใช้รถหยอด 166 บาท ค่าปุ๋ยสูตร 46 - 0 - 0 อัตราประมาณ 15 กก. เป็นเงิน 180 บาท ปุ๋ย 15 - 15 - 15 อัตรา 40 กก. เป็นเงิน 600 บาท รวมต้นทุน 2,276 บาท

ส่วนเกษตรกรบ้านหม้อ อ�ำเภอศรีเชียงใหม่ ซึ่งเป็นจุดรับซื้อข้าวโพดพร้อมฝักจากเกษตรกร ในพื้นที่ใกล้เคียง พบคนงานจ�ำนวน 8 คน ก�ำลัง ท�ำการอัดข้าวโพดลงในถุงพลาสติกที่มีกระสอบ พลาสติกเป็นถุงชั้นนอก น�้ำหนักถุงละ 20 กิโลกรัม ทีมงานของศูนย์วจิ ยั และพัฒนาอาหารสัตว์ฯ จึงเก็บตัวอย่างเพื่อส่งวิเคราะห์คุณค่าทางอาหาร สัตว์ ส่วนแรงงานทั้ง 8 คนนี้ ได้ค่าจ้างรายวัน วันละ 300 บาท จากการสอบถามและตรวจสอบ พบว่า สามารถผลิตข้าวโพดหมักได้วนั ละประมาณ 455 กระสอบ และก�ำลังจะจัดเรียงขึ้นรถเพื่อไป ส่งที่สหกรณ์โคนมขอนแก่น และกระจายลงตาม ฟาร์มรายย่อยทีเ่ ป็นสมาชิกสหกรณ์โคนมวาริชภูมิ ในราคากระสอบละ 50 บาท

ขายต้นพร้อมฝัก ส�ำหรับแปลงทีอ่ ยูป่ ลายน�ำ้ จะได้ผลผลิตฝักพร้อมต้นเฉลี่ย 2,500 กก./ไร่ จ�ำหน่ายราคาตันละ 800 บาท จะได้ 2,000 บาท ซึง่ เกษตรกรจะขาดทุน ดังนัน้ ในการปลูกข้าวโพด จะต้องมีน�้ำที่เพียงพอ แปลงของนางนราพรมีการ ให้น�้ำสม�่ำเสมอ จะได้ผลผลิตประมาณ 5 - 6 ตัน จะมีรายได้ 4,000 - 4,800 บาท

34

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 185 มีนาคม - เมษายน 2562

ที่มา : ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์หนองคาย


Food Feed Fuel

ภาพประกอบ: AJ_Family

เก็บเกี่ยวข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ พ่อค้ารับซื้อถึงไร่ ให้ราคาสูง เกษตรกรนครพนมเฮ ปลูกข้าวโพดเลีย้ งสัตว์ พ่อค้ารับซือ้ ถึงไร่แถมราคาสูง ทีบ่ ริเวณแปลงปลูกข้าวโพดเลีย้ งสัตว์นำ� ร่อง บ้านโพนป่าหว้าน หมูท่ ี่ 7 ต�ำบล ค�ำเตย อ�ำเภอเมือง จังหวัดนครพนม นายสยาม ศิริมงคล ผู้ว่าราชการจังหวัด นครพนม น�ำคณะหัวหน้าส่วนราชการ พร้อมเจ้าหน้าที่ในสังกัดกระทรวงเกษตร และสหกรณ์จังหวัดนครพนม ลงพื้นที่ในไร่เก็บข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ช่วยเกษตรกร ภายใต้โครงการสานพลังประชารัฐเพื่อสนับสนุนการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังฤดู ท�ำนา ที่ส�ำนักงานเกษตรจังหวัดนครพนมร่วมกับภาคีเครือข่ายจัดขึ้น โดยน�ำผู้เชี่ยวชาญด้านการเกษตร สาธิตวิธีการเก็บเกี่ยวข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ให้กับเกษตรกรในพื้นที่ด้วย รวมถึงการสาธิตการไถกลบตอซังต้นข้าวโพดเพื่อเป็น การลดการเผาในพื้นที่ อีกทั้งเป็นการรักษาบ�ำรุงดินไปในตัว เป็นการลดค่าใช้จ่าย ในฤดูกาลผลิตต่อไปด้วย นอกจากนี้ ยังได้เชิญสหกรณ์การเกษตร และภาคเอกชน มาตั้งจุดรับซื้อผลผลิตจากเกษตรกรแบบถึงที่ เพื่อเป็นการยืนยัน และสร้างความ มั่นใจให้กับเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ นายเอนก รัตน์รองใต้ เกษตรจังหวัดนครพนม เปิดเผยว่า จากที่จังหวัด นครพนมได้มีการขับเคลื่อนโครงการสานพลังประชารัฐเพื่อสนับสนุนการปลูก ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังฤดูท�ำนามาอย่างต่อเนื่อง เริ่มตั้งแต่การลงพื้นที่ของส่วน ราชการในการสร้างการรับรู้ และประชาสัมพันธ์รับสมัครเกษตรกรที่สนใจเข้าร่วม โครงการ ซึ่งมีเกษตรกรที่สนใจเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 11 อ�ำเภอ รวม 186 ราย มีพื้นที่การปลูกประมาณ 958.50 ไร่

ที่มา : ไทยโพสต์ ฉบับวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 185 มีนาคม - เมษายน 2562

35


Food Feed Fuel

ก่อนลงมือปลูก ทางส�ำนักงานเกษตรจังหวัดนครพนม ได้มีการลงพื้นที่ ถ่ายทอดความรู้ ด้วยการจัดงานวันสาธิตการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังฤดูท�ำนา ให้เกษตรกรในทุกอ�ำเภอได้เห็นและน�ำไปปฏิบตั ติ าม เริม่ ตัง้ แต่การเตรียมดิน ขัน้ ตอน วิธีการปลูก รวมไปถึงการดูแลรักษาที่ถูกต้อง จากนั้นก็จะส่งทีมเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ติดตามการเจริญเติบโตเป็นระยะๆ เพื่อ ให้ค�ำแนะน�ำ ส่งผลให้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการมีคุณภาพ ที่ดี โดยพื้นที่ปลูก 1 ไร่ คาดว่าจะสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ประมาณ 1,082 กิโลกรัม ขณะเดียวกันกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะในพื้นที่จังหวัดนครพนม ก็ได้ เดินทางมารับซื้อผลผลิตทั้งหมดในราคากิโลกรัมละ 5 บาท ดังนั้น เกษตรกรจะมี รายได้ต่อไร่อยู่ที่ประมาณ 5,410 บาท ด้าน นางนงนุช มาเพ็ง เกษตรผูป้ ลูกข้าวโพดเลีย้ งสัตว์ เปิดเผยว่า ตนเองรูส้ กึ ประทับใจโครงการนีเ้ ป็นอย่างมาก ผลผลิตอยูใ่ นเกณฑ์ทดี่ แี ม้ของตนเองจะสมบูรณ์ ไม่เต็มที่ แต่โครงการนั้นถือว่าดี เพราะมีตลาดรองรับ และยังมีพ่อค้ามาให้ราคา ทีส่ งู ขึน้ โดยครัง้ ก่อนทีต่ นเองขายนัน้ จะได้ราคาเพียง 4 บาทเท่านัน้ แต่ลา่ สุดพ่อค้า มาให้ในราคา 5 บาท โดยส่วนตัวมองว่าการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์นั้นดีกว่าการ ปลูกข้าวนาปรัง เพราะดูแลง่ายกว่า ทั้งไม่ต้องมาระวังในเรื่องของนกมากินผลผลิต เหมือนการปลูกข้าวนาปรัง

36

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 185 มีนาคม - เมษายน 2562


Market Leader

พิกบอร์ด (Pig board) เตรียมแผนการผลิต และการตลาดสุกร ปี 2562 คาดมีการขยายตัวการน�ำเข้า และส่งออกเพิ่มมากขึ้น

นายลักษณ์ วจนานวัช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการนโยบายพัฒนาสุกรและผลิตภัณฑ์ (Pig board) ณ กรมปศุสัตว์ พญาไท ว่า ที่ประชุมเห็นชอบแผนการผลิตและการตลาด สุกร ปี 2562 โดยพิจารณาจากประมาณแม่พันธุ์สุกรที่ใช้งานในระบบ ปี 2562 ประเมินจากฝูงแม่พันธุ์ ปี 2561 (คิดจากร้อยละ 80) และฝูงแม่สุกรสาวที่ได้จาก การส�ำรวจ ปี 2561 นอกจากนี้ ยังพิจารณาจากประสิทธิภาพการผลิต โดยแม่สุกร 1 ตัว สามารถผลิตสุกรขุนได้ 19.63 ตัว อีกทั้งยังได้คาดการณ์การขยายตัวการ น�ำเข้าและส่งออก ปี 2562 จากปี 2561 คือ ปริมาณการส่งออกสุกรมีชวี ติ จะเพิม่ ขึน้ ร้อยละ 10 ปริมาณการน�ำเข้าเนื้อสุกรและผลิตภัณฑ์จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 5 ปริมาณ การส่งออกเนื้อสุกรและผลิตภัณฑ์จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 4 โดยได้รับปัจจัยบวกจาก ปัญหาโรค African Swine Fever ในจีน ไต้หวัน เวียดนาม และญี่ปุ่น ประกอบกับ ข้อมูลของกระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ทีค่ าดว่าประเทศเวียดนามจะส่งออกเนือ้ สุกรลดลง จาก 35,000 ตัน ในปี 2561 เป็น 30,000 ตัน ในปี 2562 จึงเป็นปัจจัยบวกให้ กัมพูชาน�ำเข้าสุกรมีชีวิตจากไทยเพิ่มมากขึ้น นายลักษณ์ กล่าวต่อไปว่า ในปี 2562 จึงคาดว่าจะมีแม่พันธุ์สุกร จ�ำนวน 1,047 ล้านตัว ผลิตสุกรขุน (น�ำ้ หนัก 100 กิโลกรัม/ตัว) วันละ 56,388 ตัว รวมทัง้ ปี จะสามารถผลิตสุกรขุนได้จำ� นวน 20.557 ล้านตัว นอกจากนี้ ยังคาดว่าจะมีปริมาณ การส่งออกสุกรมีชวี ติ จ�ำนวน 1,000,000 ตัว (เพิม่ ขึน้ ร้อยละ 10) การน�ำเข้าเนือ้ สุกร ที่มา : วารสารข่าวปศุสัตว์ เดือนกุมภาพันธ์ 2562 - มีนาคม พ.ศ. 2562 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 185 มีนาคม - เมษายน 2562

37


Market Leader จ�ำนวน 112 ตัน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 5) และส่งออก เนือ้ สุกรและผลิตภัณฑ์ จ�ำนวน 20,906 ตัน (เพิม่ ขึ้นร้อยละ 4) อย่างไรก็ตาม คาดว่าจะมีปริมาณ เนือ้ สุกรเหลือบริโภคภายในประเทศ จ�ำนวน 1.45 ล้านตัน หรือคิดเป็นอัตราบริโภค 22 กิโลกรัม/ คน/ปี ทัง้ นี้ ในปี 2561 มีปริมาณการผลิตสุกรขุน จ�ำนวน 22.90 ล้านตัว ปริมาณการผลิตไตรมาส 4/2561 (ต.ค. - ธ.ค.) จ�ำนวน 6.03 ล้านตัว คิด เป็นเนื้อสุกร 452.12 พันตัน มีต้นทุนการผลิต สุกร ไตรมาส 4/2561 (กรณีซื้อลูกสุกรมาเลี้ยง) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 63.24 บาท ราคาสุกรมีชีวิต ทีเ่ กษตรกรขายได้ ไตรมาส 4/2561 เฉลีย่ กิโลกรัม ละ 65.89 บาท ราคาขายปลีกเนื้อสุกรช�ำแหละ ไตรมาส 4/2561 เฉลี่ยกิโลกรัมละ 134.55 บาท การส่งออกสุกรมีชวี ติ ปี 2561 (ม.ค. - ธ.ค.) จ�ำนวน 885,372 ตัว เพิ่มขึ้นจากปี 2560 ร้อยละ 127 และการน�ำเข้าผลิตภัณฑ์สุกร ปี 2561 (ม.ค. ธ.ค.) มีจ�ำนวน 97,534 ตัน ลดลงจากปี 2560 ร้อยละ 9

38

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 185 มีนาคม - เมษายน 2562


สินค้ำ คุณภำพ สำหรับปศุสตั ว์ไทย      

ผลิตจำกเมล็ดถัว่ เหลื องเกรดอำหำรสัตว์ 100% อุดมด้วยกรดไขมันไม่อ่ ิมตัวซึ่งจำเป็ นต่อกำรเจริ ญเติบโตของสัตว์ ควบคุมกำรผลิตด้วยเทคโนโลยี และเครื่ องจักรที่ทนั สมัย โปรตีน ไม่ต่ ำกว่ำ 36% ไขมัน ไม่ต่ ำกว่ำ 18% เมทไธโอนี น มำกกว่ำ 5,000 ppm ไลซีน มำกกว่ำ 6 กรัม/100 กรัมโปรตีน

สินค้ำ Premium Grade รับรองมำตรฐำน GMP & HACCP

บริษทั ยูนีโกร อินเตอร์เนชัน่ แนล จำกัด 120 หมู ่ 4 ตำบลสำมควำยเผื อก อำเภอเมื อง จังหวัดนครปฐม 73000 โทร. 0-3430-5101-2, 0-3439-5209 แฟกซ์ 0-3430-5103

www.unigrointer.com,

e-mail : unigro_inter@hotmail.com



Market Leader

องค์กรพิทักษ์ สัตว์ฯ ชี้ ซีพี. ต้องยุติการเลี้ยงแม่หมูแบบยืนซอง การจัดอันดับบริษัทที่ส่งเสริมสวัสดิภาพสัตว์ในฟาร์มที่ใหญ่ที่สุดในโลก ได้ เปิดเผยรายงานประจ�ำปี ว่า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จ�ำกัด หรือซีพีฟู้ด ได้ขยับอันดับดีขึ้นในการจัดการด้านสวัสดิภาพสัตว์ อย่างไรก็ตาม ยังคงมีอีกหลาย ประเด็นที่จ�ำเป็นต้องได้รับการพัฒนาต่อ เช่น การบังคับใช้นโยบายสวัสดิภาพสัตว์ อย่างทั่วถึงในทุกพื้นที่ ตลอดจนการรายงานความคืบหน้าการด�ำเนินงาน การจัดอันดับบริษทั ทีม่ กี ารจัดการสวัสดิภาพสัตว์เลีย้ งในฟาร์ม (The Business Benchmark on Farm Animal Welfare - BBFAW) สนับสนุนโดยองค์กรพิทักษ์ สัตว์แห่งโลก (World Animal Protection) และ Compassion in World Farming ได้เผยแพร่รายงานฉบับล่าสุดจากการประเมินบริษัทด้านอาหารระดับโลกกว่า 150 แห่ง ในปี พ.ศ. 2561 โดยรายงานได้แบ่งอันดับการจัดการสวัสดิภาพในฟาร์มของ บริษัทออกเป็น 6 ระดับ โดยระดับสูงสุดคือระดับ 1 แสดงให้เห็นถึงความเป็นผู้น�ำ ในด้านนี้ ในขณะทีร่ ะดับ 6 แสดงให้เห็นถึงการขาดแนวทางปฏิบตั ิ หรือขาดหลักฐาน ที่แสดงให้เห็นถึงการใส่ใจสวัสดิภาพสัตว์ในฟาร์มในการด�ำเนินธุรกิจ ที่มา : www:komchadluek.net วันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2562 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 185 มีนาคม - เมษายน 2562

39


Market Leader

ตั้งแต่ที่ บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ (CP Group) ได้เข้าสูก่ ารจัดอันดับนีค้ รัง้ แรกในระดับ 6 เมื่อปี พ.ศ. 2559 ก็ได้แสดงจุดยืนอย่างต่อเนื่อง ในการยกระดับสวัสดิภาพสัตว์ในฟาร์มตามหลัก อิสรภาพสัตว์ 5 ประการ (5 Freedoms) ซึ่งเป็น หลักปฏิบัติสากล และยังได้เล็งเห็นความส�ำคัญ ของปัญหาสวัสดิภาพสัตว์ที่มีการเรียกร้องอย่าง กว้างขวางในฟาร์มหมู โดยการประกาศยุติการ เลี้ยงแม่หมูแบบยืนซองในประเทศไทย ภายในปี พ.ศ. 2568 และในประเทศอืน่ ภายในปี พ.ศ. 2571 อย่างไรก็ตาม พันธะสัญญานี้ไม่ได้ครอบคลุมใน ประเทศจีน และอินโดนีเซีย นายโชคดี สมิทธิก์ ติ ติผล ผูจ้ ดั การแคมเปญ สัตว์ฟาร์ม องค์กรพิทกั ษ์สตั ว์แห่งโลก ประเทศไทย กล่าวว่า “ซีพจี ำ� เป็นต้องท�ำให้นโยบายยุตกิ ารเลีย้ ง แม่หมูแบบยืนซอง ถูกน�ำไปปฏิบัติใช้จริงในทุก ประเทศที่บริษัทได้ด�ำเนินกิจการอยู่ โดยองค์กร พิ ทั ก ษ์ สั ต ว์ แ ห่ ง โลก ขอเรี ย กร้ อ งให้ ซี พี ข ยาย นโยบายดังกล่าวไปยังประเทศจีน และอินโดนีเซีย เราเชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่า การเปลี่ยนแปลงนี้จะ เกิดขึน้ ได้จริง โดยองค์กรฯ ได้ทำ� งานร่วมกับผูผ้ ลิต หมูชนั้ น�ำต่างๆ ในประเทศจีน เพือ่ สนับสนุนให้เกิด ระบบการจัดการสวัสดิภาพหมูในฟาร์มดีขึ้นอย่าง ยั่งยืน

40

จากการทีซ่ พี เี ป็นองค์กรชัน้ น�ำระดับโลกนัน้ เราคาดหวังให้บริษทั พัฒนาแนวทางการด�ำเนินงาน ที่โปร่งใส และมีระยะเวลาก�ำหนดอย่างชัดเจน ในการยกระดับการจัดการสวัสดิภาพสัตว์ในฟาร์ม ด้านต่างๆ เช่น ยุตกิ ารตัดอวัยวะบางส่วนของลูกหมู อย่างทารุณ หรือการส่งเสริมให้ผู้เลี้ยงเพิ่มวัสดุ เสริม (Enrichment) ทีช่ ว่ ยให้สตั ว์ลดความเครียด และสามารถแสดงออกทางพฤติกรรมตามธรรมชาติได้อย่างเหมาะสมไว้ในคอกการเลีย้ งแบบรวม กลุ่ม” นายโชคดี ยังกล่าวย�ำ้ ว่า “อันดับการจัดการ สวัสดิภาพสัตว์ในฟาร์มของเครือเจริญโภคภัณฑ์ สามารถก้าวขึน้ สูงกว่านีไ้ ด้ โดยการเผยแพร่ขอ้ มูล ของวิธีปฏิบัติตามนโยบายการจัดการด้านสวัสดิภาพสัตว์ที่ประกาศไว้ ตลอดจนการรายงานผล ส�ำเร็จของสัดส่วนความก้าวหน้าในการเอาแม่หมู ออกจากซองในแต่ละประเทศ” ทั้งนี้ องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก ได้ท�ำงาน ร่วมกับผู้ผลิตชั้นน�ำระดับโลกเพื่อยกระดับสวัสดิภาพสัตว์ในฟาร์ม รวมถึงบริษทั เบทาโกร ในประเทศ ไทย โดยในปี พ.ศ. 2560 เบทาโกรได้ประกาศพันธะ สัญญาต่อสาธารณะในการยุติการเลี้ยงหมูในซอง ระหว่างการตัง้ ครรภ์ และคลอดในทุกพืน้ ทีภ่ ายใน ปี พ.ศ. 2570

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 185 มีนาคม - เมษายน 2562


Market Leader

เกษตรฯ ชูมาตรฐานไก่

รุกส่งออกอียู

กระทรวงเกษตรฯ หวังส่งออกไก่ในตลาดอียมู ากขึน้ หลังอียเู พิม่ โควตา น�ำเข้า ชี ้ คุณภาพมาตรฐานเป็นทีย่ อมรับ ขณะลุน้ เบร็กซิท อังกฤษออก กฎใหม่กระทบไทย นายฉันทานนท์ วรรณเขจร รองเลขาธิการส�ำนักงานเศรษฐกิจ การเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า คณะกรรมาธิการยุโรปประกาศระเบียบ Commission Implementing Regulation (อีย)ู มีมติกำ� หนดปริมาณ โควตาสินค้าเนื้อไก่และสัตว์ปีกให้กับประเทศที่ 3 โดยมีผลบังคับใช้ ตัง้ แต่วนั ที่ 1 เม.ย. ทีผ่ า่ นมา เพือ่ รองรับการบริโภคทีเ่ พิม่ ขึน้ จึงขยาย โควตาให้ประเทศผู้ผลิตเพื่อให้ประเทศในกลุ่มอียู สามารถมีอาหาร เพียงพอ ถือว่าเป็นโอกาสของไทยที่ส่งออกในตลาดนี้มากขึ้น จากการผลิตไก่ของไทย ที่มีคุณภาพ มาตรฐาน เป็นที่ยอมรับของอียูอย่างต่อเนื่อง โดยแต่ละปีมีโควตา น�ำเข้าจากไทยประมาณ 2.7 แสนตัน แต่การส่งออกในปีทผี่ า่ นมาท�ำได้มากกว่านัน้ เนื่องจากความต้องการที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม สศก. อยูร่ ะหว่างจับตามองเรือ่ งการน�ำอังกฤษออกจากสหภาพ ยุโรป หรือเบร็กซิท เพราะประเทศในกลุม่ อียู อังกฤษถือเป็นประเทศทีน่ ำ� เข้าไก่เนือ้ หรือสัตว์ปีกจากไทยมากที่สุด หากอังกฤษออกจากอียู อาจจะกระทบต่อส่งออก สัตว์ปีกของไทย เพราะการค้าจะไม่ใช้กฎระเบียบเดียวกับอียูอีกต่อไป แต่จะเป็น กฎระเบียบ หรือมาตรฐานของอังกฤษเอง

ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2562 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 185 มีนาคม - เมษายน 2562

41


Market Leader

ส�ำหรับจากการจัดสรรโควตารวมเพิ่มเติมดังกล่าว ท�ำให้ผู้ประกอบการ ของไทยสามารถใช้สิทธิ์ในการส่งออกสินค้าเนื้อไก่และสัตว์ปีกไปยังอียูจ�ำนวน 4 รายการ ได้แก่ 1. สินค้าเนื้อไก่ปรุงแต่ง หรือท�ำไว้ไม่ให้เสีย และไม่ปรุงสุก (พิกัดฯ 1602.32.11) ปริ ม าณโควตาที่ ไ ด้ รั บ จั ด สรร 340 ตั น /ปี ภาษี ในโควตา 630 ยูโร/ตัน 2. สินค้าสัตว์ปีกปรุงแต่ง หรือ ท�ำไว้ไม่ให้เสีย ซึง่ มีสดั ส่วนเนือ้ หรือเครือ่ งในตัง้ แต่ 57% ของน�้ำหนักขึ้นไปและปรุงสุก (พิกัดฯ 1602.39.29) ปริมาณโควตาทีไ่ ด้รบั จัดสรร 60 ตัน/ปี ภาษีในโควตา 10.9% 3. สินค้าสัตว์ปกี ปรุงแต่ง หรือท�ำไว้ไม่ให้เสีย ซึง่ มี สัดส่วนเนื้อ หรือเครื่องในตั้งแต่ 25% จนถึงต�่ำกว่า 57% ของน�้ำหนัก 4. สินค้า เนือ้ ไก่ปรุงแต่ง หรือท�ำไว้ไม่ให้เสีย และปรุงสุก (พิกดั ฯ 1602.32.19) ปริมาณโควตา ที่ได้รับจัดสรร 5,000 ตัน/ปี ภาษีในโควตา 8% ทั้งนี้หาก ผู้ประกอบการไทยที่ ประสงค์จะรับภาษีในโควตาสินค้า 4 รายการข้างต้น ไม่จ�ำเป็นต้องแนบหนังสือ รับรองถิ่นก�ำเนิดสินค้าส�ำหรับการน�ำเข้าอียู ทั้งนี้ สถิติของปี 2561 รายงานว่าอียูน�ำเข้าสินค้าเนื้อไก่ปรุงแต่งจากไทย เป็นอันดับ 1 มูลค่า 25,040 ล้านบาท คิดเป็น 73% ของการน�ำเข้าทั่วโลก การ น�ำเข้าสัตว์ปกี ปรุงแต่งจากไทยเป็นอันดับ 2 มูลค่า 1,038 ล้านบาท คิดเป็น 41% ของ การน�ำเข้าจากทั่วโลก และการน�ำเข้าสินค้าสัตว์ปีกปรุงแต่ง (พิกัดฯ 1602.39.85) จากไทยเป็นอันดับที่สอง มูลค่า 14 ล้านบาท คิดเป็น 30%

42

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 185 มีนาคม - เมษายน 2562


Market Leader

จีนจะเลิกห้ามน�ำเข้าสัตว์ปีก และซื้อเนื้อหมูสหรัฐฯ 16 เมษายน 2562 รอยเตอร์ - จีนน่าจะเลิกห้ามน�ำเข้า สัตว์ปีกสหรัฐฯ ตามส่วนหนึ่งของข้อตกลงการค้า และอาจจะซื้อ เนือ้ หมูเพิม่ เพือ่ ให้เพียงพอต่อซัพพลายทีก่ ำ� ลังขาดแคลนมากขึน้ แต่ ไม่เต็มใจที่จะอนุญาตให้น�ำเข้ายาที่ใช้เร่งการเติบโตในสุกร แหล่งข่าว สองรายที่รับรู้เกี่ยวกับการเจรจาเปิดเผยว่า สหรัฐฯ และจีนก�ำลังพยายาม ที่จะท�ำข้อตกลงเพื่อยุติสงครามการค้าที่ได้สร้างความเสียหายต่อสอง เศรษฐกิจใหญ่สุดของโลกและตลาดการเงิน และซัพพลายเชนทั่วโลก คณะบริหารของ ประธานาธิบดี โดนัลล์ ทรัมป์ ก�ำลังกดดันให้รัฐบาลปักกิ่ง คลายความกังวลเกีย่ วกับการปฏิบตั ขิ องจีนเกีย่ วกับสิทธิในทรัพย์สนิ ทางปัญญา การ โอนเทคโนโลยีโดยบีบบังคับ และการอุดหนุนอุตสาหกรรม รัฐบาลวอชิงตันผลักดันให้สนิ ค้าเกษตรสหรัฐฯ เข้าถึงตลาดจีนมากขึน้ ด้วยการ หาทางให้จนี ลดภาษี ยกเลิกการห้ามน�ำเข้า และยกเครือ่ งระเบียบ นอกจากนี้ สหรัฐฯ ได้ขอให้รัฐบาลปักกิ่งเลิกห้ามน�ำเข้ายา ractopamine ซึ่งผู้ผลิตเนื้อหมูสหรัฐฯ ใช้ เพื่อเร่งการเติบโตของสุกร และขอให้จีนเลิกห้ามน�ำเข้าสัตว์ปีกสหรัฐฯ ด้วย แหล่งข่าวกล่าวว่า ผู้เจรจาของจีนได้คัดค้านการยกเลิกน�ำเข้ายา ractopamine แม้ว่ารัฐบาลจีนน่าจะเพิ่มการน�ำเข้าเนื้อหมูสหรัฐฯ เนื่องจากเกิดโรคอหิวาต์ แอฟริกาในสุกร

ที่มา : สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 185 มีนาคม - เมษายน 2562

43


Market Leader

ป๊อบ บราวน์ นักวิเคราะห์อิสระตลาด ปศุสัตว์สหรัฐฯ กล่าวว่า จีนจะท�ำทุกอย่างที่เป็น ไปได้ เพื่อที่จะท�ำให้น�ำเข้าโปรตีนได้ง่ายขึ้น ข้อมูลของราโบแบงก์ชวี้ า่ สุกรถึง 200 ล้าน ตัว อาจถูกฆ่า หรือตายเพราะโรคอหิวาต์แอฟริกา ในสุกรระบาดไปทั่วประเทศ ซึ่งท�ำให้ปริมาณเนื้อ หมูทั่วประเทศในปีนี้ลดลงประมาณ 30% เดอมอด เฮเยส นักเศรษฐศาสตร์เกษตร มหาวิทยาลัยไอโอวา คาดว่า จีนจะน�ำเข้าเนื้อหมู ประมาณ 4 - 6 ล้านตัน ในปีหน้า จ�ำนวนเนื้อหมู ที่จีนจะน�ำเข้าจากสหรัฐฯ จะขึ้นอยู่กับข้อตกลง การค้า เนื่องจากรัฐบาลปักกิ่งยืนกรานว่าจะเก็บ ภาษีนำ� เข้าเนือ้ หมูสหรัฐฯ และต้องมีซพั พลายเออร์ อื่นๆ เป็นทางเลือก จิม รัมเนอร์ ประธานสภาส่งออกสัตว์ปีก และไข่ของสหรัฐฯ กล่าวว่า ตลาดสัตว์ปีกจีนมี ศักยภาพมากส�ำหรับผู้ผลิตสหรัฐฯ โดยมีมูลค่า 500 ล้านดอลลาร์ กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ คาดการณ์วา่ จีน จะ น�ำเข้าเนือ้ ไก่ทงั้ หมดเพิม่ ขึน้ 68% เป็น 575,000 ตันในปีนี้ โดยไม่รวมตีนไก่ เนื่องจากการเกิดโรค อหิวาต์แอฟริกาในสุกรในจีน จะท�ำให้ผู้บริโภค หันมารับประทานโปรตีนอื่นแทนเนื้อหมู รัฐบาลปักกิ่งห้ามน�ำเข้าสัตว์ปีกและไข่จาก สหรัฐฯ ทัง้ หมดมาตัง้ แต่เดือนมกราคม 2558 เนือ่ ง จากโรคไข้หวัดนกระบาดมานานหลายปี สหรัฐฯ ส่งออกสัตว์ปกี และผลิตภัณฑ์ตา่ งๆ ไปยังจีน 390 ล้านดอลลาร์เมื่อปี 2557 แต่หนึ่งปีต่อมาการ ส่งออกลดลงเหลือ 74 ล้านดอลลาร์ ซึง่ ไม่ถงึ หนึง่ ในห้า

จีนได้เลิกห้ามน�ำเข้าสัตว์ปีกจากฝรั่งเศส เมื่อเดือนที่ผ่านมา และได้ยกเลิกภาษีเนื้อไก่ขน สีขาว การเลิกห้ามน�ำเข้าสัตว์ปีกทั้งหมดของจีน จะเปิดทางให้สัตว์ปีกของสหรัฐฯ แข่งขันในตลาด ใหญ่สุดของโลกได้ และเป็นประโยชน์ต่อบริษัท อย่างเช่น แซนเดอร์สันฟาร์ม อิงก์ แหล่งข่าวสองคนกล่าวว่า ในขณะที่น่าจะมี โอกาสมากขึน้ ทีจ่ นี จะเลิกห้ามน�ำเข้าสัตว์ปกี สหรัฐฯ รัฐบาลปักกิ่งก�ำลังมองหา “ถนนสองทาง” และ ต้องการทีจ่ ะส่งออกผลิตภัณฑ์สตั ว์ปกี ไปยังสหรัฐฯ เช่นกัน ที่มา : Reuter แปลโดย ข่าวหุ้น

44

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 185 มีนาคม - เมษายน 2562




iki ww:th.w w : บ อ ก ภาพประ

Market Leader

. o rg pedia

กรมประมงชูความส�ำเร็จของโครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่

ดัน “กะพงขาว” บินจนติดลมบน

ป้อนออร์เดอร์สู่ครัวการบินไทยได้อย่างต่อเนื่อง เมือ่ วันที่ 18 เมษายน 2562 กรมประมงจัดพิธลี งนามบันทึกข้อตกลงเพือ่ การซื้อขายปลากะพงขาว ระหว่าง บริษัท การบินไทย จ�ำกัด (มหาชน) สมาคม ผู้เพาะเลี้ยงปลาทะเลไทย และบริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จ�ำกัด (มหาชน) ครั้งที่ 3 ชูความส�ำเร็จของโครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ โดยใช้การ ตลาดน�ำการผลิต สามารถป้อนออร์เดอร์ปลากะพงขาวเข้าครัวการบินไทยได้อย่าง ต่อเนื่อง พร้อมขยายฐานการเพาะเลี้ยงสู่กลุ่มเกษตรกรรายอื่นเพื่อรองรับความ ต้องการของผู้บริโภค นายอดิศร พร้อมเทพ อธิบดีกรมประมง ให้สัมภาษณ์ว่า “ปลากะพงขาว” เป็นหนึ่งในชนิดสัตว์น�้ำเศรษฐกิจที่กรมประมงส่งเสริมให้เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยง ได้รวมกลุ่มกัน และเข้าร่วมโครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ตาม นโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อสร้างความเข้มแข็งในการประกอบ อาชีพ ลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต และยกระดับสินค้าเกษตรให้มีมาตรฐาน รวมทั้ง เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในตลาดระดับพรีเมียม ซึ่งปัจจุบันกลุ่มเกษตรกร ผู้เพาะเลี้ยงปลากะพงขาว จังหวัดฉะเชิงเทรา ภายใต้สมาคมผู้เพาะเลี้ยงปลาทะเล ไทย ถือเป็นต้นแบบของการรวมกลุ่มตามโครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบ แปลงใหญ่ที่ประสบความส�ำเร็จได้เป็นอย่างดี โดยสามารถเปิดช่องทางการตลาด ที่มา : ข่าวประชาสัมพันธ์ กรมประมง ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 185 มีนาคม - เมษายน 2562

45


Market Leader เป็นสินค้าสัตว์น�้ำชนิดแรกเพื่อกระจายผลผลิต ไปยังฝ่ายครัวการบินของบริษทั การบินไทย จ�ำกัด (มหาชน) ที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 2559 จนถึงปัจจุบัน มีออร์เดอร์เนื้อปลากะพงขาวแช่แข็งเพื่อน�ำไปใช้ เป็นวัตถุดบิ ในการประกอบอาหารให้แก่ผโู้ ดยสาร การบินไทยกว่า 523 ตัน ซึง่ ถือเป็นการใช้แนวทาง การตลาดน�ำการผลิตได้เห็นผลอย่างเป็นรูปธรรม ด้วยผลผลิตที่มีคุณภาพ สด สะอาด ปลอดภัย ได้รับการรับรองมาตรฐานการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำ ทีด่ ี (GAP) มีการปฏิบตั ติ ามแนวทางการใช้แรงงาน ที่ดี (GLP) รวมทั้งอาหารที่ใช้ในการเลี้ยงมาจาก วัตถุดิบที่ท�ำประมงอย่างถูกกฎหมายมีกระบวนการตรวจสอบย้ อ นกลั บ ได้ ต ลอดสายการผลิ ต (Traceability) ท�ำให้ผู้บริโภคเกิดความมั่นใจ ล่าสุด สมาคมผูเ้ พาะเลีย้ งปลาทะเลไทย และ บริษัท การบินไทย จ�ำกัด (มหาชน) จึงได้จัดท�ำ บันทึกข้อตกลงเพื่อการซื้อขายปลากะพงขาวขึ้น เพื่ อ ท� ำ การป้ อ นผลผลิ ต เข้ า สู ่ ค รั ว การบิ น ไทย รองรับความต้องการของผู้บริโภคบนสายการบิน อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ สมาคมฯ ยังได้จับมือ

46

ท�ำบันทึกข้อตกลงเพื่อการผลิตและแปรรูปปลา กะพงขาว กับบริษทั ไทยยูเนีย่ น กรุป๊ จ�ำกัด (มหาชน) เพือ่ ให้กระบวนการแปรรูปและแช่แข็งวัตถุดบิ ยังคงคุณภาพทีด่ กี อ่ นน�ำไปประกอบเป็นเมนูอาหาร ต่างๆ ส�ำหรับเสิร์ฟผู้โดยสารบนสายการบิน ซึ่ง การจัดท�ำข้อตกลงในครั้งนี้ นับเป็นครั้งที่ 3 แล้ว ทัง้ นี้ กรมประมงพร้อมทีจ่ ะให้การสนับสนุน แก่เกษตรกรในพืน้ ทีอ่ นื่ ๆ ได้มกี ารพัฒนาศักยภาพ เพือ่ ขยายฐานการผลิตปลากะพงขาวตอบสนองต่อ ความต้องการของผู้บริโภคที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น รวมทั้งจะท�ำการผลักดันสินค้าสัตว์น�้ำเศรษฐกิจ ชนิดอืน่ ๆ เพือ่ เชือ่ มโยงการตลาดกับบริษทั การบิน ไทย จ�ำกัด (มหาชน) ต่อไปในอนาคต ด้านนางวรางคณา ลือโรจน์วงศ์ กรรมการ ผูจ้ ดั การฝ่ายครัวการบิน บริษทั การบินไทย จ�ำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ตัง้ แต่เดือนพฤษภาคม 2559 เป็นต้นมา การบินไทยได้สั่งซื้อปลากะพงขาวจาก กลุม่ เกษตรกรจังหวัดฉะเชิงเทรา ซึง่ บริษทั ฯ ได้รบั วัตถุดบิ ทีม่ คี ณ ุ ภาพดี ได้มาตรฐานกรมประมง และ ครัวการบินไทย น�ำมาประกอบอาหาร และมีการ

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 185 มีนาคม - เมษายน 2562


Market Leader ตอบรับจากผูใ้ ช้บริการเป็นอย่างดีตลอดมา ส�ำหรับ การลงนามบันทึกข้อตกลงในครั้งนี้ การบินไทย ยินดีทไี่ ด้สนับสนุนปลากะพงขาวจากการเพาะเลีย้ ง ของกลุ ่ ม เกษตรกรในสมาคมผู ้ เ พาะเลี้ ย งปลา ทะเลไทย ในโครงการ “จากผืนน�้ำสู่ผืนฟ้า” สู่ ครัวการบินไทยอย่างต่อเนื่อง เป็นครั้งที่ 3 มี ระยะเวลา 3 ปี (พ.ศ. 2562 - 2565) ซึ่งครัว การบินไทย มีความต้องการใช้ปลากะพงขาวเป็น วัตถุดิบในการประกอบอาหารชั้นเลิศ ถึงปีละ ประมาณ 50 ตัน โดยผลิตเป็นเมนูยอดนิยม มาให้ บ ริ ก าร และสร้ า งความประทั บ ใจให้ แ ก่ ผู้โดยสารทั่วโลก อาทิ ฉู่ฉีปลากะพง ปลากะพง ราดซอส ปลากะพงนึ่ง ซึ่งการสนับสนุนดังกล่าว จะช่วยส่งเสริมช่องทางการตลาด และศักยภาพ การผลิตสินค้าประมงของผู้เพาะเลี้ยงปลาทะเล ไทยสู่สากล การบินไทย ในฐานะสายการบินแห่งชาติ ได้ด�ำเนินธุรกิจควบคู่ไปกับการด�ำเนินกิจกรรม อันมุ่งเน้นให้เกิดคุณค่าและประโยชน์ต่อส่วนรวม ตามนโยบายด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและ

สิ่งแวดล้อม ซึ่งที่ผ่านมา การบินไทยมีโครงการ ช่วยเหลือพี่น้องชาวเกษตรกรไทยในหลากหลาย รูปแบบ โดยการสั่งซื้อผลผลิตทางการเกษตร และผลิตภัณฑ์แปรรูปทางการเกษตรจากทุกภาค ของประเทศไทย เช่น พืชผักผลไม้เมืองหนาว ของโครงการหลวง ผลผลิตทางการเกษตรของ กลุม่ เกษตรกรในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ผลิตภัณฑ์ แปรรูปทางการเกษตรจากดอยค�ำ ผลผลิตทาง การเกษตรปลอดภัยสูง (ผักผลไม้เบอร์ 8) ของ จังหวัดฉะเชิงเทรา เพื่อให้บริการผู้โดยสารบน เครื่องบิน รวมทั้งยังได้สนับสนุนการจัดจ�ำหน่าย สินค้า OTOP บนเครื่องบินอีกด้วย การลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมกันครั้งนี้ ยังเป็นการยกระดับมาตรฐานสินค้า และการ บริการแบบไทย โดยคนไทย ด้วยอาหารจาก วัตถุดิบคุณภาพ ปลอดสารพิษตามพันธกิจหลัก ในการให้บริการของการบินไทย ด้วยเสน่ห์แห่ง ความเป็ น ไทยบนมาตรฐานระดั บ สากล เพื่ อ ส่งมอบการบริการที่ดีที่สุดระดับพรีเมี่ยมตลอด การเดินทาง กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ 18 เมษายน 2562

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 185 มีนาคม - เมษายน 2562

47


Market Leader

ปศุสัตว์ไทยจะล่ม

ถ้ามองและแก้ไขปัญหาจร ิงไม่ทะลุ มหาวิ ท ยาลั ย เกษตรศาสตร์ ร่ ว มกั บ สมาคมสัตวบาลแห่งประเทศไทยฯ จัดสัมมนา วิชาการ เรื่อง “ปศุสัตว์ไทยจะล่ม ถ้ามองและ แก้ไขปัญหาจริงไม่ทะลุ” เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2562 ณ อาคารวชิ ร านุ ส รณ์ คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน กรุงเทพฯ โดยมีวทิ ยากรร่วมสัมมนา ประกอบไปด้วย คุณพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล นายกสมาคม ผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย ศ.ดร.มนต์ชัย ดวงจินดา คณบดีคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และคุณชยานนท์ กฤตยาเชวง นายกสมาคม สัตวบาลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ฯ ด�ำเนินรายการโดย รศ.ดร.ชัยภูมิ บัญชาศักดิ์ ภาควิ ช าสั ต วบาล คณะเกษตร มหาวิ ท ยาลั ย เกษตรศาสตร์

คุณพรศิลป์ กล่าวในส่วนของอาหารสัตว์ ซึ่งได้กล่าวถึงภาพรวมของภาคปศุสัตว์ก่อน โดย ชี้ให้เห็นว่า แต่ละภาคส่วนมีการเชื่อมโยงกันเป็น ห่วงโซ่ ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์สัตว์ อาหารสัตว์ ผูแ้ ปรรูป ซึง่ เกีย่ วข้องกันหมด ดังนัน้  หากส่วนหนึง่ ส่วนใดสะดุด หรือเกิดปัญหา ก็จะกระทบกันไป ทั้งหมด เช่น เรื่องของอาหารสัตว์ซึ่งผูกพันกัน ทั้งภายในและต่างประเทศ ถ้าวันหนึ่งเกิดปัญหา ฝนแล้ง โรคระบาด หรือแม้แต่การเมืองระหว่าง ประเทศ ก็จะท�ำให้ราคาอาหารสัตว์เกิดความ ผันผวน เมือ่ ราคาเกิดความผันผวนก็จะไปกระทบ กับผู้เลี้ยงสัตว์ ตัวที่เห็นชัดเจนที่สุดก็คือ ข้าวโพด ทีม่ กี ารผันแปรทุกปี เพราะการผลิตมีปจั จัยเข้ามา เกี่ ย วข้ อ งมากมายทั้ ง ปั จ จั ย ภายใน และปั จ จั ย ภายนอก ส่งผลให้การผลิตไม่เป็นไปตามที่คาด-

ที่มา : สาส์นไก่ & สุกร ฉบับที่ 191 เดือนเมษายน พ.ศ. 2562

48

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 185 มีนาคม - เมษายน 2562


การณ์ ราคามีการเปลีย่ นแปลงไปตามสถานการณ์ สุดท้ายก็กระทบไปทั้งห่วงโซ่ เช่นเดียวกับเรือ่ งของปลาป่น กากถัว่ เหลือง ที่มีเรื่องของภาษีเข้ามาเกี่ยวข้อง มีเงื่อนไขการ น�ำเข้าสลับซับซ้อน มีการก�ำหนดโควตา และอีก หลายๆ เรื่องที่เข้ามาเกี่ยวข้อง หากรัฐบาลไม่ทัน เกม ปัญหาก็จะตามมา ดังนั้น สิ่งที่เกิดขึ้น สิ่งที่ เราเห็น จึงเป็นค�ำถามว่า ปศุสัตว์ไทยเรามีความ มั่นคงทางด้านอาหารอยู่ หรือไม่ ซึ่งมันก็จะเป็น ค�ำตอบของค�ำถามทีว่ า่ ปศุสตั ว์ไทยจะล่ม หรือไม่ ถ้าเรายังเป็นแบบนี้ เป็นในลักษณะทีร่ าคาวัตถุดบิ ภายในประเทศสูงกว่าตลาดโลก และก็จะสูงไป เรื่อยๆ ถ้านโยบายไม่เปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะ นโยบายด้านข้าวโพด ดังนั้น การแก้ไขปัญหาต้องมองให้ออก มองภาพความเป็นจริงแล้วร่วมมือกันท�ำ การปล่อย ให้เป็นเช่นนี้ ถึงแม้จะเติบโตแต่เติบโตแบบถดถอย ไม่มคี วามมัน่ คงและแน่นอน ในอนาคตก็จะล่ม ถ้า มองและแก้ไขปัญหาจริงๆ ไม่ทะลุ ไม่วา่ จะเรือ่ งใด ที่เกี่ยวข้องทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งทั้งหมด ก็ขึ้นอยู่กับรัฐบาล แต่โดยส่วนตัวมองว่า สิ่งต่างๆ ทีเ่ กิดขึน้ นี้ ถ้าไม่แก้ไข ในอนาคตล่มสลายแน่นอน “ในอนาคตถ้าพูดถึงปศุสัตว์ โลกจะแบ่ง ออกเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ 1 คือ กลุ่มประเทศที่ยัง ไม่มีการพัฒนา กลุ่มนี้การผลิตสัตว์จะเพิ่มขึ้น

Market Leader

เรือ่ ยๆ มีการเจริญเติบโตด้านธุรกิจปศุสตั ว์ เพราะ จะมีการบริโภคเนื้อสัตว์มากขึ้นโดยธรรมชาติ ส่ ว นอี ก กลุ ่ ม คื อ กลุ ่ ม ที่ ก� ำ ลั ง จะพั ฒ นา หรื อ พัฒนาไปแล้ว กลุ่มนี้คนจะเพิ่มขึ้น ดังนั้น เรื่อง ที่จะล่มคงไม่เกิดขึ้น เพราะคนกินเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมการกิน คือกินของทีป่ ลอดภัย ของทีม่ ี คุณภาพ เพราะฉะนั้นจึงเป็นโอกาสเราที่จะเข้า ไปอยู่ส่วนนี้ สนองความต้องการส่วนนี้ ซึ่งเรา ต้องเปลี่ยนวิธีคิดคือ มองสินค้าที่เราผลิตว่า เป็นสิ่งที่มีคุณค่ามากกว่ามูลค่า” คุณพรศิลป์ กล่าวให้ความเห็นช่วงท้าย ศ.ดร.มนต์ชัย กล่าวในส่วนของพันธุ์สัตว์ ว่า ถ้าพูดถึงเรื่องพันธุ์สัตว์ อาจจะมองว่าเป็นเรื่อง ตายตัวส�ำหรับประเทศไทย แต่รู้ หรือไม่วา่ เนือ้ ไก่ ทุกชิน้ ไข่ไก่ทกุ ฟองทีเ่ ราบริโภค เป็นเงินทีเ่ ราต้อง เสียให้กับต่างชาติ เพราะเราไม่มีเป็นของตัวเอง ถ้าถามว่าเราจะมีแบบนั้นบ้างไหม ก็ถ้าตราบใด ทีเ่ รายังไม่ลงมือคิดลงมือท�ำ เราก็จะไม่มที างทีจ่ ะมี แบบนั้น เพราะการพัฒนาพันธุ์สัตว์ต้องใช้ระยะ เวลาค่อนข้างนาน แต่อย่างไรก็ดี ผู้ที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นนักวิชาการ ผู้เลี้ยง ผู้ผลิตพันธุ์สัตว์ ก็ไม่ได้อยู่นิ่ง ก็มีการท�ำงานกันตลอด ยิ่งยุคนี้ เป็นยุคทีม่ กี ารเปลีย่ นแปลงไปอย่างรวดเร็ว ถ้าเรา ยังช้าอยู่ก็อาจจะตกขบวนได้ ดังนั้น ในยุค 4.0 ซึ่งเป็นยุคที่พวกเรา ก�ำลังจะได้สัมผัส การพัฒนาต้องอาศัยนวัตกรรม เทคโนโลยีเข้ามาช่วย เรื่องสายพันธุ์ก็เช่นกัน เรา ต้ อ งหานวั ต กรรมมาช่ ว ยพั ฒ นา ที่ ส� ำ คั ญ  การ ท� ำ งานไม่ ส ามารถท� ำ คนเดี ย วได้ แต่ จ ะต้ อ งมี นักวิจยั นักวิชาการอาหารสัตว์ นักการจัดการ มา คอยช่วยเหลือกัน ไม่อย่างนั้นจะไม่เกิดพันธุ์สัตว์ ใหม่ๆ ได้ นอกจากนี้ การท�ำงานจะต้องเชือ่ มโยงกัน

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 185 มีนาคม - เมษายน 2562

49


Market Leader

ระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ เอกชน และมหาวิทยาลัย ซึง่ เป็นตัวจักรส�ำคัญในเรือ่ งของ องค์ความรู้ เพราะล�ำพังภาคราชการแค่ทำ� งานตาม นโยบายก็ไม่ทันแล้ว ถ้าต่างคนต่างท�ำงานก็ไปต่อ ไม่ได้ ที่ส�ำคัญ การพัฒนาสายพันธุ์จะต้องมอง ตั้งแต่ต้นน�้ำ กลางน�้ำ และปลายน�้ำ อย่าคิดว่าท�ำ พันธุอ์ อกมาแล้ว เดีย๋ วก็มคี นมาหยิบเอาไปใช้ ต้อง เปลี่ยนแนวคิดใหม่ การสร้างสายพันธุ์สมัยใหม่ ต้องมองเรื่องของการตลาด ต้องรู้เป้าหมายว่า สุดท้ายปลายทางแล้วใครคือผู้ใช้ จะให้เกษตรกร หรือท�ำเพื่อส่งออก เรื่องนีต้ ้องคุยกันก่อน เพราะ ไม่มีสายพันธุ์สัตว์ไหนที่ครบถ้วนสมบูรณ์ในตัว เดียวกัน แต่อย่างไรก็ตาม การทีเ่ ราจะมีสายพันธุ์ ของเราเอง ต้องเป็นสิ่งที่เราพัฒนาขึ้น เกิดการ ปรับตัวในบ้านเรา แต่ถ้ามีการน�ำเข้ามาโดยไม่ได้ ท�ำอะไร มีแต่การผลิต ไม่มีการพัฒนาสายพันธุ์ ตามหลักวิชาการ ไม่ถือว่าเป็นสายพันธุ์ของเรา แต่ตอ้ งเกิดจากการปรับปรุงของเราเอง โดยความ ร่วมมือของหลายๆ ฝ่ายจึงจะถือว่าเป็นสายพันธุ์ ของเรา ปัจจุบันเครื่องมือในการปรับปรุงพันธุ์ของ เราค่อนข้างพร้อม โดยเฉพาะเทคโนโลยีซงึ่ ไม่ดอ้ ย ไปกว่าต่างประเทศ เพียงแต่การท�ำงานของเรายัง ไม่เป็นระบบ เพราะฉะนัน้ เป้าหมายในการพัฒนา สายพันธุ์เป็นเรื่องที่ส�ำคัญ เราต้องช่วยกันว่าเรา ต้องการอะไรกันแน่ แล้วค่อยๆ พัฒนาตามเป้าหมายทีว่ างไว้ทลี ะขัน้ ตอน ซึง่ ทุกวันนีห้ ลายๆ เรือ่ ง เราสามารถท�ำได้ โดยเฉพาะสายพันธุ์ที่สามารถ เลี้ ย งได้ ใ นเขตร้ อ นชื้ น วั น นี้ ห ลายๆ ประเทศ ต้องการสายพันธุท์ างด้านนี้ เพราะถือว่าเรามีความ สามารถพั ฒ นาได้ เป็ น ที่ ย อมรั บ ของประเทศ เพื่อนบ้าน ตัวอย่างเช่น พันธุ์โคนม เพราะฉะนั้น

50

หากเราจะมองไปที่การจ�ำหน่ายพันธุกรรมของ สายพันธุ์ด้านนี้ ในเขตอาเซียนต้องการจากเรา ทั้งนั้น แต่ถา้ จะมองไปไกลกว่านัน้ คือประเทศอืน่ ๆ ที่อยู่ในเขตร้อนเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นที่แอฟริกา ที่ วันนี้ยังรู้จักแค่ลูกผสม 50% ขณะที่เราพัฒนา ไปไกลกว่านั้น ตรงนี้ก็เป็นโอกาสที่เราจะเข้าไป อยู่ตรงนั้น ที่ส�ำคัญการจะสร้างสายพันธุ์เพื่อไปสู่ จุดนัน้ เราจ�ำเป็นต้องมีแบรนด์ แต่การจะมีแบรนด์ หรือสร้างแบรนด์ขนึ้ มา เราจะต้องออกแบบให้ตรง กับเทรนด์ของโลกโดยที่ไม่ยากจนเกินไป เช่น การสร้างสายพันธุ์ไก่ที่มีลักษณะของอาหารเพื่อ สุขภาพ ลดไขมัน ยูรกิ ต�ำ่ เลีย้ งด้วยระยะเวลาสัน้ ๆ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าเราจะพัฒนาสายพันธุ์ สัตว์ชนิดใด สิ่งส�ำคัญคือ สามารถตรวจสอบย้อน กลับได้ เพราะการที่สินค้าสามารถสอบย้อนกลับ ได้ จะท�ำให้การส่งออกท�ำได้สะดวก เพราะจะเป็น ทีย่ อมรับของผูบ้ ริโภค เนือ่ งจากสินค้าทีต่ รวจสอบ ได้จะการันตีว่าเป็นสินค้าที่เป็นของแท้ด้วย เช่น เนือ้ ไก่ทผี่ ลิตจากไก่พนื้ เมืองลูกผสมทีจ่ ะต้องตรวจ สอบย้อนกลับได้ว่าเป็นลูกผสม หรือไม่ หรือถ้า เป็นเนื้อวัว เป็นเนื้อวัวของสายพันธุ์นี้จริง หรือไม่ หรือจะเป็นเนื้อวัวสายพันธุ์อื่น หรือในกรณีของ ลูกชิน้ เนือ้ วัว เป็นเนือ้ วัวแท้ หรือมีเนือ้ กระบือผสม ปนเข้ามา เป็นต้น ดั ง นั้ น  โดยสรุ ป  การปรั บ ปรุ ง พั น ธุ ์ สั ต ว์ ทุกวันนี้ ไม่ใช่แค่ให้เป็นพันธุ์สัตว์ แต่หมายถึงว่า ผลผลิตสุดท้ายของการปรับปรุงพันธุ์สัตว์จะเพิ่ม มูลค่าได้ หรือไม่ มากน้อยเพียงใด บนพืน้ ฐานของ หลักการผลิตอันได้แก่ พันธุ์สัตว์ อาหาร การ จัดการ และการตลาด ที่ส�ำคัญต้องสามารถตรวจ สอบย้อนกลับได้ ดังนัน้ อนาคตถ้าเรามีการพัฒนา

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 185 มีนาคม - เมษายน 2562


คุณชยานนท์ กล่าวว่า จากประสบการณ์ ที่อยู่ในวงการปศุสัตว์มาถึง 40 ปี พบว่า ปัญหา เกษตรกรเป็นปัญหาที่เกิดซ�้ำไปซ�้ำมา นั่นเป็น เพราะส่วนหนึ่งอยู่ที่โครงสร้างการผลิต ข้อแรก ที่เราเห็นได้ชัดเจนคือ ปัญหาต้นทุนการผลิตสูง และการที่เราไม่มีวัตถุดิบทางเลือก ส่งผลท�ำให้ การผลิตของเราส่วนใหญ่อยู่ที่อาหารประมาณ 70% ถึงแม้ทกุ วันนีเ้ ราจะมีเทคโนโลยี มีการพัฒนา สูตรอาหาร จนท�ำให้ตน้ ทุนส่วนนีล้ ดต�ำ่ ลงกว่าเมือ่ ก่อน แต่เมือ่ เทียบกับต่างประเทศซึง่ อยูท่ ี่ 45% ก็ ถือว่ายังมีช่องห่างกันมาก แต่อย่างไรก็ดี สินค้าบางตัว เช่น ไก่เนื้อ ถึงแม้จะสามารถแข่งขันได้ทงั้ ๆ ทีต่ น้ ทุนสูเ้ ขาไม่ได้ โดยเฉพาะกับประเทศสหรัฐอเมริกานั้น ก็เป็น เพราะเราได้เปรียบในเรื่องของการตัดแต่งที่เรา เหนือกว่าเขา ท�ำให้เรายังคงสามารถแข่งขันในด้าน การส่งออกได้ แต่การทีต่ น้ ทุนอาหารเรายังสูงกว่า เขา อนาคตก็ยงั ไม่แน่ ดังนัน้  เรือ่ งนีภ้ าครัฐต้องให้ ความส�ำคัญ ต้องท�ำให้เกิดความเป็นธรรม โดย เฉพาะวัตถุดิบหลักอย่างข้าวโพดและกากถั่ว ที่จะ ต้องมีนโยบายทีช่ ดั เจนในการช่วยเหลือผูป้ ระกอบการอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์ด้วย เรือ่ งทีส่ องคือ ปัญหาเรือ่ งสายพันธุส์ ตั ว์ ที่ ทุกวันนี้สายพันธุ์หลักๆ ไม่ว่าจะเป็นไก่เนื้อ ไก่ไข่ ยังคงต้องอาศัยจากต่างประเทศ ขณะทีห่ มู แม้เรา

Market Leader

อยู่ตลอดเวลา ปศุสัตว์ไทยก็สามารถแข่งขันกับ เขาได้ แต่ถา้ ไม่มกี ารพัฒนา ไม่มคี วามร่วมมือของ ผู้ที่เกี่ยวข้อง ความหวังที่ปศุสัตว์ไทยโดยเฉพาะ สายพันธุส์ ตั ว์ ก็คงจะต้องอาศัยของต่างประเทศกัน ต่อไป เพราะฉะนั้น ปศุสัตว์ไทยจะสดใส หรือ ล่มสลาย ก็ขึ้นอยู่กับสิ่งที่เราท�ำกันวันนี้

จะมีการปรับปรุงพันธุใ์ ช้เอง แต่กย็ งั ไม่ได้สายพันธุ์ ที่ดีพอ เช่น ปรับปรุงให้ลูกดกได้ก็จริง แต่เต้านม แม่กลับไม่เพิม่ ตาม ท�ำให้ลกู หมูทคี่ ลอดออกมา มี เต้านมไว้ดดู กินไม่เพียงพอ ส่งผลต่อสุขภาพลูกหมู กลายเป็ น ปั ญ หาตามมา เป็ น ต้ น ดั ง นั้ น  การ ปรับปรุงพันธุ์ในปัจจุบันต้องรู้ว่าผู้บริโภคต้องการ อะไร แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องได้รับการสนับสนุนจาก รัฐบาล ไม่ว่าจะเป็นไก่เนื้อ ไก่ไข่ โคเนื้อ โคนม และสัตว์เศรษฐกิจอื่นๆ อีกเรือ่ งทีเ่ ป็นปัญหาก็คอื แรงงานคน และ การบังคับใช้แรงงาน ซึ่งตอนนี้ในส่วนของฟาร์ม เลี้ยงไก่เนื้อก�ำลังได้รับผลกระทบ และอนาคต เชื่อว่าคงจะกระทบในส่วนอื่นๆ ด้วย ทั้งไก่ไข่ หมู หรืออืน่ ๆ ทีต่ อ้ งใช้แรงงาน เพราะเป็นทีท่ ราบกันดี ว่า ทุกวันนีเ้ ราต้องอาศัยแรงงานจากประเทศเพือ่ น บ้าน แต่การที่กฎหมายบ้านเรายังมีมาตรฐานไม่ ดีพอ โดยเฉพาะกฎหมายในส่วนของฟาร์มไก่เนือ้ ทีย่ งั ไม่ดพี อเมือ่ เทียบกับของยุโรป ซึง่ อาจมีปญ ั หา ในเรือ่ งการส่งออก หรือในส่วนของฟาร์มหมูกค็ วร จะศึกษาตรงนี้เอาไว้ด้วย ปัญหาสิง่ แวดล้อม เป็นอีกปัญหาทีเ่ ราก�ำลัง เผชิญ จากเดิมการท�ำฟาร์มสามารถท�ำได้ทุกที่ ที่ดินตรงไหนถูกก็ซื้อมาสร้างฟาร์ม แต่วันนี้กลับ กลายเป็นว่ามีหมูบ่ า้ นล้อมรอบเต็มไปหมด สุดท้าย กลายเป็นว่าฟาร์มไปสร้างปัญหาให้กบั ชุมชน หรือ ทุกวันนี้การสร้างฟาร์มแม้จะอยู่ที่ห่างไกล แต่ ก่อนสร้างก็ต้องมีการท�ำประชาพิจารณ์ ซึ่งเรื่อง เหล่านี้เราต้องท�ำความเข้าใจกับพวกเขาให้มาก โดยเฉพาะกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ ต้องให้ เข้าใจว่าเรามาสร้างรายได้ สร้างงาน สร้างอาชีพ ให้กับชุมชน ไม่ใช่มาสร้างปัญหา

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 185 มีนาคม - เมษายน 2562

51


Market Leader

แต่ที่ถือว่าเป็นปัญหาใหญ่มากๆ เลย เมื่อ เทียบกับปัญหาต่างๆ ที่กล่าวมาคือ ฐานข้อมูล ด้านปศุสตั ว์ ทีบ่ างชนิดไม่ทราบว่ามีจำ� นวนเท่าไร กันแน่ ในไก่เนื้ออาจจะชัดเจน แต่กับหมู หรือ ไก่ไข่อาจจะไม่ชัดเจน และเมื่อเกิดปัญหาขึ้นมา ก็ไม่รู้จะแก้กันยังไง เพราะบางทีฐานข้อมูลการ บริโภคก็ไม่ชัดเจนเช่นกัน ทุกวันนี้ ยังไม่มีใครรู้ ว่าไก่เนื้อที่ผลิตได้ไปที่ไหนบ้าง มากน้อยแค่ไหน เมือ่ เกิดปัญหา สิง่ ทีท่ ำ� ได้คอื ลดการผลิต ซึง่ อาจจะ ไม่ถูกต้องมากนัก เพราะบางทีก�ำลังการผลิตอาจ จะไม่ได้มากมายอย่างที่คิด อาจจะเกิดจากปัจจัย อืน่ ด้วยก็ได้ แต่เนือ่ งจากเราไม่มฐี านข้อมูลเหล่านี้ หรือมี แต่ไม่ตรงกัน ราชการไปทาง เอกชนไปทาง กว่าจะคุยกว่าจะหาข้อมูลที่ชัดเจนตรงกันก็ล่าช้า ออกไป ดังนั้น เรื่องฐานข้อมูลต้องรีบเร่งท�ำความ เข้าใจให้ตรงกัน โรคระบาด เป็ น อี ก ปั ญ หาที่ เ ราไม่ อ าจ หลีกหนีไปได้ ท�ำให้ทุกวันนี้มีการพูดกันมากใน ส่วนของการใช้ยา การดื้อยา จากการใช้ยาเพื่อ

52

ควบคุมโรค รักษาโรค แต่ที่พูดกันมากเวลานี้ คือ โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร ซึ่งยังไม่เกิดใน บ้านเรา แต่ถ้าเกิดพร้อมกับกระแสเรื่องการลด ใช้ยาปฏิชีวนะ ถามว่าจะเกิดอะไรขึ้น เราจะท�ำ อย่างไรกัน เพราะถ้าพูดถึงการควบคุมโรคก็จะตาม มาด้วย การลดการใช้ยาแบบนัน้ แบบนี้ แต่ไม่เคย มีโรคแบบว่าจะท�ำอย่างไรกัน ไม่มีการบอกอะไร เกษตรกรเลยโดยเฉพาะกับรายย่อย เรื่องนี้ก็คง ต้องอาศัยนักวิชาการเพื่อให้เป็นแนวทางเดียวกัน การน�ำเข้าผลิตภัณฑ์จากต่างประเทศ ซึ่ง ไม่ใช่เฉพาะเรือ่ งเนือ้ หมูจากอเมริกา แต่หมายรวม ไปถึงพวกเครื่องในด้วย ซึ่งตอนนี้ยังไม่มีข้อมูล ทีช่ ดั เจนว่า จริงๆ แล้ว เครือ่ งในเหล่านีม้ าจากไหน กันแน่ เอามาแล้วไปที่ไหนบ้าง และกระจายไป ในรูปแบบไหน เพราะจุดเสี่ยงเรื่องพวกนี้คือการ น�ำโรคเข้ามาด้วย ส่วนเรื่องของการน�ำเข้าเนื้อหมู จากอเมริกาก็คงเป็นเรือ่ งทีเ่ ราจะต้องต่อสูก้ นั ต่อไป โดยเฉพาะการหาข้อมูลที่มันชัดเจนมาต่อสู้

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 185 มีนาคม - เมษายน 2562


Market Leader เรื่องอื่นที่อาจจะไม่ใช่ปัญหา แต่เป็นเรื่องที่เราจะต้องช่วยกันคิด เช่น การที่ ไทยเป็นครัวของโลก ซึ่งจริงๆ แล้วยังไม่มีความชัดเจนในรายละเอียด ไม่มีรูปธรรม ที่ชัดเจน ได้แต่บอกว่าเราจะเป็นครัวของโลก แต่แบบแผนว่า ใครจะเป็น ใครจะท�ำ ไม่มีเลย นอกจากนี้ ยังมีเรื่องของการสื่อสารกับผู้บริโภคที่ยังไม่ชัดเจนเช่นกัน หลายๆ คนยังเข้าใจการเลี้ยงสัตว์แบบผิดๆ เช่น เข้าใจว่ายังใช้ฮอร์โมน หรือสาร เร่งการเจริญเติบโต หรือแม้แต่การใช้ยาปฏิชีวนะที่ปลอดภัยที่หลายๆ คนก็ยังว่า เราใช้กันอย่างฟุ่มเฟือย ทั้งที่จริงๆ แล้ว เรามีขั้นตอนการใช้ที่ถูกต้อง ไม่ตกค้าง ไปถึงผู้บริโภค หรือแม้แต่เรื่องของการกินไข่ที่ผู้บริโภคยังเข้าใจว่ากินมากไม่ดี “ทั้งหมดนี้ก็คือปัญหาที่เป็นปัญหาเชิงโครงสร้าง ซึ่งพวกเราต้องช่วยกัน หาทางแก้ไขปัญหาด้วยกัน ไม่ว่าจะใช้เวลานานแค่ไหน ที่ส�ำคัญ เวลาที่มีปัญหา หรือปัญหาเบาบางลงก็พากันลืม เช่น เรือ่ งของราคา มักจะกลายเป็นวงจรทีห่ มุน เวียนแบบนี้ตลอด ท�ำให้พวกเราไม่มีพลังเพียงพอที่จะคุยกับภาครัฐ ดังนั้น จึง อยากให้ผู้เกี่ยวข้องทั้งหลายได้ช่วยกันแก้ไข ถ้าหากยังเป็นแบบนี้ต่อไป ค�ำถาม ทีว่ า่ จะล่ม หรือไม่ ก็ขนึ้ อยูก่ บั โครงสร้างปัญหาทีก่ ล่าวมา ว่าจะมองทะลุ หรือไม่” คุณชยานนท์ กล่าวทิ้งปิดท้าย

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 185 มีนาคม - เมษายน 2562

53


Market Leader

เกษตรแจง ข้าวโพดประชารัฐ ไม่ใช่ต้นเหตุเกิดจุดความร้อน จากการน�ำเสนอ เรือ่ ง “โครงการสานพลังประชารัฐเพือ่ สนับสนุนการปลูก ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังการท�ำนา” เป็นสาเหตุของการที่ท�ำให้เกิดจุดความร้อน ในปีนนี้ นั้ นายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีวา่ การกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ชแี้ จง ข้อเท็จจริงดังนี้ โครงการสานพลังประชารัฐเพื่อสนับสนุนการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์นั้น เป็นการสนับสนุนให้ชาวนาปลูกข้าวโพดในช่วงเดือน พ.ย. - ธ.ค. 61 ซึง่ เป็นช่วงหลัง ฤดูท�ำนา ประกอบกับโครงการดังกล่าวมีเป้าหมายให้ชาวนาลดพื้นที่ท�ำนาปรัง มาปลูกข้าวโพดทดแทนเพื่อรักษาปริมาณผลผลิตข้าวไม่ให้ล้นตลาด “โดยพื้นที่ ปลูกข้าวโพดจึงอยู่ในพื้นที่ท�ำนาข้าวเดิมซึ่งเป็นที่ราบ ไม่ใช่พื้นที่ป่าเขาแต่อย่างใด” ประกอบกับชาวนาทีเ่ ข้าร่วมโครงการต้องลงทะเบียนการปลูกข้าวโพดก่อน เพราะรัฐ มีโครงการช่วยท�ำประกันภัยพืชผลให้ไร่ละ 65 บาท จึงท�ำให้สามารถตรวจสอบ บริเวณ และจ�ำนวนพืน้ ทีป่ ลูกข้าวโพดได้ชดั เจน ซึง่ สามารถยืนยันการปลูกได้จำ� นวน 724,931ไร่ เกษตรกร 87,563 ราย ใน 37 จังหวัดที่เข้าร่วมโครงการฯ ตามความ เหมาะสมของพื้นที่ ไม่ได้เป็นจ�ำนวนล้านไร่ตามที่อ้างถึงแต่อย่างใด ที่มา : ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2562

54

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 185 มีนาคม - เมษายน 2562


Market Leader

รวมทั้งโครงการเสริมพลังประชารัฐเพื่อสนับสนุนการปลูกข้าวโพดครั้งนี้ รัฐ ไม่ได้อุดหนุนให้ชาวนาไร่ละ 2,000 บาท ไม่เกิน 15 ไร่ต่อครัวเรือนเหมือน ปีก่อนๆ แต่ได้ปรับเปลี่ยนมาเป็นรัฐประสานงานกับสมาคมผู้ค้าอาหารสัตว์ให้เข้า ไปรับซื้อข้าวโพดผ่านสหกรณ์การเกษตร ซึ่งเป็นสถาบันเกษตรแทนการสนับสนุน เงินงบประมาณไร่ละ 2,000 บาท นอกจากนี้ ยังปรากฏข้อเท็จจริงจากรายงานของส�ำนักงานพัฒนาเทคโนโลยี อวกาศและภูมสิ ารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA ได้ใช้ภาพถ่ายดาวเทียม และเครื่องมือวัดจุดความร้อนด�ำเนินการตรวจสอบพื้นที่ก�ำหนดจุดความร้อน (hot spot) แล้วไม่ปรากฏว่ามีจุดความร้อนเกิดขึ้นในพื้นที่โครงการเสริมพลังประชารัฐ เพื่อสนับสนุนการปลูกข้าวโพดหลังนาแต่อย่างใด ดังนัน้ จึงเห็นได้วา่ โครงการสานพลังประชารัฐฯ จึงไม่ใช่สาเหตุของการเกิด จุดความร้อน ในทางตรงข้าม ปีนชี้ าวนาทีเ่ ข้าร่วมโครงการฯ จะมีรายได้จากการขาย ข้าวโพดเลีย้ งสัตว์อย่างยัง่ ยืน เนือ่ งจากไม่มปี ญ ั หาผลผลิตล้นตลาด นับเป็นการเริม่ ปฏิรูปภาคการเกษตรตามแนวทางการตลาดน�ำการผลิตที่เกษตรกร ลงมือท�ำ แล้วมั่นใจว่าจะมีตลาดรองรับผลผลิต ไม่ต้องเรียกร้องให้รัฐบาลไปช่วยอุดหนุน หรือชดเชยต้นทุนการผลิตในรูปโครงการรับจ�ำน�ำ หรือประกันราคาผลผลิตที่ใช้ งบประมาณรัฐจ�ำนวนมากเหมือนในอดีตที่ผ่านมา

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 185 มีนาคม - เมษายน 2562

55


Market Leader

เปิดตัว Zero Burn

เกษตรปลอดการเผา

มลพิษที่เกิดจากฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน หรือ PM 2.5 เป็นปัญหาทีม่ กั จะเกิดขึน้ เป็นประจ�ำทุกปี ซึง่ เกิดจากหลาย สาเหตุ ส่วนหนึง่ มาจากการเผาในทีโ่ ล่งกว่า 50% โดยเฉพาะในพืน้ ที่ 9 จังหวัดภาคเหนือตอนบน สถานการณ์จะหนักในช่วงพฤศจิกายน ถึงพฤษภาคม ส่วนในภาคกลางมักจะได้รับผลกระทบจากการเผา ตอซังในนาข้าว เนื่องจากเป็นแหล่งปลูกข้าวในเขตชลประทาน ที่ท�ำนาปีละ 2 ครั้ง ซึ่งปัญหาดังกล่าว ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ และการด�ำเนินชีวิตประจ�ำวันของประชาชน เพื่อลดปัญหาการเผา จากภาคการเกษตร จึงได้ก�ำหนดแนวทางปฏิบัติให้สอดคล้องกับ นโยบายและมาตรการต่างๆ ของรัฐบาลทีด่ ำ� เนินมาอย่างต่อเนือ่ ง เช่น การด�ำเนินการควบคุมการเผาตอซังข้าวในพื้นที่เกษตรกรรม และ ควบคุมการเผาในที่โล่ง ล่าสุดกรมการข้าว กรมส่งเสริมการเกษตร กรมพัฒนาที่ดิน กรมวิชาการเกษตร ได้รับความร่วมมือจาก บริษัท สยามคูโบต้า คอร์ปอเรชั่น จ�ำกัด จัดตั้งโครงการ Zero Burn เกษตรปลอดการเผา ขึ้น เพื่อส่งเสริมเกษตรกรไทยท�ำการเกษตรแบบไม่เผา ด้วยเครื่อง จักรกลการเกษตรอย่างครบวงจรในพืชที่กระทรวงดูแลรับผิดชอบอยู่ ได้แก่ ข้าว และข้าวโพด โดยตั้งเป้าพื้นที่เกษตรของไทยกว่า 140 ล้านไร่ ให้เป็นเกษตรปลอดการเผา 100% ภายใน 3 ปี ที่มา : เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2562

56

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 185 มีนาคม - เมษายน 2562


ส�ำหรับโครงการ Zero Burn เกษตรปลอด การเผา ตอนชาวนาไทยไร้ฝนุ่ ควัน จะเป็นการเข้าไป ให้ความรู้แก่เกษตรกรชาวนาในการเก็บเกี่ยวข้าว หลังฤดูกาลเพาะปลูก รวมถึงการท�ำเกษตรปลอด การเผาด้วยการไถกลบตอซัง และน�ำฟางข้าว ที่เหลือทิ้ง มาอัดเป็นฟางก้อน เพิ่มรายได้ให้แก่ เกษตรกรด้วยเครือ่ งจักรกลการเกษตร โดยจะเน้น ในพืน้ ทีเ่ กษตรทีม่ กี ารเผาสูง หรือจุด Hotspot 10 จังหวัดทัว่ ประเทศ เพือ่ ยับยัง้ การเกิดจุดความร้อน เพิ่มขึ้น และช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทาง อากาศ

Market Leader

นายประสงค์ ประไพตระกูล อธิบดีกรม การข้าว กล่าวว่า ประเทศไทยมีพนื้ ทีป่ ลูกข้าวปีละ ประมาณ 70 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 46.40 ของ พื้นที่ท�ำการเกษตร ในแต่ละปีมีฟางข้าวเหลือทิ้ง ในนาเฉลี่ย 27 ล้านตัน และมีตอซังข้าวที่ตกค้าง อยู่ในนาข้าวประมาณ 18 ล้านตัน ซึ่งฟางข้าว และตอซังข้าวเป็นวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรที่มี ปริมาณมากทีส่ ดุ เมือ่ เทียบกับตอซังพืชอืน่ โดยใน พื้นที่ปลูกข้าว 1 ไร่ มีปริมาณฟางข้าว และตอซัง โดยเฉลี่ยปีละ 650 กิโลกรัม นับเป็นปัจจัยหลัก ที่เกษตรกรส่วนมากนิยมเผาตอซังข้าวเพื่อให้เกิด ความสะดวกในการไถเตรียมดิน ง่ายต่อการก�ำจัด วัชพืช และแมลงศัตรูพืช ซึ่งวิธีดังกล่าวจะท�ำให้ โครงสร้างของดินเปลี่ยนไป สูญเสียอินทรียวัตถุ และธาตุอาหารในดิน คิดเป็นมูลค่ากว่า 5 พันล้าน บาทต่อปี แต่หากเปลี่ยนเป็นวิธีไถกลบตอซังข้าว ในพื้นที่ 1 ไร่ จะเป็นการเพิ่มธาตุอาหารหลัก ลงในดิน ได้แก่ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และ โพแทสเซียม คิดเป็นมูลค่า 900 บาท/ไร่ ซึ่งช่วย ให้เกษตรกรลดต้นทุนการใช้ปุ๋ยเคมีลงได้ อีกทั้ง ท�ำลายจุลินทรีย์ และแมลงที่เป็นประโยชน์

นายสมศั ก ดิ์ มาอุ ท ธรณ์ กรรมการรองผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัท สยามคูโบต้า คอร์ปอเรชั่น จ�ำกัด กล่าวถึงที่มาของโครงการ Zero Burn เกษตรปลอดการเผา ว่าบริษัทฯ ได้ ตระหนักถึงความส�ำคัญของการแก้ไขปัญหาใน ภาคการเกษตรอย่างเร่งด่วน จึงได้ร่วมมือกับ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จัดโครงการ “Zero Burn เกษตรปลอดการเผา” ขึ้น เพื่อรณรงค์ให้ เกษตรกรท�ำการเกษตรแบบไม่เผา ในพืชเศรษฐกิจ หลัก ได้แก่ ข้าว อ้อย และข้าวโพด พร้อมลง พื้นที่สนับสนุนการท�ำเกษตรด้วยเครื่องจักรกล การเกษตรแบบครบวงจร และให้ความรู้ในด้าน ต่างๆ ไม่วา่ จะเป็นการเพิม่ รายได้จากวัสดุเหลือใช้ ทางการเกษตร รวมถึ ง ส่ ง เสริ ม ให้ เ กษตรกร ตระหนักถึงความส�ำคัญของอินทรียวัตถุ การรักษา ความชื้นในดิน เพื่อการท�ำเกษตรอย่างยั่งยืนด้วย องค์ความรู้ KUBOTA (Agri) Solutions เกษตร ครบวงจร ซึ่งจะช่วยเพิ่มผลผลิต และรายได้ให้ เกษตรกรมากขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ โดยจะใช้ ระยะเวลาด�ำเนินงานร่วมกันในทุกภาคส่วน 3 ปี หลังจากนี้ เพื่อให้ประเทศไทยเป็นพื้นที่เกษตร ปลอดการเผา 100% ต่อไป

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 185 มีนาคม - เมษายน 2562

57


Around the World

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดงาน

ประชุมวิชาการนานาชาติทางสัตวแพทย์ และการเลี้ยงสัตว์ ครัง ้ ที่ 43

(The 43rd International Conference on Veterinary Science: ICVS 2019)

นายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีวา่ การกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานพิธีเปิดการประชุมวิชาการนานาชาติทางสัตวแพทย์ และการเลีย้ งสัตว์ ครัง้ ที่ 43 ระหว่างวันที่ 6 - 8 มีนาคม 2562 (The 43 rd International Conference on Veterinary Science: ICVS 2019) ณ โรงแรม เซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัล พลาซ่า ลาดพร้าว กรุงเทพฯ โดยมี นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ ศ.นายสัตวแพทย์ ดร.เผด็จ ธรรมรักษ์ ประธานคณะกรรมการจัดการประชุม วิชาการนานาชาติทางสัตวแพทย์และการเลี้ยงสัตว์ ครั้งที่ 43 นายสัตวแพทย์ สมชวน รัตนมังคลานนท์ นายกสัตวแพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ให้การต้อนรับ ในโอกาสนี้ ประธานได้มอบรางวัลแก่สัตวแพทย์ตัวอย่างประจ�ำปี 2561 จ�ำนวน 5 ราย และมอบโล่ประกาศเกียรติคุณแก่ผู้สนับสนุนการจัดการประชุม วิชาการฯ จ�ำนวน 19 ราย และมอบทุนการศึกษาแก่นสิ ติ นักศึกษาคณะสัตวแพทยศาสตร์ 9 สถาบัน จ�ำนวน 9 ราย

ที่มา : วารสารข่าวปศุสัตว์ เดือนกุมภาพันธ์ 2562 - มีนาคม พ.ศ. 2562

58

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 185 มีนาคม - เมษายน 2562


Around the World การจัดงานครัง้ นีม้ ผี เู้ ข้าร่วมประชุม ประกอบด้วยนักวิชาการ นักวิจัย ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ปฏิบัติงาน รวมทั้งผู้ประกอบการธุรกิจด้าน สถานพยาบาลสัตว์ เวชภัณฑ์ อาหารสัตว์ พันธุส์ ตั ว์ ทัง้ ระดับฟาร์ม และเชิงอุตสาหกรรม และด้านการแปรรูปผลิตภัณฑ์สัตว์ จ�ำนวน กว่า 700 ราย โดยมีวตั ถุประสงค์เพือ่ ให้เป็นเวทีแลกเปลีย่ นความรู้ ความคิดเห็น ประสบการณ์ และมุ่งเน้นการประสานความร่วมมือ ทัง้ ด้านวิชาการ และเทคโนโลยีในระดับชาติและนานาชาติ รวมถึง เป็นช่องทางน�ำเสนอความก้าวหน้าด้านวิชาการของสัตวแพทย์ไทย ต่อเพือ่ นสมาชิกสัตวแพทย์ทงั้ ชาวไทย และชาวต่างประเทศ ซึง่ ในปีนี้ ได้จดั ขึน้ ภายใต้แนวคิด “70 ปี สัตวแพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ : การเฉลิมฉลองแห่งความส�ำเร็จ” มีผลงาน วิชาการที่มาร่วมน�ำเสนอรวม 85 เรื่อง หัวข้อสัมมนา 3 เรื่อง ได้ รับเกียรติจากวิทยากรรับเชิญซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญทั้งชาวไทย และ ชาวต่างประเทศ ผูเ้ ชีย่ วชาญจากองค์การอาหารและการเกษตรแห่ง สหประชาชาติ (FAO) และองค์กรสุขภาพสัตว์โลก (OIE) ทั้งนี้ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของวิชาชีพสัตวแพทย์ ทั้งด้านสุขภาพ สัตว์และผลิตสัตว์ น�ำไปสู่การพัฒนาปศุสัตว์ของประเทศให้เจริญ ก้าวหน้าเป็นที่ยอมรับในภูมิภาคอาเซียน และทั่วโลกอย่างยั่งยืน

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 185 มีนาคม - เมษายน 2562

59


Around the World

โรค ขี้ขาว กับ สาเหตุ? สมมติฐานในการเกิดโรคขี้ขาวอันเกี่ยวเนื่องกับการติดเชื้อ จากการตรวจสอบเฝ้าระวังโรค และงานวิจัยล่าสุดในปี 2561 และผลกระทบจากความเสื่อมโทรมของสภาวะแวดล้อมในการเลี้ยงกุ้ง อาการขี้ ข าวที่ เ กิ ด ขึ้ น ในกุ ้ ง เป็ น กลุ ่ ม อาการที่แสดงออกภายนอกที่เป็นผลตามหลัง จากปัญหาต่างๆ ที่สามารถพบได้หลายรูปแบบ มากในการเลี้ยงกุ้ง ปัจจุบันยังไม่ทราบว่าอะไร คือสาเหตุที่แท้จริงของโรคขี้ขาว ดังนั้น การให้ ข้อมูลเรือ่ งการเกิดโรคขีข้ าวทัง้ หมด จึงเป็นข้อมูล ทีเ่ ป็นสมมติฐาน (Hypothesis) และมาจากการ สังเกต (Observation) แทบทั้งสิ้น โรคขี้ขาวที่พบในกุ้งมีมานานแล้ว ตั้งแต่ 20 - 30 ปีที่ผ่านมา ในช่วงที่มีการเลี้ยงกุ้งกุลาด�ำ โดยกลุม่ อาการโรคขีข้ าวในช่วงเวลานัน้ มักมีความ สัมพันธ์กบั สภาวะแวดล้อมทีเ่ สือ่ มโทรมไปกับการ ติดเชื้อแบคทีเรียหลากหลายชนิด เช่น สภาวะ พื้นบ่อที่เน่าเสีย มีเลนสะสมมากที่ก้นบ่อ เลน มีกลิ่นเหม็นเน่า มีสีด�ำสกปรก หรือมีของเสีย และก๊าซพิษ เช่น แอมโมเนีย ไนไตรท์ และ ไฮโดรเจนซัลไฟด์ ในบ่อสูง หรือสภาวะที่เครื่อง ให้อากาศมีไม่เพียงพอ ถ่ายน�ำ้ ไม่ได้ สีนำ�้ เข้ม หรือ น�้ำข้นหนืด มีแพลงก์ตอนบลูม และตายจ�ำนวน

มาก มีสารอินทรีย์สูง ซึ่งเป็นปัจจัยที่ท�ำให้เชื้อ แบคที เ รี ย ในบ่ อ และน�้ ำ มี ป ริ ม าณมาก และกุ ้ ง เกิดการติดเชือ้ จากการตรวจวัดสภาพการเน่าเสีย ของพื้นบ่อด้วยเครื่องโออาร์พี (Oxidation Reduction Potential Probe: ORP) พบว่า ส่วนใหญ่ บ่อที่มีค่าโออาร์พีที่พื้นบ่อติดลบมากๆ สัมพันธ์ กับสภาพไร้ออกซิเจนที่พื้นบ่อ เนื่องจากเครื่องให้ อากาศลงไปถึงพืน้ ได้ไม่ดพี อ สภาวะเหล่านีส้ มั พันธ์ กับกลุ่มอาการของโรคขี้ขาวในช่วงเวลานั้นอย่าง ชัดเจน เราจึงใช้เครื่องมือดังกล่าวเป็นตัวบ่งบอก สภาพความเสื่อมโทรม การเน่าเสีย ไร้ออกซิเจน ของพื้นบ่อและน�้ำ เพื่อใช้ในการควบคุมโรคขี้ขาว ร่วมกับการควบคุมปริมาณเชื้อแบคทีเรียทั้งในบ่อ และในน�้ำ กลุ่มอาการโรคขี้ขาวที่เคยพบทั้งในอดีต และปัจจุบนั มักจะมีลกั ษณะความเสียหายทีเ่ กิดขึน้ คล้ายคลึงกัน เช่น ท�ำให้กุ้งมีอัตรารอดต�่ำลงกว่า ปกติประมาณร้อยละ 30 - 50 กุ้งมีสุขภาพไม่ดี สามารถสังเกตดูลักษณะภายนอกได้ โดยพบว่า

ที่มา : ข่าวกุ้ง ฉบับที่ 366 - 367 เดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ 2562

60

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 185 มีนาคม - เมษายน 2562


ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดโรค ขี้ขาวที่พบในปัจจุบน ั จากการตรวจสอบเฝ้าระวังโรคอย่างต่อ เนื่องของศูนย์วิจัยสุขภาพสัตว์น�้ำ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จ�ำกัด (มหาชน) ทีต่ รวจตัวอย่าง กุ้งเป็นจ�ำนวนมากในแต่ละวัน และจากงานวิจัย ด้านโรคกุง้ ทีเ่ กิดขึน้ ใหม่ๆ ของนักวิจยั ต่างๆ ทัว่ โลก พบว่า กลุ่มอาการของโรคขี้ขาวที่เกิดขึ้นมีความ เกี่ยวข้อง และความสัมพันธ์กับ 3 สาเหตุหลักๆ ดังต่อไปนี้ 1. เชื้ออีเอชพี (Enterocytozoon hepatopenaei, EHP) มี ก ารตรวจพบเชื้ อ อี เ อชพี จ�ำนวนมากในตับกุ้ง โดยพบว่ากลุ่มอาการโรค ขี้ขาวในปัจจุบันมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับ การติดเชื้ออีเอชพี โดยประมาณมากกว่าร้อยละ 80 - 90 ของกุ้งที่มีความใกล้เคียงกับเชื้อรา ไม่ สามารถสร้างพลังงานได้เอง สามารถผลิตสปอร์ ที่มีเปลือกหนา 2 ชั้น เพื่อให้เชื้อมีความทนทาน

Around the World

กุ้งมีความอ่อนแอมาก กินอาหารลดลง ตัวนิ่ม ซีดขาว กรอบแกรบ และเปลือกหลวม ทัง้ นี้ ขึน้ อยู่ กับความรุนแรงและปริมาณของเชือ้ โรคทีต่ รวจพบ ขนาดของกุง้ ทีเ่ กิดปัญหา ระยะเวลาในการติดเชือ้ โรคต่างๆ รวมทั้งสภาวะความเสื่อมโทรมของ สิง่ แวดล้อมของการเลีย้ งทีเ่ กิดปัญหา ซึง่ ในปัจจุบนั ชนิดของกุ้งที่เลี้ยง สภาวะแวดล้อม และความ เสือ่ มโทรมของสภาวะแวดล้อมมีการเปลีย่ นแปลง ไปจากเดิมมากเมือ่ เทียบกับอดีตทีผ่ า่ นมา รวมถึง วิธีการเลี้ยงที่ต้องประยุกต์และปรับเปลี่ยนตลอด เวลา ท�ำให้กุ้งที่มีกลุ่มอาการโรคขี้ขาวในปัจจุบัน มีสมมติฐาน และสาเหตุของการเกิดโรคทีแ่ ตกต่าง ไปจากเดิมด้วยเช่นกัน

รูปที่ 1 สมมติฐานการเกิดกลุ่มอาการโรคขี้ขาวในกุ้ง จากผลการตรวจสอบเฝ้าระวังโรค

เชื้อไมโครสปอร์รเิ ดียน อีเอชพี

เชื้อแบคทีเรีย ทั้งแบบใช้ และ ไม่ใช้ออกซิเจน

ความเสื่อมโทรม พื้นบ่อ และสภาพน้�ำ สิ่งแวดล้อม ที่ท�ำให้กุ้งเครียด

All right reserved by CPG Aquatic animal health care products specialist and solution provider, 2017, Thailand

และคงอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้นานหลายเดือนจน นับปี เมือ่ สปอร์ตดิ ทีต่ บั กุง้ จากการกินตะกอน หรือ สิง่ หมักหมมทีม่ สี ปอร์เกาะอยู่ สปอร์จะขยายพันธุ์ เพิ่มจ�ำนวนจนเต็มที่ในเซลล์ ซึ่งมีรายงานว่าใช้ เวลาหลายสัปดาห์ และจะท�ำให้เซลล์ที่ติดเชื้อ ถูกท�ำลาย เนื้อเยื่อเซลล์เหล่านั้นจะสูญเสียหน้าที่ สปอร์จะถูกขับออกมาจากตับกุง้ และหลุดออกมา กับขี้กุ้ง สามารถล่องลอยในน�้ำได้ และแขวนลอย หรือจับรวมตัวกับตะกอนในน�้ำในบ่อเลี้ยงกุ้งได้ เป็นเวลานาน หากเราไม่สามารถจัดการกับตะกอน ในบ่อเลี้ยงกุ้งได้ การลุกลามของโรคก็จะเพิ่มขึ้น อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในบ่อที่มีกุ้งหนาแน่น เชือ้ ชนิดนีม้ กั โจมตีกงุ้ ทีอ่ อ่ นแอ และมีภมู คิ มุ้ กันต�ำ่ โดยมีช่องทางที่ส�ำคัญในการติดกุ้งส่วนใหญ่ผ่าน ทางการกินเป็นหลัก (Oral Route Infection) กุ้งที่ติดเชื้อจะมีอาการเบื่ออาหาร อ่อนแอ และอาจพบอาการแทรกซ้อนหลายๆ อย่างได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มักจะมีการติดเชื้อแบคทีเรีย แทรกซ้อน จากการตรวจสอบโรคทางเนื้อเยื่อ

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 185 มีนาคม - เมษายน 2562

61


Around the World

ภายใต้กล้องจุลทรรศน์ (Histopathology) พบว่า เชื้ออีเอชพีที่เจริญเติบโตเต็มที่จะท�ำให้เซลล์แตก และเกิดการลอกหลุดของเซลล์ผนังท่อตับ และ รวมตัวกันกลายเป็นขี้ขาว ที่อาจมีทั้งเศษของเนื้อ เยื่อท่อตับที่ถูกท�ำลายเสียหาย และเป็นที่เกาะยึด ของสปอร์ ซึ่งก็เป็นส่วนหนึ่งที่เป็นสมมติฐานว่า เชื้ออีเอชพีที่ติดกุ้งเป็นจ�ำนวนมากเหล่านี้อาจท�ำ ให้เกิดกลุ่มอาการขี้ขาวได้ กลุ่มอาการโรคขี้ขาวที่มีการติดเชื้ออีเอชพี ร่วมอยู่ด้วยในตับกุ้ง มักจะมีอาการโตช้า แคระ แกร็น ตัวผอม ขนาดเล็ก แตกไซส์ เปลือกหลวม กรอบแกรบ ตัวนิม่ ซีดขาว มีอตั ราการเจริญเติบโต เฉลี่ยต่อวัน (ADG) ต�่ำ และมีอัตราการแลกเนื้อ (FCR) สูงร่วมด้วยเสมอๆ นับว่าเป็นความเสียหาย ที่ร้ายแรงซึ่งเป็นผลกระทบมาจากเชื้ออีเอชพี กุ้ง ทีม่ กี ลุม่ อาการโรคขีข้ าวในลักษณะแบบนี้ หากเรา บริหารจัดการด้านความเสือ่ มโทรมของบ่อ และน�ำ้ บริหารการกินอาหารของกุง้ ให้ดขี นึ้ เช่น ลดความ หนาแน่น เพิ่มเครื่องให้อากาศ ถ่ายน�้ำ และก�ำจัด ของเสียและตะกอนให้มากขึ้น ควบคุมคุณภาพ น�้ำให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม และลดปริมาณ สารพิษในบ่อให้ลดลง ก็จะพบว่ากลุ่มอาการขี้ขาว อาจลดลงชั่วคราวได้ แต่ถ้าหากต้นเหตุที่แท้จริง เช่น เชือ้ อีเอชพียงั คงติดภายในเซลล์ตบั กุง้ อาการ แทรกซ้อนต่างๆ รวมถึงอาการขีข้ าวก็อาจวนเวียน กลับมาเกิดขึน้ ใหม่ได้อกี เกษตรกรจึงมักพบปัญหา ขาดทุน เพราะไม่สามารถจับกุ้งได้ตามเป้าหมาย ที่ตั้งไว้ และไม่สามารถเลี้ยงเป็นกุ้งไซส์ใหญ่ได้ กลุม่ อาการขีข้ าวประเภทนี้ ไม่สามารถรักษาให้หาย อย่างเด็ดขาดได้ด้วยการจัดการอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือจากการใช้ยาปฏิชีวนะ

62

2. ตรวจพบการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนร่วมด้วย กุ้งที่มีอาการโรคขี้ขาวมักพบการ ติดเชือ้ แบคทีเรียประมาณร้อยละ 10 - 20 โดยเชือ้ แบคทีเรียที่พบอาจเป็น 2.1 แบคทีเรียแบบทีใ่ ช้ออกซิเจน (Aerobic or Facultative Bacteria) เช่น เชือ้ แบคทีเรีย วิบริโอ พาราฮีโมไลติคสั (V. parahaemolyticus) สายพันธุ์ AHPND ทีก่ อ่ โรคอีเอ็มเอส พบว่า สารพิษ จากแบคทีเรียประเภทนี้สามารถท�ำให้เกิดกลุ่ม อาการขีข้ าวได้ดว้ ยเช่นกัน จากการตรวจกุง้ ทีป่ ว่ ย เป็นโรคอีเอ็มเอสทั้งแบบรุนแรง แบบเรื้อรัง หรือ ติดเชื้อแบบเล็กน้อย ด้วยเครื่องพีซีอาร์ร่วมกับ การตรวจสอบทางเนื้อเยื่อภายใต้กล้องจุลทรรศน์ สันนิษฐานว่าปริมาณสารพิษจากเชื้อแบคทีเรีย วิบริโอ พาราฮีโมไลติคสั สายพันธุ์ AHPND สามารถ ท�ำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเซลล์บุผนังท่อตับ อย่างเฉียบพลัน และเกิดการลอกหลุดออกมา ผ่าน จากตับสู่ล�ำไส้ จนเนื้อเยื่อเหล่านั้นมารวมตัวกัน ในล�ำไส้ เกิดเป็นขี้ขาว จึงเป็นอีกหนึ่งสมมติฐาน ว่า การติดเชื้อแบคทีเรียอีเอ็มเอส สามารถท�ำให้ เกิดกลุ่มอาการขี้ขาวได้ด้วย นอกจากนี้ เชื้อแบคทีเรียแกรมลบในกลุ่ม วิบริโอชนิดอื่นๆ ก็สามารถพบได้หลายชนิด เช่น วิบริโอ ฮาวิอาย (V. harveyi) วิบริโอ วัลนิฟิคัส (V. vulnificus) วิบริโอ อัลจิโนไลติคสั (V. alginolyticus) วิบริโอ ฟลูเวียลิส (V. fluvialis) และวิบริโอ แองกุอลิ ลารัม (V. anguillarum) เป็นต้น ซึง่ ส่วนใหญ่ กุ้งที่มีกลุ่มอาการโรคขี้ขาวมักมีปริมาณเชื้อแบคทีเรียแกรมลบในกลุ่มวิบริโอเหล่านี้ ทั้งในตัวกุ้ง ตับ ล�ำไส้ และทางเดินอาหาร รวมทัง้ ในน�ำ้ สูงมาก กว่ากุ้งปกติอย่างมีนัยส�ำคัญ เกษตรกรสามารถ

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 185 มีนาคม - เมษายน 2562


2.2 แบคทีเรียแบบไม่ใช้ออกซิเจน หรือ แบคทีเรียทีท่ นปริมาณออกซิเจนต�ำ่ ๆ ได้ยาวนาน (Anaerobic Bacteria or Microaerotolerance Bacteria) มีงานวิจัยล่าสุดของนักวิจัยจากต่าง ประเทศ พบว่า เชื้อแบคทีเรียชนิดใหม่ๆ ที่มี บทบาท และตรวจพบมากในกุ้งกลุ่มที่มีอาการ ขีข้ าวในปัจจุบนั ยังมีแบคทีเรียแบบไม่ใช้ออกซิเจน หรือแบคทีเรียที่ทนปริมาณออกซิเจนต�่ำๆ ได้ ยาวนาน ซึ่งจะสังเคราะห์พลังงานจากปฏิกิริยา การหมักเน่า (Fermentative Anaerobic Pro-

Around the World

ลดปริมาณความเข้มข้นของเชื้อแบคทีเรียแกรม ลบกลุ่มวิบริโอเหล่านี้ลงได้ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การถ่ายน�้ำเพิ่มขึ้น การดูดของเสียเพิ่มขึ้น แล้ว เก็บในบ่อเก็บเลนที่ถูกสุขลักษณะ การเพิ่มเครื่อง ให้อากาศทั้งผิวน�้ำ และใต้น�้ำ การควบคุมสาร อินทรีย์ในน�้ำที่เป็นอาหารของเชื้อแบคทีเรียด้วย การควบคุ ม ความโปร่ ง ใสของน�้ ำ การควบคุ ม แพลงก์ตอนไม่ให้มีปริมาณมากเกินไปจนเกิดการ ตาย และกลายเป็นสารอินทรีย์ การใช้จุลินทรีย์ ช่วยย่อยสลาย และการใช้สีน�้ำเทียม เป็นต้น ก็ อาจจะท�ำให้อาการขีข้ าวลดลง หรือดีขนึ้ ได้ชวั่ คราว แต่ถา้ หากเชือ้ แบคทีเรียเหล่านีก้ ลับมาเพิม่ ปริมาณ อีก อาการขี้ขาวก็จะกลับมาอีก

duction) ของสารอาหารพวกแป้ง กรดอะมิโน และ เปปไทด์ ที่กุ้งกินเข้าไปภายในท่อทางเดินอาหาร เพื่ อ ให้ เ กิ ด พลั ง งานในเชื้ อ แบคที เ รี ย ประเภทนี้ ซึ่ ง จากปฏิ กิ ริ ย าการหมั ก เน่ า และผลผลิ ต ของ แบคทีเรียนี้ พบว่าเป็นข้อสันนิษฐานหนึ่งที่เป็น ต้นเหตุที่ท�ำให้เกิดการลอกหลุดของเซลล์ผนังท่อ ตับ และล�ำไส้ออกมา ซึ่งเชื้อแบคทีเรียแบบไม่ใช้ ออกซิเจนที่มีอยู่ในกุ้งเป็นจ�ำนวนมากเหล่านี้ อาจ เป็นอีกสมมติฐานที่ท�ำให้เกิดกลุ่มอาการขี้ขาว ขึน้ มาก็ได้ เช่น เชือ้ แบคทีเรียในกลุม่ ฟูโซแบคทีเรีย ซิอี (Fusobacteriaceae spp.) ซึ่งรายงานโดย MD Zoqratt และคณะ ในปี 2560 ว่า มีการพบ มากในกลุ่มกุ้งที่ป่วยเป็นโรคและมีความเสียหาย โดยเฉพาะตั้งแต่กุ้งยังมีขนาดเล็ก หากมีการยึด ครอง (Colonization) ท่อทางเดินอาหารด้วย แบคทีเรียในกลุม่ นีเ้ ป็นจ�ำนวนมากๆ เป็นเวลานาน ตั้งแต่กุ้งยังเล็ก ก็อาจจะส่งผลให้กุ้งอ่อนแอ และ มีปัญหาการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนชนิดอื่นๆ เช่น เชือ้ แบคทีเรียกลุม่ วิบริโอ และเชือ้ อีเอชพี หรือ เชือ้ อืน่ ๆ และก่อให้เกิดความเสียหายในกุง้ รวมถึง เกิดเป็นกลุ่มอาการโรคขี้ขาวได้ เมื่อกุ้งมีขนาด ใหญ่ขึ้น

รูปที่ 2 สปอร์ของเชื้ออีเอชพี (Enterocytozoon hepatopenaei)

All right reserved by CPG Aquatic animal health care products specialist and solution provider, 2017, Thailand

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 185 มีนาคม - เมษายน 2562

63


Around the World

รูปที่ 3 การติดเชื้ออีเอชพี และแบคทีเรียทั้งแบบใช้ออกซิเจน และไม่ใช้ออกซิเจน สามารถท�ำให้เซลล์บุผนังท่อตับเกิดการอักเสบหลุดลอกได้

นอกจากนี้ จากการตรวจสอบทางห้อง ปฏิบัติการของศูนย์วิจัยสุขภาพสัตว์น�้ำ ซีพีเอฟ และโรงเพาะฟั ก ลู ก กุ ้ ง ในเครื อ เจริ ญ โภคภั ณ ฑ์ พบว่า หลายๆ ครั้งของการตรวจสอบกุ้งที่มีกลุ่ม อาการขี้ขาว เมื่อน�ำเลน หรือของเสียที่หมักหมม บริ เ วณหลุ ม กลางบ่ อ หรื อ ก้ น บ่ อ ที่ ดู ด ออกไม่ หมด น�ำมาเพาะเชื้อบนอาหารเลี้ยงเชื้อทีซีบีเอส (TCBS) จะพบแบคทีเรียโคโลนีสีด�ำ อาจจัดเป็น กลุ ่ ม แบคที เ รี ย ที่ ช อบเจริ ญ เติ บ โตแบบไม่ ใ ช้ ออกซิเจนอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งบ่งบอกว่าเกิดการ เน่าเสีย และมีสภาวะไร้ออกซิเจนเกิดขึ้นในบ่อ และในน�้ ำ โดยนั ก วิ จั ย เรี ย กกลุ ่ ม แบคที เ รี ย ประเภทนี้ว่า แบคทีเรียชีวาเนลลา (Shewanella spp.) ซึง่ มีรายงานโดย กัลยาณ์ ศรีธญ ั ญลักษณา -  แดงติบ๊ ในปี 2559 และ Fang Z. และคณะ ในปี 2561 ว่า ส่งเสริมความรุนแรง หรือเสริมฤทธิ์กับ เชือ้ แบคทีเรีย วิบริโอ พาราฮีโมไลติคสั โดยเฉพาะ สายพันธุ์ AHPND ที่ก่อให้เกิดโรคอีเอ็มเอส ให้มี ความรุนแรงขึ้นได้อีกหลายเท่าตัว สภาวะเหล่านี้ หลายๆ ครั้งมักพบร่วมกับการติดเชื้ออีเอชพี โดย เฉพาะในบ่อเลี้ยงที่ปล่อยกุ้งหนาแน่นสูง และ มีเชื้ออีเอชพีหลุดรอดเข้ามาในบ่อ แต่ไม่สามารถ บริหารจัดการตะกอนและของเสียที่แขวนลอย ในน�้ำ ท�ำให้กุ้งกินตะกอนที่มีสปอร์เข้าไป การพบ

64

แบคทีเรียโคโลนีสีด�ำในกลุ่มแบคทีเรียชีวาเนลลา กับกลุ่มอาการขี้ขาวนี้ นอกจากจะพบร่วมกับการ ติดเชื้ออีเอชพีแล้ว ยังอาจพบร่วมกับการติดเชื้อ แบคทีเรียชนิดอืน่ ๆ ได้อกี ด้วย เช่น เชือ้ แบคทีเรีย วิบริโอ พาราฮีโมไลติคัส สายพันธุ์ AHPND หรือ เชื้อแบคทีเรียแกรมลบกลุ่มวิบริโอชนิดต่างๆ ซึ่ง จะพบว่าความรุนแรงของโรคก็จะสูงขึ้นด้วย และ การควบคุมก็ท�ำได้ยากขึ้น 2.3 เชือ้ แบคทีเรียชนิดอืน่ ๆ นอกจากนี้ ในรายงานปัจจุบัน กุ้งที่มีอาการขี้ขาวยังพบว่า มีเชื้อแบคทีเรียชนิดอื่นๆ ซึ่งไม่สามารถตรวจพบ ได้ตามปกติจากการเพาะเลีย้ งเชือ้ ด้วยอาหารเลีย้ ง เชื้อธรรมดา แต่ต้องใช้วิธีการตรวจพิเศษจากการ วิเคราะห์ทางดีเอ็นเอ ซึง่ งานวิจยั ของ Hou D. และ คณะ ในปี 2561 ได้พบกลุ่มแบคทีเรียชนิดใหม่ สองชนิ ด คื อ แบคที เ รี ย แคนดิ ด าตั ส บาซิ ล โล พลาสมา (Candidatus Bacilloplasma) และ แบคทีเรียในกลุ่มที่มีชื่อว่า พลาสโคลาคโตแบคทีเรียม (Phascolarctobacterium spp.) ในกุ้ง กลุม่ ทีม่ อี าการโรคขีข้ าวเป็นจ�ำนวนมากเมือ่ เปรียบ เทียบกับกุง้ ปกติทไี่ ม่มอี าการโรคขีข้ าว นีก่ เ็ ป็นอีก สมมติฐานหนึ่งที่พบว่าอาจเป็นสาเหตุของการ ท�ำให้กุ้งเกิดอาการขี้ขาวได้ด้วย

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 185 มีนาคม - เมษายน 2562


Around the World

อาการขี้ขาวเกิดจากหลายปัจจัยร่วมกัน ที่ส�ำคัญคือเชื้อโรคหลายชนิด เช่น EHP, แบคทีเรีย เป็นต้น รวมถึงการจัดการที่ ไม่เหมาะสม (และ/ หรือ) อื่นๆ เบื้องต้นผู้เลี้ยงควรต้องตากบ่อให้แห้งสนิท ลดตะกอนแขวนลอย/สารอินทรีย์ ในน�้ำให้เหลือน้อยที่สุด มีน�้ำสะอาดเปลี่ยนถ่ายอย่างเพียงพอ และควรเพิ่มประสิทธิภาพเครื่องให้อากาศอย่างเต็มที่ และพอเพียง ฯลฯ 3. พบปัญหาสภาพแวดล้อมของการเลีย้ ง ที่เสื่อมโทรมลง และมีการจัดการที่ไม่ดีพอ ใน ปั จ จุ บั น นอกจากจะมี เ ชื้ อ โรคหลายชนิ ด เข้ า มา เกีย่ วข้องแล้ว ยังพบว่ากุง้ ทีม่ กี ลุม่ อาการโรคขีข้ าว รวมทั้งโรคติดเชื้ออื่นๆ มักมีความเชื่อมโยงกับ ปัญหาความเสือ่ มโทรมของบ่อ แหล่งน�ำ้ และตัวกุง้ ด้วยเสมอๆ โดยความเสื่อมโทรมเหล่านี้เป็นตัว กระตุน้ ให้เกิดปัญหาโรคขีข้ าว และโรคอืน่ ๆ ชัดเจน เพิ่มมากขึ้น และแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ อีกด้วย โดยมักพบว่ากุ้งที่อยู่ในแหล่งเสื่อมโทรม ทีเ่ ลีย้ งกุง้ มาก หรืออยูใ่ นชุมชนทีม่ จี ำ� นวนบ่อเลีย้ ง กุ้งจ�ำนวนมาก หรือมีปริมาณเชื้อ และสปอร์ของ เชื้อสะสมในสิ่งแวดล้อมสูง ประกอบกับถ้ามีการ จัดการที่ไม่ดีพอ หรือไม่เข้าใจในปัญหาที่เกิดขึ้น อย่างแท้จริง ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ล้วนเป็นสาเหตุที่ ท�ำให้ปญ ั หาการเกิดโรคกุง้ ชนิดต่างๆ รวมทัง้ กลุม่ อาการขี้ขาว ยังคงมีปัญหาวนเวียนเกิดขึ้นได้ซ�้ำ แล้วซ�้ำอีก และท�ำให้เกษตรกรเลี้ยงกุ้งได้ยากขึ้น

ของการใช้งานมานานของพื้นที่ และชุมชนของ บ่อกุ้ง หรือสภาพของการเลี้ยงกุ้งที่มีมายาวนาน แตกต่างกัน สภาพน�้ำ หรือแหล่งน�้ำที่อาจมีการ สะสมของเชื้อโรค และสปอร์ของเชื้อโรค รวมถึง สัตว์พาหะน�ำโรค หรือเวคเตอร์ในสิ่งแวดล้อมที่มี ความแตกต่างกัน

3.1 สภาพของสิ่ ง แวดล้ อ มของการ เลี้ยง มีรายละเอียดที่แตกต่างกันไป โดยสภาพ ของสิง่ แวดล้อมทีแ่ ตกต่างกัน อาจหมายถึง ความ เสื่อมโทรมของสภาพบ่อ ทั้งบ่อเลี้ยง บ่อพัก บ่อ ทรีต บ่อตกตะกอน บ่อน�้ำพร้อมใช้ ทั้งบนพื้นผิว ของบ่อ และใต้พื้นพีอี ความเก่าแก่ของพื้นพีอี ทีม่ กี ารรัว่ ซึม และโป่งพอง สภาพความเสือ่ มโทรม

การบริหารจัดการโรคกุ้งต่างๆ รวมทั้ง กลุ่มอาการโรคขี้ขาว จ�ำเป็นต้องเข้าใจที่มา และ สาเหตุของโรคเหล่านี้อย่างถ่องแท้ และวิเคราะห์ หาแนวทางร่วมกันในการแก้ไขปัญหา ต้องค�ำนึง ถึงส่วนรวม และค�ำนึงถึงสิง่ แวดล้อมและธรรมชาติ เช่น ควรมีบ่อเก็บเลนเป็นสัดส่วนเพียงพอภายใน ฟาร์ม เพื่อท�ำการบ�ำบัด แปรรูปเลนเป็นปุ๋ย เป็น

รูปที่ 4 สมมติฐานการเกิดกลุ่มอาการโรคขี้ขาวในกุ้ง จากผลการตรวจสอบเฝ้าระวังโรค

ตัวของกุ้งเอง และ ความแข็งแรงของกุ้ง

โรคกุ้ง และ ความเสียหาย การจัดการ และสิ่งแวดล้อม

แหล่งก�ำเนิดโรค และเชื้อโรค ทั้งปริมาณ และความรุนแรง

Aquatic animal health care products specialist and solution provider (AAHCPS) / Charoen pokphand group global (CPG), 2018 Thailand

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 185 มีนาคม - เมษายน 2562

65


Around the World

รูปที่ 5 วัฏจักรของเชื้อโรคและสารอินทรีย์ท่ ียังคงวนเวียนอยู่ในสิ่งแวดล้อม

Aquatic animal health care products specialist and solution provider (AAHCPS) / Charoen pokphand group global (CPG), 2018 Thailand

ก๊าซธรรมชาติ หรือเป็นพลังงานอืน่ ๆ โดยไม่ปล่อย ให้ของเสียจากการเลีย้ งกุง้ ไปปะปนกับสิง่ แวดล้อม คลองสาธารณะ หรือทะเล ต้องไม่ทิ้งน�้ำหลังจบ การเลี้ยงกุ้ง ไม่ทิ้งเลนซึ่งอาจมีเชื้อโรคชนิดใหม่ๆ หรือมีสปอร์ของเชื้อโรค พาหะน�ำโรค และสาร อินทรียส์ งู ออกไปนอกฟาร์มก่อนการถูกบ�ำบัดด้วย วิธีการที่เหมาะสม หรือที่เรียกว่า การเลี้ยงใน ระบบปิดและจัดการน�้ำแบบหมุนเวียน (Closed recycle system) หรือการจัดการสุขาภิบาลน�ำ้ แบบ ระบบปิดภายในฟาร์ม (ปรีชา สุขเกษม, 2561) 3.2 การจัดการการเลี้ยง อาจท�ำให้กุ้ง มีสภาวะความเครียดที่แตกต่างกัน ส่งผลกระทบ ต่อสุขภาพ และภูมิคุ้มกันที่แตกต่างกันไป ท�ำให้ การยอมรับต่อการติดเชือ้ ก็แตกต่างกันไปด้วย ซึง่ สาเหตุที่ท�ำให้เกิดปัญหาโรคขี้ขาว และโรคอื่นๆ มีความแตกต่างกันได้ในแต่ละพื้นที่ ปัญหาหลักๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการการเลี้ยง เช่น การไม่ สามารถควบคุมสีนำ�้ และปริมาณแพลงก์ตอนให้อยู่ ในปริมาณที่เหมาะสมได้ มีการตายของแพลงก์ตอนทีม่ กี ารผลิตสารพิษ (Cyanotoxin) ออกมาเป็น จ�ำนวนมาก เกิดน�้ำข้น หนืด มีฟอง การควบคุม ปริมาณอาหารไม่ดี ค่าคุณภาพน�้ำไม่อยู่ในเกณฑ์

66

ที่เหมาะสม เช่น น�้ำมีอีเอชพีสูง หรือแกว่งใน รอบวันเกิน 0.5 ปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน�้ำ ต�่ำกว่ามาตรฐาน (ปัจจุบันแนะน�ำว่าควรสูงกว่า 5.0 - 6.0 พีพีเอ็ม ตลอดเวลาการเลี้ยง) เป็นต้น มีสารพิษ เช่น แอมโมเนีย ไนไตรท์ และไฮโดรเจนซัลไฟด์ เกิดขึ้นในบ่อ เนื่องจากมีการจัดการของ เสียที่ไม่ดีพอ เช่น มีขี้กุ้ง อาหารที่เหลือ เศษซาก เปลือกกุง้ ทีล่ อกคราบ หรือเศษซากกุง้ ป่วย กุง้ ตาย เศษซากแพลงก์ตอนที่ตายและแขวนลอย ท�ำให้มี การสะสมของสารอินทรีย์ซึ่งเป็นแหล่งอาหารของ เชื้อแบคทีเรียแกรมลบตัวร้าย และเชื้อแบคทีเรีย อื่นๆ อีกหลากหลาย นอกจากนี้ สภาพพืน้ บ่อทีแ่ ย่ เช่น มีเลน สะสมมากทั้งในบ่อเลี้ยง และใต้พื้นอีพี ซึ่งไม่เคย ท�ำการบ�ำบัดการจัดการล้างบ่อ ทัง้ บ่อเลีย้ ง บ่อพัก บ่อทรีต บ่อตกตะกอน และบ่อน�ำ้ พร้อมใช้ ถ้าไม่มี โปรแกรมการล้างทีด่ ี หรือการล้างตะกอนทีต่ กค้าง ท�ำได้ไม่ดีพอ จะท�ำให้เป็นที่สะสม หรือหลบซ่อน ของเชื้อโรคและสปอร์ของเชื้อ เมื่อน�ำมาเลี้ยงกุ้ง ก็จะเป็นแหล่งเพิ่มปริมาณเชื้อโรค และปริมาณ สปอร์ของเชื้ออีเอชพีให้สูงขึ้น นอกจากนี้ การมี กุ้งหมกเลน กินเลน มีเลนสีด�ำ ที่มีกลิ่นเหม็นเน่า

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 185 มีนาคม - เมษายน 2562


ค ุณภาพ มาตรฐาน พร้อมบริการวิชาการ

วีทีเนส บี

เป็ นผลิตภัณฑ์ Tributyrin

เป็ น butyrate glyceride มี back bone เป็ น glycerol ไม่สามารถย่อยสลายได้ดว้ ย สภาวะแวดล้อมทีเ่ ป็ นกรด-เบสแต่ตอ้ งใช้กลไกของเอ็นไซม์ lipase ในการย่อยพันธะ ester ซึ่งทาให้เกิดการ ปลดปล่อย butyric acid ได้ทล่ี าไส้ ซึง่ เป็ นอวัยวะเป้ าหมายของ butyric acid butyric acid เป็ นกรดไขมันสายสัน้ (Short-chain-fatty acid; SCFAs) การนา butyric acid มาใช้ใน อุตสาหกรรมอาหารสัตว์มกั ทาให้อยูใ่ นรูปกรดเกลือ เช่น Sodium Butyrate , Calcium Butyrate จุดประสงค์ เพื่อ ให้เกิด ความเสถีย รมากขึ้น และ Tributyrin เป็ น อีก หนึ่ งรูป แบบของ butyric acid ที่ถู กน ามาใช้ เนื่องจากจะมีความเสถียรมากกว่าในรูปของกรดเกลือ ทีใ่ ช้พนั ธะไอออนิกในการจับกันระหว่างโมเลกุล Tributyrin hydrolysis by lipase

Tributyrin

Dibutyrin

Monobutyrin

+

+

คุณสมบัติข อง VTNest B มีคุณสมบัติในการปรับความสมดุลของจุ ลินทรีย์ในทางเดิน อาหาร

เพิม่ จานวนจุลนิ ทรีย์ท่มี ปี ระโยชน์ และยับยัง้ เชื้อแบคทีเรียทีก่ ่อให้เกิดโรคโดยเฉพาะ Salmonella, E.Coli และ Clostridium ต่อต้านการเกิดการอักเสบของลาไส้ ปรับความสมดุลของระบบภูมคิ ุ้มกัน เสริมสร้าง การเจริญเติบโตของสัตว์ ช่วยเพิม่ สมรรถภาพการผลิตของสัตว์ VTNest and coated sodium butyrate can inhabit the number of Clostridium perfringens effectively

Control

0.5 g/kg Coated Sodium Butyrate

VTNest และ Sodium Butyrate ช่วยเพิม่ การ

เจริญเติบโตของวิลไล ทาให้วลิ ไลมีสุขภาพดี และ มีความแข็งแรงมากขึน้

0.5 g/kg VTNest Control

0.5 g/kg Coated Sodium Butyrate

0.5 g/kg VTNest

อัตราการใช้: 0.5 - 1.0 % ในอาหารสัตว์ปีกทุกระยะ ขนาดบรรจุ: น้าหนักสุทธิ 25 กิ โลกรัม 0.5 - 1.5 % ในอาหารสุกรทุกระยะ ผูผ้ ลิ ต Guangdong VTR Bio-Tech Co., Ltd. นาเข้าและจัดจาหน่ ายโดย บริ ษทั แลบ อิ นเตอร์ จากัด บริษทั แลบ อินเตอร์ จากัด 77/12 หมู่ 2 ถ.พระราม 2 ต.นาโคก อ.เมืองสมุทรสาคร จ.สมุทรสาคร 74000 โทรศัพท์ 0 3488 6140-46 Ext.2311 แฟกซ์ 0 3488 6147 Website : www.inteqcgroup.com E-mail : techdep@inteqc.com



การควบคุมและป้องกัน กลุ่มอาการโรคขี้ขาว/โรคอื่นๆ การควบคุ ม และป้ อ งกั น กลุ ่ ม อาการโรค ขี้ขาว หรือโรคอื่นๆ ให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จ�ำเป็นต้องเข้าใจ 3 องค์ประกอบส�ำคัญ คือ ความแข็งแรง หรืออ่อนแอของตัวกุ้ง แหล่ง ก�ำเนิดโรค และเชื้อโรค และสิ่งแวดล้อมและ การจัดการที่ส่งผลกระทบต่อการเลี้ยง โดยต้อง ควบคุมให้ปัจจัยทั้ง 3 ส่วนนี้ ส่งผลกระทบต่อกุ้ง ให้นอ้ ยทีส่ ดุ โดยหมัน่ สังเกต ตรวจสอบ จดบันทึก และควบคุมการเลี้ยงอย่างใกล้ชิด และต่อเนื่อง ทุกช่วงเวลาและทุกๆ วัน ขณะเดียวกันก็ตอ้ งเข้าใจ ธรรมชาติของการติดเชือ้ โรคเหล่านี้ ต้องรูว้ า่ เชือ้ โรค เหล่านี้ ชอบอะไร และไม่ชอบอะไร สภาวะไหนที่ เชือ้ โรคเหล่านีจ้ ะเพิม่ มาก หรือน้อย ต�ำแหน่ง หรือ อวัยวะเป้าหมายของเชื้อโรคแต่ละชนิดคืออะไร และท�ำความเข้าใจกลไกการติดเชื้อของโรคแต่ละ ชนิด และพยายามควบคุมไม่ให้เกิดสภาวะที่เอื้อ อ�ำนวยให้เชือ้ โรคมีความแข็งแกร่ง หรือเพิม่ ปริมาณ จนสามารถท�ำอันตรายแก่กุ้งได้ ขณะเดียวกัน เราต้องพยายามป้องกันไม่ให้เชื้อโรคและสปอร์ ของเชื้อโรคนั้นๆ ปนเปื้อนสู่สิ่งแวดล้อม โดยการ ไม่ปล่อยของเสีย เช่น เลน ซากกุง้ ป่วย กุง้ ตาย หรือ

Around the World

เพราะดูดของเสียไม่ได้ หรือดูดได้นอ้ ยจนเกิดการ หมักหมม จนเกิดสภาวะไร้ออกซิเจน การถ่ายน�้ำ ไม่ได้ หรือถ่ายน�ำ้ ได้นอ้ ย และไม่เพียงพอในการลด ปริมาณเชื้อโรค หรือเจือจางปริมาณสปอร์ของ เชื้ออีเอชพีให้ลดน้อยลงได้ ปัจจัยเหล่านี้ล้วนเป็น ปัญหาด้านการจัดการการเลี้ยงที่อาจท�ำให้กุ้งมี สภาวะความเครียด และยอมรับต่อการติดเชือ่ โรค ต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

ตะกอนต่างๆ ทีอ่ าจมีการปนเปือ้ นของเชือ้ โรค หรือ สปอร์ของเชื้อโรคเป็นจ�ำนวนมาก รวมถึงน�้ำทิ้งที่ จบการเลี้ยงกุ้งออกมาสู่สิ่งแวดล้อม หรือคลอง ธรรมชาติโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์จนเกิดการคงอยู่ หรือเพิม่ จ�ำนวนของเชือ้ โรคเหล่านัน้ ในสัตว์พาหะ น�ำโรค และมีการสะสมเพิม่ ปริมาณของสปอร์ของ เชื้อ เช่น อีเอชพี จ�ำนวนมากจนอยู่ในระดับที่สูง ในสิ่งแวดล้อม และคงอยู่เป็นระยะเวลายาวนาน จนอาจเกิดผลกระทบกับกุง้ เมือ่ มีการสูบน�ำ้ เข้ามา ใช้ใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิง่ หากไม่มมี าตรการการ เตรียมน�ำ้ การเตรียมบ่อทีด่ ี ถูกสุขลักษณะ ก็จะยิง่ ท�ำให้การเกิดโรคขีข้ าว รวมทัง้ โรคอืน่ ๆ หมุนเวียน ต่อเนื่องซ�้ำแล้วซ�้ำอีกตลอดเวลา และยากต่อการ ควบคุมป้องกันขึ้นเรื่อยๆ การจัดการน�้ำในระบบ หมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ หรือทีเ่ ราเรียกว่า ระบบการ เลี้ยงกุ้งในระบบปิด และจัดการน�ำ้ แบบหมุนเวียน (Closed recycle system) คือ การออกแบบ ดีไซน์ผังฟาร์ม และรูปแบบฟาร์มใหม่ ให้มีระบบ การหมุนเวียนน�ำ้ หลังจบการเลีย้ งกุง้ กลับมาบ�ำบัด และน�ำกลับมาใช้เลี้ยงกุ้งในรอบต่อไป โดยแบ่ง สัดส่วนต่างๆ ตามรายละเอียดดังนี้ เช่น บ่อพักน�ำ้ บ่อตกตะกอน บ่อทรีตน�้ำ 1 บ่อทรีตน�้ำ 2 บ่อน�้ำ พร้อมใช้ บ่อเลี้ยง บ่อทิ้งเลนตะกอน บ่อบ�ำบัดน�้ำ และทางเดินน�ำ้ เพือ่ การหมุนเวียนกลับมา เป็นต้น

รูปที่ 6 ตัวอย่างชุดโมเดลระบบหมุนเวียนน้�ำ ส�ำหรับพื้นที่ 20 - 30 ไร่

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 185 มีนาคม - เมษายน 2562

67


Around the World

การจัดการสุขาภิบาลน�้ำแบบระบบปิดนั้น มาจาก พืน้ ฐานแนวคิดทีต่ อ้ งการให้ระบบการเลีย้ งของเรา อยู่ในระบบที่สะอาด ไม่ปนเปื้อนจากน�้ำภายนอก ขณะเดียวกัน เราก็ไม่ไปสร้างความปนเปื้อนให้ แหล่งน�้ำภายนอกเพิ่มขึ้นไปจากเดิม เพื่อป้องกัน ไม่ให้ผลเสียของน�้ำที่ทิ้งจบจากการเลี้ยงกุ้ง หรือ เลนก้นบ่อ หรือตะกอนที่เกิดจากการเลี้ยงกุ้ง ที่ อาจมีทั้งเชื้อโรคและสปอร์ของเชื้อโรค และสัตว์ พาหะน�ำโรคเหล่านี้ วนเวียนกลับมาท�ำร้ายกุง้ ของ เรา หรือท�ำอันตราย และสร้างความเสียหายให้กบั กุ้งของเรา และตัวเราอีกในอนาคต ข้อควรปฏิบต ั ิเพื่อการควบคุม ป้องกันโรคขี้ขาว และโรคอื่นๆ อย่างมีประสิทธิภาพ 1. ควรมีการวิเคราะห์ความสามารถในการ เลีย้ งและการผลิต (Carrying capacity analysis) ของฟาร์มตัวเอง โดยไม่จ�ำเป็นต้องตามคนอื่น หรือฟาร์มอืน่ ๆ ฟาร์มของเรามีความสามารถและ ความเพียงพอ ด้านน�้ำทั้งคุณภาพและปริมาณ ด้านบ่อและความเสื่อมโทรม ด้านแรงงาน ด้าน เป้าหมายผลผลิตและการจับกุ้ง ด้านการลงทุน ด้านการจัดการความเสี่ยง ด้านสิ่งแวดล้อมรอบ ฟาร์ม ด้านฤดูกาล ด้านราคากุ้ง ด้านการตลาด เป็นอย่างไร เป็นต้น ซึง่ การวิเคราะห์ความสามารถ ในการเลี้ยงและการผลิตเหล่านี้ จะช่วยท�ำให้ สามารถตอบตัวเราได้เองว่า ควรเลีย้ งกุง้ ด้วยความ หนาแน่นเท่าไร ด้วยระบบและวิธกี ารใดทีเ่ หมาะสม เพื่อไม่ให้สิ่งเหล่านี้เป็นภาระมากเกินไปต่อระบบ การเลีย้ ง เป็นภาระมากเกินไปต่อระบบน�ำ้ หรือมี ความเสีย่ งในการเลีย้ งมากเกินไป เพราะเป้าหมาย ของการเลีย้ งกุง้ ทีด่ คี อื ผลผลิตทีส่ งู ความเสียหาย

68

ต�่ำ และได้ตามเป้าหมายตามเวลาที่ต้องการอย่าง รวดเร็ว ขณะที่ต้นทุนการเลี้ยงที่เหมาะสม และ ได้ราคาขายที่เหมาะสม และได้ผลก�ำไรจากการ เลี้ยง ซึ่งทั้งหมดต้องมีความลงตัวและเหมาะสม กับความสามารถของฟาร์มเราเอง 2. ควรค�ำนึงถึงหลักการของความสะอาด และความปลอดภัยทางชีวภาพ (Clean and Bio security oriented concern concept) ซึ่งเป็น หัวใจของการเลีย้ ง ทัง้ เรือ่ งลูกกุง้ สะอาด น�ำ้ สะอาด และบ่อสะอาด เพราะปัจจุบันสิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัวเราได้เปลีย่ นแปลงไปจากเดิมมาก โดยเริม่ จาก การเลือกลูกพันธุ์กุ้งจากโรงเพาะฟัก หรือแหล่งที่ เชือ่ ถือและไว้วางใจได้ (Trustworthy seed quality) ว่าเป็นสายพันธุท์ ดี่ ี แข็งแรง โตเร็ว ผลิตจากพ่อแม่ พันธุ์ที่ปลอดโรค (SPF) มีการตรวจสอบคัดกรอง โรคที่ส�ำคัญๆ ไม่ให้ติดเชื้อเหล่านั้นมาจากลูกกุ้ง เป็ น แนวทางที่ เ ราควรจะยึ ด ถื อ และปฏิ บั ติ เ พื่ อ ควบคุมต้นทุนการเลี้ยงและการผลิต โดยเฉพาะ อย่างยิง่ หากเราสามารถบริหารจัดการด้านสุขภาพ และความแข็งแรงของลูกกุง้ เริม่ ต้นได้ทฟี่ าร์มของ เราในระบบที่ควบคุมได้ดี เช่น สามารถมีระบบ การอนุบาลลูกกุ้งที่ฟาร์มเราเอง (Extension of nursery phase in grow - out farm) เพือ่ เพิม่ ความ แข็งแรงของลูกกุง้ ในสภาวะทีเ่ หมาะสม เพือ่ ป้องกัน ความเสี่ยงในการเลี้ยงในบ่อในช่วงที่ลูกกุ้งยังเล็ก ให้ลดความเสียหายให้ลดน้อยลง 3. ควรมีการศึกษาหาความรู้ (Knowledge oriented management practices) และศาสตร์ ด้านการเลี้ยงกุ้งในทุกๆ ด้านให้มากๆ ทั้งด้าน เทคนิคการเลีย้ งทุกแขนง การจัดการด้านต่างๆ ที่ ส�ำคัญๆ ทัง้ หมด เช่น ปัจจุบนั ด้านเทคนิคการเลีย้ ง ที่มีประสิทธิภาพนิยมเลี้ยงกุ้งในระบบบ่อเล็กลง (Best small pond) เพราะจัดการได้ง่ายขึ้น และ

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 185 มีนาคม - เมษายน 2562


4. ควรฝึกเป็นผู้มีวินัย (Discipline and monitoring system) มีความละเอียดรอบคอบ ขยันหมั่นสังเกต ตรวจตรา ตรวจสอบ จดบันทึก สอบถาม ระบบการเลีย้ งทุกๆ รูปแบบ คุณภาพน�ำ้ การจัดการทุกๆ ด้าน การตรวจตราการปฏิบตั งิ าน ของคนงาน ระบบอุปกรณ์ เครือ่ งไม้เครือ่ งมือระบบ ไบโอซีเคียว สภาพแวดล้อมรอบฟาร์ม สภาวะ อากาศและฤดูกาล ให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสม ตลอดเวลา และตลอดการเลีย้ ง เพราะหลายๆ ครัง้ ของฟาร์มที่ประสบความส�ำเร็จอยู่ที่ความใส่ใจ ในรายละเอียด และการตรวจสอบ ตรวจตรา เฝ้า ระวังอย่างใกล้ชิดของเจ้าของฟาร์ม คือหัวใจของ

Around the World

ใช้นำ�้ ในปริมาณทีล่ ดลง นิยมเลีย้ งกุง้ ในบ่อทีย่ กพืน้ ให้สงู หรือบ่อลอย (Elevated pond or tank) เพือ่ ลดปัญหาความเปียกแฉะหมักหมมของเชื้อโรค และสปอร์ทสี่ ะสมทีพ่ นื้ บ่อ หรือใต้พนื้ พลาสติกพีอี หลายๆ ฟาร์มนิยมแบ่งโซน หรือแบ่งพืน้ ทีก่ ารเลีย้ ง (Pond zoning and resting & restoration) เพื่อ ให้มีบางบ่อบางโซนได้เลี้ยง บางบ่อบางโซนได้พัก ได้ตากบ่อ ได้บ�ำบัดพื้นบ่อ และให้เกิดธรรมชาติ บ�ำบัดกับบ่อของเรา (Natural healing) บางเทคนิค นิยมการเลี้ยงแบบระบบสะอาดแบบสมดุลธรรมชาติ (Clean pond and water with nature and balancing water) เช่น มีการจัดการความสะอาด ของน�้ำและบ่อ โดยการดูดของเสียออกมาเก็บใน บ่อทิ้งเลน ควบคู่กับการบ�ำบัดด้วยจุลินทรีย์ เพื่อ เพิม่ ความหลากหลายและเพิม่ การแข่งขัน (Microbiome and competitive exclusion concept) เพือ่ ลดภาระด้านการบริหารจัดการน�ำ้ ไม่ให้มมี าก จนเกินไป หรือสามารถท�ำควบคู่ไปกับระบบการ เปลี่ยนถ่ายน�้ำ หรือดูดของเสียร่วมกันได้

ความส�ำเร็จในการบริหารจัดการฟาร์ม โดยเฉพาะ การปลูกฝังให้คนในฟาร์มมีความรู้สึกในการเป็น เจ้าของร่วม เพื่อให้ทุกคนปฏิบัติงานตามภาระ หน้าที่ของตนอย่างจริงจัง ละเอียดถี่ถ้วน ถูกต้อง และรัดกุม 5. ควรมีความรับผิดชอบต่อสังคมและ สิง่ แวดล้อมรอบๆ ตัวเราทีย่ งั เลีย้ งกุง้ อยู่ (Social and environmental responsibility and respect) เพราะเราไม่ได้เป็นคนเลีย้ งกุง้ เพียงคนเดียว ในระบบและในสิง่ แวดล้อม ยังมีเพือ่ นร่วมอาชีพที่ อยูใ่ นสิง่ แวดล้อมเดียวกันกับเราอีกมากมาย เราจึง ต้องตระหนักและมีความรับผิดชอบทีจ่ ะไม่ทำ� อะไร ทีส่ ่งผลกระทบทางสังคมส่วนรวมและสิง่ แวดล้อม ให้เกิดความเสียหาย หรือเกิดความเสื่อมโทรมไป มากกว่านี้ เช่น มีความรับผิดชอบทีจ่ ะไม่ทงิ้ เลน และ น�ำ้ ทีจ่ บจากการเลีย้ งลงสูแ่ หล่งน�ำ้ สาธารณะ เพราะ ในที่สุดผลกระทบเหล่านี้จะวนเวียนย้อนกลับมา เราอาจจะต้ อ งเสี ย ทรั พ ยากรจ� ำ นวนมากอย่ า ง มหาศาล ทั้งด้านทรัพยากรน�้ำ ด้านทรัพยากร เงิ น ทุ น ด้ า นทรั พ ยากรแรงงาน และด้ า นการ จัดการอีกหลายๆ ด้าน เพื่อจะควบคุมผลกระทบ เหล่านี้ให้ลดลงจนท�ำให้เราต้องแบกรับต้นทุนใน การผลิตสูง และไม่สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ ดังนัน้ พวกเราทุกคนจึงจ�ำเป็นต้องช่วยกัน ร่วมไม้ ร่วมมือกันท�ำความเข้าใจในสิง่ เหล่านี้ และหามาตรการร่วมกันในการป้องกัน ควบคุม และจัดการ อย่างเข้าใจ เพือ่ ให้พวกเราสามารถเลีย้ งกุง้ ได้อย่าง มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลเพิม่ มากขึน้ เพือ่ ที่ จะท�ำให้กงุ้ ไทยของเราสามารถไปต่อได้ในเวทีโลก ได้สมดังเจตนารมณ์ที่เราตั้งใจกันทุกๆ คน

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 185 มีนาคม - เมษายน 2562

69


Around the World

เล่ม ๑๓๖ ตอนพิเศษ ๑๐๙ ง

ราชกิจจานุเบกษา

๒ พฤษภาคม ๒๕๖๒

ประกาศกรมปศุสัตว์ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการรับรองฟาร์มเลี้ยงสัตว์ ปลอดสารเร่งเนื้อแดง หรือสารกลุ่มเบต้าอะโกนิสท์ (β-Agonist) พ.ศ. ๒๕๖๒ เนือ่ งจากปัจจุบนั มีการใช้สารเร่งเนือ้ แดง หรือสารกลุม่ เบต้าอะโกนิสท์ (β-Agonist) ในฟาร์มเลีย้ งสัตว์ ส่งผลกระทบต่อสัตว์เลี้ยงและสุขภาพอนามัยของประชาชนผู้บริโภคเนื้อสัตว์ เพื่อให้การแก้ไขปัญหาการใช้ สารเร่งเนื้อแดง หรือสารกลุ่มเบต้าอะโกนิสท์ (β-Agonist) ในฟาร์มเลี้ยงสัตว์เป็นไปอย่างต่อเนื่อง มี ประสิทธิภาพ และเกิดผลสัมฤทธิ์มากยิ่งขึ้น อาศั ย อ� ำ นาจตามมาตรา ๓๒ วรรคสอง แห่ ง พระราชบั ญ ญั ติ ร ะเบี ย บบริ ห ารราชการแผ่ น ดิ น พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๕ อธิบดีกรมปศุสัตว์จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศกรมปศุสตั ว์ เรือ่ ง หลักเกณฑ์ วิธกี าร และเงือ่ นไขการรับรองฟาร์มเลีย้ งสัตว์ ปลอดสารเร่งเนือ้ แดง หรือสารกลุม่ เบต้าอะโกนิสท์ (β-Agonist) พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “การรับรอง” หมายความว่า การทีก่ รมปศุสตั ว์ให้การรับรองว่าเป็นฟาร์มเลีย้ งสัตว์ปลอดสารเร่งเนือ้ แดง หรือสารกลุ่มเบต้าอะโกนิสท์ (β-Agonist) “ฟาร์มทีไ่ ด้รบั การรับรอง” หมายความว่า ฟาร์ม หรือสถานทีเ่ ลีย้ งสัตว์ ได้แก่ ฟาร์มสุกรขุนฟาร์มโคขุน ที่เจ้าของ หรือผู้ด�ำเนินกิจการได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการรับรองฟาร์มเลี้ยงสัตว์ ปลอดสารเร่งเนื้อแดง หรือสารกลุ่มเบต้าอะโกนิสท์ (β-Agonist) และได้รับใบรับรอง “ผู้ให้การรับรอง” หมายความว่า อธิบดีกรมปศุสัตว์ หรือผู้ซึ่งอธิบดีกรมปศุสัตว์มอบหมาย “ผูไ้ ด้รบั การรับรอง” หมายความว่า บุคคลทีเ่ ป็นเจ้าของ หรือผูด้ ำ� เนินกิจการในฟาร์มทีไ่ ด้รบั การรับรอง “ปศุสัตว์จังหวัด” หมายความว่า ปศุสัตว์พื้นที่กรุงเทพมหานคร หรือปศุสัตว์จังหวัด แล้วแต่กรณี “ใบรับรอง” หมายความว่า ใบรับรองการเป็นฟาร์มเลี้ยงสัตว์ปลอดสารเร่งเนื้อแดง หรือสารกลุ่มเบต้าอะโกนิสท์ (β-Agonist) “การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีด้านปศุสัตว์” (Good Agricultural Practice for Livestock: GAP for Livestock) หมายความว่า ๑. ฟาร์มสุกรทีเ่ ป็นไปตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรือ่ ง ก�ำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตร : การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีส�ำหรับฟาร์มสุกร

70

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 185 มีนาคม - เมษายน 2562


Around the World

๒. ฟาร์มโคเนือ้ ทีเ่ ป็นไปตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรือ่ ง ก�ำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตร : การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีส�ำหรับฟาร์มโคเนื้อ “ฟาร์มที่มีระบบการป้องกันโรคและการเลี้ยงสัตว์ที่เหมาะสม” (Good Farming Management: GFM) หมายความว่า ฟาร์มที่เป็นไปตามระเบียบกรมปศุสัตว์ว่าด้วยการขอรับและออกใบรับรองฟาร์มที่มีระบบการ ป้องกันโรคและการเลี้ยงสัตว์ที่เหมาะสม ข้อ ๓ ผู้ใดประสงค์จะขอรับการรับรองเป็นฟาร์มเลี้ยงสัตว์ปลอดสารเร่งเนื้อแดง หรือสารกลุ่ม เบต้าอะโกนิสท์ (β-Agonist) ให้ยื่นค�ำขอพร้อมด้วยหลักฐานตามที่ระบุไว้ในแบบ ร.ร.ฟ. ๑ ที่แนบท้าย ประกาศนี้ โดยยื่นต่อส�ำนักงานปศุสัตว์จังหวัดแห่งท้องที่ที่ฟาร์มตั้งอยู่ ข้อ ๔ ผู้ขอการรับรองต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้ (๑) เป็นผู้ประกอบการเลี้ยงสุกรขุน หรือเลี้ยงโคขุน ซึ่งเป็นการเลี้ยงในลักษณะฟาร์ม (๒) ฟาร์มต้องได้รับการรับรองการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีด้านปศุสัตว์ หรือได้รับการรับรองฟาร์ม ที่มีระบบการป้องกันโรคและการเลี้ยงสัตว์ที่เหมาะสม (๓) ไม่เป็นผู้ถูกเพิกถอนการรับรอง เว้นแต่พ้นระยะเวลาหกเดือนไปแล้ว (๔) ต้องมีการจัดการและปฏิบัติตามหลักเกณฑ์สุขลักษณะพื้นฐาน รวมถึงไม่ใช้สารเร่งเนื้อแดง หรือ สารกลุ่มเบต้าอะโกนิสท์ (β-Agonist) ข้อ ๕ เมื่อได้รับค�ำขอตามข้อ ๓ พร้อมหลักฐานครบถ้วนแล้ว ให้ปศุสัตว์จังหวัดแห่งท้องที่ที่ฟาร์ม ตั้งอยู่ แต่งตั้งบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเป็นคณะผู้ตรวจประเมิน มีอ�ำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) ตรวจสอบคุณสมบัติเบื้องต้นของผู้ขอการรับรอง ตามข้อ ๔ (๒) สุ่มเก็บตัวอย่างปัสสาวะจากฟาร์ม พร้อมบันทึกการตรวจสอบและบันทึกถ้อยค�ำตามที่แนบท้าย ของประกาศนี้ โดยน�ำตัวอย่างปัสสาวะมาตรวจวิเคราะห์ด้วยวิธี ELISA อย่างน้อย ๒ ครั้ง ระยะเวลาห่างกัน อย่างน้อยหนึ่งเดือน ส�ำหรับโคขุนอาจตรวจโดยชุดทดสอบภาคสนาม (strip test) แทนก็ได้ (๓) เมื่อผลวิเคราะห์ ตาม (๒) ให้ผลเป็นลบ และคณะผู้ตรวจประเมินพิจารณาแล้ว เห็นสมควร ให้การรับรอง ให้เสนอค�ำขอพร้อมหลักฐาน ผลวิเคราะห์ และความเห็นต่อปศุสัตว์จังหวัด เพื่อพิจารณาเสนอ ความเห็นต่อผู้ให้การรับรอง ข้อ ๖ เมื่อผู้ให้การรับรองพิจารณาแล้วเห็นว่า ควรให้การรับรอง ให้ออกใบรับรองตามแบบ ร.ร.ฟ. ๒ (ส�ำหรับฟาร์มสุกรขุน) หรือแบบ ร.ร.ฟ. ๓ (ส�ำหรับฟาร์มโคขุน) แล้วแต่กรณี ทั้งนี้แบบใบรับรอง และ การระบุเลขที่ใบรับรองให้เป็นไปตามท้ายประกาศนี้ ให้ปศุสัตว์จังหวัดมอบป้ายรับรองฟาร์มปลอดสารเร่งเนื้อแดงตามที่กรมปศุสัตว์ก�ำหนดให้ผู้ได้รับ การรับรอง ข้อ ๗ ใบรับรองมีอายุคราวละหนึ่งปี นับแต่วันที่ออกใบรับรอง ข้อ ๘ ถ้าผู้ได้รับการรับรองประสงค์จะขอต่ออายุใบรับรอง ให้ยื่นค�ำขอตามข้อ ๓ ก่อนใบรับรอง สิ้นอายุ ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 185 มีนาคม - เมษายน 2562

71


Around the World

เมื่อได้รับค�ำขอตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้คณะผู้ตรวจประเมินเข้าไปเก็บตัวอย่างปัสสาวะจากฟาร์มที่ได้รับ การรับรองอย่างน้อย ๑ ครั้ง ในระยะเวลาก่อนใบรับรองหมดอายุ เพื่อน�ำมาตรวจวิเคราะห์ โดยวิธี ELISA ส�ำหรับโคขุนอาจตรวจโดยชุดทดสอบภาคสนาม (strip test) แทนก็ได้ ในกรณีที่ผลวิเคราะห์ให้ผลเป็นลบ ให้ออกใบรับรองฉบับใหม่โดยระบุเลขที่ใบรับรองเดิม และให้มีข้อความว่า “ต่ออายุ” ไว้มุมบนด้านขวาด้วย ใบรับรองการเป็นฟาร์มเลี้ยงสัตว์ปลอดสารเร่งเนื้อแดง หรือสารกลุ่มเบต้าอะโกนิสท์ (β-Agonist) ที่ออกให้ก่อนประกาศนี้ใช้บังคับ ให้คงใช้ได้ต่อไปจนกว่าจะสิ้นอายุการรับรองนั้น หากประสงค์จะขอ ต่ออายุ ให้ยื่นค�ำขอต่ออายุตามประกาศนี้ ให้ออกใบรับรองฉบับใหม่โดยระบุเลขที่ใบรับรองตามที่ก�ำหนด ในประกาศนี้ และให้มีข้อความว่า “ต่ออายุ” ไว้มุมบนด้านขวาด้วย ข้อ ๙ ผู้ได้รับการรับรอง ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ต้องไม่น�ำสารเร่งเนื้อแดง หรือสารกลุ่มเบต้าอะโกนิสท์ (β-Agonist) มาใช้ผสมในอาหารสัตว์ ตลอดเวลาที่ได้รับการรับรอง (๒) ต้องไม่เกี่ยวข้องกับการลักลอบการน�ำเข้า ผลิต ขาย หรือใช้สารเร่งเนื้อแดง หรือสารกลุ่ม เบต้าอะโกนิสท์ (β-Agonist) ตลอดเวลาที่ได้รับการรับรอง (๓) ไม่น�ำใบรับรองไปใช้ในทางที่ท�ำให้เกิดความเสียหาย หรืออาจท�ำให้เกิดความเข้าใจผิดในการได้รับ การรับรอง (๔) ให้ความร่วมมือแก่เจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์ในการด�ำเนินการตรวจประเมินและเก็บตัวอย่างปัสสาวะ สุกร หรือปัสสาวะโคขุน (๕) ส่งมอบเอกสารหลักฐานต่างๆ ที่เกี่ยวกับการประกอบกิจการเลี้ยงสัตว์ในฟาร์มให้แก่กรมปศุสัตว์ เมื่อได้รับการร้องขอ ข้อ ๑๐ ผู้ได้รับการรับรองให้ความร่วมมือแก่คณะผู้ตรวจประเมิน หรือเจ้าหน้าที่ของกรมปศุสัตว์ ในการตรวจติดตามการปฏิบตั ติ ามหลักเกณฑ์ วิธกี าร และเงือ่ นไขทีไ่ ด้รบั การรับรองอย่างน้อยปีละ ๑ ครัง้ ข้อ ๑๑ ในกรณีที่คณะผู้ตรวจประเมิน หรือเจ้าหน้าที่ของกรมปศุสัตว์ตรวจพบ หรือรับทราบว่า ผู้ได้รับการรับรองกระท�ำผิดเงื่อนไขตามข้อ ๙ (๑) หรือ (๒) หรือฟาร์มที่ได้รับการรับรองถูกตรวจพบว่า มีการใช้สารเร่งเนื้อแดง หรือสารกลุ่มเบต้าอะโกนิสท์ (β-Agonist) ให้คณะผู้ตรวจประเมิน หรือเจ้าหน้าที่ ของกรมปศุสัตว์รวบรวมเอกสารหลักฐาน เสนอให้ผู้ให้การรับรองพิจารณาเพิกถอนการรับรอง ข้อ ๑๒ เมื่อมีการเพิกถอนการรับรอง ให้ผู้ถูกเพิกถอนการรับรองด�ำเนินการ ดังต่อไปนี้ (๑) ส่งใบรับรองพร้อมทั้งป้ายรับรองคืนให้แก่ส�ำนักงานปศุสัตว์จังหวัดแห่งท้องที่ที่ฟาร์มตั้งอยู่ทันที นับแต่รับทราบว่าถูกเพิกถอนการรับรอง (๒) ยุติการใช้สิ่งพิมพ์ สื่อโฆษณา ที่มีการอ้างอิงถึงการได้รับการรับรองทั้งหมดทันทีนับแต่รับทราบ ว่าถูกเพิกถอนการรับรอง (๓) ด�ำเนินการอื่นๆ ตามที่ผู้ให้การรับรองก�ำหนด

72

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 185 มีนาคม - เมษายน 2562


Around the World

ข้อ ๑๓ ผู้ที่ไม่ได้รับการรับรอง หรือผู้ถูกเพิกถอนการรับรองอาจยื่นอุทธรณ์เป็นลายลักษณ์อักษร ต่อผู้ให้การรับรองภายในสิบห้าวัน นับแต่วันทราบผลการพิจารณา หรือการเพิกถอนการรับรอง แล้วแต่กรณี ณ ส�ำนักงานปศุสัตว์จังหวัดแห่งท้องที่ที่ฟาร์มตั้งอยู่ ข้อ ๑๔ เมื่อได้รับอุทธรณ์ตามข้อ ๑๓ ให้ปศุสัตว์จังหวัดแต่งตั้งคณะท�ำงาน จ�ำนวนไม่น้อยกว่า ๓ คน เพื่อรวบรวมข้อเท็จจริงและรายงานผลให้ผู้ให้การรับรองทราบ เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาอุทธรณ์ของ ผู้ให้การรับรองต่อไป การพิจารณาอุทธรณ์ต้องกระท�ำให้แล้วเสร็จ และแจ้งผลการพิจารณาอุทธรณ์ให้ผู้ยื่นอุทธรณ์ทราบ ภายในสามสิบวัน นับแต่วันได้รับอุทธรณ์ ค�ำวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้ให้การรับรองให้เป็นที่สุด ข้อ ๑๕ ในกรณีที่มีการแก้ไขข้อก�ำหนด หรือหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขใดที่เกี่ยวข้องกับ การรับรองฟาร์มเลี้ยงสัตว์ปลอดสารเร่งเนื้อแดง หรือสารกลุ่มเบต้าอะโกนิสท์ (β-Agonist) กรมปศุสัตว์ จะแจ้งให้ผู้ได้รับการรับรองทราบเป็นลายลักษณ์อักษรภายในสามสิบวัน เพื่อปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้อง ภายในระยะเวลาที่ก�ำหนด ข้อ ๑๖ ในกรณีที่ผู้ได้รับการรับรองย้ายสถานที่ประกอบกิจการ โอนกิจการที่ได้รับการรับรองให้แก่ ผู้อื่น หรือเลิกกิจการให้ถือว่าการรับรองสิ้นสุดลง และต้องส่งใบรับรองคืนแก่ผู้ให้การรับรองภายในสามสิบวัน นับแต่วันย้ายสถานที่ประกอบกิจการ โอนกิจการ หรือเลิกกิจการ แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๗ กรมปศุสัตว์ไม่รับผิดชอบในการกระท�ำใดๆ ของผู้ได้รับการรับรองที่ได้กระท�ำไปโดยไม่สุจริต หรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ หรือกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๑๘ กรณีคุณสมบัติตามข้อ ๔ (๒) ของฟาร์มที่ขอรับรองฟาร์มเลี้ยงสัตว์ปลอดสารเร่งเนื้อแดง หรือสารกลุ่มเบต้าอะโกนิสท์ (β-Agonist) ให้เริ่มใช้ส�ำหรับผู้ขอการรับรองรายใหม่ ส่วนฟาร์มที่ได้รับการ รับรองอยู่ก่อนประกาศนี้ใช้บังคับ และประสงค์จะขอต่ออายุใบรับรองให้เริ่มใช้คุณสมบัติตามข้อ ๔ (๒) ตั้งแต่วันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๒ ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 185 มีนาคม - เมษายน 2562

73


Around the World

แบบ ร.ร.ฟ. ๑

 ขอรับรอง  ขอต่ออายุ

แบบคาขอหรือขอต่ออายุใบรับรองฟาร์มเลี้ยงสัตว์ปลอดสารเร่งเนื้อแดง หรือสารกลุ่มเบต้าอะโกนิสท์ (β-Agonist) ๑. ชื่อ/สกุล ( เจ้าของฟาร์ม  ผู้ดาเนินกิจการ)....................................................................................... อยู่บ้านเลขที.่ .................หมู่ที่...............ตาบล..................................................อาเภอ.................................... จังหวัด..........................................................................................โทรศัพท์.................................................... ๒. ชื่อฟาร์ม หรือสถานที่เลี้ยงสัตว์....................................................................ชนิดสัตว์  สุกรขุน  โคขุน ตั้งอยู่เลขที่.................................หมู่ที่....................ตาบล.................................................................... อ าเภอ.........................................................จั งหวั ด ....................................................................... โทรศัพท์.................................................... ๓. พื้นที่ฟาร์ม.................................................................... ไร่.................งาน.................ตารางวา ๔. จานวนโรงเรือน...............................................โรงเรือน จานวนสัตว์................................ตัว ๕. ทั้งนี้ขอรับรองฟาร์ม  สุกรขุน  โคขุน เป็นฟาร์มปลอดสารเร่งเนื้อแดงหรือสารกลุ่มเบต้าอะโกนิสท์ (β-Agonist) ๖. ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กรมปศุสัตว์กาหนดอย่างเคร่งครัดแล้ว ดังนี้ (โปรดใส่เครื่องหมาย ลงในช่องที่กาหนด)  เป็นผู้ประกอบการเลี้ยง  สุกรขุน  โคขุนในลักษณะฟาร์ม  ต้องได้รับการรับรองการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีด้านปศุสัตว์ (GAP) หรือ ได้รับการรับรองฟาร์มที่มี ระบบการป้องกันโรคและการเลี้ยงสัตว์ที่เหมาะสม (GFM)  ไม่เป็นผู้ถูกเพิกถอนการรับรอง เว้นแต่พ้นระยะเวลา ๖ เดือนไปแล้ว กรณีขอรับรองใหม่ ต้องมีผลตรวจสารเร่งเนื้อแดงในปัสสาวะด้วยวิธี ELISA และผลเป็นลบติดต่อกัน อย่างน้อย ๒ ครั้ง ห่างกันอย่างน้อย ๑ เดือน กรณี ในโคขุ น ต้ อ งมี ผ ลตรวจสารเร่ งเนื้ อ แดงในปั ส สาวะด้ วยชุ ด Strip test หรื อ ด้ ว ยวิ ธี ELISA และผลเป็นลบติดต่อกันอย่างน้อย ๒ ครั้ง ห่างกันอย่างน้อย ๑ เดือน กรณีข อต่อ อายุต้อ งมีผ ลการตรวจสารเร่ง เนื ้อ แดงในปัส สาวะด้ว ยวิธี ELISA และผลเป็น ลบ อย่างน้อย ๑ ครั้ง ในระยะเวลาก่อนใบรับรองหมดอายุ ๗. พร้อมกับคาขอนี้ได้แนบเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ดังต่อไปนี้ แผนที่แสดงที่ตั้งฟาร์ม สาเนาใบรับรองฉบับเดิม (กรณีขอต่ออายุใบรับรอง) อื่นๆ ระบุ (๑) ........................................................................................................................ (๒) ........................................................................................................................ (๓) ........................................................................................................................ หมายเหตุ: กรณีบุคคลธรรมดา มาติดต่อด้วยตัวเอง ต้องนาบัตรประจาตัวประชาชนมาแสดงต่อเจ้าหน้าที่

ลงชื่อ....................................................... (......................................................) เจ้าของฟาร์ม/ผู้ดาเนินกิจการ

74

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 185 มีนาคม - เมษายน 2562


Around the World

แบบ ร.ร.ฟ. ๒

เลขที.่ .................................

ใบรับรองฉบับนี้ให้ไว้เพื่อแสดงว่า ชื่อฟาร์ม..................................................................................................... ชื่อผู้ประกอบการ......................................................................................... สถานที่ตั้งฟาร์ม...........................................................................................

ได้รับการรับรอง เป็นฟาร์มสุกรขุนปลอดสารเร่งเนื้อแดง หรือสารกลุ่มเบต้าอะโกนิสท์ (β-Agonist)

ออกให้ ณ วันที่......................................พ.ศ. ........ หมดอายุ วันที.่ .....................................พ.ศ. ........

ลงชื่อ ..................................................... (...................................................) ตาแหน่ง ....................................................

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 185 มีนาคม - เมษายน 2562

75


Around the World

แบบ ร.ร.ฟ. ๓

เลขที.่ .................................

ใบรับรองฉบับนี้ให้ไว้เพื่อแสดงว่า ชื่อฟาร์ม............................................................................................................................. ชื่อผู้ประกอบการ............................................................................................................... สถานที่ตั้งฟาร์ม.................................................................................................................

ได้รับการรับรอง เป็นฟาร์มโคขุนปลอดสารเร่งเนื้อแดง หรือสารกลุ่มเบต้าอะโกนิสท์ (β-Agonist)

ออกให้ ณ วันที่......................................พ.ศ. ........ หมดอายุ วันที่......................................พ.ศ. ........

ลงชื่อ ..................................................... (...................................................) ตาแหน่ง ....................................................

76

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 185 มีนาคม - เมษายน 2562


Around the World

การระบุเลขที่ใบรับรองการเป็นฟาร์มปลอดสารเร่งเนื้อแดง หรือสารกลุ่มเบต้าอะโกนิสท์ (β-Agonist)

ชนิดสัตว์ รหัสจังหวัด รหัสอาเภอ พ.ศ.ที่ออก

ลาดับที่

     ชนิดสัตว์ รหัสจังหวัด รหัสอาเภอ พ.ศ. ที่ออก ลาดับที่

หมายเลข ๑ คือ ฟาร์มสุกรขุน หมายเลข ๒ คือ ฟาร์มโคขุน หมายถึง รหัสจังหวัดที่กาหนดโดยกรมการปกครอง หมายถึง รหัสอาเภอทีก่ าหนดโดยกรมการปกครอง หมายถึง เลขท้าย ๒ หลักของปี พ.ศ. ที่ออกใบรับรอง หมายถึง ลาดับที่ออกใบรับรองให้กับฟาร์มในปีนั้น โดยให้แยกลาดับที่ของฟาร์มสุกรขุนและ ฟาร์มโคขุนออกจากกัน

ตัวอย่าง ๑ ๑๐๐๑ ๖๐ ๐๐๑ หมายความว่า ฟาร์มสุกรในพื้นที่จังหวัดกรุงเทพมหานคร เขตพระนคร ได้รับ การรับรองปลอดสารเร่งเนื้อแดงในปี พ.ศ. ๒๕๖๐ ลาดับที่ ๑ ในปีนั้น

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 185 มีนาคม - เมษายน 2562

77


Around the World

บันทึกการตรวจสอบ

ตามประกาศกรมปศุสัตว์ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการรับรองฟาร์มเลี้ยงสัตว์ ปลอดสารเร่งเนื้อแดงหรือสารกลุ่มเบต้าอะโกนิสท์ (β-Agonist) พ.ศ. ๒๕๖๒ วันที่................................................. เวลาประมาณ .........................น. คณะผู้ตรวจประเมิน ดังมีรายชื่อต่อไปนี้ …......……...…..................... ........................................................................................................................................................................................................................... .......................................................................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................................................................... ได้มาทาการตรวจสอบฟาร์มเลี้ยงสัตว์ และบันทึกการตรวจสอบไว้ ดังนี้ ๑. ชื่อฟาร์ม...................................................................................ชื่อผู้ประกอบการ......................................................................... สถานทีต่ ั้งฟาร์มเลขที.่ ....................หมู่ที่...................ซอย.................................ถนน.................................... ตาบล/แขวง................................. อาเภอ/เขต.................................................จังหวัด.............................................เบอร์โทรศัพท์.......................................................................... ๒. ประเภทฟาร์มเลี้ยงสัตว์

สุกรขุน

โคขุน

๓. การเก็บตัวอย่างปัสสาวะ................................................................ตัวอย่าง ๔. สรุปผลการตรวจสอบและความเห็นเบื้องต้น ........................................................................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................................................................... ............ ......................................................................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................................................................ ........................................................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................................................ ........... ........................................................................................................................................................................................................................... ......................................................................................................................................................................................................................... ในการตรวจสอบฟาร์มเลี้ยงสัตว์ครั้งนี้ คณะผู้ตรวจประเมินมิได้ทาให้ทรัพย์สินที่มีอยู่ในสถานที่นี้สูญหาย หรือเสียหายแต่อย่างใด ผู้ประกอบการ หรือผู้แทน ได้อ่านดูแล้ว และ/หรือ ได้รับฟังการอ่านให้ฟังของคณะผู้ตรวจประเมินแล้วรับรองว่าถูกต้องจึงลงลายมือชื่อ รับรองไว้ต่อหน้าคณะผู้ตรวจประเมินท้ายบันทึก

78

ลงชื่อ................................................ผู้ประกอบการ/ผู้แทน (................................................)

ลงชื่อ...............................................ผู้ตรวจประเมิน (................................................)

ลงชื่อ...............................................พยาน (................................................)

ลงชื่อ...............................................ผู้ตรวจประเมิน /พยาน (................................................)

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 185 มีนาคม - เมษายน 2562


Around the World

บันทึกถ้อยคำ เขียนที่ ............................................................... วันที่...........เดือน....................................... พ.ศ. ............... ข้าพเจ้า.......................................................................................... อายุ................ปี เชื้อชาติ................สัญชาติ................ อยู่บ้านเลขที่ ...................หมู่ที่..............ซอย........................ถนน...................................... ตาบล / แขวง ............................................... อาเภอ / เขต..............................จังหวัด......................................หมายเลขบัตรประจาตัวประชาชน.......................................................... หลักฐานอื่นๆ...........................................................................................................เบอร์โทรศัพท์ ............................................................ ข้าพเจ้าขอให้ถ้อยคาว่า.............................................................................................................................................................. .................................................................................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................................................... ข้าพเจ้าขอรับรองว่า คณะผู้ตรวจประเมิน มิได้ทาหรือจัดให้ทาการใด ๆ ซึ่ง เป็นการล่อลวงขู่เข็ ญหรือให้สัญญาเพื่อจูงใจ ให้ข้าพเจ้าให้ถ้อยคาแต่อย่างใด ข้าพเจ้าได้อ่านดูแล้ว และ/หรือ คณะผู้ตรวจประเมินอ่านให้ฟังแล้ว ข้าพเจ้าขอรับรองว่าเป็นบันทึก ถ้อยคาที่ถูกต้อง จึงลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้าคณะผู้ตรวจประเมิน ลงชื่อ...................................................ผู้ให้ถ้อยคา (..................................................)

ลงชื่อ...................................................ผู้ตรวจประเมินผู้บันทึกถ้อยคา (..................................................) ตาแหน่ง................................................

ลงชื่อ...................................................พยาน (..................................................)

ลงชื่อ...................................................ผู้ตรวจประเมิน/พยาน (..................................................) ตาแหน่ง...............................................

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 185 มีนาคม - เมษายน 2562

79


ขอขอบคุณบริษัทที่ให้ความสนับสนุน และความร่วมมือในการจัดท�ำวารสารธุรกิจอาหารสัตว์

1 บริษัท เบทาโกร จ�ำกัด (มหาชน) 2 บริษัท ซี พี เอฟ (ประเทศไทย) จ�ำกัด (มหาชน) สมุทรปราการ 3 บริษัท กรุงไทยอาหาร จ�ำกัด (มหาชน) 4 บริษัท ทีเอฟเอ็มเอส จ�ำกัด 5 บริษัท ลีพัฒนาผลิตภัณฑ์ จ�ำกัด (มหาชน) 6 บริษัท ซี พี เอฟ (ประเทศไทย) จ�ำกัด (มหาชน) สระบุรี 7 บริษัท ท็อป ฟีด มิลล์ จ�ำกัด 8 บริษัท แลบอินเตอร์ จ�ำกัด 9 บริษัท ฮูเวฟาร์มา (ประเทศไทย) จ�ำกัด 10 บริษัท เออร์เบอร์ ไบโอเทค (ประเทศไทย) จ�ำกัด 11 บริษัท ยูนีโกรอินเตอร์เนชั่นแนล จ�ำกัด 12 บริษัท อดิสสิโอ เทรดดิ้ง (ประเทศไทย) จ�ำกัด 13 บริษัท เกษตรภัณฑ์อุตสาหกรรม จ�ำกัด 14 บริษัท ไฟโตไบโอติกส์ (ประเทศไทย) จ�ำกัด 15 ลา เมคคานิค่า เอส.อาร์.ดิเรฟโฟ

โทร. 0-2833-8000 โทร. 0-2680-4580 โทร. 0-2473-8000 โทร. 0-2814-3480 โทร. 0-2632-7232 โทร. 0-2680-4500 โทร. 0-2194-5678-96 โทร. 0-3488-6140-48 โทร. 0-2937-4355 โทร. 0-2993-7500 โทร. 0-3430-5101-3 โทร. 0-2681-1329 โทร. 0-2817-6410 โทร. 0-2694-2498 โทร. 098-248-9771




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.