วารสารธุรกิจอาหารสัตว์ เล่มที่ 183

Page 1



รายนามสมาชิก สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย 1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8. 9. 10. 11. 12. 13. 14. 15. 16. 17. 18. 19. 20. 21. 22. 23. 24. 25. 26. 27.

บริษัท เบทาโกร โฮลดิ้ง จ�ำกัด บริษัท แหลมทองสหการ จ�ำกัด บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารเซ็นทรัล จ�ำกัด บริษัท ป.เจริญพันธ์อาหารสัตว์ จ�ำกัด บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จ�ำกัด (มหาชน) บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จ�ำกัด (มหาชน) บริษัท กรุงไทยอาหาร จ�ำกัด (มหาชน) บริษัท ลีพัฒนาผลิตภัณฑ์ จ�ำกัด (มหาชน) บริษัท คาร์กิลล์สยาม จ�ำกัด บริษัท ลีพัฒนาอาหารสัตว์ จ�ำกัด บริษัท ฟีดสเปเชียลตี้ จ�ำกัด บริษัท โกรเบสท์คอร์โพเรชั่น จ�ำกัด บริษัท เอเชี่ยน ฟีด จ�ำกัด บริษัท ไทยลักซ์เอ็นเตอร์ไพรส์ จ�ำกัด (มหาชน) บริษัท ทีเอฟเอ็มเอส (สระบุรี) จ�ำกัด บริษัท เบทาโกร จ�ำกัด (มหาชน) บริษัท ท็อป ฟีด มิลล์ จ�ำกัด บริษัท คาร์กิลล์มีทส์ (ไทยแลนด์) จ�ำกัด บริษัท ยูไนเต็ดฟีดมิลล์ จ�ำกัด บริษัท มิตรภาพอาหารสัตว์ จ�ำกัด บริษัท เหรียญทอง ฟีด (1992) จ�ำกัด บริษัท แหลมทองเกษตรภัณฑ์ จ�ำกัด บริษัท ทีเอฟเอ็มเอส จ�ำกัด บริษัท เอส พี เอ็ม อาหารสัตว์ จ�ำกัด บริษัท อีสเทิร์น ฟีดมิลล์ จ�ำกัด บริษัท ซันฟีด จ�ำกัด บริษัท ยูนีโกร อินเตอร์เนชั่นแนล จ�ำกัด

28. 29. 30. 31. 32. 33. 34. 35. 36. 37. 38. 39. 40. 41. 42. 43. 44. 45. 46. 47. 48. 49. 50. 51. 52. 53.

บริษัท พนัสโภคภัณฑ์ จ�ำกัด บริษัท ยู่สูง จ�ำกัด บริษัท แหลมทองอะควอเทค จ�ำกัด บริษัท บางกอกแร้นซ์ จ�ำกัด (มหาชน) บริษัท กาญจนาอาหารสัตว์ จ�ำกัด บริษัท ก้าวหน้าอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ จ�ำกัด บริษัท กรุงเทพโปรดิ๊วส จ�ำกัด (มหาชน) บริษัท วี.ซี.เอฟ. กรุ๊ป จ�ำกัด บริษัท ชัยภูมิฟาร์มผลิตภัณฑ์การเกษตร จ�ำกัด บริษัท ไทยยูเนี่ยน ฟีดมิลล์ จ�ำกัด บริษัท อินเทคค์ ฟีด จ�ำกัด บริษัท บุญพิศาล จ�ำกัด บริษัท เฮกซ่าแคลไซเนชั่น จ�ำกัด บริษัท หนองบัว ฟีด มิลล์ จ�ำกัด บริษัท ไทย ฟู้ดส์ อาหารสัตว์ จ�ำกัด บริษัท โกลด์ คอยน์ สเปเชียลิตี้ส์ (ประเทศไทย) จ�ำกัด บริษัท วีพีเอฟ กรุ๊ป (1973) จ�ำกัด บริษัท อาร์ที อะกริเทค จ�ำกัด บริษัท ฟาร์มจงเจริญ จ�ำกัด บริษัท เจบีเอฟ จ�ำกัด บริษัท อินเว (ประเทศไทย) จ�ำกัด บริษัท ทีอาร์เอฟ ฟีดมิลล์ จ�ำกัด บริษัท บีอาร์เอฟ ฟีด (ไทยแลนด์) จ�ำกัด บริษัท เกษมชัยฟาร์มอาหารสัตว์ จ�ำกัด บริษัท พนัส ฟีดมิลล์ จ�ำกัด บริษัท เอพีเอ็ม อะโกร จ�ำกัด

ร า ก นา

ัน ภนิ


คณะกรรมการบริ ห าร สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย ประจำ�ปี 2560-2561

1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8. 9. 10. 11. 12. 13. 14. 15. 16. 17.

นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล นายชยานนท์ กฤตยาเชวง นายประจักษ์ ธีระกุลพิศุทธิ์ นายไพศาล เครือวงศ์วานิช นางเบญจพร สังหิตกุล นายบุญธรรม อร่ามศิริวัฒน์ นางสาวสุวรรณี แต้ไพสิฐพงษ์ นายสมภพ เอื้อทรงธรรม นายโดม มีกุล นายวิโรจน์ กอเจริญรัตน์ นายเธียรเทพ ศิริชยาพร นายวิชัย คณาธนะวนิชย์ นายวิศิษฐ คณาธนะวนิชย์ นายสุจิน ศิริมงคลเกษม นางสาวนลิน เหล่าวรวิทย์ นายสุทธิชัย ศักดิ์ชัยเจริญกุล นายจ�ำลอง เติมกลิ่นจันทน์

นายกสมาคม อุปนายก อุปนายก อุปนายก เหรัญญิกสมาคม เลขาธิการ รองเลขาธิการ รองเลขาธิการ ประชาสัมพันธ์ ปฏิคม นายทะเบียน กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ

บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จ�ำกัด (มหาชน) บริษัท เบทาโกร จ�ำกัด (มหาชน) บริษัท ป.เจริญพันธ์อาหารสัตว์ จ�ำกัด บริษัท กรุงเทพโปรดิ๊วส จ�ำกัด (มหาชน) บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จ�ำกัด (มหาชน) บริษัท ลีพัฒนาผลิตภัณฑ์ จ�ำกัด (มหาชน) บริษัท เบทาโกรโฮลดิ้ง จ�ำกัด บริษัท อินเทคค์ ฟีด จ�ำกัด บริษัท ทีเอฟเอ็มเอส (สระบุรี) จ�ำกัด บริษัท ลีพัฒนาอาหารสัตว์ จ�ำกัด บริษัท ทีเอฟเอ็มเอส จ�ำกัด บริษัท แหลมทองเกษตรภัณฑ์ จ�ำกัด บริษัท แหลมทองอะควอเทค จ�ำกัด บริษัท กรุงไทยอาหาร จ�ำกัด (มหาชน) บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารเซ็นทรัล จ�ำกัด บริษัท ท็อป ฟีด มิลล์ จ�ำกัด บริษัท ซันฟีด จ�ำกัด


บรรณาธิการ

แถลง

วัตถุดบิ ขาดแคลน ก็หาทางแก้ไขกันไป มีวตั ถุดบิ อะไรมาทดแทนได้ ก็ดนิ้ รนหาทางเอามาใช้กนั ให้ได้ วัตถุดบิ ล้น (ผลิตผลทางการเกษตร) ราคาตกต�ำ่ ก็เดือดร้อนคนเลีย้ งสัตว์ บอกให้มาช่วยกันใช้ ให้มากขึน้ เพือ่ ช่วยเหลือ แต่แล้ว ต้นทุนการเลีย้ งก็สงู ขึน้ ขายผลิตภัณฑ์เนือ้ สัตว์ไม่ได้ราคา ต้องขาดทุน ซ�ำ้ ซากเป็นเวลายาวนาน จนต้องเลิกเลีย้ งกันไปมากมาย ซ�ำ้ ร้าย ข่าวเรือ่ งโรคจากประเทศอืน่ ก็ยงั มา ซ�ำ้ เติม ให้เป็นทีห่ วาดผวา จนต้องเฝ้าระวังกันอย่างหนัก ช่างหาความสะดวกสบายส�ำหรับคนเลีย้ งสัตว์ ไม่ได้เลย ภาคปศุสตั ว์ของไทย มีหลากหลายประเภททีส่ ลับสับเปลีย่ นกันเป็นวัฏจักรราคาขึน้ ลง หมุนเวียน เปลี่ยนกัน แต่บางชนิดขาดทุนยาวนาน จนคณะกรรมการแต่ละคณะจะต้องหาทางช่วยเหลืออย่างเต็ม ก�ำลังความสามารถ เรื่องที่ก�ำลังเป็นที่หวาดผวาส�ำหรับภาคปศุสัตว์ คือ โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (African swine fever) และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะต้องออกมาตรการเฝ้าระวังอย่างเข้มงวด ไม่ให้มีการ เล็ดลอดเข้ามาท�ำลายภาคปศุสตั ว์ของไทยได้ เพราะจากข่าวต่างๆ ทีอ่ อกมาจากแหล่งระบาดก็ไม่ได้ไกล จากประเทศไทยแล้ว ทางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เตรียมประสานไปยังกระทรวงการท่องเทีย่ วและ กีฬา กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการต่างประเทศ เพือ่ หารือการเตรียมออกประกาศห้ามน�ำเข้า หรือ พกพาเนือ้ สัตว์ สินค้าอืน่ ๆ ทีม่ สี ว่ นประกอบของเนือ้ สัตว์ โดยเฉพาะอย่างยิง่ ส่วนประกอบจากหมูเข้าไทย เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร ดังนัน้ จากกระแสข่าวดังกล่าว ทุกฟาร์มต้องดูแลฟาร์มในความรับผิดชอบให้ดี ช่วงนี้ แต่ละฟาร์ม จะต้องรับฟังข่าวสารทางราชการ และให้ความร่วมมือกับภาครัฐ และช่วยกันชีแ้ จงความจ�ำเป็นทีจ่ ะต้อง เข้มงวดด้วย เพราะถ้าโรคเข้ามาได้ ความเสียหายจะมีมาก จึงต้องช่วยกัน และช่วยเหลือเกษตรกร รายย่อย เรือ่ งการเข้าถึงข้อมูลเพราะโรคอหิวาต์แอฟริกา ยังไม่มวี คั ซีนป้องกัน รวมทัง้ วัคซีนประเภทอืน่ ๆ ทีม่ กี ารน�ำเข้ามา อาจจะมีปนเปือ้ นของเชือ้ โรคนีม้ าด้วย เมือ่ เป็นเช่นนีแ้ ล้ว ทางทีด่ คี อื ทุกฟาร์มต้องเตรียม รับมือ ออกมาตรการเข้มงวดในการเข้าฟาร์ม งดการเข้าเยีย่ มชมฟาร์ม เตรียมยาพ่นฆ่าเชือ้ จุม่ เท้า สร้าง โรงสเปรย์ถาวร และภาวนาอย่าให้โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร เข้ามาระบาดในประเทศไทยเลย เพราะภาคปศุสตั ว์ ไทยบอบช�้ำมามากพอแล้ว บก.


ธุรกิจอาหารสัตว์

วารสาร

ปีที่ 35  เล่มที่ 183  ประจำ�เดือน พฤศจิกายน - ธันวาคม 2561

Thailand Focus Food Feed Fuel

สินค้าเกษตรโดน 2 เด้ง ราคาดิ่ง...............................................................................................................27 ส่งออก ‘กุ้ง - ยาง - น�้ำตาล’ ดิ่ง อียูกดราคาน�ำเข้า ‘สินค้าไก่’.........................................................................29 สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย ยันรับซื้อผลผลิต ‘ปลูกข้าวโพดหลังนา’ ตามราคาก�ำหนดจบโครงการ......................32 สถานการณ์ถั่วเหลือง...............................................................................................................................34 สถานการณ์กากถั่วเหลือง.........................................................................................................................37 ไข่ไก่แพงสวนทาง! ล้นตลาด......................................................................................................................40 ข้าวโพด กับสิ่งแวดล้อม............................................................................................................................42 เปิด 3 มาตรการ แก้ราคาไข่ไก่ตกต�่ำ ปลดพ่อแม่พันธุ์ - เร่งการส่งออก.............................................................47 'ซีพี' ท้าพิสูจน์ ท�ำไข่ล้นตลาด ปศุสัตว์รื้อสูตรค�ำนวณใหม่ - จ่อปลดแม่ไก่ล้านตัว.................................................50 พ่อค้าคนกลาง ฟันก�ำไรไข่ไก่พุงกาง............................................................................................................52 ‘กฤษฎา’ ประชุม 10 รมว.เกษตร ทั่วโลก ตั้งเป้าอีก 3 ปี ลด ’มนุษย์ - สัตว์’ ป่วยจากดื้อยาครึ่งหนึ่ง..................54 สมทบเพิ่ม ASF Fund ซีพีเอฟ 2 ล้าน, เบทาโกร 1 ล้าน ปรับปรุง 5 ด่าน จุดผ่านชายแดนไทย........................56 เกษตรฯ MOU 2 สมาคม รับซื้อข้าวโพดทุกเมล็ด ราคาไม่ต�่ำกว่า 8 บาท/กก...................................................58

Around the World

ภาวะเศรษฐกิจการเกษตรปี 2561 และแนวโน้มปี 2562................................................................................5 เกษตรฯ ชู ‘โครงการปลูกข้าวโพดหลังนา’ โมเดลแก้ปัญหาตลาดสินค้าสู่ความยั่งยืน..........................................15 'กฤษฎา' เข้ม ปลูกข้าวโพดหวั่นใช้เมล็ดพันธุ์ปลอม ขณะ ยาง ปาล์ม ราคาตก ฉุดดัชนี ต.ค. ร่วง 0.37%................18 ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ทดแทนการปลูกข้าวนาปรังในฤดูแล้งดีหรือไม่?..............................................................20 ซีพีผนึกพลังภาครัฐ ซื้อข้าวโพดหลังนา.......................................................................................................25 เบทาโกรอุ้มข้าวโพดหลังนา ลุยส�ำรวจศักยภาพสหกรณ์ทั่วปท. - ประกาศรับซื้อไม่อั้น.........................................26

Market Leader

Contents

วัตถุประสงค์ 1. เพื่อส่งเสริมความรู้และเผยแพร่อุตสาหกรรมอาหารสัตว์และการปศุสัตว์ 2. เพื่อเป็นสื่อกลางระหว่างสมาชิกและผู้ที่เกี่ยวข้องทั่วไป 3. เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารสัตว์และการปศุสัตว์ของประเทศให้เจริญรุ่งเรืองในแนวทาง ที่เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของชาติ 4. ไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง

ดัชนีรายได้เกษตรกรเพิ่มขึ้น 3.86% สศก. ชี้ผลผลิตหลายชนิดขาดตลาด - คาด ธ.ค. ยังทรงตัว..........................61 'ปศุสัตว์' เข้ม! ตรวจพบสารพันธุกรรม เชื้ออหิวาต์แอฟริกาในสุกร จากไส้กรอกยึดจาก นทท.จีน.........................63 ประชุมหารือ เรื่อง มาตรการการด�ำเนินงานโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร.............................................................66 ยักษ์อาหารโลกลุย เปิดศึกชิงตลาดไก่ในไทย.................................................................................................67 การส�ำรวจข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ครั้งที่ 4/2561...............................................................................................68 ขอบคุณ................................................................................................................................................80

  ด�ำเนินการโดย : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย   : นายประเสริ ฐ พุ ่ ง กุ ม าร     รองประธานกรรมการที่ ป รึ ก ษา : นายวี ร ชั ย รั ต นบานชื่ น   นายพรศิ ล ป์ พั ช ริ น ทร์ ต นะกุ ล      กรรมการที่ปรึกษา : นายสมชาย กังสมุทร  นายพงษ์ เหล่าวรวิทย์  นายประสิทธิ์ ศิริมงคลเกษม  นายอดิเรก ศรีประทักษ์  นายนิพนธ์ ลีละศิธร นางเบญจพร สังหิตกุล  นายณรงค์ชัย ศรีสันติแสง  นายบุญธรรม อร่ามศิริวัฒน์  นายประจักษ์ ธีระกุลพิศุทธิ์     บรรณาธิการ : นายปรีชา กันทรากรกิติ     กองบรรณาธิการ : นายไพบูลย์ ขุนทอง  นายอรรถพล ชินภูวดล  นางสาวปัทมา ศรีเที่ยงตรง  นางสาวกรดา พูลพิเศษ  นายธีรพงษ์ ศิริวิทย์ภักดีกุล  

   ประธานกรรมการที่ ป รึ ก ษา

ส�ำนักงาน : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย 43 ไทย ซีซี ทาวเวอร์ ห้อง 170 ชั้น 17 ถนนสาทรใต้ ยานนาวา สาทร กรุงเทพฯ 10120 โทรศัพท์ 0-2675-6263-4   โทรสาร 0-2675-6265   Email: tfma44@yahoo.com   Website: www.thaifeedmill.com



ระบบมาตรฐานที่ได้รับการรับรอง

GMP / HACCP

ISO 9001 : 2015 / ISO 14001 : 2015


Thailand Focus

ภาวะเศรษฐกิจการเกษตรปี 2561 และแนวโน้มปี 2562 ภาวะเศรษฐกิจการเกษตร ปี 2561 ภาวะเศรษฐกิจการเกษตรปี 2561 ขยายตัว ร้อยละ 4.6 เมื่อเทียบกับปี 2560 โดยสาขาพืช สาขาปศุสตั ว์ สาขาบริการทางการเกษตร และสาขา ป่าไม้ ขยายตัวเพิ่มขึ้น ส่วนสาขาประมงหดตัวลง

• ปริมาณน�้ำ และสภาพอากาศโดยรวม ทั้งประเทศยังคงเอื้ออ�ำนวยต่อการผลิตทางการ เกษตร โดยปริมาณน�ำ้ ใช้การได้ในอ่างเก็บน�ำ้ หลัก ของประเทศมีเพียงพอต่อการเพาะปลูกพืชทีส่ ำ� คัญ หลายชนิด ท�ำให้พชื ส่วนใหญ่เจริญเติบโตได้ดี และ มีผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้น

ปัจจัยบวก

ปัจจัยลบ

• กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มุง่ เน้นการ ปฏิรูปภาคเกษตร ด้วยหลักการตลาดน�ำการผลิต ควบคู่กับการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยได้ ด�ำเนินนโยบายที่ส�ำคัญ อาทิ การบริหารจัดการ ทรัพยากรน�้ำ การส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ การพัฒนาศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการ ผลิตสินค้าเกษตร การบริหารจัดการการผลิตสินค้า เกษตรตามแผนทีเ่ กษตรเพือ่ การบริหารจัดการเชิง รุก การพัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตรสู่มาตรฐาน การพัฒนาเกษตรกรสู่ Smart Farmer ซึง่ ช่วยเพิม่ ประสิทธิภาพการผลิต ลดต้นทุนการผลิต พัฒนา สถาบันเกษตรกรให้มีความเข้มแข็ง ส่งเสริมให้ เกษตรกรเป็นเกษตรกรมืออาชีพที่มีศักยภาพ ทั้ง ทางด้านการผลิต การแปรรูป และการตลาด ท�ำให้ การผลิตสินค้าเกษตรสอดคล้องกับความต้องการ ของตลาด และมีคุณภาพมาตรฐานมากขึ้น

• ช่วงต้นฤดูเพาะปลูก (เดือนพฤษภาคม -  กรกฎาคม 2561) หลายจังหวัดในภาคตะวันออก เฉียงเหนือ อาทิ นครราชสีมา ศรีสะเกษ สุรินทร์ ร้อยเอ็ด ขอนแก่น บุรรี มั ย์ ซึง่ เป็นแหล่งเพาะปลูก ข้าวนาปีที่ส�ำคัญของประเทศ ประสบภัยแล้ง ฝน ทิ้งช่วง ส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของต้น ข้าวในระยะแตกกอ และช่วงออกรวง ท�ำให้ตน้ ข้าว แห้งตาย เมล็ดข้าวลีบไม่สมบูรณ์ รวมทัง้ มีวชั พืชขึน้ เป็นจ�ำนวนมาก ส่งผลให้ผลผลิตข้าวต่อไร่ลดลง

สาขาพืช สาขาพืชในปี 2561 ขยายตัวร้อยละ 5.4 เมื่อเทียบกับปี 2560 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจาก ปริมาณน�ำ้ ใช้การได้ในอ่างเก็บน�ำ้ หลักบริเวณลุม่ น�ำ้ เจ้าพระยา (อ่างเก็บน�้ำภูมิพล สิริกิติ์ แควน้อย บ�ำรุงแดน และป่าสักชลสิทธิ)์ เพิม่ ขึน้ จากปีทผี่ า่ น

ที่มา : กองนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตร สำ�นักงานเศรษฐกิจการเกษตร ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 35 เล่มที่ 183 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2561

5


Thailand Focus มา ท�ำให้เกษตรกรในหลายพืน้ ทีส่ ามารถเพาะปลูก พืชฤดูแล้งได้ตามปกติ ประกอบกับในช่วงฤดูฝน มีปริมาณน�ำ้ เหมาะสม เอือ้ อ�ำนวยต่อการเพาะปลูก พืช รวมถึงการด�ำเนินนโยบายและมาตรการต่างๆ ของภาครัฐ ร่วมกับภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ในการส่งเสริมการเพาะปลูกพืชในพื้นที่ ทีเ่ หมาะสม การจัดหาแหล่งน�ำ้ และการใช้พนั ธุท์ ดี่ ี ส่งผลให้เกษตรกรขยายพื้นที่เพาะปลูก และเพิ่ม การดูแลเอาใจใส่มากขึ้น อย่างไรก็ตาม การผลิต พืชบางส่วนยังคงได้รับความเสียหายจากปัญหา น�้ำท่วม และภาวะแห้งแล้งในบางพื้นที่ แต่ในภาพ รวมไม่ส่งผลกระทบต่อการผลิตในสาขาพืชมาก นัก ส�ำหรับผลผลิตพืชทีเ่ พิม่ ขึน้ ได้แก่ ข้าวนาปรัง ข้าวโพดเลีย้ งสัตว์ อ้อยโรงงาน สับปะรดโรงงาน ยางพารา ปาล์มน�้ำมัน ล�ำไย ทุเรียน และเงาะ โดย ข้าวนาปรัง มีผลผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจาก ปริมาณน�ำ้ ในอ่างเก็บน�ำ้ ส�ำคัญมากกว่าปีทผี่ า่ นมา และปริมาณน�ำ้ ในแหล่งน�ำ้ ธรรมชาติอยูใ่ นเกณฑ์ดี ท�ำให้เกษตรกรสามารถเพาะปลูกข้าวได้สองรอบ ตามปกติ ประกอบกับราคาข้าวที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้ เกษตรกรขยายเนื้อที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้นในพื้นที่นา ที่เคยปล่อยว่าง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มีผลผลิตเพิ่ม ขึ้น เนื่องจากราคาที่เกษตรกรขายได้มีแนวโน้ม เพิม่ ขึน้ จูงใจให้เกษตรกรขยายพืน้ ทีเ่ พาะปลูกแทน พืชอื่น เช่น อ้อยโรงงาน และมันส�ำปะหลัง อ้อย โรงงาน มีผลผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากนโยบายภาค รัฐ สนับสนุนให้เกษตรกรปลูกอ้อยโรงงานแทน ในพื้นที่เพาะปลูกข้าวที่ไม่เหมาะสม ประกอบกับ โรงงานน�้ำตาลให้การสนับสนุน และส่งเสริมการ ปลูกอ้อย ท�ำให้เกษตรกรมีการใช้ทอ่ นพันธุด์ ี และ มีการดูแลเอาใจใส่ที่ดี รวมทั้งปริมาณน�้ำเพียงพอ ต่อการเติบโต ส่งผลให้มีผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้น สับปะรดโรงงาน มีผลผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจาก

6

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 35 เล่มที่ 183 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2561

ในปี 2558 - 2559 ราคาสับปะรดอยู่ในเกณฑ์สูง ท�ำให้เกษตรกรมีการขยายพื้นที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้น ประกอบกับปริมาณน�้ำฝนอยู่ในเกณฑ์ดี ท�ำให้มี ผลผลิตสับปะรดเพิ่มขึ้น ยางพารา มีผลผลิต เพิ่ ม ขึ้ น เนื่ อ งจากในปี 2553 - 2555 ราคา ยางพาราทีเ่ กษตรกรขายได้อยูใ่ นเกณฑ์ดี จูงใจให้ เกษตรกรขยายพืน้ ทีป่ ลูกยางพาราแทนพืน้ ทีพ่ ชื ไร่ ไม้ผล พื้นที่นา และพื้นที่โค่นต้นยางที่มีอายุมาก ประกอบกับเนือ้ ทีก่ รีดได้สว่ นใหญ่เป็นต้นยางพารา ที่อยู่ในช่วงอายุที่ให้ผลผลิตสูง ปาล์มน�้ำมันมีผล ผลิตเพิม่ ขึน้ เนือ่ งจากต้นปาล์มน�ำ้ มันปลูกใหม่ในปี 2558 เริ่มให้ผลได้ในปีนี้ ท�ำให้มีเนื้อที่ให้ผลเพิ่ม ขึน้ ประกอบกับในช่วง 1 - 2 ปี ทีผ่ า่ นมา มีปริมาณ น�้ำฝน และสภาพอากาศที่เอื้ออ�ำนวย ท�ำให้ต้น ปาล์มมีความสมบูรณ์ และมีจำ� นวนทะลายเพิม่ ขึน้ ล�ำไย มีผลผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากต้นล�ำไยที่ปลูก ในปี 2558 เริ่มให้ผลผลิตในปีนี้ ประกอบกับ สภาพอากาศเหมาะสม มีปริมาณน�ำ้ เพียงพอ และ เกษตรกรบ�ำรุงดูแลรักษาต้นล�ำไยเป็นอย่างดี ท�ำ ให้ต้นล�ำไยออกดอกติดผลมากกว่าปีที่ผ่านมา ทุเรียน มีผลผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากต้นทุเรียนที่ ปลูกในปี 2556 เริม่ ให้ผลผลิต และสภาพอากาศ เอื้ออ�ำนวย ท�ำให้ทุเรียนออกดอกและติดผลดี ประกอบกั บ ราคาทุ เ รี ย นอยู ่ ใ นเกณฑ์ ดี ท� ำ ให้ เกษตรกรมีการบ�ำรุงดูแลรักษามากขึน้ ส่งผลให้มี ผลผลิตต่อไร่เพิม่ สูงขึน้ และเงาะ มีผลผลิตเพิม่ ขึน้ เนื่องจากเกษตรกรดูแลรักษาดี เพื่อท�ำให้ต้นเงาะ มีความสมบูรณ์ รวมทั้งสภาพอากาศเอื้ออ�ำนวย ส�ำหรับผลผลิตพืชทีล่ ดลง ได้แก่ ข้าวนาปี มันส�ำปะหลัง และมังคุด โดย ข้าวนาปี มีผลผลิต ลดลง เนื่องจากบางพื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือประสบภัยแล้งในช่วงต้นฤดูปลูก และฝน ทิ้งช่วงในระยะข้าวออกรวง ท�ำให้เมล็ดข้าวลีบ


Thailand Focus ไม่สมบูรณ์ ส่งผลให้ข้าวนาปีบางส่วนได้รับความ เสียหาย มันส�ำปะหลัง มีผลผลิตลดลง เนื่องจาก เนื้ อ ที่ เ ก็ บ เกี่ ย วลดลง ซึ่ ง เป็ น ผลจากราคามั น ส�ำปะหลังในปีที่ผ่านมาตกต�่ำอย่างต่อเนื่อง ท�ำให้ เกษตรกรปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่นที่ให้ผลตอบ แทนดีกว่า เช่น อ้อยโรงงาน และข้าวโพดเลีย้ งสัตว์ ประกอบกับบางพื้นที่มีฝนตกชุก และน�้ำท่วมขัง ท�ำให้หัวมันส�ำปะหลังบางส่วนเน่าเสีย และมังคุด มีผลผลิตลดลง เนื่องจากต้นมังคุดมีการพักต้น เพื่อสะสมอาหารจากการให้ผลผลิตมากเมื่อปีที่ แล้ว ประกอบกับสภาพอากาศทีแ่ ปรปรวน ฝนตก ต่อเนื่อง ส่งผลให้ต้นมังคุดแตกใบอ่อนแทนการ ออกดอก ด้านราคา สินค้าพืชที่มีราคาเฉลี่ยในช่วง เดือนมกราคม - พฤศจิกายน 2561 เพิม่ ขึน้ ได้แก่ ข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันส�ำปะหลัง ล�ำไย ทุเรียน และมังคุด โดย ข้าว มีราคาเพิ่มขึ้น เนือ่ งจากความต้องการของตลาดต่างประเทศเพิม่ ขึน้ โดยมีคำ� สัง่ ซือ้ ข้าวเข้ามามากขึน้ รวมทัง้ มีการ ส่งมอบข้าวตามสัญญาซือ้ ขายกับต่างประเทศอย่าง ต่อเนื่อง ส่งผลให้ราคาข้าวเปลือกปรับตัวสูงขึ้น ข้าวโพดเลีย้ งสัตว์ มีราคาเพิม่ ขึน้ เนือ่ งจากความ ต้องการของอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ขยายตัวขึ้น รวมทั้งการด�ำเนินมาตรการรับซื้อข้าวโพดเลี้ยง สัตว์ของเกษตรกรเพื่อรักษาเสถียรภาพด้านราคา มันส�ำปะหลัง มีราคาเพิ่มขึ้น เนื่องจากปริมาณ ผลผลิตลดลง ไม่เพียงพอต่อความต้องการของ ผูป้ ระกอบการ โดยเฉพาะโรงงานแป้งมัน และลาน มัน ประกอบกับภาคเอกชนมีการก�ำหนดราคา ส่งออกมันเส้นขั้นต�่ำ ท�ำให้ราคามันส�ำปะหลังที่ เกษตรกรขายได้ปรับตัวสูงขึน้ ล�ำไย มีราคาเพิม่ ขึน้ เนื่องจากเกษตรกรปรับเปลี่ยนมาผลิตล�ำไยนอก

ฤดูกาลเพิ่มขึ้น เพื่อลดปัญหาราคาตกต�่ำในช่วง ฤดูกาลปกติทมี่ ผี ลผลิตล�ำไยออกสูต่ ลาดกระจุกตัว (เดือนกรกฎาคม - สิงหาคม) ประกอบกับคุณภาพ ผลผลิตตรงตามความต้องการของตลาด ทุเรียน และมังคุด มีราคาเพิม่ ขึน้ เนือ่ งจากผลผลิตออกสู่ ตลาดไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาดทัง้ ใน และต่างประเทศ สินค้าพืชที่มีราคาเฉลี่ยลดลง ได้แก่ อ้อย โรงงาน สับปะรดโรงงาน ยางแผ่นดิบ ปาล์ม น�้ำมัน และเงาะ โดย อ้อยโรงงาน มีราคาลดลง เนื่องจากปริมาณผลผลิตอ้อยโรงงานในประเทศ เพิม่ มากขึน้ ประกอบกับราคาน�ำ้ ตาลในตลาดโลก ที่ปรับตัวลดลง เนื่องจากปริมาณผลผลิตน�้ำตาล ในตลาดโลกเพิม่ ขึน้ จากประเทศผูผ้ ลิตส�ำคัญ เช่น บราซิล อินเดีย และจีน สับปะรดโรงงาน มีราคา ลดลง เนือ่ งจากปริมาณผลผลิตทัง้ ประเทศเพิม่ ขึน้ มากกว่าความต้องการของตลาด ยางแผ่นดิบ มี ราคาลดลง เนื่องจากปริมาณผลผลิตเพิ่มขึ้นจาก พืน้ ทีเ่ ปิดกรีดยางใหม่ทเี่ พิม่ ขึน้ ประกอบกับความ ต้องการของตลาดจีนซึง่ เป็นตลาดหลักยังคงชะลอ ตัว ส่งผลให้ปริมาณสต็อกยางในประเทศของไทย ยังอยูใ่ นระดับสูง ปาล์มนํา้ มัน มีราคาลดลง เนือ่ ง จากปริมาณผลผลิตปาล์มน�้ำมันออกมาสู่ตลาด มาก ส่งผลให้สต็อกน�ำ้ มันปาล์มยังคงมีปริมาณสูง กว่าสต็อกเพื่อความมั่นคงที่ประเมินไว้ ประกอบ กับราคาน�้ำมันปาล์มในตลาดโลกมีทิศทางลดลง เงาะ มีราคาลดลง เนือ่ งจากมีปริมาณผลผลิตออกสู่ ตลาดเป็นจ�ำนวนมาก ด้านการส่งออก สินค้าพืชและผลิตภัณฑ์ ที่มีปริมาณและมูลค่าส่งออกในช่วงเดือนมกราคม - ตุลาคม 2561 เพิ่มขึ้น ได้แก่ ข้าวรวม นํ้ามันปาล์ม ทุเรียนและผลิตภัณฑ์ และเงาะ ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 35 เล่มที่ 183 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2561

7


Thailand Focus

8

และผลิตภัณฑ์ โดย ข้าวรวม มีปริมาณและ มูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้น เนื่องจากตลาดต่างประเทศ ยังคงมีความต้องการข้าวคุณภาพดีจากไทยอย่าง ต่อเนื่อง โดยเฉพาะประเทศในภูมิภาคอาเซียน และแอฟริกา รวมทั้งมีการทยอยส่งมอบข้าวตาม สัญญาซื้อขายข้าวในรูปแบบรัฐต่อรัฐ (G to G) น�้ำมันปาล์ม มีปริมาณและมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้น เนือ่ งจากราคาน�ำ้ มันปาล์มดิบของไทยในช่วงต้นปี 2561 ปรับตัวลดลงมาใกล้เคียงกับราคาตลาดโลก ท�ำให้ในช่วงครึ่งปีแรกสามารถส่งออกได้อย่างต่อ เนือ่ ง ทุเรียนและผลิตภัณฑ์ มีปริมาณและมูลค่า ส่งออกเพิ่มขึ้น เนื่องจากตลาดส่งออกที่ส�ำคัญ ได้แก่ จีน เวียดนาม และฮ่องกง มีความต้องการ บริโภคทุเรียนและผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้น เงาะและ ผลิตภัณฑ์ มีปริมาณและมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้น เนือ่ งจากตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ จีน และประเทศ ในอาเซียนมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น

และจีน กดดันให้อุปสงค์ยางจากประเทศจีน ซึ่ง เป็นผู้น�ำเข้ารายใหญ่ของไทยชะลอตัว สับปะรด และผลิตภัณฑ์ มีปริมาณและมูลค่าส่งออกลดลง เนือ่ งจากผลผลิตสับปะรดโลกทีเ่ พิม่ ขึน้ และตลาด สับปะรดส่งออกของโลกมีการแข่งขันสูง ท�ำให้ ผู้ซื้อต่างประเทศบางส่วนหันไปน�ำเข้าสับปะรด จากประเทศคู่แข่งของไทย เช่น ฟิลิปปินส์ และ อินโดนีเซีย ที่มีต้นทุนการผลิตต�่ำกว่าแทน ล�ำไย และผลิตภัณฑ์ มีปริมาณและมูลค่าส่งออกลดลง เนื่องจากตลาดส่งออกที่ส�ำคัญของไทย ได้แก่ เวียดนาม จีน และอินโดนีเซีย มีการน�ำเข้าลดลง โดยเฉพาะอินโดนีเซีย ที่มีมาตรการจ�ำกัดการน�ำ เข้าล�ำไยในช่วงเดือนกรกฎาคม - สิงหาคม ส่งผลให้ ไทยไม่สามารถส่งออกล�ำไยและผลิตภัณฑ์ไปยัง อินโดนีเซียได้ และมังคุด มีปริมาณและมูลค่า ส่งออกลดลง เนื่องจากมีผลผลิตออกสู่ตลาดน้อย และไม่ได้คณ ุ ภาพตรงตามความต้องการของตลาด

สินค้าพืชและผลิตภัณฑ์ที่มีปริมาณและ มู ล ค่ า ส่ ง ออกในช่ ว งเดื อ นมกราคม - ตุ ล าคม 2561 ลดลง ได้แก่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ยางพารา สับปะรดและผลิตภัณฑ์ ล�ำไยและผลิตภัณฑ์ และมังคุด โดย ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มีปริมาณ และมูลค่าส่งออกลดลง เนื่องจากความต้องการ ของโรงงานอาหารสัตว์ภายในประเทศยังมีตอ่ เนือ่ ง ยางพารา มีปริมาณและมูลค่าส่งออกลดลง เนื่อง จากมาตรการทางการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกา

สินค้าที่มีปริมาณส่งออกลดลง แต่มูลค่า ส่งออกเพิ่มขึ้น ในช่วงเดือนมกราคม - ตุลาคม 2561 คือ มันส�ำปะหลังและผลิตภัณฑ์ มีปริมาณ ส่งออกลดลง เนือ่ งจากปริมาณผลผลิตในประเทศ ลดลง ขณะที่มูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นจากราคามัน ส� ำ ปะหลั ง และผลิ ต ภั ณ ฑ์ ที่ ป รั บ ตั ว สู ง ขึ้ น โดย ประเทศจี น ซึ่ ง เป็ น ประเทศคู ่ ค ้ า หลั ก ของไทยมี ความต้องการน�ำเข้าผลิตภัณฑ์มันส�ำปะหลังของ ไทยอย่างต่อเนื่อง และสินค้าที่มีปริมาณส่งออก

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 35 เล่มที่ 183 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2561


Thailand Focus เพิ่มขึ้น แต่มูลค่าส่งออกลดลง คือ นํ้าตาลและ ผลิตภัณฑ์ มีปริมาณส่งออกเพิ่มขึ้น เนื่องจาก ปริมาณผลผลิตน�้ำตาลของไทยเพิ่มขึ้น ขณะที่ ราคาน�้ำตาลทรายในตลาดโลกปรับตัวลดลงจาก อุปทานน�ำ้ ตาลของโลกทีม่ อี ยูม่ าก ท�ำให้มลู ค่าการ ส่งออกลดลง

สาขาปศุสัตว์ สาขาปศุสัตว์ในปี 2561 ขยายตัวร้อยละ 1.9 เมื่อเทียบกับปี 2560 โดยสินค้าปศุสัตว์ที่ ส�ำคัญทุกชนิดเพิ่มขึ้น ได้แก่ ไก่เนื้อ สุกร โคเนื้อ ไข่ไก่ และน�้ำนมดิบ ซึ่งเป็นผลจากการจัดการ ฟาร์มที่ได้มาตรฐาน มีการเฝ้าระวังและควบคุม โรคระบาดอย่างต่อเนือ่ ง ประกอบกับสภาพอากาศ ที่เอื้ออ�ำนวยให้สัตว์เติบโตได้ดีกว่าปีที่ผ่านมา ส�ำหรับผลผลิตไก่เนื้อ เพิ่มขึ้น เนื่องจากมีการ ขยายการผลิตเพื่อรองรับความต้องการของตลาด ทั้งใน และต่างประเทศ โดยการผลิตไก่เนื้อของ ไทย มีระบบการผลิตทีป่ ลอดภัย เป็นทีย่ อมรับของ ประเทศคู่ค้า ท�ำให้มีความต้องการน�ำเข้าเพิ่มขึ้น อย่างต่อเนื่องในตลาดหลักทั้งญี่ปุ่น สหภาพยุโรป และอาเซียน ขณะที่ความต้องการบริโภคภายใน ประเทศเพิ่มขึ้น เนื่องจากราคาเนื้อไก่ที่ยังคงต�่ำ กว่าเนื้อสัตว์ประเภทอื่น ผลผลิตสุกร เพิ่มขึ้น จากความต้องการบริโภคอย่างต่อเนื่องของตลาด ภายในประเทศ ประกอบกับเกษตรกรมีการบริหาร จัดการฟาร์มที่ดี มีการป้องกันโรคระบาดในสุกร ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ท�ำให้อัตราการรอดของ สุกรเพิม่ ขึน้ แม้วา่ เกษตรกรบางส่วนจะลดปริมาณ การผลิตลงจากปัญหาผลผลิตสุกรล้นตลาด ซึ่ง เป็นปัญหาสะสมจากปี 2560 แต่ปริมาณผลผลิต โดยรวมยังเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา การ ผลิตโคเนือ้ มีการขยายการผลิตโคมีชวี ติ เพือ่ ตอบ

สนองความต้องการของตลาดทั้งในประเทศ และ ประเทศเพื่อนบ้าน ท�ำให้มีผลผลิตโคเนื้อเพิ่มขึ้น ส่วนผลผลิตไข่ไก่ เพิ่มขึ้น เนื่องจากเกษตรกร มีการจัดการฟาร์มทีม่ ปี ระสิทธิภาพมากขึน้ รวมทัง้ การรณรงค์สง่ เสริมการบริโภคไข่ไก่ แม้จะมีมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาไข่ไก่ โดยให้เกษตรกร รายใหญ่ ป ลดแม่ ไ ก่ ไ ข่ ยื น กรงอายุ ไ ม่ เ กิ น 72 สัปดาห์ เพื่อลดปริมาณผลผลิตไข่ไก่ในตลาด แต่ ผลผลิตไข่ไก่ในปี 2561 ยังคงเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่าน มา น�ำ้ นมดิบ มีผลผลิตเพิม่ ขึน้ เนือ่ งจากเกษตรกร ปรับปรุง และพัฒนาคุณภาพการผลิต มีการคัด ทิ้งแม่โคที่ไม่สมบูรณ์ และให้น�้ำนมน้อย ส่งผลให้ อัตราการให้น�้ำนมต่อแม่ต่อปีเพิ่มขึ้น ด้านราคา ในช่วงเดือนมกราคม - พฤศจิกายน 2561 สินค้าปศุสตั ว์สว่ นใหญ่ทมี่ รี าคาเฉลีย่ ลดลงเมื่อเทียบกับปี 2560 ได้แก่ ไก่เนื้อ สุกร และโคเนือ้ เนือ่ งจากผลผลิตทีอ่ อกสูต่ ลาดเพิม่ ขึน้ แม้จะมีความต้องการบริโภคอย่างต่อเนื่องทั้งปี แต่ผลผลิตยังคงมีมาก ทั้งนี้ ในช่วงครึ่งแรกของ ปี 2561 ภาครัฐได้มีมาตรการให้ลดปริมาณการ ผลิตสินค้าปศุสัตว์ โดยปลดระวางแม่พันธุ์สุกร น�ำสุกรช�ำแหละเข้าห้องเย็น รวมทั้งมีมาตรการ กระตุ้นการบริโภคสุกรหัน โคเนื้อ และไก่เนื้อ ซึ่งท�ำให้ราคาสินค้าปศุสัตว์ในช่วงครึ่งหลังของปี ปรับตัวสูงขึน้ จากช่วงครึง่ แรกของปี แต่ราคาเฉลีย่ ทั้งปียังคงตํ่ากว่าปี 2560 ส�ำหรับไข่ไก่และน�้ำนม ดิบ มีราคาเฉลีย่ เพิม่ ขึน้ เล็กน้อย โดยราคาน�ำ้ นมดิบ ที่เกษตรกรขายได้เพิ่มขึ้น เนื่องจากเกษตรกรได้ รับแรงจูงใจจากเกณฑ์การรับซื้อน�้ำนมดิบที่ขึ้นอยู่ กับคุณภาพ ส่วนราคาไข่ไก่เพิม่ ขึน้ จากการด�ำเนิน มาตรการรักษาเสถียรภาพราคาไข่ไก่

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 35 เล่มที่ 183 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2561

9


Thailand Focus ด้านการส่งออก ในช่วงเดือนมกราคม -  ตุลาคม 2561 ปริมาณและมูลค่าส่งออกสินค้า ปศุสัตว์และผลิตภัณฑ์ที่ส�ำคัญ ขยายตัวเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2560 โดยการ ส่งออกเนือ้ ไก่และผลิตภัณฑ์ ขยายตัวทัง้ เนือ้ ไก่สด แช่เย็นแช่แข็ง และเนือ้ ไก่ปรุงแต่ง เนือ่ งจากความ ต้องการบริโภคของตลาดหลักทีเ่ พิม่ ขึน้ ได้แก่ ญีป่ นุ่ กลุม่ ประเทศในอาเซียน และสหภาพยุโรป เนือ้ สุกร และผลิตภัณฑ์ มีการส่งออกไปยังประเทศคู่ค้า ส�ำคัญเพิ่มขึ้น ได้แก่ ญี่ปุ่น ฮ่องกง สปป.ลาว เมียนมา และมาเลเซีย แม้วา่ จะเกิดการระบาดของ โรคไข้อหิวาต์แอฟริกันในสุกร (African Swine Fever: ASF) ในจีน แต่ไม่สง่ ผลต่อการผลิต และ การส่งออกของไทย เนื่องจากเกษตรกรมีการเฝ้า ระวังอย่างเข้มงวด ส�ำหรับสุกรมีชวี ติ มีการส่งออก ไปยังประเทศเพือ่ นบ้าน โดยเฉพาะกัมพูชาเพิม่ ขึน้ อย่างต่อเนื่องผ่านการค้าชายแดนตั้งแต่ช่วงกลาง ปี 2560 ไข่ไก่ มีปริมาณและมูลค่าส่งออกเพิม่ ขึน้ เนือ่ งจากการเร่งระบายผลผลิตไข่ไก่สว่ นเกินไปยัง ตลาดต่างประเทศ ได้แก่ ฮ่องกง และสิงคโปร์ โดย ความร่วมมือของผูส้ ง่ ออกรายใหญ่ตงั้ แต่ไตรมาสที่ 2 ของปี 2561 ส�ำหรับการส่งออกนมและผลิตภัณฑ์ เพิ่มขึ้น เนื่องจากประเทศคู่ค้าที่ส�ำคัญ ได้ แก่ กัมพูชา เมียนมา มาเลเซีย ลาว ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ยังมีความต้องการนมและผลิตภัณฑ์อย่าง ต่อเนื่อง

สาขาประมง สาขาประมงในปี 2561 หดตัวร้อยละ 1.0 เมื่อเทียบกับปี 2560 โดยกุ้งทะเลเพาะเลี้ยง มี ผลผลิตออกสูต่ ลาดลดลงจากการทีเ่ กษตรกรส่วน ใหญ่ชะลอการลงลูกกุง้ เนือ่ งจากราคากุง้ มีแนวโน้ม

10 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 35 เล่มที่ 183 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2561

ลดลงค่อนข้างมาก ซึ่งเป็นผลจากผลผลิตกุ้งของ โลกมีจ�ำนวนเพิ่มขึ้นอย่างมากจนเกิดภาวะกุ้งล้น ตลาด ส�ำหรับปริมาณสัตว์น�้ำที่น�ำขึ้นท่าเทียบเรือ ในภาคใต้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ ผลผลิตประมงน�ำ้ จืด อาทิ ปลานิล ปลาดุก มีแนว โน้มเพิม่ ขึน้ เช่นเดียวกัน เป็นผลมาจากปริมาณน�ำ้ มีเพียงพอต่อการเลี้ยง เกษตรกรสามารถขยาย เนื้อที่เลี้ยง เพิ่มรอบการเลี้ยง และเพิ่มอัตราการ ปล่อยลูกพันธุ์เพิ่มขึ้น ด้านราคา ในช่วงเดือนมกราคม - พฤศจิกายน 2561 ราคากุง้ ขาวแวนนาไม (ขนาด 70 ตัว ต่อกิโลกรัม) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยลดลง เมื่อ เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2560 ซึ่งสอดคล้อง กับราคาในตลาดโลกทีล่ ดลงตามภาวะอุปทานส่วน เกิน ส�ำหรับปลานิลขนาดกลาง และปลาดุกบิก๊ อุย (ขนาด 2 - 4 ตัวต่อกิโลกรัม) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยลดลงเช่นเดียวกัน โดยเป็นการลดลงตาม ปริมาณผลผลิตที่เพิ่มขึ้น ด้านการส่งออก ในช่วงเดือนมกราคม -  ตุลาคม 2561 ปลาและผลิตภัณฑ์ มีปริมาณและ มูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ของปี 2560 เนื่องจากความต้องการของตลาด ต่ า งประเทศที่ ยั ง มี อ ย่ า งต่ อ เนื่ อ ง อาทิ ญี่ ปุ ่ น เวียดนาม มาเลเซีย ซาอุดิอาระเบียกัมพูชา และ รัสเซีย ส�ำหรับกุ้งและผลิตภัณฑ์ มีปริมาณและ มูลค่าส่งออกลดลง เนือ่ งจากความสามารถในการ แข่งขันเรื่องราคากุ้งของไทยในตลาดโลกต�่ำลง ไม่สามารถแข่งขันกับประเทศคู่แข่ง คือ อินเดีย อินโดนีเซีย และเวียดนาม ที่มีต้นทุนการผลิตต�่ำ กว่าได้ เป็นผลให้มูลค่าการส่งออกของไทยลดลง ส่วนปลาหมึกและผลิตภัณฑ์ มีปริมาณและมูลค่า ส่งออกลดลงเช่นเดียวกัน


Thailand Focus

สาขาป่าไม้

สาขาบริการทางการเกษตร สาขาบริการทางการเกษตรในปี 2561 ขยายตัวร้อยละ 4.0 เมือ่ เทียบปี 2560 ซึง่ เป็นผล จากการจ้างบริการเตรียมดิน ไถพรวนดิน และเกีย่ ว นวดข้าวเพิ่มขึ้น เนื่องจากพื้นที่เพาะปลูกข้าวเพิ่ม ขึน้ จากสภาพอากาศทีเ่ อือ้ อ�ำนวย และปริมาณน�ำ้ ที่เพียงพอส�ำหรับการเพาะปลูก ในส่วนของอ้อย โรงงาน มีการใช้บริการเตรียมพืน้ ทีเ่ พาะปลูก การ รื้ อ ตออ้ อ ยเพื่ อ ปลู ก ใหม่ ท ดแทนของเดิ ม และ ขยายพืน้ ทีเ่ พาะปลูกอ้อยโรงงานเพิม่ ขึน้ นอกจาก นี้ ภาครัฐได้ส่งเสริมให้เกษตรกรรวมกลุ่มเพื่อใช้ เทคโนโลยีและเครื่องจักรกลการเกษตรทดแทน แรงงานเพิม่ ขึน้ ทัง้ ในด้านการเตรียมดิน การเพาะ ปลูก และการเก็บเกี่ยวผลผลิต

สาขาป่าไม้ในปี 2561 ขยายตัวร้อยละ 2.0 เมื่อเทียบกับปี 2560 โดยผลผลิตป่าไม้ส�ำคัญที่ เพิม่ ขึน้ ได้แก่ ไม้ยางพารา ครัง่ ถ่านไม้ และรังนก นางแอ่น โดยการขยายตัวของไม้ยางพารามีปจั จัย หลักมาจากการตัดโค่นสวนยางพาราเก่าเพื่อปลูก ทดแทนด้วยยางพาราพันธุ์ดี และพืชอื่น ซึ่งไม้ ยางพาราส่วนใหญ่ถูกน�ำไปผลิตเป็นเฟอร์นิเจอร์ และชิน้ ส่วน และมีการส่งออกไปยังประเทศจีนเป็น หลัก นอกจากนี้ ไม้ยางพารายังเป็นวัตถุดิบหลัก ในการผลิตเชือ้ เพลิงชีวมวลอัดเม็ด (Wood Pellet) ของประเทศญีป่ นุ่ ท�ำให้ญปี่ นุ่ มีความต้องการน�ำเข้า เพื่อป้อนให้กับอุตสาหกรรมโรงไฟฟ้าชีวมวลมาก ขึ้น ส�ำหรับผลผลิตครั่ง มีการขยายตัวจากสภาพ อากาศทีเ่ อือ้ อ�ำนวย ส่งผลให้ครัง่ มีการเจริญเติบโต และฟื้นตัวได้ดีขึ้น ขณะที่ถ่านไม้ มีการขยายตัว จากการใช้ในครัวเรือน ด้านผลผลิตรังนกนางแอ่น เพิม่ ขึน้ เนือ่ งจากการเปิดตลาดรังนกของประเทศ จีน ท�ำให้ในช่วงครึง่ หลังของปี 2561 มีการส่งออก ทีด่ ขี นึ้ ส่วนไม้ยคู าลิปตัสลดลงตามค�ำสัง่ ซือ้ ทีล่ ดลง จากทั้งใน และต่างประเทศ

แนวโน้มเศรษฐกิจการเกษตร ปี 2562 แนวโน้มเศรษฐกิจการเกษตรในปี 2562 คาดว่าจะขยายตัวอยูใ่ นช่วงร้อยละ 2.5 - 3.5 โดย สาขาพืช สาขาปศุสัตว์ สาขาประมง สาขาบริการ ทางการเกษตร และสาขาป่าไม้ ขยายตัวเพิ่มขึ้น จากปัจจัยสนับสนุน ได้แก่ • การด�ำเนินนโยบายด้านการเกษตรเพื่อ ปฏิรูปภาคเกษตรอย่างต่อเนื่อง โดยเป็นความ ร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาค ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 35 เล่มที่ 183 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2561

11


Thailand Focus ประชาสังคม ซึง่ จะช่วยผลักดันให้การผลิตทางการ เกษตรมีประสิทธิภาพมากขึ้น สถาบันเกษตรกร มีความเข้มแข็ง เกษตรกรมีการวางแผนการผลิต ที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาด ท�ำให้ เกษตรกรมีรายได้ที่มีเสถียรภาพมากขึ้น • สภาพอากาศโดยทั่วไป และปริมาณน�้ำ ยังคงเอื้ออ�ำนวยต่อการผลิตทางการเกษตร

สาขาพืช สาขาพืชในปี 2562 คาดว่าจะขยายตัวอยู่ ในช่วงร้อยละ 2.7 - 3.7 โดยภาครัฐได้มกี ารวางแผน การใช้นำ�้ จากโครงการชลประทานขนาดใหญ่ และ ขนาดกลางทั้งประเทศในช่วงฤดูแล้งปี 2561/ 2562 (วันที่ 1 พฤศจิกายน 2561 - 30 เมษายน 2562) เพื่อจัดสรรน�้ำทั้งประเทศ โดยเฉพาะใน ลุ่มเจ้าพระยา และลุ่มน�้ำแม่กลอง ซึ่งคาดว่าจะมี ปริมาณน�้ำเพียงพอต่อการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง ประกอบกับการคาดการณ์วา่ สภาพภูมอิ ากาศในปี 2562 จะยังเอื้ออ�ำนวยต่อการเพาะปลูกพืช ไม่ ประสบปัญหาภัยธรรมชาติท่ีรุนแรง รวมถึงการ ที่ภาครัฐ และภาคเอกชนได้ร่วมกันส่งเสริมให้ เกษตรกรเพาะปลูกพืชในพืน้ ทีท่ เี่ หมาะสม รวมถึง การพัฒนาศักยภาพการผลิต การแปรรูป และการ ตลาดสินค้าเกษตร จะช่วยสนับสนุนให้การผลิตพืช มีประสิทธิภาพมากขึน้ โดยสินค้าพืชทีค่ าดว่าจะมี ปริมาณผลผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่ ข้าวนาปี ข้าวโพด เลี้ยงสัตว์ มันส�ำปะหลัง ยางพารา ปาล์มน�้ำมัน ล�ำไย ทุเรียน มังคุด และเงาะ ส�ำหรับสินค้าพืช ที่คาดว่าจะมีปริมาณผลผลิตลดลง ได้แก่ ข้าว นาปรัง อ้อยโรงงาน สับปะรดโรงงาน เนื่องจาก ภาครัฐมีโครงการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลาย และโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวโพด เลีย้ งสัตว์ ในขณะทีส่ บั ปะรดโรงงานประสบปัญหา

12 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 35 เล่มที่ 183 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2561

ผลผลิตล้นตลาด และราคาตกต�่ำในปี 2561 ท�ำ ให้คาดว่าเกษตรกรบางส่วนจะมีการปรับลดพื้นที่ เพาะปลูก อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องติดตามสถานการณ์ต่างๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อการเพาะปลูก พืชเศรษฐกิจในประเทศอย่างใกล้ชดิ ทัง้ ปริมาณน�ำ้ ที่ใช้การได้ในอ่างเก็บน�้ำที่ส�ำคัญ ความแปรปรวน ของสภาพภูมิอากาศ รวมถึงการระบาดของศัตรู พืช และโรคพืชต่างๆ ด้านราคา ราคาพืชส�ำคัญในปี 2562 ที่ คาดว่าจะอยู่ในเกณฑ์ดี ได้แก่ ข้าว ข้าวโพดเลี้ยง สัตว์ ล�ำไย ทุเรียน มังคุด และเงาะ เนื่องจาก ความต้องการทัง้ ตลาดในประเทศ และต่างประเทศ ยังคงมีอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับการที่เกษตรกร มีความรู้ความเข้าใจในการพัฒนาคุณภาพสินค้า ให้ตรงกับตามความต้องการของผู้บริโภค ส่วน พืชที่คาดว่าราคาจะใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา ได้แก่ สับปะรดโรงงาน ยางพารา และน�ำ้ มันปาล์ม เนือ่ ง จากรัฐบาลมีนโยบายและมาตรการในการรักษา เสถียรภาพของระดับราคาสินค้าเกษตรไม่ให้ตกต�ำ่ ส�ำหรับพืชที่คาดว่าราคาจะปรับตัวดีขึ้น คือ อ้อย โรงงาน เนือ่ งจากผลผลิตมีแนวโน้มลดลง อย่างไร ก็ตาม ภาครัฐยังคงติดตาม และแก้ไขปัญหา ราคาสินค้าเกษตรที่ตกต�่ำ พร้อมทั้งมีการก�ำหนด นโยบายและมาตรการในการยกระดับราคาสินค้า เกษตรให้สูงขึ้น ด้านการส่งออก พืชและผลิตภัณฑ์ในปี 2562 ที่คาดว่าจะมีการส่งออกอยู่ในเกณฑ์ดี ได้แก่ ข้าวรวม ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันส�ำปะหลัง และผลิตภัณฑ์ ล�ำไยและผลิตภัณฑ์ ทุเรียนและ ผลิตภัณฑ์ และมังคุด เนือ่ งจากสินค้ามีคณ ุ ภาพดี และเป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศ อย่างไร ก็ตาม อุปทานสินค้าเกษตรในตลาดโลกหลายชนิด


Thailand Focus ทีย่ งั คงมีอยูม่ าก อาจจะส่งผลกระทบต่อการส่งออก สินค้าเกษตร และผลิตภัณฑ์ของไทยได้

สาขาปศุสัตว์ สาขาปศุสตั ว์ในปี 2562 คาดว่าจะขยายตัว อยูใ่ นช่วงร้อยละ 1.3 - 2.3 การผลิตสินค้าปศุสตั ว์ โดยรวมมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เนื่องจากเกษตรกรมี การขยายการเลี้ยงเพื่อรองรับความต้องการของ ตลาดทั้งในและต่างประเทศที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยให้ความส�ำคัญกับการพัฒนาระบบการเลี้ยง และการบริหารจัดการฟาร์มให้ได้มาตรฐาน มีการ ดูแลเอาใจใส่ และควบคุมเฝ้าระวังโรคระบาดอย่าง ต่อเนื่อง ทั้งนี้ คาดว่าการผลิตไก่เนื้อ ไข่ไก่ และ สุกร จะมีปริมาณเพิม่ ขึน้ ตามความต้องการบริโภค ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ รวมถึงความมี ประสิทธิภาพในการบริหารจัดการฟาร์ม และ ป้องกันโรคระบาดของเกษตรกร ส�ำหรับผลผลิต ไข่ไก่ คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจากความต้องการบริโภค ที่ขยายตัว โดยมีการรณรงค์ส่งเสริมการบริโภค ไข่ไก่ของภาครัฐ และเอกชนอย่างต่อเนือ่ ง ประกอบ กับเกษตรกรมีการจัดการฟาร์มที่มีประสิทธิภาพ มากขึ้น การผลิตโคเนื้อ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจาก โครงการส่งเสริมการเลี้ยงโคเนื้อเพื่อรองรับความ ต้องการบริโภค ส่วนผลผลิตน�ำ้ นมดิบ คาดว่าจะมี ปริมาณเพิม่ ขึน้ เนือ่ งจากเกษตรกรได้รบั แรงจูงใจ จากการรับซื้อน�้ำนมดิบตามเกณฑ์คุณภาพน�้ำนม ซึ่งท�ำให้เกษตรกรมีความเอาใจใส่ในคุณภาพการ เลี้ยง และปรับปรุงฟาร์มอย่างต่อเนื่อง อย่างไร ก็ตาม ยังต้องมีการติดตามและเฝ้าระวังสถานการณ์ด้านสภาพอากาศที่อาจมีความแปรปรวน การเกิดโรคระบาดในสัตว์ โดยเฉพาะการระบาด ของโรคไข้อหิวาต์แอฟริกนั ในสุกร (African Swine

Fever: ASF) ในจีน รวมทัง้ ราคาน�ำ้ มัน และวัตถุดบิ อาหารสัตว์ที่อาจส่งผลกระทบต่อการผลิตสินค้า ปศุสัตว์ได้ ด้านราคา คาดว่าราคาสินค้าปศุสัตว์ในปี 2562 จะอยูใ่ นระดับใกล้เคียงกับปี 2561 หรืออาจ ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากมีการวางแผน การผลิตที่ดีขึ้น โดยควบคุมปริมาณผลผลิตให้ สอดคล้องกับความต้องการของตลาดมากขึ้น ด้านการส่งออก ในปี 2562 คาดว่าการ ส่งออกสินค้าปศุสตั ว์จะขยายตัวเพิม่ ขึน้ ตามความ ต้องการบริโภคของตลาดต่างๆ โดยเฉพาะตลาด ญี่ปุ่น อาเซียน และสหภาพยุโรป ซึ่งเป็นผลจาก มาตรการควบคุม ป้องกัน เฝ้าระวังโรคระบาดสัตว์ ที่เข้มงวด และการรักษามาตรฐานการผลิต และ คุณภาพสินค้า ท�ำให้ผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นใน สินค้าปศุสัตว์ของไทย

สาขาประมง สาขาประมงในปี 2562 คาดว่าจะขยายตัว อยู่ในช่วงร้อยละ 1.0 - 2.0 โดยผลผลิตกุ้งทะเล เพาะเลีย้ งมีแนวโน้มฟืน้ ตัวขึน้ จากปี 2561 เกษตรกรมีการบริหารจัดการฟาร์มอย่างเป็นระบบ รวม ทั้งมีการพัฒนา และปรับวิธีการเลี้ยงให้เหมาะสม กับพื้นที่ ส�ำหรับผลผลิตประมงทะเล คาดว่ามี แนวโน้มเพิม่ ขึน้ จากการแก้ไขปัญหาการท�ำประมง ทะเลอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้มีการฟื้นฟูทรัพยากรประมงอย่างจริงจัง ส่วน ผลผลิตประมงน�ำ้ จืดมีทศิ ทางเพิม่ ขึน้ จากนโยบาย การบริหารจัดการผลผลิตให้สมดุลกับความต้อง การของตลาด รวมทั้งการด�ำเนินนโยบายส่งเสริม ระบบการเกษตรแบบแปลงใหญ่อย่างต่อเนือ่ ง โดย ยกระดับมาตรฐานฟาร์มเลีย้ งให้ได้มาตรฐาน GAP ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 35 เล่มที่ 183 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2561

13


Thailand Focus ด้านราคา ราคากุง้ ขาวแวนนาไมทีเ่ กษตรกร ขายได้ คาดว่าจะปรับตัวดีขนึ้ เมือ่ เทียบกับปี 2561 ส�ำหรับราคาปลานิล และราคาปลาดุกทีเ่ กษตรกร ขายได้ คาดว่าจะอยู่ในเกณฑ์ดี ด้านการส่งออก คาดว่าการส่งออกสินค้า ประมงและผลิตภัณฑ์จะขยายตัวตามความต้อง การของประเทศผูน้ ำ� เข้าหลัก อาทิ ญีป่ นุ่ จีน และ สหภาพยุโรป อย่างไรก็ตาม สินค้าประมงในปี 2562 อาจประสบปัญหาบางประการ เช่น สภาพ อากาศที่เปลี่ยนแปลง ปัญหาแรงงานประมง การ ถูกตัดสิทธิพเิ ศษทางภาษีศลุ กากร (GSP) และการ ก�ำหนดมาตรฐานสินค้าจากประเทศคู่ค้า เป็นต้น

สาขาบริการทางการเกษตร สาขาบริการทางการเกษตรในปี 2562 คาดว่าจะขยายตัวอยู่ในช่วงร้อยละ 2.0 - 3.0 เนื่ อ งจากพื้ น ที่ เ ก็ บ เกี่ ย วอ้ อ ยโรงงาน และมั น ส�ำปะหลังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น รวมทั้งภาครัฐ ได้ ด�ำเนินนโยบายลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพ การผลิต ด้วยการส่งเสริมให้เกษตรกรรวมกลุ่ม เพื่อใช้เทคโนโลยีนวัตกรรม หรือเครื่องจักรกล ทางการเกษตรทดแทนแรงงานเพิ่มขึ้น

สาขาป่าไม้ สาขาป่าไม้ในปี 2562 คาดว่าจะขยายตัว อยู่ในช่วงร้อยละ 1.2 - 2.2 โดยไม้ยางพารา มี แนวโน้มเพิ่มขึ้นจากเป้าหมายการตัดโค่นพื้นที่ สวนยางพาราเก่า และปลูกทดแทนด้วยยางพารา พั น ธุ ์ ดี หรื อ พื ช เศรษฐกิ จ อื่ น ซึ่ ง การยางแห่ ง ประเทศไทย ได้กำ� หนดเป้าหมายการตัดโค่นพืน้ ที่ ในปี 2562 ไว้ที่ 400,000 ไร่ อีกทัง้ ความต้องการ ไม้ยางพาราของต่างประเทศเพื่อน�ำไปแปรรูปเป็น เชื้ อ เพลิ ง ชี ว มวลอั ด เม็ ด (Wood Pellets) มี แนวโน้มเพิ่มขึ้น ส�ำหรับการเปิดตลาดรังนกของ ประเทศจีน คาดว่าจะส่งผลให้มกี ารขยายการผลิต รังนกเพือ่ ส่งออกเพิม่ ขึน้ ด้านผลผลิตถ่านไม้ คาด ว่ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เนื่องจากปัจจุบันได้มีการน�ำ ถ่านไม้มาแปรรูปเป็นถ่านชาร์โคลเพื่อใช้เป็นส่วน ประกอบของอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องส�ำอาง มากขึ้น ส่วนผลผลิตครั่ง มีทิศทางเพิ่มขึ้น แต่ยัง มีความเสี่ยงเกี่ยวกับความแปรปรวนของสภาพ อากาศที่อาจส่งผลกระทบต่อการผลิตครั่งได้

ตารางอัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภาคเกษตร สาขา ภาคเกษตร พืช ปศุสัตว์ ประมง บริการทางการเกษตร ป่าไม้

2561 4.6 5.4 1.9  - 1.0 4.0 2.0

ที่มา : กองนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตร ส�ำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

14 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 35 เล่มที่ 183 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2561

หน่วย : ร้อยละ 2562 2.5 - 3.5 2.7 - 3.7 1.3 - 2.3 1.0 - 2.0 2.0 - 3.0 1.2 - 2.2




Thailand Focus

เกษตรฯ ชู ‘โครงการปลูกข้าวโพดหลังนา’ โมเดลแก้ปัญหาตลาดสินค้าสู่ความยั่งยืน โครงการส่งเสริมการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังนา นับเป็นนโยบาย “การ ตลาดน�ำการผลิต” หนึ่งในนโยบายพัฒนาการเกษตรของกระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ ทีก่ ำ� ลังเดินหน้าขับเคลือ่ นอย่างจริงจัง และเป็นรูปธรรม โดยมีวตั ถุประสงค์ เพื่อสนับสนุนให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนพื้นที่การปลูกข้าวเป็นการปลูกพืชชนิดอื่น ทีต่ ลาดต้องการ เพือ่ สร้างโอกาสให้เกษตรกรสมาชิกมีรายได้จากการประกอบอาชีพ เกษตรกรรมทีส่ งู ขึน้ ซึง่ ข้าวโพดเลีย้ งสัตว์เป็นพืชทางเลือกทีใ่ ช้นำ�้ น้อย และแนวโน้ม ของตลาดมีความต้องการสูง นายระพีภัทร จันทรศรีวงศ์ ผู้ช่วยปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ใน ฐานะรองโฆษกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวถึงความคืบหน้าขับเคลื่อน โครงการสานพลังประชารัฐเพือ่ สนับสนุนการปลูกข้าวโพดหลังฤดูทำ� นาปี 2560/61 ว่า ภายหลังกระทรวงเกษตรฯ ได้เข้าไปจับมือกับบริษทั เอกชน ประกาศ จุดรับซือ้ ในพืน้ ทีก่ ว่า 1 ล้านไร่ใน 33 จังหวัดนัน้ นายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ ได้ก�ำชับไปยังให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยว ข้องทั้งหมดลงพื้นที่ตรวจตราการบริหารจัดการในเรื่องปัจจัยการ ผลิต (น�้ำ, ปุ๋ย, เมล็ดพันธุ์) และจุดรับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ให้มี ความโปร่งใส เพื่อป้องกันผู้ไม่หวังดีเข้าแทรกแซง ซึ่งส่วนใหญ่ เป็นพ่อค้าในท้องถิ่นที่เป็นคู่ค้าเดิมของสหกรณ์ หรือเป็นผู้รับซื้อรายใหญ่ในพื้นที่ ได้ท�ำการจับคู่เป็นคู่ค้าเรียบร้อยแล้ว โดยมีการก�ำหนดให้มีการท�ำความตกลงกับผู้รับซื้อ และหาตลาดให้แก่ เกษตรกร โดยรับซื้อในราคากิโลกรัมละ 8 บาท ที่ความชื้น 14.5% สหกรณ์การ เกษตร ท�ำหน้าทีเ่ ป็นจุดรวบรวม/รับซือ้ ผลผลิต และเชือ่ มโยงกับผูป้ ระกอบการผลิต อาหารสัตว์ ซึง่ การขายข้าวโพดเลีย้ งสัตว์ ชัน้ 2 จึงพิจารณาจากราคาช่วงมกราคม มิถุนายน เป็นหลัก โดยราคาของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์รุ่น 2 ความชื้น 14.5% ช่วงนี้

ที่มา : ไทยโพสต์ ฉบับวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 35 เล่มที่ 183 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2561

15


Thailand Focus

ของปี 2561 เฉลี่ยอยู่ที่ 8.29 บาทต่อกิโลกรัม ส่วนต้นทุนข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 2560/61 อยู่ที่ 4,624.53 บาทต่อไร่ อย่างไรก็ตาม ต้นทุนต่อ กิโลกรัมจะขึน้ อยูก่ บั ผลผลิตทีเ่ กษตรกรผลิตได้ ซึง่ หากผลผลิตมากขึ้นต้นทุนจะลดลง นอกจากนี้ ยังได้รับความร่วมมือกับบริษัท ภายใต้ ส มาคมการค้ า เมล็ ด พั น ธุ ์ ไ ทย ในการ สนับสนุนเมล็ดพันธุ์ราคาพิเศษ ผ่านร้านจ�ำหน่าย ปัจจัยการผลิตที่รับบัตรเกษตรสุขใจ (A-Shop) และจะด�ำเนินการถ่ายทอดเทคโนโลยีการปลูก ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ให้กับเกษตรกร และผู้เกี่ยวข้อง ด้วยวิธี Train The Trainer ผ่านวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ เบื้องต้นมีบริษัทจ�ำหน่ายเมล็ดพันธุ์ แจ้ง ข้อมูลแล้วอย่างน้อย 4 บริษัท ได้แก่ 1. บริษัท แปซิฟิค เมล็ดพันธุ์ จ�ำกัด 2. บริษัท ชินเจนทา ซีดส์ จ�ำกัด 3. บริษัท เมล็ดพันธุ์ เอเชีย จ�ำกัด และ 4. บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โปรดิ๊วส จ�ำกัด เป็นต้น โดยทุกบริษัทสามารถจ�ำหน่ายเมล็ดพันธุ์ ได้ทุกจังหวัด เกษตรกรสามารถเลือกใช้ได้ตาม ความชอบ

16 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 35 เล่มที่ 183 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2561

ด้านนายเพชร นันทวิสัย รองประธาน สายงานฟาร์มและพัฒนาคุณภาพ บริษัท ไทย ฟู้ดส์ กรุ๊ป จ�ำกัด (มหาชน) หรือ TFG ในฐานะ เป็นหนึ่งในผู้ประกอบการธุรกิจอาหารสัตว์ เปิด เผยว่า บริษัทเตรียมเข้าไปรับซื้อผลผลิตข้าวโพด หลังนาโดยตรงจากเกษตรกร เพื่อให้เกษตรกร มีความมั่นใจว่าการปลูกข้าวโพดหลังการท�ำนา ในปีนจี้ ะมีตลาดรองรับผลผลิตอย่างแน่นอน ขณะ เดียวกัน ราคาที่บริษัทจะรับซื้อจะอยู่ในอัตราที่มี ความยุตธิ รรม และโครงการดังกล่าวจะเป็นต้นแบบ ส่งเสริมเกษตรกรในระยะยาว ทั้งนี้ TFG จะเปิดโรงงานผลิตอาหารสัตว์ ที่มีอยู่เป็นจุดรับซื้อทั้ง 3 โรง ซึ่งมีก�ำลังการผลิต รวม 129,600 ตันต่อเดือน เพื่ออ�ำนวยความ สะดวกให้เกษตรกรที่มีความต้องการน�ำผลผลิต มาขายโดยตรง ปัจจุบันมีโรงงานอาหารสัตว์ของ TFG ตัง้ อยูท่ จี่ งั หวดสุพรรณบุรี 2 โรง และมีกำ� ลัง การผลิตรวม 81,000 ตันต่อเดือน ขณะที่มีอัตรา การผลิตอยู่ที่ 92.59% ของก�ำลังการผลิตรวม ส�ำหรับโรงงานผลิตอาหารสัตว์โรงที่ 3 ตั้งอยู่ที่


Thailand Focus จังหวัดปราจีนบุรี มีก�ำลังการผลิต 48,600 ตัน ต่อเดือน และมีอตั ราการผลิตอยูท่ ี่ 93.53% ของ ก�ำลังการผลิตรวม นายณรงค์ วงศ์ธรรมสรณ์ ผู้อ�ำนวยการ จัดซื้อและส�ำรวจวัตถุดิบ บริษัท เบทาโกร จ�ำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ขณะนีบ้ ริษทั มีความพร้อม 100% ในการสนับสนุนโครงการดังกล่าวของรัฐบาล และ เตรียมพร้อมที่จะเข้าไปรับซื้อข้าวโพดหลังนาของ เกษตร/สหกรณ์ในพื้นที่ 4 จังหวัดที่ได้รับการ จัดสรรจากสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ คือ จังหวัด เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ สระบุรี และลพบุรี ปัจจุบนั อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ในประเทศ มีความขาดแคลนวัตถุดิบในการผลิตอาหารสัตว์ อีกจ�ำนวนมาก แต่ละปีมคี วามต้องการ โดยทีผ่ า่ น มา ไทยผลิตข้าวโพดเลีย้ งสัตว์ได้ประมาณ 5 ล้าน ตัน มีความต้องการถึงประมาณ 8 ล้านตัน จึง ไม่เพียงพอต่อความต้องการ แม้จะมีการน�ำเข้า วัตถุดิบมาจากต่างประเทศบางส่วนแล้วก็ยังมี ความขาดแคลนอยู่อีก 1.4 ล้านตันต่อปี ในขณะทีบ่ ริษทั เองก็มคี วามต้องการจ�ำนวน 8 แสน - 1 ล้านตันต่อปี ซึ่งขณะนี้ก็ยังไม่เพียงพอ ต่อความต้องการ จนต้องหาวัตถุดิบอื่นๆ มาเพิ่ม อาทิ ข้าวสาลี ปลายข้าว จากตัวเลขดังกล่าว แสดง ให้เห็นว่า โครงการข้าวโพดหลังนาของรัฐบาล ตลาด ยังมีอนาคตอีกยาวไกล เกษตรกรไม่ตอ้ งกังวลเรือ่ ง ผลผลิตไม่ได้ราคา หรือล้นตลาด รับรองปีนี้ขาย ได้ไม่ต�่ำกว่า 9 บาทต่อกก. ส่งผลให้เกษตรกรมี รายได้เพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน ที่ส�ำคัญ ข้าวโพดถือ เป็นพืชเงินสด ขายให้ใครก็ได้เงินสดทันที ท�ำให้ เกษตรกร และชาวนามีสภาพคล่องมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาบริษัท เบทาโกร ได้ร่วมด�ำเนินการภายใต้โครงการดังกล่าวมาแล้ว 2 ปี คือในปี 2559 รับซื้อผลิตจ�ำนวน 60,000 ตัน ปี 2560 รับซื้อจ�ำนวน 25,000 ตันที่ลดลง จากปี 2559 เพราะราคาผลผลิตอยูใ่ นเกณฑ์ดี ท�ำ ให้เกษตรกรมีตวั เลือกในการจ�ำหน่ายมากในตลาด ทีห่ ลากหลายขึน้ ส่วนปี 2561 รับซือ้ ไม่จำ� กัดจนกว่า จะเพียงพอ และยังมีความต้องการข้าวโพดส�ำหรับ ผลิตอาหารสัตว์อีกจ�ำนวนมหาศาล การขับเคลื่อนการส่งเสริมการปลูกข้าวโพดหลังนา นอกจากช่วยสร้างรายได้ให้เกษตรกร แล้ว ยังท�ำให้เกิดความมัน่ ใจในการประกอบอาชีพ การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังนาได้อย่างมีคุณภาพ มีระบบการบริหารจัดการภายใต้การส่งเสริม การผลิต และการตลาดโดยใช้กลไกสหกรณ์ช่วย เพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรสมาชิก และครอบครัว ได้อย่างมัน่ คง โดยกระทรวงเกษตรฯ ยังได้วางเป้า ในการผลักดันโครง การส่งเสริมปลูกข้าวโพด หลังนา เป็นโมเดลนโยบาย “การตลาดน�ำการผลิต” ที่ประสบความส�ำเร็จ เพื่อน�ำไปขยายผลในสินค้า เกษตรชนิดอื่นในอนาคตอีกด้วย

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 35 เล่มที่ 183 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2561

17


Thailand Focus

'กฤษฎา' เข้ม ปลูกข้าวโพดหวั่นใช้เมล็ดพันธุ์ปลอม ขณะ ยาง ปาล์ม ราคาตก ฉุดดัชนี ต.ค. ร่วง 0.37%

“กฤษฎา” เผยเกษตรกรร่วมปลูกข้าวโพดหลังนากว่า 8.5 หมื่นราย 7.83 แสนไร่ สั่งตรวจแปลงคุมใช้เมล็ดพันธุ์คุณภาพ ดันเข้าระบบประกันภัย ขณะดัชนีราคาสินค้าเกษตรเดือน ต.ค. ยังร่วง 0.37% เหตุราคายางพารา ปาล์มตก ส่งออกไก่ชะลอตัว แต่รายได้เพิม่ 3.86% คาดพ.ย.เพิม่ อีก 2.27% แต่ ธ.ค. ทรงตัว นายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร และสหกรณ์ เปิดเผยว่า ในขณะนี้มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ ปลูกข้าวโพดหลังนาแล้ว 85,422 ราย พืน้ ที่ 783,269.75 ไร่ คิดเป็น 72.64% ของผลส�ำรวจความต้องการของเกษตรกรที่สนใจเข้าร่วมโครงการ 116,958 ราย พื้นที่ 1,015,845.25 ไร่ โดยจะเปิดรับสมัครไปจนถึงวันที่ 15 ม.ค. 2562 ซึ่งเป็นวันสิ้นสุดการปลูก หากปลูกหลังจากนี้ จะมีความเสี่ยงหลังการเก็บ เกี่ยวได้ ทัง้ นี้ โครงการดังกล่าวด�ำเนินการใน 33 จังหวัด 2.5 ล้านไร่ รัฐบาลสนับสนุน เงินกู้ดอกเบี้ยต�่ำ 0.01% วงเงินไม่เกิน ไร่ละ 2,000 บาท รายละไม่เกิน 15 ไร่ อย่างไรก็ตาม การด�ำเนินการเมื่อ 2 ปีก่อนหน้าไม่ประสบผลส�ำเร็จ และถูกวิจารณ์ จากสังคม ดังนัน้ จึงสัง่ ให้เกษตรจังหวัด เร่งตรวจสอบแปลงข้าวโพดปลูกไปแล้วทัง้ หมด กี่ไร่ พร้อมตรวจสอบเปอร์เซ็นต์การงอก อาจมีการใช้เมล็ดพันธุ์ที่ไม่มีคุณภาพ ซึ่ง จะท�ำให้ผลผลิตต่อไร่ต�่ำ เสี่ยงต่อการขาดทุน ตรวจสอบการตั้งจุดรับซื้อผลผลิตให้ กระจายทุกพืน้ ที่ ไม่อยูห่ า่ งจากพืน้ ทีป่ ลูกเกินไป ประสานกับธนาคารเพือ่ การเกษตร และสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เพือ่ ให้เกษตรกรทีเ่ ข้าร่วมโครงการเข้าสูร่ ะบบการ ประกันภัยกรณีเสียหายจะได้รับชดเชยไร่ละ 1,500 บาท และให้ตรวจสอบสัญญา ระหว่างเกษตรกรกับเอกชนอย่างเป็นธรรม ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

18 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 35 เล่มที่ 183 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2561


Thailand Focus “ขณะนี้มีเอกชนหลายรายเข้าไปขายเมล็ด พันธุข์ า้ วโพดกับเกษตรกรผ่านสหกรณ์ และสถาบัน เกษตรกรในราคาแพง ซึง่ ผมจะไม่เข้าไปยุง่ แต่ขอ อย่างเดียว เมือ่ ราคาสูงแล้วคุณภาพต้องดีดว้ ย ซึง่ เป็นหน้าที่ของเกษตรจังหวัดต้องตรวจสอบ เพื่อ อุดรูรวั่ ทัง้ หมดของโครงการ ส่วนหนึง่ สถานการณ์ ไทยก�ำลังเข้าสูโ่ หมดการเมืองหลัง วันที่ 7 ธ.ค. นี้ จะเปิดให้หาเสียงได้ ดังนั้นทุกอย่างต้องเตรียม พร้อม”

แข่งกันรับซื้อ และสุกร ราคาเพิ่มขึ้นเนื่องจาก ผลผลิตออกสู่ตลาดลดลงจากการที่ภาคเอกชน และเกษตรกรรายย่อยลดปริมาณการผลิต

นางสาวจริ ย า สุ ท ธิ ไ ชยา เลขาธิ ก าร ส�ำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กล่าวว่า ดัชนีราคาสินค้าเกษตรเดือน ต.ค. 2561 อยู่ที่ ระดับ 126.79 ลดลง 0.37% เมื่อเทียบกับช่วง เดียวกันของปีทผี่ า่ นมา สินค้าทีร่ าคาปรับตัวลดลง ได้แก่ ยางพารา ราคาลดลงเนื่องจากมีการชะลอ ซื้อขายในตลาดล่วงหน้าจากสถานการณ์ความ ไม่แน่นอนทางการเมืองในประเทศเศรษฐกิจหลัก ปาล์มน�้ำมัน ราคาลดลงเนื่องจากผลผลิตออกสู่ ตลาดเพิม่ ขึน้ ประกอบกับภาวะการค้าในประเทศ และการส่งออกชะลอตัว ไก่เนื้อ ราคาลดลงเนื่อง จากผลผลิตออกสูต่ ลาดเพิม่ ขึน้ ประกอบกับภาวะ การค้าชะลอตัวจากสถานศึกษาปิดภาคเรียน และ อยู่ในช่วงเทศกาลกินเจ

ทั้งหมดส่งผลให้ดัชนีรายได้เกษตรกรอยู่ที่ 169.75 เพิ่มขึ้น 3.86% เมื่อเทียบกับช่วงเดียว กันของปีที่ผ่านมา หากมองแนวโน้มดัชนีรายได้ เกษตรกรในเดือน พ.ย. 2561 คาดว่า จะเพิ่มขึ้น 2.27% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา เป็นผลมาจากดัชนีผลผลิตปรับตัวทีเ่ พิม่ ขึน้ 2.36% โดยสินค้าส�ำคัญที่มีผลผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่ ข้าว เปลือก ยางพารา ปาล์มน�้ำมัน และไก่เนื้อ ใน ขณะที่ดัชนีราคาปรับตัวลดลง 0.09% ซึ่งสินค้า ส�ำคัญทีม่ รี าคาลดลง ได้แก่ ยางพารา ปาล์มน�ำ้ มัน ไก่เนื้อ และไข่ไก่

แต่ยังมีสินค้าที่ราคาปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% เนื่องจากผลผลิต ออกสูต่ ลาดไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาด ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ราคาเพิ่มขึ้นเนื่องจากโรงงาน อุตสาหกรรมผลิตอาหารสัตว์มคี วามต้องการ และ

ด้านดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตร อยูท่ ี่ 133.89 เพิ่มขึ้น 4.25% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี ทีผ่ า่ นมา ดัชนีผลผลิตเพิม่ ขึน้ ได้แก่ มันส�ำปะหลัง ข้าวโพดเลีย้ งสัตว์ ยางพารา ลองกอง ปาล์มน�ำ้ มัน และไก่เนื้อ และสินค้าส�ำคัญที่ดัชนีผลผลิตลดลง ได้แก่ สับปะรด สุกร และไข่ไก่

ทั้งนี้ สินค้าส�ำคัญที่มีผลผลิตออกมากใน ช่วงเดือน พ.ย. ได้แก่ ข้าวโพดเลีย้ งสัตว์ เนือ่ งจาก เป็นช่วงเดือนที่เก็บเกี่ยวผลผลิตมาก ส่งผลให้ ผลผลิตยังคงออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง ยางพารา และปาล์มน�้ำมัน เนื่องจากผลผลิตจะออกสู่ตลาด ตามฤดูกาล รวมทั้ง ข้าวเปลือก เนื่องจากเข้าสู่ ฤดูกาลเก็บเกี่ยวผลผลิต

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 35 เล่มที่ 183 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2561

19


Thailand Focus

ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

ทดแทนการปลูกข้าวนาปรัง ในฤดูแล้งดีหรือไม่? วิษณุ อรรถวานิช คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

มีค�ำถามจากหลายคนว่านโยบายที่รัฐบาล ก� ำ ลั ง ผลั ก ดั น เรื่ อ งการปลู ก ข้ า วโพดเลี้ ย งสั ต ว์ ทดแทนการปลูกข้าวนาปรังในฤดูแล้งดีหรือไม่? ข้อมูลที่รัฐบาลใช้น่าเชื่อถือเพียงใด? เกษตรกร ควรหันไปปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ดหี รือไม่? และมี อะไรบ้างที่น่ากังวลส�ำหรับนโยบายนี้ บทความนี้ ได้ท�ำการศึกษาและวิเคราะห์นโยบายดังกล่าว ซึ่ง สามารถสรุปได้ดังนี้

ที่มาของโครงการเป็นอย่างไร? อย่างที่ทราบกันดีว่าการปลูกข้าวโพดเลี้ยง สัตว์ของไทยส่วนใหญ่ปลูกกันในพื้นที่นอกเขต ชลประทาน หรือคิดเป็นประมาณร้อยละ 96 - 97 ของพืน้ ทีป่ ลูกข้าวโพดทัง้ หมด นอกจากนัน้ ยังปลูก กันในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสม และเหมาะสมต�่ำ (S3 และ N) ถึงร้อยละ 33 ของพื้นที่เพาะปลูก (ภาพ ที่ 2) ประกอบกับปัญหาอุปทานล้นตลาดของข้าว และปัญหาผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ไม่เพียงพอ กับความต้องการ จึงท�ำให้รัฐบาลริเริ่มนโยบาย บริหารจัดการพืน้ ทีเ่ กษตรกรรมของประเทศ หรือ ที่มา : มติชน ฉบับวันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

20 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 35 เล่มที่ 183 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2561

ที่เรียกกันว่า “โซนนิ่ง” (Zoning) เพื่อใช้ที่ดินให้ เกิดประโยชน์ และมีประสิทธิภาพสูงสุดไปพร้อมๆ กับการสร้างสมดุลด้านอุปสงค์ และอุปทานใน ตลาดข้าว และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ โดยปัจจุบัน รัฐบาลได้พยายามส่งเสริมการปลูกข้าวโพดเลี้ยง สัตว์ทดแทนข้าวนาปรัง

ผลกระทบเชิงเศรษฐกิจของนโยบายนี้ โดยภาพรวมเป็นอย่างไรบ้าง? ที่ผ่านมาได้เห็นการวิเคราะห์เปรียบเทียบ ผลตอบแทนสุทธิของพืชแต่ละชนิดของรัฐบาล ซึ่งแสดงให้เห็นว่า การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ให้ ผลตอบแทนที่ดีกว่าการปลูกข้าวนาปรัง ขณะ เดียวกันก็มคี วามเห็นต่างเรือ่ งข้อมูลทีร่ ฐั บาลน�ำมา ใช้วิเคราะห์ แม้ว่าการวิเคราะห์เปรียบเทียบผล ตอบแทนสุทธิที่ได้จากข้าวนาปรัง และข้าวโพด เลีย้ งสัตว์โดยตรงจะช่วยในการตัดสินใจได้ในระดับ หนึง่ แต่อาจจะเกิดการผิดพลาดได้เนือ่ งจากไม่ได้ ค�ำนึงถึงดุลยภาพตลาดที่จะเปลี่ยนแปลงไปหลัง จากมีนโยบาย


Thailand Focus

ภาพที่ 1 > ผลกระทบของนโยบายส่งเสริม การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ทดแทนข้าวนาปรัง

< ภาพที่ 2 การกระจายตัวของผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่รายเดือน และพื้นที่ปลูกตามความเหมาะสม

บทความนีไ้ ด้เพิม่ ความแม่นย�ำในการวิเคราะห์ โดยค�ำนึงถึงดุลยภาพตลาดทีเ่ ปลีย่ นแปลงเพิม่ เติม หลังจากมีนโยบายโดยใช้แบบจ�ำลองภาคเกษตรของประเทศไทย (THAI Agricultural Sector Model) ซึง่ เป็นแบบจ�ำลองคณิตศาสตร์เชิงพื้นที่ที่ค�ำนวณราคา และการจัดสรรทรัพยากร (Price Endogenous Spaitial Equilibrium Optimization Model) โดยใช้อุปสงค์ และอุปทานของสินค้าเกษตร 5 ชนิด ครอบคลุม 77 จังหวัด โดยมีสมการเป้าหมายคือ การแสวงหาสวัสดิการสังคมโดยรวมสูงทีส่ ดุ (Welfare Maximization) ข้อมูลในแบบจ�ำลองได้ถกู รวบรวมจากหลายแหล่งตัง้ แต่อดีตจนถึงปัจจุบนั ได้แก่ 1) แผนทีค่ วาม เหมาะสมของพื้นที่เพาะปลูกจากกรมพัฒนาที่ดิน; 2) ผลผลิตต่อไร่ พื้นที่เพาะปลูก และปริมาณ ผลผลิต จากส�ำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรและส�ำมะโนเกษตร; 3) ต้นทุนการผลิตรายจังหวัด ประมาณ จากแบบส�ำรวจภาวะเศรษฐกิจสังคมครัวเรือน และแรงงานเกษตร ซึ่งจัดท�ำโดยส�ำนักงานเศรษฐกิจ ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 35 เล่มที่ 183 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2561

21


Thailand Focus การเกษตร; 4) ปริมาณความต้องการใช้น�้ำของ พืชแต่ละชนิด จากสถาบันสารสนเทศทรัพยากร น�้ำและการเกษตร; 5) พื้นที่เขตชลประทานจาก กรมชลประทาน ผลการศึกษาพบว่า ควรมีการปลูกข้าวโพด เลี้ยงสัตว์ทดแทนข้าวนาปรัง 1,845,710 ไร่ ซึ่ง แสดงให้เห็นว่าข้าวโพดเลีย้ งสัตว์ให้ผลตอบแทน ต่อกิโลกรัมที่สูงกว่าข้าวนาปรัง (ภาพที่ 1) หาก ท�ำได้จริง นโยบายนีค้ าดว่าจะท�ำให้สวัสดิการโดย รวมของสังคมเพิ่มขึ้น +17,624 ล้านบาทต่อปี เมือ่ เปรียบเทียบกับงบประมาณทีภ่ าครัฐอุดหนุน ผ่านสินเชื่อดอกเบี้ยต�่ำ ประกันภัยพืชผล และ อืน่ ๆ นับว่ามีความคุม้ ค่าเชิงเศรษฐศาสตร์สงู หาก รัฐบาลต้องการเพิ่มพื้นที่ปลูกข้าวโพดหลังนา จากปัจจุบันที่มีเพียงประมาณเกือบ 1 ล้านไร่ ก็ ยังสามารถท�ำได้โดยเพิ่มแรงจูงใจเพื่อ ดึงดูดให้ เกษตรกรหันมาปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มากขึ้น

ผลผลิตต่อไร่ของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ที่รัฐบาลใช้ เป็นไปได้หรือไม่? อีกหนึ่งค�ำถามที่หลายคนสงสัยคือ ตัวเลข ผลผลิตต่อไร่ของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่รัฐบาลใช้ (1,003 กิโลกรัม/ไร่) เป็นไปได้หรือไม่ เพราะถ้าดู จากข้อมูลในอดีต จะพบว่าตัวเลขค่อนข้างสูงจาก ทีม่ กี ารรายงานโดยส�ำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เมื่อท�ำการรวบรวมข้อมูลระดับครัวเรือนจากแบบ ส�ำรวจภาวะเศรษฐกิจสังคมครัวเรือนและแรงงาน เกษตร พบว่า ตัวเลขที่รัฐบาลใช้มีความเป็นไปได้ สูง เมื่อลองค�ำนวณการกระจายตัวของผลผลิต ต่อไร่รายครัวเรือนทั่วประเทศ ประกอบกับการ ค�ำนวณหา ผลผลิตเฉลีย่ ต่อไร่ในเดือนทีเ่ กษตรกร รายงานว่ามีปริมาณขายสูงสุด (ภาพที่ 2) โดย

22 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 35 เล่มที่ 183 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2561

ผลผลิตต่อไร่เฉลี่ยในเดือนมีนาคมมีค่าสูงที่สุด ขณะที่เดือนอื่นๆ ในช่วงฤดูแล้งก็มีผลผลิตต่อไร่ เฉลี่ยสูงกว่า 950 กิโลกรัมต่อไร่ โดยระหว่างช่วง เดือนกุมภาพันธ์ - พฤษภาคม ผลผลิตต่อไร่เฉลี่ย จะมีคา่ เท่ากับ 1,014 กิโลกรัมต่อไร่ นอกจากนัน้ การ ลงพื้นที่ภาคสนามในจังหวัดเพชรบูรณ์เมื่อต้นปีนี้ พบว่า เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพด หลังนาส่วนใหญ่ สามารถได้ผลผลิตต่อไร่ สูงถึง 1,000 กิโลกรัมต่อไร่ บางรายสามารถท�ำได้สูงถึง 1,700 กิโลกรัมต่อไร่ ที่ความชื้น 14.5%

แล้วเกษตรกรจะได้ประโยชน์จริงหรือไม่ หากหันไปปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ แทนข้าวนาปรัง? ค�ำตอบคือ มีความเป็นไปได้สูงที่เกษตรกร จะได้ผลตอบแทนสุทธิจากการปลูกข้าวโพดเลี้ยง สัตว์แทนการปลูกข้าวนาปรัง โดยสามารถยก ตัวอย่างให้เห็นในสถานการณ์ต่างๆ เช่น กรณีที่ ท�ำได้ตามนโยบาย การปลูกข้าวโพดเลีย้ งสัตว์ยอ่ ม ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าการปลูกข้าวนาปรังมาก กรณีถดั ไป หากสมมุตใิ ห้ราคาข้าวโพดลดลงเหลือ 7.50 บาทต่อกิโลกรัม ขณะที่ผลผลิต และราคา ข้าวนาปรังสูงขึน้ เป็น 783 กิโลกรัมต่อไร่ (ค�ำนวณ จากส�ำมะโนเกษตร ปี 2556) และ 8 บาทต่อ กิโลกรัมตามล�ำดับ ซึ่งเป็นไปได้สูงเช่นกัน เพราะ ปลูกในพื้นที่ชลประทานที่มีความเหมาะสม และ กรณีเลวร้าย คือผลผลิตต่อไร่ และราคาข้าวโพด ลดลงเหลือ 800 กิโลกรัมต่อไร่ และ 7.50 บาท ต่อกิโลกรัมตามล�ำดับ ขณะที่ผลผลิตต่อไร่ และ ราคาข้าวนาปรังสูงขึน้ เป็น 783 กิโลกรัมต่อไร่ และ 8 บาทต่อกิโลกรัมตามล�ำดับ ซึง่ ทุกกรณีพบว่าการ ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จะให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า การปลูกข้าวนาปรัง (ภาพที่ 3)


Thailand Focus

ภาพที่ 3 การคาดการณ์ผลตอบแทนจากการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และข้าวนาปรังในสถานการณ์ต่างๆ

จะมีน�้ำเพียงพอในการปลูก และราคา ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จะลดลงหรือไม่? เรื่องขาดแคลนน�้ำคงไม่น่าเป็นห่วงมาก ส�ำหรับการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ทดแทนข้าว นาปรัง เพราะการปลูกข้าวใช้นำ�้ เยอะกว่าการปลูก ข้าวโพดมาก ซึ่งนโยบายดังกล่าวน่าจะช่วยท�ำให้ ประหยัดน�้ำได้ ส�ำหรับราคาตลาดก็น่าจะอยู่ใน ทิศทางขาขึน้ และมีทศิ ทางขาลงทีจ่ ำ� กัด เนือ่ งจาก ประเทศผูผ้ ลิตข้าวโพดเลีย้ งสัตว์ในแถบอเมริกาใต้ และล่าสุดคือ ออสเตรเลียฝั่งตะวันออก ประสบ กับภัยแล้ง ท�ำให้ผลผลิตข้าวโพดลดลง ซึง่ เป็นผลดี ต่อราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในตลาดโลก

แล้วอะไรคือสิ่งที่น่ากังวลมากที่สุดที่ รัฐบาลควรเข้าไปช่วยจัดการ? สิ่งที่น่ากังวลที่สุด คือราคาจริงที่เกษตรกร ผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ได้รับ มีแนวโน้มต�่ำกว่า ราคารับซื้อหน้าโรงงานมากขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่ต้นปี 2560 จนถึงปัจจุบัน (บริเวณวงกลมสีแดง) และ สูงกว่าค่าเฉลีย่ ในช่วงเกือบ 7 ปีทผี่ า่ นมาติดต่อกัน

เกือบ 2 ปี ซึ่งนับว่าค่อนข้างยาวนานกว่าในอดีต (ภาพที่ 4) ปรากฏการณ์ทเี่ กิดขึน้ นัน้ อาจจะมาจาก 2 ปัจจัยหลัก ปัจจัยแรกอาจมาจากคุณภาพของ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่เกษตรกรผลิตได้ต�่ำลงเรื่อยๆ และ 2) อ�ำนาจตลาดที่สูงขึ้นของผู้รับซื้อข้าวโพด เลี้ยงสัตว์จากเกษตรกรซึ่งมี 2 กลุ่ม คือพ่อค้า พืชไร่ และผูผ้ ลิตอาหารสัตว์ ท�ำให้สามารถกดราคา รับซื้อให้อยู่ในระดับต�่ำได้ เมือ่ พิจารณาทัง้ 2 ปัจจัยควบคูก่ นั และผลัก ดันให้เกษตรกรมีสถานะความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และ ได้รับราคาขายที่ยุติธรรม คงมี 2 สิ่งที่รัฐบาลคง ต้องท�ำควบคู่กัน ได้แก่ 1) รัฐบาลคงต้องช่วยเพิ่ม ความรู้ให้กับเกษตรกรในการผลิตข้าวโพดเลี้ยง สัตว์ที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึง โดยเฉพาะเกษตรกร มือใหม่ที่เดิมปลูกข้าวนาปรัง และไม่เคยปลูก ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เลย ซึ่งอาจประสานกับสถาบัน การศึกษาทีเ่ ชีย่ วชาญด้านเกษตรทัว่ ประเทศ และ ภาคเอกชนในการเป็ น พี่ เ ลี้ ย งให้ กั บ เกษตรกร อย่างไรก็ตาม การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในช่วง ฤดูแล้งทดแทนการปลูกข้าวนาปรัง น่าจะท�ำให้ ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 35 เล่มที่ 183 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2561

23


Thailand Focus

ภาพที่ 4 ราคารับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หน้าโรงงาน ราคาที่เกษตรกรได้รับ และความแตกต่างของราคาทั้งสอง

คุณภาพดีขนึ้ จากค่าความชืน้ ทีล่ ดลง และการปลูกแบบแปลงใหญ่ทมี่ กี ารน�ำเครือ่ งจักรกลสมัยใหม่มาใช้ และ 2) รัฐบาลคงต้องเพิม่ การดูแลการรับซือ้ ในราคาทีย่ ตุ ธิ รรมของทัง้ พ่อค้าพืชไร่ และผูผ้ ลิตอาหารสัตว์ การปลูกในรูปแบบแปลงใหญ่ผ่านการขายทางสหกรณ์ของรัฐบาลน่าจะช่วยแก้ปัญหาที่เกิดจากพ่อค้า พืชไร่ได้ แต่สำ� หรับเกษตรกรรายย่อยทีไ่ ม่มกี ารรวมกลุม่ คงต้องช่วยหาทางแก้ปญ ั หาให้เพราะไม่สามารถ น�ำไปขายให้กับโรงงานได้โดยตรง ในส่วนของผู้ผลิตอาหารสัตว์ที่รัฐบาลได้ขอความร่วมมือไว้คงต้อง ประสานเรื่องการคัดคุณภาพ และก�ำหนดราคาที่เป็นธรรมกับเกษตรกร โดยนโยบายของรัฐบาลเรือ่ งการท�ำ Contract Farming ทีเ่ ป็นธรรมน่าจะช่วยแก้ปญ ั หาได้ หรือ อาจจะมีหน่วยงานกลางทีช่ ว่ ยตรวจสอบมาตรฐานข้าวโพด หากรัฐบาลสามารถช่วยแก้ปญ ั หาทัง้ สองได้ งานนี้เกษตรกรคงมีรายได้เพิ่ม และหนี้สินลดลงอย่างแน่นอน

เอกสารอ้างอิง Attavanich, W. 2018. Effect of Zoning Policy in Agricultural Sector on Thai Social Welfare. Working Paper No. 17/2018. Department of Economics, Faculty of Economics, Kasetsart University.

24 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 35 เล่มที่ 183 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2561


Thailand Focus

ซีพีผนึกพลังภาครัฐ

ซื้อข้าวโพดหลังนา นายไพศาล เครือวงศ์วานิช รองกรรมการผู้จัดการบริหาร บริษัท กรุงเทพ โปรดิว๊ ส์ จ�ำกัด (มหาชน) ผูจ้ ดั หาวัตถุดบิ อาหารสัตว์ให้บริษทั เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จ�ำกัด (มหาชน) หรือ ซีพเี อฟ ได้กล่าวเชิญชวนเกษตรกรทีส่ มัครใจเข้าร่วมโครงการ ส่งเสริมการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังนาของรัฐบาล ให้มาลงทะเบียนกับโครงการ “เกษตรกรพึง่ ตน ข้าวโพดยัง่ ยืน” ซึง่ เป็นกลไกหนึง่ ในการสนับสนุนการปลูกข้าวโพด หลังนา โดยบริษัทยินดีรับซื้อผลผลิตข้าวโพดหลังนาโดยตรงจากเกษตรกรที่ลง ทะเบียนดังกล่าว บริษทั ฯ จะท�ำงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ลงพืน้ ทีส่ ำ� รวจเกษตรกรทีเ่ ข้าร่วม โครงการส่งเสริมปลูกข้าวโพดหลังนา และให้เกษตรกรที่สนใจลงทะเบียนเข้าร่วม โครงการ “เกษตรกรพึ่งตน ข้าวโพดยั่งยืน” เพื่อที่จะเข้าไปช่วยส่งเสริม และดูแล การปลูกข้าวโพดแก่เกษตรกรตัง้ แต่เริม่ ปลูกจนถึงการเก็บเกีย่ วส่งเข้าโรงงานอาหาร สัตว์ ให้การปลูกเป็นไปอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ สามารถควบคุมต้นทุน และ ผลผลิตได้คุณภาพตรงตามตลาดต้องการ ซึ่งจะตามมาด้วยการได้ผลตอบแทนที่ดี นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังสนับสนุนนโยบายของกระทรวงเกษตรฯ ในการ ร่วมมือกับสหกรณ์การเกษตร โดยให้สหกรณ์เป็นตัวกลางในการรวบรวมผลผลิตจาก เกษตรกรที่ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการฯ แล้วส่งผลผลิตให้กับโรงงานอาหารสัตว์ หรือสหกรณ์ในเครือข่าย เพื่ออ�ำนวยความสะดวกให้เกษตรกรสามารถเข้าถึงแหล่ง รับซือ้ ผลผลิตทีม่ มี าตรฐานมากทีส่ ดุ อันเป็นการช่วยเพิม่ ผลตอบแทนให้กบั เกษตรกร อีกทางหนึง่ ขณะทีผ่ รู้ วบรวม สหกรณ์ หรือเกษตรกรรายอืน่ ๆ บริษทั ก็ยนิ ดีสนับสนุน ในเรื่องของการรับซื้อผลผลิตเข้าโรงงานตามกลไกราคาตลาด

ที่มา : เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 35 เล่มที่ 183 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2561

25


Thailand Focus

เบทาโกรอุ้มข้าวโพดหลังนา

ลุยส�ำรวจศักยภาพสหกรณ์ทั่วปท. - ประกาศรับซื้อไม่อั้น นายณรงค์ วงศ์ธรรมสรณ์ ผู้อ�ำนวยการ ฝ่ายจัดซือ้ พืชไร่ บริษทั เบทาโกร จ�ำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า จากโครงการสานพลังประชารัฐ เพื่อ สนั บ สนุ น การปลู ก ข้ า วโพดหลั ง ฤดู ท� ำ นา ที่ กระทรวงพานิชย์ ร่วมกับกระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ โดยมอบหมายให้กรมส่งเสริมสหกรณ์ กรมส่งเสริมการเกษตร ธนาคารเพื่อการเกษตร และสหกรณ์การเกษตร กรมชลประทาน กรม พัฒนาที่ดิน รวมถึงบริษัทเมล็ดพันธุ์ และโรงงาน อาหารสัตว์ มาช่วยกันส่งเสริมการปลูกข้าวโพด หลังนา และรับซื้อผลผลิตโดยให้สหกรณ์เป็น ตัวกลางในการรวบรวมผลผลิตจากเกษตรกร เบทาโกร เป็น 1 ใน 15 บริษัท ผู้ผลิตอาหารสัตว์ ที่เข้าร่วมโครงการ โดยจะเข้ามารับซื้อผลผลิต ข้าวโพดแบบไม่จำ� กัดปริมาณ แต่รปู แบบการรับซือ้ จะต้องเป็นไปตามมาตรฐานทีบ่ ริษทั ก�ำหนด กล่าว คือ จะต้องเป็นข้าวโพดเบอร์ 2 ความชื้นไม่เกิน 18.5% เม็ดเสียไม่เกิน 6% เม็ดแตกไม่เกิน 5% สิ่งเจือปนไม่เกิน 1% เป็นต้น ส่วนราคารับซื้อ ทางสมาคมอาหารสัตว์รับประกันไว้ที่ไม่ต�่ำกว่า กิโลกรัมละ 8 บาท ซึ่งเป็นราคาจ�ำหน่ายที่หน้า โรงงานในกทม. และปริมณฑล ส่วนราคารับซื้อ ที่มา : แนวหน้า ฉบับวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

26 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 35 เล่มที่ 183 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2561

ในแต่ละพื้นที่อาจจะแตกต่างกันไปตามคุณภาพ ความชื้น สิ่งเจือปน และค่าขนส่ง ซึ่งจะยึดตาม หลักเกณฑ์ของกระทรวงพาณิชย์ และใช้มาตรฐาน ในการรับซื้อเป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ “ขณะนี้ การด�ำเนินงานของเบทาโกรก�ำลัง อยูใ่ นขัน้ ตอนของการเตรียมเข้าไปส�ำรวจศักยภาพ ของสหกรณ์การเกษตรแต่ละแห่ง หากสหกรณ์ ใด มีศกั ยภาพในการผลิตข้าวโพดทีม่ คี ณ ุ ภาพ ตรง ตามความต้องการของบริษทั โดยมีลานตาก เตาอบ เครื่องเป่าฝุ่น บริษัทจะรับซื้อผ่านสหกรณ์นั้นๆ โดยตรง ส่วนสหกรณ์ที่ขาดศักยภาพในการผลิต บริษัทอาจต้องใช้วิธีการซื้อผ่านพ่อค้าคนกลาง โดยประสานให้พ่อค้าเข้าไปรับซื้อข้าวโพดสดจาก สหกรณ์ในราคาที่เป็นธรรม แล้วน�ำไปตาก อบ ลดความชื้น เป่าฝุ่น หลังจากนั้นทางบริษัทก็จะ รับซือ้ จากพ่อค้าอีกที เป็นการช่วยเหลือเกษตรกร ให้สามารถจ�ำหน่ายผลผลิตได้อีกทางหนึ่ง และ ทีส่ ำ� คัญจะเน้นรับซือ้ ผลผลิต จากเกษตรกรทีป่ ลูก ในพืน้ ทีท่ ถี่ กู กฎหมาย มีเอกสารสิทธิ”์ นายณรงค์ กล่าว


Food Feed Fuel

สินค้าเกษตรโดน

2 เด้ง ราคาดิ่ง

สินค้าเกษตรราคาดิ่ง สวนทางจีดีพีเกษตร พุง่ เจอ 2 เด้ง ทัง้ ผลผลิตล้น - สงครามการค้า "หมู ไข่ไก่ ไก่เนื้อ" เจอทุบราคาในประเทศดาหน้าร่วง ขณะที่สินค้าส่งออกปศุสัตว์ฉลุย ทะลุ 2.2 - 2.3 แสนล้านตามเป้า นางสาวจริยา สุทธิไชยา เลขาธิการส�ำนักงาน เศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ เปิดเผยว่า การขยายตัวภาคเศรษฐกิจ การเกษตร (จีดีพี) ปี 2561 และแนวโน้มปี 2562 คาดว่าโตไม่ต�่ำ 5 - 6% เนื่องจากสภาพอากาศ เอือ้ อ�ำนวย และปริมาณน�ำ้ ทีเ่ พียงพอ ประกอบกับการด�ำเนินนโยบายของกระทรวง เกษตรและสหกรณ์อย่างต่อเนื่อง เช่น การตลาดน�ำการผลิต การส่งเสริมเกษตร แปลงใหญ่ จึงท�ำให้ผลผลิตสินค้าเกษตรทัง้ ด้านพืช และปศุสตั ว์เพิม่ ขึน้ อย่างต่อเนือ่ ง ส่งผลท�ำให้ราคาในประเทศตกต�ำ่ ประกอบกับสงครามการค้า 2 ประเทศมหาอ�ำนาจ ระหว่างสหรัฐอเมริกา กับสาธารณรัฐประชาชนจีน ท�ำให้ไทยได้รบั ผลกระทบไปด้วย จึงท�ำให้สินค้าหลายตัวมีปัญหา ไม่ว่าจะเป็นยางพารา ที่ไทยมีตลาดส่งออกกว่า 90% ไปประเทศจีน ได้รับ ผลกระทบทั้งปริมาณ และมูลค่า เพราะในจีนมีการปลูกยางพาราเพื่อทดแทนการ น�ำเข้ามากขึ้น ความต้องการน�ำเข้าจากไทยลดลง ที่ผ่านมาไทยก็มีหลายมาตรการ ทั้งสินเชื่อตลอดห่วงโซ่ 6 - 7 หมื่นล้าน งดกรีดยางในพื้นที่รัฐ รวมทั้งนโยบาย 3 ประเทศ อินโดนีเซีย ไทย และมาเลเซีย จ�ำกัดการส่งออกก่อนหน้านี้ก็ไม่ได้ผล จนล่าสุดต้องใช้มาตรการที่เป็นยาแรง ก็คือเปิดจุดรับซื้อยาง และชดเชยรายได้ให้ เกษตรกรโดยตรง

ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 35 เล่มที่ 183 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2561

27


Food Feed Fuel

ส่วนปาล์มน�ำ้ มัน โดยยุทธศาสตร์ตวั นีไ้ ม่ใช่เพือ่ การส่งออกตัง้ แต่ตน้ เป็นการ ปลูกเพือ่ ทดแทนการน�ำเข้า และใช้บริโภคในประเทศเท่านัน้ จะมีการส่งออกไปน้อย มาก ดังนัน้ ไทยจ�ำเป็นทีจ่ ะต้องปรับตัวเพือ่ น�ำไปใช้ในส่วนพลังงานทดแทนเพิม่ มาก ขึน้ ส่วนราคาสินค้าเกษตรทีเ่ ห็นได้ชดั ว่าอยูใ่ นเกณฑ์ราคาดีมาก ได้แก่ มันส�ำปะหลัง ข้าว และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เป็นต้น ด้านนสพ.สมชวน รัตนมังคลานนท์ รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวถึงส่งออก สินค้าปศุสัตว์ไทยสดใส คาดปี 2561 นี้ ท�ำนิวไฮพุ่ง 2.2 - 2.3 แสนล้านบาท ไม่ว่า จะเป็นการส่งออกไก่เนื้อและผลิตภัณฑ์เป็นไปตามเป้า คาดจะมีปริมาณ 8.1 แสน ตัน ส่วนมูลค่าคาดจะส่งออกได้ 1.04 แสนล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 4% โดยมีตลาด หลัก ได้แก่ ญี่ปุ่น สัดส่วน 58% และสหราชอาณาจักร 18% ส่วนตลาดใหม่ ในกลุ่มตะวันออกกลาง เช่น ซาอุดิอาระเบีย อิรัก และยูเออี มีความต้องการเนื้อไก่ เพิม่ ขึน้ รองลงมาก็เป็นอาหารสัตว์เลีย้ ง ในจีนยังเติบโตถึง 20% ต่อปี เช่นเดียวกับ ตลาดสหรัฐฯ ทีย่ งั มีโอกาสเติบโตสูง ส่วนสินค้า “ไข่ไก่” “สุกร” และ “ไก่เนือ้ ” ราคา ในประเทศยังทรง เนือ่ งจากภาวะเศรษฐกิจในประเทศ และในปีทผี่ า่ นมาราคาดีมาก จูงใจให้เกษตรกรเลี้ยงกันมากขึ้น แต่จากนี้เชื่อว่าราคาน่าจะค่อยๆ ปรับตัวดีขึ้น ด้านนายสุรชัย สุทธิธรรม นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ เผยว่า ราคา สุกรใน 5 ปีที่ผ่านมายังประสบปัญหาผู้เลี้ยงขาดทุน เนื่องจากบริษัทยักษ์ใหญ่ของ ไทยที่ไปเลี้ยงในประเทศเพื่อนบ้านต้นทุนต�่ำกว่าส่งไปแข่งขันตัดราคาในตลาดโลก ท�ำให้ไทยต้องสูญเสียตลาดให้กับเพื่อนบ้านไป ส่วนสถานการณ์ราคา “ไก่เนื้อ” แหล่งข่าวจากสมาคมผูเ้ ลีย้ งไก่เนือ้ เผยว่า ราคาช่วงนีท้ รง ไม่คอ่ ยดี เนือ่ งจากผูเ้ ลีย้ ง ไก่ไข่มกี ารปลดแม่ไก่ไข่ยนื กรงมากขึน้ จึงท�ำให้ไก่เนือ้ มีปญ ั หาด้านราคา เพราะเป็น ตลาดเดียวกัน ขณะที่นายธีระชาติ เสยกระโทก นายกสมาคมชาวไร่มันส�ำปะหลังจังหวัด นครราชสีมา กล่าวว่า ปีนี้ราคาดีมาก เพราะประสบภัยแล้ง ส่งผลท�ำให้ราคาดี แต่ ผลผลิตก็ต�่ำ ดังนั้น เกษตรกรรายได้จึงไม่ค่อยดีเท่าไร จากปัญหาจึงท�ำให้มีแนวคิด ทีจ่ ะเสนอภาครัฐให้นำ� เทคโนโลยีนำ�้ หยดมาใช้ เพือ่ จะท�ำให้ได้ผลผลิตทีเ่ พิม่ ขึน้ และ ต้องหาอาชีพอื่นเสริมด้วย

28 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 35 เล่มที่ 183 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2561


VIV ASIA 2019 กรุงเทพ ประเทศไทย 15-17 มีนาคม 2562

สุดยอดงานแสดงสินคา และเทคโนโลยีสำหรับ อุตสาหกรรมปศุสัตวแหงเอเชีย ครอบคลุมตั้งแตเมล็ดพันธุ จนถึงอาหาร

WWW.VIV.NET

พิเศษ! เปดโซนธุรกิจ วิศวกรรมอาหาร

จัดรวมกับงานประชุมนานาชาติดานเมล็ดพันธุและอาหาร ครั้งที่ 6 ที่กรุงเทพ ประเทศไทย ณ วันที่ 11-13 มีนาคม 2562

จัดโดย

สนับสนุนโดย



Food Feed Fuel

ส่งออก ‘กุ้ง - ยาง - น�้ำตาล’ ดิ่ง อียูกดราคาน�ำเข้า ‘สินค้าไก่’ ส่งออกสินค้าเกษตรชะลอ กุง้ เจอปัญหาผลผลิตลด ราคาตก ยางรับผลกระทบ นโยบายชะลอส่งออก สินค้าไก่ปรับแผนเจรจารับออร์เดอร์ หลังถูกอียู กดราคา ด้าน ส่งออกข้าวปีนี้ทะลุ 11 ล้านตัน ตลาด “อินโดนีเซีย - ฟิลิปปินส์” ออเดอร์พุ่ง สศก. ชี้ส่งออกข้าวหนุนจีดีพีเกษตร กระทรวงพาณิชย์รายงานภาวะการส่งออกสินค้าเกษตรที่การส่งออกลดลง มากทีส่ ดุ คือ สินค้ากุง้ ในช่วง 9 เดือนแรก ของปีนมี้ มี ลู ค่า 948 ล้านดอลลาร์ เทียบ ช่วงเดียวกันกับปีที่แล้วลดลง 24.1% รองลงมา การส่งออกยางพารามูลค่า 3,514 ล้านดอลลาร์ ลดลง 23% ส่วนน�้ำตาลมูลค่า 2,094 ล้านดอลลาร์ ลดลง 9% นายสมศักดิ์ ปณีตญ ั ธยาศัย นายกสมาคมกุง้ ไทย กล่าวว่า ทีผ่ า่ นมาสมาคมฯ ประเมินผลผลิตกุ้งปี 2561 ไว้ที่ 3.3 แสนตัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 10% แต่การ ประเมินล่าสุดคาดว่า จะไม่เป็นไปตามเป้าหมาย เนื่องจากผลผลิตกุ้งจากอินเดีย และเวียดนามออกสูต่ ลาดจ�ำนวนมาก ส่งผลให้ราคากุง้ ไทยตกต�ำ่ และท�ำให้เกษตรกร ในประเทศลังเลทีจ่ ะเพาะเลีย้ งลูกกุง้ ในขณะทีต่ ลาดต่างประเทศปีนซี้ บเซามาก การ ส่งออกคาดว่าจะลดลงตามผลผลิต “สมาคมอยู่ระหว่างประเมินข้อมูลการเลี้ยงกุ้งในปีนี้ว่าจะถึง 3 แสนตัน หรือไม่ ซึ่งการเลี้ยงกุ้งปีนี้ยังมีปัญหาเรื่องโรค ค่าเงินบาทผันผวน และยังมีสงคราม ทางการค้า ท�ำให้ทกุ อย่างไม่สดใส และนักท่องเทีย่ วในไทยลดลงมีผลต่อการบริโภค กุ้งในประเทศ ทั้งหมดนี้มีผลต่อสถานการณ์กุ้งทั้งสิ้น”

รับสภาพส่งออกยางติดลบ ทพ.พงษ์ศกั ดิ์ เกิดวงศ์บณ ั ฑิต กรรมการผูจ้ ดั การ บริษทั วงศ์บณ ั ฑิต จ�ำกัด กล่าวว่า การส่งออกยางในปีนี้คาดว่าไทยจะท�ำได้ 3.9 - 4.1 ล้านตัน ลดลงเล็กน้อย เมือ่ เทียบกับการส่งออกในปีทผี่ า่ นมาทีไ่ ทยท�ำได้ 4.5 ล้านตัน แต่ตอ้ งรอดูสถิตจิ าก กรมศุลกากรอีกที เนื่องจากหน่วยงานภาครัฐระบุว่าไทยส่งออกเพิ่มขึ้น ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 35 เล่มที่ 183 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2561

29


Food Feed Fuel “เมื่อต้นปีนี้ ไทยใช้มาตรการจ�ำกัดโควตา การส่งออก รัฐบาลสนับสนุนให้โค่นยางเพื่อลด ปริมาณ ท�ำให้ผลผลิตยางปีนี้อยู่ที่ 4.5 - 4.7 ล้าน ตัน ในจ�ำนวนนี้ใช้ในประเทศประมาณ 6.5 แสน ตัน ในความรู้สึกผมจึงคาดว่าการส่งออกจะลดลง ทัง้ ปริมาณ และมูลค่า โดยมูลค่านัน้ ได้รบั ผลกระทบ มาจากเงินบาทแข็งค่ากว่าเงินสกุลอื่น 30%”

“ปริมาณทีเ่ พิม่ ขึน้ เป็นจากญีป่ นุ่ หันมาสัง่ ซือ้ จากไทยแทนบราซิลทีม่ ปี ญ ั หาด้านความปลอดภัย ของอาหาร ในขณะที่อียูสั่งซื้อไก่จากไทยมากขึ้น โดยส่งได้เต็มโควตาที่ก�ำหนดไว้ รวมทั้งเกาหลี ที่น�ำเข้าไก่ของไทยมากขึ้น เพราะเศรษฐกิจใน ประเทศขยายตัว และธุรกิจค้าปลีกเติบโตมาก ถือ เป็นแนวโน้มที่ดี”

ส�ำหรับราคายางทีป่ รับลดลงในช่วงไตรมาส 4 นี้ เพราะเป็นวงจรทีผ่ ลผลิตยางออกสูต่ ลาดมาก ผูน้ ำ� เข้าจึงไม่สต็อกยาง แต่ราคาจะขยับตัวเพิม่ ขึน้ เมือ่ เข้าสูเ่ ดือน มี.ค. ทีเ่ กษตรกรปิดหน้ากรีด ส่วน สงครามทางการค้าไม่ส่งผลกระทบ และจะเป็น ผลดีในระยะยาว ตามทีค่ าดว่านักลงทุนจากจีนจะ ไหลเข้ามาไทย และซื้อวัสดุในประเทศมากขึ้น

ส่งออกข้าวตามเป้า 11 ล้านตัน

ส่งออกไก่ไตรมาส 4 ชะลอตัว นายคึกฤทธิ์ อารีปกรณ์ ผู้จัดการสมาคม ผูผ้ ลิตไก่เพือ่ ส่งออกไทย กล่าวว่า การส่งออกไก่เนือ้ จะมากทีส่ ดุ ในไตรมาสที่ 3 เพือ่ น�ำไปใช้ชว่ งเทศกาล สิ้นปี ดังนั้นสถานการณ์ในไตรมาส 4 จึงทรงตัว ส่วนใหญ่จะเตรียมการเพื่อส่งออกไตรมาส 1 ปี 2562 และการส่งออกไตรมาส 4 ยังมีปัญหาจาก เงินบาทแข็งค่าท�ำให้การต่อรองราคาในช่วงนี้ ถูก สหภาพยุโรป (อีย)ู เสนอซือ้ ในราคาทีไ่ ม่เหมาะสม ท�ำให้ผู้ส่งออกต้องวางแผนเจรจาอย่างรอบคอบ ทั้งนี้ คาดว่าการส่งออกทั้งปีนี้จะอยู่ที่ 8.2 แสนตัน มูลค่า 1.06 แสนล้านบาท ซึ่งช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ ส่งออกไปแล้ว 6.48 แสนตัน เพิ่มขึ้น 12% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ ผ่านมา และมากกว่าเป้าหมายทีต่ งั้ ไว้คาดว่าจะเพิม่ ขึ้น 3 - 5%

30 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 35 เล่มที่ 183 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2561

นายชูเกียรติ โอภาสวงษ์ นายกกิตติมศักดิ์ สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย เปิดเผยว่า การส่งออก ข้าวไทยช่วง 10 เดือนแรกในปี 2561 มีปริมาณ 9.2 ล้านตัน และคาดว่าช่วง 2 เดือนที่เหลือของ ปีนี้จะส่งออกข้าวเฉลี่ยเดือนละ900,000 ตัน ซึ่ง ภาพรวมทั้งปีก็น่าจะได้ตามเป้าหมาย 11 ล้านตัน เนื่องจากในช่วงที่เหลือของปีนี้จะมีการส่งมอบ ข้าวขาว ทั้งการส่งมอบตามสัญญาแบบรัฐต่อรัฐ และการส่งออกตามปกติ โดยราคาข้าวส่งออกปี 2561 ดีกว่าปี 2560 โดยเฉพาะข้าวหอมมะลิที่ ปี 2560 ตันละ 850 ดอลลาร์ปีนี้ตันละ 1,100 ดอลลาร์ ส�ำหรับ ปี 2561 ตลาดข้าวของไทยมีการ ส่งออกทั้งเพิ่ม และลดในบางตลาด โดยตลาด แอฟริกาเคยมีสัดส่วน 55% ของการส่งออกข้าว ไทยทั้งหมด ปีนี้ลดลงเหลือ 45% ส่วนตลาด


Food Feed Fuel เอเชียที่เคยมีสัดส่วน 25% เพิ่มเป็น 35% โดย ตลาดแอฟริกาที่ลดลงเพราะข้าวเก่าของไทยหมด สต็อกมา ซึ่งต่างจาก 2 - 3 ปีที่ผ่านมามีข้าวเก่า อยู่มาก

ปริมาณผูส้ ง่ ออกข้าวของผูส้ ง่ ออกทีส่ ำ� คัญ 5 อันดับ แรก (1 ม.ค. - 23 ต.ค.) คือ ประเทศอินเดีย ไทย เวียดนาม ปากีสถาน และสหรัฐอเมริกา

แต่ทผี่ า่ นมาได้ระบายออกไปหมดแล้ว โดย ตลาดแอฟริกามีความต้องการข้าวเก่ามาก เนื่อง จากราคาถูก ซึ่งในปี 2560 ส่งออกไป 11.6 ล้าน ตัน เป็นข้าวเก่า 1.5 ล้านตัน ท�ำให้การส่งออกข้าว ไปแอฟริกาลดลง

นางสาวจริ ย า สุ ท ธิ ไ ชยา เลขาธิ ก าร ส�ำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กล่าวว่า แนวโน้มเศรษฐกิจการเกษตร หรือจีดีพีเกษตร ปี 2561 คาดว่าจะขยายตัวจากปีที่แล้ว 4 - 5% โดยมีปัจจัยบวกจากสภาพอากาศ และปริมาณ น�้ำที่เอื้ออ�ำนวย โดยในไตรมาส 4 ปีนี้ เป็นช่วง ผลผลิตข้าวออกสู่ตลาด ซึ่งเป็นสินค้าที่มีสัดส่วน จีดีพีเกษตรสูงสุด 26% และปกติราคาต้นฤดู จะตกต�่ำ แต่ปีนี้ราคาข้าวหอมมะลิสูงถึง 18,000 บาทต่อตันข้าวเปลือก ใกล้เคียงเมือ่ เทียบกับราคา ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา

อินโดฯ ฟิลิปปินส์หนุนข้าวไทย นายชูเกียรติ กล่าวว่า การส่งออกข้าวของ ไทยในปี 2561 มีปัจจัยบวกจากตลาดฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย โดยอินโดนีเซียที่เคยน�ำเข้าข้าว ไทยปีละ 1.2 - 1.3 ล้านตันปีนี้เพิ่มเป็น 4 ล้านตัน เพราะอินโดนีเซียจะเลือกประธานาธิบดีในปี 2562 จึงต้องการดูแลราคาข้าวไม่ให้ผันผวน เพื่อไม่ให้ กระทบต่อคะแนนเสียง ส่วนฟิลิปปินส์เคยน�ำเข้า ข้าวไทยปีละ 1.5 ล้านตันเพิม่ เป็น 3 ล้านตัน เพราะ มีภัยธรรมชาติท�ำให้ผลผลิตข้าวลดลง ซึ่งท�ำให้ ทั้ง 2 ตลาด ชดเชยตลาดแอฟริกาที่ลดลง ทั้งนี้ ช่วงต้นปีนี้ เคยคาดว่าจะส่งออกข้าว ได้ 10 ล้านตัน เพราะไม่คิดว่าอินโดนีเซีย และ ฟิลิปปินส์จะซื้อข้าวเพิ่มขึ้นจ�ำนวนมาก แต่ปีนี้ คูแ่ ข่งก็สง่ ออกข้าวเพิม่ ขึน้ เช่น เวียดนาม ปีนคี้ าด ว่าส่งออกข้าวได้ 7.5 ล้านตัน จากปีก่อนส่งออก 6 ล้านตัน เพิ่มขึ้นถึง 1.5 ล้านตัน ส่วนอินเดีย ที่เคยส่งออกข้าวอันดับหนึ่งของโลกก็ส่งออกได้ 12 ล้านตัน นอกจากนี้ ยังมีประเทศเมียนมา พม่า ก็ส่งออกเพิ่มขึ้น ท�ำให้ไทยมีคู่แข่งมากขึ้นโดย

ส่งออกข้าวพุ่งดันจีดีพีเกษตร

ทัง้ นี้ ราคาข้าวทีส่ งู ขึน้ มาจากความต้องการ ข้าวในตลาดโลกทีเ่ พิม่ ขึน้ รวมทัง้ รัฐบาลไม่มสี ต็อก ข้าวแล้ว และแม้ผลผลิตปีนี้จะเพิ่มจาก 25 ล้าน ตันข้าวเปลือกเป็น 27 ล้านตันข้าวเปลือก แต่ ข้าวหอมมะลิมีปริมาณเพิ่มขึ้นไม่มาก “ในสาขาพื ช ที่ มี สั ด ส่ ว นของจี ดี พี เ กษตร สูงสุด 68% พบว่ามีเพียงยางพารา และปาล์ม น�ำ้ มันทีร่ าคาตกต�ำ่ โดยยางพาราคิดเป็นสัดส่วนใน จีดีพีเกษตร 21 - 22% รองลงมาจากข้าว ซึ่งมี ราคาตกต�่ำเมื่อเทียบกับราคาข้าวที่ปรับสูงขึ้น แต่ คาดว่าไม่ผลกระทบต่อจีดพี ภี าพรวมมากนัก ส่วน พืชที่ราคายังดี เช่น มันส�ำปะหลัง ข้าวโพดเลี้ยง สัตว์”

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 35 เล่มที่ 183 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2561

31


Food Feed Fuel

สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ ไทย ยันรับซื้อผลผลิต ‘ปลูกข้าวโพดหลังนา’ ตามราคาก�ำหนดจบโครงการ เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย พร้อมด้วยสมาชิก สมาคม ซึ่งเป็นผู้ประกอบการโรงงานผลิตอาหารสัตว์จ�ำนวน 12 บริษัท ประกอบ ด้วย บ.กรุงเทพโปรดิ๊วส์ จ�ำกัด บ.เบทาโกร จ�ำกัด บ.ไทยฟูดส์ อาหารสัตว์ จ�ำกัด บ.แหลมทองสหการ จ�ำกัด บ.ซันฟีด จ�ำกัด บ.เอส.พี.เอ็ม อาหารสัตว์ จ�ำกัด บ.อินเทคค์ ฟีด จ�ำกัด บ.ลีพฒ ั นาผลิตภัณฑ์ จ�ำกัด บ.กรุงไทยอาหาร บ.คาร์กลิ ล์สยาม จ�ำกัด บ.ไทยลักซ์ เอ็นเตอร์ไพรส์ จ�ำกัด และ บ.อาร์ที อะกริเทค จ�ำกัด ได้มา ประชุมร่วมกับกรมปศุสัตว์เพื่อแสดงความจ�ำนงค์ยืนยันจะรับซื้อผลผลิตข้าวโพด จากโครงการสานพลังประชารัฐ เพือ่ สนับสนุนการปลูกข้าวโพดหลังฤดูทำ� นาทัง้ หมด โดยจะร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เข้าไปตั้งจุดรับซื้อ ผลผลิตจนสิ้นสุดโครงการ เพื่อให้ชาวนามีรายได้ และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น นายบุญธรรม อร่ามศิรวิ ฒ ั น์ เลขาธิการสมาคมผูผ้ ลิตอาหารสัตว์ไทย กล่าว ว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ ด�ำเนินนโยบายมาถูกทาง ที่สนับสนุนการปลูก ข้าวโพดหลังฤดูทำ� นาปี เนือ่ งจากข้าวโพดเป็นวัตถุดบิ ทีม่ ตี ลาดรองรับอีกมาก โรงงาน รับซื้อไม่จ�ำกัดจ�ำนวน จะได้ลดการน�ำเข้าทั้งข้าวโพด และข้าวสาลีจากต่างประเทศ โดยข้าวโพดทีเ่ ก็บเกีย่ วในโครงการนีจ้ ะมีคณ ุ ภาพทีด่ กี ว่าข้าวโพดในช่วงฤดูฝน เพราะ ที่มา : มติชนออนไลน์ วันที่ 1 พฤศจิกายน 2561

32 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 35 เล่มที่ 183 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2561


Food Feed Fuel มีความชื้นต�่ำ เมล็ดสมบูรณ์ หากด�ำเนินการดีตั้งแต่คัดเลือกเมล็ดพันธุ์ วิธีปลูก ถูกต้อง ดูแลเหมาะสม คาดว่าผลผลิตน่าจะได้มากถึงไร่ละ 1 ตัน ซึ่งทางสมาคม ยินดีสนับสนุน และส่งเสริมความรูใ้ ห้แก่เกษตรกร โดยร่วมมือกับเจ้าหน้าทีส่ ง่ เสริม ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รวมทัง้ การเข้าไปตัง้ จุดรับซือ้ ผลผลิตจากสหกรณ์ฯ ที่มีความพร้อมในการรวบรวมผลผลิต หรือส่งคนเข้าร่วมตรวจสอบคุณภาพการ รับซื้อผลผลิตข้าวโพด ณ ศูนย์รวบรวมของภาคเอกชนที่เข้าร่วมโครงการ ล่าสุด ยังมีสมาชิกสมาคมอีกหลายบริษัทที่สนใจ ติดต่อเพิ่มมาขอเข้าร่วมโรงการรับซื้อ ผลผลิตข้าวโพด ในส่วนราคาของการรับซื้อนั้น จะเป็นไปตามที่โครงการก�ำหนด ซึง่ จะสอดคล้องกับประกาศของกระทรวงพาณิชย์ โดยด้านคุณภาพนัน้ จะใช้แนวทาง มาตรฐานข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย เป็นมาตรฐานกลาง ส�ำหรับทุกบริษัท เพื่อให้มีความเป็นธรรมอย่างแท้จริง โดยพร้อมให้เจ้าหน้าที่ของ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เข้าร่วมติดตาม และตรวจสอบได้ตลอดเวลา ทั้งนี้ ยืนยันว่าจะรับซื้อผลผลิตข้าวโพดหลังนา ตามราคาที่ก�ำหนดจนสิ้นสุดโครงการ ซึ่งหากชาวนาลดการปลูกข้าว และทดแทนด้วยการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ โดยมี ความตัง้ ใจ และมีความรูใ้ นการดูแลตัง้ แต่คดั เลือกเมล็ดพันธุ์ วิธปี ลูกถูกต้อง การดูแล ที่เหมาะสม มั่นใจว่าจะท�ำให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ และปริมาณเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ ชาวนามีรายได้ และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างแน่นอน

photo by: AJFamily

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 35 เล่มที่ 183 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2561

33


Food Feed Fuel

สถานการณ์

ถั่วเหลือง

1. ผลผลิตและการใช้ (ล้านตัน)

ปี 58

1.1 ผลผลิตพืชน�้ำมัน - โลก 1.2 ผลผลิตถั่วเหลือง 1.2.1 โลก 1.2.2 ไทย - ถั่วฤดูแล้ง - ถั่วฤดูฝน 1.3 ความต้องการใช้ 1.3.1 โลก 1.3.2 ไทย 1.4 ต้นทุนการผลิต (บาท/กก.) 1.5 น�ำเข้า 1.6 ส่งออก ไทยน�ำเข้าจาก ไทยส่งออกไป 2. ราคา (บาท/กก.) 2.1 เกษตรกรขายได้ (ชนิดคละ) 2.2 ขายส่ง ตลาด กทม. - เกรดแปรรูปอาหาร - เกรดผลิตอาหารสัตว์ - เกรดสกัดน�้ำมัน 2.3 ซื้อขายล่วงหน้าตลาดชิคาโก - บาท/กก. - เหรียญสหรัฐฯ/ตัน

ปี 59

ปี 60

ปี 61

(ประมาณการ)

523.790

572.500

574.190

599.570

316.242 0.042 0.024 0.018

348.946 0.038 0.021 0.017

338.567 0.045 0.025 0.020

367.497 0.045 0.026 0.020

314.770 2.602 16.145

329.370 2.995 15.789

336.760 2.935 15.553

351.940 2.933*

2.557 2.958 2.746 0.009 0.005 0.004 บราซิล 62% สหรัฐอเมริกา 35% แคนาดา 2% ลาว 70% กัมพูชา 18% เวียดนาม 11% ปี 59 ปี 60 ต.ค. 61 14.47 15.73 15.00

(ม.ค.-ต.ค. 61)

2.223 0.003

พ.ย. 61 16.31

19.02 18.02 16.64

20.55 18.64 18.32

19.50 17.50 18.50

19.50 17.50 18.50

12.86 362.84

12.24 358.65

10.40 315.82

10.68 322.25

ที่มา : 1.1., 1.2.1, 1.3.1 กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ 1.2.2, 13.2, 1.4 ส�ำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร 1.5, 1.6 กรมศุลกากร 2.1 ส�ำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร 2.2 กรมการค้าภายใน 2.3 www.cmegroup.com * ประมาณการโดยส้านักงานเศรษฐกิจการเกษตร

1. สถานการณ์ ปี 2561 1.1 เดือนพฤศจิกายน เมล็ดถั่วเหลือง (ฤดูฝน) ที่ออกสู่ตลาดมีปริมาณลดลง ส่งผลให้ราคา เมล็ดถัว่ เหลืองชนิดคละทีเ่ กษตรกรขายได้ปรับสูงขึน้ จากเดือนก่อน กก. ละ 1.31 บาท ส�ำหรับราคาขาย

34 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 35 เล่มที่ 183 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2561


Food Feed Fuel ส่งตลาด กทม. เกรดแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหาร เกรดผลิตอาหารสัตว์ และเกรดสกัดน�้ำมันยังทรงตัว เท่ากับเดือนก่อน ส�ำหรับการน�ำเข้าเมล็ดถัว่ เหลืองในช่วงเดือน ม.ค. - ต.ค. 61 มีจำ� นวน 2,222,938 ตัน ลดลงจาก ช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ 2,335,972 ตัน หรือลดลงร้อยละ 4.84 แหล่งน�ำเข้าที่ส�ำคัญ ได้แก่ บราซิล สหรัฐอเมริกา แคนาดา ราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดชิคาโกเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนตันละ 6.43 US$ เนื่องจากผลผลิตของ แหล่งเพาะปลูกส�ำคัญ เช่น สหรัฐอเมริกา และอาร์เจนติน่า มีปริมาณลดลงร้อยละ 1.92 และ 2.63 ตามล�ำดับจากสาเหตุ (1) สหรัฐอเมริกาประสบปัญหาด้านสภาพอากาศทีม่ ภี าวะฝนตกอย่างต่อเนือ่ ง ท�ำให้ การเก็บเกี่ยวล่าช้า (2) ประเทศจีนสั่งซื้อถั่วเหลืองจากอาร์เจนติน่าเพิ่มขึ้นแทนการน�ำเข้าจากสหรัฐฯ 1.2 แนวโน้มเดือนธันวาคม คาดว่าผลผลิตเมล็ดถั่วเหลืองโลกจะมีปริมาณลดลงอีกระดับหนึ่ง จากปัจจัยด้านสภาพอากาศที่ไม่เอื้ออ�ำนวยของสหรัฐฯ ซึ่งเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ในตลาดโลก ด้านราคา มี แนวโน้มปรับสูงขึ้นเล็กน้อย กองส่งเสริมการค้าสินค้าเกษตร 1 กรมการค้าภายใน ธันวาคม 2561

ราคาเมล็ดถั่วเหลือง ปี ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. 1. ราคาที่เกษตรกรขายได้ เมล็ดถั่วเหลืองชนิดคละ 2558 - 15.52 15.62 15.25 2559 - 15.00 14.50 14.02 14.22 2560 - 16.45 16.78 16.95 - 12.90 13.45 2561 16.39 16.75 15.94 17.06 17.23 16.60 2. ราคาขายส่งเมล็ดถั่วเหลืองเกรดแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหาร ตลาด กทม. 2558 20.50 20.50 19.79 19.89 20.50 18.77 18.50 19.15 2559 19.50 18.90 18.50 18.50 18.50 19.27 19.50 19.50 2560 18.50 20.39 20.50 20.50 20.50 20.59 21.50 21.50 2561 21.26 21.50 21.50 21.50 21.21 20.50 20.50 20.41 3. ราคาขายส่งเมล็ดถั่วเหลืองเกรดผลิตอาหารสัตว์ ตลาด กทม. 2558 18.50 18.50 17.79 17.89 18.50 17.64 17.50 18.15 2559 18.50 17.90 17.50 17.50 17.50 18.27 18.50 18.50 2560 17.50 18.45 18.50 18.50 18.50 18.59 19.50 19.50 2561 19.26 19.50 19.50 19.50 19.21 18.50 18.50 18.41

ก.ย.

ต.ค.

หน่วย : บาท/กก. พ.ย. ธ.ค. เฉลี่ย

15.41 14.17 13.17 -

14.93 13.20 12.52 15.00

15.35 - 15.35 14.00 - 14.16 15.75 16.24 14.91 16.25 16.40 16.48

19.50 19.50 21.12 19.50

19.50 19.50 20.50 19.50

19.50 19.50 19.63 18.55 18.50 19.02 20.50 20.50 20.55 19.50 20.63

18.50 18.50 19.12 17.50

18.50 18.50 18.50 17.50

18.50 18.50 18.21 17.55 17.50 18.02 18.50 18.50 18.64 17.50 18.63 

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 35 เล่มที่ 183 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2561

35


Food Feed Fuel  ปี ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. 4. ราคาขายส่งเมล็ดถั่วเหลืองเกรดสกัดน�้ำมัน ความชื้น 13.0% ตลาด กทม. 2558 16.53 16.49 16.36 16.49 16.50 16.50 16.50 16.50 16.50 16.50 16.50 2559 16.50 16.50 16.50 16.50 16.50 16.99 17.25 16.80 16.60 16.50 16.50 2560 16.50 18.39 18.50 18.50 18.50 18.50 18.50 18.50 18.50 18.50 18.50 2561 18.50 18.50 18.50 18.50 18.50 18.50 18.50 18.50 18.50 18.50 18.50 5. ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง ตลาดชิคาโก 2558 12.09 11.93 11.78 11.66 11.79 12.02 12.83 12.34 11.69 11.74 11.47 2559 11.74 11.44 11.57 12.54 13.81 14.94 13.76 12.92 12.43 12.62 13.09 2560 13.52 13.41 12.85 12.04 12.15 11.48 12.39 11.58 11.78 11.97 11.96 2561 11.46 11.75 12.01 11.98 12.02 11.09 10.45 10.52 10.05 10.40 10.68 6. ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง ตลาดชิคาโก (US$ : ton , 1 ton = 36.743 Bushel) 2558 367.46 364.70 359.58 356.89 351.92 354.79 372.29 346.99 323.51 327.39 318.84 2559 323.17 319.90 326.91 355.65 388.47 421.20 390.37 370.28 355.64 358.35 368.87 2560 379.56 381.13 366.07 347.82 350.15 336.35 365.41 345.50 353.68 358.24 361.39 2561 356.84 371.20 381.85 381.23 374.81 339.93 312.53 316.62 306.41 315.82 322.25

ธ.ค.

เฉลี่ย

16.50 16.49 16.50 16.64 18.50 18.32 18.50 11.78 11.93 13.49 12.86 11.77 12.24 11.13 325.78 347.51 375.25 362.84 358.44 358.65 343.59

ที่มา : 1 ส�ำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเฉลี่ยทั้งปีแบบถ่วงน�้ำหนักจ�ำนวนผลผลิต 2 - 4 กรมการค้าภายใน 5 - 6 www.cmegroup.com

ปริมาณการนำ�เข้าและส่งออกเมล็ดถั่วเหลือง ปี ม.ค. ก.พ. ปริมาณน�ำเข้า 2558 128,352 148,493 2559 308,363 104,921 2560 123,980 332,007 2561 145,133 254,338 ปริมาณส่งออก 2558 3,344 144 2559 599 218 2560 486 271 2561 269 279

หน่วย : ตัน

มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย.

ก.ค.

ส.ค.

ก.ย.

ต.ค. พ.ย.

154,784 254,770 214,215 295,790

289,615 250,275 266,820 260,211

247,945 222,404 291,089 278,182

144,371 299,465 270,122 145,627

344,892 187,572 354,438 124,922

229,067 300,477 195,851 280,523

244,003 278,178 110,752 358,573

173,423 158,263 294,175 224,440 162,008 364,856 176,699 192,104 217,611 79,640

139 640 317 309

254 744 269 240

488 390 516 239

781 222 529 240

1,416 287 458 158

778 600 117 159

200 608 219 346

ที่มา : กรมศุลกากร ปี 2558-2561 พิกัด 12011009000 12019010001 และ 12019090090

36 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 35 เล่มที่ 183 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2561

908 157 305 391

418 523 278

ธ.ค.

447 488 195

รวม 2,557,384 2,957,729 2,745,687 2,222,938 9,317 5,477 3,960 2,631


Food Feed Fuel

สถานการณ์

กากถั่วเหลือง

1. ผลผลิตและการใช้ (ล้านตัน) 1.1 ผลผลิต - โลก 1.1.1 วัตถุดิบอาหารสัตว์หมวดโปรตีน 1.1.2 กากถั่วเหลือง 1.2 ผลผลิต - ไทย 1.2.1 จากเมล็ดถั่วเหลืองในประเทศ 1.2.2 จากเมล็ดถั่วเหลืองน�ำเข้า 1.3 ความต้องการใช้ 1.3.1 โลก 1.3.2 ไทย

ปี 58

ปี 59

ปี 60

ปี 61

(ประมาณการ)

305.120 215.823 1.241 0.014 1.227

319.580 225.390 1.434 0.011 1.423

329.970 232.022 1.413 0.008 1.405

341.060 241.879 1.445 0.009 1.437

213.028 4.351

221.737 4.506

228.444 4.674

238.095 4.789

(ม.ค.-ต.ค. 61)

1.4 น�ำเข้า 2.695 2.578 2.958 2.685 1.5 ส่งออก (ตัน) 15,900 39,869 ไทยน�ำเข้าจาก บราซิล 66% อาร์เจนตินา 20% สหรัฐอเมริกา 12% ปารากวัย 2% ไทยส่งออกไป ลาว 68% กัมพูชา 29% เวียดนาม 3% 2. ราคา (บาท/กก.) ปี 59 ปี 60 ต.ค. 61 พ.ย. 61 2.1 ขายส่ง ตลาด กทม. - กากถั่วเหลืองในประเทศ - เมล็ดฯ ในประเทศ โปรตีน 44-48% 19.54 20.50 - เมล็ดฯ น�ำเข้า โปรตีน 44-46% 15.74 14.08 13.92 13.76 - กากถั่วเหลืองน�ำเข้า - โปรตีน 46-48% 15.30 13.87 13.75 13.58 2.2 ซื้อขายล่วงหน้าตลาดชิคาโก - บาท/กก. 12.42 11.86 11.33 11.22 - เหรียญสหรัฐฯ/ตัน 350.48 347.50 344.18 338.75 ที่มา : 1.1 กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ (USDA), 1.2 โรงงานสกัดน�้ำมันรายงานตามบันทึกข้อตกลงการรับซื้อกากถั่วเหลือง 1.3.1 กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ (USDA), 1.3.2 สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย, 1.4, 1.5 กรมศุลกากร 2.1 กรมการค้าภายใน, 2.2 www.cmegroup.com

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 35 เล่มที่ 183 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2561

37


Food Feed Fuel

1. สถานการณ์ ปี 2561 1.1 เดือนพฤศจิกายน ราคาขายส่งกากถัว่ เหลืองผลิตจากเมล็ดถัว่ เหลืองน�ำเข้า โปรตีน 44 - 46% และกากถั่วเหลืองน�ำเข้า โปรตีน 46 - 48% ตลาด กทม. ปรับลดลงตามต้นทุนการน�ำเข้าในช่วงก่อน หน้านี้ ส�ำหรับการน�ำเข้ากากถัว่ เหลืองในช่วงเดือน ม.ค. - ต.ค. 61 มีจำ� นวน 2,684,159 ตัน สูงขึน้ จาก ช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 11.27 แหล่งน�ำเข้าที่ส�ำคัญ ได้แก่ บราซิล อาร์เจนตินา สหรัฐอเมริกา ราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดชิคาโกปรับลดลงจากเดือนก่อนที่ตันละ 344.18 US$ มาอยู่ที่ ตันละ 338.75 US$ เนื่องจากปริมาณกากถั่วเหลืองโลกที่เพิ่มขึ้นตามการรายงานของกระทรวงเกษตร สหรัฐอเมริกา (USDA) ประมาณร้อยละ 4.24 โดยเฉพาะประเทศอาร์เจนตินา มีผลผลิตเพิ่มขึ้นถึง ร้อยละ 18 1.2 แนวโน้มเดือนธันวาคม คาดว่าผลผลิตโลกยังคงมีปริมาณเพิม่ ขึน้ อีกระดับ ด้านราคามีแนวโน้ม ปรับลดลงตามภาวะอุปสงค์อุปทาน กองส่งเสริมการค้าสินค้าเกษตร 1 กรมการค้าภายใน ธันวาคม 2561

38 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 35 เล่มที่ 183 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2561


Food Feed Fuel

ราคากากถั่วเหลือง

หน่วย : บาท/กก.

ปี ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. เฉลี่ย 1. ราคาขายส่งกากถั่วเหลืองผลิตในประเทศจากเมล็ดในประเทศ โปรตีน 44-48% ณ หน้าโรงงานสกัดน�้ำมัน ตลาด กทม. 2558 18.63 18.35 18.35 18.35 18.35 18.35 18.35 18.35 18.35 18.35 18.35 18.35 18.37 2559 18.35 18.35 18.35 18.35 18.35 19.78 20.50 20.50 20.50 20.50 20.50 20.50 19.54 2560 20.50 20.50 20.50 20.50 20.50 20.50 20.50 20.50 20.50 20.50 20.50 20.50 20.50 2561 20.50 20.50 20.50 2. ราคาขายส่งกากถั่วเหลืองผลิตในประเทศจากเมล็ดน�ำเข้า โปรตีน 44-46% ณ หน้าโรงงานสกัดน�้ำมัน ตลาด กทม. 2558 17.20 17.47 16.38 15.88 15.05 14.86 14.39 15.48 15.75 15.75 15.75 15.75 15.81 2559 15.67 15.55 15.33 15.05 15.58 17.18 17.75 16.30 15.19 14.45 15.40 15.40 15.74 2560 15.19 15.03 14.59 14.30 14.18 13.49 13.57 13.52 13.51 13.64 13.53 14.35 14.08 2561 15.11 14.88 14.73 14.73 14.91 15.52 15.31 14.98 14.31 13.92 13.76 14.74 3. ราคาขายส่งกากถั่วเหลืองน�ำเข้าจากต่างประเทศ โปรตีน 46-48% ณ โกดังผู้น�ำเข้า ตลาด กทม. 2558 17.29 17.17 16.45 16.10 14.54 14.43 13.94 15.49 15.78 15.35 15.25 15.39 15.60 2559 15.26 15.05 14.83 14.55 14.75 16.41 16.75 15.89 15.19 14.45 15.31 15.13 15.30 2560 14.93 14.81 14.51 14.16 14.03 13.30 13.46 13.32 13.31 13.39 13.15 14.06 13.87 2561 14.65 14.49 14.40 14.40 14.59 15.20 15.01 14.81 14.12 13.75 13.58 14.45 4. ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง ตลาดชิคาโก 2558 12.47 12.24 11.95 11.42 11.41 11.99 13.61 13.17 12.39 12.11 11.52 11.19 12.12 2559 10.79 10.42 10.48 11.65 14.52 15.73 14.21 12.72 11.97 11.87 12.27 12.44 12.42 2560 12.99 13.07 12.53 11.86 11.36 11.08 12.11 11.21 11.21 11.64 11.58 11.68 11.86 2561 11.54 12.58 13.00 13.19 13.60 12.44 12.21 12.21 11.15 11.33 11.22 12.13 5. ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง ตลาดชิคาโก (US$ : ton , 1 ton = 1.1023 shortton) 2558 379.04 374.25 364.86 349.71 340.47 353.90 394.90 370.40 342.95 337.64 320.34 309.54 353.17 2559 297.17 291.33 296.07 330.53 408.26 443.41 403.28 364.48 342.40 337.13 345.84 345.83 350.48 2560 364.70 371.52 356.88 342.63 327.30 324.52 357.23 334.55 336.64 348.42 349.90 355.76 347.50 2561 359.30 397.39 413.49 419.73 423.84 381.34 365.13 337.45 340.17 344.18 338.75 374.62 ที่มา : 1 - 3 กรมการค้าภายใน, 4 - 5 www.cmegroup.com

ปริมาณการนำ�เข้ากากถั่วเหลือง ปี 2558 2559 2560 2561

ม.ค. 334,956 156,369 326,955 185,574

ก.พ. 155,171 183,446 124,199 197,553

มี.ค. 134,282 230,664 230,786 307,289

เม.ย. 288,818 333,744 201,149 325,268

พ.ค. 316,874 267,025 387,340 393,978

มิ.ย. 253,597 239,435 257,665 299,988

หน่วย : ตัน ก.ค. 289,297 254,968 166,003 104,998

ส.ค. 241,220 84,030 256,745 366,062

ก.ย. 107,049 243,874 292,628 236,151

ต.ค. 114,604 97,205 168,728 267,297

พ.ย. 240,591 263,869 359,410

ธ.ค. รวม 218,290 2,694,748 223,371 2,578,000 186,331 2,957,938 2,684,159

ที่มา : กรมศุลกากร  ปี 2558 - มิ.ย. 60 พิกัด 23040090000  ตั้งแต่ มิ.ย. 60 เป็นต้นไป พิกัด 23040090001

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 35 เล่มที่ 183 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2561

39


Food Feed Fuel

ไข่ไก่แพงสวนทาง! ล้นตลาด กระทรวงเกษตรฯ เร่งประสานกระทรวง พาณิชย์เจาะตลาดกระจายไข่ไก่ รักษาเสถียรภาพ ราคาตกต�่ำสุดในรอบ 30 ปี โวอีก 1 - 2 สัปดาห์ สถานการณ์ดขี นึ้ พร้อมชง “เอ้กบอร์ด” ลดน�ำเข้า พ่อแม่ ปู่ ย่าพันธุ์อีกร้อยละ 10 ในปี 62 หวัง ผลผลิตไข่ไก่ลดปริมาณตัดปัญหาภาวะล้นตลาด ชูเป็นมาตรการแก้ปัญหาระยะยาว ด้านนายก สมาคมผู้เลี้ยงไก่ไข่กังขาผู้บริโภคยังซื้อไข่ไก่ราคา แพง สวนทางภาวะล้นตลาด จี้กรมการค้าภายใน ผุดโครงการไข่ไก่ธงฟ้าช่วยเกษตรกร ไม่ผา่ นพ่อค้า คนกลาง เมื่อวันที่ 4 พ.ย. นสพ.สมชวน รัตนมังคลานนท์ รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ กระทรวง เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ก�ำลังเร่งรักษา เสถี ย รภาพราคาไข่ ไ ก่ เ พื่ อ ช่ ว ยเหลื อ เกษตรกร ผูเ้ ลีย้ งไก่ไข่ ซึง่ ตามทีส่ มาคมผูเ้ ลีย้ งไก่ไข่ระบุราคา ไข่ไก่ต�่ำสุดในรอบ 30 ปี โดยราคาเหลือฟองละ 1.40 บาทนัน้ เป็นเบอร์ 6 ทีข่ นาดเล็กสุดผูบ้ ริโภค ไม่นยิ ม ส่วนเบอร์ 0 ทีข่ นาดใหญ่สดุ ฟองละ 3.30 บาท เบอร์ 1 ฟองละ 2.80 บาท เบอร์ 2 ฟองละ 2.55 บาท เบอร์ 3 ฟองละ 2.35 บาท เบอร์ 4 ฟองละ 2.25 บาท เบอร์ 5 ฟองละ 2.00 บาท ที่มา : เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

40 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 35 เล่มที่ 183 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2561

ขณะที่ไข่ไก่คละหน้าฟาร์มเฉลี่ยฟองละ 2.30 บาท หากเปรียบเทียบราคาตั้งแต่เดือน ม.ค. -  ต.ค. ราคาไข่ไก่คละหน้าฟาร์มเฉลี่ย 2.54 บาท โดยเบอร์ 0 ฟองละ 3.54 บาท เบอร์ 1 ฟองละ 3.04 บาท เบอร์ 2 ฟองละ 2.75 บาท เบอร์ 3 ฟองละ 2.55 บาท เบอร์ 4 ฟองละ 2.45 บาท เบอร์ 5 ฟองละ 2.24 บาท และเบอร์ 6 ฟองละ 1.85 บาท ทั้งนี้ ราคาขายไข่ไก่ทางภาคใต้ ภาค กลาง ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อาจแตกต่างกัน 10 - 20 สตางค์ นสพ.สมชวน กล่าวว่า สาเหตุที่ราคาไข่ไก่ ลดลงตัง้ แต่เดือน ต.ค. เนือ่ งจากปริมาณการบริโภค ลดลงในช่วงเทศกาลกินเจ ประกอบกับปิดภาค เรียน ท�ำให้ปริมาณไข่ไก่มีสะสมอยู่มาก อีกทั้ง ช่วงฤดูฝน ไข่ไก่มีขนาดฟองเล็ก ผู้บริโภคไม่นิยม แต่ขณะนีเ้ ทศกาลกินเจผ่านไปแล้ว ฤดูฝนก็สนิ้ สุด ลง อีกทั้งโรงเรียนเปิดภาคเรียน และก�ำลังจะเข้า ช่วงเทศกาลปีใหม่ ท�ำให้ตามวงจรของไข่ไก่ช่วง ปลายปี ประชาชนจะบริโภคไข่ไก่เพิม่ ขึน้ แนวโน้ม ราคาไข่ไก่คละหน้าฟาร์มจะค่อยๆ ปรับขึ้นภายใน 1 - 2 สัปดาห์นี้


Food Feed Fuel นสพ.สมชวน กล่าวอีกว่า ปัจจุบนั มีปริมาณ พ่อแม่พันธุ์ไก่ไข่ (PS) ที่ให้ผลผลิต 521,860 ตัว แม่ไก่ไข่ยืนกรง 56 - 57 ล้านตัว ผลผลิต ไข่ไก่เฉลี่ยประมาณ 44 - 45 ล้านฟอง/วัน ส่วน ปริมาณการบริโภคต่อวันเฉลี่ย 42 ล้านฟอง ที่ เหลือแปรรูปและส่งออก จึงมีปริมาณไข่ไก่ตกค้าง ประมาณวันละ 1 ล้านฟอง กรมปศุสัตว์ไม่ได้ นิง่ นอนใจ โดยนับจากต้นปีจนถึงปัจจุบนั ได้รว่ มกับ สมาคมผูเ้ ลีย้ งไก่ไข่ และผูน้ ำ� เข้าไก่ไข่พนั ธุผ์ ลักดัน การส่งออกไข่ไปจ�ำหน่ายต่างประเทศ (PS Support) มาตัง้ แต่เดือน เม.ย. รวมแล้ว 258 ตูค้ อนเทเนอร์ ปลดแม่ไก่ไข่ยืนกรงที่อายุ 72 สัปดาห์ 857,486 ตัว ตรวจสอบปริมาณการน�ำเข้า การเลีย้ ง และการ ปลดพ่อแม่พันธุ์ไก่ไข่ไม่ให้เกินอายุ 72 สัปดาห์ ตามมติคณะกรรมการนโยบายพัฒนาไก่ไข่และ ผลิตภัณฑ์ (เอ้กบอร์ด) อย่างเคร่งครัด “ล่าสุดประสานกรมการค้าภายในตามที่ สมาคมผูเ้ ลีย้ งไก่ไข่รอ้ งขอ โดยเบือ้ งต้นรับแจ้งจาก กรมการค้าภายในว่าจะเชิญหารือเพื่อแก้ปัญหา ปริมาณไข่ไก่ค้างสะสมโดยการหาตลาดกระจาย สินค้าให้ ส่วนในระยะยาวได้ประชุมหารือร่วมกับ บริษทั ผูน้ ำ� เข้าและเลีย้ งพ่อแม่พนั ธุ ์ - ปูย่ า่ พันธุไ์ ก่ไข่ ไปเมื่อวันที่ 24 ต.ค. และมีมติปรับลดแผนการ น�ำเข้าปี 2562 ลงร้อยละ 10 จากแผนปี 2561

ซึง่ จะส่งผลให้ปี 2562 มีปริมาณพ่อแม่พนั ธุ์ (PS) ไม่เกิน 500,000 ตัว ปูย่ า่ พันธุไ์ ก่ไข่ (GP) ไม่เกิน 4,050 ตัว ให้มแี ม่ไก่ไข่ยนื กรงประมาณ 50 ล้าน ตัว จะท�ำให้ได้ผลผลิตไข่ไก่ประมาณ 42 - 43 ล้าน ฟองต่อวัน ใกล้เคียงกับการบริโภคภายในประเทศ และการส่งออกทั้งไข่ไก่สดและผลิตภัณฑ์ ไข่ไก่ แปรรูป ทัง้ นีใ้ นการประชุม Egg Board เดือน พ.ย. บรรจุวาระพิจารณาแผนการแก้ปัญหาดังกล่าว แล้ว ซึง่ จะเป็นแนวทางรักษาเสถียรภาพราคาไข่ไก่ ที่มีประสิทธิภาพ” รอง อธิบดีฯ กล่าว ด้านนายมาโนช ชูทับทิม นายกสมาคม ผูเ้ ลีย้ งไก่ไข่ กล่าวว่า ผูบ้ ริโภคยังรับประทานไข่ไก่ ในราคาแพงอยู่ สวนทางกับภาวะไข่ไก่ล้นตลาด จึงได้ทำ� หนังสือไปยังกรมการค้าภายในตัง้ แต่วนั ที่ 19 ต.ค. เพือ่ ให้หาตลาดกระจายสินค้า โดยอาจท�ำ ในรูปแบบไข่ไก่ธงฟ้า ให้ผบู้ ริโภคสามารถซือ้ ไข่ไก่ จากเกษตรกรโดยตรง ไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง เกษตรกรจะไม่ถูกกดราคา และผู้บริโภคซื้อไข่ไก่ ได้ในราคาถูกลงกว่าปัจจุบันที่มีการบวกเพิ่มจาก พ่อค้าคนกลาง ซึ่งหากผู้บริโภคสามารถซื้อไข่ไก่ ในราคาเหมาะสมจะช่วยกระตุ้นการรับประทาน ไข่ไก่ในประเทศ ส่งผลให้ไข่ไก่ไม่ตกค้าง และ เกษตรกรจะขายได้ในราคาไม่ต�่ำกว่าต้นทุนการ ผลิต

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 35 เล่มที่ 183 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2561

41


Market Leader

ข้าวโพด กับสิ่งแวดล้อม หลายๆ ปีที่ผ่านมาในช่วงเดือนมีนาคม -  เมษายน หลายจังหวัดในภาคเหนือ มักจะพบปัญหา หมอกควันปกคลุมในหลายพื้นที่ ทั้งเชียงใหม่ ล�ำพูน ล�ำปาง แม่ฮอ่ งสอน พะเยา เชียงราย แพร่ และน่าน สาเหตุสำ� คัญเกิดจากไฟป่า และการเผา พื้นที่เกษตร และพื้นที่เกษตรที่ว่านี้ส่วนหนึ่ง คือ พื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็น พื้นที่บุกรุกป่า ข้อมูลจากส�ำนักนโยบายและแผน กระทรวง มหาดไทย ระบุว่า ในปี 2559/60 พื้นที่ปลูก ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของไทยมี 7.03 ล้านไร่ ใน จ�ำนวนนี้ เป็นพืน้ ทีท่ เี่ หมาะสม 3.30 ล้านไร่ พืน้ ที่ ไม่เหมาะสม 0.70 ล้านไร่ และเป็นพื้นที่บุกรุกป่า 3.67 ล้านไร่ ในจ�ำนวนพื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ทัง้ หมด เป็นพืน้ ทีท่ อี่ ยูใ่ นภาคเหนือมากทีส่ ดุ 4.51 ล้านไร่ รองลงมาคือ ภาคอีสาน 1.66 ล้านไร่ และ ภาคกลาง 0.86 ล้านไร่ จังหวัด ทีม่ พี นื้ ทีเ่ พาะปลูก มากที่สุดคือ เพชรบูรณ์กว่า 8.3 แสนไร่ รอง ลงมาคือ น่าน 7.3 แสนไร่ จากการจ� ำ แนกพื้ น ที่ ป ลู ก ข้ า วโพดของ กระทรวงมหาดไทย จะเห็นว่ามีพื้นที่ที่ไม่ถูกต้อง ตามกฎหมายมากกว่ า ครึ่ ง ของพื้ น ที่ เ พาะปลู ก ทัง้ หมด ซึง่ ข้าวโพดเลีย้ งสัตว์ทปี่ ลูกในพืน้ ทีเ่ หล่านี้ สร้างผลกระทบกับอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ และ การส่งออกเนื้อสัตว์ของไทย เพราะประเทศผู้ ที่มา : แนวหน้า ฉบับวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

42 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 35 เล่มที่ 183 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2561

น�ำเข้าเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์ ใช้เป็นข้ออ้างไม่ซื้อ เนื้อสัตว์จากไทย เนื่องจากเป็นการบุกรุกพื้นที่ป่า และเป็นการท�ำลายสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นมาตรการ กีดกันทางการค้าที่ประเทศผู้ส่งออกมักจะต้อง เผชิญอยู่เสมอ นอกจากนี้ การปลูกข้าวโพดยังมีเศษวัสดุ เหลือใช้ ต้น เปลือก และซังข้าวโพดจ�ำนวนมากทีม่ ี การจัดการไม่ถูกวิธี ส่วนใหญ่หลังจากเก็บเกี่ยว ผลผลิตแล้ว เกษตรกรมักจะทิ้งเศษวัสดุเหล่านี้ ไว้ ใ นแปลงปลู ก เพื่ อ รอการเผาทิ้ ง ในช่ ว งเดื อ น มกราคม - เมษายน ของทุกปีดังที่กล่าวมาแล้ว ข้างต้น การเผาไหม้ดงั กล่าวก่อให้เกิดควันท�ำลาย ชั้ น บรรยากาศ สร้ า งปั ญ หาหมอกควั น ที่ มี ผ ล กระทบต่อเนื่องอีกมากมาย โดยเฉพาะปัญหา สุขภาพของผู้คนที่อาศัยอยู่ในบริเวณใกล้เคียง รวมทั้งปัญหาการคมนาคมทั้งทางบก และทาง อากาศ จากสถานการณ์ดังกล่าวทั้ง 2 กรณี ในปี 2560 ครม. จึงมีมาตรการลดพื้นที่ปลูกข้าวโพด เลีย้ งสัตว์ในพืน้ ทีบ่ กุ รุกป่าลง โดยการให้เกษตรกร ไปหาที่ปลูกใหม่ หรือเปลี่ยนอาชีพไปเพาะปลูก พืชอื่น หรือท�ำกิจกรรมการเกษตรอย่างอื่น ขณะ เดียวกันก็ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ส่งเสริม ปลูกข้าวโพดในพืน้ ทีอ่ นื่ เพือ่ ให้ได้ผลผลิตเพียงพอ ต่อความต้องการใช้ภายในประเทศ


Market Leader

ภาพประกอบจาก http://treinenfarm.com/dry-corn-stalks-1280x400/

กระทรวงเกษตรฯ ด�ำเนินมาตรการเพิ่ม พื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในฤดูแล้งแทนการ ท�ำนาปรังภายใต้โครงการส่งเสริมปลูกข้าวโพด เลีย้ งสัตว์ฤดูแล้งหลังนา โดยรัฐบาลให้เงินอุดหนุน แก่เกษตรกรไร่ละ 2,000 บาท การเปลีย่ นจากข้าวไปปลูกพืชไร่ทไี่ ม่คนุ้ เคย แม้จะมีเงินอุดหนุนจากรัฐ ก็ไม่ใช่งานที่ง่ายนัก โครงการในปีทแี่ ล้วจึงไม่ได้พนื้ ทีต่ ามเป้าหมาย แต่ เกษตรกรทีต่ ดั สินใจร่วมโครงการยืนยันว่ามี รายได้ จากข้าวโพดเลี้ยงสัตว์สูงกว่าการท�ำนาปรังไร่ละ ประมาณ 3,000 บาท มาปีนี้โครงการเดิมกลับมาอีกครั้งในพื้นที่ เป้าหมายเดิมคือ 2 ล้านไร่ ต่างกันตรงที่รัฐไม่ อุดหนุนเป็นเงินสดให้แล้ว แต่จะหาแหล่งเงินทุน ดอกเบีย้ ต�ำ่ เพียง 0.01% ให้เกษตรกรกูเ้ ป็นเงินทุน หมุนเวียนในอัตราไร่ละ 3,000 บาท ทัง้ นี้ ต้องเป็น พื้นที่ปลูกที่ถูกต้องตามกฎหมาย และเกษตรกร ต้องขึ้นทะเบียนเป็นเกษตรกรกับกรมส่งเสริม การเกษตร

แม้จะมีข้อมูลจากกรมส่งเสริมการเกษตร ว่า โครงการในปีที่ผ่านมาสามารถลดพื้นที่ปลูก ข้าวโพดเลีย้ งสัตว์ ในพืน้ ทีป่ า่ บุกรุกได้กว่า 5 แสน ไร่ ซึ่งอาจจะลดปัญหาหมอกควันลงได้บ้าง ส่วน การส่งเสริมให้ปลูกข้าวโพดแทนข้าวนาปรังก็อาจ จะช่วยแก้ปัญหาเรื่องน�้ำ และราคาข้าวได้บ้าง แต่ ยังไม่สามารถแก้ปญ ั หาพืน้ ทีบ่ กุ รุกป่า และการก่อ ให้เกิดหมอกควันลงได้มากนัก มีคำ� แนะน�ำในการจัดการกับเศษวัสดุเหลือ ใช้จากข้าวโพดด้วยการน�ำไปผลิตเป็นปุย๋ หมัก ผลิต อาหารหมักให้กบั โค กระบือ แปรรูปเป็นเชือ้ เพลิง อัดแท่ง หรือใช้เป็นวัสดุเชื้อเพลิงในโรงงานผลิต ไฟฟ้าชีวมวล เหล่านีน้ า่ จะเป็นโครงการทีก่ ระทรวง เกษตรฯ ควรให้ความสนใจในการส่งเสริมพัฒนา หรือท�ำการวิจัยหานวัตกรรมที่เหมาะสมในการ จัดการกับเศษวัสดุเหลือใช้จากข้าวโพดเหล่านี้ อย่า มุ่งแต่การเปลี่ยนพื้นที่ปลูกข้าวโพดเพียงอย่าง เดียว แต่ปัญหาหมอกควันและมลพิษที่เกิดจาก การเผาไร่ข้าวโพดยังไม่ได้รับการแก้ไข

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 35 เล่มที่ 183 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2561

43


ได้รับข้อมูลวัตถุดิบและสินค้าคงคลังในไซโลขนาดใหญ่ครบถ้วนอย่างแม่นย�าตลอดเวลา โดยใช้ระบบ 3D Scanners

 เป็นการวัดพื้นผิวแบบสามมิติ xyz มากกว่า 300 จุด  ใช้คลื่นเสียงความถี่ต�่า ทะลุทะลวงฝุ่นได้ดี  ชนิดของวัสดุไม่มีผลกระทบต่อความแม่นย�า  เป็นการวัดแบบไม่สัมผัสกับวัสดุโดยตรง  สามารถท�า การเซ็ทระบบผ่าน WiFi  สามารถวัดในทุกขนาดของไซโล

3D Scanner ได้เปลี่ยนวิธีในการบริหารจัดการวัตถุดิบและสินค้า คงคลังในไซโลขนาดใหญ่ของอุตสาหกรรมผลิตปูนซีเมนต์ อาหารสัตว์ ส่งออกข้าว ฯลฯ จากการเปลี่ยนวิธีการวัดระดับจากจุดเดียว เป็น การสร้างจุด xyz ทั่วพื้นผิวของวัสดุในไซโล และการค�านวณที่ แม่นย�าทางคณิตศาสตร์แคลคูลสั ท�าให้ได้ผลการวัดปริมาตรของวัสดุ แบบตลอดเวลาและแม่นย�ามาก ด้วยอุปกรณ์พิเศษที่ไม่ต้องการ การซ่อมบ�ารุง และช่วยให้ทา่ นประหยัดค่าใช้จา่ ย เพิม่ ความปลอดภัย ประสิทธิภาพและศักยภาพสูงสุดของการบริหารจัดการไซโลทุกขนาด

การควบคุม และบริหารจัดการสินค้าคงคลัง และวัตถุดิบในไซโล ขนาดใหญ่และมีจา� นวนมาก จะต้องมีการวัดทีแ่ ม่นย�าและให้ขอ้ มูล ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ตลอดเวลา ๏ ๏ ๏ ๏ ๏ ๏ ๏

เพิ่มประสิทธิภาพของการใช้งานของระบบไซโล เพิ่มขีดความสามารถของการบริหารจัดการวัสดุทั้งระบบ ลดการสูญเสีย สามารถจัดเก็บวัสดุเต็มขอบไซโล ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการผลิต ลืมความผิดพลาดในการเติมวัสดุจนล้นไปได้เลย ให้ข้อมูลที่แม่นย�า ท�าไห้พร้อมเสมอเมื่อต้องตัดสินใจ ได้รับการพิสูจน์มาแล้วทั่วโลกว่าคุ้มค่าในการลงทุนกับการติดตั้ง ใช้งานมาแล้วนานกว่าสิบปี

3D Scanner เหมาะส�าหรับการวัดวัสดุทเี่ ป็นผงเช่นปูนซีเมนต์ หรือ เม็ด เช่น ข้าว ข้าวโพด เมล็ดพืชทุกชนิด อาหารสัตว์ที่เป็นของแข็ง ทุกขนาด เลิกวัดทีละจุดได้แล้ว มาใช้ 3D Scanner กันเถอะ

AEC Innovatec Co.,ltd.

บริษัท เออีซี อินโนเวเทค จ�ำกัด

158/11 ซอย 1 ถนนพิชัยณรงค์สงคราม ต.ปากเพรียว อ.เมือง จ.สระบุรี 18000

คุณอลงกฎ จอมหงษ์ โทร. 061-619-7471 ››› alonggot@aecinnovatec.com ‹‹‹ ››› www.aecinnovatec.co ‹‹‹


หลักการท�างานของระบบ

3D Level Scanners

ติดตั้งหัววัด 3D Scanner ในต�ำแหน่งที่คลื่นเสียงควำมถี่ต�่ำ สำมำรถครอบคลุมพื้นผิวของวัสดุที่จะวัดให้มำกที่สุด เครื่องจะ ส่งคลื่นเสียงเป็นค่ำออกไป และวัดกำรสะท้อนกลับมำ R = Vel x (time/2) โดย Vel คือควำมเร็วเสียง 343 m/sec กำรใช้หัววัด สำมหัว ท�ำให้สำมำรถค�ำนวณหำทิศทำง และระยะทำงในรูปแบบ สำมมิติ x y z

เนื่องจากหัววัดสแกนเนอร์ติดตั้งอยู่ที่ต�าแหน่ง x0 y0 z0 ค่า ของ ระยะการวัดจะเป็น

เมือ่ รูม้ ติ ขิ องไซโลทีจ่ ะวัดน�ำมำบันทึกในระบบ เครือ่ งมีระบบซอฟแวร์ทสี่ ำมำรถกรองเอำสัญญำณคลืน่ สะท้อนทีไ่ ม่ใช่คำ่ วัดทีถ่ กู ต้อง ออกไปได้ เมื่อได้ค่ำ xyz ของพื้นผิวเป็นแผ่นภำพสำมมิติของพื้นผิววัสดุทั้งหมดแล้ว กำรหำค่ำปริมำตรของวัสดุสำมำรถท�ำได้ โดยกำรอินทิกรัลสมกำรดังกล่ำวด้วยวิธที ำงคณิตศำสตร์ จะได้ปริมำตรของอำกำศทีอ่ ยูเ่ หนือวัสดุ ระบบซอฟแวร์ของ 3D Scanner จะท�ำกำรค�ำนวณลบปริมำตรที่อยู่เหนือพื้นผิวออกจำกปริมำตรไซโลทั้งหมด เรำก็จะได้ปริมำตรของวัสดุในไซโลเป็นลูกบำศก์เมตร หรือตำมหน่วยที่เรำต้องกำร ถ้ำเรำรู้ควำมหนำแน่น เรำก็สำมำรถคูณ และจะได้ค่ำวัดออกมำเป็นน�้ำหนัก นอกจำกนี้ ระบบยังมี กำรจ�ำแนกเสียงสะท้อนที่ไม่ต้องกำร โดยกำรใช้กลุ่มสัญญำณทำงดิจิทัลส่งเป็นค่ำออกไป สัญญำณที่สะท้อนกลับมำจะอยู่ใน รูปแบบที่เหมือนกับสัญญำณที่ส่งออกไป จึงจะถือว่ำเป็นสัญญำณที่ถูกต้อง ประโยชน์ของกำรใช้คลื่นเสียงควำมถี่ต�่ำคือ ควำม สำมำรถในกำรทะลุทะลวงฝุ่นได้ดีกว่ำคลื่นควำมถี่สูง และล�ำของคลื่นสำมำรถแผ่ออกไปกว้ำงถึง 90 องศำส�ำหรับควำมถี่ต�่ำสุด (ประมำณ 2,000 Hz) และแคบสุดประมำณ 60 องศำ ที่ 6,000 Hz ระบบจะท�ำกำรส่งสัญญำณสลับกันทีละหัวจำกคลื่นต�่ำ กลำง สูง และสลับหัวกันไปเรื่อยๆ เพื่อวัดทั้งระยะทำงและทิศทำง เพื่อให้ได้ค่ำ xi yi zi ในแต่ละจุดสูงสุดและต�่ำสุดตลอดทั่ว พื้นผิวของวัสดุ วัสดุโดยทั่วไปไม่ว่ำจะเป็นผงละเอียดแบบผงปูนซีเมนต์ หรือเป็นเม็ดแบบข้ำว ส�ำหรับไซโลขนำดเส้นผ่ำศูนย์กลำง ประมำณ 20 เมตร เครื่องจะวัดจุดสูงสุดต�่ำสุดบนพื้นผิวมำกกว่ำ 300 จุด จึงได้ค่ำที่ผิดพลำดต�่ำกว่ำ 3% จำกเทคโนโลยีทำงคอมพิวเตอร์และกำรต่อสัญญำณ ระบบของ 3D Scanner สำมำรถเชื่อมข้อมูลเข้ำกับระบบข้อมูลคอมพิวเตอร์ ผ่ำน RS 485 และซอฟแวร์ 3D Multivision ให้ขอ้ มูลทีค่ รบถ้วนส�ำหรับกำรบริหำรกำรรับจ่ำยวัสดุคงคลังในไซโล ตลอด 24 ชัว่ โมง และยังสำมำรถดูวัสดุเหลือตกค้ำงในไซโลจำกภำพสำมมิติ เพื่อช่วยในกำรลดควำมถี่ในกำรปิดเพื่อท�ำควำมสะอำดไซโลอีกด้วย


โพลทรียสตาร PoultryStar

®

ทางเดินอาหารที่สมบูรณ สรางความแข็งแรงของลูกไก! 

มีประสิทธิภาพและจําเพาะตอสัตวปก

ไดรับการจดสิทธิบัตรและขึ้นทะเบียนโดย สหภาพยุโรป (EU)

ความหลากหลายของสายพันธุจุลินทรีย โปรไบโอติกทีถ่ กู คัดสรรมาอยางดี ทํางานรวมกับพรีไบโอติก

บริ ษัท เออร์ เบอร์ ไบโอเทค (ประเทศไทย) จํากัด 1/913 ถ.พหลโยธิน 60 ต.คูคต อ.ลําลูกกา จ.ปทุมธานี 12130 โทร: 02-993-7500 แฟกซ: 02-993-8499 poultrystar.biomin.net

Naturally ahead


Market Leader

เปิด 3 มาตรการ แก้ราคาไข่ไก่ตกต�่ำ ปลดพอแม พั ์ ่ ่ ่ นธุ - เร ่งการสงออก

ราคาไข่ไก่ตกต�่ำเป็นปัญหาของใคร...? เป็นค�ำถามที่ไม่ต้องการค�ำตอบ หน่วยงานที่รับผิดชอบ กลับปล่อยให้เป็นปัญหาเรื้อรังมาอย่างยาวนาน ถึงวันนี้ยังไม่รู้ว่ามีจุดจบอยู่ที่ใด หากย้อนไปในปี 2553 หลังจากคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบเปิดให้มีการน�ำเข้าพ่อแม่พันธุ์ไก่ไข่เสรี หรือเมื่อเกือบ 10 ปีก่อน จากมติ ครม. ในครั้งนั้น ใครจะไปนึกว่าส่งผลจนถึงวันนี้ เพราะทันทีที่มติดังกล่าวออกมา ส่งผลให้ ปริมาณไก่ไข่ยืนกรงในปีต่อมาเพิ่มทันทีเป็น 40 ล้านตัว มีผลผลิตไข่เฉลี่ย 31.73 ล้านฟองต่อวัน ซึ่ง เกินความต้องการบริโภคที่มีเพียง 28 - 29 ล้านฟองต่อวัน แม้อาจไม่กระทบกับบริษัท หรือรายใหญ่ที่มีธุรกิจครบวงจรมากนัก แต่รายกลางรายย่อยที่ไม่ได้ ท�ำครบวงจร กลับได้รับผลกระทบอย่างแสนสาหัส ในสถานการณ์เช่นนี้ รัฐบาลมีมาตรการอะไรที่จะ รับมือกับปัญหาดังกล่าว เพื่อให้ผู้เลี้ยงรายย่อยอยู่รอดในธุรกิจการเลี้ยงไก่ไข่ได้ ล่าสุด เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน “กฤษฎา บุญราช” รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ออกมาเผยความคืบหน้าในการแก้ปญ ั หาดังกล่าว โดยได้มอบหมายให้กรมปศุสัตว์เข้าไปแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน มีการเชิญ ผูเ้ กีย่ วข้องมาร่วมหารือ และขอความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาราคาไข่ไก่ตกต�ำ่ ที่มา : คม ชัด ลึก ฉบับวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 35 เล่มที่ 183 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2561

47


Market Leader ร่วมกัน ประกอบไปด้วย ผูป้ ระกอบการเลีย้ งไก่ไข่ รายใหญ่จ�ำนวน 16 บริษัท ซึ่งได้ให้ข้อมูลว่า เนื่องจากผลผลิตไข่ยังออกมาปริมาณมากเกิน ความต้องการของตลาด จึงได้มีมติในการแก้ไข ปัญหาราคาไข่ไก่ตกต�่ำเร่งด่วน 3 มาตรการ เพื่อ ปรับลดปริมาณการผลิตไข่ มาตรการแรกปลดแม่ไก่ไข่ยืนกรง จ�ำนวน 1 ล้านตัว ภายใน 1 สัปดาห์ ซึ่งมีบริษัทให้ความ ร่วมมือแล้ว 15 บริษัท มาตรการที่สอง ส่งออก ไข่ไก่ 60 ล้านฟองภายใน 1 เดือน ซึ่งมีบริษัท ให้ความร่วมมือแล้ว 13 บริษัท ประกอบด้วย ซีพี 40 ล้านฟอง เบทาโกร 10 ล้านฟอง และอื่นๆ 10 ล้านฟอง และมาตรการสุดท้าย ปลดพ่อแม่ พันธุไ์ ก่ไข่อายุ 25 - 60 สัปดาห์ จ�ำนวน 1 แสนตัว ภายใน 1 สัปดาห์ ซึ่งมีบริษัทให้ความร่วมมือแล้ว 16 บริษัท นอกจากนี้ ยังได้มอบหมายเจ้าหน้าที่กรม ปศุสัตว์ติดตาม ตรวจสอบให้บริษัทด�ำเนินการ ตามมติ ดังนี้ 1. ติดตามการปลดแม่ไก่ยืนกรง/ ไก่ไข่พ่อแม่พันธุ์ ให้แล้วเสร็จภายใน 1 สัปดาห์ อย่างช้าต้องไม่เกิน 30 พฤศจิกายนนี้ 2. ติดตาม การส่งออกไข่ไก่ทุกสัปดาห์ และ 3. ติดตาม ตรวจสอบห้องเย็น เก็บไข่ไก่รอการส่งออก/ห้าม น�ำไข่ไก่ 60 ล้านฟอง มาจ�ำหน่ายตลาดภายใน ประเทศ ซึ่งการด�ำเนินการตามมาตรการข้างต้น คาดว่าจะสามารถท�ำให้ราคาไข่ไก่ขนาดกลาง หรือ ไข่ไก่ขนาดคละหน้าฟาร์มจะปรับตัวสูงขึ้นฟองละ 2.60 บาท จากปัจจุบันราคาไข่ไก่ขนาดคละอยู่ที่ ฟองละ 2.40 บาท ซึง่ ถือเป็นราคาทีเ่ กษตรกรจะมี รายได้เพิ่มขึ้น และไม่ขาดทุน

48 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 35 เล่มที่ 183 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2561

ในส่วนของงบค่าใช้จ่ายในการด�ำเนินการ นั้น ก่อนหน้านี้อธิบดีกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ “วิชัย โภชนกิจ” ก็ได้หารือมาตรการแก้ไข ปัญหาราคาไข่ไก่ตกต�่ำ ร่วม กรมปศุสตั ว์ ผูเ้ ลีย้ งไก่ไข่และ ผู้ส่งออกไข่ไก่แล้วในเบื้องต้น โดยระยะเร่งด่วนจะของบกลาง 15 ล้านบาท จากคณะกรรมการ นโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร หรือ คชก. ช่วยเหลือผูส้ ง่ ออกไข่ไก่ให้ผลักดันไข่ไก่ออก ตลาดต่างประเทศ 60 ล้านฟอง ระยะเวลา 3 เดือน โดยรัฐและผูค้ า้ จะรับผิดชอบค่าใช้จา่ ยอย่าง ละครึ่ง คือ ผู้ส่งออกยอมขาดทุน 15 ล้านบาท เพือ่ ส่งออกไข่ไก่ ส่วนอีก 15 ล้านบาทภาครัฐช่วย จะช่วยเป็นค่าใช้จา่ ยบรรจุภณ ั ฑ์ คัดเกรด เป็นต้น และยังของบประมาณอีก 130 - 140 ล้าน บาท มาใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนให้แก่ผเู้ ลีย้ งในการ น�ำไข่ไก่ 60 ล้านฟองเก็บเข้าห้องเย็น เพือ่ ดึงไข่ไก่ ออกจากระบบเป็นระยะเวลา 6 เดือน ซึง่ เงินส่วนนี้ จะต้องน�ำกลับมาคืนรัฐเมื่อสิ้นสุดมาตรการ โดย ตั้งเป้าหมายผลักดันขายไข่ไก่ผ่านร้านค้าธงฟ้า ประชารัฐ 10 ล้านฟอง และมหกรรมธงฟ้า เพิ่ม การบริโภคไข่ไก่ ส่วนมาตรการแก้ไขปัญหาระยะยาว กรม ปศุสัตว์จะวางแนวทางลดปริมาณไก่ยืนกรง จาก 57 ล้านตัว เหลือ 52 ล้านตัว ลดผลผลิตไข่ไก่จาก วันละ 48 ล้านฟอง เหลือ 40 ล้านฟอง เพื่อให้ ใกล้เคียงกับความต้องการบริโภค และมีแผนจะลด การน�ำเข้าพ่อแม่พันธุ์ไก่จาก 5.5 แสนตัว เหลือ


Market Leader 5 แสนตัว ส�ำหรับราคารับซื้อไข่คละหน้าฟาร์ม ปัจจุบนั อยูท่ ฟี่ องละ 2.30 บาท ต�ำ่ กว่าต้นทุนผลิต ที่ฟองละ 2.80 บาท ทางด้านนายกสมาคมผูเ้ ลีย้ งไก่ไข่ “มาโนช ชูทับทิม” มองว่า ราคาไข่ไก่ที่ลดลงนั้นเกิดจาก ความต้องการบริโภคที่ลดลงมากในช่วงเทศกาล กิ น เจ และปิ ด ภาคเรี ย นในช่ ว งที่ ผ ่ า นมา จาก มาตรการแก้ไขปัญหาดังกล่าว เชื่อว่าราคาไข่ไก่ จะกลับมาดีขนึ้ ภายใน 1 - 2 สัปดาห์ หลังโรงเรียน เปิดเทอมแล้ว รวมทั้งใกล้เข้าสู่ช่วงเทศกาลปีใหม่ ซึ่งประชาชนจะบริโภคไข่เพิ่มขึ้นด้วย จากรายงานข้ อ มู ล กรมปศุ สั ต ว์ ร ะบุ ว ่ า ปัจจุบันมีจ�ำนวนแม่ไก่ไข่ยืนกรงทั้งระบบจ�ำนวน 50.60 ล้านตัว ให้ผลผลิตไข่ไก่เฉลี่ย 42.90 ล้านฟองต่อวัน ในขณะที่อัตราการบริโภคไข่ไก่ 40.42 ล้านฟองต่อวัน ส่งผลท�ำให้มีปริมาณไข่ไก่ ล้นตลาด 2.48 ล้านฟองต่อวัน ซึ่งท�ำให้ราคา ไข่ไก่คละที่เกษตรกรขายได้ปรับตัวลดลงตั้งแต่ เดือนสิงหาคมทีผ่ า่ นมา ฟองละ 2.64 บาท เหลือ ฟองละ 2.00 บาท ในขณะที่ต้นทุนการผลิต ไข่ไก่ ฟองละ 2.88 บาท ประกอบกับในช่วง เดือนตุลาคม โรงเรียน และมหาวิทยาลัยปิดภาค เรียน และมีเทศกาลกินเจ ส่งผลท�ำให้ปริมาณการ บริโภคไข่ไก่ลดลงจากปกติอกี ท�ำให้เกิดภาวะไข่ไก่ ล้นตลาด และมีปริมาณสะสมเกินความต้องการ บริโภคของตลาดประมาณ 2.48 ล้านฟองต่อวัน ท�ำให้ราคาไข่ไก่คละหน้าฟาร์มที่เกษตรกรขายได้ ปรับตัวลดลง เป็นสาเหตุให้เกษตรกรได้รับความ เดือดร้อนจากราคาไข่ไก่ตกต�ำ่ และต้นทุนการผลิต ไข่ที่สูงกว่าราคาจ�ำหน่าย จึงต้องเร่งแก้ไขปัญหา ดังกล่าว

อย่างไรก็ตาม ส�ำหรับประเทศไทยมีศักยภาพในการส่งออกสินค้าไข่ เนือ่ งจากกระบวนการ การผลิตไข่ไก่ของประเทศไทยเป็นที่ยอมรับของ นานาชาติ และสามารถเปิดตลาดส่งออกไข่ได้ อย่างต่อเนื่อง เช่น ฮ่องกง สิงคโปร์ เกาหลีใต้ คูเวต ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจาก พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ เมื่อครั้งรั้งต�ำแหน่งรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ใช้โอกาสในการ ประชุมทวิภาคีกับประเทศต่างๆ เป็นเวทีน�ำเสนอ ความพร้อมของคุณภาพมาตรฐานของการผลิต ไข่ไก่ของไทย โดยพัฒนาระบบมาตรฐานฟาร์ม เลี้ยงสัตว์ โรงงานอาหารสัตว์ โรงงานแปรรูป ผลิตภัณฑ์ ระบบการป้องกันควบคุมโรค และระบบ การตรวจสอบสืบย้อนกลับ (Traceability) ได้ จนถึงระดับฟาร์ม รวมทั้งเชิญชวนประเทศต่างๆ มาตรวจรับรองกระบวนการผลิตไข่ไก่สดเพื่อการ ส่งออกของไทย จนมีความมัน่ ใจในระบบตรวจสอบ และควบคุมกระบวนการผลิตสินค้าไข่เพื่อการ ส่งออกดังกล่าว

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 35 เล่มที่ 183 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2561

49


Market Leader

'ซีพี' ท้าพิสูจน์ ท�ำไข่ล้นตลาด

ปศุสัตว์รื้อสูตรค�ำนวณใหม่ - จ่อปลดแม่ไก่ล้านตัว “ซีพ”ี เปิดรังท้าพิสจู น์ความจริง หลังผูเ้ ลีย้ ง รายย่อยเฉ่ง น�ำเข้าปู่ย่าพันธุ์ ท�ำไข่ไก่ล้นประเทศ มิสเตอร์เอ้กบอร์ด เผยเตรียมรื้อสูตรค�ำนวณ ผลผลิตลูกไก่ไข่ใหม่ กังขาคุมแล้วยังล้นตลาด ไม้ แข็งเตรียมปลดแม่ไก่ 1 ล้านตัว นสพ.สมชวน รัตนมังคลานนท์ รองอธิบดี กรมปศุสัตว์ ในฐานะมิสเตอร์ไข่ไก่ เปิดเผยว่า จากปัญหาราคาไข่ไก่ตกต�ำ่ ทัง้ ผูป้ ระกอบการ และ เกษตรกร สงสั ย ต้ น เหตุ ม าจากบริ ษั ท ในเครื อ เจริญโภคภัณฑ์ (ซีพ)ี น�ำเข้าไก่ปยู่ า่ พันธุ์ (จีพ)ี กว่า 4,000 ตัว ท�ำให้เกิดปัญหาไข่ไก่ล้นตลาดนั้น ที่ ผ่านมา ทางกรมได้ตรวจสอบเบือ้ งต้นแล้วว่า หลัง จากน�ำเข้ามาแล้ว บริษัทได้น�ำไปส่งให้กับโรงงาน ไหน หรือไปท�ำอะไรต่อไป ซึ่งเช็คแล้วมีที่มาที่ไป จริง แต่ผู้ประกอบการ 15 ราย ที่น�ำเข้าไก่ไข่พ่อ แม่พนั ธุ์ (พีเอส) อย่างเดียว รวมทัง้ เกษตรกรไม่เชือ่ ทางผู้บริหารซีพีได้ท้าให้เข้าไปพิสูจน์ ซึ่งทางกรม จะส่งนักวิชาการเข้าไปประกบเพือ่ พิสจู น์วา่ เป็นตัว ปัญหาจริงหรือไม่ ซึ่งอยู่ในระหว่างการนัดหมาย คาดใน 1 - 2 สัปดาห์ข้างหน้าจะรู้ความจริง ส่ ว นข้ อ มู ล ไก่ ไ ข่ พ ่ อ แม่ พั น ธุ ์ จะต้ อ งมา ค�ำนวณใหม่ เนือ่ งจากฐานเดิมอาจจะต�ำ่ เกินไป (ดู กราฟิกประกอบ) เช่น จ�ำนวนแม่ไก่พีเอส 1 ตัว จะได้ลกู ไก่ไข่ 90 ตัว อาจจะเปลีย่ นแปลงไป เนือ่ ง

จากการเลี้ยงเก่งขึ้น และมีเทคโนโลยีการเลี้ยง ดีขนึ้ การสูญเสียจะน้อย อาจจะได้จำ� นวนลูกไก่ไข่ 106 ตัว เป็นต้น และแม่ไก่ไข่ยนื กรง ปกติจะถูกปลด ใน 78 สัปดาห์ แต่ปรากฏว่าบางฟาร์มอาจจะปลด 85 สัปดาห์ ต้องน�ำมาค�ำนวณใหม่ “ส่วนราคาไข่ไก่คละหน้าฟาร์มที่เกษตรกร อยากได้ที่ราคา 2.80 บาท/ฟอง จะต้องค�ำนวณ กลับไปว่าจะต้องมีแม่ไก่ยนื กรงกี่ตวั หากต้องการ 40 ล้านฟองต่อวัน เพื่อให้ได้ราคาเท่านี้ อย่างไร ก็ตาม จะมีการปลดแม่ไก่ไข่ 1 ล้านตัว อาทิ ซีพี

ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

50 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 35 เล่มที่ 183 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2561


Market Leader

ผู้เลี้ยงไก่ไข่ขาดทุนหนักที่สุดในรอบ 30 ปี ตั้ง ค�ำถามว่า ผู้ค้าคนกลาง เลี้ยงไก่สักตัวไหม ไม่ได้ เลีย้ ง แต่ถา้ ผูเ้ ลีย้ งไม่ขายให้ แล้วจะเอาไข่ทไี่ หนมา ขาย นัน่ คือการเจรจากันระหว่างคน 2 คน เมือ่ ไข่ เกินความต้องการของตลาด ถามว่าผูเ้ ลีย้ งจะยอม ให้ไข่เน่าคาฟาร์มหรือไม่ ค�ำตอบคือไม่ เท่าไหร่ ก็ต้องขาย รับไป 3 แสนตัว เป็นต้น ควบคู่นโยบายลดไข่ไก่ ฟักเชือ้ 5 ล้านตัว เป็นต้น เชือ่ ว่าราคาจะค่อยปรับ ดีขึ้นไปตามเป้าหมายราคาต้นทุนของส�ำนักงาน เศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) อยูท่ ี่ 2.80 บาท/ฟอง เกษตรกรถึงจะอยู่ได้” นายชัยพร สีถนั ประธานชมรมผูเ้ ลีย้ งไก่ไข่ รายย่อยภาคกลาง กล่าวว่า ราคาประกาศของ สมาคมผู้ผลิต ผู้ค้าและส่งออกไข่ไก่ ณ วันที่ 19 พฤศจิกายน 2561 ราคาไข่ไก่คละอยู่ที่ฟองละ 2.50 บาท แต่เกษตรกรขายได้จริงอยู่ที่ 2 บาท ดังนัน้ ทางกรมปศุสตั ว์จะต้องมีนโยบายไม่ให้เครือ ซีพนี ำ� เข้าปูย่ า่ พันธุ์ เพือ่ เป็นมาตรฐานเดียวกันกับ อีก 15 บริษัทน�ำเข้า และเพื่อตัดระบบวงจรไม่ให้ ไข่ไก่ล้นประเทศ กล่าวคือ เสนอไม่ให้ผู้น�ำเข้า เพาะฟักไข่เชื้อ เป็นระยะเวลา 2 เดือน ซึ่งทางรัฐ และกรมปศุสัตว์ไม่ต้องกลัวว่าเกษตรกรรายย่อย จะขาดลูกไก่เลี้ยง เพราะปัจจุบันส่วนใหญ่อยู่ใน เครือของบริษัทใหญ่ผูกขาดขายอาหารสัตว์หมด แล้ว ด้านพ่อค้าไข่ไก่ เผยว่า ณ วันนี้ ผู้ค้า “คน กลาง” กลายเป็นแพะรับบาปที่ถูกพาดพิงอย่าง หนักว่า เป็นผู้ที่ไปกดราคาผู้เลี้ยงไก่ไข่ จนท�ำให้

“ถามต่อ แล้วท�ำไมไข่ถึงเหลือ ก็เลี้ยงกัน มากมาย ขยายกันเข้าไป พิสูจน์ตัวเลขที่แท้จริง ไม่ได้ แล้วจะไม่ให้ล้นตลาดได้อย่างไร คนกลาง มี 2 กลุ่ม ต้องแยกให้ชัดอย่าเหมาเข่ง ได้แก่ 1. คนกลาง ทีท่ ำ� คิวไว้กบั ฟาร์ม ถึงเวลาไข่ในร้าน จะ หมดหรือไม่หมดก็ต้องไปรับตามคิวที่ตกลงกันไว้ วันดีคืนดี เจอไข่ถูกมาตีตลาด ก็ต้องยอมขาย ขาดทุน หรือเสมอตัว เพื่อให้ไข่ขายได้ ราคาที่รับ มา ก็ตามประกาศสมาคม หรือตามราคาที่มีการ ประกาศซื้อขายโดยทั่วไป ไม่มีราคาใต้โต๊ะ หรือ ราคาพิเศษแต่อย่างใด คนกลางกลุม่ นี้ มีมากมาย จนนับไม่ถ้วน” 2. คนกลางที่ไม่ท�ำคิวประจ�ำกับฟาร์ม แต่ ไข่หมดเมือ่ ไร ถึงจะไปรับไข่มาขาย คนกลางกลุม่ นี้ ถ้าช่วงใดไข่ขาด ก็อาจไม่มไี ข่ขาย ส่วนราคาก็ตาม แต่ตกลงกัน ก็ถ้าตกลงกันไม่ได้ ก็คือไม่ขายให้ “ก็จบ” ราคาไข่ก็ว่ากันไปตามคุณภาพ เรื่องนี้ต้อง พึ่งพากันทั้งผู้เลี้ยง และคนกลาง ต้องถนอมน�้ำใจ กันไว้ การเลีย้ งไก่ไข่มอี งค์กรควบคุมต้องคุมให้อยู่ และไม่ควรมาโบ้ยว่า คนกลางกดราคาผูเ้ ลีย้ ง ท�ำให้ ขาดทุน

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 35 เล่มที่ 183 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2561

51


Market Leader

พ่อค้าคนกลาง

ฟันกำ�ไรไข่ไก่พุงกาง วงการชี้เกษตรกรน�้ำตาร่วง ราคาไข่ไก่ ต้นทางขายได้ต�่ำกว่าต้นทุน ขณะปลายทางยัง ขายแพงเว่อร์ พ่อค้าคนกลาง - ผู้ค้าปลีกยังฟัน ก�ำไรงาม “กฤษฎา” ลัน่ ขอเวลา 2 วัน เสกราคา ขยับ 2.80 บาท/ฟอง เผยสายตรงกล่อมบิ๊กซี พี - เบทาโกรช่วยอุ้ม จากประเด็น “ไข่ไก่ราคาต�ำ่ สุดรอบ 30 ปี” นายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวง เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ขอเวลา 2 วัน จะท�ำให้ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ขยับขึ้นเป็น 2.80 บาท/ฟอง อย่างแน่นอน (จากปัจจุบันราคา ไข่คละหน้าฟาร์มทีเ่ กษตรกรขายได้เฉลีย่ ที่ 1.40 2.30 บาท/ฟอง) โดยมี 3 มาตรการเร่งด่วน ที่ เป็นปัจจัยบวกดันราคาให้ขยับขึ้น ได้แก่ 1. ได้ โทรฯ สายตรงถึงผู้บริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) และเครือเบทาโกรผู้ผลิตและผู้ค้าไข่ไก่ รายใหญ่ ขอให้ซื้อไข่ไก่จากเกษตรกรไม่ต�่ำกว่า ฟองละ 2.80 บาท พร้อมทัง้ ขอให้จำ� กัดการขยาย พ่อพันธุ์แม่พันธุ์ไก่ไข่ด้วย เพื่อช่วยเหลือประเทศ ชาติ และส่วนรวม 2. เรื่องการออกใบอนุญาต สัตว์ข้ามเขต ให้กรมปศุสัตว์จัดก�ำลังเจ้าหน้าที่ให้เพียงพอ และ ให้เร่งออกใบอนุญาตขนย้ายไข่ไก่ให้เป็นไปด้วย ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

52 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 35 เล่มที่ 183 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2561

ความรวดเร็ว และเรียบร้อย ขณะเดียวกันได้หารือ กับ พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผูบ้ ญ ั ชาการต�ำรวจ แห่งชาติ (ผบ.ตร.) สั่งการให้ต�ำรวจทางหลวง อ�ำนวยความสะดวกการเคลือ่ นย้ายไข่ไก่ดว้ ย และ 3. ประสานกับ นายสนธิรตั น์ สนธิจริ วงศ์ รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงพาณิชย์ ขอให้จัดประชุมกับเครือ ข่ายร้านธงฟ้า เพื่อน�ำไข่ไก่ไปช่วยจ�ำหน่ายด้วย นายสรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสตั ว์ เผยว่า ได้สงั่ การให้กองควบคุมอาหารและยาสัตว์ของกรม ปศุสัตว์ส�ำรวจข้อมูลเบื้องต้น โดยได้สุ่มสอบถาม ไปยังบริษทั ผูข้ ายอาหารสัตว์ และเกษตรกรผูเ้ ลีย้ ง ไก่ไข่ ได้รับทราบข้อมูลว่า ราคาอาหารไก่ไข่ระยะ ให้ไข่ระหว่างเดือนมกราคมตุลาคม 2561 เฉลีย่ ที่ 11 - 13 บาท/กิโลกรัม (ขึน้ อยูก่ บั พืน้ ที่ และวัตถุดบิ ที่ใช้ผลิต) ซึ่งราคาอาหารไก่ไข่ที่เปลี่ยนแปลง ขึ้น อยู่กับราคาวัตถุดิบ โดยเฉพาะข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (ปัจจุบนั ปรับตัวสูงขึน้ ตกประมาณ 10 บาท/กก.) ท�ำให้ต้นทุนสูง ด้านนายสมชวน รัตนมังคลานนท์ รองอธิบดี และโฆษกกรมปศุสตั ว์ (มิสเตอร์ไข่ไก่) เผยว่า สาเหตุทร่ี าคาไข่ไก่ทเี่ กษตรกรขายได้ปรับตัวลดลง นั้น เนื่องจากการบริโภคลดลงช่วงเทศกาลกินเจ และปิดเทอม ท�ำให้มปี ริมาณไข่ทสี่ ะสมจ�ำนวนมาก




Market Leader ค้าขายต้องมีก�ำไร แต่ก็ไม่ได้บวกมาก และขึ้นกับ ความพอใจของลูกค้าว่าจะซื้อหรือไม่ โดยไข่ทุก ขนาดจะติดป้ายแสดงราคาไว้อย่างชัดเจน

ขณะข้อมูลสถานการณ์ไก่ไข่ปจั จุบนั ระบุวา่ มีปริมาณ พ่อแม่พันธุ์ไก่ไข่ (PS) ที่ให้ผลผลิต 521,860 ตัว แม่ไก่ไข่ยืนกรง 56 - 57 ล้านตัว ผลผลิตไข่เฉลี่ย ประมาณ 44 - 45 ล้านฟอง/วัน ราคาไข่คละหน้า ฟาร์ม ณ วันที่ 5 ตุลาคม 2561 เฉลี่ย 2.30 บาท/ฟอง (ดูกราฟิกประกอบ) ส่วนราคาประกาศ ของล้ง (หจก.ร่วมมิตรฟาร์ม) ที่น�ำไปกระจายต่อ ให้กบั พ่อค้าคนกลาง ราคาไข่ไก่ เบอร์ 0 อยูท่ ี่ 3.30 บาท/ฟอง, เบอร์ 1 2.80 บาท/ฟอง และเบอร์ 2 2.55 บาท/ฟอง และได้มีการส�ำรวจราคาขายปลีกไข่ไก่ 2 ตลาดใหญ่ในพื้นที่กรุงเทพฯ ได้แก่ ตลาดยิ่งเจริญ และตลาดโชคชัย (ณ วันที่ 5 พ.ย. 61) ในส่วนของ ไข่ไก่เบอร์ 0 ต่อ 10 ฟองอยูท่ ี่ 40 - 45 บาท หรือ เฉลี่ย 4 - 4.50 บาท/ฟอง, เบอร์ 1 3.80 - 4.20 บาท/ฟอง, เบอร์ 2 3.40 - 4 บาท/ฟอง, เบอร์ 3 3.20 - 3.50 บาท/ฟอง และเบอร์ 4 2.80 - 3 บาท/ ฟอง โดยผู้ขายระบุราคาไข่ไก่ขายปลีกที่แพงขึ้น มาจากราคาน�้ำมันที่ใช้ในการขนส่งสูงขึ้น รวมถึง ยังรับต่อมาจากยี่ปั๊ว - ซาปั๊วอีกทอดหนึ่ง ซึ่งการ

นายมานพ จิรารัตนสกุล ประธานสหกรณ์ ผู้เลี้ยงไก่ไข่ จ.ชลบุรี กล่าวว่า ราคาไข่คละใหญ่ คละกลาง และคละเล็กหน้าฟาร์มทีเ่ กษตรกรขาย ได้เวลานี้เฉลี่ยที่ 2.20 บาท, 1.90 - 2 บาท และ 1.60 - 1.70 บาท/ฟอง ตามล�ำดับ โดยต้นทุน สัดส่วน 80% เป็นอาหารสัตว์ ที่เหลือเป็นค่าแรง ค่าไฟฟ้า ค่าดอกเบี้ย และอื่นๆ ซึ่งจากต้นทุน เกษตรกรที่ส�ำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรระบุ เฉลี่ยที่ 2.80 บาท/ฟอง ถือว่าขาดทุน ทั้งนี้ จาก ราคาหน้าฟาร์มที่เกษตรกรขายได้จะมีผู้รวบรวม ไข่ไก่ หรือล้ง มาซือ้ และคัดไข่จากฟาร์มทีซ่ อื้ ประจ�ำ เพื่อส่งขายต่อให้ยี่ปั๊ว ซาปั๊ว และผู้ขายปลีกให้กับ ผู้บริโภคปลายทาง “ปกติการค้าไข่จะบวกก�ำไรเป็นทอดๆ โดย ล้งจะบวกก�ำไรมากน้อยแค่ไหนก็ขึ้นกับต้นทุนที่ จะมีค่าคนงานคัดไข่ ค่าน�้ำมันรถที่จะไปกระจาย สินค้า ค่าความเสีย่ งจากยีป่ ว๊ั ซาปัว๊ ว่าจะซือ้ เงินสด หรือเงินเชื่อ ส่วนราคาขายสุดท้าย ผู้ค้าปลีกก็จะ บวกก�ำไรเพิม่ โดยคิดจากต้นทุนทีซ่ อื้ จากล้ง บวก ค่าน�ำ้ มัน ค่าขนส่ง รวมถึงขึน้ กับสถานทีข่ าย หาก เข้าไปลึกตามตรอกซอกซอยมาก หรือน�ำไปขายใน พืน้ ทีห่ า่ งไกลชุมชนในต่างจังหวัด ราคาไข่กจ็ ะสูงขึน้ ไม่เท่ากันในแต่ละพืน้ ที่ แต่สรุปแล้วพ่อค้าคนกลาง และผู้ค้าปลีกมีก�ำไร แต่เกษตรกรขาดทุน ซึ่ง ปัจจุบันทุกฝ่ายได้เร่งช่วยกันแก้ไขปัญหา เพราะ อุตสาหกรรมไก่ไข่มีมูลค่าสูง หากประเมินคร่าวๆ การผลิตไข่ไก่ ตกประมาณวันละ 50 ล้านฟอง 365 วัน คิดราคาเฉลี่ยที่ 2.20 บาท/ฟอง ปีหนึ่ง ก็ตกกว่า 40,150 ล้านบาท”

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 35 เล่มที่ 183 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2561

53


Market Leader

‘กฤษฎา’ ประชุม 10 รมว.เกษตร ทั่วโลก ตั้งเป้าอีก 3 ปี

ลด ’มนุษย์ - สัตว์’ ป่วยจากดื้อยาครึ่งหนึ่ง

เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม ที่เมืองมาราเกซ ราชอาณาจักร โมร็อกโก นายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวง เกษตรและสหกรณ์ พร้อม นายสรวิศ ธานีโต อธิบดีกรม ปศุสตั ว์ และคณะ เดินทางไปประชุมระดับโลกด้านการจัดการ การดือ้ ยาต้านจุลชีพและการใช้ยาอย่างสมเหตุผล ตามค�ำเชิญ องค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (World Organisation of Animal Health: OIE) โดยนายกฤษฎาเข้าร่วมการ ประชุมในช่วงอภิปรายหัวข้อ “การด�ำเนินการตามแผนการ จัดการการดื้อยาต้านจุลชีพ” เพื่อร่วมแบ่งปันข้อมูลด้านการจัดการและการรับมือ ความท้าทายการดือ้ ยาต้านจุลชีพของหน่วยงานทีร่ บั ผิดชอบในประเทศไทย ร่วมกับ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรจากอีก 10 กว่าประเทศทั่วโลก เช่น เยอรมนี ญี่ปุ่น นอร์เวย์ แคนาดา สหราชอาณาจักร สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อาร์เจนติน่า นายกฤษฎา กล่าวว่า ได้ด�ำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์แผนปฏิบัติการเพื่อ จัดการปัญหาการดื้อยาตามแนวทางสุขภาพหนึ่งเดียว ซึ่งให้ความส�ำคัญกับการ มีสขุ ภาพดีของคน สัตว์ และสิง่ แวดล้อม ตามแผนยุทธศาสตร์การจัดการการดือ้ ยา ต้านจุลชีพประเทศไทย พ.ศ. 2560 – 2565 ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบ เมือ่ วันที่ 17 สิงหาคม 2559 เป็นการบูรณาการการท�ำงานระหว่างกระทรวง ประกอบ ด้วย 6 ยุทธศาสตร์ พร้อมเป้าประสงค์ทวี่ ดั ได้ เราคาดว่าภายในปี พ.ศ. 2564 การ ป่วยจากเชื้อดื้อยาจะลดลงร้อยละ 50 การใช้ยาต้านจุลชีพส�ำหรับมนุษย์และสัตว์ ลดลงร้อยละ 20 และ 30 ตามล�ำดับ ประชาชนมีความรูเ้ รือ่ งเชือ้ ดือ้ ยาและตระหนัก ในการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสมเพิ่มขึ้นร้อยละ 20 และประเทศไทยมีระบบ จัดการการดื้อยาต้านจุลชีพที่มีสมรรถนะตามเกณฑ์สากล

ที่มา : มติชนออนไลน์ วันที่ 29 ตุลาคม 2561

54 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 35 เล่มที่ 183 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2561


Market Leader โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็ น เจ้าภาพหลักยุทธศาสตร์ “การป้องกันและควบคุม เชื้อดื้อยาและควบคุมก�ำกับดูแลการใช้ยาต้าน จุลชีพอย่างเหมาะสมในภาคการเกษตรและสัตว์ เลีย้ ง” เช่น การพัฒนาระบบเฝ้าระวังและแจ้งเตือน เชื้อดื้อยาของประเทศแบบบูรณาการ เสริมสร้าง ความเข้มแข็งของระบบควบคุมการกระจายยา ต้านจุลชีพ ทั้งยาส�ำหรับมนุษย์และสัตว์ ก�ำหนด ให้มกี ารใช้ยาต้านจุลชีพตามใบสัง่ สัตวแพทย์ และ ลดการใช้ ย าต้ า นจุ ล ชี พ ในฟาร์ ม ปศุ สั ต ว์ และ ประมง ประเทศไทยยื น ยั น การด� ำ เนิ น การตาม แผนยุทธศาสตร์ของ OIE ซึ่งสอดคล้องกับแผน ด�ำเนินการระดับโลกตามความร่วมมือกับองค์การ อนามัยโลก องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ เรื่องการจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพ สะท้อนความมุ่งมั่นของประเทศไทยในการร่วม แก้ไขปัญหาการการดื้อยาต้านจุลชีพกับนานา ประเทศทั่วโลก ซึ่งเรื่องนี้จะส�ำเร็จได้ต้องใช้ระยะ เวลา และความร่วมมือร่วมใจกันจากทุกภาคส่วน เรามัน่ ใจว่าด้วยความเข้าใจ และความร่วมมือเป็น อันหนึ่งอันเดียวกัน เป้าหมายที่ก�ำหนดไว้ในการ แก้ไขปัญหาเชื้อดื้อยาซึ่งมีความซับซ้อนจะบรรลุ ผล

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 35 เล่มที่ 183 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2561

55


Market Leader

สมทบเพิ่ม ASF Fund ซีพีเอฟ 2 ล้าน, เบทาโกร 1 ล้าน

ปรับปรุง 5 ด่าน จุดผ่านชายแดนไทย

กรมปศุสัตว์ ปทุมธานี - ซีพีเอฟกรุ๊ป และเบทาโกรกรุ๊ป มอบเงินสมทบเข้ากองทุนพัฒนาธุรกิจ

สุกรไทย เพื่อการป้องกันโรคอหิวาต์แอฟริกันในสุกร (ASF Fund) โดย ซีพีเอฟกรุ๊ป สมทบเพิ่ม 2 ล้านบาท และเบทาโกรกรุ๊ป 1 ล้านบาท หลังกรมปศุสัตว์สรุปแผนปรับปรุงด่าน 5 ด่าน จุดผ่าน ชายแดนไทย ยอดสะสมล่าสุดของกองทุนพัฒนาธุรกิจสุกรไทย ส�ำหรับภารกิจป้องกันโรคอหิวาต์แอฟริกัน ในสุกร จ�ำนวน 4.3 ล้านบาท ประกอบด้วย ๏ กรมปศุสัตว์จากการสมทบโดยสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ จ�ำนวน 300,000 บาท ๏ บริษัท ไทยฟู้ดส์ กรุ๊ป จ�ำกัด(มหาชน) จ�ำนวน 1,000,000 บาท ๏ บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จ�ำกัด(มหาชน) จ�ำนวน 2,000,000 บาท ๏ บริษัท เบทาโกร จ�ำกัด(มหาชน) จ�ำนวน 1,000,000 บาท

ที่มา : สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ วันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2561

56 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 35 เล่มที่ 183 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2561


Market Leader

โดยจะด�ำเนินการปรับปรุงด่านให้มจี ดุ ล้างท�ำความสะอาด และพ่นยาฆ่าเชือ้ อัตโนมัติ 4 ด่านชายแดน ทางฝั่งตะวันออก และ 1 ด่านชายแดนทางตอนเหนือของไทย ประกอบด้วย

๏ ด่านหนองคาย ถนนเฉลิมพระเกียรติสะพานมิตรภาพไทย-ลาว ต�ำบลหนองกอมเกาะ อ�ำเภอ เมือง จังหวัดหนองคาย ๏ ด่านนครพนม ต�ำบลหนองญาติ อ�ำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม ๏ ด่านมุกดาหาร ต�ำบลค�ำอาฮวน อ�ำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร ๏ ด่านสระแก้ว อ�ำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว ๏ ด่านเชียงแสน ต�ำบลเวียง อ�ำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ด่านเช่าพื้นที่เอกชน ที่มีปริมาณ ขนส่งหมูหนาแน่นที่สุดไปจีน

ปัจจุบันด่านทั้ง 5 จุด มีการฉีดพ่นยาฆ่าเชื้ออย่างเดียว โดย 4 ด่าน ได้แก่ หนองคาย นครพนม มุกดาหาร สระแก้ว เป็นพื้นที่ของกรมปศุสัตว์ สามารถด�ำเนินการปรับปรุงได้ทันที ซึ่งจะมีการด�ำเนิน การปรับปรุง และก่อสร้างจุดล้างท�ำความสะอาดรถยนต์ทั้งคันในลักษณะคาร์แคร์ และก่อสร้างโรงพ่น ยาฆ่าเชื้ออัตโนมัติ มีลานพักรถเพื่อรอพ่นยาฆ่าเชื้อซ�้ำรอบสอง ซึ่งได้มีการออกแบบเพื่อให้กรมปศุสัตว์ พิจารณา โดยงบประมาณเบือ้ งต้นพร้อมอุปกรณ์ลา้ ง เครือ่ ง High Pressure ระบบเครือ่ งพ่นยา ประมาณ 1.5 ล้านบาทต่อด่าน รวม 6 ล้านบาท ส�ำหรับ Mobile Lab หากจะมีการจัดท�ำ จะใช้เป็นเครื่อง PCR เครื่องละประมาณ 0.45 ล้านบาท 4 เครื่อง รวม 1.8 ล้านบาท ซึ่งภาคเอกชนจะพิจารณารายละเอียด การด�ำเนินกับบริษัทตัวแทนจ�ำหน่ายต่อไป ส่วนรายละเอียดโครงการทั้งหมดจะมีการน�ำเสนอต่อคณะท�ำงานของกองทุน ASF Fund เพื่อ พิจารณาในวันอังคารที่ 18 ธันวาคม 2561 เวลา 14.00 น. ณ ทีท่ ำ� การสมาคมผูเ้ ลีย้ งสุกรแห่งชาติ โดย จะมีการพิจารณาในรายละเอียด งบประมาณ ระเบียบการเบิกจ่าย การติดตาม และการสรุปรายงาน การเฝ้าระวัง จ�ำนวนรถขนสุกรผ่านเข้าออกชายแดน

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 35 เล่มที่ 183 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2561

57


Market Leader

เกษตรฯ MOU 2 สมาคม รับซื้อข้าวโพดทุกเมล็ด ราคาไม่ต�่ำกว่า 8 บาท/กก. เกษตรฯ ลงนาม MOU 2 สมาคม รับซื้อข้าวโพดทุกเมล็ด ราคาประกัน ไม่ต�่ำกว่า 8 บาทต่อกก. ตั้งจุดรับซื้อทุกอ�ำเภอ ในพื้นที่ปลูก 37 จังหวัด ตั้งเป้า แก้ปริมาณข้าวล้นตลาดกว่า 1 ล้านตัน วันที่ 26 ธันวาคม 2561 นายลักษณ์ วจนานวัช รัฐมนตรีช่วยว่าการ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) “โครงการสานพลังประชารัฐเพื่อสนับสนุนการปลูกข้าวโพดหลังฤดูท�ำนา” ระหว่าง นายอนันต์ สุวรรณรัตน์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กับ ดร.บุญญานาถ นาถวงษ์ อุปนายกสมาคมการค้าเมล็ดพันธุ์ไทย และนายบุญธรรม อร่ามศิริวัฒน์ เลขาธิการสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย โดยมี นายพิเชษฐ์ วิริยะพาหะ อธิบดี กรมส่งเสริมสหกรณ์ นายส�ำราญ สาราบรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร และ นางสาวเสริมสุข สลักเพ็ชร์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร และนายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ ร่วมเป็นสักขีพยาน ณ ห้องประชุมธารทิพย์ 01 อาคาร 99 ปี หม่อมหลวงชูชาติ ก�ำภู กรมชลประทาน ถนนสามเสน เขตดุสิต กรุงเทพฯ นายลักษณ์ วจนานวัช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า เป็นนโยบายของนายกฤษฏา บุญราช รัฐมนตรีวา่ การกระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ ได้บรู ณาการร่วมกับภาคส่วนต่างๆ เพิม่ ทางเลือกให้เกษตรกรสามารถเลือก

ที่มา : สยามรัฐออนไลน์ 26 ธันวาคม 2561

58 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 35 เล่มที่ 183 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2561


Market Leader แย่งใช้น�้ำท�ำนาช่วงหน้าแล้งได้ ทั้งนี้ตั้งเป้าหมาย ลดปริมาณข้าวได้กว่า 1 ล้านตัน จะท�ำให้ผลผลิต ข้าวสมดุลไม่ล้นตลาด

พืชปลูกหลังฤดูท�ำนา โดยโครงการปลูกข้าวโพด เลี้ยงสัตว์หลังท�ำนา ในปี 2561 ได้มีการวางแผน ปลูกข้าวรอบแรก ให้ปลูกเต็มพืน้ ทีก่ ว่า 58 ล้านไร่ ได้ผลผลิต 24 ล้านตันข้าวเปลือก ในการประเมิน ของคณะกรรมการแผนข้าวครบวงจร ซึ่งในรอบ สอง นาปรังมีเกษตรกรปลูกข้าว 13.31 ล้านไร่ ผลผลิตข้าว 9 ล้านตัน รวมแล้วกว่า 32 ตันข้าวเปลือก ทัง้ นีร้ ฐั บาลมีแนวทางดูแลเรือ่ งเสถียรภาพ ราคาข้าว สร้างความมัน่ ใจเกษตรกร หากปลูกข้าว ไม่เกินบริโภคภายในประเทศ และส่งออก จึงได้ ก�ำหนดพื้นที่ปลูกข้าวโพดหลังฤดูท�ำนาเป้าหมาย 2 ล้านไร่ โดยล่าสุดมีเกษตรกรเข้าร่วมแล้ว 95,620 ราย เป็นพื้นที่ 807,155 ไร่ คิดเป็น 74% ของ โครงการ โดยเกษตรกรยังเข้าร่วมได้ถงึ 15 ม.ค. 62 ระยะเวลาปลูก 120 วัน เก็บเกี่ยวได้ก่อนฤดูฝน จะท�ำให้ผลผลิตข้าวโพดมีคุณภาพสูง และเพื่อลด พื้นที่ปลูกข้าวนาปรัง ยังแก้ปัญหาความขัดแย้ง

“โครงการนีป้ ระสบความส�ำเร็จไประดับหนึง่ ท�ำให้ราคาข้าวเก็บเกี่ยวได้ราคาน่าพอใจ ส่วน เกษตรกรชาวนาจะเลือกปลูกข้าวโพดหรือไม่ เป็น การตัดสินใจเอง ขณะนีข้ ยายพืน้ ทีไ่ ปถึง 37 จังหวัด เกษตรกรมีความประสงค์เข้าร่วม และสภาพดิน น�ำ้ มีความเหมาะสม ไม่ขาดน�ำ้ ในช่วงข้าวโพดออกดอก จะได้ผลผลิตได้กว่า 1 ตันต่อไร่ จึงเป็นพืน้ ฐานทีม่ ี ความส�ำคัญในปีต่อไปโดยการสนับสนุนภาครัฐ เอกชน มี ม าตรการป้ อ งกั น ความเสี่ ย งจากภั ย ธรรมชาติ เป็นแนวความคิดใหม่ไปช่วยสร้างความ เชือ่ มัน่ ได้ และเรือ่ งราคาขาย เกษตกรต้องได้ไม่ตำ�่ กว่า 8 บาทต่อกก. ท�ำให้มกี ำ� ไรมากกว่าท�ำนาปรัง ซึ่งจะเป็นการบริหารแผนการผลิตสินค้าเกษตร ทุกชนิดให้เกิดศักยภาพตรงตามความต้องการใช้ ภายในประเทศ เช่นข้าวโพดต้องการปีละ 8 ล้าน ตัน ผลิตได้ 5 ล้านตัน โดยยังขาดข้าวโพดถึง 3 ล้านตัน ป้อนเข้าสู่อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ ส่วน ปาล์มน�้ำมัน ยางพารา จะใช้แนวทางนี้เพื่อเกิด ความยั่งยืนมากกว่าพึ่งพาตลาดภายนอกประเทศ นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรี สัง่ การให้ฝา่ ยความมัน่ คง

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 35 เล่มที่ 183 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2561

59


Market Leader

ดูแลอย่างเข้มงวด ห้ามมีการลักลอบขนสินค้าเกษตรเข้าไทยอย่างเด็ดขาด เชือ่ มัน่ ได้วา่ ปัญหาการลักลอบน�ำสินค้าเกษตรตามแนวชายแดนไม่มี” รัฐมนตรีช่วยว่าการ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าว ด้าน นายส�ำราญ สาราบรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า ขณะนี้ มีเกษตรกรแจ้งความประสงค์เข้าร่วมโครงการ 1.2 ล้านไร่ ตอนนี้เข้าโครงการแล้ว 8 แสนไร่ มีความต้องการในเรื่องสินเชื่อ 5 หมื่นราย ซึ่งเกษตรกรที่เข้าโครงการ จะไม่น�ำปัญหาหนี้เก่าขึ้นมาพิจารณา โดยเกษตรกรขอสินเชื่อจากธนาคารเพื่อการ เกษตรและสหกรณ์ (ธ.ก.ส.) ได้ทุกรายเพราะเป็นนโยบายของรัฐ ซึ่งมีผู้รับซื้อ ทุกอ�ำเภอวางจุดรับซื้อแล้ว นายพิเชษฐ์ วิรยิ ะพาหะ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ กล่าวว่า สหกรณ์ได้ตงั้ จุดรับซื้อ 262 แห่ง และในส่วนพื้นที่ไม่มีสหกรณ์ เอกชนได้ประสานตั้งจุดรับซื้อ แล้ว 32 จุด ดังนัน้ ผลผลิตข้าวโพดทุกเมล็ดมีผรู้ บั ซือ้ ในพืน้ ที่ จึงไม่มปี ญ ั หาหาทีข่ าย ไม่ได้ หรือต้องขนไปขายข้ามจังหวัดแน่นอน ขณะที่ นายบุญธรรม อร่ามศิรวิ ฒ ั น์ เลขาธิการสมาคมผูผ้ ลิตอาหารสัตว์ไทย กล่าวว่า รับประกันราคาซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากเกษตรกรไม่ต่�ำกว่า 8 บาทต่อ กก. แน่นอน เพราะขณะนีว้ ถั ตุดบิ ไม่พอผลิตอาหารเลีย้ งสัตว์ ในส่วนปัญหาสงคราม การค้าโลก ยังไม่ผลกระทบข้าวโพดเลีย้ งสัตว์ เริม่ มีผลกระทบถัว่ เหลืองเท่านัน้ แม้วา่ ประเทศสหรัฐฯ มีราคาข้าวโพด 4 - 5 บาทต่อกก. ต�่ำกว่าไทย ซึ่งทั้งประเทศจีน และสหรัฐฯ มีการปลูกข้าวโพดมีคณ ุ ภาพ และได้ผลผลิตจ�ำนวนมาก ถ้าเรามีแหล่งน�ำ้ เพียงพอส�ำหรับการเกษตร จะตอบโจทย์ในเรือ่ งประสิทธิภาพของผลผลิตการเกษตร ของไทยมีคุณภาพสามารถแข่งขันตลาดโลกได้

60 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 35 เล่มที่ 183 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2561


สินค้ำ คุณภำพ สำหรับปศุสตั ว์ไทย      

ผลิตจำกเมล็ดถัว่ เหลื องเกรดอำหำรสัตว์ 100% อุดมด้วยกรดไขมันไม่อ่ ิมตัวซึ่งจำเป็ นต่อกำรเจริ ญเติบโตของสัตว์ ควบคุมกำรผลิตด้วยเทคโนโลยี และเครื่ องจักรที่ทนั สมัย โปรตีน ไม่ต่ ำกว่ำ 36% ไขมัน ไม่ต่ ำกว่ำ 18% เมทไธโอนี น มำกกว่ำ 5,000 ppm ไลซีน มำกกว่ำ 6 กรัม/100 กรัมโปรตีน

สินค้ำ Premium Grade รับรองมำตรฐำน GMP & HACCP

บริษทั ยูนีโกร อินเตอร์เนชัน่ แนล จำกัด 120 หมู ่ 4 ตำบลสำมควำยเผื อก อำเภอเมื อง จังหวัดนครปฐม 73000 โทร. 0-3430-5101-2, 0-3439-5209 แฟกซ์ 0-3430-5103

www.unigrointer.com,

e-mail : unigro_inter@hotmail.com



Around The World

ดัชนีรายได้เกษตรกรเพิ่มขึ้น 3.86%

สศก. ชี้ผลผลิตหลายชนิดขาดตลาด - คาด ธ.ค. ยังทรงตัว

นางสาวจริยา สุทธิไชยา เลขาธิการส�ำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า ภาพรวมรายได้ของเกษตรกร วัดจากดัชนีรายได้เกษตรกรในเดือน ตุลาคม 2561 เพิ่มขึ้นจากเดือนตุลาคม 2560 ร้อยละ 3.86 โดยดัชนีราคาสินค้า เกษตรที่เกษตรกรขายได้ที่ไร่นาเดือนตุลาคม 2561 ลดลงจากเดือนตุลาคม 2560 ร้อยละ 0.37 สินค้าทีร่ าคาปรับตัวเพิม่ ขึน้ ได้แก่ ข้าวเปลือกเจ้าความชืน้ 15% ราคา เพิม่ ขึน้ เนือ่ งจากผลผลิตออกสูต่ ลาดไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาด ข้าวโพด เลีย้ งสัตว์ ราคาเพิม่ ขึน้ เนือ่ งจากโรงงานอุตสาหกรรมผลิตอาหารสัตว์มคี วามต้องการ และแข่งกันรับซือ้ และสุกร ราคาเพิม่ ขึน้ เนือ่ งจากผลผลิตออกสูต่ ลาดลดลงจากการ ที่ภาคเอกชน และเกษตรกรรายย่อยลดปริมาณการผลิต สินค้าที่ราคาปรับตัวลดลง ได้แก่ ยางพารา ราคาลดลงเนื่องจากมีการชะลอ ซื้อขายในตลาดล่วงหน้าจากสถานการณ์ความไม่แน่นอนทางการเมืองในประเทศ เศรษฐกิจหลัก ปาล์มน�ำ้ มัน ราคาลดลงเนือ่ งจากผลผลิตออกสูต่ ลาดเพิม่ ขึน้ ประกอบ กับภาวะการค้าในประเทศ และการส่งออกชะลอตัว ไก่เนื้อ ราคาลดลงเนื่องจาก ผลผลิตออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น ประกอบกับภาวะการค้าชะลอตัวจากสถานศึกษาปิด ภาคเรียน และอยู่ในช่วงเทศกาลกินเจ ด้านดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรเดือนตุลาคม 2561 เพิ่มขึ้นจากเดือนตุลาคม 2560 ร้อยละ 4.25 สินค้าส�ำคัญทีด่ ชั นีผลผลิตเพิม่ ขึน้ ได้แก่ มันส�ำปะหลัง ข้าวโพด เลี้ยงสัตว์ ยางพารา ลองกอง ปาล์มน�้ำมัน และไก่เนื้อ และสินค้าส�ำคัญที่ดัชนี ผลผลิตลดลง ได้แก่ สับปะรด สุกร และไข่ไก่

ที่มา : แนวหน้า ฉบับวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 35 เล่มที่ 183 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2561

61


Around The World

หากมองแนวโน้มดัชนีรายได้เกษตรกรในเดือนพฤศจิกายน 2561 คาดว่า เพิ่มขึ้นจากเดือน พฤศจิกายน 2560 ร้อยละ 2.27 เป็นผลมาจากดัชนีผลผลิตปรับตัวที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.36 โดยสินค้า ส�ำคัญทีม่ ผี ลผลิตเพิม่ ขึน้ ได้แก่ ข้าวเปลือก ยางพารา ปาล์มน�ำ้ มัน และไก่เนือ้ ในขณะทีด่ ชั นีราคาปรับ ตัวลดลงร้อยละ 0.09 โดยสินค้าส�ำคัญที่มีราคาลดลง ได้แก่ ยางพารา ปาล์มน�้ำมัน ไก่เนื้อ และไข่ไก่ ทั้งนี้ สินค้าส�ำคัญที่มีผลผลิตออกมากในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2561 ได้แก่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เนือ่ งจากเป็นช่วงเดือนทีเ่ ก็บเกีย่ วผลผลิตมาก ส่งผลให้ผลผลิตยังคงออกสูต่ ลาดอย่างต่อเนือ่ ง ยางพารา และปาล์มน�ำ้ มัน เนือ่ งจากผลผลิตจะออกสูต่ ลาดตามฤดูกาล รวมทัง้ ข้าวเปลือก เนือ่ งจากเข้าสูฤ่ ดูกาล เก็บเกี่ยวผลผลิต อย่างไรก็ตาม เดือนธันวาคม 2561 ดัชนีรายได้เกษตรกรคาดว่าจะทรงตัว โดยดัชนีราคามีแนวโน้ม ลดลง ขณะที่ดัชนีผลผลิต คาดว่าจะใกล้เคียงกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา

62 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 35 เล่มที่ 183 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2561


Around The World

'ปศุสัตว์' เข้ม! ตรวจพบสารพันธุกรรม

เชื้ออหิวาต์แอฟริกาในสุกร จากไส้กรอกยึดจาก นทท.จีน กรมปศุสัตว์วางมาตรการเข้มงวดป้องกันโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร สามารถตรวจยึดไส้กรอกปนเปือ้ นสารพันธุกรรมของเชือ้ ฯ จากนักท่องเทีย่ วชาวจีน และเร่งซ้อมแผนรับมือ หากพบสุกรป่วยตายผิดปกติแจ้งเจ้าหน้าที่โดยด่วน แม้ ไม่ติดต่อสู่คน แต่ก่อความเสียหายร้ายแรงต่อเศรษฐกิจ 26 พฤศจิกายน 2561 นายสัตวแพทย์สรวิส ธานีโต อธิบดีกรมปศุสตั ว์ เปิด เผยว่า ได้รับรายงานจากสถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ กรมปศุสัตว์ ถึงผลการตรวจ ยืนยันด้วยวิธี Realtime - PCR และ Sequencing พบการปนเปือ้ นสารพันธุกรรมของ เชือ้ โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรในผลิตภัณฑ์ไส้กรอกทีด่ า่ นกักกันสัตว์ทา่ อากาศยาน นานาชาติแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย ตรวจยึดน�้ำหนักประมาณ 800 กรัม จาก นักท่องเที่ยวที่เดินทางจากเมืองเฉินตู สาธารณรัฐประชาชนจีน ด้วยสายการบิน เสฉวนแอร์ไลน์ เทีย่ วบินที่ 3U8287 และส่งตรวจทางห้องปฏิบตั กิ าร ตามมาตรการ ตรวจสอบที่เข้มงวดในสินค้า และนักท่องเที่ยวที่มาจากประเทศกลุ่มเสี่ยงที่พบการ ระบาดของโรค เป็นการควบคุมป้องกันโรคมิให้เข้ามาระบาดภายในประเทศ

ที่มา : แนวหน้า วันจันทร์ ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 35 เล่มที่ 183 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2561

63


Around The World

ส� ำ หรั บ การตรวจพบการปนเปื ้ อ นสาร พันธุกรรมของเชื้อดังกล่าวในผลิตภัณฑ์จากสุกร ที่นักท่องเที่ยวน�ำติดตัวมา ประเทศไทยนับเป็น ประเทศทีส่ ามในเอเชียต่อจากเกาหลีใต้ และญีป่ นุ่ ที่สามารถตรวจพบภัยคุกคามดังกล่าวได้ เพื่อ เป็นการเตรียมความพร้อม ในวันนี้กรมปศุสัตว์ ได้จัดการซ้อมแผนการรับมือโรคอหิวาต์แอฟริกา ในสุกรตามแผนทีไ่ ด้จดั ท�ำขึน้ แก่เจ้าหน้าทีผ่ ปู้ ฏิบตั ิ งาน นับตัง้ แต่ระดับอ�ำเภอ จนถึงส�ำนักงานปศุสตั ว์ เขตในพืน้ ทีภ่ าคเหนือตอนบน รวมทัง้ ภาคเอกชน ได้สนับสนุนงบประมาณในการเพิ่มประสิทธิภาพ การป้องกันโรคเข้าประเทศทีด่ า่ นกักกันสัตว์ตา่ งๆ ในพื้นที่เสี่ยง ในส่วนของภาคราชการเอง ได้ ก�ำหนดมาตรการที่เข้มงวดหลายมาตรการ อาทิ เช่น การชะลอการน�ำเข้าผลิตภัณฑ์จากสุกรที่ มาจากประเทศกลุ่มเสี่ยงที่พบการระบาดของโรค การเตรียมความพร้อมของห้องปฏิบัติการ และ เครือข่ายในการตรวจวินจิ ฉัยให้มคี วามถูกต้อง และ รวดเร็ว การเข้มงวดตรวจสอบสัมภาระของนัก ท่ อ งเที่ ย วที่ อ าจมี ก ารลั ก ลอบน� ำ ผลิ ต ภั ณ ฑ์ ที่ มี

64 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 35 เล่มที่ 183 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2561

ความเสี่ยงเข้ามาในประเทศไทยซึ่งมีผลการตรวจ ยึดได้เป็นจ�ำนวนมาก การเข้มงวดตรวจจับ และ หาข่าวการลักลอบน�ำเข้าสุกรและผลิตภัณฑ์ผ่าน เข้ามาทางชายแดนประเทศเพือ่ นบ้านโดยประสาน ความร่วมมือกับหน่วยความมั่นคงต่างๆ รวมทั้ง เร่งสร้างความรับรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคอหิวาต์ แอฟริกาในสุกรแก่เจ้าหน้าที่ และเกษตรกรผูเ้ ลีย้ ง สุกรผ่านรูปแบบการประชุม และการซ้อมแผน ในภูมิภาคต่างๆ โดยเฉพาะในพื้นที่เสี่ยง ทัง้ นี้ นอกจากจะมีการก�ำหนดมาตรการ หรือ ก� ำ หนดแนวทางการปฏิ บั ติ ที่ ชั ด เจนแล้ ว กรม ปศุสัตว์มีความจ�ำเป็นต้องยกระดับ และให้ความ ส�ำคัญต่อโรคดังกล่าว พร้อมผลักดันผ่านรัฐบาล ให้เป็นวาระแห่งชาติ เพือ่ บูรณาความร่วมมือ และ ทรัพยากร รวมทัง้ งบประมาณจากหน่วยงานต่างๆ ในการควบคุม ป้องกันโรคมิให้เข้ามายังประเทศ ไทยได้ เนื่องจากโรคดังกล่าวนี้ไม่ติดต่อสู่คน แต่ ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงทางด้าน เศรษฐกิจ และความมั่นคงทางด้านอาหาร


Around The World อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในปี 2561 องค์การสุขภาพสัตว์โลก รายงานการพบ โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (African swine fever) ในประเทศต่างๆ ทั่วโลกจ�ำนวน 16 ประเทศ จ�ำแนกเป็นทวีปยุโรป 11 ประเทศ ทวีปแอฟริกา 4 ประเทศ และล่าสุดที่ทวีปเอเชีย 1 ประเทศ คือ สาธารณรัฐประชาชนจีนที่พบการระบาดในช่วง ต้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ดังนั้น เพื่อเป็นการ ควบคุ ม ป้ อ งกั น โรคมิ ใ ห้ เ ข้ า มาระบาดภายใน ประเทศจากการเคลือ่ นย้ายสัตว์ - ซากสัตว์ภายใน ภูมิภาค และเชื้อปนเปื้อนมากับคน และอาหารที่ เป็นผลิตภัณฑ์จากสุกรที่ไม่ผ่านการปรุงสุกเพื่อ การบริโภค กรมปศุสัตว์จึงได้ก�ำหนดมาตรการ การตรวจสอบทีเ่ ข้มงวดในสินค้า และนักท่องเทีย่ ว ที่มาจากประเทศกลุ่มเสี่ยงที่พบการระบาดของ โรค อีกทั้งรัฐบาลไทยโดยกรมปศุสัตว์ ร่วมกับ ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกร พร้อม ทั้งองค์กรวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง มีความตระหนักถึง ความเสียหายทีจ่ ะเกิดขึน้ กับอุตสาหกรรมการผลิต สุกรของไทยหากเกิดการระบาดโรคในประเทศ ไทย จึงได้บูรณาการความร่วมมือในการจัดท�ำ แผนรับมือโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรเพื่อให้การ จั ด ท� ำ แผนมี ค วามครอบคุ ม ครบถ้ ว น และมี ประสิทธิภาพเป็นที่ยอมรับจากทุกภาคส่วน

เหมาะสม (GFM) ตรวจสอบแหล่งที่มาของสุกร ก่อนเข้าฟาร์ม ร่วมกับการจัดการด้านระบบความ ปลอดภัยทางชีวภาพ โดยเฉพาะอย่างยิง่ ไม่ใช้เศษ อาหารที่น�ำมาเลี้ยงสุกร หรือน�ำผลิตภัณฑ์ที่มา จากสุกรเข้าฟาร์มโดยเด็ดขาด รายย่อยที่มีความ จ�ำเป็นต้องใช้เศษอาหารเลี้ยงสุกร ให้ต้มให้สุก ก่อน ซึ่งจะช่วยป้องกันการน�ำโรคเข้าสู่ฟาร์มได้ นอกจากนี้ ให้สงั เกตอาการสุกรอย่างใกล้ชดิ หาก พบสุกรแสดงอาการป่วย เช่น มีไข้สูง เบื่ออาหาร ผิวหนังเป็นปื้นแดง และต่อมาเป็นสีเขียวคล�้ำ พบ ภาวะแท้งในแม่สกุ ร และมีจำ� นวนสุกรตายผิดปกติ ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ในพื้นที่ทันที หรือ call center 063-225-6888 หรือที่แอปพลิเคชัน DLD 4.0 “แจ้งการเกิดโรคระบาด” เพือ่ เจ้าหน้าที่ จะได้เร่งด�ำเนินการให้การช่วยเหลืออย่างทันท่วงที

ท้ า ยที่ สุ ด นี้ อธิ บ ดี ก รมปศุ สั ต ว์ ขอให้ เกษตรกรมีความมัน่ ใจในการด�ำเนินงานทีเ่ ข้มงวด ของปศุสัตว์ในการป้องกันโรคมิให้เข้ามาสร้าง ความเสียหายต่ออุตสาหกรรมการผลิตสุกรของ ประเทศไทย รวมทั้งขอความร่วมมือเกษตรกร ให้ยกระดับการเลีย้ งสุกรให้มรี ะบบการป้องกันโรค ที่ดี ตามมาตรฐาน GAP และหากเป็นรายย่อย ให้ใช้มาตรฐานการป้องกัน และการเลี้ยงสัตว์ที่ ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 35 เล่มที่ 183 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2561

65


Around The World

ประชุมหารือ เรื่อง มาตรการการด�ำเนินงาน

โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร

นายสุพัฒน์ เอี้ยวฉาย ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประชุมหารือเรือ่ งมาตรการการด�ำเนินงานโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (African Swine Fever) เพื่อผลักดันให้เป็นวาระส�ำคัญแห่งชาติ พร้อมด้วย นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดี กรมปศุสัตว์ และสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ สรุปสาระส�ำคัญ ดังนี้ 1. มาตรการในการเฝ้าระวัง ควบคุม และป้องกันโรค ASF ให้เน้นความร่วมมือจาก ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง (สมาคม ผู้เลี้ยง และเกษตรกร) คุมเข้มการเคลื่อนย้ายที่ด่านน�ำเข้า ส่งออก ยกระดับการเลีย้ งให้มกี ารจัดการ และระบบการป้องกันทางชีวภาพ (Biosecurity) ทีด่ ี ในกลุ่มเกษตรกรรายย่อย เตรียมความพร้อมห้องปฏิบัติการ และท�ำหนังสือขอความร่วมมือ ไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 2. ค่าชดเชย (Compensation) และการจัดตั้งกองทุนในการด�ำเนินงานโครงการ การป้องกันโรค ASF 3. การตระหนัก ซักซ้อมแผนปฏิบัติการเพื่อเตรียมความพร้อมในการรับมือ 4. เน้นการประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ เพื่อความเข้าใจ และการปฏิบัติที่ถูกต้อง ทัง้ นี้ กรมปศุสตั ว์ได้มกี ารด�ำเนินการเฝ้าระวังและป้องกันโรค โดยมีการสุม่ เก็บตัวอย่าง เพื่อตรวจวิเคราะห์ การพ่นน�้ำยาฆ่าเชื้อที่ด่าน หรือจุดเสี่ยง มีงบประมาณเพื่อรองรับในการ ด�ำเนินการ เน้นการร่วมมือจากทุกภาคส่วนทีเ่ กีย่ วข้อง ทัง้ ภาครัฐ เอกชน สมาคม ผูป้ ระกอบการ และเกษตรกร ซึง่ เป็นกลไกทีม่ คี วามส�ำคัญในการขับเคลือ่ นการด�ำเนินมาตรการให้ประสบความ ส�ำเร็จ เพื่อการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรค ASF โดยยึดหลัก “รู้เร็ว ด�ำเนินการเร็ว สามารถควบคุมโรคได้เร็ว” ผลักดันให้มาตรการการเฝ้าระวัง ควบคุมและป้องกันโรคอหิวาต์ แอฟริกาในสุกรเป็นวาระส�ำคัญแห่งชาติต่อไป ณ ห้องประชุม 124 กระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ ที่มา : Facebook ปศุสัตว์ก้าวหน้า วันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2561

66 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 35 เล่มที่ 183 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2561



1.R&D µ¦ª· ´¥Â¨³¡´ µ 2.Consultation µ¦Ä®o µÎ ¦¹ ¬µ 3.Design µ¦°°  4.Manufacture µ¦ ¨· 5.Logistics µ¦ ¦·®µ¦ o µ µ¦ ´ Á È Â¨³ ­n 6.Installation µ¦ · ´ Ê 7.Commissioning µ¦ ­° 8.Training µ¦ ¹ ° ¦¤ 9.Service µ¦Ä®o ¦· µ¦®¨´ µ¦ µ¥

Pellet mill Dryer

Extruder

Pulverizer

Mixer

Hammer mill


Around The World

ยักษ์อาหารโลกลุย เปิดศึกชิงตลาดไก่ในไทย ผู้ผลิตเนื้อสัตว์รายใหญ่ของโลก เสนอซื้อ บี อาร์ เอฟ (ไทยแลนด์) รุกหนักขยายธุรกิจต่าง ประเทศ บลูมเบิร์กรายงานอ้างแหล่งข่าวว่า บริษัท ไทสัน ฟู้ดส์ หนึ่งในผู้ผลิตเนื้อสัตว์ที่ใหญ่ที่สุดของโลก จากสหรัฐฯ เป็น 1 ใน 5 บริษัทที่ก�ำลังเจรจาเสนอซื้อ บริษัทบี อาร์ เอฟ (ไทยแลนด์) และบีอาร์เอฟ ในยุโรป หลังจาก บริษัท บราซิล ฟู้ดส์ (บีอาร์เอฟ) บริษัทแม่ในบราซิล ซึ่งเป็นผู้ด�ำเนินธุรกิจไก่ ครบวงจรที่มีเครือข่ายทั่วเอเชีย และยุโรปประสบปัญหาขาดทุนอย่างต่อเนื่อง เปโดร ปาเรนเต ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (ซีอีโอ) ของบีอาร์เอฟ เปิดเผยก่อนหน้านี้ว่า ก�ำลัง อยู่ระหว่างคัดเลือก 1 ใน 5 บริษัทที่ยื่นข้อเสนอซื้อเข้ามา ซึ่งรวมถึงบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร (ซีพี เอฟ) บริษัท ไชน่า เนชันนัล ซีเรียลส์ออยส์ แอนด์ ฟู้ดสตัฟส์ ของจีน และบริษัท เจบีเอส ในบราซิล ก่อนหน้านี้ เมื่อเดือน มิ.ย. ที่ผ่านมา บีอาร์เอฟได้ประกาศแผนที่จะขายธุรกิจในไทย ยุโรป และ อาร์เจนตินา โดยเป็นส่วนหนึ่งของแผนปรับโครงสร้างเพื่อลดภาระหนี้ 3,000 ล้านเรียล (ราว 2.6 หมื่นล้านบาท) ทั้งนี้ ไทสัน ฟู้ดส์ ก�ำลังด�ำเนินการขยายธุรกิจไปยังต่างประเทศ หลังตลาดการเกษตรใน สหรัฐฯ เกิดความผันผวนมากขึ้น โดยในปีนี้ และปีที่ผ่าน มาบริษัทได้ลงทุนมากกว่า 7,200 ล้าน ดอลลาร์สหรัฐฯ (ราว 2.38 แสนล้านบาท) ในการเข้าซื้อบริษัทต่างๆ เช่น บริษัท คีย์สโตน ฟู้ดส์ บริษัทแปรรูปไก่ที่มีเครือข่ายทั่วสหรัฐฯ และเอเชีย ที่มา : โพสต์ทูเดย์ วันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 35 เล่มที่ 183 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2561

67


Around The World

การส�ำรวจข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ครั้งที่ 4/2561 ระหว่างวันที่ 12 - 16 พฤศจิกายน 2561

ณ จังหวัดแพร่ - น่าน  -  พะเยา - เชียงราย - ล�ำปาง โดยสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

รายชื่อผู้เข้าร่วมส�ำรวจ

1. นางนิภาพร โรจน์รุ่งเรืองกิจ 2. นายวรวุฒิ เบญจรัตนานนท์ 3. น.ส.ชุลีพร ยิ่งยง 4. น.ส.ญาณี มีจ่าย 5. น.ส.ลัดดา แก้วกาหลง 6. นายอภินันท์ สิทธิทูล 7. น.ส.ธาวินี ด�ำเนินวุฒิ 8. นางจิรพรรณ์ รัตนราช 9. น.ส.กัณฑรัตน์ มหาวิริโย 10. นายรณชัย หนูชนะภัย 11. น.ส.ขวัญกมล อุกฤษศิริพงษ์ 12. น.ส.จุฑามาศ วัฒนสินพาณิช 13. น.ส.รัชนก เฉลยโฉม 14. น.ส.เจษฎาภรณ์ นันทะแสง 15. น.ส.วรรทนี เฉียงเมือง 16. น.ส.รุ่งทิวา ทับแป้น 17. นายอรรถพล ชินภูวดล 18. น.ส.กรดา พูลพิเศษ

68 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 35 เล่มที่ 183 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2561

บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จ�ำกัด (มหาชน) บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จ�ำกัด (มหาชน) บริษัท พนัสโภคภัณฑ์ จ�ำกัด บริษัท พนัส ฟีดมิลล์ จ�ำกัด บริษัท เซนทาโก ไซโล จ�ำกัด บริษัท เซนทาโก ไซโล จ�ำกัด บริษัท ทีเอฟเอ็มเอส จ�ำกัด บริษัท ทีเอฟเอ็มเอส (สระบุรี) จ�ำกัด บริษัท อินเทคค์ ฟีด จ�ำกัด บริษัท อินเทคค์ ฟีด จ�ำกัด บริษัท บี อาร์ เอฟ ฟีด(ไทยแลนด์) จ�ำกัด บริษัท กรุงไทยอาหาร จ�ำกัด (มหาชน) บริษัท ไทยฟู้ดส์ อาหารสัตว์ จ�ำกัด บริษัท ลีพัฒนาอาหารสัตว์ จ�ำกัด บริษัท ยูไนเต็ด ฟีดมิลล์ จ�ำกัด ส�ำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 2 สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย


Around The World การส�ำรวจข้าวโพดเลีย้ งสัตว์ ครัง้ ที่ 4/2561 ระหว่างวันที่ 12 - 16 พฤศจิกายน 2561 ออกส�ำรวจ พืน้ ทีท่ างเขตภาคเหนือตอนบนในพืน้ ทีจ่ งั หวัดแพร่ - น่าน - พะเยา - เชียงราย - ล�ำปาง โดยได้ทำ� การรวบรวม ข้อมูลจากทางส�ำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร และส�ำนักงานเกษตรจังหวัด มาประกอบการส�ำรวจควบคูก่ บั ข้อมูลทีไ่ ด้จากการเข้าพบพ่อค้า/ไซโล รวมถึงเกษตรกรผูเ้ พาะปลูกข้าวโพดเลีย้ งสัตว์ ในการส�ำรวจครัง้ นี้ อยู่ระหว่างที่ภาครัฐเริ่มด�ำเนินการโครงการสานพลังประชารัฐสนับสนุนการปลูกข้าวโพดหลังฤดูท�ำนา จึงท�ำให้เกษตรจังหวัดติดภารกิจในการลงพื้นที่ การเพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ฤดูกาลผลผลิตปี 2561/2562 ในพื้นที่ส�ำรวจจังหวัดเป้าหมาย พบว่า พื้นที่เพาะปลูกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เนื่องจากราคาข้าวโพดในปี 2560/2561 สูงขึ้น และจูงใจ ให้เกษตรกรเพาะปลูกเพิม่ ขึน้ เกษตรกรบางส่วนได้นำ� พืน้ ทีเ่ ดิมทีป่ ล่อยว่างในปีกอ่ นกลับมาปลูกข้าวโพด อีกทั้งการจัดสรรพื้นที่ท�ำกินบนพื้นที่เขาที่มีความชัดเจนมากขึ้น แม้จะมีการควบคุมอยู่ในบางพื้นที่ ทางด้านผลผลิตรวม มีแนวโน้มเพิม่ มากขึน้ จากสภาพอากาศทีเ่ หมาะสมต่อการเจริญเติบโตของ ต้นข้าวโพด ไม่กระทบแล้ง และเกษตรกรกลับมาใช้เมล็ดพันธุท์ มี่ คี ณ ุ ภาพรวมถึงการบ�ำรุงรักษาผลผลิต ส่งผลให้ได้ผลผลิตเพิ่มมากขึ้น จากการสอบถาม พ่อค้าพื้นที่ไซโล/ลาน และเกษตรกรผู้เพาะปลูก พบว่าเกษตรกรเก็บเกี่ยว ผลผลิตในพื้นที่ราบไปเกือบหมดแล้ว คงเหลือผลผลิตข้าวโพดในพื้นที่เขาเล็กน้อย โดยเกษตรกรได้พัก การเก็บเกีย่ วข้าวโพดไปเกีย่ วข้าวนาปีกอ่ น หลังจากเกีย่ วข้าวเรียบร้อยแล้วจึงจะเก็บเกีย่ วผลผลิตข้าวโพด บนเขาต่อไป คาดว่าจะเก็บเกี่ยวในช่วงปลายเดือน พ.ย. 2561 และเก็บเกี่ยวแล้วเสร็จประมาณเดือน ก.พ. 2562 นอกจากนี้ พ่อค้ายังให้ข้อมูลเกี่ยวกับการเข้าร่วมโครงการสานพลังประชารัฐเพื่อสนับสนุน การปลูกข้าวโพดหลังฤดูทำ� นา โดยทราบข่าวจากการประชาสัมพันธ์ของภาครัฐ รวมถึงมีการประชุมหารือ โครงการฯ โดยสหกรณ์การเกษตรในพื้นที่เพื่อชี้แจงขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการ และคาดว่าเกษตรกร ให้ความสนใจเข้าร่วมโครงการค่อนข้างมากเนื่องจากราคาข้าวโพดสูง แต่ส่วนใหญ่ยังคงเป็นพื้นที่เดิม เป็นหลัก ตารางสรุปผลผลิตการสำ�รวจในพื้นที่ จังหวัด แพร่ น่าน พะเยา เชียงราย ล�ำปาง ผลรวม

พื้นที่ปลูก (ไร่) ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ (กิโลกรัม) ปี 60/61 ปี 61/62 เพิ่ม/ลด ปี 60/61 ปี 61/62 เพิ่ม/ลด 270,265 283,778 5.00% 700 770 10.00% 768,175 783,853 2.04% 715 775 8.39% 210,453 209,400  - 0.50% 714 750 5.04% 375,875 368,357  - 2.00% 702 737 4.99% 163,669 175,126 7.00% 660 693 5.00% 1,788,437 1,820,514 1.79% 705 756 7.22%

ผลผลิตรวม (ตัน) ปี 60/61 ปี 61/62 เพิ่ม/ลด 198,186 218,506 15.50% 549,245 607,486 10.60% 150,263 157,050 4.52% 263,864 271,479 2.89% 108,022 121,362 12.35% 1,260,580 1,375,887 9.15%

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 35 เล่มที่ 183 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2561

69


Around The World

จังหวัดแพร่ แหล่งข้อมูล : บจก.เด่นชัยทรัพย์เกษตร ต.แม่จั๊วะ อ.เด่นชัย จ.แพร่ คุณบอล โทร. 084 - 554538 เกษตรสิน ต.ทุ่งโฮ้ง อ.เมืองฯ จ.แพร่ คุณจ้อย โทร. 081 - 9938381 บจก.ชุนเฮงหลีรุ่งเรืองทรัพย์ ต.ร้องเข็ม อ.ร้องกวาง จ.แพร่ คุณแบงค์ โทร. 085 - 3183436 เกษตรกร อ.ร้องกวาง จ.แพร่ คุณมล โทร. 080 - 9436594 ลานรับซื้อข้าวโพด ต.ไผ่โทน อ.ร้องกวาง จ.แพร่ คุณสิน โทร. 086 - 1881172 ฤดูกาลผลิต ปี 2560 / 2561 ปี 2561 / 2562 เพิ่ม / ลด (%)

พื้นที่เพาะปลูก (ไร่) 270,265 283,772 5.00%

ผลผลิตต่อไร่ (กก.) 700 770 10.00%

ผลผลิตรวม (ตัน) 189,186 218,509 15.49%

สภาพทั่วไป พืน้ ทีเ่ พาะปลูกในปี 2561/2562 เพิม่ ขึน้ 5% จากเดิม 270,265 ไร่ เป็น 283,772 ไร่ เนือ่ งจาก ราคาซื้อ - ขายข้าวโพดในปีนี้ค่อนข้างสูง จูงใจให้เกษตรกรลงทุนเพาะปลูกข้าวโพดเพิ่มมากขึ้น อีกทั้ง เกษตรกรบางส่วนได้น�ำพื้นที่เดิมที่เคยเพาะปลูกข้าวโพดในปีก่อนกลับมาลงทุนอีกครั้ง โดยในพื้นที่ อ.เด่นชัย พ่อค้าให้ข้อมูลที่แตกต่าง โดยมองว่าพื้นที่ลดลงประมาณ 10% จากผลกระทบต่อเนื่อง เมื่อปี 2559/2560 ที่ราคาตกต�่ำส่งผลให้เกษตรกรไม่กล้าลงทุน เพราะกลัวว่าปลูกแล้วจะไม่มีผู้รับซื้อ น�้ำที่ใช้ในการเพาะปลูกเป็นน�้ำจากธรรมชาติ เนื่องจากพื้นที่เพาะปลูกส่วนใหญ่อยู่บนเขา และไม่ได้อยู่ ในเขตชลประทาน

70 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 35 เล่มที่ 183 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2561


Around The World

ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 10% จากเดิม 700 กก./ไร่ เป็น 770 กก./ไร่ เมล็ดแห้ง เนื่องจากสภาพอากาศเอื้ออ�ำนวย ต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าวโพด ไม่กระทบแล้ง เกษตรกรมีการ ปรับเปลี่ยนมาใช้เมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพ รวมทั้งมีการดูแลต้นข้าวโพด อย่างถูกวิธี ส่งผลให้ได้ผลผลิตเพิ่มมากขึ้น และมีคุณภาพมากกว่าปี ที่ผ่านมา โดยมีผลผลิตเฉลี่ยประมาณ 700 - 1,000 กก./ไร่ เมล็ดสด เมล็ดพันธุ์ที่ใช้ในพื้นที่ ได้แก่ แปซิฟิค ซีพี303,888 เอ็นเค และ ไพโอเนีย พืชอืน่ ทีเ่ พาะปลูกในพืน้ ที่ ได้แก่ ข้าว มันส�ำปะหลัง ถัว่ มัน ถัว่ เหลือง งาเกษตร ยาสูบ และมะละกอ เล็กน้อยในเขต อ.เด่นชัย ในด้านของราคารับซือ้ อยูท่ ี่ 7.50 - 7.60 บาท ฝักสด ความชืน้ ที่ 30% สูงกว่า ปีทแี่ ล้ว 1.00 บาท จากการสอบถามพ่อค้า และเกษตรกร พบว่าพ่อค้ายังคงรับซือ้ ทัง้ แบบมีเอกสารสิทธิ์ และไม่มีเอกสารสิทธิ์ และมีพ่อค้าจากภาคกลาง เช่น จ.เพชรบูรณ์ เข้ามารับซื้อผลผลิตในพื้นที่

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 35 เล่มที่ 183 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2561

71


Around The World

จังหวัดน่าน แหล่งข้อมูล : ชัยมิตรกิจเกษตร อ.เวียงสา จ.น่าน คุณฟาด โทร. 084 - 3430081 บริษัท ใจงาม จ�ำกัด อ.เวียงสา จ.น่าน คุณครรชิต 054 - 781206 - 7,081 - 8815304 เกษตรกร อ.บ้านหลวง จ.น่าน คุณโรจน์ โทร. 089 - 7647803 ฤดูกาลผลิต ปี 2560 / 2561 ปี 2561 / 2562 เพิ่ม / ลด (%)

พื้นที่เพาะปลูก (ไร่) 768,175 783,853 2.00%

ผลผลิตต่อไร่ (กก.) 715 775 8.50%

ผลผลิตรวม (ตัน) 549,245 607,486 10.60%

สภาพทั่วไป พืน้ ทีเ่ พาะปลูกในปี 2561/2562 เพิม่ ขึน้ จากปีทแี่ ล้ว 2% จากเดิม 768,175 ไร่ เป็น 783,853 ไร่ เนื่องจากราคาที่สูงขึ้นในปีนี้จูงใจให้เกษตรกรเพาะปลูกเพิ่มขึ้น เกษตรกรน�ำพื้นที่เดิมที่เคยปลูก และ ปล่อยว่างในปีที่แล้วกลับมาเพาะปลูกข้าวโพดอีกครั้ง รวมทั้งภาครัฐมีการจัดสรรพื้นที่ท�ำกินที่ชัดเจน มากยิ่งขึ้น ต้นทุนในการเพาะปลูกประมาณ 3,000 บาท/ไร่ น�้ำที่ใช้เป็นแหล่งน�้ำธรรมชาติจากแม่น�้ำ ทั้งนี้ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เขา ผลผลิตเฉลีย่ ต่อไร่ เพิม่ ขึน้ จาก 715 กก./ไร่ เป็น 775 กก./ไร่เมล็ดแห้ง คิดเป็น 8.50% เนือ่ งจาก สภาพอากาศเอื้ออ�ำนวยต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าวโพด และเกษตรกรปรับเปลี่ยนมาใช้เมล็ดพันธุ์ ทีไ่ ด้คณ ุ ภาพเหมาะสมกับพืน้ ที่ ท�ำให้ได้ผลผลิตทีม่ ากขึน้ และมีคณ ุ ภาพมากขึน้ ด้วย เมล็ดพันธุท์ ใี่ ช้ ได้แก่ ซีพี 111 ไพโอเนีย 46 และเอ็นเค โดยในปีนี้เกษตรกรได้รับค�ำแนะน�ำจากบริษัทเมล็ดพันธุ์ในการเลือก เมล็ดพันธุใ์ ห้เหมาะกับพืน้ ที่ และวิธกี ารดูแลรักษาต้นข้าวโพดอย่างถูกวิธี ส่งผลให้ได้ผลผลิตทีม่ คี ณ ุ ภาพ และมีปริมาณเพิม่ มากขึน้ ต่างจากปีทแี่ ล้วทีใ่ ช้เมล็ดพันธุด์ อ้ ยคุณภาพเพือ่ ลดต้นทุน โดยได้ผลผลิตเฉลีย่ ประมาณ 700 - 800 กก./ไร่ เมล็ดแห้ง (ในพื้นที่ อ.เวียงสา และ อ.บ้านหลวง) ส่วนผลผลิตในพื้นที่ คาดว่าจะเก็บเกี่ยวแล้วเสร็จในเดือน ก.พ. 2562

72 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 35 เล่มที่ 183 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2561


Around The World

พืชอื่นที่เพาะปลูกในพื้นที่ ได้แก่ มันส�ำปะหลัง ข้าว ถั่วเขียว ถัว่ เหลือง ฟักทอง และยางพารา ทัง้ นีใ้ นพืน้ ที่ อ.ทุง่ ช้าง เกษตรกรเปลีย่ น พื้นที่ข้าวโพดไปเพาะปลูกมันส�ำปะหลังมากเกือบ 70% เนื่องจากมีลาน รับซื้อมันเส้นในพื้นที่ ราคารับซื้ออยู่ที่ 8.45 - 9.40 บาท/กก. เมล็ดแห้ง ความชื้น 14.5 - 17% ซึ่งราคาดีกว่าปีก่อนประมาณ 1.50 - 2.00 บาท ส� ำ หรั บ การรั บ ซื้ อ ยั ง คงเป็ น แบบมี และไม่ มี เ อกสารสิ ท ธิ์ อ ยู ่ นอกจากนี้ พ่อค้าให้ข้อมูลว่าปีน้ีผลผลิตทยอยออก ไม่ออกล้นทะลักเหมือนปีที่แล้ว จึงคาดว่าราคาจะ ไม่ตกต�่ำไปจากนี้ และเกษตรกรในพื้นที่ให้ความสนใจเข้าร่วมโครงการสานพลังประชารัฐเพื่อสนับสนุน การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังฤดูท�ำนาค่อนข้างมาก จึงคาดว่าผลผลิตข้าวโพดนาในปีนี้จะเพิ่มมากขึ้น ตามไปด้วย

จังหวัดพะเยา แหล่งข้อมูล : นงคราญเชียงม่วนพืชผล อ.เชียงม่วน จ.พะเยา คุณบ๊อบ โทร. 089 - 8359859 อ.ปง จ.พะเยา ทรัพย์ธนโชติ อ.ปง จ.พะเยา คุณจุไลลักษณ์ โทร. 093 - 3264810 ฤดูกาลผลิต ปี 2560 / 2561 ปี 2561 / 2562 เพิ่ม / ลด (%)

พื้นที่เพาะปลูก (ไร่) 210,453 209,400  - 0.50%

ผลผลิตต่อไร่ (กก.) 714 750 5.00%

ผลผลิตรวม (ตัน) 150,263 157,050 4.51%

สภาพทั่วไป พืน้ ทีเ่ พาะปลูกในปี 2561/2562 ลดลงจากปีทแี่ ล้ว 0.50% จากเดิม 210,453 ไร่ เป็น 209,400 ไร่ เนื่องจากเกษตรกรขาดทุนจากการเพาะปลูกข้าวโพดในปีที่แล้ว ส่งผลให้ปีนี้ไม่มีเงินในการลงทุน เพาะปลูกข้าวโพด แหล่งน�้ำที่ใช้เป็นแหล่งน�้ำธรรมชาติ

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 35 เล่มที่ 183 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2561

73


Around The World

ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ ขยับจากปีที่แล้ว 714 กก./ไร่ เป็น 750 กก./ไร่เมล็ดแห้ง เพิ่มขึ้น 5% จาก ปริมาณน�้ำฝนที่มากเพียงพอต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าวโพด และเกษตรกรปรับเปลี่ยนมาใช้เมล็ด พันธุ์ที่ได้คุณภาพเหมาะสมกับพื้นที่ ท�ำให้ได้ผลผลิตที่มากขึ้นและมีคุณภาพ เมล็ดพันธุ์ที่ใช้ ได้แก่ KD9899 แปซิฟิค 6818 ซีพี 339 ไพโอเนีย 46 และ 328 ผลผลิตในไร่ที่ยังไม่ได้เก็บเกี่ยวเหลืออยู่ ประมาณ 30 - 40% และคาดว่าจะเก็บเกี่ยวแล้วเสร็จในเดือน ม.ค. - ก.พ. 2562 พืชอื่นที่เพาะปลูกในพื้นที่ ได้แก่ มันส�ำปะหลัง ข้าว ถั่วแขก และถั่วลิสง ราคารับซื้อข้าวโพด ปีท่ีแล้ว 4.00 - 5.00 บาท/กก. เมล็ดสดความชื้น 30% ส�ำหรับปีนี้ราคาดีขึ้น อยู่ที่ 7.00 - 7.20 บาท/กก. เมล็ดสดความชื้น 30% นอกจากนี้พ่อค้าใน อ.เชียงม่วน แจ้งว่าไม่มีภาครัฐเข้ามาให้การ สนับสนุนในพื้นที่ และทราบข่าวโครงการสานพลังประชารัฐเพื่อสนับสนุนการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ หลังฤดูท�ำนาจากสมาคมการค้าพืชไร่ และได้สมัครเข้าร่วมโครงการในส่วนของจุดรับซื้อ ทั้งนี้ในพื้นที่ ยังมีพ่อค้าจากภาคกลางเข้ามาขอรับซื้อผลผลิตบางส่วนไปด้วย

จังหวัดเชียงราย แหล่งข้อมูล : สหกรณ์การเกษตร อ.แม่สรวย จ.เชียงราย คุณวิชาญ พุทธิมา โทร. 080 - 8606211 อ้ายสวยรุง่ เรืองกิจเกษตร อ.แม่สรวย จ.เชียงราย โทร. 053 - 724035,093 - 3586719 สหกรณ์การเกษตรเวียงป่าเป้า อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย คุณสมคิด โทร. 081 - 9938466 ฤดูกาลผลิต ปี 2560 / 2561 ปี 2561 / 2562 เพิ่ม / ลด (%)

พื้นที่เพาะปลูก (ไร่) 375,875 368,357  - 2.00%

74 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 35 เล่มที่ 183 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2561

ผลผลิตต่อไร่ (กก.) 702 737 5.00%

ผลผลิตรวม (ตัน) 263,864 271,479 2.89%


More pellets - More quality

The solution for hard running feeds

��

�� tonnes �.���

�� ��

��

:��

:�� ��

:�� ��

:�� ��

:�� ��

:�� ��

:�� ��

:�� ��

:��

��

ĕĄúċĉÚĊóăĒîüðĎĝĆĊíĕúĜíûċÚ

��

ãĻĀûĘĄļõþčîęíļîĻĆĕòĐĝĆà

�� tonnes �� pellet binder

�� tonnes of control

�:�

ĕ÷čĝúÚĢċþĊàÚċüõþčî

Tonnes per hour

��

Time

Nature's best binder ��

��.�

��

��.�

��

��.�

��

��.�

��

��.�

��.�

Control

�� LignoBond DD

Pellet durability ���

High performance natural pellet binder Capacity �T�h� or Energy input �kWh�T�

£¬¼ª ­¼ĥ¯¡¼¦ ª¯û·­§¯¾ ¼¯³¾ ¼ ¼¯

ăċüãĻĀûĕ÷čĝúÚĢċþĊàÚċüõþčî ĖþĉôüĊóôüđàÝđìùċ÷ĕúĜíĆċĄċü

ãĻĀûþíöđĶòĆċĄċü ĕúĜíĆċĄċüúĎÝĀċúÝàðò õþčîíļĀûĀĊîïđíčóñüüúãċîč

��.� FPQF

ðĻ ċ òăċúċüïÝĢ ċ òĀìÝĻ ċ )34) )HHG 3HOOHW 4XDOLW\ )DFWRU ÛĆàăĒ î üĆċĄċüęíļ í ļ Ā ûîòĕĆà õĻ ċ òðċà ZZZ ISTIFDOFXODWRU FRP ĄüĐ Ć îč í îĻ Ć ăĆóïċúÛļ Ć úĒ þ ĕ÷čĝ ú ĕîč ú îċúüċûþĉĕĆĎ û ííļ ċ òþĻ ċ à §¯¾´»¤ DZ§ ·¾¦Æĥ·¯þ ĨĬ¼ »Ĥ ĭ­Ãú Ų ª¯º¯¼­ ĥ ¦¼È · Æ­Á· µ­Â¤¯µ¼ ¯ Ĩ µ­Â¤¯µ¼ ¯ Ȥ¯Ű»ª¤þ $WS Ç« þ 6DARHSD VVV HMSDPBFQNTO BNL $ L@HK SDBGCDO HMSDPB BNL



Around The World

สภาพทั่วไป พืน้ ทีเ่ พาะปลูกในปี 2561/2562 ลดลงจากปีทแี่ ล้ว 2% จากเดิม 375,875 ไร่ เป็น 368,357 ไร่ เนือ่ งจากกรมป่าไม้มนี โยบายยึดคืนพืน้ ทีป่ า่ (อ.เวียงป่าเป้า) ประกอบกับราคาข้าวโพดในปีกอ่ นไม่ดนี กั เพราะผลผลิตไม่ได้คณ ุ ภาพจึงถูกหักราคา เกษตรกรบางส่วนจึงหันไปท�ำอาชีพอืน่ แทน เช่น รับจ้าง เป็นต้น และอีกส่วนนึงที่ท�ำให้พื้นที่ลดลงคือ การที่ต้นล�ำไยโตขึ้นท�ำให้ไม่สามารถปลูกข้าวโพดแซมได้อีกต่อไป ในพื้นที่มีการปลูกไม้ผลมากขึ้นเล็กน้อย แหล่งน�้ำที่ใช้ในการเพาะปลูกเป็นแหล่งน�้ำจากธรรมชาติ ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ เพิ่มขึ้น 5% จากเดิม 702 กก./ไร่ เป็น 737 กก./ไร่เมล็ดแห้ง เนื่องจาก ปริมาณน�ำ้ ฝนทีม่ ากเพียงพอต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าวโพด และไม่กระทบแล้ง เมล็ดพันธุท์ ใี่ ช้ ได้แก่ ซีพี และเอ็นเค ผลผลิตเฉลีย่ อยูท่ ี่ 700 - 1,000 กก./ไร่ เมล็ดสด ความชืน้ 30% ผลผลิตในพืน้ ทีร่ าบเก็บ เกีย่ วหมดแล้ว คงเหลือในพืน้ ทีเ่ ขาประมาณ 30% โดยจะเก็บเกีย่ วแล้วเสร็จในเดือน ม.ค. - ก.พ. 2562 พืชอื่นที่เพาะปลูกในพื้นที่ ได้แก่ ข้าว ยางพารา กระเทียม ล�ำไย ถั่วแระ มันฝรั่ง กล้วย และ สับปะรด เล็กน้อย ราคารับซือ้ อยูท่ ี่ 8.00 - 8.50 บาท/กก. เมล็ดแห้ง ความชืน้ 14.50 ซึง่ สูงกว่าปีทแี่ ล้ว ประมาณ 2 บาท และจากการสอบถามข้อมูลจากสหกรณ์การเกษตรให้ขอ้ มูลว่า เกษตรกรในพืน้ ทีป่ ลูก ข้าวโพดนาค่อนข้างน้อย ซึ่งตรงกับข้อมูลที่ได้รับจากส�ำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เกษตรกรให้ความ สนใจเข้าร่วมโครงการสานพลังประชารัฐเพือ่ สนับสนุนการปลูกข้าวโพดเลีย้ งสัตว์หลังฤดูทำ� นาเพียง 9,377 ไร่ จากเป้าหมาย 118,936 ไร่

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 35 เล่มที่ 183 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2561

75


Around The World

จังหวัดลำ�ปาง แหล่งข้อมูล : สหกรณ์การเกษตรล�ำปาง อ.แม่ทะ จ.ล�ำปาง คุณเจ โทร. 090 - 8911432 บจก.นอร์ทเทอร์นสยามซีดแลค อ.แม่ทะ จ.ล�ำปาง คุณชัยญา โทร. 088 - 7898791 ฤดูกาลผลิต ปี 2560 / 2561 ปี 2561 / 2562 เพิ่ม / ลด (%)

พื้นที่เพาะปลูก (ไร่) 163,669 175,126 7.00%

ผลผลิตต่อไร่ (กก.) 660 693 5.00%

ผลผลิตรวม (ตัน) 108,022 121,362 12.35%

สภาพทั่วไป พืน้ ทีเ่ พาะปลูกในปี 2561/2562 เพิม่ ขึน้ 7% จากเดิม 163,669 ไร่ เป็น 175,126 ไร่ เนือ่ งจาก ราคาข้าวโพดในปีนี้ค่อนข้างสูงจูงใจให้เกษตรกรเพาะปลูกข้าวโพดเพิ่มมากขึ้น เกษตรกรบางส่วน เปลี่ยนพื้นที่มันส�ำปะหลังมาปลูกข้าวโพดแทน และจากนโยบายการสนับสนุนให้ปลูกข้าวโพดหลังนา ท�ำให้เกษตรกรให้ความสนใจหันมาปลูกเพิม่ ขึน้ แหล่งน�ำ้ ทีใ่ ช้ในการเพาะปลูกเป็นแหล่งน�ำ้ จากธรรมชาติ เนื่องจากพื้นที่อยู่นอกเขตชลประทาน ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ เพิ่มขึ้น 5% จากเดิม 660 กก./ไร่ เป็น 693 กก./ไร่เมล็ดแห้ง เนื่องจาก ปริมาณน�ำ้ ฝนทีม่ ากเพียงพอต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าวโพด และไม่กระทบแล้ง เมล็ดพันธุท์ ใี่ ช้ ได้แก่ ซีพี แปซิฟิค เอ็นเค และซินเจนทา ผลผลิตเฉลี่ยอยู่ที่ 900 - 1,000 กก./ไร่ เมล็ดสด ความชื้น 30% ผลผลิตในพืน้ ทีร่ าบเก็บเกีย่ วหมดแล้ว คงเหลือในพืน้ ทีเ่ ขาประมาณ 30% โดยจะเก็บแล้วแล้วเสร็จในเดือน ม.ค. - ก.พ. 2562

76 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 35 เล่มที่ 183 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2561


Around The World พืชอืน่ ทีเ่ พาะปลูกในพืน้ ที่ ได้แก่ ข้าว มันส�ำปะหลัง ยางพารา และปาล์ม ส�ำหรับราคารับซือ้ อยูท่ ี่ 8.90 บาท/กก. เมล็ดแห้ง ความชื้น 14.50 ซึ่งสูงกว่าปีที่แล้วประมาณ 1.00 - 1.50 บาท นอกจากนี้ สหกรณ์การเกษตรเพื่อการตลาด อ.แม่ทะ มีการสนับสนุนให้เกษตรกรน�ำผลผลิตมาขายหากความชื้น ไม่เกิน 30 จะมีบวกเพิม่ ให้อกี 10 สตางค์/กก. และเกษตรกรทีใ่ ช้เมล็ดพันธุจ์ าก ซีพี จะได้บวกเพิม่ จาก ซีพีอีก 10 สตางค์ เป็นการจูงใจให้เกษตรกรเลือกใช้เมล็ดพันธุ์ที่ได้คุณภาพ และดูแลต้นข้าวโพดให้ได้ คุณภาพก่อนจะน�ำมาขาย ตารางสำ�รวจพื้นที่เพาะปลูกและผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ฤดูการผลิตปี 2561/2562 โดย สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

ที่

จังหวัด

1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22

สระแก้ว นครราชสีมา เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ พิษณุโลก อุตรดิตถ์ ตาก แพร่ น่าน พะเยา เชียงราย ล�ำปาง จันทบุรี เลย ลพบุรี เชียงใหม่ ล�ำพูน อุทัยธานี ก�ำแพงเพชร แม่ฮ่องสอน สุโขทัย พิจิตร

พื้นที่ปลูก (ไร่) ปี 60/61 ปี 61/62 117,926 126,180 792,935 808,793 799,784 799,784 261,713 268,424 257,963 255,383 169,267 172,652 649,637 630,148 270,265 283,778 768,175 783,538 210,453 209,400 375,875 368,357 163,669 175,126 36,653 37,459 571,869 570,725 231,453 229,370 157,755 156,493 89,320 88,070 128,151 126,613 65,769 66,164 50,039 54,543 80,952 82,409 17,205 17,222

เพิ่ม/ลด 7.0% 2.0% 0.0% 2.5%  - 1.0% 2.0%  - 3.0% 5.0% 2.0%  - 0.5%  - 2.0% 7.0% 2.2%  - 0.2%  - 0.9%  - 0.8%  - 1.4%  - 1.2% 0.6% 9.0% 1.8% 0.1%

ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ (กิโลกรัม) ปี 60/61 ปี 61/62 เพิ่ม/ลด 631 694 10.0% 748 755 1.0% 821 829 1.0% 685 719 5.0% 751 751 0.0% 691 705 2.0% 742 705  - 5.0% 700 770 10.0% 715 775 8.4% 714 750 5.0% 702 737 5.0% 660 693 5.0% 600 601 0.2% 633 637 0.6% 819 829 1.2% 713 718 0.7% 677 688 1.6% 780 790 1.3% 687 705 2.6% 618 623 0.8% 629 638 1.5% 685 697 1.7%

ผลผลิตรวม (ตัน) ปี 60/61 ปี 61/62 เพิ่ม/ลด 74,411 87,569 17.7% 593,115 610,639 3.0% 656,622 663,021 1.0% 179,216 192,997 7.7% 193,731 191,793  - 1.0% 116,963 121,720 4.1% 482,030 444,254  - 7.8% 189,186 218,509 15.5% 549,245 607,242 10.6% 150,263 157,050 4.5% 263,864 271,479 2.9% 108,022 121,362 12.4% 21,992 22,521 2.4% 361,993 363,437 0.4% 189,684 190,108 0.2% 112,542 112,372  - 0.2% 60,495 60,577 0.1% 99,922 100,042 0.1% 45,193 46,636 3.2% 30,931 33,977 9.8% 50,935 52,613 3.3% 11,784 11,998 1.8%

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 35 เล่มที่ 183 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2561

77


Around The World พื้นที่ปลูก (ไร่) ปี 60/61 ปี 61/62 23 สระบุรี 166,088 165,756 24 ชัยนาท 2,860 2,940 25 สุพรรณบุรี 47,508 47,365 26 กาญจนบุรี 84,805 84,975 27 ราชบุรี 3,107 3,004 28 เพชรบุรี 5,463 5,354 29 ประจวบฯ 526 507 30 ชัยภูมิ 106,496 105,325 31 หนองบัวล�ำภู 28,900 28,582 32 อุดรธานี 11,504 10,952 33 หนองคาย 601 594 34 อุบลราชธานี 5,346 5,212 35 ศรีสะเกษ 5,572 5,394 36 ขอนแก่น 14,659 14,410 37 ปราจีนบุรี 12,314 12,597 38 ฉะเชิงเทรา 1,411 1,531 39 ชลบุรี 859 859 รวม 6,764,847 6,805,987 ที่

จังหวัด

เพิ่ม/ลด  - 0.2% 2.8%  - 0.3% 0.2%  - 3.3%  - 2.0%  - 3.6%  - 1.1%  - 1.1%  - 4.8%  - 1.2%  - 2.5%  - 3.2%  - 1.7% 2.3% 8.5% 0.0% 0.6%

ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ (กิโลกรัม) ผลผลิตรวม (ตัน) ปี 60/61 ปี 61/62 เพิ่ม/ลด ปี 60/61 ปี 61/62 เพิ่ม/ลด 667 673 0.9% 110,794 111,554 0.7% 624 636 1.9% 1,785 1,869 4.7% 711 715 0.5% 33,795 33,845 0.1% 706 706 0.0% 59,869 59,992 0.2% 598 606 1.3% 1,858 1,820  - 2.0% 618 625 1.2% 3,375 3,348  - 0.8% 600 608 1.4% 316 308  - 2.4% 531 536 1.0% 56,601 56,487  - 0.2% 683 699 2.4% 19,747 19,990 1.2% 532 540 1.5% 5,877 5,914 0.6% 542 544 0.3% 325 323  - 0.7% 760 770 1.3% 4,064 4,013  - 1.3% 732 739 0.9% 4,078 3,984  - 2.3% 623 635 1.9% 9,136 9,148 0.1% 588 590 0.3% 7,237 7,429 2.7% 591 592 0.2% 834 907 8.7% 682 682 0.0% 586 586 0.0% 718.78 735.15 2.3% 4,862,416 5,003,432 2.9%

หมายเหตุ : ล�ำดับที่ 1 - 12 เป็นจังหวัดที่อยู่ในเขตพื้นที่ส�ำรวจของทางสมาคมฯ ล�ำดับที่ 13 - 39 เป็นจังหวัดที่อยู่นอกเขตพื้นที่ส�ำรวจของทางสมาคมฯ

สรุปภาพรวมสถานการณ์เพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ฤดูการเพาะปลูก 2561/2562 ภายใต้ การลงพื้นที่ส�ำรวจของสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย ที่ได้ด�ำเนินการส�ำรวจพื้นที่ทั้งสิ้น 4 ครั้ง ในเขต พืน้ ทีจ่ งั หวัด สระแก้ว - นครราชสีมา - เพชรบูรณ์ - นครสวรรค์ - พิษณุโลก - อุตรดิตถ์ - ตาก - แพร่ - น่าน -  พะเยา - เชียงราย และล�ำปาง ผลการส�ำรวจพบว่าพื้นที่เพาะปลูกทั้งประเทศเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา 6,764,847 ไร่ เป็น 6,805,987 ไร่ คิดเป็น 0.6% สาเหตุมาจากราคาในปี 2561/2562 ค่อนข้าง สูง เป็นแรงจูงใจให้เกษตรกรเพาะปลูกข้าวโพดเพิ่มมากขึ้น และการจัดสรรพื้นที่ท�ำกินในพื้นที่เขาให้มี ความชัดเจนมากยิ่งขึ้น อีกทั้งเกษตรกรน�ำพื้นที่เดิมที่ปล่อยว่างในปีที่แล้วกลับมาเพาะปลูกข้าวโพด เพิ่มขึ้น ส่งผลให้พื้นที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้นเล็กน้อย แม้ว่าในบางพื้นที่ เช่น อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย พื้นที่ ลดลงเนื่องจากมีการยึดคืนพื้นที่ป่าบางส่วน

78 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 35 เล่มที่ 183 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2561


Around The World ส�ำหรับผลผลิตรวมเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา 718.78 กก./ไร่ เป็น 735.15 กก./ไร่ คิดเป็น 2.3% โดยมีสาเหตุจากสภาพดินฟ้าอากาศทีเ่ อือ้ อ�ำนวยต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าวโพด และไม่กระทบแล้ง เหมือนปีที่ผ่านมา รวมถึงเกษตรกรได้รับความรู้ในการเลือกใช้เมล็ดพันธุ์ที่เหมาะสมกับพื้นที่ และการ บ�ำรุงรักษาต้นข้าวโพดอย่างถูกวิธี ส่งผลให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพและมีปริมาณเพิ่มมากขึ้น ทัง้ นี้ สมาคมฯ ได้คาดการณ์ปริมาณผลผลิตรวมในฤดูกาลผลิตปี 2561/2562 เพิม่ ขึน้ จากปีทแี่ ล้ว 4,862,416 ตัน เป็น 5,003,432 ตัน คิดเป็น 2.9% โดยข้อมูลการประเมินแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ 1. พื้นที่ที่สมาคมฯ ลงพื้นที่เก็บข้อมูล 2. พื้นที่ประเมินจากการวิเคราะห์ข้อมูลของส�ำนักงาน เศรษฐกิจการเกษตร นอกจากนี้ สมาคมฯ ยังคาดว่าพืน้ ทีเ่ พาะปลูก และผลผลิตต่อไร่สำ� หรับข้าวโพดนา จะเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน เนื่องจากราคาในปีเพาะปลูก 2560/2561 จูงใจให้ เกษตรกรให้ความสนใจ อีกทั้งโครงการสานพลังประชารัฐเพื่อสนับสนุนให้ ปลูกข้าวโพดหลังฤดูท�ำนา ซึ่งภาครัฐให้การสนับสนุนเงินกู้ดอกเบี้ยต�่ำ เพียง 0.01% ผ่านทาง ธ.ก.ส และมีการประกันภัยความเสี่ยงจาก การปลู ก ข้ า วโพดเสี ย หาย โดยรั ฐ จะรั บ ผิดชอบค่าใช้จา่ ยในส่วนของเบีย้ ประกันไร่ละ 65 บาท วงเงินประกันชดเชยไร่ละ 1,500 บาท สรุปโดย นางสาวกรดา พูลพิเศษ

สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 35 เล่มที่ 183 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2561

79


ขอขอบคุณบริษัทที่ให้ความสนับสนุน และความร่วมมือในการจัดทำ�วารสารธุรกิจอาหารสัตว์ 1 บริษัท เบทาโกร จ�ำกัด (มหาชน) 2 บริษัท ซี พี เอฟ (ประเทศไทย) จ�ำกัด (มหาชน) สมุทรปราการ 3 บริษัท กรุงไทยอาหาร จ�ำกัด (มหาชน) 4 บริษัท ทีเอฟเอ็มเอส จ�ำกัด 5 บริษัท ลีพัฒนาผลิตภัณฑ์ จ�ำกัด (มหาชน) 6 บริษัท ซี พี เอฟ (ประเทศไทย) จ�ำกัด (มหาชน) สระบุรี 7 บริษัท ท็อป ฟีด มิลล์ จ�ำกัด 8 บริษัท แลบอินเตอร์ จ�ำกัด 9 บริษัท ฮูเวฟาร์มา (ประเทศไทย) จ�ำกัด 10 บริษัท เชฟเฟิร์ด เทค คอนซัลแตนซี่ ไพรเวท จ�ำกัด 11 บริษัท เออร์เบอร์ ไบโอเทค (ประเทศไทย) จ�ำกัด 12 บริษัท เกษตรภัณฑ์อุตสาหกรรม จ�ำกัด 13 บริษัท ยูนีโกรอินเตอร์เนชั่นแนล จ�ำกัด 14 บริษัท อดิสสิโอ เทรดดิ้ง (ประเทศไทย) จ�ำกัด 15 บริษัท ไฟโตไบโอติกส์ (ประเทศไทย) จ�ำกัด 16 บริษัท พรีเมียร์ เทค โครโนส จ�ำกัด 17 บริษัท วี เอ็น ยู เอ็กซิบิชั่น เอเซีย แปซิฟิค จ�ำกัด 18 ลา เมคคานิค่า เอส อาร์ แอล ดิเรฟโฟ 19 บริษัท เออีซี อินโนเวเทค จ�ำกัด

โทร. 0-2833-8000 โทร. 0-2680-4580 โทร. 0-2473-8000 โทร. 0-2814-3480 โทร. 0-2632-7232 โทร. 0-2680-4500 โทร. 0-2194-5678-96 โทร. 0-3488-6140-48 โทร. 0-2937-4355 โทร. 09-2089-1601 โทร. 0-2993-7500 โทร. 0-2817-6410 โทร. 0-3430-5101-3 โทร. 0-2681-1329 โทร. 0-2694-2498 โทร. 0-2740-5001 โทร. 0-2670-0900 ต่อ 122 โทร. 098-248-9771 โทร. 061-619-7471




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.