วารสารธุรกิจอาหารสัตว์ เล่มที่ 188

Page 1


ของรางวัล มูลคากวา

18 ลานบาท อาทิ

สแกน คิวอารโคด บนคูปอง แลวกรอกขอมูล (สงฟรี) สงรหัสชิงโชคมาที่ SMS หมายเลข 4141234 (คาบริการครั้งละ 3 บาท)

รหัสชิงโชค xxxxxxxxxx สงรหัสชิงโชคมาที่ SMS หมายเลข 4141234

วิธีที่

หยอนลงกลองรับชิ้นสวน ณ รานคาที่รวมรายการ

4

สงคูปองมาที่ตู ปณ.8 ปณ.หลักสี่ กรุงเทพ 10210


รายนามสมาชิก สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8. 9. 10. 11. 12. 13. 14. 15. 16. 17. 18. 19. 20. 21. 22. 23. 24. 25. 26. 27.

บริษัท เบทาโกร โฮลดิ้ง จ�ำกัด บริษัท แหลมทองสหการ จ�ำกัด บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารเซ็นทรัล จ�ำกัด บริษัท ป.เจริญพันธ์อาหารสัตว์ จ�ำกัด บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จ�ำกัด (มหาชน) บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จ�ำกัด (มหาชน) บริษัท กรุงไทยอาหาร จ�ำกัด (มหาชน) บริษัท ลีพัฒนาผลิตภัณฑ์ จ�ำกัด (มหาชน) บริษัท คาร์กิลล์สยาม จ�ำกัด บริษัท ลีพัฒนาอาหารสัตว์ จ�ำกัด บริษัท ฟีดสเปเชียลตี้ จ�ำกัด บริษัท โกรเบสท์คอร์โพเรชั่น จ�ำกัด บริษัท เอเชี่ยน ฟีด จ�ำกัด บริษัท ไทยลักซ์เอ็นเตอร์ไพรส์ (ประเทศไทย) จ�ำกัด บริษัท ทีเอฟเอ็มเอส (สระบุรี) จ�ำกัด บริษัท เบทาโกร จ�ำกัด (มหาชน) บริษัท ท็อป ฟีด มิลล์ จ�ำกัด บริษัท คาร์กิลล์มีทส์ (ไทยแลนด์) จ�ำกัด บริษัท ยูไนเต็ดฟีดมิลล์ จ�ำกัด บริษัท มิตรภาพอาหารสัตว์ จ�ำกัด บริษัท เหรียญทอง ฟีด (1992) จ�ำกัด บริษัท แหลมทองเกษตรภัณฑ์ จ�ำกัด บริษัท ทีเอฟเอ็มเอส จ�ำกัด บริษัท เอส พี เอ็ม อาหารสัตว์ จ�ำกัด บริษัท อีสเทิร์น ฟีดมิลล์ จ�ำกัด บริษัท ซันฟีด จ�ำกัด บริษัท ยูนีโกร อินเตอร์เนชั่นแนล จ�ำกัด

28. 29. 30. 31. 32. 33. 34. 35. 36. 37. 38. 39. 40. 41. 42. 43. 44. 45. 46. 47. 48. 49. 50. 51. 52. 53. 54.

บริษัท พนัสโภคภัณฑ์ จ�ำกัด บริษัท ยู่สูง จ�ำกัด บริษัท แหลมทองอะควอเทค จ�ำกัด บริษัท บางกอกแร้นซ์ จ�ำกัด (มหาชน) บริษัท กาญจนาอาหารสัตว์ จ�ำกัด บริษัท ก้าวหน้าอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ จ�ำกัด บริษัท กรุงเทพโปรดิ๊วส จ�ำกัด (มหาชน) บริษัท วี.ซี.เอฟ. กรุ๊ป จ�ำกัด บริษัท ชัยภูมิฟาร์มผลิตภัณฑ์การเกษตร จ�ำกัด บริษัท ไทยยูเนี่ยน ฟีดมิลล์ จ�ำกัด บริษัท อินเทคค์ ฟีด จ�ำกัด บริษัท บุญพิศาล จ�ำกัด บริษัท เฮกซ่าแคลไซเนชั่น จ�ำกัด บริษัท หนองบัว ฟีด มิลล์ จ�ำกัด บริษัท ไทย ฟู้ดส์ อาหารสัตว์ จ�ำกัด บริษัท โกลด์ คอยน์ สเปเชียลิตี้ส์ (ประเทศไทย) จ�ำกัด บริษัท วีพีเอฟ กรุ๊ป (1973) จ�ำกัด บริษัท อาร์ที อะกริเทค จ�ำกัด บริษัท ฟาร์มจงเจริญ จ�ำกัด บริษัท เจบีเอฟ จ�ำกัด บริษัท อินเว (ประเทศไทย) จ�ำกัด บริษัท ทีอาร์เอฟ ฟีดมิลล์ จ�ำกัด บริษัท บีอาร์เอฟ ฟีด (ไทยแลนด์) จ�ำกัด บริษัท เกษมชัยฟาร์มอาหารสัตว์ จ�ำกัด บริษัท พนัส ฟีดมิลล์ จ�ำกัด บริษัท เอพีเอ็ม อะโกร จ�ำกัด บริษัท แสงทองอาหารสัตว์ จ�ำกัด

อภินันทนาการ


คณะกรรมการบริหาร สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย ประจ�ำปี 2562-2563

1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8. 9. 10. 11. 12. 13. 14. 15. 16.

นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล นายชยานนท์ กฤตยาเชวง นายประจักษ์ ธีระกุลพิศุทธิ์ นายไพศาล เครือวงศ์วานิช นางเบญจพร สังหิตกุล นายบุญธรรม อร่ามศิริวัฒน์ น.ส. สุวรรณี แต้ไพสิฐพงษ์ นายสมภพ เอื้อทรงธรรม นายโดม มีกุล นายวิโรจน์ กอเจริญรัตน์ นายเธียรเทพ ศิริชยาพร นายสุจิน ศิริมงคลเกษม น.ส. รติพันธ์ หิตะพันธ์ นายสุทธิชัย ศักดิ์ชัยเจริญกุล นายจ�ำลอง เติมกลิ่นจันทน์ นายพน สุเชาว์วณิช

นายกสมาคม อุปนายก อุปนายก อุปนายก เหรัญญิก เลขาธิการ รองเลขาธิการ รองเลขาธิการ ประชาสัมพันธ์ ปฏิคม นายทะเบียน กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ

บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จ�ำกัด (มหาชน) บริษัท เบทาโกร จ�ำกัด (มหาชน) บริษัท ป. เจริญพันธ์อาหารสัตว์ จ�ำกัด บริษัท กรุงเทพโปรดิ๊วส จ�ำกัด (มหาชน) บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จ�ำกัด (มหาชน) บริษัท ลีพัฒนาผลิตภัณฑ์ จ�ำกัด (มหาชน) บริษัท เบทาโกรโฮลดิ้ง จ�ำกัด บริษัท อินเทคค์ ฟีด จ�ำกัด บริษัท ทีเอฟเอ็มเอส (สระบุรี) จ�ำกัด บริษัท ลีพัฒนาอาหารสัตว์ จ�ำกัด บริษัท ทีเอฟเอ็มเอส จ�ำกัด บริษัท กรุงไทยอาหาร จ�ำกัด (มหาชน) บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารเซ็นทรัล จ�ำกัด บริษัท ท็อป ฟีด มิลล์ จ�ำกัด บริษัท ซันฟีด จ�ำกัด บริษัท บางกอกแร้นช์ จ�ำกัด (มหาชน)


บรรณาธิการแถลง จากรายงานภาวะเศรษฐกิจการเกษตรโดยส�ำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตร และสหกรณ์ ได้รายงานไตรมาสที่ 2 ปี 2562 ว่า ดัชนี ผลผลิต สินค้าเกษตร ไตรมาส 2 ปี 2562 เทียบปี 2561 ช่วงเวลาเดียวกัน ลดลงร้อยละ 1.6 ขณะที่ดัชนีราคา เพิ่มขึ้น ร้อยละ 2 ดัชนี หมวดปศุสัตว์ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.9 ราคา เพิ่มขึ้น ร้อยละ 12.8 หมวดประมง ผลผลิตเพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.7 ราคา เพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.8 และมองแนวโน้มภาวะเศรษฐกิจการเกษตรปี 2562 ไว้ว่า จะขยายตัวอยูใ่ นช่วง ร้อยละ 1.3 - 2.3 เมือ่ เทียบปี 2561 โดยทุกสาขาการผลิต ขยายตัวได้เนือ่ งจาก การผลิตพืชเศรษฐกิจส�ำคัญหลายชนิดมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น รวมทั้งสินค้าปศุสัตว์และการท�ำประมง ที่ดีขึ้น แต่ก็ยังต้องติดตามปัจจัยด้านสภาพอากาศร้อนและภาวะฝนทิ้งช่วงในช่วงครึ่งหลังของปี ซึง่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มกี ารติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชดิ เพือ่ ด�ำเนินการแก้ไขปัญหา และบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่เกษตรกร นอกจากนี้ ยังต้องติดตามเกาะติดสถานการณ์ ASF ที่ขยับใกล้เข้ามาอย่างมาก ทุกฝ่ายต้อง ร่วมมือกันให้ความรู้ มีความตืน่ ตัวในการเฝ้าระวัง และหามาตรการป้องกันอย่างรัดกุม อย่าให้ผดิ พลาด แม้แต่จุดเดียว เพราะโรค ASF รุนแรง ไม่มีทางรักษา จึงต้องป้องกันและถ้าปศุสัตว์ไทย ปลอดภัย จะเป็นประโยชน์อย่างมาก ท�ำให้เศรษฐกิจทั้งประเทศไปได้ด้วยดี ภาคไก่ส่งออกไทย ก็ได้เป็นตัวอย่างที่ดี ในการจัดการวางแผนการเลี้ยงอย่างเป็นระบบ จึงส่งผล ให้เป็นทีต่ อ้ งการของตลาดทัว่ โลก และประเทศไทยก็ปลอดโรคไข้หวัดนก จึงต้องร่วมมือกันรักษาไว้ให้ดี หน่วยราชการโดยกรมปศุสัตว์ก็มีมาตรการควบคุมดูแลและเฝ้าระวัง สารตกค้าง มีกฎระเบียบที่ต้อง ท�ำตามมาตรฐานสากล เพื่อสร้างความมั่นใจแก่ตลาดผู้บริโภคทั้งในประเทศและตลาดต่างประเทศ ที่จะสั่งซื้อสินค้าปศุสัตว์จากไทย และมีการวางแผนการจัดการที่ถูกต้องเป็นที่เชื่อถือ ซึ่งนับว่าทุกฝ่าย ร่วมมือกันอย่างดีแล้ว โอกาสที่เศรษฐกิจไทยจะยั่งยืนตลอดไป ท�ำให้ห่วงโซ่อาหารแข็งแรง จากต้นทาง สู่ปลายทางผู้บริโภคอย่างสมบูรณ์และยั่งยืน บก.


วารสาร

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36  เล่มที่ 188  ประจำ�เดือน กันยายน - ตุลาคม 2562 วัตถุประสงค์ 1. เพื่อส่งเสริมความรู้และเผยแพร่อุตสาหกรรมอาหารสัตว์และการปศุสัตว์ 2. เพื่อเป็นสื่อกลางระหว่างสมาชิกและผู้ที่เกี่ยวข้องทั่วไป 3. เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารสัตว์และการปศุสัตว์ของประเทศให้เจริญรุ่งเรืองในแนวทาง ที่เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของชาติ 4. ไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง

Contents Thailand Focus รายงานภาวะเศรษฐกิจการเกษตรไตรมาส 2 ปี 2562 และแนวโน้มปี 2562

5

แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรม ปี 2561-63 อุตสาหกรรมไก่แช่แข็งและแปรรูป

16

Food Feed Fuel ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 2562 (ปีเพาะปลูก 2562/63)

25

ถั่วเหลือง ปี 2562 (ปีเพาะปลูก 2562/63)

28

มันส�ำปะหลังโรงงาน ปี 2563 (ปีเพาะปลูก 2562/63)

31

Market Leader เกาะติดสถานการณ์ ASF

34

สั่งปศุสัตว์ทุกจังหวัดป้อง ‘อหิวาต์หมู’ เข้ม ชู ‘เชียงราย’ ท�ำรัดกุมรับซื้อหมูในรัศมีเสี่ยงเกลี้ยง!

39

จีน พอใจผลตรวจโรงงานไก่แช่แข็งไทย

41

Around the World รายงานการส�ำรวจวัตถุดิบข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ครัง้ ที่ 2/2562

43

การศึกษาย้อนหลังผลการตรวจสารตกค้างในสินค้าปศุสัตว์ ระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๕๘-๒๕๖๐

50

การส�ำรวจฟิโปรนิล สารมลพิษที่ตกค้างยาวนาน และไดออกซินในไข่ ในประเทศไทยปี ๒๕๖๐

66

ประกาศกรมปศุสัตว์ เรื่อง ชะลอการน�ำเข้าหรือน�ำผ่านราชอาณาจักรซึ่งสุกร หมูป่า หรือซากสุกร ซากหมูป่า จากสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ พ.ศ. ๒๕๖๒

79

ขอบคุณ

80

ด�ำเนินการโดย : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ ไทย     ประธานกรรมการที่ปรึกษา : นายประเสริฐ พุ่งกุมาร    รองประธานกรรมการที่ปรึกษา : นายวีรชัย รัตนบานชื่น  นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล     กรรมการที่ปรึกษา : นายสมชาย กังสมุทร  นายพงษ์ เหล่าวรวิทย์  นายประสิทธิ์ ศิริมงคลเกษม  นายอดิเรก ศรีประทักษ์  นายนิพนธ์ ลีละศิธร นางเบญจพร สังหิตกุล  นายณรงค์ชัย ศรีสันติแสง  นายบุญธรรม อร่ามศิริวัฒน์  นายประจักษ์ ธีระกุลพิศุทธิ ์    บรรณาธิการ : นายปรีชา กันทรากรกิต ิ    กองบรรณาธิการ : นายไพบูลย์ ขุนทอง  นายอรรถพล ชินภูวดล  นางสาวดวงกมล รัชชะกิตติ นางสาวกรดา พูลพิเศษ   ส�ำนักงาน : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ ไทย 43 ไทย ซีซี ทาวเวอร์ ห้อง 170 ชั้น 17 ถนนสาทรใต้ ยานนาวา สาทร กรุงเทพฯ 10120 โทรศัพท์ 0-2675-6263-4   โทรสาร 0-2675-6265   Email: tfma44@yahoo.com   Website: www.thaifeedmill.com 



ระบบมาตรฐานที่ได้รับการรับรอง

GMP / HACCP

ISO 9001 : 2015 / ISO 14001 : 2015


Thailand Focus

รายงานภาวะเศรษฐกิจการเกษตร ไตรมาส 2 ปี 2562 และแนวโน้มปี 2562 ■ ภาวะเศรษฐกิจการเกษตรไตรมาส 2 ปี 2562 ■ ส�ำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ได้วิเคราะห์และประมาณการภาวะเศรษฐกิจการเกษตร ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2562 (เดือนเมษายน - มิถุนายน 2562) เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของ ปี 2561 โดยมีรายละเอียดดังนี้

1. เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจการเกษตร 1.1 ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรและดัชนีราคาทีเ่ กษตรกรขายได้ ในช่วงเดือนเมษายน - มิถนุ ายน 2562 ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรเฉลีย่ อยูท่ รี่ ะดับ 111.7 ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2561 ซึง่ อยูท่ รี่ ะดับ 113.5 หรือลดลงร้อยละ 1.6 ขณะที่ดัชนีราคาสินค้าเกษตรที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 132.7 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ซึ่งเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 130.1 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตร (ปี ฐาน 2548)

ดัชนีราคาที่เกษตรกรขายได้

ที่มา: ศูนย์ปฏิบัติการเศรษฐกิจการเกษตร ส�ำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

1.2 ดัชนีผลผลิตหมวดพืชผล และดัชนีราคาหมวดพืชผลที่เกษตรกรขายได้ ในช่วงเดือน เมษายน - มิถุนายน 2562 ดัชนีผลผลิตหมวดพืชผลเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 100.1 ลดลงร้อยละ 3.3 จาก ช่วงเดียวกันของปี 2561 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 103.4 ขณะที่ดัชนีราคาหมวดพืชผลที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 135.2 ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2561 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 136.4 หรือลดลงร้อยละ 0.9

ที่มา : สำ�นักงานเศรษฐกิจการเกษตร ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 188 กันยายน - ตุลาคม 2562

5


Thailand Focus

ดัชนีผลผลิตหมวดพืชผล (ปี ฐาน 2548)

ดัชนีราคาหมวดพืชผล

ที่มา: ศูนย์ปฏิบัติการเศรษฐกิจการเกษตร ส�ำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

1.3 ดัชนีผลผลิตหมวดปศุสัตว์ และดัชนีราคาหมวดปศุสัตว์ที่เกษตรกรขายได้ ในช่วงเดือน เมษายน - มิถุนายน 2562 ดัชนีผลผลิตหมวดปศุสัตว์เฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 168.5 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 จาก ช่วงเดียวกันของปี 2561 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 165.3 ขณะที่ดัชนีราคาหมวดปศุสัตว์ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ย อยู่ที่ระดับ 129.0 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2561 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 114.3 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.8 ดัชนีผลผลิตหมวดปศุสัตว์ (ปี ฐาน 2548)

ดัชนีราคาหมวดปศุสัตว์

ที่มา: ศูนย์ปฏิบัติการเศรษฐกิจการเกษตร ส�ำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

1.4 ดัชนีผลผลิตหมวดประมง และดัชนีราคาหมวดประมงที่เกษตรกรขายได้ ในช่วงเดือน เมษายน - มิถุนายน 2562 ดัชนีผลผลิตหมวดประมงเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 76.9 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 จาก ช่วงเดียวกันของปี 2561 ซึ่งเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 74.9 ขณะที่ดัชนีราคาหมวดประมงที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 116.6 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ซึ่งเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 112.4 หรือเพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.8 ดัชนีผลผลิตหมวดประมง (ปี ฐาน 2548)

ที่มา: ศูนย์ปฏิบัติการเศรษฐกิจการเกษตร ส�ำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

6

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 188 กันยายน - ตุลาคม 2562

ดัชนีราคาหมวดประมง


ภาวะเศรษฐกิจการเกษตรในไตรมาส 2 ปี 2562 หดตัวร้อยละ 1.0 เมือ่ เทียบกับช่วงเดียว กันของปี 2561 โดยภาวะเศรษฐกิจการเกษตร ในไตรมาสนี้ ห ดตั ว ลง เนื่ อ งจากสาขาพื ช ซึ่ ง มี สัดส่วนมูลค่าการผลิตสูงสุดในภาคเกษตรหดตัว ลงเป็นหลัก โดยเป็นผลจากสภาพอากาศทีร่ อ้ นจัด และแห้งแล้ง รวมทั้งปริมาณน�้ำที่น้อยกว่าปีที่ ผ่านมา ท�ำให้มีการปรับเปลี่ยนการเพาะปลูกพืช ขณะที่สาขาปศุสัตว์ สาขาประมง สาขาบริการ ทางการเกษตร และสาขาป่าไม้ ยังคงขยายตัว เพิ่มขึ้น การผลิตพืชเศรษฐกิจส�ำคัญมีผลผลิตลด ลง ทั้งผลผลิตข้าวนาปี ข้าวนาปรัง อ้อยโรงงาน สับปะรดโรงงาน และล�ำไย โดยเฉพาะข้าวนาปรัง ซึ่ ง เป็ น พื ช หลั ก ในไตรมาสนี้ มี ผ ลผลิ ต ลดลง มาก โดยมี พื้ น ที่ เ พาะปลู ก และผลผลิ ต ต่ อ ไร่ ลดลงเนื่องจากปริมาณน�้ำที่ไม่เพียงพอต่อการ เพาะปลูก รวมทั้งผลผลิตอ้อยโรงงานมีปริมาณ ลดลง และมีการปิดหีบรับซื้อเร็วกว่าปีที่ผ่านมา ขณะที่ยางพารา ปาล์มน�้ำมัน ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันส�ำปะหลัง ทุเรียน มังคุด และเงาะ มีปริมาณ เพิ่มขึ้น ด้านการผลิตสินค้าปศุสัตว์โดยรวมเพิ่ม ขึน้ เนือ่ งจากมีการเพิม่ การผลิตตามความต้องการ ของตลาด รวมทัง้ มีการจัดการฟาร์มทีไ่ ด้มาตรฐาน และการเฝ้าระวังโรคอย่างต่อเนื่อง ส่วนการผลิต สินค้าประมง ผลผลิตกุ้งทะเลเพาะเลี้ยงปรับตัว ดีขึ้น การท�ำประมงทะเลและการเลี้ยงสัตว์น�้ำจืด มีทิศทางเพิ่มขึ้น ส�ำหรับรายละเอียดในแต่ละ สาขา มีดังนี้

Thailand Focus

2. ภาวะเศรษฐกิจการเกษตรไตรมาส 2 ปี 2562

2.1 สาขาพืช ในไตรมาส 2 ปี 2562 หดตัวร้อยละ 2.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ของปีที่ผ่านมา เนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนจัด และสถานการณ์น�้ำในอ่างเก็บน�้ำ และแหล่งน�้ำ ธรรมชาติมีปริมาณน้อยกว่าปีที่ผ่านมา ท�ำให้ ผลผลิตพืชหลักในไตรมาสนี้ลดลง โดยพืชส�ำคัญ ที่มีผลผลิตลดลง ได้แก่ ข้าวนาปี ข้าวนาปรัง อ้อยโรงงาน สับปะรดโรงงาน และล�ำไย โดย ข้าวนาปี มีผลผลิตลดลง เนื่องจากเกษตรกรที่ เพาะปลูกข้าวนาปีภาคใต้ได้เร่งเก็บเกี่ยวผลผลิต ไปตั้งแต่ต้นฤดูเก็บเกี่ยวในช่วงไตรมาสแรก ข้าว นาปรัง ผลผลิตลดลง เนื่องจากปริมาณน�้ำในอ่าง เก็บน�้ำส่วนใหญ่และแหล่งน�้ำธรรมชาติมีปริมาณ น้อยกว่าปีที่แล้ว ประกอบกับภาครัฐมีโครงการ สานพลังประชารัฐเพื่อสนับสนุนการปลูกข้าวโพด หลังฤดูท�ำนา ท�ำให้พื้นที่เพาะปลูกข้าวนาปรัง ลดลง นอกจากนี้ ภาวะภัยแล้งยังท�ำให้เมล็ดข้าว ไม่สมบูรณ์ ส่งผลให้ผลผลิตต่อไร่ลดลง อ้อย โรงงาน มีผลผลิตลดลง เนื่องจากสภาพอากาศ ร้อน และปริมาณน�้ำฝนไม่เพียงพอต่อการเติบโต ของต้นอ้อย ท�ำให้อ้อยมีการเจริญเติบโตได้ไม่ดี เท่าทีค่ วร รวมทัง้ เกษตรกรส่วนใหญ่มกี ารตัดอ้อย ไปในช่วงก่อนหน้าและโรงงานน�ำ้ ตาลมีการปิดหีบ รับซื้ออ้อยเร็วกว่าปีที่ผ่านมา สับปะรดโรงงาน มี ผลผลิตลดลง เนื่องจากตั้งแต่กลางปี 2560 ถึง กลางปี 2561 ราคาสับปะรดที่เกษตรกรขายได้ ลดลงอย่างต่อเนื่อง ท�ำให้เกษตรกรมีการปรับ เปลี่ยนไปปลูกพืชอื่น เช่น มันส�ำปะหลัง อ้อย โรงงาน และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เป็นต้น ล�ำไย มี ผลผลิตลดลง เนื่องจากแหล่งผลิตส�ำคัญมีสภาพ อากาศร้อนจัด และฝนแล้ง ท�ำให้การติดผล และ จ�ำนวนผลต่อช่อลดลง ประกอบกับในบางพื้นที่ ได้รับผลกระทบจากพายุฤดูร้อน ท�ำให้ผลอ่อน ร่วงเสียหาย

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 188 กันยายน - ตุลาคม 2562

7


Thailand Focus

ส� ำ หรั บ พื ช ที่ มี ผ ลผลิ ต เพิ่ ม ขึ้ น ได้ แ ก่ ข้ า วโพดเลี้ ย งสั ต ว์ มั น ส� ำ ปะหลั ง ยางพารา ปาล์ ม น�้ ำ มั น ทุ เ รี ย น มั ง คุ ด และเงาะ โดย ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มีผลผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจาก ผลตอบแทนในปีที่ผ่านมาอยู่ในเกณฑ์ดี จูงใจ ให้เกษตรกรขยายพื้นที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้น และ มีการดูแลที่ดีขึ้น มันส�ำปะหลัง มีผลผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากราคามันส�ำปะหลังที่เกษตรการขายได้ ในปีทผี่ า่ นมาปรับตัวสูงขึน้ รวมทัง้ สภาพอากาศเอือ้ อ�ำนวยต่อการเจริญเติบโตของต้นมันส�ำปะหลัง ยางพารา มีผลผลิตเพิม่ ขึน้ เนือ่ งจากต้นยางพารา ที่ปลูกแทนในพื้นที่พืชไร่ ไม้ผล พื้นที่นา และ ต้ น ยางพาราที่ มี อ ายุ ม ากในปี 2556 มี เ นื้ อ ที่ กรีดได้เพิ่มขึ้น ประกอบกับต้นยางพาราที่กรีดได้ ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุที่ให้ผลผลิตสูง ปาล์ม น�้ำมัน มีผลผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากเนื้อที่ให้ผล เพิ่มขึ้น และส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุที่ให้ผลผลิต สู ง ประกอบกั บ สภาพอากาศเอื้ อ อ� ำ นวยและ ปริมาณน�ำ้ เพียงพอ ส�ำหรับทุเรียน มังคุด และ เงาะ มีผลผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากในช่วงปลายปี 2561 มีสภาพอากาศหนาวเย็นเหมาะสม และ เอื้ออ�ำนวยต่อการออกดอกและติดผล ประกอบ กับราคาผลไม้ยังอยู่ในเกณฑ์ดี จูงใจให้เกษตรกร มีการตัดแต่งกิ่ง และบ�ำรุงต้นให้สมบูรณ์เพิ่มขึ้น ท�ำให้มีผลผลิตเพิ่มขึ้น ด้านราคา สินค้าพืชที่มีราคาเฉลี่ยในช่วง เดือนเมษายน - มิถุนายน 2562 เพิ่มขึ้น ได้แก่ สับปะรดโรงงาน ยางพารา ทุเรียน และเงาะ โดย สับปะรดโรงงาน มีราคาเพิม่ ขึน้ เนือ่ งจากปริมาณ ผลผลิตไม่เพียงพอต่อความต้องการของโรงงาน แปรรูป ยางพารา มีราคาเพิม่ ขึน้ เนือ่ งจากการยาง แห่งประเทศไทย และกลุ่มของสถาบันเกษตรกร และสหกรณ์มีมาตรการรับซื้อยางพาราในราคา

8

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 188 กันยายน - ตุลาคม 2562

น�ำตลาด ส่งผลให้เกิดการแข่งขันทางด้านราคา มากขึ้น รวมถึงการด�ำเนินนโยบายส่งเสริมการ ใช้ยางในประเทศของภาครัฐ ท�ำให้ราคายางปรับ ตัวดีขึ้น ทุเรียน มีราคาเพิ่มขึ้น เนื่องจากปริมาณ ผลผลิตทีอ่ อกสูต่ ลาดไม่เพียงพอกับความต้องการ ของตลาดทั้งใน และต่างประเทศที่มีอยู่อย่างต่อ เนื่อง ประกอบกับเกษตรกรมีการบริหารจัดการ ควบคุมคุณภาพทุเรียนให้ได้มาตรฐานตามความ ต้องการตลาด และเงาะ มีราคาเพิม่ ขึ้น เนื่องจาก ผลผลิตมีคุณภาพมากขึ้น จึงเป็นที่ต้องการของ ตลาด ประกอบกับมีการบริหารจัดการให้ผลผลิต ทยอยออกสู ่ ต ลาด และกระจายผลผลิ ต ไปยั ง ตลาดต่างๆ ได้มากขึ้น สิ น ค้ า พื ช ที่ มี ร าคาเฉลี่ ย ในช่ ว งเดื อ น เมษายน - มิถุนายน 2562 ลดลง ได้แก่ ข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันส�ำปะหลัง อ้อยโรงงาน ปาล์มน�้ำมัน ล�ำไย และมังคุด โดยข้าว มีราคา ลดลง เนื่องจากความต้องการของตลาดต่าง ประเทศลดลง ส่งผลให้ผู้ประกอบการชะลอการ สั่งซื้อ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มีราคาลดลง เนื่องจาก ผู้ประกอบการระบายผลผลิตจากโครงการสานพลั ง ประชารั ฐ เพื่ อ สนั บ สนุ น การปลู ก ข้ า วโพด หลังฤดูท�ำนาในช่วงเดือนพฤษภาคมออกสู่ตลาด มากขึ้น มันส�ำปะหลัง มีราคาลดลง เนื่องจาก ผลผลิตออกสู่ตลาดปริมาณมาก ประกอบกับ ความต้องการน�ำเข้ามันเส้นของประเทศจีนซึ่ง เป็นประเทศคู่ค้าส�ำคัญชะลอตัวลง อ้อยโรงงาน มีราคาลดลง เนื่องจากราคาน�้ำตาลในตลาดโลก ลดลงจากปริมาณน�้ำตาลของโลกที่ยังอยู่ในภาวะ ล้นตลาด ปาล์มน�้ำมัน มีราคาลดลง เนื่องจาก ปริมาณผลผลิตปาล์มน�ำ้ มันออกสูต่ ลาดมาก รวม ทัง้ สต็อกน�ำ้ มันปาล์มยังคงมีปริมาณทีส่ งู กว่าสต็อก เพื่อความมั่นคงที่ประเมินไว้ ล�ำไย มีราคาลดลง


Thailand Focus

ต้องการยางจากประเทศจีนลดลง น�้ำมันปาล์ม มี ก ารส่ ง ออกลดลง เนื่ อ งจากประเทศอิ น เดี ย ซึ่งเป็นผู้บริโภครายใหญ่มีการปรับขึ้นภาษีน�ำเข้า เพื่ อ ปกป้ อ งเกษตรกรผู ้ ป ลู ก ปาล์ ม ในประเทศ ประกอบกับประเทศมาเลเซียมีความต้องการที่ ด้านการส่งออก ในช่วงเดือนเมษายน -  ลดลง สับปะรดและผลิตภัณฑ์ มีการส่งออก พฤษภาคม 2562 สินค้าพืชและผลิตภัณฑ์ที่มี ลดลง เนื่องจากปริมาณผลผลิตลดลง สินค้าพืชที่มีปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้น ปริมาณและมูลค่าส่งออกเพิม่ ขึน้ ได้แก่ ข้าวโพด เลี้ ย งสั ต ว์ ล� ำ ไยและผลิ ต ภั ณ ฑ์ ทุ เ รี ย นและ และมูลค่าส่งออกลดลง ได้แก่ มันส�ำปะหลัง ผลิตภัณฑ์ และมังคุด โดยข้าวโพดเลีย้ งสัตว์ มีการ และผลิตภัณฑ์ น�้ำตาลและผลิตภัณฑ์ และเงาะ ส่งออกเพิม่ ขึน้ เนือ่ งจากเป็นช่วงทีผ่ ลผลิตข้าวโพด และผลิตภัณฑ์ โดยมันส�ำปะหลังและผลิตภัณฑ์ หลังฤดูท�ำนาออกสู่ตลาดมาก ผู้ประกอบการจึง มีปริมาณส่งออกเพิ่มขึ้น เนื่องจากไทยสามารถ ผลักดันการส่งออก ส่งผลให้มีการส่งออกเพิ่มขึ้น บริหารจัดการ และป้องกันการแพร่ระบาดของโรค ล�ำไยและผลิตภัณฑ์ มีการส่งออกเพิ่มขึ้นจาก ใบด่างมันส�ำปะหลังได้ ท�ำให้ผนู้ ำ� เข้ามีความเชือ่ มัน่ ความต้องการของตลาดส่งออกหลักอย่างต่อเนือ่ ง ส่งผลให้ส่งออกมันส�ำปะหลังได้อย่างต่อเนื่อง ได้แก่ เวียดนาม จีน และอินโดนีเซีย ทุเรียน ขณะทีม่ ลู ค่าส่งออกลดลงจากราคาส่งออกทีล่ ดลง และผลิตภัณฑ์ และมังคุด มีการส่งออกเพิ่มขึ้น น�ำ้ ตาลและผลิตภัณฑ์ ปริมาณส่งออกยังขยายตัว เนือ่ งจากความต้องการของตลาดส่งออกหลักอย่าง ได้ แต่ราคาส่งออกยังคงลดลงตามราคาตลาดโลก จีน และเวียดนาม เพิ่มขึ้น ประกอบกับมีปริมาณ ท�ำให้มูลค่าส่งออกลดลง และเงาะและผลิตภัณฑ์ ผลผลิตที่เพิ่มมากขึ้น ท�ำให้สามารถส่งออกได้ มีปริมาณส่งออกมากขึน้ เนือ่ งจากมีผลผลิตเพิม่ ขึน้ มากขึ้น และคุณภาพดีขนึ้ ท�ำให้สามารถส่งออกได้มากขึน้ เนื่องจากเกษตรกรปรับเปลี่ยนมาผลิตล�ำไยนอก ฤดู เ ป็ น จ� ำ นวนมาก และมั ง คุ ด มี ร าคาลดลง เนื่องจากมีปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดมากขึ้น และบางส่วนไม่ได้คุณภาพตามความต้องการของ ตลาด

สินค้าพืชที่มีปริมาณและมูลค่าส่งออก ลดลง ได้แก่ ข้าวรวม ยางพารา น�้ำมันปาล์ม และสับปะรดและผลิตภัณฑ์ โดยข้าวรวม มีการ ส่งออกลดลง เนือ่ งจากประเทศในแถบเอเชีย เช่น จีน และฟิลปิ ปินส์ มีความต้องการน�ำเข้าข้าวลดลง ประกอบกับผลผลิตจากประเทศเพื่อนบ้าน เช่น เวียดนาม และกัมพูชา ออกสู่ตลาดมาก และมี ราคาส่งออกต�่ำกว่าไทย ท�ำให้ความต้องการข้าว จากไทยลดลง ยางพารา เนือ่ งจากภาวะเศรษฐกิจ จีนชะลอตัว ประกอบกับมาตรการทางการค้า ระหว่างจีน และสหรัฐอเมริกา กดดันให้ความ

2.2 สาขาปศุสัตว์ ในไตรมาส 2 ปี 2562 ขยายตัวร้อยละ 1.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ของปี 2561 ผลผลิตสินค้าปศุสัตว์หลัก ได้แก่ ไก่เนือ้ สุกร ไข่ไก่ และน�ำ้ นมดิบ มีปริมาณเพิม่ ขึน้ จากการขยายการผลิตเพื่อรองรับความต้องการ ของตลาดที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับเกษตรกรมีการ บริหารจัดการฟาร์มทีด่ ี มีการเฝ้าระวังและควบคุม โรคระบาดอย่างเข้มงวด โดยการผลิตไก่เนือ้ เพิม่ ขึน้ จากการขยายการผลิตรองรับความต้องการเนือ้ ไก่ ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทั้งตลาดในประเทศ และ ต่างประเทศ โดยเฉพาะตลาดญี่ปุ่น และสหภาพ

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 188 กันยายน - ตุลาคม 2562

9


Thailand Focus

ยุโรป ทีน่ ำ� เข้าเนือ้ ไก่จากไทยเพิม่ มากขึน้ ผลผลิต สุกรมีปริมาณเพิ่มขึ้น เนื่องจากผู้เลี้ยงสุกรราย กลาง และรายใหญ่ มีการบริหารจัดการฟาร์มที่ดี สามารถดูแล และป้องกันโรคระบาดได้อย่างมี ประสิทธิภาพ ส่งผลให้อัตรารอดของสุกรเพิ่มขึ้น แม้ว่าจะประสบปัญหาสภาพอากาศร้อนจัดใน หลายพื้นที่ ท�ำให้สุกรเจริญเติบโตช้า ไข่ไก่มี ผลผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากเกษตรกรมีระบบการ ผลิตที่ดี ประกอบกับสภาพอากาศที่เอื้ออ�ำนวย และมีความแปรปรวนน้อยกว่าช่วงเดียวกันของ ปีที่ผ่านมา ส่งผลให้แม่ไก่ออกไข่ได้ดี ส�ำหรับ ผลผลิตน�้ำนมดิบเพิ่มขึ้น เนื่องจากจ�ำนวนแม่โค รีดนมทั่วประเทศเพิ่มขึ้น เกษตรกรดูแลเอาใจใส่ และเฝ้าระวังโรคระบาดได้ดี มีการน�ำเทคโนโลยี มาเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตน�้ำนม ดิบ และปรับปรุงระบบการบริหารจัดการฟาร์ม ให้ได้มาตรฐาน ส่งผลให้ปริมาณน�้ำนมดิบเพิ่มขึ้น ด้านราคาสินค้าปศุสัตว์ในช่วงไตรมาส 2 ส่วนใหญ่มีราคาเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ของปีทผี่ า่ นมาโดยในช่วงเดือนเมษายน - มิถนุ ายน 2562 ราคาไก่เนื้อเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีปริมาณ ผลผลิตออกสู่ตลาดไม่มากนัก ในขณะที่ความ ต้องการบริโภคยังเพิม่ ขึน้ อย่างต่อเนือ่ ง ราคาสุกร เพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากตลาดภายในประเทศยังมี ความต้องการบริโภคอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับ มีการส่งออกสุกรมีชีวิตไปยังประเทศเพื่อนบ้าน เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ราคาเพิ่มสูงขึ้น ราคาน�้ำนมดิบ เพิม่ ขึน้ จากมาตรการปรับเพิม่ ราคารับซือ้ น�ำ้ นมดิบ ตามคุณภาพน�ำ้ นม จูงใจให้เกษตรกรมีการพัฒนา การผลิตและปรับปรุงคุณภาพน�้ำนมดิบ ส�ำหรับ ราคาไข่ไก่ปรับตัวลง เนือ่ งจากผลผลิตไข่ไก่ในระบบ ยังคงมีอยู่มาก

10

ด้านการส่งออกสินค้าปศุสัตว์ในช่วงไตรมาส 2 ขยายตัวได้ดี โดยในช่วงเดือนเมษายน -  พฤษภาคม 2562 ปริมาณและมูลค่าส่งออกเนือ้ ไก่ และผลิตภัณฑ์ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2561 จากความต้องการของตลาดต่างประเทศที่ ขยายตัวเพิม่ ขึน้ โดยการส่งออกไปยังญีป่ นุ่ สหภาพ ยุโรป และเกาหลีใต้ ยังขยายตัวได้ดี รวมทัง้ ขยาย ตลาดส่งออกใหม่ในเอเชีย และตะวันออกกลาง ส� ำ หรั บ ปริ ม าณและมู ล ค่ า ส่ ง ออกเนื้ อ สุ ก รและ ผลิตภัณฑ์ลดลง จากการส่งออกเนื้อสุกรปรุงแต่ง ที่ลดลง โดยเฉพาะประเทศญี่ปุ่นซึ่งเป็นตลาด ส่งออกส�ำคัญ อย่างไรก็ตาม การระบาดของโรค อหิวาต์แอฟริกาในสุกร (African Swine Fever: ASF) ในประเทศจีนซึ่งเป็นผู้บริโภคและผู้ผลิต สุกรรายใหญ่ของโลก รวมถึงในประเทศเวียดนาม กัมพูชา และลาว ท�ำให้เกิดการขาดแคลนสุกรใน ตลาดโลก ส่งผลให้ไทยสามารถส่งออกเนื้อสุกร สดแช่เย็นแช่แข็งได้เพิ่มขึ้น ส�ำหรับปริมาณและ มูลค่าส่งออกนมและผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้น เนื่องจาก คุ ณ ภาพน�้ ำ นมดิ บ ของไทยเป็ น ที่ ย อมรั บ ของ ประเทศกัมพูชา ฟิลปิ ปินส์ สิงคโปร์ และลาว มาก ขึน้ ท�ำให้มคี วามต้องการบริโภคนมและผลิตภัณฑ์ ของไทยเพิ่มขึ้น 2.3 สาขาประมง ในไตรมาส 2 ปี 2562 ขยายตัวร้อยละ 2.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ของปี 2561 เป็นผลจากผลผลิตประมงทะเล และประมงน�ำ้ จืดเพิม่ ขึน้ โดยผลผลิตประมงทะเล เพิ่มขึ้นจากปริมาณสัตว์น�้ำที่น�ำขึ้นท่าเทียบเรือ ในภาคใต้เพิ่มขึ้น ประกอบกับปริมาณกุ้งทะเล เพาะเลีย้ งมีผลผลิตออกสูต่ ลาดมากขึน้ จากสถานการณ์ด้านราคาที่ปรับตัวสูงขึ้น จูงใจให้เกษตรกร ท�ำการผลิตเพิ่มขึ้น อาทิ ลงลูกพันธุ์กุ้งเพิ่มขึ้น ประกอบกับเกษตรกรมีการบริหารจัดการฟาร์ม

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 188 กันยายน - ตุลาคม 2562


ด้านราคา ในช่วงเดือนเมษายน - มิถุนายน 2562 ราคากุ้งขาวแวนนาไม (ขนาด 70 ตัวต่อ กิโลกรัม) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยเพิ่มขึ้น เมื่อ เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2561 ตามความ ต้องการของตลาดต่างประเทศทีม่ เี พิม่ ขึน้ ประกอบ กับประเทศคู่แข่ง เช่น อินเดีย มีผลผลิตลดลง เนื่องจากได้รับความเสียหายจากภัยธรรมชาติ ส�ำหรับราคาปลานิลขนาดกลาง และปลาดุกบิก๊ อุย (ขนาด 2 - 4 ตัวต่อกิโลกรัม) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยเพิ่มขึ้น เนื่องจากความต้องการบริโภคยังมี อย่างต่อเนื่อง

Thailand Focus

ทีด่ ี รวมทัง้ มีการพัฒนาระบบการเลีย้ งให้เหมาะสม กับพืน้ ที่ ส่งผลให้มผี ลผลิตเพิม่ ขึน้ ส�ำหรับผลผลิต ประมงน�้ำจืด เช่น ปลานิล และปลาดุก มีทิศทาง เพิ่มขึ้น เนื่องจากภาครัฐมีการด�ำเนินนโยบาย ส่งเสริมการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำอย่างต่อเนื่อง เช่น ระบบการเกษตรแบบแปลงใหญ่ ท�ำให้ผลผลิต ประมงน�้ำจืดเพิ่มขึ้น

2.4 สาขาบริการทางการเกษตร ในไตรมาส 2 ปี 2562 ขยายตัวร้อยละ 2.8 เป็นผลจากการ จ้ า งบริ ก ารเครื่ อ งจั ก รกลและอุ ป กรณ์ ท างการ เกษตรในกระบวนการผลิตทั้งในด้านการเตรียม ดิน การเพาะปลูก การเก็บเกี่ยว รวมถึงการดูแล รักษาในพื้นที่เพาะปลูกข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันส�ำปะหลัง อ้อยโรงงานที่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับ ปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ กลุ่มเกษตรกรในบางพื้นที่ ของภาคกลาง ภาคเหนือตอนล่าง และภาคอีสาน มีการปรับเปลี่ยนมาใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม ด้ า นการเกษตรเพื่ อ ลดต้ น ทุ น การผลิ ต และ ประหยัดเวลาในการท�ำงาน รวมถึงบริการโดรน ส�ำหรับฉีดพ่น และส�ำรวจสภาพผลผลิตในพื้นที่ เพาะปลูกมากขึ้น

2.5 สาขาป่าไม้ ในไตรมาส 2 ปี 2562 ขยายตัวร้อยละ 2.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ของปี 2561 เนื่ อ งจากปริ ม าณไม้ ยู ค าลิ ป ตั ส ไม้ยางพารา และครั่งเพิ่มขึ้น โดยความต้องการ ด้านการส่งออก ในช่วงเดือนเมษายน -  ไม้ยูคาลิปตัสเพิ่มขึ้นทั้งตลาดในประเทศ และต่าง พฤษภาคม 2562 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของ ประเทศ เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตกระดาษ ปี 2561 ปลาและผลิตภัณฑ์มีปริมาณและมูลค่า และแปรรูปเป็นเชื้อเพลิงชีวมวล (wood pellet) ส่งออกเพิ่มขึ้น ส�ำหรับปลาหมึกและผลิตภัณฑ์ ด้านไม้ยางพาราขยายตัวตามพื้นที่ตัดโค่นสวน มีปริมาณและมูลค่าส่งออกลดลง โดยตลาดส่งออก ยางเก่าเพือ่ ปลูกทดแทนด้วยยางพันธุด์ ี และพืชอืน่ หลักอย่างญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และเวียดนาม น�ำเข้า ส่วนผลผลิตครัง่ เพิม่ ขึน้ เนือ่ งจากสภาพอากาศใน ลดลงต่อเนื่อง ส่วนกุ้งและผลิตภัณฑ์มีปริมาณ ช่วงที่ครั่งขยายพันธุ์เอื้ออ�ำนวยกว่าปีที่ผ่านมา ส่ง ส่งออกเพิ่มขึ้นตามความต้องการของตลาดที่มี ผลให้ครัง่ เจริญเติบโตและฟืน้ ตัวได้ดขี นึ้ ประกอบ อย่างต่อเนือ่ ง ขณะทีม่ ลู ค่าส่งออกลดลง เนือ่ งจาก กับประเทศคู่ค้าหลักอย่างอินเดีย ญี่ปุ่น และจีน ราคาของประเทศคู่แข่งยังถูกกว่าไทย ท�ำให้ราคา มีความต้องการเพิ่มขึ้น ขณะที่ผลผลิตรังนก และ ถ่านไม้ลดลง เนื่องจากได้รับผลกระทบจากสภาพ ส่งออกของไทยลดลง อากาศที่แปรปรวน และร้อนจัด

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 188 กันยายน - ตุลาคม 2562

11


Thailand Focus

3. แนวโน้มภาวะเศรษฐกิจการเกษตรปี 2562 แนวโน้มเศรษฐกิจการเกษตรในปี 2562 คาดว่าจะขยายตัวอยูใ่ นช่วงร้อยละ 1.3 - 2.3 เมือ่ เทียบ กับปี 2561 โดยทุกสาขาการผลิต ได้แก่ สาขาพืช สาขาปศุสัตว์ สาขาประมง สาขาบริการทาง การเกษตร และสาขาป่าไม้ ขยายตัวได้เนื่องจากการผลิตพืชเศรษฐกิจส�ำคัญหลายชนิดมีแนวโน้ม เพิ่มขึ้น รวมทั้งการขยายการผลิตสินค้าปศุสัตว์ตามความต้องการของตลาด และการท�ำประมงที่ ปรับตัวดีขึ้นทั้งการเพาะเลี้ยงกุ้งและประมงทะเล โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการด�ำเนินนโยบายด้าน การเกษตรอย่างต่อเนื่อง ทั้งการบริหารจัดการทรัพยากรน�้ำและการวางแผนการใช้น�้ำ การวางแผน การผลิตอย่างเหมาะสม การส่งเสริมการรวมกลุ่ม การท�ำเกษตรแบบแปลงใหญ่ การส่งเสริมการใช้ เทคโนโลยีในการผลิตและยกระดับคุณภาพสินค้าเกษตร การบริหารจัดการผลผลิตให้สอดคล้องกับ ความต้องการของตลาด รวมถึงการส่งเสริมการบริโภคและการใช้สนิ ค้าเกษตรในประเทศ อย่างไรก็ตาม ยังต้องติดตามปัจจัยด้านสภาพอากาศร้อน และภาวะฝนทิ้งช่วง ที่ส่งผลให้ในหลายพื้นที่ประสบภัยแล้ง บางพื้นที่มีปริมาณน�้ำไม่เพียงพอต่อการผลิตทางการเกษตร และอาจส่งผลกระทบต่อการผลิตทางการ เกษตรในช่วงครึ่งหลังของปี ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีการติดตาม สถานการณ์ภัยแล้งในพื้นที่ต่างๆ อย่างใกล้ชิดเพื่อด�ำเนินการแก้ไขปัญหาและบรรเทาความเดือดร้อน ให้แก่เกษตรกร ตารางที่ 1 อัตราการเติบโตของภาคเกษตร

หน่วย: ร้อยละ

สาขา ภาคเกษตร พืช ปศุสัตว์ ประมง บริการทางการเกษตร ป่าไม้

ไตรมาส 2/2562 (เดือนเมษายน - มิถุนายน 2562) - 1.0 - 2.5 1.8 2.5 2.8 2.0

ที่มา: กองนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตร ส�ำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

12

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 188 กันยายน - ตุลาคม 2562


สินค้า ข้าวนาปี ข้าวนาปรัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันส�ำปะหลัง อ้อยโรงงาน (รวมพันธุ์) สับปะรดโรงงาน ยางพารา ปาล์มน�้ำมัน ล�ำไย (พันตัน) ทุเรียน (พันตัน) มังคุด (พันตัน) เงาะ (พันตัน) ไก่เนื้อ (ล้านตัว) สุกรมีชีวิต (ล้านตัว) ไข่ไก่ (ล้านฟอง) น�้ำนมดิบ กุ้งทะเลเพาะเลี้ยง* (พันตัน)

ไตรมาส 2 (เดือนเมษายน - มิถุนายน) 2561** 2562** 0.08 0.07 4.24 3.58 0.34 0.36 2.52 2.95 19.48 6.77 0.78 0.58 0.82 0.87 3.79 4.55 47.40 41.43 404.95 470.65 43.82 151.90 158.85 167.56 378.68 387.93 4.93 4.97 3,768.59 3,913.64 0.30 0.31 45.63 48.51

Thailand Focus

ตารางที่ 2 ผลผลิตสินค้าเกษตรที่สำ�คัญ (ปี ปฏิทิน)

หน่วย: ล้านตัน

การเปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)  - 7.89  - 15.48 6.09 17.36  - 65.27  - 25.21 6.18 20.12  - 12.59 16.22 246.62 5.49 2.44 0.75 3.85 4.92 6.31

ที่มา: ศูนย์สารสนเทศการเกษตร ส�ำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร *กรมประมง (ข้อมูลตามใบอนุญาตเคลื่อนย้ายสัตว์น�้ำในเดือนเมษายน–พฤษภาคม) ณ วันที่ 18 กรกฎาคม 2562 หมายเหตุ: **ข้อมูลพยากรณ์ ณ เดือนมิถุนายน 2562

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 188 กันยายน - ตุลาคม 2562

13


Thailand Focus

ตารางที่ 3 ราคาสินค้าเกษตรที่เกษตรกรขายได้

สินค้า ข้าวเปลือกเจ้า ความชื้น 15% (บาท/ตัน) ข้าวนาปีหอมมะลิ (บาท/ตัน) ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ความชื้น 14.5% หัวมันส�ำปะหลังสดคละ อ้อยโรงงาน (บาท/ตัน) สับปะรดโรงงาน ยางแผ่นดิบ ชั้น 3 ผลปาล์มน�้ำมันทั้งทะลายมีน�้ำหนัก >15 กก. ล�ำไยเกรด A ทุเรียนหมอนทองคละ มังคุดคละ เงาะโรงเรียนคละ ไก่รุ่นพันธุ์เนื้อ สุกร น�้ำหนัก 100 กก. ขึ้นไป ไข่ไก่สดคละ (บาท/ร้อยฟอง) น�้ำนมดิบ กุ้งขาวแวนนาไม ขนาด 70 ตัว/กก. ปลานิลขนาดกลาง ปลาดุกบิ๊กอุย ขนาด 2 - 4 ตัว/กก.

2561 2562 ทั้งปี เม.ย. - มิ.ย. เม.ย. - มิ.ย. 7,892 7,938 7,822 15,199 15,236 15,646 7.97 8.48 7.77 2.25 2.52 1.96 713 798 633 2.97 2.47 6.19 40.96 44.32 48.81 3.11 3.29 2.26 26.72 26.33 23.11 78.16 81.32 108.03 43.57 62.72 52.27 23.14 23.09 26.64 34.40 34.58 36.99 55.68 56.20 70.87 268 274 273 18.21 18.14 18.33 151 137 142 49.09 47.74 53.01 39.09 38.50 46.55

ที่มา: ศูนย์สารสนเทศการเกษตร ส�ำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

14

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 188 กันยายน - ตุลาคม 2562

หน่วย: บาท/กิโลกรัม

การเปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)  - 1.46 2.69 - 8.39  - 22.07  - 20.60 151.02 10.13  - 31.50  - 12.21 32.85  - 16.66 15.37 6.97 26.12  - 0.36 1.03 4.15 11.05 20.90


Thailand Focus

ตารางที่ 4 ปริมาณและมูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์ท่สำ ี �คัญ

สินค้า สินค้าเกษตร และผลิตภัณฑ์ ข้าวรวม (ล้านตัน) ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันส�ำปะหลัง และผลิตภัณฑ์ (ล้านตัน) น�้ำตาล และผลิตภัณฑ์ (ล้านตัน) ยางพารา (ล้านตัน) น�้ำมันปาล์ม สับปะรด และผลิตภัณฑ์ ล�ำไยและผลิตภัณฑ์ ทุเรียนและ ผลิตภัณฑ์ มังคุด เงาะและผลิตภัณฑ์ เนื้อไก่ และผลิตภัณฑ์ เนื้อสุกร และผลิตภัณฑ์ นมและผลิตภัณฑ์ ปลาและผลิตภัณฑ์ ปลาหมึก และผลิตภัณฑ์ กุ้งและผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์จากป่า

ปริมาณ (พันตัน) 2561 2562 ทั้งปี เม.ย. - พ.ค. เม.ย. - พ.ค.

% ∆

-

มูลค่า (ล้านบาท) 2561 2562 ทั้งปี เม.ย. - พ.ค. เม.ย. - พ.ค.

% ∆

-

-

1,388,541.03 235,000.93 231,658.14

- 1.42

11.09 82.43

1.65 0.02

1.37  - 17.06 0.40 2,080.86

180,270.06 26,998.15 685.41 0.21

22,810.52  - 15.51 4.21 1,898.19

6.97

1.14

1.18

3.93

73,983.67

11,418.90

11,080.55

- 2.96

8.66

1.72

1.82

5.53

97,018.39

18,902.36

17,726.73

- 6.22

3.09

0.58

0.37

- 36.01

155,099.42

29,158.83

19,440.09

- 33.33

472.04

151.38

144.48

- 4.56

10,799.10

3,332.20

2,328.12

- 30.13

640.13

101.12

99.83

- 1.27

19,102.08

2,958.59

2,828.57

- 4.39

771.77

49.68

52.41

5.50

28,765.37

1,871.74

2,157.37

15.26

516.01

214.27

279.34

30.37

35,332.90

12,586.87

18,485.20

46.86

185.80 16.46

33.98 4.88

138.74 6.03

308.34 23.63

7,289.33 549.71

1,493.52 118.52

5,904.50 109.98

295.34  - 7.20

839.43

129.28

142.09

9.91

100,389.35

14,875.09

16,756.04

12.64

16.12

2.36

2.18

- 7.92

2,397.71

395.58

395.10

- 0.12

310.31 941.27

44.48 152.76

55.39 165.12

24.52 8.09

10,977.27 112,787.26

1,819.33 17,399.03

2,034.03 17,891.75

11.80 2.83

44.12

7.97

7.62

- 4.48

11,195.77

1,975.86

1,791.17

- 9.35

189.55 39.94

28.52 6.26

29.17 7.51

2.25 20.11

58,894.64 1,537.95

8,730.34 216.95

8,255.45 253.59

- 5.44 16.89

ที่มา: ศูนย์สารสนเทศการเกษตร ส�ำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร หมายเหตุ: สินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์ หมายถึง สินค้าในพิกัดศุลกากร ตอนที่ 1 - 24, 35.05.10, 35.05.20, 40.01, 40.05, 44.03, 50.01  -  50.03, 52.01

ผู้จัดท�ำ ส่วนวิเคราะห์และประมาณการเศรษฐกิจการเกษตร กองนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตร ส�ำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร โทร. 0 - 2940 - 6488 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 188 กันยายน - ตุลาคม 2562

15


Thailand Focus

แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรม ปี 2561-63

อุตสาหกรรมไก่แช่แข็งและแปรรูป ้ สุวรรณ chetchuda.chuasuwan@krungsri.com เชฐชุดา เชือ มิถุนายน 2561

อุตสาหกรรมไก่แช่แข็งและแปรรูปของไทยในปี 2561-2563 มีแนวโน้มเติบโตตามความต้องการ บริโภคที่เพิ่มขึ้นตามตลาดส่งออกที่คาดว่าจะเติบโตเร่งขึ้นอานิสงส์จาก 1) ประเทศคู่ค้าทยอยยกเลิก มาตรการระงับน�ำเข้าไก่แช่แข็งจากไทยอย่างต่อเนื่อง 2) การขยายตลาดส่งออกใหม่ๆ เพิ่มขึ้นในภูมิภาค เอเชีย และตะวันออกกลาง และ 3) พบการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนกในหลายประเทศจึงเป็นโอกาส ของไทยในการส่งออกไก่แช่แข็งและแปรรูปเพิ่มขึ้น » ข้อมูลพื้นฐาน ผลผลิตไก่เนือ้ ของโลกมีปริมาณปีละ 85-90 ล้านตัน ประเทศผูผ้ ลิตหลัก คือ สหรัฐฯ บราซิล และจีน สัดส่วนการผลิตรวมกันประมาณ 50% ของผลผลิตทัว่ โลก ผลผลิตไก่เนือ้ ในแต่ละประเทศ ทั่วโลกส่วนใหญ่ใช้บริโภคในประเทศ การค้าไก่เนื้อในโลกจึงมีสัดส่วนเพียง 10-15% ของผลผลิต ไก่เนื้อทั้งหมด โดยผลิตภัณฑ์ไก่ที่มีการค้าขายในตลาดโลกแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ 1) ไก่แช่แข็ง ในลักษณะไก่สดทั้งตัว ไก่ช�ำแหละ และไก่สดหมักเกลือ และ 2) ไก่แปรรูป หรือไก่ปรุงสุก/ปรุงรส ก่อนน�ำไปแช่เยือกแข็งเป็นอาหารส�ำเร็จรูปแช่แข็งที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น โดยผลิตภัณฑ์ไก่แปรรูปที่ส�ำคัญ ได้แก่ ไก่ชุบแป้งทอด ไก่หมักซอส นักเก็ตไก่ สเต็กไก่ เป็นต้น การค้าผลิตภัณฑ์ไก่ในตลาดโลกอยู่ในรูปของไก่แช่แข็ง คิดเป็นสัดส่วนเกือบ 88% ในเชิง ปริมาณ และ 75% ในเชิงมูลค่า ประเทศผู้ส่งออกหลัก คือ บราซิล ซึ่งส่งออกไก่ช�ำแหละแช่แข็ง สัดส่วน 31.7% ของปริมาณการส่งออกไก่แช่แข็งในตลาดโลก รองลงมา คือ สหรัฐฯ และเนเธอร์แลนด์ ซึ่งเน้นส่งออกไก่ทั้งตัวแช่แข็ง (เป็นผลิตภัณฑ์ไก่ที่นิยมบริโภคในประเทศตะวันตก) มีสัดส่วน 13.8% และ 10.5% ตามล�ำดับ ขณะที่ไทยมีส่วนแบ่งในตลาดโลกเพียง 1.7% โดยไทยเน้นส่งออกไก่ช�ำแหละ แช่แข็งเช่นเดียวกับบราซิล ส่วนการค้าไก่แปรรูปซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่มในตลาดโลก มีสัดส่วน ส่งออก 12% ในเชิงปริมาณ และ 25% ในเชิงมูลค่าส่งออกผลิตภัณฑ์ไก่ในตลาดโลก มีประเทศผูส้ ง่ ออก หลัก คือ ไทย มีสัดส่วน 27.8% ของปริมาณการส่งออกไก่แปรรูปทั้งหมดในตลาดโลก รองลงมาได้แก่ จีน บราซิล เยอรมนี เนเธอร์แลนด์ มีสัดส่วน 12.2%,9.6%, 8.7% และ 6.3% ตามล�ำดับ

16

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 188 กันยายน - ตุลาคม 2562


Thailand Focus

ประเทศผู ้ น� ำ เข้ า ผลิ ต ภั ณ ฑ์ ไ ก่ ข องโลก ค่อนข้างกระจายตัว แต่ละประเทศมีส่วนแบ่ง การน�ำเข้าในเชิงปริมาณไม่มากนัก โดยประเทศ ผู้น�ำเข้าที่ส�ำคัญ (ข้อมูลจาก Trademap ในปี 2560) คือ ญีป่ นุ่ สัดส่วนน�ำเข้า 7.1% ของปริมาณ การน�ำเข้าผลิตภัณฑ์ไก่ทั่วโลก ฮ่องกง (6.0%) เม็กซิโก (5.4%) สหราชอาณาจักร (5.1%) ซาอุด-ิ อาระเบีย (4.8%) เยอรมนี (4.3%) เนเธอร์แลนด์ (4.1%) แอฟริกาใต้ (3.5%) อิรัก (3.1%) จีน (3.0%) และสหรัฐอาหรับเอมิเรต (2.9%) ส�ำหรับประเทศไทย เป็นผู้ผลิตไก่เนื้อ อันดับ 10 ของโลก มีผลผลิตประมาณปีละ 2.02.1 ล้านตัน หรือคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 2% ของ ผลผลิตไก่เนื้อทั่วโลก ขณะที่การบริโภคเนื้อไก่ ของไทยมีปริมาณเฉลีย่ เพียงปีละ 1.2-1.3 ล้านตัน หรือประมาณ 60% ของผลผลิตไก่เนื้อทั้งหมด ของไทย ส่วนใหญ่เป็นการบริโภคในรูปเนือ้ ไก่สด ช�ำแหละ ขณะทีผ่ ลผลิตไก่เนือ้ ส่วนเกินประมาณ 40% ของผลผลิตรวมในประเทศจะถูกน�ำไปเป็น วัตถุดิบในอุตสาหกรรมไก่แช่แข็งและแปรรูป ซึ่งมีตลาดหลักเป็นตลาดส่งออก และบริโภคใน ประเทศบางส่วน โดยมีช่องทางจ�ำหน่ายผ่าน ร้านค้าปลีกสมัยใหม่

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 188 กันยายน - ตุลาคม 2562

17


Thailand Focus

โครงสร้างอุตสาหกรรมไก่เนื้อของไทย อุตสาหกรรมไก่เนือ้ ในประเทศไทยในปัจจุบนั ถูกครองตลาดโดยผูป้ ระกอบการรายใหญ่ 7 ราย ประกอบด้วย บจก.เจริญโภคภัณฑ์อาหาร บจก.เบทาโกร บจก.สหฟาร์ม บจก.คาร์กิล บจก. ไทยฟู้ดส์ กรุ๊ป บจก.จีเอฟพีที และบจก.แหลมทองอุตสาหกรรม ซึ่งบริษัทใหญ่เหล่านี้มีการลงทุน ในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องครบวงจรตั้งแต่อาหารสัตว์ ฟาร์มไก่เนื้อ (ทั้งที่เป็นฟาร์มของบริษัท และ ฟาร์มของเกษตรกรภายใต้พนั ธสัญญากับบริษทั หรือเรียกว่า Contract Farming)และโรงงานแปรรูป จึงสามารถบริหารต้นทุนได้ดี เกิดการประหยัดต่อขนาด และมีการแปรรูปผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่มเพื่อ ส่งออก ทั้งนี้ ฟาร์มไก่เนื้อของบริษัทรายใหญ่ มีผลผลิตไก่เนื้อคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 50% ของ ผลผลิตไก่เนือ้ ทัง้ หมด ซึง่ ผลผลิตในส่วนนีน้ ำ� ไปเข้ากระบวนการช�ำแหละ แช่แข็ง และแปรรูปเพือ่ ส่งออก ส่วนผลผลิตไก่เนื้อจากฟาร์มเลี้ยงไก่ของเกษตรกรภายใต้พันธสัญญา (Contract Farming) กับบริษทั รายใหญ่ 1/ มีผลผลิตสัดส่วน 40% ของผลผลิตไก่เนือ้ ทัง้ หมด ส่วนใหญ่ใช้บริโภคในประเทศ ทัง้ ในภัตตาคาร ร้านอาหาร โรงแรม ผูบ้ ริโภคทัว่ ไป และบางส่วนถูกน�ำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์มลู ค่าเพิม่ ขณะทีผ่ ลผลิตเนือ้ ไก่จากฟาร์มเลีย้ งไก่ของเกษตรกรรายย่อย มีสดั ส่วนเพียง 10% ของผลผลิตไก่เนือ้ ทั้งหมด ไม่ได้อยู่ในห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมไก่แช่แข็งและแปรรูป โดยผลผลิตทั้งหมดส่งให้ โรงช�ำแหละรายย่อยส�ำหรับบริโภคในประเทศ

ฟาร์มเลีย้ งไก่ของเกษตรกรภายใต้พนั ธสัญญา (Contract Farming) กับบริษทั รายใหญ่ จะได้รบั การถ่ายทอดเทคโนโลยีการเลีย้ งไก่และมีการทำ�สัญญาประกัน ราคาและปริมาณรับซื้อผลผลิตที่แน่นอน 1/

18

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 188 กันยายน - ตุลาคม 2562




Thailand Focus

ส� ำ หรั บ การส่ ง ออกไก่ แ ช่ แ ข็ ง ของไทย กลั บ มาส่ ง ออกได้ อี ก ครั้ ง หลั ง จากปั ญ หาการ ระบาดของโรคไข้หวัดนกในไทยคลี่คลาย และ ฟาร์มไก่เนื้อของไทยมีการพัฒนาเป็นระบบปิด (EVAP: Evaporative Air Cooling System)4/ โดยเฉพาะในฟาร์มของบริษัทรายใหญ่และฟาร์ม ที่เป็น Contract farming ซึ่งอยู่ในห่วงโซ่อุปทาน ของอุตสาหกรรมไก่แช่แข็งและไก่แปรรูป ท�ำให้ ผูบ้ ริโภคในตลาดโลกมีความเชือ่ มัน่ ในการบริโภค ไก่แช่แข็งของไทยเพิ่มขึ้นเป็นล�ำดับ โครงสร้ า งอุ ต สาหกรรมไก่ แ ช่ แ ข็ ง และ แปรรูปส่งออกของไทยเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัย ส�ำคัญนับจากปี 2547 ที่เกิดการระบาดของโรค ไข้หวัดนกรุนแรงในไทย 2/ ผลจากความกังวลใน ความปลอดภัยด้านอาหาร (Food safety) ท�ำให้ ประเทศคู่ค้าระงับการน�ำเข้าไก่สดแช่แข็งจากไทย นับจากนั้น (การส่งออกไก่แช่แข็งมีสัดส่วนถึง 75% ของปริมาณการส่งออกผลิตภัณฑ์ไก่ทง้ั หมด ของไทยในช่วงเวลาดังกล่าว) ผู้ประกอบการไทย จึงหันไปขยายการผลิตและส่งออกไก่แปรรูป หรือ ไก่ปรุงสุกซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ยังคงเป็นที่ยอมรับ จากคู่ค้า 3/ ท�ำให้การส่งออกไก่แปรรูปของไทย ขยายตัวดีตอ่ เนือ่ ง และไก่แปรรูปกลายเป็นผลิตภัณฑ์หลักของอุตสาหกรรมจนถึงปัจจุบัน

ในปี 2560 โครงสร้ า งการส่ ง ออก ผลิตภัณฑ์ไก่ของไทยแบ่งเป็นไก่แปรรูปและ ไก่แช่แข็ง คิดเป็นสัดส่วน 70:30 ตลาดส่งออก ผลิตภัณฑ์ไก่ส�ำคัญของไทยอันดับหนึ่ง คือ ญี่ปุ่น เป็ น ตลาดส่ ง ออกอั น ดั บ 1 ของไทยทั้ ง ในการ ส่งออกไก่แช่แข็งและไก่แปรรูป สัดส่วน 63% และ 56% ในเชิงมูลค่าตามล�ำดับ รองลงมาคือ EU ส่วนใหญ่ไทยส่งออกไก่แปรรูป (EU เป็นตลาด ส่งออกไปแปรรูปทีส่ ำ� คัญของไทย มีสดั ส่วน 32% ของการส่งออกไก่แปรรูปของไทย) ส่วนตลาด ส่งออกอืน่ ๆ ประกอบด้วย สิงคโปร์ เกาหลีใต้ ลาว มาเลเซีย เป็นต้น โดยประเทศคูแ่ ข่งหลักในตลาด ส่งออกไก่แช่แข็งและแปรรูปของไทยคือ บราซิล ที่ขยายการส่งออกมายังเอเชียเพิ่มขึ้น (ภาพที่ 4)

โรคไข้หวัดนกเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสที่พบในสัตว์ปีก ความรุนแรงของโรคขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ของเชื้อ ซึ่งในช่วงหลายปีที่ผ่านมามีการพบเชื้อไข้หวัดนก สายพันธุ์รุนแรง อาทิ H5N1และ H7N1 ที่มีการแพร่ระบาดจากสัตว์ปีกสู่คนได้จากการสัมผัสสัตว์ป่วย

2/

ตามหลักวิชาการ เชื้อไวรัสไข้หวัดนกไม่สามารถทนต่อความร้อนที่สูงเกิน 70 องศาเซลเซียสได้ ดังนั้นการปรุงสุกด้วยการทอด ต้ม นึ่ง อบ หรือย่าง จะสามารถฆ่าเชื้อได้ จึงปลอดภัยในการบริโภค (ที่มา: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข) 3/

4/ ฟาร์มระบบปิด หรือ EVAP คือโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ที่มีระบบท�ำความเย็นควบคุมอุณหภูมิและความชื้นให้อยู่ในระดับเหมาะสม จึงช่วยลดอัตราการเกิดโรค และอัตราการตาย นอกจากนี้ ยังช่วยเพิ่มจ�ำนวนการเลี้ยงสัตว์ต่อพื้นที่ เพิ่มน�้ำหนักต่อตัว และป้องกันสัตว์/แมลงที่เป็นพาหะน�ำโรคอื่นๆ

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 188 กันยายน - ตุลาคม 2562

19


Thailand Focus

» สถานการณ์ ที่ผ่านมา ช่วง 10 ปีทผี่ า่ นมาอุตสาหกรรมไก่แช่แข็ง และแปรรูปทัว่ โลกประสบปัญหาการระบาดของ โรคไข้หวัดนกมีผลให้ผลผลิตไก่เสียหายเป็น ระยะๆ (ภาพที่ 5) ขณะที่ไม่พบการระบาดของ โรคไข้หวัดนกในไทยมาตั้งแต่ปี 2550 จึงเป็น โอกาสให้ ไ ทยขยายการส่ ง ออกผลิ ต ภั ณ ฑ์ ไ ก่ ได้อย่างต่อเนื่อง การส่งออกไก่แช่แข็งของไทย กลับมาขยายตัวชัดเจนนับจากปี 2556 หลังคู่ค้า ทยอยยกเลิกมาตรการระงับการน�ำเข้าไก่แช่แข็ง จากไทย มีผลให้ปริมาณการส่งออกไก่แช่แข็งของ ไทยกลับมาเติบโตในอัตราสูงเฉลี่ย 28.7% ต่อปี ในช่วงปี 2557-2559 ขณะทีก่ ารส่งออกไก่แปรรูป มีอัตราการขยายตัวเฉลี่ยถึง 7.2% ต่อปีในช่วง ดังกล่าว โดยตลาดส่งออกที่มีอัตราการขยายตัว สูง คือ ญี่ปุ่น และอาเซียน ขณะที่ตลาดสหภาพ ยุโรปเพิ่มขึ้นได้ไม่มากนัก เนื่องจากให้โควตา น�ำเข้าผลิตภัณฑ์ไก่ทกุ ประเภทจากไทยเพียง 2.52 แสนตันต่อปี 5/ (เทียบกับบราซิลได้โควตาจาก สหภาพยุโรปสูงถึง 5 แสนตันต่อปี) นอกจากนี้ ตลาดสหภาพยุโรปยังเข้มงวดในการสุม่ ตรวจสอบ ผลิตภัณฑ์และให้ความส�ำคัญกับมาตรฐานแรงงาน ในกระบวนการผลิตสินค้าที่ส่งออกไปยังตลาด สหภาพยุโรปมากขึ้น ท�ำให้ต้นทุนในการพัฒนา กระบวนการผลิตเพื่อส่งออกไปยังตลาดนี้สูงขึ้น

สหภาพยุโรปให้โควตานำ�เข้าไก่จากไทย แบ่งเป็น (1) ไก่แปรรูป 1.6 แสนตัน เก็บภาษีนำ�เข้าที่ 8% ของมูลค่าการนำ�เข้า และ 1,024 ยูโร ต่อตัน ในส่วนทีเ่ กินโควตา และ (2) ไก่หมักเกลือแช่แข็ง 92,610 ตัน เก็บ ภาษีน�ำ เข้าที่ 15.4% ของมูลค่าการนำ�เข้า และ 1,300 ยูโรต่อตัน ในส่วน ที่เกินโควตา โดยในปี 2560 ไทยส่งออกไก่แปรรูปไปตลาดสหภาพยุโรป เกินโควตา 5แสนตัน จึงถูกเรียกเก็บภาษีนำ�เข้าสูงในส่วนที่เกินโควตา ในอัตราสูง

5/

20

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 188 กันยายน - ตุลาคม 2562


ในปี 2560 อุตสาหกรรมไก่แช่แข็งและ แปรรู ป ของไทยขยายตั ว ต่ อ เนื่ อ ง โดยความ ต้องการบริโภคในประเทศขยายตัวประมาณ 2% YoY ตามการเติบโตของธุรกิจร้านอาหารประเภท ฟาสต์ฟู้ด ส่วนการส่งออกเติบโตดี อานิสงส์จาก ความต้องการบริโภคไก่เนื้อทั่วโลกที่เติบโตต่อ เนื่อง ประเทศคู่ค้าทยอยยกเลิกมาตรการระงับ การน�ำเข้าไก่สดแช่แข็งจากไทย ประกอบกับการ ระบาดของโรคไข้หวัดนกในหลายประเทศ อาทิ จีน เมียนมา เกาหลีใต้ ซาอุดิอาระเบีย อิหร่าน แอฟริกา รัสเซีย และสหรัฐฯ ท�ำให้มคี วามต้องการ น�ำเข้าจากไทยเพิ่มขึ้น ส่งผลให้การส่งออกผลิตภัณฑ์ไก่เนื้อของไทยขยายตัว 11.0% YoY ในเชิง ปริมาณ และ 18.4% YoY ในเชิงมูลค่า โดยสถานการณ์การส่งออกผลิตภัณฑ์ไก่แต่ละประเภทของ ไทย มีรายละเอียดดังนี้ • ไก่แช่แข็ง: มีปริมาณส่งออก 2.25 แสน ตัน ขยายตัว 5.6% YoY มูลค่าส่งออก 597.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิม่ ขึน้ 18.9% YoY โดยเป็น การส่งออกเพิ่มขึ้นมากในตลาดญี่ปุ่น (ขยายตัว 27.5% YoY ในเชิงมูลค่า) และฮ่องกง (ขยายตัว 40.8% YoY) ซึง่ น�ำเข้าจากไทยเพิม่ ขึน้ เพือ่ ทดแทน

Thailand Focus

ภาวะตลาดส่งออกที่ขยายตัวดีต่อเนื่อง ข้างต้น ประกอบกับความต้องการบริโภคผลิตภัณฑ์ไก่ในประเทศในช่วง 5 ปีทผี่ า่ นมาทีเ่ พิม่ ขึน้ มากตามการเติบโตของธุรกิจร้านอาหารประเภท ฟาสต์ฟู้ด และการบริโภคผลิตภัณฑ์ไก่ของภาค ครัวเรือนที่เพิ่มขึ้น ท�ำให้อุตสาหกรรมไก่แช่แข็ง และแปรรูปของไทยเติบโตอยูใ่ นเกณฑ์ดตี อ่ เนือ่ ง และยังมีผลให้ธุรกิจฟาร์มไก่เนื้อที่อยู่ในห่วงโซ่ อุปทานของอุตสาหกรรมไก่แช่แข็งและแปรรูป ขยายตัวดีตามไปด้วย

การน�ำเข้าจากจีนที่มีปัญหาการระบาดของโรค ไข้หวัดนก อีกทัง้ พบการระบาดของโรคไข้หวัดนก ในอีกหลายประเทศในเอเชีย ตะวันออกกลาง และ แอฟริกา ท�ำให้มคี วามต้องการน�ำเข้าไก่เพือ่ ทดแทน ผลผลิตในแต่ละประเทศที่ลดลงจากการท�ำลาย ไก่ที่ติดเชื้อไข้หวัดนกจ�ำนวนมาก มีผลให้ราคา ส่งออกไก่แช่แข็งปรับเพิ่มขึ้นถึง 13.1% YoY • ไก่แปรรูป : มีปริมาณส่งออก 5.32 แสน ตัน เติบโต 11.3% YoY มูลค่าส่งออก 2,250.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 3.0% YoY โดยการ ส่งออกเติบโตดีในตลาดญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ฮ่องกง และ สิงคโปร์ (ขยายตัว 15.1% YoY, 101.6% YoY, 17.7% YoY และ 9.9% YoY ในเชิงมูลค่า ตาม ล�ำดับ) อย่างไรก็ตาม ผลผลิตไก่ที่เพิ่มขึ้นมาก ในบราซิลและมีการขยายการส่งออกไก่แปรรูปใน ตลาดเอเชียมากขึ้น ท�ำให้การแข่งขันด้านราคา ในตลาดโลกรุนแรง และราคาไก่แปรรูปมีทิศทาง ชะลอตัวต่อเนือ่ ง โดยราคาส่งออกไก่แปรรูปเฉลีย่ ในปี 2560 ลดลง 1.0% YoY เมื่ อ พิ จ ารณาผลประกอบการของอุ ต สาหกรรมไก่สดแช่แข็งและแปรรูปในปี 2560 พบว่าอัตราการท�ำก�ำไรของผู้ประกอบการอยู่ใน เกณฑ์ดีต่อเนื่องจากรายได้ที่เพิ่มขึ้นและต้นทุน การผลิตที่ปรับลดลง (ราคาไก่เนื้อลดลง 3.4% YoY - ภาพที่ 8) » แนวโน้ มอุตสาหกรรม คาดว่าภาวะอุตสาหกรรมไก่แช่แข็งและ แปรรูปของไทยในระยะ 1-3 ปี ข้างหน้าจะขยายตัว ดีต่อเนื่องตามความต้องการบริโภคที่ขยายตัว คาดว่า ตลาดในประเทศจะขยายตัวใกล้เคียงกับ ปีกอ่ นเฉลีย่ 2-3% ต่อปี โดยความต้องการบริโภค

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 188 กันยายน - ตุลาคม 2562

21


Thailand Focus

ของภาคครัวเรือนจะขยายตัว 1-2% ต่อปี และ การบริโภคในธุรกิจฟาสต์ฟู้ดจะขยายตัว 3-4% ต่อปี ตามความนิยมของผู้บริโภคและแผนการ ลงทุนขยายสาขาร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดประเภทไก่ ขณะที่คาดว่าการส่งออกจะขยายตัวต่อเนื่อง แต่ การเปรียบเทียบกับฐานสูงในปี 2560 (การกลับมา น�ำเข้าหลังประเทศคู่ค้าหลัก อาทิ ญี่ปุ่น สหภาพ ยุโรป เกาหลีใต้ สิงคโปร์ ยกเลิกมาตรการระงับ น�ำเข้าไก่แช่แข็งจากไทย) อาจท�ำให้การส่งออก ในช่วงปี 2561-2563 ขยายตัวในอัตราชะลอลง เฉลี่ยที่ 5-8% ต่อปี ปัจจัยหนุนการขยายตัว มาจาก • ความต้องการบริโภคเนือ้ ไก่ในตลาดโลก ที่คาดว่าจะเติบโตต่อเนื่องเฉลี่ยปีละ 1.5-2% (ข้อมูลจาก OECD-FAO Agricultural Outlook 2017-2026)ซึง่ เป็นอัตราการเติบโตทีส่ งู กว่าความ ต้องการบริโภคเนื้อสัตว์ประเภทอื่น (ภาพที่ 9) • ยั ง มี ก ารระบาดของโรคไข้ ห วั ด นก ต่อเนื่องในหลายประเทศ ขณะที่ไม่พบการกลับ มาระบาดในไทย เนื่องจากผลผลิตไก่ของไทย สัดส่วนถึง 90% มาจากฟาร์มของผูป้ ระกอบการ รายใหญ่ซึ่งมีระบบป้องกันการแพร่ระบาดของ โรคที่ดี และกระบวนการแปรรูปไก่ของไทยได้ มาตรฐานเป็นที่ยอมรับของนานาชาติ จึงเป็น โอกาสในการขยายการส่งออกของไทย ทั้งนี้ จากรายงานของกระทรวงเกษตรสหรัฐฯ (United States Department of Agriculture: USDA) ปั จ จุ บั น ยั ง พบการระบาดของโรคไข้ ห วั ด นกใน หลายประเทศ โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชีย และ ยุโรป ซึ่งประเทศเหล่านี้เป็นเป็นประเทศผู้น�ำเข้า ไก่สุทธิ ท�ำให้มีแนวโน้มต้องน�ำเข้าเพิ่มขึ้น

22

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 188 กันยายน - ตุลาคม 2562


Thailand Focus

• การเปิดตลาดส่งออกใหม่ๆ ของไทย อาทิ ตะวันออกกลาง แอฟริกา รวมทั้งจีน ที่ คาดว่าจะกลับมาน�ำเข้าไก่แช่แข็งจากไทยมากขึ้น หลังผลิตภัณฑ์ไก่ของไทยทยอยได้รับการรับรอง จากส�ำนักงานการขึ้นทะเบียน หรือรับรองแห่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน (Certification and Accreditation Administration of the People's Republic of China: CNCA) ซึ่งปัจจุบันมีการ รับรองแล้ว 7โรงงาน (ข้อมูล ณ มีนาคม 2561) • การส่งออกไก่แปรรูปไปญีป่ นุ่ มีแนวโน้ม เพิ่มขึ้นมากจากกระแสรักษ์สุขภาพ6/ ประกอบ กับมีการขยายการลงทุนโรงงานแปรรูปไก่เนือ้ ของ บริษัทสัญชาติญี่ปุ่นในไทยเพื่อผลิตเนื้อไก่แปรรูป ป้อนให้กับธุรกิจอาหารในญี่ปุ่น อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการอาจมีความ เสีย่ งจากต้นทุนการผลิต (ราคาไก่เนือ้ ) ทีเ่ พิม่ ขึน้ ตามราคาวั ต ถุ ดิ บ อาหารสั ต ว์ ทั้ ง กากถั่ ว เหลื อ ง และข้าวโพด ประกอบกับมีการต่อรองราคาของ ประเทศคู่ค้าเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากการแข่งขัน ในตลาดโลกรุนแรงหลังหลายประเทศมีผลผลิต ไก่เนื้อเพิ่มขึ้น และมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ไก่เพื่อ ส่งออก อาทิ บราซิล จีน ยูเครน เวียดนาม แนวโน้มเช่นนีอ้ าจมีผลให้อตั ราก�ำไรของอุตสาหกรรมชะลอลงบ้าง แต่จะยังอยู่ในเกณฑ์ดี

จากการศึ ก ษาของสถาบั น มะเร็ ง แห่ ง ชาติ ประจำ � มลรั ฐ แมรี แ ลนด์ สหรัฐอเมริกา พบว่า การบริโภคเนือ้ ไก่จะทำ�ให้สขุ ภาพแข็งแรงและอายุยนื กว่าการบริโภคเนื้อสัตว์ประเภทอื่น และยังช่วยลดความเสี่ยงในการเป็น มะเร็ง และโรคหัวใจลงได้ เนื่องจากเนื้อไก่มีไขมันคอเลสเตอรอล และ ไขมันอิ่มตัวน้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับเนื้อแดง (อาทิ เนื้อหมู เนื้อวัว เนื้อ แกะ) อีกทั้งยังเป็นแหล่งโปรตีน วิตามิน เกลือแร่ต่างๆ (เช่น เหล็ก สังกะสี) และกรดอะมิโนลิวซีนที่จำ�เป็นต่อร่างกาย

6/

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 188 กันยายน - ตุลาคม 2562

23


Thailand Focus

ในระยะ 5-10 ปีข้างหน้า ไทยอาจเสียเปรียบในการแข่งขันส่งออกผลิตภัณฑ์ไก่ เนื่องจาก ต้นทุนแรงงานและปัจจัยการผลิตต่างๆ เพิ่มสูงขึ้น ขณะที่บราซิลมีต้นทุนการผลิตถูกกว่าไทยค่อนข้าง มาก ทัง้ จากขนาดการผลิตทีใ่ หญ่กว่าและระบบการผลิตสมัยใหม่ (ไม่เน้นใช้แรงงานคน) ต้นทุนต่อหน่วย จึงต�่ำกว่าไทย นอกจากนี้ อุตสาหกรรมไก่เนื้อของไทยยังมีความเสี่ยงจากพึ่งพาการน�ำเข้าพันธุ์ไก่จาก ต่างประเทศ (ส่วนใหญ่น�ำเข้าจากยุโรป และสหรัฐฯ) ดังนั้น หากเกิดโรคระบาดในแหล่งผลิตพันธุ์ไก่ เป็นระยะเวลานานอาจมีผลให้ไทยประสบปัญหาในการขยายการผลิตไก่เนื้อในบางช่วงเวลา

24

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 188 กันยายน - ตุลาคม 2562



ไดเจสตารอม ดีซี

เพิ่มประสิทธิภาพการไดรับประโยชนจากสารอาหาร

Digestarom DC ®

The Feed Converter.

ไดเจสตารอม ดีซี Digestarom® DC

ใหประโยชนอยางชัดเจนตอสัตวเลี้ยงและตอผูประกอบการ • นวัตกรรมใหมลาสุดของผลิตภัณฑไฟโตเจนนิกเพื่อเพิ่มการกินไดของสัตว • ดวยสูตรการทํางาน 3 ขั้นตอน เพื่อประสิทธิภาพการเลี้ยงที่ดีขึ้น • ดวยเทคโนโลยี ไบโอมิน ดูเพล็กซ แคปซูล Biomin® Duplex Capsule ที่มีคุณลักษณะเฉพาะ เพื่อชวยปรับปรุงประสิทธิภาพการแลกเนื้อ บริ ษัท เออร์ เบอร์ ไบโอเทค (ประเทศไทย) จํากัด 1/913 ถ.พหลโยธิน 60 ต.คูคต อ.ลําลูกกา จ.ปทุมธานี 12130 โทรศัพท: (02) 993 7500, แฟกซ: (02) 993 8499

www.thefeedconverter.com

Naturally ahead


Food Feed Fuel

ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 2562 (ปีเพาะปลูก 2562/63) (ข้อมูลจากคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพข้อมูลด้านการเกษตร ณ วันที่ 28 มิถุนายน 2562) ปี 2561 2562 ผลต่าง % การเปลี่ยนแปลง

เนื้อที่เพาะปลูก เนื้อที่เก็บเกี่ยว (ไร่) (ไร่) 6,783,265 6,767,459 6,809,848 6,786,058 26,583 18,599 0.39 0.27

ผลผลิต (ตัน) 5,034,754 5,091,690 56,936 1.13

ผลผลิตต่อไร่ (กก.) ปลูก เก็บ 742 744 748 750 6 6 0.81 0.81

สถานการณ์การผลิต

ในปี 2562 เนือ้ ทีเ่ พาะปลูกข้าวโพดเลีย้ งสัตว์ทงั้ สองรุน่ คาดว่าเพิม่ ขึน้ เนือ่ งจากราคาทีเ่ กษตรกร ขายได้ มีแนวโน้มสูงขึ้น จึงจูงใจให้ขยายพื้นที่เพาะปลูกในพื้นที่ว่าง แทนอ้อยโรงงานที่ครบอายุปลูก ในพืน้ ทีร่ ะหว่างรอปลูกมันส�ำปะหลังโรงงานในฤดูกาลต่อไป บางส่วนปลูกแทนถัว่ เหลือง ส�ำหรับผลผลิต ต่อไร่ของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ทั้งสองรุ่น คาดว่าเพิ่มขึ้นจากปริมาณน�้ำฝนเพียงพอต่อการเจริญเติบโต มากกว่าปีที่ผ่านมา และไม่กระทบแล้งในช่วงออกดอก เกษตรกรมีความช�ำนาญในการเพาะปลูก และ บ�ำรุงดูแลดีขึ้น ถึงแม้จะพบการระบาดของหนอนกระทู้ แต่ยังสามารถควบคุมได้ ส่งผลให้ผลผลิต ในภาพรวมเพิ่มขึ้นด้วย ภาคเหนือ เนื้อที่เพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ทั้งสองรุ่นคาดว่าเพิ่มขึ้น เนื่องจากราคาที่เกษตรกร ขายได้ มีแนวโน้มสูงขึ้น จึงจูงใจให้เกษตรกรปลูกเพิ่มในพื้นที่ว่าง ปลูกในพื้นที่ที่รอปลูกมันส�ำปะหลัง โรงงานในฤดูกาลต่อไป และบางส่วนปลูกแทนถั่วเหลือง เช่น จังหวัดเชียงใหม่ อุตรดิตถ์ และตาก ส�ำหรับผลผลิตต่อไร่ของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ทั้งสองรุ่นคาดว่าเพิ่มขึ้น จากปริมาณน�้ำฝนเพียงพอต่อการ เจริญเติบโต และไม่กระทบแล้งในช่วงออกดอก เกษตรกรมีความช�ำนาญในการเพาะปลูก และบ�ำรุง ดูแลดีขึ้น ถึงแม้จะพบการระบาดของหนอนกระทู้ในบางพื้นที่ของจังหวัดเพชรบูรณ์ ท�ำให้ข้าวโพด ยืนต้นตาย แต่เกษตรกรยังสามารถควบคุมการระบาดได้ จึงไม่ส่งผลต่อภาพรวมของผลผลิตมากนัก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เนื้อที่เพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ทั้งสองรุ่นคาดว่าเพิ่มขึ้น เนื่องจาก ราคาที่เกษตรกรขายได้มีแนวโน้มสูงขึ้น จึงจูงใจให้เกษตรกรปลูกเพิ่มในพื้นที่ว่าง ปลูกในพื้นที่ที่รอปลูก มันส�ำปะหลังโรงงานในฤดูกาลต่อไป และบางส่วนปลูกแทนถั่วเหลือง เช่น จังหวัดเลย อุดรธานี หนองบัวล�ำภู และชัยภูมิ ส�ำหรับผลผลิตต่อไร่ของข้าวโพดเลีย้ งสัตว์ทงั้ สองรุน่ คาดว่าเพิม่ ขึน้ จากปริมาณ น�้ำฝนเพียงพอต่อการเจริญเติบโต และไม่กระทบแล้งในช่วงออกดอก เกษตรกรมีความช�ำนาญในการ เพาะปลูก และบ�ำรุงดูแลดีขึ้น ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 188 กันยายน - ตุลาคม 2562

25


Food Feed Fuel

ภาคกลาง เนื้อที่เพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ทั้งสองรุ่นคาดว่าเพิ่มขึ้น เนื่องจากราคาที่เกษตรกร ขายได้ มีแนวโน้มสูงขึ้น จึงจูงใจให้เกษตรกรปลูกเพิ่มในพื้นที่ว่าง บางส่วนปลูกแทนอ้อยโรงงาน ได้แก่ จังหวัดสุพรรณบุรี ชัยนาท และสระบุรี ส�ำหรับผลผลิตต่อไร่ของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ทั้งสองรุ่นคาดว่า เพิ่มขึ้นจากปริมาณน�้ำฝนเพียงพอต่อการเจริญเติบโต และไม่กระทบแล้งในช่วงออกดอก เกษตรกร มีความช�ำนาญในการเพาะปลูก และบ�ำรุงดูแลดีขึ้น

เนื้อที่เพาะปลูกและผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

ร้อยละผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์รายเดือน

แหล่งเพาะปลูก 5 อันดับแรก ได้แก่  จ.เพชรบูรณ์  จ.นครราชสีมา  จ.น่าน  จ.ตาก  จ.เลย ราคาที่เกษตรกรขายได้ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ความชื้น 14.5% (บาท/กก.)

หมายเหตุ : ปี 2562 เฉลี่ยตั้งแต่เดือนมกราคม-มิถุนายน (สัปดาห์ที่ 3)

26

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 188 กันยายน - ตุลาคม 2562


ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 188 กันยายน - ตุลาคม 2562

27

2561 2562 % 2560 2561 6,783,265 6,809,848 0.39 6,552,902 6,767,459 5,989,960 6,011,381 0.36 5,962,538 5,974,996 793,305 798,467 0.65 590,364 792,463 4,594,772 4,613,800 0.41 4,500,698 4,581,394 4,028,951 4,044,719 0.39 4,013,805 4,016,049 565,821 569,081 0.58 486,893 565,345

% 0.27 0.22 0.70 0.21 0.16 0.60

1,472,133 0.32

2562 6,786,058 5,988,057 798,001 4,591,180 4,022,463 568,717

1,244,409 1,253,005 1,255,363 0.19 1,241,969 1,252,166 1,254,900 0.22 94,050 215,641 217,323 0.78 92,534 215,292 217,233 0.90 721,348 719,847 723,362 0.49 717,701 718,607 722,745 0.58 710,341 708,004 711,299 0.47 706,764 706,781 710,694 0.55 11,007 11,843 12,063 1.86 10,937 11,826 12,051 1.90

1,338,459 1,468,646 1,472,686 0.28 1,334,503 1,467,458

2560 6,579,194 5,984,253 594,941 4,519,387 4,029,503 489,884

เนื้อที่เก็บเกี่ยว (ไร่)

หมายเหตุ : ข้อมูลปี 2560 คือ ข้อมูลสารวจเบื้องต้น ข้อมูลปี 2561 และปี 2562 คือ ผลการพยากรณ์

รวมทั้งประเทศ รุ่น 1 รุ่น 2 ภาคเหนือ รุ่น 1 รุ่น 2 ตะวันออก เฉียงเหนือ รุ่น 1 รุ่น 2 ภาคกลาง รุ่น 1 รุ่น 2

ประเทศ/ภาค

เนื้อที่เพาะปลูก (ไร่) 2561 5,034,754 4,422,127 612,627 3,406,547 2,952,495 454,052

2562 5,091,690 4,460,186 631,504 3,438,115 2,972,510 465,605

908,128 65,058 547,014 538,159 8,855

931,937 148,962 547,308 537,695 9,613

942,947 1.18 155,906 4.66 554,722 1.35 544,729 1.31 9,993 3.95

730 692 758 758 804

727

% 2560 1.13 733 0.86 728 3.08 782 0.93 730 0.68 722 2.54 798

973,186 1,080,899 1,098,853 1.66

2560 4,820,962 4,355,955 465,007 3,300,762 2,909,668 391,094

ผลผลิต (ตัน)

744 691 760 759 812

736

751 717 767 766 828

731 703 762 761 810

729

744 692 762 761 813

737

751 718 768 766 829

746

0.94 3.76 0.79 0.66 1.97

1.22

% 0.81 0.68 2.33 0.67 0.54 1.99

Food Feed Fuel

0.94 3.76 0.92 0.92 1.97

746 1.36

ผลผลิตต่อไร่ (กิโลกรัม) ต่อเนื้อที่เพาะปลูก ต่อเนื้อที่เก็บเกี่ยว 2561 2562 % 2560 2561 2562 742 748 0.81 736 744 750 738 742 0.54 731 740 745 772 791 2.46 788 773 791 741 745 0.54 733 744 749 733 735 0.27 725 735 739 802 818 2.00 803 803 819

ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ : ผลพยากรณ์การผลิต ปี 2562 (ปี เพาะปลูก 2562/63) ที่ความชื้น 14.5% ข้อมูล ณ เดือน มิถุนายน 2562 (ข้อมูลจากคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพข้อมูลด้านการเกษตร ณ วันที่ 28 มิถุนายน 2562)


Food Feed Fuel

ถั่วเหลือง ปี 2562 (ปีเพาะปลูก 2562/63)

(ข้อมูลจากคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพข้อมูลด้านการเกษตร ณ วันที่ 28 มิถุนายน 2562) ปี 2561 2562 ผลต่าง % การเปลี่ยนแปลง

เนื้อที่เพาะปลูก เนื้อที่เก็บเกี่ยว (ไร่) (ไร่) 149,989 149,570 148,602 148,304 -1,387 -1,266 -0.92 -0.85

ผลผลิต (ตัน) 42,898 43,087 189 0.44

ผลผลิตต่อไร่ (กก.) ปลูก เก็บ 286 287 290 291 4 4 1.40 1.39

สถานการณ์การผลิต

เนื้อที่เพาะปลูกถั่วเหลืองทั้ง 2 รุ่น คาดว่าลดลง เนื่องจากถั่วเหลืองเป็นพืชที่ดูแลรักษายาก และปัจจัยการผลิตมีราคาสูง เช่น ค่าแรงงานในการเก็บเกี่ยว ค่าปุ๋ย ค่าเมล็ดพันธุ์ เป็นต้น รวมทั้ง ยังขาดแคลนแรงงานในการเก็บเกี่ยว ประกอบกับยังขาดการพัฒนาเทคโนโลยีที่ช่วยให้การเก็บเกี่ยว ถั่วเหลืองท�ำได้ง่ายขึ้น ท�ำให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่นที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า เช่น ข้าวโพด เลี้ยงสัตว์ ข้าวโพดหวาน พืชผัก และบางส่วนปล่อยพื้นที่ว่างเปล่า ถึงแม้ว่าจะมีโครงการส่งเสริม การปลูกถั่วเหลืองหลังนา เพื่อให้เกษตรกรขยายเนื้อที่เพาะปลูกก็ตาม ส�ำหรับผลผลิตต่อไร่ถั่วเหลือง ทั้ง 2 รุ่น คาดว่าเพิ่มขึ้น เนื่องจากสภาพอากาศเอื้ออ�ำนวย มีปริมาณน�้ำเพียงพอต่อการเพาะปลูก เกษตรกรดูแลรักษาดี ส่งผลให้ผลผลิตรวมทั้งประเทศเพิ่มขึ้นด้วย ภาคเหนือ เนื้อที่เพาะปลูกถั่วเหลืองรุ่น 1 คาดว่าลดลง เนื่องจากถั่วเหลืองเป็นพืชที่ดูแลรักษา ยาก และปัจจัยการผลิตมีราคาสูง เช่น ค่าแรงงานในการเก็บเกี่ยว ค่าปุ๋ย ค่าเมล็ดพันธุ์ เป็นต้น รวมทั้งยังขาดแคลนแรงงานในการเก็บเกี่ยว ประกอบกับยังขาดการพัฒนาเทคโนโลยีที่ช่วยให้การ เก็บเกี่ยวถั่วเหลืองท�ำได้ง่ายขึ้น ท�ำให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่นที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า เช่น ข้าวโพดเลีย้ งสัตว์ ข้าวโพดหวาน ถัว่ เขียว บางส่วนปลูกถัว่ เหลืองไว้เพือ่ ท�ำพันธุ์ และปล่อยพืน้ ทีว่ า่ งเปล่า ส่วนเนือ้ ทีเ่ พาะปลูกถัว่ เหลืองรุน่ 2 คาดว่าเพิม่ ขึน้ เนือ่ งจากมีโครงการส่งเสริมการปลูกถัว่ เหลืองหลังนา เช่น จังหวัดน่าน เชียงราย เป็นต้น ส�ำหรับผลผลิตต่อไร่ถั่วเหลืองทั้ง 2 รุ่น คาดว่าเพิ่มขึ้น เนื่องจาก สภาพภูมิอากาศเอื้ออ�ำนวย มีปริมาณน�้ำเพียงพอต่อการเพาะปลูก เกษตรกรดูแลรักษาดี ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เนื้อที่เพาะปลูกถั่วเหลืองทั้ง 2 รุ่น คาดว่าลดลง เนื่องจากถั่วเหลือง เป็นพืชที่ดูแลรักษายาก และปัจจัยการผลิตมีราคาสูง เช่น ค่าแรงงานในการเก็บเกี่ยว ค่าปุ๋ย ค่าเมล็ด พันธุ์ เป็นต้น รวมทั้งยังขาดแคลนแรงงานในการเก็บเกี่ยว ประกอบกับยังขาดการพัฒนาเทคโนโลยีที่ ช่วยให้การเก็บเกี่ยวถั่วเหลืองท�ำได้ง่ายขึ้น ท�ำให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่นที่ให้ผลตอบแทน

28

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 188 กันยายน - ตุลาคม 2562


Food Feed Fuel

ที่ดีกว่า เช่น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปอเทือง บางส่วนปลูกถั่วเหลืองไว้เพื่อท�ำพันธุ์ และบ�ำรุงดินเท่านั้น รวมทั้งบางพื้นที่ปล่อยว่าง ส�ำหรับผลผลิตต่อไร่ ถั่วเหลืองทั้ง 2 รุ่น คาดว่าเพิ่มขึ้น เนื่องจากสภาพ ภูมิอากาศเอื้ออ�ำนวย มีปริมาณน�้ำเพียงพอต่อการเพาะปลูก เกษตรกรดูแลรักษาดี ภาคกลาง เนื้อที่เพาะปลูกถั่วเหลืองรุ่น 2 คาดว่าลดลง เนื่องจากถั่วเหลืองเป็นพืชที่ดูแลรักษา ยาก และปัจจัยการผลิตมีราคาสูง เช่น ค่าแรงงานในการเก็บเกี่ยว ค่าปุ๋ย ค่าเมล็ดพันธุ์ เป็นต้น รวมทั้งยังขาดแคลนแรงงานในการเก็บเกี่ยว ประกอบกับยังขาดการพัฒนาเทคโนโลยีที่ช่วยให้การ เก็บเกี่ยวถั่วเหลืองท�ำได้ง่ายขึ้น ท�ำให้เกษตรกรปล่อยพื้นที่ว่าง ส่วนผลผลิตต่อไร่รุ่น 2 คาดว่าเพิ่มขึ้น เนื่องจากสภาพภูมิอากาศเอื้ออ�ำนวย มีปริมาณน�้ำเพียงพอต่อการเพาะปลูก เกษตรกรดูแลรักษาดี

เนื้อที่เพาะปลูกและผลผลิตถั่วเหลือง

ร้อยละผลผลิตถั่วเหลืองรายเดือน

แหล่งผลิต 5 อันดับแรก ได้แก่  จ.แม่ฮ่องสอน  จ.ขอนแก่น  จ.เชียงราย  จ.น่าน  จ.ชัยภูมิ ราคาที่เกษตรกรขายได้ ราคาถั่วเหลืองคละ (บาท/กก.)

หมายเหตุ : ปี 2562 เฉลี่ยตั้งแต่เดือนมกราคม-มิถุนายน (สัปดาห์ที่ 3)

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 188 กันยายน - ตุลาคม 2562

29


30

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 188 กันยายน - ตุลาคม 2562

2561 149,989 59,007 90,982 110,648 53,305 57,343

39,232

5,702 33,530 109 109

2560 152,106 60,447 91,659 111,483 54,471 57,012

40,500

5,976 34,524 123 123

-1.95

% -0.92 -1.71 -0.41 -0.55 -1.43 0.28

5,453 -4.37 33,013 -1.54 92 -15.60 92 -15.60

38,466

2562 148,602 57,996 90,606 110,044 52,543 57,501

5,922 34,453 123 123

40,375

2560 151,133 60,109 91,024 110,635 54,187 56,448

5,622 33,461 109 109

39,083

2561 149,570 58,819 90,751 110,378 53,197 57,181 -1.84

% -0.85 -1.60 -0.35 -0.48 -1.34 0.32

5,390 -4.13 32,975 -1.45 92 -15.60 92 -15.60

38,365

2562 148,304 57,875 90,429 109,847 52,485 57,362

เนื้อที่เก็บเกี่ยว (ไร่)

*ข้อมูล ปี 2560 คือ ข้อมูลส�ำรวจเบื้องต้น ข้อมูล ปี 2561 และ ปี 2562 คือ ผลการพยากรณ์

รวมทั้งประเทศ รุ่น 1 รุ่น 2 ภาคเหนือ รุ่น 1 รุ่น 2 ภาคตะวันออก เฉียงเหนือ รุ่น 1 รุ่น 2 ภาคกลาง รุ่น 2

ประเทศ/ภาค

เนื้อที่เพาะปลูก (ไร่)

1,567 9,148 34 34

10,715

2560 42,829 19,065 23,764 32,080 17,498 14,582

1,520 9,004 30 30

10,524

2561 42,898 18,887 24,011 32,344 17,367 14,977

1,478 8,945 26 26

10,423

2562 43,087 18,779 24,308 32,639 17,301 15,338

ผลผลิต (ตัน)

-2.76 -0.66 -14.99 -14.99

-0.97

262 265 276 276

265

% 2560 0.44 282 -0.57 315 1.24 259 0.91 288 -0.38 321 2.41 256

267 269 278 278

268

271 271 280 280

271

1.50 0.74 0.72 0.72

1.12

265 266 276 276

265

270 269 278 278

269

274 271 280 280

272

ผลผลิตต่อไร่ (กิโลกรัม) ต่อเนื้อที่เพาะปลูก ต่อเนื้อที่เก็บเกี่ยว 2561 2562 % 2560 2561 2562 286 290 1.40 283 287 291 320 324 1.25 317 321 324 264 268 1.52 261 265 269 292 297 1.71 290 293 297 326 329 0.92 323 326 330 261 267 2.30 258 262 267

ถั่วเหลือง : ผลพยากรณ์การผลิต ปี 2562 (ปี เพาะปลูก 2562/63) ที่ความชื้น 15% ข้อมูล ณ เดือนมิถุนายน 2562 (ข้อมูลจากคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพข้อมูลด้านการเกษตร ณ วันที่ 28 มิถุนายน 2562)

1.48 0.74 0.72 0.72

1.12

% 1.39 0.93 1.51 1.37 1.23 1.91

Food Feed Fuel


Food Feed Fuel

มันส�ำปะหลังโรงงาน ปี 2563 (ปีเพาะปลูก 2562/63) (ข้อมูลจากคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพข้อมูลด้านการเกษตร ณ วันที่ 28 มิถุนายน 2562)

ปี 2562 2563 ผลต่าง % การเปลี่ยนแปลง

เนื้อที่เก็บเกี่ยว (ไร่) 8,702,122 8,809,194 107,072 1.23

ผลผลิต (ตัน) 31,427,923 32,004,184 576,261 1.83

ผลผลิตต่อไร่ (กก.) 3,612 3,633 21 0.58

สถานการณ์การผลิต

เนื้อที่เก็บเกี่ยวโดยรวมคาดว่าเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีเพาะปลูก 2561/62 เนื่องจากราคาหัวมัน ส�ำปะหลังที่เกษตรกรขายได้มีราคาดีต่อเนื่องตั้งแต่ปลายปี 2561 เกษตรกรจึงมีแรงจูงใจปลูกเพิ่มขึ้น โดยปลูกแทนในพืน้ ทีอ่ อ้ ยโรงงานทีค่ รบอายุ เนือ่ งจากอ้อยโรงงานราคาตกต�ำ่ บางพืน้ ทีป่ ลูกแทนในพืน้ ที่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ในพื้นที่นาดอน และพื้นที่ว่างตามหัวไร่ปลายนา เป็นต้น ส�ำหรับผลผลิตต่อไร่ เพิ่มขึ้น เนื่องจากเกษตรกรมีความช�ำนาญ และได้รับการส่งเสริมพัฒนาความรู้มากขึ้น ประกอบกับ ราคามันส�ำปะหลังยังคงจูงใจกว่าสินค้าเกษตรชนิดอื่น เกษตรกรจึงดูแลเอาใจใส่บ�ำรุงแปลงเพาะปลูก มันส�ำปะหลังเพิ่มขึ้น รวมทั้งเฝ้าระวังโรคใบด่าง ป้องกันการระบาดของโรคจากประเทศเพื่อนบ้าน อย่างต่อเนื่อง ท�ำให้มันส�ำปะหลังเจริญเติบโตดี จึงส่งผลให้ผลผลิตภาพรวมเพิ่มขึ้นด้วย ภาคเหนือ เนื้อที่เก็บเกี่ยวคาดว่าเพิ่มขึ้น เนื่องจากราคามันส�ำปะหลังที่เกษตรกรขายได้มีราคาดี ท�ำให้เกษตรกรมีแรงจูงใจให้ปลูกเพิม่ ขึน้ โดยปลูกในพืน้ ทีอ่ อ้ ยโรงงาน ข้าวโพดเลีย้ งสัตว์ สับปะรดโรงงาน และพื้นที่ทิ้งว่าง เป็นต้น ส�ำหรับผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้น เนื่องจากเกษตรกรบางรายได้รับการพัฒนา ความรู้เพื่อใช้ในการดูแลแปลงมันส�ำปะหลังอย่างถูกวิธีมากขึ้น บางพื้นที่เกษตรกรได้ปรับเปลี่ยนพันธุ์ ที่ได้รับการส่งเสริมจากหน่วยงานราชการ ส่งผลให้ผลผลิตรวมเพิ่มขึ้นด้วย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เนือ้ ทีเ่ ก็บเกีย่ วคาดว่าเพิม่ ขึน้ เนือ่ งจากราคามันส�ำปะหลังทีเ่ กษตรกร ขายได้มีราคาดี ท�ำให้เกษตรกรมีแรงจูงใจให้ปลูกเพิ่มขึ้น โดยปลูกในพื้นที่อ้อยโรงงาน บางพื้นที่ปลูก ในพื้นที่นาดอน พื้นที่นาไม่เหมาะสม และพื้นที่ว่างตามหัวไร่ปลายนา เป็นต้น ส�ำหรับผลผลิตต่อไร่ เพิม่ ขึน้ เนือ่ งจากปริมาณน�ำ้ ฝน สภาพอากาศเอือ้ อ�ำนวย เหมาะแก่การเจริญเติบโตของต้นมันส�ำปะหลัง แม้วา่ ในบางพืน้ ทีจ่ ะประสบภัยแล้งแต่มนั ส�ำปะหลังเป็นพืชทีท่ นแล้งจึงไม่สง่ ผลกระทบมากนัก เกษตรกร เอาใจใส่ดูแล ใส่ปุ๋ย และท�ำรุ่นแปลงมันส�ำปะหลังมากขึ้น ท�ำให้หัวมันส�ำปะหลังมีการเจริญเติบโตดี ผลผลิตต่อไร่จึงเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ผลผลิตรวมเพิ่มขึ้นด้วย

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 188 กันยายน - ตุลาคม 2562

31


Food Feed Fuel

ภาคกลาง เนื้อที่เก็บเกี่ยวคาดว่าเพิ่มขึ้น เนื่องจากราคามันส�ำปะหลังที่เกษตรกรขายได้มีราคาดี ท�ำให้เกษตรกรมีแรงจูงใจปลูกเพิ่มขึ้นในพื้นที่อ้อยโรงงานครบอายุ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และปลูกในพื้นที​ี่ รกร้างทีป่ ล่อยทิง้ ว่างไว้ เป็นต้น ส�ำหรับผลผลิตต่อไร่เพิม่ ขึน้ เนือ่ งจากเกษตรกรมีความรูเ้ พิม่ ขึน้ ทัง้ ด้าน การดูแลแปลงและพันธุ์ที่ใช้ปลูก เช่น บางพื้นที่ได้ท�ำน�้ำหยดเพิ่มขึ้น เกษตรกรเอาใจใส่ดูแลใส่ปุ๋ย ท�ำรุ่นแปลงมันส�ำปะหลังมากขึ้น ตลอดจนใช้พันธุ์ที่ทางราชการรับรองมากขึ้น และท่อนพันธุ์ที่ใช้มีอายุ ครบตามก�ำหนด ท�ำให้ตน้ มันส�ำปะหลังเจริญเติบโตดี หัวมันสมบูรณ์ดี ผลผลิตต่อไร่จงึ เพิม่ ขึน้ ส่งผลให้ ผลผลิตภาพรวมเพิ่มขึ้นด้วย

เนื้อที่เก็บเกี่ยวและผลผลิต มันสำ�ปะหลังโรงงาน

ร้อยละผลผลิตมันสำ�ปะหลังโรงงานรายเดือน

แหล่งผลิต 5 อันดับแรก ได้แก่  จ.นครราชสีมา  จ.ก�ำแพงเพชร  จ.ชัยภูมิ  จ.กาญจนบุรี  จ.อุบลราชธานี ราคาที่เกษตรกรขายได้ หัวมันสำ�ปะหลังสดคละ (บาท/กก.)

หมายเหตุ : ปี 2562 เฉลี่ยตั้งแต่เดือนมกราคม-มิถุนายน (สัปดาห์ที่ 3)

32

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 188 กันยายน - ตุลาคม 2562


ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 188 กันยายน - ตุลาคม 2562

33

2561 8,327,370 1,899,441 4,559,067 1,868,862

เนื้อที่เก็บเกี่ยว (ไร่) 2562 2563 8,702,122 8,809,194 1,963,230 1,983,153 4,817,519 4,881,341 1,921,373 1,944,700

หมายเหตุ : ข้อมูลปี ปี 61 = ข้อมูลสถิติ ปี 62-63 =ข้อมูลพยากรณ์

รวมทั้งประเทศ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง

ประเทศ/ภาค % 2561 1.23 29,368,185 1.01 6,480,715 1.32 16,460,241 1.21 6,427,229

ผลผลิต (ตัน) 2562 2563 31,427,923 32,004,184 6,881,644 6,990,882 17,840,432 18,195,034 6,705,847 6,818,268 % 1.83 1.59 1.99 1.68

% 0.58 0.57 0.65 0.46

Food Feed Fuel

ผลผลิตต่อไร่ (กิโลกรัม) 2561 2562 2563 3,527 3,612 3,633 3,412 3,505 3,525 3,610 3,703 3,727 3,439 3,490 3,506

มันสำ�ปะหลังโรงงาน : ผลพยากรณ์การผลิต ปี 2563 (ปี เพาะปลูก 2562/63) ข้อมูล ณ เดือนมิถุนายน 2562 (ข้อมูลจากคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพข้อมูลด้านการเกษตร ณ วันที่ 28 มิถุนายน 2562)


Market Leader

เกาะติดสถานการณ์ ASF ซีพีเอฟจัดสัมมนา “เกาะติดสถานการณ์...African Swine Fever (ASF)” แก่ลูกค้าอาหารสัตว์ของซีพีเอฟ เพื่ อให้ความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรที่ถูกต้อง มาตรการเฝ้าระวัง และการป้องกันโรคในประเทศไทย และระดับสากล

เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2562 ธุรกิจอาหารสัตว์บก บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จ�ำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ ได้ระดมนักวิชาการบริษัท และ นักวิชาการจากกรมปศุสัตว์ จัดสัมมนาในหัวข้อ “เกาะติด สถานการณ์...African Swine Fever (ASF)” ณ โรงแรม พูลแมน คิงเพาเวอร์ กรุงเทพฯ ทัง้ นีเ้ พือ่ ให้ความรู้ ความเข้าใจ เกีย่ วกับโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรทีถ่ กู ต้อง มาตรการเฝ้าระวัง และ การป้องกันโรคในประเทศไทย และระดับสากลแก่ลกู ค้าอาหารสัตว์ ของ ซีพีเอฟ โดยมี คุณเรวัติ หทัยสัตยพงศ์ รองกรรมการผู้จัดการ บริหาร เป็นประธานกล่าวเปิดงาน พร้อมกันนี้ยังมี น.สพ.จีระศักดิ์ พิพัฒนพงศ์โสภณ รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ สพ.ญ.ดร.วันทนีย์ กัลล์ประวิทย์ ผู้จัดการศูนย์ควบคุมโรคระบาดสัตว์ผ่านแดนภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค องค์การอาหารและ เกษตรแห่งสหประชาชาติ นางกอบกาญจน์ ประสมศักดิ์ ผู้ช�ำนาญการอาวุโสระบบมาตรฐาน และ น.สพ.ด�ำเนิน จตุรวิธวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโสด้านสัตวแพทย์บริการวิชาการสุกร หน่วยงาน ด้านสุขภาพสัตว์ซีพีเอฟ ร่วมบรรยายพิเศษ ซึ่งหัวข้อที่น่าสนใจคือเรื่อง “ซีพีเอฟ...มีวิธีการอย่างไรใน การรับมือกับ ASF” โดยมี น.สพ.ด�ำเนิน จตุรวิธวงศ์ เป็นผู้บรรยาย น.สพ.ด�ำเนิน กล่าวว่า หลังจากที่เรามีบทเรียนการระบาดโรค PRRS ที่ประเทศจีน ก็ท�ำให้เรา เข้าใจและเตรียมรับมือในการเข้ามาของโรค ASF เพราะคาดว่าจะมีทศิ ทาง หรือสถานการณ์คล้ายๆ กัน คือ หลังจากระบาดไปทั่วประเทศจีน แล้วก็จะเข้าประเทศเวียดนาม และมาลาว ดังนั้น ถ้าจะท�ำให้ ประเทศไทยปลอดจากโรคนี้ ทุกคนจะต้องร่วมมือกัน และแน่นอนว่าในส่วนของซีพีเอฟ ก็ไม่อาจรับมือ กับโรคนี้ได้เพียงล�ำพัง ต้องอาศัยความร่วมมือทั้งผู้เลี้ยงรายเล็ก รายใหญ่ ไม่มีใครที่จะอยู่คนเดียวได้ หากเกิดการระบาด เพราะฉะนั้นทุกคนต้องร่วมมือกัน ที่มา : สาส์นไก่ & สุกร ปีที่ 17 ฉบับที่ 196 กันยายน พ.ศ. 2562

34

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 188 กันยายน - ตุลาคม 2562


ส�ำหรับโรค ASF เป็นที่ ทราบกันดีวา่ ความน่ากลัวของ มันคือ เป็นแล้วตาย ไม่มีทาง รักษา การใช้ยาฆ่าเชือ้ เพือ่ ป้องกัน ต้องสัมผัสตัวยาอย่างน้อย 30 นาที จึงตาย ที่ส�ำคัญเชื้อโรคมีความคงทน หากอยู่ใน เนือ้ แช่แข็งสามารถอยูไ่ ด้ 1,000 วัน หรือประมาณ 3 ปี หากอยู่ในเนื้อแช่เย็น จะอยู่ได้นาน 110 วัน ในคอก 30 วัน และทีน่ า่ กลัวและมีความเสีย่ งมาก คือ ในเลือด เพราะอยู่นานถึง 540 วัน และใน มูลสัตว์ 11 วัน การจะฆ่าเชื้อเหล่านี้ได้ต้องผ่าน ความร้อนที่ 70 องศาเซลเซียส นาน 30 นาที การติดต่อของโรคนี้ หากสัมผัสโดยตรงจะ ท�ำให้สกุ รติดเชือ้ ได้รวดเร็วและรุนแรง โดยเฉพาะ การสัมผัสกับเลือด เพราะไวรัสมีปริมาณสูงสุดใน เลือดสุกรที่ป่วย โดยเลือด 1 หยด สามารถท�ำให้ สุกรตายได้ทั้งฟาร์ม ดังนั้น รถขนส่งและอุปกรณ์ ที่ปนเปื้อนเลือดจะเป็นพาหะส�ำคัญที่แพร่โรคใน ระยะไกล นีจ่ งึ เป็นเหตุผลทีว่ า่ เมือ่ เกิดการระบาด ของโรค จึงไม่ให้มีการเคลื่อนย้าย แต่ที่ถือว่าเป็น พาหะส�ำคัญไม่แพ้กนั คือ คนทีส่ มั ผัสกับโรคนี้ และ คนทีน่ ำ� เอาผลิตภัณฑ์เนือ้ หมูทตี่ ดิ เชือ้ ไปในทีต่ า่ งๆ รวมถึงพวกวัตถุดิบอาหารสัตว์ปนเปื้อนด้วย ส่วน การแพร่ทางอากาศ และสัตว์พาหะสามารถแพร่ได้ แต่ได้ในระยะทางใกล้ๆ เท่านั้น

Market Leader

ในยุโรปการระบาดของโรคในช่วงปี พ.ศ. 2550 - 2560 มีการแพร่ระบาดไปในระยะทาง 3,000 กิโลเมตร ซึ่งไม่ถือว่ามาก ทั้งนี้เนื่องจาก ยุ โ รปมี ม าตรการเข้ ม งวดในการควบคุ ม และ ป้องกันการแพร่ระบาด ซึง่ แตกต่างจากประเทศจีน ที่มีการแพร่ระบาดที่รวดเร็วมาก ส่วนในช่วงปี พ.ศ. 2561 มีการระบาดในหมูฟาร์มเพิ่มขึ้น แต่ ในหมูป่าลดลง ทั้งนี้เนื่องจากบางฟาร์มขาดการ ควบคุมและจัดการระบบการเลี้ยงด้วย “ระบบ ไบโอซีเคียวริตี้” ส่วนการป้องกันโรค ASF ตาม ค�ำแนะน�ำขององค์กรโรคระบาดสัตว์แห่งชาติ หรือ OIE คือ วินิจฉัยโรคให้เร็ว คัดทิ้ง และท�ำลาย สุกรป่วย ควบคุมการเคลื่อนย้ายสุกร ล้าง และ ฆ่าเชือ้ ก�ำจัดเห็บทีเ่ ป็นพาหะ และส�ำรวจภาวะโรค อยู่เสมอ ขณะที่ ผ ลการศึ ก ษาช่ อ งทางการติ ด เชื้ อ ในประเทศจีน จากทั้งหมด 68 เคสแรกของการ ระบาด พบว่า ส่วนใหญ่มาจากรถขนส่ง และอีก ส่วนมากมาจากการใช้เศษอาหารมาเลีย้ งหมู โดย คาดว่าในส่วนนีม้ กี ารระบาดมาก่อนแล้ว นอกจาก นี้ จากรายงานการสัมมนาภายในของจีน รวม 20 เคส พบว่า 40% มาจากรถขนส่ง 20% อาหาร 10% คน 5% สุกร แต่อีก 25% ยังไม่ทราบ สาเหตุ อย่างไรก็ตาม ผลการสรุปความล้มเหลว ในการป้ อ งกั น โรคนี้ ใ นประเทศจี น รวมถึ ง เวียดนาม ลาว และกัมพูชา ได้แก่ ผู้เลี้ยง ไม่ทราบว่าสุกรติดเชื้อ การป้องกันโรคไม่ดี เร่ง ขายสุกรที่ยังไม่ป่วย ปกปิด ไม่แจ้งข้อมูลให้ ภาครัฐ ลักลอบขายสุกร ท�ำลายสุกรที่ตายโดย ไม่ถูกต้อง ไม่ให้ความส�ำคัญ ขาดการวางแผน และมีการลักลอบขายสุกรเพื่อหวังผลก�ำไรจาก ราคาที่ต่างกัน

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 188 กันยายน - ตุลาคม 2562

35


Market Leader

ส�ำหรับประเทศไทย สถานการณ์ความ เสีย่ งจากประชากรฟาร์มทีม่ อี ยูป่ ระมาณ 184,717 ฟาร์ ม แต่ มี ฟ าร์ ม ที่ ผ ่ า นมาตรฐาน GAP แค่ 3,662 ฟาร์ม คิดเป็น 2% ขณะที่ฟาร์มที่ไม่ผ่าน การรับรองมาตรฐานฟาร์ม GAP ถึง 181,055 ฟาร์ม คิดเป็น 98% ด้วยกัน แต่อย่างไรก็ดี ถึงแม้จ�ำนวนฟาร์มที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน ฟาร์ม GAP มีเพียง 2% แต่มีจ�ำนวนสุกรมาก กว่า คิดเป็น 72% ของสุกรที่มีทั้งประเทศ นั่น แปลว่า หมูสว่ นใหญ่อยูใ่ นการดูแลของฟาร์มทีผ่ า่ น มาตรฐาน มีระบบไบโอซีเคียวริตี้ในการป้องกัน

แต่อย่างไรก็ดี ถึงแม้โรคนี้จะระบาดไป หลายประเทศ แต่ก็มีประเทศที่สามารถควบคุม ป้ อ งกั น โรคภายในประเทศของตั ว เองได้ โดย เฉพาะประเทศที่ มี พ รมแดนติ ด กั บ ประเทศจี น อย่างประเทศไต้หวัน ซึง่ ประสบความส�ำเร็จในการ ควบคุมป้องกันโรคนี้อยู่จนถึงตอนนี้ ซึ่งความ ส�ำเร็จดังกล่าวมาจากมาตรการที่ส�ำคัญ 5 ข้อ ได้แก่ 1. กักโรคสุกรก่อนน�ำเข้าฟาร์ม และล้าง ฆ่าเชื้อรถขนส่งก่อนเข้าฟาร์มทุกครั้ง 2. ห้ามน�ำ เศษอาหารมาเลี้ยงสุกรเด็ดขาด 3. แจ้งทันทีเมื่อ สุ ก รผิ ด ปกติ 4. ควบคุ ม บุ ค คลเข้ า ออกฟาร์ ม อย่างเข้มงวด 5. พักโรคเมื่อกลับจากพื้นที่ระบาด โดยไต้หวันมีมาตรการชัดเจน ฝ่าฝืนปรับจริง โดย ปรับสูงสุด 3 ล้านเหรียญไต้หวัน

36

ส่วนฟาร์มที่ไม่ได้มาตรฐาน ปัจจุบันทาง ซีพีเอฟ และกรมปศุสัตว์ได้เข้าไปให้ความรู้ความ เข้าใจ โดยตัง้ เป้าให้ครบทุกฟาร์ม เพือ่ ให้ทกุ ฟาร์ม ทุกคนที่เกี่ยวข้องได้ตระหนักถึงโรคนี้ให้มากที่สุด เพราะอย่างที่บอกไว้ว่า หากเกิดขึ้นกับฟาร์มใด ฟาร์มหนึง่ แล้ว เราไม่มที างอยูค่ นเดียวได้ ไม่วา่ เรา จะอยู่ไหน เชื้อโรคนี้มีโอกาสไปหาได้หมด ถ้าเรา ไม่ช่วยกัน เพราะทุกอย่างมันเชื่อมโยงกันหมด หลักการการป้องกันโรค ข้อที่ 1. ใช้หลัก การแยก คือ การแยกสุกรที่ปกติกับสุกรที่ติด เชื้อ หรือป่วยออกจากกัน รวมถึงกิจกรรมอันจะ ท�ำให้เกิดการแพร่ระบาดโรคไปมา เช่น คนในกับ คนนอกฟาร์ม นอกประเทศ ข้อ 2. การบริหาร จุดเชื่อมต่อเพื่อลดความเสี่ยง คือ การลดความ เสี่ยงโดยการฆ่าเชื้อโรคที่อาจติดต่อถึงกัน จาก กิจกรรมที่มีความเชื่อมโยงกัน เช่น ฆ่าเชื้อ และ พักรถขนส่งสุกร ก่อนส่งสุกรเทีย่ วต่อไป ตรวจโรค สุกร ทดแทนก่อนน�ำเข้าฝูง นี่คือหลักการป้องกัน โรค ถ้าหากท�ำได้อย่างเข้มงวด จะป้องกันโรคได้ แน่นอน คือ หลักการแยกกับลดความเสี่ยงให้ได้ โดยที่ทุกคนให้ความร่วมมือกัน

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 188 กันยายน - ตุลาคม 2562


Market Leader ข้อแนะน�ำในการป้องกันโรคนี้ ข้อ 1. ห้าม ใช้เศษอาหารจากครัวเรือนเลีย้ งหมู ในฟาร์มทีผ่ า่ น การรับรองมาตรฐานฟาร์มไม่นา่ เป็นห่วง แต่ทเี่ ป็น ห่วงคือฟาร์มที่ยังไม่ได้ผ่านการรับรองมาตรฐาน ฟาร์ม เพราะฟาร์มเหล่านีจ้ ะยังไม่มคี วามรูเ้ กีย่ วกับ เรือ่ งนีม้ ากนัก หรืออาจจะรูแ้ ต่เพือ่ ต้องการทีจ่ ะลด ต้นทุนการเลี้ยง จึงละเลยที่จะปฏิบัติตามได้ ข้อ 2. ห้ามน�ำอาหารที่มีความเสี่ยงเข้าฟาร์ม โดย เฉพาะผลิตภัณฑ์จากเนื้อสุกร ซึ่งจากการตรวจ ตัวอย่างผลิตภัณฑ์จากเนื้อสุกรตามด่านชายแดน หรือสนามบิน พบว่า มีผลตรวจเป็นบวกถึง 66 ตัวอย่าง จากทั้งหมด 1,158 ตัวอย่าง ซึ่งผลบวก หมายถึง ตรวจพบสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัส ASF ในตัวอย่างที่ส่งตรวจ นั่นแปลว่า ถ้าหากเรา น�ำเข้าไปรับประทานในฟาร์ม หมูในฟาร์มก็มี โอกาสสูงที่จะได้รับเชื้อ หากผลิตภัณฑ์นั้นหลุด ไปถึงหมูในฟาร์มโดยการน�ำไปเป็นเศษอาหาร เลี้ยงหมู ข้อ 3. ห้ามบุคคลภายนอกเข้าฟาร์มโดย เด็ดขาด พนักงานที่ลากลับบ้านต้องพักโรคเป็น เวลา 24 ชัว่ โมง ส่วนคนทีก่ ลับมาจากต่างประเทศ ต้องพักโรค 5 วัน พนักงานขนส่งอาหารห้ามเข้า ไปในโรงเรือนเด็ดขาด พนักงานภายในฟาร์มก็ตอ้ ง อาบน�้ำก่อนเข้าฟาร์มทุกครั้ง ข้อที่ 4. ห้ามสัตว์ พาหะเข้าเขตฟาร์ม ไม่ว่าจะเป็นสุนัข แมว หนู

และสัตว์อื่นๆ โดยเฉพาะฟาร์มที่มีโรคระบาดใน ระยะใกล้ฟาร์ม เพราะสัตว์เหล่านี้จะมีบทบาทสูง ในการแพร่โรค การปฏิบัติอาจท�ำได้ยาก แต่เมื่อ มีความจ�ำเป็นก็ตอ้ งท�ำ ข้อ 5. ห้ามน�ำอุปกรณ์และ สิ่งของที่ไม่เกี่ยวข้องเข้าฟาร์ม ข้อที่ 6 ห้ามรถ จากภายนอกเข้าเขตเลีย้ งสัตว์ หากจ�ำเป็นต้องเข้า ต้องสเปรย์ยาฆ่าเชื้อหน้าฟาร์ม และพัก 30 นาที เพื่อให้ยาออกฤทธิ์ โดยที่คนขับรถจะต้องไม่ลงมา จากรถ ข้อที่ 7. ห้ามรถรับซื้อสุกรเข้ามาถึงฟาร์ม เดิมทีฟาร์มจะให้รถลูกค้าเข้ามาจับหมูในฟาร์ม เลย ซึ่งมีความเสี่ยง พลาดครั้งเดียวโรคติดเข้าใน ฟาร์ม แต่ปัจจุบันมีการกรับปรุงวิธีการซื้อขายหมู หน้าฟาร์มแล้ว โดยการสร้างเล้าขายไว้นอกฟาร์ม เมื่อถึงเวลาลูกค้ามารับหมู ฟาร์มก็จะน�ำหมูไปส่ง ที่เล้าขาย แล้วให้ลูกค้ามารับหมูในจุดดังกล่าว โดยไม่ตอ้ งเข้ามาในฟาร์มเหมือนเดิม วิธกี ารนี้ จะ

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 188 กันยายน - ตุลาคม 2562

37


Market Leader

ช่วยป้องกันลูกค้าน�ำเชื้อโรคเข้ามาที่ฟาร์มได้ ข้อที่ 8. ห้ามใช้น�้ำที่ไม่ผ่านการบ�ำบัด หรือน�้ำจากนอกฟาร์ม ข้อที่ 9 ห้ามรับสุกรทดแทนจากพื้นที่เสี่ยง ข้อที่ 10 ห้ามขายสุกรป่วย หรือ ตายออกจากฟาร์ม หากมีหมูปว่ ย หรือตาย การท�ำลายสุกรควรเผา หรือฝัง จะช่วย หยุดยั้งปัญหาได้ดีที่สุด การขายสุกรป่วยเท่ากับการส่งอาวุธชีวภาพที่สามารถ ท�ำลายล้างธุรกิจสุกรของประเทศได้ สุดท้ายฟาร์มจะต้องประเมินการติดโรคในอดีต เพือ่ เพิม่ มาตรการและเตรียมความพร้อมการตรวจโรค รวมถึงทบทวนข้อปฏิบตั ิ กรณี สงสัย และกรณีพบโรคระบาด เตรียมระบบการแจ้งเตือนการระบาดของโรค และ เตรียมความพร้อมกรณีต้องฝังท�ำลายสุกรที่ป่วย มีการวางแผนป้องกันโรคร่วมกับ ทีมโรงงานอาหารสัตว์ โรงช�ำแหละ “อะไรทีท่ างบริษทั ซีพเี อฟ จะช่วยได้กช็ ว่ ย เพราะความเสีย่ งของท่าน คือ ความเสี่ยงของเรา และความเสี่ยงของเรา ก็คือความเสี่ยงของท่านด้วย ไม่มีใคร เสีย่ งกว่ากัน เมือ่ เกิดโรคไม่ควรโทษกันไปมา แต่ควรทีจ่ ะได้รบั การเยียวยา เพราะ เมื่อเยียวยาแล้วความเสียหายของเราก็จะลดลงด้วย ดังนั้น ต้องช่วยกัน แล้ว โรคนี้ก็จะจบไป” น.สพ.ด�ำเนินให้ความเห็นทิ้งท้าย

38

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 188 กันยายน - ตุลาคม 2562


สินค้ำ คุณภำพ สำหรับปศุสตั ว์ไทย      

ผลิตจำกเมล็ดถัว่ เหลื องเกรดอำหำรสัตว์ 100% อุดมด้วยกรดไขมันไม่อ่ ิมตัวซึ่งจำเป็ นต่อกำรเจริ ญเติบโตของสัตว์ ควบคุมกำรผลิตด้วยเทคโนโลยี และเครื่ องจักรที่ทนั สมัย โปรตีน ไม่ต่ ำกว่ำ 36% ไขมัน ไม่ต่ ำกว่ำ 18% เมทไธโอนี น มำกกว่ำ 5,000 ppm ไลซีน มำกกว่ำ 6 กรัม/100 กรัมโปรตีน

สินค้ำ Premium Grade รับรองมำตรฐำน GMP & HACCP

บริษทั ยูนีโกร อินเตอร์เนชัน่ แนล จำกัด 120 หมู ่ 4 ตำบลสำมควำยเผื อก อำเภอเมื อง จังหวัดนครปฐม 73000 โทร. 0-3430-5101-2, 0-3439-5209 แฟกซ์ 0-3430-5103

www.unigrointer.com,

e-mail : unigro_inter@hotmail.com



Market Leader

สั่งปศุสัตว์ทุกจังหวัดป้อง ‘อหิวาต์หมู’ เข้ม ชู ‘เชียงราย’ ท�ำรัดกุมรับซื้อหมูในรัศมีเสี่ยงเกลี้ยง!

กรมปศุสตั ว์เดินหน้าป้องกัน ‘อหิวาต์แอฟริกาในหมู’ เข้ม วอนอย่าตระหนกบริโภคหมูได้ปลอดภัย นสพ.สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสตั ว์ เปิดเผย ได้สงั่ การ ปศุสัตว์ทุกจังหวัด ภาคเอกชน และเกษตรกรทุกพื้นที่ด�ำเนิน มาตรการป้องกันโรคอหิวาต์แอฟริกาในหมู หรือเอเอสเอฟ (ASF) เข้มข้นต่อเนือ่ ง ยกตัวอย่างทีจ่ งั หวัดเชียงราย สามารถด�ำเนินการ ตามมาตรการป้องกันโรคได้อย่างรัดกุม และเพิ่มการเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด โดย ความร่วมมือกับ สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ รับซื้อหมูจากเกษตรกรรายย่อยที่มี ความเสีย่ งในรัศมีใกล้เคียง แล้วน�ำไปเชือดเพือ่ แปรรูปปรุงสุก หรือฝังท�ำลาย ขึน้ กับ ผลการประเมินความเสี่ยงในแต่ละพื้นที่ ซึ่งเป็นหนึ่งในมาตรการป้องกันโรคตาม ปกติแม้หมูจะยังไม่มีอาการป่วยตาย ทั้งนี้ เพื่อตีกรอบความเสี่ยงให้อยู่ในวงจ�ำกัด อย่างไรก็ตาม ขอย�้ำว่า ASF ไม่ติดต่อสู่คน ผู้บริโภคไม่ต้องกลัว สามารถบริโภค เนื้อสุกรได้ตามปกติ และปลอดภัย “กรณีพบสุกรป่วยตายเพียงไม่กตี่ วั และมีการซือ้ สุกรของเกษตรกรรายย่อย เพื่อน�ำไปท�ำลายในรัศมีใกล้เคียงทั้งที่สุกรยังไม่มีอาการป่วยนั้น ถือเป็นหนึ่งใน มาตรการป้องกันการระบาดของโรคทีไ่ ด้เตรียมการวางแผนไว้อยูแ่ ล้ว ขอประชาชน อย่ากังวล ส่วนเกษตรกรทั่วทุกจังหวัดที่อยู่ในเขตเฝ้าระวัง ได้ผ่านการเข้าอบรม การป้องกันโรค และวิธีการรับมือครบแล้วทั้ง 100% จึงท�ำให้มีการแจ้งเตือนไปยัง ปศุสัตว์จังหวัดได้อย่างรวดเร็ว ท�ำให้เจ้าหน้าที่สามารถเข้าไปควบคุมเฝ้าระวังได้ เร็วขึ้น ซึ่งเป็นวิธีการที่ถูกต้อง” อธิบดีกรมปศุสัตว์กล่าว

ที่มา : มติชนออนไลน์ วันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2562 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 188 กันยายน - ตุลาคม 2562

39


Market Leader

ส�ำหรับการจัดเตรียมค่าชดเชยในการท�ำลายสุกรนัน้ กรมปศุสตั ว์ได้ขอความ ร่วมมือจากสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ และสมาคมผู้เลี้ยงสุกรในพื้นที่ เพื่อช่วย บรรเทาความเดือดร้อนแก่เกษตรกรแล้ว ดังนัน้ จึงไม่ตอ้ งกังวล และหากใครพบการ ป่วยตายของสุกร ขอให้รีบแจ้งปศุสัตว์อ�ำเภอให้เร็วที่สุด หรือแจ้ง อสม. ผู้ใหญ่บ้าน ก�ำนัน โดยทันที เพือ่ การเข้าไปก�ำจัดและควบคุมเฝ้าระวังไม่ให้มคี วามเสีย่ งกระจาย ออกไป ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมของเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรทุกคน อนึง่ ก่อนหน้านี้ นายประภัตร โพธสุธน รมช. เกษตรและสหกรณ์ ได้กล่าว ถึงความเข้มแข็งของผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ที่ตั้งด่านเพื่อสกัดการน�ำหมู ข้ามเขตเป็นร้อยด่าน ท�ำงานกันอย่างหนัก ทั้งยังเน้นย�้ำให้ปศุสัตว์จังหวัด และ ด่านกักสัตว์ ทั้งด่านหลัก และด่านย่อย รวมถึงหมู่บ้าน ท�ำการเฝ้าระวังทุกพื้นที่ อย่างใกล้ชิด และสามารถควบคุมสถานการณ์อยู่ในระดับที่ควรจะเป็น ซึ่งเป็นไป ตามแผนรับมือทุกอย่างนั้น แสดงให้เห็นถึงมาตรการและการท�ำงานอย่างเข้มแข็ง ของภาครัฐและทุกภาคส่วนในแต่ละพืน้ ที่ ขอให้ทกุ ภาคส่วนร่วมมือกันอย่างเข้มแข็ง เช่นนี้อย่างต่อเนื่อง

40

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 188 กันยายน - ตุลาคม 2562


Market Leader

จีน พอใจผลตรวจ

โรงงานไก่แช่แข็งไทย เมื่อวันที่ 16 กันยายน นายสรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ พร้อมคณะ ได้เข้าประชุมหารือกับ Mr.Bi Ke Xin อธิบดีกรมความปลอดภัยด้านอาหารน�ำเข้า ส่งออก ส�ำนักงานการศุลกากรแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (GACC) โดยนาย สรวิศ ได้กล่าวขอบคุณการที่จีนได้มาตรวจโรงงานไก่แช่แข็ง และผลพลอยได้ รวมถึงโรงงานผลิตภัณฑ์รงั นก ทาง GACC แจ้งว่า ได้รบั รายงานผลการตรวจโรงงาน มีภาพรวมทีด่ ี และได้อธิบายเพิม่ เติมถึงหลักเกณฑ์การตรวจระบบใหม่ซงึ่ อยูท่ คี่ วาม เชื่อมั่นในกรมปศุสัตว์ในฐานะเจ้าหน้าที่ผู้มีอ�ำนาจทางกฎหมาย โดยต่อไป หาก กรมปศุสัตว์ส่งรายชื่อมา จะด�ำเนินการเป็น 3 วิธี คือ 1. ส่งเจ้าหน้าที่ไปสุ่มตรวจ 2. วิดีโอคอลตรวจโรงงาน 3. ขึ้นทะเบียนให้เลย ซึ่งระบบนี้ หากกรมปศุสัตว์ก�ำกับ ดูแลไม่ดี เกิดปัญหาสินค้าไม่ได้มาตรฐาน จะพิจารณาสั่งห้ามรายโรงงาน หรือ ทั้งประเทศแล้วแต่กรณี

ที่มา : มติชนออนไลน์ วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2562 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 188 กันยายน - ตุลาคม 2562

41


Market Leader นอกจากนี้ ทาง GACC ยินดีให้สนับสนุน วิทยากรฝึกอบรมกฎระเบียบของ GACC เพื่อ เจ้าหน้าทีก่ รมปศุสตั ว์สามารถปฏิบตั ติ ามระเบียบ อย่างถูกต้อง และจะมีการแลกเปลี่ยนผู้ประสาน งานทางเทคนิค เพื่อสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่าง รวดเร็ว ส�ำหรับกรณีการขอส่งออกชิน้ ส่วนเป็ด ทาง GACC ขอให้ทางกรมปศุสัตว์ส่งข้อมูลขบวนการ แปรรูปเครื่องในเป็ด และเงื่อนไขสภาพโรงงานที่ ผลิตเพิ่มเติม ประกอบการพิจารณา

42

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 188 กันยายน - ตุลาคม 2562


Around the World

รายงานการส�ำรวจวัตถุดิบข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ครัง้ ที่ 2/2562 ระหว่างวันที่ 30 ก.ค.- 2 ส.ค. 2562

ณ จังหวัดสระแก้ว นครราชสีมา เลย นครสวรรค์ โดย สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย รายชื่อผู้เข้าร่วมสำ�รวจ

1. นางนิภาพร โรจน์รุ่งเรืองกิจ 2. น.ส.เพ็ญนภา ไพศาลเจริญไมตรี 3. นายอภินันท์ สิทธิทูล 4. นางจิรพรรณ์ รัตนราช 5. นายบัญชา เฉลิมกิจ 6. นายทวี แก้วบัวดี 7. นายรณชัย หนูชนะภัย 8. น.ส.กัณฑรัตน์ มหาวิริโย 9. น.ส.จุฑามาศ วัฒนสินพาณิช 10. นายวิทยา ดีอินทร์ 11. น.ส.นิสา ลายคราม 12. น.ส.กรดา พูลพิเศษ

บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จ�ำกัด (มหาชน) บริษัท พนัส ฟีดมิลล์ จ�ำกัด บริษัท เซนทาโกร ไซโล จ�ำกัด บริษัท ทีเอฟเอ็มเอส (สระบุรี) จ�ำกัด บริษัท เบทาโกร จ�ำกัด (มหาชน) บริษัท ไทยฟู้ดส์ อาหารสัตว์ จ�ำกัด บริษัท อินเทคค์ ฟีด จ�ำกัด บริษัท อินเทคค์ ฟีด จ�ำกัด บริษัท กรุงไทยอาหาร จ�ำกัด (มหาชน) กรมส่งเสริมการเกษตร ส�ำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

การส�ำรวจข้าวโพดเลีย้ งสัตว์ ครัง้ ที่ 2/2562 ระหว่างวันที่ 30 ก.ค.- 2 ส.ค. 2562 ได้ออกส�ำรวจ พื้นที่ทางเขตภาคตะวันออกในจังหวัดสระแก้ว นครราชสีมา เลย และนครสวรรค์ ซึ่งได้ท�ำการรวบรวม ข้อมูลจากทางส�ำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร และส�ำนักงานเกษตรจังหวัด มาประกอบการส�ำรวจควบคู่ กับข้อมูลที่ได้จากการเข้าพบพ่อค้า/ไซโล รวมถึงเกษตรกรผู้เพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์อีกด้วย การเพาะปลูกข้าวโพดเลีย้ งสัตว์ ฤดูกาลผลิตปี 2562/2563 ในพืน้ ทีส่ ำ� รวจจังหวัดเป้าหมายพบว่า พืน้ ทีเ่ พาะปลูกมีแนวโน้มเพิม่ ขึน้ เล็กน้อย เนือ่ งจากราคาข้าวโพดเลีย้ งสัตว์ในฤดูกาลผลิตปี 2561/2562 นั้น ราคาค่อนข้างสูง จึงเป็นแรงจูงใจเกษตรกรเลือกเพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มากกว่าพืชอื่นๆ อีกทั้ง อ้อยโรงงาน และมันส�ำปะหลัง ในปีนร้ี าคาอ่อนตัวลงเล็กน้อย และบางพืน้ ทีค่ รบอายุเก็บเกีย่ ว รวมถึงการ ท�ำนาข้าวบางพื้นที่ ซึ่งปีนี้มีน�้ำไม่เพียงพอต่อการเพาะปลูกข้าว จึงปรับเปลี่ยนจากการปลูกอ้อยโรงงาน มันส�ำปะหลัง มาเพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์แทน ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 188 กันยายน - ตุลาคม 2562

43


Around the World

ทางด้านผลผลิตรวม คาดการณ์ว่าจะมีผลผลิตลดน้อยลงจากปีที่แล้ว โดยมีสาเหตุ ดังนี้ 1. ฝนตกไม่ตรงตามฤดูกาล ส่งผลให้พนื้ ทีก่ ระทบแล้ง ปริมาณน�ำ้ มีไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโต ของต้นข้าวโพด ท�ำให้ฝักแคระแกร็น และด้อยคุณภาพ 2. การแพร่ระบาดของหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด จากการลงพื้นที่ส�ำรวจพบว่า ได้รับผลกระทบจากการแพร่ ระบาดทุกพืน้ ที่ โดยมีความรุนแรงแตกต่างกันไปในแต่ละพืน้ ที่ เช่น ในพืน้ ทีจ่ งั หวัดนครสวรรค์ พบว่าได้รบั ผลกระทบค่อนข้าง รุนแรง พบหนอนมีการกัดเจาะเข้าไปที่แกนข้าวโพด ส่งผลให้ เมล็ดข้าวโพดไม่งอก และมีจ�ำนวนไม่เต็มฝัก เป็นต้น ส�ำหรับ ในพื้นที่อื่นๆ พบว่าไม่มีความรุนแรงมากนัก ในส่วนของการก�ำจัด เกษตรกรใช้วิธีการก�ำจัดโดยใช้ยาก�ำจัดศัตรูพืชซึ่งได้ฉีดยา 3 - 4 ครั้ง/รุ่น ตั้งแต่ต้นอ่อนจนถึงออกดอกผล ซึ่งท�ำให้ต้นทุนในการเพาะปลูกของเกษตรกรเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ คณะส�ำรวจได้รับข้อมูลจากเกษตรจังหวัด พ่อค้า ท้องถิ่น พ่อค้าพื้นที่ไซโล/ลาน และเกษตรกรผู้เพาะปลูก ปีนี้เกษตรกร ด�ำเนินการเพาะปลูกล่าช้าไปเล็กน้อย จากเดิมทีป่ ลูกช่วงต้นฝนประมาณ ต้นเดือนพฤษภาคม เลื่อนมาเป็นช่วงปลายเดือนพฤษภาคม - ต้นเดือน มิถุนายน เนื่องจากฝนที่ตกไม่ตรงตามฤดูกาล โดยในบางพื้นที่ หลัง จากเริ่มต้นเพาะปลูกไปได้ประมาณ 3 สัปดาห์ เกิดฝนขาดช่วงไป ร่วมเดือน ท�ำให้ปริมาณน�้ำมีไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของต้น ข้าวโพด รวมทัง้ ความเสียหายทีเ่ กิดจากการแพร่ระบาดของหนอนกระทู้ ข้าวโพดลายจุด ท�ำให้ผลผลิตมีลกั ษณะเล็ก แกรน และเมล็ดไม่เต็มฝัก จึงเป็นปัจจัยที่คาดว่าในปีนี้ผลผลิตน่าจะออกล่าช้ากว่าปีที่ผ่านมา ซึ่งผลผลิตคาดว่าจะออกมากในช่วง เดือนตุลาคม - พฤศจิกายน จะท�ำให้รุ่นในการเพาะปลูกเปลี่ยนแปลงไปโดยอาจจะไม่สามารถเพาะปลูก ข้าวโพดรุ่นที่ 2 ได้ทันในปีนี้

44

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 188 กันยายน - ตุลาคม 2562


Around the World

ตารางสรุปผลผลิตการสำ�รวจในพื้นที่

จังหวัด สระแก้ว นครราชสีมา เลย นครสวรรค์ ผลรวม

พื้นที่ปลูก (ไร่) ปี 61/62 ปี 62/63 126,180 126,609 808,793 808,793 570,725 565,017 268,424 273,792 1,774,122 1,774,211

เพิ่ม/ลด 0.34% 0.00% -1.00% 2.00% 0.01%

ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ (กิโลกรัม) ปี 61/62 ปี 62/63 เพิ่ม/ลด 694 652 -6.05% 755 732 -3.05% 637 627 -1.57% 719 685 -4.73% 707 686 -3.05%

ผลผลิตรวม (ตัน) ปี 61/62 ปี 62/63 เพิ่ม/ลด 87,569 82,549 -5.73% 610,639 592,036 -3.05% 363,437 354,266 -2.52% 192,997 187,548 -2.82% 1,254,642 1,216,399 -3.05%

**พื้นที่เพาะปลูกจังหวัดเลยและนครสวรรค์เป็นข้อมูลเฉพาะรุ่น 1 เท่านั้น และข้อมูลผลผลิตเป็นตัวเลขคาดการณ์**

จังหวัดสระแก้ว แหล่งข้อมูล : ร้านโชคไพศาลการเกษตร ต.วังน�ำ้ เย็น อ.วังน�ำ้ เย็น จ.สระแก้ว คุณปวีณา ลีลาสถาพรชัย โทรศัพท์ 081-9835775, เกษตรกร ต.ซับมะกรูด อ.คลองหาด จ.สระแก้ว คุณจุฑาพร สุขจันทร์ดี โทรศัพท์ 098-8056492, เกษตรกร ต.ซับมะกรูด อ.คลองหาด จ.สระแก้ว คุณสมพิศ, เกษตรกร ต.ซับมะกรูด อ.คลองหาด จ.สระแก้ว คุณสุชิน โทรศัพท์ 089-0200144, เกษตรกร ต.ซับมะกรูด อ.คลองหาด จ.สระแก้ว คุณอ�ำนวย โทรศัพท์ 092-7516695 ฤดูกาลผลิต ปี 2561/2562 ปี 2562/2563 เพิ่ม/ลด (%)

พื้นที่เพาะปลูก (ไร่) 126,180 126,609 0.34%

ผลผลิตต่อไร่ (กก.) 694 652 -6.00%

ผลผลิตรวม (ตัน) 87,569 82,549 -5.73%

สภาพทั่วไป พื้นที่เพาะปลูกในปี 2562/2563 เพิ่มขึ้นจาก 126,180 ไร่ เป็น 126,609 ไร่ เพิ่มขึ้น 0.34% จากปีทแี่ ล้ว เนือ่ งจากราคาข้าวโพดในปีนจี้ งู ใจ อีกทัง้ ราคาอ้อยโรงงานและมันส�ำปะหลังอ่อนตัวลง ท�ำให้ เกษตรกรปลูกข้าวโพดเพิ่มขึ้น เมล็ดพันธุ์ที่นิยมใช้ในพื้นที่ได้แก่ NK 328 ต้นทุนในการเพาะปลูกอยู่ที่ 3,000-4,000 บาท/ไร่ ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ อยู่ที่ 652 กก./ไร่ ความชื้น 14.5% ลดลง จากปีที่แล้ว 694 กก./ไร่ คิดเป็น 6% เนื่องจากปริมาณน�้ำฝน มีไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ อีกทั้งยังพบ กับปัญหาการแพร่ระบาดของหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด ซึ่งส่งผลให้ ต้นอ่อนข้าวโพดเกิดความเสียหายบางส่วน เกษตรกรจึงเร่งเก็บเกี่ยวผลผลิตก่อนครบอายุเพื่อป้องกัน ไม่ให้เกิดความเสียหายรุนแรง และจากปัญหาการระบาดของหนอนกระทู้ส่งผลให้เกษตรกรมีต้นทุน ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 188 กันยายน - ตุลาคม 2562

45


Around the World

ในการผลิตที่เพิ่มขึ้น จากการฉีดยาฆ่าแมลง โดยจะต้องฉีด 4 ครั้ง/รุ่น จึงจะสามารถก�ำจัดหนอนได้ และจะต้องเลือกพ่นในช่วงเวลากลางคืน เพราะเป็นเวลาที่หนอนจะออกมาหากินกัดแทะต้นข้าวโพด พืชอื่นที่เพาะปลูกในพื้นที่ ได้แก่ อ้อย มันส�ำปะหลัง หน่อไม้ เป็นต้น ในด้านของราคาอ่อนตัวลงเล็กน้อย โดยในปีนอี้ ยูท่ ี่ 5.50 - 7.15 บาท/กก. เมล็ดสดความชืน้ 30% จากการสอบถามพ่อค้าและเกษตรกรทราบว่ามีขา้ วโพดจากชายแดน เข้ามาในประเทศบางส่วน ขนส่งเข้ามาโดยรถพ่วงและกระจายไปตามลานรับซื้อในพื้นที่จังหวัดสระแก้ว และพื้นที่ใกล้เคียง

จังหวัดนครราชสีมา แหล่งข้อมูล : กองการสัตว์และเกษตรกรรม 2 ต.จันทึก อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา พันโทนพรัตน์ ยาวิลาศประดิษฐ์ หัวหน้าแผนกอาหารและยาสัตว์ โทร. 098-2978996, บจก.ฮะหลีอะกริเทรด ต.ด่านขุนทด อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา คุณกรณ์พงศ์ ศิริโสภณวัฒนา โทรศัพท์ 081-8386945, เกษตรกร ต.ตะเคียน อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา คุณภิรมย์ จุนสันเทียะ ฤดูกาลผลิต ปี 2561/2562 ปี 2562/2563 เพิ่ม/ลด (%)

พื้นที่เพาะปลูก (ไร่) 808,793 808,793 -

ผลผลิตต่อไร่ (กก.) 755 732 -3.00%

ผลผลิตรวม (ตัน) 610,639 592,036 -3.00%

สภาพทั่วไป พื้นที่เพาะปลูก คาดว่าเท่าเดิมกับปีที่แล้วที่ 808,793 ไร่ เนือ่ งจากฝนตกล่าช้า เกษตรกรจึงรอดูสถานการณ์ฝนเพือ่ ตัดสินใจ เลือกพืชในการเพาะปลูก เช่น อ้อย มันส�ำปะหลัง ข้าวโพดเลีย้ งสัตว์ เป็นต้น หรือปล่อยพืน้ ทีว่ า่ งหากปริมาณฝนน้อย หรือไม่มฝี นเลย ทั้งนี้เกษตรกรได้ด�ำเนินการเตรียมดินไว้เรียบร้อยแล้ว ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ อยู่ที่ 732 กก./ไร่ ลดลงจากปีที่แล้ว 755 กก./ไร่ คิดเป็น 3% เนื่องจากผลกระทบแล้ง ฝนตก ขาดช่วง ส่งผลให้ตน้ ข้าวโพดขาดน�ำ้ ในช่วงทีก่ าลังจะออกดอก อีก ทัง้ ยังประสบปัญหาหนอนกระทูร้ ะบาดในพืน้ ที่ ท�ำให้ตน้ ข้าวโพด เสียหายและอาจส่งผลให้ผลผลิตด้อยคุณภาพ การก�ำจัดใช้วิธี

46

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 188 กันยายน - ตุลาคม 2562


Around the World

การพ่นยาฆ่าแมลงซึ่งถ้าจะให้ได้ผลที่ดีจะต้องใช้ยาแรงซึ่งมีราคาแพง ประมาณ 4,000-5,000 บาท ต่อ 10 ไร่ หรือ 400-500 บาทต่อไร่ เนื่องจากต้องฉีด 3-4 ครั้ง/รอบการเพาะปลูก และวิธีธรรมชาติ โดยการล่าด้วยกากน�้ำตาล เมล็ดพันธุ์ที่ใช้ ได้แก่ เอ็นเค, ไพโอเนีย, แปซิฟิค 339 เป็นต้น พืชอื่นที่เพาะปลูกในพื้นที่ ได้แก่ อ้อยโรงงาน มันส�ำปะหลัง ราคารับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ช่วงนี้ ในพื้นที่ อ.ปากช่อง และอ.ด่านขุนทด อยู่ที่ 7.00-8.00 บาท/กก. เมล็ดแห้ง ความชื้น 14.5% ลดลง จากปีที่แล้วในช่วงเวลาเดียวกันประมาณ 1.50 บาท/กก. นอกจากนี้ ยังได้รับข้อมูลจากกองการสัตว์และเกษตรกรรม ซึ่งเน้นการปลูกพืชอาหารสัตว์ และ ปลูกหญ้าเป็นหลัก ทั้งนี้ยังมีการจัดพื้นที่เพาะปลูกเป็นสวัสดิการให้แก่ทหารในสังกัดเพื่อเพาะปลูกพืช พบว่ามีการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และมันส�ำปะหลังบางส่วน และให้ข้อมูลว่าปีนี้ค่อนข้างแล้ง อีกทั้ง ยังเจอปัญหาหนอนกระทู้ท�ำให้ต้องเพิ่มต้นทุนในการเพาะปลูกมากขึ้น เกษตรกรบางรายไถกลบ และ ปล่อยพืน้ ทีว่ า่ งไว้ไม่มกี ารปลูกซ่อม หรือเพาะปลูกใหม่ และในฤดูกาลหน้าอาจจะปรับเปลีย่ นไปปลูกพืช อื่นแทน

จังหวัดเลย แหล่งข้อมูล : เกษตรกร ต.เขาแก้ว อ.เชียงคาน จ.เลย คุณนี, เกษตรกร ต.ลาดค่าง อ.ภูเรือ จ.เลย คุณค�ำเพียร ฤดูกาลผลิต ปี 2561/2562 ปี 2562/2563 เพิ่ม/ลด (%)

พื้นที่เพาะปลูก (ไร่) 570,725 565,017 -1.00%

ผลผลิตต่อไร่ (กก.) 637 627 -1.50%

ผลผลิตรวม (ตัน) 363,437 354,266 -2.52%

สภาพทั่วไป พื้นที่เพาะปลูกในปีนี้ลดลงจากปีที่แล้ว จากเดิม 570,725 ไร่ ลดลงเหลือ 565,017 ไร่ คิดเป็น 1% เนื่องจากพื้นที่เดิมเกษตรกรสามารถปลูกข้าวโพดได้ 2 รุ่นต่อปี แต่ด้วยสภาวะฝนทิ้งช่วง ฝนตก ไม่ตรงตามฤดูกาลท�ำให้เกษตรกรต้องเลื่อนระยะเวลาการปลูกออกไป และอาจท�ำให้ไม่สามารถปลูก ข้าวโพดในรุ่น 2 ได้ทันในปีนี้ ผลผลิตเฉลีย่ ต่อไร่ อยูท่ ี่ 627 กก./ไร่ ลดลงจากปีทแี่ ล้ว 637 กก./ไร่ คิดเป็น 1.50% จากสภาวะ ฝนขาดช่วง ท�ำให้มปี ริมาณน�ำ้ ฝนไม่เพียงพอต่อการเพาะปลูก และการแพร่ระบาดของหนอนกระทูล้ ายจุด ส่งผลเสียหายให้กับผลผลิตเล็กน้อย เมล็ดพันธุ์ที่ใช้ได้แก่ ซีพี, 888 เป็นต้น ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 188 กันยายน - ตุลาคม 2562

47


Around the World

พื ช อื่ น ที่ เ พาะปลู ก ในพื้ น ที่ ได้ แ ก่ มั น ส� ำ ปะหลั ง ข้ า ว ยางพารา กล้วย แก้วมังกร เป็นต้น ราคารับซื้อข้าวโพดปีที่แล้ว อยู่ที่ 6-7 บาท/กก. ส่วนในปีนี้คาดว่าจะอ่อนตัวลงเล็กน้อย จาก การสอบถามเกษตรกรในพื้นที่ อ.เชียงคาน บางส่วนคาดว่าปีนี้จะ ขาดทุนจากการปลูกข้าวโพด เนือ่ งจากปัญหาหนอนกระทูท้ ำ� ให้ตอ้ ง เพิ่มต้นทุนการเพาะปลูกค่อนข้างมาก ประกอบกับภัยแล้งในพื้นที่ คาดว่าในปีหน้าจะเปลี่ยนไปปลูก แก้วมังกรทดแทน เนื่องจากขายได้ราคาดี และปลูกครั้งเดียวสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ 3-4 ครั้ง/ปี

จังหวัดนครสวรรค์ แหล่งข้อมูล : ฮั่งเส็งพืชผล ต.ตาคลี อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ คุณศิริ รัตโนทัย/คุณสิโรจน์ โทรศัพท์ 080-2456919, สามสิงห์พืชผล ต.ตาคลี อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ คุณสุรพร โทรศัพท์ 081-4756383 คุณแบงค์ 081-7857792, เกษตรกร ต.สุขสาราญ อ.ตากฟ้า จ.นครสวรรค์ คุณจ�ำนง ดาค�ำ, เกษตรกร ต.สุขสาราญ อ.ตากฟ้า จ.นครสวรรค์ คุณบุญยัง ฤดูกาลผลิต ปี 2561/2562 ปี 2562/2563 เพิ่ม/ลด (%)

พื้นที่เพาะปลูก (ไร่) 268,424 273,792 2.00%

ผลผลิตต่อไร่ (กก.) 719 685 -4.73%

ผลผลิตรวม (ตัน) 192,997 187,547 -2.82%

สภาพทั่วไป พื้นที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้น จากเดิม 268,424 ไร่ เพิ่มขึ้นเป็น 273,792 ไร่ คิดเป็น 2% เนื่องจาก ราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในฤดูกาลที่ผ่านมาค่อนข้างสูงจูงใจให้เกษตรกรเพาะปลูกข้าวโพดมากขึ้น อีกทั้ง ราคาอ้อยโรงงานที่อ่อนตัวลง เกษตรกรจึงเปลี่ยนพื้นที่อ้อยมาปลูกข้าวโพดทดแทน แต่เนื่องจากพื้นที่ ค่อนข้างเต็มและไม่มีพื้นที่ใหม่ๆ ในการเพาะปลูก จึงคาดว่าจะมีพื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดเพิ่มขึ้นเพียง เล็กน้อยเท่านั้น เมล็ดพันธุ์ที่ใช้เพาะปลูก ได้แก่ เอ็นเค 632 6253 6575 เป็นต้น

48

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 188 กันยายน - ตุลาคม 2562


Around the World

ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ ลดลงจากเดิม 719 กก./ไร่ ลดลงเหลือ 685 กก./ไร่ คิดเป็น 4.73% เนือ่ งจากภาวะกระทบแล้งท�ำให้เกษตรกร ต้องเลื่อนระยะการเพาะปลูกออกไป เพื่อรอน�้ำฝน ซึ่งอาจจะท�ำให้ เกษตรกรสามารถปลูกข้าวโพดได้เพียงรุน่ เดียวจากทีเ่ คยปลูกได้ 2 รุน่ และจากปัญหาการแพร่ระบาดของหนอนกระทู้ลายจุด สร้างความ เสียหายให้กบั ผลผลิตค่อนข้างมาก จากการส�ำรวจทัง้ 4 จังหวัด พบว่า จังหวัดนครสวรรค์ได้รับผลกระทบรุนแรงที่สุด โดยพบว่าหนอนกระทู้ เจาะเข้าไปในฝักข้าวโพดส่งผลให้เมล็ดข้าวโพดออกไม่เต็มฝัก และ ฝักมีลักษณะเล็ก แคระแกร็น ด้อยคุณภาพ หรือต้นโตแต่มีฝัก และ ไม่มีเมล็ด ทั้งนี้พ่อค้าในพื้นที่คาดคะเนว่าความเสียหายน่าจะอยู่ที่ 10-20% และมองว่าหนอนกระทู้ติดมากับข้าวโพดที่มาจากชายแดน เช่น ประเทศพม่า ซึ่งปีนี้มีข้าวโพดจากประเทศพม่าเข้ามาค่อนข้างมาก เนื่องจากประเทศจีนไม่มีการ ซื้อข้าวโพด พืชอืน่ ทีเ่ พาะปลูกในพืน้ ที่ ได้แก่ อ้อยโรงงาน ทานตะวัน ข้าวฟ่าง และถัว่ เขียว ราคารับซือ้ ในปีนี้ อยู่ที่ประมาณ 8.00-8.90 บาท/กก. อ่อนตัวลงจากปีที่แล้วเล็กน้อย ในส่วนของผลผลิตคาดว่าจะ ทยอยออกในช่วงปลายเดือนส.ค.- ต.ค.

จัดท�ำโดย นางสาวกรดา พูลพิเศษ สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย 13 สิงหาคม 2562

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 188 กันยายน - ตุลาคม 2562

49


Around the World

การศึกษาย้อนหลังผลการตรวจสารตกค้าง ในสินค้าปศุสัตว์ ระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๕๘-๒๕๖๐ (Retrospective Study of Chemical Residues in Animal Products during 2558-2560 B.E.) นางฉันทนี บูรณะไทย และ นางสาวมิรน ั ตี เพ็ญโรจน์

ส�ำนักพัฒนาระบบและมาตรฐานการปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์ 69/1 ถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

» ABSTRACT « Under Residue Monitoring Plan of the Department of Livestock Development, total of 6,876 samples were collected each year, 2,598 from farms and 4,278 from poultry slaughterhouses, as well as 140 honey samples from bee farms. In 2015 there were 4 non-complied poultry samples, including 1 case of Metronidazole (MNZ), 1 case of Nicarbazin (DNC), and 2 cases of mercury; there was also 1 mercury case in duck. In 2016, there were 2 non-complaints poultry samples, including 1 MNZ-case and 1 DNC-case. In 2017, there were 3 non-complaints, including 1 DNC case and 2 mercury cases. Honey was collected 140 samples per year; 2 non-complaints were found in 2015 with 1 Streptomycin- and 1 Tetracyclin case. In 2017 there was 1 non-complaint with Erythromycin. There was no non-complaint in honey samples in 2017. From our 3-year retrospective study, there were total of 10 non-complied cases, 7 cases in poultry and 3 cases in honey. For poultry, Nicarbazin (DNC) residue was detected in 3 of 7 non-complaints; Metronidazole (MNZ) residue was detected in 2 of 7 non-complaints. Mercury residue was detected in 5 of 7 non-complied cases. Most of the investigation results were inconclusive. For Nicarbazin cases, it was most likely that feed with anticoccidials (starter and grower feed) mixed with the non-medicated feed (finisher feed) in the same silo. Investigation of mercury cases found that the source of mercury did not come from environment, but chemicals used in the farms. Laboratory results found mercury in Aluminium Sulphate used for water treatment in 2 chicken farms, and in lime powder (Calcium Oxide) used as disinfectant for duck feet in 2 farms. Investigation reports of non-compliant cases were summarized in this paper. Key words: chemical residue, livestock products, mercury, anticoccidial

50

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 188 กันยายน - ตุลาคม 2562


Around the World

» บทคัดย่อ « แผนการเฝ้าระวังสารตกค้างของกรมปศุสัตว์ จะเก็บตัวอย่างจากสัตว์ปีก 6,876 ตัวอย่าง ต่อปี แบ่งเป็นเก็บจากฟาร์ม 2,578 ตัวอย่าง จากโรงฆ่าสัตว์ปกี 4,278 ตัวอย่าง และตัวอย่างน�ำ้ ผึง้ จากฟาร์ม ปีละ 140 ตัวอย่าง ผลการศึกษาพบว่า พ.ศ. 2558 พบสารตกค้างเกินมาตรฐานในไก่ 4 ตัวอย่าง เป็น Metronidazole (MNZ) และ Nicarbazin (DNC) อย่างละ 1 ตัวอย่าง และ ปรอท 2 ตัวอย่าง ส่วนตัวอย่างจากเป็ด พบ ปรอท เกินมาตรฐานในตับ 1 ตัวอย่าง พ.ศ. 2559 พบตัวอย่าง จากไก่ที่พบสารตกค้างเกินมาตรฐาน 2 ตัวอย่าง เป็น MNZ และ DNC อย่างละ 1 ตัวอย่าง พ.ศ. 2560 พบสารตกค้างเกินมาตรฐานในไก่ 3 ตัวอย่าง เป็น DNC 1 ตัวอย่าง และ ปรอท 2 ตัวอย่าง น�้ำผึ้ง พบสารตกค้างเกินมาตรฐาน 2 ตัวอย่างในปี 2558 เป็น Streptomycin และ Tetracycline อย่างละ 1 ตัวอย่าง ปี 2558 พบสารตกค้างเกินมาตรฐาน 1 ตัวอย่าง เป็น Erythromycin ปี 2560 ไม่พบสารตกค้างเกินมาตรฐานในน�้ำผึ้ง จากการศึกษาย้อนหลัง 3 ปี พบสารตกค้างเกินมาตรฐาน รวม 10 ครั้ง ในสัตว์ปีก 7 ครั้ง และในน�้ำผึ้ง 3 ครั้ง ในสัตว์ปีกสารที่พบเกินมาตรฐานทุกปีคือ ยากันบิดชนิด Nicarbazin (DNC) (3/7 ครั้ง) รองลงมาคือ Metronidazole (MNZ) (2/7 ครั้ง) ส่วนโลหะตกค้าง พบสารปรอท 5 ใน 7 ครั้ง ผลการสอบสวนกรณีพบสารตกค้างเกินมาตรฐาน ส่วนมากจะหาสาเหตุที่แน่ชัดไม่ได้ กรณียากันบิด สาเหตุที่น่าจะเป็นได้มากที่สุดคือการปะปนของ อาหารรุน่ ทีม่ ยี ากันบิดกับอาหารระยะสุดท้ายทีไ่ ม่มยี าในไซโล ผลการสอบสวนกรณีสารปรอทตกค้าง พบว่า ไม่ได้เกิดจากการปนเปื้อนของสารปรอทในสิ่งแวดล้อม แต่เกิดจากสารเคมีที่ใช้ในฟาร์ม ผลการวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการพบสารปรอทในสารส้มที่น�ำมาตกตะกอนน�้ำ และในปูนขาว ที่ใช้เพื่อป้องกันการติดเชื้อที่เท้าเป็ด ผลการสอบสวน 6 ราย ได้สรุปไว้ในเอกสารทางวิชาการ ฉบับนี้ด้วย ค�ำส�ำคัญ: แผนภูมิควบคุมคุณภาพ สารตกค้าง สินค้าปศุสัตว์ สารปรอท ยากันบิด » บทน� ำ « สหภาพยุโรปได้ประกาศกฎระเบียบเรือ่ งการเฝ้าระวังสารเคมีตกค้างในสินค้าปศุสตั ว์ใน Council Directive 96/23/EC (European Communities, 1996) ก�ำหนดให้ประเทศสมาชิกในกลุม่ สหภาพยุโรป และประเทศทีส่ าม ต้องมีแผนการเฝ้าระวังสารตกค้างในสัตว์มชี วี ติ และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ แยกตามกลุม่ ของสารที่ต้องการเฝ้าระวัง ระเบียบนี้ยังก�ำหนดรายละเอียดการสุ่มตัวอย่าง ความถี่ในการเก็บตัวอย่าง ของ โค สุกร แพะ แกะ ม้า สัตว์ปีก และสัตว์น�้ำ ต่อมาสหภาพยุโรปได้ออก Commission Decision 97/747/EC เพื่อเป็นระเบียบที่ใช้ในการสุ่มตัวอย่าง และความถี่ในการเก็บตัวอย่างประเภท น�้ำผึ้ง นม ไข่ เนื้อกระต่าย และสัตว์ที่ใช้ล่าเพื่อการกีฬา (European Communities, 1997) ประเทศที่เป็นคู่ค้า ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 188 กันยายน - ตุลาคม 2562

51


Around the World

กับสหภาพยุโรปจะต้องมีแผนการตรวจสอบสารตกค้าง โดยต้องส่งแผนและผลการตรวจวิเคราะห์ไปยัง สหภาพยุโรปภายในวันที่ 31 มีนาคม ของทุกปี เพื่อให้สหภาพยุโรปพิจารณาและให้ความเห็นชอบกับ แผนการตรวจสารตกค้าง หากแผนเฝ้าระวังสารตกค้างของสินค้าใด หรือประเทศใด ไม่ผ่านการอนุมัติ สินค้าของประเทศนั้นก็ไม่สามารถขายในสหภาพยุโรปได้ ประเทศไทยเป็นประเทศคู่ค้ากับสหภาพยุโรป มีการส่งออกสินค้าประเภทสัตว์ปีก สัตว์น�้ำ และ น�้ำผึ้ง ไปประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปมูลค่า กว่า 3,200 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 120,000 ล้านบาทต่อปี กรมปศุสัตว์ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ก�ำกับดูแลการผลิตสัตว์และสินค้าปศุสัตว์ มีด�ำริให้ ด�ำเนินการเฝ้าระวังและตรวจสอบสารตกค้างในสินค้าปศุสัตว์และในฟาร์มมาตั้งแต่ปี 2546 และ ออกประกาศก�ำหนดมาตรฐานสารตกค้างในปี 2549 (กรมปศุสัตว์, 2549) นอกจากนี้ กรมปศุสัตว์ ได้แต่งตั้งคณะท�ำงานสอบสวนกรณีพบสารตกค้างเกินมาตรฐาน เพื่อสอบหาสาเหตุของสารตกค้าง รายงานทางวิชาการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมและรายงานผลการตรวจวิเคราะห์ตัวอย่าง ภายใต้กิจกรรมเฝ้าระวังสารตกค้างของกรมปศุสัตว์ และผลการสอบสวน เพื่อเป็นเอกสารอ้างอิงของ ประเทศ รวมทั้งเป็นแนวทางในการสอบสวนหาสาเหตุ เพื่อลดความเสี่ยงการปนเปื้อนจากสารตกค้าง และเมื่อน�ำแนวทางและขั้นตอนนี้ไปใช้จะเป็นที่ยอมรับได้ในระดับสากล สร้างความเชื่อมั่นด้านอาหาร ปลอดภัยแก่ผู้บริโภคทั้งภายใน และต่างประเทศ วิธีด�ำเนินการวิจัย ตัวอย่างจากสัตว์ปีก เก็บตัวอย่างกล้ามเนื้อ ตับ ไขมัน จากสัตว์ปีกทั้งไก่เนื้อและเป็ดเนื้อ ตาม ข้อก�ำหนด Commission Directive 96/23/EC ของสหภาพยุโรป (European Communities, 1996) จ�ำนวนตัวอย่างสัตว์ปีกในแต่ละปีเท่ากับ 6,876 ตัวอย่าง เก็บจากฟาร์มสัตว์ปีก 2,598 ตัวอย่าง และ จากโรงฆ่าสัตว์ปีก 4,278 ตัวอย่าง ตัวอย่างน�ำ้ ผึง้ เก็บตัวอย่างน�ำ้ ผึง้ ตามข้อก�ำหนด Commission Directive 97/747/EC (European Communities, 1997) จ�ำนวนตัวอย่างน�้ำผึ้งในแต่ละปีเท่ากับ 140 ตัวอย่าง เก็บจากฟาร์มเลี้ยงผึ้ง แผนการเก็บตัวอย่าง และการกระจายตัวอย่าง การเก็บตัวอย่างเพือ่ ตรวจวิเคราะห์ภายใต้แผน การเฝ้าระวังสารตกค้างของกรมปศุสตั ว์ เป็นการสุม่ ตัวอย่างแบบง่าย (Simple random sampling) โดย ได้สุ่มตัวอย่างและกระจายตัวอย่างให้สอดคล้องกับข้อก�ำหนดใน Commission Directive 96/23/EC และ 97/747/ECของสหภาพยุโรป (European Communities, 1996; 1997) ตัวอย่างทั้งหมด ในแผนการเฝ้าระวัง จะถูกส่งไปที่ ส�ำนักตรวจสอบคุณภาพสินค้าปศุสตั ว์ (สตส) เพือ่ ท�ำการตรวจวิเคราะห์ หาปริมาณสารตกค้าง อุปกรณ์และเครื่องมือ LC-MS/MS , ELISA, HPLC/UV, HPLC-FLD, HPLC-DAD, GC-ECD, ICP-MS, Direct Mercury Analyzer , HPLC, GC-HRMS รายละเอียดวิธีตรวจสารตกค้างแต่ละกลุ่ม สรุปไว้ในตารางที่ 3 (สัตว์ปีก) และ ตารางที่ 4 (น�้ำผึ้ง)

52

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 188 กันยายน - ตุลาคม 2562




Around the World

วิธีตรวจวิเคราะห์ ส�ำนักตรวจสอบคุณภาพสินค้าปศุสัตว์ (สตส) ตรวจวิเคราะห์หาสารตกค้าง ในสินค้าปศุสัตว์ ด้วยวิธีตรวจยืนยัน (Confirmatory test) ซึ่งเป็นวิธีที่ได้รับการรับรอง ISO 17025 หรือเป็นวิธที ผี่ า่ นการทดสอบความใช้ได้แล้ว (Validation) ชนิดสัตว์ ชนิดตัวอย่าง (Matrix) วิธกี ารตรวจ (Methods) ค่าต�่ำสุดที่ตรวจได้ (Detection Limit, LOD) ระดับที่ต้องด�ำเนินการ (Level of Action, LOA) และค่ามาตรฐาน (Maximum Residue Limit, MRL) ตามเกณฑ์ของกรมปศุสัตว์ (กรมปศุสัตว์. 2549) ของสารตกค้างแต่ละชนิดทีต่ รวจในสัตว์ปกี สรุปไว้ในตารางที่ 1 และส�ำหรับน�ำ้ ผึง้ ในตารางที่ 2 ตารางที่ 1 ค่าอ้างอิงที่ใช้เป็ นเกณฑ์การรายงาน การตัดสินผล (Decision rule)

และการดำ�เนินการของแต่ละวิธว ี ิเคราะห์สารตกค้างในสัตว์ปีก

กลุ่ม สาร

ชนิด สารตกค้าง

A1 Stilbenes - Dietylstilbestrol - Dienestrol - Hexestrol A3 Dexamethasone A4 Zeranol A5 Beta agonist - Clenbuterol - Ractopamine - Salbutamol A6 Chloramphenicol A6 Nitrofuran metabolites - Nitrofurantoin - Furaltadone - Furazolidone - Nitrofurazone A6 Nitroimidazole - Dimetridazole - HMMNI - Ipronidazole - IPZ-OH - Metronidazole - MNZ-OH - Ronidazole

ชนิด สัตว์ปีก

ค่าต�่ำสุดที่ตรวจได้ ระดับที่ต้องด�ำเนินการ ค่ามาตรฐาน ชนิดตัวอย่าง วิธีการตรวจ (Detection limit) (Level of Action) (MRL) (Matrix) (Method) (µg/kg) (µg/kg) (µg/kg)

ไก่และเป็ด

กล้ามเนื้อ

LC-MS/MS

ไก่และเป็ด ไก่และเป็ด

ตับ กล้ามเนื้อ

ELISA LC-MS/MS

ไก่และเป็ด

ตับ

LC-MS/MS

ไก่และเป็ด

กล้ามเนื้อ

LC-MS/MS

ไก่และเป็ด

ไก่และเป็ด

กล้ามเนื้อ

กล้ามเนื้อ

LC-MS/MS

LC-MS/MS

CCα = 0.2 CCα = 0.2 CCα = 0.4 1 CCα = 0.2

CCα = 0.2 CCα = 0.2 CCα = 0.4 ND CCα = 0.2

CCα = 0.5 CCα = 0.6 CCα = 0.2 CCα =0.04

CCα = 0.5 CCα = 0.6 CCα = 0.2 Action limit = 0.2

CCα = 0.1 CCα =0.02 CCα = 0.04 CCα = 0.15

Action limit = 0.1 Action limit = 0.05 Action limit = 0.05 Action limit = 0.5

CCα = 0.2 CCα = 0.9 CCα = 0.2 CCα = 0.2 CCα = 0.1 CCα = 0.2 CCα = 0.7

CCα = 0.2 CCα = 0.9 CCα = 0.2 CCα = 0.2 CCα = 0.1 CCα = 0.2 CCα = 0.7

ND ND ND ND ND

ND

ND

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 188 กันยายน - ตุลาคม 2562

53


Around the World

กลุ่ม สาร B1

vB1

B1 B1 B1 B1

B1

B2a B2b

54

ค่าต�่ำสุดที่ตรวจได้ ระดับที่ต้องด�ำเนินการ ค่ามาตรฐาน ชนิดตัวอย่าง วิธีการตรวจ (Detection limit) (Level of Action) (MRL) (Matrix) (Method) (µg/kg) (µg/kg) (µg/kg) Tetracyclines ไก่และเป็ด กล้ามเนื้อ LC-MS/MS - Oxytetracycline (OTC) LOD = 18 CCα = 119 MRL single or sum of - Chlortetracycline LOD = 16 CCα = 123 (CTC) OTC, TTC, - Tetracycline (TTC) LOD = 15 CCα = 118 CTC = 100 - Doxycycline (DC) LOD = 10 CCα = 61 50 Macrolides ไก่และเป็ด กล้ามเนื้อ LC-MS/MS - Tylosin A LOD = 1.4 CCα = 140 MRL= 100 - Erythromycin A LOD = 1.5 CCα = 233 MRL= 200 - Tilmicosin LOD = 25 MRL = 75 MRL= 75 Lincomycin LOD = 10 CCα = 122 MRL= 100 Sulphonamides ไก่และเป็ด กล้ามเนื้อ HPLC-UV LOD = 7-18 CCα = 109-116 MRL=100 Colistin ไก่และเป็ด กล้ามเนื้อ LC-MS/MS MRL = 150 MRL = 150 Fluoroquinolones Sum of - Enrofloxacin ไก่และเป็ด กล้ามเนื้อ LC-MS/MS LOD = 3.5 CCα = 55 EFX+CFX - Ciprofloxacin LOD = 3.6 CCα = 54 = 50 Beta-lactams - Ampicillin ไก่และเป็ด กล้ามเนื้อ LC-MS/MS LOD = 2.7 CCα = 23.2 MRL= 50 - Amoxycillin LOD = 2.8 CCα = 24.4 MRL= 50 - Benzyl penicillin LOD = 1.8 CCα = 23.9 MRL= 50 Aminoglycosides MRL= 50 CCα = 56 - Gentamycin LOD = 7 CCα = 558 MRL= 500 - Neomycin ไก่และเป็ด กล้ามเนื้อ LC-MS/MS LOD = 62 MRL= 500 CCα = 567 - Streptomicin LOD = 42 MRL= 500 - Dihydrostreptomicin LOD = 30 CCα = 553 Flubendazole ไก่และเป็ด กล้ามเนื้อ LC-MS/MS LOD = 1 MRL = 50 MRL = 50 Anticoccidials - Nicarbazin LOD = 0.2 CCα = 225 MRL= 200 - Monensin LOD = 0.3 CCα = 9 MRL = 8 - Salinomycin ไก่และเป็ด กล้ามเนื้อ LC-MS/MS LOD = 0.4 CCα = 6 MRL = 5 - Narasin LOD = 0.3 CCα = 18 MRL = 15 - Lasalocid A LOD = 0.3 CCα = 24 MRL = 20 - Diclazuril LOD = 2.5 CCα =500 MRL= 500 - Robenidine LOD = 2.5 CCα =200 MRL= 200 ชนิด สารตกค้าง

ชนิด สัตว์ปีก

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 188 กันยายน - ตุลาคม 2562

{


ชนิด สารตกค้าง

B2c Carbamates - Aldicarb - Carbaryl - Carbofuran - Methomyl - Propoxur B2c Pyrethroids - Bifenthrin - Cypermethrin - Cyfluthrin - Cis-Deltamethrin - Fenvalerate - Lambda-Cyhalothrin - Permethrin B2e Phenylbutazone B2f Spinosad B3a Organochlorine compounds including PCBs OCPs: - Aldrin & Dieldrin - Heptachlor and Heptachlor epoxide - Total Chlordane - Total DDT - HCB - BHC - alpha - BHC - beta - Lindane - Endrin PCBs: Sum of PCB 28, 52, 101, 138, 153 and 180 B3b Organophosphorus compounds - Chlorpyrifos - Diazinon

ชนิด สัตว์ปีก

ไก่และเป็ด

Around the World

กลุ่ม สาร

ค่าต�่ำสุดที่ตรวจได้ ระดับที่ต้องด�ำเนินการ ค่ามาตรฐาน ชนิดตัวอย่าง วิธีการตรวจ (Detection limit) (Level of Action) (MRL) (Matrix) (Method) (µg/kg) (µg/kg) (µg/kg) กล้ามเนื้อ

HPLC-FLD

LOD=5

ไก่และเป็ด

ไขมัน

GC-ECD

LOD=5

ไก่และเป็ด ไก่และเป็ด

กล้ามเนื้อ ไขมัน

LC-MS/MS HPLC-DAD

CCα = 0.3 LOD = 20

ไก่และเป็ด

ไขมัน

GC-ECD

LOD = 3

ไก่และเป็ด

ไขมัน

GC-ECD

LOD = 3

MRL = 10 MRL =50 MRL = 80 MRL = 20 MRL = 3

MRL = 10 MRL =50 MRL = 80 MRL = 20 MRL = 3

MRL = 50 MRL = 50 MRL = 50 MRL = 50 MRL = 20 MRL = 20 MRL = 50 CCα = 0.3 1,000

MRL = 50 MRL = 50 MRL = 50 MRL = 50 MRL = 20 MRL = 20 MRL = 50 ND MRL = 1,000

MRL= 200 MRL= 200 MRL= 50 MRL = 300 MRL= 200 MRL= 200 MRL= 100 MRL= 20 MRL= 20 MRL= 40

MRL= 200 MRL= 200 MRL= 50 MRL = 300 MRL= 200 MRL= 200 MRL= 100 MRL= 20 MRL= 20 MRL= 40

MRL = 50 MRL= 20

MRL = 50 MRL= 20

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 188 กันยายน - ตุลาคม 2562

55


Around the World

กลุ่ม สาร

ชนิด สารตกค้าง

B3c Chemical elements - Arsenic - Cadmium - Lead - Mercury B3d Mycotoxins - Aflatoxin B1 - Aflatoxin B2 - Aflatoxin G1 - Aflatoxin G2 B3f Dioxin

ค่าต�่ำสุดที่ตรวจได้ ระดับที่ต้องด�ำเนินการ ชนิดตัวอย่าง วิธีการตรวจ (Detection limit) (Level of Action) (Matrix) (Method) (µg/kg) (µg/kg) LOD = 5 ML= 1,000 ICP-MS LOD = 5 ML= 500 ไก่และเป็ด ตับ LOD = 20 ML = 500 Direct LOD = 1.4 ML = 10 Mercury Analyzer HPLC ML = 0.5 ไก่และเป็ด ตับ LOD=0.1 ML = 0.5 ML = 0.5 ML = 0.5 ไก่และเป็ด ตับ GC-HRMS 0.01 pg/g fat 0.01 pg/g fat ไขมัน 0.01 pg/g fat 0.01 pg/g fat ชนิด สัตว์ปีก

{

ค่ามาตรฐาน (MRL) (µg/kg) ML= 1,000 ML= 500 ML = 500 ML = 10

ML = 0.5 ML = 0.5 ML = 0.5 ML = 0.5 4.5 pg/g fat 1.75pg/gfat

ตารางที่ 2 ค่าอ้างอิงที่ใช้เป็นเกณฑ์การรายงาน การตัดสินผล (Decision rule)

และการด�ำเนินการ ของแต่ละวิธว ี ิเคราะห์สารตกค้างในน้�ำผึ้ง

กลุ่มสาร ชนิดตัวอย่าง ชนิ ด สารตกค้ า ง (Group of (Matric (Residue) substance) Analysed) A6 Chloramphenicol น�้ำผึ้ง A6 Nitrofurans - Furaltadone - Furazolidone น�ำ้ ผึ้ง - Nitrofurantoin - Nitrofurazone B1 Sulphonamides - Sulfadiazine น�ำ้ ผึ้ง - Sulfamethazine - Sulfamonomethoxine B1 Aminoglycosides น�ำ้ ผึ้ง - Streptomycin B1 Macrolides - Tylosin A น�ำ้ ผึ้ง - Erythromycin A

56

วิธีการตรวจ (Method) LC-MS/MS LC-MS/MS

LC-MS/MS LC-MS/MS LC-MS/MS LC-MS/MS

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 188 กันยายน - ตุลาคม 2562

ค่าต�่ำสุดที่ตรวจได้ (Detection limit) (µg/kg) CCα = 0.14

ระดับที่ต้องด�ำเนินการ (Level of Action) (µg/kg) Action limit = 0.2

ค่ามาตรฐาน (MRL) (µg/kg) ND

CCα = 0.1 CCα = 0.1 CCα = 0.2 CCα = 0.2

CCα = 0.1 CCα = 0.1 CCα = 0.2 CCα = 0.2

ND

LOD = 2.5 LOD = 1.7 LOD = 1.4

CCα = 8.2 CCα = 3.2 CCα = 3.6

CCα = 10 2 2

CCα = 10 ND ND

ND

ND ND


B3b

B3c

Organophosphorus compounds - Coumaphos - Malathion Chemical elements - Arsenic - Lead

ชนิดตัวอย่าง (Matric Analysed)

วิธีการตรวจ (Method)

ค่าต�่ำสุดที่ตรวจได้ (Detection limit) (µg/kg)

ระดับที่ต้องด�ำเนินการ (Level of Action) (µg/kg)

LC-MS/MS LC-MS/MS LC-MS/MS LC-MS/MS

15 15 15 15

ND ND ND ND

น�้ำผึ้ง

LC-MS/MS

1

MRL = 10

MRL = 10

น�้ำผึ้ง น�้ำผึ้ง

GC-MS/MS GC-MS/MS

1 5

MRL = 10 MRL = 200

MRL = 10 MRL = 200

น�้ำผึ้ง

GC-MS/MS

0.5

MRL = 100

MRL = 100

0.5 0.5 0.5

MRL = 6 MRL = 2 ND

MRL = 6 MRL = 2 ND

น�้ำผึ้ง

Around the World

กลุ่มสาร ชนิดสารตกค้าง (Group of (Residue) substance) B1 Tetracyclines - Oxytetracycline - Tetracycline - Chlortetracycline - Doxycycline B2c Carbamate - Carbaryl B2c Pyrethroid - Tau-Fluvalinate B2c Amitraz B3a Organochlorine compounds includind PCBs - Aldrin and Dieldrin - Heptachlor and Heptachlor epoxide - Total Chlordane - Total DDT

ค่ามาตรฐาน (MRL) (µg/kg) ND

น�้ำผึ้ง

GC-MS/MS

0.5 0.5

MRL = 100 MRL = 500

MRL = 100 MRL = 500

น�้ำผึ้ง

ICP-MS

LOD = 4 LOD = 5

ML = 200 ML = 500

ML = 200 ML = 500

การสอบสวนเมือ่ ตรวจพบสารตกค้างเกินมาตรฐาน กรณีทพี่ บสารตกค้างเกินมาตรฐาน เจ้าหน้าที่ กรมปศุสัตว์ทั้งในภูมิภาค และส่วนกลางจะด�ำเนินการสอบสวน และติดตาม เพื่อค้นหาสาเหตุที่มาของ สารตกค้างดังกล่าว เก็บตัวอย่างเพิ่มเติม และเฝ้าระวังผลผลิตในรุ่นต่อไป ตามแนวทางการสอบสวน สารตกค้างที่ได้ก�ำหนดไว้ (ฉันทนี บูรณะไทย, 2561)

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 188 กันยายน - ตุลาคม 2562

57


Around the World

» ผลการศึ กษา « ผลการตรวจสารตกค้างในตัวอย่างสัตว์ปีก ระหว่าง พ.ศ. 2558 - 2560 จากผลการศึกษา สารตกค้างในสัตว์ปีก 3 ปี (พ.ศ. 2558 - 2560) จากตัวอย่างปีละ 6,876 ตัวอย่าง พบสารตกค้าง เกินมาตรฐานรวม 10 ครั้ง ในสัตว์ปีก 7 ครั้ง และในน�้ำผึ้ง 3 ครั้ง พบว่า ในสัตว์ปีกสารที่พบเกิน มาตรฐานทุกปีคอื ยากันบิดชนิด Nicarbazin (DNC) (3/7 ครัง้ ) รองลงมาคือ MNZ ซึง่ เป็นสารต้องห้าม กลุ่ม Nitroimidazole (2/7 ครั้ง) ส่วนโลหะตกค้าง พบสารปรอท (Hg) 5 ใน 7 ครั้ง สาเหตุที่ท�ำให้เกิด สารตกค้างเกินมาตรฐานในแต่ละราย ได้รายงานไว้ในหัวข้อผลการสอบสวน รายละเอียดตามตารางที่ 3 ผลการตรวจสารตกค้างในตัวอย่างน�ำ้ ผึง้ ระหว่าง พ.ศ. 2558 - 2560 ผลการวิเคราะห์สารตกค้าง จากตัวอย่างน�้ำผึ้ง ที่เก็บตามแผนเฝ้าระวังสารตกค้างในสินค้าปศุสัตว์ ระหว่างปี พ.ศ. 2558 - 2560 จ�ำนวน 140 ตัวอย่างต่อปี พบสารตกค้างเกินมาตรฐาน 3 ครัง้ เป็น Streptomycin 1 ครัง้ Tetracycline 1 ครั้ง และ Erythromycin 1 ครั้ง สรุปไว้ในตารางที่ 4 ตารางที่ 3 ผลการวิเคราะห์สารตกค้างในสัตว์ปีก จำ�แนกตามเขต ตามกลุ่ม

และชนิดสารตกค้างในสัตว์ปีก ระหว่างปี พ.ศ. 2558 - 2560

ผลการตรวจหาสารตกค้างในสัตว์ปีกของประเทศไทย พ.ศ. 2558-2560 1. ตัวอย่างจากฟาร์มสัตว์ปีก 9 เขต ปี 2558 ปี 2559 กลุ่ม สารตกค้าง ชนิดสัตว์ ชนิดตัวอย่าง จ�ำนวน ผล จ�ำนวน ผล ตัวอย่าง การตรวจ ตัวอย่าง การตรวจ อาหาร 37 C 37 C ไก่เนื้อ A1 Hormones กล้ามเนื้อ 188 C 188 C เป็ดเนื้อ กล้ามเนื้อ 16 C 16 C Steroids ไก่เนื้อ ตับ 182 C 182 C A3 เป็ดเนื้อ ตับ 15 C 15 C (Dexamethasone) ไก่เนื้อ กล้ามเนื้อ 231 C 231 C A4 Zeranol เป็ดเนื้อ กล้ามเนื้อ 17 C 17 C ไก่เนื้อ ตับ 155 C 155 C A5 Beta - agonists เป็ดเนื้อ ตับ 17 C 17 C อาหาร 61 C 61 C ไก่เนื้อ น�้ำดื่ม 250 C 250 C A6 Nitrofurans อาหาร 9 C 9 C เป็ดเนื้อ น�้ำดื่ม 35 C 35 C ไก่เนื้อ กล้ามเนื้อ 187 NC (1) 187 NC (1) A6 Nitrofurans เป็ดเนื้อ กล้ามเนื้อ 15 C 15 C

58

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 188 กันยายน - ตุลาคม 2562

ปี 2560 จ�ำนวน ผล ตัวอย่าง การตรวจ 37 C 188 C 16 C 182 C 15 C 231 C 17 C 155 C 17 C 61 C 250 C 9 C 35 C 187 C 15 C


สารตกค้าง

ชนิดสัตว์ ไก่เนื้อ

A6

Chloramphenicol เป็ดเนื้อ

ไก่เนื้อ A6

Nitroimidazoles เป็ดเนื้อ

ไก่เนื้อ เป็ดเนื้อ ไก่เนื้อ B3d Aflatoxin เป็ดเนื้อ รวมตัวอย่างจากฟาร์ม

B3c Heavy metal (Hg)

ชนิดตัวอย่าง อาหาร น�้ำดื่ม กล้ามเนื้อ อาหาร น�้ำดื่ม กล้ามเนื้อ อาหาร น�้ำดื่ม กล้ามเนื้อ อาหาร น�้ำดื่ม กล้ามเนื้อ อาหาร อาหาร อาหาร อาหาร

Around the World

กลุ่ม

ปี 2558 ปี 2559 ปี 2560 จ�ำนวน ผล จ�ำนวน ผล จ�ำนวน ผล ตัวอย่าง การตรวจ ตัวอย่าง การตรวจ ตัวอย่าง การตรวจ 125 C 125 C 125 C 274 C 274 C 274 C 181 C 181 C 181 C 25 C 25 C 25 C 26 C 26 C 26 C 18 C 18 C 18 C 35 C 35 C 35 C 89 C 89 C 89 C 128 C 128 C 128 C 10 C 10 C 10 C 10 C 10 C 10 C 22 C 22 C 22 C 101 C 101 C 101 C 19 C 19 C 19 C 101 C 101 C 101 C 19 C 19 C 19 C 2,598 NC = 1 2,598 NC = 1 2,598 NC = 0

2. โรงฆ่าสัตว์ปีกเพื่อการส่งออก ชนิด สัตว์

ชนิด ตัวอย่าง

ปี 2558

จ�ำนวน ผล ตัวอย่าง การตรวจ ตัวอย่างจาก กล้ามเนื้อ 2,730 NC = 1 (DNC) โรงฆ่าสัตว์ ไก่เนื้อ ตับ 511 NC = 2 (Hg) ปีกเพื่อการส่ง ไขมัน 632 C ออก กล้ามเนื้อ 179 C เป็ดเนื้อ ตับ 52 NC = 1 (Hg) ไขมัน 28 C รวมตัวอย่างจากโรงฆ่า 4,728 NC = 4 รวมตัวอย่างจากฟาร์มและโรงฆ่า 6,876 NC = 5

ปี 2558

ปี 2558

จ�ำนวน ผล ตัวอย่าง การตรวจ 2,912 NC = 1 (DNC) 530 C 580 C 179 C 52 C 28 C 4,728 NC = 1 6,876 NC = 2

จ�ำนวน ผล ตัวอย่าง การตรวจ 2,912 NC = 1 (DNC) 532 NC = 2 (Hg) 577 C 179 C 52 C 28 C 4,728 NC = 3 6,876 NC = 3

หมายเหตุ: C = Compliant, NC= Non-compliant ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 188 กันยายน - ตุลาคม 2562

59


Around the World

ตารางที่ 4 ผลการวิเคราะห์สารตกค้างในน้�ำผึ้ง จ�ำแนกตามเขต ตามกลุ่ม

และชนิดสารตกค้าง ระหว่างปี พ.ศ. 2558 - 2560

เขต

จังหวัด

4

เลย เชียงใหม่ ล�ำปาง แม่ฮ่องสอน เชียงราย พะเยา น่าน ล�ำพูน แพร่ อุตรดิตถ์

5

6 8

ชนิด ชนิด สัตว์ ตัวอย่าง จ�ำนวน ตัวอย่าง ผึ้ง น�้ำผึ้ง 1

ปื 2558

ปื 2559

ปื 2560

ผล การตรวจ C

จ�ำนวน ตัวอย่าง 1

ผล การตรวจ C

จ�ำนวน ตัวอย่าง 1

ผล การตรวจ C

125

C

125

C

NC=1 (Erythromycin) C NC=1

8

C

6 140

C C

ผึ้ง

น�้ำผึ้ง

125

NC=2 (Streptomycin 1, Tetracyclin 1)

ผึ้ง

น�้ำผึ้ง

8

C

8

ชุมพร ผึ้ง รวมจ�ำนวนตัวอย่าง

น�้ำผึ้ง

6 140

C NC=2

6 140

หมายเหตุ : C = Compliant, NC= Non-compliant

ผลการสอบสวนกรณีสารตกค้างเกินมาตรฐาน ระหว่าง พ.ศ. 2558 - 2560 ในการสอบสวน หาสาเหตุของสารตกค้าง คณะสอบสวนจะด�ำเนินการสอบสวนทั้งสายการผลิต มีการตรวจสอบ ย้อนกลับจากโรงฆ่าสัตว์ ไปถึงฟาร์ม และโรงงานผลิตอาหารสัตว์ มีการเก็บตัวอย่างเพิม่ เติม (Follow - up samples) เช่น น�ำ้ จากแหล่งน�ำ้ น�ำ้ ทีส่ ตั ว์บริโภค อาหารสัตว์ ยา และสารเคมีทพี่ บในฟาร์ม เพือ่ วิเคราะห์ หาที่มาของสารตกค้าง ผลการสอบสวนกรณีสารตกค้างเกินมาตรฐาน ระหว่าง พ.ศ. 2558 - 2560 ได้สรุปไว้ในตาราง ที่ 5 ในสัตว์ปีกพบสารตกค้างเกินมาตรฐาน 7 ครั้งใน 3 ปี สารที่พบเกินมาตรฐานทุกปีคือ ยากันบิด ชนิด Nicarbazin (DNC) (3/7 ครั้ง) ทั้งสามกรณีเป็นคนละฟาร์ม และไม่สามารถสรุปหาสาเหตุ ทีแ่ ท้จริงได้ โลหะตกค้าง พบสารปรอท (Hg) 5 ใน 7 ครัง้ จากตับไก่ 3 ครัง้ และตับเป็ด 2 ครัง้ จากการ สอบสวนพบว่า ฟาร์มไก่ทั้ง 2 แห่งที่พบปรอทตกค้าง มีความเกี่ยวข้องกัน และสามารถระบุสาเหตุ ของการตกค้างของปรอทได้ชดั เจนว่ามาจากสารส้มยีห่ อ้ หนึง่ ทีน่ ำ� มาตกตะกอนน�ำ้ ก่อนใช้ในฟาร์ม ฟาร์ม เป็ด 2 แห่ง ทีพ่ บปรอทตกค้าง ก็มคี วามเกีย่ วข้องกัน และสามารถระบุสาเหตุของการตกค้างของปรอท ได้วา่ มาจากปูนขาวยีห่ อ้ หนึง่ ทีใ่ ช้ในฟาร์มเพือ่ ฆ่าเชือ้ และป้องกันเป็ดเท้าเปือ่ ย ส�ำหรับน�ำ้ ผึง้ ในช่วง 3 ปี ของการศึกษา พบสารตกค้างเกินมาตรฐาน 3 ครัง้ เป็น Streptomycin,Tetracycline และ Erythromycin อย่างละ 1 ครั้ง ทั้งสามครั้งไม่สามารถระบุสาเหตุที่แท้จริงได้

60

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 188 กันยายน - ตุลาคม 2562


Around the World

ตารางที่ 5 ผลการสอบสวนกรณีสารตกค้างเกินมาตรฐาน ระหว่าง พ.ศ. 2558 – 2560

ปี

ชนิด สารตกค้าง

ชนิด ตัวอย่าง

ปริมาณ

LOA*

1/7 2015 Metronidazole

เนื้อไก่

0.63 ppb

2/7 2015 ปรอท

ตับเป็ด

56 ppb

3/7 2015 ปรอท

ตับไก่

12 ppm

สามารถระบุสาเหตุ 0.2 ppb ไม่ ได้ชดั เจน สงสัยน�้ำจากบ่อในฟาร์ม 10 ppb แต่ไม่สามารถระบุ สาเหตุได้ชัดเจน สารส้มที่ใช้ในการท�ำ 10 ppm น�้ำประปาในฟาร์ม

4/7 2015 ปรอท

ตับไก่

12 ppm

10 ppm

5/7 2015 Nicarbazin

เนื้อไก่

227 ppb

200 ppb

6/7 2015 Streptomycin

น�้ำผึ้ง

183 ppb

10 ppb

7/7 2015 Tetracycline

น�้ำผึ้ง

16.15 ppb

15 ppb

1/3 2016 Metronidazole

เนื้อไก่

0.1 ppb

0.1 ppb

เนื้อไก่

299 ppb

200 ppb

น�้ำผึ้ง

3.18 ppb

ND

Case

2558

2559 2/3 2016 Nicarbazin

3/3 2016 Erythromycin

สาเหตุ

การด�ำเนินการ

บริษัทเลิกท�ำสัญญาไก่ ประกันกับฟาร์มแห่งนี้ ตรวจติดตาม 2 รุ่น การผลิต ไม่พบ สารตกค้างอีก ตรวจติดตาม 2 รุ่น การผลิต ไม่พบ สารตกค้างอีก สารส้มที่ใช้ในการท�ำ ตรวจติดตาม 2 รุ่น น�้ำประปาในฟาร์ม การผลิต ไม่พบ สารตกค้างอีก สงสัยการปนเปื้อนข้าม ตรวจติดตาม 2 รุ่น ระหว่างอาหารระยะที่มี การผลิต ไม่พบ ยากันบิดกับอาหารระยะ สารตกค้างอีก สุดท้ายในไซโลอาหาร แต่ไม่สามารถระบุ สาเหตุได้ชัดเจน ไม่สามารถระบุสาเหตุ มีบนั ทึกตักเตือนจากทาง ได้ชัดเจน เขต ตรวจติดตาม 2 ครัง้ ไม่พบสารตกค้างอีก ไม่สามารถระบุสาเหตุ มีบนั ทึกตักเตือนจากทาง ได้ชัดเจน เขต ตรวจติดตาม 2 ครัง้ ไม่พบสารตกค้างอีก ไม่สามารถระบุสาเหตุ ตรวจติดตาม 2 รุ่น ได้ชัดเจน การผลิต ไม่พบ สารตกค้างอีก สงสัยการปนเปื้อนข้าม บริษัทเลิกท�ำสัญญาไก่ ระหว่างอาหารระยะที่มี ประกันกับฟาร์มแห่งนี้ ยากันบิดกับอาหารระยะ สุดท้ายในไซโลอาหาร แต่ไม่สามารถระบุ สาเหตุได้ชัดเจน ไม่สามารถระบุสาเหตุ ตรวจติดตาม 2 ครั้ง ได้ชัดเจน ไม่พบสารตกค้างอีก

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 188 กันยายน - ตุลาคม 2562

61


Around the World

ปี

Case

ชนิด สารตกค้าง

1/3 2017 Nicarbazin

2560 2/3 2017 ปรอท

3/3 2017 ปรอท

ชนิด ตัวอย่าง

เนื้อไก่

ตับเป็ด

ตับเป็ด

ปริมาณ

238.5 ppb

0.024 ppm

0.032 ppm

LOA*

สาเหตุ

สงสัยการปนเปื้อนข้าม ระหว่างอาหารระยะที่มี นบิดกับอาหารระยะ 200 ppb ยากั สุดท้ายในไซโลอาหาร แต่ไม่สามารถระบุ สาเหตุได้ชัดเจน ตรวจพบสารปรอท ในปูนขาวที่ทางฟาร์ม 0.02 ppm ใช้ในการท�ำให้เท้าแห้ง ฆ่าเชื้อ และป้องกัน การติดเชื้อที่เท้าเป็ด ตรวจพบสารปรอท ในปูนขาวที่ทางฟาร์ม 0.02 ppm ใช้ในการท�ำให้เท้าแห้ง ฆ่าเชื้อ และป้องกัน การติดเชื้อที่เท้าเป็ด

การด�ำเนินการ ตรวจติดตาม 2 ครั้ง ไม่พบสารตกค้างอีก

ตรวจติดตาม 2 ครั้ง ไม่พบสารตกค้างอีก

ตรวจติดตาม 2 ครั้ง ไม่พบสารตกค้างอีก

*LOA มาจาก Level of Action คือระดับของปริมาณสารตกค้างที่ตรวจพบ ที่เจ้าหน้าที่ของกรมปศุสัตว์จะเข้าด�ำเนินการ ตามประกาศกรมปศุสัตว์ เรื่องก�ำหนดมาตรฐานสารตกค้างส�ำหรับสินค้าปศุสัตว์ พ.ศ.2549

» วิจารณ์ ผล « ผลการตรวจวิเคราะห์สารตกค้างในสัตว์ปีสัตว์ปีกเป็นเวลา 3 ปี พบว่ามีสาเหตุจากยากันบิด ชนิด Nicarbazin มากทีส่ ดุ (3 ใน 7 ครัง้ ) สอดคล้องกับรายงานของ Danaher et a ทีพ่ บว่า Nicarbazin เป็นยากันบิดทีจ่ ะพบตกค้างในกล้ามเนือ้ สัตว์ปกี มากทีส่ ดุ (Danaher et al, 2008 อ้างถึงโดย Moloney et al, 2012) ตามฉลากระบุระยะหยุดยาของ Nicarbazin ไว้ 4 วัน ซึ่งอาจจะต้องมีการศึกษาเพิ่มเติม ว่าระยะหยุดยาควรจะเพิ่มขึ้นหรือไม่ ยาที่พบรองลงมาคือ MNZ ซึ่งอยู่ในกลุ่ม Nitroimidazole (2 ใน 7 ครั้ง) ยากลุ่มนี้เป็นเป็นยาที่ห้ามใช้ ตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และเนื้อสัตว์ที่มีการ ตรวจพบสารตกค้างในกลุม่ นีห้ า้ มจ�ำหน่ายให้แก่ผบู้ ริโภค ตามประกาศกรมปศุสตั ว์ หน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้อง ได้แก่ ส�ำนักงานอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข กองควบคุมอาหารและยาสัตว์ กรมปศุสัตว์ ควร จะมีมาตรการที่เข้มงวดในการตรวจสอบและลงโทษผู้กระท�ำผิด เพื่อลดความเสี่ยงจากการลักลอบใช้ สารต้องห้ามตามกฎหมาย ผลการตรวจวิเคราะห์สารตกค้างในน�ำ้ ผึง้ 3 ปี พบสารตกค้างทีต่ า่ งกัน 3 ชนิดคือ Streptomycin Tetracycline และ Erythromycin ชนิดละ 1 ตัวอย่าง จากการสอบสวนพบว่า เกษตรกรไม่มีเจตนา ในการใช้สารปฏิชีวนะเหล่านี้ เป็นการใช้โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ จึงควรให้ข้อมูลและความรู้แก่เกษตรกร

62

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 188 กันยายน - ตุลาคม 2562


Around the World

ผูเ้ ลีย้ งผึง้ ถึงการใช้สารเคมี ยา และวิตามินต่างๆ ตลอดจนส่งเสริมให้มกี ารใช้สารจากธรรมชาติ เช่น สมุนไพร ต่างๆ แทนการใช้สารเคมี เพราะน�ำ้ ผึง้ เป็นอาหารจากธรรมชาติทบี่ ริโภคโดยตรง ผ่านกระบวนการในโรงงาน เพียงแค่การกรองและการระเหยน�้ำออกบางส่วน การใช้สารจากธรรมชาติจึงเป็นวิธีที่น่าจะปลอดภัย ที่สุดต่อผู้บริโภค การสอบสวนกรณีสารตกค้างเกินมาตรฐานเป็นกระบวนการที่จ�ำเป็น เพื่อหาข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ และข้อมูลที่จ�ำเป็นต่อการด�ำเนินการตามกฎระเบียบและข้อบังคับ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนจาก การศึกษานี้คือ การพบสารปรอทตกค้างในตับไก่ และเป็ด 5 ใน 7 รายที่เกินมาตรฐาน หากไม่ได้ ด�ำเนินการสอบสวนหาสาเหตุที่แท้จริง อาจจะท�ำให้เข้าใจว่าเป็นปัญหาการปนเปื้อนของโลหะหนักใน สิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นประเด็นที่ไม่อาจแก้ไขได้ด้วยระบบการเลี้ยงและการจัดการในฟาร์ม แต่ผลการ สอบสวนยืนยันว่า ต้นเหตุของสารปรอทในฟาร์มไก่ทั้ง 2 แห่ง มาจากสารส้มที่ใช้ในการตกตะกอนน�้ำ ส่วนในฟาร์มเป็ด 2 ฟาร์ม มีต้นเหตุจากปูนขาวที่ใช้เพื่อฆ่าเชื้อและป้องกันปัญหาเท้าเปื่อยของเป็ด ในฟาร์ม ทั้ง 4 กรณี เป็นสาเหตุที่คาดไม่ถึง เพราะเกิดจากสารเคมีทั่วไปที่น�ำมาใช้ในฟาร์ม ข้อมูลจาก การสอบสวนจึงควรเผยแพร่ให้เกษตรกร และผูป้ ระกอบการได้รบั รู้ เพือ่ จะได้ปอ้ งกันและลดความเสีย่ ง ในการปนเปื้อนในอนาคต ในขณะเดียวกัน ข้อมูลจากการสอบสวนยังท�ำให้ทราบว่า สารตกค้างที่ตรวจ พบ ไม่ได้เกิดจากเจตนาของเกษตรกร เจ้าหน้าที่จึงไม่ได้ด�ำเนินมาตรการลงโทษ ผลการสอบสวนยัง ส่งผลต่อในภาพรวมของประเทศ คลายความตระหนกของประชาชน ว่าสารปรอทตกค้างที่ตรวจพบ ไม่ได้มีสาเหตุจากสารปรอทในสิ่งแวดล้อม แต่เกิดจากสารเคมีที่ใช้ในฟาร์ม จากแผนการเฝ้าระวังสารตกค้างของกรมปศุสัตว์ที่ด�ำเนินการมากว่า 14 ปี แม้จะพบตัวอย่าง ทีม่ สี ารตกค้างเกินมาตรฐานบ้าง และมีการด�ำเนินการตามกฎระเบียบภายในประเทศ แต่ไม่เคยมีกรณี ตรวจพบสารตกค้างในสินค้าปศุสัตว์ที่ส่งออกไปสหภาพยุโรปเลย ในขณะที่สินค้าเกษตรประเภทที่ ใกล้เคียงกันถูกมาตรการ RAFFS ของสหภาพยุโรป ย่อมแสดงถึงประสิทธิภาพในการตรวจสอบและ เฝ้าระวังของกรมปศุสัตว์ » สรุ ปและข้อเสนอแนะ « ประการแรก การที่กรมปศุสัตว์มีกลไกเพื่อให้เจ้าหน้าที่ให้ความส�ำคัญกับการสอบสวนหาสาเหตุ ของสารตกค้างเป็นสิ่งที่ควรส่งเสริม เพราะการสอบสวนกรณีสารตกค้างเป็นกระบวนการที่จ�ำเป็นและ มีคุณประโยชน์ นอกจากนี้ สหภาพยุโรปได้ร้องขอให้แนบผลการสอบสวนกรณีสารตกค้างไปกับผลการ วิเคราะห์สารตกค้างประจ�ำปี โดยเริม่ ตัง้ แต่รายงานของปี 2019 การสอบสวนจะต้องครอบคลุมทัง้ วงจร การผลิต มีการเก็บตัวอย่างเพิม่ เติม เพือ่ หาสาเหตุทมี่ าของสารตกค้าง ประการทีส่ อง คือ ห้องปฏิบตั กิ าร ต้องปรับปรุงระยะเวลาการวิเคราะห์ และการรายงานผลให้รวดเร็วขึ้น เพื่อกิจกรรมอื่นๆ ที่ต่อเนื่อง จะสามารถด�ำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ขณะนี้ส�ำนักตรวจสอบคุณภาพสินค้า ปศุสัตว์ก�ำลังลดขั้นตอนด้านเอกสาร และน�ำโปรแกรมคอมพิวเตอร์มาเพิ่มประสิทธิภาพการรายงานผล ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 188 กันยายน - ตุลาคม 2562

63


Around the World

ข้อเสนอแนะข้อที่สามคือ งบประมาณส�ำหรับแผนการเฝ้าระวังสารตกค้างในแต่ละปีควรจะเพิ่มขึ้นตาม สัดส่วนของสถิติการส่งออกที่เพิ่มขึ้น (ประมาณ 10 - 12% ในแต่ละปี) ในระยะ 3 ปีที่ท�ำการศึกษา จ�ำนวนตัวอย่างจะเท่ากันทุกปีดว้ ยเหตุผลด้านงบประมาณ จ�ำนวนตัวอย่างในแผนการเฝ้าระวังสารตกค้าง ที่ไม่สอดคล้องกับก�ำลังการผลิตของประเทศ อาจก่อให้เกิดปัญหาในการส่งออกได้ในอนาคต การเพิ่ม งบประมาณจากภาครัฐยากที่จะเป็นได้ จึงควรจะหาแนวทางแก้ปญ ั หางบประมาณไม่เพียงพอ เช่น การ ให้ผู้ประกอบการร่วมรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการตรวจวิเคราะห์ การถ่ายโอนภารกิจให้ห้องปฏิบัติการ เอกชน เป็นต้น เอกสารทางวิชาการฉบับนี้ บรรลุวัตถุประสงค์ ที่จะรวบรวมและรายงานผลการตรวจวิเคราะห์ ตัวอย่างภายใต้กิจกรรมเฝ้าระวังสารตกค้างของกรมปศุสัตว์ และผลการสอบสวน เพื่อเป็นเอกสาร อ้างอิงของประเทศ องค์ความรูท้ เี่ กิดขึน้ จากการศึกษา สามารถถ่ายทอดให้เป็นแนวทางในการสอบสวน หาสาเหตุกรณีสารตกค้างเกินมาตรฐานต่อไป ทั้งนี้เพื่อลดความเสี่ยงการปนเปื้อนจากสารตกค้าง และ เมื่อน�ำแนวทางและขั้นตอนนี้ไปปฏิบัติจะเป็นที่ยอมรับได้ในระดับสากล สร้างความเชื่อมั่นด้านอาหาร ปลอดภัยแก่ผู้บริโภคทั้งภายในและต่างประเทศ ซึ่งสามารถยืนยันได้จาก การที่ผลการตรวจประเมิน แผนเฝ้าระวังสารตกค้างและการก�ำกับดูแลการใช้ยาทางสัตวแพทย์จาก FVO ซึ่งเป็นหน่วยงานตรวจ ประเมินของสหภาพยุโรป แสดงความชื่นชมและมีความพอใจ ท�ำให้ประเทศไทยสามารถส่งออกสินค้า ประเภทสัตว์ปกี และน�ำ้ ผึง้ ไปสหภาพยุโรปได้ นอกจากสหภาพยุโรปแล้ว ประเทศคูค่ า้ อืน่ ๆ มักจะขอข้อมูล ด้านการเฝ้าระวังสารตกค้างเพื่อประกอบการพิจารณาการน�ำเข้าสินค้าปศุสัตว์จากประเทศไทย ข้อสรุป และข้อพิสจู น์ทส่ี ำ� คัญทีส่ ดุ คือ จากแผนการเฝ้าระวังสารตกค้างของกรมปศุสตั ว์ แม้จะพบ ตัวอย่างทีม่ สี ารตกค้างเกินมาตรฐานบ้าง และมีการด�ำเนินการตามกฎระเบียบภายในประเทศ แต่ไม่เคย มีกรณีตรวจพบสารตกค้างในสินค้าปศุสตั ว์ทสี่ ง่ ออกไปสหภาพยุโรปเลยตลอด 14 ปีทผี่ ่านมา ในขณะที่ สินค้าเกษตรประเภทที่ใกล้เคียงกันถูกมาตรการ RAFFS ของสหภาพยุโรป ย่อมแสดงถึงประสิทธิภาพ ในการตรวจสอบและเฝ้าระวังของกรมปศุสัตว์ได้เป็นอย่างดี » กิตติกรรมประกาศ « ขอขอบคุณ เจ้าหน้าที่ส�ำนักงานปศุสัตว์เขต ส�ำนักงานปศุสัตว์จังหวัด สัตวแพทย์ประจ�ำโรงงาน ที่ให้ความร่วมมือในการเก็บและน�ำส่งตัวอย่าง เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการส�ำนักตรวจสอบคุณภาพสินค้า ปศุสัตว์ ส�ำหรับงานทดสอบทางห้องปฏิบัติการ น.สพ. สุรยุทธ ทรงสุหมัด ผู้รับผิดชอบแผนเฝ้าระวัง สารตกค้างในปี 2558 Dr. Alexey Solyakov จาก FVO ส�ำหรับข้อคิดเห็นในการพัฒนาวิธีวิเคราะห์ และ สพ.ญ พิชญา ไผทสิทธิ์ ส�ำหรับค�ำแนะน�ำในการปรับปรุงต้นฉบับ

64

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 188 กันยายน - ตุลาคม 2562


Around the World

» เอกสารอ้างอิง « กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 2546. ประกาศกรมปศุสัตว์ เรื่องมาตรการควบคุมฟาร์ม สัตว์ปกี มาตรฐานกรณีตรวจพบสารต้องห้ามในอาหารสัตว์ ยาสัตว์ หรือพบสารตกค้างในสัตว์ปกี . ลงวันที่ 22 พฤษภาคม 2546. กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 2549. ประกาศกรมปศุสัตว์ เรื่องก�ำหนดมาตรฐาน สารตกค้างส�ำหรับสินค้าปศุสัตว์ ลงวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2549. กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 2555. ประกาศกรมปศุสัตว์ เรื่องมาตรการควบคุมฟาร์ม ผึ้งมาตรฐานกรณีตรวจพบสารต้องห้าม หรือสารตกค้างในน�้ำผึ้ง. ลงวันที่ 17 ตุลาคม 2555. ฉันทนี บูรณะไทย. 2561. คู่มือเก็บตัวอย่าง และการปฏิบัติงานกิจกรรมเฝ้าระวังสารตกค้าง. สืบค้น จาก http://certify.dld.go.th/certify/images/Manual/2562/621701/Manual%20for%20 Sample%20Collection%20and%20Activities%20for%20Residue%20Monitoring%20 Program.pdf [ 1สิงหาคม 2562.] CODEX. 2009. Guidelines for the design and implementation of national regulatory food safety assurance programme associate with the use of veterinary drugs in food producing animals CAC/GL 71-2009. European Union. 1996. COUNCIL DIRECTIVE 96/23/EC of 29 April 1996 on measures to monitor certain substances and residues thereof in live animals and animal products and repealing Directives 85/358/EEC and 86/469/EEC and Decisions 89/187/EEC and 91/664/EEC Official Journal of the European Communities No L 125: 10-32. European Union. 1997. COMMISSION DECISION 97/747/EC of 27 October 1997 fixing the levels and frequencies of sampling provided for by Council Directive 96/23/EC for the monitoring of certain substances and residues thereof in certain animal products (Text with EEA relevance) Official Journal of the European Communities No L 303: 13-15 European Union. 2017. REGULATION (EU) No 2017/625 of 15 March 2017 on official controls and other official activities performed to ensure the application of food and feed law, rules on animal health and welfare, plant health and plant protection products,

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 188 กันยายน - ตุลาคม 2562

65


Around the World

การส�ำรวจฟิโปรนิล สารมลพิ ษที่ตกค้างยาวนาน และไดออกซินในไข่ ในประเทศไทยปี ๒๕๖๐

(A survey for Fipronil, Persistent Organic Pollutants (POPs) and Dioxin in Table Eggs in Thailand in 2017) นางฉันทนี บูรณะไทย และ นางสาวมิรน ั ตี เพ็ญโรจน์

ส�ำนักพัฒนาระบบและมาตรฐานการปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์ 69/1 ถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

๏ ABSTRACT ๏ This survey for fipronil, persistent organic pollutants (POPs) and dioxin in table eggs in Thailand in 2017 comprised 3 parts with different objectives and timeframes. Sampling plan were designed differently to serve objectives of each part. The survey of POPs in table eggs, including organochlorines and PBCs, is a part of the annual residue monitoring plan, of which sampling and sample distribution are complied with EU regulations. The survey of fipronil in table eggs was a special study where simple random sampling was applied. The survey of dioxins was also a special study but targeted surveillance was applied. In this study, 2 in - house methods were developed based on existing analytical methods. As they were new methods,% recovery were calculated for preliminary validation. In our laboratories, % recovery of analysis method for fipronil in eggs, and for dioxins and furans were 60 - 120%, and 60 - 118% respectively; both achieved the expected % recovery required by EU regulations. Fipronil was not detected in 84 eggs collected from 7 farms in 3 provinces. Analysis for organclorines and PBCs in 600 eggs from 19 layer farms and 31 egg collecting centers (total 50 premises) nationwide showed that all egg samples were complied with EU regulations on MRLs. Dioxin analysis in egg was target - site - based; 6 provinces with dense industrial areas and history of dioxin - residue non - compliance were selected. Dioxin analysis in 72 eggs from 6 farms in 6 targeted provinces provided negative results. Results from our survey on fipronil, POPs and dioxin indicate food safety in table eggs produed in Thailand. We recommend that monitoring on residues of these 3 chemical groups should be carried out continuously, in order for risk analysis, being informative for policy planing, promoting food safety for domestic and global consumers, building consumer confidence, as well as, being positive factors for country economy by supporting export of livestock products. Keywords: Dioxins, Egg, Fipronil, Furans, Persistent Organic Pollutants, Thailand

66

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 188 กันยายน - ตุลาคม 2562


Around the World

๏ บทคัดย่อ ๏ การส�ำรวจฟิโปรนิล สารมลพิษที่ตกค้างยาวนาน (POPs) และไดออกซินในไข่ไก่ ใน ประเทศไทยปี 2560 ประกอบด้วย 3 โครงการย่อย ที่มีวัตถุประสงค์ และมีปัจจัยด้านเวลาที่ แตกต่างกัน การออกแบบแผนการเก็บตัวอย่างจึงแตกต่างกัน การส�ำรวจสารตกค้างกลุม่ สารมลพิษ ที่ตกค้างยาวนาน ได้แก่ ออร์กาโนคลอรีน และ พีบีซี เป็นส่วนหนึ่งของแผนเฝ้าระวังสารตกค้าง ในสินค้าปศุสตั ว์ประจ�ำปี มีการสุม่ และกระจายตัวอย่างตามข้อก�ำหนดของสหภาพยุโรป การส�ำรวจ สารตกค้างฟิโปรนิล เป็นการศึกษาพิเศษในปีงบประมาณ 2560 มีการสุ่มและกระจายตัวอย่าง แบบง่าย การส�ำรวจไดออกซิน ในไข่ไก่ เป็นโครงการพิเศษที่มีการสุ่มตัวอย่างแบบมีพื้นที่เป้าหมาย ในการศึกษานี้ วิธีวิเคราะห์ฟิโปรนิล และไดออกซิน ในไข่ไก่ เป็นวิธีที่พัฒนาขึ้นใหม่ จึงต้องมีการ ทดสอบความใช้ได้ของวิธีการวิเคราะห์ โดยการหาค่า % Recovery พบว่า % Recovery ของการ วิเคราะห์ฟิโปรนิล อยู่ในช่วง 60 - 120% ส่วน % Recovery ของการวิเคราะห์ไดออกซินในไข่ไก่ อยู่ในช่วง 60 - 118% สอดคล้องกับเกณฑ์การยอมรับของสหภาพยุโรป จากการวิเคราะห์ฟิโปรนิล ในไข่ไก่ 84 ฟอง ที่เก็บมาจาก 7 ฟาร์มใน 3 จังหวัด ไม่พบการตกค้างของฟิโปรนิลในทุกตัวอย่าง ผลการตรวจวิเคราะห์สารตกค้างกลุ่มออร์กาโนคลอรีน และ พีบีซี ในตัวอย่างไข่ไก่ 600 ฟอง จาก ฟาร์มไก่ไข่ 19 แห่ง และศูนย์รวบรวมไข่ไก่ 31 แห่ง (รวม 50 แห่ง) ในทุกจังหวัดทั่วประเทศ ไม่พบตัวอย่างที่มีสารตกค้างกลุ่ม OCP และ PCBs เกินเกณฑ์มาตรฐานของสหภาพยุโรป การ วิเคราะห์หาสารกลุม่ ไดออกซินในไข่ไก่ จ�ำนวน 72 ฟอง จากฟาร์มใน 6 จังหวัด ทีเ่ ป็นแหล่งโรงงาน อุตสาหกรรม และมีประวัตริ ายงานการตรวจพบการตกค้างของไดออกซินในไข่ไก่ ไม่พบการตกค้าง ของไดออกซิน ในทุกตัวอย่างที่มีการทดสอบ ผลการส�ำรวจฟิโปรนิล สารมลพิษที่ตกค้างยาวนาน และไดออกซินในไข่ไก่ ในการศึกษานี้ แสดงถึงความปลอดภัยของไข่ไก่ที่ผลิตในประเทศไทย คณะผู้วิจัยมีข้อแนะน�ำว่า ควรมีการส�ำรวจสารทั้งสามกลุ่มในไข่ไก่อย่างต่อเนื่อง เพื่อประเมินความ เสีย่ ง และเป็นข้อมูลสนับสนุนการวางแผนในระดับนโยบาย เพือ่ ส่งเสริมอาหารปลอดภัยในประเทศ และระดับสากล สร้างความเชือ่ มัน่ แก่ผบู้ ริโภคทัง้ ภายใน และภายนอกประเทศ และส่งเสริมเศรษฐกิจ ของประเทศจากสนับสนุนการส่งออกสินค้าปศุสัตว์ ค�ำส�ำคัญ: ไดออกซิน ไก่ไข่ ฟิโปรนิล ฟูแรนส์ สารมลพิษที่ตกค้างยาวนาน ประเทศไทย  ๏ บทน� ำ ๏ ไข่ไก่เป็นแหล่งโปรตีนที่ส�ำคัญส�ำหรับประชาชนไทย เพราะเป็นอาหารโปรตีนที่หาง่าย ราคาถูก สะดวกในการปรุงเป็นอาหารชนิดต่างๆ ข้อมูลจากร่างยุทธศาสตร์ไข่ไก่ ฉบับที่ 3 (กรมปศุสตั ว์, 2562) ระบุว่า ในปี 2559 ประเทศไทยผลิตไข่ไก่มากเป็นอันดับที่ 17 ของโลก ในช่วงระยะเวลา 5 ปี (พ.ศ. ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 188 กันยายน - ตุลาคม 2562

67


Around the World

2555 - 2560) การผลิตมีการขยายตัว มีเกษตรกร ผู้เลี้ยงไก่ไข่เพิ่มจาก 56,394 ราย ผลผลิตไข่ไก่ 13,320 ล้านฟอง ในปี 2555 เป็นเกษตรกร จ�ำนวน 104,903 ราย ไข่ไก่ 15,615 ล้านฟอง ในปี 2560 ไข่ไก่ 98% เป็นการบริโภคภายใน ประเทศ เพียง 2% ของผลผลิตเป็นการส่งออก แต่สามารถน�ำรายได้ถึง 862 - 1,155 ล้านบาท ต่อปี (กรมปศุสตั ว์, 2562) ดังนัน้ หากมีเหตุการณ์ ที่ ส ่ ง ผลกระทบร้ า ยแรงต่ อ วงจรการผลิ ต ไข่ ใ น ประเทศ ย่อมมีผลเสียอย่างใหญ่หลวงต่อสุขภาพ และความปลอดภัยของผู้บริโภค และมีผลต่อการ ส่งออกอีกด้วย ปี พ.ศ. 2560 เกิดวิกฤตการณ์การปนเปือ้ น ของสารฟิโปรนิล (Fipronil) ในไข่ไก่ ในสหภาพ ยุโรป 15 ประเทศ สวิสเซอร์แลนด์ และฮ่องกง ปลายปี 2559 มีผู้รายงานหน่วยงานราชการของ เนเธอร์แลนด์ว่า มีการลักลอบใช้สารฟิโปรนิลใน ฟาร์มสัตว์ปกี แต่ไม่สามารถหาหลักฐานมายืนยัน ได้ หลังจากนั้น Dutch Food and Product Safety Board ได้ ต รวจพบการปนเปื ้ อ นของ ฟิโปรนิลในไข่ไก่ในปริมาณที่สูงขึ้น ท�ำให้ไข่ไก่ จ�ำนวนหลายล้านฟองถูกห้ามขายและถูกเรียกคืน ในเนเธอร์แลนด์ เบลเยี่ยม และเยอรมันนี ฟาร์ม ไก่ไข่ประมาณ 180 แห่งในเนเธอร์แลนด์ถูกปิด ชั่ ว คราว ประเทศอื่ น ๆ เช่ น ประเทศสมาชิ ก สหภาพยุโรป อังกฤษ ไอร์แลนด์ สหรัฐอเมริกา แคนาดา เกาหลี มีการตื่นตัวและเร่งส�ำรวจสาร ฟิโปรนิลในไข่ไก่ สันนิษฐานว่า การปนเปื้อนของ ฟิโปรนิลในไข่ไก่เกิดขึ้นมานานแล้วโดยไม่มีการ ตรวจสอบ หรืออาจมีการตรวจพบปริมาณต�่ำๆ สารเคมีชนิดนี้ใช้เป็นยาฆ่าไรในสัตว์ปีกอย่างผิด กฎหมาย จึงมีการสอบสวนด�ำเนินคดีในชั้นศาล เป็นคดีใหญ่ที่ประชาชนให้ความสนใจ ส่งผลให้

68

Codex Committee on Pesticide Residue (CCPR) ซึง่ เป็นผูก้ ำ� หนด Priority of Pesticide for Evaluation by 2019 มีมติเห็นชอบให้ ฟิโปรนิล อยู ่ ใ นรายการสารตกค้ า งที่ จ ะต้ อ งถู ก ประเมิ น (CODEX, 2018) ในประเทศไทย แม้วา่ จะไม่มกี ารใช้ฟโิ ปรนิล ในการเลี้ยงสัตว์ปีก แต่มีการขึ้นทะเบียนเป็นวัตถุ อันตรายที่ก�ำกับดูแลโดยกระทรวงสาธารณสุข โดยขึน้ ทะเบียนส�ำหรับการก�ำจัดปลวก และมีการ ขึ้ น ทะเบี ย นกั บ กรมวิ ช าการเกษตร กระทรวง เกษตรและสหกรณ์ เพือ่ ใช้ในลักษณะสารเคมีทาง การเกษตรเพื่อก�ำจัดแมลงและศัตรูพืช (สุเทพ, 2561) มีตัวอย่างรายงานการใช้ในพืชไร่ เช่น ข้าวโพด (ปวีณา และคณะ, 2554) จึงอาจมีการ ตกค้าง หรือปนเปื้อนมาสู่ฟาร์มเลี้ยงไก่ไข่ และ สะสมในไข่ไก่ได้ แม้วา่ กรมปศุสตั ว์จะได้มแี ผนการ ตรวจเฝ้าระวังสารเคมีตกค้างในสินค้าปศุสัตว์ ประเภทต่างๆ มาตั้งแต่ปี 2546 การตรวจหา ฟิโปรนิลในไข่ไก่ ไม่ได้อยู่ในแผนประจ�ำปี ข้อมูล ในส่วนที่ 1 ของการศึกษานี้ จึงเป็นครั้งแรกที่เก็บ ข้อมูลฟิโปรนิลในไข่ไก่ เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐาน ของประเทศไทยเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคต่อไป ปี 2560 มี ร ายงานจาก NGO กลุ ่ ม ARNIKA ว่า ตรวจพบสารมลพิษทีต่ กค้างยาวนาน (Persistent Organic Pollutants) หรือ POPs และ ไดออกซิน ในตัวอย่างไข่ไก่ที่เก็บจากจังหวัดที่มี แหล่งอุตสาหกรรม (มูลนิธิบูรณะนิเวศ, 2560) การศึกษาในส่วนที่ 2 คือการส�ำรวจสารกลุม่ POPs ในไข่ไก่ โดยประมวลผลและวิเคราะห์จากผลการ ส�ำรวจสารตกค้างประจ�ำปีของกรมปศุสตั ว์ ซึง่ ตรวจ สารกลุ่มออร์กาโนคลอรีน และพีบีซี อยู่แล้ว ตั้งแต่ปี 2547 โดยเก็บตัวอย่างจากทั่วประเทศ ส่วนไดออกซินซึ่งเป็นการศึกษาในส่วนที่ 3 เป็น

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 188 กันยายน - ตุลาคม 2562


การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อส�ำรวจการ ตกค้างของฟิโปรนิล สารกลุ่ม POPs และกลุ่ม ไดออกซินในไข่ไก่เพื่อการบริโภค ในปี 2560 เนือ่ งจากในประเทศไทยยังไม่มรี ายงานสารทัง้ สาม กลุม่ นีใ้ นไข่ไก่มาก่อน รายงานนีส้ ามารถเป็นข้อมูล ในการก�ำหนดแนวทางการเฝ้าระวังและป้องกัน สารตกค้างทั้งสามกลุ่มในผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ ส่ง ประโยชน์ในภาพรวมคือ ท�ำให้เกิดความปลอดภัย ของอาหาร คุ้มครองผู้บริโภคให้ปลอดภัยจากสาร ตกค้าง และเป็นแนวทางในการเตรียมข้อมูลให้ CODEX ที่จะจัดท�ำมาตรฐานสากลต่อไป ๏ อุปกรณ์ และวิธีการ ๏ ตัวอย่างและการเก็บตัวอย่าง (Samples and Samplings) เก็บตัวอย่างไข่ไก่ตามข้อก�ำหนด Commission Directive 97/747/EC (European Communities, 1997) ที่ให้เก็บตัวอย่างที่ฟาร์ม หรือ ที่ศูนย์รวบรวมไข่ไก่ เก็บตัวอย่างไข่ไก่ 84 ฟอง จาก 7 ฟาร์ม ใน 3 จังหวัด ฟาร์มละ 12 ฟอง เพื่อวิเคราะห์หาฟิโปรนิล เก็บตัวอย่างไข่ไก่ 600 ฟอง จากฟาร์ม 19 แห่ง และโรงคัดขนาดไก่ไข่ 31 แห่ง (รวม 50 แห่งทั่วประเทศ) แห่งละ 12 ฟอง เพื่อวิเคราะห์หาสารตกค้างกลุ่มมลพิษที่ตกค้าง ยาวนาน (POPs) และเก็บตัวอย่างไข่ไก่จ�ำนวน 72 ฟอง จาก 6 ฟาร์ม ใน 6 จังหวัด ฟาร์มละ 12 ฟอง เพื่อวิเคราะห์หาสารตกค้างกลุ่มไดออกซิน และฟูแรนส์

Around the World

การศึกษาพิเศษเช่นกัน เพราะการตรวจไดออกซิน ในไข่ไก่ ไม่ได้อยู่ในแผนการตรวจสารตกค้าง ประจ�ำปี

แผนการเก็บตัวอย่างและการกระจายตัวอย่าง (Sampling Plan and Sample distribution) เนื่ อ งจากการศึ ก ษาสารตกค้ า งในไข่ ไ ก่ ประกอบด้วย 3 โครงการย่อย ที่มีวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และมีปัจจัยด้านเวลา และงบประมาณ ที่แตกต่างกัน การออกแบบการกระจายตัวอย่าง ตามหลักการทางระบาดวิทยาจึงแตกต่างกันเพื่อ รองรั บ วั ต ถุ ป ระสงค์ แ ละเป้ า หมายของแต่ ล ะ โครงการย่อย การเก็ บ ตั ว อย่ า งไข่ ไ ก่ เ พื่ อ ตรวจหาสาร ฟิโปรนิลเป็นการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple random sampling) โดยสุ่มตัวอย่างฟาร์มไก่ไข่ จากบั ญชีรายชื่อฟาร์ มไก่ไ ข่ที่ไ ด้รับการรับรอง มาตรฐาน GAP จากกรมปศุสัตว์ การเก็บตัวอย่างเพื่อตรวจหาสารมลพิษ ที่ตกค้างยาวนาน (POPs) เป็นการสุ่มตัวอย่าง แบบง่าย โดยสุ่มตัวอย่างและกระจายตัวอย่างให้ สอดคล้องกับข้อก�ำหนดใน Commission Directive 97/747/EC (European Communities, 1997) จ�ำนวนตัวอย่างไข่ไก่ที่เก็บเพื่อตรวจวิเคราะห์สาร ตกค้างในแต่ละปีตอ้ งเป็นสัดส่วนกับก�ำลังการผลิต ไข่ไก่ของประเทศ การเก็บตัวอย่างไข่ไก่เพือ่ ตรวจวิเคราะห์หา ไดออกซินที่ตกค้าง เป็นการสุ่มแบบมีเป้าหมาย (Targeted sampling) เจาะจงเลือกพื้นที่ในการ เก็บตัวอย่าง (Targeted sites) คือ 6 จังหวัด ทีเ่ คยมีรายงานการตรวจพบสารตกค้างไดออกซิน ในไข่ของไก่ทหี่ ากินแบบอิสระ (มูลนิธบิ รู ณะนิเวศ, 2560) การวิเคราะห์หาสารฟิโปรนิลในไข่ไก่ ตรวจวิเคราะห์ด้วยเครื่อง LC MS/MS ใช้ วิธีที่ประยุกต์จาก Journal of chromatography

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 188 กันยายน - ตุลาคม 2562

69


Around the World

(J. Chromatography B, 2016) มีการควบคุม คุณภาพผลการทดสอบเพื่อยืนยันความถูกต้อง ของวิธวี เิ คราะห์ (Trueness or % Recovery) ด้วย การวิเคราะห์ spiked sample ทีเ่ ติมสารมาตรฐาน ฟิโปรนิล 0.003 mg/kg เกณฑ์ยอมรับผล % Recovery ของ spiked sample ต้องอยู่ในช่วง เท่ากับ 60 - 120 ซึ่งเป็นเกณฑ์ที่ก�ำหนดตาม CXG90 - 2017 (CODEX, 2017) หาก % Recovery ไม่อยูใ่ นช่วงทีย่ อมรับได้ จะท�ำการทดสอบตัวอย่าง ในชุดนั้นซ�้ำทั้งหมด การวิเคราะห์หาสารกลุ่ม POPs ในไข่ไก่ สารกลุ่มนี้ประกอบด้วย กลุ่มออร์กาโน คลอรีน และกลุ่มพีซีบี (Organoclorine compounds, OCP, including Polychlorinated biphenyl, PCBs) ที่ก�ำหนดให้ตรวจในไข่ไก่ ตาม Council Directive 97/747/EC (European Communities, 1997) สตส.ด�ำเนินการตรวจวิเคราะห์ ด้ ว ยเครื่ อ ง GC - MS/MS โดยวิ ธี In - house Method ทีอ่ า้ งอิงจาก Journal of Chromatography A (2007); Journal of AOAC International (1998; 2005) การวิเคราะห์หาไดออกซินในไข่ไก่ ตรวจวิเคราะห์ดว้ ยเครือ่ ง GC - HRMS โดย วิธี In - house method 1613 based on U.S. Environmental Protection Agency Office of Water Engineer and Analysis Division (USEP, 1994). มีการควบคุมคุณภาพผลการทดสอบเพื่อ ยืนยันความถูกต้องของวิธวี เิ คราะห์ ด้วยการหา % recovery จากการวิเคราะห์ spiked sample (มี สารมาตรฐาน 2 ng/ml) มีการเติม Method 1613 Clean up standard ในขั้นตอนการก�ำจัด

70

สิง่ รบกวน เติม Method 1613 Internal Standard Spiking Solution ในทุกอย่างทดสอบ และใน ขั้นตอนก่อนฉีดเครื่อง การรายงานผล จะเป็น ผลรวมของสารกลุ่มไดออกซินและฟูแรนส์ ๏ ผลการศึ กษา ๏ ผลการทดสอบความใช้ได้ของวิธกี ารวิเคราะห์หา สารฟิโปรนิลในไข่ไก่ การตรวจวิเคราะห์หาสารฟิโปรนิลในไข่ไก่ เป็นวิธีทดสอบที่ไม่เคยด�ำเนินการมาก่อน จึงต้อง มีการทดสอบความใช้ได้ของวิธีวิเคราะห์ ตาม แนวทางของสหภาพยุโรป (European Communities. 2002) เบื้องต้นคือการหาค่าความถูกต้อง (Trueness) ของวิธีการด้วยการวิเคราะห์ spiked sample ทีม่ สี ารมาตรฐานทีร่ ปู้ ริมาณ และค�ำนวณ หา % Recovery พบว่าวิธีวิเคราะห์หาฟิโปรนิล ในไข่ไก่ทพี่ ฒ ั นาขึน้ มี % Recovery อยูร่ ะหว่าง 60 120% ซึง่ เป็นเกณฑ์ทก่ี ำ� หนดตาม CXG90 - 2017 (CODEX, 2017) และสอดคล้องตามข้อก�ำหนด ของสหภาพยุโรป (European Communities, 2002) นอกจากนี้ จะต้องเปรียบเทียบโครมาโตแกรม โดยที่ peak ของสารที่สกัดได้จากตัวอย่าง จะต้องมี Retention Time (RT) เท่ากับ peak ของสารมาตฐานฟิโปรนิล และมีลักษณะ Mass Spectrum ของ Daugther Ion เหมือนกับสาร มาตฐานฟิโปรนิลที่วิเคราะห์ด้วย LC MS/MS พบว่า RT และ Mass Spectrum ของ Daugther Ion ของสารที่ตรวจวิเคราะห์โดยวิธีที่พัฒนาขึ้น มี ลั ก ษณะเช่ น เดี ย วกั บ สารมาตรฐานฟิ โ ปรนิ ล พิสูจน์ยืนยันได้ว่า สารที่วิเคราะห์จากตัวอย่าง เป็นฟิโปรนิลที่แท้จริง

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 188 กันยายน - ตุลาคม 2562


ค ุณภาพ มาตรฐาน พร้อมบริการวิชาการ

วีทีเนส บี

เป็ นผลิตภัณฑ์ Tributyrin

เป็ น butyrate glyceride มี back bone เป็ น glycerol ไม่สามารถย่อยสลายได้ดว้ ย สภาวะแวดล้อมทีเ่ ป็ นกรด-เบสแต่ตอ้ งใช้กลไกของเอ็นไซม์ lipase ในการย่อยพันธะ ester ซึ่งทาให้เกิดการ ปลดปล่อย butyric acid ได้ทล่ี าไส้ ซึง่ เป็ นอวัยวะเป้ าหมายของ butyric acid butyric acid เป็ นกรดไขมันสายสัน้ (Short-chain-fatty acid; SCFAs) การนา butyric acid มาใช้ใน อุตสาหกรรมอาหารสัตว์มกั ทาให้อยูใ่ นรูปกรดเกลือ เช่น Sodium Butyrate , Calcium Butyrate จุดประสงค์ เพื่อ ให้เกิด ความเสถีย รมากขึ้น และ Tributyrin เป็ น อีก หนึ่ งรูป แบบของ butyric acid ที่ถู กน ามาใช้ เนื่องจากจะมีความเสถียรมากกว่าในรูปของกรดเกลือ ทีใ่ ช้พนั ธะไอออนิกในการจับกันระหว่างโมเลกุล Tributyrin hydrolysis by lipase

Tributyrin

Dibutyrin

Monobutyrin

+

+

คุณสมบัติข อง VTNest B มีคุณสมบัติในการปรับความสมดุลของจุ ลินทรีย์ในทางเดิน อาหาร

เพิม่ จานวนจุลนิ ทรีย์ท่มี ปี ระโยชน์ และยับยัง้ เชื้อแบคทีเรียทีก่ ่อให้เกิดโรคโดยเฉพาะ Salmonella, E.Coli และ Clostridium ต่อต้านการเกิดการอักเสบของลาไส้ ปรับความสมดุลของระบบภูมคิ ุ้มกัน เสริมสร้าง การเจริญเติบโตของสัตว์ ช่วยเพิม่ สมรรถภาพการผลิตของสัตว์ VTNest and coated sodium butyrate can inhabit the number of Clostridium perfringens effectively

Control

0.5 g/kg Coated Sodium Butyrate

VTNest และ Sodium Butyrate ช่วยเพิม่ การ

เจริญเติบโตของวิลไล ทาให้วลิ ไลมีสุขภาพดี และ มีความแข็งแรงมากขึน้

0.5 g/kg VTNest Control

0.5 g/kg Coated Sodium Butyrate

0.5 g/kg VTNest

อัตราการใช้: 0.5 - 1.0 % ในอาหารสัตว์ปีกทุกระยะ ขนาดบรรจุ: น้าหนักสุทธิ 25 กิ โลกรัม 0.5 - 1.5 % ในอาหารสุกรทุกระยะ ผูผ้ ลิ ต Guangdong VTR Bio-Tech Co., Ltd. นาเข้าและจัดจาหน่ ายโดย บริ ษทั แลบ อิ นเตอร์ จากัด บริษทั แลบ อินเตอร์ จากัด 77/12 หมู่ 2 ถ.พระราม 2 ต.นาโคก อ.เมืองสมุทรสาคร จ.สมุทรสาคร 74000 โทรศัพท์ 0 3488 6140-46 Ext.2311 แฟกซ์ 0 3488 6147 Website : www.inteqcgroup.com E-mail : techdep@inteqc.com



Around the World

ผลการทดสอบความใช้ได้ของวิธีการวิเคราะห์สารกลุ่มไดออกซิน - ฟูแรนส์และในไข่ไก่ เนื่องจากวิธีทดสอบที่ด�ำเนินการอยู่ยังไม่เคยใช้กับ Matrix ประเภทไข่ไก่ จึงต้องมีการทดสอบ ความใช้ได้ของวิธีวิเคราะห์ตามแนวทางของสหภาพยุโรป (European Communities, 2002) ด้วยการ หา % Recovery ของ Internal Standard ที่เติมลงไปทุกครั้งที่มีการทดสอบ เกณฑ์ที่ยอมรับได้ของ การตรวจวิเคราะห์ไดออกซินตาม อยูร่ ะหว่าง 60% - 120% (European Union, 2017) การทดสอบพบว่า มี % Recovery อยู่ระหว่าง 60 - 118% จึงสอดคล้องตามข้อก�ำหนด เมื่อพิจารณาโครมาโตกราฟ ของ Blank reagent จะต้องไม่พบ peak ของสารที่มี Retention time (RT) ตรงกับ peak ของสาร มาตรฐานกลุม่ ไดออกซินและฟูแรนส์ และ RT ของตัวอย่างทดสอบ ต้องมีความแตกต่างจาก RT ของสาร มาตรฐาน ไม่เกิน ±2.5% จึงสรุปว่า peak ดังกล่าวเป็น peak ของสารกลุ่ม Dioxins และ Furans จริง ผลการตรวจวิเคราะห์หาสารฟิโบรนิลในไข่ไก่ การส�ำรวจฟิโปรนิลในไก่ไข่ ในปี 2560 มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้ข้อมูลโดยเร็วที่สุด เพื่อประเมิน สถานการณ์เร่งด่วน การศึกษาแบบตัดขวาง ในช่วงเดือนสิงหาคม 2560 โดยสุ่มชื่อฟาร์มที่จะท�ำการ เก็บตัวอย่าง จากบัญชีรายชือ่ ฟาร์มทีข่ นึ้ ทะเบียนกับกรมปศุสตั ว์ และเป็นฟาร์มทีไ่ ด้การรับรอง GAP จึง เป็นวิธีการที่เหมาะสมเพื่อรองรับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ผลการวิเคราะห์หาฟิโปรนิลที่ตกค้างในไข่ไก่ จากตัวอย่างไข่ไก่ 84 ฟอง จากฟาร์มไก่ไข่ 7 แห่ง ใน 3 จังหวัดได้แก่ นครนายก ชัยภูมิ และ ชลบุรี พบว่า ทุกตัวอย่างผ่านมาตรฐาน ไม่พบตัวอย่างใด ที่พบสารฟิโปรนิล ผลการตรวจวิเคราะห์ฟิโปรนิลในไข่ไก่สรุปในตารางที่ 1 ตารางที่ 1 ผลการตรวจวิเคราะห์สารฟิ โปรนิลตกค้างในไข่ไก่ ระหว่างเดือนสิงหาคม 2560 จากฟาร์มที่ได้รบ ั การรับรองมาตรฐาน GAP จากกรมปศุสัตว์

ฟาร์ม ฟาร์ม 1 ฟาร์ม 2 ฟาร์ม 3 ฟาร์ม 4 ฟาร์ม 5 ฟาร์ม 6 ฟาร์ม 7

ที่ตั้ง (จังหวัด) นครนายก นครนายก นครนายก นครนายก นครนายก ชัยภูมิ ชลบุรี

ชนิด ตัวอย่าง

จ�ำนวน ตัวอย่าง

ไข่ไก่ ไข่ไก่ ไข่ไก่ ไข่ไก่ ไข่ไก่ ไข่ไก่ ไข่ไก่

12 12 12 12 12 12 12

ปริมาณ ฟิโปรนิล (mg/kg) ND* ND ND ND ND ND ND

ผ่านเกณฑ์** มาตรฐานหรือไม่ C C C C C C C

* ND หมายถึง ตรวจไม่พบ (Not Detected) ** เกณฑ์มาตรฐานคือ ค่า Maximum Residue Limit (MRL) ของสารฟิโปรนิล (Sum Fipronil and Silfone metabolite) ที่ตกค้างในไข่ของสัตว์ปีก (Bird eggs) สูงสุดไม่เกิน 0.005 mg/kg หรือ 5 µg/kg ( 5 ppb) (Commission Regulation (EU) 1127/2014, 20 October 2014) ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 188 กันยายน - ตุลาคม 2562

71


Around the World

ผลการตรวจวิเคราะห์หาสารกลุ่ม POPs ในไข่ไก่ สารมลพิษที่ตกค้างยาวนาน หรือ POPs ได้แก่สารกลุ่มออร์กาโนคลอรีน และ พีบีซี ที่ใช้เป็น ยาฆ่าแมลง และยาก�ำจัดวัชพืช เช่น ดีดีที คลอเดน ลินเดน ดิลดริน ไดเอลดริน สารในกลุ่มนี้บางตัว มีระยะครึง่ ชีวติ (half life) ทีย่ าวนาน ถึง 10 - 15 ปี แม้จะมีการห้ามใช้ และห้ามจ�ำหน่ายสารในกลุม่ นีแ้ ล้ว เช่น DDT แต่สารกลุ่มนี้สามารถตกค้างอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้ยาวนาน อาจถูกดูดซึม และสะสมอยู่ใน พืชผัก และธัญพืช เมื่อคนหรือสัตว์บริโภคสารตกค้างเหล่านี้ อาจสะสมในร่างกายจนเกิดปัญหาต่อ สุขภาพได้ เนื่องจากสารเหล่านี้ตกค้างในสิ่งแวดล้อมเป็นเวลานาน ไม่สามารถจะก�ำจัดให้หมดไปได้ ในเวลาอันสั้น จึงไม่สามารถก�ำหนดให้เกณฑ์การยอมรับเป็นศูนย์ หรือ Zero tolerance ได้ ดังนั้น จึงมีการก�ำหนดเกณฑ์มาตรฐานเป็น Maximum Residue Limit หรือค่า MRL คือปริมาณสูงสุดที่ยอม ให้มีได้ (ตารางที่ 3) จากการส�ำรวจสารตกค้างกลุ่ม POPs ในไข่ไก่ ตามแผนเฝ้าระวังสารตกค้างในสินค้าปศุสัตว์ ตัง้ แต่ ปี 2546 ยังไม่พบตัวอย่างไข่ไก่ทมี่ สี ารตกค้างกลุม่ นีเ้ กินค่ามาตรฐาน อย่างไรก็ตามเป็นมาตรฐาน สากลทางด้าน Food Safety และมีข้อก�ำหนดต่างๆ ตามกฎหมายไทย จึงต้องมีการส�ำรวจเฝ้าระวัง สารในกลุ่มนี้อย่างต่อเนื่อง ตารางที่ 3 ค่าอ้างอิงสำ�หรับเกณฑ์ในการตัดสินใจ (Decision Rules) ผลการตรวจวิเคราะห์ หาสารตกค้างกลุ่ม ออร์กาโนคลอรีน รวมทั้งสารกลุ่มพีซีบีท่ตกค้ ี างในไข่ไก่

ชนิดสารตกค้าง (Residue) OCPs Aldrin & Dieldrin Heptaclor & Heptachlor epoxide Total chlordane Total DDT HCB BHC - alpha BHC - beta Lindane PCBs Sum of PCB 28, 52, 101 138, 153 and 180

72

ค่าต�่ำสุดที่ตรวจได้ ระดับที่ต้องด�ำเนินการ ชนิดตัวอย่าง วิธีการตรวจ (Detection limit) (Level of Action) (Matrix) (Method) ppb ppb ไข่

ไข่

1 ppb

MRL = 20

1 ppb 1 ppb 1 ppb 1 ppb 1 ppb 1 ppb 1 ppb 1 ppb

MRL = 20 MRL = 5 MRL = 50 MRL = 20 MRL = 20 MRL = 10 MRL = 10 MRL = 40

GC - MS/MS

GC - MS/MS

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 188 กันยายน - ตุลาคม 2562


Around the World

จากเกณท์ในการรายงานผลและการตัดสินผลวิเคราะห์ตามที่ก�ำหนดไว้ในตารางที่ 2 ผลการ วิเคราะห์หาสารตกค้างกลุ่ม ออร์กาโนคลอรีน และสารกลุ่มพีซีบีที่ตกค้างในไข่ไก่ จากตัวอย่างไข่ไก่ 600 ฟอง จากฟาร์มไก่ไข่ 19 แห่ง และศูนย์รวบรวมไข่ไก่ 31 แห่ง (รวม 50 แห่ง) ในทุกจังหวัด ทั่วประเทศ ไม่พบตัวอย่างที่มีสารตกค้างกลุ่ม OCP และ PCBs เกินมาตรฐาน ผลการตรวจวิเคราะห์ สารตกค้างกลุ่ม OCP และ PCBs ในไข่ไก่สรุปในตารางที่ 4 ตารางที่ 4 ผลการตรวจวิเคราะห์หาสารตกค้างกลุ่ม ออร์กาโนคลอรีน รวมทั้งสารกลุ่มพีซีบีที่ตกค้าง ในตัวอย่างไข่ไก่ที่เก็บจากทั้วประเทศไทย ปี 2560

เขต 1 2 3 4 5 6 7 8

จังหวัด

สถานที่เก็บตัวอย่าง

ปทุมธานี ชัยนาท นนทบุรี อยุธยา ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง ฉะเชิงเทรา จันทบุรี ชลบุรี ตราดนครนายก ปราจีนบุรี ระยองสมุทรปราการสระแก้ว นครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ ยโสธร ศรีสะเกษ สุรินทร์ อ�ำนาจเจริญ อุบลราชธานี อุดรธานี หนองบัวล�ำภู หนองคาย เลย สกลนคร นครพนม ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ มุกดาหาร ร้อยเอ็ด เชียงใหม่ ล�ำปาง แม่ฮ่องสอน เชียงราย พะเยา น่าน ล�ำพูน แพร่ พิษณุโลก ก�ำแพงเพชร ตาก นครสวรรค์ พิจิตร เพชรบูรณ์ สุโขทัย อุตรดิตถ์ อุทัยธานี นครปฐม กาญจนบุรี ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ราชบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร สุพรรณบุรี สุราษฏร์ธานี นครศรีธรรมราช ชุมพร กระบี่ พังงา ภูเก็ต ระนอง ตรัง พัทลุง

9 สงขลา สตูล ปัตตานี ยะลา นราธิวาส รวม 9 เขต ทุกจังหวัด = 50 แห่ง 600 ตัวอย่าง

ฟาร์ม ศูนย์รวบรวมไข่ไก่ ฟาร์ม ศูนย์รวบรวมไข่ไก่ ฟาร์ม ศูนย์รวบรวมไข่ไก่ ฟาร์ม ศูนย์รวบรวมไข่ไก่ ฟาร์ม ศูนย์รวบรวมไข่ไก่ ฟาร์ม ศูนย์รวบรวมไข่ไก่ ฟาร์ม ศูนย์รวบรวมไข่ไก่ ฟาร์ม ศูนย์รวบรวมไข่ไก่ ฟาร์ม ศูนย์รวบรวมไข่ไก่ ฟาร์ม ศูนย์รวบรวมไข่ไก่

1  -  5 6  -  2 2 11 6 8 1 1 1 2 3  -   -  1 19 31

จ�ำนวน ตัวอย่าง 12  -  60 72  -  24 24 121 72 96 12 12 12 24 36  -   -  12 228 372

ผลการตรวจ* OCPs & PCBs C  -  C C  -  C C C C C C C C C C  -   -  C C C

*ผลการตรวจ ตัดสินเป็น C = Complied เมื่อพบปริมาณสารตกค้างไม่เกินค่ามาตรฐาน NC = Non - complied เมื่อพบปริมาณสารตกค้างเกินค่ามาตรฐาน

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 188 กันยายน - ตุลาคม 2562

73


Around the World

ผลการวิเคราะห์หาไดออกซินในไข่ไก่ การส�ำรวจสารไดออกซินในไข่ไก่ ออกแบบเป็นการส�ำรวจแบบมีเป้าหมาย (Targeted Surveillance) โดยเจาะจงเก็บตัวอย่างไข่ไก่จากฟาร์มไก่ไข่ ในจังหวัดที่มีเขตอุตสาหกรรม 6 จังหวัด ที่มีเขต อุตสาหกรรม และมีการตรวจพบไดออกซินในไข่ไก่เกินมาตรฐาน ได้แก่ ระยอง สมุทรสาคร ปราจีนบุรี ขอนแก่น สุราษฎร์ธานี และสระบุรี (มูลนิธิบูรณะนิเวศ, 2560) การรายงานผลการตรวจหาปริมาณไดออกซิน เป็นผลรวมของสารกลุม่ ไดออกซินและกลุม่ ฟูแรน ผลการตรวจวิเคราะห์ไดออกซินในไข่ไก่สรุปในตารางที่ 5 ตารางที่ 5 ผลการตรวจวิเคราะห์ไดออกซิน และฟูแรนส์ ในตัวอย่างไข่ไก่

จากจังหวัดเป้ าหมาย ปี 2560

ฟาร์ม

ที่ตั้ง (จังหวัด)

ชนิด ตัวอย่าง

จ�ำนวน ตัวอย่าง

ฟาร์ม 1 ฟาร์ม 2 ฟาร์ม 3 ฟาร์ม 4 ฟาร์ม 5 ฟาร์ม 6

ระยอง สมุทรสาคร ปราจีนบุรี ขอนแก่น สุราษฎร์ธานี สระบุรี

ไข่ไก่ ไข่ไก่ ไข่ไก่ ไข่ไก่ ไข่ไก่ ไข่ไก่

12 12 12 12 12 12

ปริมาณ ไดออกซิน* (pg/kg) ไม่พบ ไม่พบ ไม่พบ ไม่พบ ไม่พบ ไม่พบ

ผ่านเกณฑ์** มาตรฐานหรือไม่ C C C C C C

*ปริมาณไดออกซิน เป็นผลรวมของสารกลุ่มไดออกซินและกลุ่มฟูแรน ไม่พบ หมายถึง โครมาโตแกรมไม่มี peak ของไดออกซิน หากมี peak ของไดออกซิน จะรายงานเป็น ค่าที่ตรวจได้ **ผลการตรวจ ตัดสินเป็น C = Complied เมื่อพบปริมาณไดออกซินไม่เกิน 1.75 pg/g fat NC = Non - complied เมื่อพบปริมาณสารตกค้าง เกิน 1.75 pg/g fat

๏ วิจารณ์ ผล ๏ วิธีตรวจหาสารตกค้างกลุ่มสารมลพิษที่ตกค้างยาวนาน ได้แก่ กลุ่มออร์กาโนคลอรีน และ กลุม่ พีซบี ี เป็นวิธที ผี่ า่ นการทดสอบความใช้ได้ (Validation) (กรมปศุสตั ว์, 2558) และได้รบั การรับรอง มาตรฐาน ISO/IEC 17025 แล้ว (ส�ำนักมาตรฐานห้องปฏิบัติการ, 2562) จึงสามารถด�ำเนินการ ได้โดยที่ไม่ต้อง Validate อีก การศึกษานี้ มีวิธีตรวจวิเคราะห์ 2 วิธี ที่พัฒนาขึ้นคือ การวิเคราะห์หาสารตกค้างฟิโปรนิล ในไข่ไก่ เพราะเป็นวิธีที่ไม่เคยด�ำเนินการมาก่อน และการวิเคราะห์หาสารกลุ่มไดออกซิน - ฟูแรนส์ ในไข่ไก่ เพราะ matrix แตกต่างไปจากที่เคยวิเคราะห์ วิธีการที่มีการพัฒนาขึ้นใหม่ หรือปรับปรุงไป

74

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 188 กันยายน - ตุลาคม 2562


ในการทดสอบของวิธีการตรวจฟิโปรนิล พบว่า % Recovery ของทุกชุดที่ท�ำการทดสอบ อยูใ่ นช่วง 60 - 120% อยูใ่ นเกณฑ์ตามก�ำหนดของ CODEX และสหภาพยุโรป และพิสูจน์ยืนยันได้ จาก Retention time และ Mass Spectogram วิธีวิเคราะห์ฟิโปรนิลในไข่ไก่ที่พัฒนาขึ้น มีความ ถูกต้อง สามารถตรวจหาฟิโปรนิลได้ด้วยความ มั่นใจ การทดสอบความถูกต้องของการวิเคราะห์ สารกลุ่มไดออกซินและฟูแรนส์ ด�ำเนินการคล้าย กับฟิโปรนิล โดยการหา % Recovery พบว่าอยู่ ระหว่าง 60 - 118% เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน (European Union, 2017) Retention Time ยืนยัน ว่า สารที่วิเคราะห์ออกมาเป็นสารกลุ่มไดออกซิน และฟูแรนส์จริง วิธีวิเคราะห์สารกลุ่มไดออกซิน และฟูแรนส์ ที่ปรับปรุงขึ้นจากวิธีเดิม มีความ ถูกต้อง สามารถตรวจหาสารกลุม่ ไดออกซิน และ ฟูแรนส์ได้อย่างมั่นใจ การศึกษาส่วนที่ 1 แสดงให้เห็นว่าแม้จะมี รายงานการใช้ฟโิ ปรนิล ในลักษณะสารเคมีทางการ เกษตรเพือ่ ก�ำจัดแมลงและศัตรูพชื ในประเทศไทย การศึกษานี้ ตรวจไม่พบการตกค้างของฟิโปรนิล ในไข่ไก่ อาจเป็นเพราะในประเทศไทยไม่มีการใช้ สารฟิโปรนิลในการเลีย้ งสัตว์ปกี อาจเนือ่ งจากสาร

Around the World

จากเดิม จะต้องมีการทดสอบความใช้ได้ของวิธี นั้น เพื่อให้มั่นใจว่าวิธีนั้นให้ผลการตรวจวิเคราะห์ ที่ถูกต้องและแม่นย�ำ การทดสอบความใช้ได้ของ วิธกี ารวิเคราะห์มหี ลายพารามิเตอร์ ทีส่ ำ� คัญทีส่ ดุ และจะต้องท�ำการทดสอบก่อน คือ ความถูกต้อง (Trueness) หรือ % Recovery เพื่อให้แน่ใจว่า สารที่วิเคราะห์ออกมาได้ เป็นสารที่ต้องการการ วิเคราะห์จริงๆ

ดังกล่าวเป็นสารทีน่ ำ� เข้าจากต่างประเทศจึงมีราคา สูงเมื่อเทียบกับยาฆ่าแมลงอื่นๆ การเลี้ยงไก่ใน ระบบ GAP มีการควบคุมการใช้ยาและสารเคมี ในฟาร์ม การควบคุมสัตว์พาหะ ได้ช่วยลดโอกาส ในการปนเปื้อนสารเคมีและยาฆ่าแมลงในฟาร์ม การศึกษาส่วนที่ 2 การส�ำรวจสารมลพิษ ที่ตกค้างยาวนาน หรือ POPs ได้แก่ สารกลุ่ม ออร์กาโนคลอรีน และ พีบีซี สารในกลุ่มนี้อาจ ตกค้างสะสมอยู่ใน พืช เนื้อสัตว์ นม และไข่ได้ กรมปศุสตั ว์ได้มกี ารตรวจสารกลุม่ นีอ้ ย่างต่อเนือ่ ง ตั้งแต่ ปี 2546 แต่ยังไม่พบตัวอย่างไข่ไก่ที่มี สารตกค้างกลุ่มนี้เกินค่ามาตรฐาน อย่างไรก็ตาม เนื่ อ งจากเป็ น มาตรฐานสากลทางด้ า น Food Safety และมีข้อก�ำหนดต่างๆ ตามกฎหมายไทย จึงต้องมีการส�ำรวจเฝ้าระวังสารในกลุ่มนี้อย่าง ต่อเนื่อง การศึกษาส่วนที่ 3 การส�ำรวจไดออกซิน และฟูแรนส์ในไข่ไก่ การศึกษานี้ ได้ผลแตกต่าง จากรายงานของ มูลนิธิบูรณะนิเวศ (2560) ที่ พบว่า ไข่ไก่ 4 ใน 11 ตัวอย่าง มี มีสารไดออกซิน/ ฟิวแรน (PCDD/Fs) และไดออกซิน รวมกับพีซีบี ที่คล้ายไดออกซิน (PCDD/Fs และ DL PCBs) สูงเกิน MRL ของสหภาพยุโรป (2.5 pg/g fat) ส่วนไข่ไก่จากร้านสะดวกซือ้ พบสารกลุม่ นีไ้ ม่เกิน มาตรฐาน ผู้เขียนให้เหตุผลว่า ไข่ไก่ที่มาจากร้าน สะดวกซือ้ มาจากฟาร์มทีเ่ ลีย้ งในระบบปิด (มูลนิธิ บูรณะนิเวศ, 2560) ความแตกต่างของผลการ ศึกษามาจากที่มาของไข่ไก่ที่น�ำมาวิเคราะห์ การ ส�ำรวจที่มูลนิธิบูรณะเวศรายงานในปี 2017 เป็น การเจาะจงเก็ บ ตั ว อย่ า งไข่ จ ากไก่ บ ้ า นที่ ห ากิ น อิสระ คุ้ยเขี่ยหาอาหารอยู่ใกล้พื้นที่ที่มีโรงงาน อุตสาหกรรมหนาแน่น และจ�ำนวนตัวอย่างมีเพียง

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 188 กันยายน - ตุลาคม 2562

75


Around the World

11 ตัวอย่าง ในความเป็นจริงไข่จากไก่ที่เลี้ยงแบบ ปล่อยเช่นนี้ ไม่มีโอกาสจะเข้ามาในวงจรการผลิต ไข่ไก่ที่จ�ำหน่ายแก่ผู้บริโภคส่วนใหญ่ได้ เนื่องจาก ผลิ ต ไข่ ไ ด้ น ้ อ ย อาจพอเพี ย งแค่ ก ารบริ โ ภคใน ครอบครัว หรือในชุมชนเท่านั้น ส่วนไข่ไก่ใน ท้องตลาด ไม่ว่าจะเป็นตลาดในชุมชน หรือตาม ซุปเปอร์มาร์เก็ต เกือบทั้งหมดจะมาจากฟาร์ม ไก่ไข่ เกษตรกรมีไก่ไข่เฉลี่ย 5,000 ตัวต่อราย (กรมปศุสตั ว์, 2562 ) การเลีย้ งไก่ในจ�ำนวนเท่านี้ จะต้องมีโรงเรือน มีการจัดการน�ำ้ และอาหาร ดังนัน้ แหล่งผลิตไข่ไก่ทขี่ ายในท้องตลาดจึงไม่ใช่การเลีย้ ง แบบไก่หลังบ้าน ผู้บริโภคจึงมีความปลอดภัยจาก สารตกค้างในกลุ่ม POPs รวมทั้งไดออกซิน ๏ สรุ ปและข้อเสนอแนะ ๏ ผลการส�ำรวจฟิโปรนิล POPs และ ไดออกซินในไข่ไก่ ปี 2560 ไม่พบสารตกค้างใน ตัวอย่างที่ท�ำการตรวจวิเคราะห์ ไข่ไก่ทุกตัวอย่าง ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ส�ำหรับการส�ำรวจฟิโปรนิล ในไข่ไก่ ควรจะด�ำเนินการต่อเนื่องอย่างน้อยอีก 2 ปี เนือ่ งจากทาง CODEX ขอให้ประเทศสมาชิก ส่งผลการส�ำรวจภายในปี 2019 เพื่อเป็นข้อมูล พื้นฐานในการพิจารณาก�ำหนดมาตรฐานสากล การตรวจสารตกค้างกลุม่ POPs ได้แก่ ออร์กาโนคลอรีน และพีซีบี จะต้องด�ำเนินการต่อเนื่อง เพราะเป็นข้อก�ำหนดสากลของประเทศคู่ค้า และ ประเทศไทย ส่วนสารกลุ่มไดออกซิน ควรมีการ ส� ำ รวจแบบมี เ ป้ า หมายเนื่ อ งจากการวิ เ คราะห์ มีความซับซ้อนและมีราคาสูง โดยเฝ้าระวังในพืน้ ที่ ที่มีความเสี่ยงสูง เพื่อเป็นตัวบ่งชี้ และสร้างความ ตระหนักเรื่องมลพิษในสิ่งแวดล้อม

76

การศึกษานี้ บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งเอาไว้ สามารถใช้ เ ป็ น ข้ อ มู ล อ้ า งอิ ง ทางวิ ท ยาศาสตร์ ตรวจวิเคราะห์โดยวิธีที่มีความน่าเชื่อถือ เป็น รายงานแรกของประเทศไทยที่ส�ำรวจฟิโปรนิล ในไข่ไก่ เป็นรายงานการส�ำรวจสารกลุ่ม POPs ในไข่ไก่ที่มีฐานข้อมูลมากที่สุด และกระจายการ เก็บตัวอย่างไปทั่วประเทศ ข้อมูลจากการศึกษานี้ จะเป็นข้อมูลสนับสนุนการก�ำหนดแนวทางการ เฝ้าระวังและป้องกันสารตกค้างทั้งสามกลุ่มใน ผลิตภัณฑ์ปศุสตั ว์ ก่อประโยชน์ในภาพรวมคือ ท�ำ ให้เกิดความปลอดภัยของอาหาร คุม้ ครองผูบ้ ริโภค ให้ปลอดภัยจากสารตกค้าง และเป็นแนวทางใน การเตรียมข้อมูลให้ CODEX ที่จะจัดท�ำมาตฐาน สากลต่อไป ๏ กิตติกรรมประกาศ ๏ ขอขอบคุณ เจ้าหน้าทีส่ ำ� นักงานปศุสตั ว์เขต เจ้าหน้าที่ส�ำนักงานปศุสัตว์จังหวัด สัตวแพทย์ ประจ�ำโรงงาน ที่ให้ความร่วมมือในการเก็บ และ น�ำส่งตัวอย่าง น.สพ. เอกชัย ก่อเกียรติสกุลชัย และ น.สพ. ธิติ อันตรเสน จากส�ำนักพัฒนาระบบและ มาตรฐานการปศุสัตว์ ส�ำหรับการประสานงาน และข้อมูลฟาร์มไก่ไข่ คุณวิภาดา สิริสมภพชัย คุณสราวุฒิ ชูกระชั้น คุณศิริวัฒน์ รายนะสุข จากส�ำนักตรวจสอบคุณภาพสินค้าปศุสตั ว์ ส�ำหรับ งานทดสอบทางห้องปฏิบัติการ และค�ำแนะน�ำ ในการปรับปรุงต้นฉบับ

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 188 กันยายน - ตุลาคม 2562


Around the World

๏ เอกสารอ้างอิง ๏ กรมปศุสตั ว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 2558. การประชุมวิชาการปศุสตั ว์แห่งชาติประจ�ำปี 2558. การทดสอบความใช้ได้ของวิธีวิเคราะห์สารประกอบออร์กาโนคลอรีน และสารกลุ่มพีซีบี. กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 2562. ร่างยุทธศาสตร์ไก่ไข่ ฉบับที่ 3. (อยู่ในระหว่างการ พิจารณาของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์) ปวีณา ไชยวรรณ์, เชาวนาถ พฤทธิเทพ, ชูชาตฺ บุญศักดิ์, อัจฉรา จอมสง่าวงศ์ และ วรรษมน มงคล. 2554. ศึกษาการป้องกันก�ำจัดหนอนเจาะล�ำต้น (Ostrinia furnacalis Guenee) และหนอนเจาะฝัก (Helicoverpa armigera) ในข้าวโพดหวาน. สืบค้นจาก www.doa.go.th. [1 สิงหาคม 2561] มูลนิธิบูรณะนิเวศ ฝ่ายเทคนิคและวิชาการ. 2560. รายงานผลการศึกษา สารมลพิษตกค้างยาวนาน สุเทพ สหายา, 2061. มาอัพเดทข้อมูลสารป้องกันก�ำจัดแมลงและไรศัตรูพืชกันดรกว่า ตอนที่3. (ออนไลน์). สืบค้นจาก https://www.kehakaset.com/articles_details.php?view_item=661. [1 สิงหาคม 2561] ส�ำนักมาตรฐานห้องปฏิบัติการ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. 2562. หน่วยงาน ที่ ผ ่ า นการรั บ รองความสามารถห้ อ งปฏิ บั ติ ก ารทดสอบด้ า นสาธารณสุ ข /คุ ้ ม ครองผู ้ บ ริ โ ภค (ISO/IEC17025). สืบค้นจาก http://webdb.dmsc.moph.go.th/ifc_qa/dbqa/default. asp?iID=LDMEM [1 สิงหาคม 2561] Bolaños P.P., Frenich A.G. and J.L. Vidal . 2007. Application of gas chromatography - triple quadrupole mass spectrometry in the quantification - confirmation of pesticides and polychlorinated biphenyls in eggs at trace levels. J Chromatogr A. 1167(1):9 - 17. CODEX. 2017. CXG90 - 2017 guidelines on performance criteria for methods of analysis for the determination of pesticide in food and feed. [online]. Available on http://www. fao.org/fao - who - codexalimentarius/sh - proxy/en/?lnk=1&url=https%253A%252F%252F workspace.fao.org%252Fsites%252Fcodex%252FStandards%252FCXG%2B90 - 2017% 252FCXG_090e.pdf. Accessed on 1 Aug 2017 CODEX, 2018. Report of 41th CODEX Alimentarius Commission (CAC 41), 2 - 6 July 2018. [online]. available: http://www.fao.org/fao - who - codexalimentarius/meetings/extra/cac41/ doc - cac41/en/. Accessed 1 August 2017. Journal of chromatography B, 1014 (2016) P. 31 - 36.

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 188 กันยายน - ตุลาคม 2562

77


Around the World

European Communities. 1997. Council Directive 97/747/EC of 23 February 1998 fixing the levels and frequencies of sampling provided for by Council Directives 96/23/EC for the monitoring of certain substances and residues thereof in certain animal products. European Communities. 2002. Commission Decision 2002/657/EC of 14 August 2002 implementing Council Directive 96/23/EC concerning the performance of analytical methods and the interpretation of results. European Union. 2014. Commission Regulation (EU) 1127/2014 of 20 October 2014 amending Annexes II and III to Regulation (EC) No 396/2005 of the European Parliament and of the Council as regards maximum residue levels for amitrole, dinocap, fipronil, flufenacet, pendimethalin, propyzamide, and pyridate in or on certain products European Union. 2014. Commission Recommenadation 2014/663/EU of 11 September 2014 amending the Annex to Recommendation 2013/711/EU on the reduction of the presence of dioxins, furans and PCBs in feed and food European Union. 2017. Commission Regulation (EU) 2017/644 of 5 April 2017 laying down methods of sampling and analysis for the control of levels of dioxins, dioxin - like PCBs and non - dioxin - like PCBs in certain foodstuffs and repealing Regulation (EU) No 589/2014. Furusawa N., Okazaki K., Iriguchi S., Yamaguchi H. and M. Saitoh. 1998. Gel Peameation and Florisil Chromatographic Cleanup and Gas Chromatographic Determination of Organochlorine Pesticides in Eggs. J AOAC Int. 81(5): 1033 - 1036. Journal of AOAC International. 2005. Vol.88(2), P.32 - 42. Journal of Chromatography B. 2016, Vol. 1014, P. 31 - 36 Lehotay S.J., Mastovská K. and S.J. Yun. 2005. Evaluation of two fast and easy methods for pesticide residue analysis in fatty food matrixes. J AOAC Int. 88(2):630 - 638. U.S. Environmental Protection Agency Office of Water Engineer and Analysis Division (4305), 1994, P1 - 86. (USEP, 1994)

78

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 188 กันยายน - ตุลาคม 2562


ราชกิจจานุเบกษา

Around the World

เล่ม ๑๓๖ ตอนพิเศษ ๒๒๑ ง

๔ กันยายน ๒๕๖๒

ประกาศกรมปศุสัตว์ เรื่อง ชะลอการน�ำเข้าหรือน�ำผ่านราชอาณาจักรซึ่งสุกร หมูป่า หรือซากสุกร ซากหมูป่า จากสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ พ.ศ. ๒๕๖๒

ด้วยองค์การสุขภาพสัตว์โลก World Organisation for Animal Health: (OIE) ได้รายงาน สถานการณ์การระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (African Swine Fever) ในสุกร ในหมู่บ้าน ณ รัฐฉาน (Shan State) สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ ซึ่งโรคระบาดสัตว์ชนิดดังกล่าว สามารถ แพร่กระจายไปอย่างกว้างขวางได้ โดยมีสาเหตุส�ำคัญมาจากการเคลื่อนย้ายสัตว์ป่วย หรือสัตว์ที่เป็น พาหะน�ำโรค หรือซากของสัตว์ซงึ่ ป่วย หรือตาย โดยโรคระบาดดังกล่าวไปยังท้องทีต่ า่ งๆ และเพือ่ เป็นการ ป้องกันไม่ให้โรคระบาดสัตว์ชนิดดังกล่าวมีโอกาสแพร่กระจายเข้ามาในประเทศ ซึ่งจะส่งผลกระทบ ต่ออุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกรในประเทศ อาศัยอ�ำนาจตามความในมาตรา ๖ ประกอบกับมาตรา ๓๓ แห่งพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. ๒๕๕๘ อธิบดีกรมปศุสัตว์จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ชะลอการน�ำเข้า หรือน�ำผ่านราชอาณาจักรซึ่งสุกร หมูป่า หรือซากสุกร ซากหมูป่า ที่มีแหล่งก�ำเนิดจากสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ ข้อ ๒ ประกาศฉบับนี้ให้มีผลใช้บังคับได้เป็นเวลาเก้าสิบวันนับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศใน ราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 36 เล่มที่ 188 กันยายน - ตุลาคม 2562

79


ขอขอบคุณบริษัทที่ให้ความสนับสนุน และความร่วมมือในการจัดท�ำวารสารธุรกิจอาหารสัตว์

1 บริษัท เบทาโกร จ�ำกัด (มหาชน) 2 บริษัท ซี พี เอฟ (ประเทศไทย) จ�ำกัด (มหาชน) สมุทรปราการ 3 บริษัท กรุงไทยอาหาร จ�ำกัด (มหาชน) 4 บริษัท ทีเอฟเอ็มเอส จ�ำกัด 5 บริษัท ลีพัฒนาผลิตภัณฑ์ จ�ำกัด (มหาชน) 6 บริษัท ซี พี เอฟ (ประเทศไทย) จ�ำกัด (มหาชน) สระบุรี 7 บริษัท ท็อป ฟีด มิลล์ จ�ำกัด 8 บริษัท แลบอินเตอร์ จ�ำกัด 9 บริษัท ฮูเวฟาร์มา (ประเทศไทย) จ�ำกัด 10 บริษัท เออร์เบอร์ ไบโอเทค (ประเทศไทย) จ�ำกัด 11 บริษัท ยูนีโกรอินเตอร์เนชั่นแนล จ�ำกัด 12 บริษัท อดิสสิโอ เทรดดิ้ง (ประเทศไทย) จ�ำกัด 13 บริษัท เกษตรภัณฑ์อุตสาหกรรม จ�ำกัด 14 บริษัท ไฟโตไบโอติกส์ (ประเทศไทย) จ�ำกัด 15 ลา เมคคานิค่า เอส.อาร์.ดิเรฟโฟ

โทร. 0-2833-8000 โทร. 0-2680-4580 โทร. 0-2473-8000 โทร. 0-2814-3480 โทร. 0-2632-7232 โทร. 0-2680-4500 โทร. 0-2194-5678-96 โทร. 0-3488-6140-48 โทร. 0-2937-4355 โทร. 0-2993-7500 โทร. 0-3430-5101-3 โทร. 0-2681-1329 โทร. 0-2817-6410 โทร. 0-2694-2498 โทร. 098-248-9771




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.