วารสารธุรกิจอาหาสัตว์159

Page 1



รายนามสมาชิก

สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย 1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8. 9. 10. 11. 12. 13. 14. 15. 16. 17. 18. 19. 20. 21. 22. 23. 24. 25. 26.

บริษัท เบทาโกร โฮลดิ้ง จำกัด บริษัท แหลมทองสหการ จำกัด บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารเซ็นทรัล จำกัด บริษัท ป.เจริญพันธ์อาหารสัตว์ จำกัด บริษัท อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ ไทย จำกัด (มหาชน) บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) บริษัท กรุงไทยอาหาร จำกัด (มหาชน) บริษัท ลีพัฒนาผลิตภัณฑ์ จำกัด (มหาชน) บริษัท คาร์กิลล์สยาม จำกัด บริษัท ลีพัฒนาอาหารสัตว์ จำกัด บริษัท ฟีดสเปเชียลตี้ จำกัด บริษัท โกรเบสท์คอร์โพเรชั่น จำกัด บริษัท เอเชี่ยน ฟีด จำกัด บริษัท ไทยลักซ์เอ็นเตอร์ ไพรส์ จำกัด (มหาชน) บริษัท อาหารสัตว์ ไทยสระบุรี จำกัด บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) บริษัท ท็อป ฟีด มิลล์ จำกัด บริษัท คาร์กิลล์มีทส์ (ไทยแลนด์) จำกัด บริษัท ยูไนเต็ดฟีดมิลล์ จำกัด บริษัท มิตรภาพอาหารสัตว์ จำกัด บริษัท เหรียญทอง ฟีด (1992) จำกัด บริษัท แหลมทองเกษตรภัณฑ์ จำกัด บริษัท อาหารสัตว์ ไทยสวนหลวง จำกัด บริษัท เอส พี เอ็ม อาหารสัตว์ จำกัด บริษัท อีสเทิร์น ฟีดมิลล์ จำกัด

27. 28. 29. 30. 31. 32. 33. 34. 35. 36. 37. 38. 39. 40. 41. 42. 43. 44. 45. 46. 47. 48. 49. 50. 51. 52.

บริษัท เบทาโกรนอร์ธเทอร์น จำกัด บริษัท ซันฟีด จำกัด บริษัท ยูนีโกร อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด บริษัท พนัสโภคภัณฑ์ จำกัด บริษัท ยู่สูงอาหารสัตว์ จำกัด บริษัท แหลมทองอะควอเทค จำกัด บริษัท เบทาโกรภาคใต้ จำกัด บริษัท บางกอกแร้นซ์ จำกัด (มหาชน) บริษัท กาญจนาอาหารสัตว์ จำกัด บริษัท ก้าวหน้าอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ จำกัด บริษัท กรุงเทพโปรดิ๊วส จำกัด (มหาชน) บริษัท วี.ซี.เอฟ. กรุ๊ป จำกัด บริษัท ชัยภูมิฟาร์มผลิตภัณฑ์การเกษตร จำกัด บริษัท ไทยยูเนี่ยน ฟีดมิลล์ จำกัด บริษัท อินเทคค์ ฟีด จำกัด บริษัท บุญพิศาล จำกัด บริษัท เฮกซ่าแคลไซเนชั่น จำกัด บริษัท บีทีจี ฟีดมิลล์ จำกัด บริษัท หนองบัว ฟีด มิลล์ จำกัด บริษัท ไทย ฟู้ดส์ อาหารสัตว์ จำกัด บริษัท โกลด์ คอยน์ สเปเชียลิตี้ส์ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท แม่ทา วี.พี.ฟีดมิลล์ จำกัด บริษัท อาร์ที อะกริเทค จำกัด บริษัท ฟาร์มจงเจริญ จำกัด บริษัท เจบีเอฟ จำกัด บริษัท อินเว (ประเทศไทย) จำกัด

ิน ภ อ

น ท นั

ร า าก


คณะกรรมการบริหาร สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย ประจำปี 2556-2557 1. นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล

นายกสมาคม

บริษัท กรุงเทพโปรดิ๊วส จำกัด (มหาชน)

2. นายณรงค์ชัย ศรีสันติแสง

อุปนายก คนที่ 1

บริษัท เบทาโกร โฮลดิ้ง จำกัด

3. นายประจักษ์ ธีระกุลพิศุทธิ์

อุปนายก คนที่ 2

บริษัท ป.เจริญพันธ์อาหารสัตว์ จำกัด

4. นางเบญจพร สังหิตกุล

เหรัญญิก

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน)

5. นายบุญธรรม อร่ามศิริวัฒน์

เลขาธิการ

บริษัท ลีพัฒนาผลิตภัณฑ์ จำกัด (มหาชน)

6. นายประกิต เพียรศิริภิญโญ

รองเลขาธิการ

บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน)

7. นายเชฏฐพล ดุษฎีโหนด

รองเลขาธิการ

บริษัท อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ ไทย จำกัด(มหาชน)

8. นายโดม มีกุล

ประชาสัมพันธ์

บริษัท อาหารสัตว์ ไทยสระบุรี จำกัด

9. นายศักดิ์ชัย ศักดิ์ชัยเจริญกุล

ปฏิคม

บริษัท ท็อป ฟีด มิลล์ จำกัด

10. นายสถิตย์ บำรุงชีพ

นายทะเบียน

บริษัท อาหารสัตว์ ไทยสวนหลวง จำกัด

11. นายวีรชัย รัตนบานชื่น

กรรมการ

บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

12. นางสาวถนอมวงศ์ แต้ ไพสิฐพงษ์

กรรมการ

บริษัท เบทาโกรภาคใต้ จำกัด

13. นายหัสดิน ทรงประจักษ์กุล

กรรมการ

บริษัท เบทาโกรนอร์ธเทอร์น จำกัด

14. นายวิชัย คณาธนะวนิชย์

กรรมการ

บริษัท แหลมทองเกษตรภัณฑ์ จำกัด

15. นายวิศิษฐ คณาธนะวนิชย์

กรรมการ

บริษัท แหลมทองอะควอเทค จำกัด

16. นายสุจิน ศิริมงคลเกษม

กรรมการ

บริษัท กรุงไทยอาหาร จำกัด (มหาชน)

17. นายวราวุฒิ วัฒนธารา

กรรมการ

บริษัท ลีพัฒนาอาหารสัตว์ จำกัด

18. นางสาวนลิน เหล่าวรวิทย์

กรรมการ

บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารเซ็นทรัล จำกัด


บรรณาธิการ

แถลง

วารสารธุรกิจอาหารสัตว์ ฉบับ E-Magazine ผ่านพ้นมา 1 ปี นับว่า ได้รับความสนใจอย่างมาก แต่อาจจะมีบ้างที่สมาชิกบางท่านไม่ได้มีโอกาส เข้าไปอ่านใน เว็บไซต์สมาคมฯ ที่ www.thaifeedmill.com ถ้าเรามี อีเมล์ ของท่าน เราก็พร้อมจะจัดส่งตรงให้ท่านได้อ่าน แต่อาจจะเสียเวลาบ้างที่เนื้อหา มีมากมาย และไปรบกวนพืน้ ทีก่ ารจัดเก็บข้อมูลในอีเมล์ของท่าน เราจึงได้จดั เก็บ รักษาไว้ให้อ่านย้อนหลังได้ใน เว็บไซต์สมาคมฯ และเราก็ภูมิใจว่า ผู้ให้ความ สนับสนุนการจัดพิมพ์วารสารต่อเนื่องตลอดมา และมีบริษัทใหม่ๆ ที่ให้ความ สนใจลงโฆษณา จะได้รับการเชื่อมโยงติดต่อกันไปสู่หน้า เว็บไซต์ของบริษัท ทำให้ผู้อ่านได้เข้าถึงบริษัทของท่านง่ายขึ้น ซึ่งเราภูมิใจอย่างยิ่งที่สมาคมฯ ได้ ตอบแทนความตั้งใจดีที่ท่านได้มีต่อเรา จึงขอขอบคุณมาทางนี้ และขอขอบคุณ ท่านผู้อ่านที่ติดตาม และขออภัยอีกครั้งสำหรับท่านที่เคยติดตามในรูปแบบ เอกสารจะพลาดการติดตามด้วยการขาดเทคโนโลยี แต่หวังว่าอนาคตอันใกล้นี้ เทคโนโลยี ต้องเข้าถึงได้ง่ายขึ้น และเราคงได้มีโอกาสกลับมาพบกันอีก ในโอกาสที่ปีใหม่ 2558 เข้ามาถึง ทางสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย และทีมงานกองบรรณาธิการ ขออำนวยพรให้ท่านผู้อ่าน ผู้ให้ความสนับสนุน และสมาชิกสมาคมฯ มีความสุข ความเจริญ สุขภาพพลานามัยสมบูรณ์ แข็งแรง ประสบแต่สิ่งดีงามทุกประการ เทอญ...... บก.


วารสารธุรกิจอาหารสัตว์

วัตถุประสงค์ 1. เพื่อส่งเสริมความรู้และเผยแพร่อุตสาหกรรมอาหารสัตว์และการปศุสัตว์ 2. เพื่อเป็นสื่อกลางระหว่างสมาชิกและผู้ที่เกี่ยวข้องทั่วไป 3. เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารสัตว์และการปศุสัตว์ของประเทศให้เจริญรุ่งเรืองในแนวทางที่เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของชาติ 4. ไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง

ปีที่ 31 เล่มที่ 159 ประจำเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2557

Contents Thailand Focus

ภาวะเศรษฐกิจการเกษตรไตรมาส 3 ปี 2557 และแนวโน้ม ปี 2557.....................................................................................5 สรุปการเสวนาระดมความคิดเห็น "เดินหน้ายกระดับมาตรฐานการผลิตข้าวไทย โอกาสอุตสาหกรรมเกษตรไทยสู่ตลาดโลกอย่างยั่งยืน"........................................................................................16 รายงานการสำรวจข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ครั้งที่ 4/2557....................................................................................................25

Food Feed Fuel

สถานการณ์ สุกร.....................................................................................................................................................37 สถานการณ์ ไก่เนื้อ. .................................................................................................................................................39 สถานการณ์ ไข่ไก่. ...................................................................................................................................................40 สถานการณ์ กากถั่วเหลือง........................................................................................................................................42 สถานการณ์ ปลาป่น................................................................................................................................................46 สถานการณ์ กุ้งขาวแวนนาไม.....................................................................................................................................50 พืชอาหารสัตว์ พลังงานสีเขียว..................................................................................................................................52 "แมลง" ความหวังแหล่งโปรตีนเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ยั่งยืน................................................................................................65

Market Leader

การจัดการและควบคุมพีเอชของน้ำในระหว่างการเลี้ยงกุ้ง.............................................................................................68 ปี 58 ประมง...ชูนโยบาย "เพิ่มผลผลิตกุ้งทะเลแบบก้าวกระโดด" แก้ปัญหาขาดแคลน หลังโดน EMS ถล่ม หวังขยับยอดผลผลิต 400,000 ตัน..........................................................72

Around The World

ระเบียบสหรัฐฯ ด้าน "สารปฏิชีวนะ" ในวัสดุสัมผัสอาหาร..............................................................................................74 รายงานพิเศษ : มกอช. สร้างมาตรฐานบังคับสินค้าเกษตร นำร่อง 4 เรื่อง........................................................................77 บทสรุปเชิงนโยบาย โครงการศึกษาเรื่อง การใช้ภาษีคาร์บอนในการควบคุมการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย..........................................................................................................................79 ขอบคุณ. ....................................................................................................................................................................88  ดำเนินการโดย : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ ไทย  ประธานกรรมการที่ปรึกษา : นายประเสริฐ พุ่งกุมาร  รองประธานกรรมการที่ปรึกษา : นายวีรชัย รัตนบานชื่น  นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล  กรรมการที่ปรึกษา : นายสมชาย กังสมุทร  นายพงษ์ เหล่าวรวิทย์  นายประสิทธิ์ ศิริมงคลเกษม

นายอดิเรก ศรีประทักษ์  นายนิพนธ์ ลีละศิธร  นางเบญจพร สังหิตกุล นายณรงค์ชัย ศรีสันติแสง  นายบุญธรรม อร่ามศิริวัฒน์  นายประจักษ์ ธีระกุลพิศุทธิ์  บรรณาธิการ : นายปรีชา กันทรากรกิติ  กองบรรณาธิการ : นายไพบูลย์ ขุนทอง  นายอรรถพล ชินภูวดล  นางสาวปัทมา ศรีเที่ยงตรง  นายพุทธรักษ์ คำวงษ์  สำนักงาน : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ ไทย 889 ไทย ซีซี ทาวเวอร์ ห้อง 170 ชั้น 17 ถนนสาทรใต้ ยานนาวา สาทร กรุงเทพฯ 10120 โทรศัพท์ 0-2675-6263-4   โทรสาร 0-2675-6265  Email: tfma44@yahoo.com  Website: www.thaifeedmill.com




ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

แนวโน้มภาวะเศรษฐกิจการเกษตรปี 2557 คาดว่าจะขยายตัวอยูใ่ นช่วงร้อยละ 2.13.1 โดยสาขาการผลิตทีข่ ยายตัวเพิม่ ขึน้ ได้แก่ สาขาพืช สาขาปศุสตั ว์ สาขาบริการทางการ เกษตร และสาขาป่าไม้ ส่วนสาขาประมง ยัง คงหดตั ว สำหรั บ ผลผลิ ต พื ช ที่ ส ำคั ญ เช่ น ข้าวนาปี มันสำปะหลัง อ้อยโรงงาน ข้าวโพด เลี้ยงสัตว์ ยางพารา ปาล์มน้ำมัน และผลไม้ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ขณะที่ผลผลิตปศุสัตว์ อาทิ ไก่เนื้อ และไข่ไก่ ก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเช่นกัน ส่วนสถานการณ์การระบาดของโรคตายด่วน ที่ ส่ ง ผลกระทบต่ อ การเพาะเลี้ ย งกุ้ ง ทะเลใน ช่วง 2 ปีที่ผ่านมา เริ่มคลี่คลายลงตั้งแต่ช่วง ไตรมาส 3 ของปีนี้ แต่เกษตรกรส่วนใหญ่ยัง ทำการผลิตไม่เต็มที่ จึงทำให้ผลผลิตกุ้งยังคง ออกสู่ตลาดลดลง อย่างไรก็ตาม คาดว่าการ ผลิตกุ้งจะปรับตัวดีขึ้นเรื่อยๆ จากการดำเนิน มาตรการของกรมประมงในการแก้ไขปัญหา ทั้งระบบอย่างเร่งด่วน ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 159 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2557

ภาวะเศรษฐกิจการเกษตรในไตรมาส 3 ปี 2557 ขยายตัวประมาณร้อยละ 1.9 โดยสาขาการผลิตทีเ่ ป็นแรงขับเคลือ่ นให้ภาค เกษตรขยายตัวได้ในไตรมาสนี้คือ สาขาพืช สาขาปศุสตั ว์ และสาขาป่าไม้ ส่วนสาขาประมง และสาขาบริการทางการเกษตร หดตัวลง แม้วา่ ในช่วงไตรมาส 3 หลายพืน้ ทีข่ องประเทศ ยังคงประสบปัญหาฝนทิ้งช่วง ในขณะที่หลาย พืน้ ทีป่ ระสบภัยน้ำท่วม ซึง่ ส่งผลต่อการปลูกพืช ทีส่ ำคัญหลายชนิด แต่เมือ่ พิจารณาในภาพรวม แล้ว ไม่กระทบต่อการผลิตทางการเกษตรมาก นัก สำหรับการผลิตสินค้าปศุสัตว์มีมาตรฐาน การผลิต และระบบการควบคุมโรคทีด่ ี ประกอบ กับความต้องการสินค้าปศุสัตว์ของตลาดทั้งใน และต่างประเทศเพิ่มขึ้น ส่งผลให้มีการขยาย การเลี้ยงปศุสัตว์เพิ่มขึ้นตามไปด้วย ส่วนการ ผลิตกุง้ ทะเลเพาะเลีย้ ง แม้วา่ ปัญหาโรคตายด่วน (Early Mortality Syndrome: EMS) จะ คลี่คลายลง แต่เกษตรกรส่วนใหญ่ยังไม่มั่นใจ ในสถานการณ์ และทำการผลิตไม่เต็มที่ ทำให้ ผลผลิตกุ้งที่ออกสู่ตลาดยังคงมีค่อนข้างน้อย

Thailand Focus

ภาวะเศรษฐกิจการเกษตรไตรมาส 3 ปี 2557 และ แนวโน้ม ปี 2557

5


ปัจจัยทางเศรษฐกิจที่สำคัญ เศรษฐกิจโลก เศรษฐกิจโลกในภาพรวมของปี 2557 ฟื้ น ตั ว ได้ ค่ อ นข้ า งช้ า โดยที่ เ ศรษฐกิ จ ของ สหรัฐอเมริกายังสามารถขยายตัวได้ต่อเนื่อง จากการส่งออกที่เริ่มกลับมาขยายตัวได้ ขณะ ที่ความเชื่อมั่นภายในประเทศ รวมถึงตลาด อสังหาริมทรัพย์ และตลาดแรงงานก็เริ่มปรับ ตัวดีขึ้นตามลำดับ สำหรับเศรษฐกิจกลุ่มประเทศยูโรยังคง ประสบปั ญ หาอั ต ราเงิ น เฟ้ อ ที่ อ ยู่ ใ นระดั บ ต่ ำ และอุปสงค์ที่หดตัว นอกจากนี้ในช่วงไตรมาส 3 เศรษฐกิจยุโรปชะลอตัวลงจากสถานการณ์ ความตึงเครียดทางการเมืองระหว่างรัสเซีย กับยูเครน ซึ่งส่งผลกระทบต่อการส่งออกใน หลายประเทศของยุโรป ในส่ ว นของเศรษฐกิ จ ญี่ ปุ่ น มี แ นวโน้ ม ฟื้ น ตั ว ช้ า เนื่ อ งจากอุ ป สงค์ ภ ายในประเทศ หดตัวลงจากการปรับขึน้ ภาษีการบริโภค (Consumption Tax) ตั้งแต่เดือนเมษายนที่ผ่านมา

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 159 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2557

6

เศรษฐกิจจีนขยายตัวได้ดี โดยรัฐบาล จีนยังคงดำเนินนโยบายรักษาสมดุลระหว่าง การปฏิรูป และการขยายตัวทางเศรษฐกิจเพื่อ ให้เศรษฐกิจขยายตัวอย่างมีเสถียรภาพ ส่วน เศรษฐกิจเอเซียมีแนวโน้มการฟื้นตัวอย่างค่อย เป็นค่อยไปจากการส่งออกที่เร่งขึ้นตามภาวะ เศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาทีฟ่ นื้ ตัว ได้ดี ประกอบกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ รวมถึงความชัดเจนทางด้านการเมืองในแต่ละ ประเทศ ถือเป็นปัจจัยสนับสนุนให้ภาคเอกชน

มีความสามารถในการจับจ่ายใช้สอยได้มากขึ้น และจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจในระยะถัดไป

เศรษฐกิจการเกษตรโลก สถานการณ์ด้านราคาสินค้าเกษตรและ อาหารในตลาดโลก เมือ่ พิจารณาจากดัชนีราคา อาหารซึ่งจัดทำโดยองค์การอาหารและเกษตร แห่งสหประชาชาติ (FAO) พบว่า ดัชนีราคา อาหารเฉลีย่ ในเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2557 อยู่ที่ระดับ 200.3 ลดลงจากช่วงเดียวกันของ ปี 2556 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 206.0 หรือลดลง ร้อยละ 2.8 โดยกลุ่มสินค้าที่มีราคาลดลง ได้แก่ ธัญพืช น้ำมันพืช และผลิตภัณฑ์นม ราคาธัญพืชลดลงอย่างต่อเนื่อง เพราะ อุปทานของข้าวสาลี และข้าวโพดเลีย้ งสัตว์ของ โลกเพิม่ ขึน้ มาก ในขณะทีส่ ต๊อกยังอยูใ่ นระดับสูง สำหรับราคาน้ำมันพืชลดลง เนื่องจากปริมาณ ผลผลิตปาล์มน้ำมันในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ มีคอ่ นข้างมาก ขณะทีค่ วามต้องการนำเข้าจาก จีน และอินเดีย ลดลง ส่วนราคาผลิตภัณฑ์ นมลดลงจากปริมาณผลผลิตที่มีมาก แต่ความ ต้องการนำเข้าลดลงเช่นกัน กลุ่มสินค้าที่มีราคาเพิ่มขึ้น ได้แก่ เนื้อสัตว์ และน้ำตาล ราคาเนื้อสัตว์เพิ่มขึ้นจาก ราคาเนือ้ วัวของออสเตรเลียทีป่ รับตัวสูงขึน้ มาก เพราะอยู่ในช่วงปรับระบบการเลี้ยงวัว ทำให้มี อุปทานเพือ่ ส่งออกจำกัด ขณะเดียวกัน ประเทศ ในเอเชียโดยเฉพาะจีนมีความต้องการนำเข้า เนือ้ วัวเพิม่ ขึน้ สำหรับราคาสัตว์ปกี เปลีย่ นแปลง ไม่มากนัก ส่วนราคาสุกรปรับตัวลดลง


ดัชนีราคาอาหารโลก (Food Price Index, 2002-2004=100)

ตารางที่ 1 ดัชนีราคาอาหารโลก จำแนกตามกลุ่มสินค้า เฉลี่ย ก.ค.-ส.ค. กลุ่มสินค้า 2556 2557 พืชอาหารและธัญพืช 214.5 183.9 เนื้อสัตว์ 180.9 206.0 ผลิตภัณฑ์นม 245.6 213.5 น้ำมันจากพืชและสัตว์ 184.3 173.9 น้ำตาล 240.3 251.7

อัตราการเปลี่ยนแปลง (ร้อยละ) -14.3 13.9 -13.1 -5.7 4.7

ที่มา : จากการคำนวณ โดยใช้ข้อมูลจาก www.fao.org

ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล

ราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลีย่ เดือนกรกฎาคมสิงหาคม 2557 อยูท่ ี่ 103.8 ดอลลาร์สหรัฐฯ/ บาร์เรล ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2556 ซึ่งเฉลี่ยอยู่ที่ 105.0 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล หรือลดลงร้อยละ 1.2 เนือ่ งจากปริมาณการผลิต น้ำมันของโลกมีเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะจาก กลุม่ ประเทศ Non-OPEC ขณะทีค่ วามต้องการ ที่มา : World Bank บริโภคน้ำมันขยายตัวช้ากว่าปริมาณการผลิต น้ำมัน เนื่องจากเศรษฐกิจโลกยังคงฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป ส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบดูไบ ในช่วงดังกล่าวปรับตัวลดลงเล็กน้อย อย่างไรก็ตาม ยังมีความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ใน รัสเซีย-ยูเครน รวมถึงอิรัก และซีเรีย ซึ่งอาจทำให้อุปทานน้ำมันของโลกตึงตัว และทำให้ราคา น้ำมันดิบปรับตัวสูงขึ้นได้

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 159 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2557

ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก

7


อัตราแลกเปลี่ยน 1. อัตราแลกเปลี่ยนบาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ เฉลี่ยเดือนกรกฎาคม-กันยายน 2557 อยู่ที่ 32.1 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ มีทิศทางอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ซึ่งอยู่ที่ 31.5 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ หรืออ่อนค่าลงร้อยละ 1.9 2. อัตราแลกเปลี่ยนบาทต่อยูโร เฉลี่ยเดือนกรกฎาคม-กันยายน 2557 อยู่ที่ 42.5 บาท/ ยูโร มีทิศทางอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ซึ่งอยู่ที่ 41.7 บาท/ยูโร หรือ อ่อนค่าลงร้อยละ 2.0 การเคลือ่ นไหวของค่าเงินบาทในช่วงเดือน กรกฎาคม-กันยายน 2557 มีทศิ ทางอ่อนค่าลง เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2556 แต่ยัง อยู่ในระดับที่มีเสถียรภาพสอดคล้องกับเงินสกุล อื่นๆ ในภูมิภาค ทั้งนี้ ค่าเงินบาทอ่อนค่าลง เนื่องจากตัวเลขทางเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา ส่งสัญญาณดีกว่าทีค่ าด ทำให้เงินดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่าขึ้น

ภาพรวมเศรษฐกิจไทย

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 159 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2557

8

ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย

สำนั ก งานคณะกรรมการพั ฒ นาการ- อัตราเงินเฟ้อทั่วไป เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) คาดการณ์ ว่า เศรษฐกิจไทยในปี 2557 มีแนวโน้มขยายตัว ในช่วงร้อยละ 1.5-2.0 ปรับลดจากทีค่ าดการณ์ ไว้เดิม ณ เดือนพฤษภาคม 2557 ว่าจะขยายตัว ประมาณร้อยละ 2.5 เนื่องจากสถานการณ์ ทางการเมืองที่ยืดเยื้อ ประกอบกับการส่งออก ที่ฟื้นตัวช้า ทำให้เศรษฐกิจในช่วงครึ่งแรกของปี ที่มา : สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ หดตัว อย่างไรก็ตาม คาดว่าเศรษฐกิจในช่วง ครึง่ ปีหลังมีแนวโน้มเร่งตัวขึน้ เนือ่ งจากความเชือ่ มัน่ ปรับตัวดีขนึ้ การเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐ ปรับตัวเข้าสู่ภาวะปกติ แต่การส่งออกยังมีข้อจำกัดจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่ล่าช้า โดย มู ล ค่ า การส่ ง ออกสิ น ค้ า ทั้ ง หมดของไทยในช่ ว งเดื อ นกรกฎาคม-สิ ง หาคม 2557 เท่ า กั บ 1,209,358.3 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 0.3 สำหรับการท่องเที่ยวยังต้องใช้เวลาในการ ฟื้นตัว เพราะตลาดท่องเที่ยวมีการแข่งขันมากขึ้น ส่วนการขยายตัวของการลงทุนยังมีข้อจำกัด จากการใช้กำลังการผลิตที่ยังอยู่ในระดับต่ำ อย่างไรก็ตาม เสถียรภาพทางเศรษฐกิจยังอยู่


ในเกณฑ์ดี โดยอัตราเงินเฟ้อทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยในเดือน กรกฎาคม-กันยายน 2557 อยูท่ รี่ อ้ ยละ 2.0 สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีทผี่ า่ นมา ซึง่ อยูท่ รี่ อ้ ยละ 1.7 และยังอยูใ่ นกรอบคาดการณ์อตั ราเงินเฟ้อทัง้ ปี 2557 ของกระทรวงพาณิชย์ ซึง่ อยูใ่ นช่วงร้อยละ 2.2-2.8 สำหรับผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2557 มีมติ เป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบีย้ นโยบายไว้ทรี่ อ้ ยละ 2.00 ต่อปี เนือ่ งจากการฟืน้ ตัวของเศรษฐกิจ ในปัจจุบันยังไม่ชัดเจนในทุกภาคเศรษฐกิจ ดังนั้น นโยบายการเงินในระดับที่ผ่อนปรนจึงช่วย สนับสนุน และประคับประคองเศรษฐกิจให้สามารถฟื้นตัวได้อย่างมั่นคง

ภาวะเศรษฐกิจการเกษตรไตรมาส 3 ปี 2557 เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจการเกษตร 1. ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตร เฉลี่ยในช่วงเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2557 อยู่ที่ระดับ 103.8 สูงกว่าช่วงเดียวกันของปี 2556 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 100.6 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 ขณะที่ ดัชนีราคาสินค้าเกษตรทีเ่ กษตรกรขายได้ อยูท่ รี่ ะดับ 145.2 ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีทผี่ า่ นมา ซึ่งอยู่ที่ระดับ 153.8 หรือลดลงร้อยละ 5.6

ที่มา : ศูนย์สารสนเทศการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 159 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2557

2. ดัชนีผลผลิตหมวดพืชผล เฉลีย่ ในช่วงเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2557 อยูท่ รี่ ะดับ 102.3 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.7 จากช่วงเดียวกันของปี 2556 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 98.7 ขณะที่ดัชนีราคาหมวด พืชผลที่เกษตรกรขายได้ อยู่ที่ระดับ 144.6 ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ซึ่งอยู่ที่ระดับ 158.9 หรือลดลงร้อยละ 9.0

9


3. ดัชนีผลผลิตหมวดปศุสตั ว์ เฉลีย่ ในช่วง เดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2557 อยู่ที่ระดับ 124.8 เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 จากช่วงเดียวกัน ของปี 2556 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 119.4 ขณะที่ ดัชนีราคาหมวดปศุสตั ว์ทเี่ กษตรกรขายได้ อยูท่ ี่ ระดับ 143.6 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่ ผ่านมา ซึง่ อยูท่ รี่ ะดับ 131.9 หรือเพิม่ ขึน้ ร้อยละ 8.8

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 159 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2557

10

ภาวะเศรษฐกิจการเกษตรในช่วงไตรมาส 3 ของปี 2557 ขยายตัวประมาณร้อยละ 1.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2556 โดยสาขาการผลิตที่เป็นแรงขับเคลื่อนให้ภาค เกษตรขยายตัวได้ในไตรมาสนี้คือ สาขาพืช สาขาปศุสตั ว์ และสาขาป่าไม้ ส่วนสาขาประมง และสาขาบริ ก ารทางการเกษตร หดตั ว ลง แม้ว่าในช่วงไตรมาสนี้ หลายพื้นที่ของประเทศ ยังคงประสบปัญหาฝนทิ้งช่วง ในขณะที่หลาย พื้นที่ประสบภัยน้ำท่วม อาทิ จังหวัดสุโขทัย พิจิตร พิษณุโลก นครสวรรค์ และอยุธยา ซึ่ง เป็นแหล่งปลูกพืชที่สำคัญหลายชนิด ทำให้ ผลผลิ ต ทางการเกษตรบางส่ ว นได้ รั บ ความ เสียหาย แต่เมื่อพิจารณาในภาพรวมแล้วไม่ กระทบต่ อ การผลิ ต ทางการเกษตรมากนั ก เนื่ อ งจากพื้ น ที่ น้ ำ ท่ ว มบางส่ ว นดั ง กล่ า วเป็ น พื้นที่ลุ่มต่ำ ซึ่งประสบภัยน้ำท่วมเป็นประจำ เกือบทุกปี ทำให้เกษตรกรมีการปรับเปลี่ยน ช่วงเวลาของการเพาะปลูกพืชให้สอดคล้องกับ สถานการณ์มากขึ้น โดยเฉพาะการปลูกข้าว ให้เร็วขึ้น เพื่อจะได้เร่งเก็บเกี่ยวผลผลิตก่อนที่ จะถึงฤดูน้ำหลาก ทำให้ผลผลิตข้าวได้รับความ เสียหายน้อยลง สำหรับการผลิตสินค้าปศุสัตว์ มีมาตรฐานการผลิต และระบบการควบคุมโรค ที่ดี ประกอบกับความต้องการสินค้าปศุสัตว์

ที่มา : ศูนย์สารสนเทศการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

ของตลาดทั้งใน และต่างประเทศเพิ่มขึ้น ส่ง ผลให้ มี ก ารขยายการเลี้ ย งปศุ สั ต ว์ เ พิ่ ม ขึ้ น ตามไปด้วย ส่วนการผลิตกุ้งทะเลเพาะเลี้ยง แม้ว่าปัญหาโรคตายด่วน (Early Mortality Syndrome: EMS) จะคลี่คลายลงในบางส่วน แต่เกษตรกรส่วนใหญ่ก็ยังไม่มั่นใจ และทำการ ผลิตไม่เต็มที่ ส่งผลให้ผลผลิตกุ้งที่ออกสู่ตลาด ยังคงมีค่อนข้างน้อย

สาขาปศุสัตว์ ในช่วงไตรมาส 3 ปี 2557 สาขาปศุสตั ว์ ขยายตัวร้อยละ 1.9 เมือ่ เทียบกับช่วงเดียวกัน ของปี 2556 เป็นผลจากปริมาณการผลิตไก่เนือ้ และไข่ไก่ที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากสภาพอากาศที่ เย็ น ขึ้ น ทำให้ สั ต ว์ เ จริ ญ เติ บ โตได้ ดี มี ก าร


การผลิตไก่เนื้อ มีมาตรฐานการเลี้ยง อย่างเป็นระบบ ผู้ประกอบการมีการขยายการ เลี้ยงเพื่อรองรับความต้องการเนื้อไก่ที่เพิ่มขึ้น ทั้งตลาดในประเทศ และต่างประเทศ โดย เฉพาะตลาดหลักอย่างสหภาพยุโรป และญี่ปุ่น ที่ มี ก ารนำเข้ า เนื้ อ ไก่ แ ละผลิ ต ภั ณ ฑ์ จ ากไทย เพิ่มขึ้น ขณะที่ปริมาณผลผลิตไข่ไก่อยู่ในช่วงที่ ผลผลิตออกสูต่ ลาดเพิม่ ขึน้ สำหรับปริมาณการ ผลิตสุกรลดลงเล็กน้อย เนือ่ งจากพบโรคท้องร่วง ติดต่อ (Porcine Epidemic Diarrhea: PED) ในบางพื้นที่ ซึ่งทำให้ลูกสุกรลดลง แต่สถานการณ์ไม่รุนแรง และสามารถควบคุมได้ ส่วน ผลผลิตน้ำนมดิบลดลงเมือ่ เทียบกับช่วงเดียวกัน ของปีที่ผ่านมา เนื่องจากจำนวนแม่โครีดนม ลดลง ซึ่งเป็นผลจากราคาโคเนื้อที่เพิ่มสูงขึ้น จูงใจให้เกษตรกรปลดแม่โคนมเพื่อจำหน่าย เป็นโคเนื้อ ส่งผลให้ปริมาณน้ำนมดิบโดยรวม ลดลง ด้ า นราคา ในช่ ว งเดื อ นกรกฎาคมกันยายน 2557 ราคาสุกร และน้ำนมดิบ โดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของ ปีทผี่ า่ นมา ซึง่ เป็นผลมาจากการรักษามาตรฐาน ระบบการผลิตของเกษตรกรทีด่ ขี นึ้ ประกอบกับ มีปริมาณผลผลิตที่ลดลง โดยราคาสุกร และ น้ำนมดิบมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.2 และ 0.4 ตามลำดับ ส่วนราคาไก่เนือ้ และไข่ไก่

ปรับตัวลดลง เนื่องจากปริมาณผลผลิตที่เพิ่ม ขึ้นอย่างต่อเนื่อง ด้านการส่งออก ในช่วงเดือนกรกฎาคมสิงหาคม 2557 ปริมาณและมูลค่าการส่งออก เนื้อไก่และผลิตภัณฑ์ขยายตัวเมื่อเทียบกับช่วง เดียวกันของปี 2556 โดยเฉพาะญี่ปุ่นมีการ นำเข้าไก่สดแช่เย็นแช่แข็งเพิ่มขึ้นมากภายหลัง จากกระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมงญี่ปุ่น ได้ประกาศยกเลิกมาตรการห้ามนำเข้าสินค้า ไก่สดแช่เย็นและแช่แข็งจากไทยเมื่อปลายปีที่ ผ่านมา และสหภาพยุโรปที่มีการนำเข้าเนื้อไก่ และผลิตภัณฑ์ของไทยเพิม่ ขึน้ ต่อเนือ่ ง ในขณะที่ การส่ ง ออกเนื้ อ สุ ก รและผลิ ต ภั ณ ฑ์ ข ยายตั ว จากความต้องการผลิตภัณฑ์สุกรที่เพิ่มขึ้นใน ตลาดส่งออกที่สำคัญของไทย ได้แก่ ฮ่องกง ญี่ปุ่น สิงคโปร์ มาเลเซีย และเวียดนาม ส่วน ปริมาณการส่งออกนมและผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้น เนื่องจากไทยมีระบบการผลิตที่ได้มาตรฐาน ส่งผลให้ผู้บริโภคในตลาดอาเซียนมีความมั่นใจ และมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น

สาขาประมง สาขาประมงในช่วงไตรมาส 3 ของปี 2557 หดตัวร้อยละ 1.7 เมื่อเทียบกับช่วง เดียวกันของปี 2556 โดยผลผลิตกุ้งทะเล เพาะเลี้ ย งในเดื อ นกรกฎาคม 2557 อยู่ ที่ 16,271 ตัน ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีที่ ผ่านมา ซึง่ อยูท่ ี่ 19,525 ตัน หรือลดลงร้อยละ 16.7 ซึง่ เป็นผลมาจากปัญหาโรคตายด่วน (Early Mortality Syndrome: EMS) ที่ยังพบในแหล่ง ผลิ ต สำคั ญ ทำให้ เ กษตรกรผู้ ผ ลิ ต ส่ ว นใหญ่ ไม่มนั่ ใจในสถานการณ์โรค EMS จึงชะลอการ เลี้ยงกุ้งออกไป หรือเลี้ยงน้อยลง ประกอบกับ

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 159 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2557

ปรั บ การผลิ ต ที่ ไ ด้ ม าตรฐานอย่ า งเป็ น ระบบ การเฝ้าระวังโรค รวมถึงความต้องการบริโภค และการส่งออกที่มีมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะ ที่ ผ ลผลิ ต สุ ก ร และน้ ำ นมดิ บ ลดลง แต่ เ มื่ อ พิจารณาการผลิตปศุสัตว์โดยรวมยังคงขยาย ตัวเพิ่มขึ้น

11


ตั้งแต่เดือนมีนาคมเป็นต้นมา มีสภาพอากาศที่ ร้อนจัด และปริมาณฝนน้อย ทำให้น้ำมีระดับ ความเค็มสูง อีกทั้งพบโรคตัวแดงดวงขาวใน บางพื้นที่ ส่งผลให้การเลี้ยงกุ้งบางส่วนได้รับ ความเสี ย หาย ในส่ ว นของผลผลิ ต จากการ ทำประมงทะเล ปริ ม าณสั ต ว์ น้ ำ นำขึ้ น ท่ า เทียบเรือภาคใต้ในเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2557 มีปริมาณ 41,470 ตัน ลดลงจาก 78,960 ตัน ในช่วงเดียวกันของปี 2556 หรือลดลงคิดเป็นร้อยละ 47.5 โดยปริมาณ สั ต ว์ น้ ำ ที่ น ำขึ้ น ที่ ท่ า เที ย บเรื อ ในภาคใต้ โ ดย ส่วนใหญ่ลดลง เป็นผลมาจากผู้ประกอบการ อุตสาหกรรมแปรรูปสัตว์น้ำบางรายเข้าไปตั้ง โรงงานในอิ น โดนี เ ซี ย แทน สำหรั บ ผลผลิ ต ประมงน้ำจืด โดยส่วนใหญ่เป็นการเพาะเลี้ยง ปลานิล กุ้งก้ามกราม ปลาช่อน และปลาดุก มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับช่วง เดียวกันของปี 2556 เนื่องจากสถานการณ์ การผลิตเป็นปกติ ประกอบกับความต้องการ บริโภคภายในประเทศยังมีอย่างต่อเนื่อง ด้านราคา ราคากุง้ ขาวแวนนาไม ขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ย ในช่วงเดือนกรกฎาคม-กันยายน 2557 อยู่ที่ กิโลกรัมละ 212 บาท เพิม่ ขึน้ จากช่วงเดียวกัน ของปี 2556 ซึ่งมีราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 203 บาท ต่อกิโลกรัม หรือเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 4.4 โดยราคาเพิ่ ม ขึ้ น ตามผลผลิ ต ที่ ล ดลงจาก ปัญหาโรค EMS ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 159 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2557

12

ด้านการส่งออก ในเดือนกรกฎาคมสิงหาคม 2557 สินค้าประมงทีม่ ปี ริมาณ และ มู ล ค่ า การส่ ง ออกเพิ่ ม ขึ้ น ได้ แ ก่ ปลาและ ผลิตภัณฑ์ ปลาหมึกและผลิตภัณฑ์ ส่วนกุ้ง

และผลิ ต ภั ณ ฑ์ ลดลงทั้ ง ปริ ม าณและมู ล ค่ า การส่งออก

แนวโน้มเศรษฐกิจการเกษตร ปี 2557 แนวโน้มภาวะเศรษฐกิจการเกษตร ปี 2557 คาดว่าจะขยายตัวอยู่ในช่วงร้อยละ 2.1-3.1 โดยสาขาการผลิตที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ สาขาพืช สาขาปศุสัตว์ สาขาบริการ ทางการเกษตร และสาขาป่าไม้ ส่วนสาขา ประมง ยังคงหดตัว สำหรับผลผลิตพืชทีส่ ำคัญ เช่น ข้าวนาปี มันสำปะหลัง อ้อยโรงงาน ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ยางพารา ปาล์มน้ำมัน และผลไม้ มีแนวโน้ม เพิ่มขึ้น ขณะที่ผลผลิตปศุสัตว์ อาทิ ไก่เนื้อ และไข่ ไ ก่ ก็ มี แ นวโน้ ม เพิ่ ม ขึ้ น เช่ น กั น ส่ ว น สถานการณ์การระบาดของโรคตายด่วนที่ส่ง ผลกระทบต่อการเพาะเลีย้ งกุง้ ทะเลในช่วง 2 ปี ที่ผ่านมา เริ่มคลี่คลายลงตั้งแต่ช่วงไตรมาส ที่  3 ของปีนี้ แต่เกษตรกรส่วนใหญ่ยังทำการ ผลิตไม่เต็มที่ จึงทำให้ผลผลิตกุ้งยังคงออกสู่ ตลาดลดลง อย่างไรก็ตาม คาดว่าการผลิตกุ้ง จะปรับตัวดีขนึ้ เรือ่ ยๆ จากการดำเนินมาตรการ ของกรมประมงในการแก้ ไ ขปั ญ หาทั้ ง ระบบ อย่างเร่งด่วน

สาขาปศุสัตว์ ปี 2557 คาดว่าสาขาปศุสตั ว์จะขยาย ตัวอยู่ในช่วงร้อยละ 1.2-2.2 เมื่อเทียบกับปี 2556 โดยปริมาณการผลิตไก่เนื้อ และไข่ไก่ มี แ นวโน้ ม เพิ่ ม ขึ้ น จากการพั ฒ นาระบบการ เลี้ยงที่เป็นมาตรฐาน การดูแลเฝ้าระวังโรค อย่ า งต่ อ เนื่ อ ง และการขยายการผลิ ต เพื่ อ


ราคาสินค้าปศุสัตว์โดยรวมในปี 2557 คาดว่ า ยั ง อยู่ ใ นเกณฑ์ ดี ต ามความต้ อ งการ สินค้าปศุสัตว์ที่มีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้น ทั้ง ตลาดในประเทศ และต่างประเทศ และอาจ ปรั บ ตั ว เพิ่ ม ขึ้ น เล็ ก น้ อ ยตามต้ น ทุ น วั ต ถุ ดิ บ อาหารสัตว์ที่สูงขึ้น การส่งออกสินค้าปศุสัตว์ในปี 2557 คาดว่าจะขยายตัวได้ เนือ่ งจากมีการดำเนินการ เรื่องระบบการแยกส่วนการเลี้ยง (Compartment) และการตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability) ทำให้ ป ระเทศคู่ ค้ า เชื่ อ มั่ น ในสิ น ค้ า ปศุสัตว์ของไทยมากขึ้น โดยการส่งออกไก่สด แช่เย็นแช่แข็งไปสหภาพยุโรป ญี่ปุ่น อาเซียน และตะวันออกกลาง มีแนวโน้มเพิม่ ขึน้ สำหรับ การส่งออกเนื้อสุกรและผลิตภัณฑ์มีแนวโน้ม เพิ่ ม ขึ้ น จากความต้ อ งการของประเทศญี่ ปุ่ น และหากสามารถจัดทำเขตปลอดโรคปากและ เท้าเปื่อยได้สำเร็จ จะมีโอกาสส่งออกเนื้อสุกร สดได้มากขึ้น รวมทั้งการส่งออกนมและผลิตภัณฑ์ไปยังตลาดอาเซียนยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เช่นกัน

สาขาประมง สาขาประมงในปี 2557 คาดว่าจะลดลง อยู่ในช่วงร้อยละ (-2.4)-(-1.4) แม้ว่าในช่วง ครึ่งหลังของปี 2557 สถานการณ์การระบาด ของโรคตายด่วนในกุ้งทะเลเพาะเลี้ยงมีทิศทาง คลี่คลายลง แต่เกษตรกรส่วนใหญ่ก็ยังคงมี ความกังวล จึงชะลอการเพาะเลี้ยงกุ้งออกไป และบางส่วนก็ยังทำการผลิตไม่เต็มที่ อย่างไร ก็ ต าม คาดว่ า ผลผลิ ต กุ้ ง จะเริ่ ม ออกสู่ ต ลาด มากขึ้นในช่วงปลายปี 2557 เนื่องจากกรม ประมงได้ดำเนินโรงการแก้ไขปัญหาการระบาด ของโรคตายด่วนทั้งระบบอย่างเร่งด่วนตั้งแต่ ช่วงปลายเดือนมิถนุ ายนทีผ่ า่ นมา โดยได้นำเข้า พ่ อ แม่ พั น ธุ์ ที่ ป ลอดโรค เพื่ อ ผลิ ต ลู ก พั น ธุ์ กุ้ ง คุณภาพแจกจ่ายให้แก่เกษตรกร รวมทั้งเพิ่ม ประสิทธิภาพระบบคัดกรอง ป้องกันและเฝ้า ระวังโรค สำหรับผลผลิตจากการทำประมง ทะเลอื่นๆ มีแนวโน้มลดลง เนื่องจากสภาพ อากาศที่แปรปรวน และผู้ประกอบการแปรรูป สั ต ว์ น้ ำ บางส่ ว น ได้ ย้ า ยฐานการผลิ ต ไปยั ง ประเทศเพื่อนบ้าน ทำให้มีปริมาณสัตว์น้ำขึ้น ท่าเทียบเรือภาคใต้น้อยลง ส่วนผลผลิตประมง น้ำจืดมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เป็นผลมาจากสภาพ อากาศในแหล่งผลิตที่สำคัญเอื้ออำนวย ด้านราคากุ้ง คาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับปี 2556 เนื่องจากผลผลิตกุ้งที่ ออกสูต่ ลาดยังอยูใ่ นระดับน้อยกว่าปกติ ขณะที่ ความต้องการของอุตสาหกรรมแปรรูปกุ้งเพื่อ การส่งออกยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 159 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2557

รองรั บ ความต้ อ งการบริ โ ภคของตลาดใน ประเทศ และตลาดต่ า งประเทศ รวมถึ ง ภาครัฐมีนโยบายสร้างความเชื่อมั่นในสินค้า ปศุสัตว์ให้กับผู้บริโภค ในขณะที่ปริมาณการ ผลิตสุกรมีแนวโน้มลดลงจากสถานการณ์โรค ท้องร่วงติดต่อ (Porcine Epidemic Diarrhea: PED) ที่ยังมีอยู่อย่างต่อเนื่อง ส่วนปริมาณ น้ ำ นมดิ บ อาจลดลงจากจำนวนแม่ โ ครี ด นม ที่ลดลง

13


ตารางที่ 2 อัตราการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมภาคเกษตร หน่วย : ร้อยละ

2557 ไตรมาส (ก.ค.-ก.ย.) ทั้งปี ภาคเกษตร 1.9 2.1-3.1 สาขาพืช 2.8 2.5-3.5 สาขาปศุสัตว์ 1.9 1.2-2.2 สาขาประมง -1.7 (-2.4)-(-1.4) สาขาบริการทางการเกษตร -3.0 0.8-1.8 สาขาป่าไม้ 3.3 1.5-2.5 สาขา

ที่มา : จากการประมาณการโดยสำนักนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

ตารางที่ 3 ผลผลิตของสินค้าเกษตรที่สำคัญ ปี 2556-2557 (ปีปฏิทิน) สินค้า

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 159 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2557

14

ทั้งปี

2556 2557* ข้าวนาปี 26.90 27.08 ข้าวนาปรัง 10.77 10.09 มันสำปะหลัง 29.98 30.12 ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 4.85 5.09 ยางพารา 4.38 4.58 ปาล์มน้ำมัน 12.37 13.33 ไก่เนื้อ (ล้านตัว) 1,103.32 1,209.52 สุกรมีชีวิต (ล้านตัว) 13.07 12.82 ไข่ไก่ (ล้านฟอง) 11,148.50 11,717.71 น้ำนมดิบ 1.10 1.07

การเปลี่ยนแปลง (ร้อยละ) 0.65 -6.31 0.47 5.01 4.64 7.70 9.63 -1.90 5.11 -2.54

หน่วย : ล้านตัน

ไตรมาส (ก.ค.-ก.ย.) การเปลี่ยนแปลง 2556 2557* (ร้อยละ) 2.33 2.11 -9.26 1.94 1.29 -33.49 2.87 3.13 9.04 2.00 1.73 -13.72 1.21 1.29 7.03 3.21 3.08 -4.07 274.95 302.50 10.02 3.30 3.27 -0.89 2,828.37 2,983.33 5.48 0.26 0.25 -2.17

ที่มา : ศูนย์สารสนเทศการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร  หมายเหตุ : *ข้อมูลพยากรณ์ ณ เดือนกันยายน 2557


ตารางที่ 4 ราคาที่เกษตรกรขายได้ของสินค้าเกษตรที่สำคัญ สินค้า ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% (บาท/ตัน) ข้าวนาปีหอมมะลิ (บาท/ตัน) หัวมันสำปะหลังสดคละ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ความชื้น 14.5% ผลปาล์มน้ำมันทั้งทะลายมีน้ำหนัก >15 กก. ไก่รุ่นพันธุ์เนื้อ สุกร น้ำหนัก 100 กก. ขึ้นไป ไข่ไก่สดคละ (บาท/ร้อยฟอง) น้ำนมดิบ กุ้งขาวแวนนาไม ขนาด 70 ตัว/กก.

2556 2557 ทั้งปี ก.ค.-ก.ย. ก.ค.-ก.ย. 8,763 9,142 8,095 14,859 15,742 14,060 2.10 2.14 1.94 7.19 7.19 7.20 3.54 3.50 4.11 43.25 43.87 43.09 65.35 68.56 78.26 306 324 312 16.92 17.04 17.10 197 203 212

หน่วย : บาท/กก.

การเปลี่ยนแปลง (ร้อยละ) -11.45 -10.68 -9.35 0.14 17.43 -1.78 14.15 -3.70 0.35 4.43

ที่มา : ศูนย์สารสนเทศการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

%∆ 5.77 20.45 21.31 -99.93 -17.72 -52.57 15.33 26.08 0.44 0.09 -6.85

ที่มา : ศูนย์สารสนเทศการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร หมายเหตุ : สินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์ หมายถึง สินค้าในพิกัดศุลกากร ตอนที่ 1-24, 35.05.10, 35.05.20, 40.01, 40.05, 44.03, 50.01-50.03, 52.01

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 159 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2557

ตารางที่ 5 ปริมาณและมูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรที่สำคัญ ปริมาณ (พันตัน) มูลค่า (ล้านบาท) สินค้า 2556 2557 2556 2557 %∆ ทั้งปี ก.ค.-ส.ค. ก.ค.-ส.ค. ทั้งปี ก.ค.-ส.ค. ก.ค.-ส.ค. สินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์ - 1,268,217.20 206,384.56 218,285.65 ข้าวรวม (ล้านตัน) 6.61 1.20 1.92 60.12 133,839.71 24,474.57 29,480.18 มันสำปะหลังและผลิตภัณฑ์ 8.29 1.34 1.67 24.45 75,469.89 12,687.77 15,391.21 (ล้านตัน) ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 561.14 20.17 0.03 -99.87 4,138.91 180.29 0.12 ยางพารา (ล้านตัน) 4.25 0.66 0.65 -1.68 315,159.16 44,020.55 36,220.97 น้ำมันปาล์ม (ล้านตัน) 0.73 0.15 0.06 -61.11 17,646.02 3,589.15 1,702.29 เนื้อไก่และผลิตภัณฑ์ 504.41 84.15 97.61 16.00 66,799.69 11,204.34 12,922.01 เนื้อสุกรและผลิตภัณฑ์ 17.11 2.11 3.62 72.00 2,726.79 411.57 518.92 นมและผลิตภัณฑ์ 168.50 31.24 31.98 2.36 7,381.47 1,319.55 1,325.41 ปลาและผลิตภัณฑ์ 1,114.82 176.42 189.43 7.37 122,481.35 19,891.41 19,909.41 กุ้งและผลิตภัณฑ์ 213.04 34.65 28.80 -16.89 69,348.76 11,850.99 11,039.54

15


Thailand Focus

สรุปการเสวนาระดมความคิดเห็น

“เดินหน้ายกระดับมาตรฐานการผลิตข้าวไทย โอกาสอุตสาหกรรมเกษตรไทย สู่ตลาดโลกอย่างยั่งยืน”

วันจันทร์ที่ 2 ธันวาคม 2557 เวลา 09.00-16.30 น. ณ ห้องประชุม Boardroom 4 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

ความเป็นมา

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 159 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2557

16

สถาบั น ระหว่ า ง ประเทศเพื่อการค้าและ พัฒนา (องค์การมหาชน) : ITD ร่วมกับ โดยคณะอนุกรรมการด้านความยั่งยืนอาหาร ภายใต้คณะกรรมการธุรกิจเกษตร และอาหาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย จัดงานเสวนาระดมความคิดเห็น “เดินหน้ายกระดับ มาตรฐานการผลิตข้าวไทย โอกาสอุตสาหกรรมเกษตรไทยสู่ตลาดโลกอย่างยั่งยืน” เพื่อ สร้างความเข้าใจ และส่งเสริมให้ผู้ผลิตข้าวของไทยได้เข้าใจถึงประโยชน์ของการใช้มาตรฐาน การผลิตสินค้าเกษตรข้าว (Thai Rice Sustainability: TRiS) อันจะส่งผลดีต่อคุณภาพชีวิตของ เกษตกรผู้ปลูกข้าว เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของสินค้าเกษตรไทย รวมทั้งให้สินค้า ข้าวของไทยสามารถครองความยั่งยืนในเวทีการค้าระหว่างประเทศ รวมทั้งป้องกันการกีดกัน ทางการค้าที่มิใช่ภาษี (Non-Tariff Measures: NTM) ที่อาจถูกกำหนดขึ้นในอนาคตโดยประเทศ ผู้นำเข้าด้วย โดยการเสวนาในครั้งนี้ได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ และเอกชน เข้าร่วม แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นกว่า 50 ท่าน โดยในงานได้แบ่งออกเป็น 2 ช่วง ในช่วงแรกจะเป็น การบรรยายพิเศษ 4 หัวข้อ เกี่ยวกับบทบาทของ ITD กับการค้า และการพัฒนาที่ยั่งยืน, การ ส่งเสริม และการรับรองให้เกษตรกรได้มาตรฐาน GAP, การใช้แมลงศัตรูธรรมชาติเพื่อกำจัด แมลงศัตรูพืช และลดการใช้สารเคมี, โครงการส่งเสริมการปลูกข้าวหอมมะลิปี 2557 และ ในช่วงที่สอง จะเป็นการนำเสนอหลักเกณฑ์ TRiS เพื่อการผลิตข้าวยั่งยืน โดยมีวิทยากร ผู้ทรงคุณวุฒิร่วมเสวนาให้ข้อคิดเห็น


“บทบาท ITD กับการค้าและการพัฒนาอย่างยั่งยืน”

ITD เป็นองค์กรที่มีหน้าที่เป็นศูนย์กลาง ในการให้บริการด้านฝึกอบรม สนับสนุนงานวิจยั และงานวิชาการ ด้านการค้าระหว่างประเทศ การเงิน การคลัง การลงทุน การพัฒนา ให้ แก่บุคลากรในภูมิภาค และอนุภูมิภาค รวม ทั้งมีส่วนช่วยในการสร้างศักยภาพ และความ สามารถในการกำหนดนโยบายด้านเศรษฐกิจ และมาตรการทางกฎหมายที่เหมาะสม รวมถึง ความร่ ว มมื อ กั บ UNCTAD และองค์ ก รที่ เกี่ยวข้อง พัฒนาองค์ความรู้ ถ่ายทอดให้แก่ ประเทศต่างๆ ในอนุภูมิภาค ซึ่งที่ผ่านมา ITD ได้ ด ำเนิ น การสั ม มนาเผยแพร่ ค วามรู้ และ ผลงานวิจัยในหลายเรื่อง อาทิ ภาษีคาร์บอน เครื่ อ งมื อ ลดโลกร้ อ น มาตรการตรวจสอบ ย้อนกลับอาหาร และฉากร่องรอยคาร์บอนของ สหภาพยุโรป การลงทุนด้านเกษตรไร่ สปป.ลาว ความมั่นคงทางอาหาร และพลังงานของไทย เป็นต้น โดยเฉพาะผลงานวิ จั ย เกี่ ย วกั บ กรณี สินค้าเกษตรอินทรีย์ ซึ่งพบว่าปี 2555 ภาค เกษตรมีการจ้างงานมากถึง 45% ของแรงงาน ทัง้ ประเทศ ในขณะทีม่ มี ลู ค่าทางเศรษฐกิจเพียง 8.4% มูลค่าการส่งออกคิดเป็น 20% ของ การส่งออกทั้งหมด มีมูลค่าการนำเข้าปุ๋ยเคมี

8 หมื่นล้านบาท สารเคมี 1.9 หมื่นล้านบาท ราคาปุย๋ มีแนวโน้มสูงขึน้ ถึง 16,000 บาท/ตัน ทำให้เกิดปัญหาเกษตกรมีหนี้สินเพิ่มขึ้น มีการ ใช้สารเคมีมากขึน้ เป็นสาเหตุของการป่วยจาก การประกอบอาชีพในลำดับที่ 5 จาก 152 สาเหตุ ทรัพยากรดินเสื่อมคุณภาพ ผลผลิต ลดลง ไปจนถึงผู้บริโภคได้รับสารพิษตกค้าง แต่กพ็ บว่า จุดแข็งของประเทศไทยคือ ประเทศ ไทยมีความรูด้ า้ นเกษตรอินทรียม์ าช้านาน ข้าว ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญของไทย โดยเฉพาะ ข้าวอินทรีย์สามารถขายได้ในราคาที่สูง ทั้งนี้ องค์กรต่างๆ ก็ได้เข้ามามีสว่ นช่วย อาทิ กรรมการกำกับนโยบายข้าวแห่งชาติ กรมการข้าว กรมวิชาการเกษตร กระทรวงพาณิชย์ รวม ไปจนถึงหน่วยงานที่รับรองมาตรฐานเกษตร อินทรีย์ โดยมี มกอช. เป็น AB และ มกท. เป็น CB อย่างไรก็ตาม แม้จะทราบดีแล้วว่า การใช้ ร ะบบเกษตรอิ น ทรี ย์ จ ะช่ ว ยแก้ ปั ญ หา ต่างๆ ได้ในระดับหนึ่ง แต่ก็ยังคงขาดปัจจัย หลายๆ อย่างที่จะช่วยหนุนให้เกษตรอินทรีย์ สามารถเดินหน้าไปได้อย่างสมบูรณ์ ทาง ITD จึงมีบทบาททีจ่ ะเข้ามาช่วยเหลืออบรมให้ความ รู้ และส่งเสริมด้านต่างๆ อีกทางหนึ่งด้วย

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 159 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2557

โดย คุณรุโณทัย มหัทธนานนท์ รองผู้อำนวยการบริหาร รักษาการแทนผู้อำนวยการสถาบันระหว่างประเทศ เพื่อการค้าและพัฒนา (องค์การมหาชน)

17


“การส่งเสริม และการรับรองให้เกษตรกรได้มาตรฐาน GAP” โดย คุณกฤษณพงศ์ ศรีพงษ์พันธุ์กุล ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าว กรมการข้าว GAP = Good Agricultural Practices (การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี) GAP ข้าว ก็คือ การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับข้าว วัตถุประสงค์การผลิตข้าวตามมาตรฐาน GAP คือ การ ผลิตข้าวที่ปลอดภัยจากสารพิษตกค้าง ผลิตข้าวตรงตามพันธุ์ โดยแบ่งเป็น • ข้าวหอมมะลิ พันธุป์ นไม่เกิน 2% คุณภาพการสีได้ตน้ ข้าว/ข้าวเต็มเมล็ดไม่นอ้ ยกว่า 36% • ข้าวทั่วไป พันธุ์ปนไม่เกิน 5% คุณภาพการสีได้ต้นข้าว/ข้าวเต็มเมล็ดไม่น้อยกว่า 34% ปัจจุบนั ตามพระราชบัญญัตมิ าตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 2551 ได้ระบุให้มมี าตรฐาน 2 ส่วน คือ มาตรฐานบังคับ : มาตรฐานทีม่ กี ฎกระทรวงให้สนิ ค้าเกษตรต้องเป็นไปตามมาตรฐาน มีเพียง พืชตัวเดียวคือถัว่ ลิสงซึง่ ควบคุมการเกิดอะฟลาทอกซิน และมาตรฐานทัว่ ไป (สมัครใจ) : มาตรฐาน ที่มีประกาศกำหนดเพื่อส่งเสริมสินค้าเกษตรให้ได้มาตรฐาน เช่น ข้าว เป็นต้น

หลักปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับข้าว (GAP ข้าว)

1. แหล่งน้ำ : มีสภาพแวดล้อมที่ไม่ก่อให้เกิดการปนเปื้อนวัตถุอันตราย 2. พื้นที่ปลูก : ต้องไม่มีวัตถุอันตรายที่ทำให้เกิดการตกค้างหรือปนเปื้อนในข้าว 3. การใช้วัตถุอันตราย : ห้ามใช้สารเคมีต้องห้ามตามประกาศของกรมวิชาการเกษตร, การใช้ และเก็บรักษาต้องป้องกันการเกิดอันตรายต่อผู้ใช้ และผู้อื่น

แนวความคิดในการดำเนินงานตามระดับคุณภาพข้าวไทย

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 159 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2557

18

ที่มา : มกอช. ปรับปรุงโดย : กรมการข้าว


4. การจัดการคุณภาพข้าว : ป้องกันควบคุมดูแลรักษา และกำจัดศัตรูพืช เพื่อให้ได้ผลผลิต ที่มีคุณภาพ 5. การเก็บเกี่ยวข้าว : เก็บเกี่ยวในระยะเวลาที่เหมาะสม ต้องลดความชื้นให้ไม่เกิน 15% 6. การขนย้าย การเก็บรักษา และการรวบรวมผลผลิต : สถานที่ อุปกรณ์ และพาหนะต้อง สะอาด ป้องกันการปนเปื้อน และไม่มีผลต่อคุณภาพผลผลิต 7. การบันทึกข้อมูล : ต้องมีการจดบันทึกข้อมูลการปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ และครบถ้วน

การส่งเสริมการผลิต และการตรวจรับรองข้าวตามมาตรฐาน GAP ของกรมการข้าว 1. ส่งเสริมให้เกษตรกรผลิตข้าวตามระบบ GAP แบบกลุ่ม และแบบเดี่ยว 2. ส่งเสริม/พัฒนาโรงสี GMP 3. เชื่อมโยงการผลิตข้าว GAP กับโรงสีข้าว GMP

การส่งเสริมการผลิตข้าว GAP/โรงสี GMP รายการ 1. แปลงรายเดี่ยว 2. ระบบกลุ่ม 3. โรงสีข้าว

ปี 2557 53,000 แปลง 120 กลุ่ม 26 โรง

ปี 2558 50,000 แปลง 140 กลุ่ม 20 โรง

การผลิตข้าวสารคุณภาพมาตรฐาน

ขั้นตอน

เกษตรกร กลุ่มเกษตรกร เข้าร่วมโครงการ

การผลิตข้าว ด้วยระบบ มาตรฐาน GAP

ผลผลิต ข้าวเปลือก คุณภาพ มาตรฐาน GAP

โรงสีที่มีระบบ การแปรสภาพ ข้าวเปลือกที่ ได้ มาตรฐาน GMP

ข้าวสาร Q-mark

พัฒนาและถ่ายทอด ความรู้เกษตรกรเป้าหมาย - ระบบการผลิตข้าว GAP - การรวมกลุ่มและระบบ ควบคุมภายในของกลุ่ม

ตรวจสอบและรับรองระบบ การผลิตข้าว GAP - รับรองแบบรายเดี่ยว - รับรองแบบรายกลุ่ม

พัฒนาและถ่ายทอดความรู้ โรงสีสหกรณ์การเกษตร - ระบบจัดการ GMP - การบริหารเงินทุนหมุนเวียน

พัฒนาและส่งเสริมการตลาด - ส่งเสริมการตลาด - จ้างนักการตลาดมืออาชีพ - ส่งเสริมการสร้าง Brand ข้าวสาร Q

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 159 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2557

การดำเนินงาน

19


แมลงปลายฤดู ก็ ต้ อ งใช้ ส ารเคมี แ ตกต่ า งกั น เพราะแมลงที่อยู่ปลายฤดูจะมีภูมิต้านทาน ทำ ให้ทนกว่า

“การใช้แมลงศัตรูธรรมชาติเพื่อกำจัด แมลงศัตรูพืช และลดการใช้สารเคมี” โดย คุณอารีย์พันธ์ อุปนิสากร กรมส่งเสริมการเกษตร ประเทศไทยอยู่ในเขตร้อนชื้น เหมาะสม กับการปลูกพืชเป็นอย่างมาก แต่ในขณะเดียว กันก็เหมาะแก่การมีอยูข่ องศัตรูพชื เช่นกัน จาก ประสบการณ์ทำงานที่ผ่านมา ตั้งแต่ปี 2525 เพลีย้ กระโดดสีนำ้ ตาลระบาดจนปัจจุบนั ยังต้อง มีการแก้ไขปัญหานี้อยู่เสมอ เนื่องจากศัตรูพืช มีการพัฒนาต้านสารเคมีมาโดยตลอด และ อี ก เหตุ ก ารณ์ ส ำคั ญ ที่ เ กิ ด ขึ้ น คื อ ปี 2550 เกิ ด การระบาดของเพลี้ ย แป้ ง สี ช มพู ทำให้ มันสำปะหลังเสียหาย 10 ล้านไร่ มีการแก้ไข จนสำเร็จผลในระยะเวลา 3 ปี โดยใช้แตนเบียน แมลงกำจัดศัตรูพืช ในส่วนของข้าวปัจจุบัน เกษตรกรใช้การหว่านน้ำตม เอื้อให้ศัตรูพืช ระบาดได้ง่ายกว่าการปักดำในอดีต ประเทศ ไทยนำเข้าสารเคมีมาใช้กว่า 80 ปีแล้ว ก็ยัง พบว่ามีการระบาดของศัตรูพืชอยู่เสมอ

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 159 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2557

20

ตามลักษณะธรรมชาติ แมลงเป็นสัตว์ มีกระดูก มีช่วงชีวิต 4 ระยะคือ ไข่-ตัวอ่อนดักแด้-ตัวเต็มวัย ซึ่งจะต้องใช้วิธีปราบที่แตก ต่างกัน และพบว่าระยะตัวอ่อนถือเป็นระยะที่ กำจัดได้งา่ ยทีส่ ดุ ฉะนัน้ จะพบว่าการใช้สารเคมี ในหนึง่ ครัง้ จะทำให้ศตั รูพชื ทีอ่ ยูใ่ นระยะตัวอ่อน ตาย แต่ระยะอื่นยังคงอยู่ แมลงต้นฤดู และ

ฉะนั้นการกำจัดศัตรูพืชที่เหมาะสมคือ การใช้วิธีผสมผสาน ลดการใช้สารเคมีลง และ ปล่อยให้สิ่งมีชีวิตอื่นทำลายกันเอง สารเคมี คือสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ระบบวัฏจักรของธรรมชาติเสีย เนื่องจากทำให้แมลงที่กำจัดศัตรูพืช บางชนิดตายไปด้วย ยกตัวอย่าง เพลีย้ สีนำ้ ตาล จะอาศัยอยูก่ ลางลำต้นข้าวช่วงทีเ่ หนือน้ำขึน้ มา ส่วนพวกตัวแตนเบียน ห้ำมวน ที่เป็นแมลง กำจัดศัตรูพืชจะอาศัยอยู่บนยอดใบ เมื่อฉีด สารเคมีลงไปจะกระทบกับแมลงเหล่านี้ก่อน กลับทำให้เพลี้ยสีน้ำตาลอยู่รอดได้ ปัจจุบันมี กรมส่งเสริมการเกษตรได้มีการให้ความรู้กับ เกษตรกรในเรื่องของการใช้แมลงศัตรูธรรมชาติเพื่อกำจัดแมลงศัตรูพืช และได้มีการสอน ให้เกษตรกรเพาะเลี้ยงแมลงกำจัดศัตรูพืช และ ปล่อยในพื้นที่เพาะปลูก และติดตามดูแลด้วย

โครงการส่งเสริม การปลูกข้าวหอมมะลิ ปี 2557

โดย คุณสุเมธ เหล่าโมราพร ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท ซี.พี. อินเตอร์เทรด จำกัด ปัจจุบันประเทศไทยมีข้าวหอมมะลิเป็น ผลิตภัณฑ์ชโู รง พันธุข์ าวดอกมะลิ 105 ค้นพบ มากกว่ า 60 ปี แต่ มี ผู้ วิ จั ย พั ฒ นาต่ อ น้ อ ย มาก ประเทศไทยยั ง ขาดการบู ร ณาการทั้ ง


ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ภาค อีสานซึ่งถือว่าเป็นกำแพงสำคัญของประเทศ กลั บ มี ค วามเป็ น อยู่ ย ากไร้ ทางบริ ษั ท ได้ ท ำ โครงการปลูกข้าวหอมมะลิ 105 ที่ทุ่งกุลาร้องไห้ โดยแรกเริ่มต้องการสนับสนุนปัจจัย การผลิตแก่เกษตรกรในการปลูก จนปัจจุบัน โครงการส่งเสริมปลูกข้าวหอมมะลิ ปี 25572558 มีการสนับสนุนพื้นที่ปลูกรวม 8,696 ไร่ ในอำเภอราษีไศล และเลิงนกทา โดยมี เกษตรกรเข้าร่วมโครงการ 444 ราย ทีส่ ำคัญ ในการทำโครงการดังกล่าวจะต้องได้รับการ ส่งเสริมจากภาครัฐ กรมการข้าว กระทรวง มหาดไทย จะต้องเข้ามามีส่วนร่วม

“หลักการ และเกณฑ์ TRiS เพื่อการผลิตข้าวที่ยั่งยืน” โดย ดร.สมบัติ ธีระตระกูลชัย ประธานอนุกรรมการด้านความยั่งยืนอาหาร และรองประธานคณะกรรมการธุรกิจเกษตรอาหาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ข้าวเป็นพืชเศรษฐกิจทีส่ ำคัญของประเทศ ไทย ทั้งใช้บริโภคในประเทศ และส่งออกไป ต่างประเทศ โดยไทยเป็นประเทศที่ส่งออก ข้าวอันดับ 1 ของโลก ประมาณ 10-11 ล้ า นตั น คิ ด เป็ น 33% ของตลาดโลก คนไทยเองบริโภคข้าวเฉลีย่ กว่า 100 กิโลกรัม/ คน/ปี จากข้ อ มู ล จะพบว่ า ในอี ก 30 ปี ประชากรโลกจะเพิ่มขึ้นจาก 7,000 ล้านคน เป็น 9,000 ล้านคน แต่พนื้ ทีเ่ กษตรกรรมของ โลกมีจำกัด ทำให้เกิดการทำลายสิ่งแวดล้อม ขึ้ น อย่ า งมหาศาล ยกตั ว อย่ า งการทำลาย ป่ามากมายเพื่อปลูกปาล์มน้ำมันเพื่อทำน้ำมัน ปาล์ ม และไบโอดี เ ซลเป็ น พลั ง งานทดแทน จนทำให้หลายๆ ประเทศมีการตระหนักในเรือ่ ง รั ก ษาสิ่ ง แวดล้ อ ม และเป็ น ที่ ม าของระบบ มาตรฐานยัง่ ยืนของปาล์มน้ำมัน (Roundtable Sustainable Palm Oil: RSPO) คณะอนุ ก รรมการด้ า นความยั่ ง ยื น อาหาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ได้ ริเริ่มจัดทำหลักการและเกณฑ์สำหรับมาตรฐานการผลิ ต สิ น ค้ า เกษตร โดยคั ด เลื อ กให้

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 159 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2557

ระบบร่วมกัน การแข่งขันในเวทีโลกมีเพียง บริษัทใหญ่เท่านั้นที่สามารถต่อสู้ได้ ในขณะที่ ผู้ประกอบการ SMEs แข่งขันได้ยาก อยาก ให้ ม องในต่ า งประเทศ ยกตั ว อย่ า งรั ฐ บาล ของประเทศญี่ปุ่นมีการวางนโยบายปลูกข้าว เพื่ อ ใช้ บ ริ โ ภคภายในประเทศ แม้ จ ะต้ อ ง บริโภคข้าวราคาแพง แต่ถือว่าเป็นการปกป้อง อุ ต สาหกรรมข้ า วภายในประเทศ อี ก ทั้ ง โรงเรียนทุกแห่งในญี่ปุ่นได้มีกิจกรรมให้เด็ก นักเรียนชั้นประถม 1 เข้าไปดูงานโรงสีข้าว เพื่อปลูกจิตสำนึกให้เห็นความสำคัญของข้าว และให้มองว่าข้าวนั้นเปรียบเสมือนชีวิต แต่ ประเทศไทยยังคงขาดในจุดนี้

21


ข้าวเป็นสินค้านำร่อง และนำระบบหลักการ และเกณฑ์ความยัง่ ยืนของปาล์มน้ำมัน (Roundtable Sustainable Palm Oil: RSPO) มา เป็นตัวอย่างในการจัดทำ จนกระทั่งได้ร่าง “หลักการและเกณฑ์” สำหรับข้าว (Thai Rice Sustainability: TRiS) ขึ้ น เรี ย บร้ อ ยแล้ ว โดยตัวหลักเกณฑ์ TRiS จะประกอบด้วย 7 หลักการดังนี้

4. ปฏิ บั ติ ต ามมาตรฐานการผลิ ต ข้ า ว ที่ดีของภาครัฐ ปฏิบัติอย่างเคร่งครัดด้านการ ปลูกข้าวตามหลักการและเกณฑ์ 4.1 GAP (และด้านโรงสีข้าวตามหลักเกณฑ์ 4.2 GMP เมื่อโรงสีมีความพร้อม)

1. มีความรับผิดชอบและโปร่งใส

5.1 มี แ นวทางปฏิ บั ติ ที่ ไ ม่ ส่ ง ผล กระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ คือ คน (ปลอดภัยจากสารเคมี) สัตว์/แมลง (อุดมสมบูรณ์ ขึ้น) ดิน (คุณภาพดี) น้ำ (วอเตอร์ฟุตพริ้นท์) และอากาศ (คาร์บอนฟุตพริ้นท์)

1.1 มีข้อมูลเอกสารด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ สังคม และประเด็นทางกฎหมายที่ เกี่ยวข้อง 1.2 มีผู้รับผิดชอบการดำเนินงานใน ทุกกลุ่มชาวนาที่เกี่ยวข้องอย่างชัดเจน 2. ปฏิบตั ติ ามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ที่เกี่ยวข้อง 2.1 มี ก ารฝึ ก อบรมการปฏิ บั ติ ต าม กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และบันทึกหลักฐาน และมีบนั ทึกการละเมิด พร้อมบทลงโทษทุกครัง้ พร้อมแสดงต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 3. สร้างความยั่งยืนให้กับอาชีพชาวนา ด้ ว ยระบบเศรษฐกิ จ พอเพี ย ง ทำให้ ช าวนา มีรายได้สูงขึ้น และมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เพื่อสร้างแรงจูงใจให้ชาวนารุ่นใหม่

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 159 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2557

22

3.1 มีแผนการฏิบตั ิ และเป้าประสงค์ 1-3 ปี ส่งเสริมให้เกิดการลดต้นทุน และเพิ่ม ผลผลิ ต ต่ อ ไร่ อ ย่ า งเป็ น ระบบ และต่ อ เนื่ อ ง เพือ่ สร้างความมัน่ คงให้กบั ชาวนา รวมทัง้ สร้าง แรงจูงใจให้ชาวนารุ่นใหม่

5. ความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม และ อนุรักษ์ธรรมชาติ รวมทั้งความหลากหลาย ทางชีวภาพ

6. มีความรับผิดชอบต่อลูกจ้าง บุคคล และชุมชน 6.1 มีแนวทางปฏิบัติที่ส่งเสริมความ เสมอภาคด้านเพศ อายุ เชือ้ ชาติ ศาสนา ไม่ใช้ แรงงานเด็ก และแรงงานทาส ปกป้องการ เจริญพันธุ์ของสตรี 7. ความรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ และ ปรับปรุงผลลัพธ์อย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างความ ยั่งยืน 7.1 ผู้จัดการโครงการมีระบบบันทึก ข้อมูลเกษตรกรทุกรายในโครงการเพื่อศึกษา วิเคราะห์ความสำเร็จ และการแก้ไขปัญหาต่างๆ เพือ่ สร้างองค์ความรูส้ ำหรับการเรียนรูป้ รับปรุง การปลูกข้าวอย่างยั่งยืน


การเสวนา “ความเห็นต่อ TRiS และความร่วมมือจากภาครัฐ” คุณกฤษณพงศ์ ศรีพงษ์พันธุ์กุล ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าว การดำเนินการมาตรฐานยัง่ ยืน ต้องมุง่ ไปสูค่ วามสุข ภาครัฐทำงานในแนวดิง่ ส่วนภาคเอกชน และประชาชนทำงานในแนวราบ ฉะนั้นทุกภาคส่วนจะต้องมีส่วนร่วม ภาครัฐต้องเป็นตัวนำ ในการขับเคลื่อนโดยมีประชาชนเป็นผู้ตรวจสอบ ต้องรวมกันสร้างกฎเกณฑ์เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ ร่วมกัน การกำหนดนโยบายจะต้องได้รับการยอมรับจากทุกภาคส่วน และต้องมีความต่อเนื่อง ไม่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยของการเมือง การสร้างความเข้าใจให้กับเกษตรกรว่าหากทำตาม มาตรฐาน GAP แล้วจะได้อะไร และที่สำคัญ มาตรฐานดังกล่าว เกษตรกรต้องเข้าถึง และ ปฏิบัติได้จริง

ยุคนี้คือยุคที่ตลาดเป็นตัวชี้นำ การเกิดมาตรฐาน RSPO แสดงให้เห็นแล้วว่า ภาคธุรกิจ จะต้องตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ที่จริงข้าวมีปัญหาไม่มากนัก มีปัญหาเพียง ส่วนหนึง่ ในเรือ่ งของคุณภาพผลผลิตทีเ่ ป็นพืน้ ทีน่ าปรัง ส่วนของข้าวหอมมะลิ มีปญ ั หาคือการผลิต ไม่เพียงพอต่อความต้องการ การสร้างมาตรฐาน TRiS ถือว่าเป็นสิ่งที่ดี แต่ขอให้ข้อสังเกตว่า การสร้างมาตรฐานขึ้นมาใหม่จะต้องไม่ขัดกับมาตรฐานเดิม และที่สำคัญจะต้องมีตลาดรองรับ สำหรับข้าวทีผ่ า่ นมาตรฐานนี้ ศูนย์วจิ ยั ข้าวอุบลราชธานี ได้มกี ารศึกษาความหอมของข้าวหอมมะลิ พบว่า ความหอมของข้าวหอมมะลิเมือ่ ถึงมือโรงสีลดลงเกือบครึง่ จึงมองว่าโรงสี และกระบวนการ เก็บข้าวจะต้องได้รับการพัฒนาด้วย สำหรับกระบวนการขับเคลื่อน ควรมีกลุ่มเกษตรกร หรือ สหกรณ์เป็นตัวนำ ภาครัฐควรมีหน้าที่ประสานกำกับดูแล และให้คำแนะนำ ต้องสร้างความ เป็นธรรม แบ่งผลประโยชน์ทางตลาดให้อย่างเหมาะสมทั่วถึง และควรกำหนดให้ชัดเจนว่า มาตรฐานจะเดินไปในระดับไหนที่เหมาะสม และไม่กระทบกับคนส่วนมาก

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 159 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2557

คุณคณิต ลิขิตวิทยาวุฒิ รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

23


คุณพิศาล พงศาพิชณ์ รองเลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ มาตรฐาน คือสิ่งที่จะทำให้เกิดประโยชน์ หากแต่จะปฏิบัติอย่างไรให้เกิดประโยชน์นั้นคือ สิ่งที่ต้องให้ความสำคัญ ประโยชน์ทางตรงของมาตรฐานคือ การลดต้นทุนการผลิต และ มีผลผลิตเพิ่มมากขึ้น ประโยชน์ทางอ้อมคือ การที่ตลาดให้ราคาผลผลิตที่สูงขึ้น ซึ่งส่วนมาก มักจะเกิดความเข้าใจผิด และมองถึงการที่ตลาดให้ราคาเพิ่มเป็นผลประโยชน์หลัก ความชัดเจน ของการขับเคลื่อนมาตรฐานก็เป็นสิ่งสำคัญ ทำอย่างไรจะให้มาตรฐานที่สร้างขึ้นมามีความยั่งยืน ต้องมีความชัดเจนว่ามาตรฐานตัวนี้จะเป็นมาตรฐานที่จะไปถึงขั้นมีการรับรองด้วยหรือไม่ การทำนาของไทยนั้น ไม่ได้ทำลายสิ่งแวดล้อม แต่การมีมาตรฐาน TRiS ขึ้นมาคือ การ มาช่วยทำให้ทำนาไปแล้วสิ่งแวดล้อมดีขึ้น ทางหน่วยงาน มกอช. ยินดีที่จะร่วมมือ และให้การ สนับสนุนมาตรฐานดังกล่าวอย่างเต็มที่

ดร.ชวนพิศ อรุณรังสิกุล นักวิจัยเชี่ยวชาญ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ร่วมกับ สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย ทำวิจัยระบบ มาตรฐานผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ยั่งยืน ซึ่งจะมีความแตกต่างกับข้าว เนื่องจากข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปลูกในพื้นที่เขา จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีมาตรฐานเพื่อให้เกิดการยอมรับของตลาด การจะ ประยุกต์ใช้มาตรฐานนัน้ จะเป็นอย่างค่อยเป็นค่อยไป จะต้องมีการแบ่งระดับการใช้เพือ่ ให้สามารถ ใช้ปฏิบัติจริงได้ ในส่วนของมาตรฐานข้าวโพดเลี้ยงสัตว์นั้น เป็นมาตรฐานที่ครอบคลุมทั้ง ห่วงโซ่ธรุ กิจ และจะไปสิน้ สุดทีผ่ ผู้ ลิตอาหารสัตว์ โดยจะต้องถึงขัน้ พัฒนาให้มรี ะบบรับรองต่อไปด้วย ซึง่ คาดว่าจะเป็นหน่วยงานของเอกชนมารับรอง อย่างไรก็ตาม สำหรับมาตรฐานข้าวโพดเลีย้ งสัตว์ จะต้องใช้ระยะเวลาดำเนินการต่อไปอีกอย่างน้อย 3 ปี เพื่อทำโครงการนำร่อง และพัฒนา ต่อไป

สรุปโดย  นายอรรถพล ชินภูวดล  สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 159 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2557

24




• โดย คณะสำรวจสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย • ระหว่างวันที่ 17-21 พฤศจิกายน 2557 •

Thailand Focus

รายงานการสำรวจข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ครั้งที่ 4/2557 รายชื่อผู้เข้าร่วมสำรวจ

1. น.ส.ลาวัณย อนุวัฒนา 2. น.ส.ญาณี มีจ่าย 3. น.ส.ลัดดา แก้วกาหลง 4. น.ส.ชุลีพร ยิ่งยง 5. นายณัฐพล แซ่ตั้ง 6. นายศุภชัย วิเศษสุข 7. น.ส.กัณฑลี สระทองเทียน 8. น.ส.ขนิษฐา อะถานา 9. นายชูเกียรติ ตันตมณีรัตน์ 10. นายวัชรพงษ์ วัชรโกมลพันธ์ 11. นางนิภาพร โรจน์รุ่งเรืองกิจ 12. นายอรรถพล ชินภูวดล

บริษัท ยูไนเต็ดฟีดมิลล์ จำกัด บริษัท ยูไนเต็ดฟีดมิลล์ จำกัด บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารเซ็นทรัล จำกัด บริษัท พนัสโภคภัณฑ์ จำกัด บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) บริษัท ซันฟีด จำกัด บริษัท ซันฟีด จำกัด บริษัท กรุงเทพโปรดิ๊วส จำกัด (มหาชน) บริษัท กรุงไทยอาหาร จำกัด (มหาชน) บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

การเพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ฤดูกาลใหม่ ปี 2557/58 ในเขตพื้นที่ที่สำรวจพบว่า สภาพพืน้ ทีก่ ารเพาะปลูกลดลงในจังหวัดอุทยั ธานี-เชียงราย และเชียงใหม่ และพืน้ ทีเ่ พาะปลูก ทีเ่ พิม่ ขึน้ ในจังหวัดอุตรดิตถ์-แพร่-น่าน และพะเยา สำหรับจังหวัดลำปาง ในปีทผี่ า่ นมา คณะสำรวจ ไม่ได้เข้าพื้นที่สำรวจ อีกทั้งการติดต่อประสานงานกับทางเกษตรจังหวัดไม่สะดวก เนื่องจาก

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 159 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2557

การสำรวจข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ครั้งที่ 4/2557 ระหว่างวันที่ 17-21 พฤศจิกายน 2557 เป็นการออกสำรวจพื้นที่ในเขตจังหวัดภาคเหนือ โดยเริ่มต้นที่จังหวัดอุทัยธานี ไล่พื้นที่ต่อไปยัง อุตรดิตถ์-ลำปาง-แพร่-น่าน-พะเยา-เชียงราย-เชียงใหม่-ลำพูน โดยทางคณะสำรวจได้มีการ ประมวลข้อมูลจากทางสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร และเกษตรจังหวัด มาใช้ประกอบการสำรวจ และการเข้าพบพ่อค้าท้องถิ่น/ไซโล และเกษตรกรผู้ปลูก นำมาวิเคราะห์ร่วมกัน

25


ทางเจ้าหน้าที่เกษตรติดภาระกิจออกนอกพื้นที่ ซึ่งปัจจัยหลักที่ส่งผลให้พื้นที่มีการเพาะปลูก เพิม่ ขึน้ นัน้ ยังคงเป็นภาวะราคา โดยเฉพาะในช่วงทีเ่ ริม่ เพาะปลูกนัน้ เกษตรกรถือว่าภาวะราคา ช่วงนั้นอยู่ในระดับเกษตรกรพอใจจึงเป็นแรงจูงใจ ทางด้านจังหวัดที่พื้นที่ลดลงนั้น ส่วนหนึ่ง มาจากพื้นที่เดิมของมันสำปะหลังปีที่แล้วมีปัญหาในเรื่องภัยแล้ง เกิดโรคระบาดเพลี้ยแป้ง เกษตรกรจึงหันมาปรับเปลี่ยนพืชที่ปลูก และในปีนี้มันสำปะหลังมีราคาเสถียร อีกทั้งพื้นที่นา ที่ทางหน่วยงานภาครัฐ ออกมาแจ้งนโยบายขอให้งดการใช้น้ำมากทางการเกษตร เพื่อให้น้ำ มีเพียงพอเพือ่ การบริโภค จึงส่งผลให้มแี นวโน้มการปลูกข้าวโพดพืน้ ทีน่ าเพิม่ มากขึน้ เป็นพิเศษ “เปลี่ยนทุ่งนาเป็นทุ่งข้าวโพด” โดยทางสมาคมจะมีการออกสำรวจพื้นที่เพาะปลูกข้าวโพด หลังนาอีกครั้งหนึ่ง สภาพภูมิอากาศในช่วงต้นฤดูกาลเพาะปลูก หลายพื้นที่ประสบกับภาวะภัยแล้ง ฝนตก ล่าช้า ส่งผลให้การเพาะปลูกจึงต้องล่าช้าออกไปร่วมเดือนกว่า ถึงแม้วา่ ช่วงทีท่ ำการเพาะปลูก นั้น หลายพื้นที่ก็ประสบกับปัญหาภัยแล้ง แต่ในช่วงที่ข้าวโพดออกดอกหัวนั้น มีฝนตกลงมา อย่างสม่ำเสมอไม่ตกชุก ทำให้การกระจายตัวของน้ำฝนดี พอเหมาะกับความต้องการ ทำให้ ต้นข้าวโพดมีความสมบูรณ์ดี ประกอบกับเกษตรกรหันมาใช้เมล็ดพันธุท์ ไี่ ด้มกี ารปรับปรุงพันธุ์ ที่เหมาะสม คาดว่าผลผลิตต่อไร่โดยรวมมีแนวโน้มเพิ่ม สูงขึ้นกว่าปีที่ผ่านๆ มา ในช่วงที่ได้เดินทางสำรวจ ซึ่งเป็นช่วงที่เกษตรกรเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวเปลือกนาปี และ เก็บเกี่ยวถั่วเขียว จึงทำให้มีการชะลอการหักสีข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ทำให้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ชะลอออกสู่ตลาดลดน้อยลง คาดว่าประมาณการเก็บเกี่ยวผลผลิตไปแล้ว 50% ของพื้นที่ ในเขตภาคเหนือพื้นที่ราบเก็บเกี่ยวหลายจังหวัดเสร็จเรียบร้อยแล้ว พื้นที่ที่ยังไม่เก็บเกี่ยว ออกสู่ตลาดอีกประมาณ 50% ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ลาดชัน (บนเขา) เกษตรกรน่าจะ หันกลับมาหักสี ผลผลิตที่เหลือจะค่อยๆ ทยอยออกหลังจากการเก็บเกี่ยวข้าวเปลือกแล้วเสร็จ ในสิ้นเดือนพฤศจิกายน และคาดว่าจะกลับมาเก็บเกี่ยวผลผลิตช่วงต้นเดือนธันวาคม จนถึง มกราคม-กุมภาพันธ์ 2558 อนึง่ สภาพอืน่ ๆ ในภาพรวมพ่อค้าพืน้ ที/่ ไซโล คาดการณ์วา่ ผลผลิตไม่เพียงพอกับความ ต้องการของภาคปศุสัตว์ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จึงคาดว่าน่าจะเริ่มเก็บผลผลิตเข้าสต๊อกเพื่อการ กักเกร็งกำไร ในขณะทีพ่ อ่ ค้าไซโลต่างถิน่ ก็ออกมาร่วมไล่ซอื้ ข้าวโพด ทำให้ราคารับซือ้ ข้าวโพด เลี้ยงสัตว์ เป็นที่พึงพอใจของเกษตรกรผู้ปลูก ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 159 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2557

26


ตารางสรุปผลผลิตการสำรวจในพื้นที่ พื้นที่เพาะปลูก (ไร่) ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ (กิโลกรัม) จังหวัด ปี 56/57 ปี 57/58 เพิ่ม/ลด ปี 56/57 ปี 57/58 เพิ่ม/ลด อุทัยธานี 120,733 108,659 -10.00% 720 756 5.00% อุตรดิตถ์ 146,888 176,265 20.00% 665 651 -2.00% แพร่ 263,173 302,649 15.00% 689 703 2.00% น่าน 784,167 799,850 2.00% 695 709 2.00% พะเยา 231,766 243,354 5.00% 714 714 0.00% เชียงราย 468,038 453,996 -3.00% 664 703 6.00% เชียงใหม่ 169,153 167,884 -0.75% 708 715 1.00% ลำพูน 105,011 105,011 0.00% 626 657 4.95% ลำปาง - 175,688 696 -

ผลผลิตรวม (ตัน) ปี 56/57 ปี 57/58 86,596 82,146 97,680 114,748 181,326 212,762 544,996 567,093 165,488 173,755 310,777 319,540 119,706 120,037 65,737 68,992 - 122,278

เพิ่ม/ลด -5.14% 17.47% 17.33% 4.05% 5.00% 2.80% 0.27% 4.95% -

จังหวัดอุตรดิตถ์ ฤดูการผลิต ปี 2556/2557 ปี 2557/2558 เพิ่ม/ลด (%)

พื้นที่เพาะปลูก (ไร่) 146,888 176,265 20.00

ผลผลิตต่อไร่ (กก.) 665 651 -2.00

ผลผลิตรวม (ตัน) 97,680 114,748 17.47

สภาพทั่วไป

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 159 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2557

จังหวัดอุตรดิตถ์ มีพื้นที่เพาะปลูก 176,265 ไร่ เพิ่มขึ้นจากปี ที่ผ่านมาประมาณ 20% ซึง่ พืน้ ทีท่ เี่ พิม่ ขึน้ มาจากราคาช่วงเก็บเกีย่ วปี ทีแ่ ล้วจูงใจให้เกษตรกรเพาะปลูก ด้านผลผลิตคาดว่า จะอยู่ที่ 651 กก./ไร่ ลดลงจากปีที่แล้วประมาณ 2% เนื่องจากภาวะแล้งในช่วงต้น มีน้ำท่วมใน บางพื้นที่แต่ไม่ส่งผลกระทบกับผลผลิต ปริมาณผลผลิตอยู่ที่ 114,748 ตัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 17.47%

27


จังหวัดอุทัยธานี

แหล่งข้อมูล : ร้าน ท.เจริญลานสัก และเกษตรกร ตำบลเขากวางทอง อำเภอหนองฉาง ฤดูการผลิต ปี 2556/2557 ปี 2557/2558 เพิ่ม/ลด (%)

พื้นที่เพาะปลูก (ไร่) 120,733 108,659 -10.00

ผลผลิตต่อไร่ (กก.) 720 756 -5.00

ผลผลิตรวม (ตัน) 86,596 82,146 -5.14

สภาพทั่วไป

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 159 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2557

28

จังหวัดอุทัยธานี มีพื้นที่เพาะปลูก 108,659 ไร่ ลดลงจากปีที่ผ่านมาประมาณ 10% ซึ่ ง พื้ น ที่ ที่ ล ดลง เนื่ อ งจากพื้ น ที่ เ พาะปลู ก ข้ า วโพดเลี้ ย งสั ต ว์ ที่ เ พิ่ ม ขึ้ น จากปี ที่ แ ล้ ว เนื่ อ งจากมี โครงการของภาครัฐนั้นได้กลับไปเป็นพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง และอ้อย อีกครั้ง โดยเฉพาะอ้อย เนื่องจากมีโรงงานน้ำตาลมาเปิดเพิ่ม 1 โรงงาน ด้านผลผลิตคาดว่าจะอยู่ที่ 756 กก./ไร่ เพิ่มสูงขึ้นจากปีที่แล้วประมาณ 5% แม้จะมีภาวะแล้งในช่วงต้น ทำให้เกษตรกรปลูกล่าช้าไปบ้าง แต่ในช่วงหลังจากที่เริ่มเพาะปลูกไปนั้น เข้ากับจังหวะที่มีฝนตกได้อย่างพอดิบพอดี ตรงกับความ ต้องการน้ำของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ทำให้ปริมาณผลผลิตอยู่ที่ 82,146 ตัน ลดลงจากปีที่แล้ว 5.14% โดยปกติผลผลิตจะออกในช่วงเดือนตุลาคมแต่ปนี อี้ อกในช่วงเดือนพฤศจิกายน ซึง่ เกิดจาก การที่ ฝ นมาล่ า ผลผลิ ต ออกสู่ ต ลาดแล้ ว กว่ า 50% คุ ณ ภาพผลผลิ ต ที่ เ ก็ บ เกี่ ย วมี คุ ณ ภาพดี เกษตรกรเก็บเกีย่ วตรงตามอายุปลูก ในปีนรี้ าคาข้าวไม่ดี ทำให้เขตพืน้ ทีน่ หี้ นั มาปลูกข้าวโพดหลังนา มากขึน้ โดยขณะสำรวจได้มกี ารเริม่ ปลูกแล้ว ทำให้ผลผลิตจะออกในช่วงต้นเดือนเมษายน ต้นทุน ของเกษตรกรอยู่ที่ประมาณ 4,065 บาท/ไร่ (รวมค่าเช่าที่รายปี) ราคารับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เมล็ดแห้งรับอยูท่ ี่ 6.67 บาท/กก. (ความชืน้ 30%) หลังจากปลูกข้าวโพดเลีย้ งสัตว์แล้วมีการปลูกพืช ตระกูลถั่ว เช่น ถั่วเขียวเป็นพืชหมุนเวียนต่อด้วย


จังหวัดลำปาง

แหล่งข้อมูล : ร้านจีพีรุ่งกิจเกษตร, ร้านญาณเดช กิจรุ่งเรือง และเกษตรกร อ.งาว สหกรณ์การเกษตรเพือ่ การตลาดลูกค้า ธ.ก.ส, ร้านนอร์ทเทอร์สยามซีดแลค อ.เมือง ฤดูการผลิต ปี 2556/2557 ปี 2557/2558 เพิ่ม/ลด (%)

พื้นที่เพาะปลูก (ไร่)

175,668 -

ผลผลิตต่อไร่ (กก.)

696 -

ผลผลิตรวม (ตัน)

122,278 -

จังหวัดลำปาง ในปีนี้มีพื้นที่เพาะปลูก 175,688 ไร่ ซึ่งข้อมูลจากเกษตรจังหวัดมองว่า พื้นที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้นเนื่องจากราคาจูงใจให้เพาะปลูก ประกอบกับนโยบายรัฐมีการควบคุมราคา ปัจจัยการผลิต ทำให้ต้นทุนการผลิตลดลง คาดว่าผลผลิตจะอยู่ที่ 696 กก./ไร่ เนื่องจาก สภาพภูมอิ ากาศทีแ่ ห้งแล้งในช่วงเดือนมิถนุ ายน ปริมาณผลผลิต 122,278 ตัน ผลผลิตไหลออกสู่ ตลาดแล้วประมาณ 60% ส่วนที่เหลืออีก 40% เป็นพื้นที่บนเขาน่าจะมีการชะลอออกสู่ตลาด เนือ่ งจากเกษตรกรจะเก็บเกีย่ วผลผลิตหลังจากเก็บเกีย่ วนาข้าวหมดในสิน้ เดือนพฤศจิกายน ผลผลิต น่าจะทยอยออกยาวไปจนถึงต้นปีหน้า คุณภาพข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในส่วนที่ออกก่อนหน้าถือว่า คุณภาพดี แต่ก็เริ่มมีผลผลิตบางส่วนโดยเฉพาะผลผลิตใน อ.งาว รุ่นที่เก็บเกี่ยวปัจจุบันเริ่มมี เมล็ดเสีย (ขึน้ รา) เนือ่ งจากผลผลิตโดนน้ำฝนก่อนเก็บเกีย่ ว ราคารับซือ้ ข้าวโพดเลีย้ งสัตว์เมล็ดแห้ง อยู่ที่ 6.20-6.40 บาท/กก. (ความชื้น 30%) สำหรับพื้นที่นา พบว่ามีการปลูกข้าวโพดแล้ว บางส่วน และมองว่าพืน้ ทีน่ าหลังเก็บเกีย่ วเกษตรกรจะปลูกข้าวโพดเพิม่ อีก เนือ่ งจากราคาข้าวตกต่ำ นอกจากนี้ยังมีพืชอื่น อาทิ กระเทียม และผักกาดดอง ที่เกษตรกรในพื้นที่นิยมปลูกอยู่บ้าง เล็กน้อย

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 159 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2557

สภาพทั่วไป

29


จังหวัดแพร่

แหล่งข้อมูล : ร้านเด่นชัยทรัพย์เกษตร อ.เด่นชัย, หจก.ชุน เฮงหลี อ.ร้องกวาง สำนักงานเกษตรจังหวัดแพร่ ฤดูการผลิต ปี 2556/2557 ปี 2557/2558 เพิ่ม/ลด (%)

พื้นที่เพาะปลูก (ไร่) 263,173 302,649 15.00

ผลผลิตต่อไร่ (กก.) 689 703 2.00

ผลผลิตรวม (ตัน) 181,326 212,762 17.33

สภาพทั่วไป

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 159 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2557

30

จังหวัดแพร่ มีพนื้ ทีเ่ พาะปลูก 302,649 ไร่ เพิม่ ขึน้ 15% เนือ่ งจากราคาข้าวตกต่ำ ราคา ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในช่วงปลายฤดูจูงใจให้เพาะปลูก เกษตรกรหันมาปลูกข้าวโพดบนพื้นที่นามาก ขึ้น สภาพอากาศในช่วงหลังปริมาณฝนตกกระจายตัวในปริมาณที่เหมาะสม อีกทั้งเมล็ดพันธุ์ มีการพัฒนาเกษตรกรในพื้นที่มีการเลือกใช้พันธุ์ที่เหมาะสม คาดว่าผลผลิตต่อไร่อยู่ที่ 703 กก./ไร่ เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วประมาณ 2% ทำให้ปริมาณผลผลิตอยู่ที่ 212,762 ตัน เพิ่มขึ้น จากปีที่แล้ว 17.33% การเก็บเกี่ยวผลผลิตออกสู่ตลาดมากกว่า 50% ซึ่งเป็นในส่วนของพื้นที่ ริมน้ำ และพืน้ ทีร่ าบ ยังเหลือพืน้ ทีบ่ นเขาบ้างเล็กน้อย คาดว่ารุน่ นีจ้ ะออกหมดในช่วงเดือนมกราคม ปีหน้า ต้นทุนของเกษตรกรอยู่ที่ประมาณ 5,000 บาท/ไร่ ส่วนราคารับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เมล็ดแห้ง 6.40 บาท/กก. (ความชื้น 30%) รัฐบาลโดยเกษตรจังหวัดมีการทำโครงการส่งเสริม เพิม่ ประสิทธิภาพและลดต้นทุนการผลิต (ข้าวโพดเลีย้ งสัตว์) และมีโครงการส่งเสริมการผลิตเมล็ด พันธุ์ข้าวโพดร่วมกับเอกชนบนพื้นที่นาจำนวน 15,500 ไร่


จังหวัดน่าน

แหล่งข้อมูล : ร้านชัยมิตรกิจเกษตร อ.เวียงสา, ข้อมูลจากเกษตรจังหวัดน่าน ฤดูการผลิต ปี 2556/2557 ปี 2557/2558 เพิ่ม/ลด (%)

พื้นที่เพาะปลูก (ไร่) 784,167 799,850 2.00

ผลผลิตต่อไร่ (กก.) 695 709 2.00

ผลผลิตรวม (ตัน) 554,996 567,093 4.05

จังหวัดน่าน มีพื้นที่เพาะปลูก 799,850ไร่ เพิ่มขึ้น 2% เนื่องจากราคาข้าวตกต่ำ เกษตรกรลดพื้นที่ปลูกข้าวไร่มาปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์แทน ประกอบกับราคาข้าวโพดที่จูงใจ ทำให้มีพื้นที่ปลูกข้าวโพดบนพื้นที่นามากขึ้น ด้วยสภาพอากาศฝนตกกระจายตัวในปริมาณที่ เหมาะสม มีการพัฒนาของเมล็ดพันธุ์ทำให้เกษตรกรในพื้นที่มีทางเลือก โดยส่วนใหญ่จะใช้พันธุ์ 339 ซึ่งจะให้ผลผลิตที่ดี คาดว่าผลผลิตต่อไร่อยู่ที่ 709 กก./ไร่ เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วประมาณ 2% ปริมาณผลผลิตอยู่ที่ 567,093 ตัน เพิ่มขึ้นจากปี ที่แล้ว 4.05% การเก็บเกี่ยวผลผลิต ออกสู่ตลาดยังมีปริมาณไม่มากนักประมาณ 30% เนื่องจากพื้นที่ผลิตกว่า 80% เป็นพื้นที่เขา สำหรับ อ.เวียงสา มีผลผลิตออกแล้วประมาณ 50% คาดว่าผลผลิตจะทยอยออกจนหมดในช่วง เดือนกุมภาพันธ์ปีหน้า ในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน (วันลอยกระทง) มีฝนตก ทำให้ผลผลิต เสียหายบ้างเล็กน้อย ราคารับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เมล็ดแห้ง 7.40 บาท/กก. (ความชื้น 20%) และ 8.30-8.50 บาท/กก. (ความชื้น14.5%)

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 159 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2557

สภาพทั่วไป

31


จังหวัดพะเยา

แหล่งข้อมูล : ร้านนงคานเชียงม่วนพืชผล เกษตรกร อ.เชียงม่วน ข้อมูลจากเกษตรจังหวัดพะเยา ฤดูการผลิต ปี 2556/2557 ปี 2557/2558 เพิ่ม/ลด (%)

พื้นที่เพาะปลูก (ไร่) 231,766 243,354 5.00

ผลผลิตต่อไร่ (กก.) 714 714 0.00

ผลผลิตรวม (ตัน) 165,488 173,755 5.00

สภาพทั่วไป

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 159 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2557

32

จังหวัดพะเยา มีพื้นที่เพาะปลูก 243,354ไร่ เพิ่มขึ้น 5% เนื่องจากราคาข้าวโพดเลี้ยง สัตว์จูงใจ ประกอบกับปีนี้กรมชลประทานประกาศปล่อยน้ำในพื้นที่นาเพื่อให้ใช้ปลูกข้าวโพดเลี้ยง สัตว์ ทำให้มีพื้นที่นาปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เพิ่มขึ้นแน่นอน สภาพอากาศมีฝนตกโปรยในปริมาณ ที่สม่ำเสมอ มีตกหนักในช่วงเดือนตุลาคม ทำให้มีพื้นที่เสียหายเล็กน้อย คาดว่าผลผลิตต่อไร่ อยู่ที่ 714 กก./ไร่ ทรงตัวแต่ในด้านคุณภาพผลผลิตถือว่าดีกว่าปีที่ผ่านมา ปริมาณผลผลิตอยู่ที่ 173,755 ตัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 5.00% การเก็บเกี่ยวผลผลิตออกสู่ตลาดมากแล้ว โดยเฉพาะ อ.เชียงม่วน มีผลผลิตออกมากว่า 80% และคาดว่าจะหมดในเดือนธันวาคม แต่ในพื้นที่อื่น และ พื้นที่นาที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์น่าจะทยอยออกจนถึงเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคมปีหน้า ต้นทุนของ เกษตรกรอยูท่ ี่ 3,975 บาท/ไร่ราคารับซือ้ ข้าวโพดเลีย้ งสัตว์ เมล็ดแห้ง 6.20 บาท/กก. (ความชืน้ 30%) ผลผลิตช่วงนี้มีความชื้นเฉลี่ยอยู่ที่ 25%


จังหวัดเชียงราย

แหล่งข้อมูล : ร้านจิรชัย โปรดิวซ์ จำกัด อ.เวียงป่าเป้า, ข้อมูลจากเกษตรจังหวัดเชียงราย ฤดูการผลิต ปี 2556/2557 ปี 2557/2558 เพิ่ม/ลด (%)

พื้นที่เพาะปลูก (ไร่) 468,038 453,996 -3.00

ผลผลิตต่อไร่ (กก.) 664 703 6.00

ผลผลิตรวม (ตัน) 310,777 319,540 2.80

จังหวัดเชียงราย มีพื้นที่เพาะปลูก 453,996 ไร่ ลดลง 3% เนื่องจากปีที่แล้วอากาศแล้ง พืน้ ทีท่ ปี่ ลูกมันสำปะหลังเสียหาย เกษตรกรหันมาปลูกข้าวโพดแทน ในปีนพี้ นื้ ทีเ่ หล่านัน้ ได้กลับคืน ไปปลูกมันสำปะหลังอีกครั้ง ผนวกกับบางพื้นที่ได้รับความเสียหายจากภัยธรรมชาติ และไม่มี การปลูกซ่อม สภาพอากาศมีฝนตกในปริมาณเหมาะสมและทั่วถึง เกษตรกรเลือกใช้พันธุ์ปลูก อย่างเหมาะสม คาดว่าผลผลิตต่อไร่อยูท่ ี่ 703 กก./ไร่ เพิม่ ขึน้ จากปีทผี่ า่ นมา 6% ในด้านคุณภาพ ผลผลิตดีกว่าปีที่แล้ว เนื่องจากปีที่แล้วเกษตรกรเร่งเก็บเกี่ยวเพื่อเข้าโครงการ แต่ในปีนี้เกษตรกร เก็บเกี่ยวครบตามอายุ ปริมาณผลผลิตอยู่ที่ 319,540 ตัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 2.8% การ เก็บเกี่ยวผลผลิตออกสู่ตลาดแล้ว 80% ผลิตที่เหลือช่วงนี้จะชะลอตัวเนื่องจากเข้าฤดูเก็บเกี่ยว ข้าว และเกษตรกรเก็บผลผลิตเพื่อรอดูราคา ผลผลิตจะทยอยออกอีกครั้งช่วงต้นเดือนธันวาคมไป สิ้นสุดที่เดือนมกราคม ต้นทุนของเกษตรกรอยู่ที่ 4,120 บาท/ไร่ ราคารับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เมล็ดแห้ง 6.40 บาท/กก. (ความชื้น 30%) ผลผลิตช่วงนี้มีความชื้นต่ำกว่า 25%

ปัญหาอุปสรรค • ต้นทุนขนส่งของพ่อค้าเพิ่มสูงขึ้น รถขนส่งหายากเนื่องจากไปรับงานส่งข้าวหมด

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 159 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2557

สภาพทั่วไป

33


จังหวัดเชียงใหม่ แหล่งข้อมูล : ข้อมูลจากเกษตรจังหวัดเชียงใหม่ ฤดูการผลิต ปี 2556/2557 ปี 2557/2558 เพิ่ม/ลด (%)

พื้นที่เพาะปลูก (ไร่) 169,153 167,844 -0.75

ผลผลิตต่อไร่ (กก.) 708 715 1.00

ผลผลิตรวม (ตัน) 119,706 120,037 0.27

สภาพทั่วไป จังหวัดเชียงใหม่ มีพื้นที่เพาะปลูก 167,884 ไร่ ลดลงจากปีที่ผ่านมาประมาณ 0.75% จำนวนเกษตรกรที่ปลูกยังคงเท่าเดิม แต่เนื่องจากต้นทุนการปลูกสูง ทำให้มีเกษตรกรบางส่วน ปล่อยพื้นที่ทิ้งเปล่า ด้านผลผลิตคาดว่าจะอยู่ที่ 715 กก./ไร่ เพิ่มขึ้น 1% เนื่องจากสภาพ อากาศเหมาะสมมีฝนตกทั่วพื้นที่ในปริมาณที่เหมาะสม โดยเฉพาะ อ.แม่แจ่ม อ.ฝาง อ.เชียงดาว มีผลผลิตต่อไร่สูง ปริมาณผลผลิตอยู่ที่ 120,037 ตัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 0.27%

จังหวัดลำพูน แหล่งข้อมูล : ข้อมูลจากเกษตรจังหวัดลำพูน ฤดูการผลิต ปี 2556/2557 ปี 2557/2558 เพิ่ม/ลด (%)

พื้นที่เพาะปลูก (ไร่) 105,011 105,011 0

ผลผลิตต่อไร่ (กก.) 626 657 4.95

ผลผลิตรวม (ตัน) 65,737 68,992 4.95

สภาพทั่วไป จังหวัดลำพูน มีพื้นที่เพาะปลูก 105,011 ไร่ ทรงตัวเนื่องจากพฤติกรรมการเพาะปลูก ของเกษตรกรที่ยังคงยึดการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เป็นอาชีพเดิม ด้านผลผลิตคาดว่าจะอยู่ที่ 657 กก./ไร่ เพิ่มสูงจากปีที่แล้ว 4.95% เนื่องจากภาวะอากาศดีมีน้ำฝนกระจายทั่วถึง ปริมาณ ผลผลิตอยู่ที่ 68,992 ตัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 4.95% ต้นทุนของเกษตรกรอยู่ที่ 4,000 บาท/ ไร่ สูงกว่าปีที่แล้ว ราคารับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เมล็ดแห้ง 6.00 บาท/กก. (ความชื้น 30%) ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 159 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2557

34


ตารางสรุปผลการคาดการณ์พื้นที่ปลูกและผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ฤดูการผลิต ปี 2557/2558 จังหวัด เชียงราย เชียงใหม่ พะเยา ลำปาง ลำพูน แพร่ น่าน เพชรบูรณ์ ลพบุรี พิษณุโลก ตาก กำแพงเพชร นครสวรรค์ อุทัยธานี อุตรดิตถ์ นครราชสีมา สระแก้ว จันทบุรี รวม

พื้นที่ปลูก (ไร่) ปี 56/57 ปี 57/58 468,038 453,996 169,153 167,884 231,766 243,354 164,195 175,688 105,011 105,011 263,173 302,649 784,167 799,850 1,041,386 999,731 215,287 206,676 251,232 245,679 745,045 669,729 62,305 62,305 271,765 279,754 120,733 108,659 146,888 176,265 778,166 778,166 163,242 114,270 41,565 40,318 6,023,117 5,929,984

เพิ่ม/ลด -3.00% -0.75% 5.00% 7.00% 0.00% 15.00% 2.00% -4.00% -4.00% -2.21% -10.10% 0.00% 2.94% -10.00% 20.00% 0.00% -30.00% -3.00% -1.54%

ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ (กิโลกรัม) ผลผลิตรวม (ตัน) ปี 55/56 ปี 57/58 เพิ่ม/ลด ปี 56/57 ปี 57/58 664 703 6.00% 310,777 319,540 708 715 1.00% 119,706 120,037 714 714 0.00% 165,488 173,755 695 696 0.14% 114,115 122,278 626 657 5.00% 65,737 68,992 689 703 2.00% 181,326 212,762 695 709 2.00% 544,996 567,093 810 810 0.00% 843,523 809,782 762 732 -4.00% 164,049 151,286 750 730 -2.67% 188,424 179,345 650 690 6.15% 484,279 462,109 670 670 0.00% 41,744 41,744 690 700 1.44% 187,518 195,827 720 756 5.00% 86,596 82,146 665 651 -2.00% 97,680 114,748 712 748 5.00% 554,054 582,068 734 741 1.00% 119,820 84,674 616 627 1.79% 25,092 25,279 713 727 1.96% 4,294,924 4,313,465

เพิ่ม/ลด 2.80% 0.27% 5.00% 7.15% 4.90% 17.33% 4.05% -4.00% -7.78% -4.82% -4.58% 0.00% 4.43% 5.14% 17.47% 5.05% -29.33% -1.27% 0.43%

รายงานสรุ ป ภาพรวมพื้ น ที่ เ พาะปลู ก ข้ า วโพดของสมาคมผู้ ผ ลิ ต อาหารสั ต ว์ ไ ทย ที่ ไ ด้ ดำเนินการสำรวจพื้นที่เพาะปลูกและผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ โดยเริ่มแรกจากการสำรวจพื้นที่ เพาะปลูกข้าวโพดหลังนา และเขตชลประทาน พร้อมทัง้ ทยอยไล่สำรวจพืน้ ทีเ่ พาะปลูก ซึง่ ครอบคลุม กว่า 80% ของประเทศ อาทิเช่น ในเขตพื้นที่เพชรบูรณ์-สระแก้ว-จันทบุรี-นครราชสีมาลพบุรี-พิษณุโลก-กำแพงเพชร-นครสวรรค์-ตาก-อุทัยธานี-อุตรดิตถ์-ลำปาง-แพร่-น่าน-พะเยาเชียงราย- เชียงใหม่-ลำพูน ฯลฯ ซึ่งผลสำรวจคาดว่าพื้นที่เพาะปลูกในเขตจังหวัดหลักๆ ที่ออก สำรวจ มีพื้นที่เพาะปลูกลดน้อยลงจากปีที่ผ่านมา 93,133 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 1.54 อันเนื่อง มาจากในช่วงต้นฤดูกาลเพาะปลูกประสบกับปัญหาภัยแล้ง อีกทั้งราคาไม่จูงใจ ทำให้เกษตรกร หันไปปลูกพืชอื่นๆ ทดแทน อาทิ มันสำปะหลัง อ้อยโรงงาน เป็นต้น ในขณะที่ผลผลิตต่อไร่

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 159 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2557

ข้อมูลสำรวจ สิ้นสุด ณ วันที่ 21 พฤศจิกายน 2557

35


เฉลี่ยมีแนวโน้มสูงขึ้น จาก 713 กก./ไร่ เป็น 727 กก./ไร่ คิดเป็น ร้อยละ 1.96 แม้จะ ประสบปัญหาภัยแล้งในช่วงต้นฤดูกาลเพาะปลูก แต่เมื่อเข้าสู่ช่วงการเพาะปลูกแล้ว มีปริมาณ น้ำฝนตกลงมาและการกระจายตัวของน้ำฝนดี ตามความต้องการของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ได้อย่าง พอเหมาะ ประกอบกับเกษตรกรในบางพื้นที่มีการเลือกใช้เมล็ดพันธุ์ที่เหมาะสมเพิ่มมากขึ้น ผลผลิตรวม 4,313,465 ตัน เพิ่มขึ้น 0.43% ตามรายงานตารางสรุปข้างต้น อนึ่ง เป้าหมายต่อไป เป็นการสำรวจรอบฤดูกาลเพาะปลูกข้าวโพดหลังนา ซึ่งสมาคม ประเมินว่าอาจจะมีการเพิ่มพื้นที่เพาะปลูกมากขึ้น เป็นการสอดคล้องกับนโยบายภาครัฐ ที่มี เป้าหมายจะลดพื้นที่การปลูกข้าวนาปรัง แต่อย่างไรก็ตาม ทางสมาคมจะต้องมีการสำรวจพื้นที่ ปลูกข้าวโพดหลังนาต่อไป

รายงานโดย  นายอรรถพล ชินภูวดล  สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย 26 พฤศจิกายน 2557

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 159 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2557

36


2553

2554

2555

2556

12.10 11.49 9,724 1,898 242,831 1,036

11.89 11.29 11,972 2,290 353,716 1,580

12.83 12.19 14,392 2,717 533,593 2,019

13.07 12.42 15,917 2,653 261,249 992

4. ต้นทุนการผลิต (บาท/กก.) : สศก.

55.12

59.78

58.00

59.44

5. ราคาสุกรมีชีวิตแหล่งผลิต (บาท/กก.)

58.34

65.28

55.59

67.00

1. ผลผลิต (ล้านตัว) : สศก. 2. ใช้ภายในประเทศ (ล้านตัว) : สศก. 3. ส่งออกเนือ้ สุกร - ปริมาณ (ตัน) - มูลค่า (ล้านบาท) ส่งออกสุกรมีชีวิต - ปริมาณ (ตัว) - มูลค่า (ล้านบาท)

Food Feed Fuel

สุกร

สถานการณ์

2557

(ประมาณการ)

12.82 12.18 11,478 2,040 280,641 1,187

(ม.ค.-ก.ย. 57)

75.05

(f ต.ค. 57)

66.23

(ต.ค. 57)

ที่มา : ผลผลิต การใช้ ต้นทุน : สศก./ส่งออก : กรมศุลกากร/ราคา : กรมการค้าภายใน

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 159 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2557

1. สถานการณ์เดือนตุลาคม 2557 ภาวะการผลิตปกติ มีผลผลิตออกสู่ตลาดในปริมาณที่เพียงพอกับความต้องการ ภาวะ การค้าโดยรวมชะลอตัวต่อเนื่องจากช่วงเทศกาลกินเจ ประกอบกับโรงเรียนปิดเทอม ทั้งนี้ หลังจากโรงเรียนทยอยเปิดเทอมในช่วงปลายเดือนภาวะการค้าเริ่มคล่องตัว เนื่องจากมีความ ต้องการใช้เนื้อสุกรเพิ่มขึ้น ด้านราคาสุกรมีชีวิตหน้าฟาร์ม และราคาขายปลีกเนื้อแดงลดลง เมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา

37


2. การดำเนินการแก้ไขปัญหา 2.1 ด้านค่าครองชีพ ในช่วงเดือนตุลาคม เชื่อมโยงการจำหน่ายเนื้อสุกร โดยประสานผู้ประกอบการนำ เนื้อสุกรคุณภาพดีจำหน่ายให้กับผู้บริโภค บริเวณหน้ากระทรวงพาณิชย์ ทุกวันอังคาร และศุกร์ 2.2 การกำกับดูแลภายใต้กฎหมาย (1) ติดตามพฤติกรรมทางการค้าภายใต้ พ.ร.บ. การแข่งขันทางการค้า (2) กำกับดูแลราคาป้องปรามผูป้ ระกอบการทีม่ พี ฤติกรรมฉวยโอกาสด้านราคา ภายใต้ พ.ร.บ. ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542 3. แนวโน้มเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2557 จากสภาพอากาศที่เย็นลงจะส่งผลให้สุกรโตเร็ว คาดว่าผลผลิตสุกรจะมีปริมาณเพียงพอ กับความต้องการของตลาดทีม่ แี นวโน้มเพิม่ ขึน้ เพือ่ รองรับเทศกาล และการท่องเทีย่ ว ภาวะการค้า มีแนวโน้มคล่องตัวต่อเนือ่ งจนถึงช่วงปลายเดือนธันวาคม ด้านราคาสุกรมีชวี ติ หน้าฟาร์ม มีแนวโน้ม ปรับสูงขึ้นตามภาวะอุปสงค์อุปทาน

กรมการค้าภายใน  กระทรวงพาณิชย์ พฤศจิกายน 2557

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 159 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2557

38




Food Feed Fuel

สถานการณ์

ไก่เนื้อ 2553

1. ผลผลิต ไก่มีชีวิต (ล้านตัว) ซากบริโภค (ล้านตัน) 2. ใช้ในประเทศ (ล้านตัน) 3. ส่งออก - ปริมาณ (ล้านตัน) - มูลค่า (ล้านบาท)

2554

2555

2556

970.94 1.33 0.90 0.43 52,222

994.32 1.36 0.90 0.47 60,291

1,055.13 1.44 0.91 0.54 67,849

1,103.32 1.51 1.00 0.50 66,805

4. ต้นทุนการผลิต : สศก. (บาท/กก.)

34.39

35.59

33.16

34.27

5. ราคาไก่มชี วี ติ หน้าโรงฆ่า กทม. (บาท/กก.)

40.11

45.02

35.65

41.84

2557

(ประมาณการ)

1,209.52 1.89 1.32 0.400 55,898 (ม.ค.-ก.ย. 57)

35.51

(ก.ย. 57)

40.91

(ต.ค. 57)

ที่มา : ผลผลิต การใช้ : สศก./ส่งออก : กรมศุลกากร/ราคา : กรมการค้าภายใน

1. สรุปสถานการณ์เดือนตุลาคม 2557 ภาวะการผลิตปกติ ผลผลิตที่ออกสู่ตลาดมีปริมาณมาก และสอดคล้องกับความต้องการ ของตลาด ภาวะการค้าในประเทศชะลอตัว เนื่องจากโรงเรียนปิดภาคเรียน และเป็นช่วงเทศกาล กินเจ (รอบ 2) ส่งผลให้ราคาไก่มีชีวิตหน้าฟาร์ม และราคาขายส่งชิ้นส่วนไก่สดชำแหละบางชนิด ปรับราคาลง ด้านราคาขายปลีก ส่วนใหญ่ยงั ทรงตัวต่อเนือ่ ง ยกเว้นชิน้ ส่วนปีกเต็ม ราคาปรับลง กก. ละ 5 บาท ภาวะการผลิตปกติ ปริมาณไก่เนื้อมีเพียงพอต่อความต้องการของตลาดในประเทศ ภาวะ การค้าโดยรวมคล่องตัวขึน้ ความต้องการใช้ และบริโภคเพิม่ มากขึน้ เนือ่ งจากโรงเรียนเปิดภาคเรียน ประกอบกับเป็นช่วงฤดูกาลท่องเที่ยว คาดว่าราคามีแนวโน้มทรงตัว หรือปรับสูงขึ้นตามภาวะ อุปสงค์อุปทาน กรมการค้าภายใน  กระทรวงพาณิชย์ พฤศจิกายน 2557

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 159 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2557

2. แนวโน้มสถานการณ์ เดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2557

39


Food Feed Fuel

สถานการณ์

ไข่ไก่ 2553

2554

2555

2556

Egg Board 2. การใช้ภายในประเทศ (ล้านฟอง) Egg Board 3. การส่งออก - ปริมาณ (ล้านฟอง) - มูลค่า (ล้านบาท)

9,787 10,800 9,643 10,654 144 375

10,024 11,363 9,953 11,355 72 222

10,998 13,320 10,849 11,680 150 395

11,148 13,519 10,971 12,800 178 462

4. ต้นทุนการผลิต : สศก. (บาท/ฟอง)

2.28

2.61

2.58

2.87

5. ราคา ไข่ไก่สดคละ (บาท/ฟอง)

2.55

2.89

2.39

3.02

1. ผลผลิต (ล้านฟอง)

2557

(ประมาณการ)

11,718 14,265 11,483 13,805 94 289

(ม.ค.-ก.ย. 57)

3.02

(f ต.ค. 57)

2.50

(ต.ค. 57)

ที่มา : ผลผลิต การใช้ ต้นทุน : สศก./ส่งออก : กรมศุลกากร/ราคา : กรมการค้าภายใน

1. สรุปสถานการณ์เดือนตุลาคม 2557 ปริมาณไข่ไก่คงเหลือสะสมในระบบจากช่วงเทศกาลกินเจ (รอบ 1) ส่งผลกระทบต่อเนื่อง ถึงต้นเดือนตุลาคม 2557 ประกอบกับโรงเรียนปิดภาคเรียน ความต้องการใช้ และบริโภคไข่ไก่ ลดลง ภาวะการค้าชะลอตัวในช่วงดังกล่าว ราคาไข่ไก่คละหน้าฟาร์มปรับตัวลง อยู่ที่ฟองละ 2.40 บาท อย่างไรก็ตาม ช่วงกลางเดือน-ปลายเดือนตุลาคม 2557 ผลผลิตคงเหลือในตลาด เริม่ ลดลง และการบริโภคเพิม่ มากขึน้ สูภ่ าวะปกติ ภาวะการค้าคล่องตัวขึน้ ราคาไข่ไก่คละหน้าฟาร์ม ปรับตัวสูงขึ้น อยู่ที่ฟองละ 2.80 บาท ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 159 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2557

40


2. มาตรการด้านตลาด ในช่วงเดือนตุลาคม 2557 2.1 ส่วนกลาง เชือ่ มโยงผูเ้ ลีย้ งไก่ไข่ นำผลผลิตมาจำหน่ายให้แก่ผบู้ ริโภคโดยตรง เพือ่ ช่วย บรรเทาภาระค่าครองชีพ ณ บริเวณหน้ากระทรวงพาณิชย์ ทุกวันอังคาร และวันศุกร์ สามารถ กระจายผลผลิตได้ 87,000 ฟอง และมาตรการแก้ไขปัญหาราคาไข่ไก่ตกต่ำ โดยจัดกิจกรรม จำหน่ายไข่ไก่ในช่วงสัปดาห์สุดท้ายของเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน 2557 จำนวน 5 สัปดาห์ โดยจำหน่ายไปแล้ว 1 สัปดาห์ สามารถกระจายผลผลิตได้ 9,000 ฟอง 2.2 ส่วนภูมิภาค มอบหมายสำนักงานการค้าภายในจังหวัด จัดเตรียมสถานที่ และ ประสานเกษตรกร นำไข่ไก่มาจำหน่ายในช่วงทีร่ าคาไข่ไก่ปรับลดลง จำนวน 22 จังหวัด สามารถ กระจายผลผลิตได้ 842,520 ฟอง 3. แนวโน้มสถานการณ์ เดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2557 เนื่องจากสภาพอากาศที่เริ่มเย็นลง ส่งผลให้อัตราการให้ไข่ไก่เพิ่มขึ้น ประกอบกับความ ต้องการใช้ และบริโภคมีเพิ่มขึ้น เนื่องจากโรงเรียนเปิดภาคเรียน และเริ่มเข้าสู่ฤดูกาลท่องเที่ยว คาดว่าราคาไข่ไก่มีแนวโน้มทรงตัว หรือปรับสูงขึ้นตามภาวะอุปสงค์อุปทาน

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 159 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2557

กรมการค้าภายใน  กระทรวงพาณิชย์ พฤศจิกายน 2557

41


Food Feed Fuel

สถานการณ์

กากถั่วเหลือง

1. ผลผลิตและการใช้ (ล้านตัน) 1.1 ผลผลิตโลก

ปี 2554

ปี 2555

ปี 2556

ปี 2557

ปี 2558

(ต.ค. 57)

174.634 180.418 180.949 188.149 198.184 (ประมาณการ)

(ประมาณการ)

(ประมาณการ)

(ประมาณการ)

1.2 ผลผลิตในประเทศแบบแจ้ง - เมล็ดในประเทศ - เมล็ดนำเข้า 1.3 ความต้องการใช้

1.234 0.015 1.219 3.633

1.148 0.013 1.135 3.963

1.014 0.015 0.999 3.834

1.4 นำเข้า

2.399

2.815

2.820

ปี 2554

ปี 2555

ปี 2556

14.33 13.37

18.66 17.83

19.84 17.97

19.33 18.66

18.16

12.81

17.22

18.35

18.45

17.65

11.49 378.82 13.95

14.78 473.29 15.00

14.74 477.26 16.84

13.22 409.10 18.84

12.34 378.82 15.29

2. ราคา (บาท/กก.) 2.1 ขายส่ง กทม. - กากถั่วเหลืองในประเทศ - เมล็ดในโปรตีน 44-48% - เมล็ดนำเข้าโปรตีน 42-45% - กากถั่วเหลืองนำเข้า - โปรตีน 46-48% 2.2 ตลาดต่างประเทศ - ตลาดชิคาโก (บาท/กก.) (เหรียญสหรัฐฯ/ตัน) - ราคานำเข้า CIF. (มูลค่า/ปริมาณ)

1.023 0.013 1.010 3.900

1.025 0.008 1.017 3.969

2.800 2.800 ปี 2557 ก.ย. ต.ค.

3. สภาพปัญหา/สาเหตุ การผลิตกากในประเทศ (จากเมล็ดในประเทศ และเมล็ดนำเข้า) ไม่เพียงพอกับความต้องการใช้ ผลิตได้ประมาณร้อยละ 30 ต้องนำเข้าประมาณร้อยละ 70 ของความต้องการใช้รวม ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 159 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2557

42

4. มาตรการแก้ไขปัญหา การกำหนดนโยบายและมาตรการนำเข้ากากถัว่ เหลือง เป็นอำนาจหน้าทีข่ องคณะกรรมการ นโยบายอาหาร ซึง่ ได้รบั การแต่งตัง้ จากคณะรัฐมนตรี โดยมี รัฐมนตรีวา่ การกระทรวงพาณิชย์ เป็น ประธาน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงการคลัง


กระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงมหาดไทย เป็นกรรมการ อธิบดีกรมการค้าภายใน เป็นกรรมการ และเลขานุการ (มติ ครม. 27 กันยายน 2554 แต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายอาหาร) 4.1 นโยบายและมาตรการนำเข้ากากถั่วเหลือง ปี 2555-57 มติคณะรัฐมนตรี (15 พ.ย. 54) เห็นชอบตามมติคณะกรรมการนโยบายอาหาร (2 พ.ย. 54) ให้กำหนดนโยบายและมาตรการนำเข้ากากถั่วเหลืองเช่นเดียวกับปี 2555-57 ดังนี้ ข้อผูกพัน ปี 55-57/มติ ครม./กฎหมาย มาตรการที่กำหนด ปี 55-57 (1) WTO - โควตา 230,559 ตัน - กำหนดภาษีนำเข้าในโควตาร้อยละ 2 - ภาษีในโควตา 20% - กำหนดผู้มีสิทธินำเข้า 9 สมาคม ประกอบด้วย - ภาษีนอกโควตา 133% สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย - มติ ครม. 15 ต.ค. 39 เห็นชอบนโยบาย สมาคมผู้ผลิตไก่เพื่อส่งออกไทย ปี 2540 โดยกำหนดอัตราภาษีนำเข้ากากถั่วเหลือง สมาคมผู้เลี้ยงไก่เนื้อเพื่อการส่งออก ร้อยละ 10 ตั้งแต่ พ.ย. 39 เป็นต้นไป สมาคมผู้เลี้ยงเป็ดเพื่อการค้าและการส่งออก สมาคมปศุสัตว์ไทย สมาคมส่งเสริมการเลี้ยงไก่แห่งประเทศไทยฯ สมาคมส่งเสริมผู้ใช้วัตถุดิบอาหารสัตว์ สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ ชุมนุมสหกรณ์ผู้เลี้ยงโคนมแห่งประเทศไทย - และให้ผู้มีสิทธินำเข้าร่วมมือรับซื้อกากถั่วเหลืองที่ผลิต จากเมล็ดถั่วเหลืองในประเทศของโรงงานสกัดน้ำมันพืช ทั้งหมดตามราคาขั้นต่ำที่กำหนด และสอดคล้องกับ ราคาขั้นต่ำเมล็ดถั่วเหลือง โดยมีการทำสัญญาการ รับซื้อกากถั่วเหลืองกับ พณ. และ กษ. - กำหนดภาษีนำเข้านอกโควตาร้อยละ 119 (2) AFTA - ภาษี 0% - ภาษี 0% (3) FTA ไทย - ออสเตรเลีย - ภาษี 0% ไทย - นิวซีแลนด์  - ภาษี 0% - ภาษี 0% ไทย - ญี่ปุ่น    - ภาษีในโควตา 0% (4) AKFTA อาเซียน-เกาหลี ปี 55    - ภาษี 4.44% ปี 55   - ภาษี 4.44% ปี 56    - ภาษี 3.33% ปี 56   - ภาษี 3.33% ปี 57    - ภาษี 2.22% ปี 57   - ภาษี 2.22% (5) การนำเข้าทั่วไป    - ภาษี 6% - ภาษี 6% ค่าธรรมเนียมพิเศษตันละ 2,519 บาท - ค่าธรรมเนียมพิเศษตันละ 2,519 บาท ทั้งนี้ ให้นำเข้าได้ไม่จำกัดปริมาณ และช่วงเวลา นำเข้าทั้ง (1)-(5)

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 159 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2557

}

43


4.2 นโยบายและมาตรการนำเข้ากากถั่วเหลือง ปี 2558-60 มติคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช./มติคณะรัฐมนตรี (ครม.)) (29 กรกฎาคม 2557) เห็นชอบตามมติคณะกรรมการนโยบายอาหาร (25 กรกฎาคม 2557) ให้กำหนดนโยบาย และมาตรการนำเข้ากากถั่วเหลืองเช่นเดียวกับปี 2555-57 ดังนี้ ข้อผูกพัน/มติ ครม./กฎหมาย

(1) WTO - โควตา 230,559 ตัน - ภาษีในโควตา 20% - ภาษีนอกโควตา 133% - มติ ครม. 15 ต.ค. 39 เห็นชอบนโยบาย ปี 2540 โดยกำหนดอัตราภาษีนำเข้า กากถั่วเหลือง 10% ตั้งแต่ พ.ย. 39 เป็นต้นไป (2) AFTA   - ภาษี 0% (3) FTA ไทย-ออสเตรเลีย - ภาษี 0% ไทย-นิวซีแลนด์ - ภาษี 0% ไทย-ญี่ปุ่น - โควตาตาม WTO - ภาษีในโควตา 0% - ภาษีนอกโควตา 133% (4) AKFTA อาเซียน-เกาหลี - โควตาตาม WTO - ภาษีในโควตา 4.44% - ภาษีนอกโควตา 133%

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 159 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2557

44

มาตรการที่กำหนด ปี 2558-2560

(1) WTO - ภาษีนำเข้าในโควตา 2% - ผู้มีสิทธินำเข้า 9 ราย

ทั้งนี้ หากมีผู้ยื่นขอมีสิทธินำเข้ารายใหม่ให้อยู่ใน ดุลยพินิจของประธานกรรมการนโยบายอาหารพิจารณา ตามความจำเป็น และเหมาะสม - เงื่อนไข เช่นเดียวกับปี 2555-2557 - ภาษีนำเข้านอกโควตา 119% (2) AFTA - ภาษี 0% (3) FTA ไทย-ออสเตรเลีย - ภาษี 0% ไทย-นิวซีแลนด์ - ภาษี 0% ไทย-ญี่ปุ่น-ภาษีในโควตา 0%

(4) AKFTA อาเซียน-เกาหลี ปี 58     - ภาษีในโควตา 1.11% ปี 59 เป็นต้นไป - ภาษีในโควตา 0% (5) การนำเข้าทั่วไป - ภาษี 6% ค่าธรรมเนียมพิเศษตันละ 2,519 บาท ทั้งนี้ ให้นำเข้าได้ไม่จำกัดปริมาณ และช่วงเวลา นำเข้าทั้ง (1)-(5)

5. การดำเนินการกำกับดูแลที่ผ่านมา กำกับดูแลการนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ และการปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนด โดย 1) ดำเนินการให้มีการลงนามในสัญญาการรับซื้อกากถั่วเหลือง ระหว่างกระทรวงพาณิชย์ และ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กับกลุ่มผู้มีสิทธินำเข้ากากถั่วเหลือง 2) กำหนดแนวทางการกำกับ ดูแลการนำเข้ากากถั่วเหลือง และการปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดดังนี้ (1) ให้กลุ่มผู้นำเข้า และ กลุ่มโรงงานสกัดฯ รายงานการรับซื้อ และจำหน่ายเป็นประจำทุกเดือน (2) กำกับดูแลตรวจสอบ ปริมาณการรับซื้อ และจำหน่ายให้สอดคล้องกัน




6. สถานการณ์ ปี 2557 1) ในเดือนตุลาคม กากผลิตในประเทศผลผลิตไม่มีออกสู่ตลาดแล้ว เนื่องจากเป็นช่วง สิ้นสุดฤดูกาล ราคาตลาด กทม. เฉลี่ยเดือนตุลาคม 2557 กากนำเข้าลดลงตามราคาตลาด ต่างประเทศทีล่ ดลง โดยในเดือนมกราคม-กันยายน 2557 มีการนำเข้าแล้วปริมาณ 2,222,093 ตัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 3.28 ราคาตลาดชิคาโกเฉลี่ยเดือนตุลาคม 2557 ลดลงจากตันละ 409 US$ ในเดือนก่อน เหลือตันละ 379 US$ เนื่องจากปริมาณเมล็ดถั่วเหลืองที่คาดว่าจะมีปริมาณมากกว่าที่ผ่านมา และการแข็งค่าของดอลลาร์ส่งผลให้สหรัฐฯ ส่งออกได้ลดลง บาท : กก. กากผลิตจาก เมล็ดในประเทศ กากจากเมล็ดนำเข้า กากนำเข้า โปรตีน 46-48% ตลาดชิคาโก (เหรียญสหรัฐฯ/ตัน) ราคานำเข้า CIF (มูลค่า/ปริมาณ)

ต.ค. 56 19.33 17.74 18.29 14.45 460.82 17.91

ก.ย. 57 19.33 18.66 18.45 13.22 409.10 18.84

ต.ค. 57 18.16 17.65 12.34 378.82 15.29

%∆ 0 -2.68 -4.34 -6.66 -7.40 -18.84

2) แนวโน้ม คาดว่าราคากากถั่วเหลืองในประเทศ และตลาดโลกจะเคลื่อนไหวอยู่ใน เกณฑ์สูง เนื่องจากความต้องการใช้เพื่อผลิตเป็นอาหารสัตว์มีมากขึ้น

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 159 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2557

สำนักส่งเสริมการค้าสินค้าเกษตร  กรมการค้าภายใน พฤศจิกายน 2557

45


Food Feed Fuel

สถานการณ์

ปลาป่น

1. ผลผลิตและการใช้ (ล้านตัน)

ปี 2554

ปี 2555

ปี 2556

1.1 ผลผลิตโลก

4.890

3.960

4.18

1.2 ผลผลิตในประเทศ 1.3 ความต้องการใช้ (ส.ผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย)

0.503 0.638

0.493 0.615

0.497 0.579

1.4 นำเข้า

0.016

0.018

0.008

1.5 ส่งออก

0.074

0.063

0.126

2. ราคา (บาท/กก.) 2.1 ปลาเป็ด - ดี (สด) - รอง (ไม่สด) 2.2 ปลาป่น กทม. เกรดกุ้ง โปรตีน 60% ขึ้นไป กลิ่นเบอร์ 1 โปรตีน 60% ลงมา กลิ่นเบอร์ 1 กลิ่นเบอร์ 2 กลิ่นเบอร์ 3 2.3 ปลาป่นต่างประเทศโปรตีน 60% - บาท/กก. - เหรียญสหรัฐฯ/ตัน

ปี 2554

ปี 2555

ปี 2556

ปี 2557 4.160

ปี 2558

(ต.ค. 57)

4.160

(ประมาณการ)

(ประมาณการ)

(ประมาณการ)

(ประมาณการ)

(ประมาณการ)

(ประมาณการ)

0.500 0.623 0.010

0.500 0.600 0.010

0.140 0.140 ปี 2557 ก.ย. ต.ค. 8.04 8.59 5.50 5.76

7.00 5.58

7.38 5.76

7.90 5.67

31.13 30.73 30.03 29.73 26.78

33.63 33.13 32.43 30.64 29.07

34.93 32.93 32.17 26.93 24.64

39.00 36.52 29.70 28.50 26.80

42.50 39.70 29.70 28.50 26.80

36.64 1,296

40.53 1,408

43.52 1,553

51.60 1,730

55.86 1,857

3. สภาพปัญหา/สาเหตุ ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 159 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2557

46

ปลาป่นแม้จะผลิตได้เพียงพอกับความต้องการใช้ แต่ได้ปลาป่นโปรตีนสูงเพียง 25% จึงต้อง มีการนำเข้าบางส่วนเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ และเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ แหล่งวัตถุดบิ โรงงานปลากระป๋อง 35% ปลาเป็ดเรือประมง 18% ปลาหลังเขียวและอืน่ ๆ 15% โรงงานซูริมิ 20% โรงงานแปรรูปสัตว์น้ำและครัวเรือน 10% ประมงนอกน่านน้ำ 2%


4. มาตรการแก้ไขปัญหา 4.1 นโยบายและมาตรการนำเข้าปลาป่น ปี 2555-2557 มติคณะรัฐมนตรี (15 พฤศจิกายน 2554) เห็นชอบตามมติคณะกรรมการนโยบาย อาหาร (2 พฤศจิกายน 2554) ให้กำหนดนโยบายและมาตรการนำเข้าปลาป่น กำหนดคราวละ 3 ปี (2555-2557) ดังนี้ ข้อผูกพัน ปี 55-57/กฎหมาย

(1) AFTA (2) FTA ไทย-นิวซีแลนด์ ไทย-ออสเตรเลีย อาเซียน-จีน (เว้นพม่า)

อาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ อาเซียน-เกาหลี ไทย-ญี่ปุ่น • ช่วง ม.ค.-มี.ค. 55 • ช่วง เม.ย. 55-ธ.ค. 57 (3) การนำเข้าทั่วไป • โปรตีน 60% ขึ้นไป • โปรตีนต่ำกว่า 60%

ภาษี ภาษี ภาษี ภาษี

มาตรการที่กำหนด ปี 55-57

0% 0% 0% 0%

ภาษี 0% ภาษี 10% ภาษี 1.76% ภาษี 0%

- กำหนดอากรนำเข้าตามที่ผูกพัน ปี 55-57 - ปลาป่นโปรตีน 60% ขึ้นไป ให้นำเข้าได้ ไม่จำกัดปริมาณ และช่วงเวลานำเข้า - ปลาป่นโปรตีนต่ำกว่า 60% เป็นสินค้าควบคุม ต้องขออนุญาตนำเข้า

ภาษี 15% ภาษี 6%

ข้อผูกพัน ปี 58-60/กฎหมาย (1) AFTA  - ภาษี 0% (2) FTA - ไทย-ออสเตรเลีย  - ภาษี 0% - ไทย-นิวซีแลนด์  - ภาษี 0% - ไทย-ญี่ปุ่น   - ภาษี 0% - อาเซียน-จีน  - ภาษี 0% - ทุกประเทศ เว้นแต่พม่า - อาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ - ภาษี 0% - อาเซียน-เกาหลี  - ภาษี 10%

มาตรการที่กำหนด ปี 58-60 (1) AFTA - ภาษี 0% (2) FTA - ไทย-ออสเตรเลีย  - ภาษี 0% - ไทย-นิวซีแลนด์   - ภาษี 0% - ไทย-ญี่ปุ่น    - ภาษี 0% - อาเซียน-จีน - ภาษี 0% - ทุกประเทศ เว้นแต่พม่า - อาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ - ภาษี 0% - อาเซียน-เกาหลี ปี 58   - ภาษี 10% ปี 59-60  - ภาษี 5%



ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 159 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2557

4.2 นโยบายและมาตรการนำเข้าปลาป่น ปี 2558-2560 มติคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช./มติคณะรัฐมนตรี (ครม.)) (29 กรกฎาคม 2557) เห็นชอบตามมติคณะกรรมการนโยบายอาหาร (25 กรกฎาคม 2557) ให้กำหนด นโยบายและมาตรการนำเข้ากากถั่วเหลืองเช่นเดียวกับปี 2558-60 ดังนี้

47




ข้อผูกพัน ปี 58-60/กฎหมาย

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 159 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2557

48

มาตรการที่กำหนด ปี 58-60 (3) การนำเข้าทั่วไป • โปรตีน 60% ขึ้นไป - ภาษี 15% • โปรตีนต่ำกว่า 60% - ภาษี 6% และตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ กำหนดการนำเข้า • ปลาป่นโปรตีน 60% ขึ้นไป - ไม่จำกัดปริมาณ • ปลาป่นโปรตีนต่ากว่า 60% - เป็นสินค้าควบคุมต้องขออนุญาตนำเข้า

4.3 มาตรการดูแลช่วยเหลือ การพัฒนาอุตสาหกรรมประมงและปลาป่น โดยกรมการค้าต่างประเทศ : ครม. มีมติ (8 พฤษภาคม 2550) เห็นชอบการขอจัดตั้งกองทุนเพื่อการปรับตัวของ ภาคการผลิต และบริการที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้า โดยคณะกรรมการบริหาร เงินช่วยเหลือเพื่อการปรับตัวของภาคการผลิต และภาคบริการที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรี ทางการค้า มีปลัดกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธาน และกรมการค้าต่างประเทศ เป็นฝ่ายเลขานุการฯ และแต่งตั้งคณะอนุกรรมการกลั่นกรองโครงการเงินช่วยเหลือเพื่อการปรับตัวของภาคการผลิต และภาคบริการที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้า ผลดำเนินการ คณะอนุกรรมการฯ มีมติเห็นชอบโครงการจัดทำระบบประกันคุณภาพ HACCP (Hazard Analysis and Critical Point) โรงงานผลิตปลาป่น เพื่อความปลอดภัยของอาหารสัตว์ และเพิม่ ขีดความสามารถการแข่งขันและส่งออก ให้โรงงานฯ ได้รบั GMPs (Good Manufacturing Practices) จำนวน 50 โรง และต่อยอดโรงงานฯ เพื่อให้ได้รับการรับรองระบบคุณภาพ ตามมาตรฐาน HACCP จากกรมปศุสัตว์ หรือหน่วยงานเอกชนแล้ว จำนวน 36 โรง โครงการเพิ่มศักยภาพมาตรฐานคุณภาพการผลิตของโรงงานปลาป่น โดยกรมการค้าภายใน : ดำเนินการจัดจ้างบริษทั ทีป่ รึกษาดำเนินการวางระบบโรงงาน ปลาป่นให้ได้มาตรฐาน GMP และ HACCP เพื่อใช้เป็นมาตรการสุขอนามัย ให้ผู้ประกอบการ โรงงานปลาป่นสามารถจัดทำระบบการจัดการความปลอดภัยของอาหาร เป็นการปกป้องโรงงาน ปลาป่นในประเทศให้อยู่ได้อย่างยั่งยืน และสามารถปรับตัวในการแข่งขันในตลาดโลกได้ 1) งบประมาณปี 2556 จัดจ้าง บจ.ควอลิตี้ แซททิสฟายด์ วงเงิน 3 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการ ตุลาคม 2555-สิงหาคม 2556 ผลดำเนินการ โรงงานผู้ผลิตปลาป่นเข้าร่วมโครงการเพิ่มศักยภาพมาตรฐานคุณภาพการผลิตของ


โรงงานปลาป่น เพื่อขอรับการสนับสนุนจัดทำระบบ GMP และหรือระบบ HACCP จำนวน 15 โรงงาน และโรงงานผูผ้ ลิตปลาป่นผ่านการตรวจประเมินระบบ ได้รบั ใบรับรองระบบรวม 13 โรงงาน เป็นโรงงานที่ผ่านระบบ HACCP จำนวน 3 โรง และผ่านระบบ GMP จำนวน 10 โรง 2) งบประมาณปี 2557 กรมการค้าภายในอนุมัติโครงการจัดจ้างบริษัทที่ปรึกษา ดำเนินการวางระบบโรงงานปลาป่นให้ได้มาตรฐาน GMP และ HACCP ผลดำเนินการ บจ. ควอลิตี้ แซททิสฟายด์ ได้รบั การอนุมตั ใิ ห้จดั จ้างเป็นบริษทั ฯ ทีป่ รึกษาโครงการฯ ในวงเงิน 3 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการ มิถุนายน 2557-พฤษภาคม 2558 ขณะนี้บริษัทฯ ได้รับสมัครโรงงานผู้ผลิตปลาป่นทั่วประเทศ เข้าร่วมโครงการ 24 โรงงาน และคัดเลือก โรงงานผู้ผลิตปลาป่นเหลือ 15 โรงงานเพื่อเข้าร่วมโครงการฯ แล้ว 5. สถานการณ์ ปี 2557 1) ในเดือนตุลาคม เมือ่ เทียบราคากับเดือนก่อน ปลาเป็ด และปลาป่นเกรดกุง้ และเกรด โปรตีน 60% ขึ้นไปราคาสูงขึ้น เนื่องจากซีพีซึ่งเป็นผู้ซื้อรายใหญ่ปรับราคารับซื้อ เพื่อให้การ ผลิตปลาป่นของไทยปรับปรุงระบบการผลิตให้มีมาตรฐานด้านแรงงาน โดยโรงงานปลาป่นต้อง ได้รับการรับรองจากกรมประมง เพื่อให้สามารถตรวจสอบย้อนกลับภายใต้ระเบียบ NON-IUU ของกรมประมงได้ ส่วนเกรดต่ำราคาทรงตัว โดยในช่วงมกราคม-กันยายน 2557 มีการนำเข้าแล้ว 12,205 ตัน สูงขึน้ จากปีกอ่ นร้อยละ 126 และส่งออกแล้ว 128,001 ตัน สูงขึน้ จากปีกอ่ นร้อยละ 25 ราคาตลาดเปรูเฉลี่ยเดือนตุลาคม 2557 สูงขึ้นจากตันละ 1,730 US$ ในเดือนก่อน เป็นตันละ 1,857 US$ เนือ่ งจากตลาดมีความต้องการปลาป่นคุณภาพดีปริมาณมากขึน้ อย่างไร ก็ดี สินค้าในสต๊อกส่วนใหญ่เป็นสินค้าคุณภาพต่ำ ปลาเป็ด (สด) ปลาป่น เกรดกุ้ง ปลาป่นโปรตีน 60% ปลาป่นโปรตีน 60% ตลาดเปรู

  เบอร์   เบอร์

1 1 เบอร์ 2 เบอร์ 3

ต.ค. 56 8.18 36.80 34.00 33.30 28.18 24.48 38.16

ก.ย. 57 8.04 39.00 36.52 29.70 28.50 26.80 51.60

ต.ค. 57 8.59 42.50 39.70 29.70 28.50 26.80 55.86

%∆ 6.84 8.97 8.71 0 0 0 8.26

2) แนวโน้ม คาดว่าในระยะยาวราคาทั้งตลาดในประเทศ และต่างประเทศจะโน้มสูงขึ้น จากปริมาณวัตถุดิบที่น้อยลงจากสภาพอากาศที่แปรปรวน ในขณะที่ความต้องการอาหารสัตว์ มีมากขึ้น สำนักส่งเสริมการค้าสินค้าเกษตร  กรมการค้าภายใน พฤศจิกายน 2557

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 159 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2557

บาท : กก.

49


Food Feed Fuel

สถานการณ์

กุ้งขาวแวนนาไม ปี 2553

1. ผลผลิตโลก (ตัน) : สมาคมกุ้งไทย 2. ผลผลิตไทย (ตัน) : กรมประมง - กุ้งขาวแวนนาไม - กุ้งกุลาดา 3. การใช้ภายใน (ตัน) 4. การนำเข้า ปริมาณ (ตัน) มูลค่า (ล้านบาท) 5. การส่งออก ปริมาณ (ตัน) มูลค่า (ล้านบาท) 6. ราคา (บาท/กก.) : ตลาดทะเลไทย (ขนาด 60 ตัว/กก.) 7. ต้นทุนการผลิต (บาท/กก.)

ปี 2554

ปี 2555

ปี 2556

2,168,000 2,353,000 2,120,000 2,120,000 553,910 502,188 472,881 256,765 551,516 500,726 457,662 246,494 2,394 1,462 15,219 10,271 55,000 50,000 47,300 25,676 21,988 30,504 19,606 22,467 1,628 1,561 2,290 3,447 21,988 1,628

394,294 110,565

348,778 95,372

212,323 69,218

121 109

141 114

137 120

219 150*

: กรมประมง *ต้นทุนปี 56 เป็นค่าเฉลี่ยของขนาด 30-100 ตัว/กก. และประสบปัญหาการสูญเสียจาก EMS

ปี 2557

(ประมาณการ)

2,000,000 210,000 197,400 12,600 21,000 15,679 3,216

(ม.ค.-ก.ย. 57)

110,942 43,995

(ม.ค.-ก.ย. 57) (ต.ค. 57) 200

หมายเหตุ 1. ที่มานำเข้า-ส่งออก : กรมศุลกากร 2. ราคา และต้นทุนการผลิต เป็นกุ้งขาวแวนนาไม ขนาด 60 ตัว/กก.

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 159 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2557

50

1. สรุปสถานการณ์ปัจจุบัน 1.1 การผลิต/การตลาด กรมประมงคาดว่าผลผลิตกุ้งปี 2557 มี 200,000-220,000 ตัน ลดลงจาก ปีที่ผ่านมาร้อยละ 18.21 โดยในปี 2556 มีผลผลิตกุ้งรวม 256,765 ตัน ลดลงจากปี 2555 (472,881 ตัน) ร้อยละ 55.59 เนือ่ งจากการเลีย้ งกุง้ ได้รบั ความเสียหายจากกลุม่ อาการตายด่วน (Early Mortality Syndrome: EMS) ปริมาณผลผลิตกุ้งจากการออกหนังสือกำกับการจำหน่าย สัตว์น้ำ (MD Online) ของกรมประมง มกราคม-กันยายน 2557 รวม 135,645 ตัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา 61,180 ตัน (196,825 ตัน) คิดเป็นร้อยละ 31.08 ราคากุ้งขาวแวนนาไม ขนาด 60 ตัว/กก. เฉลี่ยเดือนตุลาคม 2557 กก. ละ 200 บาท ลดลง จากเดือนที่ผ่านมาร้อยละ 6.98 และ ตุลาคม 56 ร้อยละ 27.27 ปริมาณ ผลผลิตออกสู่ตลาดมากจากช่วงที่ผ่านมา ภาวะการค้าชะลอตัวในช่วงเทศกาลกินเจ


1.2 การดำเนินงานโครงการแก้ไขปัญหาเร่งด่วนเพื่อควบคุม และลดความสูญเสียของ สินค้ากุ้งทะเลจากกลุ่มอาการตายด่วน (EMS) กรมประมง ได้แก้ไขปัญหาดังกล่าวให้แก่เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงกุ้งทั่วประเทศ โดยเริ่ม ดำเนินการจัดทำธนาคารพ่อแม่พันธุ์กุ้งทะเล (Marine Shrimp Broodstock Bank) เพื่อเป็น หลักประกันความหลากหลายทางสายพันธุ์กุ้งทะเลของไทย และกิจกรรมดังนี้ (1) นำเข้าพ่อแม่พันธุ์เพื่อผลิตลูกพันธุ์กุ้งทะเลคุณภาพ ให้แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งทั่ว ประเทศ (2) เพิ่มประสิทธิภาพระบบคัดกรอง ป้องกัน/เฝ้าระวังโรคกุ้งทะเล เพื่อยับยั้งการ ระบาดของโรค (3) เพิม่ กำลังการผลิตหัวเชือ้ จุลนิ ทรีย์ ปม. 1 เพือ่ ฟืน้ ฟูแหล่งเลีย้ งกุง้ ทะเล ให้แก่เกษตรกร ผู้เลี้ยงกุ้งทั่วประเทศ 1.3 Road map กุง้ ก้าวกระโดด ปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 กรมประมงคาดการณ์ผลผลิต ปี 2558 ประมาณ 400,000 ตัน (กุง้ ขาวร้อยละ 94.52 และกุง้ ดำร้อยละ 5.48) เพิม่ ขึน้ จากปี 2557 ประมาณ 200,000 ตัน โดยมีวิธีการดำเนินงาน (1) บริการผลิตจุลินทรีย์ ปม. 1 และ BL (2) ให้บริการตรวจคัดกรองลูกกุ้ง น้ำ และดิน (3) อบรมการเลี้ยง และการใช้ Feed App. ให้แก่เจ้าหน้าที่ และเกษตรกร (4) เพิ่มศักยภาพเจ้าหน้าที่ด้านโรคกุ้งทะเล (5) จัดทำบ่อสาธิต (6) สนับสนุนกุ้งสายพันธุ์ใหม่ (กุ้งแชบ๊วย) เพื่อเป็นทางเลือกให้แก่เกษตรกรในการเพาะเลี้ยงกุ้ง ทะเล 2. แนวโน้ม คาดว่าราคากุ้งอาจจะปรับสูงขึ้น ปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดลดลงจากช่วงที่ผ่านมา จาก สภาพอากาศที่แปรปรวน ทำให้กุ้งโตช้า ขณะที่ความต้องการของผู้ส่งออกยังมีอย่างต่อเนื่อง

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 159 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2557

กรมการค้าภายใน  กระทรวงพาณิชย์ พฤศจิกายน 2557

51


Food Feed Fuel

พืชอาหารสัตว์พลังงานสีเขียว นายกมล ริมคีรี • ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาอาหารสัตว์

• พืชอาหารสัตว์ คือ พืชตระกูลหญ้า และตระกูลถั่วที่ใช้เป็นอาหารสัตว์ได้ หรือพืชที่สัตว์ กินเข้าไปแล้วทำให้เกิดประโยชน์แก่ร่างกาย และไม่เป็นพิษ

• พลังงานสีเขียว หมายถึงพลังงานสะอาด หรือพลังงานหมุนเวียน ซึ่งเป็นพลังงานที่ได้ ใช้แล้วไม่หมดไป มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อย และไม่สร้างก๊าซเรือนกระจกเพิ่มเติมในชั้น บรรยากาศ เช่น พลังงานน้ำพลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์พลังงานชีวมวล

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 159 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2557

52


หญ้าเนเปียร์ปากช่อง 1 เป็นหญ้าเนเปียร์ลูกผสมที่กรมปศุสัตว์ได้คัดเลือก ขึน้ มาใหม่ มีศกั ยภาพในด้านการให้ผลผลิต และคุณค่าทาง อาหารสัตว์สงู เหมาะสำหรับใช้เลีย้ งโคนม โคเนือ้ กระบือ แพะ และแกะ ทั้งในรูปหญ้าสด หญ้าหมัก

ด้านพลังงานทางเลือก • เป็นแหล่งพลังงานทดแทน (Green Energy) ชีวมวล และไบโอแก๊ส เพื่อผลิตไฟฟ้า และเชื้อเพลิง สำหรับยานพาหนะ

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 159 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2557

ด้านอาหารสัตว์ • เป็นหญ้าเจริญเติบโตเร็ว ให้ผลผลิตน้ำหนักสด ประมาณ 70-80 ตันต่อไร่ต่อปี • มีโปรตีน 8-10% มีความน่ากินสูงสัตว์ชอบกิน • ตอบสนองต่อการให้น้ำ และปุ๋ยดี ให้ผลผลิตได้ ตลอดทัง้ ปี โดยเก็บเกีย่ วได้ปลี ะ 5-6 ครัง้ • เหมาะสำหรับใช้เลี้ยงโคนม โคเนื้อ ทั้งในรูป หญ้าสด หญ้าหมัก และอาหารผสม TMR

53


ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 159 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2557

54

การศึกษาศักยภาพการผลิตก๊าซชีวภาพจากพืชพลังงาน (พืชโตเร็ว) ่อง ลักษณะวัตถุดิบ ประเภทชีวมวล ชนิปฏิดเครื กรณ์ ที่ใช้ในการผลิตมีเทน ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ Batch assays Batch ฟางข้าว assays Batch ใบอ้อย assays ต้นข้าวโพดผสมน้ำทิ้งฟาร์มสุกรหลังผ่านการบำบัดด้วย ต้นข้าวโพด CSTR ระบบผลิตก๊าซชีวภาพ มันสำปะหลังผสมน้ำทิ้งฟาร์มสุกรหลังผ่านการบำบัดด้วย มันสำปะหลัง CSTR ระบบผลิตก๊าซชีวภาพ Batch ฟางข้าว (Wheat straw) assays หญ้าเนเปียร์ผสมน้ำทิ้งฟาร์มสุกรหลังผ่านการบำบัดด้วย หญ้าเนเปียร์ ASBR ระบบผลิตก๊าซชีวภาพ

ความสามารถ ในการผลิต ก๊าซมีเทน 0.378 0.372 0.313 0.2 (0.03) 0.23 (0.04) 0.34 0.617

หน่วย

Reference

m3CH4/kg VSadded m3CH4/kg VSadded 3 m CH4/kg VSadded m3CH4/kg VSadded m3CH4/kg VSadded m3CH4/kg VSadded m3CH4/kg VSadded

KMUTT (2552) KMUTT (2552) KMUTT (2552) CMU (2552) CMU (2551) Paepatung, N. (2009) CMU (2552)


หญ้าพลังงาน : หญ้าเนเปียร์ คุณสมบัติเด่นของหญ้าเนเปียร์ • ปลูก ขยายพันธุ์ง่าย โตเร็ว ผลผลิตเฉลี่ย 40-80 ตัน (สด)/ไร่/ปี (ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ และการบริหารจัดการดินและน้ำ) • จัดการดูแลง่าย เก็บเกี่ยวโดยใช้เครื่องจักรได้ • ตัดแล้วแตกกอใหม่ เก็บเกี่ยวได้อย่างน้อย 7 ปี • ค่าความร้อนประมาณ 14-18 MJ/kg • ผลิตไฟฟ้าจาก Biogas 1 MW ใช้พื้นที่ปลูก 800-1,000 ไร่ (ผลิตไฟฟ้าวันละ 24 ชม. จำนวน 330 วัน) • การปลูกเตรียมดิน และปลูกเหมือนอ้อย • ระยะปลูก ใช้ท่อนพันธุ์ในการปลูก • ชอบแสงเต็มที่ ดินดี มีน้ำเพียงพอ แต่ไม่ท่วมขัง

หญ้าเนเปียร์

หญ้าเนเปียร์ยักษ์

หญ้าเนเปียร์แคระ

หญ้าบาน่า

หญ้าเนเปียร์ยักษ์

หญ้าเนเปียร์ปากช่อง

ระยะร่องห่างกัน 85 เซนติเมตร ใช้มีดสับให้ลำต้นขาดออกจากกัน

มีด หรือ เคียว

เครื่องตัดหญ้าสะพายไหล่

เครื่องเก็บเกี่ยว Double Chopper

ต้องตัดให้ชิดดินที่สุด เพื่อได้ลำดันที่สมบูรณ์ ให้ผลผลิตสูง หญ้าเริ่มงอกตามร่อง

ที่มา : ศูนย์วิจัยฯ อาหารสัตว์นครราชสีมา

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 159 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2557

หญ้าเนเปียร์

55


พื้นที่ดำเนินงานโครงการระหว่างปี 56-59 พื้นที่ ปีที่ 1 ปีที่ 2 ปีที่ 3 รวม ภาคเหนือ ลำปาง 2 3 5 กำแพงเพชร 2 2 1 5 แพร่ 2 3 5 น่าน 2 3 5 อุตรดิตถ์ 2 2 1 5 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ชัยภูมิ 6 4 10 ขอนแก่น 2 4 4 10 หนองบัวลำภู 1 4 5 10 อุดรธานี 1 4 5 10 หนองคาย 2 3 5 กาฬสินธุ์ 1 2 2 5 ร้อยเอ็ด 2 4 4 10 อุบลราชธานี 1 2 2 5 นครราชสีมา 1 2 2 5 เลย 1 2 2 5 รวม 20 40 40 100 พื้นที่ศักยภาพในจังหวัดชัยภูมิ - อ.จัตุรัส - อ.บ้านแท่น - อ.เกษตรสมบูรณ์ - อ.หนองบัวละเหว

- อ.บ้านเขว้า - อ.แก่งคร้อ

- อ.ภูเขียว - อ.โนนสง่า

- อ.เทพสถิตย์ - อ.บำเหน็จณรงค์

เปรียบเทียบรายได้จากการปลูกพืช ต้นทุนและรายได้จากการปลูกพืชต่างๆ ต้นทุนเฉลี่ย รายได้เฉลี่ย พืช ต่อไร่ต่อปี ต่อไร่ต่อปี

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 159 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2557

56

ข้าวนาปี

5,910.00

8,250.00

อ้อย

9,808.40

11,865.00

มันสำปะหลัง

5,500.00

7,565.80

หญ้าเนเปียร์

6,932.50

10,500.00

รายได้สุทธิ เฉลี่ยต่อปี

เงื่อนไข

ผลผลิต 750 กก./ไร่ ราคาตันละ 11,000 บาท ผลผลิต 11.30 ตัน/ไร่ 2,056.60 ราคาตันละ 1,050 บาท ผลผลิต 3.439 ตัน/ไร่ 2,065.80 ราคาตันละ 2,200 บาท ผลผลิต 35 ตัน/ไร่ 3,567.50 ราคาตันละ 300 บาท 2,340.00

แหล่งข้อมูล ศูนย์พัฒนาความรู้การซื้อ ขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า สำนักงานคณะกรรมการ อ้อยและน้ำตาล สถาบันพัฒนามันสำปะหลัง แห่งประเทศไทย รวบรวมข้อมูลจาก แหล่งต่างๆ




เทคโนโลยีระบบผลิตก๊าซชีวภาพเพื่อผลิตไฟฟ้าจากหญ้าพลังงานขนาด 1 MW

• เงินลงทุนขนาด 1 MW 100 ล้านบาท • ราคาขายไฟฟ้า หน่วยละ 4.50 บาท • ราคาขายปุ๋ย ตันละ 2,000 บาท • Project IRR =12% • ระยะเวลาคืนทุน = 6 ปี

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 159 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2557

• อัตราดอกเบี้ย ร้อยละ 7.25 ต่อปี

57


การวิเคราะห์ทางด้านการเงินโครงการ รายการ ระบบผลิตไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพขนาด 1 MW - ระบบเตรียมวัตถุดิบพร้อมอาคาร - ระบบผลิตก๊าซชีวภาพ ขนาด 13,000 ลบ.ม. - ระบบผลิตไฟฟ้าและระบบทำความสะอาดแก๊ส - ระบบผลิตปุ๋ยอินทรีย์ขนาด 12 ตัน/วัน รายรับ รายได้รวมของโรงงาน รายได้จากการขายไฟฟ้า รายได้จากการขายปุ๋ย รายจ่าย ต้นทุนรวมของโรงงาน ต้นทุนค่าวัตถุดิบ ต้นทุนค่า O&M โรงงานทั่วไป ต้นทุนการเปลี่ยน Gas Engine กำไร กำไรขั้นต้นของโรงงานแต่ละปี กำไร/ขาดทุนสะสม รายการ รายรับ รายได้รวมของโรงงาน รายได้จากการขายไฟฟ้า รายได้จากการขายปุ๋ย รายจ่าย ต้นทุนรวมของโรงงาน ต้นทุนค่าวัตถุดิบ ต้นทุนค่า O&M โรงงานทั่วไป ต้นทุนการเปลี่ยน Gas Engine กำไร กำไรขั้นต้นของโรงงานแต่ละปี กำไร/ขาดทุนสะสม ผลวิเคราะห์โครงการ Project IRR Pay Back Period

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 159 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2557

58 44.6 36.7 7.9

Y4

44.6 36.7 7.9

Y5

44.6 36.7 7.9

Y6

44.6 36.7 7.9

Y7

44.6 36.7 7.9

Y8

44.6 36.7 7.9

Y9

44.6 36.7 7.9

Y10

44.6 36.7 7.9

44.6 36.7 7.9

44.6 36.7 7.9

15.8 15.8 -0.7 15.8 15.8 15.8 15.8 15.8 89.3 105.1 104.5 120.3 136.1 152.0 167.8 183.6

44.6 36.7 7.9

12 6

15.8 73.5

44.6 36.7 7.9

% Year

15.8 57.6

44.6 36.7 7.9

15.8 41.8

44.6 36.7 7.9

MB/yr

44.6 36.7 7.9

-28.7 -28.7 -28.7 -28.7 -28.7 -45.2 -28.7 -28.7 -28.7 -28.7 -28.7 -25.7 -25.7 -25.7 -25.7 -25.7 -25.7 -25.7 -25.7 -25.7 -25.7 -25.7 -3.0 -3.0 -3.0 -3.0 -3.0 -3.0 -3.0 -3.0 -3.0 -3.0 -3.0 -16.5

44.6 36.7 7.9

MB/yr MB/yr MB/yr MB/yr

44.6 36.7 7.9

44.6 36.7 7.9

MB/yr MB/yr MB/yr

15.8 15.8 15.8 15.8 15.8 15.8 15.8 -0.7 15.8 15.8 -100.0 -84.2 -68.3 -52.5 -36.7 -20.9 -5.0 10.8 10.2 26.0 41.8 หน่วย Y10 Y11 Y12 Y13 Y14 Y15 Y16 Y17 Y18 Y19 Y20

MB/yr

44.6 36.7 7.9

Y3

-28.7 -28.7 -28.7 -28.7 -28.7 -28.7 -28.7 -45.2 -28.7 -28.7 -25.7 -25.7 -25.7 -25.7 -25.7 -25.7 -25.7 -25.7 -25.7 -25.7 -3.0 -3.0 -3.0 -3.0 -3.0 -3.0 -3.0 -3.0 -3.0 -3.0 -16.5

44.6 36.7 7.9

Y2

MB/yr MB/yr MB/yr MB/yr

Y1

44.6 36.7 7.9

Y0 100.0 5.0 58.0 20.0 17.0

MB/yr MB/yr MB/yr

หน่วย MB MB MB MB MB


กระบวนการพัฒนาก๊าซชีวภาพไปใช้ประโยชน์ กลุ่มขายหญ้า

กลุ่มระบบผลิตก๊าซชีวภาพ

กลุ่มการนำก๊าซไปใช้ประโยชน์ ผลิตไฟฟ้า

ชุมชน/เอกชน/ภาครัฐ

วิสาหกิจชุมชน/สหกรณ์

• ภาครัฐสนับสนุนเงินลงทุนปลูกหญ้าพลังงานจำนวน 3,000 บาท/ไร่เฉพาะปีแรก • ภาครัฐสนับสนุนเงินลงทุนระบบผลิตก๊าซชีวภาพแก่ชุมชนในสัดส่วนที่เหมาะสมจาก กองทุนรัฐบาล • เกษตรกรดำเนินการจัดตั้งนิติบุคคลในการบริหารจัดการเชื้อเพลิงรูปแบบวิสาหกิจ ชุมชน/สหกรณ์

ผลิตก๊าซชีวภาพอัด

ทดแทน LPG

ผลิตปุ๋ย

ชุมชน/เอกชน/ภาครัฐ

ภาคเอกชน

ผู้พัฒนาโครงการ

การเข้าร่วมลงทุนกับภาครัฐ เงินกู้ 30 ล้านบาท เงินลงทุน 20 ล้านบาท

รูปแบบ PPP ชุมชน : เอกชน 50:50

โครงการวิสาหกิจชุมชน พลังงานสีเขียวจากพืชพลังงาน

เงินลงทุนโครงการ 100 ล้านบาท/เมกะวัตต์ - เงินกู้สถาบันการเงิน (60%) 60 ล้านบาท - เงินลงทุน (40%) 40 ล้านบาท Contract Farming 300 บาท/ตัน ขาย/แลกเปลี่ยน พืชพลังงาน/สารปรับปรุงดิน

ขายไฟฟ้าเข้าสู่ระบบ 8.15 ล้านหน่วย/ปี/เมกะวัตต์

FIT 4.50 บาท/หน่วย

เกษตรกร ผู้ปลูกพืชพลังงาน 100,000 ไร่ การสนับสนุน ภาครัฐสู่เกษตรกร สนับสนุนเงิน 3,000 บาท/ไร่ (เฉพาะครั้งแรก) รายได้ 3,500 บาท/ไร่/ปี

รูปแบบการลงทุนและพัฒนาโครงการ

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 159 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2557

รายได้คืนสู่ ชุมชน และภาคเอกชน IRR 12% (50:50)

ชุมชนพลังงานสีเขียว การสนับสนุนภาครัฐสู่ชุมชน Revolving Fund 30 ล้านบาท สนับสนุนเงินลงทุน 20 ล้านบาท

59


การบูรณาการระหว่างหน่วยงาน กลางน้ำ

ต้นน้ำ

เทคโนโลยีหมัก-ทำความสะอาดก๊าซ (upgrade)

พื้นที่-พันธุ์-เทคโนโลยีเพาะปลูก กษ. (กวก./กรมปศุสัตว์)  พม. (กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ)  พน. (พพ./สนพ.)  ศธ. (มก.) 

ปลายน้ำ

วท. (สวทช.)  พน. (พพ./ปตท./สนพ.)  ศธ. (มช./มอ./มทส.)

CBG

ไฟฟ้า

 

ทดแทน LPG

วัสดุปรับปรุง ดิน

พน. (ปตท./ธพ.) พน. (สนพ./สกพ./กฟผ.) มท. (กฟภ.)

พน. (พพ.)

ศธ. (มทส.)

ความร่วมมือระหว่าง กระทรวงพลังงาน และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ชุมชนพลังงานสีเขียวฯ

สหกรณ์ผู้เลี้ยงโค

การจัดตั้งหมู่บ้านหลัก ถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านอาหารสัตว์ ส่งเสริมการปลูกพืชอาหารสัตว์การผสมอาหารสัตว์ใช้เอง การทำแก๊สชีวภาพแบบถุง หมักพีวีซี

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 159 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2557

60

ในปี 2556 จัดตัง้ หมูบ่ า้ นหลักฯ 630 แห่ง มีเกษตรกรแกนนำร่วมโครงการ 6,300 ราย เกษตรกรเครือข่าย 67,200 ราย ทั่วประเทศ


ปลูกหญ้าสวนครัว เลี้ยงวัวหลังบ้าน พลังงานทดแทน

ผลผลิตปลอดภัย ไร้สารพิษ แก๊สหุงต้ม

บ่อหมักแก๊สชีวภาพ

กากเป็นปุ๋ยอินทรีย์

ผลการสำรวจ 254 ครัวเรือน - ลงทุนสร้างบ่อแก๊ส 3600 บาท/บ่อ - ผลิตแก๊สชีวภาพได้ไม่น้อยกว่า 8 ลบม./สัปดาห์ - มีแก๊สใช้หุงต้ม 1 ชม./วัน - ลดค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 200-250 บาท/เดือน

แสดงจำนวนบ่อแก๊สชีวภาพ ปี 2544-2556 การขยายผลร่วมกับท้องถิ่น 9% จำนวน 630 บ่อ

91% งบประมาณกรมปศุสัตว์

งบประมาณภายนอก

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 159 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2557

จำนวน 6,229 บ่อ

61


ส่งเสริมการทำปศุสัตว์อินทรีย์ • สาธิตการผลิตเมล็ดพันธุ์พืชอาหารสัตว์มาตรฐานอินทรีย์ • สาธิตการเลี้ยงโคพื้นเมือง กระบือมาตรฐานอินทรีย์ • สาธิตการผลิตน้ำนมมาตรฐานอินทรีย์ และอาหารสัตว์มาตรฐานอินทรีย์

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 159 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2557

62


ระบบบำบัดน้ำเสีย

การบูรณาการ ผู้ผลิตพืชอาหารสัตว์

• พิจารณาคัดเลือกเกษตกร

• สนับสนุนน้ำที่ผ่านการบำบัด และระบบการให้น้ำ

• สนับสนุนเทคโนโลยีการผลิตพืชอาหารสัตว์คุณภาพดี ตลอดจนการ จัดการ และใช้ประโยชน์แบบครบวงจร เกษตรกร

• ผู้เลี้ยงโคนม

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 159 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2557

เกษตรกร

63


โครงการเพิ่ ม ผลผลิ ต พื ช อาหารสั ต ว์ ใ นแหล่ ง เลี้ ย งโคนมด้ ว ยหญ้ า เนเปี ย ร์ ป ากช่ อ ง 1 ในโอกาสวันสถาปนากรมปศุสัตว์ 70 ปี

สอส. ได้สนับสนุนท่อนพันธุ์เนเปียร์ปากช่อง 1 ไปยังสหกรณ์โคนมทั่วประเทศ ได้รับความ สนใจจากเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม และโคเนื้อในสังกัดสหกรณ์ต่างๆ 66 แห่ง ในพื้นที่ 24 จังหวัด จำนวนเกษตรกร 1,898 ราย จำนวนท่อนพันธุ์ฯ 1,079,140 กิโลกรัม พื้นที่ปลูก 3,034 ไร่

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 159 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2557

64




เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ยั่งยืน

อุตสาหกรรมเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ถือเป็น แหล่งผลิตวัตถุดิบอาหาร และปัจจัยการผลิต สำหรับอุตสาหกรรมแปรรูปทีส่ ำคัญ โดยเฉพาะ ปลาซึ่งอยู่คู่กับวัฒนธรรมอาหารการกินของ ประเทศต่างๆ ตั้งแต่สมัยที่มนุษย์จับสัตว์น้ำ ในธรรมชาติ กระทั่งเกิดการเพาะเลี้ยงเพื่อ ทดแทนการจั บ และรองรั บ ความต้ อ งการ บริโภคที่ขยายตัวตามประชากรทั่วโลก ข้อมูล จากกรมประมงในปี 2554 รายงานมูลค่าของ สัตว์น้ำเค็ม และน้ำจืดที่ได้จากการเพาะเลี้ยง ว่าสูงถึงกว่า 100,000 ล้านบาท อุตสาหกรรมเพาะเลี้ ย งสั ต ว์ น้ ำ จึ ง ถื อ ได้ ว่ า เป็ น หนึ่ ง ในอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจ ของไทยอย่างยิ่ง ข้อดีอีกประการในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ คือ สัตว์น้ำหลายชนิดมีอัตราแลกเนื้อดีกว่า สัตว์ใหญ่ เช่น ปลา และกุ้ง จะต้องใช้อาหาร เลีย้ งประมาณ 1.5-1.8 กิโลกรัม เพือ่ ให้ได้นำ้ หนัก ขณะจับขาย 1 กิโลกรัม ในขณะที่สุกรหนัก 1

กิโลกรัม อาจสิ้นเปลืองอาหารเลี้ยงมากถึง 3.5 กิโลกรัม ทว่า ด้วยต้นทุนวัตถุดิบอาหาร สัตว์นำ้ ทีม่ แี นวโน้มจะสูงขึน้ อย่างต่อเนือ่ ง ทำให้ นักวิจัยต่างคิดค้นสูตรอาหาร และพิจารณา วัตถุดิบที่มีความเหมาะสมเพื่อให้สามารถคง คุณค่าโภชนาการ และลดต้นทุนในการผลิต โดยเฉพาะแหล่งอาหารโปรตีนทดแทนวัตถุดิบ ชนิดเดิมซึ่งมีต้นทุนสูง กระทั่งค้นพบว่า สิ่งมี ชีวิตใกล้ตัวคือ “แมลง” มีศักยภาพเป็นความ หวั ง ใหม่ ข องอุ ต สาหกรรมเพาะเลี้ ย งสั ต ว์ น้ ำ และปศุสัตว์ที่ยั่งยืนได้อย่างน่าพิศวง

“แมลง” แหล่งโปรตีนรักษ์โลก เมื่อเดือนพฤษภาคม 2556 องค์การ อาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ได้เผยแพร่รายงาน “Edible insects: Future prospects for food and feed security” ที่ รวบรวมสรุปข้อมูลจากแหล่งความรู้ และผู้ เชีย่ วชาญทัว่ โลก ว่าด้วยศักยภาพในการใช้แมลง ที่เป็นแหล่งโปรตีนต้นทุนต่ำ ผลิตได้ง่าย และ สร้างมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อมน้อย เป็นอาหาร และอาหารสัตว์ทมี่ คี วามยัง่ ยืน รายงานข้างต้น ยังได้กล่าวถึงวัฒนธรรมการบริโภคแมลงของ มนุ ษ ย์ ประโยชน์ ข องแมลงต่ อ ระบบนิ เ วศ

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 159 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2557

อุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ในปัจจุบัน

Food Feed Fuel

“แมลง” ความหวังแหล่งโปรตีน

65


จนถึงการเพาะเลี้ยง และวิจัยเพื่อใช้ประโยชน์ แมลงเพือ่ ความมัน่ คงทางอาหารของประชากร โลกด้วย รายงาน FAO ได้ประมาณจำนวนผูบ้ ริโภค แมลงทัว่ โลก 2,000 ล้านคน โดยเฉพาะในเอเซีย แอฟริกา และละตินอเมริกา ซึ่งพบว่า บริโภค แมลงรวมกว่า 1,900 ชนิด เช่น ด้วง หนอนผีเสื้อ มด-ผึ้ง-ต่อ และจิ้งหรีด-ตั๊กแตน แม้ คนอีกกลุ่มหนึ่งจะเห็นว่าการบริโภคแมลงเป็น สิ่งไม่น่าพิสมัยนัก กระนั้นประชากรแมลงที่มี จำนวนมากกว่ามนุษย์หลายเท่าก็ได้เข้ายึดครอง พื้นที่อยู่อาศัยในทุกสภาพแวดล้อม ตั้งแต่ป่า จนถึงพืน้ ทีร่ กร้าง และแหล่งน้ำ ด้วยคุณสมบัติ ของแมลงที่เจริญเติบโตได้เร็ว วงจรชีวิตสั้น และก่ อ ให้ เ กิ ด มลภาวะต่ ำ มากในสภาพการ เพาะเลีย้ งเพือ่ เป็นอาหาร ทำให้แมลงกลายเป็น เป้ า หมายในการศึ ก ษาวิ จั ย เพื่ อ นำมาใช้ เ ป็ น อาหารและอาหารสัตว์อย่างจริงจัง

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 159 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2557

66

แมลงถู ก จั บ ตามองศั ก ยภาพการใช้ ประโยชน์เป็นแหล่งโปรตีน และส่วนผสมอาหาร ในอุตสาหกรรมเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เนื่องจากมี ต้นทุนในการผลิตต่ำ แม้จะมีอัตราแลกเนื้อ ใกล้เคียงกับปลา-กุ้ง (ประมาณ 2 กิโลกรัม ต่อแมลง 1 กิโลกรัม) แต่อาหารของแมลง หลายชนิดเป็นเพียงขยะอินทรีย์ เช่น เศษผัก และเศษอาหาร เท่ากับสามารถใช้ประโยชน์เพือ่ กำจัดขยะ และสร้างมูลค่าเพิ่มไปพร้อมกันโดย ไม่ต้องใช้เทคนิค สถานที่ และต้นทุนค่าใช้จ่าย ที่ สู ง ในการเลี้ ย งแมลงแต่ อ ย่ า งใด แมลงยั ง สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในรูปแบบอื่นๆ เช่น บดผสมอาหาร หรือใช้ในลักษณะอาหารข้น อีก ทัง้ สามารถนำไปสกัดองค์ประกอบไคติน ไขมัน วิตามิน และแร่ธาตุได้

ระเบียบ และความปลอดภัย ในการใช้ประโยชน์แมลง การพัฒนาการใช้ประโยชน์แมลงสำหรับ อุตสาหกรรมเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำถือได้ว่ามีความ ก้าวหน้าอย่างต่อเนือ่ ง โดยเมือ่ เดือนพฤษภาคม 2557 นักวิทยาศาสตร์ของสถาบันโภชนาการ และอาหารทะเลของกลุ่ ม ประเทศนอร์ ดิ ก (NIFES) ได้กล่าวว่า การใช้แมลงป่นเพื่อการ เลีย้ งปลาแอตแลนติกแซลมอน ซึง่ ในธรรมชาติ กิ น แมลง และตั ว อ่ อ นของแมลงเป็ น อาหาร อาจเป็นแนวทางการใช้อาหารเพาะเลี้ยงสัตว์ น้ำอย่างใกล้เคียงธรรมชาติที่สุด นอกจากนี้ NIFES ยังกล่าวถึงความ สำคัญของการเลี้ยงแมลงโดยใช้ขยะอินทรีย์ เช่น ขยะอาหาร ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนถึงประมาณ 20% ของอาหารที่ผลิตทั่วโลกว่าจะเป็นแนว ทางกำจัดขยะทีส่ ามารถสร้างประโยชน์ตอ่ ยอด อย่างยั่งยืน อีกทั้งพบว่า แมลงที่เลี้ยงด้วยขยะ อาหารมีสัดส่วนโปรตีนสูงกว่าถั่วเหลืองถึง 3 เท่าตัว และปลาแอตแลนติกแซลมอนที่เลี้ยง ด้วยแมลงเหล่านี้ยังคงมีรสชาติของเนื้อ และ น้ำมันปลา รวมถึงอัตราการเจริญเติบโตไม่ตา่ ง จากการเลี้ยงด้วยปลาป่นที่มีต้นทุนสูงแต่อย่าง ใด ทว่า รายงานของ FAO ในปี 2556 ที่กล่าวถึงในตอนต้น ได้แสดงความกังวลเกี่ยว กับมาตรการควบคุมความปลอดภัยของการนำ แมลงมาบริโภค หรือใช้เป็นอาหารสัตว์-สัตว์นำ้ โดยเฉพาะด้านการปนเปื้อนจุลินทรีย์ และสาร ตกค้าง เนือ่ งจากแมลงสามารถเพาะเลีย้ งได้จาก สถานที่ อาหาร และสิ่งแวดล้อมหลายลักษณะ เช่น การเลี้ยงด้วยขยะจากโรงฆ่าสัตว์ จนถึง


สิ่งปฏิกูล เป็นต้น ดังนั้น ระเบียบที่ใช้จะต้องมี ความรัดกุม และมีระดับมาตรการด้านความ ปลอดภัยเท่ากับอาหาร และอาหารสัตว์ชนิด อืน่ ๆ โดยปัจจุบนั พบว่า การปรับปรุงกฎระเบียบ ด้ า นอาหารสั ต ว์ ข องหลายประเทศมี ค วาม คืบหน้ามากกว่ากฎระเบียบด้านอาหาร ซึ่ง ยังคงมีมาตรการใกล้เคียงกับระเบียบอาหาร ทีใ่ ช้เทคโนโลยีแบบใหม่ (novel food) ทีม่ คี วาม ซับซ้อน แม้ โ ครงการพั ฒ นาการใช้ ป ระโยชน์ โปรตีนแมลง PROteINSECT ที่ได้รับการ สนับสนุนทุนจากสหภาพยุโรป (EU) จะแสดง ความมั่นใจว่า การปรับปรุงกฎระเบียบเพื่อ รองรับการใช้ประโยชน์แมลงเป็นอาหารสัตว์ ของ EU จะขยายความครอบคลุมจากการ

อนุญาตให้ใช้ในการเลีย้ งปลา และหอย ไปสูก่ าร อนุ ญ าตให้ ใ นสุ ก ร และสั ต ว์ ปี ก ในอนาคต อั น ใกล้ แต่ ข้ อ จำกั ด ของระเบี ย บในหลาย ประเทศคู่ค้า โดยเฉพาะระเบียบที่เกี่ยวข้องกับ โปรตีนแปรรูปจากสัตว์ (Processed Animal Proteins: PAPs) ทำให้การใช้ประโยชน์แมลง ในเชิงอุตสาหกรรมอาหารยังคงมีอยู่ในระดับ จำกัด ดังนั้น ผู้ประกอบการคงต้องจับตามอง กฎระเบียบ novel food ฉบับใหม่ของสหภาพยุ โ รป ซึ่ ง อาจคลี่ ค ลายปั ญ หาข้ อ จำกั ด ของ มาตรการเหล่านี้ลง และกลายเป็นกฎระเบียบ ต้นแบบที่ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนา และขยาย ขอบเขตการใช้ประโยชน์แมลงเป็นอาหาร และ อาหารสัตว์ทั่วโลก

เกร็ดความรู้ Q: แมลงกลุ่มใดบ้างที่กินได้? A: รายงาน “Edible insects” ของ FAO สรุปรายการแมลงทีม่ นุษย์บริโภคไว้กว่า 1,900 ชนิด (สปีชสี )์ โดยจัดแบ่งตามลำดับสิ่งมีชีวิต (order) ได้ดังนี้ แมลงปอ (Odonata) 3% ปลวก (Isoptera) 3%

แมลงวัน (Diptera) 2% ลำดับอื่นๆ 5%

ตั๊กแตน และจิ้งหรีด (Orthoptera) ผึ้ง ต่อ แตน มด (Hymenoptera)

10% 13%

31% 14%

ด้วง (Coleoptera)

18% หนอนผีเสื้อ (Lepidoptera)

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 159 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2557

จักจั่น (Hemiptera)

67


Market Leader

การจัดการและควบคุมพีเอช ของน้ำในระหว่างการเลี้ยงกุ้ง ในสภาวะทีม่ กี ารระบาดของโรคอีเอ็มเอสในแทบทุกพื้นที่ของการเลี้ยงกุ้ง ทำให้ การเลีย้ งกุง้ มีความยากลำบากมากยิง่ ขึน้ โดย เกษตรกรที่ต้องการประสบความสำเร็จใน การเลีย้ งจะต้องยอมรับการเปลีย่ นแปลง ไม่วา่ จะเป็นการปรับเพิม่ พืน้ ทีข่ องบ่อสำหรับบำบัด น้ำ การอนุบาลลูกกุ้งก่อนปล่อยลงบ่อเลี้ยง รวมทั้งต้องมีความพิถีพิถัน และเอาใจใส่กับ การจัดการบ่อ เพื่อควบคุมให้สภาพแวดล้อม ในบ่อเลี้ยงอยู่ในช่วงที่เหมาะสมต่อกุ้งตลอด ระยะเวลาการเลี้ยง ซึ่งก็จะมีความสำคัญต่อ ความสำเร็จในการเลี้ยงไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน การควบคุมคุณภาพน้ำในบ่อให้นิ่ง ไม่แกว่ง โดยเฉพาะพี เ อชของน้ ำ ทั้ ง ในช่ ว งของการ อนุบาล และในบ่อเลีย้ ง จะทำให้กงุ้ ไม่เครียด มีสุขภาพแข็งแรง และมีความต้านทานโรค มากขึ้น จึงทำให้ความเสี่ยงของการเกิดโรค ลดลง

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 159 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2557

68

พีเอช (pH) หรือความเป็นกรด-ด่าง ของน้ำ เป็นค่าทางคุณภาพน้ำที่ใช้ชี้วัดว่า น้ำ มีคุณสมบัติเป็นกรด หรือเป็นด่าง โดยพีเอช จะมีค่าอยู่ในช่วง 0-14 ซึ่งน้ำที่มีพีเอชเท่ากับ ที่มา : ข่าวกุ้ง ปีที่ 26 ฉบับที่ 314 กันยายน 2557

7 จะแสดงคุณสมบัตเิ ป็นกลาง แต่ถา้ พีเอชของ น้ำต่ำกว่า 7 จะแสดงคุณสมบัติเป็นกรด และ ถ้าพีเอชของน้ำมากกว่า 7 จะแสดงคุณสมบัติ เป็นด่าง โดยทั่วไปพีเอชของน้ำทะเลจะอยู่ใน ช่วง 7.8-8.3 ซึ่งค่าพีเอชของน้ำที่อยู่ในเกณฑ์ ทีเ่ หมาะสมจะทำให้สตั ว์นำ้ ต่างๆ สามารถเจริญ เติบโตได้ดี ทั้งนี้การเปลี่ยนแปลงของค่าพีเอช ในบ่อเลีย้ งกุง้ จะขึน้ อยูก่ บั ปัจจัยหลายอย่าง เช่น คุณสมบัติของดิน ค่าอัลคาไลนิตี้ และการใช้ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในน้ำ ซึ่งส่วนใหญ่จะ ขึ้นอยู่กับปริมาณแพลงก์ตอนพืช

การเปลี่ยนแปลงของค่าพีเอช ในบ่อเลี้ยงกุ้งในแต่ละรอบวัน พีเอชของน้ำในบ่อเลี้ยงกุ้งจะมีค่าสูงสุด ในช่วงบ่าย และมีค่าต่ำสุดในตอนเช้าตรู่ ทั้งนี้ เป็นเพราะการเปลีย่ นแปลงของค่าพีเอชของน้ำ ในบ่อเลี้ยงกุ้งในแต่ละรอบวันนั้น จะขึ้นอยู่กับ กระบวนการสังเคราะห์แสงของแพลงก์ตอนพืช และกระบวนการหายใจของกุง้ และสิง่ มีชวี ติ อืน่ ๆ ในน้ำเป็นหลัก โดยในเวลากลางวันแพลงก์ตอนพืชจะมีการสังเคราะห์แสง ซึง่ จำเป็นต้องใช้กา๊ ซ


กลางๆ แต่ ถ้ า พี เ อชของน้ ำ สู ง หรื อ ต่ ำ กว่ า ค่ า ที่ เ หมาะสมจะส่ ง ผลกระทบต่ อ การเจริ ญ เติบโต และสุขภาพของสัตว์น้ำ และอาจทำให้ สัตว์นำ้ ไม่สามารถดำรงชีวติ อยูไ่ ด้ ถ้าพีเอชของ น้ำมีค่าสูง หรือต่ำกว่าช่วงที่เหมาะสมมาก ซึ่ง ผลของพีเอชทีร่ ะดับต่างๆ ต่อการดำรงชีวติ ของ สัตว์น้ำ แสดงดังตารางที่ 1

คาร์บอนไดออกไซด์ในน้ำไปใช้ ทำให้ปริมาณ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในน้ำลดลง ส่งผลทำให้ ค่าพีเอชของน้ำสูงขึน้ เรือ่ ยๆ จนสูงสุดในช่วงบ่าย ในทางตรงกันข้าม ในช่วงเวลากลางคืน ซึ่งกุ้ง และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ รวมทั้งแพลงก์ตอนพืชยังคง หายใจ โดยมี ก ารใช้ อ อกซิ เ จน และปล่ อ ย ก๊ า ซคาร์ บ อนไดออกไซด์ อ อกมาตลอดเวลา ประกอบกับในช่วงเวลากลางคืนไม่มีกระบวนการสั ง เคราะห์ แ สงของแพลงก์ ต อนพื ช ที่ ดึ ง ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไปใช้ ทำให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สะสมอยู่ในน้ำเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ เมื่อมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สะสมอยู่ในน้ำ มาก จึงทำให้เกิดกรดคาร์บอนิก (Carbonic Acid) มาก จึงทำให้พีเอชของน้ำลดลง และมี ค่าต่ำสุดในตอนเช้าตรู่

ผลกระทบของพีเอชต่อสัตว์น้ำ พี เ อชของน้ ำ มี ค วามสำคั ญ ต่ อ การดำเนินชีวิตของสัตว์น้ำและสิ่งมีชีวิตต่างๆ ในน้ำ โดยสัตว์น้ำและสิ่งมีชีวิตต่างๆ จะดำรงชีวิต ได้ เ ป็ น ปกติ ถ้ า น้ ำ นั้ น มี ค่ า พี เ อชอยู่ ใ นช่ ว งที่ เหมาะสม ซึ่งโดยทั่วไปจะอยู่ในช่วงค่าพีเอช

ตารางที่ 1 ผลของค่าพีเอชในน้ำที่ระดับต่างๆ ต่อสัตว์น้ำ พีเอช ผลต่อสัตว์น้ำ ต่ำกว่า 4.0 ทำให้สัตว์น้ำตายได้ 4.0-5.0 ไม่สืบพันธุ์ 4.0-6.0 การเจริญเติบโตช้าลง 6.5-9.0 เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของสัตว์น้ำ 9.0-11.0 การเจริญเติบโตช้าลง 9.5-11.0 ไม่สืบพันธุ์ มากกว่า 11.0 ทำให้สัตว์น้ำตายได้

สำหรั บ ค่ า พี เ อชของน้ ำ ที่ เ หมาะสมต่ อ การเลีย้ งกุง้ นัน้ โดยทัว่ ไปควรจะอยูใ่ นช่วง 7.58.2 และมีความแตกต่างของค่าพีเอชของน้ำ ในบ่อเลี้ยงในรอบวันไม่ควรเกิน 0.5 ถ้าค่า พีเอชของน้ำแกว่ง และแตกต่างกันมาก จะทำ ให้กุ้งเจริญเติบโตช้า เครียด รวมทั้งมีการติด เชื้อ และเกิดโรคได้ง่าย นอกจากพี เ อชของน้ ำ จะส่ ง ผลกระทบ โดยตรงต่อกุ้งแล้ว ยังส่งผลต่อความเป็นพิษ ของแอมโมเนีย และไฮโดรเจนซัลไฟด์ (ก๊าซ ไข่เน่า) อีกด้วย โดยเมื่อพีเอชของน้ำลดต่ำลง ก็จะทำให้ความเป็นพิษของไฮโดรเจนซัลไฟด์ตอ่ กุ้งเพิ่มมากขึ้น ในทางตรงกันข้าม เมื่อพีเอช ของน้ำสูงขึ้น ก็จะทำให้ความเป็นพิษของแอมโมเนียต่อกุ้งเพิ่มมากขึ้น

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 159 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2557

รูปที่ 1 การเปลี่ยนแปลงของค่าพีเอชในน้ำบ่อเลี้ยงกุ้ง ในแต่ละรอบวัน (Boyd, 2544)

69


การจัดการและควบคุมพีเอชของน้ำ ในบ่อเลี้ยงกุ้ง พี เ อชเป็ น ค่ า ทางคุ ณ ภาพน้ ำ ที่ มี ค วาม สำคัญต่อความสำเร็จในการเลีย้ งกุง้ ดังนัน้ จึง จำเป็นต้องรักษาระดับของค่าพีเอชให้นิ่ง และ อยู่ ใ นเกณฑ์ ที่ เ หมาะสมตลอดระยะเวลาการ เลี้ยง ซึ่งสามารถทำได้ดังนี้

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 159 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2557

70

• เลีย้ งกุง้ ในความหนาแน่นทีเ่ หมาะสม และให้อาหารอย่าให้เหลือ การลงกุง้ ทีห่ นาแน่น จนเกินไป และการให้อาหารที่ไม่สอดคล้องกับ ความต้องการของกุง้ ในบ่อเลีย้ ง ประกอบกับการ ควบคุมของเสียที่พื้นบ่อโดยการดูดเลนทำได้ ไม่ดี จึงทำให้เกิดการสะสมของสารอินทรีย์ จากอาหารที่เหลือ และขี้กุ้งที่ขับถ่ายออกมา เป็นตะกอนเลนที่พื้นบ่อในปริมาณมาก เมื่อ เกิ ด การย่ อ ยสลายจะทำให้ มี ก ารสะสมของ ธาตุอาหารต่างๆ ได้แก่ ไนโตรเจน และฟอสฟอรั ส ในปริ ม าณที่ ม ากด้ ว ย ซึ่ ง ธาตุ อ าหาร เหล่ า นี้ จ ะเป็ น ตั ว เร่ ง ส่ ง ผลทำให้ แ พลงก์ ต อน พืชมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว จนปริมาณ แพลงก์ตอนพืชหนาแน่นมากจนเกินไป ทำให้ น้ำในบ่อเลี้ยงมีสีเข้ม น้ำหนืดเร็ว มีค่าความ โปร่งแสงต่ำ ซึ่งการที่อัตราการเจริญเติบโต ของแพลงก์ ต อนพื ช เป็ น ไปอย่ า งรวดเร็ ว จน กระทั่งสูงเกินกว่าระดับที่เหมาะสมนั้น จะส่ง ผลกระทบทำให้ ค่ า พี เ อช และออกซิ เ จนใน รอบวั น มี ค วามแตกต่ า งกั น มาก โดยในช่ ว ง กลางคืนจนกระทั่งถึงเช้า น้ำในบ่อเลี้ยงจะมี พีเอชลดลงมาก ส่วนปริมาณออกซิเจนก็จะ ลดต่ ำ ลงด้ ว ย และอาจไม่ เ พี ย งพอต่ อ กุ้ ง ได้ ส่วนในเวลากลางวันน้ำจะมีคา่ ออกซิเจนสูงเกิน จุดอิ่มตัว และมีค่าพีเอชสูงขึ้นมาก จึงทำให้

เกิดการแกว่งของค่าพีเอช และปริมาณออกซิเจนละลายน้ำที่ค่อนข้างมาก ซึ่งย่อมส่งผล กระทบต่อกุง้ โดยตรง นอกจากนี้ ในช่วงทีพ่ เี อช ของน้ำที่สูงขึ้น ยังส่งผลกระทบทำให้สารพิษ บางตัว เช่น แอมโมเนีย มีความเป็นพิษเพิ่ม มากขึ้ น ส่ ว นในช่ ว งที่ พี เ อชของน้ ำ ลดต่ ำ ลง ก็จะทำให้ความเป็นพิษของไฮโดรเจนซัลไฟด์ (ก๊าซไข่เน่า) ต่อกุ้งเพิ่มมากขึ้น อาจทำให้เป็น อันตรายต่อกุ้งได้ ดังนั้น การเลี้ยงกุ้งในความ หนาแน่นที่เหมาะสม และควบคุมอาหารไม่ให้ เหลือมากจนเกินไป รวมทั้งหมั่นดูดเลนเป็น ระยะๆ ตลอดระยะเวลาการเลี้ ย ง เพื่ อ เอา ของเสี ย ที่ พื้ น บ่ อ ออกไปก็ จ ะสามารถช่ ว ยลด ปัญหานี้ลงได้ • ควบคุ ม ปริ ม าณแพลงก์ ต อนไม่ ใ ห้ หนาแน่นเกินไป ปริมาณแพลงก์ตอนในบ่อที่ หนาแน่นจนเกินไป จะทำให้มกี ารเปลีย่ นแปลง ของค่าพีเอชในรอบวันมาก ดังนั้น จะต้อง ควบคุ ม ปริ ม าณแพลงก์ ต อนให้ อ ยู่ ใ นระดั บ ที่ เหมาะสม โดยอาจจะมีการเติม หรือเปลี่ยน ถ่ายน้ำ หรือใช้สีน้ำเทียมเพื่อลดการใช้วัสดุปูน ในกลุ่มที่ทำให้ค่าพีเอชของน้ำสูงขึ้น เช่น ปูน มาร์ล ปูนโตโลไมท์ หรือปูนขาว เป็นต้น • ควบคุมค่าอัลคาไลนิตี้ในน้ำให้อยู่ใน เกณฑ์ที่เหมาะสม ค่าอัลคาไลนิตี้ เป็นค่าทาง คุ ณ ภาพน้ ำ อี ก ปั จ จั ย หนึ่ ง ที่ มี ค วามสำคั ญ ต่ อ คุณภาพน้ำสำหรับการเลี้ยงกุ้ง โดยจะมีความ สัมพันธ์อย่างมากกับค่าพีเอช เนื่องจากอัลคาไลนิตี้ในน้ำจะทำหน้าที่เป็นบัฟเฟอร์ควบคุม และรักษาพีเอชในน้ำบ่อเลี้ยงให้คงที่ ไม่ให้เกิด การเปลี่ยนแปลงในรอบวันมากเกินไป จึงควร รักษาระดับค่าอัลคาไลนิตี้ในบ่อเลี้ยงให้ไม่ต่ำ


กว่า 120 พีพีเอ็ม ซึ่งถ้าค่าอัลคาไลนิตี้ในบ่อเลี้ยงมีต่ำกว่าค่าที่เหมาะสม สามารถเพิ่มได้ โดยการใส่ปนู แคลเซียมคาร์บอเนต หรือการใช้โซเดียมไบคาร์บอเนตสำหรับการเพิม่ ค่าอัลคาไลนิตี้ ในกรณีที่พีเอชของน้ำสูงแต่อัลคาไลนิตี้มีค่าต่ำ จะเห็นได้ว่าพีเอชเป็นค่าทางคุณภาพน้ำที่มีความสำคัญต่อการเลี้ยงกุ้ง ซึ่งจะส่งผลโดยตรง ต่อความสำเร็จของการเลี้ยงกุ้ง ดังนั้น เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งจะต้องรักษาระดับของค่าพีเอชให้นิ่ง และอยูใ่ นช่วงทีเ่ หมาะสมตลอดระยะเวลาการเลีย้ ง โดยต้องหมัน่ ตรวจวัดค่าพีเอชของน้ำอย่างน้อย วันละ 2 ครั้ง คือในช่วงเวลาตอนเช้าตรู่ และในตอนบ่าย ซึ่งเป็นเวลาที่พีเอชในน้ำมีค่าต่ำสุด และสูงสุดในแต่ละรอบวัน เพื่อดูการเปลี่ยน แปลงของค่าพีเอชในแต่ละวัน ซึง่ สามารถตรวจ วัดค่าพีเอชได้โดยใช้เครือ่ งวัดพีเอช (pH Meter) หรือการใช้ชุดตรวจสอบค่าพีเอชของน้ำอย่าง ง่าย (pH Test Kit) ซึง่ เกษตรกรสามารถตรวจ วัดได้ด้วยตัวเองที่บ่อเลี้ยง ทำให้สามารถจัด การแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 159 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2557

รูปที่ 2 การตรวจวัดพีเอชในน้ำจากบ่อเลี้ยงกุ้งโดยใช้ชุดตรวจวัด พีเอชอย่างง่าย (pH Test Kit)

71


Market Leader

ปี 58 ประมง...ชูนโยบาย

“เพิ่มผลผลิตกุ้งทะเลแบบก้าวกระโดด” แก้ปัญหาการขาดแคลน หลังโดน EMS ถล่ม หวังขยับยอดผลผลิต 400,000 ตัน กรมประมงแก้ปัญหาผลผลิตกุ้งตกต่ำ ตามนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ “การเพิ่ ม ผลผลิ ต กุ้ ง ทะเลแบบก้ า ว กระโดด” หลังจากประสบปัญหาหนักจากการ ระบาดของโรค EMS โดยตั้งเป้าหมายไว้ว่า ในปี 58 ยอดผลผลิตกุ้งทะเลจะขยับขึ้นเป็น 400,000 ตัน

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 159 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2557

72

ดร.จุมพล สงวนสิน อธิบดีกรมประมง กล่าวว่า สืบเนื่องจากปัญหาการระบาดของ โรคตายด่วน (EMS) ในกุ้งทะเลส่งผลให้ผล ผลิตกุง้ ทะเลของประเทศไทยมีปริมาณลดลงไป ประมาณ 60,000 ตัน เมื่อเทียบผลผลิตในปี 2557 ในช่วงเดียวกัน (มกราคม-ตุลาคม) โดย ในปี 2557 มีผลผลิต 150,000 ตัน ส่วนปี 2556 มีผลผลิต 211,000 ตัน คิดเป็นเกือบ 25% ซึง่ ส่งผลกระทบต่อปริมาณการส่งออกกุง้ โดยตรง กรมประมง และทุกภาคส่วนทีเ่ กีย่ วข้อง กั บ วงการกุ้ ง ของไทย ตั้ ง แต่ ต้ น น้ ำ ไปจนถึ ง ปลายน้ำ ได้ร่วมกันแก้ปัญหามาอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2557 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้รับงบประมาณจาก คสช. จำนวน 96.095 ล้านบาท โดยมอบหมายให้กรมประมงดำเนินการในการแก้ไขปัญหา EMS โดยดำเนินการ ใน 3 กิจกรรม คือ

1. นำเข้ า พ่ อ แม่ พั น ธุ์ เ พื่ อ ผลิ ต ลู ก พั น ธุ์ คุณภาพ จำนวน 1,500 คู่ มาผลิตลูกกุ้ง ระยะนอเพลียส จำหน่ายให้แก่เกษตรกรซึ่งมี คุณสมบัติตรงตามที่กำหนดประสงค์เข้าร่วม โครงการ และผ่านการตรวจประเมินสุขอนามัย โรงเพาะฟัก ซึง่ ปัจจุบนั นีก้ รมประมงได้ดำเนินการผลิตลูกกุ้งระยะนอเพลียส และจำหน่ายให้ แก่เกษตรกรแล้ว จำนวน 117 ล้านตัว และ ยังเลี้ยงให้เป็นพ่อแม่พันธุ์คุณภาพต่อไป โดยมี เป้าหมายผลิตพ่อแม่พนั ธุก์ งุ้ คุณภาพที่ 100,000 ตัว 2. เพิ่ ม ประสิ ท ธิ ภ าพระบบคั ด กรอง ป้องกัน/เฝ้าระวังโรคกุง้ เพือ่ ยับยัง้ EMS โดยให้ บริการตรวจคัดกรองโรคกุ้งทะเลแก่เกษตรกร ด้วยเทคนิค PCR ซึง่ จะตรวจทัง้ แบคทีเรีย และ ไวรัส ซึง่ ตัง้ เป้าไว้ 75,000 ตัวอย่าง ในปี 57 นี้ ตรวจไปแล้ว 72,622 ตัวอย่าง ที่เหลือ จะดำเนินการในปี 58 3. การเพิ่มกำลังการผลิตหัวเชื้อจุลินทรีย์ (ปม.1) เพื่อฟื้นฟูแหล่งเลี้ยงกุ้งทะเล โดย ได้จัดตั้งศูนย์ผลิตหัวเชื้อจุลินทรีย์ จำนวน 25 แห่ ง กระจายในทุ ก พื้ น ที่ ก ารเลี้ ย งกุ้ ง ทะเล และมีการผลิต ปม.1 แจกเกษตรกร สูตรผง 74,250 ซอง และสูตรน้ำ 104,618 ขวด


นอกจากนัน้ กรมประมงยังได้มอบหมาย ให้ประมงจังหวัดร่วมกับสถาบันฯ/ศูนย์วจิ ยั และ พัฒนาประมงชายฝั่งเข้าชี้แจงทำความเข้าใจ กั บ ผู้ ป ระกอบการโรงเพาะฟั ก กุ้ ง ทะเล และ เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งในพื้นที่เพื่อจัดทำแผนการ ฟื้นฟูการเพาะเลี้ยงกุ้งจากการระบาดของโรค EMS จัดทำเป้าหมายการผลิตกุ้งในพื้นที่ซึ่ง เป็นการประสานความร่วมมือกับทุกฝ่ายทีเ่ กีย่ ว ข้องในพื้นที่เพื่อแก้ไขปัญหาโรคนี้ อีกทัง้ คณะกรรมการกำกับดูแลการนำเข้า กุ้งทะเลเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อเพาะพันธุ์ ยั ง ได้ ร่ ว มกั น พิ จ ารณาผลการตรวจประเมิ น สถานประกอบการเพาะเลี้ยงกุ้งขาวที่จะนำเข้า มาในราชอาณาจักร โดยได้พิจารณาอนุมัติให้ ต่ออายุสถานประกอบการเพาะพันธุ์กุ้งขาว 2 แห่ง ได้แก่ University of Guam และ Oceanic Institute สหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ กรม ประมงได้ดำเนินการศึกษาประสิทธิภาพของ

หัวเชือ้ จุลนิ ทรีย์ ปม.1 ต่อปริมาณผลผลิตกุง้ ของ ฟาร์มเลีย้ ง โดยการเปรียบเทียบข้อมูลผลผลิตกุง้ ในรอบปีของฟาร์มทีใ่ ช้ และไม่ใช้หวั เชือ้ จุลนิ ทรีย์ ปม.1 ในแต่ละจังหวัด เพื่อวิเคราะห์ว่า ปม.1 สามารถช่วยแก้ปัญหา EMS ได้หรือไม่ จากกิจกรรมทีด่ ำเนินการ กรมประมง มุง่ หวังให้ได้พอ่ แม่พนั ธุค์ ณ ุ ภาพจำนวน 100,000 ตัว โดยคาดว่าจะมีพ่อแม่พันธุ์คุณภาพป้อนสู่ อุตสาหกรรมในช่วงเดือนเมษายน 2558 ส่วน การจำหน่ายลูกกุ้งขาวระยะนอเพลียส มีผู้เข้า ร่วมโครงการจากทั่วประเทศ โดยจำหน่ายใน อัตราตัวละ 0.010 บาท ซึ่งรายได้ทั้งหมด จากการจำหน่าย จะนำส่งเป็นรายได้แผ่นดิน ส่วนการให้บริการตรวจโรคกุ้ง และการผลิต หัวเชื้อจุลินทรีย์ ปม.1 สูตรผง และสูตรน้ำ แจกจ่ า ยให้ แ ก่ เ กษตรกรยั ง คงดำเนิ น การให้ บริการเกษตรกรในทุกพื้นที่ต่อไป ทั้งนี้เพื่อให้ อุ ต สาหกรรมกุ้ ง ไทยพลิ ก ฟื้ น กลั บ มาอี ก ครั้ ง นอกจากนี้ จากผลการดำเนินการที่ผ่านมา พบมีแนวโน้มที่ดีขึ้น โดยพิจารณาจากผลผลิต กุ้งที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งอัตราส่วนระหว่างจำนวน ลู ก กุ้ ง ที่ ป ล่ อ ยลงเลี้ ย งกั บ ปริ ม าณผลผลิ ต ที่ เพิ่มขึ้นตั้งแต่เดือนกรกฎาคมถึงตุลาคม อธิบดี กรมประมงกล่าว

ฝ่ายประชาสัมพันธ์  กรมประมง 21 พฤศจิกายน 2557

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 159 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2557

สำหรับในปี 2558 กระทรวงเกษตร และสหกรณ์ โดยกรมประมงมีนโยบายการเพิม่ ผลผลิ ต กุ้ ง ทะเลอย่ า งก้ า วกระโดด โดยได้ มี การจัดประชุมผู้บริหาร เจ้าหน้าที่กรมประมง เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง และผู้ประกอบการ เพื่อ หารือ และชีแ้ จงการดำเนินงานในประเด็นต่างๆ อาทิ สถานการณ์การระบาด EMS สถานการณ์ด้านการผลิต การส่งออกสินค้ากุ้งและ ผลิตภัณฑ์ และผลการดำเนินงานแก้ไขปัญหา ที่ผ่านมา แนวทางการแก้ปัญหา และผลักดัน ผลผลิตกุ้งทะเลในปี 2558 อย่างก้าวประโดด เพื่อฟื้นฟูอุตสาหกรรมกุ้งทะเลของไทย

73


Around the World

e v i t c a

ระเบียบสหรัฐฯ ด้าน “สารปฏิชีวนะ” g n i g a k c ในวัสดุสัมผัสอาหาร pa เทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์อาหารในปัจจุบัน บรรจุภณ ั ฑ์อาหารได้ผา่ นการพัฒนาอย่างต่อเนือ่ งจากวิทยาการหลายแขนง เช่น วัสดุศาสตร์ เภสัชวิทยา และเทคโนโลยีชีวภาพ เพื่อให้รองรับการใช้ประโยชน์ที่หลากหลาย โดยนอกจากการ เลือกใช้วตั ถุดบิ ทีเ่ หมาะสมต่อการเก็บรักษาอาหารแต่ละประเภทแล้ว ปัจจุบนั ยังมีการพัฒนาบรรจุภัณฑ์อาหารอีก 2 แนวทาง ที่มีความน่าสนใจ ได้แก่

1. บรรจุภัณฑ์แอคทีฟ (active packging)

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 159 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2557

74

ซึง่ ผ่านการพัฒนาคุณสมบัตขิ องบรรจุภณ ั ฑ์ให้สามารถยืดอายุเก็บรักษาอาหารภายใน แบ่ง เป็น 3 ลักษณะดังนี้ 1.1 การใช้ซองสารเคมีที่มีคุณสมบัติต่างๆ ได้แก่ • สารดูดซับก๊าซออกซิเจน เพื่อลดการเกิดปฏิกิริยาที่ทำให้อาหารเสื่อมคุณภาพ เช่น กลิ่นหืนในอาหารที่มีไขมันสูง การเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ที่ต้องการออกซิเจน เป็นต้น • สารดูดซับก๊าซเอทิลีน เพื่อชะลอการสุกของผลไม้สดขณะขนส่ง โดยเฉพาะผลไม้ เมืองร้อนที่สามารถบ่มได้ เช่น กล้วย มะม่วง และทุเรียน เป็นต้น • สารที่สามารถดูดซับทั้งคาร์บอนไดออกไซด์ และออกซิเจนพร้อมกัน ซึ่งมักพบใน ผลิตภัณฑ์กลุ่มกาแฟคั่วบด • สารควบคุมความชืน้ เช่น ซิลกิ าเจล เพือ่ ป้องกันการคายน้ำในผัก ผลไม้ และดอกไม้สด ป้องกันการเจริญเติบโตของเชื้อรา รวมทั้งดูดน้ำส่วนเกินที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิการ เก็บรักษาของผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ เป็นต้น • สารคายคาร์บอนไดออกไซด์ เช่น หินปูน ซึง่ จะช่วยลดปริมาณออกซิเจนในบรรจุภณ ั ฑ์ อาหาร และยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย • สารคายเอทานอล ซึ่งมีคุณสมบัติยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์เช่นกัน มักใช้ กับผลิตภัณฑ์เบเกอรีที่มีความชื้นสูง เช่น ขนมปัง


2. บรรจุภัณฑ์อัจฉริยะ (intelligent packaging) ซึง่ มีคณ ุ สมบัตใิ นการแสดงผลสภาวะของ บรรจุภัณฑ์ หรือผลิตภัณฑ์ภายใน ผ่านตัวบ่งชี้ (Indicator) ในลักษณะต่างๆ เช่น • ตัวบ่งชีเ้ วลา-อุณหภูมิ (time temperature indicator: TTI) เช่น ฉลากอาหารแช่แข็ง ที่จะค่อยๆ เปลี่ยนสีอย่างถาวรเมื่อเก็บรักษา ที่อุณหภูมิสูงเกินไปเป็นระยะเวลานาน • ตัวบ่งชี้การเกิดก๊าซภายใน (gas indicator) เช่น ฉลากบรรจุภัณฑ์เนื้อที่สามารถ เปลีย่ นสีจากสีเขียวเป็นสีเหลือง และสุดท้ายเป็น สีนำ้ เงินเมือ่ สินค้าภายในเน่าเสีย และปลดปล่อย ก๊าซแอมโมเนีย เป็นต้น

• ตั ว บ่ ง ชี้ ที่ เ ปลี่ ย นสี ต ามอุ ณ หภู มิ ไ ด้ (thermochromic indicator) เช่น บรรจุภัณฑ์ ถ้วยกาแฟทีใ่ ช้หมึกพิมพ์เปลีย่ นสีได้ตามอุณหภูมิ อาหารภายใน ทั้ ง นี้ ปั จ จุ บั น พบว่ า นั ก วิ ท ยาศาสตร์ พยายามรวมแนวทางการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ แอคทีฟ และบรรจุภัณฑ์อัจฉริยะเข้าด้วยกัน โดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น ตัวตรวจวัด ทางชีวภาพ (biosensor) ที่สามารถตรวจจับ เชื้อก่อโรค และสารพิษซึ่งปนเปื้อนในอาหาร แล้วสามารถแสดงผล หรือกระตุ้นการทำงาน สารปฏิชีวนะในบรรจุภัณฑ์ ตัวบ่งชี้สภาพของ ผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการปรุงด้วยเตาอบไมโครเวฟ ซึ่งเหมาะสมต่อการบริโภค ไปจนถึงการติด แท็กวงจรไมโครชิพ RFID ที่สามารถติดตาม ตรวจสอบอาหารในกระบวนการผลิต และขนส่ง ได้

กฎระเบียบด้านสารปฏิชีวนะ กับวัสดุสัมผัสอาหารของสหรัฐฯ จุลนิ ทรียป์ นเปือ้ นในอาหาร ถือเป็นปัจจัย ที่ส่งผลต่ออายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์อาหาร สำเร็จรูป นอกจากจะส่งผลต่อคุณลักษณะทาง ประสาทสัมผัส (organoleptic properties) เช่น กลิ่นรส เนื้อสัมผัส ความนุ่ม และความชุ่มชื้น ของอาหารแล้ว ยังมีผลต่อความปลอดภัยของ อาหารต่อผู้บริโภคด้วย การป้องกันจุลินทรีย์ปนเปื้อนในอาหาร โดยใช้สารปฏิชวี นะทีส่ ามารถฆ่า หรือยับยัง้ การ เจริญเติบโตของจุลินทรีย์เคลือบ หรือผสมใน วัตถุดบิ ทีใ่ ช้ผลิตบรรจุภณ ั ฑ์ ถือเป็นรูปแบบหนึง่ ในการผลิ ต บรรจุ ภั ณ ฑ์ แ อคที ฟ ที่ นิ ย มใช้ ใ น

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 159 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2557

1.2 การใช้ บ รรจุ ภั ณ ฑ์ ที่ ผ สมสารออก ฤทธิ์ในวัตถุดิบ ได้แก่ • สารดูดซับกลิ่นรส เช่น ในบรรจุภัณฑ์น้ำผลไม้ • สารดูดซับออกซิเจน เช่น ขวด พลาสติกประเภท PET ถุงบรรจุ (pouch) และ ฟิล์มห่ออาหารกลุ่มเนยแข็ง เป็นต้น 1.3 ในบรรจุภัณฑ์อาหารแบ่งลักษณะ การใช้ได้ดังนี้ • สารปฏิชีวนะที่จะออกฤทธิ์เมื่อได้ รับปัจจัยภายนอก และปัจจัยภายใน เช่น เกิด การเจริญเติบโตของแบคทีเรีย หรือถูกกระตุ้น โดยรังสีอัลตราไวโอเลต (UV) เป็นต้น ซึ่งจะ ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงค่าความเป็นกรด ด่าง (pH) อุณหภูมิภายในบรรจุภัณฑ์ หรือ คุณสมบัติอื่นๆ • สารปฏิ ชี ว นะที่ แ สดงคุ ณ สมบั ติ ในการป้องกันการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย อย่างต่อเนื่อง

75


ปัจจุบัน ซึ่งสหรัฐฯ มีกฎระเบียบควบคุมการใช้สารปฏิชีวนะในอาหารและวัสดุสัมผัสอาหาร หลายฉบับ สามารถสรุปตามลักษณะการใช้ได้ ดังนี้ 1. การใช้สารปฏิชีวนะผสมลงในอาหารโดยตรงเพื่อป้องกันการเข้าทำลายจากจุลินทรีย์ ถือว่ามีลักษณะเป็นวัตถุเจือปนอาหารภายใต้ระเบียบ Federal Food, Drug and Cosmetic Act (FD&C Act) Section 409 ซึ่งควบคุมโดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาสหรัฐฯ (USFDA) ยกเว้นสารกลุ่มเอทิลีนออกไซด์ และโพรพิลีนออกไซด์ 2. การใช้สารปฏิชีวนะในวัตถุดิบ/สินค้าเกษตรที่ยังไม่ผ่านกระบวนการแปรรูป (RACs) USFDA ได้กำหนดให้การใช้สารปฏิชีวนะกับ RACs ในขั้นตอนการเตรียม การแบ่งบรรจุ หรือ เก็บรักษาเพื่อเตรียมจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ถือเป็นการใช้ในลักษณะวัตถุเจือปนอาหาร และไม่ถือ เป็นการใช้ในลักษณะของสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (Pesticide Chemical) ตามกฎระเบียบ Antimicrobial Regulation Technical Corrections Act (ARTCA) ซึ่งจะครอบคลุมในส่วนของการ ใช้ประโยชน์ในพื้นที่ปลูก การปฏิบัติของสถานประกอบการ (การล้าง การเคลือบผิว การรมยา และการบรรจุหีบห่อ) รวมทั้งระหว่างการขนส่งจากพื้นที่ปลูกมายังสถานประกอบการข้างต้น 3. การใช้สารปฏิชีวนะกับน้ำที่ใช้ประโยชน์ในขั้นตอนแปรรูปอาหาร USFDA กำหนดให้ถือ เป็นการใช้ในลักษณะวัตถุเจือปนอาหาร ยกเว้นในกรณีที่จงใจใช้สารปฏิชีวนะเพื่อจัดการศัตรูพืช และสัตว์ทเี่ ป็นไปตามนิยามของระเบียบ Federal Insecticide, Fungicide and Rodenticide Act (FIFRA) ควรประสานงานกับหน่วยงานพิทักษ์สิ่งแวดล้อมสหรัฐฯ (US Environmental Protection Agency: EPA) ให้ตรวจสอบเพิ่มเติมในกรณีที่ต้องจดทะเบียนเพื่อใช้งานในลักษณะสาร กำจัดศัตรูพืช 4. การใช้สารปฏิชวี นะในบรรจุภณ ั ฑ์ และวัสดุสมั ผัสอาหาร ระเบียบ FD&C Act ของ USFDA ไม่ครอบคลุมถึงการใช้สารปฏิชวี นะในวัสดุสมั ผัสอาหารนอกเหนือไปจากบรรจุภณ ั ฑ์ เช่น สายพาน ลำเลียง พื้นโต๊ะประกอบอาหาร ใบเลื่อย เครื่องเจาะ เครื่องยัดไส้ เป็นต้น ดังนั้น ผู้ประกอบการ ต้องศึกษาข้อบังคับอย่างระมัดระวัง และปฏิบัติตามกฎระเบียบด้านสารกำจัดศัตรูพืชของ EPA ที่มา : USFDA, Food Safety Magazine, FoodProductionDaily

การพัฒนาการใช้สารปฏิชีวนะในบรรจุภัณฑ์อาหารของไทย ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 159 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2557

76

เมื่อเดือนมิถุนายน 2557 นักวิจัยจากศูนย์เทคโนโลยีและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) ได้เสนอผลงานการคิดค้น บรรจุภัณฑ์อาหารจากวัตถุดิบที่สามารถย่อยสลายทางชีวภาพ ซึ่งสามารถเคลือบสารปฏิชีวนะให้ยึดเกาะได้ดี โดย ผลการทดสอบพบว่า การใช้ประโยชน์ฟิล์มดังกล่าวในบรรจุภัณฑ์เนื้อสุกร และอาหารที่มีความชื้นสูง สามารถ ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อ Listeria ซึ่งเป็นหนึ่งในเชื้อก่อโรคในอาหารที่สำคัญ ทั้งยังช่วยลดปัญหาขยะพลาสติก ที่ย่อยสลายยากในสิ่งแวดล้อมอีกด้วย


มกอช. สร้างมาตรฐานบังคับสินค้าเกษตร นำร่อง 4 เรื่อง

Around the World

รายงานพิเศษ :

พระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ.2551 ได้กำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตรไว้ 2 ประเภท คือ มาตรฐานสมัครใจ และมาตรฐานบังคับ ในส่วนของมาตรฐานบังคับนั้น ทางกฎหมายได้กำหนดให้ผู้ผลิต ผู้ส่งออก หรือผู้นำเข้าแล้วแต่กรณี ต้องขอรับรองการตรวจสอบ และต้องได้รับใบรับรองตามมาตรฐานบังคับด้วย ปัจจุบันสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและ อาหารแห่งชาติ กระทรวงและสหกรณ์ ได้จัดทำมาตรฐานบังคับสินค้าเกษตร นำร่อง 4 เรื่อง เพื่ อ ปกป้ อ งคุ้ ม ครองผู้ บ ริ โ ภคทั้ ง ภายในและต่ า งประเทศ ทั้ ง ยั ง เป็ น มาตรการป้ อ งกั น สิ น ค้ า ด้อยคุณภาพไม่ให้เข้ามาตลาดในประเทศได้ นางนันทิยา อุ่นประเสริฐ รองผู้อำนวยการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร แห่งชาติ (มกอช.) กล่าวว่า ที่ประชุมคณะกรรมการมาตรฐานสินค้าเกษตรได้มีมติเห็นชอบใน หลักการจัดทำมาตรฐานบังคับสินค้าเกษตรนำร่อง 4 เรื่อง ได้แก่ 1. มาตรฐานเมล็ดถั่วลิสง : ข้อกำหนดปริมาณอะฟลาท็อกซิน (Aflatoxin) ในเมล็ดถั่วลิสงแห้ง 2. มาตรฐานการปฏิบัติที่ดี สำหรับการรมผลลำไยสดด้วยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ 3. มาตรการปฏิบัติทางสุขลักษณะที่ดี สำหรับศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบ และ 4. มาตรฐานการปฏิบัติที่ดีสำหรับโรงเพาะฟักลูกกุ้งทะเล

ที่มา : http://www.food-resources.org/news/19/03/13/19694

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 159 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2557

ทั้งนี้ เนื่องจากมีความเกี่ยวข้องกับการคุ้มครองความปลอดภัยของผู้บริโภคทั้งใน และ ต่างประเทศ พร้อมเป็นการยกระดับการผลิต และเป็นมาตรการปกป้องสินค้าเกษตรและอาหาร โดยเฉพาะการก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือเออีซี (AEC) ในอีก 2 ปีข้างหน้า จำเป็นต้องมีมาตรการปกป้องสินค้าด้อยคุณภาพ หรือไม่มีความปลอดภัย ไม่ให้เข้ามาขายใน ประเทศ ซึ่งมาตรฐานบังคับที่จะกำหนดใหม่นี้ จะเป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยควบคุมสินค้าเกษตร นำเข้า และส่งออกให้มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน และมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น

77


อะฟลาท็อกซินในถั่วลิสงถือเป็นปัญหาสำคัญที่มีความเสี่ยงสูง เพราะเป็นสารก่อมะเร็ง และเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค ดังนั้น จึงต้องเร่งควบคุม และแก้ไขปัญหา โดยเฉพาะขบวนการ หลั ง การเก็ บ เกี่ ย ว รวมถึ ง การรวบรวมเมล็ ด ถั่ ว ลิ ส งแห้ ง การแปรรู ป และบรรจุ ภั ณ ฑ์ ต่ า งๆ นอกจากนั้น ไทยผลิตเมล็ดถั่วลิสงใช้เอง และนำมาใช้เป็นวัตถุดิบแปรรูปเพื่อส่งออกไม่เพียงพอ ยังต้องนำเข้าจากประเทศต่างๆ ซึ่งต้องควบคุมคุณภาพความปลอดภัยของการนำเข้าถั่วลิสงจาก ต่างประเทศด้วย อาทิจากจีน อินเดีย และลาว เป็นต้น ส่วนโรงรมซัลเฟอร์ไดออกไซด์ลำไยสดก็ต้องเร่งควบคุมเช่นเดียวกัน เนื่องจากปัจจุบัน ไทย มีการส่งออกสินค้าลำไยไปต่างประเทศเพิ่มสูงขึ้น มีตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ จีน และ อินโดนีเซีย ซึ่งประเทศคู่ค้ามีความกังวลเรื่องสารตกค้างในสินค้า ไทยจึงต้องควบคุมสินค้าให้มี ความปลอดภัย เพือ่ สร้างความเชือ่ มัน่ ให้กบั ผูน้ ำเข้าซึง่ จะทำให้การส่งออก และการค้าราบรืน่ และ ไม่มีปัญหา นางนันทิยากล่าวด้วยว่า ผลิตภัณฑ์นมเป็นสินค้าที่ต้องมีคุณภาพ และมีความปลอดภัย สูง เนื่องจากผู้บริโภคส่วนใหญ่เป็นเด็กและผู้สูงอายุ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องควบคุมดูแลศูนย์ รวบรวมน้ำนมดิบกว่า 200 แห่งทั่วประเทศ เพื่อป้องกันไม่ให้มีสารตกค้างในน้ำนมดิบ ทั้งยัง ต้องไม่มีปริมาณแบคทีเรียสูงเกินไป ซึ่งต้องควบคุมให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด รวมถึง ประเด็นการปฏิบัติที่ดีสำหรับโรงเพาะฟักลูกกุ้งทะเล ทางกระทรวงเกษตรฯ จะเร่งประกาศบังคับ ใช้มาตรฐานบังคับสินค้าเกษตรนี้อย่างเป็นทางการต่อไป “นอกจากนั้น มกอช. ยังเร่งศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการจัดทำระบบคอมพาร์ทเม้นท์ (Compartment) สำหรับฟาร์มเลี้ยงสัตว์ ว่ามีความเหมาะสมที่จะผลักดันเป็นมาตรฐานบังคับหรือไม่ เพื่อปกป้องการค้าระหว่างประเทศ และช่วยลดการกีดกันทางการค้าในอนาคต และพัฒนาระบบ การควบคุมการเลี้ยงสัตว์ของประเทศให้มีความก้าวหน้ามากขึ้นอีกทางหนึ่งด้วย” นางนันทิยา กล่าว

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 159 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2557

78




การใช้ภาษีคาร์บอนในการควบคุม

การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็ น ปั ญ หาระดั บ โลกที่ ป ระชาคมโลกจะต้ อ ง ร่วมมือป้องกันแก้ไข แม้ว่าในปัจจุบันประเทศ ไทยจะยังไม่มพี นั ธกรณีในการควบคุมการปล่อย ก๊าซเรือนกระจกตามข้อตกลงระหว่างประเทศ แต่ ใ นฐานะประชาคมโลกไทยควรต้ อ งเร่ ง ดำเนินการศึกษาตระเตรียมนโยบายและมาตรการให้พร้อมรับกับแรงกดดัน และข้อตกลง ระหว่างประเทศที่มีแนวโน้มว่าประเทศกำลัง พัฒนาจะต้องเข้ามามีบทบาทในการควบคุม การปล่อยก๊าซเรือนกระจกในทางใดทางหนึ่ง หนึ่งในมาตรการควบคุมการปล่อยก๊าซเรือน กระจกที่มีความสำคัญอย่างมากได้แก่ มาตรการทางภาษี หรือภาษีคาร์บอน (Carbon tax) เนื่องจากการใช้มาตรการทางภาษีมีผลกระทบ ต่อระบบเศรษฐกิจในวงกว้าง จึงจำเป็นจะต้อง ดำเนิ น การศึ ก ษาผลกระทบที่ อ าจจะเกิ ด ขึ้ น อันเป็นที่มาของการศึกษานี้

เรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศ หรือที่เรียกว่า ต้นทุนคาร์บอนทีเ่ กิดแก่สงั คม (Social cost of carbon: SCC) โดยหลักการแล้วภาษีคาร์บอน เป็นเครื่องมือเศรษฐศาสตร์ที่ใช้ในการกำหนด ราคา ส่วนปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อย ออกมาขึ้นอยู่กับพฤติกรรมที่มีต่อราคาของผู้ที่ ปล่อยก๊าซนั้น ทั้งนี้อัตราภาษีคาร์บอน หรือ ราคาคาร์บอนจะต้องไม่ต่ำกว่าค่า SCC เพื่อ ป้องกันมิให้สังคมต้องแบกรับภาระความเสีย หาย

1. ภาษีคาร์บอน

ตัง้ แต่มกี ารก่อตัง้ คณะกรรมการระหว่าง รัฐบาลเพื่อแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมอิ ากาศ (IPCC) ขึน้ ในปี พ.ศ. 2531 กลุม่ สหภาพยุโรปเป็นกลุ่มประเทศแรกที่มีความตื่นตัว ในการนำมาตรการภาษีคาร์บอนไปประยุกต์ใช้ ในปัจจุบันมีการใช้มาตรการภาษีคาร์บอนใน

ในปัจจุบนั มีการประมาณค่า SCC ไว้มาก มายกว่า 200 ค่า เริม่ ตัง้ แต่ประมาณ 15 บาท ต่อตัน CO2e ไปจนถึง 24,000 บาทต่อตัน CO2e อย่างไรก็ดี ผลการศึกษาที่สำคัญ และ เป็นที่ยอมรับในวงกว้างได้ประมาณค่า SCC ณ ราคาปี 2552 ไว้ตั้งแต่ 192-3,133 บาท ต่อตัน CO2e โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 483 บาท ต่อตัน CO2e

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 159 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2557

ภาษีคาร์บอน หรือภาษีที่เก็บจากการ ปล่อยก๊าซเรือนกระจก จัดเป็นภาษีสงิ่ แวดล้อม ประเภทที่สะท้อนต้นทุนที่สังคมจะต้องแบกรับ ผลกระทบที่ เ กิ ด จากการเปลี่ ย นแปลงสภาพ ภู มิ อ ากาศอั น สื บ เนื่ อ งมาจากการปล่ อ ยก๊ า ซ

Around the World

บทสรุปเชิงนโยบาย โครงการศึกษาเรื่อง

79


ประเทศฟินแลนด์ สวีเดน เดนมาร์ก เนเธอร์แลนด์ นอร์ เ วย์ อิ ต าลี สหราชอาณาจั ก ร สโลวีเนีย เขตบริติชโคลัมเบียในแคนาดา และ เมืองโบลเดอร์ และเขตซานฟรานซิสโกเบย์ ในสหรั ฐ อเมริ ก า โดยมี ค่ า เฉลี่ ย เที ย บตาม อำนาจซื้อปี 2552 เท่ากับ 349 บาท (PPP) ต่อตัน CO2e กลุ่มสหภาพยุโรปแทบทุกประเทศยังได้ นำมาตรการภาษีคาร์บอนไปประยุกต์ใช้ในการ จัดเก็บภาษียานยนต์โดยใช้ปริมาณการปล่อย ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นฐานในการคำนวณ ภาษี ภาษีดังกล่าว หากพิจารณาจากอัตรา ที่เก็บจากยานยนต์ซึ่งปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในปริมาณ 200 กรัมต่อกิโลเมตร จะมีค่ามัธยฐานเทียบตามอำนาจซื้อปี 2552 เท่ากับ 2,570 บาท (PPP) ต่อตัน CO2e และค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4,170 บาท(PPP) ต่อตัน CO2e

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 159 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2557

80

เครื่องมือเศรษฐศาสตร์อีกประเภทหนึ่ง ทีเ่ ป็นเสมือนเงาสะท้อนของภาษีคาร์บอน ได้แก่ การซื้อขายแลกเปลี่ยนสิทธิการปล่อยก๊าซเรือน กระจก (Emission trading) เครือ่ งมือประเภท นี้จะต้องมีการกำหนดปริมาณก๊าซเรือนกระจก ทั้ ง หมดที่ จ ะอนุ ญ าตให้ ป ล่ อ ย จากนั้ น จึ ง ใช้ กลไกตลาดในการกระจายสิทธิการปล่อยก๊าซ เรือนกระจก ราคาคาร์บอนจะเกิดจากกลไก ตลาดนี่ เ อง ในทางทฤษฎี ร าคาคาร์ บ อนที่ กำหนดจากค่า SCC จะต้องมีค่าเท่ากับราคา คาร์บอนที่เกิดจากกลไกการซื้อขายแลกเปลี่ยน สิทธิในตลาดคาร์บอนที่มีความสมบูรณ์ แม้ ว่ า การซื้ อ ขายแลกเปลี่ ย นสิ ท ธิ ก าร ปล่อยก๊าซเรือนกระจกจะเริ่มต้นมาตั้งแต่ พ.ศ.

2539 แต่ยังนับว่าเป็นตลาดใหม่ที่ยังมีการซื้อ ขายไม่สมบูรณ์ และมีขนาดไม่ใหญ่นกั โดยในปี พ.ศ. 2551 มีการซื้อขายสิทธิเป็นปริมาณ 4.8 พันล้านตัน CO2e ซึ่งคิดเป็นประมาณ หนึ่ ง ในสิ บ ของปริ ม าณการปล่ อ ยก๊ า ซเรื อ น กระจกทั่วโลก และคิดเป็นมูลค่าเท่ากับ 126 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ราคาคาร์บอนเฉลีย่ นับ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 ซึ่งเป็นปีที่พิธีสารเกียวโต มีผลบังคับใช้จนถึงปี พ.ศ. 2551 มีค่าเท่ากับ 803 บาทต่อตัน CO2e ณ ราคาปี 2552 จากการทบทวนอัตราภาษีคาร์บอนข้าง ต้น สามารถสรุปได้ว่าอัตราภาษีคาร์บอนที่ ควรนำมาพิจารณาเพื่อใช้เป็นฐานภาษีสำหรับ มาตรการภาษีคาร์บอน ได้แก่ (1) ค่า SCC: ตามหลักการอัตราภาษี คาร์บอนจะต้องไม่ต่ำกว่าค่า SCC ซึ่งจากผล การศึกษาที่มีความสำคัญและเป็นที่ยอมรับใน วงกว้างได้ประมาณค่า SCC ไว้ระหว่าง 1923,133 บาทต่อตัน CO2e โดยมีค่าเฉลี่ย ณ ราคาปี 2552 เท่ากับ 483 บาทต่อตัน CO2e (2) อัตราภาษีคาร์บอนที่มีการใช้จริง ก. ใช้โดยตรง : มีอัตราเฉลี่ยเทียบ ตามอำนาจซื้อปี 2552 เท่ากับ 349 บาท (PPP) ต่อตัน CO2e ข. ใช้ประยุกต์ในภาษียานยนต์ : มีคา่ มัธยฐานเทียบตามอำนาจซื้อปี 2552 เท่ากับ 2,570 บาท (PPP) ต่อตัน CO2e และมีค่า เฉลี่ยเท่ากับ 4,170 บาท (PPP) ต่อตัน CO2e (3) ราคาจากตลาดคาร์ บ อน : ตาม หลักการควรจะมีค่าเท่ากับค่า SCC ราคา


ดังนัน้ อัตราภาษีคาร์บอนทีเ่ หมาะสม โดยประมาณไม่ควรต่ำกว่า 200 บาทต่อตัน CO2e ไม่ควรเกิน 3,000 บาทต่อตัน CO2e และเมือ่ พิจารณาจากค่าเฉลีย่ ข้างต้น อัตราภาษี คาร์บอนควรจะอยูท่ ปี่ ระมาณ 500 บาทต่อตัน CO2e

2. ภาคส่วนที่ควรจัดเก็บภาษีคาร์บอน และอัตราภาษีคาร์บอน เมื่ อ พิ จ ารณาปริ ม าณการปล่ อ ยก๊ า ซ เรือนกระจกทัง้ 6 ชนิดของประเทศไทยในช่วง 20 ปีทผี่ า่ นมา ได้แก่ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) มีเทน (CH4) ไนตรัสออกไซด์ (N2O) ไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน (HFCs) เปอร์ฟลูออโรคาร์บอน (PFCs) และซัลเฟอร์เฮกซะฟลูออไรด์ (SF6) พบว่าไทยปล่อยก๊าซสามชนิดแรกกว่า ร้อยละ 99 ของปริมาณก๊าซเรือนกระจกทั้ง หมด โดยก๊ า ซคาร์ บ อนไดออกไซด์ คิ ด เป็ น สัดส่วนมากถึงสองในสาม แทบจะทัง้ สิน้ มาจาก การเผาไหม้เชื้อเพลิง ส่วนก๊าซมีเทนมีสัดส่วน ประมาณหนึ่งในสี่โดยมาจากภาคเกษตรกรรม แทบจะทั้งสิ้น เช่นเดียวกับก๊าซไนตรัสออกไซด์ เนื่องจากชนิดของก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยจาก ภาคส่วนทั้งสองแทบจะไม่คาบเกี่ยวกัน ดังนั้น ไม่ว่าจะเลือกจัดเก็บภาษีคาร์บอนที่ภาคส่วน หรือที่ชนิดก๊าซก็ย่อมมีความสอดคล้องไปใน ทิศทางเดียวกัน นโยบายภาษีดังเช่นภาษีคาร์บอนมีเป้าหมายในระยะสัน้ เพือ่ สร้างแรงจูงใจให้ลด หรือ ชะลอกิจกรรมที่จะก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจก

หรือหันไปใช้เทคโนโลยี หรือผลิตภัณฑ์คาร์บอนต่ ำ ที่ เ คยเสี ย เปรี ย บด้ า นราคาก่ อ นการ บังคับใช้ภาษีคาร์บอน ส่วนในระยะยาวก็เพื่อ สร้างแรงจูงใจให้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และ เทคโนโลยีคาร์บอนต่ำใหม่ๆ ขึ้นมา แต่เมื่อ พิจารณาภาคการเกษตรก็จะเห็นว่า การจะลด การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจะต้องเกิดจากการ พัฒนาปรับปรุงเทคโนโลยีเพือ่ นำไปสูก่ ารเกษตร คาร์บอนต่ำ ซึ่งในขณะนี้เทคโนโลยีดังกล่าว ยังต้องการการวิจัยและพัฒนาอีกมาก การใช้ มาตรการภาษีคาร์บอนกับภาคการเกษตรจึงมี แนวโน้มทีจ่ ะทำให้ราคาผลผลิตสูงขึน้ อีก ทัง้ ยัง เป็นสินค้าที่จำเป็นต่อการดำรงชีพ จึงส่งผล กระทบต่อเกษตรกร และผู้บริโภคโดยไม่ก่อให้ เกิดการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างมี ประสิทธิภาพ การใช้มาตรการภาษีคาร์บอน ในภาคการเกษตรจึ ง นั บ ได้ ว่ า ยั ง ไม่ มี ค วาม เหมาะสมในขณะนี้ ในทางตรงข้าม หากพิจารณาการจัดเก็บ ภาษีคาร์บอนในภาคพลังงาน ก็จะเห็นว่ามีความ เหมาะสมหลายประการเพราะ • เชื้อเพลิงฟอสซิลมีคาร์บอนเป็นองค์ ประกอบหลัก การเก็บภาษีคาร์บอนจากการ เผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลจึงเป็นการเก็บภาษี คาร์บอนที่ต้นตอของปัญหาโดยตรง ดังจะเห็น ได้วา่ ภาษีคาร์บอนทีใ่ ช้ในปัจจุบนั ในต่างประเทศ จึงเก็บจากเชื้อเพลิงฟอสซิลแทบทั้งสิ้น • ในปัจจุบนั ประเทศไทยมีระบบภาษี และ กองทุนน้ำมันอยูแ่ ล้ว ทำให้ประเทศไทยมีความ พร้อมในด้านบุคลากร และหน่วยงานที่มีศักยภาพในการรองรับภาระงานด้านภาษีคาร์บอน

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 159 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2557

คาร์บอนเฉลี่ยตั้งแต่ พ.ศ. 2548-2551 โดย ปรับให้เป็นราคาปี 2552 มีคา่ เท่ากับ 803 บาท ต่อตัน CO2e

81


• ประเทศไทยมี เ ทคโนโลยี เ ชื้ อ เพลิ ง สะอาด และคาร์ บ อนต่ ำ รองรั บ อยู่ บ้ า งแล้ ว ดังนัน้ ในระยะสัน้ ผูบ้ ริโภคสามารถเปลีย่ นการใช้ เชื้อเพลิงฟอสซิลไปสู่การใช้เชื้อเพลิงคาร์บอน ต่ำ ส่วนในระยะยาวจะเป็นการสร้างแรงจูงใจ ให้ภาคอุตสาหกรรมปรับเปลี่ยนไปใช้เทคโนโลยีคาร์บอนต่ำที่มีอยู่แล้ว แต่ในขณะนี้ยังไม่ สามารถแข่งขันด้านราคาได้ • การเก็ บ ภาษี ค าร์ บ อนจากเชื้ อ เพลิ ง เพียงไม่กชี่ นิดโดยใช้หน่วยงาน และกระบวนการ ที่มีอยู่แล้ว สามารถควบคุมปริมาณก๊าซเรือน กระจกได้มากถึงสองในสาม จึงนับว่าเป็นการ เพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการจัดเก็บภาษี ที่มีอยู่

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 159 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2557

82

เชื้ อ เพลิ ง ฟอสซิ ล ที่ ใ ช้ ใ นประเทศไทยที่ ควรทำการจัดเก็บภาษีคาร์บอนได้แก่ น้ำมัน ปิโตรเลียม และผลิตภัณฑ์ ก๊าซธรรมชาติ และ ถ่านหิน เมื่อพิจารณาจากโครงสร้างเศรษฐกิจ เชื้ อ เพลิ ง ฟอสซิ ล ตลอดจนโครงสร้ า งภาษี ของไทย สามารถสรุปเป็นรายการเชื้อเพลิงที่ เหมาะสมสำหรับการจัดเก็บภาษีคาร์บอน ดังนี้ (1) น้ำมันปิโตรเลียม และผลิตภัณฑ์ : ควรจัดเก็บภาษีคาร์บอนในขัน้ ตอนทีเ่ ป็นน้ำมัน

สำเร็จรูปแล้ว เนื่องจากมีกระบวนการจัดเก็บที่ สามารถอ้างอิงกระบวนการของภาษีสรรพสามิต และกองทุนน้ำมันทีม่ รี องรับพร้อมอยูแ่ ล้ว และอาจมอบหมายให้ ก รมสรรพสามิ ต เป็ น หน่วยงานจัดเก็บ โดยประเภทของน้ำมัน ปิโตรเลียม และผลิตภัณฑ์ที่จะจัดเก็บ ได้แก่ น้ำมัน ดีเซล น้ำมันเบนซิน น้ำมันเครื่องบิน น้ำมัน เตา น้ำมันก๊าด และก๊าซปิโตรเลียมเหลว หรือ แอลพีจี (2) ก๊าซธรรมชาติ : สามารถมอบหมาย ให้กรมสรรพสามิตเป็นผู้จัดเก็บ (3) ถ่ า นหิ น : ถ่ า นหิ น ในประเทศ สามารถมอบหมายให้กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ เป็นหน่วยงานดำเนินการจัดเก็บร่วมกับขัน้ ตอน การชำระค่ า ภาคหลวง ส่ ว นถ่ า นหิ น นำเข้ า สามารถมอบหมายให้กรมศุลกากรจัดเก็บ ดังได้เสนอไปแล้วว่า อัตราภาษีคาร์บอน ที่เหมาะสมมีช่วงตั้งแต่ประมาณ 200-3,000 บาทต่ อ ตั น CO2e ซึ่ ง สามารถแปลงเป็ น อัตราภาษีทจี่ ะจัดเก็บ และสามารถนำมาเปรียบ เทียบกับภาษีสรรพสามิต (บวกภาษีเทศบาล) และเงินส่งกองทุน ณ วันที่ 28 กันยายน 2553 ได้ตารางต่อไปนี้


เบนซิน 95 (บาท/ลิตร) เบนซิน 91 (บาท/ลิตร) น้ำมันเครื่องบิน/ก๊าด (บาท/ลิตร) ดีเซล (บาท/ลิตร) น้ำมันเตา (บาท/ลิตร) ก๊าซธรรมชาติ (บาท/ลบ.ฟุต) - จากปากหลุม - จากโรงแยกก๊าซ NGV (บาท/กก.) LPG (บาท/กก.) ถ่านหิน (บาท/กก.)

200

1500

3000

0.5641 0.5641 0.5783 0.5846 0.5650

4.2308 4.2308 4.3373 4.3845 4.2372

8.4615 8.4615 8.6745 8.7690 8.4744

0.0104 0.0127 0.4534 0.5421 0.2909

0.0780 0.0954 3.4002 4.0659 2.1816

0.1560 0.1909 6.8004 8.1318 4.6332

3. ผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นต่อระบบ เศรษฐกิจ การศึ ก ษาผลกระทบจากการจั ด เก็ บ ภาษีคาร์บอนใช้การวิเคราะห์จากแบบจำลอง เศรษฐกิจแบบดุลยภาพทั่วไปที่มีตารางบัญชี ทางสังคมปี พ.ศ. 2550 เป็นฐานข้อมูลหลัก (SAM-based CGE model) แบบจำลองนี้ อ้างอิงกรอบเศรษฐศาสตร์จุลภาคเพื่อกำหนด พฤติกรรมของหน่วยเศรษฐกิจต่างๆ และยังได้ กำหนดเงือ่ นไขด้านรายรับ และรายจ่ายของรัฐ การออมเพื่อการลงทุน และการนำเข้าส่งออก รวมทั้ ง เงื่ อ นไขการใช้ ปั จ จั ย การผลิ ต การ กระจายรายได้ และการโอนเงิน ฯลฯ การวิเคราะห์ผลกระทบจากภาษีคาร์บอน ได้ผนวกอัตราการจัดเก็บภาษีด้วยวิธีการแปลง อัตราภาษีไปเป็นยอดรวมของมูลค่าภาษีที่จะ จัดเก็บตามปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์โดยรวมของเชื้อเพลิงแต่ละชนิด และ วิเคราะห์ผลต่อตัวแปรทางเศรษฐกิจที่สำคัญ อาทิ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี)

ภาษี สรรพสามิต + เทศบาล 7.7000 7.7000 5.8410 0.8844

กองทุน น้ำมัน

กองทุน รวมภาษี อนุรักษ์ กองทุน

7.5000 6.7000 0.6500 0.0600

0.2500 0.2500 0.2500 0.0700

ยกเว้น -2.0000 2.3870 0.6892 -

ราคา (ปลีก)

15.4500 39.44 14.6500 34.44 - ~18.03 6.7410 27.79 1.0144 16.04

- ~0.90 - ~0.90+ - -2.0000 8.50 - 3.0762 18.13 - ~0.85

ปริมาณการนำเข้าและส่งออก อัตราแลกเปลีย่ น เงินตรา การจ้างงาน ผลตอบแทนทุน ตลอดจน ประสิทธิภาพของภาษีในการควบคุมการปล่อย ก๊าซเรือนกระจก อีกทัง้ ยังได้วเิ คราะห์ผลกระทบ หากมีการนำรายได้จากภาษีคาร์บอนกลับคืนสู่ ระบบเศรษฐกิจ (Revenue-neutral) อีก 3 แนว ทางด้วยกัน ได้แก่ การนำไปใช้ลดอัตราภาษี มูลค่าเพิม่ การนำไปใช้ลดอัตราภาษีเงินได้บคุ คล ธรรมดา และการนำไปโอนให้ภาคครัวเรือน โดยตรง การศึกษาผลกระทบได้เลือกวิเคราะห์ผล กระทบจากอัตราภาษีคาร์บอน 3 อัตรา ได้แก่ 200 บาท 1,500 บาท และ 3,000 บาทต่อ ตัน CO2e เพือ่ ให้ครอบคลุมช่วงอัตราจัดเก็บที่ เหมาะสม และเนื่องจากผลกระทบต่อตัวแปร ต่างๆ มีลักษณะเป็นเชิงเส้นตรงในช่วงแคบๆ ที่ ไ ม่ ก ว้ า งเกิ น ไปนั ก หากต้ อ งการทราบผล กระทบจากภาษีในอัตราอื่นๆ ในช่วงระหว่าง สามอัตรานี้ ก็สามารถประมาณการเทียบเคียง เชิงเส้นตรงจากอัตราที่ใกล้เคียงได้ เช่น หาก ภาษี 200 บาทต่อตัน CO2e ทำให้อัตรา

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 159 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2557

เชื้อเพลิง

อัตราภาษีคาร์บอน

83


การเติบโตของจีดีพีลดลงร้อยละ 0.27 เมื่อ ภาษีเพิ่มขึ้นสองเท่าหรือเพิ่มเป็น 400 บาท ต่อตัน CO2e ก็จะทำให้อัตราการเติบโตของ จี ดี พี ล ดลงประมาณร้ อ ยละ 0.54 เป็ น ต้ น เมื่อเป็นดังนี้ จึงจะขอนำเสนอผลกระทบแต่ เพียงที่อัตราภาษี 200 บาทต่อตัน CO2e (ผลกระทบที่อัตราภาษีคาร์บอนที่ 1,500 และ 3,000 บาทต่อตัน CO2e สามารถดูได้จาก รายงานฉบับสมบูรณ์) อ้างอิงตามข้อมูลเศรษฐกิจปี 2550 ซึ่ง ใช้เป็นฐานในการวิเคราะห์ พบว่าหากมีการ จัดเก็บภาษีคาร์บอนที่อัตรา 200 บาทต่อตัน CO2e จะทำให้ราคาสินค้าขั้นกลาง และขั้น สุดท้ายสูงขึน้ และมีผลทำให้ดชั นีราคาผูบ้ ริโภค เพิ่มขึ้นเพียง 0.0031% ซึ่งจากแต่เดิม หาก ไม่มีการเก็บภาษีคาร์บอน ดัชนีราคาผู้บริโภค เพิม่ ขึน้ จาก 119.73 จุด ในต้นปี 2550 ไปเป็น 121.22 จุด ในปลายปี การเก็บภาษีคาร์บอน จะทำให้ดัชนีราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้นอีกเพียงแค่ 0.0037 จุด ซึ่งส่งผลให้การบริโภคของภาค ครัวเรือนชะลอตัวลงเพียงเล็กน้อย โดยในปี 2550 หากไม่มกี ารเก็บภาษีคาร์บอนการบริโภค ของภาคครัวเรือนเพิ่มขึ้น 2.24% หรือเท่ากับ 98,572 ล้านบาท แต่หากมีนโยบายการจัดเก็บ ภาษีคาร์บอน การบริโภคของภาคครัวเรือน จะชะลอตัวลงเหลือ 97,685 ล้านบาท หรือ ลดลงเพียงประมาณ 890 ล้านบาทเท่านั้น ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 159 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2557

84

จากการที่ราคาสินค้าสูงขึ้น จึงส่งผล ต่อต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น และทำให้การผลิต หดตัวลง โดยเฉพาะสาขาการผลิตที่เกี่ยวเนื่อง กั บ เชื้ อ เพลิ ง ฟอสซิ ล มากเท่ า ใดก็ จ ะได้ รั บ ผล กระทบมากขึ้นเท่านั้น การผลิตที่หดตัวลงนี้

ส่งผลให้การเติบโตของจีดีพีชะลอตัวลง กล่าว คือ ถ้าหากไม่มนี โยบายการจัดเก็บภาษีคาร์บอน จีดีพีจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.93% หรือเท่ากับ 4.205 แสนล้านบาท แต่เมื่อมีนโยบายการ จัดเก็บภาษีคาร์บอนก็จะทำให้สว่ นของจีดพี ที จี่ ะ เพิ่มขึ้นนี้ลดลงไปเพียง 1.135 พันล้านบาท หรือเพิม่ ขึน้ เป็น 4.194 แสนล้านบาท อย่างไร ก็ตามการจัดเก็บภาษีคาร์บอนทีอ่ ตั รา 200 บาท ต่อตัน CO2e ส่งผลให้รัฐมีรายได้จากภาษี คาร์บอนเป็นยอดรวม 47.66 พันล้านบาท หรือ หมายถึงงบประมาณเกินดุลเพิ่มขึ้น 28.08 พันล้านบาท นอกจากนั้นยังส่งผลให้ปริมาณ การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลดลง 3.34 ล้านตัน หรือหมายความว่าการลดการปล่อยก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์ลงทุกๆ 1 ตัน แลกมากับ จีดีพีที่ลดลง 340 บาท จะคุ้มค่าหรือไม่นั้น อาจพิจารณาจากความเข้มข้นของการปล่อย ก๊ า ซคาร์ บ อนไดออกไซด์ ใ นระบบเศรษฐกิ จ (Emission per GDP) ซึ่งจากผลการศึกษา พบว่า ภาษีคาร์บอนส่งผลให้การผลิตมีประสิทธิภาพไปสู่แนวทางเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ โดย ทำให้ ก ารปล่ อ ยก๊ า ซคาร์ บ อนไดออกไซด์ ต่ อ จีดีพีมีอัตราลดลงร้อยละ 1.95 ในส่วนของการส่งออก การผลิตทีห่ ดตัว ลงจะทำให้การส่งออกหดตัวตามไปด้วย โดย ในปี 2550 หากไม่มีการเก็บภาษีคาร์บอน การส่ ง ออกขยายตั ว 7.4% คิ ด เป็ น มู ล ค่ า 449,980 ล้านบาท แต่ถา้ หากมีการจัดเก็บภาษี คาร์บอน จะทำให้การส่งออกชะลอตัวลงไปเพียง ประมาณ 90 ล้านบาท หรือคิดเป็นการส่งออก 449,890 ล้านบาท สำหรับการนำเข้าทีห่ ดตัว 1.50% หรือคิดเป็นมูลค่า 84,518 ล้านบาท พบว่าภาษีคาร์บอนซึ่งส่งผลให้การผลิต และ


ในปี 2550 ประเทศไทยมีการจ้างงาน เพิม่ ขึน้ 563,930 คน นโยบายการจัดเก็บภาษี คาร์บอนส่งผลให้การผลิตหดตัวลง จึงส่งผลให้ การจ้างงานลดลงตามไปด้วย แต่ทำให้การ จ้างงานลดลงไปเพียงหลักพันเท่านัน้ (ประมาณ 3 พันกว่าคน) เช่นเดียวกับผลตอบแทนทุน ที่จะลดลงแต่ก็เพียงเล็กน้อยเนื่องจากประเทศ ไทยมีอัตราผลตอบแทนทุนในช่วงปี 2550 ที่ค่อนข้างจะคงที่ นอกจากการจ้างงาน และ ผลตอบแทนทุนแล้ว เมื่อพิจารณาผลกระทบ จากการจัดเก็บภาษีคาร์บอนต่อรายได้ และ สวัสดิการภาคครัวเรือน พบว่าภาคครัวเรือน มีรายได้ และสวัสดิการลดลง แต่โดยสัดส่วน ที่ต่ำมาก และทั้งนี้ครัวเรือนที่ยิ่งมีรายได้สูง ก็ จ ะยิ่ ง มี ร ายได้ และสวั ส ดิ ก ารที่ ล ดลงเป็ น สัดส่วนมากขึ้นแบบก้าวหน้า จึงนับเป็นภาษีที่ เอื้อต่อการสร้างความเท่าเทียม (Progressive taxation)

4. การบรรเทาผลกระทบโดยการนำ รายได้จากภาษีคาร์บอนกลับคืนสู่ระบบ เศรษฐกิจ (1) การนำไปลดภาษีมูลค่าเพิ่ม รายได้ จ ากภาษี ค าร์ บ อนในอั ต รา ภาษี 200 บาทต่อตัน CO2 จำนวน 47.7

พันล้านบาท จะสามารถนำไปลดภาษีมลู ค่าเพิม่ เฉลี่ยในอัตรา 0.21% การลดภาษีมูลค่าเพิ่ม ช่วยไม่ให้ราคาสินค้าเพิม่ สูงขึน้ ไปมาก และเป็น การอุดหนุนภาคการผลิต และกระตุ้นการผลิต จึงทำให้อัตราการจ้างงานขยายตัว และอัตรา ผลตอบแทนทุ น แม้ จ ะลดลงก็ ล ดลงในอั ต รา น้ อ ยที่ สุ ด นอกจากนี้ ยั ง ทำให้ ดั ช นี ร าคาผู้ บริโภคเพิ่มขึ้นในอัตราต่ำที่สุดอีกด้วย เนื่อง จากเป็นการจัดการกับรายได้ทสี่ ง่ ผลให้ปริมาณ ผลผลิตลดลงน้อยที่สุด และราคาเพิ่มขึ้นน้อย ทีส่ ดุ หากเทียบกับการจัดการกับรายได้แบบอืน่ ๆ จึงเป็นกรณีที่ทำให้การเติบโตของจีดีพีชะลอ น้อยที่สุด โดยหดตัวลงเป็นมูลค่าเพียง 42 ล้านบาท และการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่ ล ดลงแลกมาด้ ว ยการหดตั ว ของจี ดี พี น้อยกว่าการจัดการรายได้แบบอื่นๆ การเลือก จัดการกับรายได้แบบนำกลับคืนหมุนเวียนใน ระบบโดยการนำไปลดภาษีมูลค่าเพิ่มจึงเป็น ตัวเลือกที่สามารถช่วยกระตุ้นการเติบโตของ เศรษฐกิจ หรือการรักษาไม่ให้จีดีพีหดตัวลง มากนักได้ ในขณะทีย่ งั สามารถลดการปล่อยก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ (2) การนำไปลดภาษี เ งิ น ได้ บุ ค คล ธรรมดา รายได้ จ ากภาษี ค าร์ บ อนในอั ต รา ภาษี 200 บาทต่อตัน CO2e จำนวน 47.7 พันล้านบาท จะช่วยลดอัตราภาษีรายได้บุคคล ธรรมดาเฉลีย่ 0.65% การลดภาษีเงินได้บคุ คล ธรรมดาเป็นการอุดหนุนภาคครัวเรือนโดยตรง จึงส่งผลให้รายได้ครัวเรือนเพิ่มสูงขึ้น กระตุ้น การบริโภคภาคครัวเรือนให้ขยายตัว สวัสดิการ ครัวเรือนก็เพิม่ สูงขึน้ ตามไป การลดภาษีเงินได้

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 159 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2557

การบริโภคลดลงจะทำให้การนำเข้าลดลงไป กว่าเดิมอีก 304 ล้านบาท อาจกล่าวได้ว่า การเก็บภาษีคาร์บอนแทบจะไม่มีผลกระทบต่อ การนำเข้าและส่งออกเท่าไรนัก เช่นเดียวกับ อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา ทั้งนี้หากไม่มีการ จัดเก็บภาษีคาร์บอน เงินบาทในปี 2550 จะ แข็งค่าขึ้นร้อยละ 6.30 แต่การจัดเก็บภาษี คาร์บอนจะทำให้คา่ เงินแข็งขึน้ อีกเพียงเล็กน้อย เป็นร้อยละ 6.32

85


บุ ค คลธรรมดาทำให้ ร ายได้ และสวั ส ดิ ก าร ครัวเรือนในภาพรวมของประเทศดีขึ้น การนำ รายได้จากภาษีกลับคืนหมุนเวียนในระบบโดย การนำไปลดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจึงเป็น ตัวเลือกทีม่ จี ดุ เด่นได้แก่ การกระตุน้ การบริโภค ของภาคครั ว เรื อ น และยกระดั บ สวั ส ดิ ก าร ภาคครัวเรือน (3) การโอนให้ภาคครัวเรือน รายได้ จ ากภาษี ค าร์ บ อนในอั ต รา ภาษี 200 บาทต่อตัน CO2e จำนวน 47.7 พันล้านบาท จะทำให้มเี งินโอนเพิม่ ขึน้ 21.5% การโอนรายได้ จ ากภาษี ค าร์ บ อนไปยั ง ภาค ครัวเรือนเป็นการอุดหนุนภาคครัวเรือนโดย ตรงเช่นเดียวกับการลดภาษีเงินได้ จึงส่งผลให้ รายได้ครัวเรือนเพิ่มสูงขึ้น การบริโภคภาค ครัวเรือนเกิดการขยายตัว สวัสดิการครัวเรือน ก็ เ พิ่ ม สู ง ขึ้ น ตามไปเช่ น เดี ย วกั บ กรณี ก ารลด ภาษีเงินได้แต่ขยายตัวสูงกว่ากรณีการลดภาษี เงินได้ อย่างไรก็ดี เมื่อเปรียบเทียบรายได้ และสวัสดิการในแต่ละกลุ่มรายได้ พบว่า กลุ่ม รายได้ตำ่ มีรายได้ และสวัสดิการทีเ่ พิม่ ขึน้ ส่วน กลุม่ รายได้สงู มีรายได้ และสวัสดิการลดลง การ นำรายได้จากภาษีกลับคืนหมุนเวียนในระบบ โดยการโอนให้ภาคครัวเรือนโดยตรงจึงเป็นตัว เลือกที่มีจุดเด่นได้แก่ การกระตุ้นการบริโภค ของภาคครัวเรือน และที่สำคัญคือการสร้าง ความเท่าเทียมกันในด้านรายได้ และสวัสดิการ ระหว่างผู้มีรายได้ต่ำ และสูง ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 159 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2557

86

5. บทสรุป และข้อเสนอแนะ (1) ภาษีคาร์บอนที่อัตรา 200 บาท ต่อตัน CO2e หรือเทียบตามอำนาจซื้อได้

เท่ากับ $11.93 ในสหรัฐอเมริกา £7.78 ใน สหราชอาณาจักร €10.23 ในเยอรมนี หรือ เท่ากับ €11.36 ในฟินแลนด์ นับว่าไม่ใช่อตั รา ทีส่ งู แต่อย่างใด และยังเป็นอัตราทีต่ ำ่ กว่าอัตรา ที่เก็บจริง (เทียบตามอำนาจซื้อ) ในประเทศ เหล่านี้ การจัดเก็บภาษีคาร์บอนในอัตรานี้จะ ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจก็แต่เพียงในระดับ ต่ำมาก โดยทำให้จดี พี ชี ะลอตัวลงเพียง 1,135 ล้านบาท ในขณะทีย่ อดภาษีมมี ลู ค่าสูงถึง 47.7 พันล้านบาท ผลกระทบอื่นๆ ก็มิได้สูงแต่อย่าง ใด อาทิ การจ้างงานลดลงเพียงหลักพันคน (ประมาณ 3 พันกว่าคน) การส่งออกลดลง 90 ล้านบาท ดัชนีราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้น 0.0037 จุด และการบริโภคภาคครัวเรือนลดลง 890 ล้านบาท ยิ่งหากนำรายได้จากภาษีคาร์บอน กลับไปหมุนเวียนในระบบด้วยแล้ว ผลกระทบ ที่อาจจะเกิดขึ้นก็จะยิ่งได้รับบรรเทาลงไปอีก นโยบายภาษีคาร์บอนที่อัตราดังกล่าว จึงมิใช่ นโยบายทีม่ ปี ระเด็นให้หวัน่ วิตกในแง่ผลกระทบ ต่อเศรษฐกิจแต่อย่างใด (2) นโยบายการจัดเก็บภาษีคาร์บอน มี ส่วนในการผลักดันให้การผลิตมีประสิทธิภาพ มากขึ้น โดยส่งผลให้ความเข้มข้นในการปล่อย ก๊ า ซคาร์ บ อนไดออกไซด์ ต่ อ จี ดี พี ล ดลง แต่ อย่างไรก็ดี ภาษีคาร์บอนในอัตราดังกล่าวส่งผล ให้ปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ลดลงเพียง 3.34 ล้านตัน หรือเท่ากับ 1% ของ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดของไทย ซึ่ง บ่งว่าภาษีคาร์บอนในอัตราดังกล่าวไม่ได้สร้าง แรงจูงใจให้ผู้บริโภคลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล ลงมากนัก อาจจะเนื่องด้วยผู้บริโภคไม่มีความ ยืดหยุ่นในการปรับเปลี่ยนการใช้ และเลือกใช้


(3) หากจะนำภาษีคาร์บอนไปบังคับใช้ จริงย่อมจะมีประเด็นว่า เพราะเหตุใดภาคส่วน อื่นที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกจึงไม่ต้องรับภาระ ภาษี ดังนั้นจึงควรศึกษาตระเตรียมเครื่องมือ และมาตรการที่เหมาะสมสำหรับภาคส่วนอื่นๆ ที่ ป ล่ อ ยก๊ า ซเรื อ นกระจกโดยเฉพาะภาคการ เกษตร และภาคป่าไม้และการใช้ทดี่ นิ เพือ่ ขจัด ประเด็ น ความเหลื่ อ มล้ ำ ไม่ เ ป็ น ธรรมในการ บังคับใช้ภาษีคาร์บอนในภาคพลังงาน

(4) สืบเนื่องจากภาษีคาร์บอนที่มีอัตรา ไม่สูงนี้ อาจจะไม่ก่อให้เกิดการลดการใช้เชื้อ เพลิงฟอสซิล ดังนั้น จำต้องใช้มาตรการอื่นๆ ในการกำกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดย เฉพาะการส่งเสริมเทคโนโลยี และกิจกรรม คาร์บอนต่ำ ซึ่งรวมไปถึงการลงทุนด้านโครงสร้าง และระบบคมนาคมขนส่ง เช่น ระบบ ขนส่งมวลชน ระบบขนส่งสินค้า และระบบ การขนส่งเพื่อการเดินทางท่องเที่ยว เป็นต้น เนื่องจากภาษีคาร์บอนส่งผลกระทบต่อระบบ เศรษฐกิจในระดับต่ำอยู่แล้ว การนำรายได้ จากภาษีคาร์บอนมาใช้ในการส่งเสริมเทคโนโลยี แ ละกิ จ กรรมคาร์ บ อนต่ ำ โดยใช้ ก ลไก กองทุน กลไกการธนาคาร (Green banking) และกลไกทางการคลังอืน่ ๆ (Financial mechanism) อาจเป็นทางเลือกที่เหมาะสม และยั่งยืน ในระยะยาวมากกว่ า การนำรายได้ จ ากภาษี คาร์บอนหมุนเวียนกลับคืนสูร่ ะบบเศรษฐกิจเพือ่ บรรเทาผลกระทบ (Revenue-neutral)

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 31 เล่มที่ 159 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2557

เชื้อเพลิงมากเท่าใดนัก กอปรกับอัตราภาษี คาร์บอนที่ไม่สูงนี้ซึ่งเทียบได้เท่ากับ 56.41 สตางค์ต่อลิตรสำหรับน้ำมันเบนซิน ซึ่งไม่ต่าง จากอัตราการประกาศขึ้นราคาน้ำมันในแต่ละ ครัง้ ของรัฐบาล หรือเทียบเท่ากับราคาทีเ่ พิม่ ขึน้ 25 บาท ต่อการเติมน้ำมันเต็มถังขนาด 45 ลิตร (ประมาณ 1,500 บาท) สำหรับรถยนต์นงั่ บุคคลธรรมดา การที่ภาษีคาร์บอนมีอัตราต่ำ เช่นนี้มีข้อดีก็คือ จะช่วยให้การประกาศบังคับ ใช้ง่ายขึ้น แต่ข้อเสียก็คือไม่ก่อให้เกิดการลด การใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล และลดการปล่อยก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์ สักเท่าใดนัก

87


ขอขอบคุณบริษัทที่ให้ความสนับสนุน และความร่วมมือในการจัดทำวารสารธุรกิจอาหารสัตว์

1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17

บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) บริษัท ซี พี เอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) สมุทรปราการ บริษัท กรุงไทยอาหาร จำกัด (มหาชน) บริษัท อาหารสัตว์ ไทยสวนหลวง จำกัด บริษัท ลีพัฒนาผลิตภัณฑ์ จำกัด (มหาชน) บริษัท ซี พี เอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) สระบุรี บริษัท ท็อป ฟีด มิลล์ จำกัด บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารเซ็นทรัล จำกัด บริษัท ยูนีโกรอินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด บริษัท อดิสสิโอ เทรดดิ้ง (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท แลบอินเตอร์ จำกัด บริษัท มู่หยางโฮลดิ้ง (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท ฮูเวฟาร์มา (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท เวอร์แบค (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท เวท อะกริเทค จำกัด บริษัท ตงชางเครื่องชั่ง (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท วีเอ็นยู เอ็กซิบิชั่นส์ เอเชีย แปซิฟิค จำกัด

โทร. 0-2833-8000 โทร. 0-2680-4580 โทร. 0-2473-8000 โทร. 0-2814-3480 โทร. 0-2632-7232 โทร. 0-2680-4500 โทร. 0-2194-5678-96 โทร. 0-2516-8811 โทร. 0-3430-5101-3 โทร. 0-2681-1329 โทร. 0-3488-6140-48 โทร. 092 089 1601 โทร. 0-2937-4355 โทร. 0-2193-8288-90 โทร. 0-2575-5777-86 โทร. 0-2757-4792-5 โทร. 02-6700900




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.