รายนามสมาชิก
สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย 1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8. 9. 10. 11. 12. 13. 14. 15. 16. 17. 18. 19. 20. 21. 22. 23. 24. 25. 26.
บริษัท เบทาโกร โฮลดิ้ง จำกัด บริษัท แหลมทองสหการ จำกัด บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารเซ็นทรัล จำกัด บริษัท ป.เจริญพันธ์อาหารสัตว์ จำกัด บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) บริษัท กรุงไทยอาหาร จำกัด (มหาชน) บริษัท ลีพัฒนาผลิตภัณฑ์ จำกัด (มหาชน) บริษัท คาร์กิลล์สยาม จำกัด บริษัท ลีพัฒนาอาหารสัตว์ จำกัด บริษัท ฟีดสเปเชียลตี้ จำกัด บริษัท โกรเบสท์คอร์โพเรชั่น จำกัด บริษัท เอเชี่ยน ฟีด จำกัด บริษัท ไทยลักซ์เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน) บริษัท อาหารสัตว์ไทยสระบุรี จำกัด บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) บริษัท ท็อป ฟีด มิลล์ จำกัด บริษัท คาร์กิลล์มีทส์ (ไทยแลนด์) จำกัด บริษัท ยูไนเต็ดฟีดมิลล์ จำกัด บริษัท มิตรภาพอาหารสัตว์ จำกัด บริษัท เหรียญทอง ฟีด (1992) จำกัด บริษัท แหลมทองเกษตรภัณฑ์ จำกัด บริษัท อาหารสัตว์ไทยสวนหลวง จำกัด บริษัท เอส พี เอ็ม อาหารสัตว์ จำกัด บริษัท อีสเทิร์น ฟีดมิลล์ จำกัด บริษัท เบทาโกรนอร์ธเทอร์น จำกัด
27. 28. 29. 30. 31. 32. 33. 34. 35. 36. 37. 38. 39. 40. 41. 42. 43. 44. 45. 46. 47. 48. 49. 50. 51. 52.
บริษัท ซันฟีด จำกัด บริษัท ยูนีโกร อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด บริษัท พนัสโภคภัณฑ์ จำกัด บริษัท ยู่สูงอาหารสัตว์ จำกัด บริษัท แหลมทองอะควอเทค จำกัด บริษัท เบทาโกรภาคใต้ จำกัด บริษัท บางกอกแร้นซ์ จำกัด (มหาชน) บริษัท กาญจนาอาหารสัตว์ จำกัด บริษัท ก้าวหน้าอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ จำกัด บริษัท กรุงเทพโปรดิ๊วส จำกัด (มหาชน) บริษัท วี.ซี.เอฟ. กรุ๊ป จำกัด บริษัท ชัยภูมิฟาร์มผลิตภัณฑ์การเกษตร จำกัด บริษัท ไทยยูเนี่ยน ฟีดมิลล์ จำกัด บริษัท อินเทคค์ ฟีด จำกัด บริษัท บุญพิศาล จำกัด บริษัท เฮกซ่าแคลไซเนชั่น จำกัด บริษัท บีทีจี ฟีดมิลล์ จำกัด บริษัท หนองบัว ฟีด มิลล์ จำกัด บริษัท ไทย ฟู้ดส์ อาหารสัตว์ จำกัด บริษัท โกลด์ คอยน์ สเปเชียลิตี้ส์ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท แม่ทา วี.พี.ฟีดมิลล์ จำกัด บริษัท อาร์ที อะกริเทค จำกัด บริษัท ฟาร์มจงเจริญ จำกัด บริษัท เจบีเอฟ จำกัด บริษัท อินเว (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท ทีอาร์เอฟ ฟีดมิลล์ จำกัด
ิน ภ อ
น ท นั
ร า าก
คณะกรรมการบริหาร สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย ประจำปี 2558-2559 1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8. 9. 10. 11. 12. 13. 14. 15. 16. 17. 18.
นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล นายณรงค์ชัย ศรีสันติแสง นายประจักษ์ ธีระกุลพิศุทธิ์ นายธีรศักดิ์ อุรุนานนท์ นายบุญธรรม อร่ามศิริวัฒน์ นายประกิต เพียรศิริภิญโญ นางเบญจพร สังหิตกุล นายสถิตย์ บำรุงชีพ นายโดม มีกุล นายวราวุฒิ วัฒนธารา นางสาวถนอมวงศ์ แต้ไพสิฐพงษ์ นายหัสดิน ทรงประจักษ์กุล นายวิชัย คณาธนะวนิชย์ นายวิศิษฐ คณาธนะวนิชย์ นายสุจิน ศิริมงคลเกษม นางสาวนลิน เหล่าวรวิทย์ นายสุทธิชัย ศักดิ์ชัยเจริญกุล นายสมภพ เอื้อทรงธรรม
นายกสมาคม อุปนายก อุปนายก อุปนายก เลขาธิการ รองเลขาธิการ เหรัญญิก นายทะเบียน ประชาสัมพันธ์ ปฏิคม กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ
บริษัท กรุงเทพโปรดิ๊วส์ จำกัด (มหาชน) บริษัท เบทาโกร โฮลดิ้ง จำกัด บริษัท ป.เจริญพันธ์อาหารสัตว์ จำกัด บริษัท ซี พี เอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) บริษัท ลีพัฒนาผลิตภัณฑ์ จำกัด (มหาชน) บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) บริษัท อาหารสัตว์ไทยสวนหลวง จำกัด บริษัท อาหารสัตว์ไทยสระบุรี จำกัด บริษัท ลีพัฒนาอาหารสัตว์ จำกัด บริษัท เบทาโกรภาคใต้ จำกัด บริษัท เบทาโกรนอร์ธเทอร์น จำกัด บริษัท แหลมทองเกษตรภัณฑ์ จำกัด บริษัท แหลมทองอะควอเทค จำกัด บริษัท กรุงไทยอาหาร จำกัด (มหาชน) บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารเซ็นทรัล จำกัด บริษัท ท็อป ฟีด มิลล์ จำกัด บริษัท อินเทคค์ ฟีด จำกัด
บรรณาธิการ
แถลง
เป็นความร่วมมือกันด้วยความจริงใจทีจ่ ะแก้ไขปัญหาหมอกควันจากการเผาเศษวัสดุการเกษตร ในพื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มีการลงนามในบันทึกความตกลงความร่วมมือ ทั้งจากภาคเอกชน และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อม และลงพืน้ ทีป่ ระชุม ซักซ้อมความเข้าใจ ถ่ายทอด หลักการแก่ผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ในเขต 9 จังหวัดทางภาคเหนือ บนหลักการที่สำคัญ คือ ภาคเอกชน สนับสนุนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดทำบัญชีการปลูกการซื้อขาย เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการ บริหารจัดการ การสร้างแรงจูงใจให้เกษตรกรลดและงดการเผาตอซังและเศษวัสดุการเกษตร เช่น ส่งเสริมให้เกษตรกรดำเนินการตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (Good Agricultural Practice: GAP) สนับสนุนองค์ความรู้ และแนวทางแก่เกษตรกรในการทำการเกษตรปลอดการเผา การไถกลบตอซัง การจัดการเศษวัสดุการเกษตรโดยไม่เผา ส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากตอซังและเศษวัสดุ รวมถึงการวิจยั และพัฒนาเพื่อสร้างมูลค่าให้กับเศษวัสดุภาคการเกษตร รวมถึงสนับสนุนให้มีการนำผลการวิจัยและ พัฒนาไปสู่การปฏิบัตอย่างเป็นรูปธรรม และให้ความร่วมมือและสนับสนุนภาครัฐในการป้องกันและ แก้ไขปัญหาการเผาในพื้นที่เกษตรและหมอกควันภาคเหนือ และปฏิบัติตามแนวทางของภาครัฐอย่าง เต็มที่ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม บูรณาการกับ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงมหาดไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ขับเคลื่อนนโยบายในการลดและควบคุมการเผาในพื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ โดยเฉพาะ การลงทะเบียนเกษตรกร การปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำเกษตรจากการปลูกพืชเชิงเดี่ยว เป็นไม้ยืนต้น การส่งเสริมให้มีการจัดการเศษวัสดุภาคการเกษตรโดยไม่เผาสำหรับการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์บน พื้นที่สูง ส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากตอซังและเศษวัสดุภาคการเกษตรอย่างเป็นรูปธรรม และการสร้าง แรงจูงใจให้เกษตรกรดำเนินการตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) กำกับดูแลและป้องกันการ บุกรุกพื้นที่ป่าเพิ่มเติมเพื่อขยายพื้นที่เกษตร โดยเฉพาะข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และดำเนินมาตรการเพื่อ จัดการพื้นที่ป่าที่ถูกบุกรุกเพื่อปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์อย่างเหมาะสม การดำเนินงานได้เริ่มขึ้นแล้วอย่างจริงจัง บนความร่วมมือจากทุกฝ่าย ที่ร่วมลงในบันทึก ความตกลง และจะทำให้ปัญหาหมอกควันทางภาคเหนือที่เกิดจากการเผาเศษตอซังและวัสดุทาง การเกษตร ลดลงได้ด้วยความร่วมมือรณรงค์บนองค์ความรู้ที่ทุกฝ่ายช่วยกัน ด้วยดี... บก.
ธุรกิจอาหารสัตว์
วารสาร
วัตถุประสงค์ 1. เพื่อส่งเสริมความรู้และเผยแพร่อุตสาหกรรมอาหารสัตว์และการปศุสัตว์ 2. เพื่อเป็นสื่อกลางระหว่างสมาชิกและผู้ที่เกี่ยวข้องทั่วไป 3. เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารสัตว์และการปศุสัตว์ของประเทศให้เจริญรุ่งเรืองในแนวทางที่เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของชาติ 4. ไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง
ปีที่ 32 เล่มที่ 163 ประจำเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2558
Contents Thailand Focus
สรุปรายงานการประชุมเสวนาโต๊ะกลม "ความจริงเรื่องข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ กับทางออกเพื่อประเทศไทย"................................................................................ 5 การอภิปรายยุทธศาสตร์ข้าวโพดภาครัฐ ภายใต้การประชุมข้าวโพดและข้าวฟ่างแห่งชาติ ครั้งที่ 37..................................15 Food Feed Fuel สินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์ ไตรมาสที่ 2/2558............................................................................................................... 20 สินค้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ • สินค้ามันสำปะหลังโรงงาน • สินค้าถั่วเหลืองและผลิตภัณฑ์ สินค้าสุกรและผลิตภัณฑ์ • สินค้าไก่เนื้อและผลิตภัณฑ์ • สินค้าไก่ไข่และผลิตภัณฑ์ • สินค้ากุ้งและผลิตภัณฑ์ เล็งอนาคตปาล์มไทย เมื่อต้องไต่บนเส้นลวด สศก. เจาะหลากมุมมอง ร่วมหาทางออกอุตสาหกรรมปาล์ม. ............................................................................... 53 Market Leader ภัยแล้งฉุดผลผลิตปาล์มลด กปน. ย้ำ เร่งแก้ไขปัญหารับซื้อปาล์ม-เดินหน้า พ.ร.บ. เต็มที.่ .............................................. 56 รายงานการสำรวจปลาป่น ครั้งที่ 1/2558....................................................................................................................... 60 Around The World "การดำเนินงานของภาครัฐในการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (IUU Fishing)" . ..............................................................................................70 ขอบคุณ............................................................................................................................................................................ 80
ดำเนินการโดย : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย : นายประเสริฐ พุ่งกุมาร รองประธานกรรมการที่ปรึกษา : นายวีรชัย รัตนบานชื่น นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล กรรมการที่ปรึกษา : นายสมชาย กังสมุทร นายพงษ์ เหล่าวรวิทย์ นายประสิทธิ์ ศิริมงคลเกษม นายอดิเรก ศรีประทักษ์ นายนิพนธ์ ลีละศิธร นางเบญจพร สังหิตกุล นายณรงค์ชัย ศรีสันติแสง นายบุญธรรม อร่ามศิริวัฒน์ นายประจักษ์ ธีระกุลพิศุทธิ์ บรรณาธิการ : นายปรีชา กันทรากรกิติ กองบรรณาธิการ : นายไพบูลย์ ขุนทอง นายอรรถพล ชินภูวดล นางสาวปัทมา ศรีเที่ยงตรง
ประธานกรรมการที่ปรึกษา
สำนักงาน : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย 43 ไทย ซีซี ทาวเวอร์ ห้อง 170 ชั้น 17 ถนนสาทรใต้ ยานนาวา สาทร กรุงเทพฯ 10120 โทรศัพท์ 0-2675-6263-4 โทรสาร 0-2675-6265 Email: tfma44@yahoo.com Website: www.thaifeedmill.com
Thailand Focus
สรุปรายงานการประชุมเสวนาโต๊ะกลม
“ความจริงเรื่องข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ กับทางออกเพื่อประเทศไทย” วันพฤหัสบดีที่ 9 เมษายน 2558 ณ ห้องบอร์ดรูม 1 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
ความเป็นมา การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เพื่อเป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ ได้เป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญของการ เกิดวิกฤตหมอกควันในภาคเหนือของประเทศไทย สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย และสมาคม การค้าเมล็ดพันธุ์ไทยในฐานะที่เกี่ยวข้องโดยตรง ได้ตระหนักถึงบทบาทและความรับผิดชอบ ต่ อ สั ง คม ทั้ ง ในประเด็ น เรื่ อ งหมอกควั น ที่ ไ ด้ ผู ก สาเหตุ ม าจากการเผาซั ง ข้ า วโพดเลี้ ย งสั ต ว์ รวมถึงพฤติกรรมการบุกรุกป่าเพื่อใช้เป็นพื้นที่ทำกิน จึงจัดให้มีการประชุมเสวนาเพื่อรับทราบ ข้อเท็จจริงจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้น โดยเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในเรื่องดังกล่าวทุกภาคส่วน มาหารือแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันเพื่อให้ได้ทางออกที่เหมาะสมในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ต่อไป โดยงานดังกล่าวมีผู้สนใจจากหลายภาคส่วน อาทิ กรมควบคุมมลพิษ, กรมป่าไม้, สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร, กรมวิชาการเกษตร, สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม, สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ, บ.ป่าสาละ, เครือข่ายป่าชุมชนจังหวัดน่าน, เกษตรกรที่เข้าสู่ระบบมาตรฐาน GAP รายแรกของประเทศไทย, มูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน, มูลนิธิไทยรักษ์ป่า, มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นต้น โดยมี จำนวนเข้าร่วมทั้งสิ้น 76 ท่าน ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 163
กรกฎาคม-สิงหาคม 2558
5
ความจริงเกี่ยวกับ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ นางผกาพรรณ ศรลัมภ์ ผู้อำนวยการ ส่ ว นวิ จั ย เศรษฐกิ จ พื ช ไร่ น า สำนั ก งาน เศรษฐกิจการเกษตร ได้รายงานข้อมูลสถิติ ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มีพื้นที่ปลูกอยู่ในภาคเหนือ ภาคอีสาน และ ภาคกลาง พื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ตั้งแต่ปี 2547 ถึงปี 2557 พบว่าเนื้อที่ปลูก ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เพิ่มขึ้นจาก 7.27 ล้านไร่ เป็น 7.29 ล้านไร่ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.28 มีเกษตรกรทีเ่ กีย่ วข้องกับการเพาะปลูกประมาณ 437,000 ครัวเรือน เพิ่มขึ้นจาก 340,000 ครัวเรือนในปี 2547 ร้อยละ 2.65 ต่อปี ผลผลิตในปี 2558/59 คาดว่ามี 4.81 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 4.34 ล้านตันในปี 2547/48 ร้อยละ 2.06 ต่อปี และเมื่อเปรียบเทียบกับ ปี 2557/58 พบว่าผลผลิตยังคงมีแนวโน้ม เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.11 ซึ่งการใช้ข้าวโพดเพิ่มขึ้น ตามการขยายตัวของภาคปศุสตั ว์โดยกว่า 90% จะเข้าสู่อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ ซึ่งมีแนวโน้ม
เพิ่มขึ้นทุกๆ ปี โดยในช่วงปี 2547-2558 แนวโน้มความต้องการใช้เพิ่มขึ้นจาก 3.56 ล้านตันในปี 2547 เป็น 5.08 ล้านตันในปี 2558 หรือเพิม่ ขึน้ ร้อยละ 3.40 ต่อปี ผลผลิต เฉลี่ยต่อไร่ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 58/59 คือ 665 กิโลกรัมต่อไร่ เพิม่ ขึน้ จาก 597 กิโลกรัม ต่อไร่ในปี 47/48 ร้อยละ 1.11 ต่อปี และ เมื่อเปรียบเทียบกับผลผลิตเฉลี่ย ปี 57/58 ที่ 659 กิโลกรัมต่อไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.91 ทางด้านต้นทุนการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ใน ช่วงปี 2547/48-2557/58 มีแนวโน้มสูงขึ้น ร้อยละ 7.10 ต่อปี ภาพรวมราคาข้าวโพดเลีย้ ง สัตว์ในทุกตลาด (เกษตรกรขายได้ อาหารสัตว์ รับซื้อ และราคาล่วงหน้าชิคาโก) มีแนวโน้ม สูงขึ้น โดย 1.1) ราคาเกษตรกรขายได้เพิ่มขึ้น จาก 4.45 บาท/กก. ในปี 2547 เป็น 8.59 บาท/กก. ในปี 2558 (เดือนมีนาคม) โดย เพิ่ ม ขึ้ น ร้ อ ยละ 5.39 ต่ อ ปี 1.2) ราคา อาหารสัตว์รับซื้อ เพิ่มขึ้นจาก 5.64 บาท/กก. ในปี 2547 เป็น 9.41 บาท/กก. ในปี 2558 (เดือนมีนาคม) โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.41 ต่อปี
แหล่งปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ปี 2547 เทียบปี 2557
แหล่งเพาะปลูก 40 จังหวัด รวมเนื้อที่ปลูก 7,272,497 ไร่ - ภาคเหนือ 17 จังหวัด เนื้อที่ปลูก 4,134,247 ไร่ (56.85%) - ภาคอีสาน 10 จังหวัด เนื้อที่ปลูก 1,800,293 ไร่ (24.75%) - ภาคกลาง 13 จังหวัด เนื้อที่ปลูก 1,337,957 ไร่ (18.40%) แหล่งปลูกสำคัญ ได้แก่ เพชรบูรณ์ (14.67%) นครราชสีมา (13.14%) ลพบุรี (7.21%) นครสวรรค์ (6.52%) และตาก (6.38%) ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
6 กรกฎาคม-สิงหาคม 2558
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 163
แหล่งเพาะปลูก 40 จังหวัด รวมเนื้อที่ปลูก 7,292,697 ไร่ - ภาคเหนือ 17 จังหวัด เนื้อที่ปลูก 4,958,330 ไร่ (67.99%) - ภาคอีสาน 10 จังหวัด เนื้อที่ปลูก 1,610,090 ไร่ (22.06%) - ภาคกลาง 13 จังหวัด เนื้อที่ปลูก 724,277 ไร่ (9.93%) แหล่งปลูกสำคัญ ได้แก่ เพชรบูรณ์ (13.43%) น่าน (11.20%) เลย (10.40%) ตาก (9.33%) และนครราชสีมา (9.18%)
1.3) ราคาล่วงหน้าตลาดชิคาโก เพิ่มขึ้นจาก 3.70 บาท/กก. ในปี 2549 เป็น 4.98 บาท/ กก. ในปี 2558 (เดือนมีนาคม) โดยเพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.54 ต่อปี หากมองตัวเลขเนือ้ ทีเ่ พาะปลูก ดูเหมือน จะคงที่ แต่หากมองละเอียดลงไปจะพบว่าเนือ้ ที่ เพาะปลูกในเขตภาคเหนือขยายตัวมากขึ้น ใน ขณะที่ภาคกลางลดลง ปัจจุบันกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มี แผนงานที่มอบหมายให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่ ละจังหวัดจัดทำบัญชีสมดุล Demand และ Supply สินค้าเกษตร 5 อันดับแรก เพื่อจะได้ ดูแลและป้องกันราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ นายพาโชค พงษ์พานิช สมาคมการค้า เมล็ดพันธุ์ไทย ได้กล่าวถึงความสำคัญของ ข้ า วโพดต่ อ เศรษฐกิ จ ประเทศไทยตั้ ง แต่ จุ ด เริ่มต้นจากเมล็ดพันธุ์ที่ใช้ในการปลูกข้าวโพด นั้นมีมูลค่าสูงถึง 2,500 ล้านบาท/ปี แต่สิ่งที่ เกิดขึ้นจากเมล็ดพันธุ์มูลค่าดังกล่าวนั้น เป็น ผลผลิตที่มีมูลค่ากว่า 45,000 ล้านบาท/ปี และผลผลิตดังกล่าวทีจ่ ะผ่านผูร้ วบรวมทัง้ ระดับ ท้องถิน่ ระดับจังหวัด เข้าสูอ่ ตุ สาหกรรมอาหาร สัตว์นั้น มีมูลค่าถึง 300,000 ล้านบาท จาก อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ เป็นผลิตภัณฑ์สัตว์ ที่ส่งออก หรือบริโภคคิดเป็นมูลค่าอีกกว่า 1 ล้านล้านบาท “เห็นได้ว่า ตั้งแต่ต้นน้ำที่มกี าร นำเข้าเมล็ด ไปถึงเกษตรกรนัน้ มีมลู ค่าเพิม่ ขึน้ ประมาณ 15 เท่า เมือ่ เข้าสูร่ ะบบอุตสาหกรรม อาหารสัตว์ มูลค่าเพิม่ เป็น 20 เท่า และออกมา เป็นมูลค่า 1 ล้านล้านบาท ส่วนนี้จึงปฏิเสธ ไม่ได้วา่ ข้าวโพดเลีย้ งสัตว์นนั้ มีความสำคัญต่อ การขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเกษตรส่วนหนึ่ง”
เนื่ อ งจากข้ า วโพดเลี้ ย งสั ต ว์ เ ป็ น สิ่ ง ที่ มี มูลค่าเพิ่มในทุกขั้นตอนของอุตสาหกรรม และ มีเกษตรกรรายย่อยทีเ่ กีย่ วข้องอีกกว่า 400,000 ครัวเรือน เมื่อมีปัญหาใดๆ เกิดขึ้น การหา ทางออกจึงต้องการความร่วมมือจากทุกภาค ส่วนทีจ่ ะช่วยกันคนละไม้ละมือ ทัง้ ตัวเกษตรกร เอง ตัวภาคเอกชน และภาครัฐ ในการร่วมมือ กันให้การปลูกข้าวโพดของไทยได้มาตรฐาน เป็นที่ยอมรับโดยสากลประเทศ จะทำให้ไม่มี ปัญหาในการส่งออกผลิตภัณฑ์สัตว์ในอนาคต
ข้าวโพด ป่าไม้ ไฟป่า และปัญหาหมอกควัน นายวิเชียร จุง่ รุง่ เรือง อธิบดีกรมควบคุม มลพิษ กล่าวถึงสถิตเิ กีย่ วกับการเกิดหมอกควัน ในอดีตถึงปัจจุบัน เขตพื้นที่หลักที่เกิดไฟป่า และสาเหตุของการเกิดไฟป่า โดยระบุวา่ ข้อมูล ในปี 2558 ปัญหาหมอกควันที่เกิดขึ้น เมื่อ เทียบกับปี 2557 ปริมาณความเข้มข้นของ ฝุ่นละอองขนาดเล็กนั้นสูงกว่า มีความรุนแรง กว่า โดยความเข้มข้นของฝุ่นละอองอยู่ที่ 381 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร ขณะที่ปี 2557 อยูท่ ี่ 324 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร และหาก นับจำนวนวันที่มีค่าฝุ่นละอองเกินค่ามาตรฐาน แม้ในปี 2558 ช่วงก่อนเทศกาลสงกรานต์จะมี จำนวนวันที่มีฝุ่นละอองเกินค่ามาตรฐานน้อย กว่าปี 2557 แต่จากการคาดการณ์ของกรม ควบคุมมลพิษเมื่อถึงสิ้นเดือนเมษายน จำนวน วันจะขยับขึ้นมาใกล้เคียงกัน ซึ่งผลกระทบจาก ฝุน่ ละอองเกินค่ามาตรฐานในปี 2557 มีผปู้ ว่ ย ที่ได้รับผลกระทบจำนวนประมาณ 900,000 ราย และส่งผลต่อเส้นทางการบินด้วยเช่นกัน ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 163
กรกฎาคม-สิงหาคม 2558
7
สัดส่วนจำนวนจุดความร้อนสะสมแยกรายพื้นที่*
จำนวน ร้อยละ
พื้นที่ป่าอนุรักษ์ 2,992 จุด 43%
จำนวนจุดความร้อนที่ตรวจพบ* พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ พื้นที่เกษตร 3,014 จุด 1,002 จุด 43% 14%
เรื่องของหมอกควันสามารถแบ่งสาเหตุ หลักได้ 2 ประการคือ สาเหตุที่ “ควบคุมได้” และ “ควบคุ ม ไม่ ไ ด้ ” กรณี ที่ ค วบคุ ม ได้ คื อ กรณีที่เกิดจากพฤติกรรมมนุษย์ คือ “การเผา” และปัญหาหมอกควันที่เกิดจากการเผามาจาก 3 ส่วน ได้แก่ การเผาเพื่อหาสัตว์ ล่าสัตว์ สำหรับหาของป่า การเผาเพือ่ ทำการเกษตร และ หมอกควันข้ามแดน ส่วนปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ นำไปสู่ปัญหา หมอกควันในภูมภิ าคต่างๆ นัน้ ต้องอาศัยปัจจัย ร่วมหลายประการ ทั้งลักษณะภูมิประเทศที่ เป็นแอ่งกระทะ ล้อมรอบด้วยภูเขาสูง ทำให้ หมอกควั น สะสม สภาพอุ ตุ นิ ย มวิ ท ยา คื อ ฤดูหนาว อากาศเย็น และแห้ง ความกดอากาศสูง สภาพอากาศนิง่ ทำให้หมอกควันไม่แพร่กระจาย ฝุ่นละอองแขวนลอยได้นาน ซึ่งในช่วงเวลา ปลายเดือนมกราคม จนถึงเดือนเมษายน เป็น ช่วงเวลาที่สภาพต่างๆ เอื้ออำนวยให้เกิดไฟป่า และปัญหาหมอกควันได้ หากเลยช่วงเวลานี้ไป แม้มีการเผา ปัญหาก็จะไม่เกิดขึ้นแล้ว เนื่อง จากปัจจัยไม่ครบถ้วน 8 กรกฎาคม-สิงหาคม 2558
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 163
รวม 7,007 จุด 100%
สำหรับภาพรวมของ 9 จังหวัด ทีผ่ า่ นมา ในปี 2556 และ 2557 จุดฮอตสปอตส่วนใหญ่ กว่า 50% อยูใ่ นพืน้ ทีป่ า่ สงวน และในการนับจุด ฮอตสปอตสะสมในปี 2558 จะพบบริเวณเขต ป่าสงวน และป่าอนุรักษ์อยู่ที่ 43% ประมาณ 3,000 จุด ส่วนพื้นที่เกษตร 14% ประมาณ 1,000 จุด จึงเกิดเป็นคำถามว่าปัญหาเหล่านี้ อยูใ่ นความรับผิดชอบของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เนื่องจากเหตุไฟป่า ที่ทำให้เกิดปัญหาหมอกควัน และค่าฝุ่นละออง เกินมาตรฐานนัน้ พืน้ ทีจ่ ดุ ฮอตสปอตอยูใ่ นพืน้ ที่ ป่าอนุรักษ์และป่าสงวนมีประมาณ 80% แล้ว เกีย่ วข้องอย่างไรกับชาวบ้าน ภาพจากสไลด์ เป็น จุดความร้อนที่เกิดขึ้นใน อ.สะเมิง โดยจะพบ จุดดังกล่าวอยู่ในเขตป่าสงวน หรือป่าอนุรักษ์ แต่เมื่อขยายภาพให้ชัดเจนขึ้นจริงๆ ว่าในเขต พื้นที่นั้นได้กลายสภาพเป็นพื้นที่ชุมชน หรือ พืน้ ทีเ่ กษตรในป่าไปแล้ว ก็คอื พูดง่ายๆ ว่า มีการ บุกรุกเข้าไปตั้งถิ่นฐาน หรือปลูกพืชต่างๆ
ตัวอย่างจุด HOTSPOT ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ป่าสงวนฯ เมื่อนำมาทับซ้อนในแผนที่ Google Earth
“สิ่ ง หนึ่ ง ที่ เ ป็ น สาเหตุ ส ำคั ญ ที่ ต้ อ ง ยอมรับคือ 1/3 ของปัญหาทีเ่ กิดขึน้ มาจาก การปลูกข้าวโพดในพืน้ ทีส่ งู เพราะว่าเราเคย ไปคุยกับประชาชนในเขตภาคเหนือว่า หาก ไม่เผาป่าแก้ได้หรือไม่ ก็มี 20 คำตอบ ที่ บอกว่าได้ แต่สุดท้ายนั้น คำตอบทั้งหมด ก็บอกว่าต้องใช้เงินทุนในการจะทำให้ได้ บอกว่าไปไถกลบ ชาวบ้านก็ถามว่าค่ารถไถ ใครจะออก เนือ่ งจากการเผาลงทุน เพียงไม้ขีดก้านเดียว จึงเป็นปัญหาที่ค่อนข้างซับซ้อน และ ยอมรับว่าการทำเกษตรในพืน้ ทีส่ งู โดยเฉพาะการปลูกข้าวโพด ซึง่ ต้นเหตุของปัญหาก็คอื เมือ่ มีการบุกรุกก็ไม่กล้าปลูกพืชชนิดอืน่ เพราะกลัวเจ้าหน้าที่ เพราะ ผิดกฎหมาย ไม่กล้าลงพืชยืนต้นเพราะจะถูกจับ ข้าวโพดจึงเป็นพืชทีม่ อี ายุสนั้ ทีส่ ดุ จึงง่ายทีส่ ดุ ในการเพาะปลูก” นายสมชัย มาตรเทียน รองอธิบดีกรมป่าไม้ กล่าวว่า ในอดีตประเทศไทยมีป่าไม้ 320 ล้านไร่ จากข้อมูลล่าสุด ประเทศไทยเหลือป่าอยู่เพียง 102 ล้านไร่ หรือประมาณ 30% เฉลี่ยป่าหายไปประมาณ 1 ล้านไร่/ปี “ปัญหามันเกิดขึ้นก็ต้องยอมรับว่าในอดีตไทยต้องการ พัฒนาประเทศ จึงต้องใช้พนื้ ทีป่ า่ ในการเพาะปลูกพืช ปัจจุบนั ไฟป่าก็เป็นปัญหาหนึง่ ทีท่ ำลายป่า ค่อนข้างเยอะ รวมไปถึงการบุกรุกทำลายของชาวบ้านที่ไร้ที่ทำกินด้วย” เมื่อปัญหาเกิดขึ้น ป่าที่ไหนสำคัญ และเป็นป่าสมบูรณ์นั้น จะมีการสงวนหวงห้ามไว้ มีการประกาศเป็นเขตอนุรักษ์ ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 163
กรกฎาคม-สิงหาคม 2558
9
ตามกฎหมาย เป็นเขตอุทยานแห่งชาติ หรือ เขตรั ก ษาพั น ธุ์ สั ต ว์ ป่ า ซึ่ ง เป็ น เขตหวงห้ า ม อย่างเด็ดขาด การบุกรุกในพืน้ ทีน่ คี้ อ่ นข้างน้อย อย่างไรก็ตาม ในเขตป่าสงวนแห่งชาติทั้งหมด 1,221 แห่ง ไม่ใช่เขตหวงห้ามเด็ดขาด จึง ยังมีประชาชนอาศัยอยู่ ปั จ จุ บั น ประเทศไทยมี ป่ า ที่ เ รี ย กว่ า “ป่าเสื่อมโทรม” หรือป่าที่ชาวบ้านเข้าไปอยู่ ประมาณ 26.68 ล้านไร่ ในจำนวนนี้ กรมป่าไม้ ได้ทำการสำรวจ และขึ้นทะเบียนประชาชน ตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2541 ได้ประมาณ 8.6 ล้านไร่ “เมื่อมีการอนุญาตให้ชาวบ้าน ขึ้นทะเบียน เขาจึงสามารถอยู่ทำกินได้ แต่ ห้ามบุกรุกใหม่ ต้องทำกินในพืน้ ทีเ่ ดิมเท่านัน้ หลังจากขึ้นทะเบียนปี 2541 จนถึงวันนี้ มี การบุกรุกเพิ่มไปอีก 11.73 ล้านไร่ ตัวเลข มหาศาลมาก จะเห็นได้วา่ ในพืน้ ทีป่ า่ สงวนนัน้ แทบทุกตารางนิ้วมีประชาชนเข้าไปอยู่หมด ประเด็นก็คือว่า ประชาชนที่อยู่ในป่าจะบอก ว่าเป็นผู้ยากไร้ไม่มีที่ทำกิน” สำหรับปัญหา เผาป่าไม่ใช่เฉพาะข้าวโพดที่เป็นปัญหา เนื่อง จากมีพชื อืน่ ในภาคอืน่ อีกเป็นจำนวนมาก เพียง แต่ขา้ วโพดเป็นพืชทีป่ ลูกง่าย จึงนิยมปลูกในเขต พื้นที่เขา ทางกรมป่าไม้พบว่าพืชเกษตรที่เป็น ข้าวโพดอยู่ในเขตป่าของกรมป่าไม้คือป่าสงวน ประมาณ 2.5 ล้านไร่ ประเด็นปัญหาสำคัญ อยู่ที่การจัดการทางเศรษฐกิจ หรือการจัดการ ผลผลิตข้าวโพด นายพิเชษฐ์ กรุดลอยมา รักษาการ ผูเ้ ชีย่ วชาญด้านปรับปรุงพันธุพ์ ชื สถาบันวิจยั พืชไร่และพืชทดแทนพลังงาน กรมวิชาการเกษตร ไม่มีโครงการ หรือวิธีใดวิธีหนึ่งที่จะ 10 กรกฎาคม-สิงหาคม 2558
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 163
ทำให้ลดการปลูกข้าวโพดได้สำเร็จ จะต้องใช้วธิ ี ผสมผสานกัน พืชที่เหมาะสมจะปลูกทดแทน ข้าวโพดเลีย้ งสัตว์ คือพืชไม้ผลยืนต้นเมืองหนาว ได้แก่ กาแฟ อะโวคาโด พลับ มะคาเดเมีย ชา พืชแรกที่น่าสนใจคือ กาแฟ เนื่องจากยังมี ตลาดรองรับมาก แต่การปลูกกาแฟจะต้องมี ร่มเงา โดยจะต้องปลูกพืชยืนต้นไม้พี่เลี้ยงไป ด้วย สำหรับพืชผักเมืองหนาวคือ กะหล่ำปลีมว่ ง พริกหวาน ปวยเล้ง ผักกาดขาวปลี เซเลอรี่ หอมญี่ปุ่น บรอกโคลี และถั่วอะซูกิ ไม้ดอก เมืองหนาว เช่น เบญจมาศ ลิลลี่ปากแตร กุหลาบ และพืชเศรษฐกิจอื่นๆ เช่น แครอท ถัว่ ลันเตาหวาน สาลี่ ทับทิม พลับสด เป็นต้น รศ.ดร.อำไพวรรณ ภราดร์ นุ วั ฒ น์ ภาควิชาโรคพืช คณะเกษตร มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ กล่าวถึงความจริงเกี่ยวกับวิธี เพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และแรงจูงใจของ เกษตรกร โดยเมื่อครั้งแรกเป็นที่ปรึกษาของ รั ฐ มนตรี ป ระจำสำนั ก นายกรั ฐ มนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ ในปี 2555-2556 ได้รับคำสั่งให้ไปดูปัญหาเชิง สังคมในพื้นที่ 4 จังหวัด คือ น่าน แพร่ แม่ฮ่องสอน และเพชรบูรณ์ พบว่าหมอกควัน ทั้งหมดมักเกิดจากที่สูง หรือที่ภูเขา จากการ เผา และธรรมชาติอื่นๆ แต่ข้อมูลที่น่าสนใจ ประการหนึ่งคือ ได้ลงพื้นที่พูดคุยกับนักเรียน ใน จ.เพชรบูรณ์ ซึง่ เป็นลูกชาวเขา ซึง่ ผูป้ กครอง ส่วนใหญ่ทำการเกษตร หลังจบการศึกษาระดับ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนนี้ เด็กๆ ก็ แทบไม่มีโอกาสเรียนต่อ โดยเด็กกว่า 60% ตอบว่า เวลาว่างในช่วงปิดเทอมคือ “กลับ บ้านไปเผาป่า” สอดคล้องกับข้อมูลที่ได้จาก ดาวเทียมของ GISTDA ว่าในช่วงการเกิดหมอก
ควัน การเผาป่า หรือการเกิดไฟป่ามักจะเกิด ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน ซึ่งเป็นช่วง ปิดเทอม เด็กๆ กลับบ้าน และใช้แรงงานตัวเอง ในการจั ด เตรี ย มพื้ น ที่ ใ ห้ พ่ อ แม่ เ พื่ อ รอน้ ำ ฝน เพราะการเพาะปลูกพืชต่างๆ บนภูเขานั้น เป็น พืชไร่นำ้ ฝน ต้องรอน้ำฝนสำหรับการเพาะปลูก ทีน่ า่ สนใจคือคำตอบจากเด็กชาวเขาทีไ่ ด้ พูดคุยด้วยคำถามทีว่ า่ “ทีโ่ รงเรียนไม่ได้สอนว่า ห้ามเผาป่าหรือ” และได้รับคำตอบว่า “สอน แต่ถ้าหนูไม่ทำในช่วงปิดเทอม พอเปิดเทอม พ่อแม่หาแรงงานไม่ได้เลย” จึงต้องใช้แรงงาน ของลูกในการเตรียมพืน้ ทีใ่ ห้ หากพ่อแม่ไม่ปลูก พืชไร่ ไม่ปลูกข้าวโพด หนูกไ็ ม่มคี า่ เทอม เพราะ ปีหนึ่งพ่อแม่มีรายได้แค่ครั้งดียว “ถ้าหนูเก็บ ใบไม้ขายได้ทุกใบ หนูก็จะไม่เผาต้นไม้” นั่น แปลว่า บนภูเขาไม่มีทางเลือก ไม่มีแหล่งน้ำ ต้องอาศัยเพียงน้ำฝน การเดินทางก็ไม่สะดวก หากปลู ก พื ช อื่ น ก็ ค งลำบาก นี่ จึ ง เป็ น ข้ อ มู ล ด้านหนึ่งว่า ถ้าเราจะมองเรื่องหมอกควันโดย เฉพาะอย่างยิ่งไฟป่า หรือหมอกควันที่เกิดจาก น้ำมือมนุษย์ อาจจะต้องมองในหลายมิติ และ มองถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนในพื้นที่ด้วย นายสถาพร สมศักดิ์ อดีตผู้ประสานงานเครื อ ข่ า ยป่ า ชุ ม ชน จ.น่ า น กล่ า วว่ า คนท้องถิ่นที่คลุกคลีกับวงจรการทำไร่ข้าวโพด ของชาวบ้านใน จ.น่าน กล่าวถึงปัญหาที่เกิด โดยย้อนกลับไปในช่วงปี 2536 ถึงการใช้ กฎหมายต่างๆ ของรัฐในช่วงนัน้ ๆ ยังไม่มคี วาม เข้มแข็งพอในการทีจ่ ะรักษาป่า ชาวบ้านจึงเสนอ พ.ร.บ. ป่าชุมชนที่จะช่วยจัดระเบียบและดูแล การใช้ประโยชน์จากป่าของชาวบ้าน แต่เมื่อ พ.ร.บ. ดังกล่าวไม่ผ่านออกมาเป็นกฎหมาย
บังคับใช้ ระยะหลังจึงมีการบุกรุกป่าเพิ่มขึ้น สาเหตุที่ชาว จ.น่าน ปลูกข้าวโพดรุกพื้นที่ป่า ทัง้ ที่ จ.น่าน มีหมูบ่ า้ นทีร่ กั ษาป่าชุมชนถึง 530 กว่ า แห่ ง ตามความเห็ น ของคนในพื้ น ที่ เ อง มองว่ า ปั จ จั ย ที่ เ กี่ ย วข้ อ งคื อ ผลผลิ ต กั บ ราคา ที่เป็นแรงจูงใจ และการที่พื้นที่ปลูกข้าวโพด เพิ่มขึ้นนั้น ก็เป็นผลพวงจากการใช้สารเคมี “ในสมัยก่อนยาฆ่าหญ้าไม่มี ชาวบ้านทำไร่ คนละ 10-20 ไร่ ก็เต็มที่แล้ว เมื่อสารเคมี เข้ามา ทำให้ศักยภาพในการทำการเกษตร ของเกษตรกรเพิ่ ม ขึ้ น เป็ น 50-100 ไร่ / ครัวเรือน และปัญหาความยากจน ผนวกกับ ชาวบ้านเป็นหนี้ทั้งในระบบ และนอกระบบ มี ค่ า นิ ย มของการพยายามส่ ง ลู ก หลานให้ เรียนสูงจนต้องกู้หนี้ยืมสิน ทำให้รายรับกับ รายจ่ายไม่สมดุล จึงต้องพึ่งพาพืชที่สามารถ ทำรายได้ได้ดี ใช้เวลาสัน้ ทำง่าย เพียงฉีดยา ใส่ปุ๋ย และรอเก็บ สี นำออกขาย เป็นวงจร คือ ข้าวโพด ตรงนี้จึงเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ คนน่านหันมาปลูกข้าวโพด” ส่วนใหญ่การปลูก ข้าวโพดมักใช้การจ้างปลูก จ้างดายหญ้า จ้าง พ่นยา ทั้งแรงงานจากต่างประเทศ และใน ประเทศ การเผาจึงเป็นหนึ่งวิธีในการช่วยลด ต้นทุน ปัญหาหมอกควันที่เกิดขึ้นตามข่าวนั้น จ.น่าน เองก็ทำเหมือนกัน แต่ในข่าวระบุว่า จ.น่าน มีหมอกควันมากเป็นอันดับสองรองจาก จ.เชียงใหม่ ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าตกใจ เนื่องจาก ข้อเท็จจริงในช่วงเวลานี้ เกษตรกรทีป่ ลูกข้าวโพด เลี้ยงสัตว์ยังไม่ทำการเผาพื้นที่เตรียมดิน โดย จะเริ่มเผาในช่วงหลังสงกรานต์เป็นต้นไป
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 163
กรกฎาคม-สิงหาคม 2558
11
นายธวัชชัย ขัดพาบ มูลนิธิไทยรักป่า ต้องแยกระหว่างเรื่องหมอกควันออกไปก่อน เนื่ อ งจากมี ห ลายสาเหตุ แต่ ต้ อ งยอมรั บ ว่ า ข้าวโพดมีสว่ นในการทำให้เกษตรกรขยายพืน้ ที่ เพาะปลูกจริง ประชาชนเคยเสนอขอให้มีการ จัดการร่วมกับรัฐ กรมป่าไม้ แต่รัฐบาลไม่ อนุญาต การขยายพื้นที่นั้นขยายโดยไฟป่าง่าย ที่สุด ขอยกตัวอย่างข้อมูลหนึ่งคือเรื่องพื้นที่ป่า ใน จ.เชียงใหม่ มีพื้นที่ทั้งหมด 13 ล้านไร่ เป็นพืน้ ทีท่ ำกิน 3 ล้านไร่ พืน้ ทีป่ า่ 10 ล้านไร่ ในพื้ น ที่ ป่ า นั้ น มี 6 ล้ า นไร่ เป็ น ป่ า เต็ ง รั ง ซึ่งถือว่าเป็นป่าผลัดใบ เป็นป่าที่เกิดไฟไหม้ มากที่ สุ ด เป็ น ป่ า ที่ ม นุ ษ ย์ เ ข้ า ไปใช้ กิ จ กรรม มากที่สุด ก่อนอื่นเราไม่ควรมองว่าไฟน่ากลัว เราควรมีความรู้ และวิธีจัดการสำหรับพื้นที่ ที่มีความเสี่ยงเช่นนี้ ปัจจุบันพื้นที่ 6 ล้านไร่นี้ มีนักวิทยาศาสตร์ หรือคนท้องที่มาช่วยกัน ดูแลได้ไม่ถึงแสนไร่ ส่วนจุด Hotspot ที่ได้ จากดาวเทียมนั้น เข้าใจว่า การทำงานของ ดาวเทียมไม่ได้จับตัวเลขตลอดเวลา แต่จับเป็น ระยะเวลา หรือช่วงหนึง่ ๆ เท่านัน้ ฉะนัน้ ข้อมูล ที่ถูกต้องเป็นสิ่งสำคัญ และประเด็นสำคัญ ที่สุด คือการจัดการพื้นที่ป่าในแต่ละจุด นางกฤษณา ทองเพ็ง เกษตรกรผูป้ ลูก ข้าวโพดเลีย้ งสัตว์ทผี่ า่ นการรับรองมาตรฐาน GAP เป็นรายแรกของประเทศ ได้กล่าวถึง ชี วิ ต ความเป็ น อยู่ ที่ ดี ขึ้ น ภายหลั ง จากหั น มา ปรั บ เปลี่ ย นวิ ธี ก ารเพาะปลู ก ตามมาตรฐาน GAP ซึ่งในมาตรฐานจะระบุไม่ให้เผาตอซัง ก่อนการเตรียมดิน ใช้การไถกลบ และใส่ปุ๋ย อินทรีย์ในการบำรุงดิน รวมถึงสามารถตรวจ วัดวิเคราะห์ค่าดินเองได้ ควบคุมและกำจัด ศัตรูพืชหลังการปลูกข้าวโพดอย่างถูกต้องตาม 12 กรกฎาคม-สิงหาคม 2558
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 163
คำแนะนำของหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง สิ่งที่ได้จากการเข้าสู่มาตรฐานคือ ต้นทุนการ ผลิตลดลง ผลผลิตเพิ่มสูงถึง 1,400-1,500 กก./ไร่ แม้การทำ GAP จะไม่ทำให้ขายข้าวโพด ในราคาที่สูงขึ้น แต่มันช่วยให้ต้นทุนการผลิต ลดลง และได้ความภาคภูมใิ จว่าเราได้ชว่ ยรักษา สิ่งแวดล้อม ครอบครัว และสัตว์เลี้ยงปลอดภัย มากขึ้น และยังมีเกษตรกรอีกมากมายที่กำลัง รอขอใบรับรองมาตรฐานนี้อยู่ นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล นายกสมาคมผู้ ผ ลิ ต อาหารสั ต ว์ ไ ทย กล่ า วว่ า สมาคมผู้ ผ ลิ ต อาหารสั ต ว์ ไ ทย ในฐานะผู้ ใ ช้ วัตถุดิบข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ไม่ได้สนับสนุนเรื่อง การเผาตอซังเตรียมดิน และมองเห็นว่า หนึ่ง ในแนวทางที่จะช่วยแก้ และลดปัญหาหมอก ควันที่เกิดขึ้นนั้นคือ การที่กระทรวงเกษตร และสหกรณ์ ประกาศให้มาตรฐานการปฏิบตั ิ ทางเกษตรที่ดี (GOOD AGRICULTURAL PRACTICES: GAP) สำหรับการผลิตข้าวโพด เมล็ดแห้ง (มกษ. 4402-2553) เป็นมาตรฐาน บังคับ ซึ่งมาตรฐานดังกล่าวได้พิสูจน์แล้วว่า ส่งผลดีให้กับเกษตรกร ทั้งในด้านชีวิตความ เป็ น อยู่ รายได้ ที่ เ พิ่ ม ขึ้ น เกษตรกรสุ ข ภาพ ที่ดีขึ้น ลดค่าใช้จ่ายรักษาพยาบาล และถือ เป็นการช่วยเหลือสังคมไปในตัวด้วย “เข้าใจว่า หากมาตรฐาน GAP มีการ บังคับใช้ทนั ทีจะต้องเกิดปัญหาแน่นอน อย่าง แรกคือต้นทุนต่อหน่วยที่จะเกิดขึ้นตอนเริ่ม เข้าสูร่ ะบบ เรือ่ งของการให้ความรูใ้ นเรือ่ งการ ทำ GAP โดยภาครัฐจะต้องเข้ามาให้การ สนับสนุน” หากเริม่ จากข้าวโพดภายใน 3-5 ปี ก็น่าจะครบทั้งประเทศ ฉะนั้น เรื่องการเผาซัง จะไม่เกิดขึ้นอีก และสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์
ไทย จะสนับสนุนภาครัฐให้เกิดมาตรฐานบังคับ ดังกล่าวอย่างเต็มที่ อีกส่วนหนึ่งที่อยากจะขอ สนับสนุนผลักดันคือการเร่งออก พ.ร.บ. รายได้ และสวัสดิการเกษตรกร ที่ขณะนี้กำลังจะเข้าสู่ การพิ จ ารณาของสภานิ ติ บั ญ ญั ติ แ ห่ ง ชาติ พ.ร.บ. ดังกล่าวในมาตรา 9 (4) ระบุไว้ชดั เจนว่า คณะรัฐมนตรีมีสิทธิ์ที่จะออกแบบ ว่าจะเข้าไป ช่วยเหลืออะไรบ้าง โดยใน พ.ร.บ. ระบุจำนวน เงินชัดเจนเลยว่า 10% ของ GDP เกษตร คิดออกมาแล้ว คิดเป็น 140,000 ล้านบาท ทุกปี จึงสามารถนำงบประมาณส่วนนี้มาช่วย เหลือเกษตรกรได้ ในเวลานี้ สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย ได้จัดทำร่างมาตรฐานระบบการผลิตข้าวโพด เลีย้ งสัตว์อย่างยัง่ ยืนขึน้ มา เป็น GAP ข้าวโพด ฉบับเอกชน และเตรียมนำออกมาใช้ ซึ่งมีระบุ เช่นกันในข้อ 6.1 ว่าห้ามเผาซังเด็ดขาด ต่อไป ข้างหน้าจะต้องไม่เกิดการเผา และสิ่งแวดล้อม อื่นๆ จะต้องดีขึ้นไปด้วย ไม่ใช่พูดแค่เลิกเผาซัง แต่รวมไปถึงการใช้ปยุ๋ ใช้นำ้ ทุกอย่าง จะต้องใช้ อย่างเหมาะสม และต่อไปมาตรฐานกว่า 200 มาตรฐาน มกอช. จะต้องเป็นมาตรฐานบังคับ ให้หมด ทุกอย่างจะต้องถูกยกระดับขึน้ ทัง้ หมด นายบุญธรรม อร่ามศิรวิ ฒ ั น์ เลขาธิการ สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย กล่าวเสริมว่า สมาคมฯ ได้มีส่วนร่วมในการร่างแผนยุทธศาสตร์ 4 พืชเศรษฐกิจ และได้มีการเสนอ มาตรการปรับเปลี่ยนพื้นที่การปลูกข้าวโพดที่ ไม่เหมาะสม และไม่มีโฉนดทั้งหมด คือพื้นที่ กว่า 40% หรือเกือบ 4 ล้านไร่ มาใช้พื้นที่ นาแทน ซึ่งนโยบายภาครัฐต้องการลดที่ปลูก นาปรังลง 29 ล้านไร่ อยู่แล้ว
ในประเด็นนี้ คุณพาโชค ได้ให้ข้อมูลว่า ในปั จ จุ บั น โครงสร้ า งการผลิ ต ต้ น ฤดู ฝ นคื อ เดือนมีนาคม-เดือนมิถนุ ายน ฤดูปลูกมีถงึ 70% ฤดูปลายฝน 25% ฤดูแล้งเพียง 5% แต่ จากข้อมูลงานวิจัยโดยศูนย์วิจัยข้าวโพดและ ข้าวฟ่างแห่งชาติ (ไร่สวุ รรณ) จะเห็นว่าข้าวโพด จะให้ผลผลิตสูงสุดในช่วงฤดูแล้ง หากไม่มีน้ำ เป็นข้อจำกัด และผลผลิตในช่วงต้นฤดูฝนจะ สูงกว่าช่วงปลายฝน เนือ่ งจากความเข้มข้นของ แสงที่ลดลง “เพราะฉะนั้น ข้าวโพดจะให้ผล ผลิตสูงสุดคือฤดูแล้ง และช่วงต้นฤดูฝน หาก สามารถเฉลี่ยการเพาะปลูกมาในช่วงเวลานี้ ประมาณช่วงละ 30% จะช่วยลดความผันผวน ด้านราคาเนื่องจากได้ผลผลิตที่ออกมาอย่าง สม่ำเสมอ และตรงกับความต้องการของผู้ใช้” นางทรรษนีย์ ปรัชญาบำรุง สำนักงาน มาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ ระบุว่า ทุกวันนี้การทำเกษตรแบบ GAP แต่ มองแล้วไม่คอ่ ยเป็นรูปธรรมทีด่ ี เพราะว่าราคา ยั ง ไม่ ต่ า งจากผลผลิ ต ทั่ ว ไป แต่ ห ากมี ร าคา มาเป็นสิ่งจูงใจก็จะเป็นตัวช่วยให้เกิดการเข้าสู่ ระบบ GAP ได้ดขี นึ้ โดยไม่ตอ้ งปรับสถานภาพ ทางกฎหมายให้เสียเวลา ซึ่งมาตรฐานบังคับ นั้นสามารถทำได้แต่คงต้องใช้เวลา เนื่องจาก เป็นการปรับกฎกระทรวง
ข้อเสนอจากที่ประชุม 1. บังคับใช้ระบบจัดการเกษตรทีด่ ี (GAP: Good Agriculture Practice) ซึ่งขณะนี้นั้นมี มกษ. ข้าวโพดเมล็ดแห้ง 4402-2553 ตาม มาตรฐานดังกล่าวข้อ 4.1 กล่าวไว้ชัดเจนว่า “ห้ า มเผาซั ง เตรี ย มดิ น ” และสมาคมผู้ ผ ลิ ต ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 163
กรกฎาคม-สิงหาคม 2558
13
อาหารสัตว์ไทย จะออกมาตรการในการแบน สินค้าที่ไม่ได้ทำแปลงเกษตร GAP 2. ใช้ พ.ร.บ. ป่ า ชุ ม ชน หรื อ จั ด ทำ ข้อบัญญัติชุมชน ทำให้เห็นความชัดเจนของ รายแปลง พื้นที่ และข้อมูลที่จะนำไปสู่การ ทำแผนพัฒนาการจัดแปลงเกษตรต่อไป ตลอด จนช่วยเหลือในการเฝ้าระวังไฟป่า เนื่องจาก คนของภาครั ฐ อย่ า งเดี ย วไม่ เ พี ย งพอในการ ควบคุ ม เฝ้ า ระวั ง ปั ญ หาต้ อ งแก้ ที่ ต้ น เหตุ คื อ คนที่ ท ำการเกษตรในป่ า โดยต้ อ งสร้ า ง ความรู้ การมีส่วนร่วม เข้าไปสนับสนุนชุมชน ทำแนวควบคุมไฟป่า 3. ภาครัฐปรับการแก้ปัญหาแบบปีต่อปี เป็นการแก้ปญ ั หาในระยะยาว โดยเริม่ จากการ จัดระเบียบการเผาควบคู่ไปกับมาตรการทาง กฎหมายที่ เ ด็ ด ขาดสำหรั บ ผู้ ที่ ฝ่ า ฝื น บุ ก รุ ก พืน้ ทีป่ า่ “การจัดระเบียบการเผาเท่ากับส่งเสริม ให้มีการเผา แต่วิถีชีวิตบางส่วนของประชาชน ต้องเผา เพราะฉะนั้นทำอย่างไรหากต้องเผา ก็จัดระเบียบซะ พูดง่ายๆ คือ ผลัดกันเผา แล้ว ไม่ให้เกิดปัญหา” 4. แก้ ที่ ร ากฐานของปั ญ หาด้ ว ยการ สนับสนุนเกษตรปลอดการเผา นำโดยกระทรวง เกษตรฯ ทีจ่ ะเข้าไปแนะนำเรือ่ งการปลูกพืชทาง เลือก หรือทำเกษตรอินทรีย์ต่างๆ แก่ชาวบ้าน ไปจนถึงสนับสนุนการใช้ในแปลงเกษตรต่อไป 5. พั ฒ นาพั น ธุ์ ข้ า วโพดนั้ น ให้ ต รงกั บ ความต้องการของเกษตรกรมากทีส่ ดุ ในส่วนนี้ ต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างภาครัฐ และ เอกชน
14 กรกฎาคม-สิงหาคม 2558
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 163
6. เปลี่ ย นนาข้ า ว สู่ ไ ร่ ข้ า วโพด จาก ยุทธศาสตร์ 4 พืช ซึ่งมีข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ รวมอยู่ด้วย โดยการเปลี่ยนผ่านจากพื้นที่นา 70 ล้านไร่ ที่มีอยู่ในปัจจุบัน ให้ลดลงไป 29 ล้านไร่ ซึ่งในส่วนนี้จะปรับเปลี่ยนเป็นการปลูก พืชอื่นๆ ที่มีศักยภาพ ซึ่งข้าวโพดเป็นหนึ่งใน พืชที่จะทำการสนับสนุนให้เพาะปลูก 7. การใช้จุลินทรีย์ในการย่อยสลายวัสดุ การเกษตรแทนการเผา 8. ภาคเอกชนเข้ามาสนับสนุนกิจกรรม ของชุมชน สนับสนุนท้องถิ่น โดยเฉพาะทาง สหกรณ์ที่จะสร้างความเข้มแข็งให้เกษตรกร และมีการรวมกลุม่ กันทีจ่ ะตัดวงจรการเผา หรือ ทำการเกษตรที่ เ ป็ น มิ ต รต่ อ สิ่ ง แวดล้ อ ม ซึ่ ง การปลูกโดยไม่เผา และในฐานะผู้ประกอบการ จะสามารถเข้ามาร่วมมือกับภาครัฐ ดำเนิน โครงการร่วมกัน โดยอาจจะเข้าไปรับซื้อเศษ วั ส ดุ ท างการเกษตร เพื่ อ ไม่ ใ ห้ เ กิ ด การเผา ก็ต้องหาวิธีต่อไป 9. การจะแก้ ปั ญ หาอย่ า งยั่ ง ยื น และ สามารถแข่ ง ขั น ได้ ต้ อ งทำการเพิ่ ม ผลผลิ ต และลดต้นทุนการผลิต โดยพยายามยกระดับ ผลผลิตต่อไร่ขึ้นมาให้ได้ และทำให้เกษตรกร สามารถแข่งขันได้โดยไม่มีปัญหากับราคาผล ผลิตที่ผันผวนตามราคาของตลาดโลก
สรุปโดย สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย
Thailand Focus
การอภิปราย ยุทธศาสตร์ข้าวโพดภาครัฐ ภายใต้การประชุมข้าวโพดและข้าวฟ่างแห่งชาติ ครั้งที่ 37 วันพุธ ที่ 5 สิงหาคม 2558 ณ เดอะกรีนเนอรี่ รีสอร์ท เขาใหญ่ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา
ด้วยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดย คณะเกษตร ศูนย์วจิ ยั ข้าวโพดและข้าวฟ่างแห่ง ชาติและสถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกับ กรมวิชาการเกษตร และ กรมส่งเสริมการเกษตรจัดงานประชุมวิชาการข้าวโพดและข้าวฟ่างแห่งชาติ ครั้งที่ 37 ขึ้น ในระหว่างวันที่ 5-7 สิงหาคม 2558 และได้เชิญสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทยเข้าร่วมเป็น วิทยากรอภิปรายในหัวข้อ “ยุทธศาสตร์ข้าวโพดภาครัฐ” โดยการจัดประชุมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และประสบการณ์ด้านงานวิจัยข้าวโพด ตลอดจนหาแนวทางพัฒนา ข้าวโพดและข้าวฟ่าง ให้มีคุณภาพเพียงพอต่อการใช้ในประเทศ โดยการจัดงานในครั้งนี้มี นักวิชาการ และผู้ที่อยู่ในแวดวงเข้าร่วมกว่า 300 คน ฯพณฯ นายอำพล เสนาณรงค์ องคมนตรี ได้ให้เกียรติมาเป็นประธานในพิธีเปิดงาน และได้บรรยายพิเศษในเรื่อง “เหลียวหน้า แลหลัง ข้าวโพดและข้าวฟ่างไทย” โดยท่านได้เล่า ถึงความเป็นมาของการพัฒนาข้าวโพดไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยมี ศ.(พิเศษ) ดร.สุทัศน์ ศรีวัฒนพงศ์ บรรยายพิเศษ เรื่อง ทิศทางการวิจัยข้าวโพดไทยในทศวรรษหน้า โดยในอดีต ภาครัฐมีนโยบายส่งเสริมให้ปลูกพืชไร่ อาทิ ข้าวโพด ข้าวฟ่าง อ้อย มันสำปะหลัง และพืชพลังงาน ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 163
กรกฎาคม-สิงหาคม 2558
15
ต่างๆ มาโดยตลอด ซึ่งพืชเหล่านี้สร้างรายได้ ให้กับเกษตรกรและประเทศ แต่ยังมีปัญหาใน เรื่ อ งของพื้ น ที่ ป ลู ก และปั ญ หาสิ่ ง แวดล้ อ ม การบุกรุกป่า การใช้ปจั จัยการผลิตทีเ่ กินจำเป็น และการเข้ามาของเทคโนโลยีต่างๆ สำหรับ ข้าวโพดเองยังมีปัญหาในเรื่องการขาดแคลน แรงงาน ปั ญ หาวั ช พื ช โรคแมลง จำนวน นั ก วิ จั ย ลดลง การบั ง คั บ ใช้ ก ฎหมายนำเข้ า เมล็ ด พั น ธุ์ ข้ า วโพด และยั ง ขาดวิ สั ย ทั ศ น์ ใ น การนำเทคโนโลยีมาใช้ อาทิ เทคโนโลยีพันธุ์ วิศวกรรม GMOs มาใช้ ฉะนั้นสรุปทิศทาง วิจัยข้าวโพดไทยในอนาคต จะต้องได้รับการ สนับสนุนจากภาครัฐให้มากขึ้น จะต้องมีคณะ กรรมการระดับชาติที่มีองค์ประกอบจากทุก ภาคส่วน โดยจะต้องกำหนดนโยบายทิศทาง และลำดับความสำคัญงานวิจยั ทีส่ ามารถดำเนิน การได้ เพื่อให้มีกลไกขับเคลื่อนพัฒนาต่อไป
การอภิปรายยุทธศาสตร์ข้าวโพดภาครัฐ ดร.ธงชัย ตั้งเปรมศรี ผู้อำนวยการ สถาบันวิจัยพืชไร่และพืชพลังงานทดแทน กรม วิชาการเกษตร ปัจจุบันพื้นที่เพาะปลูกข้าวโพด มีประมาณ 7.2 ล้านไร่ ส่วนพื้นที่เก็บเกี่ยวจะ น้อยกว่าประมาณ 1% หรือประมาณ 7 ล้านไร่ ปริมาณผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ อยู่ที่ 660 กก./ไร่ ต่อพื้นที่เพาะปลูก และอยู่ที่ 680 กก./ไร่ ต่อ พื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิตเฉลี่ยทั้งประเทศอยู่ที่ ประมาณ 5 ล้านตัน โดยแบ่งเป็นภาคเหนือ 68% ภาคอิสาน 20% และภาคกลางประมาณ 10% ประเทศไทยถือเป็นหนึ่งในห้าของแหล่ง ผลิตอาหารที่สนับสนุนโลก และไทยมีนโยบาย ให้ภาคเอกชนมามีส่วนร่วมในการพัฒนาพันธุ์ 16 กรกฎาคม-สิงหาคม 2558
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 163
ตั้งแต่ปี 2522 ฉะนั้นไทยควรเป็นศูนย์กลาง การผลิตเมล็ดพันธุ์ให้ได้ ตามเป้าหมายตาม แผนยุทธศาสตร์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มีการตั้ง เป้าหมายการเพิ่มปริมาณผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ เป็น 835 กก. ในปี 2562 และจะเพิม่ เป็น 1,000 กก. ในปี 2569 เพือ่ ให้ทนั ต่อความต้องการใช้ ของอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ในไทย ซึ่งการจะ ไปสู่เป้าหมายนี้ดำเนินการแก้ไขปัญหาต่างๆ ประกอบด้วย 1. คุณภาพของข้าวโพดที่ต่ำ เนื่องจาก เก็บเกี่ยวในช่วงฤดูฝน ค่าความชื้นสูง เสี่ยงต่อ การเกิดอะฟลาทอกซิน 2. ต้นทุนแรงงานสูง และยังขาดแคลน แรงงานในการเก็บเกี่ยวผลผลิต 3. เกษตรกรขาดการรวมกลุ่ม ทำให้เข้า ไม่ถึงแหล่งความรู้ และเทคโนโลยีที่จะช่วยลด ต้นทุนในการปลูก นอกจากนีย้ งั ได้เสนอแนวทางการจัดการ เพือ่ เพิม่ ประสิทธิภาพผลผลิตให้ได้ตามเป้าหมาย ตามแผนยุทธศาสตร์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ดังนี้ 1. เพิ่มประสิทธิภาพผลผลิตต่อไร่ และ ลดต้ น ทุ น การผลิ ต ต่ อ หน่ ว ย โดยถ่ า ยทอด เทคโนโลยี GAP ผ่านศูนย์การเรียนรู้ 2. ส่งเสริมการรวมกลุ่มของเกษตรกร เพื่อสามารถใช้ปัจจัยการผลิตในราคาถูกลงได้ 3. ปรับสัดส่วนการผลิต ให้กระจายออก สู่ตลาดสอดคล้องตามความต้องการบริหาร จัดการพื้นที่ โดยจำแนกตามความเหมาะสม ของพื้นที่ และพื้นที่เอกสารสิทธิ์ 4. ควรสนั บ สนุ น ให้ มี ก ารสร้ า ง และ พัฒนานักวิจัยรุ่นใหม่ เพื่อต่อยอดความรู้ใหม่ๆ
ดร.คนิต ลิขิตวิทยาวุฒิ รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร หากมองผลผลิตต่อไร่ของต่างประเทศจะพบว่า ประเทศสหรัฐอเมริกามีผลผลิตต่อไร่สูงถึง 1,700 กก./ไร่ จีนอยู่ที่กว่า 900 กก./ไร่ อาร์เจนตินา่ 1,100-1,200 กก./ไร่ บราซิลกว่า 800 กก./ไร่ ซึง่ ไทยไม่ถงึ 700 กก./ไร่ ส่วนข้อมูลผลผลิตข้าวโพดของโลกอยูท่ ปี่ ระมาณ 990 ล้านตัน เป็นสหรัฐอเมริกาถึง 37% หรือประมาณ 360 ล้านตัน รองลงมาคือ จีน ประมาณ 23-27% อยู่ที่ 251 ล้านตัน ใน ปริมาณผลผลิตข้าวโพดทั้งโลกนั้นมีการซื้อขายกันประมาณ 100 ล้านตัน ผลผลิตข้าวโพด เลี้ยงสัตว์ของกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน อยู่ที่ประมาณ 40 ล้านตัน แต่ปริมาณการใช้มากถึง 49 ล้านตัน ซึ่งประเทศสมาชิกส่วนใหญ่จะต้องมีการนำเข้า เช่น ประเทศมาเลเซียนำเข้าปีละ ประมาณ 4 ล้านตัน เนื่องจากไม่มีผลผลิตในประเทศ จึงเห็นได้ว่าไทยยังมีโอกาสสำหรับการ ส่งออกทั้งในตลาดอาเซียน และตลาดโลก การมองมูลค่าของธุรกิจข้าวโพดเลีย้ งสัตว์ จะต้องมองตลอดห่วงโซ่การผลิต เริม่ จากการผลิต ต้นน้ำ คือเกษตรกรผู้ผลิตข้าวโพดประมาณ 4 แสนราย โรงงานอาหารสัตว์หลายร้อยราย และผู้เลี้ยงไก่ประมาณ 9,000 ราย ถือว่ามีผู้ที่เกี่ยวข้องในธุรกิจนี้เป็นจำนวนมากและสร้างมูลค่า มหาศาล เมื่อมองเป็นองค์รวมแล้วจะสามารถดำเนินการจัดการแก้ไขปัญหาได้ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ จะต้องเน้นการลดต้นทุนการผลิต แต่ประสิทธิภาพการผลิตต้องเพิ่มขึ้น การพัฒนาพันธุ์หากมีผล ให้ราคาต้นทุนสูงอาจจะขัดแย้ง ฉะนัน้ การเลือกใช้พชื GMOs ก็เป็นอีกทางเลือกหนึง่ และทีส่ ำคัญ ต้องดูกระแสโลกในเรื่องนี้ด้วย การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับตัวข้าวโพดก็เป็นอีกเรื่องที่ต้องทำ นายไพรัฐ หวังดี รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร นำเสนอยุทธศาสตร์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ปี 2558-2569 โดยมี กรอบใหญ่ 5 กรอบที่จะใช้เพิ่มมูลค่าในห่วงโซ่ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ไปให้ถึง 1 แสนล้านบาท ดังนี้ 1. ควรเพิ่มประสิทธิภาพทางด้านการผลิต และปรับสัดส่วนผลผลิตจาก 72% ในต้นฤดูฝน 23% ในช่วงปลายฝน และ 5% ในฤดูแล้ง เป็น 35% ในต้นฤดูฝน 35%ในช่วงปลายฝน และ 30% ในฤดูแล้ง เพื่อสอดคล้องกับความต้องการของอาหารสัตว์ที่เพิ่มขึ้น 2. รักษาเสถียรภาพทางด้านราคา และการตลาด เพื่อความมั่นคงทางรายได้แก่เกษตรกร 3. ส่งเสริมให้มีการลงทุนอุตสาหกรรมแปรรูป เพื่อเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่ม ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 163
กรกฎาคม-สิงหาคม 2558
17
4. สร้างความชัดเจนด้านนโยบาย และแก้ไขกฎระเบียบข้อกำหนดด้านการค้า ตามสัญญา ทางการค้าอาเซียน 5. สนับสนุนการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทัง้ นีไ้ ด้เสนอแนวทางการขับเคลือ่ นยุทธศาสตร์จะต้องสอดคล้องกัน ดำเนินงานอย่างใกล้ชดิ ทุกภาคส่วน ทั้งภาคการผลิต ภาควิชาการ และภาคอุตสาหกรรม และจะต้องพัฒนาการตลาด การรวมกลุ่มของเกษตรกร และผลิตบนพื้นที่ขนาดใหญ่เพื่อสร้างให้เกิดการประหยัดต่อขนาด ตลอดกระบวนการผลิต นายบุญธรรม อร่ามศิริวัฒน์ เลขาธิการสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย ปัจจุบันความต้องการอาหารสัตว์ของไทยอยู่ที่ประมาณ 17.92 ล้านตัน เมื่อเทียบกับปี 2531 ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 5 ล้านตัน ถือว่ามีการ เติบโตเฉลี่ย 9% ต่อปี ในขณะที่ตลาดโลกโตเพียง 1-2% ต่อปี สัดส่วน ของอาหารสัตว์นั้นแบ่งออกเป็นสัตว์บก 95% สัตว์น้ำ 5% โดยมีไก่เนื้อ และสุกร เป็นตัวนำ ในสัดส่วน 39 และ 32% ตามลำดับ แต่เมื่อเทียบกลับไปเมื่อ 10 ปีก่อน สัดส่วนอาหารสัตว์จะอยู่ที่สัตว์บก 90% สัตว์น้ำ 10% ซึ่งเกิดจากการเลี้ยงกุ้งที่ลดน้อยลงนั้นเอง ในด้านของสัดส่วนการใช้วตั ถุดบิ อาหารสัตว์ พบว่าใช้วตั ถุดบิ ประเภทแป้งถึง 50% หรือประมาณ 9 ล้านตัน แบ่งเป็นข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ประมาณ 5 ล้านตัน ข้าว มันสำปะหลัง อื่นๆ 4 ล้านตัน อีกวัตถุดิบที่สำคัญคือ ถั่วเหลืองและกากถั่วเหลือง มีตัวเลขประมาณ 27% และเป็นการนำเข้า ทั้งหมด นอกจากนั้นเป็นวัตถุดิบอื่นๆ หากมองโดยรวมแล้วประเทศไทยพึ่งพาการนำเข้าวัตถุดิบ ถึง 50% และเมื่อพิจารณาอัตราการเติบโตความต้องการใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เฉลี่ยอยู่ที่ 9% ต่อปี เทียบกับอัตราการเติบโตของผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เฉลี่ยอยู่ที่ 1% ต่อปี จะเห็นได้ว่าตลอด 6-7 ปีที่ผ่านมา ถือได้ว่าการผลิตอยู่ในขั้นอิ่มตัว ทั้งๆ ที่ความต้องการใช้มีเพิ่มมากขึ้น แต่เมื่อ พิจารณาทางด้านอัตราการเติบโตของราคาในไทย เฉลี่ยอยู่ที่ 5.9% ต่อปี เทียบกับอัตราการ เติบโตของราคาตลาดกลางชิคาโก เฉลี่ยอยู่ที่ 5.7% ต่อปี ทั้งนี้เนื่องจากข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในไทย นัน้ สร้างมูลค่าเพิม่ ได้อย่างสมบูรณ์แบบแล้ว จากอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ สูอ่ ตุ สาหกรรมอาหาร แปรรูปผลิตภัณฑ์สัตว์ สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทยได้จัดทำยุทธศาสตร์อาหารสัตว์ 20 ปีขึ้น โดยผลการศึกษา ได้คาดการณ์ไว้วา่ ความต้องการใช้ขา้ วโพดเลีย้ งสัตว์ในปี 2575 จะอยูท่ ี่ 7.8 ล้านตัน บนพืน้ ฐาน ทีม่ วี ตั ถุดบิ อืน่ ทดแทน แต่หากมองเฉพาะความต้องการข้าวโพดเลีย้ งสัตว์เพียงอย่างเดียว แค่ปจั จุบนั มีมากถึง 9 ล้านตันแล้ว นอกจากนี้ ประด็นสำคัญภายใต้ยุทธศาสตร์อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ 18 กรกฎาคม-สิงหาคม 2558
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 163
คือ ความปลอดภัย ความมั่นคง ความยั่งยืน โดยความปลอดภัย คือการลดการปลูกในช่วง หน้าฝนและกระจายการปลูกไปสู่รอบการปลูก อืน่ ในอัตรา 35-35-30 เพือ่ ให้มคี ณ ุ ภาพ และ ราคาไม่ตกต่ำ ด้านความมั่นคง จะต้องใช้ เทคโนโลยีการผลิตเข้ามามีสว่ นช่วยเพิม่ ปริมาณ ผลผลิต โดยดูตัวอย่างจากสหรัฐอเมริกาได้ เทียบเคียงในเรื่องข้าวโพดกับถั่วเหลือง ซึ่งมี ผลผลิตทัง้ สองประเภทมีสว่ นแบ่งการผลิตเป็น 1 ใน 3 ของโลก และมากกว่า 90% ใช้เทคโนโลยี GMOs และจะต้องสร้างความยัง่ ยืน โดยตลอด ห่วงโซ่การผลิต ตัง้ แต่การผลิตวัตถุดบิ โรงงาน อาหารสัตว์ สู่การเลี้ยงสัตว์ จนถึงการแปรรูป เป็นอาหาร การผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ตาม มาตรฐาน GAP ของภาครั ฐ เป็ น สิ่ ง สำคั ญ และจะต้องเริ่มในทันที “ยุทธศาสตร์ข้าวโพด เลีย้ งสัตว์ ควรรองรับห่วงโซ่อปุ ทานอาหารของ ประเทศไทย โดยมีเป้าหมายการผลิตให้ได้ ความปลอดภัย ความมั่งคง ความยั่งยืน” โดย เฉพาะในส่วนของเป้าหมายของยุทธศาสตร์ จะ ต้องเน้นความยั่งยืนให้มาก และมองว่าการตั้ง เป้าผลผลิตต่อไร่ไว้ที่ 1,000 กก. นัน้ ตอบโจทย์ ภายในประเทศเท่านัน้ อาจจะต้องมองให้ทา้ ทาย มากกว่านี้ หากมองให้ตอบโจทย์เวทีโลก นายภากร โฆสนสิ ท ธิ วิ ท ย์ สมาคม พ่ อ ค้ า ข้ า วโพด และพื ช พั น ธุ์ ไ ทย ให้ ข้ อ มู ล ปริ ม าณผลผลิ ต ข้ า วโพดเลี้ ย งสั ต ว์ โ ลก ในปี 2558/2559 ลดลงประมาณ 4 ล้านตัน เนือ่ ง จากภาวะสภาพอากาศที่แปรปรวน ย้อนไปใน ช่วง 4 ปีที่ผ่านมา ไทยมีปริมาณการส่งออก ข้าวโพดไปฟิลิปปินส์ และเวียดนามมาก เนื่อง
จากมาตรการแทรกแซงราคาของภาครัฐ ใน ส่วนของตัวเลขการนำเข้าข้าวสาลีในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2558 อยู่ที่ประมาณ 1.58 ล้านตัน ขณะที่ในปี 2555 นำเข้าทั้งปี 1.68 ล้านตัน ในปี 2556 นำเข้า 0.8 ล้านตัน เนื่องจากราคาข้าวสาลีอยู่ที่ 7.5-8 บาท/กก. และคาดการณ์ว่าราคาข้าวโพดฤดูการผลิตปี 2558/2559 อยู่ที่ประมาณ 9-10 บาท ซึ่ง เป็นราคาที่ค่อนข้างสูง สำหรั บ ยุ ท ธศาสตร์ ข้ า วโพดเลี้ ย งสั ต ว์ มองควรเพิ่ ม เติ ม แนวทางแก้ ไ ขปั ญ หาราคา ข้าวโพดตกต่ำโดยการใช้คลังสินค้าฑัณฑ์บน เพือ่ ยกเว้นภาษีขาเข้า-ออก โดยการเอาข้าวโพด เพือ่ นบ้านมาสต็อก และส่งออกในช่วงทีข่ า้ วโพด ล้นตลาด ควบคู่กับในส่วนของไทยเองให้มีการ ใช้คลังสินค้าสาธารณะ โดยรัฐช่วยส่งเสริม โกดังไซโลที่มีคุณภาพสามารถเก็บสต็อก รวม ถึ ง ให้ มี ก ารจำนำผลผลิ ต ได้ เ มื่ อ ราคาสู ง ขึ้ น สามารถถอนจำนำและนำผลผลิตไปขายได้ อีก ข้อเสนอหนึ่งคือ การสร้างตลาดสินค้าเกษตร ล่ ว งหน้ า โดยจะต้ อ งมี ทั้ ง มาตรฐานสั ญ ญา มาตรฐานสินค้า และมาตรฐานการส่งมอบ การสร้ า งความเข้ ม แข็ ง ให้ กั บ ระบบ ข้าวโพดและพืชไร่ ทั้งภาครัฐและเอกชน จะ ต้ อ งร่ ว มมื อ กั น อย่ า งใกล้ ชิ ด โดยที่ ภ าครั ฐ มีบทบาทในการควบคุมกฎระเบียบเมล็ดพันธุ์ การวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ รวมถึงการนำ ความรู้ การบำรุงรักษาให้ถึงระดับเกษตรกร ส่วนทางด้านราคา การค้า การตลาด เป็น บทบาทของภาคเอกชน
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 163
กรกฎาคม-สิงหาคม 2558
19
Food Feed Fuel
สินค้าเกษตร และผลิตภัณฑ์
ไตรมาสที่ 2/2558 เดือนมิถุนายน 2558 สินค้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 1. เป้าหมายร่างยุทธศาสตร์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ปี 2558-2569 • เพิ่ ม ผลผลิ ต ต่ อ ไร่ เ ป็ น 835 กิ โ ลกรั ม ในปี 2562 และเป็ น 1,000 กิโลกรัม ในปี 2569 • เพิ่มผลผลิตเป็น 6.18 ล้านตัน ในปี 2562 และเป็น 7.40 ล้านตัน ในปี 2569 • ลดพื้นที่ป่า 3.26 ล้านไร่ พื้นที่ไม่เหมาะสม (N) 0.82 ล้านไร่ รวม 4.08 ล้านไร่ โดยเพิ่มพื้นที่ปลูกในพื้นที่นาไม่เหมาะสม 2.08 ล้านไร่ และพื้นที่นาหลังข้าว 2 ล้านไร่ ในปี 2569 ที่มา : คณะทำงานจัดทำยุทธศาสตร์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (Road Map)
2. สถานการณ์ภายในประเทศ • ในปี 2558 จากปัญหาภัยแล้ง โดยเฉพาะพื้นที่ในลุ่มน้ำเจ้าพระยาที่ได้รับผลกระทบ มากที่สุด ทำให้ภาครัฐมีนโยบายช่วยเหลือเกษตรกรที่ปลูกข้าว โดยส่งเสริมให้เกษตรกรปลูก ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ซึ่งเป็นพืชที่ใช้น้ำน้อยแทนการทำนา คาดว่าจะส่งผลให้เนื้อที่เพาะปลูกข้าวโพด เลี้ยงสัตว์เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ภาครัฐจะจัดสรรปัจจัยการผลิตต่างๆ รวมถึงหาตลาดในการขายผลผลิต ส่งผลให้ภาพรวมเนื้อที่เพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ทั้งประเทศเพิ่มขึ้น สำหรับผลผลิตต่อไร่คาดว่า เพิ่มขึ้น เนื่องจากปริมาณน้ำเพียงพอต่อการเจริญเติบโต 2.1 การผลิต ปีเพาะปลูก 2558/59 • ประมาณการเนื้อที่เพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 7.473 ล้านไร่ พื้นที่เพาะปลูก ส่วนใหญ่อยู่ในภาคเหนือ 67.88% ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 21.29% และภาคกลาง 10.83% ตามลำดับ ที่มา : กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
20 กรกฎาคม-สิงหาคม 2558
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 163
จังหวัดที่มีเนื้อที่เพาะปลูกมาก 5 อันดับแรก
พันธุ์ที่นิยมปลูกมาก 5 อันดับแรก อันดับ ชื่อพันธุ์ 1 ซีพี 888 2 ไพโอเนียร์ 30B80 3 มอนซานโต 9901 4 ซีพี 888 new 5 Syngenta Nk 48 http//plantscience.igetweb.com
• ประมาณการผลผลิตเก็บเกีย่ วทัง้ ประเทศ 4.931 ล้านตัน เป็นผลผลิตภาคเหนือ 68.86% ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 20.84% และภาคกลาง 10.30% ผลผลิตออกสูต่ ลาดมากเดือนสิงหาคม 0.532 ล้านตัน (10.78%) เดือนกันยายน 0.982 ล้านตัน (19.91) เดือนตุลาคม 1.268 ล้านตัน (25.72%) เดือนพฤศจิกายน 0.945 ล้านตัน (19.17%) เดือนธันวาคม 0.572 ล้านตัน (11.59%) จังหวัดที่มีผลผลิตเก็บเกี่ยวมาก 5 อันดับแรก
ร้อยละเก็บเกี่ยวรายเดือน ปีเพาะปลูก 2558/59
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ณ เดือน มิ.ย. 58
• ประมาณการผลผลิตต่อไร่ของข้าวโพดเลีย้ งสัตว์ 600 กิโลกรัม โดยภาคเหนือ ผลผลิตไร่ละ 669 กิโลกรัม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผลผลิตไร่ละ 646 กิโลกรัม และภาคกลางผลผลิตไร่ละ 627 กิโลกรัม รายการ เนื้อที่เพาะปลูก (ล้านไร่) ผลผลิต เก็บเกี่ยว (ล้านตัน) ผลผลิตต่อไร่ (กก.) จำนวนครัวเรือน (คร.) การใช้เมล็ดพันธุ์/ไร่ (กก.) การใช้ปุ๋ยเคมี/ไร่ (กก.) การใช้ปุ๋ยอินทรีย์/ไร่ (กก.) มูลค่าผลผลิต (ล้านบาท)
2556/57 7.427 4.876 657 471,824 3.27 47.26 80.77 35,060
2557/58 7.293** 4.805** 659** 463,311*** 3.23*** 40.76*** 44.69*** 34,257
2558/59 7.473** 4.931** 660** 474,768*** 3.31*** 41.77*** 45.80*** 35,158****
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร **พยากรณ์ ณ เดือน มิ.ย. 58 ***ข้อมูลประมาณการ ****ราคาเฉลี่ยที่เกษตรกรขายได้ ปี 57
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 163
กรกฎาคม-สิงหาคม 2558
21
2.2 การตลาด • ราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ความชื้นไม่เกิน 14.5% ที่เกษตรกรขายได้เดือน มิ.ย. 58 รายการ
ประเทศ
เหนือ
มิ.ย. 57 7.54 พ.ค. 58 8.33 8.38 มิ.ย. 58 8.33 %∆ มิ.ย. 57 10.48 %∆ พ.ค. 58 -100.00
ตะวันออก/ เหนือ 7.02 7.57 7.51 6.98 -0.79
กลาง 7.92 8.47 8.81 11.24 4.01
• ประมาณการความต้องการใช้วัตถุดิบ ในการผลิตอาหารสัตว์ ปี 2556-2558
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย ณ เดือน ม.ค. 58
3. สถานการณ์ภายนอกประเทศ 3.1 การผลิต ปีเพาะปลูก 2558/59 • ประมาณการผลผลิตโลก 989.297 ล้านตัน ลดลงจาก 999.447 ล้านตัน ของปีที่แล้วร้อยละ 1.02 ผู้ผลิตรายใหญ่คือ สหรัฐอเมริกา รองลงมาได้แก่ จีน บราซิล สหภาพยุโรป และยูเครน ตามลำดับ อันดับ 1 2 3 4 5 24
ผลผลิต (%) ความต้องการใช้ (%) สหรัฐอเมริกา 35.00 สหรัฐอเมริกา 30.40 จีน 23.05 จีน 22.20 บราซิล 7.58 สหภาพยุโรป 7.92 สหภาพยุโรป 6.89 บราซิล 5.95 ยูเครน 2.63 เม็กซิโก 3.43 (1) (2) 0.49 ไทย 0.77 ไทย
ที่มา : Foreign Agricultural Service/USDA (ประมาณการ ณ มิ.ย. 58) (1) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (มิ.ย. 58) (2) สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย (ม.ค. 58)
(3)
ส่งออก (%) สหรัฐอเมริกา 39.01 บราซิล 19.30 ยูเครน 12.87 อาร์เจนตินา 12.87 รัสเซีย 2.81 (3) ไทย 0.05
กรมศุลการกร (พ.ค. 58)
3.2 การตลาด • ปี 2558/59 ปริมาณความต้องการใช้ของโลก 991.122 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 976.933 ล้านตัน ของปีทแี่ ล้วร้อยละ 1.45 ประเทศทีม่ คี วามต้องการใช้มากทีส่ ดุ คือ สหรัฐอเมริกา รองลงมาได้แก่ จีน สหภาพยุโรป บราซิล และเม็กซิโก ตามลำดับ • ปี 2558/59 ปริมาณการค้าของโลกมี 124.335 ล้านตัน เพิม่ ขึน้ จาก 120.970 ล้านตัน ของปีที่แล้วร้อยละ 2.78 ประเทศผู้ส่งออกมากที่สุดคือ สหรัฐอเมริกา รองลงมาได้แก่ บราซิล ยูเครน อาร์เจนตินา และรัสเซีย 22 กรกฎาคม-สิงหาคม 2558
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 163
4. ปัญหาอุปสรรค • ผลผลิตกระจุกตัวในช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคม มีความชื้นสูง และผู้ผลิตอาหารสัตว์นำ วัตถุดิบอื่นที่ราคาถูกกว่ามาทดแทนข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ทำให้ราคาที่เกษตรกรขายได้ตกต่ำ • ต้นทุนการผลิตของไทยอยู่ในเกณฑ์สูงเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน • ผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากพื้นที่บุกรุกป่ามีแนวโน้มใช้เป็นข้อกีดกันทางการค้า
5. ข้อเสนอแนะ • มอบหมายหน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้องปรับเปลีย่ นช่วงการปลูกใหม่ เพือ่ ให้ผลผลิตทีอ่ อกสูต่ ลาด กระจายตัว • ให้ไทยเป็นผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ และประเทศเพื่อนบ้านเป็นแหล่งปลูก • ส่งเสริมการใช้พันธุ์ข้าวโพดทนแล้ง เช่น นครสวรรค์ 3 • สนับสนุนให้เพิม่ จำนวนหมูบ่ า้ นเมล็ดพันธุข์ า้ วโพด เพือ่ ให้เกษตรกรมีเมล็ดพันธุร์ าคาถูกใช้ • ส่งเสริมการลดต้นทุนการผลิตโดยการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต • สนับสนุนให้เกษตรกรปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ตามมาตรฐาน GAP
6. ความก้าวหน้าของมาตรการนโยบาย • เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2558 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ทำ บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับภาคเอกชน ในการป้องกัน และแก้ไขปัญหาหมอกควัน จากการเผาเศษวัสดุภาคเกษตรในพื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ โดยสนับสนุนองค์ความรู้ และ แนวทางแก่เกษตรกรในการทำเกษตรปลอดการเผา การเผากลบตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในที่ราบ และการจัดการเศษวัสดุภาคเกษตร ไม่เผาบนที่สูง ส่งเสริมวิจัยและพัฒนาการใช้ประโยชน์จาก ตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และวัสดุภาคการเกษตร
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 163
กรกฎาคม-สิงหาคม 2558
23
24 กรกฎาคม-สิงหาคม 2558
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 163
สถานการณ์การผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในภูมิภาคอาเซียน
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 163
กรกฎาคม-สิงหาคม 2558
25
สินค้ามันสำปะหลังโรงงาน 1. เป้าหมายยุทธศาสตร์ ปี 2558-2569 • (ร่าง) ยุทธศาสตร์มันสำปะหลังและผลิตภัณฑ์ ปี 2558-2569 • เพิ่มผลผลิตต่อไร่ เป็น 5 ตัน ในปี 2562 และเป็น 7 ตัน ในปี 2567 • มีการบริหารจัดการพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังในพื้นที่ 8.5 ล้านไร่ • การส่งออกทำรายได้ไม่ตำ่ กว่า 120,000 ล้านบาท ในปี 2562 และไม่ตำ่ กว่า 150,000 ล้านบาท ในปี 2569 ที่มา : คณะอนุกรรมการร่วมจัดทำยุทธศาสตร์สินค้าเกษตรเป็นรายพืชเศรษฐกิจ 4 สินค้า (Roadmap) ข้าวโพด เลี้ยงสัตว์, มันสำปะหลัง, ปาล์มน้ำมัน และอ้อย
2. สถานการณ์ภายในประเทศ • เนือ้ ทีเ่ ก็บเกีย่ วทัง้ ประเทศเพิม่ ขึน้ เนือ่ งจากราคาทีเ่ กษตรกรขายได้อยูใ่ นเกณฑ์ดี เกษตรกร จึงปลูกทดแทนข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ พื้นที่อ้อยโรงงานที่เป็นอ้อยรื้อตอทิ้ง และพื้นที่ว่างเปล่า สำ หรับผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้นจากการที่เกษตรกรมีการบำรุงรักษาที่ดีขึ้น เช่น การแช่ท่อนพันธุ์ก่อน การเพาะปลูกเพื่อป้องกันการระบาดของเพลี้ยแป้ง และการใส่ปุ๋ยเพื่อเพิ่มผลผลิต ประกอบกับ การเลือกใช้ท่อนพันธุ์ที่ดี มีปริมาณน้ำฝนเพียงพอต่อการเจริญเติบโต ส่งผลให้ผลผลิตรวมทั้ง ประเทศเพิ่มขึ้น 2.1 การผลิต ปี 2558 (2557/58) • ประมาณการเนื้อที่เก็บเกี่ยวมันสำปะหลังโรงงาน 8.592 ล้านไร่ พื้นที่ส่วนใหญ่ อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 4.459 ล้านไร่ (51.90%) ภาคกลาง 2.245 ล้านไร่ (26.13%) และภาคเหนือ 1.888 ล้านไร่ (21.97%) สำหรับจังหวัดที่มีเนื้อที่เก็บเกี่ยวมันสำปะหลังมากที่สุด 5 อันดับ ได้แก่ นครราชสีมา 1,580,724 ไร่ (18.40%) กำแพงเพชร 654,859 ไร่ (7.62%) กาญจนบุรี 463,597 ไร่ (5.40%) ชัยภูมิ 456,718 ไร่ (5.32%) และอุบลราชธานี 415,214 ไร่ (4.83%) • ประมาณการผลผลิต 30.910 ล้าน ตั น โดยเป็ น ผลผลิ ต ในภาคตะวั น ออกเฉี ย งเหนื อ 16.019 ล้านตัน (51.38%) ภาคกลาง 7.960 ล้านตัน (25.75%) และภาคเหนือ 6.930 ล้านตัน (22.42%) ผลผลิตออกสู่ตลาดมากในเดือนกุมภาพันธ์ 5.867 ล้านตัน (18.98%) มกราคม 5.799 ล้านตัน (18.76%) และมีนาคม 4.939 ล้านตัน (15.98%) 26 กรกฎาคม-สิงหาคม 2558
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 163
จังหวัดที่มีเนื้อที่เก็บเกี่ยวมาก 5 อันดับแรก
จังหวัดที่มีผลผลิตมาก 5 อันดับแรก
พันธุ์ที่นิยมปลูกมาก 5 อันดับแรก
ร้อยละปริมาณผลผลิตรายเดือน ปี 2558 (2557/58)
• ประมาณการผลผลิตต่อไร่ 3,598 กิโลกรัม โดยภาคเหนือผลิตไร่ละ 3,671 กิโลกรัม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผลผลิตไร่ละ 3,593 กิโลกรัม และภาคกลางผลผลิตไร่ละ 3,546 กิโลกรัม รายการ เนื้อที่เก็บเกี่ยว (ล้านไร่) ผลผลิต (ล้านตัน) ผลผลิตต่อไร่ (กก.) จำนวนครัวเรือน (คร.) การใช้ปุ๋ยเคมี/ไร่ (กก.) การใช้ปุ๋ยอินทรีย์/ไร่ (กก.) มูลค่าผลผลิต (ล้านบาท)
2555/56 2556/57 2557/58* 8.657 8.431 8.592 30.228 30.022 30.910 3,492 3,561 3,598 550,012 535,352 545,819** 35.43 37.84 38.09** 135.13 212.94 192.73** 63,479 65,448 68,311***
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร *ผลการพยากรณ์ ณ เดือน มิ.ย. ปี 2558 **ประมาณการ ***ราคาเฉลี่ยที่เกษตรกรขายได้ ปี 2558
2.2 การตลาด • ราคาหัวมันสำปะหลังสดคละ ที่เกษตรกรขายได้ ปี 2558 หน่วย : บาท/กก.
รายการ ประเทศ มิ.ย. 57 1.98 พ.ค. 58 2.12 มิ.ย. 58 2.18 %∆ มิ.ย. 57 10.10 %∆ พ.ค. 58 2.83
เหนือ 1.69 1.92 -
ตะวันออก/เหนือ 2.07 2.20 2.26 9.18 2.73
กลาง 1.76 1.93 1.93 9.66 0.00 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 163
กรกฎาคม-สิงหาคม 2558
27
• จำนวนแหล่งรับซื้อหัวมันสำปะหลังโรงงานจำแนกตามรายภาค ปี 2553 รายการ ลานมัน โรงแป้ง โรงมันอัดเม็ด โรงงานเอทานอล
ประเทศ 891 79 11 7
เหนือ 250 12 1 -
ตะวันออก/เหนือ 350 42 10 1
กลาง 291 25 6
2.3 การส่งออก ปี 2558 (ม.ค.-มิ.ย.) • ประเทศคู่ค้าที่สำคัญของผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง 5 อันดับแรก ปี 2558 อันดับ 1 2 3 4 5
มูลค่าแป้งมัน (%) จีน 44.24 อินโดนีเซีย 21.02 ไต้หวัน 8.77 มาเลเซีย 8.34 ญี่ปุ่น 3.98
มูลค่าแป้งมันดัดแปร (%) มูลค่ามันเส้น (%) ญี่ปุ่น 34.70 จีน 99.97 จีน 18.60 อื่นๆ 0.03 อินโดนีเซีย 9.06 เกาหลีใต้ 6.93 สหรัฐอเมริกา 4.33
มูลค่ามันอัดเม็ด (%) จีน 67.05 ญี่ปุ่น 30.57 สหรัฐอเมริกา 1.75 ลาว 0.26 เนเธอร์แลนด์ 0.17
ที่มา : กรมศุลกากร
3. สถานการณ์ภายนอกประเทศ 3.1 การผลิต ปี 2557 • ผลผลิ ต ของโลกมี 291.32 ล้านตัน ประเทศผู้ผลิตรายใหญ่ คือ ไนจีเรีย 55.06 ล้านตัน อันดับ 2 ไทย 30.02 ล้านตัน อันดับ 3 อินโดนีเซีย 25.00 ล้านตัน อันดับ 4 บราซิล 23.35 ล้านตัน และอันดับ 5 คองโก 17.02 ล้านตัน (ที่มา : FAO) 3.2 การตลาด • การส่ ง ออกผลิ ต ภั ณ ฑ์ มั น สำปะหลังของโลก ปี 2557 มีมลู ค่า 3,687 ล้าน ดอลลาร์ ผู้ส่งออกรายใหญ่คือ ไทย 73.82% (2,790 ล้านดอลลาร์) อันดับ 2 เวียดนาม 17.46% (584 ล้านดอลลาร์) อันดับ 3 กัมพูชา 2.15% (100 ล้านดอลลาร์) อันดับ 4 คอสตาริกา 1.97% (70 ล้านดอลลาร์) และ อันดับ 5 อินโดนีเซีย 1.79% (36 ล้าน ดอลลาร์) (ที่มา : Trade Map) 28 กรกฎาคม-สิงหาคม 2558
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 163
ประเทศที่มีผลผลิตมาก 5 อันดับแรก
4. ปัญหาอุปสรรค • เกษตรกรมีการปรับปรุงบำรุงดินน้อย รวมทั้งใช้พันธุ์ที่ไม่เหมาะสมกับพื้นที่ ส่งผลให้ ผลผลิตต่อไร่อยู่ในเกณฑ์ต่ำ และไม่ได้คุณภาพ ตามที่ตลาดต้องการ • ไทยประสบปัญหาการส่งออกมันเส้น เนือ่ งจากประเทศเวียดนาม ซึง่ เป็นคูแ่ ข่งทีส่ ำคัญ ผลิตมันเส้นที่มีขนาดคุณสมบัติตรงตามความ ต้องการของประเทศจีน และราคาถูกกว่าไทย ส่งผลให้ผู้ประกอบการจีนส่วนใหญ่จะนำเข้า
มันเส้นจากเวียดนามก่อน หลังจากนั้นจึงจะ นำเข้ามันสำปะหลังจากไทย • เกษตรกรเก็บเกี่ยวมันสำปะหลังอ่อน ไม่ครบอายุ ทำให้คุณภาพเปอร์เซ็นต์แป้ง และ น้ำหนักผลผลิตลดลง • ในปี 2557 ประสบปัญหาภัยแล้งใน บางพื้นที่ ทำให้เนื้อที่ปลูกได้รับความเสียหาย • ประสบปัญหาโคนเน่า หัวเน่า ทำให้ ผลผลิตต่อไร่ต่ำ
5. ข้อเสนอแนะ • เร่งเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้เป็น ไปตามเป้าหมายยุทธศาสตร์ โดยเฉพาะการ ส่งเสริมให้เกษตรกรใช้พนั ธุท์ เี่ หมาะสมกับพืน้ ที่ ปลูก รวมทัง้ วิเคราะห์ปริมาณธาตุอาหารในดิน ก่อนการใช้ปุ๋ยเพื่อลดต้นทุน • เพิ่มมาตรการกำกับดูแลการนำเข้า มันสำปะหลังจากประเทศเพื่อนบ้าน
• ผลิตมันเส้นให้มีขนาด และคุณภาพ ตรงตามความต้องการของตลาดจีนซึ่งเป็นผู้ นำเข้าหลัก • กำหนดฤดู ป ลู ก รวมทั้ ง รณรงค์ ใ ห้ เกษตรกรเก็บเกี่ยวในช่วงระยะเวลาที่เหมาะสม และครบอายุ • ควรส่งเสริมให้เกษตรกรเตรียมเก็บ ท่อนพันธุ์ไว้ปลูกให้เพียงพอ • ส่งเสริมให้มีการใช้เอทานอลจากมัน สำปะหลังมากขึ้น • ส่งเสริมให้มีการปลูกมันสำปะหลังใน พื้นที่ที่เหมาะสม (Zoning) • เร่งหาแนวทางแก้ไขปัญหาโคนเน่า หัว เน่า • มอบกรมวิชาการเกษตร เร่งขยายผล การใช้รถไถระเบิดดินดาน
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 163
กรกฎาคม-สิงหาคม 2558
29
30 กรกฎาคม-สิงหาคม 2558
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 163
ª·Á ¦µ³®r°µ®µ¦Â¨³°µ®µ¦´ ªr°¥nµ ¦ª Á¦Èª oª¥ TANGO
TANGO is the next-generation FT-NIR spectrometer ®r ¦µ³ · Á ª ¦ µ 宦 ´ ¥ » ªo ¡Á· «¬ ®µ¦ ´ ª r ° om °µ °o Á GO ker.c
N bru TA PT.TH@
Inf · °n Ä
o. B
O
Á à 襸 )7 1,5 ¦´ ¦° à ¥ %UXNHU Ä o µ nµ¥ oª¥® oµ °´¤ ´ ¨³¦³ µ¦ ´ µ¦ ´ª°¥nµ Á¡¸¥ ¦¦ »Ä oª¥ª´ ¦³ ´ µ¦´ µ Â È ¦µª r° ´ à ¤´ · nµ¥Ã° ¤ µ¦¦³®ªnµ Á ¦º°É %UXNHU 2SWLFV 1,5 Á à ¦¤·Á °¦r » ¦» n Å o à ¥ ¦ ¤ µ¦¤µ ¦ µ 宦´ ¨· £´ r®¨µ ®¨µ¥ · Ťnªµn ³Á È °µ®µ¦´ ªr εÁ¦È ¦¼ ª´ » · °µ®µ¦´ ªr  o Á ¦º°É ¦» ¦ ¨· £´ rÄ °» µ ¦¦¤ Îʵ µ¨ ¤ µ¦ ° %UXNHU µ¤µ¦ ÎµÅ Ä oÅ oà ¥ ¦ ¨³®µ εÁ È µ¤µ¦ ¦´ Á ¨¸¥É Á¡º°É Ä®oÁ oµ ´ ´ª°¥nµ Ä Â n¨³ o° ¸ÅÉ o
Á à 襸Á ¸¥¦r° · ¢¦µÁ¦ Á à ¦Ã ¸ 1HDU ,QIUDUHG 6SHFWURVFRS\ 1,56 Á È »  ε ´ nª¥Ä®o µ¦ª·Á ¦µ³®r » £µ¡ ° ´ª°¥nµ εŠo°¥nµ ¦ª Á¦ÈªÃ ¥Å¤n °o 娵¥ ´ª°¥nµ ®¦º°Ä oµ¦Á ¤¸Ä Ç ¸É µÎ ´ µ¦ª·Á ¦µ³®r ªo ¥ 1,5 Á¡¸¥  n® ¹É ¦´ Ê µ¤µ¦ Ä®o °o ¤¼¨ ° r ¦³ ° µ Á ¤¸ ° ´ª°¥nµ Å o®¨µ ®¨µ¥ · Ťn µÎ Á È o° ε µ¦ª·Á ¦µ³®r ʵΠÁ®¤º° µ¦ª·Á ¦µ³®r µ Á ¤¸Â °º É Ç °Á · Á oµ¦nª¤ µ¦´¤ µÃ ¥ª· ¥µ ¦ ¼Áo ¸É¥ª µ Ä ¦³ ´ µ µ µ · µ ¦¼Á °¦r ª´ ¡§®´ ¸ ¸É ¦ µ ¤ µ Á¨º° Ä®¤n n¼ µ¦ ª »¤ » £µ¡ ¨· ¨ µ µ¦Á ¬ ¦Â¨³°µ®µ¦´ ªr°¥nµ ¦ª Á¦Èª ¨³Å¤n µÎ ¨µ¥ ´ª°¥nµ oª¥Á · )7 1,5 µ %UXNHU æ ¦¤°¤µ¦¸ª°¦Á °¦rÁ ¦³ ¼ Êε ¦» Á ¡¤®µ ¦ ª· ¥µ ¦ µ ¦¼Á °¦rµÎ ´ µ Ä® n ¦³Á «Á¥°¦¤´ Å o n 0U -RHUJ +DXVHU ¼Áo ¸¥É ª µ ¨³¤¸ ¦³ µ¦ r µo µ¦ ª·Á ¦µ³®r ª´ °¥nµ ®¨µ ®¨µ¥ · µ ´ªÃ¨ ¨³ ¦ «· É ¦ · £µ «¦´ ¥rª «r ¼Áo ¸¥É ª µ oµ 1,5 ¹ É Îµ µ Ä nµ ¦³Á «Â¨³ ´ » °» µ® ¦¦¤Â¨³ª· ¥µ µ¦ oµ 1,5 Ä Á°Á ¸¥ ªnµ· ¸
Ä · n° Info.BOPT.TH@bruker.com
Bruker BioSpin AG Bangkok - Thailand Phone +66 2 642 6900 Fax +66 2 642 6901
F T-NIR
Innovation with Integrity
สถานการณ์การผลิตมันสำปะหลังโรงงานในภูมิภาคอาเซียน
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 163
กรกฎาคม-สิงหาคม 2558
31
สินค้าถั่วเหลืองและผลิตภัณฑ์ 1. สถานการณ์ภายในประเทศ • เนื้อที่เพาะปลูกถั่วเหลืองทั้ง 2 รุ่น คาดว่าลดลง เนื่องจากการขาดแคลนเมล็ดพันธุ์ เมล็ดพันธุ์มีราคาแพง และต้นทุนการผลิตถั่วเหลืองสูงขึ้นตามปัจจัยการผลิต ส่งผลให้เกษตรกร ปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่น เช่น อ้อยโรงงาน มันสำปะหลัง บางส่วนหันไปปลูกเป็นถั่วเหลือง ฝักสดเพิ่มมากขึ้น ถึงแม้ว่าจะมีการส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกถั่วเหลืองรุ่น 2 แทนนาปรังที่ไม่ สามารถปลูกได้จากสถานการณ์นำ้ น้อย ส่งผลให้พนื้ ทีป่ ลูกรวมทัง้ ประเทศลดลง ส่วนผลผลิตต่อไร่ คาดว่าเพิ่มขึ้น เนื่องจากเกษตรกรดูแลรักษาดี และไม่มีแมลงรบกวน 1.1 การผลิต ปี 2558* • ประมาณการเนื้อที่เพาะปลูกถั่วเหลือง 187,570 ไร่ • แหล่งปลูกส่วนใหญ่อยู่ในภาคเหนือ 74.91% ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 25.05% และภาคกลาง 0.03% ตามลำดับ สำหรับจังหวัดที่มีเนื้อที่เพาะปลูกมากที่สุด 5 ลำดับได้แก่ แม่ฮ่องสอน 26.35% (49,428 ไร่) เชียงราย 13.25% (25,355 ไร่) ขอนแก่น 10.71% (20,087 ไร่) เลย 7.39% (13,865 ไร่) และเชียงใหม่ 6.70% (12,560 ไร่) *ข้อมูลพยากรณ์ ณ เดือน มิ.ย. 58
จังหวัดที่มีเนื้อที่เพาะปลูกมาก 5 อันดับแรก ปี 2558
จังหวัดที่มีผลผลิตมาก 5 อันดับแรก
32 กรกฎาคม-สิงหาคม 2558
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 163
พันธุ์ที่นิยมปลูก
1. พันธุ์ ชม.60 2. พันธุ์ มข.35 3. พันธุ์พื้นเมืองอื่นๆ ถั่วเหลือง
เนื้อที่เพาะปลูก (ไร่) เนื้อที่เก็บเกี่ยว (ไร่) ผลผลิต (ตัน) ผลผลิตต่อไร่/เนื้อที่เพาะปลูก (กก.) ผลผลิตต่อไร่/เนื้อที่เก็บเกี่ยว (กก.) ความต้องการใช้เมล็ดถั่วเหลือง (ล้านตัน) มูลค่าส่งออกถั่วเหลือง (ล้านบาท) มูลค่าส่งออกน้ำมันถั่วเหลือง (ล้านบาท) มูลค่าส่งออกกากน้ำมันและกากแข็ง (ล้านบาท)
2556 195,548 192,672 52,740 270 274 1.74 56.36 2,215.97 4.96
2557 189,965 187,082 51,910 273 277 2.06 234.54 1,345.80 5.89
2558 187,570* 184,954* 51,824* 276* 280* 2.15 92.09** 552.99** 0.45**
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร **ข้อมูลกรมศุลกากร ณ เดือน มิ.ย. 58 *ข้อมูลพยากรณ์ ณ เดือน มิ.ย. 58
1.2 การตลาด ราคาถั่วเหลืองชนิดคละที่เกษตรกรขายได้ เดือนมิ.ย. 2558 รายการ ประเทศ เหนือ ราคา มิ.ย. 57 15.71 17.55 ราคา พ.ค. 58 15.25 15.25 ราคา มิ.ย. 58 15.56 15.14 %∆ มิ.ย. 57 -0.95 -13.73 %∆ พ.ค. 58 2.03 -0.72
ตะวันออกเฉียงเหนือ 17.20 18.00 18.00 4.65 0.00
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร หน่วย : บาท/กก.
1.3 การนำเข้า รายการ/ประเทศ ถั่วเหลือง 1. บราซิล 2. สหรัฐอเมริกา 3. อาร์เจนตินา น้ำมันถั่วเหลือง 1. มาเลเซีย 2. สาธารณรัฐประชาชนจีน 3. สาธารณรัฐเกาหลี กากน้ำมันและกากแข็ง 1. บราซิล 2. อาร์เจนตินา 3. สหรัฐอเมริกา
2557
รายการ/ประเทศ
ปริมาณ มูลค่า (ล้านตัน) (ล้านบาท) 1,898.29 34,955.96 ถั่วเหลือง 1,220.17 22,313.86 1. บราซิล 502.66 9,187.44 2. สหรัฐอเมริกา 81.21 1,560.42 3. แคนาดา 16.23 669.72 น้ำมันถั่วเหลือง 7.76 293.70 1. สาธารณรัฐประชาชนจีน 4.88 203.53 2. มาเลเซีย 1.90 78.85 3. สาธารณรัฐเกาหลี 2,889.22 54,403.25 กากน้ำมันและกากแข็ง 1,210.22 22,863.80 1. สหรัฐอเมริกา 845.64 15,408.90 2. บราซิล 417.89 8,140.90 3. อาร์เจนตินา
2558 (ม.ค.-มิ.ย.) ปริมาณ มูลค่า (ล้านตัน) (ล้านบาท) 1,113.56 16,898.52 620.82 8,814.24 454.64 7,240.81 36.73 816.48 5.72 217.20 2.27 83.89 1.62 56.03 1.09 39.51 1,484.52 23,615.15 606.82 9,731.37 552.21 8,717.49 315.97 4,970.30 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 163
กรกฎาคม-สิงหาคม 2558
33
1.4 การส่งออก มูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์ถั่วเหลือง ปี 2558 (ม.ค.-มิ.ย.) 1) มูลค่าส่งออกถัว่ เหลืองทีส่ ำคัญ ได้แก่ ไนจีเรีย 54.14 ล้านบาท ลาว 22.63 ล้านบาท เวียดนาม 6.60 ล้านบาท 2) มูลค่าส่งออกน้ำมันถั่วเหลืองที่สำคัญได้แก่ สาธารณรัฐเกาหลี 174 ล้านบาท เมียนมาร์ 130 ล้านบาท กัมพูชา 85 ล้านบาท 3) มูลค่าส่งออกกากน้ำมันและกากแข็งที่สำคัญ ได้แก่ สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ 0.41 ล้านบาท สหรัฐอเมริกา 0.04 ล้านบาท ที่มา : กรมศุลกากร
2. สถานการณ์ภายนอกประเทศ ผลผลิตโลก ปี 2553-2558 รายการ 1. 2. 3. 4. 5.
ผลผลิต นำเข้า ส่งออก สกัดน้ำมัน สต็อกสิ้นปี
2554/55 240.42 93.45 92.15 228.38 54.08
หน่วย : ล้านตัน
2555/56
2556/57
268.82 95.90 100.53 230.21 56.29
283.25 111.25 112.93 241.19 62.76
2557/58
ที่มา : Oilseeds: World Markets and Trade. USDA Foreign Agricultural Service
318.25 114.60 117.94 256.87 83.70
2558/59 เดือน มิ.ย. 317.58 119.73 122.15 267.79 93.22
3. ปัญหาอุปสรรค • ขาดแคลนเมล็ดพันธุ์ เมล็ดพันธุ์มีราคาแพง • เกษตรกรบางส่วนอาจหันไปปลูกพืชทดแทนชนิดอื่นที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่าการปลูก ถั่วเหลือง ส่งผลกระทบให้ผลผลิตถั่วเหลืองลดลง
4. ข้อเสนอแนะ • นโยบายส่งเสริม/พัฒนาการผลิตถั่วเหลือง เช่น ส่งเสริมการผลิตเมล็ดพันธุ์คุณภาพดี การใช้เครื่องจักรกลทดแทนแรงงาน และการให้ความรู้ด้านการผลิตถั่วเหลืองแก่เกษตรกร ส่งผล ให้ประสิทธิภาพการผลิตถั่วเหลืองเพิ่มสูงขึ้น ผลผลิตถั่วเหลืองเพิ่มขึ้น
34 กรกฎาคม-สิงหาคม 2558
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 163
5. ความก้าวหน้าของมาตรการ/นโยบาย • เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2558 คณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์ สภานิติบัญญัติ แห่งชาติ (สนช.) ได้ประชุมหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการผลิตเมล็ดพันธุ์ ได้แก่ กรมการข้าว กรมวิชาการเกษตร และกรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อพิจารณาแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการ ผลิตเมล็ดพันธุข์ า้ ว ข้าวโพดเลีย้ งสัตว์ ถัว่ เหลือง ถัว่ เขียว และถัว่ ลิสง ให้เพียงพอกับความต้องการ ของเกษตรกร • การนำเข้าเมล็ดถัว่ เหลืองภายใต้องค์การการค้าโลก (WTO) AFTA, FTA ACMECS โดย ผู้มีสิทธินำเข้า 8 สมาคม 13 บริษัท กรณีมีผู้ขอเป็นผู้มีสิทธินำเข้ารายใหม่ให้คณะอนุกรรมการ กำกับ ดูแล เมล็ดถั่วเหลืองเป็นผู้พิจารณา และให้ผู้มีสิทธินำเข้าให้การสนับสนุนและส่งเสริม การผลิตถั่วเหลืองภายในประเทศ โดยรับซื้อเมล็ดถั่วเหลืองที่ผลิตได้ภายในประเทศในราคาตาม กลไกตลาด แต่ไม่ต่ำกว่าราคาขั้นต่ำตามชั้นคุณภาพ ดังนี้ เกรดถั่วเหลือง สกัดน้ำมัน อาหารสัตว์ แปรรูปอาหาร
ราคา ณ ไร่นา (บาท/กก.) 15.50 15.75 17.75
ราคา ณ หน้าโรงงาน กทม. (บาท/กก.) 16.25 16.50 18.50
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 163
กรกฎาคม-สิงหาคม 2558
35
36 กรกฎาคม-สิงหาคม 2558
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 163
สถานการณ์การผลิตถั่วเหลืองในภูมิภาคอาเซียน
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 163
กรกฎาคม-สิงหาคม 2558
37
สินค้าสุกรและผลิตภัณฑ์
ยุทธศาสตร์การผลิตสุกร ปี 2555-2559 ยกระดับการผลิตสุกรของประเทศทั้งระบบได้มาตรฐานตั้งแต่พัฒนาฟาร์ม จัดการมลภาวะ ควบคุมป้องกันโรคระบาดสัตว์ พัฒนาโรงฆ่า-ชำแหละ การขนส่ง ตรวจรับรองคุณภาพอาหารสัตว์ โรงงานแปรรูปและสถานที่จำหน่ายให้ถูกสุขลักษณะ เพื่อผลิตเนื้อสุกรและผลิตภัณฑ์สะอาด ปลอดภัยสำหรับผู้บริโภค
สถานการณ์ภายในประเทศ 1. การผลิต ประมาณการผลผลิตสุกรปี 2558 จำนวน 16.48 ล้านตัว มูลค่า 107,120 ล้านบาท ปริมาณผลผลิตเพิ่มขึ้น 4% เนื่องจากตลาดส่งออกจูงใจให้เกษตรกรเพิ่มผลผลิต • ข้อมูลปริมาณการผลิตสุกรปี 2557-2558 ปริมาณการผลิต สุกรมีชีวิต (ล้านตัว) เนื้อสุกร (พันตัน)
2557 2558* เม.ย.-มิ.ย. 57 เม.ย.-มิ.ย. 58 ∆58/57 (%) 15.89 16.48 3.99 4.07 2.01 1,191.75 1,236.00 299.25 304.95 1.90
ที่มา : กรมปศุสัตว์
• ปริมาณการผลิตสุกรไตรมาส 2/58 จำนวน 4.07 ล้านตัว ลดลงจากไตรมาสแรก 5.3% เนื่องจากสภาพอากาศค่อนข้างร้อน และปัญหาสุขภาพแม่พันธุ์ ส่งผลให้ผลผลิตลดลง • เปรียบเทียบปริมาณการผลิตสุกรปี 2553-2558
ที่มา : กรมปศุสัตว์
• จังหวัดที่เป็นแหล่งผลิตสุกรที่สำคัญปี 2558 แหล่งผลิต ราชบุรี ชลบุรี ฉะเชิงเทรา นครราชสีมา ปราจีนบุรี ที่มา : กรมปศุสัตว์
38 กรกฎาคม-สิงหาคม 2558
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 163
สุกรมีชีวิต (ตัว) เนื้อสุกร (พันตัน) 3,329,066 249,680 1,278,560 95,892 660,963 49,572 608,418 45,631 502,562 37,692
สัดส่วน (%) 20.20 7.76 4.01 3.69 3.05
ศักยภาพการผลิต ฟาร์มสุกรขุนทั้งหมด 79,843 ฟาร์ม ได้มาตรฐาน 3,415 ฟาร์ม (กปศ.58) • โรงฆ่าภายใน 1,044 โรง : ส่งออก 9 โรง • โรงงานแปรรูปเพื่อส่งออก (สุกร 3 โรง สุกร+ไก่ 34 โรง) (กปศ.58) 2. การตลาด • ราคาสุกรมีชีวิตปี 58 (เม.ย.-มิ.ย.) ปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากปริมาณส่งออกสุกร ไปประเทศเพื่อนบ้านเพิ่มขึ้น
ที่มา : กรมปศุสัตว์
• ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ไตรมาส 2/2558 เฉลี่ยกิโลกรัมละ 68.75 บาท เพิ่มจากไตรมาสแรก 6.07% แต่ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 13% • ต้นทุนการผลิตสุกรมีชีวิตไตรมาสที่ 2/2558 (กรณีซื้อลูกสุกรมาเลี้ยง) ใช้ข้อมูลเดิม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 69.88 บาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 1.33% ไตรมาส/ปี 2/2558 1/2558 2/2557 ∆ 2/58/1/58 (%) ∆ 2/58/2/57 (%) ไตรมาส/ปี 2/2558 1/2558 2/2557 ∆ 2/58/1/58(%) ∆ 2/58/2/57(%)
ราคารายเดือน (บาท/กก.) เฉลี่ย(บาท/กก.) เดือน 1 เดือน 2 เดือน 3 67.33 67.89 71.03 68.75 65.11 64.86 64.49 64.82 78.33 78.78 79.89 79.00 3.41 4.67 10.14 6.07 14.04 13.82 11.09 12.99 ต้นทุนรายเดือน (บาท/กก.) เฉลี่ย (บาท/กก.) เดือน 1 เดือน 2 เดือน 3 71.97 69.29 68.38 69.88 71.97 69.29 68.38 69.88 65.92 68.99 71.97 68.96 9.18 0.43 4.99 1.54
ที่มา : ราคา ข้อมูล กรมปศุสัตว์ : ต้นทุนการผลิตเบื้องต้น คณะอนุกรรมการต้นทุนฯ
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 163
กรกฎาคม-สิงหาคม 2558
39
สถานการณ์ต่างประเทศ 3. การผลิตและการส่งออกของโลก • ปี 58 กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ คาดว่าการผลิตเนื้อสุกรโลกมีปริมาณรวม 110.87 ล้านตัน เพิม่ ขึน้ จากปี 57 ร้อยละ 0.36 ประเทศจีนผูผ้ ลิตรายใหญ่จำนวน 56.6 ล้านตัน ไม่พอ กับความต้องการบริโภคในประเทศ สหภาพยุโรป 22.4 ล้านตัน และสหรัฐอเมริกา 110 ล้านตัน การผลิตส่วนใหญ่เพิ่มจากปีที่แล้ว เนื่องจากสหรัฐฯ ผลิตสุกรมากขึ้น หลังจากโรค PED สงบ ปริมาณความต้องการบริโภคเนือ้ สุกรของโลก 110.31 ล้านตัน เพิม่ ขึน้ จากปีทแี่ ล้วร้อยละ 0.32 ประเทศญี่ปุ่นเป็นผู้นำเข้าเนื้อสุกรรายใหญ่ของโลก ปี 58 คาดว่าจะนำเข้าปีละ 1.26 ล้านตัน คิดเป็นร้อยละ 9.64 ของปริมาณการนำเข้าทั้งหมดของโลก • ประเทศผู้ส่งออกเนื้อสุกรที่สำคัญของโลก ได้แก่ สหภาพยุโรป และสหรัฐอเมริกา เฉลี่ยปีละ 2.2 ล้านตัน มีส่วนแบ่งการตลาดคิดเป็นร้อยละ 64.70 ของการส่งออกโลก • ปริมาณการส่งออกสุกรของไทยปี 2557-2558 ปริมาณการส่งออกสุกรและผลิตภัณฑ์/ส่วนอื่นที่บริโภคได้ รายการ ปี 2557 ม.ค.-มิ.ย. 57 ม.ค.-มิ.ย. 58 ∆ 58/57 (%) เนื้อสุกรรวม (ตัน) 16,513 8,401 9,215 9.69 - เนื้อสุกร 1,033 912 1,685 84.85 - ผลิตภัณฑ์สุกร 15,480 7,489 7,530 0.54 ส่วนอื่นที่บริโภค 9,705 3,417 3,678 7.64 สุกรมีชีวิต (ตัว) 425,425 126,507 361,817 186.01 ที่มา : กรมปศุสัตว์
• ปริมาณการนำเข้าสุกรของไทยปี 2557-2558 ปริมาณนำเข้าเนื้อสุกร/ส่วนอื่นที่บริโภคได้ (เครื่องในสุกร ตับ และหนัง) /ผลิตภัณฑ์ รายการ ปี 2557 ม.ค.-มิ.ย. 57 ม.ค.-มิ.ย. 58 ∆ 58/57 (%) รวมทุกรายการ (ตัน) 72,788 27,904 42,608 52.69 ส่วนที่บริโภคได้-หนัง 72,632 27,904 42,410 51.99 เนื้อสุกร 2.85 197.95 100.00 ผลิตภัณฑ์สุกร 153.58 ที่มา : กรมปศุสัตว์
40 กรกฎาคม-สิงหาคม 2558
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 163
4. ปัญหาอุปสรรค • สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว ภูมิต้านทานโรคต่ำ ส่งผลกระทบต่อผลผลิตสุกร ลดลง • การผลิตเพื่อบริโภคร้อยละ 95 ส่งออกเพียงร้อยละ 5 แต่นำเข้าเครื่องในจำนวนมาก • การส่งออกเนือ้ สุกร และเนือ้ สุกรแปรรูปของไทยไปต่างประเทศค่อนข้างจำกัด เนือ่ งจาก ประเทศไทยยังไม่ได้การรับรองให้ปลอดโรค FMD
5. ข้อเสนอแนะ • เกษตรกรต้องจัดการระบบ Bio-security และจัดการฟาร์มที่ดี เพื่อป้องกันโรคระบาด ในสุกร และดูแลสุขภาพสุกรให้มีภูมิต้านทานโรคทั้ง PED PRRS และ PCVD ที่จะส่งผลกระทบ ต่อการผลิตสุกร รวมถึงการเข้มงวดตรวจสอบการนำเข้าสัตว์-ซากสัตว์เข้มงวด • ควบคุมและกำหนดมาตรการในการนำเข้าเครื่องในสุกร และรณรงค์/ตรวจสอบการใช้ สารเร่งเนื้อแดงอย่างต่อเนื่อง • พัฒนาฟาร์มสุกรเข้าสู่มาตรฐานให้ได้ทั้งหมด และดำเนินการให้ได้การรับรองเขตปลอด โรค FMD • พัฒนาโรงฆ่าให้ได้มาตรฐาน กำหนดเกณฑ์มาตรฐานด้านการขนส่ง-ขึน้ ทะเบียน ผูค้ า้ ส่ง ค้าปลีกเนื้อสุกรชำแหละจำหน่าย • เจรจาโควตาเนือ้ สุกรปรุงสุก ส่งออกไปยังญีป่ นุ่ ภายใต้กรอบ JTEPA เพิม่ ขึน้ จาก 1,200 ตัน เป็น 12,000 ตัน และเจรจาการส่งออกเนื้อสุกรปรุงสุกไปยัง EU
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 163
กรกฎาคม-สิงหาคม 2558
41
สินค้าไก่เนื้อและผลิตภัณฑ์ ยุทธศาสตร์การผลิตไก่เนื้อ ปี 2556-2559 เป้าหมาย ปี 2555-2559 : รักษาความเป็นผู้นำการส่งออก ผลิตภัณฑ์เนื้อไก่และอาหารพร้อมบริโภคอันดับหนึ่งของโลกที่ได้มาตรฐาน ความปลอดภัยด้านอาหาร
สถานการณ์ภายในประเทศ 1. การผลิต • ปริมาณการผลิตไก่เนือ้ ปี 2558 ทัง้ หมด 1,440 ล้านตัว มูลค่า 144,400 ล้านบาท ปริมาณการผลิต เนื้อไก่ (พันตัน) ไก่เนื้อ (ล้านตัว)
2557 2,082 1,317
2558* 2,268 1,440
1/58 569.87 361.82
2/58 585.13 371.51
ไตรมาส 2/1(%) 2.68 2.68
ที่มา : คณะกรรมการบริหารสินค้าไก่เนื้อฯ (2558*, ม.ค.-มิ.ย. 56 จากระบบ e-service)
• การผลิตไก่เนือ้ ปี 2558 คาดว่าปริมาณจะขยายตัวเพิม่ ขึน้ จากปีทแี่ ล้ว 8.93% เนือ่ งจาก ตลาดส่งออกขยายตัวเพิม่ ขึน้ ทัง้ EU เช่น อังกฤษ เยอรมนี เนเธอร์แลนด์ และญีป่ นุ่ นำเข้าเนือ้ ไก่สด แช่เย็น-แข็งจากไทยต่อเนื่อง และคาดว่าส่งออกมีแนวโน้มสูงขึ้น ไตรมาส 2/58 ผลผลิต=561 พันตัน เพิ่มจากไตรมาสแรก 2.68% • เปรียบเทียบปริมาณการผลิตไก่เนื้อปี 2553-2558
ที่มา : คณะกรรมการบริหารสินค้าไก่เนื้อฯ
จังหวัดที่เป็นแหล่งผลิตไก่เนื้อที่สำคัญปี 2558 แหล่งผลิต ลพบุรี สระบุรี ชลบุรี นครราชสีมา กาญจนบุรี
ที่มา : กรมปศุสัตว์
42 กรกฎาคม-สิงหาคม 2558
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 163
เนื้อไก่ (พันตัน) ไก่เนื้อ 405.98 228.13 194.62 191.85 202.36
(ล้านตัว) 257.77 144.84 123.57 121.81 128.49
สัดส่วน (%) 17.89 10.05 8.58 8.45 8.92
ศักยภาพการผลิต (ข้อมูล กรมปศุสัตว์ 2558) • ฟาร์มไก่เนื้อทั้งหมด 34,527 ฟาร์ม ได้มาตรฐาน 5,711 ฟาร์ม • โรงเชือดไก่ภายใน 416 โรง โรงเชือดไก่เพื่อการส่งออก 25 โรง • โรงงานแปรรูปเนื้อไก่ส่งออก 55 โรง 2. การตลาด เป้าหมายส่งออก 620,000 ตัน มูลค่า 83,500 ล้านบาท (เนื้อไก่แปรรูป 430,000 ตัน = 69% เนือ้ ไก่สด 190,000 ตัน = 31%) กราฟแสดงราคาไก่เนื้อมีชีวิตหน้าฟาร์มที่เกษตรกรขายได้ เปรียบเทียบปี 2555-2558
ที่มา : กรมปศุสัตว์
ราคาไก่เนื้อเฉลี่ย ไตรมาส 2/58 เฉลี่ยกิโลกรัมละ 38.58 บาท เพิ่มจากไตรมาสแรก 1.1% ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 10.27% เนื่องจากผู้ประกอบการขยายการผลิต เพิ่มขึ้นเพื่อรับรองการส่งออกไก่สดแช่เย็นแช่แข็งไปยังสหภาพยุโรป และญี่ปุ่น ขณะที่การบริโภค ภายในประเทศชะลอตัว ทำให้เกิด Over Supply • ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้ (บาท/กก.) ไตรมาส/ปี 2/2558 1/2558 2/2557 ∆ 2/58/1/58 (%) ∆ 2/58/2/57 (%)
ราคารายเดือน (บาท/กก.) เดือน 1 เดือน 2 เดือน 3 37.75 39.00 39.00 40.50 37.25 37.00 41.00 44.00 44.00 6.79 4.70 5.41 7.93 11.36 -11.36
เฉลี่ย 38.58 38.25 43.00 0.87 -10.27
ที่มา : กรมปศุสัตว์
ต้นทุนการผลิตไก่เนื้อ ไตรมาส 2/2558 เฉลี่ยกิโลกรัมละ 33.81 บาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 11% เนื่องจากราคา ลูกไก่เนื้อลดลง น้ำหนักต่อตัวเพิ่มขึ้น
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 163
กรกฎาคม-สิงหาคม 2558
43
สถานการณ์ภายนอกประเทศ 3. การผลิตและการส่งออกไก่เนือ้ โลก • การผลิตของโลก ปี 2558 กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ คาดว่าจะผลิตไก่เนื้อ 87.33 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ 1.13 โดยสหรัฐอเมริกายังคงเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ที่สุดคือ 17.96 ล้านตัน รองลงมาคือจีน 13.11 ล้านตัน บราซิล 13.01 ล้านตัน และสหภาพยุโรป 10.22 ล้านตัน ตามลำดับ ปริมาณการผลิตโลกอาจจะลดลงเนื่องจากเกิดไข้หวัดนกในสหรัฐฯ และยุโรป • ญีป่ นุ่ ผูน้ ำเข้าเนือ้ ไก่รายใหญ่ของโลก เฉลีย่ ปีละ 0.90 ล้านตัน รองลงมาเป็นกลุม่ EU และซาอุดิอาระเบีย เฉลี่ยปีละ 0.71 และ 0.79 ล้านตัน ตามลำดับ • สำหรับประเทศไทยส่งออกเนือ้ ไก่สดแช่เย็นแช่แข็งไป EU ได้ตง้ั แต่ 1 ก.ค. 55 แบ่งเป็น - ไก่หมักเกลือ 92,610 ตัน/ปี ภาษีโควตาร้อยละ 15.4 นอกโควตา 1,300 ยูโร/ตัน - ไก่สดแช่เย็น/แข็ง 5,100 ตัน/ปี ภาษีในโควตาร้อยละ 0 นอกโควตา 602 1,024 ยูโร/ตัน - ไก่ปรุงสุก 160,033 ตัน ภาษีในโควตาร้อยละ 8 นอกโควตา 1,024 ยูโร/ตัน - ไก่แปรรูป 2 พิกัด (พิกัด 16023230 ได้ปริมาณโควตา 14,000 ภาษีโควตา ร้อยละ 10.9 นอกโควตา 2,765 ยูโร/ตัน และพิกัด 16023290 ปริมาณโควตา 2,100 ตัน ภาษีโควตาร้อยละ 10.9 นอกโควตา 2,765 ยูโร/ตัน) เปิดตลาดเนือ้ ไก่ EU มี.ค. 56 ญี่ปุ่น 25 ธ.ค. 56 • ปริมาณการส่งออกไก่เนื้อของไทยปี 2557-2558 เดือน/ปี ปี 2557 ม.ค.-มิ.ย.57 ม.ค.-มิ.ย.58 Δ 58/57 (%)
เนื้อไก่แปรรูป ตัน ล้านบาท 421,496 63,032 204,021 30,527 226,847 32,709 11.19 7.15
เนื้อไก่สด ตัน ล้านบาท 151,707 15,384 57,136 5,780 98,581 8,777 72.54 51.85
รวมทั้งหมด ตัน ล้านบาท 573,203 78,416 261,157 36,307 325,428 41,486 24.61 14.26
ที่มา : กรมปศุสัตว์
ปริมาณส่งออกเนื้อไก่ปี 2558 (ม.ค.-มิ.ย.) 325,428 ตัน มูลค่า 41,486 ล้านบาท ปริมาณส่งออกเพิ่มจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 24.61% - ส่งออกเนื้อไก่แปรรูป 70% ประเทศคู่ค้าที่สำคัญ ญี่ปุ่น 47% EU 40% - ส่งออกเนื้อไก่สด 30% ประเทศคู่ค้าที่สำคัญ กลุ่มสหภาพยุโรป 50% ญี่ปุ่น 40% ทั้งนี้อยู่ระหว่างรอผลการเจราจาเปิดตลาดเนื้อไก่สดจากประเทศเกาหลี 44 กรกฎาคม-สิงหาคม 2558
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 163
4. ปัญหาอุปสรรค • EU จัดสรรโควตา และสิทธิพเิ ศษทางภาษีนำเข้าเนือ้ ไก่สด และแปรรูปให้ไทยน้อย ทำให้ ต้องส่งออกนอกโควตา เสียอัตราภาษีสูงมาก และตรวจเชื้อ Salmonella ในไก่หมักเกลือเข้มข้น • ตลาดตะวันออกกลางมีขนาดใหญ่ แต่นำเข้าเนื้อไก่จากไทยปริมาณน้อยมาก • สภาพอากาศร้อนค่อนข้างมาก และหลายประเทศเกิดโรค ไข้หวัดนกระบาด • ผลผลิตข้าวโพดอาหารสัตว์จากพื้นที่บุกรุกป่าไม้ มีแนวโน้มใช้เป็นข้อกีดกันทางการค้า และส่งออกเนื้อไก่ ไปตลาดสหภาพยุโรป 5. ข้อเสนอแนะ • เตรียมกรอบเจรจาทำ FTA ระหว่างไทยกับ EU เพื่อเพิ่มโควตานำเข้าเนื้อไก่ • ส่งเสริมการตลาดในตะวันออกกลาง • เตือนผู้ประกอบการเฝ้าระวังสุขภาพสัตว์ ช่วงฤดูร้อน ต่อฤดูฝน • เจรจากับญี่ปุ่นเพื่อขอปรับภาษีนำเข้าเนื้อไก่ภายใต้ กรอบ JTEPA ใหม่เป็น 0%
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 163
กรกฎาคม-สิงหาคม 2558
45
สินค้าไก่ไข่และผลิตภัณฑ์
ยุทธศาสตร์ไก่ไข่ ฉบับที่ 2 (2557-2561) มีเป้าหมาย 3 เรื่อง 1) เพิ่มการบริโภคและส่งเสริมการแปรรูปไข่ไก่ 2) สร้างความมั่นคงในอาชีพการเลี้ยงไก่ไข่ 3) สร้างความเชื่อมั่นให้ผู้บริโภคไข่ไก่และผลิตภัณฑ์
สถานการณ์ภายในประเทศ 1. การผลิต • ปริมาณผลผลิตไข่ไก่ ปี 2558 จากจำนวนแม่พันธุ์ที่เลี้ยงเพิ่มขึ้น คาดว่าผลผลิตไข่ไก่ จะขยายตัวจากปีทแ่ี ล้ว 5.9% เป็นจำนวน 15,103 ล้านฟอง คิดเป็นมูลค่า 42,288 ล้านบาท ข้อมูลปริมาณการผลิตไข่ไก่ปี 2557-2558 ปริมาณการผลิต ไข่ไก่ (ล้านฟอง)
2557 2558* 14,265 15,103
1/58 3,734
2/58 2/1(%) 3,768 0.91
ที่มา : กปศ.
• ปี 2558 ปริมาณแม่ไก่ไข่ 53.74 ล้านตัว ปริมาณไข่ไก่ไตรมาส 2/58 ผลิตได้จำนวน 3,768 ล้านฟอง เพิ่มจากไตรมาสแรก 0.91% เพิ่มจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 10% ส่งผล ให้ราคาไข่ไก่ไม่มีเสถียรภาพ • จังหวัดที่เป็นแหล่งผลิตไข่ไก่ที่สำคัญปี 2558 แหล่งผลิตสำคัญ ฉะเชิงเทรา นครนายก ชลบุรี นครปฐม พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี
แม่ไก่ไข่ (ตัว) 8,420,236 4,761,625 4,468,560 3,605,727 3,067,420 2,836,450
ไข่ไก่ (ฟอง) สัดส่วน (%) 2,492,389,856 16.50 1,409,441,000 9.33 1,322,693,760 8.76 1,067,295,192 7.07 907,956,320 6.01 839,589,200 5.56
ที่มา : กรมปศุสัตว์
2. ศักยภาพการผลิต (กปศ. 58) ปี 57 นำเข้า G.P. 4,992 ตัว P.S. = 627,342 ตัว ปี 58 แผนนำเข้า G.P. = 4,000 ตัว P.S. = 667,705 ตัว • จำนวนฟาร์มทั้งหมด 48,217 ฟาร์ม (กปศ.57) • จำนวนฟาร์มได้มาตรฐาน 1,810 ฟาร์ม (กปศ.57) • โรงงานแปรรูปไข่ไก่ จำนวน 8 โรง ศูนย์รวบรวมไข่ไก่ 8 แห่ง 46 กรกฎาคม-สิงหาคม 2558
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 163
3. การตลาด • ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ไตรมาสที่ 2/58 เฉลี่ยฟองละ 2.40 บาท ขยับตัวสูงขึ้น จากไตรมาสแรก 7.6% แต่ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 19.8% เนื่องจากเกษตรกรขยาย การผลิต ทำให้ผลผลิตไข่มากกว่าความต้องการบริโภค รัฐบาลใช้เงิน คชก. ช่วยรายเล็ก/รายกลาง ส่วนรายใหญ่ร่วมแก้ปัญหาด้วย • ราคาไข่ไก่คละที่เกษตรกรขายได้ รายไตรมาส ปี 2557-2558 ไตรมาส/ปี 2/2558 1/2558 2/2557 ∆ 2/58/1/58 (%) ∆ 2/58/2/57 (%)
ราคารายเดือน (บาท/ฟอง) เดือน 1 เดือน 2 เดือน 3 2.40 2.40 2.40 2.33 2.30 2.06 2.68 3.18 3.05 3.00 4.35 16.50 -10.45 -24.53 -21.31
เฉลี่ย 2.40 2.23 2.97 7.62 -19.19
ที่มา : กรมปศุสัตว์
กราฟแสดงราคาไข่ไก่คละที่เกษตรกรขายได้ เปรียบเทียบ ปี 2555-2558
ส่วนราคาพันธุส์ ตั ว์ปรับตัว สูงขึ้น ลูกไก่ไข่เพิ่มเป็นตัวละ 8 บาท เพิม่ ขึน้ 5.2% ต้นทุนไตรมาส ที่ 2/58 เฉลีย่ ฟองละ 2.79 บาท ปรั บ ตั ว ลดลงจากไตรมาสแรก 3.5% เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ต่อ ตัวเพิ่มขึ้น
ที่มา : กรมปศุสัตว์
สถานการณ์ภายนอกประเทศ 4. การผลิต ไข่ไก่ของโลก ปี 2558 FAOSTAT คาดว่าจะขยายตัว 4% = 1,299,075 ล้านฟอง AEC ขยายตัว 5% = 67,299 ล้านฟอง • การนำเข้า-ส่งออก ปริมาณการนำเข้า-ส่งออกไข่ไก่และผลิตภัณฑ์ไข่ไก่ของไทย ปี 2557-2558 รายการ ม.ค.-ธ.ค. 57 ม.ค.-มิ.ย. 57 ม.ค.-มิ.ย. 58 (58/57)%
ส่งออก นำเข้า ไข่ไก่สด ผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ (ล้านฟอง) (ตัน) (ตัน) 245.27 4,061 855 105.06 2,097 438 170.20 2,215 527 62.00 5.63 20.21
ที่มา : กรมศุลกากร ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 163
กรกฎาคม-สิงหาคม 2558
47
• การนำเข้าผลิตภัณฑ์ไข่ไก่ ได้แก่ ไข่แดงผง ไข่ขาวผง ไข่เหลว ม.ค.-มิ.ย. 58 จำนวน 527 ตัน เพิ่มจากช่วงเดียวกันของ ปีที่แล้วคิดเป็นร้อยละ 20.21 • การส่งออกไข่ไก่ ม.ค.-มิ.ย. 58 ทั้งหมดจำนวน 170.20 ล้านฟอง เพิ่มจาก ช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 62% เนื่องจากเร่ง ระบายไข่ ไ ก่ ส่ ง ออกเพื่ อ แก้ ปั ญ หาผลผลิ ต ใน ประเทศล้นตลาด • การส่งออกผลิตภัณฑ์ไข่ไก่ ม.ค.มิ.ย. 58 จำนวน 2,215 ตัน ปริมาณเพิ่มขึ้น จากปีที่แล้วร้อยละ 5.6% เนื่องจากเกิดโรค ไข้หวัดนกในแหล่งผลิตสำคัญของโลก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป ทำให้ปริมาณ การส่งออกไข่ไก่แปรรูป (ไข่พาสเจอร์ไรส์) ของ ไทยเพิ่มขึ้น 5. ปัญหาอุปสรรค
6. ข้อเสนอแนะ
• โครงสร้างการผลิตไข่ไก่ขยายตัว เพิ่มขึ้น อุตสาหกรรมแปรรูปไข่ไก่มีน้อย
• สนับสนุนเอกชนลงทุนอุตสาหกรรม แปรรูปเพื่อรองรับผลผลิตไข่ไก่
• อาหารสัตว์ราคาทรงตัวสูง แม้ว่า วัตถุดิบหลักปรับตัวลดลง เช่น ข้าวโพดเลี้ยง สัตว์
• เชื่อมโยงสหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่ กับ สหกรณ์พืชไร่เพื่อหาแหล่งวัตถุดิบคุณภาพ
• การบริโภคไข่ไก่ภายในประเทศต่อ คนค่อนข้างต่ำ • การส่งออกไข่ไก่ของไทยมีข้อจำกัด เรื่องตลาด และราคา และ EU ห้ามนำเข้า ไข่ไก่แปรรูปจากไทย เนื่องจากไม่มีการตรวจ รับรอง
48 กรกฎาคม-สิงหาคม 2558
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 163
• เพิ่มการบริโภคไข่ไก่โดยให้ความรู้ ความเข้าใจคุณประโยชน์ไข่ไก่ที่ถูกต้อง • เจรจาเปิดตลาดผลิตภัณฑ์ไข่ไก่ส่ง ออกไปตลาดสิงคโปร์ และ EU
สินค้ากุ้งและผลิตภัณฑ์ สถานการณ์ภายในประเทศ
2556
ผลผลิต (T)* มูลค่า (MB)*
2557
2558
แผน ผล แผน ผล แผน 300,000 256,765 220,000 217,438 300,000 70,000 63,611 62,098 80,000
ผล 97,080 23,174
*1) ไม่รวมกุ้งก้ามกราม และล็อบสเตอร์ 2) มูลค่าส่งออก ม.ค.-พ.ค. 58 3) ข้อมูลผลผลิต ม.ค.-มิ.ย. 58
• สำหรับประเทศไทย ผลผลิตกุง้ ปี 2557 อยูท่ ปี่ ระมาณ 217,438 ตัน ลดลงจากปีทแี่ ล้ว 16% (ปี 2556 ที่ผลิตกุ้งได้ 256,765 ตัน) เนื่องจากปัญหาการเลี้ยง โรคกุ้งตายด่วน หรือ EMS อย่างที่ทราบกัน และปัญหาราคากุ้งที่มีความผันผวน ทำให้ผู้เลี้ยงส่วนใหญ่ไม่มั่นใจลงกุ้ง ส่งผลกระทบต่อปริมาณผลผลิตกุ้งทะเลจากการเลี้ยงยังไม่ถึงตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยคาดว่าปี 2558 นี้ หากสถานการณ์ต่างๆ ดีขึ้น ประเทศไทยอาจจะสามารถผลิตกุ้งได้ถึง 300,000 ตัน 1. การผลิต • ไตรมาส 2/58 มีฟาร์มที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน 5,687 ฟาร์ม แยกเป็น GAP (5,589), GAP มกษ.7401-2552 (40), CoC(58) คิดเป็น 29.35% จากฟาร์มทีม่ กี ารขึน้ ทะเบียน 19,378 ฟาร์ม • ข้อมูล FMD ของลูกกุ้ง ย้อนหลัง 4 ไตรมาส (ไตรมาส 2/58 ข้อมูล ณ วันที่ 15 ก.ค. 58) หน่วย : ล้านตัว, ตัวเลขในวงเล็บ : %
FMD กุ้งกุลาดำ กุ้งขาว รวม
ไตรมาส 3/57 723.95(5) 14,308.77(95) 15,032.72
ไตรมาส 4/57 569.95(5) 10,443.82(95) 11,013.77
ไตรมาส 1/58 397.69(4) 10,284.53(96) 10,682.22
*ไตรมาส 2/58 295.91(3) 10,862.96(97) 11,122.84
• ไตรมาส 2/58 มีการจำหน่ายลูกกุ้งระยะโพสต์ลาวา 11,122.84 ล้านตัว ลดลง 5.21% (เทียบกับช่วงเดียวกันปี 57) แบ่งเป็นกุ้งขาว 10,862.96 ล้านตัว (97.34%) กุ้งกุลาดำ 295.91 ล้านตัว (2.66%) ภาค ภาคตะวันออก ภาคใต้ตอนบน ภาคใต้ตอนล่างฝั่งอันดามัน ภาคใต้ตอนล่างฝั่งอ่าวไทย ภาคกลาง
ลูกพันธุ์ (ร้อยละ) 42.61 11.28 26.25 15.40 4.47 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 163
กรกฎาคม-สิงหาคม 2558
49
• ไตรมาส 2/58 มี ผ ลผลิ ต ประมาณ 54,824.74 ตั น เพิ่ ม ขึ้ น +21.90% (เทียบกับไตรมาสเดียวกันปี 57) เป็นกุ้งขาว 53,201.93 ตัน (97.04%) กุ้งกุลาดำ 1,622.81 ตัน (2.96%) ภาค ภาคตะวันออก ภาคใต้ตอนบน ภาคใต้ตอนล่างฝั่งอันดามัน ภาคใต้ตอนล่างฝั่งอ่าวไทย ภาคกลาง
ผลผลิต (ร้อยละ) 24.60 26.79 18.72 14.84 15.05
• จากไตรมาส 2 พบว่ามีการจำหน่ายลูกพันธุ์ลดลงเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว แต่มีผลผลิต ทีเ่ พิม่ มากขึน้ จากช่วงเดียวกัน แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของระบบการเลีย้ งกุง้ การเฝ้าระวังโรค และการจัดการฟาร์มของเกษตรกรที่ดีขึ้น อีกทั้งกรมประมงได้มีการช่วยเหลือในการตรวจโรค คัดกรองพ่อแม่พันธุ์กุ้ง และให้คำปรึกษาแก่เกษตรกร ทำให้ผลผลิตกุ้ง และแนวทางการเลี้ยงกุ้ง ไปในทิศทางที่ดีขึ้น 2. การตลาด ราคาเฉลี่ยของกุ้งขาวรายไตรมาส ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาคร กุ้งขาว ไตรมาส 2/57 ไตรมาส 1/58 ไตรมาส 2/58 ∆% 2/58 ∆% 1/57
40 ตัว 238.40 235.06 206.11 -13.55 -12.32
50 ตัว 233.40 219.23 175.92 -24.63 -19.76
60 ตัว 215.93 194.44 158.20 -26.74 -18.64
70 ตัว 202.74 184.31 150.32 -25.85 -18.44
ที่มา : สถาบันวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล กรมประมง
ที่มา : สถาบันวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล กรมประมง
50 กรกฎาคม-สิงหาคม 2558
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 163
80 ตัว 187.99 169.64 139.16 -25.97 -17.97
(หน่วย : บาท/กก.)
90 ตัว 173.78 153.65 128.90 -25.82 -16.05
สถานการณ์ภายนอกประเทศ 1. การผลิต • ผลผลิตกุ้งโลกในปี 2558 อยู่ที่ 3 ล้านตัน คิดเป็นกุ้งเลี้ยง 2 ล้านตัน เท่ากับปี 2556 ทีผ่ า่ นมา ทีเ่ หลือเป็นกุง้ จับจากธรรมชาติ แต่ปริมาณกุ้งเลี้ยงจะน้อยกว่าปี 2556 ที่ผ่าน มา เนื่องจากประเทศผู้ผลิตหลักยังคงประสบ ปัญหาการระบาดของ EMS โดยเฉพาะไทย ทั้งนี้ผลผลิต 80% ยังคงมาจากประเทศแถบ เอเซีย 2. การตลาด • 2 เดื อ นแรก ไตรมาส 2/58 ไทยส่งออกสินค้ากุ้งและผลิตภัณฑ์ (ไม่รวมกุ้ง ก้ามกรามและล็อบสเตอร์) 37,618.28 ตัน มูลค่า 12,171.38 ล้านบาท (ปริมาณ +14.57% มูลค่า -6.89% เทียบกับช่วงเดียวกันปี 57) ทั้งนี้ สิ้นสุดปี 57 ไทยส่งสินค้ากุ้งและผลิตภัณฑ์ (ไม่รวมกุ้งก้ามกรามและล็อบสเตอร์) 158,543.66 ตัน มูลค่า 62,098.15 ล้าน บาท • สัดส่วนการส่งออก 2 เดือนแรก ไตรมาส 2/58 USA (45.21%) Jap (20.93%) EU-28 (3.29%) Can (5.06%) Aus (2.56%) s-Korea (4.91%) อื่นๆ (12.36%) • 2 เดื อ นแรก ไตรมาส 2/58 ไทยนำเข้ากุ้งและผลิตภัณฑ์ (ไม่รวมกุ้งก้ามกรามและล็อบสเตอร์) 2,415.05 ตัน คิดเป็น มูลค่า 616.40 ล้าน (-25.34% และ -33.78% ตามลำดับ จากช่วงเดียวกันของปี 57) สัดส่วน
การนำเข้า Argentina (14.28%) India (30.92%) Myanmar (2.87%) U.S.A. (0.2%) Pakistan (10.97%) อื่นๆ (45.44%) 3. ภาวะการแข่งขัน • จำนวนอัตรารอดกุ้งในเวียดนาม พื้นที่เพาะเลี้ยงบริเวณปากแม่น้ำโขงบางส่วน ลดลง เนือ่ งจากโรคระบาด และสภาพภูมอิ ากาศ ที่ร้อน เช่นเดียวกับอินโดนีเซีย พบการระบาด ของโรคกล้ามเนื้อขาวขุ่น (IMNV) โรคจุดขาว และโรคขี้ขาวระบาด นอกจากนี้พบว่ากุ้งโตช้า และอัตรารอดต่ำ • อินเดียฝนตกหนัก ทำให้คณ ุ ภาพน้ำ เปลีย่ น ส่งผลให้กงุ้ ตายจำนวนมากต้องเร่งจับกุง้ ก่อนกำหนด ส่งผลให้กงุ้ ราคาตก ส่วนประเทศ มาเลเซียยังคงพบเรื่องยาตกค้างในกุ้ง • ปานามาประกาศเป็นพื้นที่ปลอด EMS ขณะที่ราคากุ้งในเอกวาดอร์ตกลง เนื่อง จากจีน และสหรัฐฯ ลดปริมาณความต้องการ ในการนำเข้ า โดยสหรั ฐ ฯ มี ก ารนำเข้ า จาก อิ น เดี ย และอิ น โดนี เ ซี ย เพิ่ ม ขึ้ น จากปี ก่ อ น ขณะเดียวกัน มีการนำเข้ากุ้งจากไทยเพิ่มขึ้น เล็กน้อย • ไทยให้ความสำคัญกับการเฝ้าระวัง และป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายของผลผลิต จากการระบาดของโรคในประเทศ เพื่อให้การ ผลิตไม่ลดลงไปจากเป้าที่ตั้งไว้ (4 แสนตัน) ในปี 2558 และสร้างความเชื่อมั่นด้านศักยภาพในการเป็น Main Shrimp Supplier.
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 163
กรกฎาคม-สิงหาคม 2558
51
ปัญหาอุปสรรค • ปั ญ หาการขาดแคลนพ่ อ แม่ พั น ธุ์ กุ้ ง คุณภาพในอุตสาหกรรมกุ้งไทย • การที่ ไ ทยถู ก ตั ด สิ ท ธิ พิ เ ศษทาง ศุลกากร (GSP) จาก EU รวมถึงปัญหาแรงงาน และปลาป่นที่ถูกนำมาเชื่อมโยงกับการเพาะ เลี้ยงกุ้ง ทำให้ปริมาณการส่งออกกุ้งไปยัง EU อาจจะลดลงในอนาคต • สหภาพยุโรป (EU) ให้ใบเหลืองแก่ ประเทศไทย เนื่องจากปัญหาการทำประมง IUU ซึ่งหากปลดใบเหลืองไม่ได้ อาจส่งผล ทำให้ ป ระเทศไทยไม่ ส ามารถส่ ง ออกสิ น ค้ า ประมงไปยังสหภาพยุโรปได้อีกต่อไป
ข้อเสนอแนะ • ให้กรมประมงเร่งดำเนินการผลิตพ่อ แม่พันธุ์สายพันธุ์ต่างประเทศรุ่น F1 จำนวน 110,000 ตัว เพื่อป้อนเข้าสู่อุตสาหกรรม กุ้ง โดยจำหน่ายให้แก่เกษตรกรในราคาถูก อัตราตัวละ 20 บาท
52 กรกฎาคม-สิงหาคม 2558
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 163
• เร่ ง ดำเนิ น การแก้ ไ ขปั ญ หาแรงงาน ในภาคการประมง เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดี ของกุ้งไทยให้กลับคืนมา และให้ภาคเอกชน ประชาสั ม พั น ธ์ ภ าพลั ก ษณ์ ที่ ดี ข องการใช้ แรงงาน และการใช้ปลาป่นในอุตสาหกรรมกุ้ง รวมถึงสร้างความเชื่อมั่นในระบบการผลิตที่ได้ มาตรฐานกับประเทศคู่ค้าด้วย • เร่งดำเนินการจดทะเบียนเรือประมง และออกใบอนุญาตทำการประมง ควบคุมและ เฝ้าระวังการทำประมง พร้อมทั้งจัดทำระบบ ติดตามตำแหน่งเรือ (VMS) ปรับปรุงพระราชบัญญัติการประมง และกฎหมายลำดับรอง ตลอดจนปรับปรุงระบบการตรวจสอบย้อนกลับ (traceability) และจัดทำแผนระดับชาติในการ ป้องกัน ยับยั้ง และขจัดการทำประมงที่ผิด กฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (NPOA-IUU)
» ¶ ° ° µ¦¦oµ ¢µ¦r¤ ¨³ ¨· °µ®µ¦´ ªr
by
Food Feed Fuel
เล็งอนาคตปาล์มไทย เมื่อต้องไต่บนเส้นลวด สศก. เจาะหลากมุมมอง ร่วมหาทางออกอุตสาหกรรมปาล์ม
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เจาะ มุมมองวิเคราะห์เส้นทางปาล์มน้ำมันไทย เปรียบ ไม่ ต่ า งกั บ การต้ อ งเดิ น บนเส้ น ลวด บวกกั บ กระแสบริโภคน้ำมันถั่วเหลืองที่เพิ่มขึ้นทดแทน หวั่นแนวโน้มล้นตลาด แนะการปล่อยให้กลไก ราคาไปตามธรรมชาติ อ าจเป็ น ทางออกที่ ดี โดยภาครัฐร่วมกันทุกฝ่ายในการเดินหน้าการ ผลิตให้ได้คุณภาพและช่วยเกษตรกรลดต้นทุน เพื่อรักษาศักยภาพอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมัน ของไทยร่วมกัน นายเลอศักดิ์ ริ้วตระกูลไพบูลย์ เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิ ด เผยว่ า สถานการณ์พื้นที่ให้ผลผลิตปาล์มของประเทศ ไทยขณะนี้ มี แ นวโน้ ม เพิ่ ม ขึ้ น มาโดยตลอด โดยในปี 2558 มีพื้นที่ให้ผลผลิตปาล์มน้ำมัน 4,400,589 ไร่ เพิม่ ขึน้ จากปี 2557 ทีจ่ ำนวน 4,148,168 ไร่ (ร้อยละ 6.09) เช่นเดียวกับ ปริมาณผลผลิตที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตลอด ใ น ปี 2 5 5 8 ผ ล ผ ลิ ต มี จ ำ น ว น 12,205,776 ตัน ลดลงจากปี 2557 ที่ จำนวน 12,503,447 ตัน หรือลดลง ร้อยละ
2.38 (เนื่องจากอิทธิพลภัยแล้งอย่างต่อเนื่อง ตั้ ง แต่ 2556/2557 และ 2558) เมื่ อ คำนวณอยู่ในรูปน้ำมันปาล์มดิบ ปี 2558 ไทยจะมีน้ำมันปาล์มดิบออกสู่ตลาดประมาณ 2,074,982 ตัน (อัตราน้ำมันร้อยละ 17) เมื่อบวกกับสต็อกต้นปี 168,000 ตัน คาดว่า ทั้งปีจะมีน้ำมันปาล์มดิบทั้งหมด 2,242,982 ตัน ในขณะที่ความต้องการใช้น้ำมันปาล์มดิบ ในปี 2558 คาดว่ามีประมาณ 1,854,000 ตั น โดยแบ่ ง เป็ น ความต้ อ งการใช้ เ พื่ อ การ บริโภค-อุปโภค 929,000 ตัน เพื่อผลิตไบโอดีเซล 854,000 ตัน และเพื่อการส่งออก 71,000 ตัน หากความต้องการใช้นำ้ มันปาล์ม ดิบเป็นเช่นนี้ คาดปลายปี 2558 จะมีสต็อก ประมาณ 388,982 ตัน ซึ่งที่ผ่านมาตั้งแต่ ปี 2534 ประเทศไทยสามารถผลิ ต ปาล์ ม น้ำมันดิบได้มากกว่าความต้องการใช้ภายใน ประเทศมาโดยตลอด ยกเว้นบางปีที่จะต้อง มีการนำเข้าน้ำมันปาล์มดิบจากต่างประเทศ โดยเฉพาะช่วงที่ผลผลิตออกสู่ตลาดน้อย เพื่อ นำมาใช้ผลิตเป็นน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์บรรจุขวด และช่วงต้นปี 2558 รัฐบาลได้มีการนำเข้า น้ำมันปาล์มเข้ามาเพิ่มในสต็อกอีก 50,000
ที่มา : ฝ่ายข่าวประชาสัมพันธ์ ศูนย์ปฏิบัติการเศรษฐกิจการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 163
กรกฎาคม-สิงหาคม 2558
53
ตัน ซึ่งแม้ว่าน้ำมันปาล์มจำนวนดังกล่าวได้นำ ไปผลิตและจำหน่ายเป็นปาล์มบริสทุ ธิบ์ รรจุขวด เรียบร้อยแล้ว แต่ในภาพรวม ส่งผลทำให้สต็อก น้ำมันปาล์มดิบปลายปีมีประมาณเพิ่มขึ้น เลขาธิการ สศก. กล่าวต่อไปว่า หาก มองถึงอนาคตน้ำมันปาล์มของไทย ต้นทุนการ ผลิตผลปาล์มสดของเกษตรกรไทย อยู่ที่ 3.38 บาท ต่อกิโลกรัม ซึ่งรัฐบาลได้มีมาตรการช่วย เหลือเกษตรกร โดยการให้โรงงานสกัดน้ำมัน ปาล์มรับซื้อผลผลิตปาล์มผลสด 4.20 บาท ต่อกิโลกรัม และให้โรงกลัน่ น้ำมันปาล์ม โรงงาน ผลิตไบโอดีเซล และผู้รับซื้อน้ำมันปาล์มดิบ ทัว่ ไป รับซือ้ น้ำมันปาล์มดิบ (CPO) จากโรงงาน สกัดน้ำมันปาล์ม ในราคาไม่ต่ำกว่ากิโลกรัม ละ 26.20 บาท อีกด้านหนึ่งก็ถือว่าเป็นการ ช่วยผู้บริโภคด้วย เพราะราคาน้ำมันปาล์มดิบ ดังกล่าวสามารถผลิตน้ำมันปาล์มบริสทุ ธิบ์ รรจุ ขวดได้ไม่เกินราคาควบคุมที่กระทรวงพาณิชย์ กำหนดไว้ 42 บาท/ขวด(ลิตร) ซึ่งนโยบาย ดั ง กล่ า วนั บ ว่ า เป็ น เรื่ อ งที่ ดี แต่ ก ารดำเนิ น ราคาปาล์มน้ำมันดิบ เดือน-ปี/ประเทศ ณ มิ.ย. 57 ณ พ.ค. 58 ณ มิ.ย. 58 % เทียบกับ มี.ค. 57 % เทียบกับ ก.พ. 58
ตลาดกรุงเทพฯ (บาท/กก.) 26.68 26.17 27.43 2.81 4.81
นโยบายดังกล่าว ถือได้วา่ เป็นการบิดเบือนกลไก ตลาด และส่ ง ผลให้ ร าคาปาล์ ม ในประเทศ สูงกว่าราคาในตลาดโลก โดยเฉพาะมาเลเซีย ซึง่ เป็นผูน้ ำตลาด และเมือ่ พิจารณาราคาน้ำมัน ปาล์มดิบ พบว่าเดือนมิถุนายน ราคาน้ำมัน ปาล์มดิบของไทยอยูท่ ี่ 27.43 บาทต่อกิโลกรัม ในขณะทีม่ าเลเซียประเทศผูส้ ง่ ออกน้ำมันปาล์ม อยู่ที่ 20.86 บาทต่อกิโลกรัม จะเห็นได้ว่า ราคาของไทยสูงกว่าถึง 6.57 บาทต่อกิโลกรัม ส่งผลทำให้ในปีนี้ ไทยสูญเสียความสามารถ ในการแข่งขันส่งออกไปยังตลาดโลก ไม่สามารถ ส่งออกได้ รวมถึงมีผลทำให้ความต้องการใช้ น้ำมันปาล์มภายประเทศมีแนวโน้มลดลงด้วย เนื่ อ งจากภาคอุ ต สาหกรรมในประเทศที่ ใ ช้ น้ ำ มั น ปาล์ ม ดิ บ เป็ น วั ต ถุ ดิ บ เริ่ ม หั น ไปนำเข้ า วัตถุดบิ กึง่ สำเร็จรูปมาจากต่างประเทศทดแทน และมีภาคอุตสาหกรรมบางส่วนเริม่ ส่งสัญญาณ ที่จะย้ายฐานการผลิตเพื่อลดต้นทุนการผลิต เนือ่ งจากราคาน้ำมันปาล์มดิบในประเทศสูงกว่า ราคาในตลาดโลกค่อนข้างมาก มาเลเซีย (บาท/กก.) 25.12 20.52 20.86 -16.68 2.00
รอตเตอร์ดัม (บาท/กก.) 28.03 21.97 22.48 -19.80 2.32
ที่มา : ราคาน้ำมันปาล์มดิบไทย จากกรมการค้าภายใน, ราคา มาเลเซีย และรอตเตอร์ดัม จากสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
54 กรกฎาคม-สิงหาคม 2558
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 163
ประกอบกับปี 2558 ผลผลิตถั่วเหลือง ในตลาดโลกเพิ่มขึ้นมากส่งผลทำให้ราคาถั่วเหลืองในตลาดโลกลดลง ซึง่ ส่งผลให้ราคาน้ำมัน ถั่ ว เหลื อ งลดลง และกระแสไขมั น ทรานส์ ที่ เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ทำให้ผู้บริโภคอาจหัน ไปบริโภคน้ำมันถั่วเหลืองทดแทนน้ำมันปาล์ม เพิ่มขึ้นได้ ส่วนการผลิตไบโอดีเซลนั้นขณะนี้ ได้ใช้สดั ส่วนผสมในน้ำมันดีเซลในอัตราทีส่ งู สุด แล้ว (B7) จึงคาดว่าปริมาณความต้องการใช้ ปาล์มน้ำมันยังไม่เพิ่มขึ้นมากนัก ทั้งนี้ จาก ปัจจัยทัง้ ทางด้านการผลิต ต้นทุน ราคาทีส่ งู ขึน้ สวนทางกับปริมาณการบริโภค การส่งออก จึงมีความเป็นไปได้สูงที่ปริมาณน้ำมันปาล์ม จะล้นตลาดในอนาคต จะเห็นว่าโดยรวมแล้ว อุปสงค์ หรือ ความต้องการบริโภคทั้งใน และนอกประเทศ มีแนวโน้มลดต่ำลง แต่อุปทาน หรือปริมาณ การผลิตนัน้ ยังมีอยูม่ าก หากยังมีการดำเนินการ แทรกแซงราคา ไม่ปล่อยให้เป็นไปตามกลไก ตลาด ซึ่ ง ในมุ ม มองทางด้ า นเศรษฐศาสตร์ การแทรกแซงราคาตลาด ทำให้ เ กิ ด การ บิดเบือนราคา และไม่เกิดจุดดุลยภาพที่แท้จริง หากยังเป็นอย่างนีต้ อ่ ไป ในอนาคตอาจทำลาย อุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันของไทยได้ ซึ่งอย่าง น้ อ ยที่ สุ ด การกำหนดราคารั บ ซื้ อ ผลปาล์ ม คุณภาพตามเปอร์เซ็นน้ำมันทีก่ ำหนดขึน้ จะต้อง เป็นราคาที่สะท้อนถึงราคาน้ำมันดิบในตลาด โลกด้วย เช่น ถ้าราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก ปรับตัวสูงขึ้น ราคาผลปาล์มคุณภาพ (17%) ก็ต้องปรับเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ในทางตรงข้าม ถ้าหากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกปรับตัวลดลง ราคาผลปาล์มคุณภาพ (17%) ก็ตอ้ งปรับลดลง ตามไปด้วย
ดังนัน้ กล่าวได้วา่ ปัจจุบนั ปาล์มน้ำมันไทย เปรี ย บเสมื อ นคนที่ เ ดิ น อยู่ บ นสายเส้ น ลวด หากทรงตัวไม่ดีพอ อาจร่วงหล่นลงมาได้ และ เพือ่ ให้อตุ สาหกรรมน้ำมันปาล์มของไทย ตลอด จนเกษตรกรสามารถเดินต่อไปได้ การปล่อย ให้กลไกราคาดำเนินไปตามธรรมชาติอาจเป็น ทางออกที่ดีกว่า เมื่อถึงช่วงที่ผลผลิตออกสู่ ตลาดมาก ราคาย่อมถูกลงตามกลไกตลาด จนกระทั่งเมื่อผลผลิตเริ่มน้อยลง ราคาจะปรับ ตัวสูงขึ้น โดยเกษตรกรเองนั้น หากต้องการ ราคาขายที่ดี ก็ต้องพยายามผลิตปาล์มให้ได้ คุ ณ ภาพที่ ดี ซึ่ ง ภาครั ฐ จะเข้ า ไปช่ ว ยเหลื อ ในการปลูกปาล์มให้ได้คณ ุ ภาพทีด่ คี วบคูไ่ ปด้วย ตั้งแต่การปลูก การสกัด การแปรรูป การ วางแผนการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการ ของตลาด และสำหรับผู้ประกอบการโรงงาน สกั ด น้ ำ มั น ปาล์ ม และผลิ ต น้ ำ มั น ปาล์ ม ก็ จำเป็ น ต้ อ งมี ก ารคาดการณ์ ว่ า ช่ ว งเวลาใดที่ ผลผลิตปาล์มจะขาดแคลน เพือ่ ปรับตัววางแผน การซื้ อ วั ต ถุ ดิ บ ไว้ เ พื่ อ ป้ อ งกั น การขาดแคลน วั ต ถุ ดิ บ ป้ อ นโรงงาน และที่ ส ำคั ญ คื อ การ สนับสนุนให้เกษตรกรรวมกลุม่ เพือ่ ใช้ปจั จัยการ ผลิตร่วมกัน ซึ่งช่วยให้ต้นทุนการผลิตลดลงได้ ทั้งนี้ ความสำเร็จอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม อยู่ที่ฝ่ายโรงงานและเกษตรกรจะหาจุดสมดุล เพื่อความอยู่รอดของอุตสาหกรรม อย่าหวังให้ รัฐสนับสนุนเพียงฝ่ายเดียว เพราะนั่นคือการ เดิ น เข้ า ไปสู่ ค วามเสี่ ย งของอุ ต สาหกรรมดั ง กล่าว
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 163
กรกฎาคม-สิงหาคม 2558
55
Market Leader
ภัยแล้งฉุดผลผลิตปาล์มลด กนป. ย้ำ
เร่งแก้ ไขปัญหารับซื้อปาล์ม เดินหน้า พ.ร.บ. เต็มที่ กนป. แจงสถานการณ์ปาล์มน้ำมันปี 58 เผยภั ย แล้ ง กระทบต่ อ เนื่ อ ง ฉุ ด ผลผลิ ต ออก ตลาดลดลงร้อยละ 2 ระบุ ขณะนี้ประสาน ผูว้ า่ ราชการทุกจังหวัด หาแนวทางแก้ไขปัญหา รับซื้อผลปาล์มกับโรงงานสกัด เกรด B และ ลานเทในพื้นที่แล้ว ย้ำเดินหน้าตรวจสอบพื้นที่ ปลูกปาล์มของเกษตรกร เร่งพัฒนาโรงงานสกัด และ พ.ร.บ. ปาล์มน้ำมันให้แล้วเสร็จโดยเร็ว นายคนิต ลิขติ วิทยาวุฒิ รองเลขาธิการ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวง เกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการประชาสัมพันธ์ผลการดำเนินการ ของคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่ง ชาติ (กนป.) เปิ ดเผยถึ งสถานการณ์ ปาล์ม น้ำมันในขณะนี้ว่า จากภาวะภัยแล้งตั้งแต่ปี 2557 ต่อเนื่องถึงปี 2558 ส่งผลให้ผลผลิต ปาล์มน้ำมันใน ปี 2558 ออกสู่ตลาดน้อยลง เมือ่ พิจารณาผลผลิตปาล์มน้ำมันทัง้ 3 ไตรมาส ของปี 2558 พบว่ า ผลผลิ ต ไตรมาสที่ 1 ไตรมาสที่ 2 และไตรมาสที่ 3 มีปริมาณ 2.426 ล้านตัน 4.055 ล้านตัน และ 2.712 ล้านตัน ตามลำดับ ซึ่งเมื่อเทียบกับปี 2557
พบว่า ผลผลิตลดลงทุกไตรมาส คิดเป็นร้อยละ 20.23 ร้อยละ 7.01 และร้อยละ 10.31 ตามลำดับ สำหรับในไตรมาส 4 (ตุลาคม-ธันวาคม) คาดว่าผลผลิตมีแนวโน้มเพิม่ ขึน้ จากในไตรมาส 3 เนื่องจากในช่วงไตรมาส 3 มีฝนตกอย่าง ต่อเนื่องในแหล่งปลูกที่สำคัญ ทำให้ไตรมาส 4 ปริ ม าณผลผลิ ต อาจเพิ่ ม ขึ้ น ได้ อย่ า งไร ก็ ต าม สศก. จะได้ ติ ด ตามและตรวจสอบ สถานการณ์การผลิตปาล์มน้ำมันในภาคใต้ เพือ่ ประเมินผลผลิตในช่วงไตรมาส 4 ต่อไป อย่างไรก็ตาม เมื่อคำนวณในรูปน้ำมัน ปาล์มดิบ พบว่า ในปี 2558 จะสามารถผลิต น้ำมันปาล์มดิบได้ประมาณ 2.03 ล้านตัน และเมื่ อ บวกกั บ สต็ อ กต้ น ปี 0.17 ล้ า นตั น รวมทั้งมีการนำเข้าในช่วงต้นปี 0.05 ล้านตัน คาดว่า ทั้งปีจะมีน้ำมันปาล์มดิบทั้งหมด 2.25 ล้านตัน ในขณะที่ความต้องการใช้น้ำมันปาล์ม ดิบในปี 2558 คาดว่ามีประมาณ 1.87 ล้านตัน โดยแบ่งเป็น ความต้องการใช้เพื่อการบริโภคอุปโภค 0.95 ล้านตัน เพื่อผลิตไบโอดีเซล 0.85 ล้านตัน และเพื่อการส่งออก 0.07 ล้าน
ที่มา : ฝ่ายข่าวประชาสัมพันธ์ สำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
56 กรกฎาคม-สิงหาคม 2558
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 163
ตัน จึงคาดว่าปลายปี 2558 จะมีสต็อกประมาณ 0.38 ล้านตัน อย่างไรก็ตามสต็อกจะเพิ่มขึ้นลดลงจากที่คาดไว้มากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับ ผลผลิ ต ในไตรมาส 4 ซึ่ ง สศก. จะลงไป ติ ด ตามและตรวจสอบสถานการณ์ ก ารผลิ ต ปาล์มน้ำมัน ด้านการเคลือ่ นไหวของราคาผลปาล์ม (FFB.) และราคาน้ำมันปาล์มดิบ (CPO.) จาก สถานการณ์ผลผลิตปาล์มน้ำมันออกสู่ตลาด ตั้ ง แต่ ช่ ว งปลายปี 2557 ต่ อ เนื่ อ งถึ ง ต้ น ปี 2558 ส่งผลทำให้ในช่วงมกราคมถึงกุมภาพันธ์ ราคาผลปาล์มเคลื่อนไหวอยู่ระหว่าง 4.676.05 บาท/กก. (CPO 32.50-37.25 บาท/ กก.) และเมื่อผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น ในช่วงไตรมาส 2 ราคาจึงเริ่มลดลงตั้งแต่ 17 มีนาคม-22 พฤษภาคม 2558 ซึ่งราคา เคลื่อนไหวอยู่ระหว่าง 2.93-4.10 บาท/กก. (CPO 24.75-28.50 บาท/กก.) และหลัง จากมีมาตรการให้ซื้อผลปาล์มทั้งทะลาย (ไม่ แยกลูกร่วง) ตามเปอร์เซ็นต์น้ำมันไม่ต่ำกว่า 17% ส่งผลให้ราคาผลปาล์มตัง้ แต่วนั ที่ 23-31
พฤษภาคม 2558 ราคามีการปรับตัวตาม คุณภาพเปอร์เซ็นต์นำ้ มัน อยูร่ ะหว่าง 4.13-4.20 บาท/กก. (CPO 26.63-27.75 บาท/กก.) สำหรั บ ในเดื อ นมิ ถุ น ายนที่ ผ่ า นมานั้ น ผลผลิตลดลงจากเดือนพฤษภาคม และคาดว่า ผลผลิตในไตรมาส 3 จะเป็นช่วงที่มีผลปาล์ม ออกสู่ตลาดน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับไตรมาสอื่น ทำให้โรงงานสกัดซื้อผลปาล์มในราคาที่สูงกว่า ราคาแนะนำ โดยมีราคาอยูร่ ะหว่าง 4.27-4.67 บาท/กก. และโรงกลั่นฯ กำหนดราคารับซื้อ CPO อยูร่ ะหว่าง 26.63-27.88 บาท/กก. ส่วน ในเดือนกรกฎาคม 2558 ราคาผลปาล์ม อยู่ ระหว่าง 3.74-4.15 บาท/กก. เนือ่ งจากโรงกลัน่ ฯ ส่วนใหญมีการชะลอการรับซื้อน้ำมันปาล์มดิบ จากโรงงานสกัดฯ และรับซื้อในราคาที่ต่ำกว่า 26.20 บาท/กก. ในขณะทีโ่ รงงานสกัดจำนวน หนึ่งเริ่มรับซื้อปาล์มน้ำมัน 4.20 บาท/กก. ด้ า นผลการดำเนิ น มาตรการแก้ ไ ข ปัญหาราคาปาล์มน้ำมันทั้งระบบ ตามมติ กนป. ครัง้ ที่ 3/2558 เมือ่ วันที่ 20 พฤษภาคม 2558 ที่ ไ ด้ ก ำหนดมาตรการต่ า งๆ คื อ ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 163
กรกฎาคม-สิงหาคม 2558
57
มาตรการระยะสั้น ในส่วนของการรับซื้อผล ปาล์มทะลายและผลปาล์มร่วง ในราคาเดียวกัน อัตราน้ำมันร้อยละ 17 ไม่ตำ่ กว่า กก. ละ 4.20 บาท ณ หน้าโรงสกัดฯ/ลานเท (การแก้ปัญหา ในระยะเร่งด่วน) พบว่า โรงงานสกัดฯ ได้ดำเนิน การรับซื้อเป็นไปตามประกาศของสำนักงาน คณะกรรมการกลางว่ า ด้ ว ยราคาสิ น ค้ า และ บริการ (สกกร.) โดยมีการปิดป้ายแสดงราคา รับซื้อผลปาล์มน้ำมันทะลายและร่วง ราคา เดียวกันในราคา 4.20 บาท/กก. ณ 17% อย่างไรก็ตาม จากการติดตาม ยังมีลานเท รั บ ซื้ อ แยกผลปาล์ ม ร่ ว งในราคาที่ สู ง กว่ า ผล ปาล์มทะลาย และโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มเกรด B รับซื้อผลปาล์มร่วงอย่างเดียว โดยลานเท รับซื้อผลปาล์มทะลาย ณ ลานเท กิโลกรัมละ 3.10-4.20 บาท และผลปาล์มร่วง กิโลกรัมละ 4.00-5.00 บาท ซึ่งกระทรวงพาณิชย์จะได้มี การติดตามอย่างใกล้ชดิ ต่อไป ทัง้ นี้ กรมการค้า ภายใน ได้ประสานผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อหา แนวทางแก้ไขปัญหารับซื้อผลปาล์มกับโรงงาน สกัดน้ำมันปาล์มเกรด B และลานเทในพื้นที่ แล้ว มาตรการระยะ 3 เดือน การดำเนินการ ตรวจสอบพื้นที่เพาะปลูกปาล์มของเกษตรกร เพื่ อ ให้ ไ ด้ ข้ อ มู ล การผลิ ต ที่ ถู ก ต้ อ ง ในคราว ประชุม กนป. ครั้งที่ 4/2558 เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2558 จึงมีมติเห็นชอบให้มีการ แต่งตั้งคณะทำงานตรวจสอบพื้นที่ปลูกปาล์ม น้ำมันขึ้น เพื่อดำเนินการตรวจสอบพื้นที่ปลูก ปาล์มน้ำมันทั้งหมด ทั้งที่มีเอกสารสิทธิ์และ ไม่มเี อกสารสิทธิ์ และจากการรายงานข้อมูลการ ขึ้นทะเบียนผู้ปลูกปาล์มน้ำมันกับกรมส่งเสริม การเกษตร พบว่าปัจจุบันมีเกษตรกรมาขึ้น 58 กรกฎาคม-สิงหาคม 2558
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 163
ทะเบียนแล้วมากกว่า 1.7 แสนครัวเรือน คิดเป็น พื้นที่ปลูกมากกว่า 3 ล้านไร่ และในจำนวน ดังกล่าวเป็นที่ที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ประมาณ 7 แสนไร่ และยังไม่รวมถึงพื้นที่ปลูกปาล์มของ ภาคเอกชนที่มีขนาดแปลงที่ค่อนข้างใหญ่ และ ไม่ประสงค์ที่จะมาขึ้นทะเบียน และพื้นที่ปลูก ที่อยู่ในป่า ดังนั้นคณะทำงานฯ ชุดดังกล่าว จึงได้ นำภาพถ่ายดาวเทียมของ GISTDA. ภาพถ่าย ดาวเทียมพื้นที่ป่าไม้ของกระทรวงทรัพยากร ธรรมชาติ แ ละสิ่ ง แวดล้ อ ม รวมถึ ง ภาพถ่ า ย ดาวเทียมพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน ของกระทรวง เกษตรและสหกรณ์ มาพิจารณาร่วมกันเพื่อให้ เกิดความชัดเจน และพื้นที่ไหนที่ยังเป็นปัญหา คณะทำงานฯ ชุ ด นี้ ก็ จ ะต้ อ งลงไปในพื้ น ที่ ร่วมกับสภาเกษตรกร เพื่อยืนยันความถูกต้อง อีกครัง้ หนึง่ ซึง่ คณะทำงานตรวจสอบพืน้ ทีป่ ลูก ปาล์มน้ำมัน คาดว่าจะสามารถดำเนินการได้ แล้วเสร็จภายในเดือนกันยายนนี้ นอกจากนี้ เพื่ อ ให้ มี ข้ อ มู ล ที่ ถู ก ต้ อ งและครบถ้ ว นในการ บริหารจัดการ หรือแก้ไขปัญหาอุตสาหกรรม ปาล์มน้ำมันทั้งระบบ ในคราวประชุม กนป. ครัง้ ที่ 4/2558 ได้มกี ารตัง้ คณะทำงานเพิม่ ขึน้ อีก 2 ชุด คือ คณะทำงานบูรณาการข้อมูล ด้านผลผลิตปาล์มน้ำมัน การใช้และสต็อกน้ำมัน ปาล์ม และคณะทำงานเฉพาะกิจเพื่อตรวจสอบ สต็อกน้ำมันปาล์ม มาตรการระยะยาว ได้กำหนดแนวทาง ไว้ 2 เรื่อง คือ 1) การพัฒนาโรงงานสกัด น้ำมันปาล์ม และ 2) เร่งรัดดำเนินการยกร่าง พ.ร.บ. ปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์ม ให้แล้ว เสร็จโดยเร็ว สำหรับการพัฒนาโรงงานสกัด น้ำมันปาล์ม กนป. ครั้งที่ 4/2558 ในคราว
เดียวกัน ได้มมี ติเห็นชอบให้มกี ารแต่งตัง้ คณะอนุกรรมการ พัฒนาโรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม เพื่อศึกษาและจัดทำ แนวทางส่งเสริมและสนับสนุนในการพัฒนาโรงงานสกัด น้ำมันปาล์มให้โรงงานสกัดน้ำมันปาล์มเกรด B สามารถ พัฒนาเป็นโรงงานสกัดแบบแยกเมล็ดในได้ (โรงงาน สกัดน้ำมันปาล์มเกรด A) และให้โรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม เกรด A สามารถผลิตผลิตภัณฑ์มูลค่าสูงจากน้ำมัน ปาล์มได้ สำหรับในส่วนเรื่องของการเร่งรัดการยกร่าง พ.ร.บ. ปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มให้แล้วเสร็จโดยเร็วนั้น คณะอนุกรรมการยกร่างพระราชบัญญัติปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์ม เมื่อวันที่ 11 มิถนุ ายน 2558 ได้มกี ารแต่งตัง้ คณะทำงาน กำกับ และจัดทำร่าง พ.ร.บ. ปาล์มน้ำมัน และน้ำมันปาล์ม ขึ้นมาเพื่อมาดำเนินการในเรื่องดังกล่าว และคาดว่าคณะทำงานฯ ชุ ด ดั ง กล่ า วจะสามารถดำเนิ น การยกร่ า ง พ.ร.บ. ปาล์ ม น้ ำ มั น และน้ ำ มั น ปาล์ ม ให้แล้วเสร็จ และสามารถนำร่าง พ.ร.บ. ปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มฉบับดังกล่าว นำเสนอต่อ กนป. เพื่อพิจารณาได้ทันภายในเดือนตุลาคมนี้ ก่อนที่จะนำร่าง พ.ร.บ. ปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์ม ลงไปประชาพิจารณ์เพื่อสร้างความเข้าใจและรับฟัง ความคิดเห็นจากผูม้ สี ว่ นได้เสียในพืน้ ที่ และนำร่าง พ.ร.บ. ปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์ม นำเสนอต่อ ครม. เพื่อพิจารณาต่อไป สำหรับทิศทางอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันของไทยในอนาคต ควรให้ความ สำคัญในเรื่องของการพัฒนาอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันให้มีความยั่งยืน เพื่อสร้าง ความมั่นคงทางด้านอาหาร และพลังงานที่สะอาดและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดย เฉพาะในเรือ่ งของการเพิม่ ประสิทธิภาพการผลิต เช่น การใช้เครือ่ งจักรทดแทนแรงงาน การส่งเสริมการบริหารจัดการภายในสวนที่ดี โดยเฉพาะเรื่องการใส่ปุ๋ยตามค่า วิเคราะห์ดินและใบ การตัดแต่งทางใบปาล์ม การเก็บเกี่ยวผลปาล์มสุกซึ่งจะให้ เปอร์เซ็นต์น้ำมันสูง การจัดการสวนปาล์มหลังเก็บเกี่ยวที่ดี และการส่งเสริมการผลิต น้ำมันปาล์มตามมาตรฐาน RSPO ซึ่งจะช่วยให้ต้นทุนในการผลิตปาล์มน้ำมันลดลง ทัง้ นี้ กระทรวงเกษตรฯ ได้ยกร่างยุทธศาสตร์ปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์ม ปี 25582569 เสร็จเรียบร้อยแล้ว และอยูร่ ะหว่างขัน้ ตอนเสนอ ครม. ซึง่ หน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้อง จะสามารถนำไปใช้เป็นกรอบและแนวทางในการพัฒนาอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมัน และน้ำมันปาล์มที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อสนับสนุนความมั่นคงด้านอาหาร และพลังงาน ลดความเหลื่อมล้ำทางด้านรายได้ และการใช้ฐานทรัพยากรการผลิต อย่างยั่งยืนได้ต่อไป ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 163
กรกฎาคม-สิงหาคม 2558
59
Market Leader รายงานการสำรวจปลาป่น ครั้งที่ 1/2558 ระหว่างวันที่ 8-12 มิถุนายน 2558 โดยสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย
รายชื่อผู้เข้าร่วมสำรวจ
1. นางนิภาพร โรจน์รุ่งเรืองกิจ 2. นางสาวอุชุกร นาคพันธ์ 3. นางสาวกันยารัตน์ สุขเสาววิมล 4. นางสาวอัญชนา ผิวเกลี้ยง 5. นายชาติวุฒิ เหลืองนทีเทพ 6. นายกิตติพงศ์ วัตรสุนทร 7. นางสาวจุฬารัตน์ บัวเหลือง 8. นางสาวสิริวิมล เพ็ชรดี 9. นาวสาวณิชกานต์ ถ้ำกลาง 10. นายอรรถพล ชินภูวดล
บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) บริษัท คาร์กิลล์ สยาม จำกัด บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) บริษัท กรุงเทพโปรดิ๊วส จำกัด (มหาชน) บริษัท กรุงไทยอาหาร จำกัด (มหาชน) บริษัท อินเทคค์ฟีด จำกัด บริษัท อินเทคค์ฟีด จำกัด บริษัท อินเทคค์ฟีด จำกัด สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย
สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย ได้ออกสำรวจวัตถุดิบปลาป่นและกากปาล์ม ครัง้ ที่ 1/2558 ด้วยการสำรวจสถานการณ์ปลาป่นทางฝั่งอ่าวไทยเป็นหลัก ประกอบด้วย ชุมพร-สุราษฎร์ธานีนครศรีธรรมราช-สงขลา โดยคณะสำรวจได้เข้าเยี่ยมชมโรงงานผลิตปลาป่นจำนวน 7 แห่ง และมีโอกาสได้เข้าเยี่ยมชมโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มด้วย 1 แห่ง สรุปภาพรวมของการออกสำรวจในครั้งนี้ การเริ่มเปิดอ่าวไทยตั้งแต่วันที่ 15 พฤษภาคม 2558 เป็นต้นมา พบว่าปริมาณปลาสดที่จับได้ในฝั่งอ่าวไทย ลดน้อยลงจากปีที่ผ่านมา สาเหตุ หลักเนื่องจากปัญหาการประมงแบบผิดกฎหมาย IUU อีกทั้งทางสหภาพยุโรปได้ประกาศให้ ประเทศไทยอยู่ในสถานะ Tier 3 ซึ่งขณะนี้อยู่ในช่วงที่ทางภาครัฐ และหน่วยงานภาคเอกชนไทย ได้ร่วมมือดำเนินการแก้ไขตามมาตรการในหลายด้าน อาทิเช่น การจดขึ้นทะเบียนเรือประมง การบันทึกรายละเอียดการเข้าออกของเรือประมง (Port in port out : PIPO) การทำบันทึก 60 กรกฎาคม-สิงหาคม 2558
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 163
แหล่งที่มาของผลผลิตปลาสด (MCPD) เป็นต้น ซึ่งมาตรการเหล่านี้ส่งผลทำให้ปริมาณเรือที่ ออกไปจับปลาลดน้อยลง ส่วนทางด้านคุณภาพปลาป่นทีผ่ ลิตได้ยงั คงเป็นไปตามคุณภาพการผลิต ของแต่ละโรงงาน ซึง่ พบว่ามีโรงงานปลาป่นได้เลิกกิจการไปบางส่วนบ้างแล้ว และยังมีบางโรงงาน สามารถปรับตัวตามความต้องการของตลาดให้เข้ากับสถานการณ์และรูปแบบธุรกิจเครือข่าย เพื่อรับวัตถุดิบมาดำเนินการต่อ จึงทำให้สามารถดำเนินธุรกิจอยู่ได้ แต่ถึงอย่างไร ภาพรวมของ ธุรกิจนี้ส่วนใหญ่แหล่งวัตถุดิบที่มีแนวโน้มถดถอยลดน้อยลงตามปริมาณปลาสดที่จับได้ในน่านน้ำ จึงทำให้โรงงานไม่สามารถจะขยายตัวเพิ่มได้นั่นเอง สำหรับทางด้านสถานการณ์ปาล์มน้ำมันที่ได้ออกสำรวจในพื้นที่เขตท่าแซะ-ชุมพร กับ ทางโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มสหกรณ์นคิ มท่าแซะ ได้คาดการณ์วา่ ปีนผี้ ลผลิตปาล์มน่าจะมีปริมาณ ลดน้อยลงกว่า 10% จากปีที่แล้ว สาเหตุจากช่วงต้นปีปริมาณฝนตกน้อย และฝนทิ้งช่วง อีกทั้ง สภาพภูมิอากาศแล้งนานกว่า 6 เดือน และผลผลิตยังพบกับสภาพอากาศหนาวที่อุณหภูมิต่ำกว่า 18 องศา จึงทำให้ดอกฝ่อ แม้จะมีผลผลิตที่ออกดอกช่อพอสุก ก็ได้ผลผลิตน้ำมันที่ลดน้อยลง มาก ซึง่ คาดการณ์วา่ ถ้าหากปีหน้ามีสภาพภูมอิ ากาศหนาวเช่นนีต้ อ่ เนือ่ งจะทำให้ได้ผลผลิตปี 2559 ลดน้อยลงไปอีก และคาดว่าต้นปาล์มน่าจะสามารถปรับสภาพต้นให้ฟื้นตัวได้ในปี 2560 ซึ่ง ในส่วนของจังหวัดสุราษฎร์ธานี และกระบี่ สถานการณ์ผลผลิตน่าจะลดลงกว่า 10% ปีนี้มีการ เก็บเกี่ยวผลผลิตออกมากสุดในช่วงเดือนเมษายน-มิถุนายน หลังจากนั้นจะลดน้อยลง และเพิ่ม อีกครั้งในช่วงปลายปี โรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม : โรงงานสหกรณ์นิคมท่าแซะ จำกัด อ.ท่าแซะ จ.ชุมพร ผู้ประสานงาน : คุณมนตรี ณ นคร รองผู้จัดการฝ่ายโรงงาน โทร.083-657-9270 คุณธวัชชัย ผู้จัดการฝ่ายขาย โทร. 081-270-9068
โรงงานสหกรณ์นิคมท่าแซะ ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2514 มีสมาชิกกว่า 3,000 ราย บนพื้นที่ เพาะปลูก 60,000 ไร่ ซึ่งโรงงานจะรับซื้อผลผลิตจากสมาชิกของสหกรณ์เท่านั้น และไม่รับซื้อ ผลปาล์มร่วง สถานการณ์ผลผลิตคาดว่าปี 2558 จะมีผลผลิตน้อยลงกว่าปี 2557 ประมาณ 10% สาเหตุมาจากช่วงต้นปีปริมาณฝนตกน้อย และฝนทิง้ ช่วง อีกทัง้ สภาพภูมอิ ากาศแล้งนานกว่า 6 เดือน และผลผลิตยังพบกับสภาพอากาศหนาวที่อุณหภูมิต่ำกว่า 18 องศา จึงทำให้ดอกฝ่อ แม้จะมีผลผลิตที่ออกดอกช่อพอสุก ก็ได้ผลผลิตน้ำมันที่ลดน้อยลงมาก ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 163
กรกฎาคม-สิงหาคม 2558
61
ในปี 2557 ผลผลิตป้อนเข้าสูโ่ รงงานประมาณ 280,000 ตัน ปัจจุบนั มีผลผลิตเข้าสูโ่ รงงาน 240,000 ตัน ผลผลิตปาล์ม 100 กก. บีบน้ำมันได้ 18 กก. (6 : 1) ด้านกำลังการผลิตอยู่ที่ 280,000 ตัน/ปี (45 ตัน/ชม.) ในช่วงที่ผลผลิตมากจะต้องใช้กำลังการผลิตถึง 1,800-2,000 ตัน/วัน จึงทำให้กำลังการผลิตไม่เพียงพอ จึงมีโครงการวางแผนจะขยายกำลังการผลิตเพิ่ม เครื่องจักรในอนาคต คาดว่ากำลังการผลิตจะได้ 90 ตัน/ชม. ปัจจุบันทางโรงงานมีการปั่นไฟฟ้า ใช้เองปัน่ ได้ 8 เมกกะวัตต์ และโรงงานไม่ได้บบี เมล็ดในปาล์ม ได้ขายออกสูต่ ลาด ราคารับซือ้ -ขาย เมล็ดในปาล์ม 12.5 บาท/กก. ราคาต่ำว่าปี 2556-57 และราคา CPO อยูท่ ่ี 27-28 บาท/กก. ด้านคุณภาพสินค้า คุณภาพของ CPOA M 0.2-0.3% ค่า FFA 5 ค่าความสดไม่ตำ่ กว่า 2 ทางโรงสกัดจัดทำระบบ ISO 2001:9008 และเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา ได้รับ ISO:14000 ซึ่งต่อไปจะเริ่มระบบ RSPO และต่อด้วยระบบ GMP เนื่องจากสหกรณ์มีสมาชิกมาก การทำ ความเข้าใจกับสมาชิกอย่างทั่วถึงจึงเป็นสิ่งสำคัญ และต้องใช้ระยะเวลาในการดำเนินการ ปัญหาอุปสรรคคือ ราคาน้ำมันดิบตลาดโลกตกต่ำทำให้ ปตท. และบางจาก งดการใช้นำ้ มัน ปาล์ม ราคารับซือ้ ผลปาล์มดิบหน้าโรงงานอยูท่ ี่ 4.4-4.7 บาท/กก. ต่ำกว่าปีทผี่ า่ นมา ในส่วนของ ภาครัฐมีนโยบายให้รบั ซือ้ ผลผลิตปาล์มน้ำมันราคา 4.20 บาท/กก. สูงกว่าเมือ่ ปี 2557 ทีใ่ ห้รบั ซือ้ ราคาอยู่ที่ 3.5 บาท/กก.
โรงงานปลาป่นภาคใต้ 1969 อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา
ผู้ประสานงาน : คุณประเสริฐ เหล่าเทพพิทักษ์ กรรมการผู้จัดการ โทร. 081-599-2288
ผลิตภัณฑ์ปลาป่น : ปลาป่น #1, ปลาป่น #2 เครื่องจักร/กำลังการผลิต : - ไลน์การผลิตจำนวน 2 ไลน์ สลับกันเดินเครื่อง - ระบบการผลิตระบบไอน้ำ (Steam dried) - ประสิทธิภาพในการผลิตได้ 20,000-30,000 ตัน(ปลาสด)/ปี - กำลังการผลิตสูงสุด 160-170 ตัน (ปลาสด)/วัน - อัตราการผลิตปลาสด 4.35 : ปลาป่น 1 กก. แหล่งวัตถุดิบ : ปลาสดฝั่งอันดามัน และอ่าวไทยจากสตูล-ปัตตานี-สงขลา-ชุมพร 62 กรกฎาคม-สิงหาคม 2558
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 163
ราคารับซื้อวัตถุดิบ : ลากคู่ 7-8 บาท/กก. อวนดำ 9-10 บาท/กก. ระบบมาตรฐาน : GMP, HACCP การตรวจวิเคราะห์ : มีห้องแล็ปวิเคราะห์โปรตีน, พร้อมส่งแล็ปนอก SGS และฟุกเทียน ปัญหาอุปสรรค : - ปลาสดลดน้อยลงกว่า 10-15% เดิมมีปลาป่นเฉลี่ยวันละ 1-2 คัน ปัจจุบนั มีเพียง 10-12 คัน/เดือนเท่านัน้ สาเหตุเกิดจากการทีเ่ รือประมง ออกจับปลาน้อยลงเนือ่ งจากขออาชญาบัตรไม่เรียบร้อย ส่วนเรือต่างชาติ ก็ไม่กล้าเข้ามาในน่านน้ำไทย เรือจอดพักที่ท่ามาเลเซียแทน - มีภาวะแย่งกันซื้อปลาสดข้ามเขตทำให้ราคาปลาสดแพงขึ้น - ในส่วนของโรงงานมีปญ ั หาเรือ่ งกลิน่ เนือ่ งจากใกล้ชมุ ชน แต่มกี ารแก้ปญ ั หา โดยรับปลาที่มีคุณภาพมากขึ้น และจัดทำรั้วรอบขอบชิดเพื่อป้องกันกลิ่น สถานะภาพอื่นๆ : - มีแรงงาน 30 คน เป็นแรงงานคนไทยทั้งหมด - ขายผ่านโบกเกอร์จึงไม่มีการทำเอกสาร MCPD เนื่องจากลูกค้ายังไม่ได้ ร้องขอ - โรงงานปลาป่นต้องปรับตัวและหันมาใช้ By Product กันมากขึน้ ความเห็นต่อประมงไทย : จะต้องใช้ระยะเวลาในการแก้ไขมาก ภาครัฐต้องบังคับให้เข้าสูร่ ะบบ ทั้งประเทศ
บริษัท ไทยเจริญอาหารสัตว์ จำกัด อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา
ผู้ประสานงาน : คุณสมชาย โชติวัฒนะพันธุ์ (ผู้จัดการโรงงาน) 081-897-4438 คุณณุภัทรณีย์ อุไรรัตน์ (ฝ่ายขาย) 093-574-3590
ก่อตั้งเมื่อ : เมื่อ 27 กรกฎาคม 2533 บนเนื้อที่ 19 ไร่ ผลิตภัณฑ์ปลาป่น : ปลาป่นเกรดหัวปลา CP 50% เครื่องจักร/กำลังการผลิต : - ไลน์การผลิตจำนวน 2 ไลน์ มีโรงผลิตเก่าและโรงใหม่ - ปัจจุบนั ใช้ระบบการผลิตระบบไอน้ำ (Steam dried) แทน Hot Oil ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 163
กรกฎาคม-สิงหาคม 2558
63
- ประสิทธิภาพในการผลิตได้ 18,000-20,000 ตัน (ปลาสด)/ปี - กำลังการผลิตสูงสุด 50-80 ตัน (ปลาสด)/วัน - อัตราการผลิตหัวปลาและอื่นๆ 2.8 : ปลาป่น 1 กก. แหล่งวัตถุดิบ : หัวปลา หนังปลา ก้างปลา เศษปลา และเครื่องในปลาที่มีเอกสารรับรอง แหล่งทีม่ าของวัตถุดบิ (Fisheries Certificate of Origin) จากผูผ้ ลิตอาหาร ทะเล บริษทั โชติวฒ ั น์ (บริษทั ในเครือเดียวกัน) จากการผลิต By Product ได้แก่ โปรตีน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของน้ำหนัก กาก ไม่มากกว่าร้อยละ 2 ของน้ำหนัก เกลือ ไม่มากกว่าร้อยละ 3 ของน้ำหนัก เถ้า ไม่มากกว่าร้อยละ 30 ของน้ำหนัก ความชื้น ไม่มากกว่าร้อยละ 10 ของน้ำหนัก *Salmonella spp ต้องไม่พบในผลิตภัณฑ์ปลาป่น *เชื้อรา ต้องไม่มากกว่า 1x105 โคโลนี/กรัมปลาป่น *เชื้อแบคทีเรีย ต้องไม่มากกว่า 8x106 โคโลนี/กรัมปลาป่น ราคารับซื้อวัตถุดิบ : ระบบมาตรฐาน : GMP, HACCP การตรวจวิเคราะห์ : ไม่มหี อ้ งแล็ป แต่มหี อ้ งตรวจเช็คค่าความชืน้ , ส่งห้องแล็ปนอก SGS ปัญหาอุปสรรค : - วัตถุดบิ ลดลงกว่าปีทผี่ า่ นมา เนือ่ งจากอุตสาหกรรมปลาทูนา่ ราคาไม่คอ่ ยดี ทำให้ต้องลดการผลิต เนื่องจาก Order ส่งออกลดน้อยลง - มีปัญหาเรื่องกลิ่นปลาต่อชุมชน แต่มีการติดตั้งเครื่องกำจัดกลิ่นแล้ว สถานะภาพอื่นๆ : - มีแรงงาน 70 คน ใช้แรงงานคนไทยทั้งหมด - มีการใช้สารเคมีคลุกตามความต้องการของลูกค้า
บริษัท แป๊ะแช จำกัด ต.น้ำน้อย อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา
ผู้ประสานงาน : คุณสุนีย์ (ผู้จัดการโรงงาน) 081-897-6725
ผลิตภัณฑ์ปลาป่น : ปลาป่น # 2 CP 54-58% TVBN 100-180 M 10% Fat 10-12% น้ำมันปลาจากเศษซูริมิ FFA 6-9 64 กรกฎาคม-สิงหาคม 2558
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 163
เครื่องจักร/กำลังการผลิต : - ไลน์การผลิตจำนวน 2 ไลน์ สลับกันผลิต มีช่องแยกผลผลิต ไส้ปลา - ระบบการผลิตระบบไอน้ำ (Steam dried) - กำลังการผลิตสูงสุด 100 ตัน (ปลาสด)/วัน ช่วงนีเ้ ดินเครือ่ ง 50% - ปริมาณปลาเข้าโรงงาน 40-50 ตัน/วัน - อัตราการผลิตปลาสด 4 : ปลาป่น 1 กก. แหล่งวัตถุดิบ : ผลิตภัณฑ์ By product แช่แข็งจากบริษัทในเครือ ขณะสำรวจมีปลาจาก สิงคโปร์สง่ เข้ามาในไลน์ผลิตพอดี และผลผลิตจะมากในช่วงเดือน ก.ย.-พ.ย. ของทุกปี ราคารับซื้อวัตถุดิบ : 4-5.5 บาท/กก. ระบบมาตรฐาน : GMP, HACCP การตรวจวิเคราะห์ : ตรวจสอบเบื้องต้นทางกายภาพ, พร้อมส่งห้องแล็ปนอก ฟุกเทียน ปัญหาอุปสรรค : - ปลาน้อยลงประมาณ 10% เนือ่ งจากเรือออกไปจับปลาทีอ่ นิ โดนีเซียไม่ได้ ประกอบกับญี่ปุ่นมีปัญหาทำให้ซูริมิราคาตก วัตถุดิบหายาก มีการ แข่งขันสูง - แรงงานหายาก ไม่มีโรงเรียนสอนแรงงาน สถานะภาพอื่นๆ : - มีแรงงาน 79 คน เป็นต่างด้าว 8 คน นอกนั้นเป็นแรงงานคนไทย - โรงงานมีมาตรการเก็บถุงมือให้ชิ้นละ 20 บาทเพื่อลดเศษปลอมปน ในวัตถุดิบ - มีการทำบันทึกรับเข้าวัตถุดิบ และจัดทำเอกสาร MCPD - บริษัทยังไม่ได้มีแผนปรับปรุงพัฒนาอะไรในระยะสั้นนี้ ความเห็นต่อประมงไทย : EU ให้ใบเหลืองไทย ทำให้มีหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง 7-8 หน่วยงานเข้ามาเข้มงวด และถือว่าเป็นโอกาสของประเทศไทยที่จะ พัฒนาระบบการประมง อนาคตโรงงานปลาป่นที่ไม่มีโรงงานใน เครือซัพพอตวัตถุดิบจะดำรงอยู่ได้ยาก
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 163
กรกฎาคม-สิงหาคม 2558
65
บริษัท สงขลามารีนโปรดักส์ จำกัด ต.น้ำน้อย อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา
ผู้ประสานงาน : คุณมาลี จริยวัฒนานนท์ (รองกรรมการผู้จัดการ) 081-609-4734
ผลิตภัณฑ์ปลาป่น : ปลาป่น #2 CP 53-58% TVBN 130-180 M 10% Fat 15% เครื่องจักร/กำลังการผลิต : - ไลน์การผลิตจำนวน 2 ไลน์ (ขณะสำรวจยังไม่ได้เดินเครื่อง) - ระบบการผลิตระบบไอน้ำ (Steam dried) - กำลังการผลิตสูงสุด 150 ตัน/วัน - ประสิทธิภาพในการผลิตได้ 6 ตัน/ชม. (ปลาสด 4 ตัน/ชม. (หัวปลา) - อัตราการผลิต 4 : 1 เศษปลา/หัวปลา 5 : 1 แหล่งวัตถุดิบ : ปลาสดจากสงขลา-สตูล-ปัตตานี และหัวปลาจากโรงงานปลากระป๋องปัตตานี ปกติผลผลิตจะมีมากในช่วงเดือน ต.ค.-ธ.ค. (ฤดูกาลของอินโดนีเซีย) ราคารับซื้อวัตถุดิบ : ระบบมาตรฐาน : GMP ปัญหาอุปสรรค : - ปลาสดลดน้อยลงในช่วงต้นเดือน มิ.ย. เป็นต้นมา ซึ่งก่อนหน้าปลาสด จะได้จากทางอินโดนีเซีย, มาเลเซียซึ่งหายไปกว่า 50% สาเหตุจากการ ประกาศห้ามจับปลาโรงงานหยุดเดินเครื่องจักรมา 2 วัน สถานะภาพอื่นๆ : - มีแรงงาน 50 คน เป็นคนไทยทั้งหมด - โรงงานมีมาตรการเก็บถุงมือให้ชิ้นละ 20 บาทเพื่อลดเศษปลอมปนใน วัตถุดิบ - มีการทำบันทึกรับเข้าวัตถุดิบ มีการทำเอกสาร MCPD ความเห็นต่อประมงไทย : - IUU ให้ใบเหลือง ทำให้ปริมาณปลาน้อยลงเนื่องจากเรือจะต้อง กลับมาต่ออาชญาบัตร ในพื้นที่สงขลามีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่มี ส่วนดำเนินการในเรื่องนี้ ประกอบด้วย กองทัพเรือ ศูนย์แรงงาน ต่างด้าว กรมเจ้าท่า ตำรวจน้ำ กรมสวัสดิการและคุม้ ครองแรงงาน และ ด่านตรวจคนเข้าเมือง - การทำเอกสาร MCPD ยังไม่สมบูรณ์ เรือประมงยังไม่ให้ความ สำคัญหากโรงงานมีการร้องขอเอกสารก็จะหนีไปขายให้กบั โรงงาน อื่นที่ไม่ได้เรียกขอเอกสาร - ขณะนีย้ งั ไม่มกี ารบังคับใช้เรือ่ งขนาดของตาอวน หากบังคับใช้เมือ่ ไร ราคาวัตถุดิบจะแพงขึ้นแน่นอน 66 กรกฎาคม-สิงหาคม 2558
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 163
More pellets - More quality
The solution for hard running feeds
��
�� tonnes �.���
�� ��
��
:��
:�� ��
:�� ��
:�� ��
:�� ��
:�� ��
:�� ��
:�� ��
�
:��
�
��
ĕĄúċĉÚĊóăĒîüðĎĝĆĊíĕúĜíûċÚ
��
�
ãĻĀûĘĄļõþčîęíļîĻĆĕòĐĝĆà
�� tonnes �� pellet binder
�� tonnes of control
�:�
ĕ÷čĝúÚĢċþĊàÚċüõþčî
Tonnes per hour
��
Time
Nature's best binder ��
��.�
��
��.�
��
��.�
��
��.�
��
��.�
�
��.�
�
Control
�� LignoBond DD
Pellet durability ���
High performance natural pellet binder Capacity �T�h� or Energy input �kWh�T�
£¬¼ª ¼ĥ¯¡¼¦ ª¯û·§¯¾ ¼¯³¾ ¼ ¼¯
ăċüãĻĀûĕ÷čĝúÚĢċþĊàÚċüõþčî ĖþĉôüĊóôüđàÝđìùċ÷ĕúĜíĆċĄċü
ãĻĀûþíöđĶòĆċĄċü ĕúĜíĆċĄċüúĎÝĀċúÝàðò õþčîíļĀûĀĊîïđíčóñüüúãċîč
��.� FPQF
ðĻ ċ òăċúċüïÝĢ ċ òĀìÝĻ ċ )34) )HHG 3HOOHW 4XDOLW\ )DFWRU ÛĆàăĒ î üĆċĄċüęíļ í ļ Ā ûîòĕĆà õĻ ċ òðċà ZZZ ISTIFDOFXODWRU FRP ĄüĐ Ć îč í îĻ Ć ăĆóïċúÛļ Ć úĒ þ ĕ÷čĝ ú ĕîč ú îċúüċûþĉĕĆĎ û ííļ ċ òþĻ ċ à §¯¾´»¤ DZ§ ·¾¦Æĥ·¯þ ĨĬ¼ »Ĥ ĭÃú Ų ª¯º¯¼ ĥ ¦¼È · ÆÁ· µÂ¤¯µ¼ ¯ Ĩ µÂ¤¯µ¼ ¯ Ȥ¯Ű»ª¤þ $WS Ç« þ 6DARHSD VVV HMSDPBFQNTO BNL $ L@HK SDBGCDO HMSDPB BNL
บริษัท เชวงวัฒนาปลาป่น โฮลดิ้ง จำกัด ต.ปากนคร อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช ผู้ประสานงาน : คุณนิธินันท์ ลีลาพรรณวุฒิ (กรรมการผู้จัดการ) 081-555-1917 คุณนพพร พานิช (ผู้จัดการโรงงาน) 081-897-8171
ผลิตภัณฑ์ปลาป่น : ปลาป่นเกรดกุ้ง CP 65% และเบอร์ 1 CP 60% TVBN 120-130 จากเดิมการสำรวจเมื่อปี 2556 โรงงานผลิตปลาเบอร์ 2 และ 3 เครื่องจักร/กำลังการผลิต : - ไลน์การผลิต 2 ไลน์ (หม้อจำนวน 4 ลูก) กำลังการผลิตสูงสุด 180 ตัน/วัน - ระบบการผลิตระบบไอน้ำ (Steam dried) - อัตราการผลิตปลาสด 3.7-3.8 : ปลาป่น 1 กก. แหล่งวัตถุดิบ : ปลาอวนดำ อวนลาก จากขนอม สตูล ซึ่งปลาสดเข้าโรงงานวันละ 30 40 ตัน ราคารับซื้อวัตถุดิบ : ปลาสด 9 บาท/กก. ปลาทูแขกหลังเขียว ปลาหัวฟู ปลาจิ้งจั้ง ระบบมาตรฐาน : GMP, HACCP การตรวจวิเคราะห์ : ไม่มีห้องแล็ป, ส่งห้องแล็ปนอก จารามิตร ปัญหาอุปสรรค : - ปลาน้อยลง เนื่องจากหน่วยงานราชการเอาจริงในการขึ้นทะเบียน เรือ แต่สภาพความเป็นจริงยังมีปัญหาเรือมาเลเซียที่สวมทะเบียนไทย และมีการดัดแปลงตัวเรือได้รับการขึ้นทะเบียนไปแล้ว ฉะนั้นอาจจะต้อง ใช้แนวทางนิรโทษกรรมให้กับเรือเหล่านี้แล้วเริ่มต้นระบบใหม่ - โบรกเกอร์ไม่ตอ้ งการเอกสาร MCPD ทำให้มจี ดุ รัว่ ไหล โรงงานจึงจำเป็น ต้องรับปลาจากเรือที่ไม่มี MCPD อยู่ แต่ในราคาที่ต่ำลงมา - กระบวนการทำเอกสาร MCPD ล่าช้า เนื่องจากบุคลากรของหน่วยงาน ราชการที่รับผิดชอบมีน้อยมาก อีกทั้งพวกเรือประมงไม่มีความรู้และ ไม่ถนัดในการทำเอกสาร ทำให้กรอกผิดต้องมาแก้ไขใหม่ เมื่อเอกสาร มีปัญหาทำให้โหลดของได้ช้าตามไปด้วย - โรงงานปลาป่นปิดตัวไปจำนวนมาก ในบริเวณนี้เหลือเพียง 2 โรง เท่านั้น
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 163
กรกฎาคม-สิงหาคม 2558
67
สถานะภาพอื่นๆ : - มีแรงงาน 46 คน เป็นต่างด้าว 20 คน นอกนั้นเป็นแรงงานไทย - มีการทำบันทึกรับเข้าวัตถุดิบ มีการทำเอกสาร MCPD - โรงงานมีการหาตลาดต่างประเทศ จีน ไต้หวัน ญี่ปุ่น สำรองด้วย ความเห็นต่อประมงไทย : - ควรบังคับใช้ MCPD ให้ได้ทั้งระบบเพื่อไม่ให้เกิดการรั่วไหลของ สินค้า เรื่องนี้เป็นปัญหามานานกว่า 30 ปี จึงจะต้องให้ระยะ เวลาในการปรับตัวแก้ไขกันไป
หจก. โรงปลาป่นสยาม ต.ปากน้ำ อ.เมือง จ.ชุมพร
ผู้ประสานงาน : คุณจิรา ประกฤติภูมิ (กรรมการผู้จัดการ) 085-985-4444 คุณภรันยู ประกฤติภูมิ (ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ) 081-842-9222
ก่อตั้งเมื่อ : เมื่อ พ.ศ. 2542 ผลิตภัณฑ์ปลาป่น : ปลาป่นเกรดกุ้ง CP 65% เครื่องจักร/กำลังการผลิต : - ไลน์การผลิต 2 ไลน์ (8 หม้อ/ไลน์) เดินสลับกัน - ระบบการผลิตระบบไอน้ำ (Steam dried) - กำลังการผลิตสูงสุด 100 ตัน/วัน - ปลาสดเข้าโรงงานวันละ 1.5 คันรถ ประมาณ 25 ตัน - อัตราการผลิตปลาสด 4 : ปลาป่น 1 กก. แหล่งวัตถุดิบ : ปลาอวนดำ อวนลาก รับปลาจากอ่าวไทยทั้งหมด ราคารับซื้อวัตถุดิบ : ปลาสด 7 บาท/กก. (ปลาจิ้งจั้ง ปลาทู ปลาเป็ด ปลาไก่) ระบบมาตรฐาน : GMP, รอดำเนินการทำ HACCP การตรวจวิเคราะห์ : ไม่มีห้องแล็ป, ส่งห้องแล็ปนอก SGS ปัญหาอุปสรรค : - มีการซ่อมแซมเครื่องจักรทำให้เพิ่มต้นทุน เสียค่าใช้จ่ายมาก สถานะภาพอื่นๆ : - มีแรงงาน 24 คน เป็นต่างด้าว 15 คน นอกนั้นแรงงานไทย - มีการทำบันทึกรับเข้าวัตถุดิบ มีการทำเอกสาร MCPD - โรงงานมีโรงงานน้ำแข็งของตนเอง พร้อมมีท่าแพเรือ จึงทำให้มีเรือ เข้ามามากเนื่องจากสามารถนำปลาสดเพื่อมาขายปลาสดและคัดแยก พร้อมทั้งสามารถบรรทุกน้ำแข็งออกไปได้ 68 กรกฎาคม-สิงหาคม 2558
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 163
ความเห็นต่อประมงไทย : - ทีโ่ รงงานรับผลผลิตจากเรือประมงทีท่ ำถูกต้องตามกฎหมายอยูแ่ ล้ว จึงไม่มปี ญ ั หาอะไร แต่เห็นด้วยทีจ่ ะต้องบังคับใช้กฎหมาย โดยอาจ จะเริ่มจากการทำเอกสารเข้า-ออกก่อน - อนาคต EU อาจจะงดเนื้อสัตว์ส่งออกไล่ไปจนอาหารสัตว์และ มาถึงปลาป่นได้
บริษัท สินอุดมอุตสาหกรรม จำกัด ต.ปากนคร อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช ผู้ประสานงาน : คุณวรรณภัสสรณ์ (ผู้จัดการโรงงาน) 081-569-4920
ผลิตภัณฑ์ปลาป่น : ปลาป่น #2 CP60% , ปลาป่น #3 CP 50-53% เครื่องจักร/กำลังการผลิต : - ไลน์การผลิตจำนวน 1 ไลน์ (หม้อ 9 ลูก) - ระบบการผลิตระบบไอน้ำ (Steam dried) - กำลังการผลิตสูงสุด 35 ตัน(ปลาสด)/วัน - อัตราการผลิต 4.3 : 1 แหล่งวัตถุดิบ : อวนลุน อวนลากคู่ อวนจาก จากท่าศาลา ท่าม่วง ขนอม ในจังหวัด ราคารับซื้อวัตถุดิบ : ปลาสด 2.6 บาท/กก. ระบบมาตรฐาน : GMP, HACCP การตรวจวิเคราะห์ : ไม่มีห้องแล็บ, ส่งห้องแล็ปนอก เอ็กซ์ต้าร์แล็บ สถานะภาพอื่นๆ : - มีแรงงานคนไทยทั้งหมด 23 คน - ปีที่แล้วเริ่มมีการทำบันทึกรับเข้าวัตถุดิบ MCPD และยังทำต่อเนื่อง จนปัจจุบัน
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 163
กรกฎาคม-สิงหาคม 2558
69
Around the World
การดำเนินงานของภาครัฐ ในการแก้ ไขปัญหา การทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (IUU Fishing)
Seminar on Fishing for the Future: Towards Responsible & Sustainable Fisheries in Thailand
7 กรกฎาคม 2558 โดย ดร. วราภรณ์ พรหมพจน์ รองอธิบดีกรมประมง Department of Fisheries, Ministry of Agriculture and Cooperatives
1 2 3
โครงสร้างกลไกของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาการทําประมง IUU
4
โครงสร้างกลไกของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาการทําประมง IUU หลังได้รบั ใบเหลือง
5
ผลการตรวจประเมินของคณะเจ้าหน้าที�จาก DG MARE
6
ผลการดําเนิ นงานแก้ไขปัญหา IUU ของหน่ วยงานภาครัฐ ในช่วง พ.ค. – มิ.ย. 58
7
แผนดําเนิ นงานแก้ไขปัญหา IUU ในระยะ 5 เดือน (พ.ค. - ก.ย. 58)
Roadmap แก้ไขการทําประมง IUU ของประเทศไทย
European Commission’s Decision (การให้ใบเหลืองแก่ประเทศไทย)
2
คณะกรรมการนโยบายแก้ไขปัญหาการค้ามนุ ษย์และการทําประมงผิดกฎหมาย (7 ม.ค. 58) คณะอนุ กรรมการแก้ไขปัญหาการทําประมงผิดกฎหมาย (ประธาน/รมว.กษ.) กรมทรัพยากร ทางทะเลและชายฝัง� กองวิจยั และ พัฒนาประมง ทะเล ศึกษาวิจยั ทรัพยากร ประมงทะเล เครื�องมือประมง เรือประมง
กองทัพเรือ กองวิจยั และ พัฒนาประมง ชายฝัง�
กองกฎหมาย
กฎหมายและ ประกาศ ข้อบังคับ ศึกษาวิจยั ทรัพยากร กฎหมายระหว่าง ประมงชายฝัง� ประเทศ
กรมประมง (เลขานุ การ) กองบริหารจัดการ ด้านการประมง การจัดการทรัพยากร ประมง ใบอนุ ญาตทําการประมง การบังคับใช้กฎหมาย การตรวจสินค้าประมง ส่งออก/นํ าเข้า
กรมเจ้าท่า กองตรวจสอบ คุณภาพสินค้า ประมง ใบรับรองการจับสัตว์น�ํ า ใบรับรองสุขอนามัย เอกสารรับรองเพือ� การ ส่งออก
หน่ วยอืน� ๆ
กองประมง ต่างประเทศ การประสานกับ ต่างประเทศ (EU) การประมงนอกน่ านนํ� า ความร่วมมือระหว่าง ประเทศ การวิเคราะห์การค้า สินค้าประมง
สํานักงานประมง จังหวัด ใน 22 จังหวัดชายฝัง� หน่ วยงานรับผิดชอบ การบังคับใช้ กฎหมายในระดับ พื�นที� การควบคุมเฝ้ าระวัง ในระดับจังหวัด 3
70 กรกฎาคม-สิงหาคม 2558
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 163
2. คณะกรรมการนโยบายแก้ไขปัญหาการค้ามนุ ษย์และการทําประมงผิดกฎหมาย ได้มีมติรบั รอง “Roadmap แก้ไขการทําประมง IUU ของประเทศไทย” จัดทําโดยกรมประมง ประกอบด้วย 6 กิจกรรมหลัก กําหนดระยะเวลาแล้วเสร็จ ภายใน ก.ย. 58 ดังนี� I (Illegal)
2. การออก กฎหมายประมง และกฎหมาย ลําดับรอง
1. การจดทะเบียนเรือ และการออก ใบอนุ ญาตทําการ ประมง U (Unregulated)
3. การทําแผน ระดับชาติ ในการขจัด ประมง IUU (NPOA-IUU)
U (Unreported)
4. การตรวจติดตาม ควบคุม เฝ้ าระวัง (MCS) 5. ระบบติดตามเรือ (VMS)
6. การปรับปรุงระบบ ตรวจสอบย้อนกลับ 4
ผลดําเนิ นการตาม Roadmap ในการแก้ไขปัญหาการทําประมง IUU (ม.ค. – เม.ย. 58) ก่อนการได้รบั ใบเหลือง
1. กฎหมาย
2. จดทะเบียน
3. NPOA-IUU
4. MCS
5. VMS
6. Traceability
กรมประมง
กรมประมง กรมเจ้าท่า กรมการปกครอง
กรมประมง
กรมประมง
กรมประมง
จัด หน่ วยบริ ก าร เ ค ลื� อ น ที� 1 1 2 ห น่ ว ย ใ น 2 2 จัง หวัด ชายทะเล เพื�อ เร่ง รัด การจด ทะเบี ย นเรื อ และ ออกอาชญาบัตร
1. จัดทํา NPOAIUU โดยแก้ไข ร่างฉบับที� 3 2. กําหนด มาตรการใน ฐานะที�ไทยเป็ น - Flag State - Coastal State - Port State - Market State
กรมประมง กองทัพเรือ กรมเจ้า ท่า ตํารวจนํ� า และ กระทรวงแรงงาน 1. จัดตัง� ศูนย์ ติดตามเฝ้ าระวัง การทําประมง (MCS) 18 แห่ง 2. จัดตัง� ศูนย์แจ้ง เรือเข้า-ออกท่า (PI-PO) 28 แห่ง 3. ตรวจลาดตระเวน เฝ้ าระวังการทํา ประมงผิด กฎหมายใน น่ านนํ� าไทย
1. จัดตัง� ศูนย์ ควบคุม VMS 18 แห่ง ติดตาม ตําแหน่ งเรือ 2. ออกข้อ กําหนดให้ เรือประมง ขนาด ≥ 60 GT ติดตัง� VMS
ปรับปรุงระบบการ ตรวจสอบ ย้อ นกลับ สํ า หรับ สัตว์น�ํ านํ าเข้า และ สั ต ว์ นํ� า ที� จั บ ภายในประเทศ - Logbook - ใบรับรองการ
1. จัดทํา พ.ร.บ. การประมง 2558 ซึ�งมีจะ ผลบังคับใช้ ที� 26 มิ.ย. 58 2. ร่ า ง ก ฎ ห ม า ย ลํ า ดั บ ร อ ง ภายใต้ พ.รบ. การประมง 2558 ด้าน IUU 12 ฉบับ
ม.ค.
ก.พ.
จับสัตว์น�ํ า (Catch Cert.) - ใบกํากับการขนถ่าย สัตว์น�ํ า (MCTD) - ใบกํากับการซื�อขาย สัตว์น�ํ า (MCPD) - Processing Statement
มี.ค.
5 เม.ย.
5
แผนภาพแสดงตําแหน่ งที�ตง�ั ของ ศูนย์ VMS/MCS/PIPO
18 VMS Operation Centers 18 MCS Centers 28 Port-in Port- out centers
• ศูนย์ตดิ ตามตําแหน่ งเรือประมง(VMS Operation Centers) 18 ศูนย์ • ศูนย์ตดิ ตามเฝ้ าระวังการทําประมง (MCS centers) 18 ศูนย์ • ศูนย์ควบคุมการแจ้งเข้า-ออก เรือประมง (Port-in Port- out centers) 28 ศูนย์
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 163
กรกฎาคม-สิงหาคม 2558
71
Development of Integrated Database for Fishing Vessels ’ Inspection http://www.fisheries.go.th/fishinginfo
Employer data Name ID Address
Xxxxxx xxxxxxx xxxxxxxxxx
FVs & Fishing operation data
Labour data FVs & Fishing operation data 1234567xx
Fishing Vessel Registration
Xxxxxx xxxxxxx
Xxxxxx xxxxxxx 123456789xxxx 123456789xxx
Fishing License Data
7
Development of Integrated Database for Fishing Vessels ’ Inspection Labour data
Port in – Port out Date Port Departure Date
Port departure date
Port Arrival Date
Port arrival date
Catch (ton)
Migrant Worker ID xxxxx xxxxx xxxxx xxxxx xxxxx xxxxx xxxxx xxxxx xxxxx xxxxx xxxxx xxxxx xxxxx xxxxx xxxxx xxxxx xxxxx xxxxx xxxxx xxxxx xxxxx
Name
8
Fishing Vessels inspection
72 กรกฎาคม-สิงหาคม 2558
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 163
3. European Commission’s Decision
เมื�อวันที� 21 เมษายน 2558
21 April, 2015 12.00 AM Brussels, Belgium
• EU ได้ประกาศให้ใบเหลือง แก่ประเทศไทย ซึ�งหมายถึงประเทศไทยมีความ เป็ นไปได้ท�จี ะถูก EU กําหนดให้เป็ น ประเทศที�ไม่ให้ความร่วมมือตาม กฎระเบียบด้าน IUU • ประเทศไทยมีระยะเวลา ในการแก้ไขสถานการณ์ 6 เดือน (พ.ค. – ต.ค. 58) • และจะจัดส่งคณะเจ้าหน้าที� จาก DG MARE มาเก็บข้อมูล และตรวจประเมินอีกครัง�
10
นายกรัฐมนตรี (28 เม.ย. 58) คณะอนุ กรรมการแก้ไขปัญหา การทําประมงผิดกฎหมาย (ประธาน/รมว.กษ.)
กองทัพเรือ การเฝ้ าระวัง ศรชล. ศูนย์ PIPO การสนับสนุ นทางเทคนิ ค เกีย� วกับ VMS
ศูนย์บญั ชาการแก้ไขปัญหา การทําประมงผิดกฎหมาย (ศปมผ.) (ประธาน/ผบ.ทร.) กรมประมง
นโยบาย กฎหมาย ประชาสัมพันธ์ ศรชล.
กรมเจ้าท่า
พระราชบัญญัตเิ รือไทย พระราชบัญญัตกิ ารประมง ควบคุมใบอนุ ญาตใช้เรือ/ การให้สตั ยาบันของรัฐ ใบประกาศนี ยบัตร/ ความปลอดภัย ต่อนานาชาติ การเฝ้ าระวัง ข้อตกลงทางการประมง การบริหารจัดการทรัพยากรประมง NPOA-IUU การควบคุมการออกใบอนุ ญาตทําการประมง MCS FMC/VMS/PIPO การตรวจสอบย้อนกลับ การตรวจสอบสัตว์น�ํ าขึ�นท่า การตรวจสอบสัตว์น�ํ านํ าเข้า การตรวจสอบโรงงานแปรรูปสัตว์น�ํ า
หน่ วยงานอืน� ๆ กระทรวงการต่างประเทศ (ความ ตกลงระหว่างประเทศ, การสื�อสารกับ ต่างประเทศ/คู่คา้ )
กระทรวงพาณิ ชย์
(การสื�อสารกับประเทศคูค่ า้ )
กรมศุลกากร
(การตรวจสอบที�ทา่ )
กระทรวงแรงงาน
(ขึ�นทะเบียนแรงงานประมง)
กระทรวงมหาดไทย
(ขึ�นทะเบียนแรงงานประมง)
กระทรวงอืน� ๆ
สมุดบันทึกการทําประมง (Logbook), ใบรับรองการขนถ่ายสัตว์น�ํ า (MCTD), ใบรับรองการซื�อขายสัตว์น�ํ า (MCPD) ใบรับรองการจับสัตว์น�ํ า (Catch Certificate) และ Processing Statements 11
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 163
กรกฎาคม-สิงหาคม 2558
73
(1)
(1)
คณะเจ้าหน้าที�ดา้ นการตรวจประเมิน (Evaluation Mission)
(2)
คณะเจ้าหน้าที�เจรจาเชิงนโยบาย (Dialogue Mission)
การหารือกับคณะเจ้าหน้าที�ดา้ นการตรวจประเมิน (Evaluation Mission)
12
180 คําถาม เกี�ยวกับ : 1. กฎหมายประมง 2. การบริหารจัดการ ทรัพยากรประมง 3. NPOA-IUU 4. MCS และ VMS 5. Traceability 6. ความร่วมมือกับ ประเทศต่างๆ 13
(2)
การหารือกับคณะเจ้าหน้าที�เจรจาเชิงนโยบาย (Dialogue Mission)
สรุปข้อสังเกต 6 ประเด็น 1. กฎหมายประมง 3. NPOA-IUU 5. Traceability / Catch Certification
2. Fisheries Management Policy 4. MCS (VMS/Patrol/PIPO) 6. [ปัญหาแรงงานและการค้ามนุ ษย์ในภาคประมง] 14
74 กรกฎาคม-สิงหาคม 2558
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 163
กรอบเวลา (พ.ศ. 2558)
ประเด็น
มิ.ย.
1. ด้านกฎหมาย
ร่าง พรบ. ประมง 2558 ฉบับแก้ไข เสนอ สนช.
2. Fisheries Management Policy 3. ปรับปรุง NPOA-IUU 4. MCS / VMS
ก.ค.
ส.ค.
หน่ วยงานรับผิดชอบ
ก.ย.
กรมประมง ศปมผ. สํานักงานกฤษฎีกา
มิ.ย. 58
ก.ย. 58 มิ.ย. 58
กรมประมง ศปมผ. กรมเจ้าท่า ส.ค. 58
กรมประมง ศปมผ. กรมประมง ศปมผ.
ส.ค. 58
จัดทํา National Inspection Plan ดําเนิ นการตาม National Inspection Plan
ก.ย. 58
5. Traceability / Catch Certification
เริ�มดําเนิ นการทันที เริ�มจัดทํามาตรการตาม TiP Action 6. ปัญหาแรงงานและการค้ามนุ ษย์ และรายงานผลในการแก้ไข ในภาคประมง (เกี�ยวพันกับปัญหา IUU) ปัญPlan หาอย่างเป็ นรูปธรรมในภาคประมง
1. ด้านกฎหมาย • พ.ร.บ. การประมง 2558 ฉบับแก้ไข • ประกาศ ศปมผ. 10 ฉบับ
2. ด้านนโยบาย บริหารจัดการ ประมงทะเล • สํารวจเรือ • หารือประมง พื�นบ้าน • นโยบายฯ 2558 - 2561
3. ด้านตรวจ ติดตาม ควบคุม และเฝ้ าระวัง • บูรณาการ ตรวจประมง ร่วม • แจ้ง PI-PO • ติด VMS
กรมประมง ศปมผ. กระทรวงแรงงาน กรมประมง กรมเจ้าท่า DSI กระทรวงพัฒนา สังคมและความมัน� คงของมนุ ษย์
4. ด้านการ ปรับปรุงระบบ การตรวจสอบ ย้อนกลับ
• เพิม� บุคลากร เครื�องมือใน การตรวจสอบ ย้อนกลับ • จัดทําคู่มือ ปฏิบตั ิงาน
22 พ.ค.
15
5. ด้านความ ร่วมมือกับ ประเทศต่างๆ • ปาปัวนิ วกินี • ฟิ จิ • ฟิ ลิปปิ นส์ • เกาหลีใต้ • ไต้หวัน • จีน มิ.ย. 58 16
1. ความคืบหน้าด้านการแก้ไขกฎหมายประมง ในช่วง พ.ค. – มิ.ย. 58 พระราชบัญญัตกิ ารประมง พ.ศ. 2558 :
- ลงประกาศในพระราชกิจจานุ เบกษาแล้ว - มีผลบังคับใช้ ตัง� แต่วนั ที� 26 มิถนุ ายน 2558 เป็ นต้นไป ขณะนี� พ.ร.บ. การประมง พ.ศ. 2558 กําลังอยู่ระหว่างการแก้ไขเพิ�ม เติม เพื�อให้มีเนื� อหาครอบคลุมการป้ องกันการทําประมงผิดกฎหมาย (IUU) มาก ยิ�งขึ�น และเป็ นการแก้ไขในรูปแบบ พ.ร.บ. ฉบับเดียว (Single Act) ศปมผ. ได้ออก ประกาศ ศปมผ. จํานวน 10 ฉบับ เพื�อให้การดําเนิ นการ แก้ไขปัญหาการประมง IUU สามารถปฏิบตั ิงาน ได้ระหว่างการรอ พ.ร.บ. การประมงมีผลบังคับใช้ 17
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 163
กรกฎาคม-สิงหาคม 2558
75
2. ความคื 2. ความคื บหน้าบด้หน้ านการจั าด้านการจั ดทํานโยบายบริ ดทํานโยบายบริ หารจัดการประมงทะเล หารจัดการประมงทะเล (Marine (Marine Fisheries Fisheries Management Management Policy)Policy) ในช่วง พ.ค. ในช่–วงมิ.พ.ค. ย. 58 – มิ.ย. 58 กรมประมงได้ กรมประมงได้ จดั ทําโครงร่ จดั ทําาโครงร่ งนโยบายฯ างนโยบายฯ เสนอในการประชุ เสนอในการประชุ ม ศปมผ. ครั ม ง� ศปมผ. ที� 4/2558ครัง� ที� 4/2558 ครัง� ทีครั � 5/2558 ง� ที� 5/2558 และครัและครั ง� ที� 7/2558 ง� ที� 7/2558 รวมทัง� ในการประชุ รวมทัง� ในการประชุ มคณะอนุ กมรรมการแก้ คณะอนุ กไรรมการแก้ ขปัญหาการทํไขปั า ญหาการทํา ประมงผิ ประมงผิ ดกฎหมาย ดกฎหมาย ครัง� ที� 4/2558 ครัง� ที� 4/2558 (ประธาน/รองนายกรั (ประธาน/รองนายกรั ฐมนตรี: พล.อ.ประวิ ฐมนตรี: ตพล.อ.ประวิ ร วงษ์สุวรรณ) ตร วงษ์สุวรรณ) � นทีน�สาํลงพื ศรชล.ศรชล. กรมประมง กรมประมง และกรมเจ้ และกรมเจ้ าท่า ร่วมกั าท่นาลงพื ร่วมกั รวจเรื� นอทีประมง �สาํ รวจเรือประมง ในทุกในทุ ตําบลของ กตําบลของ 22 จัง22หวัดชายทะเล จังหวัดชายทะเล ระหว่าง 12 ระหว่– าง2612 มิ.–ย. 5826 ตามมติ มิ.ย. 58 ของ ศปมผ. ตามมติของ ศปมผ. เพื�อให้ เพืท�อราบข้ ให้ทอราบข้ มูลจําอนวนเรื มูลจําอนวนเรื ประมงทีอประมงที �แท้จริง และนํ �แท้จาริมากํ ง และนํ าหนดนโยบายฯ ามากําหนดนโยบายฯ ต่อไป ต่อไป
18 18 สรุปผลการวิเคราะห์ MSY และการลงแรงประมงในน่ านนํ� าไทย
อันดามัน
อ่าวไทย
สัตว์น�ํ าหน้าดิน
สัตว์น�ํ าหน้าดิน เกิน 36.48 %
เกิน 3.61 % 27.01
ปลากะตัก
42.61
ปลากะตัก สมดุล
สมดุล
ปลาผิวนํ� า
ปลาผิวนํ� า ปลาผิวนํ� า เกิน 14.70 %
เกิน 31.55 %
6
นโยบาย ๓ ข้อ ในการบริหารจัดการ ประมงทะเลของไทย
ควบคุม การใช้ประโยชน์จาก ทรัพยากรด้านการประมง อย่างมีความสมดุลและมีความ รับผิดชอบ
บริหารจัดการ การประมงของไทยให้สอดคล้อง กับหลักการบริหารจัดการองค์กรที�ดีและ มีความเป็ นสากล - กฎหมาย - บทลงโทษและ การลงโทษ - การจัดทํามาตรฐานของ ไทยในฐานะ รัฐเจ้าของท่าเรือ
76 กรกฎาคม-สิงหาคม 2558
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 163
ผลประโยชน์ ของชาติ ทางทะเล
ปรับปรุงการออกใบอนุ ญาต จัดการกองเรือประมงนอกน่ านนํ� า และเรือขนถ่ายสัตว์น�ํ า พัฒนางานวิจยั
Fleet Policy - บริหารจัดการการลงแรงประมง - จํากัดจํานวนเรือประมง - จํากัดจํานวนใบอนุ ญาต - ติดตาม ควบคุม และเฝ้ าระวัง - จัดทําระบบติดตามเรือ (VMS) - จัดตัง� ศูนย์ควบคุมการแจ้ง เรือเข้า-ออก (PIPO) - จัดทําระบบตรวจสอบย้อนกลับ พัฒนางานวิจยั
ฟื� นฟูฟื�แนฟู ละอนุ รกั ษ์รทกั รัษ์พทยากรทางทะเล และอนุ รัพยากร ให้ทางทะเลให้ สมดุลต่อการแสวงประโยชน์ อย่าง สมดุลต่อการแสวง ยังยื � น และรั กษาระบบนิ ให้มี ประโยชน์ อย่างยั งยื � น และรัเวศน์ กษาระบบ รณ์ รณ์ นิ เวศน์ความสมบู ให้มีความสมบู
- ห้ามทําการประมงในบาง พื�นที�และบางฤดูกาล - ห้ามจับสัตว์น�ํ าที�ใกล้สูญ พันธุ ์ เพาะเลี�ยงสัตว์น�ํ าทดแทนการ จับจากธรรมชาติ
- จัดสร้างปะการังเทียม - เพาะพันธุส์ ตั ว์น�ํ าชนิ ดที� สําคัญทางเศรษฐกิจเพื�อ ปล่อยในแหล่งนํ� าธรรมชาติ พัฒนางานวิจยั
2. ความคืบหน้าด้านการจัดทํานโยบายบริหารจัดการประมงทะเล ในช่วง พ.ค. – มิ.ย. 58 (ต่อ) ศปมผ. ร่ ว มกับ กรมประมง ได้จ ดั ประชุ ม รับ ฟั ง ความคิ ด เห็ น ของชาวประมงพื� นบ้า น ประมงพาณิ ชย์ รวมทัง� ผูแ้ ทนจาก NGOs
มีแผนที�จะรับฟังความคิดเห็นเพิ�มเติมจากชาวประมง จัดทํามาตรการเยียวยาผูไ้ ด้รบั ผลกระทบ
21
3. ความคืบหน้าด้านการตรวจติดตาม ควบคุม และเฝ้ าระวัง (Monitoring, Control and Surveillance: MCS) การบูรณาการตรวจประมงร่วม
(ผลการตรวจตัง� แต่ ตุลาคม 2557 – 26 มิถนุ ายน 2558) มีการจับกุมดําเนิ นคดีจาํ นวน 421 คดี และผูต้ อ้ งหา 2,807 ราย (ผลการตรวจตัง� แต่ มกราคม 2558 – 26 มิถนุ ายน 2558) ได้ดําเนิ นการตรวจใบอนุ ญาตทําการประมงจํานวน 3,062 ลํา พบเรือไม่มีใบอนุ ญาตทําการประมงจํานวน 792 ลํา
22
3. ความคืบหน้าด้านการตรวจติดตาม ควบคุม และเฝ้ าระวัง (Monitoring, Control and Surveillance: MCS) (ต่อ) การดําเนิ นงานของศูนย์ควบคุมการแจ้งเข้า-ออกเรือประมง (PIPO) 28 แห่ง (ตัง� แต่ 1 เมษายน - 26 มิ.ย. 58) ครอบคลุม 223 ท่า 22 จังหวัดชายทะเล ยอดรวมของการแจ้งออก 19,465 ครัง� และการแจ้งเข้า 16,297 ครัง� มีเรือเข้าระบบ 8,353 ลํา
National Inspection Plan
23
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 163
กรกฎาคม-สิงหาคม 2558
77
3. ความคืบหน้าด้านการตรวจติดตาม ควบคุม และเฝ้ าระวัง (Monitoring, Control and Surveillance: MCS) (ต่อ) ระบบติดตามตําแหน่ งเรือ (VMS)
กรมประมงได้จดั สรรงบประมาณ 10 ล้านบาท ดําเนิ นการจัดตัง� ศูนย์ VMS ส่วนกลาง ณ กรมประมง (War room/อุปกรณ์รบั สัญญาณ VMS/โปรแกรม VMS) ครม. ได้อนุ มตั ิให้กรมประมงใช้ งบกลางจํานวน 30.68 ล้านบาท เพือ� : - ขยายการตัง� ศูนย์ VMS ในภูมิภาค 15 ศูนย์ - ติดตัง� VMS ในเรือตรวจการประมง - จัดทําระบบ e-Logbook ศปมผ. ออกประกาศให้เรือที�มีขนาดมากกว่า 60 GT ต้องติดตัง� VMS จํานวนเรือประมงที�ตดิ ตัง� VMS แล้ว: นอกน่ านนํ� า 45 ลํา ในน่ านนํ� าไทย (≥60 GT) 490 ลํา 24
4. ความคืบหน้าด้านการปรับปรุงระบบตรวจสอบย้อนกลับ ในช่วง พ.ค. – มิ.ย. 58 การปรับปรุงระบบตรวจสอบย้อนกลับ แบ่งการดําเนิ นการออกเป็ น 3 ส่วน ได้แก่ 1. สัตว์น�ํ าที�จบั ภายในประเทศ (domestic catch) 2. สัตว์น�ํ านํ าเข้า รวมถึงการขนถ่ายสัตว์น�ํ า (imported fish & transshipment) 3. โรงงานแปรรูปสัตว์น�ํ า (fish processing plants) กรมประมงได้รบั อนุ มตั งิ บกลางจํานวน 37 ล้านบาท เพื�อจัดสรรเจ้าหน้าที�ดาํ เนิ นการ : - มาตรการรัฐเจ้าของท่าเรือ (Port State Measure) - ตรวจสัตว์น�ํ าขึ�นท่า (Logbook, MCTD, MCPD) - ออกใบรับรองการจับสัตว์น�ํ า (Catch Cert.) จัดทําคู่มือการปฏิบตั งิ านและจัดฝึ กอบรมให้แก่เจ้าหน้าที� จัดซื�ออุปกรณ์ท�จี าํ เป็ นสําหรับการปฏิบตั งิ านของศูนย์ต่างๆ 25
5. ความคืบหน้าด้านความร่วมมือกับประเทศต่างๆ ในช่วง พ.ค. – มิ.ย. 58 (ต่อ) ประชุมหารือทวิภาคีเพือ� จัดทํา MOU ด้านการเกษตร รวมทัง� ด้านการประมงระหว่างไทยและฟิ จิ เมื�อวันที� 28 พ.ค. 58 กรมประมง ได้หารือกับ ผูแ้ ทนกรมประมงปาปัวกิวกินี ณ ประเทศสิงคโปร์ เมื�อวันที� 12 มิ.ย. 58 คาดว่าจะสามารถ ลงนาม MOU ร่วมกันได้ในเดือนสิงหาคม 2558 กรมประมงนํ าคณะเดินทางไปประเทศฟิ ลิปปิ นส์เพื�อหารือความร่วมมือในการ แลกเปลี�ยนข้อมูลด้านการประมงเมื�อวันที� 23 มิ.ย. 58
26
78 กรกฎาคม-สิงหาคม 2558
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 163
กฎหมาย ประมง
นโยบาย บริหาร จัดการ ประมงทะเล
พ.ค.
แผน ระดับชาติ NPOA-IUU
มิ.ย.
การควบคุม ตรวจตรา เฝ้ าระวัง
แรงงาน ผิดกฎหมาย ในภาค ประมง
ระบบ ตรวจสอบ ย้อนกลับ
ก.ค.
ส.ค.
ก.ย.
27
แผนการดําเนิ นงานแก้ไขปัญหา IUU ในช่วง 5 เดือน (พ.ค. - ก.ย. 58) (1) 1. ด้านกฎหมาย
2. ด้านการบริหารจัดการประมง 3. ด้านแผนระดับชาติ ทะเล (NPOA-IUU)
ประกาศ ศปมผ. 10 ฉบับ สําหรับ ช่วงที� พ.ร.บ. การประมง 2558 ยังไม่มีผลบังคับใช้ มิ.ย. 58
แก้ไข
พ.ร.บ. การประมง 2558 ให้ครอบคลุมเรื�อง IUU ในรูปแบบกฎหมายฉบับเดียว ส่งให้ EU มิ.ย. 58
เสนอ
พ.ร.บ. การประมง 2558 ฉบับแก้ไขเพิม� เติม เข้า ครม./สนช. ก.ย. 58
สํารวจจํานวนเรือประมงไทยที�ทาํ การประมงในและนอกน่ านนํ� า ตัง� แต่วนั ที� 10 - 26 มิ.ย. 58
จัดทํานโยบายบริหารจัดการประมง
ทะเลของไทย ปี 2558 - 2561 ส่งให้ EU มิ.ย. 58
ประชุมหารือกับผูป้ ระกอบการ ประมงพื�นบ้าน พาณิ ชย์ และ NGOs มิ.ย. – ก.ย. 58
ปรับปรุง NPOA-IUU ส่งให้ EU ส.ค. 58
เสนอเข้า ครม.
ก.ย. 58
หน่ วยงานที�เกี�ยวข้อง
นํ าไปปฏิบตั ิ ก.ย. 58
28
แผนการดําเนิ นงานแก้ไขปัญหา IUU ในช่วง 5 เดือน (พ.ค. - ก.ย. 58) (2)
4. ด้านตรวจติดตาม ควบคุม และ 5. ด้านระบบการตรวจสอบ เฝ้ าระวัง (MCS) ย้อนกลับ/รับรองสัตว์น�ํ า
จัดทําแผนการตรวจสอบและ ควบคุมการทําประมงของไทย (National Inspection Plan) ส่งให้ EU ส.ค. 58 ปฏิบตั ิตาม National Inspection Plan ภายใน ก.ย. 2558
ควบคุมการเข้า-ออกท่า
ของ เรือประมงขนาด > 30 GT พร้อมทัง� การบูรณาการตรวจเฝ้ าระวังการทํา ประมงผิดกฎหมายในน่ านนํ� าไทย เร่งรัดให้เรือประมงไทยขนาด > 30 GT ติดตัง� VMS โดยเฉพาะ เรือประมงนอกน่ านนํ� า และติดตาม ตําแหน่ งเรือทัง� หมด
ควบคุมกิจกรรมของเรือประมง
ไทยที�ไปทําการประมงนอก น่ านนํ� า และทวนสอบข้อมูลสัตว์ นํ� าที�เข้าสูอ่ ตุ สาหกรรมแปรรูป และส่งออกไปยัง EU เพือ� ป้ องกันสัตว์น�ํ าจากประมง IUU
6. ด้านการแก้ไขปัญหา แรงงานในภาคประมง การจัดทํามาตรการตามที� ระบุใน TiP Action Plan และรายงานผลในการแก้ไข ปัญหาอย่างเป็ นรูปธรรม ในภาคประมง
เร่งจัดทําข้อตกลงความร่วมมือ กับประเทศต้นทางของสินค้าสัตว์ นํ� า จํานวน ๓๗ ประเทศ ในเบื�องต้นกรมประมง จะเร่งเจรจา จํานวน 6 ประเทศ ได้แก่ ปาปัวนิ วกินี ฟิ จิ ฟิ ลิปปิ นส์ เกาหลีใต้ จีน และ ไต้หวัน 29
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 163
กรกฎาคม-สิงหาคม 2558
79
ขอขอบคุณบริษัทที่ให้ความสนับสนุน และความร่วมมือในการจัดทำวารสารธุรกิจอาหารสัตว์
1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16
บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) บริษัท ซี พี เอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) สมุทรปราการ บริษัท กรุงไทยอาหาร จำกัด (มหาชน) บริษัท อาหารสัตว์ไทยสวนหลวง จำกัด บริษัท ลีพัฒนาผลิตภัณฑ์ จำกัด (มหาชน) บริษัท ซี พี เอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) สระบุรี บริษัท ท็อป ฟีด มิลล์ จำกัด บริษัท ยูนีโกรอินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด บริษัท อดิสสิโอ เทรดดิ้ง (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท แลบอินเตอร์ จำกัด บริษัท ฮูเวฟาร์มา (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท เชฟเฟิร์ด เทค คอนซัลแตนซี่ ไพรเวท จำกัด บริษัท เวอร์แบค (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท เวท อะกริเทค จำกัด บริษัท เอ็กซ์โปลิงค์ โกลบอล เน็ทเวอร์ค จำกัด บรูเกอร์ ไบโอสปิน เอจี
โทร. 0-2833-8000 โทร. 0-2680-4580 โทร. 0-2473-8000 โทร. 0-2814-3480 โทร. 0-2632-7232 โทร. 0-2680-4500 โทร. 0-2194-5678-96 โทร. 0-3430-5101-3 โทร. 0-2681-1329 โทร. 0-3488-6140-48 โทร. 0-2937-4355 โทร. 09-2089-1601 โทร. 0-2193-8288-90 โทร. 0-2575-5777-86 โทร. 0-2640-8013 ต่อ 25 โทร. 0-2642-6900