รายนามสมาชิก
สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย 1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8. 9. 10. 11. 12. 13. 14. 15. 16. 17. 18. 19. 20. 21. 22. 23. 24. 25. 26.
บริษัท เบทาโกร โฮลดิ้ง จำกัด บริษัท แหลมทองสหการ จำกัด บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารเซ็นทรัล จำกัด บริษัท ป.เจริญพันธ์อาหารสัตว์ จำกัด บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) บริษัท กรุงไทยอาหาร จำกัด (มหาชน) บริษัท ลีพัฒนาผลิตภัณฑ์ จำกัด (มหาชน) บริษัท คาร์กิลล์สยาม จำกัด บริษัท ลีพัฒนาอาหารสัตว์ จำกัด บริษัท ฟีดสเปเชียลตี้ จำกัด บริษัท โกรเบสท์คอร์โพเรชั่น จำกัด บริษัท เอเชี่ยน ฟีด จำกัด บริษัท ไทยลักซ์เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน) บริษัท อาหารสัตว์ไทยสระบุรี จำกัด บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) บริษัท ท็อป ฟีด มิลล์ จำกัด บริษัท คาร์กิลล์มีทส์ (ไทยแลนด์) จำกัด บริษัท ยูไนเต็ดฟีดมิลล์ จำกัด บริษัท มิตรภาพอาหารสัตว์ จำกัด บริษัท เหรียญทอง ฟีด (1992) จำกัด บริษัท แหลมทองเกษตรภัณฑ์ จำกัด บริษัท อาหารสัตว์ไทยสวนหลวง จำกัด บริษัท เอส พี เอ็ม อาหารสัตว์ จำกัด บริษัท อีสเทิร์น ฟีดมิลล์ จำกัด บริษัท เบทาโกรนอร์ธเทอร์น จำกัด
27. 28. 29. 30. 31. 32. 33. 34. 35. 36. 37. 38. 39. 40. 41. 42. 43. 44. 45. 46. 47. 48. 49. 50. 51. 52.
บริษัท ซันฟีด จำกัด บริษัท ยูนีโกร อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด บริษัท พนัสโภคภัณฑ์ จำกัด บริษัท ยู่สูงอาหารสัตว์ จำกัด บริษัท แหลมทองอะควอเทค จำกัด บริษัท เบทาโกรภาคใต้ จำกัด บริษัท บางกอกแร้นซ์ จำกัด (มหาชน) บริษัท กาญจนาอาหารสัตว์ จำกัด บริษัท ก้าวหน้าอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ จำกัด บริษัท กรุงเทพโปรดิ๊วส จำกัด (มหาชน) บริษัท วี.ซี.เอฟ. กรุ๊ป จำกัด บริษัท ชัยภูมิฟาร์มผลิตภัณฑ์การเกษตร จำกัด บริษัท ไทยยูเนี่ยน ฟีดมิลล์ จำกัด บริษัท อินเทคค์ ฟีด จำกัด บริษัท บุญพิศาล จำกัด บริษัท เฮกซ่าแคลไซเนชั่น จำกัด บริษัท บีทีจี ฟีดมิลล์ จำกัด บริษัท หนองบัว ฟีด มิลล์ จำกัด บริษัท ไทย ฟู้ดส์ อาหารสัตว์ จำกัด บริษัท โกลด์ คอยน์ สเปเชียลิตี้ส์ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท แม่ทา วี.พี.ฟีดมิลล์ จำกัด บริษัท อาร์ที อะกริเทค จำกัด บริษัท ฟาร์มจงเจริญ จำกัด บริษัท เจบีเอฟ จำกัด บริษัท อินเว (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท ทีอาร์เอฟ ฟีดมิลล์ จำกัด
ิน ภ อ
น ท นั
ร า าก
คณะกรรมการบริหาร สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย ประจำปี 2558-2559 1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8. 9. 10. 11. 12. 13. 14. 15. 16. 17. 18.
นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล นายณรงค์ชัย ศรีสันติแสง นายประจักษ์ ธีระกุลพิศุทธิ์ นายธีรศักดิ์ อุรุนานนท์ นายบุญธรรม อร่ามศิริวัฒน์ นายประกิต เพียรศิริภิญโญ นางเบญจพร สังหิตกุล นายสถิตย์ บำรุงชีพ นายโดม มีกุล นายวราวุฒิ วัฒนธารา นางสาวถนอมวงศ์ แต้ไพสิฐพงษ์ นายหัสดิน ทรงประจักษ์กุล นายวิชัย คณาธนะวนิชย์ นายวิศิษฐ คณาธนะวนิชย์ นายสุจิน ศิริมงคลเกษม นางสาวนลิน เหล่าวรวิทย์ นายสุทธิชัย ศักดิ์ชัยเจริญกุล นายสมภพ เอื้อทรงธรรม
นายกสมาคม อุปนายก อุปนายก อุปนายก เลขาธิการ รองเลขาธิการ เหรัญญิก นายทะเบียน ประชาสัมพันธ์ ปฏิคม กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ
บริษัท กรุงเทพโปรดิ๊วส์ จำกัด (มหาชน) บริษัท เบทาโกร โฮลดิ้ง จำกัด บริษัท ป.เจริญพันธ์อาหารสัตว์ จำกัด บริษัท ซี พี เอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) บริษัท ลีพัฒนาผลิตภัณฑ์ จำกัด (มหาชน) บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) บริษัท อาหารสัตว์ไทยสวนหลวง จำกัด บริษัท อาหารสัตว์ไทยสระบุรี จำกัด บริษัท ลีพัฒนาอาหารสัตว์ จำกัด บริษัท เบทาโกรภาคใต้ จำกัด บริษัท เบทาโกรนอร์ธเทอร์น จำกัด บริษัท แหลมทองเกษตรภัณฑ์ จำกัด บริษัท แหลมทองอะควอเทค จำกัด บริษัท กรุงไทยอาหาร จำกัด (มหาชน) บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารเซ็นทรัล จำกัด บริษัท ท็อป ฟีด มิลล์ จำกัด บริษัท อินเทคค์ ฟีด จำกัด
บรรณาธิการ
แถลง
ขอแสดงความยินดี กับ คุณพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล ทีไ่ ด้รบั ความไว้วางใจจากสมาชิก และกรรมการ ให้บริหารงานสมาคมฯ อย่างต่อเนื่อง ในฐานะนายกสมาคมฯ ในวาระ การประชุมใหญ่สามัญประจำปี เมือ่ วันที่ 20 มีนาคม 2558 ซึง่ มีวาระกิจกรรมอีกมากมาย ทีส่ มาคมฯ จะต้องดำเนินการให้สำเร็จลุลว่ งให้เกิดประโยชน์แก่สมาชิก และวงการอาหารสัตว์ และปศุสัตว์ไทย รวมทั้งการเชื่อมโยงกับสมาคมอาหารสัตว์จากประเทศต่างๆ ในอาเซียน และการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นมา โดยที่ไม่ได้เกิดจากธุรกิจอาหารสัตว์โดยตรง แต่ก็ ถูกโยงให้เข้าไปเกี่ยวข้อง ซึ่งทางสมาคมฯ ก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ และได้มีการเตรียมรับมือ และ มองอนาคตไว้ล่วงหน้าในการที่จะทำให้ธุรกิจปศุสัตว์มีความยั่งยืน มั่นคง และทำให้ผู้ที่ เกี่ยวข้องมีความมั่งคั่ง โดยการสร้างระเบียบมาตรฐานและสนับสนุนให้มีการนำมาตรฐาน ต่างๆ ที่มีอยู่ทั้งจากภาครัฐ ภาคเอกชน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ และส่งเสริม ให้ทุกภาคส่วนได้ร่วมมือกันปฏิบัติ ย่อมจะส่งผลดีและได้รับความไว้วางใจจากประเทศคู่ค้า และยอมรับในมาตรฐานที่เกิดขึ้น ทำให้ธุรกิจดำเนินไปได้ด้วยดี สิ่งแวดล้อมทั่วไป ก็จะดีขึ้น จึงเป็นเป้าหมายที่ทุกฝ่ายต้องร่วมมือกันอย่างดียิ่ง จากมาตรการต่างๆ ที่ทุกฝ่ายช่วยกันอยู่ในขณะนี้ ย่อมประจักษ์ชัดว่า ภาคเอกชน และภาครัฐ ให้ความสนใจที่จะแก้ปัญหาอย่างจริงจัง เพื่อจะให้ประเทศได้รับความเชื่อถือ และ มีความจริงใจในการแก้ปัญหาต่างๆ ที่ถูกกล่าวหา จนในที่สุดจะได้รับการยอมรับให้มีการ ค้าขายกันตามปกติเช่นพันธมิตรที่ดีต่อกัน ด้วยความจริงใจและสุจริตใจว่า โลกใบนี้ ต้องการ คนดูแล เพื่อให้สิ่งแวดล้อมและธรรมชาติอยู่คู่กันไปโดยตลอด และมีอาหารการกินอยู่คู่กับโลก ที่สวยงามนี้ตลอดไป ด้วยเวลาที่จำกัด แต่ทุกฝ่ายต่างก็เร่งดำเนินการเตรียมความพร้อมและเตรียมรับมือ กับปัญหาต่างๆ อย่างตั้งใจ นำไปสู่การวางแผนและเป็นแบบแผนในการปฏิบัติที่ดีตลอดไป อย่างยั่งยืน นับเป็นการจุดประกายให้เกิดการเริ่มต้นที่ดีในการรักษ์โลกของเราตลอดไป..... และแม้ว่า การค้าโลก ยังคงต้องเกิดขึ้นต่อไป การค้าภายในประเทศ ยังเป็นสิ่งสำคัญ ที่ผู้ผลิต เกษตรกร ผู้เลี้ยงสัตว์ จะต้องดิ้นรนหาทางลดต้นทุนเพื่อการเลี้ยงปากและท้องอย่างที่ ทุกคนหวังว่า เข้าสู่ธุรกิจภาคปศุสัตว์แล้ว จะต้องทำให้ดีที่สุดและอยู่ได้อย่างยั่งยืน...
บก.
ธุรกิจอาหารสัตว์
วารสาร
วัตถุประสงค์ 1. เพื่อส่งเสริมความรู้และเผยแพร่อุตสาหกรรมอาหารสัตว์และการปศุสัตว์ 2. เพื่อเป็นสื่อกลางระหว่างสมาชิกและผู้ที่เกี่ยวข้องทั่วไป 3. เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารสัตว์และการปศุสัตว์ของประเทศให้เจริญรุ่งเรืองในแนวทางที่เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของชาติ 4. ไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง
ปีที่ 32 เล่มที่ 161 ประจำเดือนมีนาคม-เมษายน 2558
Contents Thailand Focus
123 ปี กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มุ่งมั่นดำเนินงานเพื่อเกษตรกร พร้อมผลักดันการเกษตรสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน........................................................................................ 5 ประมงเดินหน้านำร่องใช้ระบบควบคุม แจ้งเข้า-ออกเรือประมง (Port in-Port out)................................................ 8 กรมประมง...เดินหน้าปฏิบัติการปลดล็อกการทำประมง IUU............................................................................... 10 กรมประมงผุดโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตกุ้งทะเลครบวงจร.................................................................... 13 สรุปรายงานการเข้าร่วมงานเสวนา เรื่อง อุตสาหกรรมปศุสัตว์...ยั่งยืน หรือ ย่ำแย่??............................................ 16 Food Feed Fuel
กรมปศุสัตว์แจงความคืบหน้าการแก้ ไขปัญหาไข่ไก่........................................................................................... 28 พยากรณ์สินค้าเกษตร.................................................................................................................................... 30 สถานการณ์ สุกร • กุ้งขาวแวนนาไม • ไข่ไก่ • ไก่เนื้อ................................................................................32-36 Market Leader
ซีพีเอฟ ดันอินเดีย-เวียดนามผลิตกุ้ง แก้เกมสหภาพยุโรปตัด GSP ปรับแผนขายจีน 40%...................................... 37 ธุรกิจกุ้งเริ่มฟื้นตัว คุมเข้มปลาป่นรับ IUU ซีพีเอฟ พร้อมรบสงครามการค้า......................................................... 39 Around The World
รายงานการสำรวจข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ครั้งที่ 1/2558........................................................................................... 42 การควบคุมตะกอนเลนในบ่อเลี้ยงกุ้ง............................................................................................................... 50 กรมปศุสัตว์ทำลายสินค้าปศุสัตว์ ซึ่งนำเข้าโดยผิดกฎหมาย............................................................................... 55 กรณีรายงานข่าวเรื่องปัญหาการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมงไทย.................................................................. 57 ทิศทางมาตรฐานฟาร์มอุตสาหกรรมสุกรไทย สู่มาตรฐานอาเซียน....................................................................... 59 72 ปี สัตวบาล กับความก้าวหน้าทางโภชนศาสตร์สัตว์..................................................................................... 63 ฟิลิปปินส์เป็นผู้ปลูกพืชดัดแปลงพันธุกรรมรายใหญ่ของโลก............................................................................... 69 ถ้อยคำแถลงข่าวสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ ไทย.................................................................................................. 70 ภาคสถิติ.......................................................................................................................................................... 71 ขอบคุณ........................................................................................................................................................... 80 ดำเนินการโดย : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย : นายประเสริฐ พุ่งกุมาร รองประธานกรรมการที่ปรึกษา : นายวีรชัย รัตนบานชื่น นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล กรรมการที่ปรึกษา : นายสมชาย กังสมุทร นายพงษ์ เหล่าวรวิทย์ นายประสิทธิ์ ศิริมงคลเกษม นายอดิเรก ศรีประทักษ์ นายนิพนธ์ ลีละศิธร นางเบญจพร สังหิตกุล นายณรงค์ชัย ศรีสันติแสง นายบุญธรรม อร่ามศิริวัฒน์ นายประจักษ์ ธีระกุลพิศุทธิ์ บรรณาธิการ : นายปรีชา กันทรากรกิติ กองบรรณาธิการ : นายไพบูลย์ ขุนทอง นายอรรถพล ชินภูวดล นางสาวปัทมา ศรีเที่ยงตรง
ประธานกรรมการที่ปรึกษา
สำนักงาน : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย 43 ไทย ซีซี ทาวเวอร์ ห้อง 170 ชั้น 17 ถนนสาทรใต้ ยานนาวา สาทร กรุงเทพฯ 10120 โทรศัพท์ 0-2675-6263-4 โทรสาร 0-2675-6265 Email: tfma44@yahoo.com Website: www.thaifeedmill.com
123 ปี
Thailand Focus
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
มุ่งมั่นดำเนินงานเพื่อเกษตรกร พร้อมผลักดัน การเกษตรสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน หากจะกล่าวถึงประวัติศาสตร์ด้านการ เกษตรของประเทศไทยแล้วคงต้องย้อนไปถึง หลักฐานทีบ่ นั ทึกในศิลาจารึกตัง้ แต่สมัยสุโขทัย ปี พ.ศ. 1800 ซึ่งได้กล่าวถึงการให้ประชาชน ได้มีอิสระในการประกอบอาชีพตามความถนัด โดยส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ที่ดิน ที่มีการปลูกสร้างทำประโยชน์ ล้วนตกเป็น กรรมสิทธิ์แก่ผู้ที่ปลูกสร้าง และให้เป็นมรดก ตกทอดไปถึงลูกหลาน และส่วนหนึ่งในบันทึก ดังกล่าวยังได้กล่าวถึง ความอุดมสมบูรณ์ของ ประเทศที่มีน้ำสะอาดสำหรับบริโภคได้ตลอด ทัง้ ปีและพอเพียงสำหรับใช้ในการเกษตร กระทัง่ ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 1893 ได้มีการก่อตั้ง "กรมนา" ซึ่งเป็นกรมหนึ่งใน การปกครองแบบจตุสดมภ์ ซึ่งได้มีการพัฒนา มาอย่ า งต่ อ เนื่ อ ง จากกระทรวงพนิ ช การ กระทรวงเกษตรพนิชการ กระทรวงเกษตราธิการ กระทรวงเศรษฐการ กระทรวงเกษตร จนมาเป็นกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตาม ลำดับ โดยถือเอาวันที่ 1 เมษายน 2435
นายปิติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เป็นวันสถาปนากระทรวง และสหกรณ์ ด้วย สมัยต้นรัชกาลที่ 5 เป็นยุคของการเริม่ ปรับปรุง ส่วนราชการ และจัดตั้งกระทรวงต่างๆ ซึ่งถือ เป็นยุคทองของการก้าวสู่ความเจริญก้าวหน้า ของประเทศ จวบจนถึ ง วั น นี้ กระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ดำเนินบทบาทในการขับเคลื่อนและ ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาด้านการเกษตรของ ประเทศหลายด้าน ทั้งการจัดหาแหล่งน้ำ การ พั ฒ นาระบบชลประทาน การพั ฒ นาระบบ การผลิตพืช สัตว์ ประมง และปศุสตั ว์ และการ จัดทำมาตรฐานสินค้าเกษตร รวมทั้งส่งเสริม ให้ระบบสหกรณ์ให้เป็นกลไกในด้านการตลาด ที่สำคัญ เป้าหมายสำคัญเพื่อให้เกษตรกรมี
ที่มา : หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับที่ 13534 วันพุธที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2558 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 161
มีนาคม-เมษายน 2558
5
ความมัน่ คงในอาชีพ ประชาชนในฐานะผูบ้ ริโภค เกิดความมั่นใจ อีกทั้งเพื่อความก้าวหน้าทาง เศรษฐกิจที่มั่นคงอย่างยั่งยืนของประเทศ หาก มองย้อนกลับไปถึงตลอดช่วงการพัฒนาจะเห็น ว่า เกษตรกรจำนวนไม่นอ้ ยต้องเผชิญกับปัญหา ทุกข์ยาก ปัญหาเกษตรกรจำนวนมากทำการ เกษตรในแบบทีบ่ รรพบุรษุ เคยทำอย่างขาดการ พัฒนา ปัญหาเชิงโครงสร้างการตลาด ราคา สินค้าเกษตรตกต่ำ ขาดแคลนแรงงาน และ ปัญหาสำคัญประการหนึ่งในขณะนี้คือ การที่ ลูกหลานเกษตรกรไม่สบื ทอดอาชีพเกษตรกรรม ส่งผลให้ในหลายพื้นที่เกิดปัญหาสูญเสียที่ดิน ทำกิน นอกจากนี้ยังต้องเผชิญกับปัญหาจาก ภายนอก อาทิ สภาพภูมิอากาศที่แปรปรวน การแข่งขันทางเศรษฐกิจที่ทวีความรุนแรงขึ้น เรื่ อ ยๆ และรวมถึ ง ความก้ า วหน้ า อย่ า งก้ า ว กระโดดของเทคโนโลยีและนวัตกรรม เหล่านี้ ล้วนส่งผลกระทบต่อการพัฒนาภาคเกษตรกรรมอย่ า งหลี ก เลี่ ย งไม่ ไ ด้ อย่ า งไรก็ ต าม จากการวิเคราะห์พบว่า ภาคเกษตรกรรมยังคง เป็นจุดแข็งของประเทศ โดยเป็นเสาหลักทาง เศรษฐกิ จ และสั ง คมที่ ส ำคั ญ เนื่ อ งจากเป็ น แหล่งผลิตอาหารหล่อเลี้ยงประชากรโลก เป็น ฐานวัตถุดิบให้กับภาคอุตสาหกรรมและบริการ เป็นแหล่งสร้างรายได้ให้แก่ประเทศ ด้วยเหตุ ดังกล่าว 6 มีนาคม-เมษายน 2558
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 161
รัฐบาลได้ประกาศนโยบายด้านเศรษฐกิจ ที่ เ กี่ ย วกั บ ภาคการเกษตรไว้ ส ามประการ ประการแรก การดูแลเกษตรกรให้มีรายได้ ที่ เ หมาะสม ได้ แ ก่ การลดต้ น ทุ น การผลิ ต การช่วยเหลือในเรือ่ งปัจจัยการผลิตอย่างทัว่ ถึง การช่วยเหลือเกษตรกรรายย่อย ประการที่ 2 การลดอุปสรรคในการส่งออกเพื่อให้เกิดความ คล่ อ งตั ว แสวงหาตลาดที่ มี ศั ก ยภาพ และ รวมถึงการค้าชายแดน ประการที่ 3 ด้าน เกษตรกรรม ประกอบด้วย 2 เรื่องใหญ่ คือ การเร่งปรับโครงสร้างการผลิตสินค้าเกษตร ให้สอดคล้องกับความต้องการ ได้แก่ การแบ่ง เขตเพื่อปลูกพืชผลแต่ละชนิด การสนับสนุน ให้ ส หกรณ์ แ ละกลุ่ ม เกษตรกรที่ ผ ลิ ต สิ น ค้ า เกษตร เพิ่มบทบาทในฐานะเป็นผู้ซื้อผลผลิต จนถึงการแปรรูปและการส่งออกได้ เพื่อให้ สหกรณ์เป็นผู้ค้าขายสินค้าเกษตรรายใหญ่อีก รายหนึ่ง การดำเนินการที่สำคัญ และปรากฏผล เป็นรูปธรรมแล้ว ได้แก่ มาตรการบรรเทา ปัญหาจากการลดพื้นที่ปลูกข้าวนาปรัง โดย การจ้างงานและการปลูกพืชใช้น้ำน้อยทดแทน ขณะนี้ยังมีการช่วยเหลือพื้นที่ภัยแล้งซ้ำซาก ตามโครงการสร้างรายได้และพัฒนาการเกษตร แก่ชุมชนเพื่อบรรเทาภัยแล้ง ซึ่งอยู่ในระหว่าง
ดำเนินการ สำหรับการเพิม่ รายได้เพือ่ เกษตรกร ได้มีการชดเชยรายได้แก่ชาวนาและชาวสวน ยาง ตลอดจนการสนับสนุนสินเชื่อเกษตรกร ชาวสวนยางรายย่อยเพื่อประกอบอาชีพเสริม อีกด้วย ส่วนด้านการแก้ปัญหาเร่งด่วนด้าน การประมงผิ ด กฎหมายที่ อ าจส่ ง ผลกระทบ อย่างมากต่อการส่งออกสินค้าประมงไทย ได้ เร่งรัดจดทะเบียนเรือประมง การแก้ไขแรงงาน ประมง รวมถึงการฟื้นฟูอุตสาหกรรมกุ้งจาก โรคตายด่วนในกุง้ นอกจากนี้ กระทรวงเกษตร และสหกรณ์ยังสร้างโอกาสในการรับรู้ข้อมูล ข่ า วสารด้ า นการเกษตรโดยได้ พั ฒ นาระบบ การรายงานข้อมูลข่าวสารผ่านอินเตอร์เน็ต ด้วย เป็นต้น ส่วนในระยะต่อไปจะได้เริ่มมีการปรับ โครงสร้างการผลิตการเกษตร โดยเน้นการ ปรับปรุงโครงสร้างการผลิตข้าวและพืชหลัก อื่นๆ ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การช่วย เหลื อ สหกรณ์ แ ละแก้ ไ ขปั ญ หาสหกรณ์ แ ละ องค์กรเกษตรกร ตลอดจนการแก้ไขหนี้สิน เกษตรกร รวมทั้งออกกฎหมายต่างๆ เพื่อ ควบคุ ม คุ ณ ภาพสิ น ค้ า และช่ ว ยเหลื อ รายได้ ของเกษตรกรต่อไป
ก้าวต่อไปของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา ใน ฐานะรั ฐ มนตรี ว่ า การกระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ ได้ ก ล่ า วแสดงความเชื่ อ มั่ น ในการ พั ฒ นาภาคการเกษตรของประเทศไว้ อ ย่ า ง น่าสนใจ "กระทรวงมีเจตนารมณ์อันแน่วแน่ ที่จะดำเนินงานเพื่อให้เกิดการพัฒนาภาคการ เกษตรและเศรษฐกิจของประเทศอย่างมั่นคง เกิดความมัง่ คัง่ ภาคเกษตรยัง่ ยืนนำพาไปสูก่ าร บรรลุวสิ ยั ทัศน์ทวี่ า่ "เกษตรกรมีคณ ุ ภาพชีวติ ทีด่ ี ประชาชนมีความมั่นคงด้านอาหาร เป็นฐาน สร้างรายได้ให้แผ่นดิน"
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 161
มีนาคม-เมษายน 2558
7
Thailand Focus
ประมงเดินหน้านำร่องใช้ระบบควบคุม แจ้งเข้า-ออกเรือประมง (Port in-Port out)
ประมงเดินหน้านำร่อง Port in-Port out ชุมพร ระนอง สงขลา ภูเก็ต หวังแก้ปญ ั หา IUU และการค้ามนุษย์ ในการควบคุมและเฝ้าระวังการทำประมง หนึง่ ในแผนปฏิบตั กิ ารแก้ไข ปัญหาการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงานและไร้การควบคุม (IUU Fishing) น.ส. ศิริลักษณ์ สุวรรณรังษี ผู้ตรวจราชการกรมประมง กล่าวในพิธีเปิดโครงการนำร่อง การแจ้งและตรวจสอบเรือประมงเข้า-ออกท่า บริเวณท่าเทียบเรือประมงชุมพร ต.ปากน้ำชุมพร อ.เมือง จ.ชุมพร ว่า กรมประมงจะดีเดย์เริม่ ทดลองใช้ระบบควบคุมการแจ้งเข้า-ออกของเรือประมง (Port in-Port out) สำหรับเรือประมงทีม่ ขี นาด 30 ตันกรอสขึน้ ไป ก่อนจะออกไปทำการประมง และกลับเข้าเทียบท่า ต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงาน ณ ศูนย์การควบคุมการแจ้งเข้า-ออกของเรือประมง ทีก่ ำหนดเพือ่ ให้มกี ารรายงานการทำประมง รวมถึงแรงงานบนเรือประมง ข้อมูลต่างๆ ทีเ่ รือประมง แจ้งจะถูกนำไปใช้ตรวจสอบการทำประมง อาทิ ตรวจสอบเครือ่ งมือทำการประมง ว่าถูกต้องตาม ใบอนุญาตทำการประมงหรือไม่ ชนิดสัตว์นำ้ ทีจ่ บั มาได้สอดคล้องกับประเภท ชนิดเครือ่ งมือหรือไม่ ชื่อเรือประมง ทะเบียนเรือ ใบอนุญาตทำการประมง เครื่องมือและอุปกรณ์ประจำเรือ บุคคล ทำการประมงประจำเรือ (กัปตัน เจ้าของเรือ แรงงานบนเรือ) มีรายชื่อ จำนวนแรงงานถูกต้อง ตามข้อเท็จจริงหรือไม่ และสัญญาจ้างแรงงานประมง รวมถึงบุคคลต่างด้าวที่เป็นลูกเรือ ต้อง เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการทำงานคนต่างด้าวด้วย โดยจะต้องแจ้งก่อนเรือเข้า-ออกไม่นอ้ ยกว่า 24 ชม. นอกจากนี้ ยังสามารถช่วยป้องกันปัญหาการค้ามนุษย์ได้อีกด้วย เนื่องจากมีการ ตรวจสอบคนประจำเรือทั้งก่อนเรือออก และหลังจากเรือเข้าเทียบท่า ที่มา : หนังสือพิมพ์บ้านเมือง ฉบับที่ 4146 วันเสาร์ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2558
8 มีนาคม-เมษายน 2558
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 161
น.ส. ศิริลักษณ์ กล่าวต่อว่า กรมประมง ได้ปรับปรุงสถานีวทิ ยุประมงชายฝัง่ ให้เป็นศูนย์ การควบคุมการแจ้งเข้า-ออกเรือประมง ซึ่งอยู่ ในพื้นที่ใกล้ท่าเทียบเรือ จำนวน 26 ศูนย์ ครอบคลุมท่าเทียบเรือ 297 แห่ง ทั้งนี้ ใน ครั้ ง แรกจะทดลองนำร่ อ งปฏิ บั ติ ใ นพื้ น ที่ 4 จังหวัด ได้แก่ ชุมพร ระนอง สงขลา และภูเก็ต ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2558 เป็นต้นไป โดย จะนำผลการทดลองมาปรับปรุงระบบให้เป็น แนวปฏิบัติที่ใช้ได้จริงและขยายผลการนำร่อง ให้ครบทั้ง 26 ศูนย์ ในพื้นที่ 22 จังหวัด ชายทะเล ภายในเดือนพฤษภาคม 2558 เพื่อ รองรับ พ.ร.บ. การประมงฉบับใหม่ ที่คาดว่า จะมีผลบังคับใช้ในเดือนกรกฎาคม 2558 น.ส. ศิรลิ กั ษณ์ กล่าวต่อไปอีกว่า สำหรับ การทดลองใช้ระบบ (Port in-Port out) ซึง่ จะ มีขึ้นในวันที่ 1 เมษายน 2558 ขณะนี้ กรม ประมงได้ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้ง ภาครัฐ อาทิ กองทัพเรือ กรมเจ้าท่า กรมสวัสดิการและคุ้ ม ครองแรงงาน และภาคเอกชน อาทิ แพปลา ท่าเรือ และผู้ประกอบการเรือ ประมง ฯลฯ เพื่ อ เตรี ย มความพร้ อ มในทุ ก ขัน้ ตอน ทีส่ ำคัญ กลุม่ ผูป้ ระกอบการจากสหรัฐอเมริกา และยุโรป อาทิ Costco และ Walmart ได้ติดตามการใช้ระบบดังกล่าว และเชื่อมั่นใน การดำเนินงานของประเทศไทย เพราะระบบ (Port in-Port out) สามารถแสดงให้เห็นว่า
สัตว์นำ้ ของไทยไม่ได้มาจากการทำประมง IUU ซึ่งทางกลุ่มผู้ประกอบการ Hypermarket ได้ แจ้ ง ขอความร่ ว มมื อ กั บ กรมประมง เพื่ อ ให้ เรือประมงที่กลุ่ม Hypermarket ซื้อสินค้า สัตว์น้ำจากสายการผลิตที่มาจากเรือประมง จำนวน 454 ลำ ใน 4 จังหวัดทีข่ นึ้ ท่า 66 ท่า เข้าร่วมปฏิบัติการในครั้งนี้ด้วย ดังนั้น จึงขอ ความร่วมมือกับผูป้ ระกอบการเรือประมงขนาด 30 ตันกรอสขึ้นไป โปรดให้ความร่วมมือ มา แจ้งเข้า-ออกจากท่า เพื่อเป็นการเตรียมความ พร้อมในการร่วมกันป้องกันการทำประมง IUU ทั้งยังแสดงให้กลุ่มคู่ค้าของไทยเห็นว่า ภาค การประมงของไทยพร้อมที่จะดำเนินการทุก อย่างเพือ่ ให้การประมงของไทยปราศจาก IUU น.ส. ศิริลักษณ์ กล่าว นอกจากนี้ กรมประมงอยู่ ร ะหว่ า ง พัฒนาระบบติดตามเรือ VMS ด้วยระบบ ดาวเทียมเพื่อรองรับการติดตามเรือประมง ที่มีขนาด 30 ตันกรอสขึ้นไป โดยขณะนี้ ระบบสามารถติดตามและตรวจสอบเรือใน เบือ้ งต้นได้แล้ว ด้วยความสมัครใจแล้วจำนวน 20 ลำ ทีท่ ำการประมงในน่านน้ำปาปัวนิวกินี ซึ่งระบบ VMS ดังกล่าวของกรมประมงจะ เสร็จสมบูรณ์ประมาณเดือนพฤษภาคมนี้ ชูศักดิ์ ตระหง่าน/ชุมพร ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 161
มีนาคม-เมษายน 2558
9
Thailand Focus
กรมประมง...เดินหน้าปฏิบัติการ ปลดล็อกการทำประมง IUU กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และ กรมประมง ได้ตระหนักและเห็นความสำคัญ ของปัญหาการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ขาด การรายงาน และไร้การควบคุม (IUU: Illegal, Unreported and Unregulated Fishing) หลังจากสหภาพยุโรป (EU) ได้ออกกฎระเบียบ การป้องกัน ยับยั้ง และขจัดการทำประมง IUU และได้มีการแจ้งเตือน หรือคาดว่าจะให้ ใบเหลืองกับไทย เพราะมีการทำประมงที่ไม่ สอดคล้องกับกฎระเบียบ IUU ของสหภาพ ยุโรป กระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ จึงได้จัดทำแผนปฏิบัติ การแก้ไขปัญหาการทำประมง IUU ขึน้ เพือ่ แก้ไขการทำประมง ให้สอดคล้องกับกฎระเบียบ IUU ของสหภาพยุโรป ซึ่ ง ได้ ม อบหมายให้ กรมประมง นำโดย ดร.จุมพล สงวนสิน อธิ บ ดี ก รมประมง ดำเนิ น การตาม ดร.จุมพล สงวนสิน อธิบดีกรมประมง
แผนปฏิบตั กิ ารตัง้ แต่ชว่ งต้นปี 2558 ทีผ่ า่ นมา โดย 6 แผนปฏิ บั ติ ก ารแก้ ไ ขปั ญ หาการทำ ประมง IUU มีความคืบหน้า เชื่อว่าจะนำไปสู่ การปลดล็อกใบเหลืองของสหภาพยุโรปออก จากประเทศไทย และจะทำให้ภาคการประมง ของไทยปราศจากการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ในอนาคต ได้แก่
ที่มา : หนังสือพิมพ์สยามรัฐ สัปดาห์วิจารณ์ ฉบับที่ 30 วันศุกร์ที่ 10 - วันพฤหัสที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2558
10 มีนาคม-เมษายน 2558
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 161
แผนการจดทะเบี ย นเรื อ ประมงและ ออกใบอนุญาตทำการประมง ตั้งแต่วันที่ 12 มกราคม 2558 จนถึง 28 กุมภาพันธ์ 2558 ได้ บู ร ณาการปฏิ บั ติ ง านร่ ว มกั บ กรมเจ้ า ท่ า และกรมการปกครอง ดำเนินการจดทะเบียน เรือประมงเพิ่มเติม จำนวน 4,243 ลำ และ ออกใบอนุญาตทำการประมง จำนวน 12,455 ลำ ผ่านหน่วยเคลื่อนที่เบ็ดเสร็จ (One Stop Service) จำนวน 112 หน่วย ครอบคลุม พื้ น ที่ ใ น 23 จั ง หวั ด ชายทะเล แผนการ ควบคุมและเฝ้าระวังการทำประมง ได้จัดตั้ง ศูนย์บัญชาการควบคุมเฝ้าระวังการทำประมง (MCS) ในส่วนกลาง และภูมิภาคจำนวน 18 ศูนย์ เพื่อประสานงานและบูรณาการปฏิบัติ งานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพิ่มความ เข้ ม งวดการปฏิ บั ติ ง านควบคุ ม เฝ้ า ระวั ง การ ทำประมง และจัดตั้งศูนย์ควบคุมการแจ้งเข้าออกของเรื อ ประมง (Port in-Port out) จำนวน 26 ศูนย์ ครอบคลุมท่าเทียบเรือ 292 แห่ง ในการรับแจ้งและตรวจสอบเรือ ประมงขนาด 30 ตันกรอสขึ้นไป ที่เข้าและ ออกจากท่าเทียบเรือ โดยจะดำเนินการนำร่อง 4 จังหวัด ได้แก่ ชุมพร สงขลา ระนอง และ
ภูเก็ต ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2558 เพื่อ ตรวจสอบเครื่องมือทำการประมงให้ถูกต้อง ตรงตามใบอนุญาตทำการประมง มีการจด ทะเบี ย นเรื อ และขอใบอนุ ญ าตใช้ เ รื อ ถู ก ต้ อ ง รวมทั้งบุคคลทำการประมงประจำเรือมีรายชื่อ ถูกต้องตามข้อเท็จจริง บุคคลต่างด้าวที่เป็น ลูกเรือประมง ต้องเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วย การทำงานของคนต่างด้าว และชนิดสัตว์น้ำ ที่ได้สอดคล้องกับประเภท ชนิด เครื่องมือ ทำการประมง หลังจากนั้นจะดำเนินการโดย มีมาตรการบังคับตามกฎหมาย ครบทั้งหมด 26 ศูนย์ แผนการจัดทำระบบติดตามตำแหน่ง เรือ (VMS) มีการจัดตัง้ ศูนย์ปฏิบตั กิ ารควบคุม และติ ด ตามตำแหน่ ง เรื อ ประมง หรื อ ศู น ย์ ควบคุม VMS ด้วยระบบดาวเทียม โดยนำร่อง เรือประมงขนาดมากกว่า 60 ตันกรอสขึ้นไป จำนวน 3,500 ลำ ขณะที่เรือประมงขนาด 30-60 ตันกรอส จำนวน 4,248 ลำ จะถูก กำหนดให้ติดตั้ง VMS ภายใต้กฎหมายประมง ฉบั บ ใหม่ ในช่ ว งประมาณเดื อ นเมษายนมิถนุ ายน 2558 แผนการปรับปรุงระบบการ ตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability) ได้อบรม ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 161
มีนาคม-เมษายน 2558
11
ให้ความรู้แก่เจ้าหน้าที่กรมประมง ในการสุ่ม ตรวจสัตว์น้ำขึ้นท่า การตรวจสอบข้อมูลการ บันทึกการทำประมง (Fishing Logbook) และ เอกสารการซื้อขายสัตว์น้ำ (MCPD) เพิ่มความ เข้ ม งวดในการตรวจสอบย้ อ นกลั บ ตลอด สายการผลิตจากเรือประมง แพปลา โรงงาน แปรรูปและผู้ส่งออก ให้มีประสิทธิภาพ แผน การปรับปรุงพระราชบัญญัติการประมงและ กฎหมายลำดับรอง ได้ดำเนินการจัดทำร่าง พ.ร.บ. การประมงฉบับใหม่ เพื่อปรับปรุงสาระ สำคัญให้เหมาะสม โดยผ่านการพิจารณาของ สภานิติบัญญัติแห่งชาติเรียบร้อยแล้ว และจะมี ผลบังคับใช้ภายใน 60 วัน หลังการประกาศ ในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งขณะนี้ร่าง พ.ร.บ. การ ประมงฉบับใหม่อยู่ระหว่างการรอลงพระปรมาภิไธย เพื่อประกาศก่อนการบังคับใช้ต่อไป และ แผนการจัดทำแผนระดับชาติในการป้องกัน ยับยัง้ และขจัดการทำประมงทีผ่ ดิ กฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (NPOA-IUU) ได้ดำเนินการปรับปรุงร่าง NPOA-IUU ในบริบทที่สหภาพยุโรป เสนอแนะเสร็จเรียบร้อยแล้ว และอยู่ระหว่างการลงรายละเอียดของหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม เพื่อสามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้อย่างแท้จริงต่อไป
12 มีนาคม-เมษายน 2558
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 161
Thailand Focus
กรมประมงผุดโครงการเพิ่มประสิทธิภาพ
การผลิตกุ้งทะเลครบวงจร กรมประมงจัดแถลงข่าว..เปิดตัว “สัตว์น้ำ 3 ชนิด” หนุนเข้า “แปลงใหญ่” ตามนโยบายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เมือ่ วันที่ 18 มีนาคม 2558 นายปีตพิ งศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา รัฐมนตรีว่าการกระทรวง เกษตรและสหกรณ์ ให้เกียรติเดินทางมามอบ นโยบาย “การเปิดตัวโครงการตามแผนการ ปรั บ โครงสร้ า งและพั ฒ นาการผลิ ต สิ น ค้ า ประมง” พร้อมเป็นประธานแถลงข่าวร่วมกับ นายจุ ม พล สงวนสิ น อธิ บ ดี ก รมประมง และนางสาวจูอะดี พงศ์มณีรัตน์ รองอธิบดี กรมประมง โดยมี นายชวลิต ชูขจร ปลัด กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และผู้บริหาร ระดับสูง ร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีแถลงข่าว เปิดตัวโครงการฯ ดังกล่าว ณ ห้องประชุม อานนท์ กรมประมง หวังสร้างความเข้มแข็ง ให้เกษตรกรไทยมีเสถียรภาพในการประกอบ อาชีพอย่างยั่งยืน พร้อมพัฒนาศักยภาพผล ผลิตทางการประมง เพือ่ มุง่ สูม่ าตรฐานสากล เล็งจัดการสัตว์น้ำ 3 ชนิด ได้แก่ กุ้งทะเล หอยแครง และปลานิล
นายปี ติ พ งศ์ พึ่ ง บุ ญ ณ อยุธยา รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าว ว่า โครงการตามแผนการปรับ โครงสร้างและพัฒนาการผลิต สิ น ค้ า ประมงเป็ น หนึ่ ง ใน นโยบาย “เกษตรแปลงใหญ่” ของกระทรวง เกษตรและสหกรณ์ ที่กำลังดำเนินการในปี 2558 ซึ่งมีการประยุกต์ใช้กับหลายโครงการ ทั้งด้านพืช ปศุสัตว์ และประมง โดยมุ่งเน้น ผลลัพธ์ 4 ด้าน คือ ลดต้นทุน เพิม่ ประสิทธิภาพ การผลิตให้เกิดมูลค่าเพิ่ม และเกิดระบบตลาด เพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันให้เกษตรกรไทย สำหรับลักษณะการดำเนินงานทีส่ ำคัญคือ การ รวมกลุ่มของเกษตรกรเจ้าของพื้นที่แปลงเล็ก ให้กลายเป็นการบริหารร่วมกันในพื้นที่ขนาด ใหญ่ที่ทำการเกษตรชนิดเดียวกัน ซึ่งจะทำให้ เกษตรกรมี อ ำนาจต่ อ รองเพิ่ ม ขึ้ น ทั้ ง การ
ที่มา : ข่าวกุ้ง ปีที่ 27 ฉบับที่ 320 เดือนมีนาคม 2558 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 161
มีนาคม-เมษายน 2558
13
(คนที่ 5-7 จากซ้าย) นายจุมพล สงวนสิน อธิบดีกรมประมง นายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา รมว. เกษตรฯ และนายชวลิต ชูขจร ปลัด ก.เกษตรฯ ถ่ายภาพร่วมกับผู้บริหารระดับสูงกรมประมง ในงานแถลงข่าวเปิดตัวโครงการ ตามแผนการปรับโครงสร้างและพัฒนา การผลิตสินค้าประมง ณ ห้องประชุมอานนท์ กรมประมง
จัดหาปัจจัยการผลิต และการจำหน่ายผลผลิต โดยมีภาครัฐเป็น “ผูจ้ ดั การ” ซึง่ จะมีการกำหนด แผนการดำเนินงานและเป้าหมาย ส่งเสริมการ ใช้ เ ทคโนโลยี เ พื่ อ ลดต้ น ทุ น และเพิ่ ม คุ ณ ภาพ กำหนดมาตรฐานการผลิต เช่น GAP และ เน้นเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เป็นต้น อีกทั้ง ยังเป็นผูช้ ว่ ยในการเชือ่ มโยงด้านการตลาด แต่ เกษตรกรจะไม่เสียสิทธิ์ในการเป็นเจ้าของที่ดิน การเลื อ กใช้ ปั จ จั ย การผลิ ต มี ก ารตั ด สิ น ใจ ร่วมกันในการผลิต การใช้เทคโนโลยี ซึ่งจะ เป็นการประหยัดและลดต้นทุน ตลอดจนเพิ่ม ประสิทธิภาพในการผลิตได้จนสามารถยืนหยัด อยู่ร่วมกันในสภาวะที่โลกมีการเปลี่ยนแปลงได้ นายจุมพล สงวนสิน อธิบดีกรมประมง กล่าวว่า สำหรับในส่วนของกรมประมงได้มี การนำร่องในสินค้าภาคประมง 3 ชนิด ได้แก่ กุ้งทะเล หอยแครง และปลานิล ซึ่งถือว่าเป็น ความท้าทายในการดำเนินงาน เนือ่ งจากสินค้า ทั้ง 3 ชนิดดังกล่าว เป็นสินค้าภาคประมงที่มี มูลค่าสูงในการทำรายได้ให้กับประเทศ แต่ที่ ผ่านมาต้องประสบกับอุปสรรคทั้งด้านการค้า ความเสียหายจากโรคระบาด ขาดศักยภาพ 14 มีนาคม-เมษายน 2558
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 161
ในการแข่งขัน ฯลฯ จึงทำให้เสียโอกาสในการ ตอบสนองต่อความต้องการของตลาด โดย เฉพาะสินค้ากุ้งทะเลซึ่งประเทศไทยเคยครอง แชมป์การส่งออกเป็นอันดับ 1 ของโลก แต่ กลับต้องเผชิญเหตุการณ์โรคระบาดที่เรียกว่า โรคตายด่วน (EMS) ส่งผลให้ผลผลิตกุ้งทะเล ของไทยลดลงถึงมากกว่าร้อยละ 50 รวมไปถึง สินค้าปลานิล ซึ่งแม้จะมีการขยายตลาดไป ได้มากแล้ว แต่ผลผลิตยังไม่เพียงพอต่อความ ต้องการ อีกทั้งยังต้องยกระดับมาตรฐานการ ผลิตให้เป็นที่ยอมรับอีกด้วย ส่วนหอยแครง ถือเป็นสินค้าที่ทำรายได้สูงถึงปีละกว่าพันล้าน บาท แต่ปัจจุบันพื้นที่เลี้ยงเริ่มเสื่อมโทรม ขาด การฟื้นฟู ประกอบกับวิธีการเลี้ยงไม่เหมาะสม ทำให้เกิดความเสียหายกับเกษตรกรอยู่บ่อย ครั้ง ซึ่งหากมีการส่งเสริมการผลิตและพัฒนา ศักยภาพการเลีย้ งให้เกิดความยัง่ ยืน น่าจะเป็น สัตว์น้ำที่น่าจับตามองอีกชนิดหนึ่งเลยทีเดียว โดยขณะนี้ กรมประมงได้มีการส่งต่อนโยบาย ไปยังระดับจังหวัดเพื่อเร่งเดินหน้าโครงการฯ พร้อมวางแผนเพื่อกำหนดทิศทางการดำเนิน งานที่ชัดเจนต่อไปแล้ว
ทั้งสิ้น 70.921 ล้าน บาท โดยกำหนดเป้าหมายให้มี การฟืน้ ฟูพนื้ ทีเ่ ลีย้ งหอยแครง จำนวน 9,920 ไร่ สร้างแหล่งพ่อแม่พันธุ์ (Seed Bed) ได้เพิ่มขึ้น 1 แหล่ง และเกษตรกรสามารถลดต้นทุนได้ อย่างน้อยร้อยละ 10 นางสาวจูอะดี พงศ์มณีรตั น์ รองอธิบดี กรมประมง ในฐานะผูก้ ำกับโครงการ ได้กล่าว ถึงรายละเอียดในแต่ละโครงการย่อยเป็นราย สินค้า ดังนี้ โครงการที่ 1 โครงการเพิม่ ประสิทธิภาพ การผลิตกุ้งทะเลอย่างครบวงจร ดำเนินการ ในพื้ น ที่ 6 จั ง หวั ด ได้ แ ก่ จั น ทบุ รี ตรั ง นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี ประจวบคีรขี นั ธ์ และตราด มีกิจกรรมที่ดำเนินการ 5 กิจกรรม ใช้งบประมาณรวมทั้งสิ้น 26.951 ล้านบาท โดยวางเป้ า หมายให้ ผ ลผลิ ต ของกุ้ ง ทะเลใน พืน้ ทีเ่ พิม่ ขึน้ ร้อยละ 50 และเกษตรกรสามารถ ลดต้ น ทุ น ลงได้ ร้ อ ยละ 10 สามารถสร้ า ง ตราสัญลักษณ์สินค้าของตนเองได้ โครงการที่ 2 โครงการพัฒนา และ ปรั บ ปรุ ง แหล่ ง ผลิ ต หอยแครง ดำเนิ น การ ที่จังหวัดเพชรบุรี เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีการ เลี้ยงหอยแครงมานาน จึงมีความเสื่อมโทรม ทัง้ พืน้ ทีแ่ ละผลผลิต ดังนัน้ การจัดทำโครงการ ครั้ ง นี้ จ ะเป็ น ต้ น แบบให้ กั บ พื้ น ที่ อื่ น ๆ โดยมี กิจกรรมสำคัญ 6 กิจกรรม ใช้งบประมาณ
โครงการที่ 3 คื อ โครงการเพิ่ ม ประสิทธิภาพการเพาะเลี้ยงปลานิลแบบครบ วงจร ดำเนินการในพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย กาฬสินธุ์ ชลบุรี และนครศรีธรรมราช มีกิจกรรมที่ดำเนินการ 7 กิจกรรมหลัก ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 22.305 ล้านบาท โดย กำหนดเป้าหมายให้มีผลผลิตปลานิลเพิ่มขึ้น ร้อยละ 10 สามารถลดต้นทุนการเลีย้ งปลานิล ได้อย่างน้อยร้อยละ 10 มีการรวมกลุม่ แปรรูป ได้ อ ย่ า งน้ อ ย 5 กลุ่ ม และมี ฟ าร์ ม ที่ ไ ด้ รั บ การรับรอง GAP อย่างน้อย 400 ฟาร์ม สามารถจัดตัง้ วิสาหกิจชุมชนอย่างน้อย 4 กลุม่ และจัดตั้งกลุ่มสหกรณ์ได้ 4 กลุ่ม ด้านการ ตลาดสามารถส่งจำหน่ายผลผลิตปลานิลใน ห้างสรรพสินค้าได้จังหวัดละ 1 แห่ง
ที่มา : ข่าวประชาสัมพันธ์ กรมประมง ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 161
มีนาคม-เมษายน 2558
15
Thailand Focus สรุปรายงานการเข้าร่วมงานเสวนา เรื่อง
อุตสาหกรรมปศุสัตว์...ยั่งยืน หรือ ย่ำแย่?? วันที่ 19 มีนาคม 2558 เวลา 09.00-17.00 น.
ณ ห้องเจ้าพระยาบอลรูม ชั้น 2 โรงแรมเจ้าพระยาปาร์ค
คณะกรรมการธุรกิจเกษตรและอาหาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ได้มีกำหนดจัดงาน เสวนาประจำปี เรื่อง “อุตสาหกรรมปศุสัตว์...ยั่งยืน หรือ ย่ำแย่??” วัตถุประสงค์เพื่อให้ภาคธุรกิจ ปศุสัตว์ และผู้ที่สนใจได้รับทราบสถานการณ์ในการดำเนินธุรกิจภาคปศุสัตว์ในปัจจุบัน และ แนวโน้มทิศทางทีจ่ ะเกิดขึน้ ในอนาคต โดยเฉพาะการสร้างความยัง่ ยืนของธุรกิจควบคูไ่ ปกับสังคม และสิ่งแวดล้อม โดยสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทยเป็นหนึ่งในหน่วยงานสนับสนุนการจัดงานและ ร่วมเสวนาแลกเปลี่ยนข้อมูลในงานดังกล่าว
ปาฐกถาพิเศษ “ห่วงโซ่การผลิตปศุสัตว์กับความยั่งยืน...ของสังคมและสิ่งแวดล้อม” โดย น.สพ. อยุทธ์ หรินทรานนท์ อธิบดีกรมปศุสัตว์
อุตสาหกรรมปศุสัตว์...ยั่งยืน หรือ ย่ำแย่?? ต้องร่วมด้วย...ช่วยกัน ก้าวต่อไป อย่างมุ่งมั่นและยั่งยืน สถานการณ์ของอุตสาหกรรมปศุสัตว์ในปีที่ผ่านมา ไทยยังคงเป็นผู้นำในส่วนของไก่เนื้อ ไก่ไข่ ส่งออกเป็นอันดับที่ 4 ของโลก และเป็นผูผ้ ลิตสุกรชัน้ นำในอาเซียน โดยผลิตเพือ่ ตอบสนอง ตลาดได้อย่างทั่วถึง มีเพียงการผลิตโคเนื้อ และโคนมที่ยังผลิตได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการ ของตลาด แม้ประเทศไทยจะผลิตโคนมส่งออกเป็นอันดับ 1 ในอาเซียน โคนมเป็นสัตว์ชนิดเดียว ทีส่ ร้างมูลค่าเพิม่ ได้สงู ทีส่ ดุ เนือ่ งจากมีการใช้แรงงานมหาศาล จะสังเกตได้วา่ ประเทศทีพ่ ฒ ั นาแล้ว จะนิยมเลีย้ งโค ในสถานการณ์ดา้ นอาหารสัตว์ ประเทศไทยก็ยงั เป็นผูส้ ง่ ออกอันดับ 1 ในอาเซียน มูลค่าส่งออกสินค้า ปศุสัตว์นั้นขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ในปี 2557 ไทยส่งออกเนื้อสัตว์แปรรูป มูลค่าถึง 84,810 ล้านบาท 16 มีนาคม-เมษายน 2558
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 161
สำหรับแนวทางการพัฒนาด้านการปศุสัตว์ เพื่อนำไปสู่ สัตว์ปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย ห่วงใยสิ่งแวดล้อม และสวัสดิภาพสัตว์ ประเทศไทยจะต้องแสวงหาโอกาสตลอดเวลา ต้องผลิต สินค้าพรีเมียม เพื่อรองรับตลาดต่างประเทศ ตอนนี้กรมปศุสัตว์มีนโยบายสร้างเขตตะวันออก ให้เป็นเขตปลอดโรค FMD (ปากเท้าเปื่อย) ซึ่งจะทำให้สินค้าปศุสัตว์มีเสถียรภาพในด้านราคา และสอดคล้องกับความต้องการของตลาดต่างประเทศ และหลังจากนี้จะขยายไปยังภูมิภาค ต่างๆ ต่อไป ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 161
มีนาคม-เมษายน 2558
17
ผลกระทบจากปัญหาสิ่งแวดล้อม...ต่อภาคปศุสัตว์ไทย โดย. ดร.ภาวิญญ์ เถลิงศรี (UNDP)
แนวโน้มในปี 2050 หรืออีก 35 ปีข้างหน้า ประชากรของโลกจะขยายตั ว เพิ่ ม มากขึ้ น โดย ทาง UNDP ได้มองภาพอนาคตไว้ 3 แบบ คือ S1 กรณี ป ระชากรมี ลู ก มี ห ลานเพิ่ ม ขึ้ น ต่ อ เนื่ อ ง ตัวเลขจะสูงถึง 10.5 พันล้านคน S2 กรณีประชากร เพิม่ ขึน้ ในอัตราทีน่ อ้ ยลง ตัวเลขจะอยูท่ ี่ 9 พันล้านคน และ S3 กรณีที่เพิ่มขึ้นถึงจุดอิ่มตัว และเริ่มคงที่ หรือเริ่มจะลดลงตัวเลขอยู่ที่ 8 พันล้านคน จะเห็นได้ว่าประเทศในแถบ East Asia จะมีการเพิ่มของความต้องการอาหารมากที่สุด (กิโลแคลลอรี่/คน/วัน) ถ้าความต้องการบริโภคมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างนี้ โลกควรจะต้องทำ อย่างไร มีทรัพยากรหรือพื้นที่เพียงพอหรือไม่ในการเลี้ยงและเพาะปลูกวัตถุดิบ FAO กล่าว ไว้ว่า การขยายพื้นที่นั้นเป็นไปไม่ได้เลย ทางออกมีเพียงการเพิ่ม Yield เท่านั้น ซึ่งสอดคล้อง กับแนวคิดของสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย ที่ได้ทำการศึกษายุทธศาสตร์อาหารสัตว์ในอีก 20 ปีข้างหน้าด้วย สิ่งหนึ่งที่ควรมองคือเรื่องวัตถุดิบอาหารสัตว์ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของไทย ซึ่ง เป็นประเด็นอยู่ในขณะนี้ คือการรุกป่า และก่อให้ไฟป่าและหมอกควัน สิ่งเหล่านี้จะก่อให้เกิดการ กีดกันทางการค้า กรณีเดียวกับปลาป่นที่มีปัญหาแรงงานประมง และการจับแบบผิดกฎหมาย ประเทศไทยถึงว่ายังมีปัญหาในข้อต่อต้นน้ำอยู่ การสร้างมาตรฐานความยั่งยืนในทุกธุรกิจจึง เป็นสิ่งสำคัญยิ่ง
18 มีนาคม-เมษายน 2558
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 161
การเสวนา เรื่อง “สถานการณ์วัตถุดิบอุตสาหกรรมอาหารสัตว์กับความยั่งยืน... ของสังคมและสิ่งแวดล้อม”
นางสุรีย์ ยอดประจง นายกสมาคมการค้ามันสำปะหลัง ในส่วนของวัตถุดิบมันสำปะหลัง เรียกได้ว่ามีความยั่งยืนอย่างแน่นอน เมื่อพิจารณาจากข้อมูลผลผลิตมันสำปะหลังจะพบว่ามีพื้นที่ เพาะปลูก และผลผลิตต่อไร่เพิ่มมากขึ้นในทุกๆ ปี แม้ผลผลิตต่อไร่จะเพิ่มขึ้นแต่ยังไม่เท่าที่ คาดการณ์เนื่องจากมีปัจจัยทางธรรมชาติเข้ามาเกี่ยวข้องก็ตาม ในปี 2558 สมาคมฯ คาดการณ์ผลผลิตอยู่ที่ 31 ล้านตัน ในขณะที่ความต้องการใช้ น่าจะอยู่ที่ 41.3 ล้านตัน โดยในปี 2557 มีผลผลิตอยู่ที่ 30.2 ล้านตัน ความต้องการใช้อยู่ที่ 40.9 ล้านตัน ถือว่ายังมีความต้องการใช้อยู่มากกว่าผลผลิต ที่ผ่านมามีการนำเข้ามันสำปะหลัง จากประเทศกัมพูชา และ สปป.ลาว ประมาณ 10.7 ล้านตัน และอนาคตจะเห็นการนำเข้าจาก เมียนมาร์ด้วยเพื่อมาชดเชยความต้องการที่ยังขาดไป ทั้งนี้ ธุรกิจที่น่าจับตามองการนำไปใช้ ผลิตเอทานอล ในประเทศไทยเองในส่วนของการนำไปใช้เป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์มีแนวโน้มลด น้อยลง ส่วนหนึ่งเกิดจากปัจจัยด้านราคาของพืชอื่น อาทิ ปลายข้าวของรัฐบาล และข้าวสาลี เป็นต้น ปริมาณการใช้มันสำปะหลังเป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ในส่วนของมันเส้นและมันอัดเม็ดอยู่ที่ 5 แสนตัน/ปี ทอนหัวมันสำปะหลังอยู่ที่ 1.125 ล้านตัน/ปี ในด้านการส่งออกผลผลิตส่วนมาก จะเน้นส่งออกไปจีน เพือ่ ใช้ทำแอลกอฮอล ปี 56/57 ส่งออกรวม 7.15 ล้านตัน แต่ในปี 57/58 (ต.ค. 57-ม.ค. 58) มียอดส่งออกถึง 2.5 ล้านตัน และคาดว่าจะถึง 3 ล้านตันในเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งถือว่ามีแนวโน้มส่งออกเพิ่มขึ้น
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 161
มีนาคม-เมษายน 2558
19
นางสาวพจนันท์ กองมาก ผู้อำนวยการศูนย์ตรวจสอบและรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตร ในเขตปฏิรูปที่ดิน กล่าวว่าสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ส.ป.ก. มีหน้าที่ ในการจัด ที่ดินและที่อยู่อาศัยให้เกษตรกร ฟื้นฟูสภาพแวดล้อม และการใช้ประโยชน์ทรัพยากรในเขตปฏิรูป ที่ดิน พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและส่งเสริมการเรียนรู้ รวมทั้ง สนับสนุนเงินทุนเพื่อพัฒนาอาชีพ เกษตรกร โดยมีเขตพืน้ ทีด่ แู ลทัง้ สิน้ 35 ล้านไร่ มีเกษตรกรภายใต้การดูแลถึง 2.7 ล้านราย โดยมี ศูนย์ตรวจสอบและรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตร 71 จังหวัดทั่วประเทศ ทำหน้าที่ดูแลใน ขอบข่ายพืชอุตสาหกรรม 4 ชนิด ได้แก่ อ้อย มันสำปะหลัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และสัปปะรด โดยในปี 2558 นี้ จะขยายขอบเขตหน้าที่ออกไปในส่วนของข้าว และพืชผักเพิ่มขึ้นด้วย สำหรับศูนย์ตรวจสอบและรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรเป็นหน่วยงานที่ให้บริการด้าน รับรองระบบการผลิตพืชตามมาตรฐานสินค้าเกษตรด้วยบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ ให้ บริการด้วยความรวดเร็ว ถูกต้อง โปร่งใส และเป็นธรรม โดยมุง่ หวังให้มกี ารยกระดับกระบวนการ ผลิตและผลผลิตพืชให้ได้มาตรฐาน มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค ที่ผ่านมาได้มีความร่วมมือกับ สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย และ UNDP ในการทำระบบมาตรฐานข้าวโพดเลี้ยงสัตว์อย่าง ยั่งยืนขึ้น และพร้อมที่จะสนับสนุนและทำงานร่วมกับภาคเอกชนเพื่อสร้างความยั่งยืนในการผลิต วัตถุดิบอาหารสัตว์ และพืชต่างๆ ที่รับผิดชอบต่อไป
20 มีนาคม-เมษายน 2558
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 161
นายบุญธรรม อร่ามศิรวิ ฒ ั น์ เลขาธิการสมาคมผูผ้ ลิตอาหารสัตว์ไทย กล่าวถึงวิวฒ ั นาการ ของการพัฒนาธุรกิจอาหารสัตว์ว่าน่าจะมีมานานกว่า 60 ปีแล้ว การผลิตอาหารสัตว์ในเชิง การค้าเริ่มเห็นได้ชัดเมื่อปี 2516 ปริมาณการส่งออกไก่เนื้อเพิ่มขึ้นตามจำนวนประชากร และ สภาพเศรษฐกิจของประเทศ จนเพียงพอต่อการบริโภคภายในประเทศแล้ว ยังเหลือส่งออกไปยัง ต่างประเทศได้อีกด้วย ในปี 2531 มีปริมาณการผลิตอาหารสัตว์จำนวน 5 ล้านตัน มาจนปัจจุบันคือปี 2558 สมาคมฯ คาดการณ์จำนวนอยู่ที่ 17.9 ล้านตัน ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาธุรกิจอาหารสัตว์พบกับ ปัญหาและเหตุการณ์วิกฤตต่างๆ มากมาย ตั้งแต่วิกฤตต้มยำกุ้งในปี 2540 ทำให้ภาคธุรกิจ ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 161
มีนาคม-เมษายน 2558
21
โดยรวมลดลงถึง 40% วิกฤตไข้หวัดนกในปี 2547 ทำให้การเลี้ยงสัตว์ปีกลดลง 10% วิกฤต แฮมเบอร์เกอร์ในปี 2551 ทำให้เกิดการแย่งอาหารและพลังงานกัน ทำให้ต้นทุนสูงขึ้น วิกฤต อุทกภัย กระทบต่อภาวะการเลี้ยงสัตว์ถึง 1 เดือนเศษ มาจนถึงปี 2555 วิกฤตภัยแล้งใน อเมริกาเหนือ-ใต้ ซึ่งเป็นแหล่งวัตถุดิบอาหารสัตว์ทำให้ต้นทุนแพงขึ้น จะเห็นได้ว่าจากสถิติ ในอดีต อาหารสัตว์มีการเติบโตเฉลี่ย 9-10% แต่หากมองย้อนเทียบจาก 3 ปีหลังสุดจะพบว่า อัตราการเติบโตของธุรกิจอาหารสัตว์เทียบระหว่างปี 2556-2557 เติบโตเพียง 8.2% ปี 25572558 เติบโตเพียง 6.9% และหากมองไปอีก 20 ปีข้างหน้า บนเงื่อนไขปัจจุบัน จะพบว่าไก่เนื้อจะขยายตัวมากที่สุด เฉลี่ยปีละ 5.2% ในขณะที่วัวเนื้อและวัวนมลดลงเกือบ 1% ต่อปี และเมื่อมองในองค์รวมแล้ว อีก 20 ปีข้างหน้า อาหารสัตว์จะเติบโตเฉลี่ยเพียง 3.7% เท่านั้น จึงถือว่าเป็นสัญญานที่ชัดเจน มากว่า ธุรกิจอาหารสัตว์จะเติบโตแบบถดถอย
ในส่วนของการสร้างความยั่งยืนในธุรกิจนั้น จำเป็นจะต้องมององค์ประกอบ 3 ส่วน คือ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยมุ่งเน้นการสร้างสมดุลระหว่างกัน เมื่อประชากรเพิ่มขึ้น การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จะต้องเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพโดยเฉพาะกระแสการรักษาสิ่งแวดล้อม เป็นสิ่งที่ควรคำนึงถึง สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทยได้ร่วมกับ สปก. และ UNDP ในการสร้าง มาตรฐานระบบผลิตข้าวโพดยั่งยืน ซึ่งเป็นการทำล่วงหน้า ไม่ได้วิ่งตามเหมือนกรณีเดียวกับ วัตถุดิบปลาป่นที่มีปัญหาอยู่ ซึ่งเรื่องเหล่านี้จะต้องใช้ระยะเวลาในการแก้ไขปัญหา 22 มีนาคม-เมษายน 2558
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 161
นายชยานนท์ กฤตยาเชวง นายกสมาคมธุรกิจเวชภัณฑ์สัตว์ กล่าวว่าในเรื่องของวัคซีน และอาหารเสริมประเทศไทยไม่ได้ขาดแคลน เวชภัณฑ์สัตว์ถือเป็นต้นทุนของภาคปศุสัตว์เพียง 3-5% เท่านั้น ความเข้าใจที่จะลดค่าใช้จ่ายจากส่วนนี้ถือว่าเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน การ จัดการระบบการเลีย้ ง และการลดต้นทุนอาหารสัตว์ลงจะเป็นทางเลือกทีถ่ กู ต้องมากกว่า ทีผ่ า่ นมา ภาคปศุสัตว์มีความผันผวนมาก กำไร 1 ปี ขาดทุน 2 ปี กำไร 6 เดือนขาดทุน 9 เดือน หรือ กำไร 4 เดือนก็ถูกคุมราคาซะแล้ว ความผันผวนดังกล่าวเกิดจากหลายสาเหตุ อาทิ ภาวะ เศรษฐกิจภายในประเทศและต่างประเทศ, ผู้บริโภคขาดความรู้ด้านการบริโภค และทางเลือก, ภาวะโรคระบาด, ต้นทุนวัตถุดิบ, อาหารสัตว์, พันธุ์สัตว์ และแรงงาน, มาตรฐาน+กฎเกณฑ์+ กฎหมายใหม่ๆ เช่น มาตรฐานฟาร์ม+สิง่ แวดล้อม (Green Farm) พ.ร.บ. คุม้ ครองสวัสดิภาพสัตว์ กฎหมายแรงงาน เป็นต้น สือ่ ในปัจจุบนั ทีอ่ อกมาไม่ได้ยดึ หลักวิชาการทำให้เกิดการเข้าใจผิด ทำให้การบริโภคไข่ลดลง การบริโภคหมูลดลงในช่วงที่มีข่าวว่ามีโรค ซึ่งถือว่าเป็นบทบาทหลักของสมาคมที่จะเผยแพร่ ถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีให้กับสังคมได้รับทราบ
นายมงคล พิพัฒน์สัตยานุวงศ์ นายกสมาคมผู้ผลิตผู้ค้าและส่งออกไข่ไก่ 95% ของไข่ไก่ ผลิตเพื่อบริโภคภายในประเทศ คนไทยบริโภคไข่ไก่เฉลี่ย 180-190 ฟอง/คน/ปี ซึ่งหากคำนวณ ตามจำนวนประชากรไทยแล้ว ผลผลิตไข่ไก่ควรจะอยูท่ ี่ 13,000 ล้านฟอง/ปี แต่ปจั จุบนั มีผลผลิต อยูท่ ี่ 15,000 ล้านฟอง/ปี เป็นสาเหตุให้ราคาไข่ไก่ตกต่ำ ปัจจุบนั ราคาไข่ไก่ตำ่ สุดถึง 2 บาท/ฟอง ในเดือนมีนาคม 2558 ที่ผ่านมาเกษตรกรผู้เลี้ยงต้องพบกับสภาวะขาดทุนราคาขายเฉลี่ยในปี 2558 อยู่ที่ 2.31 บาท/ฟอง ในขณะที่ต้นทุนผลิตอยู่ที่ 2.94 บาท/ฟอง หากมองย้อนไป ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 161
มีนาคม-เมษายน 2558
23
จะพบว่าการนำเข้าไก่ไข่พันธุ์ในปี 2553 ก่อนเปิดเสรีจำนวนไม่ถึง 5 แสนตัว แต่ในปัจจุบันมีถึง กว่า 6 แสนตัว อีกทั้งแผนของการนำเข้าภาครัฐในปี 2558 ระบุไว้ที่ 8 แสนตัว สะท้อนให้เห็น แล้วว่าภาครัฐควรต้องมีระบบการจัดการควบคุมแม่พันธุ์ไก่ไข่เพื่อป้องกันปัญหาผลผลิตล้นตลาด รวมถึงมาตรการสนับสนุนให้ปลดแม่พันธุ์เพื่อลดการผลิตลง นอกจากนี้แล้ว ควรการสนับสนุน กิจการบางส่วนให้สามารถส่งออกไข่ไก่ได้ อาทิ ค่าบรรจุภัณฑ์ หรือค่าเฟสขนส่ง นายคึกฤทธิ์ อารีปกรณ์ ผู้จัดการสมาคมผู้ผลิตไก่เพื่อส่งออกไทย จากข้อมูลของทาง USDA การผลิตไก่ทั้งโลกเพิ่มมากขึ้น 1.53% โดยอันดับหนึ่งคือ สหรัฐอเมริกา ผลิตได้ 17.75 ล้ า นตั น เพิ่ ม ขึ้ น 2.89% ปี ที่ ผ่ า นมา มี ปั ญ หาหวั ด นก และโดนแบนจากรั ส เซี ย เกาหลี และญี่ปุ่นในบางรัฐ ส่วนอันดับ 2 อย่างบราซิล ผลิตได้ 13.11 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 3.43% เนื่อง จากค่าเงินลดลงทำให้ต้นทุนถูก จีนมีปัญหาเรื่องไข้หวัดนก บวกกับเศรษฐกิจในประเทศชะลอตัว และมีปัญหาการส่งออกกับญี่ปุ่นจึงมีผลผลิตทรงตัวอยู่ที่ 13 ล้านตัน ประเทศไทยถือเป็นอันดับ 9 ของโลก เติบโตได้ 3% อยู่ที่ 2.1 ล้านตัน แม้จะเกิดภาวะราคาตกลง แต่สินค้าไก่เป็นสินค้า ที่ปรับตัวเองได้เร็วภายใน 1-2 เดือน จึงไม่ใช่ปัญหา และหากลดการนำเข้าลูกไก่ในครึ่งปีหลัง ก็จะช่วยให้ราคากลับดีขึ้นมาได้ ในด้านการส่งออกไทยอยู่ในอันดับ 4 มีการส่งออกเพิ่มขึ้น 3.62% คิดเป็น 0.6 ล้านตัน คิดเป็นสัดส่วนการส่งออก 28% อีก 72% บริโภคภายในประเทศ ในขณะที่อันดับหนึ่งคือ บราซิล ส่งออกได้ 3.825 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 6.25% เนื่องจากสถานการณ์ในช่วงนี้ ญี่ปุ่นได้
24 มีนาคม-เมษายน 2558
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 161
ยกเลิกการนำเข้าไก่สด และรอเกาหลีเปิดตลาด จึงคาดว่าไทยสถานการณ์การส่งออกของไทย ดีขึ้น ปัญหาหลักของธุรกิจคือปัญหาค่าเงินที่อ่อนตัวลง 8.3% อยู่ที่ 32.7 บาท/เหรียญสหรัฐฯ ทำให้ต่างประเทศเข้ามาต่อรองราคา นายชูเกียรติ มโนรัตน์ กรรมการสมาคมผูเ้ ลีย้ งสุกร ได้ให้ภาพการผลิตเนือ้ สุกรของโลกในปี 2557 มีจำนวนทัง้ สิน้ 109 ล้านตัน เพิม่ ขึน้ จากปี 2557 1.31% ประเทศจีนผลิตมาเป็นอันดับ 1 ที่ 54.7 ล้านตัน คิดเป็นสัดส่วนถึง 50.2% ของทัง้ โลก โดยมี EU27 และสหรัฐฯ เป็นอันดับที่ 2 และ 3 ผลิตอยูท่ ี่ 22.45 ล้านตัน และ10.8 ล้านตัน ตามลำดับ ส่วนประเทศไทยอยูใ่ นอันดับที่ 11 ของโลก ผลิตได้ที่ 1.09 ล้านตัน คิดเป็น 1% ในด้านการนำเข้าเนื้อสุกรมีประเทศญี่ปุ่น มาเป็นอันดับหนึ่ง 1.25 ล้านตัน โดยมีรัสเซีย และจีนตามมาเป็นอันดับที่ 2 และ 3 อยู่ที่ 0.92 ล้านตัน และ 0.77 ล้านตัน ในขณะนี้ประเทศผู้ส่งออกอันดับหนึ่งคือ สหรัฐฯ ส่งออกเนื้อสุกร อยูท่ ี่ 2.39 ล้านตัน ตามมาด้วย EU27 และแคนนาดา เป็นอันดับที่ 2 และ 3 อยูท่ ี่ 2.2 ล้านตัน และ1.24 ล้านตัน สภาพธุรกิจการเลี้ยงสุกรของไทยในปี 2558 ขณะนี้มีแม่พันธุ์สุกร 990,000 แม่ จำนวน สุกรขุนในฟาร์ม 6.4 ล้านตัว จำนวนสุกรขุนที่คาดว่าผลิตได้ 16.5 ล้านตัว จังหวัดที่มีการ เลี้ยงสุกรมากที่สุด 5 อันดับ คือ ราชบุรี ชลบุรี นครปฐม นครราชสีมา ฉะเชิงเทรา มูลค่า ทางเศรษฐกิจ 100,000 ล้านบาท มีการจ้างงานโดยตรง 40,000 คน ใช้วัตถุดิบอาหารสัตว์ ประมาณ 5.0 ล้านตัน แบ่งเป็นข้าวโพด 3.0 ล้านตัน มันสำปะหลัง 0.25 ล้านตัน ปลายข้าว ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 161
มีนาคม-เมษายน 2558
25
0.5 ล้านตัน รำอ่อน 0.25 ล้านตัน ถั่วเหลือง 1.0 ล้านตัน และมีการใช้ยาวัคซีนประมาณ 10,000 ล้านบาท ประเทศไทยเองมีการส่งออกประมาณ 5% ของผลผลิต โดยในปี 2558 คาดการณ์ว่าจะส่งออกเนื้อหมูและผลิตภัณฑ์ 1.5% และหมูเป็นอีก 3.6% แนวโน้มการเลี้ยงสุกรของไทยในภาพรวมถือว่าเพิ่มขึ้น อาจจะมีชะลอบ้างในบางปีเท่านั้น ธุรกิจเลี้ยงหมูของไทยแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ 1. แบบครบวงจร และ 2. ซื้อลูกหมูมาขุน ซึ่ง ทัง้ สองแบบจะมีตน้ ทุนต่อกิโลกรัมอยูท่ ี่ 63 บาท และ 71 บาท ตามลำดับ ในขณะทีร่ าคาขายอยูท่ ี่ 58-63 บาทต่อกิโลกรัม ต่ำกว่าต้นทุน สะท้อนให้เห็นว่าแม้ธุรกิจเลี้ยงหมูจะยังคงที่ เนื่องจากมี ผูเ้ ลีย้ งรายใหม่เข้ามาทดแทนผูเ้ ลีย้ งรายย่อยทีล่ ม้ หายไป เรือ่ งแรงงานในฟาร์มขาดก็ถอื เป็นปัญหา หนึ่งของธุรกิจเลี้ยงหมู สำหรับทิศทางในปี 2558 ผลผลิตหมูนั้นจะเพิ่มมากขึ้นในขณะที่การ บริโภคในประเทศน้อยลง หนึ่งในทางออกคือการผลักดันให้สามารถส่งออกไปขายเพื่อนบ้านได้ และอีกทางหนึง่ คือการลดต้นทุนอาหารสัตว์ลง โดยเฉพาะการยกเลิกเก็บภาษีกากถัว่ เหลือง ปัญหา ทางด้านโรคก็ตอ้ งฝากให้หน่วยงานภาครัฐเข้มงวดในเรือ่ งของการนำเข้าโค กระบือจากต่างประเทศ เพื่อลดปัญหานี้ด้วย นายบรรจง นิสภวาณิชย์ กรรมการสมาคมกุ้งไทย “สด สะอาด ไร้สารตกค้าง” คือ คำขวัญของอุตสาหกรรมกุ้งไทย ผลผลิตกุ้งของโลกในปี 2557 อยู่ที่ 2.27 ล้านตัน โดย ประเทศไทยผลิตได้ 0.23 ล้านตัน คิดเป็น 10% ของผลผลิตโลก จากสถิติจะพบว่าในช่วงปี 2550-2555 ไทยเป็นผู้นำในการผลิตกุ้งมาโดยตลอด จนกระทั่งวิกฤตโรคตายด่วน ทำให้ในปี 2556 และ 2557 ประเทศไทยผลิตน้อยลงกว่าครึ่ง สมาคมฯ ได้คาดการ์ณสถานการณ์การ ผลิตกุ้งในปี 2558 ว่าจะอยู่ที่ประมาณ 0.25-0.3 ล้านตัน ถือว่าฟื้นขึ้นมาเพียงเล็กน้อยเท่านั้น 26 มีนาคม-เมษายน 2558
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 161
สถานการณ์ด้านการส่งออกในปี 2557 สามารถส่งออกได้ 0.16 ล้านตัน คิดเป็น มูลค่า 63,444 ล้านบาท ลดลงจากปี 2556 ซึ่งมีการส่งออกอยู่ที่ 0.21 ล้านตัน คิดเป็น มูลค่า 68,127 ล้านบาท ประเด็นปัญหาสำคัญนอกจากการสร้างความเชื่อมั่นในการเลี้ยงกุ้ง ให้กลับมาแล้ว ประเด็นปัญหาภายนอกประเทศไม่ว่าจะเป็นการทำประมงผิดกฎหมาย (IUU) ปัญหาแรงงานประมง และปัญหาถูกตัด GSP ถือเป็นประเด็นที่ท้าทายสำหรับอุตสาหกรรมกุ้ง ในปี 2558 นี้เป็นอย่างมาก ฉะนั้น ทุกหน่วยงานจะต้องมาช่วยกันในการแก้ไขประเด็นปัญหา เหล่านี้ เพื่อให้อุตสาหกรรมกุ้งไทยฟื้นตัวกลับมาได้อีกครั้ง คุณจูอะดี พงศ์มณีรัตน์ รองอธิบดีกรมประมง ได้พูดในภาพรวมว่าการสร้างความยั่งยืน เป็นสิ่งสำคัญ ทุกภาคส่วนต้องมีส่วนร่วม ต้องคำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมใน ปัจจุบัน เรื่องแรงกดดันจากต่างประเทศ เรื่อง IUU จะต้องเร่งดำเนินการแก้ไข ภาครัฐจะต้อง บังคับใช้กฎหมายอย่างเต็มที่ ผู้บริโภคเรียกร้องมาตรฐานมากขึ้น การผลักดันมาตรฐานของ ภาครัฐจึงมีความสำคัญ ต้องสร้างความเข้าใจให้ถูกต้องและลบความเห็นที่ว่า หากทำ GAP แล้ว จะได้อะไร แต่ต้องมองว่าไม่ทำแล้วจะเสียอะไร
จัดทำโดย : นายอรรถพล ชินภูวดล วันที่ 20 มีนาคม 2558
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 161
มีนาคม-เมษายน 2558
27
Food Feed Fuel
กรมปศุสัตว์ แจงความคืบหน้า
การแก้ไขปัญหาไข่ไก่
นายสัตวแพทย์อยุทธ์ หรินทรานนท์ อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยว่า สืบเนื่องจาก มติ ที่ ป ระชุ ม คณะกรรมการนโยบายพั ฒ นา ไก่ไข่และผลิตภัณฑ์ หรือ Egg Board ครั้งที่ 1-58 เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2558 ซึ่ง เห็นชอบแนวทางการแก้ไขปัญหาผลผลิตไข่ไก่ ล้นตลาดและราคาตกต่ำระยะสั้น หรือเร่งด่วน 3 มาตรการ ดังนี้ มาตรการที่ 1 ขอความร่ ว มมื อ จาก หน่ ว ยงานราชการจั ด สถานที่ ใ ห้ เ กษตรกร นำไข่ไก่จำหน่ายตรงผูบ้ ริโภค เพือ่ เพิม่ ช่องทาง การตลาด โดยกรมปศุสัตว์ได้ทำหนังสือถึง ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด เพื่อขอความ ร่วมมือดำเนินการตามมติที่ประชุม มาตรการที่ 2 คือ วิธีที่ 1 ลดปริมาณ ผลผลิตไข่ไก่ส่วนเกิน โดยระบายไข่ไก่ที่เหลือ ในฟาร์มออกจากระบบ เพื่อส่งออกไข่ไก่สด หรือเก็บเข้าโรงงานแปรรูปไข่ไก่ส่งออก โดย ขอเงิ น กองทุ น รวมเพื่ อ ช่ ว ยเหลื อ เกษตรกร (คชก.) ชดเชยฟองละไม่ เ กิ น 50 สตางค์
และวิธีที่ 2 โดยปลดแม่ไก่ไข่ก่อนกำหนดทุก ช่วงอายุ (อายุแม่ไก่ไข่ไม่เกิน 65 สัปดาห์) โดยใช้หลักเกณฑ์ที่เคยเสนอขอเงิน คชก. ปี 2555 และมาตรการที่ 3 กำหนดปริมาณการ เลี้ ย งไก่ ไ ข่ ที่ เ หมาะสม โดยให้ น ำเสนอคณะ รั ฐ มนตรี พิ จ ารณาเพื่ อ ขอความเห็ น ชอบให้ คณะกรรมการนโยบายพัฒนาไก่ไข่และผลิตภัณฑ์ หรือ Egg Board มีอำนาจบริหาร จัดการไก่ไข่และไข่ไก่ทงั้ ระบบ โดยกรมปศุสตั ว์ ควบคุมปริมาณการเลี้ยงไก่ไข่และบริหารจัด การไก่ไข่พันธุ์ นอกจากนี้ ที่ ป ระชุ ม ได้ ม อบหมายให้ กรมปศุ สั ต ว์ จั ด ทำรายละเอี ย ดโครงการเพื่ อ ขอรั บ เงิ น คชก. และทำหนั ง สื อ เสนอคณะ รัฐมนตรีเพื่อให้ Egg Board มีอำนาจบริหาร จัดการไก่ไข่และไข่ไก่ทั้งระบบ รวมทั้งขอความ ร่วมมือกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ป้องปราม ผู้ประกอบการไม่ให้ทุ่มตลาด หรือ ขายตัดราคา
ที่มา : กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมปศุสัตว์
28 มีนาคม-เมษายน 2558
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 161
ผลการดำเนินงาน คือ · การเพิ่มช่องทางการตลาด โดยกรมปศุสัตว์ได้มีหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด ขอความร่วมมือ ส่วนราชการจัดสถานทีใ่ ห้เกษตรกรนำไข่ไก่จำหน่ายตรงผูบ้ ริโภค ถึงเดือนธันวาคม 2558 · การขอเงินสนับสนุนจ่ายขาดจาก คชก. ซึ่งกรมปศุสัตว์ได้ เสนอโครงการรักษาเสถียรภาพราคาไข่ไก่ ปี 2558 เพื่อปลดไก่และรวบรวมไข่ไก่ออกจากระบบ ตั้งแต่วันที่ 22 มีนาคม 2558 · การแก้ปัญหาระยะยาว กรมปศุสัตว์ได้ขอความร่วมมือผู้เลี้ยงไก่ไข่พันธุ์ปรับลดกำลัง ผลิตและปรับแผนการนำเข้าลูกไก่ไข่พันธุ์ ปี 2558 กำหนดประชุมผู้เลี้ยงไก่ไข่พันธุ์ และลด กำลังผลิตลูกไก่ไข่ เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2558 และทำเรื่องเสนอ ครม. เพื่อขอยกเลิกมติ ครม. วันที่ 13 กรกฎาคม 2553 ตามหนังสือด่วนที่สุด เลขที่ กษ 0614/1223 ลงวันที่ 22 มีนาคม 2558 และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ลงนามเสนอเลขาธิการคณะ รัฐมนตรี เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2558 อธิบดีกรมปศุสัตว์กล่าวในที่สุด
ข้อมูล : กองส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์ ข่าว : เพ็ญศิริ ดวงอุดม นักวิชาการเผยแพร่ชำนาญการ ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 161
มีนาคม-เมษายน 2558
29
Food Feed Fuel
พยากรณ์สินค้าเกษตร ช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม 2558
สัญลักษณ์ สินค้า
ปกติ มีปัญหาราคาสูง มีปัญหาราคาต่ำ ช่วงพยากรณ์ มี.ค. 58 เม.ย. 58 พ.ค. 58
การพยากรณ์ในช่วง 3 เดือน
กลุ่มสินค้าผลิตเพื่อส่งออก ข้าวนาปรัง ผลผลิตโดยรวมน้อยกว่าปีที่ผ่านมาประมาณ 31% ปี 2558 เนื่องจากขาดแคลนน้ำในการเพาะปลูกทำให้พื้นที่ เพาะปลูกลดลง เกษตรกรทยอยเก็บเกี่ยวผลผลิตออกสู่ ตลาดไปบ้างแล้ว โดยจะออกมากในช่วงเดือน มี.ค. ในขณะที่รัฐบาลชนะการประมูลขายข้าวให้ฟิลิปปินส์ แบบ G to G จำนวน 2 แสนตัน กำหนดส่งมอบเป็น ข้าวใหม่ในช่วงเดือนมี.ค.-เม.ย. 58 รวมทั้งให้ชะลอ การระบายข้าวในสต็อกไว้ก่อน คาดว่าจะช่วยพยุงราคา ข้าวในประเทศได้ระดับหนึ่ง มันสำปะหลัง อยู่ในช่วงผลผลิตออกสู่ตลาดมาก โดยจะออกมากไปถึง ช่วงเดือน เม.ย. 58 ราคามีแนวโน้มอ่อนตัวลง ไก่เนื้อ
กุ้ง (ขาว แวนนาไม)
ผลผลิตมีเพียงพอกับความต้องการของตลาด ปริมาณ การใช้มีมากตามปกติ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ประกอบการ ร้านอาหารฟาสต์ฟู้ด ราคามีแนวโน้มทรงตัว หรือปรับ ขึ้นเล็กน้อย ผลผลิตมีแนวโน้มออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น จากอัตราการรอด ของลูกกุ้งมีเพิ่มขึ้น แต่จากสภาพอากาศที่ร้อนเป็น อุปสรรคต่อการเลี้ยง กุ้งที่ได้ขนาดเล็กลง ทำให้ราคา อาจปรับลดลงในระดับหนึ่ง
หมายเหตุ ช่วงออกสูต่ ลาด มี.ค.-ก.ย.
ธ.ค. 57มี.ค. 58
(ช่วงออกมาก)
ม.ค.-ธ.ค.
มิ.ย.-พ.ย.
(ช่วงออกมาก 60%)
30 มีนาคม-เมษายน 2558
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 161
สินค้า
ช่วงพยากรณ์ มี.ค. 58 เม.ย. 58 พ.ค. 58
การพยากรณ์ในช่วง 3 เดือน
กลุ่มสินค้าผลิตเพื่อบริโภคภายในประเทศ ข้าวโพด เป็นช่วงปลายฤดู ผลผลิตออกสู่ตลาดน้อยลงเป็นลำดับ เลี้ยงสัตว์ แนวโน้มราคาเคลื่อนไหวอยู่ในเกณฑ์ดี ปาล์มน้ำมัน ผลผลิตทยอยออกสู่ตลาดมากขึ้น ราคามีแนวโน้ม อ่อนตัวลง ซึ่งภาครัฐได้เตรียมมาตรการรองรับแล้ว โดยในเบื้องต้นให้กระทรวงพลังงานปรับสัดส่วนการใช้ น้ำมันปาล์มทำไบโอดีเซลให้มากขึ้น สุกร ปริมาณผลผลิตสุกรที่ออกสู่ตลาดมีเพียงพอกับความ ต้องการของตลาด ราคามีแนวโน้มทรงตัว หรือ ปรับสูงขึ้นเล็กน้อย ไข่ไก่ ปริมาณผลผลิตยังคงมีมากกว่าความต้องการ ขณะที่ ภาวะการค้าชะลอตัวลง เนื่องจากโรงเรียนปิดภาคเรียน ราคาเคลื่อนไหวอยู่ในเกณฑ์ต่ำ คาดว่าจะมีการปลด แม่ไก่ยืนกรงออกจำนวนหนึ่งเพื่อลดปริมาณไข่ในระบบ กลุ่มสินค้าที่ต้องนำเข้า ถั่วเหลือง (ฤดูแล้ง) ปลาป่น
หมายเหตุ ช่วงออกสูต่ ลาด มิ.ย.-พ.ค. ม.ค.-ธ.ค. (มีผลผลิต ออกทั้งปี)
ม.ค.-ธ.ค.
ม.ค.-ธ.ค.
ผลผลิตเริ่มทยอยออกสู่ตลาด ผลผลิตส่วนใหญ่มีคุณภาพ ม.ค.-พ.ค. 58 แนวโน้มราคาเคลื่อนไหวอยู่ในเกณฑ์ปกติ ราคามีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นตามความต้องการใช้ของ ม.ค.-ธ.ค. ภาคปศุสัตว์ที่มีมากขึ้น
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 161
มีนาคม-เมษายน 2558
31
Food Feed Fuel
สถานการณ์
สุกร
ปี 2554 1. ผลผลิต (ล้านตัว) : สศก. 2. ใช้ภายในประเทศ (ล้านตัว) : สศก. 3. ส่งออกเนือ้ สุกร - ปริมาณ (ตัน) - มูลค่า (ล้านบาท) ส่งออกสุกรมีชีวิต - ปริมาณ (ตัว) - มูลค่า (ล้านบาท)
ปี 2555
ปี 2556
ปี 2557
11.89 12.83 13.07 12.82 11.29 12.19 12.42 12.18 11,972 14,392 15,917 16,247 2,290 2,717 2,653 2,754 353,716 533,593 261,249 434,176 1,580 2,019 992 1,907
4. ต้นทุนการผลิต (บาท/กก.) : สศก.
59.78
58.00
59.44
69.86
5. ราคาสุกรมีชีวิตแหล่งผลิต (บาท/กก.)
65.28
55.59
67.00
75.17
ปี 2558
(ประมาณการ)
13.08 12.43 3,435 497 123,738 574
(ม.ค.-ก.พ. 58)
68.38
(f มี.ค. 58)
63.45
(มี.ค. 58)
ที่มา : ผลผลิต การใช้ ต้นทุน : สศก./ส่งออก : กรมศุลกากร/ราคา : คน.
1. สถานการณ์ เดือนมีนาคม 2558 จากปัจจัยด้านสภาพอากาศที่ร้อนขึ้น ส่งผลกระทบต่อการเลี้ยงสุกร ทำให้สุกรโตช้าและ ออกสู่ตลาดน้อยลงเมื่อเทียบกับช่วงที่ผ่านมา ในขณะที่ภาวะการค้ายังค่อนข้างชะลอตัว ปริมาณ ผลผลิตสุกรจึงยังสมดุลกับปริมาณความต้องการใช้ ด้านราคาสุกรมีชวี ติ หน้าฟาร์มปรับสูงขึน้ จาก กก. 62-63 บาท (ก.พ. 58) เป็น กก. ละ 66-67 บาท (มี.ค. 58) แต่ยังอยู่ในระดับที่ต่ำกว่า ช่วงเดียวกันของปีก่อน 2. แนวโน้ม เดือนเมษายน-พฤษภาคม 2558 คาดว่า สภาพอากาศที่ร้อนขึ้นตามฤดูกาลจะส่งผลให้สุกรออกสู่ตลาดช้า และมีปริมาณ ลดลง ด้านภาวะการค้าโดยรวมยังทรงตัว และมีแนวโน้มคล่องตัวขึ้นในช่วงสั้นๆ ของเทศกาล สงกรานต์และหลังโรงเรียนเปิดเทอม ด้านราคาสุกรมีชีวิตหน้าฟาร์มมีแนวโน้มปรับสูงขึ้น ตาม ภาวะอุปสงค์อุปทาน
กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ เมษายน 2558
32 มีนาคม-เมษายน 2558
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 161
Food Feed Fuel
สถานการณ์
กุ้งขาวแวนนาไม ปี 2554
1. ผลผลิตโลก (ตัน) : สมาคมกุ้งไทย 2. ผลผลิตไทย (ตัน) : กรมประมง - กุ้งขาวแวนนาไม - กุ้งกุลาดำ 3. การใช้ภายใน (ตัน) 4. การนำเข้า ปริมาณ (ตัน) มูลค่า (ล้านบาท) 5. การส่งออก ปริมาณ (ตัน) มูลค่า (ล้านบาท)
ปี 2555
ปี 2556
ปี 2557
2,353,000 2,120,000 2,120,000 2,270,500 502,188 472,881 256,765 210,000 500,726 457,662 246,494 197,400 1,462 15,219 10,271 12,600 50,000 47,300 25,676 21,000 30,504 19,606 22,467 20,722 1,561 2,290 3,447 3,980 394,294 348,778 212,323 164,603 110,565 95,372 69,218 64,273
6. ราคา (บาท/กก) : ตลาดทะเลไทย
141
137
219
223
7. ต้นทุนการผลิต (บาท/กก.)
114
120
150*
150*
(ขนาด 60 ตัว/กก.)
ปี 2558
(ประมาณการ)
300,000 282,000 18,000 30,000 3,328 602
(ม.ค.-ก.พ. 58)
22,968 7,996
(ม.ค.-ก.พ. 58)
189
(มี.ค. 58)
: กรมประมง *ต้นทุนปี 56-57 เป็นค่าเฉลี่ยของขนาด 50 – 100 ตัว/กก. และประสบปัญหาการสูญเสียจาก EMS หมายเหตุ 1. ที่มา นำเข้า-ส่งออก : กรมศุลกากร 2. ราคาและต้นทุนการผลิต เป็นกุ้งขาวแวนนาไม ขนาด 60 ตัว/กก.
1. สถานการณ์ เดือนมีนาคม 2558 ปริมาณผลผลิตที่ออกสู่ตลาดมากขึ้น เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยลบด้านการผลิตการตลาด อาทิ สภาพอากาศร้อนทำให้น้ำมีความเค็มมากขึ้น โรคใน ระบบการผลิต ห้องเย็น/ผูส้ ง่ ออกชะลอการซือ้ กุง้ เนือ่ งจากไม่มคี ำสัง่ ซือ้ จากผูน้ ำเข้า ภาวะดังกล่าว ส่งผลให้ราคากุ้งปรับลดลงจากเดือนก่อน เฉลี่ยร้อยละ 7.80 2. แนวโน้ม เดือนเมษายน-พฤษภาคม 2558 จากการบริหารจัดการในระบบการผลิตที่ดีขึ้น และภาวะโรค EMS ที่คลี่คลายลง ทำให้ เกษตรกรมีความมั่นใจในการลงลูกกุ้งมากขึ้น ซึ่งคาดว่าจะทำให้ปริมาณผลผลิตที่เข้าสู่ตลาด ในช่วงปลายพฤษภาคม 2558 เพิ่มขึ้น ในขณะที่ภาวะการค้าในประเทศและการส่งออกยังมี แนวโน้มชะลอตัวต่อเนื่อง ภาวะดังกล่าวอาจจะส่งผลให้ราคากุ้งปรับลดลงระดับหนึ่ง กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ เมษายน 2558 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 161
มีนาคม-เมษายน 2558
33
Food Feed Fuel
ไข่ไก่
สถานการณ์
ปี 2554 1. ผลผลิต (ล้านฟอง)
ปี 2555
ปี 2556
ปี 2557
10,024 11,363 9,953 11,355 72 222
10,998 13,320 10,849 11,680 150 395
11,148 13,519 10,971 12,800 178 462
11,718 14,265 11,593 13,790 144 446
4. ต้นทุนการผลิต : สศก. (บาท/ฟอง)
2.61
2.58
2.87
2.99
5. ราคา ไข่ไก่สดคละ (บาท/ฟอง)
2.89
2.39
3.02
2.88
Egg Board 2. การใช้ภายในประเทศ (ล้านฟอง) Egg Board 3. การส่งออก - ปริมาณ (ล้านฟอง) - มูลค่า (ล้านบาท)
ปี 2558
(ประมาณการ)
11,939 15,100 11,700 14,610 41 126
(ม.ค.-ก.พ. 58)
2.93
(f มี.ค. 58)
2.06
(มี.ค. 58)
ที่มา : ผลผลิต การใช้ ต้นทุน : สศก./ส่งออก : กรมศุลกากร/ราคา : คน.
6. สรุปสถานการณ์ เดือนมีนาคม 2558 ภาวะการผลิตปกติ ผลผลิตไข่ไก่มีปริมาณมากกว่าความต้องการของตลาด ภาวะการค้า ชะลอตัวค่อนข้างมาก ความต้องการใช้และบริโภคลดลงจากปกติเนื่องจากโรงเรียนปิดภาคเรียน ราคาไข่ไก่คละ หน้าฟาร์มเคลื่อนไหวอยู่ในเกณฑ์ต่ำ ราคาขายส่งและราคาขายปลีกในตลาดสด ทั่วไปปรับลดลงไปในทิศทางเดียวกัน 7. มาตรการด้านการตลาด ดำเนินมาตรการเพิ่มช่องทางการจำหน่ายผลผลิตและเชื่อมโยงผู้เลี้ยงไก่ไข่ นำผลผลิตมา จำหน่ายให้แก่ผบู้ ริโภคโดยตรง เพือ่ บรรเทาความเดือดร้อนของผูเ้ ลีย้ งไก่ไข่ทปี่ ระสบปัญหาผลผลิต ล้นตลาดและราคาตกต่ำ ตลอดเดือนมีนาคม 2558 ทัง้ ส่วนกลาง ณ บริเวณหน้ากระทรวงพาณิชย์ ทุกวันอังคาร และวันศุกร์ และสำนักงานการค้าภายในจังหวัดฉะเชิงเทรา นำเกษตรกรผู้เลี้ยง ไก่ไข่ในพื้นที่ ระบายผลผลิตไปจำหน่ายโดยตรงให้กับผู้บริโภค ทั้งในจังหวัดและพื้นที่ใกล้เคียง ซึ่งช่วยให้ผู้เลี้ยงไก่ไข่ได้จำหน่ายผลผลิตเพิ่มขึ้นจากช่องทางจำหน่ายปกติประมาณ 6,200,000 ฟอง (รวม 17 ล้านฟอง ตั้งแต่เดือน ก.ย. 57 มี.ค. 58)
34 มีนาคม-เมษายน 2558
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 161
8. แนวโน้มสถานการณ์ เดือนเมษายน-พฤษภาคม 2558 จากสภาพอากาศที่ร้อนจัด อาจส่งผลกระทบต่อการผลิตไข่ไก่เล็กน้อย แต่โดยภาพรวม ปริมาณยังคงมากกว่าความต้องการของตลาด ภาวะการค้าจะชะลอตัวต่อเนื่องตลอดช่วงปิด ภาคเรียน โดยเฉพาะในช่วงสงกรานต์ ผู้บริโภคกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นกลุ่มที่บริโภค ไข่ไก่มากเดินทางกลับภูมิลำเนา คาดว่าจะมีไข่ไก่คงเหลือสะสมในระบบเพิ่มขึ้นอีกจำนวนหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ราคาไข่ไก่คละหน้าฟาร์มมีแนวโน้มปรับสูงขึ้นจากช่วงที่ผ่านมา จากการขับเคลื่อน มาตรการแก้ไขปัญหาของภาครัฐและเอกชน
กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ เมษายน 2558
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 161
มีนาคม-เมษายน 2558
35
Food Feed Fuel
สถานการณ์
ไก่เนื้อ ปี 2554
1. ผลผลิต ไก่มีชีวิต (ล้านตัว) ซากบริโภค (ล้านตัน) 2. ใช้ในประเทศ (ล้านตัน) 3. ส่งออก - ปริมาณ (ล้านตัน) - มูลค่า (ล้านบาท)
ปี 2555
ปี 2556
ปี 2557
994.32 1,055.13 1,103.32 1,209.52 1.36 1.45 1.51 1.89 0.90 0.91 1.09 1.31 0.47 0.54 0.50 0.546 60,291 67,849 66,805 73,963
4. ต้นทุนการผลิต : สศก. (บาท/กก.)
35.59
33.16
34.27
34.97
5. ราคาไก่มีชีวิต หน้าโรงฆ่า กทม. (บาท/กก.)
45.02
35.65
41.84
41.37
ปี 2558
(ประมาณการ)
1,235.27 1.94 1.32 0.092 11,881
(ม.ค.-ก.พ. 58)
34.39
(ม.ค. 58)
35.00
(มี.ค. 58)
ที่มา : ผลผลิต การใช้ : สศก./ส่งออก : กรมศุลกากร/ราคา : คน.
6. สรุปสถานการณ์ เดือนมีนาคม 2558 ภาวะการผลิตปกติ ผลผลิตที่ออกสู่ตลาดมีปริมาณเพียงพอกับความต้องการ ภาวะการค้า คล่องตัว มีการใช้เนือ้ ไก่มากตามปกติ โดยเฉพาะในกลุม่ ผูป้ ระกอบการอาหารสำเร็จรูป ด้านราคา ไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า ราคาขายส่งและราคาขายปลีกชิ้นส่วนไก่สดชำแหละทรงตัวต่อเนื่อง ด้านการส่งออกเนื้อไก่ (ม.ค.-ก.พ. 58) ส่งออกรวม 94,800 ตัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกัน ของปีก่อน ร้อยละ 21.67 โดยการส่งออกเนื้อไก่สดขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 70.24 ส่วนเนื้อไก่แปรรูปลดลงร้อยละ 4.30 ประเทศคู่ค้าที่สำคัญ ได้แก่ สหภาพยุโรป (46%) และญี่ปุ่น (23%) 7. แนวโน้มสถานการณ์ เดือนเมษายน-พฤษภาคม 2558 ภาวะการผลิตปกติ ผลผลิตมีเพียงพอกับความต้องการของตลาด ภาวะการค้าคล่องตัว มี การบริโภคและใช้เนื้อไก่ภายในประเทศมากตามปกติ ด้านราคาไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า และราคา ชิ้นส่วนไก่สดชำแหละมีแนวโน้มทรงตัว หรือปรับสูงขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากจะมีการส่งออกเพิ่มขึ้น ในช่วงไตรมาส 2 เป็นต้นไป
กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ เมษายน 2558
36 มีนาคม-เมษายน 2558
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 161
ª·Á ¦µ³®r°µ®µ¦Â¨³°µ®µ¦´ ªr°¥nµ ¦ª Á¦Èª oª¥ TANGO
TANGO is the next-generation FT-NIR spectrometer ®r ¦µ³ · Á ª ¦ µ 宦 ´ ¥ » ªo ¡Á· «¬ ®µ¦ ´ ª r ° om °µ °o Á GO ker.c
N bru TA PT.TH@
Inf · °n Ä
o. B
O
Á à 襸 )7 1,5 ¦´ ¦° à ¥ %UXNHU Ä o µ nµ¥ oª¥® oµ °´¤ ´ ¨³¦³ µ¦ ´ µ¦ ´ª°¥nµ Á¡¸¥ ¦¦ »Ä oª¥ª´ ¦³ ´ µ¦´ µ Â È ¦µª r° ´ à ¤´ · nµ¥Ã° ¤ µ¦¦³®ªnµ Á ¦º°É %UXNHU 2SWLFV 1,5 Á à ¦¤·Á °¦r » ¦» n Å o à ¥ ¦ ¤ µ¦¤µ ¦ µ 宦´ ¨· £´ r®¨µ ®¨µ¥ · Ťnªµn ³Á È °µ®µ¦´ ªr εÁ¦È ¦¼ ª´ » · °µ®µ¦´ ªr  o Á ¦º°É ¦» ¦ ¨· £´ rÄ °» µ ¦¦¤ Îʵ µ¨ ¤ µ¦ ° %UXNHU µ¤µ¦ ÎµÅ Ä oÅ oà ¥ ¦ ¨³®µ εÁ È µ¤µ¦ ¦´ Á ¨¸¥É Á¡º°É Ä®oÁ oµ ´ ´ª°¥nµ Ä Â n¨³ o° ¸ÅÉ o
Á à 襸Á ¸¥¦r° · ¢¦µÁ¦ Á à ¦Ã ¸ 1HDU ,QIUDUHG 6SHFWURVFRS\ 1,56 Á È »  ε ´ nª¥Ä®o µ¦ª·Á ¦µ³®r » £µ¡ ° ´ª°¥nµ εŠo°¥nµ ¦ª Á¦ÈªÃ ¥Å¤n °o 娵¥ ´ª°¥nµ ®¦º°Ä oµ¦Á ¤¸Ä Ç ¸É µÎ ´ µ¦ª·Á ¦µ³®r ªo ¥ 1,5 Á¡¸¥  n® ¹É ¦´ Ê µ¤µ¦ Ä®o °o ¤¼¨ ° r ¦³ ° µ Á ¤¸ ° ´ª°¥nµ Å o®¨µ ®¨µ¥ · Ťn µÎ Á È o° ε µ¦ª·Á ¦µ³®r ʵΠÁ®¤º° µ¦ª·Á ¦µ³®r µ Á ¤¸Â °º É Ç °Á · Á oµ¦nª¤ µ¦´¤ µÃ ¥ª· ¥µ ¦ ¼Áo ¸É¥ª µ Ä ¦³ ´ µ µ µ · µ ¦¼Á °¦r ª´ ¡§®´ ¸ ¸É ¦ µ ¤ µ Á¨º° Ä®¤n n¼ µ¦ ª »¤ » £µ¡ ¨· ¨ µ µ¦Á ¬ ¦Â¨³°µ®µ¦´ ªr°¥nµ ¦ª Á¦Èª ¨³Å¤n µÎ ¨µ¥ ´ª°¥nµ oª¥Á · )7 1,5 µ %UXNHU æ ¦¤°¤µ¦¸ª°¦Á °¦rÁ ¦³ ¼ Êε ¦» Á ¡¤®µ ¦ ª· ¥µ ¦ µ ¦¼Á °¦rµÎ ´ µ Ä® n ¦³Á «Á¥°¦¤´ Å o n 0U -RHUJ +DXVHU ¼Áo ¸¥É ª µ ¨³¤¸ ¦³ µ¦ r µo µ¦ ª·Á ¦µ³®r ª´ °¥nµ ®¨µ ®¨µ¥ · µ ´ªÃ¨ ¨³ ¦ «· É ¦ · £µ «¦´ ¥rª «r ¼Áo ¸¥É ª µ oµ 1,5 ¹ É Îµ µ Ä nµ ¦³Á «Â¨³ ´ » °» µ® ¦¦¤Â¨³ª· ¥µ µ¦ oµ 1,5 Ä Á°Á ¸¥ ªnµ· ¸
Ä · n° Info.BOPT.TH@bruker.com
Bruker BioSpin AG Bangkok - Thailand Phone +66 2 642 6900 Fax +66 2 642 6901
F T-NIR
Innovation with Integrity
Market Leader
ซีพีเอฟดันอินเดีย-เวียดนามผลิตกุ้ง แก้เกมสหภาพยุโรปตัด GSP ปรับแผนขายจีน 40%
CPF หายใจคล่อง ย้ายฐานผลิตแก้เกมยุโรปตัด GSP ตั้งแต่ ปี' 56 ฐานผลิตกุ้ง CPF ไทยปี'58 เพิ่มเป็น 2.7 หมื่นตัน เปลี่ยน ทิศเน้นบุกจีน 40% ชีก้ งุ้ ทัง้ ประเทศฟืน้ ตัว 2.4-3 แสนตัน มองอนาคต ซัพพลายกุ้งไม่ควรแตะ 6 แสนตันอีก หวั่นล้นตลาด นายสมชาย เตรียมชัยพิศุทธิ์ รองกรรมการผู้จัดการบริหาร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ CPF เปิดเผยว่า การส่ง ออกกุ้ งขาวไปสหภาพยุ โรป (EU) มีปั ญ หาการตั ด สิ ท ธิพิ เศษ ทางภาษี (GSP) ของไทยอยู่แล้ว CPF จึงย้ายฐานการผลิตกุ้งสำหรับส่งไป EU ไปที่ประเทศ เวียดนามมาตั้งแต่ ปี 2556 ขณะนี้มี 2 โรงงาน กำลังผลิตรวม 1.2-1.5 หมื่นตัน แต่ยัง ผลิตไม่เต็มกำลัง ปี 2558 ตั้งเป้าการผลิตรวมที่ 1 หมื่นตัน นอกจากนี้ เครือ CP ยังมีฐาน การผลิตกุ้งในอินเดีย อินโดนีเซีย และมาเลเซีย "กำลังผลิตของเวียดนามเองก็เจอปัญหากุ้งตายด่วนเหมือนกัน กำลังอยู่ในระยะฟื้นตัว ศักยภาพของเวียดนามเองจะไปถึง 6 แสนตัน เหมือนไทยในอดีตคงยาก เพราะเวียดนามแม้จะ ผลิตได้ดีก็ยังมีปัญหาเรื่องความสะดวกทางการขนส่ง ถ้าทำได้เต็มที่ ก็คงประมาณ 3 แสนตัน" "ส่วนอินเดีย ผลผลิตปีที่ผ่านมาน่าจะได้ 3 แสนตัน แต่ศักยภาพอินเดียเป็นไปได้ที่จะ เท่ากับไทยเมื่อก่อนที่ผลิตได้ 6 แสนตัน ถ้าไม่เกิดโรค EMS ใน 2 ปีน่าจะทำได้" นายสมชาย กล่าว นายสมชายกล่าวว่า ด้าน CPF ไทย การผลิตกุ้งในปีนี้น่าจะเติบโตขึ้นตามกำลังผลิต รวมทั้งประเทศที่ดีขึ้น คาดว่าไทยจะผลิตได้ 2.4-3 แสนตัน ส่วนเป้าหมายของ CPF ปี' 58 จะผลิตกุ้ง 2.7 หมื่นตัน เพิ่มขึ้นจากปี' 57 ที่ผลิตได้ 1.5 หมื่นตัน ประมาณการรายได้ปีนี้ 9,000 ล้านบาท ที่มา : หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 9-12 เมษายน 2558 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 161
มีนาคม-เมษายน 2558
37
โดย CPF เองหันมาเน้นทำตลาดใน เอเชียมากขึ้น แม้ว่าภาพรวมทั้งประเทศจะยัง ส่งออกกุ้งเกิน 50% สู่สหรัฐฯ เนื่องจากมอง ว่าการบริโภคในเอเชียจะเติบโตขึ้น สลับกับฝั่ง ตะวันตก ทัง้ สหรัฐฯ และยุโรป ทีก่ ำลังซือ้ ฝืดลง ปี 2558 CPF มุ่งเพิ่มสัดส่วนการส่งออกสู่ จีนเพิ่มเป็น 40% จากเดิม 15% และกระจาย สินค้ากุ้งไปยังญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย แห่งละ 15% และประเทศ อื่นๆ รวม 25% ของผลผลิต นายสมชายเปิดเผยว่า จีนมีประชากร 1,400 ล้ า นคน ซึ่ ง เป็ น โอกาสทางการค้ า เที ย บเท่ า ยุ โ รปทั้ ง ทวี ป ขณะที่ ป ระเทศอื่ น ๆ ประสบปัญหาเรือ่ งค่าเงิน เช่น ญีป่ นุ่ EU รัสเซีย ออสเตรเลีย และบางประเทศตลาดเริ่มอิ่มตัว เช่น ญีป่ นุ่ จึงต้องมองหา เป้าหมายใหม่ในการ ส่งออก ส่วนการผลิตกุง้ ของทัง้ ประเทศไทยเอง ไม่คาดหวังให้กลับมาผลิตได้ 6 แสนตัน/ปี "การแก้ไขปัญหาโรคกุง้ ของไทยเรา ต้อง แก้ตั้งแต่ระบบวิธีเลี้ยง ตั้งแต่การอนุบาลลูกกุ้ง ใช้เวลานานขึน้ การลงเลีย้ งในบ่อต้องเบาบางลง ทำให้ต้นทุนสูงขึ้น ใช้เวลามากขึ้น ผลผลิตจะ กลับมาเป็น 6 แสนตัน จึงไม่ง่าย แต่คาดว่า ประเทศไทย แม้จะมีผลผลิตไม่เท่าเดิม แต่ คุ ณ ภาพกุ้ ง เรายั ง ดี ที่ สุ ด ในโลก ส่ ว นตรงนี้ จะทดแทนเรื่ อ งมู ล ค่ า ดั ง นั้ น ไม่ จ ำเป็ น ต้ อ ง ผลักดันให้ถงึ 6 แสนตัน เหมือนก่อนแล้ว ผลัก ไปก็ล้นตลาด" นายสมชายกล่าว ด้ า นนายโฆษิ ต โลหะวั ฒ นกุ ล รอง กรรมการผูจ้ ดั การอาวุโส ด้านการตลาดการค้า ต่างประเทศ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ CPF เปิดเผยว่า CPF 38 มีนาคม-เมษายน 2558
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 161
ได้ จั ด จ้ า งบริ ษั ท ตรวจสอบอิ ส ระระดั บ สากล เข้ามาเพื่อตรวจสอบระบบการตรวจสอบย้อน กลับ (Traceability) วัตถุดิบปลาป่นที่ได้จาก เรือประมงตั้งแต่เมื่อ 2 สัปดาห์ก่อน เนื่ อ งจากประเทศผู้ ซื้ อ ยั ง ไม่ มั่ น ใจใน ระบบที่ CPF ร่ ว มกั บ กรมสวั ส ดิ ก ารและ คุ้มครองแรงงานพัฒนาขึ้นเอง แม้ว่าจะมีการ กำหนดให้เรือประมงของโรงงานปลาป่นที่เป็น ซัพพลายเออร์ต้องทำสมุดบันทึกการทำประมง (Logbook) และรายงานการจับปลาของเรือ รวมถึงทำบันทึก รายชื่อ จำนวน และถ่ายรูป ใบหน้าของลูกเรือเก็บไว้ทั้งหมดสำหรับตรวจ สอบหลังเรือกลับเข้าท่า นายโฆษิตกล่าวว่า การตรวจสอบจาก บริษัทตรวจสอบอิสระน่าจะใช้เวลาประมาณ 1-2 ปี เพราะเรือประมงที่ได้รับการรับรอง จาก CPF แล้วมีกว่า 380 ลำ ซึ่งส่งสินค้าให้ โรงงานปลาป่นที่เป็นซัพพลายเออร์ของ CPF จำนวน 30 โรง ถือว่ามีปริมาณมาก จึงต้อง ใช้ เ วลานาน แต่ เ ชื่ อ ว่ า หลั ง จากกรมประมง ประกาศเริ่มนำร่องใช้ศูนย์ควบคุมการแจ้งเข้าออกเรือ (Port in-Port out) ไปเมื่อวันที่ 1 เม.ย. 58 จะช่วยให้ระบบโดยรวมของไทย เข้มขึ้น สำหรั บ การใช้ ป ลาป่ น ของ CPF ปี 2557 ใช้ปลาป่นทีเ่ ป็นผลพลอยได้จากการผลิต สินค้าปลา (by product) และใช้ปลาป่นจาก การจับปลา (by catch) รวม 2.5 หมืน่ ตัน ซึง่ CPF ให้มลู ค่าเพิม่ แก่ซพั พลายเออร์ทไี่ ด้รบั การ รับรองว่าไม่มีการทำประมงผิดกฎหมาย IUU Fishing 3 บาท/กก. อย่างไรก็ตาม ปริมาณ ปลาป่นถือเป็น 10% ของวัตถุดิบสำหรับทำ อาหารกุ้งทั้งหมดเท่านั้น
Market Leader
ธุรกิจกุ้งเริ่มฟื้นตัว คุมเข้มปลาป่นรับ IUU ซีพีเอฟพร้อมรบสงครามการค้า
หลั ง จากที่ ป ระเทศไทยต้ อ งเผชิ ญ กั บ ปัญหาโรคกุ้งตายด่วน (EMS) จนผลผลิตและ การส่งออกกุ้งได้ลดลงอย่างน่าใจหายในช่วง 2 ปีทผี่ า่ นมา บวกกับเมือ่ กลางปี 2557 เดอะ การ์เดียน สื่อของอังกฤษได้ลงข่าวพาดหัวว่า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพเี อฟ ใช้แรงงานทาส ทำให้ซพี เี อฟ ต้อง ออกแถลงการณ์ชแี้ จงข้อเท็จจริงในฐานะผูร้ บั ซือ้ ปลาป่นรายใหญ่ของประเทศ ขณะทีน่ บั แต่วนั ที่ 1 มกราคม 2558 ไทยได้ถกู สหภาพยุโรป (อีย)ู ตัดสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (จีเอสพี) ส่งผล ให้ความสามารถในการแข่งขันสินค้ากุ้งและ สินค้าประมงในภาพรวมของไทยลดลง ล่ า สุ ด ได้ สั ม ภาษณ์ นายสมชาย เตรียมชัยพิศทุ ธิ์ รองกรรมการผูจ้ ดั การบริหาร และนายโฆษิต โลหะวัฒนะกุล รองกรรมการ ผู้จัดการอาวุโส ด้านการตลาดการค้าต่างประเทศ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ถึงยุทธศาสตร์การ ดำเนินธุรกิจกุ้งแช่แข็งปี 2558 และความ คืบหน้าล่าสุดในการเข้มงวดตลอดห่วงโซ่การ ผลิตอาหารกุ้งของซีพีเอฟ
สมชาย เตรียมชัยพิศุทธิ์
โฆษิต โลหะวัฒนะกุล
โดยนายสมชาย กล่าวถึงสถานะโรงงาน ผลิตกุ้งแช่แข็งของบริษัทว่า ปัจจุบันซีพีเอฟ มีฐานการผลิตในต่างประเทศที่เวียดนาม และ มาเลเซีย มีขนาดกำลังผลิตแห่งละ 1 หมื่นตัน ต่อปีทงั้ 2 ฐานการผลิต ส่วนหนึง่ จะส่งออกไป ยังตลาดยุโรปและประเทศอื่นๆ จะเห็นว่าการ ถูกตัดจีเอสพีจากอียูในครั้งนี้ บริษัทมีความ พร้อมมากกว่าเมื่อ 15 ปีที่แล้ว ที่ถูกตัดสิทธิ จีเอสพีรอบแรก ครั้งนั้นเสียหายพอสมควร เพราะไม่ได้เตรียมตัว แต่ครั้งนี้ถือว่าเตรียมตัว มาดี คงไม่กระทบมาก
ที่มา : หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2558 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 161
มีนาคม-เมษายน 2558
39
เป้าปี 58 ผลิตได้ 2.7 หมื่นตัน สำหรับการผลิตกุ้งสดแช่แข็งของซีพีเอฟ ในประเทศไทย เดิมมีทั้งหมด 4 โรงงานผลิต แต่เมือ่ เร็วๆ นี้ เพิง่ ปรับเปลีย่ นโรงงานทีม่ หาชัย ไปทำอาหารสำเร็จรูปประเภทอื่นแทน เพราะ ขาดแคลนวัตถุดิบ ขณะนี้จึงเหลือโรงงานผลิต กุ้งแช่แข็งอยู่ 3 แห่ง ได้แก่ที่จังหวัดระยอง สงขลา และสุราษฎร์ธานี ทั้ง 3 แห่งมีความ สามารถในการผลิตเต็มที่อยู่ที่ 3.50 หมื่นตัน ต่อปี แต่เมือ่ ปีทแี่ ล้วผลิตได้เพียง 1.50 หมืน่ ตัน ส่วนปี 2558 คาดจะผลิตได้ท่ี 2.70 หมืน่ ตัน
4 ยุทธศาสตร์ขับเคลื่อน การตั้งเป้าหมายกำลังผลิตกุ้งสดแช่แข็ง ที่เพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัวในปีนี้นั้น ซีพีเอฟมั่นใจว่า ยุทธศาสตร์ด้านการตลาด 4 ส่วน จะเป็นแรง ขับเคลือ่ นสำคัญคือ 1. ผลผลิตกุง้ ภายในประเทศ รวมถึงปริมาณการผลิตกุ้งของซีพีเอฟเองจะ มีมากขึ้นในปีนี้เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว 2. จะเน้น 3 ตลาดหลัก ได้แก่ จีน อาเซียน และตลาดใน ประเทศ โดยเฉพาะตลาดจีน ที่มีการบริโภค สูงขึ้นโดยจะส่งออกไปสัดส่วนมากถึง 40% 3. ตลาดกลุ่มเดิมเช่น เกาหลี ออสเตรเลีย ที่มี สัดส่วนประเทศละ 15% และ 4. ซีพีเอฟ มีนโยบายขยายตลาดภายในประเทศมากขึ้น
ไม่เกิน 2 ปีรายได้กุ้งทะลุหมื่นล. โดยในปี 2558 คาดยอดขายสินค้า กุ้ ง สดแช่ แ ข็ ง ของซี พี เ อฟจะมี ป ริ ม าณ 2.70 หมื่นตัน คิดเป็นมูลค่ากว่า 9 พันล้านบาท จากปี 2557 มีปริมาณ 1.50 หมืน่ ตัน มูลค่า ประมาณ 5 พั น ล้ า นบาท โดยเน้ น สิ น ค้ า แปรรูปพร้อมรับประทาน ส่วนปี 2558 ซีพเี อฟ 40 มีนาคม-เมษายน 2558
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 161
จะเปิดตลาดกุ้งสดในประเทศ เพื่อกระตุ้นการ บริโภคของคนไทยให้มากขึน้ คาดว่าน่าจะทำได้ ประมาณ 10% ของตลาดหรือราว 5-6 พันตัน ต่อปี "ถ้ายอดขายโตต่อเนื่อง มูลค่ายอดขาย กุง้ สดแช่แข็งน่าจะทะลุหมืน่ ล้านบาทได้ในระยะ เวลาไม่เกิน 2 ปีนับจากนี้ไป โดยเน้นที่ตลาด ส่งออกจีน อาเซียน โดยเฉพาะการส่งออกใน ปีหน้าจะง่ายขึ้น เพราะมีการเปิดประชาคม เศรษฐกิ จ อาเซี ย น (เออี ซี ) จะช่ ว ยกระตุ้ น ยอดขายได้มาก รวมไปถึงตลาดอินเดียด้วย" สำหรั บ ประเทศไทยในช่ ว งที่ อุ ต สาหกรรมกุ้งแช่แข็งบูมสุด เคยมีผลผลิตกุ้งที่ 6 แสนตัน ในปี 2555 พอปลายปีเดียวกันถึง ต้นปี 2556 เริม่ เผชิญกับโรคกุง้ ตายด่วน หลัง จากนั้ น ผลผลิ ต ลดลงมาทุ ก ปี โ ดยผลผลิ ต กุ้ ง ปีที่แล้วลงมาอยู่ที่ 2.40 แสนตันต่อปี และ คาดการณ์ว่าปี 2558 การผลิตกุ้งรวมใน ประเทศจะทำได้ดีขึ้นโดยมีกำลังผลิตรวมอยู่ที่ 2.80-3.00 แสนตัน
คุมเข้มห่วงโซ่ผลิตอาหารกุ้ง ส่วนด้านการผลิตอาหารกุ้ง นายโฆษิต กล่ า วถึ ง ความคื บ หน้ า ในการเข้ ม งวดตลอด ห่ ว งโซ่ ก ารผลิ ต อาหารกุ้ ง ของซี พี เ อฟว่ า ที่ ผ่านมากรณีที่สื่อต่างชาติลงข่าวเสียหาย แม้ หลักฐานไม่มี กรณีที่บอกว่ามีแรงงานทาส แต่ ซีพีเอฟก็ไม่ได้อยู่นิ่ง ยังร่วมมือกับทุกภาคส่วน เพื่ อ วางมาตรการและปฏิ บั ติ ต ามมาตรฐาน รับรองการไม่ทำประมงผิดกฎหมาย (non-IUU certification scheme ของกรมประมง เต็มรูปแบบ ทั้งยังได้เข้าร่วมกับภาครัฐ และ สมาคมที่เกี่ยวข้อง เพื่อสนับ สนุน และแสดง
เจตนารมณ์ต่อการทำประมงอย่างถูกกฎหมาย ในประเทศไทยมาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นการ เข้าร่วมเป็นสมาชิก The International Fishmeal and Fish Oil Organization (IFFO) ในการสนั บ สนุ น ให้ ผู้ มี ส่ ว นได้ เ สี ย ทั้ ง หลาย ตระหนักต่อการจัดหาแหล่งผลิตวัตถุดบิ ปลาป่น เพื่อผลิตอาหารสัตว์ที่ถูกกฎหมาย "ใน 3 เดือนแรกที่มีปัญหาก่อนหน้านี้ ก็มีการค้นหาข้อมูลว่าห่วงโซ่อุปทานของเรา จริงๆ ในเรื่องการใช้ปลาป่นเป็นอย่างไร คู่ค้า ทีอ่ ยูใ่ นระบบทัง้ หมดมีใครบ้าง เรือประมงทีอ่ ยู่ ในระบบเป็ น อย่ า งไร แพปลาทั้ ง หมดมี ก าร ซื้ อ ขายอย่ า งไร และมี ก ารโฟกั ส ไปที่ เ รื่ อ ง แรงงาน โดยร่ ว มมื อ กั บ กรมสวั ส ดิ ก ารและ คุ้มครองแรงงาน ไปตรวจสอบโรงงานปลาป่น ทุกโรงงานที่ขายปลาป่นให้กับซีพีเอฟ เพราะ เป็นหน่วยงานรัฐที่รับผิดชอบเรื่องแรงงานอยู่ แล้ว ให้มาตรวจสอบทั้งโรงงานปลาป่นและ เรือประมงด้วย ทุกวันนี้เรามีระบบตรวจสอบ ทั้งหมดอยู่ในมือสามารถตรวจสอบทุกคนที่มา อยู่ในระบบของซีพีเอฟได้" ทั้งนี้ระบบการตรวจแรงงานกับระบบ การตรวจเรื่องที่มาที่ไปของปลาป่นมี 2 ระบบ ซึ่งทางซีพีเอฟทำพร้อมๆ กัน โดยระบบที่นำ มาตรวจเรื่องที่มาที่ไปของปลาป่น ที่เรียกว่า ระบบตรวจสอบย้อนกลับนี้ ของกรมประมง ก็มีอยู่แล้ว ใช้กับปลาที่จับมาบริโภค แต่ของ ซีพีเป็นการจับปลาอีกชนิดที่คนไม่กิน ก็นำมา ทำปลาป่นเป็นอาหารกุ้ง หรืออาหารสัตว์อื่น ก็นำระบบ "ตรวจสอบย้อนกลับ" ของกรมประมง มาใช้กับปลาสำหรับผลิตปลาป่น เพื่อจะได้
ตรวจสอบว่ า ปลาป่ น ทุ ก ล็ อ ต ที่ ต รวจสอบ เช่น ล็อต A นั้นมาจากเรือประมงลำไหน มาจากโรงงานปลาป่นอะไร ทำทุกล็อตที่ซื้อ เข้ามาโดยมีเอกสารตรวจสอบย้อนกลับครบ 100% แต่ระบบนี้ ซีพีเอฟออกแบบและทำเอง มาตั้งแต่เดือนกันยายนปี 2557
จ้างผู้ตรวจสอบระดับโลก นายโฆษิต กล่าวอีกว่า จากที่ซีพีเอฟ ออกแบบระบบเอง ทำเอง ควบคุมเอง จะมีคำถาม ถึงความน่าเชื่อถือ ล่าสุดได้จ้างผู้ตรวจสอบ ระดับโลกจากสหรัฐอเมริกามาตรวจสอบระบบ ซึ่งเมื่อเร็วๆ นี้เพิ่งตรวจสอบครั้งแรกไป โดย ทำ 2 เรื่องคือ 1. มาดูว่าระบบของเรารัดกุม มากน้ อ ยแค่ ไ หน และต้ อ งปรั บ ปรุ ง อย่ า งไร 2. จ้างมาเพื่อให้ตรวจสอบย้อนกลับให้ด้วย จะได้ เ ชื่ อ มั่ น ว่ า ระบบไม่ มี ปั ญ หาซึ่ ง สามารถ วางแผนตรวจสอบให้ครบภายใน 1-2 ปีนี้ ส่วนกรณีที่ซีพีเอฟซื้อปลาป่นลดจำนวน ลงจากที่เคยซื้อจากโรงงานมากกว่า 50 ราย ลดลงเหลือ 30 รายนั้น เนื่องจากซีพีเอฟ มี ก ารกำหนดมาตรฐานว่ า คนที่ จ ะมาขาย ปลาป่ น ให้ จ ะต้ อ งมาอยู่ ใ นระบบของซี พี เ อฟ จะต้องมีมาตรฐาน มีกระบวนการตรวจสอบ ตามที่ซีพีเอฟกำหนด และต้องทำตามมาตรฐานขัน้ ตอนการตรวจสอบย้อนกลับของซีพเี อฟ มี บ างรายที่ ท ำไม่ ไ ด้ ต ามข้ อ กำหนดดั ง กล่ า ว จึงถอยออกไป ทั้ ง หมดนี้ เ ป็ น ความคื บ หน้ า ในระบบ ตรวจสอบอย่างเข้มงวดตลอดห่วงโซ่การผลิต อาหารกุ้งของซีพีเอฟที่ทำอยู่ในขณะนี้ ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 161
มีนาคม-เมษายน 2558
41
Around the World
รายงานการสำรวจ
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ครั้งที่ 1/2558 โดย คณะสำรวจสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ ไทย ระหว่างวันที่ 1-3 เมษายน 2558
รายชื่อผู้เข้าร่วมสำรวจ 1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8. 9. 10. 11. 12. 13. 14.
นางนิภาพร โรจน์รุ่งเรืองกิจ น.ส. ลัดดา แก้วกาหลง น.ส. ชุลีพร ยิ่งยง นายชูเกียรติ ตันตมณีรัตน์ น.ส. เยาวลักษญ์ จำรัสผลเลิศ น.ส. ทิพย์วรรณ โพธิ์งามวงศ์ น.ส. ฐิติพร อ่ำทรัพย์ น.ส. กัณฑลี สระทองเทียน น.ส. กัญญ์จิรา ศิลปนุภกิจ น.ส. เหมือนขวัญ รองเดช น.ส. หทัยกาญจน์ มูลระหัต นายสุผจญ ม่วงรอด นายพิสิฐ ทรงสังข์ นายอรรถพล ชินภูวดล
บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารเซ็นทรัล จำกัด บริษัท พนัสโภคภัณฑ์ จำกัด บริษัท กรุงเทพโปรดิ๊วส จำกัด (มหาชน) บริษัท อาร์ที อะกริเทค จำกัด บริษัท ลีพัฒนาอาหารสัตว์ จำกัด บริษัท ลีพัฒนาอาหารสัตว์ จำกัด บริษัท ซันฟีด จำกัด บริษัท ซันฟีด จำกัด บริษัท ไทย ฟู้ดส์ อาหารสัตว์ จำกัด บริษัท ไทย ฟู้ดส์ อาหารสัตว์ จำกัด บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย
สำหรับการสำรวจข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ครั้งที่ 1 /2558 ระหว่างวันที่ 1-3 เมษายน 2558 เป็ น การสำรวจในช่ ว งฤดู ก าลที่ มี ก ารปลู ก ข้ า วโพดหลั ง นา และข้ า วโพดฤดู แ ล้ ง ในเขตพื้ น ที่ ชลประทาน โดยมีกลุ่มเป้าหมายการสำรวจอยู่ในเขตพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์-พิษณุโลก-เลย และเพชรบูรณ์ รวมถึงพืน้ ทีบ่ ริเวณโดยรอบ เพือ่ ให้รบั ทราบถึงสภาพและปริมาณการปลูกข้าวโพด หลังนา-ข้าวโพดแล้ง ในแต่ละพืน้ ที่ สภาวะการปลูกและแนวโน้มการเพาะปลูกข้าวโพดฤดูกาลใหม่ ปี 2558/2559 พร้อมรับทราบข้อเสนอแนะพร้อมปัญหาอุปสรรคต่างๆ ที่มี 42 มีนาคม-เมษายน 2558
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 161
จากการสำรวจพื้นที่เพาะปลูก และการเข้าพบปะพ่อค้า รวมถึงเกษตรกรในแต่ละพื้นที่ พบว่าพืน้ ทีเ่ พาะปลูกในเขต อ.ตากฟ้า นครสวรรค์ ยังคงพืน้ ทีเ่ พาะปลูกข้าวโพด มันสำปะหลัง และอ้อย เป็นหลัก แต่มีแนวโน้มที่จะลดพื้นที่การเพาะปลูกอ้อยลง โดยจะแบ่งมาเป็นพื้นที่ เพาะปลูกมันสำปะหลังแทน และในเขตจังหวัดพิษณุโลก อ.ชาติตระการ และ อ.นครไทย พืน้ ที่ เพาะปลูกข้าวโพดนาลดลงเล็กน้อย โดยเกษตรกรปรับเปลี่ยนไปปลูกมันสำปะหลังเช่นกัน จังหวัดเลย ในส่วนพื้นที่เพาะปลูกที่สำรวจ พบว่า เกษตรกรมีแนวโน้มที่จะปรับเปลี่ยน ไปปลูกมันสำปะหลังทดแทน เนือ่ งจากสภาพภูมอิ ากาศแห้งแล้ง และมันสำปะหลัง (หัวมันสด) ที่ผ่านมาราคามีเสถียรภาพ ด้านพื้นที่ อ.ด่านซ้าย มีพื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดอยู่ประปราย อ.วังสะพุง พบว่ามีพนื้ ทีเ่ พาะปลูกข้าวโพดเพียงเล็กน้อย ส่วนใหญ่จะเป็นพืน้ ทีป่ ลูกมันสำปะหลัง ส่วนในเขต อ.เชียงคาน ยังมีการปลูกข้าวโพดนาอยู่มาก และทางพื้นที่เพาะปลูกเพชรบูรณ์ ใน อ.หล่มสัก ยังคงเป็นพื้นที่ปลูกข้าวโพดนาเช่นเดิม แต่ผลผลิตอาจจะลดน้อยลงบ้าง จาก ผลกระทบแล้ง ส่วนในเขต ต.ป่าแดง ยังคงเพาะปลูกข้าวโพดเหมือนเดิมซึ่งพื้นที่อาจจะลดลง เล็กน้อยเนื่องจากน้ำในอ่างเก็บน้ำไม่เพียงพอ ตามเส้นทางทีส่ ำรวจพบว่ายังคงมีพนื้ ทีน่ าทีเ่ กษตรกร เตรียมหน้าดินไว้รอการเพาะปลูก มันสำปะหลัง แต่อย่างไรก็ตาม หากมีฝนตกลงมาเกษตรกรอาจจะปรับเปลี่ยนมาเพาะปลูก ข้าวโพดแทนได้ ส่วนใหญ่เกษตรกรจะเก็บเกีย่ วข้าวโพดหลังนาในช่วงหลังสงกรานต์เป็นต้นไป ฉะนัน้ ผลผลิตข้าวโพดหลังนานีจ้ ะเริม่ เข้าสูต่ ลาดในช่วงหลังสงกรานต์ จนถึงปลายเดือนเมษายน 2558
ข้อมูลการเข้าพบพ่อค้าและเกษตรกรในแต่ละพื้นที่ แหล่งข้อมูล : บริษัท ยงสุวัฒน์ อะกรีเทรด ต.สุขสำราญ อ.ตากฟ้า จ.นครสวรรค์ ข้าวโพดหลังนา ในบริเวณพื้นที่ อ.ตากฟ้า มีไม่มาก พื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดส่วนมาก เป็นพื้นที่ที่มีแหล่งน้ำบาดาล หรือห้วยบึงเป็นหลัก สภาพดินของที่นี่เป็นดินเหนียวปนทราย เหมาะแก่การปลูกมันสำปะหลัง และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ พืชอื่นๆ ในพื้นที่ได้แก่ ฝ้าย และกระถิน ในพื้นที่เขตนี้มีโรงงานน้ำตาลอยู่ 2 แห่ง จึงมีเกษตรกรปลูกอ้อยเป็นจำนวนมาก แต่ปีที่ผ่านมา สภาพอากาศแห้งแล้งผลผลิตอ้อยเสียหาย ลดลงจาก 10 ตันต่อไร่ เหลือเพียง 4-5 ตันต่อไร่ ทำให้เกษตรกรที่ปลูกอ้อยบางส่วนปรับเปลี่ยนมาเพาะปลูกข้าวโพดและมันสำปะหลังทดแทน แต่ก็ยังมีเกษตรกรบางส่วนที่อยากจะปรับเปลี่ยนเพาะปลูกพืชอื่นๆ แต่ไม่สามารถทำได้เนื่องจาก มีการทำโควตา ทำสัญญาการปลูกกับทางโรงงานน้ำตาล จึงคาดว่าพืน้ ทีเ่ พาะปลูกในเขตนีจ้ ะปลูก ข้าวโพดเพิ่มขึ้น 10% ข้าวโพดนา (แล้ง) จะเก็บเกี่ยวในช่วงหลังสงกรานต์ เป็นต้นไป ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 161
มีนาคม-เมษายน 2558
43
ในภาพรวมทั้งปี คาดว่าผลผลิตข้าวโพดจะลดน้อยลง เนื่องจากเกษตรกรสนใจหันไปปลูก มันสำปะหลังมากกว่า เนื่องจากใช้ต้นทุนที่ต่ำกว่า และมีความเสี่ยงน้อยกว่าการปลูกข้าวโพด ปัญหาในเขตพื้นที่นี้ นอกจากสภาพอากาศที่แห้งแล้งแล้ว เกษตรกรนิยมใช้เครื่องเก็บเกี่ยว ทำให้ ข้าวโพดมีเมล็ดแตก อีกทัง้ เมล็ดพันธุข์ า้ วโพดมีราคาแพงขึน้ ขณะนีอ้ ยูท่ ี่ 150 บาท/กก. ทางร้าน รับซื้อซังข้าวโพดเป็นหลัก ปริมาณข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในสต็อกมีประมาณ 4,000-5,000 ตัน โดย เป็นข้าวโพดนอกพื้นที่ มาจากเขตภาคเหนือ อาทิ เพชรบูรณ์-พิจิตร-น่าน-เลย ฯลฯ
แหล่งข้อมูล : ธ.เกษตรชัยพาณิชย์ อ.ตากฟ้า จ.นครสวรรค์ พื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดในเขต ต.หนองม่วง ต.ลำพยน ต.สุขสำราญ ได้รับผลกระทบจากสภาพภูมิอากาศแห้งแล้ง ผลผลิตที่ได้ลดลงมากอยู่ที่ 50 ถัง/ไร่ หรือประมาณ 750 กก./ไร่ (ความชื้น 30%) เท่านั้น ราคาเมล็ดพันธุ์ข้าวโพด สูงขึน้ กก. ละ 10 บาท เกษตรกรจึงปรับเปลีย่ นพืน้ ทีเ่ พาะปลูก ข้าวโพดไปปลูกพืชอื่นทดแทน อาทิเช่น มันสำปะหลัง ถั่ว และงา ทำให้พื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดแล้ง ลดลงประมาณ 50% สอดคล้ อ งกั บ ยอดขายเมล็ ด พั น ธุ์ ที่ ล ดลงครึ่ ง หนึ่ ง พืชที่นิยมปลูกในเขตบริเวณนี้ ได้แก่ ข้าวโพด มันสำปะหลัง อ้อย ทานตะวัน ฯลฯ ส่วนใหญ่ที่ร้านรับซื้อข้าวโพดจากจังหวัดอุทัยธานี และในพื้นที่เท่านั้น ราคารับซื้อในช่วง ที่ผ่านมาไม่เกิน 100 บาท/ถัง (6.67 บาท/กก.) ที่ความชื้น 30% ปัจจุบันที่ร้านระบายสต็อก ข้าวโพดออกหมดแล้ว ส่วนข้าวโพดฤดูกาลใหม่ปี 2558/2559 เกษตรกรจะเริม่ ทำการเพาะปลูก ช่วงหลังมีฝนตกในช่วง เม.ย. เป็นต้นไป แต่คาดว่าเกษตรกรจะหันไปเพาะปลูกมันสำปะหลัง ประมาณ 50% เนื่องจากต้นทุนถูกกว่า (ต่ำ) แต่ก็ยังคงมีเกษตรกรบางส่วนที่ไม่ถนัดเพาะปลูก พืชอื่นๆ ก็ยังคงเพาะปลูกข้าวโพดต่อไป
44 มีนาคม-เมษายน 2558
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 161
แหล่งข้อมูล : ฮั่งเส็งพืชผล ต.ยางงาม อ.ตากฟ้า จ.นครสวรรค์
พื้นที่ในเขตนี้เพาะปลูกข้าวโพด มันสำปะหลัง และอ้อย คาดว่าพื้นที่เพาะปลูกข้าวโพด แถบนี้น่าจะทรงตัว พื้นที่ข้าวโพดนา (แล้ง) จะอยู่อีกฝากทางฝั่ง อ.ลาดยาว อ.ไพศาลี ซึ่งเป็น รอยต่อกับทางจังหวัดอุทัยธานี กับนครสวรรค์ ข้าวโพดนา (แล้ง) คาดว่าน่าจะเก็บเกี่ยวเสร็จใน เดือน เม.ย. หลังจากเก็บเกีย่ วข้าวโพด เกษตรกรจะปลูกทานตะวัน ข้าวฟ่าง หรือมันสำปะหลังต่อ ปกติในรอบ 1 ปี เกษตรกรจะทำการปลูก 2 รอบ โดยแบ่งเป็นข้าวโพด 1 รอบ (4 เดือน) มันสำปะหลัง 1 รอบ (8 เดือน) เนื่องจากเป็นการเร่งเก็บเกี่ยวมันสำปะหลังก่อนครบอายุ ทำให้ มันสำปะหลังมีแป้งไม่ถึง 30% และยังเชื่อว่าเกษตรกรในเขตพื้นที่นี้ ยังคงเพาะปลูกข้าวโพด และมันสำปะหลังอย่างต่อเนื่อง ปริมาณข้าวโพดในสต็อก 20,000 ตัน รับซื้อเข้าสต็อกในช่วง ธันวาคม จากเขา (ข้าวโพดยุ้ง) ปกติรับซื้อข้าวโพดในพื้นที่ตากฟ้า ตาคลี ไพศาลี และนอกเขต พื้นที่จังหวัด แพร่ น่าน แม่สอด บ้างเล็กน้อย ฤดูกาลที่ผ่านมาข้าวโพดที่รับเข้าส่วนใหญ่มี คุณภาพดี และเมล็ดสวย ซึ่งทางร้านปล่อยพื้นที่ให้เกษตรกรเช่าไร่ละ 500 บาท/ปี เพื่อเป็นการ ช่วยเกษตรกรลดต้นทุนส่วนหนึ่ง แต่พื้นที่ทั่วไปปล่อยเช่าไร่ละ 1,000 บาท/ปี
แหล่งข้อมูล : นายพุฒิ เกษตรกร ต.บ่อทอง อ.ทองแสงขันธ์ จ.อุตรดิตถ์ เกษตรกรในแถบพืน้ ทีน่ ยี้ งั คงเพาะปลูกข้าวโพดหลังนา เหมือนเช่นทุกปี แต่ปนี ผี้ ลกระทบแล้ง ทำให้เพาะปลูกข้าวโพดล่าออกไปกว่า 1-2 เดือน แล้วแต่บางพื้นที่ หากพื้นที่ไหนเก็บเกี่ยวนาปี เสร็จก็จะเพาะปลูกข้าวโพดต่อทันที บริเวณพื้นที่ที่สำรวจ ได้พบว่ามีการเจริญเติบโตของต้น
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 161
มีนาคม-เมษายน 2558
45
ข้าวโพดมีความต่างกันลดหลั่นกันไป จากการสอบถามทราบว่า เนื่องจากเกษตรกรเพาะปลูก ต่างช่วงเวลากัน และบางพื้นที่ใส่ปุ๋ยน้อยทำให้การเจริญเติบโตได้ไม่เต็มที่ ผลผลิตในแถบนี้อยู่ที่ 1,375 กก./ไร่ (เมล็ดสด) ความชื้น 28-30% ราคาที่ขายได้ปีนี้อยู่ในช่วง 5.50-7.60 บาท ซึ่งเป็นราคาที่เกษตรกรสามารถอยู่ได้ ด้านพื้นที่ค่าเช่าไร่ละ 1,000 บาท/ปี เกษตรกรมีการ ติดตามข้อมูลข่าวสารหลายด้าน และรับทราบว่าปีนี้มีโอกาสที่จะขาดแคลนน้ำ อีกทั้งนโยบาย ภาครัฐประกาศไม่สนับสนุนการทำนาปรัง ทำให้เกษตรกรหันมาเพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์แทน ในพื้นที่เกษตรกรใช้รถเก็บเกี่ยวแทนแรงงานแล้ว และมีโครงการจัดทำฝายกักเก็บน้ำ และใช้น้ำ ในคลองระบายเข้าสู่พื้นที่เพื่อการเพาะปลูก
แหล่งข้อมูล : ร้านโชคอำนวยพร อ.ชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก พื้นที่เพาะปลูกเขตนี้ จะเน้นการปลูกมันสำปะหลัง ข้าวโพด และข้าว เป็นหลัก ช่วงนีม้ นั สำปะหลังมีราคาเสถียร ทำให้เกษตรกรลดพื้นที่ปลูกข้าวโพดลงปรับเปลี่ยนไปปลูก มันสำปะหลังแทน ผลผลิตมันสำปะหลังออกเยอะมาก ตั้งแต่ เดือนพฤศจิกายน อีกทั้งเกษตรกรได้ราคาดี เพราะพ่อค้า พืน้ ทีเ่ ปิดลานแย่งซือ้ คาดว่าปีหน้าเกษตรกรจะหันมาเพาะปลูก มันสำปะหลังเพิ่มมากขึ้นอีก และในเขตพื้นที่เพาะปลูกนาปี จะทำการเพาะปลูกสลับกับการเพาะปลูกข้าวโพด ซึง่ ทางร้าน รับซื้อข้าวโพดราคา 6.40 บาท/กก. เมล็ดที่ความชื้น 30% และราคา 8.30 บาท/กก. เมล็ดที่ความชื้น 15% อีกทั้ง รับซื้อข้าวโพดราคา 4.80 บาท/กก (ฝักสด) ส่วนใหญ่เมล็ด พันธุ์ที่ใช้เพาะปลูกในเขตพื้นที่คือ พันธุ์ 888 และพันธุ์ 301 โดยจะเพาะปลูกในช่วงเดือนธันวาคม-มกราคม และเก็บเกี่ยว หลังสงกรานต์ คือช่วงกลางเดือนเมษายน เป็นต้นไป ซึ่งในพื้นที่เขตนี้ยังคงเพาะปลูกข้าวโพดมาก สาเหตุ เนื่องจากได้มีการทำฝายกักเก็บน้ำใหม่ขึ้นมาใช้ในการเกษตร ทางด้านพื้นที่เช่าเกษตรกรมีต้นทุนค่าเช่าไร่ 1,000-2,000 บาท/ปี
46 มีนาคม-เมษายน 2558
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 161
แหล่งข้อมูล : สหกรณ์การเกษตรเพื่อการตลาดและลูกค้า นครไทย อ.นครไทย จ.พิษณุโลก พืน้ ทีป่ ลูกข้าวโพดนา (แล้ง) แถบนีค้ าดว่าน่าจะลดน้อย ลง 10-20% เนื่องจากบางพื้นที่ (งด) ไม่ปล่อยน้ำมาให้ใช้ ในการเพาะปลูก ทำให้เกษตรกรปล่อยที่นาว่างไว้ พื้นที่ แถบนี้จะปลูกข้าวโพดนาในช่วงเดือนธันวาคม และเก็บเกี่ยว เสร็จสิน้ ในเดือนพฤษภาคม ขณะนีม้ ผี ลผลิตข้าวโพดนา (แล้ง) ทยอยเก็บเกี่ยวออกสู่ตลาดประมาณ 20% และคาดว่าจะ ออกมากในช่วงหลังสงกรานต์ สำหรับยอดขายเมล็ดพันธุ์ เกษตรกรสอบถามในปริมาณน้อยอยู่ เนื่องจากยังไม่ถึงรอบ การเพาะปลูกต่อไป นอกเหนือจากข้าวโพดเลีย้ งสัตว์แล้ว พืน้ ที่ เขตนี้ยังมีการปลูกยางพารา และมันสำปะหลังที่เริ่มเข้ามา มากขึ้นเรื่อยๆ สำหรับทาง สกต. สามารถรวบรวมและขาย ข้าวโพดฤดูกาลเพาะปลูกปี 2556/2557 ได้ 70,000 ตัน แต่ปีฤดูกาลเพาะปลูกปี 2557/2558 อยู่ที่ 60,000 ตัน เป็นข้าวโพดนา (แล้ง) ประมาณ 20,000-30,000 ตัน เฉพาะ อ.นครไทย ข้าวโพดนาทีซ่ อื้ ขายผ่าน สกต. ประมาณ 1,500-2,000 ตัน พื้นที่หลักอื่นๆ ที่มีการปลูกข้าวโพดนา ได้แก่ นครไทย ชาติตระการ ทรัพย์ไพวรรณ์ ปัญหาหลักที่พบคือมีพ่อค้าพื้นที่มาซื้อแข่งขันราคา และเกษตรกรในพื้นที่ยังขาดการรวมกลุ่มกัน
แหล่งข้อมูล : ร้านพรประเสริฐรุ่งเรืองกิจ ตำบล น้ำสวย อ.เมือง จังหวัดเลย คาดว่าผลผลิตข้าวโพดฤดูกาลเพาะปลูกปี 2557/2558 ลดน้อยกว่าฤดูกาลเพาะปลูกปี 2556/2557 เนือ่ งจากสภาพ ภูมิอากาศที่แห้งแล้ง ประกอบกับมันสำปะหลังราคาดี ทำให้ เกษตรกรที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในช่วงข้าวโพดปี จะปรับ เปลี่ยนไปเพาะปลูกมันสำปะหลังแทน เดิมพื้นที่นาในเขตนี้ ส่วนใหญ่ปลูกข้าวโพดเลีย้ งสัตว์ซงึ่ เดิมคิดเป็น 80% ของพืน้ ที่ แต่คาดว่าปีนจี้ ะลดลงเหลือเพียง 60% โดยไปเป็นพืน้ ทีเ่ พาะปลูก มันสำปะหลัง และอ้อยแทน ปีทแี่ ล้วทางร้านรับซือ้ ขายข้าวโพด ประมาณ 20,000 ตัน ปีนใี้ นช่วงเดียวกันลดลงเหลือ 17,000 ตัน ทางร้านรับซื้อข้าวโพดเมล็ดแห้งราคา 8.40 บาท/กก. และรับฝักทีค่ วามชืน้ 30% ราคา 4.50 บาท/กก. ซึง่ ทางร้าน รับสีข้าวโพดด้วยการรับซังข้าวโพด แทนค่าสี ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 161
มีนาคม-เมษายน 2558
47
เกษตรกรในเขตพื้นที่เริ่มเพาะปลูกข้าวโพดนาช่วงเดือนธันวาคม-มกราคม ขณะนี้มีการ เก็บผลผลิตข้าวโพดนา (แล้ง) ทยอยออกสู่ตลาดราวๆ 5% และน่าจะทยอยเก็บเกี่ยวออกเรื่อยๆ ในช่วงหลังสงกรานต์ และเก็บเกี่ยวเสร็จสิ้นช่วงเดือนพฤษภาคม ทางด้านการทำงานยังคงใช้ แรงงานค่าแรงแพง 300-500 บาท เกษตรกรในเขตพื้นที่นี้มีความเป็นอยู่ที่ดี มีพืชอื่นๆ ที่ หมุนเวียนการทำงาน พืชที่เพาะปลูกในเขตนี้คือ แตงกวา ลำไย แก้วมังกร จึงทำให้พ่อค้าหาของ เก็บรวบรวมได้ยาก
แหล่งข้อมูล : พิชัยพืชผล อ.หล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์
อ.หล่มสัก เป็นพื้นที่หลักในการปลูกข้าวโพดนา (แล้ง) เกษตรกรไม่นิยมปลูกมันสำปะหลัง ในพื้นที่นี้ เนื่องจากสภาพดินค่อนข้างแน่น ทำให้เพาะปลูกมันสำปะหลังแล้วทำการขุดหัวมัน ได้ยาก พืชอืน่ ๆ ทีเ่ พาะปลูกในเขตนี้ ประกอบด้วย มะขาม ใบยาสูบ หอม กะหล่ำปลี มะเขือ ถัว่ เขียว ฯลฯ ทางด้านค่าเช่าที่ไร่ละ 1,000-2,000 บาท โดยพื้นที่ที่มีค่าเช่าสูง เกษตรกรจะเพาะปลูก ยาสูบเพื่อให้มีรายได้เพียงพอ แต่ยาสูบนั้นมีโควตาควบคุมจึงไม่สามารถขยายการเพาะปลูกขึ้น เกินกว่าโควตาได้ ปกติเกษตรกรจะเกี่ยวข้าวในช่วงเดือนพฤศจิกายน และเพาะปลูกข้าวโพดนา (แล้ง) ต่อเลย การเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวโพดนา (แล้ง) คาดว่าน่าจะเก็บเกี่ยวเสร็จสิ้นช่วงปลายเมษายน ด้าน ผลผลิตต่อไร่ หากเป็นพื้นที่กระทบแล้งจะเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ไม่ถึง 5 กระสอบฝัก หรือประมาณ 500 กก./ไร่ แต่ในพื้นที่ปกติเก็บเกี่ยวผลผลิต 1,500 กก./ไร่ เมล็ดที่ความชื้น 30% ปีที่ผ่านมา ทางร้านขายเมล็ดพันธุ์ไปประมาณ 2,000 ตัน สำหรับข้าวโพดที่มีในสต็อกเป็นข้าวโพดที่รับมา จาก อ.นาแห้ว จ.เลย ราคารับซือ้ อยูท่ ี่ 133-134 บาท/ถัง หรือประมาณ 8.67 บาท เมล็ดทีค่ วามชืน้ 13% ทางร้านมีโครงการจะสร้างไซโลจัดเก็บข้าวโพด ซึ่งขณะนี้กำลังปรึกษาหารือกับ ธกส.
48 มีนาคม-เมษายน 2558
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 161
แหล่งข้อมูล : ร้านหาญพืชผล ต.ป่าแดง อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์
ข้าวโพดนา (แล้ง) ปี นี้ทำงานเพาะปลูกล่าช้ากว่าปกติ เนื่องจากปริมาณฝนที่ตกลงมาชุก หนาแน่นช่วงปลายปี ทำให้เกษตรกรต้องรอหน้าดินแห้ง จึงต้องทำการเพาะปลูกช่วงปลาย ธันวาคม-มกราคม ทำให้ในปีนี้ข้าวโพดนา (แล้ง) เก็บเกี่ยวล่าออกไปเช่นกัน และคาดว่าจะ เก็บเกี่ยวออกหมดในช่วงต้นพฤษภาคม ในส่วนพื้นที่เพาะปลูกลดลงเพียงเล็กน้อย เนื่องจากน้ำที่ กักเก็บในอ่างเก็บน้ำมีปริมาณน้อย และมีเกษตรกรบางส่วนเริม่ หันไปปลูกมันสำปะหลังบ้าง ปล่อย พื้นที่ว่างเปล่าด้วยเกรงว่าจะขาดน้ำทำให้เกิดความเสียหาย ร้านรับซื้อข้าวโพดจากพื้นที่แถบจังหวัดพิษณุโลก และเลย มีภูเรือ ด่านซ้าย นาแห้ว ราคารับซื้ออยู่ที่ 7.20-7.30 บาท/กก. เมล็ดที่ความชื้น 30% ในเขตพื้นที่มีพ่อค้าแข่งขันราคา ซื้อขายกันจึงทำให้ราคาสูง อีกทั้งยังมีโรงสีย่อยๆ เข้ามาเปิดรับซื้อเพิ่มเติม แต่พ่อค้าลานรับซื้อ ข้าวโพดยังคงเป็นเจ้าเดิมๆ อยู่ สรุปโดย อรรถพล ชินภูวดล
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 161
มีนาคม-เมษายน 2558
49
Around the World
การควบคุมตะกอนเลน ในบ่อเลี้ยงกุ้ง การจะประสบความสำเร็จในสภาวะ การเลี้ยงกุ้งที่ยังมีการระบาดของโรคอีเอ็มเอสนั้น เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งจำเป็นต้องให้ ความสำคัญกับรายละเอียดในทุกขัน้ ตอนของ การจัดการบ่อ โดยเฉพาะอย่างยิง่ การควบคุม โรคด้วยระบบไบโอซีเคียว เพือ่ ป้องกันการปน เปื้อนของเชื้อก่อโรค และการควบคุมสภาพ แวดล้อมในบ่อให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมต่อ การเลีย้ งกุง้ เพือ่ ให้กงุ้ อยูส่ บาย ไม่เครียด และ ระหว่างการเลี้ยงกุ้งนั้น ปัญหาที่สำคัญที่สุด อย่างหนึง่ ทีส่ ง่ ผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมใน บ่อเลีย้ งคือ การหมักหมมของของเสียทีพ่ นื้ บ่อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบ่อที่มีการลงกุ้งหนาแน่น และให้อาหารมาก ร่วมกับการจัดการของเสีย ที่เกิดขึ้นไม่ดีเพียงพอ ก็จะส่งผลกระทบต่อ ผลผลิตกุ้งอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทั้งในแง่ของ อัตรารอด อัตราการเจริญเติบโต และปริมาณ ผลผลิตกุ้งที่ได้
ที่มาของตะกอนเลนในบ่อเลี้ยง ตะกอนเลนในบ่อเลี้ยงกุ้งจะประกอบไป ด้วย อาหารที่เหลือจากการกินของกุ้ง ซาก ที่มา : ข่าวกุ้ง มีนาคม 2558
50 มีนาคม-เมษายน 2558
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 161
แพลงก์ ต อน ขี้ กุ้ ง คราบกุ้ ง แบคที เ รี ย ตะกอนดิน และวัสดุปูนต่างๆ เป็นต้น ที่ตก ตะกอนและเกิดการทับถมกันที่พื้นก้นบ่อ โดย อาหารที่เหลือจากการกินของกุ้ง ขี้กุ้ง และ ซากแพลงก์ตอนที่ตายทับถมกันที่พื้นบ่อถือว่า เป็นต้นกำเนิดของสารอินทรีย์ในบ่อเลี้ยงกุ้ง โดยปกติแล้วสารอินทรียเ์ หล่านีจ้ ะถูกย่อยสลาย เป็ น สารอิ น ทรี ย์ โ มเลกุ ล ขนาดเล็ ก เพื่ อ ให้ จุลินทรีย์และแพลงก์ตอนใช้หมุนเวียนในการ ดำรงชีวิตต่อไป ซึ่งกระบวนการย่อยสลายสาร อินทรีย์โดยจุลินทรีย์สามารถเกิดได้ทั้งสภาวะ ที่มีออกซิเจน (Aerobic Condition) ซึ่งต้องมี การใช้ออกซิเจนอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ และ การย่ อ ยสลายสารอิ น ทรี ย์ ใ นสภาวะที่ ไ ม่ ใ ช้ ออกซิเจน (Anaerobic Condition) ซึง่ ส่วนใหญ่ จะเกิดขึ้นที่น้ำชั้นล่างและในตะกอนเลนก้นบ่อ เนื่องจากมีปริมาณออกซิเจนไม่เพียงพอ การ ควบคุมปริมาณตะกอนเลนที่พื้นก้นบ่อซึ่งเป็น แหล่งสะสมของสารอินทรีย์ จึงต้องให้ความ สำคัญกับความหนาแน่นในการลงกุ้งและการ จัดการให้อาหารซึ่งเป็นต้นตอของสารอินทรีย์ ในบ่อเลี้ยง ดังนี้
1. ไม่ลงกุ้งในอัตราที่หนาแน่นเกินไป ในสภาพการเลี้ ย งที่ ห นาแน่ น ขึ้ น จะต้ อ งให้ อาหารมากขึ้น ทำให้เกิดของเสียในระบบเพิ่ม มากขึ้น ถ้าการกำจัดของเสียที่เกิดขึ้นทำได้ ไม่ดี มีน้ำเปลี่ยนถ่ายไม่เพียงพอ หรือมีเครื่อง ให้ อ ากาศไม่ เ พี ย งพอ ก็ จ ะส่ ง ผลกระทบต่ อ คุณภาพน้ำและสุขภาพกุ้งได้ ดังนั้น อัตราการ ลงกุ้งจะต้องคำนึงถึงศักยภาพในการจัดการ การเลี้ยงและขนาดของกุ้งที่ต้องการจับ ได้แก่ จำนวนและชนิดเครื่องให้อากาศ ประสิทธิภาพ ในการกำจัดของเสียที่พื้นบ่อ และปริมาณน้ำ สำหรับเปลี่ยนถ่ายระหว่างการเลี้ยง โดยทั่วไป ไม่ควรลงกุ้งเกิน 70-80 ตัวต่อตารางเมตร สำหรับเลี้ยงกุ้งที่ขนาดจับ 60-70 ตัวต่อกิโลกรัม ถ้าต้องการจับกุ้งขนาดใหญ่ขึ้นก็จำเป็น ต้องลดจำนวนกุ้งที่จะเลี้ยงลงไปอีก 2. ควบคุมอย่าให้อาหารเหลือ การ ให้ อ าหารเป็ น เรื่ อ งที่ เ กษตรกรผู้ เ ลี้ ย งกุ้ ง จะ ต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษ โดยอาหารที่ให้ ต้องเพียงพอตามความต้องการของกุ้งจริงๆ ไม่ควรให้อาหารเผื่อเหลือ โดยการให้อาหาร ต้องคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ ทีส่ ง่ ผลกระทบต่อการ กินอาหารของกุ้งด้วย เช่น การเปลี่ยนแปลง ของสภาวะอากาศ ช่วงเวลาลอกคราบ หรือ สุขภาพของกุ้งในบ่อ ดังนั้น เกษตรผู้เลี้ยงกุ้ง ต้องหมั่นสังเกตและตรวจสอบการกินอาหาร ของกุ้ ง ว่ า กิ น ได้ ม ากน้ อ ยเพี ย งใด เพื่ อ ให้ สามารถปรับอาหารได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ไม่ให้มีอาหารเหลือ ซึ่งการปรับเพิ่มอาหารนั้น ควรจะค่อยๆ ปรับเพิ่ม ไม่ควรรีบปรับเพิ่ม อาหารเร็วเกินไป เพราะกุ้งอาจได้รับอาหาร เพียงพอแล้ว หากรีบเพิ่มอาหารทันทีในมื้อ ถัดไปอาจทำให้มีอาหารเหลือได้ นอกจากนี้
คุ ณ ภาพอาหารก็ มี ค วามสำคั ญ เช่ น เดี ย วกั น โดยอาหารที่มีคุณภาพดีจะทำให้กุ้งสามารถ นำอาหารไปใช้ เ ปลี่ ย นเป็ น เนื้ อ ได้ ม าก จึ ง มี สารอาหารออกมากับขี้กุ้งน้อยกว่าอาหารที่มี คุณภาพต่ำ ทำให้ต้องเพิ่มปริมาณอาหารที่ให้ กุ้งเพิ่มมากขึ้นตามด้วย การให้อาหารเหลือ หรือไม่สอดคล้องกับความต้องการของกุ้งใน บ่อเลี้ยงจริงๆ นอกจากจะทำให้สิ้นเปลืองค่า อาหารแล้ว ยังทำให้ต้องเพิ่มค่าใช้จ่ายในการ บำบัดคุณภาพน้ำในบ่อ และกำจัดเลนที่พื้นบ่อ อีกด้วย
ผลกระทบของตะกอนเลนต่อการเลี้ยงกุ้ง 1. พีเอช และค่าการละลายของออกซิเจนใน น้ำในรอบวันแกว่งมาก การสะสมของสารอินทรีย์จากอาหารที่ เหลือ และขี้กุ้งที่ขับถ่ายออกมาในตะกอนเลน พื้นบ่อเป็นปริมาณมาก เมื่อเกิดการย่อยสลาย จะทำให้มกี ารสะสมของธาตุอาหารต่างๆ ได้แก่ ไนโตรเจน และฟอสฟอรัสในปริมาณทีม่ ากด้วย ซึ่งธาตุอาหารเหล่านี้จะเป็นตัวเร่ง ส่งผลทำให้ แพลงก์ตอนพืชมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว จนปริ ม าณแพลงก์ ต อนพื ช หนาแน่ น มากจน เกินไป ทำให้น้ำในบ่อเลี้ยงมีสีเข้ม น้ำหนืดเร็ว มีคา่ ความโปร่งแสงต่ำ ซึง่ การทีอ่ ตั ราการเจริญ เติบโตของแพลงก์ตอนพืชเป็นไปอย่างรวดเร็ว จนกระทั่งสูงเกินกว่าระดับที่เหมาะสมนั้น จะ ส่ ง ผลกระทบทำให้ ค่ า พี เ อช และออกซิ เ จน ในรอบวันมีความแตกต่างกันมาก โดยในช่วง กลางคืนจนกระทั่งถึงเช้า น้ำในบ่อเลี้ยงจะมี พีเอชลดลงมาก ส่วนปริมาณออกซิเจนก็จะ ลดต่ ำ ลงด้ ว ย และอาจไม่ เ พี ย งพอต่ อ กุ้ ง ได้ ส่ ว นในเวลากลางวั น น้ ำ จะมี ค่ า ออกซิ เ จนสู ง ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 161
มีนาคม-เมษายน 2558
51
เกินจุดอิม่ ตัวและมีคา่ พีเอชสูง ซึง่ การแกว่งของ ค่ า พี เ อชและปริ ม าณออกซิ เ จนละลายน้ ำ ที่ ค่อนข้างมาก ย่อมส่งผลกระทบต่อกุ้งโดยตรง ทำให้กุ้งเครียด เจริญเติบโตช้า ติดเชื้อโรค ต่างๆ ได้ง่าย รวมทั้งการที่พีเอชของน้ำที่สูง ขึ้นยังส่งผลกระทบทำให้สารพิษบางตัว เช่น แอมโมเนีย มีความเป็นพิษเพิ่มมากขึ้น ทำให้ เป็นอันตรายต่อกุ้งได้ นอกจากนี้ เมื่อมีปัจจัย ที่ ท ำให้ เ กิ ด การตายของแพลงก์ ต อนพร้ อ มๆ กัน ออกซิเจนจะถูกใช้โดยจุลินทรีย์เพื่อย่อย สลายซากแพลงก์ตอนเหล่านี้ ทำให้ปริมาณ ออกซิ เ จนลดลงอย่ า งรวดเร็ ว จนกระทั่ ง เกิ ด สภาวะขาดแคลนออกซิเจน ส่งผลให้กุ้งเครียด อ่อนแอ กุ้งกินอาหารได้ลดลง หรืออาจมีการ ตายของกุ้งในกรณีที่ระดับออกซิเจนลดต่ำมาก ถ้ า ไม่ รี บ แก้ ไ ขปั ญ หาก็ จ ะทำให้ เ กิ ด สภาวะไร้ ออกซิเจนทีพ่ นื้ บ่อ ทำให้การย่อยสลายสารอินทรี ย์ ยิ่ ง ลดน้ อ ยลงไปอี ก เนื่ อ งจากการย่ อ ย สลายสารอิ น ทรี ย์ ใ นสภาวะที่ มี อ อกซิ เ จนจะ เกิดได้ดีและเร็วกว่าการย่อยสลายที่ไม่ใช้ออกซิเจน ทำให้เกิดการสะสมของสารอินทรียต์ า่ งๆ เพิ่มมากยิ่งขึ้น และทำให้เกิดสารพิษบางชนิด จากการย่อยสลายของจุลินทรีย์ที่ไม่ใช้ออกซิเจน 2. เกิดสารที่เป็นพิษต่อกุ้งจากกระบวนการ ย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ ไฮโดรเจนซั ล ไฟด์ หรื อ ก๊ า ซไข่ เ น่ า ตะกอนเลนที่สะสมที่พื้นบ่อเมื่ออยู่ในสภาวะที่ ไม่มีออกซิเจน หรือขาดออกซิเจนเป็นช่วงๆ ก็ จะเกิดกระบวนการย่อยสลายสารอินทรีย์ใน ตะกอนเลนโดยแบคทีเรียบางกลุ่มที่ไม่ใช้ออกซิเจน เนื่องจากแบคทีเรียเหล่านี้สามารถใช้ ออกซิเจนจากซัลเฟต (SO42-) ในการย่อยสลาย 52 มีนาคม-เมษายน 2558
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 161
ทำให้ไฮโดรเจนซัลไฟด์ที่เป็นพิษต่อกุ้ง โดย ความเป็นพิษของก๊าซไข่เน่าจะทำให้สัตว์เกิด อาการคล้ายกับการขาดออกซิเจนแต่รุนแรง กว่าการขาดออกซิเจนมาก ซึ่งสภาวะดังกล่าว จะทำให้กุ้งอ่อนแอ และเกิดการตายของกุ้งได้ แอมโมเนี ย กระบวนการย่ อ ยสลาย สารประกอบไนโตรเจนในสารอินทรีย์ที่เป็น องค์ประกอบของตะกอนเลน โดยจุลินทรีย์ จะทำให้เกิดการสะสมของแอมโมเนียในน้ำ ซึ่ง ถ้ามีมากจนเกินไป จะทำให้กงุ้ ขับถ่ายแอมโมเนีย ออกจากตัวได้น้อยลง ทำให้เกิดการสะสมอยู่ ในเลือดและเนื้อเยื่อ ทำให้ค่าพีเอชของเลือด สูงขึ้น ซึ่งมีผลต่อการทำงานของเอนไซม์ต่างๆ นอกจากนี้ แอมโมเนียจะไปทำลายเหงือกและ ทำให้การขนส่งออกซิเจนได้ลดลง ทำให้กุ้ง อ่อนแอ ติดโรคต่างๆ ได้ง่าย และอาจทำให้ เกิดการตายของกุ้งในที่สุด
วิธีการดูดเลนในระหว่างการเลี้ยง เมื่ อ มี ก ารสะสมของตะกอนเลนที่ พื้ น ก้นบ่อแล้ว วิธีการลดผลกระทบของตะกอน เลนต่อสภาพแวดล้อมในบ่อเลี้ยงและสุขภาพ กุ้งที่ดีที่สุดคือ การนำตะกอนเลนที่เป็นต้นตอ ของปัญหาออกจากพื้นบ่อด้วยวิธีการดูดเลน โดยบ่อเลี้ยงที่มีพื้นบ่อเป็นดิน การรวมเลนจะ ทำได้ยากกว่าบ่อเลี้ยงที่ปูด้วยพีอี (PE) ดังนั้น หลุมรวมเลนของพืน้ บ่อทีเ่ ป็นดินจะต้องมีขนาด ใหญ่กว่า และเครื่องดูดเลนต้องเคลื่อนย้ายได้ ทำให้สามารถตรวจเช็ค และปรับตำแหน่งเครือ่ ง ดูดเลนได้อย่างสม่ำเสมอเพือ่ ให้สามารถดูดเลน ออกจากหลุมรวมเลนได้หมด ซึ่งการดูดเลนจะ ต้องทำเป็นประจำต่อเนื่องไปตลอดระยะเวลา การเลี้ยง โดยมีรายละเอียดดังนี้
อุปกรณ์ในการดูดเลน เพื่อให้การดูด เลนเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีความ สะดวก ในการทำงานควรมีอุปกรณ์ต่างๆ ดัง ต่อไปนี้ 1. มอเตอร์ 3 เฟส 3 แรงม้า 2. ปั๊มหอยโข่ง ขนาดท่อ 3 นิ้ว ทั้งเข้า และออก 3. ชุดสวิตซ์ไฟเปิด-ปิดอัตโนมัติ Timer 4. ท่อ และวาล์ว 3 นิ้ว (พื้นบ่อพีอี จะเป็นท่อพีวีซี ส่วนพื้นบ่อที่เป็นดินจะเป็นท่อ อ่อน) 5. หลุมรวมเลนกลางบ่อ สำหรับพื้นบ่อ พี อี จ ะมี ข นาด 4x4 เมตร ลึ ก ประมาณ 40-50 เซนติเมตร ส่วนพืน้ บ่อทีเ่ ป็นดินจะเป็น รูปทรงกลม โดยมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 12 เมตร ลึกประมาณ 70 เซนติเมตร ขนาดของอุ ป กรณ์ ต่ า งๆ ข้ า งต้ น นั้ น เหมาะสำหรับบ่อขนาดประมาณ 4 ไร่ โดย ตำแหน่งของมอเตอร์นั้น ในกรณีพื้นบ่อที่เป็น ดิน จะติดตั้งบนทุ่นลอยเพื่อให้สามารถเคลื่อน ย้าย และปรับตำแหน่งได้ ส่วนบ่อที่ปูด้วยพีอี จะติดตั้งอยู่บนสโลปด้านบนของบ่อ แล้วต่อ แกนเพลามอเตอร์ไปยังปั๊มหอยโข่งซึ่งจะมีท่อ ต่อไปยังหลุมรวมเลนกลางบ่อ โดยจะต้องให้ ปั๊มหอยโข่งอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำในบ่อเลี้ยง และ ระดับน้ำจะต้องไม่สูงไปกว่ายอยของมอเตอร์ที่ ต่อกับเพลาปั๊ม การที่ปั๊มหอยโข่งอยู่ใต้ผิวน้ำ จะทำให้ มี น้ ำ เลี้ ย งในท่ อ ดู ด ตลอดเวลา จึ ง สามารถดูดเลนได้โดยไม่ต้องคอยเติมน้ำ ดัง แสดงในภาพที่ 1 วิธีการดูดเลน การดูดเลนจะทำตั้งแต่ วันแรกหลังจากลงกุ้ง โดยสิ่งที่จะต้องคำนึงถึง ในเบื้องต้นเพื่อให้การดูดเลนเป็นไปได้อย่างมี
รูปที่ รูปที่
1 ตำแหน่งและการติดตั้งอุปกรณ์สำหรับดูดเลน 2 หลุมรวมเลนกลางบ่อของพื้นบ่อที่เป็นดิน
ประสิทธิภาพคือ การรวมตะกอนเลนให้ไปตก ในหลุมรวมเลน ซึ่งจะขึ้นอยู่กับตำแหน่งการ วางเครื่องตีน้ำและความลึกของน้ำที่จะทำให้ กระแสน้ำที่เกิดขึ้นสามารถพัดพาตะกอนเลน ทีพ่ นื้ บ่อไปรวมตกอยูใ่ นหลุมรวมเลนทีก่ ลางบ่อ ให้ได้มากที่สุด โดยจะต้องทำการตรวจสอบ การกระจายของเลน แล้วทำการปรับเครื่อง ตีน้ำให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม ซึ่งการเปิดปิดเครื่องดูดเลนนั้น จะตั้งโปรแกรมเปิด-ปิด อั ต โนมั ติ โ ดยความถี่ และระยะเวลาในการ เปิด-ปิดเครื่องจะขึ้นอยู่กับปริมาณตะกอนเลน ที่สะสมในบ่อ โดยสังเกตจากสีน้ำที่ออกจาก ท่ อ ดู ด เลน ตั ว อย่ า งโปรแกรมการเปิ ด -ปิ ด เครื่องดูดเลนอย่างคร่าวๆ สำหรับพื้นบ่อพีอี เป็นดังนี้ วันที่ 1-30 ปัม๊ ทำงานอัตโนมัติ ทุกๆ 3 ชั่วโมง นานครั้งละ 1-5 นาที ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 161
มีนาคม-เมษายน 2558
53
วันที่ 31-45 ปั๊มทำงานอัตโนมัติ ทุกๆ 1 ชั่วโมง นานครั้งละ 3-5 นาที วันที่ 46-วันจับกุ้ง ปั๊มทำงานอัตโนมัติ ทุกๆ 30 นาที นานครั้งละ 5-10 นาที จากการศึกษาของ วิลาวัลย์ บุญวาสน์ (2555) เพื่อดูผลของการดูดตะกอนเลนในบ่อ เลี้ยงกุ้งขาวต่อการเจริญเติบโตและอัตราการ รอดของกุ้ ง เที ย บกั บ บ่ อ เลี้ ย งที่ ไ ม่ มี ก ารดู ด ตะกอนเลน โดยทำการทดลองในบ่อเลีย้ งขนาด 5 ไร่ จำนวน 6 บ่อ แบ่งเป็นบ่อทดลองจำนวน 3 บ่อ ซึ่งมีการติดตั้งท่อกลางบ่อเพื่อระบาย สารอินทรีย์ และตะกอนเลนในระหว่างการ เลี้ยง และบ่อควบคุมจำนวน 3 บ่อ ซึ่งไม่ได้มี การติ ด ตั้ ง ท่ อ กลางบ่ อ เพื่ อ กำจั ด ตะกอนเลน ออกจากบ่อ โดยปล่อยลูกกุ้งระยะโพสลาร์วา 15 (PL 15) ลงเลี้ยงที่ความหนาแน่น 92 ตัว ต่ อ ตารางเมตร หลั ง จากจั บ กุ้ ง ที่ ร ะยะเวลา การเลี้ยง 77-90 วัน พบว่าอัตราการเจริญ เติบโตเฉลี่ยต่อวัน (ADG) อัตรารอดเฉลี่ย และ ผลผลิ ต เฉลี่ ย ต่ อ ไร่ ข องกลุ่ ม ทดลองซึ่ ง มี ก าร ดูดตะกอนเลนเป็นประจำ ให้ผลที่ดีกว่าอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม ซึง่ ไม่ได้มกี ารกำจัดตะกอนเลนออกจากบ่อ โดย ในกลุ่มทดลองมีอัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ย เท่ากับ 0.16 กรัมต่อวัน อัตรารอดเฉลี่ย ร้อยละ 92 และผลผลิตเฉลี่ยเท่ากับ 2,042 กิโลกรัมต่อไร่ ในขณะทีก่ ลุม่ ควบคุมมีอตั ราการ เจริญเติบโตเฉลี่ยเท่ากับ 0.14 กรัมต่อวัน อัตรารอดเฉลี่ยร้อยละ 67 และผลผลิตเฉลี่ย
เท่ากับ 1,315 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งจากผลการ ศึกษานีส้ ามารถสรุปได้วา่ การกำจัดตะกอนเลน โดยการดูดเลนระหว่างการเลี้ยง สามารถเพิ่ม อัตรารอดและผลผลิตในการเลี้ยงได้ดีกว่ากลุ่ม ที่ไม่มีการดูดเลน นอกจากนี้ เมื่อดูคุณภาพน้ำ โดยการเปรียบเทียบค่าแอมโมเนียรวม (Total Ammonia Nitrogen, TAN) พบว่ากลุ่มทดลอง ที่ มี ก ารดู ด ตะกอนออกตลอดระยะเวลาการ เลี้ยงจะมีค่าเฉลี่ยของปริมาณแอมโมเนียรวม ในน้ำต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติ ทัง้ นีเ้ ป็นเพราะของเสียรวมทัง้ สารอินทรีย์ ต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากอาหารที่เหลือจาก การกินของกุ้ง ซึ่งเป็นแหล่งที่มีโปรตีนสูง และ เป็นต้นกำเนิดของแอมโมเนียในบ่อ ได้ถกู กำจัด ออกไปตลอดระยะเวลาการเลี้ยง ดังที่กล่าวมาแล้วในข้างต้นว่า ตะกอน เลนที่ พื้ น บ่ อ เกิ ด จากการสะสมของอาหารที่ เหลือจากการกินของกุ้ง ซากแพลงก์ตอน ขี้กุ้ง แบคทีเรีย และสิ่งต่างๆ ที่ใส่ระหว่างการเลี้ยง ดังนั้น การควบคุมปัญหานี้จะต้องทำควบคู่กัน ไปทั้งการลดที่มาของสารอินทรีย์ในบ่ออันเป็น ต้นตอของปัญหา ได้แก่ การเตรียมบ่อทีด่ ี การ ควบคุมการให้อาหารอย่าให้เหลือ และไม่ลงกุง้ ในอัตราความหนาแน่นทีส่ งู เกินไป ร่วมกับการ กำจั ด เมื่ อ มี ต ะกอนเลนที่ พื้ น บ่ อ แล้ ว ด้ ว ยการ ดูดเลน ถ้าทำได้อย่างมีประสิทธิภาพจะช่วยลด ผลกระทบจากปัญหาสภาพแวดล้อมในบ่อที่ส่ง ผลเสียต่อการเลี้ยง ทำให้การเลี้ยงกุ้งมีโอกาส ประสบความสำเร็จและมีความยัง่ ยืนมากยิง่ ขึน้
เอกสารอ้างอิง วิลาวัลย์ บุญวาสน์. 2555. ผลของการนำสารอินทรียแ์ ละเลนออกจากบ่อโดยท่อระบายกลางบ่อต่อการเจริญเติบโตและ อัตรารอดตายของการเลีย้ งกุง้ ขาวแวนนาไมอย่างหนาแน่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ.
54 มีนาคม-เมษายน 2558
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 161
» ¶ ° ° µ¦¦oµ ¢µ¦r¤ ¨³ ¨· °µ®µ¦´ ªr
by
Around the World
กรมปศุสัตว์ทำลายสินค้าปศุสัตว์
ซึ่งนำเข้าโดยผิดกฎหมาย
ILLEGAL
นายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา รัฐมนตรีว่าการกระทรวง เกษตรและสหกรณ์ เป็นประธาน “พิธีทำลายสินค้าปศุสัตว์ซึ่ง นำเข้าโดยผิดกฎหมาย” ในวันจันทร์ที่ 12 มกราคม 2558 เวลา 15.00 น. ณ ศูนย์ราชการกรมปศุสตั ว์ บางกระดี จังหวัดปทุมธานี โดยมีนายสัตวแพทย์อยุทธ์ หรินทรานนท์ ผูต้ รวจราชการกระทรวง เกษตรและสหกรณ์ รักษาราชการแทนอธิบดีกรมปศุสตั ว์ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องร่วมงาน นายปีตพิ งศ์ พึง่ บุญ ณ อยุธยา รัฐมนตรีวา่ การ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า กรมปศุสัตว์ ในฐานะหน่วยงานหลักของประเทศในการกำกับ ดูแลสุขภาพสัตว์ การควบคุม ป้องกันและกำจัด โรคระบาด จากสัตว์สคู่ น และสัตว์สสู่ ตั ว์ ตลอดจน ควบคุมกำกับดูแลการนำเข้า นำออก นำผ่าน ราชอาณาจั ก รซึ่ ง สิ น ค้ า ปศุ สั ต ว์ เพื่ อ ให้ เ กิ ด ความปลอดภัยและน่าเชื่อถือแก่ผู้บริโภคทั้ง ในและต่างประเทศมามากกว่า 7 ทศวรรษ โดยมี ก ารกำหนดมาตรฐานหลั ก เกณฑ์ เงื่อนไขในการควบคุมการผลิตการนำเข้า นำออก นำผ่าน สัตว์และซากสัตว์ให้เป็นไป ตามมาตรฐานสากล รวมไปถึงการดำเนินงาน บังคับใช้
ที่มา : กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมปศุสัตว์ ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 161
มีนาคม-เมษายน 2558
55
กฎหมายทีก่ รมรับผิดชอบอยูโ่ ดยเคร่งครัด กอง สารวัตรและกักกันซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัด ของกรมปศุสัตว์ได้ดำเนินโครงการตรวจสอบ สถานทีพ่ กั ซากสัตว์ทวั่ ประเทศร่วมกับเจ้าหน้าที่ จากกรมศุลกากรและหน่วยงานตำรวจ ทหาร รวมถึงการตรวจสอบสินค้าปศุสัตว์นำเข้าทาง ท่าเรือสินค้าปศุสัตว์ ประเภทเนื้อสัตว์ ซาก สัตว์ที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน-31 ธันวาคม 2557 เพื่อ สามารถตรวจสอบและเป็ น การป้ อ งปรามผู้ ลักลอบนำเข้าสินค้าปศุสัตว์จากประเทศที่กรม ปศุสัตว์ ไม่อนุญาต สรุปผลการดำเนินงาน ได้ดังนี้ กองสารวัตรและกักกัน กรมปศุสัตว์ ร่วมกับเจ้าหน้าที่กรมศุลกากรและเจ้าหน้าที่ ทหาร ตรวจยึดของกลางเป็นไตสุกร นำเข้า จากประเทศเนเธอร์ แ ลนด์ 1,300 กล่ อ ง น้ำหนัก 13,000 กิโลกรัม ด่านกักสัตว์ชลบุรี ร่วมกับเจ้าหน้าที่ศุลกากรตรวจยึดของกลาง เป็นตับ นำเข้าจากประเทศเกาหลีใต้ 2,300 กล่ อ ง น้ ำ หนั ก 23,000 กิ โ ลกรั ม และ ด่านกักสัตว์กรุงเทพฯ ทางน้ำ ร่วมกับเจ้าหน้าที่ ศุ ล กากรตรวจยึ ด ของกลางเป็ น เครื่ อ งในโค นำเข้ า จากประเทศอิ น เดี ย 4,935 กล่ อ ง น้ำหนัก 49,355 กิโลกรัม
56 มีนาคม-เมษายน 2558
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 161
เพื่ อ เป็ น การสร้ า งความมั่ น ใจ และ ความเชือ่ มัน่ ต่อผูบ้ ริโภคเนือ้ สัตว์ภายในประเทศ ต่อมาตรการและแนวทางการควบคุมการนำ เข้า นำออก นำผ่านสินค้าปศุสัตว์ และเป็น การป้องกันการแพร่กระจายของโรคสัตว์จาก สินค้าปศุสัตว์ที่กระทำผิดดังกล่าว กรมปศุสัตว์ จึ ง ได้ จั ด ให้ มี ก ารทำลายของกลาง ซึ่ ง ผ่ า น กระบวนการตัดสินของศาล ตามพระราชบัญญัติ โรคระบาดสัตว์ พุทธศักราช 2499 มาตรา 10 (2) จำนวนกว่า 8,500 กล่อง น้ำหนักรวม กว่า 85,000 กิโลกรัม ข้อมูล : กองสารวัตรและกักกัน กรมปศุสัตว์ ข่าว : พิจารณา สามนจิตติ กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม
Around the World
กรณีรายงานข่าวเรื่อง
ปัญหาการค้ามนุษย์ ในอุตสาหกรรมประมงไทย ตามที่มีการรายงานข่าวโดยสำนักข่าว และ NGOs ต่างๆ เรื่องปัญหาการค้า มนุ ษ ย์ ใ นอุ ต สาหกรรมประมงไทย กระทรวงการต่างประเทศขอเรียน ข้อเท็จจริง ดังนี้ รัฐบาลปัจจุบันให้ความสำคัญ อย่ า งยิ่ ง กั บ การปราบปรามการค้ า มนุษย์และจะดำเนินคดีต่างๆ อย่างถึงที่สุด นายกรัฐมนตรีได้กำหนดให้เรื่องนี้เป็นวาระระดับชาติ ปฏิรูปการทำงานทั้ง ระบบของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เป็นบูรณาการและรวดเร็ว ล่าสุด เมือ่ วันที่ 26 มีนาคม 2558 สภานิตบิ ญ ั ญัตแิ ห่งชาติได้เห็นชอบ ให้มกี ารแก้ไขเพิม่ เติม พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 เพิ่มอำนาจทางการปกครองให้แก่เจ้าหน้าที่รัฐในการสั่งปิด หรือพักใช้ใบ อนุญาตของสถานประกอบการ หรือโรงงานทีเ่ กีย่ วข้องกับคดีคา้ มนุษย์ รวมทัง้ เพิม่ บทลงโทษต่อผูก้ ระทำความผิด โดยมีบทเพิม่ โทษทีบ่ ญ ั ญัตขิ นึ้ มาใหม่ กรณี ทีผ่ ถู้ กู กระทำได้รบั อันตรายสาหัส ผูก้ ระทำความผิดต้องระวางโทษจำคุก ตัง้ แต่ 8-12 ปี และมีโทษปรับ ตัง้ แต่ 160,000-400,000 บาท หรือจำคุกตลอดชีวติ และในกรณีที่ผู้ถูกกระทำถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิต หรือ ประหารชีวิต
ที่มา : กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 161
มีนาคม-เมษายน 2558
57
ในด้ า นของการสื บ สวน DSI ได้ เ ริ่ ม การสืบสวนเรื่องนี้ก่อนหน้าการรายงานข่าว ดังกล่าวแล้ว ซึ่งแสดงถึงความมุ่งมั่นในการ แก้ไขปัญหานีอ้ ย่างจริงจังของทางการไทย โดย ในพื้ น ที่ อ ำบน และเกาะเบนจิ น า มี ก รณี ที่ เกี่ยวข้องหลายคดี ซึ่งได้มีการออกหมายจับ และจับกุมผู้ต้องหากระทำผิดคดีค้ามนุษย์แล้ว 3 คน และกำลั ง สอบสวนผู้ เ กี่ ย วข้ อ งต่ า งๆ ในทุกคดีอยู่ ซึ่งได้ดำเนินการมาระยะหนึ่งแล้ว นอกจากนี้ รั ฐ บาลให้ ค วามสำคั ญ กั บ การลงโทษเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องกับการค้า มนุ ษ ย์ และดำเนิ น คดี กั บ นั ก ค้ า มนุ ษ ย์ ทั้ ง นายหน้า บริษัทจัดหางานที่ผิดกฎหมาย และ สืบสวนขยายผลคดีต่างๆ ที่มีความซับซ้อน ซึ่ง ขณะนีเ้ จ้าหน้าทีก่ ไ็ ด้สบื สวนขยายผลจนสามารถ จับกุมคนในขบวนการได้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ขอเรียนเพิ่มเติมว่า รัฐบาลได้ริเริ่มการ แก้ปัญหาที่รากเหง้าและลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ในระยะยาว โดยมาตรการสำคัญที่รัฐบาลได้ ดำเนินการไปแล้ว คือการจดทะเบียนแรงงาน ต่างด้าวและครอบครัวกว่า 1.6 ล้านคน ที่ รวมถึงแรงงานส่วนใหญ่ในภาคประมง ซึ่งจะ ทำให้ ค นเหล่ า นี้ ไ ด้ รั บ การคุ้ ม ครองสิ ท ธิ ต าม กฎหมาย ไม่ถูกเอาเปรียบ
58 มีนาคม-เมษายน 2558
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 161
ในส่วนของอุตสาหกรรมประมง ได้เริ่ม ติดตั้งระบบติดตามเรือ (Vessel Monitoring System-VMS) แล้ว ภายในเดือนมิถุนายน 2558 จะสามารถติดตัง้ ในเรือกว่า 7,740 ลำ และจะดำเนินการควบคู่กับการสุ่มตรวจสอบ เรืออย่างสมํ่าเสมอ รวมถึงใช้ระบบตรวจสอบ Port-in/Port-out ติ ด ตามสวั ส ดิ ภ าพ แรงงานในเรือ และการตรวจสอบแหล่งที่มา ของสัตว์น้ำที่จับได้ตลอดสายการผลิต (traceability) สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ รัฐบาลไทยพร้อม ร่วมมือกับทุกฝ่ายในการแก้ไขปัญหาการค้า มนุ ษ ย์ โดยต้ อ งการข้ อ มู ล เบาะแสที่ มี ค วาม ชั ด เจนเจาะจงมากที่ สุ ด เพื่ อ สามารถสื บ สวน และนำตั ว ผู้ ก ระทำผิ ด มาลงโทษได้ โ ดยเร็ ว ภาคส่วนใดที่มีข้อมูลดังกล่าว ไม่ว่าภาคเอกชน ภาคประชาสังคม รวมถึงสื่อมวลชน สามารถ ประสานนำส่งข้อมูลให้รัฐบาลทราบได้เสมอ ในทุกกรณี
¨±¾ĥ¬»£¢þ®¿µĥþ¤»Ï Æ ±±þ VGNKC ACKK XC?RS µ¼®ª»¦¥ÂþÆĪª¼º Pichia guilliermondii
ű¯º ·§Ĥû³®· þű¯º ·§¤¿ÎµĬ¼ » +?MM?M NKHFNR?AAG?QHBCR +-1 ஜ FKTA?M DZº MTAKCNSHBCR ƪÁηµÂ ¬¼ª¤¿ÎĤ¿ · ¤¼ ÆĤ¾¦·¼ĭ¼¯ DZºű¯ºµ¾¤¥¾¬¼ª ¼¯ÆĨ¯¾ · µ»ĥ³þ
Gut health
Body defense
¯ºĥÂû¦¬Ã¾ Âû »¦É¦¤¼ ÆĤ¾¦·¼ĭ¼¯ ÈĤ® ¯ºĥÂû¦ ¼¯¤Ĭ¼ ¼¦ · Æ ±±þÆÍĤƱÁ·Ĥ ¼³ L@BQNOG@FD ƪÁη Ĭ¼Ĩ»Ĥµ¾Î Çű± ű±·
Toxin binder
Growth performance
Cool technology to fight heat stress þíĆđ ì ĄùĒ úč ü Ļ ċ àÚċû Úüĉîđ ļ ò ùĒ úč Ýđ ļ ú ÚĊ ò ĕ÷čĝ ú ôüĉăč ð ñč ù ċ÷Úċüõþč î
Around the World
ทิศทาง
มาตรฐานฟาร์มอุตสาหกรรมสุกรไทย สู่มาตรฐานอาเซียน เป็นทีท่ ราบกันดีวา่ ปลายปีนคี้ อื วันที่ 31ธันวาคม 2558 ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ ASEAN Economic Community (AEC) จะถือกำเนิดเกิดขึ้นอย่างเป็นทางการ โดยความร่วมมือ ของประเทศในอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ เมื่อถึงเวลานั้น จะมีหลายสิ่งหลายอย่างเปลี่ยนแปลง ในวงการสุกรก็เช่นกัน ทิศทางและแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงจะเป็นอย่างไร เป็นเรื่องที่ หลายคนให้ความสนใจโดยเฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการเลี้ยงและการผลิตสุกร ถึงแม้ หลายคนจะมองว่าประเทศไทยมีความได้เปรียบในหลายๆ ด้าน ทัง้ โนฮาว และการเป็นศูนย์กลาง ของอาเซียน ทำให้การแข่งขันของผู้ประกอบการไทยมีความคล่องตัวและสามารถแข่งขันได้อย่าง ไม่มีปัญหา ที่มา : วารสาร สาส์นไก่ & สุกร ปีที่ 13 ฉบับที่ 143 เดือนเมษายน 2558 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 161
มีนาคม-เมษายน 2558
59
ถึงแม้ประเทศไทยจะได้เปรียบประเทศ เพื่อนบ้านในเกือบทุกด้าน แต่ความได้เปรียบ นั้น ผู้ประกอบการไทยจะสามารถนำมาเป็น เครื่ อ งมื อ ในการแข่ ง ขั น ได้ ม ากน้ อ ยแค่ ไ หน ก็ เ ป็ น เรื่ อ งที่ จ ะต้ อ งขบคิ ด ต่ อ ไป โดยเฉพาะ “มาตรฐานการผลิต” เพราะท้ายที่สุดแล้ว แม้ ทุกประเทศจะไม่มภี าษีตอ่ กันในการค้าขาย แต่ มาตรฐานฟาร์ม มาตรฐานการผลิตสุกร จะ เป็นสิ่งที่ทุกประเทศใช้เป็นเครื่องมือ และบาง มาตรฐานจะเป็นข้อกำหนดที่ต้องใช้ร่วมกัน เรื่องนี้ได้มีการพูดกันหลายเวที ซึ่งหนึ่ง ในนัน้ คืองานสัมมนาย่อยเมือ่ วันที่ 12 มีนาคม 2558 ในงาน “VIV Asia 2015” หรือ “งาน แสดงสิ น ค้ า และนิ ท รรศการด้ า นเทคโนโลยี ปศุสัตว์และสัตว์น้ำเอเชีย” ณ ไบเทค บางนา กรุงเทพฯ โดย สพ.ญ.ดร.วิมลพร ธิติศักดิ์ รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ บรรยายพิเศษในหัวข้อ เรื่อง “ทิศทางมาตรฐานฟาร์มอุตสาหกรรม สุกรไทย สู่มาตรฐานอาเซียน” ซึ่งเป็นการ บรรยายให้กบั ผูท้ เี่ กีย่ วข้องกับอุตสาหกรรมการ ผลิตสุกรของไทยและต่างประเทศ
60 มีนาคม-เมษายน 2558
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 161
สพ.ญ.ดร.วิมลพร กล่าวว่า การเปิด AEC ในสิ้ น ปี ที่ จ ะถึ ง นี้ ถื อ เป็ น เรื่ อ งที่ ส ำคั ญ มาก สำหรับทุกประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือประเทศในอาเซียน เพราะประชากรที่มีอยู่ รวมกันประมาณ 600 ล้านคน คิดเป็น 10% ของประชากรโลกที่มีอยู่ในตอนนี้ แน่นอนว่า ประชากรเหล่านี้จะต้องได้รับผลกระทบทั้งใน ด้านบวกและด้านลบ เพราะการที่ทุกประเทศ ได้ มี ข้ อ ตกลงที่ จ ะรวมตลาดเป็ น ตลาดเดี ย ว (Singer Market) จะทำให้เกิดการเปลีย่ นแปลง ครั้งใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นการลงทุน แรงงาน การ เคลื่ อ นย้ า ยสิ น ค้ า และบริ ก าร รวมไปถึ ง กฎ ระเบียบและมาตรฐานต่างๆ ที่จะต้องปฏิบัติ ร่วมกัน
อย่างไรก็ตาม เมื่อมองภาพ รวมของอุตสาหกรรมการผลิตสุกร ปัจจุบันประเทศผู้ส่งออกเนื้อสุกรที่ สำคัญของโลก จากข้อมูลของ USDA ปี พ.ศ. 2557 คือกลุ่มประเทศอียู ประมาณ 2,150 ตัน รองลงมาคือ แคนาดา 1,180 ตัน บราซิล 585 ตัน และจีน 275 ตัน ส่วนประเทศในกลุม่ อาเซียนพบว่า เวียดนามมีการส่งออก เนื้อสุกรมากที่สุดประมาณ 40 ตัน ขณะที่ไทยอยู่ที่ 17 ตัน ส่ ว นประเทศผู้ น ำเข้ า เนื้ อ สุ ก รที่ ส ำคั ญ ได้แก่ ญี่ปุ่น ประมาณ 1,320 ตัน เม็กซิโก 815 ตัน จีน 810 ตัน รัสเซีย 460 ตัน เกาหลีใต้ 440 ตัน ฮ่องกง 350 ตัน แคนาดา 210 ตัน ฟิลปิ ปินส์ 190 ตัน และออสเตรเลีย 185 ตัน ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่าประเทศจีน นอกจากจะเป็นประเทศผูส้ ง่ ออกมากเป็นอันดับ ต้นๆ แล้ว ยังเป็นประเทศที่นำเข้าสูงเช่นกัน ทั้งนี้ เป็นเพราะประชากรจีนมีค่อนข้างเยอะ และมีการเลี้ยงมากที่สุดในโลกด้วย จึงทำให้มี การหมุนเวียนเนื้อสุกรเข้าออกตลอดเวลา ส่วนประเทศในกลุ่มอาเซียน ปัจจุบัน ประเทศที่ มี ก ารผลิ ต เนื้ อ สุ ก รมากที่ สุ ด คื อ
เวียดนาม ประมาณ 3,217,788 ตัน รองลงมา คือ ฟิลปิ ปินส์ 1,680,059 ตัน ไทย 986,595 ตัน อินโดนีเซีย 767,714 ตัน เมียนมาร์ 620,435 ตั น มาเลเซี ย 231,406 ตั น กัมพูชา 86,081 ตัน ลาว 59,598 ตัน บรูไน 44.1 ตัน และสิงคโปร์ 0.07 ตัน ข้อสังเกตคือ ประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งเป็น ประเทศในกลุม่ อาเซียนทีน่ อกจากจะมีการผลิต มากเป็นอันดับ 2 ของกลุม่ ประเทศอาเซียนแล้ว ยังเป็นประเทศที่นำเข้าสูงเช่นเดียวกัน เหตุผล คือประชากรของประเทศมีคอ่ นข้างเยอะ จึงทำ ให้ฟิลิปปินส์ต้องนำเข้าเนื้อสุกรเพื่อให้เพียงพอ ต่อการบริโภค ขณะที่ประเทศไทยส่วนใหญ่จะเน้นการ บริการภายในประเทศ มีการส่งออกบ้างแต่ไม่ มาก และเป็นการส่งออกแบบแปรรูป หรือสุกร ปรุงสุก คิดเป็น 94% ของการส่งออกทั้งหมด อีก 6% เป็นเนื้อสุกรแช่เย็น แช่แข็ง โดย ประเทศสำคัญที่นำเข้าสุกรจากไทยคือ ญี่ปุ่น แต่เป็นเนื้อสุกรปรุงสุก ส่วนเนื้อสุกรสดแช่เย็น แช่แข็ง ประเทศที่นำเข้าสำคัญ ได้แก่ ฮ่องกง รองลงมาคือ มาเลเซีย อินเดีย ลาว และล่าสุด ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 161
มีนาคม-เมษายน 2558
61
คื อ รั ส เซี ย ซึ่ ง แหล่ ง การเลี้ ย งสุ ก รของไทยที่ สำคัญ ได้แก่ เขต 7 เช่น ราชบุรี นครปฐม เขต 2 เช่น ชลบุรี ฉะเชิงเทรา เป็นต้น จากข้อมูลทีก่ ล่าวมา จะเห็นได้วา่ ประเทศ ไทยยังมีสดั ส่วนทีน่ อ้ ยในอุตสาหกรรมการผลิต สุกร ดังนั้น เพื่อให้สามารถแข่งขันได้ในเวที นานาชาติ จำเป็นอย่างยิ่งที่ไทยจะต้องแสดง บทบาทโดยเฉพาะเรื่องของมาตรฐานฟาร์ม ปั จ จุ บั น กรมปศุ สั ต ว์ ไ ด้ เ ข้ า ไปมี บ ทบาทเรื่ อ ง มาตรฐานกับ AEC มี 2 เรือ่ งใหญ่ คือ ACCSQ PEPWG-ASEAN Working Group on Prepared Foodstuff Product และ ASEAN Sectoral Working Group on Livestock (ASWGL) ในขณะนี้มีการกำหนดร่าง GAHP ใน ฟาร์มไก่เนื้อและไก่ไข่ของอาเซียนแล้ว และ จะมีการเสนอในที่ประชุม ASEAN Sectoral Working Group on Livestock ครั้งที่ 20 ระหว่างวันที่ 1-3 เมษายน 2558 ณ จังหวัด เชียงใหม่ โดยกำหนดให้ปรับปรุงหมวด Animal 62 มีนาคม-เมษายน 2558
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 161
welfare และ Environmental sustainability module ทัง้ นีใ้ นอนาคตจะจัดทำมาตรฐานฟาร์ม ในสัตว์ชนิดอื่นเพิ่มเติม สำหรับประเทศไทย สามารถนำมาตรฐานฟาร์มมาปรับประสานกับ มาตรฐานอาเซียนได้เลย สำหรับการดำเนินการ ของกรมปศุสัตว์ภายใต้ ASEAN Sectoral Working Group on Livestock (ASWGL) ได้แก่ จัดทำมาตรฐานวัคซีนป้องกันโรคสัตว์ และการ ตรวจรับรองสถานที่ผลิตวัคซีนสำหรับปศุสัตว์ ในอาเซียน ซึ่งขณะนี้มีไทย และอินโดนีเซียที่ ได้รับการรับรอง รวมถึงการจัดทำมาตรฐาน กฎระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวกับสินค้าปศุสัตว์ อาทิ มาตรฐานฟาร์ม มาตรฐานโรงฆ่า มาตรฐาน โรงงานแปรรูป ร่ ว มมื อ ในการควบคุ ม โรคระบาดสั ต ว์ และโรคติดต่อระหว่างสัตว์และคนในอาเซียน โดยการจัดตั้งกองทุนสุขภาพสัตว์อาเซียน ซึ่ง มีงบประมาณ 1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพือ่ จัดทำ ระบบข้อมูลโรคระบาดสัตว์ในอาเซียน จัดตั้ง ห้องปฏิบัติการอ้างอิงของอาเซียนสำหรับโรค ระบาดที่สำคัญ เช่น FMD โรคไข้หวัดนก เป็นต้น รวมทัง้ ความร่วมมือในภูมภิ าคทีจ่ ะกำจัด โรคพิษสุนัขบ้าให้หมดไปในปี ค.ศ. 2020 เฝ้าระวัง ติดตาม ป้องกันโรค จากการ เคลื่ อ นย้ า ยสั ต ว์ ข้ า มแดน และการอุ บั ติ ข อง โรคติดต่อจากสัตว์สู่คน ที่ส่งผลต่อความมั่นคง และความปลอดภัยทางอาหาร ทั้งต่อวิถีชีวิต ของเกษตรกร และสุขอนามัยของประชาชน ตลอดจนร่วมมือกับกรมควบคุมโรค กรมอุทยาน แห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ในการกำจัด ควบคุมโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน
Around the World
72 ปี สั ต วบาล กับความก้าวหน้าทางโภชนศาสตร์สัตว์ เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2558 ภาควิชาสัตวบาล คณะเกษตรศาสตร์ ร่วมกับ หน่วยวิจัย โภชนาการและอาหารสัตว์ ศูนย์วทิ ยาการชัน้ สูงเพือ่ เกษตรและอาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน ได้จัดสัมมนาทางวิชาการ 72 ปี สัตวบาล กับความก้าวหน้าทางโภชนศาสตร์ สัตว์ “Dynamic in Animal Nutrition: Academic and Feed Industry Aspects” ในโอกาส ครบรอบ 72 ปี แห่งการสถาปนา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ณ อาคารวชิรานุสรณ์ คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน กรุงเทพฯ เพื่อแสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าของงานวิจัย ด้านโภชนศาสตร์และธุรกิจอาหารสัตว์ทั่วโลกผ่านการบรรยายพิเศษจากอาจารย์ภาควิชาฯ และ ผู้เชี่ยวชาญจากภาคธุรกิจชั้นนำของประเทศ ที่มา : วารสาร สาส์นไก่ & สุกร ปีที่ 13 ฉบับที่ 143 เดือนเมษายน 2558 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 161
มีนาคม-เมษายน 2558
63
โ ด ย ป ร ะ ก อ บ ไ ป ด้ ว ย คุ ณ ภั ท นี ย์ เล็กศรีสมพงษ์ รองกรรมการผู้จัดการบริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์, สพ.ญ.อรพิน สุขพิรยิ กุล รองกรรมการผู้ จั ด การใหญ่ บ ริ ห าร ศู น ย์ เทคโนโลยีอาหารสัตว์ เครือเบทาโกร และ ผศ.ดร.เสกสม อาตมางกูร คณบดีคณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิ ท ยาลั ย เกษตรศาสตร์ ดำเนินรายการโดย รศ.ดร.ชัยภูมิ บัญชาศักดิ์ ภาควิชาสัตวบาล คณะเกษตร มก. บางเขน
ผศ.ดร.เสกสม กล่าวว่า จริงๆ แล้ว จะ ก้าวหน้าหรือไม่นั้นต้องขอบอกว่าขึ้นอยู่กับตัว บุคคลว่ามีความพร้อมทีจ่ ะพัฒนาตัวเองหรือไม่ อย่าใช้ความชำนาญในการทำงาน โดยเฉพาะ ในด้ า นการผลิ ต อาหารสั ต ว์ ซึ่ ง จะใช้ ค วาม สามารถเฉพาะด้านไม่ได้ เพราะการผลิตอาหาร สัตว์จะต้องมองให้ครบทุกมิติ และก่อนทีจ่ ะผลิต อาหารขึ้นมาสักสูตร ก็ต้องหาข้อมูลให้ถูกต้อง อีกหนึ่งข้อที่ควรคำนึงก็คือ สูตรอาหารที่ผลิต ขึ้ น มานอกจากจะต้ อ งมี คุ ณ ภาพสู ง ที่ สุ ด แล้ ว จะต้องทำให้สัตว์กินได้ด้วย ดังนั้น สิ่งที่อยากจะแนะนำก็คือ การ เข้าไปสัมผัสกับสัตว์โดยตรงเพื่อวิเคราะห์ถึง ความต้องการของสัตว์ให้ได้ว่า จริงๆ แล้ว 64 มีนาคม-เมษายน 2558
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 161
สัตว์ชนิดนั้นๆ มีความต้องการอะไรมากที่สุด แล้วนำโจทย์นั้นมาตีให้แตกเพื่อให้ได้โภชนะ ให้ครบถ้วน และตอบสนองความต้องการได้ อย่างตรงจุด เพราะสัตว์แต่ละชนิดแต่ละช่วง อายุจะมีความต้องการที่แตกต่างกัน อีกอย่าง ทีอ่ ยากให้คำนึงไว้เสมอก็คอื ความเปลีย่ นแปลง เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ดังนั้น ต้องพร้อมที่จะ รับมือและเรียนรู้ไปกับมันให้ได้ อย่ า งไรก็ ดี จากงบที่ ท างภาคเอกชน สนับสนุนให้กับภาครัฐจำนวน 20 ล้านบาท ทางภาครัฐได้นำมาสร้างศูนย์เรียนรูส้ ตั วศาสตร์ มาสร้างโรงเรือนที่ทันสมัย เพิ่มเติมจากเดิม ที่ มี อ ยู่ แ ล้ ว ตามศู น ย์ ต่ า งๆ และล่ า สุ ด ท่ า น อธิการบดีให้เงินสนับสนุนอีก 15 ล้านบาท สำหรับปรับปรุงศูนย์วจิ ยั ศึกษา โดยการนำมาทำ ห้องแล็ปที่จะทดสอบค่าการย่อยได้ทางโภชนะ เพื่อให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องได้นำไปประยุกต์ใช้ ในส่วนของความแตกต่างระหว่างภาค รัฐ และภาคเอกชน ส่วนตัวมองว่า น่าจะเป็น โจทย์ ที่ ต่ า งกั น มิ ติ ข องการมองปั ญ หาของ โจทย์ทตี่ า่ งกัน ซึง่ การมองก็จะมีหลายวิธี ทำให้ การวางแผนการทำงานมีความต่างกัน สำหรับ ภาคเอกชนจะตีโจทย์ทคี่ อ่ นข้างชัดเจน วิเคราะห์ ค่อนข้างครบ แต่ในส่วนของภาครัฐบาล ราชการ การศึกษาจะเป็นการทำตามความสนใจ และ จากที่ได้ร่ำเรียนมาซึ่งมันเป็นเฉพาะทั้งนี้เพื่อ ให้เกิดการนำไปต่อยอด จุดนี้เองถือว่าเป็นมุม มองที่ต่างกันทำให้การทำงานต่างกัน ด้าน สพ.ญ.อรพิน กล่าวว่า การผลิต อาหารสัตว์ในอดีตเราจะทำ หรือดูจาก FCR หรือ ADG เป็นหลัก แต่เนื่องจากในปัจจุบัน ไปไกลกว่านั้น เพราะการเลี้ยงสัตว์เป็นไปเพื่อ
ส่วนความก้าวหน้าของสัตวบาล โดย ส่วนตัวมองว่า ยังไงก็ยังอยากให้ภาครัฐ ภาค การศึกษาเข้ามาเป็นแกนกลาง เพราะอย่างไร ผู้ผลิตก็ต้องพึ่งพามหาวิทยาลัย เนื่องจากคง ไม่มีใครชำนาญ หรือเก่งไปทุกอย่างทุกเรื่อง ดังนั้น การนำบุคคลที่มีความชำนาญในแต่ละ ด้านมาร่วมกันทำงานน่าจะเป็นการตอบโจทย์ ได้ดี ส่งออกด้วย และโลกก็เปลีย่ นแปลงอยูต่ ลอดเวลา ดังนั้นการผลิตเราต้องคำนึงถึงความปลอดภัย และสุขภาพสัตว์ดว้ ยเช่นกัน ทีส่ ำคัญต้องสามารถ ตอบสนองความต้องการของผูบ้ ริโภคให้ได้ โดย เฉพาะตลาดส่งออก อาทิเช่น ไก่หนึง่ ตัว ชิน้ ส่วน ก็จะถูกแยกออกส่งไปทัง้ ญีป่ นุ่ และยุโรป ซึง่ ทัง้ โซนนี้ก็จะมีข้อห้ามที่ต่างกัน ดังนั้น เวลาผลิต อาหารสัตว์กต็ อ้ งคำนึงส่วนตรงนีด้ ว้ ย ทีส่ ำคัญ ราคาอาหารสัตว์ต้องอยู่ในความเหมาะสมเพื่อ ความคุ้มค่า จึงจะทำให้ประเทศไทยสามารถ ส่งออกได้
อีกอย่างในมุมมองจากทั่วโลก ณ วันนี้ สำหรับประเทศไทย เขามองผ่านคำว่ามาตรฐาน ไปแล้ ว เพราะเขาคิ ด ว่ า เราทำได้ แต่ สิ่ ง ที่ เขาคาดหวังคือ เรื่องของสุขภาพสัตว์ ซึ่งใน อนาคตอาจจะมองไปถึ ง เรื่ อ งการห้ า มใช้ ย า หรือลดการใช้ยา อีกเรือ่ งคือสิง่ แวดล้อม ดังนัน้ อุตสาหกรรมในปัจจุบันก็จะมี 4 เรื่องหลัก ที่เข้ามาเกี่ยวข้องนั่นก็คือ เรื่องประสิทธิภาพ เนื่องจากในปัจจุบันวัตถุดิบมีราคาแพง และ ในการทำประสิทธิภาพก็เป็นเรื่องที่สำคัญ เรา จะทำอย่างไรเพื่อดึงประสิทธิภาพของวัตถุดิบ ให้ได้มากที่สุด ใช้ประโยชน์ให้เต็มที่มากที่สุด
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 161
มีนาคม-เมษายน 2558
65
66 มีนาคม-เมษายน 2558
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 161
ดั ง นั้ น สิ่ ง แรกที่ ต้ อ งทำคื อ การหา ข้อมูลให้ได้ว่า วัตถุดิบในแต่ละตัวมีสารอาหาร อะไร และช่ ว ยในเรื่ อ งอะไร ที่ ส ำคั ญ ยั ง มี วัตถุดิบอื่นๆ ที่สามารถทดแทนได้หรือไม่หาก เกิ ด ขาดแคลนเพื่ อ เป็ น การประหยั ด ต้ น ทุ น แต่ยังคงประสิทธิภาพให้คงเดิม ซึ่งในอนาคต เป็นเรื่องที่ต้องทำ เพราะวัตถุดิบนอกจากจะมี ราคาแพงแล้วยังหายากขึ้นทุกวันอีกด้วย เรื่อง ต่อมาคือ ไบโอซีเคียวริตี้กับฟู้ดเซฟตี้ เรื่อง สุดท้ายคือ แอนิมอลเวลแฟร์ สุดท้ายนี้อยากจะบอกว่า สัตวบาลจะ ก้าวหน้าได้ไม่ใช่เฉพาะทางด้านโภชนศาสตร์ เท่านั้น แต่ยังรวมถึงด้านอื่นๆ ด้วย โดยต้อง อาศัยความร่วมมือทั้งจากภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคมหาวิทยาลัย ที่ต้องมาร่วมมือกันเพื่อ สรรสร้างชิ้นงาน ซึ่งก็จะเกิดเป็นชิ้นงานที่ใหญ่ และก่อเกิดประโยชน์กับประเทศมากกว่าต่าง คนต่างทำ ส่วนคุณภัทนีย์ กล่าวว่า การที่จะอยู่ใน ธุรกิจนี้ได้อย่างยั่งยืนและมั่นคงนั้น ยังคงต้อง มองอะไรอี ก เยอะ ไม่ ใ ช่ อ ยู่ เ พี ย งแค่ ใ นห้ อ ง แล็ป และทำงานวิจัยเท่านั้น ซึ่งประเทศไทย เอง จากสายตาทั่ ว โลกเขาก็ ม องว่ า เราเป็ น ประเทศที่มีศักยภาพ ไม่ว่าจะเป็นสัตว์บก หรือ สั ต ว์ น้ ำ ดั ง นั้ น เวลาเขามองเขาไม่ ม องถึ ง มาตรฐาน หรืออาหารปลอดภัยแล้ว แต่เขา จะมองลึกไปถึงเรื่องการดึงเอาวัตถุดิบที่ใช้ใน การเลี้ยงสัตว์ หรือการทำอาหารสัตว์ว่าเรา ได้รับวัตถุดิบนั้นมาได้อย่างไร ปลอดภัยและ ทำลายสิ่ ง แวดล้ อ มหรื อ ไม่ ที่ ส ำคั ญ วั ต ถุ ดิ บ ใหม่ๆ ก็เป็นอีกเรื่องที่สำคัญ เพราะวัตถุดิบเก่า
ถ้ า ขาดแล้ ว จะมี วั ต ถุ ดิ บ ตั ว ใหม่ เ ข้ า มาเสริ ม หรือไม่ ถ้าเสริมแล้วคุณภาพจะเทียบเท่ากับ วัตถุดิบเก่าหรือไม่ นี่ยังคงเป็นเรื่องที่ต้องเก็บ ไปคิด อีกหนึง่ เรือ่ งคือ จะทำอย่างไรให้ผบู้ ริโภค เข้าใจในสิ่งที่เข้าใจผิด อย่างเช่นเรื่องของไก่ ที่หลายคนยังเข้าใจว่า มีการใส่ฮอร์โมนลงไป ในตัวสัตว์ หรืออาหาร ทำให้ไก่โตเร็วกว่าปกติ เมื่ อ บริ โ ภคเข้ า ไปแล้ ว หลายคนก็ จ ะเข้ า ใจว่ า ทำให้ฮอร์โมนในตัวเพิ่มขึ้น เด็กที่บริโภคเข้าไป ก็จะโตเร็วขึ้น เกิดการเปลี่ยนแปลงเร็วขึ้น ซึ่ง อาจก่อให้เกิดความเสียหายกับร่างกายได้ ทั้งที่จริงแล้ว การที่ไก่โตเร็วไม่ได้เกิด จากการใส่ฮอร์โมนเข้าไปทัง้ ในไก่และในอาหาร แต่เกิดจากการปรับปรุงพันธุ์ การจัดการ การ เลี้ ย ง เป็ น การคั ด เลื อ กสายพั น ธุ์ โ ดยใช้ ยี น ดังนั้น ข้อนี้จะทำอย่างไรให้ผู้บริโภคเข้าใจและ เปลี่ ย นความคิ ด ใหม่ ว่ า บริ โ ภคไก่ แ ล้ ว ไม่ เ ป็ น อันตราย ซึง่ การเปลีย่ นแนวคิดนีข้ องใครสักคน นั้นต้องยอมรับว่าไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็สามารถ ทำได้หากได้รับความร่วมมือที่ดีจากทุกฝ่าย
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 161
มีนาคม-เมษายน 2558
67
ส่วนงานวิจัยต้องบอกว่า ยังมีอีกหลายงานวิจัยที่ถูกวิจัยขึ้นมาแต่ไม่สามารถนำมาใช้จริงได้ ดังนั้น จะทำอย่างไรให้งานวิจัยจากห้องแล็ปมาเจอกับงานวิจัยในฟาร์มได้ กล่าวคือ จะทำ อย่างไรให้งานวิจัยมาอยู่กับตัวสัตว์ให้ได้ ไม่เช่นนั้นงานวิจัยที่ถูกวิจัยมาก็จะเป็นการสูญเปล่า และเมื่อใส่อะไรลงไปในตัวสัตว์มันก็จะหายหมด เพราะใส่เข้าไปแล้วไม่ตรงกับความต้องการของ สัตว์ ในส่วนนี้ต้องขอบอกว่านักวิจัยยังมีงานให้ต้องทำอีกมาก
68 มีนาคม-เมษายน 2558
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 161
Around the World
ฟิลิปปินส์เป็นผู้ปลูก พืชดัดแปลงพันธุกรรม รายใหญ่ของโลก
ข้อมูลจาก International Service for the Acquisition of Ari-Biotech Applications (ISAAA) ระบุว่า ฟิลิปปินส์ยังคงเป็น ประเทศชั้นนำในการปลูกพืชดัดแปลงพันธุกรรม และเป็นประเทศ ที่รับเทคโนโลยีการเพาะปลูกเร็วที่สุดแห่งหนึ่งของโลก นับตั้งแต่ มีการเพาะปลูกพืชดัดแปลงพันธุกรรมเชิงพาณิชย์ครั้งแรกในสหรัฐอเมริกาเมื่อปี 2539 ซึ่งฟิลิปปินส์จัดอยู่ในอันดับที่ 12 จาก 28 อันดับของประเทศทีม่ กี ารเพาะปลูกพืชดัดแปลงพันธุกรรม อย่างไรก็ดี ในช่วงปลายปี 2557 ฟิลิปปินส์เพาะปลูกข้าวโพดด้วยเทคโนโลยี ชีวภาพกว่า 800,000 เฮกเตอร์ ทำให้ฟิลิปปินส์กลายเป็นหนึ่ง ในประเทศที่ปลูกพืชดัดแปลงพันธุกรรมขนาดใหญ่ของโลก ทั้งนี้ นั ก วิ ท ยาศาสตร์ ค าดว่ า ฟิ ลิ ป ปิ น ส์ จ ะอนุ มั ติ ก ารจั ด จำหน่ า ยพื ช ดัดแปลงพันธุกรรม ซึ่งประกอบด้วย วิตามินเอจำนวนมากในเชิง พาณิชย์ในปี 2559 เนื่องจากในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากฟิลปิ ปินส์แล้ว มีเพียงประเทศพม่าเท่านัน้ ทีอ่ นุญาตให้มกี าร ปลูกพืชดัดแปลงพันธุกรรม โดยพม่ามีเนื้อที่เพาะปลูกฝ้ายดัดแปลง พันธุกรรมกว่า 300,000 เฮกเตอร์ ประเทศฟิลิปปินส์ สคร. มะนิลา ที่มา : ข่าวเด่นความเคลื่อนไหวในต่างประเทศ ประจำสัปดาห์ที่ 9-13 กุมภาพันธ์ 2558 สำนักพัฒนาตลาดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและเอเชีย (สออ.) กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 161
มีนาคม-เมษายน 2558
69
Around the World
ถ้อยคำแถลงข่าวสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย ได้ตระหนักถึงการสร้างความยั่งยืนให้กับภาคธุรกิจตลอด ห่วงโซ่อุปทาน ตั้งแต่กระบวนการต้นน้ำ คือการพัฒนาระบบการผลิตพืชวัตถุดิบที่จะถูกนำมา ผลิตอาหารสัตว์ให้ได้คุณภาพปลอดภัยและยั่งยืน ส่งผ่านไปยังภาคธุรกิจอาหารสัตว์ และส่งต่อ ไปจนถึงภาคปศุสตั ว์ และต่อเนือ่ งไปถึงภาคอุตสาหกรรมอาหารแปรรูป โดยนัยยะของความยัง่ ยืน ภายใต้แนวคิดของสมาคมนั้น คือการสร้างความยั่งยืนทั้งระบบเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ควบคู่กัน จากสถานการณ์ปัญหาหมอกควันที่เกิดขึ้นในเขตภาคเหนือเป็นประจำทุกปีนั้น ซึ่งมีสาเหตุ มาจากหลายส่วนด้วยกัน และสาเหตุหนึง่ ทีต่ อ้ งยอมรับคือ เกิดจากการเผาต่อซังข้าวโพดเพือ่ เตรียม ดินในการปลูกรอบต่อไป สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย ในฐานะผู้ใช้วัตถุดิบข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ไม่ได้สนับสนุนเรื่องดังกล่าว และมองเห็นว่าหนึ่งในแนวทางที่จะช่วยแก้และลดปัญหาหมอกควันที่ เกิดขึน้ นัน้ คือการทีก่ ระทรวงเกษตรและสหกรณ์ประกาศให้มาตรฐานการปฏิบตั ทิ างการเกษตรทีด่ ี (GOOD AGRICULTURAL PRACTICES: GAP) สำหรับการผลิตข้าวโพดเมล็ดแห้ง (มกษ. 44022553) เป็นมาตรฐานบังคับโดยทันที ซึง่ มาตรฐานดังกล่าวได้พสิ จู น์แล้วว่าส่งผลดีให้กบั เกษตรกร ทั้งในด้านชีวิตความเป็นอยู่ รายได้ที่เพิ่มขึ้น เกษตรกรสุขภาพที่ดีขึ้น ลดค่าใช้จ่ายรักษาพยาบาล และถือเป็นการช่วยเหลือสังคมไปในตัวด้วย ปัจจุบันมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีดังกล่าวเป็นเพียงมาตรฐานภาคสมัครใจ จึงมีเกษตรกรเข้าร่วมปฎิบัติตามมาตรฐานและสัมฤทธิ์ผลเพียงจำนวนหนึ่งเท่านั้น และยังไม่ สามารถขยายผลไปในวงกว้างได้ หากสามารถออกมาเป็นมาตรฐานบังคับใช้ได้ จะเป็นส่วนหนึ่ง ที่ช่วยแก้ไขปัญหาหมอกควันที่เกิดขึ้นได้เป็นอย่างดีตามที่กำหนดไว้ในข้อ 4.1 ซึ่งภาครัฐจะต้อง จัดสรรงบประมาณในการช่วยเหลือยกระดับเกษตรกรปลูกข้าวโพดแห้งให้เข้าสู่ระบบ GAP ทั้ง ระบบด้วย และจะต้องใช้ระยะเวลาในการยกระดับเกษตรกรของไทย สมาคมผูผ้ ลิตอาหารสัตว์ไทย มีความยินดีทจี่ ะให้ความร่วมมือและพร้อมทีจ่ ะสนับสนุนให้ มาตรฐานสินค้าเกษตร การปฏิบตั ทิ างการเกษตรทีด่ สี ำหรับข้าวโพดแห้งเป็นมาตรฐานบังคับใช้ ทันที และคาดหวังว่าการปลูกข้าวโพดเมล็ดแห้งนีจ้ ะเข้าสูร่ ะบบโดยเร็ว โดยสมาคมจะประกาศงด รับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ไม่ผ่านการรับรองมาตรฐาน GAP ต่อไป เพื่อเป็นอีกแรงหนึ่งที่จะช่วย ภาครัฐให้ยกระดับเกษตรกรไทย ทั้งนี้ก็เพื่อนำไปสู่การสร้างความยั่งยืนให้กับอาชีพเกษตรกร ตลอดจนห่วงโซ่อุปทานอาหารทั้งระบบต่อไป สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย 9 เมษายน 2558 70 มีนาคม-เมษายน 2558
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 161
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 161
มีนาคม-เมษายน 2558
71
ม.ค. 8.10 9.46 10.14 10.23 7.49 9.44
ม.ค. 33.40 25.00 27.64 32.49 26.20 37.14
เดือน 2553 2554 2555 2556 2557 2558
ม.ค. 8.70 8.99 9.43 10.16 8.18 10.08
ราคารำสด
เดือน 2553 2554 2555 2556 2557 2558
ราคาปลาป่น
เดือน 2553 2554 2555 2556 2557 2558
ก.พ. 9.21 10.18 9.20 10.03 8.36 10.31
ก.พ. 34.20 28.91 28.81 31.30 30.92 39.83
ก.พ. 8.37 9.57 10.19 10.19 8.43 9.39
ราคาข้าวโพดอาหารสัตว์
มี.ค. เม.ย. 9.47 9.34 9.97 9.70 8.62 8.72 8.63 7.71 9.31 9.15 10.92 10.79
มี.ค. เม.ย. 35.28 36.53 37.98 31.77 32.21 33.24 31.30 29.94 31.12 33.93 42.26 42.74
มี.ค. เม.ย. 8.92 9.24 10.01 10.65 10.35 10.51 10.15 10.21 8.75 9.20 9.48 9.55
พ.ค. 9.41 8.34 8.09 8.92 10.63
พ.ค. 31.53 32.09 30.26 26.74 30.24
พ.ค. 9.31 10.49 10.24 9.89 9.33
มิ.ย. 9.98 8.20 7.76 10.32 10.96
มิ.ย. 28.31 31.29 29.38 24.80 29.74
มิ.ย. 9.64 9.68 10.76 10.24 10.23
ก.ค. 9.93 9.50 8.22 10.09 11.41
ก.ค. 28.92 32.32 31.53 29.84 29.70
ก.ค. 9.38 9.18 10.86 9.94 10.50
ส.ค. 9.76 9.49 10.55 10.53 11.15
ส.ค. 30.82 32.58 37.70 30.78 37.70
ส.ค. 9.01 9.04 11.60 9.26 9.87
ก.ย. 10.04 9.58 10.88 9.71 9.42
ก.ย. 29.78 31.42 35.06 29.00 37.70
ก.ย. 9.22 9.08 10.57 8.39 8.79
ต.ค. 9.30 9.51 10.80 8.59 8.83
ต.ค. 27.78 28.86 30.95 31.90 36.47
ต.ค. 9.24 9.45 10.14 8.06 8.26
พ.ย. 8.99 10.97 11.15 9.17 8.80
พ.ย. 25.28 28.46 32.83 26.59 34.78
พ.ย. 9.19 9.82 10.49 7.95 9.09
หน่วย : บาท/กิโลกรัม เฉลี่ย ต่ำสุด สูงสุด 30.62 25.28 36.53 30.68 25.00 37.98 31.95 27.64 37.70 29.12 24.72 32.49 32.83 26.20 37.70 40.49 37.14 42.74 : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย หน่วย : บาท/กิโลกรัม ธ.ค. เฉลี่ย ต่ำสุด สูงสุด 8.66 9.40 8.66 10.04 9.25 9.47 8.20 10.97 10.81 9.52 7.76 11.15 8.22 9.34 7.71 10.53 8.85 9.59 8.18 11.41 10.53 10.08 10.92 ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย
ที่มา
ธ.ค. 25.57 27.50 33.80 24.72 35.45
ที่มา
ธ.ค. 9.13 9.92 10.25 7.32 9.21
หน่วย : บาท/กิโลกรัม เฉลี่ย ต่ำสุด สูงสุด 9.06 8.10 9.64 9.70 9.04 10.65 10.51 10.14 11.60 9.32 7.32 10.24 9.10 7.49 10.50 9.47 9.39 9.55 : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย
72 มีนาคม-เมษายน 2558
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 161
ม.ค. 15.30 13.10 13.95 18.77 18.75 18.12
ก.พ. 15.07 14.32 13.85 18.41 19.47 18.10
มี.ค. เม.ย. 15.75 15.75 15.21 15.29 12.88 12.73 18.25 17.96 20.52 19.88 18.01 17.83
ม.ค. 15.75 13.88 14.12 18.22 19.14 17.98
ก.พ. 15.11 14.15 15.13 18.15 18.88 17.55
มี.ค. เม.ย. 14.86 14.80 13.46 12.80 15.75 16.06 19.07 19.36 20.15 20.25 17.19 16.45
พ.ค. 14.09 12.59 16.23 17.89 20.03
พ.ค. 14.91 15.47 13.31 17.23 20.98
เดือน 2553 2554 2555 2556 2557 2558
ม.ค. 17.06 15.28 14.99 19.47 20.62 19.20
ก.พ. 16.29 15.47 16.01 19.35 20.38 18.95
มี.ค. เม.ย. 16.10 16.45 14.75 14.20 16.75 17.01 20.14 20.47 21.68 21.75 18.59 18.11
พ.ค. 15.28 14.20 17.20 19.35 21.58
ราคากากถั่วเหลืองกะเทาะเปลือก (Dehulled)
เดือน 2553 2554 2555 2556 2557 2558
ราคากากถั่วเหลืองเมล็ดนำเข้า
เดือน 2553 2554 2555 2556 2557 2558
ราคากากถั่วเหลืองต่างประเทศ
มิ.ย. 14.44 14.20 17.73 18.48 21.5
มิ.ย. 13.43 11.60 16.98 17.15 20.00
มิ.ย. 14.24 14.61 12.79 16.43 21.06
ก.ค. 14.26 14.88 20.02 18.30 20.90
ก.ค. 13.25 13.50 19.00 17.20 19.40
ก.ค. 12.76 14.50 14.23 16.16 20.84
ส.ค. 15.05 15.50 22.65 18.29 20.55
ส.ค. 14.05 14.33 21.80 17.29 19.05
ส.ค. 12.17 14.33 15.21 16.63 20.77
ก.ย. 15.02 15.45 22.69 18.89 20.55
ก.ย. 14.02 14.45 21.80 17.89 19.05
ก.ย. 12.10 14.27 17.17 17.30 20.45
ต.ค. 15.35 15.47 22.34 19.30 20.00
ต.ค. 14.35 14.32 21.09 18.05 18.50
ต.ค. 11.98 14.27 17.41 17.84 19.75
พ.ย. 15.64 15.57 21.48 20.23 19.95
พ.ย. 14.64 14.39 20.28 18.77 18.47
พ.ย. 12.10 14.59 18.85 18.26 19.41
ที่มา
ธ.ค. 14.98 14.34 20.08 20.85 19.95
ที่มา
ธ.ค. 13.62 13.44 18.88 19.45 18.45
ที่มา
ธ.ค. 12.14 14.31 20.06 18.47 19.02
หน่วย : บาท/กิโลกรัม เฉลี่ย ต่ำสุด สูงสุด 15.49 14.26 17.06 14.94 14.20 15.57 19.08 14.99 22.69 19.43 18.29 20.85 20.78 19.95 21.75 18.71 18.11 19.20 : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย
หน่วย : บาท/กิโลกรัม เฉลี่ย ต่ำสุด สูงสุด 14.33 13.25 15.75 13.58 11.60 14.45 18.09 14.12 21.80 18.21 17.15 19.45 19.28 18.45 20.25 17.29 16.45 17.98 : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย
หน่วย : บาท/กิโลกรัม เฉลี่ย ต่ำสุด สูงสุด 13.69 11.98 15.75 14.52 13.10 15.47 15.20 12.73 20.06 17.64 16.16 18.77 20.08 18.75 21.06 18.02 17.83 18.12 : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 161
มีนาคม-เมษายน 2558
73
ม.ค. 7.94 7.79 8.09 8.93 6.76 8.59
ม.ค. 13.41 11.33 16.31 14.98 9.45 9.82
ก.พ. 12.92 11.92 15.74 15.00 9.43 9.72
ก.พ. 8.05 7.99 7.45 8.96 6.71 8.62
เดือน 2553 2554 2555 2556 2557 2558
ม.ค. 5.54 7.86 7.53 6.79 6.64 6.89
ก.พ. 5.43 8.14 7.13 6.85 6.85 6.59
ราคามันสำปะหลังเส้น
เดือน 2553 2554 2555 2556 2557 2558
ราคาปลายข้าว
เดือน 2553 2554 2555 2556 2557 2558
ราคากากรำสกัดน้ำมัน
มี.ค. เม.ย. 5.83 6.24 8.46 8.70 6.59 7.00 7.07 7.18 6.90 6.87 6.74 6.74
มี.ค. เม.ย. 12.15 10.24 11.63 11.39 15.78 15.94 15.06 15.39 9.49 9.52 9.75 9.81
มี.ค. เม.ย. 7.96 7.76 7.38 6.92 6.49 6.42 7.90 7.32 7.06 6.78 8.60 8.49
พ.ค. 6.51 8.62 7.29 7.19 6.88
พ.ค. 9.53 11.29 16.33 15.11 9.40
พ.ค. 7.26 6.33 6.21 8.16 8.67
มิ.ย. 6.81 8.00 7.25 7.26 6.93
มิ.ย. 9.60 11.65 16.44 15.10 9.75
มิ.ย. 7.19 6.41 5.82 9.58 9.14
ก.ค. 6.93 7.81 7.13 7.31 7.00
ก.ค. 9.88 12.42 16.27 14.26 10.46
ก.ค. 7.37 7.80 6.14 8.94 9.84
ส.ค. 7.00 7.54 7.39 7.32 7.25
ส.ค. 10.36 12.86 15.86 13.98 10.28
ส.ค. 7.58 8.07 8.43 9.33 10.58
ก.ย. 7.23 7.44 7.67 7.27 7.34
ก.ย. 11.50 13.68 15.67 13.09 9.69
ก.ย. 8.30 8.24 8.67 9.00 9.42
ต.ค. 7.30 7.34 7.65 7.15 7.38
ต.ค. 11.58 14.48 15.46 11.91 9.94
ต.ค. 8.14 8.32 8.81 7.74 8.67
พ.ย. 7.34 7.67 7.48 7.00 7.39
พ.ย. 11.61 15.66 15.45 10.55 9.94
พ.ย. 8.09 9.56 9.31 8.04 8.39
หน่วย : บาท/กิโลกรัม เฉลี่ย ต่ำสุด สูงสุด 11.18 9.53 13.41 12.87 11.29 16.12 15.88 15.30 16.44 13.68 9.75 15.39 9.77 9.40 10.46 9.78 9.72 9.82 : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย หน่วย : บาท/กิโลกรัม ธ.ค. เฉลี่ย ต่ำสุด สูงสุด 7.76 6.66 5.43 7.76 7.80 7.95 7.34 8.70 7.25 7.28 6.59 7.67 6.78 7.10 6.78 7.32 7.09 7.04 6.64 7.39 6.74 6.59 6.89 ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย
ที่มา
ธ.ค. 11.36 16.12 15.30 9.75 9.84
ที่มา
ธ.ค. 7.89 8.05 9.23 7.05 8.00
หน่วย : บาท/กิโลกรัม เฉลี่ย ต่ำสุด สูงสุด 7.79 7.19 8.30 7.74 6.33 9.56 7.59 5.82 9.31 8.41 7.05 9.58 8.34 6.71 10.58 8.58 8.49 8.62 : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย
74 มีนาคม-เมษายน 2558
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 161
ม.ค. 57.93 57.70 49.83 52.88 59.27 92.89
ก.พ. 66.06 63.33 48.89 62.57 59.88 89.81
เดือน 2553 2554 2555 2556 2557 2558
ม.ค. 41.67 40.38 50.60 60.00 60.00 60.00
ก.พ. 41.70 45.23 50.60 60.00 60.00 60.00
ราคาน้ำมันปลา FO
เดือน 2553 2554 2555 2556 2557 2558
มี.ค. เม.ย. 41.89 41.89 45.95 46.01 50.60 51.55 60.00 60.00 60.00 60.00 60.00 60.00
มี.ค. เม.ย. 68.52 68.06 63.45 55.21 47.99 48.12 63.11 62.66 61.65 61.91 85.62 77.01
ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. 29.30 29.30 29.30 29.30 30.04 29.80 29.80 29.80 28.00 28.00 28.00 25.00 31.00 30.00 30.00 29.50 31.50 31.74 32.00 32.00 32.50 32.50 32.50 32.50
ราคาปลาป่นนำเข้า
เดือน 2553 2554 2555 2556 2557 2558
ราคาตับปลาหมึก SLP
พ.ค. 41.89 46.01 54.45 60.00 60.00
พ.ค. 67.90 51.97 55.35 59.57 63.10
พ.ค. 29.30 29.80 26.89 29.50 33.00
มิ.ย. 41.42 46.01 55.11 60.00 60.00
มิ.ย. 68.28 51.97 59.24 56.76 70.17
มิ.ย. 29.30 29.80 28.58 30.00 33.50
ก.ค. 40.91 47.72 53.54 60.00 60.00
ก.ค. 67.46 50.29 61.16 55.32 75.81
ก.ค. 29.46 29.52 33.70 30.00 33.00
ส.ค. 40.31 49.85 52.28 60.00 60.00
ส.ค. 65.40 48.17 63.33 56.79 78.17
ส.ค. 29.70 29.25 30.80 31.00 33.00
ก.ย. 40.21 50.01 55.85 60.00 60.00
ก.ย. 60.86 43.92 56.80 54.69 77.96
ก.ย. 29.56 29.25 35.04 31.50 33.00
ต.ค. 40.15 50.36 55.98 60.00 60.00
ต.ค. 57.26 45.13 54.22 53.43 76.86
ต.ค. 29.34 29.25 36.13 31.50 33.00
พ.ย. 40.27 50.60 55.71 60.00 60.00
พ.ย. 56.45 48.26 68.37 56.31 87.54
พ.ย. 30.04 28.00 36.13 31.50 33.50
ที่มา
ธ.ค. 40.38 50.60 55.08 60.00 60.00
ที่มา
ธ.ค. 56.45 48.61 74.33 58.46 91.82
ที่มา
ธ.ค. 30.04 28.00 36.13 31.50 33.00
หน่วย : บาท/กิโลกรัม เฉลี่ย ต่ำสุด สูงสุด 41.06 40.15 41.89 47.39 40.38 50.60 53.45 50.60 55.98 60.00 60.00 60.00 60.00 60.00 60.00 60.00 60.00 60.00 : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย
หน่วย : บาท/กิโลกรัม เฉลี่ย ต่ำสุด สูงสุด 63.39 56.45 68.52 52.33 43.92 63.45 57.30 47.99 74.33 57.71 52.88 63.11 72.01 59.27 91.82 86.33 77.01 92.89 : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย
หน่วย : บาท/กิโลกรัม เฉลี่ย ต่ำสุด สูงสุด 29.50 29.30 30.04 29.36 28.00 30.04 31.03 25.00 36.13 30.58 29.50 31.50 32.69 31.50 33.50 32.50 32.50 32.50 : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 161
มีนาคม-เมษายน 2558
75
ม.ค. 62.75 55.00 48.00 53.58 56.71 52.00
ก.พ. 63.09 53.33 48.00 58.85 53.00 52.00
ม.ค. 7.02 8.12 7.73 8.94 6.79 8.20
ก.พ. 7.25 8.20 7.45 9.15 6.67 8.23
เดือน 2553 2554 2555 2556 2557 2558
ม.ค. 16.69 19.28 18.73 17.75 16.40 16.60
ก.พ. 16.79 20.04 18.51 17.68 16.33 16.26
WHEAT FLOUR
เดือน 2553 2554 2555 2556 2557 2558
WHEAT BRAN
เดือน 2553 2554 2555 2556 2557 2558
WHEAT GLUTEN
มี.ค. เม.ย. 16.60 16.30 20.50 20.50 17.89 17.80 16.47 16.70 16.55 16.33 16.00 16.13
มี.ค. เม.ย. 7.59 7.55 7.76 7.52 6.67 6.41 7.66 7.29 6.88 6.86 8.36 8.30
มี.ค. เม.ย. 63.09 63.09 53.33 53.33 48.00 46.50 58.85 58.85 54.00 58.85 52.00 52.00
พ.ค. 15.72 20.45 17.50 17.00 16.77
พ.ค. 7.16 6.94 6.23 8.75 8.03
พ.ค. 64.71 53.33 46.50 58.85 57.25
มิ.ย. 15.72 19.94 17.20 16.90 16.72
มิ.ย. 6.90 6.61 5.86 8.82 8.39
มิ.ย. 64.78 53.33 48.54 58.85 56.71
ก.ค. 15.05 19.82 17.15 16.70 16.59
ก.ค. 6.87 7.44 5.93 8.62 8.99
ก.ค. 64.78 49.28 51.00 55.64 56.71
ส.ค. 15.44 19.50 17.73 16.51 16.60
ส.ค. 7.21 7.77 7.93 8.81 9.60
ส.ค. 64.78 48.75 50.05 58.85 56.71
ก.ย. 18.55 19.26 17.38 16.80 16.59
ก.ย. 8.08 7.98 8.79 8.55 9.43
ก.ย. 64.78 48.75 48.13 58.85 56.00
ต.ค. 19.28 18.97 17.58 16.57 16.59
ต.ค. 7.92 8.06 9.24 7.85 8.62
ต.ค. 64.78 48.75 47.50 60.99 52.00
พ.ย. 19.10 18.97 17.98 16.34 16.59
พ.ย. 7.88 8.43 8.80 7.87 8.27
พ.ย. 55.92 48.75 47.50 60.99 52.00
หน่วย : บาท/กิโลกรัม เฉลี่ย ต่ำสุด สูงสุด 7.44 6.87 8.08 7.75 6.61 8.43 7.51 5.86 9.24 8.30 7.29 9.15 8.05 6.67 9.60 8.27 8.20 8.36 : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย หน่วย : บาท/กิโลกรัม ธ.ค. เฉลี่ย ต่ำสุด สูงสุด 19.10 17.03 15.05 19.28 18.97 19.68 18.97 20.50 18.02 17.79 17.15 18.73 16.71 16.84 16.34 17.75 16.73 16.57 16.33 16.77 16.25 16.00 16.60 ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย
ที่มา
ธ.ค. 7.80 8.17 9.10 7.29 8.03
ที่มา
ธ.ค. 55.00 48.23 47.50 55.64 52.00
หน่วย : บาท/กิโลกรัม เฉลี่ย ต่ำสุด สูงสุด 62.63 55.00 64.78 51.18 48.23 55.00 48.10 46.50 51.00 58.23 53.58 60.99 55.16 52.00 58.85 52.00 52.00 52.00 : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย
76 มีนาคม-เมษายน 2558
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 161
ม.ค. 23.24 25.86 28.01 27.44 25.79 28.00
ก.พ. 25.19 25.62 27.73 25.79 25.79 28.00
มี.ค. เม.ย. 25.56 25.90 27.40 27.64 27.45 31.30 25.79 25.79 25.79 25.79 28.00 28.00
เดือน 2553 2554 2555 2556 2557 2558
ม.ค. 4.48 7.24 4.90 5.91 6.65 6.40
ก.พ. 4.34 7.14 4.80 5.42 6.83 6.20
มี.ค. เม.ย. 3.92 3.88 5.77 4.71 4.75 4.71 5.02 4.94 6.60 5.52 5.17 4.90
ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. 85.00 85.00 85.00 85.00 90.50 96.67 96.67 96.67 86.67 93.67 98.33 98.33 120.00 120.00 120.00 120.00 120.00 120.00 120.00 120.00 120.00 120.00 120.00 120.00
ราคากากปาล์มเมล็ดใน
เดือน 2553 2554 2555 2556 2557 2558
ราคาปลาหมึกป่น SLM
เดือน 2553 2554 2555 2556 2557 2558
ราคาเปลือกกุ้ง
พ.ค. 4.07 4.59 4.63 5.14 5.14
พ.ค. 85.00 96.20 98.33 120.00 120.00
พ.ค. 26.81 28.99 31.30 25.79 27.34
มิ.ย. 4.20 4.79 4.67 5.32 5.00
มิ.ย. 89.44 92.50 98.33 120.00 120.00
มิ.ย. 26.74 29.18 30.44 25.79 27.34
ก.ค. 4.30 4.84 4.85 5.38 5.05
ก.ค. 90.50 98.10 96.67 120.00 120.00
ก.ค. 27.03 29.40 26.85 25.79 27.34
ส.ค. 4.74 4.54 5.96 5.40 5.00
ส.ค. 90.50 98.33 98.33 120.00 120.00
ส.ค. 26.89 29.40 29.16 24.69 28.20
ก.ย. 5.46 4.41 5.96 5.42 5.06
ก.ย. 90.50 93.40 120.00 120.00 120.00
ก.ย. 26.69 29.12 27.24 25.79 28.25
ต.ค. 6.30 4.51 5.59 5.42 5.24
ต.ค. 90.50 86.67 120.00 120.00 120.00
ต.ค. 26.65 28.66 26.58 25.89 28.25
พ.ย. 7.12 4.86 5.81 5.81 5.66
พ.ย. 90.50 86.67 120.00 120.00 120.00
พ.ย. 26.29 28.66 26.72 25.79 28.45
ที่มา
ธ.ค. 7.12 5.03 6.00 6.37 6.04
ที่มา
ธ.ค. 90.50 86.67 120.00 120.00 120.00
ที่มา
ธ.ค. 26.00 28.23 26.74 25.79 28.00
หน่วย : บาท/กิโลกรัม เฉลี่ย ต่ำสุด สูงสุด 4.99 3.88 7.12 5.20 4.41 7.24 5.22 4.63 6.00 5.46 4.94 6.37 5.65 5.00 6.83 5.67 4.90 6.40 : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย
หน่วย : บาท/กิโลกรัม เฉลี่ย ต่ำสุด สูงสุด 88.12 85.00 90.50 93.25 86.67 98.33 104.06 86.67 120.00 120.00 120.00 120.00 120.00 120.00 120.00 120.00 120.00 120.00 : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย
หน่วย : บาท/กิโลกรัม เฉลี่ย ต่ำสุด สูงสุด 26.08 23.24 27.03 28.18 25.62 29.40 28.29 26.58 31.30 25.84 24.69 27.44 27.19 25.79 28.45 28.00 28.00 28.00 : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 161
มีนาคม-เมษายน 2558
77
ม.ค. 22.50 26.00 10.00 14.85 23.00 8.00
ก.พ. 24.50 26.00 10.00 16.00 23.00 8.00
ม.ค. ก.พ. 135.75 140.75 144.50 144.50 110.50 110.50 116.65 128.91 150.50 150.50 125.50 120.72
เดือน 2553 2554 2555 2556 2557 2558
มี.ค. เม.ย. 141.62 139.50 146.72 150.50 106.67 93.50 135.00 138.81 148.96 135.00 98.70 95.50
มี.ค. เม.ย. 24.85 24.00 26.74 28.00 8.68 7.00 16.00 18.57 22.38 17.00 6.88 6.00
ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. 205.00 251.00 241.00 241.00 264.00 270.00 284.00 304.00 213.00 254.00 260.00 227.00 267.00 280.00 270.00 276.00 313.00 317.00 285.00 267.00 248.00 233.00 202.00 239.00
ราคาไข่ไก่คละ
เดือน 2553 2554 2555 2556 2557 2558
ราคาไก่รุ่น-ไก่สาว
เดือน 2553 2554 2555 2556 2557 2558
ราคาลูกไก่ไข่
พ.ค. 255.00 300.00 254.00 313.00 319.00
พ.ค. 146.50 150.50 97.67 154.17 143.20
พ.ค. 27.00 28.00 8.67 23.25 20.28
มิ.ย. 276.00 282.00 268.00 323.00 307.00
มิ.ย. 152.38 150.50 103.50 159.30 145.50
มิ.ย. 29.15 28.00 11.00 25.00 21.00
ก.ค. 278.00 282.00 229.00 291.00 297.00
ก.ค. 147.96 150.50 98.33 150.50 142.30
ก.ค. 27.38 28.00 7.50 23.00 19.40
ส.ค. 270.00 300.00 246.00 320.00 329.00
ส.ค. 144.50 150.50 93.50 153.87 148.83
ส.ค. 26.00 28.00 6.00 24.31 20.33
ก.ย. 272.00 300.00 240.00 348.00 289.00
ก.ย. 144.50 150.50 99.50 155.50 148.58
ก.ย. 26.00 28.00 8.40 25.00 18.69
ต.ค. 253.00 300.00 235.00 326.00 253.00
ต.ค. 144.50 150.50 105.50 153.77 137.35
ต.ค. 26.00 26.00 11.00 24.31 13.74
พ.ย. 253.00 313.00 236.00 300.00 273.00
พ.ย. 144.50 150.50 108.77 150.50 135.50
พ.ย. 26.00 26.00 11.88 23.00 13.00
หน่วย : บาท/ตัว เฉลี่ย ต่ำสุด สูงสุด 143.91 135.75 152.38 148.27 139.57 150.50 103.20 93.50 110.50 145.62 116.65 159.30 143.01 129.88 150.50 110.11 95.50 125.50 : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย หน่วย : บาท/100 ฟอง ธ.ค. เฉลี่ย ต่ำสุด สูงสุด 253.00 254.00 205.00 278.00 258.00 288.08 258.00 313.00 240.00 241.83 213.00 268.00 313.00 302.25 267.00 348.00 234.00 290.25 234.00 329.00 230.50 202.00 248.00 ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย
ที่มา
ธ.ค. 144.50 139.57 110.50 150.50 129.88
ที่มา
ธ.ค. 26.00 21.83 13.00 23.00 9.96
หน่วย : บาท/ตัว เฉลี่ย ต่ำสุด สูงสุด 25.78 22.50 29.15 26.71 21.83 28.00 9.43 6.00 13.00 21.36 14.85 25.00 18.48 9.96 23.00 7.22 6.00 8.00 : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย
78 มีนาคม-เมษายน 2558
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 161
ม.ค. 18.00 17.50 14.50 16.19 19.50 15.50
ก.พ. 18.50 18.37 12.94 11.20 19.50 10.54
ม.ค. 44.33 45.24 36.20 42.69 40.80 38.10
ก.พ. 45.00 47.28 34.70 37.91 42.00 35.26
เดือน 2553 2554 2555 2556 2557 2558
ม.ค. 58.25 51.00 54.47 58.22 69.22 59.46
ก.พ. 60.19 58.86 49.63 68.28 72.00 57.65
ราคาสุกรขุนหน้าฟาร์ม
เดือน 2553 2554 2555 2556 2557 2558
ราคาไก่เนื้อหน้าฟาร์ม
เดือน 2553 2554 2555 2556 2557 2558
ราคาลูกไก่เนื้อ
มี.ค. เม.ย. 60.41 60.41 61.50 67.11 48.85 59.63 59.70 64.06 72.54 75.73 58.33 59.64
มี.ค. เม.ย. 40.96 42.09 48.30 52.10 27.53 33.13 38.97 44.88 38.85 39.50 35.00 33.52
มี.ค. เม.ย. 18.50 18.50 20.50 21.32 6.18 6.31 10.96 18.17 18.50 17.50 7.50 8.41
พ.ค. 60.50 70.00 62.50 64.53 77.00
พ.ค. 44.28 54.60 39.33 45.97 42.00
พ.ค. 20.07 22.50 11.33 18.67 17.50
มิ.ย. 60.50 70.00 55.15 65.15 79.52
มิ.ย. 42.46 50.25 38.22 43.04 43.00
มิ.ย. 19.35 20.96 12.50 17.50 17.50
ก.ค. 61.93 72.88 54.95 65.92 78.00
ก.ค. 37.47 43.60 35.20 44.00 43.00
ก.ค. 16.10 17.34 12.50 17.50 17.50
ส.ค. 59.37 80.40 54.31 70.54 77.50
ส.ค. 36.07 42.20 35.53 44.05 45.08
ส.ค. 12.58 15.73 12.50 19.27 19.33
ก.ย. 56.83 70.77 54.13 67.64 74.08
ก.ย. 37.63 41.74 33.58 37.64 44.69
ก.ย. 14.14 16.50 12.02 16.38 21.50
ต.ค. 51.52 55.50 47.65 65.00 65.72
ต.ค. 36.02 38.58 31.37 35.58 42.33
ต.ค. 14.50 14.58 6.96 13.50 18.17
พ.ย. 51.38 52.87 54.31 65.32 63.20
พ.ย. 37.33 37.67 40.73 35.31 40.24
พ.ย. 14.50 14.50 10.42 14.42 15.50
ที่มา
ธ.ค. 51.45 61.08 52.33 64.75 63.99
ที่มา
ธ.ค. 41.93 36.90 40.75 41.52 39.69
ที่มา
ธ.ค. 15.50 14.50 14.07 17.24 15.50
หน่วย : บาท/กิโลกรัม เฉลี่ย ต่ำสุด สูงสุด 57.73 51.38 61.93 64.33 51.00 80.40 53.99 47.65 62.50 64.93 58.22 70.54 72.38 63.20 79.52 58.77 57.65 59.64 : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย
หน่วย : บาท/กิโลกรัม เฉลี่ย ต่ำสุด สูงสุด 40.46 36.02 45.00 44.87 36.90 54.60 35.52 27.53 40.75 40.96 35.31 45.97 41.77 38.85 45.08 35.47 33.52 38.10 : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย
หน่วย : บาท/ตัว เฉลี่ย ต่ำสุด สูงสุด 16.69 12.58 20.07 17.86 14.50 22.50 11.02 6.18 14.50 15.92 10.96 19.27 18.13 15.50 21.50 10.49 7.50 15.50 : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย
ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 32 เล่มที่ 161
มีนาคม-เมษายน 2558
79
ม.ค. 1,875.00 1,637.50 1,734.80 1,476.92 2,056.00 1,875.00
ก.พ. 1,900.00 1,930.43 1,552.00 1,786.96 2,269.57 1,800.00
มี.ค. 1,900.00 2,000.00 1,312.00 1,561.54 2,400.00 1,800.00
เม.ย. 1,900.00 2,000.00 1,452.38 1,866.67 2,600.00 1,859.09
ม.ค. 13.00 15.00 18.00 18.00 20.00 19.00
ก.พ. 13.00 15.00 18.00 17.22 20.00 15.48
เดือน 2553 2554 2555 2556 2557 2558
ม.ค. 58.00 58.00 60.00 60.00 60.00 61.00
ก.พ. 58.00 58.00 60.00 60.00 60.00 61.00
ราคาเป็ดเชอร์รี่หน้าฟาร์ม
เดือน 2553 2554 2555 2556 2557 2558
มี.ค. เม.ย. 58.00 58.00 58.00 58.00 60.00 60.00 60.00 60.00 60.00 60.00 61.00 61.00
มี.ค. เม.ย. 13.00 13.00 16.78 18.00 18.00 18.00 16.00 16.00 20.00 20.00 14.00 14.00
ราคาลูกเป็ดไข่ ซี พี โกลด์เด้น
เดือน 2553 2554 2555 2556 2557 2558
ราคาลูกสุกรขุน
พ.ค. 58.00 58.00 60.00 60.00 60.00
พ.ค. 13.00 18.00 18.00 18.00 20.00
พ.ค. 1,900.00 2,000.00 1,666.67 1,600.00 2,600.00
มิ.ย. 58.00 58.00 60.00 60.00 60.00
มิ.ย. 13.00 18.00 18.00 18.00 20.00
มิ.ย. 1,900.00 2,000.00 1,500.00 1,600.00 2,600.00
ก.ค. 58.00 58.00 60.00 60.00 60.00
ก.ค. 13.00 18.00 18.00 18.00 22.40
ก.ค. 1,900.00 2,000.00 1,500.00 1,676.92 2,600.00
ส.ค. 58.00 58.00 60.00 60.00 61.00
ส.ค. 13.00 18.00 18.00 18.00 23.00
ส.ค. 1,844.00 2,400.00 1,500.00 1,965.38 2,600.00
ก.ย. 58.00 58.00 60.00 60.00 61.00
ก.ย. 13.84 18.00 18.00 19.52 23.00
ก.ย. 1,720.00 2,161.54 1,476.00 1,796.00 2,484.62
ต.ค. 58.00 58.00 60.00 60.00 61.00
ต.ค. 15.00 18.00 18.00 20.00 23.00
ต.ค. 1,600.00 1,896.15 1,200.00 1,700.00 2,240.74
พ.ย. 58.00 58.00 60.00 60.00 61.00
พ.ย. 15.00 18.00 18.00 21.85 23.00
พ.ย. 1,600.00 1,746.00 1,376.92 1,746.15 2,200.00
หน่วย : บาท/ตัว เฉลี่ย ต่ำสุด สูงสุด 13.57 13.00 15.00 17.40 15.00 18.00 18.00 18.00 18.00 18.55 16.00 22.00 21.26 20.00 23.00 15.62 14.00 19.00 : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย หน่วย : บาท/กิโลกรัม ธ.ค. เฉลี่ย ต่ำสุด สูงสุด 58.00 58.00 58.00 58.00 58.00 58.00 58.00 58.00 60.00 60.00 60.00 60.00 60.00 60.00 60.00 60.00 61.00 60.42 60.00 61.00 61.00 61.00 61.00 ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย
ที่มา
ธ.ค. 15.00 18.00 18.00 22.00 20.75
ที่มา
ธ.ค. 1,600.00 1,965.22 1,256.52 1,800.00 2,166.67
หน่วย : บาท/ตัว เฉลี่ย ต่ำสุด สูงสุด 1,803.25 1,600.00 1,900.00 1,978.07 1,637.50 2,400.00 1,460.61 1,200.00 1,734.80 1,714.71 1,476.92 1,965.38 2,401.47 2,056.00 2,600.00 1,833.52 1,800.00 1,875.00 : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย
ขอขอบคุณบริษัทที่ให้ความสนับสนุน และความร่วมมือในการจัดทำวารสารธุรกิจอาหารสัตว์
1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16
บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) บริษัท ซี พี เอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) สมุทรปราการ บริษัท กรุงไทยอาหาร จำกัด (มหาชน) บริษัท อาหารสัตว์ไทยสวนหลวง จำกัด บริษัท ลีพัฒนาผลิตภัณฑ์ จำกัด (มหาชน) บริษัท ซี พี เอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) สระบุรี บริษัท ท็อป ฟีด มิลล์ จำกัด บริษัท ยูนีโกรอินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด บริษัท อดิสสิโอ เทรดดิ้ง (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท แลบอินเตอร์ จำกัด บริษัท ฮูเวฟาร์มา (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท เชฟเฟิร์ด เทค คอนซัลแตนซี่ ไพรเวท จำกัด บริษัท เวอร์แบค (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท เวท อะกริเทค จำกัด บริษัท เอ็กซ์โปลิงค์ โกลบอล เน็ทเวอร์ค จำกัด บรูเกอร์ ไบโอสปิน เอจี
โทร. 0-2833-8000 โทร. 0-2680-4580 โทร. 0-2473-8000 โทร. 0-2814-3480 โทร. 0-2632-7232 โทร. 0-2680-4500 โทร. 0-2194-5678-96 โทร. 0-3430-5101-3 โทร. 0-2681-1329 โทร. 0-3488-6140-48 โทร. 0-2937-4355 โทร. 09-2089-1601 โทร. 0-2193-8288-90 โทร. 0-2575-5777-86 โทร. 0-2640-8013 ต่อ 25 โทร. 0-2642-6900