Aw#171 p1 100 pages for web

Page 1



รายนามสมาชิก

สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ ไทย 1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8. 9. 10. 11. 12. 13. 14. 15. 16. 17. 18. 19. 20. 21. 22. 23. 24. 25. 26.

บริษัท เบทาโกร โฮลดิ้ง จำกัด บริษัท แหลมทองสหการ จำกัด บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารเซ็นทรัล จำกัด บริษัท ป.เจริญพันธ์อาหารสัตว์ จำกัด บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) บริษัท กรุงไทยอาหาร จำกัด (มหาชน) บริษัท ลีพัฒนาผลิตภัณฑ์ จำกัด (มหาชน) บริษัท คาร์กิลล์สยาม จำกัด บริษัท ลีพัฒนาอาหารสัตว์ จำกัด บริษัท ฟีดสเปเชียลตี้ จำกัด บริษัท โกรเบสท์คอร์โพเรชั่น จำกัด บริษัท เอเชี่ยน ฟีด จำกัด บริษัท ไทยลักซ์เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน) บริษัท อาหารสัตว์ไทยสระบุรี จำกัด บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) บริษัท ท็อป ฟีด มิลล์ จำกัด บริษัท คาร์กิลล์มีทส์ (ไทยแลนด์) จำกัด บริษัท ยูไนเต็ดฟีดมิลล์ จำกัด บริษัท มิตรภาพอาหารสัตว์ จำกัด บริษัท เหรียญทอง ฟีด (1992) จำกัด บริษัท แหลมทองเกษตรภัณฑ์ จำกัด บริษัท อาหารสัตว์ไทยสวนหลวง จำกัด บริษัท เอส พี เอ็ม อาหารสัตว์ จำกัด บริษัท อีสเทิร์น ฟีดมิลล์ จำกัด บริษัท เบทาโกรนอร์ธเทอร์น จำกัด

27. 28. 29. 30. 31. 32. 33. 34. 35. 36. 37. 38. 39. 40. 41. 42. 43. 44. 45. 46. 47. 48. 49. 50. 51. 52.

บริษัท ซันฟีด จำกัด บริษัท ยูนีโกร อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด บริษัท พนัสโภคภัณฑ์ จำกัด บริษัท ยู่สูงอาหารสัตว์ จำกัด บริษัท แหลมทองอะควอเทค จำกัด บริษัท เบทาโกรภาคใต้ จำกัด บริษัท บางกอกแร้นซ์ จำกัด (มหาชน) บริษัท กาญจนาอาหารสัตว์ จำกัด บริษัท ก้าวหน้าอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ จำกัด บริษัท กรุงเทพโปรดิ๊วส จำกัด (มหาชน) บริษัท วี.ซี.เอฟ. กรุ๊ป จำกัด บริษัท ชัยภูมิฟาร์มผลิตภัณฑ์การเกษตร จำกัด บริษัท ไทยยูเนี่ยน ฟีดมิลล์ จำกัด บริษัท อินเทคค์ ฟีด จำกัด บริษัท บุญพิศาล จำกัด บริษัท เฮกซ่าแคลไซเนชั่น จำกัด บริษัท หนองบัว ฟีด มิลล์ จำกัด บริษัท ไทย ฟู้ดส์ อาหารสัตว์ จำกัด บริษัท โกลด์ คอยน์ สเปเชียลิตี้ส์ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท แม่ทา วี.พี.ฟีดมิลล์ จำกัด บริษัท อาร์ที อะกริเทค จำกัด บริษัท ฟาร์มจงเจริญ จำกัด บริษัท เจบีเอฟ จำกัด บริษัท อินเว (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท ทีอาร์เอฟ ฟีดมิลล์ จำกัด บริษัท โกลเด้น ฟีด (ไทยแลนด์) จำกัด

ิน ภ อ

น ท นั

ร า าก


คณะกรรมการบริหาร สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ ไทย ประจำปี 2558-2559

1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8. 9. 10. 11. 12. 13. 14. 15. 16. 17. 18.

นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล นายณรงค์ชัย ศรีสันติแสง นายประจักษ์ ธีระกุลพิศุทธิ์ นายธีรศักดิ์ อุรุนานนท์ นายบุญธรรม อร่ามศิริวัฒน์ นายประกิต เพียรศิริภิญโญ นางเบญจพร สังหิตกุล นายสถิตย์ บำรุงชีพ นายโดม มีกุล นายวราวุฒิ วัฒนธารา นางสาวถนอมวงศ์ แต้ไพสิฐพงษ์ นายหัสดิน ทรงประจักษ์กุล นายวิชัย คณาธนะวนิชย์ นายวิศิษฐ คณาธนะวนิชย์ นายสุจิน ศิริมงคลเกษม นางสาวนลิน เหล่าวรวิทย์ นายสุทธิชัย ศักดิ์ชัยเจริญกุล นายสมภพ เอื้อทรงธรรม

นายกสมาคม อุปนายก อุปนายก อุปนายก เลขาธิการ รองเลขาธิการ เหรัญญิก นายทะเบียน ประชาสัมพันธ์ ปฏิคม กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ

บริษัท กรุงเทพโปรดิ๊วส์ จำกัด (มหาชน) บริษัท เบทาโกร โฮลดิ้ง จำกัด บริษัท ป.เจริญพันธ์อาหารสัตว์ จำกัด บริษัท ซี พี เอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) บริษัท ลีพัฒนาผลิตภัณฑ์ จำกัด (มหาชน) บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) บริษัท อาหารสัตว์ไทยสวนหลวง จำกัด บริษัท อาหารสัตว์ไทยสระบุรี จำกัด บริษัท ลีพัฒนาอาหารสัตว์ จำกัด บริษัท เบทาโกรภาคใต้ จำกัด บริษัท เบทาโกรนอร์ธเทอร์น จำกัด บริษัท แหลมทองเกษตรภัณฑ์ จำกัด บริษัท แหลมทองอะควอเทค จำกัด บริษัท กรุงไทยอาหาร จำกัด (มหาชน) บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารเซ็นทรัล จำกัด บริษัท ท็อป ฟีด มิลล์ จำกัด บริษัท อินเทคค์ ฟีด จำกัด


แถลง

บรรณาธิการ

เมือ่ วันที่ 20 ธันวาคม 2559 มีการสัมมนา เรือ่ ง ภาวะเศรษฐกิจการเกษตร ปี 2559 และแนวโน้มปี 2560 โดย นางสาวจริยา สุทธิไชยา เลขาธิการ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้รายงาน คาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจการเกษตรปี 2560 ว่าจะขยายตัวอยูใ่ นช่วง 2.43.4% โดยสาขาพืชขยายตัว 2.6-3.6% สาขาปศุสัตว์ ขยายตัว 1.1-2.1% สาขาประมง ขยายตัว 3.0-4.0% สาขาบริการทางการเกษตร ขยายตัว 1.52.5% และสาขาป่าไม้ ขยายตัว 2.2-3.2% ด้วยสภาพอากาศและปริมาณ น้ำเอื้ออำนวยมากกว่าปี 2559 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์กำหนดให้ปี 2560 เป็นปีแห่งการยกระดับมาตรฐานการเกษตรสู่ความยั่งยืน และภาวะ เศรษฐกิจโลกมีทิศทางดีขึ้น ฟังแล้ว น่าชื่นใจและมีกำลังใจเพิ่มขึ้น ยิ่งถ้าทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะได้ มาร่วมมือกันทำงานบนยุทธศาสตร์ที่มีเป้าหมายสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ด้วยแล้ว จะทำให้เกษตรกรทั้งประเทศมีความสุข และขอเป็นกำลังใจให้ นอกจากนั้นแล้ว ยังมีการระดมความคิดเห็น การเกษตร S-Curve ลด ต้นทุน เพิ่มรายได้ ขยายผลิตภาพ ซึ่งถ้าฟังแบบไม่ใช่คนเศรษฐศาสตร์ ก็คงงง ว่าคืออะไร แต่พอมาดูรูปตัว เอส (S) ก็พอนึกออกว่า รูปร่างเป็นอย่างไร ก็ถึง บางอ้อ ว่า เศรษฐกิจจะเริ่มกระเตื้องดีขึ้น แล้วถ้ายิ่งให้ เอส ยาวขึ้นไปเรื่อยๆ ไม่ตอ้ งผงกหัวลงได้ยงิ่ ดี เพราะกว่าทีจ่ ะเริม่ ไต่ความชันขึน้ มาได้ บนความยากลำบาก ต้องใส่ความรู้ความสามารถ ใส่เทคโนโลยี เพิ่มนวัตกรรม เข้าไป ด้วยนโยบาย ทีท่ กุ ฝ่ายมาช่วยกันเป็นประชารัฐ ใช้ทฤษฎีใหม่ การรวมแปลงใหญ่ และแอบหวัง พึ่งไสยศาสตร์ให้เทวดามาช่วย ทำให้สภาวะอากาศโลกดี มีฝนฟ้าตกต้องตาม ฤดูกาล ทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น ราคาจำหน่ายดี รายได้เกษตรกรเพิ่มขึ้น ส่งเสริม ให้เศรษฐกิจของประเทศดีขนึ้ สิง่ เหล่านีจ้ ะนำพาให้เจริญก้าวหน้า สูป่ ใี หม่ 2560 ที่จะทำให้เกษตรกรทั้งพืช และ สัตว์ รุ่งเรือง เจริญก้าวหน้า ตลอดไป บก.


ธุรกิจอาหารสัตว์

วารสาร

ปีที่ 33  เล่มที่ 171  ประจำเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2559 วัตถุประสงค์

Contents

1. เพื่อส่งเสริมความรู้และเผยแพร่อุตสาหกรรมอาหารสัตว์และการปศุสัตว์ 2. เพื่อเป็นสื่อกลางระหว่างสมาชิกและผู้ที่เกี่ยวข้องทั่วไป 3. เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารสัตว์และการปศุสัตว์ของประเทศให้เจริญรุ่งเรืองในแนวทาง ที่เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิ จของชาติ 4. ไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง

Thailand Focus ภาวะเศรษฐกิจการเกษตรปี 2559 และแนวโน้มปี 2560............................................................................... 5

Food Feed Fuel เอกสารวิชาการ เรื่อง คุณภาพและมาตรฐานขนสัตว์ปีกป่นของประเทศไทย...............................................19

Market Leader 'เลี้ยงไก่' ไม่จำเป็นต้องใช้ 'ยาปฏิชีวนะ'......................................................................................................... 49 ทำอาหารสัตว์ให้ดี เป็นดัชนีชี้วัดผลกำไร .......................................................................................................... 52

Around The World 8 สมาคมประมงไทยร่วมมือภาครัฐ ใช้มาตรฐานสากลพัฒนาพื้นที่ประมงเขตอ่าวไทย เพื่อความยั่งยืนสูงสุด .............................................................................................................................. 60

มะกันประกาศกฎหมาย ตามสอบสินค้าประมงนำเข้า ดีเดย์ปีใหม่ 61 ................................................................ 63

เอกสารวิชาการ เรื่อง การศึกษาสภาวะการปนเปื้อนเชื้อซัลโมเนลลา ในวัตถุดิบอาหารสัตว์ของอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ไทย.......................................................................... 64

ขอบคุณ............................................................................................................................................................... 84

  ดำเนินการโดย : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย   : นายประเสริ ฐ พุ่ ง กุ ม าร     รองประธานกรรมการที่ ป รึ ก ษา : นายวี ร ชั ย รั ต นบานชื่ น  นายพรศิ ล ป์ พั ช ริ น ทร์ ต นะกุ ล     กรรมการที่ปรึกษา : นายสมชาย กังสมุทร  นายพงษ์ เหล่าวรวิทย์  นายประสิทธิ์ ศิริมงคลเกษม  นายอดิเรก ศรีประทักษ์  นายนิพนธ์ ลีละศิธร นางเบญจพร สังหิตกุล  นายณรงค์ชัย ศรีสันติแสง  นายบุญธรรม อร่ามศิริวัฒน์  นายประจักษ์ ธีระกุลพิศุทธิ์     บรรณาธิการ : นายปรีชา กันทรากรกิติ     กองบรรณาธิการ : นายไพบูลย์ ขุนทอง  นายอรรถพล ชินภูวดล  นางสาวปัทมา ศรีเที่ยงตรง  นางสาวชลฐิณี บวรจตุวิช  

   ประธานกรรมการที่ ป รึ ก ษา

สำนักงาน : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย 43 ไทย ซีซี ทาวเวอร์ ห้อง 170 ชั้น 17 ถนนสาทรใต้ ยานนาวา สาทร กรุงเทพฯ 10120 โทรศัพท์ 0-2675-6263-4   โทรสาร 0-2675-6265   Email: tfma44@yahoo.com   Website: www.thaifeedmill.com




ภาวะเศรษฐกิจการเกษตรปี 2559 และแนวโน้มปี 2560 Agricultural Economic Outlook

· ปรากฏการณ์เอลนีโญ และสภาพอากาศ ที่แปรปรวน ส่งผลให้มีปริมาณน้ำฝนน้อยกว่า ปกติ ก่อให้เกิดภัยแล้งในหลายพืน้ ทีข่ องประเทศ ตัง้ แต่ชว่ งปลายปี 2558 ต่อเนือ่ งมาจนถึงต้นปี 2559 โดยปริมาณน้ำใช้การได้ในเขือ่ นหลักต่างๆ อยู่ในเกณฑ์น้อยมาก กรมชลประทานจึงต้อง ควบคุมและจัดสรรการใช้น้ำเพื่อให้ประชาชน มีนำ้ อุปโภคบริโภค รวมถึงการรักษาระบบนิเวศ ก่ อ น ทำให้ มี ป ริ ม าณน้ ำ ไม่ เ พี ย งพอต่ อ การ เพาะปลูกพืชหลายชนิด โดยเฉพาะการปลูก ข้าวนาปรังในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาแถบภาค เหนือตอนล่าง และภาคกลาง · การทำประมงทะเลยังคงประสบปัญหา ในเรื่ อ งของการปรั บ ตั ว และการปฏิ บั ติ ต าม กฎหมายประมงของผู้ประกอบการเรือประมง

· ปี 2559 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้กำหนดให้เป็นปีแห่งการลดต้นทุนการผลิต และเพิ่มโอกาสในการแข่งขัน โดยได้ดำเนิน นโยบายและมาตรการต่างๆ อาทิ การปฏิรูป ภาคการเกษตร ประกอบด้วย โครงการศูนย์เรี ย นรู้ เ พื่ อ เพิ่ ม ประสิ ท ธิ ภ าพการผลิ ต สิ น ค้ า เกษตร (ศพก.) จำนวน 882 ศูนย์ ระบบส่งเสริม การเกษตรแบบแปลงใหญ่ การบริหารจัดการ พื้นที่เกษตรกรรม (Zoning by Agri-Map) เกษตรอินทรีย์ และธนาคารสินค้าเกษตร รวมถึง การพัฒนาการผลิตสินค้าเกษตร การบริหาร จัดการทรัพยากรเพื่อการผลิต ซึ่งช่วยพัฒนา ประสิทธิภาพการผลิตและคุณภาพสินค้าเกษตร · การผลิ ต ปศุ สั ต ว์ ส่ ว นใหญ่ เ ป็ น ฟาร์ ม มาตรฐานที่ มี ก ารวางแผนการผลิ ต และดู แ ล อย่างเป็นระบบ แม้ปัญหาอากาศที่ร้อน และ แห้ ง แล้ ง จะกระทบต่ อ การเลี้ ย งสั ต ว์ บ้ า ง แต่ ปริมาณผลผลิตปศุสัตว์โดยรวมยังคงเพิ่มขึ้น

ที่มา : กองนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

Thailand Focus

ปัจจัยลบ

ปัจจัยบวก

5 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2559

ภาวะเศรษฐกิ จ การเกษตรปี 2559 หดตัวร้อยละ 0.5 เมือ่ เทียบกับปี 2558 โดย สาขาพื ช และสาขาบริ ก ารทางการเกษตร หดตัวลง ขณะที่สาขาปศุสัตว์ สาขาประมง และสาขาป่าไม้ ขยายตัวเพิ่มขึ้น

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 33 เล่มที่ 171

ภาวะเศรษฐกิจ การเกษตรปี 2559

· การส่งออกสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์ มีทิศทางลดลง เนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศ คู่ค้าสำคัญอย่างจีนยังคงชะลอตัว


6

· สถานการณ์การผลิตกุ้งทะเลเพาะเลี้ยง ปรั บ ตั ว ดี ขึ้ น มากเนื่ อ งจากการจั ด การปั ญ หา โรคกุ้งตายด่วนที่มีประสิทธิภาพ ประกอบกับ เกษตรกรมีการบริหารจัดการฟาร์มที่ดีขึ้น

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 33 เล่มที่ 171

พฤศจิกายน-ธันวาคม 2559

· ราคาน้ ำ มั น เชื้ อ เพลิ ง ภายในประเทศ ที่ทรงตัวในระดับต่ำ ทำให้ต้นทุนการผลติทาง การเกษตรไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก

สาขาพืช สาขาพืชในปี 2559 หดตัวร้อยละ 1.8 เมือ่ เทียบกับปี 2558 โดยพืชสำคัญทีม่ ผี ลผลิต ลดลง ได้แก่ ข้าวนาปรัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง อ้อยโรงงาน สับปะรดโรงงาน ยางพารา ปาล์มน้ำมัน ลำไย ทุเรียน มังคุด และเงาะ สำหรับข้าวนาปรัง มีผลผลิตลดลง เนื่องจากปริมาณน้ำที่ใช้การได้ในเขื่อนสำคัญ มีปริมาณน้อยกว่าปีที่ผ่านมา และไม่เพียงพอ ต่ อ การปลู ก พื ช ภาครั ฐ จึ ง ขอความร่ ว มมื อ จากเกษตรกรให้งดการเพาะปลูกข้าวนาปรัง เกษตรกรบางส่วนจึงปล่อยพื้นที่ให้ว่าง และ

บางรายปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อยกว่า ส่วนในพื้นที่ที่ปลูกข้าวนาปรังได้ สามารถปลูก ได้ เ พี ย งรอบเดี ย ว และมี ผ ลผลิ ต ต่ อ ไร่ ล ดลง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มีผลผลิตลดลง เนื่องจาก เกษตรกรปรับเปลี่ยนพื้นที่ไปปลูกมันสำปะหลัง และอ้อยโรงงานที่ทนต่อสภาพอากาศร้อนและ แห้งแล้งได้ดกี ว่า มันสำปะหลัง มีผลผลิตลดลง เนื่องจากประสบปัญหาภัยแล้งและฝนทิ้งช่วง เป็นเวลานาน ทำให้บางพื้นที่ มันสำปะหลัง ยืนต้นตาย หรือโตไม่เต็มที่ หัวมีขนาดเล็ก และ ติดหัวน้อย ประกอบกับขาดแคลนท่อนพันธุเ์ พือ่ ปลูกซ่อมด้วย อ้อยโรงงาน มีผลผลิตลดลง เนื่องจากปัญหาภัยแล้งที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปลายปี 2557 ต่อเนือ่ งมาจนถึงปี 2558 ซึง่ เป็นช่วงที่ อ้อยต้องการน้ำเพื่อการเจริญเติบโต ทำให้อ้อย เติบโตไม่เต็มที่ และผลผลิตต่อไร่ลดลง ประกอบ กับในหลายพื้นที่มีฝนตกในช่วงเก็บเกี่ยว ส่งผล ให้ คุ ณ ภาพอ้ อ ยลดลง สั บ ปะรดโรงงาน มี ผลผลิตลดลง เนือ่ งจากตัง้ แต่ชว่ งปลายปี 2558 ถึงเดือนพฤษภาคม 2559 สภาพอากาศไม่


ในส่วนของ ข้าวนาปี มีผลผลิตเพิ่มขึ้น เนือ่ งจากในช่วงเดือนสิงหาคม-ตุลาคม 2559 มี ปริมาณฝนรวมสูงกว่าเช่นเดียวกันของปี 2558 ทีป่ ระสบกับปัญหาภัยแล้ง ทำให้ในปีนมี้ ปี ริมาณ

น้ำเพียงพอต่อการเพาะปลูกและเจริญเติบโต ของต้นข้าว

สิ น ค้ า พื ช ที่ มี ร าคาเฉลี่ ย ลดลง ได้ แ ก่ ข้าวเปลือกเจ้า ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง และอ้อยโรงงาน โดย ข้าวเปลือกเจ้า มีราคาลดลง เนื่องจากสถานการณ์การผลิต ข้าวทีเ่ ริม่ กลับเข้าสูภ่ าวะปกติ ทำให้ผลผลิตออกสู่ ตลาดเพิม่ ขึน้ ประกอบกับข้าวเปลือกทีค่ า้ งอยูใ่ น สต็ อ กจำนวนมากเป็ น แรงกดดั น ส่ ว นหนึ่ ง ให้ ราคาข้าวลดลง ข้าวโพดเลีย้ งสัตว์ มีราคาลดลง เนื่องจากอุตสาหกรรมการผลิตอาหารสัตว์ มี การใช้ข้าวสาลีซึ่งราคาถูกกว่าทดแทนข้าวโพด เลีย้ งสัตว์ ขณะทีร่ าคาข้าวโพดเลีย้ งสัตว์ในตลาด โลกมี ทิ ศ ทางลดลง มั น สำปะหลั ง มี ร าคา ลดลง เนื่องจากจีนซึ่งเป็นผู้นำเข้าผลิตภัณฑ์ มันสำปะหลังรายใหญ่ของไทยชะลอการนำเข้า

7 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2559

ด้านราคา ในช่วงเดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2559 สินค้าพืชที่มีราคาเฉลี่ยเพิ่มขึ้น ได้แก่ สับปะรดโรงงาน ยางแผ่นดิบ ปาล์มน้ำมัน ลำไย ทุเรียน มังคุด และเงาะ โดย สับปะรดโรงงาน มีราคาเพิ่มขึ้น เนื่องจาก ปริมาณผลผลิตลดลง ขณะที่ความต้องการของ โรงงานแปรรูปสับปะรดยังมีอยู่อย่างต่อเนื่อง ยางแผ่นดิบ มีราคาเพิ่มขึ้น เนื่องจากผลผลิต ออกสู่ตลาดน้อย ไม่เพียงพอกับความต้องการ ของผู้ประกอบการ ประกอบกับราคาน้ำมันดิบ ในตลาดโลกมีทิศทางเพิ่มขึ้น ปาล์มน้ำมัน มี ราคาเพิ่มขึ้น เนื่องจากปริมาณผลผลิตลดลง ประกอบกับราคาปรับตัวเพิม่ ขึน้ ตามราคาน้ำมัน ปาล์มดิบในตลาดโลก ผลไม้ที่มีราคาเพิ่มขึ้น ได้แก่ ลำไย ทุเรียน มังคุด และเงาะ เนือ่ งจาก ผลผลิตออกสู่ตลาดน้อย ไม่เพียงพอกับความ ต้องการของตลาด

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 33 เล่มที่ 171

เอื้ออำนวย ประสบภัยแล้งจากการที่ฝนทิ้งช่วง เป็นเวลานาน ทำให้ต้นสับปะรดไม่สมบูรณ์ ผล สับปะรดมีขนาดและน้ำหนักลดลง ยางพารา มีผลผลิตลดลง เนื่องจากสภาพอากาศร้อนและ แห้งแล้งยาวนาน ทำให้ตน้ ยางให้นำ้ ยางน้อยลง ส่งผลให้เกษตรกรเปิดกรีดหน้ายางได้ช้ากว่า ปกติ อีกทัง้ บางช่วงเกิดภาวะฝนตกหนักในหลาย พื้นที่ จึงเป็นอุปสรรคในการกรีดยาง ปาล์มน้ำมัน มีผลผลิตลดลง เนื่องจากสถานการณ์ ภัยแล้งอย่างต่อเนือ่ งตัง้ แต่ปี 2557 ถึงปี 2558 ส่งผลให้การออกจั่นตัวเมียและการติดผลปาล์ม ในปี 2559 ลดลง ทะลายบางส่วนฝ่อเสียหาย มีขนาดเล็กและน้ำหนักลดลง ประกอบกับในบาง พืน้ ทีม่ ตี น้ ปาล์มทีเ่ ริม่ ให้ผลในปีแรก ซึง่ ให้ผลผลิต ทะลายเล็กเป็นจำนวนมาก ลำไย มีผลผลิตลดลง เนือ่ งจากสภาพอากาศทีแ่ ปรปรวน ประกอบกับ หลายพื้นที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง ทำให้ ดอกและผลลำไยร่วง ทุเรียน มีผลผลิตลดลง เนื่องจากฝนทิ้งช่วง อากาศร้อนไม่เอื้ออำนวย ต่อการติดดอกออกผล และบางส่วนทีต่ ดิ ผลอ่อน แล้ว ขาดน้ำ ทำให้ผลร่วง มังคุด มีผลผลิต ลดลง เนื่องจากสภาพอากาศร้อน มังคุดจึงติด ผลน้อยลง ประกอบกับเกษตรกรบางส่วนโค่นต้น มังคุดเพื่อไปปลูกทุเรียนที่ให้ผลตอบแทนดีกว่า เงาะ มีผลผลิตลดลง เนือ่ งจากเกษตรกรโค่นต้น เงาะที่มีอายุมากทิ้ง เพื่อไปปลูกพืชชนิดอื่นที่ให้ ผลตอบแทนดีกว่า ประกอบกับสภาพอากาศร้อน ทำให้เงาะบางส่วนออกดอกน้อย ผลผลิตได้รับ ความเสียหาย


8

ประกอบกับเชื้อแป้งมันสำปะหลังลดลง อ้อย โรงงาน มีราคาลดลงตามราคาน้ำตาลดิบใน ตลาดโลกในช่วงต้นปี 2559 ซึ่งเป็นช่วงที่ ผลผลิตอ้อยของไทยออกสู่ตลาดมาก

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 33 เล่มที่ 171

พฤศจิกายน-ธันวาคม 2559

ด้ า นการส่ ง ออก ในเดื อ นมกราคมตุลาคม 2559 สินค้าพืชทีม่ ปี ริมาณและมูลค่า ส่ ง ออกเพิ่ ม ขึ้ น ได้ แ ก่ ข้ า วโพดเลี้ ย งสั ต ว์ สับปะรดและผลิตภัณฑ์ ลำไยและผลิตภัณฑ์ ทุเรียนและผลิตภัณฑ์ โดย ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มีปริมาณและมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น เนื่อง จากมีความต้องการของตลาดต่างประเทศมาก ขึ้น ได้แก่ ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย สับปะรด และผลิ ต ภั ณ ฑ์ มี ป ริ ม าณและมู ล ค่ า ส่ ง ออก เพิม่ ขึน้ เนือ่ งจากความต้องการในตลาดส่งออก หลักอย่างสหภาพยุโรป และสหรัฐอเมริกา ยังมี อย่างต่อเนื่อง ลำไยและผลิตภัณฑ์ มีปริมาณ และมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้น เนื่องจากประเทศจีน อินโดนีเซีย ฮ่องกง และเวียดนาม ซึง่ เป็นตลาด ทีส่ ำคัญของไทย มีความต้องการบริโภคเพิม่ ขึน้ ทุ เ รี ย นและผลิ ต ภั ณ ฑ์ มี ป ริ ม าณและมู ล ค่ า ส่งออกเพิม่ ขึน้ เนือ่ งจากความต้องการในตลาด

ส่งออกหลักอย่างจีน และฮ่องกง ยังมีอย่าง ต่อเนื่อง สินค้าพืชที่มีปริมาณและมูลค่าส่งออก ลดลง ในเดือนมกราคม-ตุลาคม 2559 ได้แก่ ข้าวรวม มันสำปะหลังและผลิตภัณฑ์ น้ำตาล และผลิตภัณฑ์ ยางพารา และมังคุด โดย ข้ า วรวม มี ป ริ ม าณและมู ล ค่ า ส่ ง ออกลดลง เนื่องจากในเดือนตุลาคม 2559 มีการชะลอ การส่ ง มอบข้ า วขาวตามสั ญ ญาแบบรั ฐ ต่ อ รั ฐ (จีทูจี) ให้กับหน่วยงานคอฟโกของจีน และ หน่วยงานด้านอาหารของฟิลิปปินส์ อย่างไร ก็ ต าม ราคาส่ ง ออกข้ า วของไทยที่ ใ กล้ เ คี ย ง กับคู่แข่ง ทำให้มีความสามารถในการแข่งขัน ดีขึ้น มันสำปะหลังและผลิตภัณฑ์ มีปริมาณ และมูลค่าส่งออกลดลง เนื่องจากจีนซึ่งเป็น ผู้นำเข้ารายใหญ่ของไทย ลดการนำเข้ามันเส้น ลงจากการที่รัฐบาลจีนระบายสต็อกข้าวโพด เลี้ยงสัตว์ในคลังออกในราคาต่ำ ทำให้อุตสาหกรรมแอลกอฮอล์ในจีนหันมาใช้ข้าวโพดเลี้ยง สั ต ว์ เ ป็ น วั ต ถุ ดิ บ ทดแทนมั น สำปะหลั ง ในการ ผลิตแอลกอฮอล์มากขึ้น น้ำตาลและผลิตภัณฑ์


สาขาปศุสัตว์ สาขาปศุ สั ต ว์ ใ นปี 2559 ขยายตั ว ร้อยละ 2.8 เมื่อเทียบกับปี 2558 เนื่องจาก ปริมาณการผลิตสินค้าปศุสตั ว์เพิม่ ขึน้ ตามความ ต้องการบริโภคของตลาดทัง้ ในและต่างประเทศ ประกอบกับระบบฟาร์มส่วนใหญ่มีมาตรฐาน มี การเฝ้าระวังและควบคุมโรคระบาดได้ดี ทำให้ ผลผลิตปศุสัตว์ที่สำคัญเพิ่มขึ้นทั้งไก่เนื้อ สุกร ไข่ไก่ โคเนื้อ และน้ำนมดิบ ผลผลิตไก่เนือ้ เพิม่ ขึน้ เนือ่ งจากเกษตรกร มีการขยายการเลีย้ งตามความต้องการส่งออกที่ เพิม่ ขึน้ รวมทัง้ เพือ่ รองรับตลาดส่งออกไก่สดไป

ด้ า นราคา ในช่ ว งเดื อ นมกราคมพฤศจิกายน 2559 ราคาเฉลี่ยของโคเนื้อและ ไก่เนื้อลดลง เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2558 เนื่องจากปริมาณผลผลิตที่ออกสู่ตลาด เพิม่ ขึน้ มาก ด้านราคาสุกร ไข่ไก่ และน้ำนมดิบ สู ง ขึ้ น เนื่ อ งจากการรั ก ษาระดั บ ผลผลิ ต ให้ เป็นไปตามความต้องการของตลาด การปรับตัว ด้านคุณภาพน้ำนมดิบจากมาตรการปรับเพิ่ม ราคารับซื้อน้ำนมดิบหน้าโรงงานตามคุณภาพ น้ำนม

9 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2559

สินค้าพืชที่มีปริมาณส่งออกลดลง แต่ มูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้น คือ น้ำมันปาล์ม เนื่อง จากความผันผวนทางด้านราคาในประเทศ ส่ง ผลต่อความสามารถในการแข่งขัน ประกอบ กั บ ประเทศผู้ น ำเข้ า ที่ ส ำคั ญ ได้ แ ก่ อิ น เดี ย สหภาพยุโรป และจีน หันมาบริโภคน้ำมันพืช ชนิดอื่นทดแทนมากขึ้น อย่างไรก็ตาม จาก ราคาน้ำมันปาล์มที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาก ทำให้ มูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้น

ยังประเทศเกาหลีใต้ที่อนุญาตให้ผู้ประกอบการ ไทยสามารถส่ ง ออกไก่ ส ดแช่ เ ย็ น และแช่ แ ข็ ง ได้อีกครั้งตั้งแต่มีปัญหาไข้หวัดนกเมื่อปี 2547 ขณะที่ความต้องการบริโภคภายในประเทศยัง มีอย่างต่อเนือ่ งจากราคาเนือ้ ไก่ทตี่ ำ่ กว่าเนือ้ สัตว์ ประเภทอืน่ ผลผลิตสุกรเพิม่ ขึน้ เนือ่ งจากปัจจัย ด้านราคาสุกรมีชีวิตหน้าฟาร์มที่ปรับเพิ่มขึ้น จูงใจให้เกษตรกรขยายการผลิต แม้จะมีต้นทุน ค่าพันธุ์เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ยังมีแรงหนุนด้าน ตลาดส่งออก และการปรับปรุงด้านการจัดการ ฟาร์ม จึงสามารถควบคุมโรคได้ดีขึ้น ทำให้ ปริมาณผลผลิตสุกรโดยรวมเพิ่มขึ้น ส่วนการ ผลิตไข่ไก่ มีปริมาณผลผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจาก เกษตรกรมีการจัดการฟาร์มที่มีประสิทธิภาพ มากขึน้ ทำให้มปี ริมาณไข่ไก่ออกสูต่ ลาดเพิม่ ขึน้ การผลิ ต โคเนื้ อ มี ป ริ ม าณเพิ่ ม ขึ้ น ตามความ ต้ อ งการของตลาดที่ มี แ นวโน้ ม สู ง ขึ้ น แม้ ว่ า การส่งออกโคมีชีวิตไปยังประเทศลาว เพื่อส่ง ต่อไปจีนชะลอตัวลง การผลิตน้ำนมดิบมีปริมาณ เพิ่มขึ้น เนื่องจากเกษตรกรมีการดูแลสุขภาพ ของแม่ โ คนมและมี ก ารจั ด การฟาร์ ม ที่ ดี ซึ่ ง ช่วยสร้างภูมคิ มุ้ กันโรค ทำให้อตั ราการให้นำ้ นม เฉลี่ยเพิ่มขึ้น และมีคุณภาพอยู่ในเกณฑ์ดี

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 33 เล่มที่ 171

มีปริมาณและมูลค่าส่งออกลดลง เนื่องจากผลผลิตอ้อยโรงงานในประเทศที่ลดลงจากปัญหา ภัยแล้ง ยางพารา มีปริมาณและมูลค่าส่งออก ลดลง เนื่ อ งจากปริ ม าณผลผลิ ต ในประเทศ ออกสูต่ ลาดลดลง รวมถึงสถานการณ์เศรษฐกิจ โลกที่ยังฟื้นตัวได้ไม่เต็มที่ ประกอบกับภาครัฐ มีการส่งเสริมและสนับสนุนให้มกี ารใช้ยางพารา ในประเทศเพิ่มขึ้น มังคุด มีปริมาณและมูลค่า ส่ ง ออกลดลง เนื่ อ งจากผลผลิ ต ลดลง และ ผลมังคุดมีขนาดเล็ก ไม่ได้คุณภาพตามความ ต้องการของตลาด


10 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 33 เล่มที่ 171

พฤศจิกายน-ธันวาคม 2559

ด้านการส่งออก ในช่วงเดือนมกราคมตุลาคม 2559 ปริมาณและมูลค่าการส่งออก เนื้ อ ไก่ แ ละผลิ ต ภั ณ ฑ์ เ พิ่ ม ขึ้ น ทั้ ง ในส่ ว นของ เนื้ อ ไก่ ส ดแช่ เ ย็ น แช่ แ ข็ ง และเนื้ อ ไก่ ป รุ ง แต่ ง โดยเฉพาะการส่งออกไปตลาดญี่ปุ่น และตลาด อาเซียนที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น ส่วนการส่งออกไป สหภาพยุ โ รปลดลงจากภาวะเศรษฐกิ จ ที่ ยั ง ชะลอตัว สำหรับปริมาณและมูลค่าการส่งออก เนื้ อ สุ ก รแช่ เ ย็ น แช่ แ ข็ ง และเนื้ อ สุ ก รปรุ ง แต่ ง ไปยังตลาดหลัก ได้แก่ ฮ่องกง และลาว ลดลง ในขณะที่การส่งออกสุกรมีชีวิตไปยังประเทศ เพื่ อ นบ้ า นยั ง ขยายตั ว ได้ ดี ด้ า นการส่ ง ออก ไข่ ไ ก่ มี ป ริ ม าณและมู ล ค่ า ลดลง เนื่ อ งจาก ราคาไข่ไก่ในประเทศอยู่ในระดับสูง และไม่มี กิจกรรมการส่งออกเพื่อระบายผลผลิต ส่วน การส่งออกนมและผลิตภัณฑ์ มีการขยายตัว เพิ่มขึ้น เนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและ เป็นที่ต้องการของตลาด โดยเฉพาะนมยูเอชที และหางนม (เวย์) ของไทย เป็นที่นิยมในตลาด หลักอย่างอาเซียน

สาขาประมง สาขาประมงในปี 2559 ขยายตั ว ร้อยละ 2.5 เมือ่ เทียบกับปี 2558 โดยผลผลิต

กุ้งทะเลเพาะเลี้ยงออกสู่ตลาดมากขึ้น เนื่อง จากเกษตรกรมีการบริหารจัดการฟาร์มที่ดี ใช้ พันธุ์กุ้งที่ต้านทานต่อโรค รวมทั้งปรับวิธีการ เลี้ยง โดยการนำเทคนิคใหม่ๆ มาใช้ ประกอบ กั บ ปั ญ หาโรคตายด่ ว น (Early Mortality Syndrome: EMS) คลี่คลายลง ขณะที่ปริมาณ สั ต ว์ น้ ำ ที่ น ำขึ้ น ท่ า เที ย บเรื อ ในภาคใต้ ยั ง คงมี ทิศทางลดลง สำหรับผลผลิตประมงน้ำจืด อาทิ ปลานิล ปลาดุก ลดลง เนื่องจากประสบกับ สภาพอากาศร้อนจัดและปัญหาภัยแล้ง ทำให้ เกษตรกรผู้เลี้ยงปลาน้ำจืดลดเนื้อที่เลี้ยงปลาลง หรือชะลอการเลี้ยงออกไป ด้านราคา ในช่วงเดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2559 ราคากุง้ ขาวแวนนาไมทีเ่ กษตรกร ขายได้เฉลี่ยลดลง (ขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม) ซึ่งเป็นการลดลงตามปริมาณผลผลิตที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับประเทศคู่แข่ง เช่น เอกวาดอร์ อินโดนีเซีย และอเมริกากลาง-ใต้ มีผลผลิต มากขึ้นเช่นเดียวกัน สำหรับราคาปลานิลขนาด กลาง และราคาปลาดุกบิก๊ อุยทีเ่ กษตรกรขายได้ เฉลีย่ เพิม่ ขึน้ (ขนาด 2-4 ตัวต่อกิโลกรัม) เนือ่ ง จากผลผลิตออกสู่ตลาดน้อยจากปัญหาภัยแล้ง


สาขาบริการทางการเกษตร สาขาบริการทางการเกษตรในปี 2559 หดตัวร้อยละ 0.5 เมื่อเทียบกับปี 2558 โดยการจ้ า งบริ ก ารต่ า งๆ ทั้ ง การเตรี ย มดิ น ไถพรวนดิน และการเกีย่ วนวดข้าวนาปรังลดลง เนื่องจากพื้นที่เพาะปลูกข้าวนาปรังลดลงจาก ปั ญ หาภั ย แล้ ง อย่ า งไรก็ ต าม ตั้ ง แต่ เ ดื อ น กรกฎาคม 2559 เป็นต้นมา ได้เริ่มมีฝนตก ตามฤดูกาล ทำให้มีปริมาณน้ำเพิ่มขึ้น และ เพียงพอต่อการเพาะปลูก ส่งผลให้พนื้ ทีเ่ พาะปลูก ข้าวนาปีเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา ส่งผลต่อเนื่อง

ให้ มี ก ารใช้ บ ริ ก ารไถพรวนดิ น และเกี่ ย วนวด ข้าวนาปีเพิ่มขึ้น แต่เมื่อพิจารณาสาขาบริการ ทางการเกษตรในภาพรวมยังคงมีทิศทางหดตัว เล็กน้อย

สาขาป่าไม้ปี 2559 ขยายตัวร้อยละ 2.2 เมื่อเทียบกับปี 2558 โดยผลผลิตไม้ สำคัญที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ไม้ยางพารา และไม้ ยู ค าลิ ป ตั ส สำหรั บ ไม้ ย างพาราเพิ่ ม ขึ้ น ตาม ความต้องการของตลาดจีน เนือ่ งจากเป็นไม้ทมี่ ี คุณภาพดี ตำหนิน้อยและไม่แตกง่าย ประกอบ กับการส่งเสริมการตัดโค่นพื้นที่สวนยางพารา เก่าที่ให้ผลผลิตไม่คุ้มค่า และปลูกทดแทนด้วย ยางพาราพันธุ์ดี หรือพืชเศรษฐกิจอื่นผ่านการ ยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ด้านไม้ยูคาลิปตัส ซึ่งเป็นไม้เศรษฐกิจที่สำคัญ ขยายตัวเพิ่มขึ้น เนือ่ งจากเป็นทีต่ อ้ งการของตลาดภายในประเทศ และตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมเยื่ อ กระดาษ อุ ต สาหกรรมผลิ ต ไม้ สั บ ส่งออก อีกทัง้ ยังใช้เพือ่ การผลิตเชือ้ เพลิงชีวภาพ ขณะที่ผลผลิตถ่านไม้ยังคงเพิ่มขึ้น เนื่องจาก

11 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2559

สาขาป่าไม้

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 33 เล่มที่ 171

ด้ า นการส่ ง ออกสิ น ค้ า ประมงและ ผลิ ต ภั ณ ฑ์ ในช่ ว งเดื อ นมกราคม-ตุ ล าคม 2559 ปลาหมึกและผลิตภัณฑ์มีปริมาณและ มู ล ค่ า การส่ ง ออกลดลง เนื่ อ งจากเศรษฐกิ จ ของประเทศคู่ ค้ า ชะลอตั ว ลง ขณะที่ กุ้ ง และ ผลิตภัณฑ์ มีปริมาณและมูลค่าการส่งออกเพิ่ม ขึ้น เนื่องจากความต้องการซื้อจากตลาดต่าง ประเทศยังมีอย่างต่อเนื่อง ส่วนปลาและผลิตภัณฑ์ มีปริมาณส่งออกลดลง แต่มูลค่าส่งออก เพิ่มขึ้น เนื่องจากราคาปลาปรับตัวสูงขึ้น


12 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 33 เล่มที่ 171

พฤศจิกายน-ธันวาคม 2559

แนวโน้มเศรษฐกิจ การเกษตรปี 2560

ส่ ง เสริ ม ให้ เ กษตรกรทำการผลิ ต โดยยึ ด หลั ก ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพือ่ การพัฒนาทีย่ งั่ ยืน มีการบริหารจัดการแบบธุรกิจเกษตร พัฒนา การเกษตรที่ใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี องค์ ความรูแ้ บบองค์รวม รวมถึงสนับสนุนกระบวนการผลิตที่สะอาด ปลอดภัยได้มาตรฐาน และ เป็ น มิ ต รกั บ สิ่ ง แวดล้ อ ม ซึ่ ง จะช่ ว ยยกระดั บ การผลิตสินค้าเกษตรให้ได้มาตรฐาน และมี ประสิทธิภาพ เกษตรกรมีความมั่นคงทางด้าน รายได้และมีคุณภาพชีวิตที่ดี

แนวโน้มเศรษฐกิจการเกษตรปี 2560 คาดว่าจะขยายตัวอยู่ในช่วงร้อยละ 2.4-3.4 โดยทุกสาขาการผลิตขยายตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ สาขาพืช สาขาปศุสัตว์ สาขาประมง สาขา บริการทางการเกษตร และสาขาป่าไม้ โดยมี ปัจจัยสนับสนุน ได้แก่

· สภาพอากาศและปริ ม าณน้ ำ ที่ เ อื้ อ อำนวยต่อการผลิตทางการเกษตรมากกว่าปี 2559 เนื่องจากในช่วงปี 2559 ฝนเริ่มตก ตามฤดูกาล ทำให้มปี ริมาณน้ำใช้การได้ในเขือ่ น หลักเพิ่มขึ้น ซึ่งเพียงพอต่อการเพาะปลูกและ การเจริญเติบโตของพืชที่สำคัญ

· กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้กำหนด ให้ปี 2560 เป็นปีแห่งการยกระดับมาตรฐาน การเกษตรสู่ความยั่งยืน (Chaning Towards Smart Agriculture) โดยจะดำเนินนโยบายและ มาตรการด้านการเกษตรต่างๆ อย่างต่อเนื่อง

· เศรษฐกิจโลกในปี 2560 มีทิศทาง ดีขึ้น เป็นผลดีต่อการส่งออกสินค้าเกษตรและ ผลิตภัณฑ์ของไทย

เป็ น ที่ ต้ อ งการภายในประเทศของครั ว เรื อ น ตามชนบท และเป็นเชื้อเพลิงในการทำอาหาร ประเภทปิง้ ย่างในสังคมเมือง ในส่วนของผลผลิต ครัง่ ได้รบั ความเสียหายรุนแรงจากสภาพอากาศ ที่ แ ปรปรวนและร้ อ นจั ด ทำให้ ผ ลผลิ ต ครั่ ง ลดลง

อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยที่ต้องติดตาม ในเรื่ อ งของราคาน้ ำ มั น ดิ บ ในตลาดโลกที่ มี


ในปี 2560 คาดว่าสาขาพืชจะขยายตัว อยู่ในช่วงร้อยละ 2.6-3.6 เมื่อเทียบกับปี 2559 โดยสินค้าพืชที่มีปริมาณผลผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่ ข้าวนาปี ข้าวนาปรัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง อ้อยโรงงาน สับปะรดโรงงาน ยางพารา ปาล์มน้ำมัน ลำไย ทุเรียน มังคุด และเงาะ เนื่องจากคาดว่าสภาพภูมิอากาศจะ เอื้ อ อำนวยมากกว่ า ปี 2559 มี ป ริ ม าณน้ ำ เพียงพอต่อการเพาะปลูกพืช อีกทัง้ ภาครัฐ และ ภาคเอกชนได้ให้การส่งเสริมและสนับสนุนการ เพาะปลูกพืชในพื้นที่ที่เหมาะสม มีการใช้พันธุ์ ที่ดี รวมถึงการพัฒนาแหล่งน้ำ ซึ่งจูงใจให้

ด้านราคาพืชที่เกษตรกรขายได้ส่วนใหญ่ ในปี 2560 คาดว่าจะอยู่ในเกณฑ์ดี ได้แก่ อ้อยโรงงาน สับปะรดโรงงาน ปาล์มน้ำมัน ลำไย ทุเรียน มังคุด และเงาะ เนื่องจากความ ต้องการทั้งตลาดในประเทศ และต่างประเทศ ยังคงมีอย่างต่อเนื่อง ส่วนพืชที่คาดว่าราคาจะ ใกล้เคียงกับปี 2559 ได้แก่ ข้าว มันสำปะหลัง และยางพารา เนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศ คู่ค้าสำคัญ อาทิ จีน ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป ยังคงชะลอตัว ด้านการส่งออกพืชและผลิตภัณฑ์ ที่คาด ว่ายังมีแนวโน้มขยายตัวได้ดี คือ ผลไม้และ

13 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2559

สาขาพืช

เกษตรกรขยายพืน้ ทีเ่ พาะปลูก และดูแลเอาใจใส่ ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องติดตามสถานการณ์ ป ริ ม าณน้ ำ ที่ ใ ช้ ก ารได้ ใ นเขื่ อ นที่ ส ำคั ญ อาทิ ภูมิพล สิริกิติ์ แควน้อยบำรุงแดน และ ป่ า สั ก ชลสิ ท ธิ์ รวมทั้ ง ความแปรปรวนของ สภาพภูมิอากาศ และการระบาดของโรค และ ศั ต รู พื ช ต่ า งๆ ที่ จ ะส่ ง ผลกระทบต่ อ การผลิ ต ในสาขาพืช

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 33 เล่มที่ 171

แนวโน้มสูงขึ้นในปี 2546 ซึ่งอาจทำให้ราคา น้ำมันเชื้อเพลิงภายในประเทศปรับตัวเพิ่มขึ้น ส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตสินค้าเกษตร นอกจากนี้ การชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน ซึ่ง เป็นประเทศคูค่ า้ ทีส่ ำคัญของไทย อาจทำให้การ ส่งออกสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์ของไทยไปยัง ประเทศจีนลดลง


ผลิตภัณฑ์ อย่างไรก็ตาม ยังต้องจับตามอง สถานการณ์เศรษฐกิจในประเทศคู่ค้าที่สำคัญ อาทิ เศรษฐกิจจีนทีย่ งั คงชะลอตัว ขณะทีเ่ ศรษฐกิจญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป ยังฟื้นตัวอย่างค่อย เป็นค่อยไป ซึ่งอาจส่งผลต่อการส่งออกสินค้า เกษตรและผลิตภัณฑ์ของไทยด้วย นอกจากนี้ ยังมีความเสีย่ งของสภาพอากาศทัว่ โลกทีม่ คี วาม แปรปรวนมากขึ้น ประกอบกับราคาน้ำมันดิบ ในตลาดโลกทีม่ ที ศิ ทางเพิม่ ขึน้ อาจส่งผลกระทบ ต่ อ อุ ป ทานสิ น ค้ า เกษตรของโลก และส่ ง ผล กระทบต่อเนือ่ งมายังราคาและการส่งออกสินค้า เกษตรของไทย

สาขาปศุสัตว์

14 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 33 เล่มที่ 171

พฤศจิกายน-ธันวาคม 2559

ในปี 2560 คาดว่า สาขาปศุสัตว์จะ ขยายตัวอยู่ในช่วงร้อยละ 1.1-2.1 เมื่อเทียบ กับปี 2559 โดยปริมาณการผลิตไก่เนื้อ ไข่ไก่ สุกร โคเนื้อและโคนม มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เนื่อง จากระบบการเลีย้ ง และการบริหารจัดการฟาร์ม ที่ได้มาตรฐานสากล มีการเฝ้าระวังโรคระบาด อย่างต่อเนื่อง รวมถึงการควบคุมการใช้สาร ต่างๆ ที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพในการ ผลิตสุกร อาทิ การใช้สารเร่งเนื้อแดง และการ ใช้ ย าปฏิ ชี ว นะที่ ไ ม่ ไ ด้ คุ ณ ภาพ ขณะที่ ค วาม ต้องการสินค้าปศุสัตว์ของตลาดต่างประเทศ ยั ง คงมี ทิ ศ ทางเพิ่ ม ขึ้ น จากความเชื่ อ มั่ น ใน มาตรฐาน และคุณภาพสินค้าปศุสัตว์ของไทย อย่างไรก็ตาม ยังมีความเสี่ยงจากสภาพอากาศ ที่แปรปรวนอาจส่งผลต่อการเจริญเติบโตของ สัตว์ และการเกิดโรคระบาดต่างๆ รวมถึงราคา วัตถุดิบอาหารสัตว์ที่ปรับตัวสูงขึ้น อาจส่งผล กระทบต่อต้นทุนการผลิตสินค้าปศุสัตว์ด้วย

ด้านราคาสินค้าปศุสตั ว์ในปี 2560 คาด ว่าอยู่ในระดับใกล้เคียงกับปี 2559 โดยราคา ไก่เนื้อ สุกร และไข่ไก่ อาจเพิ่มขึ้นเล็กน้อย เนือ่ งจากการรักษาระดับการผลิตทีส่ อดคล้องกับ ความต้องการของตลาด สำหรับราคาน้ำนมดิบ คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจากการประกาศใช้มาตรฐาน การรับซือ้ น้ำนมโค ณ ศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบ ซึง่ เป็นแรงจูงใจให้เกษตรกรมีการปรับปรุงคุณภาพ น้ำนมดิบและมาตรฐานการผลิต ด้านการส่งออกสินค้าปศุสตั ว์ในปี 2560 คาดว่าจะเพิ่มขึ้นตามความต้องการของตลาด ต่างประเทศ ซึ่งการพัฒนาระบบการเลี้ยงที่ ได้มาตรฐานสากล และการตรวจสอบย้อนกลับ ทำให้ ป ระเทศคู่ ค้ า มี ค วามเชื่ อ มั่ น ในคุ ณ ภาพ สินค้าปสุสตั ว์ของไทย สำหรับการส่งออกเนือ้ ไก่ และผลิตภัณฑ์ ยังมีแนวโน้มขยายตัวได้ดีทั้งใน ตลาดญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป รวมถึงเกาหลีใต้ ที่อนุญาตให้ไทยส่งออกไก่สดแช่เย็นและแช่แข็ง ได้ตงั้ แต่วนั ที่ 9 พฤศจิกายน 2559 เป็นต้นไป ส่วนการส่งออกสุกรมีชีวิต โคมีชีวิต นมและ ผลิตภัณฑ์ ไปยังประเทศเพื่อนบ้านมีแนวโน้ม เพิ่มขึ้นเช่นกัน

สาขาประมง ในปี 2560 คาดว่า สาขาประมง จะ ขยายตั ว อยู่ ใ นช่ ว งร้ อ ยละ 3.0-4.0 โดย ผลผลิ ต กุ้ ง ทะเลเพาะเลี้ ย งมี แ นวโน้ ม เพิ่ ม ขึ้ น จากการพัฒนาการเลีย้ ง และการบริหารจัดการ ฟาร์มทีด่ ขี นึ้ ของเกษตรกร ขณะทีค่ วามต้องการ กุ้ ง ของตลาดต่ า งประเทศยั ง มี อ ย่ า งต่ อ เนื่ อ ง สำหรับผลผลิตจากการทำประมงทะเลมีทิศทาง ดีขึ้นจากการปรับตัว และปฏิบัติตามกฎหมาย ของผูป้ ระกอบการเรือประมง ในส่วนของผลผลิต


ด้านการส่งออก คาดว่าการส่งออกสินค้า ประมงและผลิตภัณฑ์ จะขยายตัวตามความ ต้ อ งการของประเทศผู้ น ำเข้ า ที่ ส ำคั ญ อาทิ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป อีกทั้ง ยังมีปัจจัยบวกจากการที่สหรัฐอเมริกาได้ปรับ สถานะเรื่องปัญหาการค้ามนุษย์ของไทยให้อยู่ ในระดับ 2 ต้องจับตามองเป็นพิเศษ (Tier 2 Watch List) จากทีเ่ คยอยูใ่ นระดับ 3 (Tier 3) ซึง่ เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์อย่างร้ายแรง ส่งผล ในเชิงบวกต่อความเชื่อมั่นของประเทศคู่ค้าที่มี ต่อสินค้าประมงไทย อย่างไรก็ตาม สินค้าประมง ในปี 2560 อาจยังคงประสบปัญหาบางประการ เช่น สหภาพยุโรป ให้ความสนใจกับเรื่อง IUU Fishing และการถู ก ตั ด สิ ท ธิ พิ เ ศษทางภาษี ศุลกากร (GSP) เป็นต้น

สาขาบริการทางการเกษตร ในปี 2560 คาดว่าสาขาบริการทาง การเกษตรจะขยายตัวอยู่ในช่วงร้อยละ 1.52.5 เนื่องจากพื้นที่เพาะปลูกข้าวนาปรัง มี แนวโน้มเพิ่มขึ้นจากปัญหาภัยแล้งที่คลี่คลาย ลง ขณะทีพ่ นื้ ทีเ่ พาะปลูกข้าวนาปีเพิม่ ขึน้ เช่นกัน

สาขาป่าไม้ ในปี 2560 คาดว่าสาขาป่าไม้จะขยายตัว อยู่ในช่วงร้อยละ 2.2-3.2 โดยปัจจัยหลัก ยั ง คงมาจากเป้ า หมายการตั ด โค่ น พื้ น ที่ ส วน ยางพาราเก่า และปลูกทดแทนด้วยยางพารา พันธุ์ดี หรือพืชเศรษฐกิจอื่น ซึ่งการยางแห่ง ประเทศไทย (กยท.) ได้กำหนดเป้าหมายการ ตัดโค่นปี 2560 ไว้ที่ 400,000 ไร่ สำหรับ ไม้ยูคาลิปตัส คาดว่าเพิ่มขึ้นตามความต้องการ ของตลาดเพื่อสต็อกเป็นวัตถุดิบไม้แปรรูป ส่วน ผลผลิตถ่านไม้ และรังนกนางแอ่น คาดว่าจะ ทรงตัว หรือเพิม่ ขึน้ เล็กน้อย ขณะทีผ่ ลผลิตครัง่ มีแนวโน้มฟื้นตัวจากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวย มากขึ้น

15 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2559

ด้านราคา คาดว่า ราคาปลานิล ราคา ปลาดุก และราคากุ้งขาวแวนนาไม ที่เกษตรกร ขายได้จะอยู่ในเกณฑ์ดี เนื่องจากความต้องการ ของตลาดทั้งในและต่างประเทศยังคงเพิ่มขึ้น

จากปริมาณน้ำฝนทีเ่ พียงพอ และสภาพอากาศที่ เอื้ออำนวย ทำให้มีการจ้างบริการเตรียมดิน ไถพรวนดิ น และการเกี่ ย วนวดข้ า วเพิ่ ม ขึ้ น ในส่วนของอ้อยโรงงาน คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว อ้อยเพิ่มขึ้นจากปริมาณน้ำฝนเพียงพอ และ โรงงานน้ำตาลมีการส่งเสริมการขยายพืน้ ทีป่ ลูก อ้อย ส่งผลให้มีการใช้บริการรถเก็บเกี่ยวอ้อย เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ภาครัฐได้ดำเนินนโยบาย ลดต้นทุนและเพิม่ ประสิทธิภาพการผลิตด้วยการ ขับเคลื่อนระบบส่งเสริมการเกษตรแปลงใหญ่ โดยให้เกษตรกรรวมกลุ่มเพื่อใช้เครื่องจักรกล การเกษตรทดแทนแรงงาน ทำให้การใช้บริการ ทางการเกษตรทั้งปีเพิ่มขึ้น

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 33 เล่มที่ 171

ประมงน้ำจืดมีทิศทางเพิ่มขึ้นจากสภาพอากาศ ที่เอื้ออำนวยต่อการผลิตมากขึ้น


ตารางที่ 1 อัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภาคเกษตร

สาขา

ภาคเกษตร พืช ปศุสัตว์ ประมง บริการทางการเกษตร ป่าไม้

หน่วย : ร้อยละ

2559 -0.5 -1.8 2.8 2.5 -0.5 2.2

2560 2.4-3.4 2.6-3.6 1.1-2.1 3.0-4.0 1.5-2.5 2.2-3.2

ที่มา : กองนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ตารางที่ 2 ผลผลิตสินค้าเกษตรที่สำคัญ (ปีปฏิทิน)

สินค้า

16 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 33 เล่มที่ 171

พฤศจิกายน-ธันวาคม 2559

ข้าวนาปี ข้าวนาปรัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง อ้อยโรงงาน (รวมพันธุ์) สับปะรดโรงงาน ยางพารา (ยางแผ่นดิบ) ปาล์มน้ำมัน ลำไย (พันตัน) ทุเรียน (พันตัน) มังคุด (พันตัน) เงาะ (พันตัน) ไก่เนื้อ (ล้านตัว) สุกรมีชีวิต (ล้านตัว) ไข่ไก่ (ล้านฟอง) โคเนื้อ (ล้านตัว) น้ำนมดิบ ปลานิล (พันตัน) ปลาดุก (พันตัน) กุ้งทะเลเพาะเลี้ยง* (พันตัน) สัตว์น้ำที่ขึ้นท่าเทียบเรือของภาคใต้** (พันตัน)

2558 24.51 5.35 4.70 31.47 108.76 1.83 4.42 12.05 872.12 601.88 199.91 313.87 1,338.94 13.65 13,724.42 0.99 1.08 175.61 111.48 159.37 173.29

2559*** 25.31 3.78 4.46 30.71 97.34 1.79 4.38 11.17 755.65 561.80 188.36 215.60 1,397.47 14.54 14,915.82 1.01 1.11 167.28 107.43 184.65 154.90

ที่มา : ศูนย์สารสนเทศการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร *กรมประมง (ผลผลิตกุ้งทะเลตามใบอนุญาตเคลื่อนย้ายสัตว์น้ำในเดือนมกราคม-กันยายน) **ท่าเทียบเรือประมงขององค์การสะพานปลาในภาคใต้ (ข้อมูลเดือนมกราคม-กันยายน) หมายเหตุ : ***ข้อมูลพยากรณ์ ณ เดือนพฤศจิกายน 2559 (เบื้องต้น)

หน่วย : ล้านตัน การเปลี่ยนแปลง (ร้อยละ) 3.26 -29.37 -5.11 -2.40 -10.51 -1.70 -0.90 -7.24 -13.35 -6.66 -5.78 -31.31 4.37 6.55 8.68 2.24 2.50 -4.75 -3.63 15.86 -10.62


ตารางที่ 3 ราคาสินค้าเกษตรที่เกษตรกรขายได้

ที่มา : ศูนย์สารสนเทศการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

17 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2559

ข้าวเปลือกเจ้า ความชื้น 15% (บาท/ตัน) ข้าวนาปีหอมมะลิ (บาท/ตัน) ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ความชื้น 14.5% หัวมันสำปะหลังสดคละ อ้อยโรงงาน (บาท/ตัน) สับปะรดโรงงาน ยางแผ่นดิบชั้น 3 ผลปาล์มน้ำมันทั้งทะลาย มีน้ำหนัก >15 กก. ลำไยเกรด A ทุเรียนหมอนทองคละ มังคุดคละ เงาะโรงเรียนคละ ไก่รุ่นพันธุ์เนื้อ สุกร น้ำหนัก 100 กก. ขึ้นไป ไข่ไก่สดคละ (บาท/ร้อยฟอง) โคเนื้อขนาดกลาง น้ำหนัก 350-450 กก. (บาท/ตัว) น้ำนมดิบ ปลานิลขนาดกลาง ปลาดุกบิ๊กอุย ขนาด 2-4 ตัว/กก. กุ้งขาวแวนนาไม ขนาด 70 ตัว/กก.

2558 ทั้งปี ม.ค.-พ.ย. 7,696 7,733 11,981 12,197 7.76 7.77 2.31 2.17 799 826 10.29 10.26 44.17 45.20 4.04 4.02 28.57 28.38 46.96 46.96 34.87 34.87 22.07 22.07 38.34 38.45 66.08 66.21 269 269 36,677 36,628 17.74 17.73 54.72 54.52 45.57 45.43 179 181

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 33 เล่มที่ 171

สินค้า

หน่วย : บาท/กิโลกรัม 2559 การเปลี่ยนแปลง (ร้อยละ) ม.ค.-พ.ย. 7,609 -1.60 8,614 -29.38 7.03 -9.52 1.60 -26.27 766 -7.26 10.38 1.17 46.64 3.19 5.41 34.58 33.04 16.42 62.96 34.07 35.56 1.98 34.20 54.96 37.52 -2.42 67.41 1.81 296 10.04 36,210 -1.14 18.01 1.58 57.53 5.52 47.41 4.36 179 -1.10


ตารางที่ 4 ปริมาณและมูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์ที่สำคัญ

18 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 33 เล่มที่ 171

พฤศจิกายน-ธันวาคม 2559

ปริมาณ (พันตัน) มูลค่า (ล้านบาท) ม.ค.-ต.ค. การ ม.ค.-ต.ค. การ สินค้า เปลี่ยนแปลง เปลี่ยนแปลง 2558 2559 2558 2559 (ร้อยละ) (ร้อยละ) สินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์ - 1,004,967.13 985,712.38 -1.92 ข้าวรวม (ล้านตัน) 7.81 7.70 -1.42 124,225.60 121,309.03 -2.35 ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 58.81 435.06 639.81 530.00 3,752.80 608.08 มันสำปะหลังและผลิตภัณฑ์ (ล้านตัน) 8.73 7.64 -12.54 79,628.09 64,293.90 -19.26 ยางพารา (ล้านตัน) 3.07 2.72 -11.26 165,567.92 132,329.33 -20.08 น้ำมันปาล์ม 112.65 102.56 -8.96 3,364.56 3,3936.31 16.99 น้ำตาลและผลิตภัณฑ์ (ล้านตัน) 6.89 5.80 -15.73 84,241.78 77,203.73 -8.35 สับปะรดและผลิตภัณฑ์ 492.82 497.05 0.86 21,658.70 24,658.00 13.85 ลำไยและผลิตภัณฑ์ 372.31 377.47 1.39 10,654.66 13,664.29 28.25 ทุเรียนและผลิตภัณฑ์ 367.78 412.25 12.09 14,764.75 19,172.15 29.85 มังคุด 177.78 137.92 -22.42 4,316.55 4,092.15 -5.20 ผักและผลิตภัณฑ์ 390.59 411.13 5.26 19,421.01 18,537.74 -4.55 เนื้อไก่และผลิตภัณฑ์ 513.06 562.94 9.72 66,812.06 72,959.00 9.20 เนื้อสุกรและผลิตภัณฑ์ 14.83 12.69 -14.41 2,307.11 2,059.36 -10.74 ไข่ไก่สด (ล้านฟอง) 158.95 78.03 -50.91 486.80 268.79 -44.78 โคมีชีวิต (พันตัว) 174.39 201.81 15.72 1,534.25 878.77 -42.72 นมและผลิตภัณฑ์ 182.09 198.79 9.17 7,679.92 8,247.57 7.39 ปลาและผลิตภัณฑ์ 875.73 808.12 -7.72 90,211.64 91,001.58 -0.88 ปลาหมึกและผลิตภัณฑ์ 51.81 44.67 -13.78 9,667.11 9,581.38 -0.89 กุ้งและผลิตภัณฑ์ 136.09 169.37 24.45 45,943.04 56,499.38 22.98 ผลิตภัณฑ์จากป่า 26.42 31.86 20.58 1,439.13 1,306.79 -9.20 ที่มา : ศูนย์สารสนเทศการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร หมายเหตุ : สินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์ หมายถึง สินค้าในพิกัดศุลกากร ตอนที่ 1-24, 35.05.10, 35.05.20, 40.01, 40.05, 44.03, 50.01-50.03, 52.01




เอกสารวิชาการ เรื่อง

คุณภาพและมาตรฐาน

ขนสัตว์ปีกป่นของประเทศไทย

The quality and standard of poultry feather meal in Thailand

1, 2

กองควบคุมอาหารและยาสัตว์ กรมปศุสัตว์

19 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2559

การศึกษาคุณภาพและมาตรฐานขนสัตว์ปีกป่นของประเทศไทยเป็นการศึกษาเกี่ยวกับ มาตรฐานการผลิตขนสัตว์ปกี ป่น ซึง่ ประกอบด้วยข้อมูลการผลิตขนสัตว์ปกี ป่นทัว่ ไป กระบวนการ ผลิตขนสัตว์ปกี ป่นไทย และคุณภาพขนสัตว์ปกี ป่นไทย ทางด้านเคมี และจุลชีววิทยา เปรียบเทียบ กับคุณภาพ หรือมาตรฐานขนสัตว์ปีกป่นภายในประเทศ และระหว่างประเทศ เพื่อนำไปใช้เป็น ข้อมูลประกอบการพิจารณาปรับปรุงคุณภาพ หรือมาตรฐานขนสัตว์ปกี ป่น ให้มคี วามเหมาะสม มากยิง่ ขึน้ โดยตัวอย่างประชากรทีใ่ ช้ศกึ ษาคือ ผูผ้ ลิตขนสัตว์ปกี ป่นไทย ทัง้ หมดจำนวน 17 ราย ซึ่งแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ ผู้ผลิตจากกลุ่มโรงเชือดและชำแหละสัตว์ปีก จำนวน 10 ราย และ ผู้ผลิตจากกลุ่มโรงงานผลิตขนสัตว์ปีกป่นทั่วไป จำนวน 7 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามการผลิตขนสัตว์ปีกป่น และผลการตรวจวิเคราะห์คุณภาพขนสัตว์ปีกป่นทางด้าน เคมี และจุลชีววิทยา ที่ได้จากการสุ่มเก็บตัวอย่างอาหารสัตว์แบบปลอดเชื้อ ซึ่งผลจากการ ศึกษาพบว่า ผูผ้ ลิตขนสัตว์ปกี ป่นไทย มีประสบการณ์การผลิต เฉลีย่ 17.6 ปี ปริมาณการผลิต เฉลี่ย 15.2 ตัน/วัน ใช้วิธีขนส่งขนสัตว์ปีกสด จากโรงเชือดและชำแหละสัตว์ปีกไปยังโรงงาน ผลิตขนสัตว์ปกี ป่น 2 วิธี คือ การลำเลียงผ่านท่อ โดยอาศัยแรงดันน้ำ และการขนส่งด้วยรถบรรทุก ใช้เวลาขนส่งและรวบรวมวัตถุดิบ เฉลี่ย 8.1 ชั่วโมง ใช้วิธีการขนส่งผลิตภัณฑ์ 2 วิธี คือ การ ขนส่งผลิตภัณฑ์บรรจุถงุ ด้วยรถบรรทุก และการขนส่งผลิตภัณฑ์เบาท์ดว้ ยรถเบาท์ นอกจากนัน้ ยังพบว่าผู้ผลิตขนสัตว์ปีกป่นทุกรายประสบกับปัญหาการผลิตขนสัตว์ปีกป่นให้ได้คุณภาพตาม มาตรฐานทีก่ ฎหมายกำหนด โดยมักมีไขมันมากกว่าร้อยละ 5.0 และเห็นด้วยให้มกี ารปรับปรุง คุณภาพ หรือมาตรฐานขนสัตว์ปีกป่นให้มีไขมันสูงขึ้นจากมาตรฐานเดิม โดยเห็นด้วยกับ การปรับปรุงคุณภาพ หรือมาตรฐานขนสัตว์ปีกป่นให้มีไขมันสูงขึ้นจากเดิมเป็นไม่เกินร้อยละ 8.0 มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 64.7 (11/17)

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 33 เล่มที่ 171

บทคัดย่อ

Food Feed Fuel

โดย นายจิรวัฒน์ อรรคไกรสีห์ 1 นางสาวจุฑารัตน์ เล้าสุทธิพงษ์ 2


กระบวนการผลิตขนสัตว์ปีกป่นไทย ประกอบด้วยขั้นตอนการผลิตต่างๆ ดังนี้คือ การ เตรียมวัตถุดิบ การใช้เอนไซม์ช่วยย่อย (กรณีผลิตขนสัตว์ปีกป่น สูตรใช้เอนไซม์) การต้ม และการอบ การติดตั้งเครื่องร่อน และ/หรือแม่เหล็กเพื่อคัดแยกสิ่งปลอมปนทางกายภาพ การบดเพือ่ ลดขนาดผลิตภัณฑ์ การลดอุณหภูมผิ ลิตภัณฑ์กอ่ นการบรรจุ การผสมขนสัตว์ปกี ป่น ให้มีสี และคุณภาพสม่ำเสมอก่อนส่งจำหน่าย และการบรรจุผลิตภัณฑ์ซึ่งแบ่งเป็น 2 วิธี คือ การบรรจุแบบเบาท์ และการบรรจุแบบถุง

20 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 33 เล่มที่ 171

พฤศจิกายน-ธันวาคม 2559

ขนสัตว์ปีกป่นไทย มีคุณภาพทางเคมีเฉลี่ย ดังนี้ โปรตีน ร้อยละ 83.4 ไขมัน ร้อยละ 6.6 กาก ร้อยละ 0.8 ความชื้น ร้อยละ 6.8 และเถ้า ร้อยละ 2.2 โดยขนสัตว์ปีกป่นจาก ผู้ผลิตทั้งสองกลุ่มมีคุณภาพทางเคมีดังกล่าวข้างต้น ไม่แตกต่างกัน (P>0.05) และมีคุณภาพ ได้ตามมาตรฐานที่กฎหมายกำหนด ยกเว้นไขมัน โดยขนสัตว์ปีกป่นไทย มากกว่าร้อยละ 80 มีไขมันเกิน ร้อยละ 5 โดยอยู่ในช่วงมากกว่าร้อยละ 5-6 มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 31.3 (36/115) มีไขมันเฉลี่ยร้อยละ 6.6 ซึ่งใกล้เคียงกับมาตรฐานขนสัตว์ปีกป่นของ FAO ที่ กำหนดไขมันไม่เกินร้อยละ 6.7 นอกจากนั้น ยังพบว่าขนสัตว์ปีกป่นไทยกว่าร้อยละ 75 (88/115) มีไขมันไม่มากกว่าร้อยละ 8 ซึ่งเป็นไขมันระดับเดียวกันกับที่ผู้ผลิตขนสัตว์ปีกป่น ไทยต้องการให้นำไปใช้ปรับปรุงคุณภาพ หรือมาตรฐานขนสัตว์ปีกป่นให้มีไขมันสูงขึ้นจาก มาตรฐานเดิมมากที่สุด อีกทั้งยังสอดคล้องกับมาตรฐานขนสัตว์ปีกป่น ประเทศออสเตรเลีย ที่ กำหนดให้มีไขมันไม่มากกว่าร้อยละ 8 เมื่อพิจารณาคุณภาพขนสัตว์ปีกป่นไทยทางด้าน จุลชีววิทยา พบว่า ขนสัตว์ปีกไทยปนเปื้อนเชื้อซัลโมเนลลา ร้อยละ 12.3 (8/65) โดย ขนสัตว์ปีกป่นของผู้ผลิตจากกลุ่มประกอบธุรกิจโรงเชือดและชำแหละสัตว์ปีก และผู้ผลิตจาก กลุ่มโรงงานผลิตขนสัตว์ปีกป่นทั่วไป มีการปนเปื้อนเชื้อซัลโมเนลลาไม่แตกต่างกัน (P>0.05) ดังนั้น จึงควรปรับปรุงมาตรฐานขนสัตว์ปีกป่นเฉพาะระดับปริมาณไขมัน โดยกำหนดให้มี ไขมันสูงขึ้นจากมาตรฐานเดิม เป็นไม่มากกว่าร้อยละ 8 และควรปรับปรุงสุขลักษณะการผลิต อาหารสัตว์เพื่อให้สามารถลด หรือขจัดสาเหตุการปนเปื้อนเชื้อซัลโมเนลลาในขนสัตว์ปีกป่น ทั้งนี้เพื่อให้อาหารสัตว์ปลอดจากเชื้อซัลโมเนลลาตามมาตรฐานที่กำหนด คำสำคัญ : ขนสัตว์ปีกป่น คุณภาพ หรือมาตรฐานขนสัตว์ปีกป่น


Abstract

The processing of feather meal production in Thailand consists of the preparation raw materials, the use of enzymes to help digestion (in case of feather meal production using enzymes), boiling and roasting poultry feather meal, Installation sieving equipment and/or magnetic separation of physical contaminants, grinding for reduction the size of products, cooling of products before packing and/or the mixing feather meal to keep quality and color consistent before distribution. There were two methods of product packaging which were bulk and bag packaging.

พฤศจิกายน-ธันวาคม 2559

21 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 33 เล่มที่ 171

Quality and standard study of the feather meal in Thailand is about general feather meal production, process of feather meal, chemical and microbiological quality of feather meal compared with standard of domestic and international quality in order to improve the Thai quality or standard of feather meal. The population samples used in this study included 17 feather meal manufacturers, divided into two groups: ten from those produced by the poultry slaughterhouse and seven of general poultry feather meal producers. The tools used in the research were questionnaires about feather meal production and the results of feather meal chemical and microbiological quality analysis from the samples collected using sterile technique. The results of the study showed that the feather meal manufacturers in Thailand had experienced of the production averaged 17.6 years with of production volumes averaged 15.2 tons/day and had two ways of transportation of raw materials from the slaughterhouse to the feather meal manufacturers by water pressure in the pipeline and by truck on average of 8.1 hours. Two ways of transportation of the feather meal products were used; by truck in packed bags and transport products by bulky trucks. The majority of feather meal producers in Thailand opted to transport products by truck. It was also found that every feather meal producer faced the problem of feather meal quality did not meet standards required by law which were often with fat more than 5 percent and producers agreed with improved quality by setting up a higher fat content than the existing standard requirement. The most opinion of the producers was to have a higher fat content in the feather meal not higher than 8.0 percent (64.7 percent (11/17)).


22 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 33 เล่มที่ 171

พฤศจิกายน-ธันวาคม 2559

Feather meal in Thailand has chemical quality as follows protein 83.4 percent, fat 6.6 percent, fiber 0.8 percent, moisture 6.87 percent, and ash 2.2 percent. feather meal from both producers had no differences in above chemical quality (P>0.05), and was in conformity with standards required by the law, except the fat content. It is found that more than 80 percent of feather meal in Thailand had fat content higher than the standard 5 percent lying within the range of more than 5-6 the most accounted for 31.3 percent (36/115) and the fat content on average was 6.6 percent, which is close to the poultry feather meal fat of FAO set up at 6.7 percent. It was also found that more than 75.0 percent of feather meal in Thailand (88/115) did not exceed 8.0 percent of fat content, which is the same as the fat content level that That feather meal producers want to improve Thai feather meal standard and with the Australian feather meal standard that was set the fat content not exceed 8.0 percent. Considering the microbiological quality of the poultry feather meal, it was found that Thailand poultry feather meal was contaminated with Salmonella 12.3 percent (8/65) with the feather meal of manufacturers from poultry slaughterhouse and the general poultry feather meal mill had no differences in Salmonella contamination (P>0.05). Therefore, quality or standard of feather meal should be improved particulary, fat content level should be higher than the existing standard to be not more than 8 % and animal feed production sanitation should be improve to reduce or eliminate Salmonella contamination more effectively to meet the feed standard, within the country and internationally that require feed to be free from Salmonella. Key words: feather meal, quality or standard of feather meal.

บทนำ ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา ขนสัตว์ปีกป่น (feather meal) เป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่ได้จากการนำขนสัตว์ปีกสด ซึ่งเป็น ผลพลอยได้จากโรงเชือดและชำแหละสัตว์ปีก ไปผ่านกระบวนการย่อยในหม้อต้ม หม้ออบ ภายใต้ อุณหภูมิ และความดันสูง ประมาณ 130-150 องศาเซลเซียส และความดัน 30-50 ปอนด์ ต่อตารางนิ้ว เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 30-150 นาที ซึ่งสามารถนำไปใช้ทดแทนวัตถุดิบอาหารสัตว์ ประเภทโปรตีนราคาแพง อาทิเช่น กากถั่วเหลือง ปลาป่น ในสูตรอาหารสัตว์ได้บางส่วนเพื่อ


อุตสาหกรรมการผลิตขนสัตว์ปีกป่นไทย ในปัจจุบนั ประกอบด้วย ผูผ้ ลิตขนสัตว์ปกี ป่นไทย จำนวนทั้งหมด 19 โรงงาน ซึ่งแบ่งออกเป็น สองกลุ่มผู้ผลิตดังนี้คือ ผู้ผลิตจากกลุ่มประกอบ ธุรกิจโรงเชือดและชำแหละสัตว์ปีก จำนวน 10 โรงงาน และผู้ผลิตจากกลุ่มโรงงานผลิตขนสัตว์ปกี ป่นทัว่ ไป จำนวน 9 โรงงาน โดยผูผ้ ลิต

ขนสั ต ว์ ปี ก ป่ น เป็ น วั ต ถุ ดิ บ อาหารสั ต ว์ ควบคุ ม เฉพาะ ตามพระราชบั ญ ญั ติ ค วบคุ ม คุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ. 2558 โดยมีการ ออกประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อ กำหนดคุณภาพ หรือมาตรฐานขนสัตว์ปีกป่น ครั้ ง แรกเมื่ อ ปี พ.ศ. 2534 ดั ง นี้ โปรตี น ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ไขมันไม่เกินร้อยละ 4 กากไม่เกินร้อยละ 1.5 ความชืน้ ไม่เกินร้อยละ 11 เถ้าไม่เกินร้อยละ 4 และค่าการย่อยได้ของ

23 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2559

จากกลุ่มประกอบธุรกิจโรงเชือดและชำแหละ สั ต ว์ ปี ก เป็ น กลุ่ ม ผู้ ผ ลิ ต ขนสั ต ว์ ป่ น ที่ รั บ ขนสัตว์ปีกสด ซึ่งเป็นเศษเหลือจากโรงเชือดและ ชำแหละสัตว์ปีกของตนเองที่ตั้งอยู่บริเวณใกล้ เคียง ส่งผ่านทางท่อ โดยอาศัยแรงดันน้ำไปยัง โรงงานผลิตขนสัตว์ปีกป่นโดยตรง ซึ่งเป็นวิธี การขนส่งวัตถุดิบที่สะดวก รวดเร็ว และทำให้ ขนสัตว์ปีกสดที่ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตขนสั ต ว์ ปี ก ป่ น ของผู้ ผ ลิ ต กลุ่ ม นี้ มี ส ภาพสด ใหม่ และไม่มีการตกค้าง ในขณะที่ผู้ผลิตจากกลุ่ม โรงงานผลิตขนสัตว์ปกี ป่นทัว่ ไป เป็นกลุม่ ผูผ้ ลิต ขนสั ต ว์ ปี ก ป่ น ที่ ไ ม่ ไ ด้ ป ระกอบธุ ร กิ จ โรงเชื อ ด และชำแหละสั ต ว์ ปี ก เหมื อ นผู้ ผ ลิ ต กลุ่ ม แรก ขนสัตว์ปกี สดทีใ่ ช้เป็นวัตถุดบิ ในการผลิตนัน้ จึง จำเป็นต้องรับซื้อ และรวบรวมมาจากโรงเชือด และชำแหละสัตว์ปีกทั่วไปหลายๆ แห่ง ที่มักตั้ง อยู่ในบริเวณห่างไกลไปยังโรงงานผลิตขนสัตว์ปีกป่นโดยการขนส่งด้วยรถบรรทุก ซึง่ ทำให้ตอ้ ง ใช้เวลาในการรวบรวม และขนส่งขนสัตว์ปีกสด เพื่ อ นำไปผลิ ต ขนสั ต ว์ ปี ก ป่ น นานกว่ า ผู้ ผ ลิ ต กลุม่ แรก ทีอ่ าจส่งผลให้ขนสัตว์ปกี สดของผูผ้ ลิต กลุ่มนี้มีสภาพไม่สด และใหม่ เหมือนขนสัตว์ปีกสดของผูผ้ ลิตกลุม่ ประกอบธุรกิจโรงเชือดและ ชำแหละสัตว์ปีก

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 33 เล่มที่ 171

ลดต้นทุนการผลิต ขนสัตว์ปกี ป่นเป็นวัตถุดบิ ทีม่ ี ปริมาณโปรตีนสูง และเป็นแหล่งของกรดอะมิโน ซิสทีน (Baker et al., 1981) แต่คณ ุ ภาพโปรตีน ค่อนข้างต่ำ เนื่องจากมีกรดอะมิโนที่จำเป็น (Essential amino acid) ได้แก่ เมทไทโอนีน ไลซีน ฮีสทีดีน และทริปโตเฟน อยู่ในระดับต่ำ (พันทิพา พงษ์เพียจันทร์, 2539) และย่อยยาก เนื่องจากเป็นโปรตีนชนิด เคอราติน (Keratin) ที่มีโครงสร้างเกาะกันแข็งแรง (Harrap and Woods, 1964 and Lehninger, 1975) ดังนัน้ การนำขนสัตว์ปกี ป่นไปใช้ในสูตรอาหารสัตว์ จึง จำเป็นต้องใช้รว่ มกับวัตถุดบิ อาหารสัตว์ ประเภท โปรตีนคุณภาพชนิดอื่นๆ เช่น ปลาป่น กากถั่ ว เหลื อ ง และจำกั ด ปริ ม าณการใช้ ใ นสู ต ร อาหารสัตว์ดงั นีค้ อื อาหารไก่ ไม่เกินร้อยละ 3-6 อาหารเป็ด ไม่เกินร้อยละ 1-4 อาหารสุกร ไม่เกินร้อยละ 2-3 อาหารโค ไม่เกินร้อยละ 2-5 (กรมปศุสัตว์, 2540) และอาหารปลา ไม่เกิน ร้อยละ 5-10 (Bureau D.P., et al. 2000) ทั้งนี้เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโต และประสิทธิภาพการใช้อาหารสัตว์ ซึ่งจะทำให้ ผลผลิตสัตว์ลดลง อย่างไรก็ตาม ขนสัตว์ปกี ป่น สามารถนำไปใช้ในอาหารสัตว์ได้มากขึ้น หาก มีการเติมกรดอะมิโนที่จำเป็นเพื่อให้เกิดความ สมดุ ล ในสู ต รอาหารสั ต ว์ (Moran et al., 1968)


24 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 33 เล่มที่ 171

พฤศจิกายน-ธันวาคม 2559

โปรตีนโดยเปบซิน (Pepsin Digestibility) ไม่ น้ อ ยกว่ า ร้ อ ยละ 70 (สมนึ ก , 2542) ซึ่ ง ต่อมา ได้มีการออกประกาศกระทรวงเกษตร และสหกรณ์ เรื่อง กำหนด ชื่อ ประเภท ชนิด ลักษณะ คุณภาพและมาตรฐานอาหารสัตว์ พ.ศ. 2554 เพื่ อ ปรั บ ปรุ ง คุ ณ ภาพหรื อ มาตรฐาน ขนสัตว์ปกี ป่นให้มไี ขมันสูงขึน้ จากมาตรฐานเดิม และใช้มาจนถึงปัจจุบันดังนี้ โปรตีนไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80 ไขมันไม่เกินร้อยละ 5 กากไม่เกิน ร้อยละ 1.5 ความชื้นไม่เกินร้อยละ 11 เถ้า ไม่เกินร้อยละ 4 กรณีไม่ใช้สารช่วยย่อย (enzyme) ในขบวนการผลิต ให้มีค่าย่อยได้ของ โปรตี น โดยเปบซิ น (Pepsin Digestibility) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของโปรตีน กรณีใช้ สารช่วยย่อยในขบวนการผลิต ให้มีค่าย่อยได้ ของโปรตีนโดยเปบซิน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ของโปรตีน ขนสัตว์ปกี ป่นทีผ่ ลิตขึน้ เพือ่ จำหน่าย นอกจากต้องมีคุณภาพทางเคมีตามมาตรฐาน ดังกล่าวข้างต้นแล้ว ยังต้องปลอดจากเชือ้ ซัลโมเนลลา ซึง่ จัดเป็นอาหารสัตว์เสือ่ มคุณภาพ และ ทำให้สตั ว์เกิดการเจ็บป่วย ตามประกาศกระทรวง เกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดลักษณะของ อาหารสัตว์เสื่อมคุณภาพ พ.ศ. 2537 (กรม ปศุสัตว์, 2540) รวมทั้งห้ามมิให้ผู้ใดทำการ ผลิตเพื่อขาย ขาย หรือนำเข้าเพื่อขายอาหาร สัตว์เสื่อมคุณภาพนั้น หรือห้ามนำไปใช้เลี้ยง สัตว์ ตามมาตรฐานสหภาพยุโรป (EueopeanCommision, 2011) คุณภาพ หรือมาตรฐานขนสัตว์ปีกป่น แม้เคยผ่านการปรับปรุงเพือ่ ให้มไี ขมันสูงขึน้ จาก มาตรฐานเดิมมาแล้วครัง้ หนึง่ แต่ผลจากการสุม่ ตรวจวิ เ คราะห์ คุ ณ ภาพขนสั ต ว์ ปี ก ป่ น ตาม กิ จ กรรมตรวจสอบคุ ณ ภาพอาหารสั ต ว์ ต าม

พระราชบัญญัตคิ วบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ ของ พนักงานเจ้าหน้าที่ส่วนภูมิภาค ก็ยังพบว่า ขนสัตว์ปกี ป่น ทีผ่ ปู้ ระกอบการผลิตขึน้ เพือ่ จำหน่าย ในปัจจุบัน มักมีไขมันสูงเกินกว่ามาตรฐานที่ กำหนดบ่อยครัง้ ซึง่ จัดเป็นอาหารสัตว์ผดิ มาตรฐานและผู้ผลิตมีความผิดตามกฎหมาย ทำให้ ผู้ผลิตขนสัตว์ปีกป่นได้ร่วมกันทำหนังสือยื่นต่อ กรมปศุสัตว์ เพื่อขอให้พิจารณาปรับปรุงแก้ไข คุณภาพ หรือมาตรฐานขนสัตว์ปกี ป่นทีป่ ระกาศ บังคับใช้ในปัจจุบันให้มีไขมันสูงขึ้นจากมาตรฐานเดิม เพือ่ ให้สอดคล้องกับมาตรฐานการผลิต ขนสั ต ว์ ปี ก ป่ น คุ ณ ภาพขนสั ต ว์ ปี ก ป่ น ไทยที่ ผู้ประกอบการสามารถผลิตได้ในปัจจุบัน และ เทียบเคียงได้กับคุณภาพหรือมาตรฐานขนสัตว์ปีกป่นระหว่างประเทศ เช่น National Research Council (NRC) ซึ่งกำหนด โปรตีนไม่ น้อยกว่า ร้อยละ 81 ไขมันไม่เกินร้อยละ 7 (National Research Council, 1994) องค์การ อาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ซึ่งกำหนด โปรตีนไม่น้อยกว่า 85.7 ไขมัน ไม่เกินร้อยละ 6.7 กากไม่เกินร้อยละ 0.9 และเถ้า ไม่เกิน ร้อยละ 5.5 (Feather meal (online), 2012) มาตรฐานขนสั ต ว์ ปี ก ป่ น ประเทศออสเตรเลีย ซึ่งกำหนด โปรตีนไม่ น้อยกว่าร้อยละ 80.0 ไขมันไม่เกินร้อยละ 8.0 กากไม่เกินร้อยละ 3.0 ความชื้นไม่เกินร้อยละ 10.0 เถ้าไม่เกินร้อยละ 4.0 (Australia Renderers Association and Stockfeed Manufacturers Association of Australia, 2013) และมาตรฐานขนสั ต ว์ ปี ก ป่ น ประเทศบราซิ ล ซึ่งกำหนด โปรตีนไม่น้อยกว่าร้อยละ 83.9 ไขมันไม่เกินร้อยละ 4.0 เถ้าไม่เกินร้อยละ 2.1 (Becker, 2005)


1. เพื่อศึกษามาตรฐานการผลิตขนสัตว์ปีกป่นของโรงงานผลิตขนสัตว์ปกี ป่น ซึง่ แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ ผูผ้ ลิตจากกลุม่ ประกอบธุรกิจโรงเชือด และชำแหละสัตว์ปกี และผูผ้ ลิตจากกลุม่ โรงงาน ผลิตขนสัตว์ปีกป่นทั่วไป 2. เพื่ อ ศึ ก ษาเปรี ย บเที ย บคุ ณ ภาพขนสัตว์ปีกป่นไทยเพื่อจำหน่าย จำแนกตามกลุ่ม ผู้ผลิต ซึ่งแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ ผู้ผลิตจากกลุ่ม ประกอบธุ ร กิ จ โรงเชื อ ดและชำแหละสั ต ว์ ปี ก และผู้ผลิตจากกลุ่มโรงงานผลิตขนสัตว์ปีกป่น ทั่วไป 3. เพื่ อ ศึ ก ษาเปรี ย บเที ย บคุ ณ ภาพขนสั ต ว์ ปี ก ป่ น เพื่ อ จำหน่ า ย กั บ คุ ณ ภาพ หรื อ มาตรฐานขนสัตว์ปีกป่นภายในประเทศ กับ

4. เพือ่ ใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณา ในการปรับปรุงแก้ไขคุณภาพ หรือมาตรฐาน ขนสัตว์ปีกป่นที่ประกาศบังคับใช้ในปัจจุบันให้มี ความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น และสอดคล้องกับ มาตรฐานขนสัตว์ปีกป่นระหว่างประเทศ

อุปกรณ์และวิธีการ อุปกรณ์การสุ่มเก็บตัวอย่าง 1. ช้อนตักตัวอย่าง ที่ผ่านการฆ่าเชื้อ 2. ถุงซิปเก็บตัวอย่างอาหารสัตว์ ชนิด พลาสติ ก ใส ที่ ผ่ า นการฆ่ า เชื้ อ ขนาด 500 กรัม 3. ซองกระดาษสี น้ ำ ตาล สำหรั บ ใส่ ตัวอย่างอาหารสัตว์ 4. แถบกาวปิดซองกระดาษสีนำ้ ตาล และ ที่เย็บกระดาษ 5. ถุงมือยาง และผ้าปิดจมูก 6. 70% แอลกอฮอล์บรรจุขวด สำหรับ สเปรย์ฆ่าเชื้อ

วิธีดำเนินการ 1. วางแผนการสำรวจโรงงานผลิตขนสัตว์ปีกป่น และสุ่มเก็บตัวอย่างขนสัตว์ปีกป่น ภายในประเทศที่ทำการศึกษา จำนวน 17 โรงงาน จากจำนวนโรงงานผลิตขนสัตว์ปีกป่น ภายในประเทศทั้งหมด 19 โรงงาน โดยแบ่ง ผูผ้ ลิตออกเป็น 2 กลุม่ ดังนีค้ อื ผูผ้ ลิตจากกลุม่

25 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2559

วัตถุประสงค์การวิจัย

คุณภาพหรือมาตรฐานขนสัตว์ปีกป่นระหว่าง ประเทศของประเทศต่างๆ

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 33 เล่มที่ 171

การศึกษาวิจัยคุณภาพ หรือมาตรฐาน ขนสั ต ว์ ปี ก ป่ น ไทยครั้ ง นี้ จึ ง เป็ น การศึ ก ษา มาตรฐานการผลิ ต ซึ่ ง ประกอบด้ ว ยข้ อ มู ล การผลิตขนสัตว์ปีกป่นทั่วไป และกระบวนการ ผลิตขนสัตว์ปีกป่น คุณภาพขนสัตว์ปีกป่นไทย ในปัจจุบนั ทัง้ ทางด้านเคมี ได้แก่ โปรตีน ไขมัน กาก ความชื้น เถ้า และทางด้านจุลชีววิทยา ได้แก่ เชือ้ ซัลโมเนลลา เมือ่ เทียบกับคุณภาพ หรือ มาตรฐานขนสัตว์ปีกป่นภายในประเทศ และ ระหว่างประเทศ ทั้งนี้เพื่อนำไปใช้เป็นข้อมูล ประกอบการพิจารณาของคณะอนุกรรมการ มาตรฐานอาหารสัตว์ ในการปรับปรุงคุณภาพ หรื อ มาตรฐานขนสั ต ว์ ปี ก ป่ น ในประเทศให้ มี ความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น


ประกอบธุ ร กิ จ โรงเชื อ ดและชำแหละสั ต ว์ ปี ก จำนวน 10 ราย และกลุ่ ม ผู้ ผ ลิ ต จากกลุ่ ม โรงงานผลิตขนสัตว์ปีกป่นทั่วไปจำนวน 7 ราย โดยใช้แบบสอบถามการผลิตขนสัตว์ปีกป่นไทย เพื่ อ สอบถามเกี่ ย วกั บ มาตรฐานการผลิ ต ขนสัตว์ปีกป่น ซึ่งประกอบด้วย ข้อมูลการผลิต ขนสั ต ว์ ปี ก ป่ น ทั่ ว ไป และกระบวนการผลิ ต ขนสัตว์ปีกป่น (รายละเอียดแบบสอบถามตาม ภาคผนวก)

26 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 33 เล่มที่ 171

พฤศจิกายน-ธันวาคม 2559

2. ทำการสุ่มเก็บตัวอย่างขนสัตว์ปีกป่น จากโรงงานผลิตขนสัตว์ปีกป่นทั่วประเทศแบบ ปลอดเชือ้ โดยผูท้ ำหน้าทีเ่ ก็บตัวอย่าง ต้องสวม ผ้าปิดจมูก ถุงมือยาง แล้วสเปรย์แอลกอฮอล์ ลงบนถุงมือยางให้ทั่ว และปล่อยทิ้งไว้ให้แห้ง จากนัน้ จึงใช้ชอ้ นตักตัวอย่าง และถุงเก็บตัวอย่าง ชนิดพลาสติกใสที่จัดเตรียมมา ไปทำการเก็บ ตัวอย่างวัตถุดิบอาหารสัตว์ด้วยวิธีแบบปลอด เชื้อ ดังนี้ 2.1 ผู้เก็บตัวอย่างจะทำการสุ่มเก็บ ตั ว อย่ า งขนสั ต ว์ ปี ก ป่ น ทุ ก ล็ อ ตการผลิ ต จาก โรงงานผลิตขนสัตว์ปีกป่น ตัวอย่างละ 500 กรั ม โดยเริ่ ม จากเปิ ด ปากถุ ง ภาชนะบรรจุ ขนสัตว์ปีกป่นพร้อมจำหน่าย ก่อนใช้ช้อนตัก ตัวอย่างขนสัตว์ปกี ป่นลึกลงไปประมาณ 10 นิว้ จากผิวด้านบนของขนสัตว์ปีกป่นที่อยู่ภายในถุง ภาชนะบรรจุ จากนั้นจึงทำการตักตัวอย่างขนสัตว์ปีกป่นใส่ลงในถุงเก็บตัวอย่างชนิดพลาสติก ใสทีจ่ ดั เตรียมไว้แล้วปิดผนึกปากถุงเก็บตัวอย่าง ให้แน่นสนิท 2.2 นำตัวอย่างขนสัตว์ปกี ป่นทีเ่ ก็บได้ จากขั้นตอนที่ 2.1 มาบรรจุลงในซองกระดาษ สีนำ้ ตาลอีกขัน้ หนึง่ ปิดผนึกปากซองกระดาษให้

แน่นสนิทด้วยแถบกาว พร้อมทัง้ ระบุรายละเอียด ตั ว อย่ า งวั ต ถุ ดิ บ อาหารสั ต ว์ ล งบนหน้ า ซอง กระดาษให้ชัดเจนดังนี้ ชื่อโรงงานผลิตอาหาร สัตว์ สถานทีต่ งั้ ชือ่ ชนิดของวัตถุดบิ อาหารสัตว์ วันทีผ่ ลิตวัตถุดบิ อาหารสัตว์ หรือวันทีร่ บั วัตถุดบิ อาหารสัตว์ และวันทีเ่ ก็บตัวอย่างวัตถุดบิ อาหาร สัตว์ 3. รวบรวมตั ว อย่ า งขนสั ต ว์ ปี ก ป่ น ดั ง กล่ า วข้ า งต้ น เพื่ อ ทำการส่ ง ตรวจวิ เ คราะห์ คุณภาพทางเคมี ได้แก่ โปรตีน ด้วยวิธี In house method: based on ISO 5983-2: 2005 ไขมัน ด้วยวิธี In-house method based on AOAC 920.39: 2012 กาก ด้วยวิธี Inhouse method: based on AOAC978.10: 2012 ความชืน้ ด้วยวิธี Hot air oven based on ISO 6496 (1999) เถ้า ด้วยวิธี ISO 6496: 20002 และคุณภาพทางด้านจุลชีววิทยา คือ การปนเปื้อนเชื้อซัลโมเนลลา ด้วยวิธี ISO 6579: 2002 ที่ ห้ อ งปฏิ บั ติ ก ารกลุ่ ม งาน ตรวจสอบคุณภาพอาหารสัตว์ สำนักตรวจสอบ คุณภาพสินค้าปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์

การวิเคราะห์ข้อมูล รวบรวมข้ อ มู ล จากแบบสอบการผลิ ต ขนสัตว์ปีกป่นไทย และผลการตรวจวิเคราะห์ คุณภาพขนสัตว์ปีกป่นทั้งทางด้านเคมี และจุลชีววิทยา ไปประมวลผลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยใช้โปรแกรมคำนวณทางสถิติ SPSS FOR WINDOWS เวอร์ชั่น 22 และสถิติเพื่อการ วิจัย ดังนี้ 1. การบรรยายข้อมูลมาตรฐานการผลิต ขนสัตว์ปีกป่น ซึ่งประกอบด้วย ข้อมูลการผลิต


การศึกษาคุณภาพและมาตรฐานขนสัตว์ปีกป่นไทย เป็นการศึกษาเกี่ยวกับมาตรฐาน การผลิตขนสัตว์ปกี ป่นไทย ซึง่ ประกอบด้วยข้อมูล การผลิตขนสัตว์ปีกป่นทั่วไป และกระบวนการ ผลิตขนสัตว์ปีกป่น คุณภาพขนสัตว์ปีกป่นไทย ทั้งคุณภาพทางเคมี และจุลชีววิทยา โดยมีผล จากการศึกษาดังนี้ 1. มาตรฐานการผลิตขนสัตว์ปีกป่นไทย ประกอบด้วยข้อมูลการผลิตขนสัตว์ปีกป่นทั่วไป และกระบวนการผลิตขนสัตว์ปกี ป่นไทย ทีไ่ ด้จาก

1.1 ข้ อ มู ล การผลิ ต ขนสั ต ว์ ปี ก ป่ น ทั่วไป ประกอบด้วยข้อมูลต่างๆ เกีย่ วกับ ประสบการณ์การผลิตขนสัตว์ปีกป่น ปริมาณ การผลิตขนสัตว์ปกี ป่น วิธกี ารลำเลียง หรือขนส่ง วัตถุดิบ (ขนสัตว์ปีกสด) วิธีการขนส่งผลิตภัณฑ์ ปัญหาการผลิตขนสัตว์ปกี ป่นให้ได้คณ ุ ภาพ หรือ มาตรฐานตามที่บังคับใช้ในปัจจุบัน และความ คิ ด เห็ น ของผู้ ผ ลิ ต ขนสั ต ว์ ปี ก ป่ น ไทยต่ อ การ ปรับปรุงคุณภาพ หรือมาตรฐานขนสัตว์ปีกป่น ดังนี้ สัตว์ปีกป่น

1.1.1 ประสบการณ์การผลิตขน-

ผู้ผลิตขนสัตว์ปีกป่นไทย มีประสบการณ์การผลิตขนสัตว์ปกี ป่น อยูใ่ นช่วง 10-20 ปี มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 47.0 (8/17) โดยมีประสบการณ์การผลิตขนสัตว์ปีกป่นเฉลีย่ 17.1 ปี เมือ่ พิจารณาแยกตามกลุม่ ผู้ผลิต พบว่าผู้ผลิตจากกลุ่มประกอบธุรกิจโรง เชือดและชำแหละสัตว์ปีก มีประสบการณ์การ ผลิตขนสัตว์ปีกป่นอยู่ในช่วง 10-20 ปี มาก ที่สุดเช่นเดียวกัน คิดเป็นร้อยละ 55.6 (6/10) และมีประสบการณ์การผลิตขนสัตว์ปีกป่นเฉลี่ย 18.0 ปี ในขณะที่ผู้ผลิตจากกลุ่มโรงงานผลิต ขนสัตว์ปกี ทัว่ ไป มีประสบการณ์การผลิตขนสัตว์ปีกป่นอยู่ในช่วง มากกว่า 20 ปี มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 42.8 (3/7) โดยมีประสบการณ์ การผลิต ขนสัตว์ปีกป่นเฉลี่ย 16.2 ปี (ดัง แสดงในตารางที่ 1)

27 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2559

ผลการศึกษา

การสำรวจโรงงานโดยการใช้สอบถามการผลิต ขนสัตว์ปีกป่นไทย ดังนี้ (ดังภาคผนวก ก)

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 33 เล่มที่ 171

ขนสั ต ว์ ปี ก ป่ น ทั่ ว ไป และกระบวนการผลิ ต ขนสัตว์ปีกป่นใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การ แจกแจงความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) ค่ า เฉลี่ ย เลขคณิ ต (Arithmetic Mean) 2. การบรรยายคุ ณ ภาพขนสั ต ว์ ปี ก ป่ น ไทย ทั้งคุณภาพทางเคมี และจุลชีววิทยาเทียบ กับคุณภาพ หรือมาตรฐานขนสัตว์ปกี ป่นภายใน ประเทศ และระหว่างประเทศ ใช้สถิตเิ ชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (Arithmetic Mean)ส่วนเบีย่ งเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) 3. การเปรียบเทียบคุณภาพขนสัตว์ปกี ป่น ทางด้านเคมีแยกตามกลุ่มผู้ผลิตใช้สถิติ t-test group 4. การเปรียบเทียบคุณภาพขนสัตว์ปกี ป่น ทางด้านจุลชีววิทยาแยกตามกลุ่มผู้ผลิต ใช้สถิติ ไคสแควร์


28 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 33 เล่มที่ 171

พฤศจิกายน-ธันวาคม 2559

1.1.2 ปริ ม าณการผลิ ต ขนสัตว์ปีกป่น ผู้ ผ ลิ ต ขนสั ต ว์ ปี ก ป่ น ไทย มีปริมาณการผลิตขนสัตว์ปกี ป่น อยูใ่ นช่วง 10-20 ตัน/วัน มากทีส่ ดุ คิดเป็นร้อยละ 47.0 (8/17) มีปริมาณการผลิตเฉลี่ย 15.2 ตัน/วัน เมื่อพิจารณาแยกตามกลุ่มผู้ผลิต พบว่าผู้ผลิต จากกลุ่มประกอบธุรกิจโรงเชือดและชำแหละ สัตว์ปีก มีปริมาณการผลิตขนสัตว์ปีกป่นอยู่ใน ช่วง น้อยกว่า 10 ตัน/วัน และ 10-20 ตัน/วัน ในสัดส่วนร้อยละ 50 เท่ากัน โดยมีปริมาณการ ผลิตขนสัตว์ปีกป่นเฉลี่ย 8.4 ตัน/วัน ในขณะที่ ผู้ผลิตจากกลุ่มโรงงานผลิตขนสัตว์ปีกทั่วไป มี ปริมาณการผลิตขนสัตว์ปกี ป่น อยูใ่ นช่วงมากกว่า 20 ตัน/วันมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 57.2 (4/7) และมีปริมาณการผลิตเฉลีย่ 25.4ตัน/วัน (ดังแสดงในตารางที่ 1) 1.1.3 การลำเลียง หรือขนส่ง วัตถุดิบ (ขนสัตว์ปีกสด) ผู้ผลิตขนสัตว์ปีกป่นไทย ใช้วิธีการขนส่งวัตถุดิบ 2 วิธี ดังนี้ คือ การ ลำเลี ย งวั ต ถุ ดิ บ ผ่ า นท่ อ โดยอาศั ย แรงดั น น้ ำ หรือการขนส่งด้วยรถบรรทุก โดยผู้ผลิตขนสัตว์ปีกป่นไทย เลือกใช้วิธีการขนส่งวัตถุดิบ ทั้งสองวิธีดังกล่าวในสัดส่วนใกล้เคียงกัน คิด เป็นร้อยละ 47 (8/17) และร้อยละ 53 (9/17) ตามลำดับ โดยใช้เวลาในการลำเลียง หรือขนส่ง และรวบรวมวัตถุดิบก่อนนำไปผลิตเฉลี่ย 8.1 ชั่วโมง เมือ่ พิจารณาแยกตามกลุม่ ผู้ ผ ลิ ต พบว่ า ผู้ ผ ลิ ต จากกลุ่ ม ประกอบธุ ร กิ จ โรงเชือดและชำแหละสัตว์ปีกส่วนใหญ่ ร้อยละ 80 (8/10) เลือกใช้วิธีการลำเลียงวัตถุดิบ ผ่านท่อโดยอาศัยแรงดันน้ำจากโรงเชือดและ

ชำแหละสัตว์ปีก ไปยังโรงงานผลิตขนสัตว์ปีก ป่น ที่ตั้งอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกัน ซึ่งเป็นวิธี การขนส่งวัตถุดิบที่สะดวก รวดเร็ว โดยใช้เวลา ลำเลียง และรวบรวมวัตถุดิบก่อนนำไปผลิต เฉลี่ย 5 ชั่วโมง ในขณะที่ผู้ผลิตขนสัตว์ปีกป่น จากกลุม่ โรงงานผลิตขนสัตว์ปกี ป่นทัว่ ไปทุกราย เลือกใช้วิธีการขนส่งวัตถุดิบด้วยรถบรรทุกจาก โรงเชือดและชำแหละสัตว์ปีกทั่วไป ซึ่งมักตั้ง อยู่ในบริเวณห่างไกลไปยังโรงงานผลิตขนสัตว์ปีกป่น โดยใช้เวลาในการขนส่งและรวบรวม วัตถุดิบก่อนนำไปผลิตเฉลี่ย 12.5 ชั่วโมง (ดัง แสดงในตารางที่ 1)

1.1.4 การขนส่งผลิตภัณฑ์

ผูผ้ ลิตขนสัตว์ปกี ป่นไทย ใช้ วิธกี ารขนส่งผลิตภัณฑ์สองวิธดี งั นีค้ อื การขนส่ง ด้วยรถเบาท์สำหรับผลิตภัณฑ์บรรจุเบาท์ และ การขนส่งด้วยรถบรรทุกสำหรับผลิตภัณฑ์บรรจุ ถุง การเลือกใช้วิธีการขนส่งผลิตภัณฑ์แบบใด ขึน้ อยูก่ บั ความต้องการของลูกค้า ซึง่ ผลจากการ ศึกษาพบว่า ผู้ผลิตขนสัตว์ปีกป่นไทยเลือกใช้วิธี การขนส่งด้วยรถบรรทุกมากทีส่ ดุ คิดเป็นร้อยละ 52.9 (9/17) เมื่อพิจารณาแยกตามกลุ่มผู้ผลิต พบว่าผูผ้ ลิตจากกลุม่ ประกอบธุรกิจโรงเชือดและ ชำแหละสัตว์ปีก เลือกใช้วิธีการขนส่งด้วยรถ เบาท์มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 50 (5/10) ใน ขณะที่ผู้ผลิตจากกลุ่มผลิตขนสัตว์ปีกป่นทั่วไป เลื อ กใช้ วิ ธี ก ารขนส่ ง ด้ ว ยรถบรรทุ ก มากที่ สุ ด คิดเป็นร้อยละ 71.4 (5/7) (ดังแสดงในตารางที่ 1) 1.1.5 ปั ญ หาการผลิ ต ขนสั ต ว์ ปีกป่นให้ได้คุณภาพตามมาตรฐาน และความ คิดเห็นของผูผ้ ลิต ขนสัตว์ปกี ป่นไทยต่อการปรับ ปรุงคุณภาพ หรือมาตรฐานขนสัตว์ปีกป่น


ผู้ผลิตขนสัตว์ปีกป่นไทยทุกราย ประสบกับปัญหาการผลิตขนสัตว์ปีกป่น ให้มีคุณภาพได้ตามมาตรฐานที่กำหนด โดยขนสัตว์ปีกป่นที่ผลิตขึ้นมักมีไขมันมากกว่าร้อยละ 5 และเห็นด้วยให้มกี ารปรับปรุงคุณภาพ หรือมาตรฐานขนสัตว์ปกี ป่นให้มไี ขมันสูงขึน้ จากมาตรฐานเดิม โดยมีความเห็นควรให้ปรับปรุงคุณภาพ หรือมาตรฐานขนสัตว์ปกี ป่นให้มไี ขมันสูงขึน้ จากมาตรฐาน เดิม เป็นไม่มากกว่าร้อยละ 8 มากทีส่ ดุ คิดเป็นร้อยละ 64.7 (11/17 ) เมือ่ พิจารณาแยกตามกลุม่ ผู้ผลิต พบว่าผู้ผลิตจากกลุ่มประกอบธุรกิจโรงเชือดและชำแหละสัตว์ปีก และผู้ผลิตจากกลุ่มโรงงาน ผลิตขนสัตว์ปีกทั่วไปทุกรายเห็นด้วยกับการปรับปรุงคุณภาพ หรือมาตรฐานขนสัตว์ปีกป่นให้มี ไขมันสูงขึ้นจากมาตรฐานเดิม โดยเห็นควรปรับปรุงคุณภาพ หรือมาตรฐานขนสัตว์ปีกป่นให้มี ไขมันไม่เกินร้อยละ 8 มากทีส่ ดุ คิดเป็นร้อยละ 60 (6/10) และ 71.4 (5/7) ตามลำดับ (ดังแสดง ในตารางที่ 1) ตารางที่ 1 ข้อมูลทั่วไปการผลิตขนสัตว์ปีกป่น แยกตามกลุ่มผู้ผลิต

ผู้ผลิตจากกลุ่มโรงงงาน ผลิตขนสัตว์ปีกป่นทั่วไป จำนวน ร้อยละ 2.0 28.6 2.0 28.6 3.0 42.8 7.0 100.0 16.2 6.0 25.0 ผู้ผลิตจากกลุ่มโรงงงาน ผลิตขนสัตว์ปีกป่นทั่วไป จำนวน ร้อยละ 0.0 0.0 3.0 42.8 4.0 57.2 7.0 100.0 25.4 15.0 38.0 ผู้ผลิตจากกลุ่มโรงงงาน ผลิตขนสัตว์ปีกป่นทั่วไป จำนวน ร้อยละ

รวม จำนวน 3.0 8.0 6.0 17.0

17.1 4.0 30.0

ร้อยละ 17.6 47.0 35.4 100.0

รวม จำนวน 5.0 8.0 4.0 17.0

15.2 4.0 38.0

ร้อยละ 29.5 47.0 23.5 100.0

รวม จำนวน

ร้อยละ

8.0

80.0

0.0

0.0

8.0

47.0

2.0 10.0

20.0 100.0

7.0 7.0

100.0 100.0

9.0 17.0

53.0 100.0



29 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2559

ผู้ผลิตจากกลุ่มโรงเชือด และชำแหละสัตว์ปีก จำนวน ร้อยละ 1.0 11.1 6.0 55.6 3.0 33.3 10.0 100.0 18.0 4.0 30.0 ผู้ผลิตจากกลุ่มโรงเชือด และชำแหละสัตว์ปีก จำนวน ร้อยละ 5.0 50.0 5.0 50.0 0.0 0.0 10.0 100.0 8.4 4.0 12.0 ผู้ผลิตจากกลุ่มโรงเชือด และชำแหละสัตว์ปีก จำนวน ร้อยละ

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 33 เล่มที่ 171

ประสบการณ์การผลิต ขนสัตว์ปีกป่น (ปี) <10 10-20 >20 รวม ค่าเฉลี่ย MIN MAX ปริมาณการผลิต ขนสัตว์ปีกป่น (ตัน/วัน) <10 10-20 >20 รวม X MIN MAX การลำเลียง หรือขนส่งวัตถุดิบ (ขนสัตว์ปีกสด) การลำเลียงผ่านท่อ โดยอาศัยแรงดันน้ำ การขนส่งด้วยรถบรรทุก รวม


 เวลาที่ใช้ลำเลียง หรือขนส่ง และ รวบรวมวัตถุดิบ (ชั่วโมง) <5 5-10 >10 รวม X MIN MAX วิธีการขนส่งผลิตภัณฑ์

30 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 33 เล่มที่ 171

พฤศจิกายน-ธันวาคม 2559

การขนส่งด้วยรถบรรทุก การขนส่งด้วยรถเบาท์ การขนส่งด้วยรถเบาท์ และรถบรรทุก รวม ความคิดเห็นต่อการ ปรับปรุงคุณภาพ หรือ มาตรฐานขนสัตว์ปีกป่น ให้มีไขมันสูงขึ้น เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย รวม ระดับปริมาณไขมัน ในขนสัตว์ปีกป่นที่ผู้ผลิต ต้องการให้ปรับปรุง ไม่เกิน ร้อยละ 7 ไม่เกิน ร้อยละ 8 ไม่เกิน ร้อยละ 9 ไม่เกิน ร้อยละ 10 ไม่เกิน ร้อยละ 11 รวม

ผู้ผลิตจากกลุ่มโรงเชือด และชำแหละสัตว์ปีก

ผู้ผลิตจากกลุ่มโรงงงาน ผลิตขนสัตว์ปีกป่นทั่วไป

จำนวน 5.0 5.0 0.0 10.0

จำนวน 1.0 3.0 3.0 7.0

ร้อยละ 50.0 50.0 0.0 100.0

5.0 1.0 8.0 ผู้ผลิตจากกลุ่มโรงเชือด และชำแหละสัตว์ปีก จำนวน ร้อยละ 4.0 40.0 5.0 50.0 1.0

10.0

ร้อยละ 14.4 42.8 42.8 100.0

12.5 5.0 36.0 ผู้ผลิตจากกลุ่มโรงงงาน ผลิตขนสัตว์ปีกป่นทั่วไป จำนวน ร้อยละ 5.0 71.4 0.0 0.0 2.0

28.6

รวม จำนวน 6.0 8.0 3.0 17.0

8.1 1.0 36.0

ร้อยละ 35.3 47.1 17.6 100.0

รวม จำนวน 9.0 5.0

ร้อยละ 52.9 29.4

3.0

17.7 100.0

10.0 100.0 ผู้ผลิตจากกลุ่มโรงเชือด และชำแหละสัตว์ปีก

7.0 100.0 ผู้ผลิตจากกลุ่มโรงงงาน ผลิตขนสัตว์ปีกป่นทั่วไป

17.0

จำนวน

จำนวน

ร้อยละ

จำนวน

ร้อยละ

7.0 100.0 0.0 0.0 7.0 100.0 ผู้ผลิตจากกลุ่มโรงงงาน ผลิตขนสัตว์ปีกป่นทั่วไป จำนวน ร้อยละ 1 14.3 5 71.4 1 14.3 0 0.0 0 0.0 7 100.0

17.0 0.0 17.0

100.0 0.0 100.0

ร้อยละ

10.0 100.0 0.0 0.0 10.0 100.0 ผู้ผลิตจากกลุ่มโรงเชือด และชำแหละสัตว์ปีก จำนวน ร้อยละ 2 20.0 6 60.0 0 0.0 1 10.0 1 10.0 10 100.0

รวม

รวม จำนวน 3 11 1 1 1 17

ร้อยละ 17.6 64.7 5.9 5.9 5.9 100.0

1.2 กระบวนการผลิตขนสัตว์ปกี ป่นประกอบด้วยขัน้ ตอนการผลิตต่างๆ ดังนีค้ อื การเตรียม วัตถุดบิ การใช้เอนไซม์ชว่ ยย่อย (กรณีผลิตขนสัตว์ปกี ป่นสูตรใช้เอนไซม์) การต้มและอบขนสัตว์ปกี ป่น การคัดแยกสิ่งปลอมปนออกจากผลิตภัณฑ์ การบดลดขนาดผลิตภัณฑ์ การลดอุณหภูมิผลิตภัณฑ์ การผสมผลิตภัณฑ์และการบรรจุผลิตภัณฑ์ โดยมีรายละเอียดดังนี้ (ดังภาคผนวก ข)


ª·Á ¦µ³®r°µ®µ¦Â¨³°µ®µ¦­´ ªr°¥nµ ¦ª Á¦Èª oª¥ TANGO

TANGO is the next-generation FT-NIR spectrometer

³®r Á· ¦µ ª ¦ µ ´ ­Îµ®¦ r ªo ¥ » ­ ¬ ª °¡Á· « µ¦­ ´ o Á­ °µ® ° O r.com

NG bruke TA .BOPT.TH@ o

°n Inf · Ä ­

Á à 襸 )7 1,5 ¦´ ¦° à ¥ %UXNHU Ä o µ nµ¥ oª¥® oµ °­´¤ ´­ ¨³¦³ µ¦ ´ µ¦ ´ª°¥nµ Á¡¸¥ ¦¦ »Ä oª¥ ª´ ¦³ ´ µ¦­´ µ Â È ¦µª r° ´ à ¤´ · nµ¥Ã° ­¤ µ¦¦³®ªnµ Á ¦º°É %UXNHU 2SWLFV 1,5 ­Á à ¦¤·Á °¦r » ¦»n Å o à ¥ ¦ ­¤ µ¦¤µ ¦ µ ­Îµ®¦´ ¨· £´ r®¨µ ®¨µ¥ · Ťnªµn ³Á È °µ®µ¦ ­´ ªr­ÎµÁ¦È ¦¼ ª´ » · °µ®µ¦­´ ªr  o Á ¦º°É ¦» ¦­ ¨· £´ rÄ °» ­µ ¦¦¤ Îʵ µ¨ ­¤ µ¦ ° %UXNHU ­µ¤µ¦ εŠoÅ oà ¥ ¦ ¨³®µ εÁ È ­µ¤µ¦ ¦´ Á ¨¸¥É Á¡º°É Ä®oÁ oµ ´ ´ª°¥nµ Ä Â n¨³ o° ¸ÅÉ o

Á à 襸Á ¸¥¦r° · ¢¦µÁ¦ ­Á à ¦­Ã ¸ 1HDU ,QIUDUHG 6SHFWURVFRS\ 1,56 Á È »  ­Îµ ´ nª¥Ä®o µ¦ª·Á ¦µ³®r » £µ¡ ° ´ª°¥nµ εŠo°¥nµ ¦ª Á¦ÈªÃ ¥Å¤n °o 娵¥ ´ª°¥nµ ®¦º°Ä o­µ¦Á ¤¸Ä Ç ¸­É ε ´ µ¦ª·Á ¦µ³®r ªo ¥ 1,5 Á¡¸¥  n® ¹É ¦´ ­µ¤µ¦ Ä®o Ê °o ¤¼¨° r ¦³ ° µ Á ¤¸ ° ´ª°¥nµ Å o ®¨µ ®¨µ¥ · Ťn µÎ Á È o° ε µ¦ª·Á ¦µ³®r ʵΠÁ®¤º° µ¦ª·Á ¦µ³®r µ Á ¤¸Â °º É Ç °Á · ª³ ¤Á ¦º°É ¤º° ¡ ³ ¼Áo ¸¥É ª µ ¨³¦´ ¢´ ­´¤ µ¡¦o°¤°µ®µ¦ªnµ ¼ ¦· ¬ ´ ¦¼Á °¦r°°¡ · ­r Ä µ 9,&7$0 $6,$ «¼ ¥r­ ­· oµÅ Á ¦» Á ¡¤®µ ¦ Ä ¦³®ªnµ ª´ ¸É ¤¸ µ ¤ µ¦­µ · Á ¦º°É ¤º°Ã ¥ ¼Áo ¸¥É ª µ ¦³ ´ µ µ µ · ¡¦o°¤ ¦· µ¦ ° ªnµ 6QDFN /HDUQ ¦· µ¦ » ª´ ¼ & ¨³ ­µ · £µ¬µÅ ¥ ­µ · £µ¬µ°´ §¬

­ Ä · n° Info.BOPT.TH@bruker.com

Innovation with Integrity

Bruker BioSpin AG Bangkok - Thailand Phone +66 2 642 6900 Fax +66 2 642 6901

F T-NIR



ผู้ ผ ลิ ต จากกลุ่ ม ประกอบ ธุรกิจโรงเชือดและชำแหละสัตว์ปีก ซึ่งรับขนสั ต ว์ ปี ก สดจากโรงเชื อ ดและชำแหละสั ต ว์ ปี ก ผ่านท่อลำเลียงโดยอาศัยแรงดันน้ำเท่านัน้ หรือ คิดเป็นร้อยละ 47.01 (8/17) ของผู้ผลิต ขนสัตว์ปกี ป่นทัง้ หมดทีม่ กี ารเตรียมวัตถุดบิ ก่อน นำไปผลิต โดยการแยกขนสัตว์ปีกป่นจากน้ำ ลำเลียง การทำความสะอาดขนสัตว์ปีกสดด้วย น้ำเพื่อชะล้างคราบเลือด คราบไขมัน และการ คัดแยกส่วนหัวสัตว์ปกี หนัง หรือลำไส้ ออกจาก ขนสัตว์ปกี ป่น ก่อนทำการรวบรวมเพือ่ นำไปผลิต ในขั้นตอนต่อไป

1.2.2 การใช้เอนไซม์ช่วยย่อย

การผลิตขนสัตว์ปกี ป่นไทย ในปัจจุบัน มีทั้งสูตรใช้เอนไซม์ และสูตรไม่ใช้ เอนไซม์ ผูผ้ ลิตขนสัตว์ปกี ป่นจะเลือกผลิตขนสัตว์ปีกป่นสูตรใด ย่อมขึ้นอยู่กับความต้องการของ ลูกค้า โดยเอนไซม์ที่นำมาใช้มีลักษณะเป็นผง ละเอียดสีขาว เมื่อต้องการใช้ ให้นำเอนไซม์ไป ละลายน้ำตามสัดส่วนที่กำหนด ก่อนนำไปราด บนกองขนสัตว์ปีกสด และทิ้งไว้สักพัก เพื่อให้ โปรตีนในขนสัตว์ปีกป่นซึ่งเป็นโปรตีนย่อยยาก ชนิดเคอราติน (Keratin) สามารถย่อยได้ง่าย และสัตว์นำไปใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น โดยผู้ผลิต ขนสัตว์ปกี ป่นไทยเลือกผลิตขนสัตว์ปกี ป่นเฉพาะ สูตรใช้เอนไซม์มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 58.8 (10/17) เมื่อพิจารณาแยกตามกลุ่มผู้ผลิตพบ ว่า ผู้ผลิตจากกลุ่มประกอบธุรกิจโรงเชือดและ ชำแหละสัตว์ปกี และผูผ้ ลิตจากกลุม่ โรงงานผลิต ขนสัตว์ปีกทั่วไป เลือกผลิตขนสัตว์ปีกป่นเฉพาะ สูตรใช้เอนไซม์มากที่สุดเช่นเดียวกัน คิดเป็น

ร้อยละ 70 (7/10) และ 42.8 (3/7) ตาม ลำดับ (ดังแสดงในตารางที่ 2) สัตว์ปีกป่น

1.2.3 การต้ ม และการอบขน-

ผู้ผลิตขนสัตว์ปีกป่นไทย ส่วนใหญ่เลือกใช้หม้อต้มและหม้ออบแบบแยกกัน คิดเป็นร้อยละ 70.6 (12/17) โดยหม้อต้ม และ หม้ออบ มีอายุการใช้อยูใ่ นช่วง 10-20 ปี มาก ที่สุด และมีอายุการใช้งานเฉลี่ย 14.2 ปี เมื่ อ พิ จ ารณาแยกตาม กลุม่ ผูผ้ ลิตพบว่า ผูผ้ ลิตจากกกลุม่ ประกอบธุรกิจ โรงเชือดและชำแหละสัตว์ปีก และผู้ผลิตจาก กลุม่ โรงงานผลิตขนสัตว์ปกี ทัว่ ไปส่วนใหญ่เลือก ใช้หม้อต้มและหม้ออบแบบแยกกันเช่นกัน คิดเป็น ร้อยละ 60 (6/10) และ 85.7 (6/7) ตามลำดับ โดยหม้อต้มและหม้ออบของผู้ผลิตทั้งสองกลุ่ม ดังกล่าว มีอายุการใช้งานอยู่ในช่วง 10-20 ปี มากทีส่ ดุ คิดเป็นร้อยละ 70 (7/10) และ 71.4 (5/7) และมีอายุการใช้งานเฉลี่ย 16.1 ปี และ 12.3 ปี ตามลำดับ (ดังแสดงในตารางที่ 2) ผู้ผลิตขนสัตว์ปีกป่น ทำ การควบคุมอุณหภูมิความดันของหม้อต้ม ดังนี้ อุณหภูมิ 120-140 องศาเซลเซียส ความดัน 2-5 บาร์ และเวลาในการต้ม 45-240 นาที และควบคุมอุณหภูมิ ความดันของหม้ออบ ดังนี้ อุณหภูมิ 90-160 องศาเซลเซียส ความดัน 2-7 บาร์ และเวลาในการอบ 45-360 นาที โดยการกำหนดระดับอุณหภูมิ ความดัน และ เวลาในการต้ม การอบเท่าใด ขึ้นอยู่กับชนิด หรือรุ่น ขนาด หรือความจุ และจำนวนของ หม้ อ ต้ ม และหม้ อ อบของแต่ ล ะชุ ด การผลิ ต รวมทัง้ ปริมาณขนสัตว์ปกี สดทีอ่ ยูภ่ ายในหม้อต้ม

31 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2559

1.2.1 การเตรียมวัตถุดิบ

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 33 เล่มที่ 171


หม้ออบระหว่างทำการผลิต โดยมีสัดส่วนการ ผลิตระหว่างขนสัตว์ปีกสดกับขนสัตว์ปีกป่น คือ 3.5-4.0 ต่อ 1

1.2.4 การคัดแยกสิ่งปลอมปน

ผู้ผลิตขนสัตว์ปีกป่นไทย ทุกราย ติดตั้งเครื่องร่อนเพื่อทำหน้าที่คัดแยก สิง่ ปลอมปนออกจากขนสัตว์ปกี ป่น โดยมีผผู้ ลิต ขนสัตว์ปีกป่นไทย เพียงร้อยละ 41.2 (7/17) เท่านัน้ ทีต่ ดิ ตัง้ แม่เหล็กบริเวณปากทางออกของ หม้ออบ เพื่อคอยจับเศษเหล็กในขนสัตว์ปีกป่น ขณะลำเลียงออกจากหม้ออบ

32 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 33 เล่มที่ 171

พฤศจิกายน-ธันวาคม 2559

เมือ่ พิจารณาแยกตามกลุม่ ผู้ผลิตพบว่า ผู้ผลิตจากกลุ่มประกอบธุรกิจโรง เชือดและชำแหละสัตว์ปีก และผู้ผลิตจากกลุ่ม โรงงานผลิตสัตว์ปีกทั่วไปทุกราย ทำการติดตั้ง เครือ่ งร่อนเพือ่ ทำหน้าทีค่ ดั แยกสิง่ ปลอมปนทาง กายภาพออกจากขนสัตว์ปกี ป่น ในขณะทีผ่ ผู้ ลิต ทั้งสองกลุ่ม มีเพียงบางรายเท่านั้นที่ติดตั้งแม่เหล็กเพื่อทำหน้าที่คอยดักจับเศษเหล็ก หรือคิด เป็นร้อยละ 40.0 (4/10) และ 42.8 (3/7) ตาม ลำดับ (ดังแสดงในตารางที่ 2) ภัณฑ์

1.2.5 การบดลดขนาดผลิ ต -

ผู้ผลิตขนสัตว์ปีกป่นไทย ทุกราย ทำการติดตั้งเครื่องบดที่มีรูตะแกรง ขนาด 2.8-3.0 มิลลิเมตร เพื่อทำหน้าที่ย่อย ขนาดขนสัตว์ปีกป่นให้มีขนาดเล็กละเอียดตาม ต้องการ (ดังแสดงในตารางที่ 2) ขณะเครือ่ งบด ทำงาน พนักงานผลิตต้องคอยหมั่นฟังเสียง เครื่องบดระหว่างการทำงาน หากพบเสียงดัง ผิดปกติ ให้ทำการหยุดเครื่องเพื่อตรวจสอบ ตะแกรงบด หากพบตะแกรงบดเกิดการชำรุด

หรื อ ฉี ก ขาด ให้ พ นั ก งานผลิ ต ทำการเปลี่ ย น ตะแกรงบดใหม่ให้เรียบร้อย ก่อนเดินเครือ่ งเพือ่ ให้เครื่องบดทำงานต่อไป

1.2.6 การลดอุณหภูมผิ ลิตภัณฑ์

ขนสัตว์ปีกป่น เมื่อผ่าน ออกมาจากหม้ออบแล้วจะยังคงมีอณ ุ หภูมสิ งู และ จำเป็นต้องทำการลดอุณหภูมผิ ลิตภัณฑ์เพือ่ ให้มี อุณหภูมิเย็นลงใกล้เคียงกับอุณหภูมิหอ้ ง หรือมี อุณหภูมไิ ม่เกิน 40 องศาเซลเซียส ก่อนทำการ ลำเลียงเข้าจัดเก็บในถังพักเพื่อรอการบรรจุใน ขั้นตอนต่อไป ทั้งนี้เพื่อให้ผลิตภัณฑ์มีอุณหภูมิ เย็นลง และไม่เกิดการคายความร้อนจนควบแน่น เป็นหยดน้ำภายในถังพักระหว่างรอบรรจุ อัน ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์มคี วามชืน้ เพิม่ ขึน้ และเสีย่ งกับ ปัญหาการเกิดเชื้อรา ผลจากการสำรวจพบว่า ผู้ผลิตขนสัตว์ปีกป่นไทยมีการลดอุณหภูมิผลิตภัณฑ์เพื่อให้มีอุณหภูมิเย็นลงก่อนการลำเลียง ลงถังพักเพื่อรอบรรจุทุกราย โดยมีผู้ผลิตขนสัตว์ปกี ป่นไทยเพียงร้อยละ 52.9 (9/17) เท่านัน้ ที่ได้มีการควบคุมเฝ้าระวังอย่างเข้มงวดเพื่อให้ อุ ณ หภู มิ ผ ลิ ต ภั ณ ฑ์ ห ลั ง ผ่ า นขั้ น ตอนการลด อุณหภูมิแล้ว ไม่เกิน 40 องศาเซลเซียส เมื่ อ พิ จ ารณาแยกตาม กลุ่มผู้ผลิตพบว่า ผู้ผลิตจากกลุ่มประกอบธุรกิจ โรงเชือดและชำแหละสัตว์ปีกส่วนใหญ่ ร้อยละ 70.0 (7/10) และผู้ผลิตจากกลุ่มโรงงานผลิต สัตว์ปีกทั่วไปเพียงร้อยละ 28.6 (2/7) เท่านั้น ที่มีการกำหนด และควบคุมอุณหภูมิผลิตภัณฑ์ หลังผ่านขั้นตอนการลดอุณหภูมิแล้ว ไม่ให้เกิน 40 องศาเซลเซียส (ดังแสดงในตารางที่ 2) จำหน่าย

1.2.7 การผสมผลิ ต ภั ณ ฑ์ ก่ อ น


ผู้ผลิตขนสัตว์ปีกป่นไทยส่วนใหญ่ร้อยละ 70.6 (12/17) ไม่มีขั้นตอนการ ผสมผลิตภัณฑ์ก่อนส่งจำหน่าย เมื่อพิจารณาแยกตามกลุ่มผู้ผลิตพบว่า มีเฉพาะผู้ผลิตจากกลุ่ม โรงงานผลิตสัตว์ปีกป่นทั่วไปร้อยละ 71.4 (5/7) เท่านั้น ที่ทำการผสมผลิตภัณฑ์ทุกครั้งก่อนส่ง จำหน่าย (ดังแสดงในตารางที่ 2) เพื่อให้ผลิตภัณฑ์มีสีและคุณภาพสม่ำเสมอก่อนส่งจำหน่าย เนื่องจากขนสัตว์ปีกสดที่ใช้เป็นวัตถุดิบของผู้ผลิตกลุ่มนี้ได้รับมาจากโรงเชือดและชำแหละสัตว์ปีก ทั่วไปหลายๆ แห่ง ที่มีสี และคุณภาพแตกต่างกัน

1.2.8 การบรรจุผลิตภัณฑ์

ผูผ้ ลิตขนสัตว์ปกี ป่นไทยใช้วธิ กี ารบรรจุผลิตภัณฑ์สองวิธคี อื การบรรจุผลิตภัณฑ์ แบบถุงชนิดพลาสติกสาน หรือพลาสติกสานเคลือบลามิเนต และการบรรจุผลิตภัณฑ์แบบเบาท์ ด้วยรถเบาท์ โดยการตัดสินใจเลือกบรรจุผลิตภัณฑ์แบบใดขึ้นกับความต้องการของลูกค้า ซึ่งจาก การศึกษาพบว่าผูผ้ ลิตขนสัตว์ปกี ป่นไทยเลือกวิธกี ารบรรจุผลิตภัณฑ์แบบถุงมากทีส่ ดุ คิดเป็นร้อยละ 52.9 (9/17)

การเตรียมวัตถุดิบ ทำการเตรียมวัตถุดิบ ไม่ได้ทำการเตรียมวัตถุดิบ รวม การผลิตขนสัตว์ปีกป่น กับการใช้เอนไซม์ สูตรใช้เอนไซม์ สูตรไม่ใช้เอนไซม์ สูตรใช้เอนไซม์และ สูตรไม่ใช้เอนไซม์ รวม

ผู้ผลิตจากกลุ่มโรงเชือด และชำแหละสัตว์ปีก จำนวน ร้อยละ 8.0 80.0 2.0 20.0 10.0 100.0 ผู้ผลิตจากกลุ่มโรงเชือด และชำแหละสัตว์ปีก จำนวน ร้อยละ 7.0 70.0 3.0 30.0 0.0 10.0

0.0 100.0

ผู้ผลิตจากกลุ่มโรงงงาน ผลิตขนสัตว์ปีกป่นทั่วไป จำนวน ร้อยละ 0.0 0.0 7.0 100.0 7.0 100.0 ผู้ผลิตจากกลุ่มโรงงงาน ผลิตขนสัตว์ปีกป่นทั่วไป จำนวน ร้อยละ 3.0 42.8 2.0 28.6 2.0 7.0

28.6 100.0

รวม จำนวน 8.0 9.0 17.0

ร้อยละ 47.1 52.9 100.0

รวม จำนวน 10.0 5.0

ร้อยละ 58.8 29.4

2.0 17.0

11.8 100.0



พฤศจิกายน-ธันวาคม 2559

ตารางที่ 2 กระบวนการผลิตขนสัตว์ปีกป่นไทย แยกตามกลุ่มผู้ผลิต

33 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 33 เล่มที่ 171

เมื่อพิจารณาแยกตามกลุ่มผู้ผลิตพบว่า ผู้ผลิตจากกลุ่มประกอบธุรกิจโรง เชือดและชำแหละสัตว์ปีก เลือกใช้วิธีการบรรจุผลิตภัณฑ์แบบเบาท์ (รถเบาท์) มากที่สุด คิดเป็น ร้อยละ 50.0 (5/10) ในขณะที่ผู้ผลิตจากกลุ่มโรงงานผลิตขนสัตว์ปีกทั่วไปเลือกใช้วิธีการบรรจุ ผลิตภัณฑ์แบบถุงมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 71.4 (5/7) (ดังแสดงในตารางที่ 2) เนื่องจากลูกค้า ขนสัตว์ปกี ป่นของผูผ้ ลิตกลุม่ แรกเป็นโรงงานผลิตอาหารสัตว์ขนาดใหญ่ของบริษทั ในเครือ ทีม่ คี วาม ต้องการใช้ขนสัตว์ปีกป่นเป็นปริมาณมาก การเลือกใช้วิธีการขนส่งขนสัตว์ปีกป่นแบบเบาท์ด้วย รถเบาท์จึงเป็นวิธีที่สะดวกและประหยัดมากกว่า


 ชุดหม้อต้มและหม้ออบ แบบหม้อต้มและหม้ออบ ใบเดียวกัน แบบหม้อต้มและหม้ออบแยกกัน รวม อายุการใช้งานของชุด หม้อต้ม และหม้ออบ (ปี) <10 10-20 >20 รวม X MIN MAX การติดตั้งเครื่องร่อนเพื่อ คัดแยกสิ่งปลอมปน

34

ติดตั้ง ไม่ติดตั้ง

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 33 เล่มที่ 171

พฤศจิกายน-ธันวาคม 2559

รวม

การติดตั้งแม่เหล็ก ติดตั้ง ไม่ติดตั้ง

รวม

การติดตั้งเครื่องบด ติดตั้ง ไม่ติดตั้ง

รวม

การติดตั้งเครื่องลดอุณหภูมิ ผลิตภัณฑ์ ติดตั้ง ไม่ติดตั้ง

รวม

ผู้ผลิตจากกลุ่มโรงเชือด และชำแหละสัตว์ปีก จำนวน ร้อยละ 4.0

40.0

6.0 60.0 10.0 100.0 ผู้ผลิตจากกลุ่มโรงเชือด และชำแหละสัตว์ปีก จำนวน ร้อยละ 2.0 20.0 7.0 70.0 1.0 10.0 10.0 100.0 16.1 4.0 25.0 ผู้ผลิตจากกลุ่มโรงเชือด และชำแหละสัตว์ปีก จำนวน ร้อยละ 10.0 100.0 0.0 0.0 10.0 100.0 ผู้ผลิตจากกลุ่มโรงเชือด และชำแหละสัตว์ปีก จำนวน ร้อยละ 4.0 40.0 6.0 60.0 10.0 100.0 ผู้ผลิตจากกลุ่มโรงเชือด และชำแหละสัตว์ปีก จำนวน ร้อยละ 10.0 100.0 0.0 0.0 10.0 100.0 ผู้ผลิตจากกลุ่มโรงเชือด และชำแหละสัตว์ปีก จำนวน ร้อยละ 10.0 100.0 0.0 0.0 10.0 100.0

ผู้ผลิตจากกลุ่มโรงงงาน ผลิตขนสัตว์ปีกป่นทั่วไป จำนวน ร้อยละ 1.0

14.3

6.0 85.7 7.0 100.0 ผู้ผลิตจากกลุ่มโรงงงาน ผลิตขนสัตว์ปีกป่นทั่วไป จำนวน ร้อยละ 1 14.3 5 71.4 1 14.3 7 100.0 12.3 6.0 25.0 ผู้ผลิตจากกลุ่มโรงงงาน ผลิตขนสัตว์ปีกป่นทั่วไป จำนวน ร้อยละ 7.0 100.0 0.0 0.0 7.0 100.0 ผู้ผลิตจากกลุ่มโรงงงาน ผลิตขนสัตว์ปีกป่นทั่วไป จำนวน ร้อยละ 3.0 42.8 4.0 57.2 7.0 100.0 ผู้ผลิตจากกลุ่มโรงงงาน ผลิตขนสัตว์ปีกป่นทั่วไป จำนวน ร้อยละ 7.0 100.0 0.0 0.0 7.0 100.0 ผู้ผลิตจากกลุ่มโรงงงาน ผลิตขนสัตว์ปีกป่นทั่วไป จำนวน ร้อยละ 7.0 100.0 0.0 0.0 7.0 100.0

รวม จำนวน

ร้อยละ

5.0

29.4

12.0 17.0

70.6 100.0 รวม

จำนวน ร้อยละ 3.0 17.6 12.0 70.6 2.0 11.8 17.0 100.0 14.2 4.0 25.0 รวม จำนวน 17.0 0.0 17.0

ร้อยละ 100.0 0.0 100.0

รวม จำนวน 7.0 10.0 17.0

ร้อยละ 41.2 58.8 100.0

รวม จำนวน 17.0 0.0 17.0

ร้อยละ 100.0 0.0 100.0

รวม จำนวน 17.0 0.0 17.0

ร้อยละ 100.0 0.0 100.0






มีขั้นตอนการผสม ไม่มีขั้นตอนการผสม รวม การบรรจุผลิตภัณฑ์ บรรจุแบบถุง บรรจุแบบเบาท์ (รถเบาท์) บรรจุทั้งแบบถุงและเบาท์ รวม

ผู้ผลิตจากกลุ่มโรงงงาน ผลิตขนสัตว์ปีกป่นทั่วไป จำนวน ร้อยละ 5.0 71.4 2.0 28.6 7.0 100.0 ผู้ผลิตจากกลุ่มโรงงงาน ผลิตขนสัตว์ปีกป่นทั่วไป จำนวน ร้อยละ 5.0 71.4 2.0 28.6 7.0 100.0 ผู้ผลิตจากกลุ่มโรงงงาน ผลิตขนสัตว์ปีกป่นทั่วไป จำนวน ร้อยละ 5.0 71.4 0.0 0.0 2.0 28.6 7.0 100.0

รวม จำนวน 8.0 9.0 17.0

ร้อยละ 47.1 52.9 100.0

รวม จำนวน 5.0 12.0 17.0

ร้อยละ 29.4 70.6 100.0

รวม จำนวน 9.0 5.0 3.0 17.0

ร้อยละ 52.9 29.4 17.7 100.0

2. คุณภาพขนสัตว์ปีกป่นไทย ขนสัตว์ปีกป่นไทยมีคุณภาพทางเคมี และจุลชีววิทยา ดังนี้คือ 2.1 คุณภาพขนสัตว์ปีกป่นไทยทางเคมี ผลจากการศึกษาพบว่า ขนสัตว์ปีกป่นไทยมีคุณภาพทางเคมี ได้แก่ โปรตีน ไขมัน กาก ความชืน้ และเถ้า แยกตามกลุม่ ผูผ้ ลิต และเมือ่ เทียบกับคุณภาพ หรือมาตรฐานขนสัตว์ปกี ป่น ภายในประเทศ และระหว่างประเทศ ดังนี้คือ

2.1.1 โปรตีน

ขนสัตว์ปีกป่นไทยส่วนใหญ่มีโปรตีนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ตามมาตรฐาน ที่กฎหมายกำหนด คิดเป็นร้อยละ 86.2 (94/109) โดยมีโปรตีนเฉลี่ย ร้อยละ 83.4 (ดังแสดง ในตารางที่ 3) เมื่อพิจารณาแยกตามกลุ่มผู้ผลิต พบว่าขนสัตว์ปีกป่นจากผู้ผลิตจากกลุ่ม ประกอบธุรกิจโรงเชือดและชำแหละสัตว์ปกี และผูผ้ ลิตกลุม่ โรงงานผลิตขนสัตว์ปกี ป่นทัว่ ไป ส่วนใหญ่ มีโปรตีนไม่นอ้ ยกว่าร้อยละ 80.0 เช่นเดียวกัน คิดเป็นร้อยละ 90.2 (55/61) และ 81.2 (39/48) และมีโปรตีนเฉลี่ยร้อยละ 83.6 และ 83.1 ตามลำดับ โดยขนสัตว์ปีกป่นของผู้ผลิตทั้งสองกลุ่ม ดังกล่าว มีปริมาณโปรตีนไม่แตกต่างกัน (P>0.5)

35 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2559

การผสมผลิตภัณฑ์ ก่อนส่งจำหน่าย

ผู้ผลิตจากกลุ่มโรงเชือด และชำแหละสัตว์ปีก จำนวน ร้อยละ 3.0 30.0 7.0 70.0 10.0 100.0 ผู้ผลิตจากกลุ่มโรงเชือด และชำแหละสัตว์ปีก จำนวน ร้อยละ 0.0 0.0 10.0 100.0 10.0 100.0 ผู้ผลิตจากกลุ่มโรงเชือด และชำแหละสัตว์ปีก จำนวน ร้อยละ 4.0 40.0 5.0 50.0 1.0 10.0 10.0 100.0

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 33 เล่มที่ 171

การควบคุมอุณหภูมิ ผลิตภัณฑ์ หลังผ่านเครื่อง ลดอุณหภูมิ ไม่มีการควบคุมอุณหภูมิ ควบคุมอุณหภูมิ <40 ํC รวม


หากพิจารณาคุณภาพทาง เคมีของขนสัตว์ปกี ป่นไทย เทียบกับคุณภาพ หรือ มาตรฐานขนสัตว์ปีกป่นระหว่างประเทศ พบว่า ขนสัตว์ปีกป่นไทยมีโปรตีนเฉลี่ยสูงกว่ามาตรฐานขนสัตว์ปีกป่นประเทศออสเตรเลีย และ มาตรฐาน NRC ซึ่งกำหนดโปรตีนไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80.0 และ 81.0 ตามลำดับ ซึง่ ใกล้เคียง กับมาตรฐานขนสัตว์ปีกป่นประเทศบราซิล ซึ่ง กำหนดโปรตีนไม่น้อยกว่าร้อยละ 83.9 แต่ต่ำ กว่ามาตรฐานองค์การอาหารและการเกษตร แห่งสหประชาชาติ (FAO) ซึ่งกำหนดโปรตีน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 85.7

36

2.1.2 ไขมัน

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 33 เล่มที่ 171

พฤศจิกายน-ธันวาคม 2559

ขนสัตว์ปกี ป่นไทยมากกว่า ร้อยละ 80.0 (36/115) มีไขมันสูงเกินมาตรฐาน ร้อยละ 5 ตามทีก่ ฎหมายกำหนด โดยมีไขมันอยู่ ในช่วง มากกว่าร้อยละ 5-6 มากที่สุด คิดเป็น ร้อยละ 31.3 (36/115) ดังแสดงในตารางที่ 4 และมีไขมันเฉลีย่ ร้อยละ 6.6 (ดังแสดงในตาราง ที่ 3) และยังพบว่าขนสัตว์ปกี ป่นไทยร้อยละ 75.0 (88/115) มีไขมันไม่เกินร้อยละ 8.0 ซึง่ เป็นระดับ ปริมาณไขมันเดียวกับทีผ่ ผู้ ลิตขนสัตว์ปกี ป่นไทย ต้องการให้นำไปใช้ปรับปรุงคุณภาพ หรือมาตรฐานขนสัตว์ปีกป่นมากที่สุด (ดังแสดงในตาราง ที่4) เมือ่ พิจารณาแยกตามกลุม่ ผู้ผลิตพบว่า ขนสัตว์ปีกป่นของผู้ผลิตจากกลุ่ม ประกอบธุ ร กิ จ โรงเชื อ ดและชำแหละสั ต ว์ ปี ก และผู้ผลิตจากกลุ่มโรงงานผลิตขนสัตว์ปีกทั่วไป ส่วนใหญ่ มีไขมันสูงเกินร้อยละ 5 ตามทีก่ ฎหมาย กำหนด คิดเป็นร้อยละ 85.1 (57/67) และ 75.0 (36/48) ตามลำดับ โดยมีปริมาณไขมันอยูใ่ นช่วง

มากกว่าร้อยละ 5-6 มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 34.3 (23/67) และ 27.1 (13/48) และมีไขมัน เฉลี่ยร้อยละ 6.6 และ 6.5 ตามลำดับ โดย ขนสัตว์ปีกป่นของผู้ผลิตแต่ละกลุ่มมีไขมัน ไม่ แตกต่างกัน (P>0.5) ดังแสดงในตารางที่ 3 และยังพบว่าขนสัตว์ปีกป่นไทยที่มีไขมันไม่เกิน ร้อยละ 8.0 ซึ่งเป็นระดับไขมันเดียวกับที่ผู้ผลิต ขนสัตว์ปีกป่นไทย ต้องการให้นำไปใช้ปรับปรุง คุณภาพ หรือมาตรฐานขนสัตว์ปีกป่นมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 77.6 (52/67) และ 75.0 (36/48) ตามลำดับ (ดังแสดงในตารางที่ 4) หากพิจารณาคุณภาพทาง เคมีของขนสัตว์ปกี ป่นไทยเทียบกับคุณภาพ หรือ มาตรฐานขนสัตว์ปีกป่นระหว่างประเทศ พบว่า ขนสัตว์ปีกป่นไทย มีไขมันเฉลี่ยใกล้เคียงกับ มาตรฐานขนสัตว์ปกี ป่นขององค์การอาหารและ การเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ซึง่ กำหนด ไขมันไม่เกินร้อยละ 6.7 ในขณะทีส่ งู กว่ามาตรฐานขนสัตว์ปีกป่นประเทศบราซิล ซึ่งกำหนด ไขมันไม่เกินร้อยละ 4 แต่ตำ่ กว่ามาตรฐาน NRC และมาตรฐานขนสัตว์ปกี ป่นประเทศออสเตรเลีย ซึ่งกำหนดไขมัน ไม่เกินร้อยละ 7.0 และ 8.0 ตามลำดับ

2.1.3 กาก

ขนสัตว์ปีกป่นไทย มีกาก ไม่เกินร้อยละ 1.5 ตามมาตรฐานที่กฎหมาย กำหนดเกือบทั้งหมด หรือคิดเป็นร้อยละ 94.7 (90/95) โดยมีกากเฉลีย่ ร้อยละ 0.8 (ดังแสดง ในตารางที่ 3) เมือ่ พิจารณาแยกตามกลุม่ ผูผ้ ลิต พบว่า ขนสัตว์ปกี ป่นของผูผ้ ลิตจากกลุม่ ประกอบ ธุรกิจโรงเชือดและชำแหละสัตว์ปีก และผู้ผลิต จากกลุ่มโรงงานผลิตขนสัตว์ปีกทั่วไปเกือบทั้ง


2.1.4 ความชื้น

ขนสัตว์ปีกป่นไทยมีความ ชืน้ ไม่เกินร้อยละ 11 ตามมาตรฐานทีก่ ฎหมาย กำหนด ถึงร้อยละ 96.1 (98/102) และมีความ ชื้นเฉลี่ยร้อยละ 6.9 (ดังแสดงในตารางที่ 3) เมือ่ พิจารณาแยกตามกลุม่ ผู้ผลิต พบว่าขนสัตว์ปีกป่นของผู้ผลิตจากกลุ่ม ประกอบธุ ร กิ จ โรงเชื อ ดและชำแหละสั ต ว์ ปี ก และผู้ผลิตจากกลุ่มโรงงานผลิตขนสัตว์ปีกทั่วไป มีความชื้นไม่เกินร้อยละ 11 ตามมาตรฐานที่ กำหนดเกือบทั้งหมด หรือคิดเป็นร้อยละ 94.7 (54/57) และ 97.8 (44/45) และมีความชื้น เฉลี่ยร้อยละ 7.1 และ 6.6 ตามลำดับ โดย ขนสัตว์ปีกป่นของผู้ผลิตทั้งสองกลุ่มมีปริมาณ ความชื้นไม่แตกต่างกัน (P>0.05) (ดังแสดง ในตารางที่ 3)

2.1.5 เถ้า

ขนสั ต ว์ ปี ก ป่ น ไทยมี เ ถ้ า ไม่เกินร้อยละ 4 ตามมาตรฐานทีก่ ฎหมายกำหนด ถึงร้อยละ 95.1 (96/101) โดยมีเถ้าเฉลีย่ ร้อยละ 2.2 (ดังแสดงในตารางที่ 3) เมือ่ พิจารณาแยกตามกลุม่ ผู้ผลิต พบว่าขนสัตว์ปีกป่นของผู้ผลิตจากกลุ่ม ประกอบธุรกิจโรงเชือดและชำแหละสัตว์ปกี และ ผูผ้ ลิตจากกลุม่ โรงงานผลิตขนสัตว์ปกี ทัว่ ไป มีเถ้า ไม่เกินร้อยละ 4 ตามมาตรฐานทีก่ ฎหมายกำหนด เกือบทัง้ หมด หรือคิดเป็นร้อยละ 94.6 (53/56) และ 95.6 (43/45) และมีเถ้าเฉลีย่ ร้อยละ 2.1 และ 2.3 ตามลำดับ โดยขนสัตว์ปีกป่นของ ผูผ้ ลิตทัง้ สองกลุม่ มีเถ้าไม่แตกต่างกัน (P>0.05) (ดังแสดงในตารางที่ 3) หากพิจารณาคุณภาพทาง เคมีของขนสัตว์ปกี ป่นไทยเทียบกับคุณภาพ หรือ มาตรฐานขนสัตว์ปีกป่นระหว่างประเทศ พบว่า ขนสัตว์ปีกป่นไทยมีปริมาณเถ้าเฉลี่ยใกล้เคียง กับมาตรฐานขนสัตว์ปีกป่นประเทศบราซิล ซึ่ง กำหนดเถ้าไม่เกินร้อยละ 2.1 ในขณะที่ต่ำกว่า มาตรฐานขนสัตว์ปีกป่นประเทศออสเตรเลีย และองค์ ก ารอาหารและการเกษตรแห่ ง สหประชาชาติ (FAO) ซึ่งกำหนดเถ้าไม่เกินร้อยละ 4.0 และ 5.5 ตามลำดับ

37 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2559

หากพิจารณาคุณภาพทาง เคมีขนสัตว์ปีกป่นไทยเทียบกับคุณภาพ หรือ มาตรฐานขนสัตว์ปีกป่นระหว่างประเทศ พบว่า ขนสัตว์ปกี ป่นไทยมีกากเฉลีย่ ใกล้เคียงกับมาตรฐานขนสัตว์ปกี ป่นองค์การอาหารและการเกษตร แห่งสหประชาชาติ (FAO) ซึง่ กำหนดกากไม่เกิน ร้อยละ 0.9 ในขณะที่ต่ำกว่ามาตรฐานขนสัตว์ปีกป่นประเทศออสเตรเลีย ซึง่ กำหนดกากไม่เกิน ร้อยละ 3.0

หากพิจารณาคุณภาพทาง เคมีของขนสัตว์ปกี ป่นไทยเทียบกับคุณภาพ หรือ มาตรฐานขนสัตว์ปีกป่นระหว่างประเทศ พบว่า ขนสัตว์ปีกป่นไทยมีความชื้นเฉลี่ยต่ำกว่ามาตรฐานขนสัตว์ปกี ป่นประเทศออสเตรเลีย ซึง่ กำหนด ความชื้นไม่เกินร้อยละ 10.0

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 33 เล่มที่ 171

หมด หรือคิดเป็นร้อยละ 96.2 (51/53) และ 92.9 (39/42) ตามลำดับ มีกากไม่เกินร้อยละ 1.5 ตามมาตรฐานทีก่ ฎหมายกำหนด โดยมีกาก เฉลี่ยร้อยละ 0.8 เท่ากัน


ตารางที่ 3 คุณภาพทางเคมีของขนสัตว์ปีกป่นไทยแยกตามกลุ่มผู้ผลิต

3.1 ปริมาณโปรตีนของขนสัตว์ปีกป่นไทย แยกตามกลุ่มผู้ผลิต โปรตีน 1. < ร้อยละ 80 2. ≥ ร้อยละ 80 รวม

ผู้ผลิตกลุ่มโรงเชือด และชำแหละสัตว์ปีก จำนวน ร้อยละ 6 9.8 55 90.2 61 100.0 X = 83.6 SD = 3.3 Min = 70.9 Max = 89.2

ผู้ผลิตกลุ่มโรงงานผลิต รวม ขนสัตว์ปีกป่นทั่วไป จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ 9 18.8 15 13.8 39 81.2 94 86.2 48 100.0 109 100.0 X = 83.1 X = 83.4 SD = 2.9 SD = 3.2 Min = 77.6 Min = 70.9 Max = 88.6 Max = 89.2

ค่าสถิติ ที่ทดสอบ t-Test 0.38

3.2 ปริมาณไขมันของขนสัตว์ปีกป่นไทย แยกตามกลุ่มผู้ผลิต ไขมัน

38 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 33 เล่มที่ 171

พฤศจิกายน-ธันวาคม 2559

1. ≤ ร้อยละ 5 2. > ร้อยละ 5-8 3. > ร้อยละ 8 รวม

ผู้ผลิตกลุ่มโรงเชือด และชำแหละสัตว์ปีก จำนวน ร้อยละ 10 14.9 42 62.7 15 22.4 67 100.0 X = 6.6 SD = 1.7 Min = 4.2 Max = 11.6

ผู้ผลิตกลุ่มโรงงานผลิต รวม ขนสัตว์ปีกป่นทั่วไป จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ 12 25.0 22 19.1 24 50.0 66 57.4 12 25.0 27 23.5 48 100.0 115 100.0 X = 6.5 X = 6.6 SD = 1.9 SD = 1.8 Min = 3.4 Min = 3.4 Max = 11.0 Max = 11.6

ค่าสถิติ ที่ทดสอบ t-Test

0.93

3.3 ปริมาณกากของขนสัตว์ปีกป่นไทย แยกตามกลุ่มผู้ผลิต กาก 1. < ร้อยละ 1.5 2. ≥ ร้อยละ 1.5 รวม

ผู้ผลิตกลุ่มโรงเชือด และชำแหละสัตว์ปีก จำนวน ร้อยละ 51 96.2 2 3.8 53 100.0 X = 0.8 SD = 0.3 Min = 0.4 Max = 2.4

ผู้ผลิตกลุ่มโรงงานผลิต รวม ขนสัตว์ปีกป่นทั่วไป จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ 39 92.9 90 94.7 3 7.1 5 5.3 42 100.0 95 100.0 X = 0.8 X = 0.8 SD = 0.4 SD = 0.4 Min = 0.3 Min = 0.3 Max = 2.4 Max = 2.4

ค่าสถิติ ที่ทดสอบ t-Test 0.78




 3.4 ปริมาณความชื้นของขนสัตว์ปีกป่นไทย แยกตามกลุ่มผู้ผลิต ความชื้น 1. < ร้อยละ 11 2. ≥ ร้อยละ 11 รวม

ผู้ผลิตกลุ่มโรงเชือด และชำแหละสัตว์ปีก จำนวน ร้อยละ 54 94.7 3 5.3 57 100.0 X = 7.1 SD = 2.3 Min = 3.0 Max = 11.9

ผู้ผลิตกลุ่มโรงงานผลิต รวม ขนสัตว์ปีกป่นทั่วไป จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ 44 97.8 98 96.1 1 2.2 4 3.9 45 100.0 102 100.0 X = 6.6 X = 6.9 SD = 1.8 SD = 2.1 Min = 3.5 Min = 3.0 Max = 11.4 Max = 11.9

ค่าสถิติ ที่ทดสอบ t-Test 0.08

3.5 ปริมาณเถ้าของขนสัตว์ปีกป่นไทย แยกตามกลุ่มผู้ผลิต ค่าสถิติ ที่ทดสอบ t-Test 0.64

ตารางที่ 4 ระดับปริมาณไขมันของขนสัตว์ปีกป่นไทย แยกตามกลุ่มผู้ผลิต

ผู้ผลิตจากกลุ่ม ผู้ผลิตจากกลุ่ม ประกอบธุรกิจ โรงงานผลิต ปริมาณ สะสม สะสม รวม โรงเชือดและ ขนสัตว์ปีกป่น ไขมัน ชำแหละสัตว์ปีก ทั่วไป จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ ≤5 10 14.9 10 14.9 12 25.0 12 25.0 22 19.1 >5-6 23 34.3 33 49.3 13 27.1 25 52.1 36 31.3 >6-7 13 19.4 46 68.6 5 10.4 30 62.5 18 15.7 >7-8 6 9.0 52 77.6 6 12.5 36 75.0 12 10.4 >8-9 5 7.5 57 85.1 6 12.5 42 87.5 11 9.6 >9-10 6 8.9 63 94.0 4 8.3 46 95.8 10 8.7 >10 4 6.0 67 100.0 2 4.2 48 100.0 6 5.2 รวม 67 100. 67 100.0 48 100.0 48 100.0 115 100.0

39 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2559

1. < ร้อยละ 4 2. ≥ ร้อยละ 4 รวม

ผู้ผลิตกลุ่มโรงงานผลิต รวม ขนสัตว์ปีกป่นทั่วไป จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ 43 95.6 96 95.1 2 4.4 5 4.9 45 100.0 101 100.0 X = 2.3 X = 2.2 SD = 0.8 SD = 1.1 Min = 1.5 Min = 1.3 Max = 5.3 Max = 8.9

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 33 เล่มที่ 171

เถ้า

ผู้ผลิตกลุ่มโรงเชือด และชำแหละสัตว์ปีก จำนวน ร้อยละ 53 94.6 3 5.4 56 100.0 X = 2.1 SD = 1.3 Min = 1.3 Max = 8.9

สะสม จำนวน 22 58 76 88 99 109 115 115

ร้อยละ 19.1 50.4 66.1 76.5 86.1 94.8 100.0 100.0


2.2 คุณภาพขนสัตว์ปีกป่นไทยทางจุลชีววิทยา ผลจากการศึกษาพบว่า ขนสัตว์ปีกป่นไทยมีการปนเปื้อนเชื้อซัลโมเนลลา คิดเป็น ร้อยละ 12.3 (8/65) เมื่อพิจารณาแยกตามกลุ่มผู้ผลิต พบว่าขนสัตว์ปีกป่นของผู้ผลิตจากกลุ่ม ประกอบธุรกิจโรงเชือดและชำแหละสัตว์ปีก และผู้ผลิตจากกลุ่มโรงงานผลิตขนสัตว์ปีกทั่วไป มีการ ปนเปื้อนเชื้อซัลโมเนลลา คิดเป็นร้อยละ 18.9 (7/37) และร้อยละ 3.6 (1/28) ตามลำดับ โดย ขนสัตว์ปีกป่นของผู้ผลิตจากกลุ่มประกอบธุรกิจโรงเชือดและชำแหละสัตว์ปีก มีการปนเปื้อนเชื้อ ซัลโมเนลลา ไม่แตกต่างกัน (P>0.05) (ดังแสดงในตารางที่ 5) ตารางที่ 5 คุณภาพทางจุลชีววิทยาของขนสัตว์ปีกป่นไทยแยกตามกลุ่มผู้ผลิต

การปนเปื้อน พบเชื้อ ไม่พบเชื้อ รวม

40

ผู้ผลิตจากกลุ่มประกอบธุรกิจ โรงเชือดและชำแหละสัตว์ปีก จำนวน ร้อยละ 7 18.9 30 81.1 37 100.0

ผู้ผลิตจากกลุ่มโรงงานผลิต ขนสัตว์ปีกป่นทั่วไป จำนวน ร้อยละ 1 3.6 27 96.4 28 100.0

รวม จำนวน 8 57 65

t-Test

ร้อยละ 12.3 87.7 100.0 0.06

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 33 เล่มที่ 171

พฤศจิกายน-ธันวาคม 2559

สรุปและวิจารณ์ การศึกษาคุณภาพ และมาตรฐานขนสัตว์ปกี ป่นไทย เป็นการศึกษาเกีย่ วกับมาตรฐานการผลิต ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลการผลิตขนสัตว์ปีกป่นทั่วไป และกระบวนการผลิตขนสัตว์ปีกป่น คุณภาพ ขนสัตว์ปกี ป่นไทย ทางด้านเคมีและจุลชีววิทยา เทียบกับคุณภาพ หรือมาตรฐานขนสัตว์ปกี ป่นไทย และคุณภาพ หรือมาตรฐานขนสัตว์ปีกป่นระหว่างประเทศ แยกตามกลุ่มผู้ผลิตซึ่งแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ ผู้ผลิตจากกลุ่มประกอบธุรกิจโรงเชือดและชำแหละสัตว์ปีก และผู้ผลิตจากกลุ่มโรงงานผลิต ขนสัตว์ปีกป่นทั่วไป ซึ่งมีผลการศึกษาดังนี้ ข้อมูลการผลิตขนสัตว์ปีกป่นทั่วไป ผลจากการศึกษาพบว่า ผู้ผลิตขนสัตว์ปีกป่นไทยมี ประสบการณ์การผลิตเฉลีย่ 17.6 ปี ปริมาณการผลิตเฉลีย่ 15.2 ตัน/วัน ใช้วธิ ขี นส่งขนสัตว์ปกี สด จากโรงเชือดและชำแหละสัตว์ปกี ไปยังโรงงานผลิตขนสัตว์ปกี ป่น 2 วิธี คือ การลำเลียงผ่านท่อโดย อาศัยแรงดันน้ำ ซึง่ เหมาะกับผูผ้ ลิตจากกลุม่ ประกอบธุรกิจโรงเชือดและชำแหละสัตว์ปกี ทีต่ งั้ โรงงาน ผลิตขนสัตว์ปีกป่นอยู่บริเวณใกล้เคียงกับโรงเชือดและชำแหละสัตว์ปีก เนื่องจากเป็นวิธีการขนส่ง วัตถุดิบที่สะดวก รวดเร็ว และวิธีการขนส่งขนสัตว์ปีกสดด้วยรถบรรทุกซึ่งเหมาะกับผู้ผลิตจากกลุ่ม โรงงานผลิตขนสัตว์ปีกป่นทั่วไป ที่มีโรงงานผลิตขนสัตว์ปีกป่นตั้งอยู่บริเวณห่างไกลจากโรงเชือด และชำแหละสัตว์ปีก โดยใช้เวลาการขนส่ง และรวบรวมวัตถุดิบก่อนนำไปผลิตเฉลี่ย 8.1 ชั่วโมง


41 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2559

ไทย ส่วนใหญ่ร้อยละ 70.6 (12/17) ใช้ชุด หม้อต้ม หม้ออบแบบแยกกัน ทีม่ อี ายุการใช้งาน ระหว่าง 10-20 ปี มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 70.6 (12/17) โดยมีอายุการใช้งานเฉลีย่ 14.2 ปี ขนสัตว์ปกี ป่นไทยมีอตั ราการแลกเปลีย่ นระหว่าง ขนสัตว์ปกี สดกับขนสัตว์ปกี ป่น คือ 3.5-4.0 ต่อ 1 การคัดแยกสิง่ ปลอมปน ผูผ้ ลิตขนสัตว์ปกี ป่น ทุกราย ทำการติดตั้งตะแกรงร่อนเพื่อคัดแยก สิ่งปลอมปนทางกายภาพ ในขณะที่มีผู้ผลิตขนสัตว์ปกี ป่นไทย เพียงร้อยละ 41.2 (7/17) เท่านัน้ ทีม่ กี ารติดตัง้ แม่เหล็กบริเวณปลายทางออกของ หม้ออบ เพื่อทำหน้าที่ดักจับเศษเหล็ก ผู้ผลิต ขนสัตว์ปกี ป่นทุกรายทำการติดตัง้ เครือ่ งบด การ ที่มีขนาดรูตะแกรง 2.8-3.0 มิลลิเมตร เพื่อ ลดขนาดผลิตภัณฑ์ให้มีขนาดเล็กละเอียดตาม ต้องการ และมีการติดตัง้ เครือ่ งลดอุณหภูมิ เพือ่ ลดอุณหภูมิผลิตภัณฑ์ที่ลำเลียงออกจากหม้ออบ ก่อนจัดเก็บในถังพักเพื่อรอบรรจุ ให้มีอุณหภูมิ ใกล้เคียงกับอุณหภูมหิ อ้ ง หรือไม่เกิน 40 องศา เซลเซียส ทัง้ นีเ้ พือ่ ป้องกันผลิตภัณฑ์เกิดการคาย ความร้อนและควบแน่นเป็นหยดน้ำภายในถังพัก ซึ่งทำให้ผลิตภัณฑ์ได้รับความชื้นเพิ่มขึ้น และ เสีย่ งกับการเกิดเชือ้ รา ผูผ้ ลิตขนสัตว์ปกี ป่นไทย ส่วนใหญ่ ร้อยละ 70.6 (12/17) ไม่มกี ารผสม ขนสัตว์ปีกป่นก่อนส่งจำหน่าย ยกเว้นผู้ผลิต จากกลุม่ โรงงานผลิตขนสัตว์ปกี ป่นทัว่ ไป ร้อยละ 71.4 (5/17) ที่ทำการผสมผลิตภัณฑ์ทุกครั้ง ก่อนส่งจำหน่ายเพือ่ ให้ผลิตภัณฑ์มสี ี และคุณภาพ สม่ำเสมอ ทัง้ นีเ้ นือ่ งจากขนสัตว์ปกี สดซึง่ ใช้เป็น วัตถุดิบในการผลิตของผู้ผลิตกลุ่มนี้ รับมาจาก โรงเชือด และชำแหละสัตว์ปกี ทัว่ ไปหลายๆ แห่ง ทีม่ สี ี และคุณภาพแตกต่างกัน การบรรจุผลิตภัณฑ์ เพือ่ จำหน่าย แบ่งออกเป็น 2 วิธี คือ การบรรจุ

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 33 เล่มที่ 171

ผู้ผลิตขนสัตว์ปีกป่นไทยใช้วิธีการขนส่งผลิตภัณฑ์ 2 วิธี คือ การขนส่งด้วยรถบรรทุกสำหรับ ผลิตภัณฑ์บรรจุถุง และการขนส่งด้วยรถเบาท์ สำหรับผลิตภัณฑ์บรรจุเบาท์ โดยผูผ้ ลิตขนสัตว์ปีกป่นไทย เลือกใช้วิธีการขนส่งผลิตภัณฑ์ด้วย รถบรรทุกมากทีส่ ดุ คิดเป็นร้อยละ 52.9 (9/17) นอกจากนั้น ยังพบว่าผู้ผลิตขนสัตว์ปีกป่นไทย ทุกราย ประสบกับปัญหาการผลิตขนสัตว์ปกี ป่น ให้มีคุณภาพได้ตามมาตรฐานที่กำหนด โดย ขนสัตว์ปกี ป่นทีผ่ ลิตได้มกั มีไขมันเกินกว่าร้อยละ 5 และเห็นด้วยกับการปรับปรุงคุณภาพ หรือ มาตรฐานขนสั ต ว์ ปี ก ป่ น ให้ มี ไ ขมั น สู ง ขึ้ น จาก มาตรฐานเดิม โดยได้แสดงความคิดเห็นให้มกี าร ปรับปรุงคุณภาพ หรือมาตรฐานขนสัตว์ปีกป่น ให้มีไขมันสูงขึ้นจากมาตรฐานเดิม ไม่มากกว่า ร้อยละ 5 เป็น ไม่มากกว่าร้อยละ 8 มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 64.7 (11/17) กระบวนการผลิตขนสัตว์ปีกป่น ผลจาก การศึกษา พบว่ากระบวนการผลิตขนสัตว์ปกี ป่น ไทย ประกอบด้วยขั้นตอนการผลิตต่างๆ ดังนี้ คือ การเตรียมวัตถุดิบ โดยทำความสะอาด วัตถุดิบ หรือขนสัตว์ปีกสดด้วยน้ำ การคัดแยก ชิ้นส่วนหัวสัตว์ปีก หนังและเครื่องในออกจาก วัตถุดิบ การใช้เอนไซม์ช่วยย่อย กรณีผลิตขนสัตว์ปีกป่น สูตรใช้เอนไซม์ เพื่อย่อยโปรตีนใน ขนสัตว์ปีกป่นซึ่งเป็นโปรตีนย่อยยาก ชนิดเคอราติน (Keratin) ให้สามารถย่อยได้ง่าย และ สัตว์นำไปใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น การเลือกผลิต ขนสัตว์ปีกป่นสูตรใช้เอนไซม์ หรือไม่ใช้เอนไซม์ ขึน้ กับความต้องการของลูกค้า โดยพบว่าผูผ้ ลิต ขนสัตว์ปีกป่นไทยผลิตขนสัตว์ปีกป่นไทยสูตรใช้ เอนไซม์มากทีส่ ดุ คิดเป็นร้อยละ 58.8 (10/17) การต้มและอบขนสัตว์ปกี ป่น ผูผ้ ลิตขนสัตว์ปกี ป่น


ผลิตภัณฑ์แบบถุงชนิดพลาสติกสาน หรือพลาสติก สานเคลือบลามิเนต และการบรรจุผลิตภัณฑ์แบบ เบาท์ (รถเบาท์) การเลือกวิธกี ารบรรจุผลิตภัณฑ์ แบบใดขึน้ กับความต้องการของลูกค้า โดยผูผ้ ลิต ขนสัตว์ปีกป่นไทยเลือกวิธีการบรรจุผลิตภัณฑ์ แบบถุงมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 52.9 (9/17)

42 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 33 เล่มที่ 171

พฤศจิกายน-ธันวาคม 2559

คุณภาพขนสัตว์ปีกป่นไทย ผลจากการ ศึกษา พบว่าขนสัตว์ปีกป่นไทยมีคุณภาพทาง เคมีเฉลี่ยดังนี้ คือ โปรตีนร้อยละ 83.4 ไขมัน ร้อยละ 6.6 กากร้อยละ 0.8 ความชื้นร้อยละ 6.87 และเถ้าร้อยละ 2.2 เมือ่ พิจารณาแยกตาม กลุ่มผู้ผลิตพบว่าขนสัตว์ปีกป่นของผู้ผลิต ทั้ง 2 กลุ่ม คือผู้ผลิตจากกลุ่มประกอบธุรกิจโรงเชือด และชำแหละสัตว์ปกี และผูผ้ ลิตจากกลุม่ โรงงาน ผลิตขนสัตว์ปกี ป่นทัว่ ไป มีคณ ุ ภาพทางเคมี ได้แก่ โปรตีน กาก ความชื้น และเถ้า ไม่แตกต่างกัน (P>0.05) โดยมี ป ริ ม าณไม่ เ กิ น มาตรฐานที่ กฎหมายกำหนด ยกเว้นไขมัน ซึง่ พบว่าขนสัตว์ปีกป่นไทย มากกว่าร้อยละ 80.0 (22/115) มี ไขมันสูงเกินมาตรฐานทีก่ ฎหมายกำหนด ไม่เกิน ร้อยละ 5 โดยมีไขมันอยูใ่ นช่วง มากกว่าร้อยละ 5-6 มากทีส่ ดุ คิดเป็นร้อยละ 31.3 (36/115) และมีไขมันเฉลี่ยร้อยละ 6.6 ซึ่งใกล้เคียงกับ มาตรฐานขนสัตว์ปกี ป่นขององค์การอาหารและ การเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ซึง่ กำหนด ไขมันไม่มากกว่าร้อยละ 6.7 ในขณะที่สูงกว่า มาตรฐานขนสัตว์ปกี ป่นของประเทศบราซิล ซึง่ กำหนดไขมันไม่มากกว่าร้อยละ 4 แต่ต่ำกว่า มาตรฐาน NRC และมาตรฐานขนสัตว์ปีกป่น ประเทศออสเตรเลีย ซึง่ กำหนดไขมันไม่มากกว่า ร้อยละ 7.0 และ 8.0 ตามลำดับ และยัง พบว่าขนสัตว์ปีกป่นไทย มากกว่าร้อยละ 75.0 (88/115) มีไขมันไม่มากกว่าร้อยละ 8.0 ซึ่ง

เป็นไขมันระดับเดียวกับที่ผู้ผลิตขนสัตว์ปีกป่น ไทย ได้แสดงความคิดเห็นให้นำไปใช้ปรับปรุง คุณภาพ หรือมาตรฐาน ขนสัตว์ปกี ป่นให้มไี ขมัน สูงขึ้นจากมาตรฐานเดิมมากที่สุด อีกทั้ง  ยัง สอดคล้องกับมาตรฐานขนสัตว์ปีกป่นประเทศ ออสเตรเลีย นอกจากนัน้ ยังพบว่าขนสัตว์ปกี ป่น มีคุณภาพทางจุลชีววิทยาดังนี้คือ พบเชื้อซัลโมเนลลา คิดเป็นร้อยละ 12.3 (8/65) และเมื่อ พิจารณาแยกตามกลุม่ ผูผ้ ลิต พบว่าขนสัตว์ปกี ป่น ของผู้ผลิตจากกลุ่มประกอบธุรกิจโรงเชือดและ ชำแหละสัตว์ปีก และผู้ผลิตจากกลุ่มโรงงาน ผลิตขนสัตว์ปีกป่นทั่วไป มีการปนเปื้อนเชื้อ ซัลโมเนลลา คิดเป็นร้อยละ 18.9 (7/37) และ ร้อยละ 3.6 (1/28) ตามลำดับ โดยพบว่า ขนสัตว์ปีกป่นของผู้ผลิตจากกลุ่มโรงเชือดและ ชำแหละสัตว์ปกี มีการปนเปือ้ นเชือ้ ซัลโมเนลลา ไม่แตกต่างกัน (P>0.05) คุ ณ ภาพขนสั ต ว์ ปี ก ป่ น ไทยโดยรวม มี คุณภาพทางเคมี ได้แก่ โปรตีน กาก ความ ชืน้ เถ้า ได้ตามคุณภาพ หรือมาตรฐานขนสัตว์ปีกป่น ทีป่ ระกาศบังคับใช้อยูใ่ นปัจจุบนั ยกเว้น ไขมัน ซึง่ มักมีปริมาณสูงกว่ามาตรฐานทีก่ ำหนด ดังนั้น จึงควรพิจารณาปรับปรุงคุณภาพ หรือ มาตรฐานขนสัตว์ปีกป่น เฉพาะทางด้านไขมัน โดยกำหนดให้มีปริมาณไขมันสูงขึ้นจากมาตรฐานเดิม ไม่มากกว่าร้อยละ 5 เป็นไม่มากกว่า ร้อยละ 8 เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานการ ผลิต และคุณภาพขนสัตว์ปีกป่นไทยที่สามารถ ผลิตได้ในปัจจุบนั และตรงกับความความคิดเห็น ของผูผ้ ลิตขนสัตว์ปกี ป่นไทยส่วนใหญ่ ทีต่ อ้ งการ ให้ปรับปรุงคุณภาพ หรือมาตรฐานขนสัตว์ปีก ป่นไทยให้มีไขมันสูงขึ้น อีกทั้งยังสอดคล้องกับ คุ ณ ภาพ หรื อ มาตรฐานขนสั ต ว์ ปี ก ป่ น ของ


1. ควรศึกษาระดับปริมาณไขมันในขนสัตว์ปีกป่นกับการเสื่อมคุณภาพขนสัตว์ปีกป่น เพือ่ ใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาปรับปรุง คุณภาพ หรือมาตรฐานขนสัตว์ปกี ป่นให้มไี ขมัน สูงขึ้นจากมาตรฐานเดิมได้อย่างเหมาะสม โดย ไม่ ท ำให้ ข นสั ต ว์ ปี ก ป่ น เกิ ด การเสื่ อ มคุ ณ ภาพ ก่อนผลิตภัณฑ์หมดอายุ หรือก่อนระยะเวลา 180 วัน นับจากวันผลิต 2. ควรกำหนดมาตรการต่างๆ เพื่อช่วย ลด หรือขจัดสาเหตุการปนเปือ้ นเชือ้ ซัลโมเนลลา ในขนสัตว์ปีกป่นที่เกิดจากการผลิตอาหารสัตว์ ที่ไม่ถูกสุขลักษณะดังนี้ 2.1 ทำการปรั บ ปรุ ง โครงสร้ า ง อาคารผลิต และสิ่งอำนวยความสะดวก ที่เป็น สาเหตุก่อให้เกิดการปนเปื้อนเชื้อซัลโมเนลลา ในผลิตภัณฑ์ ดังนี้ 2.1.1 ปรับปรุงโครงสร้างอาคาร ผลิ ต โดยการกั้ น แยกบริ เ วณรั บ และเตรี ย ม วัตถุดิบสดออกจากบริเวณผลิต และบรรจุขนสัตว์ปกี ป่น รวมทัง้ จัดเส้นทางเดินภายในอาคาร ผลิ ต แยกกั น ระหว่ า งพนั ก งานแผนกรั บ และ เตรียมวัตถุดิบสด กับพนักงานแผนกผลิต หรือ บรรจุ

2.1.3 จั ด เตรี ย มอ่ า งล้ า งมื อ อุปกรณ์ทำความสะอาดมือเพื่อให้พนักงานใช้ ล้างทำความสะอาดมือก่อนเริ่มการปฏิบัติงาน หรือหลังจากออกจากห้องสุขา และอ่างน้ำผสม น้ำยาฆ่าเชื้อ เพื่อให้พนักงานใช้จุ่มรองเท้าก่อน เดินเข้าไปในอาคารผลิต รวมทั้งต้องคอยหมั่น เปลี่ยนน้ำในอ่างจุ่มรองเท้าทุกวัน 2.2 ไม่ควรนำซากสัตว์ปีกตายทั้งตัว มาใช้เป็นวัตถุดิบร่วมกับขนสัตว์ปีกสด ในการ ผลิตขนสัตว์ปีกป่น ซึ่งนอกจากทำให้ขนสัตว์ปีก ป่นมีไขมันสูงเกินมาตรฐานแล้ว ยังทำให้ผลิตภัณฑ์มีโอกาสตรวจพบเชื้อซัลโมเนลลาเพิ่มมาก ขึ้นด้วย 2.3 ทำการควบคุมการทำงานของ หม้อต้ม และหม้ออบ เพื่อให้สามารถผลิตขนสั ต ว์ ปี ก ป่ น ได้ อ ย่ า งมี คุ ณ ภาพ และปลอดภั ย ดังนี้ 2.3.1 กำหนดอุ ณ หภู มิ ความ ดัน และเวลาในการต้ม และอบขนสัตว์ปีกป่น ที่เหมาะสม ตามชนิด หรือรุ่น และขนาด หรือ ความจุของหม้อต้ม หม้ออบ รวมทั้งคอยหมั่น ตรวจสอบอุณหภูมิ ความดัน และเวลาที่ใช้ใน การต้ม และอบ ให้เป็นไปตามที่กำหนดอย่าง สม่ำเสมอ 2.3.2 จั ด ให้ มี ก ารสอบเที ย บ เครื่องมือวัดอุณหภูมิ และความดันของหม้อต้ม และหม้ออบเป็นประจำ อย่างน้อยปีละครั้ง

43 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2559

ข้อเสนอแนะ

2.1.2 ปรับปรุงโครงสร้างอาคาร ผลิ ต และจั ด เก็ บ ผลิ ต ภั ณ ฑ์ เ พื่ อ ป้ อ งกั น สั ต ว์ พาหะนำโรคเข้าไปในอาคารได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยไม่ควรเปิดประตูอาคารผลิตและอาคาร จัดเก็บผลิตภัณฑ์ทิ้งไว้ระหว่างการปฏิบัติงาน

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 33 เล่มที่ 171

ประเทศออสเตรเลีย นอกจากนั้น ยังควรทำ การปรับปรุงสุขลักษณะการผลิตขนสัตว์ปีกป่น ที่ดี เพื่อให้สามารถลด หรือขจัดการปนเปื้อน เชื้ อ ซั ล โมเนลลาในขนสั ต ว์ ปี ก ป่ น ได้ อ ย่ า งมี ประสิทธิภาพมากขึ้น (ตามข้อเสนอแนะ) ทั้งนี้ เพือ่ ให้สอดคล้องกับมาตรฐานอาหารสัตว์ภายใน ประเทศ และระหว่างประเทศ ซึ่งกำหนดให้ อาหารสัตว์ต้องปลอดจากเชื้อซัลโมเนลลา


2.4 จัดทำโปรแกรมทำความสะอาดอาคาร สถานที่ผลิต และจัดเก็บ รวมทั้งเครื่องจักร อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตอย่างเหมาะสม และมีประสิทธิภาพ เพื่อเป็นการลดการปนเปื้อน ข้ามทางด้านจุลินทรีย์ที่มีสาเหตุจากความไม่สะอาด 2.5 จัดให้มีมาตรการควบคุมสุขลักษณะส่วนบุคคลที่เหมาะสม เช่น การตรวจสุขภาพ ระเบียบการแต่งกาย การล้างมือ และระเบียบปฏิบัติที่เหมาะสมระหว่างการทำงาน เพื่อลดการ ปนเปื้อนข้ามทางด้านจุลินทรีย์ที่มีสาเหตุจากพนักงาน โดยเฉพาะพนักงานแผนกที่มีโอกาสสัมผัส กับผลิตภัณฑ์โดยตรง 2.6 จัดให้มีโปรแกรมกำจัดสัตว์พาหะนำโรค หรือกำจัดแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์พาหะ นำโรคที่มีประสิทธิภาพ เพื่อไม่ให้สัตว์พาหะนำโรคกลายเป็นแหล่งที่ก่อให้เกิดการปนเปื้อนข้าม ทางด้านจุลินทรีย์ไปยังผลิตภัณฑ์

กิตติกรรมประกาศ 44 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 33 เล่มที่ 171

พฤศจิกายน-ธันวาคม 2559

งานวิจัยเรื่องคุณภาพและมาตรฐานขนสัตว์ปีกป่นไทยสามารถสำเร็จลุล่วงได้ ผู้วิจัยขอ ขอบพระคุณคณะกรรมการวิชาการของกองควบคุมอาหารและยาสัตว์กรมปศุสตั ว์ ทีไ่ ด้ให้คำแนะนำ และตรวจแก้ไขงานวิจัยให้มีความสมบรูณ์ยิ่งขึ้น และขอขอบคุณเจ้าหน้าที่ กองควบคุมอาหารและ ยาสัตว์ กรมปศุสตั ว์ทกุ ท่านทีม่ สี ว่ นเกีย่ วข้องกับการสำรวจโรงงานอาหารสัตว์ และการเก็บตัวอย่าง วัตถุดิบอาหารสัตว์ทุกท่าน และเจ้าหน้าที่สำนักตรวจสอบคุณภาพสินค้าปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์ ที่มี ส่วนเกี่ยวข้องกับการตรวจวิเคราะห์คุณภาพขนสัตว์ปีกป่นทุกท่าน

เอกสารอ้างอิง กรมปศุสัตว์. 2540. พระราชบัญญัติควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ. 2525. พิมพ์ครั้งที่ 5 กรุงเทพมหานคร : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด สมนึก อรรคไกรสีห์ และเฉิดโฉม กะลัมพะเหติ.2542. คุณภาพขนสัตว์ปีกป่นในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร กองควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ กรมปศุสัตว์ พันทิพา พงษ์เพียจันทร์. 2539. การผลิตอาหารสัตว์. กรุงเทพมหานคร: โอ.เอสพริ้นติ้งเฮ้าส์ Australia Renderers Association and Stockfeed Manufacturers Association of Australia .2013. Grain Trade Australia-Section 7 Animal Protiens 2013/2014 season.n.p. Bureau D.P., Harris, A.M., Bevan, D.J., Simmons, L.A., Azevedo, P.A. and Cho, C.Y. 2000.Use of feather meal and meat and bone meals from different origins as protein sources for rainbow trout diets. Aquaculture.181:281-291


พฤศจิกายน-ธันวาคม 2559

45 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 33 เล่มที่ 171

Baker DH, Blitenthal RC, Boebel KP, Czarnecki GL, Southern LL and Willis GM. 1981. Protienamino acid evaluation of steam-processed feather meal. Poultry Sci. 60:1865-1872 Becker, B.G. 2005. Brazilan Tables for Poultry and swine. Composition of Feedstuffs and Nutritional Requirements. 2nd ed. n.p. Translated from H.S. Rostagno, L.F.T. Albino. J.l. Donzele P.C. Gomes, R.F. Oliveira, D.C. Lopes, A.S. Ferreira and S.L.T. Barrecto. European Commision. Regulation (EU) No 142/2011 of 25 February 2011. Implementing Regulation (EC) No 1069/2009 of the European Parliament and of the Council laying down health rules as regard animal by-products and derived products not intended for human consumption andimplementing Council Directive 97/78/EC as regards certain samples and items exempt from veterinary checks at the border under that Directive. Official Journal of the EuropeanUnion, L54, 66. Feather meal 2012 Oct 24 [cited 2015 Jun 25]. Web site:http://www.feedipedia.org/print/213 Harrap, B.S., and E.F. Woods,. 1964. Soluble derivatives of feather keratin. 2. Molecular weight and conformation. Biochem. J. 92:19-26. In-house method based on ISO 5983-2:2005 Animal feeding stuffs-Determination of nitrogen content and calculation of crude protein-Part 2 Block digestion / steam distillation method. In-house method based on AOAC920.39:2012 Fat (crude) or ether extract in animal Feed, Chapter 4, p 40 In-house method based on AOAC978.10:2012Fiber (crude) in animal feed and pet food, Chapter 4, p 47 Lehninger, A.L. 1975. Biochemistry. 2nd ed., The John Hopkins University, School of Medicine, USA, 833 p. MoranJr, Edwin T and John D. Summers.1966. Keratin as a source of protein for the growingchick. Poultry Sci. 45:1257-1266. National Research Council. 1994. National Requirements of Poultry: Ninth RevisedEdition. Academy Press, Washington, D.C. The International Organization for Standardization ISO6496:1999 Animal feeding stuffsDetermination of moisture and other volatile matter content The International Organization for Standardization ISO6496:2002 Animal feeding stuffs-Determination of crude ash, second edition. The International Organization for Standardization ISO 6579. 2002. Microbiology of food and animal feeding stuffs-horizontal method for the detection of Salmonella spp. (4thed). Switzerland: International Organization for Standardization.


หมายเลขแบบสอบถาม ........................................................................

ภาคผนวก ก

แบบสอบถามการผลิตขนสัตว์ปีกป่นไทย

46 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 33 เล่มที่ 171

พฤศจิกายน-ธันวาคม 2559

ขื่อผู้ให้สัมภาษณ์ ................................................................................................................... วันที่สัมภาษณ์ ................................................................ 1. ชื่อโรงงาน ...................................................................................................................................................................................................................... 2. สถานที่ตั้งโรงงาน ..................................................................................................................................................................................................... 3. ประสบการณ์การผลิตขนสัตว์ปีกป่น หรือระยะเวลาทำธุรกิจผลิตขนสัตว์ปีกป่น ระบุจำนวน ................................. ปี 4. ปริมาณการผลิตขนสัตว์ปีกป่น ระบุปริมาณ ..................................................... ตัน/วัน 5. โรงงานรับซื้อขนสัตว์ปีกสดหรือวัตถุดิบที่นำมาใช้ในการผลิตจากแหล่งใด (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ( ) โรงเชือดและชำแหละสัตว์ปีกซึ่งเป็นของบริษัทในเครือ ( ) โรงเชือดและชำแหละสัตว์ปีกทั่วไป ( ) อื่นๆ ระบุ .............................................................................................................................................................................................................. 6. โรงงานใช้วธิ กี ารลำเลียงหรือขนส่งขนสัตว์ปกี สดจากโรงเชือดและชำแหละสัตว์ปกี ไปยังโรงงานผลิตขนสัตว์ปกี ป่น ของตนด้วยวิธีใด ( ) วิธีการลำเลียงผ่านท่อโดยอาศัยแรงดันน้ำ ( ) วิธีการขนส่งด้วยรถบรรทุก 7. ระยะเวลาที่ใช้ในการลำเลียง หรือขนส่ง และรวบรวมขนสัตว์ปีกสดก่อนนำไปผลิต ระบุ ............................. ชั่วโมง 8. โรงงานขนส่งผลิตภัณฑ์พร้อมจำหน่ายให้กับลูกค้าโดยวิธีใด (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ( ) วิธีการขนส่งด้วยรถบรรทุก ( )  วิธีการขนส่งด้วยรถเบาท์ 9. ท่านประสบกับปัญหาการผลิตขนสัตว์ปีกป่นไม่ได้คุณภาพตามมาตรฐานด้านในบ้าง (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ( ) โปรตีน ( ) ไขมัน ( ) กาก ( ) ความชื้น ( ) เถ้า ( ) ค่าการย่อยได้โดยเปบซิน 10. ท่านเห็นด้วยกับการปรับปรุงการกำหนดคุณภาพ หรือมาตรฐานขนสัตว์ปกี ป่นให้มไี ขมันสูงขึน้ จากมาตรฐานเดิม ไม่เกินร้อยละ 5 หรือไม่ ( ) เห็นด้วย  ( ) ไม่เห็นด้วย ข้ามไปตอบข้อ 12 11. ท่านเห็นควรปรับปรุงการกำหนดคุณภาพ หรือมาตรฐานขนสัตว์ปกี ป่นให้มไี ขมันสูงขึน้ จากมาตรฐานเดิมไม่เกิน ร้อยละ 5 เป็นไขมันไม่เกินร้อยละเท่าใด ระบุ ......................................................................................................................................... 12. โรงงานมีขั้นตอนการเตรียมวัตถุดิบ หรือขนสัตว์ปีกสดก่อนนำไปผลิตหรือไม่ ( ) มี ระบุ ................................................................................................................................................................................................................... ...................................................................................................................................................................................................................................... ( ) ไม่มี


พฤศจิกายน-ธันวาคม 2559

47 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 33 เล่มที่ 171

13. โรงงานผลิตขนสัตว์ปีกป่นสูตรใดบ้าง (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ( ) ผลิตสูตรใช้เอนไซม์ ( ) ผลิตสูตรไม่ใช้เอนไซม์ 14. โรงงานใช้ชุดหม้อต้มและอบแบบใด (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ( ) แบบหม้อใบเดียวซึ่งทำหน้าเป็นทั้งหม้อต้มและหม้ออบ ( ) แบบหม้อต้มและหม้ออบแยกกัน ระบุจำนวนหม้อต้ม .................. ใบ จำนวนหม้ออบ .................. ใบ ( ) แบบหม้อต้มและหม้ออบแยกกัน ระบุจำนวนหม้อต้ม .................. ใบ จำนวนหม้ออบ .................. ใบ 15. ชุดหม้อต้มและอบซึ่งโรงงานนำมาใช้งานถึงปัจจุบัน มีอายุการใช้งานเท่าใด ระบุ ................................ ปี 16. โรงงานมีการควบคุม อุณหภูมิ ความดัน และเวลาที่ใช้ในหม้อต้มอย่างไร ระบุ ................................................................. ................................................................................................................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................................................................................................................ 17. โรงงานมีการควบคุม อุณหภูมิ ความดัน และเวลาที่ใช้ในหม้ออบอย่างไร ระบุ ................................................................. ................................................................................................................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................................................................................................................ 18. การผลิตขนสัตว์ปีกป่นมีอัตราการส่วนแลกเปลี่ยนจากขนสัตว์ปีกสดไปเป็นขนสัตว์ปีกป่นอย่างไร ระบุ ................... 19. โรงงานทำการติดตั้งเครื่องร่อน เพื่อทำหน้าที่คัดแยกสิ่งปลอมปนหรือไม่ ( ) ติดตั้ง ระบุ ตำแหน่งที่ติดตั้ง .............................................................................  ( ) ไม่ได้ติดตั้ง 20. โรงงานทำการติดตั้งแม่เหล็ก เพื่อทำหน้าที่คอยดักจับเศษเหล็กหรือไม่ ( ) ติดตั้ง ระบุ ตำแหน่งที่ติดตั้ง .............................................................................  ( ) ไม่ได้ติดตั้ง 21. โรงงานทำการติดตั้งเครื่องบด เพื่อทำหน้าที่ลดขนาดผลิตภัณฑ์หรือไม่ ( ) ติดตั้ง ระบุ ขนาดรูตะแกรง .................. มิลลิเมตร ตำแหน่งที่ติดตั้ง .................................................................................. ( ) ไม่ได้ติดตั้ง 22. โรงงานทำการติดตั้งเครื่องลดอุณหภูมิผลิตภัณฑ์ ก่อนเข้าจัดเก็บในถังพักเพื่อรอการบรรจุหรือผสมหรือไม่ ( ) ติดตั้ง  ( ) ไม่ได้ติดตั้ง ข้ามไปตอบข้อ 24 23. โรงงานมีการกำหนดและควบคุมอุณหภูมิผลิตภัณฑ์หลังผ่านขั้นตอนการลดอุณหภูมิแล้ว ไม่ให้เกิน 40 องศาเซลเซียส หรือไม่ ( ) มี  ( ) ไม่มี 24. โรงงานทำการผสมผลิตภัณฑ์ก่อนส่งจำหน่ายเพื่อให้ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพและสีสม่ำเสมอหรือไม่ ( ) มี  ( ) ไม่มี 25. โรงงานมีวิธีการบรรจุผลิตภัณฑ์พร้อมจำหน่ายอย่างไร (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ( ) วิธีการบรรจุผลิตภัณฑ์แบบถุง ระบุชนิดถุง .............................................................................................................. ( ) วิธีการบรรจุผลิตภัณฑ์แบบเบาท์ (รถเบาท์)


ภาคผนวก ข

รูปที่ 1 กระบวนการผลิตขนสัตว์ปีกป่น รับขนสัตวปกสด การเตร�ยมวัตถุดิบ

เอนไซม (กรณีผลิตสูตรใชเอนไซม)

(การทำความสะอาดขนสัตวปกสด และการคัดแยกสวนหัว หนัง หร�อสำไส)

การตมและอบ การคัดแยกสิ�งปลอมปน (โดยแมเหล็ก, เคร�่องรอน)

48

การลดอุณหภูมิผลิตภัณฑ

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 33 เล่มที่ 171

พฤศจิกายน-ธันวาคม 2559

การผสมผลิตภัณฑ (ถามี) การบรรจ�ผลิตภัณฑ




'เลี้ยงไก่'

ไม่จำเป็นต้องใช้

'ยาปฏิชีวนะ'

• เพ็ญภัสสร์ วิจารณ์ทัศน์ •

แต่นบั ว่ายังเป็นโชคดีของคนไทยที่ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีวา่ การ กระทรวงสาธารณสุข ให้ความสำคัญกับปัญหาเชือ้ ดือ้ ยาอย่างยิง่ โดยออกเป็นนโยบาย Service Plan ด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผล มีตัวชี้วัดคือลดการใช้ยาปฏิชีวนะ ในโรคไอ เจ็บคอ ท้องร่วง และอาหารเป็นพิษ ให้เหลือไม่เกินร้อยละ 20 ครอบคลุม โรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขราว 1,000 แห่ง และโรงพยาบาลส่งเสริม สุขภาพตำบล (รพ.สต.) อีก 10,000 แห่ง ก่อเกิดเป็นความร่วมมือของหลายภาคส่วน ซึ่งจะช่วยป้องกันการดื้อยาของคนไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขณะที่อาจยังคงต้อง ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

พฤศจิกายน-ธันวาคม 2559

49 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 33 เล่มที่ 171

ในช่วงสัปดาห์ของการรณรงค์หยุดใช้ยาปฏิชีวนะแบบพร่ำเพรื่อ หรือ The World Antibiotic Awareness Week 14-20 Nov. 2016 ที่องค์การอนามัยโลก จั ด โดยมี วั ต ถุ ป ระสงค์ ใ นการสร้ า งการตระหนั ก รู้ ข องประชาชนเกี่ ย วกั บ การใช้ ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลเพื่อป้องกันการดื้อยา น่าจะทำให้หลายคนได้รับรู้ข้อมูล เกี่ยวกับประเด็นนี้มากขึ้นในประเทศไทย นพ.พิสนธิ์ จงตระกูล คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นโต้โผรณรงค์ให้คนไทยใช้ยาให้ถูกต้อง โดยสวมหมวก ประธานคณะทำงานสร้างเสริม ความเข้มแข็งภาคประชาชนด้านการใช้ยาอย่าง สมเหตุผล (สยส.) รณรงค์ในเรื่องนี้อย่างเข้มแข็งและต่อเนื่อง กล่าวว่า ปัจจุบัน คนไทยส่วนใหญ่ยังไม่ตระหนักถึงภัยร้ายแรงของเชื้อดื้อยา บุคลากรทางการแพทย์ บางแห่งยังจ่ายยาปฏิชวี นะเกินความจำเป็นให้ประชาชนในอัตราสูง รวมถึงร้านขายยา จำนวนมากที่ขายยาปฏิชีวนะให้กับลูกค้าโดยไม่แยกแยะว่า เป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรีย จริ ง หรื อ ไม่ ทางฝ่ า ยผู้ ป่ ว ยเองก็ อ อกอาการดี ใ จเมื่ อ ได้ รั บ ยาปฏิ ชี ว นะชื่ อ แปลกๆ ราคาแพงๆ ด้วยคิดว่าจะเป็นผลดีต่อการรักษา ที่จริงนอกจากจะไม่เป็นประโยชน์แล้ว ยังเป็นการสร้าง และสะสมเชื้อดื้อยาชนิดร้ายแรงไว้ในร่างกาย

Market Leader

ภาพประกอบ : Meaw & Pony


รณรงค์สร้างการตระหนักรูแ้ ละขอความร่วมมือ จากโรงพยาบาลเอกชน คลินิก ร้านขายยา ตลอดจนขอการบังคับใช้กฎหมายกับการขายยา ที่ไม่ถูกต้อง ตามร้านของชำ หรือรถเร่ ต่อไป สำหรับภาคปศุสัตว์ นพ.พิสนธิ์ ระบุว่า "การแก้ไขเพือ่ ลดการใช้ยาปฏิชวี นะโดยไม่จำเป็น นั้ น จะเห็ น ผลรวดเร็ ว และชั ด เจนจาก "ภาค ปศุสัตว์" เมื่อได้รับความร่วมมือจากผู้เกี่ยวข้อง ทั้งรัฐและภาคเอกชนที่จะลดปัญหาเชื้อดื้อยา ในสัตว์ด้วยการลดใช้ยาปฏิชีวนะ ไปจนถึงมี แผนทีจ่ ะงดใช้ยาเป็นรายชนิด แม้จะยังไม่ครอบคลุมภาคปศุสัตว์ทั้งหมดแต่ก็ถือเป็นจุดเริ่มต้น ที่ดี"

50 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 33 เล่มที่ 171

พฤศจิกายน-ธันวาคม 2559

เกริ่นมาพอสมควรด้วยอยากให้เห็นภาพ ความพยายามของหลายภาคส่ ว นที่ มี เ ป้ า ประสงค์เดียวกันในการลดการใช้ยาปฏิชีวนะ... ในฐานะที่ผู้เขียนมีข้อมูลในแวดวงปศุสัตว์ จึง จะขอยกตั ว อย่ า งความพยายามของบริ ษั ท เอกชนรายใหญ่ ที่ต้องการส่งผ่านผลิตภัณฑ์ที่ ปลอดภัยสู่ผู้บริโภค และมีการปฏิบัติอย่างเป็น รูปธรรมผ่าน "โครงการการเลีย้ งไก่ ปลอดยา ปฏิชวี นะ" ทีเ่ กิดขึน้ ได้แล้วจริงๆ ในอุตสาหกรรม สัตว์ปีกของประเทศไทย อย่าเพิ่งกังวลว่า ที่ผ่านมามีการใช้ยา เยอะเกินความจำเป็น เพราะในวงการปศุสัตว์ รายใหญ่ที่มีการส่งออกนี้ จะมีมาตรฐานการ ผลิตสินค้าอาหารปลอดภัย (Food Safety) กำกับอยู่ โดยจะใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อการรักษา เฉพาะกรณีทสี่ ตั ว์ปว่ ยเท่านัน้ ซึง่ เป็นไปตามหลัก สวัสดิภาพสัตว์ คือต้องให้การรักษาสัตว์ป่วย ตามสิทธิทสี่ ตั ว์มี ขณะเดียวกัน การใช้ยาทัง้ หมด จะอยู่ภายใต้การสั่งยาและ ควบคุมโดยสัตวแพทย์ หากมี ก ารใช้ ย าก็ จ ะหยุ ด การใช้ ต าม

ข้อกำหนดระยะหยุดยา ตามหลักวิชาการ จน ปลอดจากยาตกค้างแล้ว จึงจะส่งเข้าโรงงาน แปรรูปต่อไป "โครงการการเลี้ยงไก่ปลอดยาปฏิชีวนะ" เป็นการพัฒนารูปแบบการเลีย้ งให้สงู ขึน้ อีก โดย มีจุดประสงค์เพื่อลดโอกาสการเกิดเชื้อดื้อยา ในสัตว์ที่อาจส่งผลกระทบต่อเชื้อดื้อยาในคน และตอบสนองความต้องการของ ผู้บริโภคที่สูง ขึน้ ในด้านความปลอดภัยทางอาหาร โดยขณะนี้ "ซีพเี อฟ" ผูป้ ระกอบการรายใหญ่ของวงการอุตสาหกรรมสัตว์ปกี ไทย สามารถเลีย้ งไก่ปลอดยา ปฏิชีวนะได้สำเร็จแล้ว จากโครงการนำร่อง ตั้งแต่ ปี 2557 โดยมี ผลผลิตไก่เนื้อปลอดยา ปฏิชวี นะออกมาแล้ว ราว 57 ล้านตัว และกำลัง ขยายผลต่อยอดโครงการเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ สพ.ญ.จิตสุภา วุฒิกรวิภาค สัตวแพทย์ ผู้ดำเนินโครงการเลี้ยงไก่ปลอดยาปฏิชีวนะ ของซีพีเอฟ พูดถึงหลักการเลี้ยงไก่ปลอดยา ปฏิชวี นะว่า ต้องเริม่ ต้นทีก่ ารคัดเลือกลูกไก่จาก ฟาร์มพ่อแม่พันธุ์ที่ไม่มีปัญหาสุขภาพ มีอายุไข่ ทีเ่ หมาะสม มีการฆ่าเชือ้ ไข่ฟกั และมีการจัดการ โรงฟักที่ดี เมื่อได้สายพันธุ์ที่ดีแล้ว การบริการ จั ด การสถานะฝู ง ซึ่ ง เป็ น ปั จ จั ย ที่ ส ำคั ญ มาก เทียบเท่ากับวินัยในการรักษาสุขอนามัยของคน เลยทีเดียว โดยสถานะฝูงต้องมีระบบป้องกันโรค (Biosecurity) ที่เข้มงวด มีการล้างทำความ สะอาดและฆ่าเชื้อโรงเรือน มีการควบคุมการ จั ด การภายในโรงเรื อ นที่ ดี และเน้ น การทำ วัคซีนเพื่อสร้างภูมิต้านทานให้ตัวไก่ นอกจากนี้ ต้องให้ความรู้ความเข้าใจแก่ผู้ปฏิบัติ เป็นการ ปลูกฝังวินัย และต้องมีระบบการตรวจสอบที่ เข้มแข็ง เนื่องจากหากละเลยแม้เรื่องเล็กน้อย ย่อมนำไปสู่ความเสี่ยงในการติดเชื้อได้


'การเลี้ยงไก่ ปลอดยาปฏิชีวนะเป็นการพัฒนา รูปแบบการเลี้ยงให้สูงขึ้น โดยมีจุดประสงค์ เพื่อลดโอกาสการเกิดเชื้อดื้อยาในสัตว์ ที่อาจส่งผลต่อ เชื้อดื้อยาในคน'

หากประเด็นเชื้อดื้อยาซึ่งเป็นเรื่องของ สุขภาพสัตว์และสุขภาพคนจะเข้ามามีบทบาท ต่อการกำหนดทิศทางการผลิตสินค้าเกษตร ในอนาคต ...เชื่อได้ว่าภาคปศุสัตว์ของไทย โดย เฉพาะอย่างยิง่ อุตสาหกรรมสัตว์ปกี จะสามารถ ตอบโจทย์และสนองตอบต่อทิศทางดังกล่าวได้ อย่างทันเหตุการณ์... ในเมือ่ เรามีกรมปศุสตั ว์ที่ เข้มแข็ง มีสัตวแพทย์และภาควิชาการที่ชัดเจน ในข้อมูล มีงานวิจัย คุณภาพและมีภาคธุรกิจที่ ตระหนักถึง Food Safety ทีไ่ ม่เคยหยุดนิง่ ในการ วิจัยพัฒนา ...จุดเริ่มต้นดีๆ ก็เกิดขึ้นแล้วจริงๆ

51 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2559

เมื่อมีระบบการป้องกันที่ดี มีวิธีการช่วย ลดแบคที เ รี ย ก่ อ โรค และเพิ่ ม แบคที เ รี ย ที่ มี ประโยชน์ เป็นการดูแลสุขภาพไก่อย่างดีที่สุด เป็นการป้องกันทุกวิถีทางไม่ให้ไก่มีโอกาสเสี่ยง ต่อการติดเชื้อใดๆ ทำให้ไก่ในโครงการนี้ ไม่ จำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะ และสามารถดำรง สุขภาพอย่างแข็งแรงได้ตงั้ แต่ฟกั เป็นตัว กระทัง่ เข้าสูโ่ รงงานแปรรูป โดยตลอดเส้นทางดังกล่าว แม้ จ ะไม่ มี ก ารใช้ ย าแต่ ก็ ยั ง คงต้ อ งตรวจสอบ ยาปฏิชีวนะตกค้างตามระบบปกติ เพื่อยืนยัน ให้แน่ใจว่า ไม่พบสารตกค้างใดๆ และปลอดภัย ต่อผู้บริโภคแน่นอน

นวัตกรรมการเลี้ยงไก่ของประเทศไทย ก้าวหน้าเติบโตอย่างต่อเนื่อง มีพัฒนาการของ ระบบการป้องกันโรคทางชีวภาพ (good biosecurity) เพื่อลดความเสี่ยง หรือในระดับการ ผลิต ก็มีนวัตกรรมระบบโรงเรือนและอุปกรณ์ การเลี้ ย ง ตลอดจนความเข้ ม แข็ ง ในวิ ธี ก าร จัดการการเลี้ยงที่ดี (good management practice) ซึ่งทั้งหมดสะท้อนความสำเร็จอย่าง งดงาม ดังจะเห็นได้จากการทีป่ ระเทศไทยไม่เคย พบโรคระบาดอย่างไข้หวัดนกอีกเลยหลังจาก ปี 2547

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 33 เล่มที่ 171

ขณะเดียวกัน ต้องเสริมความสามารถ ในการย่อยและดูดซึมอาหารของไก่ เพื่อไม่ให้ อาหารที่ ย่ อ ยและดู ดซึ ม ไม่ ห มด ต้ อ งตกค้ า ง จนกลายเป็นสารอาหารให้เชื้อแบคทีเรียก่อโรค เช่น อีโคไล ซาโมเนลล่า หรือคอสตริเดียม รวมถึงต้องเพิม่ จำนวนเชือ้ แบคทีเรียทีม่ ปี ระโยชน์ (Probiotic) หลายๆ ชนิดในลำไส้ไก่


ทำอาหารสัตว์ให้ดี

เป็นดัชนีชี้วัดผลกำไร Market Leader

52

เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2559 สมาคมนิสิตเก่าสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกับ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ และมูลนิธศิ าสตราจารย์ ดร.จักร พิชยั รณรงค์สงคราม ได้มกี าร จัดสัมมนา “ทันโลก ทันเหตุการณ์ อาหารสัตว์และวัตถุดิบ” ณ สำนักงาน สัตวแพทยสภา จ.นนทบุรี พร้อมกับการเสวนาในหัวข้อ “ทำอาหารสัตว์ให้ดี เป็นดัชนีชี้วัดผลกำไร” โดยมีผู้เข้าร่วมทั้งจากอาจารย์ และนักวิชาการด้าน อาหารสัตว์จากภาครัฐและเอกชนดังนี้

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 33 เล่มที่ 171

พฤศจิกายน-ธันวาคม 2559

น.สพ. วินยั ทองมาก ผูจ้ ดั การฝ่ายวิชาการและทีป่ รึกษา ผลผลิตสุกร บริษัท ไลฟ์ อินโฟร์เมติคส์ จำกัด กล่าวว่า ในการใช้อาหารสัตว์เป็นตัวชี้วัดฟาร์มนั้น จริงๆ แล้ว มี องค์ประกอบมากมายทีม่ าเกีย่ วข้อง ทัง้ เรือ่ งของสุขภาพสัตว์ คน สูตรอาหาร แต่ถ้าจะพูดถึงเฉพาะอาหารจริงๆ นั้น ก็อาจ จะมองไปที่เรื่องของสายพันธุ์สัตว์ที่เราเลี้ยง เช่น การเลี้ยงสุกร เราก็ทำสูตร อาหารที่เหมาะสมกับสายพันธุ์นั้นๆ โดยใช้พันธุกรรมเป็นตัวตั้ง ไม่ว่าจะเป็น FCR, ADG ที่ ส ายพั น ธุ์ สุ ก รนั้ น มี อ ยู่ ภ ายใต้ เ งื่ อ นไขของตลาดที่ ย อมรั บ ใน คุณภาพของซากหมู แต่ปัญหาที่ผ่านมาคือ เกษตรกรไม่เข้าใจ หรือไม่ทราบความต้องการ ทีแ่ ท้จริงของสายพันธุห์ มูทนี่ ำมาเลีย้ ง โดยเฉพาะฟาร์มหมูขนุ เพราะมีการซือ้ หมู มาจากหลายแห่ง หลายฟาร์ม ดังนั้น หมูที่ซื้อเข้ามาก็ต้องมีหลายสายพันธุ์ แต่ เ มื่ อ นำมาเลี้ ย งแล้ ว ต้ อ งอยู่ ภ ายใต้ ก ารบริ ห ารจั ด การเดี ย วกั น ในขณะที่ พันธุกรรมของหมูที่มีต่างกัน ดังนั้น การที่จะออกสูตรอาหารแล้วตอบสนอง ในทุกสายพันธุ์ย่อมเป็นไปไม่ได้ ที่มา : สาสน์ไก่ & สุกร ฉบับที่ 163 ธันวาคม 2559

น.สพ. สุเมธ ทรัพย์ชูกุล ดำเนินรายการ


ในส่วนของอาหารสัตว์ ในกรณีที่ฟาร์ม ไม่มคี วามรู้ หรือเลือกไม่ถกู ว่าจะใช้อาหาร หรือ ควรซือ้ วัตถุดบิ แบบไหนเข้าฟาร์ม ในกรณีทเี่ ป็น อาหารสูตรต้นๆ ควรที่จะใช้อาหารสำเร็จรูปจะ ดีกว่า เพราะการผสมอาหารเองมีปัจจัย โดย เฉพาะตัววัตถุดิบที่ความผันแปรมาก ดังนั้น

ประเด็นเรื่องยาผสมอาหาร โดยเฉพาะ พวกยาปฏิชวี นะทีอ่ นาคตอาจจะต้องเลิกใช้ ทาง แก้ตอนนีค้ อื พยายามทำระบบการเลีย้ งให้ปลอด จากเชื้อโรคมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เช่น การ เลีย้ งแบบเข้าหมดออกหมด (All in All out) เลีย้ ง อย่าให้หนาแน่น ให้หลวมๆ เข้าไว้ ข้อต่อมาคือ น้ำ เรือ่ งนีก้ ส็ ำคัญ เพราะน้ำก็เป็นส่วนหนึง่ ของ อาหาร เพราะฉะนั้นต้องควบคุมให้ได้ เพราะ ทุกส่วนล้วนสำคัญทั้งสิ้น สิง่ ทีฝ่ ากไว้คอื ถ้าสัตว์ไม่ปว่ ย ให้เน้นการ ป้องกัน เน้นการจัดการ แต่เวลาที่สัตว์ป่วย ก็ อย่าคิดว่าป่วยเพราะอะไรอย่างใดอย่างหนึง่ ควร ตรวจวิเคราะห์ทุกจุดในฟาร์ม อย่าคิดว่าไม่ใช่ เรา หรือไม่ใช่สาเหตุที่มาจากเรา เพราะปัญหา ทุกปัญหาเป็นสิง่ ทีเ่ กิดจากหลายปัจจัย คือตัง้ แต่ สองปัจจัยขึ้นไป ผศ.ดร. เสกสม อาตมางกูร อาจารย์ประจำภาค วิชาสัตวบาล คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน บอกว่า เห็นด้วยกับหมอวินัย ที่ วันนีห้ ลายฟาร์มขาดความเข้าใจเกีย่ วกับสถานะ ของสัตว์ในฟาร์ม กล่าวคือ ทำงานโดยไม่ทราบ ปัญหาที่แท้จริง เช่น ให้ทำวัคซีนก็ทำไปตามที่ บอก แต่ไม่รู้ว่าสถานภาพภูมิคุ้มกันในฟาร์ม เป็นอย่างไร ก็ทำกันไป ฉีดกันไป ได้ผลบ้าง ไม่ได้ผลบ้าง ยาก็เหมือนกัน ก็ทำตาม ใส่เข้าไป หยอดเข้าไป กลายเป็นปัญหาเรื้อรังไม่สิ้นสุด

53 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2559

การที่สัตว์มีสุขภาพไม่ดี เจ็บป่วย เป็น โรคได้ง่าย โดยเฉพาะฟาร์มรายเล็กรายย่อยที่ ไม่ใช่ฟาร์มในรูปแบบบริษัท หลายคนอาจมอง ว่าบกพร่องในเรือ่ งของการทำระบบไบโอซีเคียวริตี้ ไม่ใส่ใจ หรือไม่ให้ความสำคัญอย่างเต็มที่ ทำให้โรคเข้าฟาร์ม ซึ่งความเข้าใจตรงจุดนี้ อยากจะบอกว่า จริงๆ แล้วเกษตรกรเหล่านี้ รู้เรื่องและพยายามทำเต็มที่แล้ว แต่ที่ยังเป็น ปัญหาเกิดการระบาดขึน้ ในฟาร์ม นัน่ เป็นเพราะ ฟาร์มเหล่านี้มีข้อเสียเปรียบในเรื่องของพื้นที่ การเลีย้ ง หมายความว่า ทัง้ พืน้ ทีก่ ารเลีย้ งทีต่ ดิ กัน หรือใกล้กันในเส้นทางหนึ่ง อาจมีฟาร์มตั้งอยู่ หลายฟาร์ม แตกต่างจากฟาร์มบริษัทที่อาจมี ภูเขาล้อมรอบ การป้องกันโรคจึงทำได้ดีกว่า นี่คือความจริง ทำให้เกษตรกรเหล่านี้ประสบ ปัญหาเรื่องโรคอยู่เรื่อยไป

การเลือกใช้อาหารสำเร็จรูปเป็นทางออกหนึง่ ใน การช่วยทำให้ฟาร์มหมดปัญหาเรื่องคุณภาพ อาหาร แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น อาหารสัตว์ที่ดี คำตอบ ที่จะชี้ชัด หรือตัดสินใจได้ดีที่สุดคือตัวสัตว์เอง

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 33 เล่มที่ 171

อย่างไรก็ตาม ปัญหาเหล่านี้ เกษตรกร ส่วนใหญ่รดู้ ี แต่ลกึ ๆ ส่วนทีส่ ง่ ผลกระทบต่อการ กินได้ของหมูไม่ใช่อาหาร แต่เป็นสุขภาพสัตว์ มากกว่าทีเ่ ป็นปัญหาของเกษตรกร ดังนัน้ ปัญหา ที่เจอคือ การที่เกษตรกรทำสูตรอาหารแล้ว แต่สุขภาพของสัตว์ไม่เอื้ออำนวยต่อสูตรอาหาร ที่ออกมา แม้จะออกสูตรมาดีขนาดไหน ใส่ วัตถุดิบคุณภาพดีเพียงใด แต่หมูก็ยังเป็นโรค เดินไม่ได้ กินไม่ได้ อาหารที่เราทำอย่างดีก็ ไม่มีประโยชน์


แทนที่จะหาสาเหตุ หรือปัญหาที่แท้จริง เช่น เช็คไตเตอร์กอ่ นทำวัคซีน เพือ่ ให้สมั พันธ์กบั วัคซีน ทีท่ ำ เพราะฉะนัน้ โปรแกรมวัคซีนของแต่ละฟาร์ม ไม่ควรเหมือนกัน ควรที่จะเป็นโปรแกรมตาม ความเป็นจริงในช่วงเวลานั้นๆ (Real Time) เพราะสถานการณ์ของโรคมันเปลี่ยนไป

54 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 33 เล่มที่ 171

พฤศจิกายน-ธันวาคม 2559

หลักของการเลี้ยงสัตว์จริงๆ ถ้าเป็นเรื่อง ของอาหารสัตว์พนื้ ฐานก็คอื “FIFO” หรือ First in First out แต่ถ้าเป็นเรื่องของการจัดการ จะใช้ All in All out นี่คือหลักพื้นฐานที่ทราบ กันดี ดังนั้น ถ้ามองหลักการนี้ในการเลี้ยงสัตว์ 3 ชนิด คือ ไก่เนื้อ ไก่ไข่ และสุกร จะพบว่า สุ ก รมี ปั ญ หาเรื่ อ งสุ ข ภาพมากที่ สุ ด นั่ น เป็ น เพราะมีการนำหลักการเรือ่ ง All in All out ไปใช้ น้อยที่สุด หรือแทบจะไม่ได้ใช้ ดังนั้น ทำให้ ประสิ ท ธิ ภ าพการควบคุ ม ป้ อ งกั น โรคด้ อ ยลง เกิดปัญหาสุขภาพตามมาในที่สุด เพราะฉะนั้น จึงมีโจทย์ว่าจะทำอย่างไรที่จะนำหลักพื้นฐานนี้ ไปใช้ได้ ปัญหาก็จะเบาบางลง นี่คือหลักการ พื้นฐานที่เรามักลืมกันไป นอกจากสุขภาพสัตว์ที่มีผลต่อการกินได้ ของสัตว์แล้ว บุคลากรในฟาร์มก็เป็นส่วนสำคัญ ในการชี้วัดด้วย ตั้งแต่ระดับล่างขึ้นมาถือว่า สำคัญหมด ดังนั้น การมีสวัสดิการดีๆ ผล ตอบแทนทีเ่ หมาะสมให้กบั บุคลากรในฟาร์ม จะ ช่วยทำให้ประสิทธิภาพการทำงานในฟาร์มดี อย่างสม่ำเสมอ การเปลีย่ นคนทำงานบ่อยๆ ไม่ เป็นผลดีต่อฟาร์ม เพราะสัตว์มีความรู้สึกไวต่อ สิ่งรอบด้าน คนงานคนเดียวกัน แต่งตัวเข้า ทำงานในฟาร์มลักษณะที่ผิดไปจากเดิม เช่น จากเดิมสวมหมวก ต่อมาไม่สวมหมวก สัตว์จะ ตกใจทันที ดังนัน้ จะเห็นได้วา่ การเปลีย่ นแปลง บุคลากรบ่อยๆ เป็นสิ่งที่ไม่ควรมี

สุดท้ายอยากจะเน้นย้ำว่า คุณภาพอาหาร สัตว์เป็นเรื่องที่สำคัญ แต่อาหารที่มีคุณภาพ เราสามารถทำให้มันมีต้นทุนที่ต่ำลงได้ โดย การจัดการวัตถุดิบหลักที่จำเป็นต่อสูตรอาหาร ในฟาร์ม ซึง่ เราจะต้องตระหนักให้มากๆ รายใหญ่ อาจไม่มีปัญหาในเรื่องนี้ เพราะมีกำลังซื้อสูง แต่ ร ายเล็ ก น่ า เป็ น ห่ ว ง ฉะนั้ น จะทำอย่ า งไร จะรวมกันได้หรือไม่ เพือ่ ให้มอี ำนาจต่อรองมากๆ ดังนั้น เพื่อความอยู่รอดต้องเอาไปคิดว่าจะรวม ตัวกันอย่างไร ฝากให้ไปคิด น.สพ. ธนบดี รอดสม ผูเ้ ชีย่ วชาญด้านพัฒนาระบบ และรับรองคุณภาพอาหาร สัตว์ กรมปศุสัตว์ กล่าวใน ประเด็นกฎหมายอาหารสัตว์ว่า อาหารสัตว์ เป็ น สิ น ค้ า ที่ มี ค วามสำคั ญ ต่ อ ประเทศไทยไม่ น้อย เนื่องจากมีความต้องการใช้ในแต่ละปีเป็น จำนวนมาก ดังจะเห็นได้จากตัวเลขการใช้ใน แต่ละปีสูงมาโดยตลอด โดยปีล่าสุด มีตัวเลข การใช้ในอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ประมาณ 16 ล้านตัน แต่ทนี่ า่ สนใจคือ ประเทศไทยมีการ นำเข้าถึง 8 ล้านตัน หรือครึ่งหนึ่งของความ ต้องการใช้ โดยเป็นวัตถุดิบถึง 90% และ แนวโน้มในอนาคตมีโอกาสเพิ่มสูงขึ้น แต่จะ นำเข้าจากที่ไหน แหล่งใด ก็เป็นอีกเรื่องที่น่า ติดตาม แม้ ป ระเทศไทยจะมี ก ารนำเข้ า วั ต ถุ ดิ บ อาหารสัตว์เป็นจำนวนมาก แต่ในขณะเดียวกัน ก็มกี ารส่งออกไปยังต่างประเทศเช่นกัน สำหรับ วัตถุดิบที่สำคัญที่ประเทศไทยมีการส่งออกไป ขายยั ง ต่ า งประเทศ ได้ แ ก่ ปลาป่ น โดย ส่งออกไปยังประเทศเอเชียเป็นส่วนใหญ่ ส่วน สาเหตุ ที่ มี ก ารส่ ง ออกไปขายยั ง ต่ า งประเทศ


อาหารสัตว์ควบคุมเฉพาะ ได้แก่ กากถั่วเหลือง ถั่วเหลืองอบ กากถั่วลิสง รำสกัด น้ำมัน ข้าวโพดป่นเกรด 1 ข้าวโพดกากดีดีจีเอส คาโนลา ปลาป่น และกระดูกป่น เนื้อป่น เนื้อสัตว์ปีกป่น ขนสัตว์ปีกป่น ข้าวสาลีเมล็ด (บังคับใช้เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2559) กากเนื้อในเมล็ดปาล์ม อย่างไรก็ตาม ความนิยาม ของข้าวโพดป่น หมายความว่า เมล็ดข้าวโพดที่

55 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2559

สำหรับตัวเลขวัตถุดบิ สำคัญอย่างข้าวโพด เลี้ยงสัตว์ และกากถั่วเหลืองในรอบปีนี้ (พ.ศ. 2559) พบว่ามีการปลูกเพิ่มขึ้น โดยข้าวโพด เลีย้ งสัตว์ปริมาณต่ำสุดทีใ่ ช้คอื 7 ล้านตัน สูงสุด 8 ล้านตัน ขณะทีก่ ากถัว่ เหลืองซึง่ เป็นวัตถุดบิ ที่ สำคัญอีกตัว พบว่ามีการใช้สูงถึง 3.5 ล้านตัน สูงสุด 4.6 ล้านตัน ขณะที่ประเทศไทยมีความ สามารถในการผลิตกากถั่วเหลืองเพียงแค่ 6 หมื่นตันเท่านั้น ดังนั้น กากถั่วเหลืองที่ใช้อยู่ ทุกวันนีส้ ว่ นใหญ่จะเป็นการนำเข้าเกือบ 100% แต่ที่น่าเป็นห่วงคือข้าวโพด อนาคตจะมีปัญหา ในเรื่องของที่มาที่ไป หมายความว่า ข้าวโพดที่ ปลูกในพื้นที่ไม่ถูกกฎหมายจะนำมาใช้ไม่ได้ นั่น แปลว่า ปริมาณข้าวโพดที่ผลิตได้จะลดลง

อย่างไรก็ดี สำหรับการควบคุมคุณภาพ มาตรฐานวัตถุดบิ อาหารสัตว์ ปัจจุบนั มีกฎหมาย ที่เกี่ยวข้องอยู่ทั้งหมด 3 ฉบับ ที่มีผลบังคับใช้ อยู่แล้ว ได้แก่ พระราชบัญญัติควบคุมคุณภาพ อาหารสัตว์ พ.ศ. 2558 และ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559 และประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรือ่ งกำหนดคุณภาพ หรือมาตรฐานของอาหาร สัตว์ควบคุมเฉพาะประเภทวัตถุดิบ พ.ศ. 2558 และ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 33 เล่มที่ 171

เนือ่ งจากราคาดีกว่า สูงกว่าราคาในประเทศไทย ทำให้ผู้ประกอบการสนใจที่จะส่งออกไปขายยัง ต่างประเทศมากกว่าที่จะขายภายในประเทศ


56

กำหนดที่ต้องการ โดยสินค้า หรือการบริการ นั้ น สร้ า งความพอใจให้ กั บ ลู ก ค้ า หรื อ การ ดำเนินการให้เป็นไปตามข้อกำหนดที่ต้องการ และเป็ น ไปตามมาตรฐานที่ ก ำหนดไว้ ส่ ว น มาตรฐานที่ ก ำหนดไว้ เ ป็ น ของใคร และใคร กำหนด ส่วนนี้ก็ได้แก่ กฎหมายต่างๆ เช่น พ.ร.บ. ควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ กรมปศุสตั ว์ ระบบคุ ณ ภาพ เช่ น GMP, HACCP, ISO มาตรฐานของผู้ผลิต มาตรฐานของผู้ซื้อ และ บริการ เช่น ACP, UFAS

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 33 เล่มที่ 171

พฤศจิกายน-ธันวาคม 2559

สีออกจากฝักแล้วนำมาบด หรือทำให้แตกออก อย่างละเอียด มีโปรตีนไม่น้อยกว่าร้อยละที่ กำหนด ข้าวโพดเมล็ด (อาหารสัตว์ทมี่ มี าตรฐาน) หมายความว่ า เมล็ ด ของข้ า วโพดที่ ไ ด้ จ าก กระบวนการสี เ มล็ ด ออกจากฝั ก ข้ า วโพด มี ปริมาณโปรตีนไม่นอ้ ยกว่าร้อยละทีก่ ำหนด ส่วน ข้าวสาลีเมล็ด หมายความว่า เมล็ดของข้าวสาลี ที่ได้จากกระบวนการเก็บเกี่ยวเมล็ด มีโปรตีน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 8.5 ขณะที่ วั ต ถุ ที่ ห้ า มผสมในอาหารสั ต ว์ กำหนดไว้ว่า ห้ามใช้ยาต้านจุลชีพทุกชนิด ผสม ลงในอาหารสั ต ว์ ใ นวั ต ถุ ป ระสงค์ เ พื่ อ เร่ ง การ เจริญเติบโต หรือเพิม่ ประสิทธิภาพการใช้อาหาร สัตว์ ห้ามใช้เภสัชเคมีภัณฑ์ เกลือของเภสัชเคมีภัณฑ์ และเภสัชเคมีภัณฑ์กึ่งสำเร็จรูปที่เป็น สารออกฤทธิ์ บำบัด ประเภททา รักษา หรือ ป้องกัน หรือความเจ็บป่วยของมนุษย์ หรือสัตว์ เป็นส่วนผสมในอาหารสัตว์

สำหรับปัจจัยที่เกี่ยวกับคุณภาพอาหาร สัตว์ ได้แก่ วัตถุดิบประเภท Major, Minor, Micro-Ingredients, Feed Additives รวมถึง เครือ่ งจักรทีใ่ ช้ในการผลิตอาหาร ระบบควบคุม คุณภาพ และการตรวจสอบคุณภาพของวัตถุดบิ ขบวนการผลิต การเก็บรักษาวัตถุดบิ และสินค้า สำเร็จรูป สูตรอาหาร การเลือกใช้วัตถุดิบให้ เหมาะสมกับระยะการผลิตสัตว์ และการติดตาม และประเมินผลเพื่อปรับปรุงด้านคุณภาพ

วั ต ถุ ที่ ห้ า มเติ ม อาทิ เ ช่ น กลุ่ ม เบต้ า อะโกนิสท์ กลุ่มไนโตรฟูแรนส์ กลุ่มไนโตรอิ มิ ค าโซล คลอแรมเฟนิ ค อล อะโวพาร์ ซิ น อาร์บาดอกซ์ โอลาควินดอกซ์ ไดเอทิลสติลเบสโทรล เมลามีน หรือารในกลุ่มเมลามีน เช่น กรดซัยยานูริก แอมมีไลด์ และแอมมีลิน เป็นต้น

ส่วนคุณภาพของวัตถุดิบเกี่ยวข้องกับใคร บ้างนั้น เรื่องแรกเลยคือ นโยบายด้านคุณภาพ ฝ่ายจัดซื้อ ราคาและปริมาณ มาตรฐานและ มาตรการการรับวัตถุดิบ ระบบการตรวจสอบ และควบคุมคุณภาพอุปกรณ์และเครือ่ งมือทีใ่ ช้ใน การตรวจสอบ ผู้ปฏิบัติงาน และสถานที่และวิธี การในการจัดเก็บวัตถุดิบ

คุณทวีเดช ประเจกสกุล Director and technical manager บจก. ท็อปฟีด มิลล์ กล่าวถึงคำว่า คุณภาพ คื อ อะไร ซึ่ ง มี ห ลายความหมาย เช่ น การ ดำเนิ น งานที่ มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ เป็ น ไปตามข้ อ

คุณภาพและกระบวนการผลิตอาหารสัตว์ สิ่งที่ต้องมีคือ อุปกรณ์และเครื่องจักรที่ใช้ใน การผลิต Manual, Semi Automatic, Full Automatic ระบบการควบคุมการผลิต ขั้นตอน การผลิต ผู้ควบคุมการผลิต การตรวจสอบและ ควบคุมคุณภาพในกระบวนการผลิต การกักกัน


57 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2559

คุณภาพกับอาหารสัตว์ที่ผลิต สิ่งที่ต้อง ระวังได้แก่ บันทึก หรือรายงานการผลิตอาหาร สัตว์ที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด การตรวจสอบ และควบคุมคุณภาพของอาหารสัตว์ที่ผลิตได้ อะไรที่จำเป็น และไม่จำเป็นในการตรวจสอบ อุ ป กรณ์ แ ละเครื่ อ งมื อ ที่ ใ ช้ ใ นการตรวจสอบ ความรวดเร็วในการตรวจสอบ บุคลากรทีต่ รวจ สอบ ต้องมีความชำนาญ และมีความสามารถ ในการแก้ไขปัญหาเบื้องต้นได้ ไม่ปล่อยอาหาร ที่คุณภาพไม่เป็นไปตามข้อกำหนด

สำหรั บ คุ ณ ลั ก ษณะของอาหารสั ต ว์ ที่ ดี เมื่อนำไปเลี้ยงสัตว์ ได้แก่ สัตว์มีสุขภาพดี มี อัตราการสูญเสียต่ำ-ต่ำมาก มีการเติบโต และ ประสิทธิภาพการใช้อาหารที่ดี สัตว์ให้ผลผลิตดี คุณภาพซาก และผลผลิตดี เป็นไปตามความ ต้องการของผู้ซื้อ มีราคาเหมาะสมกับคุณภาพ ให้ผลตอบแทนต่อหน่วยการลงทุนสูง (ROI) ซึง่ Return On Investment (ROI) ขึ้นอยู่กับราคา ตลาดของผลผลิตในขณะนั้น ราคาอาหารสัตว์ ประสิทธิภาพของอาหาร เช่น ในสุกรขุน ADG, FCR, FCG ในสุกรพันธุ์ P/S/Y, Weaning Wt. ในไก่เนื้อ และเป็ดเนื้อ BW, FCR, FCG, EPI ในไก่ไข่ และเป็ดไข่ Egg Wt., Egg Quality, FCR ในไก่พนั ธุ์ และเป็ดพันธุ์ DoC/HH, DOC Wt.

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 33 เล่มที่ 171

และการจัดการกับอาหารที่ผลิตได้แต่ไม่เป็นไป ตามข้อกำหนด


58

อีกเรื่องที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้ฟาร์ม นอกจากอาหารสัตว์แล้วก็คือ Biosecurity เพราะเป็นพื้นฐานของการจัดการฟาร์มอยู่แล้ว ซึ่งจะเกี่ยวข้อง หรือเกีย่ วโยงมากับอาหารสัตว์กค็ อื ว่า สัตว์ทมี่ สี ขุ ภาพดีกม็ าจากการจัดการฟาร์ม ให้ปลอดจากโรค ฟาร์มจะปลอดจากโรคก็ตอ้ งมาจากการจัดการฟาร์มทีด่ ี ดังนัน้ ฟาร์มที่ดีย่อมนำมาสู่การเป็นสัตว์สุขภาพดี สัตว์สุขภาพดีย่อมกินอาหารได้ดี แต่อาหารทีด่ กี น็ ำไปสูก่ ารเป็นสัตว์ทมี่ สี ขุ ภาพดี ถ้าอาหารนัน้ ประกอบด้วยวัตถุดบิ และสารเสริมที่มีคุณภาพ

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 33 เล่มที่ 171

พฤศจิกายน-ธันวาคม 2559

อย่างไรก็ดี อาหารสัตว์ทดี่ ี ไม่จำเป็นต้องราคาแพงเสมอไป ขณะเดียวกัน อาหารสัตว์ที่มีราคาถูกก็ใช้ว่าจะด้อยคุณภาพไปเสียหมด เพราะสิ่งที่สำคัญ อยู่ที่ความเหมาะสมในการประกอบสูตรอาหาร ถ้าคนประกอบสูตรอาหาร รู้จักเอาวัตถุดิบที่สัตว์ระยะนั้นสามารถเอามาใช้ได้ก็จะทำให้สัตว์ได้ประโยชน์ แต่ในกรณีของอาหารหมูออ่ น หรือสัตว์วยั อ่อน จำเป็นต้องได้รบั คุณภาพอาหาร ที่สูงกว่าปกติ นั้นแปลว่า ราคาอาจจะสูงกว่าปกติเช่นกัน ดังนั้น สิ่งที่อยากฝากไว้ในวันนี้ก็คือว่า ตั้งแต่ทำงานมา พบว่าปัญหา ที่เจอมาเรื่องปัญหาคุณภาพอาหารสัตว์ไม่ค่อยมี เหตุก็เพราะว่าคนที่ต้องการ จะอยูใ่ นวงการอาหารสัตว์ได้ตอ้ งทำคุณภาพ ถ้าไม่ทำก็ไม่สามารถยืนหยัดต่อไป ได้ นี่คือเรื่องจริงที่หลายคนอาจไม่ทราบ จึงขอฝากไว้เป็นข้อคิด



8 สมาคมประมงไทยร่วมมือภาครัฐ ใช้มาตรฐานสากล พัฒนาพื้นที่ประมงเขตอ่าวไทย

เพื่อความยั่งยืนสูงสุด Around the World

60 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 33 เล่มที่ 171

พฤศจิกายน-ธันวาคม 2559

คณะพัฒนาระบบการผลิตสินค้าและผลิตภัณฑ์ประมงไทย (Thai Sustainable Fisheries Roundtable) หรือ TSFR ได้นำร่องมาตรฐานสากลที่ได้รับความยอมรับระดับโลก มาใช้ใน โครงการพัฒนาประมงพืน้ ทีท่ ะเลอ่าวไทยเพือ่ ความยัง่ ยืนสูงสุด โดยมุง่ เน้นการเพิม่ ประสิทธิภาพการ บริหารจัดการ และการทำประมงของไทยด้วยความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม โปร่งใส สามารถ ตรวจสอบย้อนกลับได้ทั้งห่วงโซ่อุปทาน นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล นายกสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย กล่าวว่า โครงการ นำร่องดังกล่าว เป็นความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการประมง โดยเฉพาะ สมาชิก 8 สมาคม ผู้ร่วมก่อตั้ง TSFR ประกอบด้วย สมาคมการประมงแห่งประเทศไทย สมาคม การประมงนอกน่านน้ำไทย สมาคมผูผ้ ลิตปลาป่นไทย สมาคมผูผ้ ลิตอาหารสัตว์ไทย สมาคมอาหาร แช่เยือกแข็งไทย สมาคมกุ้งไทย สมาคมอุตสาหกรรมทูน่าไทย และสมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป เพื่อประกาศเจตนารมณ์ในการสนับสนุนให้มีการดำเนินโครงการพัฒนาการประมงอย่างยั่งยืน ตลอดห่วงโซ่อุปทาน (Fishery Improvement Plan) หรือ FIP ในเขตพื้นที่อ่าวไทย หลังประสบ ที่มา : ประชาชาติธุรกิจ 12 ตุลาคม 2559


2. ห่วงโซ่อปุ ทานมีความโปร่งใส และสร้าง ความตระหนั ก รู้ ใ ห้ แ ก่ ผู้ ซื้ อ และผู้ มี ส่ ว นได้ ส่วนเสีย

"การดำเนินโครงการ FIP ในเขตอ่าวไทย เป็นหลักฐานแสดงความตั้งใจจริง ในความ พยายามของภาครัฐและกลุม่ ผูท้ ำการประมงเพือ่ สร้างความยั่งยืนแก่อุตสาหกรรมประมง โดย คำนึงถึงปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย และ การทำประมงเกินขนาด ทำให้มผี ลต่อการลดลง ของสัตว์น้ำในปัจจุบัน" นายพรศิลป์ กล่าว

3. การบริหารจัดการการประมงอย่างมี ประสิทธิภาพเพื่อป้องกันการประมงที่ผิดกฎหมาย (IUU) และการจั บ สั ต ว์ น้ ำ ที่ ม ากกว่ า ปริมาณการผลิต เพื่อปกป้องระบบนิเวศน์ทาง ทะเล และในขณะเดียวกันสามารถให้ประโยชน์ สูงสุดต่อทุกภาคส่วนในห่วงโซ่อุปทาน

นายพรศิลป์ กล่าวต่อไปว่า โครงการ ดังกล่าว จะเป็นครั้งแรกในโลกที่ได้มีการนำ มาตรฐาน IFFO Responsible Supply Standard Version ล่าสุดเข้ามาใช้ ซึ่งมาตรฐานนี้ เป็นมาตรฐานสากลทีถ่ กู ออกแบบมาบนพืน้ ฐาน การประมงอย่างรับผิดชอบตามข้อกำหนดของ

1. สินค้าในห่วงโซ่อุปทานต้องจับมาจาก การประมงที่มีความรับผิดชอบ และสามารถ ตรวจสอบกลับได้ทั้งห่วงโซ่อุปทาน

61 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2559

สำหรับเป้าหมายหลัก 4 ประการ ในการ ดำเนินโครงการตามภายใต้ FIP คือ

4. การจั ด ทำระบบการติ ด ตามที่ ไ ด้ รั บ ความยอมรั บ และสามารถตรวจตราได้ อ ย่ า ง เหมาะสม รวมถึงระบบการสืบค้นย้อนกลับ เพือ่ ลดการทำประมงทีผ่ ดิ กฎหมาย ขาดการรายงาน และเฝ้าระวัง และเพื่อช่วยสนับสนุนผู้ที่เคารพ กฎหมาย

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 33 เล่มที่ 171

ความสำเร็จในการพัฒนาการประมงในเขตทะเล ฝัง่ อันดามัน โดยความร่วมมือกับองค์การกองทุน สัตว์ปา่ โลกสากล (World Wildlife Fund) หรือ WWF สำนักงานประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2557


องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) และทีส่ ำคัญเป็นมาตรฐาน ที่มีความเหมาะสมมากที่สุดกับการจัดการทรัพยากรประมงทะเลในประเทศไทย ที่มีผลการจับสัตว์น้ำได้หลากหลายชนิด (Multi-Species) เพื่อให้การบริหาร จัดการทรัพยากรทางทะเลเกิดประสิทธิภาพต่อการพัฒนาการประมงของประเทศ เพื่อความยั่งยืนสูงสุด นอกจาก TSFR ได้มกี ารนำมาตรฐานสากลทีไ่ ด้รบั การยอมรับระดับโลก เข้ามาใช้แล้ว โครงการพัฒนาการประมงอย่างยัง่ ยืนตลอดห่วงโซ่อปุ ทาน (Fishery Improvement Plan) หรือ FIP ในเขตพื้นที่อ่าวไทย ยังได้รับความร่วมมือจาก องค์กร คือ Sustainable Fishery Partnership (SFP) ซึ่งเป็นองค์กรด้าน สิง่ แวดล้อม ทีใ่ ห้ความสำคัญในการทำการประมงอย่างยัง่ ยืน รวมไปถึงมีความ สามารถในการสือ่ สารข้อมูลของโครงการสูผ่ ซู้ อื้ ทัว่ โลกมาเป็นทีป่ รึกษาโครงการ (Project advisor)

62 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 33 เล่มที่ 171

พฤศจิกายน-ธันวาคม 2559

ผู้แทน SFP กล่าวว่า “SFP มีความรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งสำหรับการ เปิดตัวโครงการพัฒนาการประมงอย่างยัง่ ยืนตลอดห่วงโซ่อปุ ทาน (FIP) ในเขต พื้นที่อ่าวไทย และขอยกย่องนับถือการทำงานหนักของผู้เกี่ยวข้องในโครงการฯ ซึ่ง SFP ในฐานะที่ปรึกษาโครงการ จะช่วยสนับสนุนผ่านการเข้าร่วมประชุม คณะกรรมการขับเคลื่อน การให้คำแนะนำ การฝึกอบรม และการประกัน คุณภาพในการดำเนินงานโครงการฯ เพื่อให้สามารถบรรลุตามเป้าประสงค์ที่ วางไว้ นอกจากนี้ SFP จะสนับสนุนการสือ่ สารข้อมูลของโครงการฯ ออกไปยัง ผู้ซื้อและผู้ที่เกี่ยวข้องทั่วโลก การเปิดตัวโครงการฯ นี้ นับเป็นก้าวที่สำคัญเพื่อ มุง่ สูเ่ ป้าหมายในการบริหารจัดการประมงอย่างรับผิดชอบ เพือ่ ตอบสนองความ ต้องการจากห่วงโซ่อุปทานผู้ซื้อในต่างประเทศได้เป็นอย่างดี”



1.R&D µ¦ª· ´¥Â¨³¡´ µ 2.Consultation µ¦Ä®o µÎ ¦¹ ¬µ 3.Design µ¦°°  4.Manufacture µ¦ ¨· 5.Logistics µ¦ ¦·®µ¦ o µ µ¦ ´ Á È Â¨³ ­n 6.Installation µ¦ · ´ Ê 7.Commissioning µ¦ ­° 8.Training µ¦ ¹ ° ¦¤ 9.Service µ¦Ä®o ¦· µ¦®¨´ µ¦ µ¥

Pellet mill Dryer

Extruder

Pulverizer

Mixer

Hammer mill


1. เป๋าฮื้อ (Abalone) 2. ปลาแอตแลนติกคอด (Atlantic Cod) 3. ปลาอีโต้มอญ (Dolphinfish/Mahi Mahi) 4. ปลาเก๋า(Grouper) 5. ปูคิงแครบ (King Crab (red)) 6. ปลาแปซิฟิกคอด (Pacific Cod) 7. ปลากระพงแดง (Red Snapper) 8. ปลิงทะเล (Sea Cucumber) 9. ปลาฉลาม (Sharks) 10. กุ้ง (Shrimp) 11. ปลาดาบ(Swordfish) 12. ปลาทูน่า (สายพันธุ์ Albacore, Bigeye, Skipjack,Yellowfin, Bluefin) โดยในวันที่ 1 มกราคม 2561 จะเริ่มบังคับใช้กับสินค้าประมงในกลุ่มดังกล่าว ยกเว้น กุ้งและเป๋าฮื้อ ที่หน่วยงาน National Oceanic and Atmospheric Administration (NOAA) จะ ประกาศวันบังคับใช้ภายหลังกำหนดข้อปฏิบัติการเก็บบันทึกข้อมูลการผลิตกุ้งเลี้ยงในสหรัฐฯ แล้ว และมีแนวโน้มว่าจะมีการขยายการควบคุมจนครอบคลุมสินค้าประมงทุกสายพันธุ์ ทัง้ นีส้ หรัฐฯ จะจัดเก็บข้อมูลทีไ่ ด้รบั จากระบบ Seafood Import Monitoring Program มาไว้ ในระบบ International Trade Data System (ITDS) ซึ่งเป็นฐานข้อมูลกลางด้านการนำเข้า และส่งออกของรัฐบาลสหรัฐฯ เพื่อประโยชน์ต่อไป ที่มา : thefishsite.com สรุปโดย : มกอช. (15/12/59)

63 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2559

กฎหมาย Seafood Import Monitoring Program กำหนดให้ผู้นำเข้าสินค้าประมงมายัง สหรัฐฯ ต้องรายงานข้อมูล และจัดเก็บบันทึกข้อมูลการนำเข้าสินค้าประมงสายพันธุ์ที่เสี่ยงต่อการ ประมงที่ผิดกฎหมาย ซึ่งได้แก่

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 33 เล่มที่ 171

สหรัฐฯ ประกาศกฎหมายฉบับสมบูรณ์ว่าด้วย Seafood Import Monitoring Program ระบุเพื่อปกป้องเศรษฐกิจของประเทศ ความมั่นคงทางอาหารโลก การแบ่งปันทรัพยากรประมง อย่างยั่งยืน ตลอดจนเป็นการยกระดับการปฏิวัติภายใต้แนวทางการควบคุมการทำประมงที่ผิด กฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (IUU)

Around the World

มะกันประกาศกฎหมาย ตามสอบสินค้าประมงนำเข้า ดีเดย์ปีใหม่ 61


เอกสารวิชาการ เรื่อง

การศึกษาสภาวะการปนเปื้อนเชื้อซัลโมเนลลา ในวัตถุดิบอาหารสัตว์ของอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ ไทย A study on Salmonella contamination in animal feedstuff of feed industry in Thailand โดย นายจิรวัฒน์ อรรคไกรสีห์ 1 นางสาวสายญาติ สินนาค 2

Around the World

บทคัดย่อ เชือ้ ซัลโมเนลา เป็นแบคทีเรียทีก่ อ่ ให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษมากทีส่ ดุ โดยมีเนือ้ สัตว์ หรือ ผลิตภัณฑ์จากสัตว์เป็นแหล่งแพร่กระจายเชื้อซัลโมเนลลาที่สำคัญสู่คนผ่านการบริโภค การ ปนเปื้อนเชื้อซัลโมเนลลาจากสัตว์สู่คน สาเหตุหนึ่งเกิดจากอาหารสัตว์ และวัตถุดิบอาหารสัตว์ งานวิจยั นีม้ วี ตั ถุประสงค์เพือ่ ทราบสภาวะการปนเปือ้ นเชือ้ ซัลโมเนลาในวัตถุดบิ อาหารสัตว์ และ เมือ่ นำไปใช้ผลิตเป็นอาหารสัตว์ ซึง่ ผลจากการศึกษาพบว่าวัตถุดบิ อาหารสัตว์หลักทีน่ ำไปใช้ผลิต เป็นอาหารสัตว์ของอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ไทยมีการปนเปื้อนเชื้อซัลโมเนลลา ร้อยละ 10.0 (100/1004) หากพิจารณาแยกตามประเภทวัตถุดบิ อาหารสัตว์พบว่า วัตถุดบิ อาหารสัตว์ประเภท วัตถุดบิ อาหารสัตว์จากสัตว์ และประเภทวัตถุดบิ อาหารสัตว์จากพืชมีการปนเปือ้ นเชือ้ ซัลโมเนลลา ร้อยละ 13.4 (57/425) และ 7.4 (43/579) ตามลำดับ โดยวัตถุดิบอาหารสัตว์ประเภท วัตถุดบิ อาหารสัตว์จากสัตว์ พบการปนเปือ้ นเชือ้ ซัลโมเนลลามากกว่าประเภทวัตถุดบิ อาหารสัตว์ จากพืช (P<0.05) และพบว่าวัตถุดิบอาหารสัตว์ประเภทวัตถุดิบอาหารสัตว์จากสัตว์ มีการ ปนเปื้อนเชื้อซัลโมเนลลาทุกชนิด เรียงตามห้าอันดับแรกดังนี้ เนื้อป่น เนื้อสัตว์ปีกป่น เนื้อ และกระดูกป่นเนื้อหมูป่น ขนสัตว์ปีกป่น และปลาป่น ในขณะที่วัตถุดิบอาหารสัตว์ประเภท วัตถุดิบอาหารสัตว์จากพืช ซึ่งยังแบ่งออกได้เป็นสองกลุ่มคือ กลุ่มวัตถุดิบอาหารสัตว์จากพืช ประเภทโปรตีน และกลุ่มวัตถุดิบอาหารสัตว์จากพืช ประเภทพลังงานพบการปนเปื้อนเชื้อ ซัลโมเนลลา ร้อยละ 6.4 (19/296) และ 8.5 (24/259) ตามลำดับ โดยวัตถุดิบอาหารสัตว์ จากพืชทั้งสองกลุ่มดังกล่าว มีการปนเปื้อนเชื้อซัลโมเนลลาไม่แตกต่างกัน (P>0.05) โดย วัตถุดิบอาหารสัตว์จากพืชประเภทโปรตีน พบการปนเปื้อนเชื้อซัลโมเนลลา เรียงตามห้า อันดับแรกดังนี้ ใบกระถินป่น ส่าเหล้า/กากเบียร์ กากถั่วลิสง กากถั่วเหลือง และถั่วเหลืองอบ วั ต ถุ ดิ บ อาหารสั ต ว์ จ ากพื ช ประเภทพลั ง งาน มี ก ารปนเปื้ อ นเชื้ อ ซั ล โมเนลลาเรี ย งตามห้ า

64 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 33 เล่มที่ 171

พฤศจิกายน-ธันวาคม 2559

1, 2

กองควบคุมอาหารและยาสัตว์ กรมปศุสัตว์


อันดับแรกดังนี้ คือ รำละเอียด แป้งสาลี ข้าวโพดป่น ข้าวโพดอบ และรำข้าวสาลี เมือ่ พิจารณา แยกตามกระบวนการผลิตพบว่า กลุม่ วัตถุดบิ อาหารสัตว์จากพืช ทีผ่ า่ นกระบวนการให้ความร้อน และไม่ผ่านกระบวนการให้ความร้อน มีการปนเปื้อนเชื้อซัลโมเนลลา ร้อยละ 5.3 (18/320) และ 10.4 (25/216) ตามลำดับ โดยกลุ่มวัตถุดิบอาหารสัตว์จากพืชที่ไม่ผ่านกระบวนการให้ ความร้อนมีการปนเปื้อนเชื้อซัลโมเนลลามากกว่า (P<0.05)

คำสำคัญ : ซัลโมเนลลา, การปนเปื้อนเชื้อซัลโมเนลลา

พฤศจิกายน-ธันวาคม 2559

65 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 33 เล่มที่ 171

วัตถุดิบอาหารสัตว์ประเภทต่างๆ เมื่อนำไปใช้ผลิตเป็นอาหารสัตว์ผสมสำเร็จรูปพบว่า อาหารสัตว์ผสมสำเร็จรูปมีการปนเปือ้ นเชือ้ ซัลโมเนลลา ร้อยละ 0.6 (12/1,898) เมือ่ พิจารณา แยกตามกระบวนการผลิตพบว่าอาหารสัตว์ผสมสำเร็จรูป ชนิดเม็ด และอาหารสัตว์ผสมสำเร็จรูป ชนิดผง มีการปนเปือ้ นเชือ้ ซัลโมเนลลา ร้อยละ 0.2 (3/1,524) และ 2.4 (9/374) ตามลำดับ โดยอาหารสัตว์ผสมสำเร็จรูปทั้ง 2 กลุ่ม มีการปนเปื้อนเชื้อซัลโมเนลลาไม่แตกต่างกัน (P> 0.05) เมื่อพิจารณาแยกตามชนิดอาหารสัตว์ พบว่าอาหารสัตว์ผสมสำเร็จรูปชนิดเม็ด สำหรับ ไก่ สุกร และโค มีการปนเปื้อนเชื้อซัลโมเนลลา เฉพาะอาหารสัตว์ผสมสำเร็จรูป ชนิดเม็ด สำหรับ ไก่ เท่านั้น ร้อยละ 0.5 (3/649) ในขณะที่ในอาหารสัตว์ผสมสำเร็จรูป ชนิดผง สำหรับ ไก่ สุกร และโค มีการปนเปื้อนเชื้อซัลโมเนลลาในอาหารสัตว์ทุกชนิด ดังนี้ อาหารสัตว์ผสมสำเร็จรูป ชนิดผง สำหรับ ไก่ ร้อยละ 4.4 (3/68) สุกร ร้อยละ 1.6 (3/193) และโค ร้อยละ 2.8 (3/107) โดยทั้งอาหารสัตว์ผสมสำเร็จรูป ชนิดเม็ด หรือชนิดผง สำหรับ ไก่ สุกร และโค มีการปนเปื้อนเชื้อซัลโมเนลลาไม่แตกต่างกัน (P>0.05) ทั้งนี้ เพื่อใช้ เป็นข้อมูลให้แก่ผู้ประกอบการ หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ในการพิจารณา ตรวจสอบ ควบคุม หรือกำหนดมาตรการจัดการที่เหมาะสมในการลด หรือขจัดการปนเปื้อนเชื้อซัลโมเนลลาใน วัตถุดิบอาหารสัตว์ และอาหารสัตว์ตามความเสี่ยงของการปนเปื้อนเชื้อซัลโมเนลลาได้อย่างมี ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น


Abstract Salmonella is the most bacteria causing foodborne disease that originates from meat and animal product spreading out Salmonella to human being through consumption. Salmonella contamination is from animals to human being. One of the causes is from animal feed and feedstuffs. This research was aimed at studying the Salmonella contamination status in feedstuffs and when they were used to produce complete feed.

66 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 33 เล่มที่ 171

พฤศจิกายน-ธันวาคม 2559

It was found from this study that The Feedstuff used to produce feed industry of Thailand were found contaminated with Salmonella at a level of 10.0 percent (100/1004), when considered separately by type of feedstuff it was found that feedstuff of animal and plant origin contaminated with Salmonella 13.4 percent (57/425) and 7.4 percent (43/579), respectively. Feedstuffs of animal origin were found contaminated with Salmonella at a higher proportion than feedstuff of plant origin (P<0.05). Feedstuff of animal origin contaminated with Salmonella in Top 5 descending as follows: meat meal, poultry meal, meat and bone meal, pork meal, feather meal and fish meal. While feedstuff from plant, which is divided into two groups; protein and energy group was found contaminated with Salmonella 6.4 percent (19/296) and 8.5 (24/259), respectively. The Salmonella contamination of two groups of feedstuff of plant origin was not significantly different (P>0.05). It was also found that feedstuff from plant protein was contaminated with Salmonella in Top 5 descending as follows; the acacia leaves, beer or brewers bran, peanut meal, soybean meal and full fat soybean. Feedstuff from energy crops were contaminated with Salmonella in Top 5 descending order as follows rice bran, wheat flour, corn meal, corn bran and wheat bran. Feedstuff of plant origin classified by the production of feedstuff from plants through heating process and not through the heating process, the Salmonella contaminations were 5.3 percent (18/320) and 10.4 (25/216), respectively. The feedstuff from the plant through the heating process were found contaminated with Salmonella less than the ones without heating process (P<0.05)


บทนำ ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา เชื้อซัลโมเนลลา (Salmonella) เป็นแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษที่มีอันตรายสูง และเป็นปัญหาทางด้านสาธารณสุข (Thorns, 2000) โดยก่อให้เกิดโรคต่างๆ เช่น โรคไข้รากสาดน้อย (Salmonellatyphi) ไข้รากสาดเทียม (Salmonella paratyphi) โรคติดเชื้อในกระแสเลือด (Salmonella enteritidis) โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Salmonella typhimurium) นอกจากนั้น ยัง ก่อให้เกิดปัญหาการติดเชือ้ ดือ้ ยาในคนและสัตว์ ซึง่ จากรายงานของ Center for Disease Control and Prevention (CDC) ของสหรัฐอเมริกา พบว่าเชื้อซัลโมเนลลาเป็นสาเหตุของการเกิดการ ระบาดของโรคอาหารเป็นพิษบ่อยที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับเชื้ออื่นๆ (สุมณฑา และคณะ, 2549) โดยโรคอาหารเป็นพิษทีม่ สี าเหตุจากเชือ้ ซัลโมเนลลาในแต่ละปี ทำให้ผบู้ ริโภคเกิดการเจ็บป่วย และ/ หรือเสียชีวิตร่วมอยู่ด้วยเสมอ (สํานักระบาดวิทยา, 2549)

พฤศจิกายน-ธันวาคม 2559

Key word: Salmonella, Salmonella contamination

67 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 33 เล่มที่ 171

Feedstuff of animal and plant origin when producing a complete feed, the complete feed was contaminated with Salmonella at 0.6 percent (12/1,898). When considering the type of the complete feed of pellet form and powder forms it was found that the Salmonella contamination were 0.2 percent (3/1,524) and 2.4 (9/374), respectively, the complete feed of both types did not contaminate with Salmonella differently (P>0.05), and when considering the Salmonella contamination in complete feed of pellet form or powder form by animal species for poultry, pigs and cattle, It was also found that only complete feed of pellet form for poultry was contaminated with Salmonella 0.5 percent (3/649) while the Salmonella, contaminations was found in complete feed of powder form in all animal species studied, as follows; complete feed of powder form for poultry by 4.4 percent (3/68), pigs by 1.6 percent (3/193), and cattle by 2.8 percent (3 /107). The Salmonella contamination of complete feed of pellet form or powder form for poultry, pigs and cattle were not significantly different (P>0.05). Thus the information is provided for enter renew or authority personnel to consider control, inspect and have appropriate measures to reduce or eliminate Salmonella contamination in feed stuff and feed according to the risk of salmonella contamination more effectively.


68 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 33 เล่มที่ 171

พฤศจิกายน-ธันวาคม 2559

เชื้ อ ซั ล โมเนลลาอาศั ย อยู่ ใ นทางเดิ น อาหารลำไส้ของสัตว์ และคน และแพร่กระจาย เชือ้ ไปในดิน น้ำ และสิง่ แวดล้อม ปนเปือ้ นเข้าสู่ ห่วงโซ่อาหารผ่านทางอุจจาระ โดยการติดต่อ และแพร่กระจายเชือ้ ซัลโมเนลลาสูค่ น ส่วนใหญ่ เกิดจากการได้รับเชื้อที่ปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม ผ่านการบริโภคอาหาร (Hedberg, 1999) จาก รายงานการเฝ้าระวังโรคของกองระบาดวิทยา พบว่า 30 เปอร์เซ็นต์ ของผู้ป่วยในกลุ่มโรค อาหารเป็นพิษมีสาเหตุมาจากเชื้อซัลโมเนลลา หรือคิดเป็นผู้ป่วยจากเชื้อซัลโมเนลลาจำนวน 38,132 ราย จากจำนวนผูป้ ว่ ยโรคอาหารเป็นพิษ ทั้งหมด 123,008 ราย หรือคิดเป็นอัตราป่วย 67.27 ต่อแสนประชากร (สำนักระบาดวิทยา, 2544) ในประเทศสหรัฐอเมริกาพบผู้ติดเชื้อ ซัลโมเนลลาปีละ 40,000 คน โดยสาเหตุหลัก ของการติดเชื้อซัลโมเนลลาเกิดจากการบริโภค ถึงร้อยละ 98 (Mead et al, 1999) อาหาร ที่มักตรวจพบการปนเปื้อนเชื้อซัลโมเนลลา คือ เนื้อสัตว์ น้ำนมดิบ พืชผัก ธัญพืช และน้ำ (International Association for Food, 2011) โดยเนือ้ สัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์จดั เป็นแหล่ง สำคัญที่ทำให้เกิดการปนเปื้อนเชื้อซัลโมเนลลา ในอาหาร โดยเฉพาะสัตว์ปีก ผลิตภัณฑ์สัตว์ปีก และไข่ดิบ ซึ่งล้วนเป็นสาเหตุหลักของการเกิด โรคซัลโมเนลโลซิส (Bryan and Doyle, 1995 and Humphrey, 2000) เช่นเดียวกับศศิธร ซึ่ ง พบว่ า สั ต ว์ ปี ก เป็ น แหล่ ง และสาเหตุ ส ำคั ญ ของโรคติดเชื้อซัลโมเนลลาในคน (ศศิธร และ สุปราณี, 2546) การเกิดโรคอาหารเป็นพิษ จากการบริโภค เนื้อสัตว์ หรือผลิตภัณฑ์จากสัตว์ที่มีเชื้อซัลโมเนลลาปะปนนั้น สาเหตุหนึ่งเกิดมาจากการ

แพร่กระจายของเชื้อซัลโมเนลลาไปตามลำดับ ของห่วงโซ่อาหาร โดยเริม่ จากวัตถุดบิ อาหารสัตว์ ไปยังตัวสัตว์ เนื้อสัตว์ และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ ก่อนเข้าสู่มนุษย์ผู้บริโภค ซึ่งเป็นลำดับสุดท้าย ของห่วงโซ่อาหาร ดังรายงานการปนเปื้อนเชื้อ ซัลโมเนลลาในกระบวนการผลิตสุกร ซึ่งพบว่า เริ่ ม ต้ น มี ก ารปนเปื้ อ นเชื้ อ ซั ล โมเนลลาตั้ ง แต่ วัตถุดิบอาหารสัตว์ที่นำไปผลิตเป็นอาหารสัตว์ (RuttayapornNgasaman, 2007) โดยอาหาร สั ต ว์ ที่ มี ก ารปนเปื้ อ นเชื้ อ ซั ล โมเนลลาจั ด เป็ น อาหารสัตว์เสือ่ มคุณภาพ และห้ามมิให้ผใู้ ดผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย ตามพระราชบัญญัตคิ วบคุม คุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ.2525 (กรมปศุสัตว์, 2540) หรือห้ามนำไปใช้เลีย้ งสัตว์ ตามมาตรฐาน สหภาพยุ โ รป (Eueopean Commision, 2011) วัตถุดิบอาหารสัตว์ ที่ใช้ผลิตเป็นอาหาร สัตว์ สามารถแบ่งตามแหล่งที่มาของวัตถุดิบ ออกเป็น 2 กลุม่ ดังนีค้ อื กลุม่ วัตถุดบิ อาหารสัตว์ จากสัตว์ และกลุ่มวัตถุดิบจากพืช หรือสามารถ แบ่งตามคุณค่าทางโภชนะของวัตถุดิบอาหาร สัตว์ออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้คือ กลุ่มวัตถุดิบ อาหารสัตว์จากสัตว์ประเภทโปรตีน ที่มีระดับ โปรตีนสูงตั้งแต่ร้อยละ 30 ขึ้นไป เยื่อใยต่ำ กลุ่มวัตถุดิบอาหารสัตว์จากพืชประเภทโปรตีน ที่มีระดับโปรตีนปานกลาง-สูง ตั้งแต่ร้อยละ 15 ขึ้นไป เยื่อใยปานกลาง และกลุ่มวัตถุดิบ อาหารสั ต ว์ จ ากพื ช ประเภทพลั ง งาน ที่ มี ส่วนประกอบส่วนใหญ่เป็นแป้ง ให้พลังงานสูง เยือ่ ใยสูง และมีโปรตีนต่ำกว่า ร้อยละ 15 หรือ สามารถแบ่งตามกระบวนการผลิตวัตถุดิบออก เป็น 2 กลุม่ คือ กลุม่ วัตถุดบิ อาหารสัตว์จากสัตว์ หรือพืช ทีผ่ า่ นกระบวนการให้ความร้อน ทีท่ ำให้


การศึ ก ษาวิ จั ย ครั้ ง นี้ ผู้ วิ จั ย จึ ง มี ค วาม สนใจทำการศึกษาเปรียบเทียบสภาวะการปน เปื้อนเชื้อซัลโมเนลลาในวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่ใช้ ในการผลิตเป็นอาหารสัตว์ของอุตสาหกรรม อาหารสัตว์ไทยในปัจจุบันซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ตามแหล่งของวัตถุดบิ อาหารสัตว์ ดังนี้

วัตถุประสงค์การวิจัย 1. เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบสภาวะการ ปนเปื้อนเชื้อซัลโมเนลาในวัตถุดิบอาหารสัตว์ ทีใ่ ช้ในการผลิตเป็นอาหารสัตว์ของโรงงานผลิต อาหารสัตว์ ซึ่งแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้ คือ กลุ่มวัตถุดิบอาหารสัตว์จากสัตว์ประเภทโปรตีน กลุ่มวัตถุดิบอาหารสัตว์จากพืชประเภทโปรตีน และกลุ่ ม วั ต ถุ ดิ บ อาหารสั ต ว์ จ ากพื ช ประเภท พลังงาน และเมื่อนำไปใช้ผลิตเป็นอาหารสัตว์ ผสมสำเร็จรูป 2. เพื่อใช้เป็นข้อมูลให้แก่ผู้ประกอบการ ในการพิจารณาคัดเลือก หรือเลือกใช้วัตถุดิบ อาหารสัตว์ การวางแผนตรวจสอบเพื่อควบคุม คุณภาพก่อนรับเข้า รวมทัง้ การกำหนดมาตรการ จัดการทีเ่ หมาะสมเพือ่ ลด หรือขจัดการปนเปือ้ น เชือ้ ซัลโมเนลลาในวัตถุดบิ อาหารสัตว์ตามความ เสี่ ย งของการปนเปื้ อ นเชื้ อ ซั ล โมเนลลาของ วัตถุดบิ อาหารสัตว์ชนิดต่างๆ ก่อนนำไปผลิตเป็น อาหารสัตว์ 3. เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนเฝ้า ระวังการปนเปื้อนเชื้อซัลโมเนลลาในวัตถุดิบ อาหารสัตว์ และอาหารสัตว์ตามความเสี่ยงของ การปนเปื้อนเชื้อซัลโมเนลลา รวมทั้งนำไปใช้

69 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2559

ดังนั้น เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาการ ปนเปื้อนเชื้อซัลโมเนลลาในเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์สัตว์ ที่ก่อให้เกิดการเจ็บป่วยกับผู้บริโภค ตั้ ง แต่ ต้ น ทางของห่ ว งโซ่ อ าหาร จึ ง มี ค วาม จำเป็นต้องทำการศึกษาสภาวะ หรือความเสี่ยง ต่ อ การปนเปื้ อ นเชื้ อ ซั ล โมเนลลาในวั ต ถุ ดิ บ อาหารสัตว์ประเภทต่างๆ ทีม่ กั นำไปใช้ผลิตเป็น อาหารสัตว์เชิงอุตสาหกรรม เพื่อให้ผู้ประกอบการผลิตอาหารสัตว์ หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูล หรือแนวทางในการ กำหนดมาตรการควบคุมการปนเปื้อนเชื้อซัลโมเนลลาในวัตถุดบิ อาหารสัตว์ และอาหารสัตว์ ตามความเสีย่ งของการปนเปือ้ นเชือ้ ซัลโมเนลลา ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

คือ ประเภทวัตถุดิบอาหารสัตว์จากสัตว์ และ ประเภทวัตถุดิบอาหารสัตว์จากพืช หรือแบ่ง เป็น 3 กลุ่มตามคุณค่าทางโภชนะ ดังนี้คือ กลุ่มวัตถุดิบอาหารสัตว์จากสัตว์ประเภทโปรตีน กลุ่มวัตถุดิบอาหารสัตว์จากพืชประเภทโปรตีน และกลุ่ ม วั ต ถุ ดิ บ อาหารสั ต ว์ จ ากพื ช ประเภท พลังงาน และเมื่อได้นำไปผลิตเป็นอาหารสัตว์ ผสมสำเร็จรูป สำหรับไก่ สุกร และโค

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 33 เล่มที่ 171

วั ต ถุ ดิ บ อาหารสั ต ว์ สุ ก ย่ อ ยง่ า ย และมี เ ชื้ อ จุลนิ ทรียล์ ดลง และกลุม่ วัตถุดบิ อาหารสัตว์จาก พืช ทีไ่ ม่ผา่ นกระบวนการให้ความร้อน เช่นเดียว กับอาหารสัตว์ผสมสำเร็จรูป ซึ่งสามารถแบ่ง ตามกระบวนการผลิตออกเป็น 2 กลุ่ม เช่นกัน คือ กลุ่มอาหารสัตว์ผสมสำเร็จรูป ชนิดเม็ด ที่ ผ่านกระบวนการให้ความร้อนในขั้นตอนการ อัดเม็ด ทำให้แป้งบางส่วนสุก และมีเชือ้ จุลนิ ทรีย์ ลดลง กับกลุม่ อาหารสัตว์ผสมสำเร็จรูป ชนิดผง ทีไ่ ม่ผา่ นกระบวนการให้ความร้อน (อุทยั คันโธ, 2559) หรือแบ่งตามคุณค่าทางโภชนะ หรือชนิด สัตว์ ได้แก่ ไก่ สุกร โค


วางแผนดำเนินการตรวจสอบควบคุมคุณภาพ อาหารสัตว์ตามกฎหมายในอุตสาหกรรมอาหาร สัตว์ไทย ของพนักงานเจ้าหน้าที่

อุปกรณ์และวิธีการ อุปกรณ์สุ่มเก็บตัวอย่าง

70 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 33 เล่มที่ 171

พฤศจิกายน-ธันวาคม 2559

1. ช้อนตักตัวอย่าง ที่ผ่านการฆ่าเชื้อ 2. ถุงซิปเก็บตัวอย่างอาหารสัตว์ ชนิด พลาสติกใสที่ผ่านการฆ่าเชื้อขนาด 500 กรัม 3. ถุ ง รวมตั ว อย่ า งอาหารสั ต ว์ ชนิ ด พลาสติกใส ขนาด 5,000 กรัม 4. ซองกระดาษสี น้ ำ ตาลสำหรั บ ใส่ ตัวอย่างอาหารสัตว์ 5. แถบกาวปิดซองกระดาษสีนำ้ ตาล และ ที่เย็บกระดาษ 6. ถุงมือยาง และผ้าปิดจมูก 7. 70% แอลกอฮอล์บรรจุขวด สำหรับ สเปรย์ฆ่าเชื้อ

วิธีดำเนินการ 1. วางแผนสุม่ เก็บตัวอย่างวัตถุดบิ อาหาร สัตว์ และอาหารสัตว์ผสมสำเร็จรูปแบบเฉพาะ เจาะจง จากโรงงานผลิตอาหารสัตว์ จำนวน 123 โรงงาน จากโรงงานผลิตอาหารสัตว์ผสม สำเร็จรูปภายในประเทศทั้งหมด จำนวน 216 โรงงาน ระหว่างปี พ.ศ. 2554-พ.ศ. 2557 2. ทำการสุ่มเก็บตัวอย่างวัตถุดิบอาหาร สัตว์ และอาหารสัตว์ผสมสำเร็จรูปแบบปลอด เชื้อ โดยผู้ทำหน้าที่เก็บตัวอย่างต้องสวมผ้าปิด จมูก ใส่ถุงมือยาง สเปรย์แอลกอฮอล์บนถุงมือ

ยางให้ทั่วก่อนปล่อยทิ้งไว้ให้แห้ง แล้วทำการ เก็บตัวอย่าง ดังนี้ 2.1 กรณีเป็นวัตถุดบิ อาหารสัตว์ และ อาหารสัตว์ผสมสำเร็จรูปบรรจุถุง ผู้ทำการ เก็บตัวอย่างจะทำการสุ่มเก็บตัวอย่างวัตถุดิบ อาหารสัตว์ หรืออาหารสัตว์แต่ละชนิดๆ ละ 500 กรัม โดยเริ่มจากการเปิดปากถุงภาชนะ บรรจุวัตถุดิบอาหารสัตว์ หรืออาหารสัตว์ แล้ว จึงใช้ช้อนตักตัวอย่างวัตถุดิบอาหารสัตว์ หรือ อาหารสัตว์ทบี่ รรจุอยูภ่ ายในถุงลึกลงไป 10 นิว้ ใส่ลงในถุงเก็บตัวอย่างชนิดพลาสติกใสที่เตรียม ไว้ และทำการปิดผนึกปากถุงเก็บตัวอย่างให้ แน่นสนิท 2.2 กรณี เ ป็ น วั ต ถุ ดิ บ อาหารสั ต ว์ กองเบาค์ (Bulk) ผูท้ ำหน้าทีเ่ ก็บตัวอย่างทำการ สุม่ เก็บตัวอย่างวัตถุดบิ อาหารสัตว์รอบกองเบาค์ ไม่ต่ำกว่า 5 จุด โดยใช้ช้อนตักตัวอย่างวัตถุดิบ อาหารสั ต ว์ ลึ ก ลงไปจากผิ ว ด้ า นบนของกอง วัตถุดบิ อาหารสัตว์ประมาณ 10 นิว้ ใส่ในถุงรวม ตัวอย่าง โดยให้มปี ริมาณตัวอย่างละ 3 กิโลกรัม จากนั้นจึงทำการเขย่าตัวอย่างวัตถุดิบอาหาร สั ต ว์ ภ ายในถุ ง ให้ ผ สมเข้ า กั น แล้ ว จึ ง ตั ก แบ่ ง ตัวอย่างวัตถุดิบอาหารสัตว์จากภายในถุงรวม ตัวอย่างใส่ลงในถุงเก็บตัวอย่างชนิดพลาสติกใส ที่เตรียมไว้ โดยให้มีขนาดตัวอย่าง 500 กรัม และปิ ด ผนึ ก ปากถุ ง เก็ บ ตั ว อย่ า งให้ แ น่ น สนิ ท ตามระเบียบกรมปศุสตั ว์วา่ ด้วยการเก็บตัวอย่าง อาหารสัตว์เป็นตัวอย่างเพื่อทดสอบตรวจหรือ วิเคราะห์คณ ุ ภาพ พ.ศ. 2546 (ธวัชชัย รอดสม, 2550) 3. นำถุงตัวอย่างวัตถุดบิ อาหารสัตว์ หรือ อาหารสัตว์ดังกล่าว บรรจุลงในซองกระดาษ สีน้ำตาลอีกชั้นหนึ่ง ทำการปิดผนึกปากซอง


การวิเคราะห์ข้อมูล รวบรวมผลการตรวจวิเคราะห์ และบันทึก ผลการตรวจวิเคราะห์เพื่อนำไปประมวลผลด้วย เครื่องคอมพิวเตอร์ โดยใช้โปรแกรมคำนวณ ทางสถิติ SPSS FOR WINDOWS เวอร์ชั่น 22 และใช้สถิติเพื่อการวิจัยดังนี้ 1. การบรรยายการปนเปื้ อ นเชื้ อ ซั ล โมเนลลาในวัตถุดบิ อาหารสัตว์ และอาหารสัตว์ ผสมสำเร็จรูปใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การ แจกแจงความถี่ (Frequecy) ค่าเฉลี่ย (Mean) ร้อยละ (Percentage)

ผลการศึกษา 1. การปนเปื้ อ นเชื้ อ ซั ล โมเนลลาของ วัตถุดิบอาหารสัตว์ ผลจากการศึกษาพบว่าวัตถุดบิ อาหาร สัตว์ ซึ่งนำไปใช้ผลิตเป็นอาหารสัตว์ของอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ไทยมีการปนเปื้อนเชื้อ ซัลโมเนลลาทัง้ หมด ร้อยละ 10.0 (100/1,004) และเมื่ อ พิ จ ารณาแยกตามประเภทวั ต ถุ ดิ บ อาหารสั ต ว์ พบว่ า ประเภทวั ต ถุ ดิ บ จากสั ต ว์ และประเภทวัตถุดิบอาหารสัตว์จากพืชมีการ ปนเปือ้ นเชือ้ ซัลโมเนลลาร้อยละ 13.4 (57/425) และร้อยละ 7.4 (43/579) ตามลำดับ โดย ประเภทวัตถุดิบอาหารสัตว์จากสัตว์ มีการปน เปื้อนเชื้อซัลโมเนลลามากกว่าประเภทวัตถุดิบ อาหารสัตว์จากพืช (P<0.05) (ดังแสดงใน ตารางที่ 1)

71 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2559

4. รวบรวมตัวอย่างวัตถุดิบอาหารสัตว์ และอาหารสัตว์ ไปส่งตรวจวิเคราะห์เชื้อซัลโมเนลลา ณ ห้องปฏิบัติการ กลุ่มงานตรวจสอบ คุ ณ ภาพอาหารสั ต ว์ ส ำนั ก ตรวจสอบคุ ณ ภาพ สินค้าปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์ ด้วยวิธีการตรวจ วิเคราะห์ ISO6579:2002

2. การศึกษาเปรียบเทียบการปนเปื้อน เชื้ อ ซั ล โมเนลลาในวั ต ถุ ดิ บ อาหารสั ต ว์ แยก ตามประเภท หรือกลุ่มวัตถุดิบอาหารสัตว์ หรือ แยกตามกระบวนการผลิต และการปนเปื้อน เชื้ อ ซั ล โมเนลลาในอาหารสั ต ว์ ผ สมสำเร็ จ รู ป แยกตามกระบวนการผลิต หรือชนิดอาหารสัตว์ สำหรั บ ไก่ สุ ก ร โค ใช้ ส ถิ ติ ไคสแควร์ (Chi-square Test)

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 33 เล่มที่ 171

กระดาษให้แน่นสนิทด้วยลวดเย็บ และแถบกาว พร้อมระบุรายละเอียดตัวอย่างวัตถุดิบอาหาร สัตว์ บนหน้าซองกระดาษให้ชัดเจนดังนี้ ชื่อ โรงงานผลิตอาหารสัตว์ สถานที่ตั้งชื่อ และ ชนิดวัตถุดิบอาหารสัตว์ วันเก็บตัวอย่างวัตถุดิบ อาหารสัตว์ วันผลิตวัตถุดิบอาหารสัตว์ และ วันที่วัตถุดิบอาหารสัตว์หมดอายุ


ตารางที่ 1 การปนเปื้อนเชื้อซัลโมเนลลาแยกตามประเภทวัตถุดิบอาหารสัตว์

วัตถุดิบอาหารสัตว์ ประเภทจากสัตว์ ประเภทจากพืช รวม

การปนเปื้อนเชื้อซัลโมเนลลา พบ ไม่พบ จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ 57 13.4 368 86.6 43 7.4 536 92.6 100 10.0 904 90.0

รวม จำนวน 425 579 1,004

χ2 ร้อยละ 100.0 100.0 100.0

0.02

1.1 การปนเปื้อนเชื้อซัลโมเนลลาของประเภทวัตถุดิบอาหารสัตว์จากสัตว์ ผลจากการศึกษาพบว่า ประเภทวัตถุดบิ อาหารสัตว์จากสัตว์ซงึ่ เป็นแหล่งของโปรตีน ที่สำคัญ มีการปนเปื้อนเชื้อซัลโมเนลลาร้อยละ 13.4 (57/425) โดยประเภทวัตถุดิบอาหารสัตว์ จากสัตว์จำนวนทั้งหมด 7 ชนิด มีการปนเปื้อนเชื้อซัลโมเนลลาทุกชนิด เรียงตามลำดับจากมาก ไปน้อย ดังนี้คือ เนื้อป่นร้อยละ 33.3 (2/6) เนื้อสัตว์ปีกป่น ร้อยละ 30.0 (6/20) เนื้อ และกระดูกป่น ร้อยละ 18.8 (16/85) เนื้อหมูป่น ร้อยละ 13.5 (5/37) ขนสัตว์ปีกป่น ร้อยละ 12.3 (13/98) ปลาป่น ร้อยละ 9.6 (10/104) และปลาและกระดูก ปลาป่น ร้อยละ 6.7 (5/75) (ดังแสดงในตารางที่ 2)

72

ตารางที่ 2 การปนเปื้อนเชื้อซัลโมเนลลาของประเภทวัตถุดิบอาหารสัตว์จากสัตว์

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 33 เล่มที่ 171

พฤศจิกายน-ธันวาคม 2559

ชนิดวัตถุดิบอาหารสัตว์จากสัตว์ 1. 2. 3. 4. 5. 6. 7.

เนื้อป่น เนื้อสัตว์ปีกป่น เนื้อและกระดูกป่น เนื้อหมูป่น ขนสัตว์ปีกป่น ปลาป่น ปลาและกระดูกปลาป่น รวม

จำนวน 2 6 16 5 13 10 5 57

การปนเปื้อนเชื้อซัลโมเนลลา พบ ไม่พบ ร้อยละ จำนวน ร้อยละ 33.3 4 66.7 30.0 14 70.0 18.8 69 87.9 13.5 32 86.5 12.3 85 86.7 9.6 94 90.4 6.7 70 93.3 13.4 368 86.6

รวม จำนวน 6 20 85 37 98 104 75 425

ร้อยละ 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0

1.2 การปนเปื้อนเชื้อซัลโมเนลลาของประเภทวัตถุดิบอาหารสัตว์จากพืช ผลจากการศึกษาพบว่า ประเภทวัตถุดิบอาหารสัตว์จากพืชมีการปนเปื้อนเชื้อซัลโมเนลลา ร้อยละ 7.4 (43/579) เมื่อพิจารณาแยกตามคุณค่าทางโภชนะ พบว่ากลุ่มวัตถุดิบ อาหารสัตว์จากพืชประเภทโปรตีน และกลุ่มวัตถุดิบอาหารสัตว์จากพืชประเภทพลังงาน มีการ ปนเปื้อนเชื้อซัลโมเนลลา ร้อยละ 6.4 (19/296) และร้อยละ 8.5 (24/283) ตามลำดับ โดย วัตถุดบิ อาหารสัตว์จากพืชทัง้ สองกลุม่ ดังกล่าวมีการปนเปือ้ นเชือ้ ซัลโมเนลลา ไม่แตกต่างกัน (P>0.05) (ดังแสดงในตารางที่ 3)


ตารางที่ 3 การปนเปื้อนเชื้อซัลโมเนลลาของวัตถุดิบอาหารสัตว์ ประเภทวัตถุดิบอาหารสัตว์จากพืช แยกกลุ่มวัตถุดิบอาหารสัตว์

กลุ่มวัตถุดิบอาหารสัตว์ จากพืช กลุ่มวัตถุดิบอาหารสัตว์ จากพืชประเภทโปรตีน กลุ่มวัตถุดิบอาหารสัตว์ จากพืชประเภทพลังงาน รวม

รวมทั้งหมด จำนวน

ร้อยละ

19

6.4

277

93.6

296

100.0

24

8.5

259

91.5

283

100.0

43

7.4

536

92.6

579

100.0

χ2

0.34

1.2.1 การปนเปื้อนเชื้อซัลโมเนลลาของกลุ่มวัตถุดิบอาหารสัตว์จากพืชประเภท

ตารางที่ 4 การปนเปื้อนเชื้อซัลโมเนลลาของวัตถุดิบ กลุ่มวัตถุดิบอาหารสัตว์จากพืช ประเภทโปรตีน

วัตถุดิบอาหารสัตว์จากพืช 1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8. 9. 10.

ใบกระถินป่น ส่าเหล้า/กากเบียร์ กากถั่วลิสง กากถั่วเหลือง ถั่วเหลืองอบ กากเนื้อในเมล็ดปาล์ม กลูเทนข้าวโพด กากเมล็ดทานตะวัน กากเรปซีด กากมะพร้าว รวม

การปนเปื้อนเชื้อซัลโมเนลลา พบ ไม่พบ จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ 4 16.7 20 83.3 2 12.5 14 87.5 1 8.3 11 91.7 6 6.7 83 93.3 3 6.5 43 93.5 2 5.9 32 94.1 1 4.3 22 95.7 0 0.0 23 100.0 0 0.00 20 100.0 0 0.0 9 100.0 19 6.4 277 93.6

รวม จำนวน 24 16 12 89 46 34 23 23 20 9 296

ร้อยละ 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0

73 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2559

ผลจากการศึกษาพบว่ากลุ่มวัตถุดิบอาหารสัตว์จากพืชประเภทโปรตีน มีการ ปนเปื้อนเชื้อซัลโมเนลลา ร้อยละ 6.4 (19/296) เมื่อแยกตามชนิดวัตถุดิบอาหารสัตว์ พบว่า กลุ่มวัตถุดิบอาหารสัตว์จากพืชประเภทโปรตีนจำนวนทั้งหมด 10 ชนิด พบการปนเปื้อนเชื้อ ซัลโมเนลลาจำนวน 7 ชนิด เรียงตามลำดับจากมากไปน้อย ดังนี้ ใบกระถินป่น ร้อยละ 16.7 (4/24) ส่าเหล้า/กากเบียร์ ร้อยละ 12.5 (2/16) กากถั่วลิสง ร้อยละ 8.3 (1/12) กากถั่วเหลือง ร้อยละ 6.7 (6/89) ถัว่ เหลืองอบ ร้อยละ 6.5 (3/46) กากเนือ้ ในเมล็ดปาล์มร้อยละ 5.9 (2/34) กลูเทนข้าวโพด ร้อยละ 4.3 (1/23) (ดังแสดงในตารางที่ 4)

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 33 เล่มที่ 171

โปรตีน

การปนเปื้อนเชื้อซัลโมเนลลา พบ ไม่พบ จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ


พลังงาน

1.2.2 การปนเปื้ อ นเชื้ อ ซั ล โมเนลลากลุ่ ม วั ต ถุ ดิ บ อาหารสั ต ว์ จากพื ช ประเภท

ผลจากการศึกษาพบว่ากลุ่มวัตถุดิบอาหารสัตว์จากพืช ประเภทพลังงาน มีการปนเปื้อนเชื้อซัลโมเนลลา ร้อยละ 8.5 (24/283) เมื่อแยกตามชนิดวัตถุดิบอาหารสัตว์ พบว่ า กลุ่ ม วั ต ถุ ดิ บ อาหารสั ต ว์ จ ากพื ช ประเภทพลั ง งาน จำนวนทั้ ง หมด 10 ชนิ ด พบการ ปนเปื้อนเชื้อซัลโมเนลลา จำนวน 8 ชนิด เรียงตามลำดับจากมากไปน้อยดังนี้ รำละเอียด ร้อยละ 21.2 (14/66) แป้งสาลี ร้อยละ 20.0 (1/5) ข้าวโพดป่น ร้อยละ 13.6 (3/22) ข้าวโพดอบ ร้อยละ11.1 (1/9) รำข้าวสาลี ร้อยละ 5.7 (2/35) มันเส้นร้อยละ 3.7 (1/27) ข้าวโพดเมล็ด ร้อยละ 3.3 (1/30) รำสกัดน้ำมัน ร้อยละ 2.7 (1/37) ดังแสดงในตารางที่ 5 ตารางที่ 5 การปนเปื้อนชื้อซัลโมเนลลาของวัตถุดิบอาหารสัตว์ กลุ่มวัตถุดิบอาหารสัตว์ จากพืชประเภทพลังงาน

ชนิดวัตถุดิบอาหารสัตว์

74 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 33 เล่มที่ 171

พฤศจิกายน-ธันวาคม 2559

1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8. 9. 10.

รำละเอียด แป้งสาลี ข้าวโพดป่น ข้าวโพดอบ รำข้าวสาลี มันเส้น ข้าวโพดเมล็ด รำสกัดน้ำมัน ปลายข้าว มันอัดเม็ด รวมทั้งหมด

การปนเปื้อนเชื้อซัลโมเนลลา พบ ไม่พบ จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ 14 21.2 52 78.8 1 20.0 4 80 3 13.6 19 86.4 1 11.1 8 88.9 2 5.7 33 94.3 1 3.7 26 96.3 1 3.3 29 96.7 1 2.7 36 97.3 0 0.0 37 100.0 0 0.0 15 100.0 24 8.5 259 91.5

รวม จำนวน 66 5 22 9 35 27 30 37 37 15 283

ร้อยละ 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0

1.3 การปนเปื้อนเชื้อซัลโมเนลลาของประเภทวัตถุดิบอาหารสัตว์จากพืช แยกตาม กระบวนการผลิต ผลจากการศึกษาพบว่าวัตถุดิบอาหารสัตว์ประเภทจากพืชมีการปนเปื้อนเชื้อซัลโมเนลลา ร้อยละ 7.4 (43/579) เมือ่ พิจารณาแยกตามกระบวนการผลิตพบว่ากลุม่ วัตถุดบิ อาหารสัตว์ จากพืชที่ผ่านกระบวนการให้ความร้อน และไม่ผ่านกระบวนการให้ความร้อนมีการปนเปื้อนเชื้อ ซัลโมเนลลา ร้อยละ 5.3 (18/338) และร้อยละ 10.4 (25/241) ตามลำดับ โดยกลุ่มวัตถุดิบ อาหารสัตว์จากพืชที่ผ่านกระบวนการให้ความร้อนพบการปนเปื้อนเชื้อซัลโมเนลลาน้อยกว่ากลุ่ม วัตถุดิบอาหารสัตว์จากพืชที่ไม่ผ่านกระบวนการให้ความร้อน (P<0.05) ดังแสดงในตารางที่ 6



Plexomin Cu24 Plexomin Fe20 Plexomin Mn22 Plexomin Zn26

Phytobiotics (Thailand) Co., LTd.

202 Le Concorde Tower, Rajchadapisek Road, Huaykwang, Huaykwang, Bangkok 10320 Tel. 02-6942498 Fax. 02-6942499 www.phytobiotics.com


ตารางที่ 6 การปนเปื้อนเชื้อซัลโมเนลลาของประเภทวัตถุดิบอาหารสัตว์จากพืช แยกตามกระบวนการผลิต

18

5.3

320

94.7

338

100.0

25

10.4

216

89.6

241

100.0

43

7.4

536

92.6

579

100.0

χ2

0.02

1.3.1 การปนเปื้อนเชื้อซัลโมเนลลาของกลุ่มวัตถุดิบอาหารสัตว์จากพืช ที่ผ่าน กระบวนการให้ความร้อน ผลจากการศึกษาพบว่า กลุ่มวัตถุดิบอาหารสัตว์จากพืชที่ผ่านกระบวนให้ ความร้อน มีการปนเปื้อนเชื้อซัลโมเนลลา ร้อยละ 5.3 (18/338) เมื่อพิจารณาแยกตามชนิด วัตถุดิบอาหารสัตว์ พบว่าวัตถุดิบอาหารสัตว์จากพืชที่ผ่านกระบวนให้ความร้อน จำนวนทั้งหมด 13 ชนิด พบการปนเปื้อนเชื้อซัลโมเนลลา จำนวน 9 ชนิด เรียงตามลำดับจากมากไปน้อย ดังนี้ แป้งสาลี ร้อยละ 20.0 (1/5) ส่าเหล้า/กากเบียร์ ร้อยละ 12.5 (2/16) ข้าวโพดอบ ร้อยละ 11.1 (1/9) กากถั่วลิสง ร้อยละ 8.3 (1/12) กากถั่วเหลือง ร้อยละ 6.7 (6/89) ถั่วเหลืองอบร้อยละ 6.5 (3/46) กากเนื้อในเมล็ดปาล์ม ร้อยละ 5.9 (2/34) กลูเทนข้าวโพด ร้อยละ 4.3 (1/23) รำสกัดน้ำมัน ร้อยละ 2.7 (1/37) (ดังแสดงในตารางที่ 7) ตารางที่ 7 การปนเปื้อนเชื้อซัลโมเนลลาของกลุ่มวัตถุดิบอาหารสัตว์จากพืช ที่ผ่านกระบวนการให้ความร้อน

ชนิดวัตถุดิบอาหารสัตว์ 1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8. 9. 10. 11. 12. 13.

แป้งสาลี ส่าเหล้า/กากเบียร์ ข้าวโพดอบ กากถั่วลิสง กากถั่วเหลือง ถั่วเหลืองอบ กากเนื้อในเมล็ดปาล์ม กลูเทนข้าวโพด รำสกัดน้ำมัน กากเมล็ดทานตะวัน กากเรปซีด กากมะพร้าว มันอัดเม็ด รวมทั้งหมด

การปนเปื้อนเชื้อซัลโมเนลลา พบ ไม่พบ จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ 1 20.0 4 80.0 2 12.5 14 87.5 1 11.1 8 88.9 1 8.3 11 91.7 6 6.7 83 93.3 3 6.5 43 93.5 2 5.9 32 94.1 1 4.3 22 95.7 1 2.7 36 97.3 0 0 23 100 0 0 20 100 0 0 9 100 0 0 15 100 18 5.3 320 94.7

รวม จำนวน 5 16 9 12 89 46 34 23 37 23 20 9 15 338

ร้อยละ 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0

75 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2559

กลุ่มวัตถุดิบอาหารสัตว์จากพืช ที่ผ่านกระบวนการให้ความร้อน กลุ่มวัตถุดิบอาหารสัตว์จากพืช ที่ไม่ผ่านกระบวนการให้ความร้อน รวม

การปนเปื้อนเชื้อซัลโมเนลลา รวม พบ ไม่พบ จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 33 เล่มที่ 171

กลุ่มวัตถุดิบอาหารสัตว์ จากพืช


1.3.2 การปนเปื้อนเชื้อซัลโมเนลลาของกลุ่มวัตถุดิบอาหารสัตว์จากพืช ที่ไม่ผ่าน กระบวนการให้ความร้อน ผลจากการศึกษาพบว่า กลุ่มวัตถุดิบอาหารสัตว์จากพืชที่ไม่ผ่านกระบวนให้ ความร้อน มีการปนเปื้อนเชื้อซัลโมเนลลา ร้อยละ 10.4 (25/241) เมื่อพิจารณาแยกตามชนิด วัตถุดบิ อาหารสัตว์ พบว่ากลุม่ วัตถุดบิ อาหารสัตว์จากพืชทีผ่ า่ นกระบวนให้ความร้อน จำนวนทัง้ หมด 7 ชนิด พบการปนเปือ้ นเชือ้ ซัลโมเนลลาแทบทุกชนิด จำนวน 6 ชนิด เรียงตามลำดับจากมากไปน้อย ดังนี้ รำละเอียด ร้อยละ 21.2 (14/66) ใบกระถินป่นร้อยละ 16.7 (4/24) ข้าวโพดป่น ร้อยละ 13.6 (3/22) รำข้าวสาลี ร้อยละ 5.7 (2/35) มันเส้น ร้อยละ 3.7 (1/27) ข้าวโพดเมล็ด ร้อยละ 3.3 (1/30) (ดังแสดงในตารางที่ 8) ตารางที่ 8 การปนเปื้อนเชื้อซัลโมเนลลาของกลุ่มวัตถุดิบอาหารสัตว์จากพืชที่ไม่ผ่านกระบวนการให้ความร้อน

ชนิดวัตถุดิบอาหารสัตว์

76 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 33 เล่มที่ 171

พฤศจิกายน-ธันวาคม 2559

1. 2. 3. 4. 5. 6. 7.

รำละเอียด ใบกระถินป่น ข้าวโพดป่น รำข้าวสาลี มันเส้น ข้าวโพดเมล็ด ปลายข้าว รวมทั้งหมด

การปนเปื้อนเชื้อซัลโมเนลลา พบ ไม่พบ จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ 14 21.2 52 78.8 4 16.7 20 83.3 3 13.6 19 86.4 2 5.7 33 94.3 1 3.7 26 96.3 1 3.3 29 96.7 0 0.0 37 100 25 10.4 216 89.6

รวม จำนวน 66 24 22 35 27 30 37 241

ร้อยละ 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0

2. การปนเปื้อนเชื้อซัลโมเนลลาของอาหารสัตว์ผสมสำเร็จรูป 2.1 การปนเปือ้ นเชือ้ ซัลโมเนลลาของอาหารสัตว์ผสมสำเร็จรูปแยกตามกระบวนการผลิต เมือ่ นำวัตถุดบิ หลักต่างๆ ดังกล่าวข้างต้นไปผลิตเป็นอาหารสัตว์ผสมสำเร็จรูป พบว่า อาหารสัตว์ผสมสำเร็จรูป มีการปนเปื้อนเชื้อซัลโมเนลลา ร้อยละ 0.6 (12/1,898) เมื่อพิจารณา แยกตามกระบวนการผลิต พบว่าอาหารสัตว์ผสมสำเร็จรูปชนิดเม็ด ทีผ่ า่ นกระบวนการให้ความร้อน และอาหารสัตว์ผสมสำเร็จรูปชนิดผง ทีไ่ ม่ผา่ นกระบวนการให้ความร้อน พบการปนเปือ้ นเชือ้ ซัลโมเนลลา ร้อยละ 0.2 (3/1,524) และ 2.4 (9/374) ตามลำดับ โดยอาหารสัตว์ผสมสำเร็จรูป ชนิดผง พบว่ามีการปนเปื้อนเชื้อซัลโมเนลลามากกว่าอาหารสัตว์ผสมสำเร็จรูปชนิดเม็ด (P<0.05) (ดังแสดงในตารางที่ 9)


ตารางที่ 9 การปนเปื้อนเชื้อซัลโมเนลลาของอาหารสัตว์ผสมสำเร็จรูปแยกตามกระบวนการผลิต

กลุ่มอาหารสัตว์ผสมสำเร็จรูป อาหารสัตว์ผสมสำเร็จรูปชนิดเม็ด อาหารสัตว์ผสมสำเร็จรูปชนิดผง รวม

การปนเปื้อนเชื้อซัลโมเนลลา รวม พบ ไม่พบ จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ 3 0.2 1,521 99.8 1,524 100 9 2.4 365 97.6 374 100 12 0.6 1,886 99.4 1,898 100

χ2

0.00

2.2 การปนเปือ้ นเชือ้ ซัลโมเนลลาของอาหารสัตว์ผสมสำเร็จรูปชนิดเม็ด สำหรับไก่ สุกร โค ผลจากการศึกษาพบว่า อาหารสัตว์ผสมสำเร็จรูปชนิดเม็ดมีการปนเปื้อนเชื้อซัลโมเนลลา ร้อยละ 0.2 (3/1,604) เมื่อพิจารณาแยกตามชนิดอาหารสัตว์ พบว่าอาหารสัตว์ผสม สำเร็จรูปชนิดเม็ดสำหรับสำหรับ ไก่ สุกร โค มีการปนเปือ้ นเชือ้ ซัลโมเนลลาไม่แตกต่างกัน (P>0.05) โดยมีเพียงอาหารสัตว์ผสมสำเร็จรูปชนิดเม็ดสำหรับไก่เท่านั้น ที่พบการปนเปื้อนเชื้อซัลโมเนลลา ร้อยละ 0.5 (3/649) (ดังแสดงในตารางที่ 10) ตารางที่ 10 การปนเปื้อนเชื้อซัลโมเนลลาของอาหารสัตว์ผสมสำเร็จรูปชนิดเม็ดสำหรับ ไก่ สุกร โค

3

0.5

646

99.5

649

100

0

0.0

765

100.0

765

100

0

0.0

190

100.0

190

100

3

0.2

1,601

99.8

1,604

100

77 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2559

อาหารสัตว์ผสมสำเร็จรูปชนิดเม็ด สำหรับไก่ อาหารสัตว์ผสมสำเร็จรูปชนิดเม็ด สำหรับสุกร อาหารสัตว์ผสมสำเร็จรูปชนิดเม็ด สำหรับโค รวม

χ2

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 33 เล่มที่ 171

ชนิดอาหารผสมสำเร็จรูปชนิดเม็ด

การปนเปื้อนเชื้อซัลโมเนลลา รวม พบ ไม่พบ จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ

0.11

2.3 การปนเปื้อนเชื้อซัลโมเนลลาอาหารสัตว์ผสมสำเร็จรูปชนิดผง สำหรับไก่ สุกร โค ผลจากการศึกษาพบว่าอาหารสัตว์ผสมสำเร็จรูปชนิดผงมีการปนเปื้อนเชื้อซัลโมเนลลา ร้อยละ 2.4 (9/368) เมื่อพิจารณาแยกตามชนิดอาหารสัตว์ พบว่าอาหารสัตว์ผสม สำเร็จรูปชนิดผงสำหรับสำหรับ ไก่ สุกร โค มีการปนเปือ้ นเชือ้ ซัลโมเนลลาไม่แตกต่างกัน (P>0.05) โดยพบว่าอาหารสัตว์ผสมสำเร็จรูปชนิดผง สำหรับ ไก่ สุกร โค มีการปนเปื้อนเชื้อซัลโมเนลลา เรียงตามลำดับดังนี้ คือร้อยละ 4.4 (3/68) ร้อยละ1.6 (3/193) และร้อยละ2.8 (3/107) (ดังแสดง ในตารางที่ 11)


ตารางที่ 11 การปนเปื้อนเชื้อซัลโมเนลลาของอาหารสัตว์ผสมสำเร็จรูปชนิดผง สำหรับ ไก่ สุกร โค

ชนิดอาหารผสมสำเร็จรูปชนิดผง อาหารสัตว์ผสมสำเร็จรูปชนิดผง สำหรับไก่ อาหารสัตว์ผสมสำเร็จรูปชนิดผง สำหรับสุกร อาหารสัตว์ผสมสำเร็จรูปชนิดผง สำหรับโค รวม

การปนเปื้อนเชื้อซัลโมเนลลา รวม พบ ไม่พบ จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ 3

4.4

65

95.6

68

100

3

1.6

190

98.4

193

100

3

2.8

104

97.2

107

100

9

2.4

359

97.6

368

100

สรุปและวิจารณ์ผล

78 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 33 เล่มที่ 171

พฤศจิกายน-ธันวาคม 2559

ผลจากการศึกษาสภาวะการปนเปื้อนเชื้อ ซัลโมเนลลาในวัตถุดิบอาหารสัตว์ของอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ไทย พบว่ามีการปนเปื้อนเชื้อ ซัลโมเนลลา ร้อยละ 10.0 (100/1004) เมื่อ พิจารณาแยกตามประเภทวัตถุดิบอาหารสัตว์ พบว่าประเภทวัตถุดิบอาหารสัตว์จากสัตว์ และ ประเภทวัตถุดิบอาหารสัตว์จากพืช มีการปน เปือ้ นเชือ้ ซัลโมเนลลา ร้อยละ 13.4 (57/425) และ7.4 (43/579) ตามลำดับ โดยประเภท วัตถุดิบอาหารสัตว์จากสัตว์ มีการปนเปื้อนเชื้อ ซัลโมเนลลามากกว่าประเภทวัตถุดบิ อาหารสัตว์ จากพืช (P<0.05) ทัง้ นีเ้ นือ่ งจากวัตถุดบิ อาหาร สั ต ว์ จ ากสั ต ว์ เ ป็ น ของแหล่ ง โปรตี น ที่ มี ค วาม สมดุลของกรดอะมิโนที่จำเป็นต่างๆ มากกว่า วัตถุดิบอาหารสัตว์จากพืช (รุจิรา และประยูร, 2548) เมื่อพิจารณาแยกตามชนิดของวัตถุดิบ อาหารสัตว์ พบว่าวัตถุดบิ อาหารสัตว์จากสัตว์ทกุ ชนิด มีการปนเปื้อนเชื้อซัลโมเนลลา เรียงตาม ลำดับจากมากไปน้อย ดังนี้ เนือ้ ป่นร้อยละ 33.3 (2/6) เนื้อสัตว์ปีกป่น ร้อยละ 30.0 (6/20) เนื้อและกระดูกป่น ร้อยละ 18.8 (16/85)

χ2

0.40

ใกล้เคียงกับธรรมนาท และคณะ, 2548 ซึ่ง พบเนื้อและกระดูกป่นปนเปื้อนเชื้อซัลโมเนลลา ร้อยละ 17.9 เนื้อหมูป่น ร้อยละ 13.5(5/37) ขนสัตว์ปีกป่น ร้อยละ 12.3 (13/98) แต่ ซึ่งน้อยกว่า สมนึก และ วีระ, 2542 ที่พบ ขนสัตว์ปีกป่นปนเปื้อนเชื้อซัลโมเนลลา ร้อยละ 13.8 ปลาป่น ร้อยละ 9.6 (10/104) ซึง่ สูงกว่า สมนึก และสมภัสสร, 2543 ที่พบปลาป่น ปนเปือ้ นเชือ้ ซัลโมเนลลา ร้อยละ 4.7 และ ปลา และกระดูกปลาป่น ร้อยละ 6.7 (5/75) ตาม ลำดับ ในขณะที่วัตถุดิบอาหารสัตว์ประเภทจาก พืช ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มวัตถุดิบ อาหารสัตว์จากพืช ประเภทโปรตีน และกลุ่ม วัตถุดิบอาหารสัตว์จากพืช ประเภทพลังงาน พบว่ามีการปนเปือ้ นเชือ้ ซัลโมเนลลา ร้อยละ 6.4 (19/296) และร้อยละ 8.5 (24/259) ตาม ลำดับ โดยวัตถุดิบอาหารสัตว์จากพืชทั้งสอง กลุ่ม มีการปนเปื้อนเชื้อซัลโมเนลลาไม่แตกต่าง กัน (P>0.05) และเมื่อพิจารณาแยกตามชนิด วัตถุดิบอาหารสัตว์ พบว่าวัตถุดิบอาหารสัตว์ จากพืชประเภทโปรตีน มีการปนเปือ้ นเชือ้ ซัลโมเนลลา จำนวน 7 ชนิด จากจำนวนทัง้ หมด 10


วัตถุดิบอาหารสัตว์ประเภทจากพืช เมื่อ พิ จ ารณาแยกตามกระบวนผลิ ต พบว่ า กลุ่ ม วัตถุดบิ อาหารสัตว์จากพืชทีผ่ า่ นกระบวนการให้ ความร้อน และไม่ผา่ นกระบวนการให้ความร้อน มีการปนเปื้อนเชื้อซัลโมเนลลา ร้อยละ 5.3 (18/320) และร้อยละ 10.4 (25/216) ตาม ลำดับ โดยกลุ่มวัตถุดิบอาหารสัตว์จากพืชที่ไม่ ผ่านกระบวนการให้ความร้อน พบการปนเปือ้ น เชือ้ ซัลโมเนลลามากกว่ากลุม่ วัตถุดบิ อาหารสัตว์ จากพืชที่ไม่ผ่านกระบวนการให้ความร้อน (P< 0.05) ทัง้ นีเ้ นือ่ งจากความร้อนจากกระบวนการ

วั ต ถุ ดิ บ อาหารสั ต ว์ ป ระเภทต่ า งๆ ดั ง กล่าวข้างต้น เมื่อนำไปใช้ผลิตเป็นอาหารสัตว์ ผสมสำเร็จรูปกลับพบว่า อาหารสัตว์ผสมสำเร็จ รูป มีการปนเปื้อนเชื้อซัลโมเนลลาเพียงร้อยละ 0.6 (12/1,898) และเมื่อพิจารณาแยกตาม กระบวนการผลิต พบว่าอาหารสัตว์ผสมสำเร็จ รู ป ชนิ ด เม็ ด และชนิ ด ผง มี ก ารปนเปื้ อ นเชื้ อ ซัลโมเนลลา ร้อยละ 0.2 (3/1,524) และ 2.4 (9/374) ตามลำดับ โดยอาหารสัตว์ผสมสำเร็จ รูปทั้งเม็ดและชนิดผง มีการปนเปื้อนเชื้อซัลโมเนลลาไม่แตกต่างกัน (P>0.05) ทั้งนี้เนื่องจาก

79 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2559

ผลิต สามารถทำลายเชือ้ ซัลโมเนลลาทีป่ นเปือ้ น มากับวัตถุดิบอาหารสัตว์ และเมื่อพิจารณาแยก ตามชนิดวัตถุดิบอาหารสัตว์ พบว่ากลุ่มวัตถุดิบ อาหารสัตว์จากพืชที่ผ่านกระบวนการให้ความ ร้อน จำนวนทัง้ หมด 13 ชนิด มีการปนเปือ้ นเชือ้ ซัลโมเนลลา จำนวน 9 ชนิด เรียงตามลำดับ จากมากไปน้อย ดังนี้ แป้งสาลี ร้อยละ 20.0 (1/5) ส่าเหล้า/กากเบียร์ ร้อยละ 12.5 (2/16) ข้าวโพดอบ ร้อยละ 11.1 (1/9) กากถั่วลิสง ร้อยละ 8.3 (1/12) กากถัว่ เหลือง ร้อยละ 6.7 (6/89) ถัว่ เหลืองอบ ร้อยละ 6.5 (3/46) กาก เนือ้ ในเมล็ดปาล์ม ร้อยละ 5.9 (2/34) กลูเทน ข้าวโพด ร้อยละ 4.3 (1/23) รำสกัดน้ำมัน ร้อยละ 2.7 (1/37) และวัตถุดบิ อาหารสัตว์จาก พืชที่ไม่ผ่านกระบวนการให้ความร้อนจำนวน ทัง้ หมด 7 ชนิด พบการปนเปือ้ นเชือ้ ซัลโมเนลลา จำนวน 6 ชนิด เรียงตามลำดับจากมากไปน้อย ดั ง นี้ รำละเอี ย ด ร้ อ ยละ 21.2 (14/66) ใบกระถินป่น ร้อยละ 16.7 (4/24) ข้าวโพดป่น ร้อยละ 13.6 (3/22) รำข้าวสาลี ร้อยละ 5.7 (2/35) มันเส้น ร้อยละ 3.7 (1/27) และ ข้าวโพดเมล็ด ร้อยละ 3.3 (1/30)

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 33 เล่มที่ 171

ชนิด โดยมีการปนเปื้อนเชื้อซัลโมเนลลา เรียง ตามลำดับจากมากไปน้อย ดังนี้ ใบกระถินป่น ร้อยละ 16.7 (4/24) ส่าเหล้า/กากเบียร์ ร้อยละ 12.5 (2/16) กากถัว่ ลิสง ร้อยละ 8.3 (1/12) กากถัว่ เหลือง ร้อยละ 6.7 (6/89) ถัว่ เหลืองอบ ร้อยละ 6.5 (3/46) กากเนือ้ ในเมล็ดปาล์ม ร้อยละ 5.9 (2/34) และกลูเทนข้าวโพด ร้อยละ 4.3 (1/23) โดยวัตถุดิบอาหารสัตว์จากพืชกลุ่มนี้ เกือบทุกชนิดเป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่ได้ผ่าน การให้ความร้อนมาแล้ว ยกเว้นใบกระถินป่น ในขณะที่วัตถุดิบอาหารสัตว์จากพืช ประเภท พลังงาน จำนวนทั้งหมด 10 ชนิด พบการปน เปือ้ นเชือ้ ซัลโมเนลลา จำนวน 8 ชนิด เรียงตาม ลำดับจากมากไปน้อยดังนี้ รำละเอียด ร้อยละ 21.2 (14/66) แป้งสาลี ร้อยละ 20.0 (1/5) ข้าวโพดป่น ร้อยละ 13.6 (3/22) ข้าวโพดอบ ร้อยละ 11.1 (1/9) รำข้าวสาลี ร้อยละ 5.7 (2/35) มันเส้น ร้อยละ 3.7 (1/27) ข้าวโพดเมล็ด ร้อยละ 3.3 (1/30) รำสกัดน้ำมัน ร้อยละ 2.7 (1/37) โดยวัตถุดิบอาหารสัตว์จากพืชกลุ่มนี้ เกือบทุกชนิดไม่ได้ผา่ นกระบวนการให้ความร้อน ยกเว้นข้าวโพดอบ และรำสกัดน้ำมัน


ปัจจุบนั ผูผ้ ลิตอาหารสัตว์ มีการใช้สารกำจัดเชือ้ ซัลโมเนลลากับวัตถุดบิ อาหารสัตว์จากสัตว์ และ อาหารสัตว์ผสมสำเร็จรูปชนิดผง ซึ่งเสี่ยงต่อ การปนเปื้อนเชื้อซัลโมเนลลามากกกว่าวัตถุดิบ อาหารสัตว์และอาหารสัตว์กลุ่มอื่นๆ

80 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 33 เล่มที่ 171

พฤศจิกายน-ธันวาคม 2559

เมือ่ พิจารณาการปนเปือ้ นเชือ้ ซัลโมเนลลา ของอาหารสัตว์ผสมสำเร็จรูปชนิดเม็ด และชนิด ผงสำหรับ ไก่ สุกร โค พบว่า อาหารสัตว์ผสม สำเร็จรูปทัง้ ชนิดเม็ด หรือชนิดผงสำหรับไก่ สุกร โค มีการปนเปื้อนเชื้อซัลโมเนลลาไม่แตกต่าง กัน (P>0.05) โดยในอาหารสัตว์ผสมสำเร็จรูป ชนิดเม็ด พบว่ามีเพียงอาหารสัตว์ผสมสำเร็จรูป ชนิดเม็ด สำหรับไก่เท่านัน้ ทีพ่ บเชือ้ ซัลโมเนลลา ปนเปือ้ น ร้อยละ 0.5 (3/649) ในขณะทีพ่ บว่า อาหารสัตว์ผสมสำเร็จรูปชนิดผงสำหรับไก่ สุกร โค มีการปนเปือ้ นเชือ้ ซัลโมเนลลาทุกชนิด ดังนี้ อาหารสัตว์ผสมสำเร็จรูปชนิดผงสำหรับไก่ ร้อย ละ 4.4 (3/68) สุกร ร้อยละ 1.6 (3/193) และ โค ร้อยละ 2.8 (3/107) ซึง่ ผลจากการศึกษาต่างๆ ดังกล่าวข้างต้น ผูป้ ระกอบการผลิตอาหารสัตว์ สามารถนำไปใช้ เป็นข้อมูล หรือแนวทางในการพิจารณาคัดเลือก หรือเลือกใช้วัตถุดิบอาหารสัตว์ การวางแผน สุ่ ม ตรวจวิ เ คราะห์ คุ ณ ภาพ และการกำหนด มาตรการจัดการกับวัตถุดิบอาหารสัตว์ หรือ อาหารสัตว์ได้อย่างเหมาะสมตามความเสี่ยง ของการปนเปื้อนเชื้อซัลโมเนลลา ดังนี้ 1. ทำการคัดเลือก หรือเลือกใช้วัตถุดิบ อาหารสัตว์ประเภทโปรตีนจากสัตว์ ที่มีความ เสี่ยงต่อการปนเปื้อนเชื้อซัลโมเนลลามากกว่า วัตถุดบิ อาหารสัตว์ประเภทอืน่ อย่างเข้มงวด โดย การพิจารณาเลือกซื้อจากผู้ขายที่ได้รับการคัด

เลือก และขึน้ ทะเบียนเป็นผูข้ ายทีม่ คี วามสามารถ ส่งมอบวัตถุดบิ อาหารสัตว์ทมี่ คี ณ ุ ภาพและปลอด เชื้ อ ซั ล โมเนลลา และ/หรื อ จากโรงงานผลิ ต วัตถุดบิ อาหารสัตว์ทไี่ ด้รบั การรับรองระบบ GMP และ HACCP และ/หรือจากโรงงานผลิตวัตถุดบิ อาหารสัตว์ที่มีใบรับรองผลวิเคราะห์คุณภาพ วัตถุดบิ อาหารสัตว์ ว่าปลอดจากเชือ้ ซัลโมเนลลา ทุกครั้งที่มีการส่งมอบสินค้า 2. ควรพิ จ ารณาวางแผนสุ่ ม ตรวจ วิเคราะห์เชื้อซัลโมเนลลาในวัตถุดิบอาหารสัตว์ และอาหารสัตว์ ตามความเสีย่ งของการปนเปือ้ น เชื้อซัลโมเนลลา โดยเฉพาะวัตถุดิบอาหารสัตว์ ประเภทโปรตีนจากสัตว์ และกลุม่ วัตถุดบิ อาหาร สัตว์ ประเภทโปรตีนจากพืช ทีไ่ ม่ผา่ นกระบวนการ ให้ความร้อน และอาหารสัตว์ผสมสำเร็จรูป ชนิดผงที่มีความเสี่ยงการปนเปื้อนเชื้อซัลโมเนลลามากกว่าวัตถุดิบอาหารสัตว์ และอาหาร สัตว์กลุ่มอื่นๆ 3. หากเป็นไปได้ ควรหลีกเลี่ยงการใช้ วัตถุดิบอาหารสัตว์ประเภทโปรตีนจากสัตว์ ไป ผลิตเป็นอาหารสัตว์ผสมสำเร็จรูปชนิดผงที่ไม่ ผ่านกระบวนให้ความร้อน โดยควรหันไปใช้ วัตถุดบิ อาหารสัตว์ประเภทโปรตีนจากพืช ทีเ่ สีย่ ง ต่อการปนเปื้อนเชื้อซัลโมเนลลาน้อยกว่าแทน 4. ควรพิจารณาใช้สารกำจัดเชื้อซัลโมเนลลา ซึ่งประกอบด้วยกรดอินทรีย์หลายชนิด รวมกันกับวัตถุดิบอาหารประเภทโปรตีนจาก สัตว์ ก่อนนำไปผลิตเป็นอาหารสัตว์ผสมสำเร็จ รูปชนิดผง หรือใช้กับอาหารสัตว์ผสมสำเร็จรูป ชนิดผงโดยตรงตามวิธีการและปริมาณการใช้ที่ ผู้ผลิตกำหนด เพื่อลดความเสี่ยงการปนเปื้อน เชื้อซัลโมเนลลาในอาหารสัตว์ที่มีสาเหตุมาจาก วัตถุดิบอาหารสัตว์


2. เจ้าหน้าที่สารวัตรอาหารสัตว์ ควร วางแผนสุม่ ตรวจสอบเชือ้ ซัลโมเนลลาในวัตถุดบิ อาหารสัตว์ และอาหารสัตว์ ตามความเสี่ยง ของการปนเปื้อนเชื้อซัลโมเนลลา โดยเฉพาะ วัตถุดบิ อาหารสัตว์ ประเภทโปรตีนจากสัตว์ และ อาหารสัตว์ผสมสำเร็จรูปชนิดผง ซึง่ เสีย่ งต่อการ ปนเปือ้ นเชือ้ ซัลโมเนลลามากกว่าวัตถุดบิ อาหาร สัตว์ และอาหารสัตว์อื่นๆ หากผลจากการสุ่ม ตรวจสอบวัตถุดิบอาหารสัตว์ หรืออาหารสัตว์ พบเชื้อซัลโมเนลลาปนเปื้อน เจ้าหน้าที่ควรทำ

ข้อเสนอแนะ ผู้ประกอบกิจการอาหารสัตว์ ควรมีการ จัดการสุขลักษณะโรงงานอาหารสัตว์ที่ดี และ การกำหนดมาตรการจัดการทีเ่ หมาะสม เพือ่ ลด หรือขจัดสาเหตุทอี่ าจก่อให้เกิดการปนเปือ้ นเชือ้ ซั ล โมเนลลาไปยั ง วั ต ถุ ดิ บ อาหารสั ต ว์ หรื อ อาหารสัตว์ ดังนี้ 1. ควรมี บ ริ เ วณจั ด เก็ บ วั ต ถุ ดิ บ อาหาร สัตว์กลุ่มเสี่ยงต่อการปนเปื้อนเชื้อซัลโมเนลลา โดยเฉพาะวัตถุดิบอาหารสัตว์ประเภทโปรตีน จากสัตว์ แยกห่างจากบริเวณจัดเก็บวัตถุดิบ อาหารสัตว์ประเภทอืน่ ๆ หรือกัน้ แยกเป็นสัดส่วน แยกออกจากบริเวณผลิต บริเวณบรรจุ หรือจัดเก็บ ผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์ 2. ควรปรับปรุงอาคารสถานที่ผลิต และ จัดเก็บวัตถุดบิ อาหารสัตว์ ผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์ เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์พาหะนำ โรค และสามารถป้องกันไม่ให้สตั ว์พาหะนำโรค เข้ามาภายในอาคารได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวม ทั้งจัดให้มีโปรแกรมกำจัดสัตว์พาหะนำโรคที่ สามารถนำไปกำจัดสัตว์พาหะนำโรคได้อย่างมี ประสิทธิภาพ

81 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2559

1. เจ้ า หน้ า ที่ ป ระจำด่ า นนำเข้ า ควร พิจารณาทำการสุ่มตรวจสอบเชื้อซัลโมเนลลา ในวัตถุดิบอาหารสัตว์ประเภทโปรตีน จากสัตว์ ทุกล็อตการผลิตที่มีการนำเข้า และกักวัตถุดิบ อาหารสัตว์ดังกล่าวไว้จนกว่าจะทราบผลการ ตรวจวิเคราะห์ หากผลการตรวจวิเคราะห์พบ เชื้อซัลโมเนลลาปนเปื้อน เจ้าหน้าที่ควรแจ้งให้ ผู้นำเข้าอาหารสัตว์รับทราบเพื่อส่งคืนวัตถุดิบ อาหารสัตว์ดังกล่าวกลับประเทศต้นทางโดยเร็ว หรือจัดให้มีการทำลายโดยวิธีการเผา หรือฝัง กลบ หรืออาจพิจารณาให้มกี ารใช้สารเคมีกำจัด เชื้อซัลโมเนลลากับวัตถุดิบอาหารสัตว์ดังกล่าว ภายใต้การควบคุมของพนักงานเจ้าหน้าที่ และ ทำการเก็บตัวอย่างซ้ำเพื่อส่งตรวจวิเคราะห์อีก ครัง้ หากผลการตรวจวิเคราะห์ไม่พบเชือ้ ซัลโมเนลลา จึงทำการตรวจปล่อยสินค้า

หนังสือแจ้งเตือนผู้ประกอบการให้มารับทราบ ปัญหาพร้อมให้ระบุสาเหตุ วิธีการแก้ไข และ ระยะเวลาแก้ไขปัญหา จากนัน้ เมือ่ ครบระยะเวลา ตามทีก่ ำหนดให้เจ้าหน้าทีท่ ำการสุม่ เก็บตัวอย่าง ซ้ำเพื่อส่งตรวจวิเคราะห์ หากผลการสุ่มตรวจสอบยังตรวจพบเชื้อซัลโมเนลลาปนเปื้อน ให้ เจ้าหน้าทีด่ ำเนินการยึด หรืออายัดวัตถุดบิ อาหาร สัตว์ หรืออาหารสัตว์ปนเปื้อนเชื้อซัลโมเนลลา ดั ง กล่ า ว และดำเนิ น คดี ต ามกฎหมายกั บ ผู้ ประกอบการ

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 33 เล่มที่ 171

นอกจากนั้นเจ้าหน้าที่ภาครัฐยังสามารถ นำผลการศึกษาต่างๆ ดังกล่าวข้างต้นไปใช้ ประกอบการวางแผนการเฝ้าระวังการปนเปื้อน เชือ้ ซัลโมเนลลาในวัตถุดบิ อาหารสัตว์ และอาหาร สัตว์ หรือการกำหนดมาตรการจัดการกับวัตถุดบิ อาหารสัตว์ และอาหารสัตว์ได้อย่างเหมาะสม ตามความเสีย่ งของการปนเปือ้ นเชือ้ ซัลโมเนลลา ดังนี้


3. ควรจัดให้มีโปรแกรมทำความสะอาดอาคาร สถานที่ผลิต สถานที่จัดเก็บวัตถุดิบ และ ผลิตภัณฑ์ รวมทัง้ เครือ่ งจักรอุปกรณ์การผลิต เพือ่ ให้มนั่ ใจว่าอาคารสถานที่ และเครือ่ งจักรอุปกรณ์ ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตอาหารสัตว์ทั้งหมด ได้รับการดูแลทำความสะอาดอย่างเพียงพอ เหมาะสม และไม่กลายเป็นแหล่งที่ก่อให้เกิดการปนเปื้อนข้ามทางด้านจุลินทรีย์ไปยังวัตถุดิบอาหารสัตว์ หรือ ผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์ 4. ควรจัดให้มีมาตรการควบคุมสุขลักษณะส่วนบุคคล เช่น โปรแกรมการตรวจสุขภาพ พนักงานประจำปี ระเบียบการแต่งกายพนักงาน ระเบียบการปฏิบัติ และอุปนิสัยส่วนบุคคลที่ เหมาะสม เพื่อป้องกันไม่ให้พนักงานกลายเป็นแหล่งที่ก่อให้เกิดการปนเปื้อนข้ามทางด้านจุลินทรีย์ ไปยังวัตถุดบิ อาหารสัตว์ หรือผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์ โดยเฉพาะพนักงานทีม่ โี อกาสสัมผัสกับผลิตภัณฑ์ อาหารสัตว์โดยตรง 5. ควรกำหนดมาตรการควบคุมรถขนส่ง เพื่อให้รถขนส่งมีสภาพสะอาดไม่เปียกชื้น หรือ มีรอยรั่ว รวมทั้งมีการคลุมผ้าใบรถขนส่งทุกครั้งก่อนออกเดินทางหากกรณีเป็นรถบรรทุกทั่วไป ทั้งนี้เพื่อป้องกันวัตถุดิบอาหารสัตว์ และผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์เกิดการปนเปื้อนระหว่างการขนส่ง

82

6. ควรควบคุมการเบิกจ่ายวัตถุดิบอาหารสัตว์ หรือการจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์ แบบ เข้าก่อน-ออกก่อน (First in-First out) เพื่อป้องกันวัตถุดิบอาหารสัตว์ หรือผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์ เกิดการตกค้างจนเกิดการเสื่อมคุณภาพก่อนเบิกนำไปใช้ หรือจำหน่าย

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 33 เล่มที่ 171

พฤศจิกายน-ธันวาคม 2559

กิตติกรรมประกาศ งานวิจัยเรื่องสภาวะการปนเปื้อนเชื้อซัลโมเนลลาในวัตถุดิบอาหารสัตว์ของอุตสาหกรรม การผลิตอาหารสัตว์ไทย สามารถสำเร็จลุล่วงได้ ผู้วิจัยขอขอบพระคุณคณะกรรมการวิชาการของ กองควบคุมอาหารและยาสัตว์กรมปศุสัตว์ ที่ได้ให้คำแนะนำและตรวจแก้ไขงานวิจัยให้มีความ สมบูรณ์ยิ่งขึ้น รวมทั้งขอขอบคุณเจ้าหน้าที่กองควบคุมอาหารและยาสัตว์ กรมปศุสัตว์ ทุกท่าน ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสุ่มเก็บตัวอย่างวัตถุดิบอาหารสัตว์ และเจ้าหน้าที่สำนักตรวจสอบคุณภาพ สินค้าปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์ ทุกท่านที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการตรวจวิเคราะห์การปนเปื้อนเชื้อซัลโมเนลลาในวัตถุดิบอาหารสัตว์ และอาหารสัตว์

เอกสารอ้างอิง กรมปศุสัตว์. 2540. พระราชบัญญัติควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ.2525, ธุรกิจอาหารสัตว์, พิมพ์ครั้งที่ 4 กรุงเทพมหานคร, ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย. 153-154. ธรรมนาท ชัยฤทธิ์, ศยามล พวงขจร และพีรวุฒิ ชินสร้อย. 2548. การศึกษาการปนเปื้อนเชื้อซัลโมเนลลาใน เนื้อและกระดูกป่นนำเข้า. สัตว์เศรษฐกิจ, 2523 (ปักษ์แรกมีนาคม) กรุงเทพมหานคร, ก.พลพิมพ์เพลท.


พฤศจิกายน-ธันวาคม 2559

83 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 33 เล่มที่ 171

ธวัชชัยรอดสม. 2550. อาหารสัตว์ วัตถุทเี่ ติมในอาหารสัตว์ และการเก็บตัวอย่างอาหารสัตว์ ตามพระราชบัญญัติ ควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ. 2525 เพื่อตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการกรมปศุสัตว์ สำนักพัฒนา ระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, 44-45. รุจริ า ศรีจนั ทร์ และประยูร ลีลางามวงศ์ษา. 2548. คูม่ อื วัตถุดบิ ทีใ่ ช้เป็นส่วนผสมอาหารสัตว์, กรุงเทพมหานคร, ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย. ศศิธร พวงมณี และสุปราณี โชติสกุล. 2546. โรคซัลโมเนลโลซีส กับการปศุสัตว์.โรคติดต่อระหว่างคนและสัตว์. กรุงเทพมหานคร, สถาบันสุขภาพแห่งชาติ, กรมปศุสัตว์. สํานักระบาดวิทยา. 2549. รายงานประจําปี 2548, กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์, กระทรวสาธารณสุข, กรุงเทพมหานคร, 325-332. สมนึก อรรคไกรสีห์ และวีระ อิ้งสอาด. 2542. คุณภาพขนสัตว์ปีกป่นในประเทศไทย. ธุรกิจอาหารสัตว์, 67 (กรกฎาคม-สิงหาคม)กรุงเทพมหานคร:ธัญวรรณการพิมพ์. 10-12. สมนึก อรรคไกรสีห์ และสมภัสสร วงษ์แสง. 2543. คุณภาพปลาป่นไทย. ธุรกิจอาหารสัตว์, 74 (กันยายนตุลาคม) กรุงเทพมหานคร, ธัญวรรณการพิมพ์, 13-14. สุมณฑา วัฒนสินธุ์ อรุณ บ่างตระกูลนนท์ และธเนศ ชิดเครือ. 2549. การปนเปือ้ นเชือ้ ซัลโมเนลลาในอาหารสัตว์ และการควบคุม. ธุรกิจอาหารสัตว์, 88 (มกราคม-กุมภาพันธ์) กรุงเทพมหานคร : ธัญวรรณการพิมพ์ อุทัย คันโธ. 2559. อาหารสุกรและสัตว์ปีกเชิงประยุกต์, กรุงเทพมหานคร, ยู เค ที พับลิชชิ่ง, 339-479. Bryan, F.L., and Dole, M.P. 1995. Health risks and consequences of Salmonella and Campylobacter jejuni in raw poultry, Journal of Food Protection, 58: 326-344. European Commision. Regulation (EU) No 142/2011 of 25 February 2011. Implementing Regulation (EC) No 1069/2009 of the European Parliament and of the Council laying down health rules as regard animal by-products and derived products not intended for human consumption and implementing Council Directive 97/78/EC as regards certain samples and items exempt from veterinary checks at the border under thatDirective. Official Journal of the European Union, L54, 66. Hedberg, C.1999. Food-related illness and death in the United States.Emerging infectious Diseases, 5(6), 840-842. Doi: 10.3201/eid 05.990502. Humphrey, T. 2000. Public health aspects of Salmonella infection. In: C.Wray and A. Wray (eds). Salmonella in Domestic Animals. Wallingford, UK: CABI Publishing. Pp. 245-262. International Association for Food. 2011. Procedures to Investigate Foodborne Illness (6thed.). New York, Springer. ISO6579. 2002 Microbiology of food and animal feeding stuffs. Horizontal for method detection of Salmonella. Mead P.S, Slutsker L., Dietz V, McCraig L.F., Bresee J.S., Shapiro C., Griffin P.M., and Tauxe R.V. 1999. Food-related illness and death in the United States. RuttayapornNgasaman. 2007. Prevalence of salmonella in breeder sows in Chiang Mai, Thailand. ChiangmaiUniversity, Freie University Berlin. Thorns C.J. 2000. Bacterial food-borne zoonoses. Revue scientifiqueet technique. International Office of Epizootics. 19 (1). 226-239.


ขอขอบคุณบริษัทที่ให้ความสนับสนุน และความร่วมมือในการจัดทำวารสารธุรกิจอาหารสัตว์

1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16

บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) บริษัท ซี พี เอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) สมุทรปราการ บริษัท กรุงไทยอาหาร จำกัด (มหาชน) บริษัท อาหารสัตว์ไทยสวนหลวง จำกัด บริษัท ลีพัฒนาผลิตภัณฑ์ จำกัด (มหาชน) บริษัท ซี พี เอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) สระบุรี บริษัท ท็อป ฟีด มิลล์ จำกัด บริษัท แลบอินเตอร์ จำกัด บริษัท ฮูเวฟาร์มา (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท เชฟเฟิร์ด เทค คอนซัลแตนซี่ ไพรเวท จำกัด บริษัท ไฟโตไบโอติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท โนวัส อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท ยูนีโกรอินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด บริษัท อดิสสิโอ เทรดดิ้ง (ประเทศไทย) จำกัด บรูเกอร์ ไบโอสปิน เอจี บริษัท วีเอ็นยู เอ็กซิบิชั่นส์ เอเซีย แปซิฟิค จำกัด

โทร. 0-2833-8000 โทร. 0-2680-4580 โทร. 0-2473-8000 โทร. 0-2814-3480 โทร. 0-2632-7232 โทร. 0-2680-4500 โทร. 0-2194-5678-96 โทร. 0-3488-6140-48 โทร. 0-2937-4355 โทร. 09-2089-1601 โทร. 0-2694-2498 โทร. 02-661-8700 โทร. 0-3430-5101-3 โทร. 02-681-1329 โทร. 0-2642-6900 โทร. 0-2670-0900 # 113




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.