Aw 176 p01 98 pages for web

Page 1



รายนามสมาชิก

สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย 1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8. 9. 10. 11. 12. 13. 14. 15. 16. 17. 18. 19. 20. 21. 22. 23. 24. 25.

บริษัท เบทาโกร โฮลดิ้ง จำ�กัด บริษัท แหลมทองสหการ จำ�กัด บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารเซ็นทรัล จำ�กัด บริษัท ป.เจริญพันธ์อาหารสัตว์ จำ�กัด บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำ�กัด (มหาชน) บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำ�กัด (มหาชน) บริษัท กรุงไทยอาหาร จำ�กัด (มหาชน) บริษัท ลีพัฒนาผลิตภัณฑ์ จำ�กัด (มหาชน) บริษัท คาร์กิลล์สยาม จำ�กัด บริษัท ลีพัฒนาอาหารสัตว์ จำ�กัด บริษัท ฟีดสเปเชียลตี้ จำ�กัด บริษัท โกรเบสท์คอร์โพเรชั่น จำ�กัด บริษัท เอเชี่ยน ฟีด จำ�กัด บริษัท ไทยลักซ์เอ็นเตอร์ไพรส์ จำ�กัด (มหาชน) บริษัท อาหารสัตว์ไทยสระบุรี จำ�กัด บริษัท เบทาโกร จำ�กัด (มหาชน) บริษัท ท็อป ฟีด มิลล์ จำ�กัด บริษัท คาร์กิลล์มีทส์ (ไทยแลนด์) จำ�กัด บริษัท ยูไนเต็ดฟีดมิลล์ จำ�กัด บริษัท มิตรภาพอาหารสัตว์ จำ�กัด บริษัท เหรียญทอง ฟีด (1992) จำ�กัด บริษัท แหลมทองเกษตรภัณฑ์ จำ�กัด บริษัท อาหารสัตว์ไทยสวนหลวง จำ�กัด บริษัท เอส พี เอ็ม อาหารสัตว์ จำ�กัด บริษัท อีสเทิร์น ฟีดมิลล์ จำ�กัด

26. 27. 28. 29. 30. 31. 32. 33. 34. 35. 36. 37. 38. 39. 40. 41. 42. 43. 44. 45. 46. 47. 48. 49. 50.

บริษัท ซันฟีด จำ�กัด บริษัท ยูนีโกร อินเตอร์เนชั่นแนล จำ�กัด บริษัท พนัสโภคภัณฑ์ จำ�กัด บริษัท ยู่สูงอาหารสัตว์ จำ�กัด บริษัท แหลมทองอะควอเทค จำ�กัด บริษัท บางกอกแร้นซ์ จำ�กัด (มหาชน) บริษัท กาญจนาอาหารสัตว์ จำ�กัด บริษัท ก้าวหน้าอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ จำ�กัด บริษัท กรุงเทพโปรดิ๊วส จำ�กัด (มหาชน) บริษัท วี.ซี.เอฟ. กรุ๊ป จำ�กัด บริษัท ชัยภูมิฟาร์มผลิตภัณฑ์การเกษตร จำ�กัด บริษัท ไทยยูเนี่ยน ฟีดมิลล์ จำ�กัด บริษัท อินเทคค์ ฟีด จำ�กัด บริษัท บุญพิศาล จำ�กัด บริษัท เฮกซ่าแคลไซเนชั่น จำ�กัด บริษัท หนองบัว ฟีด มิลล์ จำ�กัด บริษัท ไทย ฟู้ดส์ อาหารสัตว์ จำ�กัด บริษัท โกลด์ คอยน์ สเปเชียลิตี้ส์ (ประเทศไทย) จำ�กัด บริษัท วีพีเอฟ กรุ๊ป (1973) จำ�กัด บริษัท อาร์ที อะกริเทค จำ�กัด บริษัท ฟาร์มจงเจริญ จำ�กัด บริษัท เจบีเอฟ จำ�กัด บริษัท อินเว (ประเทศไทย) จำ�กัด บริษัท ทีอาร์เอฟ ฟีดมิลล์ จำ�กัด บริษัท บีอาร์เอฟ ฟีด (ไทยแลนด์) จำ�กัด

ิภ ัน น

ร า ก นา


คณะกรรมการบริหาร สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย ประจำ�ปี 2560-2561

1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8. 9. 10. 11. 12. 13. 14. 15. 16. 17.

นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล นายชยานนท์ กฤตยาเชวง นายประจักษ์ ธีระกุลพิศุทธิ์ นายไพศาล เครือวงศ์วานิช นางเบญจพร สังหิตกุล นายบุญธรรม อร่ามศิริวัฒน์ นางสาวสุวรรณี แต้ไพสิฐพงษ์ นายสมภพ เอื้อทรงธรรม นายโดม มีกุล นายวิโรจน์ กอเจริญรัตน์ นายเธียรเทพ ศิริชยาพร นายวิชัย คณาธนะวนิชย์ นายวิศิษฐ คณาธนะวนิชย์ นายสุจิน ศิริมงคลเกษม นางสาวนลิน เหล่าวรวิทย์ นายสุทธิชัย ศักดิ์ชัยเจริญกุล นายจำ�ลอง เติมกลิ่นจันทน์

นายกสมาคม อุปนายก อุปนายก อุปนายก เหรัญญิกสมาคม เลขาธิการ รองเลขาธิการ รองเลขาธิการ ประชาสัมพันธ์ ปฏิคม นายทะเบียน กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ

บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำ�กัด (มหาชน) บริษัท เบทาโกร จำ�กัด (มหาชน) บริษัท ป.เจริญพันธ์อาหารสัตว์ จำ�กัด บริษัท กรุงเทพโปรดิ๊วส จำ�กัด (มหาชน) บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำ�กัด (มหาชน) บริษัท ลีพัฒนาผลิตภัณฑ์ จำ�กัด (มหาชน) บริษัท เบทาโกรโฮลดิ้ง จำ�กัด บริษัท อินเทคค์ ฟีด จำ�กัด บริษัท อาหารสัตว์ไทยสระบุรี จำ�กัด บริษัท ลีพัฒนาอาหารสัตว์ จำ�กัด บริษัท อาหารสัตว์ไทยสวนหลวง จำ�กัด บริษัท แหลมทองเกษตรภัณฑ์ จำ�กัด บริษัท แหลมทองอะควอเทค จำ�กัด บริษัท กรุงไทยอาหาร จำ�กัด (มหาชน) บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารเซ็นทรัล จำ�กัด บริษัท ท็อป ฟีด มิลล์ จำ�กัด บริษัท ซันฟีด จำ�กัด


บรรณาธิการ แถลง การปรับโมเดล ลดการรุกป่า ปลูกข้าวโพดหลังนา เป็นเรื่องที่สมควรจะได้รับ การพิจารณาให้ปรับมาใช้ให้จริงจังและหวังผลอย่างชัดเจน และคณะรัฐมนตรีได้มีมติ เห็นชอบในหลักการทีจ่ ะเข้ามาสนับสนุนการเพาะปลูกข้าวโพดหลังนาในพืน้ ทีเ่ หมาะสม และมีการขึ้นทะเบียนเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการในปีนี้ ให้ทันเพาะปลูกในช่วงเดือน พฤศจิกายน 2560 - มกราคม 2561 และสามารถเก็บเกี่ยวได้ เมษายน 2561 ในพื้นที่ 31 จังหวัด ได้แก่ ภาคเหนือ 16 จังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 9 จังหวัด ภาคกลาง 4 จังหวัด ภาคตะวันออก 1 จังหวัด และภาคตะวันตก 1 จังหวัด บน งบประมาณ 1,421.96 ล้านบาท แบ่งเป็น งบอุดหนุนปัจจัยการผลิตส่งเสริมการ เรียนรู้ให้เกษตรกรในการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ฤดูแล้งหลังนา ไร่ละ 2,000 บาท รายละไม่เกิน 15 ไร่ รวมพืน้ ที่ 7 แสนไร่ เป็นเงิน 1,400 ล้านบาท ครอบคลุมเกษตรกร 4.7 หมื่นราย และงบด�ำเนินงานจ�ำนวน 21.96 ล้านบาท นับเป็นมิติใหม่ที่จะช่วยแก้ปัญหาคุณภาพข้าวโพด ลดการกระจุกตัวที่ส่งผลต่อ ราคาข้าวโพด และเป็นการดึงพื้นที่ที่มีเอกสารสิทธิที่ถูกต้องมาปลูกข้าวโพดทดแทน ลดปัญหาการรุกป่า ลดการใช้น�้ำปริมาณมากในการปลูกข้าวนาปรังได้อีกทางหนึ่ง ซึ่งจะ เป็นการปรับโมเดลที่คู่ขนานกับการแก้ไขปัญหาการรุกป่าโดยภาครัฐ หากส�ำเร็จจะสร้าง ประโยชน์ต่อห่วงโซ่การผลิตอาหารของประเทศอย่างมาก ส่งผลดีต่อเกษตรกรไปจนถึง ผู้บริโภคอย่างแน่นอน ซี่งโมเดลที่ว่านี้คือ ภาพในอดีตการปลูกข้าวโพด จาก 70 25 5 เป็น 20 30 50 แล้วมาดูกันว่า ผลผลัพธ์จะเป็นอย่างไร จะดีอย่างที่วาดหวังเอาไว้หรือไม่ ต้องพิสูจน์..

บก.


ธุรกิจอาหารสัตว์

วารสาร

ปีที่ 34  เล่มที่ 176  ประจำ�เดือนกันยายน - ตุลาคม 2560 วัตถุประสงค์

Contents

1. เพื่อส่งเสริมความรู้และเผยแพร่อุตสาหกรรมอาหารสัตว์และการปศุสัตว์ 2. เพื่อเป็นสื่อกลางระหว่างสมาชิกและผู้ที่เกี่ยวข้องทั่วไป 3. เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารสัตว์และการปศุสัตว์ของประเทศให้เจริญรุ่งเรืองในแนวทาง ที่เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิ จของชาติ 4. ไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง

Thailand Focus พรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล สร้างสมดุลทางรอด “ปศุสัตว์ไทย”.................................................................................................. 5 ต้นตอปัญหาเรื้อรัง “อาหารสัตว์” ปรับโมเดล ลดรุกป่า ปลูกข้าวโพดหลังนา...........................................................................8 โครงการ สวมหมวกใส่รองเท้า ให้ภูเขาหัวโล้นจังหวัดน่าน.......................................................................................................10 ส่งเสริมเครื่องจักรกลเกษตร ทางเลือกลดต้นทุน....................................................................................................................15 คนเลี้ยงไก่ไข่กระอัก จี้ทบทวนมาตรฐานฟาร์ม.......................................................................................................................17 ปศุสัตว์สั่งคุมเข้มระบบการผลิตไข่ เพิ่มความมั่นใจผู้บริโภคปลอดภัย.....................................................................................19

Food Feed Fuel 'อสค.' คลอดแผนแม่บทส่งเสริมเลี้ยงโคนม 4.0....................................................................................................................20 อ.ส.ค. ปิ๊งไอเดียน�ำเข้าน�้ำเชื้อแช่แข็ง - ย้ายฝากตัวอ่อนพันธุ์โคนม Girolando บราซิล ชี้ศักยภาพสายพันธุ์ดี ให้น�้ำนมสูง มุ่งต่อยอดพัฒนาประสิทธิภาพการปรับปรุงพันธุ์โคนมไทย เพิ่มทางเลือกให้เกษตรกรยกระดับการผลิต..........................22 สหกรณ์ขอนม ร.ร. 70% • โดดป้องสมาชิกรับมือเปิดเสรีนมนอกทะลัก...............................................................................23 มันส�ำปะหลังวูบ 2 ล้านตัน ขาดทุน 2 ปี ชาวไร่เลิกปลูก.....................................................................................................25 พาณิชย์แจงมาตรการจัดเก็บภาษีน�ำเข้าข้าวสาลี ยันรัฐบาลมีมาตรการดูแลการน�ำเข้าช่วยเกษตรกร....................................... 27 เตรียมตัวรับมือ! พาณิชย์ - เกษตรฯ ตั้งรับ “ข้าวโพด” ทะลัก 4.5 ล้านตัน............................................................................29

Market Leader ปัจจัยที่มีผลต่อความสม�่ำเสมอในการผสมอาหารสัตว์............................................................................................................31 ‘ปศุสัตว์’ ชงข้อมูลสารเร่งเนื้อแดง ก่อน ‘บิ๊กตู่’ เยือนสหรัฐฯ................................................................................................ 37 อัพเดทสถานการณ์ไก่ไข่ และไข่ไก่........................................................................................................................................39 ทางออกฟาร์มไข่เล็ก ฟังความจริงจาก มกอช........................................................................................................................42 ผู้เลี้ยงสุกร - ไก่ ยื่นหนังสือคัดค้านสหรัฐฯ กดดันไทยน�ำเข้าหมู - ไก่......................................................................................43 อย่าเสี่ยงกับหมูของทรัมป์.....................................................................................................................................................46 สมาคมผู้เลี้ยงสุกรฯ โร่ยื่นหนังสือร้อง รมว. พาณิชย์ สกัดเจรจาเปิดตลาดน�ำเข้าเนื้อสุกรสหรัฐฯ หวั่นกระทบเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกร....................................................................................................................................48

Around The World ส่งออกกุ้งไทย แนวโน้มสดใส.................................................................................................................................................50 เลี้ยงสัตว์อย่างไร??? เมื่อเลิกใช้ยาปฏิชีวนะ..........................................................................................................................53 ส�ำเร็จด้วยความพร้อมของฟาร์ม และการจัดการที่เหมาะสม..................................................................................................59 รายงานการส�ำรวจข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ครั้งที่ 3/2560..............................................................................................................63 ตารางสถิติ............................................................................................................................................................................71 ขอบคุณ...............................................................................................................................................................................80   ดำ�เนินการโดย : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย   : นายประเสริฐ พุ่งกุมาร     รองประธานกรรมการที่ปรึกษา : นายวีรชัย รัตนบานชื่น  นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล     กรรมการที่ปรึกษา : นายสมชาย กังสมุทร  นายพงษ์ เหล่าวรวิทย์  นายประสิทธิ์ ศิริมงคลเกษม  นายอดิเรก ศรีประทักษ์  นายนิพนธ์ ลีละศิธร นางเบญจพร สังหิตกุล  นายณรงค์ชัย ศรีสันติแสง  นายบุญธรรม อร่ามศิริวัฒน์  นายประจักษ์ ธีระกุลพิศุทธิ์     บรรณาธิการ : นายปรีชา กันทรากรกิติ     กองบรรณาธิการ : นายไพบูลย์ ขุนทอง  นายอรรถพล ชินภูวดล  นางสาวปัทมา ศรีเที่ยงตรง  นางสาวกรดา พูลพิเศษ  นายธีรพงษ์ ศิริวิทย์ภักดีกุล  

   ประธานกรรมการที่ ป รึ ก ษา

สำ�นักงาน : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย 43 ไทย ซีซี ทาวเวอร์ ห้อง 170 ชั้น 17 ถนนสาทรใต้ ยานนาวา สาทร กรุงเทพฯ 10120 โทรศัพท์ 0-2675-6263-4   โทรสาร 0-2675-6265   Email: tfma44@yahoo.com   Website: www.thaifeedmill.com




Thailand Focus ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 176 กันยายน - ตุลาคม 2560

พรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล

สร้างสมดุลทางรอด “ปศุสัตว์ไทย” เดือนสิงหาคมเข้าสูฤ่ ดูเก็บเกีย่ วข้าวโพดครอปใหญ่ของปี 2560/ 2561 แต่ปญ ั หาเรือ้ รังเดิมยังไม่ได้รบั การสะสาง ทัง้ ผลผลิตลอตใหญ่ 70% ออกมากระจุกตัว - ชาวไร่ยังใช้ที่ดินผิดกฎหมาย และวัตถุดิบ ยังไม่เพียงพอผลิตอาหารสัตว์ สัมภาษณ์พเิ ศษ “พรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล” นายกสมาคมผูผ้ ลิตอาหารสัตว์ ไทย ถึงแนวทางแก้ไขปัญหาอาหารสัตว์ในฤดูกาลนี้ว่า

Q : ปรับโมเดลลดรุกป่า - ปลูกหลังนา กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ทำ� ยุทธศาสตร์ขา้ วโพดปรับโมเดลปลูกข้าวโพดจาก 70 - 25 - 5 เป็น 20 - 30 - 50 หมายถึง ลดปลูกข้าวโพดต้นฝน 70% ให้เหลือ 20% และเพิ่มข้าวโพดรุ่น 2 คุณภาพดี จาก 25% เป็น 30% และเพิ่มข้าวโพดหลังนาจาก 5% เป็น 50% เพื่อแก้ปัญหาคุณภาพ และราคา ข้าวโพดตกต�่ำ ตอนนี้รอเสนอคณะรัฐมนตรีของบประมาณโครงการปลูกข้าวโพดหลังนา 7 พันล้านบาท ในช่วง 3 ปี เริ่มจากปี 2561/2562 เพื่อให้เงินสนับสนุนเกษตรกรไร่ละ 2,000 บาท และงบฯ ค่าจัดการต่างๆ บนพืน้ ทีเ่ ป้าหมาย 3.36 ล้านไร่ ใน 35 จังหวัด ส่วนภาคเอกชนจะไปตัง้ จุดรับซือ้ ในราคา กก.ละ 8 บาท

Q : ลดการรุกป่ายังไม่คืบหน้า พื้นที่ปลูกข้าวโพดต้นฝน 70% มีทั้งถูกกฎหมาย และผิดกฎหมาย แยกเป็นพื้นที่เขตป่า 3.72 ล้านไร่ พื้นที่ไม่เหมาะสม 0.89 ล้านไร่ รวมเป็น 4.61 ล้านไร่ คิดเป็น 50% ของพื้นที่ปลูกข้าวโพด ทั้งหมดของประเทศ 7.84 ล้านไร่ ส่วนนี้ต้องลดไปเลย เพื่อคืนกลับเป็นพื้นที่ป่า ซึ่งภาครัฐ ฝ่ายทหาร กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกระทรวงมหาดไทย ได้บูรณาการขอความร่วมมือ ชาวบ้าน แต่ต้องค่อยเป็นค่อยไป เพราะมีความอ่อนไหวมาก ที่มา : http://www.prachachat.net/economy/news-25180

5


Thailand Focus ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 176 กันยายน - ตุลาคม 2560

ที่ผ่านมาสมาคมฯ ร่วมมือกับชุมชน แปลงพื้นที่ปลูกข้าวโพดให้เป็นป่า และมีเอกชนอีกหลายๆ บริษัท เช่น ซี.พี., ปตท. ช่วยๆ กัน รวม 600 - 700 ไร่ แปลงไปปลูกพืชอื่น เช่น กาแฟ ทดแทน โดยมีสถาบันการศึกษาในพื้นที่ช่วยตรวจสอบควบคุม ขับเคลื่อนกันไป แต่คงต้องใช้เวลานานในการ ลดพื้นที่ตรงนี้ และปลูกทดแทนกัน

Q : ปีนี้จะหยุดซื้อข้าวโพดผิดกฎหมาย ต้องค่อยๆ ลดซื้อข้าวโพดที่ปลูกโดยไม่มีเอกสารสิทธิตามโมเดล ปีละ 20% คงใช้เวลาอีก 5 ปี ในวันนีย้ งั ไม่เห็นภาพการปลูกข้าวโพดหลังนาทดแทนพืน้ ทีผ่ ดิ กฎหมาย เพิง่ เปลีย่ นได้ไม่กรี่ อ้ ยไร่ ดังนัน้ ปีการผลิต 2560/2561 สมาคมมีมติว่า จะไม่สนับสนุนการรับซื้อข้าวโพดจากเกษตรกรที่ไม่มีเอกสาร สิทธิ แต่ไม่ได้บังคับ ขึ้นกับนโยบายแต่ละบริษัท และจ�ำเป็นต้องสื่อสารไปให้ผู้น�ำเข้าต่างประเทศคลาย ความกังวล ถึงแม้ว่าตอนนี้ไม่มีมาตรการ แต่อนาคตมาแน่

Q : ทำ�ไมไม่ใช้ไม้แข็งหยุดซื้อไปเลย การคุมเลยย่อมท�ำได้ แต่ควรมีทางเลือกให้เกษตรกร การใช้มาตรการขัน้ เด็ดขาดมีความอ่อนไหว หลายด้าน ที่ผ่านมา พ่อค้าอ้างว่าโรงงานอาหารสัตว์ไม่ซื้อข้าวโพดที่ไม่มีเอกสารสิทธิ เพื่อไปกดราคา รับซื้อเกษตรกร เหลือ กก. ละ 1.50 - 2.00 บาท มาขายให้โรงงาน 8.00 บาท มีตัวเลขลักลอบน�ำเข้า จากประเทศเพื่อนบ้านมาขาย โดยอ้างว่าผลผลิตได้มากกว่า 4.5 ล้านตัน พอโรงงานไม่ซื้อ ก็ไปขาย ผู้ส่งออก ซึ่งไม่ถูกคุมราคา 8 บาท ยอดส่งออกเพิ่มถึง 700,000 ตัน ปีที่ผ่านมา หรือประกาศตูม หากไม่ซื้อจากเกษตรกรที่ไม่มีเอกสารสิทธิ เท่ากับซัพพลายหายไปครึ่งหนึ่งเหลือ 2.5 ล้านตัน ท�ำให้ วัตถุดิบที่ขาดเพิ่มจาก 3 เป็น 5.5 ล้านตัน สมมุติเป็นเช่นนั้นต้องมีทางออก เช่น ให้สิทธิน�ำเข้าวัตถุดิบ เสรีมาทดแทน เปิดน�ำเข้าข้าวโพดชายแดน หรือยกเลิกมาตรการซื้อข้าวโพด 3 ส่วนต่อการให้สิทธิ์ น�ำเข้าข้าวสาลี 1 ส่วน เพื่อให้วัตถุดิบครบ 8 ล้านตัน ไม่เช่นนั้นโรงงานต้องหยุด รัฐต้องผลักข้าวโพด 2.5 ล้านตันส่งออก ส่วนข้าวโพดถูกกฎหมายจะมีราคาเท่าไรต้องไปถัวเฉลี่ยกับราคาวัตถุดิบน�ำเข้า

Q : รัฐจะคุมต้นทางคนขายเมล็ดพันธุ์ การไปจ�ำกัดตรงนั้น ความยากจะมีอีกแบบ กระทรวงเกษตรฯ ขอความร่วมมือจากสมาคม เมล็ดพันธุ์ อย่าขายเมล็ดพันธุ์ให้เกษตรกรที่ไม่มีเอกสารสิทธิ แต่สมาชิกของสมาคมไม่ได้ครอบคลุมบริษัทเมล็ดพันธุ์ทั้งประเทศ จะมีเมล็ดพันธุ์เถื่อนออกมา แน่นอน และด้วยกลไกการขายทีต่ อ้ งผ่านให้พอ่ ค้าคนกลาง ซึง่ คงมีการน�ำเมล็ดพันธุไ์ ปปล่อยขายให้กบั เกษตรกรในพื้นที่ที่ไม่ถูกต้องที่ไปปล่อยเกี๊ยวกันไว้ก็ได้ หรือหากบริษัทใดประกาศไม่ขายเพียงบริษัท เดียว ก็กลายเป็นโอกาสทางการตลาดให้กับบริษัทอื่นที่ไม่ประกาศ เสี่ยงที่จะท�ำให้ราคาข้าวโพดตกต�่ำ ลงไปอีก

6


Thailand Focus ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 176 กันยายน - ตุลาคม 2560

Q : การแก้ปัญหาขาดวัตถุดิบปีนี้ ความต้องการใช้ข้าวโพด 8.1 ล้านตัน มีข้าวโพด 4.5 ล้านตัน จึงยังต้องใช้มาตรการ 3 ต่อ 1 น�ำเข้าข้าวสาลีอีก 1.5 ล้านตัน แต่ก็ลดลงจากปีก่อน 3 ล้านตัน เพราะปีนี้ได้มีการประมูลซื้อข้าวสาร 2 ล้านตัน จากสต็อกรัฐทดแทนท�ำให้ในช่วง 6 เดือนแรกปีนี้น�ำเข้าข้าวสาลี 5-6 แสนตัน แต่ยังไม่ กระทบราคาข้าวโพดที่ตกลงกันไว้ กก. ละ 8 บาท ณ โรงงานกรุงเทพฯ การซื้อขายจริงๆ เป็นไปตาม ดีมานด์ - ซัพพลาย ซึง่ ในช่วงนีร้ าคาขยับขึน้ กก. ละ 8.20 - 8.30 บาท ปีนไี้ ม่มอี ะไร แต่ตอ้ งคิดถึงปีหน้า ถ้าไม่มีสต็อกข้าว รัฐจะแก้เรื่องวัตถุดิบอย่างไร ต้องวางระบบตั้งแต่ต้นน�้ำ - ปลายทาง ระบบตรวจสอบ ย้อนกลับ ตอนนี้ก�ำหนดมาตรการควบคุมให้มาขึ้นทะเบียนแล้ว

Q : ปกป้องผู้ปลูกกระทบส่งออกปศุสัตว์ เรามีคแู่ ข่งทัง้ สหรัฐฯ บราซิล แล้วยังมีเวียดนาม วันนีม้ พี ฒ ั นาด้านปศุสตั ว์เท่ากับไทยแล้ว น่ากลัว มากๆ มีการน�ำเข้าข้าวโพดจากต่างประเทศปีละ 5 ล้านตัน ตอนนีเ้ ร่งปลูกและใช้พชื จีเอ็มโอด้วย โรงฆ่า ไก่ได้รบั ใบอนุญาตจากญีป่ นุ่ ขณะทีค่ า่ จ้างแรงงานถูกเพียง 1 ใน 3 ของไทย แต่เวียดนามขยันกว่า ส่วน ไทยแรงงานไม่มี ต้องใช้ต่างด้าว นี่คือสิ่งที่คุกคามธุรกิจ

Q : ทางออกที่ทุกฝ่ายรอด การสร้างสมดุลคืออะไร ตอนนีพ้ ยายามช่วยเกษตรกร โดยรับซือ้ ข้าวโพดตามเงือ่ นไขของรัฐ ถาม ว่าเราแบกคนเดียวได้หรือ และต้องน�ำเข้าข้าวสาลีด้วย อีกด้านชายแดนมีตัวเลขอย่างไม่เป็นทางการ 1 ล้านตัน เป็นแรงกดดันราคา รัฐให้เราซือ้ 8 บาทก็ซอื้ หมด แต่เราไม่ได้มเี งินถุงเงินถัง ตอนนีเ้ หมือนมี คนกลุม่ หนึง่ พยายามเอาก�ำไรมากแล้วผลักภาระให้กบั กลุม่ อาหารสัตว์ ขณะทีต่ น้ ทุนเราโป่ง ตัวทดแทน ไม่มี แต่อีกกลุ่มหนึ่งฟันก�ำไรส่วนต่าง อ้างยอดจาก 4.5 เป็น 5.5 ล้านตัน ถ้ายืนหยัดเดินไปใน 5 ปี ข้าวโพดพวกนี้จะหายไปเอง เพราะไม่มีเอกสารสิทธิ ปีหน้าคงมีมาตรการชัด ปีนี้คงไม่ทันแล้ว

Q : วางอนาคต 5 ปีข้างหน้า สมาคมก�ำลังศึกษายุทธศาสตร์ 20 ปี เพือ่ ตอบ 3 โจทย์ ทัง้ ความปลอดภัย (safety) ความมัน่ คง (security) และความยั่งยืน (sustainablity) ประสานกับ ส�ำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แห่งชาติ (สวทช.) จัดท�ำมาตรฐานเพื่อความยั่งยืน เป็นดัชนีชี้วัดการใช้ทรัพยากร ว่าเราท�ำลาย สิ่งแวดล้อมเท่าไร ถือเป็นมาตรฐานที่มากกว่า GAP และมีความโปร่งใส ไทยต้องรีบพัฒนาตัวเองหนีคแู่ ข่ง อยากให้เห็นภาพรวมว่าธุรกิจต้องกระโดดไปถึงเรือ่ งทีโ่ ลกสนใจ พืชทุกชนิดต้องท�ำ เพื่อยกระดับสร้างมูลค่าเพิ่มในห่วงโซ่การผลิตในประเด็นใหม่ที่คุกคามเรานี่ยิ่งกว่า 4.0

7


Thailand Focus ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 176 กันยายน - ตุลาคม 2560

ต้นตอปัญหาเรื้อรัง “อาหารสัตว์”

ปรับโมเดล ลดรุกป่า ปลูกข้าวโพดหลังนา อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ถือเป็นต้นทุนส�ำคัญของภาคปศุสัตว์ ปัญหาที่ เกิดในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์จงึ เชือ่ มโยงตัง้ แต่เกษตรกรถึงผูบ้ ริโภค แต่ละปี อุตสาหกรรมอาหารสัตว์มกี ำ� ลังการผลิต 20 ล้านตัน ท�ำให้มคี วามต้องการใช้ วัตถุดิบทั้ง ข้าว มันส�ำปะหลัง ถั่วเหลือง ปลาป่น และข้าวโพดอย่างมาก แต่วัตถุดิบมีไม่เพียงพอจึงเกิดปัญหาตามมามากมาย นายบุญธรรม อร่ามศิริวัฒน์ เลขาธิการสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ ไทย เล่าว่า ความต้องการใช้ข้าวโพดในแต่ละปี เฉลี่ย 8 ล้านตัน แต่ไทย ปลูกได้ 4.6-5.0 ล้านตัน จึงต้องน�ำเข้าวัตถุดบิ อืน่ เช่น ข้าวสาลี กากข้าวโพด (DDGS) มาทดแทน 3 ล้านตัน เพื่อผสมให้ได้สารอาหารโปรตีนในระดับ ใกล้เคียงกับข้าวโพด ซึ่งมีโปรตีน 7 - 8% ส่วนข้าวสาลีมีโปรตีน 9 - 10% DDGS มีโปรตีน 25 - 30% เป็นเหตุให้กระทรวงพาณิชย์ตอ้ งก�ำหนดมาตรการ ให้ผู้ผลิตอาหารสัตว์รับซื้อข้าวโพด 3 ส่วน เพื่อรับสิทธิน�ำเข้าข้าวสาลี 1 ส่วน ไม่ให้กระทบชาวไร่ แต่ปัญหาส�ำคัญมาจากไทยปลูกข้าวโพดผิดวิธี และขาดประสิทธิภาพ โดย แต่ละปีปลูกข้าวโพดได้ 4.6 - 5 ล้านตัน แบ่งเป็น 3 ฤดูกาล คือ 1) ข้าวโพดต้นฝน เก็บเกี่ยวช่วงสิงหาคม - พฤศจิกายน ของทุกปี มีสัดส่วน 70% ของผลผลิตทั้งหมด มักเกิดปัญหาผลผลิตออกพร้อมกัน เมือ่ ใช้รถเกีย่ วเกิดปัญหาเม็ดแตกบวกความชืน้ สูง 30 - 40% จึงมักมีสารพิษอัลฟาทอกซิน 2) ข้าวโพดช่วงปลายฝน เก็บเกีย่ วช่วงฤดูหนาว ระหว่างธันวาคม - กุมภาพันธ์ อากาศแห้ง ความชื้นต�่ำ คุณภาพดี มีสัดส่วนเพียง 25% ของผลผลิตทั้งหมด และ 3) ข้าวโพดหลังนา ปลูกหลังเกีย่ วข้าวนาปี มีสดั ส่วนเพียง 5% ซึง่ อาจเรียก “โมเดล 70 - 25 - 5” ที่ท�ำให้คุณภาพไม่ดี ความชื้นสูง ราคาขายต�่ำกว่าความเป็นจริง ที่มา : http://www.prachachat.net/economy/news-25168

8


Thailand Focus ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 176 กันยายน - ตุลาคม 2560

อีกมิติหนึ่ง ข้าวโพดต้นฝน 70% เป็นข้าวโพดที่ปลูกในพื้นที่รุกป่าเกินครึ่ง ไม่มีเอกสารสิทธิ ส่งผลให้ประเทศผู้น�ำเข้า เช่น สหภาพยุโรป แสดงความกังวลว่า เนือ้ สัตว์จากไทยเลีย้ งด้วยอาหารสัตว์ทผี่ ลิตจากข้าวโพดในพืน้ ทีผ่ ดิ กฎหมาย ไทยจึง ต้องเร่งแก้ไข แนวทางการแก้ไขปัญหาข้าวโพดที่ผ่านมาได้ด�ำเนินการคู่ขนานกัน ทั้ง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่จัดท�ำยุทธศาสตร์ข้าวโพด เพื่อปรับโมเดลการปลูก จาก 70 - 25 - 5 เป็น 20 - 30 - 50 หมายถึง ลดพื้นที่ต้นฝนจาก 70% ให้เหลือ 20% และเพิ่มพื้นที่ข้าวโพดรุ่น 2 จาก 25% เป็น 30% และเพิ่มสัดส่วนข้าวโพด หลังนาจาก 5% เป็น 50% โมเดลใหม่นอกจากจะช่วยแก้ปัญหาคุณภาพข้าวโพด ลดการกระจุกตัวที่ ส่งผลต่อราคาข้าวโพดแล้ว อีกมิตยิ งั เป็นการดึงพืน้ ทีน่ าราบลุม่ แม่นำ�้ เจ้าพระยาซึง่ มี เอกสารสิทธิที่ดินถูกต้องมาปลูกข้าวโพดทดแทนลดปัญหาการรุกพื้นที่ป่าได้ นอกจากนี้ การปรับพื้นที่นาปรังมาปลูกข้าวโพด ยังได้ช่วยลดการใช้น�้ำ และ ลดซัพพลายผลผลิตข้าวนาปรังได้อีกมิติหนึ่ง ทัง้ นี้ การปรับเปลีย่ นโมเดลนีด้ ำ� เนินการคูข่ นานกับการแก้ไขปัญหาการรุกป่า โดยภาครัฐ หากส�ำเร็จจะสร้างประโยชน์ตอ่ ห่วงโซ่การผลิตอาหารของประเทศอย่าง มาก ส่งผลดีต่อเกษตรกรไปจนถึงผู้บริโภค

9


Thailand Focus ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 176 กันยายน - ตุลาคม 2560

โครงการ สวมหมวกใส่รองเท้า

ให้ภูเขาหัวโล้นจังหวัดน่าน

จากการที่สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทยให้ความส�ำคัญด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ซึ่งที่ผ่านมา ได้มีการด�ำเนินกิจกรรมที่ส�ำคัญมาอย่างต่อเนื่อง เช่น การพัฒนาระบบมาตรฐานการผลิตข้าวโพด เลีย้ งสัตว์อย่างยัง่ ยืน การร่วมมือกับกรมควบคุมมลพิษในการแก้ปญ ั หาหมอกควันจากการเผาป่าในเขต พืน้ ทีภ่ าคเหนือ และโครงการประเมินข้าวโพดเลีย้ งสัตว์ไทยจากตัวชีว้ ดั ด้านความยัง่ ยืนของ FAO เป็นต้น และเมื่อช่วงเดือนกันยายน 2559 สมาคมฯ ได้มีกิจกรรมเพิ่มเติมคือ การท�ำโครงการเพื่อคืนพื้นที่ป่า ในเขตพื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในจังหวัดน่าน โดยสมาคมฯ ได้มีโอกาสรับทราบข้อมูลโครงการ จากผู้อ�ำนวยการวิทยาลัยชุมชนน่าน (ดร.ณัชภัทร พานิช) ซึ่งเป็นผู้ขับเคลื่อนหลักร่วมกับเกษตรกร ปลูกข้าวโพดบางส่วนในพื้นที่จังหวัดน่าน ที่มีเจตนารมณ์ร่วมกันในการรักษาคืนพื้นป่าให้กับประเทศ โดยมีชื่อโครงการว่า “สวมหมวกใส่รองเท้าให้ภูเขาหัวโล้น”

10


Thailand Focus ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 176 กันยายน - ตุลาคม 2560

โครงการสวมหมวกใส่รองเท้าให้ภูเขาหัวโล้นคืออะไร?? โครงการสวมหมวกใส่รองเท้าให้ภูเขาหัวโล้น จังหวัดน่าน เป็นแนวคิดในการสร้างกระบวนการ ฟื้นฟูป่าต้นน�้ำให้เกิดความยั่งยืนและต่อเนื่อง ตั้งแต่บริเวณต้นน�้ำไปจนถึงบริเวณปลายน�้ำ โดยใช้หลัก คิด การจัดการคนกับป่าและเพิ่มพื้นที่ป่าต้นน�้ำ ใช้วิธีการศาสตร์พระราชา คือ ต้นน�้ำ ป่าไม้ กลางน�้ำ การเกษตร และปลายน�้ำ ประมง มุ่งเน้นให้เกิดการฟื้นฟูและพัฒนาสภาพผืนป่าต้นน�้ำ พัฒนาพื้นที่ ท�ำกิน และส่งเสริมให้คนทีด่ แู ลรักษาป่าต้นน�ำ้ ให้มคี วามมัน่ คงทางอาหารและพัฒนาคุณภาพชีวติ พัฒนา ที่ชุ่มน�้ำให้เป็นแหล่งน�้ำส�ำหรับการพัฒนาระบบเกษตรผสมผสาน และสร้างระบบนิเวศส�ำหรับการเป็น แหล่งอาหารของชุมชน ตลอดจนสร้างกระบวนการท�ำงาน ติดตามประเมินผล ถอดบทเรียนการท�ำงาน พร้อมทั้งสร้างกระบวนการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ชุมชนอย่างมีส่วนร่วม

กิจกรรม ป่าต้นน�้ำ คือ การจัดการเรื่องระบบนิเวศน์ป่าไม้ พื้นที่ 60% ปลูกต้นไม้ 400 ต้น/ไร่/ 5 ปี เพื่อการฟื้นฟูสภาพป่าต้นน�้ำให้สมบูรณ์ กิจกรรม กลางนำ�้ คือ การจัดการระบบเกษตรผสมผสาน พืน้ ที่ 30% เพือ่ ส่งเสริมการปลูกพืช และ พัฒนาระบบเกษตรผสมผสานและการพัฒนาคุณภาพชีวิต ส่งเสริมการจัดการเกษตรผสมผสาน 5 ปี มุ่งเน้นให้เป็นวนเกษตร กิจกรรม ปลายนำ�้ คือ การจัดการพืน้ ทีช่ มุ่ น�ำ้ พืน้ ที่ 10% ระบบกักเก็บน�ำ้ และฟืน้ สภาพป่าชุม่ น�ำ้ เพือ่ ท�ำการฟื้นฟูระบบนิเวศน์ กิจกรรม การพัฒนาหลักสูตร และการใช้กระบวนการวิจัยแบบมีส่วนร่วมของคนในท้องถิ่น และ งานสารสนเทศ เช่น การท�ำพิกัดที่ และต้นไม้ เพื่อดูการเปลี่ยนแปลง (area changing recording) พัฒนาการจัดการความรู้

11


Thailand Focus ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 176 กันยายน - ตุลาคม 2560

การออกแบบกระบวนการและการติดตาม ประเมินผลและงานบันทึกงานวิจัย ตั้งแต่ การเริ่มต้น โครงการ คือ ต้นน�้ำ/กระบวนการด�ำเนินการ คือ กลางน�้ำ และผลลัพธ์ ของโครงการ คือปลายน�้ำ เมือ่ วันที่ 14 กันยายน 2559 ได้มกี ารลงนามบันทึกความร่วมมือระหว่างสมาคมผูผ้ ลิตอาหารสัตว์ ไทย กับวิทยาลัยชุมชนน่าน โดยนายกสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย ได้เข้าร่วมกิจกรรมเปิดโครงการ และปลูกป่าในพืน้ ทีบ่ า้ นม่วงเนิง้ ต.อ่ายนาไลย อ.เวียงสา จ.น่าน ซึง่ ถือเป็นจุดเริม่ ต้นทีส่ ำ� คัญของโครงการ นี้ พร้อมมอบเงินจ�ำนวน 1 ล้านบาท เพื่อเป็นทุนให้กับเกษตรกรจ�ำนวน 6 ราย ครอบคลุมพื้นที่ 100 ไร่ ในการท�ำโครงการ โดยมีความผูกพันทีใ่ ห้เกษตรกรดูแลรักษาป่าในพืน้ ทีต่ นเองตลอดระยะเวลา 5 ปี โดยยึดการใช้สอยพื้นที่ป่าตามสัดส่วนที่โครงการก�ำหนดไว้ ป่า 60% พื้นที่เกษตรกรรม 30% แหล่งน�้ำ 10% ซึ่งจะท�ำให้คนกับป่าอยู่ด้วยกันได้อย่างยั่งยืนอย่างแท้จริง นอกจากสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทยที่ร่วมด�ำเนินโครงการนี้กับวิทยาลัยชุมชนน่านแล้ว ยังมี ภาคเอกชน และประชาชนในท้องที่ร่วมกันสนับสนุนงบประมาณด�ำเนินโครงการมาก่อนหน้านี้แล้ว รวมทั้งสิ้น 7 แปลง เป็นจ�ำนวนพื้นที่ 619 ไร่ แม้จะเป็นเพียงจุดเล็กๆ แต่ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่น�ำไปสู่ เป้าหมายใหญ่ในอนาคต เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2560 คุณพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล นายกสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย และคุณบุญธรรม อร่ามศิริวัฒน์ เลขาธิการสมาคมฯ พร้อมคณะเจ้าหน้าที่เดินทางขึ้นส�ำรวจความ คืบหน้ากิจกรรมดังกล่าวอีกครั้ง โดยถือว่าเป็นการเข้าสู่ปีที่ 2 ของความร่วมมือ พร้อมพบปะเกษตรกร ทัง้ 6 รายทีไ่ ด้รบั การสนับสนุนจากสมาคม และถือโอกาสลงพืน้ ทีต่ รวจแปลงของเกษตรกรทัง้ 6 รายด้วย

การด�ำเนินกิจกรรมในครั้งนี้ได้รับเกียรติจากท่านนายอ�ำเภอเวียงสา นายประสงค์ หล้าอ่อน เป็นประธานเปิดโครงการ โดยมี นางจันทร์เพ็ญ ค�ำอุ่น นายก อบต.อ่ายนาไลย กล่าวต้อนรับ และ คุณพรศิลป์ขึ้นกล่าวถึงความตั้งใจของสมาคมต่อโครงการนี้ และขอให้ร่วมกันด�ำเนินโครงการให้ส�ำเร็จ อย่างยั่งยืน และคณะทั้งหมดร่วมด�ำเนินกิจกรรมปลูกป่าในพื้นที่ ได้แก่ต้น ยางนา ผักหวาน เป็นต้น

12


Thailand Focus ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 176 กันยายน - ตุลาคม 2560

คณะได้เยี่ยมชมแปลงเพาะปลูกของเกษตรกรทั้ง 6 รายซึ่งอยู่ในพื้นที่ต่างๆ กัน โดยเริ่มจาก พื้นที่ปลูกแรกเมื่อปีที่ผ่านมา โดยจากการส�ำรวจพบว่าในส่วนของพื้นที่สวมหมวกจะท�ำการเพาะปลูก ไม้ยนื ต้น และมีการคัดเลือกพืชผักผลไม้ตา่ งๆ อาทิ อโวคาโด สัปปะรด ผักหวาน ยางนา มะขามเปรีย้ ว และกาแฟ ซึ่งเป็นพืชที่เกษตรกรเลือกปลูกมากที่สุด

ในส่วนของพื้นที่สวมรองเท้า อยู่ระหว่างเริ่มวางแปลนท�ำฝาย หรือบ่อเก็บน�้ำ และมีการหารือถึง การท�ำปศุสัตว์ โดยอาจจะเริ่มต้นจากการเลี้ยงไก่เนื้อ ไก่ไข่ เพื่อเลี้ยงครอบครัว โดยหากภายหน้า มีตลาดเข้ามารองรับอาจจะขยายปริมาณการเลี้ยงให้เพิ่มมากขึ้นต่อไป

13


Thailand Focus ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 176 กันยายน - ตุลาคม 2560

สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย ได้ให้ข้อเสนอแนะโครงการโดยมองว่าสิ่งส�ำคัญที่จะส่งเสริมให้ เกษตรกรมีรายได้และสร้างความยัง่ ยืนให้กบั โครงการคือการศึกษาตลาดและสร้างความเชือ่ มโยงระหว่าง ผลผลิตกับตลาดให้ได้ โดยต้องมีปริมาณการผลิตและคุณภาพการผลิตที่สอดคล้องกันด้วย และหวังว่า พื้นที่ที่สมาคมสนับสนุนจะเป็นตัวอย่างให้กับพี่น้องเกษตรกรรายอื่นๆ หันมาให้ความส�ำคัญ และขยาย ผลโครงการนี้ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการคืนพื้นที่ป่ากันต่อไป

14




Thailand Focus ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 176 กันยายน - ตุลาคม 2560

ส่งเสริมเครื่องจักรกลเกษตร ทางเลือกลดต้นทุน รายงานจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิ ด เผยถึ ง ผลการติ ด ตามการด� ำ เนิ น งานใน โครงการส่งเสริมการให้บริการเครือ่ ง จักรกลทาง การเกษตรและอุปกรณ์การตลาดเพื่อลดต้นทุน และช่วยเหลือเกษตรกรทดแทนแรงงานภาคการ เกษตรทีม่ แี นวโน้มลดลง และเพิม่ ประสิทธิภาพ การบริหารจัดการในการให้บริการเครื่องจักรกล ของสหกรณ์ ซึ่งการด�ำเนินการของโครงการ มี 2 ระยะ คือ ระยะน�ำร่องซึ่งด�ำเนินการในปี 2558 ที่ผ่าน มา ได้สนับสนุนเครื่องจักรกลแบบให้เปล่า หรือ ครอบคลุมมูลค่าของเครื่องจักรกลเกือบทั้งหมด และในระยะขยายผลด�ำเนินการตั้งแต่ปี 2559 ที่ผ่านมาไปจนถึงปี พ.ศ. 2562 ซึ่งจะส่งเสริม ให้สหกรณ์ที่ประสงค์เข้าร่วมโครงการฯ กู้เงินจาก ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) โดยทางโครงการฯ จะชดเชยอัตราดอกเบี้ยให้ร้อยละ 2 ต่อปี เป็นระยะเวลาไม่เกิน 5 ปี และในรอบ 9 เดือน ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2559 ถึงเดือนมิถุนายน 2560 พบว่า เกษตรกร ให้ ค วามสนใจใช้ บ ริ ก ารเครื่ อ งจั ก รกลทางการ เกษตรที่ได้รับการสนับสนุนจากโครงการฯ เพิ่ม มากขึ้น โดยเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการสามารถ ลดต้ น ทุ น ค่ า บริ ก ารเกี่ ย วนวดข้ า ว และการสี ข้าวโพดได้เป็นอย่างดีท�ำให้มีก�ำไรจากการขาย เพิ่มขึ้น

ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบอัตราค่าบริการเครื่อง จักรกลทางการเกษตรที่สหกรณ์คิดกับสมาชิก รวมทั้งความสนใจในการใช้บริการของสมาชิก แบบก่อนและหลังสหกรณ์เข้าร่วมโครงการ ใน ปี พ.ศ. 2558/2559 และ 2559/2560 พบว่า สหกรณ์ผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ โดย สหกรณ์ฯ นิคมสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา เกษตรกรสมาชิก หันมาใช้บริการเครื่องจักรกลจากสหกรณ์เพิ่มขึ้น ร้อยละ 13 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้าที่ผ่านมา ด้านสหกรณ์ผู้ปลูกข้าว สหกรณ์ฯ เกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด และสหกรณ์ฯ ห้วยเม็ก จังหวัดกาฬสินธุ์ แม้อัตราค่าบริการรถเกี่ยวนวด ข้าวยังคงเท่าเดิม แต่สมาชิกหันมาใช้บริการจาก สหกรณ์เพิ่มขึ้นร้อยละ 78 และร้อยละ 100 ตาม ล�ำดับ

ที่มา : เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 09 กันยายน พ.ศ. 2560

15


Thailand Focus ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 176 กันยายน - ตุลาคม 2560

อย่างไรก็ตาม ค่าบริการของสหกรณ์ทั้ง 2 กลุม่ คือกลุม่ ปลูกข้าว และกลุม่ ปลูกข้าวโพดเลีย้ ง สัตว์ จะเก็บค่าบริการสมาชิกต�ำ่ กว่าค่าบริการของ ผู้ประกอบการภาคเอกชนอื่นๆ ทั้งนี้ ในการติดตามการด�ำเนินงานตลอด มาของเจ้าหน้าทีจ่ ากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พบเพิ่มเติมด้วยว่า มีเกษตรกรจ�ำนวนมากมาใช้ บริการ ท�ำให้เครือ่ งจักรกลทีไ่ ด้รบั การสนับสนุนยัง ไม่เพียงพอต่อการให้บริการ และการก�ำหนดหลักเกณฑ์ตลอดถึงเงื่อนไขในการกู้เงินจากธนาคาร เพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ค่อนข้างเข้มงวดจึงท�ำให้มีเฉพาะสหกรณ์ขนาด ใหญ่ที่มีเงินทุนหมุนเวียนสูงและท�ำธุรกิจหลาย ประเภทเท่านั้นที่สามารถผ่านเงื่อนไขในการเข้า ร่วมโครงการได้ ดังนั้น หากมีการทบทวน และพิจารณา เงื่อนไขในการเข้าร่วมโครงการให้เหมาะสม และ ผ่อนปรนมากกว่าที่เป็นอยู่ จะเป็นการเปิดโอกาส ให้สหกรณ์อนื่ ๆ มีโอกาสมากยิง่ ขึน้ แต่ทงั้ นีจ้ ะต้อง อยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ส่วนงานที่เกี่ยวข้องสามารถ ตรวจสอบได้อย่างต่อเนื่องตลอดเวลา

16


Thailand Focus ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 176 กันยายน - ตุลาคม 2560

คนเลี้ยงไก่ไข่กระอัก จี้ทบทวนมาตรฐานฟาร์ม

ภาพประกอบ : http://s1.1zoom.me/big3/479/Birds_Chicken_Eggs_482349.jpg

ตามที่คณะกรรมการได้พิจารณาเห็นชอบก�ำหนดนโยบายมาตรฐานฟาร์ม ไก่ไข่เชิงพาณิชย์ (ไก่ไข่และไก่ไข่พันธุ์) เป็นมาตรฐานบังคับ ส�ำหรับเป็นแนวทาง ปฏิบัติงานด้านการจัดการฟาร์ม และพัฒนาการเลี้ยงไก่ไข่ เพื่อเพิ่มความสามารถ และศักยภาพการแข่งขัน โดยให้ส�ำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่ง ชาติ (มกอช.) ท�ำประชาพิจารณ์เพือ่ ออกประกาศมาตรฐานฟาร์มไก่ไข่เป็นมาตรฐาน บังคับนั้น นายสันติ วิโรจน์บริสุทธิ์ ประธานกรรมการ สหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่แปดริ้ว จ�ำกัด เปิดเผยว่า มาตรฐานฟาร์มไก่ไข่ถอื เป็นนโยบายทีร่ ฐั มีความพยายามยกระดับ มาตรฐานสู่สากล แต่ในทางปฏิบัติอาจจะเป็นไปได้ยาก และยิ่งสร้างช่องว่างความ เหลื่อมล�้ำต่ออุตสาหกรรมผู้เลี้ยงไก่ไข่ โดยเฉพาะผลกระทบต่อผู้เลี้ยงรายย่อยที่มี ก�ำลังผลิตน้อยถึงปานกลางจะต้องปฏิบตั ติ ามมาตรฐานสากลทีไ่ ม่สอดคล้องกับบริบท การเลี้ยงของไทย แม้ว่าเบื้องต้นจะก�ำหนดให้ฟาร์มที่มีไก่ไข่ไม่ต�่ำกว่า 10,000 ตัว สามารถผ่อนปรนได้ แต่ฟาร์มที่ไม่ถึงแสนปัจจุบันเป็นรายเล็กทั้งหมด จะค่อนข้าง เกิดช่องว่าง เนื่องจากข้อเท็จจริงอุตสาหกรรมการเลี้ยงไก่ไข่ของไทย 1 ล้านตัว จัดเป็นรายกลางไปถึงรายใหญ่แทบทัง้ หมด หากกฎหมายออกมาบังคับใช้ รายใหญ่ ย่อมมีความพร้อมอยูแ่ ล้ว สามารถลงทุนเครือ่ งจักรได้ ส่วนรายเล็กมีกำ� ลังผลิตและ ก�ำลังทรัพย์ที่ไม่มากพอ รัฐควรต้องให้เวลาและทบทวนการจัดแบ่งก�ำลังผลิต และ ต้องรับฟังผู้เลี้ยงให้ทั่วถึง

ที่มา : ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2560

17


Thailand Focus ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 176 กันยายน - ตุลาคม 2560

ภาพประกอบ : meaw & pony

"สหกรณ์เองขอตั้งค�ำถาม มกอช. ว่าได้อธิบายให้ทุกฟาร์มเข้าใจหรือไม่ว่า บางอย่างเป็นเรื่องข้อกีดกันทางการค้า หากปฏิบัติตามหลักสากลมากเกินบริบท เกษตรกรรายย่อยนั้นจะกระทบตรงไหนอย่างไร เพราะจะให้กู้ธนาคารก็คงไม่คุ้ม ขณะเดียวกัน ธนาคารตั้งเงื่อนไขว่าลงทุนไปคุ้มหรือไม่ มีความเสี่ยงหรือไม่ บอก ได้เลยว่า วอลุ่มของผู้ประกอบการรายเล็ก ไม่เหมาะกับการลงทุนที่มากเกินไป ทั้งต้นทุนสูงอาจไม่คุ้มทุนแน่นอน จะเห็นได้จากปัจจุบัน สหกรณ์มีสมาชิกลดลง จาก 100 ราย เหลือเพียง 80 ราย เนื่องจากรับต้นทุนที่สูงขึ้นไม่ไหว ธุรกิจนี้ รายใหญ่แข่งขันกันในตลาดอยู่แล้ว หากยิ่งไปสร้างเงื่อนไขแบบนี้ ยิ่งบีบให้ผู้เลี้ยง บางรายที่วอลุ่มเล็กๆ ต้องเลิกกิจการ แนวทางดี แต่ต้องมีระยะเวลา ทุกคนพร้อม ปรับตัว ไม่ได้เพิกเฉย เราท�ำธุรกิจ เราต้องปรับตัว ไม่อย่างนั้นอยู่ไม่ได้" ทางด้านนายพิศาล พงศ์ศาพิชณ์ รองเลขาธิการ มกอช. กล่าวว่า มกอช. อยู่ระหว่างท�ำประชาพิจารณ์รายภาค เพื่อรับฟังความคิดเห็นผู้มีส่วนได้ ส่วนเสีย จากการจัดเวทีในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีความคิดเห็นค่อนข้าง ตรงกันว่า หากออกประกาศเป็นมาตรฐานบังคับในปี 2561 ฟาร์มรายย่อยขนาดเล็ก ที่มีจ�ำนวนแม่ไก่ไข่น้อยกว่า 1 หมื่นตัว ไม่ต้องขอใบอนุญาตใหม่ แต่ต้องปฏิบัติตาม ระเบียบมาตรฐานจากกรมปศุสัตว์ และหลังจากออกกฎหมายบังคับแล้ว ให้ฟาร์ม ขนาดกลางสามารถผ่อนปรนได้ 3 ปี และฟาร์มขนาดใหญ่ให้ผ่อนปรนได้ 1 ปี ทัง้ นีจ้ ะมีการท�ำประชาพิจารณ์รายภาคอีก 2 ครัง้ เพือ่ สรุปและประกาศเป็นมาตรฐาน บังคับให้ทันในต้นปี 2561

18


Thailand Focus ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 176 กันยายน - ตุลาคม 2560

ปศุสัตว์สั่งคุมเข้มระบบการผลิตไข่ เพิ่มความมั่นใจผู้บริโภคปลอดภัย กทม. : นายสัตวแพทย์อภัย สุทธิสังข์ อธิบดีกรมปศุสตั ว์ เปิดเผยว่า จากรายงานปัญหา ไข่ไก่ปนเปื้อนยาฆ่าแมลงฟิโปรนิลในปริมาณสูง ในหลายประเทศในยุโรป จนมีการเรียกเก็บและท�ำลาย ไข่ไก่หลายล้านฟองออกจากตลาดในยุโรป ส่งผลให้มี การท�ำลายไก่ไข่ทตี่ รวจพบสารดังกล่าว จ�ำนวน 300,000 ตัว และมีการสอบสวนฟาร์มไก่ไข่ในประเทศเนเธอร์แลนด์ และเบลเยียม กว่า 180 ฟาร์ม ซึ่งส่งผลกระทบต่อความ เชื่อมั่นของผู้บริโภค และสร้างความเสียหายต่ออุตสาหกรรม ไข่ไก่ในยุโรป ส�ำหรับประเทศไทยได้ก�ำหนดให้สารฟิโปรนิล (Fipronil) เป็นวัตถุอนั ตรายชนิดที่ 3 ตาม พ.ร.บ. วัตถุอนั ตราย พ.ศ. 2535 ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในบ้านเรือน หรือการสาธารณสุข เพื่อประโยชน์ในการ ควบคุม ไล่ ก�ำจัดแมลง ซึง่ กรมปศุสตั ว์ไม่อนุญาตให้ใช้สารฟิโปรนิลกับตัวสัตว์โดยตรง อธิบดีกรมปศุสตั ว์ กล่าวว่า กรมปศุสตั ว์ ขอย�ำ้ ว่าได้มกี ารควบคุมการขึน้ ทะเบียน และการใช้วัตถุอันตราย ยาฆ่าแมลงที่ใช้ในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ ซึ่งฟาร์มไก่ไข่ได้รับการ รับรองมาตรฐานฟาร์ม GAP ต้องมีระบบการควบคุมการใช้ยาและวัตถุอนั ตรายในฟาร์ม อย่างเข้มงวด นอกจากนี้ การใช้ยา ยาฆ่าแมลง หรือสารที่เป็นอันตรายในฟาร์มเลี้ยง สัตว์ จะต้องได้รบั การอนุญาตจากสัตวแพทย์ควบคุมฟาร์ม ในปี 2559 ส�ำนักตรวจสอบ คุณภาพสินค้าปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์ ได้สุ่มตรวจยาฆ่าแมลงจากตัวอย่างไข่สดจาก ท้องตลาดทั่วประเทศ จ�ำนวน 58 ตัวอย่าง ผลการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ ไม่พบการตกค้างของยาฆ่าแมลงในไข่ทุกตัวอย่าง ทั้งนี้ ได้ก�ำชับให้หน่วยงานของกรม ปศุสัตว์ทั่วประเทศ และสัตวแพทย์ควบคุมฟาร์มของบริษัทเอกชนทุกแห่งให้เข้มงวด ควบคุมการใช้ยาฆ่าแมลงในฟาร์มเลีย้ งสัตว์ และเพิม่ ความเข้มงวดระบบการผลิตสินค้า ปศุสัตว์ที่มีประสิทธิภาพ สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ตั้งแต่ฟาร์มไปถึงผู้บริโภค ที่มา : สยามรัฐ ฉบับวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2560

19


Food feed fuel ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 176 กันยายน - ตุลาคม 2560

'อสค.' คลอดแผนแม่บท

ส่งเสริมเลี้ยงโคนม 4.0 "อ.ส.ค." คลอดแผนแม่บทส่งเสริมเลี้ยงโคนม 4.0 รับยุทธศาสตร์พัฒนา โคนมฯ มุง่ เพิม่ ปริมาณน�ำ้ นมดิบคุณภาพสูง สร้างเจ้าหน้าทีส่ ง่ เสริมมืออาชีพ ยกระดับ รายได้เกษตรกรเพิ่ม 5% ต่อปี ก้าวสู่ผู้น�ำด้านส่งเสริมการเลี้ยงโคนมของประเทศ ภายใน 5 ปี นายณรงค์ฤทธิ์ วงศ์สุวรรณ ผู้อ�ำนวยการองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่ง ประเทศไทย (อ.ส.ค.) เปิดเผยว่า ในขณะนี้ อ.ส.ค. ท�ำแผนแม่บทส่งเสริม การเลี้ยงโคนม 4.0 รองรับยุทธศาสตร์พัฒนาโคนมและ ผลิตภัณฑ์นม ปี 2560 - 2569 เสร็จแล้ว ซึ่งประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์หลัก คือ 1. การสร้างความเข้มแข็งและมั่นคง ในการเลี้ยงโคนมซึ่งเป็นอาชีพพระราชทานให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยง โคนม 2. เพิม่ ประสิทธิภาพการผลิตน�ำ้ นมดิบและการจัดการฟาร์ม ให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม 3. วิจัยและพัฒนาการเลี้ยงโคนม และ 4. สร้างความเข้มแข็งให้กบั บุคลากรสายกิจการโคนม เพือ่ เป็น แนวทางขับเคลือ่ นพัฒนายกระดับประสิทธิภาพการผลิตน�ำ้ นมดิบ ให้ได้มาตรฐาน พร้อมวิจยั พัฒนาและเผยแพร่องค์ความรูก้ ารเลีย้ ง โคนมให้กับเกษตรกร ขณะเดียวกันยังมุ่งพัฒนาเจ้าหน้าที่ส่งเสริม ให้เป็นมืออาชีพ และส่งเสริมเกษตรกรสมาชิกให้มีความมั่นคง และ เติบโตในอาชีพการเลี้ยงโคนมด้วย

ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2560

20


Food feed fuel ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 176 กันยายน - ตุลาคม 2560

ภาพประกอบ : https://wallpapercave.com/wp/vhUdpg3.jpg

ทั้งนี้แผนแม่บทส่งเสริมการเลี้ยงโคนม 4.0 มีระยะเวลา ด�ำเนินการ 5 ปี ตัง้ แต่ปี 2560 - 2564 มีเป้าหมายก้าวสูก่ ารเป็นผูน้ ำ� ด้านการส่งเสริมการเลีย้ งโคนม ของประเทศภายใน 5 ปีขา้ งหน้า เบือ้ งต้นคาดว่า จะท�ำให้เกษตรกรในพืน้ ทีส่ ง่ เสริม ของ อ.ส.ค. ได้ผลผลิตน�ำ้ นมโค เพิม่ ขึน้ จาก 12.80 กิโลกรัมต่อตัวต่อวัน เป็น 15.57 กิโลกรัมต่อตัวต่อวัน ภายในปี 2564 หรือเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 4% ต่อปี และจ�ำนวน ฟาร์มโคนมของเกษตรกรสมาชิกมีคุณภาพน�้ำนมดิบสูงขึ้นจากเดิมปีละ 10% โดย วัดจากค่าเซลล์เม็ดเลือดขาว หรือโซมาติกเซลล์ (SCC) ไม่เกิน 400,000 เซลล์ ต่อมิลลิลิตร และปริมาณของแข็งทั้งหมด (TS) ไม่น้อยกว่า 12.50% นอกจากนี้ ยังคาดว่าเจ้าหน้าทีส่ ง่ เสริมจะผ่านการอบรมนักส่งเสริมมืออาชีพ อย่างน้อยกว่า 60 คน และเป็นสมาร์ทออฟฟิศเซอร์ ทีม่ คี วามเป็นเลิศ และสามารถ ปฏิบัติงานส่งเสริมการเลี้ยงโคนมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ที่ส�ำคัญยังคาดว่า จะช่วย ให้เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมมีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างน้อยปีละ 5% นายณรงค์ฤทธิ์ กล่าวว่า แผนแม่บทส่งเสริมการเลี้ยงโคนม 4.0 จะเน้น ส่งเสริมและพัฒนาขีดความสามารถเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมซึ่งถือเป็นหัวใจส�ำคัญ เพราะเป็นต้นน�้ำ หรือแหล่งผลิตวัตถุดิบคุณภาพป้อนเข้าโรงงานแปรรูป ซึ่งปัจจุบัน มีเกษตรกรในเขตพื้นที่ส่งเสริมของ อ.ส.ค. จ�ำนวน 4,332 ราย โคนมรวมกว่า 123,000 ตัว โดย อ.ส.ค. มีเป้าหมายเร่งพัฒนาองค์ความรู้และเพิ่มทักษะการเลี้ยง โคนมให้กับเกษตรกรสมาชิก ส่งเสริมให้เป็นสมาร์ทฟาร์มเมอร์

21


Food feed fuel ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 176 กันยายน - ตุลาคม 2560

อ.ส.ค. ปิ๊งไอเดียน�ำเข้าน�้ำเชื้อแช่แข็ง -

ย้ายฝากตัวอ่อนพันธุ์โคนม Girolando บราซิล

ชี้ศักยภาพสายพันธุ์ดี ให้น�้ำนมสูง มุ่งต่อยอดพัฒนาประสิทธิภาพการปรับปรุงพันธุ์โคนมไทย เพิ่มทางเลือกให้เกษตรกรยกระดับการผลิต ดร.ณรงค์ฤทธิ์ วงศ์สวุ รรณ ผูอ้ ำ� นวยการองค์การส่งเสริมกิจการโคมนมแห่งประเทศไทย (อสค.) เปิดเผยว่า จากการที่ได้ร่วมเดินทางกับคณะผู้บริหารกรมปศุสัตว์ไปศึกษาดูงานด้านการเลี้ยงโคนม ระบบการผลิตน�้ำเชื้อแช่แข็ง และแนวทางปรับปรุงพันธุ์โคนมที่ประเทศบราซิลท�ำให้ อ.ส.ค. มีแนวคิด ทีจ่ ะน�ำเข้าเชือ้ แช่แข็งและตัวอ่อน หรือเอมบริโอ (Embryo) โคนมสายพันธุก์ รี โ์ รลันโด (Girolando) จาก บราซิลเพื่อพัฒนาและปรับปรุงพันธุ์โคนมของไทย โดยโคนมพันธุ์ดังกล่าวเป็นลูกผสมระหว่างสายพันธุ์ กีร์ของอินเดีย กับพันธุ์โฮลสไตน์ - ฟรีเชียน ของยุโรป ถือเป็นพันธุ์ท่ีมีศักยภาพสูงพันธุ์หนึ่ง ซึ่งเป็นที่ ยอมรับของหลายประเทศ ทีส่ ำ� คัญยังให้ลกู สาวทีใ่ ห้ผลผลิตน�ำ้ นมดิบสูงถึง 25 - 35 กิโลกรัม/ตัว/วัน ด้วย ทั้งนี้ หากน�ำน�้ำเชื้อแช่แข็งและตัวอ่อนโคนมพันธุ์ Girolando เข้ามาต่อยอดพัฒนาและปรับปรุง พันธุโ์ คนมพันธุด์ ที มี่ ศี กั ยภาพสูง เหมาะสมกับสภาพการเลีย้ งและสภาพภูมอิ ากาศแบบร้อนชืน้ ของไทย เพิม่ ขึน้ จากฝูงเดิมของ อ.ส.ค. ทีม่ กี ว่า 20 ตัวในปัจจุบนั ขณะเดียวกันยังช่วยเพิม่ ทางเลือกให้เกษตรกร ผู้เลี้ยงโคนมที่ต้องการใช้น�้ำเชื้อพ่อพันธุ์ดีไปผสมเทียมแม่โคนมในฟาร์มเพื่อยกระดับประสิทธิภาพการ ผลิต และเพิ่มปริมาณผลผลิตน�้ำนมดิบสูงขึ้น นอกจากนั้น ยังสามารถลดการน�ำเข้าน�้ำเชื้อแช่แข็งจาก ประเทศได้ค่อนข้างมาก "การเยือนบราซิลครั้งนี้ ยังมีโอกาสเข้าเยี่ยมชมโรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์นมพาสเจอร์ไรส์ นม ยู.เอช.ที. และโรงงานผลิตชีส (Cheese) จากนมควาย ซึ่งมีทั้ง Fresh Cheese และ Mozzarella คุณภาพดี ก�ำลังเป็นทีต่ อ้ งการของตลาดเพิม่ ขึน้ ถึง 10 - 20% ต่อปี ท�ำให้ อ.ส.ค. ได้แนวคิดน�ำมาประยุกต์ ใช้ในการพัฒนาการแปรรูปผลิตภัณฑ์นมภายใต้แบรนด์ไทย - เดนมาร์ค ให้มีความหลากหลายมาก ยิ่งขึ้น เช่น การแปรรูปชีสจากนมโคสดแท้ ซึ่ง อ.ส.ค. สามารถท�ำได้โดยใช้โรงงานนมของ อ.ส.ค. เชียงใหม่ เป็นฐานการผลิต การเพิ่มความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ นอกจากจะเพิ่มทางเลือกให้กับ ผูบ้ ริโภคแล้ว ยังเป็นการเพิม่ มูลค่าสินค้า และเพิม่ ขีดความสามารถแข่งขันให้กบั แบรนด์ไทย - เดนมาร์ค ด้วย" ดร.ณรงค์ฤทธิ์ กล่าว

ที่มา : ไทยโพสต์ ฉบับวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2560

22


ģýġĐĄėü ğþńþ ċĔâąăĕāĠĎŇèüĨĖĄĔüĎĐĄĆēğĎąÎ

ģýġĐĄėü ğþńþ ®

ċĔâąăĕāĠĎŇèüĨĖĄĔüĎĐĄĆēğĎąÎ

pep.biomin.net

Á¡·É¤ ¦³­· ·£µ¡ µ¦ ¨· ­´ ªŋ Á­¦·¤ ªµ¤ ҵ · ° °µ®µ¦ ¦´ ¬µ­¤ »¨ ° ¦³ µ Á · °µ®µ¦ ¨° £´¥ Å¤Ň¤¸ ¨ ňµ Á ¸¥ Å¤Ň¤¸¦³¥³®¥» ¥µ

ğāėħĄþĆēčėúûėăĕāâĕĆÿĈėøčĔøĊŋ ğčĆėĄåĊĕĄüŇĕâėüãĐèĐĕĎĕĆ ĆĔâČĕčĄ÷ě ĈãĐèĆēýýúĕèğ÷ė üĐĕĎĕĆ ¦·¬´ Šð¤· ¦³Á «Å ¥ Î µ ´ ¡®¨Ã¥ · ¼ ° ¨Îµ¨¼ µ »¤ µ ¸ þĈĐ÷ăĔą ģĄŇ ĄĘÿĈãň ĕSHS ELRPLQ QHW èğåĘąè ģĄŇĄĘĆēąēĎąě÷ąĕ à ¦ ¢ r Naturally ahead



Food feed fuel ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 176 กันยายน - ตุลาคม 2560

สหกรณ์ขอนม ร.ร. 70%

• โดดป้องสมาชิกรับมือเปิดเสรีนมนอกทะลัก สหกรณ์ผู้เลี้ยงโคนมฯ ผวาเปิดเสรี นมนอกทะลักท�ำเกษตรกรเดือดร้อน ชงมิลค์บอร์ดขอเพิ่มโควตาได้รับจัดสรรสิทธินมโรงเรียนไม่น้อยกว่า 70% ภายใน 5 ปี ด้านโรงนมเอกชน แนะใช้แบบจ�ำลองของจุฬาฯ จัดสรร “นัยฤทธิ์" ชี้ใครดูแลเกษตรกรควรมีสิทธิได้โควตา จากข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน หรืออาฟต้า ภาษีน�ำเข้าผลิตภัณฑ์นม ได้ลดลงเป็น 0% แล้วตัง้ แต่ปี 2553 ส่วนข้อตกลงเขตการค้าเสรีไทย - ออสเตรเลีย และไทย - นิวซีแลนด์ ภาษีจาก 5% จะลดเป็น 0% ในอีก 8 ปีข้างหน้า (ปี 2568) ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมของไทยนั้น นายสุรชัย ศิริมัย นายกสมาคมกลุ่มสหกรณ์ผู้เลี้ยงโคนมและแปรรูป ผลิตภัณฑ์นม เปิดเผยว่า ล่าสุดทางกลุ่มได้ยื่นหนังสือเพื่อขอให้คณะกรรมการ โคนม และผลิตภัณฑ์นม หรือมิลค์บอร์ด ได้พิจารณาจัดสรรสิทธิการจ�ำหน่าย นมโรงเรียน (มูลค่า 1.4 หมื่นล้านบาทต่อปี) ให้กับกลุ่มสหกรณ์ผู้เลี้ยงโคนมและ แปรรูปผลิตภัณฑ์นมในสัดส่วนไม่น้อยกว่า 70% ของสิทธิทั้งหมดในแต่ละปี หรือ ภายใน 5 ปีนับจากนี้ ทั้งนี้ เพื่อเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมได้มีหลักประกันด้านการ ตลาดน�้ำนมโค ส่วนอีก 30% จัดสรรให้กับกลุ่มภาครัฐและเอกชน "ข้อเสนอดังกล่าวเนือ่ งจากเห็นว่า สหกรณ์ ควรทีจ่ ะได้รบั การดูแลเป็นพิเศษ เพราะเป็นเงินอุดหนุนจากรัฐบาล ไม่ใช่แข่งขันเสรี ดังนั้นควรที่จะปกป้องคุ้มครอง เกษตรกร ปัจจุบันกลุ่มสหกรณ์ได้รับสัดส่วนโควตากว่า 40% ของการจัดสรรสิทธิ นมโรงเรียน" ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2560

23


Food feed fuel ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 176 กันยายน - ตุลาคม 2560

ตัวอย่างการจำ�ลองปริมาณจัดสรร สิทธินมโรงเรียนของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตนมพาสเจอร์ไรส์

นอกจากนี้ ทางสมาคมขอสนับสนุนให้มี การพิ จ ารณาขยายอายุ สิ ท ธิ พิ เ ศษให้ อ งค์ ก าร ส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) เป็นแกนกลางระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ ที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณค่านมโรงเรียนกับ ผู้ประกอบการที่ได้รับมอบอ�ำนาจจาก อ.ส.ค. ใน การเป็นคู่สัญญาซื้อขายนมโรงเรียนกับ อปท. ด้วยวิธีกรณีพิเศษต่อไปอีก 5 ปี จนถึงวันที่ 30 กันยายน 2565 (สิทธิพิเศษจะสิ้นสุด ก.ย. 60) ด้านนายวสันต์ จีนหลง นายกสมาคมผูผ้ ลิต นมพาสเจอร์ไรส์ กล่าวว่า ได้เสนอหลักเกณฑ์ และแนวทางการจั ด สรรสิ ท ธิ น มโรงเรี ย นตาม แนวทางที่มิลค์บอร์ด ได้ว่าจ้างศูนย์บริการทาง วิชาการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศึกษาเพื่อให้ เป็นธรรมทุกฝ่าย โดยแบบจ�ำลองของจุฬาฯ ได้ แสดงปริมาณสิทธิการจ�ำหน่ายที่ผู้ประกอบการ

24

ได้รับการจัดสรรในแต่ละกรณีเปรียบเทียบกับ ปริมาณเอ็มโอยู จะเห็นว่ามีการถูกลดทอนสิทธิ ในอัตรา 0.14% เท่ากัน (ดูกราฟิกประกอบ) แต่การ ปรับลดสิทธิจ�ำหน่ายขึ้นอยู่กับปริมาณน�้ำนมดิบ ที่ผู้ประกอบการสมัครเข้าร่วมโครงการและผ่าน คุณสมบัติด้านคุณภาพ น�้ำนมดิบครบถ้วนตาม หลักเกณฑ์จึงจะสามารถน�ำมาพิจารณาได้ ขณะที่นายนัยฤทธิ์ จ�ำเล ประธานชุมนุม สหกรณ์ โ คนมแห่ ง ประเทศไทย จ� ำ กั ด และ คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในมิลค์บอร์ด กล่าว ถึงปัจจุบันว่าเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมมี 1.6 หมื่น ครอบครัว อยู่ในระบบสหกรณ์ประมาณ 1 หมื่น ครอบครัว ส่วนอีก 6,000 ครอบครัวอยู่ในส่วน ของโรงนมเอกชน มองว่าใครที่ดูแลเกษตรกร ก็ควรที่จะได้รับจัดสรรสิทธิจ�ำหน่ายนมโรงเรียน เช่นเดียวกัน


Food feed fuel ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 176 กันยายน - ตุลาคม 2560

มันส�ำปะหลังวูบ 2 ล้านตัน

ขาดทุน 2 ปี ชาวไร่เลิกปลูก 4 สมาคมมันฯ เผยผลส�ำรวจ ไร่มนั ปี60/61 ลดลง เกือบ 1 ล้านไร่ ผลผลิตวูบ 2 ล้านตัน หลังชาวไร่ ขาดทุนยับ 2 ปีต่อเนื่อง หันปลูก อ้อย - ข้าวโพดแทน ล่าสุดราคา หัวมันสดยังต�ำ่ กว่าราคาที่ 3 สมาคม ตกลงร่วมกันรับซื้อ กก.ละ 1.95 บาท ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สมาคม ที่เกี่ยวข้องกับการค้ามันส�ำปะหลัง 4 สมาคม (สมาคมการค้ามันส�ำปะหลังไทย สมาคมโรงงานผลิตภัณฑ์มันส�ำปะหลังไทย สมาคม โรงงานผู้ผลิตมันส�ำปะหลัง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และสมาคมแป้งมันส�ำปะหลังไทย) ร่วมกับ ส�ำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กรมส่งเสริมการเกษตร และมูลนิธสิ ถาบันพัฒนามันส�ำปะหลัง แห่งประเทศไทย ได้ส�ำรวจภาวะผลผลิตและการค้ามันส�ำปะหลัง ปี 2560/2561 ระหว่างวันที่ 6 - 12 กันยายน 2560 ในพื้นที่ปลูกมันส�ำปะหลัง 50 จังหวัดทั่วประเทศ พบว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.073 ล้านไร่ ลดลง 9.39% จากปีก่อนที่มีพื้นที่ 8.910 ล้านไร่ และมีผลผลิตโดยรวม 28.565 ล้านตัน ลดลง 7.66% จากปีก่อนที่มีผลผลิต 30.935 ล้านตัน อย่างไรก็ตาม มีผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้น จาก 3.472 ตันต่อไร่ เป็น 3.538 ตันต่อไร่ ทัง้ นี้ จากข้อมูลเปรียบเทียบพืน้ ทีป่ ลูกทัง้ ประเทศ พบว่าปรับลดลงทุกภูมภิ าค เช่น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พื้นที่เก็บเกี่ยว 4.345 ล้านไร่ ลดลง 10.30% จากปีก่อนที่ 4.845 ล้านไร่ โดยจังหวัด ส�ำคัญๆ ลดลงหมด เช่น นครราชสีมา ชัยภูมิ อุบลราชธานี เลย อุดรธานี กาฬสินธุ์ เป็นต้น

ที่มา : http://www.prachachat.net/economy/news-40287

25


Food feed fuel ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 176 กันยายน - ตุลาคม 2560

วัตถุดิบลด - 4 สมาคมมันสำ�ปะหลัง ได้สำ�รวจภาวะผลผลิตและการค้า มันสำ�ปะหลังปี 2560/2561 ระหว่างวันที่ 6-12 กันยายน 2560 ในพื้นที่ปลูกมันสำ�ปะหลัง 50 จังหวัด ทั่วประเทศ พบว่า ผลผลิตปีนี้ลดลง จาก 30.9 เหลือ 28.5 ล้านตัน

ส่วนพื้นที่ภาคกลาง 1.942 ล้านไร่ ลดลง 9.89% จากปีกอ่ นที่ 7.38 ล้านไร่ ส่วนภาคเหนือ มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 1.785 ล้านไร่ ลดลง 6.48% จากปีก่อนที่ 1.908 ล้านไร่ “ราคาหั ว มั น ส� ำ ปะหลั ง ใน 2 ฤดู ก าลที่ ผ่านมาตกต�่ำลงมาก เกษตรกรขาดทุน และขาด เงินทุนหมุนเวียน จึงปรับเปลีย่ นไปปลูกพืชชนิดอืน่ เช่น อ้อยโรงงาน ข้าวโพดเลีย้ งสัตว์ทดแทน ทัง้ ในปี ทีผ่ า่ นมามีปญ ั หาอุทกภัยในบางพืน้ ทีใ่ น จ.สกลนคร และกาฬสินธุ์ ดินฟ้าอากาศไม่เอื้ออ�ำนวย ฝนตก ชุก จึงส่งผลกระทบต่อผลผลิต ท�ำให้หัวมันฯ เติบโตได้ไม่เต็มที่ และยังมีปัญหาการลักลอบ น�ำเข้าหัวมันฯ ผ่านตามแนวชายแดน” แหล่งข่าวกล่าวว่า ทีป่ ระชุมได้เสนอให้ภาค รัฐเร่งแก้ไขปัญหาราคามันส�ำปะหลังตกต�่ำ ควร ใช้มาตรการควบคุมดูแลการน�ำเข้าผลผลิตจาก ประเทศเพื่อนบ้าน ให้เป็นไปตามกฎหมาย และ กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด เพื่อดูแล เกษตรกรภายในประเทศ

26

ส�ำหรับราคามันส�ำปะหลังที่โรงงานรับซื้อ ณ วันที่ 13 กันยายน 2560 หัวมัน (เปอร์เซ็นต์ แป้ง 30%) กก. ละ 1.85 - 2.35 บาท มันเส้น กก. ละ 4.35 - 5.20 บาท แป้ ง มั น กก. ละ 10.70 - 10.80 บาท มันเส้น เอฟ.โอ.บี. ตันละ 176 เหรียญสหรัฐฯ แป้งมัน เอฟ.โอ.บี. ตันละ 345 เหรียญสหรัฐฯ ขณะที่โรงงานอาหารสัตว์ รับซื้อมันเส้น กก. ละ 5.50 - 5.60 บาท มันเม็ด กก. ละ 5.30 - 5.40 บาท กากแห้ง กก. ละ 3.10 - 3.20 บาท “ราคาที่ตลาดรับซื้อหัวมันบางพื้นที่ต�่ำกว่า ราคาที่ ค ณะกรรมการร่ ว มดู แ ลมั น ส� ำ ปะหลั ง ระหว่างสมาคมมัน 3 สมาคม (ยกเว้นสมาคม แป้งมันฯ) ตกลงกันว่าจะร่วมกันรับซือ้ หัวมัน กก. ละ 1.95 บาท เพราะว่าราคาดังกล่าวเป็นราคา ทีข่ อให้สมาชิกทัง้ 3 สมาคม ส่งออกในราคาไม่ตำ�่ กว่าตันละ 181 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน เพื่อให้ สอดคล้องกับราคาขายแอลกอฮอล์ในจีน ที่ตันละ 4,600 หยวน แต่ตอนนีร้ าคาส่งออกยังอยูใ่ นระดับ 176 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตันเท่านัน้ เพราะการส่งออก ไปจีนในช่วง 7 เดือนแรกยังไม่ดีขึ้น จีนยังไม่ซื้อ”


Food feed fuel ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 176 กันยายน - ตุลาคม 2560

พาณิชย์แจงมาตรการจัดเก็บภาษีน�ำเข้าข้าวสาลี ยันรัฐบาลมีมาตรการดูแลการน�ำเข้าช่วยเกษตรกร

นางนันทวัลย์ ศกุนตนาค อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า ตามที่มีการ น�ำเสนอข่าวรายงานการน�ำเข้าข้าวสาลีจากต่างประเทศว่า ในช่วงครึง่ เดือนทีผ่ า่ นมา มีการน�ำเข้า 3 ครัง้ จากยูเครน พร้อมระบุวา่ การจัดเก็บภาษีนำ� เข้าข้าวสาลีถกู ระงับ ตั้งแต่ปี 2556 ปัจจุบันรัฐบาลนี้ยังไม่มีท่าทีพิจารณาแก้ไขให้กลับมาจัดเก็บภาษี ดังเดิม การปล่อยให้มีการน�ำเข้าได้โดยอิสระ เป็นการเอื้อประโยชน์ให้เอกชนเลือก ใช้ข้าวสาลีมาเป็นส่วนผสมอาหารสัตว์โดยไม่ต้องเสียภาษี และส่งผลกระทบต่อ เกษตรกรนั้น กระทรวงพาณิชย์ ขอชี้แจงว่าประเทศไทยผูกพันภาษีน�ำเข้าสินค้าข้าวสาลี (พิกัด 1001) ภายใต้ WTO ตั้งแต่ ปี 2538 ไว้ที่ร้อยละ 27 ต่อมาในปี 2550 (มีผล 12 ก.ย. 50) กระทรวงการคลังได้ด�ำเนินการปฏิรูปภาษีศุลกากรให้เหลือ ร้อยละ 0 เนื่องจากสินค้าข้าวสาลีเป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมอาหารคน และไม่มี ปลูกในประเทศ จึงจ�ำเป็นต้องน�ำเข้าข้าวสาลีจากต่างประเทศ โดยขณะนั้นยัง ไม่มกี ารแยกพิกดั ข้าวสาลีทเี่ ป็นอาหารคนกับอาหารสัตว์ ซึง่ ภายใต้พนั ธกรณี WTO ไทยไม่สามารถห้ามน�ำเข้าข้าวสาลีได้ แต่สามารถขึน้ ภาษีได้ ไม่เกินร้อยละ 27 ตามที่ ผูกพันไว้ แต่ส�ำหรับคู่ค้าที่มี FTA (เช่นกับออสเตรเลีย) ประเทศไทยไม่สามารถ ปรับขึน้ อัตราภาษีนำ� เข้าข้าวสาลีได้ แต่ละปี ประเทศไทยมีผลผลิตข้าวโพดเลีย้ งสัตว์ ประมาณ 4.32 ล้านตัน ขณะที่ความต้องการใช้วัตถุดิบในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ ในภาพรวมอยู่ที่ประมาณ 8.10 ล้านตัน ผู้ผลิตอาหารสัตว์จึงจ�ำเป็นต้องน�ำเข้า ข้าวโพดเลีย้ งสัตว์จากประเทศเพือ่ นบ้าน รวมถึงน�ำเข้าวัตถุดบิ ทดแทน อาทิ ข้าวสาลี โดยในช่วงที่ผ่านมา ราคาข้าวสาลีในตลาดโลกต�่ำกว่าราคาข้าวโพดในประเทศ จึงมี การน�ำเข้าข้าวสาลีเพิ่มมากขึ้น

ที่มา : http://www.prachachat.net/breaking-news/news-38673

27


Food feed fuel ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 176 กันยายน - ตุลาคม 2560

รัฐบาลปัจจุบันได้มีมาตรการก�ำกับดูแล การน�ำเข้าข้าวสาลี เพือ่ ลดความเดือดร้อน ของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพด โดย คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบให้กำ� หนด สัดส่วนการน�ำเข้าข้าวสาลีตอ่ การรับซือ้ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในประเทศ ในอัตราส่วน 1 : 3 ส่งผลให้มีการน�ำเข้าข้าวสาลี ลดลงมาก เมือ่ เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีกอ่ น โดยในปี 2559 (ม.ค. - ส.ค.) มีการน�ำเข้าข้าวสาลี 2.260 ล้านตัน ซึ่งในปี 2560 (ม.ค. - ส.ค.) มีการน�ำเข้าข้าว สาลีเพียง 0.957 ล้านตัน ลดลงถึงกว่า 1.3 ล้านตัน ส�ำหรับประเด็นการน�ำเข้าจาก ยูเครน จากการสอบถามกรมปศุสัตว์ ได้รับแจ้งว่า มีการน�ำเข้าในเดือน ก.ย. ทั้ง เดือนจนถึงปัจจุบันเพียง จ�ำนวน 45,000 ตัน นอกจากนี้ ครม. มีมติเมื่อวันที่ 18 ก.ค. 2560 ให้มีการพิจารณาทบทวน ความเป็นไปได้ในการก�ำหนดอัตราอากรข้าวสาลีนำ� เข้าให้มคี วามเหมาะสม และเป็น ปัจจุบัน โดยขณะนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอยู่ระหว่างด�ำเนินการวิเคราะห์ผลกระทบ ที่อาจเกิดขึ้นจากการปรับขึ้นภาษี โดยเฉพาะต้นทุนการผลิต ไก่เนื้อ ไก่ไข่ และกุ้ง เพื่อให้เกิดความรอบคอบ เนื่องจากอาจส่งผลกระทบต่อเกษตรกรผู้เลี้ยงปศุสัตว์ ผู้บริโภค และการส่งออกของประเทศไทย อธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวเพิม่ เติมว่า ส�ำหรับราคาข้าวโพด ปัจจุบนั (13 ก.ย. 60) จ.เพชรบูรณ์ รับซื้อข้าวโพดเมล็ด (ความชื้น 30%) ราคา 5.25 - 5.35 บาท/กก. ข้าวโพดเมล็ด (ความชื้น 14.5%) ราคา 7.00 - 7.15 บาท/กก. โรงงาน อาหารสัตว์รบั ซือ้ เฉลีย่ (ความชืน้ 14.5%) ราคา 7.80 - 8.00 บาท/กก. ขณะนีเ้ ริม่ เข้าสู่ฤดูกาลผลิต 2560/61 ซึ่งผลผลิตจะเริ่มออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือน ต.ค. 60

28


Food feed fuel ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 176 กันยายน - ตุลาคม 2560

เตรียมตัวรับมือ! พาณิชย - เกษตรฯ ์

ตัง้ รับ

“ข้าวโพด” ทะลัก 4.5 ล้านตัน พาณิชย์รับมือผลผลิตปี 60/61 ออกปลายเดือนนี้ สัง่ พ่อค้าคนกลางแจ้ง ปริมาณ - สถานที่เก็บ - ราคาซื้อ พร้อม ขอโรงงานอาหารสัตว์เปิดจุดรับซือ้ ด้าน เกษตรฯ เร่งเครือ่ งยุทธศาสตร์ปลูกข้าวโพดหลังนา 3 ปี

รายงานว่า เมือ่ วันที่ 8 สิงหาคม 2560 นางนันทวัลย์ ศกุนตนาค อธิบดี กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ประชุมร่วมกับผู้เกี่ยวข้องถึงสถานการณ์ราคา และการตลาด ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 2560/2561 ซึ่งคาดว่าจะมีผลผลิตปริมาณ 4.50 ล้านตัน และมีความต้องการใช้ 8.10 ล้านตัน ไม่เพียงพอ จึงมีการน�ำเข้าข้าวสาลี และการน�ำเข้ากากข้าวโพด (DDGS) มาใช้เป็นวัตถุดบิ ทัง้ นี้ กรมได้ขอความร่วมมือให้พอ่ ค้าคนกลางทีถ่ อื ครองข้าวโพดตัง้ แต่ 50 ตันขึน้ ไป แจ้งปริมาณ สถานที่จัดเก็บ และราคารับซื้อต่อกรม ตามประกาศของคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและ บริการ (กกร.) พร้อมทั้งขอความร่วมมือให้โรงงานอาหารสัตว์เปิดจุดรับซื้อข้าวโพดอบแห้ง ความชื้น 14.5% ราคา กก. ละ 8 บาท เพื่อป้องกันปัญหาราคาข้าวโพดตกต�่ำช่วงที่ผลผลิตออกสู่ตลาด ตั้งแต่ ปลายเดือนสิงหาคมเป็นต้นไป วันเดียวกันนี้ นายสมชาย ชาญณรงค์กลุ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยภายหลังประชุม ขับเคลือ่ นยุทธศาสตร์ขา้ วโพดเลีย้ งสัตว์วา่ โครงการส่งเสริมการปลูกข้าวโพดเลีย้ งสัตว์อย่างยัง่ ยืน (แบบ แปลงใหญ่) ลดการท�ำลายป่าต้นน�้ำล�ำธาร (ฤดูฝน) ประจ�ำปี 2560/2561 ภายใต้กรอบระยะเวลา 3 ปี วงเงินงบประมาณ 7,723.8 ล้านบาท ล่าสุดอยู่ระหว่างขอความเห็นจากส�ำนักงานคณะกรรมการ พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กระทรวงการคลัง โดยกรมเสนอเพิ่มเติมให้ก�ำหนด พื้นที่ข้าวโพดสัดส่วนเต็ม เป้าหมาย 3.36 ล้านไร่ และให้ลดพื้นที่ปลูกเฉพาะพื้นที่ที่มีเอกสารสิทธิ ประมาณ 1 ล้านกว่าไร่ ซึ่งส�ำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) เร่งตรวจสอบพื้นที่ที่ไม่มีเอกสารสิทธิ เพื่อ พิจารณาแนวทางที่เหมาะสมอีกครั้ง ที่มา : http://www.prachachat.net/economy/news-21778

29


Food feed fuel ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 176 กันยายน - ตุลาคม 2560

ยอมรับว่า โครงการประชารัฐข้าวโพดหลัง นา อาจมีทงั้ ข้อดี และข้อเสีย แม้วา่ เกษตรกรจะมี ตลาดจ�ำหน่ายผลผลิตชัดเจน แต่ขอ้ เสียเกษตรกร ต้องใช้เมล็ดพันธุ์บริษัทที่เข้าร่วมโครงการเท่านั้น ซึ่งหลายพื้นที่ไม่ต้องการใช้พันธุ์ของบริษัทเหล่านี้ จึงไม่เข้าร่วมโครงการ ขอเน้นย�ำ้ ว่า โครงการนีไ้ ม่ใช่ มาตรการบังคับ เกษตรกรทีไ่ ม่เข้าร่วมจะช่วยเหลือ รูปแบบอื่น รวมถึงเอกชนที่เป็นสมาชิกและไม่ใช่ สมาชิก ขอความร่วมมือไม่จ�ำหน่ายเมล็ดพันธุ์ให้ เกษตรกรในพื้นที่ที่ไม่มีเอกสารสิทธิ “พื้นที่ 3.36 ล้านไร่ ภายใน 35 จังหวัด เป้าหมาย ทุกสมาคมเห็นชอบ แต่มีปัญหาการ รับซื้อคืน ผู้ผลิตอาหารสัตว์ต้องการซื้อคืนเฉพาะ เกษตรกรที่ใช้เมล็ดพันธุ์จากบริษัทเท่านั้น ซึ่ง กระทบกับสมาคมพืชไร่ ทีเ่ ป็นพ่อค้าคนกลาง และ เกษตรกรในบางพืน้ ทีไ่ ม่ตอ้ งการใช้เมล็ดพันธุจ์ าก บริษทั ส่วนสมาคมเมล็ดพันธุพ์ ร้อมขายเมล็ดพันธุ์ ให้แต่ไม่ยอมรับซือ้ คืน จึงยังไม่มขี อ้ สรุป กรมเสนอ เพิ่ม 2 แนวทางต่อ สศช. คาดว่าจะไฟเขียวเร็วๆ นี้” มีรายงานว่า ที่ประชุมได้ทบทวนแนวทาง การปลูกข้าวโพดประชารัฐอีกครัง้ โดยแยกเงือ่ นไข เป็น 2 ส่วน คือ 1. เกษตรกรที่สนใจเข้าร่วม โครงการประชารัฐ ซึง่ บริษทั ทีเ่ ข้าร่วมจะขายเมล็ด พันธุ์ และจะรับซื้อผลผลิตคืน และ 2. เกษตรกร ที่ไม่สนใจซื้อเมล็ดพันธุ์จากบริษัท แต่ต้องการ ปลูกข้าวโพดในโครงการประชารัฐ ในส่วนนีร้ ฐั บาล ต้องหาตลาดเตรียมไว้ในราคา 8 บาท/กก. ทั้งนี้ ตามแผนเดิม โครงการการปลูกข้าวโพดหลังนา ประชารัฐ 2560/2561 จะเสนอให้คณะรัฐมนตรี พิจารณาในเดือน ก.ค. เพื่อปลูกให้ครอปปี และ เก็บเกีย่ วในเดือน มี.ค. 2560 จึงต้องล่าช้าออกไป

30

ส�ำหรับกรมวิชาการเกษตร ได้ก�ำชับการ ด�ำเนินการ 2 มาตรการหลัก คือ 1) จะเชิญ บริษัทเมล็ดพันธุ์ที่ไม่ใช่สมาชิกของสมาคม 116 บริษัท มาท�ำความเข้าใจและขอความร่วมมือใน การไม่จำ� หน่ายเมล็ดพันธุแ์ ก่เกษตรกรในพืน้ ทีไ่ ม่มี เอกสารสิทธิ 2) ใช้มาตรการทางกฎหมายในการ ควบคุมการจ�ำหน่ายเมล็ดพันธุ์ (พ.ร.บ. พันธุ์พืช 2518 และ 2535) ได้แก่ 1. ตรวจจับร้านค้า และ ผู้จ�ำหน่ายเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ไม่ได้รับ ใบอนุญาตรวบรวม และจ�ำหน่ายเมล็ดพันธุ์อย่าง เข้มงวด และ 2. ทบทวน แก้ไขกฎหมาย อายุการ ต่อใบอนุญาตของผู้ประกอบการ ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 8 ส.ค. 60 กรมส่งเสริม การเกษตรได้ลงนาม MOU โครงการส่งเสริมการ ปลูกข้าวโพดเลีย้ งสัตว์อย่างยัง่ ยืนฯ ร่วมกับบริษทั เบทาโกร จ�ำกัด และบริษัท แปซิฟิค เมล็ดพันธุ์ ซึ่งจะรับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากเกษตรกร 7 จังหวัด ได้แก่ นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สระบุรี นครราชสีมา เพชรบูรณ์ ชัยภูมิ โดยมี เป้าหมายพืน้ ที่ 7 หมืน่ ไร่ รับซือ้ ราคาสูงกว่าตลาด และต้องเป็นพื้นที่เฉพาะที่มีเอกสารสิทธิเท่านั้น


Plexomin Cu24 Plexomin Fe20 Plexomin Mn22 Plexomin Zn26

Phytobiotics (Thailand) Co., LTd.

202 Le Concorde Tower, Rajchadapisek Road, Huaykwang, Huaykwang, Bangkok 10320 Tel. 02-6942498 Fax. 02-6942499 www.phytobiotics.com


AUTOMATI ON DOESN' THAVE TOBEEXPENSI VE Pr emi erT echChr onosr ev eal sanew gener at i onofbudgetcons ci ous bagger ,t hePT A100.T akey ourďŹ r s tl eapi nt oaut omat i onwi t ht hi s r el i abl e,af f or dabl eandeas yt oi ns t al l baggi ngs y s t em. Vi s i tPTCHRONOS. COM f ormor edet ai l s .

PTCHRONOS. COM


Market Leader ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 176 กันยายน - ตุลาคม 2560

ปัจจัยที่มีผลต่อความสม�่ำเสมอ ในการผสมอาหารสัตว์

๐ ทิพย์วดี พูลเดช นักวิชาการอาวุโสอาหารสัตว์ ฝ่ายบริการวิชาการ บริษัท เบาทโกร จ�ำกัด (มหาชน) ๐

ณ ปัจจุบัน ในอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์นั้น ต้นทุนด้านอาหารสัตว์ถือได้ว่าเป็นต้นทุนหลัก ของการผลิตสัตว์ เพราะคิดเป็นร้อยละ 70 ของต้นทุนทั้งหมด ด้วยเหตุนี้เองในการผลิตอาหารสัตว์ ให้มีคุณภาพดีนั้น เราจึงต้องให้ความส�ำคัญต่อกระบวนการผลิตอาหารสัตว์ โดยเฉพาะความสามารถ ในการผสมอาหารแต่ ล ะครั้ ง ต้ อ งมี ค วามสม�่ำ เสมอ หรื อ การกระจายตั ว ที่ ดี ข องวั ต ถุ ดิ บ ชนิ ด ต่ า งๆ ไม่ว่าจะเป็นวัตถุดิบหลัก วัตถุดิบรอง หรือแม้แต่วิตามินแร่ธาตุ สารเสริมต่างๆ รวมทั้งยาปฏิชีวนะ ที่ ใ ช้ ใ นปริ ม าณที่ น ้ อ ยในสู ต รอาหารสั ต ว์ เพื่ อ ที่ สั ต ว์ ที่ ไ ด้ รั บ อาหารดั ง กล่ า ว มี ก ารเจริ ญ เติ บ โต ที่สม�่ำเสมอกัน และยังส่งผลถึงการที่สัตว์ได้ใช้ประสิทธิภาพจากอาหารได้อย่างสูงสุด และส่งผลต่อ การควบคุมต้นทุนทางด้านอาหารสัตว์ได้อย่างเหมาะสม จุดมุง่ หมายของการผสมวัตถุดบิ อาหารสัตว์ ก็เพื่อให้วัตถุดิบที่ก�ำหนดเป็นส่วนประกอบของ อาหารสัตว์ผสมคลุกเคล้าเป็นเนือ้ เดียวกัน วัตถุดบิ ทุกชนิดกระจายตามเนื้อของส่วนผสมอย่างทั่วถึง กล่าวคือ หลังจากการผสมแล้ว หากแบ่งส่วนผสม มาตรวจหาส่วนประกอบของวัตถุดิบ ส่วนผสมที่ เกิดจากการผสมที่ดี จะต้องมีวัตถุดิบอาหารสัตว์ ครบถ้วนทัง้ ชนิดและปริมาณตรงตามทีร่ ะบุในสูตร อาหารก่อนการผสม การผสมอาหารอาจแบ่งเป็น 2 ขัน้ ตอน คือการผสมวิตามินและแร่ธาตุ หรือการ ผสมสารเสริมเติมแต่งในอาหาร (feed additive) เช่น เอนไซม์ กรดช่วยย่อย รวมทั้งยาปฏิชีวนะ และการผสมวัตถุดิบหลัก การผสมวิตามินและ แร่ธาตุ มักผสมเตรียมไว้ต่างหากก่อนการผสม อาหาร เนื่องจากวิตามินและแร่ธาตุที่จะใส่เป็น ส่วนผสมในอาหารมีปริมาณน้อย จึงนิยมผสม วิตามิน หรือแร่ธาตุกับวัตถุดิบชนิดอื่นๆ เป็น

วิตามินรวม หรือแร่ธาตุรวมก่อน แล้วจึงน�ำวิตามิน รวม และแร่ธาตุรวมไปผสมกับวัตถุดิบอาหาร อืน่ ๆ ตามต้องการต่อไป วิธกี ารเจือจางวิตามิน หรือ แร่ธาตุกับวัตถุดิบอาหารเช่นนี้ ช่วยให้ส่วนผสม ของอาหารมี วิ ต ามิ น และแร่ ธ าตุ ต ามต้ อ งการ นอกจากนั้นก็เพื่อให้วิตามินและแร่ธาตุซึ่งเป็น ส่วนผสมที่มีปริมาณน้อยกระจายทั่วเนื้ออาหาร เมื่อผสมอาหารเสร็จตามระยะเวลาที่ก�ำหนดแล้ว อาหารต้องมีความสม�่ำเสมอทั้งในด้านคุณค่าทาง โภชนะและลักษณะทางกายภาพ ปัจจัยที่มีต่อเวลาในการผสมอาหาร (Mixing time) และความสม�่ำเสมอของการผสมอาหาร (Coefficient of Variation: CV) 1. ชนิดของเครื่องผสมอาหารสัตว์ อาทิ เช่น เครื่องผสมถังตั้ง (Vertical Mixer) ใช้เวลา ในการผสม 10 - 20 นาที พบมากในฟาร์มที่ผสม

ที่มา : สาส์นไก่ & สุกร ปีที่ 15 ฉบับที่ 171 เดือนสิงหาคม 2560

31


Market Leader ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 176 กันยายน - ตุลาคม 2560

อาหารใช้เอง เนื่องจากมีราคาค่อนข้างถูก อีกทั้ง ใช้มอเตอร์ไฟฟ้าก�ำลังม้าต�่ำ จึงสามารถใช้กับ กระแสไฟฟ้าตามบ้านได้ เครื่องผสมแบบถังตั้งนี้ อาหารจะถูกส่งเข้าไปในตัวถังผ่านกระบอกผสม ณ จุดนี้ วัตถุดบิ อาหารจะมีการผสมให้เข้ากัน เมือ่ ผ่านกระบอกผสมแล้ว วัตถุดิบอาหารจะถูกสาด ให้กระจายออกไปรอบๆ ถังด้วยใบพัดที่อยู่เหนือ กระบอกผสมนั้น ซึ่งเป็นจังหวะที่วัตถุดิบอาหาร จะมีการผสมปนเปกัน (ดังแสดงในภาพที่ 1) จะ เห็นได้ว่าอาหารถูกผสมจริงๆ เฉพาะส่วนที่อยู่ใน กระบอกผสมเท่านั้น ซึ่งมีเพียง 10 เปอร์เซ็นต์ ของอาหารทั้งหมด ดังนั้นอาหารจึงต้องเวียนผ่าน กระบอกผสมหลายๆ ครั้ง จึงผสมเข้ากันอย่าง ทัว่ ถึง ท�ำให้ตอ้ งใช้เวลาในการผสมมากขึน้ (อุทยั , 2529)

ภาพที่ 2 แสดงส่วนประกอบภายในของเครื่องผสม ถังนอนชนิดเกลียวริบบอน (ก) และใบพาย (ข)

(ก)

(ข) ภาพที่ 3 ผลของระยะเวลาที่ผสมด้วยเครื่องผสม แบบถังนอนชนิดใบเกลียว โดยใช้ค่าเกลือ เป็นตัวทดสอบหาค่าความสม�่ำเสมอ (CV)

ภาพที่ 1 แสดงทิศทางการหมุนเวียนของอาหาร ภายในเครื่องผสมอาหารชนิดตั้ง

ที่มา : ดัดแปลงจาก Wilcox and Unruh (1986)

ที่มา : พันทิพา (2539)

ส่วนเครื่องผสมแบบถังนอน (Horizontal Mixer) (ดังแสดงในภาพที่ 2) ทั้งชนิดใบเกลียว (Single - Shaft Ribbon Mixer) และชนิดใบพาย (Single - Shaft Paddle Mixer) จะใช้ระยะเวลาในการ ผสมน้อยกว่าแบบถังตัง้ โดยใช้ระยะเวลาเฉลีย่ 3 - 5 นาที (ภาพที่ 3) ต่อมาได้มีการพัฒนาให้ใช้ระยะ

32

เวลาในการผสมน้อยลง คือเครือ่ งผสมแบบถังนอน แบบเพลาคู่ (Twin shaft paddle mixer) ใช้ระยะ เวลา 1 - 2 นาที เวลาในการผสมของเครื่องนั้น มีความส�ำคัญมาก หากใช้ระยะเวลาไม่เหมาะสม กับชนิดเครื่อง จะส่งผลให้อาหารที่ผสมมีความ สม�่ำเสมอต�่ำกว่ามาตรฐานที่ก�ำหนดไว้ ความเร็ ว รอบของแกนผสมเป็ น ปั จ จั ย ที่ ส�ำคัญที่มีผลต่อระยะเวลาการผสมอาหาร อาทิ เช่น เครื่องผสมอาหารแบบใบเกลียวที่มีความเร็ว


Market Leader ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 176 กันยายน - ตุลาคม 2560

รอบที่ 12 - 13 รอบต่อนาที ต้องใช้ระยะเวลาผสม นานกว่า 10 นาที อาหารที่ผสมจึงมีค่า CV น้อย กว่า 10% แต่ในทางกลับกัน หากท�ำการปรับ ความเร็วรอบเป็น 25 - 26 รอบต่อนาที จะใช้เวลา ในการผสมอาหารน้อยกว่า 10 นาที แล้วอยูใ่ นช่วง ระยะเวลา 5 นาที ต่อการผสม 1 ครั้ง 2. ความยาว หรือความสูงของเครื่องผสม อาหารเทียบกับเส้นผ่านศูนย์กลาง ควรอยู่ในช่วง 1 - 3 ยิ่งมีอัตราส่วนเข้าใกล้ 1 จะส่งผลให้ใช้เวลา การผสมอาหารสั้นลง 3. ความแม่นย�ำของเครือ่ งชัง่ น�ำ้ หนัก (load cell) ซึง่ ต้องมีความแม่นย�ำในการชัง่ ตามมาตรฐาน ของเครื่องชั่ง และต้องได้รับการทดสอบประสิทธิภาพของเครื่องชั่ง เนื่องจากการชั่งน�้ำหนักที่ถูก ต้อง จะส่งผลต่อความสม�ำ่ เสมอของอาหาร (Feed uniformity) ที่ผสมในแต่ละชุดการผสมเท่ากัน โดยเฉพาะคุณค่าทางอาหารที่สม�่ำเสมอกัน อาทิ เช่น โปรตีน ไขมัน และแหล่งของแร่ธาตุ ในส่วน ของความเร็วรอบของเครือ่ งผสมอาหารทีส่ งู ขึน้ จะ ส่งผลให้อาหารมีคา่ ความสม�ำ่ เสมอ (%CV) ลดลง เมือ่ เปรียบเทียบกับเครือ่ งผสมอาหารทีใ่ ช้ความเร็ว รอบน้อย 4. การสึ ก หรอ และความสะอาดของ ชิ้นส่วนภายในเครื่องผสมอาหาร มีผลโดยตรง ต่อประสิทธิภาพของเครื่องผสมอาหาร (Mixability) โดยเฉพาะความสะอาดในส่วนของแกนผสม เพราะอาจส่งผลทางด้านประสิทธิภาพของการ หมุน และการน�ำพาอาหารให้มีการคลุกเคล้ากัน 5. ปริมาณของวัตถุดบิ อาหารสัตว์ในเครือ่ ง ผสม ควรมีปริมาณอย่างน้อย 50% ของปริมาตร เครื่องผสมอาหาร (Wilcox and Valding, 1976) อาทิเช่น เครือ่ งผสมอาหารมีปริมาตร 2,000 กก.

ปริมาณขั้นต�่ำของวัตถุดิบควรอยู่ที่ 1,000 กก. เพราะว่ า เครื่ อ งผสมอาหารแต่ ล ะชนิ ด มี จุ ด ที่ วัตถุดิบจะผสมกัน (Mixing Zone) แตกต่างกัน ซึง่ ปริมาณของวัตถุดบิ มีระดับต�ำ่ กว่ามาตรฐาน ซึง่ อาจส่งผลต่อค่าความสม�่ำเสมอของเครื่องผสม 6. ต�ำแหน่งทีใ่ ส่วตั ถุดบิ ลงเครือ่ งผสม ล�ำดับ และเวลาในการใส่วัตถุดิบ มีความส�ำคัญต่อการ กระจายตัวของวัตถุดบิ ต่างๆ จ�ำเป็นต้องใส่วตั ถุดบิ หลักทีม่ จี ำ� นวนมากก่อนประมาณ 60 - 70% ของ วัตถุดบิ หลัก และเติมวัตถุดบิ ทีม่ ปี ริมาณน้อย อาทิ เช่น พรีมิกซ์ สารเสริมเติมแต่ง (Feed additive) วิตามินแร่ธาตุตา่ งๆ รวมทั้งยาปฏิชวี นะที่ต้องการ ผสมในอาหารสัตว์ และตามด้วยวัตถุดบิ หลักส่วนที่ เหลือ ล�ำดับสุดท้ายท�ำการเติมของเหลวเพือ่ ให้เกิด การกระจายตัวที่ดี 7. การฉีดของเหลวเข้าเครื่องผสมอาหาร ลักษณะของของเหลวจะต้องเล็กที่สุด โดยการ ท�ำให้ของเหลวเป็นฝอยมากที่สุด โดยของเหลวที่ ฉีดเข้าเครื่องผสมอาหาร อาทิเช่น น�้ำมัน กาก น�้ำตาล สารป้องกันการหืน (Antioxidant) สาร ป้องกันการเกิดเชื้อรา และของเหลวดังกล่าว จะ ต้องสัมผัสโดยตรงกับวัตถุดิบแห้งอย่างทั่วถึง ซึ่ง การติดตั้งหัวฉีดให้กระจายเต็มระยะความยาว ของเครื่องผสมอาหาร และต�ำแหน่งของหัวฉีด ของเหลวต้องไม่ท�ำให้ของเหลวฉีดไปโดนชิ้นส่วน ใดๆ ภายในเครื่องผสมอาหาร ระยะเวลาในการฉีดของเหลวเป็นส่วน ส�ำคัญ หากใช้เวลาในการฉีดของเหลวนาน จะ ส่งผลให้ต้องใช้ระยะเวลาในการผสมเปียก (Wet Mix) หลังจากที่มีการฉีดของเหลวเพิ่มขึ้น 8. คุณสมบัติของวัตถุดิบที่แตกต่างกัน มี ผลการกระจายตัวของวัตถุดิบ ดังนี้

33


Market Leader ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 176 กันยายน - ตุลาคม 2560

-  ขนาดของวัตถุดบิ ทีผ่ า่ นกระบวนการ บด (grinding) และรูปทรงของวัตถุดิบควรมี ขนาดสม�ำ่ เสมอ ซึง่ อาหารทีป่ ระกอบด้วยวัตถุดบิ ที่ มีอนุภาคเล็กกว่าจะมีความสามารถในการกระจาย ตัวได้สูงกว่า ซึ่งจะส่งผลให้อาหารมีค่าความสม�่ำเสมอ (CV) น้อยกว่าวัตถุดิบที่มีอนุภาคใหญ่กว่า (Herrman และ Behnke, 1994) ซึง่ สอดคล้องกับ Groesbeck et al. (2007) ดังภาพที่ 4   -  ความหนาแน่นของวัตถุดิบ (Bulk density) ซึ่งวัตถุดิบอาหารสัตว์ ควรมีค่าความ หนาแน่นไม่ควรต�่ำกว่า 0.5 kg/dm หากจ�ำเป็น ต้องใช้วัตถุดิบที่มีความหนาแน่นต�่ำกว่าเดิม อาทิ เช่น กากมันส�ำปะหลัง กากร�ำสกัดน�ำ้ มัน เป็นต้น จ�ำเป็นต้องท�ำการทดสอบหาค่าความสม�่ำเสมอ และหาระยะเวลาที่เหมาะสมกับสูตรอาหารดัง กล่าว เพราะวัตถุดบิ ดังกล่าวจะมีลกั ษณะฟ่าม และ เบา ภาพที่ 4 แสดงผลของอนุภาพของเกลือ ระยะเวลาในการผสมที่แตกต่างกัน ที่มีผลต่อ ค่าความสม�่ำเสมอของอาหาร (Feed uniformity) โดยผสมอาหารด้วยเครื่องผสมถังนอน แบบใบเกลียว (Horizontal ribbon mixer)

ที่มา : (Groesbeck et al., 2007)

34

การประเมินค่าความสม�่ำเสมอของอาหารสัตว์ (feed uniformity) การประเมิ น ค่ า ความสม�่ ำ เสมอของการ ผสมอาหารนัน้ สามารถท�ำได้หลายวิธี คือสามารถ เติมตัวบ่งชี้ที่สามารถตรวจสอบได้ เช่น ผงเหล็ก (Microtracer) หรือการตรวจสอบใช้คา่ โภชนะต่างๆ ในอาหารสัตว์เป็นตัวบ่งชี้ อาทิเช่น โปรตีน กรด อะมิโนไลซีน เมทไธโอนีน และค่าเกลือ เป็นต้น (clark et al., 2007) ซึง่ โดยปกติของการทดสอบ นั้น จะใช้ค่าเกลือในการวิเคราะห์ เนื่องจากเกลือ ใช้ในสูตรอาหารสัตว์ในปริมาณที่น้อย เพื่อเป็น ตัวแทนของวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่มีปริมาณน้อย (Feed Microingredient) อาทิเช่น วิตามินแร่ธาตุ รวมถึงยาปฏิชีวนะที่ผสมในอาหารสัตว์ และน�ำ ค่าที่ตรวจสอบได้มาค�ำนวณหาค่าสัมประสิทธิ์ ของการเปลี่ยนแปลง (Coefficient of variation: CV) เนื่องจากค่า CV เป็นค่าที่บ่งบอกถึงความ คลาดเคลื่อนทางสถิติภายใต้การสุ่มตัวอย่างที่ สม�่ำเสมอ ซึ่งในการผสมอาหาร 1 ชุด จะท�ำการ เก็บตัวอย่าง 10 ตัวอย่าง ตามภาพที่ 5 ตัวอย่าง ละ 1 กิโลกรัม และค�ำนวณค่าเบีย่ งเบนมาตรฐาน (Standard deviation: SD) แล้วคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ ดังนี้ CV = SD*100/mean ซึ่งค่า CV มาตรฐาน ที่ก�ำหนดของอาหารสัตว์ต้องมีค่าน้อยกว่า 10% (พันทิพา, 2539) ซึ่งเป็นค่าที่ยอมรับได้ หากค่า CV มี ค ่ า สู ง กว่ า นี้ แสดงถึ ง ประสิ ท ธิ ภ าพของ เครือ่ งผสมอาหารมีประสิทธิภาพต�ำ่ และส่งผลต่อ สมรรถภาพการผลิตสัตว์ จะท�ำให้สัตว์ที่ได้รับ อาหารทีม่ คี า่ CV สูง จะมีผลให้สมรรถภาพการผลิต ไก่เนื้อต�่ำกว่าที่ได้รับอาหารที่มีค่า CV น้อยกว่า 10% ทั้งส่วนของการเจริญเติบโต (ADG) และ ประสิทธิภาพการใช้อาหาร (FCR) (Chin, 2008)


Market Leader ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 176 กันยายน - ตุลาคม 2560

ภาพที่ 5 แสดงต�ำแหน่งการเก็บตัวอย่างอาหาร ทั้ง 10 จุด เพื่อทดสอบความสม�่ำเสมอของ เครื่องผสมอาหารแบบถังนอน

การใช้เกลือเป็นตัวประเมินในการผสมอาหาร เป็นวิธีที่สะดวกที่สุด เพราะเกลือเป็นวัตถุดิบใน อาหารผสมทุกๆ สูตร และใช้ในปริมาณน้อย ตัวอย่าง วิธีการตรวจสอบหาเกลือท�ำได้หลายวิธี เช่น ใช้ Quantab วัดปริมาณของคลอไรด์ (Cl - ) จากเกลือ (NaCl) หลังน�ำตัวอย่างอาหารผสมมาละลายใน น�้ำร้อน (Herrman และ Behnke,1994)

การผสมอาหารที่ดี ค่า CV ต้องไม่เกิน 10% ซึ่ ง อาจจะมี ค วามคลาดเคลื่ อ นจากการวิ เ คราะห์ ประมาณ 5 - 6 เปอร์เซ็นต์ และความคลาดเคลื่อน จากการผสมประมาณ 5 เปอร์เซ็นต์ (Traylor, 2004) ดังนั้น ถ้าค่า CV สูงกว่า 10% อาจต้องเพิ่มเวลา ที่มา: Herrman และ Behnke (1994) ในการผสม และหรื อ หาสาเหตุ ที่ ท� ำ ให้ วั ต ถุ ดิ บ กระจายตัวได้ไม่ดี เช่น ล�ำดับการเติมวัตถุดิบ หรือขนาดของวัตถุดิบ ซึ่ง (Herrman และ Behnke, 1994) ได้เสนอแนะค่าสัมประสิทธิ์ความแปรปรวนของอาหารผสมที่แสดงถึงประสิทธิภาพของเครื่อง ผสมไว้ (ดังแสดงในตารางที่ 1) ตารางที่ 1 ค่าสัมประสิทธิ์ความแปรปรวน (CV) และประสิทธิภาพของเครื่องผสม % CV <10% 10 - 15% 15 - 20%

ประสิทธิภาพของเครื่องผสม ดีมาก ดี พอใช้

>20%

แย่

การแก้ไข เพิ่มเวลาผสมอีก 20 - 30% เพิ่มเวลาผสมอีก 50% และหาสาเหตุที่ทำ�ให้วัตถุดิบ กระจายตัวได้ไม่ดี เช่น การชำ�รุดเสียหากของเครื่องผสม ใบพาย หรือริบบอน มากเกินไปหรือไม่ ทำ�เช่นเดียวกับที่กล่าวด้านบน หรือติดต่อกับบริษัทที่ผลิต เครื่องผสม

ที่มา : Herrman และ Behnke (1994)

สรุป ในสูตรอาหารเลี้ยงสัตว์โดยทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นอาหารสุกร อาหารสัตว์ปีก มักจะประกอบด้วย วัตถุดิบอาหารหลากหลายชนิด โดยวัตถุดิบอาหารแต่ละชนิดมีสัดส่วนในสูตรอาหารที่ต่างกัน วัตถุดิบ อาหารทีใ่ ช้ปริมาณน้อยในสูตรอาหาร เช่น ไวตามิน กรดอะมิโน แร่ธาตุทจี่ ำ� เป็น หรือยาปฏิชวี นะ มีการ กระจายตัวให้ทวั่ ถึงในอาหารได้ยากกว่าวัตถุดบิ อาหารทีใ่ ช้จำ� นวนมากในสูตรอาหาร ดังนัน้ จ�ำเป็นต้องผสม วัตถุดิบอาหารชนิดต่างๆ ให้เข้ากันเป็นเนื้อเดียวกัน เพื่อที่สัตว์ทั้งฝูงจะได้รับในปริมาณที่ใกล้เคียงกัน

35


Market Leader ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 176 กันยายน - ตุลาคม 2560

ท�ำให้การใช้นนั้ ๆ ได้ผลเป็นไปตามเป้าหมายทีต่ อ้ งการ ซึง่ อาหารทีม่ กี ารผสมเข้ากันดีมคี ณ ุ ค่าทางโภชนะ เสมอทั้งชุดของการผสมอาหารนั้น ช่วยท�ำให้สัตว์เลี้ยงในฝูงได้รับโภชนะต่างๆ ในปริมาณที่ใกล้เคียง ท�ำให้สตั ว์มกี ารเติบโตและให้ผลผลิตทีใ่ กล้เคียงกัน โดยเฉพาะสัตว์หลังหย่านม และไก่จะตอบสนองต่อ อาหารที่กินต่อวันน้อย อาจมีโอกาสขาดโภชนะบางตัวหากวัตถุดิบอาหารกระจายตัวไม่ทั่วถึง ซึ่งการจะ ผสมอาหารเข้ากันได้ดีมากน้อยเพียงใดนั้น มีปัจจัยหลายอย่างที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เช่น การผสมอาหาร มากหรือน้อยเกินไป ล�ำดับการใส่วัตถุดิบ การสะสมของวัตถุดิบที่ตกค้างภายในเครื่องผสม ลักษณะ ทางกายภาพของวัตถุดิบแต่ละชนิด เวลาในการผสม การช�ำรุดเสียหายของเครื่องผสม ใบพาย หรือ ริบบอน ปัจจัยเหล่านี้ล้วนแต่เป็นสาเหตุท�ำให้การผสมของอาหารไม่สม�่ำเสมอ จึงต้องมีการตรวจสอบ ความสม�่ำเสมอของการกระจายตัวของอาหารบ่อยๆ อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง ด้วยการน�ำอาหารที่ผสมได้ มาตรวจสอบหาความสม�ำ่ เสมอ แล้วประเมินค่าออกมาในรูปของสัมประสิทธิ์ ความแปรปรวน (Coefficient of Variation; CV) ซึ่งค่า CV ที่ยอมรับกันโดยทั่วไปคือ ไม่เกิน 10% หากเกิน 10% ถือว่าเครื่องผสม นั้น จะต้องได้รับการปรับปรุงแก้ไขใหม่ โดยอาจต้องเพิ่มเวลาในการผสม และหรือหาสาเหตุที่ท�ำให้ วัตถุดิบกระจายตัวได้ไม่ดี เป็นต้น เอกสารอ้างอิง พันทิพา พงษ์เพียจันทร์. 2539. การผลิตอาหารสัตว์. ครั้งที่ 1. สำ�นักพิมพ์โอเดียนสโตร์. กรุงเทพฯ. 294 หน้า อุทัย คันโธ. 2529. อาหารและการผลิตอาหารเลี้ยงสุกรและสัตว์ปีก. ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมการเลี้ยงสุกรแห่งชาติ. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 297 หน้า Behnke, K.C. 1994 Mixing and Mixers for the Aquaculture Industry, pp.502 - 504. In Robert R, McEllhiney (ed.), Feed Manufacturing Technology IV, American Feed Industry Association., Arlington. Chin S.F. 2008. Ensuring Optimum Mixability In Feed Manufacturing. Feed Technology. Pp.63 - 69 Clark, P.M., K.C. Behnke and D.R. Poole. 2007. Effects of Marker seiection and Mix Time on the Coefficient of Variation (Mix Uniformity) of Broiler Feed. Poul. Sci. 464 - 470. Groesbeck, C.N., R.D. Goodbamd, M.D. Tokach, S.S. Dritz, J.L., Nelssen and J.M. DeRouchry. 2007, Diet mixing time affects nursery pig performance. J. Anim Sci. 1793 - 1798 Herrman, T. and K. Behnke, 1994. Feed Manufacturing - Testing Mixer Performance. MF - 1772, Kansas State University Agriculture Experiment Station and Cooperative Extension Service. Traylor, S. 2004. Determining Mixing Uniformity of Feeds. Pp. 5, 17. In Eli Miller (ed.). Regulatory Services News. First Quarter 2004. Available source: http://www.rs.uky.edu/other/newsletters/1st Q2004. pdf, March 28, 2006. Wilcox, R.A. and J.L Balding. 1976. Feed Manufacturing Problems. Incomplete Mixing and Segregation. Bulletin C - 555. Kansas State University Cooperative Extension Service, Manhattan, KS. Wilcox, R.A. and D.L Unruh. 1986. Feed mixers and feed mixing time. Bulletin MF - 829. Kansas State University Cooperative Extension Service, Manhattan, KS.

36


Market Leader ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 176 กันยายน - ตุลาคม 2560

‘ปศุสัตว์’ ชงข้อมูลสารเร่งเนื้อแดง ก่อน ‘บิ๊กตู่’ เยือนสหรัฐฯ

กรมปศุสตั ว์เตรียมชงข้อมูลวิชาการ "สาร เร่งเนื้อแดงในหมู" ให้นายกฯ ประยุทธ์ก่อนบิน ไปอเมริกา ต.ค. นี้ รับมือหากประธานาธิบดี "ทรัมป์" หยิบยกเรื่องนี้ขึ้นบีบไทยเปิดน�ำเข้า ฟากผู้เลี้ยงชี้หากเปิดน�ำเข้าเกษตรกรเดือดร้อน กันเป็นลูกโซ่ถว้ นหน้า ทัง้ ชาวนา - ชาวไร่ขา้ วโพด มันส�ำปะหลัง นสพ.สรวิศ ธานีโต รองอธิบดีกรมปศุสตั ว์ เปิดเผยถึงกรณีนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดี สหรัฐอเมริกา อาจหยิบยกเรือ่ งการส่งออกชิน้ ส่วน สุกรที่มีการใช้สารเร่งเนื้อแดงในกลุ่มเบต้าอะโกนิสต์ของสหรัฐอเมริกาเข้ามาในไทย ในช่วงระหว่าง ที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี จะเดินทางไปเยือนสหรัฐอเมริกาในเดือนตุลาคม 2560 ว่า กรมปศุสัตว์มีหน้าที่จัดเตรียมข้อมูล ด้านวิชาการทีเ่ กีย่ วข้องกับการวิจยั ต่างๆ ในการใช้ สารเร่งเนื้อแดงเลี้ยงสุกร ว่าจะส่งผลกระทบต่อ ผู้บริโภคมากน้อยเพียงใดไว้รองรับ แต่ไม่ได้มี หน้าที่ในการเจรจา โดยการเจรจาเป็นหน้าที่ของ กระทรวงพาณิชย์ ซึ่งเท่าที่ทราบยังไม่มีประเด็น เรื่ อ งนี้ ส่ ว นกรณี ที่ ก ลุ ่ ม ผู ้ เ ลี้ ย งหมู ไ ทยได้ ยื่ น หนั ง สื อ คั ด ค้ า นการน� ำ เข้ า หมู ข องสหรั ฐ ฯ ต่ อ พล.อ.ประยุทธ์ อีกครั้ง ทางกลุ่มผู้เลี้ยงคงเกรงว่า หากทางประธานาธิบดีสหรัฐฯ หยิบยกเรือ่ งขึน้ มา ขอให้นายกรัฐมนตรีไทยกลับมาพิจารณาเรื่องนี้

อีกครั้ง จึงต้องยื่นหนังสือคัดค้านไว้ก่อน ซึ่งกรม ปศุสัตว์พร้อมเตรียมข้อมูลให้ไปชี้แจง "ประเทศไทยห้ามการใช้สารเร่งเนื้อแดง ในกลุ ่ ม เบต้ า อะโกนิ ส ต์ ใ นการเลี้ ย งหมู โดยมี กฎหมาย 3 ฉบับทีค่ วบคุม ได้แก่ พระราชบัญญัติ ควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ. 2558 พระราชบัญญัติควบคุมการฆ่าสัตว์ การจ�ำหน่ายเนื้อสัตว์ พ.ศ. 2559 และพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 ของกระทรวงสาธารณสุข ที่ห้ามใช้สาร กลุ่มนี้ แม้ว่าบางประเทศจะปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ ของคณะกรรมการมาตรฐานอาหารระหว่ า ง ประเทศ (CODEX) ที่มีมติให้ใช้สารเร่งเนื้อแดง คือ แรกโตพามีน (Ractopamine) ได้ตามเกณฑ์ ก�ำหนดค่าสูงสุด ว่าไม่เกินเท่าไหร่ไว้ในการเลี้ยง หมู อย่างไรก็ตาม หากถึงทีส่ ดุ ทางสหรัฐอเมริกา มีการต่อรองขอส่งออกชิ้นส่วนหมูที่ไม่มีสารเร่ง เนือ้ แดงปนเปือ้ นเข้ามาขายในไทย ก็คงต้องเจรจา กันในเงื่อนไขใหม่และวางขายต่างหาก ที่ส�ำคัญ ต้องไม่น�ำมาปะปนขายรวมกับหมูไทย" นสพ. สรวิศกล่าว ทางด้านนายนิพฒ ั น์ เนือ้ นิม่ นายกสมาคม ผู ้ เ ลี้ ย งสุ ก รจั ง หวั ด ราชบุ รี เปิ ด เผยว่ า เรื่ อ งนี้ ฝ่ายสหรัฐฯ เคยหยิบยกมาหารือกับไทยหลายครัง้ แล้ว โดยเฉพาะในช่วงสมัยรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ท�ำให้กลุ่มผู้เลี้ยงหมู

ที่มา : ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2560

37


Market Leader ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 176 กันยายน - ตุลาคม 2560

หวั่นอนาคต  -  จากการที่สหรัฐฯ ล็อบบี้ รัฐบาลไทยหลายครั้งในการเปิดน�ำเข้า ชิ้นส่วนหมู ท�ำให้ระยะหลังผู้เลี้ยงหมูของไทย ไม่กล้าขยายการเลี้ยงหมู

ทั่วประเทศต้องยื่นหนังสือคัดค้านการน�ำเข้าที่ ท�ำเนียบรัฐบาลมาแล้ว ในครั้งนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จะเดิ น ทางไปหารื อ กั บ กั บ นายโดนั ล ด์ ทรั ม ป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ จึงเกรงว่าฝ่ายสหรัฐฯ อาจ หยิบเรื่องนี้มาให้ฝ่ายไทยพิจารณาเรื่องการน�ำเข้า อีก ซึง่ หากน�ำเข้ามาจริง ปัญหาทีจ่ ะเกิดขึน้ ตามมา จะมีมากมาย ตั้งแต่ผู้เลี้ยงหมูในประเทศที่ผลิต หมูขุนป้อนตลาดทั่วประเทศวันละประมาณ 4.4 4.5 หมืน่ ตัว รวมไปถึงผูป้ ลูกข้าวโพด มันส�ำปะหลัง ข้าว ปลายข้าว ร�ำข้าว ที่เป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ ราคาจะตกต�ำ่ ตามมา เหมือนเวียดนามช่วง 2 เดือน ทีผ่ า่ นมา ราคาหมูเป็นตกต�ำ่ เหลือ กก. ละ 25 - 30 บาท ขาดทุน และเลิกเลี้ยงไปกันมาก "สหรัฐเป็นผู้เลี้ยงหมูอันดับ 1 ของโลก มี ต้นทุนการเลีย้ งหมูเพียง กก. ละ 1 เหรียญสหรัฐฯ หากสหรัฐฯ ดัมพ์ชิ้นส่วนหมูในส่วนของหัว ขา และเครือ่ งใน เกือบ 20 กก./ตัว เข้ามาในปริมาณ ไม่มากก็แย่แล้ว เหมือนฟิลปิ ปินส์ เวียดนาม เจอ อยู่ในขณะนี้ ราคาหมูไทยที่มีต้นทุนเลี้ยงสูง กก. ละ 58 บาท จะอยู่ไม่ได้ ซึ่งในไทยมีผู้เลี้ยงหมู รายย่อย - รายกลางถึง 75% จะขาดทุนหนัก และ เลิกเลี้ยงหมดอาชีพอย่างแน่นอน"

38

ในส่ ว นสถานการณ์ ห มู ไ ทยในขณะนี้ ปริมาณการเลี้ยงกับการบริโภคเริ่มสมดุล จาก ราคาหมูเป็นทรุดลงเหลือ กก. ละ 54 บาท ช่วง ก่อนหน้านี้ ขยับขึ้นเป็น กก. ละ 58 - 60 บาท แล้ว เพราะกลุ่มผู้เลี้ยงทุกภาคเริ่มหารือในการ แก้ปัญหากันอย่างจริงจัง รวมทั้งเชิญผู้เลี้ยงราย ใหญ่ 10 กว่าบริษัทมาหารือ โดยน�ำหมูในพื้นที่ ทีล่ น้ ตลาดไปช่วยขายในพืน้ ทีข่ าด และร่วมกันขาย ในราคาไม่ตำ�่ กว่าต้นทุนการเลีย้ ง ท�ำให้สถานการณ์ ราคาดีขึ้น "ปริมาณการเลี้ยงกับการบริโภคที่สมดุล เพราะในหลายพื้นที่เกษตรกรผู้เลี้ยงยังมีปัญหา โรคท้องร่วงติดต่อในสุกร ซึง่ เกิดจากเชือ้ ไวรัส Porcine Epidermic Diarrhea (PED virus) ท�ำให้ แม่หมูท้องเสีย นมแห้งตามมา เมื่อลูกที่คลอด ออกมาไม่ได้กินนมแม่ 3 - 4 วันที่ท้องเสียก็ตาย การแก้ปัญหาเอาหมูในพื้นที่ล้นไปโปะพื้นที่ขาด จะท�ำให้ผู้เลี้ยงที่ขาดแคลนไม่เพิ่มแม่พันธุ์ที่จะก่อ ให้เกิดหมูล้นตามมา ส่วนราคาขายหมูช�ำแหละ หน้าเขียงในตลาดสด ปัจจุบนั  เขียงขายหมูเนือ้ แดง กก. ละ 130 - 140 บาท ซึง่ ควรจะขายสูงกว่าราคา หมูเป็น 2 เท่า หรือเพียง กก. ละ 120 บาท"


Market Leader ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 176 กันยายน - ตุลาคม 2560

อัพเดทสถานการณ์

ไก่ไข่ และไข่ไก่

ขณะนีส้ ถานการณ์ราคาไข่ไก่อยูใ่ นระดับทีไ่ ม่สงู มากนัก และ อาจจะต�่ำกว่าราคาต้นทุนที่ส�ำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) ค�ำนวณไว้ด้วย โดยปัจจุบัน (ข้อมูล ณ วันที่ 18 กรกฎาคม 2560) ราคาไข่ไก่คละหน้าฟาร์มที่สมาคมผู้ผลิต ผู้ค้าและส่งออกไข่ไก่ ประกาศฟองละ 2.50 บาท ปรับราคา ลงมา 10 สตางค์ ด้วยปัจจัยลบ เช่น เป็นช่วงฤดูฝน สภาพดินฟ้าอากาศไม่เอื้ออ�ำนวยให้ตลาด มีสภาพคล่อง และอาหารจากธรรมชาติในช่วงฤดูฝนก็จะออกมามาก เป็นช่องทางเลือกให้กับผู้บริโภค ส่งผลให้ปริมาณไข่ไก่สดมีเหลือสะสม และในโอกาสนีจ้ งึ ขอรายงานสถานการณ์ไก่ไข่และไข่ไก่ในปัจจุบนั ดังนี้ ปริมาณน�ำเข้าปู่ - ย่าพันธุ์ (G.P.) เข้าเลี้ยงในฟาร์ม ปี 2556 แผนการเลี้ยง G.P. 4,160 ตัว เลี้ยงจริง 4,290 ตัว ปี 2557 แผนการเลี้ยง G.P. 4,000 ตัว เลี้ยงจริง 4,992 ตัว เพิ่มจากปีที่แล้วร้อยละ 16.36 ปี 2558 แผนการเลี้ยง G.P. 4,000 ตัว เลี้ยงจริง 4,426 ตัว ลดลงจากปีที่แล้วร้อยละ 11.34 ปี 2559 แผนการเลี้ยง G.P. 9,000 ตัว เลี้ยงจริง 6,787 ตัว เพิ่มจากปีที่แล้วร้อยละ 53.34 ปี 2560 แผนการเลี้ยง G.P. 6,000 ตัว น�ำเข้าแล้ว (ม.ค. - มิ.ย.) 2,362 ตัว ปริมาณน�ำเข้าพ่อ - แม่พันธุ์ ไก่ไข่ (P.S.) เข้าเลี้ยงในฟาร์ม ปี 2556 แผนการเลี้ยง P.S. 659,132 ตัว เลี้ยงจริง 629,212 ตัว ปี 2557 แผนการเลี้ยง P.S. 834,752 ตัว เลี้ยงจริง 627,342 ตัว ลดลงจากปี 2556 ร้อยละ 0.30 ปี 2558 แผนการเลี้ยง P.S. 684,878 ตัว (ปรับแผน มี.ค. 58) เลี้ยงจริง 529,037 ตัว ลดลงร้อยละ 15.67 ปี 2559 แผนการเลี้ยง P.S. 610,360 ตัว (ปรับกัน 10%) น�ำเข้าเลี้ยงจริงจ�ำนวน 621,541 ตัว เพิ่มจากปีที่แล้วร้อยละ 17.49 และเพิ่มจากแผนร้อยละ 1.83 ปี 2560 แผนการเลี้ยง P.S. 604,992 ตัว น�ำเข้าเลี้ยงแล้ว (ม.ค. - 16 มิ.ย.) 218,048 ตัว

39


Market Leader ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 176 กันยายน - ตุลาคม 2560

ภาพประกอบ : meaw & pony

ปริมาณการเลี้ยงไก่ไข่ ข้อมูลจากเกษตรกรแจ้งเคลื่อนย้ายไก่ไข่ (layer) เข้าเลี้ยงและปลดออกผ่านระบบ E - movement ปี 2556 - 2560 ดังนี้ ปี 2556 เคลื่อนย้ายลูกไก่ไข่เข้าเลี้ยง 48.75 ล้านตัว ไก่ไข่รุ่น 31.74 ล้านตัว ไก่ไข่ปลดระวาง 31.12 ล้านตัว ปี 2557 เคลื่อนย้ายลูกไก่ไข่เข้าเลี้ยง 51.54 ล้านตัว ไก่ไข่รุ่น 27.68 ล้านตัว ไก่ไข่ปลดระวาง 34.51 ล้านตัว ปี 2558 เคลื่อนย้ายลูกไก่ไข่เข้าเลี้ยง 53.44 ล้านตัว เพิ่มจากปี 2557 คิดเป็นร้อยละ 3.69 ไก่ไข่ปลดออก 38.25 ล้านตัว เพิ่มจากปีที่แล้ว คิดเป็นร้อยละ 11.87 ปี 2559 เคลื่อนย้ายลูกไก่ไข่เข้าเลี้ยง 60.28 ล้านตัว เพิ่มจากปี 2558 คิดเป็นร้อยละ 12.80 ปี 2560 (ม.ค. - มิ.ย.) เคลื่อนย้ายลูกไก่ไข่เข้าเลี้ยง 20 ล้านตัว ไก่ไข่รุ่น 12 ล้านตัว ไก่ปลดระวาง 15 ล้านตัว ปริมาณผลผลิตไข่ไก่ ปี 2556 แม่ไก่ไข่ยืนกรง 48.16 ล้านตัว ผลผลิตไข่ไก่ 13,519 ล้านฟอง/ปี ปี 2557 แม่ไก่ไข่ยืนกรง 51.26 ล้านตัว ปริมาณแม่ไก่ไข่เพิ่มจากปีที่แล้วร้อยละ 6 ผลผลิตไข่ไก่ 14,265 ล้านฟอง/ปี เฉลี่ย 39.04 ล้านฟอง/วัน เพิ่มจากปีที่แล้ว ร้อยละ 5.52 ปี 2558 แม่ไก่ไข่ยืนกรง 53.10 ล้านตัว/ปี ปริมาณแม่ไก่ไข่เพิ่มจากปีที่แล้วร้อยละ 4.84 ผลผลิตไข่ไก่ 15,103 ล้านฟอง/ปี เฉลี่ย 41.38 ล้านฟอง/วัน เพิ่มจากปีที่แล้ว ร้อยละ 5.87 ปี 2559 แม่ไก่ยืนกรง 54.70 ล้านตัว/ปี ปริมาณแม่ไก่ไข่เพิ่มจากปีที่แล้วร้อยละ 3.01 ผลผลิตไข่ไก่ 15,560 เฉลี่ย 42.63 ล้านฟอง/วัน เพิ่มจากปีที่แล้วร้อยละ 3.03

40


Market Leader ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 176 กันยายน - ตุลาคม 2560

ต้นทุนการผลิตไข่ไก่ปี 2557 - 2559 ต้นทุนการผลิตไข่ไก่ คณะอนุกรรมการต้นทุนการผลิตไก่ไข่ และไข่ไก่ ประชุมครั้งที่ 2/2560 เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2560 ได้พิจารณาต้นทุนการผลิตไข่ไก่ปี 2560 (ม.ค. - มี.ค.) เฉลี่ยฟองละ 2.92, 2.91 และ 2.95 บาท ตามล�ำดับ และประมาณการไตรมาสที่ 2/2560 เฉลี่ยฟองละ 2.86 บาท การตลาดและราคา ปี 2560 (มกราคม - 16 มิถุนายน) ตลาดไข่ไก่อ่อนตัว ราคาปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง ไข่ไก่ คละหน้าฟาร์มที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยฟองละ 2.31 ราคาไข่ไก่ขายปลีกเบอร์ 3 ฟองละ 2.87 ราคา พันธุ์สัตว์ปรับตัวลดลงตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว ลูกไก่ไข่เหลือตัวละ 17.12 บาท ไก่สาวตัวละ 135.29 บาท ต้นทุนไข่ไก่เฉลี่ยฟองละ 2.89 บาท ตลาดต่างประเทศ การส่งออกไข่ไก่สด ปี 2560 (มกราคม - เมษายน) จ�ำนวน 41.05 ล้านฟอง มูลค่า 144.70 ล้านบาท ปริมาณและมูลค่าลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว คิดเป็นร้อยละ 36.39 และ 31.88 ตามล�ำดับ ราคาไข่ไก่ปี 2560 เฉลี่ยฟองละ 3.53 บาท เพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 7.29 ประเทศคู่ค้า ที่ส�ำคัญ คือ ประเทศจีน (ฮ่องกง) ร้อยละ 95 และประเทศอื่นๆ ร้อยละ 5 การส่งออกไข่ไก่สด เปรียบเทียบปี 2556 - 2560 เดือน/ปี

2556

2557

2558

2559

ปริมาณ (ล้านฟอง)

274.88

245.27

284.30

146.66

มูลค่า (ล้านบาท) เฉลี่ย (บาท/ฟอง)

776.58 2.82

770.28 3.14

926.82 3.26

530.05 3.12

ประเทศคู่ค้า ที่สำ�คัญ ปี 2560 41.05 ฮ่องกง 95.47% อื่นๆ 4.53% 144.70 3.29

2560 (ม.ค. - เม.ย.)

41


Market Leader ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 176 กันยายน - ตุลาคม 2560

ทางออกฟาร์มไข่เล็ก

ฟังความจริงจาก มกอช. ตอนนีก้ ำ� ลังมีดราม่าในวงการไข่ไก่ เมือ่ ภาครัฐเข้มงวดมาตรฐานของฟาร์มไก่ ทั้งระบบ ท�ำให้เกิดเสียงโอดครวญจากบรรดาฟาร์มรายเล็กอย่างต่อเนื่อง เพราะ กลัวว่าจะแบกรับต้นทุนที่เพิ่มขึ้นไม่ไหว จึงไปตามหาความจริงอีกฝั่งจากภาครัฐ คุณพิศาล พงศาพิชณ์ รองเลขาธิการส�ำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและ อาหารแห่งชาติ (มกอช.) ให้สัมภาษณ์ว่า มาตรการส�ำหรับฟาร์มไข่ไก่ดังกล่าวมีมา นาน 6 - 7 ปีแล้ว ไม่ใช่เรื่องใหม่ โดยที่เป็นเวลา 1 ปี ที่คณะกรรมการนโยบายพัฒนา ไก่ไข่และผลิตภัณฑ์ หรือบอร์ดไข่ (Egg Board) เห็นชอบก�ำหนดนโยบายมาตรฐาน ฟาร์มไก่ไข่เชิงพาณิชย์เป็นมาตรฐานบังคับ เพื่อเป็นแนวทางการจัดการฟาร์ม และ พัฒนาการเลี้ยงไก่ไข่ ในปัจจุบันฟาร์มไก่ไข่มี 3 ระดับ โดยแบ่งจากจ�ำนวนของไก่ท่ี เลี้ยงในฟาร์ม ฟาร์มขนาดเล็กจะเลี้ยงไก่ไม่เกิน 1 หมื่นตัว ฟาร์มขนาดกลางเลี้ยงไก่ 1 หมื่น ถึง 1 แสนตัว และฟาร์ขนาดใหญ่จะเลี้ยงไก่มากกว่า 1 แสนตัว ไปจนถึง หลายล้านตัว ซึ่งฟาร์มขนาดใหญ่ไม่มีปัญหากับเรื่องมาตรฐานของฟาร์ม เพราะว่า มีเงินทุนในการปรับปรุงพัฒนาระบบอยูแ่ ล้ว ขณะทีฟ่ าร์มขนาดกลางจะยังต้องปรับปรุง เรื่องของเอกสารที่บังคับใช้ โดยให้เวลา 3 ปี ขณะที่รายเล็ก ภาครัฐถือว่าผ่อนปรน อยู่แล้ว โดยงดเว้นกระบวนการเรื่องของเอกสาร ใบอนุญาตต่างๆ เพื่อความสะดวก ในการด�ำเนินการ และ มกอช. ยืนยันว่า ทางฟาร์มขนาดเล็กไม่จ�ำเป็นต้องลงทุนมาก มายจนเป็นภาระ หรือต้องปิดกิจการแต่อย่างใด โดยจะมีปศุสัตว์ในพื้นที่ และตัวแทน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์การเกษตรคอยเป็นพี่เลี้ยงอย่างใกล้ชิด

ที่มา : http://www.farmkaikhai.com  21 สิงหาคม 2560

42




Market Leader ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 176 กันยายน - ตุลาคม 2560

ผู้เลี้ยงสุกร - ไก่ ยื่นหนังสือ

คัดค้านสหรัฐฯ กดดันไทยน�ำเข้าหมู-ไก่

สมาคมผูเ้ ลีย้ งสุกรแห่งชาติ น�ำโดย นายสุรชัย สุทธิธรรม นายกสมาคมผูเ้ ลีย้ งสุกร แห่งชาติ พร้อมด้วยสมาชิกสมาคมและเกษตรกรผูเ้ ลีย้ งสุกร เข้ายืน่ หนังสือเพือ่ คัดค้าน การน�ำเข้าเนื้อสุกรจากสหรัฐฯ ซึ่งจะท�ำให้ผู้บริโภคต้องเสี่ยงต่อการได้รับสารเร่งเนื้อแดง (แร็คโตปามีน) ทีก่ ระทบต่อความปลอดภัยในอาหารของคนไทยเป็นอย่างยิง่ ขณะเดียวกัน ยังเป็นการปกป้องอาชีพเกษตรกรผูเ้ ลีย้ งสุกรของไทย ไม่ให้เดินซ�ำ้ รอยเวียดนามทีเ่ ปิดตลาด ให้เนื้อสุกรจากสหรัฐฯ เข้ามาจ�ำหน่ายในประเทศ จนส่งผลให้สุกรล้นตลาด ราคาตกต�่ำ จนต้องเลิกอาชีพไปในที่สุด เช้าวันที่ 13 กรกฎาคม 2560 นายสุรชัย สุทธิธรรม นายกสมาคมผูเ้ ลีย้ งสุกรแห่งชาติ นายประเสริฐ อนุชริ าชีวะ เลขาธิการสมาคมผูผ้ ลิตไก่เพือ่ ส่งออกไทย และ น.สพ.ปราโมทย์ ตาฬวัฒน์ นายกสมาคมสัตวแพทย์ควบคุมฟาร์มสุกรไทย เข้ายื่นหนังสือต่อรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงพาณิชย์ ผ่าน นายณรงค์ พูลพิพัฒน์ รองอธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่าง ประเทศ เพื่อคัดค้านการน�ำเข้าเนื้อสุกรและเนื้อไก่ของสหรัฐอเมริกา จากความกังวลด้าน ความปลอดภัยในอาหารของผู้บริโภค เนื่องจากสหรัฐฯ ใช้สารเร่งเนื้อแดงในการเลี้ยงหมู ขณะเดียวกันยังพบการระบาดของไข้หวัดนก ที่มา : สาส์นไก่ & สุกร ปีที่ 15 ฉบับที่ 171 เดือนสิงหาคม 2560

43


Market Leader ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 176 กันยายน - ตุลาคม 2560

นายสุรชัย สุทธิธรรม นายกสมาคมผูเ้ ลีย้ ง สุกรแห่งชาติ เปิดเผยว่า จากประเด็นการเร่งรัด แก้ปญ ั หาการขาดดุลการค้าของสหรัฐอเมริกา โดย นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ สร้าง แรงกดดันทางการค้าต่อส�ำนักผูแ้ ทนการค้าสหรัฐฯ (USTR) ที่พยายามให้ไทยรับสินค้าเนื้อสุกรจาก สหรัฐฯ ซึง่ มีการใช้สารเร่งเนือ้ แดง (แร็คโตปามีน) อย่างกว้างขวาง ทัง้ นีส้ ารดังกล่าวเป็นสารต้องห้าม ตามบัญญัตแิ ละก�ำหนดบทลงโทษในกฎหมายไทย ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวง สาธารณสุข อุตสาหกรรมสุกรไทยมีการพัฒนาด้านสุขอนามัยตลอดห่วงโซ่ ตัง้ แต่สายพันธุ์ การปรับปรุง คุณภาพอาหารสัตว์ การเพิม่ จ�ำนวนของมาตรฐาน ฟาร์ ม จนถึ ง ธุ ร กิ จ อาหารจากผลผลิ ต ทางการ เกษตร ซึง่ เป็นการด�ำเนินงานตามนโยบายอาหาร ปลอดภัย และมาตรฐานสินค้าเกษตรที่พัฒนาสูง ขึน้ มาอย่างต่อเนือ่ งในทุกๆ รัฐบาล ทัง้ ยังสามารถ ผลิตสุกรได้เพียงพอต่อความต้องการในประเทศ โดยไม่จ�ำเป็นต้องน�ำเข้าเนื้อหมูจากประเทศใดๆ เข้ามาอีก “การเลีย้ งสุกรของเกษตรกรไทยเป็นห่วงโซ่ ที่ส�ำคัญกับภาคเกษตรพืชไร่ที่เป็นพืชอาหารสัตว์ ทัง้ ข้าว ข้าวโพด มันส�ำปะหลัง ซึง่ มีประชากรไทย ที่ เ กี่ ย วข้ อ งในการประกอบอาชี พ เกษตรกรรม จ�ำนวนมหาศาล การน�ำเข้าสุกรจากสหรัฐฯ จึงไม่ ต่างกับการท�ำลายเกษตรกรไทยทัง้ ภาคพืชไร่ และ ภาคปศุสัตว์ ขณะเดียวกันการเลี้ยงสุกรของไทย ยังสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับสหรัฐอเมริกา อย่างมากในแต่ละปี จากการน�ำเข้าผลิตภัณฑ์ ถั่วเหลือง ข้าวสาลี และเวชภัณฑ์ด้านปศุสัตว์” นายสุรชัย กล่าว

44

นายกสมาคมผูเ้ ลีย้ งสุกรแห่งชาติ กล่าวอีก ว่า การค้าเนื้อสุกรระหว่างประเทศของเกษตรกร ไทยยังคงมีข้อจ�ำกัดจากองค์การระหว่างประเทศ ทีเ่ ป็นอุปสรรคมายาวนานเช่นกัน ท�ำให้เกษตรกร ต้องเผชิญกับปัญหาราคาที่ถูกตีกรอบในการท�ำ ตลาด ซึ่งปัจจุบันภาคเอกชนและภาครัฐก�ำลังใช้ ความพยายามอย่างยิ่ง เพื่อสร้างมาตรฐานต่างๆ ให้ผลิตภัณฑ์เนื้อสุกรไทยเป็นที่ยอมรับต่อตลาด เอเชียและนานาชาติ ตลอดจนสร้างโอกาสทาง การค้าและรองรับความสามารถในการผลิตสุกร ของไทย ซึง่ ปัจจุบนั ไทยสามารถสร้างผลผลิตสุกร ในปริมาณที่สูงกว่าความต้องการบริโภคภายใน ประเทศอยู่แล้ว “ประเทศไทยไม่ใช่เป้าหมายตลาดเนือ้ สุกร ของสหรัฐอเมริกา การใช้สารเร่งเนื้อแดงในการ เลี้ยงสุกรในสหรัฐฯ ยังขัดกับกฎหมายไทย ซึ่ง กรมปศุสัตว์มีมาตรการเข้มงวดในการตรวจจับผู้ ลักลอบใช้ และลงโทษตามกฎหมายอย่างจริงจัง และยังมีอีกหลายประเทศห้ามการใช้สารเร่งเนื้อ แดงในปศุสัตว์เช่นกัน อาทิ สหภาพยุโรป รัสเซีย และจีน ดังนั้น สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติจึงขอ ให้รัฐบาลไทยยืนยันการห้ามน�ำเข้าเนื้อสุกรที่มี สารเร่งเนื้อแดงอย่างเด็ดขาด และปกป้องรักษา เสถียรภาพทางเศรษฐกิจทางการเกษตรที่เป็น รากฐานและเสาหลักของประเทศ” นายสุรชัย กล่าว ด้านนายประเสริฐ อนุชริ าชีวะ เลขาธิการ สมาคมผูผ้ ลิตไก่เพือ่ ส่งออกไทย กล่าวว่า อุตสาหกรรมไก่เนื้อของไทยมีการพัฒนาการและเติบโต อย่างต่อเนื่อง กระทั่งสามารถผลิตเนื้อไก่ที่มีคุณภาพสูง กลายเป็นผู้ส่งออกเนื้อไก่และผลิตภัณฑ์ อันดับ 4 ของโลก น�ำเงินตราเข้ามาพัฒนาประเทศ


Market Leader ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 176 กันยายน - ตุลาคม 2560

อย่างต่อเนือ่ ง แต่ละปีสามารถส่งออกเนือ้ ไก่ได้มาก กว่า 30% ของปริมาณที่ผลิตได้ โดยมีตลาดที่ ส�ำคัญคือ สหภาพยุโรป (อียู) และญี่ปุ่น ที่ส�ำคัญ ประเทศไทยยังสามารถป้องกันการระบาดของ โรคไข้หวัดนกได้อย่างเป็นรูปธรรม ตัง้ แต่ปี 2549 และยั ง คงสถานะประเทศปลอดโรคไข้ ห วั ด นก ตามรายงานขององค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่าง ประเทศ (OIE) จนถึงปัจจุบนั ขณะทีห่ ลายประเทศ รวมทั้งสหรัฐฯ ยังคงตรวจพบการแพร่ระบาดของ เชื้ออยู่ “การที่สหรัฐฯ กดดันให้ไทยน�ำเข้าเนื้อไก่ นั้น เป็นความเสี่ยงอย่างยิ่งต่อการปนเปื้อนเชื้อ ไข้หวัดนกมายังไทย เท่ากับเป็นการน�ำเชื้อโรค เข้ามาท�ำลายอุตสาหกรรมไก่เนื้อของไทยที่ยังคง สถานะปลอดไข้หวัดนกมากกว่า 10 ปี ดังนั้น จึงขอวิงวอนให้รฐั บาลพิจารณาเรือ่ งนีเ้ ป็นวาระเร่ง ด่วน อย่าปล่อยให้สหรัฐฯ มีอิทธิพลเหนือความ ปลอดภัยทางอาหารของคนไทย และอย่าปล่อย ให้ไก่อเมริกาเข้ามาท�ำร้ายเกษตรกรไทย” นาย ประเสริฐ กล่าว

ทั้งนี้ หากมีการเปิดตลาดน�ำเข้าไก่สหรัฐฯ จะเป็ น การท� ำ ลายเกษตรกรผู ้ เ ลี้ ย งไก่ ข องไทย เนื่องจากสหรัฐฯ เป็นผู้ผลิตเนื้อไก่อันดับ 1 ของ โลก และมีความได้เปรียบด้านวัตถุดิบอาหารสัตว์ เช่น ข้าวโพด กากถั่วเหลือง ที่ซื้อหาในประเทศ ได้ในราคาถูก ท�ำให้ตน้ ทุนการเลีย้ งไก่ของสหรัฐฯ ต�่ำมาก สามารถเข้ามาดั๊มพ์ตลาดในประเทศไทย ส่งผลให้เกษตรกรเดือดร้อนจากราคาขายเนื้อไก่ ที่จะตกต�่ำลง ประสบปัญหาขาดทุน ล้มละลาย และเลิกอาชีพเลี้ยงไก่ในที่สุด ซึ่งจะต่อเนื่องเป็น ลูกโซ่ไปถึงเกษตรกรผูป้ ลูกข้าวโพด และพืชวัตถุดบิ อาหารสัตว์ตา่ งๆ จากความต้องการใช้ทลี่ ดลง ตลอด จนกระทบถึงการจ้างแรงงานในโรงงานช�ำแหละไก่ ขณะเดียวกัน ยังส่งผลถึงการท�ำลายอุตสาหกรรมการส่งออกไก่ของไทยด้วย เนื่องจาก กระทบความเชื่อมั่นในไก่จากประเทศไทยของ ประเทศผู้น�ำเข้า เช่น อียู ที่น�ำเข้าไก่ไทยอย่าง ต่อเนื่อง และอียูยังคงห้ามน�ำเข้าไก่สหรัฐฯ หาก ไทยให้เปิดตลาดให้เนื้อเนื้อไก่สหรัฐฯ อียูอาจไม่ เชือ่ มัน่ ในเนือ้ ไก่ไทย และเพิม่ ความเข้มงวดในการ ตรวจเนื้อไก่สดและปรุงสุกของไทยมากขึ้น เพื่อ ตรวจสอบว่าเนือ้ ไก่ทสี่ ง่ มาเป็นไก่ทเี่ ลีย้ งในประเทศ ไทย หรือเป็นสินค้าไก่สหรัฐฯ ทีม่ าสวมสิทธิโควตา ส่งออก ซึง่ อาจรุนแรงถึงขัน้ ระงับการน�ำเข้าไก่จาก ประเทศไทยได้ในที่สุด

45


Market Leader ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 176 กันยายน - ตุลาคม 2560

อย่าเสี่ยง

กับหมูของทรัมป์ โดย รศ.ดร.ชัยภูมิ บัญชาศักดิ์ คณะสัตวบาล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

เนื้อหมูเป็นอาหารคู่กับคนไทยมาตลอด เช่น ข้าวเหนียวหมูปิ้ง ลาบหมู หรือ ข้าวขาหมู หากวันหนึ่งเราต้องกินเนื้อหมูจากการเลี้ยงที่ใส่สารกระตุ้น หรือสารเร่งเนื้อแดง โดยไม่มสี ทิ ธิเลือก หรือปฏิเสธมัน เราจะรูส้ กึ อย่างไร? ทีผ่ า่ นมานโนบาย “ครัวโลก” ท�ำให้ ทุกรัฐบาลผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตอาหารปลอดภัย มีกฎหมายคุ้มครอง ผู้บริโภค และห้ามใช้สารกระตุ้นการเจริญเติบโตของสัตว์อย่างเข้มงวด ตัวอย่างที่น่าชื่นชมของรัฐบาลไทยในปีนี้ คือการห้ามใช้ยาปฏิชีวนะเป็นสารเร่งการ เจริญเติบโตในอาหารสัตว์อย่างเด็ดขาด นี่คือจุดแข็งของผลผลิตปศุสัตว์ที่จะน�ำครัวไทย สู่ครัวโลกจากการท�ำงานที่เข้มแข็งของภาครัฐ และเอกชน อนาคตอันใกล้ความเชื่อมั่นในความปลอดภัยของเนื้อหมูไทยจะหมดไป หากเรา น�ำเข้าเนื้อหมูที่ผลิตจากประเทศซึ่งมีนโยบายต่างจากเราที่ผลิตได้มากและถูกกว่า ผม ก�ำลังพูดถึง “เนื้อหมูอเมริกา″ หลักการผลิตหมูที่อเมริกาคือผลิตให้มาก ต้นทุนต�่ำที่สุด ยอมให้ใช้สารเร่งการเจริญเติบโต เพราะเขาเชื่อว่าไม่มีผลต่อผู้บริโภค แม้สารนั้นจะมีผล ต่อสัตว์อย่างชัดเจน ส�ำหรับผม “ไม่เชื่อ” ครับ เพราะสารเร่งเนื้อแดงก็คือสารกระตุ้น ที่ท�ำให้หัวใจเต้นเร็ว หลอดเลือดขยายตัว การสังเคราะห์โปรตีนสูงขึ้น ผมไม่กล้ากินเนื้อ ของหมูที่เลี้ยงด้วยสารเร่งฯ ครับ แต่ตอนนี้เราก�ำลังเผชิญกับแรงบีบจากอเมริกาให้กิน เนื้อหมูประเภทนี้ ทั้งๆ ที่ 160 ประเทศทั่วโลกไม่ยอมรับ ที่มา : http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/642475

46


Market Leader ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 176 กันยายน - ตุลาคม 2560

ปี 2557 สหรัฐฯ พยายามให้ไทยน�ำเข้าชิ้นส่วนหมูและเครื่องใน ซึ่ง เป็นส่วนที่คนอเมริกันไม่กิน สุดท้ายต้องพับโปรเจคด้วยเหตุผลด้าน ความปลอดภัยทางอาหารของไทย ปี 2558 ประธานาธิบดีโอบามา ได้หยิบยกเอา TPP (TransPacific Strategic Economic Partnership) หรือ “ความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ เศรษฐกิจเอเชีย - แปซิฟิก” เรื่องการน�ำเข้าชิ้นส่วนหมู จากอเมริกา หากไทยเข้าร่วม TPP และล่าสุดในปีนี้ (ปี 2560) โดนัลด์ ทรัมป์ ให้เหตุผลว่าอเมริกาเสียดุล การค้าให้ไทยมากไป ไทยต้องน�ำเข้าเนื้อหมูอเมริกา!! เนื้อหมูที่ผลิตขึ้นจากหลักการเลี้ยงที่ต่างกับไทย บ้านเราประกาศห้ามใช้สารเร่งเนื้อแดงผสมในอาหารสัตว์อย่างเด็ดขาด ตั้งแต่วันที่ 14 มิ.ย. พ.ศ. 2542 เช่นเดียวกับสหภาพยุโรป และอีกหลายๆ ประเทศที่ให้ความส�ำคัญกับความปลอดภัย ในอาหารแม้จะมีต้นทุนการผลิตที่สูงกว่า กระบวนการผลิตหมูของไทยถูกพัฒนาการ และเติบโต อย่างต่อเนื่องเพื่อชดเชยกับการไม่ยอมใช้สารเร่งฯ ขณะที่อเมริกาได้ปรับค่าปริมาณสารเร่งเนื้อแดง แร็กโตปามีน (Ractopamine) ให้สอดคล้องกับมาตรฐาน Codex ที่อนุญาตใช้เลี้ยงสัตว์ แต่เรื่องนี้ ยังคงขัดต่อ พ.ร.บ. อาหาร พ.ศ. 2522 และ พ.ร.บ. ควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ. 2558 ของ ไทยที่ห้ามไม่ให้ใช้สารเหล่านี้ และกรมปศุสัตว์ยังยืนยันการห้ามใช้สารในกลุ่มเบตาอะโกนิสต์ทุกชนิด หากรัฐบาลยอมให้น�ำเข้าเนื้อหมูจากอเมริกา ก็แสดงว่าต่อไปหมูไทยก็ต้องลักลอบใช้สารเร่งเนื้อแดงสู้ หรือแก้กฏหมายต่างๆ เพื่อให้แข่งขันราคากับหมูอเมริกาได้…… แล้วผู้บริโภคละครับ? เราจะไม่มีทาง ปฏิเสธการกินเนื้อหมูจากการใช้สารเร่งฯ ได้เลย ตราบเท่าที่ยังกินเนื้อหมูอยู่ การเลี้ยงสุกรของเกษตรกรไทย ถูกส่งต่อเป็นมรดกอาชีพมาช้านาน มีการพัฒนาปรับปรุงอย่าง ต่อเนื่อง ยกระดับเป็นฟาร์มมาตรฐาน อาจต้องล่มสลายไปพร้อมๆ กับนโยบายอาหารปลอดภัย หาก รัฐบาลไทยเปิดบ้านให้หมูอเมริกาเข้ามาตีตลาด ไม่ใช่แค่ผู้เลี้ยงหมู 200,000 ครอบครัวเท่านั้น ที่ได้รับผลกระทบ แต่รวมถึงเกษตรกรผู้ปลูกพืชไร่ พ่อค้าพืชไร่ โรงงานผลิตอาหารสัตว์ ต่อเนื่องถึง อุตสาหกรรมยา - เวชภัณฑ์ ที่จะต้องได้รับผลกระทบเป็นลูกโซ่ ซึ่งห่วงโซ่การผลิตเนื้อสุกรของไทยนี้ มีมูลค่าสูงถึง 80,000 ล้านบาท แว่วมาว่า ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ได้เชิญท่านนายกประยุทธ์ จันทร์โอชา เข้าท�ำเนียบขาว ในเร็วๆ นี้ คาดว่าจะมีจุดประสงค์เจรจาในหลายประเด็น และหนึ่งในนั้นอาจมีเรื่องนี้แทรก ... ผม เชือ่ มัน่ ในท่านนายกฯ ทีจ่ ริงจัง และค�ำนึงถึงสุขภาพของคนไทยจนออกมาตรการห้ามใช้ยาปฏิชวี นะเพือ่ เป็นสารเร่งในสัตว์มาแล้ว ครั้งนี้ท่านจะไม่พาคนไทยทั้งประเทศต้องเสี่ยงชีวิตกับสารเร่งเนื้อแดงไปกับ โดนัลด์ ทรัมป์ ผู้ที่ไม่ค�ำนึงถึงสิ่งแวดล้อม และความปลอดภัยในอาหารครับ

47


Market Leader ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 176 กันยายน - ตุลาคม 2560

สมาคมผู้เลี้ยงสุกรฯ โร่ยื่นหนังสือร้อง รมว. พาณิชย์

สกัดเจรจาเปิดตลาดน�ำเข้าเนื้อสุกรสหรัฐฯ หวั่นกระทบเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกร

เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2560 นายสุรชัย สุทธิธรรม นายกสมาคมผู้เลี้ยง สุกรแห่งชาติ พร้อมกลุ่มผู้เลี้ยงสุกร 100 ราย ได้เข้ายื่นหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงพาณิชย์ (อภิรดี ตันตราภรณ์) และอธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ (นายบุณยฤทธิ์ กัลยณมิตร) เพื่อขอให้รัฐบาลทบทวนการแลกการน�ำเข้าเนื้อสุกร จากสหรัฐฯ ซึ่งมีการใช้สารเร่งเนื้อแดง หากน�ำเข้าอาจจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ของประชาชน อีกทัง้ สหรัฐฯ มีความได้เปรียบในด้านต้นทุนการผลิต หากน�ำเข้ามา ปริมาณมาก ก็จะมีความสุม่ เสีย่ งต่อการท�ำลายอุตสาหกรรมการเลีย้ งสุกรไทย และ ห่วงโซ่การเกษตรอาหารสัตว์ ทัง้ นี้ การยืน่ หนังสือครัง้ นีถ้ อื เป็นการยืน่ หนังสือเป็นครัง้ ที่ 2 แล้ว เพราะทาง สมาคมกังวลว่าหากนายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เดินทางเยือนสหรัฐฯ เร็วๆ นี้ จะมีการหยิบยกประเด็นนี้ขึ้นมาหารือ

ที่มา : http://www.prachachat.net/economy/news-37210

48


Market Leader ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 176 กันยายน - ตุลาคม 2560

สาระส�ำคัญในหนังสือ ระบุว่า ที่ผ่านมา สหรัฐฯ พยายามแก้ปญ ั หาการขาดดุลการค้าทีผ่ า่ น มาช้านานปีละ 500,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จนท�ำให้ ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ซึ่งมีการ ออกค�ำสั่งให้เจ้าหน้าที่ของรัฐบาลสหรัฐฯ เข้าไป ตรวจสอบและแก้ปัญหารายประเทศ และรายอุตสาหกรรม ซึง่ จะเห็นว่ามีความพยายามทีผ่ ลักดันให้ กลุ่มอุตสาหกรรมที่มีความเข้มแข็งกว่า ขยาย ตลาดได้มากขึ้น ซึ่งคาดว่ามีการอุดหนุนในหลาย รูปแบบที่นานาประเทศไม่สามารถเข้าไปตรวจสอบ แต่ในทางกลับกัน สหรัฐฯ ได้เข้าตรวจสอบ ประเทศคูค่ า้ อืน่ ในหลายช่องทาง พร้อมทัง้ ก�ำหนดเกณฑ์ในการกีดกันสินค้าจากประเทศอืน่ ๆ และรัฐบาล ของสหรัฐฯ ทุกรัฐบาล ได้สร้างแรงกดดันรัฐบาลไทยเสมอมา “ปริมาณการผลิตเนือ้ สุกรของไทยมีการชีแ้ จงเสมอว่ายังคงล้นตลาดเหมือนสินค้าเกษตรอืน่ และ ส่งผลให้เกษตรกรไทยมีระดับรายได้ต�่ำเพียง 1.4 - 1.7 เท่านั้น ในขณะที่ปัญหาหนี้สินค้าภาคครัวเรือน ของประเทศสูงขึ้นทุกปี ดังนั้น การตัดสินใจใดๆ ของรัฐบาล จึงต้องหารือกับผู้มีส่วนได้เสีย ไม่ใช่จะ ตัดสินใจโดยไม่มีการพิจารณาที่รอบด้าน ซึ่งอาจจะเป็นการท�ำลายโครงสร้างระบบเศรษฐกิจหลักของ ประเทศ และการประกอบอาชีพของเกษตรกร ซึ่งสุ่มเสี่ยงจะท�ำให้เกิดความล่มสลายของภาคเกษตร ที่เป็นห่วงโซ่ทั้งหมด จนเกินกว่าจะแก้ไขและเยียวยา”

49


Around the World ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 176 กันยายน - ตุลาคม 2560

ส่งออกกุ้งไทย แนวโน้มสดใส ผ่านครึ่งปีแรกของปี 2560 ไปแล้ว ท�ำให้เห็นภาพรวมและแนวโน้มที่ดีขึ้นของอุตสาหกรรม กุ้งไทยได้อย่างชัดเจน ทั้งนี้ เป็นผลมาจากสถานการณ์ EMS เริ่มคลี่คลาย การเลี้ยงประสบความ ส�ำเร็จ ด้วยแนวทางการจัดการ 3 สะอาด ที่พยายามรณรงค์อย่างต่อเนื่อง ซึ่งท�ำให้เกษตรกรค่อยๆ มีการปรับปรุงระบบฟาร์ม และการจัดการการเลี้ยงเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ จากตัวเลขการส่งออกจากกรมศุลกากร การส่งออกกุ้งไทย 6 เดือนแรกของปี 2560 พบว่าไทยมีการส่งออกกุ้ง จ�ำนวน 89,070 ตัน มูลค่า 30,398 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลา เดียวกันของปีที่ผ่านมา พบว่าปริมาณการส่งออกกุ้งเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 และมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.17 (รายละเอียดดังแสดงในตารางที่ 1)

ส่งออกกุ้งไทย 2 ไตรมาสแรก ปี 2560 ตารางที่ 1 การส่งออกกุ้งของไทย เดือนมกราคม - มิถุนายน 2560 ประเทศ/ กลุ่มประเทศ เอเชีย  - จีน  - ญี่ปุ่น - อื่นๆ สหรัฐอเมริกา อียู ออสเตรเลีย อื่นๆ รวม

ม.ค. - มิ.ย. 59 ปริมาณ มูลค่า 41,456 12,998 2,177 726 17,949 7,490 21,330 4,782 34,217 11,955 4,107 1,511 2,233 826 5,745 1,892 87,758 29,182

ม.ค. - มิ.ย. 60 ปริมาณ มูลค่า 45,665 14,346 3,879 1,235 20,333 8,039 21,453 5,072 32,066 11,865 3,497 1,347 2,861 1,133 4,981 1,707 89,070 30,398

หน่วย : ปริมาณ

% แตกต่าง ปริมาณ มูลค่า 10.15 10.37 78.18 70.11 13.28 7.33 0.58 6.06  - 6.29  - 0.75  - 14.85  - 10.85 28.12 37.17  - 13.30  - 9.78 1.50 4.17

ที่มา : กรมศุลกากร

โดยสัดส่วนการส่งออกกุ้งไปยังตลาดต่างๆ ดังนี้ ไปตลาดสหรัฐอเมริกา ร้อยละ 36 (32,066 ตัน) ตลาดญี่ปุ่น ร้อยละ 23 (20,333 ตัน) ตลาดอียู ร้อยละ 4 (3,497 ตัน) ตลาดจีน ร้อยละ 4 (3,879 ตัน) ตลาดออสเตรเลีย ร้อยละ 3 (2,861 ตัน) ตลาดเอเชียอื่นๆ ร้อยละ 24 (21,453 ตัน) และตลาดอื่นๆ ร้อยละ 6 (4,981 ตัน) ดังแสดงในกราฟ รูปที่ 1 ที่มา : ข่าวกุ้ง ปีที่ 29 ฉบับที่ 348 เดือนกรกฎาคม 2560

50


Around the World ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 176 กันยายน - ตุลาคม 2560

รูปที่ 1 สัดส่วนปริมาณและมูลค่าการส่งออกกุ้งไทยไปยังตลาดต่างๆ ครึ่งปีแรก ปี 2560 ปริมาณการส่งออกกุ้งไทย เดือน ม.ค.-มิ.ย. ปี 2560

มูลค่าการส่งออกกุ้งไทย เดือน ม.ค.-มิ.ย. ปี 2560

ที่มา: กรมศุลกากร

จะเห็นว่าตลาดส่งออกกุง้ ไทยอันดับ 1 ยังคงเป็นตลาดสหรัฐอเมริกา ซึง่ มีปริมาณการส่งออกอยูท่ ี่ 32,066 ตัน มูลค่า 11,865 ล้านบาท ปริมาณลดลงร้อยละ 6.29 และมูลค่าลดลงร้อยละ 0.75 เมื่อ เปรียบเทียบในช่วงเวลาเดียวกันของปีทแี่ ล้ว (ดังแสดงในรูปที่ 2 และ 3) ถึงแม้จะถูกสหรัฐฯ ใช้มาตรการ เข้มกับประเทศไทย อาทิ การที่ประเทศไทยถูกจัดให้อยู่ในสถานะเทียร์ (Tier) 2 เฝ้าระวัง ในรายงาน สถานการณ์การค้ามนุษย์ ปี 2017 (Trafficking in Persons Report: TIP Report) โดยกระทรวง การต่างประเทศสหรัฐฯ และการประกาศใช้มาตรการตอบโต้การทุม่ ตลาด (Anti Dumping: AD) ต่ออีก อย่างน้อย 5 ปี ในการพิจารณาทบทวน Sunset review รอบที่ 2 ที่ส�ำคัญ การที่วุฒิสภาของสหรัฐฯ ได้ผ่านกฎหมาย Seafood Import Monitoring Program ที่มุ่งเน้นเรื่องการตรวจสอบแหล่งที่มาของ สินค้าทะเลน�ำเข้า และมีการบังคับใช้ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2560 ที่ผ่านมา ฯลฯ ล้วนเป็นปัญหาหลัก ที่ส่งผลกระทบต่อการส่งออกกุ้งของไทยไปยังตลาดนี้ อย่างไรก็ตาม ปัญหาเรือ่ งแรงงานถือเป็นประเด็นหลักส�ำคัญ ทีท่ กุ ภาคส่วนทัง้ ภาครัฐและเอกชน ไทยได้ดำ� เนินการร่วมกันเพือ่ แก้ไขปัญหานีอ้ ย่างจริงจัง เช่น การส่งเสริมผลักดันแนวปฏิบตั กิ ารใช้แรงงาน ที่ดี (Good Labour Practices: GLP) ตลอดห่วงโซ่การผลิตของอุตสาหกรรมประมง รวมทั้งกุ้งและ ส่วนเกี่ยวข้อง และรวมถึงอุตสาหกรรมอื่นๆ ภายในประเทศอีกด้วย รูปที่ 2 เปรียบเทียบปริมาณการส่งออกกุ้งไทย เดือน ม.ค. - มิ.ย. ปี 2559 - 2560

ที่มา: กรมศุลกากร

รูปที่ 3 เปรียบเทียบมูลค่าการส่งออกกุ้งไทย เดือน ม.ค. - มิ.ย. ปี 2559 - 2560

ที่มา: กรมศุลกากร

51


Around the World ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 176 กันยายน - ตุลาคม 2560

รูปที่ 4 การส่งออกกุ้งไทย ปี 2540 - 2559

ที่มา: รวบรวมจากกรมศุลกากร โดยสมาคมกุ้งไทย

ตลาดญีป่ นุ่ มีการขยายตัวเพิม่ มากขึน้ โดย การส่งออกเดือนมกราคม - มถิ นุ ายน 2560 ปริมาณ 20,333 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.28 และมีมูลค่า 8,039 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.33 ด้วยอัตรา แลกเปลี่ยนอยู่ท่ีระดับที่น่าพอใจส�ำหรับผู้น�ำเข้า (USD: JPY อยู่ที่ 110 เยน) ตลาดอียู การส่งออกลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยมีปริมาณ 3,497 ตัน ลดลงร้อยละ 14.85 มูลค่า 1,347 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 10.85 แม้วา่ สิ น ค้ า แปรรู ป กุ ้ ง แช่ แ ข็ ง ของประเทศไทยจะมี คุณภาพมากกว่าประเทศพม่า เวียดนาม และ อินเดีย ซึ่งเป็นผลมาจากปัญหาการถูกตัดสิทธิ พิเศษทางภาษีศุลกากร หรือจีเอสพี ท�ำให้กุ้งไทย เสียภาษีในอัตราที่สูง และไม่สามารถแข่งขันกับ ประเทศคูแ่ ข่งได้ (ผูส้ ง่ ออกต้องแบกรับภาษีนำ� เข้า ที่ร้อยละ 12 ส�ำหรับสินค้ากุ้งดิบ - สุก และที่ร้อย ละ 20 ส�ำหรับสินค้ากุ้งแปรรูป ชุบแป้ง เป็นต้น) ตลาดอื่นๆ ที่น่าสนใจ ได้แก่ ประเทศจีน มีปริมาณการส่งออก 3,879 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 78.18 คิดเป็นมูลค่า 1,235 ล้านบาท เพิ่มขึ้น

52

ร้อยละ 70.11 ประเทศจีนเป็นตลาดที่มีศักยภาพ ในการรองรับผลผลิตได้สงู มาก และคาดว่าจะเป็น ตลาดไทยที่สามารถขยายการส่งออกกุ้งได้อย่าง ต่อเนือ่ ง และอีกตลาดทีน่ า่ จับตามองคือ เกาหลีใต้ โดยในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ มีการส่งออก ปริมาณ 3,823 ตัน มูลค่า 1,476 ล้านบาท เพิม่ ขึน้ ทั้งปริมาณและมูลค่า โดยเมื่อเปรียบเทียบในช่วง เวลาเดียวกันของปี 2559 เพิม่ ขึน้ ทีร่ อ้ ยละ 57.13 และ 65.84 ตามล�ำดับ ตลาดออสเตรเลีย ถึงแม้จะออกมาตรการ ระงับการน�ำเข้ากุ้งสดเป็นการชั่วคราวตั้งแต่เดือน มกราคมทีผ่ า่ นมา แต่การส่งออกกุง้ จากไทย ส่งออก เป็นกุ้งแปรรูปเป็นหลัก จึงไม่มีผลกระทบมากนัก ปริมาณการส่งออกกุ้งไทยยังคงเพิ่มขึ้น โดยมี ปริมาณ 2,861 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.12 มูลค่า 1,133 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 37.17 จะเห็นได้ว่า สถานการณ์การส่งออกครึ่งปี แรกของปี 2560 ไทยส่งออกกุ้งได้เพิ่มขึ้น โดย เฉพาะตลาดญี่ปุ่น จีน ออสเตรเลีย และตลาด เอเชียอื่นๆ ที่มีการน�ำเข้ากุ้งเพิ่มขึ้น กอปรกับ การที่ราคากุ้งในตลาดโลกปรับตัวค่อนข้างดี และ มีเสถียรภาพ จึงคาดว่าครึง่ ปีหลัง การส่งออกกุง้ ไทย มีแนวโน้มสดใส แต่สิ่งที่ส�ำคัญคือเกษตรกรต้อง เลี้ยงกุ้งให้รอด ปลอดภัย ผลิตกุ้งได้ส�ำเร็จตาม แนวทาง 3 สะอาด และอืน่ ๆ รวมถึงการคงมาตรฐานกุ้งไทยที่ตลาดเชื่อมั่นในคุณภาพ สด สะอาด ปลอดภัย ไร้สารตกค้าง เชื่อว่าปี 2560 และ ปีต่อๆ ไป อุตสาหกรรมกุ้งไทยจะฟื้นคืนกลับมา เข้มแข็งอีกครั้งและมีความยั่งยืน


Around the World ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 176 กันยายน - ตุลาคม 2560

เลี้ยงสัตว์อย่างไร???

เมื่อเลิกใช้ยาปฏิชีวนะ

การประชุมวิชาการสัตวศาสตร์ ครัง้ ที่ 6 ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ก�ำแพงแสน ระหว่าง วันที่ 22 - 24 มิถุนายน 2560 ซึ่งมีนักวิชาการ นักสัตวบาล - สัตวศาสตร์ เข้าร่วมอย่างคึกคัก โดยภายในงานมีการน�ำเสนอบทความวิชาการ ทั้งในส่วนของภาคบรรยาย และภาคโปสเตอร์ พร้อมด้วยการมอบรางวัล “นักสัตวศาสตร์รนุ่ ใหม่” (Young Scientist Awards) นอกจากนี้ ยังได้มีการบรรยายพิเศษใน หัวข้อ “Antibiotic free animal production for Thailand 4.0” โดยมีวิทยากรร่วมบรรยาย ประกอบไปด้วย น.สพ.นิพนธ์ ตันติพิริยะพงศ์ Elanco National Sale Manager, รศ.ดร. นวลจันทร์ พารักษา ภาควิชาสัตวบาล คณะเกษตร ก�ำแพงแสน, ผศ.ดร.เสกสม อาตมางกูร ภาควิชา สัตวบาล คณะเกษตร ก�ำแพงแสน

ส� ำ หรั บ การบรรยาย พิเศษดังกล่าว เริ่มจาก น.สพ.นิพนธ์ กล่าวใน ประเด็ น ของการใช้ ย า ปฏิชีวนะ หรือแอนตี้ไบโอติก (Antibiotic) ใน ปัจจุบัน โดยกล่าวว่า ส�ำหรับเรื่องของเทรนด์ และแนวโน้มเรื่องของการใช้ยาปฏิชีวนะนั้น ต้อง ยอมรับว่า ปัจจุบันเป็นเทรนด์ที่ทั่วโลกให้ความ สนใจมาก ซึ่งไทยเองก็ยังคงตามเทรนด์อันนี้อยู่ ในเรือ่ งของการงดการใช้ยาปฏิชวี นะ อย่างไรก็ตาม ถ้าหากจะมองถึงความต้องการเรื่องแรกๆ ที่จะมี ผลกระทบต่อการใช้แอนตี้ไบโอติกก็คือเรื่องของ ความปลอดภัยทางด้านอาหาร หรือฟู้ดเซฟตี้ ก็ คือ ไม่ต้องการให้มีแอนตี้ไบโอติกตกค้างอยู่ใน เนื้อสัตว์ กล่าวคือ เราไม่อยากใช้ หรือลดการใช้ แอนตี้ไบโอติก เพราะเราต้องการไม่ให้เนื้อสัตว์ ที่คนบริโภคปนเปื้อนสารตกค้าง

ที่มา : สาส์นไก่ & สุกร ปีที่ 15 ฉบับที่ 171 เดือนสิงหาคม 2560

53


Around the World ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 176 กันยายน - ตุลาคม 2560

ด้ ว ยผลกระทบที่ เ กิ ด ขึ้ น ก็ ท� ำ ให้ วั น นี้ พ บ ปัญหาอีกรูปแบบหนึ่ง เรื่องของการลดความปนเปื้อนก็ยังอยู่ แต่กลับมีปัญหาที่ซับซ้อนขึ้นมา นั่นก็คือ การพบว่ามีเชื้อดื้อยา ซึ่งทั้งสองเรื่องนี้ ก็คือ การลดการปนเปื้อนกับการลดการใช้ยา ปฏิชีวนะก็มีการขัดแย้งกันอยู่ เพราะปกติการใช้ ยาปฏิชีวนะเรายอมให้ใช้ได้ แต่ว่าอาจจะมีสาร ตกค้างเหลืออยู่บ้าง ซึ่งทางการแพทย์เขาเรียกว่า ค่า MRLs หรือปริมาณยาที่ตกค้างได้ในเนื้อสัตว์ ทีบ่ ริโภคได้ แต่ปจั จุบนั กลับพบว่ามีการดือ้ ยา ท�ำให้ ต้องมานั่งคิดถึงเรื่องของ MRLs คือเรื่องของการ ใช้อย่างไรไม่ให้เกิดปัญหา อย่างไรก็ดี ด้วยปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ก็ยังไม่สามารถแก้ได้ ปัญหาในอนาคตก็ยังรออยู่ นั่นก็คืออาหารไม่เพียงพอต่อประชากรโลก ซึ่งถ้า ให้มองดีๆ ก็พบว่ามันจะสอดคล้องกับสองเรื่อง ที่กล่าวมา เพราะการผลิตอาหารให้เพียงพอกับ ประชากรโลกกับการลดการใช้ยา โดยที่ยังไม่มี อะไรทีจ่ ะเข้ามาทดแทนการใช้ยาปฏิชวี นะได้ เมือ่ เกิดโรคระบาดขึ้นจะท�ำอย่างไร เมื่ออาหารที่ผลิต ออกมาต้องถูกโรคท�ำลายลงไป เพราะโรคย่อม เกิดขึ้นมาเรื่อยๆ เราจะท�ำอย่างไรเกี่ยวกับเรื่องนี้ ก็ต้องมานั่งคุยกัน และก็คงต้องหาทางแก้ไปทีละ เรื่อง ส�ำหรับประเทศไทยเองคงไม่น่าเป็นห่วง มากนัก เพราะมีแหล่งอาหารทีส่ มบูรณ์ ซึง่ ปัจจุบนั ก็ยังมีการผลิตส่งออกอยู่ โดยเฉพาะไก่ ดังนั้น จึงคิดว่าไม่น่าเป็นห่วงเรื่องของอาหารไม่เพียงพอ ส่วนเรื่องของสิ่งที่จะมาทดแทนยาปฏิชีวนะนั้น ก็ หวังว่าในอนาคตคงจะมีเทคโนโลยี หรือวิวฒ ั นาการ ทีจ่ ะเข้ามาทดแทน ด้วยเหตุนี้ จึงท�ำให้ปจั จุบนั ใน ประเทศไทยเองจึงยังมีการใช้ยาปฏิชีวนะอยู่บ้าง

54

ในเวลาทีเ่ กิดโรค เพราะยังไม่มกี ฎหมายออกมาว่า ห้ามใช้อย่างชัดเจน เพียงแต่ขอให้อยูภ่ ายใต้ความ ควบคุมของสัตวแพทย์อย่างเข้มงวด โดยปัจจุบนั ได้แบ่งกลุม่ ออกเป็น 3 ประเภท คือ ประเภทที่ใช้ในสัตว์อย่างเดียว ส�ำหรับกลุ่มนี้ สามารถใช้ได้ ยังไม่มีข้อห้าม แต่ปัญหาก็คือ มี ตัวยาเพียงไม่กี่ตัวหลักๆ จะเป็นยาใช้ในไก่ และ แก้ทอ้ งเสีย แต่ในปัจจุบนั บ้านเราไม่คอ่ ยใช้เพราะ มีราคาแพง ส่วนกลุ่มที่สองคือ ที่สามารถใช้ได้ ทั้งในคนและในสัตว์ ซึ่งในกลุ่มนี้จะมีปัญหาที่สุด และยังถือว่ามีความจ�ำเป็นทีจ่ ะต้องใช้ ซึง่ ก็เป็นกลุม่ ทีต่ อ้ งใช้ภายใต้การควบคุมของสัตวแพทย์ควบคุม ฟาร์ม ส่วนกลุม่ สุดท้ายคือกลุม่ ทีใ่ ช้ในคนอย่างเดียว ซึ่งหลักๆ ก็จะเห็นว่าประเภทของยานั้นแบ่งออก เป็น 3 ประเภทดังที่กล่าวมา อย่างไรก็ตาม ในการแก้ไขปัญหาเบื้องต้น คือ ก่อนที่จะมีวิวัฒนาการ หรือเทคโนโลยีเข้ามา ช่วยในการทดแทนการใช้ยาปฏิชีวนะได้นั้น ก็คิด ว่าทุกคนทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องให้ความร่วมมือ และช่วยกัน พยายามอย่าท�ำให้สตั ว์เกิดโรค เพราะ เมื่อไรที่เกิดโรคก็มีความจ�ำเป็นต้องใช้ หลีกเลี่ยง ไม่ได้ ส่วนในอนาคตก็อย่างทีก่ ล่าวมาข้างต้น หวัง ว่าจะมีวิวัฒนาการ หรือเทคโนโลยีออกมารับรอง ซึ่งอาจจะหาตัวยาที่ไม่เป็นปัญหาเข้ามาทดแทน หรือจะเป็นการปรับปรุงสายพันธุใ์ ห้มคี วามทนทาน


Around the World ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 176 กันยายน - ตุลาคม 2560

ต่อโรคมากขึ้น หรือจะเป็นในส่วนของการจัดการ ที่จะเข้ามาช่วยท�ำให้สัตว์ไม่เกิดโรค ซึ่งสิ่งเหล่านี้ ถึงแม้จะท�ำให้อยูใ่ นปัจจุบนั ก็ยงั ถือว่ายังมีชอ่ งว่าง ท�ำให้เกิดโรคได้ ซึ่งในอนาคตก็หวังว่าจะสามารถ ท�ำได้ หรือจะเป็นวิธกี ารอืน่ ๆ ซึง่ ก็คงต้องเป็นเรือ่ ง ของอนาคต แต่เบื้องต้นก็อยากให้ทุกคนช่วยกัน เพราะอย่างน้อยก็เป็นการลดการใช้ยาลงได้ รศ.ดร.นวลจันทร์ กล่าว ในส่ ว นของสารทดแทนยา ปฏิชวี นะ หรือแอนตีไ้ บโอติก โดยกล่าวว่า จากปัญหาใน เรื่องของการใช้แอนตี้ไบโอติก ที่ก�ำลังจะถูกยกเลิกใน หลายประเทศ และอนาคตอาจจะทุกประเทศ ปัญหานี้จึงส่งผลกระทบโดยตรงกับภาคปศุสัตว์ ดั ง นั้ น  ในช่ ว ง 10 กว่ า ปี ที่ ผ ่ า นมา จึ ง มี ค วาม พยายามที่จะค้นคว้าวิจัยสารทดแทนแอนตี้ไบโอติกตลอดมา โดยเฉพาะสารสกัดจาก “สมุนไพร” ทัง้ นีเ้ ป็นเพราะสมุนไพรเป็นสิง่ ทีเ่ ราคุน้ เคย และใช้ กันมานานแล้ว แต่เป็นลักษณะของภูมิปัญญา ชาวบ้าน ยังไม่ได้เน้นไปทีก่ ารใช้ในเชิงอุตสาหกรรม มากนัก อย่างไรก็ตาม ในส่วนของแอนตี้ไบโอติก ที่นิยมใช้กันมาตลอด เพราะมีประสิทธิภาพที่ ค่ อ นข้ า งเห็ น ผลเร็ ว ท� ำ ให้ สั ต ว์ โ ตไว แข็ ง แรง เนื่องจากสารแอนตี้ไบโอติกจะไปมีผลยับยั้งการ เจริญเติบโตของจุลนิ ทรียใ์ นตัวสัตว์ การกินอาหาร ของสัตว์จึงกินได้เต็มที่ และไม่มีจุลินทรีย์ไปแย่ง จึงท�ำให้สัตว์ได้รับสารอาหารค่อนข้างครบถ้วน ในการกินอาหารแต่ละมือ้ ไม่เพียงเท่านัน้ แอนตี-้ ไบโอติกบางตัวยังมีคุณสมบัติเป็นสารแอนตี้ออกซิแดนท์ ซึ่งตรงนี้จะส่งผลต่อสุขภาพของสัตว์ที่ดี

ตามมา รวมถึงการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีอีกด้วย ดัง นั้น แอนตี้ไบโอติกในปัจจุบันจะเห็นว่าไม่ใช่มี คุณสมบัติในการฆ่าเชื้อเพียงอย่างเดียว แต่อย่างไรก็ดี เมื่อสารแอนตี้ไบโอติกถูก ปฏิเสธการใช้ในปัจจุบันและอนาคต จึงท�ำให้ต้อง มุ่งเน้นไปที่สารทดแทนที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับ แอนตี้ไบโอติก หนึ่งในนั้นก็คือสารสกัดจากสมุนไพร เนือ่ งจากเป็นสิง่ ทีม่ สี ารประกอบทีห่ ลากหลาย ที่ค้นพบแล้วมีถึง 50,000 ชนิด แต่รู้จักกันจริงๆ มีแค่ 100 กว่าชนิด ค�ำว่ารู้จักคือ รู้ถึงกลไกการ ท�ำงาน รู้ถึงคุณสมบัติของสมุนไพรนั้นๆ รู้ว่าผล การใช้จะเป็นอย่างไรนั่นเอง เช่น รู้ว่ามีผลฆ่าเชื้อ ต้านเชื้อ ต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบ และ ก็กระตุน้ ภูมคิ มุ้ กัน ดังนัน้ เราจะเห็นได้วา่ สมุนไพร มีคุณสมบัติที่หลากหลาย และมีจุดเด่นในแต่ละ เรือ่ ง บางตัวอาจจะเด่นเรือ่ งของการฆ่าเชือ้ บางตัว อาจจะเด่นในเรื่องของแอนตี้ออกซิแดนท์ แต่ทั้ง หลายทัง้ ปวง สมุนไพร 1 ชนิด ไม่ได้ประกอบด้วย สารเพียงอย่างเดียว เพราะฉะนั้น มันจะสามารถ ท�ำงานร่วมกัน แล้วช่วยท�ำให้สัตว์นั้นมีสุขภาพที่ แข็งแรง ที่ส�ำคัญ อาจจะตอบโจทย์ผู้บริโภคใน ปัจจุบนั ทีต่ อ้ งการผลิตภัณฑ์ทปี่ ลอดภัย ดังนัน้ สมุนไพรซึง่ มาจากธรรมชาติ จึงเชือ่ ว่าสารจากสมุนไพร นั้นปลอดภัย จากข้อดีตา่ งๆ สมุนไพรนีจ้ งึ มีคำ� ถามต่อไป ว่า เราจะน�ำสมุนไพร หรือดึงเอาคุณสมบัติของ สมุนไพรเหล่านั้นมาใช้เพื่อทดแทนสารแอนตี้ไบโอติกได้อย่างไร แต่งานวิจัยที่ผ่านมา ที่มีการน�ำ มาใช้แล้วคือ ยากันบิด เพราะบางประเทศห้ามใช้ ยาตัวนีแ้ ล้ว ดังนัน้ จึงมองมาทีส่ มุนไพร โดยเฉพาะ กลุม่ น�ำ้ มันหอมระเหย ซึง่ ตอนนีใ้ นประเทศยุโรป มี การผลิตออกมาใช้แล้วเป็นจ�ำนวนมาก เพื่อจะมา

55


Around the World ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 176 กันยายน - ตุลาคม 2560

อยูใ่ นป่าอาจจะล�ำบาก เป็นพืชทีเ่ น้นการใช้ใบ เป็น พืชล้มลุกได้ยิ่งดีเพราะต้นทุนจะถูก อันดับ 3 คือ รู้กลไกการท�ำงานเพื่อให้ใช้ได้ถูกวัตถุประสงค์

แทนยากันบิด นอกจากนี้ ยังน�ำมาใช้ในเรื่อง ของระบบทางเดินอาหาร เพราะเรื่องนี้ค่อนข้าง เป็นปัญหาใหญ่ของการผลิตสัตว์ เรื่องของระบบ ภูมิคุ้มกัน สมุนไพรก็มีการน�ำมาใช้ในการเป็นตัว กระตุ้นภูมิคุ้มกัน สุดท้ายคือน�ำมาใช้ควบคุมเรื่อง ของสารพิษจากเชื้อรา ส�ำหรับสมุนไพรที่มาจากพืชที่เราคุ้นเคย และพบเห็ น ในบ้ า นเรา ซึ่ ง มี คุ ณ สมบั ติ เ ป็ น ตั ว กระตุ้นภูมิคุ้มกัน อาทิเช่น กระเทียม ขมิ้น เห็ด บอระเพ็ด โสมจีน ฟ้าทะลายโจร และพริก ส่วน สมุ น ไพรที่ นิ ย มน� ำ มาใช้ ยั บ ยั้ ง พวกสารพิ ษ จาก เชือ้ รา ได้แก่ สะเดา ฟ้าทะลายโจร อบเชย กุยช่าย ใบบัวบก บอระเพ็ด ขณะที่สมุนไพรที่ช่วยการ ต้านอนุมลู อิสระทีส่ ำ� คัญคือ กากชา และสมุนไพร ที่มีศักยภาพในการน�ำมาใช้เป็นตัวป้องกันโรคบิด ที่ชัดเจนคือ น�้ำมันจากกระชาย และจากกะเพรา สุดท้ายในระบบทางเดินอาหารสมุนไพรทีม่ กี ารน�ำ มาใช้ได้ผลคือ สาระแหน่ โหระพา แต่อย่างไรก็ตาม เนื่องจากสมุนไพรมีมาก มายหลากหลายชนิด ทั้งที่อยู่ในไทยและทั้งที่อยู่ ต่างประเทศ เราจะมีวิธีการเลือกใช้สมุนไพรมา ใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างไรนัน้ อันดับแรกต้องดูวา่ สมุ น ไพรชนิ ด นั้ น มี ส ารอะไรเป็ น องค์ ป ระกอบ เพราะตั ว ออกฤทธิ์ คื อ สารที่ เ ป็ น องค์ ป ระกอบ อันดับ 2 คือ หาได้ง่ายทั่วไป ที่ส�ำคัญปลูกได้ ถ้า

56

“โดยสรุ ป ในตั ว สมุ น ไพร ทางทฤษฎี มี โอกาสเกิดประโยชน์ หรือมีการน�ำมาใช้ผลิตสัตว์ เนือ่ งจากมีคณ ุ สมบัตทิ ดี่ ี หลากหลายประเทศ และ ช่วยส่งเสริมสุขภาพของสัตว์ แต่สิ่งที่จ�ำเป็นต้อง ระมั ด ระวั ง ก็ คื อ ว่ า การใช้ ส มุ น ไพรต้ อ งรู ้ ส าร ออกฤทธิ์ และโด๊สที่แนะน�ำจะต้องอยู่บนพื้นฐาน ของสารออกฤทธิ์นั้น ถ้าเข้าใจ เชื่อว่าสมุนไพรจะ สามารถใช้เป็นตัวทดแทนสารแอนตี้ไบโอติกใน การผลิตสัตว์” รศ.ดร.นวลจันทร์ กล่าวแนะน�ำ ช่วงท้าย ผศ.ดร.เสกสม กล่าวใน ส่วนของการใช้แอนตีไ้ บโอติก ที่ ท� ำ ให้ เ กิ ด ประโยชน์ สู ง สุ ด หรื อ พึ่ ง พาให้ น ้ อ ยที่ สุ ด ซึ่ ง กล่าวว่า การผลิตสัตว์จริงๆ แล้ว ถ้าไม่ใช้แอนตี้ไบโอติกมันก็มีอีกหลายวิธีที่ จะทดแทนในส่วนตรงนี้ได้ ไม่อยากให้เพ่งเล็งไป ที่การใช้แอนตี้ไบโอติกเพียงอย่างเดียว ก็ไม่ได้ หมายความว่าไม่ให้ใช้ แต่ก�ำลังหมายความว่า จะ ใช้อย่างไรให้ถูกต้อง ใช้อย่างชาญฉลาด เพื่อให้ ผู้บริโภคยอมรับและปลอดภัยจากการบริโภค แต่ การใช้แอนตี้ไบโอติกให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด จะท�ำอย่างไรคือสิง่ ทีน่ กั สัตวบาลต้องเข้าใจ นัน่ คือ การดึงเอาพันธุกรรมของสัตว์ให้ตอบสนองต่อการ ใช้ โดยไม่ต้องมองไปที่เรื่องของสูตรอาหารเพียง อย่างเดียว แต่อย่างไรก็ดี ถ้าถามว่ามีปัจจัยอะไรที่จะ ดึงเอาสิ่งนั้นออกมา เพราะเป็นเรื่องที่ยาก เนื่อง จากมีองค์ประกอบมากมายมาเกีย่ วข้อง โดยเฉพาะ


Around the World ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 176 กันยายน - ตุลาคม 2560

สภาพแวดล้อม ซึ่งค่อนข้างเป็นปัญหาในการผลิต สัตว์บา้ นเรา ดังนัน้ เราจะปรับปรุงสภาพแวดล้อม อย่างไรให้เข้ากับพันธุกรรมของสัตว์ทเี่ ป็นอยู่ ไม่ใช่ เพียงแค่เรื่องอาหารที่หลายคนให้ความส�ำคัญมา โดยตลอดที่ผ่านมา รวมถึงเรื่องของสุขภาพสัตว์ ซึ่งสัตวบาลส่วนใหญ่มักจะโยนเรื่องนี้ไปให้สัตวแพทย์ ทัง้ ๆ ทีค่ วามเป็นจริงเป็นหน้าทีข่ องสัตวบาล ด้วย เพราะฉะนัน้ ถ้าทุกคนเข้าใจตรงนี้ ก็จะเข้าใจ การผลิตสัตว์ทงั้ หมด และน�ำไปสูก่ ารใช้ยาทีล่ ดลง ด้วย ชัดเจนที่สุดในเรื่องของพันธุกรรมคือ สุกร หรือหมู ทีค่ ่อนข้างพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว หน้าตา ของหมูสมัยก่อนกับตอนนีแ้ ตกต่างกันอย่างชัดเจน ดังนัน้ เมือ่ พันธุกรรมเปลีย่ น เรือ่ งอืน่ ก็ตอ้ งเปลีย่ น ตาม รวมถึงเรือ่ งอาหารซึง่ วันนีย้ งั ไม่สอดคล้องกับ พันธุกรรมทีเ่ ปลีย่ นไป เพราะส่วนหนึง่ เรามัวแต่นงั่ คิดวิเคราะห์แต่ในห้อง ไม่ได้เข้าไปดูที่ฟาร์ม โดย เฉพาะวิธีการให้อาหารที่เราไม่เคยได้รู้ว่า วิธีการ ในฟาร์มกับสิง่ ทีเ่ ราท�ำขึน้ มามันสอดคล้องกันหรือ ไม่ ปัญหาที่ตามมาคือต้นทุน ซึ่งสิ่งหนึ่งที่เราต้อง ตระหนักในเรือ่ งของวิธกี ารคือ การกินได้ของสัตว์ หรือเพิม่ การกินได้ของสัตว์ อาหารคุณภาพสูง แต่ การกินได้นอ้ ย ไม่เกิดประโยชน์ ดังนัน้ เราจ�ำเป็น ต้องให้ความส�ำคัญของการกินได้ของสัตว์ให้มากๆ ทุกตัวต้องได้กินและกินได้มาก เมื่อพูดถึงเรื่องของการให้อาหารที่สอดคล้องกับพันธุกรรมของสัตว์ไปแล้ว ก็ตอ้ งพูดถึงการ ใช้แอนตี้ไบโอติกด้วย ซึ่งที่ผ่านมา เราได้มีการใช้ แอนตี้ไบโอติกกันมาโดยตลอด เนื่องจากสภาพ อากาศ สภาพแวดล้อมบ้านเรามีผลต่อสุขภาพ สัตว์ค่อนข้างมาก ดังนั้น การใช้แอนตี้ไบโอติกจึง เป็นสิง่ ฟาร์มใช้กนั อย่างปกติ เพราะถ้าหยุดใช้ หรือ

ไม่ใช้ โอกาสที่สัตว์จะอ่อนแอและมีโรคเข้ามา ระบาดในฟาร์มมีสูง ซึ่งปัจจุบันโรคในสัตว์ก็มีทั้ง โรคเก่าและโรคที่อุบัติขึ้นมาใหม่ นี่จึงเป็นสาเหตุ ว่าท�ำไมในอาหารสัตว์ทกุ ระยะต้องมีการใส่แอนตี-้ ไบโอติก อย่างไรก็ตาม การใช้แอนตี้ไบโอติกจะต้อง รู้และเข้าใจการใช้ ที่ส�ำคัญเลย เบื้องต้นคือ จะ ต้องรู้ว่าสัตว์เป็นโรคอะไรกันแน่ วินิจฉัยให้แม่น ให้ถูกต้อง แล้วจึงน�ำไปสู่วิธีการใช้ที่ถูกต้องต่อไป แต่ทผี่ า่ นมามักมีปญ ั หาว่าเราวินจิ ฉัยโรคไม่ถกู ต้อง และการไม่ยอมรับของผู้ปฏิบัติงานในฟาร์มเมื่อ แนะน�ำถึงวิธีการใช้ เพราะส่วนใหญ่มั่นใจในสิ่งที่ ตนเองท�ำอยู่เป็นประจ�ำ แต่สิ่งส�ำคัญคือการถ่าย ทอดความรู้ของผู้รู้กับผู้รับรู้ ระบบการเรียนการ สอนของสถานศึกษาที่ยังไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันเพื่อให้เกิดการยอมรับ การจัดการในฟาร์มทีข่ าดประสิทธิภาพ ถือ เป็นอีกปัญหาที่น�ำไปสู่การใช้แอนตี้ไบโอติก การ จัดการที่ผิดๆ หรือไม่สอดคล้องกับสิ่งที่เป็นอยู่ เมื่อเกิดปัญหาจะแก้ไขไม่ได้ สุดท้ายก็จะไปจบที่ การใช้แอนตี้ไบโอติก มุมมองการแก้ไขปัญหาไม่ ได้มองเฉพาะเรือ่ ง แต่มองกว้างๆ จึงท�ำให้เกิดการ ใช้ยาที่กว้างตามมา รวมถึงการขาดมิติการใช้ยา ในเชิงปริมาณ เพราะมันจะไปสอดคล้องกับการ

57


Around the World ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 176 กันยายน - ตุลาคม 2560

กินด้วย ทีส่ ำ� คัญอีกเรือ่ งคือการขาดข้อมูลอืน่ ๆ การใช้สว่ นใหญ่เราจะดูจากค่าเลือด ใช้ขอ้ มูลจากค่าเลือด แต่รายละเอียดอื่นๆ ไม่มีการพูดถึง หรือไม่สามารถตอบได้ สุดท้ายก็หันไปใช้ยาเยอะๆ เข้าไว้ นั่นเป็น เพราะขาดข้อมูลที่เป็นวิทยาศาสตร์ “สิง่ ทีอ่ ยากจะฝากไว้กค็ อื ว่า ให้เอาหลักวิทยาศาสตร์ไปใช้ให้มากๆ ลงพืน้ ที่ (เข้าฟาร์ม) ให้เยอะๆ การเรียนการสอน ให้ผู้เรียนสัมผัสกับสัตว์ให้บ่อยๆ สุดท้ายต้องท�ำอะไรให้เป็นลักษณะเรียลไทม์ เป็น ปัจจุบันให้มากที่สุด เพราะไม่มีอะไรเป็นสูตรส�ำเร็จ ต้องประมวลผลให้เข้ากับสถานการณ์ในทุกๆ เรื่อง ไม่ว่าจะเป็นพันธุกรรม สิ่งแวดล้อม สุขภาพของสัตว์ในฝูง อาหารที่ใช้เลี้ยง และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องให้เข้า กับสัตว์ที่เป็นอยู่ในขณะนั้นให้ได้” ผศ.ดร.เสกสม กล่าวฝากทิ้งท้าย

58



1.R&D µ¦ª· ´¥Â¨³¡´ µ 2.Consultation µ¦Ä®o µÎ ¦¹ ¬µ 3.Design µ¦°°  4.Manufacture µ¦ ¨· 5.Logistics µ¦ ¦·®µ¦ o µ µ¦ ´ Á È Â¨³ ­n 6.Installation µ¦ · ´ Ê 7.Commissioning µ¦ ­° 8.Training µ¦ ¹ ° ¦¤ 9.Service µ¦Ä®o ¦· µ¦®¨´ µ¦ µ¥

Pellet mill Dryer

Extruder

Pulverizer

Mixer

Hammer mill


Around the World ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 176 กันยายน - ตุลาคม 2560

สำ�เร็จด้วยความพร้อมของฟาร์ม และการจัดการที่เหมาะสม ระบบการเลี้ยงกุ้งในปัจจุบันนี้ แตกต่าง จากในระยะหลายปีก่อนหน้านี้ค่อนข้างมาก ใน ปี 2554 เริ่มพบการระบาดของโรคอีเอ็มเอส ในประเทศไทย และได้สร้างความเสียหายต่อ ผลผลิตกุ้งเป็นอย่างมาก จนกระทั่งในกลางปี 2556 ได้พบว่าสาเหตุของโรคนี้เกิดจากเชื้อ วิบริโอ พาราฮีโมไลติคสั สายพันธุ์ AHPND จึงได้ มีการศึกษาวิจยั เพือ่ หาวิธกี ารป้องกันและควบคุม โรค จนได้แนวทางการเลี้ยงที่มีประสิทธิภาพใน การลดความเสียหายที่เกิดจากโรคนี้ และเป็นที่ ยอมรับจากเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งอย่างกว้างขวาง นั่นก็คือการเลี้ยงกุ้งตามแนวทาง 3 สะอาด ของซีพีเอฟ โดยการเลี้ยงในระบบนี้จะต้องการ น�ำ้ สะอาดทีผ่ า่ นการบ�ำบัดแล้วค่อนข้างมาก เพือ่ ควบคุ ม ปริ ม าณเชื้ อ แบคที เ รี ย ที่ ก ่ อ โรคนี้ ซึ่ ง แตกต่างกับระบบการเลี้ยงก่อนหน้านี้ ซึ่งจะ เปลี่ยนถ่ายน�้ำน้อยเพื่อลดความเสี่ยงของโรคที่ เกิดจากเชื้อไวรัสดวงขาวและหัวเหลืองที่อาจจะ ปนเปือ้ นมากับน�ำ้ จากภายนอกทีจ่ ะน�ำมาเปลีย่ น ถ่าย นอกจากนี้ การเลี้ยงกุ้งตามแนวทาง 3 สะอาดยังมีประสิทธิภาพดีในการควบคุมโรคติด เชื้ออีเอชพี และกุ้งที่มีอาการขี้ขาว ซึ่งท�ำให้กุ้ง โตช้า และเป็นปัญหาการเลีย้ งทีส่ ำ� คัญในขณะนี้ อีกด้วย อย่างไรก็ตาม การที่จะน�ำแนวทาง 3

สะอาดมาใช้ให้ประสบความส�ำเร็จนั้น ฟาร์มจะ ต้องมีความพร้อมในระดับหนึง่ เพือ่ ให้การจัดการ บ่อเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

ความพร้อมและศักยภาพของฟาร์ม

การเลี้ยงกุ้งตามแนวทาง 3 สะอาดให้ได้ ประโยชน์สูงสุดนั้น จะต้องมีการปรับโครงสร้าง ของฟาร์มเพื่อให้เอื้อต่อการเลี้ยงในระบบนี้ ดัง นั้ น  เกษตรกรผู ้ เ ลี้ ย งกุ ้ ง จึ ง ต้ อ งมี ค วามเชื่ อ มั่ น ต่อแนวทางนี้ และพร้อมที่จะลงทุนเพื่อปรับผัง โครงสร้างฟาร์ม รวมทัง้ เพิม่ เติมองค์ประกอบ หรือ อุปกรณ์ทจี่ ำ� เป็นบางอย่าง โดยความส�ำเร็จของการ เลี้ยงที่เกิดขึ้น นอกจากจะท�ำให้การเลี้ยงมีความ แน่นอนขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแง่ของการลด ความเสีย่ งในการเกิดโรคแล้ว ยังช่วยให้อตั ราการ เจริญเติบโตของกุ้งสูงขึ้น และผลผลิตกุ้งต่อพื้นที่ เลี้ยงเพิ่มขึ้นอีกด้วย โดยองค์ประกอบของฟาร์ม ที่จะต้องปรับเปลี่ยน หรือมีเพิ่มเติมเพื่อให้เอื้อต่อ การเลี้ยงในระบบนี้ ประกอบด้วย 1. ปรับโครงสร้างฟาร์มเพือ่ ให้มนี ำ�้ สะอาด ใช้อย่างเพียงพอ การมีนำ�้ สะอาดอย่างเพียงพอ เป็นหัวใจ ส�ำคัญที่มีผลต่อความส�ำเร็จของการเลี้ยงกุ้งใน ปัจจุบนั นี้ เนือ่ งจากแนวทางการเลีย้ งกุง้ ในปัจจุบนั

ที่มา : ข่าวกุ้ง ปีที่ 29 ฉบับที่ 348 เดือนกรกฎาคม 2560

59


Around the World ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 176 กันยายน - ตุลาคม 2560

จะให้ ค วามส� ำ คั ญ กั บ การควบคุ ม ปริ ม าณสาร อินทรีย์ในบ่อเลี้ยงซึ่งเป็นอาหารของแบคทีเรีย เพื่อควบคุมการเจริญเติบโตและเพิ่มจ�ำนวนของ แบคทีเรีย และเป็นการเจือจางเชื้อที่มีอยู่ในบ่อไม่ ให้มีปริมาณมากเกินไปจนสร้างปัญหาต่อกุ้ง จึง ต้องมีการดูดตะกอนและเปลี่ยนถ่ายน�้ำเพิ่มมาก ขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยให้สภาพแวดล้อมในบ่อ เหมาะสมกับการเลี้ยงโดยท�ำให้พื้นบ่อสะอาด ลด ปัญหาการเกิดสารพิษต่างๆ ในน�้ำ จึงท�ำให้กุ้งมี สุขภาพดี แข็งแรง และมีการเจริญเติบโตที่ดี น�้ำ สะอาดหมายถึง น�ำ้ ทีป่ ลอดจากเชือ้ ก่อโรค รวมทัง้ ตะกอนและสารอินทรีย์ต่างๆ ดังนั้น การจะได้น�้ำ ที่สะอาดมาใช้ในการเลี้ยงจึงต้องผ่านขั้นตอนการ บ�ำบัด ซึง่ จะต้องมีบอ่ ทีท่ ำ� หน้าทีแ่ ตกต่างกัน ได้แก่ บ่อพักน�้ำ บ่อบ�ำบัดน�้ำ และบ่อน�้ำพร้อมใช้ โดย ปริมาณน�้ำพร้อมใช้ที่เตรียมได้จะเป็นตัวก�ำหนด อัตราการลงลูกกุ้งและขนาดของกุ้งที่จะผลิต ดัง นัน้ เกษตรกรผูเ้ ลีย้ งกุง้ จะต้องวางแผนในการเลีย้ ง ให้สอดคล้องกับปริมาณน�้ำที่สะอาดที่เตรียมได้ เพื่อให้มีน�้ำสะอาดเพียงพอส�ำหรับใช้เปลี่ยนถ่าย ตลอดระยะเวลาของการเลี้ยง ฟาร์มที่ยังมีโครงสร้างฟาร์มที่ไม่เอื้อต่อการเลี้ยงในระบบนี้จึงต้อง มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างฟาร์มให้เหมาะสมกับ ระบบการเลี้ยง โดยทั่วไปสัดส่วนของบ่อที่เป็น ส่วนของระบบบ�ำบัดน�้ำ และพื้นที่เก็บน�้ำต่อพื้นที่ บ่อเลี้ยงที่เหมาะสมไม่ควรน้อยกว่า 70:30 2. พื้นบ่อเลี้ยงควรปูด้วยพีอี ในสภาวการณ์เลี้ยงกุ้งในปัจจุบันนี้ที่มี การระบาดของโรคอีเอ็มเอส และอีเอชพีนั้น การ ท�ำความสะอาดและก�ำจัดเชื้อที่พื้นบ่อหลังจากจับ กุ้งแล้ว เพื่อป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อก่อโรค ที่หลงเหลือมาจากการเลี้ยงในรอบที่แล้ว มีความ

60

รูปที่ 1 พื้นบ่อเลี้ยงกุ้งที่ปูด้วยพีอี

ส�ำคัญต่อความส�ำเร็จของการเลี้ยงกุ้งเป็นอย่าง มาก ถ้าท�ำได้ไม่ดีจะก่อให้เกิดการติดเชื้อของกุ้ง ที่ลงเลี้ยงใหม่ตั้งแต่ในระยะแรกของการเลี้ยง ซึ่ง จะส่งผลกระทบต่อผลผลิตกุ้งเป็นอย่างมาก การ ปูพนื้ บ่อด้วยพีอี จึงเป็นทางเลือกทีเ่ หมาะสม ท�ำให้ สามารถก�ำจัดตะกอนที่ตกค้าง ขัดล้างท�ำความ สะอาดพืน้ บ่อ และฆ่าเชือ้ ด้วยสารเคมีทเี่ หมาะสม ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทัง้ ยังสามารถป้องกัน การแพร่เชือ้ ทีเ่ กิดจากการรัว่ ซึมของน�ำ้ ระหว่างบ่อ ในช่วงการเลี้ยง นอกจากนี้ การปูพื้นบ่อด้วยพีอี ยังช่วยให้การรวมตะกอนในระหว่างการเลี้ยงเพื่อ ก�ำจัดออกท�ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังช่วยให้ ระยะเวลาในการเตรียมบ่อสั้นลงอีกด้วย 3. มีระบบดูดตะกอนและบ่อเก็บตะกอน การก�ำจัดตะกอนในบ่อซึ่งเกิดจากขี้กุ้ง และเศษอาหารที่เหลือจากการกินของกุ้ง มีความ ส�ำคัญต่อความส�ำเร็จของการเลี้ยงเป็นอย่างมาก การก�ำจัดตะกอนอย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนือ่ ง จะเป็นการลดปริมาณตะกอนสารอินทรีย์ที่เป็น อาหารของแบคทีเรีย รวมทั้งยังช่วยลดปริมาณ สปอร์ของเชื้ออีเอชพีที่ถูกขับออกมากับขี้ของกุ้ง ที่ติดเชื้อแล้ว ท�ำให้เกิดการแพร่ระบาดของเชื้อ ไปสูก่ งุ้ ตัวอืน่ ๆ ในบ่อได้อกี ด้วย จึงท�ำให้ความเสีย่ ง


Around the World ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 176 กันยายน - ตุลาคม 2560

ของการเกิดโรคลดลง นอกจากนีก้ ารก�ำจัดตะกอน ที่ดีในระหว่างเลี้ยง ยังท�ำให้สภาพแวดล้อมในบ่อ ดีขึ้น ทั้งในแง่ของสภาพพื้นบ่อและคุณภาพน�้ำ จึง ส่งเสริมให้กุ้งมีสุขภาพดี แข็งแรง และความต้าน ทานต่อการติดเชื้อสูงขึ้น ในการก�ำจัดตะกอนให้มีประสิทธิภาพนั้น นอกจากต้องมีอุปกรณ์ดูดตะกอนและหลุมรวม ตะกอนกลางบ่อเพือ่ เป็นจุดรวบรวมตะกอนทีต่ กลง สูพ่ นื้ บ่อส�ำหรับดูดออกแล้ว ยังขึน้ อยูก่ บั การจัดวาง เครื่องตีน�้ำ เพื่อให้กระแสน�้ำพัดพาตะกอนให้ได้ มากทีส่ ดุ อีกด้วย โดยการดูดตะกอนต้องท�ำตัง้ แต่ วันแรกหลังจากลงกุ้ง โดยปรับความถี่และระยะ เวลาในการดูดเพิ่มมากขึ้นตามอายุของการเลี้ยง ที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ตะกอนสารอินทรีย์ที่ดูด ออกจากบ่อเลีย้ งจะต้องน�ำไปเก็บในบ่อเก็บตะกอน ไม่ควรปล่อยออกสู่แหล่งน�้ำธรรมชาติโดยตรง นอกจากนี้แล้ว ฟาร์มที่มีความพร้อมก็ควร จะมีบ่ออนุบาลลูกกุ้งด้วย ซึ่งการอนุบาลลูกกุ้ง นอกจากจะช่วยลดความเสียหายจากโรคอีเอ็มเอส และช่วยลดผลกระทบของความเสียหายทีเ่ กิดจาก การติดเชื้ออีเอชพีแล้ว ยังช่วยให้การเจริญเติบโต เฉลีย่ ต่อวัน (ADG) ของกุง้ สูงขึน้ ท�ำให้ระยะเวลา ในการเลี้ยงสั้นลง สามารถเพิ่มรอบการเลี้ยงต่อปี ได้มากขึ้น รวมทั้งท�ำให้ต้นทุนของการเลี้ยงลดลง อีกด้วย โดยการอนุบาลลูกกุง้ จะเหมาะกับฟาร์มที่ มีความพร้อมทัง้ ในด้านเงินทุน พืน้ ที่ และบุคลากร ทีม่ คี วามรูแ้ ละประสบการณ์ เนือ่ งจากการอนุบาล ลูกกุ้งจะได้ประโยชน์อย่างเต็มที่ก็ต่อเมื่อได้กุ้ง อนุ บ าลที่ มี สุ ข ภาพดี แข็ ง แรง และปลอดเชื้ อ ก่อโรค ในกรณีที่เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งยังไม่มีความ พร้อม การเลือกใช้ลูกกุ้งอนุบาลของซีพีเอฟที่มี คุณภาพสูงก็เป็นทางเลือกที่เหมาะสมเพื่อเพิ่ม ความส�ำเร็จในการเลี้ยง

รูปที่ 2 การดูดตะกอนสารอินทรีย์ ในระหว่างการเลี้ยงลงในบ่อตกตะกอน

นอกจากเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งจะประเมิน ศักยภาพและความพร้อมของฟาร์มเพือ่ ใช้วางแผน และก�ำหนดแนวทางในการเลี้ยงที่เหมาะสม โดย เฉพาะอย่างยิ่งความหนาแน่นในการลงลูกกุ้งและ ปริมาณผลผลิตที่จะได้แล้ว ความส�ำเร็จของการ เลีย้ งยังขึน้ อยูก่ บั การจัดการทีเ่ หมาะสม โดยจะต้อง ค�ำนึงถึงข้อจ�ำกัดของพื้นที่เลี้ยงและฤดูกาลต่างๆ อีกด้วย

การเลี้ยงในพื้นที่น้ำ�ความเค็มต่ำ� แม้ว่าการเลี้ยงกุ้งในพื้นที่ความเค็มต�่ำจะมี ความเสีย่ งต่อการเกิดโรคอีเอ็มเอสต�ำ่ กว่าปกติ ซึง่ เป็นข้อได้เปรียบ แต่ในขณะเดียวกันก็มีข้อจ�ำกัด บางประการทีส่ ง่ ผลกระทบกับการเลีย้ ง เช่น ปัญหา แร่ธาตุทจี่ ำ� เป็นในน�ำ้ มีไม่เพียงพอต่อความต้องการ ของกุง้ โดยเฉพาะอย่างยิง่ ในช่วงหน้าฝน จึงมักพบ การทยอยตายของกุ้งในช่วงของการลอกคราบ ดังนัน้ การเลีย้ งกุง้ ในพืน้ ทีเ่ ลีย้ งทีน่ ำ�้ มีความเค็มต�ำ่ จึงไม่ควรลงกุง้ หนาแน่น ซึง่ จะท�ำให้ปริมาณแร่ธาตุ ในน�ำ้ ทีก่ งุ้ ต้องการใช้จะสูงขึน้ ไปด้วย จึงเพิม่ โอกาส ทีจ่ ะเกิดปัญหา โดยจะต้องหมัน่ ตรวจสอบปริมาณ แร่ธาตุที่จ�ำเป็นในน�้ำเป็นประจ�ำอย่างน้อยสัปดาห์ ละครั้ง ในกรณีที่พบว่าแร่ธาตุชนิดใดมีปริมาณ ไม่เพียงพอ จะต้องมีการเติมสารเพิ่มแร่ธาตุลงไป

61


Around the World ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 176 กันยายน - ตุลาคม 2560

เพื่อให้มีปริมาณที่เหมาะสมและเพียงพอต่อความ ต้องการของกุง้ โดยค่าทีเ่ หมาะสมของแร่ธาตุแต่ละ ชนิดในน�้ำเป็นดังนี้ แคลเซียมไม่น้อยกว่า 250 พีพเี อ็ม แมกนีเซียมไม่นอ้ ยกว่า 400 พีพเี อ็ม และ โพแทสเซียมไม่น้อยกว่า 150 พีพีเอ็ม

การเลี้ยงในแต่ละช่วงฤดูกาล แม้ว่าฤดูกาลและสภาพภูมิอากาศจะเป็น ปัจจัยที่เราไม่สามารถควบคุมได้ แต่ถ้าเกษตรกร ผูเ้ ลีย้ งกุง้ เข้าใจถึงข้อจ�ำกัดในแต่ละฤดู ก็จะสามารถ เตรียมความพร้อม และมีการจัดการที่เหมาะสม เพือ่ ลดผลกระทบทีจ่ ะเกิดขึน้ ได้ ในช่วงหน้าหนาว จะต้องให้ความส�ำคัญกับระบบไบโอซีเคียว เพื่อ ป้องกันโรคดวงขาวทีม่ โี อกาสพบมากกว่าช่วงอืน่ ๆ ของปี รวมทั้งต้องให้ความส�ำคัญกับการให้อาหาร เป็นพิเศษ เพื่อไม่ให้มีอาหารเหลือ โดยเฉพาะ อย่างยิ่งในช่วงเวลาที่อุณหภูมิของน�้ำต�่ำกว่าปกติ มาก ในช่วงหน้าฝนเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งจะต้อง ระมัดระวังปัญหาการเปลีย่ นแปลงของคุณภาพน�ำ้ ในบ่อ โดยเฉพาะในช่วงที่อากาศปิด หรือมีฝนตก ติดต่อกันหลายๆ วัน ซึ่งจะท�ำให้กระบวนการ สังเคราะห์แสงในบ่อเกิดขึ้นได้น้อยมาก ส่งผลให้ ปริมาณออกซิเจนอาจมีไม่เพียงพอ รวมทั้งน�้ำฝน ซึ่งมีค่าพีเอช และอัลคาไลนิตี้ต�่ำ อาจมีผลท�ำให้ พีเอช และอัลคาไลนิตี้ของน�้ำในบ่อต�่ำกว่าระดับที่

62

เหมาะสม จึงต้องหมั่นตรวจเช็ค และปรับให้อยู่ ในช่วงที่เหมาะสม นอกจากนี้ ในพื้นที่ที่มีความ เค็มไม่สูงนัก ก็อาจประสบปัญหาแร่ธาตุที่ส�ำคัญ มีปริมาณไม่เพียงพอได้อีกด้วย ส�ำหรับในหน้า ร้อนจะต้องค�ำนึงถึงปริมาณน�้ำสะอาด ที่จะต้อง มีใช้อย่างเพียงพอ โดยเฉพาะในพื้นที่ที่การดูดน�้ำ จากภายนอกท�ำได้อย่างจ�ำกัด โดยหน้าร้อนจะ เป็นช่วงที่กุ้งกินอาหารดีกว่าช่วงอื่นๆ ของปี จึงมี ของเสียที่เกิดขึ้นมาก รวมทั้งกระบวนการย่อย สลายของจุลินทรีย์ในบ่อเกิดขึ้นได้ดีและเร็วกว่า ปกติ สีนำ�้ จึงมักเข้มเร็วกว่าปกติ ท�ำให้คณ ุ ภาพน�ำ้ ในรอบวันแกว่งมาก จึงต้องมีการดูดตะกอนและ เปลี่ยนถ่ายน�้ำมากขึ้น รวมทั้งอากาศร้อนยังท�ำให้ อัตราการระเหยของน�ำ้ ในบ่อสูงกว่าปกติอกี ด้วย จึง อาจท�ำให้มีน�้ำสะอาดไม่เพียงพอได้ ความส�ำเร็จในการเลีย้ งกุง้ นอกจากจะต้อง มีการเตรียมความพร้อมของฟาร์มให้เอือ้ กับระบบ การเลีย้ ง และมีการจัดการทีเ่ หมาะสมกับข้อจ�ำกัด ของแต่ละสภาพการเลีย้ งแล้ว เกษตรกรผูเ้ ลีย้ งกุง้ จะต้องมีการปรับตัวยอมรับการเปลีย่ นแปลง และ พร้อมที่จะรับความรู้ใหม่ๆ เพื่อน�ำมาปรับใช้ให้ เหมาะสมกับสภาพการเลี้ยงของแต่ละฟาร์ม เพื่อ ให้การเลีย้ งกุง้ ประสบความส�ำเร็จ มีความแน่นอน และผลการเลี้ยงที่สม�่ำเสมอมากยิ่งขึ้น


Around the World ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 176 กันยายน - ตุลาคม 2560

รายงานการส�ำรวจข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ครั้งที่ 3/2560 ระหว่างวันที่ 22 - 25 สิงหาคม 2560 โดย สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย รายชื่อผู้เข้าร่วมส�ำรวจ

1. นางนิภาพร โรจน์รุ่งเรืองกิจ 2. นายวรวุฒิ เบญจรัตนานนท์ 3. น.ส.ลัดดา แก้วกาหลง 4. น.ส.ประภาพรรณ มีกิริยา 5. นายชูเกียรติ ตันติมณีรัตน์ 6. น.ส.ธาวินี ด�ำเนินวุฒิ 7. นางจิรพรรณ์ รัตนราช 8. นางปาณิภา สาคร 9. น.ส.วรรทนี เฉียงเมือง 10. น.ส.ลาวัณย อนุวัฒนา 11. นายอรรถพล ชินภูวดล 12. น.ส.กรดา พูลพิเศษ

บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จ�ำกัด (มหาชน) บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จ�ำกัด (มหาชน) บริษัท เซนทาโกไซโล จ�ำกัด บริษัท เซนทาโกไซโล จ�ำกัด บริษัท กรุงเทพโปรดิ๊วส จ�ำกัด (มหาชน) บริษัท อาหารสัตว์ไทยสวนหลวง จ�ำกัด บริษัท อาหารสัตว์ไทยสระบุรี จ�ำกัด บริษัท ไทยฟู้ดส์อาหารสัตว์ จ�ำกัด บริษัท ยูไนเต็ดฟีดมิลล์ จ�ำกัด บริษัท ยูไนเต็ดฟีดมิลล์ จ�ำกัด สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

การส�ำรวจข้าวโพดเลีย้ งสัตว์ ครัง้ ที่ 3/2560 ระหว่างวันที่ 22 - 25 สิงหาคม 2560 ได้ออกส�ำรวจ พืน้ ทีท่ างเขตภาคตะวันตก และภาคเหนือตอนล่าง ในพืน้ ทีจ่ งั หวัดลพบุรี เพชรบูรณ์ พิษณุโลก อุตรดิตถ์ และตาก ซึง่ ทางคณะส�ำรวจได้มกี ารรวบรวมข้อมูลจากทางส�ำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร และส�ำนักงาน เกษตรจังหวัด เพือ่ น�ำมาประมวลข้อมูลพืน้ ฐานส�ำหรับใช้ประกอบการส�ำรวจในแต่ละพืน้ ที่ และยังมีการ เข้าพบพ่อค้า/ไซโล รวมถึงเกษตรกรผู้เพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เพื่อสอบถามสภาพภูมิอากาศ การ เพาะปลูก ต้นทุน และแรงงาน อีกทั้งสถานการณ์อื่นๆ เป็นภาพรวม เพื่อน�ำข้อมูลมาวิเคราะห์ร่วมกัน การเพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ฤดูกาลผลผลิตปี 2560/2561 ในพื้นที่ส�ำรวจ 5 จังหวัด เป้าหมาย พบว่า สภาวะพื้นที่เพาะปลูกโดยเฉลี่ยรวมทุกจังหวัดลดลงเล็กน้อย โดยมีปัจจัยหลักมาจาก ราคาข้าวโพดในปีทผี่ า่ นมา ไม่จงู ใจให้เกษตรกรเพาะปลูกต่อ และปัจจัยเสริมในเรือ่ งของภัยแล้งปีทผี่ า่ นมา ท�ำให้เกษตรกรขาดเงินลงทุนเพาะปลูก เกษตรกรจึงหันไปเพาะปลูกพืชอืน่ ๆ ทดแทนทีม่ ตี น้ ทุนน้อยกว่า และให้ผลตอบแทนดีกว่า อีกทัง้ การทีม่ โี รงงานน�ำ้ ตาลเข้ามาในบางพืน้ ที่ เกษตรกรทีอ่ ยูใ่ นพืน้ ทีใ่ กล้เคียง

63


Around the World ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 176 กันยายน - ตุลาคม 2560

จึงเตรียมตัวปลูกอ้อยทดแทน ซึ่งจะส่งผลระยะยาวให้พื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดหายไปอย่างต่อเนื่อง ประมาณ 3 - 4 ปี รวมถึงนโยบายภาครัฐในการลดการเพาะปลูกบนพืน้ ทีป่ า่ บางส่วนอีกด้วย อย่างไรก็ตาม ยังมีเกษตรกรอีกจ�ำนวนมากที่ยังคงเพาะปลูกข้าวโพดเป็นอาชีพหลักต่อไป ในแง่ของผลผลิตข้าวโพด ต่อไร่นนั้ คาดว่าจะมีเพิม่ มากขึน้ ในปีนี้ เนือ่ งจากปริมาณน�ำ้ ฝนทีเ่ พียงพอต่อการเจริญเติบโตของข้าวโพด เลีย้ งสัตว์ แม้วา่ ในบางพืน้ ทีจ่ ะมีพายุเข้าจนท�ำให้เกิดน�ำ้ ท่วมขังบางส่วน แต่กไ็ ม่ได้ทำ� ให้ผลผลิตภาพรวม เสียหาย นอกจากนั้นช่วงที่ออกส�ำรวจ พบการเก็บเกี่ยวผลผลิตที่ได้ออกมาคุณภาพดี เต็มฝัก และมี สีสวย ส�ำหรับราคาซื้อ - ขาย ในพื้นที่ 5 จังหวัดที่ส�ำรวจ พบว่าเกษตรกรค่อนข้างพอใจกับราคาในปีนี้ เนื่องจากในปีที่แล้วราคาตกต�่ำ ในช่วงเวลาที่คณะส�ำรวจลงพื้นที่ เป็นช่วงเวลาที่เกษตรกรเริ่มต้นการ เก็บเกีย่ วผลผลิต โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จประมาณเดือนกันยายน - พฤศจิกายน จากนัน้ เกษตรกรจะปลูก พืชอืน่ สลับบ้าง ส่วนในเขตพืน้ ทีช่ ลประทานยังคงปลูกข้าวโพดเลีย้ งสัตว์ตอ่ ไป ทางด้านผลผลิตทีเ่ ก็บเกีย่ ว ในช่วงนี้ เกษตรกรส่วนใหญ่จะขายตรงให้ทางพ่อค้าพื้นที่ทันที แต่บางพื้นที่ที่มีความสามารถในการเก็บ รักษาจะน�ำข้าวโพดเข้ายุ้งฉางเพื่อให้ความชื้นลดลงก่อน จึงค่อยทยอยน�ำออกมาขายต่อไป ตารางสรุปผลผลิตการสำ�รวจในพื้นที่ จังหวัด ลพบุรี เพชรบูรณ์ พิษณุโลก อุตรดิตถ์ ตาก รวม

พื้นที่ปลูก (ไร่) ปี 59/60 ปี 60/61 229,162 231,453 799,784 799,784 257,963 257,963 174,502 169,267 669,729 649,637 2,131,140 2,108,104

เพิ่ม/ลด 1.0% 0% 0%  - 3.0%  - 3.0%  - 1.1%

ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ (กิโลกรัม) ผลผลิตรวม (ตัน) ปี 59/60 ปี 60/61 เพิ่ม/ลด ปี 59/60 ปี 60/61 819 819 0% 187,684 189,684 805 821 2.0% 643,826 656,622 737 751 1.9% 190,119 193,731 684 691 1.0% 119,359 116,963 735 742 1.0% 492,251 482,030 766 777 1.4% 1,633,239 1,638,906

เพิ่ม/ลด 1.0% 2.0% 1.9%  - 2.0%  - 2.1% 0.3%

จังหวัดลพบุรี แหล่งข้อมูล : เอี่ยวฮั่วล้งการเกษตร ต.นิคมล�ำนารายณ์ อ.ชัยบาดาล จ.ลพบุรี คุณสมชาย งามประเสริฐสิทธิ์ โทร. 0818521841 และข้อมูลจากเกษตรจังหวัดลพบุรี ฤดูกาลผลิต ปี 2559/2560 ปี 2560/2561 เพิ่ม/ลด (%)

64

พื้นที่เพาะปลูก (ไร่) 229,162 231,453 1%

ผลผลิตต่อไร่ (กก.) 819 819 0%

ผลผลิตรวม (ตัน) 187,684 189,560 1%


Around the World ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 176 กันยายน - ตุลาคม 2560

สภาพทั่วไป จังหวัดลพบุรี มีพื้นที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้นเป็น 231,453 ไร่ จาก 229,162 ไร่ ในปีที่แล้ว คิดเป็น 1% จากการส�ำรวจในครั้งนี้พบว่า พื้นที่เพาะปลูกในจังหวัดลพบุรีเพิ่มขึ้น เนื่องจากเกษตรกรลดพื้นที่ การปลูกมันส�ำปะหลังลง โดยหันมาปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และอ้อยแทน เพราะให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า ในส่วนของต้นทุนในการเพาะปลูกปรับขึ้นเล็กน้อย จากเมล็ดพันธุ์ราคาขึ้น ฝนตกมากท�ำให้ต้องไถกลบ หน้าดินเพื่อเตรียมเพาะปลูกใหม่หลายครั้ง ผลผลิตต่อไร่คงที่ เนื่องจากในปีนี้ฝนตกอย่างสม�่ำเสมอ ท�ำให้มีปริมาณน�้ำฝนมากเพียงพอต่อ การเจริญเติบโตของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เช่นเดียวกับในปีที่ผ่านมา เกษตรกรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการ เพาะปลูก ตามสภาพอากาศและปริมาณน�้ำฝน ท�ำให้ระยะเวลาในการเพาะปลูกจึงลดหลั่นกัน จึงไม่ สามารถแยกรุ่นการผลิตได้ ราคารับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์อยู่ที่ 4.50 บาท/กก. (ฝักสด) ความชื้น 30% และ 6 บาท/กก. (เม็ดสด) ความชื้น 30% ส�ำหรับการเก็บเกี่ยวปีที่แล้วใช้เป็นแรงงานคนทั้งหมด แต่เนื่องจากเก็บเกี่ยว พร้อมๆ กันในพื้นที่ ท�ำให้ขาดแคลนแรงงานคน ปีนี้จึงมีการปรับเปลี่ยนน�ำรถเกี่ยวเข้ามาใช้ในบางพื้นที่ ด้านการรับซื้อผู้ซื้อมีการขอเอกสารสิทธิ หรือทะเบียนเกษตรกรด้วย ในส่วนของเกษตรกรที่มีเอกสารสิทธิ จะน�ำทะเบียนเกษตรกรไปปรับปรุงใหม่กบั เกษตรอ�ำเภอ ซึง่ พบว่ามีความล่าช้าในด้านกระบวนการ ปรับปรุงเอกสารอยู่บ้าง ในส่วนของเกษตรกรที่ยังไม่มีเอกสารสิทธิ อาทิ เกษตรกรที่เช่าพื้นที่ในการ เพาะปลูกจะไม่สามารถไปขึ้นทะเบียนเกษตรกรได้ การรับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ยังคงต้องรับทั้งสองส่วน อยู่ ปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ อ.ชัยบาดาล เป็นเรื่องของลมแรงที่พัดฝุ่นจากลานไปยังหมู่บ้านใกล้เคียง ท�ำให้ชาวบ้านเกิดความไม่พอใจ พืชอื่นที่ปลูกนอกจากข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ได้แก่ มันส�ำปะหลัง ถั่วเขียว และทานตะวัน

65


Around the World ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 176 กันยายน - ตุลาคม 2560

จังหวัดเพชรบูรณ์ แหล่งข้อมูล : ร้านสหเพชรวิเชียรพืชผล ต.ท่าโรง อ.วิเชียรบุรี จ.เพชรบูรณ์ คุณโอ โทร. 092 - 8433883, คุณประทีป ฟักสกุล เกษตรกร อ.บึงสามพัน จ.เพชรบูรณ์, เกษตรกร ต.ซับสมพงษ์ อ.บึงสามพัน จ.เพชรบูรณ์, ร้านรุ่งเรืองมิตรพืชผล ต.ท่าข้าม อ.ชนแดน จ.เพชรบูรณ์ คุณวัฒนา โทร.0870813952 และข้อมูลจากเกษตรจังหวัดเพชรบูรณ์

ฤดูกาลผลิต ปี 2559/2560 ปี 2560/2561 เพิ่ม/ลด (%)

พื้นที่เพาะปลูก (ไร่) 799,784 799,784 0%

ผลผลิตต่อไร่ (กก.) 805 821 2%

ผลผลิตรวม (ตัน) 643,826 656,622 2%

สภาพทั่วไป พื้นที่เพาะปลูกทรงตัวเท่ากับปีที่ผ่านมาอยู่ที่ 799,784 ไร่ แม้ว่าเกษตรกรที่ปลูกมันส�ำปะหลัง และอ้อย หันกลับมาเพือ่ ปลูกข้าวโพดเลีย้ งสัตว์เพิม่ เติมแล้วก็ตาม แต่จากการทีม่ นี โยบายขอคืนพืน้ ทีป่ า่ และตรวจสอบเอกสารสิทธิในการซือ้ ขายข้าวโพดเลีย้ งสัตว์ ท�ำให้เกษตรกรบางส่วนตัดสินใจเลิกเพาะปลูก จึงไม่ท�ำให้พื้นที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้นจากเดิม ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่และผลผลิตรวม อยู่ที่ 821 กก./ไร่ เพิ่มขึ้น 2% เนื่องจากสภาพอากาศ และ น�ำ้ ฝนดีเท่ากับปีกอ่ น ส่งผลให้ผลผลิตเพิม่ มากขึน้ แต่ไม่แตกต่างจากปีกอ่ นมากนัก การเก็บเกีย่ วเป็นแบบ รถเกี่ยวเป็นส่วนใหญ่

66


Around the World ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 176 กันยายน - ตุลาคม 2560

ราคารับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เฉลี่ยในพื้นที่ อ.วิเชียรบุรี และ อ.บึงสามพัน อยู่ที่ 3.80 บาท/กก. (ฝักสด) ความชืน้ 30% และ 5.70 บาท/กก. (เมล็ดสด) ความชืน้ 30% สูงกว่าปีทผี่ า่ นมา เมล็ดพันธุ์ ที่นิยมได้แก่ ไพโอเนียร์ และ NK เป็นต้น ส�ำหรับการรับซื้อข้าวโพดมีการขอเอกสารสิทธิในการรับซื้อ มากขึ้น แต่ยังคงรับซื้อในส่วนที่ไม่มีเอกสารสิทธิต่อไป โดยเป็นการขอความร่วมมือจากเกษตรกรเป็น หลัก ปัญหาทีพ่ บในพืน้ ทีเ่ พชรบูรณ์ในปีนี้ มีพายุเข้าและฝนตกหนักต่อเนือ่ ง ส่งผลให้นำ�้ ท่วมในบางพืน้ ที่ ของจังหวัด ท�ำให้ผลผลิตเสียหายบางส่วนแต่ไม่มาก

จังหวัดพิษณุโลก แหล่งข้อมูล : ร้าน อ.เจริญชัย อ.นครไทย จ.พิษณุโลก คุณอิศรา ปานเกิด โทร. 094 - 6298892, 081 - 5342626, คุณกรองแก้ว เกษตรกร อ.นครไทย จ.พิษณุโลก, ร้านประกอบพืชผล อ.ชาติตระการ จ.พิษณุโลก โทร. 081 - 0377524, ร้านโชคอ�ำนวยพร 2 อ.ชาติตระการ จ.พิษณุโลก คุณผ่อน ดวงปะ โทร. 081 - 3240020 และข้อมูลจากเกษตรจังหวัดพิษณุโลก

ฤดูกาลผลิต ปี 2559/2560 ปี 2560/2561 เพิ่ม/ลด (%)

พื้นที่เพาะปลูก (ไร่) 257,963 257,963 0.0%

ผลผลิตต่อไร่ (กก.) 737 751 1.9%

ผลผลิตรวม (ตัน) 190,119 193,730 1.9%

67


Around the World ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 176 กันยายน - ตุลาคม 2560

สภาพทั่วไป พื้นที่เพาะปลูกเท่าเดิมเมื่อเทียบกับปีที่แล้วอยู่ที่ 257,963 ไร่ เนื่องจากเกษตรกรมีทางเลือก ในการเพาะปลูกไม่มากนัก แม้ราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในปีที่แล้วตกต�่ำ แต่ราคาพืชทางเลือกอื่นก็ตกต�่ำ ด้วยเช่นกัน ท�ำให้เกษตรกรไม่มีทางเลือก และจ�ำเป็นต้องปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ต่อไป เกษตรกรที่มี พื้นที่นาติดแหล่งน�้ำ โดยมากจะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และในพื้นที่ที่ห่างจากแหล่งน�้ำจะปล่อยว่างไว้ ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่อยู่ที่ 751 กก./ไร่ เพิ่มขึ้นมาประมาณ 1.9% จากสภาวะฝนดี แม้ว่าในช่วงนี้ จะมีพายุฝนเข้าจนท�ำให้เกิดน�้ำท่วมขังในบางพื้นที่ แต่ก็ไม่ท�ำให้ผลผลิตเสียหาย การเก็บเกี่ยวมีทั้งที่ใช้ แรงงานคน และรถเก็บเกี่ยว ราคารับซือ้ ข้าวโพดเลีย้ งสัตว์อยูท่ ี่ 5.00 - 5.50 บาท/กก. (เมล็ดสด) ความชืน้ 30% เมล็ดพันธุท์ ใี่ ช้ ได้แก่ ไพโอเนียร์, NK, แปซิฟิค, 888, นครสวรรค์ 3 เป็นต้น พ่อค้าในพื้นที่ อ.ชาติตระการ ส่วนมาก จะไม่ได้ขอเอกสารสิทธิ เนือ่ งจากเกษตรกรยังคุน้ ชินกับรูปแบบเดิม และไม่เข้าใจว่าเอกสารมีความจ�ำเป็น อย่างไร นอกจากข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เกษตรกรยังปลูกสับปะรด ข้าว ถั่ว และงาเล็กน้อย และจากการ สอบถามลานรับซื้อใน อ.ชาติตระการ ให้ข้อมูลเกี่ยวกับซังข้าวโพดหลังจากสีเรียบร้อยแล้ว ทางลาน จะน�ำซังข้าวโพดไปขายต่อเพื่อท�ำเชื้อเพลิง หากซังมีความชื้นสูงจะส่งขายไปยังลานใน จ.อุตรดิตถ์ ใน ราคา 700 บาท/ตัน และหากซังมีความชื้นต�่ำมากๆ จะส่งขายไปที่ อ.ตากฟ้า จ.นครสวรรค์ ได้ราคาถึง 2,200 บาท/ตัน

จังหวัดอุตรดิตถ์ แหล่งข้อมูล : ร้านชัยอารียก์ ารเกษตร อ.น�ำ้ ปาด จ.อุตรดิตถ์ คุณชยันต์ แก้วทอง โทร. 089 - 8595363, ส�ำนักงานเกษตรอ�ำเภอน�้ำปาด จ.อุตรดิตถ์ โทร.055 - 480106 และข้อมูลจากเกษตร จังหวัดอุตรดิตถ์ ฤดูกาลผลิต ปี 2559/2560 ปี 2560/2561 เพิ่ม/ลด (%)

พื้นที่เพาะปลูก (ไร่) 174,502 169,267  - 3%

ผลผลิตต่อไร่ (กก.) 684 691 1%

ผลผลิตรวม (ตัน) 119,359 116,963  - 2%

สภาพทั่วไป พื้นที่เพาะปลูกในปีนี้อยู่ที่ 169,267 ไร่ ลดลงจากปีที่แล้วประมาณ 3% เนื่องจากรัฐบาลมี นโยบายขอคืนพื้นที่ป่า และเกษตรกรบางส่วนหันไปปลูกอ้อยเพิ่มมากขึ้น ซึ่งพื้นที่ข้าวโพดที่หันไปปลูก อ้อยนั้น จะส่งผลให้พื้นที่เพาะปลูกลดลงในระยะยาวอย่างน้อย 3 ปี

68


Around the World ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 176 กันยายน - ตุลาคม 2560

ผลผลิตเฉลีย่ ต่อไร่ อยูท่ ี่ 691 กก./ไร่ เพิม่ ขึน้ จากปีทแี่ ล้ว 1% เนือ่ งจากสภาพน�ำ้ ฝนดี เหมาะสม ต่อการเพาะปลูก และเจริญเติบโตของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และมีน�้ำท่วมขังในบางพื้นแต่ไม่ส่งต่อผลผลิต ในภาพรวม แรงงานที่ใช้ในการเก็บเกี่ยวใช้แรงงานคน ราคาขายในพื้นที่ อ.น�้ำปาด 4.10 - 4.20 บาท/กก. (ฝักสด)ความชื้น 30% โดยราคาดีขึ้นจาก ปีที่แล้ว เมล็ดพันธุ์ที่ใช้ได้แก่ ไพโอเนียร์, นครสวรรค์ 3, แปซิฟิค เป็นต้น พืชอื่นที่เพาะปลูกในพื้นที่ อ้อย มันส�ำปะหลัง และสับปะรด เป็นต้น ส�ำหรับเอกสารสิทธิพ่อค้าเริ่มขอจากเกษตรกรแต่ยังได้ใน ปริมาณน้อยอยู่

จังหวัดตาก แหล่งข้อมูล : สหกรณ์การเกษตร อ.พบพระ จ.ตาก คุณเบญจมาศ 087 - 1952764, เกษตรกรจาก ต.แม่กุ อ.แม่สอด จ.ตาก, เกษตรจาก ต.แม่กาษา อ.แม่สอด จ.ตาก คุณสัมพันธุ์ แก้วตา และข้อมูลจากเกษตรจังหวัดตาก ฤดูกาลผลิต ปี 2559/2560 ปี 2560/2561 เพิ่ม/ลด (%)

พื้นที่เพาะปลูก (ไร่) 669,729 649,637 - 3.0%

ผลผลิตต่อไร่ (กก.) 735 742 1.0%

ผลผลิตรวม (ตัน) 492,251 482,030  - 2.1%

สภาพทั่วไป พื้นที่เพาะปลูกลดลง 3% จาก 669,729 ไร่ เป็น 649,637 ไร่ เนื่องจากราคาข้าวโพด เลี้ยงสัตว์ในปีที่แล้วไม่ค่อยจูงใจมากเท่าที่ควร เกษตรกรบางส่วนจึงหันไปปลูกพืชอื่นทดแทน เช่น อโวคาโด ทุเรียน อ้อย และถัว่ บางส่วน และเกษตรกรทีไ่ ด้เข้าพบปะแจ้งว่าจะหันไปปลูกอ้อยแทนข้าวโพด และปลูกพืชอื่นผสมผสานไปด้วย

69


Around the World ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 176 กันยายน - ตุลาคม 2560

ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ เพิ่มขึ้น 1% จาก 735 กก./ไร่ เป็น 742 กก./ไร่ ถือว่าไม่มากนักแม้ฝนจะ ตกต้องตามฤดูกาล ส่งผลให้ผลผลิตเพิ่มมากขึ้น แต่เกษตรกรกลับลดการใช้ปุ๋ยบ�ำรุงดินลงเนื่องจาก ขาดเงินทุน ท�ำให้ผลผลิตต่อไร่เพิม่ ขึน้ ไม่เท่าทีค่ วรจะเป็น อย่างไรก็ตาม ถือว่าผลผลิตทีอ่ อกมามีคณ ุ ภาพดี และเมล็ดโตเต็มฝัก แรงงานที่ใช้ในการเก็บเกี่ยวใช้แรงงานคน เนื่องจากพื้นที่ไม่เหมาะสมต่อการใช้ รถเก็บเกี่ยว ราคารับซื้อใน อ.พบพระ อยู่ที่ 3.00 - 3.20 บาท/กก.(ฝักสด) ความชื้น 30% ส่วน อ.แม่สอด อยู่ที่ 3.50 - 3.60 บาท/กก. (ฝักสด) ความชื้น 30% เมล็ดพันธุ์ที่ใช้เป็น พันธุ์นครสวรรค์ 3 เกษตรกร แจ้งว่า หลังเก็บเกี่ยวแล้วจะเลิกปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และหันไปปลูกอ้อยทดแทน เนื่องจากราคา ข้าวโพดไม่ค่อยดี และไม่มีน�้ำส�ำหรับเพาะปลูกต่อ นอกจากอ้อยแล้วในพื้นที่ยังคงปลูกพืชชนิดอื่น อาทิ ถั่วเขียว ถั่วเหลือง มันส�ำปะหลัง อีกด้วย สรุปโดย นางสาวกรดา พูลพิเศษ สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย 3 สิงหาคม 2560

70




ม.ค. 10.14 10.23 7.49 9.44 9.01 8.00

ม.ค. 27.64 32.49 26.20 37.14 36.70 36.70

เดือน 2555 2556 2557 2558 2559 2560

ม.ค. 9.43 10.16 8.18 10.08 8.27 7.85

ราคาร�ำสด

เดือน 2555 2556 2557 2558 2559 2560

ราคาปลาป่น

เดือน 2555 2556 2557 2558 2559 2560

ก.พ. 9.20 10.03 8.36 10.31 8.31 8.36

ก.พ. 28.81 31.30 30.92 39.83 36.27 37.29

ก.พ. 10.19 10.19 8.43 9.39 8.85 8.00

ราคาข้าวโพดอาหารสัตว์

มี.ค. 8.62 8.63 9.31 10.92 9.39 8.01

มี.ค. 32.21 31.30 31.12 42.26 33.96 39.48

มี.ค. 10.35 10.15 8.75 9.48 8.85 8.00

เม.ย. 8.72 7.71 9.15 10.79 10.01 7.86

เม.ย. 33.24 29.94 33.93 42.74 32.70 39.70

เม.ย. 10.51 10.21 9.20 9.55 8.85 8.00

พ.ค. 8.09 8.92 10.63 10.70 9.73 7.72

พ.ค. 30.26 26.74 30.24 37.58 33.61 39.14

พ.ค. 10.24 9.89 9.33 9.46 8.83 8.00

มิ.ย. 7.76 10.32 10.96 11.15 9.82 8.05

มิ.ย. 29.38 24.80 29.74 36.70 36.66 38.70

มิ.ย. 10.76 10.24 10.23 10.05 9.51 8.33

ก.ค. 8.22 10.09 11.41 11.64 10.19 8.29

ก.ค. 31.53 29.84 29.70 36.85 36.70 38.70

ก.ค. 10.86 9.94 10.50 10.75 9.32 8.45

ส.ค. 10.55 10.53 11.15 11.27 10.43 8.36

ส.ค. 37.70 30.78 37.70 36.70 38.90 38.70

ส.ค. 11.60 9.26 9.87 10.32 8.75 8.32

ก.ย. 10.88 9.71 9.42 8.87 10.30

ก.ย. 35.06 29.00 37.70 40.32 38.39

ก.ย. 10.57 8.39 8.79 9.21 8.08

ต.ค. 10.80 8.59 8.83 8.66 7.89

ต.ค. 30.95 31.90 36.47 43.39 34.93

ต.ค. 10.14 8.06 8.26 8.67 8.00

พ.ย. 11.15 9.17 8.80 8.23 7.05

พ.ย. 32.83 26.59 34.78 44.50 35.63

พ.ย. 10.49 7.95 9.09 8.69 8.00

เฉลี่ย ต�่ำสุด สูงสุด 9.52 7.76 11.15 9.34 7.71 10.53 9.59 8.18 11.41 10.04 7.89 11.64 9.07 7.05 10.43 8.06 7.72 8.36 ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

ธ.ค. 10.81 8.22 8.85 7.89 7.46

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

เฉลี่ย ต�่ำสุด สูงสุด 31.95 27.64 37.70 29.12 24.72 32.49 32.83 26.20 37.70 39.73 36.70 44.50 35.81 32.70 38.90 38.55 36.70 39.70 ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

ธ.ค. 33.80 24.72 35.45 38.70 35.28

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

เฉลี่ย ต�่ำสุด สูงสุด 10.51 10.14 10.65 9.32 7.32 11.60 9.10 7.49 10.24 9.45 8.44 10.50 8.67 8.00 10.75 8.14 8.00 8.45 ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

ธ.ค. 10.25 7.32 9.21 8.44 8.00

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 176 กันยายน - ตุลาคม 2560

71


72

ม.ค. 13.95 18.77 18.75 18.12 16.57 15.92

ก.พ. 13.85 18.41 19.47 18.10 16.63 15.69

มี.ค. 12.88 18.25 20.52 18.01 15.81 15.52

ม.ค. 14.12 18.22 19.14 17.98 15.90 15.55

ก.พ. 15.13 18.15 18.88 17.55 15.90 15.55

มี.ค. 15.75 19.07 20.15 17.19 15.90 15.55

เม.ย. 16.06 19.36 20.25 16.45 15.90 14.85

เม.ย. 12.73 17.96 19.88 17.83 15.13 15.54

พ.ค. 16.23 17.89 20.03 15.85 16.02 14.85

พ.ค. 13.31 17.23 20.98 16.98 14.27 15.21

เดือน 2555 2556 2557 2558 2559 2560

ม.ค. 14.99 19.47 20.62 19.20 16.98 16.55

ก.พ. 16.01 19.35 20.38 18.95 16.90 16.55

มี.ค. 16.75 20.14 21.68 18.59 16.90 16.55

เม.ย. 17.01 20.47 21.75 18.11 16.90 15.85

พ.ค. 17.20 19.35 21.58 17.35 17.02 15.85

ราคากากถั่วเหลืองกะเทาะเปลือก (Dehulled)

เดือน 2555 2556 2557 2558 2559 2560

ราคากากถั่วเหลืองเมล็ดนำ�เข้า

เดือน 2555 2556 2557 2558 2559 2560

ราคากากถั่วเหลืองต่างประเทศ

มิ.ย. 17.73 18.48 21.5 16.63 18.68 15.45

มิ.ย. 16.98 17.15 20.00 15.13 17.49 14.45

มิ.ย. 12.79 16.43 21.06 15.78 13.49 14.70

ก.ค. 20.02 18.30 20.90 16.62 18.85 15.30

ก.ค. 19.00 17.20 19.40 15.10 17.75 14.30

ก.ค. 14.23 16.16 20.84 15.38 13.94 14.33

ส.ค. 22.65 18.29 20.55 17.13 17.99 15.35

ส.ค. 21.80 17.29 19.05 15.94 16.89 14.35

ส.ค. 15.21 16.63 20.77 15.39 14.24 13.92

ก.ย. 22.69 18.89 20.55 17.25 17.95

ก.ย. 21.80 17.89 19.05 16.10 16.85

ก.ย. 17.17 17.30 20.45 15.38 14.53

ต.ค. 22.34 19.30 20.00 17.25 16.99

ต.ค. 21.09 18.05 18.50 16.10 15.89

ต.ค. 17.41 17.84 19.75 16.30 14.94

พ.ย. 21.48 20.23 19.95 17.77 16.95

พ.ย. 20.28 18.77 18.47 16.72 15.85

พ.ย. 18.85 18.26 19.41 16.55 15.65

เฉลี่ย ต�่ำสุด สูงสุด 19.08 14.99 22.69 19.43 18.29 20.85 20.78 19.95 21.75 17.68 16.62 19.20 17.41 16.79 18.85 15.93 15.30 16.55 ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

ธ.ค. 20.08 20.85 19.95 17.25 16.79

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

เฉลี่ย ต�่ำสุด สูงสุด 18.09 14.12 21.80 18.21 17.15 19.45 19.28 18.45 20.25 16.35 15.10 17.98 16.34 15.73 17.75 14.93 14.30 15.55 ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

ธ.ค. 18.88 19.45 18.45 16.10 15.73

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

เฉลี่ย ต�่ำสุด สูงสุด 15.20 12.73 20.06 17.64 16.16 18.77 20.08 18.75 21.06 16.68 15.38 18.12 15.11 13.49 16.63 15.10 13.92 15.92 ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

ธ.ค. 20.06 18.47 19.02 16.30 16.08

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 176 กันยายน - ตุลาคม 2560


ม.ค. 8.09 8.93 6.76 8.59 7.38 7.11

ม.ค. 16.31 14.98 9.45 9.82 10.51 10.77

ก.พ. 15.74 15.00 9.43 9.72 10.59 10.77

ก.พ. 7.45 8.96 6.71 8.62 7.29 7.66

เดือน 2555 2556 2557 2558 2559 2560

ม.ค. 7.53 6.79 6.64 6.89 6.08 5.81

ก.พ. 7.13 6.85 6.85 6.59 5.84 5.72

ราคามันสำ�ปะหลังเส้น

เดือน 2555 2556 2557 2558 2559 2560

ราคาปลายข้าว

เดือน 2555 2556 2557 2558 2559 2560

ราคากากรำ�สกัดน้ำ�มัน

มี.ค. 6.59 7.07 6.90 6.74 5.93 5.74

มี.ค. 15.78 15.06 9.49 9.75 10.74 10.53

มี.ค. 6.49 7.90 7.06 8.60 8.02 7.60

เม.ย. 7.00 7.18 6.87 6.74 6.09 5.53

เม.ย. 15.94 15.39 9.52 9.81 10.96 10.36

เม.ย. 6.42 7.32 6.78 8.49 8.57 7.30

พ.ค. 7.29 7.19 6.88 7.02 6.51 5.40

พ.ค. 16.33 15.11 9.40 9.85 11.28 9.83

พ.ค. 6.21 8.16 8.67 8.32 8.55 7.01

มิ.ย. 7.25 7.26 6.93 7.46 6.72 5.32

มิ.ย. 16.44 15.10 9.75 10.02 11.69 9.92

มิ.ย. 5.82 9.58 9.14 8.90 8.35 7.10

ก.ค. 7.13 7.31 7.00 7.74 6.69 5.41

ก.ค. 16.27 14.26 10.46 10.38 11.69 10.04

ก.ค. 6.14 8.94 9.84 9.37 8.01 7.12

ส.ค. 7.39 7.32 7.25 7.74 6.48 5.47

ส.ค. 15.86 13.98 10.28 10.50 11.68 10.01

ส.ค. 8.43 9.33 10.58 9.40 8.20 7.47

ก.ย. 7.67 7.27 7.34 7.66 6.28

ก.ย. 15.67 13.09 9.69 10.50 11.60

ก.ย. 8.67 9.00 9.42 7.94 8.01

ต.ค. 7.65 7.15 7.38 7.25 6.12

ต.ค. 15.46 11.91 9.94 10.28 11.00

ต.ค. 8.81 7.74 8.67 7.45 6.57

พ.ย. 7.48 7.00 7.39 6.74 6.10

พ.ย. 15.45 10.55 9.94 10.44 10.56

พ.ย. 9.31 8.04 8.39 7.04 5.87

เฉลี่ย ต�่ำสุด สูงสุด 7.28 6.59 7.67 7.10 6.78 7.32 7.04 6.64 7.39 7.08 6.40 7.74 6.24 5.84 6.72 5.55 5.32 5.81 ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

ธ.ค. 7.25 6.78 7.09 6.40 6.02

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

เฉลี่ย ต�่ำสุด สูงสุด 15.88 15.30 16.44 13.68 9.75 15.39 9.77 9.40 10.46 10.13 9.72 10.52 11.08 10.51 11.69 10.28 9.83 10.77 ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

ธ.ค. 15.30 9.75 9.84 10.52 10.60

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

เฉลี่ย ต�่ำสุด สูงสุด 7.59 5.82 9.31 8.41 7.05 9.58 8.34 6.71 10.58 8.30 6.90 9.40 7.60 5.87 8.57 7.30 7.01 7.66 ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

ธ.ค. 9.23 7.05 8.00 6.90 6.43

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 176 กันยายน - ตุลาคม 2560

73


74

ม.ค. 28.00 31.00 31.50 32.50 36.00 36.00

ก.พ. 28.00 30.00 31.74 32.50 35.00 36.00

ม.ค. 49.83 52.88 59.27 92.89 76.00 68.97

ก.พ. 48.89 62.57 59.88 89.81 75.23 68.07

เดือน 2555 2556 2557 2558 2559 2560

ม.ค. 50.60 60.00 60.00 60.00 60.00 60.00

ก.พ. 50.60 60.00 60.00 60.00 60.00 60.00

ราคาน้ำ�มันปลา FO

เดือน 2555 2556 2557 2558 2559 2560

ราคาปลาป่นนำ�เข้า

เดือน 2555 2556 2557 2558 2559 2560

ราคาตับปลาหมึก SLP

มี.ค. 50.60 60.00 60.00 60.00 60.00 62.00

มี.ค. 47.99 63.11 61.65 85.62 74.58 67.92

มี.ค. 28.00 30.00 32.00 32.50 35.00 34.50

เม.ย. 51.55 60.00 60.00 60.00 60.00 62.00

เม.ย. 48.12 62.66 61.91 77.01 77.15 67.09

เม.ย. 25.00 29.50 32.00 32.50 35.00 34.50

พ.ค. 54.45 60.00 60.00 60.00 60.00 65.80

พ.ค. 55.35 59.57 63.10 74.37 77.58 67.23

พ.ค. 26.89 29.50 33.00 34.50 35.00 34.50

มิ.ย. 55.11 60.00 60.00 60.00 60.00 65.80

มิ.ย. 59.24 56.76 70.17 69.15 82.73 64.83

มิ.ย. 28.58 30.00 33.50 36.00 35.00 34.50

ก.ค. 53.54 60.00 60.00 60.00 60.00 65.80

ก.ค. 61.16 55.32 75.81 66.27 79.54 60.35

ก.ค. 33.70 30.00 33.00 35.80 35.00 35.00

ส.ค. 52.28 60.00 60.00 60.00 60.00 65.80

ส.ค. 63.33 56.79 78.17 68.89 75.99 60.74

ส.ค. 30.80 31.00 33.00 36.10 35.00 35.00

ก.ย. 55.85 60.00 60.00 60.00 60.00

ก.ย. 56.80 54.69 77.96 71.78 74.86

ก.ย. 35.04 31.50 33.00 36.79 35.00

ต.ค. 55.98 60.00 60.00 60.00 60.00

ต.ค. 54.22 53.43 76.86 71.81 66.61

ต.ค. 36.13 31.50 33.00 36.35 35.00

พ.ย. 55.71 60.00 60.00 60.00 60.00

พ.ย. 68.37 56.31 87.54 72.56 63.79

พ.ย. 36.13 31.50 33.50 35.50 35.00

เฉลี่ย ต�่ำสุด สูงสุด 53.45 50.60 55.98 60.00 60.00 60.00 60.00 60.00 60.00 60.00 60.00 60.00 60.00 60.00 60.00 63.40 60.00 65.80 ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

ธ.ค. 55.08 60.00 60.00 60.00 60.00

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

เฉลี่ย ต�่ำสุด สูงสุด 57.30 47.99 74.33 57.71 52.88 63.11 72.01 59.27 91.82 76.00 66.27 92.89 74.26 63.79 82.73 65.65 60.35 68.97 ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

ธ.ค. 74.33 58.46 91.82 71.79 67.04

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

เฉลี่ย ต�่ำสุด สูงสุด 31.03 25.00 36.13 30.58 29.50 31.50 32.69 31.50 33.50 34.75 32.50 36.79 35.08 35.00 36.00 35.00 34.50 36.00 ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

ธ.ค. 36.13 31.50 33.00 36.00 35.00

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 176 กันยายน - ตุลาคม 2560


ม.ค. 48.00 53.58 56.71 52.00 54.10 57.00

ก.พ. 48.00 58.85 53.00 52.00 54.00 60.00

ม.ค. 7.73 8.94 6.79 8.20 6.72 6.81

ก.พ. 7.45 9.15 6.67 8.23 6.96 7.35

เดือน 2555 2556 2557 2558 2559 2560

ม.ค. 18.73 17.75 16.40 16.60 14.94 13.21

ก.พ. 18.51 17.68 16.33 16.26 14.70 13.21

WHEAT FLOUR

เดือน 2555 2556 2557 2558 2559 2560

WHEAT BRAN

เดือน 2555 2556 2557 2558 2559 2560

WHEAT GLUTEN

มี.ค. 17.89 16.47 16.55 16.00 14.70 13.21

มี.ค. 6.67 7.66 6.88 8.36 7.80 7.33

มี.ค. 48.00 58.85 54.00 52.00 53.00 62.00

เม.ย. 17.80 16.70 16.33 16.13 14.70 13.07

เม.ย. 6.41 7.29 6.86 8.30 8.21 7.17

เม.ย. 46.50 58.85 58.85 52.00 53.00 58.00

พ.ค. 17.50 17.00 16.77 15.98 14.71 13.13

พ.ค. 6.23 8.75 8.03 8.33 7.80 6.76

พ.ค. 46.50 58.85 57.25 52.00 53.50 58.00

มิ.ย. 17.20 16.90 16.72 15.81 14.71 13.57

มิ.ย. 5.86 8.82 8.39 8.35 7.71 6.78

มิ.ย. 48.54 58.85 56.71 52.00 55.00 58.00

ก.ค. 17.15 16.70 16.59 15.57 14.71 13.58

ก.ค. 5.93 8.62 8.99 8.49 7.15 6.83

ก.ค. 51.00 55.64 56.71 50.00 55.00 60.00

ส.ค. 17.73 16.51 16.60 15.38 14.71 14.08

ส.ค. 7.93 8.81 9.60 8.58 6.43 7.00

ส.ค. 50.05 58.85 56.71 52.52 55.00 60.00

ก.ย. 17.38 16.80 16.59 15.11 14.70

ก.ย. 8.79 8.55 9.43 7.90 6.29

ก.ย. 48.13 58.85 56.00 53.50 55.00

ต.ค. 17.58 16.57 16.59 15.12 13.61

ต.ค. 9.24 7.85 8.62 7.21 6.72

ต.ค. 47.50 60.99 52.00 54.25 55.00

พ.ย. 17.98 16.34 16.59 15.12 13.34

พ.ย. 8.80 7.87 8.27 6.62 6.42

พ.ย. 47.50 60.99 52.00 54.00 55.00

เฉลี่ย ต�่ำสุด สูงสุด 17.79 17.15 18.73 16.84 16.34 17.75 16.57 16.33 16.77 15.68 15.04 16.60 14.39 13.18 14.94 13.38 13.07 14.08 ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

ธ.ค. 18.02 16.71 16.73 15.04 13.18

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

เฉลี่ย ต�่ำสุด สูงสุด 7.51 5.86 9.24 8.30 7.29 9.15 8.05 6.67 9.60 7.90 6.24 8.58 7.05 6.29 8.21 7.00 6.76 7.35 ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

ธ.ค. 9.10 7.29 8.03 6.24 6.42

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

เฉลี่ย ต�่ำสุด สูงสุด 48.10 46.50 51.00 58.23 53.58 60.99 55.16 52.00 58.85 52.48 50.00 54.25 54.55 53.00 57.00 59.13 57.00 62.00 ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

ธ.ค. 47.50 55.64 52.00 53.50 57.00

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 176 กันยายน - ตุลาคม 2560

75


76

ม.ค. 28.01 27.44 25.79 28.00 27.00 27.75

ก.พ. 27.73 25.79 25.79 28.00 27.00 27.75

ม.ค. 86.67 120.00 120.00 120.00 120.00 150.00

ก.พ. 93.67 120.00 120.00 120.00 120.00 150.00

เดือน 2555 2556 2557 2558 2559 2560

ม.ค. 4.90 5.91 6.65 6.40 5.27 5.64

ก.พ. 4.80 5.42 6.83 6.20 5.38 5.66

ราคากากปาล์มเมล็ดใน

เดือน 2555 2556 2557 2558 2559 2560

ราคาปลาหมึกป่น SLM

เดือน 2555 2556 2557 2558 2559 2560

ราคาเปลือกกุ้ง

มี.ค. 4.75 5.02 6.60 5.17 5.04 5.26

มี.ค. 98.33 120.00 120.00 120.00 120.00 150.00

มี.ค. 27.45 25.79 25.79 28.00 27.00 27.75

เม.ย. 4.71 4.94 5.52 4.90 4.96 4.88

เม.ย. 98.33 120.00 120.00 120.00 120.00 150.00

เม.ย. 31.30 25.79 25.79 28.00 27.00 27.75

พ.ค. 4.63 5.14 5.14 4.90 5.08 4.67

พ.ค. 98.33 120.00 120.00 120.00 120.00 150.00

พ.ค. 31.30 25.79 27.34 28.00 27.00 27.75

มิ.ย. 4.67 5.32 5.00 4.90 5.30 4.39

มิ.ย. 98.33 120.00 120.00 120.00 120.00 150.00

มิ.ย. 30.44 25.79 27.34 28.00 27.25 28.25

ก.ค. 4.85 5.38 5.05 4.92 5.30 4.40

ก.ค. 96.67 120.00 120.00 120.00 130.00 150.00

ก.ค. 26.85 25.79 27.34 28.00 27.25 28.25

ส.ค. 5.96 5.40 5.00 4.97 5.37 4.50

ส.ค. 98.33 120.00 120.00 120.00 130.00 160.00

ส.ค. 29.16 24.69 28.20 28.00 26.50 28.25

ก.ย. 5.96 5.42 5.06 5.07 5.36

ก.ย. 120.00 120.00 120.00 120.00 130.00

ก.ย. 27.24 25.79 28.25 28.00 27.50

ต.ค. 5.59 5.42 5.24 5.07 5.25

ต.ค. 120.00 120.00 120.00 120.00 130.00

ต.ค. 26.58 25.89 28.25 28.00 27.50

พ.ย. 5.81 5.81 5.66 5.18 5.32

พ.ย. 120.00 120.00 120.00 120.00 130.00

พ.ย. 26.72 25.79 28.45 27.00 27.75

เฉลี่ย ต�่ำสุด สูงสุด 5.22 4.63 6.00 5.46 4.94 6.37 5.65 5.00 6.83 5.23 4.90 6.40 5.26 4.96 5.44 4.93 4.39 5.66 ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

ธ.ค. 6.00 6.37 6.04 5.13 5.44

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

เฉลี่ย ต�่ำสุด สูงสุด 104.06 86.67 120.00 120.00 120.00 120.00 120.00 120.00 120.00 120.00 120.00 120.00 125.83 120.00 140.00 151.25 150.00 160.00 ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

ธ.ค. 120.00 120.00 120.00 120.00 140.00

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

เฉลี่ย ต�่ำสุด สูงสุด 28.29 26.58 31.30 25.84 24.69 27.44 27.19 25.79 28.45 27.83 27.00 28.00 27.19 26.50 27.75 27.94 27.75 28.25 ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

ธ.ค. 26.74 2 5.79 28.00 27.00 27.50

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 176 กันยายน - ตุลาคม 2560


ม.ค. 10.00 14.85 23.00 8.00 21.50 19.00

ม.ค. 110.50 116.65 150.50 125.50 146.75 140.50

เดือน 2555 2556 2557 2558 2559 2560

ม.ค. 213.00 267.00 313.00 248.00 263.00 253.00

ราคาไข่ไก่คละ

เดือน 2555 2556 2557 2558 2559 2560

ราคาไก่รุ่น-ไก่สาว

เดือน 2555 2556 2557 2558 2559 2560

ราคาลูกไก่ไข่

ก.พ. 254.00 280.00 317.00 233.00 279.00 236.00

ก.พ. 110.50 128.91 150.50 120.72 151.80 138.68

ก.พ. 10.00 16.00 23.00 8.00 23.52 18.27

มี.ค. 260.00 270.00 285.00 202.00 289.00 222.00

มี.ค. 106.67 135.00 148.96 98.70 155.50 133.46

มี.ค. 8.68 16.00 22.38 6.88 25.00 16.19

เม.ย. 227.00 276.00 267.00 239.00 268.00 223.00

เม.ย. 93.50 138.81 135.00 95.50 155.50 130.50

เม.ย. 7.00 18.57 17.00 6.00 25.00 15.00

พ.ค. 254.00 313.00 319.00 250.00 288.00 257.00

พ.ค. 97.67 154.17 143.20 103.79 155.89 135.50

พ.ค. 8.67 23.25 20.28 8.50 25.00 17.00

มิ.ย. 268.00 323.00 307.00 250.00 316.00 260.00

มิ.ย. 103.50 159.30 145.50 110.50 160.50 135.50

มิ.ย. 11.00 25.00 21.00 10.00 27.00 17.00

ก.ค. 229.00 291.00 297.00 267.00 320.00 257.00

ก.ค. 98.33 150.50 142.30 120.50 160.50 135.50

ก.ค. 7.50 23.00 19.40 13.00 27.00 17.00

ส.ค. 246.00 320.00 329.00 292.00 328.00 270.00

ส.ค. 93.50 153.87 148.83 140.50 162.30 137.50

ส.ค. 6.00 24.31 20.33 19.48 27.72 17.80

ก.ย. 240.00 348.00 289.00 300.00 324.00

ก.ย. 99.50 155.50 148.58 145.50 165.50

ก.ย. 8.40 25.00 18.69 21.00 29.00

ต.ค. 235.00 326.00 253.00 284.00 287.00

ต.ค. 105.50 153.77 137.35 145.50 160.50

ต.ค. 11.00 24.31 13.74 21.00 27.00

พ.ย. 236.00 300.00 273.00 264.00 267.00

พ.ย. 108.77 150.50 135.50 145.50 154.92

พ.ย. 11.88 23.00 13.00 21.00 24.77

เฉลี่ย ต�่ำสุด สูงสุด 241.83 213.00 268.00 302.25 267.00 348.00 290.25 234.00 329.00 256.92 202.00 300.00 289.50 245.00 328.00 247.25 222.00 270.00 ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

ธ.ค. 240.00 313.00 234.00 254.00 245.00

หน่วย : บาท / 100 ฟอง

เฉลี่ย ต�่ำสุด สูงสุด 103.20 93.50 110.50 145.62 116.65 159.30 143.01 129.88 150.50 124.81 95.50 145.50 156.04 142.77 165.50 135.89 130.50 140.50 ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

ธ.ค. 110.50 150.50 129.88 145.50 142.77

หน่วย : บาท/ตัว

หน่วย : บาท/ตัว

เฉลี่ย ต�่ำสุด สูงสุด 9.43 6.00 13.00 21.36 14.85 25.00 18.48 9.96 23.00 13.66 6.00 21.00 25.20 19.91 29.00 17.16 15.00 19.00 ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

ธ.ค. 13.00 23.00 9.96 21.00 19.91

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 176 กันยายน - ตุลาคม 2560

77


78

ม.ค. 14.50 16.19 19.50 15.50 10.50 16.14

ก.พ. 12.94 11.20 19.50 10.54 10.50 17.50

ม.ค. 36.20 42.69 40.80 38.10 35.50 29.92

ก.พ. 34.70 37.91 42.00 35.26 35.36 33.82

เดือน 2555 2556 2557 2558 2559 2560

ม.ค. 54.47 58.22 69.22 59.46 63.75 58.08

ก.พ. 49.63 68.28 72.00 57.65 63.61 60.64

ราคาสุกรขุนหน้าฟาร์ม

เดือน 2555 2556 2557 2558 2559 2560

ราคาไก่เนื้อหน้าฟาร์ม

เดือน 2555 2556 2557 2558 2559 2560

ราคาลูกไก่เนื้อ

มี.ค. 48.85 59.70 72.54 58.33 63.28 59.00

มี.ค. 27.53 38.97 38.85 35.00 36.81 32.00

มี.ค. 6.18 10.96 18.50 7.50 10.87 15.50

เม.ย. 59.63 64.06 75.73 59.64 67.92 61.00

เม.ย. 33.13 44.88 39.50 33.52 37.00 35.48

เม.ย. 6.31 18.17 17.50 8.41 11.50 17.41

พ.ค. 62.50 64.53 77.00 62.42 73.00 67.58

พ.ค. 39.33 45.97 42.00 36.83 36.43 37.57

พ.ค. 11.33 18.67 17.50 9.50 12.50 18.50

มิ.ย. 55.15 65.15 79.52 65.00 75.69 63.81

มิ.ย. 38.22 43.04 43.00 35.33 36.00 36.68

มิ.ย. 12.50 17.50 17.50 11.10 12.50 18.50

ก.ค. 54.95 65.92 78.00 65.65 71.36 58.09

ก.ค. 35.20 44.00 43.00 36.27 35.40 36.13

ก.ค. 12.50 17.50 17.50 11.50 12.74 18.50

ส.ค. 54.31 70.54 77.50 66.77 69.28 60.60

ส.ค. 35.53 44.05 45.08 35.25 39.76 36.00

ส.ค. 12.50 19.27 19.33 11.50 17.62 18.50

ก.ย. 54.13 67.64 74.08 69.53 67.10

ก.ย. 33.58 37.64 44.69 36.87 38.54

ก.ย. 12.02 16.38 21.50 12.50 17.35

ต.ค. 47.65 65.00 65.72 65.96 62.41

ต.ค. 31.37 35.58 42.33 32.96 31.95

ต.ค. 6.96 13.50 18.17 10.36 14.54

พ.ย. 54.31 65.32 63.20 60.68 61.77

พ.ย. 40.73 35.31 40.24 33.85 30.00

พ.ย. 10.42 14.42 15.50 10.02 14.50

เฉลี่ย ต�่ำสุด สูงสุด 53.99 47.65 62.50 64.93 58.22 70.54 72.38 63.20 79.52 62.79 57.65 69.53 66.58 59.82 75.69 61.10 58.08 67.58 ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

ธ.ค. 52.33 64.75 63.99 62.33 59.82

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

เฉลี่ย ต�่ำสุด สูงสุด 35.52 27.53 40.75 40.96 35.31 45.97 41.77 38.85 45.08 35.25 32.96 38.10 35.12 28.64 39.76 34.70 29.92 37.57 ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

ธ.ค. 40.75 41.52 39.69 33.71 28.64

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

หน่วย : บาท/ตัว

เฉลี่ย ต�่ำสุด สูงสุด 11.02 6.18 14.50 15.92 10.96 19.27 18.13 15.50 21.50 10.74 7.50 15.50 13.37 10.50 17.62 17.57 15.50 18.50 ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

ธ.ค. 14.07 17.24 15.50 10.50 15.36

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 176 กันยายน - ตุลาคม 2560


ม.ค. 1,734.80 1,476.92 2,056.00 1,875.00 2,000.00 1,800.00

ก.พ. 1,552.00 1,786.96 2,269.57 1,800.00 2,000.00 1,763.64

มี.ค. 1,312.00 1,561.54 2,400.00 1,800.00 2,081.48 1,700.00

ม.ค. 18.00 18.00 20.00 19.00 23.50 26.00

ก.พ. 18.00 17.22 20.00 15.48 20.00 26.00

เดือน 2555 2556 2557 2558 2559 2560

ม.ค. 60.00 60.00 60.00 61.00 61.00 61.00

ก.พ. 60.00 60.00 60.00 61.00 61.00 61.00

ราคาเป็ดเชอร์รี่หน้าฟาร์ม

เดือน 2555 2556 2557 2558 2559 2560

มี.ค. 60.00 60.00 60.00 61.00 61.00 61.00

มี.ค. 18.00 16.00 20.00 14.00 20.00 26.00

ราคาลูกเป็ดไข่ ซี พี โกลด์เด้น

เดือน 2555 2556 2557 2558 2559 2560

ราคาลูกสุกรขุน

เม.ย. 60.00 60.00 60.00 61.00 61.00 61.00

เม.ย. 18.00 16.00 20.00 14.00 20.00 26.00

เม.ย. 1,452.38 1,866.67 2,600.00 1,859.09 2,294.12 1,750.00

พ.ค. 60.00 60.00 60.00 61.00 61.00 61.00

พ.ค. 18.00 18.00 20.00 15.50 20.00 26.00

พ.ค. 1,666.67 1,600.00 2,600.00 1,925.00 2,600.00 1,900.00

มิ.ย. 60.00 60.00 60.00 61.00 61.00 61.00

มิ.ย. 18.00 18.00 20.00 16.00 20.00 26.00

มิ.ย. 1,500.00 1,600.00 2,600.00 2,000.00 2,584.62 1,769.23

ก.ค. 60.00 60.00 60.00 61.00 61.00 61.00

ก.ค. 18.00 18.00 22.40 16.77 24.08 26.00

ก.ค. 1,500.00 1,676.92 2,600.00 2,000.00 2,340.00 1,600.00

ส.ค. 60.00 60.00 61.00 61.00 61.00 61.00

ส.ค. 18.00 18.00 23.00 20.48 26.00 26.00

ก.ย. 60.00 60.00 61.00 61.00 61.00

ก.ย. 18.00 19.52 23.00 24.00 26.00

ต.ค. 60.00 60.00 61.00 61.00 61.00

ต.ค. 18.00 20.00 23.00 24.00 26.00

พ.ย. 60.00 60.00 61.00 61.00 61.00

พ.ย. 18.00 21.85 23.00 24.00 26.00

เฉลี่ย ต�่ำสุด สูงสุด 60.00 60.00 60.00 60.00 60.00 60.00 60.42 60.00 61.00 60.92 60.00 61.00 61.00 61.00 61.00 61.00 61.00 61.00 ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

ธ.ค. 60.00 60.00 61.00 60.00 61.00

หน่วย : บาท/กิโลกรัม

หน่วย : บาท/ตัว

หน่วย : บาท/ตัว

เฉลี่ย ต�่ำสุด สูงสุด 1,460.61 1,200.00 1,734.80 1,714.71 1,476.92 1,965.38 2,401.47 2,056.00 2,600.00 1,962.97 1,800.00 2,200.00 2,184.75 1,831.82 2,600.00 1,737.36 1,600.00 1,900.00 : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

เฉลี่ย ต�่ำสุด สูงสุด 18.00 18.00 18.00 18.55 16.00 22.00 21.26 20.00 23.00 18.94 14.00 24.00 23.13 20.00 26.00 26.00 26.00 26.00 ที่มา : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

ธ.ค. 18.00 22.00 20.75 24.00 26.00

ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. 1,500.00 1,476.00 1,200.00 1,376.92 1,256.52 1,965.38 1,796.00 1,700.00 1,746.15 1,800.00 2,600.00 2,484.62 2,240.74 2,200.00 2,166.67 2,027.33 2,200.00 2,069.23 2,000.00 2,000.00 2,300.00 2,257.69 2,008.00 1,919.23 1,831.82 1,616.00 ที่มา

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 176 กันยายน - ตุลาคม 2560

79


ขอขอบคุณบริษัทที่ให้ความสนับสนุน

และความร่วมมือในการจัดทำ�วารสารธุรกิจอาหารสัตว์ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17

บริษัท เบทาโกร จำ�กัด (มหาชน) บริษัท ซี พี เอฟ (ประเทศไทย) จำ�กัด (มหาชน) สมุทรปราการ บริษัท กรุงไทยอาหาร จำ�กัด (มหาชน) บริษัท อาหารสัตว์ไทยสวนหลวง จำ�กัด บริษัท ลีพัฒนาผลิตภัณฑ์ จำ�กัด (มหาชน) บริษัท ซี พี เอฟ (ประเทศไทย) จำ�กัด (มหาชน) สระบุรี บริษัท ท็อป ฟีด มิลล์ จำ�กัด บริษัท แลบอินเตอร์ จำ�กัด บริษัท ฮูเวฟาร์มา (ประเทศไทย) จำ�กัด บริษัท เชฟเฟิร์ด เทค คอนซัลแตนซี่ ไพรเวท จำ�กัด บริษัท ไบโอมิน (ประเทศไทย) จำ�กัด บริษัท เกษตรภัณฑ์อุตสาหกรรม จำ�กัด บริษัท ยูนีโกรอินเตอร์เนชั่นแนล จำ�กัด บริษัท อดิสสิโอ เทรดดิ้ง (ประเทศไทย) จำ�กัด บริษัท โนวัส อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำ�กัด บริษัท ไฟโตไบโอติกส์ (ประเทศไทย) จำ�กัด บริษัท พรีเมียร์ เทค โครโนส จำ�กัด

โทร. 0-2833-8000 โทร. 0-2680-4580 โทร. 0-2473-8000 โทร. 0-2814-3480 โทร. 0-2632-7232 โทร. 0-2680-4500 โทร. 0-2194-5678-96 โทร. 0-3488-6140-48 โทร. 0-2937-4355 โทร. 09-2089-1601 โทร. 0-2993-7500 โทร. 0-2817-6410 โทร. 0-3430-5101-3 โทร. 0-2681-1329 โทร. 0-2661-8700 โทร. 0-2694-2498 โทร. 0-2740-5001




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.