Aw vol 173 p01 98

Page 1



รายนามสมาชิก

สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย 1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8. 9. 10. 11. 12. 13. 14. 15. 16. 17. 18. 19. 20. 21. 22. 23. 24. 25.

บริษัท เบทาโกร โฮลดิ้ง จำกัด บริษัท แหลมทองสหการ จำกัด บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารเซ็นทรัล จำกัด บริษัท ป.เจริญพันธ์อาหารสัตว์ จำกัด บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) บริษัท กรุงไทยอาหาร จำกัด (มหาชน) บริษัท ลีพัฒนาผลิตภัณฑ์ จำกัด (มหาชน) บริษัท คาร์กิลล์สยาม จำกัด บริษัท ลีพัฒนาอาหารสัตว์ จำกัด บริษัท ฟีดสเปเชียลตี้ จำกัด บริษัท โกรเบสท์คอร์โพเรชั่น จำกัด บริษัท เอเชี่ยน ฟีด จำกัด บริษัท ไทยลักซ์เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน) บริษัท อาหารสัตว์ไทยสระบุรี จำกัด บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) บริษัท ท็อป ฟีด มิลล์ จำกัด บริษัท คาร์กิลล์มีทส์ (ไทยแลนด์) จำกัด บริษัท ยูไนเต็ดฟีดมิลล์ จำกัด บริษัท มิตรภาพอาหารสัตว์ จำกัด บริษัท เหรียญทอง ฟีด (1992) จำกัด บริษัท แหลมทองเกษตรภัณฑ์ จำกัด บริษัท อาหารสัตว์ไทยสวนหลวง จำกัด บริษัท เอส พี เอ็ม อาหารสัตว์ จำกัด บริษัท อีสเทิร์น ฟีดมิลล์ จำกัด

26. 27. 28. 29. 30. 31. 32. 33. 34. 35. 36. 37. 38. 39. 40. 41. 42. 43. 44. 45. 46. 47. 48. 49. 50.

บริษัท ซันฟีด จำกัด บริษัท ยูนีโกร อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด บริษัท พนัสโภคภัณฑ์ จำกัด บริษัท ยู่สูงอาหารสัตว์ จำกัด บริษัท แหลมทองอะควอเทค จำกัด บริษัท บางกอกแร้นซ์ จำกัด (มหาชน) บริษัท กาญจนาอาหารสัตว์ จำกัด บริษัท ก้าวหน้าอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ จำกัด บริษัท กรุงเทพโปรดิ๊วส จำกัด (มหาชน) บริษัท วี.ซี.เอฟ. กรุ๊ป จำกัด บริษัท ชัยภูมิฟาร์มผลิตภัณฑ์การเกษตร จำกัด บริษัท ไทยยูเนี่ยน ฟีดมิลล์ จำกัด บริษัท อินเทคค์ ฟีด จำกัด บริษัท บุญพิศาล จำกัด บริษัท เฮกซ่าแคลไซเนชั่น จำกัด บริษัท หนองบัว ฟีด มิลล์ จำกัด บริษัท ไทย ฟู้ดส์ อาหารสัตว์ จำกัด บริษัท โกลด์ คอยน์ สเปเชียลิตี้ส์ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท วีพีเอฟ กรุ๊ป (1973) จำกัด บริษัท อาร์ที อะกริเทค จำกัด บริษัท ฟาร์มจงเจริญ จำกัด บริษัท เจบีเอฟ จำกัด บริษัท อินเว (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท ทีอาร์เอฟ ฟีดมิลล์ จำกัด บริษัท บีอาร์เอฟ ฟีด (ไทยแลนด์) จำกัด

ิภ ัน น

ร า ก นา


คณะกรรมการบริหาร สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย ประจำปี 2560-2561

1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8. 9. 10. 11. 12. 13. 14. 15. 16. 17.

นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล นายชยานนท์ กฤตยาเชวง นายประจักษ์ ธีระกุลพิศุทธิ์ นายไพศาล เครือวงศ์วานิช นางเบญจพร สังหิตกุล นายบุญธรรม อร่ามศิริวัฒน์ นางสาวสุวรรณี แต้ไพสิฐพงษ์ นายสมภพ เอื้อทรงธรรม นายโดม มีกุล นายวิโรจน์ กอเจริญรัตน์ นายเธียรเทพ ศิริชยาพร นายวิชัย คณาธนะวนิชย์ นายวิศิษฐ คณาธนะวนิชย์ นายสุจิน ศิริมงคลเกษม นางสาวนลิน เหล่าวรวิทย์ นายสุทธิชัย ศักดิ์ชัยเจริญกุล นายจำลอง เติมกลิ่นจันทน์

นายกสมาคม อุปนายก อุปนายก อุปนายก เหรัญญิกสมาคม เลขาธิการ รองเลขาธิการ รองเลขาธิการ ประชาสัมพันธ์ ปฏิคม นายทะเบียน กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ

บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) บริษัท ป.เจริญพันธ์อาหารสัตว์ จำกัด บริษัท กรุงเทพโปรดิ๊วส จำกัด (มหาชน) บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) บริษัท ลีพัฒนาผลิตภัณฑ์ จำกัด (มหาชน) บริษัท เบทาโกรโฮลดิ้ง จำกัด บริษัท อินเทคค์ ฟีด จำกัด บริษัท อาหารสัตว์ไทยสระบุรี จำกัด บริษัท ลีพัฒนาอาหารสัตว์ จำกัด บริษัท อาหารสัตว์ไทยสวนหลวง จำกัด บริษัท แหลมทองเกษตรภัณฑ์ จำกัด บริษัท แหลมทองอะควอเทค จำกัด บริษัท กรุงไทยอาหาร จำกัด (มหาชน) บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารเซ็นทรัล จำกัด บริษัท ท็อป ฟีด มิลล์ จำกัด บริษัท ซันฟีด จำกัด


บรรณาธิการ แถลง การประชุมใหญ่สามัญประจำปี สมาคมผูผ้ ลิตอาหารสัตว์ไทย เมือ่ วันที่ 23 มีนาคม 2560 มีการเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารชุดใหม่ ซึ่งยังคงนำทีมโดยนายกสมาคมฯ คนเดิม คุณพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล พร้อมด้วยเลขาธิการสมาคมฯ คุณบุญธรรม อร่ามศิริวัฒน์ และกรรมการรวม 17 ท่าน เพื่อเข้ามาสานต่อภารกิจที่จะนำพาให้ธุรกิจ อาหารสัตว์และปศุสตั ว์เข้าสูเ่ วทีสากลมากยิง่ ขึน้ มีการเชือ่ มโยงกิจกรรมระหว่างประเทศ ด้วยมาตรฐานการค้าที่เป็นสากล ธุรกิจอาหารสัตว์ เป็นห่วงโซ่ที่สำคัญ เชื่อมโยงตั้งแต่ต้นน้ำและปลายน้ำ ที่จะนำพา ภาคปศุสตั ว์ไปได้ดว้ ยความมัน่ คงยัง่ ยืน จึงต้องมุง่ เน้นให้แหล่งวัตถุดบิ ต้นน้ำมีความเพียงพอ และผลิตบนพื้นฐานที่มั่นคง ยั่งยืน มีความพร้อมและได้มาอย่างถูกต้อง เป็นที่ยอมรับจาก ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ทั้งต่อเกษตรกร ประเทศ และรักษาสิ่งแวดล้อมโดยทั่วไป จึงต้องสร้าง มาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับและปฏิบัติได้ จึงมีความท้าทายที่จะต้องสร้างความยอมรับให้ได้ เพราะภาคปศุสัตว์ที่ทุกฝ่ายต่างทุ่มเทพัฒนาระบบการเลี้ยง สายพันธุ์ การจัดการ เพื่อ เปิดตลาด เป็นทีย่ อมรับอนุญาตให้นำเข้าเนือ้ สัตว์มากขึน้ จึงต้องการอาหารสัตว์ทมี่ โี ภชนะ ที่เหมาะสมกับชนิดของสัตว์แต่ละประเภท ดังนั้นวัตถุดิบที่จะนำมาประกอบอาหารสัตว์ ก็ต้องมีคุณค่าที่เหมาะสม มีความคุ้มค่าสมประโยชน์ และมีเพียงพอทางเศรษฐกิจที่จะ ใช้ลดต้นทุนเพื่อการแข่งขันกับประเทศคู่แข่งที่จะใช้เลี้ยงสัตว์เพื่อการส่งออกไปเลี้ยง ประชากรโลกที่ต้องการเนื้อสัตว์เพื่อการบริโภคที่ปลอดภัยอย่างยิ่ง ทุกฝ่ายต้องช่วยกันค้นหาเพื่อให้ได้มาซึ่งวัตถุดิบที่เหมาะสม เพียงพอและช่วยกัน มองภาพรวมของประเทศ อย่ามองเพียงเพื่อธุรกิจของตัวเองที่จะต้องกีดกันให้ตัวเองอยู่ได้ แล้วสร้างความลำบากให้หน่วยงานอื่น.....

บก.


ธุรกิจอาหารสัตว์

วารสาร

ปีที่ 34  เล่มที่ 173  ประจำเดือนมีนาคม-เมษายน 2560 วัตถุประสงค์

Contents

1. เพื่อส่งเสริมความรู้และเผยแพร่อุตสาหกรรมอาหารสัตว์และการปศุสัตว์ 2. เพื่อเป็นสื่อกลางระหว่างสมาชิกและผู้ที่เกี่ยวข้องทั่วไป 3. เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารสัตว์และการปศุสัตว์ของประเทศให้เจริญรุ่งเรืองในแนวทาง ที่เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิ จของชาติ 4. ไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง

Thailand Focus สถานการณ์สินค้าเกษตรที่สำคัญ และแนวโน้ม ปี 2560 ๏ ข้าวโพด ๏ ถั่วเหลือง ๏.............................................. 5 เกษตรฯ เสนอ ครม. จัดงบปลูกข้าวโพด.................................................................................................................21 Food Feed Fuel 4 สมาคม ยอมรับ ผลสำรวจมันสำปะหลัง สศก. แม่นยำ ลุยปูพรมสำรวจปี 60 เม.ย. - พ.ค. นี้........................... 22 'ข้าวโพด-มัน' ผวา เทสต็อกฉุดราคาดิ่ง.................................................................................................................. 24 ไข่ราคาลดตามวัฏจักร... ชวนกินเสริมสุขภาพแถมช่วยเกษตรกร................................................................................ 25 แนะเกษตรกรปลูกถั่วเหลือง - ถั่วเขียว พืชทางเลือกฤดูแล้ง - ใช้น้ำน้อย - สร้างรายได้เสริมได้อย่างดี............................27 คน. ถก 3 สมาคม รับมือผลปาล์ม ปี' 60/61 ทะลัก 11.7 ล้านตัน..........................................................................28 Market Leader นำเข้าแม่พันธุ์ไก่ทุบราคาไข่ ซ้ำเติมปัญหาล้นตลาด - จี้ปลดไก่ยืนกรง 70 สัปดาห์............................................................ 31 กรมปศุสัตว์ มั่นใจมาตรฐานอาหารปลอดภัย ดันเป้าสัตว์ปีกส่งออกปีนี้ 7.6 แสนตัน มูลค่า 98,000 ล้านบาท................33 กรมปศุสัตว์ปลื้ม!! นิวซีแลนด์ เปิดนำเข้าเนื้อเป็ดปรุงสุกจากไทยเป็นครั้งแรก.................................................................. 36 ปฏิวัติการค้าเนื้อสุกรอาเซียน สู่การค้าเนื้อสุกรระหว่างประเทศ....................................................................................... 38 'พืชปศุสัตว์ประมง' ดันจีดีพี Q1 พุ่ง สศก. ชี้ 13 นโยบายหนุน - คาดปีนี้ภาคเกษตรทะลุ 3.5%...................................... 45 เร่งแก้ข้าวโพด รุกที่ดินน่าน............................................................................................................................................. 48 เร่งใช้มาตรฐาน 'จีเอพี' ควบคุมแรงงานฟาร์มไก่....................................................................................................49 Around The World ประมงมั่นใจ ไทยหลุดไอยูยู....................................................................................................................................51 เกษตรฯ เตรียมเปิด 'มหกรรมเกษตรปลอดภัย นำไทยสู่ความยั่งยืน' ขนสินค้าเกษตร GAP บุกพารากอน.............52 สุดยอดงานแสดงเทคโนโลยีด้านปศุสัตว์และสัตว์น้ำระดับโลก วิฟ เอเชีย เปิดแล้วอย่างยิ่งใหญ่ ตั้งเป้ารับผู้ชมงานกว่า 40,000 รายทั่วโลก......................................................................................................54 งานฮอร์ติ เอเชีย และ งานอะกริเทคนิก้า เอเชีย 2017 สุดยอดงานแสดงเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการเกษตรและปศุสัตว์ครบวงจร................................................ 57 เออร์เบอร์ กรุ๊ป วางแผนสร้างศูนย์วิจัยด้านสุขภาพสุกรแห่งใหม่ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์..................................61 เอกสารวิชาการ เรื่อง การศึกษาเปรียบเทียบระหว่างการให้ยาทิลมิโคซิน (Tilmicosin) อม็อกซิซิลลิน (Amoxicillin) และอาหารเสริมต่อคุณลักษณะของไก่เนื้อ...........................................................63 ขอบคุณ................................................................................................................................................................80   ดำเนินการโดย : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย   : นายประเสริฐ พุ่งกุมาร     รองประธานกรรมการที่ปรึกษา : นายวีรชัย รัตนบานชื่น  นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล     กรรมการที่ปรึกษา : นายสมชาย กังสมุทร  นายพงษ์ เหล่าวรวิทย์  นายประสิทธิ์ ศิริมงคลเกษม  นายอดิเรก ศรีประทักษ์  นายนิพนธ์ ลีละศิธร นางเบญจพร สังหิตกุล  นายณรงค์ชัย ศรีสันติแสง  นายบุญธรรม อร่ามศิริวัฒน์  นายประจักษ์ ธีระกุลพิศุทธิ์     บรรณาธิการ : นายปรีชา กันทรากรกิติ     กองบรรณาธิการ : นายไพบูลย์ ขุนทอง  นายอรรถพล ชินภูวดล  นางสาวปัทมา ศรีเที่ยงตรง  นางสาวกรดา พูลพิเศษ  นายธีรพงษ์ ศิริวิทย์ภักดีกุล  

   ประธานกรรมการที่ ป รึ ก ษา

สำนักงาน : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย 43 ไทย ซีซี ทาวเวอร์ ห้อง 170 ชั้น 17 ถนนสาทรใต้ ยานนาวา สาทร กรุงเทพฯ 10120 โทรศัพท์ 0-2675-6263-4   โทรสาร 0-2675-6265   Email: tfma44@yahoo.com   Website: www.thaifeedmill.com




Thailand Focus ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 173 มีนาคม-เมษายน 2560

สถานการณ์สินค้าเกษตรที่สำคัญ และแนวโน้ม ปี 2560 ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 1. สถานการณ์ ปี 2559 1.1 ของโลก 1.1.1 การผลิต ปี 2554/55 - 2558/59 การผลิตมีแนวโน้มเพิม่ ขึน้ จาก 889.78 ล้านตัน ในปี 2554/55 เป็น 959.89 ล้านตัน ในปี 2558/59 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.10 ต่อปี ปี 2558/59 การผลิตมีปริมาณ 959.89 ล้านตัน ลดลงจาก 1,014.02 ล้านตัน ในปี 2557/58 ร้อยละ 5.34 โดยสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ของโลกผลิตได้ลดลงจาก 361.09 ล้านตัน ในปี 2557/58 เหลือ 345.49 ล้านตัน ในปี 2558/59 หรือลดลงร้อยละ 4.32 นอกจากนี้ บราซิล สหภาพยุโรป ยูเครน และอินเดีย ผลิตได้ลดลง 1.1.2 การตลาด

(1) ความต้องการใช้

ปี 2554/55 - 2558/59 ความต้องการใช้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจาก 885.04 ล้านตัน ในปี 2554/55 เป็น 958.52 ล้านตัน ในปี 2558/59 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.90 ต่อปี โดย สหรัฐอเมริกา มีความต้องการใช้เพิ่มขึ้นจาก 277.96 ล้านตัน ในปี 2554/55 เป็น 298.83 ล้านตัน ในปี 2558/59 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.87 ต่อปี

ที่มา : สำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

5


Thailand Focus ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 173 มีนาคม-เมษายน 2560

ปี 2558/59 ความต้องการใช้ มีปริมาณ 958.52 ล้านตัน ลดลงจาก 980.76 ล้านตัน ในปี 2557/58 ร้อยละ 2.27 โดยสหรัฐอเมริ ก า มี ค วามต้ อ งการใช้ ข้ า วโพดเลี้ ย งสั ต ว์ ลดลงจาก 301.79 ล้านตัน ในปี 2557/58 เป็น 298.83 ล้านตัน ในปี 2558/59 หรือลดลงร้อยละ 0.98 นอกจากนี้ สหภาพยุโรป และบราซิล มีความ ต้องการใช้ลดลง

(2) การค้า

ปี 2554/55 - 2558/59 การค้า มี แ นวโน้ ม เพิ่ ม ขึ้ น จาก 103.71 ล้ า นตั น ในปี 2554/55 เป็น 143.93 ล้านตัน ในปี 2558/59 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.38 ต่อปี ปี 2558/59 การค้ามีปริมาณ 143.93 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 128.03 ล้านตัน ในปี 2557/58 ร้อยละ 12.42 โดยสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นผู้ส่งออกสำคัญส่งออกเพิ่มขึ้นจาก 46.83 ล้านตัน ในปี 2557/58 เป็น 51.20 ล้านตัน ในปี 2558/59 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.33 นอกจากนี้ ประเทศผูน้ ำเข้า ได้แก่ ญีป่ นุ่ เม็กซิโก สหภาพยุโรป และอียิปต์ มีการนำเข้าเพิ่มขึ้น

(3) ราคา

ปี 2554/55 - 2558/59 ราคา ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์อเมริกันชั้น 2 ตลาดชิคาโก มี แนวโน้มลดลงจากตันละ 8,060 บาท ในปี 2554/ 55 เหลือตันละ 5,313 บาท ในปี 2558/59 หรือ ลดลงร้อยละ 13.32 ต่อปี เนื่องจากสถานการณ์ การผลิตโลกกลับเข้าสู่สภาวะปกติหลังจากที่ผล ผลิตได้รบั ความเสียหายจำนวนมากจากคลืน่ ความ ร้อนในปี 2555/56

6

ปี 2558/59 ราคาข้าวโพด เลี้ยงสัตว์อเมริกันชั้น 2 ตลาดชิคาโก ตันละ 5,313 บาท เพิ่มขึ้นจากตันละ 4,925 บาท ในปี 2557/58 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.88 เนื่องจาก สถานการณ์การผลิตในภาพรวมของโลกผลิตได้ ลดลง ส่งผลให้ราคาเพิ่มขึ้น

1.2 ของไทย 1.2.1 การผลิต ปี 2554/55 - 2558/59 เนื้อที่ เพาะปลูกมีแนวโน้มลดลงจาก 7.40 ล้านไร่ ในปี 2554/55 เหลือ 7.15 ล้านไร่ ในปี 2558/59 หรือลดลงร้อยละ 1.09 ต่อปี เนื่องจากราคาที่ เกษตรกรขายได้ไม่จูงใจ เกษตรกรจึงปรับเปลี่ยน พื้นที่ไปปลูกพืชที่ให้ผลตอบแทนดีกว่า เช่น มันสำปะหลัง และอ้อยโรงงาน สำหรับผลผลิตต่อไร่ ลดลงจาก 672 กิโลกรัม ในปี 2554/55 เหลือ 644 กิโลกรัม ในปี 2558/59 หรือลดลงร้อยละ 0.89 ต่อปี ส่งผลให้ผลผลิตรวมลดลงจาก 4.97 ล้านตัน ในปี 2554/55 เหลือ 4.61 ล้านตัน ในปี 2558/59 หรือลดลงร้อยละ 1.94 ตามการ ลดลงของเนื้อที่เพาะปลูก ปี 2558/59 เนื้อที่เพาะปลูกมี 7.15 ล้านไร่ ลดลงจาก 7.23 ล้านไร่ ในปี 2557/58 ร้อยละ 1.11 เนือ่ งจากปี 2557/58 ฝนทิง้ ช่วง และ กระทบแล้ง เกษตรกรจึงปรับเปลี่ยนไปปลูกอ้อย โรงงาน และมันสำปะหลัง ซึ่งเป็นพืชที่ทนแล้ง และดูแลรักษาง่าย สำหรับผลผลิตต่อไร่ลดลงจาก 654 กิ โ ลกรั ม ในปี 2557/58 เหลื อ 644 กิโลกรัม ในปี 2558/59 หรือลดลงร้อยละ 1.53 ส่งผลให้ผลผลิตรวมลดลงจาก 4.78 ล้านตัน ในปี 2557/58 เหลือ 4.61 ล้านตัน ในปี 2558/59


Thailand Focus ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 173 มีนาคม-เมษายน 2560

1.2.2 การตลาด

(1) ความต้องการใช้

ปี 2554/55 - 2558/59 ความ ต้องการใช้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจาก 4.36 ล้านตัน ในปี 2554/55 เป็น 5.72 ล้านตัน ในปี 2558/59 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.39 ต่อปี เนื่องจากความ ต้องการใช้เป็นวัตถุดบิ ในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ มีมากขึ้นตามการขยายตัวของการเลี้ยงสัตว์ ปี 2558/59 ความต้องการใช้ ข้าวโพดเลีย้ งสัตว์มปี ริมาณ 5.72 ล้านตัน เพิม่ ขึน้ จาก 5.04 ล้านตัน ในปี 2557/58 ร้อยละ 13.49

(2) การส่งออก

ปี 2554/55 - 2558/59 การ ส่งออกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากปริมาณ 0.32 ล้าน ตัน มูลค่า 2.95 ล้านบาท ในปี 2554/55 เป็น ปริมาณ 0.22 ล้านตัน มูลค่า 1.88 ล้านบาท ในปี 2558/59 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.44 และร้อยละ 8.74 ต่อปี ตามลำดับ เนือ่ งจากปี 2556/57 มีการ ใช้มาตรการผลักดันการส่งออกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ สำหรับตลาดส่งออกทีส่ ำคัญ ได้แก่ จีน ฟิลปิ ปินส์ เวียดนาม และอินโดนีเซีย ปี 2558/59 การส่งออก มี ปริมาณ 0.22 ล้านตัน มูลค่า 1.88 ล้านบาท ลดลง จาก 0.25 ล้านตัน มูลค่า 2.22 ล้านบาท ในปี 2557/58 หรือลดลงร้อยละ 12.00 และร้อยละ 15.32 ตามลำดับ เนื่องจาก จีน อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และมาเลเซีย มีการนำเข้า ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากประเทศไทยลดลง โดยมี การนำเข้าจากประเทศนอกอาเซียนเพิ่มขึ้น เช่น อินเดีย สหรัฐอเมริกา และอาร์เจนตินา เป็นต้น

(3) การนำเข้า

ปี 2554/55 - 2558/59 ปริมาณ การนำเข้ามีแนวโน้มลดลงจาก 0.21 ล้านตัน ในปี 2554/55 เหลือ 0.14 ล้านตัน ในปี 2558/59 หรือ ลดลงร้อยละ 3.97 ต่อปี ส่วนมูลค่าการนำเข้า มี แ นวโน้ ม เพิ่ ม ขึ้ น ร้ อ ยละ 4.03 ต่ อ ปี โดยปี 2554/55 มีมูลค่าการนำเข้า 0.74 ล้านบาท ลดลงเหลือ 0.57 ล้านบาท ในปี 2556/57 แต่ปี 2557/58 - 2558/59 มูลค่าการนำเข้ากลับเพิ่ม ขึ้นเป็น 0.70 ล้านบาท และ 0.69 ล้านบาท ตามลำดับ เนื่องจากมีการนำเข้าวัตถุดิบอื่นมา ทดแทนข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และส่วนหนึ่งเป็นผล มาจากการบริหารจัดการช่วงเวลานำเข้าข้าวโพด เลี้ยงสัตว์ สำหรับผู้นำเข้าทั่วไปที่นำเข้าภายใต้ กรอบความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area: AFTA) และโครงการลงทุน เกษตรแบบมีสัญญากับประเทศเพื่อนบ้าน (Contract Farming) ภายใต้ยุทธศาสตร์ความร่วมมือ ทางเศรษฐกิจอิระวดี - เจ้าพระยา - แม่โขง (Ayeyawady - Chao Phraya - Mekong Economic Cooperation Strategies: ACMECS) ปี 2558/59 การนำเข้า มี ปริมาณ 0.14 ล้านตัน มูลค่า 0.69 ล้านบาท ลดลง จากปริมาณ 0.15 ล้านตัน มูลค่า 0.70 ล้านบาท ในปี 2557/58 หรือลดลงร้อยละ 6.67 และร้อยละ 1.43 ตามลำดับ เนื่องจากมีการนำเข้าวัตถุดิบอื่น มาทดแทนข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในอุตสาหกรรมการ ผลิตอาหารสัตว์ ประกอบกับราคาข้าวโพดเลี้ยง สัตว์ในตลาดโลกมีแนวโน้มปรับตัวลดลง

(4) ราคา

ราคาปี 2554/55 - 2558/59 มีแนวโน้มลดลงในทุกตลาด ดังนี้

7


Thailand Focus ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 173 มีนาคม-เมษายน 2560

1) ราคาที่ เ กษตรกรขายได้ (ความชื้นไม่เกิน 14.5%) ลดลงจากกิโลกรัมละ 7.63 บาท ในปี 2554/55 เหลือกิโลกรัมละ 7.73 บาท ในปี 2558/59 หรือลดลงร้อยละ 2.17 ต่อปี 2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ราคาโรงงานอาหารสัตว์รับซื้อลดลงจาก กิโลกรัมละ 9.66 บาท ในปี 2554/55 เหลือ กิโลกรัมละ 9.02 บาท ในปี 2558/59 หรือ ลดลงร้อยละ 2.35 ต่อปี และราคาไซโลรับซื้อ ลดลงจากกิโลกรัมละ 8.58 บาท ในปี 2554/55 เหลือกิโลกรัมละ 8.28 บาท ในปี 2558/59 หรือ ลดลงร้อยละ 0.52 ต่อปี 3) ราคาส่ ง ออก เอฟ.โอ.บี . ลดลงจากตันละ 10,053 บาท ในปี 2554/55 เหลือตันละ 9,437 บาท ในปี 2558/59 หรือ ลดลงร้อยละ 2.23 ต่อปี ราคาข้ า วโพดเลี้ ย งสั ต ว์ ปี 2558/59 ปรับตัวลดลงเกือบทุกตลาดเมื่อเทียบ กับปี 2557/58 เนื่องจากราคาในตลาดโลกปรับ ตัวลดลง อย่างไรก็ตาม ราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ทีเ่ กษตรกรขายได้ในประเทศกลับมีแนวโน้มสูงขึน้ จากปี 2557/58 เนื่องจากผลผลิตในประเทศ ลดลง ขณะที่ความต้องการใช้มีเพิ่มขึ้น

2. แนวโน้ม ปี 2560 2.1 ของโลก 2.1.1 การผลิต ปี 2559/60 คาดว่าผลผลิตข้าวโพด มีปริมาณ 1,030.53 ล้านตัน เพิม่ ขึน้ จาก 959.89 ล้านตัน ของปี 2558/59 ร้อยละ 7.36 เนื่อง จากผลผลิตข้าวโพดของประเทศผู้ผลิตที่สำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา บราซิล อาร์เจนตินา่ เพิม่ ขึน้

8

โดยในปี 2559/60 คาดว่าสามารถผลิตข้าวโพด ได้ 386.75 ล้านตัน 83.50 ล้านตัน และ 36.50 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 345.49 ล้านตัน 67.00 ล้านตัน และ 29.00 ล้านตัน ในปี 2558/59 ร้อยละ 11.94 ร้อยละ 24.63 และร้อยละ 25.86 ตามลำดับ 2.1.2 การตลาด

(1) ความต้องการใช้

ปี 2559/60 คาดว่ า ความ ต้องการใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มีปริมาณ 1,021.74 ล้ า นตั น เพิ่ ม ขึ้ น จาก 958.52 ล้ า นตั น ในปี 2558/59 ร้อยละ 6.60 เนื่องจากสหรัฐอเมริกา มีความต้องการใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เพิ่มขึ้นจาก 298.83 ล้านตัน ในปี 2558/59 เป็น 314.59 ล้านตัน ในปี 2559/60 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.27 นอกจากนี้ จีน สหภาพยุโรป บราซิล เม็กซิโก และอินเดีย มีความต้องการใช้เพิ่มขึ้น

(2) การค้า

ปี 2559/60 คาดว่าปริมาณ การค้าของโลกมี 139.71 ล้านตัน ลดลงจาก 143.93 ล้านตันของปี 2558/59 ร้อยละ 2.93 โดยประเทศผูส้ ง่ ออก ได้แก่ บราซิล มีการส่งออก ลดลง และประเทศผู้นำเข้า ได้แก่ ญี่ปุ่น และ เกาหลีใต้ มีการนำเข้าลดลง (3) ราคา ปี 2559/60 คาดว่ า ราคา ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์อเมริกันชั้น 2 ตลาดชิคาโก มี แนวโน้มลดลงจากปี 2558/59 เนื่องจากคาดการณ์ว่าผลผลิตโลกเพิ่มขึ้นในสัดส่วนที่มากกว่า ความต้องการใช้ ประกอบกับภาวะราคาในตลาด โลกมีแนวโน้มลดลง


Thailand Focus ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 173 มีนาคม-เมษายน 2560

2.2 ของไทย 2.2.1 การผลิต ปี 2559/60 คาดว่าเนือ้ ทีเ่ พาะปลูก มี 7.03 ล้านไร่ ลดลงจาก 7.15 ล้านไร่ ในปี 2558/59 ร้อยละ 1.68 เนื่องจากฝนมาล่าช้า เกษตรกรจึงปรับเปลีย่ นพืน้ ทีไ่ ปปลูกมันสำปะหลัง และอ้อยโรงงาน ซึ่งทนแล้งและดูแลรักษาง่าย สำหรับผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้นจาก 644 กิโลกรัม ในปี 2558/59 เป็ น 656 กิ โ ลกรั ม ในปี 2559/60 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.86 ส่งผลให้ ปริมาณผลผลิตรวมเพิ่มขึ้นจาก 4.61 ล้านตัน ในปี 2558/59 เป็น 4.62 ล้านตัน ในปี 2559/ 60 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.22 2.2.2 การตลาด

(1) ความต้องการใช้

ปี 2559/60 คาดว่า ความ ต้ อ งการใช้ ข้ า วโพดเลี้ ย งสั ต ว์ มี ป ริ ม าณ 5.85 ล้านตัน เพิม่ ขึน้ จาก 5.72 ล้านตัน ในปี 2558/59 ร้ อ ยละ 2.27 เนื่ อ งจากการขยายตั ว ของภาค อุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ ทำให้ความต้องการ ใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เพื่อเป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ เพิ่มขึ้น

(3) การนำเข้า

ปี 2559/60 คาดว่าการนำเข้า มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากปี 2558/59 เนื่องจาก ปริมาณผลผลิตภายในประเทศมีไม่เพียงพอกับ ความต้องการใช้ ประกอบกับรัฐบาลมีนโยบาย ผลักดันการนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ภายใต้เขต พัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ

(4) ราคา

ปี 2559/60 คาดว่าราคาจะมี แนวโน้มสูงกว่าปี 2558/59 เนื่องจากรัฐบาลมี มาตรการในการควบคุมการนำเข้าข้าวสาลี เพื่อ รักษาเสถียรภาพราคาข้าวโพดเลีย้ งสัตว์ในประเทศ ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2559 โดยกำหนดให้ ข้ า วสาลี ต ามพิ กั ด อั ต รา ศุลกากร ประเภทย่อย 1001.99.90 เป็นสินค้าที่ ต้องขออนุญาตและต้องปฏิบัติตามมาตรการจัด ระเบียบในการนำเข้ามาในราชอาณาจักร พร้อมทัง้ กำหนดสัดส่วนการนำเข้าข้าวสาลี ต่อการรับซื้อ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในประเทศ ในอัตราส่วน 1 : 3 (นำเข้าข้าวสาลี 100 ตัน รับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ในประเทศ 300 ตัน) โดยกำหนดให้ผู้นำเข้าข้าว สาลีนำเข้ามาเพือ่ ใช้ในการผลิตอาหารสัตว์เท่านัน้

2.3 ปัจจัยทีม่ ผี ลกระทบต่อปริมาณการ ปี 2559/60 คาดว่าการส่งออก ผลิต การตลาด และการส่งออก

(2) การส่งออก

มีแนวโน้มเพิม่ ขึน้ จากปี 2558/59 เนือ่ งจากปริมาณ ผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลดลงจากผลกระทบ ของภัยแล้ง ขณะทีค่ วามต้องการใช้ในภาคอุตสาหกรรมอาหารสัตว์มีเพิ่มขึ้น โดยตลาดส่งออกที่ สำคัญ คือ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และเวียดนาม

2.3.1 ปั จ จั ย ที่ มี ผ ลกระทบต่ อ ปริ ม าณ การผลิต และการตลาด

(1) พื้นที่ปลูกไม่เหมาะสม พื้นที่ ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ประมาณร้อยละ 43 อยู่ ในพื้นที่ป่า และประมาณร้อยละ 26 อยู่ในเขต ไม่เหมาะสมและเหมาะสมน้อย ส่งผลทำให้ปริมาณ ผลผลิตต่อไร่อยู่ในเกณฑ์ต่ำ ปัจจุบันภาครัฐ มี

9


Thailand Focus ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 173 มีนาคม-เมษายน 2560

นโยบายทวงคืนพื้นที่ป่า อาจส่งผลให้การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่ป่ามีแนวโน้มลดลง ดังนั้น หาก ไม่มีการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต หรือส่งเสริมการปลูกในพื้นที่ที่เหมาะสมอื่นๆ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ อาจมีความขาดแคลนเพิ่มขึ้น สำหรับภาคอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ของไทย (2) ปัญหาภัยธรรมชาติ พื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มากกว่าร้อยละ 90 ของพื้นที่ปลูก ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ทั้งประเทศ อยู่นอกเขตชลประทานและอาศัยน้ำฝนในการเพาะปลูกเพียงอย่างเดียว การเกิดปัญหาภัยแล้งและภาวะฝนทิ้งช่วง อาจส่งผลต่อปริมาณผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (3) ความต้องการใช้ของอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ ปริมาณผลผลิตมากกว่าร้อยละ 90 ของผลผลิตทั้งหมด ใช้ในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์เป็นหลัก การเพิ่มขึ้น หรือลดลงของความต้องการใช้ จะส่งผลต่อราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ภายในประเทศ (4) การนำเข้าจากประเทศเพือ่ นบ้าน อาจส่งผลกระทบต่อราคาภายในประเทศ โดยเฉพาะ ช่วงที่ผลผลิตภายในประเทศออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนสิงหาคมถึงเดือนธันวาคม (5) การนำเข้าพืชทดแทน การนำข้าวสาลีราคาถูกมาใช้ทดแทนข้าวโพดเลีย้ งสัตว์บางส่วน ในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ อาจส่งผลกระทบต่อราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่เกษตรกรขายได้ 2.3.2 ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการส่งออก ปัจจัยทีม่ ผี ลกระทบต่อการส่งออก ได้แก่ ปริมาณผลผลิตภายในประเทศ ความต้องการใช้ และราคาผลผลิตภายในประเทศ ตารางที่ 1 บัญชีสมดุลข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของโลก ปี 2554/55 - 2559/60 ปี 2554/55 2555/56 2556/57 2557/58 2558/59 อัตราเพิ่ม (ร้อยละ) 2559/60* ผลต่าง 2558/59 และ 2559/60 (ร้อยละ)

สต็อก ผลผลิต ต้นปี 127.64 889.78 128.33 869.64 133.15 990.38 174.77 1,014.02 208.03 959.89 13.72 3.10 209.40 1,030.53 0.66

7.36

ปริมาณการค้า นำเข้า ส่งออก 103.71 103.71 100.55 100.55 130.43 130.43 128.03 128.03 143.93 143.93 9.38 9.38 139.71 139.71 -2.93

-2.93

หมายเหตุ: * ประมาณการ ที่มา: Grain, World Markets and Trade. USDA Foreign Agricultural Service, November 2016

10

หน่วย: ล้านตัน

885.04 864.57 948.76 980.76 958.52 2.90 1,021.74

สต็อก ปลายปี 128.33 133.15 174.77 208.03 209.40 15.32 218.19

6.60

4.20

การใช้


Thailand Focus ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 173 มีนาคม-เมษายน 2560

ตารางที่ 2 ผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของโลก ปี 2554/55 - 2559/60 หน่วย: ล้านตัน

ประเทศ สหรัฐอเมริกา จีน บราซิล สหภาพยุโรป อาร์เจนตินา ยูเครน อินเดีย เม็กซิโก อื่นๆ รวม

ผลต่าง อัตราเพิ่ม 2559/60 (2) - (1) 2554/55 2555/56 2556/57 2557/58 2558/59 (1) (ร้อยละ) (2) (ร้อยละ) 312.79 273.19 351.27 361.09 345.49 4.89 386.75 11.94 192.78 205.61 218.49 215.65 224.63 3.60 216.00 -3.84 73.00 81.50 80.00 85.00 67.00 -1.29 83.50 24.63 68.32 59.14 64.93 75.84 58.48 -0.62 60.28 3.07 21.00 27.00 26.00 28.70 29.00 7.32 36.50 25.86 22.84 20.92 30.90 28.45 23.33 3.56 27.00 15.72 21.76 22.26 24.26 24.17 21.80 0.87 24.50 12.39 18.73 21.59 22.88 25.48 25.80 8.40 24.50 -5.04 158.57 158.42 171.65 169.64 164.36 1.41 171.50 4.34 889.78 869.64 990.38 1,014.02 959.89 3.10 1,030.53 7.36

ที่มา: Grain, World Markets and Trade. USDA Foreign Agricultural Service, November 2016

ตารางที่ 3 ความต้องการใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของโลก ปี 2554/55 - 2559/60 หน่วย: ล้านตัน

ประเทศ สหรัฐอเมริกา จีน สหภาพยุโรป บราซิล เม็กซิโก อินเดีย ญี่ปุ่น อื่นๆ รวม

ผลต่าง อัตราเพิ่ม 2559/60 (2) - (1) 2554/55 2555/56 2556/57 2557/58 2558/59 (1) (ร้อยละ) (2) (ร้อยละ) 277.96 262.97 292.96 301.79 298.83 2.87 314.59 5.27 188.00 200.00 208.00 202.00 217.50 3.06 226.00 3.91 69.69 69.85 76.80 77.88 72.71 1.96 73.80 1.50 51.50 52.50 55.00 57.00 55.30 2.27 58.00 4.88 29.00 27.00 31.70 34.45 36.90 7.52 37.50 1.63 17.20 17.50 19.60 22.30 22.65 8.25 23.30 2.87 14.95 14.30 15.00 14.60 15.20 0.54 15.10 -0.66 236.73 220.45 249.71 270.74 239.43 2.31 273.45 14.21 885.04 864.57 948.76 980.76 958.52 2.90 1,021.74 6.60

ที่มา: Grain, World Markets and Trade. USDA Foreign Agricultural Service, November 2016

11


Thailand Focus ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 173 มีนาคม-เมษายน 2560

ตารางที่ 4 ปริมาณการส่งออกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของโลก ปี 2554/55 - 2559/60 หน่วย: ล้านตัน

ประเทศ สหรัฐอเมริกา อาร์เจนตินา บราซิล ยูเครน รัสเซีย อื่นๆ รวม

ผลต่าง อัตราเพิ่ม 2559/60 (2) - (1) 2554/55 2555/56 2556/57 2557/58 2558/59 (1) (ร้อยละ) (2) (ร้อยละ) 38.34 18.26 50.69 46.83 51.20 16.42 56.50 10.35 16.50 22.79 12.85 18.45 21.67 3.39 25.50 17.67 12.67 26.04 22.04 21.91 35.38 20.69 21.00 -40.65 15.21 12.73 20.00 19.66 16.50 6.16 18.00 9.09 2.03 1.92 4.19 3.21 4.40 22.96 4.70 6.82 18.96 18.81 20.65 17.97 14.78 -5.30 14.01 -5.20 103.71 100.55 130.43 128.03 143.93 9.38 139.71 -2.93

ที่มา: Grain, World Markets and Trade. USDA Foreign Agricultural Service, November 2016

ตารางที่ 5 ปริมาณการนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของโลก ปี 2554/55 - 2559/60 หน่วย: ล้านตัน

ประเทศ ญี่ปุ่น เม็กซิโก สหภาพยุโรป เกาหลีใต้ อียิปต์ อื่นๆ รวม

ผลต่าง อัตราเพิ่ม 2559/60 (2) - (1) 2554/55 2555/56 2556/57 2557/58 2558/59 (1) (ร้อยละ) (2) (ร้อยละ) 14.89 14.41 15.12 14.66 15.20 0.59 15.00 -1.32 11.09 5.68 10.95 11.27 13.80 11.89 13.80 6.11 11.36 16.01 8.65 13.40 13.84 13.50 0.75 7.64 8.17 10.41 10.17 10.12 8.13 9.80 -3.16 7.15 5.06 8.73 7.84 8.60 8.41 8.75 1.74 56.84 55.86 69.21 75.45 82.81 11.11 78.86 -4.77 103.71 100.55 130.43 128.03 143.93 9.38 139.71 -2.93

ที่มา: Grain, World Markets and Trade. USDA Foreign Agricultural Service, November 2016

ตารางที่ 6 ราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์อเมริกันชั้น 2 ตลาดชิคาโก ปี 2554/55 - 2558/59 ปี 2554/55 2555/56 2556/57 2557/58 2558/59 อัตราเพิ่ม (ร้อยละ) ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

12

ราคาตลาดชิคาโก (บาท/ตัน) 8,060 8,933 6,451 4,925 5,313 -13.32


Thailand Focus ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 173 มีนาคม-เมษายน 2560

ตารางที่ 7 เนื้อที่เพาะปลูก ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ของไทย ปี 2554/55 - 2559/60 ปี 2554/55 2555/56 2556/57 2557/58 2558/59 อัตราเพิ่ม (ร้อยละ) 2559/60*

เนื้อที่เพาะปลูก (ล้านไร่) 7.40 7.53 7.43 7.23 7.15 -1.09 7.03

ผลผลิต (ล้านตัน) 4.97 4.95 4.88 4.73 4.61 -1.94 4.62

ผลผลิตต่อไร่ (กิโลกรัม) 672 657 657 654 644 -0.89 656

หมายเหตุ: * ประมาณการ ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

ตารางที่ 8 การใช้ในประเทศ การส่งออก และการนำเข้าของไทย ปี 2554/55 - 2559/60 การใช้ในประเทศ1/ (ล้านตัน)

ปี 2554/55 2555/56 2556/57 2557/58 2558/59 อัตราเพิ่ม (ร้อยละ) 2559/60*

4.36 4.67 4.72 5.04 5.72 6.39 5.85

การส่งออก2/ ปริมาณ มูลค่า (ล้านตัน) (ล้านบาท) 0.32 2.95 0.04 0.39 0.99 7.49 0.25 2.22 0.22 1.88 11.44 8.74 0.40 -

การนำเข้า2/ ปริมาณ มูลค่า (ล้านตัน) (ล้านบาท) 0.21 0.74 0.10 0.41 0.14 0.57 0.15 0.70 0.14 0.69 -3.97 4.03 0.20 -

หมายเหตุ: * ประมาณการ ที่มา: 1/ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร 2/ กรมศุลกากร

ตารางที่ 9 ราคาเกษตรกรขายได้ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ และส่งออก เอฟ.โอ.บี. ปี 2554/55 - 2558/59 ปี

เกษตรกรขายได้ (บาท/กก.)

2554/55 2555/56 2556/57 2557/58 2558/59 อัตราเพิ่ม (ร้อยละ)

7.63 9.34 7.01 7.31 7.73 -2.17

ขายส่งในตลาดกรุงเทพ โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ ไซโลรับซื้อ (บาท/กก.) (บาท/กก.) 9.66 8.58 10.39 8.35 8.70 7.57 9.39 8.51 9.02 8.28 -2.35 -0.52

ส่งออก เอฟ.โอ.บี. (บาท/ตัน) 10,053 10,679 8,941 9,675 9,437 -2.23

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

13


Thailand Focus ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 173 มีนาคม-เมษายน 2560

ถั่วเหลือง 1. สถานการณ์ ปี 2559 1.1 ของโลก 1.1.1 การผลิต ปี 2554/55 - 2558/59 ผลผลิตถั่วเหลืองของโลกเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.27 ต่อปี โดยในปี 2558/59 มีผลผลิตรวม 313.20 ล้านตัน ลดลงจาก 319.78 ล้านตัน ในปี 2557/58 ร้อยละ 2.06 ประเทศผู้ผลิตสำคัญ 3 ลำดับแรก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา บราซิล และอาร์เจนตินา ปริมาณผลิตรวม 263.88 ล้านตัน คิดเป็นร้อยละ 83.06 ของผลผลิตโลก 1.1.2 การตลาด (1) ความต้องการใช้ ปี 2554/55 - 2558/59 ความต้องการใช้เมล็ดถัว่ เหลืองเพือ่ สกัดน้ำมันเพิม่ ขึน้ ร้อยละ 5.24 ต่อปี ในปี 2558/59 มีปริมาณ 276.18 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 263.24 ล้านตัน ในปี 2557/58 ร้อยละ 4.92 ประเทศที่มีความต้องการใช้มากที่สุด คือ จีน รองลงมาได้แก่ สหรัฐอเมริกา โดยทั้ง 2 ประเทศ มีความต้องการใช้เพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับปี 2557/58 สำหรับสต็อกสิ้นปี 2554/55 - 2558/59 เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.79 ต่อปี อย่างไรก็ตาม ในปี 2558/59 มีปริมาณ 77.07 ล้านตัน ลดลงจาก 78.60 ล้านตัน ในปี 2557/58 ร้อยละ 1.95 (2) การส่งออก ปี 2554/55 - 2558/59 การส่งออกเมล็ดถั่วเหลืองโลกเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.98 ต่อปี ในปี 2558/59 มีการส่งออก 132.14 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 126.22 ล้านตัน ในปี 2557/58 ร้อยละ 4.69 ประเทศส่งออกสำคัญอยู่ในทวีปอเมริกาเหนือและใต้ ได้แก่ บราซิล สหรัฐอเมริกา และ อาร์เจนตินา โดยทั้ง 3 ประเทศ มีปริมาณส่งออกรวม 116.99 ล้านตัน คิดเป็นร้อยละ 88.53 ของ ปริมาณส่งออกโลก (3) การนำเข้า ปี 2554/55 - 2558/59 การนำเข้าเมล็ดถั่วเหลืองโลกเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.94 ต่อปี ในปี 2558/59 มีปริมาณการนำเข้า 132.96 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 123.87 ล้านตัน ในปี 2557/58 ร้อยละ 7.34 โดยจีนมีการนำเข้ามากที่สุดเท่ากับ 83.23 ล้านตัน คิดเป็นร้อยละ 62.60 ของปริมาณ นำเข้าโลก เนื่องจากผลิตได้ไม่เพียงพอกับความต้องการใช้ภายในประเทศ สำหรับประเทศไทยนำเข้า เมล็ดถัว่ เหลืองเป็นอันดับ 6 ของโลก ปี 2558/59 นำเข้าปริมาณ 2.90 ล้านตัน หรือร้อยละ 1.90 ของ ปริมาณนำเข้าของโลก

14


Thailand Focus ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 173 มีนาคม-เมษายน 2560

(4) ราคา

ปี 2554/55 - 2558/59 ราคา เมล็ดถั่วเหลืองในตลาดสหรัฐอเมริกามีแนวโน้ม ลดลงอย่างต่อเนื่อง ร้อยละ 11.02 ต่อปี แต่ในปี 2558/59 ราคา 346 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน ลดลงจาก 356 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน ในปี 2557/58 ร้อยละ 2.81 สำหรับตลาดบราซิล ราคา เมล็ดถั่วเหลือง ปี 2554/55 - 2558/59 ลดลง ร้อยละ 9.99 ต่อปี แต่เมือ่ เปรียบเทียบปี 2558/59 กับปี 2557/58 ราคาลดลงไม่มากนัก ร้อยละ 1.55 จาก 388 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน เป็น 382 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน ทั้งนี้ ปริมาณผลผลิต ถั่วเหลืองของสหรัฐอเมริกา และบราซิล เพิ่มขึ้น ร้อยละ 16.95 และร้อยละ 10.96 ตามลำดับ

1.2 ของไทย 1.2.1 การผลิต ปี 2555/56 - 2559/60 เนื้อที่ เพาะปลูกและผลผลิตถั่วเหลืองมีแนวโน้มลดลง ร้อยละ 1.97 ต่อปี และร้อยละ 3.42 ต่อปี ตาม ลำดับ ในปี 2559/60 มีเนื้อที่เพาะปลูก 0.212 ล้านไร่ และผลผลิต 55,979 ตัน ลดลงจาก 0.217 ล้านไร่ และผลผลิต 56,963 ตัน ในปี 2558/59 ร้ อ ยละ 2.30 และร้ อ ยละ 1.73 ตามลำดั บ การลดลงของเนือ้ ทีเ่ พาะปลูกและผลผลิตมีสาเหตุ สำคัญคือ ผลตอบแทนต่ำกว่าพืชแข่งขัน และการ ขาดแคลนเมล็ ด พั น ธุ์ ดี ส่ ว นผลผลิ ต ต่ อ ไร่ ใ นปี 2555/56 - 2559/60 ลดลงร้อยละ 0.47 ต่อปี ในปี 2559/60 ผลผลิตต่อไร่ 264 กิโลกรัม เพิม่ ขึน้ จาก 262 กิโลกรัม ในปี 2558/59 ร้อยละ 0.76

1.2.2 การตลาด

(1) ความต้องการใช้

ปี 2555 - 2559 ความต้องการ ใช้เมล็ดถั่วเหลืองเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.03 ต่อปี โดย ในปี 2559 ความต้องการใช้มปี ริมาณ 2.66 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 2.62 ล้านตัน ในปี 2558 ร้อยละ 1.53 การใช้ประโยชน์มีหลายวัตถุประสงค์ ได้แก่ สกัดน้ำมัน ทำพันธุ์ และแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหาร คิดเป็นร้อยละ 67.43 ร้อยละ 0.15 และร้อยละ 32.05 ของความต้องการใช้เมล็ดถัว่ เหลืองทัง้ หมด ตามลำดับ

(2) การส่งออก

การส่งออกของไทยส่วนใหญ่ เป็นการส่งออกเมล็ดถัว่ เหลืองสายพันธุ์ธรรมชาติ (Non - GMO) ทีผ่ ลิตได้ภายในประเทศ โดยในช่วงปี 2555 - 2559 ปริมาณส่งออกอยู่ระหว่าง 1,918 -  11,595 ตัน โดยในปี 2559 คาดว่าส่งออก 10,000 ตัน ตลาดส่งออกส่วนใหญ่อยู่ในทวีปเอเชีย และ ไนจีเรีย

(3) การนำเข้า

ไทยพึ่งพาการนำเข้าเมล็ดถั่วเหลืองร้อยละ 97.87 ของความต้องการใช้ทงั้ หมด โดยปี 2555 - 2559 ปริมาณการนำเข้าเพิ่มขึ้น ร้อยละ 8.65 ต่อปี โดยในปี 2559 คาดว่านำเข้า 2.60 ล้านตัน แหล่งนำเข้าสำคัญ ได้แก่ บราซิล สหรัฐอเมริกา อาร์เจนตินา และแคนาดา

(4) ราคา

ปี 2558 - 2559 ราคาเมล็ด ถั่ ว เหลื อ งและน้ ำ มั น ถั่ ว เหลื อ งภายในประเทศ เคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกับราคาตลาดโลก โดย ราคามีการเคลื่อนไหว ดังนี้

15


Thailand Focus ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 173 มีนาคม-เมษายน 2560

1) ราคาเมล็ดถั่วเหลืองเกรด คละทีเ่ กษตรกรขายได้ ปี 2559 กิโลกรัมละ 14.47 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 15.46 บาท ของปี 2558 ร้อยละ 6.40 2) ราคานำเข้าเมล็ดถั่วเหลือง ปี 2559 กิโลกรัมละ 14.43 บาท ลดลงจาก กิโลกรัมละ 15.00 บาท ของปี 2558 ร้อยละ 3.80 3) ราคาขายส่งน้ำมันถัว่ เหลือง บริสุทธิ์ ปี 2559 กิโลกรัมละ 38.98 บาท ลดลง จากกิโลกรัมละ 47.86 บาท ของปี 2558 ร้อยละ 18.55

2. แนวโน้ม ปี 2560 2.1 ของโลก 2.1.1 การผลิต ปี 2559/60 คาดว่าผลผลิตเมล็ด ถั่วเหลืองโลกมีปริมาณ 336.09 ล้านตัน เพิ่มขึ้น จาก 313.20 ล้านตัน ของปี 2558/59 ร้อยละ 7.31 เนือ่ งจากผลผลิตถัว่ เหลืองของประเทศผูผ้ ลิต ที่ ส ำคั ญ ได้ แ ก่ สหรั ฐ อเมริ ก า บราซิ ล และ อาร์เจนตินา เพิ่มขึ้น โดยในปี 2559/60 คาดว่า สามารถผลิตถัว่ เหลืองได้ 118.69 ล้านตัน 102.00 ล้านตัน และ 57.00 ล้านตัน เพิม่ ขึน้ จาก 106.86 ล้านตัน 96.50 ล้านตัน และ 56.80 ล้านตัน ในปี 2558/59 ร้อยละ 11.07 ร้อยละ 5.70 และร้อยละ 0.35 ตามลำดับ 2.1.2 การตลาด

(1) ความต้องการใช้

ปี 2559/60 คาดว่ า ความ ต้องการใช้เมล็ดถัว่ เหลืองเพือ่ สกัดน้ำมัน มีปริมาณ

16

288.17 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 276.18 ล้านตัน ในปี 2558/59 ร้อยละ 4.34 เนื่องจากความ ต้องการใช้น้ำมันถั่วเหลืองเพื่อการอุปโภคและ บริโภคของโลกยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะ จีนซึ่งเป็นผู้ใช้เมล็ดถั่วเหลืองรายใหญ่ของโลก มี นโยบายส่งเสริมให้สกัดน้ำมันถั่วเหลืองใช้ภายใน ประเทศเพื่อเพิ่มมูลค่าในรูปของผลผลิตน้ำมัน และนำกากไปใช้ในอุตสาหกรรมเลี้ยงสัตว์ ตอบ สนองความต้องการใช้ที่เพิ่มขึ้นตามการขยายตัว ทางเศรษฐกิจ (2) การส่งออก ปี 2559/60 คาดว่าผู้ส่งออก ถั่วเหลืองรายใหญ่ ได้แก่ บราซิล และสหรัฐอเมริกา สามารถส่งออกเมล็ดถัว่ เหลืองได้เพิม่ ขึน้ โดยมีปริมาณ 58.40 ล้านตัน และ 55.79 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 54.38 ล้านตัน และ 52.69 ล้านตัน ในปี 2558/59 ร้อยละ 7.39 และร้อยละ 5.89 ตามลำดับ แต่อาร์เจนตินาส่งออกถั่วเหลืองลดลง จาก 9.92 ล้านตัน ในปี 2558/59 เป็น 9.25 ล้านตัน ในปี 2559/60 หรือลดลงร้อยละ 6.75 ทำให้ในปี 2559/60 การส่งออกถัว่ เหลืองของโลก มีปริมาณ 139.16 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 132.14 ล้านตัน ในปี 2558/58 ร้อยละ 5.31 โดยปริมาณ สต็อกถั่วเหลืองโลก เพิ่มขึ้นจาก 77.07 ล้านตัน ในปี 2558/59 เป็ น 81.53 ล้ า นตั น ในปี 2559/60 ร้อยละ 5.79

(3) การนำเข้า

ปี 2559/60 คาดว่าการนำเข้า เมล็ดถั่วเหลืองโลกมีปริมาณ 136.21 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 132.96 ล้านตัน ในปี 2558/58 ร้อยละ 2.44 โดยจีนนำเข้ามากที่สุดปริมาณ 86.00 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 83.23 ล้านตัน ในปี


Thailand Focus ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 173 มีนาคม-เมษายน 2560

2558/59 ร้อยละ 3.33 โดยในปี 2559/60 จีน นำเข้าเมล็ดถั่วเหลืองร้อยละ 63.14 ของปริมาณ การนำเข้าโลก

(4) ราคา

ปี 2559/60 คาดว่าราคาเมล็ด ถั่วเหลืองในตลาดโลกมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้น เมือ่ เทียบกับปี 2558/59 เนือ่ งจากปริมาณผลผลิต ถั่ ว เหลื อ งโลกเพิ่ ม สู ง ขึ้ น โดยในปี 2559/60 (พฤศจิกายน 2559) ราคาเมล็ดถัว่ เหลืองในตลาด สหรัฐอเมริกาปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็น 348 ดอลลาร์ สหรัฐฯ ต่อตัน จากราคาเฉลีย่ 346 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน ในปี 2558/59 ร้อยละ 0.58

2.2 ของไทย 2.2.1 การผลิต เนื้อที่เพาะปลูก และผลผลิตถั่วเหลืองยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้มีสาเหตุจาก การขาดแคลนเมล็ดพันธุ์ดี การดูแลรักษายุ่งยาก และผลตอบแทนต่ำกว่าพืชแข่งขันอืน่ ๆ เช่น ข้าวโพด เลี้ยงสัตว์ โดยคาดว่าปี 2560/61 จะมีเนื้อที่ เพาะปลูก 0.208 ล้านไร่ ผลผลิต 55,672 ตัน และผลผลิตต่อไร่ 267 กิโลกรัม 2.2.2 ตลาด

(1) ความต้องการใช้

ปี 2560 คาดว่าความต้องการ ใช้เมล็ดถัว่ เหลืองมีปริมาณ 2.70 ล้านตัน เพิม่ ขึน้ จาก 2.66 ล้านตัน ในปี 2559 ร้อยละ 1.82 โดยในปี 2560 คาดว่ามีสัดส่วนการใช้ผลผลิต ภายในประเทศร้อยละ 2.05 และนำเข้าร้อยละ 97.95 ของปริมาณความต้องการใช้ทั้งหมด

(2) การส่งออก

ปี 2560 คาดว่าปริมาณการ ส่งออกเมล็ดถั่วเหลืองของไทยมีปริมาณ 10,000 ตัน ทรงตัวเท่ากับปี 2559 โดยเป็นการส่งออก เมล็ดถัว่ เหลืองสายพันธุธ์ รรมชาติ ไม่มกี ารดัดแปร พันธุกรรม (Non-GMO) ทีผ่ ลิตได้ภายในประเทศ และตลาดส่งออกส่วนใหญ่อยู่ในทวีปเอเชีย

(3) การนำเข้า

การนำเข้าเมล็ดถั่วเหลืองเพิ่ม ขึน้ ตามการขยายตัวของเศรษฐกิจ คาดว่าปี 2560 การนำเข้ามีปริมาณ 2.65 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 2.60 ล้านตัน ในปี 2559 ร้อยละ 1.92

(4) ราคา

ปี 2560 คาดว่าราคาเมล็ด ถัว่ เหลืองทีเ่ กษตรกรขายได้จะปรับสูงขึน้ เมือ่ เทียบ กับปี 2559 เนือ่ งจากคาดว่าราคารับซือ้ ถัว่ เหลือง ขัน้ ต่ำจะกำหนดให้สงู ขึน้ แม้วา่ แนวโน้มราคาตลาด โลกจะอ่อนตัวลงบ้าง

2.3 ปั จ จั ย ที่ มี ผ ลกระทบต่ อ การผลิ ต ถั่วเหลือง 2.3.1 ปัจจัยภายในประเทศ (1) นโยบายส่งเสริม/พัฒนาการ ผลิตถั่วเหลือง เช่น ส่งเสริมการผลิตเมล็ดพันธุ์ คุณภาพดี การใช้เครื่องจักรกลทดแทนแรงงาน เพือ่ ลดต้นทุนการผลิต การให้ความรูด้ า้ นการผลิต ถั่วเหลืองแก่เกษตรกร รวมทั้งโครงการประชารัฐ ซึง่ เป็นความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน คาด ว่าจะส่งผลให้ประสิทธิภาพการผลิตถัว่ เหลืองเพิม่ สูงขึ้น

17


Thailand Focus ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 173 มีนาคม-เมษายน 2560

(2) เกษตรกรบางส่วนหันไปปลูกพืชทดแทนชนิดอืน่ ทีใ่ ห้ผลตอบแทนสูงกว่าและดูแลรักษา ง่ายกว่าการปลูกถั่วเหลือง ส่งผลกระทบให้เนื้อที่เพาะปลูกและผลผลิตถั่วเหลืองลดลง 2.3.2 ปัจจัยภายนอกประเทศ (1) คาดการณ์ว่าผลผลิตของประเทศสหรัฐอเมริกาจะเพิ่มขึ้นมาก เนื่องจากสภาพ ภูมิอากาศในปีการผลิต 2559/60 เอื้ออำนวยต่อการปลูกถั่วเหลืองของสหรัฐอเมริกา ส่งผลให้ปริมาณ ผลผลิตถั่วเหลืองของสหรัฐอเมริกาเพิ่มสูงขึ้น (2) ความต้องการใช้ถั่วเหลืองเพื่อสกัดน้ำมันของจีนผู้นำเข้าถั่วเหลืองรายใหญ่ของโลก เพิม่ สูงขึน้ อย่างต่อเนือ่ ง ประกอบกับแนวโน้มความต้องการใช้กากถัว่ เหลืองเพือ่ ผลิตอาหารสัตว์ และใช้ เมล็ดถัว่ เหลืองเพือ่ ผลิตพลังงานทดแทนเพิม่ ขึน้ ส่งผลให้ประเทศผูผ้ ลิตถัว่ เหลืองรายใหญ่เพิม่ พืน้ ทีป่ ลูก เพื่อให้ผลผลิตเพียงพอกับปริมาณความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้น ตารางที่ 1 สมดุลเมล็ดถั่วเหลืองโลก ปี 2554/55 - 2559/60 หน่วย: ล้านตัน

รายการ 1. ผลผลิต 2. นำเข้า 3. ส่งออก 4. สกัดน้ำมัน 5. สต็อกสิ้นปี

2554/55 2555/56 2556/57 2557/58 2558/59 240.43 93.47 92.19 228.37 53.91

268.53 97.20 100.80 230.58 55.18

282.46 113.07 112.68 242.30 61.90

319.78 123.87 126.22 263.24 78.60

313.20 132.96 132.14 276.18 77.07

ที่มา: Oilseeds, World Markets and Trade. USDA Foreign Agricultural Service, November 2016

18

อัตราเพิ่ม คาดการณ์ (ร้อยละ) 2559/60 7.27 336.09 9.94 136.21 9.98 139.16 5.24 288.17 10.79 81.53


Thailand Focus ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 173 มีนาคม-เมษายน 2560

ตารางที่ 2 ราคาเมล็ดถั่วเหลืองตลาดโลก ปี 2554/55 - 2558/5 หน่วย: ดอลลาร์สหรัฐฯ/ตัน

รายการ 1. สหรัฐอเมริกา 2. บราซิล (เอฟ.โอ.บี.) 3. อาร์เจนตินา (เอฟ.โอ.บี.) 4. รอตเตอร์ดัม (ซี.ไอ.เอฟ.)

่ม 2559/60* 2554/55 2555/56 2556/57 2557/58 2558/59 อั(ร้ตอราเพิ ยละ) 505 537 487 356 346 -11.02 348 549 538 514 388 382 -9.99 413 533 543 517 401 375 -9.57 386 562 592 542 407 396 -10.19 403

หมายเหตุ: *ข้อมูลเดือนตุลาคม 2559 ที่มา: Oilseeds, World Markets and Trade. USDA Foreign Agricultural Service, November 2016

ตารางที่ 3 เนื้อที่เพาะปลูก ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ของไทย ปี 2555/56 – 2560/61 รายการ 1. เนื้อที่เพาะปลูก (ล้านไร่) 2. ผลผลิตทั้งหมด (ตัน) 3. ผลผลิตต่อไร่ (กก.)

่ม คาดการณ์ 2554/55 2555/56 2556/57 2557/58 2558/59 อั(ร้ตอราเพิ ยละ) 2559/60 0.247 0.196 0.237 0.217 0.212 -1.97 0.208 63,508 52,740 51,626 56,963 55,979 -3.42 55,672 257 270 243 262 264 -0.47 267

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

ตารางที่ 4 สมดุลเมล็ดถั่วเหลืองของไทย ปี 2555 – 2560 หน่วย: ตัน

ปี

ผลิต

นำเข้า

รวม (Supply)

2555 2556 2557 2558 25591/ อัตราเพิ่ม (ร้อยละ) 25602/

91,531 64,358 55,911 57,690 56,630 -10.14 55,500

2,119,941 1,678,678 1,898,295 2,557,384 2,600,000 8.65 2,650,000

2,211,472 1,743,036 1,954,206 2,615,074 2,656,630 8.03 2,705,500

ความต้องการใช้ภายในประเทศ สกัดน้ำมัน ทำพันธุ์ แปรรูปฯ 1,679,481 5,846 524,227 1,451,700 4,418 284,929 1,693,200 3,747 245,664 1,646,415 4,262 955,080 1,791,399 3,885 851,346 2.58 -8.18 24.35 1,820,000 3,830 871,670

รวม ส่งออก (Demand) 1,918 1,989 11,595 9,317 10,000 62.37 10,000

2,211,469 1,743,036 1,954,206 2,615,074 2,656,630 8.03 2,705,000

หมายเหตุ: 1/ ข้อมูลเบื้องต้น 2/ ประมาณการ ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

19


Thailand Focus ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 173 มีนาคม-เมษายน 2560

ตารางที่ 5 ราคาถั่วเหลืองและผลิตภัณฑ์ของไทย ปี 2555 – 2559 หน่วย: บาท/กิโลกรัม

รายการ

15.75

18.24

18.08

15.46

14.47

อัตราเพิ่ม (ร้อยละ) -3.29

18.86 16.78 50.08

18.60 15.93 50.08

18.44 14.91 50.08

15.00 12.07 47.86

14.43 12.59 38.98

-7.23 -8.17 -5.32

2555

1. ราคาเมล็ดถั่วเหลืองเกษตรกรขายได้ 2. ราคานำเข้า - ท่าเรือเกาะสีชัง - ตลาดชิคาโก 3. ราคาขายส่งน้ำมันถั่วเหลืองบริสุทธิ์ 1/

2556

2557

2558

2559

หมายเหตุ: 1/ รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม ไม่รวมภาชนะบรรจุ ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

ตารางที่ 6 ความต้องการใช้เมล็ดถั่วเหลืองของไทย ปี 2555 - 2560 หน่วย: ตัน

รายการ ความต้องการใช้ 1. สกัดน้ำมัน 2. แปรรูปฯ 3. ทำพันธุ์ 4. ส่งออก

2555

2557

2558

2559

2,211,472 1,743,036 1,954,206 2,615,074 2,656,630 1,679,481 1,451,700 1,693,200 1,646,415 1,791,399 524,227 284,929 245,664 955,080 851,346 5,846 4,418 3,747 4,262 3,885 1,918 1,989 11,595 9,317 10,000

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

20

2556

อัตราเพิ่ม คาดการณ์ (ร้อยละ) 2560 8.03 2,705,000 2.58 1,820,000 24.35 871,670 -8.18 3,830 62.37 10,000




Thailand Focus ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 173 มีนาคม-เมษายน 2560

เกษตรฯ เสนอ ครม.

จัดงบปลูกข้าวโพด เกษตรฯ กางแผนของบ 1.8 หมื่ น ล้ า น จู ง ใจปลู ก ข้าวโพด 3.36 ล้านไร่ ลุ่มเจ้ า พระยา ปี 2561-2564 แทนข้าวนาปรังรอบ 3 นายสมชาย ชาญณรงค์กุล อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยว่า กรมมีแผนพัฒนา ศักยภาพการเกษตรเพือ่ ส่งเสริมการปลูกข้าวโพด 3.36 ล้านไร่ ในพื้นที่นาดอนภาคกลาง และ ภาคเหนือตอนล่าง เป็นโครงการระยะ 3 ปี (2561 2564) เพื่อทดแทนการปลูกข้าวนาปรังรอบ 3 โดยจะเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาจัดสรร งบประมาณปีละ 6,000 ล้านบาท รวม 1.8 หมืน่ ล้าน บาท ทั้งนี้ มาตรการจูงใจดังกล่าวจะสนับสนุน การปลูกข้าวโพดไร่ละ 2,000 บาท/ไร่ ครัวเรือน ละไม่เกิน 15 ไร่ จากต้นทุนการปลูก 4,200 บาท เนื่องจากเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดมีราคาแพงถึง 120 บาท/กิโลกรัม และมีการใช้ปริมาณมากถึง 10 กก./ไร่ "เตรียมของบจาก ครม. ปีละ 6,000 ล้าน บาท โครงการ 3 ปี ซึ่งในปีที่ผ่านมาเราส่งเสริม ปากเปล่าจึงมีเกษตรกรเข้าร่วม 2 แสนไร่ ซึ่ง ขณะนี้ใกล้เก็บเกี่ยว และมีตลาดรองรับชัดเจน ประกอบกั บ ข้ า วโพดเป็ น ที่ ต้ อ งการมาก และ

รัฐบาลมีนโยบายไม่ให้ปลูกบนภูเขา เพราะฉะนัน้ จะใช้พนื้ ทีเ่ หล่านีป้ ลูกทดแทน คาดว่าจะได้ผลผลิต ประมาณ 2.46 ล้ า นตั น ทดแทนการนำเข้ า ข้าวสาลี 100% ซึ่งแต่ละปีความต้องการใช้ข้าวโพดประมาณปีละ 7.08 ล้านตัน แต่ปัจจุบันปลูก อยู่ 8 ล้านไร่ ได้ผลผลิตเพียง 4 ล้านตันเศษ" นายสมชายกล่าว ปัจจุบันราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์อยู่ที่ขั้นต่ำ อยู่ที่ 6.50 บาท/กก. ผลผลิตต่อไร่ประมาณ 1,200-1,800 กก./ไร่ ระยะเวลาการปลูก 120 วัน กำไรต่อไร่ประมาณ 2,000-8,000 บาท/ไร่ ซึ่ง ขึ้นอยู่กับคุณภาพของผลผลิต ส่วนมากข้าวโพด หน้าแล้งจะมีคุณภาพดี อย่างไรก็ตาม การจับ คูผ่ ลิต กรมจะทำสัญญาระหว่างเกษตรกรกับผูร้ บั ซื้อ เพื่อประกันราคารับซื้อขั้นต่ำ และสร้างความ เชื่อมั่นให้กับเกษตรกร นายสมชาย กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้เห็นชอบ โครงการเปลี่ยนการปลูกข้าวนาปรังรอบ 3 ปี 2560/2561 เดือน พ.ย. 2560 เพื่อส่งเสริมการ ปลูกข้าวโพดเลีย้ งสัตว์พนื้ ที่ 3.36 ล้านไร่ ทดแทน การนำเข้าข้าวสาลีและจากการปลูกทดแทนพื้นที่ เขาที่เป็นต้นน้ำ โดยสั่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไปทำรายละเอียดเสนอมายัง ครม.

ที่มา : โพสต์ทูเดย์ ฉบับวันที่ 04 เมษายน พ.ศ. 2560

21


Food feed fuel ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 173 มีนาคม-เมษายน 2560

4 สมาคม ยอมรับ ผลสำรวจมันสำปะหลัง สศก. แม่นยำ ลุยปูพรมสำรวจปี 60 เม.ย. - พ.ค. นี้

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร จับมือ 4 สมาคม มั่นใจ ผลสำรวจ มันสำปะหลังโรงงาน ตรงกับสภาพความเป็นจริงในพื้นที่ ระบุ ปี 59 ผลผลิต 31.16 ล้านตัน เนื้อที่เก็บเกี่ยว 9.07 ล้านไร่ และผลผลิตต่อไร่ 3,437 กิโลกรัม แจง ปี 2560 ลุยเก็บข้อมูลทัง้ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง ระหว่างเมษายน ถึงพฤษภาคมนี้ นางสาวจริยา สุทธิไชยา เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า สศก. ได้จัดทำข้อมูลปริมาณการผลิต มันสำปะหลังโรงงานเป็นประจำทุกปี เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการกำหนดแนวทางและ นโยบายการผลิตมันสำปะหลังโรงงานภายในประเทศได้อย่างถูกต้องและทันต่อ เหตุการณ์ โดยในปี 2559 ผลการสำรวจ พบว่า มันสำปะหลังโรงงาน (เก็บเกีย่ วตัง้ แต่ 1 ตุลาคม 2558 - 30 กันยายน 2559) มีปริมาณผลผลิตหัวมันสด 31.16 ล้านตัน เนื้อที่เก็บเกี่ยว 9.07 ล้านไร่ ผลผลิตต่อไร่ 3,437 กิโลกรัม ในการนี้ สศก. ได้รว่ มมือกับสมาคมการค้าและผูผ้ ลิตมันสำปะหลัง 4 สมาคม ประกอบด้วย สมาคมการค้า มันสำปะหลังไทย สมาคมโรงงานผลิตภัณฑ์มนั สำปะหลัง ไทย สมาคมโรงงานผู้ผลิตมันสำปะหลังภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และสมาคม แป้งมันสำปะหลังไทย ทำการสำรวจภาวะการผลิตและการค้ามันสำปะหลังโรงงาน ซึ่งทั้ง 4 สมาคม ได้ให้การยอมรับรายงานผลการสำรวจของสำนักงานเศรษฐกิจ การเกษตร ตรงกับสภาพความเป็นจริงในพื้นที่ สำหรับมันสำปะหลังโรงงาน เป็นหนึ่งในพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญเป็น อย่างมากต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศไทย สามารถแปรรูปเป็นมันเส้น มันอัดเม็ด แป้งมันสำปะหลัง และอืน่ ๆ เพือ่ ใช้เป็นวัตถุดบิ ในอุตสาหกรรมต่อเนือ่ ง เช่น อาหาร

22


Food feed fuel ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 173 มีนาคม-เมษายน 2560

อาหารสัตว์ สารให้ความหวาน ผงชูรส กระดาษ สิ่งทอ เป็นต้น นอกจากนี้ ยัง สามารถนำไปผลิตเป็นเอทานอลซึ่งเป็นพลังงานทดแทนได้อีกทางหนึ่ง ทำให้ความ ต้องการใช้มันสำปะหลังโรงงานมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกปี โดยแบ่งออกเป็น การใช้ในประเทศประมาณร้อยละ 20 - 25 ส่วนที่เหลือร้อยละ 75 - 80 เป็นการ ส่งออก ทั้งนี้ ปี 2560 นี้ สศก. คาดว่าเนื้อที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต มันสำปะหลังโรงงาน ปี 2560 จะลดลงจากปี 2559 เนือ่ งจากเกษตรกรขาดแคลนท่อนพันธุ์ จากภัยแล้ง ช่วงต้นปี 2559 ทำให้ต้นมันแห้งตายต้องปลูกหลายรอบ อย่างไรก็ตาม คาดว่า ผลผลิตต่อไร่จะเพิ่มขึ้น เนื่องจากปริมาณน้ำฝนตั้งแต่กลางปี 2559 มากกว่าปี 2558 โดย สศก. จะทำการสำรวจในเดือนเมษายน - พฤษภาคม 2560 ในพื้นที่ แหล่งผลิตในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง และจะได้เผยแพร่ ข้อมูลให้ทราบในระยะต่อไป ซึ่งท่านที่สนใจข้อมูล สามารถขอติดต่อสอบถามได้ที่ ศูนย์สารสนเทศการเกษตร โทร. 0 2561 2870 อีเมล prcai@oae.go.th

ข่าว : ส่วนประชาสัมพันธ์ ข้อมูล : ศูนย์สารสนเทศการเกษตร วันที่ 28 เมษายน 2560

23


Food feed fuel ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 173 มีนาคม-เมษายน 2560

'ข้าวโพด-มัน' ผวา

เทสต็อกฉุดราคาดิ่ง

เกษตรกรข้าวโพด - มันสำปะหลัง ผวา ประมูลข้าวสู่อุตสาหกรรม 3.6 ล้านตัน ซ้ำเติม ทุบราคาดิง่  - เอกชนชะลอซือ้ ด้านส่งออกยังหวัน่ ทะลักเข้าสูต่ ลาดบริโภค แฉเปิดช่องผูซ้ อื้ เล่นกล จ้างโรงสีปรับปรุงข้าว นายวิ เ ชี ย ร กิ ติ ทั ศ นาสรชั ย ที่ ป รึ ก ษา กลุ่มเกษตรกรชาวไร่ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ จังหวัด เพชรบูรณ์ เปิดเผยว่า จากที่กระทรวงพาณิชย์จะ เปิดประมูลระบายข้าวในสต็อกรัฐบาลสู่อุตสาหกรรมล็อตใหญ่ถึง 3.6 ล้านตัน จะกระทบต่อ ชาวไร่ขา้ วโพด เนือ่ งจากจะทำให้โรงงานอาหารสัตว์ ชะลอซือ้ ข้าวโพดอาหารสัตว์ และหันไปใช้วตั ถุดบิ ทดแทน ราคาข้าวโพดจะตกลงมาทันที อีกด้านหนึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้สง่ เสริมการปลูกข้าวโพดเลีย้ งสัตว์ เพือ่ ลดพืน้ ที่ ปลูกข้าว ณ วันนี้ผลผลิตใกล้จะออกแล้ว แต่ ผู้ประกอบการยังไม่ได้มาทำสัญญาประกันราคา ที่ 8 บาท/กก. ขณะที่ราคาข้าวโพด ณ วันที่ 20 มีนาคม 2560 อยู่ที่ 7.10-7.20 บาทต่อกิโลกรัม สอดคล้อง นายเติมศักดิ์ บุญชื่น ประธาน คณะทำงานด้านพืชไร่ สภาเกษตรกรแห่งชาติ กล่าวว่า เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังจะได้รับ ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2560

24

ผลกระทบอย่างแน่นอน ผลโรงงานเอทานอลและ โรงงานอาหารสั ต ว์ จ ะหั น ไปใช้ ข้ า วเป็ น วั ต ถุ ดิ บ เพิ่มขึ้น ปัจจุบันหัวมันสด เชื้อแป้ง 25% ราคา เฉลี่ยอยู่ที่ 1.45-1.60 บาทต่อกิโลกรัม ขณะที่ ต้นทุนที่สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) คำนวณอยู่ที่ 1.90 บาท/กก. เกษตรกรขาดทุน ขณะที่ นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล นายกสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย กล่าวว่า ข้าว เป็นหนึ่งในส่วนผสมวัตถุดิบอาหารสัตว์ แต่ไม่ สามารถมาแทนวัตถุดิบชนิดอื่นได้ แบบ 1:1 แต่ ยอมรับอาจจะมีการปรับสูตรอาหารในการทดแทน หรือเพิ่มสัดส่วนให้มีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น ด้านนายวันนิวัฒน์ กิติเรียงลาภ รองประธานบริษัท พงษ์ลาภ จำกัด กล่าวว่า การ ระบายข้าวสู่อุตสาหกรรม จะกระทบทั้งตลาดใน ประเทศและตลาดโลก เนื่องจากครั้งนี้มีข้าวกว่า 2 ล้านตัน ที่ยังมีคุณภาพดี เชื่อว่าไม่สามารถคุม ได้ จากผู้ค้าจะอาศัยจังหวะโรงงานจ้างปรับปรุง แยกคัดคุณภาพข้าวดี นำข้าวออกไปสู่ตลาดข้าว เพื่อบริโภค จะกระทบถึงชาวนาที่จะขายข้าวได้ ราคาต่ำ


Food feed fuel ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 173 มีนาคม-เมษายน 2560

ไข่ราคาลดตามวัฏจักร...

ชวนกิ นเสริมสุขภาพแถมช่วยเกษตรกร ๏ รัฐพล ศรีเจริญ sri_rattapol@hotmail.com ๏

ไข่ไก่ เป็นสินค้าอ่อนไหว ราคามีขึ้นมีลง ตามกลไกตลาดตามแต่ปริมาณผลผลิต และ ความต้องการบริโภคในขณะนั้นเป็นตัวกำหนด และภาวะราคาขึน้ ลงนีเ้ กิดขึน้ ตลอดทัง้ ปีเรียกว่า "วัฏจักรราคาไข่ไก่" โดยปกติช่วงที่ไข่ไก่ราคาสูงจะเกิดในช่วง ฤดูร้อน เนื่องจากปริมาณไข่ไก่ลดลงเพราะแม่ไก่ ได้รบั ผลกระทบจากสภาพอากาศร้อน ขณะทีก่ าร บริโภคสูงขึ้นเพราะมีเทศกาลสำคัญๆ หลายวัน ส่วนช่วงที่ราคามักจะต่ำลงคือ ช่วงฤดูฝน และ ฤดูหนาวที่สภาพอากาศมีความเหมาะสมแม่ไก่ให้ ผลผลิตดี ไข่ไก่ในตลาดจึงมากขึ้น สวนทางกับ การบริโภคที่ลดลงเพราะมีอาหารตามธรรมชาติ ให้ผบู้ ริโภคเลือกมากมาย และราคาจะตกต่ำหนักๆ ในช่วงปิดเทอมใหญ่ เดือนมีนาคม - เมษายน และ เทศกาลกินเจในเดือนตุลาคมของทุกปี ที่กล่าวมานี้คือภาวะปกติ แต่ในปี 2559 ต่อเนือ่ งมาจนถึงปัจจุบนั กลับไม่เป็นเช่นนัน้ เพราะ ราคาไข่ปรับลดลงมาตลอด ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องย้อน กลับไปตั้งแต่ปี 2558 ที่ราคาไข่ไก่ร่วงอย่างหนัก จนคนเลีย้ งจำต้องเลิกเลีย้ งไก่ไข่ไปเป็นจำนวนมาก

เพราะทนแบกรับภาวะขาดทุนไม่ได้ ผลจึงสืบ เนือ่ งมาถึงปี 2559 ทีป่ ริมาณไข่ไก่ลดลงอย่างมาก เมื่อผนวกกับตลาดไข่ไก่เคลื่อนไหวอยู่ในเกณฑ์ดี ในปีที่ผ่านมา ราคาไข่จึงขยับตัวสูงขึ้นและกลาย เป็นแรงจูงใจให้เกษตรกรขยายการเลี้ยงต่อเนื่อง มาตลอด จากปี 2558 ที่อุตสาหกรรมไก่ไข่มีแม่ไก่ ยืนกรงอยู่ที่ 53.10 ล้านตัว ก็เพิ่มขึ้นเป็น 54.70 ล้านตัวในปี 2559 ส่วนปี 2560 นี้ คาดการณ์ว่า แม่ไก่ยนื กรงจะเพิม่ เป็น 57.80 ล้านตัว การเลีย้ ง แม่ ไ ก่ ที่ เ พิ่ ม ขึ้ น ผลผลิ ต ไข่ ไ ก่ ย่ อ มเพิ่ ม ขึ้ น ตาม แต่ กั บ ภาวะการบริ โ ภคกลั บ ลดต่ ำ ลงมากเป็ น ประวัติการณ์มาตั้งแต่ปลายปี 2559 จนคนใน วงการไก่ไข่ถึงกับเอ่ยปากว่าเป็นภาวะราคาตกต่ำ อย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน

ที่มา : สยามรัฐ ฉบับวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2560

25


Food feed fuel ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 173 มีนาคม-เมษายน 2560

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วันนี้สถานการณ์ ยิ่งเลวร้ายเมื่อการบริโภคลดลงอย่างหนักจาก ภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซา ประจวบกับเป็นช่วง โรงเรียนปิดเทอม ราคาจึงลดลงอย่างหนัก ทำ ให้ปัจจุบันราคาไข่คละหน้าฟาร์มตกต่ำเหลือ แค่ฟองละ 2.10 บาท สวนทางกับต้นทุนการ ผลิตที่สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) คำนวณไว้ทเี่ ฉลีย่ ฟองละ 2.94 บาท นัน่ เท่ากับ ภาวะขาดทุนที่เกษตรกรต้องแบกรับไว้

photo by: meaw & pony

กรมปศุสัตว์ ในฐานะกรรมการเลขานุการ คณะกรรมการนโยบายพัฒนาไก่ไข่และ ผลิตภัณฑ์ (Egg Board) ได้เร่งแก้ปัญหานี้ โดยเรียกประชุมทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ทั้ง ผู้ประกอบการรายใหญ่ รายกลาง และสมาคมผู้แทนเกษตรกรรายย่อย เพื่อระดมสมอง ในการเสาะหาหนทางแก้ที่เหมาะสม จนได้ข้อสรุปที่จะเสนอมาตรการต่อคณะกรรมการ ชุดใหญ่ ด้วยมาตรการ 3 ระยะ ได้แก่ ระยะเร่งด่วน โดยกรมปศุสัตว์ขอความร่วมมือเกษตรกรรายใหญ่เร่งปลดแม่ไก่, พ่อแม่พันธุ์ และปู่ย่าพันธุ์ไก่ไข่ ที่อายุ 72 สัปดาห์ และมีการช่วยเหลือผู้ผลิตที่ไม่มีตลาด รับซื้อไข่ไก่ด้วยการผลักดันการส่งออก ระยะกลาง ด้วยการเจรจาให้ EU รับรองไข่ไก่ประเทศไทยเพือ่ ใช้เป็นวัตถุดบิ ในการ แปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อการส่งออก ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสให้มีการใช้ไข่ไก่สำหรับ ผลิตเป็นอาหารสำเร็จรูป ระยะยาว กำหนดมาตรฐานฟาร์มบังคับให้มีกองทุน โดยเก็บเงินจากการนำเข้า ไก่ไข่พันธุ์เข้าเลี้ยงตัวละ 100 บาท เพื่อการทำกิจกรรมแก้ปัญหาหากราคาไข่ไก่ตกต่ำอีก ซึ่งจะต้องมีการกำหนดกติกาที่ชัดเจน โดยสมาชิกกองทุนคือผู้เลี้ยงไก่พันธุ์ทั้งหมด และ ผู้แทนเกษตรกร นอกจากนี้ ยังกำหนดโครงสร้างการผลิต การตลาดในอุตสาหกรรมไก่ไข่ ทั้งในส่วนของพ่อแม่พันธุ์ ระบบโครงสร้างการเลี้ยงไก่ไข่ (ฟาร์มขนาดใหญ่ กลาง เล็ก) ล้งไข่ ระบบขนส่ง หรือโลจิสติกส์ การเพิ่มมูลค่าไก่ปลดระวาง โรงงานแปรรูป และการ ตลาด นอกจากนี้ ยังเดินหน้าโครงการรณรงค์บริโภคไข่ไก่ 300 ฟอง ตามแผน ยุทธศาสตร์ไก่ไข่ พ.ศ. 2557 - 2561 อย่างต่อเนื่อง โดยภาวะราคาไข่ไก่เช่นนี้ถือเป็น โอกาสของผู้บริโภคทุกเพศทุกวัยที่จะได้รับประทานไข่ไก่ที่เป็นโปรตีนคุณภาพสูง มี สารอาหารที่ร่างกายต้องการอย่างครบถ้วน ซึ่งนอกจากจะช่วยให้ร่างกายแข็งแรงแล้ว ยังเป็นการช่วยต่อลมหายใจให้เกษตรกรไทยสามารถประคับประคองอาชีพได้ต่อไป

26


Food feed fuel ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 173 มีนาคม-เมษายน 2560

แนะเกษตรกรปลูกถั่วเหลือง - ถั่วเขียว พืชทางเลือกฤดูแล้ง - ใช้น้ำน้อย - สร้างรายได้เสริมได้อย่างดี

นายสมชาย ชาญณรงค์กุล อธิบดีกรม ส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยว่า พืชตระกูลถัว่ เป็น พืชทนแล้งอีกชนิดหนึ่งที่สามารถใช้ปลูกทดแทน การทำนาปรังในช่วงแล้งได้ เพราะเป็นพืชที่ใช้น้ำ น้อย ดูแลง่าย และยังเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ อีกชนิดหนึ่งด้วย โดยพืชตระกูลถั่วที่ส่งเสริมใน ขณะนี้ ได้แก่ ถั่วเหลือง ซึ่งปัจจุบันมีการผลิตที่ ไม่เพียงพอ จึงต้องนำเข้าจากต่างประเทศ สำหรับการปลูกถั่วเหลืองให้ประสบความ สำเร็จ ควรเป็นดินร่วน ดินร่วนเหนียว หรือดินร่วน เหนียวปนทรายมีการระบายน้ำ พันธุท์ แี่ นะนำ คือ พันธุเ์ ชียงใหม่ 60 นครสวรรค์ 1 เชียงใหม่ 2 และ เชียงใหม่ 6 เกษตรกรต้องตัดตอซังข้าวไถดะ ตากดินไว้ประมาณ 7 - 10 วัน จากนั้นไถพรวน พร้อมทำร่องน้ำชิดรอบขอบแปลง และผ่านกลาง แปลง ปล่อยน้ำเข้าแปลงครึง่ วัน แล้วระบายน้ำออก ตากดิ น ให้ ห มาดแล้ ว ปลู ก การให้ น้ ำ ให้ ใ ช้ วิ ธี ปล่อยน้ำตามร่องให้ซึมทั่วแปลงทุก 7 - 15 วัน ห้ามขาดน้ำในช่วงออกดอกและติดฝัก ปุ๋ยเคมีที่ แนะนำ คือสูตร 12 - 24 - 12 อัตรา 25 กิโลกรัม ต่อไร่ การใส่ปุ๋ย มี 2 วิธี คือ หว่านปุ๋ยหลังจาก ปลูกเสร็จทันที หรือให้ปุ๋ยหลังจากที่ต้นถั่วเหลือง มีอายุได้ 2 สัปดาห์ หรือมี 3 - 5 ใบแล้ว

นายสมชายกล่าวเพิม่ เติมว่า ถัว่ เขียวก็เป็น พืชตระกูลถัว่ อายุสนั้ อีกชนิดทีใ่ ช้นำ้ น้อย เหมาะที่ จะปลูกทดแทนนาปรัง เพื่อตัดวงจรการระบาด ของศัตรูขา้ ว และสร้างรายได้เสริมให้แก่เกษตรกร แต่ต้องเลือกใช้เมล็ดพันธุ์ที่ดีมีคุณภาพ โดยก่อน ปลูกให้คลุกเมล็ดด้วยปุ๋ยชีวภาพไรโซเบียม ส่วน ขั้นตอนการปลูกเริ่มจากเตรียมดิน ไถดะ 1 ครั้ง และตากดิน 7 - 10 วัน จากนั้นทำการไถพรวน 1 ครั้ง และคราดเก็บเศษวัชพืช การปลูกมี 2 วิธี ได้แก่ 1. ปลูกแบบหว่าน 2. ปลูกแบบแถว ส่วน การให้น้ำ ให้น้ำทันทีหลังปลูก หากดินมีความชื้น ไม่พอต่อการงอก จากนั้นให้น้ำทุก 10 - 14 วัน และหยุดให้นำ้ เมือ่ ฝักแรกแก่เปลีย่ นเป็นสีดำ ระวัง อย่าให้ถั่วเขียวขาดน้ำในช่วงออกดอกและติดฝัก และพื้ น ที่ ที่ มี น้ ำ จำกั ด ให้ ใ ช้ วั ส ดุ ค ลุ ม ดิ น เช่ น ฟางข้าว หรือพลาสติกดำ เพือ่ รักษาความชืน้ ในดิน การเก็บเกีย่ วของถัว่ เขียวจะแตกต่างจากถัว่ เหลือง เพราะฝักถั่วจะสุกไม่พร้อมกัน โดยทั่วไปจะเก็บ เกี่ยว 2 ครั้ง ครั้งแรก เมื่อถั่วเขียวมีฝักแก่ร้อยละ 80 โดยใช้มอื ปลิดฝักแก่ทมี่ สี ดี ำ ครัง้ ที่ 2 หลังจาก ปลิดฝักครั้งแรก 14 วัน

ที่มา : แนวหน้า ฉบับวันที่ 04 เมษายน พ.ศ. 2560 ภาพประกอบ : http://agriculturewire.com/wp-content/uploads/2016/11/soybean-1.jpg

27


Food feed fuel ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 173 มีนาคม-เมษายน 2560

คน. ถก 3 สมาคม รับมือผลปาล์ม ปี' 60/61 ทะลัก 11.7 ล้านตัน

กรมการค้าภายใน ระดมสมอง 3 สมาคม โรงสกัด - โรงกลัน่  - ไบโอดีเซล รับมือผลปาล์มปี' 60/61 ทะลัก 11.7 ล้านตัน หวัน่ ราคาร่วง เอกชนแนะรัฐหา มาตรการคุมเข้มเกษตรกร  -  จดุ รับซือ้ แก้ปญ ั หาตัดปาล์มอ่อนเปอร์เซ็นต์นำ้ มัน ต่ำ ขู่หากไม่ได้ผลควรใช้ มาตรา 44 ดูแล แหล่งข่าวจากวงการปาล์มน้ำมัน เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2560 นางนันทวัลย์ ศกุนตนาค อธิบดีกรมการค้าภายใน ประชุมหารือสถานการณ์ การผลิต และราคาผลผลิตปาล์ม โดยภาครัฐได้ขอความร่วมมือผูป้ ระกอบการ 3 สมาคม ประกอบด้วย โรงสกัด โรงกลัน่ และไบโอดีเซล ให้พฒ ั นาคุณภาพเปอร์เซ็นต์นำ้ มันปาล์มทัง้ ระบบเพือ่ ให้สอดคล้องกับ แผนยุทธศาสตร์การปฏิรูปน้ำมันปาล์ม และขอไม่ให้มีการตัดปาล์มดิบ ซื้อปาล์มดิบ แยกลูกร่วง หรือ การทำลายคุณภาพน้ำมัน เป็นต้น ทั้งนี้ หากในอนาคตไม่สามารถควบคุมได้อาจมีความจำเป็นต้องใช้ มาตรา 44 ภายใต้รัฐธรรมนูญเข้าไปดูแล ตารางสถานการณ์ปาล์ม รายการ 1. สต็อกยกมา ผลผลิต - ปาล์มน้ำมัน (สศก.) 2. ผลผลิต - น้ำมันปาล์มดิบ 3. นำเข้า - น้ำมันปาล์ม 4. รวมข้อ 1.+2.+3. 5. ส่งออก 6. ความต้องการใช้ในประเทศ  -  บริโภค+อุตสาหกรรม  -  ไบโอดีเซล 7. รวมข้อ 5.+6. 8. สต็อกยกไป (ข้อ 4. - 7.)

หน่วย: ตันน้ำมันปาล์มดิบ

จากการแจ้งตาม ประกาศ กกร. ณ ม.ค. 60 293,467 800,890 107,101 2,168 402,736 5,338 160,241 93,363 66,878 B5 165,579 237,157

ที่มา : ประชาชาติธุรกิจรวบรวม ที่มา : ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2560

28

ประมาณการโดยผลผลิตปาล์มจาก สศก. (อัตราน้ำมัน 18%) ก.พ. 60 มี.ค. 60 237,157 252,178 936,190 889,800 168,514 1,139 (เฉลี่ย ปี*59) 406,810 4,632 (เฉลี่ย ปี*59) 150,000 84,000 66,000 B5 154,632 252,178

160,164 1,139 (เฉลี่ย ปี*59) 413,481 4,632 (เฉลี่ย ปี*59) 157,000 84,000 73,000 B5 161,632 251,849


Food feed fuel ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 173 มีนาคม-เมษายน 2560

http://az616578.vo.msecnd.net/files/2016/06/12/6360129185419565891761242013_more%20trees.jpg

พร้อมกันนี้ ได้หารือถึงแนวทางแก้ไขปัญหา การตัดปาล์มดิบของเกษตรกร ขอความร่วมมือ ให้ทุกฝ่ายดูแลและรักษาเสถียรภาพด้านราคา ผลปาล์ม และ CPO ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ โดยให้เกษตรกรสามารถอยูไ่ ด้ แต่กย็ งั ไม่มขี อ้ สรุป ที่ผูกมัดใดๆ ทั้งนี้ จากที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ คาดการณ์ผลผลิตปาล์มน้ำมันปี 2560/2561 จะมีปริมาณ 11.74 ล้านตันเพิ่มขึ้น 6.73% จาก ปี 2559/2560 ที่ มี ป ริ ม าณ 10.9 ล้ า นตั น โดยผลผลิตกำลังทยอยออกสู่ตลาด คาดว่าใน ไตรมาส 1 มีผลผลิตออกสู่ตลาดแล้วปริมาณ 2.707 ตัน เพิม่ ขึน้ 12.2% จากปีกอ่ น และมีสต็อก น้ำมันปาล์มดิบยกมาจากสิน้ เดือนมกราคม 2560 ปริมาณ 237,157 ตัน ลดลงจากเดือนธันวาคม 2559 ซึง่ มีปริมาณ 293,467 ตัน แต่ประมาณการ สต็อกน้ำมันปาล์มช่วงเดือนกุมภาพันธ์ - มีนาคม 2560 จากตัวเลขการแจ้งตามประกาศ กกร.

(คณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ) รวมกับปริมาณการผลิตน้ำมันปาล์มดิบที่ได้จาก การคำนวณตามปริมาณผลปาล์มที่ได้จากการ ประสานของ สศก. เบือ้ งต้นว่า คาดว่าจะมีผลปาล์ม ออก 936,190 ตั น คิ ด เป็ น น้ ำ มั น ปาล์ ม ดิ บ 168,514 ตัน หักความต้องการใช้ในประกาศ ณ ไบโอดีเซล บี 5 ปริมาณ 66,000 ตัน และ ปริมาณการใช้เพื่อบริโภคและอุตสาหกรรมต่อ เนื่ อ ง เดื อ นละ 84,000 ตั น จะเหลื อ สต็ อ ก 251,000 - 252,000 ตัน ที่ประชุมคาดการณ์ว่า แนวโน้มราคาผล ปาล์มจะปรับตัวลดลง เพราะความต้องการใช้ ลดลง ผู้ประกอบการชะลอการรับซื้อเพื่อรอผล ผลิตฤดูกาลใหม่ ซึ่งขณะนี้เริ่มออกสู่ตลาดมาก ขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ มีนาคม 2560 คาดว่าจะออกมาสูต่ ลาด 10 - 20% ของปริมาณผลผลิต

29


Food feed fuel ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 173 มีนาคม-เมษายน 2560

ดังนั้น จึงได้มีการพิจารณาความเป็นได้ว่า ในการกำหนดเกณฑ์การตั้งราคาแนะนำซื้อผล ปาล์มน้ำมัน อัตราน้ำมัน 18% ว่าควรจะคงอยู่ ในระดับ 5.70 บาท และเพื่อจูงใจให้เกษตรกร ตัดผลปาล์มสุกเปอร์เซ็นต์น้ำมันสูงก็ควรเสนอ คณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ (กกร.) เพิม่ ราคาแนะนำปาล์มน้ำมันทีม่ เี ปอร์เซ็นต์ น้ำมันปาล์มสูง เช่น ไม่น้อยกว่า กก. ละ 0.30 บาท ทุกๆ 1% น้ำมันตั้งแต่ 18 เปอร์เซ็นต์ถึง 22 เปอร์เซ็นต์ เป็นต้น โดยปัจจุบันราคาผลปาล์มในเดือนมีนาคม อยูท่ ี่ กก. ละ 5.60 บาท ลดลงต่ำกว่าช่วงเดียวกัน ของปีก่อนที่ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ กก. ละ 7.65 บาท ส่วนราคาน้ำมันปาล์มดิบไทยอยูท่ ี่ กก. ละ 29 บาท ลดลงจากปีก่อนที่ กก. ละ 29.02 บาท เทียบกับ ราคาน้ำมันปาล์มดิบมาเลเซียที่ กก. ละ 23.56 บาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ กก. ละ 22.20 บาท นายมานิ ต วงษ์ สุ รี รั ต น์ ประธานกลุ่ ม อุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม สภาอุตสาหกรรมแห่ง ประเทศไทย และนายกสมาคมโรงสกัดน้ำมัน ปาล์มแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ที่ประชุมได้ขอ

30

ความเห็นถึงสถานการณ์ปาล์มจากภาคเอกชน ซึ่งทางโรงสกัดมองว่า แนวโน้มผลผลิตปาล์มอาจ จะเพิม่ ขึน้ จากปีกอ่ น ส่วนหนึง่ เป็นผลจากปริมาณ น้ำฝนที่มีมากตั้งแต่กลางปี 2559 ถึงปัจจุบัน จึงคาดการณ์ว่าจะมีผลผลิตราว 11 - 12 ล้านตัน ส่วนราคารับซื้อผลปาล์มในพื้นที่ ขึ้นอยู่กับราคา รับซือ้ น้ำมันปาล์มดิบจากโรงกลัน่ หากรับซือ้ ราคา สูงทางโรงสกัดก็สามารถรับซื้อผลปาล์มราคาสูง หากโรงกลั่นซื้อต่ำก็รับซื้อผลปาล์มได้ราคาต่ำ "ขณะนี้ ท างเอกชนเสนอให้ ก รมการค้ า ภายในไปพิ จ ารณาออกมาตรการแก้ ปั ญ หา เกษตรกร และจุดรับซื้อ ที่มักจะมีพฤติกรรม ทำลายคุณภาพผลปาล์ม เช่น ตัดผลปาล์มไม่สุก แยกลูกร่วง ใส่ทราย ซึ่งทำให้โรงสกัดไม่สามารถ รับซือ้ ผลปาล์มราคาสูงได้ ดังนัน้ หากมีมาตรการ ทางด้านกฎหมายในเชิงบังคับ หรือมีบทลงโทษ ก็ เป็นแนวทางที่ดี หรือถ้าจำเป็นต้องใช้มาตรการ ออกประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ โดย อาศัยมาตรา 44 ก็ทำได้เลย เพราะถึงอย่างไร โรงสกัดก็ต้องซื้อปาล์มตามสัดส่วนเปอร์เซ็นต์ น้ำมัน และขายตามราคาที่โรงกลั่นกำหนด"


ģýġĐĄėü ğþńþ ċĔâąăĕāĠĎŇèüĨĖĄĔüĎĐĄĆēğĎąÎ

ģýġĐĄėü ğþńþ ®

ċĔâąăĕāĠĎŇèüĨĖĄĔüĎĐĄĆēğĎąÎ

pep.biomin.net

Á¡·É¤ ¦³­· ·£µ¡ µ¦ ¨· ­´ ªŋ Á­¦·¤ ªµ¤ ҵ · ° °µ®µ¦ ¦´ ¬µ­¤ »¨ ° ¦³ µ Á · °µ®µ¦ ¨° £´¥ Å¤Ň¤¸ ¨ ňµ Á ¸¥ Å¤Ň¤¸¦³¥³®¥» ¥µ

ğāėħĄþĆēčėúûėăĕāâĕĆÿĈėøčĔøĊŋ ğčĆėĄåĊĕĄüŇĕâėüãĐèĐĕĎĕĆ ĆĔâČĕčĄ÷ě ĈãĐèĆēýýúĕèğ÷ė üĐĕĎĕĆ ¦·¬´ Šð¤· ¦³Á «Å ¥ Î µ ´ ¡®¨Ã¥ · ¼ ° ¨Îµ¨¼ µ »¤ µ ¸ þĈĐ÷ăĔą ģĄŇ ĄĘÿĈãň ĕSHS ELRPLQ QHW èğåĘąè ģĄŇĄĘĆēąēĎąě÷ąĕ à ¦ ¢ r Naturally ahead



Market Leader ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 173 มีนาคม-เมษายน 2560

นำเข้าแม่พันธุ์ไก่ทุบราคาไข่

ซ้ำเติมปัญหาล้นตลาด - จี้ปลดไก่ยืนกรง 70 สัปดาห์

สมาคมไข่ไก่ จนแต้มแก้ปญ ั หาไข่ลน้ ตลาด กดราคาร่วง รับมีบริษทั ใหญ่ภาคกลางดัมพ์ขายแค่ ฟองละ 1.80 - 1.90 บาท ทำรายย่อยเดือดร้อนจริง อีกด้านหลังเปิดเสรี รายใหญ่แห่นำเข้าพ่อแม่พนั ธุ์ พุ่งซ้ำเติมปัญหา เผย 5 บริษัทนำเข้าสูงสุด พึ่งกรมการค้าภายในช่วย จากทีร่ ฐั บาลได้เปิดเสรีนำเข้าพ่อแม่พนั ธุไ์ ก่ไข่ (P.S.) เพือ่ แก้ปญ ั หาราคาไข่ไก่แพงตัง้ แต่ปี 2553 เป็นต้นมา ในภาพรวมดูเหมือนจะช่วยแก้ปัญหาการผูกขาดพ่อแม่พันธุ์ไก่ไข่ในตลาดได้ แต่อีกด้านหนึ่ง กลับมีปัญหาใหม่คือ ไข่ล้นตลาดและราคาตกต่ำเป็นระยะ

5 บริษัทที่นำเข้าไก่ไข่พ่อ - แม่พันธุ์ (P.S.) สูงสุดรอบ 2 ปี ปี 2558 บมจ. เจริญโภคภัณฑ์ อาหาร บจก. อาหาร เบทเทอร์ บจก. อรรณพ ฟาร์มบ้านนา บจก. แหลมทอง ฟาร์ม บจก. ฟาร์มไก่พันธุ์ เกิดเจริญ 5 ราย+รายอื่นๆ รวม

185,000 149,868 101,730 115,680 117,000 78,000 71,000 40,560 35,135 35,700

แผน เลี้ยงจริง บมจ. เจริญโภคภัณฑ์ อาหาร บจก. อาหาร เบทเทอร์ บจก. อรรณพ ฟาร์มบ้านนา บจก. แหลมทอง ฟาร์ม บจก. ฟาร์มไก่พันธุ์ เกิดเจริญ 5 ราย+รายอื่นๆ 684,875 รวม 529,037

0 200,000 400,000 600,000 800,000 100,000 300,000 500,000 700,000

ปี 2559

หน่วย : ตัว

169,200 169,200 98,388 91,040 94,500 94,320 63,944 65,815 31,350 31,500 607,133 621,541 0 200,000 400,000 600,000 100,000 300,000 500,000 700,000

ที่มา: คณะกรรมการนโยบายพัฒนาไก่ไข่และผลิตภัณฑ์

ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2560

31


Market Leader ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 173 มีนาคม-เมษายน 2560

เร็วๆ นี้ ได้ขอ้ สรุป จะขอความร่วมมือผูเ้ ลีย้ งไก่ไข่ รายใหญ่กว่า 20 บริษัท ให้ปลดแม่ไก่ไข่ยืนกรง ทีม่ อี ายุตงั้ แต่ 70 สัปดาห์ขนึ้ ไป และอย่าขายไข่ไก่ ราคาต่ำเกินไป เนื่องจากไม่มีกฎหมายที่จะบังคับ เพราะเป็นการค้าเสรี รวมทั้งจะขอความร่วมมือ ผูป้ ระกอบการในการส่งออกสินค้าส่วนทีเ่ กินความ ต้องการ นายมงคล พิพฒ ั สัตยานุวงศ์ นายกสมาคม ผู้ผลิต ผู้ค้าและส่งออกไข่ไก่ เปิดเผยว่า สถานการณ์ไข่ไก่ในขณะนีอ้ ยูใ่ นภาวะเกินความต้องการ ของตลาด หรือโอเวอร์ซัพพลาย จากการขยาย ตัวของผู้เลี้ยงบางกลุ่มอย่างไร้ขอบเขต ยอมรับว่า หมดปัญญาในการแก้ปญ ั หา ทีผ่ า่ นมาทางสมาคม ได้ขอร้องกลุ่มที่มีการขยายการเลี้ยงไก่ไข่มาก ให้ ขายไข่ไก่ในราคาทีส่ มาคมประกาศ และช่วยรักษา กติกา โดยไข่ไก่ส่วนที่เกินความต้องการขอให้ ส่งออก อย่านำมาขายดัมพ์ราคาต่ำในประเทศ เพราะจะยิ่งซ้ำเติมปัญหาให้กับผู้เลี้ยงรายใหญ่ ด้วยกันเอง รวมถึงเกษตรกรรายย่อย "วันนี้มีบางบริษัทขายไข่ไก่ในราคาต่ำกว่า ต้นทุน เฉลีย่ ฟองละ 1.50 - 1.80 บาท ขณะทีต่ น้ ทุน การผลิตตามที่สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) คำนวณล่าสุดอยู่ที่ฟองละ 2.93 บาท ดั ง นั้ น จึ ง อยากให้ ผู้ เ ลี้ ย งรายใหญ่ แ สดงความ รับผิดชอบออกมาด้วย" สอดคล้องกับ นายอวยชัย ชัยยุทโธ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมและพัฒนาการปศุสตั ว์ กรม ปศุสัตว์ เปิดเผยว่าในการประชุมคณะกรรมการ ทีป่ รึกษาไก่ไข่ในคณะอนุกรรมการกลัน่ กรอง เมือ่

32

แหล่งข่าวจากคณะกรรมการนโยบายพัฒนา ไก่ไข่และผลิตภัณฑ์ หรือเอ้กบอร์ด เผยว่าเมื่อ เร็วๆ นี้ เอ้กบอร์ดได้มีการประชุมพิจารณาการ นำเข้าปู ่ - ย่าพันธุไ์ ก่ไข่ (G.P.) และพ่อแม่พนั ธุไ์ ก่ไข่ (P.S.) ในปี 2559 เพื่อวางแผนการนำเข้าในปี 2560 เบื้องต้นได้กำหนดการนำเข้า G.P. ในปีนี้ ไว้ที่ 6,000 ตัว และ P.S. ไว้ที่ 6 แสนตัว (+,-10%) ประมาณการผลผลิตลูกไก่ไข่จำนวน 55.64 ล้าน ตัว ผลผลิตไข่ไก่ 1.64 หมืน่ ล้านฟอง แต่ทผี่ า่ นมา ทุกบริษัทมักจะขอนำเข้าเพิ่มทุกปีโดยอ้างเหตุผล เรื่องแผนการตลาด ทั้งนี้บริษัทที่นำเข้าพ่อแม่ พันธุ์ไก่ไข่สูงสุด 5 อันดับแรกในช่วง 2 - 3 ปีที่ ผ่านมา ประกอบด้วย บริษทั เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ, บริษัท อาหาร เบทเทอร์ จำกัด (บจก.), บจก. อรรณพฟาร์มบ้านนา, บจก. แหลมทองฟาร์ม และบจก. ฟาร์มไก่พันธุ์ เกิดเจริญ (ดูกราฟิก ประกอบ) ด้านแหล่งข่าวจากกรมการค้าภายใน เผย ว่า หลังรับทราบปัญหาความเดือดร้อนของเกษตรกรจากราคาไข่ไก่ตกต่ำจากสมาคมผู้เลี้ยงไก่ไข่ ภาคใต้ และชมรมผู้เลี้ยงไก่ไข่ภาคกลาง ล่าสุด อยูร่ ะหว่างการทำสรุปรายงานเพือ่ เสนออธิบดีกรม การค้าภายใน (คน.) เพื่อหาทางช่วยเหลือต่อไป


Market Leader ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 173 มีนาคม-เมษายน 2560

กรมปศุสัตว์ มั่นใจมาตรฐานอาหารปลอดภัย

ดันเป้าสัตว์ปีกส่งออกปีนี้ 7.6 แสนตัน มูลค่า 98,000 ล้านบาท

http://verifiedforskolin.com/wp-content/uploads/2017/01/Chicken-meat.png

กรมปศุสัตว์ เร่งผลักดันการผลิตสินค้าปศุสัตว์ทั้งระบบภายใต้มาตรฐาน สากล เพื่อครองความเป็นผู้นำด้านการผลิตอาหารปลอดภัยสู่ผู้บริโภคทั่วโลก สร้างโอกาสบุกตลาดในหลายประเทศที่มีความเข้มงวดด้านมาตรฐานสินค้าสูง มั่นใจปีนี้ไทยจะสามารถส่งออกเนื้อไก่และผลิตภัณฑ์ได้ตามเป้า 7.6 แสนตัน นำรายได้เข้าประเทศ 98,000 ล้านบาท น.สพ.สรวิ ศ ธานี โ ต รองอธิ บ ดี ก รมปศุ สั ต ว์ ในฐานะโฆษก กรมปศุสตั ว์ เปิดเผยว่า จากข่าวเจ้าหน้าทีส่ บื สวนบราซิล จับกุมพนักงาน บริษัท JBS และ BRF ซึ่งเป็นผู้ผลิตเนื้อสัตว์รายใหญ่ที่สุดของบราซิล ในข้อหาจ่ายสินบนพนักงานตรวจสอบคุณภาพ เพื่อให้เนื้อสัตว์ปนเปื้อน ของบริษัทผ่านการตรวจสอบและนำไปจำหน่าย รวมทั้งส่งออก การ จับกุมดังกล่าวจึงส่งผลกระทบอย่างมากต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ในระบบการตรวจสอบของบราซิลที่เป็นผู้ส่งออกไก่อันดับ 1 ของโลก สำหรับประเทศไทย กรมปศุสตั ว์ยนื ยันว่ามีความเข้มงวดในการ ตรวจสอบและกำกับดูแลการผลิตเนือ้ สัตว์ตลอดกระบวนการ เพือ่ ผลิต อาหารปลอดภัยสูผ่ บู้ ริโภคทัง้ ชาวไทยและทัว่ โลก โดยผลักดันให้ผปู้ ระกอบการและ เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ พัฒนาระบบการผลิตให้มีมาตรฐานอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะ สินค้าเนื้อไก่ของไทยที่เป็นที่ยอมรับในระดับโลก ซึ่งไทยถือเป็นผู้ผลิตไก่เนื้อมาก เป็นอันดับที่ 9 ของโลก และเป็นผู้ส่งออกเนื้อไก่และผลิตภัณฑ์รายใหญ่อันดับ 4 ของโลก รองจากบราซิล สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป (อียู) มีตลาดหลักคือ ญี่ปุ่น และอียู คิดเป็นร้อยละ 90 ของการส่งออกเนื้อไก่ทั้งหมด ซึ่งทั้งสองตลาดนี้ ที่มา : มติชนออนไลน์ 21 มีนาคม 2560

33


Market Leader ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 173 มีนาคม-เมษายน 2560

ให้ ค วามสำคั ญ ด้ า นมาตรฐานความปลอดภั ย อาหารในระดับสูง มีกฎระเบียบในการผลิตเพื่อ ให้ได้ผลิตภัณฑ์เนื้อไก่ที่มีคุณภาพปลอดภัยและ ปลอดสาร และไทยถือเป็นผู้ส่งออกเนื้อไก่และ ปศุสัตว์รายใหญ่ในอาเซียน ที่เป็นต้นแบบทั้งด้าน มาตรฐานการผลิต การป้องกันโรค และมาตรฐาน การส่งออก โฆษกกรมปศุ สั ต ว์ กล่ า วอี ก ว่ า กรม ปศุ สั ต ว์ ค วบคุ ม การผลิ ต สิ น ค้ า ปศุ สั ต ว์ ต ลอด วงจร ตั้งแต่ปัจจัยการผลิตสัตว์ อาทิ วัตถุดิบ อาหารสัตวทั้งที่ผลิตได้ไนประเทศและที่นำเข้า จากต่างประเทศ ยารักษาโรคและเวชภัณฑ์สำหรับ สั ต ว์ และกระบวนการผลิ ต อาหารสั ต ว์ ตาม มาตรฐาน GMP และ HACCP ที่ได้รับการรับรอง จากกรมปศุสัตว์ ขณะเดียวกัน การเลี้ยงสัตว์ปีก ได้พัฒนามาอย่างต่อเนื่อง เป็นไปตามมาตรฐาน GAP และมาตรฐานสากล โดยมี สั ต วแพทย์ ผูค้ วบคุมฟาร์มทีผ่ า่ นการฝึกอบรมและขึน้ ทะเบียน กับกรมปศุสตั ว์ เป็นผูค้ วบคุมการจัดการตามหลัก

34

วิชาการและหลักสวัสดิภาพสัตว์ ทั้งขั้นตอนการ เลี้ยง การจับสัตว์ การขนส่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การดูแลและเฝ้าระวังสัตว์ป่วยอย่างใกล้ชิด ขณะที่ กระบวนการในโรงฆ่าสัตว์และการ ชำแหละเนือ้ สัตว์ ตลอดจนโรงงานแปรรูปเนือ้ สัตว์ ก็มมี าตรฐาน GMP และ HACCP เช่นกัน รวมทัง้ มีเจ้าหน้าที่สัตวแพทย์ประจำโรงงานที่ดูแลตลอด กระบวนการผลิต ตั้งแต่การโหลดสัตว์หน้าลาน การทำให้สลบก่อนการฆ่าด้วยวิธีการที่เหมาะสม ตามหลักสวัสดิภาพสัตว์ รวมถึงการควบคุมโรคที่ เข้มงวด ด้วยการตรวจสัตว์กอ่ นฆ่า (Antemortem) และการตรวจซากหลังฆ่า (Postmortem) เพื่อ ตรวจเนือ้ สัตว์วา่ มีความปลอดภัย ปลอดสาร และ เหมาะสมกับการบริโภค ซึ่งการดำเนินการตรวจสอบทั้งหมดจะดำเนินการโดยเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ และการตรวจสอบภายในของผู้ประกอบการ ซึ่ง ทัง้ หมดมีมาตรฐานเดียวกัน ทัง้ เนือ้ ไก่ทบี่ ริโภคใน ประเทศและเพื่อการส่งออก


Market Leader ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 173 มีนาคม-เมษายน 2560

“มาตรฐานการผลิตปศุสัตว์ของไทยเป็นที่ ยอมรับในระดับโลก ทำให้สินค้าเนื้อสัตว์เป็นที่ ต้องการของคูค่ า้ สำคัญทัง้ ญีป่ นุ่ อียู และประเทศ อื่นๆ ขณะเดียวกันยังมีตลาดใหม่ที่เล็งเห็นถึง ศักยภาพและการดำเนินการด้านความปลอดภัย ในอาหารที่เข้มแข็งของเรากระทั่งเปิดตลาดสินค้าให้กับไทย อาทิ นิวซีแลนด์ ซึง่ เป็นประเทศทีม่ มี าตรฐานด้านความปลอดภัยอาหารในระดับสูง มีระเบียบปฏิบตั ิ ทีเ่ ข้มงวด ได้อนุญาตให้ไทยสามารถส่งออกเนือ้ เป็ดปรุงสุกไปยังนิวซีแลนด์ได้ รวมถึง เกาหลีใต้ และสิงคโปร์ ที่เปิดตลาดเนื้อไก่สดแช่แข็งของไทยเพิ่มขึ้น สะท้อนความ เชื่อมั่นของลูกค้า จึงมั่นใจว่าการส่งออกของไทยจะเติบโตอย่างต่อเนื่องแน่นอน โดยเฉพาะการส่งออกเนื้อไก่และผลิตภัณฑ์ที่คาดว่าปีนี้จะได้ตามเป้าหมาย 7.6 แสนตัน สร้างรายได้เข้าประเทศไม่ต่ำกว่า 98,000 ล้านบาท” น.สพ.สรวิศ กล่าว ทัง้ นี้ พลเอกฉัตรชัย สาริกลั ยะ รัฐมนตรีวา่ การกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้กำหนดให้ปี 2560 เป็น "ปีแห่งการยกระดับมาตรฐานสินค้าเกษตรเกษตรสูค่ วาม ยั่งยืน" กรมปศุสัตว์ได้เร่งขับเคลื่อนพัฒนาและยกระดับสินค้าปศุสัตว์ให้มีคุณภาพ มาตรฐานและมีความปลอดภัยอย่างต่อเนือ่ ง โดยมีเป้าหมายพัฒนาฟาร์มเลีย้ งสัตว์ สู่มาตรฐาน GAP เพิ่มขึ้นทั้งฟาร์มโคนม โคเนื้อ ไก่เนื้อ เป็ดเนื้อ และสุกร พร้อม พัฒนาโรงฆ่าสัตว์สู่มาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนด ทั้งเรื่องการตรวจสอบและให้ ใบรับรองเพิม่ ขึน้ ตลอดจนฝึกอบรมผูป้ ระกอบการและอบรมพนักงานตรวจโรคสัตว์ เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด.

ข้อมูล/ข่าว : สำนักพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์

35


Market Leader

กรมปศุสัตว์ปลื้ม!! นิวซีแลนด์ เปิดนำเข้า เนื้อเป็ดปรุงสุกจากไทยเป็นครั้งแรก กรมปศุสัตว์เผย นิวซีแลนด์อนุญาตให้นำเข้าเนื้อเป็ดปรุงสุกของไทยเป็น ครัง้ แรก สะท้อนความเชือ่ มัน่ ในระบบการควบคุมและป้องกันโรคสัตว์ในสัตว์ปกี ไทย ที่เข้มแข็ง มีการควบคุมด้านสุขอนามัยในการผลิตผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ที่เข้มงวด สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ตั้งแต่ระดับผลิตภัณฑ์จนถึงระดับฟาร์มส่งเนื้อเป็ด แปรรูปปรุงสุกจากซีพีเอฟเป็นประเดิม คาดช่วยเพิ่มยอดการส่งออกสินค้าเนื้อเป็ด แปรรูปปรุงสุกของไทยปีนี้ขยายตัวอีกร้อยละ 5 - 10 โดยรายได้ไม่ต่ำกว่า 85 - 170 ล้านบาท นายสัตวแพทย์ อภัย สุทธิสังข์ อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยว่า จากกรม ปศุสัตว์ได้เร่งรัดดำเนินการผลักดันและส่งเสริมการเปิดตลาดของการส่งออก ผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ไปยังต่างประเทศให้มากขึ้น เพื่อเพิ่มมูลค่าการส่งออกสินค้า ปศุสัตว์ให้มากกว่า 2 แสนล้านบาท ตามนโยบายของ พลเอกฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ด้านการสนับสนุนการส่งออก โดย กรมปศุสตั ว์ได้ดำเนินการประสานงานกับหน่วยงาน Ministry for Primary Industries (MPI) ประเทศนิวซีแลนด์ เพื่อขอเปิดตลาดนำเข้าเนื้อเป็ดแปรรูปปรุงสุกจากไทย มาตัง้ แต่ปี 2558 อย่างต่อเนือ่ ง ด้วยการส่งข้อมูลและจัดทำร่างใบรับรองสุขอนามัย (Health Certificate) จนสามารถบรรลุข้อตกลงกับหน่วยงาน MPI และประเทศ นิวซีแลนด์อนุญาตให้นำเข้าเนื้อเป็ดปรุงสุกของไทยเป็นครั้งแรก

36

http://gbc.blob.core.windows.net/media/img27895.jpg

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 173 มีนาคม-เมษายน 2560


Market Leader ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 173 มีนาคม-เมษายน 2560

“การที่นิวซีแลนด์อนุญาตให้ไทยสามารถส่งออก ได้เลยโดยไม่ต้องมาตรวจสอบขบวนการผลิตก่อนนี้ สะท้อนให้เห็นถึงความเชือ่ มัน่ ในการทำงานของกรม ปศุสัตว์ ที่มีระบบการควบคุมและป้องกันโรคสัตว์ ในสัตว์ปีกอย่างเข้มแข็ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีมาตรฐาน การผลิต GAP, GMP, HACCP กำกับตัง้ แต่ระดับฟาร์ม โรงฆ่า จนถึงโรงงานแปรรูป ที่สำคัญคือ สามารถ ตรวจสอบย้อนกลับได้ตงั้ แต่ระดับผลิตภัณฑ์จนถึงระดับ ฟาร์ม และยังมั่นใจในการควบคุมด้านสุขอนามัยในการ ผลิตผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์โดยมีสัตวแพทย์ภาครัฐของกรมปศุสัตว์ เป็นผู้กำกับดูแล” อธิบดีกรมปศุสัตว์กล่าว ด้านนายสัตวแพทย์ สรวิศ ธานีโต รองอธิบดีกรมปศุสตั ว์ ในฐานะโฆษกกรมปศุสัตว์ กล่าวเพิ่มเติมว่า หน่วยงาน MPI มี หนังสืออย่างเป็นทางการถึงกรมปศุสัตว์ ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2560 ว่าได้ อนุญาตนำเข้าสินค้าเนือ้ เป็ดแปรรูปปรุงสุกจาก บริษทั เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ ให้สามารถส่งออกไปยังนิวซีแลนด์ และบรรลุข้อตกลง เห็นชอบร่วมกันในใบรับรองสุขอนามัย (Health Certificate) เรียบร้อยแล้ว ในส่วน ผู้ประกอบการไทยรายอื่นที่มีความประสงค์ขอส่งออกสินค้าเนื้อเป็ดแปรรูปปรุงสุก ไปยังนิวซีแลนด์ สามารถส่งข้อมูลทีเ่ กีย่ วข้องกับระบบการผลิตสินค้าดังกล่าวผ่านทาง กรมปศุสัตว์เพื่อประสานงานต่อไปยังหน่วยงาน MPI ในการขอขึ้นทะเบียนโรงงาน ต่อไป ทั้งนี้ ในปี 2559 ที่ผ่านมา ไทยสามารถส่งออกสินค้าเนื้อเป็ดแปรรูปปรุงสุก ไปยังประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรปร้อยละ 94 คิดเป็นมูลค่าราว 1,628 ล้านบาท และญี่ปุ่นรวมทั้งประเทศอื่นๆ อีกร้อยละ 6 คิดเป็นมูลค่าราว 105 ล้านบาท คาดว่าความสำเร็จในการเจรจาขอเปิดตลาดเนื้อเป็ดแปรรูปปรุงสุกของไทย จะช่วย เพิ่มยอดการส่งออกสินค้าเนื้อเป็ดแปรรูปปรุงสุกของไทยในปี 2560 นี้ ให้ขยายตัว เพิ่มขึ้นอีกประมาณร้อยละ 5 - 10 คิดเป็นมูลค่าไม่ต่ำกว่า 85 - 170 ล้านบาท ข้อมูล : สำนักพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าปศุสัตว์ ข่าว : กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมปศุสัตว์

37


Market Leader

ปฏิวต ั ก ิ ารค้าเนือ ้ สุกรอาเซียน สู่การค้าเนื้อสุกรระหว่างประเทศ

เมือ่ วันที่ 15 มีนาคม 2559 กรมปศุสัตว์ สมาคมสัตวแพทย์ ควบคุ ม ฟาร์ ม สุ ก รไทย และ สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ ได้ร่วมกันจัดสัมมนาเรื่อง “ASEAN Pork Trading Revolution for International Trade” ในงาน VIV Asia 2017 โดยมีวิทยากร ร่วมบรรยาย โดยมี น.สพ.ธนวรรธ เทียนสิน ดำเนินรายการ สำหรับเนื้อหา สาระที่น่าสนใจมีดังนี้ น.สพ.สมชวน รัตนมังคลานนท์ ผู้อำนวยการ สำนักพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าปศุสัตว์ บรรยายเป็นท่านแรก โดยกล่าวว่า จากประสบการณ์ในการ ทำงานส่วนตัว ก็ได้เห็นการพัฒนาของวงการสุกรในบ้านเรา มีทิศทางที่ดีขึ้นเรื่อยๆ มีการยกระดับตัวเองอยู่เรื่อยๆ ซึ่ง ก็สอดคล้องกับวิสยั ทัศน์ของท่านนายกสมาคมผูเ้ ลีย้ งสุกร ที่มา : สาสน์ไก่ & สุกร

38

http://en.aectourismthai.com/images/blog/content1/20140619234943.jpg

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 173 มีนาคม-เมษายน 2560


Market Leader ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 173 มีนาคม-เมษายน 2560

แห่งชาติ ที่มีความประสงค์อยากจะให้สมาชิกเอง มีการพัฒนาขึ้น รวมถึงพัฒนาการของสมาคม สัตวแพทย์ควบคุมฟาร์มสุกรไทยเองก็มีบทบาท สูงขึ้นเรื่อยๆ และในอนาคตก็คิดว่าจะมีบทบาทที่ สูงขึ้นไปอีก อย่างไรก็ดี สำหรับวงการสุกรบ้านเราก็ยัง ถือว่ามีอปุ สรรคพอสมควร โดยเฉพาะการถูกโจมตี ในเรื่องของโรคระบาดปากและเท้าเปื่อย (FMD) รวมถึงเรื่องที่กำลังกล่าวถึงและเป็นกระแสความ ต้องการของตลาดโลกกันมากที่สุด ณ ขณะนี้ ก็คือ การใช้ยาฟุ่มเฟือยในการเลี้ยงสุกร ทั้งที่การ เกษตรบ้านเราส่วนใหญ่เกิน 90% เป็นการเกษตร ปลอดภัย เป็นสินค้าปลอดภัย ไม่ใช่ปลอดสาร เพราะถ้าปลอดสารบ้านเราก็ยังคงต้องพัฒนาต่อ ในส่วนนี้ ทางภาครัฐเองก็มีความพยายาม ในการส่งเสริมเรื่องนี้เช่นกัน เพราะการเลี้ยงสัตว์ ในปัจจุบนั มันไม่ใช่แค่เรือ่ งของฟาร์มปศุสตั ว์ แต่มนั จะกระทบไปถึงเรื่องของสุขภาพคน ซึ่งกระทรวง สาธารณสุขก็ได้ลงมาดูแลเรื่องนี้ด้วย และด้วย เหตุผลนี้ที่ทำให้หลายหน่วยงานเข้ามาดูแล ก็ อยากให้ทางผูเ้ ลีย้ งเองคำนึงถึงมาตรฐาน คุณภาพ ความปลอดภัย เพราะสิ่งเหล่านี้จะเป็นเครื่อง การันตีที่จะสามารถไปแข่งขันกับเขาทั้งในและ นอกประเทศ อย่างไรก็ตาม ทางกรมปศุสัตว์เองก็ไม่ได้ นิ่งนอนใจ ยังคงมีความพยายามที่จะช่วยเหลือ ผู้เลี้ยงอยู่ตลอด โดยเฉพาะการจัดทำมาตรฐาน ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ คือ ตั้งแต่การเลี้ยง การจัดการ จนถึงมือผู้บริโภค การตรวจสอบ ควบคุมการใช้มาตรฐานของผู้เลี้ยง ทั้งนี้เพื่อให้ วงการสุกรมีการพัฒนาและต่อยอดในการแข่งขัน กับต่างประเทศได้ ทัง้ นีม้ องว่า ถ้าเราไม่ทำมาตรฐาน

แล้ว จะมาแข่งขันกันที่ตลาดล่างก็จะไม่เกิดการ พัฒนา แต่ถ้าจะแข่งขันกันที่ตลาดบนก็ต้องดึง ในเรื่องของคุณภาพ ตั้งมาตรฐานขึ้นมาเพื่อใช้ ในการแข่งขัน ดังนั้น ทางภาครัฐเองจึงให้ความสำคัญใน เรื่องนี้พอสมควร และมีนโยบายที่ค่อนข้างชัดเจน ในเรือ่ งความปลอดภัยด้านอาหาร ไม่วา่ จะเป็นเรือ่ ง ของสารตกค้าง หรือจะเป็นเรื่องของโรงฆ่าสัตว์ที่ ต้องจัดระเบียบหมด เช่นการฆ่าสัตว์ในโรงฆ่าเถือ่ น หากถูกจับได้ในจังหวัดใด ปศุสัตว์จังหวัดต้องรับ ผิดชอบด้วย เป็นต้น ซึ่งทุกอย่างที่ทำก็เพื่อให้ได้ คุณภาพมาตรฐาน และถ้าเรียบร้อย ได้รับการ ยกระดับขึ้นมา มีใบรับรองของกรมที่รับรองให้ ส่งออกได้ดว้ ย ก็จะยิง่ ทำให้การต่อยอดไปได้หลาย อย่างหลายทาง เช่นเดียวกับปัญหาเรือ่ งของโรคระบาดปาก และเท้าเปื่อย (FMD) ทางกรมปศุสัตว์เองก็ไม่ได้ นิ่งนอนใจ ยังคงมีความพยายามที่จะแก้ไขปัญหา อยู่ตลอด โดย ณ ขณะนี้ได้พยายามทำในเรื่อง ของเขตปลอดโรคในเขต 2 ซึง่ ตอนนีอ้ ยูใ่ นสถานะ ในการยืน่ แผนงานให้กบั OIE และได้รบั การตรวจ เรียบร้อยแล้ว ขัน้ ตอนต่อไปก็คอื รอให้เขามาตรวจ ว่าเป็นไปตามที่เราได้ยื่นแผนงานไปหรือไม่ ถ้า ถูกต้องเราถึงจะผ่าน แต่ตอนนี้มันอยู่ที่เรากำลัง รวบรวมข้อมูลผลต่างๆ ทีจ่ ะนำเสนอต่อ OIE เพือ่ ให้เขามาตรวจ ถ้าทำสำเร็จก็จะสามารถลดการ กี ด กั น ทางการค้ า ลงไปได้ ดั ง นั้ น ในส่ ว นนี้ ก็ อยากจะบอกว่า ทางกรมปศุสัตว์ไม่ได้นิ่งนอนใจ ยังพยายามรวบรวมแล้วก็รอจังหวะ รอเวลาที่ เหมาะสม ก็จะยื่นขอคำรับรองให้เขามาตรวจ ก็ขอให้ไว้วางใจกรมฯ เพราะกรมฯ ก็พยายามดูอยู่ ไม่ได้ทิ้งไปไหน

39


Market Leader ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 173 มีนาคม-เมษายน 2560

อีกหนึ่งเรื่องที่ทางกรมฯ ดำเนินการอยู่ ณ ขณะนี้ก็คือ ทุกท่านคงทราบดีว่า หลายประเทศ ต้องการนำสินค้าสุกรเข้ามา โดยใช้แรงกดดัน ในส่วนของสินค้าที่เราส่งออกไปมาใช้ในการแลก เปลี่ ย นให้ ส ามารถส่ ง สิ น ค้ า สุ ก รเข้ า มา ซึ่ ง ใน ส่วนนี้ทางกรมฯ เอง ก็พยายามดำเนินการแก้ไข อยู่ ซึง่ ก็ยอมรับว่าค่อนข้างกดดันพอสมควร ดังนัน้ อยากจะฝากบอกกับผูเ้ ลีย้ งว่า กรมปศุสตั ว์ไม่ได้ทงิ้ ท่านไปไหน แต่ทางกรมปศุสัตว์จะดำเนินการอยู่ ฝ่ า ยเดี ย วไม่ ไ ด้ ดั ง นั้ น ตั ว ผู้ เ ลี้ ย งเอง รวมถึ ง ทุกภาคส่วนทีเ่ กีย่ วข้อง ต้องให้ความร่วมมือในการ ที่จะพัฒนาวงการต่อไป โดยเฉพาะการยกระดับ มาตรฐานต่างๆ ตั้งแต่ฟาร์มจนถึงโรงฆ่า โรง ชำแหละต่างๆ รวมถึงสินค้าปรุงสุกต่างๆ ร่วมมือ ในการพัฒนาและยกระดับมาตรฐานให้สูงขึ้น ซึ่ง ส่วนตัวมองว่ามีโอกาสเป็นไปได้สงู และมีแนวโน้ม ที่ดีในการที่จะต่อยอดต่อไป และนำออกสู่ตลาด ต่างประเทศ สามารถแข่งขันได้กับทุกประเทศ ทั่วโลก คุณกิดดิวงศ์ สมบุญธรรม ตัวแทนธุรกิจสุกรจาก JAPFA Group เวียดนาม กล่าวว่า จาก ประสบการณ์ ที่ ไ ด้ ไ ปทำงานที่ เวียดนามประมาณ 2 ปี ก็ทำ ให้พอจะเห็นถึงข้อเปรียบเทียบ ต่างๆ ของวงการสุกรระหว่างไทยกับเวียดนาม พอสมควร ซึ่งก็จะขอหยิบยกประสบการณ์มา เล่าสู่กันฟัง สำหรับประเทศเวียดนามนั้น ต้อง ขอบอกว่ามีประชากรสุกรมากกว่าบ้านเรา คือมี แม่สุกรประมาณอย่างน้อย 10 ล้านแม่ ส่วนของ ไทยมีประมาณ 1 ล้านแม่ เช่นเดียวกับประชากร คนของเวียดนามก็มากกว่าของไทย คือมีประชากร ประมาณ 95 ล้านคน ในขณะทีไ่ ทยมีอยูป่ ระมาณ

40

66 ล้านคน ใน 66 ล้านคน ของไทยเป็นสังคม ผู้สูงอายุไปแล้ว 20% ในขณะที่ของเวียดนามมี ผู้ที่อยู่ในวัยทำงานประมาณ 50-60% แน่นอน ประเทศที่มีวัยทำงานเยอะก็จะทำให้มีการพัฒนา และมี GDP เติบโตอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ดี สำหรับสถานการณ์การเลี้ยง ของไทยกับเวียดนามนั้น เมื่อนำมาเปรียบกัน คิด ว่ายังมีข้อได้เปรียบกว่าพอสมควร ไม่ว่าจะเป็น เรื่องของมาตรฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสุกรนั้น ส่วนใหญ่เวียดนามก็จะนำจากไทยไปปรับใช้กับ การเลี้ยงที่เวียดนาม ซึ่งในส่วนนี้ก็แสดงให้เห็น ว่า มาตรฐานของไทยเป็นที่ยอมรับในประเทศ เวียดนาม ทีส่ ำคัญ มาตรฐานทีเ่ ขานำไปใช้นนั้ ไปใช้ เฉพาะฟาร์มทีเ่ ลีย้ งในระบบมาตรฐาน ซึง่ ปัจจุบนั มี เพียงแค่ 30% เท่านัน้ อีก 70% ยังเป็นฟาร์มย่อย หรือเลี้ยงแบบหลังบ้าน ดังนั้น จึงคิดว่ามาตรฐาน ของไทยนั้นนำหน้าเวียดนามอยู่หลายก้าว สำหรับผู้ที่ต้องการเข้าไปลงทุนในประเทศ เวียดนามนั้นก็คิดว่าเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ เพราะ ปัจจุบันก็มีบริษัทใหญ่ในไทยเข้าไปลงทุนบ้างแล้ว เพียงแต่อยากให้ศกึ ษาให้ดกี อ่ น หากเข้าไปไม่ถกู ที่ ถูกเวลา การลงทุนอาจไม่ประสบความสำเร็จก็ได้ ซึ่งถ้าจะให้แนะนำสำหรับผู้ที่ไปลงทุนแบบคร่าวๆ ว่าควรจะเป็นการเข้าไปเช่าฟาร์มที่นั่น ดีกว่าการ ที่จะไปซื้อที่ใหม่แล้วลงทุนอาจจะเป็นเรื่องที่ยุ่ง ยาก เพราะจะซื้อที่ได้จะต้องได้รับการเซ็นอนุมัติ จากทหาร และถ้าไปซื้อใหม่แล้วปล่อยไว้ 1 ปี โดยที่ท่านยังไม่ทำอะไรเลย ที่นั้นจะถูกยึดกลับ แถมยังโดนค่าปรับอีก แต่เพื่อให้ธุรกิจดำเนินไปอย่างรวดเร็วแล้ว ท่านควรจะเข้าหาคนในพื้นที่ และอาจจะต้องเป็น ทหารปลดเกษียณแล้วก็ได้ มาดำเนินการให้ก็จะ รวดเร็วขึ้น ถ้าท่านทำเพียงลำพัง ไม่มีคนในพื้นที่


Market Leader ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 173 มีนาคม-เมษายน 2560

ช่วย การดำเนินการต่างๆ อาจจะล่าช้าได้ เพราะ การตั้งฟาร์มได้จะต้องผ่านมาตรฐานที่นั่นที่เรียก ว่า ไลเซนซ์ ท่านต้องผ่านไลเซนซ์ 10 ไลเซนซ์ ซึง่ ในส่วนนีต้ อ้ งใช้เวลาอย่างน้อย 6 เดือน นอกจากนี้ ยังมีอีกหลายขั้นตอน ดังนั้น เพื่อความรวดเร็ว แนะนำให้ไปหาคนในพืน้ ทีจ่ ะดีทสี่ ดุ และควรจะเป็น ทหารก็จะทำให้เรื่องดำเนินไปได้อย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ดี ไม่ว่าจะอย่างไร จะลงทุนใน ประเทศ หรือต่างประเทศ ทุกอย่างย่อมมีการ ปรับตัว เพราะถ้าเราไม่ปรับตัวเราก็จะไม่สามารถ อยู่รอดได้ และถ้าเราจะฝ่าฟันอุปสรรคให้ได้ คุณ ต้องยึดกฎ 4 ข้อนี้ 1. หันกลับไปดูในฟาร์มของเรา อะไรก็ตาม ทีเ่ ราสามารถควบคุมได้มอี ะไรบ้าง วันนีพ้ นั ธุกรรม ของคุณดีหรือยัง เพราะหมูคือโรงงาน ถ้าโรงงาน ไม่ดี ปัญหาที่ตามมาคือ คุณใส่อะไรลงไป มัน ก็ออกมาไม่ได้ จึงอยากให้ไปดูตัวนี้ให้เรียบร้อย แล้วรีบปรับปรุงของเราให้ดีก่อน 2. อาหารสั ต ว์ คุ ณ สามารถคุม จากส่ ว น กลางได้ ต้องเป็นอาหารที่สร้างภูมิคุ้มกันสุขภาพ ในลำไส้ คือระบบภูมิคุ้มกันในระบบลำไส้ ซึ่งเป็น ระบบภูมิคุ้มกันที่มากที่สุดในร่างกาย คุณทำได้ หรือยัง ถ้ายัง คุณเลิกใช้ยาเมื่อไร เก่ง และต้อง สร้างตั้งแต่อุ้มท้องเลย จนกระทั่งมันให้ภูมิคุ้มกัน ในระดับเดียวกับนมน้ำเหลือง ซึ่งสามารถป้องกัน ไปได้ถึง 5 สัปดาห์ นี่คือกุญแจสำคัญ 3. การจัดการที่สำคัญอยู่ที่ AI คุณต้อง ควบคุมคุณภาพให้ดี เพราะวันนีพ้ นั ธุกรรมไปไกล แล้ว 4. เลี้ยงให้รอดตั้งแต่แรกเกิด หย่านม ขุน ดูแลไปจนถึง 5 สัปดาห์ หย่านมที่ 24 วัน จน สามารถทำให้หมูอยู่รอดไปจนน้ำหนักหย่านมได้ 7.5 กิโลกรัมหรือยัง

สรุ ป ก็ คื อ ไม่ ว่ า คุ ณ จะลงทุ น ที่ ไ หน สิ่ ง สำคัญคือ ต้องรู้จักปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ ศึกษาข้อมูลให้ลึกให้ละเอียดก่อนลงมือทำ รักษา มาตรฐาน คุณภาพ และพัฒนาตัวเองตลอดเวลา ไม่ว่าจะลงทุนที่ไหน ท่านก็จะสามารถอยู่รอดได้ น.สพ.สุทัศน์ ตั้งธโนปจัย ผู้ ช่ ว ยเลขาธิ ก ารสมาคมผู้ เ ลี้ ย ง สุกรแห่งชาติ กล่าวว่า ปัจจุบัน บทบาทของสมาคมฯ ได้เน้นการ ช่วยเหลือผู้เลี้ยงเป็นหลัก โดยมี การประชุมปรึกษากับผู้เลี้ยงใน ทุ ก ๆ ภู มิ ภ าคเป็ น ประจำ นอกจากนี้ ยั ง เป็ น กระบอกเสียงให้กับผู้เลี้ยงในการต่อต้านเนื้อจาก อเมริกา หรือการคัดค้านการเข้าร่วม TPP ทั้งนี้ เพื่อปกป้องผลประโยชน์ให้กับชาวหมูด้วยกัน อย่ า งไรก็ ต าม ในช่ ว ง 10 ปี ที่ ผ่ า นมา ประชากรหมูเมืองไทยมีการขยายตัวเพิม่ ขึน้ เกือบ เท่าตัว คือ จาก 10 ล้านตัว เป็น 18 ล้านตัว ก็แสดงให้เห็นว่าคนไทยน่าจะกินหมูเพิม่ ขึน้ เพราะ ส่งออกก็ไม่ได้เพิ่ม ยังอยู่ที่ 1-2% เท่านั้น ขณะ เดียวกัน บางช่วงเวลาก็มีหมูจากเพื่อนบ้านเข้ามา ด้วย ทำให้เกิดโอเวอร์ซัพพลายประมาณ 4-5% แต่ทุกครั้งที่เกิดเหตุการณ์ ผู้เลี้ยงก็ยังพออยู่ได้ จากตัวเลขปี พ.ศ. 2559-2560 พบว่า แม่พันธุ์มีประมาณ 1 ล้านกว่าตัว ส่วนหมูขุน มีประมาณ 18 ล้านตัว ขณะที่ผู้ผลิตรายใหญ่ ยังคงเป็นบริษัท ซีพี รองลงมาคือ เบทาโกร ซึ่ง นอกจากลงทุนในไทยแล้ว ทั้งสองยังมีการเข้าไป ลงทุนในประเทศเพือ่ นบ้านด้วย ส่วนประชากรหมู ในไทยของ ซีพี มีแม่พันธุ์ประมาณ 2 แสนแม่ เบทาโกรมีเกือบแสนแม่ และเมื่อมาดูส่วนแบ่ง การตลาด ก็พบว่า ซีพี ยังคงครองตลาดเป็นอันดับ 1 ประมาณ 28% รองลงมาคือ เบทาโกร 16%

41


Market Leader ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 173 มีนาคม-เมษายน 2560

ส่ ว นคำถามที่ ว่ า 30 ปี ที่ ผ่ า นมามี อ ะไร เปลี่ยนแปลงไปบ้างในวงการหมูเมืองไทย เรื่อง แรกเลยคือ มีการนำพันธุกรรมหมูของต่างประเทศ เข้ามา โดยเฉพาะหมูจากเดนมาร์ค ก่อนจะพัฒนา เป็นพันธุกรรมของตนเอง ขณะที่สายพันธุ์ที่นิยม เลี้ยง สายพันธุ์ดูร็อคยังคงเป็นสายพันธุ์ที่นิยมนำ มาเป็นสายพ่อ ส่วนเรื่องอื่นๆ เป็นเรื่องโรค ยังคง เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอยู่เสมอๆ แต่ไม่ใช่เรื่องที่ผู้เลี้ยง กังวลมากนัก เพราะทุกๆ ที่ก็มีทราบอยู่แล้ว แต่ สิง่ ทีห่ ลายคนเป็นห่วงและกังวลคือ เรือ่ งของการค้า สวัสดิการสัตว์ การใช้ยาในสัตว์ เป็นต้น จุดแข็งของการเลีย้ งสุกรในประเทศไทย โดย รวมถือว่าไม่แพ้ชาติใดในเอเชีย การเลีย้ งก็ทนั สมัย กว่า คือเปลี่ยนจากเล้าเปิดมาเป็นเล้าปิด หรือ โรงเรือนอีแว๊ป และจากการเลีย้ งแบบ 3 ระยะ เป็น 2 ระยะ คือจากหย่านมไปเลี้ยงขุนเลย ไม่มีการ เลี้ยงอนุบาลแบบเดิมอีกแล้ว มีการใช้ไบโอแก๊ส ในการผลิตกระแสไฟฟ้าใช้ในฟาร์ม มีสายพันธุห์ มู ที่พัฒนาใช้เองในฟาร์ม อัตราลูกต่อแม่ต่อครอก ต่อปีสูงขึ้น คือประมาณ 26 ตัวต่อแม่ต่อปี สูง กว่าประเทศอื่นๆ ในเอเชีย “ปัญหาทีเ่ ราจะต้องแก้ไขต่อไปคือเรือ่ งของ การส่งออกที่เรายังติดปัญหาเรื่องของโรคที่ OIE ไม่ยอมรับรองให้เราเป็นเขตปลอดโรค ทำให้ไทย ไม่สามารถส่งออกได้มากนัก ดังนั้น จึงเป็นเรื่อง ที่เราจะต้องนำมาขบคิดว่าจะแก้ไขปัญหานี้ และ เดินหน้าต่อไปอย่างไร” น.สพ.สุทัศน์ กล่าวแสดง ความกังวลทิ้งท้าย

42

คุ ณ วรวุ ฒิ วณิ ช กุ ล บดี รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ธุรกิจ ต่างประเทศ เครือเบทาโกร กล่าว ในส่วนของประเทศกัมพูชา ลาว และเมียนมาร์ ซึ่งมีประสบการณ์ ตรง โดยกล่าวว่า การที่คนไทย สนใจจะไปลงทุนยังต่างประเทศต้องดูหลายๆ ปัจจัย โดยเฉพาะการสนับสนุนจากภาครัฐของประเทศ นั้นๆ ซึ่งจะว่าไปแล้วมีความแตกต่างจากของไทย พอสมควร แต่ถ้าเทียบกันแล้วของไทยถือว่าดี ทีส่ ดุ ออกกฎระเบียบมาตรฐานได้ดี ขณะเดียวกัน คนไทยเป็นคนที่ทำธุรกิจปศุสัตว์ได้ดีไม่เฉพาะแค่ หมู ดังจะเห็นได้จากที่ปรึกษาของบริษัทในต่าง ประเทศจะเป็นคนไทย นอกจากนี้ ในเรือ่ งของอาหารทัง้ ในคนและ สัตว์ของไทย ก็ยงั ถือว่ามีมาตรฐานสูงกว่าประเทศ อาเซียน ยกเว้นสิงคโปร์ ในส่วนของพันธุ์สัตว์ก็ เช่นกัน ปัจจุบันมีหลายประเทศต้องการแม่พันธุ์ ระดับ PS สูงมาก เช่น ประเทศเมียนมาร์ แต่ติด ปัญหาเรื่องของการขนส่งที่ใช้เวลาในการเดินทาง นาน เพราะประเทศเหล่านี้เรื่องของพันธุกรรม ถือว่ายังล้าหลังมาก จึงจำเป็นต้องนำเข้าพ่อแม่ พันธุข์ องไทยทีพ่ ฒ ั นาดีแล้วเข้าไปปรับปรุงในฟาร์ม ตัวเอง แต่ ใ นขณะเดี ย วกั น ไทยเองก็ มี จุ ด อ่ อ น ในเรื่องของวัตถุดิบทั้งข้าวโพดและกากถั่ว ที่วันนี้ ต้องนำเข้าจากเขา แต่การนำเข้าก็ยังมีปัญหาอีก เช่น ภาษีกากถั่วเหลือง ส่วนข้าวโพดก็มีการเปิด นำเข้ า เป็ น ฤดู ก าลไม่ ใ ช่ ทั้ ง ปี ทำให้ มี ปั ญ หาว่ า ไม่พอใช้ รวมถึงเรื่องของภาษีด้วย เหตุนี้จึงทำให้ บริษัทใหญ่ๆ จำเป็นต้องเข้าไปลงทุนโดยตรงที่ ประเทศเหล่านี้ด้วยเหตุผลและความจำเป็นดังที่ ได้กล่าวมา


Market Leader ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 173 มีนาคม-เมษายน 2560

สำหรับเทรนด์ของการเลี้ยงสุกรในอนาคต ถ้ามองระดับโลกในประเทศไทยสิ่งที่ต้องเผชิญ ต่อไปคือเรือ่ งของโรคระบาด โดยเฉพาะโรค FMD ดั ง นั้ น สิ่ ง ที่ จ ะทำได้ หรื อ แก้ ไ ขปั ญ หานี้ ไ ด้ คื อ การแปรรูปปรุงสุกส่งออกไป อย่างไรก็ตาม เรื่อง ของโรคระบาดสัตว์ เมื่อมองลึกๆ ลงไป มันเป็น เรื่องของการกีดกันทางการค้ามากกว่า การแก้ไข ทำได้โดยรัฐบาลเข้าไปเจรจา เช่นเดียวกับ ลาว เมียนมาร์ เพื่อให้ชัดเจน บอกไปเลยว่าเราขอส่ง เข้าไป “จากนี้ ไ ป เราควรเพิ่ ม ศั ก ยภาพในการ แข่ ง ขั น ธุ ร กิ จ สุ ก ร โดยเฉพาะปั ญ หาเรื่ อ งของ วัตถุดิบ เพื่อให้ต้นทุนถูกลง แข่งขันกับเขาได้ รวมถึงเรื่องโรคระบาด วันนี้การที่เราไปคุยกับ OIE การไปคนเดียวอาจเป็นเรือ่ งยาก ควรทีจ่ ะใช้ ภาพรวมของอาเซียนเข้าไปคุย หมายถึงรวมตัวกัน ไปคุย การใช้ศกั ยภาพไทยประเทศเดียวเป็นเรือ่ งที่ ยาก นีค่ อื สิง่ ทีผ่ มหวังว่าเราจะแก้ไขได้ และสามารถ แข่ ง ขั น ในตลาดโลกได้ ใ นอนาคต” คุ ณ วรวุ ฒิ กล่าว ดร.สั จ จา ระหว่ า งสุ ข รองกรรมการผูจ้ ดั การอาวุโส บริษทั ซี พี เ อฟ (ประเทศไทย) จำกั ด (มหาชน) กล่ า วในแง่ ข องการ ส่ ง ออกเนื้ อ หมู ข องไทย โดยให้ มุมมองว่า ปัจจุบันหลายคนมอง การส่งออกเนื้อหมูว่าทำได้ด้วยการปรุงสุก แต่ใน มุมมองส่วนตัวคิดว่าเนื้อสดก็น่าจะส่งได้ ซึ่งเรา ต้องแก้ไขปัญหาเรือ่ งโรคปากและเท้าเปือ่ ย (FMD) และถ้าแก้ได้จะมีปัญหาอื่นๆ ตามมาอีกหรือไม่ แล้วถ้ามีจะทำอย่างไร เพราะอย่างไรเราก็ต้อง

ส่งออกเนือ่ งจากความต้องการของผูบ้ ริโภคในภาพ รวมระดับโลกมีความต้องการเพิ่มขึ้นอยู่แล้ว โดย เฉพาะเนื้อหมูที่เป็นรองแค่เนื้อปลาเท่านั้น ขณะที่ผู้ผลิตหมูที่มากที่สุด ปัจจุบันก็คือ ประเทศจีน ประมาณ 53 ล้านตัว รองลงมาคือ กลุ่มประเทศอียู ประมาณ 23 ล้านตัว ขณะที่ ประเทศซึง่ มีการนำเข้าหมูมากทีส่ ดุ ก็เป็นประเทศ จี น เช่ น กั น ทั้ ง นี้ เ นื่ อ งจากไม่ เ พี ย งพอกั บ ความ ต้องการของผู้บริโภคแม้จะผลิตมากก็ตาม ญี่ปุ่น ตามมาเป็นอันดับ 2 ส่วนผู้ส่งออกสูงสุดคือ กลุ่ม ประเทศอียู ประมาณ 33 ล้านตัว รองลงมาคือ ประเทศสหรัฐอเมริกา แคนาดา บราซิล ตาม ลำดับ ดังนั้น จะเห็นว่าตัวเลขมีทั้งการผลิต การ นำเข้า และส่งออกมีเพิ่มขึ้น และมีความต้องการ ในหลายประเทศ หากประเทศไทยสามารถควบคุม โรค FMD ได้ ซึ่งปัจจุบันหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ก็กำลังแก้ไขอยู่ ประเทศไทยก็คงจะสามารถนำไป เป็นข้อต่อรองในเรือ่ งของตลาดหมูตา่ งประเทศได้ เพราะฉะนัน้ ในส่วนนีค้ ดิ ว่า ถ้าเราทำได้ สิง่ ทีต่ ามมา แน่ๆ คือเรื่องของ “ฟู้ดเซฟตี้” ที่หลายประเทศ นำมาเป็นเงือ่ นไขการนำเข้า-ส่งออก เพือ่ ใช้ในการ กีดกันสินค้า เช่น ญี่ปุ่น ซึ่งมีกฎหมายถึง 4 ฉบับ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ เพราะฉะนั้นการที่เราจะส่ง ไปญี่ปุ่นต้องผ่านกฎหมาย 4 ตัวนี้ให้ได้ อี ก เรื่ อ งที่ อ ยากให้ ข บคิ ด ก็ คื อ เรื่ อ งของ คุณภาพเนื้อ เพราะปัจจุบันผู้บริโภคมีความเข้าใจ และเลือกซื้อเนื้อไปบริโภคเป็นหลัก ถ้าเราผลิต โดยไม่คำนึงถึงความต้องการของผู้บริโภค เขาก็ ไม่ซื้อ และแต่ละประเทศก็จะมีความต้องการที่ ไม่เหมือนกัน เช่น คนไทยไม่ชอบเนือ้ ทีม่ มี นั หรือ

43


Market Leader ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 173 มีนาคม-เมษายน 2560

ไขมันแทรก ขณะทีค่ นญีป่ นุ่ และคนยุโรปชอบเนือ้ ทีม่ ไี ขมันแทรก ดังนัน้ ก่อนทีเ่ ราจะ ส่งเนื้อหมูเข้าไปยังประเทศอื่น ก็ต้องศึกษาความต้องการเขาด้วย “การปรับปรุงพันธุ์เป็นตัวหนึ่งที่จะกำหนดแนวโน้มการบริโภคหมูในอนาคต ดังนั้น ผู้ผลิตจะต้องปรับปรุงและพัฒนาส่วนนี้รองรับ รวมถึงเรื่องอื่นๆ ด้วยทั้ง เรื่องของการใช้ยาปฏิชีวนะ สวัสดิภาพสัตว์ ดังนั้น ตราบใดที่เราเลี้ยงหมู และ ต้องการขายหมูให้ได้กต็ อ้ งยอมทำตามทีผ่ บู้ ริโภคต้องการ อย่ามองว่าเป็นการกีดกัน ทางการค้า แม้มุมหนึ่งจะมองเช่นนั้นก็ไม่ผิดนัก แต่การเตรียมความพร้อมของเรา ก็ต้องมีอยู่ตลอดเวลา ทั้งนี้ทั้งนั้น ภาครัฐ และหน่วยงานอื่นๆ ก็เตรียมให้ความ ร่วมมือช่วยเหลือด้วยเช่นกัน เพือ่ ความยัง่ ยืนของอาชีพการเลีย้ งหมูตอ่ ไป” ดร.สัจจา ให้ความเห็นทิ้งท้ายก่อนจบสัมมนา

44


Plexomin Cu24 Plexomin Fe20 Plexomin Mn22 Plexomin Zn26

Phytobiotics (Thailand) Co., LTd.

202 Le Concorde Tower, Rajchadapisek Road, Huaykwang, Huaykwang, Bangkok 10320 Tel. 02-6942498 Fax. 02-6942499 www.phytobiotics.com



Market Leader ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 173 มีนาคม-เมษายน 2560

'พืชปศุสัตว์ประมง' ดันจีดีพี Q1 พุ่ง

สศก. ชี้ 13 นโยบายหนุน - คาดปีนี้ภาคเกษตรทะลุ 3.5% GDP ภาคเกษตรต่อหัว ปี 2557 - 2560 รายการ 2557 2558 GDP ภาคเกษตรต่อหัว (บาท/คน/ปี) 53,724 49,595 อัตราการขยายตัว (ร้อยละ) -14.33 -7.69 ดัชนีความผาสุกของเกษตรกร 78.55 78.80

2559* 49,785 0.38 79.20

2560* 51,188 2.82 80.00

หมายเหตุ : *ตัวเลขประมาณการเบื้องต้น ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร รายได้ของเกษตรกรที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่งผลให้เกษตรกรมีความสุขเพิ่มขึ้น สอดคล้องกับดัชนีความผาสุกของเกษตรกรในปี 2560 ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 80.0 จากระดับ 78.8 ในปี 2558

ข้าว อ้อย สับปะรด ปาล์มน้ำมัน ไก่เนือ้ กุง้ ขาว และยาง ขยับตัว ดึงจีดพี ภี าคเกษตรไตรมาส 1 ปีนี้พุ่ง 4.2% "จริยา" เลขาฯ สศก. คาดปีนี้จีดีพีเกษตรขยับเพิ่ม 2.5 - 3.5% เผย 13 นโยบายของ กระทรวงเป็นปัจจัยสำคัญดันจีดีพีภาคเกษตร นางสาวจริยา สุทธิไชยา เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยถึงผลิตภัณฑ์ มวลรวม (จีดีพี) ภาคการเกษตรในประเทศไตรมาส 1/2560 ว่า ขยายตัวร้อยละ 4.2 ปรับตัวดีขึ้น เมื่อเทียบกับไตรมาส 1/2559 ที่หดตัวร้อยละ 2 ทั้งนี้มาจากผลผลิตที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ข้าว อ้อยโรงงาน สับปะรดโรงงาน ปาล์มน้ำมัน ไก่เนื้อ สุกร และกุ้งขาวแวนนาไม โดยราคาเฉลี่ยในเดือน ม.ค. - ก.พ. 2560 เทียบกับราคาเฉลี่ยเดือน ม.ค. - ก.พ. 2559 อ้อยโรงงานราคาเพิ่มขึ้นจากตันละ 753 บาท เป็น 955 บาท ยางพาราเพิ่มขึ้นจาก 34.83 บาท/กก. เป็น 77.27 บาท/กก. ปาล์มน้ำมันเพิ่มขึ้นจาก 5.02 บาท/กก. เป็น 5.70 บาท/กก. กุ้งขาวแวนนาไมเพิ่มขึ้นจาก 181 บาท/กก. เป็น 209 บาท/กก. คาดว่าจีดีพีภาคเกษตรปี 2560 จะขยายตัวในช่วงร้อยละ 2.5-3.5 โดยผลผลิตสินค้าเกษตร ที่สำคัญเกือบทุกชนิดมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ได้แก่ ข้าว อ้อยโรงงาน สับปะรดโรงงาน ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ยางพารา ปาล์มน้ำมัน ผลไม้ ไก่เนื้อ สุกร และกุ้งขาว แวนนาไม

ที่มา : ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2560

45


Market Leader ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 173 มีนาคม-เมษายน 2560

หากแยกเศรษฐกิจการเกษตรภูมภิ าค ไตรมาส 1/2560 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จีดีพี ภาคเกษตรขยายตัวในช่วงร้อยละ 2.4 - 3.4 จาก ผลผลิตทีเ่ พิม่ ขึน้ ได้แก่ มันสำปะหลัง อ้อยโรงงาน ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ไก่เนื้อ ภาคใต้ จีดีพีเกษตร ขยายตัวในช่วงร้อยละ 3.7 - 4.7 ผลผลิตที่เพิ่ม ได้แก่ ปาล์มน้ำมัน ยางพารา กุ้งขาวแวนนาไม ภาคตะวันออก จีดพี เี กษตรขยายตัวในช่วงร้อยละ 2.3 - 3.3 ผลผลิตที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ทุเรียน มังคุด เงาะ ไก่เนื้อ สุกร กุ้งขาวแวนนาไม ภาคตะวันตก ขยายตัวในช่วงร้อยละ 2 - 3 ผลผลิตที่เพิ่มขึ้น ได้ แ ก่ ข้ า ว อ้ อ ยโรงงาน มั น สำปะหลั ง สุ ก ร ภาคกลาง จีดีพีขยายตัวในช่วงร้อยละ 1.8 - 2.8 ผลผลิตสินค้าเกษตรที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ข้าว สุกร ไก่เนื้อ ไข่ไก่ ปัจจัยสนับสนุนในไตรมาส 1/2560 และ ปี 2560 คื อ สภาพดิ น ฟ้ า อากาศเอื้ อ อำนวย เศรษฐกิจโลกฟื้นตัวจากราคาน้ำมันขยับตัวสูงขึ้น จาก 13 นโยบายสำคัญของกระทรวงเกษตรฯ อาทิ การตั้งศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต สินค้าเกษตร (ศพก.) การทำเกษตรแปลงใหญ่

46

การกำหนดโซนนิง่ เพาะปลูกทีเ่ หมาะสมด้วยแผนที่ การเกษตร การกำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตร เกษตรอินทรีย์ และเกษตร GAP เกษตรทฤษฎี ใหม่ เกษตรผสมผสาน ธนาคารสินค้าเกษตร แผนผลิตข้าวครบวงจร การจัดหาที่ดินทำกินโดย ส.ป.ก. ยึดทีด่ นิ ส.ป.ก. คืนมาจัดสรรให้เกษตรกร และระบบส่งน้ำ/กระจายน้ำ "งบฯ ลงทุนของกระทรวงเกษตรฯ ตกปีละ 4.2 - 4.8 หมื่นล้านบาท แต่รัฐบาลชุดปัจจุบัน ได้ เพิ่มงบฯ ลงทุนอีกปีละ 1.35 หมื่นล้านบาท ให้ การเกษตรแปลงใหญ่ 1,000 ล้านบาท ระบบส่งน้ำ การเพิ่มแหล่งน้ำ เกษตรทฤษฎีใหม่ เหล่านี้เป็น ปัจจัยสำคัญสนับสนุนการเพิ่มจีดีพีภาคเกษตร ได้มากพอสมควร" ส่ ว นการส่ ง ออกสิ น ค้ า เกษตรและผลิ ต ภัณฑ์ปี 2560 ที่คาดว่ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยางพารา น้ ำ ตาลและผลิ ต ภั ณ ฑ์ เนื้ อ ไก่ แ ละ ผลิตภัณฑ์ กุง้ และผลิตภัณฑ์ ผลไม้และผลิตภัณฑ์ เนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าปรับตัวดีขึ้น เช่น กลุ่มประเทศอาเซียน สหรัฐอเมริกา และ สหภาพยุโรป (อียู)


Market Leader ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 173 มีนาคม-เมษายน 2560

ปัจจุบันครัวเรือนเกษตรมีรายได้เงินสดทางการเกษตรเฉลี่ย 1.57 แสนบาท/ ครัวเรือน/ปี โดยภาคเหนือ จังหวัดเพชรบูรณ์ รายได้เงินสดทางการเกษตรเฉลี่ย 2.54 แสนบาท/ครัวเรือน/ปี มีรายได้หลักจากการปลูกพืชร้อยละ 90 ของรายได้ ทางการเกษตรทัง้ หมด และประมาณร้อยละ 40 ทำนาและปลูกผัก เช่น กะหล่ำปลี พริก หน่อไม้ฝรั่ง ตลอดจนการแปรรูปผลผลิตและแหล่งผลิตโคเนื้อของภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดนครราชสีมา รายได้เงินสดทางการเกษตรเฉลี่ย 1.97 แสนบาท/ครัวเรือน/ปี มีรายได้หลักจากการปลูกพืชร้อยละ 75 ของรายได้ ทางการเกษตรทั้งหมด สินค้าที่สำคัญคือ มันสำปะหลัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ พริก ข้าวโพดฝักอ่อน พืชผักสมุนไพรต่างๆ และแหล่งเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของภาค ภาคกลาง จังหวัดฉะเชิงเทรา รายได้เงินสดทางการเกษตรเฉลีย่ 4.1 แสนบาท/ ครัวเรือน/ปี มีรายได้หลักจากการปศุสัตว์และเพาะเลี้ยงประมงร้อยละ 73 ของ รายได้ทางการเกษตรทั้งหมด สินค้าที่สำคัญคือ กุ้งขาว กุ้งก้ามกราม เป็ดเนื้อ โค/กระบือ สุกร รวมถึงเป็นแหล่งการเพาะขายพันธุ์สัตว์น้ำที่สำคัญของภาคกลาง ภาคใต้ จังหวัดกระบี่ มีรายได้เงินสดทางการเกษตรเฉลี่ย 2.47 แสนบาท/ ครัวเรือน/ปี มีรายได้หลักจากการปลูกพืช ร้อยละ 90 ของรายได้ทางการเกษตร ทัง้ หมด สินค้าทีส่ ำคัญคือ ปาล์มน้ำมันทีใ่ ห้ผลผลิตต่อไร่สงู กว่าจังหวัดอืน่ ยางพารา และขายพันธุ์พืช ตลอดจนการแปรรูปผลผลิต ในปี 2560 นี้ กระทรวงเกษตรฯ กำหนดให้เป็นปีแห่งการยกระดับมาตรฐาน การเกษตรสู่ความยั่งยืน ทั้งการทำเกษตรแบบหลักปฏิบัติการเกษตรที่ดี (GAP) การทำเกษตรอินทรีย์ การเกษตรแบบแปลงใหญ่ 1,512 แปลง ที่ครอบคลุมพื้นที่ ประมาณ 2.5 - 3 ล้านไร่ สร้างเกษตรกรผู้ผลิตสินค้า 44 ชนิด ให้เป็น Smart Farmer จำนวน 2 แสนราย ทำให้มูลค่าการผลิตเพิ่มขึ้น 1 หมื่นล้านบาท

47


Market Leader ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 173 มีนาคม-เมษายน 2560

เร่งแก้ข้าวโพด

รุกที่ดินน่าน

4 กระทรวง บู ร ณาการเร่ ง แก้ ปั ญ หา ข้าวโพดบนเขาน่าน รุกที่ดินกว่า 1.7 ล้านไร่ ชูโมเดลปิดทองหลังพระ นายธีรภัทร ประยูรสิทธิ ปลัดกระทรวง เกษตรและสหกรณ์ เปิ ด เผยภายหลั ง ประชุ ม คณะกรรมการแก้ไขปัญหาการบุกรุกปลูกข้าวโพด ใน จ.น่าน ว่า ขณะนี้คณะกรรมการ 4 กระทรวง คือ กระทรวงเกษตรฯ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อม และกระทรวง มหาดไทย โดยเน้นทำงานแบบบูรณาการแก้ไข ปัญหาทำเกษตรที่บุกรุกพื้นที่ป่าต้นน้ำ "ทั้ง 4 กระทรวง ต้องร่วมมือกันหยุดยั้ง ปัญหาเขาหัวโล้นให้ได้ จากขณะนี้ ไร่ข้าวโพดที่ ขยายตัวไปปลูกบนทีส่ งู อย่างต่อเนือ่ ง โดยเร็วๆ นี้ จะลงพื้นที่ จ.น่าน เพื่อดูสภาพปัญหาจริง และ จัดหาพื้นที่ใหม่ส่งเสริมให้มาปลูกด้านล่าง โดย เข้าสูค่ ณะกรรมการนโยบายทีด่ นิ แห่งชาติ (คทช.) ที่ มี น ายกรั ฐ มนตรี เ ป็ น ประธาน" นายธี ร ภั ท ร กล่าว ทัง้ นี้ เบือ้ งต้นกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิง่ แวดล้อม จะตรวจสอบข้อมูลการบุกรุกปลูก ข้าวโพดทีม่ ถี งึ 1.7 ล้านไร่ เป็นพืน้ ทีข่ องกรมป่าไม้ 1.5 ล้านไร่ และพื้นที่อุทยานแห่งชาติ 2 แสนไร่ ที่มา : โพสต์ทูเดย์ ฉบับวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2560

48

แต่ตอ้ งจำแนกทัง้ ประเภทพืน้ ที่ แบ่งเป็น ป่าต้นน้ำ แต่อยู่ในโซนเอ และโซนบีเท่าไหร่ และจำนวนคน บุกรุกว่าอยูใ่ นพืน้ ทีใ่ ด เขตป่าต้นน้ำประเภทใดบ้าง เมือ่ ยืนยันตัวเลขแล้วเสร็จ ในสัปดาห์หน้าจะนำมา วางแผนปรับเปลีย่ นการผลิต โดยใช้หลักการตลาด นำการผลิต ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม เอาผู้บุกรุก ลงมาจากพื้นที่ป่าส่งเสริมปลูกข้างล่าง ขณะเดียวกัน พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รมว.เกษตรและสหกรณ์ เองก็มีนโยบายที่จะนำ การปลูกข้าวโพดบนพื้นที่สูงลงสู่พื้นล่าง ซึ่งสอด คล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่มีมาตรการห้าม ปลู ก ข้ า วโพดในพื้ น ที่ สู ง หลั ง พบว่ า มี ก ารปลู ก ข้าวโพดบนพื้นที่เขาทั้งประเทศรวมกว่า 4 ล้านไร่ หากปล่อยไว้ในอนาคตอาจจะส่งผล กระทบต่อ อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ได้ เพราะเป็นการส่งเสริม ให้เกิดการทำลายป่า อย่างไรก็ตาม พบว่า ผูป้ ลูกข้าวโพดบนเขา ส่วนใหญ่มีที่อยู่อาศัยข้างล่าง แต่ขึ้นไปปลูกบน เขา เป็นช่วงตามฤดูกาล ดังนั้น จะใช้โมเดลของ โครงการปิดทองหลังพระ จัดหาที่ดินพื้นล่างที่ เหมาะสมเพื่อให้ทำกิน และมีรายได้เพื่อลดการ บุกรุกในพื้นที่สูง พื้นที่ป่าต้นน้ำ


Market Leader ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 173 มีนาคม-เมษายน 2560

เร่งใช้มาตรฐาน 'จีเอพี'

ควบคุมแรงงานฟาร์มไก่

มกอช. เร่งปรับมาตรฐานสินค้าเกษตร เพิม่ กำหนดด้านแรงงาน เข้าจีเอพี ฟาร์มไก่ คาดแล้วเสร็จเปิดใช้ในปีนี้ สร้างความเชื่อมั่นคู่ค้าหลังใช้แรงงาน ข้ามชาติมากขึ้น นางสาวดุจเดือน ศศะนาวิน เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตร และอาหารแห่งชาติ (มกอช.) เปิดเผยว่า การประชุมคณะกรรมการมาตรฐานสินค้า เกษตร ที่มี นางสาวชุติมา บุณยประภัศร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตร และสหกรณ์ เป็นประธาน เห็นชอบให้เร่งดำเนินการยกร่างปรับปรุงแก้ไขมาตรฐาน สินค้าเกษตรที่สำคัญ ให้มีความทันสมัย สอดคล้องกับข้อกำหนดนำเข้า ของ ประเทศคู่ค้าที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น มาตรการทางสุขอนามัยสัตว์ สุขภาพสัตว์ สวัสดิภาพสัตว์ และสวัสดิภาพแรงงาน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับประเทศคู่ค้า และสามารถแข่งขันได้ในเวทีการค้าระหว่างประเทศ ปัจจุบันประเทศคู่ค้ามั่นใจใน เรื่องคุณภาพสินค้าเกษตรตามมาตรฐานด้านความปลอดภัยของสินค้าจากประเทศ ไทย แต่การใช้แรงงานจากประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ลาว กัมพูชา และ พม่า เป็น จำนวนมากในอุตสาหกรรมเกษตรของไทย ทำให้ต่างประเทศเกิดข้อกังวล และ เพ่งเล็งว่าผู้ประกอบการจะมีการปฏิบัติต่อแรงงานเหล่านี้อย่างเป็นธรรมหรือไม่ การสร้างความมั่นใจในประเด็นนี้จึงเป็นเรื่องเร่งด่วน "กรณีมีกระแสข่าวการใช้แรงงานไม่เป็นธรรมในฟาร์มไก่แห่งหนึ่งของไทย แม้การตรวจสอบแล้วไม่เป็นความจริง แต่เหตุการณ์ทเี่ กิดขึน้ ส่งผลกระทบต่อประเทศ คู่ค้าที่ให้ความสำคัญกับการใช้แรงงาน เช่น สหภาพยุโรป หรืออียู ที่จับตามอง ประเทศไทยในเรื่องการใช้แรงงานในภาคการเกษตรมากขึ้น"

ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2560

49


Market Leader ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 173 มีนาคม-เมษายน 2560

photo by: meaw & pony

ในขณะที่ ม าตรฐานสิ น ค้ า เกษตรต้ อ งมี ก ารปรั บ ปรุ ง แก้ ไ ข จึ ง มุ่ ง เน้ น ให้ สอดคล้องกับมาตรฐานสากล โดยเพิ่มข้อกำหนดด้านแรงงานให้มีความชัดเจน สอดคล้องกับแนวปฏิบัติการใช้แรงงานที่ดี ภายในเดือน มี.ค. 2560 มาตรฐาน จีเอพีฟาร์มไก่เนื้อและแนวปฏิบัติจะพร้อมประกาศใช้เป็นมาตรฐานแรกของปีนี้ "เกษตรกรและผูป้ ระกอบการของไทย ต้องติดตามข้อมูลข่าวสาร และแนวทาง การปฏิบตั ติ ามมาตรฐานสินค้าเกษตรของไทยอย่างใกล้ชดิ เพือ่ ทีจ่ ะปฏิบตั ไิ ด้อย่าง ถูกต้อง เป็นไปตามเงื่อนไขและสถานการณ์การค้าที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ การ ปรับตัวอย่างรวดเร็ว นอกจากจะไม่ทำให้สูญเสียโอกาสแล้ว ยังจะเป็นการสร้าง ความได้เปรียบในการแข่งขันทางการค้าอีกด้วย" โดยในปี 2560 พลเอกฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร และสหกรณ์ กำหนดให้เป็นปีแห่งการยกระดับมาตรฐานสินค้าเกษตรสูค่ วามยัง่ ยืน นอกจากด้านการมาตรฐานและการส่งเสริมให้เกษตรกรในพื้นที่แปลงใหญ่ได้รับ มาตรฐาน GAP แล้ว ในเดือน เม.ย. นี้ กระทรวงเกษตรฯ เตรียมจัดงานมหกรรม ออกร้านสินค้าเกษตรคุณภาพ เพื่อเปิดตัวปีแห่งการยกระดับการเกษตรสู่ความ ยั่งยืน

50




Around the World ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 173 มีนาคม-เมษายน 2560

ประมงมั่นใจ

ไทยหลุดไอยูยู เมือ่ วันที่ 3 เมษายน นายอดิศร พร้อมเทพ อธิบดีกรมประมง กล่าวถึงความคืบหน้า ของการแก้ไขการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (ไอยูยู) ว่า ขณะนี้คืบหน้าชัดเจนเกินกว่า 50% และในบางเรื่องมีความคืบหน้าเกินกว่า 70 - 80% ไปแล้ว เช่น ระบบติดตามเรือ (วีเอ็มเอส) ศูนย์กลางควบคุมระบบติดตามเรือ (เอ็มเอสซี) ศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้า - ออก (PIPO) แม้ว่าระบบต่างๆ อาจจะยังไม่สมบูรณ์เต็ม 100% แต่ทุกอย่างถือว่ามีความคืบหน้าตามลำดับ และระบบต่างๆ เริ่มเข้าที่เข้าทาง เป็น รูปเป็นร่างมากขึ้น รวมทั้งการดำเนินงานในช่วงที่ผ่านมา ภาครัฐยังแสดงให้สหภาพยุโรป (อี ยู ) เห็ น ถึ ง เจตจำนง และความพยายามที่ มุ่ ง มั่ น ชั ด เจนในการแก้ ไ ขปั ญ หาไอยู ยู โดยเฉพาะการออก พ.ร.ก. การประมงที่มีบทลงโทษรุนแรง "หากจะถามว่าไทยจะหลุดจากใบเหลืองไปสู่ใบเขียวเมื่อใด ยังไม่สามารถตอบได้ว่า จะอีกกี่เดือนกี่ปี เพราะเป็นเรื่องการตัดสินใจของอียู แต่หากดูจากการร่วมมือกับอียู ทีด่ ำเนินมากกว่า 2 ปี ผมก็คาดเดา และคาดหวังว่าน่าจะใช้เวลาอีกไม่นานเกินไป การแก้ไข ปัญหาไอยูยูจะต้องจบ และได้ใบเขียวอย่างแน่นอน" นายอดิศรกล่าว ที่มา : มติชน ฉบับวันที่ 04 เมษายน พ.ศ. 2560

51


Around the World ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 173 มีนาคม-เมษายน 2560

เกษตรฯ เตรียมเปิด 'มหกรรมเกษตรปลอดภัย นำไทยสู่ความยั่งยืน'

ขนสินค้าเกษตร GAP บุกพารากอน

กระทรวงเกษตรฯ เตรียมจัดงาน "มหกรรม เกษตรปลอดภัย นำไทยสู่ความยั่งยืน" ยกพาเหรด สุดยอดสินค้าเกษตรเกรดพรีเมี่ยมมาตรฐาน GAP/ ออร์แกนิก จากสวนเกษตรกร กว่า 100 ร้านค้า บริการ คนเมือง ชม ชิม ช็อป กทม. : นางสาวชุติมา บุณยประภัศร รัฐมนตรีช่วย ว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานแถลงข่าว การจัดงาน "มหกรรมเกษตรปลอดภัย นำไทยสู่ความยั่งยืน" จัดขึ้นระหว่างวันที่ 6 - 9 เมษายน 2560 ณ รอยัลพารากอน ฮอลล์ 3 ชั้น 5 ศูนย์การค้าสยามพารากอน โดยมี นายธีรภัทร ประยูรสิทธิ ปลัดกระทรวงเกษตร และสหกรณ์ และนางสาวดุจเดือน ศศะนาวิน เลขาธิการสำนักงานมาตรฐาน สินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) ณ สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อ เกษตรกรรม ถนนราชดำเนินกรุงเทพฯ นางสาวชุติมา กล่าวว่า ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้กำหนด นโยบายให้ปี 2560 เป็นปีแห่งการยกระดับมาตรฐานการเกษตรสู่ความยั่งยืน โดย มุ่งขับเคลื่อนงานเพื่อยกระดับมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารของไทยทั้งระบบ ตั้งแต่ฟาร์มจนถึงผู้บริโภค และมุ่งหวังให้สินค้าเกษตรของไทยมีความปลอดภัย ทั้งต่อผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ อีกทั้งยังเป็นการยกระดับสินค้าเกษตรและ อาหารของไทยให้เกิดความเชื่อมั่นและยอมรับในตลาดโลก จึงได้มอบหมายให้ สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) เป็นหน่วยงานหลัก ในการจั ด งานดั ง กล่ า ว เพื่ อ ตอกย้ ำ ความสำคั ญ ของการผลิ ต สิ น ค้ า ได้ คุ ณ ภาพ มาตรฐาน และโชว์ศักยภาพมาตรฐานสินค้าเกษตรไทยให้เป็นที่รู้จักและยอมรับ ทั้งในและต่างประเทศอย่างกว้างขวางมากขึ้น อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มช่องทางการ จำหน่ายสินค้าให้เกษตรกรและประชาสัมพันธ์เรื่องมาตรฐานสินค้าเกษตรให้เป็นที่ รู้จักอย่างกว้างขวางมากยิ่งขึ้น ที่มา : สยามรัฐ ฉบับวันที่ 03 เมษายน พ.ศ. 2560 ภาพประกอบ : http://www.foodnavigator-usa.com/var/plain_site/storage/images/publications/food-beverage-nutrition/ foodnavigator-usa.com/markets/us-organic-food-market-to-grow-14-from-2013-18/8668340-1-eng-GB/US-organic-food-market-to-grow-14-from-2013-18.jpg

52


Around the World ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 173 มีนาคม-เมษายน 2560

"ปัจจุบันมีเกษตรกรได้รับรองมาตรฐาน จีเอพี (GAP) กว่า 247,000 ราย ในจำนวนดังกล่าว เป็น GAP พืชผักและผลไม้กว่า 182,000 ราย GAP ข้าว กว่า 47,000 ราย GAP ปศุสัตว์ กว่า 15,000 ราย และ GAP ประมงกว่า 3,000 ราย ส่ ว นเกษตรอิ น ทรี ย์ มี พื้ น ที่ ที่ ไ ด้ รั บ การรั บ รอง มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ประมาณ 284,000 ไร่ เกษตรกรกว่า 5,000 ราย ปริมาณการผลิต เกษตรอินทรีย์ ประมาณ 50,000 ตัน ส่วนใหญ่ เป็นข้าวอินทรีย์ คิดเป็น 60% ทีเ่ หลือเป็นพืชอืน่ ๆ สมุนไพร สินค้าประมงและปศุสตั ว์อนิ ทรีย์ มีมลู ค่า รวมไม่น้อยกว่า 2,000 ล้านบาท สำหรับสินค้า อินทรียท์ มี่ ศี กั ยภาพการผลิตและส่งออกสูง ได้แก่ ข้าวอินทรียแ์ ละผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะข้าวหอมมะลิ อินทรีย์ ผักและผลไม้อินทรีย์ อาทิ กล้วยหอม สับปะรด เงาะ มะม่วง มังคุด ทุเรียน ผักสลัด แครอต กระเจี๊ยบเขียว ชา และกาแฟอินทรีย์ โดยมีตลาดส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ สหภาพยุโรป และสหรัฐอเมริกา สำหรับตลาดส่งออกที่มีศักยภาพ และมีแนวโน้มดีในอนาคต ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน และกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน" นางสาวชุติมา กล่าว

ด้าน นางสาวดุจเดือน ศศะนาวิน เลขาธิการ มกอช. กล่าวว่า สำหรับกิจกรรมภายในงาน ได้แก่ การยกทัพสินค้าที่ได้คุณภาพมาตรฐานทั้งของ เกษตรกรและผูป้ ระกอบการมาแสดงและจำหน่าย ในราคาพิเศษกว่า 100 บูธ จากเกษตรกรที่ผ่าน การคั ด สรรมาแล้ ว ว่ า เป็ น ผู้ ผ ลิ ต สิ น ค้ า เกษตร ทัง้ พืชผัก ผลไม้ ประมงและปศุสตั ว์ทไี่ ด้มาตรฐาน GAP และมาตรฐานอินทรีย์ (Organic) รวมทั้ง ผลิตภัณฑ์แปรรูปหลากหลาย ซึง่ มีความปลอดภัย แก่ผู้บริโภค พร้อมจัดแสดงนวัตกรรมทางการ เกษตรและความก้าวหน้าการจัดการตลาดแนว ใหม่ดว้ ยไอที หรือตลาดเกษตรดิจติ อล นอกจากนี้ ยังมีการแสดงนิทรรศการเส้นทางสินค้าเกษตร คุณภาพปลอดภัย ได้มาตรฐาน เพื่อสร้างความ เข้าใจและให้ความรู้ที่ถูกต้องกับผู้บริโภคในเรื่อง มาตรฐาน และการเลือกซื้อสินค้าคุณภาพมาตรฐาน รวมทัง้ การเสวนาให้ความรู้ เรือ่ งสถานการณ์ และแนวโน้มมาตรฐานโลกที่ไทยต้องเผชิญหน้า โดยวิทยากรในวงการสินค้าเกษตรและอาหารที่มี ความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ยาวนาน นางสาวดุจเดือน กล่าวเพิม่ เติมว่า นอกจาก นี้ ยังมีการสาธิตทำเมนูสขุ ภาพจากวัตถุดบิ อาหาร ปลอดภัย การเสวนาให้ความรู้เรื่องสุขภาพ โดย เชฟและดาราที่มีชื่อเสียงมากมาย การบริการ ตรวจสารพิษในเลือดพร้อมให้คำแนะนำ การสาธิต ใช้ QR Trace และ E-market ซือ้ ขายสินค้าเกษตร บนโลกออนไลน์ เป็นต้น ซึ่งเชื่อมั่นว่าการจัดงาน ครัง้ นีจ้ ะทำให้เกษตรกร ผูป้ ระกอบการภาคเกษตร อื่นๆ เกิดแรงบันดาลใจปรับปรุงการผลิตเข้าสู่ มาตรฐาน สร้างโอกาสทางการตลาดให้กบั ตนเอง และสินค้าเกษตรในอนาคต

53


Around the World ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 173 มีนาคม-เมษายน 2560

สุดยอดงานแสดงเทคโนโลยีด้านปศุสัตว์และสัตว์น้ำระดับโลก

วิฟ เอเชีย เปิดแล้วอย่างยิ่งใหญ่ ตั้งเป้ารับผู้ชมงานกว่า 40,000 รายทั่วโลก

สุดยอดงานแสดงเทคโนโลยีปศุสัตว์และ สัตว์น้ำที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย “วิฟ เอเชีย 2017” โดยมืออาชีพด้านเวทีเจรจาธุรกิจระดับนานาชาติ วีเอ็นยู เอ็กซิบิชั่นส์ เอเชีย แปซิฟิค และ วีเอ็นยู เอ็กซิบชิ นั่ ส์ ยุโรป ครัง้ นีน้ บั เป็นครัง้ ที่ 13 ของการ จัดงาน ภายใต้คอนเซ็ปต์ From Feed to Food หรือตั้งแต่การผลิตอาหารสัตว์จนถึงการแปรรูป เป็นอาหาร ระหว่างวันที่ 15-17 มีนาคม นี้ ทีไ่ บเทค บางนา นำเสนอเทคโนโลยีคับคั่งกว่า 1,057 บริษัท จาก 55 ประเทศทั่วโลก อาทิ จีน สหรัฐฯ เนเธอร์แลนด์ ฝรั่งเศส ไทย ฯลฯ เต็มทุกพืน้ ที่ ตัง้ แต่ฮออล์ 98-104 กว่า 40,000 ตารางเมตร พร้อมด้วยการประชุมวิชาการมากมาย อาทิ การสัมมนาด้าน สุขภาพและโภชนาการสัตว์เลี้ยง การสัมมนาด้านธุรกิจนมวัว การสัมมนาเพื่อการเพิ่มคุณภาพสุกร การสัมมนาเพื่อธุรกิจ สั ต ว์ น้ ำ โดยนั บ เป็ น สุ ด ยอดงานธุ ร กิ จ เพื่ อ วงการปศุ สั ต ว์ ที่

54


Around the World ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 173 มีนาคม-เมษายน 2560

ได้รบั การจับตามองจากทัว่ โลก และคาดว่าจะมีเงิน สะพัดกว่า 15,000 ล้านบาท งาน วิฟ เอเชีย 2017 จะจัดต่อเนือ่ งไปจนถึง วันศุกร์ที่ 17 มีนาคม ตัง้ แต่เวลา 10.00 - 18.00 น. โดยภายในพิ ธี เ ปิ ด ได้ รั บ เกี ย รติ จ าก รองปลั ด กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายสัตวแพทย์ ธนิตย์ เอนกวิทย์ เป็นประธานในพิธี ร่วมด้วย ผู้อำนวยการทีเส็บ นายนพรัตน์ เมธาวีกุลชัย ฑู ต จากนานาประเทศ พร้ อ มผู้ ส นั บ สนุ น จาก ภาครัฐ-เอกชน นอกจากนี้ ยังมีการมอบรางวัล อาเซียน เพอร์ซัลแนลลิตี้ อะวอร์ด (Asian Personality Awards) ซึง่ เป็นความร่วมมือกันระหว่าง นายรูวัน เบอร์คูโล ผู้จัดการโครงการวิฟ ทั่วโลก นางปนัดดา อรรถโกวิท ผูจ้ ดั การโครงการวิฟ เอเชีย และนายไนเจล ฮอร็อกส์ กรรมการผูจ้ ดั การ วารสาร Positive Action Publications มอบรางวัลให้กับ บุคคลพิเศษเพื่อเชิดชูเกียรติผู้อุทิศตน และเสีย สละในวงการอุตสาหกรรมปศุสัตว์แห่งภูมิภาค เอเชีย (Asian Personality Awards) โดยนับเป็น สุดยอดงานธุรกิจเพื่อวงการปศุสัตว์ที่ได้รับการ จับตามองจากทั่วโลก อีกหนึ่งไฮไลท์ของงาน คือโซนโครงการ ส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา ซึ่งทางผู้จัดฯ ได้

น้อมนำโครงการพระราชดำริที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมปศุสตั ว์ มาจัดแสดงเป็นโซนพิเศษ เพือ่ เผยแพร่ อ งค์ ค วามรู้ แ ละพระอั จ ฉริ ย ภาพของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรามหาภูมิพลอดุลยเดช ได้พระราชดำริและถ่ายทอดสู่พสกนิกรชาว ไทยเพือ่ นำไปพัฒนาธุรกิจระดับท้องถิน่ ให้สามารถ เลี้ยงดูตนเองและครอบครัวได้ตามหลักเศรษฐกิจ พอเพี ย ง โดยมุ่ ง เน้ น ไปที่ โ ครงการเพาะเลี้ ย ง ปลานิลในพระตำหนักสวนจิตรลดา สู่การพัฒนา สายพั น ธุ์ เ พื่ อ ต่ อ ยอดสู่ ก ารประกอบอาชี พ แก่ เกษตรกรไทย โครงการโคนมสวนจิตรลดา ซึ่ง เป็นจุดเริ่มต้นแห่งการเรียนรู้ และนำไปสู่การ ต่อยอดสู่อาชีพที่ยั่งยืน และปิดท้ายด้วยโครงการ เกษตรเพือ่ เกษตรกร สวนจิตรลดา นำเสนอความรู้

55


Around the World ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 173 มีนาคม-เมษายน 2560

เกีย่ วกับนาข้าวทดลองและโรงสีขา้ วตัวอย่าง ซึง่ พาวิลเลีย่ นพิเศษเพือ่ เทิดพระเกียรติพระองค์ทา่ น ได้รบั การตอบรับเป็นอย่างดี จากทั้งคณะผู้เปิดงาน ตลอดจนผู้ที่มาชมงานทั้งชาวไทย และต่างประเทศ ทางด้าน รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายสัตวแพทย์ธนิตย์ เอนกวิทย์ เปิดเผยว่า “กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีวสิ ยั ทัศน์มงุ่ พัฒนาการเกษตรจากการเกษตรแบบดัง้ เดิม ไปสูก่ ารเกษตร สมัยใหม่ทเี่ น้นการบริหารจัดการ กระจายความเจริญ และรายได้สทู่ กุ ภูมภิ าค เพือ่ ก้าวสูไ่ ทยแลนด์ 4.0 สอดคล้องตามนโยบายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่กำหนดให้ ปี 2560 เป็นปีแห่งการยกระดับ มาตรฐานการเกษตรสูค่ วามยัง่ ยืน โดยไม่เพียงแต่ใช้บริโภคในประเทศเท่านัน้ แต่จะรวมไปถึงการส่งออก และการแข่งขันในตลาดโลกด้วย เพื่อส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการส่งออกสินค้าปศุสัตว์ ไปสู่ตลาดโลกอย่างแท้จริง เปลี่ยนจากการขับเคลื่อนประเทศด้วยภาคอุตสาหกรรมธรรมดา สู่การ ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านอุตสาหกรรมปศุสัตว์ ด้วยการคัดสรรบริษัทที่มีเทคโนโลยี ทันสมัยมาโชว์ผลงานภายใน วิฟ เอเชีย 2017” นายนพรัตน์ เมธาวีกุลชัย ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการจัดงานประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือทีเส็บ กล่าวว่า “ทีเส็บ เป็นผู้สนับสนุนงาน วิฟ เอเชีย 2017 มาโดยตลอด นับว่างานนี้เป็นงานแสดงสินค้าและสัมมนาในอุตสาหกรรมด้านเกษตร ปศุสัตว์ ระดับโลก ไม่ว่าจะ เป็นคุณภาพของผู้แสดงสินค้า ความทันสมัยของเทคโนโลยี การนำเสนอนวัตกรรมและงานวิจัยใหม่ๆ ความหลากหลายของคูหาพิเศษ และพาวิลเลี่ยนนานาชาติ ตลอดจนความเป็นมืออาชีพของคณะ ผู้จัดงานฯ และพันธมิตร โดยในปีนี้ ทีเส็บได้เน้นสนับสนุนด้านกิจกรรมส่งเสริมการตลาดต่างประเทศ และแคมเปญการตลาด CONNECT Businesses โดยดึงผู้ซื้อที่มีศักยภาพจากทั่วโลก เพื่อทำการจับคู่ เจรจาธุรกิจกันภายในงาน และแคมเปญส่งเสริมการตลาดล่าสุด EXHIBIZ IN MARKET ที่มีกลุ่ม เป้าหมายเป็นกลุ่ม Pavilion leader เพื่อเพิ่มพื้นที่การจัดแสดงสินค้า และมีผู้แสดงสินค้าที่มีคุณภาพ เข้ามาร่วมงานเพิ่มมากขึ้น”

56



1.R&D µ¦ª· ´¥Â¨³¡´ µ 2.Consultation µ¦Ä®o µÎ ¦¹ ¬µ 3.Design µ¦°°  4.Manufacture µ¦ ¨· 5.Logistics µ¦ ¦·®µ¦ o µ µ¦ ´ Á È Â¨³ ­n 6.Installation µ¦ · ´ Ê 7.Commissioning µ¦ ­° 8.Training µ¦ ¹ ° ¦¤ 9.Service µ¦Ä®o ¦· µ¦®¨´ µ¦ µ¥

Pellet mill Dryer

Extruder

Pulverizer

Mixer

Hammer mill


Around the World ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 173 มีนาคม-เมษายน 2560

งานฮอร์ติ เอเชีย และ งานอะกริเทคนิก้า เอเชีย 2017 สุดยอดงานแสดงเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อการเกษตรและปศุสัตว์ครบวงจร

นับเป็นความยิง่ ใหญ่ระดับเอเชีย ในอุตสาหกรรมเกษตรพืชไร่พชื สวนและ เครื่องจักรกลเกษตรครบวงจร กับ “งานฮอร์ติ เอเชีย และงานอะกริเทคนิก้า เอเชีย 2017” โดยความร่วมมือระหว่าง วีเอ็นยู เอ็กซิบิชั่นส์ เอเชีย แปซิฟิค จำกัด และ ดีแอลจี อินเตอร์เนชัลแนล (สมาคมเกษตรแห่งเยอรมนี) ร่วมกับ กรมส่งเสริมการเกษตร, กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กระทรวงเศรษฐกิจและการค้าจากประเทศเนเธอร์แลนด์, สมาคมพืชสวน แห่งประเทศไทย, ชมรมอนุรักษ์น้ำมันมะพร้าวแห่งประเทศไทย และสำนักงาน ส่งเสริมการจัดการประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) เพื่อกระตุ้น อุตสาหกรรมเกษตรพืชไร่พืชสวน และเปิดโอกาสในการเจรจาทางธุรกิจระดับ นานาชาติ ซึ่งจะนำมาซึ่งการต่อยอดและแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีและนวัตกรรม จากยุโรปสู่เอเชียครั้งสำคัญ และยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งปี ระหว่างวันที่ 15-17 มีนาคม 2560 ณ ไบเทค กรุงเทพฯ ในโอกาสนีท้ างผูจ้ ดั งานได้รบั เกียรติจาก นายสัตวแพทย์ ธนิตย์ เอนกวิทย์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานในพิธี รวมถึงผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ-เอกชน ทั้งในประเทศและต่างประเทศที่มา ร่วมพิธีเปิดงานกันอย่างพร้อมเพรียง

57


Around the World ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 173 มีนาคม-เมษายน 2560

งานฮอร์ติ เอเชีย 2017 จัดอย่างต่อเนื่อง เป็นครัง้ ที่ 5 ทางวีเอ็นยูฯ เล็งเห็นโอกาสทีจ่ ะพัฒนา รูปแบบการจัดงานให้เป็นงานแสดงเทคโนโลยีและ นวัตกรรมนานาชาติ โดยประกาศการร่วมทุนกับ ดีแอลจี อินเตอร์เนชัลแนล ผูจ้ ดั งานฮอร์ตเิ ทคนิกา้ สตุต๊ ดาร์ท ซึง่ เป็นผูจ้ ดั แสดงงานชัน้ นำจากเยอรมนี การรวมทุนในครัง้ นีน้ บั เป็นจุดเปลีย่ นสำคัญทีท่ ำให้ งานฮอร์ติ เอเชีย มีความเป็นสากลมากขึน้ ภายใน งานจะเต็มไปด้วยบริษัทชั้นนำมากมาย ทั้งจาก ไทย เอเชีย และยุโรป ซึง่ มีมากกว่า 127 บริษทั จาก 22 ประเทศ โดยครอบคลุมทุกการทำการเกษตร ตัง้ แต่กอ่ นการปลูก การเตรียมการ การเก็บเกีย่ ว ผลผลิต การเพาะพันธุ์-เมล็ดพันธุ์ เทคโนโลยีปุ๋ย การปรับปรุงสภาพดิน เทคโนโลยีการเพาะปลูก เก็บเกีย่ ว การควบคุมอุณหภูมิ การระบายอากาศ ไฮไลท์สำคัญคือ เทคโนโลยีโรงเรือน ที่ทางยุโรป เตรียมนำเทคโนโลยีล่าสุดมาจัดแสดงภายในงาน เกษตรกรไทยจะได้แลกเปลี่ยนความรู้ และเทคโนโลยีกบั บริษทั นานาชาติเพือ่ ประยุกต์ใช้กบั ธุรกิจ ของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภายในงานฮอร์ติ เอเชีย 2017 งานอะกริเทคนิก้า เอเชีย 2017 ซึ่งจัดขึ้น เป็นครั้งแรกในประเทศไทย และภูมิภาคเอเชีย

58

โดยการรวมทุนระหว่างดีแอลจี อินเตอร์เนชันแนล องค์กรการเกษตรแห่งเยอรมนี และวีเอ็นยูฯ เล็ง เห็นสัญญานในการเติบโตของตลาดเทคโนโลยี ด้านการเกษตรในเอเชีย ซึ่งมีแนวโน้มการลงทุน จากภูมิภาคอื่นๆ ของโลก การร่วมทุนในครั้งนี้ ช่วยดึงให้นกั ลงทุน ผูซ้ อื้ และบริษทั ชัน้ นำจากยุโรป เข้ามาเปิดตลาดในอาเซียนมากขึ้น คาดว่าจะมี บริษัทชั้นนำกว่า 89 บริษัท จาก 20 ประเทศ ไฮไลท์สำคัญ ผูช้ มงานจะพบเครือ่ งจักรและอุปกรณ์ การเกษตรครบวงจร ทั้งนวัตกรรมการเพาะปลูก ข้าวโพด ข้าว มันสำปะหลัง และอ้อย โดยกระตุน้ ให้เกิดการเชือ่ มโยงความร่วมมือทางธุรกิจระหว่าง ภูมิภาคเอเชีย และยุโรป นับเป็นแพลตฟอร์ม ธุรกิจทีท่ รงประสิทธิภาพอย่างมากในช่วงเศรษฐกิจ เช่นนี้ อีกทั้งยังตอบโจทย์นโยบายไทยแลนด์ 4.0 และเกษตรแปลงใหญ่ที่จะผลักดันเกษตรกรไทย ไปสู่ยุคเทคโนโลยีเกษตรอย่างสมบูรณ์ ทางด้าน คุณนพรัตน์ เมธาวีกุลชัย ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและ นิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือทีเส็บ ได้ให้ขอ้ มูล เกี่ยวกับผลกระทบเศรษฐกิจของอุตสาหกรรม ไมซ์ในประเทศไทยในช่วงจัดงานนิทรรศการ และ นโยบายการสนับสนุนว่า “ในปี 2560 ทีเส็บมีแผน


Around the World ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 173 มีนาคม-เมษายน 2560

ดำเนินการธุรกิจไมซ์ เพื่อสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ ของทางรัฐบาล โดยมุง่ พัฒนาประเทศอย่างมัน่ คง มั่งคั่ง และยั่งยืน โดยการผลักดันและพัฒนา ยุทธศาสตร์ชาติไมซ์ 20 ปี ชู3 แนวทางหลักคือ การสร้างรายได้ การพัฒนาประเทศด้วยนวัตกรรม และการสร้างความเจริญเพือ่ มุง่ ประโยชน์สว่ นรวม ในทุกภาคส่วนของสังคม ตั้งเป้าดันไมซ์อุตสาหกรรมหลัก พัฒนาเศรษฐกิจประเทศ กระจายความ เจริญ และรายได้สู่ทุกภูมิภาคอย่างยั่งยืน ทางทีเส็บได้เล็งเห็นความสำคัญของงาน Horti ASIA 2017 (ฮอร์ติ เอเชีย 2017) และงาน AGRITECHNICA ASIA 2017 (อะกริเทคนิก้า เอเชีย 2017) ซึ่งเป็นงานที่ผลักดันให้เกิดการ พัฒนาธุรกิจด้านเกษตรกรรม ซึง่ เป็นหนึง่ ในกลุม่ ธุรกิจหลักของประเทศไทย ทางทีเส็บได้ให้การ สนับสนุนงานผ่านทางแคมเปญต่างๆ อาทิเช่น Be my Guest ซึ่งเป็นการสนับสนุนด้านที่พัก สำหรั บ กลุ่ ม ผู้ ซื้ อ ต่ า งชาติ ที่ ส นใจมาเจรจาจั บ คู่ ธุรกิจ อีกทัง้ ยังกระตุน้ การขับเคลือ่ นทางเศรษฐกิจ ภาคเกษตรกรรมผ่านแคมเปญ Connect Businesses เพื่อเชื่อมต่อผู้ซื้อและผู้ขายภายในงาน ในปี 2560 ทางทีเส็บได้มแี คมเปญใหม่เพือ่ ดึงดูด ผู้ขายจากต่างประเทศให้มาจัดแสดงในประเทศ ไทย ผ่านทางแคมเปญ “Exhibiz in Market” แคมเปญเหล่านี้เป็นเพียงแค่สว่ นหนึง่ จากหลายๆ

กิจกรรมที่ทางทีเส็บให้การสนับสนุนงาน Horti ASIA 2017 (ฮอร์ติ เอเชีย 2017) และงาน AGRITECHNICA ASIA 2017 (อะกริเทคนิก้า เอเชีย 2017) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อผลักดันให้ ประเทศไทยเป็นผู้นำด้านเกษตรกรรมในภูมิภาค อาเซียน” ด้านนายสัตวแพทย์ ธนิตย์ เอนกวิทย์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้เกียรติ เป็นประธานเปิดงาน และให้ขอ้ มูลตลาดเศรษฐกิจ เกษตรในปัจจุบนั ว่า “กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มี น โยบายผลั ก ดั น ให้ เ กษตรกรไทยมี ค วาม สามารถในการแข่งขันในตลาดโลก และส่งเสริม ให้ผลผลิตทางการเกษตรของประเทศไทยให้เป็น ที่ ย อมรั บ ทั้ ง ในและต่ า งประเทศ ในปี 2560 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้กำหนดแนวทาง การทำเกษตรแปลงใหญ่เพื่อเพิ่มศักยภาพ และ ลดต้นทุนการผลิต การนำเทคโนโลยีที่เหมาะสม มาใช้จะช่วยให้เกษตรกรไทยสามารถเก็บเกี่ยว ผลผลิ ต ที่ มี คุ ณ ภาพและพึ่ ง พาตนเองได้ ต่ อ ไป การจัดงาน Horti ASIA 2017 (ฮอร์ติ เอเชีย 2017) และงาน AGRITECHNICA ASIA 2017 (อะกริเทคนิกา้ เอเชีย 2017) ในครัง้ นี้ จะเป็นอีก หนึ่งงานสำคัญที่ทำให้ประเทศไทยสามารถบรรลุ เป้าหมายของการเป็นศูนย์กลางการผลิตผลิตผล ทางการเกษตรเพื่อตอบสนองความต้องการใน

59


Around the World ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 173 มีนาคม-เมษายน 2560

ตลาดโลกอย่างแท้จริง และเป็นโอกาสอันดีที่จะช่วยให้เกษตรกรไทยสามารถ ได้รับรู้ถึงเทคโนโลยีและวิวัฒนาการที่ทันสมัย และนำมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนา การทำการเกษตรกรรมของตนเองต่อไป” สำหรับงานฮอร์ติ เอเชีย 2017 และงานอะกริเทคนิกา้ เอเชีย 2017 ในครัง้ นี้ มีผู้เข้าร่วมแสดงผลิตภัณฑ์และบริการ ทั้งจากประเทศไทยและต่างประเทศรวมกัน ทั้ง 2 งานถึงกว่า 216 ราย จาก 42 ประเทศทั่วโลก บนพื้นที่จัดแสดงสินค้าของ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค โดยคาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมชมงานที่เกี่ยวข้อง กับธุรกิจและอุตสาหกรรมพืชไร่พืชสวน ตลอดทั้ง 3 วัน รวมแล้วกว่า 10,000 คน นอกจากนี้ ภายในงานยังมีพาวิลเลี่ยนนานาชาติทั่วโลก จากประเทศออสเตรเลีย จีน ไทย และสหรัฐอเมริกา อีกด้วย ปีนี้เรามั่นใจอย่างยิ่งว่าจะมีผู้ที่สนใจเข้าร่วม งานมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อโลกกำลังจับตาภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อย่างใกล้ชิด นอกจากเทคโนโลยี นวัตกรรม และเครือ่ งมือต่างๆ ทีน่ ำมาจัดแสดงในงานแล้ว ทางผู้จัดฯ ร่วมกับวิทยากรชั้นนำจากทั่วโลก และบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำ จัด เตรียมงานสัมมนาที่ผู้มาชมงานสามารถเข้าร่วมได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายมากมาย อาทิ การประชุมเพื่อธุรกิจโคนม การจัดการกากอ้อยอย่างมีคุณภาพเพื่อใช้สำหรับ พลังงานทดแทน การประชุมเกีย่ วกับนโยบายการค้าและการลงทุนของเครือ่ งจักรกล การเกษตรในตลาดเอเชียแปซิฟิค ซึ่งจะอยู่ภายใต้การจัดงานอะกริเทคนิก้า เอเชีย พร้อมด้วยการประชุมสัมมนาด้านพืชสวน อาทิ การเสวนาทิศทางมะม่วงไทยเมื่อ ภูมิอากาศเปลี่ยน การสัมมนาเรื่องมุมมองอนาคตธุรกิจพืชไม่ใช้ดินในประเทศไทย การสัมมนาเพื่อพัฒนาน้ำมันมะพร้าวสู่ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ การประชุมเพื่อ วิเคราะห์สถานะ และแนวโน้มของการทำฟาร์มผักในเอเชีย และเทคนิคการทำ เกษตรอินทรีย์สำหรับพืชผัก เป็นต้น

60


Around the World ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 173 มีนาคม-เมษายน 2560

เออร์เบอร์ กรุ๊ป

วางแผนสร้างศูนย์วิจัยด้านสุขภาพสุกรแห่งใหม่ ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

เก็ทเซอร์ดอร์ฟ/ออสเตรีย, 22.03.2560 เออร์เบอร์ กรุ๊ป ประกาศแผนที่จะเปิดศูนย์วิจัย และปฏิบัติการด้านสุขภาพสุกรแห่งใหม่ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม พิธีลงนามจัดขึ้นเมื่อวันที่ 16 มีนาคม ที่ ผ่านมา ในงานนิทรรศการด้านปศุสัตว์ครบวงจร วิฟ เอเชีย 2017 ซึง่ จัดทีก่ รุงเทพฯ โดยมี ดร.อิรชิ เออร์เบอร์ ผู้ก่อตั้งบริษัทไบโอมินและเออร์เบอร์ กรุป๊ พร้อมด้วย ดร.จงรัก วัชรินทร์รตั น์ รักษาการ แทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วม ลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU)

นวัตกรรมลำดับต่อไป โดยวัตถุประสงค์ของบันทึกความเข้าใจคือ "การส่งเสริมการนำเทคโนโลยี และนวัตกรรมด้านโภชนาการสัตว์และสุขภาพสัตว์มาใช้" ในส่วนของการลงนามในข้อตกลงในการวิจัย ดร.อิริช เออร์เบอร์ กล่าวว่า “ผมรู้สึกดีใจที่กลุ่มบริษัทในเครือ เออร์เบอร์ กรุ๊ป จะร่วมมือกันอย่างแน่นแฟ้นกับ ผู้เชี่ยวชาญและคณาจารย์ชาวไทยที่ทรงคุณวุฒิและมีชื่อเสียงในด้านสุขภาพสัตว์ เพือ่ ทีจ่ ะร่วมมือกันแก้ปญ ั หาสำคัญเรือ่ งความปลอดภัยและความยัง่ ยืนด้านอาหาร” โดยในปี 2557 สภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มอบปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต กิตติมศักดิ์ (โภชนศาสตร์และเทคโนโลยีอาหารสัตว์) ให้แก่ นายอิริช เออร์เบอร์ เพื่อเป็นเกียรติคุณจากความสำเร็จและคุโณปการต่อวงการปศุสัตว์ตลอดช่วงชีวิต การทำงาน

61


Around the World ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 173 มีนาคม-เมษายน 2560

เครดิตภาพ: @BIOMIN

ศูนย์วิจัยแห่งใหม่ โครงการวิจัยนี้ประกอบด้วยศูนย์วิจัยใหม่ขนาด 2300 ตารางเมตร ที่ออกแบบโดย ผู้เชี่ยวชาญด้านสุกร นายสัตวแพทย์เฟอร์รี่ เอนเทนเฟลล์เนอร์ (Ferry Entenfellner) ร่วมกับ ดร.ไค เกรธโวธ์ล (Dr. Kai Grathwohl) ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและพัฒนา และ ฝ่ายพัฒนาธุรกิจบริษัทซานฟาร์ (SANPHAR) โดยการก่อสร้างจะเริ่มในปี พ.ศ. 2560 โดยศูนย์วิจัยแห่งนี้จะเป็นแห่งแรกในเอเชีย นอกจากจีน และเกาหลี ที่มีสิ่งอำนวย ความสะดวกสุดล้ำสมัย ติดตั้งระบบฆ่าเชื้อโรคและระบบระบายอากาศขั้นสูง (HEPA Filter) การวิจัยจะมุ่งเน้นในด้านความปลอดภัยทางชีวภาพและการพัฒนาเทคโนโลยีที่ เป็นนวัตกรรมในด้านสุขภาพสัตว์ คุณปิยาภา เออร์เบอร์ กรรมการผู้จัดการบริษัท ไบโอมิน (ประเทศไทย) และ ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์กล่าวว่า “ดิฉันให้ความสำคัญต่อการศึกษารวมถึง ประสบการณ์ที่ได้รับในระหว่างการศึกษา และดิฉันรู้สึกเป็นเกียรติที่สามารถให้การ สนับสนุนมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์อีกครั้งหนึ่ง"

62




Around the World ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 173 มีนาคม-เมษายน 2560

เอกสารวิชาการ เรื่อง

การศึกษาเปรียบเทียบระหว่างการให้ยาทิลมิโคซิน (Tilmicosin) อม็อกซิซิลลิน (Amoxicillin) และอาหารเสริมต่อคุณลักษณะของไก่เนื้อ Comparative study between using tilmicosin with amoxicillin and feed supplement on broiler performance ๏ ศศิ เจริญพจน์ (Sasi Jaroenpoj) 1* สมศักดิ์ ภัคภิญโญ (Somsak Pakpinyo) 2 ๏

บทคัดย่อ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบสมรรถนะการผลิตไก่เนื้อ โดยทำการเปรียบเทียบ จำนวนร้อยละของไก่มชี วี ติ น้ำหนักตัวไก่เฉลีย่ อัตราการแลกเนือ้ และร้อยละทีพ่ บซีอาร์ดี ว่าการให้ยา ทิลมิโคซินในช่วงอายุ 3 วันแรก และอม็อกซิซลิ ลินในช่วงอายุ 24 - 26 วัน มีผลต่อการป่วย การตาย การเติบโตของไก่เนื้อ และการคัดซากทิ้งที่โรงฆ่าหรือไม่อย่างไร เทียบกับกลุ่มที่ไม่ให้ยา แต่มีการให้ อาหารเสริมโปรตีนที่ได้จากมันฝรั่งหมักในช่วงอายุ 1 - 14 วัน และกลุ่มการเลี้ยงปกติของฟาร์มที่มี การให้สารสกัดจากกระเทียมและน้ำมันหอมระเหย (essential oil) โดยไก่เป็นชุดเดียวกัน เลี้ยงใน ฟาร์มที่มีการจัดการเดียวกัน ทำวัคซีนป้องกันโรคหลอดลมอักเสบติดต่อ นิวคาสเซิล และกัมโบโร ที่โรงฟัก และที่ฟาร์ม ผลการศึกษาพบว่า ลูกไก่อายุ 1 วัน พบสารพันธุกรรมของเชื้อเอ็มจีโดยไม่พบ รอยโรคอื่นๆ ไก่อายุ 28 และ 37 วัน พบการตอบสนองของแอนติบอดีต่อวัคซีนทุกชนิด ค่าเฉลี่ย คะแนนรอยโรคของถุงลมไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ ค่าเฉลี่ยคะแนนรอยโรคของท่อลม พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ (p < 0.05) ทั้งในไก่อายุ 28 และ 37 วัน โดยไก่อายุ 28 วันที่ มีการให้ยามีคะแนนรอยโรคสูงทีส่ ดุ และพบความแตกต่างกับกลุม่ ทีใ่ ห้อาหารเสริมโปรตีน และกลุม่ ที่ได้รับสารสกัดจากกระเทียมและน้ำมันหอมระเหย สำหรับไก่อายุ 37 วัน กลุ่มที่ได้รับอาหารเสริม โปรตีนจากการหมักมันฝรั่ง และกลุ่มที่ได้รับยามีค่าคะแนนรอยโรคสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับสารสกัดจาก กระเทียมและน้ำมันหอมระเหยและพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ สำหรับคุณลักษณะไก่เนื้อที่ อายุ 40 - 42 วัน กลุม่ ทีใ่ ห้ยามีแนวโน้มคุณลักษณะดีทสี่ ดุ ตามมาด้วยกลุม่ ทีไ่ ด้รบั สารสกัดจากกระเทียม ร่วมกับน้ำมันหอมระเหย และกลุ่มที่ให้อาหารเสริมโปรตีนที่ได้จากมันฝรั่งหมักตามลำดับ แต่ไม่พบ ความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P > 0.05) คำสำคัญ: ไก่ คุณลักษณะของไก่เนือ้ น้ำมันหอมระเหย ทิลมิโคซิน อม็อกซิซลิ ลิน สารสกัดจากกระเทียม อาหารเสริม กองควบคุมอาหารและยาสัตว์ กรมปศุสัตว์ 91 หมู่ ที่ 4 ถนนติวานนท์ บางกะดี เมือง ปทุมธานี 12000 Division of Animal Feed and Veterinary Products Control,Department of Livestock Development, Tiwanon Road, Bangkradee, Muang, Prathumthanee, 12000 2 คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กทม. 10330 Faculty of Veterinary Science, Chulalongkorn University, Pathumwan, Bangkok, 10330 * ผู้รับผิดชอบ โทรศัพท์ 0-2159-0406-7, E-mail: dld.amric@gmail.com Corresponding author Tel: 0-2159-0406-7, E-mail: dld.amric@gmail.com 1

63


Around the World ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 173 มีนาคม-เมษายน 2560

Abstract The study was aimed to compare the production performance of broilers by % live birds, average weight, FCR and % CRD. This study was conducted to compare group receiving tilmicosin during 1 - 3 days old followed by amoxicillin during 24 - 26 days old, group receiving the fermented potato protein from during 1 - 14 days old and group receiving the garlic extract and essential oil during the broiler raising. All houses were located in the same farm,evaporative cooling system and had same standard management. All birds were vaccinated with Infectious Bronchitis, Newcastle and Infectious Bursal disease at the hatchery and farm.The results showed that 1 day old broilers had DNA of MG without any remarkable lesion. At 28 and 37 days old, the antibody responses against all vaccines were detected; the mean lesion scores of thoracic airsac were not significant difference; the mean lesion scores of trachea of both 28 and 37 days old were significant difference (p < 0.05) as follow. At 28 days old, group receiving tilmicosin and amoxicillin had the highest score and significant difference with groups receiving protein supplement and group receiving the garlic extract with essential oil; at 37 days old group receiving protein supplement and group receiving tilmicosin with amoxicillin had the higher score and significant difference with group receiving the garlic extract with essential oil. At 40 - 42 days old, group receiving tilmicosin with amoxicillin showed the best broiler performance and followed by groups receiving protein supplement and group receiving the garlic supplement with essential oil, respectively (P > 0.05). Keywords: broilers, performance, essential oil, tilmicosin, amoxicillin garlic extract, feed supplement

บทนำ จากปัญหาเชื้อดื้อยาที่มีความสำคัญมากขี้นทั้งในคนและสัตว์ และนโยบายภาครัฐต้องการให้ มีการใช้ยาอย่างสมเหตุผล คือใช้ยาโดยมีข้อบ่งชี้ มีประสิทธิผลจริง สนับสนุนประโยชน์ทางคลินิก เหนือกว่าความเสี่ยงจากการใช้ยาอย่างชัดเจน โดยคำนึงถึงปัญหาเชื้อดื้อยา เพื่อลดการใช้ยาเกินความ จำเป็น การเลี้ยงสัตว์ในบางกรณียังมีการใช้ยาเพื่อควบคุมป้องกันโรค ถูกตั้งคำถามถึงความเหมาะสม และความจำเป็ น ของการให้ ย าในลั ก ษณะดั ง กล่ า ว สำหรั บ การเลี้ ย งไก่ เ นื้ อ จะมี ก ารให้ วั ค ซี น เป็ น โปรแกรมตั้งแต่ลูกไก่อยู่ที่โรงฟักด้วยการพ่นวัคซีนเพื่อป้องกันโรคนิวคาสเซิล (Newcastle disease) และโรคหลอดลมอักเสบติดต่อ (Infectious bronchitis) แต่หากลูกไก่แรกฟักออกมานั้นไม่แข็งแรง หรือได้รับเชื้อ Mycoplasma gallisepticum หรือ Mycoplasma synoviae ทำให้ลูกไก่มีโอกาสแพ้ วัคซีนง่ายและรุนแรงขึ้น ปัญหาสุขภาพดังกล่าวอาจส่งผลต่อคุณลักษณะของไก่เนื้อได้

64


Around the World ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 173 มีนาคม-เมษายน 2560

โรคติดเชื้อมัยโคพลาสมา กัลลิเซพติกุม หรือเอ็มจี (Mycoplasma gallisepticum หรือ MG) เป็นโรคติดเชือ้ ของระบบทางเดินหายใจของสัตว์ปกี ซึง่ มักพบแบบเรือ้ รัง รอยโรคทีพ่ บได้บอ่ ย คือ ถุงลม อักเสบเรียกว่า Chronic respiratory disease (CRD) (Raviv and Ley, 2014) การติดต่อของโรคเกิดได้ 2 ทาง คือ แพร่เชื้อจากไก่ป่วยไปยังไก่ตัวอื่น (horizontal transmission) และแพร่เชื้อผ่านไข่ (vertical transmission) (Glisson and Kleven 1984.) ทำให้ลูกไก่แรกเกิดได้รับเชื้อเอ็มจี ไม่แข็งแรง และมี เปอร์เซ็นต์ตายสูง อาการป่วยทีพ่ บคือ จาม ไอ ตาแฉะ เยือ่ ตาขาวอักเสบ น้ำมูก (Raviv and Ley, 2014) หากพบว่าแม่ไก่ที่ติดเชื้อแล้วแพร่ผ่านไข่มาสู่ลูกไก่ ลูกไก่ที่ติดเชื้อมัยโคพลาสมามามีโอกาสง่ายในการ แพ้วัคซีน (Smits et al., 1976) รุนแรงยาวนานกว่าปกติ ไก่โตช้า ป่วยและอาจตายได้ และเป็นปัญหา เรือ้ รังของไก่ฝงู นีต้ ลอดการเลีย้ ง การให้วคั ซีนป้องกันโรคอืน่ ๆ ก็ไม่ได้ผลเท่าทีค่ วร ค่าอัตราการแลกเนือ้ (feed conversion rate: FCR) สูงขึ้น อัตราการคัดทิ้งที่โรงเชือด (condemnation) สูงขึ้น (Vardaman et al., 1973) เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจตามมา (Raviv and Ley, 2014) การเลีย้ งอาจมีการให้ยา ต้านมัยโคพลาสมาในช่วงอายุ 3 - 5 วันแรก เพือ่ เป็นการป้องกัน หรือลด หรือทำลายเชือ้ มัยโคพลาสมา ที่ลูกไก่อาจติดมาจากแม่ กลุ่มยาที่ใช้สำหรับต้านมัยโคพลาสมาในไก่ ได้แก่ กลุ่ม tetracyclines เช่น doxycycline เป็นต้น กลุ่ม macrolides เช่น tilmicosin เป็นต้น กลุ่ม fluoroquinolones เช่น enrofloxacin เป็นต้น กลุ่ม lincosamides เช่น lincomycin เป็นต้น กลุ่ม pleuromutilins เช่น tiamulin เป็นต้น กลุ่มยาดังกล่าวอนุญาตให้ใช้ได้ยกเว้นยา enrofloxacin ซึ่งประเทศสหรัฐอเมริกาได้ยกเลิก ทะเบียนการใช้ในรูปแบบละลายน้ำในสัตว์ปกี และห้ามใช้นอกเหนือจากข้อบ่งใช้ในฉลาก (extra labeled use) เนื่องจากผลการวิเคราะห์ความเสี่ยงพบว่า การใช้ยาดังกล่าวทำให้เกิดการคัดเลือกเชื้อดื้อยา fluoroquinolone - resistant Campylobacter species ในสัตว์ปีก และพบความเสี่ยงในผู้ป่วยจากการ ติดเชือ้ ดือ้ ยาดังกล่าวเพิม่ มากขึน้ หลังการอนุมตั ใิ ห้ใช้ยานีใ้ นสัตว์ปกี ในสหรัฐอเมริกา (Final decision of the commissioner. 2005) สำหรับยาในกลุ่มอื่นอยู่ในกลุ่มที่มีการนำมาใช้ในมนุษย์ด้วย ยกเว้น tilmicosin เป็นยาซึง่ มีทะเบียนเฉพาะในสัตว์ ยังไม่มกี ารนำมาใช้ในมนุษย์ (WHO Advisory Group on Integrated Surveillance of Antimicrobial Resistance (AGISAR)) 2013. จึงนำมาใช้ในการศึกษาครัง้ นี้ สำหรับ tiamulin แม้จะยังไม่มีการนำมาใช้ในมนุษย์ แต่หากให้ยาในขนาดตั้งแต่ 50 ppm ขึ้นไป ร่วมกับยาควบคุมบิดในกลุ่ม ionophore เช่น salinomycin พบความเป็นพิษต่อตัวสัตว์ปีก (Stipkovits et al., 1992) ทั้งนี้ยาทุกชนิดที่จะนำมาใช้สำหรับสัตว์เพื่อการบริโภคได้ต้องมีการกำหนดระยะหยุดยาเพื่อ ป้องกันการตกค้างของยาในผลิตภัณฑ์ที่จะนำมาบริโภคซึ่งอาจมีผลเหนี่ยวนำให้เชื้อจุลชีพในลำไส้ คนปกติดื้อยาได้

65


Around the World ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 173 มีนาคม-เมษายน 2560

สำหรับ amoxicillin เป็นยาปฏิชีวนะออกฤทธิ์กว้างที่นิยมนำมาใช้เพื่อควบคุมโรคในระบบ ทางเดินอาหารและทางเดินหายใจของสัตว์ปีก การให้ยาเพื่อควบคุมโรคในสัตว์อาจถ่ายทอดการดื้อยา ไปยังเชือ้ จุลชีพทีเ่ ป็นสาเหตุการเกิดโรคในคน จึงมีความพยายามทีจ่ ะใช้ยาต้านจุลชีพเท่าทีจ่ ำเป็นในสัตว์ เพื่อการบริโภค ซึ่งฟาร์มบางแห่งอาจยังมีการให้ยาเพื่อควบคุมโรค

หลักการและเหตุผล โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพการผลิตไก่เนื้อ ในกลุ่มที่มี การให้ยา 2 ชนิดในการเลี้ยงด้วยยาต้านมัยโคพลาสมากลุ่ม macrolide คือ ทิลมิโคซิน (tilmicosin) ให้ในช่วงอายุ 3 วันแรก และอม็อกซิซิลลิน (amoxicillin) ในช่วงอายุ 24 - 26 วัน เพื่อควบคุมโรค (metaphylaxis) แทรกซ้อนกลุ่มอาการ Complex chronic respiratory disease (CCRD) ซึ่งเกิดจาก การติดเชื้อ Mycoplasma ร่วมกับเชื้อ E. coli มีประโยชน์ต่อการควบคุมการป่วย การตาย การเติบโต ของไก่เนื้อ และการคัดซากทิ้งที่โรงฆ่าหรือไม่อย่างไร เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่ให้ยา แต่มีการให้อาหาร เสริมโปรตีนที่ได้จากการหมักมันฝรั่ง (fermented potato protein) โดยที่มีการอ้างอิงจากการทดลอง ของผูผ้ ลิตว่าสามารถช่วยด้านอัตราการแลกเนือ้ และการเจริญเติบโตให้ดขี นึ้ โดยให้ไก่กนิ ช่วงอายุ 1 - 14 วัน และกลุม่ การเลีย้ งปกติเดิมทีม่ กี ารให้สารสกัดจากกระเทียมร่วมกับน้ำมันหอมระเหย (essential oil) ที่มีการใช้อยู่แล้วในฟาร์ม ณ เวลานั้น โดยคุณลักษณะของไก่เนื้อในโครงการวิจัยนี้จะเปรียบเทียบจาก การประเมินคะแนนรอยโรคถุงลมช่องอก ซึง่ สังเกตด้วยตาเปล่าและท่อลม ซึง่ สังเกตจากจุลพยาธิวทิ ยา จากการสุ่มไก่มาผ่าซากที่โรงฆ่า ประเมินในด้านร้อยละของไก่ที่มีชีวิต น้ำหนักตัวไก่เฉลี่ย อัตราการ แลกเนื้อ และร้อยละที่พบซีอาร์ดี และมีการตรวจวัดระดับแอนติบอดีต่อโรคนิวคาสเซิล (Newcastle disease) โรคหลอดลมอักเสบติดต่อ (infectious bronchitis) และโรคกัมโบโร (infectiousbursal disease)

อุปกรณ์และวิธีการ 1. จัดเตรียมไก่เนื้ออายุ 1 วัน จำนวน 135,000 ตัว ไก่เนื้อที่จัดเตรียมต้องมาจากฝูงพ่อแม่พันธุ์เดียวกันที่มีสุขภาพดี ที่ได้รับวัคซีนเชื้อเป็น นิวคาสเซิล (B1) และหลอดลมอักเสบติดต่อ (H120) ด้วยวิธีพ่นละอองและวัคซีนเชื้อตายนิวคาสเซิล เวคเตอร์วคั ซีน และกัมโบโร ด้วยการฉีดเข้าใต้ผวิ หนังทีโ่ รงฟัก จากนัน้ ลูกไก่จากโรงฟักจะถูกนำมาเลีย้ ง ในโรงเรือนจำนวน 9 โรงเรือนๆ ละประมาณ 15,000 ตัว รวมทัง้ สิน้ ประมาณ 135,000 ตัว โดยมีหมายเลข โรงเรือน 28 - 33 เป็นไก่เพศผู้ (รวม 6 โรงเรือน) และหมายเลขโรงเรือน 19 - 21 เป็นไก่เพศเมีย (รวม 3 โรงเรือน) โดยแบ่งโรงเรือนเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

66


Around the World ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 173 มีนาคม-เมษายน 2560

กลุ่มที่ 1 โรงเรือนหมายเลข 20, 28 และ 31 กลุม่ ที่ 2 โรงเรือนหมายเลข 21, 29 และ 32 กลุม่ ที่ 3 โรงเรือนหมายเลข 19, 30 และ 33 แต่ละโรงเรือนต้องมีระบบการให้น้ำและอาหารแบบเดียวกัน โดยให้ไก่กินอย่างอิสระ เป็น โรงเรือนระบบปิด (evaporative cooling system) ที่มีระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน 2. ชั่งน้ำหนักไก่อายุ 1 วัน ประเมินรอยโรคถุงลมช่องอกด้วยตาเปล่า และ swab ป้ายเชื้อที่ ถุงไข่แดงตรวจหาสารพันธุกรรมมัยโคพลาสมา ทำการสุม่ ชัง่ น้ำหนักไก่อายุ 1 วัน โรงเรือนละ 800 ตัว รวม 7,200 ตัว เพือ่ หาค่าเฉลีย่ เริม่ ต้น ของน้ำหนักไก่ หลังจากนั้นทำการสุ่มไก่จำนวน 30 ตัว/เล้า เฉพาะเล้าหมายเลข 20, 21 และ 19 และทำการุณยฆาตเพือ่ ผ่าซากประเมินรอยโรคถุงลมช่องอก สังเกตด้วยตาเปล่าตามวิธกี ารของ Kleven et al. (1972) และใช้ cotton swab ป้ายเชื้อที่ถุงไข่แดงของไก่แต่ละตัว จากนั้นจุ่มในอาหารเลี้ยงเชื้อ มัยโคพลาสมา โดยรวมตัวอย่างทีป่ า้ ยเชือ้ จากไก่ 3 ตัว เป็น 1 ตัวอย่าง รวมเป็น 10 ตัวอย่าง เพือ่ ตรวจ หาสารพันธุกรรมของมัยโคพลาสมา กัลลิเซพติกมุ หรือเอ็มจี (Mycoplasma gallisepticum หรือ MG) และมัยโคพลาสมา ซิโนวิอี (Mycoplasma synoviae หรือ MS) ด้วยวิธีพีซีอาร์ ดังนี้ กลุ่มที่ 1 โรงเรือนหมายเลข 20, 28 และ 31 ให้ยา tilmicosin ขนาด 15 mg/kg ผสมน้ำ กินทั้งวัน เป็นเวลา 3 วัน (อายุ 1 - 3 วัน) และให้ยาอม็อกซิซิลลิน (amoxicillin) ขนาด 20 mg/kg ผสมน้ำกินทั้งวัน เป็นเวลา 3 วัน (อายุ 24, 25 และ 26 วัน) กลุ่มที่ 2 โรงเรือนหมายเลข 21, 29 และ 32 ให้อาหารเสริมโปรตีน (Lianol® Solution) ตามเอกสารของบริษัทผู้ผลิตอ้างว่าเป็นสารตั้งต้นในการเผาผลาญ (prometabolic regulator) ให้มี ประสิทธิภาพเพือ่ ทำให้ไก่เนือ้ มีคณ ุ ลักษณะทีด่ ี และอาจช่วยให้ตบั ทำงานได้มปี ระสิทธิภาพ โดยใช้ขนาด 1 ml/10 kg ผสมน้ำกิน (กินให้หมดภายใน 4 ชั่วโมง) เป็นเวลา 14 วัน (อายุ 1 - 14 วัน) กลุ่มที่ 3 โรงเรือนหมายเลข 19, 30 และ 33 เป็นกลุ่มควบคุม ไม่ให้ยาและไม่ให้อาหารเสริม โปรตีน ซึ่งฟาร์มดังกล่าวมีการให้ผลิตภัณฑ์สารสกัดจากกระเทียม (Garlicon®) ตามเอกสารของ บริษัทผู้ผลิตอ้างว่า อาจช่วยกระตุ้นความอยากอาหารและกระตุ้นการย่อยอาหาร และ essential oil (Mentofin®) ได้จากพืชยูคาลิปตัส (Eucalyptus) เปปเปอร์มนิ ท์ (Peppermint) ตามเอกสารของบริษทั ผูผ้ ลิตอ้างว่า อาจช่วยป้องกันการแพ้วคั ซีนและปัญหาทางเดินหายใจ โดยมีวธิ กี ารให้ทอี่ ายุตา่ งๆ เป็นเวลา 38 วัน (ตารางที่ 1) เลี้ยงไก่ตามมาตรฐานของฟาร์มจนกระทั่งอายุ 7 วัน ให้วัคซีนนิวคาสเซิล (La Sota Clone 30) เชื้อเป็นด้วยการสเปรย์ และที่ไก่อายุ 14 วัน ให้วัคซีนกัมโบโร (Intermediate plus) เชื้อเป็นด้วย การละลายน้ำกิน

67


Around the World ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 173 มีนาคม-เมษายน 2560

ตารางที่ 1 : แสดงปริมาตรของ Garlicon® และ Mentofin® ที่ผสมในน้ำที่ให้ไก่กินต่อ 1,000 ลิตร ที่ไก่อายุต่างๆ อายุ (วัน) Garlicon® (มล.) Mentofin® (มล.) 1-5 60 9-11 60 150 15-17 120 18-21 150 22-24 120 25-28 150 29-31 180 32-35 150 36-38 180

3. เจาะเลือดจำนวน 2 ครัง้ ในวันทีไ่ ก่อายุ 28 วัน และ 37 วันตรวจหาระดับแอนติบอดี และ ประเมินรอยโรคถุงลมช่องอกด้วยตาเปล่า และเก็บท่อลมแช่ในฟอร์มาลิน ประเมินรอยโรคทาง จุลชีววิทยา 3.1 ทำการสุม่ ไก่เพือ่ เจาะเลือดจากเส้นเลือดดำทีป่ กี (brachial vein) จำนวน 30 ตัว/โรงเรือน เฉพาะโรงเรือนหมายเลข 19, 20 และ 21 เพื่อตรวจสอบ 1. ตรวจหาระดับแอนติบอดีตอ่ โรคนิวคาสเซิลด้วยวิธเี อชไอ (hemagglutination inhibition: HI) ใช้วิธีการตรวจหาระดับแอนติบอดีต่อโรคนิวคาสเซิลตามวิธีการของ Hsuing (1982) 2. ตรวจหาระดับแอนติบอดีต่อโรคหลอดลมอักเสบติดต่อและ โรคกัมโบโรด้วยวิธีอีไลซา (ELISA) โดยใช้ชุดทดสอบสำเร็จรูปของ ProFLOK IBD หรือ IBV ของ Synbiotic Corporation, San Diego, CA. นำซีรัมที่เก็บไว้ที่อุณหภูมิ -20  ํซ มาละลายที่อุณหภูมิห้อง จากนั้นดำเนินการตาม วิธีการของชุดทดสอบโดยมีวิธีการอย่างย่อ คือทำการเจือจางซีรัม จากนั้นนำไปใส่เพลท (plate) ชุดทดสอบทีม่ กี ารเคลือบด้วยแอนติเจนของกัมโบโร (IBD) หรือหลอดลมอักเสบติดต่อ (IBV) และล้าง ปฏิกริ ยิ าส่วนเกินออก จากนัน้ จึงเติมคอนจูเกต (goat anti-chicken IgG (H+L) peroxidase conjugate) ตั้งทิ้งไว้เป็นเวลา 30 นาที ล้างคอนจูเกตส่วนเกินออก เติมซับสเตรต (substrate) ตั้งทิ้งไว้เป็นเวลา 15 นาที จึงเติมสารหยุดปฏิกริ ยิ า (stop solution) แล้วนำเพลทไปอ่านทีเ่ ครือ่ งอ่านทีค่ วามยาวคลืน่ แสง 405 - 410 นาโนเมตร ทุกขั้นตอนดำเนินการที่อุณหภูมิห้อง การแปลผลระดับแอนติบอดีที่ให้ผลบวก ต่อโรคกัมโบโรต้องเท่ากับ หรือสูงกว่า 554 3.2 ทำการสุ่มไก่จำนวน 10 ตัว/โรงเรือน เฉพาะโรงเรือนหมายเลข 19, 20 และ 21 และ ทำการุณยฆาตเพื่อผ่าซากประเมินรอยโรคถุงลมช่องอก สังเกตด้วยตาเปล่า และเก็บท่อลมแช่ใน ฟอร์มาลินเข้มข้น 10% เพื่อประเมินรอยโรคทางจุลพยาธิวิทยาตามวิธีการของ Kleven et al. (1972) และ Yagihashi and Tajima (1986) ตามลำดับ โดยที่ผู้ประเมินรอยโรคนั้นจะไม่ทราบกลุ่มไก่ก่อน การประเมิน (blind evaluation)

68


Around the World ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 173 มีนาคม-เมษายน 2560

4. ป้ายเชื้อที่ร่องเพดานปากด้านบน (choanal cleft) ตรวจหาสารพันธุกรรมมัยโคพลาสมา ไก่ที่อายุ 37 วัน ทำการสุ่มไก่จำนวน 30 ตัว ใช้ cotton swab ป้ายเชื้อที่ร่องเพดานปากด้านบน (choanal cleft) จากนั้นจุ่มในอาหารเลี้ยงเชื้อมัยโคพลาสมา โดยรวมตัวอย่างที่ป้ายเชื้อจากไก่ 3 ตัว เป็น 1 ตัวอย่าง รวมเป็น 10 ตัวอย่าง เพื่อตรวจหาสารพันธุกรรมของ Mycoplasma gallisepticum และ M. synoviae ด้วยวิธี พีซีอาร์ การตรวจหาสารพันธุกรรมทำโดยการใช้กา้ นสำลีทปี่ า้ ยเชือ้ แล้วนำมาจุม่ ในอาหารเลีย้ งเชือ้ เหลว (Frey’s broth) นำมาสกัดหาสารพันธุกรรมตามวิธดี ำเนินการของ Lauerman (1998) ซึง่ มีวธิ กี ารอย่างย่อๆ คือ นำมาต้มที่ 100 องศาเซลเซียส (  Cํ ) เวลา 10 นาที หลังจากนัน้ เก็บที่ -20 องศาเซลเซียส (  Cํ ) เวลา 10 นาที และนำมาปั่นด้วยความเร็วรอบ 15,000 x g เวลา 5 นาที เก็บรักษาที่ -20 องศาเซลเซียส (  Cํ ) จนกว่าจะนำมาใช้ ส่วนขัน้ ตอนการเตรียมผสม PCR ซึง่ มีปริมาตรทัง้ หมด 50 µl ประกอบด้วย KCl 500 mM, Tris-HCl (pH 8.3) 100 mM, MgCl22.5 mM, dNTP (Fermentas) 1 mM, primerMG13 F (5’GAGCTAATCTGTAAAGTTGGTC3’) และ primer MG14 R (5’GCTTCCTTGCGGTTAGCAAC3’) (Qiagen) ชนิดละ 10 pmole, Taq polymerase (Fermentas) 1.25 units และสารพันธุกรรมที่สกัด ได้ปริมาตร 5 µl ซึ่งมีปริมาณสารพันธุกรรมประมาณ 250 ng ซึ่งทุกครั้งที่เตรียมปฏิกิริยาพีซีอาร์ จะมีเชื้อเอ็มจี เสตรน S6 (ATCC - 15302) เป็นตัวควบคุมบวก และเชื้อเอ็มเอสเสตรน WVU 1853 (ATCC - 25204) เป็นตัวควบคุมลบ จากนั้นนำมาเพิ่มจำนวนสารพันธุกรรมด้วยเครื่อง DNA thermal cycler (PCR Sprint, Thermo Electron Corporation, Milford, MA) ซึ่งมีปฏิกิริยาดังนี้คือ 94  ํซ เวลา 30 วินาที 55 องศาเซลเซียส (  ํC) เวลา 30 วินาที และ 72 องศาเซลเซียส (  ํC) เวลา 60 วินาที จำนวน 40 รอบ และตามด้วย 72 องศาเซลเซียส (  Cํ ) เวลา 5 นาที ซึง่ ผลิตภัณฑ์ชนิ้ ส่วนทีไ่ ด้คอื 185 base pairs จากนั้นนำมาแยกด้วยกระแสไฟฟ้า (electrophoresis) ใน 2% agarose (Pharmacia Biotech AB, Uppsala, Sweden) ย้อมด้วย ethidium bromide และดูผลโดยใช้เครื่องมองภาพผ่าน แสงยูวี (UV transilluminator) และบันทึกภาพสำหรับการตรวจหาสารพันธุกรรมต่อเชื้อเอ็มเอสนั้น มีหลักการเช่นเดียวกับของเชื้อเอ็มจีทุกขั้นตอนแตกต่างกันที่ primersที่ใช้ primers ของสารพันธุกรรม เอ็มเอส คือ primer MSL - 1 F (5'-GAGAAGCAAAATAGTGATATCA-3') และ primer MSL-2 R (5'-CAGTCGTCTCCGAAGTTAACAA-3')(Qiagen) และจะมีเชื้อเชื้อเอ็มเอสเสตรน WVU 1853 (ATCC-25204) เป็นตัวควบคุมบวก และเชือ้ เอ็มจี เสตรน S6 (ATCC-15302) เป็นตัวควบคุมลบแทน ซึ่งผลิตภัณฑ์ชิ้นส่วนที่ได้คือ 207 คู่เบส 5. ให้คะแนนรอยโรคของถุงลมช่องอกและท่อลม 5.1 ให้คะแนนรอยโรคของถุงลมช่องอกทางมหพยาธิวิทยา คะแนนรอยโรคของถุงลมช่องอกทางพยาธิวิทยาดำเนินการตามวิธีของ Kleven และ คณะ (1972) โดยมีคะแนนรอยโรคดังนี้

69


Around the World ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 173 มีนาคม-เมษายน 2560

0 ไม่พบการเปลี่ยนแปลงของรอยโรคที่สังเกตได้ 1 เยื่อถุงลมขุ่นเล็กน้อย 2 เยื่อถุงลมหนาตัวขึ้นและมีหนองคลุมเล็กน้อย 3 เยื่อถุงลมหนาตัวชัดเจนและมีหนองคลุมมากโดยพบรอยโรคเพียง 1 ถุง 4 รอยโรคเช่นเดียวกับข้อ 3 พบรอยโรคมากกว่า 1 ถุง

คะแนนรอยโรคของถุงลมไก่แต่ละตัวพิจารณาจากผลรวมของคะแนนรอยโรคถุงลมข้าง ซ้ายและขวา โดยผลรวมของคะแนนรอยโรคของถุงลมไก่แต่ละตัวมากสุดคือ 8 5.2 การให้คะแนนรอยโรคของท่อลมทางจุลพยาธิวิทยา ทำการตรึงสภาพชิ้นเนื้อท่อลมของไก่แต่ละตัวในสารละลายบัฟเฟอร์ฟอร์มาลินที่มีความ เข้มข้น 10% เป็นเวลา 24 ชั่วโมง แล้วนำไปผ่านขบวนการเตรียมเนื้อเยื่อ (tissue processing) ทำการตัดชิ้นเนื้อท่อลมของไก่แต่ละตัวตามตำแหน่งต่างๆ ออกเป็น 4 ชิ้น เพื่อศึกษารอยโรคทาง จุลพยาธิวิทยาโดยการย้อมด้วยสีฮีมาท๊อกซีลิน และอิโอซิน(hematoxylin and eosin; H & E) นำไป ตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ ให้คะแนนรอยโรคทางจุลพยาธิของท่อลมด้วยหลักการให้คะแนนตามวิธี ของ Yagihashi และ Tajima (1986) ดังนี้ 0 ไม่พบการเปลี่ยนแปลงของรอยโรคที่สังเกตได้ 1 พบการรวมกลุ่มของเม็ดเลือดขาวโดยเฉพาะลิมโฟซัยท์ปริมาณเล็กน้อย 2 เยื่อบุท่อลมหนาตัวขึ้นและมีการแทรกของเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดต่างๆ พบการบวม น้ำและเยื่อบุมีการเสื่อมสลายและตาย 3 เยื่อบุท่อลมหนาตัวชัดเจนและพบได้หลายบริเวณ คะแนนรอยโรคของท่อลมไก่แต่ละตัวทางจุลพยาธิวิทยาพิจารณาจากผลรวมของคะแนน รอยโรคของชิน้ เนือ้ ท่อลมทัง้ 4 ชิน้ โดยผลรวมของคะแนนรอยโรคของท่อลมไก่แต่ละตัวมากสุดคือ 12 6. ประเมินปริมาณอาหารที่ไก่กิน น้ำหนักไก่และคุณลักษณะไก่ที่อายุ 40 - 42 วัน 6.1 สำหรับไก่เพศผู้ บันทึกปริมาณอาหารที่ไก่กินตั้งแต่อายุ 1 - 40 วัน แล้วชั่งน้ำหนักไก่ โดยรวม ณ โรงฆ่าที่อายุ 40 วัน 6.2 สำหรับไก่เพศเมีย บันทึกปริมาณอาหารที่ไก่กินตั้งแต่อายุ 1 - 42 วัน แล้วชั่งน้ำหนักไก่ โดยรวม ณ โรงฆ่าที่อายุ 42 วัน 6.3 ประเมินคุณลักษณะของไก่เนื้อในด้านร้อยละของไก่ที่มีชีวิต น้ำหนักตัวไก่เฉลี่ย อัตรา การแลกเนื้อและร้อยละที่พบซีอาร์ดี

70


Around the World ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 173 มีนาคม-เมษายน 2560

7. การวิเคราะห์ทางสถิติ คะแนนเฉลี่ยรอยโรคของถุงลมช่องอกประเมินด้วยตาเปล่า คะแนนของท่อลมที่ประเมินทาง จุลพยาธิวิทยา และร้อยละที่พบซีอาร์ดี วิเคราะห์ทางสถิติด้วย non-parametric test และวิเคราะห์ ความแตกต่างด้วย Mann-Whitney test ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% สำหรับร้อยละของไก่ที่มีชีวิต น้ำหนักตัวไก่เฉลีย่ และอัตราการแลกเนือ้ วิเคราะห์ทางสถิตดิ ว้ ย analysis of variance (ANOVA) ทีร่ ะดับ ความเชื่อมั่น 95%

ผลการศึกษา ผลการศึกษาครั้งนี้พบว่า 1. ผลการประเมินรอยโรค ลูกไก่ที่อายุ 1 วัน ไม่พบรอยโรคใดๆ ที่ถุงลม รวมถึงที่อวัยวะอื่นๆ ที่สังเกตด้วยตาเปล่า 2. ผลเจาะเลือดหาระดับแอนติบอดีและประเมินรอยโรคไก่ พบว่า 2.1 ผลเจาะเลือดจำนวน 2 ครัง้ ในวันทีไ่ ก่อายุ 28 วัน และ 37 วันตรวจหาระดับแอนติบอดี และประเมินรอยโรคถุงลมช่องอกด้วยตาเปล่า และเก็บท่อลมแช่ในฟอร์มาลิน ประเมินรอยโรคทาง จุลชีววิทยา 2.1.1 ค่าเฉลี่ยแอนติบอดีต่อโรคนิวคาสเซิล (geometric mean titer; GMT) ที่ตรวจโดย วิธีเอชไอของไก่เนื้ออายุ 28 และ 37 วัน ของกลุ่มที่ 1, 2 และ 3 จำนวน 30 ตัวอย่างของแต่ละกลุ่ม คือ ระหว่าง 21.43 - 21.57 และ 21.77 - 22.33 ตามลำดับ (ตารางที่ 2) ตารางที่ 2 : ค่าเฉลี่ยแอนติบอดีต่อโรคนิวคาสเซิลที่ตรวจโดยวิธีเอชไอของไก่เนื้ออายุ 28 และ 37 วัน (log2HI titer) (n = 30) 3 กลุ่มๆ ละ 10 ตัวอย่าง กลุ่ม

28 วัน

GMT % CV 1 1.63 49.61 2 1.43 57.15 3 1.57 79.67 % CV : คือ ร้อยละของสัมประสิทธิ์ความผันแปร (% coefficient variance)

GMT 1.77 2.33 1.90

37 วัน

% CV 70.66 49.56 54.15

2.1.2 ค่าเฉลี่ยแอนติบอดีต่อโรคหลอดลมอักเสบติดต่อ ที่ตรวจโดยวิธีอีไลซาของไก่เนื้อ อายุ 28 วัน ของกลุ่มที่ 1, 2 และ 3 คือ ระหว่าง 55 - 452 ซึ่งพบจำนวนตัวอย่างที่มีระดับ แอนติบอดีถูกจัดอยู่ในกลุ่มที่ 2 ขึ้นไปจำนวน 20 - 26 ตัวอย่าง จากจำนวนที่ตรวจทั้งหมด 30 ตัวอย่าง

71


Around the World ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 173 มีนาคม-เมษายน 2560

สำหรับไก่เนื้อที่อายุ 37 วัน ของกลุ่มที่ 1, 2 และ 3 มีค่าเฉลี่ยแอนติบอดี 587 - 2356 ซึ่งพบจำนวน ตัวอย่างทีม่ รี ะดับแอนติบอดีถกู จัดอยูใ่ นกลุม่ ที่ 2 ขึน้ ไปจำนวน 14 - 29 ตัวอย่างจากจำนวนทีต่ รวจทัง้ หมด 30 ตัวอย่างของแต่ละกลุ่ม (ตารางที่ 3) ตารางที่ 3 : ค่าเฉลี่ยแอนติบอดีต่อโรคหลอดลมอักเสบติดต่อที่ตรวจโดยวิธีอีไลซาของไก่เนื้ออายุ 28 และ 37 วัน (n = 30) 3 กลุ่มๆ ละ 10 ตัวอย่าง 28 วัน Mean GMT % CV ≥ Group 2* 1 452 6 188.7 22 2 116 7 103.9 20 3 55 2 113.8 26 *จำนวนตัวอย่างที่ระดับแอนติบอดีถูกจัดอยู่ในกลุ่ม 2 หรือสูงกว่า กลุ่ม

Mean 2356 986 587

GMT 497 111 42

37 วัน % CV 96.3 100.1 118.1

Group 2* 23 14 29

2.1.3 ค่าเฉลีย่ แอนติบอดีตอ่ โรคกัมโบโรทีต่ รวจโดยวิธอี ไี ลซาของไก่เนือ้ อายุ 28 วัน ของ กลุ่มที่ 1, 2 และ 3 คือ ระหว่าง 962 - 1990 ซึ่งพบจำนวนตัวอย่างที่มีระดับแอนติบอดีอยู่ในกลุ่ม ที่ 2 ขึน้ ไปจำนวน 15 - 25 ตัวอย่าง จากจำนวนทีต่ รวจทัง้ หมด 30 ตัวอย่าง สำหรับไก่เนือ้ ทีอ่ ายุ 37 วัน ของกลุ่มที่ 1, 2 และ 3 มีค่าเฉลี่ยแอนติบอดี 3061 - 3312 ซึ่งพบจำนวนตัวอย่างที่มีระดับแอนติบอดี อยู่ในกลุ่มที่ 2 ขึ้นไปจำนวน 29 - 30 ตัวอย่าง จากจำนวนที่ตรวจทั้งหมด 30 ตัวอย่าง ของแต่ละกลุ่ม (ตารางที่ 4) ตารางที่ 4 : ค่าเฉลี่ยแอนติบอดีต่อโรคกัมโบโรที่ตรวจโดยวิธีอีไลซาของไก่เนื้ออายุ 28 และ 37 วัน (n = 30) 3 กลุ่มๆ ละ 10 ตัวอย่าง 28 วัน 37 วัน กลุ่ม GMT % CV ≥ Group 2* Mean GMT % CV ≥ Group 2* Mean 1 1173 87 85.61 18 3148 2322 37.18 29 2 962 42 92.2 15 3061 2841 31.71 30 3 1990 578 63.18 25 3312 2455 36.12 29 *จำนวนตัวอย่างที่ระดับแอนติบอดีถูกจัดอยู่ในกลุ่ม 2 หรือสูงกว่า

2.2 ผลการประเมินรอยโรคของถุงลมช่องอกทีป่ ระเมินด้วยตาเปล่าและรอยโรคของท่อลม ที่ประเมินทางจุลพยาธิวิทยา พบว่า คะแนนเฉลี่ยรอยโรคของถุงลมช่องอกที่ประเมินด้วยตาเปล่าของไก่เนื้ออายุ 28 และ 37 วัน กลุ่มที่ 1, 2 และ 3 คือ ระหว่าง 0.2 - 0.5 และ 1.05 - 1.25 ตามลำดับ โดยแต่ละกลุ่มไม่มี ความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนคะแนนเฉลี่ยรอยโรคของท่อลมที่ประเมินทางจุลพยาธิวิทยาของไก่เนื้ออายุ 28 และ 37 วัน กลุ่มที่ 1, 2 และ 3 คือ ระหว่าง 1.60 - 2.18 และ 1.93 - 2.68

72


Around the World ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 173 มีนาคม-เมษายน 2560

ตามลำดับ โดยแต่ละกลุ่มพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ทั้งในไก่ที่อายุ 28 และ 37 วัน โดยไก่อายุ 28 วัน กลุ่มที่ 1 มีค่าเฉลี่ยรอยโรคสูงสุดและแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติ เมือ่ เทียบกับกลุม่ ที่ 2 และ 3 สำหรับไก่ทอี่ ายุ 37 วัน กลุม่ ที่ 2 และกลุม่ ที่ 1 มีคะแนนรอยโรคสูง และแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ 3 (ตารางที่ 5) ตารางที่ 5 : คะแนนเฉลี่ยรอยโรคของถุงลมช่องอกที่ประเมินด้วยตาเปล่า (grossly airsac lesion scores) และคะแนนของท่อลมที่ประเมินทางจุลพยาธิวิทยา (microscopically tracheal lesion scores) ของไก่เนื้ออายุ 28 และ 37 วัน (mean+ SD) (n = 10). คะแนนเฉลี่ยรอยโรคของถุงลม คะแนนเฉลี่ยรอยโรคของท่อลม 28 วัน 37 วัน 28 วัน 37 วัน a 1.05 ± 0.28 2.18 ± 0.47  2.50 ± 0.55 a 1 0.20 ± 0.42 b 2 0.30 ± 0.35 1.25 ± 0.35 1.63 ± 0.46  2.68 ± 0.31 a 3 0.50 ± 0.41 1.05 ± 0.28 1.60 ± 0.63 b 1.93 ± 0.29 b a b , ตัวอักษรที่แตกต่างกันภายในคอลัมน์เดียวกันมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) กลุ่ม

3. ผลการ swab ป้ายเชือ้ ทีถ่ งุ ไข่แดงของไก่ทอี่ ายุ 1 วัน และป้ายเชือ้ ทีร่ อ่ งเพดานปากด้านบน ของไก่ที่อายุ 37 วัน ตรวจสารพันธุกรรมของเชื้อเอ็มจี และสารพันธุกรรมของเชื้อเอ็มเอส พบว่า จำนวนตัวอย่างที่ตรวจพบสารพันธุกรรมของเชื้อเอ็มจี ในไก่เนื้ออายุ 1 วัน ของกลุ่มที่ 1, 2 และ 3 จากจำนวน 10 ตัวอย่างที่ตรวจของแต่ละกลุ่ม พบสารพันธุกรรม 8 , 9 และ 3 ตัวอย่าง ตาม ลำดับ และไก่เนือ้ อายุ 37 วัน พบสารพันธุกรรมของเชือ้ เอ็มจีทกุ ตัวอย่าง ขณะทีผ่ ลการตรวจสารพันธุกรรม ของเชือ้ เอ็มเอสไก่เนือ้ อายุ 1 วัน ของกลุม่ ที่ 1, 2 และ 3 จากจำนวน 10 ตัวอย่าง ทีต่ รวจของแต่ละกลุม่ คือ ไม่พบสารพันธุกรรมของเชื้อเอ็มเอสทุกตัวอย่าง และไก่เนื้ออายุ 37 วัน จากจำนวน 10 ตัวอย่าง ที่ตรวจของแต่ละกลุ่ม พบสารพันธุกรรมของเชื้อเอ็มเอสทุกตัวอย่าง (ตารางที่ 6) ตารางที่ 6 : จำนวนตัวอย่างที่มีสารพันธุกรรมของเชื้อเอ็มจีและเอ็มเอสที่ตรวจสอบด้วยวิธีพีซีอาร์ ของไก่เนื้ออายุ 1 และ 37 วัน (n = 10) ไก่อายุ 1 วัน (จำนวนตัวอย่างที่พบ/จำนวนตัวอย่างที่ตรวจ) เอ็มจี เอ็มเอส 1 8/10* 0/10* 2 9/10 0/10 3 3/10 0/10 *(จำนวนตัวอย่างที่ให้ผลบวก/จำนวนตัวอย่างที่ตรวจทั้งหมด) กลุ่ม

ไก่อายุ 37 วัน (จำนวนตัวอย่างที่พบ/จำนวนตัวอย่างที่ตรวจ) เอ็มจี เอ็มเอส 10/10 10/10 10/10 10/10 10/10 10/10

73


Around the World ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 173 มีนาคม-เมษายน 2560

พบว่า

4. ผลการประเมินปริมาณอาหารที่ไก่กิน น้ำหนักไก่ และคุณลักษณะไก่ที่อายุ 40 - 42 วัน

คุณลักษณะของไก่เนื้อแต่ละโรงเรือนที่ส่งเข้าโรงฆ่าที่อายุ 40 วัน สำหรับตัวผู้ และอายุ 42 วัน สำหรับตัวเมีย ทั้ง 3 กลุ่ม พบว่าร้อยละของไก่ที่มีชีวิตระหว่าง 95.45 - 97.04 น้ำหนักตัวไก่เฉลี่ย ระหว่าง 2.49 - 2.57 อัตราการแลกเนื้อระหว่าง 1.72 - 1.75 และร้อยละที่พบซีอาร์ดี 1.09 - 2.46 (ตารางที่ 7) ตารางที่ 7 : คุณลักษณะของไก่เนื้อแต่ละโรงเรือนที่ส่งเข้าโรงฆ่าที่อายุ 40 วัน สำหรับตัวผู้ และอายุ 42 วัน สำหรับตัวเมีย (n = 3) กลุ่ม ร้อยละของไก่ที่มีชีวิต น้ำหนักตัวไก่เฉลี่ย (กก.) อัตราการแลกเนื้อ 1 97.03 ± 0.45 2.57 ± 0.22 1.72 ± 0.10 2 95.45 ± 1.17 2.49 ± 0.25 1.75 ± 0.16 3 97.04 ± 0.90 2.50 ± 0.25 1.72 ± 0.15 ภายในคอลัมน์เดียวกันไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p > 0.05)

ร้อยละที่พบซีอาร์ดี 1.09 ± 0.33 2.46 ± 1.33 2.10 ± 0.87

วิจารณ์ผล การศึกษาครั้งนี้เป็นการเปรียบเทียบผลในด้านการป่วย การตาย และคุณลักษณะของไก่เนื้อ ระหว่างกลุ่มที่ 1 การให้ยาทิลมิโคซินช่วงอายุ 3 วันแรก และอม็อกซีซิลลินในช่วงอายุ 24 - 26 วัน กลุ่มที่ 2 อาหารเสริมโปรตีนที่ได้จากมันฝรั่งหมักผสมน้ำกินช่วงอายุ 1 - 14 วันแรก และกลุ่มที่ 3 ซึ่งไม่ให้ยาและไม่ให้อาหารเสริมโปรตีน ซึ่งฟาร์มดังกล่าวมีการให้ผลิตภัณฑ์สารสกัดจากกระเทียม และ essential oil การให้ยาในลักษณะดังกล่าวเป็นการปฏิบัติที่ยังพบได้ในการเลี้ยงไก่เนื้อบางแห่ง โดยเป็นการให้ยาต้านจุลชีพหลังการทำวัคซีน ซึ่งลูกไก่อายุ 1 วัน ของแต่ละกลุ่มนั้นพบผลบวกต่อสาร พันธุกรรมของเชื้อเอ็มจี แต่ไม่พบสารพันธุกรรมของเชื้อเอ็มเอส แสดงให้เห็นว่าลูกไก่ได้รับเชื้อเอ็มจี ที่ถ่ายทอดมาจากแม่ ดังนั้น มีโอกาสที่กลุ่มไก่ที่ทำการศึกษามีแนวโน้มที่จะแสดงอาการโรคทางเดิน หายใจ หรือปัญหาโรคถุงลมอักเสบ รวมทัง้ ง่ายต่อการแพ้วคั ซีน (Smits et al., 1976; Raviv and Ley, 2014) การที่ผู้วิจัยเลือกกลุ่มไก่ที่ติดเชื้อเอ็มจีมาทำการศึกษาเพื่อจะได้ผลการศึกษาที่ชัดเจนว่า การ ให้ยาต้านจุลชีพ หรือการใช้สารเสริมโปรตีน รวมทั้งการใช้ผลิตภัณฑ์สารสกัดกระเทียมร่วมกับน้ำมัน หอมระเหยว่าได้ผลแตกต่างกันหรือไม่ ผลการตอบสนองแอนติบอดีตอ่ วัคซีนป้องกันโรคทีส่ ำคัญของไก่เนือ้ คือ โรคหลอดลมอักเสบติดต่อ โรคนิวคาสเซิล และโรคกัมโบโร พบว่า ทุกกลุ่มสามารถตอบสนองต่อการได้รับวัคซีนป้องกันโรค หลอดลมอักเสบติดต่อ และกัมโบโร เมื่อตรวจด้วยวิธีอีไลซา พบจำนวนตัวอย่างของแอนติบอดีที่ถูก จัดเป็นบวก (titer group ≥ 2) เฉลี่ยมากกว่า 15 ตัวอย่างต่อกลุ่ม ยกเว้นแอนติบอดีต่อโรคหลอดลม

74


Around the World ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 173 มีนาคม-เมษายน 2560

อักเสบติดต่อของไก่กลุ่มที่ 2 อายุ 37 วัน พบ จำนวน 14 ตัวอย่าง แสดงให้เห็นว่าไก่ทุกกลุ่ม มีสขุ ภาพดี สามารถตอบสนองต่อการได้รบั วัคซีน อย่างไรก็ตาม สำหรับแอนติบอดีตอ่ วัคซีนป้องกัน โรคหลอดลมอักเสบติดต่อนั้น พบว่าร้อยละของ สัมประสิทธิค์ วามผันแปร (% coefficient variance; % CV) สูงมาก เมื่อเปรียบเทียบกับแอนติบอดี ต่อโรคอืน่ เนือ่ งจากการให้วคั ซีนด้วยวิธพี น่ ละออง ที่โรงฟักอาจทำให้ตัวไก่ไม่ได้รับวัคซีนทั่วถึง จึง มีผลต่อความสม่ำเสมอของแอนติบอดีในตัวไก่ สำหรับการตอบสนองต่อวัคซีนป้องกันโรคนิวคาสเซิลเมือ่ ตรวจด้วยวิธเี อชไอนัน้ มีการให้วคั ซีน ป้ อ งกั น โรคนิ ว คาสเซิ ล ทั้ ง เชื้ อ เป็ น ด้ ว ยการพ่ น ละออง เชื้อตาย และเวคเตอร์วัคซีน ที่อายุ 1 วัน พบว่าค่าเฉลี่ยของแอนติบอดีค่อนข้างต่ำทั้งที่อายุ 28 และ 37 วัน มีค่าระหว่าง 21.43 - 22.33 แต่ ร้อยละของค่าสัมประสิทธิ์ความผันแปรอยู่ระดับ ไม่แตกต่างกันมาก อาจเนื่องจากผลของการตอบ สนองต่อวัคซีนเชื้อตาย โดยวัคซีนเชื้อตายที่ให้ ด้วยการฉีดนั้นจะช่วยเรื่องความสม่ำเสมอของ ระดับแอนติบอดี (สมศักดิ์ และคณะ, 2546) รายงานว่าค่าเฉลี่ยแอนติบอดีต่อโรคนิวคาสเซิล ของไก่เนื้อที่อายุ 28 และ 35 วัน ต่ำกว่า 21.1 หากได้รับเชื้อพิษทับนิวคาสเซิล ไก่เหล่านี้จะตาย ทุกตัว อย่างไรก็ตาม ฟาร์มดังกล่าวมีการให้เวคเตอร์วัคซีน ซึ่งเป็นวัคซีนที่ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ต่อโรคนิวคาสเซิล แต่วิธีเอชไอนั้นจะไม่สามารถ ตรวจหาระดับแอนติบอดีต่อการตอบสนองต่อ วัคซีนชนิดนี้ ดังนั้น ทุกฟาร์มจึงต้องมีความเข้มงวดเรื่องความปลอดภัยทางชีวภาพ การตรวจพบสารพันธุกรรมของเชื้อเอ็มจี ที่ไก่อายุ 1 วัน แต่ไม่พบสารพันธุกรรมของเชื้อ เอ็มเอส แสดงว่าไก่พบการติดเชื้อเฉพาะเอ็มจี

ที่ติดมาจากแม่ แต่เมื่อเลี้ยงไก่จนกระทั่งอายุ 37 วัน พบสารพันธุกรรมของเชื้อเอ็มจี และเอ็มเอส ในไก่ทุกกลุ่มและทุกตัวอย่างที่ตรวจ แสดงว่า ไก่ทุกกลุ่มที่ได้รับยาต้านจุลชีพคือ ยาทิลมิโคซิน ระยะเวลา 3 วัน ตามข้อบ่งใช้ในฉลาก สารเสริม โปรตีน และสารสกัดกระเทียมร่วมกับ essential oil ไม่มีประสิทธิภาพต่อการกำจัดเชื้อเอ็มจีที่ติด มาจากแม่ สำหรับอม็อกซิซิลลินเป็นยาออกฤทธิ์ กว้างทีใ่ ห้เพือ่ ช่วยควบคุมโรคระบบทางเดินหายใจ และทางเดินอาหาร ข้อบ่งใช้ในฉลากยาไม่ออกฤทธิ์ ต่อ Mycoplasma อย่างไรก็ตาม การติดเชือ้ เอ็มจี และเอ็มเอส อาจเกิดขึ้นภายหลังจากที่เลี้ยงใน โรงเรือน ถ้าหากโรงเรือนมีการทำความสะอาดและ ฆ่าเชื้อโรคไม่ดีพอ หรืออาจเกิดจากการติดเชื้อ จากภายนอกโรงเรื อ นเข้ า มาสู่ ภ ายในโรงเรื อ น เป็นต้น ยาทิลมิโคซิน เป็นยาต้านจุลชีพมัยโคพลาสมา ทีถ่ กู ดูดซึมและกระจายตัวได้รวดเร็วไปที่ ปอด และถุงลม รวมถึงแทรกผ่านเข้าไปในเม็ด เลือดขาวแมคโครฟาจ โมโนซัยท์ และเฮทเทอโรฟิล ได้ (Warren et al.,1997; Scorneauxet al., 1998; Abu-Basha et al., 2007) ซึ่ง Pakpinyo et al. (2008) ได้รายงานการศึกษาไก่เนื้อที่ ได้รับเชื้อเอ็มจีแล้วได้รับยาทิลมิโคซิน เมื่อเปรียบ เที ย บกั บ ไก่ เ นื้ อ ที่ ไ ด้ รั บ เชื้ อ เอ็ ม จี แ ต่ ไ ม่ ไ ด้ รั บ ยา พบจำนวนตัวอย่างที่พบสารพันธุกรรมของเชื้อ เอ็มจี 5 และ 7 ตัวอย่าง ตามลำดับ ซึ่งจำนวน ต่างกันเล็กน้อย แต่ไก่เนื้อที่ได้รับยาทิลมิโคซิน พบจำนวนไก่ป่วยน้อยกว่า รวมถึงรอยโรคที่พบที่ ถุงลมเมือ่ สังเกตด้วยตาเปล่าและท่อลมเมือ่ สังเกต ทางจุลพยาธิวิทยาน้อยกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับ กลุม่ ไก่ทไี่ ม่ได้รบั ยา ส่วนสารสกัดกระเทียม Cross et al. (2011) ได้รายงานผลงานวิจัยจากนักวิจัย หลายคณะที่ศึกษาสารสกัดกระเทียมว่ามีคุณ-

75


Around the World ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 173 มีนาคม-เมษายน 2560

สมบัตติ า้ นจุลชีพ ต้านเชือ้ รา และต้านอนุมลู อิสระ ส่วน essential oil นัน้ Khattak et al. (2014) ได้ รายงานผลงานวิจยั จากนักวิจยั หลายคณะทีศ่ กึ ษา essential oil ว่ามีคุณสมบัติต้านจุลชีพ ต้านพิษ ต้านอนุมูลอิสระ ต้านไวรัส ต้านปาราสิต และ กระตุน้ การทำงานของทางเดินอาหาร ซึง่ คุณสมบัติ ของสารทั้งสองดังกล่าว ไม่มีประสิทธิภาพในการ ทำลายเชือ้ มัยโคพลาสมาตัง้ แต่เริม่ เลีย้ งจนกระทัง่ ไก่อายุ 38 วัน

ที่ดีต่างๆ (Cross et al., 2011; Khattak et al., 2014) สามารถลดปัญหาทางเดินหายใจได้ การ ที่คะแนนเฉลี่ยรอยโรคของท่อลมไก่ที่อายุ 37 วัน สูงทัง้ 3 กลุม่ นัน้ อาจเกิดความผิดพลาด เนือ่ งจาก วันที่ทำการผ่าซากนั้น ไก่อยู่ในกล่องพลาสติก และวางนอกอาคารซึ่ ง สภาพแวดล้ อ มขณะนั้ น ค่อนข้างร้อน ทำให้ไก่แสดงอาการหอบ หายใจ เสียงดังและเร็ว จึงอาจมีผลต่อคะแนนรอยโรคของ ท่อลม

คะแนนเฉลี่ยรอยโรคของถุงลมช่องอกที่ ประเมินด้วยตาเปล่าและท่อลมที่ประเมินทางจุลพยาธิวิทยาที่อายุ 28 และ 37 วัน นั้น พบว่า คะแนนเฉลี่ ย รอยโรคของถุ ง ลมนั้ น ค่ อ นข้ า งต่ ำ และไม่พบความแตกต่างของไก่ทอี่ ายุ 28 และ 37 วัน แสดงว่าปัญหาถุงลมอักเสบในวันทีป่ ระเมินนัน้ พบน้อย ขณะที่คะแนนเฉลี่ยรอยโรคของท่อลม ไก่ทอี่ ายุ 28 วัน พบค่อนข้างสูงในกลุม่ ที่ 1 (ได้รบั ยาทิลมิโคซิน และอม็อกซิซิลลิน) และแตกต่าง อย่างมีนัยสำคัญ (p < 0.05) กับกลุ่มที่ 2 (ได้รับ สารเสริมโปรตีน) และกลุ่มที่ 3 (ได้รับสารสกัด กระเทียมและ essential oil) สำหรับไก่ที่อายุ 37 วันนั้น คะแนนเฉลี่ยรอยโรคของท่อลมค่อนข้าง สูงในกลุม่ ที่ 1 และกลุม่ ที่ 2 และพบความแตกต่าง อย่างมีนัยสำคัญ (p > 0.05) กับกลุ่มที่ 3 ซึ่งพบ คะแนนเฉลี่ยรอยโรคต่ำสุด แสดงให้เห็นว่าไก่ กลุ่มที่ 3 ซึ่งควรจะเป็นกลุ่มควบคุมแต่เนื่องจาก การทดลองนี้ทำในพื้นที่การเลี้ยงจริงในฟาร์มซึ่ง เลี้ยงเป็นจำนวนมาก ซึ่งฟาร์มดังกล่าวมีการให้ สารสกัดจากกระเทียมและ essential oil อยู่แล้ว และเกรงความเสียหายที่จะเกิดขึ้นจากการไม่ใช้ ผลิตภัณฑ์ใดเลย จึงได้นำสารสกัดจากกระเทียม และ essential oil ที่ใช้อยู่เป็นปกติให้ไก่ในกลุ่ม ที่ 3 แสดงให้เห็นว่าการได้รบั สารสกัดทีม่ คี ณ ุ สมบัติ

คุณลักษณะไก่เนื้อที่อายุ 40 - 42 วัน ซึ่ง ถูกประเมินที่โรงฆ่านั้น พบว่ากลุ่มที่ 1 มีแนวโน้ม คุณลักษณะดีทสี่ ดุ ตามมาด้วยกลุม่ ที่ 3 และกลุม่ ที่ 2 ตามลำดับ แต่ไม่พบความแตกต่างอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติ โดยไก่กลุ่มที่ 2 มีคุณลักษณะ ที่ด้อยสุด คือร้อยละของไก่ที่มีชีวิต น้ำหนักตัวไก่ เฉลี่ย อัตราการแลกเนื้อ และร้อยละที่พบซีอาร์ดี สำหรับไก่กลุม่ ที่ 1 (ได้รบั ยาทิลมิโคซิน และอม็อกซิซิลลิน) และกลุ่มที่ 3 (ได้รับสารสกัดกระเทียม และ essential oil) มีคุณลักษณะไก่เนื้อที่ดีกว่า กลุ่มที่ 2 ในด้านร้อยละของไก่ที่มีชีวิต อัตรา แลกเนือ้ ร้อยละทีพ่ บซีอาร์ดี และน้ำหนักตัวไก่เฉลีย่ แต่ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การศึกษาครัง้ นีไ้ ม่ได้คำนวณค่าใช้จา่ ยด้านยา หรือ สารเสริมโปรตีน หรือสารสกัดกระเทียม และ essential oil

76

ทั้งนี้ปัญหาด้านเชื้อดื้อยาเป็นปัญหาสำคัญ อย่างยิ่งสำหรับมนุษย์ในปัจจุบันและอนาคต การ ดือ้ ยาต้านจุลชีพเป็นหนึง่ ในภัยคุกคามทางสุขภาพ ที่สำคัญ ปัจจุบันแม้จะยังไม่สามารถประมาณ ขนาดของปัญหาเชื้อดื้อยาจากสัตว์สู่มนุษย์ แต่ จากรายงานการศึกษาที่สำคัญระดับโลกโดยการ สนับสนุนของรัฐบาลแห่งสหราชอาณาจักร ซึ่งได้ เผยแพร่ผลการศึกษาในปี ค.ศ. 2016 เรือ่ ง Tackling


Around the World ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 173 มีนาคม-เมษายน 2560

drug-resistant infection globally: Final report and recommendation ซึ่งองค์การอนามัยโลก (WHO) องค์การสุขภาพสัตว์ (OIE) และองค์การ อาหารและเกษตรแห่ ง สหประชาชาติ (FAO) ยอมรับและนำข้อมูลมาใช้อา้ งอิง รายงานดังกล่าว คาดว่าปัจจุบันทั่วโลกมีคนเสียชีวิตจากปัญหาการ ดือ้ ยาต้านจุลชีพประมาณ 700,000 ราย และหาก ไม่มกี ารแก้ปญ ั หา AMR ในปี ค.ศ. 2050 คาดว่า การเสียชีวติ จะสูงถึง 10 ล้านคนต่อปี ประเมินเป็น ความเสียหายทางเศรษฐกิจสูงถึง 3.5 พันล้าน ล้านบาท (100 trillion USD) โดยทวีปเอเชีย และแอฟริกาจะเสียชีวิตมากที่สุด คือ 4.7 และ 4.2 ล้านคน ตามลำดับ (O’Neill J., 2016.) ประเทศไทยเป็นผู้นำด้านมาตรฐานการ เลีย้ งสัตว์ โดยเฉพาะสัตว์ปกี เป็นผูส้ ง่ ออกรายใหญ่ อันดับ 4 ของโลก ให้ความสำคัญกับมาตรการลด การใช้ยา เพื่อจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพ คณะรั ฐ มนตรี ไ ด้ ใ ห้ ค วามเห็ น ชอบแผนยุ ท ธศาสตร์ การจัดการการดือ้ ยาต้านจุลชีพประเทศไทย พ.ศ. 2560 - 2564 เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2559 โดย มีเป้าประสงค์ที่ต้องการบรรลุภายในปี 2564 ที่ สำคัญ คือการป่วยจากเชื้อดื้อยาลดลงร้อยละ 50 การใช้ยาต้านจุลชีพสำหรับมนุษย์และสัตว์ลดลง ร้อยละ 20 และ 30 ตามลำดับ ซึ่งกรมปศุสัตว์ เป็นเจ้าภาพรับผิดชอบยุทธศาสตร์การป้องกันและ ควบคุมเชื้อดื้อยาและควบคุมกำกับดูแลการใช้ยา ต้านจุลชีพอย่างเหมาะสมในภาคการเกษตรและ สัตว์เลีย้ ง (คณะกรรมการประสานและบูรณาการ งานด้านการดื้อยาต้านจุลชีพ. 2017.) สหภาพยุ โ รปได้ จั ด ทำแนวทางการใช้ ย า อย่างมีวิสัยทัศน์ (Guideline for the prudent use of antimicrobial in veterinary Medicine ลง ประกาศใน official journal of European Union

เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2558 เป็นแนวทางในการ กำหนดมาตรการควบคุมเชื้อดื้อยาของสมาชิก ซึ่งให้ความสำคัญกับการควบคุมกำจัดโรคโดยไม่ ใช้ยา การให้ยาปฏิชีวนะต้องเป็นไปตามใบสั่งใช้ ของสัตวแพทย์เท่านัน้ (COMMISSION NOTICE 2015/C 299/04. 2015) ผลการศึกษานีส้ ามารถ ใช้แนะนำสัตวแพทย์และเกษตรกร ในการใช้ยา สมเหตุผลอย่างมีวิสัยทัศน์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ การผลิ ต โดยไม่ ต้ อ งใช้ ย าเพื่ อ ควบคุ ม โรค ซึ่ ง สามารถทำได้โดยใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารควบคู่ กับการกำหนดมาตรการควบคุม ป้องกัน กำจัด โรคในฝูงพ่อแม่พนั ธุส์ ตั ว์ปกี ทัง้ นีผ้ บู้ ริโภคสามารถ ลดโอกาสรับเชื้อ และเชื้อดื้อยาได้หากบริโภค ผลิตภัณฑ์ที่ปรุงสุกอย่างดีจนเชื้อโรคที่อาจปน เปือ้ นมาได้ถกู ทำลายไป สำหรับผูเ้ ลีย้ งและผูเ้ กีย่ วข้องในฟาร์มสามารถลดโอกาสในการรับ และแพร่ เชื้อดื้อยาได้โดยการล้างมือ เปลี่ยนเสื้อผ้าที่ทาง ฟาร์มจัดหาไว้ให้ และอุปกรณ์ตา่ งๆ ทีเ่ กีย่ วข้องกับ การเลี้ยงไก่ด้วยสบู่ หรือน้ำยาฆ่าเชื้ออย่างถูกวิธี เพื่อลดโอกาสที่ได้รับเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย โดย สัตวแพทย์ และฟาร์ม สามารถร่วมมือหามาตรการควบคุมโรคโดยวิธีอื่น เพื่อลดการใช้ยาต้าน จุลชีพให้น้อยลง และใช้เมื่อจำเป็นตามคำแนะนำ ของสัตวแพทย์เท่านั้น

สรุป การศึกษาครั้งนี้พบว่า กลุ่มที่ 1 (ยาทิลมิโคซิน ที่ให้ไก่กินอายุ 1 - 3 วัน และอม็อกซิซิลลิน ที่ให้ไก่กินอายุ 26 - 28 วัน) ยังไม่สามารถกำจัด เชือ้ เอ็มจีได้ แต่อาจช่วยด้านคุณลักษณะของไก่เนือ้ ได้ดีที่สุด ตามมาด้วยกลุ่มที่ 3 (การให้สารสกัด กระเทียมและ essential oil ที่ช่วงอายุต่างๆ) และกลุ่มที่ 2 (สารเสริมโปรตีน) ตามลำดับ แต่

77


Around the World ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 173 มีนาคม-เมษายน 2560

ไม่มนี ยั สำคัญทางสถิติ เมือ่ ประกอบกับสถานการณ์การควบคุมเชือ้ ดือ้ ยา และความจำเป็นในการลดการ ใช้ยาในสัตว์ ควรส่งเสริมการใช้ผลิตภัณฑ์อื่นทดแทน เช่นสารสกัดกระเทียม ควบคู่กับ essential oil และสารเสริมโปรตีน เป็นอีกทางเลือกทีเ่ หมาะสมกว่าของการเลีย้ งไก่เนือ้ ซึง่ ควรลดการใช้ยาต้านจุลชีพ เพื่อควบคุมโรค

กิตติกรรมประกาศ ผู้วิจัยขอขอบคุณ ศ.นพ. วิษณุ ธรรมลิขิตกุล ที่ให้คำแนะนำ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข บริษทั ฮูเว ฟาร์มา (ประเทศไทย) จำกัด บริษทั เบทาโกร จำกัด (มหาชน) ทีส่ นับสนุนงบประมาณในการ วิจัย และผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการศึกษานี้

เอกสารอ้างอิง คณะกรรมการประสานและบูรณาการงานด้านการดือ้ ยาต้านจุลชีพ. 2017. “แผนยุทธศาสตร์การจัดการการดือ้ ยาต้านจุลชีพ ประเทศไทย พ.ศ. 2560 - 2564.”[Online]. Available: http://www.fda.moph.go.th/sites/drug/SitePages/AMR. aspx สมศักดิ์ ภัคภิญโญ จิโรจ ศศิปรียจันทร์ และนิวัตร จันทร์ศิริพรชัย 2546. วัคซีนป้องกันโรคนิวคาสเซิลเชื้อตาย ตอนที่ 2: ประสิทธิภาพวัคซีนเชื้อตายที่เตรียมขึ้นในการป้องกันโรคนิวคาสเซิล.เวชชสารสัตวแพทย์. 33: 51 - 58. Abu-Basha EA, Idkaidek NM and Shunnaq AF 2007.Pharmacokinetics of tilmicosin (Provitil powder and Pulmotil liquid AC) oral formulations in chickens. Vet. Res. Comm. 31: 477 - 485. COMMISSION NOTICE 2015/C 299/04. Guidelines for the prudent use of antimicrobials in veterinary medicine. OJ C 299, 11.9.2015, 10 - 18 p. Cross DE, MCDevitt RM and Acamovic T 2011. Herbs, thyme essential oil and condensed tannin extracts as dietary supplements for broilers, and their effects on performance, digestibility, volatile fatty acids and organoleptic properties. Br Poult Sci. 52: 227 - 237. Final decision of the commissioner. 2005. Docket No.2000N - 1571, Withdrawal of approval of the new animal drug application for enrofloxacin in poultry. Department of Health and Human Services, U.S. Food and Drug Administration. Maryland, U.S.A. 119 - 120 p. Glisson, JR and Kleven, SH 1984. Mycoplasma gallisepticum vaccination: effects on egg transmission and egg production. Avian Dis. 28: 406 - 415. Hsiung GD 1982. Hemagglutination and hemagglutination inhibition test. In: Diagnostic Virology. CKY Fong, ML Landry and GD Hsiung (eds.). 3rd ed. Now Haven, Yale University Press. p. 35 - 41.

78


Around the World ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 34 เล่มที่ 173 มีนาคม-เมษายน 2560

Khattak F, Ronchi A, Castelli P and Sparks N 2014. Effects of natural blend of essential oil on growth performance, blood biochemistry, cecal morphology, and carcass quality of broiler chickens. Poult Sci. 93: 132 - 137. Kleven SH, King DD and Anderson DP 1972. Airsacculitis in broilers from Mycoplasma synoviae: effect on air-sac lesions of vaccinating with infectious bronchitis and Newcastle virus. Avian Dis. 16: 915 - 924. Lauerman LH 1996, Mycoplasma PCR assays.In: Nucleioaoid amplifloation assays for diagnosis of animal diseases. LH laureman (ed). American association of veterinary laboratory diagnosticians.Turkook, California p.41-44. O’Neill J. 2016. “Tackling drug - resistant infections globally: final report and recommendation.” [Online]. Available: https://amrreview.org/sites/default/files/160518_ Final%20paper _with%20cover.pdf. Accessed April 30, 2017. PakpinyoS, Rawiwet V, Buranasiri W and Jaruspibool S. 2008. The efficacy of tilmicosin against broiler chickens infected with Mycoplasma gallisepticum isolated in Thailand. Thai J Vet Med. 38: 17 - 24. Raviv Z and Ley DH 2014. Mycoplasma gallisepticum infection. In: Diseases of Poultry 13th ed. DE Swayne, JR Glisson, LR McDougald, LK Nolan, DL Suarez and V. Nair (eds) Ames: IA. Wiley-Blackwell. p. 877 - 893. Scorneaux B and Shryock TR 1998. Intracellular accumulation, subcellular distribution and efflux of tilmicosin in chicken phagocytes .Poult Sci. 77: 1510 - 1521. Smits WH, Goren E, Litjens JB, Saes JMandReuten FM 1976. The vaccination reaction syndrome of broilers after vaccination against Newcastle disease and infectious bronchitis [Article in Dutch] (author's transl). Tijdschr Diergeneeskd. 101: 649 - 657. Stipkovits L,Csiba E, Laber G, Burch DG 1992. Simultaneous treatment of chickens with salinomycin and tiamulin in feed.Avian Dis. 36 (1): 6 - 11. Vardaman TH, Reece FN and Deaton JW 1973. Effect of Mycoplasma synoviae on broiler performance. Poult Sci. 52: 1909 - 1912. Warren MJ, Peters AR, Brett TR and Stocker J 1997.Lung and airsac concentrations of tilmicosin following oral administration in chicken. J. Vet.Pharmacol.Therap. 20: 195 - 196. WHO Advisory Group on Integrated Surveillance of Antimicrobial Resistance (AGISAR). 4th revision 2013. “Critically Important Antimicrobials for Human Medicine.” [online]. Available: http://who.int/foodsafety/ publications/antimicrobials-fourth/en/ Accessed April 30, 2017. Yagihashi T and Tajima M 1986. Antibody responses in sera and respiratory secretions from chickens Avian Dis. 30: 543 - 550. infected with

79


ขอขอบคุณบริษัทที่ให้ความสนับสนุน

และความร่วมมือในการจัดทำวารสารธุรกิจอาหารสัตว์ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17

บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) บริษัท ซี พี เอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) สมุทรปราการ บริษัท กรุงไทยอาหาร จำกัด (มหาชน) บริษัท อาหารสัตว์ไทยสวนหลวง จำกัด บริษัท ลีพัฒนาผลิตภัณฑ์ จำกัด (มหาชน) บริษัท ซี พี เอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) สระบุรี บริษัท ท็อป ฟีด มิลล์ จำกัด บริษัท แลบอินเตอร์ จำกัด บริษัท ฮูเวฟาร์มา (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท เชฟเฟิร์ด เทค คอนซัลแตนซี่ ไพรเวท จำกัด บริษัท ไบโอมิน (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท เกษตรภัณฑ์อุตสาหกรรม จำกัด บริษัท ยูนีโกรอินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด บริษัท อดิสสิโอ เทรดดิ้ง (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท โนวัส อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท ไฟโตไบโอติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท พรีเมียร์ เทค โครโนส จำกัด

โทร. 0-2833-8000 โทร. 0-2680-4580 โทร. 0-2473-8000 โทร. 0-2814-3480 โทร. 0-2632-7232 โทร. 0-2680-4500 โทร. 0-2194-5678-96 โทร. 0-3488-6140-48 โทร. 0-2937-4355 โทร. 09-2089-1601 โทร. 0-2993-7500 โทร. 0-2817-6410 โทร. 0-3430-5101-3 โทร. 0-2681-1329 โทร. 0-2661-8700 โทร. 0-2694-2498 โทร. 0-2740-5001




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.