พุทธวจน 5 แก้กรรม 11

Page 1

พุทธวจน แก้

กรรม


อานนท ! ถ้ากรรมมีกามธาตุเปนวิบาก จักไมได้มีแล้วไซร้ กามภพ จะพึงปรากฏได้แลหรือ ? หามิได พระเจาขา !

อานนท ! ด้วยเหตุนี้แหละ กรรมจึงเปนเนื้อนา วิญญาณเปนเมล็ดพืช ตัณหาเปนยางของพืช วิญญาณของสัตวทั้งหลาย มีอวิชชาเปนเครื่องกั้น มีตัณหาเปนเครื่องผูก ตั้งอยูแล้วด้วยธาตุชั้นทราม การบังเกิดขึ้นในภพใหมตอไป ยอมมีได้ ด้วยอาการอยางนี้. อานนท ! ถ้ากรรมมีรูปธาตุเปนวิบาก จักไมได้มีแล้วไซร้ รูปภพ จะพึงปรากฏได้แลหรือ ? หามิได พระเจาขา !

อานนท ! ด้วยเหตุนี้แหละ กรรมจึงเปนเนื้อนา วิญญาณเปนเมล็ดพืช ตัณหาเปนยางของพืช วิญญาณของสัตวทั้งหลาย มีอวิชชาเปนเครื่องกั้น มีตัณหาเปนเครื่องผูก ตั้งอยูแล้วด้วยธาตุชั้นกลาง การบังเกิดขึ้นในภพใหมตอไป ยอมมีได้ ด้วยอาการอยางนี้. อานนท ! ถ้ากรรมมีอรูปธาตุเปนวิบาก จักไมได้มีแล้วไซร้ อรูปภพ จะพึงปรากฏได้แลหรือ ? หามิได พระเจาขา !

อานนท ! ด้วยเหตุนี้แหละ กรรมจึงเปนเนื้อนา วิญญาณเปนเมล็ดพืช ตัณหาเปนยางของพืช วิญญาณของสัตวทั้งหลาย มีอวิชชาเปนเครื่องกั้น มีตัณหาเปนเครื่องผูก ตั้งอยูแล้วด้วยธาตุชั้นประณีต การบังเกิดขึ้นในภพใหมตอไป ยอมมีได้ ด้วยอาการอยางนี้. อานนท ! ภพ ยอมมีได้ ด้วยอาการอยางนี้แล. -บาลี สฬา. สํ. ๑๘/๙๗/๑๔๓-๔.


พุทธวจน

แก้กรรม ?

?

โดย ตถาคต

วันนี้ชาวพุทธ แก้กรรมตามใคร ?

ภิกษุทงั้ หลาย ! ภิกษุทงั้ หลาย ! ภิกษุทงั้ หลาย ! ภิกษุทงั้ หลาย !

เรากล่าวซึง่ เจตนา ว่าเป็นกรรม. เหตุเกิดของกรรมทัง้ หลาย ย่อมมี เพราะความเกิดของผัสสะ. ความดับแห่งกรรม ย่อมมี เพราะความดับแห่งผัสสะ. มรรคมีองค์ ๘ นีน้ นั่ เอง เป็นกัมมนิโรธคามินปี ฏิปทา.

-บาลี ฉกฺก. อํ. ๒๒/๔๖๔/๓๓๔.


“ราหุล ! กระจกเงามีไว้สำ�หรับทำ�อะไร ? “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! กระจกเงามีไว้สำ�หรับส่องดู พระเจ้าข้า !”.

“ราหุล ! กรรมทั้งหลาย ก็เป็นสิ่งที่บุคคลควรสอดส่อง พิจารณาดูแล้วดูเล่าเสียก่อน จึงทำ�ลงไป ทางกาย, ทางวาจา หรือ ทางใจ ฉันเดียวกับกระจกเงานั้นเหมือนกัน”. -บาลี ม. ม. ๑๓/๑๒๕/๑๒๘


พุ ท ธ ว จ น ฉบับ ๕

แก้กรรม ?

พุทธวจนสถาบัน

ร่วมกันมุง่ มัน่ ศึกษา ปฏิบตั ิ เผยแผ่ค�ำ ของตถาคต


พุทธวจน

ฉบับ ๕

แก้กรรม ?

ข้อมูลธรรมะนี้ จัดทำ�เพื่อประโยชน์ทางการศึกษาสู่สาธารณชน เป็นธรรมทาน ลิขสิทธิ์ในต้นฉบับนี้ได้รับการสงวนไว้ ไม่สงวนสิทธิ์ในการจัดทำ�จากต้นฉบับเพื่อเผยแผ่ในทุกกรณี ในการจัดทำ�หรือเผยแผ่ โปรดใช้ความละเอียดรอบคอบ เพื่อรักษาความถูกต้องของข้อมูล ขอคำ�ปรึกษาด้านข้อมูลในการจัดทำ�เพื่อความสะดวกและประหยัด ติดต่อได้ที่ มูลนิธิพุทธโฆษณ์ โทรศัพท์ ๐๘ ๒๒๒๒ ๕๗๙๐-๙๔ พุทธวจนสมาคม โทรศัพท์ ๐๘ ๑๖๔๗ ๖๐๓๖ มูลนิธิพุทธวจน โทรศัพท์ ๐๘ ๑๔๕๗ ๒๓๕๒ คุณศรชา โทรศัพท์ ๐๘ ๑๕๑๓ ๑๖๑๑ คุณอารีวรรณ โทรศัพท์ ๐๘ ๕๐๕๘ ๖๘๘๘ ปีที่พิมพ์ ๒๕๕๗ ศิลปกรรม ปริญญา ปฐวินทรานนท์, วิชชุ เสริมสวัสดิ์ศรี, ณรงค์เดช เจริญปาละ

จัดทำ�โดย มูลนิธิพุทธโฆษณ์ (เว็บไซต์ www.buddhakos.org) สำ�หรับผู้ต้องการปฏิบัติธรรรม ติดต่อได้ที่ ศูนย์ปฏิบัติพุทธวจน (Buddhawajana Training Center) ซอยคลองสีต่ ะวันออก ๗๓ หมู่ ๑๕ คลองสี่ อำ�เภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี โทรศัพท์ ๐๙ ๒๙๑๒ ๓๖๕๗, ๐๙ ๒๙๑๒ ๓๗๒๑, ๐๙ ๒๙๑๒ ๓๔๗๑


มูลนิธิพุทธโฆษณ์ เลขที่ ๒๙/๓ หมู่ที่ ๗ ตำ�บลบึงทองหลาง อำ�เภอลำ�ลูกกา จังหวัดปทุมธานี ๑๒๑๕๐ โทรศัพท์ /โทรสาร ๐ ๒๕๔๙ ๒๑๗๕ เว็บไซต์ : www.buddhakos.org


อักษรย่อ เพื่อความสะดวกแก่ผู้ที่ยังไม่เข้าใจเรื่องอักษรย่อ ที่ใช้หมายแทนชื่อคัมภีร์ ซึ่งมีอยู่โดยมาก มหาวิ. วิ. ภิกฺขุนี. วิ. มหา. วิ. จุลฺล. วิ. ปริวาร. วิ. สี. ที. มหา. ที. ปา. ที. มู. ม. ม. ม. อุปริ. ม. สคาถ. สํ. นิทาน. สํ. ขนฺธ. สํ. สฬา. สํ. มหาวาร. สํ. เอก. อํ. ทุก. อํ. ติก. อํ. จตุกฺก. อํ.

มหาวิภังค์ ภิกขุนีวิภังค์ มหาวรรค จุลวรรค ปริวารวรรค สีลขันธวรรค มหาวรรค ปาฏิกวรรค มูลปัณณาสก์ มัชฌิมปัณณาสก์ อุปริปัณณาสก์ สคาถวรรค นิทานวรรค ขันธวารวรรค สฬายตนวรรค มหาวารวรรค เอกนิบาต ทุกนิบาต ติกนิบาต จตุกกนิบาต

วินัยปิฎก. วินัยปิฎก. วินัยปิฎก. วินัยปิฎก. วินัยปิฎก. ทีฆนิกาย. ทีฆนิกาย. ทีฆนิกาย. มัชฌิมนิกาย. มัชฌิมนิกาย. มัชฌิมนิกาย. สังยุตตนิกาย. สังยุตตนิกาย. สังยุตตนิกาย. สังยุตตนิกาย. สังยุตตนิกาย. อังคุตตรนิกาย. อังคุตตรนิกาย. อังคุตตรนิกาย. อังคุตตรนิกาย.


ปญฺจก. อํ. ฉกฺก. อํ. สตฺตก. อํ. อฏฺก. อํ. นวก. อํ. ทสก. อํ. เอกาทสก. อํ. ขุ. ขุ. ธ. ขุ. อุ. ขุ. อิติวุ. ขุ. สุตฺต. ขุ. วิมาน. ขุ. เปต. ขุ. เถร. ขุ. เถรี. ขุ. ชา. ขุ. มหานิ. ขุ. จูฬนิ. ขุ. ปฏิสมฺ. ขุ. อปท. ขุ. พุทฺธว. ขุ. จริยา. ขุ.

ปัญจกนิบาต ฉักกนิบาต สัตตกนิบาต อัฏฐกนิบาต นวกนิบาต ทสกนิบาต เอกาทสกนิบาต ขุททกปาฐะ ธรรมบท อุทาน อิติวุตตกะ สุตตนิบาต วิมานวัตถุ เปตวัตถุ เถรคาถา เถรีคาถา ชาดก มหานิทเทส จูฬนิทเทส ปฏิสัมภิทามรรค อปทาน พุทธวงส์ จริยาปิฎก

อังคุตตรนิกาย. อังคุตตรนิกาย. อังคุตตรนิกาย อังคุตตรนิกาย. อังคุตตรนิกาย. อังคุตตรนิกาย. อังคุตตรนิกาย. ขุททกนิกาย. ขุททกนิกาย. ขุททกนิกาย. ขุททกนิกาย. ขุททกนิกาย. ขุททกนิกาย. ขุททกนิกาย. ขุททกนิกาย. ขุททกนิกาย. ขุททกนิกาย. ขุททกนิกาย. ขุททกนิกาย. ขุททกนิกาย. ขุททกนิกาย. ขุททกนิกาย. ขุททกนิกาย.

ตัวอย่าง : ๑๔/๑๗๑/๒๔๕ ให้อ่านว่า ไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ เล่ม ๑๔ หน้า ๑๗๑ ข้อที่ ๒๔๕



คำ�อนุโมทนา ขออนุโมทนา ในกุศลเจตนาครั้งนี้เป็นอย่างยิ่ง ทีไ่ ด้สร้างเหตุปจั จัยอันเป็นไปเพือ่ ความเจริญ และความมีอายุ ยืนยาวแห่งพุทธวจน ด้วยการสืบสายถ่ายทอดคำ�สอนที่ ออกจากพระโอษฐ์ของพระองค์เอง ในส่วนของเรือ่ งกรรม กับความเข้าใจที่ถูกต้อง สมดังพุทธประสงค์ ที่ต้องการ ให้มีผู้นำ�คำ�สอนของพระองค์ไปศึกษาประพฤติปฏิบัติ เพ่งพิสูจน์ข้ออรรถข้อธรรม เพื่อให้เห็นแจ้งเป็นปัจจัตตัง และขยันในการถ่ายทอดบอกสอนกันรุน่ ต่อรุน่ สืบๆ กันไป ด้วยเหตุทไี่ ด้กระทำ�มาแล้วนี้ ขอจงเป็นพลวปัจจัย ให้ผู้มีส่วนร่วมในการทำ�หนังสือและผู้ที่ได้อ่าน ได้ศึกษา พึงได้ดวงตาเห็นธรรม  สำ�เร็จผลยังพระนิพพาน  สมดัง ความปรารถนาที่ได้สร้างมาอย่างดีแล้วด้วยเทอญ. ขออนุโมทนา ภิกขุคึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล



คำ�นำ� ในครัง้ พุทธกาล มีภกิ ษุอธิบายเกีย่ วกับวิญญาณว่า วิญญาณ คือสภาพทีร่ บั รูอ้ ารมณ์ตา่ งๆ ได้ สือ่ สารพูดคุยได้ เป็นผูร้ บั ผลของกรรมดีกรรมชัว่ เป็นผูท้ แ่ี ล่นไป ท่องเทีย่ วไป พระพุทธเจ้าทรงเรียกภิกษุรูปนั้นมาสอบทันที เมื่อได้ความตรงกันกับที่ถูกโจทก์แล้ว ทรงตำ�หนิโดยการ เรียกภิกษุรูปนี้ว่า “โมฆะบุรุษ” ซึ่งแปลตามความหมายว่า บุคคลอันเปล่า ไร้ประโยชน์ เป็นโมฆะ มีไว้ก็เท่ากับไม่มี จากนั้น ทรงพยากรณ์ว่า การพูดผิดไปจากคำ�ของตถาคต เช่นนี้ จะทำ�ให้ประสพบาปมิใช่บุญเป็นอันมาก คงไม่ใช่เรื่องยากเกินไปนัก ที่จะทำ�ความเข้าใจว่า วิญญาณ โดยนัยของขันธ์ห้านั้น ไม่ใช่ตัวสัตว์ ไม่ใช่บุคคล เป็นแต่เพียงสิง่ ทีม่ กี ริยารูไ้ ด้ และเป็นปฏิจจสมุปปันธรรม คืออาศัยเหตุปัจจัยในการเกิดขึ้นมีอยู่ ส่วนสัตว์ บุคคลผู้ ทำ�กรรม รับกรรมนัน้ คือขันธ์หา้ อันประกอบด้วยอุปาทาน ปรุงแต่งเสร็จไปแล้ว ว่าเป็นนี้ๆ เป็นนั้นๆ คำ�ถามก็คือ บุคคลประเภทไหนที่สนใจกรรม วิบากกรรมในขันธ์หา้ (อันไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เป็นเรา ไม่ใช่ตวั ตน ของเรา) นี้


คำ�ตอบก็คือ บุคคลที่ยังมีความเห็นในวิญญาณ ว่าคือผู้รับรู้ ผู้กระทำ� ผู้รับผลของกรรม คือผู้ท่องเที่ยว เวียนว่ายไป โดยนัยลักษณะเดียวกับภิกษุรูปนั้น ในครั้ง พุทธกาล คำ�ถามอาจมีขน้ึ อีกว่า จะมีบา้ งไหมบางคน ทีไ่ ม่สนใจ ไม่แยแส ไม่อยากรู้ ในเรือ่ งของกรรม และวิบากของกรรม ในแง่มมุ ต่างๆ ภายใต้ความเห็นว่าใช่ตวั ตนในอุปาทานขันธ์ ไม่สนใจ การทีม่ ที เ่ี ป็นแล้วนี้ ว่าเกิดจากกรรมนีๆ้ ในภพโน้นๆ ไม่แยแส แก้กรรมในภพโน้นๆ ทีส่ ง่ ผลอยูน่ ้ี ด้วยกรรมนัน้ ๆ ไม่อยากรู้ ว่าทำ�กรรมแบบนัน้ ๆ แล้วจะได้รบั ผลแบบไหนๆ คำ�ตอบพึงมีวา่ ผูถ้ งึ พร้อมด้วยทิฏฐิ (ทิฏฐิสมั ปันนะ) มีอยูค่ อื เข้าสูแ่ ล้วในสัมมัตตนิยาม เข้าสูแ่ ล้วในระบบทีถ่ กู ต้อง เป็นผู้ถึงแล้วซึ่งกระแส (โสตะ) คือทางอันเป็นอริยะ ฐานะทีเ่ ป็นไปไม่ได้ ของผูถ้ งึ พร้อมด้วยทิฏฐิ นัน่ คือ ยึดมั่นความตามเห็นขันธ์ในส่วนอดีต (ปุพพันตานุทิฏฐิ) และยึดมัน่ ความตามเห็นขันธ์สว่ นอนาคต (อปรันตานุทฏิ ฐิ) พระพุทธเจ้าทรงยืนยันว่า ผูท้ ถ่ี งึ พร้อมด้วยทิฏฐิแล้วนี้ จะมี ความรู้เข้าใจอันพิเศษเฉพาะ ซึ่งหาไม่ได้ในปุถุชนทั่วไป ทุกข์ จะค่อยๆ ดับไป ในทุกๆ ก้าวบนหนทาง และเป็นผูท้ ่ี จะไม่ตกต่ำ�เป็นธรรมดา มีสัมโพธิเป็นเบื้องหน้าที่สุด


สังคมพุทธในวันนี้ แม้จะยังมีความเจริญในระบบ ธรรมวินัยอยู่ก็ตาม แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่ายังมีบุคคลในข่าย “โมฆะบุรุษ” ดังครั้งพุทธกาลนั้น โมฆะบุรุษนี้ คือผู้ที่ขับเคลื่อนการกระทำ�ต่างๆ ทีอ่ อกนอกแนวทางของอริยมรรคมีองค์ ๘ ไปเรือ่ ยๆ และ นำ�พาโลกไป ด้วยระบบคิดทีป่ รารภขันธ์หา้ โดยความเป็นตน ทั้งหมดนี้ทำ�ขึ้นภายใต้การอ้างถึงคำ�สอนของพระพุทธเจ้า เราอาจเคยได้ยิน การอ้างถึงพระธรรมคำ�สอนใน ส่วนของศีลธรรม ซึง่ เป็นเรือ่ งของข้อปฏิบตั ทิ ไ่ี ม่เบียดเบียน อันนำ�มาซึง่ วิบากอันดีตอ่ ตนเอง และหมูส่ ตั ว์ทง้ั หลายโดยรวม อีกทัง้ ยังเป็นเหตุให้ได้บงั เกิดในภพทีเ่ ต็มไปด้วยสุขเวทนา ธรรมะ ในแง่มมุ ระดับศีลธรรมนี้ ได้ถกู เข้าใจไปว่าเป็นเพียง เครือ่ งมือให้ได้มาซึง่ ความสุขมีประมาณต่างๆ อันเป็นผลจาก การกระทำ�ที่ดีนั้น และเพื่อให้มีภพต่อๆ ไปที่ดีเท่านั้น ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน ต่อระบบศีลธรรมนี้ เกิดจากการไม่รแู้ จ้งแทงตลอดด้วยดีดว้ ยทิฏฐิ ในพุทธวจน เรือ่ งทาน ศีล สวรรค์ เป็นเพียงส่วนหนึง่ ในอนุปพุ พิกถา ๕ ซึง่ พระพุทธองค์ทรงใช้แสดงต่อฆราวาส ผูท้ ย่ี งั มีจติ จมอยูใ่ น ความสุขแบบโลกๆ ยังไม่พร้อมที่จะเข้าถึงอริยสัจได้ทันที ทานกถา คือ การให้ การสละ, สีลกถา คือ ระบบศีลธรรม,


สัคคกถา คือ สุขแบบสวรรค์, กามาทีนวกถา คือ โทษแห่งกาม และ เนกขัมมานิสงั สกถา คือ อานิสงส์แห่งการออกจากกาม เมือ่ ผูฟ้ งั มีจติ อ่อนโยน ปลอดนิวรณ์ นุม่ เบาควรแก่การแล้ว จึงทรงแสดงอริยสัจสี่ อันเป็นจุดประสงค์หลักเพียงอันเดียว ของการเทศนาแต่ละครั้ง สิ่ ง ที่ เ กิ ด ขึ้ น ทุ ก วั น นี้ คื อ การตั ด ทอนคำ � สอน โดยแยกเน้นเวียนวนอยู่ เฉพาะเรื่องของทาน ศีล สวรรค์ ยิ่งไปกว่านั้น หากบวกเข้าไปด้วยกับบุคคลที่ยังไม่พ้นการ ดำ�รงชีพด้วยมิจฉาอาชีวะแบบของสมณะ คือ เลีย้ งชีพด้วย การทำ�นาย การดูหมอ ดูฤกษ์ และอื่นๆ ทั้งหลายทั้งปวง ทีร่ วมเรียกว่าติรจั ฉานวิชา ทัง้ หมดนีจ้ งึ เป็นเสมือนขบวนการ ที่ผันแปรธรรมวินัย ให้กลายเป็นลัทธิใหม่อะไรสักอย่างที่ ไม่ใช่พทุ ธ แต่อา้ งความเป็นพุทธ แล้วนำ�พาผูค้ นทีห่ ลงทาง อยู่แล้ว ให้ยิ่งผูกติด พันเกี่ยวอยู่แต่ในภพ หนังสือ พุทธวจน ฉบับ แก้กรรม โดยพระตถาคต นี้ คือการรวมหลักธรรมทีพ่ ระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้เกีย่ วกับกรรม โดยผูศ้ กึ ษาจะสังเกตเห็นได้ทนั ทีคอื ความรูใ้ นเรือ่ งกรรม ว่า กรรม เป็นสิง่ ทีบ่ คุ คลพึงทราบทัง้ หมด ๖ แง่มมุ ด้วยกันเท่านัน้ เป็นการรู้ที่จะนำ�ไปสู่การหลุดพ้นจากระบบแห่งกรรมที่ หมู่สัตว์ติดข้องอยู่มานานนับนี้


อริยมรรคมีองค์ ๘ คือ หนทางให้ถงึ ความดับแห่งกรรม โดยตัวของอริยมรรคเอง มีแล้ว ซึง่ การสร้างวิบากอันเป็นเลิศ มีพร้อมแล้วซึง่ อานิสงส์คอื การนำ�ไปสูก่ ารสลัดคืนอุปาทานขันธ์ นัน่ คือ การกระทำ�กรรม เพือ่ ให้ระบบกรรมทัง้ หมดทัง้ ปวงนัน้ กลายเป็นโมฆะโดยสิ้นเชิง

คณะผู้จัดพิมพ์หนังสือเล่มนี้ ขอนอบน้อมสักการะ ต่อ ตถาคต ผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ และ ภิกษุสาวกในธรรมวินัยนี้ ตั้งแต่ครั้งพุทธกาล จนถึงยุคปัจจุบัน ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการสืบทอดพุทธวจน คือ ธรรม และวินัย ที่ทรงประกาศไว้ บริสุทธิ์บริบูรณ์ดีแล้ว คณะงานธัมมะ วัดนาป่าพง


สารบัญ สิ่งที่ต้องรู้เกี่ยวกับ “กรรม” ๑ ๑. รายละเอียดที่บุคคลควรทราบ ๒ เกี่ยวกับเรื่องกรรม ๒. ว่าด้วยเหตุเกิดของกรรม ๓ อย่าง ๖ ๓. ว่าด้วยเหตุเกิดแห่งกรรม ๓ อย่าง (อีกนัยยะ) ๙ ๔. สิ่งที่ไม่ควรคิด ๑๓ ประเภทของกรรม ๕. แบ่งตามการกระทำ�และผลที่ได้รับ ๖. อะไรคือกรรมเก่าและกรรมใหม่ ๗. กายนี้ เป็น “กรรมเก่า” ๘. การทำ�กรรมทางใดมีโทษมากที่สุด

๑๕

๑๖ ๒๑ ๒๔ ๒๖

หลักการพิจารณาว่ากรรมชนิดนัน้ ควรทำ�หรือไม่ ๓๑ ๙. เมื่อจะกระทำ� ๓๒ ๑๐. เมื่อกระทำ�อยู่ ๓๓ ๑๑. เมื่อกระทำ�แล้ว ๓๔


ข้อควรทราบเพื่อป้องกันความเข้าใจผิด ๓๗ เกี่ยวกับเรื่องกรรม ๑๒. การพยากรณ์บุคคลอื่น ทำ�ได้หรือไม่ ๓๘ ๑๓. ทุกข์เกิดเพราะมีเหตุปัจจัย ๓๙ ๑๔. ทาง ๒ สายที่ไม่ควรเดิน ๔๑ ๑๕. บาปกรรมเก่า ๔๓ ไม่อาจสิ้นได้ด้วยการทรมานตนเอง ๑๖. สุข-ทุกข์ ที่ได้รับ ไม่ใช่ผลของกรรมเก่าอย่างเดียว ๔๗ ลัทธิความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับกรรม ๓ แบบ ๕๙ ๑๗. ลัทธิที่เชื่อว่าสุขและทุกข์ ๖๐ เกิดจากกรรมเก่าอย่างเดียว ๑๘. ลัทธิที่เชื่อว่าสุขและทุกข์ ๖๓ เกิดจากเทพเจ้าบันดาลให้ ๑๙. ลัทธิที่เชื่อว่าสุขและทุกข์เกิดขึ้นเองลอยๆ ๖๕ ไม่มีอะไรเป็นเหตุ เป็นปัจจัย ๒๐. เชื่อว่า “กรรม” ไม่มี อันตรายอย่างยิ่ง ๖๗


ผลของกรรม แบ่งโดยระยะเวลาการให้ผล

๖๙

ผลของกรรม แบ่งโดยผลที่ได้รับ

๗๑

๒๑. ระยะเวลาการให้ผลของกรรม

๗๐

๒๒. ผู้ฉลาดในเรื่องวิบากแห่งกรรม ๗๒ ๒๓. เหตุให้ได้ความเป็นผู้มีรูปงาม ๗๔ มีทรัพย์มาก และสูงศักดิ์ ๒๔. ผลของการให้ทานแบบต่างๆ ๗๕ ๒๕. กรรมที่ทำ�ให้ได้รับผลเป็นความไม่ตกต่ำ� ๗๗ ๒๖. เหตุที่ทำ�ให้มนุษย์เกิดมาแตกต่างกัน ๗๙ ๒๗. บุรพกรรมของการได้ลกั ษณะ “มหาบุรษุ ” ๙๓ ๒๘. ทำ�ไมคนที่ทำ�บาปกรรมอย่างเดียวกัน ๑๐๕ แต่รับวิบากกรรมต่างกัน ๒๙. อานิสงส์ของการรักษาศีล ๑๑๑ ๓๐. สุคติของผู้มีศีล ๑๑๕ ๓๑. วิบากของผู้ทุศีล ๑๑๗ ๓๒. ทุคติของผู้ทุศีล ๑๒๐ ๓๓. ทำ�ชั่วได้ชั่ว ๑๒๒ ๓๔. บุคคล ๔ จำ�พวก ๑๒๔


กรรมที่ทำ�ให้สิ้นกรรม

๑๒๙

๓๕. ข้อปฏิบัติให้ถึงความสิ้นกรรม ๑๓๐ -รายละเอียดของสัมมากัมมันตะ ๑๓๕ -สัมมากัมมันตะโดยปริยายสองอย่าง ๑๓๗ -อาชีพที่ไม่ควรกระทำ� ๑๓๙ ๓๖. “สิ้นตัณหา ก็ สิ้นกรรม” ๑๔๐ ๓๗. การกระทำ�กรรมทีเ่ ป็นไปเพือ่ การสิน้ กรรม ๑๔๒ ๓๘. จะเกิดในตระกูลใดก็สิ้นกรรมได้ ๑๔๕

เรือ่ งเกีย่ วกับ “กรรม” ในเชิงปฏิจจสมุปบาท ๑๕๑

(การที่ทุกข์เกิดขึ้นเพราะอาศัยปัจจัยต่อเนื่องกันมา) ๓๙. เหตุเกิดของทุกข์ ๑๕๒ ๔๐. ความหมายที่แท้จริงของคำ�ว่า “สัตว์” ๑๕๔ ๔๑. ความไม่มีสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา ๑๕๕ ๔๒. เหตุเกิดของภพ ๑๕๙ ๔๓. เครื่องนำ�ไปสู่ภพ ๑๖๑ ๔๔. ปฏิจจสมุปบาท ๑๖๒ ในฐานะเป็นกฎสูงสุดของธรรมชาติ



สิ่งที่ต้องรู้เกี่ยวกับ “กรรม”


​2 พุ ท ธ ว จ น

๑ รายละเอียดที่บุคคลควรทราบ เกี่ยวกับเรื่องกรรม ภิกษุทั้งหลาย ! กรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ, นิทานสัมภวะแห่งกรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ, เวมัตตตาแห่งกรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ, วิบากแห่งกรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ, กัมมนิโรธ เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ, กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นสิง่ ทีบ่ คุ คลควรทราบ .... คำ�ที่เรากล่าวแล้วดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าวเล่า ? ภิกษุทั้งหลาย ! เรากล่าวซึง่ เจตนาว่าเป็นกรรม เพราะว่าบุคคล เจตนาแล้ว ย่อมกระทำ�ซึง่ กรรมด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ.


ฉบับ ๕ แก้กรรม ?

ภิกษุทั้งหลาย ! นิทานสัมภวะ (เหตุเป็นแดนเกิด พร้อม) แห่งกรรมทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุทั้งหลาย ! นิทานสัมภวะแห่งกรรมทัง้ หลาย คือ ผัสสะ. ภิกษุทั้งหลาย ! เวมัตตตา (ความมีประมาณต่างๆ) แห่งกรรมทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุทั้งหลาย ! กรรมทีท่ �ำ สัตว์ให้เสวยเวทนา ในนรก มีอยู่, กรรมที่ทำ�สัตว์ให้เสวยเวทนาในกำ�เนิด เดรัจฉาน มีอยู,่ กรรมทีท่ �ำ สัตว์ให้เสวยเวทนาในเปรตวิสยั มีอยู่, กรรมที่ทำ�สัตว์ให้เสวยเวทนาในมนุษย์โลก มีอยู่, กรรมทีท่ �ำ สัตว์ให้เสวยเวทนาในเทวโลก มีอยู.่ ภิกษุทง้ั หลาย ! นี้เรากล่าวว่า เวมัตตตาแห่งกรรมทั้งหลาย. ภิกษุทั้งหลาย ! วิบาก (ผลแห่งการกระทำ�) แห่ง กรรมทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุทั้งหลาย ! เรากล่าววิบากแห่งกรรมทัง้ หลาย ว่ามีอยู่ ๓ อย่าง คือ วิบากในทิฏฐธรรม (คือทันควัน) หรือว่า วิบากในอุปปัชชะ (คือในเวลาต่อมา) หรือว่า วิบาก ในอปรปริยายะ (คือในเวลาต่อมาอีก). ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรากล่าวว่า วิบากแห่งกรรมทั้งหลาย.

​3


​4 พุ ท ธ ว จ น ภิกษุทั้งหลาย ! กัมมนิโรธ (ความดับไม่เหลือ แห่งกรรม) เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุทั้งหลาย ! ความดับแห่งกรรมทั้งหลาย ย่อมมีเพราะความดับแห่งผัสสะ. ภิกษุทั้งหลาย ! กั ม ม นิ โ ร ธ ค า มิ นี ป ฏิ ป ท า (ข้อปฏิบตั ใิ ห้ถงึ ความดับไม่เหลือแห่งกรรม) เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุทั้งหลาย ! อริยอัฏฐังคิกมรรค (อริยมรรค มีองค์แปด)  นี้น่ันเอง  คือ  กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา; ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ :สัมมาทิฏฐิ  (ความเห็นชอบ)  สัมมาสังกัปปะ  (ความดำ�ริชอบ) สัมมาวาจา  (การพูดจาชอบ)  สัมมากัมมันตะ  (การทำ�การงานชอบ)  สัมมาอาชีวะ  (การเลี้ยงชีวิตชอบ) สัมมาวายามะ  (ความพากเพียรชอบ)  สัมมาสติ  (ความระลึกชอบ)  สัมมาสมาธิ  (ความตัง้ ใจมัน่ ชอบ).


ฉบับ ๕ แก้กรรม ?

​5

ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อใดอริยสาวก ย่อมรู้ชัดซึ่ง กรรม อย่างนี้, รู้ชัดซึ่ง นิทานสัมภวะแห่งกรรม อย่างนี้, รู้ชัดซึ่ง เวมัตตตาแห่งกรรม อย่างนี้, รู้ชัดซึ่ง วิบากแห่งกรรม อย่างนี้, รู้ชัดซึ่ง กัมมนิโรธ อย่างนี้, รู้ชัดซึ่ง กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา อย่างนี้; อริ ย สาวกนั้ น ย่ อ มรู้ ชั ด ซึ่ ง พรหมจรรย์ นี้ ว่ า เป็นเครื่องเจาะแทงกิเลส เป็นที่ดับไม่เหลือแห่งกรรม. ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อที่เรากล่าวแล้วว่า “กรรม  เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ,  นิทานสัมภวะแห่งกรรม  เป็นสิง่ ทีบ่ คุ คลควรทราบ,  เวมัตตตาแห่งกรรม  เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ,  วิบากแห่งกรรม  เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ,  กัมมนิโรธ  เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ, กัมมนิโรธคามินปี ฏิปทา  เป็นสิง่ ทีบ่ คุ คลควรทราบ” ดังนี้นั้น  เราอาศัยความข้อนี้กล่าวแล้ว. ฉกฺก. อํ. ๒๒/๔๕๘,๔๖๓-๔๖๔/๓๓๔.


​6 พุ ท ธ ว จ น

๒ ว่าด้วยเหตุเกิดของกรรม ๓ อย่าง ภิกษุทั้งหลาย ! เหตุทง้ั หลาย ๓ ประการเหล่านี้ มีอยู่  เพื่อความเกิดขึ้นแห่งกรรมทั้งหลาย. ๓ ประการเหล่าไหนเล่า ? ๓ ประการ คือ :โลภะ (ความโลภ) เป็ น เหตุ เ พื่ อ ความเกิ ด ขึ้ น แห่งกรรมทั้งหลาย, โทสะ (ความคิดประทุษร้าย) เป็นเหตุเพือ่ ความเกิดขึน้ แห่งกรรมทั้งหลาย, โมหะ (ความหลง) เป็นเหตุเพื่อความเกิดขึ้น แห่งกรรมทั้งหลาย. ภิกษุทง้ั หลาย ! เปรียบเหมือนเมล็ดพืชทัง้ หลาย ที่ไม่แตกหัก  ที่ไม่เน่า  ที่ไม่ถูกทำ�ลายด้วยลมและแดด เลือกเอาแต่เม็ดดี  เก็บงำ�ไว้ดี  อันบุคคลหว่านไปแล้ว ในพื้นที่ซ่ึงมีปริกรรมอันกระทำ�ดีแล้วในเนื้อนาดี.  อนึ่ง สายฝนก็ตกต้องตามฤดูกาล.


ฉบับ ๕ แก้กรรม ?

​7

ภิกษุทั้งหลาย ! เมล็ ด พื ช ทั้ ง หลายเหล่ า นั้ น จะพึงถึงซึง่ ความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์โดยแน่นอน, ฉันใด; ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนี้ก็ฉันนั้น คือ กรรมอันบุคคลกระทำ�แล้วด้วยโลภะ เกิดจากโลภะ มีโลภะเป็นเหตุ  มีโลภะเป็นสมุทยั   อันใด;  กรรมอันนัน้   ย่อมให้ผลในขันธ์ท้งั หลาย  อันเป็นที่บังเกิดแก่อัตตภาพ ของบุคคลนัน้ .  กรรมนั้นให้ผลในอัตตภาพใด  เขาย่อม เสวยวิบากแห่งกรรมนั้นในอัตตภาพนั้นเอง  ไม่ว่าจะ เป็นไปอย่างในทิฏฐธรรม  (คือทันควัน)  หรือว่า  เป็นไป อย่างในอุปปัชชะ (คือในเวลาต่อมา)  หรือว่า  เป็นไปอย่าง ในอปรปริยายะ  (คือ ในเวลาต่อมาอีก)  ก็ตาม. กรรมอันบุคคลกระทำ�แล้วด้วยโทสะ  เกิดจากโทสะ มีโทสะเป็นเหตุ  มีโทสะเป็นสมุทัย  อันใด;  กรรมอันนั้น ย่อมให้ผลในขันธ์ทั้งหลาย  อันเป็นที่บังเกิดแก่อัตตภาพ ของบุคคลนั้น.  กรรมนั้นให้ผลในอัตตภาพใด  เขาย่อม เสวยวิบากแห่งกรรมนั้นในอัตตภาพนั้นเอง  ไม่ว่าจะ เป็นไปอย่างในทิฏฐธรรม  หรือว่า  เป็นไปอย่างในอุปปัชชะ หรือว่า  เป็นไปอย่างในอปรปริยายะ  ก็ตาม.


​8 พุ ท ธ ว จ น

กรรมอันบุคคลกระทำ�แล้วด้วยโมหะ  เกิดจากโมหะ มีโมหะเป็นเหตุ  มีโมหะเป็นสมุทยั   อันใด;  กรรมอันนัน้ ย่อมให้ผลในขันธ์ทั้งหลาย  อันเป็นที่บังเกิดแก่อัตตภาพ ของบุคคลนั้น.  กรรมนั้นให้ผลในอัตตภาพใด  เขาย่อม เสวยวิบากแห่งกรรมนั้นในอัตตภาพนั้นเอง  ไม่ว่าจะ เป็นไปอย่างในทิฏฐธรรม  หรือว่า  เป็นไปอย่างในอุปปัชชะ  หรือว่า  เป็นไปอย่างในอปรปริยายะ  ก็ตาม. ภิกษุทั้งหลาย ! เหตุ ท้ั ง หลาย ๓ ประการ เหล่านี้แล เป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นแห่งกรรมทั้งหลาย. ติก. อํ. ๒๐/๑๗๑/๔๗๓.


ฉบับ ๕ แก้กรรม ?

๓ ว่าด้วยเหตุเกิดของกรรม ๓ อย่าง (อีกนัยยะ)

ภิกษุทั้งหลาย ! เหตุ ๓ ประการนี้ เป็นไป เพื่อความเกิดขึ้นพร้อมมูลแห่งกรรม. เหตุ ๓ ประการ คืออะไรบ้างเล่า ? คือ ความพอใจ เกิด เพราะปรารภธรรมทัง้ หลาย อันเป็นฐานแห่งฉันทราคะ (ความรักใคร่ พอใจ) ทีเ่ ป็นอดีต ๑, ความพอใจ เกิด เพราะปรารภธรรมทั้งหลาย อันเป็นฐานแห่งฉันทราคะที่เป็นอนาคต ๑, ความพอใจ เกิด เพราะปรารภธรรมทั้งหลาย อันเป็นฐานแห่งฉันทราคะที่เป็นปัจจุบัน ๑. ความพอใจเกิ ด เพราะปรารภธรรมทั้ ง หลาย อันเป็นฐานแห่งฉันทราคะที่เป็นอดีต  เป็นอย่างไรเล่า ? คือบุคคลตรึกตรองไปถึงธรรมอันเป็นฐานแห่ง ฉันทราคะทีล่ ว่ งไปแล้ว เมือ่ ตรึกตรองตามไป ความพอใจ ก็เกิดขึ้น ผู้เกิดความพอใจแล้ว ก็ช่ือว่าถูกธรรมเหล่านั้น ผูกไว้แล้ว เรากล่าวความติดใจนัน้ ว่าเป็นสังโยชน์ (เครือ่ งผูก)

​9


​10 พุ ท ธ ว จ น ความพอใจเกิดเพราะปรารภธรรมทัง้ หลาย อันเป็นฐาน แห่งฉันทราคะที่เป็นอดีต เป็นอย่างนี้แล. ความพอใจเกิ ด เพราะปรารภธรรมทั้ ง หลาย อันเป็นฐานแห่งฉันทราคะทีเ่ ป็นอนาคต เป็นอย่างไรเล่า ? คือบุคคลตรึกตรองไปถึงธรรม อันเป็นฐานแห่ง ฉันทราคะทีย่ งั ไม่มาถึง เมือ่ ตรึกตรองตามไป ความพอใจ ก็เกิดขึ้น ผู้เกิดความพอใจแล้ว ก็ชื่อว่าถูกธรรมเหล่านั้น ผู ก ไว้ แ ล้ ว เรากล่ า วความติ ด ใจนั้ น ว่ า เป็ น สั ง โยชน์ ความพอใจเกิดเพราะปรารภธรรมทัง้ หลาย อันเป็นฐาน แห่งฉันทราคะที่เป็นอนาคต เป็นอย่างนี้แล. ความพอใจเกิ ด เพราะปรารภธรรมทั้ ง หลาย อันเป็นฐานแห่งฉันทราคะทีเ่ ป็นปัจจุบนั เป็นอย่างไรเล่า ? คือบุคคลตรึกตรองถึงธรรม อันเป็นฐานแห่ง ฉันทราคะที่เกิดขึ้นจำ�เพาะหน้า เมื่อตรึกตรองตามไป ความพอใจก็เกิดขึ้น ผู้เกิดความพอใจแล้ว ก็ชื่อว่าถูก ธรรมเหล่านั้นผูกไว้แล้ว เรากล่าวความติดใจนั้น ว่าเป็น สังโยชน์ ความพอใจเกิดเพราะปรารภธรรมทั้งหลาย อันเป็นฐานแห่งฉันทราคะทีเ่ ป็นปัจจุบนั เป็นอย่างนีแ้ ล.


ฉบับ ๕ แก้กรรม ?

ภิกษุทั้งหลาย ! เหตุ ๓ ประการเหล่ า นี้ แ ล เป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นพร้อมมูลแห่งกรรม. ภิกษุทั้งหลาย ! (อีกอย่างหนึง่ ) เหตุ ๓ ประการนี้ เป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นพร้อมมูลแห่งกรรม. เหตุ ๓ ประการ คืออะไรบ้างเล่า ? คือ ความพอใจ ไม่เกิด เพราะปรารภธรรมทัง้ หลาย อันเป็นฐานแห่งฉันทราคะที่เป็นอดีต ๑, ความพอใจ ไม่เกิด เพราะปรารภธรรมทั้งหลาย อันเป็นฐานแห่งฉันทราคะที่เป็นอนาคต ๑, ความพอใจ ไม่เกิด เพราะปรารภธรรมทั้งหลาย อันเป็นฐานแห่งฉันทราคะที่เป็นปัจจุบัน ๑. ความพอใจไม่เกิดเพราะปรารภธรรมทั้งหลาย อันเป็นฐานแห่งฉันทราคะที่เป็นอดีต  เป็นอย่างไร ? คื อ บุ ค คลรู้ ชั ด ซึ่ ง วิ บ ากอั น ยื ด ยาวของธรรม อันเป็นฐานแห่งฉั น ทราคะที่ ล่ ว งไปแล้ ว ครั้นรู้ชัดซึ่ง วิบากอันยืดยาวแล้ว กลับใจเสียจากเรื่องนั้น ครั้นกลับใจ ได้แล้ว คลายใจออก ก็เห็นแจ้งแทงตลอดด้วยปัญญา ความพอใจไม่เกิดเพราะปรารภธรรมทัง้ หลาย อันเป็นฐาน แห่งฉันทราคะที่เป็นอดีต เป็นอย่างนี้แล.

​11


​12 พุ ท ธ ว จ น ความพอใจไม่เกิดเพราะปรารภธรรมทั้งหลาย อันเป็นฐานแห่งฉันทราคะทีเ่ ป็นอนาคต  เป็นอย่างไรเล่า ? คื อ บุ ค คลรู้ ชั ด ซึ่ ง วิ บ ากอั น ยื ด ยาวของธรรม อันเป็นฐานแห่งฉันทราคะที่ยังไม่มาถึง  ครั้นรู้ชัดซึ่ง วิบากอันยืดยาวแล้ว  กลับใจเสียจากเรือ่ งนัน้   ครัน้ กลับใจ ได้แล้ว  คลายใจออก  ก็เห็นแจ้งแทงตลอดด้วยปัญญา ความพอใจไม่เกิดเพราะปรารภธรรมทัง้ หลาย  อันเป็น ฐานแห่งฉันทราคะที่เป็นอนาคต  เป็นอย่างนี้แล. ความพอใจไม่เกิดเพราะปรารภธรรมทั้งหลาย อันเป็นฐานแห่งฉันทราคะทีเ่ ป็นปัจจุบนั   เป็นอย่างไรเล่า ? คื อ บุ ค คลรู้ ชั ด ซึ่ ง วิ บ ากอั น ยื ด ยาวของธรรม อันเป็นฐานแห่งฉันทราคะทีเ่ กิดขึน้ จำ�เพาะหน้า ครัน้ รู้ชัด ซึ่งวิบากอันยืดยาวแล้ว  กลับใจเสียจากเรื่องนั้น  ครั้น กลับใจได้แล้ว คลายใจออก ก็เห็นแจ้งแทงตลอดด้วย ปัญญา ความพอใจไม่เกิดเพราะปรารภธรรมทั้งหลาย อันเป็นฐานแห่งฉันทราคะทีเ่ ป็นปัจจุบนั เป็นอย่างนีแ้ ล. ภิกษุทั้งหลาย ! เหตุ ๓ ประการเหล่ า นี้ แ ล เป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นพร้อมมูลแห่งกรรม. ติก. อํ. ๒๐/๓๓๙/๕๕๒.


ฉบับ ๕ แก้กรรม ?

๔ สิ่งที่ไม่ควรคิด ภิกษุทั้งหลาย ! อจินไตย ๔ อย่างนี้ไม่ควรคิด ผูท้ ค่ี ดิ ก็จะพึงมีสว่ นแห่งความเป็นบ้า ได้รบั ความลำ�บากเปล่า. อจินไตย ๔ คืออะไรบ้างเล่า ? คือ :๑. พุทธวิสัยแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เป็นอจินไตยไม่ควรคิด ผูท้ คี่ ดิ ก็จะพึงมีสว่ นแห่ง ความเป็นบ้า ได้รับความลำ�บากเปล่า. ๒. ฌานวิสัยแห่งผู้ได้ฌาน เป็นอจินไตยไม่ควรคิด ผู้ที่คิด ก็จะพึงมีส่วนแห่ง ความเป็นบ้า ได้รับความลำ�บากเปล่า. ๓. วิบากแห่งกรรม เป็นอจินไตยไม่ควรคิด ผู้ที่คิด ก็จะพึงมีส่วนแห่ง ความเป็นบ้า ได้รับความลำ�บากเปล่า. ๔. โลกจินดา (ความคิดในเรื่องของโลก) เป็นอจินไตยไม่ควรคิด ผู้ที่คิด ก็จะพึงมีส่วนแห่ง ความเป็นบ้า ได้รับความลำ�บากเปล่า.

​13


​14 พุ ท ธ ว จ น

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้แล อจินไตย ๔ ไม่ควรคิด ผู้ที่คิด ก็จะพึงมีส่วน แห่งความเป็นบ้า ได้รับความลำ�บากเปล่า. จตุกฺก. อํ. ๒๑/๑๐๔/๗๗.


ประเภทของกรรม


​16 พุ ท ธ ว จ น

๕ แบ่งตามการกระทำ�และผลที่ได้รับ ภิกษุทั้งหลาย ! กรรม ๔ อย่างเหล่านี้ เรากระทำ � ให้ แ จ้ ง ด้ ว ยปั ญ ญาอั น ยิ่ ง เองแล้ ว ประกาศให้รู้ทั่วกัน. กรรม ๔ อย่าง อย่างไรเล่า ? ภิกษุทั้งหลาย ! กรรมดำ� มีวิบากดำ� ก็มีอยู่. ภิกษุทั้งหลาย ! กรรมขาว มีวบิ ากขาว ก็มอี ยู.่ ภิกษุทั้งหลาย ! กรรมทั้งดำ�ทั้งขาว มีวิบาก ทั้งดำ�ทั้งขาว ก็มีอยู่. ภิกษุทั้งหลาย ! กรรมไม่ดำ�ไม่ขาว  มีวิบาก ไม่ดำ�ไม่ขาว  เป็นไปเพื่อความสิ้นกรรม  ก็มีอยู่. ภิกษุทั้งหลาย ! กรรมดำ� มีวบิ ากดำ� เป็นอย่างไร เล่า ?

ภิกษุท้งั หลาย ! บุคคลบางคนในกรณีน้ี ย่อมทำ� ความปรุงแต่งทางกาย อันเป็นไปกับด้วยความเบียดเบียน, ย่อมทำ�ความปรุงแต่งทางวาจา อันเป็นไปกับด้วยความ เบียดเบียน, ย่อมทำ�ความปรุงแต่งทางใจ อันเป็นไปกับ


ฉบับ ๕ แก้กรรม ?

ด้วยความเบียดเบียน. ครั้นเขาทำ�ความปรุงแต่ง (ทั้งสาม) ดังนีแ้ ล้ว ย่อมเข้าถึงโลก อันเป็นไปกับด้วยความเบียดเบียน; ผัสสะทัง้ หลายอันเป็นไปกับด้วยความเบียดเบียน ย่อมถูกต้อง เขาซึ่งเป็นผู้เข้าถึงโลกอันเป็นไปด้วยความเบียดเบียน; เขาอันผัสสะทีเ่ ป็นไปกับด้วยความเบียดเบียนถูกต้องแล้ว ย่อมเสวยเวทนาทีเ่ ป็นไปด้วยความเบียดเบียน อันเป็นทุกข์ โดยส่วนเดียว, ดังเช่นพวกสัตว์นรก. ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรียกว่า กรรมดำ� มีวิบากดำ�. ภิกษุทั้งหลาย ! กรรมขาว มี วิ บ ากขาว เป็ น อย่างไรเล่า ? ภิกษุทั้งหลาย ! บุคคลบางคนในกรณีน้ี ย่อมทำ� ความปรุงแต่งทางกาย อันไม่เป็นไปกับด้วยความเบียดเบียน, ย่อมทำ�ความปรุงแต่งทางวาจา อันไม่เป็นไปกับด้วย ความเบียดเบียน, ย่อมทำ�ความปรุงแต่งทางใจ อันไม่เป็นไป กับด้วยความเบียดเบียน. ครัน้ เขาทำ�ความปรุงแต่ง (ทัง้ สาม) ดังนีแ้ ล้ว ย่อมเข้าถึงโลก อันไม่เป็นไปกับด้วยความเบียดเบียน; ผัสสะทัง้ หลายทีไ่ ม่เป็นไปกับด้วยความเบียดเบียน ย่อม ถูกต้องเขาผูเ้ ข้าถึงโลกอันไม่เป็นไปกับด้วยความเบียดเบียน;

​17


​18 พุ ท ธ ว จ น เขาอันผัสสะทีไ่ ม่เป็นไปกับด้วยความเบียดเบียนถูกต้องแล้ว ย่อมเสวยเวทนาที่ไม่เป็นไปกับด้วยความเบียดเบียน อันเป็นสุขโดยส่วนเดียว, ดังเช่นพวกเทพสุภกิณหา. ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรียกว่า กรรมขาว มีวิบากขาว. ภิกษุทั้งหลาย ! กรรมทั้ ง ดำ � ทั้ ง ขาว  มี วิ บ าก ทั้งดำ�ทั้งขาว  เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุทั้งหลาย ! บุคคลบางคนในกรณีน้ี ย่อมทำ� ความปรุ ง แต่ ง ทางกาย  อั น เป็ น ไปกั บ ด้ ว ยความ เบียดเบียนบ้าง  ไม่เป็นไปด้วยความเบียดเบียนบ้าง, ย่อมทำ�ความปรุงแต่งทางวาจา อันเป็นไปกับด้วยความ เบียดเบียนบ้าง ไม่เป็นไปกับด้วยความเบียดเบียนบ้าง, ย่อมทำ�ความปรุงแต่งทางใจ อันเป็นไปกับด้วยความ เบียดเบียนบ้าง ไม่เป็นไปกับด้วยความเบียดเบียนบ้าง. ครัน้ เขาทำ�ความปรุงแต่ง (ทัง้ สาม) ดังนีแ้ ล้ว ย่อมเข้าถึงโลก อันเป็นไปกับด้วยความเบียดเบียนบ้าง  ไม่เป็นไปด้วย ความเบียดเบียนบ้าง; ผัสสะทั้งหลายที่เป็นไปกับด้วย ความเบียดเบียนบ้าง  ไม่เป็นไปด้วยความเบียดเบียนบ้าง


ฉบับ ๕ แก้กรรม ?

ย่ อ มถู ก ต้ อ งเขาผู้ เ ข้ า ถึ ง โลกอั น เป็ น ไปกั บ ด้ ว ยความ เบียดเบียนบ้าง ไม่เป็นไปกับด้วยความเบียดเบียนบ้าง; เขาอันผัสสะทีเ่ ป็นไปกับด้วยความเบียดเบียนบ้าง ไม่เป็นไป ด้วยความเบียดเบียนบ้างถูกต้องแล้ว ย่อมเสวยเวทนา ที่เป็นไปกับด้วยความเบียดเบียนบ้าง ไม่เป็นไปด้วย ความเบียดเบียนบ้าง อันเป็นเวทนาที่เป็นสุขและทุกข์ เจือกัน, ดังเช่นพวกมนุษย์ พวกเทพบางพวก พวกวินบิ าต บางพวก. ภิกษุทั้งหลาย ! นีเ้ รียกว่า กรรมทัง้ ดำ�ทัง้ ขาว มีวบิ ากทัง้ ดำ�ทัง้ ขาว. ภิกษุทั้งหลาย ! กรรมไม่ด�ำ ไม่ขาว มีวบิ ากไม่ด�ำ ไม่ขาว เป็นไปเพื่อความสิ้นกรรมนั้น เป็นอย่างไรเล่า ? คือ  สัมมาทิฏฐิ  (ความเห็นชอบ)  สัมมาสังกัปปะ  (ความดำ�ริชอบ)

สัมมาวาจา  (การพูดจาชอบ)  สัมมากัมมันตะ  (การทำ�การงานชอบ)  สัมมาอาชีวะ  (การเลี้ยงชีวิตชอบ) สัมมาวายามะ  (ความพากเพียรชอบ)  สัมมาสติ (ความระลึกชอบ)  สัมมาสมาธิ  (ความตั้งใจมั่นชอบ).

​19


​20 พุ ท ธ ว จ น

ภิกษุทั้งหลาย ! นีเ้ รียกว่า กรรมไม่ด�ำ ไม่ขาว มีวบิ ากไม่ด�ำ ไม่ขาว เป็นไปเพื่อความสิ้นกรรม. ภิกษุทั้งหลาย ! เหล่านี้แล กรรม ๔ อย่ าง ทีเ่ ราทำ�ให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิง่ เองแล้วประกาศให้รทู้ ว่ั กัน. จตุกฺก. อํ. ๒๑/๓๒๐-๓๒๑/๒๓๗. (ในสูตรนี้ ทรงแสดงกรรมไม่ด�ำไม่ขาว เป็นที่สิ้นกรรมไว้ด้วย อริยมรรคมีองค์แปด; ในสูตรอื่นทรงแสดงไว้ด้วย โพชฌงค์เจ็ด ก็มี ๒๑/๓๒๒/๒๓๘., แสดงไว้ดว้ ยเจตนาเป็นเครือ่ งละกรรมด�ำ, กรรมขาว และ กรรมทั้งด�ำทั้งขาว ก็มี ๒๑/๓๑๘/๒๓๔.).


ฉบับ ๕ แก้กรรม ?

​21

๖ อะไรคือกรรมเก่าและกรรมใหม่ ภิกษุทั้งหลาย ! เราจักแสดงซึ่งกรรมทั้งหลาย ทัง้ ใหม่และเก่า  (นวปุราณกัมม)  กัมมนิโรธ  และกัมมนิโรธคามินีปฏิปทา. .... ภิกษุทั้งหลาย ! กรรมเก่า (ปุราณกัมม) เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุทง้ั หลาย ! จักษุ (ตา) .... โสตะ (หู) .... ฆานะ (จมูก) .... ชิวหา (ลิน้ ) .... กายะ (กาย) .... มนะ (ใจ) อันเธอทั้งหลาย พึงเห็นว่าเป็นปุราณกัมม (กรรมเก่า) อภิสงั ขตะ (อันปัจจัยปรุงแต่งขึน้ ) อภิสญ ั เจตยิตะ (อันปัจจัย ทำ�ให้เกิดความรู้สึกขึ้น) เวทนียะ (มีความรู้สึกต่ออารมณ์ได้). ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรียกว่า กรรมเก่า. ภิกษุทั้งหลาย ! กรรมใหม่ (นวกัมม) เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุทั้งหลาย ! ข้ อ ที่ บุ ค ค ล ก ร ะ ทำ � ก ร ร ม  ด้วยกาย  ด้ ว ยวาจา  ด้ ว ยใจ  ในกาลบั ด นี้   อั น ใด,  อันนี้เรียกว่า  กรรมใหม่.


​22 พุ ท ธ ว จ น

ภิกษุทั้งหลาย ! กัมมนิโรธ (ความดับแห่งกรรม) เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุทั้งหลาย ! ข้ อ ที่ บุ ค คลถู ก ต้ อ งวิ มุ ต ติ เพราะความดับแห่งกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม อันใด, อันนี้เรียกว่า กัมมนิโรธ. ภิกษุทั้งหลาย ! กั ม ม นิ โ ร ธ ค า มิ นี ป ฏิ ป ท า (ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งกรรม)  เป็นอย่างไรเล่า ? กัมมนิโรธคามินปี ฏิปทานัน้ คือ อริยอัฏฐังคิกมรรค (อริยมรรคมีองค์แปด) นี้นั่นเอง ได้แก่ สั ม มาทิ ฏ ฐิ   (ความเห็ น ชอบ)   สั ม มาสั ง กั ป ปะ  (ความดำ�ริชอบ)

สัมมาวาจา  (การพูดจาชอบ)  สัมมากัมมันตะ  (การทำ�การงานชอบ)  สัมมาอาชีวะ  (การเลี้ยงชีวิตชอบ) สัมมาวายามะ  (ความพากเพียรชอบ)  สัมมาสติ (ความระลึกชอบ)  สัมมาสมาธิ  (ความตั้งใจมั่นชอบ). ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรียกว่า กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา.


ฉบับ ๕ แก้กรรม ?

ภิกษุทั้งหลาย ! ด้วยประการดังนีแ้ ล (เป็นอันว่า) กรรมเก่า เราได้แสดงแล้วแก่เธอทั้งหลาย กรรมใหม่ เราก็แสดงแล้ว, กัมมนิโรธ เราก็ได้แสดงแล้ว, กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา เราก็ได้แสดงแล้ว. ภิกษุทั้งหลาย ! กิจใด ทีศ่ าสดาผูเ้ อ็นดู แสวงหาประโยชน์เกือ้ กูล อาศัยความเอ็นดูแล้ว จะพึงทำ�แก่สาวกทัง้ หลาย, กิจนั้น เราได้ทำ�แล้วแก่พวกเธอ. ภิกษุทั้งหลาย ! นั่นโคนไม้, นั่นเรือนว่าง. พวกเธอจงเพียรเผากิเลส, อย่าได้ประมาท, อย่าเป็นผู้ที่ต้องร้อนใจ ในภายหลังเลย. นี่แล เป็นวาจาเครื่องพร่ำ�สอนของเรา แก่เธอทั้งหลาย. สฬา. สํ. ๑๘/๑๖๖/๒๒๗-๒๓๑.

​23


​24 พุ ท ธ ว จ น

๗ กายนี้ เป็น “กรรมเก่า” ภิกษุทั้งหลาย ! กายนี้ ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย และทั้งไม่ใช่ของบุคคลเหล่าอื่น. ภิกษุทั้งหลาย ! กรรมเก่ า   (กาย)   นี้   อั น เธอ ทัง้ หลาย พึงเห็นว่าเป็นสิง่ ทีป่ จั จัยปรุงแต่งขึน้   (อภิสงฺขต), เป็นสิ่งที่ปัจจัยทำ�ให้เกิดความรู้สึกขึ้น  (อภิสญฺเจตยิต), เป็นสิ่งที่มีความรู้สึกต่ออารมณ์ได้  (เวทนีย). ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณีของกายนั้น อริยสาวก ผู้ได้สดับแล้ว  ย่อมทำ�ไว้ในใจโดยแยบคายเป็นอย่างดี  ซึง่ ปฏิจจสมุปบาท นัน่ เทียว ดังนีว้ า่ “ด้วยอาการอย่างนี้ : เพราะสิ่งนี้มี, สิ่งนี้จึงมี; เพราะความเกิดขึ้นแห่งสิ่งนี้, สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น; เพราะสิ่งนี้ไม่มี, สิ่งนี้จึงไม่มี; เพราะความดับไปแห่งสิ่งนี้, สิ่งนี้จึงดับไป : ข้อนี้ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขารทั้งหลาย; เพราะมีสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ;


ฉบับ ๕ แก้กรรม ?

เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป; เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ; เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ; เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา; เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา; เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน; เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ; เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ; เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะปริเทวะ ทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน : ความเกิดขึน้ พร้อมแห่งกองทุกข์ทง้ั สิน้ นี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้. เพราะความจางคลายดั บ ไปโดยไม่ เ หลื อ แห่ ง อวิชชานั้น นั่นเทียว, จึงมีความดับแห่งสังขาร, เพราะมี ความดับแห่งสังขาร จึงมีความดับแห่งวิญญาณ; ... ฯลฯ ... ฯลฯ ... ฯลฯ ... เพราะมีความดับแห่งชาติ นัน่ แล ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น  :  ความดับลงแห่งกองทุกข์ทง้ั สิน้ นี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี”้ ดังนี้ แล. นิทาน. สํ. ๑๖/๗๗/๑๔๓.

​25


​26 พุ ท ธ ว จ น

๘ การทำ�กรรมทางใดมีโทษมากที่สุด ทีฆตปัสสีนิครนถ์ ได้กราบทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ท่านพระโคดม ! พระองค์ เ ล่ า ย่ อ มบั ญ ญั ติ ทั ณ ฑะ ในการทำ�บาปกรรม ในการเป็นไปแห่งบาปกรรมไว้เท่าไร ?

ทีฆตปัสสี ! ตถาคตจะบัญญัติว่ากรรมๆ ดังนี้ เป็นอาจิณ. ท่านพระโคดม ! ก็พระองค์ย่อมบัญญัติกรรม ในการ ทำ�บาปกรรม ในการเป็นไปแห่งบาปกรรมไว้เท่าไร ?

ทีฆตปัสสี ! เราย่อมบัญญัตกิ รรม ในการทำ� บาปกรรม ในการเป็นไปแห่งบาปกรรมไว้ ๓ ประการ คือ กายกรรม ๑ วจีกรรม ๑ มโนกรรม ๑. ท่านพระโคดม ! ก็กายกรรมอย่างหนึง่ วจีกรรมอย่างหนึง่ มโนกรรมอย่างหนึ่ง มิใช่หรือ ?

ทีฆตปัสสี ! กายกรรมอย่ า งหนึ่ ง วจี ก รรม อย่างหนึ่ง มโนกรรมอย่างหนึ่ง.


ฉบับ ๕ แก้กรรม ?

ท่านพระโคดม ! ก็บรรดากรรมทัง้ ๓ ประการ ทีจ่ �ำแนก ออกแล้วเป็นส่วนละอย่างต่างกัน เหล่านี้ กรรมไหน คือ กายกรรม วจีกรรม หรือมโนกรรม ที่พระองค์บัญญัติว่ามีโทษมากกว่า ในการท�ำบาปกรรม ในการเป็นไปแห่งบาปกรรม ?

ทีฆตปัสสี ! บรรดากรรมทั้ ง ๓ ประการ ที่จำ�แนกออกแล้วเป็นส่วนละอย่างต่างกันเหล่านี้ เราบัญญัตมิ โนกรรมว่ามีโทษมากกว่า ในการทำ� บาปกรรม ในการเป็นไปแห่งบาปกรรม เราจะบัญญัติกายกรรม วจีกรรม ว่ามีโทษมาก เหมือนมโนกรรม หามิได้. ท่านพระโคดม ! พระองค์ตรัสว่ามโนกรรมหรือ ?

ทีฆตปัสสี ! เรากล่าวว่ามโนกรรม. ท่านพระโคดม ! พระองค์ตรัสว่ามโนกรรมหรือ ?

ทีฆตปัสสี ! เรากล่าวว่ามโนกรรม. ท่านพระโคดม ! พระองค์ตรัสว่ามโนกรรมหรือ ?

ทีฆตปัสสี ! เรากล่าวว่ามโนกรรม.

​27


​28 พุ ท ธ ว จ น ทีฆตปัสสีนิครนถ์ให้พระผู้มีพระภาคทรงยืนยัน ในเรื่องที่ตรัสนี้ถึง ๓ ครั้ง ด้วยประการฉะนี้ แล้วลุกจาก อาสนะเข้าไปหานิครนถ์นาฏบุตรถึงที่อยู่. (จากนั้นได้มี อุบาลีคหบดี เข้ามาเพื่อสนทนาในเรื่องนี้ ต่อจากฑีฆตปัสสีนคิ รณถ์ โดยยังมีความเห็นว่า กรรมทางกายมีโทษ มากกว่ากรรมทางใจ และพระผูม้ พี ระภาคได้ยกอุปมา เพือ่ ให้เห็น เปรียบเทียบได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ดังนี้)

คหบดี ! ท่านจะสำ�คัญความข้อนี้เป็นอย่างไร ในบ้านนาลันทานี้ พึงมีบุรุษคนหนึ่งเงื้อดาบมา เขาพึง กล่าวอย่างนี้ว่า เราจักทำ�สัตว์เท่าที่มีอยู่ในบ้านนาลันทานี้ ให้เป็นลานเนื้ออันเดียวกัน ให้เป็นกองเนื้ออันเดียวกัน โดยขณะหนึ่ง โดยครู่หนึ่ง. คหบดี ! ท่านจะสำ�คัญความ ข้อนัน้ เป็นอย่างไร บุรษุ นัน้ จะสามารถทำ�สัตว์เท่าทีม่ อี ยูใ่ น บ้านนาลันทานี้ ให้เป็นลานเนือ้ อันเดียวกัน ให้เป็นกองเนือ้ อันเดียวกัน โดยขณะหนึ่ง โดยครู่หนึ่งได้หรือ ? ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ !  บุรุษ ๑๐ คนก็ดี ๒๐ คนก็ดี ๓๐ คนก็ดี ๔๐ คนก็ดี ๕๐ คนก็ดี ไม่สามารถจะทำ�สัตว์เท่าที่มีอยู่ ในบ้านนาลันทานี้ ให้เป็นลานเนื้ออันเดียวกัน ให้เป็นกองเนื้อ อันเดียวกัน โดยขณะหนึง่ โดยครูห่ นึง่ ได้ พระเจ้าข้า บุรษุ ผูต้ �ำ่ ทราม คนเดียวจะเก่งกาจอะไรกันเล่า.


ฉบับ ๕ แก้กรรม ?

คหบดี ! ท่านจะสำ�คัญความข้อนี้เป็นอย่างไร สมณะหรือพราหมณ์ผมู้ ฤี ทธิ์ ถึงความเป็นผูช้ �ำ นาญในทางจิต พึงมาในบ้านนาลันทานี้ สมณะหรือพราหมณ์นนั้ พึงกล่าว อย่างนี้ว่าเราจักทำ�บ้านนาลันทานี้ให้เป็นเถ้า ด้วยใจคิด ประทุษร้ายครั้งเดียว. คหบดี ! ท่านจะสำ�คัญความข้อนั้น เป็นอย่างไร สมณะหรือพราหมณ์ผู้มีฤทธิ์ ถึงความเป็น ผู้ ชำ � นาญในทางจิ ต นั้ น จะสามารถทำ � บ้ า นนาลั น ทานี้ ให้เป็นเถ้า ด้วยใจคิดประทุษร้ายครัง้ เดียวได้หรือไม่หนอ ? ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ !  บ้านนาลันทา ๑๐ บ้านก็ดี ๒๐ บ้านก็ดี ๓๐ บ้านก็ดี ๔๐ บ้านก็ดี ๕๐ บ้านก็ดี สมณะหรือ พราหมณ์ผู้มีฤทธิ์ ถึงความเป็นผู้ชำ�นาญในทางจิตนั้น ยังสามารถ ทำ�ให้เป็นเถ้าได้ด้วยใจคิดประทุษร้ายครั้งเดียว แล้วบ้านนาลันทา ที่ทรุดโทรมหลังเดียวคณาอะไรเล่า.

คหบดี ! ท่านจงมนสิการ ครัน้ แล้วจงพยากรณ์ คำ�หลังกับคำ�ก่อนก็ดี คำ�ก่อนกับคำ�หลังก็ดี ของท่าน ไม่ต่อกันเลย... ม. ม. ๑๓/๕๔/๖๒.

​29



หลักการพิจารณา ว่ากรรมชนิดนั้น ควรทำ�หรือไม่


​32 พุ ท ธ ว จ น

๙ เมื่อจะกระทำ� ราหุล ! เธอใคร่จะทำ�กรรมใดด้วยกาย พึง พิจารณากรรมนั้นเสียก่อนว่า “กายกรรมที่เราใคร่จะ กระทำ�นี้ เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง เบียดเบียน ผู้อื่นบ้าง เบียดเบียนทั้งสองฝ่ายบ้าง เป็นกายกรรมที่ เป็นอกุศล มีทกุ ข์เป็นกำ�ไร มีทกุ ข์เป็นวิบาก หรือไม่หนอ” ดังนี้. ราหุล ! ถ้าเธอพิจารณา รู้สึกอยู่ดังนั้นไซร้, เธอไม่พึงกระทำ�กายกรรมชนิดนั้นโดยถ่ายเดียว. ราหุล ! ถ้ า เธอพิ จ ารณา รู้ สึ ก อยู่ ดั ง นี้ ว่ า “กายกรรมทีเ่ ราใคร่จะกระทำ�นี้ ไม่เป็นไปเพือ่ เบียดเบียน ตนเองบ้าง ไม่เป็นไปเพือ่ เบียดเบียนผูอ้ น่ื บ้าง ไม่เป็นไป เพือ่ เบียดเบียนทัง้ สองฝ่ายบ้าง เป็นกายกรรมอันเป็นกุศล มีสุขเป็นกำ�ไร มีสุขเป็นวิบาก” ดังนี้, ราหุล ! เธอพึงกระทำ�กายกรรมชนิดนั้น.


ฉบับ ๕ แก้กรรม ?

๑๐ เมื่อกระทำ�อยู่ ราหุล ! เมื่อเธอกระทำ�กรรมใด ด้วยกายอยู่ พึงพิจารณากรรมนัน้ ว่า “กายกรรมทีเ่ รากำ�ลังกระทำ�อยูน่ ้ี เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง เบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เบียดเบียนทั้งสองฝ่ายบ้าง เป็นกายกรรมที่เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำ�ไร มีทุกข์เป็นวิบาก หรือไม่หนอ” ดังนี้. ราหุล ! ถ้าเธอพิจารณา รู้สึกอยู่ดังนั้นไซร้, เธอพึงเลิกละกายกรรมชนิดนั้นเสีย. ราหุล ! ถ้ า เธอพิ จ ารณา  รู้ สึ ก อยู่ ดั ง นี้ ว่ า “กายกรรมที่ เ รากำ � ลั ง กระทำ � อยู่ นี้ ไม่ เ ป็ น ไปเพื่ อ เบียดเบียนตนเองบ้าง ไม่เป็นไปเพือ่ เบียดเบียนผูอ้ น่ื บ้าง ไม่เป็นไปเพือ่ เบียดเบียนทัง้ สองฝ่ายบ้าง เป็นกายกรรม อันเป็นกุศล มีสุขเป็นกำ�ไร มีสุขเป็นวิบาก” ดังนี้. ราหุล ! เธอพึงเร่งการกระทำ�กายกรรมชนิดนั้น.

​33


​34 พุ ท ธ ว จ น

๑๑ เมื่อกระทำ�แล้ว ราหุล ! เมื่ อ กระทำ � กรรมใดด้ ว ยกายแล้ ว พึงพิจารณากรรมนั้นว่า “กายกรรมที่เรากระทำ�แล้วนี้ เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง เบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เบียดเบียนทั้งสองฝ่ายบ้าง เป็นกายกรรมที่เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำ�ไร มีทุกข์เป็นวิบาก หรือไม่หนอ” ดังนี้. ราหุล ! ถ้าเธอพิจารณา  รู้สึกอยู่ดังนั้นไซร้, เธอพึงแสดง พึงเปิดเผย พึงกระทำ�ให้เป็นของหงาย  ซึง่ กายกรรมนัน้   ในพระศาสดา  หรือในเพือ่ นสพรหมจารี ผูเ้ ป็นวิญญูชนทัง้ หลาย, ครัน้ แสดง ครัน้ เปิดเผย ครัน้ กระทำ� ให้เป็นของหงายแล้ว พึงถึงซึ่งความระวังสังวรต่อไป. ราหุล ! ถ้ า เธอพิ จ ารณา รู้ สึ ก อยู่ ดั ง นี้ ว่ า “กายกรรมทีเ่ รากระทำ�แล้วนี้ ไม่เป็นไปเพือ่ เบียดเบียน ตนเองบ้าง ไม่เป็นไปเพือ่ เบียดเบียนผูอ้ น่ื บ้าง ไม่เป็นไป เพือ่ เบียดเบียนทัง้ สองฝ่ายบ้าง เป็นกายกรรมอันเป็นกุศล มีสุขเป็นกำ�ไร มีสุขเป็นวิบาก” ดังนี้.


ฉบับ ๕ แก้กรรม ?

ราหุล ! เธอพึ ง อยู่ ด้ ว ยปี ติ แ ละปราโมทย์ ตามศึกษาในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่ ทั้งกลางวัน และ กลางคืนเถิด. (ในส่วนของวจีกรรมและมโนกรรม ก็ทรงตรัสในทำ�นองเดียวกัน). ม. ม. ๑๓/๑๒๖/๑๒๙.

​35



ข้อควรทราบ เพื่อป้องกันความเข้าใจผิด เกี่ยวกับเรื่องกรรม


​38 พุ ท ธ ว จ น

๑๒ การพยากรณ์บุคคลอื่น ทำ�ได้หรือไม่ อานนท์ ! ... เพราะกระแสแห่งธรรมย่อมถูกต้องบุคคล ใครเล่าจะพึงรู้เหตุนั้นได้ นอกจากตถาคต. อานนท์ ! เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลาย อย่าได้เป็นผู้ชอบประมาณในบุคคล และอย่าได้ถือประมาณในบุคคล เพราะผู้ถือประมาณในบุคคล ย่อมทำ�ลายคุณวิเศษของตน เราหรือผู้ที่เหมือนเรา พึงถือประมาณในบุคคลได้. ทสก. อํ. ๒๔/๑๕๐/๗๕.


ฉบับ ๕ แก้กรรม ?

๑๓ ทุกข์เกิดเพราะมีเหตุปัจจัย อานนท์ ! คราวหนึ่งเราอยู่ที่ป่าไผ่ เป็นที่ให้ เหยือ่ แก่กระแตใกล้กรุงราชคฤห์นแี่ หละ, ครัง้ นัน้ เวลาเช้า เราครองจีวรถือบาตร เพื่อไปบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ คิดขึน้ มาว่า ยังเช้าเกินไปสำ�หรับการบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ ถ้าไฉน เราเข้าไปสูอ่ ารามของปริพาชก ผูเ้ ป็นเดียรถียเ์ หล่าอืน่ เถิด. เราได้เข้าไปสูอ่ ารามของปริพาชก ผูเ้ ป็นเดียรถียเ์ หล่าอืน่ กระทำ�สัมโมทนียกถาแก่กนั และกัน นัง่ ลง ณ ทีค่ วรข้างหนึง่ . อานนท์ ! ผู้นั่งแล้ว อย่างนี้ว่า

ปริพาชกเหล่านั้น ได้กล่าวกะเรา

“ท่านโคตมะ ! มีสมณพราหมณ์บางพวก ที่กล่าวสอน เรือ่ งกรรม ย่อมบัญญัตคิ วามทุกข์วา่ เป็นสิง่ ทีต่ นท�ำเอาด้วยตนเอง, มีสมณพราหมณ์อีกบางพวกที่กล่าวสอนเรื่องกรรม ย่อมบัญญัติ ความทุกข์ ว่าเป็นสิ่งที่ผู้อื่นท�ำให้, มีสมณพราหมณ์อีกบางพวก ที่กล่าวสอนเรื่องกรรม ย่อมบัญญัติความทุกข์ว่า ไม่ใช่ท�ำเองหรือ ใครท�ำให้ ก็เกิดขึน้ ได้. ในเรือ่ งนี้ ท่านโคตมะของพวกเรา กล่าวสอน

​39


​40 พุ ท ธ ว จ น

อยูอ่ ย่างไร ? และพวกเรากล่าวอยูอ่ ย่างไร ? จึงจะเป็นอันกล่าวตามค�ำ ทีท่ า่ นโคตมะกล่าวแล้ว, ไม่เป็นการกล่าวตูด่ ว้ ยค�ำไม่จริง แต่เป็นการกล่าว โดยถูกต้อง และสหธรรมิกบางคนทีก่ ล่าวตาม จะไม่พลอยกลายเป็น ผู้ควรถูกติเตียนไปด้วย ?” ดังนี้.

อานนท์ ! เหล่านั้นว่า

เราได้ก ล่าวกะปริพ าชกทั้งหลาย

ปริพาชกทั้งหลาย ! เรากล่าวว่า ทุกข์ อาศัยเหตุปัจจัย (ของมันเอง เป็นลำ�ดับๆ) เกิดขึ้น. มันอาศัยเหตุปัจจัยอะไรเล่า ? อาศัยปัจจัยคือ ผัสสะ. ผูก้ ล่าวอย่างนีแ้ ล ชือ่ ว่ากล่าวตรงตามทีเ่ รากล่าว. นิทาน. สํ. ๑๖/๔๑/๗๖.


ฉบับ ๕ แก้กรรม ?

​41

๑๔ ทาง ๒ สายที่ไม่ควรเดิน ภิกษุทั้งหลาย ! มีสง่ิ ทีแ่ ล่นดิง่ ไปสุดโต่ง (อนฺตา) อยู่ ๒ อย่าง ที่บรรพชิตไม่ควรข้องแวะด้วย. สิ่งที่แล่นดิ่งไปสุดโต่งนั้นคืออะไร ? คือ การประกอบตนพัวพันอยู่ด้วยความใคร่ ในกามทั้งหลาย (กามสุขัลลิกานุโยค) อันเป็นการกระทำ� ที่ยังต่ำ� เป็นของชาวบ้าน เป็นของชั้นบุถุชน ไม่ใช่ของ พระอริยเจ้า ไม่ประกอบด้วยประโยชน์, และการประกอบความเพียรในการทรมานตน ให้ลำ�บาก (อัตตกิลมถานุโยค)  อันนำ�มาซึ่งความทุกข์ ไม่ ใ ช่ ข องพระอริ ย เจ้ า   ไม่ ป ระกอบด้ ว ยประโยชน์ ,  สองอย่างนี้แล. ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อปฏิบัติเป็นทางสายกลาง (มัชฌิมาปฏิปทา) ที่ไม่ดิ่งไปหาสิ่งสุดโต่งสองอย่างนั้น เป็นข้อปฏิบตั ทิ ต่ี ถาคตได้ตรัสรูเ้ ฉพาะแล้ว เป็นข้อปฏิบตั ิ


​42 พุ ท ธ ว จ น

ทำ�ให้เกิดจักษุ  เป็นข้อปฏิบัติทำ�ให้เกิดญาณ  เป็นไป เพือ่ ความสงบ  เพือ่ ความรูอ้ นั ยิง่   เพือ่ ความตรัสรูพ้ ร้อม  เพื่อนิพพาน. ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อปฏิบัติที่เป็นทางสายกลาง ที่ไม่ดิ่งไปหาที่สุดโต่งสองอย่างนั้น  เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อปฏิบตั อิ นั เป็นทางสายกลาง นัน้ คือ ข้อปฏิบตั อิ นั เป็นหนทางอันประเสริฐ ประกอบอยู่ ด้วยองค์แปดประการ นี่เอง. แปดประการ คืออะไรเล่า ? คือ :สัมมาทิฏฐิ  สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา  สัมมากัมมันตะ  สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ  สัมมาสติ  สัมมาสมาธิ. มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๒๘/๑๖๖๔.


ฉบับ ๕ แก้กรรม ?

๑๕ บาปกรรมเก่า ไม่อาจสิ้นได้ ด้วยการทรมานตนเอง มหานาม ! คราวหนึ่ง เราอยู่ที่ภูเขาคิชฌกูฏ ใกล้ น ครราชคฤห์ , ครั้ ง นั้ น พวกนิ ค รนถ์ เ ป็ น อั น มาก ประพฤติวัตรยืนอย่างเดียว งดการนั่ง อยู่ ณ ที่กาฬสิลา ข้างภูเขาอิสคิ ลิ ,ิ ต่างประกอบความเพียรแรงกล้าเสวยเวทนา อันเป็นทุกข์กล้าแข็งแสบเผ็ด.   มหานาม !  ครั้งนั้น เป็นเวลาเย็น เราออกจากทีเ่ ร้นแล้ว ไปสูก่ าฬสิลา ข้างภูเขา อิสิคิลิ  อันพวกนิครนถ์ประพฤติวัตรอยู่,  ได้กล่าวกะ พวกนิครนถ์เหล่านั้นว่า “ท่านผู้เป็นนิครนถ์ทั้งหลาย  !  เพราะอะไรหนอ พวกท่านทั้งหลายจึงประพฤติ ยืน ไม่นั่ง ประกอบความเพียรได้รับเวทนาอันเป็นทุกข์ กล้าแข็งแสบเผ็ด ?” ดังนี้. มหานาม ! นิครนถ์เหล่านั้นได้กล่าวกะเราว่า

​43


​44 พุ ท ธ ว จ น “ท่านผู้มีอายุ ! ท่านนิครนถนาฏบุตร เป็นผูร้ สู้ งิ่ ทัง้ ปวง เห็นสิง่ ทัง้ ปวง ได้ยนื ยันญาณทัสสนะของตนเอง โดยไม่มกี ารยกเว้นว่า เมื่อเราเดินอยู่ ยืนอยู่ หลับอยู่ ตื่นอยู่ ก็ตาม ญาณทัสสนะของเรา ย่อมปรากฏติดต่อกันไม่ขาดสาย” ดังนี.้ ท่านนิครนถนาฏบุตรนัน้ กล่าวไว้อย่างนี้ว่า “นิครนถ์ผู้เจริญ ! บาปกรรมในกาลก่อน ที่ได้ท�ำไว้ มีอยู่แล, พวกท่านจงท�ำลาย กรรมนั้นให้สิ้นไป ด้วย ทุกรกิรยิ าอันแสบเผ็ดนี;้ อนึง่ เพราะการส�ำรวม กาย วาจา ใจ ในบัดนี้ ย่อมชื่อว่าไม่ได้กระท�ำกรรม อันเป็นบาปอีกต่อไป. เพราะการเผาผลาญกรรมเก่าไม่มีเหลือ และเพราะการไม่กระท�ำ กรรมใหม่ กรรมต่อไปก็ขาดสาย, เพราะกรรมขาดสาย ก็สนิ้ กรรม, เพราะสิน้ กรรม ก็สนิ้ ทุกข์, เพราะสิน้ ทุกข์ ก็สนิ้ เวทนา, เพราะสิน้ เวทนา ทุกข์ทั้งหมด ก็เหือดแห้งไป, ดังนี้. ค�ำสอนของท่านนาฏบุตรนั้น เป็นทีช่ อบใจและควรแก่เรา, และพวกเราก็เป็นผูพ้ อใจต่อค�ำสอน นั้นด้วย” ดังนี้.

มหานาม ! เราได้กล่าวคำ�นีก้ ะนิครนถ์เหล่านัน้ สืบไปว่า “ท่ า นผู้ เ ป็ น นิ ค รนถ์ ทั้ ง หลาย  !  ท่ า นทั้ ง หลาย รู้อยู่หรือว่า  พวกเราทั้งหลาย  ได้มีแล้วในกาลก่อน หรือว่ามิได้ม ี ?”. “ไม่ทราบเลยท่าน !”.


ฉบับ ๕ แก้กรรม ?

“ท่ า นผู้ เ ป็ น นิ ค รนถ์ ทั้ ง หลาย  !  ท่ า นทั้ ง หลาย รูอ้ ยูห่ รือว่า พวกเราทัง้ หลาย ได้ท�ำ กรรมทีเ่ ป็นบาปแล้ว ในกาลก่อนหรือว่าพวกเราไม่ได้ทำ�แล้ว ?”. “ไม่ทราบเลยท่าน !”.

“ท่ า นผู้ เ ป็ น นิ ค รนถ์ ทั้ ง หลาย  !  ท่ า นทั้ ง หลาย รูอ้ ยูห่ รือว่า พวกเราทัง้ หลาย ได้ท�ำ กรรมทีเ่ ป็นบาปอย่างนีๆ ้ ในกาลก่อน ?”. “ไม่ทราบเลยท่าน !”. “ท่ า นผู้ เ ป็ น นิ ค รนถ์ ทั้ ง หลาย  !  ท่ า นทั้ ง หลาย รู้ อ ยู่ ห รื อ ว่ า   (ตั้ ง แต่ ทำ � ตบะมา)  ทุ ก ข์ มี จำ � นวนเท่ า นี้ ๆ ได้สนิ้ ไปแล้ว  และจำ�นวนเท่านีๆ ้   จะสิน้ ไปอีก,  หรือว่า ถ้าทุกข์สิ้นไปอีกจำ�นวนเท่านี้  ทุกข์ก็จักไม่มีเหลือ ?”. “ไม่ทราบได้เลยท่าน !”.

“ท่ า นผู้ เ ป็ น นิ ค รนถ์ ทั้ ง หลาย  !  ท่ า นทั้ ง หลาย รูอ้ ยูห่ รือว่า อะไรเป็นการละเสียซึง่ สิง่ อันเป็นอกุศล และ ทำ�สิ่งที่เป็นกุศลให้เกิดขึ้นได้ในภพปัจจุบันนี้ ?”. “ไม่เข้าใจเลยท่าน !”.

​45


​46 พุ ท ธ ว จ น

มหานาม ! เราได้กล่าวคำ�นี้ กะนิครนถ์เหล่านัน้ สืบไปว่า

“ท่านผูเ้ ป็นนิครนถ์ทงั้ หลาย  !  ดังได้ฟงั แล้วว่า ท่านทัง้ หลาย ไม่รอู้ ยู่ ว่าเราทัง้ หลายได้มแี ล้วในกาลก่อน หรือไม่ได้มแี ล้วในกาลก่อน, ...ฯลฯ... อะไรเป็นการละเสีย ซึง่ สิง่ อันเป็นอกุศลแล้ว และทำ�สิง่ ทีเ่ ป็นกุศลให้เกิดขึน้ ได้ ในภพปัจจุบนั นี.้ ครัน้ เมือ่ ไม่รอู้ ย่างนีแ้ ล้ว (น่าจะเห็นว่า) ชนทัง้ หลายเหล่าใดในโลก ทีเ่ ป็นพวกพรานมีฝา่ มือคร่�ำ ไปด้วยโลหิต มีการงานอย่างกักขฬะ ภายหลังมาเกิด เป็นมนุษย์แล้ว ย่อมบรรพชาในพวกนิครนถ์ทั้งหลาย ละกระมัง ?”. มู. ม. ๑๒/๑๘๔/๒๑๙.


ฉบับ ๕ แก้กรรม ?

๑๖ สุข-ทุกข์ ที่ได้รับ ไม่ใช่ผลของกรรมเก่าอย่างเดียว ภิกษุทั้งหลาย ! เรากล่ า วกะพวกนิ ค รนถ์ นั้ น ต่อไปอีกอย่างนี้ว่า “ท่ า นผู้ เ ป็ น นิ ค รนถ์ ทั้ ง หลาย  !  พวกท่ า นจะ สำ � คั ญ ความข้ อ นั้ น เป็ น ไฉน  สมั ย ใด  พวกท่ า นมี ความพยายามแรงกล้า  มีความเพียรแรงกล้า  สมัยนัน้ พวกท่านย่อมเสวยเวทนาอันเป็นทุกข์กล้า  เจ็บแสบ อันเกิดแต่ความพยายามแรงกล้า  แต่สมัยใด  พวกท่าน ไม่มีความพยายามแรงกล้า  ไม่มีความเพียรแรงกล้า สมัยนั้น  พวกท่านย่อมไม่เสวยเวทนาอันเป็นทุกข์กล้า เจ็บแสบ  อันเกิดแต่ความพยายามแรงกล้า”. พวกนิครนถ์รับว่า “พระโคดมผูม้ อี ายุ ! สมัยใด พวกข้าพเจ้ามีความพยายาม แรงกล้า มีความเพียรแรงกล้า สมัยนั้น พวกข้าพเจ้าย่อมเสวย เวทนาอันเป็นทุกข์กล้า เจ็บแสบ อันเกิดแต่ความพยายามแรงกล้า

​47


​48 พุ ท ธ ว จ น สมั ย ใด  พวกข้ า พเจ้ า ไม่ มี ค วามพยายามแรงกล้ า   สมั ย นั้ น พวกข้ า พเจ้ า ย่ อ มไม่ เ สวยเวทนาอั น เป็ น ทุ ก ข์ ก ล้ า   เจ็ บ แสบ อันเกิดแต่ความพยายามแรงกล้า”.

“ท่านผู้เป็นนิครนถ์ทั้งหลาย  !  เท่าที่พูดกันมานี้ เป็นอันว่า สมัยใด พวกท่านมีความพยายามแรงกล้า มีความเพียรแรงกล้า สมัยนั้น พวกท่านย่อมเสวยเวทนา อันเป็นทุกข์กล้า เจ็บแสบ อันเกิดแต่ความพยายามแรงกล้า แต่สมัยใด  พวกท่านไม่มีความพยายามแรงกล้า  ไม่มี ความเพียรแรงกล้า สมัยนั้น พวกท่านย่อมไม่เสวยเวทนา อันเป็นทุกข์กล้า เจ็บแสบ อันเกิดแต่ความพยายามแรงกล้า เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็ไม่เป็นการสมควรแก่ท่านผู้เป็นนิครนถ์ ทั้งหลายที่จะกล่าวว่า บุคคลเรานี้ย่อมเสวยเวทนาอย่างใด อย่างหนึ่ง เป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์ก็ดี มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ดี ทัง้ หมดนัน้ เป็นเพราะเหตุแห่งกรรมทีต่ นทำ�ไว้ในกาลก่อน และว่าเพราะหมดกรรมเก่าด้วยตบะ และเพราะการไม่ท�ำ กรรมใหม่  กระแสแห่งกรรมต่อไปก็ไม่มี  เพราะกระแส แห่งกรรมต่อไปไม่มี ก็สน้ิ ทุกข์  เพราะสิน้ ทุกข์ ก็สน้ิ เวทนา เพราะสิ้นเวทนา ทุกข์ทั้งปวงก็สูญสิ้นไป ดังนี้”.


ฉบับ ๕ แก้กรรม ?

“ท่านผูเ้ ป็นนิครนถ์ทงั้ หลาย ! ถ้าสมัยใด พวกท่าน มีความพยายามแรงกล้า มีความเพียรแรงกล้า สมัยนั้น เวทนาอันเป็นทุกข์กล้า เจ็บแสบ อันเกิดแต่ความเพียร พยายามนั้นก็ยังตั้งอยู่ แม้เมื่อใด พวกท่านไม่มีความ พยายามแรงกล้ า ไม่ มี ค วามเพี ย รแรงกล้ า สมั ย นั้ น เวทนาอันเป็นทุกข์กล้า เจ็บแสบ อันเกิดแต่ความพยายาม พึงหยุดได้เอง เมื่อเป็นเช่นนี้ พวกนิครนถ์ผู้มีอายุก็ควร กล่าวได้ว่า บุคคลเรานี้ย่อมเสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์ก็ดี มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ดี ทั้งหมดนั้น เป็นเพราะเหตุแห่งกรรมทีต่ นทำ�ไว้ในกาลก่อน หมดกรรมเก่า ด้วยตบะ และเพราะการไม่ท�ำ กรรมใหม่ กระแสแห่งกรรม ต่อไปก็ไม่ม ี เพราะกระแสแห่งกรรมต่อไปไม่มี ก็สน้ิ กรรม เพราะสิ้นกรรม ก็สิ้นทุกข์   เพราะสิ้นทุกข์ ก็สิ้นเวทนา เพราะสิ้นเวทนา ทุกข์ทั้งปวงก็สูญสิ้นไป ดังนี้”. “ท่านผู้เป็นนิครนถ์ทั้งหลาย  !  ก็เพราะเหตุที่ สมัยใด พวกท่านมีความพยายามแรงกล้า มีความเพียร แรงกล้า สมัยนัน้ พวกท่านจึงเสวยเวทนาอันเป็นทุกข์กล้า เจ็บแสบ อันเกิดแต่ความพยายามแรงกล้า แต่สมัยใด

​49


​50 พุ ท ธ ว จ น พวกท่านไม่มีความพยายามแรงกล้า ไม่มีความเพียร แรงกล้า  สมัยนั้น  พวกท่านจึงไม่เสวยเวทนาอันเป็น ทุกข์กล้า เจ็บแสบ อันเกิดแต่ความพยายามแรงกล้า พวกท่ า นนั้ น เสวยเวทนาอั น เป็ น ทุ ก ข์ ก ล้ า   เจ็ บ แสบ อันเกิดแต่ความเพียรเองทีเดียว  ย่อมเชือ่ ผิดไป  เพราะ อวิชชา  คือความไม่รู้  เพราะความหลงว่าบุคคลเรานี้ ย่อมเสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง  เป็นสุขก็ดี  เป็น ทุกข์ก็ดี มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ดี ข้อนั้นทั้งหมดเป็นเพราะ เหตุแห่งกรรมที่ตนทำ�ไว้ในกาลก่อน   และว่าเพราะ หมดกรรมเก่าด้วยตบะ และเพราะไม่ทำ�กรรมใหม่ กระแสแห่งกรรมต่อไปก็ไม่มี  เพราะกระแสแห่งกรรม ต่ อ ไปไม่ มี ก็ สิ้ น กรรม   เพราะสิ้ น กรรม   ก็ สิ้ น ทุ ก ข์   เพราะสิ้นทุกข์ ก็สิ้นเวทนาเพราะสิ้นเวทนา ทุกข์ทั้งปวง ก็สูญสิ้นไป ดังนี้”. ภิกษุทั้งหลาย ! เรามี ถ้ อ ยคำ � และความเห็ น แม้ อ ย่ า งนี้ แ ล   จึ ง ไม่ เ ล็ ง เห็ น การโต้ ต อบ   ถ้ อ ยคำ � และ ความเห็นอันชอบด้วยเหตุอะไรๆ  ในพวกนิครนถ์.


ฉบับ ๕ แก้กรรม ?

ภิกษุทั้งหลาย ! เรากล่ า วกะพวกนิ ค รนถ์ นั้ น ต่อไปอีกอย่างนี้ว่า “ท่านผูเ้ ป็นนิครนถ์ทงั้ หลาย  !  พวกท่านจะสำ�คัญ ความข้อนัน้ เป็นไฉน  พวกท่านจะพึงปรารถนาได้ดงั นีห้ รือว่า กรรมใดเป็นของให้ผลในปัจจุบนั ขอกรรมนัน้ จงเป็นของให้ผล ในอนาคต ด้วยความพยายามหรือด้วยความเพียรเถิด”. พวกนิครนถ์นั้นกล่าวว่า “ท่านผู้มีอายุ !  ข้อนี้หามิได้เลย”. “และพวกท่ า นจะพึ ง ปรารถนาได้ ดั ง นี้ ห รื อ ว่ า กรรมใดเป็นของให้ผลในอนาคต ขอกรรมนัน้ จงเป็นของให้ผล ในปัจจุบนั ด้วยความพยายามหรือด้วยความเพียรเถิด”. “ท่านผู้มีอายุ !  ข้อนี้หามิได้เลย”. “ท่านผูเ้ ป็นนิครนถ์ทงั้ หลาย  !  พวกท่านจะสำ�คัญ ความข้อนัน้ เป็นไฉน พวกท่านจะพึงปรารถนาได้ดงั นีห้ รือว่า กรรมใดเป็นของให้ผลเป็นสุข ขอกรรมนัน้ จงเป็นของให้ผล เป็นทุกข์ ด้วยความพยายามหรือด้วยความเพียรเถิด”. “ท่านผู้มีอายุ !  ข้อนี้หามิได้เลย”.

​51


​52 พุ ท ธ ว จ น “และพวกท่ า นจะพึ ง ปรารถนาได้ ดั ง นี้ ห รื อ ว่ า กรรมใดเป็นของให้ผลเป็นทุกข์  ขอกรรมนัน้ จงเป็นของให้ผล เป็นสุข ด้วยความพยายามหรือด้วยความเพียรเถิด”. “ท่านผู้มีอายุ !  ข้อนี้หามิได้เลย”. “ท่านผูเ้ ป็นนิครนถ์ทงั้ หลาย  !  พวกท่านจะสำ�คัญ ความข้อนัน้ เป็นไฉน พวกท่านจะพึงปรารถนาได้ดงั นีห้ รือว่า  กรรมใดเป็นของให้ผลเสร็จสิน้ แล้ว  ขอกรรมนัน้ อย่าพึงให้ผล เสร็จสิน้ ด้วยความพยายามหรือด้วยความเพียรเถิด”. “ท่านผู้มีอายุ !  ข้อนี้หามิได้เลย”. “และพวกท่ า นจะพึ ง ปรารถนาได้ ดั ง นี้ ห รื อ ว่ า กรรมใดเป็นของให้ผลยังไม่เสร็จสิน้ ขอกรรมนัน้ จงเป็นของ ให้ผลเสร็จสิน้ ด้วยความพยายามหรือด้วยความเพียรเถิด”. “ท่านผู้มีอายุ !  ข้อนี้หามิได้เลย”. “ท่านผูเ้ ป็นนิครนถ์ทงั้ หลาย  !  พวกท่านจะสำ�คัญ ความข้อนัน้ เป็นไฉน พวกท่านจะพึงปรารถนาได้ดงั นีห้ รือว่า  กรรมใดเป็นของให้ผลมาก  ขอกรรมนัน้ จงเป็นของให้ผลน้อย  ด้วยความพยายามหรือด้วยความเพียรเถิด”. “ท่านผู้มีอายุ !  ข้อนี้หามิได้เลย”.


ฉบับ ๕ แก้กรรม ?

“และพวกท่ า นจะพึ ง ปรารถนาได้ ดั ง นี้ ห รื อ ว่ า กรรมใดเป็นของให้ผลน้อย ขอกรรมนัน้ จงเป็นของให้ผลมาก ด้วยความพยายามหรือด้วยความเพียรเถิด”. “ท่านผู้มีอายุ !  ข้อนี้หามิได้เลย”. “ท่านผูเ้ ป็นนิครนถ์ทงั้ หลาย  !  พวกท่านจะสำ�คัญ ความข้อนัน้ เป็นไฉน พวกท่านจะพึงปรารถนาได้ดงั นีห้ รือว่า กรรมใดเป็นของให้ผล ขอกรรมนั้นจงเป็นของอย่าให้ผล ด้วยความพยายามหรือด้วยความเพียรเถิด”. “ท่านผู้มีอายุ !  ข้อนี้หามิได้เลย”. “และพวกท่ า นจะพึ ง ปรารถนาได้ ดั ง นี้ ห รื อ ว่ า กรรมใดเป็นของไม่ให้ผล ขอกรรมนั้นจงเป็นของให้ผล ด้วยความพยายามหรือด้วยความเพียรเถิด”. “ท่านผู้มีอายุ !  ข้อนี้หามิได้เลย”. “ท่านผู้เป็นนิครนถ์ทั้งหลาย  !  เท่าที่พูดกันมานี้ เป็นอันว่า พวกท่านจะพึงปรารถนาไม่ได้ ดังนีว้ า่ กรรมใด เป็นของให้ผลในปัจจุบัน ขอกรรมนั้นจงเป็นของให้ผล ในอนาคต ... ว่ากรรมใดเป็นของให้ผลในอนาคต ขอกรรมนัน้ จงเป็นของให้ผลในปัจจุบนั ... ว่ากรรมใดเป็นของให้ผลเป็นสุข

​53


​54 พุ ท ธ ว จ น ขอกรรมนั้นจงเป็นของให้ผลเป็นทุกข์ ... ว่ากรรมใดเป็น ของให้ผลเป็นทุกข์ ขอกรรมนัน้ จงเป็นของให้ผลเป็นสุข ... ว่ากรรมใดเป็นของให้ผลเสร็จสิน้ แล้ว ขอกรรมนัน้ อย่าพึงให้ ผลเสร็จ ... ว่ากรรมใดเป็นของให้ผลยังไม่เสร็จสิน้ ขอกรรมนัน้ จงเป็นของให้ผลเสร็จสิ้น ... ว่ากรรมใดเป็นของให้ผลมาก ขอกรรมนั้นจงเป็นของให้ผลน้อย ... ว่ากรรมใดเป็นของ ให้ผลน้อย ขอกรรมนัน้ จงเป็นของให้ผลมาก ... ว่ากรรมใดเป็น ของให้ผล ขอกรรมนัน้ จงเป็นของอย่าให้ผล ... ว่ากรรมใดเป็น ของไม่ให้ผล ขอกรรมนัน้ จงเป็นของให้ผล ด้วยความพยายาม หรือด้วยความเพียรเถิด เมือ่ เป็นเช่นนี้ ความพยายามของ พวกนิครนถ์ผมู้ อี ายุกไ็ ร้ผล ความเพียรก็ไร้ผล”. ภิกษุทั้งหลาย ! พวกนิ ค รนถ์ มี ถ้ อ ยคำ � และ ความเห็ น อย่ า งนี้ การกล่ า วก่ อ นและการกล่ า วตาม ๑๐ ประการอันชอบด้วยเหตุของพวกนิครนถ์ ผู้มีถ้อยคำ� และความเห็นอย่างนี้ย่อมถึงฐานะน่าตำ�หนิ. ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าหมูส่ ตั ว์ยอ่ มเสวยสุขและทุกข์ เพราะเหตุแห่งกรรมที่ตนทำ�ไว้ในก่อน พวกนิครนถ์ต้อง เป็นผูท้ �ำ กรรมชัว่ ไว้กอ่ นแน่ ในบัดนี้ พวกเขาจึงได้เสวยเวทนา


ฉบับ ๕ แก้กรรม ?

อันเป็นทุกข์กล้า เจ็บแสบ เห็นปานนี้ ถ้าหมูส่ ตั ว์ยอ่ มเสวย สุขและทุกข์ เพราะเหตุทอ่ี ศิ วรเนรมิตให้ พวกนิครนถ์ตอ้ งเป็น ผูถ้ กู อิศวรชัน้ เลวเนรมิตมาแน่ ในบัดนี้ พวกเขาจึงได้เสวย เวทนาอันเป็นทุกข์กล้า เจ็บแสบ เห็นปานนี้ ถ้าหมูส่ ตั ว์ยอ่ ม เสวยสุขและทุกข์ เพราะเหตุทมี่ คี วามบังเอิญ พวกนิครนถ์ ต้องเป็นผูม้ คี วามบังเอิญชัว่ แน่ ในบัดนี้ พวกเขาจึงได้เสวย เวทนาอันเป็นทุกข์กล้าเจ็บแสบ เห็นปานนี้ ถ้าหมู่สัตว์ ย่อมเสวยสุขและทุกข์ เพราะเหตุแห่งอภิชาติ พวกนิครนถ์ ต้องเป็นผู้มีอภิชาติเลวแน่ ในบัดนี้ พวกเขาจึงได้เสวย เวทนาอันเป็นทุกข์กล้า เจ็บแสบ เห็นปานนี้ ถ้าหมูส่ ตั ว์ยอ่ ม เสวยสุขและทุกข์ เพราะเหตุแห่งความพยายามในปัจจุบนั พวกนิครนถ์ต้องเป็นผู้มีความพยายามในปัจจุบันเลวแน่ ในบัดนี้ พวกเขาจึงได้เสวยเวทนาอันเป็นทุกข์กล้าเจ็บแสบ เห็นปานนี้. ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าหมูส่ ตั ว์ยอ่ มเสวยสุขและทุกข์ เพราะเหตุแห่งกรรมที่ตนทำ�ไว้ในก่อน  พวกนิครนถ์ต้อง น่าตำ�หนิ  ถ้าหมู่สัตว์ไม่ได้เสวยสุขและทุกข์  เพราะเหตุ แห่งกรรมทีต่ นทำ�ไว้ในกาลก่อน พวกนิครนถ์กต็ อ้ งน่าตำ�หนิ ถ้าหมูส่ ตั ว์ยอ่ มเสวยสุขและทุกข์ เพราะเหตุทอ่ี ศิ วรเนรมิตให้

​55


​56 พุ ท ธ ว จ น พวกนิครนถ์ตอ้ งน่าตำ�หนิ ถ้าหมูส่ ตั ว์ไม่ได้เสวยสุขและทุกข์  เพราะเหตุที่อิศวรเนรมิตให้  พวกนิครนถ์ก็ต้องน่าตำ�หนิ ถ้าหมูส่ ตั ว์ยอ่ มเสวยสุขและทุกข์ เพราะเหตุทม่ี คี วามบังเอิญ พวกนิครนถ์ตอ้ งน่าตำ�หนิ ถ้าหมูส่ ตั ว์ไม่ได้เสวยสุขและทุกข์ เพราะเหตุที่มีความบังเอิญ พวกนิครนถ์ก็ต้องน่าตำ�หนิ ถ้าหมู่สัตว์ย่อมเสวยสุขและทุกข์ เพราะเหตุแห่งอภิชาติ พวกนิครนถ์ตอ้ งน่าตำ�หนิ ถ้าหมูส่ ตั ว์ไม่ได้เสวยสุขและทุกข์ เพราะเหตุแห่งอภิชาติ พวกนิครนถ์กต็ อ้ งน่าตำ�หนิ ถ้าหมูส่ ตั ว์ ย่อมเสวยสุขและทุกข์ เพราะเหตุแห่งความพยายามในปัจจุบนั พวกนิครนถ์ตอ้ งน่าตำ�หนิ ถ้าหมู่สัตว์ไม่ได้เสวยสุขและทุกข์ เพราะเหตุแห่งความพยายามในปัจจุบัน  พวกนิครนถ์ก็ ต้องน่าตำ�หนิ. ภิกษุทั้งหลาย ! พวกนิ ค รนถ์ มี ถ้ อ ยคำ � และ ความเห็นอย่างนี้ การกล่าวก่อนและการกล่าวตาม ๑๐ ประการ อันชอบด้วยเหตุของพวกนิครนถ์ ผูม้ ถี อ้ ยคำ�และความเห็น อย่างนี้ ย่อมถึงฐานะน่าตำ�หนิ. ภิกษุทั้งหลาย ! ความพยายามไร้ผล ความเพียร ไร้ผล อย่างนี้แล.


ฉบับ ๕ แก้กรรม ?

ภิกษุทั้งหลาย ! ก็อย่างไร ความพยายามจึง จะมีผล ความเพียรจึงจะมีผล. ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่เอาทุกข์ทับถมตนที่ไม่มีทุกข์ทับถม ๑ ไม่สละความสุขที่เกิดโดยธรรม ๑ ไม่เป็นผู้หมกมุ่นในความสุขนั้น ๑ เธอย่อมทราบชัดอย่างนี้ว่า ถึงเรานี้จักยังมีเหตุแห่งทุกข์ เมื่อเริ่มตั้งความเพียร วิราคะย่อมมีได้ อนึ่ง ถึงเรานี้จะยังมีเหตุแห่งทุกข์ เมือ่ วางเฉย บำ�เพ็ญอุเบกขาอยู่ วิราคะก็ยอ่ มมีได้ เธอนัน้ จึงเริม่ ตัง้ ความเพียร และบำ�เพ็ญอุเบกขาอยู่ ด้วยการทำ�เช่นนี้ ทุกข์นั้นก็เป็นอันเธอสลัดได้แล้ว. ภิกษุทั้งหลาย ! อีกประการหนึง่ ภิกษุพจิ ารณาเห็น ดังนี้ว่า :-

​57


​58 พุ ท ธ ว จ น

เมื่อเราอยู่ตามสบาย อกุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง กุศลธรรมย่อมเสื่อม แต่เมื่อเราดำ�รงตนอยู่ในความลำ�บาก อกุศลธรรมย่อมเสื่อม กุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง อย่ากระนั้นเลย เราพึงดำ�รงตนอยู่ในความลำ�บากเถิด เธอนั้นจึงดำ�รงตนอยู่ในความลำ�บาก เมื่อเธอดำ�รงตนอยู่ในความลำ�บากอยู่ อกุศลธรรมย่อมเสื่อม กุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง สมัยต่อมา เธอไม่ต้องดำ�รงตนอยู่ในความลำ�บากอีก เพราะเหตุว่า ประโยชน์ที่เธอหวังนั้น สำ�เร็จแล้วตามที่เธอประสงค์. ภิกษุทั้งหลาย ! ความพยายามมีผล ความเพียรมีผล แม้อย่างนี.้ อุปริ. ม. ๑๔/๗/๘.


ลัทธิความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับกรรม ๓ แบบ


​60 พุ ท ธ ว จ น

๑๗ ลัทธิที่เชื่อว่าสุขและทุกข์ เกิดจากกรรมเก่าอย่างเดียว ภิกษุทั้งหลาย ! ลัทธิ ๓ ลัทธิเหล่านี ้ มีอยู,่   เป็นลัทธิซง่ึ แม้บณ ั ฑิต จะพากันไตร่ตรอง  จะหยิบขึน้ ตรวจสอบ  จะหยิบขึน้ วิพากษ์ วิจารณ์กนั อย่างไร  แม้จะบิดผันกันมาอย่างไร  ก็ชวนให้นอ้ มไป เพือ่ การไม่ประกอบกรรมทีด่ งี ามอยูน่ น่ั เอง. ภิกษุทั้งหลาย ! ลัทธิ ๓ ลัทธินั้น เป็นอย่างไรเล่า ? ๓ ลัทธิคือ :(๑) สมณะและพราหมณ์บางพวก มีถ้อยคำ�และ ความเห็นว่า “บุรษุ บุคคลใดๆ ก็ตาม ทีไ่ ด้รบั สุข รับทุกข์ หรือไม่ใช่สุขไม่ใช่ทุกข์ ทั้งหมดนั้น เป็นเพราะกรรม ที่ทำ�ไว้แต่ปางก่อน” ดังนี้. (๒) สมณะและพราหมณ์บางพวก มีถ้อยคำ�และ ความเห็นว่า “บุรษุ บุคคลใดๆ ก็ตาม ทีไ่ ด้รบั สุข รับทุกข์


ฉบับ ๕ แก้กรรม ?

หรือไม่ใช่สขุ ไม่ใช่ทกุ ข์ ทัง้ หมดนัน้ เป็นเพราะการบันดาล ของเจ้าเป็นนาย” ดังนี้. (๓) สมณะและพราหมณ์บางพวก มีถ้อยคำ�และ ความเห็นว่า “บุรษุ บุคคลใดๆ ก็ตาม ทีไ่ ด้รบั สุข รับทุกข์ หรือไม่ใช่สุขไม่ใช่ทุกข์ ทั้งหมดนั้น ไม่มีอะไรเป็นเหตุ เป็นปัจจัยเลย” ดังนี้. ภิกษุทั้งหลาย ! ในบรรดาลั ท ธิ ทั้ ง   ๓   นั้ น สมณพราหมณ์ พ วกใด มี ถ้ อ ยคำ � และความเห็ น ว่ า “บุคคลได้รับสุข หรือทุกข์ หรือไม่ใช่สุขไม่ใช่ทุกข์ เพราะกรรมที่ทำ�ไว้แต่ปางก่อนอย่างเดียว” มีอยู่, เราเข้าไปหาสมณพราหมณ์เหล่านัน้ แล้วสอบถาม ความที่ เ ขายั ง ยื น ยั น อยู่ ดั ง นั้ น แล้ ว   เรากล่ า วกะเขาว่ า “ถ้ากระนั้น คนที่ฆ่าสัตว์ ... ลักทรัพย์ ... ประพฤติผิด พรหมจรรย์ ... พูดเท็จ ... พูดคำ�หยาบ ... พูดยุให้แตกกัน ... พูดเพ้อเจ้อ ... มีใจละโมบเพ่งเล็ง ... มีใจพยาบาท ... มีความเห็นวิปริตเหล่านี้  อย่างใดอย่างหนึ่ง  (ในเวลานี้) นั่นก็ต้องเป็นเพราะกรรมที่ทำ�ไว้แต่ปางก่อน.

​61


​62 พุ ท ธ ว จ น

เมื่อมัวแต่ถือเอา กรรมที่ทำ�ไว้แต่ปางก่อน มาเป็นสาระสำ�คัญดังนี้แล้ว คนเหล่านั้นก็ไม่มีความอยากทำ� หรือความพยายามทำ�ในข้อที่ว่า สิ่งนี้ควรทำ� (กรณียกิจ) สิ่งนี้ไม่ควรทำ� (อกรณียกิจ) อีกต่อไป. เมื่อกรณียกิจและอกรณียกิจ ไม่ถูกทำ�หรือถูกละเว้นให้จริงๆ  จังๆ  กันแล้ว คนพวกที่ไม่มีสติคุ้มครองตนเหล่านั้น ก็ไม่มีอะไรที่จะมาเรียกตนว่า เป็นสมณะอย่างชอบธรรมได้”  ดังนี้. ติก. อํ. ๒๐/๒๒๒/๕๐๑.


ฉบับ ๕ แก้กรรม ?

๑๘ ลัทธิที่เชื่อว่าสุขและทุกข์ เกิดจากเทพเจ้าบันดาลให้ ภิกษุทั้งหลาย ! ในบรรดาลัทธิทั้ง ๓ นั้น สมณพราหมณ์พวกใด มีถอ้ ยคำ�และความเห็นว่า “บุคคลได้รบั สุขหรือทุกข์ หรือ ไม่ใช่สขุ ไม่ใช่ทกุ ข์ ทัง้ หมดนัน้ เป็นเพราะอิศวรเนรมิตให้ (อิสสฺ รนิมมฺ านเหตูต)ิ ” ดังนี้ มีอยู,่ เราเข้าไปหาสมณพราหมณ์เหล่านัน้ แล้วสอบถาม ความที่ เ ขายั ง ยื น ยั น อยู่ ดั ง นั้ น แล้ ว เรากล่ า วกะเขาว่ า “ถ้ากระนั้น  (ในบัดนี้)  คนที่ฆ่าสัตว์ ... ลักทรัพย์ ... ประพฤติผิดพรหมจรรย์ ... พูดเท็จ ... พูดคำ�หยาบ ... พูดยุให้แตกกัน ... พูดเพ้อเจ้อ ... มีใจละโมบเพ่งเล็ง ... มีใจพยาบาท มีความเห็นวิปริตเหล่านี้ อย่างใดอย่างหนึง่ อยู่ นั่นก็ต้องเป็นเพราะการเนรมิตของอิศวรด้วย.

​63


​64 พุ ท ธ ว จ น

เมื่อมัวแต่ถือเอา การเนรมิตของอิศวร มาเป็นสาระสำ�คัญดังนี้แล้ว คนเหล่านั้นก็ไม่มีความอยากทำ� หรือความพยายามทำ�ในข้อที่ว่า สิ่งนี้ควรทำ� (กรณียกิจ) สิ่งนี้ไม่ควรทำ� (อกรณียกิจ) อีกต่อไป. เมื่อกรณียกิจและอกรณียกิจ  ไม่ถูกทำ�หรือถูกละเว้นให้จริงๆ  จังๆ  กันแล้ว คนพวกที่ไม่มีสติคุ้มครองตนเหล่านั้น  ก็ไม่มีอะไรที่จะมาเรียกตนว่า เป็นสมณะอย่างชอบธรรมได้” ดังนี้. ติก. อํ. ๒๐/๒๒๓/๕๐๑.


ฉบับ ๕ แก้กรรม ?

​65

๑๙ ลัทธิทเ่ี ชือ่ ว่าสุขและทุกข์เกิดขึน้ เองลอยๆ ไม่มีอะไรเป็นเหตุ เป็นปัจจัย ภิกษุทั้งหลาย ! ในบรรดาลัทธิทั้ง ๓ นั้น สมณพราหมณ์พวกใด มีถ้อยคำ�และความเห็นว่า “บุคคลได้รับสุข หรือทุกข์ หรือไม่ใช่สุขไม่ใช่ทุกข์ ทั้งหมดนั้น ไม่มีอะไรเป็นเหตุ เป็นปัจจัยเลย”  ดังนี้  มีอยู่,  เราเข้าไปหาสมณะพราหมณ์เหล่านัน้ แล้วสอบถาม ความที่เขายังยืนยันอยู่ดั ง นั้ น แล้ ว   เรากล่ า วกะเขาว่ า  “ถ้ า กระนั้ น   (ในบั ด นี้ )   คนที่ฆ่าสัตว์ … ลักทรัพย์ … ประพฤติผิดพรหมจรรย์ … พูดเท็จ … พูดคำ�หยาบ … พูดยุให้แตกกัน … พูดเพ้อเจ้อ … มีใจละโมบเพ่งเล็ง … มีใจพยาบาท … มีความเห็นวิปริตเหล่านี้ อย่างใดอย่างหนึง่ อยู่ นั่นก็ต้องไม่มีอะไรเป็นเหตุ  เป็นปัจจัยเลยด้วย.


​66 พุ ท ธ ว จ น

เมื่อมัวแต่ถือเอา ความไม่มีอะไรเป็นเหตุ เป็นปัจจัยเลย มาเป็นสาระสำ�คัญดังนี้แล้ว คนเหล่านั้นก็ไม่มีความอยากทำ� หรือความพยายามทำ�ในข้อที่ว่า สิ่งนี้ควรทำ�  (กรณียกิจ)  สิ่งนี้ไม่ควรทำ�  (อกรณียกิจ) อีกต่อไป. เมื่อกรณียกิจและอกรณียกิจ  ไม่ถูกทำ�หรือถูกละเว้นให้จริงๆ  จังๆ  กันแล้ว  คนพวกที่ไม่มีสติคุ้มครองตนเหล่านั้น  ก็ไม่มีอะไรที่จะมาเรียกตนว่า เป็นสมณะอย่างชอบธรรมได้” ดังนี้. ติก. อํ. ๒๐/๒๒๔/๕๐๑.


ฉบับ ๕ แก้กรรม ?

​67

๒๐ เชื่อว่า “กรรม” ไม่มี อันตรายอย่างยิ่ง ภิกษุทั้งหลาย ! ในบรรดาผ้าทีท่ อด้วยสิง่ ทีเ่ ป็น เส้นๆ กันแล้ว ผ้าเกสกัมพล (ผ้าทอด้วยผมคน) นับว่าเป็น ผ้าเลวทีส่ ดุ . ผ้าเกสกัมพลนี้ เมือ่ อากาศหนาว มันก็เย็นจัด, เมื่ออากาศร้อน  มันก็ร้อนจัด.  สีก็ไม่งาม  กลิ่นก็เหม็น เนื้อก็กระด้าง;  ข้อนี้เป็นฉันใด, ภิกษุทั้งหลาย ! ในบรรดาลั ท ธิ ต่ า งๆ ของ เหล่าปุถุสมณะ  (สมณะอื่นทั่วไป)  แล้ว  ลัทธิมักขลิวาท นับว่าเป็นเลวที่สุด  ฉันนั้น. ภิกษุทั้งหลาย ! มักขลิโมฆบุรษุ นัน้ มีถอ้ ยคำ�และ หลักความเห็นว่า “กรรมไม่ม,ี กิรยิ าไม่ม,ี ความเพียรไม่ม”ี (คือในโลกนี้ อย่าว่าแต่จะมีผลกรรมเลย แม้แต่ตวั กรรมเองก็ไม่ม,ี ทำ�อะไรเท่ากับไม่ทำ� ในส่วนของกิริยาและความเพียร ก็มีนัย เช่นเดียวกัน).

ภิกษุทั้งหลาย ! แม้ พ ระอรหั น ตสั ม มาสั ม พุ ท ธเจ้ า ทั้ ง หลาย ที่ เ คยมี แ ล้ ว ในอดี ต กาลนานไกล ท่านเหล่านัน้ ก็ลว้ นแต่เป็นผูก้ ล่าวว่า มีกรรม มีกริ ยิ า มีวริ ยิ ะ.


​68 พุ ท ธ ว จ น มักขลิโมฆบุรษุ ย่อมคัดค้านพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านัน้ ว่า  ไม่มีกรรม  ไม่มีกิริยา  ไม่มีวิริยะ  ดังนี้. ภิกษุทั้งหลาย ! แม้ พ ระอรหั น ตสั ม มาสั ม พุทธเจ้าทัง้ หลาย ทีจ่ กั มีมาในอนาคตกาลนานไกลข้างหน้า ท่านเหล่านัน้ ก็ลว้ นแต่เป็นผูก้ ล่าวว่า มีกรรม มีกริ ยิ า มีวริ ยิ ะ. มักขลิโมฆบุรษุ ย่อมคัดค้านพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เหล่านั้นว่า  ไม่มีกรรม  ไม่มีกิริยา  ไม่มีวิริยะ  ดังนี้. ภิกษุทั้งหลาย ! ในกาละนี้ แม้เราเองผู้เป็น อรหันตสัมมาสัมพุทธะก็เป็นผูก้ ล่าวว่า  มีกรรม  มีกริ ยิ า  มีวิริยะ.  มักขลิโมฆบุรุษ  ย่อมคัดค้านเราว่า  ไม่มีกรรม ไม่มีกิริยา  ไม่มีวิริยะ  ดังนี้. ภิกษุทั้งหลาย ! คนเขาวางเครือ่ งดักปลา ไว้ที่ ปากแม่น้ำ� ไม่ใช่เพื่อความเกื้อกูล, แต่เพื่อความทุกข์ ความวอดวาย ความฉิบหาย แก่พวกปลาทัง้ หลาย ฉันใด; มักขลิโมฆบุรษุ   เกิดขึน้ ในโลก  เป็นเหมือนกับ ผูว้ างเครือ่ งดักมนุษย์ไว้  ไม่ใช่เพือ่ ความเกือ้ กูล,  แต่เพือ่ ความทุกข์ ความวอดวาย ความฉิบหาย แก่สตั ว์ทง้ั หลาย เป็นอันมาก ฉันนั้น. ติก. อํ. ๒๐/๓๖๙/๕๗๗.


ผลของกรรม แบ่งโดยระยะเวลาให้ผลของกรรม


​70 พุ ท ธ ว จ น

๒๑ ระยะเวลาการให้ผลของกรรม ภิกษุทั้งหลาย ! วิบาก (ผลแห่งการกระทำ�) แห่งกรรมทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุทั้งหลาย ! เรากล่าววิบากแห่งกรรมทัง้ หลายว่ามีอยู่ ๓ อย่าง คือ :วิบากในทิฏฐธรรม (คือทันควัน) หรือว่า วิบากในอุปปัชชะ (คือในเวลาต่อมา) หรือว่า วิบาก ในอปรปริยายะ (คือในเวลาต่อมาอีก). ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรากล่าวว่า วิบากแห่งกรรมทั้งหลาย. ฉกฺก. อํ. ๒๒/๔๖๕/๓๓๔.


ผลของกรรม แบ่งโดยผลที่ได้รับ


​72 พุ ท ธ ว จ น

๒๒ ผู้ฉลาดในเรื่องวิบากแห่งกรรม บุคคลเป็นพราหมณ์ เพราะชาติ (กำ�เนิด) ก็หามิได้; จะมิใช่พราหมณ์ เพราะชาติก็หามิได้ : บุคคลเป็นพราหมณ์ เพราะกรรม; ไม่เป็นพราหมณ์ ก็เพราะกรรม. บุคคลเป็นชาวนา ก็เพราะกรรม; เป็นศิลปิน ก็เพราะกรรม, บุคคลเป็นพ่อค้า ก็เพราะกรรม; เป็นคนรับใช้ ก็เพราะกรรม, บุคคลแม้เป็นโจร ก็เพราะกรรม; เป็นนักรบ ก็เพราะกรรม, บุคคลเป็นปุโรหิต ก็เพราะกรรม; แม้เป็นพระราชา ก็เพราะกรรม,


ฉบับ ๕ แก้กรรม ?

บัณฑิตทั้งหลาย ย่อมเห็นซึ่งกรรมนั้น ตามที่เป็นจริงอย่างนี้. ชื่อว่า เป็นผู้เห็นซึ่งปฏิจจสมุปบาท เป็นผู้ฉลาดในเรื่องวิบากแห่งกรรม. โลก ย่อมเป็นไปตามกรรม หมู่สัตว์ ย่อมเป็นไปตามกรรม สัตว์ทั้งหลาย มีกรรมเป็นเครื่องรึงรัด เหมือนลิ่มสลักขันยึดรถที่กำ�ลังแล่นไปอยู่ ... สุ. ขุ. ๒๕/๔๕๗/๓๘๒.

​73


​74 พุ ท ธ ว จ น

๒๓ เหตุให้ได้ความเป็นผู้มีรูปงาม มีทรัพย์มากและสูงศักดิ์ มัลลิกา ! มาตุคามบางคนในโลกนีไ้ ม่เป็นผูม้ กั โกรธ ไม่มากไปด้วยความคับแค้นใจ  ถูกว่าแม้มากก็ไม่ขดั เคือง ไม่ฉุนเฉียว  ไม่กระฟัดกระเฟียด  ไม่กระด้างกระเดื่อง ไม่แสดงความโกรธ  ความขัดเคืองและความไม่พอใจ ให้ปรากฏ  เป็นผู้ให้ทาน  คือ  ข้าว  น�้ำ  เครื่องนุ่งห่ม ยานพาหนะ ดอกไม้ ของหอม เครือ่ งลูบไล้ ทีน่ อน ทีอ่ ยู่ และประทีปโคมไฟ  แก่สมณะหรือพราหมณ์และเป็นผ้มู ใี จ ไม่ริษยา ย่อมไม่ริษยา ไม่มุ่งร้าย ไม่ผูกใจอิจฉา ในลาภสักการะ ความเคารพ ความนับถือ การไหว้ และการบูชา ของคนอื่น ถ้ามาตุคามนั้นจุติจากอัตภาพนั้นแล้ว  มาสู่ ความเป็นอย่างนีก้ ลับมาเกิดในชาติใดๆ  ย่อมเป็นผูม้ รี ปู งาม น่าดู  น่าชม ประกอบด้วยความเป็นผูม้ ผี วิ พรรณงามยิง่ นัก ทัง้ เป็นผูม้ งั่ คัง่ มีทรัพย์มาก  มีโภคสมบัตมิ ากและสูงศักดิ.์ จตุกฺก. อํ. ๒๑/๒๗๘/๑๙๗.


ฉบับ ๕ แก้กรรม ?

๒๔ ผลของให้ทานแบบต่างๆ ภิกษุทั้งหลาย ! สั ป ปุ ริ ส ทาน ๕ ประการนี้ ๕ ประการอย่างไรเล่า ? คือ :๑. ย่อมให้ทานด้วยศรัทธา ๒. ย่อมให้ทานโดยเคารพ ๓. ย่อมให้ทานโดยกาลอันควร ๔. เป็นผู้มีจิตอนุเคราะห์ให้ทาน ๕. ย่อมให้ทานไม่กระทบตนและไม่กระทบผูอ้ นื่ ภิกษุทั้งหลาย ! สัตบุรุษ (๑) ครั้นให้ทานด้วยศรัทธาแล้ว ย่อมเป็น ผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคทรัพย์มาก และเป็ น ผู้ มี รู ป สวยงาม น่ า ดู น่ า เลื่ อ มใส ประกอบด้วยผิวพรรณงามยิ่งนัก ในที่ที่ทานนั้นให้ผล. (๒) ครั้นให้ทานโดยเคารพแล้ว ย่อมเป็น ผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคทรัพย์มาก

​75


​76 พุ ท ธ ว จ น และเป็นผู้มีบุตรภรรยา ทาส คนใช้หรือคนงาน เป็นผู้เชื่อฟัง เงี่ยโสตลงสดับคำ�สั่ง ตั้งใจใคร่รู้ ในที่ที่ ทานนั้นให้ผล. (๓) ครั้นให้ทานโดยกาลอันควรแล้ว ย่อมเป็น ผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคทรัพย์มาก และย่อมเป็นผูม้ คี วามต้องการทีเ่ กิดขึน้ ตามกาล บริบูรณ์ ในที่ที่ทานนั้นให้ผล. (๔) ครั้นเป็นผู้มีจิตอนุเคราะห์ให้ทานแล้ว ย่อมเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคทรัพย์มาก และเป็นผู้มีจิตน้อมไปเพื่อบริโภคกามคุณ ๕ สูงยิ่งขึ้น ในที่ที่ทานนั้นให้ผล. (๕) ครั้นให้ทานไม่กระทบตนและไม่กระทบ ผูอ้ น่ื แล้ว ย่อมเป็นผูม้ ง่ั คัง่ มีทรัพย์มาก มีโภคทรัพย์มาก และย่อมเป็นผูม้ โี ภคทรัพย์ไม่มภี ยันตรายมาแต่ ที่ไหนๆ คือ จากไฟ จากน้ำ� จากพระราชา จากโจร จากคนไม่เป็นทีร่ กั หรือจากทายาท ในทีท่ ที่ านนัน้ ให้ผล. ภิกษุทั้งหลาย ! นี้แลสัปปุริสทาน ๕ ประการ. ปญฺจก. อํ. ๒๒/๑๙๒/๑๔๘.


ฉบับ ๕ แก้กรรม ?

๒๕ กรรมทีท่ �ำ ให้ได้รบั ผลเป็นความไม่ตกต่�ำ ภิกษุทั้งหลาย ! แ ต่ ช า ติ ที่ แ ล้ ว ม า แ ต่ อ ดี ต ตถาคตได้เคยเจริญเมตตาภาวนาตลอด ๗ ปี จึงไม่เคย มาบังเกิดในโลกมนุษย์นี้ ตลอด ๗ สังวัฏฏกัปป์ และ วิ วั ฏ ฏกั ป ป์ . ในระหว่ า งกาลอั น เป็ น สั ง วั ฏ ฏกั ป ป์ นั้ น เราได้บังเกิดในอาภัสสรพรหม. ในระหว่างกาลอันเป็น วิวัฏฏกัปป์นั้น เราก็ได้อยู่พรหมวิมานอันว่างเปล่าแล้ว. ภิกษุทั้งหลาย ! ในกั ป ป์ น้ัน เราได้ เ คยเป็ น พรหม ได้เคยเป็นมหาพรหมผูย้ ง่ิ ใหญ่ ไม่มใี ครครอบงำ�ได้ เป็นผูเ้ ห็นสิง่ ทัง้ ปวงโดยเด็ดขาด เป็นผูม้ อี �ำ นาจสูงสุด. ภิกษุทั้งหลาย ! เราได้เคยเป็นสักกะ ผู้เป็น จอมแห่งเทวดา นับได้ ๓๖ ครั้ง เราได้เคยเป็นราชา จักรพรรดิผปู้ ระกอบด้วยธรรม เป็นพระราชาโดยธรรม มีแว่นแคว้นจดมหาสมุทรทั้งสี่เป็นที่สุด เป็นผู้ชนะแล้ว อย่างดี มีชนบทอันบริบูรณ์ประกอบด้วยแก้วเจ็ดประการ นับด้วยร้อยๆ ครั้ง, ทำ�ไมจะต้องกล่าวถึงความเป็นราชา ตามธรรมดาด้วย.

​77


​78 พุ ท ธ ว จ น

ภิกษุทั้งหลาย ! ความคิ ด ได้ เ กิ ด ขึ้ น แก่ เ ราว่ า ผลวิบากแห่งกรรมอะไรของเราหนอ ที่ทำ�ให้เราเป็นผู้มี ฤทธิม์ ากถึงอย่างนี้ มีอานุภาพมากถึงอย่างนี้ ในครัง้ นัน้ ๆ. ภิกษุทั้งหลาย ! ความรูส้ กึ ได้เกิดขึน้ แก่เราว่า ผลวิบากแห่งกรรม ๓ อย่างนี้แล ที่ทำ�ให้เรามีฤทธิ์มาก ถึงอย่างนี้ มีอานุภาพมากถึงอย่างนี้, วิบากแห่งกรรม ๓ อย่าง ในครั้งนั้น คือ ผลวิบากแห่งทาน (การให้) ๑, ผลวิบากแห่งทมะ (การบีบบังคับใจ) ๑, ผลวิบากแห่งสัญญมะ (การสำ�รวมระวัง) ๑, ดังนี.้ อิติวุ. ขุ. ๒๕/๒๔๐/๒๐๐.


ฉบับ ๕ แก้กรรม ?

๒๖ เหตุที่ทำ�ให้มนุษย์เกิดมาแตกต่างกัน สุภมาณพ โตเทยยบุตร ได้ทลู ถามพระผูม้ พี ระภาค ดังนีว้ า่ “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! อะไรหนอแล เป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้พวกมนุษย์ที่เกิดเป็นมนุษย์อยู่ ปรากฏความเลว และความประณีต คือ มนุษย์ทง้ั หลายย่อมปรากฏมีอายุสน้ั มีอายุยนื มีโรคมาก มีโรคน้อย มีผวิ พรรณทราม มีผวิ พรรณงาม มีศกั ดาน้อย มีศกั ดามาก มีโภคะน้อย มีโภคะมาก เกิดในสกุลต่ำ� เกิดในสกุลสูง ไร้ปัญญา มีปัญญา. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! อะไรหนอแล เป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้พวกมนุษย์ที่เกิดเป็นมนุษย์อยู่ ปรากฏ ความเลวและความประณีต”.

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า มาณพ ! สัต ว์ทั้งหลายมีกรรมเป็ น ของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำ�เนิด มีกรรมเป็น เผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย กรรมย่อมจำ�แนกสัตว์ ให้เลวและประณีตได้.

​79


​80 พุ ท ธ ว จ น

“ข้าพระองค์ยอ่ มไม่ทราบเนือ้ ความโดยพิสดารของอุเทศ ทีพ่ ระโคดมผูเ้ จริญตรัสโดยย่อมิได้จ�ำ แนกเนือ้ ความโดยพิสดารนีไ้ ด้ ขอพระโคดมผู้เจริญ ! ได้โปรดแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดย ประการทีข่ า้ พระองค์จะพึงทราบเนือ้ ความแห่งอุเทศนีโ้ ดยพิสดาร ด้วยเถิด”.

มาณพ ! ถ้าอย่างนั้น ท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจะกล่าวต่อไป :สุภมาณพ โตเทยยบุตร ทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า “ชอบแล้ว พระเจ้าข้า !”.

พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า มาณพ ! บุ ค คลบางคนในโลกนี้ จ ะเป็ น สตรี ก็ตาม บุรุษก็ตาม เป็นผู้มักทำ�ชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง เป็นคน เหีย้ มโหด มีมอื เปือ้ นเลือด หมกมุน่ ในการประหัตประหาร ไม่เอ็นดูในเหล่าสัตว์มีชีวิต เขาตายไป จะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ถ้ามาเป็นมนุษย์เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคนมีอายุสั้น.


ฉบับ ๕ แก้กรรม ?

มาณพ ! ปฏิปทาทีเ่ ป็นไปเพือ่ ความมีอายุสนั้ นี้คือ เป็นผู้มักทำ�ชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง เป็นคนเหี้ยมโหด มีมอื เปือ้ นเลือด หมกมุน่ ในการประหัตประหาร ไม่เอ็นดู ในเหล่าสัตว์มีชีวิต. มาณพ ! บุ ค คลบางคนในโลกนี้ จ ะเป็ น สตรี ก็ตาม บุรุษก็ตาม ละปาณาติบาตแล้ว เป็นผู้เว้นขาดจาก ปาณาติบาต วางอาชญา วางศัสตราได้ มีความละอาย ถึง ความเอ็นดู อนุเคราะห์ดว้ ยความเกือ้ กูลในสรรพสัตว์และ ภูตอยู่ เขาตายไป จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะกรรมนัน้ อันเขาให้พรัง่ พร้อมสมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึง สุคติโลกสวรรค์ ถ้ามาเป็นมนุษย์เกิด ณ ทีใ่ ดๆ ในภายหลัง จะเป็นคนมีอายุยืน. มาณพ ! ปฏิปทาทีเ่ ป็นไปเพือ่ ความมีอายุยนื นี้ คือ ละปาณาติบาตแล้ว เป็นผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต วางอาชญา วางศัสตราได้ มีความละอาย ถึงความเอ็นดู อนุเคราะห์ด้วยความเกื้อกูลในสรรพสัตว์และภูตอยู่. มาณพ ! บุ ค คลบางคนในโลกนี้ จ ะเป็ น สตรี ก็ตาม บุรุษก็ตาม เป็นผู้มีปกติเบียดเบียนสัตว์ด้วยฝ่ามือ

​81


​82 พุ ท ธ ว จ น หรือก้อนดิน หรือท่อนไม้ หรือศัสตรา เขาตายไป จะเข้าถึง อบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะกรรมนั้น อันเขาให้ พรัง่ พร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ วิ นิ บาต นรก ถ้ามาเป็นมนุษย์เกิด ณ ที่ ใ ดๆ ในภายหลัง จะเป็นคนมีโรคมาก. มาณพ ! ปฏิปทาทีเ่ ป็นไปเพือ่ ความมีโรคมากนี้ คือ เป็นผูม้ ปี กติเบียดเบียนสัตว์ดว้ ยฝ่ามือ หรือก้อนดิน หรือท่อนไม้ หรือศัสตรา. มาณพ ! บุ ค คลบางคนในโลกนี้ จ ะเป็ น สตรี ก็ตาม บุรษุ ก็ตาม เป็นผูม้ ปี กติไม่เบียดเบียนสัตว์ดว้ ยฝ่ามือ หรือก้อนดิน หรือท่อนไม้ หรือศัสตรา เขาตายไป จะเข้าถึง สุคติโลกสวรรค์ เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ถ้ามาเป็ น มนุ ษ ย์ เ กิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็ น คนมีโรคน้อย. มาณพ ! ปฏิปทาทีเ่ ป็นไปเพือ่ ความมีโรคน้อยนี้ คือ เป็นผู้มีปกติไม่เบียดเบียนสัตว์ด้วยฝ่ามือ หรือ ก้อนดิน หรือท่อนไม้ หรือศัสตรา.


ฉบับ ๕ แก้กรรม ?

มาณพ ! บุ ค คลบางคนในโลกนี้ จ ะเป็ น สตรี ก็ ต าม บุ รุ ษ ก็ ต าม เป็ น คนมั ก โกรธ มากด้ ว ยความ แค้นเคือง ถูกเขาว่าเล็กน้อยก็ขัดใจ โกรธเคือง พยาบาท มาดร้าย ทำ�ความโกรธ ความร้าย และความขึ้งเคียดให้ ปรากฏ เขาตายไป จะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อมสมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ถ้ามาเป็น มนุษย์เกิด ณ ทีใ่ ดๆ ในภายหลัง จะเป็นคนมีผวิ พรรณทราม. มาณพ ! ปฏิปทาทีเ่ ป็นไปเพือ่ ความมีผวิ พรรณ ทรามนี้ คือ เป็นคนมักโกรธ มากด้วยความแค้นเคือง ถูกเขาว่าเล็กน้อยก็ขดั ใจ โกรธเคือง พยาบาท มาดร้าย ทำ�ความโกรธ ความร้าย และความขึ้งเคียดให้ปรากฏ. มาณพ ! บุ ค คลบางคนในโลกนี้ จ ะเป็ น สตรี ก็ตาม บุรุษก็ตาม เป็นคนไม่มักโกรธ ไม่มากด้วยความ แค้นเคือง ถูกเขาว่ามากก็ไม่ขดั ใจ ไม่โกรธเคือง ไม่พยาบาท ไม่มาดร้าย ไม่ท�ำ ความโกรธ ความร้าย และความขึง้ เคียดให้ ปรากฏ เขาตายไป จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะกรรมนัน้ อั น เขาให้ พ รั่ ง พร้ อ ม สมาทานไว้ อ ย่ า งนี้ หากตายไป

​83


​84 พุ ท ธ ว จ น ไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคนน่าเลื่อมใส. มาณพ ! ปฏิ ป ทาที่ เ ป็ น ไปเพื่ อ ความเป็ น ผู้น่าเลื่อมใสนี้ คือ เป็นคนไม่มักโกรธ ไม่มากด้วย ความแค้นเคือง ถูกเขาว่ามากก็ไม่ขัดใจ ไม่โกรธเคือง ไม่พยาบาท ไม่มาดร้าย ไม่ทำ�ความโกรธ ความร้าย ความขึ้งเคียดให้ปรากฏ. มาณพ ! บุ ค คลบางคนในโลกนี้ จ ะเป็ น สตรี ก็ตาม บุรษุ ก็ตาม มีใจริษยา ย่อมริษยา มุง่ ร้าย ผูกใจอิจฉา ในลาภสักการะ ความเคารพ ความนับถือ การไหว้ และ การบูชาของคนอืน่ เขาตายไป จะเข้าถึงอบาย ทุคติวนิ บิ าต นรก เพราะกรรมนัน้ อันเขาให้พรัง่ พร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไปไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ถ้ามาเป็น มนุษย์เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลังจะเป็นคนมีศักดาน้อย. มาณพ ! ปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความมีศักดา น้อยนี้ คือ มีใจริษยา ย่อมริษยา มุ่งร้าย ผูกใจอิจฉา ในลาภสักการะ ความเคารพ ความนับถือ การไหว้ และ การบูชาของคนอื่น.


ฉบับ ๕ แก้กรรม ?

มาณพ ! บุ ค คลบางคนในโลกนี้ จ ะเป็ น สตรี ก็ตาม บุรษุ ก็ตาม เป็นผูม้ ใี จไม่รษิ ยา ย่อมไม่รษิ ยา ไม่มงุ่ ร้าย ไม่ผูกใจอิจฉาในลาภสักการะ ความเคารพ ความนับถือ การไหว้ และการบูชาของคนอืน่ เขาตายไป จะเข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์ เพราะกรรมนัน้ อันเขาให้ พรัง่ พร้อม สมาทาน ไว้อย่างนี้ หากตายไปไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ถ้ามาเป็น มนุษย์เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคนมีศักดามาก. มาณพ ! ปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความมีศักดา มากนี้  คือ  มีใจไม่ริษยา  ย่อมไม่ริษยา  ไม่มุ่งร้าย  ไม่ผกู ใจอิจฉาในลาภสักการะ  ความเคารพ  ความนับถือ การไหว้  และการบูชาของคนอื่น. มาณพ !  บุค คลบางคนในโลกนี้จะเป็ นสตรี ก็ตาม บุรุษก็ตาม ย่อมไม่เป็นผู้ให้ ข้าว น้ำ� เครื่องนุ่งห่ม ยานพาหนะ ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่ และประทีปโคมไฟแก่สมณะหรือพราหมณ์ เขาตายไป จะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะกรรมนั้น อันเขา ให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไปไม่เข้าถึง อบาย ทุคติ วินิบาต นรก ถ้ามาเป็นมนุษย์เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลังจะเป็นคนมีโภคะน้อย.

​85


​86 พุ ท ธ ว จ น มาณพ ! ปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความมีโภคะ น้อยนี้ คือ ไม่ให้ข้าว น้ำ� เครื่องนุ่งห่ม ยานพาหนะ ดอกไม้ ของหอม เครือ่ งลูบไล้ ทีน่ อน ทีอ่ ยู่ และประทีป โคมไฟแก่สมณะหรือพราหมณ์. มาณพ ! บุ ค คลบางคนในโลกนี้ จ ะเป็ น สตรี ก็ตาม บุรุษก็ตาม ย่อมเป็นผู้ให้ข้าว น้ำ� เครื่องนุ่งห่ม ยานพาหนะ ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่ และประทีปโคมไฟแก่สมณะหรือพราหมณ์ เขาตายไป จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะกรรมนัน้ อันเขาให้พรัง่ พร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ถ้ามาเป็ น มนุ ษ ย์ เ กิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็ น คนมีโภคะมาก. มาณพ ! ปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความมีโภคะ มากนี้ คือ ให้ขา้ ว น้�ำ เครือ่ งนุง่ ห่ม ยานพาหนะ ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่ และประทีปโคมไฟ  แก่สมณะหรือพราหมณ์. มาณพ ! บุ ค คลบางคนในโลกนี้ จ ะเป็ น สตรี ก็ตาม บุรษุ ก็ตาม เป็นคนกระด้างเย่อหยิง่ ย่อมไม่กราบไหว้ คนที่ควรกราบไหว้ ไม่ลุกรับคนที่ควรลุกรับ ไม่ให้อาสนะ


ฉบับ ๕ แก้กรรม ?

แก่คนทีส่ มควรแก่อาสนะ ไม่ให้ทางแก่คนทีส่ มควรแก่ทาง ไม่สักการะคนที่ควรสักการะ ไม่เคารพคนที่ควรเคารพ ไม่นบั ถือคนทีค่ วรนับถือ ไม่บชู าคนทีค่ วรบูชา เขาตายไป จะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะกรรมนั้น อันเขา ให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึง อบาย ทุคติ วินิบาต นรก ถ้ามาเป็นมนุษย์เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคนเกิดในสกุลต่ำ�. มาณพ ! ปฏิ ป ทาที่ เ ป็ น ไปเพื่ อ ความเกิ ด ในสกุลต่ำ�นี้ คือ เป็นคนกระด้าง เย่อหยิ่ง ย่อมไม่ กราบไหว้คนที่ควรกราบไหว้ ไม่ลุกรับคนที่ควรลุกรับ ไม่ให้อาสนะ แก่คนที่สมควรแก่อาสนะ ไม่ให้ทางแก่ คนที่ ส มควรแก่ ท าง ไม่ สั ก การะคนที่ ค วรสั ก การะ ไม่เคารพคนที่ควรเคารพ ไม่นับถือคนที่ควรนับถือ ไม่บูชาคนที่ควรบูชา. มาณพ ! บุ ค คลบางคนในโลกนี้ จ ะเป็ น สตรี ก็ตาม บุรุษก็ตาม เป็นคนไม่กระด้าง ไม่เย่อหยิ่ง ย่อม กราบไหว้คนที่ควรกราบไหว้ ลุกรับคนที่ควรลุกรับ ให้ อาสนะแก่คนที่สมควรแก่อาสนะ ให้ทางแก่คนที่สมควร

​87


​88 พุ ท ธ ว จ น แก่ทาง สักการะคนที่ควรสักการะ เคารพคนที่ควรเคารพ นับ ถื อคนที่ค วรนับถือ บูชาคนที่ควรบูชา เขาตายไป จะเข้ า ถึ ง สุ ค ติ โ ลกสวรรค์ เพราะกรรมนั้ น อั น เขาให้ พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์ ถ้ามาเกิดเป็นมนุษย์เกิด ณ ทีใ่ ดๆ ในภายหลัง จะเป็นคนเกิดในสกุลสูง. มาณพ ! ปฏิ ป ทาที่ เ ป็ น ไปเพื่ อ ความเกิ ด ในสกุลสูงนี้ คือ เป็นคนไม่กระด้าง ไม่เย่อหยิ่ง ย่อม กราบไหว้คนทีค่ วรกราบไหว้ ลุกรับคนทีค่ วรลุกรับ ให้อาสนะ แก่คนทีส่ มควรแก่อาสนะ ให้ทางแก่คนทีส่ มควรแก่ทาง สักการะคนทีค่ วรสักการะ เคารพคนทีค่ วรเคารพ นับถือ คนที่ควรนับถือ บูชาคนที่ควรบูชา. มาณพ ! บุ ค คลบางคนในโลกนี้ จ ะเป็ น สตรี ก็ ต าม บุ รุ ษ ก็ ต าม ย่ อ มไม่ เ ป็ น ผู้ เ ข้ า ไปหาสมณะหรื อ พราหมณ์แล้วสอบถามว่า อะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล อะไรมีโทษ อะไรไม่มีโทษ อะไรควรเสพ อะไรไม่ควรเสพ อะไรเมือ่ ทำ� ย่อมเป็นไปเพือ่ ความไม่เกือ้ กูล เพือ่ ความทุกข์ สิ้นกาลนาน หรือว่าอะไรเมื่อทำ�ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์


ฉบับ ๕ แก้กรรม ?

เกือ้ กูล เพือ่ ความสุขสิน้ กาลนาน เขาตายไป จะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคนมีปัญญาทราม. มาณพ ! ปฏิปทาทีเ่ ป็นไปเพือ่ ความมีปญ ั ญา ทรามนี้ คือ ไม่เป็นผูเ้ ข้าไปหาสมณะหรือพราหมณ์แล้ว สอบถามว่าอะไร เป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล อะไรมีโทษ อะไรไม่มโี ทษ อะไรควรเสพ อะไรไม่ควรเสพ อะไรเมือ่ ทำ� ย่อมเป็นไปเพือ่ ความไม่เกือ้ กูล เพือ่ ความทุกข์สน้ิ กาลนาน หรือว่า อะไรเมื่อทำ�ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน. มาณพ ! บุ ค คลบางคนในโลกนี้ จ ะเป็ น สตรี ก็ตาม บุรษุ ก็ตาม ย่อมเป็นผูเ้ ข้าไปหาสมณะหรือพราหมณ์ แล้วสอบถามว่า อะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล อะไรมีโทษ อะไรไม่มโี ทษ อะไรควรเสพ อะไรไม่ควรเสพ อะไรเมือ่ ทำ� ย่อมเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน หรือว่า อะไรเมือ่ ทำ�ย่อมเป็นไปเพือ่ ประโยชน์เกือ้ กูล เพือ่ ความสุข

​89


​90 พุ ท ธ ว จ น สิ้นกาลนาน เขาตายไป จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะ กรรมนัน้ อันเขาให้พรัง่ พร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ถ้ามาเป็นมนุษย์เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคนมีปัญญามาก. มาณพ ! ปฏิปทาทีเ่ ป็นไปเพือ่ ความมีปญ ั ญา มากนี้ คือ เป็นผู้เข้าไปหาสมณะหรือพราหมณ์แล้ว สอบถามว่า อะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล อะไรมีโทษ อะไรไม่มโี ทษ อะไรควรเสพ อะไรไม่ควรเสพ อะไรเมือ่ ทำ� ย่อมเป็นไปเพือ่ ความไม่เกือ้ กูล เพือ่ ความทุกข์สน้ิ กาลนาน หรือว่า อะไรเมื่อทำ�ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน. มาณพ ! ด้วยประการฉะนีแ้ ล ปฏิปทาทีเ่ ป็นไป เพื่อความมีอายุสั้น ย่อมนำ�เข้าไปสู่ความเป็นคนมีอายุสั้น ปฏิ ป ทาที่ เ ป็ น ไปเพื่ อ ความมี อ ายุ ยื น ย่ อ มนำ � เข้ า ไปสู่ ความเป็นคนมีอายุยนื ปฏิปทาเป็นไปเพือ่ ความมีโรคมาก ย่อมนำ�เข้าไปสู่ความเป็นคนมีโรคมาก ปฏิปทาที่เป็นไป เพือ่ ความมีโรคน้อย ย่อมนำ�เข้าไปสูค่ วามเป็นคนมีโรคน้อย ปฏิปทาทีเ่ ป็นไปเพือ่ ความมีผวิ พรรณทราม ย่อมนำ�เข้าไปสู่


ฉบับ ๕ แก้กรรม ?

ความเป็นคนมีผวิ พรรณทราม ปฏิปทาทีเ่ ป็นไปเพือ่ ความเป็น ผู้น่าเลื่อมใส ย่อมนำ�เข้าไปสู่ความเป็นคนน่าเลื่อมใส ปฏิปทาทีเ่ ป็นไปเพือ่ ความมีศกั ดาน้อย ย่อมนำ�เข้าไปสูค่ วาม เป็นคนมีศกั ดาน้อย ปฏิปทาทีเ่ ป็นไปเพือ่ ความมีศกั ดามาก ย่อมนำ�เข้าไปสูค่ วามเป็นคนมีศกั ดามาก ปฏิปทาทีเ่ ป็นไป เพือ่ ความมีโภคะน้อย ย่อมนำ�เข้าไปสูค่ วามเป็นคนมีโภคะน้อย ปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความมีโภคะมาก ย่อมนำ�เข้าไปสู่ ความเป็นคนมีโภคะมาก ปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความเกิด ในสกุลต่ำ� ย่อมนำ�เข้าไปสู่ความเป็นคนเกิดในสกุลต่ำ� ปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความเกิดในสกุลสูง ย่อมนำ�เข้าไปสู่ ความเป็นคนเกิดในสกุลสูง ปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความ มีปญ ั ญาทราม ย่อมนำ�เข้าไปสูค่ วามเป็นคนมีปญ ั ญาทราม ปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความมีปัญญามาก ย่อมนำ�เข้าไปสู่ ความเป็นคนมีปญ ั ญามาก. มาณพ ! สัตว์ทั้งหลาย มีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำ�เนิด มีกรรมเป็น เผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย กรรมย่อมจำ�แนกสัตว์ ให้เลวและประณีต.

​91


​92 พุ ท ธ ว จ น

เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสแล้วอย่างนี้ สุภมาณพ โตเทยยบุตรได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ ว่า :“แจ่มแจ้งแล้ว พระเจ้าข้า ! แจ่มแจ้งแล้ว พระเจ้าข้า ! พระโคดมผู้เจริญทรงประกาศธรรมโดยปริยายมิใช่น้อย เปรียบ เหมือนหงายของทีค่ ว่�ำ หรือเปิดของทีป่ ดิ หรือบอกทางแก่คนหลงทาง หรือตามประทีปในที่มืด ด้วยหวังว่าผู้มีตาดีจักเห็นรูปได้ฉะนั้น ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระโคดมผู้เจริญ พระธรรม และพระภิกษุสงฆ์ ว่าเป็นสรณะ. ขอพระโคดมผู้เจริญ ! จงทรงจำ�ข้าพระองค์ว่าเป็น อุบาสก ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป”. อุปริ. ม. ๑๔/ ๓๗๖ /๕๗๙.


ฉบับ ๕ แก้กรรม ?

๒๗ บุรพกรรมของการได้ลักษณะ “มหาบุรุษ” ภิกษุทั้งหลาย ! พวกฤาษี ภ ายนอกจำ � มนต์ มหาปุริสลักขณะได้ก็จริง แต่หารู้ไม่ว่าการที่มหาบุรุษได้ ลักขณะอันนี้ๆ เพราะทำ�กรรมเช่นนี้ๆ : ก. ภิกษุทั้งหลาย !  เมื่อตถาคตเกิดเป็นมนุษย์ ในชาติก่อน ในภพที่อยู่อาศัยก่อน ได้เป็นผู้บากบั่นใน กุศล ถือมั่นในกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต, ในการ บริจาคทาน การสมาทานศีล การรักษาอุโบสถ การปฏิบัติ มารดา บิดา การปฏิบัติสมณพราหมณ์ การอ่อนน้อมต่อ ผูเ้ จริญในตระกูล และในอธิกศุ ลธรรมอืน่ . เพราะได้กระทำ� ได้สร้างสม ได้พอกพูน ได้มั่วสุมกรรมนั้นๆ ไว้, ภายหลัง แต่การตาย เพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์. ตถาคตนั้นถือเอาในเทพเหล่าอื่นโดยฐานะ ๑๐ คือ อายุทพิ ย์ วรรณะทิพย์ สุขทิพย์ ยศทิพย์ อธิบดีทพิ ย์ รูปทิพย์ เสียงทิพย์ กลิน่ ทิพย์ รสทิพย์ สัมผัสทิพย์; ครัน้ จุตจิ ากภพนัน้

​93


​94 พุ ท ธ ว จ น มาสูค่ วามเป็นมนุษย์อย่างนี้ จึงได้มหาปุรสิ ลักขณะข้อนีค้ อื มีฝา่ เท้าเสมอ จดลงก็เสมอ ยกขึน้ ก็เสมอฝ่าเท้าถูกต้องพืน้ พร้อมกัน ... (ลักขณะที่ ๑), ย่อมเป็นผูไ้ ม่หวาดหวัน่ ต่อ ข้าศึกทั้งภายในและภายนอก คือราคะ โทสะ โมหะ ก็ตาม สมณะพราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ก็ตาม ในโลก ที่เป็นศัตรู. ข. ภิกษุทั้งหลาย !   เมื่อตถาคตเกิดเป็นมนุษย์ ในชาติก่อน ...1 ได้เป็นผู้นำ�สุขมาให้แก่มหาชนเป็นผู้ บรรเทาภัยคือความสะดุง้ หวาดเสียว จัดการคุม้ ครองรักษา โดยธรรม ได้ถวายทานมีเครื่องบริวาร. เพราะได้กระทำ�... กรรมนั้นๆ ไว้ ... ครั้นมาสู่ความเป็นมนุษย์อย่างนี้ จึงได้ มหาปุรสิ ลักขณะข้อนีค้ อื ภายใต้ฝา่ เท้ามีจกั รทัง้ หลายเกิดขึน้ มีซตี่ งั้ พัน พร้อมด้วยกงและดุม บริบรู ณ์ดว้ ยอาการทัง้ ปวง มีระยะอันจัดไว้ด้วยดี .... (ลักขณะที่ ๒), ย่อมเป็นผู้มี บริวารมาก, ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา เทวดา มนุษย์ อสูร นาค คนธรรพ์ ย่อมเป็นบริวารของตถาคต. 1 ที่ละไว้ด้วยจุด ... ดังนี้ ทุกแห่งหมายความว่า ค�ำที่ละไว้นั้นซ�้ำกัน

เหมือนในข้อ (ก) ข้างบน. เติมเอาเองก็ได้ แม้ไม่เติมก็ได้ความเท่ากัน.


ฉบับ ๕ แก้กรรม ?

ค. ภิกษุทั้งหลาย !  เมื่อตถาคตเกิดเป็นมนุษย์ ในชาติก่อน ... ได้เป็นผู้เว้นจากปาณาติบาต วางแล้วซึ่ง ศัสตราและอาชญา มีความละอาย เอ็นดู กรุณาเกื้อกูลแก่ สัตว์มีชีวิตทั้งปวง. เพราะ ... กรรมนั้นๆ ครั้นมาสู่ความ เป็นมนุษย์อย่างนี้ จึงได้มหาปุริสลักขณะทั้ง ๓ ข้อนี้ คือ มี ส้ น ยาว มี ข้ อ นิ้ ว ยาว มี ก ายตรงดุ จ กายพรหม ... (ลักขณะที่ ๓, ๔, ๑๕), ย่อมเป็นผู้มีชนมายุยืนยาว ตลอดกาลนาน; สมณะหรือพราหมณ์ เทวดา มาร พรหม ก็ตาม หรือใครๆ ที่เป็นศัตรู ไม่สามารถปลงชีวิต ตถาคตเสียในระหว่างได้. ฆ. ภิกษุทั้งหลาย !  เมื่อตถาคตเกิดเป็นมนุษย์ ในชาติก่อน ได้เป็นผู้ให้ทานของควรเคี้ยว ควรบริโภค ควรลิ้ม ควรจิบ ควรดื่ม มีรสอันประณีต. เพราะ … กรรมนั้นๆ..ครั้นมาสู่ความเป็นมนุษย์อย่างนี้แล้ว จึงได้ มหาปุริสลักขณะ ข้อนี้คือ มีเนื้อนูนหนาในที่ ๗ แห่ง คือ ทีม่ อื ทัง้ สอง ทีเ่ ท้าทัง้ สอง ทีบ่ า่ ทัง้ สองและทีค่ อ… (ลักขณะ ที่ ๑๖), ย่อมได้ของควรเคี้ยว ควรบริโภค ควรลิ้ม ควรจิบ ควรดื่ม อันมีรสประณีต.

​95


​96 พุ ท ธ ว จ น ง. ภิกษุทั้งหลาย !  เมื่อตถาคตเกิดเป็นมนุษย์ ในชาติก่อน ... ได้สงเคราะห์ผู้อื่นด้วยสังคหวัตถุทั้งสี่ คือ การให้สิ่งของ วาจาที่ไพเราะ การประพฤติประโยชน์ผู้อื่น และความมีตนเสมอกัน. เพราะ ... กรรม นั้นๆ ...ครั้นมา สู่ ค วามเป็ น มนุ ษ ย์ อ ย่ า งนี้ แ ล้ ว จึ ง ได้ ม หาปุ ริ ส ลั ก ขณะ ๒ ข้อนี้คือ มีมือและเท้าอ่อนนุ่ม มีลายฝ่ามือฝ่าเท้าดุจ ตาข่าย .... (ลักขณะที่ ๕, ๖), ย่อมเป็นผูส้ งเคราะห์บริษทั คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา เทวดา มนุษย์ อสูร นาค คนธรรพ์ ย่อมได้รับความสงเคราะห์จากตถาคต. จ. ภิกษุทั้งหลาย !  เมื่อตถาคตเกิดเป็นมนุษย์ ในชาติก่อน ... ได้เป็นผู้กล่าววาจาประกอบด้วยอรรถ ด้วยธรรม แนะนำ�ชนเป็นอันมาก เป็นผู้นำ�ประโยชน์สุข มาให้แก่ชนทั้งหลาย ตนเองก็เป็นผู้บูชาธรรม. เพราะ ... กรรมนั้นๆ ... ครั้นมาสู่ความเป็นมนุษย์อย่างนี้ จึงได้ มหาปุรสิ ลักขณะ ๒ ข้อนี้ คือ มีขอ้ เท้าอยูส่ งู , มีปลายขนช้อนขึน้ ... (ลักขณะที่ ๗, ๑๔), ย่อมเป็นผู้เลิศประเสริฐเยี่ยม สูงกว่าสัตว์ทั้งหลาย.


ฉบับ ๕ แก้กรรม ?

ฉ. ภิกษุทั้งหลาย !  เมื่อตถาคตเกิดเป็นมนุษย์ ในชาติกอ่ น ... ได้เป็นผูบ้ อกศิลปะ วิทยา ข้อประพฤติ และ ลัทธิกรรม ด้วยความเคารพ ด้วยหวังว่าสัตว์เหล่านั้นพึงรู้ ได้รวดเร็ว พึงปฏิบัติได้รวดเร็ว ไม่พึงเศร้าหมองสิ้นกาล นาน. เพราะ ... กรรมนั้นๆ ... ครั้นมาสู่ความเป็นมนุษย์ อย่างนี้ จึงได้มหาปุรสิ ลักขณะข้อนีค้ อื มีแข้งดังแข้งเนือ้ … (ลักขณะ ที่ ๘), ย่อมได้วตั ถุอนั ควรแก่สมณะ เป็นองค์ แห่งสมณะ เป็นเครื่องอุปโภคแก่สมณะ โดยเร็ว. ช. ภิกษุทั้งหลาย !  เมื่อตถาคตเกิดเป็นมนุษย์ ในชาติก่อน ... ได้เป็นผู้เข้าไปหาสมณพราหมณ์แล้ว สอบถามว่า “ท่านผูเ้ จริญ ! อะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล อะไรมีโทษ อะไรไม่มีโทษ อะไรควรเสพ อะไรไม่ควรเสพ ทำ�อะไรไม่มปี ระโยชน์ เป็นทุกข์ไปนาน ทำ�อะไรมีประโยชน์ เป็นสุขไปนาน. เพราะ ... กรรมนั้นๆ ... ครั้นมาสู่ความ เป็นมนุษย์อย่างนี้ จึงได้มหาปุริสลักขณะข้อนี้คือมีผิว ละเอียดอ่อน ธุลีไม่ติดอยู่ได้ ... (ลักขณะที่ ๑๒), ย่อม เป็นผู้มีปัญญาใหญ่ มีปัญญาหนาแน่น มีปัญญาเครื่อง ปลื้มใจ ปัญญาแล่นปัญญาแหลม ปัญญาแทงตลอด, ไม่มีสัตว์อื่นเสมอหรือยิ่งไปกว่า.

​97


​98 พุ ท ธ ว จ น ซ. ภิกษุทั้งหลาย !  เมื่อตถาคตเกิดเป็นมนุษย์ ในชาติก่อน ... ได้เป็นผู้ไม่มักโกรธ ไม่มากไปด้วยความ แค้น แม้ชนเป็นอันมาก ว่ากล่าวเอา ก็ไม่เอาใจใส่ ไม่โกรธ ไม่พยาบาท ไม่คมุ แค้น ไม่แสดงความโกรธ ความร้ายกาจ ความเสียใจให้ปรากฏ. ทั้งเป็นผู้ให้ทานผ้าเปลือกไม้ ผ้าด้าย ผ้าไหม ผ้าขนสัตว์ สำ�หรับลาดและนุ่งห่ม อันมี เนือ้ ละเอียดอ่อน. เพราะ ... กรรมนัน้ ๆ ... ครัน้ มาสูค่ วาม เป็นมนุษย์อย่างนี้ จึงได้มหาปุริสลักขณะข้อนี้คือ มีกาย ดุจทอง มีผิวดุจทอง ... (ลักขณะที่ ๑๑), ย่อมเป็นผู้ได้ ผ้าเปลือกไม้ ผ้าด้าย ผ้าไหม ผ้าขนสัตว์ส�ำ หรับลาดและ ห่ม มีเนื้อละเอียดอ่อน. ฌ. ภิกษุทั้งหลาย !  เมื่อตถาคตเกิดเป็นมนุษย์ ในชาติก่อน...ได้เป็นผู้สมานญาติมิตร สหายชาวเกลอ ผู้เหินห่างแยกกันไปนาน, ได้สมานไมตรีมารดากับบุตร บุตรกับมารดา บิดากับบุตร บุตรกับบิดา พี่น้องชายกับ พีน่ อ้ งหญิง พีน่ อ้ งหญิงกับพีน่ อ้ งชาย, ครัน้ ทำ�ความสามัคคี แล้ว พลอยชื่นชมยินดีด้วย. เพราะ ... กรรมนั้นๆ ... ครั้น มาสูค่ วามเป็นมนุษย์อย่างนี้ จึงได้มหาปุรสิ ลักขณะข้อนีค้ อื


ฉบับ ๕ แก้กรรม ?

มีคยุ หฐาน (อวัยวะทีล่ บั ) ซ่อนอยูใ่ นฝัก.... (ลักขณะที่ ๑๐), ย่ อ มเป็ น ผู้ มี บุ ต ร (สาวก) มาก มี บุ ต รกล้ า หาญ มีแววแห่งคนกล้าอันเสนาแห่งบุคคลอื่นจะย่ำ�ยีมิได้ หลายพัน. ญ. ภิกษุทั้งหลาย !  เมื่อตถาคตเกิดเป็นมนุษย์ ในชาติ ก่ อ น ได้ เ ป็ น ผู้ สั ง เกตชั้ น เชิ ง ของมหาชน รู้ ไ ด้ สม่ำ�เสมอ รู้ได้เอง รู้จักบุรุษธรรมดาและบุรุษพิเศษ ว่าผู้นี้ ควรแก่สิ่งนี้ๆ, ได้เป็นผู้ทำ�ประโยชน์อย่างวิเศษในชนชั้น นั้น. เพราะ ... กรรมนั้นๆ ... ครั้นมาสู่ความเป็นมนุษย์ อย่างนี้ จึงได้มหาปุริสลักขณะ ๒ ข้อนี้ คือมีทรวดทรงดุจ ต้นไทร, ยืนตรงไม่ย่อกาย ลูบถึงเข่าได้ด้วยมือทั้งสอง.... (ลักขณะที่ ๑๙,๙), ย่อมมัง่ คัง่ มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก. ทรัพย์ของตถาคตเหล่านีค้ อื ทรัพย์คอื ศรัทธา ทรัพย์คอื ศีล ทรัพย์คือหิริ ทรัพย์คือโอตตัปปะ ทรัพย์คือการ ศึกษา (สุตะ) ทรัพย์คือจาคะ ทรัพย์คือปัญญา. ฎ. ภิกษุทั้งหลาย !  เมื่อตถาคตเกิดเป็นมนุษย์ ในชาติก่อน ... ได้เป็นผู้ใคร่ต่อประโยชน์ ใคร่ต่อความ เกื้อกูล ใคร่ต่อความผาสุข ใคร่ต่อความเกษมจากโยคะ

​99


​100 พุ ท ธ ว จ น แก่ ช นเป็ น อั น มากว่ า “ไฉนชนเหล่ า นี้ พึ ง เป็ น ผู้ เ จริ ญ ด้วยศรัทธา ด้วยศีล ด้วยการศึกษา ด้วยความรู้ ด้วยการ เผื่อแผ่ ด้วยธรรม ด้วยปัญญา ด้วยทรัพย์ และข้าวเปลือก ด้วยนาและสวน ด้วยสัตว์สองเท้าสี่เท้า ด้วยบุตรภรรยา ด้วยทาสกรรมกรและบุรุษ ด้วยญาติมิตรและพวกพ้อง”. เพราะ ... กรรมนั้นๆ ... ครั้นมาสู่ความเป็นมนุษย์อย่างนี้ จึงได้มหาปุรสิ ลักขณะ ๓ ข้อนี้ คือมีกง่ึ กายเบือ้ งหน้าดุจสีหะ, มีหลังเต็ม, มีคอกลม ... (ลักขณะที่ ๑๗,๑๘,๒๐), ย่อมเป็นผูไ้ ม่เสือ่ มเป็นธรรมดา คือไม่เสือ่ มจากศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา, ไม่เสื่อมจากสมบัติทั้งปวง. ฏ. ภิกษุทั้งหลาย !  เมื่อตถาคตเกิดเป็นมนุษย์ ในชาติก่อน ... ได้เป็นผู้ไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งหลายด้วย ฝ่ามือก็ตาม ก้อนดินก็ตาม ท่อนไม้ก็ตาม ศัสตราก็ตาม. เพราะ ... กรรมนั้นๆ ... ครั้นมาสู่ความเป็นมนุษย์อย่างนี้ จึงได้มหาปุริสลักขณะข้อนี้ คือมีประสาทรับรสอันเลิศ มีปลายขึ้นเบื้องบน เกิดแล้วที่คอรับรสโดยสม่ำ�เสมอ ... (ลักขณะที่ ๒๑), ย่อมเป็นผู้มีอาพาธน้อย มีโรคน้อย มีวิบากอันสม่ำ�เสมอ ไม่เย็นเกิน ร้อนเกิน พอควรแก่ ความเพียร.


ฉบับ ๕ แก้กรรม ?

ฐ. ภิกษุทั้งหลาย !  เมื่อตถาคตเกิดเป็นมนุษย์ ในชาติก่อน ... ได้เป็นผู้ไม่ถลึงตา ไม่ค้อนควัก ไม่จ้องลับ หลัง, เป็นผูแ้ ช่มชืน่ มองดูตรงๆ มองดูผอู้ นื่ ด้วยสายตาอัน แสดงความรัก. เพราะ ... กรรมนั้น ๆ ... ครั้นมาสู่ความ เป็นมนุษย์อย่างนี้  จึงได้  มหาปุริสลักขณะ ๒ ข้อนี้คือ  มีตาเขียวสนิท, มีตาดุจตาโค ... (ลักขณะที่ ๒๙, ๓๐),  ย่อมเป็นที่ต้องตาของชนหมู่มาก  เป็นที่รักใคร่พอใจ ของภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา เทวดา มนุษย์ อสูร นาค คนธรรพ์. ฑ. ภิกษุทั้งหลาย !  เมื่อตถาคตเกิดเป็นมนุษย์ ในชาติก่อน ... ได้เป็นหัวหน้าของชนเป็นอันมาก  ใน กุศลธรรมทั้งหลาย  ได้เป็นประธานของชนเป็นอันมาก ในกายสุจริต  วจีสุจริต  มโนสุจริต,  ในการจำ�แนกทาน  การสมาทานศีล  การรักษาอุโบสถ การประพฤติเกือ้ กูลใน มารดาบิดา  สมณพราหมณ์,  การนอบน้อมต่อผูเ้ จริญใน ตระกูล  ในอธิกุศลธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง,  เพราะ ... กรรมนั้น ๆ ... ครั้นมาสู่ความเป็นมนุษย์อย่างนี้  จึงได้ มหาปุริสลักขณะข้อนี้คือ มีศีรษะรับกับกรอบหน้า ... (ลักขณะที่ ๓๒),   ย่อมเป็นผู้ที่มหาชนประพฤติตาม

​101


​102 พุ ท ธ ว จ น คือ ภิกษุ  ภิกษุณี  อุบาสก  อุบาสิกา  เทวดา  มนุษย์  อสูร นาค  คนธรรพ์  ประพฤติตาม. ฒ. ภิกษุทั้งหลาย !  เมื่อตถาคตเกิดเป็นมนุษย์ ในชาติก่อน ... ได้เป็นผู้ละเว้นจากมุสาวาท  พูดคำ�จริง หลัง่ คำ�สัจจ์  เทีย่ งแท้  ซือ่ ตรง  ไม่หลอกลวงโลก. เพราะ ... กรรมนั้น ๆ ... ครั้นมาสู่ความเป็นมนุษย์อย่างนี้แล้ว จึงได้มหาปุริสลักขณะ ๒ ข้อนี้คือ  มีขนขุมละเส้น,  มี อุณาโลมหว่างคิว้ ขาวอ่อนดุจสำ�ลี, ... (ลักขณะที่ ๑๓, ๓๑), ย่อมเป็นผู้ที่มหาชนเป็นไปใกล้ชิด คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก  อุบาสิกา  เทวดา  มนุษย์  อสูร  นาค คนธรรพ์  ใกล้ชิด. ณ. ภิกษุทั้งหลาย !  เมื่อตถาคตเกิดเป็นมนุษย์ ในชาติก่อน ... ได้เป็นผู้ละเว้นวาจาส่อเสียด (คือคำ�ยุให้ แตกกัน),  คือไม่ฟังจากข้างนี้แล้วไปบอกข้างโน้นเพื่อ ทำ�ลายชนพวกนี้,  ไม่ฟังจากข้างโน้นแล้วมาบอกข้างนี้ เพื่อทำ�ลายชนพวกโน้น,  เป็นผู้สมานพวกแตกกันแล้ว และส่งเสริมพวกที่พร้อมเพรียงกัน; เป็นผู้ยินดีในการ พร้อมเพรียง เพลินในการพร้อมเพรียง กล่าวแต่วาจาที่ ทำ�ให้เกิดความพร้อมเพรียง. เพราะ ... กรรมนั้น ๆ ...


ฉบับ ๕ แก้กรรม ?

ครัน้ มาสูค่ วามเป็นมนุษย์อย่างนีแ้ ล้วจึงได้มหาปุรสิ ลักขณะ ๒ อย่างนี้ คือมีฟันครบ ๔๐ ซี่ มีฟันสนิท ไม่ห่างกัน ... (ลั ก ขณะที่ ๒๓,๒๕), ย่ อ มเป็ น ผู้ มี บ ริ ษั ท ไม่ กระจัดกระจาย คือภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา เทวดา มนุษย์ อสูร นาค คนธรรพ์ เป็นบริษทั ไม่กระจัดกระจาย. ด. ภิกษุทั้งหลาย !  เมื่อตถาคตเกิดเป็นมนุษย์ ในชาติก่อน ... ได้เป็นผู้ละเว้นการกล่าวคำ�หยาบ, กล่าว แต่วาจาที่ไม่มีโทษ เป็นสุขแก่หู เป็นที่ต้ังแห่งความรัก ซึมซาบถึงใจ เป็นคำ�พูดของชาวเมือง เป็นที่พอใจและ ชอบใจของชนเป็นอันมาก. เพราะ ... กรรมนั้นๆ ... ครั้น มาสู่ความเป็นมนุษย์อย่างนี้ ย่อมได้มหาปุริสลักขณะ ๒ ข้อนี้ คือมีลนิ้ อันเพียงพอ, มีเสียงเหมือนพรหม พูดเหมือน นกการวิก ... (ลักขณะที่ ๒๗,๒๘), ย่อมเป็นผูม้ วี าจาที่ ผูอ้ นื่ เอือ้ เฟือ้ เชือ่ ฟัง, คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา เทวดา มนุษย์ อสูร นาคคนธรรพ์ เอื้อเฟื้อเชื่อฟัง. ต. ภิกษุทั้งหลาย !  เมื่อตถาคตเกิดเป็นมนุษย์ ในชาติกอ่ น ... ได้เป็นผูล้ ะเว้นการพูดเพ้อเจ้อ, เป็นผูก้ ล่าว ควรแก่เวลา กล่าวคำ�จริง กล่าวเป็นธรรม กล่าวมีอรรถ

​103


​104 พุ ท ธ ว จ น กล่าวเป็นวินัย กล่าวมีที่ตั้ง มีหลักฐาน มีที่สุด ประกอบ ด้วยประโยชน์. เพราะ ... กรรมนั้นๆ ... ครั้นมาสู่ความ เป็นมนุษย์อย่างนี้แล้ว ย่อมได้มหาปุริสลักขณะข้อนี้ คือมี คางดุจคางราชสีห์ ... (ลักขณะที่ ๒๒), ย่อมเป็นผูท้ ศี่ ตั รู ทั้งภายในและภายนอกกำ�จัดไม่ได้ : ศัตรู คือ ราคะ โทสะ โมหะ หรือ สมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลก กำ�จัดไม่ได้. ถ. ภิกษุทั้งหลาย !  เมื่อตถาคตเกิดเป็นมนุษย์ ในชาติก่อน ... ได้เป็นผู้ละมิจฉาชีพ มีการเลี้ยงชีพชอบ เว้นจากการฉ้อโกงด้วยตาชั่ง ด้วยของปลอม ด้วยเครื่อง ตวงเครื่องวัดจากการโกง การลวง เว้นจากการตัด การฆ่า การผูกมัด การร่วมทำ�ร้าย การปล้น การกรรโชก เพราะกร รมนั้นๆ ครั้นมาสู่ความเป็นมนุษย์อย่างนี้ จึงได้มหาปุริ สลักขณะ ๒ ข้อนัน้ คือมีฟนั อันเรียบเสมอ, มีเขีย้ วขาวงาม ... (ลักขณะที่ ๒๔,๒๖), ย่อมเป็นผู้มีบริวาร เป็นคน สะอาด คือมีภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา เทวดา มนุษย์ อสูร นาค คนธรรพ์ เป็นบริวารอันสะอาด. ปา. ที. ๑๑/๑๕๙-๑๙๓/๑๓๐,๑๗๑.


ฉบับ ๕ แก้กรรม ?

๒๘ ทำ�ไมคนที่ทำ�บาปกรรมอย่างเดียวกัน แต่รับวิบากกรรมต่างกัน ภิกษุทั้งหลาย ! ใครพึงกล่าวว่า คนทำ�กรรม อย่างใดๆ ย่อมเสวยกรรมนั้นอย่างนั้นๆ ดังนี้ เมื่อเป็น อย่างนั้น การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ก็มีไม่ได้ ช่องทาง ที่จะทำ�ที่สุดทุกข์โดยชอบก็ไม่ปรากฏ ส่วนใครกล่าวว่า คนทำ�กรรมอันจะพึงให้ผลอย่างใดๆ ย่อมเสวยผลของ กรรมนัน้ อย่างนัน้ ๆ ดังนี้ เมือ่ เป็นอย่างนี้ การอยูป่ ระพฤติ พรหมจรรย์ยอ่ มมีได้ ช่องทางทีจ่ ะทำ�ทีส่ ดุ แห่งทุกข์โดยชอบ ก็ย่อมปรากฏ. ภิกษุทั้งหลาย ! บาปกรรมแม้ประมาณน้อย ที่ บุคคลบางคนทำ�แล้ว บาปกรรมนั้นย่อมนำ�เขาไปนรกได้ บาปกรรมประมาณน้อย อย่างเดียวกันนั้น บางคนทำ�แล้ว กรรมนั้นเป็นทิฏฐธรรมเวทนียกรรม (ให้ผลในภพปัจจุบัน) ไม่ปรากฏผลมากต่อไปเลย.

​105


​106 พุ ท ธ ว จ น บาปกรรมแม้ประมาณน้อย บุคคลชนิดไร ทำ�แล้ว บาปกรรมนั้น จึงนำ�เขาไปนรกได้ ? บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีกายมิได้อบรม มี ศี ล มิ ไ ด้ อ บรม มี จิ ต มิ ไ ด้ อ บรม มี ปั ญ ญามิ ไ ด้ อ บรม มีคุณความดีน้อย เป็นอัปปาตุมะ (ผู้มีใจคับแคบ ใจหยาบ ใจต่ำ�ทราม) เป็นอัปปทุกขวิหารี (มีปกติอยู่เป็นทุกข์ด้วยเหตุ เล็กน้อย คือเป็นคนเจ้าทุกข์) บาปกรรมแม้ประมาณน้อย บุคคลชนิดนีท้ �ำ แล้ว บาปกรรมนัน้ ย่อมนำ�เขาไปนรกได้. บาปกรรมประมาณน้อยอย่างเดียวกัน บุคคลชนิดไร ทำ�แล้ว กรรมนัน้ จึงเป็นทิฏฐธรรมเวทนียกรรม ไม่ปรากฏ ผลมากต่อไปเลย ? บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีกายได้อบรมแล้ว มีศีลได้อบรมแล้ว มีจิตได้อบรมแล้ว มีปัญญาได้อบรม แล้ว มีคณ ุ ความดีมาก เป็นมหาตมะ (ผูม้ ใี จกว้างขวาง ใจบุญ ใจสูง) เป็นอัปปมาณวิหารี (มีปกติอยู่ด้วยธรรม อันหา ประมาณมิได้คือเป็นคนไม่มีหรือไม่แสดงกิเลส ซึ่งจะเป็นเหตุให้ เขาประมาณได้ว่าเป็นคนดีแค่ไหน) บาปกรรมประมาณน้อย

อย่างเดียวกันนั้น บุคคลชนิดนี้ทำ�แล้ว กรรมนั้นเป็น ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม ไม่ปรากฏผลมาก ต่อไปเลย.


ฉบับ ๕ แก้กรรม ?

ภิกษุทั้งหลาย ! ต่างว่าคนใส่เกลือลงไปในถ้วยน้�ำ เล็กๆ หนึง่ ก้อน ท่านทัง้ หลายจะสำ�คัญว่ากระไร น้�ำ อันน้อย ในถ้วยน้ำ�นั้น จะกลายเป็นน้ำ�เค็มไม่น่าดื่มไป เพราะเกลือ ก้อนนั้นใช่ไหม ? “เป็นเช่นนั้น พระพุทธเจ้าข้า !”.

เพราะเหตุไร ? เพราะเหตุวา่ น้�ำ ในถ้วยน้�ำ นัน้ มีนอ้ ย มันจึงเค็มได้... เพราะเกลือก้อนนั้น. ต่างว่า คนใส่เกลือก้อนขนาดเดียวกันนัน้ ลงไปใน แม่น้ำ�คงคา ท่านทั้งหลายจะสำ�คัญว่ากระไร น้ำ�ในแม่น้ำ� คงคานัน้ จะกลายเป็นน้�ำ เค็ม ดืม่ ไม่ได้เพราะเกลือก้อนนัน้ หรือ ? “หามิได้ พระพุทธเจ้าข้า !”.

เพราะเหตุไร ? เพราะเหตุว่า น้ำ�ในแม่น้ำ�คงคามีมาก น้ำ�นั้นจึง ไม่เค็ม...เพราะเกลือก้อนนั้น. ฉันนั้นนั่นแหละ.

​107


​108 พุ ท ธ ว จ น ภิกษุทั้งหลาย ! บาปกรรมแม้ ป ระมาณน้ อ ย บุคคลบางคนทำ�แล้ว บาปกรรมนั้นย่อมนำ�ไปนรกได้ ส่วนบาปกรรมประมาณน้อยอย่างเดียวกันนั้น บางคน ทำ�แล้ว กรรมนั้นเป็นทิฏฐธรรมเวทนียกรรม ไม่ปรากฏ ผลมากต่อไปเลย... ภิกษุทั้งหลาย ! คนบางคนย่อมผูกพันเพราะ ทรัพย์ แม้กึ่งกหาปณะ... แม้ ๑ กหาปณะ... แม้ ๑๐๐ กหาปณะ ส่วนบางคนไม่ผูกพันเพราะทรัพย์เพียงเท่านั้น คนอย่างไร จึงผูกพันเพราะทรัพย์แม้กึ่งกหาปณะ ฯลฯ คนบางคนในโลกนี้เป็นคนจน มีสมบัติน้อย มีโภคะน้อย คนอย่างนี้ย่อมผูกพันเพราะทรัพย์แม้กึ่งกหาปณะ. ฯลฯ คนอย่างไรไม่ผูกพันเพราะทรัพย์เพียงเท่านั้น ? คนบางคนในโลกนี้ เ ป็ น ผู้ มั่ ง คั่ ง มี ท รั พ ย์ ม าก มีโภคะมาก คนอย่างนีย้ อ่ มไม่ผกู พันเพราะทรัพย์เพียงเท่านัน้ ฉันนั้นนั่นแหละ. ภิกษุทั้งหลาย ! บาปกรรมแม้ ป ระมาณน้ อ ย บุคคลบางคนทำ�แล้ว บาปกรรมนั้นย่อมนำ�เขาไปนรกได้ ส่วนบาปกรรมประมาณน้อยอย่างเดียวกันนัน้ บุคคลบางคน


ฉบับ ๕ แก้กรรม ?

ทำ�แล้ว กรรมนัน้ เป็นทิฏฐธรรมเวทนียกรรม ไม่ปรากฏผลมาก ต่อไปเลย... ภิกษุทั้งหลาย ! พรานแกะหรื อ คนฆ่ า แกะ บางคนอาจฆ่า มัด ย่างหรือทำ�ตามประสงค์ซึ่งแกะที่ ขโมยเขามาได้ บางคนไม่อาจทำ�อย่างนั้น พรานแกะหรือ คนฆ่าแกะเช่นไร จึงอาจฆ่า มัด ย่าง หรือทำ�ตามประสงค์ ซึ่งแกะที่ขโมยเขามาได้ ? บางคนเป็นคนยากจน มีสมบัติน้อย มีโภคะน้อย พรานแกะหรือคนฆ่าแกะเช่นนี้ อาจฆ่า ฯลฯ ซึ่งแกะที่ ขโมยเขามาได้. พรานแกะหรื อ คนฆ่ า แกะเช่ น ไร ไม่ อ าจทำ � อย่างนั้น ? บางคนเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก เป็ น พระราชาหรื อ ราชมหาอำ � มาตย์ พรานแกะหรื อ คนฆ่ า แกะเช่ น นี้ ไ ม่ อ าจทำ � อย่ า งนั้ น มี แ ต่ ว่ า คนอื่ น จะ ประณมมือขอกะเขาว่าท่านผู้นิรทุกข์ ท่านโปรดให้แกะ หรือทรัพย์ค่าซื้อแกะแก่ข้าพเจ้าบ้าง ดังนี้ฉันใด ฉันนั้น เหมือนกัน.

​109


​110 พุ ท ธ ว จ น

ภิกษุทั้งหลาย ! บาปกรรมแม้ ป ระมาณน้ อ ย บุคคล บางคนทำ�แล้ว บาปกรรมนั้นนำ�เขาไปนรกได้ ส่วน บาปกรรมประมาณน้อยอย่างเดียวกันนั้น บางคนทำ�แล้ว กรรมนั้นเป็นทิฏฐธรรมเวทนียกรรม ไม่ปรากฏผลมาก ต่อไปเลย... ภิกษุทั้งหลาย ! ใครกล่ า วว่ า คนทำ � กรรม อย่างใดๆ ย่อมเสวยกรรมนั้นอย่างนั้นๆ ดังนี้ เมื่อเป็น อย่ า งนั้ น ๆ การอยู่ ป ระพฤติ พ รหมจรรย์ ย่ อ มมี ไ ม่ ไ ด้ ช่องทางที่จะทำ�ที่สุดทุกข์โดยชอบก็ไม่ปรากฏ ส่วนใครกล่าวว่า คนทำ�กรรมอันจะพึงให้ผล อย่างใดๆ ย่อมเสวยผลของกรรมนั้นอย่างนั้นๆ ดังนี้ เมื่อเป็นอย่างนี้ การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมมีได้ ช่องทางที่จะทำ�ที่สุดทุกข์โดยชอบก็ย่อมปรากฏ. ติก. อํ. ๒๐/๓๒๐/๕๔๐.


ฉบับ ๕ แก้กรรม ?

​111

๒๙ อานิสงส์ของการรักษาศีล ภิกษุทั้งหลาย ! อริยสาวก ในกรณีนี้  ละปาณาติบาต  เว้นขาดจากปาณาติบาต. ภิกษุทั้งหลาย ! อ ริ ย ส า ว ก   เ ว้ น ข า ด จ า ก ปาณาติบาตแล้ว  ย่อมชื่อว่า  ให้อภัยทาน  อเวรทาน  อัพยาปัชฌทาน แก่สตั ว์ทง้ั หลายมากไม่มปี ระมาณ; ครัน้ ให้ อภัยทาน อเวรทาน อัพยาปัชฌทาน แก่สตั ว์ทง้ั หลายมาก ไม่มีประมาณแล้ว ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งความไม่มีภัย ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน อันไม่มีประมาณ. ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เป็น (อภัย) ทานชั้นปฐม เป็นมหาทาน รู้จักกันว่าเป็นของเลิศ เป็นของมีมานาน เป็นของประพฤติสืบกันมาแต่โบราณไม่ถูกทอดทิ้งเลย ไม่เคยถูกทอดทิ้งในอดีต ไม่ถูกทอดทิ้งอยู่ในปัจจุบัน และจักไม่ถูกทอดทิ้งในอนาคต  อันสมณพราหมณ์ผู้รู้ ไม่คัดค้าน.


​112 พุ ท ธ ว จ น ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนี้เป็นท่อธารแห่งบุญ เป็น ที่ไหลออกแห่งกุศล นำ�มาซึ่งสุข เป็นไปเพื่อยอดสุด อันดี มีสุขเป็นวิบาก เป็นไปเพื่อสวรรค์ เป็นไปเพื่อ ประโยชน์เกือ้ กูล เพือ่ ความสุขอันพึงปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ. ภิกษุทั้งหลาย ! ข้ออื่นยังมีอีก : อริยสาวก ละอทินนาทาน  เว้นขาดจากอทินนาทาน. ภิกษุทั้งหลาย ! อ ริ ย ส า ว ก   เ ว้ น ข า ด จ า ก อทิ น นาทานแล้ ว   ย่ อ มชื่ อ ว่ า ให้ อ ภั ย ทาน  อเวรทาน  อัพยาปัชฌทาน แก่สตั ว์ทง้ั หลายมากไม่มปี ระมาณ; ครัน้ ให้ อภัยทาน อเวรทาน อัพยาปัชฌทาน แก่สตั ว์ทง้ั หลายมาก ไม่มีประมาณแล้ว  ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งความไม่มีภัย ไม่มีเวร  ไม่มีความเบียดเบียน  อันไม่มีประมาณ. ภิกษุทั้งหลาย ! นีเ้ ป็น (อภัย) ทานอันดับทีส่ อง เป็นมหาทาน รู้จักกันว่าเป็นของเลิศ เป็นของมีมานาน เป็นของประพฤติสืบกันมาแต่โบราณ ไม่ถูกทอดทิ้งเลย ไม่เคยถูกทอดทิง้ ในอดีต ไม่ถกู ทอดทิง้ อยูใ่ นปัจจุบนั และ จักไม่ถกู ทอดทิง้ ในอนาคต อันสมณพราหมณ์ผรู้ ไู้ ม่คดั ค้าน.


ฉบับ ๕ แก้กรรม ?

ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนี้เป็นท่อธารแห่งบุญ เป็น ที่ไหลออกแห่งกุศล นำ�มาซึ่งสุข เป็นไปเพื่อยอดสุดอันดี มีสุขเป็นวิบาก เป็นไปเพื่อสวรรค์ เป็นไปเพื่อประโยชน์ เกื้อกูล เพื่อความสุขอันพึงปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ. ภิกษุทั้งหลาย ! ข้ออื่นยังมีอีก : อริยสาวก ละกาเมสุมจิ ฉาจาร เว้นขาดจากกาเมสุมจิ ฉาจาร. ภิกษุทั้งหลาย ! อริ ย สาวก เว้ น ขาดจาก กาเมสุมิจฉาจารแล้ว ย่อมชื่อว่าให้อภัยทาน อเวรทาน อัพยาปัชฌทาน แก่สตั ว์ทง้ั หลายมากไม่มปี ระมาณ; ครัน้ ให้ อภัยทาน อเวรทาน อัพยาปัชฌทาน แก่สัตว์ทั้งหลายมาก ไม่มีประมาณแล้ว ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งความไม่มีภัย ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน อันไม่มีประมาณ. ภิกษุทั้งหลาย ! นีเ้ ป็น (อภัย) ทานอันดับทีส่ าม เป็นมหาทาน  รู้จักกันว่าเป็นของเลิศ  เป็นของมีมานาน เป็นของประพฤติสืบกันมาแต่โบราณ  ไม่ถูกทอดทิ้งเลย ไม่เคยถูกทอดทิ้งในอดีต  ไม่ถูกทอดทิ้งอยู่ในปัจจุบัน และจักไม่ถูกทอดทิ้งในอนาคต  อันสมณพราหมณ์ผู้รู้ ไม่คัดค้าน.

​113


​114 พุ ท ธ ว จ น

ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนีเ้ ป็นท่อธารแห่งบุญ เป็นที่ ไหลออกแห่งกุศลนำ�มาซึ่งสุข เป็นไปเพื่อยอดสุดอันดี มีสุขเป็นวิบาก เป็นไปเพื่อสวรรค์ เป็นไปเพื่อประโยชน์ เกื้อกูล เพื่อความสุขอันพึงปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ. อฏฺก. อํ. ๒๓/๒๕๐/๑๒๙.


ฉบับ ๕ แก้กรรม ?

๓๐ สุคติของผู้มีศีล ภิกษุทั้งหลาย ! สัตว์ทั้งหลาย เป็นผู้มีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำ�เนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย กระทำ�กรรมใดไว้ ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม จักเป็นผู้รับผลแห่งกรรมนั้น. ภิกษุทั้งหลาย ! บุ ค คลบางคนในกรณี นี้ ละปาณาติบาต เว้นขาดจากปาณาติบาต วางท่อนไม้ วางศัสตรา มีความละอาย ถึงความเอ็นดูกรุณาเกื้อกูลแก่ สัตว์ทง้ั หลาย. เขาไม่กระเสือกกระสนด้วย (กรรมทาง) กาย ไม่กระเสือกกระสนด้วย (กรรมทาง) วาจา ไม่กระเสือกกระสน ด้วย (กรรมทาง) ใจ; กายกรรมของเขาตรง วจีกรรมของเขาตรง มโนกรรมของเขาตรง : คติของเขาตรง อุปบัตขิ องเขาตรง.

​115


​116 พุ ท ธ ว จ น

ภิกษุทั้งหลาย ! สำ�หรับผูม้ คี ติตรง มีอปุ บัตติ รง นัน้ เรากล่าวคติอย่างใดอย่างหนึง่ ในบรรดาคติสองอย่าง แก่เขา คือ เหล่าสัตว์ผมู้ สี ขุ โดยส่วนเดียว หรือว่าตระกูล อันสูง ตระกูลขัตติยมหาศาล ตระกูลพราหมณ์มหาศาล หรือตระกูลคหบดีมหาศาล อันมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก มีทองและเงินมาก มีอปุ กรณ์แห่งทรัพย์มาก. ภิกษุทั้งหลาย ! ภูตสัตว์ยอ่ มมีดว้ ยอาการอย่างนี้ คืออุปบัติ (การเข้าถึงภพ) ย่อมมีแก่ภตู สัตว์, เขาทำ�กรรมใดไว้ เขาย่อมอุปบัติด้วยกรรมนั้น, ผัสสะทั้งหลายย่อมถูกต้อง ภูตสัตว์นั้นผู้อุปบัติแล้ว. ภิกษุทั้งหลาย ! เรากล่าวว่า สัตว์ทั้งหลาย เป็น ทายาทแห่งกรรม ด้วยอาการอย่างนี้ ดังนี้. (ในกรณีแห่งบุคคลผูไ้ ม่กระท�ำอทินนาทาน ไม่กระท�ำกาเมสุมจิ ฉาจาร ก็ได้ตรัสไว้ด้วยข้อความอย่างเดียวกันกับในกรณีของผู้ไม่กระท�ำปาณาติบาต ดังกล่าวมาแล้วข้างบนทุกประการ; และยังได้ตรัสเลยไปถึง วจีสจุ ริตสี่ มโนสุจริต สาม ด้วยข้อความอย่างเดียวกันอีกด้วย) ทสก. อํ. ๒๔/๓๑๑/๑๙๓.


ฉบับ ๕ แก้กรรม ?

๓๑ วิบากของผู้ทุศีล ภิกษุทั้งหลาย ! ปาณาติบาต (ฆ่าสัตว์) ที่เสพ ทั่วแล้ว เจริญแล้ว ทำ�ให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อนรก เป็นไปเพื่อกำ�เนิดดิรัจฉาน เป็นไปเพื่อเปรตวิสัย. วิบาก แห่งปาณาติบาตของผู้เป็นมนุษย์ที่เบากว่าวิบากทั้งปวง คือ วิบากที่เป็นไปเพื่อมีอายุสั้น. ภิกษุทั้งหลาย ! อทินนาทาน (ลักทรัพย์) ที่เสพ ทั่วแล้ว เจริญแล้ว ทำ�ให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อนรก เป็นไปเพื่อกำ�เนิดดิรัจฉาน เป็นไปเพื่อเปรตวิสัย. วิบาก แห่งอทินนาทานของผู้เป็นมนุษย์ที่เบากว่าวิบากทั้งปวง คือ วิบากที่เป็นไปเพื่อความเสื่อมแห่งโภคะ. ภิกษุทั้งหลาย ! กาเมสุมิจฉาจาร (ประพฤติผิด ในกาม) ที่เสพทั่วแล้ว เจริญแล้ว ทำ�ให้มากแล้ว ย่อม เป็นไปเพื่อนรก เป็นไปเพื่อกำ�เนิดดิรัจฉาน เป็นไปเพื่อ เปรตวิสัย. วิบากแห่งกาเมสุมิจฉาจาร ของผู้เป็นมนุษย์ ทีเ่ บากว่าวิบากทัง้ ปวง คือ วิบากทีเ่ ป็นไปเพือ่ ก่อเวรด้วยศัตรู.

​117


​118 พุ ท ธ ว จ น ภิกษุทั้งหลาย ! มุสาวาท (คำ�เท็จ) ทีเ่ สพทัว่ แล้ว เจริ ญ แล้ ว   ทำ � ให้ ม ากแล้ ว   ย่ อ มเป็ น ไปเพื่ อ นรก เป็ น ไปเพื่ อ กำ � เนิ ด ดิ รั จ ฉาน เป็ น ไปเพื่ อ เปรตวิ สั ย . วิบากแห่งมุสาวาทของผู้เป็นมนุษย์ที่เบากว่าวิบากทั้งปวง คือ วิบากที่เป็นไปเพื่อการถูกกล่าวตู่ด้วยคำ�ไม่จริง. ภิกษุทั้งหลาย ! ปิสุณวาท (คำ�ยุยงให้แตกกัน) ที่เสพทั่วแล้ว เจริญแล้ว ทำ�ให้มากแล้ว ย่อมเป็นไป เพือ่ นรก เป็นไปเพือ่ กำ�เนิดดิรจั ฉาน เป็นไปเพือ่ เปรตวิสยั . วิบากแห่งปิสณ ุ วาทของผูเ้ ป็นมนุษย์ทเี่ บากว่าวิบากทัง้ ปวง คือ วิบากที่เป็นไปเพื่อการแตกจากมิตร. ภิกษุทั้งหลาย ! ผรุสวาท (คำ�หยาบ) ทีเ่ สพทัว่ แล้ว เจริ ญ แล้ ว   ทำ � ให้ ม ากแล้ ว   ย่ อ มเป็ น ไปเพื่ อ นรก เป็ น ไปเพื่ อ กำ � เนิ ด ดิ รั จ ฉาน  เป็ น ไปเพื่ อ เปรตวิ สั ย . วิบากแห่งผรุสวาทของผู้เป็นมนุษย์ที่เบากว่าวิบากทั้งปวง คือ วิบากที่เป็นไปเพื่อการได้ฟังเสียงที่ไม่น่าพอใจ. ภิกษุทั้งหลาย ! สั ม ผั ป ปลาปะ (คำ � เพ้ อ เจ้ อ ) ทีเ่ สพทัว่ แล้ว เจริญแล้ว ทำ�ให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพือ่ นรก เป็นไปเพื่อกำ�เนิดดิรัจฉาน เป็นไปเพื่อเปรตวิสัย.


ฉบับ ๕ แก้กรรม ?

วิบากแห่งสัมผัปปลาปะของผูเ้ ป็นมนุษย์ทเ่ี บากว่าวิบากทัง้ ปวง คือ วิบากที่เป็นไปเพื่อวาจาที่ไม่มีใครเชื่อถือ. ภิกษุทั้งหลาย ! การดืม่ น้�ำ เมาคือสุราและเมรัย ที่เสพทั่วแล้ว เจริญแล้ว ทำ�ให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ นรก เป็นไปเพื่อกำ�เนิดดิรัจฉาน เป็นไปเพื่อเปรตวิสัย. วิบากแห่งการดื่มน้ำ�เมาคือสุราและเมรัยของผู้เป็นมนุษย์ ทีเ่ บากว่าวิบากทัง้ ปวง คือ วิบากทีเ่ ป็นไปเพือ่ ความเป็นบ้า (อุมฺมตฺตก). อฏฺก. อํ. ๒๓/๒๕๑/๑๓๐.

​119


​120 พุ ท ธ ว จ น

๓๒ ทุคติของผู้ทุศีล ภิกษุทั้งหลาย ! เราจั ก แสดงธรรมปริ ย าย อันเป็นเหตุแห่งความกระเสือกกระสนไปตามกรรม (ของหมูส่ ตั ว์) แก่พวกเธอ. เธอทัง้ หลายจงตัง้ ใจฟังให้ด.ี ธรรมปริยายอันแสดงความกระเสือกกระสนไป ตามกรรม (ของหมู่สัตว์) เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุทั้งหลาย ! สัตว์ทั้งหลาย เป็นผู้มีกรรม เป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำ�เนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์  มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย  กระทำ� กรรมใดไว้ ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม จักเป็นผู้รับผลกรรมนั้น. ภิกษุทั้งหลาย ! คนบางคนในกรณี นี้   เป็ น ผู้มีปกติทำ�ปาณาติบาตหยาบช้า มีฝ่ามือเปื้อนด้วยโลหิต มีแต่การฆ่าและการทุบตี ไม่มีความเอ็นดูในสัตว์มีชีวิต. เขากระเสือกกระสนด้วยกาย  กระเสือกกระสนด้วยวาจา  กระเสือกกระสนด้วยใจ;  กายกรรมของเขาคด  วจีกรรม ของเขาคด  มโนกรรมของเขาคด;  คติของเขาคด  อุปบัติ (การเข้าถึงภพ) ของเขาคด.


ฉบับ ๕ แก้กรรม ?

ภิกษุทั้งหลาย ! สำ�หรับผูม้ คี ติคด มีอปุ บัตคิ ดนัน้ เรากล่าวคติอย่างใดอย่างหนึ่ง ในบรรดาคติสองอย่าง แก่เขา คือ เหล่าสัตว์นรก ผูม้ ที กุ ข์โดยส่วนเดียว, หรือว่า สัตว์เดรัจฉานผูม้ กี �ำ เนิดกระเสือกกระสน ได้แก่ งู แมลงป่อง ตะขาบ พังพอน แมว หนู นกเค้า หรือสัตว์เดรัจฉานเหล่าอืน่ ที่เห็นมนุษย์แล้วกระเสือกกระสน. ภิกษุทั้งหลาย ! ภูตสัตว์ยอ่ มมีดว้ ยอาการอย่างนี้ คืออุปบัติย่อมมีแก่ภูตสัตว์,  เขาทำ�กรรมใดไว้  เขาย่อม อุปบัตดิ ว้ ยกรรมนัน้ ,  ผัสสะทัง้ หลายย่อมถูกต้องภูตสัตว์นน้ั ผู้อุปบัติแล้ว. ภิกษุทั้งหลาย ! เรากล่ า วว่ า   สั ต ว์ ทั้ ง หลาย เป็นทายาทแห่งกรรม  ด้วยอาการอย่างนี้ ดังนี้. (ในกรณีแห่งบุคคลผูก้ ระท�ำอทินนาทาน กาเมสุมจิ ฉาจาร ก็ได้ตรัสไว้ ด้วยข้อความอย่างเดียวกันกับในกรณีของผูก้ ระท�ำปาณาติบาตดังกล่าวมาแล้ว ข้างบนทุกประการ; และยังได้ตรัสเลยไปถึง วจีทุจริตสี่ มโนทุจริตสาม ด้วยข้อความอย่างเดียวกันอีกด้วย). ทสก. อํ. ๒๔/๓๐๙/๑๙๓.

​121


​122 พุ ท ธ ว จ น

๓๓ ทำ�ชั่วได้ชั่ว ความยากจน และการกู้หนี้ ท่านกล่าวว่าเป็น ความทุกข์ในโลก. คนจนกู้หนี้มาเลี้ยงชีวิต ย่อมเดือดร้อน เพราะ เจ้าหนี้ติดตามบ้าง เพราะถูกจับกุมบ้าง. การถูกจับกุมนั้น เป็นความทุกข์ของผู้ได้กาม. ถึงแม้ในอริยวินัยนี้ก็เหมือนกัน : ผู้ใด ไม่มีศรัทธา ไม่มีหิริ ไม่มีโอตตัปปะ สั่งสมแต่บาปกรรม กระทำ�กายทุจริต-วจีทุจริต-มโนทุจริต ปกปิดอยู่ด้วยการกระทำ�ทางกาย ทางวาจา ทางจิต เพื่อไม่ให้ผู้ใดรู้จักเขา, ผูน้ น้ั พอกพูนบาปกรรมอยูเ่ นืองนิตย์ ในทีน่ น้ั ๆ.


ฉบับ ๕ แก้กรรม ?

คนชั่วทำ�บาปกรรม รู้สึกแต่กรรมชั่วของตน เสมือนคนยากจนกู้หนี้มาบริโภคอยู่ ย่อมเดือดร้อน. ความตริตรึกที่เกิดจากวิปฏิสาร (ความร้อนใจ) อันเป็นเครือ่ งทรมานใจ ย่อมติดตามเขาทัง้ ในบ้านและ ในป่า. คนชั่วทำ�บาปกรรม รู้สึกแต่กรรมชั่วของตน ไปสู่ กำ�เนิดเดรัจฉานบางอย่าง หรือว่าถูกจองจำ� อยู่ในนรก. การถูกจองจำ�นั้นเป็นทุกข์ ชนิดที่ธีรชนไม่เคยประสบเลย ... . ฉกฺก. อํ. ๒๒/๓๙๒/๓๑๖.

​123


​124 พุ ท ธ ว จ น

๓๔ บุคคล ๔ จำ�พวก พระผูม้ พี ระภาคได้ตรัสแก่พระเจ้าปเสนทิโกศลว่า มหาราช ! บุคคล ๔ จำ�พวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก บุคคล ๔ จำ�พวกเป็นไฉน ? บุคคล ๔ จำ�พวกคือ :บุคคลผู้มืดแล้วมืดต่อไปจำ�พวก ๑, บุคคลผู้มืดแล้วกลับสว่างต่อไปจำ�พวก ๑, บุคคลผู้สว่างแล้วกลับมืดต่อไปจำ�พวก ๑, บุคคลผู้สว่างแล้วคงสว่างต่อไปจำ�พวก ๑. มหาราช ! ก็อย่างไร บุคคลชือ่ ว่ามืดแล้วคงมืด ต่อไป ?

มหาราช ! บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผูเ้ กิดมา ภายหลังในตระกูลอันต่�ำ คือในตระกูลจัณฑาล ตระกูลพราน ตระกูลจักสาน ตระกูลทำ�รถ หรือตระกูลเทหยากเยื่อ ซึ่ง เป็นคนยากจน มีขา้ วและน้�ำ น้อย เป็นอยูฝ่ ดื เคือง มีอาหาร และเครือ่ งนุง่ ห่มหาได้โดยยาก เขาเป็นผูม้ ผี วิ พรรณทราม


ฉบับ ๕ แก้กรรม ?

ไม่นา่ ดู เตีย้ ค่อม ขีโ้ รค ตาบอด ง่อยกระจอก มีตวั ตะแคงข้าง ไม่ค่อยจะมีข้าว น้ำ� เครื่องนุ่งห่ม ยานพาหนะ ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่ และประทีปโคมไฟ เขาซ้�ำ ประพฤติทจุ ริตด้วยกาย วาจา ใจ ครัน้ เขาประพฤติ ทุจริตด้วยกาย วาจา ใจแล้ว ครั้นตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก. มหาราช ! บุรุษพึงไปจากความมืดทึบ สู่ความมืดทึบ หรือพึงไปจากความมืดมัวสู่ความมืดมัว หรือพึงไปจากโลหิตอันมีมลทินสูโ่ ลหิตอันมีมลทิน ฉันใด, มหาราช ! ตถาคตกล่าวว่าบุคคลนี้ มีอุปไมยฉันนั้น. มหาราช ! อย่างนีแ้ ล บุคคลชือ่ ว่าเป็นผูม้ ดื แล้ว คงมืดต่อไป. มหาราช ! ก็อย่างไร บุคคลชือ่ ว่าเป็นผูม้ ดื แล้ว กลับสว่างต่อไป ? มหาราช ! บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผูเ้ กิดมา ภายหลังในตระกูลอันต่ำ�ทราม คือในตระกูลจัณฑาล ตระกูลพราน ตระกูลจักสาน ตระกูลทำ�รถ หรือตระกูล เทหยากเยื่อ ซึ่งเป็นคนยากจน มีข้าวและน้ำ�น้อย เป็นอยู่ ฝืดเคือง มีอาหารและเครื่องนุ่งห่มหาได้โดยยาก เขาเป็น

​125


​126 พุ ท ธ ว จ น ผู้มีผิวพรรณทราม ไม่น่าดู เตี้ยค่อม ขี้โรค ตาบอด ง่อย กระจอกมีตัวตะแคงข้าง ไม่ค่อยจะมีข้าว น้ำ� เครื่องนุ่งห่ม ยานพาหนะ ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่ และประทีปโคมไฟ แม้กระนั้น เขาก็ประพฤติสุจริตด้วย กาย วาจา ใจ ครั้นเขา ประพฤติสุจริตด้วยกาย วาจา ใจ แล้ว ครั้นตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์. มหาราช ! บุรุษพึงขึ้นจากแผ่นดินสู่บัลลังก์ หรือพึงขึ้นจากบัลลังก์สู่ หลังม้า หรือพึงขึ้นจากหลังม้าสู่คอช้าง หรือพึงขึ้นจากคอ ช้างสู่ปราสาท แม้ฉันใด, มหาราช ! ตถาคตย่อมกล่าวว่า บุคคลนี้มีอุปไมยฉันนั้น. มหาราช ! อย่างนีแ้ ล บุคคลชือ่ ว่าเป็นผูม้ ดื แล้ว กลับสว่างต่อไป. มหาราช ! ก็อย่างไร บุคคลชือ่ ว่าเป็นผูส้ ว่างแล้ว กลับมืดต่อไป ? มหาราช ! บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผูเ้ กิดมา ภายหลังในตระกูลสูง คือในสกุลกษัตริย์มหาศาล สกุล พราหมณ์มหาศาล หรือสกุลคหบดีมหาศาล อันมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก มีทองและเงินพอตัว มีอุปกรณ์


ฉบับ ๕ แก้กรรม ?

แห่งทรัพย์พอตัว มีทรัพย์และข้าวเปลือกพอตัว เขามีรปู งาม น่าดู น่าเลื่อมใส ประกอบด้วยความเกลี้ยงเกลาแห่ง ผิวพรรณอย่างยิ่ง ร่ำ�รวยด้วยข้าว ด้วยน้ำ� เครื่องนุ่งห่ม ยานพาหนะ ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่ และประทีปโคมไฟ แต่ เ ขากลั บ ประพฤติ ทุ จ ริ ต ด้ ว ย กาย วาจา ใจ ครั้นเขาประพฤติทุจริตด้วยกาย วาจา ใจ แล้ว ครั้นตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก. มหาราช ! บุรษุ ลงจากปราสาทสูค่ อช้าง หรือลงจากคอช้าง สู่หลังม้า หรือลงจากหลังม้าสู่บัลลังก์ หรือลงจากบัลลังก์ สูพ่ น้ื ดิน หรือจากพืน้ ดินเข้าไปสูท่ ม่ี ดื แม้ฉนั ใด, มหาราช ! ตถาคตกล่าวว่า บุคคลนี้มีอุปไมยฉันนั้น. มหาราช ! อย่างนีแ้ ล บุคคลชือ่ ว่าเป็นผูส้ ว่าง แล้วกลับมืดต่อไป. มหาราช ! ก็อย่างไร บุคคลชื่อว่าเป็นผู้สว่าง แล้วคงสว่างต่อไป ? มหาราช ! บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผูเ้ กิดมา ภายหลังในตระกูลสูง คือในสกุลกษัตริย์มหาศาล สกุล พราหมณ์มหาศาล หรือสกุลคหบดีมหาศาล อันมั่งคั่ง

​127


​128 พุ ท ธ ว จ น มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก มีทองและเงินพอตัว มีอปุ กรณ์แห่ง ทรัพย์พอตัว มีทรัพย์และข้าวเปลือกพอตัว เขามีรูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใส ประกอบด้วยความเกลี้ยงเกลาแห่ง ผิวพรรณอย่างยิ่ง ร่ำ�รวยด้วยข้าว ด้วยน้ำ� เครื่องนุ่งห่ม ยานพาหนะ ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่ และประทีปโคมไฟ เขาย่อมประพฤติสุจริตด้วยกาย วาจา ใจ ครั้นเขาประพฤติ สุจริตด้วยกาย วาจา ใจแล้ว ครั้นตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์. มหาราช ! บุรุษ พึงก้าวไปด้วยดีจากบัลลังก์ส่บู ัลลังก์ หรือพึงก้าวไปด้วยดี จากหลังม้าสูห่ ลังม้า หรือพึงก้าวไปด้วยดีจากคอช้างสูค่ อช้าง หรือพึงก้าวไปด้วยดีจากปราสาทสู่ปราสาท แม้ฉันใด, มหาราช ! ตถาคตย่อมกล่าวว่า บุคคลนี้มี อุปไมยฉันนั้น. มหาราช ! อย่างนีแ้ ล บุคคลชือ่ ว่าเป็นผูส้ ว่าง แล้วคงสว่างต่อไป. มหาราช ! บุคคล ๔ จำ�พวกนี้แล มีปรากฏ อยู่ในโลก ดังนี้. สคา. สํ ๑๕/๑๓๖/๓๙๓.


กรรมที่ทำ�ให้สิ้นกรรม


​130 พุ ท ธ ว จ น

๓๕ ข้อปฏิบัติให้ถึงความสิ้นกรรม ภิกษุทั้งหลาย ! เราจั ก แสดง จั ก จำ �แนก ซึ่ ง อริยอัฏฐังคิกมรรค (อริยมรรคมีองค์แปด) แก่เธอทั้งหลาย. เธอทัง้ หลายจงฟังความข้อนัน้ จงทำ�ในใจให้ส�ำ เร็จประโยชน์ เราจักกล่าว. ภิกษุทั้งหลาย ! อริยอัฏฐังคิกมรรค (อริยมรรค มีองค์แปด) เป็นอย่างไรเล่า ? ได้แก่สง่ิ เหล่านี้ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ. ภิกษุทั้งหลาย ! สั ม มาทิ ฏ ฐิ (ความเห็นชอบ) เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุทั้งหลาย ! ความรูอ้ นั ใดเป็นความรูใ้ นทุกข์ เป็นความรูใ้ นเหตุให้เกิดทุกข์ เป็นความรูใ้ นความดับแห่งทุกข์ เป็นความรูใ้ นทางดำ�เนินให้ถงึ ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์. ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า สัมมาทิฏฐิ.


ฉบับ ๕ แก้กรรม ?

ภิกษุทั้งหลาย ! สัมมาสังกัปปะ (ความดำ�ริชอบ) เป็นอย่างไรเล่า ? คือ ความดำ�ริในการออกจากกาม ความดำ�ริในการ ไม่มงุ่ ร้าย ความดำ�ริในการไม่เบียดเบียน. ภิกษุทง้ั หลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า สัมมาสังกัปปะ. ภิกษุทั้งหลาย ! สัมมาวาจา (การพูดจาชอบ) เป็นอย่างไรเล่า ? คือ เจตนาเป็นเครือ่ งเว้นจากการพูดไม่จริง เจตนา เป็นเครือ่ งเว้นจากการพูดส่อเสียด เจตนาเป็นเครือ่ งเว้นจาก การพูดหยาบ เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ. ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า สัมมาวาจา. ภิกษุทั้งหลาย ! สัมมากัมมันตะ (การทำ�การงาน ชอบ) เป็นอย่างไรเล่า ? คือ เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการฆ่า เจตนาเป็น เครื่องเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้แล้ว เจตนาเป็ น เครื่ อ งงดเว้ น จากการประพฤติ ผิ ด ในกาม. ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า สัมมากัมมันตะ.

​131


​132 พุ ท ธ ว จ น ภิกษุทั้งหลาย ! สัมมาอาชีวะ (การเลีย้ งชีวติ ชอบ) เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุทงั้ หลาย ! สาวกของพระอริยเจ้าในกรณีนี้ ละการหาเลี้ยงชีวิตที่ผิดเสีย ย่อมสำ�เร็จความเป็นอยู่ด้วย การเลี้ยงชีวิตที่ชอบ. ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า สัมมาอาชีวะ. ภิกษุทั้งหลาย ! สัมมาวายามะ (ความเพียรชอบ) เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในธรรมวินยั นี ้ ย่อมปลูก ความพอใจ ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร ย่อม ประคองจิต ย่อมตัง้ จิตไว้ เพือ่ ความไม่บงั เกิดแห่งอกุศลธรรม อันเป็นบาปทัง้ หลายทีย่ งั ไม่ได้บงั เกิด; ย่อมปลูกความพอใจ ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร ย่อมประคองจิต ย่อมตัง้ จิตไว้ เพือ่ การละเสียซึง่ อกุศลธรรมอันเป็นบาปทัง้ หลาย ที่เกิดขึ้นแล้ว; ย่อมปลูกความพอใจ ย่อมพยายาม ย่อม ปรารภความเพียร ย่อมประคองจิต ย่อมตัง้ จิตไว้ เพือ่ การ บังเกิดขึน้ แห่งกุศลธรรมทัง้ หลายทีย่ งั ไม่บงั เกิด; ย่อมปลูก ความพอใจ ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร ย่อม ประคองจิต ย่อมตัง้ จิตไว้ เพือ่ ความยัง่ ยืน ความไม่เลอะเลือน


ฉบับ ๕ แก้กรรม ?

ความงอกงามยิง่ ขึน้ ความไพบูลย์ ความเจริญ ความเต็มรอบ แห่งกุศลธรรมทั้งหลายที่บังเกิดขึ้นแล้ว. ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า สัมมาวายามะ. ภิกษุทั้งหลาย ! สั ม มาสติ (ความระลึ ก ชอบ) เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มี ปกติพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียรเครื่องเผา กิเลส มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติ นำ�ความพอใจและ ความไม่พอใจในโลกออกเสียได้; เป็นผู้มีปกติพิจารณา เห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ มีความเพียรเครื่องเผา กิเลส มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติ นำ�ความพอใจและ ความไม่พอใจในโลกออกเสียได้; เป็นมีปกติผู้พิจารณา เห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีความรู้สึก ตัวทัว่ พร้อม มีสติ นำ�ความพอใจและความไม่พอใจในโลก ออกเสียได้; เป็นผูป้ กติพจิ ารณาเห็นธรรมในธรรมทัง้ หลาย อยู่ มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติ นำ�ความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้. ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า สัมมาสติ.

​133


​134 พุ ท ธ ว จ น ภิกษุทั้งหลาย ! สัมมาสมาธิ (ความตัง้ ใจมัน่ ชอบ) เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดแล้ว จากกามทัง้ หลาย สงัดแล้วจากอกุศลธรรมทัง้ หลาย เข้าถึง ปฐมฌาน อันมีวติ ก วิจาร มีปตี แิ ละสุขอันเกิดแต่วเิ วก แล้วแล อยู;่ เพราะความทีว่ ติ ก วิจารทัง้ สองระงับลง เข้าถึงทุตยิ ฌาน อันเป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจในภายใน ให้สมาธิเป็นธรรม อันเอกผุดมีขน้ึ ไม่มวี ติ ก ไม่มวี จิ าร มีแต่ปตี แิ ละสุข อันเกิด จากสมาธิ แล้วแลอยู่; อนึ่ง เพราะความจางคลายไปแห่ง ปีติ ย่อมเป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติ มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม และย่อมเสวยสุขด้วยนามกาย ชนิดทีพ่ ระอริยเจ้าทัง้ หลาย ย่อมสรรเสริญผูน้ น้ั ว่า “เป็นผูอ้ ยูอ่ เุ บกขา มีสติ อยูเ่ ป็นปกติสขุ ” ดังนี้ เข้าถึงตติยฌาน แล้วแลอยู่; เพราะละสุขและทุกข์ เสียได้ เพราะความดับไปแห่งโสมนัสและโทมนัสทั้งสอง ในกาลก่อน เข้าถึงจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีแต่ ความทีส่ ติเป็นธรรมชาติบริสทุ ธิเ์ พราะอุเบกขา แล้วแลอยู.่ ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า สัมมาสมาธิ. มหาวาร. สํ. ๑๙/๑๐-๑๒/๓๓-๔๑.


ฉบับ ๕ แก้กรรม ?

รายละเอียดของสัมมากัมมันตะ (ปาณาติปาตา เวรมณี) เธอนั้น ละปาณาติบาต เว้นขาดจากปาณาติบาต (ฆ่าสัตว์) วางท่อนไม้และศัสตรา เสียแล้ว มีความละอาย ถึงความเอ็นดูกรุณา หวังประโยชน์ เกื้อกูลในบรรดาสัตว์ทั้งหลาย อยู่. (อทินนาทานา เวรมณี) เธอนั้น ละอทินนาทาน เว้นขาดจากอทินนาทาน (ลักทรัพย์) ถือเอาแต่ของทีเ่ ขาให้แล้ว หวังอยู่แต่ของที่เขาให้ ไม่เป็นขโมย มีตนเป็นคนสะอาด เป็นอยู่. (กาเมสุมิจฉาจารา เวรมณี-สำ�หรับฆราวาส) เธอนั้ น ละการประพฤติ ผิ ด ในกาม เว้ น ขาดจากการ ประพฤติผดิ ในกาม (คือเว้นขาดจากการประพฤติผดิ ) ในหญิง ซึ่งมารดารักษา บิดารักษา พี่น้องชาย พี่น้องหญิง หรือ ญาติรกั ษา อันธรรมรักษา เป็นหญิงมีสามี หญิงอยูใ่ นสินไหม โดยที่สุดแม้หญิงอันเขาหมั้นไว้ (ด้วยการคล้องพวงมาลัย) ไม่เป็นผู้ประพฤติผิดจารีตในรูปแบบเหล่านั้น.

​135


​136 พุ ท ธ ว จ น

ในกรณีศีล ๕ อีกสองข้อที่เหลือ คือ การเว้นขาด จากมุสาวาท และการเว้นขาดจากการดื่มน้ำ�เมา คือ สุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ก็ตรัสอย่าง เดียวกัน. สี. ที. ๙/๘๓/๑๐๓.; ทสก. อํ. ๒๔/๒๘๗-๒๘๘/๑๖๕.


ฉบับ ๕ แก้กรรม ?

สัมมากัมมันตะโดยปริยายสองอย่าง ภิกษุทั้งหลาย ! สัมมากัมมันตะ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุทั้งหลาย ! เรากล่าว แม้สัมมากัมมันตะว่า มีโดยส่วนสอง คือ สั ม มากั ม มั น ตะ ที่ ยั ง เป็ น ไปกั บ ด้ ว ยอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ มีอุปธิเป็นวิบาก ก็มีอยู่, สั ม มากั ม มั น ตะ อั น เป็ น อริ ย ะ ไม่ มี อ าสวะ เป็นโลกุตตระ เป็นองค์แห่งมรรค ก็มีอยู่. ภิกษุทั้งหลาย ! สั ม มากั ม มั น ตะ ที่ ยั ง เป็ น ไปกั บ ด้ ว ยอาสวะ (กิเลสที่หมักหมม) เป็นส่วนแห่งบุญ มีอุปธิ เป็นวิบากนั้น เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุทั้งหลาย ! เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการ ทำ�สัตว์มชี วี ติ ให้ตกล่วงไป  เจตนาเป็นเครือ่ งเว้นจากการถือ เอาสิง่ ของทีเ่ จ้าของมิได้ให้  เจตนาเป็นเครือ่ งเว้นจากการ ประพฤติผิดในกามทั้งหลาย มีอยู่.

​137


​138 พุ ท ธ ว จ น

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้คือสัมมากัมมันตะ ที่ยังเป็นไปกับด้วยอาสวะ  เป็นส่วนแห่งบุญ  มีอุปธิเป็นวิบาก. ภิกษุทั้งหลาย ! สัมมากัมมันตะ อันเป็นอริยะ ไม่มีอาสวะ เป็น โลกุตตระ เป็นองค์แห่งมรรค นั้นเป็นอย่างไรเล่า ? คือ การงด การเว้น การเว้นขาด เจตนาเป็นเครือ่ งเว้น จากกายทุจริตทัง้ สาม (ตามทีก่ ล่าวแล้วข้างบน) ของผูม้ อี ริยจิต ของผูม้ อี นาสวจิต (ผูม้ จี ติ ทีไ่ ม่มอี าสวะ) ของผูเ้ ป็นอริยมัคคสมังคี ผู้เจริญอยู่ซึ่งอริยมรรค. ภิกษุทั้งหลาย ! นี้คือ สัมมากัมมันตะ อันเป็นอริยะ ไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตตระ เป็นองค์แห่งมรรค. อุปริ. ม. ๑๔/๑๘๔/๒๗๑-๒๗๓.


ฉบับ ๕ แก้กรรม ?

อาชีพที่ไม่ควรกระทำ� ภิกษุทั้งหลาย ! ก็มิจฉาอาชีวะเป็นไฉน ? คือ การโกง การล่อลวง การตลบตะแลง การยอม มอบตนในทางผิด การเอาลาภต่อลาภ นีค้ อื มิจฉาอาชีวะ. อุปริ. ม. ๑๔/๑๘๖/๑๔๙.

ภิกษุทั้งหลาย ! การค้ า ขาย ๕ ประการนี้ อันอุบาสกไม่พึงกระทำ� ๕ ประการอย่างไรเล่า ? คือ :๑. การค้าขายศัสตรา (สตฺถวณิชฺชา) ๒. การค้าขายสัตว์ (สตฺตวณิชฺชา) ๓. การค้าขายเนื้อสัตว์ (มํสวณิชฺชา) ๔. การค้าขายน้ำ�เมา (มชฺชวณิชฺชา) ๕. การค้าขายยาพิษ (วิสวณิชฺชา) ภิกษุทั้งหลาย ! นี้แลการค้าขาย ๕ ประการ อันอุบาสกไม่พึงกระทำ�. ปญฺจก. อํ. ๒๒/๒๓๒/๑๗๗.

​139


​140 พุ ท ธ ว จ น

๓๖ “สิ้นตัณหา ก็ สิ้นกรรม” ภิกษุทั้งหลาย ! มรรคาใด ปฏิปทาใด ย่อม เป็นไปเพือ่ ความสิน้ ตัณหา เธอทัง้ หลายจงเจริญมรรคานัน้ ปฏิปทานั้น. มรรคาและปฏิปทา ที่เป็นไปเพื่อความสิ้นตัณหา เป็นอย่างไรเล่า ? คือ โพชฌงค์ ๗ โพชฌงค์ ๗ เป็นอย่างไรเล่า ? คื อ สติ สั ม โพชฌงค์ ธั ม มวิ จ ยสั ม โพชฌงค์ วิริยสัมโพชฌงค์ ปีติสัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์ อุเบกขาสัมโพชฌงค์. เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว พระอุทายี ได้ทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผเู้ จริญ ! โพชฌงค์ ๗ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำ�ให้มากแล้วอย่างไร ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นตัณหา”.

อุ ท ายี   !  ภิ ก ษุ ใ นธรรมวิ นั ย นี้ ย่ อ มเจริ ญ สติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อันอาศัยวิราคะ อันอาศัย นิโรธ อันน้อมไปเพื่อโวสสัคคะ (ความสละ, ความปล่อย)


ฉบับ ๕ แก้กรรม ?

อันไพบูลย์ ใหญ่หลวง ไม่มีประมาณ ไม่มีความพยาบาท เมือ่ ภิกษุนนั้ เจริญสติสมั โพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อันอาศัย วิราคะ อาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อโวสสัคคะ อันไพบูลย์ ใหญ่หลวง ไม่มีประมาณ ไม่มีความพยาบาท ย่อมละ ตัณหาได้ ...ฯลฯ... ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อันอาศัยวิราคะ อันอาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อโวสสัคคะ อันไพบูลย์ ใหญ่หลวง ไม่มีประมาณ ไม่มีความพยาบาท เมื่อภิกษุนั้นเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อันอาศัยวิราคะ อันอาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อโวสสัคคะ อันไพบูลย์ใหญ่หลวง ไม่มีประมาณ ไม่มีความพยาบาท ย่อมละตัณหาได้ เพราะละตัณหาได้ จึงละกรรมได้ เพราะละกรรมได้ จึงละทุกข์ได้. อุทายี  !  เพราะสิ้นตัณหา  จึงสิ้นกรรม เพราะสิ้นกรรม  จึงสิ้นทุกข์ ด้วยประการดังนี้ แล. มหาวาร. สํ. ๑๙/๑๒๓/๔๔๙.

​141


​142 พุ ท ธ ว จ น

๓๗ การกระทำ�กรรมทีเ่ ป็นไปเพือ่ การสิน้ กรรม ภิกษุทั้งหลาย ! เหตุ ทั้ ง หลาย ๓ ประการ เหล่านี้  มีอยู่  เพื่อความเกิดขึ้นแห่งกรรมทั้งหลาย. ๓ ประการ เหล่าไหนเล่า ? ๓ ประการ คือ :อโลภะ (ความไม่โลภ) เป็นเหตุเพื่อความเกิดขึ้น แห่งกรรมทั้งหลาย, อโทสะ (ความไม่คิดประทุษร้าย) เป็นเหตุเพื่อ ความเกิดขึ้นแห่งกรรมทั้งหลาย, อโมหะ (ความไม่หลง) เป็นเหตุเพื่อความเกิดขึ้น แห่งกรรมทั้งหลาย. ภิกษุทั้งหลาย ! เปรียบเหมือนเมล็ดพืชทัง้ หลาย ที่ไม่แตกหัก ที่ไม่เน่า ที่ไม่ถูกทำ�ลายด้วยลมและแดด เลื อ กเอาแต่ เ ม็ ด ดี เก็ บ งำ � ไว้ ดี . บุ รุ ษ พึ ง เผาเมล็ ด พื ช เหล่านั้นด้วยไฟ ครั้นเผาด้วยไฟแล้ว พึงกระทำ�ให้เป็น ผงขี้เถ้า; ครั้นกระทำ�ให้เป็นผงขี้เถ้าแล้ว พึงโปรยไปใน กระแสลมอั น พั ด จั ด หรื อ ว่ า พึ ง ลอยไปในกระแสน้ำ �


ฉบับ ๕ แก้กรรม ?

​143

อันเชี่ยวในแม่น้ำ�. เมล็ดพืชทั้งหลายเหล่านั้นเป็นพืช มีมลู อันขาดแล้ว  ถูกกระทำ�ให้เหมือนตาลมีขว้ั ยอดอันด้วน ทำ�ให้ถึงความไม่มี  มีอันไม่เกิดขึ้นต่อไป  เป็นธรรมดา โดยแน่นอน, นี้ฉันใด; ภิกษุทั้งหลาย ! กรรมอันบุคคลกระทำ�แล้วด้วยอโลภะ  เกิดจาก อโลภะ  มีอโลภะเป็นเหตุ  มีอโลภะเป็นสมุทัย  อันใด; เพราะปราศจากโลภะเสียแล้ว,  ด้วยอาการอย่างนี้เอง กรรมอันนั้น  ย่อมเป็นกรรมอันบุคคลนั้นละขาดแล้ว มีรากอันถอนขึน้ แล้ว ถูกกระทำ�ให้เหมือนตาลมีขว้ั ยอดอันด้วน ทำ�ให้ถึงความไม่มี  มีอันไม่เกิดขึ้นต่อไป  เป็นธรรมดา. ภิกษุทั้งหลาย ! กรรมอันบุคคลกระทำ�แล้วด้วยอโทสะ  เกิดจาก อโทสะ  มีอโทสะเป็นเหตุ  มีอโทสะเป็นสมุทัย  อันใด; เพราะปราศจากโทสะเสียแล้ว,  ด้วยอาการอย่างนี้เอง กรรมอันนั้น  ย่อมเป็นกรรมอันบุคคลนั้นละขาดแล้ว  มีรากอันถอนขึน้ แล้ว ถูกกระทำ�ให้เหมือนตาลมีขว้ั ยอดอันด้วน ทำ�ให้ถึงความไม่มี มีอันไม่เกิดขึ้นต่อไป เป็นธรรมดา.


​144 พุ ท ธ ว จ น

ภิกษุทั้งหลาย ! กรรมอันบุคคลกระทำ�แล้วด้วยอโมหะ  เกิดจาก อโมหะ  มีอโมหะเป็นเหตุ  มีอโมหะเป็นสมุทัย  อันใด; เพราะปราศจากโมหะเสียแล้ว, ด้วยอาการอย่างนี้เอง กรรมอันนั้น  ย่อมเป็นกรรมอันบุคคลนั้นละขาดแล้ว มีรากอันถอนขึน้ แล้ว ถูกกระทำ�ให้เหมือนตาลมีขว้ั ยอดอันด้วน ทำ�ให้ถึงความไม่มี  มีอันไม่เกิดขึ้นต่อไป  เป็นธรรมดา. ภิกษุทั้งหลาย ! เหตุ ทั้ ง หลาย ๓ ประการ เหล่านี้แล เป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นแห่งกรรมทั้งหลาย. ติก. อํ. ๒๐/๑๗๑/๔๗๓.


ฉบับ ๕ แก้กรรม ?

๓๘ จะเกิดในตระกูลใดก็สิ้นกรรมได้ อานนท์ ! อภิชาติ ๖ ชนิด เป็นอย่างไรเล่า ? อานนท์ ! ในกรณี แ ห่ ง อภิ ช าติ ห กนี้ คื อ คนบางคนมีชาติด�ำ ก่อให้เกิดธรรมดำ� ๑, บางคนมีชาติด�ำ ก่อให้เกิดธรรมขาว ๑, บางคนมีชาติด�ำ ก่อให้เกิดนิพพาน (ความสิน้ ราคะ โทสะ โมหะ) อันเป็นธรรมไม่ด�ำ ไม่ขาว ๑, บางคนมีชาติขาว ก่อให้เกิดธรรมดำ� ๑, บางคนมีชาติขาว ก่อให้เกิดธรรมขาว ๑, บางคนมีชาติขาว ก่อให้เกิดนิพพาน อันเป็นธรรมไม่ดำ�ไม่ขาว ๑. อานนท์ ! คนมีชาติดำ� ก่อให้เกิดธรรมดำ� เป็นอย่างไรเล่า ? อานนท์ ! คนบางคนในกรณีน้ี เกิดในตระกูลต่�ำ คือ ตระกูลจัณฑาล ตระกูลพราน ตระกูลจักสาน ตระกูล ทำ�รถ หรือตระกูลเทหยากเยือ่ ซึง่ เป็นคนยากจน มีขา้ วและ น้ำ�น้อย เป็นอยู่ฝืดเคือง มีอาหารและเครื่องนุ่งห่มหาได้

​145


​146 พุ ท ธ ว จ น โดยยาก เขาเป็นผูม้ ผี วิ พรรณทราม ไม่นา่ ดู เตีย้ ค่อม ขีโ้ รค ตาบอด ง่อยกระจอก มีตัวตะแคงข้าง ไม่ค่อยจะมีข้าว น้ำ� เครือ่ งนุง่ ห่ม ยานพาหนะ ดอกไม้ ของหอม เครือ่ งลูบไล้ ทีน่ อน ที่อยู่ และประทีปโคมไฟ แต่เขาก็ยังประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ครั้นประพฤติทุจริตแล้ว เบื้องหน้า แต่การตาย เพราะการทำ�ลายแห่งกาย ย่อมเข้าถึงอบาย ทุ ค ติ วิ นิ บ าต นรก. อย่ า งนี้ แ ล อานนท์  ! เรี ย กว่ า คนมีชาติดำ� ก่อให้เกิดธรรมดำ�. อานนท์ ! คนมีชาติดำ� ก่อให้เกิดธรรมขาว เป็นอย่างไรเล่า ? อานนท์ ! คนบางคนในกรณีน้ี เกิดในตระกูลต่�ำ คือ ตระกูลจัณฑาล ตระกูลพราน ฯลฯ มีอาหาร และเครือ่ ง นุ่งห่มหาได้โดยยาก มีผิวพรรณทรามไม่น่าดู ...ฯลฯ... ไม่ค่อยจะมีข้าว น้ำ� ...ฯลฯ... ประทีปโคมไฟ แต่เขา ประพฤติกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ครั้นประพฤติ สุจริตแล้ว เบือ้ งหน้าแต่การตาย เพราะการทำ�ลายแห่งกาย ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์. อย่างนี้แล อานนท์ ! เรียกว่า คนมีชาติดำ� ก่อให้เกิดธรรมขาว.


ฉบับ ๕ แก้กรรม ?

อานนท์ ! คนมีชาติด�ำ ก่อให้เกิดนิพพานอัน เป็นธรรมไม่ดำ�ไม่ขาว เป็นอย่างไรเล่า ? อานนท์ ! คนบางคนในกรณีน้ี เกิดในตระกูลต่�ำ คือตระกูลจัณฑาล ตระกูลพราน ...ฯลฯ ... มีผวิ พรรณทราม ไม่นา่ ดู เตีย้ ค่อม. เขาปลงผมและหนวด ครองผ้าย้อมฝาด ออกจากเรือน บวชเป็นผูไ้ ม่มปี ระโยชน์เกีย่ วข้องด้วยเรือน. เขานัน้ ครัน้ บวชแล้วอย่างนี้ ละนิวรณ์ทงั้ ห้า อันเป็นเครือ่ ง เศร้าหมองจิต ทำ�ปัญญาให้ถอยกำ�ลังได้แล้ว มีจติ ตัง้ มัน่ ดี ในสติปัฏฐานทั้งสี่ ยังโพชฌงค์เจ็ดให้เจริญแล้วตามที่ เป็นจริง ชื่อว่าย่อมก่อให้เกิดนิพพานอันเป็นธรรมไม่ดำ� ไม่ขาว. อย่างนีแ้ ล อานนท์ ! เรียกว่า คนมีชาติด�ำ ก่อให้เกิด นิพพานอันเป็นธรรมไม่ดำ�ไม่ขาว. อานนท์ ! คนมีชาติขาว ก่อให้เกิดธรรมดำ� เป็นอย่างไรเล่า ? อานนท์ ! คนบางคนในกรณีนี้ เกิดในสกุลสูง คือ สกุลกษัตริยม์ หาศาล สกุลพราหมณ์มหาศาล หรือสกุล คหบดีมหาศาล อันมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก มีทอง และเงินพอตัว มีอุปกรณ์แห่งทรัพย์พอตัว มีทรัพย์และ

​147


​148 พุ ท ธ ว จ น ข้าวเปลือกพอตัว เขามีรูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใส ประกอบ ด้วยความเกลีย้ งเกลาแห่งผิวพรรณอย่างยิง่ ร่�ำ รวยด้วยข้าว ด้วยน้ำ� เครื่องนุ่งห่ม ยานพาหนะ ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่ และประทีปโคมไฟ แต่เขา ประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ครั้นประพฤติ ทุจริตแล้ว เบือ้ งหน้าแต่การตายเพราะการทำ�ลายแห่งกาย ย่อมเข้าพึงอบาย ทุคติ วินบิ าต นรก. อย่างนีแ้ ล อานนท์ ! เรียกว่า คนมีชาติขาว ก่อให้เกิดธรรมดำ�. อานนท์ ! คนมีชาติขาว ก่อให้เกิดธรรมขาว เป็นอย่างไรเล่า ? อานนท์ ! คนบางคนในกรณีนี้ เกิดในสกุลสูง คือสกุลกษัตริยม์ หาศาล สกุลพราหมณ์มหาศาล ...ฯลฯ... มีทรัพย์และข้าวเปลือกพอตัว มีรูปงาม ...ฯลฯ... ร่ำ�รวย ด้วยข้าว น้ำ� ...ฯลฯ... ประทีปโคมไฟ; เขา ประพฤติกาย สุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ครั้นประพฤติสุจริตแล้ว เบื้องหน้าแต่การตาย เพราะการทำ�ลายแห่งกาย ย่อมเข้า ถึ ง สุ ค ติ โ ลกสวรรค์ . อย่ า งนี้ แ ล อานนท์  ! เรี ย กว่ า คนมีชาติขาว ก่อให้เกิดธรรมขาว.


ฉบับ ๕ แก้กรรม ?

อานนท์ ! คนชาติ ข าว ก่ อ ให้ เ กิ ด นิ พ พาน อันเป็นธรรมไม่ดำ�ไม่ขาว เป็นอย่างไรเล่า ? อานนท์ ! คนบางคนในกรณีนี้ เกิดในสกุลสูง คือ สกุลกษัตริยม์ หาศาล สกุลพราหมณ์มหาศาล ...ฯลฯ... มีทรัพย์และข้าวเปลือกพอตัว มีรูปงาม ....ฯลฯ.... ร่ำ�รวย ด้วยข้าว น้�ำ ...ฯลฯ... ประทีปโคมไฟ; เขาปลงผมและหนวด ครองผ้ากาสายะ ออกจากเรือน บวชเป็นผู้ไม่มีประโยชน์ เกีย่ วข้องด้วยเรือน, เขานัน้ ครัน้ บวชแล้วอย่างนี้ ละนิวรณ์ ทั้งห้า อันเป็นเครื่องเศร้าหมองใจทำ�ปัญญาให้ถอยกำ�ลัง ได้แล้ว มีจติ ตัง้ มัน่ ดี ในสติปฏั ฐานทัง้ สี่ ยังโพชฌงค์เจ็ด ให้เจริญแล้วตามที่เป็นจริง ชื่อว่าย่อมก่อให้เกิดนิพพาน อันเป็นธรรมไม่ดำ� ไม่ขาว. อย่างนี้แล อานนท์ ! เรียกว่า คนมีชาติขาว ก่อให้เกิดนิพพานอันเป็นธรรมไม่ด�ำ ไม่ขาว. อานนท์ ! เหล่านี้แล อภิชาติ ๖ ชนิด. ฉกฺก. อํ. ๒๒/๔๒๘/๓๒๙.

​149



เรื่องเกี่ยวกับ “กรรม” ในเชิงปฏิจจสมุปบาท (การที่ทุกข์เกิดขึ้นเพราะอาศัยปัจจัยต่อเนื่องกันมา)


​152 พุ ท ธ ว จ น

๓๙ เหตุเกิดของทุกข์ ถูกแล้ว ถูกแล้ว อานนท์ !  ตามทีส่ ารีบตุ รเมือ่ ตอบ ปัญหาในลักษณะนั้นเช่นนั้น,  ชื่อว่าได้ตอบโดยชอบ : อานนท์ ! ความทุกข์นน้ั เรากล่าวว่าเป็นสิง่ ที่ อาศัยปัจจัยอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วเกิดขึ้น (เรียกว่า ปฏิจจสมุปปันนธรรม). ความทุกข์นั้น อาศัยปัจจัย อะไรเล่า ? ความทุกข์นั้น อาศัยปัจจัย คือ ผัสสะ, ผู้กล่าว อย่างนี้แล  ชื่อว่า  กล่าวตรงตามที่เรากล่าว  ไม่เป็นการ กล่าวตู่เราด้วยคำ�ไม่จริง;  แต่เป็นการกล่าวโดยถูกต้อง และสหธรรมิกบางคนทีก่ ล่าวตาม  ก็จะไม่พลอยกลายเป็น ผู้ควรถูกติไปด้วย. อานนท์ ! ในบรรดาสมณพราหมณ์ ทีก่ ล่าวสอนเรือ่ งกรรม ทั้งสี่พวกนั้น :


ฉบับ ๕ แก้กรรม ?

สมณพราหมณ์ ที่กล่าวสอนเรื่องกรรมพวกใด ย่อมบัญญัตคิ วามทุกข์ ว่าเป็นสิง่ ทีต่ นทำ�เอาด้วยตนเอง, แม้ความทุกข์ที่พวกเขาบัญญัตินั้น ก็ยังต้องอาศัยผัสสะ เป็นปัจจัย จึงเกิดได้; สมณพราหมณ์ ที่กล่าวสอนเรื่องกรรมพวกใด ย่ อ มบั ญ ญั ติ ค วามทุ ก ข์ ว่ า เป็ น สิ่ ง ที่ ผู้ อื่ น ทำ � ให้ , แม้ ความทุกข์ที่พวกเขาบัญญัตินั้น ก็ยังต้องอาศัยผัสสะ เป็นปัจจัย จึงเกิดมีได้; สมณพราหมณ์ ที่กล่าวสอนเรื่องกรรมพวกใด ย่อมบัญญัตคิ วามทุกข์ ว่าเป็นสิง่ ทีต่ นทำ�เอาด้วยตนเอง ด้วย ผู้อื่นทำ�ให้ด้วย, แม้ความทุกข์ที่พวกเขาบัญญัตินั้น ก็ยังต้องอาศัยผัสสะ เป็นปัจจัย จึงเกิดมีได้; ถึ ง แม้ ส มณพราหมณ์ ที่ ก ล่ า วสอนเรื่ อ งกรรม พวกใด ย่อมบัญญัติความทุกข์ ว่าเป็นสิ่งที่ไม่ใช่ทำ�เอง หรื อ ใครทำ � ให้ ก็ เ กิ ด ขึ้ น ได้ ก็ ต าม, แม้ ค วามทุ ก ข์ ที่ พวกเขาบัญญัตินั้น ก็ยังต้องอาศัยผัสสะ เป็นปัจจัย จึงเกิดมีได้อยู่นั่นเอง. นิทาน. สํ. ๑๖/๔๐/๗๕.

​153


​154 พุ ท ธ ว จ น

๔๐ ความหมายที่แท้จริงของคำ�ว่า “สัตว์” “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ที่เรียกว่า ‘สัตว์ สัตว์’ ดังนี้, อันว่าสัตว์มีได้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรเล่า พระเจ้าข้า !”

ราธะ! ความพอใจอันใด ราคะอันใด นันทิอันใด ตัณหาอันใด มีอยู่ในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขารทั้งหลาย และในวิญญาณ, เพราะการติดแล้ว ข้องแล้ว ในสิ่งนั้นๆ, เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ‘สัตว์’ ดังนี้. ขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๓๒/๓๖๗.


ฉบับ ๕ แก้กรรม ?

๔๑ ความไม่มีสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา ภิกษุโมลิยผัคคุนะ ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ก็ใครเล่า ย่อมกลืนกินซึ่ง วิญญาณาหาร พระเจ้าข้า ?”

พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสตอบว่า :“นั่ น เป็ น ปั ญ หาที่ ไ ม่ ค วรจะเป็ น ปั ญ หาเลย : เราย่อมไม่กล่าวว่า ‘บุคคลย่อมกลืนกิน’ ดังนี้ ถ้าเราได้ กล่าวว่า ‘บุคคลย่อมกลืนกิน’ ดังนี้ นั่นแหละจึงจะเป็น ปัญหาในข้อนี้ที่ควรถามขึ้นว่า ‘ก็ใครเล่า ย่อมกลืนกิน (ซึ่งวิญญาณาหาร) พระเจ้าข้า ?’ ดังนี้. ก็เรามิได้กล่าวอย่างนั้น, ถ้าผู้ใดจะพึงถามเรา ผู้มิได้กล่าวอย่างนั้น เช่นนี้ว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! วิญญาณาหาร ย่อมมีเพื่ออะไรเล่าหนอ ?’ ดังนี้แล้ว, นั่นแหละจึงจะเป็นปัญหาที่ควรแก่ความเป็นปัญหา. คำ � เฉลยที่ ค วรเฉลยในปั ญ หาข้ อ นั้ น ย่ อ มมี ว่ า ‘วิญญาณาหาร ย่อมมีเพือ่ ความเกิดขึน้ แห่งภพใหม่ตอ่ ไป.

​155


​156 พุ ท ธ ว จ น เมือ่ ภูตะ (ความเป็นภพ) นัน้ มีอยู,่ สฬายตนะ ย่อมมี; เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผสั สะ (การสัมผัส)’, ดังนี”้ . “ข้าแต่พระองค์ผเู้ จริญ ! ก็ใครเล่า ย่อมสัมผัส พระเจ้าข้า ?”

นัน่ เป็นปัญหาทีไ่ ม่ควรจะเป็นปัญหาเลย : เราย่อม ไม่กล่าวว่า “บุคคล ย่อมสัมผัส” ดังนี้ ถ้าเราได้กล่าวว่า “บุคคล ย่อมสัมผัส” ดังนีน้ น่ั แหละจึงจะเป็นปัญหาในข้อนี้ ทีค่ วรถามขึน้ ว่า “ก็ใครเล่า ย่อมสัมผัส พระเจ้าข้า ?” ดังนี.้ ก็เรามิได้กล่าวอย่างนั้น, ถ้าผู้ใดจะพึงถามเรา ผู้มิได้กล่าวอย่างนั้น เช่นนี้ว่า “ผัสสะมี เพราะมีอะไรเป็น ปัจจัย พระเจ้าข้า ?” ดังนี้แล้ว นั่นแหละจึงจะเป็นปัญหา ที่ควรแก่ความเป็นปัญหา. คำ � เฉลยที่ ควรเฉลยในปัญ หาข้อ นั้น ย่อ มมี ว่า “เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ; เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา (ความรู้สึกต่อ อารมณ์)”, ดังนี้. (จากนัน้ ได้มกี ารทูลถาม และพระผูม้ พี ระภาคทรงตรัสตอบ ไปทีละอาการของปฏิจจสมุปบาทไปจนถึง เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา และพระองค์ได้ตรัสต่อไปอีกว่า :-)


ฉบับ ๕ แก้กรรม ?

เพราะมีตณ ั หาเป็นปัจจัย จึงมีอปุ าทาน (ความยึดมัน่ )”, ดังนี้. “ข้าแต่พระองค์ผเู้ จริญ ! ก็ใครเล่า ย่อมยึดมัน่ พระเจ้าข้า ?”

นัน่ เป็นปัญหาทีไ่ ม่ควรจะเป็นปัญหาเลย : เราย่อม ไม่กล่าวว่า “บุคคลย่อมยึดมั่น” ดังนี้ถ้าเราได้กล่าวว่า “บุคคลย่อมยึดมัน่ ” ดังนีน้ น่ั แหละจึงจะเป็นปัญหาในข้อนี้ ทีค่ วรถามขึน้ ว่า “ก็ใครเล่า ย่อมยึดมัน่ พระเจ้าข้า ?” ดังนี.้ ก็เรามิได้กล่าวอย่างนั้น, ถ้าผู้ใดจะพึงถามเราผู้ มิได้กล่าวอย่างนัน้ เช่นนีว้ า่ “เพราะมีอะไรเป็นปัจจัย จึงมี อุปาทาน พระเจ้าข้า ?” ดังนีแ้ ล้ว นัน่ แหละจึงจะเป็นปัญหา ที่ควรแก่ความเป็นปัญหา. คำ�เฉลยที่ควรเฉลยในปัญหาข้อนั้น ย่อมมีว่า “เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัยจึงมีอุปาทาน; เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ;” เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ; เพราะมีชาติเป็นปัจจัย, ชรามรณะ โสกะปริเทวะ ทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน : ความเกิดขึน้ พร้อมแห่งกองทุกข์ทงั้ สิน้ นี้ ย่อมมีดว้ ยอาการ อย่างนี้.

​157


​158 พุ ท ธ ว จ น

ผัคคุนะ ! เพราะความจางคลายดับไปโดย ไม่เหลือแห่งผัสสายตนะทัง้ ๖ นัน้ นัน่ เทียว จึงมีความดับแห่ง ผัสสะ; เพราะมีความดับแห่งผัสสะ จึงมีความดับแห่ง เวทนา; เพราะมีความดับแห่งเวทนา จึงมีความดับแห่ง ตัณหา; เพราะมีความดับแห่งตัณหา จึงมีความดับแห่ง อุปาทาน; เพราะมีความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับ แห่งภพ; เพราะมีความดับแห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ; เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแล ชรามรณะ โสกะปริเทวะ ทุกขะโทมนัสอุปายาสทัง้ หลาย จึงดับสิน้ : ความดับลงแห่ง กองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้ ดังนี้แล. นิทาน. สํ. ๑๖/๑๕/๓๒.


ฉบับ ๕ แก้กรรม ?

๔๒ เหตุเกิดของภพ “ข้าแต่พระองค์ผเู้ จริญ ! พระผูม้ พี ระภาคเจ้ากล่าวอยูว่ า่ ‘ภพ–ภพ’ ดังนี.้ ภพ ย่อมมีได้ดว้ ยเหตุเพียงเท่าไรเล่า พระเจ้าข้า !”.

อานนท์ ! ถ้ากรรม มีกามธาตุเป็นวิบาก จักไม่ได้มีแล้วไซร้, กามภพ จะพึงปรากฏได้แลหรือ ? “หามิได้ พระเจ้าข้า !”.

อานนท์ ! ด้วยเหตุนี้แหละ กรรมจึงเป็น เนือ้ นา, วิญญาณเป็นเมล็ดพืช, ตัณหาเป็นยาง (ส�ำหรับ หล่อเลี้ยงเชื้องอก) ของพืช. วิญญาณของสัตว์ทั้งหลายมี อวิชชาเป็นเครือ่ งกัน้ มีตณ ั หาเป็นเครือ่ งผูกพัน ตัง้ อยูแ่ ล้ว ด้วยธาตุชนั้ ทราม (กามธาตุ), การบังเกิดขึน้ ในภพใหม่ ต่อไป ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้. อานนท์ ! ถ้ า กรรม มี รู ป ธาตุ เ ป็ น วิ บ าก จักไม่ได้มีแล้วไซร้, รูปภพ จะพึงปรากฏได้แลหรือ ? “หามิได้ พระเจ้าข้า !”.

​159


​160 พุ ท ธ ว จ น อานนท์ ! ด้วยเหตุนี้แหละ กรรมจึงเป็น เนื้อนา, วิญญาณเป็นเมล็ดพืช, ตัณหาเป็นยางของพืช วิญญาณของสัตว์ทั้งหลาย  มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูกพัน ตั้งอยู่แล้วด้วยธาตุชั้นกลาง (รูปธาตุ). การบังเกิดขึ้นในภพใหม่ต่อไป  ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้. อานนท์ ! ถ้ากรรม มีอรูปธาตุเป็นวิบาก จักไม่ได้มีแล้วไซร้, อรูปภพ จะพึงปรากฏได้แลหรือ ? “หามิได้ พระเจ้าข้า !”.

อานนท์ ! ด้วยเหตุนี้แหละ กรรมจึงเป็น เนื้อนา, วิญญาณเป็นเมล็ดพืช, ตัณหาเป็นยางของพืช. วิญญาณของสัตว์ทั้งหลาย  มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตณ ั หาเป็นเครือ่ งผูกพัน ตัง้ อยูแ่ ล้วด้วยธาตุชนั้ ประณีต (อรูปธาตุ), การบังเกิดขึน้ ในภพใหม่ตอ่ ไป ย่อมมีได้ดว้ ย อาการอย่างนี้. อานนท ! ภพ ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้แล. ติก. อํ. ๒๐/๒๘๗/๕๑๖.


ฉบับ ๕ แก้กรรม ?

๔๓ เครื่องนำ�ไปสู่ภพ “ข้าแต่พระองค์ผเู้ จริญ ! พระองค์ตรัสอยูว่ า่ ‘เครือ่ งน�ำไป สู่ภพ เครื่องน�ำไปสู่ภพ’ ดังนี้, ก็เครื่องน�ำไปสู่ภพ เป็นอย่างไร พระเจ้าข้า  !  และความดับไม่เหลือของเครื่องน�ำไปสู่ภพนั้น เป็นอย่างไรเล่า  พระเจ้าข้า  !”. ราธะ  !  ฉันทะ  (ความพอใจ)  ก็ด,ี   ราคะ (ความ กําหนัด)  ก็ ดี ,   นั น ทิ   (ความเพลิน)   ก็ ดี ,   ตั ณ หา  (ความ ทะยานอยาก)  ก็ดี,  อุปายะ  (กิเลสเป็นเหตุเข้าไปสู่ภพ) และ  อุปาทาน  (ความถือมัน่ ด้วยอำ�นาจกิเลส)  อันเป็นเครือ่ งตัง้ ทับ

เครื่องเข้าไปอาศัย และเครื่องนอนเนื่องแห่งจิตก็ดี ใดๆ ในรูป  ในเวทนา  ในสัญญา  ในสังขารทั้งหลาย  และ ในวิญญาณ; กิเลสเหล่านี้ นี่เราเรียกว่า ‘เครื่องนำ�ไปสู่ภพ’ ความดับไม่เหลือของเครื่องนำ�ไปสู่ภพ มีได้ เพราะความดับไม่เหลือของกิเลส มีฉนั ทะ ราคะ เป็นต้น เหล่านั้นเอง. ขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๓๓/๓๖๘.๔๓.

​161


​162 พุ ท ธ ว จ น

๔๔ ปฏิจจสมุปบาท

ในฐานะเป็นกฎสูงสุดของธรรมชาติ ภิกษุทั้งหลาย ! เราจักแสดงซึง่ ปฏิจจสมุปบาท (คือ ธรรมอันเป็นธรรมชาติ อาศัยกันแล้วเกิดขึ้น) แก่พวกเธอ ทัง้ หลาย. พวกเธอทัง้ หลาย จงฟังซึง่ ปฏิจจสมุปบาทนัน้ , จงทำ�ในใจให้สำ�เร็จประโยชน์, เราจักกล่าวบัดนี้ ... ภิกษุทั้งหลาย ! ก็ปฏิจจสมุปบาท เป็นอย่างไรเล่า ? (๑) ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะชาติ เ ป็ น ปั จ จั ย ชรามรณะย่อมมี. ภิกษุทง้ั หลาย ! เพราะเหตุทพ่ี ระตถาคตทัง้ หลาย จะบั ง เกิ ด ขึ้ น ก็ ต าม,จะไม่ บั ง เกิ ด ขึ้ น ก็ ต าม, ธรรมธาตุนน้ั ย่อมตัง้ อยูแ่ ล้วนัน่ เทียว; คือ ความตัง้ อยูแ่ ห่ง ธรรมดา (ธัมมัฏฐิตตา), คือ ความเป็นกฎตายตัวแห่ง ธรรมดา (ธัมมนิยามตา), คือ ความที่เมื่อมีสิ่งนี้สิ่งนี้เป็น ปัจจัย สิ่งนี้สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น (อิทัปปัจจยตา).


ฉบับ ๕ แก้กรรม ?

ตถาคต ย่อมรู้พร้อมเฉพาะ ย่อมถึงพร้อมเฉพาะ ซึง่ ธรรมธาตุนน้ั ; ครัน้ รูพ้ ร้อมเฉพาะแล้ว ถึงพร้อมเฉพาะแล้ว, ย่อมบอก ย่อมแสดง ย่อมบัญญัติ ย่อมตัง้ ขึน้ ไว้ ย่อมเปิดเผย ย่อมจำ�แนกแจกแจง ย่อมทำ�ให้เป็นเหมือนการหงายของทีค่ ว่�ำ ; และได้กล่าวแล้วในบัดนีว้ า่ “ภิกษุทงั้ หลาย ! ท่านทัง้ หลาย จงมาดู : เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะย่อมมี” ดังนี้. ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุดงั นีแ้ ล : ธรรมธาตุ ใด ในกรณีนั้น อันเป็น ตถตา คือ ความเป็นอย่างนั้น, เป็น อวิตถตา คือ ความไม่ผดิ ไปจากความเป็นอย่างนัน้ , เป็น อนัญญถตา คือ ความไม่เป็นไปโดยประการอื่น, เป็น อิทปั ปัจจยตา คือ ความทีเ่ มือ่ มีสงิ่ นีส้ งิ่ นีเ้ ป็นปัจจัย สิ่งนี้สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น; ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมนีเ้ ราเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท (คือธรรมอันเป็นธรรมชาติ อาศัยกันแล้วเกิดขึ้น). (๒) ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติ ย่อมมี. ...ฯลฯ…1 1 การละเปยยาล ...ฯลฯ... เช่นนี้ หมายความว่า ข้อความในข้อ (๒) เป็นต้นไปจนกระทั่งถึงข้อ (๑๐) นี้ ซ้ำ�กันโดยตลอดกับในข้อ (๑) ต่างกันแต่ เพียงปัจจยาการแต่ละปัจจยาการเท่านั้น; สำ�หรับข้อสุดท้าย คือข้อ (๑๑) จะ พิมพ์ไว้เต็มเหมือนข้อ (๑) อีกครั้งหนึ่ง.

​163


​164 พุ ท ธ ว จ น (๓) ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพย่อมมี. ...ฯลฯ… (๔) ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะตั ณ หาเป็ น ปั จ จั ย อุปาทาน ย่อมมี. ...ฯลฯ… (๕) ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเวทนาเป็ น ปั จ จั ย ตัณหาย่อมมี. ...ฯลฯ... (๖) ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะผั ส สะเป็ น ปั จ จั ย เวทนาย่อมมี. ...ฯลฯ… (๗) ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะย่อมมี. ...ฯลฯ… (๘) ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะย่อมมี. ...ฯลฯ… (๙) ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปย่อมมี. ...ฯลฯ... (๑๐) ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะสั ง ขารเป็ น ปั จ จั ย วิญญาณย่อมมี. ...ฯลฯ… (๑๑) ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะอวิ ช ชาเป็ น ปั จ จั ย สังขารทั้งหลายย่อมมี. ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุที่ พระตถาคตทัง้ หลาย จะบังเกิดขึน้ ก็ตาม, จะไม่บงั เกิดขึน้ ก็ตาม,


ฉบับ ๕ แก้กรรม ?

ธรรมธาตุนนั้ ย่อมตัง้ อยูแ่ ล้วนัน่ เทียว; คือความตัง้ อยูแ่ ห่ง ธรรมดา, คื อ ความเป็ น กฎตายตั ว แห่ ง ธรรมดา, คื อ ความที่เมื่อสิ่งนี้สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น. ตถาคตย่อมรู้พร้อมเฉพาะ ย่อมถึงพร้อมเฉพาะ ซึง่ ธรรมธาตุนน้ั ; ครัน้ รูพ้ ร้อมเฉพาะแล้ว ถึงพร้อมเฉพาะแล้ว, ย่อมบอก ย่อมแสดง ย่อมบัญญัติ ย่อมตัง้ ขึน้ ไว้ ย่อมเปิดเผย ย่อมจำ�แนกแจกแจง ย่อมทำ�ให้เป็นเหมือนการหงายของ ทีค่ วา่ํ และได้กล่าวแล้วในบัดนีว้ า่ “ภิกษุทง้ั หลาย ! ท่านทัง้ หลาย จงดู : เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารทั้งหลายย่อมมี” ดังนี้. ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุดงั นีแ้ ล : ธรรมธาตุใด ในกรณีนั้น อันเป็น ตถตา คือความเป็นอย่างนั้น, เป็น อวิตถตา คือ ความไม่ผิดไปจากความเป็นอย่างนั้น, เป็น อนัญญถตา คือ ความไม่เป็นไปโดยประการอื่น, เป็น อิทัปปัจจยตา คือความที่เมื่อมีสิ่งนี้สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้ สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น; ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมนีเ้ ราเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท. นิทาน. สํ. ๑๖/๓๐/๖๑.

​165



ขอนอบน้อมแด่

ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธะ พระองค์นั้นด้วยเศียรเกล้า

(สาวกตถาคต) คณะงานธัมมะ วัดนาปาพง (กลุ่มอาสาสมัครพุทธวจน-หมวดธรรม)


มูลนิธิพุทธโฆษณ์ มูลนิธิแห่งมหาชนชาวพุทธ ผู้ซึ่งชัดเจน และมั่นคงในพุทธวจน เริม่ จากชาวพุทธกลุม่ เล็กๆ กลุม่ หนึง่ ได้มโี อกาสมาฟังธรรมบรรยายจาก ท่านพระอาจารย์คกึ ฤทธิ์ โสตฺถผิ โล ทีเ่ น้นการน�าพุทธวจน (ธรรมวินยั จากพุทธโอษฐ์ ทีพ่ ระพุทธองค์ทรงยืนยันว่าทรงตรัสไว้ดแี ล้ว บริสทุ ธิบ์ ริบรู ณ์สนิ้ เชิง ทัง้ เนือ้ ความและ พยัญชนะ) มาใช้ในการถ่ายทอดบอกสอน ซึง่ เป็นรูปแบบการแสดงธรรมทีต่ รงตาม พุทธบัญญัติตามที่ ทรงรับสั่งแก่พระอรหันต์ ๖๐ รูปแรกที่ปาอิสิปตนมฤคทายวัน ในการประกาศพระสัท ธรรม และเป็นลักษณะเฉพาะทีภ่ กิ ษุในครัง้ พุทธกาลใช้เป็น มาตรฐานเดียว หลักพุทธวจนนี้ ได้เข้ามาตอบค�าถาม ต่อความลังเลสงสัย ได้เข้ามาสร้าง ความชัดเจน ต่อความพร่าเลือนสับสน ในข้อธรรมต่างๆ ที่มีอยู่ในสังคมชาวพุทธ ซึ่งทั้งหมดนี้ เป็นผลจากสาเหตุเดียวคือ การไม่ใช้ค�าของพระพุทธเจ้าเป็นตัวตั้งต้น ในการศึกษาเล่าเรียน ด้วยศรัทธาอย่างไม่หวัน่ ไหวต่อองค์สมั มาสัมพุทธะ ในฐานะพระศาสดา ท่านพระอาจารย์คกึ ฤทธิ์ ได้ประกาศอย่างเป็นทางการว่า “อาตมาไม่มคี า� สอนของตัวเอง” และใช้เวลาที่มีอยู่ ไปกับการรับสนองพุทธประสงค์ ด้วยการโฆษณาพุทธวจน เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม และความประสานเป็นหนึ่งเดียวของชาวพุทธ เมือ่ กลับมาใช้หลักพุทธวจน เหมือนทีเ่ คยเป็นในครัง้ พุทธกาล สิง่ ทีเ่ กิดขึน้ คือ ความชัดเจนสอดคล้องลงตัว ในความรู้ความเข้าใจ ไม่ว่าในแง่ของหลักธรรม ตลอดจนมรรควิธที ตี่ รง และสามารถน�าไปใช้ปฏิบตั ใิ ห้เกิดผล รูเ้ ห็นประจักษ์ได้จริง ด้วยตนเองทันที ด้วยเหตุน้ี ชาวพุทธทีเ่ ห็นคุณค่าในค�าของพระพุทธเจ้าจึงขยายตัว มากขึ้นเรื่อยๆ เกิดเป็น “กระแสพุทธวจน” ซึ่งเป็นพลังเงียบที่ก�าลังจะกลายเป็น คลืน่ ลูกใหม่ ในการกลับไปใช้ระบบการเรียนรูพ้ ระสัทธรรม เหมือนดังครัง้ พุทธกาล


ด้วยการขยายตัวของกระแสพุทธวจนนี้ สื่อธรรมที่เป็นพุทธวจน ไม่ว่า จะเป็นหนังสือ หรือซีดี ซึ่งแจกฟรีแก่ญาติโยมเริ่มมีไม่พอเพียงในการแจก ทั้งนี้ เพราะจ�านวนของผู้ที่สนใจเห็นความส�าคัญของพุทธวจน ได้ขยายตัวมากขึ้นอย่าง รวดเร็ว ประกอบกับว่าท่านพระอาจารย์คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล เคร่งครัดในข้อวัตร ปฏิบัติที่พระศาสดาบัญญัติไว้ อันเป็นธรรมวินัยที่ออกจากพระโอษฐ์ของตถาคต โดยตรง การเผยแผ่พุทธวจนที่ผ่านมา จึงเป็นไปในลักษณะสันโดษตามมีตามได้ เมื่อมีโยมมาปวารณาเป็นเจ้าภาพในการจัดพิมพ์ ได้มาจ�านวนเท่าไหร่ ก็ทยอยแจก ไปตามทีม่ เี ท่านัน้ เมือ่ มีมา ก็แจกไป เมือ่ หมด ก็คอื หมด เนือ่ งจากว่า หน้าทีใ่ นการด�ารงพระสัทธรรมให้ตงั้ มัน่ สืบไป ไม่ได้ผกู จ�ากัด อยู่แต่เพียงพุทธสาวกในฐานะของสงฆ์เท่านั้น ฆราวาสกลุ่มหนึ่งซึ่งเห็นความส�าคัญ ของพุทธวจน จึงรวมตัวกันเข้ามาช่วยขยายผลในสิง่ ทีท่ า่ นพระอาจารย์คกึ ฤทธิ์ โสตฺถผิ โล ท�าอยูแ่ ล้ว นัน่ คือ การน�าพุทธวจนมาเผยแพร่โฆษณา โดยพิจารณาตัดสินใจจดทะเบียน จัดตั้งเป็นมูลนิธิอย่างถูกต้องตามกฏหมาย เพื่อให้การด�าเนินการต่างๆ ทั้งหมด อยูใ่ นรูปแบบทีโ่ ปร่งใส เปิดเผย และเปิดกว้างต่อสาธารณชนชาวพุทธทัว่ ไป ส�าหรับผู้ที่เห็นความส�าคัญของพุทธวจน และมีความประสงค์ที่จะด�ารง พระสัทธรรมให้ตงั้ มัน่ ด้วยวิธขี องพระพุทธเจ้า สามารถสนับสนุนการด�าเนินการตรงนีไ้ ด้ ด้วยวิธีง่ายๆ นั่นคือ เข้ามาใส่ใจศึกษาพุทธวจน และน�าไปใช้ปฏิบัติด้วยตนเอง เมื่อรู้ประจักษ์ เห็นได้ด้วยตนแล้ว ว่ามรรควิธีที่ได้จากการท�าความเข้าใจ โดย ใช้ค�าของพระพุทธเจ้าเป็นตัวตั้งต้นนั้น น�าไปสู่ความเห็นที่ถูกต้อง ในหลักธรรม อันสอดคล้องเป็นเหตุเป็นผล และเชื่อมโยงเป็นหนึ่งเดียว กระทั่งได้ผลตามจริง ท�าให้เกิดมีจิตศรัทธา ในการช่วยเผยแพร่ขยายสื่อพุทธวจน เพียงเท่านี้ คุณก็คือ หนึง่ หน่วยในขบวน “พุทธโฆษณ์” แล้ว นี่คือเจตนารมณ์ของมูลนิธิพุทธโฆษณ์ นั่นคือเป็นมูลนิธิแห่งมหาชน ชาวพุทธ ซึง่ ชัดเจน และมัน่ คงในพุทธวจน


ผู้ที่สนใจรับสื่อธรรมที่เป็นพุทธวจน เพื่อไปใช้ศึกษาส่วนตัว หรือน�าไปแจกเป็นธรรมทาน แก่พ่อแม่พี่น้อง ญาติ หรือเพื่อน สามารถมารับได้ฟรี ที่วัดนาปาพง หรือตามที่พระอาจารย์คึกฤทธิ์ได้รับนิมนต์ไปแสดงธรรมนอกสถานที่ ส�าหรับรายละเอียดกิจธรรมต่างๆ ภายใต้เครือข่ายพุทธวจนโดยวัดนาปาพง ค้นหา ข้อมูลได้จาก www.buddhakos.org หรือ www.watnapp.com หากมีความจ�านงที่จะรับไปแจกเป็นธรรมทานในจ�านวนหลายสิบชุด ขอความกรุณาแจ้งความจ�านงได้ที่ มูลนิธิพุทธโฆษณ์ ประสานงานและเผยแผ่ : เลขที่ ๒๙/๓ หมู่ที่ ๗ ถนนเลียบคลอง ๑๐ ฝั่งตะวันออก ต�าบลบึงทองหลาง อ�าเภอล�าลูกกา จังหวัดปทุมธานี ๑๒๑๕๐ โทรศัพท์ ๐๘ ๒๒๒๒ ๕๗๙๐-๙๔, ๐๘ ๕๐๕๘ ๖๘๘๘, ๐๘ ๑๕๑๓ ๑๖๑๑ โทรสาร ๐ ๒๑๕๙ ๐๕๒๕-๖ เว็บไซต์ : www.buddhakos.org อีเมล์ : buddhakos@hotmail.com สนับสนุนการเผยแผ่พุทธวจนได้ที่ ชือ่ บัญชี “มูลนิธพิ ทุ ธโฆษณ์” ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขา คลอง ๑๐ (ธัญบุร)ี ประเภท บัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี ๓๑๘-๒-๔๗๔๖๑-๐


ขอกราบขอบพระคุณแด่

พระอาจารย์คกึ ฤทธิ์ โสตฺถผิ โล และคณะสงฆ์วดั นาป่าพง ที่กรุณาให้ค�าปรึกษาในการจัดท�าหนังสือเล่มนี้

ติดตามการเผยแผ่พระธรรมค�าสอนตามหลักพุทธวจน โดย พระอาจารย์คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล ได้ที่

เว็บไซต์ • • • • • • • • • • •

http://www.watnapp.com : หนังสือ และสื่อธรรมะ บนอินเทอร์เน็ต http://media.watnapahpong.org : ศูนย์บริการมัลติมีเดียวัดนาปาพง http://www.buddha-net.com : เครือข่ายพุทธวจน http://etipitaka.com : โปรแกรมตรวจหาและเทียบเคียงพุทธวจน http://www.watnapahpong.com : เว็บไซต์วัดนาปาพง http://www.buddhakos.org : มูลนิธิพุทธโฆษณ์ http://www.buddhawajanafund.org : มูลนิธิพุทธวจน http://www.ratana5.com : พุทธวจนสมาคม http://www.buddhawajana-training.com : ศูนย์ปฏิบัติพุทธวจน http://www.buddhawaj.org : ฐานข้อมูลพระสูตรออนไลน์, เสียงอ่านพุทธวจน http://www.buddhaoat.org : กลุ่มผู้สนับสนุนการเผยแผ่พุทธวจน

ดาวน์โหลดโปรแกรมตรวจหาและเทียบเคียงพุทธวจน (E-Tipitaka) ส�าหรับคอมพิวเตอร์

• ระบบปฏิบัติการ Windows, Macintosh, Linux http://etipitaka.com/download หรือ รับแผ่นโปรแกรมได้ที่วัดนาปาพง

ส�าหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่และแท็บเล็ต

• ระบบปฏิบัติการ Android ดาวน์โหลดได้ที่ Play Store โดยพิมพ์ค�าว่า พุทธวจน หรือ e-tipitaka • ระบบปฏิบัติการ iOS (ส�าหรับ iPad, iPhone, iPod) ดาวน์โหลดได้ที่ App Store โดยพิมพ์ค�าว่า พุทธวจน หรือ e-tipitaka

ดาวน์โหลดโปรแกรมพุทธวจน (Buddhawajana) เฉพาะส�าหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่และแท็บเล็ต

• ระบบปฏิบัติการ Android ดาวน์โหลดได้ที่ Google Play Store โดยพิมพ์ค�าว่า พุทธวจน หรือ buddhawajana • ระบบปฏิบัติการ iOS (ส�าหรับ iPad, iPhone, iPod) ดาวน์โหลดได้ที่ App Store โดยพิมพ์ค�าว่า พุทธวจน หรือ buddhawajana

วิทยุ

• คลื่น ส.ว.พ. FM ๙๑.๐ MHz ทุกวันพระ เวลา ๑๗.๔๐ น.


บรรณานุกรม พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ (บาลีสยามรัฐ) พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับหลวง (ไทยสยามรัฐ) หนังสือธรรมโฆษณ์ ชุดจากพระโอษฐ์

(ผลงานแปลพุทธวจน โดยท่านพุทธทาสภิกขุในนามกองต�าราคณะธรรมทาน)

ร่วมสนับสนุนการจัดท�าโดย คณะงานธัมมะ วัดนาปาพง (กลุม่ อาสาสมัครพุทธวจนหมวดธรรม), คณะศิษย์วดั นาปาพง, กลุ่มศิษย์ตถาคต, กลุ่มสมณะศากยะปุตติยะ, กลุ่มธรรมะสีขาว, กลุ่มพุทธบริษัทศากยบุตร, กลุ่มพุทธโอษฐ์, กลุ่มชวนม่วนธรรม, กลุ่มละนันทิ, กลุ่มพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินบริษัทการบินไทย, กลุ่มมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช ส�านักงานการศึกษาต่อเนื่อง, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (องครักษ์) ชมรมวิศวกรความรู้เพื่อสังคม, ชมรมพุทธวจนอุดรธานี, ชมรมธรรมปรีดา, ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ส�านักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี, บจก. สยามคูโบต้า คอร์ปอเรชั่น, บจก. ดาต้าโปรดักส์, บจก. 3M ประเทศไทย, บจก. บางไทรไฟเบอร์บอร์ด, บจก. เอ็นอีซี โทคิน อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย), บจก. สยามรักษ์, บจก. เซเว่นสเต็ปส์, บจก. เมคเทค, บจก. ไดเวอร์ส เคมีคอลส์, บจก. ห้างพระจันทร์โอสถ, บจก.สมสุข สหภัทรสตีลล์, บจก.ทองแป้น, บจก. สมาย คอนเทนเนอร์ อุตสาหกรรม, บจก. อี.ซี.ที. ซิสเต็ม, บจก. อี.ซี.ที. เอ็นจิเนียริง่ , บจก. อี.ซี.ที. ซัพพลาย, บจก. อี.ซี.ที อินเตอร์เนชั่นแนล, บจก. อี.ซี.ที. โปรเฟสชั่นแนล, บจก. คอร์โดมา อินเตอร์เนชั่นแนล, บมจ. ณุศาศิริ, หจก. อินเตอร์ คิด, สถานกายภาพบ�าบัด คิดดีคลินิค, ร้านต้นมะขามช่างทอง, ร้านเสบียงบุญ, บ้านเมตตาเรสซิเด้นท์, บ้านพุทธวัจน์


ลงสะพานคลอง ๑๐ ไปยูเทิร์นแรกมา แล้วเลี้ยวซ้ายก่อนขึ้นสะพาน

ลงสะพานคลอง ๑๐ เลี้ยวซ้ายคอสะพาน

โทรศัพท์ ๐๘ ๑๕๑๓ ๑๖๑๑, ๐๘ ๔๐๙๖ ๘๔๓๐, ๐๘ ๒๒๒๒ ๕๗๙๐-๔, ๐๘ ๖๕๕๒ ๒๔๕๙

แนวทิวสน วัดนาป่าพง

แผนที่วัดนาป่าพง


๑๐

พระสูตรของความส�าคัญ ทีช่ าวพุทธต้องศึกษา แต่คา� สอนจากพระพุทธเจ้า เท่านัน้

ผ่านมา ๒,๕๐๐ กว่าปี ค�าสอนทางพระพุทธศาสนาเกิดความหลากหลายมากขึน้ มีสา� นักต่างๆ มากมาย ซึง่ แต่ละหมูค่ ณะก็มคี วามเห็นของตน หามาตรฐานไม่ได้ แม้จะกล่าวในเรือ่ งเดียวกัน ทัง้ นีไ้ ม่ใช่เพราะค�าสอนของพระพุทธเจ้าไม่สมบูรณ์ แล้วเราควรเชือ่ และปฏิบตั ติ ามใคร ? ลองพิจารณาหาค�าตอบง่ายๆ ได้จาก ๑๐ พระสูตร ซึง่ พระตถาคตทรงเตือนเอาไว้ แล้วตรัสบอกวิธปี อ้ งกันและแก้ไขเหตุเสือ่ มแห่งธรรมเหล่านี.้ ขอเชิญมาตอบตัวเองกันเถอะว่า ถึงเวลาแล้วหรือยัง ? ทีพ่ ทุ ธบริษทั จะมีมาตรฐานเพียงหนึง่ เดียว คือ “พุทธวจน” ธรรมวินยั จากองค์พระสังฆบิดาอันวิญญูชนพึงปฏิบตั แิ ละรูต้ ามได้เฉพาะตน ดังนี.้ ๑. พระองค์ทรงสามารถก�าหนดสมาธิ เมือ่ จะพูด ทุกถ้อยค�าจึงไม่ผดิ พลาด -บาลี มู. ม. ๑๒/๔๕๘/๔๓๐.

อัคคิเวสนะ ! เรานัน้ หรือ จ�าเดิมแต่เริม่ แสดง กระทัง่ ค�าสุดท้ายแห่ง การกล่าวเรือ่ งนัน้ ๆ ย่อมตัง้ ไว้ซงึ่ จิตในสมาธินมิ ติ อันเป็นภายในโดยแท้ ให้จติ ด�ารงอยู ่ ให้จติ ตัง้ มัน่ อยู ่ กระท�าให้มจี ติ เป็นเอก ดังเช่นทีค่ นทัง้ หลาย เคยได้ยนิ ว่าเรากระท�าอยูเ่ ป็นประจ�า ดังนี.้


๒. แต่ละค�าพูดเป็นอกาลิโก คือ ถูกต้องตรงจริงไม่จา� กัดกาลเวลา -บาลี มู. ม. ๑๒/๔๘๕/๔๕๑.

ภิกษุทั้งหลาย ! พวกเธอทัง้ หลายเป็นผูท้ เี่ ราน�าไปแล้วด้วยธรรมนี้ อันเป็นธรรมทีบ่ คุ คลจะพึงเห็นได้ดว้ ยตนเอง (สนฺทฏิ ิโก) เป็นธรรมให้ ผลไม่จา� กัดกาล (อกาลิโก) เป็นธรรมทีค่ วรเรียกกันมาดู (เอหิปสฺสโิ ก) ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว (โอปนยิโก) อันวิญญูชนจะพึงรู้ได้เฉพาะตน (ปจฺจตฺต� เวทิตพฺโพ วิญญ ฺ หู )ิ . ๓. คา� พูดทีพ่ ดู มาทัง้ หมดนับแต่วนั ตรัสรูน้ นั้ สอดรับไม่ขดั แย้งกัน -บาลี อิติวุ. ขุ. ๒๕/๓๒๑/๒๙๓.

ภิกษุทั้งหลาย ! นับตั้งแต่ราตรี ที่ตถาคตได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ จนกระทั่งถึงราตรีที่ตถาคตปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสส นิพพานธาตุ ตลอดเวลาระหว่างนั้น ตถาคตได้กล่าวสอน พร�่าสอน แสดงออก ซึง่ ถ้อยค�าใด ถ้อยค�าเหล่านัน้ ทัง้ หมด ย่อมเข้ากันได้โดย ประการเดียวทัง้ สิน้ ไม่แย้งกันเป็นประการอืน่ เลย. วยกลองศึก อ๔. ทรงบอกเหตุแห่งความอันตรธานของค�าสอนเปรี-บาลียบด้ นิทาน. สํ. ๑๖/๓๑๑/๖๗๒-๓. ภิกษุทงั้ หลาย ! เรือ่ งนีเ้ คยมีมาแล้ว กลองศึกของกษัตริยพ์ วกทสารหะ เรียกว่า อานกะ มีอยู่ เมือ่ กลองอานกะนี้ มีแผลแตกหรือลิ พวกกษัตริย์ ทสารหะได้หาเนือ้ ไม้อนื่ ท�าเป็นลิม่ เสริมลงในรอยแตกของกลองนัน้ (ทุก คราวไป). ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อเชื่อมปะเข้าหลายครั้งหลายคราวเช่นนั้น นานเข้าก็ถงึ สมัยหนึง่ ซึง่ เนือ้ ไม้เดิมของตัวกลองหมดสิน้ ไป เหลืออยูแ่ ต่ เนือ้ ไม้ทที่ า� เสริมเข้าใหม่เท่านัน้ . ภิกษุทงั้ หลาย ! ฉันใดก็ฉนั นัน้ ในกาลยืดยาวฝ่ายอนาคต จักมีภกิ ษุ ทัง้ หลาย สุตตันตะเหล่าใด ทีเ่ ป็นค�าของตถาคต เป็นข้อความลึก มีความหมายซึง้ เป็นชัน้ โลกุตตระ ว่าเฉพาะด้วยเรือ่ งสุญญตา เมือ่ มีผนู้ า� สุตตันตะเหล่านัน้


มากล่าวอยู่ เธอจักไม่ฟังด้วยดี จักไม่เงี่ยหูฟัง จักไม่ตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และจักไม่สา� คัญว่าเป็นสิง่ ทีต่ นควรศึกษาเล่าเรียน ส่วนสุตตันตะเหล่าใดที่ นักกวีแต่งขึน้ ใหม่ เป็นค�าร้อยกรองประเภทกาพย์กลอน มีอกั ษรสละสลวย มีพยัญชนะอันวิจติ ร เป็นเรือ่ งนอกแนว เป็นค�ากล่าวของสาวก เมือ่ มีผนู้ า� สุตตันตะที่นักกวีแต่งขึ้นใหม่เหล่านั้นมากล่าวอยู่ เธอจักฟังด้วยดี จัก เงีย่ หูฟงั จักตัง้ จิต เพือ่ จะรูท้ วั่ ถึง และจักส�าคัญว่าเป็นสิง่ ทีต่ นควรศึกษา เล่าเรียนไป. ภิกษุทงั้ หลาย ! ความอันตรธานของสุตตันตะเหล่านัน้ ทีเ่ ป็นค�าของ ตถาคต เป็นข้อความลึก มีความหมายซึง้ เป็นชัน้ โลกุตตระ ว่าเฉพาะด้วย เรือ่ งสุญญตา จักมีได้ดว้ ยอาการอย่างนี้ แล. ๕. ทรงก�าชับให้ศึกษาปฏิบัติเฉพาะจากค�าของพระองค์เท่านั้น อย่าฟังคนอื่น -บาลี ทุก. อํ. ๒๐/๙๑-๙๒/๒๙๒.

ภิกษุทงั้ หลาย ! พวกภิกษุบริษทั ในกรณีนี้ สุตตันตะเหล่าใด ทีก่ วี แต่งขึน้ ใหม่ เป็นค�าร้อยกรองประเภทกาพย์กลอน มีอกั ษรสละสลวย มี พยัญชนะอันวิจติ ร เป็นเรือ่ งนอกแนว เป็นค�ากล่าวของสาวก เมือ่ มีผนู้ า� สุตตันตะเหล่านัน้ มากล่าวอยู่ เธอจักไม่ฟงั ด้วยดี ไม่เงีย่ หูฟงั ไม่ตงั้ จิตเพือ่ จะรูท้ วั่ ถึง และจักไม่สา� คัญว่าเป็นสิง่ ทีต่ นควรศึกษาเล่าเรียน. ภิกษุทงั้ หลาย ! ส่วนสุตตันตะเหล่าใด ทีเ่ ป็นค�าของตถาคต เป็น ข้อความลึก มีความหมายซึง้ เป็นชัน้ โลกุตตระ ว่าเฉพาะด้วยเรือ่ งสุญญตา เมือ่ มีผนู้ า� สุตตันตะเหล่านัน้ มากล่าวอยู่ เธอย่อมฟังด้วยดี ย่อมเงีย่ หูฟงั ย่อมตัง้ จิตเพือ่ จะรูท้ วั่ ถึง และย่อมส�าคัญว่าเป็นสิง่ ทีต่ นควรศึกษาเล่าเรียน จึงพากันเล่าเรียน ไต่ถาม ทวนถามแก่กนั และกันอยูว่ า่ “ข้อนีเ้ ป็นอย่างไร มีความหมายกีน่ ยั ” ดังนี้ ด้วยการท�าดังนี้ เธอย่อมเปิดธรรมทีถ่ กู ปิดไว้ได้ ธรรมทีย่ งั ไม่ปรากฏ เธอก็ทา� ให้ปรากฏได้ ความสงสัยในธรรมหลายประการ ทีน่ า่ สงสัย เธอก็บรรเทาลงได้.


ภิกษุทงั้ หลาย ! บริษทั ชือ่ อุกกาจิตวินตี า ปริสา โน ปฏิปจุ ฉาวินตี า เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุทงั้ หลาย ! ในกรณีนคี้ อื ภิกษุทงั้ หลายในบริษทั ใด เมือ่ สุตตันตะ ทัง้ หลาย อันเป็นตถาคตภาษิต (ตถาคตภาสิตา) อันลึกซึง้ (คมฺภรี า) มี อรรถอันลึกซึ้ง (คมฺภีรตฺถา) เป็นโลกุตตระ (โลกุตฺตรา) ประกอบด้วย เรือ่ งสุญญตา (สุญญ ฺ ตปฏิสย� ตุ ตฺ า) อันบุคคลน�ามากล่าวอยู่ ก็ไม่ฟงั ด้วยดี ไม่เงีย่ หูฟงั ไม่เข้าไปตัง้ จิตเพือ่ จะรูท้ วั่ ถึง และไม่สา� คัญว่าเป็นสิง่ ทีต่ นควร ศึกษาเล่าเรียน. ส่วนสุตตันตะเหล่าใด ทีก่ วีแต่งขึน้ ใหม่ เป็นค�าร้อยกรองประเภท กาพย์กลอน มีอกั ษรสละสลวย มีพยัญชนะอันวิจติ ร เป็นเรือ่ งนอกแนว เป็นค�ากล่าวของสาวก เมือ่ มีผนู้ า� สุตตันตะเหล่านีม้ ากล่าวอยู่ พวกเธอย่อมฟังด้วยดี เงีย่ หูฟงั ตัง้ จิตเพือ่ จะรูท้ วั่ ถึง และส�าคัญไป ว่าเป็นสิง่ ทีต่ นควรศึกษาเล่าเรียน พวกเธอเล่าเรียนธรรมอันกวีแต่งใหม่ นั้นแล้ว ก็ไม่สอบถามซึ่งกันและกัน ไม่ท�าให้เปิดเผยแจ่มแจ้งออกมาว่า ข้อนีพ้ ยัญชนะเป็นอย่างไร อรรถเป็นอย่างไร ดังนี้ เธอเหล่านัน้ เปิดเผย สิง่ ทีย่ งั ไม่เปิดเผยไม่ได้ ไม่หงายของทีค่ ว�า่ อยูใ่ ห้หงายขึน้ ได้ ไม่บรรเทา ความสงสัยในธรรมทัง้ หลายอันเป็นทีต่ งั้ แห่งความสงสัยมีอย่างต่างๆ ได้. ภิกษุทงั้ หลาย ! นีเ้ ราเรียกว่า อุกกาจิตวินตี า ปริสา โน ปฏิปจุ ฉาวินตี า. ภิกษุทงั้ หลาย ! บริษทั ชือ่ ปฏิปจุ ฉาวินตี า ปริสา โน อุกกาจิตวินตี า เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุทงั้ หลาย ! ในกรณีนคี้ อื ภิกษุทงั้ หลายในบริษทั ใด เมือ่ สุตตันตะ ทัง้ หลาย ทีก่ วีแต่งขึน้ ใหม่ เป็นค�าร้อยกรองประเภทกาพย์กลอน มีอกั ษร สละสลวย มีพยัญชนะอันวิจติ ร เป็นเรือ่ งนอกแนว เป็นค�ากล่าวของสาวก อันบุคคลน�ามากล่าวอยู่ ก็ไม่ฟงั ด้วยดี ไม่เงีย่ หูฟงั ไม่เข้าไปตัง้ จิตเพือ่ จะ รูท้ วั่ ถึง และไม่สา� คัญว่าเป็นสิง่ ทีต่ นควรศึกษาเล่าเรียน ส่วน สุตตันตะ เหล่าใด อันเป็นตถาคตภาษิต อันลึกซึง้ มีอรรถอันลึกซึง้ เป็นโลกุตตระ ประกอบด้วยเรือ่ งสุญญตา เมือ่ มีผนู้ า� สุตตันตะเหล่านี ้ มากล่าวอยู ่ พวก


เธอย่อมฟังด้วยดี ย่อมเงีย่ หูฟงั ย่อมเข้าไปตัง้ จิตเพือ่ จะรูท้ วั่ ถึง และ ย่อมส�าคัญว่าเป็นสิง่ ทีค่ วรศึกษาเล่าเรียน พวกเธอเล่าเรียนธรรมทีเ่ ป็น ตถาคตภาษิตนัน้ แล้ว ก็สอบถามซึง่ กันและกัน ท�าให้เปิดเผยแจ่มแจ้งออก มาว่า ข้อนีพ้ ยัญชนะเป็นอย่างไร อรรถะเป็นอย่างไร ดังนี้ เธอเหล่านัน้ เปิดเผยสิง่ ทีย่ งั ไม่เปิดเผยได้ หงายของทีค่ ว�า่ อยูใ่ ห้หงายขึน้ ได้ บรรเทา ความสงสัยในธรรมทัง้ หลายอันเป็นทีต่ งั้ แห่งความสงสัยมีอย่างต่างๆ ได้. ภิกษุทงั้ หลาย ! นีเ้ ราเรียกว่า ปฏิปจุ ฉาวินตี า ปริสา โน อุกกาจิตวินตี า. ภิกษุทงั้ หลาย ! เหล่านีแ้ ลบริษทั ๒ จ�าพวกนัน้ . ภิกษุทงั้ หลาย ! บริษทั ทีเ่ ลิศในบรรดาบริษทั ทัง้ สองพวกนัน้ คือ บริษทั ปฏิปจุ ฉาวินตี า ปริสา โน อุกกาจิตวินตี า (บริษทั ทีอ่ าศัยการสอบสวนทบทวนกันเอาเอง เป็นเครือ่ งน�าไป ไม่อาศัยความเชือ่ จากบุคคลภายนอกเป็นเครือ่ งน�าไป) แล. ๖. ทรงห้ามบัญญัติเพิ่มหรือตัดทอนสิ่งที่บัญญัติไว้ -บาลี มหา. ที. ๑๐/๙๐/๗๐.

ภิกษุทงั้ หลาย ! ภิกษุทงั้ หลาย จักไม่บญ ั ญัตสิ งิ่ ทีไ่ ม่เคยบัญญัต ิ จัก ไม่เพิกถอนสิง่ ทีบ่ ญ ั ญัตไิ ว้แล้ว จักสมาทานศึกษาในสิกขาบททีบ่ ญ ั ญัตไิ ว้ แล้วอย่างเคร่งครัด อยูเ่ พียงใด ความเจริญก็เป็นสิง่ ทีภ่ กิ ษุทงั้ หลายหวังได้ ไม่มคี วามเสือ่ มเลย อยูเ่ พียงนัน้ . ๗. ส�านึกเสมอว่าตนเองเป็นเพียงผู้เดินตามพระองค์เท่านั้น ถึงแม้จะเป็นอรหันต์ผู้เลิศทางปัญญาก็ตาม -บาลี ขนฺธ. สํ. ๑๗/๘๒/๑๒๖.

ภิกษุทงั้ หลาย ! ตถาคตผูอ้ รหันตสัมมาสัมพุทธะ ได้ทา� มรรคทีย่ งั ไม่เกิดให้เกิดขึน้ ได้ทา� มรรคทีย่ งั ไม่มใี ครรูใ้ ห้มคี นรู้ ได้ทา� มรรคทีย่ งั ไม่มี ใครกล่าวให้เป็นมรรคทีก่ ล่าวกันแล้ว ตถาคตเป็นผูร้ มู้ รรค (มคฺคญฺญ)ู เป็น ผูร้ แู้ จ้งมรรค (มคฺควิท)ู เป็นผูฉ้ ลาดในมรรค (มคฺคโกวิโท). ภิกษุทั้งหลาย ! ส่วนสาวกทัง้ หลายในกาลนี ้ เป็นผูเ้ ดินตามมรรค (มคฺคานุคา) เป็นผูต้ ามมา ในภายหลัง.


ภิกษุทงั้ หลาย ! นีแ้ ล เป็นความผิดแผกแตกต่างกัน เป็นความมุง่ หมาย ทีแ่ ตกต่างกัน เป็นเครือ่ งกระท�าให้แตกต่างกัน ระหว่างตถาคตผูอ้ รหันตสัมมาสัมพุทธะ กับภิกษุผู้ปัญญาวิมุตติ. ๘. ตรัสไว้ว่าให้ทรงจ�าบทพยัญชนะและค�าอธิบายอย่างถูกต้อง พร้อมขยันถ่ายทอดบอกสอนกันต่อไป -บาลี จตุกฺก. อํ. ๒๑/๑๙๗/๑๖๐.

ภิกษุทงั้ หลาย ! พวกภิกษุในธรรมวินยั นี ้ เล่าเรียนสูตรอันถือกัน มาถูก ด้วยบทพยัญชนะทีใ่ ช้กนั ถูก ความหมายแห่งบทพยัญชนะทีใ่ ช้กนั ก็ถกู ย่อมมีนยั อันถูกต้องเช่นนัน้ . ภิกษุทงั้ หลาย ! นีเ่ ป็น มูลกรณีทหี่ นึง่ ซึง่ ท�าให้พระสัทธรรมตัง้ อยูไ่ ด้ไม่เลอะเลือนจนเสือ่ มสูญไป... ภิกษุทงั้ หลาย ! พวกภิกษุเหล่าใด เป็นพหุสตู คล่องแคล่ว ในหลัก พระพุทธวจน ทรงธรรม ทรงวินยั ทรงมาติกา (แม่บท) พวกภิกษุเหล่านัน้ เอาใจใส่ บอกสอน เนือ้ ความแห่งสูตรทัง้ หลายแก่คนอืน่ ๆ เมือ่ ท่านเหล่านัน้ ล่วงลับไป สูตรทัง้ หลาย ก็ไม่ขาดผูเ้ ป็นมูลราก (อาจารย์) มีทอี่ าศัยสืบกันไป. ภิกษุทั้งหลาย ! นี่เป็น มูลกรณีที่สาม ซึ่งท�าให้พระสัทธรรมตั้งอยู่ได้ ไม่เลอะเลือนจนเสือ่ มสูญไป... *** ในที่นี้ยกมา ๒ นัยยะ จาก ๔ นัยยะ ของมูลเหตุสี่ประการ ที่ท�าให้พระสัทธรรมตั้งอยู่ได้ ไม่เลอะเลือนจนเสื่อมสูญไป

๙. ทรงบอกวิธีแก้ไขความผิดเพี้ยนในค�าสอน -บาลี มหา. ที. ๑๐/๑๔๔/๑๑๓-๖.

๑. (หากมี) ภิกษุในธรรมวินยั นีก้ ล่าวอย่างนีว้ า่ ผูม้ อี ายุ ! ข้าพเจ้า ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์พระผูม้ พี ระภาคว่า “นีเ้ ป็นธรรม นีเ้ ป็นวินยั นีเ้ ป็นค�าสอนของพระศาสดา”... ๒. (หากมี) ภิกษุในธรรมวินยั นีก้ ล่าวอย่างนีว้ า่ ในอาวาสชือ่ โน้นมี สงฆ์อยูพ่ ร้อมด้วยพระเถระ พร้อมด้วยปาโมกข์ ข้าพเจ้าได้สดับมาเฉพาะ หน้าสงฆ์นนั้ ว่า “นีเ้ ป็นธรรม นีเ้ ป็นวินยั นีเ้ ป็นค�าสอนของพระศาสดา”...


๓. (หากมี) ภิกษุในธรรมวินยั นีก้ ล่าวอย่างนีว้ า่ ในอาวาสชือ่ โน้นมี ภิกษุผเู้ ป็นเถระอยูจ่ า� นวนมาก เป็นพหุสตู เรียนคัมภีร์ ทรงธรรม ทรงวินยั ทรงมาติกา ข้าพเจ้าได้สดับมาเฉพาะหน้าพระเถระเหล่านัน้ ว่า “นีเ้ ป็นธรรม นีเ้ ป็นวินยั นีเ้ ป็นค�าสอนของพระศาสดา”... ๔. (หากมี) ภิกษุในธรรมวินยั นีก้ ล่าวอย่างนีว้ า่ ในอาวาสชือ่ โน้นมี ภิกษุผเู้ ป็นเถระอยูร่ ปู หนึง่ เป็นพหุสตู เรียนคัมภีร์ ทรงธรรม ทรงวินยั ทรงมาติกา ข้าพเจ้าได้สดับมาเฉพาะหน้าพระเถระรูปนัน้ ว่า “นีเ้ ป็นธรรม นีเ้ ป็นวินยั นีเ้ ป็นค�าสอนของพระศาสดา”... เธอทัง้ หลายยังไม่พงึ ชืน่ ชม ยังไม่พงึ คัดค้านค�ากล่าวของผูน้ นั้ พึงเรียน บทและพยัญชนะเหล่านัน้ ให้ดี แล้วพึงสอบสวนลงในพระสูตร เทียบเคียง ดูในวินยั ถ้าบทและพยัญชนะเหล่านั้น สอบลงในสูตรก็ไม่ได้ เทียบเข้าใน วินัยก็ไม่ได้ พึงลงสันนิษฐานว่า “นี้มิใช่พระด�ารัสของพระผู้มีพระภาค พระองค์นนั้ แน่นอน และภิกษุนรี้ บั มาผิด” เธอทัง้ หลาย พึงทิง้ ค�านัน้ เสีย ถ้าบทและพยัญชนะเหล่านัน้ สอบลงในสูตรก็ได้ เทียบเข้าในวินยั ก็ได้ พึงลงสันนิษฐานว่า “นีเ้ ป็นพระด�ารัส ของพระผูม้ พี ระภาคพระองค์นนั้ แน่นอน และภิกษุนนั้ รับมาด้วยดี” เธอทัง้ หลาย พึงจ�ามหาปเทส... นีไ้ ว้. ๑๐. ทรงตรัสแก่พระอานนท์ ให้ใช้ธรรมวินัยที่ตรัสไว้เป็นศาสดาแทนต่อไป -บาลี มหา. ที. ๑๐/๑๗๘/๑๔๑. -บาลี ม. ม. ๑๓/๔๒๗/๔๖๓. -บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๒๑๗/๗๔๐.

อานนท์ ! ความคิดอาจมีแก่พวกเธออย่างนี้ว่า ‘ธรรมวินัยของ พวกเรามีพระศาสดาล่วงลับไปเสียแล้ว พวกเราไม่มีพระศาสดา’ ดังนี้. อานนท์ ! พวกเธออย่าคิดอย่างนั้น. อานนท์ ! ธรรมก็ดี วินัยก็ดี ที่เรา แสดงแล้ว บัญญัติแล้ว แก่พวกเธอทั้งหลาย ธรรมวินัยนั้น จักเป็น ศาสดาของพวกเธอทั้งหลาย โดยกาลล่วงไปแห่งเรา.


อานนท์ ! ในกาลบัดนีก้ ด็ ี ในกาลล่วงไปแห่งเราก็ดี ใครก็ตาม จัก ต้องมีตนเป็นประทีป มีตนเป็นสรณะ ไม่เอาสิง่ อืน่ เป็นสรณะ มีธรรมเป็น ประทีป มีธรรมเป็นสรณะ ไม่เอาสิ่งอื่นเป็นสรณะ เป็นอยู่. อานนท์ ! ภิกษุพวกใด เป็นผู้ใคร่ในสิกขา ภิกษุพวกนั้น จักเป็นผู้อยู่ในสถานะ อันเลิศที่สุดแล. อานนท์ ! ความขาดสูญแห่งกัลยาณวัตรนี้ มีในยุคแห่งบุรุษใด บุรุษนั้นชื่อว่า เป็นบุรุษคนสุดท้ายแห่งบุรุษทั้งหลาย... เราขอกล่าวย�้ากะ เธอว่า... เธอทั้งหลายอย่าเป็นบุรุษคนสุดท้ายของเราเลย.

เธอทั้งหลายอย่าเป็น บุรุษคนสุดท้าย ของเราเลย -บาลี ม. ม. ๑๓/๔๒๗/๔๖๓.



ČÐś ČÐś

Ćċòċôċòăîč č Ćċòċôċòăî

üćêòă ð Ĝğ ĜĤĠ ĝģĤ éāôĄ ĝě ĠĤ ĝĞĠ ĝĞĤ éāôĄ éāôĄ üćêòă ð Ĝğ ĜĤĠ ĝģĤ éāôĄ ċüÐ üĘ ċüÐ üĘ ĝě ĠĤ ĝĞĠ ĝĞĤ ÑśüðĈôçòòðÿèĄ Ĕ ×ĀüēãêòÿčñÙèŞ æĘāċíĆüē êòÿčñÙèŞ æāÖÐāò÷ą øāùĈùŚ āçāòâÙèċêŢ èçòòðæāè ôă ÑùăæèØéĀ çăĎė èäś ďĔ ãśòéĀ ÐāòùÖöèďöś ďðŚùæÖöèùă æçăĎė èÐāò×Ā ãæĘā×āÐ ÑśüðĈôçòòðÿèĄ Ĕ ×ĀãæĘāċíĆ æāÖÐāò÷ą ÐøāùĈùŚ ÐāçāòâÙèċêŢ èçòòðæāè ôă ÑùăæçăĎė èäś éèĄèďĔ ØéĀ ãśòéĀ èĄÐāòùÖöèďöś ďðŚùÖöèùă çăĎė èÐāò×Ā ãæĘā×āÐ éċíĆüē ċëñČëŚ ĎèæćÐ ĎèÐāò×Ā Ðò⥠ĎèÐāò×Ā āúòĆüċëñČëŚ ÓöāðôÿċüĄ ñãòüéÓüéċíĆ üē òĀÐøāÓöāðåĈ ÐäśüüÖÑüÖÑś üðĈāôêòą ÑüÓĘ āêòąāÐèÑś øāãś äśèØéĀäśéèċíĆØéĀ üē ċëñČëŚ ĎèæćÐÐò⥠ãæĘāúòĆãüæĘċëñČëŚ čêòãĎÙś čêòãĎÙś ÓöāðôÿċüĄ ñãòüéÓüéċíĆ üē òĀÐøāÓöāðåĈ ÐäśüÖÑüÖÑś ðĈô ÑüÓĘ Ðøāãś üðĈāôèÑśüðĈô èăçíă æć çčÕø⪠čæò ěģ ĝĝĝĝ ĠĢĤě - Ĥğ íć æçö×èùðāÓð čæò ěģ ĜġğĢ ġěĞġ āċíĆüē ÓöāðùÿãöÐČôÿêòÿúñĀ ôèăæç ēĄ íă ðĈæć ôçčÕø⪠čæò ěģ ĝĝĝĝ ĠĢĤě - Ĥğ íć æçö×èùðāÓð čæò ěģ ĜġğĢ ġěĞġ ĎèÐāò×ĀĎèÐāò×Ā ãæĘāċíĆãüē æĘÓöāðùÿãöÐČôÿêòÿúñĀ ã äăãäŚãü äă ďãśãæäŚ ēĄ ðĈüďãś

üāèāêāèùäă üāèāêāèùäă

ÑśüðĈôçòòðÿèĄ Ĕ ×ĀüēãêòÿčñÙèŞ æĘāċíĆüē êòÿčñÙèŞ æāÖÐāò÷ą øāùĈùŚ āçāòâÙèċêŢ èçòòðæāè ôă ÑùăæèØéĀ çăĎė èäś ďĔ ãśòéĀ ÐāòùÖöèďöś ďðŚùæÖöèùă æçăĎė èÐāò×Ā ãæĘā×āÐ ÑśüðĈôçòòðÿèĄ Ĕ ×ĀãæĘāċíĆ æāÖÐāò÷ą ÐøāùĈùŚ ÐāçāòâÙèċêŢ èçòòðæāè ôă ÑùăæçăĎė èäś éèĄèďĔ ØéĀ ãśòéĀ èĄÐāòùÖöèďöś ďðŚùÖöèùă çăĎė èÐāò×Ā ãæĘā×āÐ éċíĆüē ċëñČëŚ ĎèæćÐ ĎèÐāò×Ā Ðò⥠ĎèÐāò×Ā āúòĆüċëñČëŚ ÓöāðôÿċüĄ ñãòüéÓüéċíĆ üē òĀÐøāÓöāðåĈ ÐäśüüÖÑüÖÑś üðĈāôêòą ÑüÓĘ āêòąāÐèÑś øāãś äśèØéĀäśéèċíĆØéĀ üē ċëñČëŚ ĎèæćÐÐò⥠ãæĘāúòĆãüæĘċëñČëŚ čêòãĎÙś čêòãĎÙś ÓöāðôÿċüĄ ñãòüéÓüéċíĆ üē òĀÐøāÓöāðåĈ ÐäśüÖÑüÖÑś ðĈô ÑüÓĘ Ðøāãś üðĈāôèÑśüðĈô èăçíă æć çčÕø⪠čæò ěģ ĝĝĝĝ ĠĢĤě - Ĥğ íć æçö×èùðāÓð čæò ěģ ĜġğĢ ġěĞġ āċíĆüē ÓöāðùÿãöÐČôÿêòÿúñĀ ôèăæç ēĄ íă ðĈæć ôçčÕø⪠čæò ěģ ĝĝĝĝ ĠĢĤě - Ĥğ íć æçö×èùðāÓð čæò ěģ ĜġğĢ ġěĞġ ĎèÐāò×ĀĎèÐāò×Ā ãæĘāċíĆãüē æĘÓöāðùÿãöÐČôÿêòÿúñĀ ã äăãäŚãü äă ďãśãæäŚ ēĄ ðĈüďãś

ČÐśÐòòð ČÐśÐòòð

ðòòÓöăçĄæĄēÖŚāñ ðòòÓöăçĄæĄēÖŚāñ

ìĆĚÜĀúć÷ b Öć÷Ùêćÿêĉ ĂĆîßîđĀúŠ ćĔéĕöŠ ÿšĂÜđÿóĒúš õĉÖþčõĉìÖĆĚÜþčĀúć÷ b Öć÷Ùêćÿêĉ ĂĆîßîđĀúŠ ćĔéĕöŠ ÿšĂÜđÿóĒúš ü ü ĂöêąßČ ĂĆîßîđĀúŠ ÿšĂÜđÿóĒúš ĂöêąßČ ęĂüŠćęĂ ĂĆüŠîćßîđĀúŠ ćîĆĚîćĕöŠîĆĚîÿšĂĕöŠÜđÿóĒúš ü ü ìĆĚÜĀúć÷ b Öć÷Ùêćÿêĉ ĂĆîßîđĀúŠ ĂÜđÿóĒúš õĉÖþčõĉìÖĆĚÜþčĀúć÷ b Öć÷Ùêćÿêĉ ĂĆîßîđĀúŠ ćĔéÿšćĂĔéÿš ÜđÿóĒúš ü ü ĂöêąßČ ĂĆîßîđĀúŠ ÿšĂÜđÿóĒúš ĂöêąßČ ęĂüŠćęĂ ĂĆüŠîćßîđĀúŠ ćîĆĚîćÿšîĆĂĚîÜđÿóĒúš ü ü ìĆĚÜĀúć÷ b ßîđĀúŠ ćĔéðøąöćìÖć÷Ùêćÿêĉ õĉÖþčõĉìÖĆĚÜþčĀúć÷ b ßîđĀúŠ ćĔéðøąöćìÖć÷Ùêćÿêĉ ßîđĀúŠ üŠć ðøąöćìĂöêą ßîđĀúŠ ćîĆĚîćßČîĆęĂĚîüŠßČćęĂ ðøąöćìĂöêą ìĆĚÜĀúć÷ b ßîđĀúŠ ćĔéĕöŠ ðøąöćìÖć÷Ùêćÿêĉ õĉÖþčõĉìÖĆĚÜþčĀúć÷ b ßîđĀúŠ ćĔéĕöŠ ðøąöćìÖć÷Ùêćÿêĉ ßîđĀúŠ üŠćð ĕöŠ ðøąöćìĂöêą ßîđĀúŠ ćîĆĚîćßČîĆęĂĚîüŠßČćęĂ ĕöŠ øąöćìĂöêą

óć Ô üċ êĄĘ Ú þ ø ą õ b Ā ą ì ą î ą ì ý èć ý ô ą ëć ìĈĘ Đ ø ĀĄìíċ××øďÛöćàĐøşú êĜąĒþşôąÔĐøşú õŞĀôďîŦìÕĀÚöĜąÚĄí ďóć ÔîŦ üċìêĄĘ ÚÕþ øĀ ą Úõ î ö ăb æĈ è Ā ąďì îŦą îìą ìÕý èćĀý Úô ąďëć õĖìĈĘ Đìø í ďĀĄîŦìíċì××øďÛöć ýċ Õ úć àþĐøşąúö Đ êĜø ąăĒþşõŞôąÔĐøş Ā ô õĄú Ú ĀõŞÔċĀôďîŦ û øìÕĀÚöĜ ë ö öąÚĄô Õ Ā Ú î ĀĄöìďÔć ă çæĈÕĉĘìèĐøşú ď îŦ ì ÕĐøăďÔć Ā ÚçÕĉďĘìõĖĐøşúì ĀĄď ìîŦďîŦììíąî ď îŦĀĄ ìì èöëąìēî ýċ Õ úć þ ą ö ĐĒþĘø öăĜ ą ÚĄõŞ íĀēî ô õĄ Ú đçõ×úöĐÔė Ā Ôċ û ø ë ãöąìă ö ô ĒþĘ ú óćĀĄìÔďîŦüċìêĄíąî Ę Ú þ ø ą õ ĀĄìďÔćçÕĉb Ęì Đøşú ď î öĈ õĐøăďÔć í ď þçÕĉôĊĘìĀĐøşì ðċĒþĘ ř ìĀëċĄ ìøĈèöëąìēî òċŚ Ú ÕĉĘ ì Đ þŞ ÚĒþĘ ď çĊöĜ Āą ÚĄìíýċēî ç êş ą đçõ×úöĐÔė õ Õ Ā Ú ÷ çČ ãöşąìă Āì ď î öĈìĄõ í ď þ ôĊ Ā Ôì ðóć Ô üċ êĄĘ Ú þ ìø ą õ þb êĈðċė ř ì ëċïćøĈ òċŚ Úç ÕĉĘ ì ÷Đ þŞ ÚçČď çĊ Āèì ýċ çÔ êş ą øõ Õ ĀÚÚ ÷ çČô öş Ā ąì Ô õŞð Ā ô êĜ ą ðċ ř ìì ëċ øĈ ď þ øŞ ą þìĄ Ę ì Ē þş ĀĄ ì ìĄè ö ë ą ì ē î ą ĒêĈþşė öĜ ïćą ÚĄ íçē î ÷ē çş đ çČ ç õè × Ôú ö øĐ Ôė Úã ąô ì ă ÕĘõŞ Ā ô êĜ Āą ðċ ř ì ëċ ìĈøĈĘ ď þ øŞ ąÜĄ ìĄ Ę ì Ē þşìĀĄ ì è öĒë ą ì ē çî ÚĄ í ē b î ēĀąìąîąìýèć çş đ ç õ ý×ôąëć ú ö ĀĄìĐíċ×Ôė×øďÛöć ã ąàìĐøşúă óćĒ ÔþşüċêöĜĄĘÚąþøąõ êĜÕĘ ą Ē þĘ ô ąĀÔ Đ øĘ ú ÔĖ ďìĈîĖĘ ì Õ Ā Ú ÜĄö ă ÚĄ í ìď îĖ ì Õ Ā ÚĒ î ö ă æĈ èç óćÔìüċÕĀÚďõĖ êĄĘÚþøąõ ýôąëć ĀĄìíċ××øďÛöć Đøşú ďîŦ ì ďîŦìýċb ÕúćĀąìąîąìýèć þąö ĐøăõŞĀôõĄ ÚĀÔċ ûøëööôĀĄ ìďîŦìàíąî êĜ ą Ē þĘ ô ą Ô Đ øĘ ú ÔĖ ď îĖ ì Õ Ā Ú ö ă ÚĄ í ď îĖ ì Õ Ā Ú î ö ă æĈ è êĈė ď Ôć ç ÕĉĘ ì Đ øş ú Đ ø ă ď Ôć ç ÕĉĘ ì Đ øş ú ĒďîŦìÕĀÚďõĖ þş ìĀĄ ďîŦìýċìÕúćþąö è ĐøăõŞ ö ĀôõĄëÚĀÔċûąøëööôĀĄ ì ìďîŦē ìíąî î ĒêĈþĘė öĜď ą ÔćÚĄ íçē îÕĉēĘ çĘì Đ øşđ çúõ ×Đú öøĐ Ôėă ã ďą ìÔćă ēççĘ ÕĉĘ ì ÜĄĐì ìĄøşĘ ì ú ĀĄ ì è b ö ë ÔĖ Ā ąìąîąìýèć ą ì ēý ôąëćî óćĒ Ô üċ êþşĄĘ Ú þøąõ ĀĄĒ þĘìöĜ íċą ÚĄ×í ×ē îøē çĘď Û öć àđ çĐõ ×øş úúö Đ ÔėêĜã ąąìĒă ēþşçĘ ô ą ÔÜĄĐì ìĄøş Ę ìú b Āóć Ô üċ êõŞĄĘ Ú þøąõ ą Ú ē ö ÔĖďĀ ąìąîąìýèć øŞ ą ý ôąëć ĀĄ ì íċ × × ø ď Û öć à Đ øş ú êĈė ď îŦ ì Õ Ā Ú öĜ ą ÚĄ í ď îŦ ìêĜ Õą ĀĒ þşÚ ôî ąö Ôă ĐæĈøş èú ďĀ îŦ ìõŞ Õ Āą Ú Úď õĖ ēì ď öîŦ ì ď ýċ ÕøŞ úć þą ą ö êĈė ď ĀîŦôõĄìÚĀÔċ Õ ûĀøëööôĀĄ Ú öĜ ąìďîŦÚĄ ìííąîêĈ ď îŦėďÔćìçÕĉÕĘìĐøşĀú ĐøăďÔć Ú î ö çăÕĉĘìæĈĐøşúè ĐøăõŞ ö Ēď îŦ þĘì ÕĀĄ Ā ìÚ ď èõĖ ì ö ď îŦë ì ąýċ Õ ì úć þē ą î ìďîŦìíąîêĈđėďÔćççõÕĉĘì×Đøş ĒĐøăõŞ þĘ öĜ ąĀôõĄ ÚĄ íÚēĀÔċîûēøëööôĀĄ çĘ ú öú ĐøăďÔć Đ Ôė ã ą çìÕĉăĘìēĐøşçĘ ú ĀĄ ìb óćèÔ üċ Ē ìÔöæĈ ö ëì Ĉ Ę ąēîĐøĘìú ýČŞîė ąēÔĖ è ąôî óćĒ Ô üċ êþĘĄ Ę Ú þøąõ ēĒîþĘĐöĜøĘąúÚĄýČíė đē×îìē ēçĘôĘ ÔĖ è ą ô ē î Đ đøĘçúõýČ×ė ď öĊú Āö ìĐ Ôėúė ãą Úą ÔĖì èă ēą çĘô ìĄóćė ÔÚüċ ê×ČĄ Ę ÚĘ þøąõ Õ ą ď b ÕĘ ąóć Ôôüċ ĒąìÔöæĈ đ çì Ĉ Ę õ öēîĐøĘ Ā úíýČŞîĐė ą ÔĖøĘè ąô ú ô èĄē Ę î ÚĐ øĘÔú ýČąė đ ×õì ēèôĘ ÔĖöè ąÚ ô ē î çĜĐ øĘ ąú ýČöė ď öĊ ÚĀ ìýúė ąèćÚ ÔĖôĄèė ąì óćìĄėÔ Úüċ ìĄ×ČĘ ìĘ Õ ôĈą ý ďèć þÕĘ ą ąõ ĒôÛ ď ąÕĘ ąđ çôĈ ýõèć öþ ąĀõ ĒíÛ ĀĐĀ ÔøĘ ú èĄ Ę í Ú ą ÔøĈ ą ôõ þè ąö Úúć Ġ çĜ Ġą Ģö ĠÚ ý Ġ èćĦ ôĄħė ì óć Ô üċ ìĄ Ę ì ôĈ ý èć þ ą õ Ē Û ď ÕĘ ą ôĈ ý èć þ ą õ Ē Û Ā Ā Ô í ą øĈ ô þ ą úć Ġ Ġ Ģ Ġ Ġ Ħ ħ

÷ŠĂęĂößČ üŠćî đðŨ ñĎšêćöđĀĘ îÖć÷ĔîÖć÷Ă÷Ď ðŨîðøąÝĞ õĉÖþčõĉîÖĆĚîþč÷ŠîĂĆĚîößČ üŠćęĂ đðŨ ñĎšêîćöđĀĘ îÖć÷ĔîÖć÷Ă÷Ď ŠđðŨîŠđðøąÝĞ ć ć ìĆĚÜĀúć÷ b ßîđĀúŠ ćĔéĕöŠ ïøĉēõÙÖć÷Ùêćÿêĉ õĉÖþčõĉìÖĆĚÜþčĀúć÷ b ßîđĀúŠ ćĔéĕöŠ ïøĉēõÙÖć÷Ùêćÿêĉ ßîđĀúŠ ÷ŠĂöĕöŠ ïøĉēõÙĂöêą ßîđĀúŠ ćîĆĚîćßČîĆęĂĚîüŠßČćęĂ ÷ŠüŠĂćöĕöŠ ïøĉēõÙĂöêą

êĄĘÚþøąõ b ÝìďþøŞ ąĒçíöć đó×Ôąõ×èąýèć óćÔüċóćêÔüċĄĘÚþøąõ b ÝìďþøŞ ąĒçíöć đó×Ôąõ×èąýèć ÝìďþøŞ õŞĀôíöć đó×Āôèă ÝìďþøŞ ąìĄĘìąìĄÝĊėĀĘìúŞÝĊąėĀõŞúŞĀąôíöć đó×Āôèă

Úüüú Úüüú

ùÓā ùĘ ĜĠ ĜĞğ ĞĤĝ éāôĄ éāôĄ ùÓā ùĘ ĜĠ ĜĞğ ĞĤĝ

ùûā ùĘ Ĝģ ĜĢĤ ĝğĠ éāôĄ ðúā æĄ Ĝě ĜĢĠ ĜĞģ éāôĄ ð ð ĜĞ ğĝĢ ğġĞ éāôĄ éāôĄ ùûā ùĘ Ĝģ ĜĢĤ ĝğĠ éāôĄ ðúā æĄ Ĝě ĜĢĠ ĜĞģ éāôĄ ð ð ĜĞ ğĝĢ ğġĞ ÑśüðĈôçòòðÿèĄ Ĕ ×ĀüēãêòÿčñÙèŞ æĘāċíĆüē êòÿčñÙèŞ æāÖÐāò÷ą øāùĈùŚ āçāòâÙèċêŢ èçòòðæāè ôă ÑùăæèØéĀ çăĎė èäś ďĔ ãśòéĀ ÐāòùÖöèďöś ďðŚùæÖöèùă æçăĎė èÐāò×Ā ãæĘā×āÐ ÑśüðĈôçòòðÿèĄ Ĕ ×ĀãæĘāċíĆ æāÖÐāò÷ą ÐøāùĈùŚ ÐāçāòâÙèċêŢ èçòòðæāè ôă ÑùăæçăĎė èäś éèĄèďĔ ØéĀ ãśòéĀ èĄÐāòùÖöèďöś ďðŚùÖöèùă çăĎė èÐāò×Ā ãæĘā×āÐ éċíĆüē ċëñČëŚ ĎèæćÐ ĎèÐāò×Ā Ðò⥠ĎèÐāò×Ā āúòĆüċëñČëŚ ÓöāðôÿċüĄ ñãòüéÓüéċíĆ üē òĀÐøāÓöāðåĈ ÐäśüüÖÑüÖÑś üðĈāôêòą ÑüÓĘ āêòąāÐèÑś øāãś äśèØéĀäśéèċíĆØéĀ üē ċëñČëŚ ĎèæćÐÐò⥠ãæĘāúòĆãüæĘċëñČëŚ čêòãĎÙś čêòãĎÙś ÓöāðôÿċüĄ ñãòüéÓüéċíĆ üē òĀÐøāÓöāðåĈ ÐäśüÖÑüÖÑś ðĈô ÑüÓĘ Ðøāãś üðĈāôèÑśüðĈô çăíćæçčÕø⪠čæò ěģ ģğĤğ ģěģĞ íć æçö×èùðāÓð čæò ěģ ĜġğĢ ġěĞġ āċíĆēüÓöāðùÿãöÐČôÿêòÿúñĀ ôèăæç Ąē ăíðĈćæôèăçčÕø⪠čæò ěģ ģğĤğ ģěģĞ íć æçö×èùðāÓð čæò ěģ ĜġğĢ ġěĞġ ĎèÐāò×ĀĎèÐāò×Ā ãæĘāċíĆãēüæĘÓöāðùÿãöÐČôÿêòÿúñĀ ã äăãäŚãü äă ďãśãæäŚ Ąē üðĈďãś çăíćæçö×è čæò ěģ ĜğĠĢ ĝĞĠĝ Óć â÷òÙā čæò ěģ ĜĠĜĞ ĜġĜĜ Óć üāòĄöòòâ čæò ěģ ĠěĠģ ġģģģ ðĈôèăçăíðĈćæôèăçö×è čæò ěģ ĜğĠĢ ĝĞĠĝ Óć â÷òÙā čæò ěģ ĜĠĜĞ ĜġĜĜ Óć âüāòĄöâòòâ čæò ěģ ĠěĠģ ġģģģ

Ôąõ×èąýèć Ôąõ×èąýèć

êĄĘÚþøąõ b ďöąõŞ ĀôÔøŞ ąúøôþąõĒÛďÕş ąĐøăøôþąõĒÛĀĀÔ óćÔüċóćêÔüċĄĘÚþøąõ b ďöąõŞ ĀôÔøŞ ąúøôþąõĒÛďÕş ąĐøăøôþąõĒÛĀĀÔ úŞąìďîŦÔąõĀĄ ìÔąõĀĄ ìþìĉ ėÚĕ ĒìíööçąÔąõêĄ ĘÚþøąõ úŞąďîŦ ìþìĉ ėÚĕ ĒìíööçąÔąõêĄ ĘÚþøąõ

&@&@ // !!

&@&@ // !!

&@&@ // !!

ÛļċĀĕôþĐ ĆÚ ðüĊ òðĆà ĄüĐ ÛļċĀÛĆà ... Ûļċ...ĀĕôþĐ ĆÚ ðüĊ ÷ûĿ ÷ ĕàčûĿò ĕàč ðĆà ĄüĐ ĆÛļċĆĀÛĆà ðĎĝĄĀàĖĄòĆûĻ ċàĘíĆûĻ ċàĄòď ðĎĝĄĀàĖĄòĆûĻ ċàĘíĆûĻ ċàĄòď ĝàúĎĆĝàûĒúĎĻ ĆûĒĻ ðċă ÚüüúÚü ÝòĘãļ ĖþĉõĒ ûÛĆàĕÛċ ðċă ÚüüúÚü ÝòĘãļ ĖþĉõĒ ļĆċāĊļĆûċāĊ ÛĆàĕÛċ ÷ďà÷ċĕĆċęôęúĻ ðĊĞàĄúí áĉîļ äďĝàÚċüþĉðč ðĊĞàĄúí ÷ďà÷ċĕĆċęôęúĻ ęíļðęĊĞàíļĄúí áĉîļ ĆàïďĆààïď äďĝààÚċüþĉðč ĞàęĀļĞàðęĀļ ĊĞàĄúí óđÝÝþðĢ ċÚüüúĘí íļ ĀûÚċû íļ ĀûĀċáċ ĄüĐ íļĀûĘá ÚĜóđÝÚĜÝþðĢ ċÚüüúĘí íļ ĀûÚċû íļ ĀûĀċáċ ĄüĐ ĆíļĀĆûĘá

ÚüüúòĊ ĞòĖĄþĉ ĕôŃ òÛĆàě ĕÛċ ĖþĉĕÛċûĻ Ćú÷ċĕĆċÚüüúòĊ ÚüüúòĊ ĞòĖĄþĉ ĕôŃ òÛĆàě ĕÛċ ĖþĉĕÛċûĻ Ćú÷ċĕĆċÚüüúòĊ ĞòęôĞòęô ĝà ÚüüúòĊ íîċúĕÛċęô ĕĄúĐ Ćòĕàċîč íîċúîòâĉòĊ ĆòďĝàĆòď ÚüüúòĊ Ğò ûĻĞòĆ ûĻ úîčĆíúîč îċúĕÛċęô ĕĄúĐ Ćòĕàċîč íîċúîòâĉòĊ Ğò Ğò ĕ÷üċĉâĉòĊ ÝÝþÝĀüðĢ ċÚüüúíĎ ăĊĝàăúęĀļ ăĢċóĄüĊ óù÷Ąòļ ĕ÷üċĉâĉòĊ Ğò óđĞòÝ óđ ÝþÝĀüðĢ ċÚüüúíĎ ăĊĝà ăúęĀļ ăĢċĄüĊ ù÷Ąòļ ċ ċ ðĊĞàĄþċû ûĻ ĝ÷ďĝàÛĆàăĊ ðĊĞàĄþċû ĘòėþÚĄòļ óđæðĊóđĞàæĄþċû ûĻ ĆúĕôŃĆòúĕôŃ ðĎĝ÷òďĝàðĎÛĆàăĊ îĀĿðîĊĞàĀĿĄþċû ĘòėþÚĄòļ ċ ċ

ØéĀé ġ ØéĀé ġ

ØéĀé Ġ ØéĀé Ġ

ØéĀé ğ ØéĀé ğ

Úüüú Úüüú

ª x w h ·³ wݪ h ª x w h ·³ wݪ h

ÐśāöñŚāÖüñŚāÖíćæçÿ ØéĀé Ĥ ÐśāöñŚāÖüñŚāÖíćæçÿ ØéĀé Ĥ

CWbO<O O;`GRb<`$ OS;_<T<T* CW CWb<O ;`GRb<`$ OS;_<T<T* CW _*TOS_*TOS ;a=E ;*a=E * CWbO<O O;`GRb<`$ OS;M;T CW _*TM;T9X CWb<O ;`GRb<`$ OS;M;T CW _*TM;T9X < <

÷ïđĀöČ Ăî=ETLT9 b;=ETLT9;S _EĐO;DO6 .X ą*,T<9T`G ÿćøĊïÿćøĊ čêø b ïčêø b đðøĊ÷đðøĊ ïđĀöČ Ăî=ETLT9 b;=ETLT9;S þ;CW_þ;EĐOCW;DO6 .X ą*,T<9T`G I I

9Sþ*BTDb;`GRBTD;O$ MT- O*GCCV CWI*$EO<OS 9Sþ*BTDb;`GRBTD;O$ MT- O*GCCV c6 CWc6 I*$EO<OS ;L;V;9L;V 9 CW<T;=ER7[ `GRM; = 69L;V 6W b;_EĐ O;DO6;S CW<T;=ER7[ `GRM; T7 TT*OS7 T;*OS = 6;L;V 6W 9b;_EĐ O;DO6;S þ; þ;

OS;GT66 Ta$_-TI %;DTI CW<SGCWGS<*SG$ GSO*S;$ GT66 ID> ITD> a$_-TI %;DTI GT66 ID_'EĐ ĕO*GT69l T6 ID%;`$RLW GT66 ID_'EĐ ĕO*GT69l T6 ID%;`$RLW %TI %TI GT66 ID%;_+W CWOĕ _'EĐ Oĕ *GT6OD Tl 6 IDM;S *-RC6 GT66 ID%;_+W DC_= DC_= ;`> ;;`> 9X<; CW9X_<'EĐ *GT6OD T*6W9T*6W Tl 6 9IDM;S *-RC6 CW_@6T;$S þ;b;_<Y hO*<; CW MCO;`6*IT* 5 % CW_@6T;$S þ;b;_<Y hO*<; CW MCO;`6*IT* 5 % T*9STþ**9S LO*þ*LO* `GRb;9W gcC c$GLERa<$%E5W `;I= `GRb;9W gcC c$GLERa<$%E5W ;Sþ; CW;Sþ;` CW ;I= TOS;T9XOS<;9X<

ĆüĂĆîÙüćöøš ĂîĒñéđñć đĀîĘ ü øąĀć÷ öč úĞćéĆïúĞîĆćĚîéĆï ïčîĆøĚîčþ ïč ñĎšöøĊêčþĆüñĎĂĆšöîĊêÙüćöøš ĂîĒñéđñć đĀîĘ éđĀîČéęĂđĀîČ ÷ ĀĉęĂü÷ Āĉ øąĀć÷ öč ŠÜöćÿĎŠÜŠìöćÿĎ ĊęîĆĚîŠìė ĊęîĆĚîė ēé÷öøøÙćÿć÷đéĊ đĀĘîđ×ćĒúš ÖúŠććüĂ÷Š ēé÷öøøÙćÿć÷đéĊ ÷ü ïč÷øü ïč čþñĎšöøĊÝčþĆÖñĎþčšöđĊÝĀĘĆÖîþčđ×ćĒúš ü óċÜüÖúŠ óċćÜüĂ÷Š ÜîĊĚüćŠćÜîĊĚüŠć ñĎšđîĊÝøĉĚ ðäĉ âîĊïĚ ðäĉ ĉĂ÷ŠĚîć éĞÜîĆćĚîđîĉ éĞîćĂ÷Š đîĉćîÜîĆ Ă÷ŠĚîć Ēúą×ċ ÜîĆĚî Ēúą×ċ ĚîÿĎŠĀîìćÜîĆ ÝĆÖÜöćëċ ęîĆĚîđéĊė ìĊ đéĊ÷üķ ĶïčøčþĶïč ñĎšđøÝøĉčþâ ĆêĉĂ÷ŠïćĆêÜîĆ ĚîÿĎŠĀîìćÜîĆ Ěî ÝĆÖĚîöćëċ ìĊęîĆĚîÜìĊė ìĊ ÷üķ ðĈ ð Ĝĝ ĜğĢ ĜĠĞ ĜĢě ĜĢġ éāôĄ éāôĄ ðĈ ð Ĝĝ ĜğĢ ĜĠĞ ĜĢě ĜĢġ

15 15

çăíćæçö×è čæò ěģ ĜğĠĢ ĝĞĠĝ Óć â÷òÙā čæò ěģ ĜĠĜĞ ĜġĜĜ Óć üāòĄöòòâ čæò ěģ ĠěĠģ ġģģģ ðĈôèăçăíðĈćæôèăçö×è čæò ěģ ĜğĠĢ ĝĞĠĝ Óć â÷òÙā čæò ěģ ĜĠĜĞ ĜġĜĜ Óć âüāòĄöâòòâ čæò ěģ ĠěĠģ ġģģģ éëĈäś üś ÖÐāòêÞă éäĀ çă òòòð äă äĀ íă æć çö×è #VEEIBXBKBOB 5SBJOJOH $FOUFS ùĘāúòĀéùĘëĈāäś úòĀüś ÖÐāòêÞă éäĀ çă òòòð äă ãäŚüďãśãæäŚ ēĄ ü ÷ĈďãśèæñŞê ēĄ ÷ĈÞăéèäĀñŞêíă Þăæć éçö×è #VEEIBXBKBOB 5SBJOJOH $FOUFS íæŞ ěĤ ĝĤĜĝ ĞġĠĢ ěĤ ĝĤĜĝ ĞĢĝĜ ěĤ ĝĤĜĝ ĞğĢĜ čæò÷Āíčæò÷Ā æŞ ěĤ ĝĤĜĝ ĞġĠĢ ěĤ ĝĤĜĝ ĞĢĝĜ ěĤ ĝĤĜĝ ĞğĢĜ äăãäāðÐāòċëñČëŚ íòÿçòòðÓĘ āùüèäāðúôĀ Ðíćæçö×è čãñíòÿüā×āòñŞ óæçăåăëė čùäĉ åăëæčô ďãś äăãäāðÐāòċëñČëŚ íòÿçòòðÓĘ āùüèäāðúôĀ Ðíćæçö×è čãñíòÿüā×āòñŞ ÓąÐóæçăÓė ąÐčùäĉ čô ďãś Ąē æĄē XXX CVEEIBLPT PSH ] NFEJB XBUOBQBIQPOH PSH ] XXX XBUOBQQ DPN ] XXX CVEEIBXBKBOBGVOE PSH XXX CVEEIBLPT PSH ] NFEJB XBUOBQBIQPOH PSH ] XXX XBUOBQQ DPN ] XXX CVEEIBXBKBOBGVOE PSH ÓôĆèē ù ö í '. .)[ æć ÐöĀèíòÿ ċöôā è ÓôĆèē ù ö í '. .)[ æć ÐöĀèíòÿ ċöôā è

16 16

ÑśüðĈôçòòðÿèĄ Ĕ ×ĀüēãêòÿčñÙèŞ æĘāċíĆüē êòÿčñÙèŞ æāÖÐāò÷ą øāùĈùŚ āçāòâÙèċêŢ èçòòðæāè ôă ÑùăæèØéĀ çăĎė èäś ďĔ ãśòéĀ ÐāòùÖöèďöś ďðŚùæÖöèùă æçăĎė èÐāò×Ā ãæĘā×āÐ ÑśüðĈôçòòðÿèĄ Ĕ ×ĀãæĘāċíĆ æāÖÐāò÷ą ÐøāùĈùŚ ÐāçāòâÙèċêŢ èçòòðæāè ôă ÑùăæçăĎė èäś éèĄèďĔ ØéĀ ãśòéĀ èĄÐāòùÖöèďöś ďðŚùÖöèùă çăĎė èÐāò×Ā ãæĘā×āÐ éċíĆüē ċëñČëŚ ĎèæćÐ ĎèÐāò×Ā Ðò⥠ĎèÐāò×Ā āúòĆüċëñČëŚ ÓöāðôÿċüĄ ñãòüéÓüéċíĆ üē òĀÐøāÓöāðåĈ ÐäśüüÖÑüÖÑś üðĈāôêòą ÑüÓĘ āêòąāÐèÑś øāãś äśèØéĀäśéèċíĆØéĀ üē ċëñČëŚ ĎèæćÐÐò⥠ãæĘāúòĆãüæĘċëñČëŚ čêòãĎÙś čêòãĎÙś ÓöāðôÿċüĄ ñãòüéÓüéċíĆ üē òĀÐøāÓöāðåĈ ÐäśüÖÑüÖÑś ðĈô ÑüÓĘ Ðøāãś üðĈāôèÑśüðĈô èăçíă æć çčÕø⪠čæò ěģ ĝĝĝĝ ĠĢĤě - Ĥğ íć æçö×èùðāÓð čæò ěģ ĜġğĢ ġěĞġ āċíĆüē ÓöāðùÿãöÐČôÿêòÿúñĀ ôèăæç ēĄ íă ðĈæć ôçčÕø⪠čæò ěģ ĝĝĝĝ ĠĢĤě - Ĥğ íć æçö×èùðāÓð čæò ěģ ĜġğĢ ġěĞġ ĎèÐāò×ĀĎèÐāò×Ā ãæĘāċíĆãüē æĘÓöāðùÿãöÐČôÿêòÿúñĀ ã äăãäŚãü äă ďãśãæäŚ ēĄ ðĈüďãś

çăíćæçö×è čæò ěģ ĜğĠĢ ĝĞĠĝ Óć â÷òÙā čæò ěģ ĜĠĜĞ ĜġĜĜ Óć üāòĄöòòâ čæò ěģ ĠěĠģ ġģģģ ðĈôèăçăíðĈćæôèăçö×è čæò ěģ ĜğĠĢ ĝĞĠĝ Óć â÷òÙā čæò ěģ ĜĠĜĞ ĜġĜĜ Óć âüāòĄöâòòâ čæò ěģ ĠěĠģ ġģģģ éëĈäś üś ÖÐāòêÞă éäĀ çă òòòð äă äĀ íă æć çö×è #VEEIBXBKBOB 5SBJOJOH $FOUFS ùĘāúòĀéùĘëĈāäś úòĀüś ÖÐāòêÞă éäĀ çă òòòð äă ãäŚüďãśãæäŚ ēĄ ü ÷ĈďãśèæñŞê ēĄ ÷ĈÞăéèäĀñŞêíă Þăæć éçö×è #VEEIBXBKBOB 5SBJOJOH $FOUFS íæŞ ěĤ ĝĤĜĝ ĞġĠĢ ěĤ ĝĤĜĝ ĞĢĝĜ ěĤ ĝĤĜĝ ĞğĢĜ čæò÷Āíčæò÷Ā æŞ ěĤ ĝĤĜĝ ĞġĠĢ ěĤ ĝĤĜĝ ĞĢĝĜ ěĤ ĝĤĜĝ ĞğĢĜ äăãäāðÐāòċëñČëŚ íòÿçòòðÓĘ āùüèäāðúôĀ Ðíćæçö×è čãñíòÿüā×āòñŞ óæçăåăëė čùäĉ åăëæčô ďãś äăãäāðÐāòċëñČëŚ íòÿçòòðÓĘ āùüèäāðúôĀ Ðíćæçö×è čãñíòÿüā×āòñŞ ÓąÐóæçăÓė ąÐčùäĉ čô ďãś Ąē æĄē XXX CVEEIBLPT PSH ] NFEJB XBUOBQBIQPOH PSH ] XXX XBUOBQQ DPN ] XXX CVEEIBXBKBOBGVOE PSH XXX CVEEIBLPT PSH ] NFEJB XBUOBQBIQPOH PSH ] XXX XBUOBQQ DPN ] XXX CVEEIBXBKBOBGVOE PSH ÓôĆèē ù ö í '. .)[ æć ÐöĀèíòÿ ċöôā è ÓôĆèē ù ö í '. .)[ æć ÐöĀèíòÿ ċöôā è

ĄúĄ

ċãòĀ×ØāèöăÙā ċãòĀ×ØāèöăÙā

äăãäāðÐāòċëñČëŚ íòÿçòòðÓĘ āùüèäāðúôĀ Ðíćæçö×è čãñíòÿüā×āòñŞ óæçăåăëė čùäĉ åăëæčô ďãś äăãäāðÐāòċëñČëŚ íòÿçòòðÓĘ āùüèäāðúôĀ Ðíćæçö×è čãñíòÿüā×āòñŞ ÓąÐóæçăÓė ąÐčùäĉ čô ďãś Ąē æĄē XXX CVEEIBLPT PSH ] NFEJB XBUOBQBIQPOH PSH ] XXX XBUOBQQ DPN ] XXX CVEEIBXBKBOBGVOE PSH XXX CVEEIBLPT PSH ] NFEJB XBUOBQBIQPOH PSH ] XXX XBUOBQQ DPN ] XXX CVEEIBXBKBOBGVOE PSH ÓôĆèē ù ö í '. .)[ æć ÐöĀèíòÿ ċöôā è ÓôĆèē ù ö í '. .)[ æć ÐöĀèíòÿ ċöôā è

ùûā ùĘ Ĝģ ĞĢĢ ĠģĤ éāôĄ éāôĄ ùûā ùĘ Ĝģ ĞĢĢ ĠģĤ

­µ ¥µ¥ ¦¦¤ ­µ ¥µ¥ ¦¦¤

÷ïđĀöČ ĂîLERa<$%E5W _Df; bLLROT6 CW EĐ;ĕ ECD ÿćøĊïÿćøĊ čêø b ïčê ø b đðøĊ ÷đðøĊ ïđĀöČ ĂîLERa<$%E5W CW;Tlh CWOS;;Tlh _DfOS; bLLROT6 CW 9T OS9;T 6WOS ; ;T6WEĐ ; ;ĕ TECD

ÑśüðĈôçòòðÿèĄ Ĕ ×ĀüēãêòÿčñÙèŞ æĘāċíĆüē êòÿčñÙèŞ æāÖÐāò÷ą øāùĈùŚ āçāòâÙèċêŢ èçòòðæāè ôă ÑùăæèØéĀ çăĎė èäś ďĔ ãśòéĀ ÐāòùÖöèďöś ďðŚùæÖöèùă æçăĎė èÐāò×Ā ãæĘā×āÐÑśüðĈôçòòðÿèĄ ÑśüðĈôçòòðÿèĄ Ĕ ×ĀüēãêòÿčñÙèŞ æĘāċíĆüē êòÿčñÙèŞ æāÖÐāò÷ą øāùĈùŚ āçāòâÙèċêŢ èçòòðæāè ôă ÑùăæèØéĀ çăĎė èäś ďĔ ãśòéĀ ÐāòùÖöèďöś ďðŚùæÖöèùă æçăĎė èÐāò×Ā ãæĘā×āÐ ÑśüðĈôçòòðÿèĄ Ĕ ×ĀãæĘāċíĆ æāÖÐāò÷ą ÐøāùĈùŚ ÐāçāòâÙèċêŢ èçòòðæāè ôă ÑùăæçăĎė èäś éèĄèďĔ ØéĀ ãśòéĀ èĄÐāòùÖöèďöś ďðŚùÖöèùă çăĎė èÐāò×Ā ãæĘā×āÐ Ĕ ×ĀãæĘāċíĆ æāÖÐāò÷ą ÐøāùĈùŚ ÐāçāòâÙèċêŢ èçòòðæāè ôă ÑùăæçăĎė èäś éèĄèďĔ ØéĀ ãśòéĀ èĄÐāòùÖöèďöś ďðŚùÖöèùă çăĎė èÐāò×Ā ãæĘā×āÐ éċíĆüē ċëñČëŚ ĎèæćÐ ĎèÐāò×Ā Ðò⥠ĎèÐāò×Ā éċíĆüē ċëñČëŚ ĎèæćÐ ĎèÐāò×Ā Ðò⥠ĎèÐāò×Ā āúòĆüċëñČëŚ ÓöāðôÿċüĄ ñãòüéÓüéċíĆ üē òĀÐøāÓöāðåĈ ÐäśüüÖÑüÖÑś üðĈāôêòą ÑüÓĘ āêòąāÐèÑś øāãś āúòĆüċëñČëŚ ÓöāðôÿċüĄ ñãòüéÓüéċíĆ üē òĀÐøāÓöāðåĈ ÐäśüüÖÑüÖÑś üðĈāôêòą ÑüÓĘ āêòąāÐèÑś øāãś äśèØéĀäśéèċíĆØéĀ üē ċëñČëŚ ĎèæćÐÐò⥠ãæĘāúòĆãüæĘċëñČëŚ čêòãĎÙś čêòãĎÙś ÓöāðôÿċüĄ ñãòüéÓüéċíĆ üē òĀÐøāÓöāðåĈ ÐäśüÖÑüÖÑś ðĈô ÑüÓĘ Ðøāãś üðĈāôèÑśüðĈäśôèØéĀäśéèċíĆØéĀ üē ċëñČëŚ ĎèæćÐÐò⥠ãæĘāúòĆãüæĘċëñČëŚ čêòãĎÙś čêòãĎÙś ÓöāðôÿċüĄ ñãòüéÓüéċíĆ üē òĀÐøāÓöāðåĈ ÐäśüÖÑüÖÑś ðĈô ÑüÓĘ Ðøāãś üðĈāôèÑśüðĈô èăçíă æć çčÕø⪠čæò ěģ ĝĝĝĝ ĠĢĤě - Ĥğ íć æçö×èùðāÓð čæò ěģ ĜġğĢ ġěĞġ ĎèÐāò×Ā èăçíă æć çčÕø⪠čæò ěģ ĝĝĝĝ ĠĢĤě - Ĥğ íć æçö×èùðāÓð čæò ěģ ĜġğĢ ġěĞġ āċíĆüē ÓöāðùÿãöÐČôÿêòÿúñĀ āċíĆüē ÓöāðùÿãöÐČôÿêòÿúñĀ ôèăæç ēĄ íă ðĈæć ôçčÕø⪠čæò ěģ ĝĝĝĝ ĠĢĤě - Ĥğ íć æçö×èùðāÓð čæò ěģ ĜġğĢ ġěĞġ ĎèÐāò×Ā ôèăæç ēĄ íă ðĈæć ôçčÕø⪠čæò ěģ ĝĝĝĝ ĠĢĤě - Ĥğ íć æçö×èùðāÓð čæò ěģ ĜġğĢ ġěĞġ ĎèÐāò×ĀĎèÐāò×Ā ãæĘāċíĆãüē æĘÓöāðùÿãöÐČôÿêòÿúñĀ ã äăãäŚãü äă ďãśãæäŚ ēĄ ðĈüďãś ãæĘāċíĆãüē æĘÓöāðùÿãöÐČôÿêòÿúñĀ ã äăãäŚãü äă ďãśãæäŚ ēĄ ðĈüďãś

çăíćæçö×è čæò ěģ ĜğĠĢ ĝĞĠĝ Óć â÷òÙā čæò ěģ ĜĠĜĞ ĜġĜĜ Óć üāòĄöòòâ čæò ěģ ĠěĠģ ġģģģ ðĈôèăçăíðĈćæôèăçö×è čæò ěģ ĜğĠĢ ĝĞĠĝ Óć â÷òÙā čæò ěģ ĜĠĜĞ ĜġĜĜ Óć âüāòĄöâòòâ čæò ěģ ĠěĠģ ġģģģ éëĈäś üś ÖÐāòêÞă éäĀ çă òòòð äă äĀ íă æć çö×è #VEEIBXBKBOB 5SBJOJOH $FOUFS ùĘāúòĀéùĘëĈāäś úòĀüś ÖÐāòêÞă éäĀ çă òòòð äă ãäŚüďãśãæäŚ ēĄ ü ÷ĈďãśèæñŞê ēĄ ÷ĈÞăéèäĀñŞêíă Þăæć éçö×è #VEEIBXBKBOB 5SBJOJOH $FOUFS čæò ěģ ĤĢĤĜ ěĝĤĤ ěģ ĢĠĜĜ ģěĜě čæò ěģ ĤĢĤĜ ěĝĤĤ ěģ ĢĠĜĜ ģěĜě

&@&@ // !!

÷ïđĀöČ 7 ;_$VcC 6b;@Y _$V6b;@Y Og ;S _LCO ÿćøĊïÿćøĊ čêø b ïčêø b đðøĊ÷đðøĊ ïđĀöČ Ăî7 Ă;îcC ;h 9WOg ;h ;S 9W_LCO

ØéĀé Ĝĝ ØéĀé Ĝĝ

­ · ­ · ´ ¿ · ´ ¿ · ¹È o ¹µÈ oµ ´È ° ¥n °¤¿ } ¼o ¦¦¨» ª·¿«¬¿¦Æ À n­À n ´ ªr­ ´ ´È ªr ¥n ¤¿ } ¼o ¦¦¨» » ª· ¿» «¬¿¦Æ ª¡¨´ª ¡¨´

Cc=6 T;_@GV * =ETJ+T$_=GI =ETJ+T$'IS _7fC_7f c=6 ID8 ITD8 ;_@GV * =ETJ+T$_=GI =ETJ+T$'IS ; ;

÷ïđĀöČ ĂîCMGZ EZKC _7f Cc=6 ÿćøĊïÿćøĊ čêø b ïčêø b đðøĊ÷đðøĊ ïđĀöČ ĂîMGZ '[8C GX'[8$ GX DVý*$$I DVý*T$I -SýIT<Z-SEýIZK<Z _7f c=6 ID'[I8D'[8 ÷ïđĀöČ 7 ;_$VcC 6b;@Y _$V6b;@Y Og ;S _LCO cC _LCO ÿćøĊïÿćøĊ čêø b ïčêø b đðøĊ÷đðøĊ ïđĀöČ Ăî7 Ă;îcC ;h 9WOg ;h ;S 9WcC

ïíïĈðă ïíïĈðă

14 14

¿ °¤¸ ®¨ ¨º ¤ ¿¤º Ç° ¦³ Ì µ µ¨³ ¿ °¤¸ ­ ·­® ·¨ ¨º ¤ ¿¤º Ç° ¦³ Ì µ µ¨³ °¤¿ o ¹ ¿ ¡ · µ¥®¤¼ n ®¤¼ ¥n°¥n¤¿ o µ ¹ µ¿ ¡ · µ¥®¤¼ n ®¤¼ n® ¹n®Ç ¹Ç

&@&@ // !!

äăãäāðÐāòċëñČëŚ íòÿçòòðÓĘ āùüèäāðúôĀ Ðíćæçö×è čãñíòÿüā×āòñŞ óæçăåăëė čùäĉ åăëæčô ďãś äăãäāðÐāòċëñČëŚ íòÿçòòðÓĘ āùüèäāðúôĀ Ðíćæçö×è čãñíòÿüā×āòñŞ ÓąÐóæçăÓė ąÐčùäĉ čô ďãś Ąē æĄē XXX CVEEIBLPT PSH ] NFEJB XBUOBQBIQPOH PSH ] XXX XBUOBQQ DPN ] XXX CVEEIBXBKBOBGVOE PSH XXX CVEEIBLPT PSH ] NFEJB XBUOBQBIQPOH PSH ] XXX XBUOBQQ DPN ] XXX CVEEIBXBKBOBGVOE PSH ÓôĆèē ù ö í '. .)[ æć ÐöĀèíòÿ ċöôā è ÓôĆèē ù ö í '. .)[ æć ÐöĀèíòÿ ċöôā è

äăãäāðÐāòċëñČëŚ íòÿçòòðÓĘ āùüèäāðúôĀ Ðíćæçö×è čãñíòÿüā×āòñŞ óæçăåăëė čùäĉ åăëæčô ďãś äăãäāðÐāòċëñČëŚ íòÿçòòðÓĘ āùüèäāðúôĀ Ðíćæçö×è čãñíòÿüā×āòñŞ ÓąÐóæçăÓė ąÐčùäĉ čô ďãś Ąē æĄē XXX CVEEIBLPT PSH ] NFEJB XBUOBQBIQPOH PSH ] XXX XBUOBQQ DPN ] XXX CVEEIBXBKBOBGVOE PSH XXX CVEEIBLPT PSH ] NFEJB XBUOBQBIQPOH PSH ] XXX XBUOBQQ DPN ] XXX CVEEIBXBKBOBGVOE PSH ÓôĆèē ù ö í '. .)[ æć ÐöĀèíòÿ ċöôā è ÓôĆèē ù ö í '. .)[ æć ÐöĀèíòÿ ċöôā è

ØéĀé ĜĜ ØéĀé ĜĜ

¦¦¤¿®¨n ´È ¿ } ¦¦¤°´ ¦¦¤¿®¨n µ ´È µ ¿ } ¦¦¤°´ £· ¬»£· ´È ¬»¢{ ´È ¿ º¢{° ¿ º Å ° Å ° µ ¹ È Â À ¨° o oª¥ ªµ¤¿®Æ ¨n° ¨n µ ¹ È Â À ¨° o ª¥ ¸ª ¥ ¸ oª ¥ ªµ¤¿®Æ

ùāçñāñçòòð ùāçñāñçòòð

13 13

çăíćæçö×è čæò ěģ ĜğĠĢ ĝĞĠĝ Óć â÷òÙā čæò ěģ ĜĠĜĞ ĜġĜĜ Óć üāòĄöòòâ čæò ěģ ĠěĠģ ġģģģ ðĈôèăçăíðĈćæôèăçö×è čæò ěģ ĜğĠĢ ĝĞĠĝ Óć â÷òÙā čæò ěģ ĜĠĜĞ ĜġĜĜ Óć âüāòĄöâòòâ čæò ěģ ĠěĠģ ġģģģ éëĈäś üś ÖÐāòêÞă éäĀ çă òòòð äă äĀ íă æć çö×è #VEEIBXBKBOB 5SBJOJOH $FOUFS ùĘāúòĀéùĘëĈāäś úòĀüś ÖÐāòêÞă éäĀ çă òòòð äă ãäŚüďãśãæäŚ ēĄ ü ÷ĈďãśèæñŞê ēĄ ÷ĈÞăéèäĀñŞêíă Þăæć éçö×è #VEEIBXBKBOB 5SBJOJOH $FOUFS íæŞ ěĤ ĝĤĜĝ ĞġĠĢ ěĤ ĝĤĜĝ ĞĢĝĜ ěĤ ĝĤĜĝ ĞğĢĜ čæò÷Āíčæò÷Ā æŞ ěĤ ĝĤĜĝ ĞġĠĢ ěĤ ĝĤĜĝ ĞĢĝĜ ěĤ ĝĤĜĝ ĞğĢĜ

çăíćæçö×è čæò ěģ ĜğĠĢ ĝĞĠĝ Óć â÷òÙā čæò ěģ ĜĠĜĞ ĜġĜĜ Óć üāòĄöòòâ čæò ěģ ĠěĠģ ġģģģ ðĈôèăçăíðĈćæôèăçö×è čæò ěģ ĜğĠĢ ĝĞĠĝ Óć â÷òÙā čæò ěģ ĜĠĜĞ ĜġĜĜ Óć âüāòĄöâòòâ čæò ěģ ĠěĠģ ġģģģ éëĈäś üś ÖÐāòêÞă éäĀ çă òòòð äă äĀ íă æć çö×è #VEEIBXBKBOB 5SBJOJOH $FOUFS ùĘāúòĀéùĘëĈāäś úòĀüś ÖÐāòêÞă éäĀ çă òòòð äă ãäŚüďãśãæäŚ ēĄ ü ÷ĈďãśèæñŞê ēĄ ÷ĈÞăéèäĀñŞêíă Þăæć éçö×è #VEEIBXBKBOB 5SBJOJOH $FOUFS íæŞ ěĤ ĝĤĜĝ ĞġĠĢ ěĤ ĝĤĜĝ ĞĢĝĜ ěĤ ĝĤĜĝ ĞğĢĜ čæò÷Āíčæò÷Ā æŞ ěĤ ĝĤĜĝ ĞġĠĢ ěĤ ĝĤĜĝ ĞĢĝĜ ěĤ ĝĤĜĝ ĞğĢĜ

÷ïđĀöČ ĂîCMGZ 8 T;_@GV ÿćøĊïÿćøĊ čêø b ïčêø b đðøĊ÷đðøĊ ïđĀöČ ĂîMGZ 8 TC;_@GV * GX$* GX DVý*$$I DVý*T$I -SýIT<Z-SEýIZK<Z EZK

ìĆĚÜĀúć÷ b þčĔîíøøöüĉ õĉÖþčõĉìÖĆĚÜþčĀúć÷ b õĉÖ þčõĉĔÖîíøøöüĉ îĆ÷îĊîĚ Ć÷îĊĚ ÷ŠĂćöđúŠ đøĊ÷îíøøö ÙČ ÿčêêą đÙ÷÷ą đü÷÷ćÖøèą Ùćëć Ăč ÷ŠĂöđúŠ đøĊ÷ćîíøøö ÙČ Ă ÿčêĂêą đÙ÷÷ą đü÷÷ćÖøèą Ùćëć Ăč ìćîìćî ĉüčêêÖą ßćéÖ ĂĆ õĎêíøøö đüìĆ ĂĉêĉüĂĉčêêêÖą ßćéÖ ĂĆ óõĎêóíøøö đüìĆ úúą úúą

ïìĒĀŠ ÜíøøöìĆ ĚÜĀúć÷ ÷Š ĂöðøćÖäĒÖŠ đíĂ ñĎ šöĊÙüćöÿč ×ĔîõóîĆ ïìĒĀŠ ÜíøøöìĆ ĚÜĀúć÷ ÷Š ĂöðøćÖäĒÖŠ đíĂ ñĎ šöĊÙüćöÿč ×ĔîõóîĆ Ěî Ěî

&& // !!

äăãäāðÐāòċëñČëŚ íòÿçòòðÓĘ āùüèäāðúôĀ Ðíćæçö×è čãñíòÿüā×āòñŞ óæçăåăëė čùäĉ åăëæčô ďãś äăãäāðÐāòċëñČëŚ íòÿçòòðÓĘ āùüèäāðúôĀ Ðíćæçö×è čãñíòÿüā×āòñŞ ÓąÐóæçăÓė ąÐčùäĉ čô ďãś Ąē æĄē XXX CVEEIBLPT PSH ] NFEJB XBUOBQBIQPOH PSH ] XXX XBUOBQQ DPN ] XXX CVEEIBXBKBOBGVOE PSH XXX CVEEIBLPT PSH ] NFEJB XBUOBQBIQPOH PSH ] XXX XBUOBQQ DPN ] XXX CVEEIBXBKBOBGVOE PSH ÓôĆèē ù ö í '. .)[ æć ÐöĀèíòÿ ċöôā è ÓôĆèē ù ö í '. .)[ æć ÐöĀèíòÿ ċöôā è

ÑśüðĈôçòòðÿèĄ Ĕ ×ĀüēãêòÿčñÙèŞ æĘāċíĆüē êòÿčñÙèŞ æāÖÐāò÷ą øāùĈùŚ āçāòâÙèċêŢ èçòòðæāè ôă ÑùăæèØéĀ çăĎė èäś ďĔ ãśòéĀ ÐāòùÖöèďöś ďðŚùæÖöèùă æçăĎė èÐāò×Ā ãæĘā×āÐ ÑśüðĈôçòòðÿèĄ Ĕ ×ĀãæĘāċíĆ æāÖÐāò÷ą ÐøāùĈùŚ ÐāçāòâÙèċêŢ èçòòðæāè ôă ÑùăæçăĎė èäś éèĄèďĔ ØéĀ ãśòéĀ èĄÐāòùÖöèďöś ďðŚùÖöèùă çăĎė èÐāò×Ā ãæĘā×āÐ éċíĆüē ċëñČëŚ ĎèæćÐ ĎèÐāò×Ā Ðò⥠ĎèÐāò×Ā āúòĆüċëñČëŚ ÓöāðôÿċüĄ ñãòüéÓüéċíĆ üē òĀÐøāÓöāðåĈ ÐäśüüÖÑüÖÑś üðĈāôêòą ÑüÓĘ āêòąāÐèÑś øāãś äśèØéĀäśéèċíĆØéĀ üē ċëñČëŚ ĎèæćÐÐò⥠ãæĘāúòĆãüæĘċëñČëŚ čêòãĎÙś čêòãĎÙś ÓöāðôÿċüĄ ñãòüéÓüéċíĆ üē òĀÐøāÓöāðåĈ ÐäśüÖÑüÖÑś ðĈô ÑüÓĘ Ðøāãś üðĈāôèÑśüðĈô èăçíă æć çčÕø⪠čæò ěģ ĝĝĝĝ ĠĢĤě - Ĥğ íć æçö×èùðāÓð čæò ěģ ĜġğĢ ġěĞġ āċíĆüē ÓöāðùÿãöÐČôÿêòÿúñĀ ôèăæç ēĄ íă ðĈæć ôçčÕø⪠čæò ěģ ĝĝĝĝ ĠĢĤě - Ĥğ íć æçö×èùðāÓð čæò ěģ ĜġğĢ ġěĞġ ĎèÐāò×ĀĎèÐāò×Ā ãæĘāċíĆãüē æĘÓöāðùÿãöÐČôÿêòÿúñĀ ã äăãäŚãü äă ďãśãæäŚ ēĄ ðĈüďãś

äăãäāðÐāòċëñČëŚ íòÿçòòðÓĘ āùüèäāðúôĀ Ðíćæçö×è čãñíòÿüā×āòñŞ óæçăåăëė čùäĉ åăëæčô ďãś äăãäāðÐāòċëñČëŚ íòÿçòòðÓĘ āùüèäāðúôĀ Ðíćæçö×è čãñíòÿüā×āòñŞ ÓąÐóæçăÓė ąÐčùäĉ čô ďãś Ąē æĄē XXX CVEEIBLPT PSH ] NFEJB XBUOBQBIQPOH PSH ] XXX XBUOBQQ DPN ] XXX CVEEIBXBKBOBGVOE PSH XXX CVEEIBLPT PSH ] NFEJB XBUOBQBIQPOH PSH ] XXX XBUOBQQ DPN ] XXX CVEEIBXBKBOBGVOE PSH ÓôĆèē ù ö í '. .)[ æć ÐöĀèíòÿ ċöôā è ÓôĆèē ù ö í '. .)[ æć ÐöĀèíòÿ ċöôā è

ØéĀé Ĝě ØéĀé Ĝě

çăíćæçö×è čæò ěģ ĜğĠĢ ĝĞĠĝ Óć â÷òÙā čæò ěģ ĜĠĜĞ ĜġĜĜ Óć üāòĄöòòâ čæò ěģ ĠěĠģ ġģģģ ðĈôèăçăíðĈćæôèăçö×è čæò ěģ ĜğĠĢ ĝĞĠĝ Óć â÷òÙā čæò ěģ ĜĠĜĞ ĜġĜĜ Óć âüāòĄöâòòâ čæò ěģ ĠěĠģ ġģģģ éëĈäś üś ÖÐāòêÞă éäĀ çă òòòð äă äĀ íă æć çö×è #VEEIBXBKBOB 5SBJOJOH $FOUFS ùĘāúòĀéùĘëĈāäś úòĀüś ÖÐāòêÞă éäĀ çă òòòð äă ãäŚüďãśãæäŚ ēĄ ü ÷ĈďãśèæñŞê ēĄ ÷ĈÞăéèäĀñŞêíă Þăæć éçö×è #VEEIBXBKBOB 5SBJOJOH $FOUFS íæŞ ěĤ ĝĤĜĝ ĞġĠĢ ěĤ ĝĤĜĝ ĞĢĝĜ ěĤ ĝĤĜĝ ĞğĢĜ čæò÷Āíčæò÷Ā æŞ ěĤ ĝĤĜĝ ĞġĠĢ ěĤ ĝĤĜĝ ĞĢĝĜ ěĤ ĝĤĜĝ ĞğĢĜ

çăíćæçö×è čæò ěģ ĜğĠĢ ĝĞĠĝ Óć â÷òÙā čæò ěģ ĜĠĜĞ ĜġĜĜ Óć üāòĄöòòâ čæò ěģ ĠěĠģ ġģģģ ðĈôèăçăíðĈćæôèăçö×è čæò ěģ ĜğĠĢ ĝĞĠĝ Óć â÷òÙā čæò ěģ ĜĠĜĞ ĜġĜĜ Óć âüāòĄöâòòâ čæò ěģ ĠěĠģ ġģģģ éëĈäś üś ÖÐāòêÞă éäĀ çă òòòð äă äĀ íă æć çö×è #VEEIBXBKBOB 5SBJOJOH $FOUFS ùĘāúòĀéùĘëĈāäś úòĀüś ÖÐāòêÞă éäĀ çă òòòð äă ãäŚüďãśãæäŚ ēĄ ü ÷ĈďãśèæñŞê ēĄ ÷ĈÞăéèäĀñŞêíă Þăæć éçö×è #VEEIBXBKBOB 5SBJOJOH $FOUFS čæò ěģ ĤĢĤĜ ěĝĤĤ ěģ ĢĠĜĜ ģěĜě čæò ěģ ĤĢĤĜ ěĝĤĤ ěģ ĢĠĜĜ ģěĜě

äăãäāðÐāòċëñČëŚ íòÿçòòðÓĘ āùüèäāðúôĀ Ðíćæçö×è čãñíòÿüā×āòñŞ óæçăåăëė čùäĉ åăëæčô ďãś äăãäāðÐāòċëñČëŚ íòÿçòòðÓĘ āùüèäāðúôĀ Ðíćæçö×è čãñíòÿüā×āòñŞ ÓąÐóæçăÓė ąÐčùäĉ čô ďãś Ąē æĄē XXX CVEEIBLPT PSH ] NFEJB XBUOBQBIQPOH PSH ] XXX XBUOBQQ DPN ] XXX CVEEIBXBKBOBGVOE PSH XXX CVEEIBLPT PSH ] NFEJB XBUOBQBIQPOH PSH ] XXX XBUOBQQ DPN ] XXX CVEEIBXBKBOBGVOE PSH ÓôĆèē ù ö í '. .)[ æć ÐöĀèíòÿ ċöôā è ÓôĆèē ù ö í '. .)[ æć ÐöĀèíòÿ ċöôā è

×äć Ð ĝĜ ĝĠĜ ĜĤĜ ĉÐ üĘ ĝĜ ĝĠĜ ĜĤĜ éāôĄ éāôĄ ×äćÐĉÐ üĘ

êßðçòòð êßðçòòð

ÑśüðĈôçòòðÿèĄ Ĕ ×ĀüēãêòÿčñÙèŞ æĘāċíĆüē êòÿčñÙèŞ æāÖÐāò÷ą øāùĈùŚ āçāòâÙèċêŢ èçòòðæāè ôă ÑùăæèØéĀ çăĎė èäś ďĔ ãśòéĀ ÐāòùÖöèďöś ďðŚùæÖöèùă æçăĎė èÐāò×Ā ãæĘā×āÐ ÑśüðĈôçòòðÿèĄ Ĕ ×ĀãæĘāċíĆ æāÖÐāò÷ą ÐøāùĈùŚ ÐāçāòâÙèċêŢ èçòòðæāè ôă ÑùăæçăĎė èäś éèĄèďĔ ØéĀ ãśòéĀ èĄÐāòùÖöèďöś ďðŚùÖöèùă çăĎė èÐāò×Ā ãæĘā×āÐ éċíĆüē ċëñČëŚ ĎèæćÐ ĎèÐāò×Ā Ðò⥠ĎèÐāò×Ā āúòĆüċëñČëŚ ÓöāðôÿċüĄ ñãòüéÓüéċíĆ üē òĀÐøāÓöāðåĈ ÐäśüüÖÑüÖÑś üðĈāôêòą ÑüÓĘ āêòąāÐèÑś øāãś äśèØéĀäśéèċíĆØéĀ üē ċëñČëŚ ĎèæćÐÐò⥠ãæĘāúòĆãüæĘċëñČëŚ čêòãĎÙś čêòãĎÙś ÓöāðôÿċüĄ ñãòüéÓüéċíĆ üē òĀÐøāÓöāðåĈ ÐäśüÖÑüÖÑś ðĈô ÑüÓĘ Ðøāãś üðĈāôèÑśüðĈô èăçíă æć çčÕø⪠čæò ěģ ĝĝĝĝ ĠĢĤě - Ĥğ íć æçö×èùðāÓð čæò ěģ ĜġğĢ ġěĞġ āċíĆüē ÓöāðùÿãöÐČôÿêòÿúñĀ ôèăæç ēĄ íă ðĈæć ôçčÕø⪠čæò ěģ ĝĝĝĝ ĠĢĤě - Ĥğ íć æçö×èùðāÓð čæò ěģ ĜġğĢ ġěĞġ ĎèÐāò×ĀĎèÐāò×Ā ãæĘāċíĆãüē æĘÓöāðùÿãöÐČôÿêòÿúñĀ ã äăãäŚãü äă ďãśãæäŚ ēĄ ðĈüďãś

éëĈäś üś ÖÐāòêÞă éäĀ çă òòòð äă äĀ íă æć çö×è #VEEIBXBKBOB 5SBJOJOH $FOUFS ùĘāúòĀéùĘëĈāäś úòĀüś ÖÐāòêÞă éäĀ çă òòòð äă ãäŚüďãśãæäŚ ēĄ ü ÷ĈďãśèæñŞê ēĄ ÷ĈÞăéèäĀñŞêíă Þăæć éçö×è #VEEIBXBKBOB 5SBJOJOH $FOUFS čæò ěģ ĤĢĤĜ ěĝĤĤ ěģ ĢĠĜĜ ģěĜě čæò ěģ ĤĢĤĜ ěĝĤĤ ěģ ĢĠĜĜ ģěĜě

Ů :) A :)H#ů Ů :) A ŧ H)ĉŧ H)ĉ :)H#ů

üăèæòĄñùĀÖöò üăèæòĄñùĀÖöò

üćêòă ð Ĝğ ĝğğ ĞĠġ Ģ éāôĄ éāôĄ üćêòă ð Ĝğ ĝğğ ĞĠġ Ģ

5<5<!! += +=**2929 /+/+

&@&@ // ØéĀ ØéĀ!!éé ĤĤ &@&@ // !! êßðçòòð êßðçòòð

5:!! č ŧ 2:/ 9 M 3-:*D+= +Ċ5 3:0:2 :D&? L5 /:)D#đ !)< + 5:!! č ŧ 2:/ 9 M 3-:*D+= * +Ċ5* 3:0:2 :D&? L5 /:)D#đ !)< + +Ċ5L D&? L5 /:)D#đ D#đ:! H+D-ĉ 5*ĉ: H+D-ĉ H)ĉD+=*H)ĉ +ĊD+=5* D&?

/:)D#đ !09 +A! 09D#đ !+A5*ĉ : ħ : ħ 5:!! č ŧ G! + = !=M 0:2 :$A ! A E2/ 3:#+8F* !č 5:!! č ŧ G! + = !=M 0:2 :$A ĊD5K! AĊD 5KE2/ 3:#+8F* !č D ?M5 AD- ? M5 A- * /:)D5K / > E2 2:/ 9 M 3-:*/ĉ 5:09*5:09

/:)D5K ! AE-Ċ!/ A >E-Ċ E2 ++)E ĉ++)E ĉ 2:/ 9 M 3-:*/ĉ : :

MD#đ!H#D&? L5#+8F* !č M5 A&-/ D E ĉ&5 9 / DM 3-:* 5 9M 3-:* ß2<L !=ß2< MD#đL !!=H#D&? L5#+8F* !č D ?M5 AD- ?E ĉ KD#đ!H#D&? L5 /:)2@ E ĉ&5 9 / DM 3-:*à 9 5 9M 3-:*à 9 E-82<E-82< L !=M KD#đL !=!M H#D&? L5 /:)2@

E ĉ& / D !=MD#đ !!= ĊMD!#đ ! Ċ!

5:!! č ŧ 2:/ 9 M 3-:*5*ĉ !=ME- 5:!! č ŧ 2:/ 9 M 3-:*5*ĉ : !=ME:- +Ċ5 3:0:2 :D&? L5 /:)D#đ !)< D+ H)ĉ +Ċ5L D&? L5 /:)D#đ ?L5/ĉ: ?$AL5ĊD/ĉ+=*:$A +ĊĊD+=5* 3:0:2 :D&? L5 /:)D#đ !)< + H)ĉ +=* +ĊD+=5* D&?

/:)D#đ !09 +A!09 +A

5!9 M!D#đ 9! H# D&? D#đ!H# D&? L5#+8F* !č M5 AL5- /:)2@ D&?L5 /:)2@

Ċ5!9M! Ċ 9 L5#+8F* !č D ?M5 AD- ? D&?

E ĉ&5 9 / DM 3-:*D5 -5 :-!:!Ŵ 5 9M 3-:*D5 -5 :-!:!Ŵ E ĉ&/ D

ÕòāöāùÙèċôă÷ ÕòāöāùÙèċôă÷

äăãäāðÐāòċëñČëŚ íòÿçòòðÓĘ āùüèäāðúôĀ Ðíćæçö×è čãñíòÿüā×āòñŞ óæçăåăëė čùäĉ åăëæčô ďãś äăãäāðÐāòċëñČëŚ íòÿçòòðÓĘ āùüèäāðúôĀ Ðíćæçö×è čãñíòÿüā×āòñŞ ÓąÐóæçăÓė ąÐčùäĉ čô ďãś Ąē æĄē XXX CVEEIBLPT PSH ] NFEJB XBUOBQBIQPOH PSH ] XXX XBUOBQQ DPN ] XXX CVEEIBXBKBOBGVOE PSH XXX CVEEIBLPT PSH ] NFEJB XBUOBQBIQPOH PSH ] XXX XBUOBQQ DPN ] XXX CVEEIBXBKBOBGVOE PSH ÓôĆèē ù ö í '. .)[ æć ÐöĀèíòÿ ċöôā è ÓôĆèē ù ö í '. .)[ æć ÐöĀèíòÿ ċöôā è

+=*5 +Ċ 3:0:2 :D&? 5 3:0:2 :D&? L5 /:)D#đ $AĊD+=$A*ĊD +Ċ L5 /:)D#đ !)<! )<+ +

2:/ D3-ĉ !9M! 5 0:2 : *ĉ Ċ/ * = *ĉ5)D = 2:/ D3-ĉ :!9M!: 5 0:2 : *ĉ 5)'ď5)'ď Ċ/ * = *ĉ5 )D = L*3A'L*3Aď 'ď *ĉ5M ) 9 < L5D&? 8+A L5 8+A *ĉ5) 9 < M D&? Ċ 9L/ >Ċ 9L/ > E-8H)ĉ Q:$G3Ċ< : Q $< : Q 29L 25! 5 0:2 : E-8H)ĉ E -ĊE -Ċ Q: G3Ċ :29L :25! 5 0:2 :

åĕöôčŸÃŸŸćĎ ĂęĂßõĀĀþŸ áĄďþßĖ ñęÞĂď åĕöôčŸÃŸŸćĎ ĂęĂßõĀĀþŸ áĄďþßĖ ñęÞĂď

&@&@ // !!

&@&@ // !!

ÑśüðĈôçòòðÿèĄ Ĕ ×ĀüēãêòÿčñÙèŞ æĘāċíĆüē êòÿčñÙèŞ æāÖÐāò÷ą øāùĈùŚ āçāòâÙèċêŢ èçòòðæāè ôă ÑùăæèØéĀ çăĎė èäś ďĔ ãśòéĀ ÐāòùÖöèďöś ďðŚùæÖöèùă æçăĎė èÐāò×Ā ãæĘā×āÐ ÑśüðĈôçòòðÿèĄ Ĕ ×ĀãæĘāċíĆ æāÖÐāò÷ą ÐøāùĈùŚ ÐāçāòâÙèċêŢ èçòòðæāè ôă ÑùăæçăĎė èäś éèĄèďĔ ØéĀ ãśòéĀ èĄÐāòùÖöèďöś ďðŚùÖöèùă çăĎė èÐāò×Ā ãæĘā×āÐ éċíĆüē ċëñČëŚ ĎèæćÐ ĎèÐāò×Ā Ðò⥠ĎèÐāò×Ā āúòĆüċëñČëŚ ÓöāðôÿċüĄ ñãòüéÓüéċíĆ üē òĀÐøāÓöāðåĈ ÐäśüüÖÑüÖÑś üðĈāôêòą ÑüÓĘ āêòąāÐèÑś øāãś äśèØéĀäśéèċíĆØéĀ üē ċëñČëŚ ĎèæćÐÐò⥠ãæĘāúòĆãüæĘċëñČëŚ čêòãĎÙś čêòãĎÙś ÓöāðôÿċüĄ ñãòüéÓüéċíĆ üē òĀÐøāÓöāðåĈ ÐäśüÖÑüÖÑś ðĈô ÑüÓĘ Ðøāãś üðĈāôèÑśüðĈô èăçíă æć çčÕø⪠čæò ěģ ĝĝĝĝ ĠĢĤě - Ĥğ íć æçö×èùðāÓð čæò ěģ ĜġğĢ ġěĞġ āċíĆüē ÓöāðùÿãöÐČôÿêòÿúñĀ ôèăæç ēĄ íă ðĈæć ôçčÕø⪠čæò ěģ ĝĝĝĝ ĠĢĤě - Ĥğ íć æçö×èùðāÓð čæò ěģ ĜġğĢ ġěĞġ ĎèÐāò×ĀĎèÐāò×Ā ãæĘāċíĆãüē æĘÓöāðùÿãöÐČôÿêòÿúñĀ ã äăãäŚãü äă ďãśãæäŚ ēĄ ðĈüďãś

¤¦¦ Ù ´ ¨¥µ ª´ ¤¦¦ Ù ´ ¨¥µ ª´ ¦ ¦

Ê ®¨µ¥°¥n µÁ Ȧ » ¦»¬¡ª ­» oµ¥ ° Á¦µÁ¨¥ Á ° ´Á ° ´ Ê ®¨µ¥°¥n µÁ È » »¬¡ª ­» oµ ¥ ° Á¦µÁ¨¥

çăíćæçö×è čæò ěģ ĜğĠĢ ĝĞĠĝ Óć â÷òÙā čæò ěģ ĜĠĜĞ ĜġĜĜ Óć üāòĄöòòâ čæò ěģ ĠěĠģ ġģģģ ðĈôèăçăíðĈćæôèăçö×è čæò ěģ ĜğĠĢ ĝĞĠĝ Óć â÷òÙā čæò ěģ ĜĠĜĞ ĜġĜĜ Óć âüāòĄöâòòâ čæò ěģ ĠěĠģ ġģģģ éëĈäś üś ÖÐāòêÞă éäĀ çă òòòð äă äĀ íă æć çö×è #VEEIBXBKBOB 5SBJOJOH $FOUFS ùĘāúòĀéùĘëĈāäś úòĀüś ÖÐāòêÞă éäĀ çă òòòð äă ãäŚüďãśãæäŚ ēĄ ü ÷ĈďãśèæñŞê ēĄ ÷ĈÞăéèäĀñŞêíă Þăæć éçö×è #VEEIBXBKBOB 5SBJOJOH $FOUFS čæò ěģ ĤĢĤĜ ěĝĤĤ ěģ ĢĠĜĜ ģěĜě čæò ěģ ĤĢĤĜ ěĝĤĤ ěģ ĢĠĜĜ ģěĜě äăãäāðÐāòċëñČëŚ íòÿçòòðÓĘ āùüèäāðúôĀ Ðíćæçö×è čãñíòÿüā×āòñŞ óæçăåăëė čùäĉ åăëæčô ďãś äāðÐāòċëñČëŚ íòÿçòòðÓĘ āùüèäāðúôĀ íćæçö×è čãñíòÿüā×āòñŞ čô ďãś Ąē æĄē ćđġäôĒġęĢäõĊôĎ ĢäĈĂďÿûē äÞĀčôĦ ďÐĜöõĀĀþôĎ ĢäĈĂďÿęĈĂĿ Ģ Óė ąÐčùäĉ ęøŇäăãöXXX CVEEIBLPT PSH ] NFEJB XBUOBQBIQPOH PSH ] XXX XBUOBQQ DPN ] XXX CVEEIBXBKBOBGVOE PSH ćđęøŇ ġäôĒöġęõĊôĎ ĈĂďÿûē äÞĀčôĦ ďĜöõĀĀþôĎ ĢäĈĂďÿęĈĂĿ ďöĒĢ ďÓöĒąÐóæçă XXX CVEEIBLPT PSH ] NFEJB XBUOBQBIQPOH PSH ] XXX XBUOBQQ DPN ] XXX CVEEIBXBKBOBGVOE PSH ÓôĆèē ù ö í '. .)[ æć ÐöĀèíòÿ ċöôā è ÓôĆèē ù ö í '. .)[ æć ÐöĀèíòÿ ċöôā è

5:!! č ŧ D&+:8 8!9 M! G!D+? M &/ D M 3-:* 5:!! č ŧ D&+:8 8!9 M! G!D+? L5 !=L5M != &/ D 5 9M 5 9 3-:* 5 3: : D&? L5 /:)D#đ )< +D < D+= D+= * +Ċ*5 +Ċ 3: : D&? L5 /:)D#đ !)< !+D < D+=*5 +Ċ D&?5 D&? L5 /:)D#đ 5*ĉ:5*ĉ D+=*: +Ċ L5 /:)D#đ !09 !+A09D -*+AD-*

æùÐ üĘ ĝğ Ĝģģ ĤĜ éāôĄ éāôĄ æùÐ üĘ ĝğ Ĝģģ ĤĜ

¡ x zw¦ x }¡ ÙÙ¦ ¡ ÙÙ¦ zw¦ }¡ ¦ · ¤ ¦ ¡ · ¤ ¤¦ Ù¦¡ ¤ ¡ ¦ ¤Ù¦} ¦}¡ ¡ ¤}¦} ¡

Á¡¦µ³ ªµ¤­· Ê Å Â®n · ¨³¦µ ³ ¨n Á¡¦µ³ ªµ¤­· Ê Å Â®n ´ · ´Â ¨³¦µ ³ ¨n µªÅ oµªÅ o ªnµ ªnµ ¡o ªÂ¨o oªw¥ ¸ v · v · ®¨» ®¨» ¡o ¨o oªª¥ ¸ çĄÚw çĄ ìĈĘ ÚìĈĘ

ݪz Þ ² | Ùx |Ü w Þ ²Ù h |} w ØÝx |Ü w Þ Ýªz Þ ² | Ùx |Ü w Þ ²Ù h |} w ØÝx |Ü w Þ ²Ù ²Ù

ÑśüðĈôçòòðÿèĄ Ĕ ×ĀüēãêòÿčñÙèŞ æĘāċíĆüē êòÿčñÙèŞ æāÖÐāò÷ą øāùĈùŚ āçāòâÙèċêŢ èçòòðæāè ôă ÑùăæèØéĀ çăĎė èäś ďĔ ãśòéĀ ÐāòùÖöèďöś ďðŚùæÖöèùă æçăĎė èÐāò×Ā ãæĘā×āÐ ÑśüðĈôçòòðÿèĄ Ĕ ×ĀãæĘāċíĆ æāÖÐāò÷ą ÐøāùĈùŚ ÐāçāòâÙèċêŢ èçòòðæāè ôă ÑùăæçăĎė èäś éèĄèďĔ ØéĀ ãśòéĀ èĄÐāòùÖöèďöś ďðŚùÖöèùă çăĎė èÐāò×Ā ãæĘā×āÐ āúòĆüċëñČëŚ ÓöāðôÿċüĄ ñãòüéÓüéċíĆ üē òĀÐøāÓöāðåĈ ÐäśüüÖÑüÖÑś üðĈāôêòą ÑüÓĘ āêòąāÐèÑś øāãś éċíĆüē ċëñČëŚ ĎèæćÐ ĎèÐāò×Ā Ðò⥠ĎèÐāò×Ā ãæĘāúòĆãüæĘċëñČëŚ čêòãĎÙś čêòãĎÙś ÓöāðôÿċüĄ ñãòüéÓüéċíĆ üē òĀÐøāÓöāðåĈ ÐäśüÖÑüÖÑś ðĈô ÑüÓĘ Ðøāãś üðĈāôèÑśüðĈô äśèØéĀäśéèċíĆØéĀ üē ċëñČëŚ ĎèæćÐÐò⥠çăíćæçčÕø⪠čæò ěģ ģğĤğ ģěģĞ íć æçö×èùðāÓð čæò ěģ ĜġğĢ ġěĞġ āċíĆēüÓöāðùÿãöÐČôÿêòÿúñĀ ôèăæç Ąē ăíðĈćæôèăçčÕø⪠čæò ěģ ģğĤğ ģěģĞ íć æçö×èùðāÓð čæò ěģ ĜġğĢ ġěĞġ ĎèÐāò×ĀĎèÐāò×Ā ãæĘāċíĆãēüæĘÓöāðùÿãöÐČôÿêòÿúñĀ ã äăãäŚãü äă ďãśãæäŚ Ąē üðĈďãś

šđïĊ÷éđïĊ îñĎšêøąĀîĊ đöČęĂñĎđöČ šĂČęîęĂđðŨñĎšĂîČęîñĎđðŨ šđïĊî÷ñĎéđïĊ î ÷î đöČęĂñĎđöČ šĂČęîęĂđðŨñĎšĂîČęîñĎđðŨ šêøąĀîĊ ę ę Ÿ ÞęĀďåĎ ę÷Ēÿñę÷Ē ÞęĀďåĎ ŀĝþĿòĀčĈöĒ Ÿ ęĀďåĎ ęøŇöÞùĖęøŇ ŀĝþĿöę÷ĒùĖÿŀĝþĿñę÷Ē öŸ ÿöŸ ęĀďåĎ ęøŇöÞùĖęøŇ ŀĝþĿöòùĖĀčĈöĒ ġ ġ ñĎšĂČęîÖøąìĞ ćðćèćêĉ šēĂšĂüé đöČęĂñĎđöČ šĂČęîęĂÖøąìĞ ćðćèćêĉ ïćê ïćê đöČęĂñšđöČ ĎĂČęîęĂđðŨñšĎĂîČęîñĎđðŨ šēĂšîĂñĎüé Ÿ ÞęĀďåĎ ęĄŀößďñåďÞøďðďòđ Ÿ ÞęĀďåĎ ěĊŀĊĄñŸ Ÿ ęĀďåĎ ęĄŀöÞßďñåďÞøďðďòđ ÷ďòŸ÷ďòŸ Ÿ ęĀďåĎ ęøŇöÞùĖęøŇ ŀĝþĿöěùĖĊŀŀĝĊþĿĄñŸ ñĎšĂČęîÖøąìĞ Ăìĉîîćìćî ñĎšöĊöćø÷ć đöČęĂñĎđöČ šĂČęîęĂÖøąìĞ ćĂìĉîćîćìćî đöČęĂñĎđöČ šĂČęîęĂđðŨñĎšĂîČęîñĎđðŨ šöĊöîćø÷ć Ÿ ÞęĀďåĎ ęĄŀößďñåďÞĊôđ ööďôďö Ÿ ÞęĀďåĎ þĿþĒþďĀÿďŸ Ÿ ęĀďåĎ ęĄŀöÞßďñåďÞĊôđ ööďôďö Ÿ ęĀďåĎ ęøŇöÞùĖęøŇ ŀĝþĿöþùĖĒþŀĝďĀÿďŸ ČęîóĎÝé óĎ đìĘéÝÿŠ óĎ ĂđÿĊ÷é îñĎšÖćøąéš đöČęĂñĎđöČ šĂČęîęĂóĎñĎéšĂđìĘ ĂđÿĊéÿŠ÷é đöČęĂñĎđöČ šĂČęîęĂđðŨñĎšĂîČęîñĎđðŨ šÖøąéš Ü ćÜ åĕĂöôčŸÃŸŸćĎ ĂęĂßõĀĀþŸ áĄďþßĖ éÙĞćĀ÷ćï óĎ Ÿ ÞęĀďåĎ ÞùĖęøŇ ŀĝęÞĂď þĿÞďĀčñŀ ôčŸÃŸŸćĎ ĂęĂßõĀĀþŸ áĄďþßĖ óĎéÙĞćóĎĀ÷ćï óĎ éđóšĂéđÝšåĕđóšĂöĂđÝš Ÿ ęĀďåĎ ęøŇöñ ŀĝęÞĂď þĿöÞñùĖĀčñŀ äŸ ďäŸ Ÿ ÞęĀďåĎ ęĄŀößďñåďÞÞďĀûĖ ęôĠĈĂďÿûē 域ĢäĈĂďÿûē đðŨ ćđġäåôĒñŸŸġęĢäõĊôĎ ďšĂĜöõĀĀþôĎ Ÿ ęĀďåĎ ęĄŀöÞßďñåďÞÞďĀûĖ ęôĠ đöČ ęĂñĎđöČ ČęîęĂđðŨñĎšĂîĢäČęîñĎĈĂďÿęĈĂĿ šéĎĀîĢäöĉñĎĈĂďÿęĈĂĿ ęîšéìŠĎĀćöĉďî öĒęîĢ ìŠćďî öĒĢ ęøŇöćđęøŇ ġäôĒñöġęõĊôĎ äÞĀčôĦäÞĀčôĦ ďĜöõĀĀþôĎ ñćĿÿĊñŸęćĒ ñáĦďĈÿď÷ŸûĖ Ÿ ÞęĀďåĎ Ÿ ûĖŸ ñćĿĊûĖęćĒ ŸûĖÿññŸáĦŸďûĖĈÿď÷ŸûĖ ñęûŀĊñęåŀęûŀĊĊŸ ęåŀĊŸ Ÿ ęĀďåĎ ęøŇöÞùĖęøŇ ŀĝþĿöñùĖĖĈŀĝþđþĿġöñôĿĖĈďþđöġöôĿďö đöČ ęĂöćÖéš öćÖéš ßáć đöČ ęĂđðŨñĎñĎššĂĂîČČęęîîñĎđðŨ đðŨîî÷ćÖ ÷ćÖ đöČęęĂĂñĎñĎđöČ đöČęęĂĂñĎñĎđöČ ñĎñĎššĂĂîČČęęîîñĎđðŨ î÷ñĎéđïĊ šđüïĊß÷Ăõĉ ÷áć éđïĊ ñĎñĎššêüŠćøąĀîĊ đöČ ššĂĂČČęęîîęĂđðŨ šđüïĊ÷Ăõĉ î ÷î đöČ ššĂĂČČęęîîęĂđðŨ îñĎššêüŠćøąĀîĊ ę ę ÞęøŇ ŀĝþĿþę÷ĒĄďÞñŀ ĄÿĊýđ ęĀďåĎ ęøŇ öùĖŀŀĝĄÿŸþĿĿďòäĿďĀčĈöĒ ÿŸ ęøŇ ŀŀĝĝþĿþĿööþę÷ĒùĖùĖďÞñŀ ÿĊýđ ęĀďåĎ ęøŇööÞÞùĖùĖęøŇ Ÿ ÞÞęĀďåĎ ęĀďåĎ ÿñę÷Ē öŸ çéďŸ Ÿ ÞÞęĀďåĎ Ÿ ęĀďåĎ ęĀďåĎ ęøŇööÞùĖùĖęøŇ ÿŀĝþĿñę÷Ē öŸ çÿéďŸ Ÿ ęĀďåĎ ęøŇ ŀŀĝĄþĿĿďöòäĿùĖďĀčĈöĒ ġ ġ đöČ ęĂöĊñĎñĎÝššĂĂĉêČČęęîîó÷ćïćì öĊÝĉêó÷ćïćì đöČ ęĂđðŨñšñĎĎšĂĂîČČęęîîñĎđðŨ đðŨîñĎøßĆ øßĆęü đöČęęĂĂñĎñĎđöČ đöČęęĂĂñšñĎđöČ ÖøąìĞ ćðćèćêĉ ššēöĂšĊöęüĂĉê üé đöČ ššĂĂČČęęîîęĂÖøąìĞ ćðćèćêĉ ïćê ïćê đöČ ĎšĂĂČČęęîîęĂđðŨ îñĎššēöĂšĊöîĂĉêñĎüé ÞùĖęøŇ ùĖĒåŀĝđòþĿûÿď÷ďôŸ þĒåđòûÿď÷ďôŸ ęøŇ öùĖŀŀĝþþĿĒþŸěđòĊŀĀñĒ Ÿ ęøŇ ęøŇööÞÞùĖùĖęøŇ Ÿ ÞÞęĀďåĎ ęĀďåĎ ęĄŀŀĝþĿööþßďñåďÞøďðďòđ ŸŸ ÞÞęĀďåĎ ęĀďåĎ Ÿ ęĀďåĎ ęĀďåĎ ęĄŀööÞßďñåďÞøďðďòđ ÷ďòŸ÷ďòŸ ŸŸ ęĀďåĎ ęĀďåĎ ęøŇ ŀŀĝþþĿĒþöěđòùĖĊŀĀñĒ ĊĄñŸĊĄñŸ đöČ ęĂđðŨñĎñĎššĂĂîČČęęîîñĎÖøąìĞ đðŨ čŜÜàŠćîî đöČ ęĂđðŨñĎñĎššĂĂîČČęęîîñĎđðŨ đðŨîîñĎñĎššöðĊøąöćì đöČęęĂĂñĎñĎđöČ šôćĂìĉ čŜÜîàŠñĎćîšôćî đöČęęĂĂñĎñĎđöČ Ăìĉ îćìćî öćø÷ć đöČ ššĂĂČČęęîîęĂÖøąìĞ îćìćî đöČ ššĂĂČČęęîîęĂđðŨ îñĎššöðĊøąöćì öćø÷ć Ÿ ÞęĀďåĎ ÞùĖęøŇ ùĖĕĻäŀĝèĿþĿďüöŸĕĻäèĿďöŸööďôďö Ÿ ÞęĀďåĎ ÞęøŇ ŀŀĝĝþĿþĿøþĒþĀčþďô Ÿ ęĀďåĎ ęøŇ Ÿ ęĀďåĎ ęøŇ ŀŀĝĝþĿþĿööøþùĖùĖĒþĀčþďô ęĄŀŀĝþĿööüßďñåďÞĊôđ ęĀďåĎ ÞęĀďåĎ ęĄŀööÞßďñåďÞĊôđ ööďôďö ęĀďåĎ ÞęĀďåĎ ęøŇööÞùĖùĖęøŇ ďĀÿďŸďĀÿďŸ đöČ ñĎšĂČČęęîîñĎđðŨ îēÖøí ñĎ ēÖøí ñĎ đöČ ñĎšĂČęîđðŨ îîöñĎñĎĊĀššĕÖĉøöŠøąéš öĊĀćĉøÜ ĉ ĒúąēĂêêĆ đöČ ššĂĂČČęęîîęęĂĂđðŨ đöČ ššĂĂČČęęîîęęĂĂđðŨ ššĕÖöŠøąéš ððą ððą óĎšöÝéĆÖ óĎ đìĘñĎéšöÝÿŠĆÖ óĎ ĂđÿĊÖ÷ēÖøí é đöČęęĂĂñĎñĎđöČ óĎñĎéšĂîđìĘ ĂđÿĊéÖÿŠ÷ēÖøí é đöČęęĂĂñĎñĎđöČ đðŨñĎšĂîîČęîñĎñĎđðŨ ćÜ ĉ ĒúąēĂêêĆ óĎéÙĞÞćęĀďåĎ þĿþĎÞěÞĀõŸŸùĖÞěÞĀõŸ Ÿ ÞęĀďåĎ ÞęøŇ đŸŸĚĂčěĊòòĎ øøčŸ ęøŇ öÞùĖéęøŇ ŀĝđóšþĿöĂþùĖéđÝšĎÞŀĝđóšěÞĀõŸŸùĖ ęøŇ ŀŀþĝþĿĒĈööÞđĀùĖùĖĀčñŀ đŸŀŀþĝŸĚĂčěĊòòĎ Ā÷ćï óĎ þĿĒĈÞđďĀĀčñŀ óĎ éÙĞćęĀďåĎ Ā÷ćï óĎ Ă Ăđݚà ÞěÞĀõŸ Ÿ ęĀďåĎ ęĀďåĎ ÞęĀďåĎ ęøŇööÞùĖùĖęøŇ äŸ ďäŸøøčŸ šĂîČęîñĎđðŨ îęĄŀñĎöšúŠÙßďñåďÞÞďĀûĖ ïĀúĎ đöČ ęĂđðŨñĎñĎššĂĂîČČęęîîñĎđðŨ đðŨîñĎššéöĎĊĀÿĂčêöĉ÷ ąîš Ă÷ šĂČęîęĂđðŨñĎÞęĀďåĎ ïĀúĎ čè ŠÙčè ñęôĠåñŸŸęôĠ域 đöČęęĂĂñĎñĎđöČ ŸđöČ ŸđöČęĂñĎęĀďåĎ ęĄŀöšúÞßďñåďÞÞďĀûĖ đöČ ššĂĂČČęęîîęĂđðŨ îñĎššéöĎĊĀÿîčêöĉñĎąîš ęîìŠćî ęîìŠćî ęĀďåĎ ŀĝþĿĂñĿá÷ĈĂĖ Ÿ ÞęøŇ ŀŀþĝþĿĒćñĕòĖĈčþďÞŸ ŀĝŸûĖþĿöÿĂñùĖñŸ÷ĈĂĖ Ÿ Ŀáĕð ęøŇ ŀŀþĝþĿĒćööñĕòùĖùĖĖĈčþďÞŸ ñćĿöÿÞĊùĖñŸęøŇ ęćĒ áĦĕðďĈÿď÷ŸûĖ Ÿ ÞÞęĀďåĎ ęĀďåĎ Ÿ ęĀďåĎ ûĖŸ ñćĿÞĊûĖęøŇ ęćĒ áĦŸďûĖĈÿď÷ŸûĖ ñęûŀĊñęåŀęûŀĊĊŸ ęåŀĊŸ Ÿ ęĀďåĎ ęĀďåĎ ęøŇööÞùĖùĖęøŇ þđġöôĿďþđöġöôĿďö đöČ ęĂđðŨñĎñĎššĂĂîČČęęîîñĎöćÖéš đðŨ îÜñĎéĊšĒ ü ׊÷Ăõĉ ÜéĊ đöČ ęĂđðŨñĎñĎššĂĂîČČęęîîñĎđðŨ đðŨîñĎñĎ÷Ý ÷Ý đöČęęĂĂñĎñĎđöČ šĒü׊÷Ăõĉ đöČęęĂĂñĎñĎđöČ ššü׊ćĊĚđÖĊ÷ćÖ đöČ ššĂĂČČęęîîęĂöćÖéš ßáć ßáć đöČ ššĂĂČČęęîîęĂđðŨ îñĎššü׊ćĊĚđîÖĊ÷ćÖ ÞęĀďåĎ ÞęøŇ ŀŀĝĝäþĿþĿñĒĚþßĿďÞñŀ äñĒ Ÿ ÞęĀďåĎ ÞęøŇ ööùĖùĖŀŀøĄĿďĀďĀýáĄďþęûĒ ÿĀŸ ęĀďåĎ ęøŇ ŀŀĝĝþĿþĿööĚþùĖùĖßĿďÞñŀ Ÿ ęĀďåĎ ęøŇ ŀŀøĄĿďĀďĀýáĄďþęûĒ ęĀďåĎ ÞęĀďåĎ ęøŇööÞùĖùĖęøŇ ĄÿĊýđĄçÿĊýđ éďŸçéďŸ ęĀďåĎ ÞęĀďåĎ ęøŇööÞùĖùĖęøŇ äĿďÿŸ äĿďÿŸ ÿĀŸ đöČ ęĂñĎšĂČęîöĊđðŨ ñĎó÷ćïćì šøĉþ÷ć đöČęęĂĂñĎñĎđöČ šøĉÝþîĉê÷ć đðŨ šöĊöęüĉê øßĆęü đöČ ššĂĂČČęęîîęĂöĊđðŨñĎÝšĂîĉêČęîñĎó÷ćïćì đöČęĂñĎđöČ šĂČęîęĂđðŨñĎ šĂîðĈČęî ñĎ ð Ĝĝ Ģģ Ĝěġ šöĊöîĉêñĎøßĆ Ÿ ÞęĀďåĎ ęĀďåĎ ęøŇ öùĖŀĝþĿþĿþĀđĆĒåÿďŸ éāôĄ éāôĄ Ÿ ęĀďåĎ ęĀďåĎ ęøŇööÞÞùĖùĖęøŇ đòûÿď÷ďôŸ ŸðĈ ð Ĝĝ Ģģ Ĝěġ ŀþĒþŸđòĀñĒŸ ÞęøŇ ŀŀĝĝþĿþĿöþĀùĖđĆĒåŀĝÿďŸ đòûÿď÷ďôŸ Ÿ ęĀďåĎ ÞęĀďåĎ ęøŇöÞùĖęøŇ ŀþĒþöđòùĖĀñĒ îñĎšðøąöćì đöČęĂñĎđöČ šĂČęîęĂđðŨñĎšĂîČęîñĎđðŨ šôčŜÜîàŠñĎćšôî čŜÜàŠćî đöČęĂñĎđöČ šĂČęîęĂđðŨñĎšĂîČęîñĎđðŨ šðøąöćì ęĀďåĎ ĕĻäÐèĿøāùĈďöŸ èäś þĿøĀčþďô Ñś üðĈôçòòðÿèĄ Ĕ ×ĀęøŇ æĘöāÞċíĆ āÖÐāò÷ą øāùĈùŚ āçāòâÙèċêŢ èçòòðæāè ôă ÑùăæèØéĀ çăÞĎė ęĀďåĎ èäś éĀ ŀĝÐāòùÖöèďöś ďðŚùæÖöèùă æçăĎė èÐāò×Ā ãæĘā×āÐ ęĀďåĎ ùĖęøŇ ŀüĝē êòÿčñÙèŞ þĿöüæùĖāÖÐāò÷ą ĕĻäŀĝèĿþĿďüæöŸ ÑùăæçăĎė ęĀďåĎ þĿďĔöãśøùĖòĀčþďô ÑśüðĈôçòòðÿèĄ Ĕ ×ĀãæĘāÞċíĆ üēãêòÿčñÙèŞ ùŚ ÐāçāòâÙèċêŢ èçòòðæāè ôă éęøŇèĄèďĔöØéĀ ãśÞùĖòéęøŇ Ā ŀĝèĄÐāòùÖöèďöś ďðŚùÖöèùă çăĎė èÐāò×Ā ãæĘā×āÐ éšĂċíĆ ÖĎèÐāò×Ā æĘċëñČëŚ āúòĆüċëñČëŚ ÓöāðôÿċüĄ ÐäśüüÖÑüÖÑś üððĈāðą ôêòą ÑüÓĘ āêòąāÐèÑś øāãś äśèØéĀäśđöČ éèċíĆęĂØéĀ üēñĎċëñČëŚ ãēÖøí æĘāúòĆ čêòãĎÙś čêòãĎÙś ÓöāðôÿċüĄ КĕöŠøāÓöāðåĈ ÐĊĀäśĉøüĉ ÖÑüÖÑś ô ÑüÓĘ Ðøāãś üðĈāôèÑśüðĈô đöČ šĂîĎèæć ČęîñĎđðŨ îĎèæć ñĎšöÐ ĎèÐāò×Ā ĆÖÐò⥠ēÖøí ñĎ ÖãüēÖøí ęĂđðŨñĎšĂîüē ČęîñĎòĀđðŨ îöüē ñĎĊĀòĀКĕĉøöŠøāÓöāðåĈ ĒúąēĂêêĆ ČęîęĂđðŨüēñĎċëñČëŚ šöÐĆÖÐò⥠ēÖøí ñĎ đöČñãòüéÓüéċíĆ ęĂñĎđöČ šĂñČęîãòüéÓüéċíĆ ĉ ö ĒúąēĂêêĆ ððĈðą èăçíă æć çčÕø⪠čæò ěģ ĝĝĝĝ ĠĢĤě - Ĥğ íć æçö×èùðāÓð čæò ěģ ĜġğĢ ġěĞġ āċíĆüē ÓöāðùÿãöÐČôÿêòÿúñĀ ãæäŚ ēĄ ðĈüďãś èăæç ēĄ íă ðĈæć ôçčÕø⪠čæò ěģ ĝĝĝĝ ĠĢĤě - Ĥğ íć æĒĈçö×èùðāÓð čæò ěģ ĜġğĢ ġěĞġ ĎèÐāò×ĀĎèÐāò×Ā ãäŚãü äă ãüē æĘÓöāðùÿãöÐČôÿêòÿúñĀ öþùĖĎÞŀĝěÞĀõŸŸùĖ þĿþãĎÞ äăěÞĀõŸŸùĖ ÞôěÞĀõŸ ÞęĀďåĎ ęøŇ đĀđŸŸĚĂčěĊòòĎ ãæĘāċíĆęĀďåĎ ÞęĀďåĎ ęøŇöçÞăíùĖęøŇ ÞďãśěÞĀõŸ ęĀďåĎ ęøŇöâÞùĖüāòĄ ŀþĒĈööâòòâ čæò ěģ ĠěĠģ ġģģģ đĀùĖüāòĄ đŸŀþŸĚĂčěĊòòĎ øøčŸøøčŸ ćæŀĝþĿ çö×è čæò ěģ ĜğĠĢ ĝĞĠĝ Óć â÷òÙā čæò ěģ ĜĠĜĞ ĜġĜĜ Óć öòòâ čæò ěģ ĠěĠģ ġģģģ ðĈôèăçăíðĈćæôèăçö×è čæò ěģ ĜğĠĢ ĝĞĠĝ Óć â÷òÙā čæò ěģ ĜĠĜĞ ĜġĜĜ Óć îñĎšúŠÙïĀúĎ šöĊÿĂčê÷ ąîšĂ÷ đöČęĂñĎđöČ šĂČęîęĂđðŨñĎšĂîČęîñĎđðŨ šúïĀúĎ čè ŠÙčè đöČęĂñĎđöČ šĂČęîęĂđðŨñĎšĂîČęîñĎđðŨ šöĊÿîčêñĎąîš éëĈäś üś ÖÐāòêÞă éäĀ çă òòòð äă äĀ íă æć çö×è #VEEIBXBKBOB 5SBJOJOH $FOUFS āúòĀéùĘëĈÞāäś úòĀ äĀ çă òòòð äă äŚüďãśãæäŚ ēĄ ü ÷ĈďãśèæñŞê ēĄ ÷ĈÞăéèäĀñŞêíă Þăæć éçö×è #VEEIBXBKBOB 5SBJOJOH $FOUFS ùĘÞęĀďåĎ öĂùĖ÷ĈĂĖ ŀĝþĿĂéĿá÷ĈĂĖ ĿáíĕðæŞãŸ ěĤ ĝĤĜĝ ĞġĠĢ ěĤ ĝĤĜĝ ĞĢĝĜ ěĤ ĝĤĜĝ ĞğĢĜ ÞęĀďåĎ ŀþĒćĕòčþďÞŸ ęĀďåĎ ęøŇöùĖęøŇ ŀĝüś þĿÖÐāòêÞă ĕðæŞŸ ěĤ ĝĤĜĝ ĞġĠĢ ěĤ ĝĤĜĝ ĞĢĝĜ ěĤ ĝĤĜĝ ĞğĢĜ ęĀďåĎ ęøŇöÞùĖęøŇ ŀþĒćöĕòùĖčþďÞŸ čæò÷Āíčæò÷Ā š×ĊĚđÖĊ÷Ý đöČęĂñĎđöČ šĂČęîęĂđðŨñĎšĂîČęîñĎđðŨ šĒ׊îÜñĎéĊšĒ ׊ÜéĊ đöČęĂñĎđöČ šĂČęîęĂđðŨñĎšĂîČęîñĎđðŨ š×ĊĚđîÖĊñĎ÷Ý äăãäāðÐāòċëñČëŚíòÿçòòðÓĘ āùüèäāðúôĀ Ðíćæçö×è čãñíòÿüā×āòñŞ óæçăåăëė čùäĉ åăëæčô ďãś æĄē äāðÐāòċëñČëŚ Ðíćæçö×è čãñíòÿüā×āòñŞ ÓąÐöóæçă čô ďãś ÞęĀďåĎ ÞùĖęøŇ ñĒ āùüèäāðúôĀ ÞęĀďåĎ ùĖÓŀøė ąÐčùäĉ ĀďĀýáĄďþęûĒ ęĀďåĎ ęøŇäăãöXXX CVEEIBLPT PSH ] NFEJB XBUOBQBIQPOH PSH ] XXX XBUOBQQ DPN ] XXX CVEEIBXBKBOBGVOE PSH ŀĝþĿöĚùĖßĿŀĝäþĿñĒĚßĿíäòÿçòòðÓĘ ęĀďåĎ ęøŇöÞùĖęøŇ ŀøĀďĀýáĄďþęûĒ ÿĀŸĄē ÿĀŸ XXX CVEEIBLPT PSH ] NFEJB XBUOBQBIQPOH PSH ] XXX XBUOBQQ DPN ] XXX CVEEIBXBKBOBGVOE PSH ñĎšøĉþ÷ć ÓôĆèē ù ö í '. .)[ æć đöČęĂñĎđöČ šĂČęîęĂđðŨñĎšĂîČęîñĎđðŨ šøĉþî÷ć ÓôĆèē ù ö í '. .)[ æć ÐöĀèíòÿ ċöôā è ÐöĀèíòÿ ċöôā è ðĈ ð Ĝĝ Ģģ Ĝěġ Ÿ ÞęĀďåĎ þĿĀđĆÿďŸ éāôĄ éāôĄ ðĈ ð Ĝĝ Ģģ Ĝěġ Ÿ ęĀďåĎ ęøŇöÞùĖęøŇ ŀĝþĿöĀùĖđĆŀĝÿďŸ

ØéĀé ģ ØéĀé ģ

ØéĀé Ģ ØéĀé Ģ

ÙĀïéĊ b ÖćöēõÙĊ ÝĞćóüÖîĊ îÖćöēõÙĊ đúĉĚîýðøąđÿøĉ ßĆĚîðøąđÿøĉ ÙĀïéĊ b ÖćöēõÙĊ ÝĞćóüÖîĊ Ě đðŨîĚ đðŨ ÖćöēõÙĊ ßĆĚîđúĉßýĆĚî ßĆ å å ĀĆüćĀîš ßĆĚîïüø ÖüŠ ćÖćöēõÙĊ ìĆĚÜĀúć÷ đðøĊ ÷ïđÿöČ ßĆĚîĀĆßĆüĚîĀîš ßĆĚîćÿĎ ßĆÜĚîÿčÿĎéÜ ßĆÿčĚîéïüø ÖüŠ ćÖćöēõÙĊ ìĆĚÜĀúć÷ đðøĊ ÷ïđÿöČ Ăî Ăî îöÿéđÖĉ éÝćÖĒöŠ ēÙ îöÿš đÖĉéÝćÖîöÿé đî÷ך đÖĉéÝćÖîöÿš îöÿéđÖĉ éÝćÖĒöŠ ēÙ îöÿš öđÖĉéöÝćÖîöÿé đî÷ך îđÖĉéîÝćÖîöÿš ö ö đî÷ĔÿđÖĉ éÝćÖđî÷ך ĀĆüđî÷ĔÿđÖĉ éÝćÖđî÷Ĕÿ đî÷ĔÿđÖĉ éÝćÖđî÷ך î ĀĆîüđî÷ĔÿđÖĉ éÝćÖđî÷Ĕÿ ĀĆüđî÷ĔÿðøćÖäüŠ đúĉýćÖüŠ ćïøøéćøÿĂĆ đÖĉéÝćÖēÙìĆ ĚÜĀúć÷đĀúŠ îĆĚîî ÞĆ ĀĆüđî÷ĔÿðøćÖäüŠ ćđúĉýćÖüŠ ïøøéćøÿĂĆ îđÖĉéîÝćÖēÙìĆ ĚÜĀúć÷đĀúŠ ćîĆĚîć ÞĆ îĆĚîî îĆĚî

x ÙÙ¦ ¡w¦x¬ zw¦ zw¦ x ÙÙ¦ ¡w¦x¬

Á¡¦µ³ ªµ¤­· Ê Å Â®n ¦µ ³ ¹ ¤¸ ªµ¤­· Ê Å Â®n Á¡¦µ³ ªµ¤­· Ê Å Â®n ¦µ ³ ¹ ¤¸ ªµ¤­· Ê Å Â®n ´ · ´ ·

°µ r ¨¥µ ª´ Ê Á È °¥n µ Ŧ " ¸ Ê º ° °¦· ¥¤¦¦ ¤¸ r Ù °µ r ´ ´ ¨¥µ ª´ ¦ ¸ Ê Á Ȧ ¸ °¥n µ Ŧ " ¸ Ê º ° °¦· ¥¤¦¦ ¤¸ ° r° Ù ªµ¤ µ ­¼ ´¨¥µ ª´ ¦ ¸ÄÊ ¤¸ ªµ¤ µ ­¼ ®n ®n ´¨ ¥µ ª´ ¦ ¸ Ê ¤¸ ¥»Ä ¥» ®n ®n »¦»¬ »Ä ¦»¬Ä ¦»¬ ­» oµ¥Â®n ´ Ê ®¨µ¥ »¦»¬ » ´¦ Ê »¬ º ´É ° Ê ªn ºµÉ »°ªn¦µ»¬ » ­» oµ ¥Â®n »¦»¬ » ´¦ Ê »¬®¨µ¥

&&@ @ // !! &&@ @ // !! &&@ @ // !! &&@ @ // !! &&@ @ // !! &&@ @ // !! &&@ @ // !! çăíćæçö×è čæò ěģ ĜğĠĢ ĝĞĠĝ Óć â÷òÙā čæò ěģ ĜĠĜĞ ĜġĜĜ Óć üāòĄöòòâ čæò ěģ ĠěĠģ ġģģģ ðĈôèăçăíðĈćæôèăçö×è čæò ěģ ĜğĠĢ ĝĞĠĝ Óć â÷òÙā čæò ěģ ĜĠĜĞ ĜġĜĜ Óć âüāòĄöâòòâ čæò ěģ ĠěĠģ ġģģģ éëĈäś üś ÖÐāòêÞă éäĀ çă òòòð äă äĀ íă æć çö×è #VEEIBXBKBOB 5SBJOJOH $FOUFS ùĘāúòĀéùĘëĈāäś úòĀüś ÖÐāòêÞă éäĀ çă òòòð äă ãäŚüďãśãæäŚ ēĄ ü ÷ĈďãśèæñŞê ēĄ ÷ĈÞăéèäĀñŞêíă Þăæć éçö×è #VEEIBXBKBOB 5SBJOJOH $FOUFS íæŞ ěĤ ĝĤĜĝ ĞġĠĢ ěĤ ĝĤĜĝ ĞĢĝĜ ěĤ ĝĤĜĝ ĞğĢĜ čæò÷Āíčæò÷Ā æŞ ěĤ ĝĤĜĝ ĞġĠĢ ěĤ ĝĤĜĝ ĞĢĝĜ ěĤ ĝĤĜĝ ĞğĢĜ äăãäāðÐāòċëñČëŚ íòÿçòòðÓĘ āùüèäāðúôĀ Ðíćæçö×è čãñíòÿüā×āòñŞ óæçăåăëė čùäĉ åăëæčô ďãś äăãäāðÐāòċëñČëŚ íòÿçòòðÓĘ āùüèäāðúôĀ Ðíćæçö×è čãñíòÿüā×āòñŞ ÓąÐóæçăÓė ąÐčùäĉ čô ďãś Ąē æĄē XXX CVEEIBLPT PSH ] NFEJB XBUOBQBIQPOH PSH ] XXX XBUOBQQ DPN ] XXX CVEEIBXBKBOBGVOE PSH XXX CVEEIBLPT PSH ] NFEJB XBUOBQBIQPOH PSH ] XXX XBUOBQQ DPN ] XXX CVEEIBXBKBOBGVOE PSH ÓôĆèē ù ö í '. .)[ æć ÐöĀèíòÿ ċöôā è ÓôĆèē ù ö í '. .)[ æć ÐöĀèíòÿ ċöôā è

ฆราวาสชั ้นศเลิศ ฆราวาสชั ้นเลิ

¡w¦x zw¦ ÙÙ¦ ¡wÙÙ¦¦x zw¦ x¬ x¬

Á¡¦µ³ ªµ¤­· Ê Å Â®n ¤¸ ªµ¤­· Ê Å Â®n ¦µ ³ Á¡¦µ³ ªµ¤­· Ê Å Â®n ´ · ´ ¹ · ¤¸ ¹ ªµ¤­· Ê Å Â®n ¦µ ³

£ ´ ³ °¦· ¥¤¦¦ ¤¸ r Ù ®µÅ o Ä ¦¦¤ª· ­»£ ­» ´ ³ °¦· ¥¤¦¦ ¤¸ ° r° Ù ®µÅ o Ä ¦¦¤ª· ¥´ ¸ Ê ¥´ ¸Ê É Ò ­¤ ³ ¸ É Ó ­¤ ³ ¸ É Ô ­¤ ³ ¸ ­¤ ³ ¸ Ä ¦¦¤ª· É Ò ­¤ ³ ¸ É Ó ­¤ ³ ¸ É Ô ­¤ ³ ¸ É Õ ÈÉ Õ È ­¤ ³ ¸ ®µÅ o®ÄµÅ o ¦¦¤ª· ¥´ ¸ Ê ¥´ ¸Ê

Ĝě ĜĢģ ĜğĜ éāôĄ üć Ñć ĝĠ ģĞ ğĤ éāôĄ éāôĄ ðúā æĄ ðúā æĄ Ĝě ĜĢģ ĜğĜ éāôĄ üć Ñć ĝĠ ģĞ ğĤ

ÓĈŚðĆüčùãāéĀè ÓĈŚðĆüčùãāéĀè

äāðòüñçòòð äāðòüñçòòð

ðúāöāò ùĘ ðúāöāò ùĘ ĜĤ ĠĠĠ ĜĢĝğ ĜĤ ĠĠĠ ĜĢĝğ éāôĄ éāôĄ éāôĄ ðúāöāò ùĘ éāôĄ ðúāöāò ùĘ ĜĤ ĠĠĠ ĜĢĝğ ĜĤ ĠĠĠ ĜĢĝğ

“à¸Í” àÁ×èÍàÁ×ã´èÍã´ “à¸Í” äÁ‹ÁäÁ‹Õ ÁÕ é¹à¸Í¡ç »ÃÒ¡¯ã¹âÅ¡¹Õ àÁ×èÍàÁ×¹ÑèÍé¹¹Ñà¸Í¡ç äÁ‹»äÁ‹ÃÒ¡¯ã¹âÅ¡¹Õ é é »ÃÒ¡¯ã¹âÅ¡Í× äÁ‹»äÁ‹ÃÒ¡¯ã¹âÅ¡Í× è¹ è¹ »ÃÒ¡¯ã¹ÃÐËÇ‹ Ò§âÅ¡·Ñ é§Êͧ äÁ‹»äÁ‹ÃÒ¡¯ã¹ÃÐËÇ‹ Ò§âÅ¡·Ñ é§Êͧ Ê Ã­§² ¹ º ím ³Ê ³Ã­§² ¹ ¯ ·¯Ê¬ ·º ʬím º º q § q² §²

&@&@ // !!

¢¢ ¢¢

ÑśüðĈôçòòðÿèĄ Ĕ ×ĀüēãêòÿčñÙèŞ æĘāċíĆüē êòÿčñÙèŞ æāÖÐāò÷ą øāùĈùŚ āçāòâÙèċêŢ èçòòðæāè ôă ÑùăæèØéĀ çăĎė èäś ďĔ ãśòéĀ ÐāòùÖöèďöś ďðŚùæÖöèùă æçăĎė èÐāò×Ā ãæĘā×āÐ ÑśüðĈôçòòðÿèĄ Ĕ ×ĀãæĘāċíĆ æāÖÐāò÷ą ÐøāùĈùŚ ÐāçāòâÙèċêŢ èçòòðæāè ôă ÑùăæçăĎė èäś éèĄèďĔ ØéĀ ãśòéĀ èĄÐāòùÖöèďöś ďðŚùÖöèùă çăĎė èÐāò×Ā ãæĘā×āÐ éċíĆüē ċëñČëŚ ĎèæćÐ ĎèÐāò×Ā Ðò⥠ĎèÐāò×Ā āúòĆüċëñČëŚ ÓöāðôÿċüĄ ñãòüéÓüéċíĆ üē òĀÐøāÓöāðåĈ ÐäśüüÖÑüÖÑś üðĈāôêòą ÑüÓĘ āêòąāÐèÑś øāãś äśèØéĀäśéèċíĆØéĀ üē ċëñČëŚ ĎèæćÐÐò⥠ãæĘāúòĆãüæĘċëñČëŚ čêòãĎÙś čêòãĎÙś ÓöāðôÿċüĄ ñãòüéÓüéċíĆ üē òĀÐøāÓöāðåĈ ÐäśüÖÑüÖÑś ðĈô ÑüÓĘ Ðøāãś üðĈāôèÑśüðĈô èăçíă æć çčÕø⪠čæò ěģ ĝĝĝĝ ĠĢĤě - Ĥğ íć æçö×èùðāÓð čæò ěģ ĜġğĢ ġěĞġ āċíĆüē ÓöāðùÿãöÐČôÿêòÿúñĀ ôèăæç ēĄ íă ðĈæć ôçčÕø⪠čæò ěģ ĝĝĝĝ ĠĢĤě - Ĥğ íć æçö×èùðāÓð čæò ěģ ĜġğĢ ġěĞġ ĎèÐāò×ĀĎèÐāò×Ā ãæĘāċíĆãüē æĘÓöāðùÿãöÐČôÿêòÿúñĀ ã äăãäŚãü äă ďãśãæäŚ ēĄ ðĈüďãś

äăãäāðÐāòċëñČëŚ íòÿçòòðÓĘ āùüèäāðúôĀ Ðíćæçö×è čãñíòÿüā×āòñŞ óæçăåăëė čùäĉ åăëæčô ďãś äăãäāðÐāòċëñČëŚ íòÿçòòðÓĘ āùüèäāðúôĀ Ðíćæçö×è čãñíòÿüā×āòñŞ ÓąÐóæçăÓė ąÐčùäĉ čô ďãś Ąē æĄē XXX CVEEIBLPT PSH ] NFEJB XBUOBQBIQPOH PSH ] XXX XBUOBQQ DPN ] XXX CVEEIBXBKBOBGVOE PSH XXX CVEEIBLPT PSH ] NFEJB XBUOBQBIQPOH PSH ] XXX XBUOBQQ DPN ] XXX CVEEIBXBKBOBGVOE PSH ÓôĆèē ù ö í '. .)[ æć ÐöĀèíòÿ ċöôā è ÓôĆèē ù ö í '. .)[ æć ÐöĀèíòÿ ċöôā è

“à¸Í”äÁ‹ÁäÁ‹Õ !ÁÕ ! àÁ×èÍàÁ×èÍ“à¸Í”

ą b ęĂĔé đíĂđĀĘ đöČęĂĔé đíĂđĀĘ đĀĘîô ĕéš đÿĊ÷ÜĒúš óćĀĉóćĀĉ ÷ą b ÷đöČ îøĎðîĒúšøĎðüĒúš ÿĆÖüüŠ ÿĆćÖđĀĘüŠîć ĕéš ŦÜđÿĊô÷ŦÜÜĒúš ü ÿĆÖüüŠ ÿĆćÖôŦüŠÜćôŦÜ úĉĚöøÿ ÿĆ ñĆÿìćÜñĉ üÖć÷ ÖĘ üŠć éö úĉ ĕéšÖúĉĕéšęîÖ úĉúĉĚöęîøÿ ÿĆ öñĆÿöìćÜñĉ üÖć÷ ÖĘ ÿĆÖüŠÿćĆÖ éö úĉ Ěö ÿĆöĚ ñĆ ÿĆÿöñĆÿ ÝšÜíøøöćøöèŤ ĕéšøĎšĒĕéšÝšøÜĎšĒíøøöćøöèŤ ÖĘÿĆÖ ÖĘüŠÿćĆÖĕéšüŠøćĎšĒĕéšÝšøÜĎšĒĒúšÝšÜüĒúšü îĆĚî ĶđíĂķ ÝĆ đöČęĂîĆđöČĚîęĂ ĶđíĂķ ÝĆ ÖĕöŠöÖĕöŠ Ċ öĊ

ÓĈŚðĆü ÓĈŚðĆü

ĥĴĔĭŁăħġĮĞ ĸĚğĮĬĸħĒĴ ĖĭŁĖĻĖĄğĐı ĜİĄĥĴĜİĔĄĭŁăħġĮĞ ĸĚğĮĬĸħĒĴ ĖĭŁĖĻĖĄğĐı ĖıŁ ĖıŁ ĚģĄĸĕĩĚIJ ăĔŅĮĀģĮĝĸĚı ğĵşĒĮĝĸŶŦ ĚģĄĸĕĩĚIJ ăĔŅĮĀģĮĝĸĚı ĞğĸĚijĞŀĩğĸĚij ĻħşğŀĩĵşĒĻħş ĮĝĸŶŦ ĖąğİăĖģŞąğİ Į ăģŞĮ ŁĸŶŦĖĻĸħĒĴ đþIJŁĖăĔĴĹħŞ ŁĸŶŦĖĀģĮĝđĭ ļĝŞĩĸħġij ĖıŁĸŶŦ Ėı ĖĔĴŁĸŶŦĄĖþŢ ĔĴĖıĄŁĸŶŦþŢĖ ĖıĸħĒĴ ħşĸĄİĻđħşþIJĸŁĖĄİĹħŞ ĄþŢă ĔĴĖıĄŁĸŶŦþŢĖ ĖıĀģĮĝđĭ ėļĝŞĸėħġij ĹħŞăĩĔĴĹħŞ ĄþŢă ĔĴĄþŢ ŁĸŶŦĖĔĮăđŅ ĸĖİēĖIJăĻħş ēIJăĀģĮĝđĭ ļĝŞĩĸħġij ĖıŁĸŶŦĖĖıĔĮăđŅ ĮĸĖİĖĮĻħş ĀģĮĝđĭ ėļĝŞĸėħġij ĹħŞăĩĔĴĹħŞ ĄþŢă ĔĴ đĭĄþŢăĖı đĭ ŁĸēİăđĖı!Łĸēİđ!

ðúā öă ğ ĞĤ Ğĝ éāôĄ éāôĄ ðúā öă ğ ĞĤ Ğĝ

çăíćæçö×è čæò ěģ ĜğĠĢ ĝĞĠĝ Óć â÷òÙā čæò ěģ ĜĠĜĞ ĜġĜĜ Óć üāòĄöòòâ čæò ěģ ĠěĠģ ġģģģ ðĈôèăçăíðĈćæôèăçö×è čæò ěģ ĜğĠĢ ĝĞĠĝ Óć â÷òÙā čæò ěģ ĜĠĜĞ ĜġĜĜ Óć âüāòĄöâòòâ čæò ěģ ĠěĠģ ġģģģ éëĈäś üś ÖÐāòêÞă éäĀ çă òòòð äă äĀ íă æć çö×è #VEEIBXBKBOB 5SBJOJOH $FOUFS ùĘāúòĀéùĘëĈāäś úòĀüś ÖÐāòêÞă éäĀ çă òòòð äă ãäŚüďãśãæäŚ ēĄ ü ÷ĈďãśèæñŞê ēĄ ÷ĈÞăéèäĀñŞêíă Þăæć éçö×è #VEEIBXBKBOB 5SBJOJOH $FOUFS čæò ěģ ĤĢĤĜ ěĝĤĤ ěģ ĢĠĜĜ ģěĜě čæò ěģ ĤĢĤĜ ěĝĤĤ ěģ ĢĠĜĜ ģěĜě

Đĕüĕþĕüčøė Đĕüĕþĕüčøė

¨³ ´¨³ ´ · ·

ØéĀé Ğ ØéĀé Ğ

¸ ¥¥£ ³ Á m ¬³ ¬³©q »n¥©q»n ³È©»n¥ ¸»n ³È© ¥¥£ ³ £· À |£· À |Á m

ÑśüðĈôçòòðÿèĄ Ĕ ×ĀüēãêòÿčñÙèŞ æĘāċíĆüē êòÿčñÙèŞ æāÖÐāò÷ą øāùĈùŚ āçāòâÙèċêŢ èçòòðæāè ôă ÑùăæèØéĀ çăĎė èäś ďĔ ãśòéĀ ÐāòùÖöèďöś ďðŚùæÖöèùă æçăĎė èÐāò×Ā ãæĘā×āÐ ÑśüðĈôçòòðÿèĄ Ĕ ×ĀãæĘāċíĆ æāÖÐāò÷ą ÐøāùĈùŚ ÐāçāòâÙèċêŢ èçòòðæāè ôă ÑùăæçăĎė èäś éèĄèďĔ ØéĀ ãśòéĀ èĄÐāòùÖöèďöś ďðŚùÖöèùă çăĎė èÐāò×Ā ãæĘā×āÐ éċíĆüē ċëñČëŚ ĎèæćÐ ĎèÐāò×Ā Ðò⥠ĎèÐāò×Ā āúòĆüċëñČëŚ ÓöāðôÿċüĄ ñãòüéÓüéċíĆ üē òĀÐøāÓöāðåĈ ÐäśüüÖÑüÖÑś üðĈāôêòą ÑüÓĘ āêòąāÐèÑś øāãś äśèØéĀäśéèċíĆØéĀ üē ċëñČëŚ ĎèæćÐÐò⥠ãæĘāúòĆãüæĘċëñČëŚ čêòãĎÙś čêòãĎÙś ÓöāðôÿċüĄ ñãòüéÓüéċíĆ üē òĀÐøāÓöāðåĈ ÐäśüÖÑüÖÑś ðĈô ÑüÓĘ Ðøāãś üðĈāôèÑśüðĈô çăíćæçčÕø⪠čæò ěģ ģğĤğ ģěģĞ íć æçö×èùðāÓð čæò ěģ ĜġğĢ ġěĞġ āċíĆēüÓöāðùÿãöÐČôÿêòÿúñĀ ôèăæç Ąē ăíðĈćæôèăçčÕø⪠čæò ěģ ģğĤğ ģěģĞ íć æçö×èùðāÓð čæò ěģ ĜġğĢ ġěĞġ ĎèÐāò×ĀĎèÐāò×Ā ãæĘāċíĆãēüæĘÓöāðùÿãöÐČôÿêòÿúñĀ ã äăãäŚãü äă ďãśãæäŚ Ąē üðĈďãś

çăíćæçö×è čæò ěģ ĜğĠĢ ĝĞĠĝ Óć â÷òÙā čæò ěģ ĜĠĜĞ ĜġĜĜ Óć üāòĄöòòâ čæò ěģ ĠěĠģ ġģģģ ðĈôèăçăíðĈćæôèăçö×è čæò ěģ ĜğĠĢ ĝĞĠĝ Óć â÷òÙā čæò ěģ ĜĠĜĞ ĜġĜĜ Óć âüāòĄöâòòâ čæò ěģ ĠěĠģ ġģģģ éëĈäś üś ÖÐāòêÞă éäĀ çă òòòð äă äĀ íă æć çö×è #VEEIBXBKBOB 5SBJOJOH $FOUFS ùĘāúòĀéùĘëĈāäś úòĀüś ÖÐāòêÞă éäĀ çă òòòð äă ãäŚüďãśãæäŚ ēĄ ü ÷ĈďãśèæñŞê ēĄ ÷ĈÞăéèäĀñŞêíă Þăæć éçö×è #VEEIBXBKBOB 5SBJOJOH $FOUFS íæŞ ěĤ ĝĤĜĝ ĞġĠĢ ěĤ ĝĤĜĝ ĞĢĝĜ ěĤ ĝĤĜĝ ĞğĢĜ čæò÷Āíčæò÷Ā æŞ ěĤ ĝĤĜĝ ĞġĠĢ ěĤ ĝĤĜĝ ĞĢĝĜ ěĤ ĝĤĜĝ ĞğĢĜ

ĥĴĔĭŁăħġĮĞ Ĝİ ĥĴğĵŶşĩĻđ ğĵ ĞĵŞĒĮĝĸŶŦ ĜİĄĥĴĜİĔĄĭŁăħġĮĞ Ĝİ ĄĥĴğĵŶĄĻđ ğĵ ĞĵŞĒşĩĮĝĸŶŦ ĖąğİăĖģŞąğİ Į ăģŞĮ ŁĸŶŦĖĻĸħĒĴ ŁĸŶŦĖĀģĮĝđĭ ļĝŞĩĸħġij ĩþĩăĔĴ ĖıŁĸŶŦ Ėı ĖĔĴŁĸŶŦĄĖþŢ ĔĴĖıĄŁĸŶŦþŢĖ ĖıĸħĒĴ ħşĸĄİĻđħşĔĴĸĄİĄđþŢ ĔĴĖıĄŁĸŶŦþŢĖ ĖıĀģĮĝđĭ ėļĝŞĸėħġij þĩăĔĴ ĄþŢ ĄþŢ ŁĸŶŦĖĔĮăđŅ ĸĖİēĖIJăĻħş ēIJăĀģĮĝđĭ ļĝŞĩĸħġij ĩþĩăĔĴ ĹġĬĖıĹġĬĖı ŁĸŶŦĖĔĮăđŅ ĮĸĖİĖĮĻħş ĀģĮĝđĭ ėļĝŞĸėħġij þĩăĔĴ ĄþŢ đĭĄþŢăĖı đĭ ŁĖĭŁĖăĖı ŁĖĭŁĖ ģŞĮăąĬĚIJ ėĴĀĀġĔı ŀĸŶŦĖĦĝĐĬħğij ĩĚğĮħĝĐŢ şĒşĩăĄĮğąĬĺĒş ĹĝşģŞĮĹĝş ąĬĚIJ ĝıėĴĀăĝıĀġĔı ŀĸŶŦĖĦĝĐĬħğij ĩĚğĮħĝĐŢ ĈIJŀăĸŶŦ ĈIJĖŀăĘĵĸŶŦşĒĖşĩĘĵăĄĮğąĬĺĒş ģĮĔĬ ģĮĔĬ ĸĔıŀĞģĹĦģăĀĵ ŞĺĒşģĮĔĬ ĝĮąĮĄĔİ ĖĩĩĄ ħğij ĔİĤĖĒĬģĭ ĖĒĄ ħğij ĔİĤĩĸħĖij ĄĿĒĮĝ ĸĔıŀĞģĹĦģăĀĵ ŞĺĒşģĮĔĬ ĝĮąĮĄĔİ ĤĒĬģĭĤĖĒĬģĭ ĩĩĄ ħğij ĩĔİĤĩĒĬģĭ ĒĄ ħğij ĩĔİĤĩĸħĖij ħğijĩ ħğij ĔİĤĩĻĒşĔİĄĤĿĒĻĒşĮĝ ĺđĞŶğĬĄĮĤģŞ Į ĸğĮąĭ ĄĞĄģĮĔĬþĩăĜİ ĸĦıĞăĖı đĭ ĺđĞŶğĬĄĮĤģŞ Į ĸğĮąĭ ĄĞĄģĮĔĬþĩăĜİ ĄĥĴğĵŶĄĖĭĥĴŁĖğĵŶĸĦıĖĭĞŁĖ đĭ Ł ăĖıŁ ĔıŀĦĝĐĬħğij ĩĚğĮħĝĐŢ ħģĭŀĖļħģĦĭ ŀĖĦĬĸĔij ĩĖ ħğij ĦĭŀĖģğĬğĭ þşĩĔıŀĦþşĩĝĐĬħğij ĩĚğĮħĝĐŢ ĖĭŁĖ ąĭĖĄĭŁĖĔŅ ąĭĮĜİĄĄĔŅĥĴĮĜİĖĄĭŁĖĥĴĻħşĖħĭŁĖģĭĻħşŀĖļħģĦĭ ŀĖĦĬĸĔij ĩĖ ħğij ĩĦĭŀĖĩğĬğĭ ļŶ ģļŶ ĄĕğğĝĖĭ ĸŶŦĖčĮĖĬĔı ĖļŶļđş ŁĸŶŦĖĸĚğĮĬĸħĒĴ ĺđĞēĵĺđĞēĵ ĄĕğğĝĖĭ ŁĖ ļĝŞŁĖĸŶŦ ļĝŞ ĖčĮĖĬĔı ŀąĬĸŶŦŀąĖĬĸŶŦ ļŶļđş ĸġĞ þşĸġĞ þş ĩĖıŁĸŶŦĩĖĖıĸĚğĮĬĸħĒĴ ļğĸġŞĮļğĸġŞ Į ĸĚğĮĬĸħĒĴ ĸŶŦĖĕğğĝĔı ĸħĿģĖđşĹġşģĞđı ģđş!ģĞđı! ĸĚğĮĬĸħĒĴ ĔıŀĩğİĞĔĦĭıŀĩąğİĦıĞŀĖĦĭĭŁĖąĦı ĸŶŦŀĖĖĭŁ ĕğğĝĔı ŀĜİĄĥĴŀĜĖİĄĭŁĖĥĴ ĸħĿĖĖĭŁ Ĺġş

êćöøĂ÷ êćöøĂ÷

ìĆĚÜĀúć÷ìĊ ðŨîóüÖöĊ íčúĊĔîéüÜêćĒêŠ îšĂö÷ÖĘ ÿĆêüŤÿĆìêĆĚÜüŤĀúć÷ìĊ ęđðŨîęđóüÖöĊ íčúĊĔîéüÜêćĒêŠ đúĘÖîšđúĘĂÖ÷ÖĘ ĊĂ÷ĎöŠ ĊĂ÷ĎŠ üŤóüÖîĊ Ě ÷ŠĂęĂöđÿČ ęĂöÝćÖÙč ìĊęÙüøĕéš đóøćąĕöŠ ôŦÜíøøö ÿĆêüŤÿĆóêüÖîĊ Ě ÷ŠĂöđÿČ öÝćÖÙč èìĊęÙèüøĕéš đóøćąĕöŠ ĕéšôĕŦÜéšíøøö

ÙĀïéĊ b ÖćöēõÙĊ Ûøćüćÿ

ÙĀïéĊ b ÖćöēõÙĊ Ûøćüćÿ

ñĎšĔé ñĎšĔé Ģ ĒÿüÜĀćēõÙìøĆ ÷Ťēé÷íøøö ēé÷ĕöŠ đÖĉîĕð Ýîìøöćîêî

Ģ ĒÿüÜĀćēõÙìøĆ ó÷Ťēóé÷íøøö ēé÷ĕöŠ đÙøĊ÷đÙøĊ éÙøĆ÷éÙøĆ é đÖĉéî ĕð Ýîìøöćîêî

ģ ìĞ ćêîĔĀš ÿč×Ă ĔĀš ĂĉęöćĀîĞ ģ ìĞ ćêîĔĀš đðŨîđÿčðŨ×î ĔĀš ĉęöĀîĞ ć Ĥ ĒïŠ ðŦîēõÙìøĆ ĞćđóĘ Ĥ ĒïŠ ÜðŦîÜēõÙìøĆ ó÷ŤïóĞć÷ŤđóĘïâ ïčâ ïčâ ĥ ĕöŠ ÖĞćéĀîĆ öĆüđöć ĕöŠ účŠöĀúÜ ĥ ĕöŠ ÖĞćĀîĆ ĕöŠéö ĕöŠ Ćüđöć ĕöŠ účŠöĀúÜ öĊðđĀĘÖêĉîēìþ öĊ đĀĘîēìþ öĊ ðŦââćđðŨ éĂĂÖ öĊðÖêĉ ðŦââćđðŨ îđÙøČîęĂđÙøČ ÜÿúĆęĂÜÿúĆ éĂĂÖ ïøĉēõÙēõÙìøĆ ó÷ŤćđĀúŠ îĆĚîŠ Ă÷ĎŠ ïøĉēõÙēõÙìøĆ ó÷ŤđĀúŠ îĆĚîćĂ÷Ď

&&@ @ // !! &&@ @ // !! &&@ @ // !! &&@ @ // !! &&@ @ // !! &&@ @ // !!

ĔăĭŁ ħġĮĞ ĜİĄĥĴĜİĔĄăĭŁ ĥĴħġĮĞ Ğėĸħĝij ĩĖĸĦĮħİ ĖĞĮģ ʼnŎ ĤĩĄ ęŤ Ė Ő ĤĩĄ ĺĘġŞ đİĖ Ő ĤĩĄ ĸŶğıĸŶğı Ğėĸħĝij ĩĖĸĦĮħİ ĖĞĮģ ʼnŎ ĤĩĄ ęŤ ăĩĞĵăĻŞ ĩĞĵ ĖđİĻŞ ĖĖđİ Ő ĤĩĄ ĺĘġŞ þĖIJŁ ĚşþĖIJŁ đİĚşĖ Ő ĤĩĄ ġĝĚĮĞĴ ęĖĩĞŞ ĮăĹğăĄġş ĹĝşąĹĝş ĬĝıąġĬĝı ĝĚĮĞĴ ęĖĩĞŞ ĮăĹğăĄġş Į Į ĝĮąĮĄĔİ ĤĒĬģĭ ĖĩĩĄ ħğij ĔİĤĒĬģĭ ĖĒĄ ħğij ĔİĤĸħĖij ĔİĤ ĄĿĻĒşĒ Įĝ ĄĿĒĮĝ ĝĮąĮĄĔİ ĤĒĬģĭ ĖĩĩĄ ħğij ĩĔİĤĩĒĬģĭ ĖĒĄ ħğij ĩĔİĤĩĸħĖij ĩ ħğijĩĩ ħğij ĔİĤĩĻĒş ĔŅĮĸĦĮħİ ĖĭĖŁ ħĻħş ģĭĖŀ ļħģ Ħĭ Ėŀ ĦĬĸĔij ĩĖ ħğij ĦĭĖŀ ğĬğĭ ģļŶļđş ļĝŞĚļĝŞ ăIJ ĔŅĚĮăIJ ĸĦĮħİ ĖĖĭĖŁ Ļħş ģĭĖŀ ħļħģ Ħĭ Ėŀ ĦĬĸĔij ĩĖ ħğij ĩĦĭĖŀ ĩğĬğĭ ģļŶļđş ĸġĞ ĸġĞ ŶŦĖĸĚğĮĬĸħĒĴ þşĩĖıþşĸŁ ĩŶŦĖıĖĸŁ ĸĚğĮĬĸħĒĴ ļğĸġŞļĮğĸġŞ Į ĸĚğĮĬĦŞ ġIJĄĹġĬęŤ ĆĭĖĻđĄĿ ĸĚğĮĬĦŞ ģĖĔıģęŀ ĖĔı ㍠Ėĭęŀ ĖŁ ㍠ġIJĖĭĄĖŁ ĹġĬęŤ ăĸŶŦĖăĸŶŦ ĩĞŞĖĮĩĞŞ ăđıĮ ĆĭăđıĖ ĻđĄĿ ĆĖĭ ĖĭĆĖŁ ĭ !ĖĭĖŁ !

&@&@ // !!

&@&@ // !!

Á¬ ¥¥£Ã­n ´£Ã À ¹ Á¬ ¥¥£Ã­n ´£Ã À ¹ ɯ nɯ n

ØéĀé ĝ ØéĀé ĝ

ØéĀé Ĝ ØéĀé Ĝ

© À ¯ ³ É ­§´¤ À · Ȥ© ´¥¶ © À ¯ ³ É ­§´¤ À · Ȥ© ´¥¶ Ä Ä È¯ ¥²Â¤ q ¬º £Á m £­´ À ¹È¯À ¹ ¥²Â¤ q ¬º Á m ­´ ęĂÙüćöđĂĘ ĒÖŠēúÖ đóČ ęĂðøąē÷ßîŤ ęĂÙüćöđÖČ đóČęĂđóČ ÙüćöđĂĘ îéĎĒîÖŠéĎēúÖ đóČ ęĂðøąē÷ßîŤ đóČęĂ đóČ ÙüćöđÖČ ĚĂÖĎúĚĂÖĎú ęĂÙüćöÿč ìĆĚÜđìüéć Ēúąöîč ĒÖŠđìüéć Ēúąöîč ìĆĚÜĀúć÷ đóČęĂđóČ Ùüćöÿč × ìĆĚÜ×ĒÖŠ þ÷ŤìþĆĚÜ÷ŤĀúć÷

´£Ã m ´£ §´ ´£Ã À ¹ ɯ §´¤ ´£Ã m ´£ §´ ´£Ã À ¹ ɯ §´¤ Ä ¥n ¯£ ³ É ¯¥¥ ² ¥n ¯£ ³ ² ín ín À | À |Ä ¥n ¯£ ³ É ¯¥¥ ² ¥n ¯£ ³ É ¤³É ¤³ ² »¥¬ q¶É ¬À ¶¶É À ¶ ín ín¥¶¬ º ¥¶¬ ¶º Ì ¥¶ ¶ Ì »¥¥¶ q


อานนท ! ถ้ากรรมมีกามธาตุเปนวิบาก จักไมได้มีแล้วไซร้ กามภพ จะพึงปรากฏได้แลหรือ ?

หามิได พระเจาขา !

อานนท ! ด้วยเหตุนี้แหละ กรรมจึงเปนเนื้อนา วิญญาณเปนเมล็ดพืช ตัณหาเปนยางของพืช วิญญาณของสัตวทั้งหลาย มีอวิชชาเปนเครื่องกั้น มีตัณหาเปนเครื่องผูก ตั้งอยูแล้วด้วยธาตุชั้นทราม การบังเกิดขึ้นในภพใหมตอไป ยอมมีได้ ด้วยอาการอยางนี้.

อานนท ! ถ้ากรรมมีรูปธาตุเปนวิบาก จักไมได้มีแล้วไซร้ รูปภพ จะพึงปรากฏได้แลหรือ ?

หามิได พระเจาขา !

อานนท ! ด้วยเหตุนี้แหละ กรรมจึงเปนเนื้อนา วิญญาณเปนเมล็ดพืช ตัณหาเปนยางของพืช วิญญาณของสัตวทั้งหลาย มีอวิชชาเปนเครื่องกั้น มีตัณหาเปนเครื่องผูก ตั้งอยูแล้วด้วยธาตุชั้นกลาง การบังเกิดขึ้นในภพใหมตอไป ยอมมีได้ ด้วยอาการอยางนี้.

อานนท ! ถ้ากรรมมีอรูปธาตุเปนวิบาก จักไมได้มีแล้วไซร้ อรูปภพ จะพึงปรากฏได้แลหรือ ?

หามิได พระเจาขา !

อานนท ! ด้วยเหตุนี้แหละ กรรมจึงเปนเนื้อนา วิญญาณเปนเมล็ดพืช ตัณหาเปนยางของพืช วิญญาณของสัตวทั้งหลาย มีอวิชชาเปนเครื่องกั้น มีตัณหาเปนเครื่องผูก ตั้งอยูแล้วด้วยธาตุชั้นประณีต การบังเกิดขึ้นในภพใหมตอไป ยอมมีได้ ด้วยอาการอยางนี้. อานนท ! ภพ ยอมมีได้ ด้วยอาการอยางนี้แล.

-บาลี สฬา. สํ. ๑๘/๙๗/๑๔๓-๔.


... โลก ยอมเปนไปตามกรรม หมูสัตว ยอมเปนไปตามกรรม สัตวทั้งหลาย มีกรรมเปนเครื่องรึงรัด เหมือนลิ่มสลักขันยึดรถที่ก�าลังแลนไปอยู.

สัตวทั้งหลาย เปนผู้มีกรรมเปนของตน เปนทายาทแหงกรรม มีกรรมเปนก�าเนิด มีกรรมเปนเผาพันธุ มีกรรมเปนที่พึ่งอาศัย กระท�ากรรมใดไว้ ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม จักเปนผู้รับผลกรรมนั้น.

-บาลี สุ. ขุ. ๒๕/๔๕๗/๓๘๒. , -บาลี ทสก. อํ. ๒๔/๓๐๙/๑๙๓.


กรรม

... ข้าวเปลือก ทรัพย์ เงินทอง หรือข้าวของ ที่หวงแหนอย่างใดอย่างหนึ่งมีอยู่ ทาส กรรมกร คนใช้ และผู้อาศัยของเขา พึงพาเอาไปไม่ได้ทั้งหมด จะต้องถึงซึ่งการละทิ้งไว้ทั้งหมด ก็บุคคลท�ากรรมใด ด้วยกาย ด้วยวาจา หรือด้วยใจ กรรมนั้นแหละ เป็นของๆ เขา และเขาย่อมพาเอากรรมนั้นไป อนึ่ง กรรมนั้น ย่อมติดตามเขาไป เหมือนเงาติดตามตนฉะนั้น เพราะฉะนั้น บุคคลควรท�ากรรมดี สั่งสมไว้ส�าหรับภพหน้า บุญทั้งหลาย ย่อมเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลาย ในโลกหน้า. -บาลี สคา. สํ. ๑๕/๑๓๔/๓๙๒.

ข้อมูลธรรมะนี้ จัดทำ�เพือ่ ประโยชน์ท�งก�รศึกษ�สูส่ �ธ�รณชนเป็นธรรมท�น ลิขสิทธิใ์ นต้นฉบับนีไ้ ด้รบั ก�รสงวนไว้ ไม่สงวนสิทธิใ์ นก�รจัดทำ�จ�ก ต้นฉบับเพือ่ เผยแผ่ในทุกกรณี ในก�รจัดทำ�หรือเผยแผ่ โปรดใช้คว�มละเอียดรอบคอบเพือ่ รักษ�คว�มถูกต้องของข้อมูล ขอคำ�ปรึกษ�ด้�นข้อมูล

ในการจัดทำาเพื่อความสะดวกและประหยัด ติดต่อได้ที่ มูลนิธิพุทธโฆษณ์ โทร.๐๘ ๒๒๒๒ ๕๗๙๐ - ๙๔

คุณศรช� โทร.๐๘ ๑๕๑๓ ๑๖๑๑ คุณอ�รีวรรณ โทร.๐๘ ๕๐๕๘ ๖๘๘๘ สำ�หรับผูต้ อ้ งก�รปฏิบตั ธิ รรรม ติดต่อได้ท่ี ศูนย์ปฏิบตั พิ ทุ ธวจน (Buddhawajana Training Center) โทรศัพท์ ๐๙ ๒๙๑๒ ๓๖๕๗, ๐๙ ๒๙๑๒ ๓๗๒๑, ๐๙ ๒๙๑๒ ๓๔๗๑ ติดต�มก�รเผยแผ่พระธรรมคำ�สอนต�มหลักพุทธวจน โดยพระอ�จ�รย์คกึ ฤทธิ์ โสตฺถผิ โล ได้ท่ี www.watnapp.com | media.watnapahpong.org | www.buddhakos.org คลื่น ส.ว.พ. FM 91.0 MHz ทุกวันพระ เวล� 17.40 น.


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.