พุทธวจน อินทรียสังวร (ตามดู! ไม่ตามไป)
ลักษณะของผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาท ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุเป็นผู้มีปกติอยู่ด้วยความไม่ประมาท เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อภิกษุสำารวมระวัง ซึ่งอินทรีย์คือตาอยู่ จิตย่อมไม่เกลือกกลั้ว ในรูปทั้งหลายอันเป็นวิสัยแห่งการรู้สึกด้วยตา เมื่อภิกษุนั้น ไม่มีจิตเกลือกกลั้วแล้ว ปราโมทย์ย่อมเกิด เมื่อปราโมทย์แล้ว ปีติย่อมเกิด เมื่อใจมีปีติ ปัสสัทธิย่อมมี เมื่อมีปัสสัทธิ ภิกษุนั้น ย่อมอยู่เป็นสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว ธรรมทั้งหลายย่อมปรากฏ เพราะธรรมทั้งหลายย่อมปรากฏ ภิกษุนั้น ย่อมถึงซึ่งการถูกนับว่าเป็นผู้มีปกติอยู่ด้วยความไม่ประมาทโดยแท้. (ในกรณีแห่งอินทรีย์ คือ หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ก็มีนัยยะอย่างเดียวกัน)
ภิกษุทั้งหลาย ! อย่างนี้แล ภิกษุเป็นผู้มีปกติอยู่ด้วยความไม่ประมาท. (ในกรณีของผู้มีปกติอยู่ด้วยความประมาท ได้ตรัสไว้โดยมีนัยยะตรงกันข้าม) -บาลี สฬา. สํ. ๑๘/๙๗/๑๔๓-๔.
พุทธวจน
อินทรียสังวร (ตามดู ! ไม่ตามไป...)
อินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศ อานนท์ ! อารมณ์อันเป็นที่ชอบใจ–ไม่เป็นที่ชอบใจ เป็นที่ชอบใจและไม่เป็นที่ชอบใจ อันบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น ย่อมดับไปเร็วเหมือนการกระพริบตาของคน อุเบกขายังคงดำ�รงอยู่. อานนท์ ! นี้แล เราเรียกว่า อินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศในอริยวินัย… -บาลี อุปริ. ม. ๑๔/๕๔๑/๘๕๖.
กว่า ๖๐ พระสูตร แห่งความสอดรับกันในคำ�ตถาคต
ธรรมวาที ย่อมไม่กล่าวขัดแย้งกะใครๆ ในโลก ภิกษุทั้งหลาย ! เราย่อมไม่กล่าวขัดแย้งกะโลก แต่โลกต่างหากย่อมกล่าวขัดแย้งต่อเรา.
ภิกษุทั้งหลาย ! ผู้เป็นธรรมวาที ย่อมไม่กล่าวขัดแย้งกะใครๆ ในโลก. ภิกษุทั้งหลาย ! สิ่งใดที่บัณฑิตในโลกสมมติ (รู้เหมือนๆ กัน) ว่าไม่มี แม้เราก็กล่าวสิ่งนั้นว่าไม่มี. ภิกษุทั้งหลาย ! สิ่งใดที่บัณฑิตในโลกสมมติว่ามี แม้เราก็กล่าวสิ่งนั้นว่ามี.
ภิกษุทั้งหลาย ! อะไรเล่า ที่บัณฑิตในโลกสมมติว่าไม่มี และเราก็กล่าวว่าไม่มี.
ภิกษุทั้งหลาย ! รูป ที่เที่ยง ที่ยั่งยืน ที่เที่ยงแท้ ที่ไม่มีการแปรปรวนเป็นธรรมดา บัณฑิตในโลกสมมติว่าไม่มี แม้เราก็กล่าวว่าไม่มี. ภิกษุทั้งหลาย ! อะไรเล่า ที่บัณฑิตในโลกสมมติว่ามี และเราก็กล่าวว่ามี.
ภิกษุทั้งหลาย ! รูป ที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีการแปรปรวนเป็นธรรมดา บัณฑิตในโลกสมมติว่ามี แม้เราก็กล่าวว่ามี. -บาลี ขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๖๙/๒๓๙.
พุ ท ธ ว จ น ฉบับ ๘
อินทรียสังวร (ตามดู ! ไม่ตามไป...)
พุทธวจนสถาบัน
ร่วมกันมุ่งมั่นศึกษา ปฏิบัติ เผยแผ่คำ�ของตถาคต
ฉบับ ๘
พุทธวจน
อินทรียสังวร (ตามดู ! ไม่ตามไป...)
ข้อมูลธรรมะนี้ จัดทำ�เพื่อประโยชน์ทางการศึกษาสู่สาธารณชน เป็นธรรมทาน ลิขสิทธิ์ในต้นฉบับนี้ได้รับการสงวนไว้ ไม่สงวนสิทธิ์ในการจัดทำ�จากต้นฉบับเพื่อเผยแผ่ในทุกกรณี ในการจัดทำ�หรือเผยแผ่ โปรดใช้ความละเอียดรอบคอบ เพื่อรักษาความถูกต้องของข้อมูล ขอคำ�ปรึกษาด้านข้อมูลในการจัดทำ�เพื่อความสะดวกและประหยัด ติดต่อได้ที่ มูลนิธิพุทธโฆษณ์ โทรศัพท์ ๐๘ ๒๒๒๒ ๕๗๙๐-๙๔ พุทธวจนสมาคม โทรศัพท์ ๐๘ ๑๖๔๗ ๖๐๓๖ มูลนิธิพุทธวจน โทรศัพท์ ๐๘ ๑๔๕๗ ๒๓๕๒ คุณศรชา โทรศัพท์ ๐๘ ๑๕๑๓ ๑๖๑๑ คุณอารีวรรณ โทรศัพท์ ๐๘ ๕๐๕๘ ๖๘๘๘ ปีที่พิมพ์ ๒๕๕๗ ศิลปกรรม ปริญญา ปฐวินทรานนท์, วิชชุ เสริมสวัสดิ์ศรี, ณรงค์เดช เจริญปาละ
จัดทำ�โดย มูลนิธิพุทธโฆษณ์ (เว็บไซต์ www.buddhakos.org) สำ�หรับผู้ต้องการปฏิบัติธรรรม ติดต่อได้ที่ ศูนย์ปฏิบัติพุทธวจน (Buddhawajana Training Center) ซอยคลองสีต่ ะวันออก ๗๓ หมู่ ๑๕ คลองสี่ อำ�เภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี โทรศัพท์ ๐๙ ๒๙๑๒ ๓๖๕๗, ๐๙ ๒๙๑๒ ๓๗๒๑, ๐๙ ๒๙๑๒ ๓๔๗๑
มูลนิธิพุทธโฆษณ์ เลขที่ ๒๙/๓ หมู่ที่ ๗ ตำ�บลบึงทองหลาง อำ�เภอลำ�ลูกกา จังหวัดปทุมธานี ๑๒๑๕๐ โทรศัพท์ /โทรสาร ๐ ๒๕๔๙ ๒๑๗๕ เว็บไซต์ : www.buddhakos.org
คำ�อนุโมทนา ขออนุโมทนา กับคณะผู้จัดทำ� หนังสือพุทธวจน ฉบับ อินทรียสังวร (ตามดู ! ไม่ตามไป...) ในเจตนาอันเป็นกุศล ที่มีความตั้งใจเผยแผ่คำ�สอนขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ออกจากพระโอษฐ์ของพระองค์เอง ทั้งหมดที่ท่านตรัสรู้ ในหลายแง่มุมที่เกี่ยวกับการใช้ชีวิต วิธีแก้ทุกข์ ฯลฯ ตามหลักพุทธวจนง่ายๆ เพือ่ ให้ผสู้ นใจได้ศกึ ษาและนำ�มาปฏิบตั ิ เพือ่ ให้ถงึ ความพ้นทุกข์ดว้ ยเหตุอนั ดีน้ี ขอจงเป็นพลวปัจจัย ให้ผมู้ สี ว่ นร่วมในการทำ�หนังสือเล่มนีแ้ ละผูท้ ไ่ี ด้อา่ น ได้ศกึ ษา พึงเกิดปัญญาได้ดวงตาเห็นธรรม พ้นทุกข์ในชาตินี้เทอญ ขออนุโมทนา ภิกขุคึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล
อักษรย่อ เพื่อความสะดวกแก่ผู้ที่ยังไม่เข้าใจเรื่องอักษรย่อ ที่ใช้หมายแทนชื่อคัมภีร์ ซึ่งมีอยู่โดยมาก มหาวิ. วิ. ภิกฺขุนี. วิ. มหา. วิ. จุลฺล. วิ. ปริวาร. วิ. สี. ที. มหา. ที. ปา. ที. มู. ม. ม. ม. อุปริ. ม. สคาถ. สํ. นิทาน. สํ. ขนฺธ. สํ. สฬา. สํ. มหาวาร. สํ. เอก. อํ. ทุก. อํ. ติก. อํ. จตุกฺก. อํ.
มหาวิภังค์ ภิกขุนีวิภังค์ มหาวรรค จุลวรรค ปริวารวรรค สีลขันธวรรค มหาวรรค ปาฏิกวรรค มูลปัณณาสก์ มัชฌิมปัณณาสก์ อุปริปัณณาสก์ สคาถวรรค นิทานวรรค ขันธวารวรรค สฬายตนวรรค มหาวารวรรค เอกนิบาต ทุกนิบาต ติกนิบาต จตุกกนิบาต
วินัยปิฎก. วินัยปิฎก. วินัยปิฎก. วินัยปิฎก. วินัยปิฎก. ทีฆนิกาย. ทีฆนิกาย. ทีฆนิกาย. มัชฌิมนิกาย. มัชฌิมนิกาย. มัชฌิมนิกาย. สังยุตตนิกาย. สังยุตตนิกาย. สังยุตตนิกาย. สังยุตตนิกาย. สังยุตตนิกาย. อังคุตตรนิกาย. อังคุตตรนิกาย. อังคุตตรนิกาย. อังคุตตรนิกาย.
ปญฺจก. อํ. ฉกฺก. อํ. สตฺตก. อํ. อฏฺก. อํ. นวก. อํ. ทสก. อํ. เอกาทสก. อํ. ขุ. ขุ. ธ. ขุ. อุ. ขุ. อิติวุ. ขุ. สุตฺต. ขุ. วิมาน. ขุ. เปต. ขุ. เถร. ขุ. เถรี. ขุ. ชา. ขุ. มหานิ. ขุ. จูฬนิ. ขุ. ปฏิสมฺ. ขุ. อปท. ขุ. พุทฺธว. ขุ. จริยา. ขุ.
ปัญจกนิบาต ฉักกนิบาต สัตตกนิบาต อัฏฐกนิบาต นวกนิบาต ทสกนิบาต เอกาทสกนิบาต ขุททกปาฐะ ธรรมบท อุทาน อิติวุตตกะ สุตตนิบาต วิมานวัตถุ เปตวัตถุ เถรคาถา เถรีคาถา ชาดก มหานิทเทส จูฬนิทเทส ปฏิสัมภิทามรรค อปทาน พุทธวงส์ จริยาปิฎก
อังคุตตรนิกาย. อังคุตตรนิกาย. อังคุตตรนิกาย อังคุตตรนิกาย. อังคุตตรนิกาย. อังคุตตรนิกาย. อังคุตตรนิกาย. ขุททกนิกาย. ขุททกนิกาย. ขุททกนิกาย. ขุททกนิกาย. ขุททกนิกาย. ขุททกนิกาย. ขุททกนิกาย. ขุททกนิกาย. ขุททกนิกาย. ขุททกนิกาย. ขุททกนิกาย. ขุททกนิกาย. ขุททกนิกาย. ขุททกนิกาย. ขุททกนิกาย. ขุททกนิกาย.
ตัวอย่าง : ๑๔/๑๗๑/๒๔๕ ให้อ่านว่า ไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ เล่ม ๑๔ หน้า ๑๗๑ ข้อที่ ๒๔๕
ลำ�ดับเนื้อหา ผลเสียของการปล่อยจิตให้เพลินกับอารมณ์ ตัวอย่างพุทธวจน ที่ทรงตรัสไม่ให้ปล่อยจิตให้เพลินกับอารมณ์ จิตที่เพลินกับอารมณ์ ละได้ด้วยการมีอินทรียสังวร (การสำ�รวมอินทรีย์) ความสำ�คัญแห่งอินทรียสังวร ความหมายและลักษณะของการมีอินทรียสังวร รูปแบบการละความเพลินในอารมณ์โดยวิธีอื่น ผลที่สุดของการละความเพลินในอารมณ์ ข้อย้ำ�เตือนจากพระตถาคต
สารบัญ บทน�ำ ผลเสียของการปล่อยจิตให้เพลินกับอารมณ์ ๑. ก่อให้เกิดอนุสัยทั้ง ๓ ๒. ไม่อาจที่จะหลุดพ้นไปจากทุกข์ ๓. เพลินอยู่กับอายตนะ เท่ากับ เพลินอยู่ในทุกข์ ๔. ลักษณะของการอยู่อย่างมีตัณหาเป็นเพื่อน ๕. ไม่อาจถึงซึ่ง ความเจริญงอกงาม ไพบูลย์ ในธรรมวินัย ตัวอย่างพุทธวจน ที่ทรงตรัสไม่ให้ปล่อยจิต ให้เพลินกับอารมณ์ ๖. ละความเพลิน จิตหลุดพ้น ๗. ความพอใจ เป็นเหตุแห่งทุกข์ ๘. เมื่อคิดถึงสิ่งใด แสดงว่าพอใจในสิ่งนั้น ๙. ภพแม้ชั่วขณะดีดนิ้วมือก็ยังน่ารังเกียจ ๑๐. ตัณหา คือ “เชื้อแห่งการเกิด”
๑ ๑๕ ๑๖ ๒๐ ๒๒ ๒๔ ๒๙ ๓๑ ๓๒ ๓๓ ๓๔ ๓๕ ๓๗
๑๑. เมื่อมีความพอใจ ย่อมมีตัณหา ๑๒. ตัณหา คือเครื่องน�ำไปสู่ภพใหม่ อันเป็นเหตุเกิดทุกข์ ๑๓. สิ้นความอยาก ก็สิ้นทุกข์ ๑๔. มีความเพลิน คือมีอุปาทาน ผู้มีอุปาทานย่อมไม่ปรินิพพาน ๑๕. ในอริยมรรคมีองค์ ๘ ๑๖. ทรงตรัสว่า “เป็นเรือ่ งเร่งด่วนทีต่ อ้ งเร่งกระท�ำ” ๑๗. ต้องเพียรละความเพลินในทุกๆ อิริยาบถ ๑๘. ความเพียร ๔ ประเภท (นัยที่ ๑) ๑๙. ความเพียร ๔ ประเภท (นัยที่ ๒)
๓๙ ๔๑
จิตที่เพลินกับอารมณ์ ละได้ด้วยการมีอินทรียสังวร (การส�ำรวมอินทรีย์) ๒๐. เมื่อมีสติ ความเพลินย่อมดับ ๒๑. กายคตาสติ มีความส�ำคัญต่ออินทรียสังวร - ลักษณะของผู้ไม่ตั้งจิตในกายคตาสติ - ลักษณะของผู้ตั้งจิตในกายคตาสติ ๒๒. อินทรียสังวร ปิดกัน้ การเกิดขึน้ แห่งบาปอกุศล
๖๑
๔๓ ๔๕ ๔๙ ๕๑ ๕๔ ๕๖ ๕๘
๖๒ ๖๕ ๖๕ ๖๗ ๗๐
ความส�ำคัญแห่งอินทรียสังวร ๗๓ ๒๓. อินทรียสังวร ๗๔ เป็นเหตุให้ได้มาซึ่งวิมุตติญาณทัสสนะ ๒๔. ผู้ไม่ส�ำรวมอินทรีย์คือผู้ประมาท ๗๕ ผู้ส�ำรวมอินทรีย์คือผู้ไม่ประมาท ๒๕. ความไม่ประมาท เป็นยอดแห่งกุศลธรรม ๗๗ ๒๖. ผู้มีอินทรียสังวร ๗๙ จึงสามารถเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ ได้ ๒๗. อาสวะบางส่วนสามารถละได้ด้วยการส�ำรวม ๘๐ ๒๘. อาสวะบางส่วนสามารถละได้ด้วยการบรรเทา ๘๑ ๒๙. ผลที่ได้เพราะเหตุแห่งการปิดกั้นอาสวะ ๘๒ ความหมายและลักษณะของการมีอินทรียสังวร ๓๐. ความหมายแห่งอินทรีย์ ๓๑. ลักษณะของผู้ส�ำรวมอินทรีย์ ๓๒. ผู้ที่ถึงซึ่ง ความเจริญงอกงาม ไพบูลย์ ในธรรมวินัย
๘๓ ๘๔ ๘๕ ๘๖
รูปแบบการละความเพลินในอารมณ์โดยวิธีอื่น ๓๓. กระจายซึ่งผัสสะ ๓๔. ตามแนวแห่งสัมมาสังกัปปะ ๓๕. ย่อมยุบ ย่อมไม่ก่อ ย่อมขว้างทิ้ง ย่อมไม่ถือเอา ซึ่ง... ขันธ์ ๕ ๓๖. เห็นประจักษ์ตามความเป็นจริง ๓๗. พึงเห็นว่า ชีวิตนั้นแสนสั้น
๘๙ ๙๐ ๙๔ ๙๙ ๑๐๖ ๑๐๘
ผลที่สุดของการละความเพลินในอารมณ์ ๓๘. ผู้ได้ชื่อว่า อินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศ ๓๙. ผู้เข้าไปหาเป็นผู้ไม่หลุดพ้น ผู้ไม่เข้าไปหาย่อมหลุดพ้น ๔๐. เพราะไม่เพลิน จึงละอนุสัยทั้ง ๓ ได้ ๔๑. ย่อมหลุดพ้นไปจากทุกข์ ๔๒. ลักษณะของบุคคลสี่ประเภท
๑๑๑ ๑๑๒ ๑๑๔
ข้อย�้ำเตือนจากพระตถาคต ๔๓. ความไม่ประมาท ยังกุศลธรรมทั้งหลายให้เกิดขึ้น ๔๔. พินัยกรรม ของพระสังฆบิดา บันทึกท้ายเล่ม
๑๒๗ ๑๒๘
๑๑๖ ๑๒๐ ๑๒๕
๑๒๙ ๑๓๑
ฉบับ ๘ อินทรียสังวร (ตามดู ! ไม่ตามไป...)
1
บทนำ� มนุษย์เป็นสัตว์ที่สื่อสารกันด้วยระบบภาษาที่ซับซ้อน ทั้งโครงสร้างและความหมาย วจีสังขาร ที่มนุษย์ปรุงแต่งขึ้นนั้น มีความวิจิตรเทียบเท่าดุจความละเอียดของจิต ทั้งนี้ เพราะจิตเป็นตัวสร้างการหมายรู้ต่างๆ (จิต เป็นเหตุในการเกิดของนามรูป และนามรูปซึ่งจิตสร้างขึ้นนั้น เป็นเหตุในการดำ�รงอยู่ได้ของจิต)
ถ้อยคำ�หนึง่ ๆ ในภาษาหนึง่ ๆ เมือ่ นำ�ไปวางไว้ในบริบทต่างๆ กัน ก็มคี วามหมายต่างกัน ยิง่ ไปกว่านัน้ ถ้อยคำ�หนึง่ ๆ ในบริบทเดียวกัน สามารถถูกเข้าใจต่างกันในความหมายได้ ขึน้ อยูก่ บั การหมายรูเ้ ฉพาะของจิตผูร้ บั สาร ซึง่ ก็มอี นุสยั ในการปรุงแต่งแตกต่างกันไป ความหยาบละเอียดในอารมณ์ อันมีประมาณต่างๆ แปรผันไปตามการหมายรูน้ น้ั ๆ
การสื่อความให้เข้าใจตรงกัน จึงไม่ใช่เรื่องง่าย แม้เรื่องราวในระดับชีวิตประจำ�วัน แม้ในระหว่างบุคคลที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิด เช่น ในครอบครัวเดียวกันก็ตาม การผิดใจกันที่มีเหตุมาจากการสื่อความหมายที่ไม่ตรง ก็มีให้เห็นเป็นเรื่องปกติ
กับกรณีของปรากฏการณ์ทางจิต ซึ่งมีมิติละเอียดปราณีตที่สุดในระบบสังขตธรรม ใครเล่า จะมีความสามารถในการบัญญัตริ ะบบคำ�พูด ทีใ่ ช้ถา่ ยทอดบอกสอนเรือ่ งจิตนี้ ให้ออกมาได้เป็นหลักมาตรฐานเดียว และใช้สอ่ื เข้าใจตรงกันได้ โดยไม่จ�ำ กัดกาลเวลา
2 พุ ท ธ ว จ น “ดูกายดูใจ” “ดูจิต” “ตามดูตามรู้” ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า วลีข้างต้นนั้น ถูกใช้พูดกันทั่วไปเป็นปกติในหมู่นักภาวนา ปกติจนเรียกได้ว่า เป็นหนึ่งในสิ่งที่ถูกมองข้ามเพิกเฉย (take for granted) ไป ราวกับว่า ใครๆ ก็รู้กันหมดแล้ว เหมือนคำ�ที่ใช้กันเป็นประจำ� เช่น กินข้าว อาบน้ำ� ฯ
หากพิจารณาให้ดี จะพบจุดสังเกต ๒ ข้อ ๑. เมื่อถูกถามลงไปในขั้นตอนโดยละเอียด ว่าอะไรอย่างไร เกี่ยวกับ ดูกายดูใจ ดูจิต ฯ คำ�ตอบที่ได้ มีความหลากหลายแตกต่างกันไป แต่มีสิ่งที่เหมือนกันอย่างหนึ่งคือ ต่างก็อ้างว่า มาจากมหาสติปัฏฐานสูตร ซึ่งเป็นทางเอก เป็นคำ�สอนของพระพุทธเจ้า ๒. ในแง่ของความแตกต่างดังกล่าวนัน้ ส่วนมากมักจะบอกกันว่า เป็นเรือ่ งธรรมดา “แล้วแต่จริต” จะปฏิบัติกันอย่างไร สุดท้ายแล้วก็ “ไปถึงที่หมายเดียวกัน”
เมือ่ มาใคร่ครวญดูแล้ว จะพบความแปลกประหลาดซ้อนทับอีกชัน้ หนึง่ คือ ทัง้ ๒ ข้อนัน้ เป็นสิง่ ทีถ่ กู take for granted อีกเช่นกัน เสมือนเป็นเรือ่ งทีย่ อมรับกันโดยทัว่ ไปแล้วว่า การปฏิบตั ทิ แ่ี ตกต่างกันนัน้ เป็นเรือ่ งธรรมดา “แล้วแต่จริต” และ “ไปถึงทีห่ มายเดียวกัน” โดยละเลยการทำ�ความเข้าใจที่ถูกต้องชัดเจน ว่าอะไรอย่างไรในความแตกต่างนั้น
ฉบับ ๘ อินทรียสังวร (ตามดู ! ไม่ตามไป...)
3
เหตุการณ์ทง้ั ๒ นี้ จะไม่มที างเกิดขึน้ กับอริยสาวก ผูป้ ระกอบพร้อมด้วยโสตาปัตติยงั คะ ๔ ผูถ้ งึ ซึง่ ศรัทธาอย่างไม่หวัน่ ไหว ในการตรัสรูข้ องพระพุทธเจ้า ในพระธรรม ในพระสงฆ์ เป็นอริยสาวกในธรรมวินยั นี้ ถึงการนับว่าเป็นคนของพระพุทธเจ้าโดยไม่มขี อ้ สงสัยแล้ว ย่อมที่จะรู้ด้วย อสาธารณญาณ โดยไม่ต้องอาศัยปัจจัยภายนอกจากใครอื่นว่า ธรรมะทีถ่ กู บัญญัตโิ ดยพระพุทธเจ้านัน้ จะมีคณ ุ ลักษณะคล้องเกลียวเชือ่ มโยงเป็นหนึง่
“ภิกษุทั้งหลาย ! นับแต่ราตรี ที่ตถาคตได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาโพธิญาณ จนกระทั่งถึงราตรีที่ตถาคตปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ตลอดเวลาระหว่างนั้น ตถาคตได้กล่าวสอน พร่ำ�สอน แสดงออกซึ่งถ้อยคำ�ใด ถ้อยคำ�เหล่านัน้ ทัง้ หมด ย่อมเข้ากันได้โดยประการเดียวทัง้ สิน้ ไม่แย้งกันเป็นประการอืน่ เลย”
–อิติวุ. ขุ. ๒๕/๓๒๑/๒๙๓.
4 พุ ท ธ ว จ น ก่อนพุทธปรินพิ พาน ทรงรับสัง่ ไว้กบั พระอานนท์เถระว่า ความสอดคล้องเข้ากันเป็นหนึง่ นี้ ให้ใช้เป็นหลักมาตรฐานในการตรวจสอบว่าอะไรใช่ หรือไม่ใช่พระธรรมวินยั (มหาปเทส ๔) ยิง่ ไปกว่านัน้ ทรงระบุไว้ดว้ ยว่า หากรูแ้ ล้วว่าไม่ใช่พระธรรมวินยั ให้เราละทิง้ สิง่ นัน้ ไปเสีย ความสามารถในการใช้บทพยัญชนะทีม่ อี รรถะ (ความหมาย) สอดคล้องกันเป็นหนึง่ เดียวนี้ เป็นพุทธวิสยั มิใช่สาวกวิสยั ทัง้ นี้ เพราะเหตุคอื ความต่างระดับชัน้ กันของบารมีทส่ี ร้างสมมา พระตถาคต สร้างบารมีมาในระดับพุทธภูมิ เพือ่ ให้ได้มา ซึง่ ความเป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธะ พระสาวก สร้างบารมีในระดับสาวกภูมิ เพือ่ ให้ได้มา ซึง่ โอกาสในการเป็นสาวกในธรรมวินยั นี้ ที่มาที่ไปของคำ�ว่า ดูจิต หรือ ตามดูตามรู้ฯ ไม่ใช่เรื่องลึกลับซับซ้อนที่จะสืบค้น ตัวสูตรที่เป็นพุทธวจน เพื่อใช้ตรวจสอบเทียบเคียงตามหลักมหาปเทส ก็มีอยู่ ใช่หรือไม่วา่ ปัญหาทีแ่ ท้จริงทัง้ กับในกรณีน้ี และอืน่ ๆทำ�นองเดียวกันนี้ คือ ความขีเ้ กียจ ความมักง่ายของชาวพุทธนั่นเอง ที่ไม่อยากเข้าไปลงทุนลงแรงศึกษาสืบค้นพุทธวจน แล้วไปคาดหวังลมๆ แล้งๆ ว่า น่าจะมีใครสักคนหนึ่งหรือสองคน ที่มีความสามารถ พิเศษคิดค้นย่นย่อหลักธรรมทีพ่ ระตถาคตบัญญัตไิ ว้เป็นสวากขาโตแล้วนัน้ ให้งา่ ยสัน้ ลงกว่าได้ การเชื่อเช่นนี้ เป็นลักษณะความเชื่อของปุถุชนผู้มิได้สดับ-มิได้เห็นพระอริยเจ้าไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้า-ไม่ได้รบั การแนะนำ�ในธรรมของพระอริยเจ้า จึงไม่ทราบว่า พระสาวกมีภมู ธิ รรมจำ�กัดอยูเ่ พียงแค่เป็นผูเ้ ดินตามมรรคทีพ่ ระตถาคตบัญญัตไิ ว้เท่านัน้ (มคฺคานุคา จ ภิกฺขเว เอตรหิ สาวกา วิหรนฺติ ปจฺฉา สมนฺนาคตา)
ฉบับ ๘ อินทรียสังวร (ตามดู ! ไม่ตามไป...)
5
ผู้ที่สร้างบารมีมาในระดับสาวกภูมิ ไม่มีความสามารถในการคิดสร้างมรรคขึ้นเองไม่ เว้นแม้แต่ พระอรหันต์ผู้หลุดพ้นด้วยปัญญา (ปฺาวิมุตฺเตน ภิกฺขุนาติ) ก็ตาม พระพุทธเจ้า (อรหํ สมฺมาสมฺพทุ โฺ ธ) ในฐานะพระศาสดานัน้ มีคณ ุ สมบัตเิ หนือไปกว่า คือ ทรงเป็นผูร้ มู้ รรค (มคฺคฺ)ู รูแ้ จ้งในมรรค (มคฺควิท)ู และเป็นผูฉ้ ลาดในมรรค (มคฺคโกวิโท) พระพุทธองค์จงึ ทรงรับสัง่ ป้องกันไว้ลว่ งหน้าแล้วว่า สูตรใดๆ ก็ตามทีแ่ ต่งขึน้ ใหม่ในภายหลัง แม้จะมีความสละสลวยวิจติ ร เป็นของนอกแนว เป็นคำ�กล่าวของสาวก ให้เราไม่ส�ำ คัญตนว่า เป็นสิง่ ทีค่ วรเล่าเรียนศึกษา ในทางกลับกัน คำ�กล่าวของตถาคต อันมีความหมายลึกซึง้ นัน้ ให้เราสำ�คัญตนว่าเป็นสิง่ ทีค่ วรเล่าเรียนศึกษา และให้พากันเล่าเรียนศึกษาคำ�ของตถาคตนัน้ แล้วให้ไต่ถามทวนถามกันและกันในเรือ่ งนัน้ ๆ ว่าพระพุทธเจ้าทรงกล่าวเรือ่ งนีไ้ ว้อย่างไร ข้างต้นนี้ คือวิธกี ารเปิดธรรมทีถ่ กู ปิดด้วยพุทธวจน และชาวพุทธทีม่ กี ารศึกษาในลักษณะนี้ (ปฏิปจุ ฉฺ าวินตี า ปริสา โน อุกกฺ าจิตวินตี า) พระพุทธองค์ทรงเรียกว่าเป็นพุทธบริษทั อันเลิศ ในมหาสติปฏั ฐานสูตรนัน้ แบ่งฐานทีต่ ง้ั แห่งสติออกเป็น ๔ ฐาน คือ กาย เวทนา จิต ธรรม โดยแต่ละฐาน มีรายละเอียดระบุชดั เจนว่าปฏิบตั อิ ย่างไร ขอบเขตแค่ไหน และจบลงอย่างไร ผูท้ ศ่ี กึ ษาพุทธวจนโดยละเอียดรอบคอบ ย่อมทีจ่ ะเข้าใจแง่มมุ ต่างๆ โดยลึกซึง้ ครบถ้วน และ ย่อมทีจ่ ะรูไ้ ด้วา่ ความแตกต่างในมรรควิธี มีได้ แต่ไม่ใช่มโี ดยสะเปะสะปะไร้เงือ่ นไขขอบเขต
6 พุ ท ธ ว จ น หากแต่มไี ด้ หลากหลายได้ ภายใต้พทุ ธบัญญัตซิ ง่ึ มีลกั ษณะเชือ่ มโยงสอดคล้องเป็นหนึง่ ผลอานิสงส์มงุ่ หมายในทีส่ ดุ ก็สามารถเข้าถึงได้ ด้วยวิธอี นั หลากหลายภายใต้ความเป็นหนึง่ นี้ ในวาระนี้ จะขอยกหมวดของ จิตตานุปสั สนา คือการตามเห็นในกรณีของจิต ขึน้ เป็นตัวอย่าง ปัจจุบนั มีผทู้ ด่ี จู ติ หรือดูอาการของจิต โดยใช้ค�ำ อธิบายสภาวะของจิตซึง่ บัญญัตขิ น้ึ ใหม่เอง แล้วหลงเข้าใจไปว่า การฝึกตามดูตามรูส้ ภาวะนัน้ ๆ ไปเรือ่ ยๆ คือการเจริญสติ คือการดูจติ หากพิจารณาโดยแยบคายแล้ว คำ�เรียกอาการของจิต ทีค่ ดิ ขึน้ ใหม่เองทัง้ หลายเหล่านัน้ เป็นเพียงการตัง้ ชือ่ เรียกอารมณ์อนั มีประมาณต่างๆ และการตามเห็นสภาวะนัน้ ๆ ไปเรือ่ ยๆ ก็คือการฝึกผูกจิตติดกับอารมณ์ด้วยอำ�นาจแห่งความเพลิน (ฝึกจิตให้มีสัญโญคะ) จะด้วยเหตุอย่างไรก็ตามแต่ ระบบคำ�เรียกทีต่ า่ งกันตรงนี้ อาจดูเหมือนเป็นเรือ่ งเล็กน้อย แต่หากเทียบในระดับความละเอียดของจิตแล้ว องศาทีเ่ บีย่ งเพียงเล็กน้อย ณ จุดตรงนี้ สามารถนำ�ไปสูผ่ ลลัพธ์ทส่ี ดุ ในการปฏิบตั ิ คืออานิสงส์มงุ่ หมาย ทีแ่ ตกต่างกันโดยสิน้ เชิง นัยยะหนึง่ ทีพ่ ระพุทธองค์ทรงบัญญัตใิ ห้เราตามเห็นจิต (จิตตฺ านุปสฺสนา) แท้จริงแล้วก็เพือ่ ให้เห็นเหตุเกิดและเสือ่ มไป โดยอาศัยการตามเห็น “อาการของจิต” เพียงแค่ ๘ คูอ่ าการเท่านัน้
ฉบับ ๘ อินทรียสังวร (ตามดู ! ไม่ตามไป...)
7
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุเป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ นั้นเป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในกรณีนี้
(๑) รู้ชัดซึ่งจิตอันมีราคะ ว่า “จิตมีราคะ” (๒) รูช้ ดั ซึง่ จิตอันปราศจากราคะ ว่า “จิตปราศจากราคะ” (๓) รู้ชัดซึ่งจิตอันมีโทสะ ว่า “จิตมีโทสะ” (๔) รูช้ ดั ซึง่ จิตอันปราศจากโทสะ ว่า “จิตปราศจากโทสะ” (๕) รู้ชัดซึ่งจิตอันมีโมหะ ว่า “จิตมีโมหะ” (๖) รู้ชัดซึ่งจิตอันปราศจากโมหะ ว่า “จิตปราศจากโมหะ” (๗) รู้ชัดซึ่งจิตอันหดหู่ ว่า “จิตหดหู่” (๘) รู้ชัดซึ่งจิตอันฟุ้งซ่าน ว่า “จิตฟุ้งซ่าน” (๙) รูช้ ดั ซึง่ จิตอันถึงความเป็นจิตใหญ่ ว่า “จิตถึงแล้วซึง่ ความเป็นจิตใหญ่” (๑๐) รูช้ ดั ซึง่ จิตอันไม่ถงึ ความเป็นจิตใหญ่ ว่า “จิตไม่ถงึ แล้วซึง่ ความเป็นจิตใหญ่” (๑๑) รู้ชัดซึ่งจิตอันยังมีจิตอื่นยิ่งกว่า ว่า “จิตยังมีจิตอื่นยิ่งกว่า” (๑๒) รู้ชัดซึ่งจิตอันไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ว่า “จิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า” (๑๓) รู้ชัดซึ่งจิตอันตั้งมั่น ว่า “จิตตั้งมั่น” (๑๔) รู้ชัดซึ่งจิตอันไม่ตั้งมั่น ว่า “จิตไม่ตั้งมั่น” (๑๕) รู้ชัดซึ่งจิตอันหลุดพ้นแล้ว ว่า “จิตหลุดพ้นแล้ว” (๑๖) รู้ชัดซึ่งจิตอันยังไม่หลุดพ้น ว่า “จิตยังไม่หลุดพ้น”
8 พุ ท ธ ว จ น ด้วยอาการอย่างนีแ้ ล ทีภ่ กิ ษุเป็นผูม้ ปี กติพจิ ารณาเห็นจิตในจิต (จิตเฺ ต จิตตฺ านุปสฺสี วิหรติ) อันเป็นภายในอยูบ่ า้ ง, ในจิตอันเป็นภายนอกอยูบ่ า้ ง, ในจิตทัง้ ภายในและภายนอกอยูบ่ า้ ง; และเป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นธรรมเป็นเหตุ เกิดขึ้นในจิตอยู่บ้าง, เห็นธรรมเป็นเหตุเสื่อมไปในจิตอยู่บ้าง, เห็นธรรมเป็นเหตุทั้งเกิดขึ้นและเสื่อมไปในจิตอยู่บ้าง; ก็แหละสติ (คือความระลึก) ว่า “จิตมีอยู่” ดังนี้ ของเธอนั้น เป็นสติที่เธอดำ�รงไว้เพียงเพื่อความรู้ เพียงเพื่อความอาศัยระลึก. ที่แท้เธอเป็นผู้ที่ตัณหาและทิฏฐิอาศัยไม่ได้ และเธอไม่ยึดมั่นอะไรๆ ในโลกนี้. ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้มีปกติตามเห็นจิตในจิตอยู่ แม้ด้วยอาการอย่างนี้.
- มหาสติปัฏฐานสูตร มหาวาร. สํ. ๑๐/๓๓๑/๒๘๙.
ฉบับ ๘ อินทรียสังวร (ตามดู ! ไม่ตามไป...)
9
จะเห็นได้ว่า พระพุทธเจ้ามิได้ให้เราฝึกตามดูตามรู้เรื่องราวในอารมณ์ไปเรื่อยๆ และ การตามดูตามรูซ้ ง่ึ จิต (จิตตฺ านุปสฺสนา) จะต้องเป็นไปภายใต้ ๘ คูอ่ าการนีเ้ ท่านัน้
สมมุติสถานการณ์ตัวอย่าง เช่น ในขณะที่เรากำ�ลังโกรธอยู่ ในกรณีนี้ หน้าที่ของเรา ที่ต้องทำ�ให้ได้ คือ “รู้ชัดซึ่งจิตอันมีโทสะ ว่า จิตมีโทสะ” ไม่ใช่ไปตามดูตามรู้โทสะ (หรือ รู้ในอารมณ์ที่จิตผูกติดอยู่) ในจิตอันมีโทสะขณะนั้น ปัญหามีอยูว่ า่ โดยธรรมชาติของจิต มันรูไ้ ด้อารมณ์เดียวในเวลาเดียว (one at a time) ในขณะทีเ่ รากำ�ลังโกรธอยูน่ น้ั เราจึงต้องละความเพลินในอารมณ์ทท่ี �ำ ให้เราโกรธเสียก่อน ไม่เช่นนั้น เราจะไม่มีทาง “รู้ชัดซึ่งจิตอันมีโทสะ ว่า จิตมีโทสะ” ได้เลย มีผัสสะ ➞ จิตรับรู้อารมณ์ ➞ มีสติ ➞ ละความเพลิน ➞ รู้ชัดซึ่งจิต ในระหว่างขัน้ ตอนข้างต้น ถ้าเราสามารถเห็นธรรมเป็นเหตุเกิดขึน้ หรือเสือ่ มไปในจิตได้ การเห็นตรงนี้ เรียกว่า วิปัสสนา ซึ่งเป็นจุดประสงค์ของการเจริญสติปัฏฐานทั้งสี่ โปรดสังเกต สติปฏั ฐานสี่ ทุกหมวด จบลงด้วยการเห็นธรรมอันเป็นเหตุเกิดขึน้ และเสือ่ มไป ขัน้ ตอนของสติทเ่ี ข้าไปตัง้ อาศัยในฐานทัง้ สี่ เป็นเพียงบันไดขัน้ หนึง่ เท่านัน้ ไม่ใช่จดุ หมาย
10 พุ ท ธ ว จ น เมือ่ ผัสสะถูกต้องแล้ว หากเราหลงเพลิน “รูส้ กึ ” ตามไปเรือ่ ยๆ นีค่ อื อนุสยั (ตามนอน) หากละความเพลินในอารมณ์แล้วมาเห็นจิตโดยอาการ๘คูข่ า้ งต้นนีค่ อื อนุปสั สนา(ตามเห็น) และถ้ามีการเห็นแจ้งในธรรมเป็นเหตุเกิดขึน้ และเหตุเสือ่ มไปในจิต นีค่ อื วิปสั สนา (เห็นแจ้ง) ถ้าหากว่า เราไม่สามารถรู้ชัดซึ่งจิตโดยอาการอย่างใดอย่างหนึ่งใน ๘ คู่ข้างต้นได้ ให้ดงึ สติกลับมารูท้ ฐ่ี านคือกาย เช่น อิรยิ าบถ หรือ ลมหายใจ พลิกกลับเป็นกายานุปสั สนา อย่ามักง่ายไปคิดคำ�ขึน้ ใหม่ เพือ่ มาเรียกอารมณ์ทจ่ี ติ หลงอยูใ่ นขณะนัน้ เพราะนัน่ คือจุดเริม่ ของการเบีย่ งออกนอกมรรควิธี (ไปใช้ค�ำ อธิบายอาการของจิตทีน่ อกแนวจากพุทธบัญญัติ เป็นผลให้หลงเข้าใจได้วา่ กำ�ลังดูจติ ทัง้ ๆ ทีก่ �ำ ลังเพลินอยูใ่ นอารมณ์ ขาดสติ แต่หลงว่ามีสติ) นี้ เป็นเพียงตัวอย่างของการตามเห็นในกรณีจติ ตานุปสั สนา คือ ใช้จติ เป็นฐานทีต่ ง้ั ของสติ ในกรณีของ กายานุปสั สนา เวทนานุปสั สนา ธรรมานุปสั สนา พึงศึกษาในลักษณะเดียวกัน คือปฏิบตั ติ ามพุทธวจนในกรณีนน้ั ๆ ให้ถกู ต้องครบถ้วน ทัง้ โดยอรรถะ และโดยพยัญชนะ พระพุทธเจ้ามองเห็นธรรมชาติในจิตของหมูส่ ตั ว์ ในแบบของผูท้ ส่ี ร้างบารมีมาเพือ่ บอกสอน การบัญญัตมิ รรควิธี จึงเป็นพุทธวิสยั หน้าทีข่ องเราในฐานะพุทธสาวกมีเพียงอย่างเดียว คือ ปฏิบตั ติ ามพุทธบัญญัตโิ ดยระมัดระวังอย่างทีส่ ดุ (มคฺคานุคา จ ภิกขฺ เว เอตรหิ สาวกา ฯ) เมื่อเข้าใจความหมายของการตามเห็น (อนุปสฺสนา) และการเห็นแจ้ง (วิปสฺสนา) แล้ว ทีน้ี จะมีวธิ อี ย่างไร ทีจ่ ะทำ�ให้อตั ราส่วน Ratio ของ วิปสั สนา ต่อ อนุปสั สนา มีคา่ สูงทีส่ ดุ (คือ เน้นการปฏิบัติที่ได้ประสิทธิภาพมากที่สุด เพื่อความลัดสั้นสู่มรรคผล)
ฉบับ ๘ อินทรียสังวร (ตามดู ! ไม่ตามไป...)
11
ตัวแปรหลักที่เป็นกุญแจไขปัญหานี้ คือ สมาธิ ตราบใดทีจ่ ติ ยังซัดส่ายไปๆมาๆทัง้ การอนุปสั สนาก็ดีและการวิปสั สนาก็ดีต่างก็ท�ำ ได้ยาก พระพุทธเจ้าจึงทรงรับสัง่ ว่า ให้เราเจริญสมาธิเพือ่ ให้ธรรมทัง้ หลายปรากฏตามเป็นจริง ภิกษุทั้งหลาย ! เธอทั้งหลายจงเจริญสมาธิ. ภิกษุมีจิตตั้งมั่นแล้ว ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริง. ก็ภิกษุย่อมรู้ชัดตามเป็นจริงอย่างไร ? ย่อมรู้ชัดซึ่งความเกิดและความดับแห่งรูป ความเกิดและความดับแห่งเวทนา ความเกิดและความดับแห่งสัญญา ความเกิดและความดับแห่งสังขาร ความเกิดและความดับแห่งวิญญาณ.
- ขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๗-๑๘/๒๗.
12 พุ ท ธ ว จ น นอกจากนีแ้ ล้ว พระพุทธองค์ยงั ทรงแนะนำ�เป็นกรณีพเิ ศษ สำ�หรับกรณีทจ่ี ติ ตัง้ มัน่ ยาก เช่น คนที่คิดมาก มีเรื่องให้วิตกกังวลมาก ย้ำ�คิดย้ำ�ทำ� คิดอยู่ตลอดเวลา หยุดคิดไม่ได้ หรือ คนทีเ่ ป็น hyperactive มีบคุ ลิกภาพทางจิตแบบ ADHD ซึง่ มีปญ ั หาในการอยูน่ ง่ิ ทรงแนะนำ�วิธีแก้ไขอาการเหล่านี้ โดยการเจริญทำ�ให้มาก ซึ่งอานาปานสติสมาธิ
ภิกษุทง้ั หลาย ! ความหวัน่ ไหวโยกโคลงแห่งกายก็ตาม ความหวัน่ ไหวโยกโคลงแห่งจิตก็ตาม ย่อมมีไม่ได้ เพราะการเจริญทำ�ให้มากซึ่งอานาปานสติสมาธิ
- มหา. สํ. ๑๙/๔๐๐/๑๓๒๕.
เมือ่ ถึงตรงนี้ แม้จะไม่เอ่ยถึง เราก็คงจะเห็นได้ชดั แล้วว่า ความสงบแห่งจิต (สมถะ) นัน้ จะต้องดำ�เนินไปควบคู่ และเกือ้ หนุนกับระดับความสามารถในการเห็นแจ้ง (วิปสั สนา) ซึ่งพระพุทธองค์เองได้ตรัสเน้นย้ำ�ในเรื่องนี้ไว้โดยตรงด้วย ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมที่ควรกระทำ�ให้เจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง เป็นอย่างไรเล่า ? สมถะ และ วิปสั สนา เหล่านีเ้ รากล่าวว่า เป็นธรรมทีค่ วรกระทำ�ให้เจริญด้วยปัญญาอันยิง่ .
- จตุกฺก. อํ. ๒๑/๓๓๔/๒๕๔.
ฉบับ ๘ อินทรียสังวร (ตามดู ! ไม่ตามไป...)
13
ธรรมที่ควรกระทำ�ให้เจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง มีสองอย่าง คือ ทั้งสมถะ และวิปัสสนา นั่นหมายความว่า ทั้งสมถะ และวิปัสสนา เป็นสิ่งที่ต้องอาศัยปัญญาอันยิ่งในการได้มา ดังนั้น ใครก็ตามที่มีความสามารถในการทำ�จิตให้ตั่งมั้นได้ บุคคลนั้นมีปัญญาอันยิ่ง ใครก็ตามทีจ่ ติ ตัง้ มัน่ แล้วสามารถเห็นแจ้งในธรรมอันเป็นเหตุ บุคคลนัน้ มีปญ ั ญาอันยิง่
สำ�หรับบางคนที่อาจจะเข้าใจความหมายได้ดีกว่า จากตัวอย่างอุปมาเปรียบเทียบ พระพุทธองค์ได้ทรงยกอุปมาเปรียบเทียบไว้ในฌานสูตร ว่าเหมือนกับการฝึกยิงธนู เมื่อพิจารณาแล้ว จะพบว่า มีตัวแปรต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะต้องปรับให้สมดุล เช่น ความนิ่งของกาย วิธีการจับธนู การเล็ง น้ำ�หนัก และจังหวะในการปล่อยลูกศร อุปมานี้ พอจะทำ�ให้เราเห็นภาพได้ดี ในการเจริญสมถะวิปัสสนา ด้วยปัญญาอันยิ่ง ว่าการเห็นแจ้งในธรรมอันเป็นเหตุนั้น จะต้องอาศัยความสมดุลย์ต่างๆ อย่างไรบ้าง หากจะพูดให้สั้นกระชับที่สุด การตามดูไม่ตามไปนี้ แท้จริงแล้ว คือ การไม่ตามไป เพราะเมื่อไม่ตาม (อารมณ์อันมีประมาณต่างๆ) ไป มันก็เหลือแค่การตามดูที่ถูกต้อง หลักการไม่ตามไปนี้ ก็คือ หลักการละนันทิ ซึ่งเป็นเรื่องเดียวกันกับหลักอินทรียสังวร ภิกษุมคิ ชาละ ฟังธรรมเรือ่ งการละนันทิ แล้วหลีกจากหมูไ่ ปอยูผ่ เู้ ดียวก็บรรลุอรหัตตผล ความเร็วในการละนันทิ ยังถูกใช้เป็นเครื่องวัดความก้าวหน้าในการปฏิบัติจิตภาวนา (ดูความเชื่อมโยงได้ในเรื่อง อินทรียสังวร, การไม่ประมาท, อินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศ)
14 พุ ท ธ ว จ น หนังสือ “ตามดู ! ไม่ตามไป...” เล่มนี้ จัดทำ�ขึน้ เพือ่ อำ�นวยความสะดวกแก่ชาวพุทธ โดยการคัดเลือกพุทธวจน ที่เกี่ยวข้องกับการเจริญสติ เป็นจำ�นวนกว่า ๖๐ พระสูตร ซึ่งมีเนื้อหาสอดรับเชื่อมโยงคล้องเกลียวถึงกัน เพื่อให้เราได้ศึกษาให้เข้าใจถึงมรรควิธี ที่ถูกต้องทุกแง่มุม ในความหลากหลายภายใต้ความเป็นหนึ่ง จากพุทธบัญญัติโดยตรง ขอให้บุญบารมีที่ได้สร้างมา ของชาวพุทธผู้ที่กำ�ลังถือหนังสือเล่มนี้อยู่ จงเป็นเหตุปัจจัย ให้ท่านค้นพบคำ�ตอบโดยแจ่มแจ้ง ในข้อสงสัยเรื่องการปฏิบัติที่ท่านอาจจะติดข้องอยู่ และสำ�หรับบางท่านที่เข้าใจคลาดเคลื่อน ปฏิบัติคลาดเคลื่อนไปบ้าง มาแต่ทีแรก ก็ขอให้ได้พบ ได้เข้าใจในสิ่งที่ถูก และนำ�ไปใช้ขยับปรับเปลี่ยนให้ตรงทางได้โดยเร็ว สำ�หรับท่านที่ไม่เคยรู้อะไรมาก่อนเลย ก็ถือเป็นบุญกุศลที่ได้พบแผนที่ฉบับนี้แต่แรก
คณะผู้จัดพิมพ์หนังสือเล่มนี้ ขอนอบน้อมสักการะ ต่อ ตถาคต ผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ และ ภิกษุสาวกในธรรมวินัยนี้ ตั้งแต่ครั้งพุทธกาล จนถึงยุคปัจจุบัน ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการสืบทอดพุทธวจน คือ ธรรม และวินัย ที่ทรงประกาศไว้ บริสุทธิ์บริบูรณ์ดีแล้ว คณะงานธัมมะ วัดนาป่าพง
ผลเสียของการปล่อยจิต ให้เพลินกับอารมณ์
16 พุ ท ธ ว จ น
๑ ก่อให้เกิดอนุสัยทั้ง ๓ ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะอาศัยตาด้วย รูปทั้งหลายด้วย จึงเกิดจักขุวิญญาณ การประจวบพร้อมแห่งธรรม ๓ ประการ นั่นคือ ผัสสะ; เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย... เพราะอาศัยหูด้วย เสียงทั้งหลายด้วย จึงเกิดโสตวิญญาณ การประจวบพร้อมแห่งธรรม ๓ ประการ นั่นคือ ผัสสะ; เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย... เพราะอาศัยจมูกด้วย กลิ่นทั้งหลายด้วย จึงเกิดฆานวิญญาณ การประจวบพร้อมแห่งธรรม ๓ ประการ นั่นคือ ผัสสะ; เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย... เพราะอาศัยลิ้นด้วย รสทั้งหลายด้วย จึงเกิดชิวหาวิญญาณ การประจวบพร้อมแห่งธรรม ๓ ประการ นั่นคือ ผัสสะ; เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย...
ฉบับ ๘ อินทรียสังวร (ตามดู ! ไม่ตามไป...)
17
เพราะอาศัยกายด้วย โผฏฐัพพะทัง้ หลายด้วย จึงเกิดกายวิญญาณ การประจวบพร้อมแห่งธรรม ๓ ประการ นั่นคือ ผัสสะ; เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย... เพราะอาศัยใจด้วย ธรรมารมณ์ทั้งหลายด้วย จึงเกิดมโนวิญญาณ การประจวบพร้อมแห่งธรรม ๓ ประการ นั่นคือ ผัสสะ; เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา อันเป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บา้ ง ไม่ใช่ทกุ ข์ไม่ใช่สขุ บ้าง. บุคคลนั้น เมื่อ สุขเวทนา ถูกต้องอยู่ ย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำ�สรรเสริญ เมาหมกอยู่; อนุสัยคือราคะ ย่อมตามนอนแก่บุคคลนั้น (ตสฺส ราคานุสโย อนุเสติ)
เมื่อ ทุกขเวทนา ถูกต้องอยู่ เขาย่อมเศร้าโศก ย่อมระทมใจ ย่อมคร่ำ�ครวญ ย่อมตีอกร่ำ�ไห้ ย่อมถึงความหลงใหลอยู่; อนุสยั คือปฏิฆะ ย่อมตามนอน (เพิม่ ความเคยชินให้) แก่บคุ คลนัน้ .
18 พุ ท ธ ว จ น เมื่อ เวทนาอันไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุข ถูกต้องอยู่ เขาย่อมไม่รู้ตามเป็นจริง ซึ่งสมุทยะ (เหตุเกิด) ของเวทนานั้นด้วย ซึ่งอัตถังคมะ (ความดับไม่เหลือ) แห่งเวทนานั้นด้วย ซึ่งอัสสาทะ (รสอร่อย) ของเวทนานั้นด้วย ซึ่งอาทีนวะ (โทษ) ของเวทนานั้นด้วย ซึ่งนิสสรณะ (อุบายเครื่องออกพ้นไป) ของเวทนานั้นด้วย; อนุสยั คืออวิชชา ย่อมตามนอน (เพิม่ ความเคยชินให้) แก่บคุ คลนัน้ . บุคคลนั้นหนอ (สุขาย เวทนาย ราคานุสย อปฺปหาย)
ยังละราคานุสัย อันเกิดจากสุขเวทนาไม่ได้; (ทุกฺขาย เวทนาย ปฏิฆานุสย อปฺปฏิวิโนเทตฺวา)
ยังบรรเทาปฏิฆานุสัย อันเกิดจากทุกขเวทนาไม่ได้; (อทุกฺขมสุขาย เวทนาย อวิชฺชานุสย อสมูหนิตฺวา)
ยังถอนอวิชชานุสัย อันเกิดจากอทุกขมสุขเวทนาไม่ได้;
ฉบับ ๘ อินทรียสังวร (ตามดู ! ไม่ตามไป...)
19
(อวิชฺช อปฺปหาย วิชฺช อนุปฺปาเทตฺวา)
เมื่อยังละอวิชชาไม่ได้ และยังทำ�วิชชาให้เกิดขึ้นไม่ได้แล้ว, (ทิฏฺเว ธมฺเม ทุกฺขสฺสนฺตกโร ภวิสฺสตีติ)
เขาจักทำ�ที่สุดแห่งทุกข์ ในทิฏฐธรรม (รู้เห็นได้เลย) นี้ได้ นั้น; (เนต าน วิชฺชติฯ)
ข้อนี้ ไม่เป็นฐานะที่จักมีได้. อุปริ. ม. ๑๔/๕๑๖/๘๒๒.
20 พุ ท ธ ว จ น
๒ ไม่อาจที่จะหลุดพ้นไปจากทุกข์ ภิกษุทั้งหลาย ! ผู้ใด เพลิดเพลินอยู่ ใน รูป ผู้นั้น เท่ากับเพลิดเพลินอยู่ ใน สิ่งที่เป็นทุกข์... ผู้ใด เพลิดเพลินอยู่ ใน เวทนา ผู้นั้น เท่ากับเพลิดเพลินอยู่ ใน สิ่งที่เป็นทุกข์... ผู้ใด เพลิดเพลินอยู่ ใน สัญญา ผู้นั้น เท่ากับเพลิดเพลินอยู่ ใน สิ่งที่เป็นทุกข์... ผู้ใด เพลิดเพลินอยู่ ใน สังขารทั้งหลาย ผู้นั้น เท่ากับเพลิดเพลินอยู่ ใน สิ่งที่เป็นทุกข์... ผู้ใด เพลิดเพลินอยู่ ใน วิญญาณ ผู้นั้น เท่ากับเพลิดเพลินอยู่ ใน สิ่งที่เป็นทุกข์
ฉบับ ๘ อินทรียสังวร (ตามดู ! ไม่ตามไป...)
21
เรากล่าวว่า “ผู้ใด เพลิดเพลินอยู่ ในสิ่งที่เป็นทุกข์ ผู้นั้น ย่อมไม่หลุดพ้นไปได้จากทุกข์” ดังนี้. ขนฺธ. สํ. ๑๗/๓๙/๖๔.
22 พุ ท ธ ว จ น
๓ เพลินอยู่กับอายตนะ เท่ากับ เพลินอยู่ในทุกข์
ภิกษุทั้งหลาย ! ผู้ใด เพลิดเพลินอยู่ ใน จักษุ ผู้นั้น เท่ากับ เพลิดเพลินอยู่ ใน สิ่งที่เป็นทุกข์... ผู้ใด เพลิดเพลินอยู่ ใน โสตะ ผู้นั้น เท่ากับ เพลิดเพลินอยู่ ใน สิ่งที่เป็นทุกข์... ผู้ใด เพลิดเพลินอยู่ ใน ฆานะ ผู้นั้น เท่ากับ เพลิดเพลินอยู่ ใน สิ่งที่เป็นทุกข์... ผู้ใด เพลิดเพลินอยู่ ใน ชิวหา ผู้นั้น เท่ากับ เพลิดเพลินอยู่ ใน สิ่งที่เป็นทุกข์... ผู้ใด เพลิดเพลินอยู่ ใน กายะ ผู้นั้น เท่ากับ เพลิดเพลินอยู่ ใน สิ่งที่เป็นทุกข์... ผู้ใด เพลิดเพลินอยู่ ใน มนะ ผู้นั้น เท่ากับ เพลิดเพลินอยู่ ใน สิ่งที่เป็นทุกข์
ฉบับ ๘ อินทรียสังวร (ตามดู ! ไม่ตามไป...)
23
เรากล่าวว่า ผู้ใด เพลิดเพลินอยู่ ใน สิ่งที่เป็นทุกข์ ผู้นั้น ย่อมไม่หลุดพ้นไปได้จากทุกข์ ดังนี้. สฬา. สํ. ๑๘/๑๖/๑๙.
(ในพระสูตรต่อไป ได้ตรัสถึงในกรณีแห่ง อายตนะภายนอก ๖ ซึ่งมีข้อความเหมือนในกรณีแห่งอายตนะภายใน ๖ ทุกประการ โดยลักษณะการตรัสตรงนี้ คือทรงตรัสแยกเป็นกรณีๆ จนครบ ซึ่งผู้อ่านควรจะทำ�ความเข้าใจแยกไปตามกรณีจนครบเช่นกัน การที่ละไว้ด้วย ... ก็เพื่อให้รู้ว่ามีข้อความสรุปที่เหมือนกัน)
24 พุ ท ธ ว จ น
๔ ลักษณะของการอยูอ่ ย่างมีตณ ั หาเป็นเพือ่ น “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ ภิกษุจึงชื่อว่า เป็นผู้มีการอยู่อย่างมีเพื่อนสอง พระเจ้าข้า ?”
มิคชาละ ! รูปทั้งหลายอันจะพึงเห็นได้ด้วยจักษุ อันเป็นรูปที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยอยู่แห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความกำ�หนัดย้อมใจ มีอยู่. ถ้าหากว่าภิกษุยอ่ มเพลิดเพลิน พร่�ำ สรรเสริญ สยบมัวเมา ซึง่ รูปนัน้ ไซร้; แก่ภกิ ษุผเู้ พลิดเพลิน พร่�ำ สรรเสริญ สยบมัวเมา ซึง่ รูปนัน้ อยู่ นัน่ แหละ, นันทิ (ความเพลิน) ย่อมเกิดขึ้น เมื่อ นันทิ มีอยู่, สาราคะ (ความพอใจอย่างยิ่ง) ย่อมมี; เมือ่ สาราคะ มีอยู,่ สัญโญคะ (ความผูกจิตติดกับอารมณ์) ย่อมมี :
ฉบับ ๘ อินทรียสังวร (ตามดู ! ไม่ตามไป...)
25
มิคชาละ ! ภิกษุผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยการผูกจิตติดกับอารมณ์ด้วยอำ�นาจแห่งความเพลิน นั่นแล เราเรียกว่า “ผู้มีการอยู่อย่างมีเพื่อนสอง” (ในกรณีแห่งเสียงทั้งหลายอันจะพึงได้ยินด้วยหู, กลิ่นทั้งหลายอันจะพึงดมด้วยจมูก, รสทั้งหลายอันจะพึงลิ้มด้วยลิ้น, โผฏฐัพพะทั้งหลายอันจะพึงสัมผัสด้วยผิวกาย, และธรรมารมณ์ทง้ั หลายอันจะพึงรูแ้ จ้งด้วยใจ, ก็ทรงตรัสอย่างเดียวกัน).
มิคชาละ ! ภิกษุผู้มีการอยู่ด้วยอาการอย่างนี้ แม้จะส้องเสพเสนาสนะอันเป็นป่าและป่าชัฏ ซึ่งเงียบสงัด มีเสียงรบกวนน้อย มีเสียงกึกก้องครึกโครมน้อย ปราศจากลมจากผิวกายคน เป็นที่ทำ�การลับของมนุษย์ เป็นที่สมควรแก่การหลีกเร้น เช่นนี้แล้ว ก็ตาม ถึงกระนั้น ภิกษุนั้นเราก็ยังคงเรียกว่า ผู้มีการอยู่อย่างมีเพื่อนสองอยู่นั่นเอง.
26 พุ ท ธ ว จ น ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ? ข้อนั้นเพราะเหตุว่า ตัณหานั่นแล เป็นเพื่อนสองของภิกษุนั้น. ตัณหานั้น อันภิกษุนั้น ยังละไม่ได้แล้ว เพราะเหตุนน้ั ภิกษุนน้ั เราจึงเรียกว่า “ผูม้ กี ารอยูอ่ ย่างมีเพือ่ นสอง” ดังนี.้ “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอแล ภิกษุจงึ ชือ่ ว่า เป็นผูม้ กี ารอยูอ่ ย่างอยูผ่ เู้ ดียว พระเจ้าข้า !”
มิคชาละ ! รูปทั้งหลายอันจะพึงเห็นได้ด้วยจักษุ อันเป็นรูปที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยอยู่แห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความกำ�หนัดย้อมใจ มีอยู่. ถ้าหากว่าภิกษุยอ่ มไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่�ำ สรรเสริญ ไม่สยบมัวเมา ซึ่งรูปนั้นไซร้ แก่ภิกษุผู้ไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำ�สรรเสริญ ไม่สยบมัวเมา ซึ่งรูป นั้น นั่นแหละ นันทิ ย่อมดับ
ฉบับ ๘ อินทรียสังวร (ตามดู ! ไม่ตามไป...)
27
เมื่อ นันทิ ไม่มีอยู่, สาราคะ ย่อมไม่มี เมื่อ สาราคะ ไม่มีอยู่, สัญโญคะ ย่อมไม่มี มิคชาละ ! ภิกษุผู้ไม่ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยการผูกจิตติดกับอารมณ์ด้วยอำ�นาจแห่งความเพลิน นั่นแล เราเรียกว่า “ผู้มีการอยู่อย่างอยู่ผู้เดียว” (ในกรณีแห่งเสียงทั้งหลายอันจะพึงได้ยินด้วยหู, กลิ่นทั้งหลายอันจะพึงดมด้วยจมูก, รสทั้งหลายอันจะพึงลิ้มด้วยลิ้น, โผฏฐัพพะทั้งหลายอันจะพึงสัมผัสด้วยผิวกาย, และธรรมารมณ์ทง้ั หลายอันจะพึงรูแ้ จ้งด้วยใจ, ก็ทรงตรัสอย่างเดียวกัน).
มิคชาละ ! ภิกษุผู้มีการอยู่ด้วยอาการอย่างนี้ แม้อยู่ในหมู่บ้าน อันเกลื่อนกล่นไปด้วยภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาทั้งหลาย ด้วยพระราชา มหาอำ�มาตย์ของพระราชาทั้งหลาย ด้วยเดียรถีย์ สาวกของเดียรถีย์ทั้งหลาย ก็ตาม ถึงกระนัน้ ภิกษุนน้ั เราก็เรียกว่า ผูม้ กี ารอยูอ่ ย่างอยูผ่ เู้ ดียวโดยแท้
28 พุ ท ธ ว จ น ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ? ข้อนั้นเพราะเหตุว่า ตัณหานั่นแล เป็นเพื่อนสองของภิกษุนั้น; ตัณหานั้น อันภิกษุนั้น ละเสียได้แล้ว เพราะเหตุนน้ั ภิกษุนน้ั เราจึงเรียกว่า “ผูม้ กี ารอยูอ่ ย่างอยูผ่ เู้ ดียว” ดังนี้ แล. สฬา. สํ. ๑๘/๔๓–๔๔/๖๖-๖๗.
ฉบับ ๘ อินทรียสังวร (ตามดู ! ไม่ตามไป...)
29
๕ ไม่อาจถึงซึง่ ความเจริญงอกงาม ไพบูลย์ ในธรรมวินัย ภิกษุทั้งหลาย ! คนเลี้ยงโคที่ประกอบด้วยความบกพร่อง ๑๑ อย่างเหล่านี้แล้ว ไม่เหมาะที่จะเลี้ยงโคและทำ�ฝูงโคให้เจริญได้. ความบกพร่องนัน้ คืออะไรกันเล่า ? คือ คนเลีย้ งโคในกรณีน้ี ... เป็นผูไ้ ม่เขีย่ ไข่ขาง, เป็นผูไ้ ม่ปดิ แผล, ... ภิกษุทั้งหลาย ! ฉันใดก็ฉันนั้น ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์คุณ ๑๑ อย่างเหล่านี้แล้ว ไม่ควรที่จะถึงความเจริญงอกงาม ไพบูลย์ ในธรรมวินัยนี้. องค์คุณนั้นคืออะไรกันเล่า ? คือ ภิกษุในกรณีนี้ ... เป็นผู้ไม่เขี่ยไข่ขาง, เป็นผู้ไม่ปิดแผล, ... ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุเป็นผู้ไม่เขี่ยไข่ขาง เป็นอย่างไรกันเล่า ? ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในกรณีนี้ ไม่อดกลั้น (อธิวาเสติ) ไม่ละ (น ปชหติ) ไม่บรรเทา (น วิโนเทติ) ไม่ทำ�ให้สิ้นสุด (น พฺยนฺตีกโรติ) ไม่ทำ�ให้หมดสิ้น (น อนภาวงฺคเมติ)
30 พุ ท ธ ว จ น ซึ่งความตรึกเกี่ยวด้วยกาม (กามวิตก) ที่เกิดขึ้นแล้ว ซึ่งความตรึกเกี่ยวด้วยความมุ่งร้าย (พยาบาทวิตก) ที่เกิดขึ้นแล้ว ซึ่งความตรึกเกี่ยวด้วยการเบียดเบียน (วิหิงสาวิตก) ที่เกิดขึ้นแล้ว ซึ่งบาปอกุศลธรรมทั้งหลาย ที่เกิดขึ้นแล้ว ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุเป็นผู้ไม่เขี่ยไข่ขาง เป็นอย่างนี้แล. ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุเป็นผู้ไม่ปิดแผล เป็นอย่างไรกันเล่า ? ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในกรณีนี้ เห็นรูปด้วยตา, ฟังเสียงด้วยหู, ดมกลิ่นด้วยจมูก, ลิม้ รสด้วยลิน้ , ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย, รูธ้ รรมารมณ์ดว้ ยใจ, แล้วก็มจี ติ ยึดถือเอา ทัง้ โดยลักษณะทีเ่ ป็นการรวบถือทัง้ หมด (โดยนิมิต)
และ การถือเอาโดยการแยกเป็นส่วนๆ (โดยอนุพยัญชนะ) สิ่งอันเป็นอกุศล คือ อภิชฌาและโทมนัส จะพึงไหลไปตามผู้ที่ไม่สำ�รวม ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เพราะการไม่สำ�รวมอินทรีย์ใด เป็นเหตุ เธอไม่ปฏิบัติเพื่อปิดกั้น อินทรีย์เหล่านั้นไว้ เธอไม่รักษา และไม่สำ�รวม ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุเป็นผู้ไม่ปิดแผล เป็นอย่างนี้แล. (ในที่นี้ ยกมาให้เห็นเพียง ๒ จากทั้งหมด ๑๑ คุณสมบัติ)
มู. ม. ๑๒/๔๑๐/๓๘๔-๕.
ตัวอยางพุทธวจน ที่ทรงตรัสไมใหปลอยจิต ใหเพลินกับอารมณ
32 พุ ท ธ ว จ น
๖ ละความเพลิน จิตหลุดพ้น สมฺมา ปสฺส นิพฺพินฺทติ
เมื่อเห็นอยู่โดยถูกต้อง ย่อมเบื่อหน่าย นนฺทิกฺขยา ราคกฺขโย
เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิ จึงมีความสิ้นไปแห่งราคะ ราคกฺขยา นนฺทิกฺขโย
เพราะความสิ้นไปแห่งราคะ จึงมีความสิ้นไปแห่งนันทิ นนฺทิราคกฺขยา จิตฺต สุวิมุตฺตนฺติ วุจฺจตีติ
เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิและราคะ กล่าวได้ว่า “จิตหลุดพ้นแล้วด้วยดี” ดังนี้. สฬา. สํ. ๑๘/๑๗๙/๒๔๕-๖.
ฉบับ ๘ อินทรียสังวร (ตามดู ! ไม่ตามไป...)
33
๗ ความพอใจ เป็นเหตุแห่งทุกข์ “ทุกข์ใดๆ ที่เกิดขึ้นแล้วในอดีต ทุกข์ทั้งหมดนั้น มีฉันทะเป็นมูล มีฉันทะเป็นเหตุ เพราะว่า ฉันทะ (ความพอใจ) เป็นมูลเหตุแห่งทุกข์ ทุกข์ใดๆ อันจะเกิดขึ้นในอนาคต ทุกข์ทั้งหมดนั้น ก็มีฉันทะเป็นมูล มีฉันทะเป็นเหตุ เพราะว่า ฉันทะ (ความพอใจ) เป็นมูลเหตุแห่งทุกข์ และทุกข์ใดๆ ที่เกิดขึ้น ทุกข์ทั้งหมดนั้น ก็มีฉันทะเป็นมูล มีฉันทะเป็นเหตุ เพราะว่า ฉันทะ (ความพอใจ) เป็นมูลเหตุแห่งทุกข์”. สฬา. สํ. ๑๘/๔๐๓/๖๒๗.
(ในเนือ้ ความพระสูตร ทรงชีใ้ ห้เห็นถึงเหตุของทุกข์ในปัจจุบนั ซึง่ ก็คอื ฉันทะ เป็นความรูท้ เ่ี ห็นกันได้ แล้วจึงได้สรุปให้เห็นไปถึงนัยยะโดยอดีตกับอนาคต)
34 พุ ท ธ ว จ น
๘ เมื่อคิดถึงสิ่งใด แสดงว่าพอใจในสิ่งนั้น ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าบุคคลย่อมคิดถึงสิ่งใดอยู่ (เจเตติ) ย่อมดำ�ริถึงสิ่งใดอยู่ (ปกปฺเปติ) และย่อมมีจิตฝังลงไปในสิ่งใดอยู่ (อนุเสติ) สิ่งนั้นย่อมเป็นอารมณ์เพื่อการตั้งอยู่แห่งวิญญาณ. เมื่ออารมณ์ มีอยู่, ความตั้งขึ้นเฉพาะแห่งวิญญาณ ย่อมมี; เมื่อวิญญาณนั้น ตั้งขึ้นเฉพาะ เจริญงอกงามแล้ว, ความเกิดขึ้นแห่งภพใหม่ต่อไป ย่อมมี; เมื่อความเกิดขึ้นแห่งภพใหม่ต่อไป มี, ชาติชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วนต่อไป : ความเกิดขึน้ พร้อมแห่งกองทุกข์ทง้ั สิน้ นี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี.้ นิทาน. สํ. ๑๖/๗๘/๑๔๕.
ฉบับ ๘ อินทรียสังวร (ตามดู ! ไม่ตามไป...)
35
๙ ภพแม้ชั่วขณะดีดนิ้วมือก็ยังน่ารังเกียจ ภิกษุทั้งหลาย ! คูถ แม้นิดเดียว ก็เป็นของมีกลิ่นเหม็น ฉันใด, ภิกษุทั้งหลาย ! สิ่งที่เรียกว่า ภพ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน, แม้มีประมาณน้อยชั่วลัดนิ้วมือเดียว ก็ไม่มีคุณอะไรที่พอจะกล่าวได้. เอก. อํ. ๒๐/๔๖/๒๐๓.
(พระสูตรต่อไป ทรงตรัสถึง มูตร น้�ำ ลาย หนอง โลหิต ด้วยข้อความเดียวกัน)
36 พุ ท ธ ว จ น
ฉบับ ๘ อินทรียสังวร (ตามดู ! ไม่ตามไป...)
37
๑๐ ตัณหา คือ “เชื้อแห่งการเกิด” วัจฉะ ! เราย่อมบัญญัติความบังเกิดขึ้น สำ�หรับสัตว์ผู้ที่ยังมีอุปาทานอยู่ (สอุปาทานสฺส) ไม่ใช่สำ�หรับสัตว์ผู้ที่ไม่มีอุปาทาน วัจฉะ ! เปรียบเหมือน ไฟทีม่ เี ชือ้ ย่อมโพลงขึน้ ได้ (อคฺคิ สอุปาทาโน ชลติ) ที่ไม่มีเชื้อ ก็โพลงขึ้นไม่ได้ อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น วัจฉะ ! เราย่อมบัญญัติความบังเกิดขึ้น สำ�หรับสัตว์ผู้ที่ยังมีอุปาทานอยู่ ไม่ใช่สำ�หรับสัตว์ผู้ที่ไม่มีอุปาทาน
38 พุ ท ธ ว จ น “พระโคดมผู้เจริญ ! ถ้าสมัยใด เปลวไฟ ถูกลมพัดหลุดปลิวไปไกล, สมัยนั้น พระโคดมย่อมบัญญัติซึ่งอะไรว่าเป็นเชื้อแก่เปลวไฟนั้น ถ้าถือว่ามันยังมีเชื้ออยู่ ?”
วัจฉะ ! สมัยใด เปลวไฟ ถูกลมพัดหลุดปลิวไปไกล เราย่อมบัญญัติเปลวไฟนั้น ว่า มีลมนั่นแหละเป็นเชื้อ วัจฉะ ! เพราะว่า สมัยนั้น ลมย่อมเป็นเชื้อของเปลวไฟนั้น. “พระโคดมผู้เจริญ ! ถ้าสมัยใด สัตว์ทอดทิ้งกายนี้ และยังไม่บังเกิดขึ้นด้วยกายอื่น, สมัยนั้น พระโคดมย่อมบัญญัติซึ่งอะไร ว่าเป็นเชื้อแก่สัตว์นั้น ถ้าถือว่ามันยังมีเชื้ออยู่ ?”
วัจฉะ ! สมัยใด สัตว์ทอดทิ้งกายนี้ และยังไม่บังเกิดขึ้นด้วยกายอื่น เรากล่าว สัตว์นี้ ว่า มีตัณหานั่นแหละเป็นเชื้อ เพราะว่า สมัยนั้น ตัณหาย่อมเป็นเชื้อของสัตว์นั้น แล. สฬา. สํ. ๑๘/๔๘๕/๘๐๐.
ฉบับ ๘ อินทรียสังวร (ตามดู ! ไม่ตามไป...)
39
๑๑ เมื่อมีความพอใจ ย่อมมีตัณหา ภิกษุทั้งหลาย ! เปรียบเหมือนไฟกองใหญ่ พึงลุกโพลงด้วยไม้สิบเล่มเกวียนบ้าง ยี่สิบเล่มเกวียนบ้าง สามสิบเล่มเกวียนบ้าง สี่สิบเล่มเกวียนบ้าง. บุรุษพึงเติมหญ้าแห้งบ้าง มูลโคแห้งบ้าง ไม้แห้งบ้าง ลงไปในกองไฟนั้น ตลอดเวลาที่ควรเติม อยู่เป็นระยะๆ. ภิกษุทั้งหลาย ! ด้วยอาการ อย่างนี้แล ไฟกองใหญ่ ซึ่งมี เครื่องหล่อเลี้ยง อย่างนั้น มี เชื้อเพลิง อย่างนั้น ก็จะพึงลุกโพลง ตลอดกาลยาวนาน ข้อนี้ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อภิกษุเป็นผู้ มีปกติ เห็นโดยความเป็นอัสสาทะ (น่ารักน่ายินดี) ใน อุปาทานิยธรรม (ธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน) อยู่ ตัณหาย่อมเจริญ อย่างทั่วถึง
40 พุ ท ธ ว จ น เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน ความเกิดขึน้ พร้อมแห่งกองทุกข์ทง้ั สิน้ นี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี.้ นิทาน. สํ. ๑๖/๑๐๒/๑๙๖-๑๙๗.
ฉบับ ๘ อินทรียสังวร (ตามดู ! ไม่ตามไป...)
41
๑๒ ตัณหา คือ เครื่องนำ�ไปสู่ภพใหม่ อันเป็นเหตุเกิดทุกข์ ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าบุคคลย่อมคิด ถึงสิ่งใดอยู่ (เจเตติ) ย่อมดำ�ริ ถึงสิ่งใดอยู่ (ปกปฺเปติ) และย่อมมีใจฝังลงไป ในสิ่งใดอยู่ (อนุเสติ) (อารมฺมณเมต โหติ วิฺาณสฺส ิติยา)
สิ่งนั้นย่อมเป็นอารมณ์เพื่อการตั้งอยู่แห่งวิญญาณ (อารมฺมเณ สติ ปติฏฺา วิฺาณสฺส โหติ)
เมื่ออารมณ์ มีอยู่, ความตั้งขึ้นเฉพาะแห่งวิญญาณ ย่อมมี (ตสฺมึ ปติฏฺิเต วิฺาเณ วิรูเฬฺห นติ โหติ)
เมือ่ วิญญาณนัน้ ตัง้ ขึน้ เฉพาะ เจริญงอกงามแล้ว, ย่อมมีการน้อมไป (นติยา สติ อาคติคติ โหติ)
เมื่อมีการน้อมไป, ย่อมมีการไปการมา (อาคติคติยา สติ จุตูปปาโต โหติ)
เมื่อมีการไปการมา, ย่อมมีการเคลื่อนการบังเกิด
42 พุ ท ธ ว จ น เมื่อมีการเคลื่อนการบังเกิด, ชาติชรามรณะ โสกะปริเทวะฯ จึงเกิดขึ้นครบถ้วน ความเกิดขึน้ พร้อมแห่งกองทุกข์ทง้ั สิน้ นี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี.้ ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าบุคคลย่อมไม่คิดถึงสิ่งใด ย่อมไม่ดำ�ริถึงสิ่งใด แต่เขายังมีใจปักลงไปในสิ่งใดอยู่ สิ่งนั้นย่อมเป็นอารมณ์เพื่อการตั้งอยู่แห่งวิญญาณ. เมื่ออารมณ์ มีอยู่, ความตั้งขึ้นเฉพาะแห่งวิญญาณย่อมมี เมือ่ วิญญาณนัน้ ตัง้ ขึน้ เฉพาะ เจริญงอกงามแล้ว, ย่อมมีการน้อมไป เมื่อมีการน้อมไป, ย่อมมีการไปการมา เมื่อมีการไปการมา, ย่อมมีการเคลื่อนการบังเกิด เมื่อมีการเคลื่อนการบังเกิด, ชาติชรามรณะ โสกะปริเทวะฯ จึงเกิดขึ้นครบถ้วน ความเกิดขึน้ พร้อมแห่งกองทุกข์ทง้ั สิน้ นี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี.้ นิทาน. สํ. ๑๖/๖๘๐/๑๔๙.
ฉบับ ๘ อินทรียสังวร (ตามดู ! ไม่ตามไป...)
43
๑๓ สิ้นความอยาก ก็สิ้นทุกข์ นิสฺสิตสฺส จลิตํ ความหวัน่ ไหว ย่อมมี แก่บคุ คลผูอ้ นั ตัณหาและทิฏฐิอาศัยแล้ว อนิสฺสิตสฺส จลิตํ นตฺถิ; ความหวัน่ ไหว ย่อมไม่มี แก่บคุ คลผูอ้ นั ตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยแล้ว จลิเต อสติ ปสฺสทฺธิ; เมื่อความหวั่นไหว ไม่มี, ปัสสัทธิ ย่อมมี ปสฺสทฺธิยา สติ นติ น โหติ; เมื่อปัสสัทธิ มี, ความน้อมไป ย่อมไม่มี นติยา อสติ อาคติคติ น โหติ; เมื่อความน้อมไป ไม่มี, การไปและการมา ย่อมไม่มี อาคติคติยา อสติ จุตูปปาโต น โหติ; เมือ่ การไปการมา ไม่ม,ี การเคลือ่ นและการบังเกิด ย่อมไม่มี
44 พุ ท ธ ว จ น จุตูปปาเต อสติ เนวิธ น หุรํ น อุภยมนฺตเร: เมื่อการเคลื่อนและการบังเกิดไม่มี, อะไรๆ ก็ไม่มีในโลกนี้ ไม่มีในโลกอื่น ไม่มีในระหว่างแห่งโลกทั้งสอง เอเสวนฺโต ทุกฺขสฺส นั่นแหละ คือที่สุดแห่งทุกข์ละ. อุ. ขุ. ๒๕/๒๐๘/๑๖๑.
ฉบับ ๘ อินทรียสังวร (ตามดู ! ไม่ตามไป...)
45
๑๔ มีความเพลิน คือมีอุปาทาน ผู้มีอุปาทานย่อมไม่ปรินิพพาน ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุนั้นย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำ�สรรเสริญ ย่อมเมาหมกอยู่ ซึ่งรูป. เมื่อภิกษุนั้นเพลิดเพลิน พร่ำ�สรรเสริญ เมาหมกอยู่ ซึ่งรูป, ความเพลิน (นันทิ) ย่อมเกิดขึ้น ความเพลินใด ในรูป, ความเพลินนั้นคืออุปาทาน... ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุนั้นย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำ�สรรเสริญ ย่อมเมาหมกอยู่ ซึ่งเวทนา. เมื่อภิกษุนั้นเพลิดเพลิน พร่ำ�สรรเสริญ เมาหมกอยู่ ซึ่งเวทนา, ความเพลิน (นันทิ) ย่อมเกิดขึ้น ความเพลินใด ในเวทนา, ความเพลินนั้นคืออุปาทาน...
46 พุ ท ธ ว จ น ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุนั้นย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำ�สรรเสริญ ย่อมเมาหมกอยู่ ซึ่งสัญญา. เมื่อภิกษุนั้นเพลิดเพลิน พร่ำ�สรรเสริญ เมาหมกอยู่ ซึ่งสัญญา ความเพลิน (นันทิ) ย่อมเกิดขึ้น ความเพลินใด ในสัญญา, ความเพลินนั้นคืออุปาทาน... ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุนั้นย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำ�สรรเสริญ ย่อมเมาหมกอยู่ ซึ่งสังขาร. เมื่อภิกษุนั้นเพลิดเพลิน พร่ำ�สรรเสริญ เมาหมกอยู่ ซึ่งสังขาร ความเพลิน (นันทิ) ย่อมเกิดขึ้น ความเพลินใด ในสังขาร, ความเพลินนั้นคืออุปาทาน... ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุนั้นย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำ�สรรเสริญ ย่อมเมาหมกอยู่ ซึ่งวิญญาณ. เมื่อภิกษุนั้นเพลิดเพลิน พร่ำ�สรรเสริญ เมาหมกอยู่ ซึ่งวิญญาณ ความเพลิน (นันทิ) ย่อมเกิดขึ้น. ความเพลินใด ในวิญญาณ, ความเพลินนัน้ คืออุปาทาน
ฉบับ ๘ อินทรียสังวร (ตามดู ! ไม่ตามไป...)
47
เพราะอุปาทานของภิกษุนั้นเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะปริเทวะอุปายาสทัง้ หลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้. ขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๘/๒๘.
48 พุ ท ธ ว จ น
ฉบับ ๘ อินทรียสังวร (ตามดู ! ไม่ตามไป...)
๑๕ ในอริยมรรคมีองค์ ๘ ภิกษุทั้งหลาย ! สัมมาสังกัปปะ เป็นอย่างไรเล่า ? (เนกฺขมฺมสงฺกปฺโป)
ความดำ�ริในการออกจากกาม (อพฺยาปาทสงฺกปฺโป)
ความดำ�ริในการไม่มุ่งร้าย (อวิหึสาสงฺกปฺโป)
ความดำ�ริในการไม่เบียดเบียน ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า สัมมาสังกัปปะ.
49
50 พุ ท ธ ว จ น ภิกษุทั้งหลาย ! สัมมาวายามะ เป็นอย่างไรเล่า ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมทำ�ความพอใจให้เกิดขึ้น ย่อมพยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งจิตไว้ เพื่อจะยังอกุศลธรรมอันเป็นบาปที่ยังไม่เกิด ไม่ให้เกิดขึ้น ย่อมทำ�ความพอใจให้เกิดขึ้น ย่อมพยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งจิตไว้ เพื่อละอกุศลอันเป็นบาป ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมทำ�ความพอใจให้เกิดขึ้น ย่อมพยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งจิตไว้ เพื่อจะยังกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น ย่อมทำ�ความพอใจให้เกิดขึ้น ย่อมพยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งจิตไว้ เพื่อความตั้งอยู่ ความไม่เลอะเลือน ความงอกงามยิ่งขึ้น ความไพบูลย์ ความเจริญ ความเต็มรอบ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว. ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า สัมมาวายามะ. มหา. ที ๑๐/๓๘๔/๒๙๙.
ฉบับ ๘ อินทรียสังวร (ตามดู ! ไม่ตามไป...)
51
๑๖ ทรงตรัสว่า “เป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องเร่งกระทำ�”
ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าภิกษุไม่เป็นผู้ฉลาดในวาระจิตของผู้อื่นไซร้ เมือ่ เป็นเช่นนัน้ เธอพึงทำ�ความสำ�เหนียกว่า “เราจักเป็นผูฉ้ ลาดในวาระจิตแห่งตน” ดังนี้เถิด. ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุเป็นผู้ฉลาดในวาระจิตแห่งตน เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุทั้งหลาย ! เปรียบเหมือนชายหนุม่ หญิงสาว ทีช่ อบแต่งตัว ส่องดูเงาหน้าของตนที่แว่นส่องหน้า หรือที่ภาชนะน้ำ�อันบริสุทธิ์หมดจดใสสะอาด ถ้าเห็นธุลีหรือต่อมที่หน้า ก็พยายามนำ�ธุลีหรือต่อมนั้นออกเสีย ถ้าไม่เห็นธุลหี รือต่อม ก็ยนิ ดีพอใจว่าเป็นลาภหนอ บริสทุ ธิด์ แี ล้วหนอ ข้อนี้ฉันใด
52 พุ ท ธ ว จ น ภิกษุทั้งหลาย ! การพิจารณาของภิกษุ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน คือ จะมีอปุ การะมากในกุศลธรรมทัง้ หลายในเมือ่ เธอพิจารณาว่า “เรามีชีวิตอยู่โดยมาก โดยมีอภิชฌา หรือไม่มีอภิชฌา เรามีชีวิตอยู่โดยมาก โดยมีจิตพยาบาท หรือไม่มีจิตพยาบาท เรามีชีวิตอยู่โดยมาก โดยมีถีนมิทธะกลุ้มรุมอยู่ หรือปราศจากถีนมิทธะ เรามีชีวิตอยู่โดยมาก โดยมีความฟุ้งซ่าน หรือไม่ฟุ้งซ่าน เรามีชีวิตอยู่โดยมาก โดยมีวิจิกิจฉา หรือหมดวิจิกิจฉา เรามีชีวิตอยู่โดยมาก โดยเป็นผู้มักโกรธ หรือไม่มักโกรธ เรามีชีวิตอยูโ่ ดยมาก โดยมีจติ เศร้าหมอง หรือไม่มจี ติ เศร้าหมอง เรามีชีวติ อยู่โดยมาก โดยมีกายอันเครียดครัดในการปฏิบตั ธิ รรม หรือมีกายไม่เครียดครัด เรามีชีวิตอยู่โดยมาก โดยเป็นผู้เกียจคร้าน หรือเป็นผู้ปรารภความเพียร เรามีชีวิตอยู่โดยมาก โดยมีจิตตั้งมั่น หรือไม่มีจิตตั้งมั่น” ดังนี้ ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้สึกว่า “เราอยู่โดยมาก โดยความเป็นผู้มากด้วยอภิชฌา มีจิตพยาบาท ถีนมิทธะกลุ้มรุม ฟุ้งซ่าน มีวิจิกิจฉา มักโกรธ มีจิตเศร้าหมอง มีกายเครียดครัด เกียจคร้าน มีจิตไม่ตั้งมั่น” ดังนี้แล้ว
ฉบับ ๘ อินทรียสังวร (ตามดู ! ไม่ตามไป...)
53
ภิกษุนน้ั พึงกระทำ�ซึง่ ฉันทะ (ความพอใจ) วายามะ (ความพยายาม) อุสสาหะ อุสโสฬ๎หี (ความขะมักเขม้น) อัปปฏิวานี (ความไม่ถอยหลัง) สติและสัมปชัญญะ อย่างแรงกล้า เพื่อละเสียซึ่งธรรมอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้น เช่นเดียวกับ บุคคลผูม้ เี สือ้ ผ้าหรือศีรษะอันไฟลุกโพลงแล้ว จะพึงกระทำ� ฉันทะ วายามะ อุสสาหะ อุสโสฬ๎หี อัปปฏิวานี สติและสัมปชัญญะอันแรงกล้า เพื่อจะดับไฟที่เสื้อผ้าหรือที่ศีรษะนั้นเสีย, ฉันใดก็ฉันนั้น. ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้สึกว่า “เราอยู่โดยมาก โดยความเป็นผู้ไม่มีอภิชฌา ไม่มีจิตพยาบาท ไม่มีถีนมิทธะกลุ้มรุม ไม่ฟุ้งซ่าน หมดวิจิกิจฉา ไม่มักโกรธ มีจิตไม่เศร้าหมอง มีกายไม่เครียดครัด ปรารภความเพียร มีจิตตั้งมั่น” ดังนี้แล้ว ภิกษุนั้น พึงตั้งอยู่ในกุศลธรรมเหล่านั้นแหละ แล้วประกอบโยคกรรม เพือ่ ความสิน้ อาสวะทัง้ หลายให้ยง่ิ ขึน้ ไป. ทสก. อํ. ๒๔/๙๗/๕๑.
54 พุ ท ธ ว จ น
๑๗ ต้องเพียรละความเพลินในทุกๆ อิริยาบถ ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อภิกษุกำ�ลังเดินอยู่ ถ้าเกิดครุ่นคิดด้วยความครุ่นคิดในกาม (กามวิตก) หรือ ครุ่นคิดด้วยความครุ่นคิดในทางเดือดแค้น (พยาบาทวิตก) หรือ ครุ่นคิดด้วยความครุ่นคิดในทางทำ�ผู้อื่นให้ลำ�บากเปล่าๆ (วิหิงสาวิตก) ขึ้นมา และภิกษุก็ ไม่รับเอาความครุ่นคิดนั้นไว้ สละทิ้งไป ถ่ายถอนออก ทำ�ให้สิ้นสุดลงไปจนไม่มีเหลือ ภิกษุที่เป็นเช่นนี้ แม้กำ�ลังเดินอยู่ ก็เรียกว่า เป็นผู้ทำ�ความเพียรเผากิเลส รู้สึกกลัวต่อสิ่งลามก เป็นคนปรารภความเพียร อุทิศตนในการเผากิเลส อยู่เนืองนิจ. ภิกษุทั้งหลาย ! เมือ่ ภิกษุก�ำ ลังยืนอยู่ ถ้าเกิดครุ่นคิดด้วยความครุ่นคิดในกาม หรือ ครุ่นคิดด้วยความครุ่นคิดในทางเดือดแค้น หรือ ครุน่ คิดด้วยความครุน่ คิดในทางทำ�ผูอ้ น่ื ให้ล�ำ บากเปล่าๆ ขึน้ มา และภิกษุก็ ไม่รับเอาความครุ่นคิดนั้นไว้ สละทิ้งไป ถ่ายถอนออก ทำ�ให้สิ้นสุดลงไปจนไม่มีเหลือ ภิกษุที่เป็นเช่นนี้ แม้กำ�ลังยืนอยู่ ก็เรียกว่า เป็นผู้ทำ�ความเพียรเผากิเลส รู้สึกกลัวต่อสิ่งลามก เป็นคนปรารภความเพียร อุทิศตนในการเผากิเลสอยู่เนืองนิจ.
ฉบับ ๘ อินทรียสังวร (ตามดู ! ไม่ตามไป...)
55
ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อภิกษุกำ�ลังนั่งอยู่ ถ้าเกิดครุ่นคิดด้วยความครุ่นคิดในกาม หรือ ครุ่นคิดด้วยความครุ่นคิดในทางเดือดแค้น หรือ ครุน่ คิดด้วยความครุน่ คิดในทางทำ�ผูอ้ น่ื ให้ล�ำ บากเปล่าๆ ขึน้ มา และภิกษุก็ ไม่รับเอาความครุ่นคิดนั้นไว้ สละทิ้งไป ถ่ายถอนออก ทำ�ให้สิ้นสุดลงไปจนไม่มีเหลือ ภิกษุที่เป็นเช่นนี้ แม้กำ�ลังนั่งอยู่ ก็เรียกว่า เป็นผู้ทำ�ความเพียรเผากิเลส รู้สึกกลัวต่อสิ่งลามก เป็นคนปรารภความเพียร อุทิศตนในการเผากิเลสอยู่เนืองนิจ. ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อภิกษุกำ�ลังนอนอยู่ ถ้าเกิดครุ่นคิดด้วยความครุ่นคิดในกาม หรือ ครุ่นคิดด้วยความครุ่นคิดในทางเดือดแค้น หรือ ครุน่ คิดด้วยความครุน่ คิดในทางทำ�ผูอ้ น่ื ให้ล�ำ บากเปล่าๆ ขึน้ มา และภิกษุก็ ไม่รับเอาความครุ่นคิดนั้นไว้ สละทิง้ ไป ถ่ายถอนออก ทำ�ให้สน้ิ สุดลงไปจนไม่มเี หลือ ภิกษุที่เป็นเช่นนี้ แม้กำ�ลังนอนอยู่ ก็เรียกว่า เป็นผู้ทำ�ความเพียรเผากิเลส รู้สึกกลัวต่อสิ่งลามก เป็นคนปรารภความเพียร อุทศิ ตนในการเผากิเลสอยูเ่ นืองนิจแล. จตุกฺก. อํ. ๒๑/๑๗/๑๑.
56 พุ ท ธ ว จ น
๑๘ ความเพียร ๔ ประเภท (นัยที่ ๑) ภิกษุทั้งหลาย ! ปธานสี่อย่างเหล่านี้ มีอยู่. สี่อย่าง อย่างไรเล่า ? สี่อย่าง คือ สังวรปธาน (เพียรระวัง), ปหานปธาน (เพียรละ), ภาวนาปธาน (เพียรบำ�เพ็ญ), อนุรักขนาปธาน (เพียรตามรักษาไว้) ภิกษุทั้งหลาย ! สังวรปธาน เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมทำ�ความพอใจให้เกิดขึ้น ย่อมพยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งจิตไว้ เพื่อจะยังอกุศลธรรมอันเป็นบาปที่ยังไม่เกิด ไม่ให้เกิดขึ้น ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรียกว่า สังวรปธาน. ภิกษุทั้งหลาย ! ปหานปธาน เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมทำ�ความพอใจให้เกิดขึ้น ย่อมพยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งจิตไว้ เพื่อจะละอกุศลธรรมอันเป็นบาปที่บังเกิดขึ้นแล้ว ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรียกว่า ปหานปธาน.
ฉบับ ๘ อินทรียสังวร (ตามดู ! ไม่ตามไป...)
57
ภิกษุทั้งหลาย ! ภาวนาปธาน เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมทำ�ความพอใจให้เกิดขึ้น ย่อมพยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งจิตไว้ เพื่อยังกุศลธรรมทั้งหลายที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรียกว่า ภาวนาปธาน. ภิกษุทั้งหลาย ! อนุรักขนาปธาน เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมทำ�ความพอใจให้เกิดขึ้น ย่อมพยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งจิตไว้ เพื่อความตั้งอยู่ ความไม่เลอะเลือน ความงอกงามยิ่งขึ้น ความไพบูลย์ ความเจริญ ความเต็มรอบ แห่งกุศลธรรมทั้งหลายที่บังเกิดขึ้นแล้ว ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรียกว่า อนุรักขนาปธาน. ภิกษุทั้งหลาย ! เหล่านี้แล ปธานสี่อย่าง จตุกฺก. อํ. ๒๑/๙๖/๖๙.
58 พุ ท ธ ว จ น
๑๙ ความเพียร ๔ ประเภท (นัยที่ ๒) ภิกษุทั้งหลาย ! ปธานสี่อย่างเหล่านี้ มีอยู่. สี่อย่าง อย่างไรเล่า ? สี่อย่าง คือ สังวรปธาน ปหานปธาน ภาวนาปธาน อนุรักขนาปธาน. ภิกษุทั้งหลาย ! สังวรปธาน เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในกรณีนี้ เห็นรูปด้วยตาแล้ว ไม่เป็นผู้ถือเอาในลักษณะที่เป็นการรวบถือเอาทั้งหมด ไม่เป็นผู้ถือเอาในลักษณะที่เป็นการถือเอาโดยแยกเป็นส่วนๆ อกุศลธรรมอันเป็นบาป คือ อภิชฌาและโทมนัส จะพึงไหลไปตามบุคคลผู้ไม่สำ�รวมอยู่ ซึ่งอินทรีย์อันเป็นต้นเหตุคือตา ใด, เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำ�รวมซึ่งอินทรีย์นั้น ย่อมรักษาอินทรีย์คือตา ย่อมถึงการสำ�รวมในอินทรีย์คือตา (ในกรณีแห่งอินทรีย์คือหู อินทรีย์คือจมูก อินทรีย์คือลิ้น อินทรีย์คือกาย อินทรีย์คือใจ ก็มีข้อความที่ได้ตรัสไว้ทำ�นองเดียวกัน)
ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรากล่าวว่า สังวรปธาน.
ฉบับ ๘ อินทรียสังวร (ตามดู ! ไม่ตามไป...)
59
ภิกษุทั้งหลาย ! ปหานปธาน เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในกรณีนี้ ไม่รับเอาไว้ สละทิ้งไปถ่ายถอนออก ทำ�ให้สิ้นสุดเสีย ทำ�ให้ถึงความไม่มี ซึ่งกามวิตก ที่เกิดขึ้นแล้ว... ซึ่งพยาบาทวิตก ที่เกิดขึ้นแล้ว... ซึ่งวิหิงสาวิตก ที่เกิดขึ้นแล้ว... ซึ่งอกุศลธรรมอันเป็นบาปทั้งหลาย ที่บังเกิดขึ้นแล้วๆ ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรากล่าวว่า ปหานปธาน. ภิกษุทั้งหลาย ! ภาวนาปธาน เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมเจริญซึ่ง สติสัมโพชฌงค์... ซึ่งธัมมวิจยสัมโพชฌงค์... ซึง่ วิรยิ สัมโพชฌงค์... ซึง่ ปีตสิ มั โพชฌงค์... ซึง่ ปัสสัทธิสมั โพชฌงค์... ซึง่ สมาธิสมั โพชฌงค์... ซึง่ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ อัน (แต่ละอย่างๆ) อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อโวสสัคคะ ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรากล่าวว่า ภาวนาปธาน.
60 พุ ท ธ ว จ น ภิกษุทั้งหลาย ! อนุรักขนาปธาน เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมตามรักษาซึ่งสมาธินิมิตอันเจริญ ที่เกิดขึ้นแล้ว คือ อัฏฐิกสัญญา ปุฬวกสัญญา วินีลกสัญญา วิปุพพกสัญญา วิจฉิทกสัญญา อุทธุมาตกสัญญา ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เราเรียกว่า อนุรักขนาปธาน. ภิกษุทั้งหลาย ! ปธานสี่อย่างเหล่านี้ แล. จตุกฺก. อํ. ๒๑/๒๐/๑๔.
จิตที่เพลินกับอารมณ ละไดดวยการมีอินทรียสังวร (การสํารวมอินทรีย)
62 พุ ท ธ ว จ น
๒๐ เมื่อมีสติ ความเพลินย่อมดับ ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุนั้น เห็นรูปด้วยตาแล้ว ย่อมไม่ก�ำ หนัดยินดี ในรูป อันมีลกั ษณะเป็นทีต่ ง้ั แห่งความรัก ย่อมไม่ขดั เคือง ในรูป อันมีลกั ษณะเป็นทีต่ ง้ั แห่งความเกลียดชัง... ภิกษุนั้น ได้ยินเสียงด้วยหูแล้ว ย่อมไม่ก�ำ หนัดยินดี ในเสียง อันมีลกั ษณะเป็นทีต่ ง้ั แห่งความรัก ย่อมไม่ขดั เคือง ในเสียง อันมีลกั ษณะเป็นทีต่ ง้ั แห่งความเกลียดชัง... ภิกษุนั้น รู้สึกกลิ่นด้วยจมูกแล้ว ย่อมไม่ก�ำ หนัดยินดี ในกลิน่ อันมีลกั ษณะเป็นทีต่ ง้ั แห่งความรัก ย่อมไม่ขดั เคือง ในกลิน่ อันมีลกั ษณะเป็นทีต่ ง้ั แห่งความเกลียดชัง... ภิกษุนั้น ลิ้มรสด้วยลิ้นแล้ว ย่อมไม่กำ�หนัดยินดี ในรส อันมีลักษณะเป็นที่ตั้งแห่งความรัก ย่อมไม่ขดั เคือง ในรส อันมีลกั ษณะเป็นทีต่ ง้ั แห่งความเกลียดชัง...
ฉบับ ๘ อินทรียสังวร (ตามดู ! ไม่ตามไป...)
63
ภิกษุนั้น ถูกต้องสัมผัสด้วยกายแล้ว ย่อมไม่กำ�หนัดยินดี ในสัมผัสทางกาย อันมีลักษณะเป็นที่ตั้งแห่งความรัก ย่อมไม่ขัดเคือง ในสัมผัสทางกาย อันมีลักษณะเป็นที่ตั้งแห่งความเกลียดชัง... ภิกษุนั้น รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ย่อมไม่กำ�หนัดยินดี ในธรรมารมณ์ อันมีลักษณะเป็นที่ตั้งแห่งความรัก ย่อมไม่ขัดเคือง ในธรรมมารมณ์ อันมีลักษณะเป็นที่ตั้งแห่งความเกลียดชัง เป็นผู้อยู่ด้วยสติเป็นไปในกายอันตนเข้าไปตั้งไว้แล้ว มีจิตหาประมาณมิได้ด้วย ย่อมรู้ชัดตามที่เป็นจริงซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันเป็นทีด่ บั โดยไม่เหลือแห่งธรรมอันเป็นบาปอกุศลทัง้ หลายด้วย
64 พุ ท ธ ว จ น ภิกษุนน้ั เป็นผูล้ ะเสียได้แล้ว ซึง่ ความยินดี และความยินร้ายอย่างนีแ้ ล้ว เสวยเวทนาใดๆ อันเป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม ย่อมไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่�ำ สรรเสริญ ไม่เมาหมกอยู่ ในเวทนานัน้ ๆ เมื่อภิกษุนั้น ไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำ�สรรเสริญ ไม่เมาหมกอยู่ ในเวทนานั้นๆ นันทิ (ความเพลิน) ในเวทนาทั้งหลายเหล่านั้น ย่อมดับไป เพราะความดับแห่งนันทิของภิกษุนั้น จึงมีความดับแห่งอุปาทาน เพราะมีความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ เพราะมีความดับแห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ เพราะมีความดับแห่งชาตินน่ั แล ชรามรณะ โสกะปริเทวะฯ จึงดับสิน้ ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้. มู. ม. ๑๒/๔๙๔/๔๕๘.
ฉบับ ๘ อินทรียสังวร (ตามดู ! ไม่ตามไป...)
65
๒๑ กายคตาสติ มีความสำ�คัญต่ออินทรียสังวร ลักษณะของผู้ไม่ตั้งจิตในกายคตาสติ (จิตที่ไม่มีเสาหลัก)
ภิกษุทั้งหลาย ! เปรียบเหมือนบุรุษจับสัตว์หกชนิด อันมีที่อยู่อาศัยต่างกัน มีที่เที่ยวหากินต่างกัน มาผูกรวมกันด้วยเชือกอันมั่นคง คือ เขาจับงู มาผูกด้วยเชือกเหนียวเส้นหนึ่ง, จับจระเข้...จับนก...จับสุนัขบ้าน...จับสุนัขจิ้งจอก... จับลิง มาผูกด้วยเชือกเหนียวเส้นหนึ่งๆ แล้วผูกรวมเข้าด้วยกัน เป็นปมเดียวในท่ามกลาง ปล่อยแล้ว. ภิกษุทั้งหลาย ! ครั้งนั้น สัตว์เหล่านั้นทั้งหกชนิด มีที่อาศัยและที่เที่ยวต่างๆ กัน ก็ยื้อแย่งฉุดดึงกัน เพื่อจะไปสู่ที่อาศัยที่เที่ยวของตนๆ : งูจะเข้าจอมปลวก, จระเข้จะลงน้ำ�, นกจะบินขึ้นไปในอากาศ, สุนัขจะเข้าบ้าน, สุนัขจิ้งจอกจะไปป่าช้า, ลิงก็จะไปป่า.
66 พุ ท ธ ว จ น ครั้นเหนื่อยล้ากันทั้งหกสัตว์แล้ว สัตว์ใดมีกำ�ลังกว่า สัตว์นอกนั้นก็ต้องถูกลากติดตามไป ตามอำ�นาจของสัตว์นั้น ข้อนี้ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุใดไม่อบรมทำ�ให้มากในกายคตาสติแล้ว ตา ก็จะฉุดเอาภิกษุนั้นไปหารูปที่น่าพอใจ รูปที่ไม่น่าพอใจก็กลายเป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง หู ก็จะฉุดเอาภิกษุนั้นไปหาเสียงที่น่าฟัง เสียงที่ไม่น่าฟังก็กลายเป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง จมูก ก็จะฉุดเอาภิกษุนั้นไปหากลิ่นที่น่าสูดดม กลิ่นที่ไม่น่าสูดดมก็กลายเป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง ลิ้น ก็จะฉุดเอาภิกษุนั้นไปหารสที่ชอบใจ รสที่ไม่ชอบใจก็กลายเป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง กาย ก็จะฉุดเอาภิกษุนั้นไปหาสัมผัสที่ยั่วยวนใจ สัมผัสที่ไม่ยั่วยวนใจก็กลายเป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง และใจ ก็จะฉุดเอาภิกษุนั้นไปหาธรรมารมณ์ที่ถูกใจ ธรรมารมณ์ที่ไม่ถูกใจก็กลายเป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ฉบับ ๘ อินทรียสังวร (ตามดู ! ไม่ตามไป...)
67
ลักษณะของผู้ตั้งจิตในกายคตาสติ (จิตที่มีเสาหลักมั่นคง)
ภิกษุทั้งหลาย ! เปรียบเหมือนบุรุษจับสัตว์หกชนิด อันมีที่อยู่อาศัยต่างกัน มีที่เที่ยวหากินต่างกัน มาผูกรวมกันด้วยเชือกอันมั่นคง คือ เขาจับงูมาผูกด้วยเชือกเหนียวเส้นหนึ่ง จับจระเข้...จับนก...จับสุนัขบ้าน...จับสุนัขจิ้งจอก... และจับลิงมาผูกด้วยเชือกเหนียวเส้นหนึ่งๆ ครั้นแล้ว นำ�ไปผูกไว้กับเสาเขื่อน หรือเสาหลักอีกต่อหนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย ! ครั้งนั้น สัตว์ทั้งหกชนิดเหล่านั้น มีที่อาศัยและที่เที่ยวต่างๆ กัน ก็ยื้อแย่งฉุดดึงกัน เพื่อจะไปสู่ที่อาศัยที่เที่ยวของตนๆ : งูจะเข้าจอมปลวก จระเข้จะลงน้ำ� นกจะบินขึ้นไปในอากาศ สุนัขจะเข้าบ้าน สุนัขจิ้งจอกจะไปป่าช้า ลิงก็จะไปป่า
68 พุ ท ธ ว จ น ภิกษุทั้งหลาย ! ในกาลใดแล ความเป็นไปภายในของสัตว์ทั้งหกชนิดเหล่านั้น มีแต่ความเมื่อยล้าแล้ว ในกาลนั้น มันทั้งหลายก็จะพึงเข้าไป ยืนเจ่า นั่งเจ่า นอนเจ่า อยู่ข้างเสาเขื่อนหรือเสาหลักนั้นเอง ข้อนี้ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุใดได้อบรมทำ�ให้มากในกายคตาสติแล้ว ตา ก็จะไม่ฉุดเอาภิกษุนั้นไปหารูปที่น่าพอใจ รูปที่ไม่น่าพอใจ ก็ไม่เป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง หู ก็จะไม่ฉุดเอาภิกษุนั้นไปหาเสียงที่น่าฟัง เสียงที่ไม่น่าฟัง ก็ไม่เป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง จมูก ก็จะไม่ฉุดเอาภิกษุนั้นไปหากลิ่นที่น่าสูดดม กลิ่นที่ไม่น่าสูดดม ก็ไม่เป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง ลิ้น ก็จะไม่ฉุดเอาภิกษุนั้นไปหารสที่ชอบใจ รสที่ไม่ชอบใจ ก็ไม่เป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง กาย ก็จะไม่ฉุดเอาภิกษุนั้นไปหาสัมผัสที่ยั่วยวนใจ สัมผัสที่ไม่ยั่วยวนใจก็ไม่เป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง และใจ ก็จะไม่ฉุดเอาภิกษุนั้นไปหาธรรมารมณ์ที่ถูกใจ ธรรมารมณ์ที่ไม่ถูกใจก็ไม่เป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง
ฉบับ ๘ อินทรียสังวร (ตามดู ! ไม่ตามไป...)
69
ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน. ภิกษุทั้งหลาย ! คำ�ว่า “เสาเขื่อน หรือเสาหลัก” นี้ เป็นคำ�เรียกแทนชื่อแห่ง กายคตาสติ ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะฉะนั้น ในเรื่องนี้ พวกเธอทั้งหลายพึงสำ�เหนียกใจไว้ว่า “กายคตาสติของเราทั้งหลาย จักเป็นสิ่งที่เราอบรม กระทำ�ให้มาก กระทำ�ให้เป็นยานเครื่องนำ�ไป กระทำ�ให้เป็นของที่อาศัยได้ เพียรตั้งไว้เนืองๆ เพียรเสริมสร้างโดยรอบคอบ เพียรปรารภสม่ำ�เสมอด้วยดี” ดังนี้. ภิกษุทั้งหลาย ! พวกเธอทั้งหลาย พึงสำ�เหนียกใจไว้ด้วยอาการอย่างนี้แล. สฬา. สํ. ๑๘/๒๔๖,๒๔๘/๓๔๘,๓๕๐.
70 พุ ท ธ ว จ น
๒๒ อินทรียสังวร ปิดกัน้ การเกิดขึน้ แห่งบาปอกุศล
ภิกษุทั้งหลาย ! เรือ่ งเคยมีมาแต่กอ่ น เต่าตัวหนึง่ เทีย่ วหากินตามริมลำ�ธารในตอนเย็น สุนขั จิง้ จอกตัวหนึง่ ก็เทีย่ วหากินตามริมลำ�ธารในตอนเย็นเช่นเดียวกัน. เต่าตัวนี้ได้เห็นสุนัขจิ้งจอกซึ่งเที่ยวหากินแต่ไกล, ครั้นแล้ว จึงหดอวัยวะทั้งหลาย มีศีรษะเป็นที่ห้า เข้าในกระดองของตนเสีย เป็นผู้ขวนขวายน้อยนิ่งอยู่. แม้สนุ ขั จิง้ จอกก็ได้เห็นเต่าตัวทีเ่ ทีย่ วหากินนัน้ แต่ไกลเหมือนกัน, ครั้นแล้ว จึงเดินตรงเข้าไปที่เต่า คอยช่องอยู่ว่า “เมื่อไรหนอ เต่าจักโผล่อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งออก ในบรรดาอวัยวะทั้งหลาย มีศีรษะเป็นที่ห้า แล้วจักกัดอวัยวะส่วนนั้นคร่าเอาออกมากินเสีย” ดังนี้. ภิกษุทั้งหลาย ! ตลอดเวลาที่เต่าไม่โผล่อวัยวะออกมา สุนัขจิ้งจอกก็ไม่ได้โอกาส ต้องหลีกไปเอง;
ฉบับ ๘ อินทรียสังวร (ตามดู ! ไม่ตามไป...)
71
ภิกษุทั้งหลาย ! ฉันใดก็ฉันนั้น; มารผู้ใจบาป ก็คอยช่อง ต่อพวกเธอทัง้ หลายติดต่อไม่ขาดระยะอยูเ่ หมือนกันว่า “ถ้าอย่างไร เราคงได้ช่อง ไม่ทางตา ก็ทางหู หรือทางจมูก หรือทางลิ้น หรือทางกาย หรือทางใจ”, ดังนี้. ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะฉะนัน้ ในเรือ่ งนี้ พวกเธอทัง้ หลาย จงเป็นผูค้ มุ้ ครองทวารในอินทรียท์ ง้ั หลายอยูเ่ ถิด; ได้เห็นรูปด้วยตา, ได้ฟังเสียงด้วยหู, ได้ดมกลิ่นด้วยจมูก, ได้ลิ้มรสด้วยลิ้น, ได้สัมผัสโผฏฐัพพะด้วยกาย, หรือได้รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว จงอย่าได้ถือเอาโดยลักษณะที่เป็นการรวบถือทั้งหมด, อย่าได้ถือเอาโดยลักษณะที่เป็นการแยกถือเป็นส่วนๆ เลย, สิง่ ทีเ่ ป็นบาปอกุศลคือ อภิชฌาและโทมนัส จะพึงไหลไปตามบุคคล ผู้ไม่สำ�รวม ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เพราะการไม่สำ�รวมอินทรีย์เหล่าใดเป็นเหตุ. พวกเธอทั้งหลายจงปฏิบัติเพื่อการปิดกั้นอินทรีย์นั้นไว้, พวกเธอทั้งหลายจงรักษา และถึงความสำ�รวม ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เถิด.
72 พุ ท ธ ว จ น ภิกษุทั้งหลาย ! ในกาลใด พวกเธอทั้งหลาย จักเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายอยู่; ในกาลนั้น มารผู้ใจบาป จักไม่ได้ช่องแม้จากพวกเธอทั้งหลาย และจักต้องหลีกไปเอง, เหมือนสุนัขจิ้งจอกไม่ได้ช่องจากเต่าก็หลีกไปเอง ฉะนั้น. “เต่า หดอวัยวะไว้ในกระดอง ฉันใด, ภิกษุ พึงตั้งมโนวิตก (ความตริตรึกทางใจ) ไว้ในกระดอง ฉันนั้น. เป็นผู้ที่ตัณหาและทิฏฐิไม่อิงอาศัยได้, ไม่เบียดเบียนผู้อื่น, ไม่กล่าวร้ายต่อใครทั้งหมด, เป็นผู้ดับสนิทแล้ว” ดังนี้แล. สฬา. สํ. ๑๘/๒๒๒/๓๒๐.
ความสําคัญแหงอินทรียสังวร
74 พุ ท ธ ว จ น
๒๓ อินทรียสังวร เป็นเหตุให้ได้มาซึ่งวิมุตติญาณทัสสนะ ภิกษุทั้งหลาย ! เปรียบเหมือนต้นไม้ เมื่อสมบูรณ์ด้วยกิ่งและใบแล้ว สะเก็ดเปลือกนอก ก็บริบูรณ์; เปลือกชั้นใน ก็บริบูรณ์; กระพี้ ก็บริบูรณ์; แก่น ก็บริบูรณ์ นี้ฉันใด; ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่ออินทรียสังวร มีอยู่, ศีล ก็ถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย; เมื่อ ศีล มีอยู่, สัมมาสมาธิ ก็ถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย; เมือ่ สัมมาสมาธิ มีอยู,่ ยถาภูตญาณทัสสนะ ก็ถงึ พร้อมด้วยอุปนิสยั ; เมือ่ ยถาภูตญาณทัสนะ มีอยู,่ นิพพิทาวิราคะ ก็ถงึ พร้อมด้วยอุปนิสยั ; เมือ่ นิพพิทาวิราคะ มีอยู่ วิมตุ ติญาณทัสสนะ ก็ถงึ พร้อมด้วยอุปนิสยั ; ฉันนั้น เหมือนกันแล. ฉกฺก. อํ. ๒๒/๔๐๒/๓๒๑.
ฉบับ ๘ อินทรียสังวร (ตามดู ! ไม่ตามไป...)
75
๒๔ ผู้ไม่สำ�รวมอินทรีย์คือผู้ประมาท ผู้สำ�รวมอินทรีย์คือผู้ไม่ประมาท ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุเป็นผู้มีปกติอยู่ด้วยความประมาท เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อภิกษุไม่สำ�รวมระวัง ซึ่งอินทรีย์คือตาอยู่ จิตย่อมเกลือกกลัว้ ในรูปทัง้ หลายอันเป็นวิสยั แห่งการรูส้ กึ ด้วยตา; เมื่อภิกษุนั้นมีจิตเกลือกกลั้วแล้ว ปราโมทย์ ย่อมไม่มี; เมื่อ ปราโมทย์ ไม่มี, ปีติ ก็ไม่มี; เมื่อ ปีติ ไม่มี, ปัสสัทธิ ก็ไม่มี; เมื่อ ปัสสัทธิ ไม่มี, ภิกษุนั้นย่อมอยู่เป็นทุกข์; เมื่อ มีทุกข์, จิตย่อมไม่ตั้งมั่น; เมื่อ จิตไม่ตั้งมั่น, ธรรมทั้งหลายย่อมไม่ปรากฏ; เพราะธรรมทั้งหลายไม่ปรากฏ ภิกษุนั้น ย่อมถึงซึ่งการถูกนับว่า เป็นผู้มีปกติอยู่ด้วยความประมาท โดยแท้. (ในกรณีแห่งอินทรีย์ คือ หู จมูก ลิน้ กาย และใจ ก็มนี ยั ยะอย่างเดียวกัน)
ภิกษุทั้งหลาย ! อย่างนี้แล ภิกษุเป็นผู้มีปกติอยู่ด้วยความประมาท.
76 พุ ท ธ ว จ น ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุเป็นผู้มีปกติอยู่ด้วยความไม่ประมาท เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อภิกษุสำ�รวมระวัง ซึ่งอินทรีย์คือตาอยู่ จิตย่อมไม่เกลือกกลัว้ ในรูปทัง้ หลายอันเป็นวิสยั แห่งการรูส้ กึ ด้วยตา; เมื่อภิกษุนั้น ไม่มีจิตเกลือกกลั้วแล้ว ปราโมทย์ ย่อมเกิด; เมื่อ ปราโมทย์ แล้ว ปีติ ย่อมเกิด; เมื่อใจมี ปีติ ปัสสัทธิ ย่อมมี; เมื่อมี ปัสสัทธิ ภิกษุนั้น ย่อมอยู่เป็นสุข; เมื่อ มีสุข จิตย่อมตั้งมั่น; เมื่อ จิตตั้งมั่น แล้ว ธรรมทั้งหลายย่อมปรากฏ; เพราะธรรมทั้งหลายย่อมปรากฏ ภิกษุนั้น ย่อมถึงซึ่งการถูกนับว่า เป็นผู้มีปกติอยู่ด้วยความไม่ประมาท โดยแท้. (ในกรณีแห่งอินทรีย์ คือ หู จมูก ลิน้ กาย และใจ ก็มนี ยั ยะอย่างเดียวกัน)
ภิกษุทั้งหลาย ! อย่างนี้แล ภิกษุเป็นผู้มีปกติอยู่ด้วยความไม่ประมาท. สฬา. สํ. ๑๘/๙๗/๑๔๓-๔.
ฉบับ ๘ อินทรียสังวร (ตามดู ! ไม่ตามไป...)
77
๒๕ ความไม่ประมาท เป็นยอดแห่งกุศลธรรม ภิกษุทั้งหลาย ! สัตว์ทั้งหลายที่ไม่มีเท้า มีสองเท้า มีมากเท้าก็ดี มีรูป ไม่มีรูป มีสัญญา ไม่มีสัญญา มีสัญญาก็หามิได้ไม่มีสัญญาก็หามิได้ก็ดี, มีประมาณเท่าใด; ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธะ ย่อมปรากฏว่าเลิศกว่าบรรดาสัตว์เหล่านั้น. ภิกษุทั้งหลาย ! กุศลธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่งบรรดามี กุศลธรรมทั้งหลายทั้งปวงนั้น มีความไม่ประมาทเป็นมูล มีความไม่ประมาทเป็นที่ประชุมลง. ความไม่ประมาท ย่อมปรากฏว่าเป็นเลิศ กว่าบรรดากุศลธรรมเหล่านั้น; ฉันใดก็ฉันนั้น. ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนี้เป็นสิ่งที่ภิกษุผู้ไม่ประมาทพึงหวังได้ คือ เธอจักเจริญ กระทำ�ให้มากซึ่งอริยมรรคมีองค์ ๘. มหาวาร. สํ. ๑๙/๖๒-๖๗/๒๔๕-๒๖๓.
78 พุ ท ธ ว จ น (การที่ความไม่ประมาทเป็นยอดแห่งกุศลธรรมทั้งปวง ในสูตรนี้ ทรงอุปมาด้วยพระตถาคตเป็นสัตว์เลิศกว่าสัตว์ทั้งปวง. ส่วนในสูตรอื่นอีกมากแห่ง; ทรงอุปมาด้วย รอยเท้าช้างเลิศคือใหญ่กว่ารอยเท้าสัตว์ทั้งหลาย ทรงอุปมาด้วย ยอดเรือนเลิศคืออยู่เหนือไม้โครงเรือนทั้งหลาย ทรงอุปมาด้วย รากไม้โกฏฐานุสาริยะ เลิศกว่ารากไม้หอมทัง้ หลาย ทรงอุปมาด้วย แก่นจันทร์แดง เลิศกว่าไม้แก่นหอมทั้งหลาย ทรงอุปมาด้วย ดอกวัสสิกะ (มะลิ) เลิศกว่าดอกไม้หอมทั้งหลาย ทรงอุปมาด้วย ราชาจักรพรรดิ เลิศกว่าพระราชาเมืองขึน้ เมืองออกทัง้ หลาย ทรงอุปมาด้วย แสงจันทร์ เลิศคือรุ่งเรืองกว่าแสงดาวทั้งหลาย ทรงอุปมาด้วย แสงอาทิตย์ภายหลังฝนตกไม่มเี มฆในฤดูสารท แจ่มใสกว่าฯ ทรงอุปมาด้วย ผ้ากาสี เลิศกว่าบรรดาผ้าทอด้วยเส้นด้ายทัง้ หลาย)
ฉบับ ๘ อินทรียสังวร (ตามดู ! ไม่ตามไป...)
79
๒๖ ผู้มีอินทรียสังวร จึงสามารถเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ ได้ ภิกษุทั้งหลาย ! บุคคลอาจเพือ่ เป็นผูม้ ปี กติตามเห็นกายในกายอยู่ เพราะเขาละธรรมหกอย่าง. หกอย่าง อย่างไรเล่า ? หกอย่าง คือ ความเป็นผู้ยินดีในการงาน ความเป็นผู้ยินดีในการคุยฟุ้ง ความเป็นผู้ยินดีในการหลับ ความเป็นผู้ยินดีในการคลุกคลีกันเป็นหมู่ ความเป็นผู้ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ความเป็นผู้ไม่รู้ประมาณในการบริโภค. ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะละธรรมหกอย่างเหล่านี้แล บุคคลจึงเป็นผู้อาจเพื่อเป็นผู้มีปกติตามเห็นกายในกายอยู่. ฉกฺก. อํ. ๒๒/๒๕๐/๓๘๘.
(ผู้ อ าจเป็ น ผู้ มี ป กติ ต ามเห็ น กายในกายในภายใน-ในภายนอกในภายในและภายนอก และผูอ้ าจเป็นผูม้ ปี กติตามเห็นเวทนาในเวทนาตามเห็นจิตในจิต-ตามเห็นธรรมในธรรม ล้วนแต่มขี อ้ ความทีท่ รงตรัสไว้ อย่างเดียวกัน)
80 พุ ท ธ ว จ น
๒๗ อาสวะบางส่วนสามารถละได้ดว้ ยการสำ�รวม ภิกษุทั้งหลาย ! อาสวะทัง้ หลาย ส่วนทีจ่ ะพึงละเสียด้วยการสำ�รวม เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในกรณีนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้วเป็นผูส้ �ำ รวมด้วยการสังวรในอินทรีย์ คือ ตา หู จมูก ลิน้ กาย ใจ อันเป็นอินทรียท์ เ่ี มือ่ ภิกษุไม่ส�ำ รวมแล้ว, อาสวะทั้งหลาย อันเป็นเครื่องทำ�ความคับแค้นและเร่าร้อน จะพึงบังเกิดขึ้น. และ เมื่อภิกษุเป็นผู้สำ�รวมแล้วเป็นอยู่, อาสวะทั้งหลาย อันเป็นเครื่องทำ�ความคับแค้นและเร่าร้อน จะไม่พึงบังเกิดขึ้น แก่ภิกษุนั้น. ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนี้เป็นเพราะ เมื่อภิกษุไม่สำ�รวมด้วยอาการอย่างนี้, อาสวะทั้งหลาย อันเป็นเครื่องทำ�ความคับแค้นและเร่าร้อน จะพึงบังเกิดขึ้น, และ เมื่อภิกษุสำ�รวมแล้วเป็นอยู่ อาสวะทั้งหลาย อันเป็นเครื่องทำ�ความคับแค้นและเร่าร้อน จะไม่พึงบังเกิดขึ้น แก่ภิกษุนั้น. ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรากล่าวว่า อาสวะทั้งหลาย ส่วนที่จะพึงละเสียด้วยการสำ�รวม. มู. ม. ๑๒/๑๖/๑๓.
ฉบับ ๘ อินทรียสังวร (ตามดู ! ไม่ตามไป...)
81
๒๘ อาสวะบางส่วนสามารถละได้ดว้ ยการบรรเทา ภิกษุทั้งหลาย ! อาสวะทัง้ หลาย ส่วนทีจ่ ะพึงละเสียด้วยการบรรเทา เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในกรณีนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้ว ย่อมไม่รับเอาไว้ในใจ ย่อมละเสีย ย่อมบรรเทา ทำ�ให้สิ้นสุด ทำ�ให้ถึงความมีไม่ได้ ซึ่งกามวิตก, พยาบาทวิตก, วิหิงสาวิตก อันบังเกิดขึ้นแล้ว; และย่อมไม่รับเอาไว้ในใจ ย่อมละเสีย ย่อมบรรเทา ทำ�ให้สิ้นสุด ทำ�ให้ถึงความมีไม่ได้ ซึ่งสิ่งอันเป็นอกุศลธรรมอันเป็นบาปทั้งหลาย ที่บังเกิดขึ้นแล้ว. ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนี้เป็นเพราะ เมื่อภิกษุไม่บรรเทาด้วยอาการอย่างนี้, อาสวะทัง้ หลาย อันเป็นเครือ่ งคับแค้นและเร่าร้อน จะพึงบังเกิดขึน้ , และ เมื่อภิกษุบรรเทาอยู่ อาสวะทั้งหลาย อันเป็นเครื่องคับแค้นและเร่าร้อน จะไม่พึงบังเกิดขึ้น แก่ภิกษุนั้น. ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรากล่าวว่า อาสวะทั้งหลาย ส่วนที่จะละเสียด้วยการบรรเทา. มู. ม. ๑๒/๑๙/๑๗.
82 พุ ท ธ ว จ น
๒๙ ผลที่ได้เพราะเหตุแห่งการปิดกั้นอาสวะ ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อใด ภิกษุละเสียได้ซึ่งอาสวะทั้งหลาย อันจะพึงละได้ด้วยการสังวร, ... ละเสียได้ซึ่งอาสวะทั้งหลาย อันจะถึงละได้ด้วยการบรรเทา, ... แล้ว; ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุนี้เรากล่าวว่า เป็นผู้ปิดกั้นแล้วด้วยการปิดกั้นซึ่งอาสวะทั้งปวง อยู่; ตัดตัณหาได้ขาดแล้ว รื้อถอนสังโยชน์ได้แล้ว กระทำ�ที่สุดแห่งทุกข์ได้แล้ว เพราะรู้เฉพาะซึ่งมานะโดยชอบ, ดังนี้แล. มู. ม. ๑๒/๒๐/๑๙.
ความหมายและลักษณะ ของการมีอินทรียสังวร
84 พุ ท ธ ว จ น
๓๐ ความหมายแห่งอินทรีย์ ภิกษุทั้งหลาย ! อินทรีย์หกเหล่านี้ มีอยู่. หกเหล่าไหนเล่า ? หกอย่าง คือ อินทรีย์คือตา, อินทรีย์คือหู, อินทรีย์คือจมูก, อินทรีย์คือลิ้น, อินทรีย์คือกาย, อินทรีย์คือใจ. ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อใด อริยสาวก รู้ชัดแจ้งตามเป็นจริง ซึ่งความเกิดขึ้น (สมุทัย) ซึ่งความตั้งอยู่ไม่ได้ (อัตถังคมะ) ซึ่งรสอร่อย (อัสสาทะ) ซึ่งโทษอันต่ำ�ทราม (อาทีนวะ) และ ซึ่งอุบายเครื่องออก (นิสสรณะ) แห่งอินทรีย์หกเหล่านี้; ภิกษุทั้งหลาย ! อริยสาวกนี้ เราเรียกว่า เป็นโสดาบัน มีอันไม่ตกต่ำ�เป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงแท้ต่อพระนิพพาน จักตรัสรู้พร้อมในเบื้องหน้า. มหาวาร. สํ. ๑๙/๒๗๑/๙๐๒.
ฉบับ ๘ อินทรียสังวร (ตามดู ! ไม่ตามไป...)
85
๓๑ ลักษณะของผู้สำ�รวมอินทรีย์ ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ได้เห็นรูปด้วยตา, ได้ฟังเสียงด้วยหู, ได้ดมกลิ่นด้วยจมูก, ได้ลิ้มรสด้วยลิ้น, ได้สัมผัสโผฏฐัพพะด้วยกาย, และได้รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ก็ไม่รวบถือเอาทั้งหมด (โดยนิมิต) และ ไม่แยกถือเอาเป็นส่วนๆ (โดยอนุพยัญชนะ), อกุศลธรรมอันเป็นบาป คือ อภิชฌาและโทมนัส มักไหลไปตามภิกษุ ผู้ไม่สำ�รวมตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เพราะการไม่สำ�รวมอินทรีย์เหล่าใดเป็นเหตุ เธอก็ปฏิบัติเพื่อปิดกั้นอินทรีย์นั้นไว้, เธอรักษาและถึงความสำ�รวม ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุอย่างนี้ชื่อว่า เป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย. จตุกฺก. อํ. ๒๑/๕๐/๓๗.
86 พุ ท ธ ว จ น
๓๒ ผู้ที่ถึงซึ่ง ความเจริญงอกงาม ไพบูลย์ ในธรรมวินัย ภิกษุทั้งหลาย ! คนเลี้ยงโคที่ประกอบด้วยองค์คุณ ๑๑ อย่างเหล่านี้แล้ว ย่อมเหมาะสมที่จะเลี้ยงโค ทำ�ให้เพิ่มกำ�ไรได้. องค์คุณ ๑๑ อย่างนั้น คืออะไรบ้างเล่า ? คือ คนเลี้ยงโคในกรณีนี้ ... เป็นผู้เขี่ยไข่ขาง, เป็นผู้ปิดแผล, ... ภิกษุทั้งหลาย ! คนเลี้ยงโคที่ประกอบด้วยองค์คุณเหล่านี้แล้ว ย่อมเหมาะสมที่จะเลี้ยงโค ทำ�ให้เพิ่มกำ�ไรได้, ข้อนี้ฉันใด; ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุที่ประกอบด้วยองค์คุณเหล่านี้แล้ว ย่อมเหมาะสมที่จะถึงความเจริญงอกงาม ไพบูลย์ ในธรรมวินัยนี้ได้ ฉันนั้น... ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุเป็นผู้คอยเขี่ยไข่ขาง เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อดกลั้นได้ (นาธิวาเสติ) ละ (ปชหติ) บรรเทา (วิโนเทติ) ทำ�ให้สิ้นสุด (พฺยนฺตีกโรติ) ทำ�ให้หมดสิ้น (อนภาว คเมติ)
ฉบับ ๘ อินทรียสังวร (ตามดู ! ไม่ตามไป...)
87
ซึ่งความตรึกเกี่ยวด้วยกาม, (กามวิตก) ที่เกิดขึ้นแล้ว ซึ่งความตรึกเกี่ยวด้วยความมุ่งร้าย, (พยาบาทวิตก) ที่เกิดขึ้นแล้ว ซึ่งความตรึกเกี่ยวด้วยการเบียดเบียน (วิหิงสาวิตก) ที่เกิดขึ้นแล้ว ซึ่งบาปอกุศลธรรมทั้งหลาย ที่เกิดขึ้นแล้ว ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุเป็นผู้คอยเขี่ยไข่ขาง เป็นอย่างนี้แล. ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุเป็นผู้ปิดแผล เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยตา, ฟังเสียงด้วยหู, ดมกลิ่นด้วยจมูก, ลิ้มรสด้วยลิ้น, สัมผัสโผฏฐัพพะด้วยกาย, รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ก็ไม่มีจิตยึดถือเอาทั้งโดยลักษณะที่เป็นการรวบถือทั้งหมด (โดยนิมิต)
และไม่ถือเอาโดยการแยกเป็นส่วนๆ (โดยอนุพยัญชนะ) อกุศลธรรมอันเป็นบาป คือ อภิชฌาและโทมนัส มักไหลไปตามภิกษุ ผู้ไม่สำ�รวมตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เพราะการไม่สำ�รวมอินทรีย์เหล่าใดเป็นเหตุ, เธอก็ปฏิบัติ เพื่อปิดกั้นอินทรีย์นั้นไว้, เธอรักษาและถึงการสำ�รวม ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ. ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุเป็นผู้ปิดแผล เป็นอย่างนี้แล. (ในที่นี้ ยกมาให้เห็นเพียง ๒ จากทั้งหมด ๑๑ คุณสมบัติ) เอกาทสก. อํ. ๒๔/๓๘๑/๒๒๔.
รูปแบบการละ ความเพลินในอารมณโดยวิธีอื่น
90 พุ ท ธ ว จ น
๓๓ กระจายซึ่งผัสสะ ภิกษุทั้งหลาย ! วิญญาณย่อมมีขึ้น เพราะอาศัยธรรมสองอย่าง. สองอย่างอะไรเล่า ? สองอย่าง คือ ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะอาศัยซึง่ จักษุดว้ ย ซึง่ รูปทัง้ หลายด้วย จักขุวญ ิ ญาณ จึงเกิดขึน้ . จักษุ เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น; รูปทั้งหลาย เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น : ธรรมทั้งสองอย่างนี้แล เป็นสิ่งที่หวั่นไหวด้วย อาพาธด้วย ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น; จักขุวิญญาณ เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น; เหตุอนั ใดก็ตาม ปัจจัยอันใดก็ตาม เพือ่ ความเกิดขึน้ แห่งจักขุวญ ิ ญาณ, แม้เหตุอันนั้น แม้ปัจจัยอันนั้น ก็ล้วนเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น. ภิกษุทั้งหลาย ! จักขุวิญญาณเกิดขึ้นแล้ว เพราะอาศัยปัจจัยทีไ่ ม่เทีย่ งดังนี้ จักขุวญ ิ ญาณเป็นของเทีย่ งมาแต่ไหน.
ฉบับ ๘ อินทรียสังวร (ตามดู ! ไม่ตามไป...)
91
ภิกษุทั้งหลาย ! ความประจวบพร้อม ความประชุมพร้อม ความมาพร้อมกันแห่งธรรมทัง้ หลาย (จักษุ+รูป+จักขุวญิ ญาณ) ๓ อย่างเหล่านี้ อันใดแล; ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เราเรียกว่าจักขุสัมผัส. ภิกษุทั้งหลาย ! แม้จักขุสัมผัสก็เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น. เหตุอนั ใดก็ตาม ปัจจัยอันใดก็ตาม เพือ่ ความเกิดขึน้ แห่งจักขุสมั ผัส, แม้เหตุอันนั้น แม้ปัจจัยอันนั้น ก็ล้วนเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น. ภิกษุทั้งหลาย ! จักขุสัมผัสเกิดขึ้นแล้ว เพราะอาศัยปัจจัยที่ไม่เที่ยงดังนี้ จักขุสัมผัสจักเป็นของเที่ยงมาแต่ไหน. (ในกรณีแห่งโสตวิญญาณ, ฆานวิญญาณ, ชิวหาวิญญาณ, กายวิญญาณ, ก็มีนัยเดียวกัน).
ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะอาศัยซึ่งมโนด้วย ซึ่งธรรมารมณ์ทั้งหลายด้วย มโนวิญญาณจึงเกิดขึ้น. มโนเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น; ธรรมารมณ์ทั้งหลายเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น :
92 พุ ท ธ ว จ น ธรรมทั้งสองอย่างนี้แล เป็นสิ่งที่หวั่นไหวด้วย อาพาธด้วย ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น; มโนวิญญาณ เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น; เหตุอนั ใดก็ตาม ปัจจัยอันใดก็ตาม เพือ่ ความเกิดขึน้ แห่งมโนวิญญาณ, แม้เหตุอันนั้น แม้ปัจจัยอันนั้น ก็ล้วนเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น. ภิกษุทั้งหลาย ! มโนวิญญาณเกิดขึ้นแล้ว เพราะอาศัยปัจจัยที่ไม่เที่ยงดังนี้ มโนวิญญาณเป็นของเที่ยงมาแต่ไหน. ความประจวบพร้อม ความประชุมพร้อม ความมาพร้อมกัน แห่งธรรมทั้งหลาย (มโน+ธรรมารมณ์+มโนวิญญาณ) ๓ อย่างเหล่านี้อันใดแล; ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เราเรียกว่า มโนสัมผัส. ภิกษุทั้งหลาย ! แม้มโนสัมผัส ก็เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น. เหตุอนั ใดก็ตาม ปัจจัยอันใดก็ตาม เพือ่ ความเกิดขึน้ แห่งมโนสัมผัส, แม้เหตุอันนั้น แม้ปัจจัยอันนั้น ก็ล้วนเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น.
ฉบับ ๘ อินทรียสังวร (ตามดู ! ไม่ตามไป...)
93
ภิกษุทั้งหลาย ! มโนสัมผัสเกิดขึ้นแล้ว เพราะอาศัยปัจจัยที่ไม่เที่ยงดังนี้ มโนสัมผัสจักเป็นของเที่ยงมาแต่ไหน. ภิกษุทั้งหลาย ! บุคคลที่ผัสสะกระทบแล้วย่อมรู้สึก (เวเทติ), ผัสสะกระทบแล้วย่อมคิด (เจเตติ), ผัสสะกระทบแล้วย่อมจำ�ได้หมายรู้ (สญฺชานาติ) : แม้ธรรมทั้งหลายอย่างนี้เหล่านี้ ก็ล้วนเป็นสิ่งที่หวั่นไหวด้วย อาพาธด้วย ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นไปโดยประการอื่น. สฬา. สํ. ๑๘/๘๕/๑๒๔-๗.
94 พุ ท ธ ว จ น
๓๔ ตามแนวแห่งสัมมาสังกัปปะ ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุตรึกตามตรองตามถึงอารมณ์ใดๆ มาก จิตย่อมน้อมไป โดยอาการอย่างนั้นๆ : ถ้าภิกษุตรึกตามตรองตามถึง กามวิตก มาก ก็เป็นอันว่า ละเนกขัมมวิตกเสีย กระทำ�แล้วอย่างมากซึ่ง กามวิตก จิตของเธอนั้นย่อมน้อมไปเพื่อความตรึกในกาม ถ้าภิกษุตรึกตามตรองตามถึง พ๎ยาปาทวิตก มาก ก็เป็นอันว่า ละอัพ๎ยาปาทวิตกเสีย กระทำ�แล้วอย่างมากซึ่ง พ๎ยาปาทวิตก จิตของเธอนั้นย่อมน้อมไปเพื่อความตรึกในการพยาบาท ถ้าภิกษุตรึกตามตรองตามถึง วิหิงสาวิตก มาก ก็เป็นอันว่า ละอวิหิงสาวิตกเสีย กระทำ�แล้วอย่างมากซึ่ง วิหิงสาวิตก จิตของเธอนั้นย่อมน้อมไปเพื่อความตรึกในการทำ�สัตว์ให้ลำ�บาก
ฉบับ ๘ อินทรียสังวร (ตามดู ! ไม่ตามไป...)
ภิกษุทั้งหลาย ! เปรียบเหมือนในคราวฤดูสารท คือเดือนสุดท้ายแห่งฤดูฝน คนเลี้ยงโคต้องเลี้ยงฝูงโคในที่แคบเพราะเต็มไปด้วยข้าวกล้า เขาต้องตีต้อนห้ามกันฝูงโคจากข้าวกล้านั้นด้วยท่อนไม้ เพราะเขาเห็นโทษ คือ การถูกประหาร การถูกจับกุม การถูกปรับไหม การติเตียน เพราะมีข้าวกล้านั้นเป็นเหตุ, ข้อนี้ฉันใด; ภิกษุทั้งหลาย ! ถึงเราก็ฉันนั้น ได้เห็นแล้วซึ่งโทษความเลวทราม เศร้าหมองแห่งอกุศลธรรมทั้งหลาย, เห็นอานิสงส์ในการออกจากกาม ความเป็นฝักฝ่ายของความผ่องแผ้วแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย. ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อเราเป็นผู้ไม่ประมาท มีเพียร มีตนส่งไปอย่างนี้ เนกขัมมวิตก ย่อมเกิดขึ้น ... อัพ๎ยาปาทวิตก ย่อมเกิดขึ้น ... อวิหิงสาวิตก ย่อมเกิดขึ้น. เราย่อมรู้แจ้งชัดว่า อวิหิงสาวิตกเกิดขึ้นแก่เราแล้ว ก็อวิหิงสาวิตกนั้น ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตน เบียดเบียนผู้อื่น หรือเบียดเบียนทั้งสองฝ่าย แต่เป็นไปพร้อมเพื่อความเจริญแห่งปัญญา ไม่เป็นฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น เป็นไปพร้อมเพื่อนิพพาน.
95
96 พุ ท ธ ว จ น แม้เราจะตรึกตามตรองตามถึงอวิหิงสาวิตกนั้นตลอดคืน ก็มองไม่เห็นภัยอันจะเกิดขึ้น เพราะอวิหิงสาวิตกนั้นเป็นเหตุ แม้เราจะตรึกตามตรองตามถึงอวิหิงสาวิตกนั้น ตลอดวัน หรือตลอดทั้งกลางคืนกลางวัน ก็มองไม่เห็นภัยอันจะเกิดขึ้นเพราะ อวิหิงสาวิตกนั้นเป็นเหตุ ภิกษุทั้งหลาย ! ก็แต่ว่า เมื่อเราตรึกตามตรองตามนานเกินไปนัก กายก็เมื่อยล้า เมื่อกายเมื่อยล้า จิตก็อ่อนเพลีย, เมื่อจิตอ่อนเพลีย จิตก็ห่างจากสมาธิ, เพราะเหตุนั้น เราจึงดำ�รงจิตให้หยุดอยู่ในภายใน กระทำ�ให้มีอารมณ์อันเดียวตั้งมั่นไว้. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ? เพราะเราประสงค์อยู่ว่าจิตของเราอย่าฟุ้งขึ้นเลย ดังนี้. ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุตรึกตามตรองตามถึงอารมณ์ใดๆ มาก จิตย่อมน้อมไปโดยอาการอย่างนั้นๆ ถ้าภิกษุตรึกตามตรองตามถึง เนกขัมมวิตกมาก ก็เป็นอันว่าละกามวิตกเสีย กระทำ�แล้วอย่างมากซึ่งเนกขัมมวิตก จิตของเธอนั้นย่อมน้อมไปเพื่อความตรึกในการออกจากกาม
ฉบับ ๘ อินทรียสังวร (ตามดู ! ไม่ตามไป...)
97
ถ้าภิกษุตรึกตามตรองตามถึง อัพ๎ยาปาทวิตกมาก ก็เป็นอันว่าละพ๎ยาปาทวิตกเสีย กระทำ�แล้วอย่างมากในอัพ๎ยาปาทวิตก จิตของเธอนั้นย่อมน้อมไปเพื่อความตรึกในการไม่พยาบาท ถ้าภิกษุตรึกตามตรองตามถึง อวิหิงสาวิตกมาก ก็เป็นอันว่าละวิหิงสาวิตกเสีย กระทำ�แล้วอย่างมากในอวิหิงสาวิตก จิตของเธอนั้นย่อมน้อมไป เพื่อความตรึกในการไม่ยังสัตว์ให้ลำ�บาก ภิกษุทั้งหลาย ! เปรียบเหมือนในเดือนสุดท้ายแห่งฤดูร้อน ข้าวกล้าทั้งหมด เขาขนนำ�ไปในบ้านเสร็จแล้ว คนเลี้ยงโคพึงเลี้ยงโคได้. เมื่อเขาไปพักใต้ร่มไม้ หรือไปกลางทุ่งแจ้งๆ พึงทำ�แต่ความกำ�หนดว่า นั่นฝูงโคดังนี้ (ก็พอแล้ว) ฉันนั้นเหมือนกัน. มู. ม. ๑๒/๒๓๒-๒๓๖/๒๕๒.
98 พุ ท ธ ว จ น
ฉบับ ๘ อินทรียสังวร (ตามดู ! ไม่ตามไป...)
99
๓๕ ย่อมยุบ ย่อมไม่ก่อ ย่อมขว้างทิ้ง ย่อมไม่ถือเอา ซึ่ง... ขันธ์ ๕ ภิกษุทั้งหลาย ! สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด เมื่อตามระลึก ย่อมตามระลึกถึงชาติก่อน ได้เป็นอันมาก สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ย่อมตามระลึกถึงซึ่งอุปาทานขันธ์ทั้งห้า หรือขันธ์ใดขันธ์หนึ่ง แห่งอุปาทานขันธ์ทั้งห้านั้น. ห้าอย่างไรกันเล่า ? ห้าอย่างคือ :ภิกษุทั้งหลาย ! เขาเมื่อตามระลึก ย่อมตามระลึกถึงซึ่ง รูป นั่นเทียว ว่า “ในอดีตกาลนานไกล เราเป็นผู้มีรูปอย่างนี้” ดังนี้บ้าง; ภิกษุทั้งหลาย ! เขาเมื่อตามระลึก ย่อมตามระลึกถึงซึ่ง เวทนา นั่นเทียว ว่า “ในอดีตกาลนานไกล เราเป็นผู้มีเวทนาอย่างนี้” ดังนี้บ้าง; ภิกษุทั้งหลาย ! เขาเมื่อตามระลึก ย่อมตามระลึกถึงซึ่ง สัญญา นั่นเทียว ว่า “ในอดีตกาลนานไกล เราเป็นผู้มีสัญญาอย่างนี้” ดังนี้บ้าง; ภิกษุทั้งหลาย ! เขาเมื่อตามระลึก ย่อมตามระลึกถึงซึ่ง สังขาร นั่นเทียว ว่า “ในอดีตกาลนานไกล เราเป็นผู้มีสังขารอย่างนี้” ดังนี้บ้าง;
100 พุ ท ธ ว จ น ภิกษุทั้งหลาย ! เขาเมื่อตามระลึก ย่อมตามระลึกถึงซึ่ง วิญญาณ นั่นเทียว ว่า “ในอดีตกาลนานไกล เราเป็นผู้มีวิญญาณอย่างนี้” ดังนี้บ้าง. ภิกษุทั้งหลาย ! ทำ�ไมเขาจึงกล่าวกันว่า รูป ? ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมชาตินั้น ย่อมสลาย (รุปฺปติ) เหตุนั้นจึงเรียกว่า รูป. สลายเพราะอะไร ? สลายเพราะความเย็นบ้าง เพราะความร้อนบ้าง เพราะความหิวบ้าง เพราะความระหายบ้าง เพราะการสัมผัสกับเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลือ้ ยคลานบ้าง. ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมชาตินน้ั ย่อมสลาย เหตุนน้ั จึงเรียกว่า รูป. ภิกษุทั้งหลาย ! ทำ�ไมเขาจึงกล่าวกันว่าเวทนา ? ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมชาตินั้น อันบุคคลรู้สึกได้ (เวทยติ) เหตุนั้นจึงเรียกว่า เวทนา. รู้สึกซึ่งอะไร ? รู้สึกซึ่งสุขบ้าง ซึ่งทุกข์บ้าง ซึ่งอทุกขมสุขบ้าง. ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมชาตินั้น อันบุคคลรู้สึกได้ เหตุนั้นจึงเรียกว่า เวทนา. ภิกษุทั้งหลาย ! ทำ�ไมเขาจึงกล่าวกันว่า สัญญา ? ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมชาตินน้ั ย่อมหมายรูไ้ ด้พร้อม (สญฺชานาติ) เหตุนั้นจึงเรียกว่า สัญญา. หมายรู้ได้พร้อมซึ่งอะไร ? หมายรูไ้ ด้พร้อมซึง่ สีเขียวบ้าง ซึง่ สีเหลืองบ้าง ซึง่ สีแดงบ้าง ซึง่ สีขาวบ้าง. ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมชาตินั้น ย่อมหมายรู้ได้พร้อม เหตุนั้นจึงเรียกว่า สัญญา.
ฉบับ ๘ อินทรียสังวร (ตามดู ! ไม่ตามไป...)
101
ภิกษุทั้งหลาย ! ทำ�ไมเขาจึงกล่าวกันว่า สังขาร ? ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมชาตินั้น ย่อมปรุงแต่ง (อภิสงฺขโรนฺติ) ให้เป็นของปรุงแต่ง เหตุนั้นจึงเรียกว่าสังขาร. ปรุงแต่งอะไรให้เป็นของปรุงแต่ง ? ปรุงแต่งรูปให้เป็นของปรุงแต่งโดยความเป็นรูป ปรุงแต่งเวทนาให้เป็นของปรุงแต่งโดยความเป็นเวทนา ปรุงแต่งสัญญาให้เป็นของปรุงแต่งโดยความเป็นสัญญา ปรุงแต่งสังขารให้เป็นของปรุงแต่งโดยความเป็นสังขาร ปรุงแต่งวิญญาณให้เป็นของปรุงแต่งโดยความเป็นวิญญาณ. ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมชาตินั้น ย่อมปรุงแต่งให้เป็นของปรุงแต่ง เหตุนั้นจึงเรียกว่าสังขาร. ภิกษุทั้งหลาย ! ทำ�ไมเขาจึงกล่าวกันว่า วิญญาณ ? ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมชาตินั้น ย่อมรู้แจ้ง (วิชานาติ) เหตุนั้นจึงเรียกว่า วิญญาณ. รู้แจ้งซึ่งอะไร ? รู้แจ้งซึ่งความเปรี้ยวบ้าง ซึ่งความขมบ้าง ซึ่งความเผ็ดร้อนบ้าง ซึ่งความหวานบ้าง ซึ่งความขื่นบ้าง ซึ่งความไม่ขื่นบ้าง ซึ่งความเค็มบ้าง ซึ่งความไม่เค็มบ้าง. ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมชาตินั้น ย่อมรู้แจ้ง เหตุนั้นจึงเรียกว่า วิญญาณ.
102 พุ ท ธ ว จ น ภิกษุทั้งหลาย ! ในขันธ์ทั้งห้านั้น อริยสาวกผู้มีการสดับ ย่อมพิจารณาเห็นโดยประจักษ์ชัดดังนี้ว่า “ในกาลนี้ เราถูกรูปเคี้ยวกินอยู่, แม้ในอดีตกาลนานไกล เราก็ถูกรูปเคี้ยวกินแล้ว เหมือนกับที่ถูกรูปอันเป็นปัจจุบันเคี้ยว กินอยู่ในกาลนี้ ฉันใดก็ฉันนั้น. ถ้าเราเพลิดเพลินรูปในอนาคต, แม้ในอนาคตนานไกล เราก็จะถูกรูปเคี้ยวกิน เหมือนกับที่เรา ถูกรูปอันเป็นปัจจุบันเคี้ยวกินอยู่ในกาลนี้ ฉันใดก็ฉันนั้น”. อริยสาวกนั้น พิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมเป็นผูไ้ ม่เพ่งต่อรูปอันเป็นอดีต ไม่เพลิดเพลินรูปอนาคต ย่อมเป็นผู้ปฏิบตั เิ พือ่ เบือ่ หน่าย คลายกำ�หนัด ดับไม่เหลือ แห่งรูปอันเป็นปัจจุบัน. (ในกรณีแห่ง เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ทรงตรัสไว้อย่างเดียวกันแล้วตรัสต่อไปว่า)
ภิกษุทั้งหลาย ! เธอจะสำ�คัญความสำ�คัญข้อนี้ว่าอย่างไร รูปเที่ยง หรือไม่เที่ยง ? “ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า !”.
สิง่ ใดทีไ่ ม่เทีย่ ง สิง่ นัน้ เป็นทุกข์ หรือเป็นสุขเล่า ? “เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า !”.
สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือหนอ ? ที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า “นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นอัตตาของเรา” ดังนี้. “ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า !”
(ในกรณีแห่ง เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มีการถามตอบแบบเดียวกัน แล้วตรัสต่อไปว่า)
ฉบับ ๘ อินทรียสังวร (ตามดู ! ไม่ตามไป...)
103
ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีตอนาคตและปัจจุบัน มีในภายในหรือภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม มีในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม รูปทั้งหมดนั้นบุคคลควรเห็นด้วยปัญญาโดยชอบ ตามที่เป็นจริงอย่างนี้ ว่า “นัน่ ไม่ใช่ของเรา นัน่ ไม่ใช่เป็นเรา นัน่ ไม่ใช่อตั ตาของเรา” ดังนี้. (ในกรณีแห่ง เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ทรงตรัสไว้อย่างเดียวกันแล้วตรัสต่อไปว่า)
ภิกษุทั้งหลาย ! อริยสาวกนี้ เรากล่าวว่า เธอย่อมยุบ-ย่อมไม่ก่อ; ย่อมขว้างทิ้ง-ย่อมไม่ถือเอา; ย่อมทำ�ให้กระจัดกระจาย-ย่อมไม่ทำ�ให้เป็นกอง; ย่อมทำ�ให้มอด-ย่อมไม่ทำ�ให้ลุกโพลง. อริยสาวกนั้น ย่อมยุบ-ย่อมไม่ก่อ ซึ่งอะไร ? เธอย่อมยุบ-ย่อมไม่กอ่ ซึง่ รูป ซึง่ เวทนา ซึง่ สัญญา ซึง่ สังขาร ซึง่ วิญญาณ. อริยสาวกนั้น ย่อมขว้างทิ้ง-ย่อมไม่ถือเอา ซึ่งอะไร ? เธอย่อมขว้างทิ้ง-ย่อมไม่ถือเอา ซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ. อริยสาวกนัน้ ย่อมทำ�ให้กระจัดกระจาย-ย่อมไม่ท�ำ ให้เป็นกอง ซึง่ อะไร? เธอย่อมทำ�ให้กระจัดกระจาย-ย่อมไม่ทำ�ให้เป็นกอง ซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ. อริยสาวกนัน้ ย่อมทำ�ให้มอด-ย่อมไม่ท�ำ ให้ลกุ โพลง ซึง่ อะไร ? เธอย่อมทำ�ให้มอด-ย่อมไม่ท�ำ ให้ลกุ โพลง ซึง่ รูป ซึง่ เวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ.
104 พุ ท ธ ว จ น ภิกษุทั้งหลาย ! อริยสาวกผู้มีการสดับ เมื่อเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป แม้ในเวทนา แม้ในสัญญา แม้ในสังขาร แม้ในวิญญาณ. เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำ�หนัด, เพราะความคลายกำ�หนัด ย่อมหลุดพ้น, เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว. อริยสาวกนั้น ย่อมทราบชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ�ได้สำ�เร็จแล้ว กิจอื่นที่จะต้องทำ�เพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก” ดังนี้. ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุ (ผู้ซึ่งหลุดพ้นแล้ว) นี้ เราเรียกว่า ไม่ก่ออยู่-ไม่ยุบอยู่ แต่เป็นอันว่ายุบแล้ว-ดำ�รงอยู่; ไม่ขว้างทิ้งอยู่-ไม่ถือเอาอยู่ แต่เป็นอันว่าขว้างทิ้งแล้ว-ดำ�รงอยู่; ไม่ทำ�ให้กระจัดกระจายอยู่-ไม่ทำ�ให้เป็นกองอยู่ แต่เป็นอันว่าทำ�ให้กระจัดกระจายแล้ว-ดำ�รงอยู่; ไม่ทำ�ให้มอดอยู่-ไม่ทำ�ให้ลุกโพลงอยู่ แต่เป็นอันว่าทำ�ให้มอดแล้ว-ดำ�รงอยู่. ภิกษุนั้น ไม่ก่ออยู่-ไม่ยุบอยู่ แต่เป็นอันว่ายุบ ซึ่งอะไรแล้ว ดำ�รงอยู่ ? เธอไม่ก่ออยู่-ไม่ยุบอยู่ แต่เป็นอันว่ายุบ ซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ แล้ว ดำ�รงอยู่
ฉบับ ๘ อินทรียสังวร (ตามดู ! ไม่ตามไป...)
105
ภิกษุนั้น ไม่ขว้างทิ้งอยู่-ไม่ถือเอาอยู่ แต่เป็นอันว่าขว้างทิ้ง ซึ่งอะไรแล้ว ดำ�รงอยู่ ? เธอไม่ขว้างทิ้งอยู่-ไม่ถือเอาอยู่ แต่เป็นอันว่าขว้างทิ้ง ซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ แล้ว ดำ�รงอยู่. ภิกษุนั้น ไม่ทำ�ให้กระจัดกระจายอยู่-ไม่ทำ�ให้เป็นกองอยู่ แต่เป็นอันว่าทำ�ให้กระจัดกระจาย ซึ่งอะไรแล้ว ดำ�รงอยู่ ? เธอไม่ทำ�ให้กระจัดกระจายอยู่-ไม่ทำ�ให้เป็นกองอยู่ แต่เป็นอันว่าทำ�ให้กระจัดกระจายซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ แล้ว ดำ�รงอยู่. ภิกษุนั้น ไม่ทำ�ให้มอดอยู่-ไม่ทำ�ให้ลุกโพลงอยู่ แต่เป็นอันว่าทำ�ให้มอด ซึ่งอะไรแล้ว ดำ�รงอยู่ ? เธอไม่ทำ�ให้มอดอยู่-ไม่ทำ�ให้ลุกโพลงอยู่ แต่เป็นอันว่าทำ�ให้มอดซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ แล้ว ดำ�รงอยู่. ภิกษุทั้งหลาย ! เทวดาทัง้ หลาย พร้อมทัง้ อินทร์ พรหม และปชาบดี ย่อมนมัสการภิกษุผมู้ จี ติ หลุดพ้นแล้วอย่างนี้ มาจากทีไ่ กลเทียว กล่าวว่า “ข้าแต่ทา่ นบุรษุ อาชาไนย ! ข้าแต่ทา่ นบุรษุ ผูส้ งู สุด ! ข้าพเจ้าขอนมัสการท่าน เพราะข้าพเจ้าไม่อาจจะทราบสิง่ ซึง่ ท่าน อาศัยแล้วเพ่ง ของท่าน” ดังนี้. ขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๐๕-๑๑๐/๑๕๘-๑๖๔.
106 พุ ท ธ ว จ น
๓๖ เห็นประจักษ์ตามความเป็นจริง สัตว์โลกนี้ เกิดความเดือนร้อนแล้ว มีผัสสะบังหน้า ย่อมกล่าวซึ่งโรคนั้น โดยความเป็นตน เขาสำ�คัญสิ่งใด โดยความเป็นประการใด แต่สิ่งนั้นย่อมเป็นโดยประการอื่น จากที่เขาสำ�คัญนั้น. สัตว์โลกติดข้องอยู่ในภพ ถูกภพบังหน้าแล้ว มีภพโดยความเป็นอย่างอื่น จึงได้เพลิดเพลินยิ่งนักในภพนั้น. เขาเพลิดเพลินยิ่งนักในสิ่งใด สิ่งนั้นก็เป็นภัย เขากลัวต่อสิ่งใด สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์. พรหมจรรย์น้ ี อันบุคคลย่อมประพฤติ ก็เพือ่ การละขาดซึง่ ภพ นัน้ เอง. สมณะหรือพราหมณ์ทั้งหลายเหล่าใด กล่าวความหลุดพ้นจากภพ ว่ามีได้เพราะ ภพ; เรากล่าวว่า สมณะทั้งปวงนั้น มิใช่ผู้หลุดพ้นจากภพ. ถึงแม้สมณะหรือพราหมณ์ทั้งหลายเหล่าใด กล่าวความออกไปได้จากภพ ว่ามีได้เพราะ วิภพ; เรากล่าวว่า สมณะหรือพราหมณ์ทง้ั ปวงนัน้ ก็ยงั สลัดภพออกไปไม่ได้.
ฉบับ ๘ อินทรียสังวร (ตามดู ! ไม่ตามไป...)
107
ก็ทุกข์นี้เกิดขึ้นเพราะอาศัยซึ่ง อุปธิ ทั้งปวง. ความเกิดขึน้ แห่งทุกข์ ไม่มี ก็เพราะความสิน้ ไปแห่งอุปาทานทัง้ ปวง. ท่านจงดูโลกนี้เถิด (จะเห็นว่า) สัตว์ทั้งหลาย อันอวิชชาหนาแน่นบังหน้าแล้ว; และว่าสัตว์ผู้ยินดีในภพ อันเป็นแล้วนั้น ย่อมไม่เป็นผู้หลุดพ้นไปจากภพได้. ก็ภพทัง้ หลายเหล่าหนึง่ เหล่าใด อันเป็นไปในทีห่ รือในเวลาทัง้ ปวง เพื่อความมีแห่งประโยชน์โดยประการทั้งปวง; ภพทั้งหลายทั้งหมดนั้น ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา. เมือ่ บุคคลเห็นอยูซ่ ง่ึ ข้อนัน้ ด้วยปัญญาอันชอบตามทีเ่ ป็นจริง อย่างนีอ้ ยู;่ เขาย่อมละภวตัณหาได้ และไม่เพลิดเพลินซึ่งวิภวตัณหาด้วย. ความดับเพราะความสำ�รอกไม่เหลือ เพราะความสิ้นไปแห่งตัณหาโดยประการทั้งปวง นั้นคือ นิพพาน. ภพใหม่ยอ่ มไม่มแี ก่ภกิ ษุนน้ั ผูด้ บั เย็นสนิทแล้ว เพราะไม่มคี วามยึดมัน่ . ภิกษุนั้นเป็นผู้ครอบงำ�มารได้แล้ว ชนะสงครามแล้ว ก้าวล่วงภพทั้งหลายทั้งปวงได้แล้ว เป็นผู้คงที่ ดังนี้แล. อุ. ขุ. ๒๕/๑๒๑/๘๔.
108 พุ ท ธ ว จ น
๓๗ พึงเห็นว่า ชีวิตนั้นแสนสั้น ภิกษุทั้งหลาย ! ฝ่ายภิกษุพวกที่เจริญมรณสติอย่างนี้ ว่า “โอหนอ เราอาจจะมีชีวิตอยู่ได้เพียง ชั่วขณะฉันอาหารเสร็จเพียงคำ�เดียว. เราพึงใส่ใจถึงคำ�สอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าเถิด. การปฏิบัติตามคำ�สอนควรทำ�ให้มากแล้วหนอ” ดังนี้ก็ดี, ว่า “โอหนอ เราอาจจะมีชีวิตอยู่ได้เพียง ชั่วขณะที่หายใจเข้าแล้วหายใจออก หรือชั่วหายใจออกแล้วหายใจเข้า. เราพึงใส่ใจถึงคำ�สอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าเถิด. การปฏิบัติตามคำ�สอนควรทำ�ให้มากแล้วหนอ” ดังนี้ก็ดี, ภิกษุเหล่านี้ เราเรียกว่า เป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว, เป็นผู้เจริญมรณสติเพื่อความสิ้นอาสวะอย่างแท้จริง.
ฉบับ ๘ อินทรียสังวร (ตามดู ! ไม่ตามไป...)
109
ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะฉะนั้น ในเรื่องนี้ พวกเธอทั้งหลาย พึงสำ�เหนียกใจไว้ว่า “เราทั้งหลาย จักเป็นผู้ไม่ประมาทเป็นอยู่, จักเจริญมรณสติ เพื่อความสิ้นอาสวะอย่างแท้จริง” ดังนี้. ภิกษุทั้งหลาย ! เธอทั้งหลาย พึงสำ�เหนียกใจไว้อย่างนี้แล. อฏฺก. อํ. ๒๓/๓๒๗/๑๗๐.
ผลที่สุด ของการละความเพลิน ในอารมณ
112 พุ ท ธ ว จ น
๓๘ ผู้ได้ชื่อว่า อินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศ อานนท์ ! อินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศ (อนุตฺตรา อินฺทฺริยภาวนา) ในอริยวินัย เป็นอย่างไรเล่า ? อานนท์ ! ในกรณีนี้ อารมณ์อันเป็นที่ชอบใจ–ไม่เป็นที่ชอบใจ– ทั้งเป็นที่ชอบใจและไม่เป็นที่ชอบใจ อันบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุเพราะเห็นรูปด้วยตา. ภิกษุนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า “อารมณ์ทเ่ี กิดขึน้ แล้วแก่เรานี้ เป็นสิง่ มีปจั จัยปรุงแต่ง (สงฺขต) เป็นของหยาบๆ (โอฬาริก) เป็นสิ่งที่อาศัยเหตุปัจจัยเกิดขึ้น (ปฏิจฺจ สมุปฺปนฺน); แต่มีสิ่งโน้นซึ่งรำ�งับและประณีต, กล่าวคือ อุเบกขา” ดังนี้. (เมื่อรู้ชัดอย่างนี้) อารมณ์อันเป็นที่ชอบใจ–ไม่เป็นที่ชอบใจทั้งเป็นที่ชอบใจและไม่เป็นที่ชอบใจ อันบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น ย่อมดับไป, อุเบกขายังคงดำ�รงอยู่.
ฉบับ ๘ อินทรียสังวร (ตามดู ! ไม่ตามไป...)
113
อานนท์ ! อารมณ์อันเป็นที่ชอบใจ–ไม่เป็นที่ชอบใจทั้งเป็นที่ชอบใจและไม่เป็นที่ชอบใจ อันบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น ย่อมดับไป เร็วเหมือนการกระพริบตาของคน, อุเบกขายังคงดำ�รงอยู่. อานนท์ ! นี้แล เราเรียกว่า อินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศในอริยวินัย ในกรณีแห่ง รูปที่รู้แจ้งด้วยจักษุ. (ในกรณีแห่ง เสียงที่รู้แจ้งด้วยโสตะ กลิ่นที่รู้แจ้งด้วยฆานะ รสที่รู้แจ้งด้วยชิวหา โผฎฐัพพะที่รู้แจ้งด้วยผิวกาย และ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้งด้วยใจ ทรงตรัสอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่อุปมาแห่งความเร็วในการดับแห่งอารมณ์นั้นๆ, คือ กรณีเสียง เปรียบด้วยความเร็วแห่งการดีดนิ้วมือ, กรณีกลิ่น เปรียบด้วยความเร็วแห่งหยดน้ำ�ตกจากใบบัว, กรณีรส เปรียบด้วยความเร็วแห่งน้�ำ ลายทีถ่ ม่ จากปลายลิน้ ของคนแข็งแรง, กรณีโผฏฐัพพะ เปรียบด้วยความเร็วแห่งการเหยียดแขนพับแขนของคนแข็งแรง, กรณีธรรมารมณ์ เปรียบด้วยความเร็วแห่งการแห้งของหยดน้�ำ บนกระทะเหล็ก ทีร่ อ้ นแดงอยูต่ ลอดวัน) อุปริ. ม. ๑๔/๕๔๒–๕๔๕/๘๕๖–๘๖๑.
114 พุ ท ธ ว จ น
๓๙ ผู้เข้าไปหาเป็นผู้ไม่หลุดพ้น ผู้ไม่เข้าไปหาย่อมหลุดพ้น ภิกษุทั้งหลาย ! ผู้เข้าไปหา เป็นผู้ไม่หลุดพ้น; ผู้ไม่เข้าไปหา เป็นผู้หลุดพ้น. ภิกษุทั้งหลาย ! วิญญาณ ซึ่งเข้าถือเอารูป ตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้ เป็นวิญญาณที่มีรูปเป็นอารมณ์ มีรูปเป็นที่ตั้งอาศัย มีนันทิเป็นที่เข้าไปส้องเสพ ก็ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ได้ ภิกษุทั้งหลาย ! วิญญาณ ซึ่งเข้าถือเอาเวทนา ตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้ เป็นวิญญาณที่มีเวทนาเป็นอารมณ์ มีเวทนาเป็นที่ตั้งอาศัย มีนันทิเป็นที่เข้าไปส้องเสพ ก็ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ได้ ภิกษุทั้งหลาย ! วิญญาณ ซึ่งเข้าถือเอาสัญญา ตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้ เป็นวิญญาณที่มีสัญญาเป็นอารมณ์ มีสัญญาเป็นที่ตั้งอาศัย มีนันทิเป็นที่เข้าไปส้องเสพ ก็ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ได้
ฉบับ ๘ อินทรียสังวร (ตามดู ! ไม่ตามไป...)
115
ภิกษุทั้งหลาย ! วิญญาณ ซึ่งเข้าถือเอาสังขาร ตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้ เป็นวิญญาณที่มีสังขารเป็นอารมณ์ มีสังขารเป็นที่ตั้งอาศัย มีนันทิเป็นที่เข้าไปส้องเสพ ก็ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ได้ ภิกษุทั้งหลาย ! ผู้ใดจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า “เราจักบัญญัติ ซึ่งการมา การไป การจุติ การอุบัติ ความเจริญ ความงอกงาม และความไพบูลย์ ของวิญญาณ โดยเว้นจากรูป เว้นจากเวทนา เว้นจากสัญญา และเว้นจากสังขาร” ดังนี้นั้น. นี่ ไม่ใช่ฐานะที่จักมีได้เลย. ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าราคะในรูปธาตุ ในเวทนาธาตุ ในสัญญาธาตุ ในสังขารธาตุ ในวิญญาณธาตุ เป็นสิ่งที่ภิกษุละได้แล้ว เพราะละราคะได้ อารมณ์สำ�หรับวิญญาณก็ขาดลง ทีต่ ง้ั ของวิญญาณก็ไม่มี วิญญาณอันไม่มที ต่ี ง้ั นัน้ ก็ไม่งอกงาม หลุดพ้นไปเพราะไม่ถูกปรุงแต่ง เพราะหลุดพ้นไป ก็ตั้งมั่น เพราะตั้งมั่น ก็ยินดีในตนเอง เพราะยินดีในตนเอง ก็ไม่หวัน่ ไหว เมือ่ ไม่หวัน่ ไหว ก็ปรินพิ พานเฉพาะตน ย่อมรูช้ ดั ว่า “ชาติสน้ิ แล้ว พรหมจรรย์อยูจ่ บแล้ว กิจทีค่ วรทำ�ได้ส�ำ เร็จแล้ว กิจอืน่ ทีจ่ ะต้องทำ�เพือ่ ความเป็นอย่างนีม้ ไิ ด้มอี กี ” ดังนี.้ ขนฺธ. สํ. ๑๗/๖๖/๑๐๕.
116 พุ ท ธ ว จ น
๔๐ เพราะไม่เพลิน จึงละอนุสัยทั้ง ๓ ได้ ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะอาศัย ตา ด้วย รูปทั้งหลาย ด้วย จึงเกิด จักขุวิญญาณ การประจวบพร้อมแห่งธรรม ๓ ประการนั่น คือ ผัสสะ; เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย... เพราะอาศัย หู ด้วย เสียงทั้งหลาย ด้วย จึงเกิดโสตวิญญาณ การประจวบพร้อมแห่งธรรม ๓ ประการนั่น คือ ผัสสะ; เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย... เพราะอาศัย จมูก ด้วย กลิ่นทั้งหลาย ด้วย จึงเกิดฆานวิญญาณ การประจวบพร้อมแห่งธรรม ๓ ประการนั่น คือ ผัสสะ; เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย... เพราะอาศัย ลิ้น ด้วย รสทั้งหลาย ด้วย จึงเกิดชิวหาวิญญาณ การประจวบพร้อมแห่งธรรม ๓ ประการนั่นคือ ผัสสะ; เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย...
ฉบับ ๘ อินทรียสังวร (ตามดู ! ไม่ตามไป...)
117
เพราะอาศัย กาย ด้วย โผฏฐัพพะทั้งหลาย ด้วย จึงเกิดกายวิญญาณ การประจวบพร้อมแห่งธรรม ๓ ประการนั่น คือ ผัสสะ; เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย... เพราะอาศัย ใจ ด้วย ธรรมารมณ์ทง้ั หลาย ด้วย จึงเกิดมโนวิญญาณ การประจวบพร้อมแห่งธรรม ๓ ประการนั่น คือ ผัสสะ; เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา อันเป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บา้ ง ไม่ใช่ทกุ ข์ไม่ใช่สขุ บ้าง. บุคคลนั้น เมื่อ สุขเวทนา ถูกต้องอยู่ ย่อมไม่เพลิดเพลิน ย่อมไม่พร่ำ�สรรเสริญ ไม่เมาหมกอยู่; อนุสยั คือราคะ ย่อมไม่ตามนอน (ตสฺส ราคานุสโย นานุเสติ) แก่บคุ คลนัน้ . เมื่อ ทุกขเวทนา ถูกต้องอยู่ เขาย่อมไม่เศร้าโศก ย่อมไม่ระทมใจ ย่อมไม่คร่ำ�ครวญ ย่อมไม่ตีอกร่ำ�ไห้ ย่อมไม่ถึงความหลงใหลอยู่; อนุสยั คือปฏิฆะ ย่อมไม่ตามนอน (ไม่เพิม่ ความเคยชินให้) แก่บคุ คลนัน้ .
118 พุ ท ธ ว จ น เมื่อ เวทนาอันไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุข ถูกต้องอยู่ เขาย่อมรู้ตามเป็นจริง ซึ่งสมุทยะ (เหตุเกิด) ของเวทนานั้นด้วย ซึ่งอัตถังคมะ (ความดับไม่เหลือ) แห่งเวทนานั้นด้วย ซึ่งอัสสาทะ (รสอร่อย) ของเวทนานั้นด้วย ซึ่งอาทีนวะ (โทษ) ของเวทนานั้นด้วย ซึ่งนิสสรณะ (อุบายเครื่องออกพ้นไป) ของเวทนานั้นด้วย; อนุสยั คืออวิชชา ย่อมไม่ตามนอน (ไม่เพิม่ ความเคยชินให้) แก่บคุ คลนัน้ . ภิกษุทั้งหลาย ! บุคคลนั้นหนอ (สุขาย เวทนาย ราคานุสย ปหาย)
ละราคานุสัยอันเกิดจากสุขเวทนาเสียได้แล้ว (ทุกฺขาย เวทนาย ปฏิฆานุสย ปฏิวิโนเทตฺวา)
บรรเทาปฏิฆานุสัยอันเกิดจากทุกขเวทนาเสียได้แล้ว (อทุกฺขมสุขาย เวทนาย อวิชฺชานุสย สมูหนิตฺวา)
ถอนอวิชชานุสยั อันเกิดจากอทุกขมสุขเวทนาเสียได้แล้ว;
ฉบับ ๘ อินทรียสังวร (ตามดู ! ไม่ตามไป...)
119
(อวิชฺช ปหาย วิชฺช อุปฺปาเทตฺวา)
เมื่อละอวิชชาเสียได้แล้ว และทำ�วิชชาให้เกิดขึ้นได้แล้ว; (ทิฏฺเว ธมฺเม ทุกฺขสฺสนฺตกโร ภวิสฺสตีติ)
เขาจักทำ�ที่สุดแห่งทุกข์ ในทิฏฐธรรม (รู้เห็นได้เลย) นี้ได้ นั้น; (านเมต วิชฺชติฯ)
ข้อนี้เป็นฐานะที่จักมีได้. อุปริ. ม. ๑๔/๕๑๘/๘๒๓.
120 พุ ท ธ ว จ น
๔๑ ย่อมหลุดพ้นไปจากทุกข์ ภิกษุทั้งหลาย ! ผู้ใด ไม่เพลิดเพลินอยู่ ใน รูป ผู้นั้น เท่ากับไม่เพลิดเพลินอยู่ ใน สิ่งที่เป็นทุกข์... ผู้ใด ไม่เพลิดเพลินอยู่ ใน เวทนา ผู้นั้น เท่ากับไม่เพลิดเพลินอยู่ ใน สิ่งที่เป็นทุกข์... ผู้ใด ไม่เพลิดเพลินอยู่ ใน สัญญา ผู้นั้น เท่ากับไม่เพลิดเพลินอยู่ ใน สิ่งที่เป็นทุกข์... ผู้ใด ไม่เพลิดเพลินอยู่ ใน สังขารทั้งหลาย ผู้นั้น เท่ากับไม่เพลิดเพลินอยู่ ใน สิ่งที่เป็นทุกข์... ผู้ใด ไม่เพลิดเพลินอยู่ ใน วิญญาณ ผู้นั้น เท่ากับไม่เพลิดเพลินอยู่ ใน สิ่งที่เป็นทุกข์
ฉบับ ๘ อินทรียสังวร (ตามดู ! ไม่ตามไป...)
121
เรากล่าวว่า “ผู้ใด ไม่เพลิดเพลินอยู่ ใน สิ่งที่เป็นทุกข์ ผู้นั้น ย่อมหลุดพ้นไปได้จากทุกข์” ดังนี้. ขนฺธ. สํ. ๑๗/๓๙/๖๕.
122 พุ ท ธ ว จ น ภิกษุทั้งหลาย ! ...
(ทรงตรัสกรณีเพลิน แล้วทรงตรัสกรณีไม่เพลินต่อเทียบกัน)
...ส่วนผู้ใด ไม่เพลิดเพลินอยู่ ใน จักษุ ผู้นั้น เท่ากับ ไม่เพลิดเพลินอยู่ ใน สิ่งที่เป็นทุกข์... ผู้ใด ไม่เพลิดเพลินอยู่ ใน โสตะ ผู้นั้น เท่ากับ ไม่เพลิดเพลินอยู่ ใน สิ่งที่เป็นทุกข์... ผู้ใด ไม่เพลิดเพลินอยู่ ใน ฆานะ ผู้นั้น เท่ากับ ไม่เพลิดเพลินอยู่ ใน สิ่งที่เป็นทุกข์... ผู้ใด ไม่เพลิดเพลินอยู่ ใน ชิวหา ผู้นั้น เท่ากับ ไม่เพลิดเพลินอยู่ ใน สิ่งที่เป็นทุกข์... ผู้ใด ไม่เพลิดเพลินอยู่ ใน กายะ ผู้นั้น เท่ากับ ไม่เพลิดเพลินอยู่ ใน สิ่งที่เป็นทุกข์... ผู้ใด ไม่เพลิดเพลินอยู่ ใน มนะ ผู้นั้น เท่ากับ ไม่เพลิดเพลินอยู่ ใน สิ่งที่เป็นทุกข์
ฉบับ ๘ อินทรียสังวร (ตามดู ! ไม่ตามไป...)
เรากล่าวว่า ผู้ใด ไม่เพลิดเพลินอยู่ ใน สิ่งที่เป็นทุกข์ ผู้นั้น ย่อมหลุดพ้นไปได้จากทุกข์ ดังนี้. ภิกษุทั้งหลาย ! ...
(ทรงตรัสกรณีเพลิน แล้วทรงตรัสกรณีไม่เพลินต่อเทียบกัน)
...ส่วนผู้ใด ไม่เพลิดเพลินอยู่ ใน รูป ผู้นั้น เท่ากับ ไม่เพลิดเพลินอยู่ ใน สิ่งที่เป็นทุกข์... ผู้ใด ไม่เพลิดเพลินอยู่ ใน เสียง ผู้นั้น เท่ากับ ไม่เพลิดเพลินอยู่ ใน สิ่งที่เป็นทุกข์... ผู้ใด ไม่เพลิดเพลินอยู่ ใน กลิ่น ผู้นั้น เท่ากับ ไม่เพลิดเพลินอยู่ ใน สิ่งที่เป็นทุกข์... ผู้ใด ไม่เพลิดเพลินอยู่ ใน รส ผู้นั้น เท่ากับ ไม่เพลิดเพลินอยู่ ใน สิ่งที่เป็นทุกข์...
123
124 พุ ท ธ ว จ น ผู้ใด ไม่เพลิดเพลินอยู่ ใน โผฏฐัพพะ ผู้นั้น เท่ากับ ไม่เพลิดเพลินอยู่ ใน สิ่งที่เป็นทุกข์... ผู้ใด ไม่เพลิดเพลินอยู่ ใน ธรรมารมณ์ ผู้นั้น เท่ากับ ไม่เพลิดเพลินอยู่ ใน สิ่งที่เป็นทุกข์ เรากล่าวว่า ผู้ใด ไม่เพลิดเพลินอยู่ ใน สิ่งที่เป็นทุกข์ ผู้นั้น ย่อมหลุดพ้นไปได้จากทุกข์ ดังนี้. สฬา. สํ. ๑๘/๑๖/๑๙-๒๐.
ฉบับ ๘ อินทรียสังวร (ตามดู ! ไม่ตามไป...)
125
๔๒ ลักษณะของบุคคลสี่ประเภท ภิกษุทั้งหลาย ! บุคคลสี่จำ�พวกเหล่านี้ มีอยู่ หาได้อยู่ ในโลก. สี่จำ�พวก อย่างไรเล่า ? สี่จำ�พวกคือ กายออก แต่จิตไม่ออก (นิกฺกฏฺกาโย อนิกฺกฏฺจิตฺโต) กายไม่ออก แต่จิตออก (อนิกฺกฏฺกาโย นิกฺกฏฺจิตฺโต) กายก็ไม่ออกจิตก็ไม่ออก (อนิกฺกฏฺกาโย จ อนิกฺกฏฺจิตฺโต จ) กายก็ออก จิตก็ออก (นิกฺกฏฺกาโย จ นิกฺกฏฺจิตฺโต จ) ภิกษุทั้งหลาย ! บุคคลที่ชื่อว่า กายออก แต่จิตไม่ออก เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณีน้ี บุคคลบางคน เสพเสนาสนะอันสงัด คือป่าและป่าทึบ, ในที่นั้นๆ เขาวิตกซึ่งกามวิตกบ้าง ซึ่งพ๎ยาปาทวิตกบ้าง ซึ่งวิหิงสาวิตกบ้าง. ภิกษุทั้งหลาย ! อย่างนี้แล บุคคลที่ กายออก แต่จิตไม่ออก. ภิกษุทั้งหลาย ! บุคคลที่ชื่อว่า กายไม่ออก แต่จิตออก เป็นอย่างไรเล่า ?
126 พุ ท ธ ว จ น ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณีน้ี บุคคลบางคน ไม่ได้เสพเสนาสนะอันสงัด คือป่าและ ป่าทึบ, ในที่นั้นๆ เขาวิตกซึ่งเนกขัมมวิตกบ้าง ซึ่งอัพ๎ยาปาทวิตกบ้าง ซึ่งอวิหิงสาวิตกบ้าง. ภิกษุทั้งหลาย ! อย่างนี้แล บุคคลที่ กายไม่ออก แต่จิตออก. ภิกษุทั้งหลาย ! บุคคลที่ชื่อว่า กายก็ไม่ออก จิตก็ไม่ออก เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณีน้ี บุคคลบางคน ไม่ได้เสพเสนาสนะอันสงัด คือป่าและ ป่าทึบ,ในที่นั้นๆ เขาวิตกซึ่งกามวิตกบ้าง ซึ่งพ๎ยาปาทวิตกบ้าง ซึ่งวิหิงสาวิตกบ้าง. ภิกษุท้งั หลาย ! อย่างนีแ้ ล บุคคลที่ กายก็ไม่ออก จิตก็ไม่ออก. ภิกษุทั้งหลาย ! บุคคลที่ชื่อว่า กายก็ออก จิตก็ออก เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณีน้ี บุคคลบางคน เสพเสนาสนะอันสงัด คือป่าและป่าทึบ, ในที่นั้นๆ เขาวิตกซึ่งเนกขัมมวิตกบ้าง ซึ่งอัพ๎ยาปาทวิตกบ้าง ซึ่งอวิหิงสาวิตกบ้าง. ภิกษุทั้งหลาย ! อย่างนี้แล บุคคลที่ กายก็ออก จิตก็ออก. ภิกษุทั้งหลาย ! บุคคล ๔ จำ�พวกเหล่านีแ้ ล มีอยู่ หาได้อยู่ ในโลก. จตุกฺก. อํ. ๒๑/๑๘๕/๑๓๘.
ขอย้ำ�เตือนจากพระตถาคต
128 พุ ท ธ ว จ น
๔๓ ความไม่ประมาท ยังกุศลธรรมทั้งหลายให้เกิดขึ้น ภิกษุทั้งหลาย ! เราไม่มองเห็นธรรมอื่นแม้สักอย่างหนึ่ง ที่เป็นเหตุให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรืออกุศลธรรมที่เกิดอยู่แล้ว ย่อมเสื่อมสิ้นไป, เหมือนความไม่ประมาท นี้. ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อบุคคลไม่ประมาทแล้ว, กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ก็เกิดขึ้น และอกุศลธรรมที่เกิดอยู่แล้ว ก็เสื่อมสิ้นไป. เอก. อํ. ๒๐/๑๓/๖๐.
ฉบับ ๘ อินทรียสังวร (ตามดู ! ไม่ตามไป...)
129
๔๔ พินัยกรรม ของพระสังฆบิดา ภิกษุทั้งหลาย ! บัดนี้ ตถาคต ขอเตือนพวกเธอทั้งหลายไว้ ว่า สังขารทั้งหลาย มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา พวกเธอทั้งหลาย จงถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด นี่แล เป็นพระวาจาที่ตรัสครั้งสุดท้ายของพระตถาคตเจ้า. มหา. ที. ๑๐/๑๘๐/๑๔๓.
130 พุ ท ธ ว จ น
ฉบับ ๘ อินทรียสังวร (ตามดู ! ไม่ตามไป...)
131
บันทึกท้ายเล่ม ดับเสียใหได
จิตมีตัณหา
นำไปสู อารมณ
ภพ, ชาติ (เกิดขึ้น)
ปรากฏ ขึ้นแลว
ผูกกับอารมณ (เพลินตั้งอยู)
ดับเสียใหได จน กระทั่ง
ชรา มรณะ (ดับไป)
นี้คือวงจร ของจิต อันเปน สังสารวัฏฏ
อินทรียสังวร จึงเป็นหลักการแห่งความไม่ประมาท ที่ตรัสไว้ด้วยการดับเหตุ ที่จะเป็นไปเพื่อชราและมรณะ อันเป็นที่มาของการ “ตามดู ! ไม่ตามไป...” ที่แสดงให้เห็นด้วยพุทธวจน กว่า ๖๐ พระสูตร บ่งบอกถึงความสอดรับกัน ของ พุทธวจน คือ คำ�ตถาคต ที่เป็น อินทรียสังวร อันเป็นตัวชี้วัดของ ความเป็น ผู้ไม่ประมาท และเป็นการยืนยันภายใต้หลักการแห่งมหาปเทส ๔ (หลักการตรวจสอบว่าเป็นคำ�ตถาคตหรือไม่ คือหลักที่ตถาคตบัญญัติไว้เพื่อ ใช้วัดสอบว่า เป็นคำ�ของพระองค์ จริงหรือไม่จริง โดยนำ�เนื้อความ หลักการนั้นไปเทียบเคียงในพุทธวจนบทอื่นๆ ว่าเข้ากันได้ ลงกันได้ สอดรับกันได้หรือไม่ ถ้าสอดรับกันได้ ก็ใช่คำ�ของพระองค์ แต่ถ้าไม่สอดรับกัน ก็แสดงว่า ไม่ใช่คำ�ของพระองค์ ให้ละทิ้ง เนื้อความหลักการนั้นไปเสีย)
132 พุ ท ธ ว จ น หวังว่าผู้ปฏิบัติทั้งหลาย ที่เทิดทูน เคารพ และกตัญญูบูชาพระศาสดา คงจะได้เห็นความชัดเจนในหลักการ อันเป็นระเบียบถ้อยคำ�ของพระตถาคต ชัดแจ้งด้วยตนเองและร่วมแรงใจปฏิบัติตามพระองค์ เพื่อแสดงออกถึง “ความกตัญญู” และ “บูชา” ในโอกาสจะครบวาระ
“๒๖๐๐ ปี ของการตรัสรู้ ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า”
ขอนอบน้อมแด่
ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธะ พระองค์นั้นด้วยเศียรเกล้า
(สาวกตถาคต) คณะงานธัมมะ วัดนาปาพง (กลุ่มอาสาสมัครพุทธวจน-หมวดธรรม)
มูลนิธิพุทธโฆษณ์ มูลนิธิแห่งมหาชนชาวพุทธ ผู้ซึ่งชัดเจน และมั่นคงในพุทธวจน เริม่ จากชาวพุทธกลุม่ เล็กๆ กลุม่ หนึง่ ได้มโี อกาสมาฟังธรรมบรรยายจาก ท่านพระอาจารย์คกึ ฤทธิ์ โสตฺถผิ โล ทีเ่ น้นการน�าพุทธวจน (ธรรมวินยั จากพุทธโอษฐ์ ทีพ่ ระพุทธองค์ทรงยืนยันว่าทรงตรัสไว้ดแี ล้ว บริสทุ ธิบ์ ริบรู ณ์สนิ้ เชิง ทัง้ เนือ้ ความและ พยัญชนะ) มาใช้ในการถ่ายทอดบอกสอน ซึง่ เป็นรูปแบบการแสดงธรรมทีต่ รงตาม พุทธบัญญัติตามที่ ทรงรับสั่งแก่พระอรหันต์ ๖๐ รูปแรกที่ปาอิสิปตนมฤคทายวัน ในการประกาศพระสัท ธรรม และเป็นลักษณะเฉพาะทีภ่ กิ ษุในครัง้ พุทธกาลใช้เป็น มาตรฐานเดียว หลักพุทธวจนนี้ ได้เข้ามาตอบค�าถาม ต่อความลังเลสงสัย ได้เข้ามาสร้าง ความชัดเจน ต่อความพร่าเลือนสับสน ในข้อธรรมต่างๆ ที่มีอยู่ในสังคมชาวพุทธ ซึ่งทั้งหมดนี้ เป็นผลจากสาเหตุเดียวคือ การไม่ใช้ค�าของพระพุทธเจ้าเป็นตัวตั้งต้น ในการศึกษาเล่าเรียน ด้วยศรัทธาอย่างไม่หวัน่ ไหวต่อองค์สมั มาสัมพุทธะ ในฐานะพระศาสดา ท่านพระอาจารย์คกึ ฤทธิ์ ได้ประกาศอย่างเป็นทางการว่า “อาตมาไม่มคี า� สอนของตัวเอง” และใช้เวลาที่มีอยู่ ไปกับการรับสนองพุทธประสงค์ ด้วยการโฆษณาพุทธวจน เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม และความประสานเป็นหนึ่งเดียวของชาวพุทธ เมือ่ กลับมาใช้หลักพุทธวจน เหมือนทีเ่ คยเป็นในครัง้ พุทธกาล สิง่ ทีเ่ กิดขึน้ คือ ความชัดเจนสอดคล้องลงตัว ในความรู้ความเข้าใจ ไม่ว่าในแง่ของหลักธรรม ตลอดจนมรรควิธที ตี่ รง และสามารถน�าไปใช้ปฏิบตั ใิ ห้เกิดผล รูเ้ ห็นประจักษ์ได้จริง ด้วยตนเองทันที ด้วยเหตุน้ี ชาวพุทธทีเ่ ห็นคุณค่าในค�าของพระพุทธเจ้าจึงขยายตัว มากขึ้นเรื่อยๆ เกิดเป็น “กระแสพุทธวจน” ซึ่งเป็นพลังเงียบที่ก�าลังจะกลายเป็น คลืน่ ลูกใหม่ ในการกลับไปใช้ระบบการเรียนรูพ้ ระสัทธรรม เหมือนดังครัง้ พุทธกาล
ด้วยการขยายตัวของกระแสพุทธวจนนี้ สื่อธรรมที่เป็นพุทธวจน ไม่ว่า จะเป็นหนังสือ หรือซีดี ซึ่งแจกฟรีแก่ญาติโยมเริ่มมีไม่พอเพียงในการแจก ทั้งนี้ เพราะจ�านวนของผู้ที่สนใจเห็นความส�าคัญของพุทธวจน ได้ขยายตัวมากขึ้นอย่าง รวดเร็ว ประกอบกับว่าท่านพระอาจารย์คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล เคร่งครัดในข้อวัตร ปฏิบัติที่พระศาสดาบัญญัติไว้ อันเป็นธรรมวินัยที่ออกจากพระโอษฐ์ของตถาคต โดยตรง การเผยแผ่พุทธวจนที่ผ่านมา จึงเป็นไปในลักษณะสันโดษตามมีตามได้ เมื่อมีโยมมาปวารณาเป็นเจ้าภาพในการจัดพิมพ์ ได้มาจ�านวนเท่าไหร่ ก็ทยอยแจก ไปตามทีม่ เี ท่านัน้ เมือ่ มีมา ก็แจกไป เมือ่ หมด ก็คอื หมด เนือ่ งจากว่า หน้าทีใ่ นการด�ารงพระสัทธรรมให้ตงั้ มัน่ สืบไป ไม่ได้ผกู จ�ากัด อยู่แต่เพียงพุทธสาวกในฐานะของสงฆ์เท่านั้น ฆราวาสกลุ่มหนึ่งซึ่งเห็นความส�าคัญ ของพุทธวจน จึงรวมตัวกันเข้ามาช่วยขยายผลในสิง่ ทีท่ า่ นพระอาจารย์คกึ ฤทธิ์ โสตฺถผิ โล ท�าอยูแ่ ล้ว นัน่ คือ การน�าพุทธวจนมาเผยแพร่โฆษณา โดยพิจารณาตัดสินใจจดทะเบียน จัดตั้งเป็นมูลนิธิอย่างถูกต้องตามกฏหมาย เพื่อให้การด�าเนินการต่างๆ ทั้งหมด อยูใ่ นรูปแบบทีโ่ ปร่งใส เปิดเผย และเปิดกว้างต่อสาธารณชนชาวพุทธทัว่ ไป ส�าหรับผู้ที่เห็นความส�าคัญของพุทธวจน และมีความประสงค์ที่จะด�ารง พระสัทธรรมให้ตงั้ มัน่ ด้วยวิธขี องพระพุทธเจ้า สามารถสนับสนุนการด�าเนินการตรงนีไ้ ด้ ด้วยวิธีง่ายๆ นั่นคือ เข้ามาใส่ใจศึกษาพุทธวจน และน�าไปใช้ปฏิบัติด้วยตนเอง เมื่อรู้ประจักษ์ เห็นได้ด้วยตนแล้ว ว่ามรรควิธีที่ได้จากการท�าความเข้าใจ โดย ใช้ค�าของพระพุทธเจ้าเป็นตัวตั้งต้นนั้น น�าไปสู่ความเห็นที่ถูกต้อง ในหลักธรรม อันสอดคล้องเป็นเหตุเป็นผล และเชื่อมโยงเป็นหนึ่งเดียว กระทั่งได้ผลตามจริง ท�าให้เกิดมีจิตศรัทธา ในการช่วยเผยแพร่ขยายสื่อพุทธวจน เพียงเท่านี้ คุณก็คือ หนึง่ หน่วยในขบวน “พุทธโฆษณ์” แล้ว นี่คือเจตนารมณ์ของมูลนิธิพุทธโฆษณ์ นั่นคือเป็นมูลนิธิแห่งมหาชน ชาวพุทธ ซึง่ ชัดเจน และมัน่ คงในพุทธวจน
ผู้ที่สนใจรับสื่อธรรมที่เป็นพุทธวจน เพื่อไปใช้ศึกษาส่วนตัว หรือน�าไปแจกเป็นธรรมทาน แก่พ่อแม่พี่น้อง ญาติ หรือเพื่อน สามารถมารับได้ฟรี ที่วัดนาปาพง หรือตามที่พระอาจารย์คึกฤทธิ์ได้รับนิมนต์ไปแสดงธรรมนอกสถานที่ ส�าหรับรายละเอียดกิจธรรมต่างๆ ภายใต้เครือข่ายพุทธวจนโดยวัดนาปาพง ค้นหา ข้อมูลได้จาก www.buddhakos.org หรือ www.watnapp.com หากมีความจ�านงที่จะรับไปแจกเป็นธรรมทานในจ�านวนหลายสิบชุด ขอความกรุณาแจ้งความจ�านงได้ที่ มูลนิธิพุทธโฆษณ์ ประสานงานและเผยแผ่ : เลขที่ ๒๙/๓ หมู่ที่ ๗ ถนนเลียบคลอง ๑๐ ฝั่งตะวันออก ต�าบลบึงทองหลาง อ�าเภอล�าลูกกา จังหวัดปทุมธานี ๑๒๑๕๐ โทรศัพท์ ๐๘ ๒๒๒๒ ๕๗๙๐-๙๔, ๐๘ ๕๐๕๘ ๖๘๘๘, ๐๘ ๑๕๑๓ ๑๖๑๑ โทรสาร ๐ ๒๑๕๙ ๐๕๒๕-๖ เว็บไซต์ : www.buddhakos.org อีเมล์ : buddhakos@hotmail.com สนับสนุนการเผยแผ่พุทธวจนได้ที่ ชือ่ บัญชี “มูลนิธพิ ทุ ธโฆษณ์” ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขา คลอง ๑๐ (ธัญบุร)ี ประเภท บัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี ๓๑๘-๒-๔๗๔๖๑-๐
ขอกราบขอบพระคุณแด่
พระอาจารย์คกึ ฤทธิ์ โสตฺถผิ โล และคณะสงฆ์วดั นาป่าพง ที่กรุณาให้ค�าปรึกษาในการจัดท�าหนังสือเล่มนี้
ติดตามการเผยแผ่พระธรรมค�าสอนตามหลักพุทธวจน โดย พระอาจารย์คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล ได้ที่
เว็บไซต์ • • • • • • • • • • •
http://www.watnapp.com : หนังสือ และสื่อธรรมะ บนอินเทอร์เน็ต http://media.watnapahpong.org : ศูนย์บริการมัลติมีเดียวัดนาปาพง http://www.buddha-net.com : เครือข่ายพุทธวจน http://etipitaka.com : โปรแกรมตรวจหาและเทียบเคียงพุทธวจน http://www.watnapahpong.com : เว็บไซต์วัดนาปาพง http://www.buddhakos.org : มูลนิธิพุทธโฆษณ์ http://www.buddhawajanafund.org : มูลนิธิพุทธวจน http://www.ratana5.com : พุทธวจนสมาคม http://www.buddhawajana-training.com : ศูนย์ปฏิบัติพุทธวจน http://www.buddhawaj.org : ฐานข้อมูลพระสูตรออนไลน์, เสียงอ่านพุทธวจน http://www.buddhaoat.org : กลุ่มผู้สนับสนุนการเผยแผ่พุทธวจน
ดาวน์โหลดโปรแกรมตรวจหาและเทียบเคียงพุทธวจน (E-Tipitaka) ส�าหรับคอมพิวเตอร์
• ระบบปฏิบัติการ Windows, Macintosh, Linux http://etipitaka.com/download หรือ รับแผ่นโปรแกรมได้ที่วัดนาปาพง
ส�าหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่และแท็บเล็ต
• ระบบปฏิบัติการ Android ดาวน์โหลดได้ที่ Play Store โดยพิมพ์ค�าว่า พุทธวจน หรือ e-tipitaka • ระบบปฏิบัติการ iOS (ส�าหรับ iPad, iPhone, iPod) ดาวน์โหลดได้ที่ App Store โดยพิมพ์ค�าว่า พุทธวจน หรือ e-tipitaka
ดาวน์โหลดโปรแกรมพุทธวจน (Buddhawajana) เฉพาะส�าหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่และแท็บเล็ต
• ระบบปฏิบัติการ Android ดาวน์โหลดได้ที่ Google Play Store โดยพิมพ์ค�าว่า พุทธวจน หรือ buddhawajana • ระบบปฏิบัติการ iOS (ส�าหรับ iPad, iPhone, iPod) ดาวน์โหลดได้ที่ App Store โดยพิมพ์ค�าว่า พุทธวจน หรือ buddhawajana
วิทยุ
• คลื่น ส.ว.พ. FM ๙๑.๐ MHz ทุกวันพระ เวลา ๑๗.๔๐ น.
บรรณานุกรม พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ (บาลีสยามรัฐ) พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับหลวง (ไทยสยามรัฐ) หนังสือธรรมโฆษณ์ ชุดจากพระโอษฐ์
(ผลงานแปลพุทธวจน โดยท่านพุทธทาสภิกขุในนามกองต�าราคณะธรรมทาน)
ร่วมสนับสนุนการจัดท�าโดย คณะงานธัมมะ วัดนาปาพง (กลุม่ อาสาสมัครพุทธวจนหมวดธรรม), คณะศิษย์วดั นาปาพง, กลุ่มศิษย์ตถาคต, กลุ่มสมณะศากยะปุตติยะ, กลุ่มธรรมะสีขาว, กลุ่มพุทธบริษัทศากยบุตร, กลุ่มพุทธโอษฐ์, กลุ่มชวนม่วนธรรม, กลุ่มละนันทิ, กลุ่มพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินบริษัทการบินไทย, กลุ่มมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช ส�านักงานการศึกษาต่อเนื่อง, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (องครักษ์) ชมรมวิศวกรความรู้เพื่อสังคม, ชมรมพุทธวจนอุดรธานี, ชมรมธรรมปรีดา, ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ส�านักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี, บจก. สยามคูโบต้า คอร์ปอเรชั่น, บจก. ดาต้าโปรดักส์, บจก. 3M ประเทศไทย, บจก. บางไทรไฟเบอร์บอร์ด, บจก. เอ็นอีซี โทคิน อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย), บจก. สยามรักษ์, บจก. เซเว่นสเต็ปส์, บจก. เมคเทค, บจก. ไดเวอร์ส เคมีคอลส์, บจก. ห้างพระจันทร์โอสถ, บจก.สมสุข สหภัทรสตีลล์, บจก.ทองแป้น, บจก. สมาย คอนเทนเนอร์ อุตสาหกรรม, บจก. อี.ซี.ที. ซิสเต็ม, บจก. อี.ซี.ที. เอ็นจิเนียริง่ , บจก. อี.ซี.ที. ซัพพลาย, บจก. อี.ซี.ที อินเตอร์เนชั่นแนล, บจก. อี.ซี.ที. โปรเฟสชั่นแนล, บจก. คอร์โดมา อินเตอร์เนชั่นแนล, บมจ. ณุศาศิริ, หจก. อินเตอร์ คิด, สถานกายภาพบ�าบัด คิดดีคลินิค, ร้านต้นมะขามช่างทอง, ร้านเสบียงบุญ, บ้านเมตตาเรสซิเด้นท์, บ้านพุทธวัจน์
ลงสะพานคลอง ๑๐ ไปยูเทิร์นแรกมา แล้วเลี้ยวซ้ายก่อนขึ้นสะพาน
ลงสะพานคลอง ๑๐ เลี้ยวซ้ายคอสะพาน
โทรศัพท์ ๐๘ ๑๕๑๓ ๑๖๑๑, ๐๘ ๔๐๙๖ ๘๔๓๐, ๐๘ ๒๒๒๒ ๕๗๙๐-๔, ๐๘ ๖๕๕๒ ๒๔๕๙
แนวทิวสน วัดนาป่าพง
แผนที่วัดนาป่าพง
๑๐
พระสูตรของความส�าคัญ ทีช่ าวพุทธต้องศึกษา แต่คา� สอนจากพระพุทธเจ้า เท่านัน้
ผ่านมา ๒,๕๐๐ กว่าปี ค�าสอนทางพระพุทธศาสนาเกิดความหลากหลายมากขึน้ มีสา� นักต่างๆ มากมาย ซึง่ แต่ละหมูค่ ณะก็มคี วามเห็นของตน หามาตรฐานไม่ได้ แม้จะกล่าวในเรือ่ งเดียวกัน ทัง้ นีไ้ ม่ใช่เพราะค�าสอนของพระพุทธเจ้าไม่สมบูรณ์ แล้วเราควรเชือ่ และปฏิบตั ติ ามใคร ? ลองพิจารณาหาค�าตอบง่ายๆ ได้จาก ๑๐ พระสูตร ซึง่ พระตถาคตทรงเตือนเอาไว้ แล้วตรัสบอกวิธปี อ้ งกันและแก้ไขเหตุเสือ่ มแห่งธรรมเหล่านี.้ ขอเชิญมาตอบตัวเองกันเถอะว่า ถึงเวลาแล้วหรือยัง ? ทีพ่ ทุ ธบริษทั จะมีมาตรฐานเพียงหนึง่ เดียว คือ “พุทธวจน” ธรรมวินยั จากองค์พระสังฆบิดาอันวิญญูชนพึงปฏิบตั แิ ละรูต้ ามได้เฉพาะตน ดังนี.้ ๑. พระองค์ทรงสามารถก�าหนดสมาธิ เมือ่ จะพูด ทุกถ้อยค�าจึงไม่ผดิ พลาด -บาลี มู. ม. ๑๒/๔๕๘/๔๓๐.
อัคคิเวสนะ ! เรานัน้ หรือ จ�าเดิมแต่เริม่ แสดง กระทัง่ ค�าสุดท้ายแห่ง การกล่าวเรือ่ งนัน้ ๆ ย่อมตัง้ ไว้ซงึ่ จิตในสมาธินมิ ติ อันเป็นภายในโดยแท้ ให้จติ ด�ารงอยู ่ ให้จติ ตัง้ มัน่ อยู ่ กระท�าให้มจี ติ เป็นเอก ดังเช่นทีค่ นทัง้ หลาย เคยได้ยนิ ว่าเรากระท�าอยูเ่ ป็นประจ�า ดังนี.้
๒. แต่ละค�าพูดเป็นอกาลิโก คือ ถูกต้องตรงจริงไม่จา� กัดกาลเวลา -บาลี มู. ม. ๑๒/๔๘๕/๔๕๑.
ภิกษุทั้งหลาย ! พวกเธอทัง้ หลายเป็นผูท้ เี่ ราน�าไปแล้วด้วยธรรมนี้ อันเป็นธรรมทีบ่ คุ คลจะพึงเห็นได้ดว้ ยตนเอง (สนฺทฏิ ิโก) เป็นธรรมให้ ผลไม่จา� กัดกาล (อกาลิโก) เป็นธรรมทีค่ วรเรียกกันมาดู (เอหิปสฺสโิ ก) ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว (โอปนยิโก) อันวิญญูชนจะพึงรู้ได้เฉพาะตน (ปจฺจตฺต� เวทิตพฺโพ วิญญ ฺ หู )ิ . ๓. คา� พูดทีพ่ ดู มาทัง้ หมดนับแต่วนั ตรัสรูน้ นั้ สอดรับไม่ขดั แย้งกัน -บาลี อิติวุ. ขุ. ๒๕/๓๒๑/๒๙๓.
ภิกษุทั้งหลาย ! นับตั้งแต่ราตรี ที่ตถาคตได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ จนกระทั่งถึงราตรีที่ตถาคตปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสส นิพพานธาตุ ตลอดเวลาระหว่างนั้น ตถาคตได้กล่าวสอน พร�่าสอน แสดงออก ซึง่ ถ้อยค�าใด ถ้อยค�าเหล่านัน้ ทัง้ หมด ย่อมเข้ากันได้โดย ประการเดียวทัง้ สิน้ ไม่แย้งกันเป็นประการอืน่ เลย. วยกลองศึก อ๔. ทรงบอกเหตุแห่งความอันตรธานของค�าสอนเปรี-บาลียบด้ นิทาน. สํ. ๑๖/๓๑๑/๖๗๒-๓. ภิกษุทงั้ หลาย ! เรือ่ งนีเ้ คยมีมาแล้ว กลองศึกของกษัตริยพ์ วกทสารหะ เรียกว่า อานกะ มีอยู่ เมือ่ กลองอานกะนี้ มีแผลแตกหรือลิ พวกกษัตริย์ ทสารหะได้หาเนือ้ ไม้อนื่ ท�าเป็นลิม่ เสริมลงในรอยแตกของกลองนัน้ (ทุก คราวไป). ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อเชื่อมปะเข้าหลายครั้งหลายคราวเช่นนั้น นานเข้าก็ถงึ สมัยหนึง่ ซึง่ เนือ้ ไม้เดิมของตัวกลองหมดสิน้ ไป เหลืออยูแ่ ต่ เนือ้ ไม้ทที่ า� เสริมเข้าใหม่เท่านัน้ . ภิกษุทงั้ หลาย ! ฉันใดก็ฉนั นัน้ ในกาลยืดยาวฝ่ายอนาคต จักมีภกิ ษุ ทัง้ หลาย สุตตันตะเหล่าใด ทีเ่ ป็นค�าของตถาคต เป็นข้อความลึก มีความหมายซึง้ เป็นชัน้ โลกุตตระ ว่าเฉพาะด้วยเรือ่ งสุญญตา เมือ่ มีผนู้ า� สุตตันตะเหล่านัน้
มากล่าวอยู่ เธอจักไม่ฟังด้วยดี จักไม่เงี่ยหูฟัง จักไม่ตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และจักไม่สา� คัญว่าเป็นสิง่ ทีต่ นควรศึกษาเล่าเรียน ส่วนสุตตันตะเหล่าใดที่ นักกวีแต่งขึน้ ใหม่ เป็นค�าร้อยกรองประเภทกาพย์กลอน มีอกั ษรสละสลวย มีพยัญชนะอันวิจติ ร เป็นเรือ่ งนอกแนว เป็นค�ากล่าวของสาวก เมือ่ มีผนู้ า� สุตตันตะที่นักกวีแต่งขึ้นใหม่เหล่านั้นมากล่าวอยู่ เธอจักฟังด้วยดี จัก เงีย่ หูฟงั จักตัง้ จิต เพือ่ จะรูท้ วั่ ถึง และจักส�าคัญว่าเป็นสิง่ ทีต่ นควรศึกษา เล่าเรียนไป. ภิกษุทงั้ หลาย ! ความอันตรธานของสุตตันตะเหล่านัน้ ทีเ่ ป็นค�าของ ตถาคต เป็นข้อความลึก มีความหมายซึง้ เป็นชัน้ โลกุตตระ ว่าเฉพาะด้วย เรือ่ งสุญญตา จักมีได้ดว้ ยอาการอย่างนี้ แล. ๕. ทรงก�าชับให้ศึกษาปฏิบัติเฉพาะจากค�าของพระองค์เท่านั้น อย่าฟังคนอื่น -บาลี ทุก. อํ. ๒๐/๙๑-๙๒/๒๙๒.
ภิกษุทงั้ หลาย ! พวกภิกษุบริษทั ในกรณีนี้ สุตตันตะเหล่าใด ทีก่ วี แต่งขึน้ ใหม่ เป็นค�าร้อยกรองประเภทกาพย์กลอน มีอกั ษรสละสลวย มี พยัญชนะอันวิจติ ร เป็นเรือ่ งนอกแนว เป็นค�ากล่าวของสาวก เมือ่ มีผนู้ า� สุตตันตะเหล่านัน้ มากล่าวอยู่ เธอจักไม่ฟงั ด้วยดี ไม่เงีย่ หูฟงั ไม่ตงั้ จิตเพือ่ จะรูท้ วั่ ถึง และจักไม่สา� คัญว่าเป็นสิง่ ทีต่ นควรศึกษาเล่าเรียน. ภิกษุทงั้ หลาย ! ส่วนสุตตันตะเหล่าใด ทีเ่ ป็นค�าของตถาคต เป็น ข้อความลึก มีความหมายซึง้ เป็นชัน้ โลกุตตระ ว่าเฉพาะด้วยเรือ่ งสุญญตา เมือ่ มีผนู้ า� สุตตันตะเหล่านัน้ มากล่าวอยู่ เธอย่อมฟังด้วยดี ย่อมเงีย่ หูฟงั ย่อมตัง้ จิตเพือ่ จะรูท้ วั่ ถึง และย่อมส�าคัญว่าเป็นสิง่ ทีต่ นควรศึกษาเล่าเรียน จึงพากันเล่าเรียน ไต่ถาม ทวนถามแก่กนั และกันอยูว่ า่ “ข้อนีเ้ ป็นอย่างไร มีความหมายกีน่ ยั ” ดังนี้ ด้วยการท�าดังนี้ เธอย่อมเปิดธรรมทีถ่ กู ปิดไว้ได้ ธรรมทีย่ งั ไม่ปรากฏ เธอก็ทา� ให้ปรากฏได้ ความสงสัยในธรรมหลายประการ ทีน่ า่ สงสัย เธอก็บรรเทาลงได้.
ภิกษุทงั้ หลาย ! บริษทั ชือ่ อุกกาจิตวินตี า ปริสา โน ปฏิปจุ ฉาวินตี า เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุทงั้ หลาย ! ในกรณีนคี้ อื ภิกษุทงั้ หลายในบริษทั ใด เมือ่ สุตตันตะ ทัง้ หลาย อันเป็นตถาคตภาษิต (ตถาคตภาสิตา) อันลึกซึง้ (คมฺภรี า) มี อรรถอันลึกซึ้ง (คมฺภีรตฺถา) เป็นโลกุตตระ (โลกุตฺตรา) ประกอบด้วย เรือ่ งสุญญตา (สุญญ ฺ ตปฏิสย� ตุ ตฺ า) อันบุคคลน�ามากล่าวอยู่ ก็ไม่ฟงั ด้วยดี ไม่เงีย่ หูฟงั ไม่เข้าไปตัง้ จิตเพือ่ จะรูท้ วั่ ถึง และไม่สา� คัญว่าเป็นสิง่ ทีต่ นควร ศึกษาเล่าเรียน. ส่วนสุตตันตะเหล่าใด ทีก่ วีแต่งขึน้ ใหม่ เป็นค�าร้อยกรองประเภท กาพย์กลอน มีอกั ษรสละสลวย มีพยัญชนะอันวิจติ ร เป็นเรือ่ งนอกแนว เป็นค�ากล่าวของสาวก เมือ่ มีผนู้ า� สุตตันตะเหล่านีม้ ากล่าวอยู่ พวกเธอย่อมฟังด้วยดี เงีย่ หูฟงั ตัง้ จิตเพือ่ จะรูท้ วั่ ถึง และส�าคัญไป ว่าเป็นสิง่ ทีต่ นควรศึกษาเล่าเรียน พวกเธอเล่าเรียนธรรมอันกวีแต่งใหม่ นั้นแล้ว ก็ไม่สอบถามซึ่งกันและกัน ไม่ท�าให้เปิดเผยแจ่มแจ้งออกมาว่า ข้อนีพ้ ยัญชนะเป็นอย่างไร อรรถเป็นอย่างไร ดังนี้ เธอเหล่านัน้ เปิดเผย สิง่ ทีย่ งั ไม่เปิดเผยไม่ได้ ไม่หงายของทีค่ ว�า่ อยูใ่ ห้หงายขึน้ ได้ ไม่บรรเทา ความสงสัยในธรรมทัง้ หลายอันเป็นทีต่ งั้ แห่งความสงสัยมีอย่างต่างๆ ได้. ภิกษุทงั้ หลาย ! นีเ้ ราเรียกว่า อุกกาจิตวินตี า ปริสา โน ปฏิปจุ ฉาวินตี า. ภิกษุทงั้ หลาย ! บริษทั ชือ่ ปฏิปจุ ฉาวินตี า ปริสา โน อุกกาจิตวินตี า เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุทงั้ หลาย ! ในกรณีนคี้ อื ภิกษุทงั้ หลายในบริษทั ใด เมือ่ สุตตันตะ ทัง้ หลาย ทีก่ วีแต่งขึน้ ใหม่ เป็นค�าร้อยกรองประเภทกาพย์กลอน มีอกั ษร สละสลวย มีพยัญชนะอันวิจติ ร เป็นเรือ่ งนอกแนว เป็นค�ากล่าวของสาวก อันบุคคลน�ามากล่าวอยู่ ก็ไม่ฟงั ด้วยดี ไม่เงีย่ หูฟงั ไม่เข้าไปตัง้ จิตเพือ่ จะ รูท้ วั่ ถึง และไม่สา� คัญว่าเป็นสิง่ ทีต่ นควรศึกษาเล่าเรียน ส่วน สุตตันตะ เหล่าใด อันเป็นตถาคตภาษิต อันลึกซึง้ มีอรรถอันลึกซึง้ เป็นโลกุตตระ ประกอบด้วยเรือ่ งสุญญตา เมือ่ มีผนู้ า� สุตตันตะเหล่านี ้ มากล่าวอยู ่ พวก
เธอย่อมฟังด้วยดี ย่อมเงีย่ หูฟงั ย่อมเข้าไปตัง้ จิตเพือ่ จะรูท้ วั่ ถึง และ ย่อมส�าคัญว่าเป็นสิง่ ทีค่ วรศึกษาเล่าเรียน พวกเธอเล่าเรียนธรรมทีเ่ ป็น ตถาคตภาษิตนัน้ แล้ว ก็สอบถามซึง่ กันและกัน ท�าให้เปิดเผยแจ่มแจ้งออก มาว่า ข้อนีพ้ ยัญชนะเป็นอย่างไร อรรถะเป็นอย่างไร ดังนี้ เธอเหล่านัน้ เปิดเผยสิง่ ทีย่ งั ไม่เปิดเผยได้ หงายของทีค่ ว�า่ อยูใ่ ห้หงายขึน้ ได้ บรรเทา ความสงสัยในธรรมทัง้ หลายอันเป็นทีต่ งั้ แห่งความสงสัยมีอย่างต่างๆ ได้. ภิกษุทงั้ หลาย ! นีเ้ ราเรียกว่า ปฏิปจุ ฉาวินตี า ปริสา โน อุกกาจิตวินตี า. ภิกษุทงั้ หลาย ! เหล่านีแ้ ลบริษทั ๒ จ�าพวกนัน้ . ภิกษุทงั้ หลาย ! บริษทั ทีเ่ ลิศในบรรดาบริษทั ทัง้ สองพวกนัน้ คือ บริษทั ปฏิปจุ ฉาวินตี า ปริสา โน อุกกาจิตวินตี า (บริษทั ทีอ่ าศัยการสอบสวนทบทวนกันเอาเอง เป็นเครือ่ งน�าไป ไม่อาศัยความเชือ่ จากบุคคลภายนอกเป็นเครือ่ งน�าไป) แล. ๖. ทรงห้ามบัญญัติเพิ่มหรือตัดทอนสิ่งที่บัญญัติไว้ -บาลี มหา. ที. ๑๐/๙๐/๗๐.
ภิกษุทงั้ หลาย ! ภิกษุทงั้ หลาย จักไม่บญ ั ญัตสิ งิ่ ทีไ่ ม่เคยบัญญัต ิ จัก ไม่เพิกถอนสิง่ ทีบ่ ญ ั ญัตไิ ว้แล้ว จักสมาทานศึกษาในสิกขาบททีบ่ ญ ั ญัตไิ ว้ แล้วอย่างเคร่งครัด อยูเ่ พียงใด ความเจริญก็เป็นสิง่ ทีภ่ กิ ษุทงั้ หลายหวังได้ ไม่มคี วามเสือ่ มเลย อยูเ่ พียงนัน้ . ๗. ส�านึกเสมอว่าตนเองเป็นเพียงผู้เดินตามพระองค์เท่านั้น ถึงแม้จะเป็นอรหันต์ผู้เลิศทางปัญญาก็ตาม -บาลี ขนฺธ. สํ. ๑๗/๘๒/๑๒๖.
ภิกษุทงั้ หลาย ! ตถาคตผูอ้ รหันตสัมมาสัมพุทธะ ได้ทา� มรรคทีย่ งั ไม่เกิดให้เกิดขึน้ ได้ทา� มรรคทีย่ งั ไม่มใี ครรูใ้ ห้มคี นรู้ ได้ทา� มรรคทีย่ งั ไม่มี ใครกล่าวให้เป็นมรรคทีก่ ล่าวกันแล้ว ตถาคตเป็นผูร้ มู้ รรค (มคฺคญฺญ)ู เป็น ผูร้ แู้ จ้งมรรค (มคฺควิท)ู เป็นผูฉ้ ลาดในมรรค (มคฺคโกวิโท). ภิกษุทั้งหลาย ! ส่วนสาวกทัง้ หลายในกาลนี ้ เป็นผูเ้ ดินตามมรรค (มคฺคานุคา) เป็นผูต้ ามมา ในภายหลัง.
ภิกษุทงั้ หลาย ! นีแ้ ล เป็นความผิดแผกแตกต่างกัน เป็นความมุง่ หมาย ทีแ่ ตกต่างกัน เป็นเครือ่ งกระท�าให้แตกต่างกัน ระหว่างตถาคตผูอ้ รหันตสัมมาสัมพุทธะ กับภิกษุผู้ปัญญาวิมุตติ. ๘. ตรัสไว้ว่าให้ทรงจ�าบทพยัญชนะและค�าอธิบายอย่างถูกต้อง พร้อมขยันถ่ายทอดบอกสอนกันต่อไป -บาลี จตุกฺก. อํ. ๒๑/๑๙๗/๑๖๐.
ภิกษุทงั้ หลาย ! พวกภิกษุในธรรมวินยั นี ้ เล่าเรียนสูตรอันถือกัน มาถูก ด้วยบทพยัญชนะทีใ่ ช้กนั ถูก ความหมายแห่งบทพยัญชนะทีใ่ ช้กนั ก็ถกู ย่อมมีนยั อันถูกต้องเช่นนัน้ . ภิกษุทงั้ หลาย ! นีเ่ ป็น มูลกรณีทหี่ นึง่ ซึง่ ท�าให้พระสัทธรรมตัง้ อยูไ่ ด้ไม่เลอะเลือนจนเสือ่ มสูญไป... ภิกษุทงั้ หลาย ! พวกภิกษุเหล่าใด เป็นพหุสตู คล่องแคล่ว ในหลัก พระพุทธวจน ทรงธรรม ทรงวินยั ทรงมาติกา (แม่บท) พวกภิกษุเหล่านัน้ เอาใจใส่ บอกสอน เนือ้ ความแห่งสูตรทัง้ หลายแก่คนอืน่ ๆ เมือ่ ท่านเหล่านัน้ ล่วงลับไป สูตรทัง้ หลาย ก็ไม่ขาดผูเ้ ป็นมูลราก (อาจารย์) มีทอี่ าศัยสืบกันไป. ภิกษุทั้งหลาย ! นี่เป็น มูลกรณีที่สาม ซึ่งท�าให้พระสัทธรรมตั้งอยู่ได้ ไม่เลอะเลือนจนเสือ่ มสูญไป... *** ในที่นี้ยกมา ๒ นัยยะ จาก ๔ นัยยะ ของมูลเหตุสี่ประการ ที่ท�าให้พระสัทธรรมตั้งอยู่ได้ ไม่เลอะเลือนจนเสื่อมสูญไป
๙. ทรงบอกวิธีแก้ไขความผิดเพี้ยนในค�าสอน -บาลี มหา. ที. ๑๐/๑๔๔/๑๑๓-๖.
๑. (หากมี) ภิกษุในธรรมวินยั นีก้ ล่าวอย่างนีว้ า่ ผูม้ อี ายุ ! ข้าพเจ้า ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์พระผูม้ พี ระภาคว่า “นีเ้ ป็นธรรม นีเ้ ป็นวินยั นีเ้ ป็นค�าสอนของพระศาสดา”... ๒. (หากมี) ภิกษุในธรรมวินยั นีก้ ล่าวอย่างนีว้ า่ ในอาวาสชือ่ โน้นมี สงฆ์อยูพ่ ร้อมด้วยพระเถระ พร้อมด้วยปาโมกข์ ข้าพเจ้าได้สดับมาเฉพาะ หน้าสงฆ์นนั้ ว่า “นีเ้ ป็นธรรม นีเ้ ป็นวินยั นีเ้ ป็นค�าสอนของพระศาสดา”...
๓. (หากมี) ภิกษุในธรรมวินยั นีก้ ล่าวอย่างนีว้ า่ ในอาวาสชือ่ โน้นมี ภิกษุผเู้ ป็นเถระอยูจ่ า� นวนมาก เป็นพหุสตู เรียนคัมภีร์ ทรงธรรม ทรงวินยั ทรงมาติกา ข้าพเจ้าได้สดับมาเฉพาะหน้าพระเถระเหล่านัน้ ว่า “นีเ้ ป็นธรรม นีเ้ ป็นวินยั นีเ้ ป็นค�าสอนของพระศาสดา”... ๔. (หากมี) ภิกษุในธรรมวินยั นีก้ ล่าวอย่างนีว้ า่ ในอาวาสชือ่ โน้นมี ภิกษุผเู้ ป็นเถระอยูร่ ปู หนึง่ เป็นพหุสตู เรียนคัมภีร์ ทรงธรรม ทรงวินยั ทรงมาติกา ข้าพเจ้าได้สดับมาเฉพาะหน้าพระเถระรูปนัน้ ว่า “นีเ้ ป็นธรรม นีเ้ ป็นวินยั นีเ้ ป็นค�าสอนของพระศาสดา”... เธอทัง้ หลายยังไม่พงึ ชืน่ ชม ยังไม่พงึ คัดค้านค�ากล่าวของผูน้ นั้ พึงเรียน บทและพยัญชนะเหล่านัน้ ให้ดี แล้วพึงสอบสวนลงในพระสูตร เทียบเคียง ดูในวินยั ถ้าบทและพยัญชนะเหล่านั้น สอบลงในสูตรก็ไม่ได้ เทียบเข้าใน วินัยก็ไม่ได้ พึงลงสันนิษฐานว่า “นี้มิใช่พระด�ารัสของพระผู้มีพระภาค พระองค์นนั้ แน่นอน และภิกษุนรี้ บั มาผิด” เธอทัง้ หลาย พึงทิง้ ค�านัน้ เสีย ถ้าบทและพยัญชนะเหล่านัน้ สอบลงในสูตรก็ได้ เทียบเข้าในวินยั ก็ได้ พึงลงสันนิษฐานว่า “นีเ้ ป็นพระด�ารัส ของพระผูม้ พี ระภาคพระองค์นนั้ แน่นอน และภิกษุนนั้ รับมาด้วยดี” เธอทัง้ หลาย พึงจ�ามหาปเทส... นีไ้ ว้. ๑๐. ทรงตรัสแก่พระอานนท์ ให้ใช้ธรรมวินัยที่ตรัสไว้เป็นศาสดาแทนต่อไป -บาลี มหา. ที. ๑๐/๑๗๘/๑๔๑. -บาลี ม. ม. ๑๓/๔๒๗/๔๖๓. -บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๒๑๗/๗๔๐.
อานนท์ ! ความคิดอาจมีแก่พวกเธออย่างนี้ว่า ‘ธรรมวินัยของ พวกเรามีพระศาสดาล่วงลับไปเสียแล้ว พวกเราไม่มีพระศาสดา’ ดังนี้. อานนท์ ! พวกเธออย่าคิดอย่างนั้น. อานนท์ ! ธรรมก็ดี วินัยก็ดี ที่เรา แสดงแล้ว บัญญัติแล้ว แก่พวกเธอทั้งหลาย ธรรมวินัยนั้น จักเป็น ศาสดาของพวกเธอทั้งหลาย โดยกาลล่วงไปแห่งเรา.
อานนท์ ! ในกาลบัดนีก้ ด็ ี ในกาลล่วงไปแห่งเราก็ดี ใครก็ตาม จัก ต้องมีตนเป็นประทีป มีตนเป็นสรณะ ไม่เอาสิง่ อืน่ เป็นสรณะ มีธรรมเป็น ประทีป มีธรรมเป็นสรณะ ไม่เอาสิ่งอื่นเป็นสรณะ เป็นอยู่. อานนท์ ! ภิกษุพวกใด เป็นผู้ใคร่ในสิกขา ภิกษุพวกนั้น จักเป็นผู้อยู่ในสถานะ อันเลิศที่สุดแล. อานนท์ ! ความขาดสูญแห่งกัลยาณวัตรนี้ มีในยุคแห่งบุรุษใด บุรุษนั้นชื่อว่า เป็นบุรุษคนสุดท้ายแห่งบุรุษทั้งหลาย... เราขอกล่าวย�้ากะ เธอว่า... เธอทั้งหลายอย่าเป็นบุรุษคนสุดท้ายของเราเลย.
เธอทั้งหลายอย่าเป็น บุรุษคนสุดท้าย ของเราเลย -บาลี ม. ม. ๑๓/๔๒๗/๔๖๓.
¨n° µ ¹È  À ¨° oª¥ ¸ oª¥ ªµ¤¿®Æ
9Sþ*BTDb;`GRBTD;O$ MT- O*GCCVc6 CWI*$EO<OS;L;V9 CW<T;=ER7[ `GRM; T7 T*OS;= 6L;V96W b;_EĐO;DO6;Sþ; CW<SGGS*$ OS;GT66 ID> Ta$_-TI %;DTI GT66 ID_'EĐĕO*GT69lT6 ID%;`$RLW%TI GT66 ID%;_+WDC_= ;`> ;9X< CW_'EĐOĕ *GT6OD T*6W9Tl 6 IDM;S*-RC6 CW_@6T;$Sþ;b;_<YhO*<; CWMCO;`6*IT* 5 % T*9Sþ*LO*
¿ °¤¸ ·®¨ ¨º¤ ¿¤ºÇ° ¦³ ̵ µ¨³ ¥n°¤¿ oµ ¹ ¿ ¡ · µ¥®¤¼n ®¤¼n® ¹Ç
µ ¥µ¥ ¦¦¤ µ ¥µ¥ ¦¦¤
ïìĒĀŠÜíøøöìĆĚÜĀúć÷ ÷ŠĂöðøćÖäĒÖŠđíĂ ñĎšöĊÙüćöÿč×ĔîõóîĆĚî
ÿćøĊïčêø b đðøĊ÷ïđĀöČĂîLERa<$%E5W CW;Tlh OS;_Df; bLLROT6 CW9T OS;6W ; TEĐ;ĕ ECD
`GRb;9WgcC c$GLERa<$%E5W;Sþ; CW`;I= TOS;9X<
· ´ ¿ · ¹È oµ À n´ ªr ´È ¥n°¤¿ } ¼o ¦¦¨» » ª·¿«¬¿¦Æª¡¨´
úĞćéĆïîĆĚî ïčøčþñĎšöĊêĆüĂĆîÙüćöøšĂîĒñéđñć đĀîĘéđĀîČęĂ÷ Āĉü øąĀć÷ öčŠÜöćÿĎŠìĊęîĆĚîė ēé÷öøøÙćÿć÷đéĊ÷ü ïčøčþñĎšöĊÝĆÖþčđĀĘîđ×ćĒúšü óċÜÖúŠćüĂ÷ŠćÜîĊĚüŠć ĶïčøčþñĎšđÝøĉâîĊĚ ðäĉïĆêĉĂ÷ŠćÜîĆĚî éĞćđîĉîĂ÷ŠćÜîĆĚî Ēúą×ċĚîÿĎŠĀîìćÜîĆĚî ÝĆÖöćëċÜìĊęîĆĚîė ìĊđéĊ÷üķ
čæò÷ĀíæŞ ěĤ ĝĤĜĝ ĞġĠĢ ěĤ ĝĤĜĝ ĞĢĝĜ ěĤ ĝĤĜĝ ĞğĢĜ
ùûā ùĘ Ĝģ ĞĢĢ ĠģĤ éāôĄ éāôĄ ùûā ùĘ Ĝģ ĞĢĢ ĠģĤ
µ ¥µ¥ ¦¦¤ ÑśüðĈôçòòðÿèĄ Ĕ ×ĀüēãêòÿčñÙèŞ æĘāċíĆüē êòÿčñÙèŞ æāÖÐāò÷ą øāùĈùŚ āçāòâÙèċêŢ èçòòðæāè ôă ÑùăæèØéĀ çăĎė èäś ďĔ ãśòéĀ ÐāòùÖöèďöś ďðŚùæÖöèùă æçăĎė èÐāò×Ā ãæĘā×āÐ ÑśüðĈôçòòðÿèĄ Ĕ ×ĀãæĘāċíĆ æāÖÐāò÷ą ÐøāùĈùŚ ÐāçāòâÙèċêŢ èçòòðæāè ôă ÑùăæçăĎė èäś éèĄèďĔ ØéĀ ãśòéĀ èĄÐāòùÖöèďöś ďðŚùÖöèùă çăĎė èÐāò×Ā ãæĘā×āÐ éċíĆüē ċëñČëŚ ĎèæćÐ ĎèÐāò×Ā Ðò⥠ĎèÐāò×Ā āúòĆüċëñČëŚ ÓöāðôÿċüĄ ñãòüéÓüéċíĆ üē òĀÐøāÓöāðåĈ ÐäśüüÖÑüÖÑś üðĈāôêòą ÑüÓĘ āêòąāÐèÑś øāãś äśèØéĀäśéèċíĆØéĀ üē ċëñČëŚ ĎèæćÐÐò⥠ãæĘāúòĆãüæĘċëñČëŚ čêòãĎÙś čêòãĎÙś ÓöāðôÿċüĄ ñãòüéÓüéċíĆ üē òĀÐøāÓöāðåĈ ÐäśüÖÑüÖÑś ðĈô ÑüÓĘ Ðøāãś üðĈāôèÑśüðĈô èăçíă æć çčÕø⪠čæò ěģ ĝĝĝĝ ĠĢĤě - Ĥğ íć æçö×èùðāÓð čæò ěģ ĜġğĢ ġěĞġ āċíĆüē ÓöāðùÿãöÐČôÿêòÿúñĀ ôèăæç ēĄ íă ðĈæć ôçčÕø⪠čæò ěģ ĝĝĝĝ ĠĢĤě - Ĥğ íć æçö×èùðāÓð čæò ěģ ĜġğĢ ġěĞġ ĎèÐāò×ĀĎèÐāò×Ā ãæĘāċíĆãüē æĘÓöāðùÿãöÐČôÿêòÿúñĀ ã äăãäŚãü äă ďãśãæäŚ ēĄ ðĈüďãś
çăíćæçö×è čæò ěģ ĜğĠĢ ĝĞĠĝ Óć â÷òÙā čæò ěģ ĜĠĜĞ ĜġĜĜ Óć üāòĄöòòâ čæò ěģ ĠěĠģ ġģģģ ðĈôèăçăíðĈćæôèăçö×è čæò ěģ ĜğĠĢ ĝĞĠĝ Óć â÷òÙā čæò ěģ ĜĠĜĞ ĜġĜĜ Óć âüāòĄöâòòâ čæò ěģ ĠěĠģ ġģģģ éëĈäś üś ÖÐāòêÞă éäĀ çă òòòð äă äĀ íă æć çö×è #VEEIBXBKBOB 5SBJOJOH $FOUFS ùĘāúòĀéùĘëĈāäś úòĀüś ÖÐāòêÞă éäĀ çă òòòð äă ãäŚüďãśãæäŚ ēĄ ü ÷ĈďãśèæñŞê ēĄ ÷ĈÞăéèäĀñŞêíă Þăæć éçö×è #VEEIBXBKBOB 5SBJOJOH $FOUFS íæŞ ěĤ ĝĤĜĝ ĞġĠĢ ěĤ ĝĤĜĝ ĞĢĝĜ ěĤ ĝĤĜĝ ĞğĢĜ čæò÷Āíčæò÷Ā æŞ ěĤ ĝĤĜĝ ĞġĠĢ ěĤ ĝĤĜĝ ĞĢĝĜ ěĤ ĝĤĜĝ ĞğĢĜ äăãäāðÐāòċëñČëŚ íòÿçòòðÓĘ āùüèäāðúôĀ Ðíćæçö×è čãñíòÿüā×āòñŞ óæçăåăëė čùäĉ åăëæčô ďãś äăãäāðÐāòċëñČëŚ íòÿçòòðÓĘ āùüèäāðúôĀ Ðíćæçö×è čãñíòÿüā×āòñŞ ÓąÐóæçăÓė ąÐčùäĉ čô ďãś Ąē æĄē XXX CVEEIBLPT PSH ] NFEJB XBUOBQBIQPOH PSH ] XXX XBUOBQQ DPN ] XXX CVEEIBXBKBOBGVOE PSH XXX CVEEIBLPT PSH ] NFEJB XBUOBQBIQPOH PSH ] XXX XBUOBQQ DPN ] XXX CVEEIBXBKBOBGVOE PSH ÓôĆèē ù ö í '. .)[ æć ÐöĀèíòÿ ċöôā è ÓôĆèē ù ö í '. .)[ æć ÐöĀèíòÿ ċöôā è
ØéĀé ĜĞ
&@ / !
&@ / !
XXX XBUOBQQ DPN ] NFEJB XBUOBQBIQPOH PSH ] XXX CVEEIBLPT PSH ÓôĆēè ù ö í '. .)[ æćÐöĀèíòÿ ċöôā è
æāè
éāôĄ èöÐ üĘ ĝĞ ğĞĤ ĝěĤ éāôĄ Ñć Ñć ĝĠ ĞěĠ ĝĢģ
äăãäāðÐāòċëñČëŚíòÿçòòðÓĘāùüèäāðúôĀÐíćæçö×è čãñíòÿüā×āòñŞÓÐą óæçă ė čùäĉåëă čô ďãśæ ēĄ
13 13
14 14
15 15
16 16
ĄúĄ
ċãòĀ×ØāèöăÙā ċãòĀ×ØāèöăÙā
éāôĄ ×äćÐĉÐ üĘ ĝĜ ĝĠĜ ĜĤĜ
ðĈôèăāçùüèäāðúôĀ ăíćæçčÕø⪠čæò ěģ ĝĝĝĝ ĠĢĤě - Ĥğ äăãäāðÐāòċëñČëŚíòÿçòòðÓĘ Ðíćæçö×è čãñíòÿüā×āòñŞ ÓąÐóæçăė čùäĉåăëčô ďãś æĄē Óćâ÷òÙā čæò ěģ ĜĠĜĞ ĜġĜĜ ÓćâüāòĄöòòâ čæò ěģ ĠěĠģ ġģģģ XXX CVEEIBLPT PSH ] NFEJB XBUOBQBIQPOH PSH ] XXX XBUOBQQ DPN ] XXX CVEEIBXBKBOBGVOE PSH ÓôĆèē ù ö í '. .)[ æć ùĘāúòĀéëĈäś üś ÖÐāòêÞă éäĀ çă òòòð äăãäŚüďãśæ ēĄ ÷ĈÐèöĀñŞèêíòÿ ċöôā è ÞăéäĀ íă æć çö×è #VEEIBXBKBOB 5SBJOJOH $FOUFS
ùāçñāñçòòð
äăãäāðÐāòċëñČëŚ íòÿçòòðÓĘ āùüèäāðúôĀ Ðíćæçö×è čãñíòÿüā×āòñŞ óæçăå ė ăëčùäĉ åëă æčô ďãś äăãäāðÐāòċëñČëŚ íòÿçòòðÓĘ āùüèäāðúôĀ Ðíćæçö×è čãñíòÿüā×āòñŞ ÓąÐóæçăÓÐąė čùäĉ čô ďãś Ąē æ ēĄ XXX XBUOBQQ DPN ] NFEJB XBUOBQBIQPOH PSH ] XXX CVEEIBLPT PSH XXX CVEEIBLPT PSH ] NFEJB XBUOBQBIQPOH PSH ] XXX XBUOBQQ DPN ] XXX CVEEIBXBKBOBGVOE PSH ēè ù ö í '. .)[ æć ÐöĀèíòÿ ċöôā è ÓôĆèē ÓôĆ ù ö í '. .)[ æć ÐöĀèíòÿ ċöôā è
ïíïĈðă
ùāçñāñçòòð ùāçñāñçòòð
éāôĄ ðĈ ð Ĝĝ ĜğĢ ĜĠĞ ĜĢě ĜĢġ
üðĈôçòòðÿèĄ āċíĆüē êòÿčñÙèŞ æāÖÐāò÷ą ùŚ āçāòâÙèċêŢ èçòòðæāè ôă ùăæèçăĎØéĀ ė èäśéèèĄØéĀ ďĔ ãśòéĀ ÐāòùÖöèďöś ďðŚùÖöèùă æçăĎė èÐāò×Ā ãæĘā×āÐÑśüðĈôçòòðÿèĄ Ĕ ×ĀãæĘāċíĆüē êòÿčñÙèŞæāÖÐāò÷ąÐøāùĈùŚ āçāòâÙèċêŢèçòòðæāè ôăÑùăæçăĎė èäśèØéĀéèĄďĔ ãśòéĀ ÐāòùÖöèďöś ďðŚùÖöèùăæçăĎė èÐāò×ĀãæĘā×āÐ ÑśüðĈôÑśçòòðÿèĄ Ĕ ×ĀãæĘā Ĕ ×ĀċíĆãüē æĘêòÿčñÙèŞ æāÖÐāò÷ą ÐøāùĈÐùŚ øāùĈ āçāòâÙèċêŢ èçòòðæāè ôă ÑùăæçăÑĎė èäś ďĔ ãśéòéĀ èĄÐāòùÖöèďöś ďðŚù Ööèùă æçăĎė èÐāò×Ā ãæĘā×āÐ ØéĀüē éċëñČëŚ ċíĆüē ċëñČëŚ èæćÐ Ðò⥠ĎèÐāò×Ā āúòĆüċëñČëŚ čêòãĎÙś ÓöāðôÿċüĄ ñãòüéÓüéċíĆ üē òĀÐøāÓöāðåĈ ÐäśüÖÑüÖÑś üðĈôā ÑüÓĘ êòąÐāøāãś äśèØéĀäśéèċíĆ ĎèæćÐĎÐò⥠ĎèÐāò×Ā ãæĘāúòĆãæĘüċëñČëŚ čêòãĎÙś ÓöāðôÿċüĄ ñãòüéÓüéċíĆ üē òĀÐøāÓöāðåĈ ÐäśüÖÑüÖÑś üðĈô ÑüÓĘ êòąÐāøāãś èÑśüāðĈèÑś ô üðĈôäśèØéĀéċíĆüē ċëñČëŚĎèæćÐÐò⥠ĎèÐāò×ĀãæĘāúòĆüċëñČëŚ čêòãĎÙśÓöāðôÿċüĄñãòüéÓüéċíĆüē òĀÐøāÓöāðåĈÐäśüÖÑüÖÑśüðĈô ÑüÓĘāêòąÐøāãśāèÑśüðĈô ĎèÐāò×Ā ã äăæãçö×èùðāÓð čæò ěģ ĜġğĢ ġěĞġ äŚüďãśæĄē ôèăēçüíă ÓöāðùÿãöÐČôÿêòÿúñĀ æć çčÕø⪠čæò ěģ ĝĝĝĝ ĠĢĤě - Ĥğ íć ĎèÐāò×ĀãæĘāċíĆüē ÓöāðùÿãöÐČôÿêòÿúñĀã äăãäŚüďãśæ ēĄ ðĈôèăçíă æć çčÕø⪠čæò ěģ ĝĝĝĝ ĠĢĤě - Ĥğ íćæçö×èùðāÓð čæò ěģ ĜġğĢ ġěĞġ ĎèÐāò×ĀãæĘāċíĆüē ÓöāðùÿãöÐČôÿêòÿúñĀ ã äăãäŚüãďãśæĘæā ēĄ ðĈċíĆ ðĈôèăçăíćæçčÕø⪠čæò ěģ ĝĝĝĝ ĠĢĤě - Ĥğ ðĈôèăçăíćæçö×è čæò ěģ ĜğĠĢ ĝĞĠĝ Óć â÷òÙā čæò ěģ ĜĠĜĞ ĜġĜĜ Óć âüāòĄöòòâ čæò ěģ ĠěĠģ ġģģģ ðĈôèăçăí Ĕ ×Āćæãçö×è čæò ěģ ĜğĠĢ ĝĞĠĝ Óć ÷òÙā čæò ěģ ĜĠĜĞ ĜġĜĜ Óć üāòĄèöØéĀ òòâ čæò ěģ ĠěĠģ ġģģģ ÑśüðĈôçòòðÿèĄ æĘāċíĆüē êòÿčñÙèŞæāÖÐāò÷ąÐøāùĈâùŚ āçāòâÙèċêŢ èçòòðæāè ôăÑùăæçăâĎė èäś éèĄďĔ ãśòéĀ ÐāòùÖöèďöś ďðŚùÖöèùăæçăĎė èÐāò×ĀãæĘā×āÐ Óćâ÷òÙā čæò ěģ ĜĠĜĞ ĜġĜĜ ÓćâüāòĄöòòâ čæò ěģ ĠěĠģ ġģģģ äśèØéĀéċíĆùĘüē āċëñČëŚ ÐÐò⥠ñãòüéÓüéċíĆüē òĀÐøāÓöāðåĈÐäśüÖÑüÖÑśüðĈô ÑüÓĘāêòąÐøāãśāèÑśüðĈô ùĘāúòĀéëĈäś üś ÖÐāòêÞăéäĀ çă òòòð äăãäŚüďãśæ ēĄ ÷ĈèñŞêÞăéäĀ íă æć çö×è #VEEIBXBKBOB 5SBJOJOH $FOUFS úòĀéëĈäś Ďüś èæć ÖÐāòêÞă éäĀ ĎèÐāò×Ā çă òòòð äăããæĘäŚāüúòĆďãśüæċëñČëŚ ēĄ ÷ĈèñŞ čêòãĎÙś êÞăéäĀ íă Óæć öāðôÿċüĄ çö×è #VEEIBXBKBOB 5SBJOJOH $FOUFS ùĘāúòĀéëĈäś üś ÖÐāòêÞăéäĀ çă čæò ěģ ĤĢĤĜ ěĝĤĤ ěģ ĢĠĜĜ ģěĜě òòòð äăãäŚüďãśæ ēĄ ÷ĈèñŞêÞăéäĀ íă æć çö×è #VEEIBXBKBOB 5SBJOJOH $FOUFS čæò÷Ā íæŞ ěĤ ĝĤĜĝ ĞġĠĢ ěĤ ĝĤĜĝ ĞĢĝĜ ěĤ ĝĤĜĝ ĞğĢĜ ĎèÐāò×Ā ãæĘāċíĆēüÓöāðùÿãöÐČôÿêòÿúñĀã äăãäŚüďãśæĄē čæò÷ĀíæŞ ěĤ ĝĤĜĝ ĞġĠĢ ěĤ ĝĤĜĝ ĞĢĝĜ ěĤ ĝĤĜĝ ĞğĢĜ
&@&@ // !!
¦¦¤¿®¨n µ ´OS;È M;T CW ¿ } _*TM;T9X ¦¦¤°´< £· ¬» ´È ¢{ ¿ º° Å CWb<O O;`GRb<`$
ÿćøĊïčêø b đðøĊ÷ïđĀöČĂî=ETLT9 b;=ETLT9;Sþ;CW_EĐO;DO6 .Xą*,T<9T`G I
ØéĀé Ĝĝ ØéĀé Ĝĝ
éāôĄ ×äćÐĉÐ üĘ ĝĜ ĝĠĜ ĜĤĜ
ÿćøĊïčêø b đðøĊ÷ïđĀöČĂî7 ;cC _$V6b;@Y;h 9WO g ;S _LCO
&@& / / ! !
· ´ ¿ · ¹È oµ ´ ¿ · » ¹ª·È ¿«¬¿¦Æ oµ ª¡¨´ À n´ ªr ´È ¥n°¤¿ } · ¼o ¦¦¨»
_7fCc=6 ID8 T;_@GV* =ETJ+T$_=GI =ETJ+T$'IS;
õĉÖþčìĆĚÜĀúć÷ b õĉÖþčĔîíøøöüĉîĆ÷îĊĚ ÷ŠĂöđúŠćđøĊ÷îíøøö ÙČĂ ÿčêêą đÙ÷÷ą đü÷÷ćÖøèą Ùćëć Ăčìćî ĂĉêĉüčêêÖą ßćéÖ ĂĆ êíøøö đüìĆ úúą CWb<O O;`GRb<`$ OS;_<T<T* CW_*TOSó;õĎa=E *
ÿćøĊïčêø b đðøĊ÷ïđĀöČĂîMGZC'[8 GX$DVý*$I T-SýI<ZEZK _7fCc=6 ID'[8 ÿćøĊïčêø b đðøĊ÷ïđĀöČĂî7 ;cC _$V6b;@Y;h 9WO g ;S cC _LCO
&& // !!
ïìĒĀŠÜíøøöìĆĚÜĀúć÷ ÷ŠĂöðøćÖäĒÖŠđíĂ ñĎšöĊÙüćöÿč×ĔîõóîĆĚî
ØéĀé Ĝě
¿ °¤¸ ¨ ¨º ¤ ¿¤º Ç° ¦³ Ì ¿ °¤¸ · ·®®¨ ¨º ¤ ¿¤º Ç° ¦³ Ì µ µ¨³µ µ¨³ ¤¿ oµµ ¹ ¹ ¿ ¡ · µ¥®¤¼ n ®¤¼nÂn® ®¤¼ ¹Ç n® ¹Ç ¥n¥n°°¤¿ o ¿ ¡ · µ¥®¤¼
ïăÐøćæĀĔÖúôāñ b çòòðæāè ċôă÷ÐöŚāæāèæĀĔÖúôāñ
ĎèÐāò×ĀãæĘāċíĆēüÓöāðùÿãöÐČôÿêòÿúñĀã äăãäŚüďãśæĄē ðĈôèăçăíćæçčÕø⪠čæò ěģ ĝĝĝĝ ĠĢĤě - Ĥğ
Óćâ÷òÙā čæò ěģ ĜĠĜĞ ĜġĜĜ ÓćâüāòĄöòòâ čæò ěģ ĠěĠģ ġģģģ ùĘāúòĀéëĈäś üś ÖÐāòêÞăéäĀ çă òòòð äăãäŚüďãśæ ēĄ ÷ĈèñŞêÞăéäĀ íă æć çö×è #VEEIBXBKBOB 5SBJOJOH $FOUFS čæò÷ĀíæŞ ěĤ ĝĤĜĝ ĞġĠĢ ěĤ ĝĤĜĝ ĞĢĝĜ ěĤ ĝĤĜĝ ĞğĢĜ
óć Ô üċ êĄĘ Ú þ ø ą õ b Ā ą ì ą î ą ì ý èć ý ô ą ëć ìĈĘ Đ ø ĀĄìíċ××øďÛöćàĐøşú êĜąĒþşôąÔĐøşú õŞĀôďîŦìÕĀÚöĜąÚĄí ďóć ÔîŦ üċìêĄĘ ÚÕþ øĀ ą Úõ î ö ăb æĈ è Ā ąďì îŦą îìą ìÕý èćĀý Úô ąďëć õĖìĈĘ Đìø í ďĀĄîŦìíċì××øďÛöć ýċ Õ úć àþĐøşąúö Đ êĜø ąăĒþşõŞôąÔĐøş Ā ô õĄú Ú ĀõŞÔċĀôďîŦ û øìÕĀÚöĜ ë ö öąÚĄô Õ Ā Ú î ĀĄöìďÔć ă çæĈÕĉĘìèĐøşú ď îŦ ì ÕĐøăďÔć Ā ÚçÕĉďĘìõĖĐøşúì ĀĄď ìîŦďîŦììíąî ď îŦĀĄ ìì èöëąìēî ýċ Õ úć þ ą ö ĐĒþĘø öăĜ ą ÚĄõŞ íĀēî ô õĄ Ú đçõ×úöĐÔė Ā Ôċ û ø ë ãöąìă ö ô ĒþĘ ú óćĀĄìÔďîŦüċìêĄíąî Ę Ú þ ø ą õ ĀĄìďÔćçÕĉb Ęì Đøşú ď î öĈ õĐøăďÔć í ď þçÕĉôĊĘìĀĐøşì ðċĒþĘ ř ìĀëċĄ ìøĈèöëąìēî òċŚ Ú ÕĉĘ ì Đ þŞ ÚĒþĘ ď çĊöĜ Āą ÚĄìíýċēî ç êş ą đçõ×úöĐÔė õ Õ Ā Ú ÷ çČ ãöşąìă Āì ď î öĈìĄõ í ď þ ôĊ Ā Ôì ðóć Ô üċ êĄĘ Ú þ ìø ą õ þb êĈðċė ř ì ëċïćøĈ òċŚ Úç ÕĉĘ ì ÷Đ þŞ ÚçČď çĊ Āèì ýċ çÔ êş ą øõ Õ ĀÚÚ ÷ çČô öş Ā ąì Ô õŞð Ā ô êĜ ą ðċ ř ìì ëċ øĈ ď þ øŞ ą þìĄ Ę ì Ē þş ĀĄ ì ìĄè ö ë ą ì ē î ą ĒêĈþşė öĜ ïćą ÚĄ íçē î ÷ē çş đ çČ ç õè × Ôú ö øĐ Ôė Úã ąô ì ă ÕĘõŞ Ā ô êĜ Āą ðċ ř ì ëċ ìĈøĈĘ ď þ øŞ ąÜĄ ìĄ Ę ì Ē þşìĀĄ ì è öĒë ą ì ē çî ÚĄ í ē b î ēĀąìąîąìýèć çş đ ç õ ý×ôąëć ú ö ĀĄìĐíċ×Ôė×øďÛöć ã ąàìĐøşúă óćĒ ÔþşüċêöĜĄĘÚąþøąõ êĜÕĘ ą Ē þĘ ô ąĀÔ Đ øĘ ú ÔĖ ďìĈîĖĘ ì Õ Ā Ú ÜĄö ă ÚĄ í ìď îĖ ì Õ Ā ÚĒ î ö ă æĈ èç óćÔìüċÕĀÚďõĖ êĄĘÚþøąõ ýôąëć ĀĄìíċ××øďÛöć Đøşú ďîŦ ì ďîŦìýċb ÕúćĀąìąîąìýèć þąö ĐøăõŞĀôõĄ ÚĀÔċ ûøëööôĀĄ ìďîŦìàíąî êĜ ą Ē þĘ ô ą Ô Đ øĘ ú ÔĖ ď îĖ ì Õ Ā Ú ö ă ÚĄ í ď îĖ ì Õ Ā Ú î ö ă æĈ è êĈė ď Ôć ç ÕĉĘ ì Đ øş ú Đ ø ă ď Ôć ç ÕĉĘ ì Đ øş ú ĒďîŦìÕĀÚďõĖ þş ìĀĄ ďîŦìýċìÕúćþąö è ĐøăõŞ ö ĀôõĄëÚĀÔċûąøëööôĀĄ ì ìďîŦē ìíąî î ĒêĈþĘė öĜď ą ÔćÚĄ íçē îÕĉēĘ çĘì Đ øşđ çúõ ×Đú öøĐ Ôėă ã ďą ìÔćă ēççĘ ÕĉĘ ì ÜĄĐì ìĄøşĘ ì ú ĀĄ ì è b ö ë ÔĖ Ā ąìąîąìýèć ą ì ēý ôąëćî óćĒ Ô üċ êþşĄĘ Ú þøąõ ĀĄĒ þĘìöĜ íċą ÚĄ×í ×ē îøē çĘď Û öć àđ çĐõ ×øş úúö Đ ÔėêĜã ąąìĒă ēþşçĘ ô ą ÔÜĄĐì ìĄøş Ę ìú b Āóć Ô üċ êõŞĄĘ Ú þøąõ ą Ú ē ö ÔĖďĀ ąìąîąìýèć øŞ ą ý ôąëć ĀĄ ì íċ × × ø ď Û öć à Đ øş ú êĈė ď îŦ ì Õ Ā Ú öĜ ą ÚĄ í ď îŦ ìêĜ Õą ĀĒ þşÚ ôî ąö Ôă ĐæĈøş èú ďĀ îŦ ìõŞ Õ Āą Ú Úď õĖ ēì ď öîŦ ì ď ýċ ÕøŞ úć þą ą ö êĈė ď ĀîŦôõĄìÚĀÔċ Õ ûĀøëööôĀĄ Ú öĜ ąìďîŦÚĄ ìííąîêĈ ď îŦėďÔćìçÕĉÕĘìĐøşĀú ĐøăďÔć Ú î ö çăÕĉĘìæĈĐøşúè ĐøăõŞ ö Ēď îŦ þĘì ÕĀĄ Ā ìÚ ď èõĖ ì ö ď îŦë ì ąýċ Õ ì úć þē ą î ìďîŦìíąîêĈđėďÔćççõÕĉĘì×Đøş ĒĐøăõŞ þĘ öĜ ąĀôõĄ ÚĄ íÚēĀÔċîûēøëööôĀĄ çĘ ú öú ĐøăďÔć Đ Ôė ã ą çìÕĉăĘìēĐøşçĘ ú ĀĄ ìb óćèÔ üċ Ē ìÔöæĈ ö ëì Ĉ Ę ąēîĐøĘìú ýČŞîė ąēÔĖ è ąôî óćĒ Ô üċ êþĘĄ Ę Ú þøąõ ēĒîþĘĐöĜøĘąúÚĄýČíė đē×îìē ēçĘôĘ ÔĖ è ą ô ē î Đ đøĘçúõýČ×ė ď öĊú Āö ìĐ Ôėúė ãą Úą ÔĖì èă ēą çĘô ìĄóćė ÔÚüċ ê×ČĄ Ę ÚĘ þøąõ Õ ą ď b ÕĘ ąóć Ôôüċ ĒąìÔöæĈ đ çì Ĉ Ę õ öēîĐøĘ Ā úíýČŞîĐė ą ÔĖøĘè ąô ú ô èĄē Ę î ÚĐ øĘÔú ýČąė đ ×õì ēèôĘ ÔĖöè ąÚ ô ē î çĜĐ øĘ ąú ýČöė ď öĊ ÚĀ ìýúė ąèćÚ ÔĖôĄèė ąì óćìĄėÔ Úüċ ìĄ×ČĘ ìĘ Õ ôĈą ý ďèć þÕĘ ą ąõ ĒôÛ ď ąÕĘ ąđ çôĈ ýõèć öþ ąĀõ ĒíÛ ĀĐĀ ÔøĘ ú èĄ Ę í Ú ą ÔøĈ ą ôõ þè ąö Úúć Ġ çĜ Ġą Ģö ĠÚ ý Ġ èćĦ ôĄħė ì óć Ô üċ ìĄ Ę ì ôĈ ý èć þ ą õ Ē Û ď ÕĘ ą ôĈ ý èć þ ą õ Ē Û Ā Ā Ô í ą øĈ ô þ ą úć Ġ Ġ Ģ Ġ Ġ Ħ ħ
Óćâ÷òÙā čæò ěģ ĜĠĜĞ ĜġĜĜ ÓćâüāòĄöòòâ čæò ěģ ĠěĠģ ġģģģ
äăãäāðÐāòċëñČëŚ íòÿçòòðÓĘ āùüèäāðúôĀ Ðíćæçö×è čãñíòÿüā×āòñŞ óæçăå ė ăëčùäĉ åëă æčô ďãś äăãäāðÐāòċëñČëŚ íòÿçòòðÓĘ āùüèäāðúôĀ Ðíćæçö×è čãñíòÿüā×āòñŞ ÓąÐóæçăÓÐąė čùäĉ čô ďãś Ąē æē Ą XXX XBUOBQQ DPN ] NFEJB XBUOBQBIQPOH PSH ] XXX CVEEIBLPT PSH XXX CVEEIBLPT PSH ] NFEJB XBUOBQBIQPOH PSH ] XXX XBUOBQQ DPN ] XXX CVEEIBXBKBOBGVOE PSH ēè ù ö í '. .)[ æć ÐöĀèíòÿ ċöôā è ÓôĆèē ÓôĆ ù ö í '. .)[ æć ÐöĀèíòÿ ċöôā è
ØéĀé ĜĜ
ĂĉêĉüčêêÖą ßćéÖ ĂĆóõĎêíøøö đüìĆúúą
¦¦¤¿®¨nµ ´È ¿ } ¦¦¤°´ £· ¬» ´È ¢{ ¿ º° Å ¦¦¤¿®¨nµ ´È ¿ } ¦¦¤°´ £· ¬» ´È ¢{ ¿ º° Å ¨n ¨n°° µ ¹ È Â À ¨° oª¥ ¸ oª¥ ªµ¤¿®Æ µ ¹È  À ¨° oª¥ ¸ oª¥ ªµ¤¿®Æ
ïìĒĀŠÜíøøöìĆĚÜĀúć÷ ÷ŠĂöðøćÖäĒÖŠđíĂ ñĎšöĊÙüćöÿč×ĔîõóîĆĚî
ØéĀé Ĝě ØéĀé Ĝě
äăãäāðÐāòċëñČëŚ íòÿçòòðÓĘ āùüèäāðúôĀ Ðíćæçö×è čãñíòÿüā×āòñŞ óæçăåăëė čùäĉ åăëæčô ďãś äăãäāðÐāòċëñČëŚ íòÿçòòðÓĘ āùüèäāðúôĀ Ðíćæçö×è čãñíòÿüā×āòñŞ ÓąÐóæçăÓė ąÐčùäĉ čô ďãś Ąē æĄē XXX CVEEIBLPT PSH ] NFEJB XBUOBQBIQPOH PSH ] XXX XBUOBQQ DPN ] XXX CVEEIBXBKBOBGVOE PSH XXX CVEEIBLPT PSH ] NFEJB XBUOBQBIQPOH PSH ] XXX XBUOBQQ DPN ] XXX CVEEIBXBKBOBGVOE PSH ÓôĆèē ù ö í '. .)[ æć ÐöĀèíòÿ ċöôā è ÓôĆèē ù ö í '. .)[ æć ÐöĀèíòÿ ċöôā è
êßðçòòð êßðçòòð
çăíćæçö×è čæò ěģ ĜğĠĢ ĝĞĠĝ Óć â÷òÙā čæò ěģ ĜĠĜĞ ĜġĜĜ Óć üāòĄöòòâ čæò ěģ ĠěĠģ ġģģģ ðĈôèăçăíðĈćæôèăçö×è čæò ěģ ĜğĠĢ ĝĞĠĝ Óć â÷òÙā čæò ěģ ĜĠĜĞ ĜġĜĜ Óć âüāòĄöâòòâ čæò ěģ ĠěĠģ ġģģģ éëĈäś üś ÖÐāòêÞă éäĀ çă òòòð äă äĀ íă æć çö×è #VEEIBXBKBOB 5SBJOJOH $FOUFS ùĘāúòĀéùĘëĈāäś úòĀüś ÖÐāòêÞă éäĀ çă òòòð äă ãäŚüďãśãæäŚ ēĄ ü ÷ĈďãśèæñŞê ēĄ ÷ĈÞăéèäĀñŞêíă Þăæć éçö×è #VEEIBXBKBOB 5SBJOJOH $FOUFS íæŞ ěĤ ĝĤĜĝ ĞġĠĢ ěĤ ĝĤĜĝ ĞĢĝĜ ěĤ ĝĤĜĝ ĞğĢĜ čæò÷Āíčæò÷Ā æŞ ěĤ ĝĤĜĝ ĞġĠĢ ěĤ ĝĤĜĝ ĞĢĝĜ ěĤ ĝĤĜĝ ĞğĢĜ
ðĈôèăçăíćæçčÕø⪠čæò ěģ ĝĝĝĝ ĠĢĤě - Ĥğ ðĈôèăçăíćæçö×è čæò ěģ ĜğĠĢ ĝĞĠĝ Óć â÷òÙā čæò ěģ ĜĠĜĞ ĜġĜĜ Óć âüāòĄöòòâ čæò ěģ ĠěĠģ ġģģģ
ùĘāúòĀéëĈäś üś ÖÐāòêÞăéäĀ çă òòòð äăãäŚüďãśæ ēĄ ÷ĈèñŞêÞăéäĀ íă æć çö×è #VEEIBXBKBOB 5SBJOJOH $FOUFS ùĘāúòĀéëĈäś üś ÖÐāòêÞă éäĀ çă òòòð äăãäŚüďãśæ ēĄ ÷ĈèñŞêÞăéäĀ íă æć çö×è #VEEIBXBKBOB 5SBJOJOH $FOUFS čæò÷Ā íæŞí æŞěĤ ĝĤĜĝ ĞġĠĢ ěĤ ĝĤĜĝ ĞĢĝĜ ěĤ ĝĤĜĝ ĞğĢĜ čæò÷Ā ěĤ ĝĤĜĝ ĞġĠĢ ěĤ ĝĤĜĝ ĞĢĝĜ ěĤ ĝĤĜĝ ĞğĢĜ
äăãäāðÐāòċëñČëŚ íòÿçòòðÓĘ āùüèäāðúôĀ Ðíćæçö×è čãñíòÿüā×āòñŞ óæçăåăëė čùäĉ åăëæčô ďãś äăãäāðÐāòċëñČëŚ íòÿçòòðÓĘ āùüèäāðúôĀ Ðíćæçö×è čãñíòÿüā×āòñŞ ÓąÐóæçăÓė ąÐčùäĉ čô ďãś Ąē æĄē XXX CVEEIBLPT PSH ] NFEJB XBUOBQBIQPOH PSH ] XXX XBUOBQQ DPN ] XXX CVEEIBXBKBOBGVOE PSH XXX CVEEIBLPT PSH ] NFEJB XBUOBQBIQPOH PSH ] XXX XBUOBQQ DPN ] XXX CVEEIBXBKBOBGVOE PSH ÓôĆèē ù ö í '. .)[ æć ÐöĀèíòÿ ċöôā è ÓôĆèē ù ö í '. .)[ æć ÐöĀèíòÿ ċöôā è
ÿćøĊïčêø b đðøĊ÷ïđĀöČĂîMGZC8 T;_@GV* GX$DVý*$I T-SýI<ZEZK
õĉÖþčìĆĚÜĀúć÷ b õĉÖþčĔîíøøöüĉîĆ÷îĊĚ ÷ŠĂöđúŠćđøĊ÷îíøøö ÙČ Ă ÿčêêą đÙ÷÷ą đü÷÷ćÖøèą Ùćëć Ăč ìćî õĉÖþčìĆĚÜĀúć÷ b õĉÖþčĔîíøøöüĉîĆ÷îĊĚ ĂĉêĉüčêêÖą ßćéÖ ĂĆ óõĎêíøøö đüìĆúúąì ćî ÷ŠĂöđúŠćđøĊ÷îíøøö ÙČ Ă ÿčêêą đÙ÷÷ą đü÷÷ćÖøèą Ùćëć Ăč
À n´ ªr ´È ¥n° éāôĄ¤¿ } ¼o ¦¦¨» » ª·¿«¬¿¦Æª¡¨´ ×äćÐĉÐ üĘ ĝĜ ĝĠĜ ĜĤĜ
Ů :) A :)H#ů Ů :) A ŧ H)ĉŧ H)ĉ :)H#ů
ÑśüðĈôçòòðÿèĄ Ĕ ×ĀüēãêòÿčñÙèŞ æĘāċíĆüē êòÿčñÙèŞ æāÖÐāò÷ą øāùĈùŚ āçāòâÙèċêŢ èçòòðæāè ôă ÑùăæèØéĀ çăĎė èäś ďĔ ãśòéĀ ÐāòùÖöèďöś ďðŚùæÖöèùă æçăĎė èÐāò×Ā ãæĘā×āÐ ÑśüðĈôçòòðÿèĄ Ĕ ×ĀãæĘāċíĆ æāÖÐāò÷ą ÐøāùĈùŚ ÐāçāòâÙèċêŢ èçòòðæāè ôă ÑùăæçăĎė èäś éèĄèďĔ ØéĀ ãśòéĀ èĄÐāòùÖöèďöś ďðŚùÖöèùă çăĎė èÐāò×Ā ãæĘā×āÐ éċíĆüē ċëñČëŚ ĎèæćÐ ĎèÐāò×Ā Ðò⥠ĎèÐāò×Ā āúòĆüċëñČëŚ ÓöāðôÿċüĄ ñãòüéÓüéċíĆ üē òĀÐøāÓöāðåĈ ÐäśüüÖÑüÖÑś üðĈāôêòą ÑüÓĘ āêòąāÐèÑś øāãś äśèØéĀäśéèċíĆØéĀ üē ċëñČëŚ ĎèæćÐÐò⥠ãæĘāúòĆãüæĘċëñČëŚ čêòãĎÙś čêòãĎÙś ÓöāðôÿċüĄ ñãòüéÓüéċíĆ üē òĀÐøāÓöāðåĈ ÐäśüÖÑüÖÑś ðĈô ÑüÓĘ Ðøāãś üðĈāôèÑśüðĈô èăçíă æć çčÕø⪠čæò ěģ ĝĝĝĝ ĠĢĤě - Ĥğ íć æçö×èùðāÓð čæò ěģ ĜġğĢ ġěĞġ āċíĆüē ÓöāðùÿãöÐČôÿêòÿúñĀ ôèăæç ēĄ íă ðĈæć ôçčÕø⪠čæò ěģ ĝĝĝĝ ĠĢĤě - Ĥğ íć æçö×èùðāÓð čæò ěģ ĜġğĢ ġěĞġ ĎèÐāò×ĀĎèÐāò×Ā ãæĘāċíĆãüē æĘÓöāðùÿãöÐČôÿêòÿúñĀ ã äăãäŚãü äă ďãśãæäŚ ēĄ ðĈüďãś
çăíćæçö×è čæò ěģ ĜğĠĢ ĝĞĠĝ Óć â÷òÙā čæò ěģ ĜĠĜĞ ĜġĜĜ Óć üāòĄöòòâ čæò ěģ ĠěĠģ ġģģģ ðĈôèăçăíðĈćæôèăçö×è čæò ěģ ĜğĠĢ ĝĞĠĝ Óć â÷òÙā čæò ěģ ĜĠĜĞ ĜġĜĜ Óć âüāòĄöâòòâ čæò ěģ ĠěĠģ ġģģģ éëĈäś üś ÖÐāòêÞă éäĀ çă òòòð äă äĀ íă æć çö×è #VEEIBXBKBOB 5SBJOJOH $FOUFS ùĘāúòĀéùĘëĈāäś úòĀüś ÖÐāòêÞă éäĀ çă òòòð äă ãäŚüďãśãæäŚ ēĄ ü ÷ĈďãśèæñŞê ēĄ ÷ĈÞăéèäĀñŞêíă Þăæć éçö×è #VEEIBXBKBOB 5SBJOJOH $FOUFS čæò ěģ ĤĢĤĜ ěĝĤĤ ěģ ĢĠĜĜ ģěĜě čæò ěģ ĤĢĤĜ ěĝĤĤ ěģ ĢĠĜĜ ģěĜě
ÓôĆēè ù ö í '. .)[ æćÐöĀèíòÿ ċöôā è
ÑśüðĈôçòòðÿèĄ Ĕ ×ĀãæĘāċíĆüē êòÿčñÙèŞæāÖÐāò÷ąÐøāùĈùŚ āçāòâÙèċêŢèçòòðæāè ôăÑùăæçăĎė èäśèØéĀéèĄďĔ ãśòéĀ ÐāòùÖöèďöś ďðŚùÖöèùăæçăĎė èÐāò×ĀãæĘā×āÐ äśèØéĀéċíĆüē ċëñČëŚĎèæćÐÐò⥠ĎèÐāò×ĀãæĘāúòĆüċëñČëŚ čêòãĎÙśÓöāðôÿċüĄñãòüéÓüéċíĆüē òĀÐøāÓöāðåĈÐäśüÖÑüÖÑśüðĈô ÑüÓĘāêòąÐøāãśāèÑśüðĈô
Ćċòċôċòăîč č Ćċòċôċòăî
éāôĄ üćêòă ð Ĝğ ĜĤĠ ĝģĤ éāôĄ ċüÐ üĘ ĝě ĠĤ ĝĞĠ ĝĞĤ éāôĄ üćêòă ð Ĝğ ĜĤĠ ĝģĤ éāôĄ ċüÐ üĘ ĝě ĠĤ ĝĞĠ ĝĞĤ
üðĈôçòòðÿèĄ āċíĆüē êòÿčñÙèŞ æāÖÐāò÷ą ùŚ āçāòâÙèċêŢ èçòòðæāè ôă ùăæèçăĎØéĀ ė èäśéèèĄØéĀ ďĔ ãśòéĀ ÐāòùÖöèďöś ďðŚùÖöèùă æçăĎė èÐāò×Ā ãæĘā×āÐ ÑśüðĈôÑśçòòðÿèĄ Ĕ ×ĀãæĘā Ĕ ×ĀċíĆãüē æĘêòÿčñÙèŞ æāÖÐāò÷ą ÐøāùĈÐùŚ øāùĈ āçāòâÙèċêŢ èçòòðæāè ôă ÑùăæçăÑĎė èäś ďĔ ãśéòéĀ èĄÐāòùÖöèďöś ďðŚù Ööèùă æçăĎė èÐāò×Ā ãæĘā×āÐ ØéĀüē éċëñČëŚ ċíĆüē ċëñČëŚ èæćÐ Ðò⥠ĎèÐāò×Ā āúòĆüċëñČëŚ čêòãĎÙś ÓöāðôÿċüĄ ñãòüéÓüéċíĆ üē òĀÐøāÓöāðåĈ ÐäśüÖÑüÖÑś üðĈôā ÑüÓĘ êòąÐāøāãś äśèØéĀäśéèċíĆ ĎèæćÐĎÐò⥠ĎèÐāò×Ā ãæĘāúòĆãæĘüċëñČëŚ čêòãĎÙś ÓöāðôÿċüĄ ñãòüéÓüéċíĆ üē òĀÐøāÓöāðåĈ ÐäśüÖÑüÖÑś üðĈô ÑüÓĘ êòąÐāøāãś èÑśüāðĈèÑś ô üðĈô ĎèÐāò×Ā ã äăãæçö×èùðāÓð čæò ěģ ĜġğĢ ġěĞġ äŚüďãśæĄē ôèăçēüíă ÓöāðùÿãöÐČôÿêòÿúñĀ æć çčÕø⪠čæò ěģ ĝĝĝĝ ĠĢĤě - Ĥğ íć ĎèÐāò×ĀãæĘāċíĆüē ÓöāðùÿãöÐČôÿêòÿúñĀ ã äăãäŚüãďãśæĘæ ēāĄ ðĈċíĆ
üāèāêāèùäă üāèāêāèùäă
ČÐśÐòòð ČÐśÐòòð
ðòòÓöăçĄæĄēÖŚāñ
ÑśüðĈôçòòðÿèĄ Ĕ ×ĀüēãêòÿčñÙèŞ æĘāċíĆüē êòÿčñÙèŞ æāÖÐāò÷ą øāùĈùŚ āçāòâÙèċêŢ èçòòðæāè ôă ÑùăæèØéĀ çăĎė èäś ďĔ ãśòéĀ ÐāòùÖöèďöś ďðŚùæÖöèùă æçăĎė èÐāò×Ā ãæĘā×āÐ ÑśüðĈôçòòðÿèĄ Ĕ ×ĀãæĘāċíĆ æāÖÐāò÷ą ÐøāùĈùŚ ÐāçāòâÙèċêŢ èçòòðæāè ôă ÑùăæçăĎė èäś éèĄèďĔ ØéĀ ãśòéĀ èĄÐāòùÖöèďöś ďðŚùÖöèùă çăĎė èÐāò×Ā ãæĘā×āÐ éċíĆüē ċëñČëŚ ĎèæćÐ ĎèÐāò×Ā Ðò⥠ĎèÐāò×Ā āúòĆüċëñČëŚ ÓöāðôÿċüĄ ñãòüéÓüéċíĆ üē òĀÐøāÓöāðåĈ ÐäśüüÖÑüÖÑś üðĈāôêòą ÑüÓĘ āêòąāÐèÑś øāãś äśèØéĀäśéèċíĆØéĀ üē ċëñČëŚ ĎèæćÐÐò⥠ãæĘāúòĆãüæĘċëñČëŚ čêòãĎÙś čêòãĎÙś ÓöāðôÿċüĄ ñãòüéÓüéċíĆ üē òĀÐøāÓöāðåĈ ÐäśüÖÑüÖÑś ðĈô ÑüÓĘ Ðøāãś üðĈāôèÑśüðĈô èăçíă æć çčÕø⪠čæò ěģ ĝĝĝĝ ĠĢĤě - Ĥğ íć æçö×èùðāÓð čæò ěģ ĜġğĢ ġěĞġ āċíĆüē ÓöāðùÿãöÐČôÿêòÿúñĀ ôèăæç ēĄ íă ðĈæć ôçčÕø⪠čæò ěģ ĝĝĝĝ ĠĢĤě - Ĥğ íć æçö×èùðāÓð čæò ěģ ĜġğĢ ġěĞġ ĎèÐāò×ĀĎèÐāò×Ā ãæĘāċíĆãüē æĘÓöāðùÿãöÐČôÿêòÿúñĀ ã äăãäŚãü äă ďãśãæäŚ ēĄ ðĈüďãś
čæò÷ĀíæŞ ěĤ ĝĤĜĝ ĞġĠĢ ěĤ ĝĤĜĝ ĞĢĝĜ ěĤ ĝĤĜĝ ĞğĢĜ
äăãäāðÐāòċëñČëŚ íòÿçòòðÓĘ āùüèäāðúôĀ Ðíćæçö×è čãñíòÿüā×āòñŞ óæçă åëă æčô ďãś äăãäāðÐāòċëñČëŚ íòÿçòòðÓĘ āùüèäāðúôĀ Ðíćæçö×è čãñíòÿüā×āòñŞ ÓąÐóæçăÓė Ðą čùäĉ åăë ė čùäĉ čô ďãś Ąē æ ēĄ XXX XBUOBQQ DPN ] NFEJB XBUOBQBIQPOH PSH ] XXX CVEEIBLPT PSH XXX CVEEIBLPT PSH ] NFEJB XBUOBQBIQPOH PSH ] XXX XBUOBQQ DPN ] XXX CVEEIBXBKBOBGVOE PSH ēè ù ö í '. .)[ æć ÐöĀèíòÿ ċöôā è ÓôĆèē ÓôĆ ù ö í '. .)[ æć ÐöĀèíòÿ ċöôā è
XXX XBUOBQQ DPN ] NFEJB XBUOBQBIQPOH PSH ] XXX CVEEIBLPT PSH
ÐāòüèćċÓòāÿúŞãśöñçòòð ċêŢèċôă÷ ïăÐøćæĀĔÖúôāñ b æāè ĝ üñŚāÖċúôŚāèĄĔðĄüñĈŚ ÓĆü Ě üāðăùæāè Ě çòòðæāè ïăÐøćæĀĔÖúôāñ b éòòãāæāè ĝ üñŚāÖċúôŚāèĄĔ çòòðæāè ċêŢèċôă÷
&@&@ // !!
&@&@ // !!
&@&@ // !!
ØéĀé Ĥ &@ / ØéĀ!é Ĥ &@&@ // !! êßðçòòð
äăãäāðÐāòċëñČëŚ íòÿçòòðÓĘ āùüèäāðúôĀ Ðíćæçö×è čãñíòÿüā×āòñŞ óæçăå ė ăëčùäĉ åëă æčô ďãś äăãäāðÐāòċëñČëŚ íòÿçòòðÓĘ āùüèäāðúôĀ Ðíćæçö×è čãñíòÿüā×āòñŞ ÓąÐóæçăÓÐąė čùäĉ čô ďãś Ąē æ ēĄ XXX XBUOBQQ DPN ] NFEJB XBUOBQBIQPOH PSH ] XXX CVEEIBLPT PSH XXX CVEEIBLPT PSH ] NFEJB XBUOBQBIQPOH PSH ] XXX XBUOBQQ DPN ] XXX CVEEIBXBKBOBGVOE PSH ēè ù ö í '. .)[ æć ÐöĀèíòÿ ċöôā è ÓôĆèē ÓôĆ ù ö í '. .)[ æć ÐöĀèíòÿ ċöôā è
üăèæòĄñùĀÖöò üăèæòĄñùĀÖöò
ÕòāöāùÙèċôă÷ ÕòāöāùÙèċôă÷
üćêòă ð Ĝğ ĝğğ ĞĠġ Ģ éāôĄ éāôĄ üćêòă ð Ĝğ ĝğğ ĞĠġ Ģ
Óćâ÷òÙā čæò ěģ ĜĠĜĞ ĜġĜĜ ÓćâüāòĄöòòâ čæò ěģ ĠěĠģ ġģģģ
ùĘāúòĀéëĈäś üś ÖÐāòêÞăéäĀ çă òòòð äăãäŚüďãśæ ēĄ ÷ĈèñŞêÞăéäĀ íă æć çö×è #VEEIBXBKBOB 5SBJOJOH $FOUFS ùĘāúòĀéëĈäś üś ÖÐāòêÞă éäĀ çă òòòð äăãäŚüďãśæ ēĄ ÷ĈèñŞêÞăéäĀ íă æć çö×è #VEEIBXBKBOB 5SBJOJOH $FOUFS čæò÷Ā íæŞí æŞěĤ ĝĤĜĝ ĞġĠĢ ěĤ ĝĤĜĝ ĞĢĝĜ ěĤ ĝĤĜĝ ĞğĢĜ čæò÷Ā ěĤ ĝĤĜĝ ĞġĠĢ ěĤ ĝĤĜĝ ĞĢĝĜ ěĤ ĝĤĜĝ ĞğĢĜ
5<5<!! += +=**2929 /+/+
Óćâ÷òÙā čæò ěģ ĜĠĜĞ ĜġĜĜ ÓćâüāòĄöòòâ čæò ěģ ĠěĠģ ġģģģ
ùĘāúòĀéëĈäś üś ÖÐāòêÞăéäĀ çă òòòð äăãäŚüďãśæ ēĄ ÷ĈèñŞêÞăéäĀ íă æć çö×è #VEEIBXBKBOB 5SBJOJOH $FOUFS ùĘāúòĀéëĈäś üś ÖÐāòêÞăéäĀ çă čæò ěģ ĤĢĤĜ ěĝĤĤ ěģ ĢĠĜĜ ģěĜě òòòð äăãäŚüďãśæ ēĄ ÷ĈèñŞêÞăéäĀ íă æć çö×è #VEEIBXBKBOB 5SBJOJOH $FOUFS
äăãäāðÐāòċëñČëŚíòÿçòòðÓĘāùüèäāðúôĀÐíćæçö×è čãñíòÿüā×āòñŞÓÐą óæçă ė čùäĉåëă čô ďãśæē Ą
ïăÐøćæĀĔÖúôāñ b ÐāòüèćċÓòāÿúŞ ĝ üñŚāÖċúôŚāèĄĔðĄüñĈŚ ÓĆü Ě ÐāòüèćċÓòāÿúŞãśöñüāðăù Ě ÐāòüèćċÓòāÿúŞãśöñçòòð ïăÐøćæĀĔÖúôāñ b éòòãāÐāòüèćċÓòāÿúŞ ĝ üñŚāÖċúôŚāèĄĔ
ØéĀé ġ ØéĀé ġ
ØéĀé Ġ ØéĀé Ġ
ØéĀé ğ ØéĀé ğ
ùûā ùĘ Ĝģ ĜĢĤ ĝğĠ éāôĄ ðúā æĄ Ĝě ĜĢĠ ĜĞģ éāôĄ ð ð ĜĞ ğĝĢ ğġĞ éāôĄ éāôĄ ùûā ùĘ Ĝģ ĜĢĤ ĝğĠ éāôĄ ðúā æĄ Ĝě ĜĢĠ ĜĞģ éāôĄ ð ð ĜĞ ğĝĢ ğġĞ
ĎèÐāò×Ā ã äăæçö×èùðāÓð čæò ěģ ĜġğĢ ġěĞġ ãäŚüďãśæĄē Ąē ðĈôēüèăçÓöāðùÿãöÐČôÿêòÿúñĀ ăíćæçčÕø⪠čæò ěģ ģğĤğ ģěģĞ íć ĎèÐāò×ĀãæĘāċíĆēüÓöāðùÿãöÐČôÿêòÿúñĀ ã äăãäŚãüæĘ ďãśāæċíĆ ðĈôèăçăíćæçčÕø⪠čæò ěģ ĝĝĝĝ ĠĢĤě - Ĥğ ðĈôèăçăíćæçö×è čæò ěģ ĜğĠĢ ĝĞĠĝ Óć â÷òÙā čæò ěģ ĜĠĜĞ ĜġĜĜ Óć âüāòĄöòòâ čæò ěģ ĠěĠģ ġģģģ
ČÐśõĉÖþčìĆĚÜĀúć÷ b Öć÷ÙêćÿêĉĂĆîßîđĀúŠćĔéĕöŠÿšĂÜđÿóĒúšü õĉÖþčìĆĚÜĀúć÷ b Öć÷Ùêćÿêĉ ĂĆîßîđĀúŠ ćĔéĕöŠ ÿšĂÜđÿóĒúš ĂöêąßČ ęĂüŠć ĂĆîßîđĀúŠ ćîĆĚîĕöŠ ÿšĂÜđÿóĒúš ü ü ęĂüŠć ĂĆ îÖć÷Ùêćÿêĉ ßîđĀúŠćîĆĚîĂĕöŠĆîßîđĀúŠ ÿšĂÜđÿóĒúš õĉÖĂöêąßČ þčìĆĚÜĀúć÷ b ćĔéÿšüĂ ÜđÿóĒúšü õĉÖþčìĆĚÜĀúć÷ b Öć÷Ùêćÿêĉ ĂĆîßîđĀúŠ ĂÜđÿóĒúš ĂöêąßČ ęĂüŠć ĂĆîßîđĀúŠ ćîĆĚîÿšćĔéÿš ĂÜđÿóĒúš ü ü ĂöêąßČ üŠć ĂĆîßîđĀúŠ ÿšĂÜđÿóĒúšü õĉÖþčìĆĚÜęĂĀúć÷ b ßîđĀúŠćîĆćĚîĔéðøąöćìÖć÷Ùêćÿêĉ õĉÖþčìĆĚÜĀúć÷ b ßîđĀúŠ ßîđĀúŠ ćîĆĚîßČćęĂĔéðøąöćìÖć÷Ùêćÿêĉ üŠć ðøąöćìĂöêą ćîĆĚî ßČßîđĀúŠ ęĂüŠć ðøąöćìĂöêą õĉÖþčßîđĀúŠ ìĆĚÜĀúć÷ b ćĔéĕöŠðøąöćìÖć÷Ùêćÿêĉ õĉÖþčìĆĚÜĀúć÷ b ßîđĀúŠ ćßîđĀúŠ îĆĚîßČęĂćüŠĔéĕöŠ ć ĕöŠððøąöćìÖć÷Ùêćÿêĉ øąöćìĂöêą ßîđĀúŠćîĆĚîßČęĂüŠć ĕöŠðøąöćìĂöêą
Úüüú Úüüú
ùÓā ùĘ ĜĠ ĜĞğ ĞĤĝ éāôĄ éāôĄ ùÓā ùĘ ĜĠ ĜĞğ ĞĤĝ
ÑśüðĈôçòòðÿèĄ ×Āãüē æĘêòÿčñÙèŞ āċíĆüē êòÿčñÙèŞ æāÖÐāò÷ą øāùĈùŚ āçāòâÙèċêŢ èçòòðæāè ôă ùăæèçăØéĀ Ďė èäśéèèĄØéĀ ďĔ ãśòéĀ ÐāòùÖöèďöś ďðŚùÖöèùă æçăĎė èÐāò×Ā ãæĘā×āÐ ÑśüðĈôçòòðÿèĄ Ĕ ×ĀãæĘā Ĕ ċíĆ æāÖÐāò÷ą ÐøāùĈùŚ ÐāçāòâÙèċêŢ èçòòðæāè ôă ÑùăæçăĎė Ñèäś ďĔ ãśòééĀ èĄÐāòùÖöèďöś ďðŚùÖöèùă æçăĎė èÐāò×Ā ãæĘā×āÐ ċíĆüē ċëñČëŚ èæćÐ ĎèÐāò×Ā Ðò⥠ĎèÐāò×Ā āúòĆüċëñČëŚ čêòãĎÙś ÓöāðôÿċüĄ ñãòüéÓüéċíĆ üē òĀÐøāÓöāðåĈ ÐäśüÖÑüÖÑś üðĈôā ÑüÓĘ āêòąÐāèÑś øāãśüðĈāèÑś äśèØéĀäśéèċíĆØéĀüē éċëñČëŚ ĎèæćÐĎÐò⥠ãæĘāúòĆãüæĘċëñČëŚ čêòãĎÙś ÓöāðôÿċüĄ ñãòüéÓüéċíĆ üē òĀÐøāÓöāðåĈ ÐäśüÖÑüÖÑś üðĈô ÑüÓĘ êòąÐøāãś ô üðĈô
õĉÖþčîĆĚî÷ŠĂößČęĂüŠć đðŨîñĎšêćöđĀĘîÖć÷ĔîÖć÷Ă÷ĎŠđðŨîðøąÝĞć õĉÖþčîĆĚî÷ŠĂößČęĂüŠć đðŨîñĎšêćöđĀĘîÖć÷ĔîÖć÷Ă÷ĎŠđðŨîðøąÝĞć õĉÖþčìĆĚÜĀúć÷ b ßîđĀúŠćĔéĕöŠïøĉēõÙÖć÷Ùêćÿêĉ õĉÖþčìĆĚÜĀúć÷ b ßîđĀúŠćĔéĕöŠïøĉēõÙÖć÷Ùêćÿêĉ ßîđĀúŠćîĆĚîßČęĂüŠć ÷ŠĂöĕöŠïøĉēõÙĂöêą ßîđĀúŠćîĆĚîßČęĂüŠć ÷ŠĂöĕöŠïøĉēõÙĂöêą
óćÔüċêĄĘÚþøąõ b ÝìďþøŞąĒçíöćđó×Ôąõ×èąýèć óćÔüċêĄĘÚþøąõ b ÝìďþøŞ đó×Ôąõ×èąýèć ÝìďþøŞ ąìĄĘìÝĊėĀúŞąąĒçíöć õŞĀôíöć đó×Āôèă ÝìďþøŞąìĄĘìÝĊėĀúŞąõŞĀôíöćđó×Āôèă ČÐś
Ĥ
!9M! 9 D#đ!H# D&? L5#+8F* !č M5 AL5- /:)2@ D&?L5 /:)2@
Ċ5!9 ĊM!5 9 D#đ! H# D&? L5#+8F* !č D ?M5 A-D ? D&?
5 9M 3-:*D5 -5 :-!:!Ŵ E ĉ&E ĉ / D&/ D 5 9M 3-:*D5 -5 :-!:!Ŵ
üðĈôçòòðÿèĄ āċíĆüē êòÿčñÙèŞ æāÖÐāò÷ą ùŚ āçāòâÙèċêŢ èçòòðæāè ôă ùăæèçăĎØéĀ ė èäśéèèĄØéĀ ďĔ ãśòéĀ ÐāòùÖöèďöś ďðŚùÖöèùă æçăĎė èÐāò×Ā ãæĘā×āÐ ÑśüðĈôÑśçòòðÿèĄ Ĕ ×ĀãæĘā Ĕ ×ĀċíĆãüē æĘêòÿčñÙèŞ æāÖÐāò÷ą ÐøāùĈÐùŚ øāùĈ āçāòâÙèċêŢ èçòòðæāè ôă ÑùăæçăÑĎė èäś ďĔ ãśéòéĀ èĄÐāòùÖöèďöś ďðŚù Ööèùă æçăĎė èÐāò×Ā ãæĘā×āÐ ØéĀüē éċëñČëŚ ċíĆüē ċëñČëŚ èæćÐ Ðò⥠ĎèÐāò×Ā āúòĆüċëñČëŚ čêòãĎÙś ÓöāðôÿċüĄ ñãòüéÓüéċíĆ üē òĀÐøāÓöāðåĈ ÐäśüÖÑüÖÑś üðĈôā ÑüÓĘ êòąÐāøāãś äśèØéĀäśéèċíĆ ĎèæćÐĎÐò⥠ĎèÐāò×Ā ãæĘāúòĆãæĘüċëñČëŚ čêòãĎÙś ÓöāðôÿċüĄ ñãòüéÓüéċíĆ üē òĀÐøāÓöāðåĈ ÐäśüÖÑüÖÑś üðĈô ÑüÓĘ êòąÐāøāãś èÑśüāðĈèÑś ô üðĈô ĎèÐāò×Ā ã äăæãçö×èùðāÓð čæò ěģ ĜġğĢ ġěĞġ äŚüďãśæĄē ôèăēçüíă ÓöāðùÿãöÐČôÿêòÿúñĀ æć çčÕø⪠čæò ěģ ĝĝĝĝ ĠĢĤě - Ĥğ íć ĎèÐāò×ĀãæĘāċíĆüē ÓöāðùÿãöÐČôÿêòÿúñĀ ã äăãäŚüãďãśæĘæā ēĄ ðĈċíĆ
ðĈôèăçăíćæçčÕø⪠čæò ěģ ĝĝĝĝ ĠĢĤě - Ĥğ ðĈôèăçăíćæçö×è čæò ěģ ĜğĠĢ ĝĞĠĝ Óć â÷òÙā čæò ěģ ĜĠĜĞ ĜġĜĜ Óć âüāòĄöòòâ čæò ěģ ĠěĠģ ġģģģ
åĕöôčŸÃŸŸćĎĂęĂßõĀĀþŸ áĄďþßĖñęÞĂď
ØéĀé
5:!! č ŧ 2:/ 9 M 3-:*D+= +Ċ5 3:0:2 :D&? L5 /:)D#đ 5:!! č ŧ 2:/ 9 M 3-:*D+= * +Ċ5* 3:0:2 :D&? L5 /:)D#đ !)< + !)< + D+=*5 +Ċ L5 /:)D#đ D#đ:! H+D-ĉ 5*ĉ:: H+D-ĉ H)ĉD+=H)ĉ * +Ċ D&?5L5 D&?
/:)D#đ !09 +A! 09D#đ !+A5*ĉ ħ : ħ 5:!! č ŧ G! + = !=M 0:2 :$A ! A E2/ 3:#+8F* !č 5:!! č ŧ G! + = !=M 0:2 :$A ĊD5K! AĊD 5KE2/ 3:#+8F* !č D ?M5 A-D ?M5 A- * /:)D5K E-Ċ /E2 > E2 M 3-:*/ĉ 5:095:09 * /:)D5K ! AE!-Ċ A/ > ++)E ĉ++)E ĉ 2:/ 92:/ 9 M 3-:*/ĉ : : #đ!H#D&? L5#+8F* !č M5 A&-/ D E ĉ&5 9 / DM 3-:* 5 9M 3-:* ß2<L ß2< !=MD#đL !=!MDH#D&? L5#+8F* !č D ?M5 AD- ?E ĉ E-82< #đ!H#D&? L5 /:)2@ E ĉ&5 9 / DM 3-:*à 9 5 9M 3-:*à 9 E-82< L !=M L KD!=#đM !KDH#D&? L5 /:)2@
E ĉ& / D !=MD#đ! Ċ!=!MD #đ! Ċ!
5:!! č ŧ 2:/ 9 M 3-:*5*ĉ !=ME- 5:!! č ŧ 2:/ 9 M 3-:*5*ĉ : !=ME:- +=*5 +Ċ 3:0:2 :D&? 5 3:0:2 :D&? L5 /:)D#đ !)< D+ H)ĉ * +ĊL55 /:)D#đ D&?L5 /:)D#đ ?L5 ?/ĉL5:$A/ĉ:ĊD+=$A*ĊD +Ċ L5 /:)D#đ !)< + H)ĉ +=* +ĊD5+= D&? !09 +A !09 +A
Óćâ÷òÙā čæò ěģ ĜĠĜĞ ĜġĜĜ ÓćâüāòĄöòòâ čæò ěģ ĠěĠģ ġģģģ
ùĘāúòĀéëĈäś üś ÖÐāòêÞăéäĀ çă òòòð äăãäŚüďãśæ ēĄ ÷ĈèñŞêÞăéäĀ íă æć çö×è #VEEIBXBKBOB 5SBJOJOH $FOUFS ùĘāúòĀéëĈäś üś ÖÐāòêÞăéäĀ çă òòòð äăãäŚüďãśæ ēĄ ÷ĈèñŞêÞăéäĀ íă æć çö×è #VEEIBXBKBOB 5SBJOJOH $FOUFS čæò÷ĀíæŞ čæò ěģ ĤĢĤĜ ěĝĤĤ ěģ ĢĠĜĜ ģěĜě ěĤ ĝĤĜĝ ĞġĠĢ ěĤ ĝĤĜĝ ĞĢĝĜ ěĤ ĝĤĜĝ ĞğĢĜ
đöČęĂñĎšĂČęîđðŨîñĎšđïĊ÷éđïĊ÷î đöČęĂñĎšĂČęîđðŨîñĎšêøąĀîĊę Ÿ ęĀďåĎÞęøŇöùĖŀĝþĿę÷Ēÿñę÷ĒÿöŸ ęĀďåĎÞęøŇöùĖŀĝþĿòĀčĈöĒġ đöČęĂñĎšĂČęîÖøąìĞćðćèćêĉïćê đöČęĂñšĎĂČęîđðŨîñĎšēĂšĂüé Ÿ ęĀďåĎÞęĄŀößďñåďÞøďðďòđ÷ďòŸ Ÿ ęĀďåĎÞęøŇöùĖŀĝþĿěĊŀĊĄñŸ đöČęĂñĎšĂČęîÖøąìĞćĂìĉîîćìćî đöČęĂñĎšĂČęîđðŨîñĎšöĊöćø÷ć Ÿ ęĀďåĎÞęĄŀößďñåďÞĊôđööďôďö Ÿ ęĀďåĎÞęøŇöùĖŀĝþĿþĒþďĀÿďŸ đöČęĂñĎšĂČęîóĎéđìĘÝ óĎéÿŠĂđÿĊ÷é đöČęĂñĎšĂČęîđðŨîñĎšÖøąéšćÜ åĕöôčŸÃŸŸćĎ ĂęĂßõĀĀþŸ áĄďþßĖ ęÞĂď ĂęĂßõĀĀþŸ áĄďþßĖ óĎéÙĞćĀ÷ćï óĎéđóšĂđÝšåĕĂöôčŸÃŸŸćĎ Ÿ ęĀďåĎÞęøŇöñùĖŀĝęÞĂď þĿÞñĀčñŀ ďäŸ ćđġäåôĒŸŸġęĢäõĊôĎ ĢäĈĂďÿûē Ÿ ęĀďåĎÞęĄŀößďñåďÞÞďĀûĖ ęôĠ đöČ ęĂñĎďšĂĜöõĀĀþôĎ ČęîđðŨîĢäñĎĈĂďÿęĈĂĿ šéĎĀĢäöĉĈĂďÿęĈĂĿ ęîìŠćďî öĒĢ ďöĒĢ ęøŇöćđęøŇ ġäôĒñöġęõĊôĎ ĈĂďÿûē äÞĀčôĦäÞĀčôĦ ďĜöõĀĀþôĎ Ÿ ûĖñćĿĊęćĒÿñŸŸûĖñáĦďĈÿď÷ŸûĖñęûŀĊęåŀĊŸ Ÿ ęĀďåĎÞęøŇöùĖŀĝþĿñĖĈþđġöôĿďö đöČęęĂĂñĎñĎđöČ öćÖéš đöČęęĂĂñĎñĎđöČ đðŨñĎšĂîîČęîñĎñĎđðŨ ñĎšĂîČęîñĎđðŨ î÷ñĎéđïĊ šđïĊß÷áć éđïĊ î÷ćÖ ñĎšêøąĀîĊ đöČ ššĂĂČČęęîîęĂđðŨ šđüïĊ÷Ăõĉ î ÷î đöČ ššĂĂČČęęîîęĂđðŨ ššêüŠćøąĀîĊ ę ę Ÿ ęĀďåĎ ęøŇ ŀŀĝĝþĿþĿöþę÷ĒùĖďÞñŀ ęĀďåĎ ęøŇööÞùĖùĖęøŇ Ÿ ÞÞęĀďåĎ ę÷ĒĄÿĊýđ ÿñę÷Ē öŸ ÞÞęĀďåĎ ŀĝÿŸþĿòĀčĈöĒ ęĀďåĎ ęøŇööÞùĖùĖęøŇ ÿŀĝþĿñę÷Ē öŸ çÿéďŸ Ÿ ęĀďåĎ ęøŇ ŀŀĝĄþĿĿďöòäĿùĖďĀčĈöĒ ġ ġ đöČ ššĂĂČČęęîîęĂöĊÖøąìĞ đöČęęĂĂñšñĎđöČ đðŨñšĎĂîîČęîñĎñĎđðŨ øßĆ ñĎÝšĂĉêČęîó÷ćïćì ÖøąìĞ ćðćèćêĉ šēĂšęüĂ üé đöČęęĂĂñĎñĎđöČ ćðćèćêĉ ïćê ïćê đöČ ĎšĂĂČČęęîîęĂđðŨ ššēöĂšĊöîĂĉêñĎüé Ÿ ęĀďåĎ ęøŇ ùĖęĄŀŀĝþĿöþßďñåďÞøďðďòđ Ēåđòûÿď÷ďôŸ ęøŇööÞùĖùĖęøŇ ŸěĊŀĊĄñŸ Ÿ ÞÞęĀďåĎ Ÿ ÞÞęĀďåĎ ŀĝĊþĿĄñŸ ęĀďåĎ ęĄŀööÞßďñåďÞøďðďòđ ÷ďòŸ÷ďòŸ ŸŸ ęĀďåĎ ęĀďåĎ ęøŇ ŀŀĝþþĿĒþöěđòùĖĊŀĀñĒ đöČ ššĂĂČČęęîîęĂđðŨ šôćĂìĉ čŜÜàŠćîćî đöČ ššĂĂČČęęîîęĂđðŨ ššðöĊøąöćì ñĎšĂîČęîñĎÖøąìĞ Ăìĉîîćìćî ñĎšöĊöćø÷ć đöČęęĂĂñĎñĎđöČ ÖøąìĞ îćìćî đöČęęĂĂñĎñĎđöČ đðŨñĎšĂîîČęîñĎñĎđðŨ öîćø÷ć Ÿ ęĀďåĎ ęøŇ ùĖęĄŀŀĝþĿöüßďñåďÞĊôđ ĕĻäèĿďöŸööďôďö Ÿ ęĀďåĎ ęøŇ ŀŀĝĝþĿþĿöøþùĖĒþĀčþďô Ÿ ÞÞęĀďåĎ ööďôďö Ÿ ÞÞęĀďåĎ ŀĝďĀÿďŸ þĿþĒþďĀÿďŸ ęĀďåĎ ęĄŀööÞßďñåďÞĊôđ ęĀďåĎ ęøŇööÞùĖùĖęøŇ đöČ ššĂĂČČęęîîęĂđðŨ ēÖøí ñĎ đöČ ššĂĂČČęęîîęĂđðŨ ššĕÖöŠøąéš ČęîñĎóĎšöÝéĆÖ óĎ đìĘéÝÿŠ óĎ ĂđÿĊ÷é îöñĎĊĀšÖćĉøøąéš ćÜ ððą đöČęęĂĂñĎñĎđöČ óĎñĎéšĂîđìĘ ĂđÿĊéÖÿŠ÷ēÖøí é đöČęęĂĂñĎñĎđöČ đðŨñĎšĂîîČęîñĎñĎđðŨ Ü ĉ ĒúąēĂêêĆ öùĖéŀĝđóšþĿĂþéđÝšĎÞđóšěÞĀõŸŸùĖ ęøŇ ŀŀþĝþĿĒĈöÞđĀùĖĀčñŀ đŸŀĝŸĚĂčěĊòòĎ óĎĀ÷ćï óĎ éÙĞÞćęøŇ Ā÷ćï óĎ Ÿ ÞÞęĀďåĎ þĿÞďĀčñŀ óĎ éÙĞćęĀďåĎ Ă Ăđݚà ÞěÞĀõŸ Ÿ ęĀďåĎ ęĀďåĎ ęøŇööÞùĖùĖęøŇ äŸ ďäŸøøčŸ îęĄŀñĎöšúÞßďñåďÞÞďĀûĖ ïĀúĎ čè ñęôĠåñŸŸęôĠ域 đöČęęĂĂñĎñĎđöČ đðŨñĎšĂîîČęîñĎñĎđðŨ ŸšĂČęîđðŨÞęĀďåĎ ęĄŀöŠÙßďñåďÞÞďĀûĖ ŸđöČęĂñĎęĀďåĎ đöČ ššĂĂČČęęîîęĂđðŨ ššéöĎĊĀÿîčêöĉñĎąîš ęîšéìŠĎĀĂćöĉ÷ î ęîìŠćî Ÿ ęĀďåĎ ŀĝŸûĖþĿÿĂññŸ÷ĈĂĖ Ÿ ñęûŀĊñęåŀęûŀĊĊŸ ęåŀĊŸ Ÿ ęĀďåĎ ęøŇ ŀŀþĝþĿĒćöñĕòùĖĖĈčþďÞŸ ñćĿöÿĊùĖñŸęćĒ ñĿááĦĕðďĈÿď÷ŸûĖ Ÿ ÞÞęĀďåĎ ŀĝþđþĿġöñôĿĖĈďþđöġöôĿďö ûĖŸ ñćĿÞĊûĖęøŇ ęćĒ áĦŸďûĖĈÿď÷ŸûĖ ęĀďåĎ ęøŇööÞùĖùĖęøŇ đöČ ššĂĂČČęęîîęĂđðŨ šĒü׊÷Ăõĉ ÜéĊ ü ß÷Ăõĉ đöČ ššĂĂČČęęîîęĂđðŨ šš×üŠćĊĚđîÖĊ÷ćÖ ñĎšĂîČęîñĎöćÖéš ñĎ÷Ý šüŠć÷ćÖ đöČęęĂĂñĎñĎđöČ öćÖéš áć ßáć đöČęęĂĂñĎñĎđöČ đðŨñĎšĂîîČęîñĎñĎđðŨ ęĀďåĎ ęøŇ ŀŀĝĝþĿþĿöĚþùĖßĿďÞñŀ Ÿ ęĀďåĎ ęøŇ ŀŀøĄĿďĀďĀýáĄďþęûĒ ÞÞęĀďåĎ ŀĝäþĿñĒþĄďÞñŀ Ÿ ÞÞęĀďåĎ öäĿùĖďŀĄÿŸĿďäĿďÿŸ ÿĀŸ ęĀďåĎ ęøŇööÞùĖùĖęøŇ ÿĊýđĄçÿĊýđ éďŸçéďŸ ęĀďåĎ ęøŇööÞùĖùĖęøŇ đöČęęĂĂñĎñĎđöČ öĊšøĉÝþĉê÷ć ó÷ćïćì šöĊöęüĉê øßĆęü đöČ ššĂĂČČęęîîęĂöĊđðŨñĎÝšĂîĉêČęîñĎó÷ćïćì đöČęĂñĎđöČ šĂČęîęĂđðŨñĎšĂîČęîñĎđðŨ šöĊöîĉêñĎøßĆ éāôĄ ðĈ ð Ĝĝ Ģģ Ĝěġ Ÿ ęĀďåĎ ęĀďåĎ Þ ęøŇ ö ùĖ ŀ ĝ þĿ Ā đ Ć ÿďŸ ÞęĀďåĎ þĒåđòûÿď÷ďôŸ Ÿ ÞęĀďåĎ ŀþĒþŸđòĀñĒŸ ęøŇöÞùĖęøŇ ŀĝþĿöþùĖĒåŀĝđòþĿûÿď÷ďôŸ Ÿ ęĀďåĎ ęøŇöÞùĖęøŇ ŀþĒþöđòùĖĀñĒ îñĎšðøąöćì đöČęĂñĎđöČ šĂČęîęĂđðŨñĎšĂîČęîñĎđðŨ šôčŜÜîàŠñĎćšôî čŜÜàŠćî đöČęĂñĎđöČ šĂČęîęĂđðŨñĎšĂîČęîñĎđðŨ šðøąöćì ęĀďåĎ èäśèØéĀÞęĀďåĎ ŀĝþĿøĀčþďô ęĀďåĎ ęøŇ öÞùĖęøŇ ŀĝþĿöüæùĖāÖÐāò÷ą ĕĻäŀĝèĿþĿďüöŸĕĻäÐèĿøāùĈďöŸ þĿöøùĖĀčþďô ÑśüðĈôçòòðÿèĄ Ĕ ×ĀãæĘāÞċíĆ üē êòÿčñÙèŞ ùŚ āçāòâÙèċêŢèçòòðæāè ôă ÑùăæçăĎė ęĀďåĎ éęøŇèĄďĔöãśÞùĖòęøŇ éĀ ŀĝÐāòùÖöèďöś ďðŚùÖöèùăæçăĎė èÐāò×ĀãæĘā×āÐ äśèØéĀđöČ éċíĆęĂüēñĎċëñČëŚ æĘāúòĆ ċëñČëŚ čêòãĎÙśÓöāðôÿċüĄđöČ ñãòüéÓüéċíĆ ÐšĕöŠøāÓöāðåĈ ÐĊĀäśĉøüĉ ÖÑüÖÑś üððĈðą ô ÑüÓĘðāðą êòąÐøāãśāèÑśüðĈô đöČ ČęîñĎđðŨ îēÖøí ñĎ ñĎšö ĎèÐāò×Ā ĆÖēÖøí ñĎ ÖüēÖøí îöñĎĊĀšĕĉøöŠĉ ö ĒúąēĂêêĆ ĒúąēĂêêĆ šĂČęîęĂđðŨñĎšĂîĎèæć šöÐĆÖÐò⥠ÖãēÖøí ęĂñĎđöČ šĂČęîęĂđðŨñĎšĂîüē ČęîñĎòĀđðŨ æĒĈçö×èùðāÓð čæò ěģ ĜġğĢ ġěĞġ ĎèÐāò×ĀãæĘāċíĆ üē ÓöāðùÿãöÐČôÿêòÿúñĀ ãäŚüďãśæ ēĄ ðĈÞôěÞĀõŸ þĿþãĎÞ äăěÞĀõŸŸùĖ ÞęĀďåĎ đĀđŸŸĚĂčěĊòòĎ ęĀďåĎ ÞęĀďåĎ ęøŇöÞùĖęøŇ ŀĝþĿöþùĖĎÞŀĝěÞĀõŸŸùĖ ÞěÞĀõŸèăçíă æć çčÕø⪠čæò ěģ ĝĝĝĝ ĠĢĤě - Ĥğ íć ęĀďåĎ ęøŇöÞùĖęøŇ ŀþĒĈöđĀùĖđŸŀþŸĚĂčěĊòòĎ øøčŸøøčŸ ðĈôèăçăíćæçö×è čæò ěģ ĜğĠĢ ĝĞĠĝ Óćâ÷òÙā čæò ěģ ĜĠĜĞ ĜġĜĜ ÓćâüāòĄöòòâ čæò ěģ ĠěĠģ ġģģģ îñĎšúŠÙïĀúĎ šöĊÿĂčê÷ ąîšĂ÷ đöČęĂñĎđöČ šĂČęîęĂđðŨñĎšĂîČęîñĎđðŨ šúïĀúĎ čè ŠÙčè đöČęĂñĎđöČ šĂČęîęĂđðŨñĎšĂîČęîñĎđðŨ šöĊÿîčêñĎąîš āúòĀéëĈÞäś ęøŇ äĀ çă òòòð äă ùĘÞęĀďåĎ öĂùĖ÷ĈĂĖ ŀĝþĿĂéĿá÷ĈĂĖ ÞęĀďåĎ ŀþĒćĕòčþďÞŸ ęĀďåĎ ęøŇöùĖŀĝüś þĿÖÐāòêÞă ĕðŸ ĿáĕðãŸäŚüďãśæ ēĄ ÷ĈèñŞêÞăéäĀ íă æć çö×è #VEEIBXBKBOB 5SBJOJOH $FOUFS ęĀďåĎ ęøŇöÞùĖęøŇ ŀþĒćöĕòùĖčþďÞŸ čæò÷ĀíæŞ ěĤ ĝĤĜĝ ĞġĠĢ ěĤ ĝĤĜĝ ĞĢĝĜ ěĤ ĝĤĜĝ ĞğĢĜ š×ĊĚđÖĊ÷Ý đöČęĂñĎđöČ šĂČęîęĂđðŨñĎšĂîČęîñĎđðŨ šĒ׊îÜñĎéĊšĒ ׊ÜéĊ đöČęĂñĎđöČ šĂČęîęĂđðŨñĎšĂîČęîñĎđðŨ š×ĊĚđîÖĊñĎ÷Ý ÓąÐöóæçă åăëčô ďãśæĄē ÿĀŸ ÞęĀďåĎ ÞùĖęøŇ ñĒ āùüèäāðúôĀÐíćæçö×è čãñíòÿüā×āòñŞ ÞęĀďåĎ ùĖŀøė čùäĉ ĀďĀýáĄďþęûĒ ęĀďåĎ ęøŇäăãöäāðÐāòċëñČëŚ ŀĝþĿöĚùĖßĿŀĝäþĿñĒĚßĿíäòÿçòòðÓĘ ęĀďåĎ ęøŇöÞùĖęøŇ ŀøĀďĀýáĄďþęûĒ ÿĀŸ XXX CVEEIBLPT PSH ] NFEJB XBUOBQBIQPOH PSH ] XXX XBUOBQQ DPN ] XXX CVEEIBXBKBOBGVOE PSH ñĎšøĉþ÷ć ÓôĆèē ù ö í '. .)[ æćÐöĀèíòÿ ċöôā è đöČęĂñĎđöČ šĂČęîęĂđðŨñĎšĂîČęîñĎđðŨ šøĉþî÷ć ðĈ ð Ĝĝ Ģģ Ĝěġ Ÿ ÞęĀďåĎ þĿĀđĆÿďŸ éāôĄ éāôĄ ðĈ ð Ĝĝ Ģģ Ĝěġ Ÿ ęĀďåĎ ęøŇöÞùĖęøŇ ŀĝþĿöĀùĖđĆŀĝÿďŸ
&@&@ // !!
&@&@ // !!
äăãäāðÐāòċëñČëŚ íòÿçòòðÓĘ āùüèäāðúôĀ Ðíćæçö×è čãñíòÿüā×āòñŞ óæçăåăëė čùäĉ åăëæčô ďãś äăãäāðÐāòċëñČëŚ íòÿçòòðÓĘ āùüèäāðúôĀ Ðíćæçö×è čãñíòÿüā×āòñŞ ÓąÐóæçăÓė ąÐčùäĉ čô ďãś Ąē æĄē XXX CVEEIBLPT PSH ] NFEJB XBUOBQBIQPOH PSH ] XXX XBUOBQQ DPN ] XXX CVEEIBXBKBOBGVOE PSH XXX CVEEIBLPT PSH ] NFEJB XBUOBQBIQPOH PSH ] XXX XBUOBQQ DPN ] XXX CVEEIBXBKBOBGVOE PSH ÓôĆèē ù ö í '. .)[ æć ÐöĀèíòÿ ċöôā è ÓôĆèē ù ö í '. .)[ æć ÐöĀèíòÿ ċöôā è
+=*5 +Ċ 3:0:2 :D&? 5 3:0:2 :D&? L5 /:)D#đ $AĊD+=$A*ĊD +Ċ L5 /:)D#đ !)<! )<+ +
2:/ D3-ĉ !9M! 5 0:2 : *ĉ Ċ/ * = *ĉ5)D = 2:/ D3-ĉ :!9M!: 5 0:2 : *ĉ 5)'ď5)'ď Ċ/ * = *ĉ5 )D = L*3A'L*3Aď 'ď *ĉ5M ) 9 < L5D&? 8+A L5 8+A *ĉ5) 9 < M D&? Ċ 9L/ >Ċ 9L/ > E-8H)ĉ Q:$G3Ċ< : Q $< : Q 29L 25! 5 0:2 : E-8H)ĉ E -ĊE -Ċ Q: G3Ċ :29L :25! 5 0:2 :
ðĈôèăçăíćæçčÕø⪠čæò ěģ ĝĝĝĝ ĠĢĤě - Ĥğ ðĈôèăçăíćæçö×è čæò ěģ ĜğĠĢ ĝĞĠĝ Óć â÷òÙā čæò ěģ ĜĠĜĞ ĜġĜĜ Óć âüāòĄöòòâ čæò ěģ ĠěĠģ ġģģģ ãäāðÐāòċëñČëŚ íòÿçòòðÓĘ āùüèäāðúôĀ Ðíćæçö×è čãñíòÿüā×āòñŞ óæçăå ė ăëčùäĉ åëă æčô ďãś íòÿçòòðÓĘ āùüèäāðúôĀ Ðíćæçö×è čãñíòÿüā×āòñŞ čô ďãś Ąē æē Ą ęøŇäăãöäāðÐāòċëñČëŚ ćđäăXXX XBUOBQQ DPN ] NFEJB XBUOBQBIQPOH PSH ] XXX CVEEIBLPT PSH ġäôĒġęõĊôĎĢäĈĂďÿûē äÞĀčôĦ ďĜöõĀĀþôĎ ĢäĈĂďÿęĈĂĿďöĒĢ ÓąÐóæçăÓÐė ą čùäĉ XXX CVEEIBLPT PSH ] NFEJB XBUOBQBIQPOH PSH ] XXX XBUOBQQ DPN ] XXX CVEEIBXBKBOBGVOE PSH ēè ù ö í '. .)[ æć ÐöĀèíòÿ ċöôā è ÓôĆèē ÓôĆ ù ö í '. .)[ æć ÐöĀèíòÿ ċöôā è
5:!! č ŧ D&+:8 8!9 M! G!D+? M &/ D M 3-:* 5:!! č ŧ D&+:8 8!9 M! G!D+? L5 !=L5M != &/ D 5 9M 5 9 3-:* 5 3: : D&? L5 /:)D#đ )< +D < D+= D+= * +Ċ*5 +Ċ 3: : D&? L5 /:)D#đ !)< !+D < D+=*5 +Ċ D&?5 D&? L5 /:)D#đ 5*ĉ:5*ĉ D+=*: +Ċ L5 /:)D#đ !09 !+A09D -*+AD-*
æùÐ üĘ ĝğ Ĝģģ ĤĜ éāôĄ éāôĄ æùÐ üĘ ĝğ Ĝģģ ĤĜ
ÑśüðĈôçòòðÿèĄ Ĕ ×ĀüēãêòÿčñÙèŞ æĘāċíĆüē êòÿčñÙèŞ æāÖÐāò÷ą øāùĈùŚ āçāòâÙèċêŢ èçòòðæāè ôă ÑùăæèØéĀ çăĎė èäś ďĔ ãśòéĀ ÐāòùÖöèďöś ďðŚùæÖöèùă æçăĎė èÐāò×Ā ãæĘā×āÐ ÑśüðĈôçòòðÿèĄ Ĕ ×ĀãæĘāċíĆ æāÖÐāò÷ą ÐøāùĈùŚ ÐāçāòâÙèċêŢ èçòòðæāè ôă ÑùăæçăĎė èäś éèĄèďĔ ØéĀ ãśòéĀ èĄÐāòùÖöèďöś ďðŚùÖöèùă çăĎė èÐāò×Ā ãæĘā×āÐ éċíĆüē ċëñČëŚ ĎèæćÐ ĎèÐāò×Ā Ðò⥠ĎèÐāò×Ā āúòĆüċëñČëŚ ÓöāðôÿċüĄ ñãòüéÓüéċíĆ üē òĀÐøāÓöāðåĈ ÐäśüüÖÑüÖÑś üðĈāôêòą ÑüÓĘ āêòąāÐèÑś øāãś äśèØéĀäśéèċíĆØéĀ üē ċëñČëŚ ĎèæćÐÐò⥠ãæĘāúòĆãüæĘċëñČëŚ čêòãĎÙś čêòãĎÙś ÓöāðôÿċüĄ ñãòüéÓüéċíĆ üē òĀÐøāÓöāðåĈ ÐäśüÖÑüÖÑś ðĈô ÑüÓĘ Ðøāãś üðĈāôèÑśüðĈô èăçíă æć çčÕø⪠čæò ěģ ĝĝĝĝ ĠĢĤě - Ĥğ íć æçö×èùðāÓð čæò ěģ ĜġğĢ ġěĞġ āċíĆüē ÓöāðùÿãöÐČôÿêòÿúñĀ ôèăæç ēĄ íă ðĈæć ôçčÕø⪠čæò ěģ ĝĝĝĝ ĠĢĤě - Ĥğ íć æçö×èùðāÓð čæò ěģ ĜġğĢ ġěĞġ ĎèÐāò×ĀĎèÐāò×Ā ãæĘāċíĆãüē æĘÓöāðùÿãöÐČôÿêòÿúñĀ ã äăãäŚãü äă ďãśãæäŚ ēĄ ðĈüďãś
üðĈôçòòðÿèĄ ×Āãüē æĘêòÿčñÙèŞ āċíĆüē êòÿčñÙèŞ æāÖÐāò÷ą ùŚ āçāòâÙèċêŢ èçòòðæāè ôă ùăæèçăØéĀ Ďė èäśéèèĄØéĀ ďĔ ãśòéĀ ÐāòùÖöèďöś ďðŚùÖöèùă æçăĎė èÐāò×Ā ãæĘā×āÐ ÑśüðĈôÑśçòòðÿèĄ Ĕ ×ĀãæĘā Ĕ ċíĆ æāÖÐāò÷ą ÐøāùĈÐùŚ øāùĈ āçāòâÙèċêŢ èçòòðæāè ôă ÑùăæçăÑĎė èäś ďĔ ãśéòéĀ èĄÐāòùÖöèďöś ďðŚùÖöèùă æçăĎė èÐāò×Ā ãæĘā×āÐ ØéĀüē éċëñČëŚ ċíĆüē ċëñČëŚ èæćÐ Ðò⥠ĎèÐāò×ĀãæĘāúòĆüċëñČëŚ čêòãĎÙśÓöāðôÿċüĄñãòüéÓüéċíĆüē òĀÐøāÓöāðåĈÐäśüÖÑüÖÑśüðĈô ÑüÓĘāêòąÐøāãśāèÑśüðĈô ĎèÐāò×ĀãæĘāúòĆüċëñČëŚ čêòãĎÙśÓöāðôÿċüĄñãòüéÓüéċíĆüē òĀÐøāÓöāðåĈÐäśüÖÑüÖÑśüðĈô ÑüÓĘāêòąÐøāãśāèÑśüðĈô äśèØéĀäśéèċíĆ ĎèæćÐĎÐò⥠ĎèÐāò×Ā ã äăæãçö×èùðāÓð čæò ěģ ĜġğĢ ġěĞġ äŚüďãśæĄē Ąē ðĈôēüèăÓöāðùÿãöÐČôÿêòÿúñĀ çăíćæçčÕø⪠čæò ěģ ģğĤğ ģěģĞ íć ĎèÐāò×ĀãæĘāċíĆēüÓöāðùÿãöÐČôÿêòÿúñĀ ã äăãäŚãüæĘ ďãśāæċíĆ
Đĕüĕþĕüčøė Đĕüĕþĕüčøė âĕąåøĕčøė Ôąõ×èąýèć
êĄĘÚþøąõ b ďöąõŞ ĀôÔøŞ ąúøôþąõĒÛďÕş ąĐøăøôþąõĒÛĀĀÔ óćÔüċóćêÔüċĄĘÚþøąõ b ďöąõŞ ĀôÔøŞ ąúøôþąõĒÛďÕş ąĐøăøôþąõĒÛĀĀÔ úŞąďîŦìÔąõĀĄìþìĉėÚĕ ĒìíööçąÔąõêĄĘÚþøąõ úŞąďîŦìÔąõĀĄìþìĉėÚĕ ĒìíööçąÔąõêĄĘÚþøąõ
&@ / ! &&@ @ // !! &&@ @ // !! &&@ @ // !! &&@ @ // !! &&@ / !! &&@ @ // !! çăíćæçö×è čæò ěģ ĜğĠĢ ĝĞĠĝ Óć â÷òÙā čæò ěģ ĜĠĜĞ ĜġĜĜ Óć üāòĄöòòâ čæò ěģ ĠěĠģ ġģģģ ðĈôèăçăíðĈćæôèăçö×è čæò ěģ ĜğĠĢ ĝĞĠĝ Óć â÷òÙā čæò ěģ ĜĠĜĞ ĜġĜĜ Óć âüāòĄöâòòâ čæò ěģ ĠěĠģ ġģģģ éëĈäś üś ÖÐāòêÞă éäĀ çă òòòð äă äĀ íă æć çö×è #VEEIBXBKBOB 5SBJOJOH $FOUFS ùĘāúòĀéùĘëĈāäś úòĀüś ÖÐāòêÞă éäĀ çă òòòð äă ãäŚüďãśãæäŚ ēĄ ü ÷ĈďãśèæñŞê ēĄ ÷ĈÞăéèäĀñŞêíă Þăæć éçö×è #VEEIBXBKBOB 5SBJOJOH $FOUFS íæŞ ěĤ ĝĤĜĝ ĞġĠĢ ěĤ ĝĤĜĝ ĞĢĝĜ ěĤ ĝĤĜĝ ĞğĢĜ čæò÷Āíčæò÷Ā æŞ ěĤ ĝĤĜĝ ĞġĠĢ ěĤ ĝĤĜĝ ĞĢĝĜ ěĤ ĝĤĜĝ ĞğĢĜ
ØéĀé ģ ØéĀé ģ
ØéĀé Ģ ØéĀé Ģ
ÙĀïéĊ b ÖćöēõÙĊ ÝĞćóüÖîĊ îÖćöēõÙĊ đúĉĚîýðøąđÿøĉ ßĆĚîðøąđÿøĉ ÙĀïéĊ b ÖćöēõÙĊ ÝĞćóüÖîĊ Ě đðŨîĚ đðŨ ÖćöēõÙĊ ßĆĚîđúĉßýĆĚî ßĆ å å ĀĆüćĀîš ßĆĚîïüø ÖüŠ ćÖćöēõÙĊ ìĆĚÜĀúć÷ đðøĊ ÷ïđÿöČ ßĆĚîĀĆßĆüĚîĀîš ßĆĚîćÿĎ ßĆÜĚîÿčÿĎéÜ ßĆÿčĚîéïüø ÖüŠ ćÖćöēõÙĊ ìĆĚÜĀúć÷ đðøĊ ÷ïđÿöČ Ăî Ăî îöÿéđÖĉ éÝćÖĒöŠ ēÙ îöÿš đÖĉéÝćÖîöÿé đî÷ך đÖĉéÝćÖîöÿš îöÿéđÖĉ éÝćÖĒöŠ ēÙ îöÿš öđÖĉéöÝćÖîöÿé đî÷ך îđÖĉéîÝćÖîöÿš ö ö đî÷ĔÿđÖĉ éÝćÖđî÷ך ĀĆüđî÷ĔÿđÖĉ éÝćÖđî÷Ĕÿ đî÷ĔÿđÖĉ éÝćÖđî÷ך î ĀĆîüđî÷ĔÿđÖĉ éÝćÖđî÷Ĕÿ ĀĆüđî÷ĔÿðøćÖäüŠ đúĉýćÖüŠ ćïøøéćøÿĂĆ đÖĉéÝćÖēÙìĆ ĚÜĀúć÷đĀúŠ îĆĚîî ÞĆ ĀĆüđî÷ĔÿðøćÖäüŠ ćđúĉýćÖüŠ ïøøéćøÿĂĆ îđÖĉéîÝćÖēÙìĆ ĚÜĀúć÷đĀúŠ ćîĆĚîć ÞĆ îĆĚîî îĆĚî
ÛļċĀĕôþĐ ĆÚ ðüĊ òðĆà ĄüĐ ÛļċĀÛĆà ... Ûļċ...ĀĕôþĐ ĆÚ ðüĊ ÷ûĿ ÷ ĕàčûĿò ĕàč ðĆà ĄüĐ ĆÛļċĆĀÛĆà ðĎĝĄĀàĖĄòĆûĻ ċàĘíĆûĻ ċàĄòď ðĎĝĄĀàĖĄòĆûĻ ċàĘíĆûĻ ċàĄòď ĝàúĎĆĝàûĒúĎĻ ĆûĒĻ ðċă ÚüüúÚü ÝòĘãļ ĖþĉõĒ ûÛĆàĕÛċ ðċă ÚüüúÚü ÝòĘãļ ĖþĉõĒ ļĆċāĊļĆûċāĊ ÛĆàĕÛċ ÷ďà÷ċĕĆċęôęúĻ ðĊĞàĄúí áĉîļ äďĝàÚċüþĉðč ðĊĞàĄúí ÷ďà÷ċĕĆċęôęúĻ ęíļðęĊĞàíļĄúí áĉîļ ĆàïďĆààïď äďĝààÚċüþĉðč ĞàęĀļĞàðęĀļ ĊĞàĄúí óđÝÝþðĢ ċÚüüúĘí íļ ĀûÚċû íļ ĀûĀċáċ ĄüĐ íļĀûĘá ÚĜóđÝÚĜÝþðĢ ċÚüüúĘí íļ ĀûÚċû íļ ĀûĀċáċ ĄüĐ ĆíļĀĆûĘá
ÚüüúòĊ ĞòĖĄþĉ ĕôŃ òÛĆàě ĕÛċ ĖþĉĕÛċûĻ Ćú÷ċĕĆċÚüüúòĊ ÚüüúòĊ ĞòĖĄþĉ ĕôŃ òÛĆàě ĕÛċ ĖþĉĕÛċûĻ Ćú÷ċĕĆċÚüüúòĊ ĞòęôĞòęô ĝà ÚüüúòĊ íîċúĕÛċęô ĕĄúĐ Ćòĕàċîč íîċúîòâĉòĊ ĆòďĝàĆòď ÚüüúòĊ Ğò ûĻĞòĆ ûĻ úîčĆíúîč îċúĕÛċęô ĕĄúĐ Ćòĕàċîč íîċúîòâĉòĊ Ğò Ğò ĕ÷üċĉâĉòĊ ÝÝþÝĀüðĢ ċÚüüúíĎ ăĊĝàăúęĀļ ăĢċóĄüĊ óù÷Ąòļ ĕ÷üċĉâĉòĊ Ğò óđĞòÝ óđ ÝþÝĀüðĢ ċÚüüúíĎ ăĊĝà ăúęĀļ ăĢċĄüĊ ù÷Ąòļ ċ ċ ðĊĞàĄþċû ûĻ ĝ÷ďĝàÛĆàăĊ ðĊĞàĄþċû ĘòėþÚĄòļ óđæðĊóđĞàæĄþċû ûĻ ĆúĕôŃĆòúĕôŃ ðĎĝ÷òďĝàðĎÛĆàăĊ îĀĿðîĊĞàĀĿĄþċû ĘòėþÚĄòļ ċ ċ
Ê ®¨µ¥°¥n µÁ Ȧ » ¦»¬¡ª » oµ¥ ° Á¦µÁ¨¥ Á ° ´Á ° ´ Ê ®¨µ¥°¥n µÁ È » »¬¡ª » oµ ¥ ° Á¦µÁ¨¥
éāôĄ ðúā æĄ Ĝě ĜĢģ ĜğĜ éāôĄ üć Ñć ĝĠ ģĞ ğĤ
äăãäāðÐāòċëñČëŚ íòÿçòòðÓĘ āùüèäāðúôĀ Ðíćæçö×è čãñíòÿüā×āòñŞ óæçăåăëė čùäĉ åăëæčô ďãś äăãäāðÐāòċëñČëŚ íòÿçòòðÓĘ āùüèäāðúôĀ Ðíćæçö×è čãñíòÿüā×āòñŞ ÓąÐóæçăÓė ąÐčùäĉ čô ďãś Ąē æĄē XXX CVEEIBLPT PSH ] NFEJB XBUOBQBIQPOH PSH ] XXX XBUOBQQ DPN ] XXX CVEEIBXBKBOBGVOE PSH XXX CVEEIBLPT PSH ] NFEJB XBUOBQBIQPOH PSH ] XXX XBUOBQQ DPN ] XXX CVEEIBXBKBOBGVOE PSH ÓôĆèē ù ö í '. .)[ æć ÐöĀèíòÿ ċöôā è ÓôĆèē ù ö í '. .)[ æć ÐöĀèíòÿ ċöôā è
ฆราวาสชั ้นศเลิศ ฆราวาสชั ้นเลิ
Úüüú Úüüú
đøć×ĂÖúŠ ü÷ĞĚćÖąđíĂüŠ ª x w h ·³ ćwݪ h ć
éāôĄ ðúā æĄ Ĝě ĜĢģ ĜğĜ éāôĄ üć Ñć ĝĠ ģĞ ğĤ
ÐśāöñŚāÖüñŚāÖíćæçÿ ÐśāöñŚāÖüñŚāÖíćæçÿ
ðúāöāò ùĘ ðúāöāò ùĘ ĜĤ ĠĠĠ ĜĢĝğ ĜĤ ĠĠĠ ĜĢĝğ éāôĄ éāôĄ éāôĄ ðúāöāò ùĘ éāôĄ ðúāöāò ùĘ ĜĤ ĠĠĠ ĜĢĝğ ĜĤ ĠĠĠ ĜĢĝğ ÑśüðĈôçòòðÿèĄ Ĕ ×ĀüēãêòÿčñÙèŞ æĘāċíĆüē êòÿčñÙèŞ æāÖÐāò÷ą øāùĈùŚ āçāòâÙèċêŢ èçòòðæāè ôă ÑùăæèØéĀ çăĎė èäś ďĔ ãśòéĀ ÐāòùÖöèďöś ďðŚùæÖöèùă æçăĎė èÐāò×Ā ãæĘā×āÐ ÑśüðĈôçòòðÿèĄ Ĕ ×ĀãæĘāċíĆ æāÖÐāò÷ą ÐøāùĈùŚ ÐāçāòâÙèċêŢ èçòòðæāè ôă ÑùăæçăĎė èäś éèĄèďĔ ØéĀ ãśòéĀ èĄÐāòùÖöèďöś ďðŚùÖöèùă çăĎė èÐāò×Ā ãæĘā×āÐ éċíĆüē ċëñČëŚ ĎèæćÐ ĎèÐāò×Ā Ðò⥠ĎèÐāò×Ā āúòĆüċëñČëŚ ÓöāðôÿċüĄ ñãòüéÓüéċíĆ üē òĀÐøāÓöāðåĈ ÐäśüüÖÑüÖÑś üðĈāôêòą ÑüÓĘ āêòąāÐèÑś øāãś äśèØéĀäśéèċíĆØéĀ üē ċëñČëŚ ĎèæćÐÐò⥠ãæĘāúòĆãüæĘċëñČëŚ čêòãĎÙś čêòãĎÙś ÓöāðôÿċüĄ ñãòüéÓüéċíĆ üē òĀÐøāÓöāðåĈ ÐäśüÖÑüÖÑś ðĈô ÑüÓĘ Ðøāãś üðĈāôèÑśüðĈô èăçíă æć çčÕø⪠čæò ěģ ĝĝĝĝ ĠĢĤě - Ĥğ íć æçö×èùðāÓð čæò ěģ ĜġğĢ ġěĞġ āċíĆüē ÓöāðùÿãöÐČôÿêòÿúñĀ ôèăæç ēĄ íă ðĈæć ôçčÕø⪠čæò ěģ ĝĝĝĝ ĠĢĤě - Ĥğ íć æçö×èùðāÓð čæò ěģ ĜġğĢ ġěĞġ ĎèÐāò×ĀĎèÐāò×Ā ãæĘāċíĆãüē æĘÓöāðùÿãöÐČôÿêòÿúñĀ ã äăãäŚãü äă ďãśãæäŚ ēĄ ðĈüďãś
äăãäāðÐāòċëñČëŚ íòÿçòòðÓĘ āùüèäāðúôĀ Ðíćæçö×è čãñíòÿüā×āòñŞ óæçăåăëė čùäĉ åăëæčô ďãś äăãäāðÐāòċëñČëŚ íòÿçòòðÓĘ āùüèäāðúôĀ Ðíćæçö×è čãñíòÿüā×āòñŞ ÓąÐóæçăÓė ąÐčùäĉ čô ďãś Ąē æĄē XXX CVEEIBLPT PSH ] NFEJB XBUOBQBIQPOH PSH ] XXX XBUOBQQ DPN ] XXX CVEEIBXBKBOBGVOE PSH XXX CVEEIBLPT PSH ] NFEJB XBUOBQBIQPOH PSH ] XXX XBUOBQQ DPN ] XXX CVEEIBXBKBOBGVOE PSH ÓôĆèē ù ö í '. .)[ æć ÐöĀèíòÿ ċöôā è ÓôĆèē ù ö í '. .)[ æć ÐöĀèíòÿ ċöôā è
¤¦¦ Ù ´ ¨¥µ ª´ ¤¦¦ Ù ´ ¨¥µ ª´ ¦ ¦
üćìąđÙøČ ęĂÜÿĂî×ĂÜóüÖĂČ ęîüŠćÜÝćÖÿöèą×ĂÜóüÖĂČ Ýªz Þ ² | Ùx |Ü w Þ ²Ù h |} w ØÝx |Ü w Þ ²Ù ęî
³Ê ç² ¹¯ ·Ê¬º Ãm º q§²
ÓĈŚðĆüčùãāéĀè ÓĈŚðĆüčùãāéĀè
çăíćæçö×è čæò ěģ ĜğĠĢ ĝĞĠĝ Óć â÷òÙā čæò ěģ ĜĠĜĞ ĜġĜĜ Óć üāòĄöòòâ čæò ěģ ĠěĠģ ġģģģ ðĈôèăçăíðĈćæôèăçö×è čæò ěģ ĜğĠĢ ĝĞĠĝ Óć â÷òÙā čæò ěģ ĜĠĜĞ ĜġĜĜ Óć âüāòĄöâòòâ čæò ěģ ĠěĠģ ġģģģ éëĈäś üś ÖÐāòêÞă éäĀ çă òòòð äă äĀ íă æć çö×è #VEEIBXBKBOB 5SBJOJOH $FOUFS ùĘāúòĀéùĘëĈāäś úòĀüś ÖÐāòêÞă éäĀ çă òòòð äă ãäŚüďãśãæäŚ ēĄ ü ÷ĈďãśèæñŞê ēĄ ÷ĈÞăéèäĀñŞêíă Þăæć éçö×è #VEEIBXBKBOB 5SBJOJOH $FOUFS čæò ěģ ĤĢĤĜ ěĝĤĤ ěģ ĢĠĜĜ ģěĜě čæò ěģ ĤĢĤĜ ěĝĤĤ ěģ ĢĠĜĜ ģěĜě
äāðòüñçòòð äāðòüñçòòð
ÑśüðĈôçòòðÿèĄ Ĕ ×ĀüēãêòÿčñÙèŞ æĘāċíĆüē êòÿčñÙèŞ æāÖÐāò÷ą øāùĈùŚ āçāòâÙèċêŢ èçòòðæāè ôă ÑùăæèØéĀ çăĎė èäś ďĔ ãśòéĀ ÐāòùÖöèďöś ďðŚùæÖöèùă æçăĎė èÐāò×Ā ãæĘā×āÐ ÑśüðĈôçòòðÿèĄ Ĕ ×ĀãæĘāċíĆ æāÖÐāò÷ą ÐøāùĈùŚ ÐāçāòâÙèċêŢ èçòòðæāè ôă ÑùăæçăĎė èäś éèĄèďĔ ØéĀ ãśòéĀ èĄÐāòùÖöèďöś ďðŚùÖöèùă çăĎė èÐāò×Ā ãæĘā×āÐ éċíĆüē ċëñČëŚ ĎèæćÐ ĎèÐāò×Ā Ðò⥠ĎèÐāò×Ā āúòĆüċëñČëŚ ÓöāðôÿċüĄ ñãòüéÓüéċíĆ üē òĀÐøāÓöāðåĈ ÐäśüüÖÑüÖÑś üðĈāôêòą ÑüÓĘ āêòąāÐèÑś øāãś äśèØéĀäśéèċíĆØéĀ üē ċëñČëŚ ĎèæćÐÐò⥠ãæĘāúòĆãüæĘċëñČëŚ čêòãĎÙś čêòãĎÙś ÓöāðôÿċüĄ ñãòüéÓüéċíĆ üē òĀÐøāÓöāðåĈ ÐäśüÖÑüÖÑś ðĈô ÑüÓĘ Ðøāãś üðĈāôèÑśüðĈô çăíćæçčÕø⪠čæò ěģ ģğĤğ ģěģĞ íć æçö×èùðāÓð čæò ěģ ĜġğĢ ġěĞġ āċíĆēüÓöāðùÿãöÐČôÿêòÿúñĀ ôèăæç Ąē ăíðĈćæôèăçčÕø⪠čæò ěģ ģğĤğ ģěģĞ íć æçö×èùðāÓð čæò ěģ ĜġğĢ ġěĞġ ĎèÐāò×ĀĎèÐāò×Ā ãæĘāċíĆãēüæĘÓöāðùÿãöÐČôÿêòÿúñĀ ã äăãäŚãü äă ďãśãæäŚ Ąē üðĈďãś
ĉÖď×÷ćǰøćÙÖď ÙÙ¦îîď ¡w¦xì zw¦ x¬ ×ē÷ Á¡¦µ³ ªµ¤· Ê Å Â®n ¤¸ ªµ¤· Ê Å Â®n ¦µ ³ Á¡¦µ³ ªµ¤· Ê Å Â®n ´ · ´ ¹ · ¤¸ ¹ ªµ¤· Ê Å Â®n ¦µ ³ zw¦ x ÙÙ¦ ¡w¦x¬ ìĉÖď×ē÷ øćÙÖď ×÷ćǰîîď Á¡¦µ³ ªµ¤· Ê Å Â®n ¦µ ³ ¹ ¤¸ ªµ¤· Ê Å Â®n ´ · ´ · Á¡¦µ³ ªµ¤· Ê Å Â®n ¦µ ³ ¹ ¤¸ ªµ¤· Ê Å Â®n ÙÙ¦îîď ¡ zw¦ x }¡ ¦ · ¤ê ďê¡ Ğǰ¤ ÿč¦ üÙ¦ĉö čê¡ ¤ďê}îď¦}ê ¡ĉǰüčÝďÝêĉ ìĉøćÙÖď ×÷ćǰÝĉ Á¡¦µ³ ªµ¤· Ê Å Â®n ´ · ´Â ¨³¦µ ³ ¨n µªÅ oµªÅ o ªnµ ªnµ Á¡¦µ³ ªµ¤· Ê Å Â®n · ¨³¦µ ³ ¨n ¡o ªÂ¨o oªw¥ ¸ v · v · ®¨» ®¨» ¡o ¨o oªª¥ ¸ çĄÚw çĄ ìĈĘ ÚìĈĘ
£ ´ ³ °¦· ¥¤¦¦ ¤¸ r Ù ®µÅ o Ä ¦¦¤ª· »£ » ´ ³ °¦· ¥¤¦¦ ¤¸ ° r° Ù ®µÅ o Ä ¦¦¤ª· ¥´ ¸ Ê ¥´ ¸Ê É Ò ¤ ³ ¸ É Ó ¤ ³ ¸ É Ô ¤ ³ ¸ ¤ ³ ¸ Ä ¦¦¤ª· É Ò ¤ ³ ¸ É Ó ¤ ³ ¸ É Ô ¤ ³ ¸ É Õ ÈÉ Õ È ¤ ³ ¸ ®µÅ o®ÄµÅ o ¦¦¤ª· ¥´ ¸ Ê ¥´ ¸Ê °µ r ¨¥µ ª´ Ê Á È °¥n µ Ŧ " ¸ Ê º ° °¦· ¥¤¦¦ ¤¸ r Ù °µ r ´ ´ ¨¥µ ª´ ¦ ¸ Ê Á Ȧ ¸ °¥n µ Ŧ " ¸ Ê º ° °¦· ¥¤¦¦ ¤¸ ° r° Ù ªµ¤ µ ¼ ´¨¥µ ª´ ¦ ¸ÄÊ ¤¸ ªµ¤ µ ¼ ®n ®n ´¨ ¥µ ª´ ¦ ¸ Ê ¤¸ ¥»Ä ¥» ®n ®n »¦»¬ »Ä ¦»¬Ä ¦»¬ » oµ¥Â®n ´ Ê ®¨µ¥ »¦»¬ » ´¦ Ê »¬ º ´É ° Ê ªn ºµÉ »°ªn¦µ»¬ » » oµ ¥Â®n »¦»¬ » ´¦ Ê »¬®¨µ¥
ÓĈŚðĆü ÓĈŚðĆü
ĥĴĔĭŁăħġĮĞ ĸĚğĮĬĸħĒĴ ĖĭŁĖĻĖĄğĐı ĜİĄĥĴĜİĔĄĭŁăħġĮĞ ĸĚğĮĬĸħĒĴ ĖĭŁĖĻĖĄğĐı ĖıŁ ĖıŁ ĚģĄĸĕĩĚIJ ăĔŅĮĀģĮĝĸĚı ğĵşĒĮĝĸŶŦ ĚģĄĸĕĩĚIJ ăĔŅĮĀģĮĝĸĚı ĞğĸĚijĞŀĩğĸĚij ĻħşğŀĩĵşĒĻħş ĮĝĸŶŦ ĖąğİăĖģŞąğİ Į ăģŞĮ ŁĸŶŦĖĻĸħĒĴ đþIJŁĖăĔĴĹħŞ ŁĸŶŦĖĀģĮĝđĭ ļĝŞĩĸħġij ĖıŁĸŶŦ Ėı ĖĔĴŁĸŶŦĄĖþŢ ĔĴĖıĄŁĸŶŦþŢĖ ĖıĸħĒĴ ħşĸĄİĻđħşþIJĸŁĖĄİĹħŞ ĄþŢă ĔĴĖıĄŁĸŶŦþŢĖ ĖıĀģĮĝđĭ ėļĝŞĸėħġij ĹħŞăĩĔĴĹħŞ ĄþŢă ĔĴĄþŢ ŁĸŶŦĖĔĮăđŅ ĸĖİēĖIJăĻħş ēIJăĀģĮĝđĭ ļĝŞĩĸħġij ĖıŁĸŶŦĖĖıĔĮăđŅ ĮĸĖİĖĮĻħş ĀģĮĝđĭ ėļĝŞĸėħġij ĹħŞăĩĔĴĹħŞ ĄþŢă ĔĴ đĭĄþŢăĖı đĭ ŁĸēİăđĖı!Łĸēİđ!
ðúā öă ğ ĞĤ Ğĝ éāôĄ éāôĄ ðúā öă ğ ĞĤ Ğĝ
èÍã´“à¸Í” “à¸Í” àÁ×àÁ× èÍã´ äÁ‹ÁäÁ‹ Õ ÁÕ àÁ× äÁ‹»äÁ‹ÃÒ¡¯ã¹âÅ¡¹Õ é àÁ×èÍè͹ѹÑé¹é¹à¸Í¡ç à¸Í¡ç »ÃÒ¡¯ã¹âÅ¡¹Õ é äÁ‹äÁ‹»» ÃÒ¡¯ã¹âÅ¡Í× è¹ è¹ ÃÒ¡¯ã¹âÅ¡Í× äÁ‹ Ò§âÅ¡·Ñ é§Êͧé§Êͧ äÁ‹»»ÃÒ¡¯ã¹ÃÐËÇ‹ ÃÒ¡¯ã¹ÃÐËÇ‹ Ò§âÅ¡·Ñ ³Ê ç² ¹¯ ·Ê¬º Ãm º q§²
&@&@ // !!
¢¢ ¢¢
¨³ ´¨³ ´ · ·
àÁ×èÍ “à¸Í” äÁ‹ÁÕ !
àÁ×èÍîøĎ“à¸Í” óćĀĉ÷ą b đöČęĂĔé đíĂđĀĘ ðĒúšü ÿĆÖäÁ‹ üŠćÁđĀĘÕ !î ĕéšôŦÜđÿĊ÷ÜĒúšü ÿĆÖüŠćôŦÜ óćĀĉĕéš ÷ą b ÖúĉđöČęîęĂ úĉ Ĕé đíĂđĀĘ ü ÿĆÖüŠüćÖć÷ ÖĘ đĀĘî ĕéšôÿŦÜĆÖđÿĊüŠ÷ćÜĒúš ü ÿĆÖĚöüŠ ÿĆ ćôŦöÜñĆÿ Ěöøÿ ÿĆîöøĎðñĆĒúš ÿìćÜñĉ éö úĉ ĕéšÖúĉęî úĉ ñĆÿìćÜñĉüÖć÷ ÖĘ öñĆÿü ĕéšĚöøøÿ ÿĆ ĎšĒÝšÜöíøøöćøöèŤ ÖĘÿÿĆÖĆÖüŠüŠćć éö úĉ ĕéšøĎšĒĚöÝš ÿĆÜĒúš ĕéšøĎšĒÝšÜíøøöćøöèŤ ÖĘÿĆÖüŠćĕéšøĎšĒÝšÜĒúšü Ěî ĶđíĂķ ÝĆ đöČđöČ ęĂîĆęĂĚîîĆ ĶđíĂķ ÝĆ ÖĕöŠöÖĊ ĕöŠöĊ
ØéĀé Ğ ØéĀé Ğ
¸ ¥¥£ ³ Á m ¬³ ¬³©q »n¥©q»n ³È©»n¥ ¸»n ³È© ¥¥£ ³ £· À |£· À |Á m
çăíćæçö×è čæò ěģ ĜğĠĢ ĝĞĠĝ Óć â÷òÙā čæò ěģ ĜĠĜĞ ĜġĜĜ Óć üāòĄöòòâ čæò ěģ ĠěĠģ ġģģģ ðĈôèăçăíðĈćæôèăçö×è čæò ěģ ĜğĠĢ ĝĞĠĝ Óć â÷òÙā čæò ěģ ĜĠĜĞ ĜġĜĜ Óć âüāòĄöâòòâ čæò ěģ ĠěĠģ ġģģģ éëĈäś üś ÖÐāòêÞă éäĀ çă òòòð äă äĀ íă æć çö×è #VEEIBXBKBOB 5SBJOJOH $FOUFS ùĘāúòĀéùĘëĈāäś úòĀüś ÖÐāòêÞă éäĀ çă òòòð äă ãäŚüďãśãæäŚ ēĄ ü ÷ĈďãśèæñŞê ēĄ ÷ĈÞăéèäĀñŞêíă Þăæć éçö×è #VEEIBXBKBOB 5SBJOJOH $FOUFS íæŞ ěĤ ĝĤĜĝ ĞġĠĢ ěĤ ĝĤĜĝ ĞĢĝĜ ěĤ ĝĤĜĝ ĞğĢĜ čæò÷Āíčæò÷Ā æŞ ěĤ ĝĤĜĝ ĞġĠĢ ěĤ ĝĤĜĝ ĞĢĝĜ ěĤ ĝĤĜĝ ĞğĢĜ
ĥĴĔĭŁăħġĮĞ Ĝİ ĥĴğĵŶşĩĻđ ğĵ ĞĵŞĒĮĝĸŶŦ ĜİĄĥĴĜİĔĄĭŁăħġĮĞ Ĝİ ĄĥĴğĵŶĄĻđ ğĵ ĞĵŞĒşĩĮĝĸŶŦ ĖąğİăĖģŞąğİ Į ăģŞĮ ŁĸŶŦĖĻĸħĒĴ ŁĸŶŦĖĀģĮĝđĭ ļĝŞĩĸħġij ĩþĩăĔĴ ĖıŁĸŶŦ Ėı ĖĔĴŁĸŶŦĄĖþŢ ĔĴĖıĄŁĸŶŦþŢĖ ĖıĸħĒĴ ħşĸĄİĻđħşĔĴĸĄİĄđþŢ ĔĴĖıĄŁĸŶŦþŢĖ ĖıĀģĮĝđĭ ėļĝŞĸėħġij þĩăĔĴ ĄþŢ ĄþŢ ŁĸŶŦĖĔĮăđŅ ĸĖİēĖIJăĻħş ēIJăĀģĮĝđĭ ļĝŞĩĸħġij ĩþĩăĔĴ ĹġĬĖıĹġĬĖı ŁĸŶŦĖĔĮăđŅ ĮĸĖİĖĮĻħş ĀģĮĝđĭ ėļĝŞĸėħġij þĩăĔĴ ĄþŢ đĭĄþŢăĖı đĭ ŁĖĭŁĖăĖı ŁĖĭŁĖ ģŞĮăąĬĚIJ ėĴĀĀġĔı ŀĸŶŦĖĦĝĐĬħğij ĩĚğĮħĝĐŢ şĒşĩăĄĮğąĬĺĒş ĹĝşģŞĮĹĝş ąĬĚIJ ĝıėĴĀăĝıĀġĔı ŀĸŶŦĖĦĝĐĬħğij ĩĚğĮħĝĐŢ ĈIJŀăĸŶŦ ĈIJĖŀăĘĵĸŶŦşĒĖşĩĘĵăĄĮğąĬĺĒş ģĮĔĬ ģĮĔĬ ĸĔıŀĞģĹĦģăĀĵ ŞĺĒşģĮĔĬ ĝĮąĮĄĔİ ĖĩĩĄ ħğij ĔİĤĖĒĬģĭ ĖĒĄ ħğij ĔİĤĩĸħĖij ĄĿĒĮĝ ĸĔıŀĞģĹĦģăĀĵ ŞĺĒşģĮĔĬ ĝĮąĮĄĔİ ĤĒĬģĭĤĖĒĬģĭ ĩĩĄ ħğij ĩĔİĤĩĒĬģĭ ĒĄ ħğij ĩĔİĤĩĸħĖij ħğijĩ ħğij ĔİĤĩĻĒşĔİĄĤĿĒĻĒşĮĝ ĺđĞŶğĬĄĮĤģŞ Į ĸğĮąĭ ĄĞĄģĮĔĬþĩăĜİ ĸĦıĞăĖı đĭ ĺđĞŶğĬĄĮĤģŞ Į ĸğĮąĭ ĄĞĄģĮĔĬþĩăĜİ ĄĥĴğĵŶĄĖĭĥĴŁĖğĵŶĸĦıĖĭĞŁĖ đĭ Ł ăĖıŁ ĔıŀĦĝĐĬħğij ĩĚğĮħĝĐŢ ħģĭŀĖļħģĦĭ ŀĖĦĬĸĔij ĩĖ ħğij ĦĭŀĖģğĬğĭ þşĩĔıŀĦþşĩĝĐĬħğij ĩĚğĮħĝĐŢ ĖĭŁĖ ąĭĖĄĭŁĖĔŅ ąĭĮĜİĄĄĔŅĥĴĮĜİĖĄĭŁĖĥĴĻħşĖħĭŁĖģĭĻħşŀĖļħģĦĭ ŀĖĦĬĸĔij ĩĖ ħğij ĩĦĭŀĖĩğĬğĭ ļŶ ģļŶ ĄĕğğĝĖĭ ĸŶŦĖčĮĖĬĔı ĖļŶļđş ŁĸŶŦĖĸĚğĮĬĸħĒĴ ĺđĞēĵĺđĞēĵ ĄĕğğĝĖĭ ŁĖ ļĝŞŁĖĸŶŦ ļĝŞ ĖčĮĖĬĔı ŀąĬĸŶŦŀąĖĬĸŶŦ ļŶļđş ĸġĞ þşĸġĞ þş ĩĖıŁĸŶŦĩĖĖıĸĚğĮĬĸħĒĴ ļğĸġŞĮļğĸġŞ Į ĸĚğĮĬĸħĒĴ ĸŶŦĖĕğğĝĔı ĸħĿģĖđşĹġşģĞđı ģđş!ģĞđı! ĸĚğĮĬĸħĒĴ ĔıŀĩğİĞĔĦĭıŀĩąğİĦıĞŀĖĦĭĭŁĖąĦı ĸŶŦŀĖĖĭŁ ĕğğĝĔı ŀĜİĄĥĴŀĜĖİĄĭŁĖĥĴ ĸħĿĖĖĭŁ Ĺġş
êćöøĂ÷ êćöøĂ÷
ìĆĚÜĀúć÷ìĊ ðŨîóüÖöĊ íčúĊĔîéüÜêćĒêŠ îšĂö÷ÖĘ ÿĆêüŤÿĆìêĆĚÜüŤĀúć÷ìĊ ęđðŨîęđóüÖöĊ íčúĊĔîéüÜêćĒêŠ đúĘÖîšđúĘĂÖ÷ÖĘ ĊĂ÷ĎöŠ ĊĂ÷ĎŠ üŤóüÖîĊ Ě ÷ŠĂęĂöđÿČ ęĂöÝćÖÙč ìĊęÙüøĕéš đóøćąĕöŠ ôŦÜíøøö ÿĆêüŤÿĆóêüÖîĊ Ě ÷ŠĂöđÿČ öÝćÖÙč èìĊęÙèüøĕéš đóøćąĕöŠ ĕéšôĕŦÜéšíøøö
ÙĀïéĊ b ÖćöēõÙĊ Ûøćüćÿ
ÙĀïéĊ b ÖćöēõÙĊ Ûøćüćÿ
ñĎšĔé ñĎšĔé Ģ ĒÿüÜĀćēõÙìøĆ ÷Ťēé÷íøøö ēé÷ĕöŠ đÖĉîĕð Ýîìøöćîêî
Ģ ĒÿüÜĀćēõÙìøĆ ó÷Ťēóé÷íøøö ēé÷ĕöŠ đÙøĊ÷đÙøĊ éÙøĆ÷éÙøĆ é đÖĉéî ĕð Ýîìøöćîêî
ģ ìĞ ćêîĔĀš ÿč×Ă ĔĀš ĂĉęöćĀîĞ ģ ìĞ ćêîĔĀš đðŨîđÿčðŨ×î ĔĀš ĉęöĀîĞ ć Ĥ ĒïŠ ðŦîēõÙìøĆ ĞćđóĘ Ĥ ĒïŠ ÜðŦîÜēõÙìøĆ ó÷ŤïóĞć÷ŤđóĘïâ ïčâ ïčâ ĥ ĕöŠ ÖĞćéĀîĆ öĆüđöć ĕöŠ účŠöĀúÜ ĥ ĕöŠ ÖĞćĀîĆ ĕöŠéö ĕöŠ Ćüđöć ĕöŠ účŠöĀúÜ öĊðđĀĘÖêĉîēìþ öĊ đĀĘîēìþ öĊ ðŦââćđðŨ éĂĂÖ öĊðÖêĉ ðŦââćđðŨ îđÙøČîęĂđÙøČ ÜÿúĆęĂÜÿúĆ éĂĂÖ ïøĉēõÙēõÙìøĆ ó÷ŤćđĀúŠ îĆĚîŠ Ă÷ĎŠ ïøĉēõÙēõÙìøĆ ó÷ŤđĀúŠ îĆĚîćĂ÷Ď
&&@ @ // !! &&@ @ // !! &&@ @ // !! &&@ @ // !! &&@ @ // !! &&@ @ // !!
ĔăĭŁ ħġĮĞ ĜİĄĥĴĜİĔĄăĭŁ ĥĴħġĮĞ Ğėĸħĝij ĩĖĸĦĮħİ ĖĞĮģ ʼnŎ ĤĩĄ ęŤ Ė Ő ĤĩĄ ĺĘġŞ đİĖ Ő ĤĩĄ ĸŶğıĸŶğı Ğėĸħĝij ĩĖĸĦĮħİ ĖĞĮģ ʼnŎ ĤĩĄ ęŤ ăĩĞĵăĻŞ ĩĞĵ ĖđİĻŞ ĖĖđİ Ő ĤĩĄ ĺĘġŞ þĖIJŁ ĚşþĖIJŁ đİĚşĖ Ő ĤĩĄ ġĝĚĮĞĴ ęĖĩĞŞ ĮăĹğăĄġş ĹĝşąĹĝş ĬĝıąġĬĝı ĝĚĮĞĴ ęĖĩĞŞ ĮăĹğăĄġş Į Į ĝĮąĮĄĔİ ĤĒĬģĭ ĖĩĩĄ ħğij ĔİĤĒĬģĭ ĖĒĄ ħğij ĔİĤĸħĖij ĔİĤ ĄĿĻĒşĒ Įĝ ĄĿĒĮĝ ĝĮąĮĄĔİ ĤĒĬģĭ ĖĩĩĄ ħğij ĩĔİĤĩĒĬģĭ ĖĒĄ ħğij ĩĔİĤĩĸħĖij ĩ ħğijĩĩ ħğij ĔİĤĩĻĒş ĔŅĮĸĦĮħİ ĖĭĖŁ ħĻħş ģĭĖŀ ļħģ Ħĭ Ėŀ ĦĬĸĔij ĩĖ ħğij ĦĭĖŀ ğĬğĭ ģļŶļđş ļĝŞĚļĝŞ ăIJ ĔŅĚĮăIJ ĸĦĮħİ ĖĖĭĖŁ Ļħş ģĭĖŀ ħļħģ Ħĭ Ėŀ ĦĬĸĔij ĩĖ ħğij ĩĦĭĖŀ ĩğĬğĭ ģļŶļđş ĸġĞ ĸġĞ ŶŦĖĸĚğĮĬĸħĒĴ þşĩĖıþşĸŁ ĩŶŦĖıĖĸŁ ĸĚğĮĬĸħĒĴ ļğĸġŞļĮğĸġŞ Į ĸĚğĮĬĦŞ ġIJĄĹġĬęŤ ĆĭĖĻđĄĿ ĸĚğĮĬĦŞ ģĖĔıģęŀ ĖĔı ㍠Ėĭęŀ ĖŁ ㍠ġIJĖĭĄĖŁ ĹġĬęŤ ăĸŶŦĖăĸŶŦ ĩĞŞĖĮĩĞŞ ăđıĮ ĆĭăđıĖ ĻđĄĿ ĆĖĭ ĖĭĆĖŁ ĭ !ĖĭĖŁ !
&@&@ // !!
&@&@ // !!
Á¬ ¥¥£Ãn ´£Ã À ¹ Á¬ ¥¥£Ãn ´£Ã À ¹ ɯ nɯ n
ØéĀé ĝ ØéĀé ĝ
ØéĀé Ĝ ØéĀé Ĝ
© À ¯ ³ É §´¤ À · Ȥ© ´¥¶ © À ¯ ³ É §´¤ À · Ȥ© ´¥¶ Ä Ä È¯ ¥²Â¤ q ¬º £Á m £´ À ¹È¯À ¹ ¥²Â¤ q ¬º Á m ´ ęĂÙüćöđĂĘ ĒÖŠēúÖ đóČ ęĂðøąē÷ßîŤ ęĂÙüćöđÖČ đóČęĂđóČ ÙüćöđĂĘ îéĎĒîÖŠéĎēúÖ đóČ ęĂðøąē÷ßîŤ đóČęĂ đóČ ÙüćöđÖČ ĚĂÖĎúĚĂÖĎú ęĂÙüćöÿč ìĆĚÜđìüéć Ēúąöîč ĒÖŠđìüéć Ēúąöîč ìĆĚÜĀúć÷ đóČęĂđóČ Ùüćöÿč × ìĆĚÜ×ĒÖŠ þ÷ŤìþĆĚÜ÷ŤĀúć÷
´£Ã m ´£ §´ ´£Ã À ¹ ɯ §´¤ ´£Ã m ´£ §´ ´£Ã À ¹ ɯ §´¤ Ä ¥n ¯£ ³ É ¯¥¥ ² ¥n ¯£ ³ ² Ãn Ãn À | À |Ä ¥n ¯£ ³ É ¯¥¥ ² ¥n ¯£ ³ É ¤³É ¤³ ² »¥¬ q¶É ¬À ¶¶É À ¶ Ãn Ãn¥¶¬ º ¥¶¬ ¶º Ì ¥¶ ¶ Ì »¥¥¶ q
ผู้เรียกร้องหาศาสดาเพื่อความเป็นศัตรู อานนท์ ! สาวกทั้งหลายเรียกร้องหาศาสดาเพื่อความเป็นศัตรู ไม่เรียกร้องเพื่อความเป็นมิตร เป็นอย่างไรเล่า ? อานนท์ ! ในกรณีนี้ ศาสดาผู้เอ็นดู แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล อาศัยความเอ็นดูแล้ว จึงแสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายว่า “สิ่งนี้เป็นไป เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่พวกเธอทั้งหลาย และสิ่งนี้ก็เป็นไป เพื่อความสุขแก่พวกเธอทั้งหลาย” ดังนี้เป็นต้น
สาวกเหล่านั้นของศาสดา ไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยหูฟัง ไม่ตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง แต่แกล้งทำาให้ผิดจากคำาสั่งสอนของศาสดาไปเสีย อานนท์ ! สาวกทั้งหลายอย่างนี้แล ชื่อว่า
ผู้เรียกร้องหาศาสดา เพื่อความเป็นศัตรู ไม่เรียกร้องเพื่อความเป็นมิตร. -บาลี อุปริ. ม. ๑๔/๒๔๔/๓๕๕.
ผู้เรียกร้องหาศาสดาเพื่อความเป็นมิตร อานนท์ ! สาวกทั้งหลายเรียกร้องหาศาสดาเพื่อความเป็นมิตร ไม่เรียกร้องเพื่อความเป็นศัตรู เป็นอย่างไรเล่า ? อานนท์ ! ในกรณีนี้ ศาสดาผู้เอ็นดู แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล อาศัยความเอ็นดูแล้ว จึงแสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายว่า “สิ่งนี้เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่พวกเธอทั้งหลาย และสิ่งนี้ก็เป็นไปเพื่อความสุขแก่พวกเธอทั้งหลาย” ดังนี้เป็นต้น
สาวกเหล่านั้นของศาสดา ย่อมฟังด้วยดี ย่อมเงี่ยหูฟัง ย่อมตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และไม่แกล้งทำาให้ผิดจากคำาสั่งสอนของศาสดา
อานนท์ ! สาวกทั้งหลายอย่างนี้แล ชื่อว่าผู้เรียกร้องหาศาสดาเพื่อความเป็นมิตร ไม่เรียกร้องเพื่อความเป็นศัตรู
อานนท์ ! เพราะฉะนั้น ในเรื่องนี้ พวกเธอทั้งหลาย จงเรียกร้องหาตถาคตเพื่อความเป็นมิตรเถิด อย่าเรียกร้องเพื่อความเป็นศัตรูเลย ข้อนั้น จักเป็นไป เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข แก่พวกเธอทั้งหลายเอง ตลอดกาลนาน. -บาลี อุปริ. ม. ๑๔/๒๔๔/๓๕๖-๗.
ข้อมูลธรรมะนี้ จัดทำ�เพือ่ ประโยชน์ท�งก�รศึกษ�สูส่ �ธ�รณชนเป็นธรรมท�น ลิขสิทธิใ์ นต้นฉบับนีไ้ ด้รบั ก�รสงวนไว้ ไม่สงวนสิทธิใ์ นก�รจัดทำ�จ�ก ต้นฉบับเพือ่ เผยแผ่ในทุกกรณี ในก�รจัดทำ�หรือเผยแผ่ โปรดใช้คว�มละเอียดรอบคอบเพือ่ รักษ�คว�มถูกต้องของข้อมูล ขอคำ�ปรึกษ�ด้�นข้อมูล
ในการจัดทำาเพื่อความสะดวกและประหยัด ติดต่อได้ที่ มูลนิธิพุทธโฆษณ์ โทร.๐๘ ๒๒๒๒ ๕๗๙๐ - ๙๔
คุณศรช� โทร.๐๘ ๑๕๑๓ ๑๖๑๑ คุณอ�รีวรรณ โทร.๐๘ ๕๐๕๘ ๖๘๘๘ สำ�หรับผูต้ อ้ งก�รปฏิบตั ธิ รรรม ติดต่อได้ท่ี ศูนย์ปฏิบตั พิ ทุ ธวจน (Buddhawajana Training Center) โทรศัพท์ ๐๙ ๒๙๑๒ ๓๖๕๗, ๐๙ ๒๙๑๒ ๓๗๒๑, ๐๙ ๒๙๑๒ ๓๔๗๑ ติดต�มก�รเผยแผ่พระธรรมคำ�สอนต�มหลักพุทธวจน โดยพระอ�จ�รย์คกึ ฤทธิ์ โสตฺถผิ โล ได้ท่ี
www.watnapp.com | media.watnapahpong.org | www.buddhakos.org คลื่น ส.ว.พ. FM 91.0 MHz ทุกวันพระ เวล� 17.40 น.