แผนแม่บทสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจ

Page 1

แผนการส่งเสริมวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม ฉบับที่ 3

(พ.ศ. 2555-2559)

www.sme.go.th


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)

สารบ สารบั​ัญ หน้า คํานํา บทสรุปผูบ้ ริหาร

บ-1

บทนํา บทที่ 1 ความสําคัญ โครงสร้าง และสถานการณ์ที่ส่งผลต่อวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย บทบาทความสําคัญและโครงสร้างของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย ปัจจัยและสภาวการณ์ที่มีผลกระทบต่อวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย บทที่ 2 ผลการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ผ่านมา แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2545-2549) แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2550-2554) ผลการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเด็นสําคัญต่างๆ บทที่ 3 การวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและภัยคุกคามของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย การวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและภัยคุกคามของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย บทที่ 4 กรอบแนวคิด ทิศทาง วิสัยทัศน์ และเป้าหมายการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย แผนยุทธศาสตร์และนโยบายที่เกี่ยวข้อง กรอบแนวคิด ทิศทางการส่งเสริม วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมายการส่งเสริม บทที่ 5 ยุทธศาสตร์การส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย ยุทธศาสตร์การส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย ยุทธศาสตร์ที่ 1 สนับสนุนปัจจัยแวดล้อมให้เอื้อต่อการดําเนินธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย ยุทธศาสตร์ที่ 2 เสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย ยุทธศาสตร์ที่ 3 ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทยให้เติบโตอย่างสมดุลตามศักยภาพของพื้นที่ ยุทธศาสตร์ที่ 4 เสริมสร้างศักยภาพของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทยให้เชื่อมโยงกับเศรษฐกิจ ระหว่างประเทศ ความเชื่อมโยงระหว่างยุทธศาสตร์และประเด็นการดําเนินงานที่สําคัญภายใต้ความเชื่อมโยงของ ยุทธศาสตร์

1-1 1-4 2-1 2-2 2-3 3-1 4-1 4-9 4-10 4-11 5-1 5-2 5-16 5-26 5-31 5-36


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)

หน้า บทที่ 6 ปัจจัยความสําเร็จของแผน เงื่อนไขปัจจัยความสําเร็จของแผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม บทที่ 7 การแปลงแผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ.2555-2559) ไปสู่การปฏิบัติ กระบวนการแปลงแผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สู่การปฏิบัติตามพระราชบัญญัติ ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ. 2543 แนวทางการสร้างการมีส่วนร่วม สร้างความรู้ ความเข้าใจและการผลักดันแผนการส่งเสริมวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมสู่การปฏิบัติ แนวทางและกลไกการติดตามประเมินผล การดําเนินงานตามแผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม

6-1 7-1 7-3 7-5

ภาคผนวก ภาคผนวก ก คําสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการจัดทํายุทธศาสตร์การส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ภาคผนวก ข ตารางแผนการดําเนินงาน หน่วยงานดําเนินการ และอักษรย่อหน่วยงาน

ก-1 ข-1


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)

คํานํา สํานักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) จัดตั้งขึ้นภายใต้พระราชบัญญัติส่งเสริม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ. 2543 ในฐานะหน่วยงานของรัฐ มีหน้าที่เสนอแนะนโยบายและแผนการ ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม รวมทั้งเป็นศูนย์กลางประสานระบบการทํางานของส่วนราชการ องค์กร ของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจที่มีหน้าที่ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เพื่อให้เกิดการบูรณาการงานส่งเสริม อย่างต่อเนื่องและสอดคล้องในทิศทางเดียวกัน ซึ่งที่ผ่านมา สสว. ได้จัดทําแผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อมฉบับที่ 1 (พ.ศ.2545-2549) เสนอผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2546 และ จัดทําแผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 2 (พ.ศ.2550-2554) เสนอผ่านความเห็นชอบจาก คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2550 แล้วนั้น วิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่ อ ม ถื อ ได้ ว่ า เป็ น กลไกหลั ก ในการเสริ ม สร้ า งความ ก้ า วหน้ า ทาง เศรษฐกิจ สร้างรายได้ให้แก่ประเทศ เป็นแหล่งการจ้างงานที่สําคัญ อีกทั้งยังเป็นกลไกในการแก้ไขปัญหาความ ยากจนของประเทศ ดังนั้น สสว. จึงได้จัดทําแผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559) ขึ้น เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของไทยให้มีการเติบโตอย่าง แข็งแกร่งและยั่งยืน ซึ่งในการจัดทําแผนการส่งเสริมฯ นี้ ได้มีการพิจารณาถึงความเชื่อมโยงสอดรับกับแผนต่างๆ ที่ เกี่ยวข้อง เช่น แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559) แผนยุทธศาสตร์ของกระทรวง ที่มีบทบาทเกี่ยวข้องกับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม รวมถึงแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด นอกจากนั้น ยังได้มีการ ระดมความคิดจากการประชุมระดมสมองหรือประชุมเชิงปฎิบัติการร่วมกับผู้ประกอบการ นักวิจัย คณาจารย์ และ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีการรวบรวมและศึกษาข้อมูลต่างๆ ทั้งในด้านบริบทการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นและที่มีผลต่อ การพัฒนาในอนาคต สภาพปัญหาความต้องการของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ตลอดจน ผลการพัฒนาของ แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2550-2554) เพื่อนํามากําหนดเป็นทิศทางและ แนวทางการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2555-2559) แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559) ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์หลัก อันได้แก่ (1) ยุทธศาสตร์สนับสนุนปัจจัยแวดล้อมให้เอื้อต่อการดําเนินธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อมไทย (2) ยุทธศาสตร์เสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย (3) ยุทธศาสตร์ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทยให้เติบโตอย่างสมดุลตามศักยภาพของพื้นที่ และ (4) ยุทธศาสตร์เสริมสร้างศักยภาพของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทยให้เชื่อมโยงกับเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ในการจัดทําแผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ฉบับที่ 3 (พ.ศ.2555-2559) ฉบับนี้ มีคณะอนุกรรมการจัดทํายุทธศาสตร์การส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ภายใต้คณะกรรมการบริหาร


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)

สํานักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ที่ได้ให้คําแนะนําปรึกษา พร้อมทั้งให้ข้อมูล ข้อคิดเห็น และ ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาโครงสร้างและเนื้อหาสาระของแผนการส่งเสริมฯ ให้มีความสมบูรณ์ โดย มุ่งหวังให้ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือองค์การเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมวิสาหกิจขนาด กลางและขนาดย่อม นําไปใช้เป็นแนวทางในการดําเนินงานตามบทบาทหน้าที่ของหน่วยงานอย่างมีความเชื่อมโยง และเกื้อหนุนระหว่างกัน เพื่อให้การส่งเสริมและพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของประเทศไทย มีความ เป็นบูรณาการและมีพลังขับเคลื่อนอย่างมีทิศทางเดียวกัน และนําไปสู่การจัดสรรงบประมาณที่เกิดประโยชน์สูงสุด สําหรับการส่งเสริมและพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทยต่อไป

สํานักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เมษายน 2554


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)

บทสรุปผูบริหาร วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ถือเป็นกลไกหลักในการเสริมสร้างความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ ของประเทศไทย โดยสร้างรายได้และจ้างงาน อีกทั้งเป็นเครื่องมือในการแก้ไขปัญหาความยากจน ในปี 2553 ประเทศไทยมีจํานวนวิสาหกิจรวมทั้งสิ้น 2,924,912 ราย โดยร้อยละ 99.60 เป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม การจ้างงานของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมคิดเป็นร้อยละ 77.86 ของการจ้างงานรวมของประเทศ มูลค่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมคิดเป็นร้อยละ 42.35 ของผลิตภัณฑ์มวล รวมทั้งประเทศ และมูลค่าการส่งออกของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมคิดเป็นร้อยละ 28.40 ของมูลค่าการ ส่งออกรวมของประเทศ ผลการวิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส และภัยคุกคาม พบว่าวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมี จุดแข็งด้านความคล่องตัว ยืดหยุ่น สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์แวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว มี ความสามารถและความเชี่ยวชาญด้านทักษะงานฝีมือและงานบริการ (Craftsmanship & Hospitality) และด้าน การผลิตสินค้าและบริการเพื่อตอบสนองความต้องการของกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมาย ในขณะที่มีจุดอ่อนด้านการบริหาร จัดการธุรกิจ ความสามารถในการพัฒนาสินค้าและบริการ โอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน ความสามารถในด้านการ พัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับในการดําเนินธุรกิจ และ ขาดโอกาสทางการตลาดและการเข้าถึงข้อมูลการตลาดเชิงลึก อย่างไรก็ตาม รูปแบบการดําเนินธุรกิจสมัยใหม่เอื้อต่อ การประกอบธุรกิจของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ทั้งการรับช่วงการผลิต (Outsource) และการรวมกลุ่ม เป็นเครือข่ายทางธุร กิจ นอกจากนี้ วิส าหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมยังได้รั บโอกาสจากนโยบายของรัฐ ที่ใ ห้ ความสําคัญและสนับสนุน สําหรับภัยคุกคามที่ส่งผลกระทบต่อวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่สําคัญได้แก่ การ รวมกลุ่มทางเศรษฐกิจและการเปิดเสรีที่อาจก่อให้เกิดการแข่งขันทางธุรกิจสูงขึ้น นอกจากนั้น การเปลี่ยนแปลงของ สถานการณ์โลกทั้งในมิติด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และสิ่แวดล้อมยังเป็นปัจจัยสําคัญที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการ ดําเนินธุรกิจ

บ-1


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)

สรุปการประเมินผลตามแผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2550-2554) การดําเนินงานตามแผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2550-2554) สามารถสรุปผลได้ ดังนี้ >> เป้าหมายที่ 1 มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม มีการขยายตัว อย่างต่อเนื่อง โดยมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 42 ของมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศในปี 2554 พบว่า สัดส่วนมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในระหว่างปี 2551-2553 ลดลงอย่างต่อเนื่อง คิดเป็นร้อยละ 38.10 37.80 และ 37.10 ของมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศตามลําดับ โดยมีสาเหตุหลักจาก วิกฤตเศรษฐกิจปี 2551 ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อการสั่งซื้อสินค้าจากกลุ่มประเทศผู้ซื้อหลักของไทย และปัญหา ความขัดแย้งทางการเมืองภายในประเทศ >> เป้าหมายที่ 2 อัตราการขยายตัวมูลค่าการส่งออกของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เพิ่มมากขึ้นไม่น้อยกว่าอัตราการขยายตัวของมูลค่าการส่งออกรวม พบว่า ในระหว่างปี 2551-2553 อัตราการ ขยายตัวของการส่งออกของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทยน้อยกว่าอัตราการขยายตัวของการส่งออกรวม ของประเทศ >> เป้าหมายที่ 3 ผลิตภาพการผลิตโดยรวม (Total Factor Productivity: TFP) ของวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม มีการขยายตัวไม่น้อยกว่าร้อยละ 3 ต่อปี รวมทั้งผลิตภาพการผลิตโดยรวมของสาขา เป้าหมายและผลิตภาพแรงงานของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมขยายตัวไม่ต่ํากว่าร้อยละ 5 ต่อปี พบว่า ผลิต ภาพด้านต่างๆ ยังไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่กําหนดไว้ ผลการดําเนินงานตามการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมด้านต่างๆ สํานักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ได้รวบรวมข้อมูลจากส่วนราชการและ หน่วยงานของรัฐที่ได้ดําเนินงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเพื่อนํามาประมวลผลการดําเนินงานตาม แผนการส่ งเสริ ม วิ สาหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่อ มฉบับ ที่ 2 (พ.ศ. 2550-2554) ทั้งในส่วนของกิจ กรรมที่ใ ช้ งบประมาณดํ า เนิน การจากกองทุ น ส่ ง เสริ ม วิ ส าหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อ ม และกิ จ กรรมที่ ใ ช้ ง บประมาณ ดําเนินการของหน่วยงานภาครัฐและเอกชนอื่นๆ โดยสามารถสรุปสาระสําคัญของผลการดําเนินงานส่งเสริมวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม ในปี 2550–2552 ได้ ดังนี้ การพัฒนาบุคลากรและสถานประกอบการ การดําเนินงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมระหว่างปี 2550-2552 มีผู้ประกอบการ และแรงงานที่ได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้ทั้งสิ้น 1,426,481 คน และมีสถานประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อมได้รับการพัฒนายกระดับประสิทธิภาพและศักยภาพในการดําเนินธุรกิจรวมทั้งสิ้น 67,463 ราย

บ-2


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)

การพัฒนานวัตกรรมและทรัพย์สินทางปัญญา การดําเนินงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในด้านการพัฒนานวัตกรรมและทรัพย์สิน ทางปัญญาระหว่างปี 2550-2552 พบว่า มีจํานวนผลงานนวัตกรรมที่ได้รับการพัฒนาคิดค้นขึ้นใหม่รวมทั้งสิ้น 133 รายการ ได้แก่ การพัฒนานวัตกรรมในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ โดยเป็นการสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ด้านชิ้นส่วน ยานยนต์รวม 6 ผลิตภัณฑ์ และสร้างนวัตกรรมใหม่ในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์รวม 100 รายการ การพัฒนา นวัตกรรมในอุตสาหกรรมสิ่งทอ ซึ่งสามารถต่อยอดผลงานวิจัยสู่การพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์สิ่งทอที่มีคุณสมบัติพิเศษ (Functional Textile) จํานวน 15 รายการ และการปรับปรุงประสิทธิภาพและคุณภาพของกระบวนการผลิตชิ้นส่วน ในอุตสาหกรรมเหล็กจํานวน 12 รายการ การพัฒนาปัจจัยเอื้อในการดําเนินธุรกิจ ในปี 2550-2552 มีการสนับสนุนปัจจัยเอื้อในการดําเนินธุรกิจรวมทั้งสิ้น 71 รายการ สรุปได้ ดังนี้ ด้านการบริหารจัดการระบบฐานข้อมูลที่ทันสมัย มีการพัฒนาระบบฐานข้อมูล ได้แก่ ฐานข้อมูลเพื่อ สนับสนุนองค์ความรู้ที่สําคัญต่อการดําเนินธุรกิจ ฐานข้อมูลผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในสาขา ธุรกิจสําคัญเพื่อรองรับการขยายตลาดไปยังกลุ่มประเทศเป้าหมายตามกรอบความร่วมมือประชาคมเศรษฐกิจ อาเซียน ฐานข้อมูลอุตสาหกรรมก่อสร้างและธุรกิจต่อเนื่องเบื้องต้น รวมทั้งพัฒนาระบบสารสนเทศอุตสาหกรรมใน อุตสาหกรรมแม่พิมพ์ และปรับปรุงโปรแกรมระบบฐานข้อมูลเพื่อคํานวณค่าดัชนีในระดับอุตสาหกรรม มีการจัดตั้ง ศูนย์บริการต่างๆ ได้แก่ ศูนย์บริการด้านการออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ ศูนย์บริการร่วมลงทุนใน ภูมิภาค ศูนย์บริการข้อมูลและองค์ความรู้สําหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME Corner) หน่วยบริการ องค์ความรู้สิ่งทอและแฟชั่นเพื่อให้บริการองค์ความรู้และแนวโน้มแฟชั่นและวัสดุสิ่งทอ รวมทั้งศูนย์เชี่ยวชาญด้าน แม่พิมพ์ นอกจากนี้ ยังได้พัฒนาความร่วมมือการให้บริการด้านวิทยาศาสตร์ร่วมกับสถาบันการศึกษา หน่วยงาน และสถาบันการวิจัยต่างๆ เพื่อต่อยอดผลงานวิจัยสู่เชิงพาณิชย์ ด้านการตลาด มีการพัฒนาช่องทางการตลาดและการส่งเสริมการตลาดเพื่อรองรับการให้บริการแก่ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในรูปแบบต่างๆ เช่น การจัดงานแสดงสินค้า การเจรจาธุรกิจ การเผยแพร่ทางสื่อ วิทยุ/โทรทัศน์/สิ่งพิมพ์/สารคดี เป็นต้น ซึ่งจากการสนับสนุนเงินทุนให้กับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมสู่ตลาด อาเซียน (SMEs Capacity Building: Win for ASEAN Market) มีผู้ประกอบการเข้าร่วมกิจกรรมการจับคู่ทางธุรกิจ จํานวน 2,060 ราย เกิดมูลค่าการซื้อขายจํานวน 200 ล้านบาท รวมทั้งมีการเสริมสร้างขีดความสามารถในการ ส่งออกไปยังประเทศอาเซียนโดยเฉพาะในกลุ่มประเทศกัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม (CLMV) จํานวน 1,876 ราย และทําให้เกิดการพัฒนาแผนที่การตลาด (Market Mapping) ใน 4 ประเทศ 5 กลุ่มสินค้าและบริการ ตลอดจนมี การสนับสนุนเงินอุดหนุนให้กับผู้ประกอบการในการขยายตลาดไปยังต่างประเทศในกลุ่ม ASEAN+6 จํานวน 732 ราย จัด Road Show เพื่อขยายฐานการค้าในตลาด ASEAN+6 รวมทั้งมีการประชุมเจรจาการค้าต่างๆ และการ พัฒนาการรวมกลุ่มอุตสาหกรรมภาคเอกชนในการส่งเสริมให้เกิดความเข้มแข็ง

บ-3


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)

ด้านการเงิน มีการสนับสนุนเงินทุนเพื่อการปรับปรุงฟื้นฟูเครื่องจักร (Machine Fund) ให้แก่ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมจํานวน 214 ราย โดยมีวงเงินสินเชื่อที่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมได้รับ จากสถาบันการเงินจํานวน 1,696 ล้านบาท สามารถเพิ่มประสิทธิภาพเครื่องจักร จํานวน 1,153 เครื่อง (โครงการ ภายใต้แผนปฏิบัติการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมปี 2550) และมีการสนับสนุนเงินทุนเสริมสร้าง ศักยภาพการประกอบธุรกิจและการสนับสนุนที่ปรึกษาธุรกิจ (Capacity Building Fund) ประกอบด้วย เงินทุน สนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเพื่อขยายธุรกิจไปยังต่างประเทศ (Internationalization Fund: Inter Fund) ที่สนับสนุนให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมขยายธุรกิจไปยังต่างประเทศจํานวน 407 ราย วงเงินที่ได้ อนุมัติ 28.63 ล้านบาท ก่อให้เกิดยอดขายจากการขยายธุรกิจไปยังต่างประเทศจํานวน 74.05 ล้านบาท และ ยอดขายที่คาดว่าจะได้รับหลังจากขยายธุรกิจไปยังต่างประเทศ จํานวน 756.46 ล้านบาท นอกจากนั้น ยังมีการ สนับสนุนทางการเงินเพื่อการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property Fund: IP Fund) จํานวน 12 ราย โดยมีวงเงินอนุมัติ 2.78 ล้านบาท นอกจากนี้ ยังได้สนับสนุนการทํากิจกรรมการขยายตลาดไปยังต่างประเทศ ด้านระบบสนับสนุน SMEs ด้านทรัพย์สินทางปัญญาจํานวน 254 ราย สนับสนุนการนําผลงานจดลิขสิทธิ์/สิทธิบัตร จํานวน 4 ราย และมีวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมยื่นขอจดลิขสิทธิ์/สิทธิบัตร จํานวน 44 คําขอ มียอดขายจาก การขอซื้อสิทธิ์/ซื้อผลงาน จํานวน 0.76 ล้านบาท ด้านการพัฒนาพื้นที่เขตภูมิภาค ได้ดําเนินการพัฒนาแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเครือข่ายและ ห่วงโซ่อุปทานในอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม รวมถึงการจัดงานแสดงสินค้าและจําหน่ายผลิตภัณฑ์สําหรับ กลุ่มอาชีพและผลิตภัณฑ์ชุมชน การพัฒนาผู้ประสานงานเครือข่ายวิสาหกิจ (Cluster Development Agent) ในธุรกิจท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ จํานวน 283 ราย โดยมีวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมได้รับการ พัฒนายกระดับขีดความสามารถด้านองค์ความรู้บริหารจัดการ จํานวน 1,402 ราย ซึ่งการดําเนินการดังกล่าว ครอบคลุมพื้นที่ทุกภูมิภาค ด้า นกฎหมาย กฎระเบี ย บ ข้ อ บัง คั บ และสิท ธิ ป ระโยชน์ ได้พั ฒ นาปรั บ ปรุ งกฎระเบี ย บเพื่ อลด อุปสรรคและเอื้อต่อการดําเนินธุรกิจของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ได้แก่ - การลดภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่บริษัทในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (MAI) โดยให้ลดอัตราภาษี เงินได้ร้อยละ 20 ของกําไรสุทธิเฉพาะในส่วนที่ไม่เกิน 20 ล้านบาท - การยกเว้ น ภาษี เ งิ น ได้ บุ ค คลธรรมดา สํ า หรั บ ภาษีที่ ต้อ งเสี ย ตามมาตรา 48(2) แห่ ง ประมวล รัษฎากร เฉพาะผู้มีเงินได้ที่ต้องเสียภาษีไม่เกิน 5,000 บาท - การแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลของธุรกิจ เงินร่วมลงทุน ที่เข้าไปถือหุ้นในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม - การยกเว้ น ภาษี เ งิ น ได้ บุ ค คลธรรมดาและภาษี เ งิ น ได้ นิ ติ บุ ค คลสํ า หรั บ รายจ่ า ยเพื่ อ การได้ ม า ซึ่งทรัพย์สินประเภทวัสดุ อุปกรณ์ หรือเครื่องจักรที่ช่วยทําให้ประหยัดพลังงาน

บ-4


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)

- การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้กับวิสาหกิจชุมชนที่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคล ที่ไม่ใช่นิติบุคคลที่มีเงินได้พึงประเมินไม่เกิน 1.8 ล้านบาทในปีภาษี ด้านการส่งเสริมระบบและเครื่องมือทางเทคโนโลยีเพื่ออํานวยความสะดวกให้วิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม โดยได้จัดทําระบบโครงข่ายเชื่อมโยงธุรกิจและพัฒนาซอฟต์แวร์มาตรฐานกลาง พัฒนาระบบ สารสนเทศด้านอุตสาหกรรม พัฒนาแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเครือข่ายและห่วงโซ่อุปทาน จัดตั้งอุทยาน วิทยาศาสตร์ภาคเหนือ และศูนย์บ่มเพาะและพัฒนาผู้ประกอบการในธุรกิจซอฟต์แวร์ ด้านการยกระดับความรู้และทักษะบุคลากร ได้พัฒนาผู้ให้บริการอุตสาหกรรม (service provider) ทําให้สามารถสร้างบริกรธุรกิจที่จะให้ความช่วยเหลือแก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในสาขาต่างๆ เช่น บริกร ธุรกิจด้านวินิจฉัยสถานประกอบการ (Shindan หรือ นักวินิจฉัยสถานประกอบการ) บริกรธุรกิจด้านที่ปรึกษาธุรกิจ ขนาดเล็ก (APEC-IBIZ) ซึ่งเป็นการพัฒนาที่ปรึกษาระดับอาชีพตามแนวทางการพัฒนาที่ปรึกษาธุรกิจขนาดเล็กของ กลุ่มประเทศความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (APEC) บริกรอุตสาหกรรมแบบครบวงจรซึ่งเป็นการสร้าง และพัฒนาบริกรธุรกิจผ่านกระบวนการฝึกอบรมและการฝึกปฏิบัติ และบริกรธุรกิจด้านออกแบบผลิตภัณฑ์และ บรรจุภัณฑ์ในด้านธุรกิจการออกแบบ เป็นต้น ในภาพรวม จากการติดตามผลการส่งเสริมตามแผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ปี 2550-2554 ที่ผ่านมา ถึงแม้ว่าภาครัฐให้ความสําคัญต่อการพัฒนาและส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม มากขึ้น แต่การส่งเสริมดังกล่าวยังคงจํากัดอยู่ในภาคการผลิตเป็นส่วนใหญ่ ยังมีข้อจํากัดด้านข้อมูลการประกอบ ธุรกิจของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมโดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับท้องถิ่น ยังมีข้อจํากัดด้านงบประมาณสําหรับ การพัฒนาองค์ความรู้ ความเชี่ยวชาญ และความเข้าใจปัญหาและความต้องการของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาด ย่อมของบุคลากรภาครัฐและเอกชนที่มีบทบาทเกี่ยวข้องกับการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ตลอดจน ยังขาดการบูรณาการการดําเนินงานส่งเสริ ม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่ อมระหว่ างหน่ วยงานทั้ งในระดับ ส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น ข้อจํากัดเหล่านี้ส่งผลให้ตัวชี้วัดการเพิ่มผลิตภาพ การเพิ่มสัดส่วนมูลค่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และการเพิ่มสัดส่วนมูลค่าการส่งออกของ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมยังไม่บรรลุเป้าหมาย แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559) สสว. ได้จัดทําแผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559) ขึ้น เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาและส่งเสริมให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของไทยให้เติบโตอย่างต่อเนื่อง ยั่งยืน และสามารถแข่งขันได้ในบริบทที่เปลี่ยนแปลงไปของโลกปัจจุบัน ทั้ งนี้ แผนการส่ ง เสริม วิ สาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อ มฉบั บที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559) มีค วาม สอดคล้องและเชื่อมโยงกับนโยบายของรัฐบาลและแผนยุทธศาสตร์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง อาทิ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559) ที่ยังคงยึดหลัก “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” และ “คนเป็น ศูนย์กลางของการพัฒนา” อีกทั้ง “สร้างสมดุลการพัฒนา” ในทุกมิติ รวมทั้งยังมีความเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ของ บ-5


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)

กระทรวงอุตสาหกรรมและกระทรวงต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนแผนระดับกลุ่มจังหวัดที่คํานึงถึงความต้องการ ศักยภาพของประชาชนในท้องถิ่นในกลุ่มจังหวัด และความพร้อมของภาครัฐและภาคธุรกิจเอกชน กรอบแนวคิด แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559) มีกรอบแนวคิดใน การผลักดันให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเป็นพลังขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจไทย โดยให้ความสําคัญกับการ พัฒนาศักยภาพวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเพื่อให้ดําเนินธุรกิจโดยใช้ความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม และเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม ทั้งในระดับสาขาธุรกิจและระดับผู้ประกอบการ และมุ่งสนับสนุนตามระยะการเติบโต ของธุรกิจ ได้แก่ ขั้นเริ่มต้นธุรกิจ (Start-up) ที่หมายถึงธุรกิจที่มีระยะเวลาการดําเนินธุรกิจไม่เกิน 3 ปี ขั้นเติบโต (Growth & Maturity) และขั้นการปรับเปลี่ยนธุรกิจ (Turn around) ซึ่งจะครอบคลุมมิติเชิงพื้นที่ ทั้งระดับภาพรวม ประเทศ กลุ่มจังหวัด และรายจังหวัด เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายการกระจายความเจริญจากส่วนกลางสู่ภูมิภาค และยุทธศาสตร์การพัฒนาเชิงพื้นที่ ทิศทางการส่งเสริม ทิศทางการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2555-2559) จะมุ่งเน้นการ พั ฒ นาศั ก ยภาพวิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่ อ มให้ เ ติ บ โตอย่ า งสมดุ ล และยั่ ง ยื น โดยการเสริ ม สร้ า งขี ด ความสามารถในการแข่งขันทั้งในเชิงคุณภาพ ประสิทธิภาพ การสร้างสรรค์และนวัตกรรม ให้กับวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม และวิสาหกิจรายย่อย กระตุ้นให้เกิดการรวมตัวและเชื่อมโยงกันทางธุรกิจ เน้นการพัฒนาเชิงพื้นที่ โดยคํานึงถึงปัจจัยด้านสังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และเอกลักษณ์ของแต่ละพื้นที่ ในด้านการเสริมสร้างศักยภาพ เพื่อเตรียมพร้อมสู่การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจและการเปิดเสรี จะมุ่งเน้นการสนับสนุนด้านโครงสร้างพื้นฐานและการ สร้างสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการค้าและดําเนินธุรกิจระหว่างประเทศ ทั้งนี้ เงื่อนไขปัจจัยความสําเร็จของแผนการ ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 ยังขึ้นอยู่กับความต่อเนื่องของการสนับสนุนจากภาครัฐ ศักยภาพ และความพร้อมของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ตลอดจนความเปลี่ยนแปลงที่อาจส่งผลกระทบในบาง ช่วงเวลา วิสัยทัศน์การส่งเสริม พัฒนาศักยภาพวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย ให้เติบโตอย่างสมดุลและยั่งยืน เพื่อเป็น พลังขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจไทย พันธกิจ เพื่อให้การดําเนินงานของแผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ.25552559) มุ่งสู่วิสัยทัศน์ “พัฒนาศักยภาพวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย ให้เติบโตอย่างสมดุลและยั่งยืน เพื่อเป็นพลังขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจไทย” จึงได้กําหนดพันธกิจของการพัฒนา ดังนี้

บ-6


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)

พันธกิจ 1 สนับสนุนปัจจัยเกื้อหนุนที่จําเป็นและเหมาะสมต่อวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย ทั้งภาคการผลิต การค้า และบริการ พันธกิจ 2 เสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทยโดย ใช้องค์ความรู้ ทักษะฝีมือ เทคโนโลยี นวัตกรรม ความคิดสร้างสรรค์ และวัฒนธรรม พันธกิจ 3 ส่งเสริมบทบาทวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทยแต่ละพื้นที่ในการสร้างมูลค่าทาง เศรษฐกิจ โดยคํานึงถึงคุณค่าทางสังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุล พันธกิจ 4 ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย ให้มีศักยภาพในทางการค้าและการลงทุน ทั้งในและต่างประเทศ เป้าหมายการส่งเสริม เป้ าหมายของยุท ธศาสตร์ กํ าหนดให้สะท้อ นถึ งผลการดํา เนิ นงานของหน่ วยงานและสอดคล้อ ง กับนโยบายการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ซึ่งแผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559) ได้กําหนดเป้าหมายการส่งเสริม โดยพิจารณาจากข้อมูลในปัจจุบันประกอบกับผลการ ส่งเสริมที่ผ่านมา และการคาดการณ์จากแนวโน้มสถานการณ์ทางเศรษฐกิจไว้ 5 ประการ ได้แก่ 1. วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมีการจดทะเบียนนิติบุคคลเพิ่มขึ้นและสามารถดําเนินธุรกิจได้ อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ไม่น้อยกว่า 250,000 วิสาหกิจ ภายในปี 2559 2. วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในสาขากลุ่มเป้าหมายได้รับการพัฒนาขีดความสามารถการ แข่งขันในเชิงลึกไม่น้อยกว่า 30,000 รายภายในปี 2559 3. เครือข่ายวิสาหกิจของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมได้รับการพัฒนาให้มีความเข้มแข็งไม่ น้อยกว่า 60 เครือข่ายวิสาหกิจต่อปี 4. ปั จ จั ย แวดล้ อ มในการดํ า เนิ น ธุ ร กิ จ ได้ รั บ การพั ฒ นา ปรั บ ปรุ ง แก้ ไ ขเพื่ อ ให้ ล ดอุ ป สรรคและ เอื้ออํานวยความสะดวกในการดําเนินธุรกิจของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมากขึ้น 5. การบริหารจัดการด้านงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม มีประสิทธิภาพและทํางาน เชิงบูรณาการ กลุ่มเป้าหมายการส่งเสริม เพื่อให้การส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมีประเภทกิจการที่ได้รับการส่งเสริมอย่างชัดเจน แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ.2555-2559) จึงได้กําหนดหลักเกณฑ์การคัดเลือก ดังนี้ - เป็นสาขาธุรกิจที่สร้างประโยชน์และรายได้ให้ประเทศได้มาก และใช้วัตถุดิบในประเทศ - เป็นสาขาธุรกิจที่ประเทศไทยมีศักยภาพในการแข่งขันและเป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สาขาธุรกิจใหม่ที่มีโอกาสในอนาคต (New Wave)

บ-7


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)

- เป็นสาขาธุรกิจที่ตอบสนองต่อนโยบายสําคัญของรัฐ เช่น นโยบายการกระจายรายได้ การสร้างงาน สร้างอาชีพ การสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันจากการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าและบริการ - เป็นสาขาธุรกิจที่คํานึงถึงการรักษาสิ่งแวดล้อม และสร้างความสมดุลในสังคม - เป็นสาขาธุรกิจที่ดํารงรักษาศิลปวัฒนธรรมอันดีงามของไทย จากเกณฑ์การคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายข้างต้น สามารถระบุสาขาธุรกิจที่ได้รับความสําคัญเป็นพิเศษได้ ดังนี้ -

กลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยีและนวัตกรรม กลุ่มอุตสาหกรรมการเกษตรและเกษตรแปรรูป กลุ่มอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ กลุ่มธุรกิจการค้าปลีกและค้าส่ง กลุ่มธุรกิจบริการและท่องเที่ยว

ยุทธศาสตร์การส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559) กําหนดยุทธศาสตร์ และกลยุทธ์การส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ดังนี้ ยุทธศาสตร์ที่ 1 ยุทธศาสตร์ที่ 2 ยุทธศาสตร์ที่ 3 ยุทธศาสตร์ที่ 4

สนับสนุนปัจจัยแวดล้อมให้เอื้อต่อการดําเนินธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย เสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทยให้เติบโตอย่างสมดุลตามศักยภาพของพื้นที่ เสริมสร้างศักยภาพของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทยให้เชื่อมโยงกับเศรษฐกิจระหว่างประเทศ

บ-8


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)

ยุทธศาสตร์ที่ 1 สนับสนุนปัจจัยแวดล้อมให้เอื้อต่อการดําเนินธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย บทบาทสําคัญประการหนึ่งของภาครัฐในการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม คือ สร้างปัจจัย แวดล้อมให้เอื้อต่อการดําเนินธุรกิจของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมทุกกลุ่ม เช่น การแก้ไขปรับปรุงกฎหมายและ กฎระเบียบ ส่งเสริมการเข้าถึงแหล่งเงินทุน การจัดทําฐานข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่างๆ รวมถึงการแก้ไขและบรรเทา ผลกระทบจากสถานการณ์ที่ไม่ปกติต่างๆ เช่น ภัยพิบัติทางธรรมชาติ การชุมนุมทางการเมือง ความผันผวนทางเศรษฐกิจ ดังนั้น ในการพัฒนาและส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมจึงต้องดําเนินการสนับสนุนปัจจัยพื้นฐาน 2 ส่วน คือ • การสร้ างปั จจั ยแวดล้ อมเพื่ อให้ เอื้ อต่ อการดํ าเนิ นธุ รกิ จของวิ สาหกิ จขนาดกลางและขนาดย่ อม ในทุกระดับการเติบโตของธุรกิจให้มีประสิทธิภาพและธรรมาภิบาล รวมทั้งพัฒนาเครือข่ายการทํางานส่งเสริมวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมของภาครัฐอย่างมีบูรณาการ • การสร้างภูมิคุ้มกันจากปัจจัยเสี่ยงทั้งภายในและภายนอกประเทศ การฟื้นฟู และบรรเทาผลกระทบ ที่เกิดขึ้นกับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม จากสถานการณ์ฉุกเฉินและสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง กลยุทธ์ที่ 1.1 พัฒนาศักยภาพหน่วยงานและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมและพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม พัฒนาให้เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ได้รับ การพัฒนาความรู้ความสามารถ เข้าใจสภาพปัญหาและความต้องการที่แท้จริงของผู้ประกอบการ เข้าใจแนวทางการ ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม รวมทั้งผลักดันให้มีสถาบันสําหรับการพัฒนาความรู้ของผู้ที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่ระดับผู้กําหนดนโยบายจนถึงระดับเจ้าหน้าที่ เพื่อให้การส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเป็นไปอย่าง ประสิทธิภาพ กลยุทธ์ที่ 1.2 พัฒนาระบบฐานข้อมูลวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และข้อมูลองค์ความรู้เพื่อประโยชน์ในการ วางแผนการส่งเสริมและดําเนินธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พัฒนาระบบฐานข้อมูลวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยการเชื่อมโยงและบูรณาการการจัดทําข้อมูล ร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เพื่อให้สามารถอ้างอิงข้อมูลได้จากฐานข้อมูลเดียวกัน ลดความซ้ําซ้อนของการ จัดทําระบบฐานข้อมูล เกิดความคุ้มค่า และเป็นประโยชน์ในการวางแผนการส่งเสริมและการดําเนินธุรกิจของวิสาหกิจขนาด กลางและขนาดย่อม รวมทั้งขยายและสร้างช่องทางให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่าง สะดวกและรวดเร็ว กลยุทธ์ที่ 1.3 ทบทวน ปรับปรุง และผลักดัน กฎหมาย กฎระเบียบ มาตรการ ภาษีและการให้สิทธิประโยชน์ เพื่อเอื้อ และลดอุปสรรคต่อการดําเนินธุรกิจของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ผลักดันให้เกิดการทบทวน ปรับปรุง แก้ไขกฎหมาย กฎระเบียบ ขั้นตอน วิธีการปฏิบัติ ให้สอดคล้องกับ สถานการณ์และความต้องการทางด้านธุรกิจ เพื่อลดอุปสรรค อํานวยความสะดวก สร้างโอกาสให้แก่วิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม และส่งเสริมให้ภาครัฐใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือในการสร้างแรงจูงใจให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

บ-9


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)

ดําเนินการตามทิศทางที่สอดคล้องกับนโยบายของรัฐ อาทิ การลดอัตราภาษี การให้สิทธิประโยชน์เพื่อส่งเสริมการลงทุน แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และส่งเสริมให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเข้าถึงสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ที่ ภาครัฐจัดให้ เป็นต้น รวมทั้งการใช้กฎหมาย กฎระเบียบเป็นเครื่องมือในการการส่งเสริมจริยธรรม คุณธรรม ความโปร่งใส เพื่อลดความได้เปรียบ/เสียเปรียบในการดําเนินธุรกิจ กลยุทธ์ที่ 1.4 เสริมสร้างระบบและเตรียมความพร้อมเพื่อให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมสามารถเข้าถึงเงินทุน และเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทางการเงิน ส่งเสริมและสนับสนุนให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเข้าถึงเงินทุนได้มากขึ้น โดยการเตรียมความ พร้อมให้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมด้านการบริหารจัดการธุรกิจ ส่งเสริมบทบาทของสถาบันการเงินให้มีส่วนร่วม ในการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม การเชื่อมโยงบริการทางการเงินกับโครงการส่งเสริมพัฒนาวิสาหกิจขนาด กลางและขนาดย่อมของหน่วยงานต่างๆ การเพิ่มช่องทางหรือโอกาสการเข้าถึงแหล่งเงินทุน ทั้งตลาดเงิน ตลาดทุน และ แหล่งเงินทุนอื่นๆ การปรับปรุงระบบการค้ําประกันสินเชื่อวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม รวมทั้งการส่งเสริมระบบ ข้อมูลกลางเพื่อเพิ่มประสิ ทธิภาพการเข้าถึ งแหล่ งเงินทุน และผลั กดันให้หน่ วยงานแหล่งเงินทุนต่างๆ นํ าข้อมูลจาก ฐานข้อมูลดังกล่าวไปใช้ในประกอบการพิจารณา กลยุทธ์ที่ 1.5 สร้างความเข้มแข็งให้แก่กลไกและเครือข่ายการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ผลักดันให้การส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเป็นวาระแห่งชาติ และส่งเสริมให้หน่วยงาน ภาครัฐและเอกชน นํ าแผนการส่งเสริมวิ สาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไปใช้ เป็ นกรอบการดําเนิ นงานและจั ดสรร งบประมาณ รวมทั้งพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือในการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ระหว่างส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือองค์การเอกชน ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค พร้อมทั้งสร้างกลไกการติดตามและ ประเมินผล และพัฒนาตัวชี้วัดการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม กลยุทธ์ที่ 1.6 ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้ดําเนินธุรกิจโดยใช้หลักธรรมาภิบาล และสนับสนุน การประกอบธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดําเนินธุรกิจอย่างมีความ รับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม และใช้ธรรมาภิบาลในการประกอบธุรกิจ เช่น การสนับสนุนเงินทุน การให้สิทธิ ประโยชน์ในการดําเนินธุรกิจ (ภาษี การส่งเสริมการลงทุน ค่าธรรมเนียม) เป็นต้น กลยุทธ์ที่ 1.7 สร้างกลไกและระบบการยกระดับความรู้ความสามารถทักษะบุคลากรของวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม ด้านการจัดการ การผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของภาคธุรกิจ ส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรให้สอดคล้องกับความต้องการของภาคธุรกิจ โดยการพัฒนาหลักสูตรการศึกษา การเรี ยนการสอนที่ เน้ นการฝึ กปฏิ บั ติ งานในสถานประกอบการ การส่ งเสริ มให้ นํ าระบบการจ่ ายค่ าตอบแทน ตามมาตรฐานฝีมือแรงงานมาใช้ให้มากขึ้น การสร้างแรงจูงใจในการพัฒนาบุคลากรโดยการให้สิทธิประโยชน์ต่าง ๆ พร้อมทั้ง ดําเนินการส่งเสริมพัฒนาผู้ให้บริการแก่ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (นักวินิจฉัย พี่เลี้ยง และ

บ-10


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)

ที่ ปรึ กษา) ให้ มี ศั กยภาพและความสามารถในการให้ บริ การ มี จํ านวนที่ เพี ยงพอ และมี อั ตราค่ าบริ การที่ เหมาะสม ที่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมสามารถเข้าถึงได้ กลยุทธ์ที่ 1.8 เพิ่มประสิทธิภาพหน่วยให้บริการด้านเทคโนโลยี นวัตกรรม ทรัพย์สินทางปัญญา คุณภาพมาตรฐาน และสนับสนุนให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเข้าถึงบริการได้อย่างทั่วถึง สนับสนุนให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมนําวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การวิจัยและพัฒนา นวัตกรรม และทรัพย์สินทางปัญญาไปประยุกต์ใช้ในการดําเนินธุรกิจ โดยการให้ความรู้ สนับสนุนเงินทุน สิทธิประโยชน์ และข้อมูลให้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พร้อมทั้งสนับสนุนการเพิ่มศักยภาพทั้งเชิงปริมาณและ คุณภาพของหน่วยที่ให้บริการด้านเทคโนโลยี นวัตกรรม ทรัพย์สินทางปัญญา และการรับรองมาตรฐาน เพื่อให้มีความ เพียงพอและสอดคล้องกับความต้องการของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม กลยุทธ์ที่ 1.9 พัฒนาสิ่งอํานวยความสะดวกด้านการตลาดให้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ส่งเสริมการสร้างเครื่องมือและกลไกเพื่ออํานวยความสะดวกทางด้านการตลาดให้แก่วิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม โดยการสร้างองค์ความรู้ด้านการตลาดเพื่อให้บริการแก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม การส่งเสริม พื้นที่ทางการค้าสําหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยจัดให้มีโครงสร้างพื้นฐานด้านการตลาด บริการทางการค้า อย่างครบวงจร การส่งเสริมสิ่งอํานวยความสะดวกด้านโลจิสติกส์ การสร้างกลไกตลาดที่มีจริยธรรม คุณธรรม ความโปร่งใส รวมทั้งส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้มีบทบาทในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐมากขึ้น เช่น การกําหนดสัดส่วน การจัดซื้อจัดจ้าง การกําหนดโครงการจัดซื้อจัดจ้างให้เป็นการเฉพาะแก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม การปรับปรุง กฎระเบียบและแนวทางปฏิบัติ การให้สิทธิพิเศษในการยื่นข้อเสนอโครงการ เป็นต้น กลยุทธ์ที่ 1.10 สร้างภูมิคุ้มกัน ฟื้นฟู และบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้นกับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สนับสนุนและส่งเสริมการสร้างความพร้อมเพื่อรองรับสถานการณ์ฉุกเฉินในรูปแบบต่างๆ เช่น ภัยธรรมชาติ การชุมนุมต่าง ๆ ความผันผวนทางเศรษฐกิจ เพื่อให้สามารถแก้ไข ฟื้นฟู และบรรเทาผลกระทบที่เกิดกับวิสาหกิจขนาด กลางและขนาดย่อม โดยกําหนดมาตรการช่วยเหลือต่าง ๆ เช่น การจัดสรรเงินกองทุนส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่ อม การระดมทุ น การลดภาระค่ าใช้ จ่ าย การเสริ มสภาพคล่ อง การจั ดหาพื้ นที่ ประกอบการ พร้ อมทั้ ง สนับสนุนให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้ความสําคัญกับการสร้างภูมิคุ้มกันจากปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการ ดําเนินธุรกิจของ เช่น การบริหารความเสี่ยงจากปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจ (อาทิ การทําประกันภัย การทําสัญญา ซื้อ-ขายอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้า) และการสนับสนุนการจัดทําระบบศูนย์ข้อมูลระบบเตือนภัยให้แก่วิสาหกิจขนาด กลางและขนาดย่อม เป็นต้น ยุทธศาสตร์ที่ 2 เสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย สภาวการณ์ต่างๆ ทั้งในด้านเศรษฐกิจ การค้า สังคม และเทคโนโลยี ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่าง รวดเร็ว ซึ่งส่งผลกระทบต่อการแข่งขันในภาคธุรกิจและภาคอุตสาหกรรมต่างๆ โดยตรง โดยเฉพาะปัจจัยด้านการ แข่งขันทางธุรกิจได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างชัดเจน จากในอดีตที่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของประเทศไทย บ-11


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)

อาศัยความได้เปรียบทางด้านทรัพยากรธรรมชาติและต้นทุนด้านแรงงานที่ทําให้สามารถผลิตสินค้าให้มีราคาที่ต่ํา แต่ ปั จ จุ บั น กลั บ กลายเป็ น ข้ อ จํ า กั ด และทํ า ให้ ต้ อ งเผชิ ญ กั บ ภาวะการถดถอยทางการแข่ ง ขั น เนื่ อ งจาก ทรัพยากรธรรมชาติที่เริ่มลดน้อยลง รวมถึงมีผู้แข่งขันที่มีต้นทุนแรงงานต่ํากว่าและมีทรัพยากรมากกว่าก้าวขึ้นมาเป็น คู่ แ ข่ ง รายใหม่ อ ย่ า งต่ อ เนื่ อ ง ทํ า ให้ วิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่ อ มที่ เ คยได้ เ ปรี ย บ ต้ อ งพั ฒ นาและเพิ่ ม ขี ด ความสามารถในการดําเนินธุรกิจ เพื่อให้สามารถอยู่รอดได้ภายใต้การแข่งขันในปัจจุบัน การเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมครอบคลุม ประเด็ น สํ าคั ญ ได้แ ก่ การเพิ่ ม ผลิ ต ภาพในการดํ า เนิน ธุ ร กิ จ การยกระดั บ ความสามารถด้ า นวิ ท ยาศาสตร์แ ละ เทคโนโลยี การบริหารจัดการ มาตรฐานและคุณภาพของสินค้าและบริการ การขยายโอกาสทางการตลาด และการ ให้บริการของหน่วยงานภาครัฐ เป็นต้น ทั้งนี้ ปัจจัยเหล่านี้จะมีส่วนสนับสนุนให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมใน ภาคการผลิต ภาคการค้า และภาคบริการมีความเข้มแข็งและสามารถแข่งขันได้อย่างยั่งยืน กลยุทธ์ที่ 2.1 เพิ่มผลิตภาพและพัฒนาประสิทธิภาพในการดําเนินธุรกิจ การเพิ่มผลิ ตภาพและประสิท ธิภาพของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม จํ าเป็นจะต้ องมีการ วิเคราะห์ ประเมินศักยภาพของธุรกิจ เพื่อให้ทราบถึงความสามารถในการดําเนินธุรกิจ และนํามาเป็นแนวทาง ในการปรับปรุง พัฒนาประสิทธิภาพการดําเนินงาน ลดต้นทุนการผลิต และเพิ่มผลผลิต โดยในระยะเริ่มต้นต้องอาศัย ผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้คําปรึกษา หรืออาจนํารูปแบบธุรกิจที่ประสบความสําเร็จมาประยุกต์ใช้ในการดําเนินธุรกิจ รวมทั้ง สนั บ สนุ น การพั ฒ นาบุ ค ลากรของวิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่ อ มให้ มี ค วามรู้ แ ละทั ก ษะในการวิ เ คราะห์ และประเมินศักยภาพของธุรกิจ และควรส่งเสริมให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมีการดําเนินธุรกิจอย่างมีความ รับผิดชอบต่อสังคม นอกจากนี้ภาครัฐควรเพิ่มศักยภาพของหน่วยงานที่ให้บริการ (Service Provider) ให้สอดคล้อง และเพียงพอต่อความต้องการ กลยุทธ์ที่ 2.2 ส่งเสริมการสร้างพันธมิตรทางธุรกิจ การรวมกลุ่มและการพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจ การพัฒนาพันธมิตรทางธุรกิจ การรวมกลุ่มและเครือข่ายวิสาหกิจเป็นแนวทางสําคัญที่ทําให้วิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมมีความเข้มแข็ง และมีศักยภาพทางการแข่งขันเพิ่มขึ้น จากการนําศักยภาพที่แตกต่างกัน มาเกื้อหนุนกัน และเชื่อมโยงการดําเนินธุรกิจร่วมกันของสมาชิกเครือข่ายในห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) โดยพัฒนาเครือข่ายร่วมกับหน่วยงาน ภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันที่เกี่ยวข้อง ซึ่งทําให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูล และองค์ค วามรู้ ร ะหว่ า งสมาชิ ก ช่ว ยลดต้น ทุ น ในการดํ า เนิ นธุ ร กิ จ รวมทั้ ง เป็ น การสนับ สนุน การเพิ่ ม ผลิ ต ภาพ (Productivity) การส่งเสริมเครือข่ายวิสาหกิจในลักษณะนี้ สามารถดําเนินการได้โดยการจัดทํายุทธศาสตร์การ พัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจ เพื่อเป็นทิศทางการพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจเป้าหมาย และพัฒนาผู้ประสานการพัฒนา เครือข่ายวิสาหกิจ ให้เป็นผู้นําในการผลักดันให้เกิดการรวมกลุ่มและพัฒนาความสามารถในการแข่งขันของเครือข่าย อย่างต่อเนื่อง

บ-12


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)

กลยุทธ์ที่ 2.3 พัฒนาสินค้าและบริการของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ให้สอดคล้องกับความต้องการ ของตลาด โดยใช้เทคโนโลยี นวัตกรรม ภูมิปัญญา และทุนทางวัฒนธรรม การพัฒนาสินค้าและบริ การของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อ มให้สามารถตอบสนองความ ต้องการของตลาด ภาครัฐควรกระตุ้นให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมใช้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์โดยการ สนับสนุนที่ปรึกษา ผู้เชี่ยวชาญ และเงินทุนให้แก่ผู้ประกอบการ เพื่อพัฒนาสินค้าและบริการโดยการประยุกต์ใช้ภูมิ ปัญญาผสานกับเทคโนโลยีและนวัตกรรม เสริมสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อให้ ผู้ประกอบการทราบถึงการคุ้มครองทางกฏหมายในสินค้าและบริการที่ได้พัฒนาขึ้น สนับสนุนให้มีการทําวิจัยและ พัฒนาเชิงประยุกต์และใช้ประโยชน์จากงานศึกษาวิจัยที่มีอยู่ทั้งในประเทศและต่างประเทศ อีกทั้งสนับสนุนให้เกิด เครือข่ายนักออกแบบ นักการตลาด และนักพัฒนาผลิตภัณฑ์ ในห่วงโซ่มูลค่า (Value Chain) เพื่อให้มีบทบาทในการ ริเริ่มผลิตสินค้าและบริการใหม่ กลยุทธ์ที่ 2.4 ยกระดับคุณภาพสินค้าและบริการของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้ได้มาตรฐานสากล การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมจําเป็นที่จะต้องมีการ พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานของสินค้าและบริการอย่างต่อเนื่อง และยกระดับการผลิตสินค้าและบริการให้ได้ มาตรฐาน โดยเฉพาะมาตรฐานตามที่กฎหมายกําหนด ตลอดจนกําหนดมาตรฐานวิชาชีพ (Professional Certification) และเกณฑ์คุณภาพธุรกิจในธุรกิจภาคการค้าและบริการ นอกจากนี้ เพื่อให้การยกระดับคุณภาพสินค้า และบริการของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมีประสิทธิภาพมากขึ้น ภาครัฐควรสนับสนุนให้วิสาหกิจขนาด กลางและขนาดย่อมเข้าถึงบริการของหน่วยงานรับรองมาตรฐานต่างๆ ได้สะดวกและรวดเร็ว และส่งเสริมให้วิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมที่มีศักยภาพได้การรับรองมาตรฐานระดับสากล เพื่อให้เกิดการยอมรับจากผู้บริโภค รวมทั้ง ส่งเสริมให้ธุรกิจบริการนําแนวทางวิศวกรรมและการจัดการบริการมาประยุกต์ใช้ในการดําเนินงาน เพื่อให้ธุรกิจมีการ ดําเนินงานที่เป็นระบบและมีความน่าเชื่อถือ กลยุทธ์ที่ 2.5 สร้างโอกาสและเพิ่มช่องทางการตลาดให้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม การพัฒนาด้านการตลาดสามารถดําเนินการได้โดยการให้ความรู้พื้นฐานด้านการตลาด สนับสนุน กิจกรรมส่งเสริมด้านการตลาด พัฒนาตราสินค้า และเพิ่มช่องทางการตลาดอย่างทั่วถึงในประเทศและระหว่าง ประเทศ เช่น การค้าผ่านระบบสารสนเทศ กิจการการค้าระหว่างประเทศ (Trading Firm) เป็นต้น โดยการพัฒนา ร้านค้าส่งให้สามารถช่วยเหลือและเชื่อมโยงกับร้านค้าปลีกดั้งเดิม เพื่อยกระดับภาคการค้าในภาพรวม และสนับสนุน ให้มีการนําข้อมูลด้านการตลาดเชิงลึกมาใช้ประโยชน์ประกอบในการดําเนินธุรกิจ กลยุทธ์ที่ 2.6 พลิกฟื้นธุรกิจเพื่อความอยู่รอด การช่วยเหลือวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้สามารถพลิกฟื้นการดําเนินธุรกิจเพื่อความอยู่รอด หรือลดผลกระทบจากการเลิกกิจการ ทําได้โดยการสนับสนุนที่ปรึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญในการปรับปรุงการดําเนิน ธุรกิจ ตลอดจนสนับสนุนด้วยมาตรการทางการเงิน เพื่อให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมสามารถฟื้นฟูธุรกิจ

บ-13


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)

และปรับรูปแบบการดําเนินธุรกิจ รวมทั้งส่งเสริมให้มีหน่วยงานกลางทําหน้าที่รวบรวมข้อมูล ประสานงานเพื่อ ช่วยเหลือและอํานวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการในการปรับปรุงธุรกิจ และ ขายหรือซื้อกิจการ กลยุทธ์ที่ 2.7 สร้างและพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการใหม่ การสร้างและพัฒนาผู้ประกอบการรายใหม่ สามารถดําเนินการได้โดยการสร้างแรงจูงใจและจิตสํานึก ในการเป็นผู้ประกอบการ เสริมสร้างทัศนคติและประสบการณ์เกี่ยวกับการประกอบธุรกิจให้แก่นักเรียน นักศึกษา ประชาชนทั่วไป เสริมสร้างความสามารถในการผลิตสินค้าและบริการที่มีความแตกต่างและมีมูลค่าสูง และส่งเสริมให้ มีการจดทะเบียนนิติบุคคล สนับสนุนให้มีวิสาหกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise: SE) และเครือข่ายของวิสาหกิจ เพื่อสังคม เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ รวมทั้งสร้างผู้ประกอบการการค้า (Merchandizer) เพื่อกระตุ้น และเชื่อมโยงให้ผู้ผลิตสินค้าสามารถจําหน่ายสินค้าและบริการได้มากขึ้น ยุทธศาสตร์ที่ 3 ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทยให้เติบโตอย่างสมดุลตามศักยภาพของพืน้ ที่ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทยมีอยู่อย่างหนาแน่นในพื้นที่กรุงเทพมหานครและ ปริมณฑล เช่นเดียวกับการจ้างงานส่วนใหญ่ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม แสดงให้เห็นถึงความไม่สมดุล ของการพัฒนาเชิงพื้นที่ แม้ว่าพื้นที่อื่นมิได้มีศักยภาพด้อยไปกว่าพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ทั้งนี้ ศักยภาพ ของพื้นที่สามารถจําแนกได้เป็น 3 ด้าน คือ 1) ด้านสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งหมายถึงศักยภาพของวิถีชีวิต วัฒนธรรม และภูมิปัญญาที่เป็นเอกลักษณ์ สามารถสร้างมูลค่าเพิ่ม (value-added) และความโดดเด่นให้แก่สินค้าและบริการ 2) ด้านเศรษฐกิจ ซึ่งหมายถึงศักยภาพของพื้นที่ที่เหมาะสมกับการดําเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ 3) ด้านทรัพยากร และสิ่งแวดล้อม ซึ่งหมายถึงความอุดมสมบูรณ์ ความหลากหลายของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มีเฉพาะ ในพื้นที่ และเป็นประโยชน์ในการดําเนินธุรกิจของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ซึ่งยุทธศาสตร์นี้มุ่งเน้นการ ส่งเสริมตามความหมายของศักยภาพพื้นที่ดังกล่าว รวมถึงยังส่งเสริมการบูรณาการ การสร้างเครือข่ายการทํางาน และกลไกการดําเนินการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมทั้งในระดับพื้นที่ และระหว่างพื้นที่ กลยุทธ์ที่ 3.1 ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมและผู้ประกอบการชุมชน ให้พัฒนาบนพื้นฐานทาง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม เสริมสร้างศักยภาพและความเข้มแข็งแก่วิสาหกิจขนาดและขนาดย่อม รวมทั้งผู้ประกอบการชุมชน อย่างสมดุล ด้วยการส่งเสริมการดําเนินธุรกิจที่สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ สร้างคุณค่าทางสังคม และวัฒนธรรมใน ท้องถิ่น โดยคํานึงถึงความหลากหลายและความแตกต่างของพื้นที่ ใช้ประโยชน์จากข้อมูลในพื้นที่ พัฒนาความรู้และ ทักษะฝีมือแรงงานในแต่ละพื้นที่ สนับสนุนการนําภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่นมาใช้ในการสร้างสรรค์สินค้าและ บริการ พัฒนาพื้นที่ที่มีศักยภาพในการเป็นแหล่งจําหน่ายสินค้าและ/หรือแหล่งท่องเที่ยว รวมทั้งจัดกิจกรรมเชื่อมโยง การท่องเที่ยว ตลอดจนส่งเสริมการเข้าถึงแหล่งเงินทุนโดยการพัฒนาความเข้มแข็งขององค์กรการเงินระดับฐานราก

บ-14


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)

กลยุทธ์ที่ 3.2 เพิ่ ม ศั ก ยภาพของวิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่ อ มในเขตเศรษฐกิ จ ชายแดนและพื้ น ที ยุทธศาสตร์เศรษฐกิจ พัฒ นาวิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่ อ มและแรงงานในพื้ นที่ เ ขตเศรษฐกิ จ ชายแดนและพื้ น ที่ ยุทธศาสตร์เศรษฐกิจ ให้มีความรู้ ความสามารถ พร้อมรับและพร้อมรุกภายใต้บริบทใหม่ทางเศรษฐกิจซึ่งจะเกิดขึ้น ภายใต้กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน และประเทศในภูมิภาค ตลอดจนพัฒนาพื้นที่ให้เอื้อต่อ การค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว กลยุทธ์ที่ 3.3 สนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในการใช้ประโยชน์และบริหารจัดการทรัพยากร และสิ่งแวดล้อมในพืน้ ที่ ส่งเสริมให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับพื้นที่เห็นถึงความสําคัญ ของการใช้ประโยชน์จากสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indications: GI) ในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและ บริการที่มีคุณลักษณะพิเศษ ซึ่งสะท้อนลักษณะเฉพาะที่มีอยู่ตามแหล่งภูมิศาสตร์ รวมทั้งผลักดันให้มีการบริหารจัดการ ทรัพยากรในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่า มีประสิทธิภาพ และคํานึงถึงการรักษาสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ กลยุทธ์ที่ 3.4 การบู ร ณาการความร่ วมมือ ระหว่ า งภาครั ฐและเอกชน รวมถึง สร้ า งความเข้ ม แข็ ง เครือข่า ย การส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทยในระดับพื้นที่ ส่งเสริมการบูรณาการและสร้างเครือข่ายการทํางาน เพิ่มบทบาทของหน่วยงานและพัฒนากลไกการ ดํ า เนิ น การส่ ง เสริ ม วิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่ อ ม ทั้ ง ในระดั บ พื้ น ที่ และระหว่ า งพื้ น ที่ โดยการให้ คณะกรรมการนโยบายการบริ ห ารงานจั งหวั ดและกลุ่ ม จั ง หวั ด แบบบูร ณาการ (ก.น.จ.) ทบทวนองค์ ป ระกอบ คณะกรรมการ เพื่อให้สํานักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เป็นองค์ประกอบของคณะกรรมการทุก ระดับ ผลักดันนโยบายและแนวทาง เพิ่มประสิทธิภาพการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในพื้นที่อย่าง ทั่วถึงและสอดคล้องกับความต้องการของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมอย่างแท้จริง ยุทธศาสตร์ที่ 4 เสริมสร้างศักยภาพของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทยให้เชื่อมโยงกับเศรษฐกิจ ระหว่างประเทศ การเชื่อมโยงวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้สามารถรองรับกับกระแสโลกาภิวัตน์และเชื่อมโยงกับ เศรษฐกิจระหว่างประเทศเป็นเรื่องที่มีความจําเป็นเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจาก ปัจจุบันการค้าระหว่างประเทศมีบทบาท สําคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยเป็นอย่างมาก รายได้จากการส่งออกเป็นรายได้หลักของประเทศทั้งใน ส่วนภาพรวมของประเทศและในส่วนของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม การเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศใน อนาคตยังคงต้องพึ่งพิง ความแข็งแกร่ง และเสถียรภาพของภาคการค้าระหว่างประเทศเป็นสําคัญ ดังนั้ น การส่ งเสริมวิ สาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงการดําเนินธุรกิจกับ ต่างประเทศจึงต้องมุ่งเน้นการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสถานการณ์การค้าระหว่างประเทศให้แก่วิสาหกิจขนาด กลางและขนาดย่อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อตกลงภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: บ-15


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)

AEC) ซึ่งจะมีผลกระทบต่อการประกอบธุรกิจในธุรกิจสาขาต่างๆ การสนับสนุนการปรับปรุงการประกอบธุรกิจให้กับ วิสาหกิ จขนาดกลางและขนาดย่ อมให้ สามารถเตรี ยมพร้อมและรองรั บการแข่ งขั นที่ มี มากขึ้ นทั้ งในประเทศและ ต่างประเทศ นอกจากนี้ ยังให้ความสําคัญต่อการส่งเสริมศักยภาพและขยายโอกาสการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ ให้กับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม รวมถึงสนับสนุนการสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับธุรกิจในต่างประเทศ กลยุทธ์ที่ 4.1 เสริมสร้างความพร้อมให้กบั วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในการเข้าสู่การเปิดเสรีทางการค้า และการลงทุน เสริมสร้างองค์ความรู้เพื่อเผยแพร่ความเข้าใจเกี่ยวกับสถานการณ์การค้าระหว่างประเทศซึ่งมีผลต่อ การประกอบธุรกิจในหลายๆ สาขาธุรกิจ เช่น ข้อตกลงภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและการเปิดเสรีทางการค้า ให้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สนับสนุนการศึกษาทิศทางผลกระทบที่เกิดขึ้นเพื่อชี้นําสาขาธุรกิจที่คาดว่า จะได้รับผลกระทบ ตลอดจนปรับปรุงการประกอบธุรกิจให้สามารถรองรับการแข่งขันที่รุนแรงขึ้นทั้งในประเทศและ ต่างประเทศ กลยุทธ์ที่ 4.2 เสริมสร้างศักยภาพวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในการประกอบธุรกิจระหว่างประเทศ เสริมสร้างความรู้ความสามารถให้กับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในการดําเนินธุรกิจการค้า และการลงทุนระหว่างประเทศ รวมทั้งการสร้างโอกาสในการขยายตลาดไปยังต่างประเทศในรูปแบบต่างๆ กลยุทธ์ที่ 4.3 สร้างความร่วมมือระหว่างวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมกับธุรกิจในต่างประเทศ สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับธุรกิจในต่างประเทศ โดยเฉพาะในภูมิภาคอาเซียน เพื่อการสร้าง พันธมิตรทางธุรกิจ และสร้างความเชื่อมโยงห่วงโซ่อุปทานทั้งในระดับภูมิภาคอาเซียนและระดับโลก ความเชื่อมโยงระหว่างยุทธศาสตร์และประเด็นการดําเนินงานที่สําคัญภายใต้ความเชื่อมโยงของยุทธศาสตร์ ความเชื่อมโยงระหว่างยุทธศาสตร์ แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559) ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่ 1 สนับสนุนปัจจัยแวดล้อมให้เอื้อต่อการดําเนิน ธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย ยุทธศาสตร์ที่ 2 เสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมไทย ยุทธศาสตร์ที่ 3 ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทยให้เติบโตอย่างสมดุล ตามศักยภาพของพื้นที่ และยุทธศาสตร์ที่ 4 เสริมสร้างศักยภาพของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทยให้ เชื่อมโยงกับเศรษฐกิจระหว่างประเทศ มีความเกี่ยวเนื่องกันในด้านปัจจัยแวดล้อมซึ่งถือได้ว่าเป็นพื้นฐานในการ สนับสนุนการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในทุกมิติ การพัฒนาหน่วยงานและบุคลากร (ทั้งระดับ ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่) ที่มีหน้าที่ในการให้บริการและสนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม การพัฒนา เครือข่าย การรวมกลุ่มทั้งในระดับธุรกิจรายสาขา (Cluster) ระดับกลุ่มผู้ประกอบการ หรือระดับพื้นที่ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ และการจัดทําฐานข้อมูล ถือได้ว่าเป็นกลยุทธ์ที่มีความสําคัญสําหรับทุกยุทธศาสตร์ ขณะที่การ พัฒนาศักยภาพวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในท้องถิ่นโดยคํานึงถึงศักยภาพของพื้นที่ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม

บ-16


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)

วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมเป็นประเด็นที่สําคัญในการสร้างความเข้มแข็งให้กับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมใน ท้องถิ่น (ยุทธศาสตร์ที่ 2 และ 3) รวมทั้งจะต้องพัฒนาเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงเพื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจ อาเซียนของไทย โดยการเตรียมความพร้อมให้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในพื้นที่ (ยุทธศาสตร์ที่ 3 และ 4) ตลอดจนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่มีศักยภาพให้สามารถ ขยายการค้าและการลงทุนไปยังต่างประเทศได้ (ยุทธศาสตร์ที่ 2 และ 4) ดังแผนภาพ

แผนการส่งเสริมฯ ฉบับที่ 3: ความเชือ่ มโยงยุทธศาสตร์ สนับสนุนปัจจัยแวดล้อม

[1] ให้เอื้อต่อการดําเนินธุรกิจ

การพัฒนาศักยภาพ SMEs ในท้องถิน่ โดยคํานึงถึง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม

ส่งเสริมให้เติบโตอย่างสมดุล ตามศักยภาพของพื้นที่

[2] เสริมสร้างขีดความสามารถ

การพัฒนาความสามารถ SMEs ในการค้า ระหว่างประเทศ

ในการแข่งขัน

[3]

[4]

• การพัฒนาผูบ้ ริหาร/ เจ้าหน้าทีส่ ่งเสริม SMEs • การจัดทําฐานข้อมูล SMEs • การสร้างเครือข่าย

เสริมสร้างศักยภาพให้เชื่อมโยง กับเศรษฐกิจระหว่างประเทศ

การเตรียมความพร้อม SMEs ในพื้นทีต่ ่างๆ ในการเข้าสู่ AEC

จากความเชื่อมโยงระหว่างยุทธศาสตร์ดังกล่าว รวมถึงการวิเคราะห์ภาพรวมแนวโน้มบริบทการ เปลี่ยนแปลงของโลก สถานการณ์ปัจจุบัน จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภัยคุกคามรวมถึงข้อจํากัดของวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม พบว่า การพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้เป็นไปตามวิสัยทัศน์และบรรลุ เป้าหมายหลักที่ได้กําหนดไว้ในแผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ.2555-2559) มี 3 ประเด็นที่มีความจําเป็นต้องเร่งดําเนินการให้เกิดผลภายในระยะ 1-2 ปีแรกของแผนการส่งเสริมฯ ได้แก่ การ พัฒนาระบบฐานข้อมูลวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม การจัดตั้งสถาบันพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการ ส่งเสริมและพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และการเตรียมความพร้อมและยกระดับวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมในด้านการค้าการลงทุนในต่างประเทศเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ทั้งนี้เพื่อเป็น การเพิ่มประสิทธิภาพในการดําเนินงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในการกระจายการพัฒนาไปสู่ ภูมิภาคและท้องถิ่น อีกทั้งยังช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้ พร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558

บ-17


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)

เงื่อนไขปัจจัยความสําเร็จของแผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม การส่ ง เสริ ม วิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่ อ มของประเทศไทยให้ ส ามารถบรรลุ ต ามพั น ธกิ จ วิสัยทัศน์และเป้าหมายของการส่งเสริมที่ได้กําหนดไว้นั้น จําเป็นต้องอาศัยปัจจัยสําคัญหลายประการในขับเคลื่อน การดําเนินงาน ดังนี้ 1. การพัฒนาปัจจัยแวดล้อมให้เอื้อต่อการดําเนินธุรกิจของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม จําเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องจัดทําฐานข้อมูลวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของประเทศให้มีข้อมูลที่สมบูรณ์ ครบถ้วน และสามารถใช้ ข้ อ มู ล จากฐานเดี ย วกั น เพื่ อ กํ า หนดนโยบายและแนวทางการส่ ง เสริ ม วิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและ ขนาดย่อม รวมทั้งสร้างองค์ความรู้อันเป็นประโยชน์ต่อการดําเนินธุรกิจของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม รวมถึงจําป็นต้องทบทวน ปรับปรุง และผลักดันกฎหมาย กฎระเบียบ และสิทธิประโยชน์ของภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เพื่อเอื้อและลดอุปสรรคในการดําเนินธุรกิจของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม 2. การส่ ง เสริ ม และพั ฒ นาวิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่ อ ม จํ า เป็ น ต้ อ งได้ รั บ การจั ด สรร งบประมาณอย่างเพียงพอ ต่อเนื่อง และสอดคล้องเชื่อมโยงกับแผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สามารถพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้เกิดความเข้มแข็ง ยั่งยืนและเป็นกลไกสําคัญในการพัฒนา เศรษฐกิจของประเทศ 3. แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม จะสัมฤทธิ์ผลและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อการ พัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของประเทศ ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้อง ทั้ง ในส่วนกลางและส่วนท้องถิ่นอันได้แก่ คณะกรรมการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ (ก.บ.จ.) และคณะกรรมการ บริหารงานกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ (ก.บ.ก.) จะต้องนําแผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ไปใช้เป็นแนวทางในการดําเนินงานตามบทบาทหน้าที่ของหน่วยงานอย่างมีความเชื่อมโยง และเกื้อหนุนระหว่างกัน เพื่อให้การบูรณาการและมีพลังขับเคลื่อนอย่างมีทิศทางเดียวกัน 4. บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของภาครัฐ ภาคเอกชน ทุกระดับ จําเป็นต้องได้รับการพัฒนาศักยภาพ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่เป็นระบบและต่อเนื่อง ทั้งด้านความรู้ ความ เข้าใจเกี่ยวกับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ความรู้อื่นๆ ที่ทันต่อบริบทการเปลี่ยนแปลง รวมทั้งเข้าใจถึง นโยบายและทิศทางการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของประเทศ อันจะส่งผลให้การดําเนินงาน ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับความต้องการของวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมอย่างแท้จริง การแปลงแผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ.2555-2559) ไปสู่การปฏิบัติ การแปลงแผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559) ไปสู่การ ปฏิบัติ เป็นกระบวนการสําคัญ ที่ทําให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมได้รับการส่งเสริมและพัฒนาตามเป้าหมาย และยุทธศาสตร์ที่กําหนดไว้ ซึ่งได้กําหนดกลไกหลักที่เกี่ยวข้อง แหล่งงบประมาณสนับสนุน และวิธีการติดตาม ประเมินผลไว้ในพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ. 2543 ทั้งนี้ ในขั้นตอนการแปลง บ-18


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)

แผนการส่งเสริมฯ เน้นการมีส่วนร่วมและการสร้างความเข้าใจให้กับหน่วยงาน ทั้งหน่วยงานที่กําหนดนโยบาย หน่วยงานปฏิบัติ และผู้ที่เกี่ยวข้อง ทั้งในระดับประเทศ ระดับภูมิภาค ระดับท้องถิ่น พร้อมทั้งกําหนดให้มีการติดตาม ประเมินผลเพื่อให้การดําเนินการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

1. กระบวนการแปลงแผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สู่การปฏิบัติตามพระราชบัญญัติ ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ. 2543 1.1 กลไกหลักที่เกี่ยวข้องในการแปลงแผนการส่งเสริมฯ สู่การปฏิบัติ โครงสร้างกลไกการส่งเสริมพัฒนา วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ประกอบด้วย คณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม คณะกรรมการ บริหารสํานักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สํานักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์การเอกชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 1.2 งบประมาณ ในการดําเนินการตามแผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สามารถ ดําเนินการโดยใช้งบประมาณจากกองทุนฯ หรือใช้งบประมาณภารกิจของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 1.3 การติดตามและประเมินผล เมื่อแผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ได้แปลง เป็นแผนปฏิบัติการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแล้ว หน่วยงานที่มีหน้าที่ดําเนินงานตามแผนปฏิบัติ การดังกล่าวจะต้องรายงานผลการดําเนินงาน และจัดทําข้อมูลสถิติเกี่ยวกับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

บ-19


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)

2. แนวทางการสร้ า งการมี ส่ ว นร่ว ม สร้ า งความรู้ ความเข้า ใจและการผลั กดั น แผนการส่ ง เสริ ม วิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่อมสู่การปฏิบัติ 2.1 ผลักดันให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วม มีความรู้ ความเข้าใจแนวทางการดําเนินการ ตามแผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยสํานักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม จะส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการให้ความเห็น เสนอปัญหาและความต้องการ และร่วมดําเนินการส่งเสริม และพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมตามบทบาทที่เกี่ยวข้ อง รวมทั้งสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ เป้าหมาย ยุทธศาสตร์ และกลยุทธ์ของแผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เข้าใจในทิศทางเดียวกัน 2.2 สร้ า งความเชื่ อ มโยงและผลั ก ดั น แผนสู่ ก ารปฏิ บั ติ ใ นทุ ก ระดั บ ตั้ ง แต่ ใ นระดั บ ประเทศ ระดับภูมิภาค และท้องถิ่น 1) สร้างความเชื่อมโยงและผลักดันแผนการส่งเสริมฯ สู่การกําหนดนโยบายและดําเนินการใน ระดั บประเทศ โดยผลักดันให้ รัฐ บาล สํานั กงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิ จและสังคมแห่งชาติ (สศช.) สํานั กงบประมาณ (สงป.) สํานักงานคณะกรรมการพั ฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) คณะกรรมการนโยบายการ บริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ (ก.น.จ.) ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐสาหกิจ องค์การเอกชน ในส่วนกลาง เช่น กระทรวง กรม นํ าแผนการส่ งเสริมฯ ไปเป็นแนวทางในการกําหนดนโยบายและการพัฒนา วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมตามบทบาทที่เกี่ยวข้องของแต่ละหน่วยงาน ตลอดจนใช้เป็นกรอบในการพิจารณา โครงการที่ควรสนับสนุน 2) ผลักดันให้การส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเป็นแนวทางสําคัญในภูมิภาค โดย ส่งเสริมให้จังหวัด คณะกรรมการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ (ก.บ.จ.) และกลุ่มจังหวัด คณะกรรมการ บริหารงานกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ (ก.บ.ก.) นําแผนการส่งเสริมฯ ไปใช้เป็นแนวทางในการจัดทําแผนพัฒนา จังหวัด แผนพัฒนากลุ่มจังหวัด รวมทั้งใช้ในการพิจารณาโครงการที่ควรสนับสนุน 3) ผลักดันให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) นําแผนการส่งเสริมฯ ไปใช้เป็นแนวทางในการ จัดทําแผนพัฒนาและดําเนินการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในท้องถิ่น 3. แนวทางและกลไกการติดตามประเมินผล และขนาดย่อม

การดําเนินงานตามแผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง

1. การติดตามความก้าวหน้า และประเมินผลการดําเนินงาน เพื่อทราบผลการดําเนินงาน ปัญหา อุปสรรคในการดําเนินงาน ตามแผนงานโครงการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และทบทวน ปรับปรุง แนวทางที่กําหนดไว้เพื่อให้แผนการส่งเสริมฯ มีความสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น 2. กลไกการติดตามประเมินผล สํานักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ทําหน้าที่ กําหนดแนวทางการติดตามความก้าวหน้าและการติดตามประเมินผล โดยการประสานงานติดตามการดําเนินงาน ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และจัดทํารายงานผลต่อคณะกรรมการบริหารสํานักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อม และคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม บ-20


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)

บทนํา พระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ. 2543 กําหนดให้คณะกรรมการ ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม จัดทํานโยบายและแผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เพื่อเสนอขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี เพื่อใช้เป็นแนวทางหลักของประเทศที่ทุกหน่วยงานทั้งภาครัฐและ เอกชนร่วมมือกันดําเนินการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ซึ่งเป็นกลุ่มวิสาหกิจส่วนใหญ่ของประเทศ และมีความสําคัญยิ่งต่อกระบวนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ที่ผ่านมาประเทศไทยได้มี แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม รวมทั้งสิ้น 2 ฉบับ ได้แก่ แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2545-2549) และแผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2550-2554) ซึ่งสํานักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในฐานะหน่วยงานประสานและจัดทํา แผนปฏิบัติการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ได้นําแผนการส่งเสริมฯ ดังกล่าวไปเป็นแนวทางในการ จัดทําแผนปฏิบัติการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมร่วมกับส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ และองค์กรเอกชนที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของประเทศไทยเป็นไปอย่าง มีเอกภาพ สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศ ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและนโยบายรัฐบาล แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2545-2549) มุ่งแก้ไขผลกระทบที่ เกิดจากปัญหาวิฤตทางเศรษฐกิจ โดยเน้นการสร้างความเข้มแข็งในฐานะทางการเงินและการดําเนินการฟื้นฟูและ ขยายโอกาสทางการตลาดของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ควบคู่กับการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อมให้เกิดความเข้มแข็งในเชิงโครงสร้าง โดยเน้นการสร้างและปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานและบริการภาครัฐให้ มีความพร้อมและกระจายอย่างทั่วถึง การลดปัญหาและอุปสรรคในการประกอบธุรกิจที่เกิดจากกฎระเบียบและ ข้อบังคับของภาครัฐ รวมถึงการเสริมสร้างวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้เติบโตอย่างยั่งยืนด้วยการยกระดับ ขีดความสามารถในการแข่งขัน เสริมสร้างศักยภาพของผู้ประกอบการและยกระดับทักษะของแรงงานในวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม การส่งเสริมเทคโนโลยี การวิจัยพัฒนาและการสร้างนวัตกรรม รวมทั้งส่งเสริมความ เชื่อมโยงและการรวมกลุ่มวิสาหกิจ (Cluster) นอกจากนั้น ยังมุ่งเน้นแก้ไขปัญหาและวางรากฐานเพื่อให้เกิดการ เติบโตในวิสาหกิจยุทธศาสตร์สําคัญเฉพาะกลุ่ม คือ (1) วิสาหกิจส่งออก ซึ่งเน้นการวางตําแหน่งทางยุทธศาสตร์ของ ผลิตภัณฑ์ (Product Positioning) ที่มีโอกาสและศักยภาพสูงในตลาดส่งออก และการยกระดับสินค้าและบริการ ส่งออกจากสภาพการแข่งขันที่ถูกบีบคั้น 2 ทาง (Nut-Cracker) ไปสู่ตลาดในระดับที่สูงขึ้น (2) การสร้าง ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ประกอบการที่ใช้ฐานความรู้สมัยใหม่ (New Economy) เพื่อให้เป็นพลัง ขับเคลื่อนหลักในการสร้างการเติบโตของเศรษฐกิจไทยการสร้างมูลค่าเพิ่มการสร้างงานและสร้างรายได้ และ


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)

(3) วิสาหกิจชุมชน ให้มีการใช้ทรัพยากรและภูมิปัญญาในท้องถิ่นในการผลิตสินค้าและบริการให้ตรงกับความ ต้องการของตลาดและมีคุณภาพสูง รวมทั้งมีการเชื่อมโยงและเกิดกลุ่มการพัฒนาร่วมกัน แผนการส่งเสริมวิ สาหกิ จขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2550-2554) มุ่งส่งเสริ มให้ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเติบโตและพัฒนาใน 2 แนวทาง ทั้งการเติบโตเชิงคุณภาพ ซึ่งเป็นผลจากการ พัฒนาขีดความสามารถทางนวัตกรรมและการเพิ่มผลิตภาพโดยรวม ส่วนอีกแนวทางเป็นการส่งเสริมการเติบโตในเชิง ขนาดที่ควบคู่ไปกับคุณภาพ โดยพัฒนาจากธุรกิจขนาดเล็กเป็นขนาดย่อม ขนาดกลาง และขยายตัวไปเป็นวิสาหกิจ ขนาดใหญ่ในที่สุด ซึ่งยังคงต้องให้ความสําคัญกับทักษะฝีมือ องค์ความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรม และผลิตภาพด้วย เช่นกัน โดยเน้นระดับผู้ประกอบการและกิจการ ระดับประเภทกิจการและกลุ่มธุรกิจ (Cluster) รายสาขา รวมถึง วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในภู มิภาคและท้องถิ่น อีกทั้ง ยั งมีการดํ าเนินการในประเด็ นที่ต่อเนื่องจาก แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2545-2549) โดยเน้นการพัฒนาสภาพแวดล้อม สิ่งอํานวยความสะดวกและโครงสร้างพื้นฐานที่เอื้อต่อการดําเนินธุรกิจของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และ เสริมสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางปัญญา รวมทั้ง สนับสนุนการปรับตัวไปสู่กิจการที่ใช้ฐานความรู้ ทักษะฝีมือและมี ความสามารถในการปรับตัวต่อไป แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับนี้ ซึ่งเป็นฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559) เป็น แผนยุทธศาสตร์ที่จัดทําขึ้นเพื่อมุ่งสู่ความเป็นสากลของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม มุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาทั้ง ภายในและภายนอกวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ยังคงมีอยู่จากการพัฒนาที่ผ่านมา รวมทั้งดําเนินการใน ประเด็นที่มีความสําคัญอย่างต่อเนื่องจากแผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ทั้ง 2 ฉบับ ตลอดจน กําหนดแนวทางเพื่อบรรเทาผลกระทบและรองรับเหตุการณ์ต่างๆ ทั้งที่เกิดขึ้นแล้ว เช่น วิกฤตทางการเงินของโลก (Hamburger crisis) หรือเหตุการณ์ไม่สงบทางการเมืองที่เกิดขึ้นหรือสถานการณ์ฉุกเฉินต่างๆ และการเปลี่ยนแปลง ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) หรือการเปิดเสรีทางการค้า การ ลงทุนต่าง ๆ ที่เพิ่มมากขึ้น อีกทั้งให้ความสําคัญต่อการพัฒนาบุคลากรที่มีหน้าที่ในการให้บริการและสนับสนุน วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เป็นแผนแม่บทในระดับของการประสานงาน ดังนั้นแผนการส่งเสริมฯ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559) นี้ จึงได้จัดทําให้มีความสอดคล้องและเชื่อมโยงกับแผนและ ยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องทั้งในระดับประเทศ อาทิ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 25552559) ที่ยังคงยึดหลัก “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” และ “คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา” อีกทั้ง “สร้าง สมดุลการพัฒนา” ในทุกมิติ ขณะเดียวกันก็สอดรับกับนโยบายของรัฐบาลที่ให้ความสําคัญกับการฟื้นฟูเศรษฐกิจจาก ปัญหาวิกฤตทางการเงินของโลก การสร้างเศรษฐกิจฐานความรู้และการสร้างสรรค์ และการยกระดับผลิตภาพและ ประสิทธิภาพและการเสริมสร้างโครงสร้างพื้นฐาน รวมถึงเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ของกระทรวงอุตสาหกรรมและ กระทรวงต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนแผนระดับกลุ่มจังหวัดที่คํานึงถึงความต้องการ ศักยภาพของประชาชนใน ท้องถิ่นในกลุ่มจังหวัด และความพร้อมของภาครัฐและภาคธุรกิจเอกชน


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)

ในการจัดทําแผนการส่งเสริมฯ นอกจากมีนโยบายของคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อม และพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เป็นกรอบแนวคิดแล้ว ยังมีการรับฟัง ข้อมูลจากผู้มีส่วนร่วมในการกําหนดความต้องการในการพัฒนาพื้นที่ของกลุ่มจังหวัด มาพิจารณาให้เกิดความ ผสมผสานไม่ขัดแย้งกัน เพื่อให้ได้แผนในลักษณะของการชี้นําแนวทางและมาตรการที่ครอบคลุมวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมในทุกระดับและทุกมิติ สามารถนําไปเป็นแนวทางในการพัฒนาที่ต่อเนื่องจากแผนการส่งเสริม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2550-2554) และสามารถผลักดันไปสู่การปฏิบัติให้เกิดผลอย่าง เป็นรูปธรรมในระยะ 5 ปีของแผน ทั้งนี้ ขั้นตอนการจัดทําแผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ฉบับที่ 3 มีรายละเอียด ดังนี้ 1. พิจารณาความเชื่อมโยงและความสอดคล้องกับแผนและยุทธศาสตร์การพัฒนาในระดับต่างๆ ที่ เ กี่ ย วข้ อ ง ได้ แ ก่ แผนพั ฒ นาเศรษฐกิ จ และสั ง คมแห่ ง ชาติ ฉ บั บ ที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559) นโยบายของรัฐบาล ยุทธศาสตร์ของกระทรวงที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาและส่งเสริมวิสาหกิจขนาด กลางและขนาดย่อม รวมถึงแผนกลุ่มจังหวัด 2. ประเมินผลการส่งเสริม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ผ่านมาในช่ วงแผนการส่งเสริม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2545-2549) และผลการดําเนินงานส่งเสริม ในช่วงแผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2550-2554) 3. ประมวลสถานการณ์ทั้งภายในและภายนอกประเทศที่จะมีผลต่อการดําเนินธุรกิจของวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมในระยะ 5 ปีข้างหน้า รวมทั้งสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นจากธุรกิจเอง ควบคู่ กับการระดมความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ผู้ประกอบการครอบคลุมภาคการผลิต ภาคการค้าและภาคบริการ ตัวแทนองค์กรภาคเอกชน และภาควิชาการ ในลักษณะของการจัด ประชุมระดมความคิดเห็น รวมทั้งการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาต่างๆ เพื่อนําไปสู่การ กําหนดกรอบแนวคิดการส่งเสริม ประเด็นสําหรับการจัดทําแนวทางการพัฒนาและส่งเสริม ภายใต้แผนการส่งเสริมฯ แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ.2555-2559) ฉบับนี้มีองค์ประกอบ สําคัญ 8 ส่วนด้วยกัน คือ บทนํา แสดงความเป็นมา ขั้นตอน และกระบวนการจัดทําแผน รวมทั้งองค์ประกอบของแผนการ ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559) บทที่ 1 แสดงบทบาท ความสําคัญ และโครงสร้างของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของ ประเทศไทย จําแนกตามมิติสําคัญทางเศรษฐกิจต่างๆ รวมถึงสถานการณ์และโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมที่มี ผลกระทบต่อกระบวนการดําเนินธุรกิจและการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของประเทศไทย


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)

บทที่ 2 แสดงผลการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของประเทศไทยที่ผ่านมา ตามกรอบ แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 1 (พ.ศ.2545-2549) และแผนการส่งเสริมวิสาหกิจ ขนาด กลางและขนาดย่อมฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2550-2554) บทที่ 3 แสดงผลการวิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส และภัยคุกคามของวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อมของประเทศไทย จําแนกตามปัจจัยสําคัญที่มีผลกระทบต่อการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ของไทย บทที่ 4 แสดงกรอบแนวคิด ทิศทาง วิสัยทัศน์และเป้าหมายการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อม ตามยุทธศาสตร์แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ.2555-2559) ประกอบด้วย แผนยุทธศาสตร์และนโยบายที่เกี่ยวข้อง กรอบแนวคิดและทิศทางการส่งเสริม วิสัยทัศน์ พันธกิจและ เป้ า หมายการส่ ง เสริ ม รวมถึ ง กลุ่ ม เป้ า หมายในการส่ ง เสริ ม ซึ่ ง จากนโยบายได้ กํ า หนดกลุ่ ม อุ ต สาหกรรม ที่ ใ ห้ ความสําคัญเป็นพิเศษในแผนการส่งเสริมฯ ฉบับนี้ คือ กลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยีและนวัตกรรม กลุ่มอุตสาหกรรม การเกษตรและเกษตรแปรรูป กลุ่มอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ กลุ่มธุรกิจภาคการค้าปลีกและการค้าส่ง และกลุ่ม อุตสาหกรรมบริการและการท่องเที่ยว บทที่ 5 แสดงยุทธศาสตร์การส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมตามกรอบแผนการส่งเสริม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ.2555-2559) ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ยุทธศาสตร์ที่สอดคล้องกับ กรอบแนวคิดตามลําดับของภารกิจ ได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่ 1 สนับสนุนปัจจัยแวดล้อมให้เอื้อต่อการดําเนินธุรกิจ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย ยุทธศาสตร์ที่ 2 เสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของวิสาหกิจขนาด กลางและขนาดย่อมไทย ยุทธศาสตร์ที่ 3 ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย ให้เติบโตอย่างสมดุล ตามศั ก ยภาพของพื้ น ที่ และยุ ท ธศาสตร์ ที่ 4 เสริ ม สร้ า งศั ก ยภาพของวิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่ อ มไทย ให้เชื่อมโยงกับเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ซึ่งยุทธศาสตร์ทั้ง 4 ประการนี้ มีความสัมพันธ์กันทั้งในด้านการพัฒนา ปัจจัย แวดล้อมที่ เอื้ อต่ อ การส่ ง เสริ ม พั ฒ นาวิส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่ อ มซึ่ง พัฒ นากลไกเพื่อสนั บสนุ นใน ทุกยุทธศาสตร์ ส่วนด้านการพัฒนาหน่วยงานและบุคลากรทั้งระดับผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ ที่มีหน้าที่ในการให้บริการ และสนับสนุนวิสาหกิ จขนาดกลางและขนาดย่อม และด้านการพัฒนาเครือข่าย การรวมกลุ่มทั้งในระดั บธุรกิจ รายสาขา (Cluster) ระดับกลุ่มผู้ประกอบการ หรือระดับพื้นที่ทั้งในและต่างประเทศ เป็นการพัฒนาร่วมกันในทุก ยุทธศาสตร์ ขณะที่การพัฒนาและส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมร่วมกันระหว่าง 2 ยุทธศาสตร์ ประกอบด้วยด้านการพัฒนาศักยภาพวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในท้องถิ่นโดยคํานึงถึงศักยภาพของพื้นที่ทั้ง ด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม (ยุทธศาสตร์ที่ 2 และ 3) ด้านการเตรียมความพร้อมวิสาหกิจขนาด กลางและขนาดย่อมในพื้นที่สู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ยุทธศาสตร์ที่ 3 และ 4) และด้านการยกระดับวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมสู่การค้าการลงทุนในต่างประเทศ (ยุทธศาสตร์ที่ 2 และ 4) บทที่ 6 แสดงปัจจัยความสําเร็จของแผนฯ ประเด็นความสําคัญที่เป็นปัจจัยเกื้อหนุนให้แผนการ ส่งเสริมฯ สามารถบรรลุผลได้ตามวิสัยทัศน์และเป้าหมายของการส่งเสริมดังที่ได้กําหนดไว้ในบทที่ 4 ซึ่งมีความ จําเป็นต่อการขับเคลื่อนการดําเนินงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)

บทที่ 7 แสดงกระบวนการแปลงแผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สู่การปฏิบัติ ซึ่ง ประกอบด้วยกลไกหลัก แหล่งงบประมาณ และแนวทางการติดตามประเมินผล ตามที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัติ ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ.2543 รวมทั้งเสนอแนวทางการสร้างการมีส่วนร่วม สร้างความรู้ ความเข้าใจและการผลักดันแผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สู่การปฏิบัติ และเสนอแนวทางการ ติดตามประเมินผลเพื่อให้การดําเนินการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ


แผนแม่บทการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

บทท บทที​ี่ 1 ความสําคัญ โครงสร้าง และสถานการณ์ที่ส่งผลต่อวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เป็นกลไกหลักในการเสริมสร้างความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจของ ประเทศ โดยสร้างรายได้ให้แก่ประเทศ ก่อให้เกิดการจ้างงาน อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือในการแก้ไขปัญหาความยากจน และในการสร้างสังคมผู้ประกอบการด้วยการสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ จึงถือได้ว่าวิสาหกิจขนาดกลางและขนาด ย่อมมีบทบาทในการเป็นรากฐานของการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของประเทศที่มีความสําคัญ รูปที่ 1-1

ความสําคัญ และโครงสร้างของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของไทย ปี 2553

ที่มา: รายงานสถานการณ์วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมปี 2553 และแนวโน้มปี 2554

บทบาทความสําคัญและโครงสร้างของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย ในปี 2553 ประเทศไทยมี จํ า นวนวิ ส าหกิ จ รวมทั้ ง สิ้ น 2,924,912 ราย โดยร้ อ ยละ 99.60 เป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (รูปที่ 1-1 และตารางที่ 1-1) เมื่อจําแนกตามกลุ่มวิสาหกิจพบว่า วิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมภาคการค้าและซ่อมบํารุงคิดเป็นสัดส่วนมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 47.49 ของวิสาหกิจขนาด กลางและขนาดย่อมทั้งประเทศ ส่วนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในภาคบริการมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 33.76 และภาคการผลิต ประมาณร้อยละ 18.71 ของจํานวนวิสาหกิจรวมของประเทศ (ตารางที่ 1-2) สําหรับสถานประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พบว่าตั้งอยู่ค่อนข้างหนาแน่นในเขต กรุงเทพมหานครและปริมณฑล คิดเป็นจํานวนประมาณ 110 รายต่อตารางกิโลเมตร ขณะที่ในส่วนภูมิภาคมีสถาน ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเพียงประมาณ 4 รายต่อตารางกิโลเมตรเท่านั้น โดยผู้ประกอบการ ส่วนใหญ่มีการกระจุกตัวอยู่ในจังหวัดที่ถือได้ว่าเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของแต่ละภูมิภาค

1-1


แผนแม่บทการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

ในปี 2553 การจ้างงานของประเทศไทยในกิจการทุกขนาด มีจํานวนรวมทั้งสิ้น 13,496,088 คน โดย ร้อยละ 77.86 เป็นการจ้างงานในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (รูปที่ 1-1 และตารางที่ 1-1) แสดงให้เห็นถึง ความสําคัญในการเป็นแหล่งการจ้างงานของประเทศ เมื่อพิจารณาการจ้างงานของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาด ย่อมจําแนกตามกลุ่มวิสาหกิจ พบว่า ภาคบริการมีการจ้างงานสูงสุดคิดเป็นร้อยละ 35.82 ของการจ้างงานรวม ส่วน ภาคการผลิต และภาคการค้าและซ่อมบํารุง มีการจ้างงานร้อยละ 33.25 และร้อยละ 30.93 ของการจ้างงานรวม ของประเทศตามลําดับ (ตารางที่ 1-2) ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ในปี 2553 มีมูลค่าทั้งสิ้น 10,102,986 ล้านบาท โดยแบ่ง ออกเป็น GDP ในภาคเกษตรจํานวน 1,255,189 บาท และ GDP นอกภาคเกษตรจํานวน 8,847,797 บาท คิดเป็นร้อย ละ 12.42 และร้อยละ 87.58 ของ GDP รวมของประเทศ ตามลําดับ ซึ่ง GDP ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมี มูลค่า 3,746,967 ล้านบาท (รูปที่ 1-1) คิดเป็นร้อยละ 42.35 ของ GDP นอกภาคเกษตรหรือคิดเป็นร้อยละ 37.09 ของ GDP รวมของประเทศ (ตารางที่ 1-1) มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าร้อยละ 7.92 ซึ่งเป็นอัตราทีส่ ูงกว่าอัตราการ ขยายตัวของ GDP รวมของประเทศที่เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 7.80 เมื่อพิจารณา GDP จําแนกตามขนาดของวิสาหกิจ พบว่า ในปี 2553 วิสาหกิจขนาดย่อมมีมูลค่า GDP อยู่ที่ 2,490,703 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 24.65 ของมูลค่า GDP ของประเทศ) โดยมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าร้อยละ 7.10 ในขณะที่ GDP ของวิสาหกิจขนาดกลางมีมูลค่า 1,256,264 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 12.43 ของ GDP ของประเทศ) และมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าร้อยละ 9.52 เมื่อพิจารณาจําแนกตามกลุ่มวิสาหกิจ พบว่า ภาคบริการมีสัดส่วนของ GDP ต่อ GDP(SMEs) มากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 37.56 สําหรับภาคการผลิต และภาคการค้าและซ่อมบํารุงมีสัดส่วนของ GPD ต่อ GDP(SMEs) ที่ร้อยละ 33.99 และ ร้อย ละ 28.19 ตามลําดับ (ตารางที่ 1-2) ในปี 2553 ประเทศไทยมีมูลค่าการส่งออกรวมทั้งสิ้น 6,177,688 ล้านบาท โดยปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก ปี 2552 คิดเป็นร้อยละ 18.80 การส่งออกในส่วนของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมคิดเป็นมูลค่า 1,754,280 ล้านบาท (รูปที่ 1-1) เพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 10.39 จากปีก่อนหน้า (ตารางที่ 1-1) ขณะที่มูลค่าการนําเข้าของ ประเทศมีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 5,832,231 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2552 ในอัตราร้อยละ 26.64 โดยเป็นการนําเข้าของ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมคิดเป็นมูลค่า 1,775,084 ล้านบาท เพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 28.84 จากปีก่อนหน้า (ตารางที่ 1-1) เห็นได้ว่า มูลค่าการค้าระหว่างประเทศของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของไทย ในปี 2553 มี การขยายตัวเพิ่มขึ้นในระดับที่สูง ในปี 2553 การจัดตั้งใหม่ของกิจการนิติบุคคล (ซึ่งเป็นกิจการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เกือบทั้งสิ้น) มีจํานวน 50,776 ราย เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า 9,533 ราย หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.11 (ตารางที่ 1-1) โดยเป็นการจดทะเบียนจัดตั้งในส่วนภูมิภาคสูงถึง 30,009 ราย หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 59.1 ของจํานวนกิจการ นิติบุคคลที่จัดตั้งใหม่ และเมื่อพิจารณาจําแนกตามประเภทธุรกิจ พบว่า ประเภทกิจการที่มีการจดทะเบียนจัดตั้งใหม่ มากที่สุดคือ ธุรกิจบริการนันทนาการจํานวน 5,637 ราย รองลงมา คือธุรกิจการก่อสร้างอาคารทั่วไปจํานวน 4,855 ราย ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์จํานวน 2,650 ราย และธุรกิจให้คําปรึกษาด้านบริหารจัดการจํานวน 1,368 ราย ส่วนการ

1-2


แผนแม่บทการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

ตารางที่ 1-1 บทบาทของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมต่อระบบเศรษฐกิจไทย

บทบาทต่อระบบเศรษฐกิจ

พ.ศ.2552

การ เปลี่ยนแปลง

พ.ศ.2553

จํานวนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ราย)

2,896,106

2,913,167

- สัดส่วนจํานวน SMEs ต่อจํานวนวิสาหกิจรวม

99.01%

99.60%

การจ้างงานวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (คน)

9,701,354

10,507,507

- สัดส่วนการจ้างงานของ SMEs ต่อการจ้างงานรวม

78.20%

77.86%

3,417,860.70

3,746,967.00

37.76%

37.09%

1,589,199.87

1,754,280.00

30.56%

28.40%

1,377,740.25

1,775,084.00

29.92%

30.44%

การจัดตัง้ ธุรกิจของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (รวม)

41,243.00

50,776.00

23.11%

การเลิกธุรกิจของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (รวม)

58,251.00

29,169.00

-49.93%

GDP SMEs (ล้านบาท) - GDP SMEs : GDP รวม มูลค่าการส่งออกของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ล้านบาท) -สัดส่วนการส่งออกของ SMEs ต่อการส่งออกรวม มูลค่าการนําเข้าของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ล้านบาท) -สัดส่วนการนําเข้าของ SMEs ต่อการนําเข้ารวม

0.59%

8.31% 9.63% 10.39% 28.84%

ที่มา: รายงานสถานการณ์วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมปี 2553 และแนวโน้มปี 2554

ตารางที่ 1-2 สัดส่วนของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม จําแนกตามลักษณะธุรกิจ (ร้อยละ) ปี

จํานวนวิสาหกิจ 2552

จํานวนการจ้างงาน

2553

2552

สัดส่วน GDP SMEs

2553

2552

2553

ภาคการผลิต

18.89

18.71

34.23

33.25

31.98

33.99

ภาคการค้า

47.36

47.49

30.02

30.93

29.88

28.19

ภาคบริการ

33.68

33.76

35.75

35.82

37.88

37.56

ไม่ระบุ/อื่นๆ

0.07

0.04

0.01

0.00

0.26

0.25

100.00

100.0

100.00

100.00

100.00

100.00

รวม

ที่มา: รายงานสถานการณ์วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมปี 2553 และแนวโน้มปี 2554

1-3


แผนแม่บทการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

ปัจจัยและสภาว การณ์ที่มผี ลกระทบ สภาวการณ์ กระทบต่ต่อวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย 1. มาตรการแก้ไขปัญหาด้านเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม 1.1 มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลในระยะแรก (มาตรการเร่งด่วน) ในปี 2552 ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจการเงินของสหรัฐอเมริกา (Hamburger crisis) และสถานการณ์ความไม่ สงบทางการเมืองในประเทศ เป็นแรงฉุดให้สถานการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศทรุดลงจนมีอัตราการเติบโตทาง เศรษฐกิจติดลบในไตรมาสที่ 1 ของปี 2552 รัฐบาลจึงได้จัดทําแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะเร่งด่วนขึ้นเพื่อแก้ปัญหา เฉพาะหน้า โดยเลือกใช้แนวทางการกระตุ้นการใช้จ่ายภาคประชาชน การบรรเทาปัญหาผู้ว่างงาน ผู้ถูกเลิกจ้างและ ผู้มีรายได้น้อย การช่วยเหลือภาคเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบรุนแรงจากสถานการณ์การเมือง โดยมีเป้าหมายเพื่อ ช่วยเหลือและขับเคลื่อนเศรษฐกิจ 4 ด้าน คือ การบริโภคภายในประเทศ การใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐ การลงทุน ภาคเอกชน และ ภาคการส่งออกและการท่องเที่ยว ให้เติบโตต่อไปได้ โดยรายละเอียดสามารถสรุปได้ ดังนี้ 1.1.1 กระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ มุ่ ง เน้ น ให้ เกิ ดการกระตุ้ น การจับ จ่า ยใช้ ส อยและลดค่า ครองชีพ ของประชาชนที่ไ ด้รั บ ผลกระทบจากภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ โดยการออกมาตรการเพื่อเพิ่มรายได้และลดภาระค่าครองชีพเพื่อให้ประชาชนมี เงินเหลือในการจับจ่ายใช้สอยสินค้าและบริการอื่นๆ มากขึ้น ตัวอย่างโครงการที่สําคัญ ได้แก่ โครงการเช็คช่วยชาติ โครงการประกันราคาพืชผล โครงการเบี้ยกตัญญู โครงการส่งเสริมอาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน (อสม.) โครงการ 5 มาตรการ 6 เดือนลดค่าครองชีพ และโครงการธงฟ้าช่วยประชาชน 1.1.2 เพิ่มการใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐ เป็นโครงการที่เน้นการลงทุนโดยภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ เกิดการสร้างงานและรายได้ รวมทั้งพัฒนาศั กยภาพทางเศรษฐกิ จในระดับฐานรากและยกระดับคุณภาพชีวิต โดยเฉพาะในเขตพื้นที่ชนบท ตัวอย่างเช่น โครงการเรียนฟรี 15 ปี โครงการต้นกล้าอาชีพ โครงการชุมชนพอเพียง โครงการพัฒนาแหล่งน้ําขนาด เล็กเพื่อการเกษตร โครงการถนนปลอดฝุ่น และโครงการปรับปรุงสถานีอนามัยและที่พักอาศัยตํารวจชั้นประทวนทั่ว ประเทศ 1.1.3 ช่วยเหลือและส่งเสริมการลงทุนภาคเอกชน เป็ น โครงการที่ เ น้น การให้ ค วามช่ว ยเหลือ และส่ งเสริ มภาคเอกชนเพื่ อลดการเลิ กจ้ า ง กระตุ้นให้เกิดการลงทุนใช้จ่ายเพื่อสร้างงานในระบบเศรษฐกิจ เช่น โครงการเพิ่มค่าลดหย่อนภาษีเงินได้จากการซื้อ อสังหาริมทรัพย์ โครงการค้ําประกันสินเชื่อของบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เพื่อช่วยเหลือ ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โครงการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมโดยเฉพาะ อุตสาหกรรมอาหาร และมาตรการลดภาษีให้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม วิสาหกิจชุมชน และการงดเก็บ ภาษีจากการปรับโครงสร้างหนี้ภาคเอกชน

1-4


แผนแม่บทการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

1.1.4 บรรเทาผลกระทบจากภาวะหดตัวของภาคการส่งออกและการท่องเที่ยว เพื่อให้การช่วยเหลือภาคการส่งออกและการท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากวิกฤต เศรษฐกิจโลก โดยกระตุ้นการท่องเที่ยวและลดความเสี่ยงในการประกอบธุรกิจของผู้ส่งออก เช่น โครงการรับประกัน ความเสี่ยงให้ผู้ส่งออก โครงการฟื้นฟูความเชื่อมั่นประเทศไทย โครงการสนับสนุนการท่องเที่ยวโดยการพัฒนา โครงสร้างพื้นฐาน ปรับภูมิทัศน์และระบบรักษาความปลอดภัยในแหล่งท่องเที่ยวสําคัญๆ รวมถึงการยกเว้น ค่าธรรมเนียมวีซ่า 3 เดือน ลดค่าธรรมเนียม Landing Fee ยกเว้นค่าเข้าชมอุทยานแห่งชาติในพื้นที่จังหวัดท่องเที่ยว และกระตุ้นการท่องเที่ยวภายในประเทศ โดยค่าใช้จ่ายจากการอบรมสัมมนาสามารถนํามาหักภาษีได้ 2 เท่า เป็นต้น 1.2 แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะที่ 2 (พ.ศ. 2553-2555) จากการที่ส ถานการณ์ วิก ฤตเศรษฐกิ จ โลกมีความรุน แรงและฟื้นตั วได้ช้ากว่ าที่ คาดการณ์ไ ว้ รัฐบาลจึงได้ออกมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะที่ 2 ต่อจากมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะเร่งด่วน เพื่อช่วยกระตุ้น เศรษฐกิจและเพิ่มการจ้างงาน ผ่านการลงทุนของรัฐควบคู่ไปกับการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันในระยะยาว เพื่อส่งเสริมการเติบโตของเศรษฐกิจไทย โดยมีสาระสําคัญ ดังนี้ 1) ปรั บ ปรุ ง ประสิ ท ธิ ภ าพระบบการกระจายน้ํ า และพั ฒ นาแหล่ ง น้ํ า ขนาดเล็ ก เพื่ อ เพิ่ ม ประสิทธิภาพการผลิตให้แก่ภาคเกษตรและอุตสาหกรรม 2) ปรับปรุงระบบคมนาคมขนส่งและโลจิสติกส์ให้ทันสมัยในระดับสากล เพื่อลดต้นทุนและ พัฒนาให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ในภูมิภาค 3) เพิ่มศักยภาพในการสร้างรายได้ของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว 4) พัฒนาศักยภาพของเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์เพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว 5) ยกระดับคุณภาพการศึกษาและการเรียนรู้ทั้งระบบให้ทันสมัย (Education Modernization Program) การปรับปรุงอาคารเรียน ห้องเรียน ห้องสมุด และห้องปฏิบัติการของโรงเรียน ให้มีมาตรฐานเดียวกัน และทันสมัยทั่วประเทศ เพื่อเป็นการสนุบสนุนการยกระดับคุณภาพ มาตรฐานการศึกษาและการเรียนรู้ของไทย 6) ปฏิรูปคุณภาพระบบสาธารณสุขเพื่อลดต้นทุนการรักษาพยาบาลในระยะยาว 7) ลงทุนเพื่อการยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิตในระดับชุมชนและพัฒนาจังหวัดชายแดน ภาคใต้ เพื่อให้ชุมชนและประชากรพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้มีชีวิตและความเป็นอยู่ดีขึ้น ซึ่งการดําเนินการตามแผนการกระตุ้นเศรษฐกิจดังกล่าว ช่วยให้เศรษฐกิจไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่ง วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเติบโตอย่างต่อเนื่อง ส่งเสริมให้มีการจ้างงานเพิ่มมากขึ้น และทําให้ประเทศไทย สามารถแข่งขันกับประเทศอื่นๆ ได้ 1.3 มาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมือง มาตรการนี้จําแนกความช่วยเหลือของรัฐบาลตามกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบเป็น 5 กลุ่ม คือ กลุ่ม ผู้ประกอบการค้าขายรายย่อย กลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยว กลุ่มผู้ใช้แรงงาน ประชาชนทั่วไปและ 1-5


แผนแม่บทการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

ผู้ไ ด้ รั บ บาดเจ็ บ -ตาย ซึ่ ง ในส่ ว นมาตรการที่ เกี่ ย วข้ อ งกั บ วิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่ อ มอยู่ ใ น 3 กลุ่ ม แรก รายละเอียดดังนี้ 1) กลุ่มผู้ประกอบการค้าขายรายย่อย ซึ่งได้รับความช่วยเหลือด้านการเงิน ทั้งเงินให้เปล่า เงิ นทุ น หมุน เวี ย นดอกเบี้ ยต่ํ าผ่ า นธนาคารของรัฐ เช่น ธนาคารออมสิ น ธนาคารพั ฒ นา วิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่ อ มแห่ ง ประเทศไทย (ธพว.) เป็ น ต้ น รวมถึ ง มาตรการ ด้านภาษี เช่น การยกเว้นการชําระภาษี การขยายเวลาการยื่นแบบภาษีต่างๆ เป็นต้น อีกทั้ง จัดให้มีพื้นที่ค้าขายชั่วคราว 2) กลุ่ มผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยว ได้รั บความช่วยเหลื อด้านการค้ําประกันสินเชื่อผ่าน บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม รวมถึงมาตรการด้านภาษีเพื่อสนับสนุนการ ท่องเที่ยว โดยการลดหย่อนภาษี ทั้งในส่วนของผู้ซื้อโปรแกรมท่องเที่ยวในประเทศจาก ผู้ประกอบธุรกิจนําเที่ยวหรือบริษัททัวร์ที่สามารถนํามาหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และบริษัทที่ไปออกงานแสดงสินค้าทั้งในและต่างประเทศสามารถนําค่าใช้จ่ายมาหักภาษีเงิน ได้นิติบุคคลได้ ขณะที่บริษัทที่มีการจัดฝึกอบรมสัมมนาให้แก่พนักงานสามารถนํารายจ่ายมา หักภาษีนิติบุคคลได้เช่นเดียวกัน นอกจากนั้น ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมท่องเที่ยวสามารถ หั ก ค่ า เสื่ อ มราคาของทรั พ ย์ สิ น ที่ ซื้ อ มา รวมถึ ง มาตรการยกเว้ น ภาษี ที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ การ ประกันภัย 3) กลุ่มผู้ใช้แรงงาน ได้รับความช่วยเหลือในด้านการเงิน นอกจากนั้น รัฐบาลยังกําหนด มาตรการเพื่อรักษาการจ้างงานโดยการให้เงินช่วยเหลือแก่ผู้ประกอบการ มาตรการด้านภาษี เพื่อชะลอกระแสเงินสดจ่ายออกของผู้ประกอบการด้วยการขยายเวลายื่นแบบและนําส่งภาษี รวมถึงการขยายหรือเลื่อนกําหนดเวลาการนําส่งเงินสมทบแก่สํานักงานประกันสังคมอีกด้วย 2. การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ 2.1 ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC): โอกาสและ ผลกระทบต่อวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม 2.1.1 การดําเนินงานด้านวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน การดําเนินการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ได้ยึดการดําเนินงานตามพิมพ์เขียวนโยบายของอาเซียนด้านการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ASEAN Policy Blueprint for SME Development: APBSD) ปี 2547–2557 ที่ได้กําหนดยุทธศาสตร์ มาตรการนโยบาย สําหรับการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในภูมิภาคอาเซียน โดยสาระสําคัญ มีดังนี้

1-6


แผนแม่บทการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

พั น ธกิ จ ของการจั ด ทํ า พิ ม พ์ เ ขี ย วนโยบายของอาเซี ย นด้ า นการพั ฒ นาวิ ส าหกิ จ ขนาดกลาง และขนาดย่อม (APBSD) • เพื่อพัฒนาและเพื่อการดํารงอยู่ของวัฒนธรรมการเป็นผู้ประกอบการ และนวัตกรรมสําหรับ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในภูมิภาค • เพื่อช่วยเหลือวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในอาเซียนให้เรียนรู้ มีความคิดสร้างสรรค์ และมองการณ์ไกล • เพื่อสนับสนุนความร่วมมือและการสร้างเครือข่ายของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในอาเซียน รวมทั้งความร่วมมือกับธุรกิจภายนอกภูมิภาค เป้าหมายของการจัดทําพิมพ์เขียวนโยบายของอาเซียนด้านการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อม (APBSD) • เร่ ง การพั ฒ นาวิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่ อ มในแต่ ล ะประเทศไปพร้ อ มๆ กั น โดยคํานึงถึงระดับการพัฒนาที่แตกต่างกัน • เพิ่ ม ขี ด ความสามารถในการแข่ ง ขั น ให้ วิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่ อมในภู มิ ภ าค ด้วยการสนับสนุนให้เข้าถึงข่าวสาร การตลาด การพัฒนาบุคลากร การเงิน และเทคโนโลยี • เสริมสร้างความยืดหยุ่นของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเพื่อความสามารถในการปรับตัวเข้า กับเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลง และอุปสรรคทางการเงินต่าง ๆ รวมทั้งสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่ มีความท้าทายขึ้น • เพิ่มความสําคัญของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในอาเซียนต่อการเติบโตและการ พัฒนาของเศรษฐกิจโดยรวม โครงการและกิจกรรมเป้าหมายด้านวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจ อาเซียน สํ า หรั บ การดํ า เนิ น การพั ฒ นาวิ สาหกิ จขนาดกลางและขนาดย่ อมภายใต้ ป ระชาคมเศรษฐกิ จ อาเซียนนั้น ได้มีการจัดตั้ง ASEAN SME Agencies Working Group (ASEAN SMEWG) โดยมีการประชุม หารือ เป็นประจําทุกปี เพื่อจัดทําและดําเนินโครงการ หรือกิจกรรมด้านการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในกลุ่ม ประเทศอาเซียน โดยมีความคืบหน้า ดังนี้ 1) การจัดตั้ง SME Council เป็นเวทีพบปะหารือของภาครัฐ (ในระดับผู้อํานวยการหน่วยงาน ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมประเทศต่างๆ) และภาคเอกชน เพื่อเป็นช่องทางใน การเสริมสร้างเครือข่ายความร่วมมือ รวมทั้งเพื่อเป็นแหล่งข้อมูลในการกําหนดนโยบายในการ ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมอย่างมีประสิทธิภาพ และตรงกับความต้องการของ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในภูมิภาคได้มากขึ้น โดยมีการประชุมร่วมกันอย่างน้อยปีละ

1-7


แผนแม่บทการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

1 ครั้ งและต้ องรายงานผลการปฏิ บั ติ งานตรงต่ อเวที รั ฐมนตรี เศรษฐกิ จอาเซี ยน (ASEAN Economic Minister) 2) การจัดทํา ASEAN SME White Paper สําหรับความคืบหน้าล่าสุด ที่ประชุมได้พิจารณา กรอบของ SME White Paper และขอความร่วมมือจากประเทศญี่ปุ่นในการพัฒนา White Paper ให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น เนื่องจากญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีความก้าวหน้าในการพัฒนา วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในภูมิภาคนี้ ซึ่งญี่ปุ่นตอบรับในการช่วยเหลือโดยเริ่มต้นที่ การศึกษานโยบายส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมใน 6 ประเทศที่มีนโยบายและ ข้อมูลชัดเจน ได้แก่ ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และเวียดนาม และจะมี การจัดจ้างที่ปรึกษาไทยเพื่อสํารวจข้อมูลดังกล่าว ในประเทศลาว กัมพูชา พม่า และบรูไน 3) การจัดทํา ASEAN SME Plan of Action เป็นการกําหนดแผนการดําเนินงานส่งเสริม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมร่วมกันในภูมิภาค โดยแบ่งเป็น 5 ประเด็น คือ การเข้าถึง แหล่ ง เงิ น ทุ น การอํ า นวยความสะดวกในการประกอบธุ ร กิ จ การพั ฒ นาเทคโนโลยี การส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยสํานัก เลขาธิ ก ารอาเซี ย นอยู่ ร ะหว่ า งการปรั บ ปรุ ง ร่ า งแผนดั ง กล่ า วก่ อ นเสนอให้ อ าเซี ย นลง มติเห็นชอบ 4) การศึกษารูปแบบและแนวทางการจัดตั้ง SME Regional Development Fund เป็นโครงการซึ่งประเทศไทยเป็นประเทศหลักในการดําเนินโครงการ ความคืบหน้าล่าสุด มีผลการศึกษารูปแบบของ SME Fund ในภูมิภาคต่างๆ ของโลก ซึ่งเน้นในกลุ่มประเทศ สหภาพยุโรปเป็นหลัก เนื่องจากมีความชัดเจนในด้านกองทุนเพื่อการพัฒนาวิสาหกิจขนาด กลางและขนาดย่อม สําหรับการดําเนินงานในลําดับต่อไปจะจัดทํากรอบแนวคิดของกองทุน สําหรับอาเซียน 2.1.2 โอกาส และผลกระทบจากประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของอาเซียนเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เป็นปัจจัยสําคัญ ที่ช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจ และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของอาเซียนในตลาดโลก จากการ เปิดเสรีทั้งในด้านการค้าและการบริการ การลงทุน การเคลื่อนย้ายเงินทุน และแรงงาน รวมถึงความร่วมมือในด้าน การอํานวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุน เพื่อลดอุปสรรคทางด้านการค้าและการลงทุน ซึ่งจะนําไปสู่การ พัฒนามาตรฐานการครองชีพ เพิ่มความกินดีอยู่ดีของประชาชน และลดความเหลื่อมล้ําทางสังคมของประเทศสมาชิก โอกาส และผลกระทบจากประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนต่อสมาชิกอาเซียน สรุปได้ดังนี้ • ยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนภายในประเทศ ซึ่งจากผลการศึกษาการรวมกลุ่มของ อาเซี ย นไปสู่ ป ระชาคมเศรษฐกิ จ อาเซี ย น จะช่ ว ยให้ ผ ลิ ต ภั ณ ฑ์ ม วลรวมในประเทศของ ประเทศสมาชิกอาเซียนขยายตัวขึ้นถึงร้อยละ 8-10 ต่อปี

1-8


แผนแม่บทการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

• ตลาด 10 ประเทศรวมเป็นตลาดใหญ่ขึ้น ทําให้ตลาดของไทยใหญ่มากขึ้นจาก 63 ล้านคนใน ประเทศไทย เพิ่มขึ้นเป็น 580 ล้านคนในประชากรของอาเซียน อีกทั้งสามารถขยายไป ภายใต้ความตกลงทางการค้าเสรีที่อาเซียนได้ทํากับประเทศคู่ค้าสําคัญ 6 ประเทศ คือ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ กับอีก 1 กลุ่มประเทศคือ สหภาพยุโรป อีกทั้งผู้บริโภคอาเซียนเข้าถึงสินค้าที่มีคุณภาพในราคาที่ถูกลง • นําจุดแข็งของแต่ละประเทศมาใช้ประโยชน์ในการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน เช่น - กัมพูชา ลาว พม่า เวียดนาม มีจุดเด่นในด้านทรัพยากรธรรมชาติ วัตถุดิบ และแรงงาน - สิงคโปร์ มาเลเซีย มีจุดเด่นในด้านเทคโนโลยี และนวัตกรรม - อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เป็นฐานการผลิต • ภาษีนําเข้าเป็นศูนย์ รวมถึงการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษีหมดไปภายในภูมิภาคอาเซียน ทําให้การนําเข้าวัตถุดิบ สินค้ากึ่งสําเร็จรูปจากแหล่งผลิตในอาเซียน มีความได้เปรียบด้าน ราคา และคุณภาพ • ประกอบธุรกิจบริการได้โดยเสรี สามารถตั้งฐานธุรกิจในประเทศสมาชิกอาเซียน • การลงทุนในอาเซียนทําได้โดยเสรี สามารถย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศที่เหมาะเป็นแหล่ง ผลิต ความร่วมมือด้านการอํานวยความสะดวกทางการค้าระบบโลจิสติกส์ในภูมิภาคสะดวก และต้นทุนถูกลง • ความตกลงการค้าเสรีของอาเซียนกับคู่ค้าต่างๆ เช่น ASEAN +1, +3, +6 ก่อให้เกิดความ ได้เปรียบทางภาษีนําเข้าเหนือกว่าคู่แข่งอื่นนอกกลุ่มอาเซียน ผลกระทบประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนต่อประเทศไทย • ขยายการส่งออกและโอกาสทางการค้าจากการยกเลิกอุปสรรคภาษีและที่มิใช่ภาษีเปิดโอกาสให้มี การเคลื่อนย้ายสินค้าเสรี และคาดว่าการส่งออกไทยไปอาเซียนจะขยายตัวได้ไม่ต่ํากว่าร้อยละ 18-20 ต่อปี • เปิ ดโอกาสการค้าบริ การในสาขาที่ประเทศไทยมีความเข้มแข็ง เช่น ท่องเที่ยว โรงแรม ร้านอาหาร ทําให้ไทยมีรายได้จากการค้าบริการไปต่างประเทศเพิ่มขึ้น • สร้างเสริมโอกาสการลงทุน เมื่อมีการเคลื่อนย้ายเงินทุนได้เสรียิ่งขึ้น อุปสรรคการลงทุน ระหว่างอาเซียนจะลดลง รวมทั้งดึงดูดการลงทุนจากประเทศที่สาม • เพิ่มขีดความสามารถของไทย จากการใช้ทรัพยากรการผลิตร่วมกัน และการเป็นพันธมิตร ทางธุ ร กิ จ ร่ ว มกั บ สมาชิ ก อาเซี ย นประเทศอื่ น ทํ า ให้ เ กิ ด ความได้ เ ปรี ย บเชิ ง แข่ ง ขั น (Comparative Advantage) และลดต้นทุนการผลิต • เพิ่มอํานาจการต่อรองของไทยในเวทีการค้าโลก และสร้างความเชื่อมั่นให้ประชาคมโลก

1-9


แผนแม่บทการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

2.2 ความคืบหน้าความตกลงการค้าเสรีของกลุ่มประเทศอาเซียนที่มผี ลต่อประเทศไทย ปั จ จุ บั น อาเซี ย นมี ค วามตกลงการค้ า เสรี (FTA) กั บ 6 ประเทศคู่ ค้ า คื อ จี น อิ น เดี ย ญี่ ปุ่ น เกาหลีใต้ ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ และอีก 1 กลุ่มประเทศอันได้แก่สหภาพยุโรป โดยในปี 2553 ความตกลง การค้าเสรีท่ีมีผลบังคับใช้แล้วทุกฉบับ มีผลให้ไทยและประเทศคู่เจรจาต้องทยอยลดภาษีสินค้าหรือยกเลิกภาษีเหลือ ร้อยละ 0 สําหรับสินค้าเพิ่มเติมอีกหลายรายการ โดยความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-จีน กําหนดให้ยกเลิกภาษีสินค้า ทุกรายการในกลุ่มบัญชีลดภาษีตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 เป็นต้นไป (ประกอบด้วยประเทศจีนและกลุ่มประเทศ อาเซียนเดิม 6 ประเทศ คือ ไทย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย บรูไนและสิงคโปร์) นอกจากนี้ยังมี ความตกลง การค้าเสรีที่อาเซียนได้ลงนามกับประเทศอื่นอีก 3 ฉบับ เริ่มมีผลบังคับใช้ในปี 2553 คือ ความตกลงการค้าเสรี อาเซียน-อินเดีย ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-เกาหลีใต้ (เฉพาะไทยกับเกาหลีใต้ เพราะประเทศสมาชิกอาเซียนอื่น และเกาหลีใต้ลดภาษีไปก่อนแล้ว) และความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ ทั้งนี้ภายใต้กรอบความ ตกลงการค้าเสรีอาเซียน-อินเดีย และ ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ ยังไม่มีสินค้ารายการ ใดที่มีภาษีร้อยละ 0 ทันที แต่จะทยอยลดภาษีจนเหลือร้อยละ 0 ภายในระยะเวลาที่ตกลงไว้ 2.2.1 ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-จีน กรอบการเจรจา ครอบคลุมความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจในทุกด้าน การเจรจาแบ่งเป็น 1) การเปิดเสรีด้านการค้าสินค้า 2) การเปิดเสรีด้านการค้าบริการ และการลงทุน และ 3) ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ ต่างๆ การดําเนินการ 1) การเปิดเสรีการค้าสินค้า (ที่มีผลบังคับใช้แล้ว) ไทยกับจีนเริ่มลดภาษีระหว่างกันใน สินค้าเกษตรพิกัด 07-08 (ผักและผลไม้) ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2546 ภายใต้กรอบการลดภาษีสินค้ากลุ่มแรก (Early Harvest) อาเซียน-จีน หรือ 3 เดือน ก่อนประเทศอาเซียนอื่นๆ • การเปิดเสรีการค้าสําหรับสินค้ากลุ่มแรก (Early Harvest) ในสินค้าพิกัด 01-08 และสินค้าเฉพาะอีก 2 รายการ คือ ถ่านหิน แอนทราไซด์และถ่านหินโค้ก/ เซมิโค้ก ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2547 โดยประเทศอาเซียนเดิมและจีน ลดภาษี เหลือร้อยละ 0 ในปี 2549 ส่วนอาเซียนใหม่ให้ยืดหยุ่นได้ถึงปี 2553 • การเปิดเสรีการค้าสําหรับสินค้าทั่วไป ได้จัดทําความตกลงว่าด้วยการค้าสินค้า โดย (1) สินค้าปกติ เริ่มลดภาษีตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม 2548 และลดลงเหลือ ร้อยละ 0 ภายในปี 2553 (2) สินค้าอ่อนไหว เริ่มลดภาษีปี 2555 และจะลดเป็น ร้อยละ 0-5 ในปี 2561 (3) สินค้าอ่อนไหวสูง จะคงอัตราภาษีไว้ได้ถึงปี 2558 จึงจะลดภาษีมาอยู่ที่ไม่เกิน ร้อยละ 50 2) กฎว่าด้วยแหล่งกําเนิดสินค้า โดยจําแนกเป็น (1) สินค้าเกษตรพื้นฐาน ใช้หลัก พิจารณาแหล่งกําเนิดสินค้าที่กําเนิดหรือผลิตมาโดยใช้วัตถุดิบจากในประเทศทั้งหมด (Wholly obtained) (2) สินค้าอื่นๆ

1-10


แผนแม่บทการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

มูลค่าการใช้วัตถุดิบจากในกลุ่มสมาชิกอาเซียนต้องไม่ต่ํากว่าร้อยละ 40 (3) กฎแหล่งกําเนิดสินค้าเฉพาะ สําหรับบาง สินค้า 3) การเปิดเสรีด้านบริการ เปิดตลาดกลุ่มที่ 1 ตั้งแต่ 1 กรกฎาคม 2550 โดยไทย เปิดตลาดเพิ่มขึ้นจากข้อผูกพันองค์การการค้าโลก ครอบคลุมบริการบางประเภทในสาขาวิชาชีพ การศึกษา สุขภาพ ท่องเที่ยว และขนส่งสินค้าทางเรือ 4) ความตกลงด้านการลงทุน ลงนามความตกลงด้านการลงทุน เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2552 มีผลบังคับใช้ภายใน 6 เดือนหลังจากวันที่ลงนามความตกลงกับประเทศที่ให้สัตยาบัน ส่วนประเทศที่ให้ สัตยาบันหลังจากนั้น มีผลหลังจากให้สัตยาบันแล้ว 30 วัน 5) บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านทรัพย์สินทางปัญญา จีน และอาเซียน 9 ประเทศ (ยกเว้นไทย) ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านทรัพย์สินทางปัญญาระหว่างอาเซียน และจีน ในช่วงการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 15 เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2552 การดําเนินการขั้นต่อไป ขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจาจัดทําข้อผูกพันการเปิดตลาดด้าน การค้าบริการกลุ่มที่ 2 ซึ่งคาดหวังว่าจะให้มีการลงนามในการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน-จีน ผลกระทบทีเ่ กิดขึ้นกับธุรกิจไทย จีนถือเป็นคู่เจรจาความตกลงการค้าเสรี (FTA) ทีม่ ี ศักยภาพสูงสําหรับภาคการส่งออกของไทย เพราะได้ปัจจัยบวกจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจปี 2553 ที่คาดว่าจะ สูงถึงร้อยละ 10.0 และการยกเลิกภาษีสินค้าปกติทุกรายการภายใต้ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-จีน (ACFTA) ของ จีนและ 6 สมาชิกอาเซียนเดิม จึงคาดว่าผู้ส่งออกไทยมีแนวโน้มจะใช้สิทธิเพิ่มขึ้นในปี 2553 นี้ สินค้าไทยที่น่าจะได้ ประโยชน์ คือ สินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูป แป้งมันสําปะหลัง สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ชิ้นส่วนประกอบยานยนต์ รถยนต์ ส่วนบุคคล รถกระบะ เครื่องปรับอากาศและชิ้นส่วน ท่อเหล็ก อัญมณีและเครือ่ งประดับ ผลิตภัณฑ์พลาสติก ด้ายใยยาวสังเคราะห์ เลนส์ แฟลช ส่วนประกอบมอเตอร์ไฟฟ้าและเครื่องเสียง 2.2.2 ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่น (ASEAN-Japan Comprehensive Economic Partnership Agreement: AJCEP) กรอบการเจรจา ครอบคลุมใน 4 ประเด็นสําคัญ คือ 1) การเปิดเสรี (การค้าสินค้า การค้าบริการและการลงทุน) 2) กฎเกณฑ์ทางการค้า (กฎว่าด้วยแหล่งกําเนิดสินค้า) 3) การอํานวยความสะดวกทาง การค้า (พิธีการศุลกากร การค้าไร้กระดาษ) และ 4) ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในด้านต่างๆ เช่น วิสาหกิจขนาด กลางและขนาดย่อม เทคโนโลยีสารสนเทศ ทรัพยากรมนุษย์ สรุปผลความตกลงฯ มีสาระสําคัญ ดังนี้ 1) การเปิดเสรีการค้าสินค้าระหว่างอาเซียนกับญี่ปุ่น สินค้าร้อยละ 96.7 ของมูลค่านําเข้า จากอาเซียนจะถูกนํามาลด/ยกเลิกภาษีนําเข้า โดยร้อยละ 90 ของมูลค่าสินค้านําเข้าจะลดเป็น 0 ทันทีที่ความตกลง มีผลใช้บังคับ

1-11


แผนแม่บทการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

2) การค้าบริการและการลงทุน ยังไม่มีการเปิดเสรี แต่ให้มีการจัดตั้งคณะอนุกรรมการ การค้าบริการและคณะอนุกรรมการการลงทุนภายใน 1 ปี นับจากวันที่ความตกลงมีผลใช้บังคับ เพื่อหารือและเจรจา ต่อไป 3) กฎว่าด้วยแหล่งกําเนิดสินค้า แบ่งเป็น 2 กลุ่ม 1) สินค้าที่ใช้วัตถุดิบจากในกลุ่มสมาชิก 2) สินค้าที่ใช้วัตถุดิบจากนอกกลุ่ม ใช้หลักการใช้วัตถุดิบในประเทศทั้งหมด การแปรสภาพอย่างเพียงพอ หรือกําหนด มูลค่าของวัตถุดิบ 4) ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจจะส่งเสริมความร่วมมือกันในการเปิดเสรีและอํานวยความ สะดวกทางการค้าและการลงทุนในสาขาการค้า ทรัพย์สินทางปัญญา พลังงาน ข้อมูลและเทคโนโลยีสารสนเทศ การพัฒนาบุคลากร วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม การท่องเที่ยว การขนส่งและโลจิสติกส์ การเกษตรประมง และป่าไม้ สิ่งแวดล้อม และสาขาอื่นๆ • ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่น (AJCEP) มีผลบังคับใช้กับไทยแล้ว ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2552 • คณะรัฐมนตรีของไทย ให้ความเห็นชอบกรอบเจรจาการค้าบริการและการลงทุน เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2552 และรัฐสภาให้ความเห็นชอบเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2552 การดําเนินการขั้นต่อไป อาเซียนและญี่ปุ่นอยู่ระหว่างจัดตั้งคณะอนุกรรมการว่าด้วย การค้าบริการและคณะอนุกรรมการว่าด้วยการลงทุน เพื่อการจัดทําข้อบทด้านการค้าบริการและการลงทุน ภายใน เดือนสิงหาคม 2554 ผลกระทบทีเ่ กิดกับธุรกิจไทย การลด/ยกเลิ ก ภาษี สิ น ค้ า ภายใต้ ค วามตกลงหุ้ น ส่ ว น เศรษฐกิ จ ไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) และความตกลงหุน้ ส่วนเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่น (AJCEP) จะช่วยเปิดโอกาสให้สินค้าไทยสามารถเข้าสู่ ตลาดญี่ปุ่นได้มากขึ้น แม้จะมีการคาดการณ์ว่า เศรษฐกิจของญี่ปุ่นในปีนี้อาจขยายตัวเพียงร้อยละ 1.9 ต่ํากว่าการขยายตัวทาง เศรษฐกิจของคู่เจรจาความตกลงการค้าเสรีอื่นของไทย เนื่องจากการลด/ยกเลิกภาษีสินค้าของ AJCEP เพิ่มเติมจาก JTEPA ถึง 71 รายการ จะช่วยให้ผสู้ ่งออกไทยสามารถเลือกใช้สทิ ธิจากความตกลงการค้าเสรีที่ให้ประโยชน์สูงสุด หากผู้ประกอบการไทยสามารถ ปรับโครงสร้างการผลิตให้สอดคล้องกับกฎแหล่งกําเนิดสินค้าของ AJCEP แล้ว จะช่วยให้มูลค่าการส่งออกภายใต้ความตกลงหุ้นส่วน เศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น 2.2.3 ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-สาธารณรัฐเกาหลี กรอบการเจรจา ครอบคลุมการเปิดเสรีในด้านการค้าสินค้า การค้าบริการ และการลงทุน โดยมีการตกลงเรื่องกฎเกณฑ์ทางการค้า การระงับข้อพิพาท และการดําเนินโครงการความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ในด้านต่างๆ สรุปผลความตกลงฯ 1) กรอบความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ซึ่งครอบคลุม ด้านต่าง ๆ ลงนามเมื่อ 13 ธันวาคม 2548 มีผลบังคับใช้เมื่อ 1 มิถุนายน 2550 มีสาระสําคัญกําหนดขอบเขตการเจรจาและ ความร่วมมือต่างๆ 1-12


แผนแม่บทการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

2) ความตกลงว่าด้วยกลไกการระงับข้อพิพาท ลงนามเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2548 มีผล บังคับใช้เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2550 มีสาระสําคัญกําหนดแนวทางการไกล่เกลี่ยหรือคลี่คลายปัญหาที่อาจเกิดขึ้นใน การปฏิบัติตามพันธกรณี 3) ความตกลงว่าด้วยการค้าสินค้า มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2550 สําหรับไทย มีผลบังคับใช้วันที่ 1 ตุลาคม 2552 มีสาระสําคัญในการเปิดเสรีการค้าสินค้า โดยลดภาษีนําเข้าสินค้าจํานวนร้อยละ 90 ของรายการสินค้าและมูลค่าการนําเข้าให้เหลือศูนย์ ปี 2553 สําหรับสาธารณรัฐเกาหลี และภายในปี 2555-2563 สําหรับกลุ่มประเทศอาเซียน 4) กฎว่าด้วยแหล่งกําเนิดสินค้า จะต้องเป็นไปตามกฎเกณฑ์ ดังนี้ 1) สินค้าที่ผลิตหรือใช้ วัตถุดิบทั้งหมดในประเทศผู้ส่งออกกฎว่าด้วยแหล่งกําเนิดสินค้า 2) กฎเกณฑ์ทั่วไป สินค้าที่ผลิตในประเทศภาคี โดยมีสัดส่วนการใช้วัตถุดิบในประเทศไม่ต่ํากว่าร้อยละ 40 3) กฎเฉพาะสินค้า (PSR) และ 4) กฎเกณฑ์อื่นๆ เช่น การสะสมแหล่งกําเนิดสินค้า เป็นต้น 5) ความตกลงว่าด้วยการค้าบริการ มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2552 ส่วนไทยมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2552 โดยเกาหลีใต้จะเปิดตลาดในระดับที่สูงกว่าข้อผูกพันรอบอุรุกวัย รวม 43 สาขา ส่วนไทยจะเปิดเสรีสาขาบริการภายใต้กรอบกฎหมายปัจจุบัน และในสาขาที่สนับสนุนนโยบายให้ไทย เป็นศูนย์กลางของภูมิภาค 6) ความตกลงว่าด้วยการลงทุน มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2552 มีสาระสําคัญใน การเปิดเสรีและให้ความคุ้มครองการลงทุนระหว่างกัน โดยจะมีการจัดทําตารางการเปิดเสรีภายใน 5 ปี 7) ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ ครอบคลุมความร่วมมือ 19 สาขา เช่น พิธีการศุลกากร วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และท่องเที่ยว เป็นต้น การดําเนินการขั้นต่อไป อาเซียนและเกาหลีใต้จะประชุมคณะกรรมการดําเนินงานความ ตกลงการค้าเสรีอาเซียน-เกาหลีใต้ ครั้งที่ 4 ภายในปี 2554 นี้ ผลกระทบที่เกิดกับธุรกิจไทย ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-เกาหลีใต้ ที่เพิ่งมีผลบังคับใช้ เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2553 ส่งผลให้เกาหลีใต้ยกเลิกภาษีสินค้าให้กับไทยสูงถึงร้อยละ 92.3 ของพิกัดสินค้า คาดว่าผู้ ส่งออกไทยมีแนวโน้มจะใช้สิทธิความตกลงการค้าเสรีเพิ่มขึ้น เนื่องจากผู้ส่งออกไทยรับรู้ถึงสิทธิประโยชน์ทางภาษี และปรับตัวให้สามารถใช้สิ ทธิความตกลงการค้าเสรี เพื่ อการส่งออกได้มากขึ้น สินค้าไทยที่จะได้ประโยชน์ คือ น้ํามันดิบ น้ําตาลและกากน้ําตาล ยางรถยนต์ ดีบุกผง ทองแดงแผ่น มอเตอร์ไฟฟ้า และเครื่องปรับกระแสไฟฟ้า รวมถึง เส้นด้าย กุ้งแช่เย็น/แช่แข็ง ปลาหมึก แป้งมันสําปะหลัง อัญมณีและเครื่องประดับ 2.2.4 ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-อินเดีย กรอบการเจรจา • ครอบคลุมการค้าสินค้า บริการ การลงทุน ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ กลไกการระงับ ข้อพิพาท และให้ความยืดหยุ่นแก่กลุ่มประเทศกัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม (CLMV)

1-13


แผนแม่บทการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

• การเปิดเสรีการค้าสินค้า ความตกลงว่าด้วยการค้าสินค้ามีผลบังคับใช้แล้วตั้งแต่เมื่อ วันที่ 1 มกราคม 2553 โดยลดภาษีสินค้าส่วนใหญ่เป็นร้อยละ 0 ภายในปี 2554 และ ช้าสุดภายในปี 2558 • การค้าบริการและการลงทุน ให้เจรจาภายหลังข้อตกลงการค้าสินค้า โดยให้มีการเปิด เสรีการค้าบริการและการลงทุนรายสาขาและอยู่ระหว่างการเจรจา การดําเนินการขั้นต่อไป เสนอรัฐสภาขอความเห็นชอบกรอบเจรจาการค้าบริการและ การลงทุน ผลกระทบที่เกิดกับธุรกิจไทย อินเดียเป็นตลาดส่งออกที่มีความสําคัญในการทําความ ตกลงการค้ าเสรีมากที่สุดแห่งหนึ่ง เนื่องจากภายหลั งความตกลงการค้าเสรีไทย-อินเดีย (TIFTA) มีผลบังคับใช้ เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2547 จนสินค้านําร่อง 82 รายการของไทยมีภาษีร้อยละ 0 ในปี 2549 แล้ว การส่งออกจาก ไทยไปอินเดียขยายตัวในอัตราที่สูงกว่าการนําเข้าของไทยจากอินเดีย ส่งผลให้ไทยกลายเป็นฝ่ายเกินดุลการค้ากับ อินเดียนับแต่นั้นมา คาดว่า การลดภาษีสินค้ากว่า 5,000 รายการภายใต้ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-อินเดีย (AIFTA) ที่ มี ผ ลตั้ ง แต่ วั น ที่ 1 มกราคม 2553 และที่ ค าดว่ า จะมี ผ ลบั ง คั บ ใช้ ใ นปี 2553 นี้ คื อ ความริ เ ริ่ ม แห่ ง อ่าวเบงกอลสําหรับความร่วมมือหลากหลายสาขาทางวิชาการและเศรษฐกิจ (Bay of Bengal Initiative for Multi-Sectoral Technical and Economic Cooperation: BIMSTEC ได้แก่ ประเทศบังกลาเทศ ภูฏาน อินเดีย พม่า เนปาล ศรีลังกาและไทย) ช่วยให้การส่งออกของไทยเพิ่มขึ้นในปีนี้ นอกเหนือจากแนวโน้มการขยายตัวทาง เศรษฐกิจของอินเดียที่คาดว่าจะสูงถึงร้อยละ 8.8 เป็นลําดับ 2 ของเอเชียรองจากจีน สินค้าไทยที่น่าจะส่งออกได้ เพิ่มขึ้นภายใต้ TIFTA คือ ปลาแซลมอนปรุงแต่ง ปลาซาร์ดีน ปลาแมคเคอเรล ปู และอาหารสําเร็จรูป อัญมณี และเครื่องประดับ ยางพารา ยางและผลิตภัณฑ์ เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องทําความเย็น วิทยุโทรทัศน์ หม้อแปลงไฟฟ้า คอมพิวเตอร์ ส่วนภายใต้ AIFTA คือ ปลากระป๋อง น้ําผลไม้ เครื่องยนต์ อัญมณีและเครื่องประดับ อุปกรณ์ไฟฟ้า และอิเ ล็ก ทรอนิก ส์ ผลิต ภัณ ฑ์อ ะลูมิเ นีย ม เฟอร์นิเ จอร์ เครื่อ งสํา อาง ผัก และพืช ประเภทถั่ว อาหารปรุง แต่ง น้ําผลไม้ 2.2.5 การเจรจาจัดทําความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ (ASEAN-Australia-New Zealand Free Trade Agreement: AANZFTA) กรอบการเจรจา หัวข้อหลักของการเจรจา ได้แก่ การค้าสินค้า กฎว่าด้วยแหล่งกําเนิด สินค้า การค้าบริการ การลงทุน ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ และประเด็นกฎหมายและสถาบัน แนวทางการเจรจา เป็นการเจรจาทุกเรื่องไปพร้อมกันหมด (Single undertaking) กล่าวคือ มีการเจรจาทุกหัวข้อไปพร้อมกัน และตกลงยอมรับผลการเจรจาทั้งหมดในคราวเดียว โดยรัฐมนตรี เศรษฐกิจอาเซียน ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ได้ลงนามความตกลงเพื่อจัดตั้งเขตการค้าเสรีระหว่างอาเซียนออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์แล้ว ในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2552 การมีผลบังคับใช้ความตกลง ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ (AANZFTA) มีผลใช้บังคับในวันที่ 1 มกราคม 2553 กับประเทศ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ บรูไน มาเลเซีย พม่า ฟิลิปปินส์ 1-14


แผนแม่บทการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

สิงคโปร์ เวียดนาม และไทย สําหรับประเทศกัมพูชา อินโดนีเซีย และลาว ความตกลงจะมีผลบังคับใช้ในอีก 60 วัน หลังจากวันที่ให้สัตยาบัน การดําเนินการขั้นต่อไป หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอยู่ในระหว่างดําเนินการเพื่อรองรับการ ปฏิบัติตามความตกลงก่อนที่จะให้สัตยาบัน ดังนี้ 1) กรมศุลกากรปรับตารางภาษีและกฎว่าด้วยแหล่งกําเนิดสินค้าจากระบบ HS 2002 เป็น HS 2007 และกระทรวงการคลังออกประกาศการลดภาษีตามความตกลง 2) กรมการค้ า ต่ า งประเทศออกประกาศการลดภาษี สํ า หรั บ สิ น ค้ า ที่ มี โ ควตานํ า เข้ า และเตรียมความพร้อมในการออกใบรับรองถิ่นกําเนิดสินค้า ผลกระทบที่ เ กิ ด ขึ้ น กั บ ธุ ร กิ จ ไทย ออสเตรเลี ย เป็ น ตลาดส่ ง ออกสํ า คั ญ ของไทยที่ ผู้ประกอบการไทยใช้ประโยชน์จากความตกลงการค้าเสรีในการส่งออกสินค้ามากที่สุด นับตั้งแต่ความตกลงการค้าเสรี ไทย-ออสเตรเลีย มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2548 โดยในแต่ละปี ประเทศไทยมีมูลค่าการส่งออกสินค้าภายใต้ ความตกลงการค้าเสรีในสัดส่วนที่มากกว่าครึ่งหนึ่งของมูลค่าการส่งออกสินค้าจากไทยไปออสเตรเลีย สาเหตุส่วนหนึ่ง อาจเกิดจากออสเตรเลียยกเลิกภาษีสินค้าให้กับไทยถึงร้อยละ 83.2 ของรายการสินค้าทั้งหมดทันทีที่ความตกลง ทางการค้าเสรี มีผลบังคับในปี 2548 และในปี 2553 ออสเตรเลียจะต้องยกเลิกภาษีให้กับสินค้าไทยเพิ่มเติมอีกรวม เป็น 7,900 รายการในปัจจุบัน นอกจากนี้ ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ (AANZFTA) ที่เริ่มมี ผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2553 จะทําให้สินค้าราว 6,000 รายการ มีภาษีเหลือร้อยละ 0 ทันที สินค้าที่น่าจะได้ ประโยชน์คือ ยางรถยนต์ ถุงมือยาง เครื่องปรับอากาศ วิทยุติดรถยนต์ รถยนต์และส่วนประกอบ อาหารทะเลสด กระป๋อง ข้าว ผลไม้ สิ่งทอ เครื่องแต่งกาย ผลิตภัณฑ์หนัง อัญมณี เครื่องใช้ไฟฟ้า นิวซีแลนด์ เป็นตลาดส่งออกที่เล็กที่สุดของไทยในกลุ่มประเทศคู่เจรจา โดยไทยมีสัดส่วน การส่งออกไปนิวซีแลนด์เพียงร้อยละ 0.4 ของมูลค่าการส่งออกรวมของไทย ปัจจุบันไทยและนิวซีแลนด์มีความตกลง การค้าเสรีรวม 2 ฉบับ คือ ความตกลงการค้าเสรีไทย-นิวซีแลนด์ ที่บังคับใช้เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2548 และความ ตกลงการค้าเสรีอาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ ที่บังคับใช้เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2553 ซึ่งความตกลงการค้าเสรีทั้ง สองฉบับกําหนดให้นิวซีแลนด์ต้องยกเลิกภาษีสินค้าให้ไทยในปี 2553 เพิ่มอีก 518 รายการ ส่งผลให้สินค้าไทยที่ ได้รับการยกเว้นภาษีเพิ่มเป็นเกือบ 6,600 รายการ โดยสินค้าที่ได้ประโยชน์จากการยกเลิกภาษีในปีนี้คือ พลาสติก ยางรถยนต์ ตู้เย็น เครื่องซักผ้า และถังเหล็กกล้าสําหรับบรรจุก๊าซและของเหลว ทั้งนี้นิวซีแลนด์ถือเป็นประเทศคู่ เจรจาเพียงแห่งเดียวที่ให้สิทธิผู้ส่งออกเป็นผู้รับรองแหล่งกําเนิดสินค้าได้ด้วยตัวเอง 2.2.6 ความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน-สหภาพยุโรป (ASEAN-EU Free Trade Agreement) กรอบการเจรจา เมื่อปี 2550 อาเซียนและสหภาพยุโรป ได้ประกาศเจตนารมณ์ที่จะ เจรจา FTA ระหว่างภูมิภาคต่อภูมิภาค ครอบคลุมเรื่องการเปิดตลาดสินค้า บริการ การลงทุน และความร่วมมือทาง เศรษฐกิจในด้านต่างๆ

1-15


แผนแม่บทการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

แผนการเจรจา กําหนดให้มีการเจรจาปี ละ 4 ครั้ง โดยการเจรจาครั้งแรกจะมีขึ้นในเดือน มกราคม 2551 ในการเจรจาแต่ละครั้ง สหภาพยุโรปจะจัดให้มีการสัมมนาหรือประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อเพิ่ม ศักยภาพในการเจรจาของอาเซียนก่อน ในเดือน มีนาคม 2552 สหภาพยุโรปแจ้งว่าการเจรจามีความล่าช้า และมีปัญหาในเรื่อง การเจรจาการค้ากับพม่า และยืนยันต้องการปรับรูปแบบการเจรจาให้เป็นทวิภาคีกับประเทศอาเซียนที่มีความพร้อม แต่เนื่องจากสหภาพยุโรป มีข้อจํากัดด้านทรัพยากรจึงเจรจาได้เพียง 3 ประเทศก่อน คือ สิงคโปร์ เวียดนาม และไทย 3. การเข้าถึงแหล่งเงินทุนของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม จากการศึกษารวบรวมข้ อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย สํานักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กระทรวงการคลั ง บรรษั ท ประกั น สิ น เชื่ อ อุ ต สาหกรรมขนาดย่ อ ม (บสย.) กองทุ น ร่ ว มลงทุ น เพื่ อ ยกระดั บ ความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจไทย (บริหารจัดการ โดยสํานักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม) กองทุนรวมเพื่อร่วมลงทุนในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมวรรณ จํากัด หรือ บลจ.วรรณ เป็นผู้จัดการกองทุน) และบริษัทหลักทรัพทย์จัดการเงินร่วมลงทุน ข้าวกล้า จํากัด (บลท.ข้าวกล้า) มีผลการดําเนินการ (ตารางที่ 1-3) ดังนี้ ด้านสินเชื่อ (Loan) วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมได้รับสินเชื่อระหว่างปี 2550-2553 เป็น จํ า นวน 4,579,770 ราย คิ ด เป็ น มู ล ค่ า 11,483,241.62 ล้ า นบาท โดยเป็ น สิ น เชื่ อ โดยธนาคารพาณิ ช ย์ มู ล ค่ า 11,149,172 ล้านบาท และสินเชื่อโดยสถาบันการเงินเฉพาะกิจ มูลค่า 334,069.62 ล้านบาท วิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมได้รับการค้ําประกันสินเชื่อจากบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม ระหว่างปี 2550-2553 จํานวน 22,773 ราย คิดเป็นมูลค่า 74,025.77 ล้านบาท ด้านทุน (Equity) วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเข้าถึงแหล่งทุน (Equity) ทั้งในรูปแบบกองทุน ร่วมลงทุน (Venture Capital) และตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (MAI) ระหว่างปี 2550-2553 เป็นจํานวนทั้งสิ้น 52 ราย ในมูลค่า 155,233.48 ล้านบาท โดยเป็นในส่วนของกองทุนร่วมลงทุน มูลค่า 552.43 ล้านบาท และส่วนของ ตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ (MAI) มูลค่า 154,681.05 ล้านบาท

1-16


แผนแม่บทการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ตารางที่ 1-3 การเข้าถึงเงินทุนของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สินเชื่อ (Loan)

ทุน (Equity) สินเชื่อรวม

ปี

ธนาคารพาณิชย์

การค้ําประกันสินเชื่อ

สถาบันการเงินเฉพาะกิจ

กองทุนร่วมลงทุน (Venture Capital) จํานวน มูลค่า (ล้านบาท) (ราย)

ตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) จํานวน มูลค่า* (ล้านบาท) (ราย)

จํานวน (ราย)

มูลค่า (ล้านบาท)

จํานวน (ราย)

มูลค่า (ล้านบาท)

จํานวน (ราย)

มูลค่า (ล้านบาท)

จํานวน (ราย)

มูลค่า (ล้านบาท)

2550

867,390

2,774,714

268,809

52,560.29

1,136,199

2,827,274.29

2,298

6,628.66

10

301.47

6

2551

872,370

2,906,745

211,609

64,626.30

1,083,979

2,971,371.30

1,366

3,253.46

13

221.96

2552

917,067

2,608,806

214,442

95,240.65

1,131,509

2,704,046.65

5,763

21,558.47

2

2553

957,772

2,858,907

270,311

121,642.38

1,228,083

2,980,549.38

13,346

42,585.18

รวม

3,614,599

11,149,172

965,171

334,069.62

4,579,770

11,483,241.62

22,773

74,025.77

ที่มา :

ทุนรวม

จํานวน (ราย)

มูลค่า (ล้านบาท)

38,268.98

16

38,570.45

3

22,152.86

16

22,374.82

29

11

39,130.85

13

39,159.85

0

0

7

55,128.36

7

55,128.36

25

552.43

27

154,681.05

52

155,233.48

- ข้อมูลธนาคารพาณิชย์ จากธนาคารแห่งประเทศไทย - ข้อมูลสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ธพว.) / ธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) / ธนาคารออมสิน / ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) / ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ธอท.) - เฉพาะปี 2552-2553) จากสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง - ข้อมูลการค้ําประกันสินเชื่อ จากบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) - ข้อมูลกองทุนร่วมลงทุน (Venture Capital) รวบรวมจาก สํานักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) / บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมวรรณ จํากัด (บลจ.วรรณ) และบริษัทหลักทรัพทย์จัดการเงินร่วม ลงทุนข้าวกล้า จํากัด (บลท.ข้าวกล้า) ในเครือธนาคารกสิกรไทย หมายเหตุ: จํานวน (ราย) อาจจะมีการนับซ้ํา เนื่องจาก วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม อาจจะใช้บริการมากกว่า 1 แหล่งเงินทุน *มูลค่าตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) หมายถึง มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (Market Capitalisation)

1-17


แผนแม่บทการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

จากข้อมู ลการเข้าถึ งเงิ นทุนของวิ ส าหกิ จขนาดกลางและขนาดย่อมดังกล่าว และจากการศึ กษา วิเคราะห์ข้อมูลของหน่วยงานต่างๆ เช่น รายงานการศึกษาการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของสถาบันการเงิน ปี 2551 โดย ธนาคารแห่งประเทศไทยและสํานักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม การสํารวจวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมด้านการใช้บริการทางการเงิน ตามรายงานสถานการณ์วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ปี 2551 และแนวโน้มปี 2552 โดยสํานักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม มาตรการด้านการเงินเพื่อการส่งเสริม และช่วยเหลือวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมผ่านสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (SFIs) โดยสํานักงานเศรษฐกิจการ คลัง กระทรวงการคลัง และแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ระยะที่ 2 ปี 2553-2557 โดยกระทรวงการคลัง แสดง ให้เห็นว่าวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมจํานวนมากไม่สามารถเข้าถึงเงินทุน โดยมีสาเหตุสําคัญ ดังนี้ ด้านสินเชื่อ (Loan) วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมีข้อจํากัดในการเข้าถึงเงินทุน เนื่องจาก ปัจจัยสําคัญ 3 ด้าน คือ 1) ด้านที่เกิดจากผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเอง เช่น ไม่มีหลักทรัพย์ หรือมีหลักทรัพย์ค้ําประกันไม่เพียงพอต่อวงเงินสินเชื่อ ไม่มีระบบการบันทึกบัญชีที่เป็นมาตรฐาน ไม่มีประวัติธุรกรรม ทางการเงินกับสถาบันการเงินย้อนหลัง รวมทั้งมีความสามารถในการดําเนินธุรกิจและชําระหนี้ต่ํา 2) ด้านสถาบัน การเงินซึ่งจะมีค วามระมัดระวังในการพิจารณาสินเชื่อให้แก่ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม นอกจากนี้ สถาบันการเงินเฉพาะกิจ ยังไม่สามารถให้บริการทางการเงินอย่างเพียงพอและทั่วถึงเมื่อเทียบกับความ ต้องการของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เนื่องจากข้อจํากัดด้านเงินทุน กฎระเบียบ หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) การไม่ได้รับเงินชดเชยจากการดําเนินงานตามนโยบายภาครัฐ และ 3) ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งยังขาดระบบ หรือกลไกเสริมสร้างประสิทธิภาพในการใช้บริหารจัดการธุรกิจ เช่น ระบบพี่เลี้ยงที่ปรึกษา นักวินิจฉัยที่มีอยู่ยังไม่เป็น ระบบ และไม่เพียงพอกับความต้องการ ระบบการค้ําประกันยังไม่เอื้อต่อการขยายสินเชื่อให้วิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อมได้อย่างกว้างขวาง ไม่มีระบบข้อมูลกลางที่จะช่วยทั้งผู้ประกอบการในการวิเคราะห์สถานะของกิจการและ แนวโน้มธุรกิจ และช่วยสถาบันการเงินในการพิจารณาปล่อยสินเชื่อตามระดับความเสี่ยงและโอกาสทางธุรกิจของ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม อีกทั้งยังขาดกฎระเบียบและมาตรการที่เอื้อต่อการขยายบริการทางการเงินให้แก่ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมอีกด้วย ด้านทุน (Equity) วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมยังเข้าถึงแหล่งทุนได้ไม่มากนัก ไม่ว่าจะเป็น ธุรกิจเงินร่วมลงทุน (Venture capital: VC) หรือการระดมทุนผ่านตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (MAI) ทั้งนี้ เนื่องจากธุรกิจเงินทุนร่วมลงทุน (โดยเฉพาะของภาคเอกชน) จะมุ่งเน้นเข้าร่วมลงทุนกับวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อมที่มีศักยภาพเชิงพาณิชย์สูง ในส่วนของผู้ประกอบการมองว่าการมีผู้ร่วมลงทุนจากภายนอกอาจกระทบต่อ แนวคิดการทําธุรกิจเดิม ผลตอบแทนจากการลงทุนจะต้องถูกแบ่งตามสัดส่วนการถือหุ้น ผู้ประกอบการจะต้องจัดทํา แผนธุรกิจนําเสนอให้กับบริษัทเงินร่วมลงทุนซึ่งตนเองไม่คุ้นเคย ธุรกิจเงินร่วมลงทุนเป็นแนวทางในการระดมทุนแนว ใหม่ในสังคมไทย ซึ่งผู้ประกอบการไม่คุ้นเคยเมื่อเปรียบเทียบกับช่องทางอื่นๆ ประกอบกับโครงสร้างวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมไทยไม่ดึงดูดบริษัทเงินร่วมลงทุนเข้ามาลงทุน เนื่องจากการบริหารจัดการ การจัดทําระบบ บัญชี และการจัดเก็บและเปิดเผยข้อมูลของผู้ประกอบการยังไม่ได้มาตรฐาน จึงเป็นอุปสรรคต่อการขยายตัวของ ธุรกิจเงินร่วมลงทุน สําหรับการระดมทุนผ่านตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (MAI) ยังมีบทบาทค่อนข้างน้อย ซึ่งอาจ 1-18


แผนแม่บทการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

เกิดจากทัศนคติของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ไม่ต้องการสูญเสียอํานาจในการบริหาร จัดการ และเกรงว่าจะต้องเปิดเผยข้อมูลทางการเงินเมื่อเข้าตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (MAI) รวมทั้ง กระบวนการ และขั้นตอนในการเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (MAI) ที่ใช้ระยะเวลานานและมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง 4. แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองในระดับโลก 4.1 การเปลี่ยนแปลงกฎกติกาใหม่ของโลก การเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ในโลกรวมถึงวิกฤตเศรษฐกิจที่ผ่านมาส่งผลให้เกิดการปรับเปลี่ยน กฎระเบียบในการบริหารจัดการเศรษฐกิจโลก และการดําเนินเศรษฐกิจในระบบทุนนิยม ครอบคลุมถึงกฎ ระเบียบ ด้านการค้าการลงทุน การเงิน การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา พันธกรณีและข้อตกลงเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศ มาตรการทางการค้าที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาโลกร้อน และกฎระเบียบด้านสังคมมีบทบาท สําคัญมากขึ้น โดยเฉพาะด้านสิทธิมนุษยชน ที่ให้ความสําคัญกับการส่งเสริมให้เกิดความเคารพและรักษาศักดิ์ศรี ความเป็นมนุษย์ของทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน อาจเป็นโอกาสหรืออุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศในระยะต่อไป 4.2 การปรับตัวเข้าสู่เศรษฐกิจโลกแบบหลายศูนย์กลาง การขยายตัวของขั้วอํานาจทางเศรษฐกิจใหม่ เช่น บราซิล รัสเซีย อินเดีย และจีน ส่งผลต่อการ รวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในภูมิภาคต่างๆ ของโลกจะมีมากขึ้น และการรวมกลุ่มเศรษฐกิจที่สําคัญต่อประเทศไทยในช่วง แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559) ได้แก่ การรวมกลุ่มในกรอบอนุภูมิภาค และการเป็ น ประชาคมเศรษฐกิ จ อาเซี ย นในปี 2558 รวมทั้ ง กรอบความร่ ว มมื อ อื่น ๆ เช่น กรอบความร่ วมมื อ เอเชีย-แปซิฟิค จะมีผลกระทบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของไทย โดยเฉพาะการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่จะ รองรับการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ 4.3 การเข้าสูส่ ังคมผู้สูงอายุของโลก ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559) ประชากรสูงอายุ ในโลกจะเพิ่มขึ้นอีก 81.86 ล้านคน การเป็นสังคมผู้สูงอายุของประเทศต่างๆ มีผลกระทบต่อการเคลื่อนย้ายกําลังคน ข้ามประเทศ เกิดความหลากหลายทางวัฒนธรรม ขณะเดียวกัน โครงสร้างการผลิตเปลี่ยนจากการใช้แรงงานเข้มข้น เป็นการใช้องค์ความรู้และเทคโนโลยีมากขึ้น ควบคู่กับการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อใช้ทดแทนกําลังแรงงานที่ขาดแคลน โครงสร้างการใช้จ่ายงบประมาณเปลี่ยนแปลงไป ประเทศที่เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุจะมีรายจ่ายด้านสุขภาพเพิ่มขึ้น ทําให้ งบประมาณสําหรับการลงทุนพัฒนาด้านอื่น ๆ ลดลง 4.4 การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา อุณหภูมิโลกสูงขึ้นโดยเฉลี่ย 0.2 องศาเซลเซียสต่อทศวรรษ ส่งผลให้สภาพ ภูมิอากาศแปรปรวนก่อให้เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติบ่อยครั้งและทวีความรุนแรง เช่น แผ่นดินไหว ดินถล่ม ภูเขาไฟ ระเบิด อุทกภัย วาตภัย ภัยแล้ง ไฟป่า ระบบนิเวศในหลายพื้นที่ของโลกอ่อนแอ สูญเสียพันธุ์พืชและสัตว์ พื้นผิวโลก เปลี่ยนแปลงทางกายภาพ โดยเฉพาะการสูญเสียพื้นที่ชายฝั่งเนื่องจากระดับน้ําทะเลที่สูงขึ้น นําไปสู่การย้ายถิ่นของ ประชากรที่อยู่อาศัยบริเวณชายฝั่งทะเลรวมทั้งสร้างความเสียหายต่อโครงสร้างพื้นฐานเขตท่องเที่ยวเขตอุตสาหกรรม 1-19


แผนแม่บทการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

ที่มีการลงทุนสูงบริเวณพื้นที่ชายฝั่ง การระบาดของโรคและแมลงศัตรูพืชจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง สร้างความ เสียหายแก่ผลผลิตทางการเกษตรและธัญญาหารของโลก รวมทั้งกระทบต่อภาคสังคม เช่น ปัญหาความยากจนการ อพยพย้ายถิ่นและการแย่งชิงทรัพยากร 4.5 ความมั่นคงทางอาหารและพลังงานของโลกมีแนวโน้มจะเป็นปัญหาสําคัญ ความต้องการพืชพลังงาน สินค้าเกษตรและอาหารมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากการเพิ่มประชากรโลก แต่การผลิตพืชอาหารลดลงด้วยข้อจํากัดด้านพื้นที่ เทคโนโลยีที่มีอยู่ และการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ ทําให้เกิด ความขัดแย้งระหว่างการผลิตพืชอาหารและพืชพลังงานในอนาคต ส่งผลให้ผลผลิตอาหารสู่ตลาดลดลง ไม่เพียงพอ กับความต้องการของประชากรโลก หรือมีราคาสูงเกินกว่ากําลังซื้อโดยเฉพาะในกลุ่มประเทศยากจน อาจนําไปสู่การ เกิดวิกฤตอาหารโลก 4.6 ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร นาโนเทคโนโลยี และเทคโนโลยีชีวภาพ อาจเป็น โอกาสในการพัฒนา หรือเป็นภัยคุกคาม เช่น การจารกรรมข้อมูลธุรกิจหรือข้อมูลส่วนบุคคล ประเทศที่พัฒนา เทคโนโลยีได้ช้าจะกลายเป็นผู้ซื้อและมีผลิตภาพต่ํา ไม่สามารถแข่งขันกับประเทศอื่นๆ และการเข้าถึงเทคโนโลยีที่ไม่ เท่ า เที ย มกั น ของกลุ่ ม คนในสั ง คมจะทํ า ให้ เ กิ ด ความเหลื่ อ มล้ํ า ในการพั ฒ นาจึ ง เป็ น ความท้า ทายในการเพิ่ ม ขี ด ความสามารถในการแข่งขันและลดความเหลื่อมล้ํา 4.7 การก่อการร้ายสากลเป็นภัยคุกคามประชาคมโลก การก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติมีแนวโน้มขยายตัวทั่วโลกและรุนแรง มีรูปแบบและ โครงข่ายที่ซับซ้ อนมากขึ้ น อั นส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศหากมี ความเสียหายเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็น ผลกระทบทางจิตวิทยาที่ทําให้ผู้บริโภคชะลอการจับจ่ายใช้สอย ภาวะการว่างงานที่จะตามมาอันเนื่องจากการชะลอ ตัวของภาคธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว เช่น สายการบิน โรงแรม และภัตตาคาร เป็นต้น รวมทั้ง รัฐบาลต้องทุ่มเทงบประมาณเพื่อใช้ในการต่อต้านการก่อการร้าย อันจะส่งผลต่อเศรษฐกิจโดยรวมของ ประเทศให้ชะลอตัว ดังนั้น แม้ว่าประเทศไทยมิได้เกี่ยวข้องโดยตรงกับปัญหาและความขัดแย้งต่างๆ ที่เป็นสาเหตุของ การก่อการร้าย หากแต่มีโอกาสที่จะได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ก่อการร้ายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เนื่องจากระบบ เศรษฐกิจที่พึ่งพาการส่งออกและเงินทุนจากต่างประเทศ จึงจําเป็นต้องเตรียมความพร้อมในการรับมือหากเกิด เหตุการณ์ดังกล่าวขึ้น ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยได้

1-20


แผนแม่บทการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม รูปที่ 1-2 แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองในระดับโลก

1-21


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)

บทท บทที​ี่ 2 ผลการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมทีผ่ ่านมา การส่ ง เสริ ม วิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่ อ ม ถื อ เป็ น ประเด็ น การพัฒ นาที่สํ า คั ญ ของหลายๆ ประเทศ โดยเฉพาะหลังวิกฤติทางการเงินเมื่อปี 2540 ในประเทศไทยได้เกิดการพัฒนากลไกเชิงสถาบันในด้านการ ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ชัดเจน เช่น การออกพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อม พ.ศ. 2543 และการจัดตั้งสํานักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) รวมทั้งมีการ กําหนดนโยบายรัฐบาลเพื่อการบริหารประเทศในเรื่องการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เพื่อขับเคลื่อน การพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ซึ่งเป็นกลุ่มวิสาหกิจส่วนใหญ่ของประเทศให้เกิดความเข้มแข็ง มี ประสิทธิภาพ สามารถแข่งขันได้มากยิ่งขึ้นทั้งระดับในประเทศและระดับนานาชาติ อันจะนําไปสู่การสร้างมูลค่าทาง เศรษฐกิจและคุณค่าทางสังคมให้แก่ประเทศชาติ ที่ผ่านมา ประเทศไทยได้มีการจัดทําแผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมซึ่งกําหนด ทิศทางการพัฒนาโดยเป็นแผนระยะ 5 ปี เพื่อให้การขับเคลื่อนนโยบายและการดําเนินงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาด กลางและขนาดย่อมเป็นไปในทิศทางเดียวกันอย่างมีบูรณาการและมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น ประกอบด้วย 1. แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 1 (พ.ศ.2545-2549) ทิศทางการส่งเสริม: แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2545-2549) ได้จัดทําขึ้นในขณะที่ภาวะเศรษฐกิจของประเทศยังอยู่ในสภาพที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ และอยู่ในสถานภาพที่เริ่มฟื้นตัว จึงมุ่งเน้นในเรื่องการบรรเทาผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น การฟื้นฟู ควบคู่ไปกับการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้สร้างความแข็งแกร่งในเชิงโครงสร้าง ผลการดําเนินงาน: จากการประเมินผลการส่งเสริมตามแผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2545-2549) พบว่า การส่งเสริมของภาครัฐดําเนินการได้ผลในระดับหนึ่ง เนื่องจาก ข้อจํากัดด้านงบประมาณ ข้อจํากัดด้านองค์ความรู้ความเชี่ยวชาญของบุคลากรภาครัฐ และระบบจัดการงานส่งเสริม ที่ยังไม่เป็นเอกภาพ ทําให้การส่งเสริมด้านผลิตภาพ การสนับสนุนให้เกิดธุรกิจรายใหม่ การผลักดันและจูงใจวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมเข้าสู่ระบบและมีธรรมาภิบาล รวมทั้งการเพิ่มสัดส่วนผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศของ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมยังไม่บรรลุเป้าหมาย ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องดําเนินการให้ต่อเนื่องและขยายผลต่อไป

2-1


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)

2. แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2550-2554) ทิศทางการส่งเสริม: แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2550-2554) มุ่งเน้ นการส่งเสริม วิส าหกิ จขนาดกลางและขนาดย่อมในระดับธุร กิจรายสาขา (Sector) ในพื้นที่ และในระดับ ผู้ประกอบการ โดยการส่งเสริมให้ความสําคัญในเรื่องการปรับตัวด้านประสิทธิภาพในการดําเนินธุรกิจ และการเพิ่ม ผลิตภาพการผลิต การจัดการ ความสามารถในการสร้างนวัตกรรม และการคํานึงถึงความรับผิดชอบต่อผู้บริโภค สังคมและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งได้ผลักดันเรื่องการพัฒนาปรับปรุงระบบการจัดการและการทํางานของภาครัฐในการ ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเพื่อให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ผลการดําเนินงาน: จากการติดตามผลการดําเนินงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ตลอดระยะเวลาการดํ าเนิน งานส่ ง เสริม และพั ฒนาในช่ ว งระยะเวลาของแผนการส่ งเสริ ม วิ สาหกิ จ ขนาดกลาง และขนาดย่อมฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2550-2554) สามารถสรุปโดยมีรายละเอียดดังนี้ ผลการดําเนินงานตามเป้าหมายและตัวชี้วัดแผนการส่งเสริมฯ แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2550-2554) ได้กําหนดเป้าหมาย และตั วชี้ วัด ในการส่ ง เสริ ม วิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่อ มไว้ 3 เป้ า หมาย พบว่ า มีผ ลการดํา เนิ นงาน ดั ง นี้ (ตารางที่ 2-1) >> เป้าหมายที่ 1 มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม มีการขยายตัว อย่างต่อเนื่อง จนมีสัดส่วนเพิ่มเป็นร้อยละ 42 ของมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศในปี 2554 พบว่า สัดส่วน มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในระหว่างปี 2551-2553 ลดลงอย่างต่อเนื่อง คือมี สัดส่วนร้อยละ 38.10 ร้อยละ 37.80 และร้อยละ 37.10 ตามลําดับ ทั้งนี้ สาเหตุหลักเนื่องมาจากวิกฤตทางเศรษฐกิจ การเงินของสหรัฐอเมริกา (Hamburger crisis) ที่เริ่มมาตั้งแต่ปี 2551 ซึ่งได้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อกลุ่ม ผู้ประกอบการส่งออก ประกอบกับปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองที่ยืดเยื้อมาหลายปี >> เป้าหมายที่ 2 อัตราการขยายตัวมูลค่าการส่งออกของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เพิ่มมากขึ้นไม่น้อยกว่าอัตราการขยายตัวการส่งออกรวม พบว่า ในระหว่างปี 2551-2553 อัตราการขยายตัวการ ส่งออกของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมลดลงจากร้อยละ 8.47 ในปี 2550 มาอยู่ที่ร้อยละ 7.36 และในปี 2551 และหดตัวที่ร้อยละ 6.03 ในปี 2552 อย่างไรก็ตาม ในปี 2553 อัตราการขยาตัวการส่งออกของวิสาหกิจขนาด กลางและขนาดย่อมกลับมามีการขยายตัวร้อยละ 10.39 ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับการส่งออกในภาพรวม >> เป้าหมายที่ 3 ผลิตภาพการผลิตโดยรวม (Total Factor Productivity: TFP) ของ วิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม ขยายตัวไม่น้อยกว่าร้อยละ 3 ต่อปี รวมทั้งผลิตภาพการผลิตโดยรวมของสาขาเป้าหมาย และผลิตภาพแรงงานของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมขยายตัวไม่ต่ํากว่าร้อยละ 5 ต่อปี พบว่า ผลิตภาพด้าน ต่างๆ ยังไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่กําหนดไว้

2-2


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559) ตารางที่ 2-1 สรุปผลการดําเนินงานตามเป้าหมายของแผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2550-2554) เป้าหมายแผนฉบับที่ 2

ปี 2550

ปี 2551

ปี 2552

ปี 2553

1. มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมของ SMEs ขยายตัวอย่างต่อเนื่องจนมีสัดส่วนเพิ่มเป็นร้อยละ 42 ของมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศในปี 2554*

38.70

38.10

37.80

37.10

2. การขยายตัวของมูลค่าการส่งออกของ SMEs เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าอัตราการขยายตัวของการ ส่งออกรวม*

อัตราการขยายตัวการส่งออกรวม

11.66

11.16

(11.17)

18.80

อัตราการขยายตัวการส่งออกของ SMEs

8.47

7.36

(6.03)

10.39

0.19 0.05

0.94 (0.07)

(0.12) 0.02

NA NA

(0.64) 0.01

(0.08) (0.06)

(0.03) 0.004

NA NA

3. ผลิตภาพการผลิตโดยรวม (TFP) ของ SMEs ขยายตัวไม่น้อยกว่าร้อยละ 3 ต่อปี รวมทั้งผลิต ภาพการผลิตโดยรวมของสาขาเป้าหมายและผลิต ภาพแรงงาน SMEs ขยายตัวไม่ต่ํากว่าร้อยละ 5 ต่อปี**

วิสาหกิจ ขนาดย่อม วิสาหกิจ ขนาดกลาง

ผลิตภาพรวม ผลิตภาพแรงงาน ผลิตภาพรวม ผลิตภาพแรงงาน

หมายเหตุ: ( ) หมายถึง มีค่าเป็นลบ ที่มา: *รายงานสถานการณ์วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมปี 2552 และแนวโน้ม ปี 2553 **รายงานผลิตภาพและผลประกอบการอุตสาหกรรมปี 2550 -2552 สํานักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม โดยอุตสาหกรรมที่ใช้ในการวิเคราะห์ผลิตภาพการผลิตประกอบด้วย อุตสาหกรรม อาหาร อุตสาหกรรมสิ่งทอ อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า อุตสาหกรรมพลาสติก อุตสาหกรรมไม้และเครื่อง เรือน อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ อุตสาหกรรมผลิตเครื่องจักร อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ และอุตสาหกรรมเครื่องหนัง

ผลการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเด็นสําคัญต่าง ๆ นอกจากการติดตามผลดําเนินงานตามเป้าหมายตัวชี้วัดที่กําหนดไว้ตามแผนการส่งเสริมวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2550-2554) แล้ว สํานักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ยังได้รวบรวมข้อมูลจากส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐที่ได้ดําเนินงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เพื่ อ นํ า มาประมวลผลการดํ า เนิ น งานตามแผนการส่ ง เสริ ม วิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่ อ มฉบั บ ที่ 2 (พ.ศ. 2550-2554) ทั้งในส่วนของกิจกรรมที่ใช้งบประมาณดําเนินการจากกองทุนส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อม (ซึ่งต่อไปจะเรียกว่า งบประมาณในกองทุนส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม) และกิจกรรมที่ใช้ งบประมาณดําเนินการของหน่วยงานภาครัฐและเอกชนอื่นๆ (ซึ่งต่อไปจะเรียกว่า งบประมาณนอกกองทุนส่งเสริม วิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่ อ ม) สรุ ป สาระสํ า คั ญ ของผลการดํ า เนิ น งานส่ ง เสริ ม วิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและ ขนาดย่อม ในปีงบประมาณ 2550 - 2552 ดังนี้ งบประมาณที่ ใ ช้ ใ นการส่ ง เสริ ม วิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่ อ ม ระหว่ า งปี 2550-2552 หน่วยงานต่างๆ มีการใช้งบประมาณเพื่อดําเนินการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมทั้งในส่วนงบประมาณ ในกองทุนฯ และงบประมาณนอกกองทุนฯ รวม 9,863.71 ล้านบาท โดยมีจํานวนกิจกรรมและโครงการรวมทั้งสิ้น 419 โครงการ (ตารางที่ 2-2)

2-3


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559) ตารางที่ 2-2 งบประมาณในการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ภายใต้แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2550-2554) ปีงบประมาณ ปี 2550 ปี 2551 ปี 2552 รวม

จํานวนกิจกรรม/โครงการ (โครงการ) ในกองทุน นอกกองทุน รวม 125 55 180 73 76 149 40 50 90 238 181 419

งบประมาณ (ล้านบาท) ในกองทุน นอกกองทุน รวม 2,156.93 2,312.78 4,469.71 1,022.74 2,131.45 3,154.19 653.83 1,585.98 2,239.81 3,833.50 6,030.21 9,863.71

ที่มา: รายงานสถานการณ์วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมปี 2552 และแนวโน้ม ปี 2553

จากข้อมูลการจัดสรรงบประมาณข้างต้น พบว่า งบประมาณเพื่อการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่ อมลดลงอย่างต่อเนื่ อง ตั้งแต่ ปี 2550 จนถึงปี 2552 ทั้งในส่วนของงบประมาณในกองทุนส่ งเสริม วิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่ อ ม และงบประมาณนอกกองทุ น ส่ ง เสริ ม วิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่ อ ม (ตารางที่ 2-2) ทั้ ง นี้ หากพิ จ ารณาตามยุ ท ธศาสตร์ ภ ายใต้ แ ผนการส่ ง เสริ ม วิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่ อ ม ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2550-2554) พบว่า วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในภาคการค้าได้รับการส่งเสริมน้อยมาก เห็ น ได้ จ ากงบประมาณในกองทุ น ส่ ง เสริ ม วิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่ อ มเพื่ อ ยุ ท ธศาสตร์ ที่ 3 การเพิ่ ม ประสิทธิภาพและลดผลกระทบในภาคการค้าได้รับงบประมาณเพื่อการส่งเสริมเพียง 67.28 ล้านบาท หรือคิดเป็น ร้ อ ยละ 1.75 และเมื่ อ พิ จ ารณาจากงบประมาณนอกกองทุ น ส่ ง เสริ ม วิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่ อ ม ได้รับงบประมาณเพื่อส่งเสริมเพียง 3.44 ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.06 ของงบประมาณรวมทั้งหมด (ตารางที่ 2-3) งบประมาณในกองทุนส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ร้อยละ 37.95 ของงบประมาณ รวมทั้งหมดมูลค่า 1,454.75 ล้านบาท มุ่งเน้นไปที่ยุทธศาสตร์ที่ 6 การพัฒนาปัจจัยเอื้อในการดําเนินธุรกิจของ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เช่น พื้นที่ประกอบกิจการ ช่องทางการตลาด การให้การสนับสนุนทางการเงิน ให้กับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการดําเนินธุรกิจ เป็นต้น (ตารางที่ 2-3) ในส่วนของงบประมาณนอกกองทุนส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม งบประมาณส่วนใหญ่ มุ่งเน้นไปที่ยุทธศาสตร์ที่ 2 การเพิ่มผลิตภาพและขีดความสามารถทางนวัตกรรมของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาด ย่อมในภาคการผลิต โดยได้รับงบประมาณเพื่อการส่งเสริม จํานวน 2,517.15 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 41.74 ของงบประมาณรวมทั้งหมด ซึ่งเป็นการดําเนินการในเรื่องการส่งเสริมให้ความรู้คําปรึกษาแนะนํา การปรับปรุง กระบวนการผลิต การถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาระบบและขั้นตอนในการผลิต การส่งเสริมให้โรงงานได้รับความรู้ และคําปรึกษาแนะนํา การนําหลักปฏิบัติที่เป็นเลิศในการผลิต การพัฒนาระบบธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ (e-Business) ของอุตสาหกรรม พัฒนาทักษะของบุคลากรให้มีความรู้และทักษะสูง ในอุตสาหกรรมเป้าหมายที่สําคัญ เช่น อุตสาหกรรมสิ่งทอ อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมอาหารแปรรูป อุตสาหกรรมแม่พิมพ์ เป็นต้น (ตารางที่ 2-3) 2-4


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559) ตารางที่ 2-3 งบประมาณในการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม จําแนกตามยุทธศาสตร์ภายใต้แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2550-2554) ยุทธศาสตร์ งบประมาณ (ล้านบาท) ร้อยละ ในกองทุน นอกกองทุน รวม ในกองทุน นอกกองทุน 1. การสร้างและพัฒนาผู้ประกอบการวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม 2. การเพิ่มผลิตภาพและขีดความสามารถทาง นวั ต กรรมของวิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาด ย่อมในภาคการผลิต 3. การเพิ่มประสิทธิภาพและลดผลกระทบ ในภาคการค้า 4. การส่ ง เสริ ม ภาคบริ ก ารในการสร้า งคุณ ค่ า และมูลค่าเพิ่ม 5. การส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาด ย่อมในภูมิภาคและท้องถิ่น 6. การพัฒนาปัจจัยเอื้อในการดําเนินธุรกิจของ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม รวม

รวม

734.43

2,079.19 2,813.62

19.16

34.48

28.53

1,087.94

2,517.15 3,605.09

28.38

41.74

36.55

67.28

3.44

70.72

1.75

0.06

0.72

90.73

191.28

282.01

2.37

3.17

2.86

398.37

621.81 1,020.18

10.39

10.31

10.34

1,454.75

617.34 2,072.09

37.95

10.24

21.01

3,833.50

6,030.21 9,863.71

100.00

100.00

100.00

ที่มา: รายงานสถานการณ์วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมปี 2552 และแนวโน้มปี 2553

การพัฒนาบุคลากรและสถานประกอบการ การส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ระหว่างปี 2550 - 2552 มีการพัฒนาบุคลากร โดยมี ผู้ ป ระกอบการและแรงงานได้ รั บ การถ่ า ยทอดองค์ ค วามรู้ ทั้ ง สิ้ น 1,426,481 คน และมี ส ถานประกอบการ วิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่ อ มได้ รั บ การพั ฒ นา ยกระดั บ ประสิ ท ธิ ภ าพและศั ก ยภาพในการดํ า เนิ น ธุ ร กิ จ รวมทั้งสิ้น 67,463 ราย (ตารางที่ 2-4) การพั ฒ นาบุ ค ลากรภายใต้ ง บประมาณในกองทุ น ส่ ง เสริ ม วิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่ อ ม มีการถ่ายทอดองค์ความรู้และพัฒนาทักษะแก่ผู้ประกอบการและแรงงานในภาคการผลิต (ยุทธศาสตร์ที่ 2) มากที่สุด จํานวน 12,414 คน ส่วนงบประมาณนอกกองทุนส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม มีการสร้างและพัฒนา ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ยุทธศาสตร์ที่ 1) มากที่สุด จํานวน 1,009,854 คน ทั้งนี้จากการ ดําเนินโครงการเสริมสร้างผู้ประกอบการใหม่ 1 (New Entrepreneur Creation: NEC) ซึ่งเป็นโครงการที่ดําเนินการ ต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2545 โดยเป็นการจัดฝึกอบรมหลักสูตรระยะยาวให้กับผู้ที่สนใจจะจัดตั้งธุรกิจในระยะเริ่มต้น 1-3 ปี 1

จากผลการดําเนินงานโครงการดังกล่าว สามารถสร้างผู้ประกอบการใหม่และขยายธุรกิจได้รวม 1,125 วิสาหกิจ โดยสามารถสร้างมูลค่าการลงทุนในธุรกิจ รวม 1,126 ล้านบาท และเกิดการจ้างงานรวม 4,463 คน สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจากรายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report) การสํารวจ ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ตามตัวชี้วัดที่สําคัญของแผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2550-2554)

2-5


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)

สํ า หรั บ การพั ฒ นาสถานประกอบการนั้ น การดํ า เนิ น งานภายใต้ ง บประมาณในกองทุ น ส่ ง เสริ ม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม มีสถานประกอบการในภาคการผลิต (ยุทธศาสตร์ที่ 2) ได้เข้าร่วมโครงการ และได้รับการพัฒนาศักยภาพมากที่สุดเป็นจํานวน 4,527 ราย ส่วนการดําเนินงานภายใต้งบประมาณนอกกองทุน ส่ ง เสริ ม วิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่ อ ม มี ก ารพั ฒ นาและยกระดั บ ประสิ ท ธิ ภ าพและศั ก ยภาพของ สถานประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ดําเนินธุรกิจโดยทั่วไป (ยุทธศาสตร์ที่ 1) จํานวน 34,072 ราย ตารางที่ 2-4 ผลการดําเนินงานภายใต้แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2550-2554) ด้านการพัฒนาบุคลากรและสถานประกอบการ จํานวนสถานประกอบการที่ได้รับการพัฒนา (ราย) จํานวนบุคลากรที่ได้รับการพัฒนา (คน) ยุทธศาสตร์ ในกองทุน นอกกองทุน รวม ในกองทุน นอกกองทุน รวม 1. การสร้ า งและพั ฒ นาผู้ ป ระกอบการ 4,881 1,009,854 1,014,735 266 34,072 34,338 วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม 2. การเพิ่ ม ผลิ ต ภาพและขี ด ความสามารถ 12,414 28,106 40,520 4,527 4,466 8,993 ทางนวัตกรรมของวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อมในภาคการผลิต 3. การเพิ่มประสิทธิภาพและลดผลกระทบ 693 1,412 2,105 5 80 85 ในภาคการค้า 4. การส่งเสริมภาคบริการในการสร้างคุณค่า 464 12,669 13,133 1,063 13,973 15,036 และมูลค่าเพิ่ม 5. การส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาด 9,717 346,271 355,988 2,091 6,920 9,011 ย่อมในภูมิภาคและท้องถิ่น 6. การพัฒนาปัจจัยเอื้อในการดําเนินธุรกิจ 0 0 0 0 0 0 ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม รวม 28,169 1,398,312 1,426,481 7,952 59,511 67,463 ที่มา: รายงานสถานการณ์วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมปี 2552 และแนวโน้มปี 2553

การพัฒนานวัตกรรมและทรัพย์สินทางปัญญา การดําเนินงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในระหว่างปี 2550-2552 ในด้านการ พัฒนานวัตกรรมและทรัพย์สินทางปัญญา ในส่วนของการพัฒนาภายใต้งบประมาณในกองทุนส่งเสริมวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม ไม่มีการดําเนินงานในด้านนวัตกรรมและทรัพย์สินทางปัญญา สําหรับการดําเนินงาน โดยหน่วยงานภาครัฐและเอกชนอื่นๆ ภายใต้งบประมาณนอกกองทุนส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พบว่า มีจํานวนผลงานนวัตกรรมที่ได้รับการพัฒนา คิดค้นขึ้นรวมทั้งสิ้น 133 รายการ ได้แก่ การพัฒนานวัตกรรม ในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ โดยสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ด้านชิ้นส่วนยานยนต์รวม 6 ผลิตภัณฑ์ และสามารถ สร้างนวัตกรรมใหม่ในอุตสาหกรรมดังกล่าวรวม 100 รายการ การพัฒนานวัตกรรมในอุตสาหกรรมสิ่งทอ ซึ่งสามารถ ต่อยอดผลงานวิจัยสู่การพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์สิ่งทอที่มีคุณสมบัติพิเศษ (Functional Textile) จํานวน 15 รายการ และการปรับปรุงประสิทธิภาพและคุณภาพของกระบวนการผลิตชิ้นส่วนในอุตสาหกรรมเหล็กโดยมีเป้าประสงค์ที่จะ 2-6


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)

ต่อยอดการพัฒนานวัตกรรม ในส่วนของการพัฒนาวัสดุอุปกรณ์เครื่องมือตรวจวิเคราะห์ต่างๆ และทดลองการผลิต จํานวน 12 รายการ การพัฒนาปัจจัยเอื้อในการดําเนินธุรกิจ การดําเนินงานภายใต้งบประมาณในกองทุนส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมส่วนใหญ่ มุ่งเน้นด้านการพัฒนาปัจจัยเอื้อในการดําเนินธุรกิจสําหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เช่น ด้านการตลาด ด้านการเงิน ด้านระบบฐานข้อมูล เป็นต้น ส่วนการดําเนินงานภายใต้งบประมาณนอกกองทุนส่งเสริมวิสาหกิจขนาด กลางและขนาดย่อมมุ่งเน้นในด้านกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับและสิทธิประโยชน์กฏระเบียบ ระบบฐานข้อมูล และบุคลากร ซึ่งระหว่างปี 2550-2552 พบว่า มีการสนับสนุนปัจจัยเอื้อในการดําเนินธุรกิจรวมทั้งสิ้น 71 รายการ สรุปได้ ดังนี้ ด้า นการบริ ห ารจั ด การระบบฐานข้ อมู ล ที่ ทั น สมั ย มี ก ารพั ฒ นาระบบฐานข้ อ มู ล เพื่ อ สนั บ สนุ น องค์ความรู้ ที่สําคัญต่อการดําเนินธุรกิจ การจัดตั้งศูนย์บริการด้านการออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ การจัดตั้งศูนย์บริการร่วมลงทุนในภูมิภาค การจัดตั้งศูนย์บริการข้อมูลและองค์ความรู้สําหรับวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม (SMEs Corner) การพัฒนาระบบฐานข้อมูล ผู้ประกอบการ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในธุรกิจสําคัญ เพื่อรองรับการขยายตลาดไปยังกลุ่มประเทศตามกรอบความร่วมมือประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน การจัดตั้งหน่วยบริการองค์ความรู้สิ่งทอและแฟชั่น เพื่อให้บริการองค์ความรู้และแนวโน้มแฟชั่นและวัสดุสิ่งทอ การจัดทําระบบฐานข้อมูลอุตสาหกรรมก่อสร้างและธุรกิจต่อเนื่องเบื้องต้น การปรับปรุงโปรแกรมระบบฐานข้อมูล เพื่อคํานวณค่าดัชนีในระดับอุตสาหกรรม การพัฒนาระบบสารสนเทศอุตสาหกรรมในอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ และการ จัดตั้งศูนย์เชี่ยวชาญด้านแม่พิมพ์ การพัฒนาความร่วมมือการให้บริการด้านวิทยาศาสตร์ร่วมกับสถาบันการศึกษา หน่วยงาน และสถาบันการวิจัยต่างๆ เพื่อต่อยอดผลงานวิจัยสู่เชิงพาณิชย์ ด้านการตลาด มีการพัฒนาช่องทางการตลาดเพื่อรองรับการให้บริการแก่วิสาหกิจวิสาหกิจขนาด กลางและขนาดย่อมในรูปแบบต่างๆ เช่น การจัดงานแสดงสินค้า การเจรจาธุรกิจ การเผยแพร่ทางสื่อวิทยุ/โทรทัศน์/ สิ่งพิมพ์/สารคดี การส่งเสริมการตลาดต่างๆ จากการดําเนินโครงการเงินทุนสนับสนุน SMEs สู่ตลาดอาเซียน (SMEs Capacity Building: Win for ASEAN Market) มีวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเข้าร่วมกิจกรรมการจับคู่ทาง ธุรกิจ จํานวน 2,060 ราย เกิดมูลค่ าการซื้อขาย จํานวน 200 ล้านบาท และมีการเสริมสร้างขีดความสามารถ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในการส่งออกไปยังประเทศอาเซียนโดยเฉพาะในกลุ่มประเทศกัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม (CLMV) จํานวน 1,876 ราย ทําให้เกิดการพัฒนาแผนที่การตลาด (Market Mapping) ใน 4 ประเทศ 5 กลุ่มสินค้าและบริการ การสนับสนุ นเงิ นอุดหนุนสําหรับการขยายตลาดไปยังต่างประเทศในกลุ่ม ASEAN+6 จํานวน 732 ราย ตลอดจนมีการสร้างช่องทางการตลาดเพื่อการขยายฐานการค้าในตลาด ASEAN+6 โดยการจัด Road Show และการประชุมเจรจาการค้าต่างๆ รวมถึงการพัฒนาการรวมกลุ่มอุตสาหกรรมภาคเอกชนในการ ส่งเสริม ให้เกิดความเข้มแข็ง เป็นต้น

2-7


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)

ด้านการเงิน มีการส่งเสริมเงินทุนเพื่อการปรับปรุงฟื้นฟูเครื่องจักร (Machine Fund) ให้แก่วิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมจํานวน 214 ราย โดยมีวงเงินสินเชื่อที่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมได้รับจากสถาบัน การเงินจํานวน 1,696 ล้านบาท สามารถเพิ่มประสิทธิภาพเครื่องจักร จํานวน 1,153 เครื่อง (โครงการภายใต้ แผนปฏิบัติการส่งเสริมวิสาหกิจขนากลางและขนาดย่อมปี 2550) การสนับสนุนเงินทุนเสริมสร้างศักยภาพการ ประกอบธุรกิจและการสนับสนุนที่ปรึกษาธุรกิจ (Capacity Building Fund) ประกอบด้วย เงินทุนสนับสนุนวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมเพื่อขยายธุรกิจไปยังต่างประเทศ (Internationalization Fund: Inter Fund) โดยมี วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมขยายธุรกิจไปยังต่างประเทศจํานวน 407 ราย วงเงินที่ได้อนุมัติ 28.63 ล้านบาท โดยมียอดขายจากการขยายธุรกิจไปยังต่างประเทศจํานวน 74.05 ล้านบาท และยอดขายที่คาดว่าจะได้รับหลังจาก ขยายธุรกิจไปยังต่างประเทศ จํานวน 756.46 ล้านบาท และการสนับสนุนทางการเงินด้านทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property Fund: IP Fund) จํานวน 12 ราย โดยมีวงเงินอนุมัติ 2.78 ล้านบาท โดยวิสาหกิจขนาด กลางและขนาดย่อมได้เกิดการซื้อขายสินค้า/บริการหลังจากการทํากิจกรรมการขยายตลาดไปยัง ต่างประเทศด้าน ระบบสนับสนุน SMEs ด้านทรัพย์สินทางปัญญาจํานวน 254 ราย สามารถนําผลงานที่จดลิขสิทธิ์/สิทธิบัตรไปต่อยอด ในเชิงพาณิชย์ จํานวน 4 ราย ทั้งนี้ มีวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมสามารถยื่นขอจดลิขสิทธิ์/สิทธิบัตร จํานวน 44 คําขอ เกิดยอดขายจากการขอซื้อสิทธิ์/ซื้อผลงาน จํานวน 0.76 ล้านบาท และยอดการขายเชิงพาณิชย์ที่คาดว่า จะเกิดขึ้น จํานวน 57.66 ล้านบาท ด้านการพัฒนาพื้นที่เขตภูมิภาค ได้ดําเนินการพัฒนาแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเครือข่ายและห่วงโซ่ อุปทานในอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มรวมถึงการจัดงานแสดงสินค้าและจําหน่ายผลิตภัณฑ์สําหรับกลุ่มอาชีพ และผลิตภัณฑ์ชุมชน การพัฒนาผู้ประสานงานเครือข่ายวิสาหกิจ (Cluster Development Agent) ในธุรกิจ ท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ จํานวน 283 ราย โดยวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมได้รับการพัฒนา ยกระดับขีดความสามารถด้านองค์ความรู้บริหารจัดการ จํานวน 1,402 ราย ด้า นกฎหมาย กฎระเบี ยบ ข้อ บัง คับ และสิ ท ธิป ระโยชน์ มีก ารพัฒ นาปรั บปรุ ง กฎระเบีย บเพื่ อ ลดอุปสรรคและเอื้อต่อการดําเนินธุรกิจของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ได้แก่ - การลดภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่บริษัทในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) โดยให้ลดอัตราภาษี เงินได้ร้อยละ 20 ของกําไรสุทธิเฉพาะในส่วนที่ไม่เกิน 20 ล้านบาท - การยกเว้ น ภาษีเ งิ น ได้ บุ ค คลธรรมดา สํ า หรั บ ภาษีที่ ต้อ งเสี ย ตามมาตรา 48(2) แห่ ง ประมวล รัษฎากร เฉพาะผู้มีเงินได้ที่ต้องเสียภาษีไม่เกิน 5,000 บาท - การแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลของธุรกิจ เงินร่วมลงทุน ที่เข้าไปถือหุ้นในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม - การยกเว้ น ภาษี เ งิ น ได้ บุ ค คลธรรมดาและภาษี เ งิ น ได้ นิ ติ บุ ค คลสํ า หรั บ รายจ่ า ยเพื่ อ การได้ ม า ซึ่งทรัพย์สินประเภทวัสดุ อุปกรณ์ หรือเครื่องจักรที่มีผลต่อการประหยัดพลังงาน -

2-8


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)

- การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้กับวิสาหกิจชุมชนที่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคล ที่ไม่ใช่นิติบุคคลที่มีเงินได้พึงประเมินไม่เกิน 1.8 ล้านบาทในปีภาษี ด้านการส่งเสริมระบบและเครื่องมือให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เกิดความสะดวกในการ ใช้เทคโนโลยี มีการจัดทําระบบโครงข่ายเชื่อมโยงธุรกิจและพัฒนาซอฟต์แวร์มาตรฐานกลาง การพัฒนาระบบ สารสนเทศด้านอุตสาหกรรม การพัฒนาแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเครือข่ายและห่วงโซ่อุปทาน การจัดตั้งอุทยาน วิทยาศาสตร์ภาคเหนือ และศูนย์บ่มเพาะและพัฒนาผู้ประกอบการในธุรกิจซอฟต์แวร์ ด้ า นการยกระดั บ ความรู้ แ ละทั ก ษะบุ ค ลากร มี ก ารพั ฒ นาผู้ ใ ห้ บ ริ ก ารอุ ต สาหกรรม (Service Provider) ซึ่งสามารถสร้างบริกรธุรกิจเพื่อให้ความช่วยเหลือแก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในสาขาต่างๆ เช่ น บริกรธุ ร กิ จด้านวิ นิจฉั ยสถานประกอบการ (Shindan หรือ นั กวินิจฉัยสถานประกอบการ) บริกรธุรกิจด้านที่ปรึกษาธุรกิจขนาดเล็ก (APEC-IBIZ) เป็นการพัฒนาที่ปรึกษาระดับอาชีพตามแนวทางการพัฒนาที่ ปรึกษาธุรกิจขนาดเล็กของกลุ่มประเทศความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (APEC) บริกรอุตสาหกรรมแบบ ครบวงจรเป็นการสร้างและพัฒนาบริกรธุรกิจผ่านกระบวนการฝึกอบรมและการฝึกปฏิบัติและบริกรธุรกิจด้าน ออกแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ในด้านธุรกิจการออกแบบ จากการติ ด ตามผลการส่ ง เสริ ม ตามแผนการส่ ง เสริ ม วิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่ อ ม ปี 2550-2554 ที่ ผ่ า นมา พบว่ า การส่ ง เสริ ม ของภาครั ฐ ได้ ใ ห้ ค วามสํ า คั ญ ต่ อ การพั ฒ นาและส่ ง เสริ ม วิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่อมเพิ่มขึ้น แต่ยังคงกระจุกตัวอยู่ในภาคการผลิต อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อจํากัดด้านข้อมูลการ ประกอบธุรกิจของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมโดยเฉพาะในระดับท้องถิ่น ด้านงบประมาณสําหรับการส่งเสริม และพัฒนาด้านองค์ความรู้ ความเชี่ยวชาญ และความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาและความต้องการของวิสาหกิจขนาด กลางและขนาดย่อมของบุคลากรภาครัฐ และเอกชนที่มีบทบาทเกี่ยวข้องกับการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อม รวมทั้งยังขาดการเชื่อมโยงบูรณาการการทํางานร่วมกัน เพื่อเกื้อหนุนการดําเนินงานส่งเสริมวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมระหว่างหน่วยงานทั้งในระดับส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น ทําให้การส่งเสริม ด้านการเพิ่มผลิตภาพ การเพิ่มสัดส่วนมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม รวมทั้ง การเพิ่มสัดส่วนมูลค่าการส่งออกของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมยังไม่บรรลุเป้าหมาย

2-9


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)

บทท บทที​ี่ 3 การวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและภัยคุกคามของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย การวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและภัยคุกคาม (SWOT Analysis) เป็นการวิเคราะห์โดยการ สํ า รวจสภาพการณ์ ใ น 2 ด้ า น คื อ สภาพการณ์ ภ ายในและสภาพการณ์ ภ ายนอก ซึ่ ง เป็ น การวิ เ คราะห์ จุ ด แข็ ง (Strengths) และจุดอ่อน (Weaknesses) เพื่อให้รู้สภาพการณ์ภายใน และการวิเคราะห์โอกาส (Opportunities) และภัยคุกคาม (Threats) เพื่อรู้สภาพแวดล้อมหรือสภาพการณ์ภายนอก การวิเคราะห์ปัจจัยต่างๆ ทั้งภายในและ ภายนอกทําให้ทราบถึงการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ทั้งสิ่งที่ได้เกิดขึ้นแล้ว และแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงระยะ พ.ศ.2555-2559 รวมทั้งผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงที่คาดว่าจะมีผลต่อวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เพื่อนําไปสู่การกําหนดวิสัยทัศน์ ยุทธศาสตร์ และกลยุทธ์ของแผนฉบับนี้ในลําดับต่อไป จุดแข็ง (Strengths) วิส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่อ มเป็ น ฐานรากที่ สํ า คั ญ ของเศรษฐกิ จ ประเทศ ซึ่ ง แม้ ว่ า มี ค วาม หลากหลายในเชิงธุรกิจ แต่ยังมีการเติบโตเชิงพัฒนาที่แสดงให้เห็นถึงศักยภาพที่สร้างโอกาสในการแข่งขัน เห็นได้ จากข้อดีจากลักษณะในการประกอบธุรกิจโดยสรุป ดังนี้ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมีความคล่องตัว ยืดหยุ่น สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ แวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปได้อย่างรวดเร็ว สอดคล้องกับรูปแบบองค์กรสมัยใหม่ที่มีการบริหารองค์กรแบบแนวราบ (Flat Organization) ซึ่งมีสายงานบังคับบัญชาน้อย ทําให้มีความคล่องตัวในการบริหารจัดการ สามารถตัดสินใจ ได้อย่างรวดเร็ว รวมถึงบุคลากรสามารถทํางานได้หลายหน้าที่ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทยมีความสามารถและความเชี่ยวชาญด้านทักษะงานฝีมือ รวมถึงงานบริการ (Craftsmanship & Hospitality) อีกทั้งมีองค์ความรู้ ภูมิปัญญา ศิลปะวัฒนธรรมที่เป็น เอกลักษณ์ (Identity) และทรัพยากรที่มีหลากหลายในแต่ละพื้นที่ สามารถนํามาสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าและ บริการ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมสามารถผลิตสินค้าและบริการเพื่อตอบสนองความต้องการของ กลุ่มผู้บริโภคเป้าหมายและเข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภคในตลาดเฉพาะ (Niche Market) โดยนําความรู้และ ประสบการณ์จากการรับจ้างผลิตสินค้าต่อยอดไปสู่การพัฒนาสินค้าให้มีมูลค่าเพิ่ม นอกจากนั้น ตลาดเฉพาะยังมี ขนาดเล็กเกินกว่าที่วิสาหกิจขนาดใหญ่จะให้ความสําคัญ จึงเป็นโอกาสสําหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

3-1


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)

จุดอ่อน (Weaknesses) ความสามารถในการแข่ ง ขั น ของวิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่ อ มไทยที่ ผ่ า นมาดํ า เนิ น ธุ ร กิ จ โดยอาศัยข้อได้เปรียบด้านต้นทุนแรงงาน ทรัพยากรภายในประเทศ ภูมิประเทศและสิ่งอํานวยความสะดวกทางด้าน การขนส่งมากกว่าความสามารถในการพัฒนาคุณภาพด้านบุคลากร การวิจัย นวัตกรรมและเทคโนโลยี เพื่อนําไปสู่ การพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพและมูลค่ามากยิ่งขึ้น ทําให้ปัจจุบันไม่สามารถเผชิญกับการแข่งขันทางธุรกิจ กับกลุ่มประเทศเติบโตใหม่ที่มีความได้เปรียบด้านต้นทุนราคาถูก ปัญหาและอุปสรรคที่สําคัญในการดําเนินธุรกิจของ วิสาหกิจกลางและขนาดย่อม มีดังนี้ วิสัยทัศน์ (Vision) ในการบริหารจัดการธุรกิจ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทยส่วนใหญ่ ดําเนินการแบบธุรกิจครอบครัว มีผลให้การตัดสินใจทั้งในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติการดําเนินการโดยเจ้าของ ธุรกิจเพียงคนเดียวหรือกลุ่มเดียว ทําให้การบริหารงานไม่มีระบบไม่มีความโปร่งใส ขาดการวางแผนธุรกิจหรือทักษะ ในการบริหารธุรกิจ รวมถึงไม่สามารถบริหารจัดการต้นทุน ขาดระบบบัญชีที่ดี ไม่มีระบบติดตามประเมินผลที่มี ประสิ ท ธิ ภ าพ ขาดวิ สั ย ทั ศ น์ ข ององค์ ก ร และไม่ ใ ห้ ค วามสํ า คั ญ กั บ การรวมกลุ่ ม หรื อ การเชื่ อ มโยงกั บ ธุ ร กิ จ ผู้ประกอบการอื่นๆ นอกจากนี้ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังไม่รับรู้หรือยังไม่เข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงสภาวะแวดล้อม ทางเศรษฐกิจที่จะส่งผลกระทบต่อการดําเนินธุรกิจอันเนื่องมาจากข้อตกลงทางการค้าระหว่างประเทศ การเข้าสู่ สมาชิกประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน วิกฤตทางการเงิน วิกฤตการขาดแคลนพลังงานและทรัพยากรที่เป็นแหล่งอาหาร จึงไม่สามารถปรับตัวได้ทันต่อสถานการณ์ซึ่งนําไปสู่ความเสียหายทางธุรกิจ ความสามารถในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทยส่วนใหญ่ผลิตสินค้า แบบรับจ้างผลิตตามที่ลูกค้ากําหนด มีผู้ประกอบการจํานวนน้อยที่มีความสามารถด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ ในขั้นที่สูงขึ้น เช่น การทําสินค้าต้นแบบ (Prototype Part) ขาดการนําอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม เทคโนโลยี นวัตกรรมมาใช้เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีเอกลักษณ์เฉพาะและสอดคล้องกับความต้องการของตลาด ทําให้เกิดการ เลียนแบบและนําไปสู่การแข่งขันทางราคา เป็นต้น ความสามารถในด้านบุ คลากร วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย ยังมีข้อจํากัดด้าน ประสิทธิภาพของบุคลากรทั้งกลุ่มแรงงานที่มีทักษะฝีมือมีความรู้ และกลุ่มแรงงานระดับฝีมือต่ํา โดยเฉพาะด้าน ทักษะฝีมือเฉพาะด้าน และความสามารถด้านภาษา อีกทั้ง ยังขาดระบบมาตรฐานเทียบความรู้ ทักษะฝีมือเพื่อจูงใจ ในการพัฒนาความสามารถ ในขณะที่ ผู้ประกอบการยังขาดระบบสวัสดิการแรงงานที่ดี รวมทั้งให้ความสําคัญต่อการ พัฒนาบุคลากรน้อย ด้านบทบาทภาครัฐและระบบการศึกษา ยังไม่สามารถผลิตแรงงานที่สนองตอบความต้องการ ของภาคธุรกิจโดยเฉพาะในสาขาที่ขาดแคลนได้เพียงพอ แม้จะมีการพัฒนาสิ่งอํานวยความสะดวกบ้างแล้วก็ตาม หากแต่ยังขาดการพัฒนากลไกที่ช่วยให้แรงงานมีการพัฒนาความรู้อย่างต่อเนื่อง รวมถึงการพัฒนาต่อยอดทักษะฝีมือ ในระดับขั้นสูง

3-2


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)

ความสามารถในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน ซึ่งข้อจํากัดนี้มิได้เกิดจากเฉพาะตัวผู้ประกอบการวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมแต่เพียงฝ่ายเดียว หากยังเกิดขึ้นจากสถาบันการเงินและระบบสนับสนุนด้านการเงิน กล่าวคือ ในส่วนของตัวผู้ประกอบการ ที่แม้ว่าปัจจุบัน สถาบันการเงินภาคเอกชนเริ่มพัฒนาสินเชื่อสําหรับวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมแต่ผู้ประกอบการยังมีข้อจํากัดที่ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งทุน ได้แก่ ความพร้อมด้านบัญชี ธุรกิจที่ได้มาตรฐาน มาตรฐานด้านการจัดการ รวมถึงไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลความรู้ทางการเงินเพื่อใช้ในการวาง แผนการขอสินเชื่อ อีกทั้งไม่มีหลักทรัพย์ค้ําประกันหรือมีหลักทรัพย์ในการค้ําประกันไม่เพียงพอ ในขณะที่สถาบัน การเงินขาดความเชื่อมั่นในการปล่อยสินเชื่อแก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมส่งผลให้ปริมาณสินเชื่อของสถาบัน การเงินต่ํากว่าความต้องการสินเชื่อของผู้ประกอบการที่มีค่อนข้างมาก รวมถึงหลักเกณฑ์การพิจารณาสินเซื่อไม่ เหมาะสมสอดคล้ อ งกั บ ลั ก ษณะการทํ า ธุ ร กิ จ ของวิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่ อ ม ขณะที่ ร ะบบสนั บ สนุ น ด้านการเงิน รวมถึงกฎเกณฑ์เงื่อนไขต่างๆ ไม่เหมาะสม เช่น กฎระเบียบที่ไม่เอื้อแก่สถาบันการเงินในการปล่อย สินเชื่อให้แก่ผู้ประกอบการ และระบบการค้ําประกันที่ปัจจุบันยังเน้นการใช้หลักทรัพย์หรือบุคคลค้ําประกัน ความสามารถในการเข้าถึ งตลาด ด้วยข้อจํากัดทางด้านเงินทุน ทําให้วิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อมไม่สามารถดําเนินกิจกรรมการตลาดเชิงรุกในตลาดที่มีศักยภาพทางการแข่งขันได้มากนัก ขาดการเข้าถึง ข้อมูลการตลาดเชิงลึก ทั้งข้อมูลคู่แข่งขันและข้อมูลพฤติกรรมผู้บริโภคซึ่งในปัจจุบันมีความซับซ้อนและมีความ ต้องการที่หลากหลายมากขึ้น รวมถึงแนวโน้มการบริโภคที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ขาดตัวแทนการค้าที่รวบรวม สินค้าส่งหรือจัดจําหน่ายทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ขาดโอกาสทางการตลาด เช่น ตลาดจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ การสร้างช่องทางการตลาดด้วยตนเอง หรือโอกาสทางการตลาดที่เกิดจากพันธมิตรทางการค้า ขาดสถานที่จําหน่าย และแสดงสินค้าอย่างถาวร และมีศักยภาพทางธุรกิจ สิ่งสําคัญอีกด้านคือ สินค้าและบริการของผู้ประกอบการยังไม่ เป็นที่เชื่อถือของตลาด ขาดการสร้างภาพลักษณ์ของสินค้าและบริการทั้งในด้านรูปแบบที่ดึงดูดใจ เครื่องหมาย การค้า/ตรายี่ห้อสินค้า ผู้ประกอบการมีการนําเทคโนโลยีการสื่อสารใช้เพื่อการตลาดและการประชาสัมพันธ์สินค้า หากแต่ยังขาดความรู้ความเข้าใจด้านการทําธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ขาดการวางแผนการตลาด และยังมีข้อจํากัด ในด้านการเข้าถึงการสนับสนุนกิจกรรมด้านการตลาดของภาครัฐอย่างทั่วถึง และเท่าเทียมกัน ความสามารถในด้ า นเทคโนโลยี แ ละนวั ต กรรม วิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่ อ มของไทย ยังขาดความตระหนักและความสนใจการใช้เทคโนโลยีและการทําวิจัย นวัตกรรม โดยมีความเข้าใจว่าเป็นการเพิ่ม ต้นทุ น ในการทํ าธุ ร กิ จ มากกว่ าเป็ น การลงทุ น เพื่ อ ให้ ได้ ผ ลตอบแทนในอนาคต ขาดองค์ ค วามรู้ใ นการยกระดั บ เทคโนโลยี และนวัตกรรมซึ่งอยู่ในขั้นการเป็นผู้พัฒนาเริ่มต้นให้สูงขึ้น หากแต่เป็นการนําเทคโนโลยีที่ซื้อมาและ ดัดแปลงจากต้นฉบับหรือเลียนแบบ ไม่ก้าวไปสู่ขั้นการคิดค้นนวัตกรรม ขาดเงินทุนในการทําวิจัยและพัฒนาซึ่งต้อง ใช้ เงิ นทุนสู ง และให้ ผลตอบแทนไม่ เร็วนั ก นอกจากนั้น ยั งไม่ส ามารถเข้าถึง ข้อมูลงานวิ จัยด้านเทคโนโลยีแ ละ นวัตกรรมของสถาบันการศึกษา หรือสถาบันวิจัยที่สามารถนําไปใช้ในเชิงพาณิชย์ได้อย่างเหมาะสม ขาดการพัฒนา บุคลากรที่จะเป็นพี่เลี้ยง ที่ปรึกษาให้มีปริมาณที่เพียงพอและมีคุณภาพที่เหมาะสม ขาดความรู้ความเข้าใจด้านการ คุ้มครอง การวิจัย เทคโนโลยี นวัตกรรม ในขณะที่มาตรการจูงใจและสิทธิประโยชน์จากภาครัฐ เพื่อกระตุ้นส่งเสริม

3-3


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)

ให้เกิดการยกระดับการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรมที่เหมาะสมกับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ยังมีค่อน ข้างน้อย ความสามารถในด้ า นสภาวะแวดล้ อ มทางกฎหมาย กฎระเบี ย บ วิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและ ขนาดย่อมไทย ยังขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับในการดําเนินธุรกิจส่งผลให้เกิดการ หลีกเลี่ยงปฎิบัติตามกฏหมาย กฏระเบียบ ตลอดจนมีข้อจํากัดด้านเงินทุนสําหรับค่าใช้จ่ายเพื่อว่าจ้างดําเนินการแทน ด้านการบริหารจัดการที่ได้รับผลกระทบจากอุปสรรคทางด้านกฏหมาย และข้อบังคับต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ด้านการขออนุญาต การจดทะเบียน ด้านภาษีอากร ด้านการทําธุรกรรมการค้าประเภทใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น หรือค่าปรับ จากการไม่สามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบ ทําให้ผู้ประกอบการมีต้นทุนที่สูงขึ้น เป็นต้น นอกจากนี้ กระบวนการ ปรับปรุงทบทวนหรือกําหนดกฎหมายใหม่ที่เอื้อต่อการประกอบธุรกิจ และสอดคล้องกับสภาวการณ์ในปัจจุบัน ยังดําเนินการไปอย่างล่าช้า ข้อจํากัดในด้านธรรมาภิบาล วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย ขาดจิตสํานึกและการตระหนัก ถึงความสําคัญของการดําเนินธุรกิจอย่างเป็นธรรม ทั้งต่อลูกค้า พันธมิตรทางธุรกิจ ลูกจ้างแรงงาน ชุมชนและ สิ่งแวดล้อมของสถานประกอบการ ซึ่งมีมิติที่เกี่ยวข้องทั้งด้านคุณภาพ ความปลอดภัยและอาชีวอนามัย รวมทั้ง ผู้ประกอบการส่วนใหญ่มองเป็นเรื่องไกลตัว และเป็นการเพิ่มต้นทุนให้แก่ธุรกิจจึงให้ความสําคัญค่อนข้างน้อย ซึ่งในปั จจุบัน เรื่ องธรรมาภิบาลและความรับผิดชอบต่ อสังคม กลายเป็ นปัจจัยสําคัญ ที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ โดยเฉพาะในธุรกิจการค้าและการส่งออก โดยถือเป็นกติกาการค้าใหม่ของโลก ทําให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาด ย่อมของไทยเสียเปรียบในเชิงการแข่งขันและมีต้นทุนสูงขึ้น ผู้ประกอบการไทยจําเป็นต้องพัฒนาด้านธรรมาภิบาล และการบริหารงานที่ดี เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ พัฒนาความสามารถด้านการผลิตสินค้าและบริการให้มีมาตรฐานเป็นที่ ยอมรับในสากล เพื่อรับมือกับกติกาการแข่งขันของเวทีการค้าโลก โอกาส (Opportunities) กระบวนทั ศ น์ ใ นการทํ า ธุ ร กิ จ สมั ย ใหม่ เ อื้ อ ต่ อ การประกอบการวิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและ ขนาดย่อมไทย จากแนวโน้มของการประกอบธุร กิจในปั จจุบันที่ธุร กิจขนาดใหญ่ เริ่ม ดํ าเนินนโยบายลดต้ นทุน โดยการกระจายงานที่ไม่ใช่กิจกรรมหลักให้กิจการอื่นดําเนินการมากขึ้น ซึ่งถือเป็นปัจจัยเอื้อต่อการประกอบการ ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทยในการดําเนินธุรกิจแบบรับช่วงต่อ หรือผู้รับช่วงการผลิต หรือการเป็น เครือข่ายทางธุรกิจ รวมทั้งการใช้ระบบเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาช่วยในการเป็นเครื่องมือดําเนินธุรกิจ ซึ่งช่วยเพิ่ม ประสิทธิภาพ ลดต้นทุน และช่วยให้เข้าถึงตลาดได้อย่างรวดเร็วและตรงกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น ความร่วมมือระหว่างประเทศจากการเปิดเสรีทางการค้าและความตกลงการค้าเสรี ซึ่งส่งผลให้ ตลาดการค้ า การลงทุ น ขยายตั ว ใหญ่ ขึ้ น มี ก ลุ่ ม เป้ า หมายหลากหลายมากขึ้ น การขยายตั ว ของตลาดส่ ง ออก อันเนื่องมาจากการทําข้อตกลงทางการค้ากับประเทศต่างๆ ทั้งจากการค้าภายในกลุ่มข้อตกลง และการค้ากับกลุ่ม เศรษฐกิจอื่นๆ โดยเฉพาะกับประเทศจีนและอินเดียที่เป็นตลาดใหญ่ ทั้งด้านการค้า การบริการ และการลงทุน รวมทั้งยังมีความร่วมมือด้านการศึกษาและการพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 3-4


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)

นอกจากนี้ ประเทศไทยมีภูมิประเทศที่เอื้อประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นการที่มีพื้นที่ติดชายฝั่งทะเล อีกทั้งตั้งอยู่กลาง ภูมิภาคอินโดจีนและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นจุดเชื่อมโยงเส้นทางขนส่งหลายสาย มีความพร้อมด้านเครือข่าย การขนส่งทางถนนที่สามารถเชื่อมโยงไปยังประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคอินโดจีนและจีนตอนใต้ได้ รวมถึงมีความ พร้อมในด้านโครงสร้างพื้นฐานโดยรวม จึงเป็นโอกาสสําหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทยในการขยาย โอกาสทางการตลาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสาขาที่ประเทศไทยมีขีดความสามารถในการแข่งขัน เช่น สาขาผลิตภัณฑ์ ยานยนต์ ผลิ ต ภั ณ ฑ์ อ าหาร อิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส์ รวมถึ ง ภาคบริ ก าร เช่ น สาขาการท่ อ งเที่ ย ว การบริ ก าร สุ ข ภาพ และสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ แนวโน้มการบริโภคและโครงสร้างทางสังคมที่เปลี่ยนไป ปัจจุบันผู้บริโภคในประเทศต่างๆ กําลัง อยู่ในกระแสนิยมบริโภคสินค้าและบริการที่เป็นธรรมชาติ อิงกับวัฒนธรรม สินค้าและบริการที่ส่งเสริมสุขภาพ และมีส่วนอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม สินค้าที่ช่วยสนับสนุนชุมชน รวมถึงกระแสนิยมความเป็นเอเซีย นอกจากนี้หลาย ประเทศทั่วโลกกําลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) โดยเฉพาะกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และหลายประเทศในยุโรป ซึ่งจากรายงานขององค์การสหประชาชาติพบว่า ในปี 2552 ทั่วโลกมีประชากร ประมาณ 6,830 ล้านคน โดยในจํานวนนี้เป็นผู้มีอายุมากกว่า 60 ปี ประมาณ 737 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 10.8 ของประชากรโลก และในปี 2593 หรืออีก 39 ปีข้างหน้า ประชากรโลกจะเพิ่มเป็น 9,150 ล้านคน และเป็นผู้สูงอายุ 2,000 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 21.9 ส่งผลให้ผู้สูงอายุกลายเป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่และมีกําลังซื้อสูงมาก ที่สุด จากกระแสนิยมข้างต้นและแนวโน้มดังกล่าว จึงเอื้อต่อความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยซึ่งมีความ เชี่ยวชาญด้านงานทักษะฝีมืออันมีรากฐานมาจากองค์ความรู้ที่เป็นภูมิปัญญา ศิลปวัฒนธรรม และมีความเชี่ยวชาญ ด้านงานบริการซึ่งสะท้อนมาจากคุณลักษณะของคนไทยที่มีความเป็นมิตรและมีจิตใจให้บริการ ซึ่งเป็นโอกาสของ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของไทยในการทําธุรกิจที่สอดคล้องตรงกับกระแสบริโภคต่างๆ ได้เป็นอย่างดี ทั้งในด้านสินค้าวัฒนธรรมเฉพาะกลุ่มสําหรับตลาดเฉพาะ สินค้าและบริการเพื่อสุขภาพและความงาม การท่องเที่ยว และสันทนาการ รวมถึงงานบริการที่ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคทางด้านจิตใจ ช่องทางในการลงทุน การระดมทุนของภาคธุรกิจมีมากขึ้นด้วยต้นทุนที่ต่ําลง จากกรณีค่าเงินบาท ที่ แ ข็ ง ค่ า ขึ้ น ในด้ า นหนึ่ ง ถื อ เป็ น ประโยชน์ สํ า หรับ ธุ ร กิ จ ในการสั่ งซื้ อ เครื่ อ งจั ก รใหม่ เพื่ อ ปรั บ ปรุ ง ประสิ ท ธิ ภ าพ ในการผลิต การนําเข้าวัตถุดิบหรือการลงทุนดําเนินกิจการในต่างประเทศ หรือกรณีการเปิดเสรีทางการเงินและการ รวมตัวทางด้านการเงินทําให้การเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศเพิ่มขึ้น สนับสนุนให้เกิดการใช้แหล่งทุนร่วมกัน ขณะเดียวกัน จากการบังคับใช้มาตรฐานใหม่ Basel II ซึ่งเป็นมาตรฐานในการกํากับสถาบันการเงินสําหรับประเทศ ไทยในปี 2551 ที่กําหนดให้น้ําหนักความเสี่ยงในการปล่อยกู้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และผู้กู้รายย่อย ลดลงจากเดิมและต่ํากว่าบริษัทขนาดใหญ่จะมีส่วนช่วยให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และผู้กู้รายย่อย สามารถเข้าถึงสินเชื่อจากสถาบันการเงินได้ง่ายขึ้น นโยบายรัฐให้ความสําคัญและสนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เศรษฐกิจชุมชน และ ธุรกิจที่มีแนวคิดสร้างสรรค์ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเป็นเรื่องซึ่งรัฐบาลไทยให้ความสําคัญ เนื่องจาก

3-5


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)

จํานวนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม คิดเป็นร้อยละ 99.8 ของวิสาหกิจทั้งหมด อีกทั้งยังมีบทบาทสําคัญต่อการ จ้างงาน การสร้างรายได้ และเป็นรากฐานทางเศรษฐกิจของประเทศ เห็นได้จากการพัฒนาเชิงโครงสร้างหลาย ประการ เพื่อการส่ งเสริม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของประเทศให้แ ข็ งแกร่ง อี กทั้งรัฐ บาลมีนโยบาย เร่งส่งเสริมธุรกิจที่มีแนวคิดสร้างสรรค์ โดยการสนับสนุนให้ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมสร้าง เอกลักษณ์ทางธุรกิ จ เหตุ ที่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ในประเทศไทยได้รั บความสนใจเพิ่ม ขึ้นเนื่องจากอุ ตสาหกรรม สร้างสรรค์มีสัดส่วนของรายได้ประชาชาติสูงถึงร้อยละ 10-11 ต่อปี และมีแนวโน้มการเติบโตสูงมาอย่างต่อเนื่อง อีกทั้ง จากรายงาน “Creative Economy Report 2008” ของสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและพัฒนา (United Nations Conference on Trade and Development: UNCTAD) แสดงให้เห็นถึงความสําคัญของ เศรษฐกิจสร้างสรรค์/อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ที่ปัจจุบันถือว่าเป็นสาขาที่มีการเติบโตสูงอย่างต่อเนื่องในการค้าโลก ตลอดช่วงระยะเวลาปี 2543-2548 การค้าในสินค้าและบริการเชิงสร้างสรรค์นี้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วถึงร้อยละ 8.7 ต่อปี มูลค่าการส่งออกสินค้าเชิงสร้างสรรค์ของโลกสูงถึง 424.4 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐในปี 2548 เพิ่มขึ้นจาก 227.5 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐในปี 2539 ในขณะที่ สาขาบริการเชิงสร้างสรรค์ก็มีการเติบโตในอัตราสูงถึงร้อยละ 8.8 ต่อปี ซึ่งแนวโน้มดังกล่าวปรากฎในเกือบทั่วทุกมุมโลก และคาดว่าจะยังคงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในทศวรรษหน้า โดยเฉพาะ ในประเทศพัฒนาแล้ว บางประเทศในภูมิภาคเอเซีย เช่น ประเทศเกาหลีใต้ได้รับประโยชน์จากสินค้าและบริการเชิง สร้างสรรค์นี้แล้วอย่างเห็นได้ชัด ภัยคุกคาม (Threats) ผลกระทบจากการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ การเปิดเสรี และประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน การมี ข้อตกลงทางการค้าในทุกระดับเพิ่มขึ้น ทําให้ระบบการค้าโลกมีความซับซ้อนมากขึ้น เนื่องจากความแตกต่างของ ข้อตกลงและกฎเกณฑ์ของแต่ละประเทศ มีมาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษีมากขึ้น ในขณะเดียวกันการกีดกัน ทางการค้าภายในภูมิภาคอาเซียนที่ลดลง ทําให้เกิดการแข่งขันทางธุรกิจสูงขึ้น ประกอบกับการเข้าสู่ตลาดเสรี ของกลุ่มประเทศเติบโตใหม่ ซึ่งมีฐานแรงงานต้นทุนต่ําและมีความอุดมสมบูรณ์ทางทรัพยากรธรรมชาติ ทําให้ความ ได้เปรียบในการแข่งขันวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทยลดลง ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสถานการณ์โลก ในปัจจุบันโลกเผชิญกับ ภัยพิบัติต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นภัยธรรมชาติ ภัยจากการก่อการร้าย สถานการณ์ความไม่สงบทางการเมือง โรคระบาด ร้ายแรง ซึ่งส่งผลให้เกิดวิกฤตในหลายด้าน ทั้งด้านทรัพยากรแหล่งน้ําแหล่งพลังงานแหล่งอาหาร ด้านเศรษฐกิจ ด้านการเมือง และด้านสังคม รวมถึงความผันผวนของเศรษฐกิจโลกและแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ย และภาวะเงินเฟ้อ ซึ่งล้วนส่งผลกระทบต่อวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ที่ขาดความสามารถในการจัดการ กับการเปลี่ยนแปลงและความผันผวนด้านต่างๆ การบริ หารจัดการของรัฐในการส่ง เสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย การส่ งเสริม วิ ส าหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่ อ ม ประกอบด้ ว ยหลายหน่ว ยงานดํ า เนิ น การ หากแต่ ดํ า เนิ น การตามบทบาท ภาระหน้าที่ของแต่ละหน่วยงานเท่านั้น ยังขาดเอกภาพในการกําหนดทิศทางการส่งเสริมและบูรณาการงานส่งเสริม 3-6


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)

ในระดับปฏิบัติการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการพัฒนาส่งเสริมร่วมกัน ภาครัฐมีการจัดสรรงบประมาณที่ทําให้เกิด การพัฒนาแบบแยกส่วน เนื่องจากจัดสรรงบประมาณให้แก่หน่วยงานต่างๆ โดยตรง และขาดการบูรณาการข้อมูล ของแต่ละหน่วยงาน รวมทั้งขาดข้อมูลผลการดําเนินงานของหน่วยงานต่างๆ เพื่อการประเมินผลสัมฤทธิ์และการ นําไปสู่การกําหนดนโยบายการส่งเสริมที่สอดคล้องต่อสถานการณ์ เอื้อต่อการดําเนินธุรกิจของวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม รวมทั้งขาดการติดตามและประเมินผลที่เชื่อมโยงทั้งระบบเข้าด้วยกัน ด้านกฎหมายและกฎระเบียบ สิทธิประโยชน์ต่างๆ มีความซับซ้อน อีกทั้งกระบวนการปรับปรุงเพื่อให้มีความทันสมัยและสอดคล้อง ต่อสถานการณ์ ดําเนินการล่าช้า

3-7


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)

บทท บทที​ี่ 4 กรอบแนวคิด ทิศทาง วิสัยทัศน์ และเป้าหมายการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย นอกเหนื อจากการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและภัยคุกคามของวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อมในบทที่ 3 แล้ว การจัดทําแผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559) ยังได้ดําเนินการพิจารณานโยบายและแผนพัฒนาต่างๆ เพื่อให้ทิศทางการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม มีความสัมพันธ์ สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาประเทศ แนวนโยบายของรัฐบาล อีกทั้งเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์การ พัฒนาอื่นๆ เพื่อกําหนดกรอบแนวคิด ทิศทางการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม แผนยุทธศาสตร์และนโยบายที่เกี่ยวข้อง ในส่วนนี้เป็นการทบทวนแผนยุทธศาสตร์และนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559) ยุทธศาสตร์กระทรวง อุตสาหกรรม ปี 2553-2556 แผนวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (พ.ศ.2555-2564) แผนพัฒนา กลุ่มจังหวัด ยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ปี 2553-2555 และยุทธศาสตร์เศรษฐกิจของหอการค้าไทย เพื่อกําหนดกรอบทิศทางการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม ดังนี้ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559) เป็ น แผนการพั ฒ นาเศรษฐกิจ โดยรวมของประเทศ มีร ะดับยุ ท ธศาสตร์ที่ชี้นํ าทิ ศ ทางการพัฒ นา วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมรวม 3 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ (1) ยุทธศาสตร์การสร้างเศรษฐกิจฐานความรู้และการ สร้ า งปั จ จั ย แวดล้ อ ม (2) ยุ ท ธศาสตร์ ก ารสร้ า งความเชื่ อ มโยงทางเศรษฐกิ จ และความมั่ น คงในภู มิ ภ าค และ (3) ยุทธศาสตร์การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มผลิตภาพ การผลิตรวมและในแต่ละภาคการผลิต เพิ่มสัดส่วนมูลค่าภาคบริการและสินค้าเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และประเทศไทย มีความสามารถในการแข่งขันสูงขึ้น ดังนี้ 1. ยุ ท ธศาสตร์ ก ารสร้ า งเศรษฐกิ จ ฐานความรู้ แ ละการสร้ า งปั จ จั ย แวดล้ อ ม โดยมี แ นวทาง ที่เกี่ยวข้องกับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ได้แก่ - พัฒนาผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูปที่มีมูลค่าเพิ่มสูงและมีโอกาสทางการตลาด รวมถึงสนับสนุน การวิจัยและพัฒนาด้านการผลิตและแปรรูปผลิตภัณฑ์เกษตร เพื่อเพิ่มผลิตภาพการผลิต และมู ล ค่ า ผลผลิ ต ทางการเกษตรให้ ส ามารถแข่ ง ขั น ได้ ใ นระยะยาวโดยไม่ ก ระทบ ต่อทรัพยากรธรรมชาติและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

4-1


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)

- เพิ่มผลิตภาพและประสิทธิภาพภาคอุตสาหกรรม สร้างนวัตกรรมเพื่อมุ่งสู่การเป็นอุตสาหกรรม เชิงสร้างสรรค์และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พัฒนาคุณภาพทุนมนุษย์ผ่านระบบการฝึกอบรม องค์ความรู้และทักษะอย่างต่อเนื่อง สนับสนุนให้มีการเชื่อมโยงการผลิตภาคอุตสาหกรรม กั บ อุ ต สาหกรรมท้ อ งถิ่ น และกระจายการพั ฒ นาอุ ต สาหกรรมไปสู่ ภู มิ ภ าค เสริ ม สร้ า ง ธรรมาภิบาลด้วยการใช้กฎระเบียบต่างๆ ที่โปร่งใสตรวจสอบได้ - สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสาขาธุรกิจบริการที่มีศักยภาพ ขยายฐานการผลิตและการตลาดภาคธุรกิจ บริ ก ารที่ มี ศั ก ยภาพออกสู่ ต ลาดต่ า งประเทศ เสริ ม สร้ า งขี ด ความสามารถในการแข่ ง ขั น ของธุรกิจบริการบนฐานความเป็นไทย สร้างนวัตกรรมและต่อยอดองค์ความรู้ เสริมสร้างความ เข้มแข็งของผู้ประกอบการรายย่อย และวิสาหกิจชุมชนในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว - ศึกษาวิจัยและพัฒนากลุ่ มผลิ ตภั ณฑ์ เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ส่งเสริมการใช้ ค วามสร้างสรรค์ เพื่ อ เพิ่ ม มู ล ค่ า สิน ค้ า และบริ ก าร พั ฒ นาบุ ค ลากรให้ ส ามารถตอบสนองความต้ อ งการของ ภาคการผลิ ต และบริ ก ารทั้ ง ในระดั บ วิ ช าชี พ เชิ ง สร้ า งสรรค์ และผู้ ป ระกอบการให้ มี ค วาม คิดสร้างสรรค์ เพื่อช่วยสร้างงานสร้างรายได้ - พั ฒ นาทั ก ษะและองค์ ค วามรู้ ข องผู้ ป ระกอบการในภาคการผลิ ต และการค้ า เสริ ม สร้ า ง ประสิ ท ธิ ภาพด้ า นการตลาด และเร่ ง รัด การใช้ป ระโยชน์จ ากข้ อ ตกลงที่ มีผ ลบั งคั บใช้ แ ล้ ว เพื่อลดผลกระทบจากการพึ่งพาตลาดหลัก และแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานและวัตถุดิบ ในประเทศ - ผลักดันให้มีการนํางานวิจัยไปต่อยอด ถ่ายทอด และประยุกต์ใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ - ผลักดันให้มีการประกาศใช้กฎหมายใหม่ๆ เพื่อรองรับการเปิดเสรีทางการค้า 2. ยุทธศาสตร์การสร้างความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจและความมั่นคงในภูมิภาค โดยมีแนวทาง ที่เกี่ยวข้องกับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ได้แก่ การขยายความร่วมมือภายใต้กรอบความร่วมมือต่าง ๆ และความเป็นหุ้นส่วนกับประเทศคู่ค้าของไทยในภูมิภาคต่างๆ พัฒนาเขตเศรษฐกิจชายแดนและเมืองชายแดน โดยเฉพาะการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ มาตรฐานการให้บริการและการอํานวยความสะดวกบริเวณจุดผ่านแดน ขีดความสามารถของบุคลากรและผู้ประกอบการท้องถิ่นเพื่อการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 3. ยุ ท ธศาสตร์ ก ารจั ด การทรั พ ยากรธรรมชาติ แ ละสิ่ ง แวดล้ อ มอย่ า งยั่ ง ยื น โดยมี แ นวทาง ที่ เกี่ ยวข้ องกั บวิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่อ ม ได้แ ก่ การปรั บ ระบบการผลิตของภาคอุ ต สาหกรรมให้เป็ น มิ ต รกั บ สิ่ ง แวดล้ อ มตลอดห่ ว งโซ่ อุ ป ทานการผลิ ต สร้ า งโอกาสทางการตลาดให้ กั บ สิ น ค้ า หรื อ บริ ก ารที่ เ ป็ น มิตรต่อสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมภาคบริการให้เป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจ เพื่อขับเคลื่อนการผลิตและบริโภคของประเทศ ไปสู่การเป็นสังคมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และสร้างภูมิคุ้มกันและเตรียมความพร้อมในการรองรับและปรับตัว ต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ

4-2


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)

ยุทธศาสตร์กระทรวงอุตสาหกรรม ปี 2553-2556 เป็ น ยุ ท ธศาสตร์ ที่ มุ่ ง สนั บ สนุ น ให้ อุ ต สาหกรรมมี ก ารพั ฒ นาอย่ า งยั่ ง ยื น และพั ฒ นาไปในทิ ศ ทาง ที่วางเป้าหมายไว้ คือ การเป็นอุตสาหกรรมที่มีการสร้างคุณค่าอย่างยั่งยืนโดยสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจจากการ พัฒนาฐานความรู้และนวัตกรรม พร้อมสร้างห่วงโซ่คุณค่าด้วยการเชื่อมโยงกับภาคเศรษฐกิจ ทั้งภาคเกษตรและ ภาคบริการ ในขณะเดียวกันต้องมีการสร้างคุณค่าอย่างยั่งยืนด้วยการเป็นภาคการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและ เป็นที่ยอมรับและสร้างสรรค์สังคมด้วย โดยประกอบด้วย 5 ยุทธศาสตร์ แต่ยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม คือ ยุทธศาสตร์ที่ 1-4 ดังนี้ 1. ยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างการผลิตและวางรากฐานอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์เพื่อการ พัฒนาที่ยั่งยืน โดยมีแนวทางที่เกี่ยวข้องกับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ได้แก่ การสร้างคุณค่าอย่างยั่งยืน จากการพัฒนาฐานความรู้และนวัตกรรม การปรับโครงสร้างการผลิตไปสู่อุตสาหกรรมเชิงสร้างสรรค์ พร้อมทั้งสร้าง ห่วงโซ่คุณค่าด้วยการเชื่อมโยงกับภาคเศรษฐกิจอื่นๆ ทั้งภาคเกษตรและภาคบริการในกลุ่มอุตสาหกรรมสนับสนุน พื้นฐาน (แม่พิมพ์ เหล็ก เครื่องจักรกล และพลาสติก) กลุ่มอุตสาหกรรมบนรากฐานการเกษตร (แปรรูปเกษตร ผลิตภัณฑ์ชีวภาพ) และกลุ่มอุตสาหกรรมเชิงสร้างสรรค์ (เฟอร์นิเจอร์ สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม) รวมทั้งการเพิ่ม ประสิทธิภาพการใช้วัตถุดิบและทรัพยากรธรรมชาติที่เชื่อมโยงกับภาคเกษตร 2. ยุทธศาสตร์การส่งเสริมการลงทุนและพัฒนาปัจจัยแวดล้อมให้เอื้อต่อการประกอบธุรกิจ และพัฒนาอุตสาหกรรม โดยมีแ นวทางที่เกี่ ยวข้องกับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ได้แ ก่ การปรับปรุง กฎหมาย กฎระเบี ย บ การจั ด การพื้ น ที่ อุ ต สาหกรรม การจั ด การโลจิ ส ติ ก ส์ การพั ฒ นาระบบเตื อ นภั ย และ การสนับสนุนสินเชื่อเพื่อการประกอบการ เพื่อกระตุ้นให้ธุรกิจขับเคลื่อนไปอย่างราบรื่น 3. ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างขีดความสามารถของภาคอุตสาหกรรมให้แข่งขันได้ทุกระดับ โดยมี แนวทางที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ วิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่ อ ม ได้ แ ก่ การสร้ า งผู้ ป ระกอบการใหม่ การพั ฒ นา ผู้ประกอบการเดิมให้มีศักยภาพเพื่อให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก การพัฒนาบุคลากร การเพิ่มผลิตภาพและ ประสิ ท ธิ ภ าพการผลิ ต การพั ฒ นาคุ ณ ภาพให้ ไ ด้ ต ามมาตรฐานสากล การเพิ่ ม ประสิ ท ธิ ภ าพการใช้ พ ลั ง งาน การเสริมสร้างความเข้มแข็งเครือข่ายวิสาหกิจ และการเชื่อมโยงอุตสาหกรรมขนาดใหญ่กับขนาดเล็ก 4. ยุทธศาสตร์การส่ง เสริมอุตสาหกรรมที่รับ ผิดชอบต่อสังคม บริหารจัดการทรัพ ยากรและ สิ่งแวดล้อมอย่างสมดุล โดยมีแนวทางที่เกี่ยวข้องกับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ได้แก่ การส่งเสริมการผลิต ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และบริหารจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมของท้องถิ่นให้เป็นที่ยอมรับและสร้างสรรค์ สังคมโดยเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน แผนวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (พ.ศ. 2555-2564) มีวัตถุประสงค์เพื่อการสร้างเสริมสังคมฐานความรู้ และสร้างเสริมขีดความสามารถของท้องถิ่นและ ชุมชน และยกระดับความสามารถในการเพิ่มประสิทธิภาพและผลิตภาพรายสาขา สร้างมูลค่าเพิ่ม สร้างคุณค่า และ

4-3


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)

นวัตกรรมรายสาขา มีการวางแผนและการปรับตัวต่อความเปลี่ยนแปลงและการกีดกันทางการค้า โดยมีเป้าหมาย ทางสังคม คือ ลดการนําเข้า และต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น มีเป้าหมายทางเศรษฐกิจ คือ ผลิตภาพขยายตัวร้อยละ 3 มูลค่าเพิ่มขยายตัวร้อยละ 5 และการใช้ประโยชน์จากการค้าเสรี การส่งออกขยายตัว มีเป้าหมายทางสิ่งแวดล้อมและ พลังงาน คือ ของเสียลดลงร้อยละ 5 และใช้พลังงานทดแทนร้อยละ 20 และมีเป้าหมายทางโครงสร้างพื้นฐาน คือ มี จํ า นวนนวั ต กรรมที่ นํ า ไปใช้ ใ นเชิ ง พาณิ ช ย์ เ พิ่ ม ขึ้ น และมี โ ครงสร้ า งพื้ น ฐานทางวิ ท ยาศาสตร์ แ ละเทคโนโลยี กระจายทั่วถึง ทั้งนี้ มียุทธศาสตร์สําคัญที่เกี่ยวข้องกับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่ 2 การเพิ่มขีดความสามารถ ความยืดหยุ่น และนวัตกรรมในภาคเกษตร ภาคผลิตและภาคบริการด้วยวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ใช้ วิ ท ยาศาสตร์ แ ละเทคโนโลยี เ พื่ อ การปรั บ โครงสร้ า งเศรษฐกิ จ ของประเทศให้ เ ป็ น การผลิ ต ฐานความรู้ มีความยืดหยุ่น สามารถแข่งขันได้ มีภูมิคุ้มกันความเสี่ยงจากความผันผวนของสภาพแวดล้อมในยุค โลกาภิวัตน์ บนพื้นฐานการบริหารเศรษฐกิจส่วนรวมอย่างมีประสิทธิภาพ ผลิตภาพ มูลค่าเพิ่มและสร้างสรรค์ มีการปรับโครงสร้างเกษตร อุตสาหกรรมการผลิตและธุรกิจบริการ บนฐานความรู้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและ นวัตกรรม ใช้จุดแข็งของความหลากหลายทางชีวภาพ ทุนทางวัฒนธรรมและเอกลักษณ์ความเป็นไทย ควบคู่กับการ เชื่อมโยงกับนานาชาติ ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการจัดการห่วงโซ่อุปทานและห่วงโซ่คุณค่าอันนําไปสู่ผู้สร้าง ตราสินค้าในระดับสากล แผนพัฒนากลุ่มจังหวัด การจํ าแนกกลุ่ม จั งหวั ด ให้ค วามสํา คัญ กั บ การเป็น เขตพื้ นที่ ติดต่ อกัน เนื่องจาก จั งหวั ดที่มี พื้น ที่ อยู่ติดกันจะมีลักษณะของพื้นที่ เศรษฐกิจและสังคมที่มีความใกล้เคียงกัน มีจุดอ่อนจุดแข็งในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ตลอดจนทรัพยากรธรรมชาติที่คล้ายคลึงกัน ทําให้ง่ายต่อการกําหนดยุทธศาสตร์การพัฒนา ให้บรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกันได้ นอกจากนั้น การที่อยู่ในภูมิภาคเดียวกัน ยังมีปัญหาและความต้องการคล้ายกัน สะดวกในการประสานงานและบูรณาการการพัฒนาในกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น การจัดทําแผนพัฒนากลุ่ม จังหวัดต้องคํานึงถึงความต้องการ ศักยภาพของประชาชนในท้องถิ่นในกลุ่มจังหวัด รวมถึง ความพร้อมของภาครัฐ และภาคธุ ร กิ จ เอกชน และยุ ท ธศาสตร์ ร ะดั บ ชาติ อี ก ทั้ ง มี ก ระบวนการรั บ ฟั ง หรื อ ให้ ป ระชาชนมี ส่ ว นร่ ว ม ในการกํา หนดความต้ อ งการในการพั ฒ นาพื้ น ที่ ข องกลุ่ ม จั งหวั ด มาพิ จ ารณาให้ เ กิ ดความผสมผสานไม่ ขั ด แย้ ง ในด้ า นใดด้า นหนึ่ ง ทั้ งนี้ แผนพั ฒ นากลุ่ ม จั ง หวัด ที่เกี่ ยวข้อ งในการส่ง เสริ ม วิ ส าหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่ อ ม สามารถสรุปได้ ดังนี้ 1. การเกษตร ประมงและอุตสาหกรรม โดย - พัฒนาผู้ประกอบการและแรงงาน โดยยกระดับองค์ความรู้ด้านการผลิต และการบริหารจัดการ ที่ มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ เพื่ อ สร้ า งขี ด ความสามารถให้ ผู้ ป ระกอบการรายเดิ ม รวมถึ ง การสร้ า ง ผู้ ป ระกอบการใหม่ การพั ฒ นาทั ก ษะฝี มื อ แรงงาน รวมถึ ง พั ฒ นาแรงงานให้ ไ ด้ ม าตรฐาน ตรงตามความต้องการของตลาดแรงงาน - พัฒนาระบบการผลิตและการบริหารจัดการ ให้มีประสิทธิภาพโดยคํานึงถึงสิ่งแวดล้อมและ ความปลอดภัยของสินค้าเกษตร เกษตรอุตสาหกรรม อุตสาหกรรม 4-4


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)

- ส่งเสริมสินค้าที่มีลักษณะเฉพาะถิ่น และมีศักยภาพทางการตลาด รวมถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยการแปรรูปและสร้างมูลค่าเพิ่ม ด้วยงานวิจัยและพัฒนา อีกทั้งพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ ให้ได้มาตรฐาน พัฒนาบรรจุภัณฑ์และตราสัญลักษณ์ - พัฒนาและส่งเสริมการตลาด ช่องทางการจําหน่าย รวมถึงระบบการกระจายสินค้าโดยการ พัฒนาระบบโลจิสติกส์ทั้งทางบกและทางน้ํา - ส่งเสริมการเชื่อมโยงการเกษตร ประมงและอุตสาหกรรม โดยสร้างความพร้อมด้านวัตถุดิบ ที่จําเป็นต่อภาคอุตสาหกรรม ด้วยการพัฒนาการผลิตวัตถุดิบให้มีความพร้อมทั้งด้านคุณภาพ และปริมาณ การแปรรูปวัตถุดิบเพื่อสนับสนุนต่อภาคอุตสาหกรรม รวมถึงส่งเสริมการรวมกลุ่ม การสร้างเครือข่าย เช่น เครือข่ายผู้ประกอบการ เครือข่ายการศึกษาและประสานการพัฒนา เทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาการผลิต 2. การท่องเที่ยว โดย - พั ฒ นาบุ ค ลากรด้ า นการท่ อ งเที่ ย ว ด้ ว ยความร่ ว มมื อ ของสถาบั น การศึ ก ษาในพื้ น ที่ เพื่อตอบสนองต่อการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว - พัฒนาและยกระดับแหล่งท่องเที่ยวภายใต้ศักยภาพของสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม สังคม และ ชุมชน เช่น การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ฯลฯ รวมถึ ง การพั ฒ นาบริ ก ารด้ า นการท่ อ งเที่ ย ว และเสริ ม สร้ า งระบบรั ก ษาความปลอดภั ย แก่นักท่องเที่ยว - พัฒนาด้านการตลาดและการประชาสัมพันธ์ - ส่ ง เสริ ม การเชื่ อ มโยงการท่ อ งเที่ ย ว ทั้ ง การเชื่ อ มโยงแหล่ ง ท่ อ งเที่ ย วในกลุ่ ม จั ง หวั ด การเชื่อมโยงการท่ องเที่ยวกับประวัติศ าสตร์ วัฒนธรรม ธรรมชาติ และเกษตร ตลอดจน การเชื่อมโยงการท่องเที่ยวกับผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น รวมถึงส่งเสริมการพัฒนาเครือข่าย การท่องเที่ยว เครือข่ายการจัดการความรู้ เครือข่ายการบริหารจัดการการท่องเที่ยว - ปรั บปรุ งโครงสร้ า งพื้ นฐานและสิ่งอํ านวยความสะดวก เส้นทางคมนาคมเชื่ อมโยงจั งหวั ด และกลุ่มจังหวัด 3. เศรษฐกิ จชายแดน โดยส่ งเสริม และพั ฒนาการค้า การท่องเที่ย ว การลงทุน และการศึก ษา เชื่อมโยงทางด้านชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้าน สร้างความร่วมมือและพันธมิตรทางธุรกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน รวมถึงพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานบริเวณเมืองชายแดนและด่านชายแดน เพื่อสนับสนุนโครงข่ายระบบคมนาคมขนส่ง และระบบโลจิสติกส์ ตลอดจนจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม จัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษและยกระดับจุดผ่อนปรนให้เป็น จุดผ่านแดนถาวร รวมถึงบริหารจัดการกฎระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

4-5


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)

ยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ปี 2553-2555 เป็นยุทธศาสตร์ที่มุ่งเน้นการเสริมสร้างการพัฒนาศักยภาพภาคอุตสาหกรรมและวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคอย่างบูรณาการ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันให้เทียบเท่า ระดับสากล และเตรียมความพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงในบริบทการค้าโลก โดยเฉพาะแนวนโยบายการเสริมสร้าง กลไกการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมให้มีความยั่งยืน อยู่ร่วมกับภาคสังคมได้อย่างแท้จริง รายละเอียดดังนี้ 1. ยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมไทยในแนวทางการสร้างมูลค่า (Value Creation) ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยการส่งเสริมด้านงานวิจัย การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ ด้วยการ กําหนดทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรมในการสร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่มด้วยการเพิ่มขีดความสามารถด้านเทคโนโลยี และนวัตกรรม การส่งเสริมการเชื่อมโยงระหว่างอุตสาหกรรมซึ่งยังไม่มีการผลิตภายในประเทศหรือมีไม่เพียงพอ (Missing Link) ทั้งเทคโนโลยี นวัตกรรม การออกแบบผลิตภัณฑ์ และการทดสอบทางห้องปฏิบัติการ (Laboratory Test) รวมถึงการส่งเสริมให้มีห้องทดสอบผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐาน การสนับสนุนการกระจายงานวิจัยนวัตกรรม สู่ภาคอุตสาหกรรมทั่วประเทศ และการส่งเสริมสนับสนุนการเพิ่มศักยภาพของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ให้มีความสามารถในการพัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์ได้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องและระยะยาว อีกทั้งทบทวนการ พัฒนานโยบาย กฎหมาย กฎระเบียบ และสิทธิประโยชน์เพื่อสร้างแรงจูงใจในการทําวิจัยและพัฒนา 2. ยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมให้อยู่ร่วมกับสังคมได้อย่างยั่งยืน โดยรณรงค์และเผยแพร่ แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจอุตสาหกรรมและชุมชนอย่างยั่งยืน สร้างโอกาสการมีส่วนร่วมของประชาชนและผู้มีส่วน ได้เสียในพื้นที่ รวมถึงการใช้ภาคอุตสาหกรรมเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนการพัฒนาแบบยั่งยืนโดยยึดหลัก บรรษัทภิบาล อีกทั้งสนับสนุนโครงการกิจการเพื่อสังคม (Social Enterprises) 3. ยุทธศาสตร์การพัฒนาการดําเนินธุรกิจในรูปแบบคลัสเตอร์และซัพพลายเชน โดยพัฒนาการ ดําเนินธุรกิจแบบคลัสเตอร์ให้กลุ่มอุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมจังหวัดมีการดําเนินการร่วมกัน จัดทําเป็นแผน แม่บทและแผนปฏิบัติการ รวมถึงมุ่งให้เกิดการเชื่อมต่อระหว่างผู้ประกอบการต้นน้ําถึงปลายน้ําในการแสวงหา โอกาสการทํ าธุ ร กิ จร่ วมกั น เชื่ อมโยงห่วงโซ่ก ารผลิต ระหว่า งการเกษตร อุต สาหกรรม บริ การ การท่ องเที่ย ว และการศึกษา โดยสร้างความร่วมมือให้เกิดมูลค่าเพิ่มต่อกัน และสามารถแข่งขันได้ในระดับภูมิภาคและระดับสากล พร้อมกับจัดทําระบบฐานข้อมูล (Database) อีกทั้งจัดตั้งคณะกรรมการที่แก้ปัญหาคลัสเตอร์แต่ละกลุ่มที่มีความ แตกต่างและกําหนดกลยุทธ์เรื่องคลัสเตอร์ของกลุ่มอุตสาหกรรมที่ชัดเจน สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล 4. ยุทธศาสตร์มาตรการเชิงรุกในเวทีโลกหลังเปิด FTA โดยส่งเสริมแนวทางสนับสนุนการส่งออก โดยการใช้สิทธิประโยชน์จากการเปิดเสรีทางการค้า ขยายตลาดส่งออกใหม่ รวมถึงขยายการลงทุน การค้าชายแดน ระดั บ อนุ ภู มิ ภ าค ภู มิ ภ าคและระดั บ นานาชาติ อี ก ทั้ ง เสริ ม สร้ า งศั ก ยภาพผู้ ป ระกอบการไทยในการเพิ่ ม ขี ด ความสามารถในการแข่ งขั นเพื่ อก้ า วสู่ ประชาคมเศรษฐกิ จอาเซียน ขณะเดียวกัน ผลักดั น ให้หน่วยงานภาครั ฐ ใช้ ม าตรการคุ้ ม ครองอุ ต สาหกรรมภายในที่ ไ ด้ รั บ ผลกระทบจากการเปิ ด เสรี แต่ ม าตรการดั ง กล่ า วต้ อ งไม่ ขั ด ต่อกฎระเบียบการค้าโลก 4-6


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)

5. ยุทธศาสตร์การสนับสนุนปัจจัยเอื้อต่อการประกอบธุรกิจอุตสาหกรรม โดยผลักดันให้เกิดการ ปรั บ โครงสร้ า งการสนั บ สนุ น ปั จ จั ย เอื้ อ เพื่ อ การอํ า นวยความสะดวกเรื่ อ งโครงสร้ า งพื้ น ฐานที่ จํ า เป็ น ต่อภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะการจัดตั้งศูนย์ทดสอบมาตรฐานสากลอย่างเพียงพอ รวมถึงเร่งรัดให้ภาครัฐทบทวน กฎระเบียบและพั ฒ นากฎหมายอย่า งต่ อเนื่ องให้ ทัน สมั ย สอดคล้ องกั บสภาพความเป็น จริงในการดําเนิ นธุร กิ จ ในปัจจุบัน 6. ยุทธศาสตร์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สู่ความยั่งยืนของอุตสาหกรรม โดยเพิ่มศักยภาพของ บุคลากรในภาคอุตสาหกรรม ทั้งผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม แรงงานในภาคอุตสาหกรรม นักเรียน นักศึกษาที่จะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของภาคอุตสาหกรรม ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อสอดรับกับการแข่งขัน ในปัจจุบัน อีกทั้งสร้างมาตรฐานวิชาชีพที่สามารถแข่งขันได้ในระดับสากล ยุทธศาสตร์เศรษฐกิจของหอการค้าไทย ยุทธศาสตร์ได้มุ่งเน้นการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมด้านการเพิ่มขีดความสามารถ ในการแข่งขัน ใน 7 สาขาธุรกิจนําร่อง ได้แก่ ธุรกิจอาหาร สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม อัญมณีและเครื่องประดับ ก่อสร้าง ท่องเที่ยว บริการเพื่อสุขภาพ และการค้าชายแดน เพื่อเตรียมความพร้อมในการแข่งขันท่ามกลางการเปลี่ยนแปลง ของโลกที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยเน้นการบูรณาการทั้งในมิติของพื้นที่และรายสาขาธุรกิจ โดยผ่านกลไกความ ร่วมมือของภาครัฐและเอกชน ทั้งระดับชาติ กลุ่มจังหวัดและจังหวัด ประกอบด้วย 6 ยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการ ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ดังนี้ 1. ยุทธศาสตร์การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน มุ่งเน้นการสร้างพันธมิตรทางการค้าและ การลงทุน การสร้างโอกาสเพื่อรุกตลาดใหม่และรักษาตลาดเก่า การเสริมสภาพคล่องทางการเงิน การสร้างมาตรฐาน และการศึกษาวิจัยและพัฒนา มีเป้าหมายเพื่อผลักดันให้ประเทศไทยมีขีดความสามารถในการแข่งขันในอันดับ ที่สูงขึ้นเมื่อเทียบกับประเทศคู่แข่งขัน 2. ยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ มุ่งเน้นการสร้างภูมิคุ้มกันและป้องกันความเสี่ยง รวมทั้งการใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าต่างๆ อย่างเต็มที่ การปรับปรุงแก้ไขกฎระเบียบเพื่อลดอุปสรรคทางการค้า การสร้างผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ทันสมัย การผลักดันการใช้พลังงานทดแทน การปรับปรุงระบบโลจิสติกส์โดยเฉพาะ ระบบรางและระบบทางน้ํา และการส่งเสริมหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีเป้าหมายเพื่อปรับปรุงพื้นฐานของ ประเทศไทยให้แข็งแกร่ง และเตรียมความพร้อมในการแข่ งขันท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของโลกที่จะเกิดขึ้น ในอนาคต 3. ยุทธศาสตร์การพัฒนาทักษะและองค์ความรู้ มุ่งเน้นการสร้างความชํานาญและทักษะเฉพาะ ด้านสําหรับแรงงาน การถ่ายทอดองค์ความรู้รุ่นสู่รุ่น มีเป้าหมายเพื่อแรงงานไทยมีมาตรฐานฝีมือเป็นที่ยอมรับ ของนานาประเทศ 4. ยุ ท ธศาสตร์ ก ารส่ ง เสริ มจริย ธรรมและธรรมาภิบ าล มุ่ง เน้น เรื่องความรั บผิดชอบต่ อ สังคม เพื่อสังคมเป็นสุข มีเป้าหมายเพื่อสร้างเศรษฐกิจธุรกิจให้ขาวสะอาด มีความเป็นธรรม สังคมเป็นสุข

4-7


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)

5. ยุทธศาสตร์การรักษาสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิต มุ่งเน้นการสร้างจิตสํานึก การตรวจสอบ และประเมินสภาพแวดล้อม มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมการค้าและการลงทุนที่รักษาสิ่งแวดล้อมและพัฒนาคุณภาพชีวิต 6. ยุทธศาสตร์การป้องกันและเฝ้าระวัง มุ่งเน้นการมีระบบเฝ้าระวังและเตือนภัย (Early Warning System) ติดตามภาวะเศรษฐกิจ ธุรกิจ และการค้าระหว่างประเทศ มีเป้าหมายเพื่อเตรียมความพร้อมในการรับมือ กับสถานการณ์ต่างๆ ที่ไม่คาดคิด นอกเหนื อ จากแผนยุ ท ธศาสตร์ แ ละนโยบายที่ ก ล่ า วถึ ง ข้ า งต้ น ยั ง ได้ ศึ ก ษาแผนยุ ท ธศาสตร์ ของหน่ ว ยงานภาครั ฐ ต่ า งๆ ที่ ไ ด้ ดํ า เนิ น การเกี่ ย วข้ อ งกั บ การส่ ง เสริ ม วิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่ อ ม เช่น กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงคมนาคม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงาน กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวง วัฒนธรรม กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงการท่องเที่ยว และกีฬา กระทรวงสาธารณสุข และธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นต้น เพื่อเชื่อมโยงความสอดคล้องอันจะนําไปสู่ การบูรณาการทํางานร่วมกันของหน่วยงานต่างๆ จากการทบทวนและพิ จ ารณาแผนยุ ท ธศาสตร์ แ ละนโยบายที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ การส่ ง เสริ ม วิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่อม มีสาระสําคัญ ซึ่งสามารถนํามาใช้เป็นกรอบแนวคิดในการจัดทําแผนการส่งเสริมวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559) ดังนี้ 1. ปรั ช ญาเศรษฐกิ จ พอเพี ย ง เป็ น นโยบายที่ สํ า คั ญ ในการส่ ง เสริ ม วิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและ ขนาดย่อมไทย เนื่องจากปัญหาที่เกิดขึ้นส่วนหนึ่งมาจากการที่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไม่ได้บริหารจัดการ อย่างพอประมาณภายใต้เหตุและผลที่ควรคํานึงถึงอย่างรอบคอบ ขาดระบบภูมิคุ้มกันที่ดี ทําให้ได้รับผลกระทบจาก การเปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอกอย่างเต็มที่ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจึงช่วยเสริมแนวคิดของการ ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในเชิงการสร้างความเติบโตทางเศรษฐกิจได้อย่างยั่งยืนและเข้มแข็ง เป็น การผสมผสานระหว่ างการนําศักยภาพที่มีอยู่ภายในปรั บ ให้สามารถรองรับผลกระทบและปั จจัยภายนอก เพื่อผลักดันให้การดําเนินธุรกิจประสบความสําเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2. หลักความสมดุล เป็นนโยบายเพื่อสร้างความสมดุลระหว่างการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและ สิ่งแวดล้อม การพัฒนาเมืองกับชนบท การพัฒนาระหว่างภาคเกษตร อุตสาหกรรมและบริการ ให้เกิดการพัฒนา ไปพร้อมกัน เอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน โดยไม่ส่งผลกระทบและไม่ละเลยการพัฒนาด้านหนึ่งด้านใดไป หลักความ สมดุล จึงช่วยให้ วิสาหกิ จขนาดกลางและขนาดย่อมพั ฒนาอย่ างมีคุณภาพ ผลิตสินค้าและบริ การตามศักยภาพ การผลิตในพื้นที่ โดยเน้นความได้เปรียบเชิงแข่งขันควบคู่กับผลิตภาพ (Productivity) รวมถึงเพิ่มผลผลิตที่เป็น มิ ตรกับสิ่ งแวดล้ อม นอกจากนั้ น ยั งส่ งเสริ ม ให้วิสาหกิ จขนาดกลางและขนาดย่อมรู้จั ก ปรับตัว สร้ างภูมิคุ้ ม กั น ทางเศรษฐกิ จ และสั ง คมจากปั จ จั ย สนั บ สนุ น ภายในโดยคํ า นึ ง ถึ ง ขี ด จํ า กั ด และความสามารถในการรองรั บ ของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมด้วยการพัฒนาและการบริหารจัดการเศรษฐกิจระดับฐานรากอย่างครบวงจร โดยมีสินค้าภูมิปัญญาท้องถิ่นที่หลากหลาย มีการดํารงไว้ซึ่งศิลปวัฒนธรรมและเอกลักษณ์อันเป็นมรดกดีงามของชาติ ตลอดจนกระจายการพัฒนาอย่างเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ําทั้งด้านรายได้และความเจริญ สร้างโอกาสการเข้าถึง กิจกรรมทางเศรษฐกิจ ปัจจัยการผลิต และโครงสร้างพื้นฐานของรัฐอย่างทั่วถึง 4-8


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)

3. การสร้างเศรษฐกิจฐานความรู้ ซึ่งเป็นระบบเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยความรู้ นวัตกรรม ซึ่งถือ ว่าเป็นทรัพยากรที่มีอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์ กล่าวคือ ไม่มีการขาดแคลน ใช้แล้วไม่หมดไป โดยเน้นการสร้างองค์ความรู้ ซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเพื่อรองรับกระแสโลกาภิวัตน์ เช่น การส่งเสริมผู้คิดค้น นวั ต กรรม การส่ ง เสริ ม ผู้ ทํ า วิ จั ย และพั ฒ นา การส่ ง เสริ ม ผู้ ถ่ า ยทอดความรู้ สู่ ภ าคเศรษฐกิ จ สั ง คมและชุ ม ชน ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ดังนั้น การสร้างเศรษฐกิจฐานความรู้จะส่งผลให้ภาคเศรษฐกิจบรรลุ เป้าหมายการเพิ่มผลิตภาพ และภาคสังคมบรรลุเป้าหมายการเพิ่มคุณภาพชีวิต 4. นโยบายเศรษฐกิ จ เชิ ง สร้ า งสรรค์ เป็ น นโยบายเพื่ อ นํ า ศั ก ยภาพของประเทศมาใช้ ใ ห้ เ ป็ น ประโยชน์ อ ย่ า งเต็ ม ประสิ ท ธิ ภ าพ ซึ่ ง ก่ อ ให้ เ กิ ด แรงกระตุ้ น ในการนํ า แนวความคิ ด ด้ า นศิ ล ปวั ฒ นธรรมอั น เป็ น เอกลักษณ์ของไทยผนวกกับการใช้เทคโนโลยีมาพัฒนาสินค้าและบริการที่จะก่อให้เกิดผลประโยชน์ต่อเศรษฐกิจได้ อย่างมากมาย ซึ่งวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมสามารถนําแนวคิดนี้มาใช้ เพื่อก่อให้เกิดความโดดเด่น แตกต่าง และสร้างมูลค่าเพิ่มแก่ผลิตภัณฑ์และบริการ 5. นโยบายประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งส่งเสริมให้เกิดการขยายตัวในด้านการค้าและการลงทุน ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย เนื่องจากการเกิดตลาดในภูมิภาคที่มีขนาดใหญ่ มีการเคลื่อนย้ายปัจจัย การผลิตได้อย่างเสรีมากขึ้น อันจะทําให้ผู้ประกอบการไทยได้เริ่มปรับตัวและเตรียมความพร้อมกับสภาวะแวดล้อม ทางเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป ผู้ประกอบการจําเป็นต้องเร่งปรับตัวและใช้โอกาสที่เกิดจากการลดอุปสรรค ทางการค้าและการลงทุนต่างๆ ให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่ โดยเฉพาะสาขาที่ไทยมีความพร้อม และมีขีด ความสามารถในการแข่งขันสูง กรอบแนวคิด จากโครงสร้างของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สถานการณ์ ปัญหา และผลการพัฒนาที่ผ่านมา เมื่อนํามาประมวลโดยพิจารณาความสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์และนโยบายที่เกี่ยวข้องในระดับประเทศ นํามาสู่ การกําหนดกรอบแนวคิ ดของแผนการส่ งเสริมวิ สาหกิจขนาดกลางและขนาดย่ อมฉบั บที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559) ที่ต้องการให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเป็นพลังขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจไทย โดยให้ความสําคัญกับ การพัฒนาศักยภาพวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทยให้ดําเนินธุรกิจด้วยการใช้ความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม และเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม ด้วยการสนับสนุนทั้งในระดับสาขาธุรกิจ และระดับผู้ประกอบการ และ มุ่งเน้นการสนับสนุนตามระยะการเติบโตของธุรกิจ ได้แก่ ขั้นเริ่มต้นธุรกิจ (Start-up) ที่หมายถึงธุรกิจที่มีระยะเวลา การดําเนินธุรกิจไม่เกิน 3 ปี ขั้นเติบโต (Growth & Maturity) และขั้นการปรับเปลี่ยนธุรกิจ (Turn around) รวมถึง ครอบคลุมใน 2 มิติ คือ มิติของภาพรวมทั้งประเทศ และมิติของพื้นที่ เป็นรายจังหวัดและกลุ่มจังหวัดทั่วประเทศ เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายการกระจายความเจริญจากส่วนกลางสู่ภูมิภาคและยุทธศาสตร์การพัฒนาเชิงพื้นที่

4-9


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)

ทิศทางการส่งเสริม การพัฒนาวิสาหกิจของไทยที่ผ่านมา ให้ความสําคัญมุ่งเน้นที่การสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจเป็นหลัก ทําให้เกิดการส่งเสริมวิสาหกิจที่มีขนาดใหญ่ซึ่งเน้นการส่งออก เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน อุตสาหกรรม ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น ซึ่งประเทศไทยอาศัยความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบจากการแข่งขันที่ใช้ทุนและ ฐานแรงงานต้นทุนต่ําเป็นหลัก อย่างไรก็ตาม โอกาสที่จะได้เรียนรู้เทคโนโลยีหรือได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้จาก กระบวนการผลิตนั้นมีน้อยมาก นอกจากนี้ การมุ่งเน้นดังกล่าวยังส่งผลกระทบในเชิงสังคม วัฒนธรรมและ สิ่งแวดล้อม เช่น ปัญหามลภาวะ ปัญหาแรงงานต่างด้าวและแรงงานนอกระบบ ปัญหาการย้ายถิ่นของประชากรและ แรงงาน เป็นต้น ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า ทิศทางการส่งเสริมในระยะต่อไป ต้องมุ่งเน้นการสร้างความสมดุลเพื่อให้เกิด การพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนในระยะยาว โดยการพัฒนาต้องสอดคล้องกับศักยภาพของประเทศ ทั้งในด้านวัตถุดิบ และทรัพยากรภายในประเทศ คํานึงถึงมิติการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ มิติการสร้างคุณค่าทางสังคม วัฒนธรรม มิติการรักษาสิ่งแวดล้อม และมิติการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ อย่างสอดคล้องและเชื่อมโยงกัน ดังนั้ น ทิ ศทางการส่ งเสริ ม วิ สาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2555-2559) จึงมุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้เติบโตอย่างสมดุลและยั่งยืน ทั้งในด้านการ เสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทั้งในระดับวิสาหกิจรายย่อย วิสาหกิจขนาดย่อมและวิสาหกิจขนาดกลาง ซึ่งต้องสร้างสมรรถนะเพื่อแข่งขันในเชิงคุณภาพ ทั้งในด้านประสิทธิภาพ การสร้างสรรค์และนวัตกรรม รวมทั้งมุ่งเน้น ให้เกิดการรวมตัวและเชื่อมโยงกันทางธุรกิจเพื่อสร้างความแข็งแกร่งทางธุรกิจ ด้านการส่งเสริมบทบาทวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมในแต่ละพื้นที่ ซึ่งจะต้องคํานึงถึงสังคม วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุล รวมทั้ง สอดคล้องกับเอกลักษณ์ของแต่ละพื้นที่ ด้านการเสริมสร้างศักยภาพเพื่อเตรียมพร้อมและสร้างโอกาสจากการค้า และการลงทุนระหว่างประเทศ โดยภาครัฐ มีบทบาทสําคัญในการสนับสนุนด้านโครงสร้างพื้นฐานและการสร้าง สภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการดําเนินธุรกิจ ทั้งนี้ ปัจจัยความสําเร็จของการพัฒนาศักยภาพวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อ ม เพื่อ ให้ เ ป็ น พลั ง ขับ เคลื่ อ นเศรษฐกิจ ของประเทศได้ นั้น ยั ง ขึ้น อยู่ กับ ความจริ งจั งของภาครั ฐ ในการ ให้ความสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง ศักยภาพและความพร้อมของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม รวมถึงสถานการณ์ การเปลี่ยนแปลงที่มีผลกระทบในแต่ละช่วงเวลาด้วย

4-10


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)

วิสัยทัศน์การส่งเสริม พัฒนาศักยภาพวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย ให้เติบโตอย่างสมดุลและยั่งยืน เพื่อเป็น พลังขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจไทย พันธกิจ เพื่อให้การดําเนินงานของแผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ.25552559) มุ่งสู่วิสัยทัศน์ “พัฒนาศักยภาพวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย ให้เติบโตอย่างสมดุลและยั่งยืน เพื่อเป็นพลังขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจไทย” เห็นควรกําหนดพันธกิจของการพัฒนา ดังนี้ พันธกิจ 1 สนับสนุนปัจจัยเกื้อหนุนที่จําเป็นและเหมาะสมต่อวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย ทั้งภาคการผลิต การค้า และบริการ พันธกิจ 2 เสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทยโดย ใช้องค์ความรู้ ทักษะฝีมือ เทคโนโลยี นวัตกรรม ความคิดสร้างสรรค์และวัฒนธรรม พันธกิจ 3 ส่งเสริมบทบาทวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทยแต่ละพื้นที่ในการสร้างมูลค่าทาง เศรษฐกิจ โดยคํานึงถึงคุณค่าทางสังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุล พันธกิจ 4 ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย ให้มีศักยภาพในทางการค้าและการลงทุน ทั้งในและต่างประเทศ เป้าหมายการส่งเสริม เป้ าหมายของยุท ธศาสตร์ กํ าหนดให้สะท้อ นถึ งผลการดํา เนิ นงานของหน่ วยงานและสอดคล้อ ง กับนโยบายการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ซึ่งแผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559) ได้กําหนดเป้าหมายการส่งเสริม โดยพิจารณาจากข้อมูลในปัจจุบันประกอบกับผลการ ส่งเสริมที่ผ่านมา และการคาดการณ์จากแนวโน้มสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคมไว้ 5 ประการ ได้แก่ 1. วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมีการจดทะเบียนนิติบุคคลเพิ่มขึ้นและสามารถดําเนินธุรกิจได้ อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ไม่น้อยกว่า 250,000 วิสาหกิจ ภายในปี 2559 พิจารณาจากวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ดําเนินธุรกิจในภาคการผลิต ภาคการค้า ภาคบริการ ซึ่งจดทะเบียนนิติบุคคลกับกระทรวงพาณิชย์ 2. วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในสาขากลุ่มเป้าหมายได้รับการพัฒนาขีดความสามารถการ แข่งขันในเชิงลึกไม่น้อยกว่า 30,000 รายภายในปี 2559 พิจารณาจากวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาจากส่วน ราชการ หน่ ว ยงานภาครั ฐ องค์ ก รปกครองส่ ว นท้ อ งถิ่ น รั ฐ วิ ส าหกิ จ และองค์ ก ารเอกชนที่ เกี่ยวข้อง ในด้านต่างๆ เช่น • การวิเคราะห์ ประเมินศักยภาพของธุรกิจและนํามาใช้เพื่อกําหนดแนวทางการดําเนิน ธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ

4-11


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)

• • • • •

การพัฒนาการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ การพัฒนาเพื่อเพิ่มผลิตภาพและพัฒนาประสิทธิภาพในการดําเนินธุรกิจ การพัฒนามาตรฐานสินค้าและบริการ การพัฒนาสินค้าและบริการเพื่อให้เกิดคุณค่าและมูลค่าเพิ่ม การสร้างความพร้อมให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจ อาเซียน และการแข่งขันในระดับสากล 3. เครื อข่ายวิ สาหกิจของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมได้รั บการพัฒนาให้มีความเข้มแข็ง ไม่น้อยกว่า 60 เครือข่ายวิสาหกิจต่อปี ซึ่งเครือข่ายวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หมายถึง วิสาหกิจขนาดกลางและขนาด ย่อมที่มีการรวมกลุ่มกันโดยมีวัตถุประสงค์ที่จะร่วมมือกันหรือดําเนินกิจกรรมร่วมกัน โดยมีความ เชื่อมโยงกันระหว่างธุรกิจและเชื่อมโยงกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น หน่วยงานภาครัฐ สมาคม การค้า สถาบันการศึกษาและฝึกอบรม สถาบันวิจัยและพัฒนา เป็นต้น เพื่อพัฒนากิจการอัน ก่อให้เกิดประโยชน์แก่เศรษฐกิจและสังคมโดยรวม 4. ปัจจัยแวดล้อมในการดําเนินธุรกิจได้รับการพัฒนา ปรับปรุง แก้ไขให้ลดอุปสรรคและเอื้ออํานวย ความสะดวกในการดําเนินธุรกิจของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมากขึ้น ปั จ จั ย แวดล้ อ มในการดํ า เนิ น ธุ ร กิ จ ของวิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่ อ ม คือ โครงสร้างพื้นฐานที่ภาครัฐจัดขึ้นเพื่อลดอุปสรรคและอํานวยความสะดวกในการดําเนินธุรกิจ แก่วิสาหกิ จขนาดกลางและขนาดย่อมทุกกลุ่ม ทุกพื้นที่ เช่น กฎหมาย กฎระเบียบ การเงิน ข้อมูล วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การวิจัยและพัฒนา นวัตกรรม การตลาด เป็นต้น 5. การบริหารจัดการด้านงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม มีประสิทธิภาพและทํางาน เชิงบูรณาการ โดยที่ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้อง ทั้งในส่วนกลางและส่วน ท้องถิ่นอันได้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) คณะกรรมการบริหารงานจังหวัดแบบ บูรณาการ (ก.บ.จ.) และคณะกรรมการบริหารงานกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ (ก.บ.ก.) ได้รับการ เสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจทิศทางการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และได้นํา แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไปใช้เป็นแนวทางในการดําเนินงานตาม บทบาทหน้าที่ของหน่วยงานอย่างมีความเชื่อมโยง และเกื้อหนุนระหว่างกัน เพื่อให้เกิดการบูรณา การและพลังขับเคลื่อนอย่างมีทิศทางเดียวกัน การจัดทําแผนปฏิบัติการส่งเสริมวิสาหกิจขนาด กลางและขนาดย่อมโดยทุกภาคส่วนมีส่วนร่วม มีการวิเคราะห์ประเมินความคุ้มค่าของโครงการ ภายใต้แผนปฏิบัติการฯ รวมถึงมีการติดตาม ประเมินผลการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อมอย่างเป็นระบบ

4-12


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)

กลุ่มเป้าหมายการส่งเสริม เพื่อให้การส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมีประเภทกิจการที่ได้รับการส่งเสริมอย่างชัดเจน แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ.2555-2559) จึงได้กําหนดหลักเกณฑ์การคัดเลือก ดังนี้ เกณฑ์การคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายการส่งเสริม วิส าหกิ จกลุ่ม เป้าหมายที่ให้ ความสําคัญ เป็นพิเศษตามแผนการส่ งเสริม วิ สาหกิ จขนาดกลางและ ขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559) นี้ มุ่งเน้นไปที่สาขาธุรกิจที่มีจํานวนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมใน สัดส่วนสูง หรือมีแนวโน้มการขยายตัวของจํานวนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในอัตราที่สูง และมีเกณฑ์ เพิ่มเติม ดังต่อไปนี้ - เป็นสาขาธุรกิจที่สร้างประโยชน์และรายได้ให้ประเทศเป็นจํานวนมาก รวมทั้งมีการใช้วัตถุดิบใน ประเทศ - เป็นสาขาธุรกิจที่ประเทศไทยมีศักยภาพในการแข่งขันและเป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สาขาธุรกิจใหม่ที่มีโอกาสในอนาคต (New Wave) - เป็นสาขาธุรกิจที่ตอบสนองต่อนโยบายสําคัญของรัฐ เช่น การกระจายรายได้ การสร้างงานสร้าง อาชีพ การสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันจากการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าและบริการ - เป็นสาขาธุรกิจที่คํานึงถึงการรักษาสิ่งแวดล้อม และสร้างความสมดุลในสังคม - เป็นสาขาธุรกิจที่ดํารงรักษาศิลปวัฒนธรรมไทยอันดีงาม จากเกณฑ์การคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายข้างต้น สามารถระบุสาขาธุรกิจที่ให้ความสําคัญเป็นพิเศษได้ ดังนี้ -

กลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยีและนวัตกรรม กลุ่มอุตสาหกรรมการเกษตรและเกษตรแปรรูป กลุ่มอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ กลุ่มธุรกิจการค้าปลีกและค้าส่ง กลุ่มธุรกิจบริการและท่องเที่ยว

4-13


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)

บทท บทที​ี่ 5 ยุทธศาสตร์การส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย จากการประเมินสถานภาพของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม รวมทั้งผลการดําเนินงานส่งเสริม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ภายใต้แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2545-2549) และฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2550-2554) ที่ผ่านมา การวิเคราะห์ประเมินจุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส และภัยคุกคาม ตลอดจนการศึกษา วิเคราะห์ประเด็นการพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมและพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559) รวมทั้งการพิจารณาถึงความเชื่อมโยง บูรณาการเข้ากับแผนยุทธศาสตร์ อื่นๆ ของหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวกับการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม จึงได้กําหนดยุทธศาสตร์ และกลยุทธ์การส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สําหรับแผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559) ได้ดังต่อไปนี้ ยุทธศาสตร์ที่ 1

สนับสนุนปัจจัยแวดล้อมให้เอื้อต่อการดําเนินธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย

ยุทธศาสตร์ที่ 2

เสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย

ยุทธศาสตร์ที่ 3

ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทยให้เติบโตอย่างสมดุลตามศักยภาพของพื้นที่

ยุทธศาสตร์ที่ 4

เสริมสร้างศักยภาพของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทยให้เชื่อมโยงกับเศรษฐกิจระหว่าง ประเทศ

5-1


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)

ยุทธศาสตร์ที่ 1 สนับสนุนปัจจัยแวดล้อมให้เอื้อต่อการดําเนินธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมโดยทั่วไปยังขาดความรู้ ความสามารถ และเงินทุนที่เพียงพอในการ พัฒนาปัจจัยพื้นฐานในการดําเนินธุรกิจ ภาครัฐจึงต้องเข้ามามีบทบาทสนับสนุนในการจัดสิ่งอํานวยความสะดวกและ โครงสร้างพื้นฐานเพื่อให้เอื้อต่อการดําเนินธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เช่น กฎหมาย กฎระเบียบ การเงิน ข้อมูล วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การวิจัยและพัฒนา นวัตกรรม การตลาด เป็นต้น โดยปัจจัยแวดล้อมดังกล่าวจะต้อง พร้อมให้บริการแก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมทุกกลุ่ม นอกจากนี้ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมยังเป็นกลุ่มที่ ได้รั บผลกระทบจากสถานการณ์ไม่ปกติ ต่างๆ เช่น ภัยพิบัติทางธรรมชาติ การชุมนุมทางการเมือง ความผันผวนทาง เศรษฐกิจ เป็นต้น ดังนั้น ในการพัฒนาและส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมจึงต้องดําเนินการสนับสนุนปัจจัย แวดล้อมให้เอื้อต่อการดําเนินธุรกิจของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยมุ่งเน้นปัจจัยพื้นฐาน 2 ส่วน คือ • การสร้ างปั จจั ยแวดล้ อมเพื่ อให้ เอื้ อต่ อการดํ าเนิ นธุ รกิ จของวิ สาหกิ จขนาดกลางและขนาดย่ อม ในทุกระดับการเติบโตของธุรกิจให้มีประสิทธิภาพและธรรมาภิบาล รวมทั้งพัฒนาเครือข่ายการทํางานส่งเสริมวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมของภาครัฐอย่างบูรณาการ • การสร้างภูมิคุ้มกันจากปัจจัยเสี่ยงทั้งภายในและภายนอกประเทศ การฟื้นฟู และบรรเทาผลกระทบ ที่เกิดขึ้นกับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ฉุกเฉินและสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป แนวทางตัวชีว้ ัดระดับยุทธศาสตร์ 1. การเพิ่มขึ้นของบุคลากรที่มีหน้าที่ในการส่งเสริมและพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ซึ่งได้รับการพัฒนาองค์ความรู้และทักษะ 2. การเพิ่มขึ้นของจํานวนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่สามารถเข้าถึงเงินทุนได้ 3. มีข้อเสนอแนะในการปรับปรุงกฎหมาย กฎระเบียบ เพื่อให้เอื้อต่อธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม 4. โครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอํานวยความสะดวกของภาครัฐได้รับการพัฒนาใหมีศักยภาพและ เพียงพอต่อความต้องการของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม 5. การบริหารจัดการด้านงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมีประสิทธิภาพและทํางาน เชิงบูรณาการ กลยุทธ์ที่ 1.1 พัฒนาศักยภาพหน่วยงานและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมและพัฒนาวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม หน่วยงานและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมและพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เป็นกลไกสําคัญที่มีบทบาทในการช่วยเหลือ สนับสนุน ส่งเสริม และพัฒนาให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สามารถดําเนินธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยขณะนี้มีหลายหน่วยงานที่มีบทบาทเกี่ยวข้องกับการส่งเสริมวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม ซึ่งเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานดังกล่าวควรได้รับการพัฒนาความรู้ความสามารถ ให้เข้าใจ สภาพปัญหาและความต้องการของวิสาหกิจกลางและขนาดย่อม ตลอดจนแนวทางการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง 5-2


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)

และขนาดย่อม เพื่อให้การส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเกิดประสิทธิภาพ มีการดําเนินงานอย่าง บูรณาการ แนวทางการส่งเสริม • เสริ ม สร้ า งความรู้ แ ละเข้ า ใจเกี่ ย วกั บ ปั ญ หาและความต้ อ งการของวิ ส าหกิ จ ขนาดกลาง และขนาดย่อม และนโยบายการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ให้กับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการ ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมทั้งภาครัฐ และเอกชน เพื่อให้การดําเนินงานส่งเสริมมีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับความต้องการ ตลอดจนเป็นการสนับสนุนให้การส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเป็นไป ในทิศทางเดียวกัน โดยจัดกิจกรรมที่เพิ่มโอกาสให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในทุกระดับได้พัฒนาและมีการแลกเปลี่ยน องค์ความรู้ เช่น การประชุมร่วมระหว่างส่วนงานด้านนโยบายและแผนของแต่ละหน่วยงาน เป็นต้น • ส่งเสริมบทบาทของเจ้ าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในทุกระดับ ทุกพื้นที่ ให้มีการกําหนดนโยบายและมีกิจกรรมเพื่อเกื้อหนุนต่อการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อมในพื้นที่ รวมถึงสร้างแรงจูงใจให้มีส่วนร่วมในการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม • พัฒนาองค์ความรู้และทักษะของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทุกระดับ ให้สอดคล้องต่อการเปลี่ยนแปลง ของแนวโน้มทางเศรษฐกิจและศักยภาพของพื้นที่ เช่น ความรู้เกี่ยวกับการเปิดเสรีทางการค้า ความรู้สําหรับการให้ คําปรึกษาเฉพาะด้านให้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เป็นต้น เพื่อให้การบริการวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยผลักดันให้มีการจัดตั้งสถาบันสําหรับการพัฒนาความรู้ของผู้ที่เกี่ยวข้องใน ทุกระดับ และพัฒนาหลักสูตรสําหรับการพัฒนาให้เหมาะสมกับบทบาทของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องตั้งแต่ผู้กําหนด นโยบาย และเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน และถ่ายทอดความรู้ให้กับเจ้าหน้าที่อย่างต่อเนื่อง กลยุทธ์ที่ 1.2 พัฒนาระบบฐานข้อมูลวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และข้อมูลองค์ความรู้เพื่อประโยชน์ในการ วางแผนการส่งเสริมและดําเนินธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม การพัฒนาฐานข้อมูลวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้มีประสิทธิภาพ ถูกต้อง สมบูรณ์ ครบถ้วน และทันต่อสถานการณ์ เป็นปัจจัยพื้นฐานที่สําคัญและจําเป็นต่อการดําเนินธุรกิจและกําหนดนโยบายในการส่งเสริมและ พัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เนื่องจากข้อมูลวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมยังมีความกระจัดกระจาย และขาดการประสานและเชื่อมโยงระหว่างกัน ส่งผลให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมและหน่วยงานด้านการ วางแผน และนโยบาย ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างสะดวก และรวดเร็ว ดังนั้นจึงจําเป็นต้องพัฒนาระบบฐานข้อมูล วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงและบูรณาการการจัดทําข้อมูลร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐ และเอกชนให้สามารถอ้างอิงข้อมูลได้จากฐานเดียวกัน และลดความซ้ําซ้อนของการจัดทําระบบฐานข้อมูลทําให้เกิดความ คุ้มค่าและเพื่อประโยชน์ในการวางแผนการส่งเสริมและการดําเนินธุรกิจของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม รวมทั้ง ต้องมีการขยายและสร้างช่องทางให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมสามารถเข้าถึงข้อมูลได้สะดวกและรวดเร็ว

5-3


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)

แนวทางการส่งเสริม • พัฒนาระบบฐานข้อมูลวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่มีความสมบูรณ์ครบถ้วน ถูกต้อง ทันต่อเหตุการณ์ และพร้อมใช้งาน เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของหน่วยงานด้านนโยบายและแผน หน่วยงานปฏิบัติ และผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมทั้งในมิติเชิงเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม อัตลักษณ์ และทรัพยากรใน การประกอบธุรกิจ รวมทั้งมิติด้านศักยภาพในการแข่งขัน พื้นที่ ทิศทางการพัฒนากลุ่มธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลางและขนาด ย่อม และสถานการณ์ต่างประเทศ รวมถึงข้อมูลด้านสถานการณ์ที่ส่งผลต่อวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สภาพปัญหา อุปสรรค โอกาส แนวทาง และความต้องการต่าง ๆ ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม • สร้างและรวบรวมองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์ เพื่อนําไปใช้ในการวางแผนการส่งเสริม รวมทั้ง กระตุ้นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ให้เห็นความสําคัญของข้อมูลและนําไปใช้ในการดําเนินธุรกิจ • ขยายและสร้างช่องทางให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สามารถเข้าถึงข้อมูลได้โดยสะดวก และทั่วถึง ทั้งช่องทางการสื่อสารรูปแบบเดิม เช่น สิ่งพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ อินเตอร์เน็ต และช่องทางการสื่อสารรูปแบบใหม่ เช่น เครือข่ายทางสังคมออนไลน์ (Social Network) เคเบิ้ลทีวี เป็นต้น • เชื่ อมโยงและบู รณาการการจั ดทําข้ อมูลร่วมกั นระหว่างหน่วยงานภาครั ฐและเอกชน จัดทํ า มาตรฐานและข้อมูลเพื่อให้ทุกหน่วยงานสามารถอ้างอิงข้อมูลวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมจากฐานข้อมูลเดียวกัน และลดความซ้ําซ้อนของการจัดทําระบบฐานข้อมูล เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าและเพื่อประโยชน์ในการวางแผนการส่งเสริมและ การดําเนินธุรกิจของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม • เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการระบบฐานข้อมูล เช่น การพัฒนาเครื่องมือในการวิเคราะห์และ ประมวลผล การปรับปรุงข้อมูล การพัฒนาระบบและบุคลากร การพัฒนาแนวทางการเชื่อมโยงเนื้อหาและระบบฐานข้อมูล ระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ เป็นต้น กลยุทธ์ที่ 1.3 ทบทวน ปรับปรุงและผลักดัน กฎหมาย กฎระเบียบ มาตรการ ภาษีและการให้สิทธิประโยชน์ เพื่อเอื้อและลดอุปสรรคต่อการดําเนินธุรกิจของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม กฎหมาย กฎระเบียบในการดําเนินธุรกิจ จําแนกเป็น 2 กลุม่ คือ 1) กฎหมายธุรกิจ เช่น กฎหมายการ จดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจ การจดทะเบียนโรงงาน การส่งงบการเงิน การเสียภาษีเงินได้ การขอใช้เครื่องหมายรับรองคุณภาพ ผลิตภัณฑ์ การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา การกํากับดูแลพฤติกรรมในการประกอบธุรกิจ การขนส่งสินค้า การค้าระหว่าง ประเทศ เป็นต้น และ 2) กฎหมายเพื่อส่งเสริมธุรกิจ เช่น พระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เป็นต้น โดยกฎหมาย กฎระเบียบ ขั้นตอน วิธีการปฏิบัติ สิทธิประโยชน์ และมาตรการต่างๆ ที่ภาครัฐกําหนดเป็นปัจจัยพื้นฐานสําคัญในด้านการสร้างกลไก การแข่งขันที่เป็นธรรม เพื่อลดความได้เปรียบ/เสียเปรียบในการดําเนินธุรกิจ การอํานวยความสะดวกและสร้างโอกาสในการ ดําเนินธุรกิจ อีกทั้ง ยังเป็นเครื่องมือในการสร้างแรงจูงใจให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม มีการนําวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี การวิจัยและพัฒนา ทรัพย์สินทางปัญญาและนวัตกรรมไปประยุกต์ใช้ในการดําเนินธุรกิจ และใช้เชิงพาณิชย์

5-4


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)

สร้างแรงจูงใจในการพัฒนาบุคลากร และการเข้าสู่ระบบภาษี รวมทั้งการสร้างภูมิคุ้มกัน ฟื้นฟู และบรรเทาผลกระทบที่เกิด ขึ้นกับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ที่ผ่านมาภาครัฐมีการใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือในการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไม่ มากนัก เช่น การลดอัตราภาษีเงินได้ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม การให้สิทธิประโยชน์เพื่อส่งเสริมการลงทุน แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และในทางปฏิบัติวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมีความสามารถในการ เข้าถึงและใช้ประโยชน์จากมาตรการต่างๆ ของรัฐได้น้อย ทั้งนี้ ปัญหาส่วนหนึ่งมาจากความไม่พร้อมของวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม และการบังคับใช้กฎหมายหรือระเบียบยังไม่เหมาะสมและสอดคล้องต่อวิสาหกิจขนาด กลางและขนาดย่อมทําให้เครื่องมือต่าง ๆ ของรัฐยังไม่สามารถส่งเสริมการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ได้เท่าที่ควร นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและความต้องการทางด้านธุรกิจ ทําให้มีการทําธุรกรรมการค้า ประเภทใหม่ เกิ ดขึ้ น ขณะที่ การพั ฒนากฎหมายเพื่ อรองรั บการทํ าธุรกรรมเหล่ านี้ ยั งไม่ สอดคล้ องกั บสถานการณ์ ที่ เปลี่ยนแปลงไป อีกทั้งความซ้ําซ้อนของกฎหมาย และความไม่ชัดเจนในขั้นตอนและกระบวนการในการบังคับใช้กฎหมาย และการให้บริการของภาครัฐ รวมทั้งการขาดแรงจูงใจและสิทธิประโยชน์ที่เพียงพอ ดังนั้น จึงควรมีการทบทวน ปรับปรุง และผลักดัน กฎหมาย กฎระเบียบ มาตรการภาษีและการให้สิทธิประโยชน์ เพื่อเอื้อและลดอุปสรรคต่อการดําเนินธุรกิจ ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม แนวทางการส่งเสริม • เสริมสร้างความรู้ให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบ ขั้นตอน และ วิธีการปฏิบัติต่าง ๆ ตลอดจนจูงใจให้ใช้สิทธิประโยชน์ที่เอื้อต่อการประกอบธุรกิจ • ผลักดันให้เกิดการทบทวน ปรับปรุง แก้ไขกฎหมาย กฎระเบียบ ขั้นตอน วิธีการปฏิบัติ และให้มีการ ประกาศใช้กฎหมาย กฎระเบียบ ภาษีและสิทธิประโยชน์ใหม่ๆ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ และเพื่อลดอุปสรรค ในการ ประกอบธุรกิจ • สนั บสนุ นการใช้ กฎหมายเป็ นเครื่ องมื อในการสร้ างจริ ยธรรม คุ ณธรรม ความโปร่ งใส เพื่ อลด ความได้เปรียบ/เสียเปรียบในการดําเนินธุรกิจ • ผลั กดั นให้ มี การทบทวน ปรั บปรุ ง อั ตราภาษี ให้ เป็ นธรรมต่ อการประกอบธุ รกิ จของวิ สาหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่อม • ศึกษา ทบทวน รูปแบบการจัดเก็บภาษีที่เหมาะสมกับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้สอดคล้อง ต่อการอยู่รอดและเติบโตของกิจการ เช่น การเหมาจ่ายสําหรับวิสาหกิจขนาดกลางและย่อมในช่วงเริ่มต้นธุรกิจ อัตราภาษี ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมควรมีความแตกต่างจากอัตราภาษีของวิสาหกิจรายใหญ่ การกําหนดให้องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้จัดเก็บภาษี หรือการนํารายได้จากการจัดเก็บมาพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในพื้นที่ เป็นต้น

5-5


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)

• ผลักดันและจูงใจให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเข้าสู่ระบบภาษี เช่น การสร้างความรู้ความ เข้ าใจเรื่องประโยชน์ ของภาษี ต่อการพัฒนาวิ สาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม การยกเว้ นความผิ ดทางภาษี ในอดี ต (การนิรโทษกรรมภาษี) เป็นต้น • จัดทําระบบฐานข้อมูลกฎหมาย กฎระเบียบ มาตรการภาษีและการให้สิทธิประโยชน์สําหรับวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม เพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงนโยบายและเผยแพร่ กลยุทธ์ที่ 1.4 เสริมสร้างระบบและเตรียมความพร้อมเพื่อให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สามารถเข้าถึงเงินทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทางการเงิน วิสาหกิ จขนาดกลางและขนาดย่อมมีข้ อจํ ากัดในการเข้าถึงเงินทุน เนื่ องจากปัจจัยสําคัญ 3 ด้ าน คือ ด้านผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ด้านแหล่งเงินทุน และด้านโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ผู้ประกอบการ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมขาดหลักทรัพย์ค้ําประกัน หรือมีหลักทรัพย์ค้ําประกันไม่เพียงพอต่อวงเงินสินเชื่อ ไม่มีระบบการบันทึกบัญชีที่เป็นมาตรฐาน ไม่มีประวัติธุรกรรมทางการเงินกับสถาบันการเงิน หรือเป็นผู้มีประวัติธุรกรรม ทางการเงินไม่ดี รวมทั้ง ความสามารถในการทําธุรกิจและชําระหนี้ต่ํา ในส่วนของสถาบันการเงินเอง ก็มีความระมัดระวังใน การพิจารณาสินเชื่อให้แก่ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ส่งผลให้ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อม เสียอัตราดอกเบี้ยค่อนข้างสูงเมื่อเปรียบเทียบกับวิสาหกิจขนาดใหญ่ นอกจากนี้ บทบาทสถาบันการเงินเฉพาะ กิจที่ให้บริการทางการเงินแก่ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมยังมีไม่มากพอเมื่อเทียบกับความต้องการของ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เนื่องจากข้อจํากัดด้านเงินทุน กฎระเบียบ และขาดมาตรการจูงใจให้สถาบันการเงิน ปล่อยสินเชื่อให้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในด้านโครงสร้างพื้นฐาน ยังขาดระบบหรือกลไกเสริมสร้างประสิทธิภาพในการใช้เงินทุนของวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม เช่น ระบบพี่เลี้ยง ที่ปรึกษา นักวินิจฉัยที่มีอยู่ยังไม่เพียงพอกับความต้องการของวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม ขาดระบบค้ําประกันสินเชื่อที่เอื้อต่อการขยายสินเชื่อให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมได้ อย่างกว้างขวาง ขาดระบบข้อมูลกลางที่จะช่วยทั้งผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในการวิเคราะห์สถานะ ของกิจการและแนวโน้มธุรกิจ และที่จะช่วยสถาบันการเงินในการปล่อยสินเชื่อตามความเสี่ยงและโอกาสทางธุรกิจของ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ขาดกฎระเบียบที่เอื้อต่อการขยายบริการทางการเงินให้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาด ย่อม ดังนั้น การเสริมสร้างระบบและเตรียมความพร้อมเพื่อให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมสามารถเข้าถึงแหล่ง เงินทุน ควรมุ่งเน้นส่งเสริมและสนับสนุนแหล่งทุนให้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เสริมสร้างระบบและเตรียม ความพร้อมเพื่อให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สามารถเข้าถึงเงินทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ ทางการเงิน แนวทางการส่งเสริม • เตรียมความพร้อมให้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยการสร้างความรู้ความเข้าใจ ด้านการ บริหารจัดการธุรกิจ เช่น การจัดทําแผนธุรกิจ บัญชีที่เป็นระบบ รวมทั้งให้ข้อมูลด้านผลิตภัณฑ์ทางการเงิน การบริหาร ความเสี่ยง การค้ําประกันสินเชื่อ เป็นต้น 5-6


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)

• ส่ งเสริ มบทบาทของสถาบั นการเงิ นโดยเฉพาะสถาบั นการเงิ นเฉพาะกิ จ 1 (Special Financial Institutions: SFIs) ให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้มีความพร้อมในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน เช่น การให้คําปรึกษาแนะนํา ให้ความรู้ การเตรียมความพร้อมด้านประวัติธุรกรรมทางการเงิน การวินิจฉัยธุรกิจ การจัด กิจกรรมส่งเสริมการตลาด เป็นต้น • ส่งเสริมการเชื่อมโยงบริการทางการเงินกับโครงการส่งเสริมพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ของหน่วยงานต่างๆ เช่น กําหนดเงื่อนไขพิเศษสําหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ผ่านการเข้าร่วมโครงการบ่มเพาะ ธุรกิจ หรือการวินิจฉัย ให้สามารถได้รับเงินทุนเพื่อเริ่มต้นธุรกิจ การปรับปรุงหรือพัฒนาธุรกิจ เป็นต้น • เพิ่ มช่ องทางหรื อโอกาสการเข้ าถึ งแหล่ งเงิ นทุ น ทั้ งตลาดเงิ น ตลาดทุ น และแหล่ งเงิ นทุ นอื่ นๆ เช่น การร่วมลงทุน (Venture Capital) การสนับสนุนเงินทุนในการเริ่มต้นธุรกิจ (Start up Fund, Seed Fund) รวมทั้ง ขยายบริ ก ารทางการเงิ น ที่ มี อ ยู่ เ ดิ ม ให้ มี ก ารใช้ บ ริ ก ารมากขึ้ น เช่ น ธุ ร กิ จ การให้ เ ช่ า แบบลี ส ซิ่ ง (Leasing) ธุรกิจแฟคตอริ่ง (Factoring) เป็นต้น • กํ าหนดแนวทางและปรั บปรุ งระบบการค้ํ าประกั นสิ นเชื่ อวิ สาหกิ จขนาดกลางและขนาดย่ อม เช่ น เพิ่ มหลั กทรั พย์ ค้ํ าประกั นรู ปแบบใหม่ โดยเฉพาะหลั กทรั พย์ ที่ จั บต้ องไม่ ได้ และหลั กทรั พย์ ที่ เคลื่ อนที่ ได้ (Intangible and Movable assets) เช่น ทรัพย์สินทางปัญญา ตราสินค้า สินค้าคงคลัง เป็นต้น สร้างระบบการค้ํา ประกันสินเชื่อหรือการให้สินเชื่อแบบไม่ต้องใช้หลักทรัพย์หรือบุคคลค้ําประกัน และขยายบทบาทหน่วยงานและรูปแบบค้ํา ประกันสินเชื่อ • ส่งเสริมระบบข้อมูลกลางเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเข้าถึงแหล่งเงินทุน และผลักดันให้หน่วยงานแหล่ง เงินทุนต่างๆ นําไปใช้ในประกอบการพิจารณา เช่น ระบบข้อมูลการจัดระดับความน่าเชื่อถือ (SMEs Credit Rating Database) ระบบฐานข้อมูลความต้องการและปริมาณการปล่อยสินเชื่อให้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เป็นต้น กลยุทธ์ที่ 1.5 สร้างความเข้มแข็งให้แก่กลไกและเครือข่ายการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม กลไกและเครื อข่ ายการส่ งเสริ มวิ สาหกิ จขนาดกลางและขนาดย่ อม ประกอบด้ วย ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือองค์การเอกชน โดยมี สสว. ทําหน้าที่เป็นศูนย์กลางประสานระบบการ ทํางานของส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจที่ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เพื่อให้เกิดความ ต่อเนื่องและสอดคล้องในทิศทางเดียวกัน แต่อย่างไรก็ตาม เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการส่งเสริมวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมของหน่วยงานต่าง ๆ ควรผลักดันให้การส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเป็นวาระ แห่งชาติ เพื่อเป็นกลไกตั้งต้นในการขับเคลื่อนนโยบายการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ทั้งในส่วนของ โครงการ งบประมาณ และทรัพยากรของประเทศอย่างเพียงพอและต่อเนื่อง โดยปัจจัยแห่งความสําเร็จของกลไกดังกล่าว คือ การบูรณาการเครือข่ายความร่วมมือ 1

สถาบันการเงินเฉพาะกิจ (Special Financial Institutions: SFIs) ประกอบด้วย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) ธนาคารอิสลาม แห่งประเทศไทย (ธอท.) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) และบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.)

5-7


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)

ในการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมระหว่างส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือองค์การเอกชน และการสร้างกลไกการติดตามและประเมินผลการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม แนวทางการส่งเสริม • ผลักดันนโยบายการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ให้เป็นวาระแห่งชาติ • ผลักดันให้ทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน นําแผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ไปใช้ เป็นกรอบการดําเนินงาน ตลอดจนมีการจัดสรรทรัพยากรในการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม อย่างเพียงพอ และต่อเนื่อง โดยแต่ละหน่ วยงานมีการดํ าเนินงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมตามบทบาทหน้าที่ ของ หน่วยงานและบูรณาการร่วมกันอย่างเป็นระบบ และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน • พัฒนาเครือข่ายความร่วมมือในการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ระหว่างส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือองค์การเอกชน เช่น การบูรณาการความร่วมมือระหว่างผู้มีหน้าที่ด้านนโยบายและ แผนการส่งเสริ มวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของหน่ วยงานต่าง ๆ การเชื่อมโยงการทํางานของหน่วยแผนและ หน่วยปฏิบัติ รวมทั้งพัฒนาความเข้มแข็งขององค์การเอกชนที่เกี่ยวข้องทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค • สร้างกลไกการติดตามและประเมินผลการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เช่น สร้างระบบ การรายงานและประมวลผลการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และนําข้อมูลไปใช้ในการวางแผนการทํางาน ส่งเสริมให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น รวมทั้งการพัฒนาตัวชี้วัดเพื่อติดตามและประเมินผลการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อม กลยุทธ์ที่ 1.6 ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้ดําเนินธุรกิจโดยใช้หลักธรรมาภิบาล และสนับสนุน การประกอบธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม วิสาหกิ จขนาดกลางและขนาดย่ อมส่ วนใหญ่ ขาดความรู้ ความเข้าใจเกี่ ยวกับการดํ าเนิ นธุ รกิ จภายใต้ ความรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และการมีธรรมาภิบาลในการประกอบธุรกิจโดยวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม บางส่ วนยังเข้าใจว่าเป็ นเรื่ องของกิจการรายใหญ่ และเห็นว่าเป็นต้นทุน ในการดําเนินธุรกิจ ในขณะที่ บางส่วนเห็น ความสําคัญแต่ไม่สามารถดําเนินการได้ นอกจากนี้ ปัจจัยพื้นฐานที่จะส่งเสริมและสนับสนุนให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมดําเนินธุรกิจ ภายใต้ความรับผิดชอบต่อสังคม อุตสาหกรรมสีเขียว และระบบธรรมาภิบาลยังมีอยู่อย่างจํากัด และวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมก็ยังไม่สามารถเข้าถึงปัจจัยพื้นฐานดังกล่าวได้อย่างทั่วถึง เช่น การยกเว้นค่าธรรมเนียม การส่งเสริม การลงทุน การยกเว้นภาษี เป็นต้น แนวทางการส่งเสริม • สร้างจิตสํานึก ปลูกฝังค่านิยม ให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เห็นความสําคัญของการดําเนิน ธุรกิจโดยใช้หลักธรรมาภิบาลและเป็นมิตรต่อสังคม สิ่งแวดล้อมอย่างสมดุล

5-8


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)

• ส่งเสริมองค์ความรู้ด้านการประกอบธุรกิจที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม ตลอดจนคุณธรรม จริยธรรม ความโปร่งใสในการดําเนินธุรกิจให้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เช่น การศึกษาและจัดทําต้นแบบ ระบบฐานข้อมูลด้านการดําเนินธุรกิจภายใต้ความรับผิดชอบต่อสังคม อุตสาหกรรมสีเขียว และระบบธรรมาภิบาล • สร้างแรงจูงใจให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในการปฏิบัติตามข้อกําหนดการดําเนินธุรกิจ ภายใต้ความรับผิดชอบต่อสังคม อุตสาหกรรมสีเขียว และระบบธรรมาภิบาล โดยการสนับสนุนเงินทุน สิทธิประโยชน์ในการ ดําเนินธุรกิจ (การลดหย่อนค่าธรรมเนียมในการดําเนินธุรกิจ) การประกาศเกียรติคุณ รวมทั้งให้ความรู้และส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการนําความรับผิดชอบต่อสังคม มาใช้ในการสร้างรายได้ให้แก่ธุรกิจ • ผลักดันให้เกิดสิทธิประโยชน์ทางภาษีหรือกฎหมาย เพื่อสร้างแรงจูงใจในการดําเนินธุรกิจภายใต้ความ รับผิดชอบต่อสังคม อุตสาหกรรมสีเขียว และระบบธรรมาภิบาลมาใช้ในการดําเนินธุรกิจ กลยุทธ์ที่ 1.7 สร้างกลไกและระบบการยกระดับความรู้ความสามารถทักษะบุคลากรของวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม ด้านการจัดการ การผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของภาคธุรกิจ บุคลากรของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ซึ่งในที่นี้หมายถึง 1) กลุ่มผู้ประกอบการและแรงงาน และ 2) กลุ่มผู้ให้บริการทางธุรกิจให้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมโดยแต่ละกลุ่มต่างมีปัญหาและข้อจํากัดแตกต่างกัน ดังนี้ 1) กลุ่ มผู้ ป ระกอบการและแรงงาน ปั ญหาและข้ อจํ า กั ด สํ า คั ญ คื อ การผลิ ต แรงงาน ไม่สอดคล้องกับความต้องการของภาคธุรกิจ จากข้อมูลสถานการณ์แรงงาน ณ เดือนพฤศจิกายน 25532 พบว่า ผู้สมัครงาน จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษามากที่สุด (13,730 คน) ส่วนนายจ้างต้องการผู้ที่จบการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) - ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) /อนุปริญญามากที่สุด (110,204 คน) จึงสะท้อนให้เห็นว่า ระบบการศึกษายัง ไม่สามารถผลิตแรงงานในปริมาณและคุณภาพที่สอดคล้องกับความต้องการและแนวโน้มของตลาดแรงงานและภาคธุรกิจ นอกจากนี้ การแข่ งขั นทางธุ รกิ จในปั จจุ บั น ไม่ ได้ มุ่ งเน้ นที่ การใช้ แรงงานค่ าจ้ างต่ํ า แต่มุ่งเน้นแรงงานที่มีทักษะฝีมือและทักษะภาษาต่างประเทศ โดยจะเห็นได้จากการนําระบบการจ่ายค่าตอบแทนตาม มาตรฐานฝีมือแรงงานมาใช้มากขึ้น ในส่วนของปัจจัยแวดล้อมด้านบุคลากรนี้ พบว่าภาครัฐยังขาดการสร้างเครื่องมือและ สิ่งจูงใจเพื่อสนับสนุนให้ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมลงทุนในการพัฒนาทรัพยากรบุคคลของตนอย่าง เพียงพอ เช่น การลดหย่อนภาษี กองทุนพัฒนาทักษะฝีมือ เป็นต้น 2) กลุ่ มผู้ ให้ บริ การทางธุ รกิ จให้ แก่ วิ สาหกิ จขนาดกลางและขนาดย่ อม เช่ น นั กวิ นิ จฉั ย พี่เลี้ยง และที่ปรึกษา เป็นต้น การประกอบธุรกิจของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมจําเป็นต้องได้รับการส่งเสริมและ สนับสนุนจากบุคลากรกลุ่มผู้ให้บริการแก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ได้แก่ นักวินิจฉัย พี่เลี้ยงและที่ปรึกษา โดย การดําเนินงานที่ผ่านมายังขาดการบริหารงานเชื่อมโยงกัน ต่างหน่วยต่างทํา และยังมีปัญหาการขาดแคลนนักวินิจฉัย ตัวอย่างเช่น จากการดําเนินงานที่ผ่านมากรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้สร้างนักวินิจฉัยสถานประกอบการอย่างต่อเนื่อง โดย

2

ผลการสํารวจสถานการณ์แรงงานของกองวิจัยตลาดแรงงาน กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน (พฤศจิกายน 2553)

5-9


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)

ปัจจุบันมีผู้ผ่านการอบรมไปแล้วประมาณ 450 ราย3 และในปี 2552 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้พัฒนานักวินิจฉัยสถาน ประกอบการ จํานวน 55 ราย สร้างผู้ให้คําแนะนําทางธุรกิจ (Information Service and Counselor) จํานวน 200 รายและ พัฒนาที่ปรึกษาธุรกิจขนาดเล็ก จํานวน 80 ราย4 หากพิจารณาจํานวนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมทั่วประเทศซึ่งมี จํานวนกว่า 2.89 ล้านราย ประเทศไทยมีบุคลากรกลุ่มผู้ให้บริการแก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (นักวินิจฉัย พี่เลี้ยง และที่ปรึกษา) เพียงประมาณ 1,000 รายเท่านั้น ดังนั้น ภาครัฐจึงควรสร้างกลไกและระบบการยกระดับความรู้ความสามารถทักษะบุคลากรของวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม ด้านการจัดการ การผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของภาคธุรกิจ แนวทางการส่งเสริม กลุ่มที่ 1 ผู้ประกอบการและแรงงาน • สนับสนุนการสร้างระบบและกลไกการเพิ่มองค์ความรู้และทักษะให้แก่บุคลากรวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม (ผู้ประกอบการและแรงงานทุกระดับ) เช่น - พัฒนาระบบฐานข้อมูลด้านบุคลากรวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เช่น ความต้องการแรงงาน ความสามารถในการผลิตแรงงาน เป็นต้น - สนั บสนุ นความร่ วมมื อในการพั ฒนาหลั กสู ตรการศึ กษา และการฝึ กอบรมให้ สอดคล้ องกั บ ความต้องการของภาคธุรกิจ เช่น การจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี 5 /สหกิจศึกษา6 เป็นต้น - ศึ กษาความต้ องการและความสามารถผลิ ตแรงงานในสาขาและพื้ นที่ ต่ างๆ และผลั กดั นให้ นํ า ผลการศึกษาไปใช้ในการวางแผนการพัฒนาแรงงานให้สอดคล้องกับความต้องการของวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม - พัฒนาระบบการให้ความรู้และทั กษะฝีมือแรงงานให้สอดคล้องกับความต้องการของภาคธุรกิจ โดยการฝึกอบรมเฉพาะทาง เช่น ทักษะฝีมือ ทักษะภาษาต่างประเทศ และเพิ่มช่องทางการเข้าถึง แหล่งเรียนรู้ เช่น การเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-learning) เอกสารเผยแพร่ต่าง ๆ เป็นต้น - เสริมสร้างสุขภาวะที่ดีของแรงงาน เช่น การสร้างทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพและองค์กร การจัดสวัสดิการ ที่ดี สภาพแวดล้อมที่ดีในการทํางาน เป็นต้น • ผลั กดั นให้ มี การใช้ มาตรฐานฝี มื อแรงงานและการจ่ ายค่ าจ้ างตามทั กษะฝี มื อ ผ่ านการรั บรอง ประสบการณ์ และทักษะฝีมือ การเทียบโอนประสบการณ์และการสร้างมาตรฐานฝีมือแรงงาน 3

สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) อ้างอิง http://www.tpa.or.th/tpanews/upload/mag_content/36/ContentFile539.pdf รายงานประจําปี 2552 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม 5 การศึกษาระบบทวิภาคี คือ การจัดการศึกษาวิชาชีพที่เกิดจากข้อตกลงระหว่างสถานศึกษาอาชีวศึกษาหรือสถาบันกับสถานประกอบการ รัฐวิสาหกิจ หรือ หน่วยงานของรัฐ ในเรื่องการจัดหลักสูตร การเรียนการสอน การวัดและการประเมินผล โดยผู้เรียนใช้เวลาส่วนหนึ่งในสถานศึกษาอาชีวศึกษาหรือสถาบัน และเรียนภาคปฏิบัติในสถานประกอบการ รัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานของรัฐ 6 สหกิจศึกษา คือ ระบบการศึกษาที่เน้นการปฏิบัติงานในสถานประกอบการอย่างมีระบบ โดยจัดให้มีการเรียนในสถานศึกษาร่วมกับการจัดให้นักศึกษา ไปปฏิบัติงานจริง ณ สถานประกอบการ โดยนักศึกษามีสถานะเหมือนพนักงาน รวมทั้งอาจจะได้รับเงินเดือน ค่าจ้าง สวัสดิการ หรือค่าตอบแทนอื่นตาม ความเหมาะสมจากสถานประกอบการ 4

5-10


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)

• เชื่อมโยงสถานศึกษาในพื้นที่กับพื้นที่ และพื้นที่กับส่วนกลาง ทั้งระดับอาชีวศึกษา อุดมศึกษา และวิทยาลัยชุมชน เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการในการพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม • สร้ างแรงจู งใจและระบบสิ ทธิ ประโยชน์ ในการพั ฒนาบุ คลากรของธุ รกิ จวิ สาหกิ จขนาดกลาง และขนาดย่อม เช่น การนําค่าใช้จ่ายด้านการพัฒนาบุคลากร (การอบรม สัมมนา การให้ทุนการศึกษา) ไปหัก ลดหย่อนภาษีได้มากกว่าค่าใช้จ่ายจริง กลุ่มที่ 2 ผู้ให้บริการแก่ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (นักวินิจฉัย พี่เลี้ยง และที่ปรึกษา) • สร้างเสริมทักษะผู้ให้บริการธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (นักวินิจฉัย พี่เลี้ยง ที่ปรึกษา) ให้ มี ศั ก ยภาพและความสามารถในการตอบสนองความต้ อ งการของวิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่ อ ม รวมทั้ ง มี จํ านวนเพี ยงพอต่ อการให้ บริ การ มี อั ตราค่ าบริ การที่ เหมาะสม และวิ สาหกิ จขนาดกลางและขนาดย่ อม สามารถเข้าถึงได้ เช่น - พัฒนานักวินิจฉัย พี่เลี้ยง ที่ปรึกษา โดยการเพิ่มทักษะ ประสบการณ์ และพัฒนาระบบกลไกการ เรียนรู้เพื่อยกระดับความสามารถของบุคลากรผู้ให้บริการธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เช่น ศึกษาดูงาน อบรมเชิงปฏิบัติการ เป็นต้น - สร้างนักวินิจฉัย พี่เลี้ยง และที่ปรึกษารุ่นใหม่ เช่น การบ่มเพาะโดยมุ่งเน้นการฝึกประสบการณ์ ปฏิบัติงานจริงกับนักวินิจฉัย พี่เลี้ยง และที่ปรึกษาที่มีประสบการณ์ - พัฒนาผู้ประกอบการให้สามารถวิเคราะห์สภาพปัญหาของตนเองในเบื้องต้น โดยการนํารูปแบบ สร้างนักวินิจฉัยมาประยุกต์ใช้ • ส่งเสริ มบุคลากรวั ยเกษียณ นั กวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ และผู้มีประสบการณ์ด้านธุ รกิจ ในการเป็น นักวินิจฉัย พี่เลี้ยง และที่ปรึกษา • พัฒนานักวินิจฉัย พี่เลี้ยง และที่ปรึกษาให้เป็นอาชีพถาวร โดยการ - พัฒนาระบบรับรองคุณภาพมาตรฐานวิชาชีพของผู้ให้บริการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เช่ น กํ าหนดให้ มี ใบประกอบวิ ชาชี พ (เช่ น การขึ้ นทะเบี ยนวิ ชาชี พ การต่ อทะเบี ยนวิ ชาชี พ การแสดงผลงาน เป็นต้น) - พัฒนาพี่เลี้ยง ที่ปรึกษาจากนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ/ผู้มีประสบการณ์ด้านธุรกิจ ให้เป็นอาชีพถาวร - สร้างตลาดรองรับทั้งในและต่างประเทศ เช่น ส่งเสริมการใช้บริการนักวินิจฉัย พี่เลี้ยง และที่ปรึกษา โดยการสนับสนุนค่าใช้จ่ายบางส่วนให้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และขยายช่องทางการ ให้บริการไปยังต่างประเทศ โดยเฉพาะกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน ประกอบด้วยกัมพูชา ลาว พม่า และ เวียดนาม (CLMV)

5-11


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)

• สร้างระบบติดตามและประเมินผลการดําเนินงานของผู้ให้บริการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เพื่อนํามาใช้เป็นเครื่องมือในการวัดประสิทธิภาพและประสิทธิผลการดําเนินงาน เช่น การจ่ายค่าตอบแทนตามผลงานที่ เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานของผู้ให้บริการธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เป็นต้น • ส่งเสริมให้มีหน่วยงานหรือองค์กรบริการธุรกิจ เพื่อเป็นศูนย์กลางการพัฒนาเครือข่ายผู้ให้บริการธุรกิจ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม การควบคุมคุณภาพมาตรฐาน การจับคู่ผู้ให้และผู้รับบริการ (Matching) เชื่อมโยง ผู้รับบริการจากนักวินิจฉัย พี่เลี้ยง และที่ปรึกษากับหน่วยงานภาครัฐ เอกชน สถาบันการเงิน สถาบันการศึกษา ฯลฯ รวมถึง เชื่อมโยงบริการกับต่างประเทศ กลยุทธ์ที่ 1.8 เพิ่มประสิทธิภาพหน่วยให้บริการด้านเทคโนโลยี นวัตกรรม ทรัพย์สินทางปัญญาคุณภาพมาตรฐาน และสนับสนุนให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเข้าถึงบริการได้อย่างทั่วถึง ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมส่วนใหญ่ ยังขาดความตระหนักและความสนใจในการนํา เทคโนโลยี การวิจัยและพัฒนา การสร้างนวัตกรรม ทรัพย์สินทางปัญญามาประยุกต์ใช้ในการดําเนินธุรกิจ ส่วนหนึ่งมาจาก การเห็นว่า เป็นการเพิ่มต้นทุนในการทําธุรกิจมากกว่าเป็นการลงทุนเพื่อให้ได้ผลตอบแทนในอนาคต และยังขาดองค์ความรู้ ในการยกระดับเทคโนโลยีและนวัตกรรมของตนให้สูงขึ้น นอกจากนี้ ข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การวิจัยและ พัฒนา การสร้างนวัตกรรม ทรัพย์สินทางปัญญาที่จะนําไปใช้ในเชิงพาณิชย์ ยังไม่ถูกเผยแพร่ไปสู่ผู้ประกอบการอย่าง เหมาะสม ประเทศไทยยังขาดความเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายระหว่าง หน่วยให้บริการด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม หน่วยงานด้านการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา หน่วยงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และภาคธุรกิจ บุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยียังมีไม่เพียงพอ นอกจากนี้ ค่าใช้จ่ายในการให้บริการด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ยังมีราคาแพงทําให้วิสาหกิจขนาดกลาและขนาดย่อมเข้าถึงได้ยาก สําหรับโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยี นวัตกรรม ทรัพย์สินทางปัญญา ยังขาดการส่งเสริมแบบบูรณาการ ระบบการคุ้มครองการวิจัยและพัฒนายังไม่เพียงพอ กระบวนการ สร้างนวัตกรรมยังไม่มีประสิทธิภาพ ขาดมาตรการและสิทธิประโยชน์ที่จูงใจในการลงทุนด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม แนวทางการส่งเสริม • สร้ างแรงจู งใจ โดยการสนั บสนุ นเงิ นทุ น สิ ทธิ ประโยชน์ และข้ อมู ล ให้ วิ สาหกิ จขนาดกลางและ ขนาดย่อมมีการนํางานวิจัยและพัฒนา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทรัพย์สินทางปัญญาและนวัตกรรมไปประยุกต์ใช้ใน การดําเนินธุรกิจและใช้เชิงพาณิชย์มากขึ้น • ผลักดันให้มีการใช้สิทธิประโยชน์ด้านการวิจัยและพัฒนา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทรัพย์สินทาง ปัญญาและนวัตกรรมเพิ่มมากขึ้น เช่น ทบทวนการรับรองงานวิจัยและพัฒนาเพื่อขอสิทธิประโยชน์ทางด้านภาษีให้มีความ ยืดหยุ่น ลดขั้นตอนและระยะเวลาการพิจารณา เป็นต้น • พัฒนาระบบการใช้ประโยชน์และการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อให้เอื้อต่อการพัฒนานวัตกรรม ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เช่น ระบบฐานข้อมูลและการสืบค้นสิทธิบัตรที่หมดอายุ การเผยแพร่ผลงาน ทรัพย์สินทางปัญญาแก่ผู้มีแนวคิดทางธุรกิจ กลไกการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา เป็นต้น 5-12


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)

• สนับสนุนการสร้างขีดความสามารถบุคลากรทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อธุรกิจ ทั้งใน สถานประกอบการและหน่วยให้บริการภาครัฐเพื่อสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรม • สนั บ สนุ น การเพิ่ ม ศั ก ยภาพของหน่ ว ยที่ ใ ห้ บ ริ ก ารกั บ วิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่ อ ม ด้านเทคโนโลยี นวัตกรรม ทรัพย์สินทางปัญญา การรับรองมาตรฐานให้มีความเพียงพอ ทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ และสอดคล้องกับความต้องการ เช่น สถาบันวิจัยเฉพาะทางในสาขาวิทยาศาสตร์ สถาบันวิจัยและพัฒนา ศูนย์บริการ วิเคราะห์ทดสอบ ศูนย์บ่มเพาะ และอุทยานวิทยาศาสตร์ เพื่อให้มีต้นทุนค่าบริการที่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สามารถเข้าถึงได้ รวมทั้งความสะดวกรวดเร็วในการให้บริการแก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม • สนับสนุนกลไกเพื่อสร้างความเชื่อมโยงงานศึกษาวิจัยของสถาบันการศึกษา สถาบันวิจัย หน่วยงาน ภาครัฐ เพื่อให้เกิดการต่อยอดและลดความซ้ําซ้อน รวมทั้งให้สามารถตอบสนองความต้องการของภาคธุรกิจ กลยุทธ์ที่ 1.9 พัฒนาสิ่งอํานวยความสะดวกด้านการตลาดให้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ผู้ ป ระกอบการวิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่ อ มยั ง ไม่ ส ามารถดํ า เนิ น การด้ า นการตลาด ได้เต็มประสิทธิภาพ เนื่องจากขาดความรู้ด้านการตลาดเพื่อประกอบการตัดสินใจทางธุรกิจไม่ว่าจะเป็นข้อมูลความรู้ ด้านการค้า การลงทุน ข้อมูลเชิงลึกรายอุตสาหกรรมและรายสินค้า ความต้องการหรือพฤติกรรมของผู้บริโภค รวมทั้ง ข้อมูลด้านกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศต่างๆ นอกจากนี้ ยังขาดสิ่งอํานวยความสะดวกด้านการตลาด โดย วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมส่วนใหญ่สามารถตอบสนองความต้องการของตลาดเฉพาะในท้องถิ่น แต่ขาดความรู้ ความสามารถด้านการตลาดทั้งในระดับประเทศ และต่างประเทศ ขณะเดียวกัน สภาพแวดล้อมในการดําเนินธุรกิจยังไม่ เอื้ออํานวยให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมดําเนินการด้านการตลาดเชิงรุกด้วยตนเอง เช่น ข้อจํากัดด้านความ น่าเชื่อถือของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม มักจะทําให้มีโอกาสทางการตลาดน้อยกว่ากิจการขนาดใหญ่ ข้อจํากัด ด้านเงินทุนและขนาดของธุ รกิจทํ าให้ ไม่สามารถดําเนิ นกิจกรรมด้านการตลาด และสร้างช่ องทางการตลาดอย่างมี ประสิทธิภาพ รวมถึงยังขาดการศึกษาวิจัยข้อมูลการตลาดเชิงลึก เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคทั้งในและ ต่างประเทศ กิจกรรมส่งเสริมด้านการตลาด รวมทั้งการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานยังไม่สามารถตอบสนองความต้องการ ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมได้อย่างทั่วถึง และมีประสิทธิภาพ ขณะเดียวกันการเปิดเสรีทางการค้าก็มีผลทําให้ วิสาหกิจขนาดใหญ่ รวมทั้งผลิตภัณฑ์จากต่างประเทศเข้ามาแข่งขันกับผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่นหรือในประเทศมากขึ้น จึง จําเป็นที่จะต้องมีการพัฒนาปัจจัยเอื้อในการประกอบธุรกิจในด้านต่างๆ โดยเฉพาะด้านการตลาด เพื่อลดปัญหาและ อุปสรรคต่อการประกอบธุรกิจของวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้สูงขึ้น แนวทางการส่งเสริม • สร้างองค์ความรู้ด้านการตลาดเพื่อให้บริการแก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เช่น ความรู้ด้าน การค้า การลงทุน ข้อมูลเชิงลึกรายอุตสาหกรรม ความต้องการหรือพฤติกรรมของผู้บริโภค กรอบความร่วมมือต่างๆ และส่งเสริมให้ วิสาหกิ จขนาดกลางและขนาดย่ อมนําองค์ความรู้ด้านการตลาดไปใช้ ในการวางแผนการดําเนินธุรกิ จ ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด 5-13


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)

• กํ าหนดตํ าแหน่ งและโครงสร้ างตลาดของวิ สาหกิ จขนาดกลางและขนาดย่ อมให้ ชั ดเจน เช่ น ธุรกิจรายย่อยเน้นตลาดภายในประเทศ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่เข้มแข็งแล้วควรได้รับการส่งเสริมให้เข้าสู่ตลาด ต่างประเทศ • ส่งเสริมโครงสร้างพื้นฐานด้านการตลาดสําหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยจัดให้มีบริการ ทางการค้าอย่างครบวงจร เช่น การเจรจาธุรกิจ บริการขนส่งสินค้า บริการทางการเงิน ฯลฯ • ส่งเสริมสิ่งอํานวยความสะดวกด้านโลจิสติกส์ เช่น การพัฒนาคุณภาพของการบริการขนส่ง จัดตั้งศูนย์ กระจายสินค้า ศูนย์จําหน่ายสินค้า การบริหารจัดการ (คลังสินค้ากลาง/การขนส่งสินค้าเที่ยวเปล่า) พัฒนาระบบพิธีการ ศุลกากร เชื่อมโยงบริการโลจิสติกส์ภาครัฐ-เอกชน เช่น เชื่อมโยงผู้ประกอบด้านอาหารกับบริการโลจิสติกส์ • สร้างกลไกตลาดที่มีจริยธรรม คุณธรรม ความโปร่งใส เช่น กฎหมาย กฎระเบียบการค้าที่เป็นธรรม เป็นต้น • ส่ งเสริ มวิ สาหกิ จขนาดกลางและขนาดย่ อมให้ มี บทบาทในตลาดจั ดซื้ อจั ดจ้ างภาครั ฐ 7 มากขึ้ น โดยมีแนวทาง ดังนี้ - กําหนดสัดส่วนการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐสําหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในแต่ละปี - พิจารณากําหนดโครงการจัดซื้อจัดจ้างให้เป็นการเฉพาะแก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม - ปรับปรุงกฎระเบียบและแนวทางปฏิบัติของหน่วยงานรัฐ เช่น ลดระยะเวลาและขั้นตอนการชําระ เงินให้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เป็นต้น - การให้สิทธิพิเศษแก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในการยื่นข้อเสนอโครงการ - ให้สิทธิประโยชน์แก่ผู้ประกอบการรายใหญ่ ที่ว่าจ้างวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมดําเนินงาน ต่อ (subcontracting) หรือใช้สินค้าและบริการของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม - สนั บสนุนการรวมกลุ่มของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในการรั บงานภาครัฐหรื อรับงาน จากธุรกิจรายใหญ่ที่ได้รับโครงการจากภาครัฐ กลยุทธ์ที่ 1.10 สร้างภูมิคุ้มกัน ฟื้นฟู และบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้นกับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม การประกอบธุรกิจในปัจจุบันได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ภายนอกที่ไม่ได้คาดคิดอยู่เสมอ ทั้งจาก ภัยพิบัติทางธรรมชาติ ภัยหรือความเสียหายที่มนุษย์ก่อให้เกิดขึ้น และวิกฤติทางเศรษฐกิจในระดับโลก ซึ่งเป็นประเด็น ท้าทายต่อการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม จําเป็นต้องจัดให้มีการบริหารจัดการความเสี่ยง การเตรียมความ พร้อมเพื่อรองรับต่อสถานการณ์ฉุกเฉินในรูปแบบต่างๆ และการบริหารจัดการในภาวะฉุกเฉิน รวมทั้งการเสริมสร้าง ศักยภาพของประเทศให้มีความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและสามารถแข่งขันได้ในเวทีโลกอย่างต่อเนื่อง และเพื่อให้

7

รายงานภาพรวมของการจัดซื้อจัดจ้างรายปี สํานักมาตรฐานการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง พบว่ามูลค่าการจัดซื้อจัดจ้าง ภาครัฐ ปีงบประมาณ 2549-2552 มีมูลค่า 223,031 ล้านบาท 213,732 ล้านบาท 329,007 ล้านบาท และ 308,301 ล้านบาท ตามลําดับ

5-14


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)

ผู้ประกอบการไทยมีภูมิคุ้มกันและสามารถรองรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงจากภายนอกและภายในได้อย่าง มีประสิทธิภาพ สามารถฟื้นฟู และบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้น แนวทางการส่งเสริม • ฟื้ นฟู และบรรเทาผลกระทบที่ เกิ ดขึ้ นกั บ วิ สาหกิ จขนาดกลางและขนาดย่ อมจากสถานการณ์ เหตุฉุกเฉินต่างๆ โดยส่งเสริมการออกมาตรการช่วยเหลือ เช่น - จัดสรรเงินกองทุนส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเพื่อบรรเทาปัญหาวิสาหกิจขนาด กลางและขนาดย่อมโดยจัดทําบัญชีแยกประเภทเงินช่วยเหลือวิสาหกิจขนาดกลางและขนาด ย่อมที่ได้รับจากรัฐบาล เพื่อช่วยเหลือวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเป็นการเร่งเด่วน - ระดมทุนระหว่างวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมด้วยกัน โดยสํานักงานส่งเสริมวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ร่วมสมทบ เพื่อเป็นแหล่งทุนในยามที่เกิดปัญหา - ลดภาระค่าใช้จ่ายให้กับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ประสบภัยพิบัติหรือเหตุฉุกเฉิน เช่น การลด ยกเว้น หรือการให้ผ่อนชําระค่าสาธารณูปโภค การยืดระยะเวลาการชําระภาษี และการชะลอการจ่ า ยเงิ นสมทบเข้ ากองทุ น ประกั นสั งคมในส่ วนของนายจ้ างและลู กจ้ า ง โดยที่ภาครัฐยังคงจ่ายเงินสบทบเท่าเดิม - เสริมสภาพคล่องให้กับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ประสบภัยพิบัติหรือเหตุฉุกเฉิน โดยการให้เงินอุดหนุน เพื่อลดผลกระทบที่อาจมีต่อการจ้างงานและเพื่อให้ธุรกิจสามารถอยู่รอด - จั ด หาผู้ เ ชี่ ย วชาญด้ า นกฎหมายประกั น ภั ย เพื่ อ ให้ คํ า ปรึ ก ษาแก่ วิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและ ขนาดย่ อมในการเจรจาเพื่ อขอรั บสิทธิ์ในกรณีที่ ธุรกิ จประสบภัยอั นเป็ นเหตุ ฉุกเฉิ นที่ มิได้ มี การระบุในกรมธรรม์ - จัดหาสถานที่สําหรับการประกอบการ เพื่อเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุภัยต่างๆ ให้มี สถานที่ในการประกอบการชั่วคราวในระหว่างที่ประสบเหตุหรือหลังประสบเหตุ รวมถึงการ จัดหาช่องทางการจําหน่ายใหม่ๆ • สร้ า งภู มิ คุ้ ม กั น จากปั จ จั ย ที่ ส่ ง ผลกระทบต่ อ การดํ า เนิ น ธุ ร กิ จ ของวิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและ ขนาดย่อม เช่น - สนับสนุนและส่งเสริมให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม มีการบริหารความเสี่ยงจากปัจจัย ที่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจ เช่น การทําประกันภัย การทําสัญญาซื้อ-ขายอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้า - สนับสนุนระบบศูนย์ข้อมูลระบบเตือนภัยให้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เพื่อชี้นําการ พัฒนาผู้ประกอบการเกิดความมั่นใจในการลงทุนของภาคส่วนต่างๆ โดยเน้นการมีส่วนร่วมของ ทุกภาคส่วน เพื่อกําหนดแนวทางการพัฒนาผู้ให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงและศักยภาพ ของไทย เพราะหากล่าช้าอาจเสียโอกาสในการแข่งขัน

5-15


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)

ยุทธศาสตร์ที่ 2 เสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย สภาวการณ์ต่างๆ ทั้งในด้านเศรษฐกิจ การค้า สังคม และเทคโนโลยี ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงไป อย่างรวดเร็ว ซึ่งส่งผลกระทบต่อการแข่งขันในภาคธุรกิจและภาคอุตสาหกรรมต่างๆ โดยตรง โดยเฉพาะปัจจัย ด้ า นการแข่ ง ขั น ทางธุ ร กิ จ ได้ เ ปลี่ ย นแปลงไปอย่ า งเห็ น ได้ ชั ด จากในอดี ต ที่ อ าศั ย ความได้ เ ปรี ย บทางด้ า น ทรัพยากรธรรมชาติและต้นทุนด้านแรงงานที่ทําให้สามารถผลิตสินค้าให้มีราคาที่ต่ํา แต่ปัจจุบันกลับกลายเป็น ข้อจํากัดและทําให้ต้องเผชิญกับภาวะการถดถอยทางการแข่งขัน เนื่องจากทรัพยากรธรรมชาติที่เริ่มลดน้อยลงและมี ผู้แข่งขันที่มีต้นทุนแรงงานต่ํากว่าและมีทรัพยากรมากกว่าก้าวขึ้นมาเป็นคู่แข่งอย่างต่อเนื่อง ทําให้ประเทศที่เคยเป็น ผู้ได้เปรียบด้านการค้าการผลิตต้องเปลี่ยนแปลงรูปแบบทางการดําเนินธุรกิจของตนเองเพื่อให้สามารถอยู่รอดได้ใน การแข่งขันในปัจจุบัน รั ฐ บาลได้ ใ ห้ ค วามสํ า คั ญ กั บ การเพิ่ ม ขี ด ความสามารถในการแข่ ง ขั น ของประเทศ (National Competitiveness) หรือการสร้างขีดความสามารถและผลประกอบการของประเทศในการสร้างและรักษา สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมแก่การประกอบกิจการ เพราะประเทศที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูงจะมีระดับ ความสามารถในการผลิต (Productivity) ที่สูง และทําให้สามารถรักษาระดับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของ ประเทศไว้ได้อย่างยั่งยืน การที่ความสามารถดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้จําต้องมีปัจจัยสนับสนุนหลายประการ ทั้งในแง่ ของเศรษฐกิจ สังคม การเมืองการปกครอง เทคโนโลยี และทรัพยากรมนุษย์ ปั จ จั ย ที่ มี ค วามสํ า คั ญ ต่ อ การเพิ่ ม ขี ด ความสามารถในการแข่ ง ขั น ของประเทศรวมถึ ง กลุ่มผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในปัจจุบัน มีบางปัจจัยที่ถือว่ายังมีประสิทธิภาพค่อนข้างต่ํา โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การบริหารจัดการ และโครงสร้างพื้นฐานที่คุณภาพ ไม่ดีพอ การเสริมสร้างให้ปัจจัยเหล่านี้มีคุณภาพและเพียงพอเป็นเรื่องที่มีความสําคัญและต้องทําให้เกิดขึ้นให้ได้ เนื่องจากเป็นปัจจัยที่จะทําให้ภาคการผลิตมีความเข้มแข็งและสามารถแข่งขันได้อย่างยั่งยืน ภาคอุตสาหกรรมการผลิตของกลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในช่วงที่ผ่านมามีการปรับตัว ที่ค่อนข้างช้าเมื่อเปรียบเทียบกับภาวะที่โลกปรับเปลี่ยนเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจที่อาศัยฐานความรู้เป็นปัจจัยสําคัญ ในการพัฒนา เนื่องจากประสิทธิภาพการผลิตยังอยู่ในระดับต่ํากว่าประเทศคู่แข่ง มีต้นทุนในกระบวนการผลิตสูง เนื่องจากแรงงานขาดทักษะและไม่สามารถปรับใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพต่ํา ขาดการออกแบบที่ดี รวมทั้งระบบโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอํานวยความสะดวกไม่มีคุณภาพ นอกจากนี้ยังมีจุดอ่อนในด้านการสร้าง มูลค่าเพิ่มของภาคการผลิต ขาดการพัฒนาอุตสาหกรรมสนับสนุนและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ทําให้อุตสาหกรรมขนาด กลางและขนาดย่อมส่วนใหญ่ยังอ่อนแอและขาดกลไกที่จะประสานเชื่อมโยงธุรกิจข้ามชาติในการถ่ายทอดเทคโนโลยี เพื่อยกระดับทักษะฝีมือแรงงาน รวมทั้งผู้ประกอบการของไทยส่วนใหญ่ยังไม่สามารถปรับตัวเพื่อการแข่งขันในตลาด ที่มีพลวัตและผันผวนสูงขึ้นได้

5-16


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)

ส่วนในภาคบริการและการท่องเที่ยวแม้จะเป็นแหล่งทํารายได้และการจ้างงานที่สําคัญของประเทศ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แต่ก็ได้ส่งผลกระทบในเชิงลบทางสังคมและสิ่งแวดล้อมหลายประการ เช่น ความเสื่อมโทรม ของแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ รวมทั้งวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ของชุมชนท้องถิ่นที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งในภาพรวม ของอุ ต สาหกรรมและธุ ร กิ จ บริ ก ารที่ ต่ อ เนื่ อ งกั บ การท่ อ งเที่ ย วยั ง ไม่ ไ ด้ รั บ การพั ฒ นาให้ เ ต็ ม ศั ก ยภาพสํ า หรั บ ด้านการค้าโดยเฉพาะภาคการส่งออกซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่มีมูลค่าเพิ่มต่ําและสินค้าเกษตร ขั้น พื้ น ฐานทํา ให้ ฐ านสิ นค้ า ส่ ง ออกค่อ นข้ า งแคบ ขาดความหลากหลาย ขณะเดี ย วกั น การส่ ง ออกยัง ต้ อ งพึ่ ง พิ ง ตลาดหลัก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น จึงมีโอกาสได้รับผลกระทบจากภาวะผันแปรทางเศรษฐกิจ ในตลาดหลักเหล่านี้ได้ง่าย โดยผลการจัดลําดับความสามารถในการแข่งขันของสถาบันจัดการเพื่อการพัฒนา (International Institution of Management Development: IMD) ซึ่งได้จัดลําดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประทศ ต่างๆ จํานวน 58 ประเทศในปี 2553 โดยมุ่งเน้นการวัดความสามารถในการสร้างสภาพแวดล้อมต่อการแข่งขันใน 4 กลุ่ม ได้แก่ ศักยภาพทางเศรษฐกิจ ประสิทธิภาพของรัฐบาล ประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ และโครงสร้างพื้นฐาน พบว่ า ความสามารถทางการแข่ ง ขั น ของประเทศไทยในภาพรวมอยู่ ใ นอั น ดั บ ที่ 26 เช่ น เดี ย วกั บ ปี ก่ อ นหน้ า ซึ่งปัจจัยสําคัญที่ส่งผลให้ความสามารถในการแข่งขันของไทยดีขึ้นคือศักยภาพด้านเศรษฐกิจโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในด้ า นระดั บ ราคาซึ่ ง ประเทศไทยมี อั น ดั บ อยู่ เ หนื อ ประเทศคู่ แ ข่ ง รวมถึ ง การจ้ า งงาน และปั จ จั ย ที่ ส่ ง ผล ให้ความสามารถทางการแข่งขันของไทยลดลงคือประสิทธิภาพของภาคเอกชน ในด้านผลิตภาพและประสิทธิภาพ จากผลการจัดอันดับความสามารถทางการแข่งขันแสดงให้เห็นว่าประสิทธิภาพของภาคธุรกิจและ อุตสาหกรรมของไทยยังอยู่ในระดับค่อนข้างต่ํา โดยเฉพาะในด้านผลิตภาพการผลิตที่แรงงานขาดทักษะและไม่ สามารถปรับใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยทําให้ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพต่ํา ขาดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ รวมทั้งระบบโครงสร้าง พื้นฐานและสิ่งอํานวยความสะดวกไม่มีคุณภาพ นอกจากนี้ ยังมีจุดอ่อนในด้านการสร้างมูลค่าเพิ่มของภาคการผลิต ดังนั้นการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2555-2559) จึงควรเน้น ในเรื่องการส่งเสริมการเพิ่มผลิตภาพการพัฒนาประสิทธิภาพและความรู้เบื้องต้นในการดําเนินธุรกิจแก่วิสาหกิจขนาด กลางและขนาดย่อมและผู้ประกอบการชุมชนในแต่ละพื้นที่ รวมทั้งพัฒนาการรวมกลุ่ มเป็ นเครือข่ายวิสาหกิจ ที่เข้มแข็ง ช่วยเหลือให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมสามารถอยู่รอดได้ในภาวะวิกฤติ โดยการสนับสนุนการ ลดต้นทุนการผลิต เพิ่มผลผลิตและเพิ่มยอดขายให้กับสินค้าและบริการ นอกจากนี้ยังต้องผลักดันการพัฒนาสินค้า และบริการเพื่อให้เกิดมูลค่าและคุณค่าเพิ่มอันเนื่องมาจากการสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีความแตกต่าง การปรับเปลี่ยน รูปแบบการผลิตได้ตามต้องการของลูกค้า โดยการประยุกต์ใช้สินทรัพย์ทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญา ผสานกับเทคโนโลยี และนวั ต กรรม ให้ ส อดคล้ อ งกั บ ความต้ อ งการของลู ก ค้ า รองรั บ ต่ อ การเปลี่ ย นแปลงตามแนวโน้ ม ของโลก และยกระดั บ มาตรฐานสิ นค้ า และบริ ก ารของวิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่ อ มให้ไ ด้ ม าตรฐานเป็ น ที่ย อมรั บ ในตลาดโลกซึ่งจะเป็นการช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับผลิตภัณฑ์และบริการของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ตลอดจนให้ความสําคัญกับการสร้างผู้ประกอบการใหม่ซึ่งจะเป็นพลังขับเคลื่อนของเศรษฐกิจไทยที่สําคัญ

5-17


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)

แนวทางตัวชีว้ ัดระดับยุทธศาสตร์ 1. การเพิ่มขึ้นของจํานวนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่จดทะเบียนนิติบุคคล 2. การเพิม่ ขึ้นของจํานวนเครือข่ายวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมได้รับการพัฒนาให้มคี วามเข้มแข็ง 3. การเพิ่มขึ้นของจํานวนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมีการนําการวิจัยและพัฒนามาใช้พัฒนาสินค้า และบริการ 4. การเพิ่มขึ้นของจํานวนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมีการพัฒนาขีดความสามารถของกิจการ 5. จํานวนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมได้รับการส่งเสริมให้เกิดการยกระดับมาตรฐาน กลยุทธ์ที่ 2.1 เพิ่มผลิตภาพและพัฒนาประสิทธิภาพในการดําเนินธุรกิจ การเพิ่มผลิ ตภาพและประสิท ธิภาพของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม จํ าเป็นจะต้ องมีการ วิเคราะห์ ประเมินศักยภาพของธุรกิจ เพื่อให้ทราบถึงความสามารถในการดําเนินธุรกิจ และนํามาเป็นแนวทางในการ ปรับปรุง พัฒนาประสิทธิภาพการดําเนินงาน ลดต้นทุนการผลิต และเพิ่มผลผลิต โดยในระยะเริ่มต้นต้องอาศัย ผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้คําปรึกษา หรืออาจนํารูปแบบธุรกิจที่ประสบความสําเร็จมาประยุกต์ใช้ในการดําเนินธุรกิจ รวมทั้ง สนั บ สนุ น การพั ฒ นาบุ ค ลากรของวิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่ อ มให้ มี ค วามรู้ แ ละทั ก ษะในการวิ เ คราะห์ และประเมินศักยภาพของธุรกิจ และควรส่งเสริมให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมีการดําเนินธุรกิจอย่างมีความ รับผิดชอบต่อสังคม นอกจากนี้ภาครัฐควรเพิ่มศักยภาพของหน่วยงานที่ให้บริการ (Service Provider) ให้สอดคล้อง และเพี ย งพอต่ อ ความต้ อ งการ และควรมี ก ารสํ า รวจ รวบรวมข้ อมู ล การดํ า เนิ น ธุร กิ จ ของวิ ส าหกิจ ขนาดกลาง และขนาดย่อมในแต่ละพื้นที่ เพื่อให้ทราบปัญหา อุปสรรค ข้อจํากัด และความต้องการของวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม เพื่อกําหนดมาตรการในการเพิ่มผลิตภาพและประสิทธิภาพให้กับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม แนวทางการส่งเสริม • กระตุ้นและส่งเสริมให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเห็นถึงความสําคัญของการวิเคราะห์ ประเมินศักยภาพของธุรกิจ และนํามาใช้ เพื่อกําหนดแนวทางการดําเนินธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพและสามารถ ปรับตัวได้ตามปัจจัยแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง • ส่งเสริมการเพิ่มผลิตภาพและประสิทธิภาพ รวมทั้งความรู้เบื้องต้นในการดําเนินธุรกิจให้แก่ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และผู้ประกอบการชุมชนในแต่ละพื้นที่ เพื่อลดต้นทุนการผลิต เพิ่มผลผลิต - การบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ ครอบคลุมถึงการจัดทําระบบบัญชี การบริหารการเงิน การ จัดการความรู้ในองค์กร การปรับปรุงประสิทธิภาพระบบโลจิสติกส์ในองค์กร การจัดการโซ่ อุปทาน ระหว่างองค์กร การจัดผังกระบวนการผลิตเพื่อลดระยะเวลาการดําเนินการ และการ ปรับปรุงระบบการจัดหาวัตถุดิบให้มีประสิทธิภาพ และเครื่องมือการบริหารจัดการอื่นๆ - การเพิ่ ม ประสิ ท ธิภ าพการผลิ ต โดยการปรั บเปลี่ ย นเครื่ องจั กร การใช้พ ลั งงาน ในสถาน ประกอบการอย่างมีประสิทธิภาพ การใช้เทคโนโลยีสะอาดการลดต้นทุนพลังงาน

5-18


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)

- การปรับปรุงประสิท ธิภาพภาคการค้า และบริการ โดยการนําเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ ประโยชน์ ใ นการบริ ห ารจั ด การ การบริ ก ารลู ก ค้ า การประชาสั ม พั น ธ์ การลดต้ น ทุ น ด้ า น โลจิสติกส์ และการพัฒนาทักษะบุคลากร • สนั บ สนุ น ให้ วิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่ อ มนํ า รู ป แบบธุ ร กิ จ ที่ ป ระสบความสํ า เร็ จ (Best practices) มาประยุกต์ใช้ในการดําเนินธุรกิจ โดยผ่านกิจกรรมต่าง ๆ เช่น ศึกษาดูงาน จัดทําคู่มือเผยแพร่ การอบรมสัมมนา เป็นต้น • สร้างความตระหนักให้ความรู้และสร้างค่านิยมให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมีการดําเนิน ธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility: CSR) รวมถึงส่งเสริมให้มีกิจกรรมที่มี ประโยชน์ต่อชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม • ส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้มีความรู้และทักษะด้านการ วิเคราะห์และประเมินศักยภาพของธุรกิจ เพื่อให้สามารถนําไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาประสิทธิภาพขององค์กร • สนับสนุนการเพิ่มศักยภาพของหน่วยงานที่ให้บริการด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการดําเนินธุรกิจ (Service Provider) ให้สอดคล้องและเพียงพอต่อความต้องการของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม • สนับสนุนให้มีการสํารวจ รวบรวมข้อมูลของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในแต่ละพื้นที่ เพื่อทราบปัญหา อุปสรรค ข้อจํากัดและความต้องการของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เพื่อนําไปกําหนดแนว ทางการเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในสาขาเป้าหมาย กลยุทธ์ที่ 2.2 ส่งเสริมการสร้างพันธมิตรทางธุรกิจ การรวมกลุ่มและการพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจ การพัฒนาพันธมิตรทางธุรกิจ การรวมกลุ่มและเครือข่ายวิสาหกิจเป็นแนวทางสําคัญที่ทําให้วิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมมีความเข้มแข็ง และมีศักยภาพทางการแข่งขันเพิ่มขึ้น จากการนําศักยภาพที่แตกต่างกัน มาเกื้อหนุนกัน และเชื่อมโยงการดําเนินธุรกิจร่วมกันของสมาชิกเครือข่ายในห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) โดยพัฒนาเครือข่ายร่วมกับหน่วยงาน ภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันที่เกี่ยวข้อง ซึ่งทําให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูล และองค์ค วามรู้ ร ะหว่ า งสมาชิ ก ช่ว ยลดต้ น ทุ น ในการดํ า เนิ นธุ ร กิ จ รวมทั้ ง เป็ น การสนับ สนุน การเพิ่ ม ผลิ ต ภาพ (Productivity) โดยรวมของเครือข่า ยวิส าหกิจ ในการส่ ง เสริ ม เครือ ข่ า ยวิส าหกิจนี้ส ามารถดํา เนิน การได้ โดยดําเนินการจัดทํายุทธศาสตร์การพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจ เพื่อเป็นทิศทางการพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจเป้าหมาย และพัฒนาผู้ประสานการพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจ ให้เป็นผู้นําในการผลักดันมีการรวมกลุ่มและพัฒนาความสามารถ ในการแข่งขันของเครือข่ายอย่างต่อเนื่อง แนวทางการส่งเสริม • สนับสนุนให้มีการจัดทํายุทธศาสตร์การพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจในธุรกิจสาขาต่างๆ เช่น อาหาร สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ท่องเที่ยว ดิจิตอลคอนเท้นท์ สปา ธุรกิจบริการเพื่อสุขภาพ และภาพยนตร์ เป็นต้น โดยให้มี การทบทวนและต่อยอดผลการศึกษาที่เกี่ยวกับการพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจเพื่อกําหนดเครือข่ายวิสาหกิจเป้าหมาย

5-19


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)

• สนับสนุนให้มีการเสริมสร้างศักยภาพผู้ประสานงานการพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจอย่างต่อเนื่อง (Cluster Development Agent : CDA) เพื่อให้การประสานงานมีประสิทธิภาพและเครือข่ายมีความแข็งแกร่ง • ส่งเสริมให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ตระหนักและเห็นความสําคัญของการรวมกลุ่ม • ผลั ก ดั น ให้ มี ก ารรวมกลุ่ ม และมี กิ จ กรรมที่ เ กื้ อ หนุ น ให้ เ กิ ด ความเชื่ อ มโยงระหว่ า งธุ ร กิ จ ในห่ว งโซ่ อุป ทาน และการดํ า เนิ น งานระหว่า งวิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่อ มด้ว ยกั น รวมทั้ง เชื่ อ มโยงกั บ ผู้ ป ระกอบการรายใหญ่ แ ละวิ ส าหกิ จ ชุ ม ชน ส่ ง เสริ ม การรวมกลุ่ ม ให้ เ ป็ น สมาคมการค้ า กลุ่ ม ผู้ ผ ลิ ต สหกรณ์ และผลักดันให้มีบทบาทในการพัฒนาธุรกิจ รวมทั้งให้มีความร่วมมือกับสถาบันการศึกษา สถาบันวิจัย สถาบัน การเงิน หน่วยงานภาครัฐ และเอกชน เป็นต้น • เสริม สร้างความเข้ม แข็งให้กั บเครือข่ายวิ สาหกิจ เพื่อการพัฒนาตามยุทธศาสตร์ การพัฒนา เครือข่ายวิสาหกิจ โดยสนับสนุนให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดําเนินการอย่างต่อเนื่อง กลยุทธ์ที่ 2.3 พัฒนาสินค้าและบริการของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ให้สอดคล้องกับความต้องการ ของตลาด โดยใช้เทคโนโลยี นวัตกรรม ภูมิปัญญา และทุนทางวัฒนธรรม การพัฒนาสินค้าและบริ การของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อ มให้สามารถตอบสนองความ ต้องการของตลาด ผู้ประกอบการจําเป็นต้องมีข้อมูลด้านต่างๆ เพื่อใช้ในการปรับปรุงสินค้าและบริการ ภาครัฐ ควรมีการกระตุ้นให้มีการใช้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ โดยจัดกิจกรรมสนับสนุน และสนับสนุนด้านเงินทุน ที่ปรึกษา ผู้เชี่ยวชาญให้แก่ผู้ประกอบการ เพื่อพัฒนาสินค้าและบริการโดยการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญา ผสานกับเทคโนโลยีและ นวัตกรรม ให้ สอดคล้องกับความต้ องการของลูกค้าและรองรับต่อการเปลี่ยนแปลงตามแนวโน้มของโลก และ เสริมสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อให้ผู้ประกอบการทราบถึงการคุ้มครองทาง กฏหมายในสินค้าและบริการที่ได้พัฒนาขึ้น รวมทั้งสนับสนุนให้มีการทําวิจัยและพัฒนาเชิงประยุกต์ และใช้ประโยชน์ จากงานศึกษาวิจัยที่มีอยู่ทั้งในและต่างประเทศ อีกทั้งสนับสนุนให้เกิดเครือข่ายนักออกแบบ นักการตลาด และ นักพัฒนาผลิตภัณฑ์ ในห่วงโซ่มูลค่า (Value Chain) เพื่อให้มีบทบาทในการริเริ่มผลิตสินค้าและบริการใหม่ แนวทางการส่งเสริม • สนับสนุนให้มีการรวบรวมข้อมูล ความรู้ด้านทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อพัฒนาฐานข้อมูลและ นําข้อมูลในเชิงวิเคราะห์มาใช้ประโยชน์ในการสร้างคุณค่าให้กับสินค้าและบริการ • กระตุ้นให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมีการใช้ความริเริ่มสร้างสรรค์ในการเพิ่มมูลค่าสินค้า และบริการ โดยจัดกิจกรรมสนับสนุนต่าง ๆ เช่น การจัดประกวดผลงานความริเริ่มสร้างสรรค์ เป็นต้น และให้การ สนับสนุนด้านเงินทุน ที่ปรึกษา และผู้เชี่ยวชาญ • ผลักดันการพัฒนาสินค้าและบริการเพื่อให้เกิดคุณค่าและมูลค่าเพิ่มจากการสร้างผลิตภัณฑ์ที่มี ความแตกต่าง ปรั บเปลี่ยนรู ปแบบการผลิ ต โดยการประยุกต์ใ ช้ภูมิปัญ ญา ผสานกับเทคโนโลยีและนวัตกรรม ให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าและรองรับต่อการเปลี่ยนแปลงตามแนวโน้มของโลก (Mega Trend) เช่น

5-20


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)

• เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา ผลักดันและส่งเสริมให้มี การจดทะเบียนคุ้มครองและปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา รวมทั้งสนับสนุนให้ใช้ทรัพย์สินทางปัญญาที่หมดอายุการ คุ้มครองหรือที่ไม่คุ้มครองในประเทศไทยมาใช้ต่อยอดในการพัฒนาสินค้าและบริการ • สนับสนุนให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมีการทําวิจัยและพัฒนาเชิงประยุกต์ และใช้ ประโยชน์จากงานศึกษาวิจัยที่มีอยู่ทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งยกระดับการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อให้ เกิดนวัตกรรมและสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าและบริการ โดยจัดให้มีศูนย์ข้อมูลกลางงานศึกษาวิจัยที่เป็นประโยชน์ ในเชิงพาณิชย์ และอุดหนุนค่าใช้จ่ายบางส่วน หรือให้สิทธิประโยชน์การลดหย่อนภาษีเพื่อสร้างแรงจูงใจในการทํา วิจัยหรือนํางานวิจัยมาประยุกต์ใช้ • สนับสนุนให้เกิดเครือข่ายนักออกแบบ นักการตลาด และนักพัฒนาผลิตภัณฑ์ในห่วงโซ่มูลค่า (Value Chain) เพื่อให้มีบทบาทในการริเริ่มผลิตสินค้าและบริการใหม่ กลยุทธ์ที่ 2.4 ยกระดับคุณภาพสินค้าและบริการของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้ได้มาตรฐานสากล การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมควรมีการพัฒนา คุ ณภาพและมาตรฐานของสินค้ าและบริ ก ารอย่างต่อเนื่ อง ยกระดับการผลิ ต สิ นค้ า และบริการให้ไ ด้ ม าตรฐาน โดยเฉพาะมาตรฐานตามที่กฎหมายกําหนด เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคจากสินค้าด้อยคุณภาพ ตลอดจนสนับสนุนให้มีการ กําหนดมาตรฐานวิชาชีพ (Professional Certification) เกณฑ์คุณภาพธุรกิจในธุรกิจภาคการค้าและบริการ นอกจากนี้ เพื่อให้การยกระดับคุณภาพสินค้าและบริการของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมีประสิทธิภาพ มากขึ้น ภาครัฐควรสนับสนุนให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเข้าถึงบริการของหน่วยงานรับรองมาตรฐาน ต่างๆ ได้สะดวกและรวดเร็ว และส่งเสริมให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่มีศักยภาพได้การรับรองมาตรฐาน ระดับสากล เพื่อให้เกิดการยอมรับจากผู้บริโภค อีกทั้งส่งเสริมให้ธุรกิจบริการนําแนวทางวิศวกรรมและการจัดการ บริการมาประยุกต์ใช้ในการดําเนินงาน เพื่อให้ธุรกิจมีการดําเนินงานที่เป็นระบบและมีความน่าเชื่อถือ แนวทางการส่งเสริม • สร้ า งความตระหนั กให้ วิ ส าหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่ อ ม เห็ น ความสํ า คั ญ ของการพั ฒ นา คุณภาพและมาตรฐานของสินค้าและบริการอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถแข่งขันได้และเตรียมพร้อมในการรองรับ ข้อกําหนดด้านมาตรฐานระดับสากล โดยการให้องค์ความรู้ด้านคุณภาพและมาตรฐานต่างๆ และการเตรียมความ พร้อมแก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในการใช้ประโยชน์และขอรับรองมาตรฐานจากหน่วยงานรับรอง มาตรฐานต่างๆ ได้อย่างสะดวกและรวดเร็วมากขึ้น • ส่งเสริม พัฒนา และยกระดับการผลิตสินค้าและบริการของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ให้ได้มาตรฐาน โดยเฉพาะมาตรฐานบังคมตามที่กฏหมายกําหนดในแต่ละธุรกิจ เช่น มาตรฐานอาหารและยา (อย.) มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) มาตรฐาน Q (Q-Mark) หลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิต (GMP) เป็นต้น

5-21


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)

โดยสนับสนุนและช่วยเหลือวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในการปรับปรุงการดําเนินธุรกิจให้ได้มาตรฐานเป็นที่ ยอมรับของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ • สนับสนุนให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในธุรกิจเป้าหมายได้การรับรองมาตรฐานระดับ สากล เช่น International Standardization and Organization (ISO), Hazard Analysis Critical Control Point (HACCP), International Electrotechnical Commission (IEC), Hospital Accreditation (HA) เป็นต้น โดยภาครั ฐ ให้ ก ารสนั บ สนุ น ด้ า นความรู้ ปรั บ ปรุ ง กระบวนการดํ า เนิ น งานเพื่ อ ให้ ไ ด้ ม าตรฐาน และสนั บ สนุ น ด้านการเงิน เพื่อลดภาระของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม • สนับสนุนการกําหนดมาตรฐานสินค้า เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคจากสินค้าด้อยคุณภาพ โดยส่งเสริม ให้ทบทวนมาตรฐานเกี่ยวกับสินค้าที่ประกาศใช้แล้ว ให้สอดคล้องเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน และตรวจติดตาม เฝ้าระวังสินค้าด้อยคุณภาพที่เข้าสู่ตลาด รวมทั้งส่งเสริมให้มีการบังคับใช้กฎหมายด้านมาตรฐานเกี่ยวกับสินค้า และบริการอย่างเคร่งครัด • ส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในธุรกิจที่มีศักยภาพ ได้รับการรับรองมาตรฐานวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง (Professional Certification) และเกณฑ์คุณภาพธุรกิจ เพื่อให้การ บริการวิชาชีพของไทยเป็นที่รู้จัก และเป็นที่ยอมรับในระดับสากล เช่น การนวดแผนไทย มัคคุเทศน์ การบริการ โรงแรม เป็นต้น โดยภาครัฐให้การสนับสนุนด้านการเงินเพื่อลดภาระของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม • ส่งเสริมให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในธุรกิจบริการนําแนวทางวิศวกรรมและการจัดการ บริการ (Service Science Management and Engineer: SSME) มาประยุกต์ใช้ในการดําเนินงาน เพื่อปรับปรุง กระบวนการธุรกิจด้านบริการให้เป็นระบบ สามารถให้บริการแก่ลูกค้าอย่างมีมาตรฐาน และสอดคล้องกับความ ต้องการของลูกค้า เช่น ธุรกิจเทคโนโลยีสารสนเทศ ดิจิตอลคอนเท้นท์ บริการโลจิสติกส์ เป็นต้น กลยุทธ์ที่ 2.5 สร้างโอกาสและเพิ่มช่องทางการตลาดให้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม การสร้ า งโอกาสและเพิ่ ม ช่ อ งทางการตลาดเป็ น แนวทางสนั บ สนุน การเพิ่ ม รายได้ โ ดยตรงให้ กั บ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ซึ่งในปัจจุบันวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมยังขาดความรู้ด้านการตลาด ขาดการนําเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้เพื่อสนับสนุนการขยายตลาด และยังมีข้อจํากัดในการขยายตลาดและการเข้า ถึ ง ข้ อ มู ล ด้ า นการตลาดเชิ ง ลึ ก รวมทั้ ง มี ตั ว แทนการค้ า ที่ ร วบรวมสิ น ค้ า ส่ ง หรื อ จั ด จํ า หน่ า ยสิ น ค้ า และบริ ก าร ที่ไม่เพียงพอ และธุรกิจภาคการค้ายังขาดความร่วมมือเพื่อการพัฒนาทางธุรกิจร่วมกัน สําหรับแนวทางในการพัฒนา ด้านการตลาดสามารถดําเนินการได้โดยการให้ความรู้พื้นฐานด้านการตลาด สนับสนุนกิจกรรมส่งเสริมด้านการตลาด พัฒนาตราสินค้า และเพิ่มช่องทางการตลาดอย่างทั่วถึงในประเทศและระหว่างประเทศ ผ่านการค้ารูปแบบต่าง ๆ เช่น การค้าผ่านระบบสารสนเทศ หรือกิจการด้านการค้า (Trading Firm) เป็นต้น โดยให้มีการพัฒนาร้านค้าส่งให้ ช่วยเหลือและเชื่อมโยงกับร้านค้าปลีกดั้งเดิม เพื่อยกระดับภาคการค้าในภาพรวม และสนับสนุนให้มีการนําข้อมูล ด้านการตลาดเชิงลึกมาใช้ประโยชน์ประกอบในการดําเนินธุรกิจ

5-22


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)

แนวทางการส่งเสริม • เสริ ม สร้ า งองค์ ค วามรู้ ด้ า นการตลาดขั้ น พื้ น ฐานให้ แ ก่ วิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่ อ ม เช่น ความรู้เกี่ยวกับส่วนผสมทางการตลาด (Marketing Mix) การสื่อสารการตลาด การจัดการช่องทางการจําหน่าย การบริหารลูกค้าสัมพันธ์ เป็นต้น • สนับสนุนให้มีกิจกรรมส่งเสริมทางการตลาด เช่น การจับคู่ทางธุรกิจ งานแสดงสินค้าภายใน ท้องถิ่นและภายในเครือข่ายระหว่างจังหวัด และกิจกรรมอื่นๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศให้ตรงกับความต้องการ และเกิดประโยชน์ต่อวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม รวมถึงให้มีการศึกษาข้อมูลตลาด ข้อมูลผู้ซื้อ และการให้ ความรู้เพื่อเตรียมความพร้อมแก่ผู้ประกอบการที่จะเข้าร่วมกิจกรรม • สนับสนุนการพัฒนาตราสินค้าอย่างต่อเนื่อง สร้างการยอมรับและความเชื่อมั่นต่อตราสินค้า (Brand Loyalty) ส่งเสริมให้มีการพัฒนาตราสินค้าย่อย (Sub-brand) ตลอดจนสนับสนุนการพัฒนาตราสินค้าใน รูปแบบอื่น เช่น ความร่วมมือและใช้ตราสินค้าเดียวกัน (Co-branding) การปรับปรุงและพัฒนาตราสินค้า (Re-branding) และพัฒนาตราสินค้าท้องถิ่น (Local Brand) เป็นต้น • พั ฒ นาและสนั บ สนุ น ให้ วิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่ อ มนํ า เทคโนโลยี ส ารสนเทศไปใช้ ประโยชน์ในการดําเนินธุรกิจ การสื่อสารการตลาด การประชาสัมพันธ์ และระบบการค้ารูปแบบใหม่ เช่น การค้า ผ่านระบบสารสนเทศ (e-Market, e-Commerce, Social Network) เป็นต้น • เพิ่ มช่ องทางการตลาดให้วิส าหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยการสนับสนุนการจําหน่ายในหลายช่องทาง เช่น ร้านสะดวกซื้อ ขยายธุรกิจแฟรนไชส์ เครื่องจําหน่ายสินค้า อัตโนมัติ เป็นต้น • ส่งเสริมให้เกิดกิจการด้านการค้า (Trading Firm) สําหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เพื่อทําหน้าที่เป็นตัวกลาง ในการรวบรวมและกระจายคําสั่งซื้อสินค้าให้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม • พัฒนาและสนับสนุนการเชื่อมโยงระหว่างร้านค้าส่งและร้านค้าปลีกดั้งเดิม โดยส่งเสริมให้ร้านค้า ส่งมีบทบาทมากขึ้นในการพัฒนาการดําเนินธุรกิจของร้านค้าปลีกดั้งเดิมสําหรับเป็นช่องทางการกระจายสินค้าที่มี ประสิทธิภาพ สามารถลดต้นทุนการบริหารสินค้าคงคลัง • สนับสนุนการใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลด้านการตลาดเชิงลึก เพื่อให้วิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อมทราบทิศทางและแนวทางสําหรับการขยายตลาด รวมทั้งใช้เป็นข้อมูลในการปรับปรุงสินค้าและบริการให้ สอดคล้องกับความต้องการของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ กลยุทธ์ที่ 2.6 พลิกฟื้นธุรกิจเพื่อความอยู่รอด การช่วยเหลือวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้สามารถพลิกฟื้นการดําเนินธุรกิจเพื่อความอยู่รอด หรือลดผลกระทบจากการเลิกกิจการ โดยการสนับสนุนที่ปรึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญในการปรับปรุงการดําเนินธุรกิจ ตลอดจนสนับสนุนมาตรการทางการเงิน เพื่อให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมใช้ฟื้นฟูธุรกิจและปรับรูปแบบการ

5-23


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)

ดําเนินธุรกิจ นอกจากนี้ให้มีหน่วยงานกลางทําหน้าที่รวบรวมข้อมูล ประสานงานเพื่อช่วยเหลือและอํานวยความ สะดวกแก่ผู้ประกอบการในการปรับปรุงธุรกิจ และ ขายหรือซื้อกิจการ แนวทางการส่งเสริม • ช่วยเหลือวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ประสบปัญหาจากปัจจัยต่างๆ มีความจําเป็นต้อง ปรับเปลี่ยนธุรกิจ เพื่อความอยู่รอดหรือลดผลกระทบจากการเลิกกิจการ โดยการสนับสนุนที่ปรึกษา หรือผู้เชี่ยวชาญ ในการปรับปรุงการดําเนินธุรกิจในด้านต่างๆ เช่น - ส่งเสริมให้มีการวิเคราะห์ และประเมินสมรรถนะทางธุรกิจเพื่อให้ทราบความสามารถในการ ดําเนินธุรกิจ และวางแผนการปรับปรุงกิจการ - ให้ ค วามรู้ แ ละส่ ง เสริ ม ให้ วิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่ อ มมี ก ารบริ ห ารความเสี่ ย ง (Risk Management) ในการดําเนินธุรกิจ - ส่งเสริมให้มีการปรับปรุงแผนการตลาดในการดําเนินธุรกิจ โดยการกําหนดตําแหน่งทางการ ตลาดและกลุ่มลูกค้าเป้าหมายใหม่ รวมทั้งการหาช่องทางการตลาดใหม่ - สนับสนุนการปรับเปลี่ยนรูปแบบของผลิตภัณฑ์ โดยการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อให้ ได้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นเอกลักษณ์และสอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า เพื่อยกระดับธุรกิจจาก การรับจ้างทําหรือผลิตสินค้าให้กับสินค้ายี่ห้อต่างๆ (Original Equipment Manufacturing: OEM) เป็นออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ของธุรกิจเอง (Original Design Manufacturing: ODM) จนถึงการสร้างตราสินค้าเป็นของธุรกิจเอง (Original Brand name Manufacturing: OBM) • สนับสนุนมาตรการทางการเงินแก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เพื่อใช้ฟื้นฟูธุรกิจและปรับ รูปแบบการดําเนินธุรกิจ โดยผลักดันให้สถาบันการเงินมีผลิตภัณฑ์การเงินเพื่อผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อมที่ต้องการฟื้นฟูธุรกิจ • ส่งเสริมให้มีหน่วยงานกลางซึ่งทําหน้าที่ รวบรวมข้อมูล ประสานงานเพื่อช่วยเหลือและอํานวย ความสะดวกแก่ผู้ประกอบการในการปรับปรุงธุรกิจ และขายหรือซื้อกิจการ เช่น การควบรวมกิจการ การจับคู่ธุรกิจ การขายกิจการบางส่วน การหาพันธมิตรทางธุรกิจ และการซื้อกิจการ กลยุทธ์ที่ 2.7 สร้างและพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการใหม่ ผู้ประกอบการรายใหม่ เป็นปัจจัยสําคัญที่สนับสนุนให้เศรษฐกิจของประเทศมีการอัตราการขยาย ตัวเพิ่มขึ้น รวมถึงก่อให้เกิดการจ้างงาน และการสร้างรายได้ให้กับประชาชนในประเทศ ซึ่งการพัฒนาผู้ที่มีศักยภาพ ให้เป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมรายใหม่ที่มีความสามารถในการแข่งขันที่เหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจโลก ในปัจจุบัน ได้นั้นจะต้องมีองค์ประกอบของความพร้อมทั้ง ความรู้ ทักษะ ทัศนคติ ทางด้านการบริหารจัดการ รวมทั้ง วิ ท ยาการเฉพาะด้ า นในธุ ร กิ จ ไม่ ว่ า จะเป็ น ในภาคการผลิ ต ภาคการค้ า หรื อ ภาคบริ ก าร โดยจํ า เป็ น ต้ อ ง ใช้วิธีดําเนินการในหลายรูปแบบ 5-24


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)

แนวทางในการสร้างและพัฒนาผู้ประกอบการรายใหม่ สามารถดําเนินการโดยสร้างแรงจูงใจและ จิตสํานึกในการเป็นผู้ประกอบการ เสริมสร้างทัศนคติและประสบการณ์ให้แก่นักเรียน นักศึกษา ประชาชนทั่วไป มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจและการเป็นเจ้าของธุรกิจ ผลิตสินค้าและบริการที่แตกต่างและสร้าง มูลค่าเพิ่ม รวมทั้งสนับสนุนให้มีธุรกิจที่ดําเนินการเพื่อสังคม (Social Enterprise: SE) และเครือข่ายของวิสาหกิจ เพื่อสังคม เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ร่วมกัน และสร้างผู้ประกอบการการค้า เพื่อกระตุ้นและเชื่อมโยงให้ผู้ผลิตสินค้า สามารถจําหน่ายสินค้าและบริการได้มากขึ้น แนวทางการส่งเสริม • สร้างแรงจูงใจและจิตสํานึกในการเป็นผู้ประกอบการ โดยเสริมสร้างทัศนคติและประสบการณ์ ให้นักเรียน นักศึกษา และผู้สนใจ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจและการเป็นเจ้าของธุรกิจ ด้วยการ บรรจุหลักสูตรเกี่ยวกับการเสริมสร้างความเป็นผู้ประกอบการ การจัดตั้งบริษัทจําลอง การอบรมวิชาชีพ การสร้าง ความร่วมมือกับภาคเอกชนเพื่อเพิ่มโอกาสการฝึกงาน การจัดประกวดแผนธุรกิจ การเผยแพร่ต้นแบบผู้ประกอบการ ใหม่ที่ประสบความสําเร็จ รวมทั้งการสนับสนุนด้านการเงินให้แก่ผู้ที่มีความพร้อมในการจัดตั้งธุรกิจ เพื่อเสริมสร้าง การเกิดผู้ประกอบการธุรกิจ • สนับสนุนการพัฒนาความพร้อมด้านการประกอบธุรกิจแก่ผู้ที่มีความสนใจในการจัดตั้งธุรกิจ - หลักสูตรทั่วไป โดยการบ่มเพาะ อบรม การให้คําปรึกษาคําแนะนํา พี่เลี้ยงธุรกิจ ด้านการจัดทํา แผนธุ ร กิ จ ถ่ า ยทอดความรู้ เ กี่ ย วกั บ ความต้ อ งการของตลาด การจั ด ตั้ ง ธุ ร กิ จ กฎหมาย กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง และจัดกิจกรรมให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมีโอกาสนําเสนอ แผนธุรกิจแก่สถาบันการเงินเพื่อการเริ่มต้นธุรกิจ ตลอดจนให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการ เตรียมธุรกิจ เพื่อรองรับการเปิดเสรีทางการค้า โดยการเผยแพร่ข้อมูลและโอกาสในการทํา ธุรกิจที่ประเทศไทยมีศักยภาพในการแข่งขันในระดับอาเซียน - หลั ก สู ต รเฉพาะด้ า นสํ า หรั บ ผู้ ที่ มี ค วามพร้ อ มสู ง เช่ น ทายาทธุ ร กิ จ หรื อ ผู้ ที่ มี ศั ก ยภาพ (ด้านการเงินและความรู้) โดยเน้นพัฒนาหลักสูตรการดําเนินธุร กิจในเชิงปฏิบัติ หลักสูตร กึ่งวิชาชีพ เช่น หลักสูตรเกี่ยวกับการตั้งธุรกิจ โรงแรมขนาดเล็ก สปา ร้านอาหารไทย และร้าน ซักรีด เป็นต้น • สร้างแรงจูงใจให้ผู้เริ่มต้นดําเนินธุรกิจจดทะเบียนนิติบุคคล โดยสนับสนุนสิทธิประโยชน์พิเศษ ในการเข้าร่วมกิจกรรมของหน่วยงานภาครัฐ และสิทธิประโยชน์ด้านภาษี • ส่ ง เสริ ม ให้ ผู้ ป ระกอบการใหม่ ตระหนั ก และมี แ นวคิ ด ในการดํ า เนิ น ธุ ร กิ จ เพื่ อ สั ง คม (Social Enterprises: SE) โดยการรณรงค์ให้ทราบความสําคัญและความจําเป็นของการดําเนินธุรกิจเพื่อสังคม ตลอดจนสนับสนุนให้มีกิจกรรมที่สร้างผลตอบแทนให้แก่สังคมชุมชน และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

5-25


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)

• สร้ า งผู้ ป ระกอบการการค้ า (Merchandiser) และธุ ร กิ จ ที่ ใ ห้ ค วามสํ า คั ญ กั บ การออกแบบ ใช้องค์ความรู้ ประยุกต์ใช้นวัตกรรม และภูมิปัญญา รวมทั้งเทคนิคการบริหารจัดการ สมัยใหม่ เพื่อสร้างสินค้า และบริการที่มีมูลค่า รวมถึงพัฒนาธุรกิจที่ประเทศไทยมีศักยภาพทางการแข่งขัน • สนับสนุนการรวมกลุ่มพัฒนาเครือข่ายของผู้ประกอบการใหม่ที่ดําเนินธุรกิจเพื่อสังคม ยุทธศาสตร์ที่ 3 ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทยให้เติบโตอย่างสมดุลตามศักยภาพของพื้นที่ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทยมีอยู่อย่างหนาแน่น 8 ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและ ปริมณฑล ประมาณ 110 ราย/ตารางกิโลเมตร ส่วนพื้นที่นอกเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลมีความหนาแน่น ของจํานวนวิสาหกิจเพียง 4 ราย/ตารางกิโลเมตร ขณะที่ การจ้างงานส่วนใหญ่ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาด ย่อมอยู่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล คิดเป็นร้อยละ 49.4 9 ของการจ้างงานทั้งหมด แสดงให้เห็นถึงการกระจุก ตัวของจํานวนและการจ้างงานของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ทั้งที่ พื้นที่อื่นนั้นมิได้มีศักยภาพด้อยไปกว่าพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ทั้งนี้ ศักยภาพของพื้นที่สามารถจําแนกได้เป็น 3 ด้าน คือ 1) ด้านสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งมีศักยภาพ ของวิถีชีวิต วัฒนธรรม และภูมิปัญญาที่เป็นเอกลักษณ์ สามารถสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Added) และสร้างสรรค์ ความแตกต่ า ง โดดเด่ น ให้ แ ก่ สิ น ค้ า และบริ ก าร เช่ น ตลาดวิ ถี ไ ทยที่ สื บ ทอดอั ต ลั ก ษณ์ วั ฒ นธรรมเฉพาะถิ่ น งานศิลปะหัตถกรรม และการผสมผสานของงานศิลปะร่วมสมัยที่ก่อให้เกิดงานดีไซน์รูปแบบใหม่ เป็นต้น 2) ด้าน เศรษฐกิจ โดยมุ่งเน้นศักยภาพพื้นที่ที่เหมาะสมกับการดําเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เช่น การใช้ประโยชน์จากความ ได้เปรียบทางภูมิประเทศที่มีพื้นที่ติดกับประเทศเพื่อนบ้านซึ่งเอื้อต่อการดําเนินธุรกิจค้าชายแดน 10 การมีสถาน ประกอบการอยู่ในแนวพื้นที่ยุทธศาสตร์เศรษฐกิจ 11 เป็นต้น 3) ด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม โดยมุ่งเน้นศักยภาพ พื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์และความหลากหลายของทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ที่เอื้อต่อการประกอบ ธุรกิจบางประเภท เช่น บางพื้นที่เหมาะกับการดําเนินธุรกิจเกษตรแปรรูป ธุรกิจการท่องเที่ยว ธุรกิจประเภท อุตสาหกรรม เป็นต้น ซึ่งวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมสามารถนําศักยภาพของพื้นที่ดังกล่าวมาใช้ประโยชน์ใน การดําเนินธุรกิจ นอกจากนั้น ภาครัฐยังได้ให้ความสําคัญกับพื้นที่ในเชิงการบริหารและการปกครองด้วยการกระจาย อํานาจและเพิ่มบทบาทให้แก่ท้องถิ่น อย่างไรก็ตาม บทบาทดังกล่าวยังไม่สามารถตอบสนองหรือก่อให้เกิดกลไก 8

คํานวณโดย จํานวนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ราย) หารด้วยพื้นที่ (ตารางกิโลเมตร) ที่มา: รายงานสถานการณ์วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ปี 2552 และแนวโน้มปี 2553. สํานักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) 10 มูลค่าการค้าชายแดนระหว่างประเทศไทยกับมาเลเซีย พม่า ลาวและกัมพูชา เพิ่มขึ้นจาก 554,283 ล้านบาทในปี พ.ศ. 2550 เป็น 778,070 ล้านบาท ในปี พ.ศ. 2553 หรือคิดเป็นร้อยละ 77.3 ของมูลค่าการค้าระหว่างประเทศของประเทศไทยกับ 4 ประเทศดังกล่าว (รายงานสถิติการค้าภาพรวม ระหว่าง ไทยกับมาเลเซีย พม่า ลาว และ กัมพูชา ปี 2550 – 2553, กรมการค้าต่างประเทศ.) 11 พื้นที่ยุทธศาสตร์เศรษฐกิจ คือ พื้นที่ในประเทศไทยที่รองรับการขยายตัวของกิจกรรมเศรษฐกิจจากความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น จังหวัด พิษณุโลกที่ได้รับประโยชน์จากการเป็นสี่แยกอินโดจีน จากความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มน้ําโขง (GMS) หรือจังหวัดตรังและจังหวัดสงขลาได้รับ ประโยชน์ของการมีตลาดร่วมขายส่ง/ขายปลีกและศูนย์กระจายสินค้า จากโครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย ระหว่างประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย และ ไทย (IMT-GT) เป็นต้น 9

5-26


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)

ที่ เ อื้ อ ต่ อ การขยายตั ว ของธุ ร กิ จ ในพื้ น ที่ ไ ด้ อ ย่ า งเหมาะสม และยั ง ขาดซึ่ ง การบู ร ณาการและการขั บ เคลื่ อ นที่ เป็นรูปธรรม ดังนั้นการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม จึงควรเน้นการพัฒนาให้สอดคล้องกับศักยภาพ ของพื้นที่ โดยส่งเสริมการนําภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมมาใช้ในการสร้างมูลค่าให้กับสินค้าและบริการ ส่งเสริม การสร้างงาน สร้างอาชีพในพื้นที่ เพิ่มโอกาสการเข้าถึงแหล่งทุนโดยการพัฒนาความเข้มแข็งขององค์กรการเงินระดับ ฐานราก บริหารจั ดการทรัพ ยากรในท้ องถิ่ นอย่างเหมาะสมเพื่อ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด รวมถึงพัฒนาพื้นที่ เ ขต เศรษฐกิจชายแดนและพื้นที่ยุทธศาสตร์เศรษฐกิจให้เอื้อต่อการค้า การลงทุนและการท่องเที่ยว อีกทั้งสนับสนุนให้ เกิ ดการบูรณาการการทํ างานและสร้างเครื อข่ายความร่วมมือในทุกภาคส่วน ซึ่งการดํ าเนินการทั้ งหมดนี้ เพื่อ เสริมสร้างความเข้มแข็งแก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ให้สามารถเติบโต แข่งขัน และอยู่รอดภายใต้บริบท ของโลกที่เปลี่ยนแปลงไป อีกทั้งเกิดความสมดุลทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม ชุมชน ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม อัตลักษณ์ วัฒนธรรม และวิถีชีวิต แนวทางตัวชี้วัดยุทธศาสตร์ 1. การเพิ่มขึ้นของจํานวนแรงงานในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ได้รับการพัฒนาความรู้ และทักษะ สอดคล้องกับความต้องการของธุรกิจในพื้นที่ 2. การเพิ่มขึ้นของจํานวนผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และผู้ประกอบการ ชุมชน ที่ได้รับการพัฒนาศักยภาพการดําเนินธุรกิจ 3. การเพิ่มขึ้นของจํานวนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่มีการบริหารจัดการโดยคํานึงถึงสังคม และสิ่งแวดล้อม 4. การเพิ่มขึ้นของสินค้าและบริการของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ได้รับการพัฒนาโดย คํานึงถึงอัตลักษณ์ วัฒนธรรม กลยุทธ์ที่ 3.1 ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมและผู้ประกอบการชุมชน ให้พัฒนาบนพื้นฐานทาง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ความแตกต่างของภูมิประเทศส่งผลให้เกิดความหลากหลายทางโครงสร้างเศรษฐกิจ สังคม วัฒธรรม และภูมิปัญญา ที่มีผลต่อการดําเนินชีวิตและการประกอบธุรกิจในแต่ละพื้นที่ ซึ่งผู้ประกอบการสามารถนํามาใช้ ในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าและบริการ รวมถึงการดําเนินธุรกิจ อย่างไรก็ตามในบางพื้นที่ ศักยภาพดังกล่าวยัง ขาดการจัดระบบ การวางแผน การเชื่อมโยง และการนํามาใช้ให้เป็นประโยชน์ ทั้งในด้านความรู้ การพัฒนาเชิงพื้นที่ และการมีส่วนร่วมของคนในพื้นที่ จึงจําเป็นต้องส่งเสริมผู้ประกอบการชุมชน ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม ให้พัฒนาบนพื้นฐานทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม

5-27


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)

แนวทางการส่งเสริม • กํ า หนดธุ ร กิ จ ที่ มี ศั ก ยภาพในการสร้ า งมู ล ค่ า ทางเศรษฐกิ จ ให้ กั บ พื้ น ที่ โดยพิ จ ารณาจาก แผนยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัด และแผนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ • พัฒนาความรู้ และทักษะฝีมือแรงงานในแต่ล ะพื้นที่ใ ห้สอดรับกับความต้องการของวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม เพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจในพื้นที่ โดยเพิ่มบทบาทการมีส่วนร่วมของภาค ธุรกิจ ภาครัฐและสถาบันการศึกษาในพื้นที่ • ผลักดั นให้ เกิดการจ้างงานในพื้นที่ โดยการให้สิทธิประโยชน์และมาตรการจูงใจแก่วิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมในการจ้างแรงงานในพื้นที่ ตลอดจนส่งเสริมการสร้างงาน สร้างอาชีพ เพื่อสร้างทางเลือก และรายได้ให้แก่คนในชุมชนโดยคํานึงถึงความต้องการของชุมชน วิถีชีวิต ทรัพยากรในพื้นที่ และการเอื้อประโยชน์ ต่อคนในท้องถิ่น ด้วยการให้ความรู้ อบรมวิชาชีพควบคู่ไปกับการสนับสนุนเครื่องมืออุปกรณ์ เงินทุนฯลฯ • สนับสนุนให้มีการใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลเศรษฐกิจของพื้นที่ เพื่อกําหนดแนวทางการพัฒนาที่ เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย และเป็นแนวทางในการสร้างโอกาสการประกอบธุรกิจในพื้นที่ • สนับสนุนให้แต่ละพื้นที่ สํารวจ ค้นหา รวบรวม และจัดระบบ ประวัติและเรื่องราวของชุมชน/ ผลิตภัณฑ์ องค์ความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมถึงปราชญ์ชุมชน โดยเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อใช้ในการ สร้างสรรค์และเพิ่มมูลค่าสินค้าและบริการ โดยยังคงรักษาคุณค่าเอกลักษณ์ของท้องถิ่น แต่สามารถตอบสนอง ต่ อ รู ป แบบการดํ า เนิ น ชี วิ ต ในปั จ จุ บั น (lifestyle) รวมถึ ง เผยแพร่ แ ละถ่ า ยทอดให้ เ ยาวชน ชุ ม ชน และสั ง คม ได้ตระหนักถึงความเป็นเจ้าของชุมชน เห็นถึงความสําคัญของคุณค่าภูมิปัญญาท้องถิ่น • พัฒนาศักยภาพในการดําเนินธุรกิจของผู้ประกอบการ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และ ผู้ประกอบการชุมชน โดยเฉพาะวิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการ OTOP กลุ่มอาชีพ กลุ่มสหกรณ์ บนพื้นฐานอัตลักษณ์ วัฒนธรรม และศักยภาพของพื้นที่ ให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ประกอบการ • ส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น และประสบการณ์ความสําเร็จของชุมชน (Best Practice) ด้วยความร่วมมือระหว่างจังหวัดและกลุ่มจังหวัด • ส่ ง เสริ ม ให้ ป ราชญ์ ชุ ม ชนและบุ ค คลต้ น แบบในท้ อ งถิ่ น เข้ า มามี บ ทบาทเป็ น ที่ ป รึ ก ษาในการ ถ่ายทอดแนวคิด องค์ความรู้ ภูมิปัญญา ทักษะและประสบการณ์ ให้แก่ผู้ประกอบการ รวมถึงคนในชุมชน โดยผ่าน กระบวนการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วม • สนับสนุนให้ผู้ประกอบการชุมชนรวมตัวกัน เพื่อประโยชน์ในการดําเนินธุรกิจ ซึ่งอาจเป็นการ รวมตัวกันในลักษณะธุรกิจประเภทเดียวกัน ผลิตภัณฑ์ประเภทเดียวกัน หรือในห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ใน แต่ละพื้นที่หรือระหว่างพื้นที่ โดยจัดกิจกรรมเสริมสร้างความเข้มแข็งในการรวมกลุ่มเพื่อการประกอบอาชีพ ศึกษา แนวทางการสร้างห่วงโซ่อุปทานของสินค้าและบริการแต่ละพื้นที่เพื่อเพิ่มมูลค่าและสร้างสรรค์สินค้าใหม่ เป็นต้น • ส่งเสริมโอกาสทางการตลาดในพื้นที่ โดยพัฒนาพื้นที่ที่มีศักยภาพในการเป็นแหล่งจําหน่ายสินค้า และ/หรือแหล่งท่องเที่ยว เช่น การพัฒนาพื้นที่ย่านการค้าเดิมที่มีเอกลักษณ์ การพัฒนาแหล่งผลิตสินค้าและบริการ 5-28


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)

วิถีชีวิตของท้องถิ่น รวมถึงการประชาสัมพันธ์ การสื่อสารการตลาด และรณรงค์ส่งเสริมการบริโภคผลิตภัณฑ์ชุมชน และการท่องเที่ยวชุมชนให้เป็นที่รู้จัก • พัฒนาความเข้มแข็งขององค์กรการเงินระดับฐานราก โดยการสร้างจิตสํานึก วินัยทางการเงิน และส่งเสริมการออมแก่ผู้ประกอบการชุมชน ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อเพิ่มโอกาสการเข้าถึงแหล่งเงินทุน และเพิ่มขีด ความสามารถการบริหารจัดการภายในองค์กรการเงินระดับฐานราก โดยบูรณาการการทํางานระหว่างภาครัฐและ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและสถาบันการศึกษาให้มีบทบาทเพิ่มมากขึ้น รวมทั้ง กําหนดมาตรฐาน และตัวชี้วัดขององค์กรการเงินระดับฐานราก เพื่อให้เกิดการรับรองสถานภาพองค์กรการเงินชุมชน กลยุทธ์ที่ 3.2 เพิ่มศักยภาพของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตเศรษฐกิจชายแดนและ พื้นที่ยุทธศาสตร์เศรษฐกิจ ประเทศไทย ถือได้ว่า มีความได้เปรียบทางภูมิประเทศ เนื่องจากมีอาณาเขตติดต่อกับประเทศเพื่อน บ้านถึง 4 ประเทศ อีกทั้ง อยู่ในบริเวณที่เป็นศูนย์กลางของภูมิภาค ซึ่งควรใช้ความได้เปรียบทางภูมิประเทศนี้ให้เป็น ประโยชน์ จากที่ผ่านมา เห็นได้ว่ามูลค่าการค้าชายแดนของไทยกับมาเลเซีย พม่า ลาว และ กัมพูชา เพิ่มขึ้นจาก 554,283 ล้านบาทในปี 2550 เป็น 778,070 ล้านบาทในปี 2553 หรือคิดเป็นร้อยละ 77.3 เมื่อเทียบกับมูลค่า การค้าระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน 4 ประเทศข้างต้น 12 แสดงให้เห็นถึงความสําคัญของการค้าชายแดน ต่อเศรษฐกิจของประเทศ ขณะที่ความร่วมมือด้านต่าง ๆ กับประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคนี้ ส่งผลต่อการดําเนิน ธุรกิจทั้งด้านการค้า การลงทุนและการท่องเที่ยว ดังนั้นจึงจําเป็นต้องมีแนวทางการส่งเสริมและเพิ่มศักยภาพของ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม รวมถึงแรงงานในพื้นที่เขตเศรษฐกิจชายแดน และพื้นที่ยุทธศาสตร์เศรษฐกิจ โดยการให้ความรู้ เพื่อพัฒนาความสามารถให้พร้อมรับการแข่งขันที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และพร้อมรุกภายใต้กรอบ ความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน ตลอดจนพัฒนาพื้นที่ สิ่งอํานวยความสะดวก กฎระเบียบให้เอื้อต่อ การค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว แนวทางการส่งเสริม • ส่งเสริมให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตเศรษฐกิจชายแดน และพื้นที่ยุทธศาสตร์ เศรษฐกิจตระหนักถึงความสําคัญ และสามารถใช้ประโยชน์จากความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยการสร้างความรู้ ความเข้าใจและเตรียมความพร้อมด้านการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว 12

ที่มา: รายงานสถิติการค้าภาพรวม ระหว่างไทยกับมาเลเซีย พม่า ลาว และ กัมพูชา ปี 2550 – 2553, กรมการค้าต่างประเทศ. http://www.dft.go.th/level4Frame.asp?sPage=http://bordertrade.dft.go.th/DFT/Report/4.7.1.asp&level3=1283

5-29


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)

• ยกระดับศักยภาพผู้ประกอบการที่ประกอบธุรกิจในเขตเศรษฐกิจชายแดนและพื้นที่ยุทธศาสตร์ เศรษฐกิจ โดยการให้ความรู้ด้านการบริหารจัดการ โลจิสติกส์ บรรจุภัณฑ์ ฯลฯ • เพิ่มทักษะฝีมือแรงงานไทยในพื้นที่ให้มีความสามารถด้านภาษาและความชํานาญเฉพาะด้าน ที่จําเป็นต่อการประกอบอาชีพ โดยการพัฒนาความรู้ และทักษะ รวมถึงจัดให้มีการสอบเทียบมาตรฐานฝีมือแรงงาน

• พัฒนาเขตเศรษฐกิจชายแดนและพื้นที่ยุทธศาสตร์เศรษฐกิจให้เอื้อต่อการค้า การลงทุนและการ ท่องเที่ยว โดยการประสาน ผลักดัน ทบทวน ปรับปรุงกฎหมายกฎระเบียบต่าง ๆ รวมถึงการยกระดับจุดผ่านแดน และการจัดตั้งเขตนิคมอุตสาหกรรมชายแดน ฯลฯ • ส่งเสริมการสร้างเครือข่ายความร่วมมือและความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้ประกอบการในพื้นที่ กับผู้ประกอบการในประเทศเพื่อนบ้าน โดยการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในการประกอบธุรกิจและการจัดกิจกรรม ทางการตลาด รวมถึงกิจกรรมเสริมสร้างความสัมพันธ์ กลยุทธ์ที่ 3.3 สนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในการใช้ประโยชน์และบริหารจัดการทรัพยากร และสิ่งแวดล้อมในพืน้ ที่ ความหลากหลายของทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและบริการ และเป็นตัวบ่งชี้ความเชื่อมโยงระหว่างพื้นที่ผลิตกับทรัพยากรในท้องถิ่น ซึ่งสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการส่งเสริม ทางการตลาดได้ แต่การพัฒนาที่ผ่านมายั งขาดความตระหนักและขาดการวางแผนการบริหารจัดการทรัพยากร และสิ่งแวดล้อมเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หรือเกิดความคุ้มค่า รวมถึงเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการขาดแคลนทรัพยากร ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ดังนั้น จึงควรให้ความสําคัญต่อการใช้ประโยชน์และการบริหารจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ในพื้นที่เพื่อให้สามารถมีใช้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน แนวทางการส่งเสริม • ส่งเสริมการใช้ความหลากหลายของทรัพยากรในพื้นที่ผนวกกับลักษณะเฉพาะทางภูมิประเทศ และภู มิ อ ากาศ มาสร้ า งความแตกต่ า งให้ กั บ สิ น ค้ า และบริ ก าร โดยการสํ า รวจ ค้ น หาสิ่ ง บ่ ง ชี้ ท างภู มิ ศ าสตร์ (Geographical Indications: GI) ที่มีในพื้นที่ที่เป็นไปได้ในเชิงพาณิชย์ รวมถึงศึกษา วิจัยและพัฒนาเพื่อสร้าง มูลค่าเพิ่มกับสินค้าและบริการ สร้างความรู้ ความเข้าใจเรื่องสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ให้แก่ผู้ประกอบการในท้องถิ่น และบุคลากร เช่น เจ้าหน้าที่ภาครัฐ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เป็นต้น ตลอดจนส่งเสริมการ จดทะเบียนและคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา โดยเฉพาะสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ซึ่งเป็น ตัวบ่งชี้ความเชื่อมโยงระหว่างพื้นที่ผลิตกับทรัพยากรในท้องถิ่น รวมถึงส่งเสริมให้นํามาใช้เป็นเครื่องมือในการส่งเสริม ทางการตลาด • ส่งเสริมให้มีความสามารถในการบริหารจัดการทรัพยากรในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่า และมีประสิทธิภาพ โดยคํานึงถึงการรักษาสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ เช่น การวางแผนการผลิตและใช้ทรัพยากร การจัดหา

5-30


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)

กลยุทธ์ที่ 3.4 การบูรณาการความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน รวมถึงสร้างความเข้มแข็งเครือข่าย การส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทยในระดับพื้นที่ การดําเนินงานช่วยเหลือ สนับสนุน ส่งเสริม และพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ผ่านมา มีหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งระดับส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น แต่การดําเนินการดังกล่าวยังขาด การมีส่วนร่วม และการบรูณาการการทํางานร่วมกัน จึงจําเป็นต้องสร้างกลไกและบูรณาการระหว่างหน่วยงาน ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาควิชาการ ให้เชื่อมโยงสอดรับกับนโยบายการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนนโยบายในการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมอย่างเป็นรูปธรรมและเป็นไปใน ทิศทางเดียวกัน แนวทางการส่งเสริม • สร้ า งองค์ค วามรู้ ด้า นเศรษฐกิจ สัง คม วัฒ นธรรม ทรัพ ยากร ระดั บชุ ม ชนและพื้ นที่ รวมถึ ง โครงสร้ า งพื้ น ฐาน อย่ า งเป็ น ระบบและปรั บ ให้ ทั น สมั ย อยู่ เ สมอ และเชื่ อ มโยงข้ อ มู ล กั บ หน่ ว ยงานที่ เ กี่ ย วข้ อ ง เพื่อใช้ในการวางแผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้สอดคล้องกับศักยภาพด้านต่างๆ ของพื้นที่ • พัฒนากลไกการดําเนินการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในระดับพื้นที่ โดยให้ หน่วยงานที่มีหน้าที่ดูแลการดําเนินงานของคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณา การ (ก.น.จ.) ทบทวนองค์ประกอบคณะกรรมการ โดยให้เพิ่มสํานักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เป็นองค์ประกอบในคณะกรรมการในทุกระดับ เพื่อให้เกิดการผลักดันนโยบายแนวทางการส่งเสริมวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมในพื้นที่ รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพในการดําเนินงานส่งเสริมฯ ให้ทั่วถึงและสอดคล้องกับ ความต้องการของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมอย่างแท้จริง พร้อมทั้งส่งเสริมบทบาทและศักยภาพขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นในการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในพื้นที่และภูมิภาคอย่างเป็นรูปธรรมและ เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับส่วนกลาง • ส่งเสริมให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากข้อมูลของพื้นที่ เพื่อใช้ในการวางแผนและดําเนินธุรกิจ • ส่งเสริมการบูรณาการและการสร้างเครือข่ายการทํางานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาด ย่อมทั้งในระดับพื้นที่ และระหว่างพื้นที่ เพื่อผลักดันการพัฒนาและส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทยให้ สอดคล้องกับนโยบายและความต้องการของพื้นที่ ยุทธศาสตร์ที่ 4 เสริมสร้างศักยภาพของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทยให้เชื่อมโยงกับเศรษฐกิจ ระหว่างประเทศ

5-31


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)

กระแสโลกาภิวัตน์เป็นปัจจัยสําคัญที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ตลอดจน การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ ที่มีระดับและรูปแบบความร่วมมือที่หลากหลายทั้งในระดับทวิภาคี พหุ ภาคีและภูมิภาค ส่งผลให้สถานการณ์การค้าและการลงทุนระหว่างประเทศมีการเปลี่ยนแปลงไป การแข่งขันมีความ ซับซ้อนและเข้มข้นมากขึ้น มาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษี (Non Tariff Barriers: NTBs) เช่น มาตรการด้าน สิ่งแวดล้อมมาตรการความปลอดภัย ถูกนํามาใช้มากขึ้น นอกจากนี้บริบทของการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศที่ เปลี่ยนแปลงจากประเด็นสําคัญในเรื่องการเคลื่อนย้ายของขั้วอํานาจทางเศรษฐกิจใหม่ ซึ่งส่งผลให้ประเทศต่างๆ มีการ เปิดเสรีทางการค้าและการลงทุนมากขึ้น โดยปัจจัยต่างๆ นี้เป็นสิ่งที่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมควรจะต้องเรียนรู้ และตระหนักถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น นอกจากนี้ ปัจจัยที่สําคัญมากประการหนึ่งคือการที่ประเทศไทยก้าวไปสู่ความเป็นประชาคมเศรษฐกิจ อาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) ในปี 2558 ซึ่งมีการเปิดเสรีทั้งด้านสินค้า บริการ เงินทุน การลงทุน และแรงงาน รวมถึงการที่ประเทศไทยและอาเซียนมีความตกลงการค้าเสรี (Free Trade Agreement: FTA) กับประเทศ หรือกลุ่มประเทศต่างๆ13 นั้น กรอบข้อตกลงต่างๆ ย่อมมีผลต่อการประกอบธุรกิจและศักยภาพการแข่งขันของวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมไทยโดยตรงทั้งภาคการผลิต การค้า และบริการ โดยผลกระทบไม่จํากัดเฉพาะผู้ที่ดําเนินธุรกิจ ระหว่างประเทศ ผู้ส่งออก หรือผู้นําเข้าเท่านั้น แต่ผู้ที่ดําเนินธุรกิจภายในประเทศบางสาขาธุรกิจอาจได้รับผลกระทบ ด้วยเช่นกัน อีกทั้งผลกระทบที่เกิดขึ้นนี้สามารถเป็นได้ทั้งการสร้างโอกาสทางธุรกิจที่เปิดกว้างขึ้นหรืออาจเป็นการนํามา ซึ่งอุปสรรคต่อการดําเนินธุรกิจของวิสาหกิจขนาดกลางและขนายย่อมของไทย ซึ่งวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ส่วนใหญ่ยังไม่รับทราบถึงบริบทการประกอบธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้ งนี้ การเชื่อมโยงวิ สาหกิ จขนาดกลางและขนาดย่ อมให้ สามารถรองรั บกั บกระแสโลกาภิวั ตน์นั้ น เป็นเรื่องที่มีความจําเป็นเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจาก ปัจจุบันการค้าระหว่างประเทศมีบทบาทสําคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ ของประเทศไทยเป็นอย่างมาก รายได้จากการส่งออกเป็นรายได้หลัก14 ของประเทศทั้งในส่วนภาพรวมของประเทศและ ในส่วนของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม การเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศในอนาคตยังคงต้องพึ่งพิง ความแข็งแกร่ง และเสถียรภาพของภาคการค้าระหว่างประเทศเป็นสําคัญ ดังนั้ น การส่งเสริมวิ สาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงการดําเนินธุรกิจกับ ต่างประเทศในระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2555-2559) จึงมีความจําเป็นต้องมุ่งเน้นการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ สถานการณ์การค้าระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องให้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยเฉพาะข้อตกลงภายใต้ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนซึ่งมีผลต่อการประกอบธุรกิจในธุรกิจสาขาต่างๆ การสนับสนุนการปรับปรุงการประกอบ ธุรกิจให้กับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้สามารถเตรียมพร้อมและรองรับการแข่งขันที่มีมากขึ้นทั้งในประเทศ 13

ประเทศไทยมีการทําความตกลงทางการค้าเสรี ดังนี้ ไทย-ออสเตรเลีย ไทย-นิวซีแลนด์ ไทย-อินเดีย ไทย-ญี่ปุ่น และไทย-เปรู ขณะที่อาเซียนมีการทํา ความตกลงการค้าเสรี ดังนี้ อาเซียน-จีน อาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ อาเซียน-อินเดีย อาเซียน-เกาหลีใต้ และอาเซียน-ญี่ปุ่น 14 ในปี 2553 ประเทศไทยมีมูลค่าการส่งออกรวมทั้งสิ้น 6,177,688 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 61.2 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) และในส่วน ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมีมูลค่าการส่งออกรวมทั้งสิ้น 1,754,280 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 46.8 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของวิสาหกิจขนาด กลางและขนาดย่อม

5-32


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)

แนวทางตัวชีว้ ัดระดับยุทธศาสตร์ 1. การเพิม่ ขึ้นของจํานวนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมทีไ่ ด้รับความรู้เกีย่ วกับการประกอบธุรกิจ ภายใต้บริบทการเปิดเสรีทางการค้าและการลงทุนและประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 2. การเพิม่ ขึ้นของจํานวนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมทีไ่ ด้รับการส่งเสริมโอกาสในการเชื่อมโยง ธุรกิจระหว่างประเทศ กลยุทธ์ที่ 4.1 เสริมสร้างความพร้อมให้กบั วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในการเข้าสู่การเปิดเสรีทางการค้า และการลงทุน ด้วยกระแสโลกาภิวัตน์เป็นปัจจัยสําคัญต่อการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ส่งผลให้ ประเทศต่างๆ มีการเปิดเสรีทางการค้าและการลงทุนมากขึ้น ทั้งในระดับและรูปแบบที่หลากหลาย ทําให้สถานการณ์ การค้าและการลงทุนระหว่างประเทศมีการเปลี่ยนแปลงไป การแข่งขันมีความซับซ้อนและรุนแรงมากขึ้น นอกจากนี้ ประเทศไทยกําลังเข้าสู่ความเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนอย่างเต็มรูปแบบในปี 2558 และได้มีความตกลงการ เปิดเสรีทางการค้ากับประเทศต่างๆ ซึ่งปัจจัยดังกล่าวล้วนแต่มีผลกระทบต่อวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ไม่ใช่ เฉพาะผู้ประกอบการที่มีธุรกิจระหว่างประเทศเท่านั้น แต่ผู้ประกอบการที่ดําเนินธุรกิจในประเทศ จะได้รับผลกระทบ เช่นกัน จึงมีความจําเป็นต้องเสริมสร้างความพร้อมให้กับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในการประกอบธุรกิจ ภายใต้บริบทที่เปลี่ยนแปลงไป แนวทางการส่งเสริม • เสริ ม สร้ า งความรู้ ค วามเข้ าใจให้กั บ วิส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่ อ มเกี่ ย วกั บ ความตกลง ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการดําเนินงานตามพิมพ์เขียวนโยบายของอาเซียนของด้านการพัฒนา วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ความตกลงการค้าเสรี และกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจต่างๆ โดยสนับสนุน ให้มีการจัดทําองค์ความรู้และฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เช่น ข้อตกลง สิทธิประโยชน์ สิ่งอํานวยความสะดวก กฎระเบียบ ที่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สามารถเข้าถึงได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงสนับสนุนให้มีการบูรณาการ ร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจให้กับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เพื่อให้ทราบสถานการณ์ต่างๆ อย่างเท่าเทียมและทั่วถึง • ส่งเสริมให้มีการศึกษาโอกาสและผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้าและการลงทุนในธุรกิจ สาขาต่างๆ เพื่อให้ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมีทิศทางในการปรับตัวเพื่อรองรับสถานการณ์ที่ เปลี่ยนแปลงไป รวมถึงสนับสนุนให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมีการพัฒนาการประกอบธุรกิจเพื่อยกระดับ ศักยภาพในการแข่งขัน เช่น การเพิ่มประสิทธิภาพการประกอบธุรกิจ การบริหารจัดการ การยกระดับคุณภาพและ มาตรฐานสินค้าและบริการ เป็นต้น

5-33


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)

• สนับสนุนให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมใช้สิทธิประโยชน์จากความตกลงทางการค้าการ ลงทุนมากขึ้น โดยสนับสนุนการอํานวยความสะดวกการขอใช้สิทธิประโยชน์ รวมถึงสนับสนุนให้มีการปรับใช้วัตถุดิบ ภายในประเทศทดแทนการนําเข้า เพื่อให้สอดคล้องกับกฎแหล่งกําเนิดสินค้า (Rule of Origin: ROO) ตามความ ตกลงทางการค้าต่างๆ • สนับสนุนให้มีการช่วยเหลือและบรรเทาผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้าและการลงทุนให้แก่ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยสนับสนุนให้มีบริการให้คําปรึกษาแนะนําแก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในการปรับปรุงหรือปรับเปลี่ยนการดําเนินธุรกิจรวมถึงการสนับสนุนเงินทุนในการปรับปรุงและปรับเปลี่ยนการดําเนิน ธุรกิจ • ส่งเสริมการบูรณาการการสร้างเครือข่ายระหว่างหน่วยงานและองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนในการ สนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้สามารถรองรับการเปิดเสรีทางการค้าและการลงทุนได้ • สนับสนุนการสร้างและพัฒนาแรงงานในประเทศให้มีความพร้อมทั้งในเชิงคุณภาพและปริมาณที่ สอดคล้องกับความต้องการของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และพร้อมรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน • รณรงค์การสร้างความเชื่อมั่นและจิตสํานึกในการใช้สินค้าและบริการของวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อมทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ เพื่อให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมสามารถแข่งขันได้ภายใต้ สถานการณ์การแข่งขันที่มีความรุนแรงมากขึ้น กลยุทธ์ที่ 4.2 เสริมสร้างศักยภาพวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในการประกอบธุรกิจระหว่างประเทศ การค้าระหว่างประเทศมีบทบาทที่สําคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย รายได้จากการ ส่งออกถือได้ว่าเป็นรายได้หลักของประเทศ ถึงแม้ว่าวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่มีการดําเนินธุรกิจการค้า ระหว่างประเทศจะมีจํานวนไม่มากเมื่อเปรียบเทียบกับจํานวนวิสาหกิจทั้งประเทศ อย่างไรก็ตามการส่งเสริมให้ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมีโอกาสและศักยภาพในการเข้าสู่ตลาดต่างประเทศเพิ่มขึ้น ทั้งจากการส่งออก การลงทุนในต่างประเทศ หรือการใช้ประโยชน์จากนักลงทุนที่มาลงทุนในประเทศ เป็นแนวทางสําคัญที่จะช่วยสร้าง รายได้ที่มากขึ้น และเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจได้ แนวทางการส่งเสริม • สร้างองค์ความรู้ และฐานข้ อมู ลเชิงลึกด้านการค้ าการลงทุนระหว่ างประเทศ เช่น พฤติ กรรม ผู้บริโภค วิธีการดําเนินธุรกิจ กฎระเบียบ เป็นต้น รวมถึงเผยแพร่ให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมสามารถเข้าถึงได้ อย่างสะดวก เพื่อให้สามารถนําไปใช้ในการวางแผนการดําเนินธุรกิจได้ ตลอดจนผลักดันให้มีศูนย์กลางในการให้บริการ ข้อมูล คําปรึกษาแนะนําแบบครบวงจรให้แก่ผู้ประกอบการในด้านการค้า การลงทุนระหว่างประเทศ • สนับสนุนการพัฒนาศักยภาพของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในการเข้าสู่การค้าและการ ลงทุนระหว่างประเทศ เช่น การเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ การพัฒนาผลิตภัณฑ์

5-34


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)

• สนับสนุนและอํานวยความสะดวกให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่มีศักยภาพให้มีโอกาส ในการแสวงหาลู่ทางการขยายการลงทุนไปในต่างประเทศ (Outward Investment) โดยเฉพาะในภูมิภาคอาเซียน เพื่อ ขยายฐานการผลิตไปยังประเทศที่สามารถสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันได้ เช่น ด้านวัตถุดิบ ด้านแรงงาน เป็นต้น รวมทั้งการจัดตั้งธุรกิจขนาดเล็กในต่างประเทศ เช่น ร้านอาหารไทย ร้านสปา เป็นต้น โดยมีมาตรการการส่งเสริมการ ลงทุนที่เหมาะสม และการให้ความช่วยเหลือด้านวิชาการและเทคโนโลยีให้กับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม • สนับสนุนให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมีความร่วมมือกับธุรกิจต่างประเทศที่มาลงทุนใน ประเทศไทย โดยให้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้สมัยใหม่ • สนับสนุนให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมีโอกาสในการแสวงหาตลาดใหม่ที่มีศักยภาพสูงแต่ มีการแข่งขันน้อยกว่า นอกเหนือจากตลาดหลักเดิมที่ธุรกิจมีการแข่งขันสูง เช่น ตลาดที่มีการเติบโตสูง (Emerging Market) ตลาดในภูมิภาคอาเซียน หรือตลาดต่างประเทศที่ไทยยังไม่มีความสัมพันธ์ทางการค้าด้วย เป็นต้น • ส่งเสริมและพัฒนาบริการที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจระหว่างประเทศให้มีประสิทธิภาพและได้ มาตรฐาน เพื่อให้สามารถช่วยยกระดับประสิทธิภาพการประกอบธุรกิจให้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมได้ เช่น บริการโลจิสติกส์ • สนับสนุนการพัฒนาช่องทางการจําหน่ายสินค้าและบริการในต่างประเทศให้กับวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น การพัฒนาผู้ประกอบการการค้า (Trader/Merchandiser) รวมทั้งการ พัฒนาระบบการจําหน่ายหรือประชาสัมพันธ์ผ่านทางอินเตอร์เน็ต หรือพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ • ทบทวน ปรับปรุงกฎระเบียบ วิธีปฏิบัติต่างๆ หรือออกกฎหมายใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการค้าและการ ลงทุนระหว่างประเทศ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการประกอบธุรกิจของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้มีประสิทธิภาพ มากขึ้น • ส่งเสริมการสร้างภาพลักษณ์ให้กับสินค้าและบริการไทยในตลาดต่างประเทศ (Country Image) ให้สามารถสื่อถึงศักยภาพและจุดแข็งของความเป็นไทยให้ผู้บริโภคได้รับรู้ กลยุทธ์ที่ 4.3 สร้างความร่วมมือระหว่างวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมกับธุรกิจในต่างประเทศ ด้วยการแข่งขันทางการค้าระหว่างประเทศมีความซับซ้อนมากขึ้น วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม จําเป็นต้องแสวงหาความร่วมมือหรือพันธมิตรทางธุรกิจกับคู่ค้าในต่างประเทศเพื่อให้สามารถสร้างความร่วมมือใน รูปแบบต่างๆ ซึ่งจะสามารถเกื้อหนุนการดําเนินธุรกิจระหว่างกันได้ แนวทางการส่งเสริม • ส่งเสริมให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมตระหนักถึงความสําคัญและประโยชน์ของการสร้าง ความร่วมมือ หรือสร้างพันธมิตรกับธุรกิจในต่างประเทศ เพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการดําเนินธุรกิจ รวมถึงสนับสนุน 5-35


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)

• ส่งเสริมความรู้ให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเพื่อขยายโอกาสในการดําเนินธุรกิจกับประเทศ เพื่อนบ้าน และการใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานที่พัฒนาไว้ภายใต้กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจต่างๆ เช่น ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มน้ําโขง (Greater Mekong Subregion Economic Cooperation Program: GMS) ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิระวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง (Ayeyawaddy-Chao PhrayaMekong Economic Cooperation Strategy: ACMECS) การพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (Indonesia-Malaysia-Thailand Growth Triangle: IMT-GT) • สนับสนุนให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมสร้างความร่วมมือกับธุรกิจในภูมิภาคอาเซียนเพื่อ สร้างความเชื่อมโยงห่วงโซ่อุปทานในภูมิภาค (Regional Supply Chain) รวมทั้งความเชื่อมโยงในระดับโลก ความเชื่อมโยงระหว่างยุทธศาสตร์และประเด็นการดําเนินงานที่สําคัญภายใต้ความเชื่อมโยงของยุทธศาสตร์ 1. ความเชื่อมโยงระหว่างยุทธศาสตร์ ยุทธศาสตร์ทั้ง 4 ซึ่งประกอบด้วย ยุทธศาสตร์ที่ 1 สนับสนุนปัจจัยแวดล้อมให้เอื้อต่อการดําเนินธุรกิจ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย ยุทธศาสตร์ที่ 2 เสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของวิสาหกิจขนาด กลางและขนาดย่อมไทย ยุทธศาสตร์ที่ 3 ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทยให้เติบโตอย่างสมดุล ตามศักยภาพของพื้นที่ และยุทธศาสตร์ที่ 4 เสริมสร้างศักยภาพของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทยให้ เชื่อมโยงกับเศรษฐกิจระหว่างประเทศ มีความเชื่อมโยงกันทั้งในด้านการพัฒนาปัจจัยแวดล้อมที่เอื้อต่อการส่งเสริม พัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมซึ่งพัฒนากลไกเพื่อสนับสนุนในทุกยุทธศาสตร์ ส่วนด้านการพัฒนา หน่วยงานและบุคลากรทั้งระดับผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ ที่มีหน้าที่ในการให้บริการและสนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่ อ ม และด้ า นการพั ฒ นาเครื อ ข่ า ย การรวมกลุ่ ม ทั้ ง ในระดั บ ธุ ร กิ จ รายสาขา (Cluster) ระดั บ กลุ่ ม ผู้ประกอบการ หรือระดับพื้นที่ทั้งในและต่างประเทศ เป็นการพัฒนาร่วมกันในทุกยุทธศาสตร์ ขณะที่การพัฒนาและ ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมร่วมกันระหว่าง 2 ยุทธศาสตร์ ประกอบด้วยด้านการพัฒนาศักยภาพ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในท้องถิ่นโดยคํานึงถึงศักยภาพของพื้นที่ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและ สิ่งแวดล้อม (ยุทธศาสตร์ที่ 2 และ 3) ด้านการเตรียมความพร้อมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในพื้นที่สู่ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ยุทธศาสตร์ที่ 3 และ 4) และด้านการยกระดับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมสู่ การค้าการลงทุนในต่างประเทศ (ยุทธศาสตร์ที่ 2 และ 4)

5-36


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)

แผนการส่งเสริมฯ ฉบับที่ 3: ความเชือ่ มโยงยุทธศาสตร์ สนับสนุนปัจจัยแวดล้อม

[1] ให้เอื้อต่อการดําเนินธุรกิจ

การพัฒนาศักยภาพ SMEs ในท้องถิน่ โดยคํานึงถึง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม

ส่งเสริมให้เติบโตอย่างสมดุล ตามศักยภาพของพื้นที่

[2] เสริมสร้างขีดความสามารถ

การพัฒนาความสามารถ SMEs ในการค้า ระหว่างประเทศ

ในการแข่งขัน

[3]

[4]

• การพัฒนาผูบ้ ริหาร/ เจ้าหน้าทีส่ ่งเสริม SMEs • การจัดทําฐานข้อมูล SMEs • การสร้างเครือข่าย

เสริมสร้างศักยภาพให้เชื่อมโยง กับเศรษฐกิจระหว่างประเทศ

การเตรียมความพร้อม SMEs ในพื้นทีต่ ่างๆ ในการเข้าสู่ AEC

จากความเชื่อมโยงระหว่างยุทธศาสตร์ดังกล่าว รวมถึงการวิเคราะห์ภาพรวมแนวโน้มบริบทการ เปลี่ยนแปลงของโลก สถานการณ์ปัจจุบัน จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภัยคุกคามรวมถึงข้อจํากัดของวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม พบว่า การพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้เป็นไปตามวิสัยทัศน์และบรรลุ เป้าหมายหลักที่ได้กําหนดไว้ในแผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ.2555-2559) จําเป็นต้องพิจารณาประเด็นการดําเนินงานที่สําคัญ ได้แก่ การพัฒนาระบบฐานข้อมูลวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อม การจัดตั้งสถาบันพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมและพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม การพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจและการรวมกลุ่มเพื่อส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม การพัฒนาศักยภาพ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในท้องถิ่น โดยคํานึงถึงศักยภาพของพื้นที่ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและ สิ่งแวดล้อม และการเตรียมความพร้อมและยกระดับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในด้านการค้าการลงทุนใน ต่างประเทศเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน จาก 5 ประเด็นการดําเนินงานข้างต้น ประเด็นที่มีความจําเป็นต้องเร่งดําเนินการให้เกิดผลภายใน ระยะ 1-2 ปีแรกของแผนการส่งเสริมฯ ซึ่งเป็นกําลังขับเคลื่อนที่สําคัญเพื่อให้ผลการดําเนินงานเหล่านั้นเกื้อหนุนให้ แนวทางการส่งเสริมภายใต้กลยุทธ์อื่นๆ สามารถดําเนินการอย่างสอดรับและเกิดเป็นรูปธรรมได้ในระยะต่อมา มี 3 ประเด็น ได้แก่ การพัฒนาระบบฐานข้อมูลวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม การจัดตั้งสถาบันพัฒนาบุคลากร ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมและพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และการเตรียมความพร้อมและยกระดับ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในด้านการค้าการลงทุนในต่างประเทศเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจ อาเซียน

5-37


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)

เนื่องจากประเด็นการดําเนินงานที่สําคัญเหล่านั้นจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดําเนินงานส่งเสริม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม กระจายการพัฒนาไปสู่ภูมิภาคและท้องถิ่น อีกทั้งยังช่วยเพิ่มขีดความสามารถใน การแข่งขันให้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้พร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 รวมถึง จําเป็นต้องอาศัยการสนับสนุนจากรัฐบาลในระดับนโยบาย เพื่อให้สามารถดําเนินการเริ่มต้นได้อย่างรวดเร็ว และ ได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนอย่างเป็นการบูรณาการทั้งระดับประเทศ ระดับภูมิภาคและท้องถิ่น 2. ประเด็นการดําเนินงานที่สําคัญภายใต้ความเชื่อมโยงของยุทธศาสตร์ 2.1 การพัฒนาระบบฐานข้อมูลวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งชาติ วัตถุประสงค์เพื่อมีศูนย์กลางข้อมูลวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของประเทศและให้เกิด การดําเนินงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมอันเกิดจากการใช้ข้อมูลจากฐานเดียวกัน (Centralized SMEs Database) ซึ่งเป็นการหลีกเลี่ยงการลงทุนซ้ําซ้อนในด้านการจัดทําฐานข้อมูล โดยให้หน่วยงานที่ทําหน้าที่ สนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมต่างๆ ร่วมมือกันพัฒนาฐานข้อมูลวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้ สมบูรณ์ พร้อมใช้งาน ซึ่งจะเป็นคลังเก็บรวบรวมข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการกําหนดนโยบาย การวางแผนการ ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยหน่วยงานภาครัฐทุกหน่วยงานสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้อย่างมี ประสิทธิภาพ มีการใช้มาตรฐานรหัสข้อมูล คําอธิบายข้อมูลที่ตรงกันและมาตรฐานการแลกเปลี่ยนข้อมูลเดียวกัน ผ่านเครือข่ายสารสนเทศความเร็วสูงที่มีระบบการกํากับการเข้าถึงข้อมูลที่เหมาะสม รวมถึงเป็นคลังองค์ความรู้ที่ ให้บริการภาคธุรกิจและประชาชน โดยมีการจัดการด้านข้อมูลภาครัฐ กฎหมาย กฎระเบียบ นโยบายสนับสนุน หรือ สิทธิประโยชน์ ความรู้ที่เป็นประโยชน์ในแหล่งเดียว (One stop service) ควรเชื่อมโยงกับศูนย์รวมข้อมูลข่าว สารสนเทศและบริการภาครัฐ (e-Government Portal) การพัฒนาดั งกล่าวต้องคํานึงถึ งความประหยัด มีประสิทธิภาพ ความสะดวก รวดเร็วในการเข้าถึงและใช้งาน ทั้ ง นี้ ให้ สํ า นั ก งานส่ ง เสริ ม วิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่ อ มเป็ น หน่ ว ยงานหลั ก ในการ ดําเนินงานและบริหารศูนย์ข้อมูลฯ โดยประสานกับทุกส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มีการประสานงานด้านการทํา ให้มีข้อมูลพื้นฐานที่ทุกหน่วยงานใช้ร่วมกันได้สามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลพื้นฐานร่วมกัน รวมถึงสามารถปรับปรุง ข้อมูลของตนให้ทันสมัยตามมาตรฐานเดียวกัน 2.2 การผลักดันให้มีสถาบันพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมและพัฒนาวิสาหกิจขนาด กลางและขนาดย่อม วัตถุ ประสงค์ เพื่ อ ให้ มี หน่ ว ยงานหลัก ในการยกระดั บศักยภาพของผู้ กํ า หนดนโยบายและ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้ องกับการส่งเสริมและพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ทั้งจากภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้สามารถช่วยเหลือ สนับสนุน ส่งเสริม และพัฒนาให้วิสาหกิจขนาด กลางและขนาดย่อม เพิ่มขีดความสามารถในการดําเนินธุรกิจ

5-38


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)

การดําเนินงาน ดังนี้ ส่งเสริมให้สถาบันฯ สามารถดําเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยให้มี การประสานงานสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานที่มีความชํานาญเกี่ยวกับการพัฒนาความรู้ด้านส่งเสริมและ พัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เช่น หน่วยงานเฉพาะทาง สถาบันการศึกษา ทั้งในส่วนกลางและในพื้นที่ ต่ า งๆ และจั ด ทํ า หลั ก สู ต รที่ เ หมาะสมในการพั ฒ นาบุ ค ลากรทุ ก ระดั บ ตั้ ง แต่ ผู้ กํ า หนดนโยบาย และเจ้ า หน้ า ที่ ปฏิบัติงานตลอดจนให้มีระบบการถ่ายทอดองค์ความรู้ที่หลากหลาย เช่น การอบรม สัมมนา และระบบการเรียนการ สอนผ่านระบบสารสนเทศ เป็นต้น อีกทั้งให้มีการรับรองผู้ผ่านหลักสูตรในระดับต่าง ๆ และผลักดันให้การรับรอง ของสถาบันฯ เป็นองค์ประกอบสําหรับการพิจารณาความก้าวหน้าในสาขาอาชีพ และให้มีการติดตามประสิทธิผลการ ดําเนินงานเพื่อปรับปรุงการดําเนินงานอย่างต่อเนื่อง 2.3 การเตรียมความพร้อมและยกระดับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในด้านการค้าการลงทุน ในต่างประเทศ เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน วัตถุประสงค์เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเกี่ยวกับ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนอย่างเป็นระบบ ครอบคลุมภาคการผลิต ภาคการค้าและบริการ ทั้งในส่วนกลางและส่วน ภูมิภาค โดยมุ่งเน้นธุรกิจสาขา (Sector) ที่มีแนวโน้มจะได้รับผลกระทบรุนแรง ซึ่งจะช่วยให้วิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อมมีความสามารถพร้อมรับกับการแข่งขัน ขณะเดียวกัน สําหรับธุรกิจสาขาที่มีศักยภาพในด้านการค้าการ ลงทุนในต่างประเทศ จะสามารถใช้ประโยชน์จากความตกลงฯ ได้อย่างเต็มที่

การดําเนินงาน ภาครัฐและภาคเอกชนต้องเร่งให้ความรู้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ใน 3 ลักษณะ คือ 1) การอบรมให้ความรู้ขั้นพื้นฐานเกี่ยวกับข้อตกลง สิทธิประโยชน์ และทิศทางของผลกระทบและ ประโยชน์ สําหรับผู้ประกอบการทั่วไปและผู้สนใจประกอบธุรกิจ 2) การสัมมนาเชิงปฏิบัติการสําหรับวิสาหกิจในธุรกิจ สาขาที่มีแนวโน้มได้รับผลกระทบรุนแรง เช่น ธุรกิจการท่องเที่ยวและบริการที่เกี่ยวข้อง ธุรกิจบริการการศึกษา ธุรกิจ การค้าชายแดน เป็นต้น 3) การฝึกอบรมให้แก่หน่วยงานและบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมและพัฒนาวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมในท้องถิ่นเพื่อสามารถให้คําแนะนําและให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการได้อย่างเหมาะสม ทั้งนี้ ภาครัฐควรสนับสนุนบทบาทสื่อมวลชนให้มีส่วนร่วมในการเผยข่าวสารและข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยใช้สื่อที่หลากหลาย เช่น เว็บไซต์ รายการโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ เป็นต้น เพื่อให้เกิดการรับรู้ในวงกว้าง

5-39


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)

บทท บทที​ี่ 6 ปัจจัยแห่งความสําเร็จของแผน เงื่อนไขปัจจัยความสําเร็จของแผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สํานั กงานส่ งเสริ ม วิ สาหกิ จขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ในฐานะหน่วยงานของรัฐ มี หน้าที่ เสนอแนะนโยบายและแผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม รวมทั้งเป็นศูนย์กลางประสานระบบการ ทํางานของส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ และองค์การเอกชนที่ให้การส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม เพื่อให้เกิดการบูรณาการงานส่งเสริมอย่างต่อเนื่องและสอดคล้องในทิศทางเดียวกัน รวมทั้งมีหน้าที่ ในการติดตามและประเมินผลการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ทั้งในด้านผลการดําเนินงานส่งเสริม และสถิติข้อมูลที่เกี่ยวกับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความสัมฤทธิ์ผลตามแผนการส่งเสริม และเป็นข้อมูลการจัดทํานโยบายการส่งเสริมให้มีประสิทธิภาพต่อไป การส่ ง เสริ ม วิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่ อ มของประเทศไทยให้ ส ามารถบรรลุ ต ามพั น ธกิ จ วิสัยทัศน์และเป้าหมายของการส่งเสริมที่ได้กําหนดไว้นั้น จําเป็นต้องอาศัยปัจจัยสําคัญหลายประการในขับเคลื่อน การดําเนินงาน ดังนี้ 1. รัฐบาลต้องเห็นความจําเป็นของปัจจัยแวดล้อมให้เอื้อต่อการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาด ย่อมอย่างเข้มแข็ง ต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดทําฐานข้อมูลวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของประเทศให้ มีข้อมูลที่สมบูรณ์ ครบถ้วน และสามารถใช้ข้อมูลจากฐานเดียวกันเพื่อกําหนดนโยบายและแนวทางการส่งเสริม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม รวมทั้งสร้างองค์ความรู้อันเป็นประโยชน์ต่อการดําเนินธุรกิจของวิสาหกิจขนาด กลางและขนาดย่อม และให้ดําเนินการทบทวน ปรับปรุงและผลักดันกฎหมาย กฎระเบียบและสิทธิประโยชน์ ของ ภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เพื่อเอื้อและลดอุปสรรคในการดําเนินธุรกิจของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม 2. ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม จําเป็นต้องมี ความรู้ ความเข้ า ใจในอุ ป สรรค ปั ญ หาและความต้ อ งการที่ แ ท้ จ ริ ง ของวิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่ อ ม ซึ่งส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ และองค์กรเอกชนที่เกี่ยวข้องต้องให้ ความสําคัญกับพัฒนาศักยภาพบุคลากรเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่เป็นระบบและต่อเนื่อง ทั้งในด้านความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ความรู้อื่นๆ ที่ทันต่อบริบทการเปลี่ยนแปลง รวมทั้งเข้าใจถึงนโยบายและ ทิศทางการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของประเทศ รวมทั้งการมีสถาบันพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้อง กับการส่งเสริมและพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเป็นการเฉพาะจะช่วยให้การดําเนินงานส่งเสริมวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมมีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับความต้องการของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม อย่างแท้จริง

6-1


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)

3. ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ และองค์การเอกชนที่ทํา หน้าที่พัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมต้องได้รับการสนับสนุนทรัพยากรที่เพียงพอ ต่อเนื่อง สอดคล้อง เชื่อมโยงกับแผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เพื่อให้สามารถพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาด ย่อมให้เกิดความเข้มแข็ง ยั่งยืนและเป็นกลไกสําคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ 4. แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมได้ถูกกําหนดให้ใช้เป็นแนวทางในการพัฒนา วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมอย่างมีบูรณาการ โดยส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้อง ทั้งในส่วนกลางและส่วนท้องถิ่นอันได้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) คณะกรรมการบริหารงานจังหวัดแบบ บูรณาการ (ก.บ.จ.) และคณะกรรมการบริหารงานกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ (ก.บ.ก.) นําแผนการส่งเสริมวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมไปใช้เป็นแนวทางในการดําเนินงานตามบทบาทหน้าที่ของหน่วยงานอย่างมีความเชื่อมโยง และเกื้อหนุนระหว่างกัน เพื่อให้เกิดการบูรณาการและพลังขับเคลื่อนอย่างมีทิศทางเดียวกัน จากยุ ท ธศาสตร์ แ ละกลยุ ท ธ์ ข องแผนการส่ ง เสริ ม วิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่ อ ม ฉบั บ ที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559) ที่กล่าวมาจะช่วยให้เกิดการเติบโตของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทยอย่างแข็งแกร่งและ ยั่งยืน โดยคาดว่ามูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของไทยจะมีการขยายตัวอย่าง ต่อเนื่องจนมีสัดส่วนเป็นร้อยละ 40 ของมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศภายในปี 2559 โดยเกิดจาก กิจกรรมการส่งเสริมของทุกยุทธศาสตร์ ทั้งจากการจดทะเบียนเพิ่มขึ้นของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของ ไทยที่มีศักยภาพไม่น้อยกว่า 250,000 ราย ซึ่งจะก่อให้เกิดการจ้างงานได้ไม่น้อยกว่า 1 ล้านคน และเกิดการสร้าง มูลค่าของสินค้าและบริการจากวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ได้รับการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน เชิงลึกไม่น้อยว่า 30,000 ราย รวมถึงจากการสร้างปัจจัยแวดล้อมต่างๆ ที่เอื้อต่อการดําเนินธุรกิจซึ่งจะช่วยลดต้นทุน และเพิ่มรายได้ให้กับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของไทย นอกจากนี้ การยกระดับขีดความสามารถทางการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อมของไทยที่มีศักยภาพ ยังสามารถช่วยให้เกิดผู้ส่งออกที่มีศักยภาพจากผลิตภัณฑ์และบริการทีเ่ ป็นที่ต้องการ ของตลาดโลก โดยจะช่วยสร้างมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นจนมีสัดส่วนไม่น้อยกว่าร้อยละ 35 ของมูลค่าการส่งออก รวมของประเทศ ได้

6-2


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)

บทท บทที​ี่ 7 การแปลงแผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559) ไปสูก่ ารปฏิบัติ การแปลงแผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559) ไปสู่การ ปฏิบัติ เป็นกระบวนการสําคัญ ที่ทําให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมได้รับการส่งเสริมและพัฒนา ตามเป้าหมาย และยุ ท ธศาสตร์ ที่ กํ า หนดไว้ ซึ่ ง ในการแปลงแผนการส่ ง เสริ ม ฯ ได้ มี ก ารกํ า หนดกลไกหลั ก ที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ แหล่งงบประมาณสนับสนุน และวิธีการติดตามประเมินผลไว้ในพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อม พ.ศ. 2543 ทั้งนี้ ในขั้นตอนการแปลงแผนการส่งเสริมฯ จะให้ความสําคัญกับการมีส่วนร่วมและการสร้าง ความเข้าใจให้กับหน่วยงาน ทั้งหน่วยงานที่กําหนดนโยบาย หน่วยงานปฏิบัติ และผู้ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งให้ความสําคัญ กั บ การผลั ก ดั น การแปลงแผนการส่ ง เสริ ม ฯ ไปสู่ ก ารกํ า หนดนโยบายและการดํ า เนิ น งานในทุ ก ระดั บ ทั้ ง ใน ระดับประเทศ ระดับภูมิภาค ระดับท้องถิ่น และมีการกําหนดแนวทางการติดตามประเมินผลเพื่อให้การดําเนินการ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ 1. กระบวนการแปลงแผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สู่การปฏิบัติตามพระราชบัญญัติ ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ. 2543 1.1 กลไกหลักที่เกี่ยวข้องในการแปลงแผนการส่งเสริมฯ สู่การปฏิบัติ ภายใต้พระราชบัญญัติส่งเสริม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ. 2543 ได้กําหนดโครงสร้างกลไกการส่งเสริมพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อม ประกอบด้วย คณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม คณะกรรมการบริหารสํานักงานส่งเสริม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สํานักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ส่วนราชการ หน่วยงานของ รัฐ รัฐวิสาหกิจ และองค์การเอกชน โดยแต่ละกลไกหลักมีองค์ประกอบและหน้าที่ ดังนี้ 1) คณะกรรมการส่ งเสริ มวิ สาหกิ จขนาดกลางและขนาดย่ อม ประกอบด้ วย นายกรั ฐ มนตรี เป็นประธานกรรมการ และผู้อํานวยการสํานักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเป็นกรรมการและ เลขานุการ ทําหน้าที่ตามมาตรา 11(1) ในการกําหนดแผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เพื่อเสนอ ขอความเห็นชอบต่อคณะรัฐมนตรี และทําหน้าที่ตามมาตรา 11(5) ในการให้ความเห็นชอบแผนปฏิบัติการส่งเสริม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และตามมาตรา 11(6) การให้คําแนะนําแก่ส่วนราชการ หน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือองค์การเอกชน ที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม 2) คณะกรรมการบริหารสํานักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นประธานกรรมการ และผู้อํานวยการสํานักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อม เป็นกรรมการและเลขานุการ ทําหน้าที่ตามมาตรา 20(4) ในการกําหนดนโยบายและควบคุมดูแลบริหาร กองทุนของสํานักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมและทําหน้าที่ตามมาตรา 20(5) ในการพิจารณา จัดสรรเงินกองทุนส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเพื่อใช้ในกิจการที่กําหนดไว้และทําหน้าที่ตามที่กําหนดใน 7-1


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)

มาตรา 20(13) ในการวางระเบียบเกี่ยวกับอํานาจหน้าที่และวิธีการบริหารหรือจัดการกองทุนฯ ของผู้จัดการกองทุนฯ และทําหน้าที่วางระเบียบการรับและเบิกจ่ายเงินของกองทุนฯ ตามมาตรา 20(14) รวมทั้งจัดทํารายงานการรับและ การจ่ายเงินของกองทุนฯ เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการตามมาตรา 20(15) 3) สํ า นั ก งานส่ ง เสริ ม วิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่ อ มจั ด ตั้ ง ขึ้ น เป็ น นิ ติ บุ ค คล โดยมีวัตถุประสงค์ตามมาตรา 16(3) ในการประสานและจัดทําแผนปฏิบัติการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่ อ มกั บ ส่ ว นราชการ หน่ ว ยงานของรั ฐ รั ฐ วิ ส าหกิ จ หรื อ องค์ ก ารเอกชนที่ เกี่ ยวข้ อง และมี วั ตถุ ประสงค์ ตามมาตรา 16(6) ในการบริหารกองทุนฯ ตามนโยบายและมติของคณะกรรมการส่งเสริมฯ และคณะกรรมการบริหารฯ รวมทั้งให้สํานักงานฯ จัดทําแผนปฏิบัติการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เพื่อปฏิบัติตามนโยบายและ แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเสนอต่อคณะกรรมการบริหารฯ เพื่อเสนอให้คณะกรรมการ ส่งเสริมให้ความเห็นชอบและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมประกาศในราชกิจจานุเบกษา ตามมาตรา 37 4) ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ และองค์การเอกชน ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องทั้งในการ จัดทําแผนปฏิบัติการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ตามมาตรา 38 ที่ได้ระบุให้ สํานักงานฯ จัดทําแผน ปฏิบัติการฯ โดยการประสานงานกับส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้อง และให้ประสานงาน กั บองค์ การเอกชนด้ วย และเป็ นหน่ วยงานปฏิ บั ติ ตามแผนปฏิ บั ติ การส่ งเสริ มวิ สาหกิ จขนาดกลางและขนาดย่ อม ตามมาตรา 34(2) ที่ระบุให้เงินกองทุนใช้จ่ายเพื่อให้ความช่วยเหลือส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือ องค์การเอกชน เพื่อนําไปใช้ดําเนินงานตามแผนปฏิบัติการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม 1.2 งบประมาณ ในการดําเนินการตามแผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สามารถ ดํ า เนิ น การโดยใช้ ง บประมาณจากกองทุ น ฯ ซึ่ ง ได้ มี ก ารกํ า หนดขอบเขตของการใช้ จ่ า ยไว้ ต ามมาตรา 34 ของพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ. 2543 หรือใช้งบประมาณภารกิจของหน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ พระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ. 2543 ได้กําหนดที่มาของกองทุนฯ ขอบเขตของการใช้จ่าย และแนวทางการจัดสรรงบประมาณไว้ดังนี้ 1) ที่มาของกองทุนฯ ตามมาตรา 32 ของพระราชบัญ ญัติส่ งเสริ มวิ สาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อม พ.ศ. 2543 ให้จัดตั้งกองทุนขึ้นกองทุนหนึ่งในสํานักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเรียกว่า “กองทุนส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม” ประกอบด้วย (1) เงินทุนประเดิมที่รัฐบาลจัดสรรให้ (2) เงินอุดหนุนที่รัฐบาลจัดสรรให้จากงบประมาณรายจ่ายประจําปี (3) เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้มอบให้เพื่อสมทบ กองทุน (4) ดอกผลหรือรายได้ของกองทุน และ (5) เงินอื่นที่ได้รับมาเพื่อดําเนินการกองทุน โดยเงินตาม (1) และ (2) รัฐบาลพึงจัดสรรให้แก่สํานักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมโดยตรงเป็นจํานวนที่เพียงพอสําหรับ ค่าใช้จ่ายที่จําเป็นในการดําเนินการตามวัตถุประสงค์ของสํานักงานฯ 2) ขอบเขตของการใช้ จ่ ายเงิ นกองทุ นฯ ตามมาตรา 34 เงิ นกองทุ นฯ ให้ ใช้ จ่ ายเพื่ อกิ จการ (1) ให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมหรือกลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมกู้ยืมในการก่อตั้ง ปรับปรุง พัฒนากิจการ (2) ให้ความช่วยเหลือส่วนราชการหรือเอกชนในการดําเนินการตามแผนปฏิบัติการส่งเสริมวิสาหกิจ

7-2


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)

ขนาดกลางและขนาดย่ อ ม (3) เป็ น เงิ น ช่ ว ยเหลื อ อุ ด หนุ น ร่ ว มกิ จ การ ร่ ว มทุ น หรื อ ลงทุ น ที่ เ กี่ ย วกั บ กิ จการ ก่อตั้ง ขยาย วิจัยและพัฒนา และการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้มีประสิทธิภาพ ตามที่คณะกรรมการ บริหารกําหนดตามความเห็นชอบของคณะกรรมการส่งเสริมฯ (4) เป็นค่าใช้จ่ายในการดําเนินงานของสํานักงานฯ และการบริหารกองทุนฯ 3) แนวทางการจั ด สรรเงิ น กองทุ น ฯ ตามมาตรา 35 ในการพิ จ ารณาจั ด สรรเงิ น กองทุ น ฯ ให้คณะกรรมการบริหารฯ พิจารณาให้สอดคล้องกับแผนปฏิบัติการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และการ ให้ความช่วยเหลือส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือองค์การเอกชน ให้คณะกรรมการบริหารฯ พิจารณา ความจําเป็นตามแผนปฏิบัติการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของหน่วยงานนั้นๆ โดยในส่วนของส่วน ราชการ หน่วยงานของรัฐ ให้คํานึงถึงงบประมาณแผ่นดินหรือเงินอุดหนุนที่ได้รับการจัดสรรไว้แล้วด้วย ที่ผ่านมา สํานักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมได้รับจัดสรรงบประมาณเพื่อการ ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม 3 ส่วน คือ ให้ความช่วยเหลือส่วนราชการหรือเอกชนในการดําเนินการ ตามแผนปฏิบัติการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เงินร่วมลงทุน (Venture Capital Fund) และเป็น ค่าใช้จ่ายในการดําเนินงานของสํานักงานฯ 1.3 การติดตามและประเมินผล เมื่อแผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ได้แปลง เป็นแผนปฏิบัติการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแล้ว หน่วยงานที่มีหน้าที่ตามแผนปฏิบัติการดังกล่าว จะต้องดําเนินการรายงานผล และจัดทํารับรองสถิติข้อมูลเกี่ยวกับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ตามที่กําหนด ไว้ในพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ. 2543 ดังนี้ 1) การรายงานผลการดําเนินงาน ตามมาตรา 39 ระบุให้ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือ รัฐวิสาหกิจที่มีหน้าที่ดําเนินการตามแผนปฏิบัติการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม รายงานผลการ ดําเนินงานต่อคณะกรรมการเสริมฯ อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง ตามแบบรายงานที่คณะกรรมการส่งเสริมฯ กําหนด 2) การจัดทําและรับรองสถิติข้อมูลเพื่อเผยแพร่ ตามมาตรา 40 ระบุว่าเพื่อให้การดําเนินการ ตามแผนปฏิบัติการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมตามมาตรา 37 บรรลุเป้าหมายและเพื่อประโยชน์ ในการประเมินผลการดําเนินงานตามแผนและการกําหนดแผนปฏิบัติการฯ ดังกล่าวให้ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจที่มีหน้าที่ตามแผนปฏิบัติการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมจัดทําและรับรองสถิติข้อมูล เกี่ยวกับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมออกเผยแพร่ 2. แนวทางการสร้างการมีส่วนร่วม สร้างความรู้ ความเข้าใจและการผลักดันแผนการส่งเสริมวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมสู่การปฏิบัติ 2.1 ผลักดันให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วม มีความรู้ ความเข้าใจแนวทางการดําเนินการ ตามแผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยสํานักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม จะส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการให้ความเห็น เสนอปัญหาและความต้องการ และร่วมดําเนินการส่งเสริม และพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมตามบทบาทที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ 7-3


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)

เป้าหมาย ยุทธศาสตร์ และกลยุทธ์ของแผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เช่น ส่วนราชการ หน่วยงานรัฐ รัฐวิสาหกิจ และองค์การเอกชน รวมถึงวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สามารถ นําแผนการส่งเสริมฯ ไปเป็นแนวทางในการดําเนินการตามภารกิจประจํา เพื่อเสนอขอรับงบประมาณประจําปี หรือ สําหรับจัดทําโครงการภายใต้แผนปฏิบัติการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เพื่อเสนอขอรับการช่วยเหลือ จากกองทุนส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งมี กระบวนการ ดังนี้ 1) เปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการให้ความเห็นต่อแผนการส่งเสริมฯ เช่น การเปิด โอกาสให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในแต่ละพื้นที่สามารถเสนอปัญหาและความต้องการที่แตกต่างกัน ในแต่ละพื้นที่ เพื่อให้การส่งเสริมและพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และการจัดทําแผนปฏิบัติการฯ มีแนวทางที่สามารถตอบสนองความต้องการที่หลากหลายได้ 2) เผยแพร่และประชาสัมพันธ์ให้ทุกภาคส่วน มีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถนําแผนการ ส่งเสริมฯ ไปปฏิบัติได้ โดยจัดทําสรุปแผนการส่งเสริมฯ และเผยแพร่ให้ผู้เกี่ยวข้องทุกระดับตั้งแต่ รัฐบาล ผู้กําหนด นโยบายของหน่วยงานต่างๆ ตลอดจนผู้ปฏิบัติและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สามารถเข้าใจได้อย่างง่าย โดยมีเนื้อหาที่เหมาะสมกับแต่ละกลุ่มเป้าหมาย รวมทั้งประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อมวลชน และสร้างเครือข่ายสําหรับ การกระจายข้ อ มู ล ไปยัง พื้ น ที่ ต่ า งๆ โดยให้ ค วามสํ า คั ญ กั บ การเตรีย มความพร้ อ มให้ บุ ค ลากรของ สํ า นั ก งานฯ ในการทําหน้าที่สื่อสารและถ่ายทอดสาระสําคัญของแผนการส่งเสริมฯ 2.2 สร้ า งความเชื่ อ มโยงและผลั ก ดั น แผนสู่ ก ารปฏิ บั ติ ใ นทุ ก ระดั บ ตั้ ง แต่ ใ นระดั บ ประเทศ ระดับภูมิภาค และระดับท้องถิ่น 1) การสร้างความเชื่อมโยงและผลักดันแผนการส่งเสริมฯ สู่การกําหนดนโยบายและดําเนินการ ในระดับประเทศ โดยผลักดันให้รัฐบาล สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) สํานั กงบประมาณ (สงป.) สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) คณะกรรมการนโยบายการ บริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ (ก.น.จ.) ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐสาหกิจ องค์การ เอกชนในส่วนกลาง เช่น กระทรวง กรม นําแผนการส่งเสริมฯ ไปเป็นแนวทางในการกําหนดนโยบาย รวมทั้งเป็น แนวทาง ในการจัดทําแผนการบริหารราชการแผ่นดิน ตลอดจนใช้เป็นกรอบในการพิจารณาโครงการที่ควรสนับสนุน และเป็นแนวทางในการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมตามบทบาทที่เกี่ยวข้องของแต่ละหน่วยงาน โดยใช้ งบประมาณของรั ฐบาล งบภารกิ จ ของแต่ ละหน่วยงาน หรือแหล่งงบประมาณอื่น ๆ หรื อเสนอของบประมาณ ภายใต้แผนปฏิบัติการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม จากกองทุนส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่ อ ม ซึ่ ง ในการดํ า เนิ น งานในระดั บ ประเทศ คณะกรรมการส่ ง เสริ ม วิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่ อ ม คณะกรรมการบริหารสํานักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และสํานักงานฯ จะมีบทบาทสําคัญ ในการผลักดันให้แผนการส่งเสริมฯ สามารถปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ และบรรลุผลตามเป้าหมายที่กําหนดไว้

7-4


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)

2) การผลักดันให้การส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเป็นแนวทางสําคัญในระดับ ภู มิ ภ าค โดยส่ ง เสริ ม ให้ จั ง หวั ด คณะกรรมการบริ ห ารงานจั ง หวั ด แบบบู ร ณาการ (ก.บ.จ.) และกลุ่ ม จั ง หวั ด คณะกรรมการบริหารงานกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ (ก.บ.ก.) นําแผนการส่งเสริมฯ ไปใช้เป็นแนวทางในการจัดทํา แผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนากลุ่มจังหวัด รวมทั้งใช้สําหรับการพิจารณาโครงการที่ควรสนับสนุน ตลอดจนเป็น แนวทางในการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมตามบทบาทที่เกี่ยวข้องของแต่ละหน่วยงาน โดยใช้งบ ภารกิจของแต่ละหน่วยงาน หรือแหล่งงบประมาณอื่นๆ หรือเสนอของบประมาณภายใต้แผนปฏิบัติการส่งเสริม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม จากกองทุนส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยในการผลักดันการ ดําเนินงานในภูมิภาคจะให้ความสําคัญกับการประสานงานหน่วยงานในส่วนกลางที่เป็นต้นสังกัดของหน่วยงานใน ภูมิภาคด้วย เช่น กระทรวงมหาดไทย เพื่อให้เกิดการบูรณาการ ลดความซ้ําซ้อนในการดําเนินงานทั้งในระดับภูมิภาค และส่วนกลาง เป็นต้น 3) การผลักดันให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) นําแผนการส่งเสริมฯ ไปใช้เป็นแนวทางใน การจัดทําแผนพัฒนาท้องถิ่น รวมทั้งใช้สําหรับการพิจารณาโครงการที่ควรสนับสนุน ตลอดจนเป็นแนวทางในการ พั ฒ นาวิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่ อ มตามบทบาทที่ เ กี่ ย วข้ อ งของแต่ ล ะหน่ ว ยงาน โดยใช้ ง บภารกิ จ ของ แต่ละหน่วยงาน หรือแหล่งงบประมาณอื่น ๆ หรือเสนอของบประมาณภายใต้แผนปฏิบัติการส่งเสริมวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม จากกองทุนส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ซึ่งในการดําเนินการในระดับ ท้องถิ่นจะให้ความสําคัญกับการสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับสถาบันการศึกษา ภาคเอกชน และหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องในพื้นที่ ให้เป็นผู้มีบทบาทในการสนับสนุนการดําเนินการตามแผนการส่งเสริมฯ 3. แนวทางและกลไกการติดตามประเมินผล การดําเนินงานตามแผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม 3.1 การติดตามความก้าวหน้า และประเมินผลการดําเนินงาน มีการติดตามความก้าวหน้าและ เพื่อให้ทราบปัญหาอุปสรรคในการดําเนินงาน ตามแผนงานโครงการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ภายใต้ แผนภารกิ จ ของหน่ ว ยงานที่ เ กี่ ย วข้ อ ง และภายใต้ แ ผนปฏิ บั ติ ก ารส่ ง เสริ ม วิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่ อ ม ปี พ.ศ. 2555-2559 ซึ่งจะมีการติดตามประเมินผลผลิต ผลลัพธ์ของการดําเนินงานตามแผนประจําปี ระยะครึ่งแผน และระยะสิ้นสุดแผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม รวมทั้งมีการประเมินผลลัพธ์ และผลกระทบ (Outcome & Impact) ในภาพรวมของการดําเนินงานตามแผนการส่งเสริมฯ และให้มีการทบทวน ปรับปรุงแนวทางที่ กําหนดไว้เพื่อให้แผนการส่งเสริมฯ มีความสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในแต่ละช่วง 3.2 กลไกการติดตามประเมินผล สํานักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ทําหน้าที่ กําหนดแนวทางการติดตามความก้าวหน้าและการติดตามประเมินผล โดยการประสานงานติดตามการดําเนินงาน ของหน่วยที่ เกี่ ยวข้อง ทั้งที่ ดําเนิ นงานส่ งเสริม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่ อมโดยงบภารกิจของหน่วยงาน และภายใต้แผนปฏิบัติการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และจัดทํารายงานผลต่อคณะกรรมการบริหาร สํานักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

7-5


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)

7-6


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)

ภาคผนวก ก คําสั่งแต่งตัง้ คณะอนุกรรมการจัดทํายุทธศาสตร์การส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

ก-1


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)

ก-2


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559) ยุทธศาสตร์ที่ 1 ทิศทางการส่งเสริม

สนับสนุนปัจจัยแวดล้อมให้เอื้อต่อการดําเนินธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย • เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ให้มีความพร้อมสําหรับการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม • สร้างปัจจัยแวดล้อมเพื่อให้เอื้อต่อการดําเนินธุรกิจของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในทุกระดับการเติบโตของธุรกิจ ให้มีประสิทธิภาพ และธรรมาภิบ าล พัฒนาฐานข้อมูลให้มีความสมบูรณ์ ครบถ้วน รวมทั้ งพัฒนาเครือข่ายการทํางานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อ ม ของภาครัฐอย่างบูรณาการ • สร้างภูมิคุ้ มกันจากปัจ จัยเสี่ยงทั้งภายในและภายนอกประเทศ การฟื้ น ฟู และบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้น กับ วิ สาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อ ม ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ฉุกเฉินและสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป

แนวทางตัวชี้วัดระดับ ยุทธศาสตร์

• • • • •

กลยุทธ์ที่ 1.1

พัฒนาศักยภาพหน่วยงานและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมและพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมและพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมได้รับการพัฒนาให้มีความรู้ความสามารถเพิ่มขึ้น การเพิ่มขึ้นของจํานวนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่สามารถเข้าถึงเงินทุนได้ มีข้อเสนอแนะในการปรับปรุงกฎหมาย กฎระเบียบ เพื่อให้เอื้อต่อธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอํานวยความสะดวกของภาครัฐได้รับการพัฒนาให้มีศักยภาพและเพียงพอต่อความต้องการของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม การบริหารจัดการด้านงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมีประสิทธิภาพและทํางานเชิงบูรณาการ

หน่วยงาน ผู้กําหนดนโยบาย และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมและพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เป็นกลไกสําคัญที่มีบทบาทในการช่วยเหลือ สนับสนุน ส่งเสริม และพัฒนาให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สามารถดําเนินธุรกิจได้อย่างเข้มแข็ง โดยขณะนี้มีหลายหน่วยงานที่มีบทบาทเกี่ยวข้องกับ การส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ซึ่งบุคลากรของหน่วยงานต่างๆ ควรได้รับการพัฒนาความรู้ความสามารถ ให้เข้าใจสภาพปัญหาและความต้องการ ของวิสาหกิจกลางและขนาดย่อม ตลอดจนมีความรู้และเข้าใจนโยบายและทิศทางการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของประเทศ เพื่อดําเนินการ ส่งเสริมและสนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่เชื่อมโยงและเกื้อหนุนการดําเนินงานร่วมกัน

ข-1


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559) แนวทางการส่งเสริม

หน่วยงานดําเนินการ

เสริมสร้างความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาและความต้องการของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม รวมถึง นโยบายและทิศทางการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของประเทศให้แก่ผู้กําหนดนโยบายและ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อให้การ ดําเนินงานส่งเสริมมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับความต้องการของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยจัดกิจกรรมที่เพิ่มโอกาสให้ผู้กําหนดนโยบายและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ได้รับการพัฒนาและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ เช่น การจัดประชุมร่วมระหว่างส่วนงานซึ่งดูแลด้านนโยบาย และแผนของแต่ละหน่วยงาน เป็นต้น ส่งเสริมบทบาทของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในทุกระดับ ในทุกพื้นที่ ให้มีการกําหนดนโยบายและมีกิจกรรมเพื่อเกื้อหนุนต่อการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อมในพื้นที่ รวมถึงสร้างแรงจูงใจให้มีส่วนร่วมในการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พัฒ นาองค์ค วามรู้ แ ละทักษะของเจ้า หน้า ที่ที่เกี่ยวข้อ งทุกระดับ ให้ส อดคล้องต่อ การเปลี่ย นแปลงของ แนวโน้มทางเศรษฐกิจ รวมทั้งมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับศักยภาพของพื้นที่ เพื่อให้การบริการวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมเป็ น ไปอย่า งมีประสิทธิภาพ โดยผลั ก ดันให้มีสถาบั น พัฒ นาความรู้ข องผู้ที่ เกี่ยวข้องในทุกระดับ และพัฒนาหลักสูตรให้เหมาะสมกับบทบาทของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่ผู้กําหนด นโยบาย และเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน และถ่ายทอดความรู้อย่างต่อเนื่อง

ข-2

อก. (สสว.) ส่วนราชการ/หน่วยงานของ รัฐ/รัฐวิสาหกิจ/องค์การ เอกชน

อก. (สสว.) ส่วนราชการ/หน่วยงานของ รัฐ/รัฐวิสาหกิจ/องค์การ เอกชน อก. (สสว.) ส่วนราชการ/หน่วยงานของ รัฐ/รัฐวิสาหกิจ/องค์การ เอกชน

ระยะเวลาดําเนินการ 2555 2556 2557 2558 2559


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559) กลยุทธ์ที่ 1.2

พัฒนาระบบฐานข้อมูลวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และข้อมูลองค์ความรู้ เพื่อประโยชน์ในการวางแผนการส่งเสริมและดําเนินธุรกิจวิสาหกิจขนาด กลางและขนาดย่อม การพัฒนาฐานข้อมูลวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้มีประสิทธิภาพ ถูกต้อง สมบูรณ์ ครบถ้วน และทันต่อสถานการณ์ เป็นปัจจัยพื้นฐานที่สําคัญและจําเป็นต่อการ ดําเนินธุรกิจและกําหนดนโยบายในการส่งเสริมและพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เนื่องจากข้อมูลวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมยังมีความกระจัดกระจาย และขาดการประสานและเชื่อมโยงระหว่างกัน ส่งผลให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมและหน่วยงานด้านการวางแผนและนโยบาย ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูล ได้อย่างสะดวก และรวดเร็ว ดังนั้น จึงจําเป็นต้องพัฒนาระบบฐานข้อมูลวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงและบูรณาการการจัดทําข้อมูลร่วมกัน ระหว่างหน่วยงานภาครัฐและเอกชนให้สามารถอ้างอิงข้อมูลได้จากฐานเดียวกัน และลดความซ้ําซ้อนของการจัดทําระบบฐานข้อมูล ทําให้เกิดความคุ้มค่าและเพื่อประโยชน์ ในการวางแผนการส่งเสริมและการดําเนินธุรกิจของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม รวมทั้ง การขยายและสร้างช่องทางให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมสามารถ เข้าถึงข้อมูลได้สะดวกและรวดเร็ว แนวทางการส่งเสริม

หน่วยงานดําเนินการ

พัฒนาระบบฐานข้อมูลวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่มีความสมบูรณ์ครบถ้วน ถูกต้อง ทันต่อเหตุการณ์ และพร้อมใช้งาน เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของหน่วยงานนโยบายและแผน หน่วยงานปฏิบัติ และ ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมทั้งในเชิงเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม อัตลักษณ์ และทรัพยากรใน การประกอบธุรกิจ ทั้งในด้านศักยภาพในการแข่งขัน ศักยภาพของพื้นที่ ทิศทางการพัฒนากลุ่มธุรกิจวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม และสถานการณ์ต่างประเทศ รวมถึงข้อมูลด้านสถานการณ์ที่ส่งผลต่อวิสาหกิจขนาด กลางและขนาดย่อม สภาพปัญหาอุปสรรค โอกาส แนวทาง และความต้องการต่าง ๆ ของวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อม สร้างและรวบรวมองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์ เพื่อนําไปใช้ในการวางแผนการส่งเสริม รวมทั้งกระตุ้นวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม ให้เห็นความสําคัญของข้อมูลและนําไปใช้ในการดําเนินธุรกิจ

ข-3

อก. (สสว.) พณ. (พค.) รง. (สปส.) ทก. (สสช.) กค. (ศก.) มท. (สถ./อปท.) อก. (สสว./สศอ./กรอ.) พณ. (พค.)

ระยะเวลาดําเนินการ 2555 2556 2557 2558 2559


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559) แนวทางการส่งเสริม

หน่วยงานดําเนินการ

ขยายและสร้ า งช่ อ งทางให้ วิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่ อ ม สามารถเข้ า ถึ ง ข้ อ มู ล ได้ โ ดยสะดวก อก. (สสว.) และทั่วถึง ทั้งช่องทางการสื่อสารรูปแบบเดิม เช่น สิ่งพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ อินเตอร์เน็ต และช่องทางการสื่อสาร พณ. (พค.) รูปแบบที่ทันสมัย เช่น เครือข่ายทางสังคมออนไลน์ (Social Network) เคเบิ้ลทีวี เป็นต้น รง. (สปส.) กค. (ศก./สพ./กรมสรรพสามิต/ สศค.) ศธ. สถาบันการเงิน ภาคเอกชน (หกค./สอท./ ส.ส.ท.) เชื่อมโยงและบูรณาการการจัดทําข้อมูลร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐและเอกชน จัดทํามาตรฐานข้อมูลเพื่อให้ อก. (สสว.) ทุกหน่วยงานสามารถใช้ข้อมูลเพื่อการดําเนินงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมจากฐานข้อมูลเดียวกัน ส่วนราชการ/หน่วยงานของรัฐ/ และลดความซ้ําซ้อนของการจัดทําฐานข้อมูล เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าและเพื่อประโยชน์ในการวางแผนการส่งเสริม รัฐวิสาหกิจ/องค์การเอกชน และการดําเนินธุรกิจของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เพิ่ มประสิ ทธิ ภาพการบริ หารจั ดการฐานข้ อมู ล เช่ น การพั ฒนาเครื่ องมื อในการวิ เคราะห์ และประมวลผล อก. (สสว.) การปรับปรุงข้อมูล การพัฒนาระบบและบุคลากร การพัฒนาแนวทางการเชื่อมโยงเนื้อหาและระบบฐานข้อมูล ทก. (สสช.) ระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ เป็นต้น

ข-4

ระยะเวลาดําเนินการ 2555 2556 2557 2558 2559


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559) กลยุทธ์ที่ 1.3

ทบทวน ปรับปรุง และผลักดัน กฎหมาย กฎระเบียบ มาตรการ ภาษี และการให้สิทธิประโยชน์ เพื่อเอื้อและลดอุปสรรคต่อการดําเนินธุรกิจของวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม ประเทศไทยมีการนํากฎหมายมาใช้เป็นเครื่องมือเพื่อการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมค่อนข้างน้อย ที่พบได้ เช่น การพิจารณาลดอัตราภาษีเงินได้ของ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม การส่งเสริมการลงทุนแก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ซึ่งในทางปฏิบัติวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมีความสามารถใน การเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากมาตรการต่าง ๆ ของภาครัฐได้น้อย ทั้งนี้ ปัญหาส่วนหนึ่งมาจากความไม่พร้อมของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และการ บังคับใช้กฎหมายหรือระเบียบยังไม่เหมาะสมและสอดคล้องต่อวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและความต้องการ ทางด้านธุรกิจ ทําให้มีการพัฒนาการทําธุรกรรมการค้าประเภทใหม่เกิดขึ้น ขณะที่การพัฒนากฎหมายขึ้นเพื่อรองรับการทําธุรกรรมเหล่านั้นยังเป็นไปอย่างค่อนข้างช้า และ ความซ้ําซ้อนของกฎหมาย ตลอดจนความไม่ชัดเจนในขั้นตอน กระบวนการในการบังคับใช้กฎหมายและให้บริการของภาครัฐ รวมทั้งยังขาดแรงจูงใจและสิทธิประโยชน์ ที่เพียงพอ ดังนั้น การส่งเสริม และพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมจึงควรทบทวน ปรับปรุง และผลักดัน กฎหมาย กฎระเบียบ มาตรการภาษีและการให้สิทธิ ประโยชน์ เพื่อเอื้อและลดอุปสรรคต่อการดําเนินธุรกิจของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม แนวทางการส่งเสริม

หน่วยงานดําเนินการ

เสริมสร้างความรู้ให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบ ขั้นตอน มาตรการภาษี อก. (สกท./สสว.) และจูงใจให้ใช้สิทธิประโยชน์ที่เอื้อต่อการประกอบธุรกิจ กค. (ศก./สพ./กรมสรรพสามิต/ สศค.) พณ. กษ. นร. (สคบ.)

ข-5

ระยะเวลาดําเนินการ 2555 2556 2557 2558 2559


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559) แนวทางการส่งเสริม

หน่วยงานดําเนินการ

ผลักดันให้เกิดการทบทวนปรับปรุง แก้ไขกฎหมาย กฎระเบียบ ขั้นตอน วิธีการปฏิบัติ และให้มีการประกาศใช้ พณ. (คน./พค./ทป.) กฎหมาย กฎระเบียบ ภาษี และสิทธิประโยชน์ใหม่ ๆ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ เพื่อลดอุปสรรคในการประกอบ กค. (ศก./สพ./กรมสรรพสามิต/ สศค.) ธุรกิจ มท. (สถ./อปท.) นร. (กกถ.) กษ. สนับสนุนการใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือในการสร้างจริยธรรม คุณธรรม ความโปร่งใส เพื่อลดความได้เปรียบหรือ พณ. (คน./พค./ทป.) เสียเปรียบในการดําเนินธุรกิจระหว่างธุรกิจขนาดใหญ่กับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม กค. (ศก./สพ./กรมสรรพสามิต/ สศค.) มท. (สถ./อปท.) นร. (กกถ.) กษ. ผลักดันให้มีการทบทวน ปรับปรุง อั ตราภาษีให้เป็นธรรมต่อการประกอบธุรกิจของวิสาหกิจขนาดกลางและ พณ. (คน./พค./ทป.) ขนาดย่อม กค. (ศก./สพ./กรมสรรพสามิต/ สศค.) มท. (สถ./อปท.) นร. (กกถ.) กษ.

ข-6

ระยะเวลาดําเนินการ 2555 2556 2557 2558 2559


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559) แนวทางการส่งเสริม

หน่วยงานดําเนินการ

ศึกษา ทบทวน รูปแบบการจัดเก็บภาษี ที่เหมาะสมกับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้สอดคล้องต่อการอยู่ รอดและเติบโตของกิจการ เช่น การเหมาจ่ายสําหรับวิสาหกิจขนาดกลางและย่อมในช่วงเริ่มต้นธุรกิจ อัตราภาษี ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมต่ํากว่ารายใหญ่ การกําหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้จัดเก็บภาษี และนํารายได้จากการจัดเก็บมาพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในพื้นที่นั้น ๆ เป็นต้น

กค. (ศก./สพ./กรมสรรพสามิต/ สศค.) พณ. (คน./พค./ทป.) อก. (สสว./สกท./กรอ./กสอ.) มท. (สถ./อปท.) นร. (กกถ.) กษ. ผลักดันและจูงใจให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเข้าสู่ระบบภาษี เช่น การสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่อง กค. (ศก./สพ./กรมสรรพสามิต/ ประโยชน์ ของภาษี ต่ อการพั ฒนาวิ สาหกิ จขนาดกลางและขนาดย่ อม การยกเว้ นความผิ ดทางภาษี ในอดี ต สศค.) (การนิรโทษกรรมภาษี) เป็นต้น พณ. (คน./พค./ทป.) อก. (สสว./สกท./กรอ./กสอ.) มท. (สถ./อปท.) นร. (กกถ.) กษ. ศธ. สภาวิชาชีพบัญชีฯ จัดทําระบบฐานข้อมูลกฎหมาย กฎระเบียบ มาตรการภาษีและการให้สิทธิประโยชน์สําหรับวิสาหกิจขนาดกลาง อก. (สสว./สกท./กรอ./กสอ.) และขนาดย่อม เพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงนโยบายและเผยแพร่ กค. (ศก./สพ./กรมสรรพสามิต/ สศค.) พณ. (คน./พค./ทป.) มท. (สถ./อปท.) นร. (กกถ.) กษ.

ข-7

ระยะเวลาดําเนินการ 2555 2556 2557 2558 2559


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559) กลยุทธ์ที่ 1.4

เสริมสร้างระบบและเตรียมความพร้อมเพื่อให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สามารถเข้าถึงเงินทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทางการเงิน วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมีข้อจํากัดในการเข้าถึงเงินทุนจากปัจจัยสําคัญ 3 ด้าน คือ ด้านผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมด้านแหล่งเงินทุน และ ด้านโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมขาดหลักทรัพย์ค้ําประกันหรือมีหลักทรัพย์ค้ําประกันไม่เพียงพอต่อวงเงินสินเชื่อ ขาดระบบ การบันทึกบัญชีที่เป็นมาตรฐาน ไม่มีประวัติธุรกรรมทางการเงินกับสถาบันการเงินย้อนหลัง เป็นผู้มีประวัติธุรกรรมทางการเงินไม่ดี รวมทั้ง ความสามารถในการทําธุรกิจ และชําระหนี้ต่ํา ในส่วนของสถาบันการเงินยังขาดความเชื่อมั่นในพิจารณาสินเชื่อให้แก่ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม นอกจากนี้ บทบาทสถาบันการเงิน เฉพาะกิจ ในการให้บริการทางการเงินแก่ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมยังมีไม่มากพอเมื่อเทียบกับความต้องการของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เนื่องจากข้อจํากัดด้านเงินทุน กฎระเบียบ และขาดมาตรการจูงใจให้สถาบันการเงินปล่อยสินเชื่อให้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในด้านโครงสร้างพื้นฐานยังขาด ระบบหรือกลไกเสริมสร้างประสิทธิภาพในการใช้เงินทุนของประกอบการ เช่น ระบบพี่เลี้ยง ที่ปรึกษา นักวินิจฉัยที่ดําเนินงานโดยหน่วยงานต่าง ๆ ยังมีความกระจัดกระจาย ไม่เป็นระบบ และ ไม่เพียงพอกับความต้องการของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ขาดระบบค้ําประกันที่เอื้อต่อการขยายสินเชื่อให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาด ย่อมได้อย่างกว้างขวาง ขาดระบบข้อมูลกลางที่จะช่วยทั้งผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในการวิเคราะห์สถานะของกิจการและแนวโน้มธุรกิจ และที่จะ ช่วยสถาบันการเงินในการปล่อยสินเชื่อตามความเสี่ยงและโอกาสทางธุรกิจของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ขาดกฎระเบียบที่เอื้อต่อการขยายบริการทางการเงิน ให้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ดังนั้น การเสริมสร้างระบบและเตรียมความพร้อมเพื่อให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมสามารถเข้าแหล่งเงินทุน ควรมุ่งเน้น เสริมสร้างระบบและเตรียม ความพร้อมเพื่อให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สามารถเข้าถึงเงินทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทางการเงิน แนวทางการส่งเสริม

หน่วยงานดําเนินการ

เตรียมความพร้อมให้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยการสร้างความรู้ความเข้าใจด้านการบริหาร กค. (สพ.) จัดการธุรกิจ เช่น การจัดทําแผนธุรกิจ บัญชีที่เป็นระบบ เป็นต้น ผลิตภัณฑ์ทางการเงิน และการบริหาร อก. (สสว.) ความเสี่ยง สถาบันการเงิน ศธ. สภาวิชาชีพบัญชีฯ

ข-8

ระยะเวลาดําเนินการ 2555 2556 2557 2558 2559


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559) แนวทางการส่งเสริม

หน่วยงานดําเนินการ

ส่งเสริมบทบาทของสถาบันการเงินโดยเฉพาะสถาบันการเงินเฉพาะกิจ1 (Special Financial Institutions: SFIs) ให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้มีความพร้อมในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน เช่น การให้คําปรึกษาแนะนํา ให้ความรู้ การเตรียมความพร้อมด้านประวัติธุรกรรมทางการเงิน การวินิจฉัยธุรกิจ การจัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาด เป็นต้น ส่ งเสริ มการเชื่ อมโยงบริ การทางการเงิ นกับโครงการส่ งเสริ มพัฒนาวิ สาหกิ จขนาดกลางและขนาดย่ อมของ หน่วยงานต่าง ๆ เช่น กําหนดเงื่อนไขพิเศษสําหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ผ่านการเข้าร่วมโครงการ บ่มเพาะธุรกิจวินิจฉัย ให้สามารถได้รับเงินทุนเพื่อเริ่มธุรกิจ การปรับปรุงหรือพัฒนาธุรกิจ เป็นต้น เพิ่มช่องทางหรือโอกาสการเข้าถึงแหล่งเงินทุน ทั้งตลาดเงิน ตลาดทุน และแหล่งเงินทุนอื่น ๆ เช่น การร่วมลงทุน (Venture Capital) การสนับสนุนเงินทุนในการเริ่มต้นธุรกิจ รวมทั้ง ขยายบริการทางการเงินที่มีอยู่เดิมให้มีการใช้ บริการมากขึ้น เช่น ธุรกิจการให้เช่าแบบลีสซิ่ง (Leasing) ธุรกิจแฟคตอริ่ง (Factoring) เป็นต้น

อก. (สสว./สศอ./กสอ.) สถาบันการเงิน NCB ศธ. สถาบันการเงิน ส่วนราชการ/หน่วยงานของรัฐ/ รัฐวิสาหกิจ/องค์การเอกชน ธปท. สถาบันการเงิน ธุรกิจเงินร่วมลงทุน

กํ า หนดแนวทางและปรั บ ปรุ ง ระบบการค้ํ า ประกั น สิ น เชื่ อ วิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่ อ ม เช่ น เพิ่มหลักทรัพย์ค้ําประกันรูปแบบใหม่ โดยเฉพาะหลักทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้ และหลักทรัพย์ที่เคลื่อนที่ได้ เช่น ทรัพย์สินทางปัญญา ตราสินค้า สินค้าคงคลัง สร้างระบบการค้ําประกันสินเชื่อหรือการให้สินเชื่อแบบไม่ต้องใช้ หลักทรัพย์หรือบุคคลค้ําประกัน และขยายบทบาทหน่วยงานและแบบค้ําประกันสินเชื่อ เป็นต้น

SFIs (บสย.และ SFIs อื่น ๆ) ธพ. ธปท. ศธ.

ส่งเสริมระบบข้อมูลกลางเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเข้าถึงแหล่งเงินทุน และผลักดันให้หน่วยงานและแหล่งเงินทุน ต่าง ๆ นําไปใช้ประกอบการพิจารณา เช่น ระบบข้อมูลจัดระดับความน่าเชื่อถือ (SMEs Credit Rating Database) ระบบฐานข้อมูลความต้องการและปริมาณการปล่อยสินเชื่อให้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เป็นต้น

อก. (สสว.) กค. (สศค.) ธปท. NCB สถาบันการเงิน

1

ระยะเวลาดําเนินการ 2555 2556 2557 2558 2559

สถาบันการเงินเฉพาะกิจ (Special Financial Institutions: SFIs) ประกอบด้วย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.), ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.), ธนาคารออมสิน, ธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.), ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ธอท.), ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) และบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.)

ข-9


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559) กลยุทธ์ที่ 1.5

สร้างความเข้มแข็งให้แก่กลไกและเครือข่ายการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม กลไกและเครือข่ายการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ประกอบด้วย ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ และองค์การเอกชน โดยการ ดําเนินงานที่ผ่านมา สํานักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ทําหน้าที่เป็นศูนย์กลางประสานระบบการทํางานของส่วนราชการ องค์กรของรัฐ หรือ รัฐวิสาหกิจที่ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องและสอดคล้องในทิศทางเดียวกัน แต่อย่างไรก็ตามเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ในการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ควรผลักดันให้การส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเป็นวาระแห่งชาติ เพื่อเป็นกลไกตั้งต้นในการขับเคลื่อนนโยบายการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ทั้งในส่วนของแผนงาน/โครงการ งบประมาณ และทรัพยากรของ ประเทศอย่างเพียงพอและต่อเนื่อง โดยปัจจัยแห่งความสําเร็จของกลไกดังกล่าว คือ การบูรณาการเครือข่ายความร่วมมือในการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อมระหว่างส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ และองค์การเอกชน และการสร้างกลไกการติดตามและประเมินผลการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม ทั้งในส่วนของกองทุนส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมและในส่วนที่มิใช่การดําเนินงานภายใต้กองทุนส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อม แนวทางการส่งเสริม

หน่วยงานดําเนินการ

ผลักดันนโยบายการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ให้เป็นวาระแห่งชาติ

ผลักดันให้หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนนําแผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ไปใช้เป็นกรอบ การดําเนินงานตลอดจนมีการจัดสรรทรัพยากรในการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม อย่างเพียงพอ และต่อเนื่อง โดยแต่ละหน่วยงานมีการดําเนินการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ตามบทบาทหน้าที่ ของหน่วยงานและบูรณาการร่วมกันอย่างเป็นระบบ และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน พัฒนาเครือข่ายความร่วมมือในการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ระหว่างส่วนราชการ หน่วยงานของ รัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือองค์การเอกชน เช่น การบูรณาการความร่วมมือระหว่างผู้มีหน้าที่ด้านนโยบายและแผนการ ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของหน่วยงานต่าง ๆ การเชื่อมโยงการทํางานของหน่วยแผนและ หน่วยปฏิบัติ รวมทั้งพัฒนาความเข้มแข็งขององค์การเอกชนที่เกี่ยวข้องทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค

ข-10

อก. (สสว.) นร. (สงป./สศช.) ส่วนราชการ/หน่วยงานของรัฐ /รัฐวิสาหกิจ/องค์การเอกชน อก. (สสว.) นร. (สงป./สศช.) ส่วนราชการ/หน่วยงานของรัฐ /รัฐวิสาหกิจ/องค์การเอกชน อก. (สสว.) นร. (สงป./สศช.) ส่วนราชการ/หน่วยงานของรัฐ /รัฐวิสาหกิจ/องค์การเอกชน

ระยะเวลาดําเนินการ 2555 2556 2557 2558 2559


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559) แนวทางการส่งเสริม

หน่วยงานดําเนินการ

สร้างกลไกการติดตามและประเมินผลการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เช่น สร้างระบบการรายงาน และประมวลผลการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และนําข้อมูลไปใช้ในการวางแผนการทํางาน ส่งเสริมให้มีประสิ ทธิ ภาพยิ่ งขึ้น รวมทั้งการพัฒนาตัวชี้วัดเพื่อติดตามและประเมินผลการส่งเสริมวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม

อก. (สสว.) นร. (สงป./สศช.) ส่วนราชการ/หน่วยงานของรัฐ /รัฐวิสาหกิจ/องค์การเอกชน

ข-11

ระยะเวลาดําเนินการ 2555 2556 2557 2558 2559


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559) กลยุทธ์ที่ 1.6

ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้ดําเนินธุรกิจโดยใช้หลักธรรมาภิบาล และสนับสนุนการประกอบธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมส่วนใหญ่ขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดําเนินธุรกิจภายใต้ความรับผิดชอบต่อสังคม โดยบางส่วนยังเข้าใจว่าเป็นเรื่องของกิจการราย ใหญ่ และคิดว่าเป็นต้นทุนในการดําเนินธุรกิจ จึงส่งผลให้ขาดความตระหนักรู้ ในขณะที่ บางส่วนเห็นความสําคัญของการดําเนินธุรกิจภายใต้ความรับผิดชอบต่อสังคม แต่ไม่มีขีดความสามารถในการดําเนินการได้โดยลําพัง นอกจากนี้ ปัจจัยพื้นฐานที่จะส่งเสริมและสนับสนุนให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมดําเนินธุรกิจภายใต้ความ รับผิดชอบต่อสังคม ยังมีอยู่อย่างจํากัดและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมีขีดจํากัดในการเข้าถึงปัจจัยพื้นฐานดังกล่าว เช่น การยกเว้นค่าธรรมเนียมการส่งเสริมการ ลงทุน การยกเว้นภาษี เป็นต้น ดังนั้น จึงควรส่งเสริมและสนับสนุนให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมดําเนินธุรกิจภายใต้ความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility: CSR) / อุตสาหกรรมสีเขียว (Green Industry) และระบบธรรมาภิบาล แนวทางการส่งเสริม

หน่วยงานดําเนินการ

สร้างจิตสํานึก ปลูกฝังค่านิยม ให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เห็นความสําคัญของการดําเนินธุรกิจโดยใช้ อก. (กรอ./กพร./กนอ.) หลักธรรมาภิบาลและเป็นมิตรต่อสังคม สิ่งแวดล้อมอย่างสมดุล ทส. (DEQP/อบก.) กลต. (สถาบันพัฒนาธุรกิจเพื่อ สังคม CSRI) สถาบันไทยพัฒน์ สถาบันอิสระ (สสท.) สกส. ส่งเสริมองค์ความรู้ด้านการประกอบธุรกิจที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม ตลอดจนคุณธรรม จริยธรรม อก. (กรอ./กพร./กนอ.) ความโปร่งใสในการดําเนินธุรกิจให้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เช่น การศึกษาและจัดทําต้นแบบ ทส. (DEQP/อบก.) ระบบฐานข้อมูลด้านการดําเนินธุรกิจภายใต้ความรับผิดชอบต่อสังคม อุตสาหกรรมสีเขียว และระบบธรรมาภิบาล สถาบันไทยพัฒน์ สถาบันอิสระ (สสท.) สกส.

ข-12

ระยะเวลาดําเนินการ 2555 2556 2557 2558 2559


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559) แนวทางการส่งเสริม

หน่วยงานดําเนินการ

สร้างแรงจูงใจให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในการปฏิบัติตามข้อกําหนดการดําเนินธุรกิจภายใต้ความ รับผิดชอบต่อสังคม อุตสาหกรรมสีเขียว และระบบธรรมาภิบาล โดยการสนับสนุนเงินทุน สิทธิประโยชน์ในการ ดําเนินธุรกิจ (การลดหย่อนค่าธรรมเนียมในการดําเนินธุรกิจ) การประกาศเกียรติคุณ รวมทั้งให้ความรู้และส่งเสริม ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการนําความรับผิดชอบต่อสังคม มาใช้ในการสร้างรายได้ให้แก่ธุรกิจ

กค. (ศก./สพ./กรมสรรพสามิต) สถาบันการเงิน กลต. (สถาบันพัฒนาธุรกิจเพื่อ สังคม CSRI) สกส. ผลักดันให้เกิดสิทธิประโยชน์ทางภาษีหรือกฎหมาย เพื่อสร้างแรงจูงใจในการดําเนินธุรกิจภายใต้ความรับผิดชอบ อก. (สกท./กรอ./กพร./กนอ./ ต่อสังคม อุตสาหกรรมสีเขียว และระบบธรรมาภิบาลมาใช้ในการดําเนินธุรกิจ สรอ.) กค. (ศก./สพ./กรมสรรพสามิต/ สศค.) ทส. (DEQP/อบก.) มท. (สถ./อปท.) นร. (กกถ.) สถาบันอิสระ (สสท.) สกส.

ข-13

ระยะเวลาดําเนินการ 2555 2556 2557 2558 2559


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559) กลยุทธ์ที่ 1.7

สร้างกลไกและระบบการยกระดับความรู้ความสามารถทักษะบุคลากรของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ด้านการจัดการ การผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการ ของภาคธุรกิจ บุคลากรของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ภายใต้การดําเนินงานของกลยุทธ์นี้จําแนกเป็น 2 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มผู้ประกอบการและแรงงาน และ2) กลุ่มผู้ให้บริการทาง ธุรกิจให้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยแต่ละกลุ่มต่างมีปัญหาและข้อจํากัดแตกต่างกัน คือ 1) กลุ่มผู้ประกอบการและแรงงาน การผลิตแรงงานไม่สอดคล้องกับ ความต้องการของภาคธุรกิจ นอกจากนี้ การแข่งขันทางธุรกิจในปัจจุบัน ไม่ได้มุ่งเน้นที่การใช้แรงงานค่าจ้างต่ํา แต่มุ่งเน้นแรงงานที่มีทักษะฝีมือและทักษะภาษาต่างประเทศ และในส่วนของปัจจัยแวดล้อมด้านบุคลากร ภาครัฐยังขาดการสร้างกลไกและสิ่งจูงใจเพื่อสนับสนุนให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ลงทุนในการพัฒนาทรัพยากรบุคคล ของตนอย่ างเพี ยงพอ เช่ น การลดหย่ อนภาษี กองทุ นพั ฒนาทั กษะฝี มื อ เป็ นต้ น และ2) กลุ่ มผู้ ให้ บริ การทางธุ รกิ จให้ แก่ วิ สาหกิ จขนาดกลางและขนาดย่ อม เช่น นักวินิจฉัย พี่เลี้ยงและที่ปรึกษา ซึ่งการประกอบธุรกิจของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมจําเป็นต้องได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนจาก นักวินิจฉัย พี่เลี้ยงและ ที่ปรึกษา โดยการดําเนินงานที่ผ่านมายังขาดการเชื่อมโยงกัน ต่างหน่วยต่างทํา นอกจากนี้ ยังมีปัญหาไม่มีนักวินิจฉัยเพียงพอกับความต้องการของวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อม ดังนั้น ภาครัฐจึงควรสร้างกลไกและระบบการยกระดับความรู้ความสามารถทักษะบุคลากรของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ด้านการจัดการ การผลิตให้ สอดคล้องกับความต้องการของภาคธุรกิจ

ข-14


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559) แนวทางการส่งเสริม

หน่วยงานดําเนินการ

กลุ่มที่ 1 ผู้ประกอบการและแรงงาน สนั บสนุ นการสร้ างระบบและกลไกการเพิ่ มองค์ ความรู้ และทั กษะให้ แก่ บุ คลากรวิ สาหกิ จขนาดกลางและ ขนาดย่อม (ผู้ประกอบการและแรงงานทุกระดับ) เช่น - พั ฒนาระบบฐานข้ อมู ลด้ านบุ คลากรวิ สาหกิ จขนาดกลางและขนาดย่ อม เช่ น ความต้ องการแรงงาน ความสามารถในการผลิตแรงงาน เป็นต้น - สนับสนุนความร่วมมือในการพัฒนาหลักสูตรการศึกษา และการฝึกอบรมให้สอดคล้องกับความต้องการของ ภาคธุรกิจ เช่น การจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี 2 /สหกิจศึกษา3 เป็นต้น - ศึกษาความต้องการและความสามารถผลิตแรงงานในสาขาและพื้นที่ต่าง ๆ และผลักดันให้นําผลการศึกษา ไปใช้ในการวางแผนการพัฒนาแรงงานให้สอดคล้องกับความต้องการของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม - พัฒนาระบบการให้ความรู้ และทักษะฝีมือแรงงานให้สอดคล้องกับความต้องการของภาคธุรกิจ โดยการ ฝึกอบรมเฉพาะทาง เช่น ทักษะฝีมือ ทักษะภาษาต่างประเทศ และเพิ่มช่องทางการเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ เช่น การเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-learning) เอกสารเผยแพร่ต่าง ๆ เป็นต้น - เสริมสร้างสุขภาวะที่ดีของแรงงาน เช่น การสร้างทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพและองค์กร การจัดสวัสดิการที่ดี สภาพแวดล้อมที่ดีในการทํางาน เป็นต้น

2

ระยะเวลาดําเนินการ 2555 2556 2557 2558 2559

รง. (กพร.) ศธ. (สพฐ./สกอ./สอศ.) อก. พณ. กค. สถาบันการเงิน ภาคเอกชน (หกค./สอท./ ส.ส.ท.)

การศึกษาระบบทวิภาคี คือ การจัดการศึกษาวิชาชีพที่เกิดจากข้อตกลงระหว่างสถานศึกษาอาชีวศึกษาหรือสถาบันกับสถานประกอบการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานของรัฐ ในเรื่องการจัดหลักสูตร การเรียนการสอน การวัดและการ ประเมินผล โดยผู้เรียนใช้เวลาส่วนหนึ่งในสถานศึกษาอาชีวศึกษาหรือสถาบัน และเรียนภาคปฏิบัติในสถานประกอบการ รัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานของรัฐ 3 สหกิจศึกษา คือ ระบบการศึกษาที่เน้นการปฏิบัติงานในสถานประกอบการอย่างมีระบบ โดยจัดให้มีการเรียนในสถานศึกษาร่วมกับการจัดให้นักศึกษาไปปฏิบัติงานจริง ณ สถานประกอบการ โดยนักศึกษามีสถานะเหมือนพนักงาน รวมทั้งอาจจะได้รับเงินเดือน ค่าจ้าง สวัสดิการ หรือค่าตอบแทนอื่นตามความเหมาะสมจากสถานประกอบการ

ข-15


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559) แนวทางการส่งเสริม

หน่วยงานดําเนินการ

ผลักดันให้มีการใช้มาตรฐานฝีมือแรงงานและการจ่ายค่าจ้างตามทักษะฝีมือ ผ่านการรับรองประสบการณ์และ รง. (กพร.) ศธ. (สพฐ./สกอ./สอศ.) ทักษะฝีมือ การเทียบโอนประสบการณ์และการสร้างมาตรฐานฝีมือแรงงาน อก. พณ. กค. สถาบันการเงิน ภาคเอกชน (หกค./สอท./ ส.ส.ท.) เชื่อมโยงสถานศึกษาในพื้นที่กับพื้นที่และพื้นที่กับส่วนกลาง ทั้งระดับอาชีวศึกษา อุดมศึกษา และวิทยาลัยชุมชน ศธ. (สพฐ./สกอ./สอศ.) เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการในการพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการวิสาหกิจขนาด รง. (กพร.) กลางและขนาดย่อม อก. พณ. กค. สถาบันการเงิน ภาคเอกชน (หกค./สอท./ ส.ส.ท.)

ข-16

ระยะเวลาดําเนินการ 2555 2556 2557 2558 2559


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559) แนวทางการส่งเสริม

หน่วยงานดําเนินการ

สร้างแรงจูงใจและระบบสิทธิประโยชน์ในการพัฒนาบุคลากรของธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เช่น รง. (กพร.) การนําค่าใช้จ่ายด้านการพัฒนาบุคลากร อาทิ การอบรม สัมมนา ทุนการศึกษา ไปหักลดหย่อนภาษีได้ ศธ. (สพฐ./สกอ./สอศ.) มากกว่าค่าใช้จ่ายจริง อก. พณ. กค. สถาบันการเงิน ภาคเอกชน (หกค./สอท./สสท.) กลุ่มที่ 2 ผู้ให้บริการแก่ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (นักวินิจฉัย พี่เลี้ยง และที่ปรึกษา) สร้างเสริมทักษะผู้ให้บริการธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (นักวินิจฉัย พี่เลี้ยง ที่ปรึกษา) ให้มี ศั ก ยภาพและความสามารถในการตอบสนองความต้ อ งการของวิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่ อ ม รวมทั้ง มีจํานวนเพียงพอต่อการให้บริการ มีอัตราค่าบริการที่เหมาะสม และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สามารถเข้าถึงได้ เช่น - พัฒนานักวินิจฉัย พี่เลี้ยง ที่ปรึกษา โดยการเพิ่มทักษะ ประสบการณ์ และพัฒนาระบบกลไกการเรียนรู้เพื่อ ยกระดับความสามารถของบุคลากรผู้ให้บริการธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เช่น ศึกษาดูงาน อบรมเชิงปฏิบัติการ เป็นต้น - สร้างนักวินิจฉัย พี่เลี้ยง และที่ปรึกษารุ่นใหม่ เช่น การบ่มเพาะโดยมุ่งเน้นการฝึกประสบการณ์ปฏิบัติงาน จริงกับนักวินิจฉัย พี่เลี้ยง และที่ปรึกษาที่มีประสบการณ์ - พัฒนาผู้ประกอบการให้สามารถวิเคราะห์สภาพปัญหาของตนเองในเบื้องต้น โดยการนํารูปแบบสร้าง นักวินิจฉัยมาประยุกต์ใช้

ข-17

อก. (กสอ.) สถาบันเครือข่าย อก. ศธ. วท. (สวทช.) สถาบันการเงิน ภาคเอกชน (หกค./สอท./ส.ส.ท.)

ระยะเวลาดําเนินการ 2555 2556 2557 2558 2559


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559) แนวทางการส่งเสริม

หน่วยงานดําเนินการ

ส่งเสริมบุคลากรวัยเกษียณ นักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ และผู้มีประสบการณ์ด้านธุรกิจ ในการเป็นนักวินิจฉัย พี่เลี้ยง อก. (กสอ.) สถาบันเครือข่าย อก. และที่ปรึกษา ศธ. วท. (สวทช.) สถาบันการเงิน ภาคเอกชน (หกค./สอท./ ส.ส.ท.) พัฒนานักวินิจฉัย พี่เลี้ยง และที่ปรึกษาให้เป็นอาชีพถาวร โดยการ อก. (กสอ.) - พัฒนาระบบรับรองคุณภาพมาตรฐานวิชาชีพของผู้ให้บริการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เช่น สถาบันเครือข่าย อก. กําหนดให้มีใบประกอบวิชาชีพ เช่น การขึ้นทะเบียนวิชาชีพ การต่อทะเบียนวิชาชีพ การแสดงผลงาน ศธ. วท. (สวทช.) เป็นต้น สถาบันการเงิน - พัฒนาพี่เลี้ยง ที่ปรึกษาจากนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญหรือผู้มีประสบการณ์ด้านธุรกิจ ให้เป็นอาชีพถาวร - สร้างตลาดรองรับทั้งในและต่างประเทศ เข่น ส่งเสริมการใช้บริการนักวินิจฉัย พี่เลี้ยง และที่ปรึกษา โดยการ ภาคเอกชน (หกค./สอท./ สนับสนุนค่าใช้จ่ายบางส่วนให้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือขยายช่องทางการให้บริการไปยัง ส.ส.ท.) ต่างประเทศ โดยเฉพาะกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน ประกอบด้วยกัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม (CLMV) เป็นต้น

ข-18

ระยะเวลาดําเนินการ 2555 2556 2557 2558 2559


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559) แนวทางการส่งเสริม

หน่วยงานดําเนินการ

สร้างระบบติดตามและประเมินผลการดําเนินงานของผู้ให้บริการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เพื่อนํามาใช้ อก. (กสอ.) เป็นเครื่องมือในการวัดประสิทธิภาพและประสิทธิผลการดําเนินงาน เช่น การจ่ายค่าตอบแทนตามผลงานที่ สถาบันเครือข่าย อก. เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานของผู้ให้บริการธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เป็นต้น ศธ. วท. (สวทช.) สถาบันการเงิน ภาคเอกชน (หกค./สอท./ ส.ส.ท.) ส่งเสริมให้มีหน่วยงานหรือองค์กรบริการธุรกิจ เพื่อเป็นศูนย์กลางการพัฒนาเครือข่ายผู้ให้บริการธุรกิจวิสาหกิจ อก. (กสอ.) ขนาดกลางและขนาดย่อม การควบคุมคุณภาพมาตรฐาน การจับคู่ผู้ให้และผู้รับบริการ (Matching) เชื่อมโยง สถาบันเครือข่าย อก. ผู้รับบริการจากนักวินิจฉัย พี่เลี้ยง และที่ปรึกษากับหน่วยงานภาครัฐ เอกชน สถาบันการเงิน สถาบันการศึกษา ศธ. ฯลฯ รวมถึงเชื่อมโยงบริการกับต่างประเทศ วท. (สวทช.) สถาบันการเงิน ภาคเอกชน (หกค./สอท./ ส.ส.ท.)

ข-19

ระยะเวลาดําเนินการ 2555 2556 2557 2558 2559


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559) กลยุทธ์ที่ 1.8

เพิ่มประสิทธิภาพหน่วยให้บริการด้านเทคโนโลยี นวัตกรรม ทรัพย์สินทางปัญญาคุณภาพมาตรฐานและสนับสนุนให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเข้าถึงบริการ ได้อย่างทั่วถึง ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมส่วนใหญ่ยังขาดความตระหนักและความสนใจในการนําเทคโนโลยี การวิจัยและพัฒนา การสร้างนวัตกรรม ทรัพย์สินทาง ปัญญามาประยุกต์ใช้ในการดําเนินธุรกิจ ส่วนหนึ่งมาจากการเห็นว่า เป็นการเพิ่มต้นทุนในการทําธุรกิจมากกว่าเป็นการลงทุนเพื่อให้ได้ผลตอบแทนในอนาคต และยังขาด องค์ความรู้ในการยกระดับเทคโนโลยีและนวัตกรรมของตนให้สูงขึ้น นอกจากนี้ ข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การวิจัยและพัฒนา การสร้างนวัตกรรม ทรัพย์สินทาง ปัญญาที่จะนําไปใช้ในเชิงพาณิชย์ ยังไม่ถูกเผยแพร่ไปสู่ผู้ประกอบการอย่างเหมาะสม ในส่วนของหน่วยให้บริการด้านเทคโนโลยี การวิจัยและพัฒนา การสร้างนวัตกรรม ทรัพย์สินทางปัญญา หน่วยงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และภาคธุรกิจ ยังขาดความเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่าย ขาดการพัฒนาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ด้านการวิจัยและพัฒนาให้มีปริมาณที่เพียงพอและมีคุณภาพที่เหมาะสม นอกจากนี้หน่วยให้บริการด้านเทคโนโลยี การวิจัยและพัฒนา การสร้างนวัตกรรม ทรั พย์ สิ นทางปั ญญายั งมี ข้ อจํ ากั ดด้ านงบประมาณและบุ คลากร รวมทั้ ง ค่ าใช้ จ่ ายในการให้ บริ การอยู่ ในอั ตราที่ วิ สาหกิ จขนาดกลาและขนาดย่ อมเข้ าถึ งได้ ยาก สําหรับโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยี นวัตกรรม ทรัพย์สินทางปัญญา ยังขาดการส่งเสริมแบบบูรณาการ ระบบการคุ้มครองการวิจัยและพัฒนายังไม่เพียงพอ ขาดการ สร้างนวัตกรรมที่ชัดเจนและมีประสิทธิภาพ และขาดมาตรการจูงใจและสิทธิประโยชน์ยังไม่เข้มข้นและยุ่งยากในทางปฏิบัติ แนวทางการส่งเสริม

หน่วยงานดําเนินการ

สร้างแรงจูงใจ โดยการสนับสนุนเงินทุน สิทธิประโยชน์และข้อมูล ให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม มีการ วท. (สวทช./สวทน/สนช./สกว.) นํางานวิจัยและพัฒนา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทรัพย์สินทางปัญญาและนวัตกรรมไปประยุกต์ใช้ในการ อก. (กสอ/สรอ.) ดําเนินธุรกิจและใช้เชิงพาณิชย์มากขึ้น พณ. (ทป.) กษ. (สวก.) กค. (สพ.) สถาบันการเงิน ผลักดันให้มีการใช้สิทธิประโยชน์ด้านการวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทรัพย์สินทางปัญญาและ วท. (สวทช./สวทน/สนช./สกว.) นวัตกรรมเพิ่มมากขึ้น เช่น ทบทวนการรับรองงานวิจัยและพัฒนาเพื่อขอสิทธิประโยชน์ทางด้านภาษีให้มีความ กค. (สพ.) ยืดหยุ่น ลดขั้นตอนและระยะเวลาการพิจารณา เป็นต้น อก. (กสอ/สรอ.) พณ. (ทป.) กษ. (สวก.)

ข-20

ระยะเวลาดําเนินการ 2555 2556 2557 2558

2559


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559) แนวทางการส่งเสริม

หน่วยงานดําเนินการ

พัฒนาระบบการใช้ ประโยชน์ และการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาเพื่ อให้เอื้อต่อการพัฒนานวัตกรรมของ วท. (สวทช./สวทน/สนช./สกว.) วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เช่น ระบบฐานข้อมูลและการสืบค้นสิทธิบัตรที่หมดอายุ การเผยแพร่ผลงาน กค. (สพ.) ทรัพย์สินทางปัญญาแก่ผู้มีแนวคิดทางธุรกิจ กลไกการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา อก. (กสอ/สรอ.) พณ. (ทป.) กษ. (สวก.) สนั บสนุ นการสร้ างขี ดความสามารถบุ คลากรทางด้ านวิ ทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี เพื่ อธุ รกิ จ ทั้ งใน วท. (สวทช./สวทน/สนช./สกว.) สถานประกอบการและหน่วยให้บริการภาครัฐเพื่อสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรม กค. (สพ.) อก. (กสอ/สรอ.) พณ. (ทป.) กษ. (สวก.) สนับสนุนการเพิ่มศักยภาพของหน่วยที่ให้บริการกับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ด้านเทคโนโลยี นวัตกรรม ทรัพย์สินทางปัญญา การรับรองมาตรฐานให้มีความเพียงพอ ทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ และสอดคล้องกับความ ต้องการ เช่น สถาบันวิจัยเฉพาะทางในสาขาวิทยาศาสตร์ สถาบันวิจัยและพัฒนา ศูนย์บริการวิเคราะห์ ทดสอบ ศูนย์บ่มเพาะ และอุทยานวิทยาศาสตร์ เพื่อให้มีต้นทุนค่าบริการที่วิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อมสามารถเข้าถึงได้ รวมทั้งความสะดวกรวดเร็วในการให้บริการแก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

วท. (สวทช./สวทน/สนช./สกว.) กค. (สพ.) อก. (กสอ/สรอ.) พณ. (ทป.) กษ. (สวก.)

สนับสนุนกลไกเพื่อสร้ างความเชื่อมโยงงานศึกษาวิจัยของสถาบันการศึกษา สถาบันวิจัย หน่วยงานภาครัฐ ศธ. เพื่อให้เกิดการต่อยอดและลดความซ้ําซ้อน รวมทั้งให้สามารถตอบสนองความต้องการของภาคธุรกิจ วท. (สวทช./สวทน/สนช./สกว.) กษ. (สวก.) อก. (กสอ/สรอ.) พณ. (ทป.)

ข-21

ระยะเวลาดําเนินการ 2555 2556 2557 2558

2559


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559) กลยุทธ์ที่ 1.9

พัฒนาสิ่งอํานวยความสะดวกด้านการตลาดให้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมยังไม่สามารถดําเนินการด้านการตลาดได้เต็มประสิทธิภาพ และส่วนใหญ่มักตอบสนองความต้องการของตลาดในท้องถิ่น ยังขาดความรู้ความสามารถในด้านการตลาดในวงกว้าง โดยเฉพาะตลาดต่างประเทศ ขณะเดียวกัน สภาพแวดล้อมในการดําเนินธุรกิจของวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อมก็ยังไม่เอื้ออํานวยเท่าที่ควร ก่อให้เกิดข้อจํากัดในการดําเนินการด้านการตลาดเชิงรุกด้วยตนเองในหลายด้าน เช่น ข้อจํากัดด้านความน่าเชื่อถือของวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม มักจะทําให้มีโอกาสทางการตลาดน้อยกว่ากิจการขนาดใหญ่ ข้อจํากัดทางด้านเงินทุนและขนาดของธุรกิจทําให้ไม่สามารถดําเนินกิจกรรมด้าน การตลาด และสร้างช่องทางการตลาดของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งรวมถึงการศึกษาวิจัยข้อมูลการตลาดเชิงลึก เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคทั้งใน และต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ กิจกรรมส่งเสริมด้านการตลาด รวมทั้งการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสนับสนุนช่องทางและโอกาสทางการตลาดสําหรับ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่มีอยู่ ยังไม่สามารถตอบสนองความต้องการของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมได้อย่างทั่วถึง และมีประสิทธิภาพมากนัก ขณะเดียวกันการเปิดเสรีทางการค้าก็มีผลทําให้วิสาหกิจขนาดใหญ่ รวมทั้งสินค้าและบริการจากต่างประเทศเข้ามาแข่งขันกับสินค้าและบริการในท้องถิ่นหรือในประเทศ มากขึ้น จึงจําเป็นที่จะต้องมีการพัฒนาปัจจัยเอื้อในการประกอบธุรกิจในด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะด้านการตลาด เพื่อลดปัญหาและอุปสรรคต่อการประกอบธุรกิจของ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเพื่อยกระดับผลิตภาพ และขีดความสามารถในการแข่งขันให้สูงยิ่งขึ้น นอกจากตลาดทางเศรษฐกิจแล้ว ยังมีตลาดที่สําคัญอีกตลาด คือ ตลาดจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ซึ่งมีมูลค่าสูงอย่างต่อเนื่อง รวมทั้ง ภาครัฐได้มีการปรับปรุงขั้นตอนและหลักเกณฑ์การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ส่งผลให้เกิดความโปร่งใส ลดขั้นตอน การจัดซื้อจัดจ้างมากขึ้น รวมทั้ง มีการพัฒนาระบบการจัดซื้อจัดจ้างทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-procurement) นอกจากนี้ มูลค่าการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐยังมีมูลค่าสูงอย่าง ต่อเนื่องแต่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมยังมีบทบาทในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐไม่มากนัก ดังนั้น การขยายโอกาสในการเข้าถึงการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ จึงนับเป็น โอกาสสําคัญในการส่งเสริมให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมีช่องทางการตลาดเพิ่มขึ้น แนวทางการส่งเสริม

หน่วยงานดําเนินการ

สร้างองค์ความรู้ด้านการตลาดเพื่อให้บริการแก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เช่น ความรู้ด้านการค้า พณ. (คน./คต./พค./สอ./จร.) การลงทุน ข้อมูลเชิงลึกรายอุตสาหกรรมความต้องการหรือพฤติกรรมของผู้บริโภค กรอบความร่วมมือต่าง ๆ และ กค. (ศก.) ส่งเสริมให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม นําองค์ความรู้ด้านการตลาดไปใช้ในการวางแผนการดําเนินธุรกิจ อก. (สสว.) ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด

ข-22

ระยะเวลาดําเนินการ 2555 2556 2557 2558

2559


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559) แนวทางการส่งเสริม

หน่วยงานดําเนินการ

กําหนดตําแหน่งและโครงสร้างตลาดของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้ชัดเจน เช่น ธุรกิจรายย่อย เน้น ตลาดภายในประเทศ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่เข้มแข็งแล้ วควรได้รับการส่งเสริมให้เข้าสู่ตลาด ต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศที่เป็นตลาดใหม่ ส่งเสริมโครงสร้างพื้นฐานทางการตลาดสําหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยจัดให้มีบริการทางการค้า อย่างครบวงจร เช่น การเจรจาธุรกิจ บริการขนส่งสินค้า บริการทางการเงิน ฯลฯ

พณ. (คน./คต./พค./สอ./จร.) กษ. (กสส./กสก.) พณ. (คน./พค.) อก. (กพร./กนอ.)

ส่งเสริมสิ่งอํานวยความสะดวกด้านโลจิสติกส์ เช่น การพัฒนาคุณภาพของการบริการขนส่ง จัดตั้งศูนย์กระจาย อก. (กพร./สสว.) สินค้า ศูนย์จําหน่ายสินค้า การบริหารจัดการ (คลังสินค้ากลาง การขนส่งสินค้าเที่ยวเปล่า) พัฒนาระบบพิธีการ คค. (จท./ขส.ทบ./ขส.ทอ./รสพ.) ศุลกากร เชื่อมโยงบริการโลจิสติกส์ภาครัฐ-เอกชน เช่น เชื่อมโยงผู้ประกอบด้านอาหารกับบริการโลจิสติกส์ ทก. (ปณท.) สร้างกลไกตลาดที่มีจริยธรรม คุณธรรม ความโปร่งใส เช่น กฎหมาย กฎระเบียบการค้าที่เป็นธรรม เป็นต้น

ข-23

พณ. (คน./คต./พค./สอ./จร.) อก. กค.

ระยะเวลาดําเนินการ 2555 2556 2557 2558

2559


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559) แนวทางการส่งเสริม

หน่วยงานดําเนินการ

พณ. (คน./คต./พค.) ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้มีบทบาทในตลาดจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐมากขึ้นโดยมีแนวทาง ดังนี้ กค. (บก./สพ.) - กําหนดสัดส่วนการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐสําหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในแต่ละปี นร. (สงป.) - พิจารณากําหนดโครงการจัดซื้อจัดจ้างให้เป็นการเฉพาะแก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม - ปรับปรุงกฎระเบียบและแนวทางปฏิบัติของหน่วยงานรัฐ เช่น ลดระยะเวลาและขั้นตอนการชําระเงินให้แก่ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เป็นต้น - การให้สิทธิพิเศษแก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในการยื่นข้อเสนอโครงการ - ให้สิทธิประโยชน์แก่ผู้ประกอบการรายใหญ่ ที่ว่าจ้างวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมดําเนินงานต่อ (subcontracting) หรือใช้สินค้าและบริการของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม - สนับสนุนการรวมกลุ่มของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในการรับงานภาครัฐหรือรับงานจากธุรกิจราย ใหญ่ที่ได้รับโครงการจากภาครัฐ

ข-24

ระยะเวลาดําเนินการ 2555 2556 2557 2558

2559


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559) กลยุทธ์ที่ 1.10

สร้างภูมิคุ้มกัน ฟื้นฟู และบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้นกับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ปัจจุบัน สังคมไทยมักเกิดเหตุการณ์ที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ล่วงหน้า ทั้งที่เกิดจากปัญหาการก่อความไม่สงบภายในประเทศ ปัญหาการก่อการร้าย วิกฤตเศรษฐกิจและการ แข่งขันด้านต่าง ๆ ในเวทีระหว่างประเทศ รวมทั้งภัยพิบัติที่เกิดจากมนุษย์และธรรมชาติมีความรุนแรงและส่งผลกระทบสูง เป็นประเด็นท้าทายต่อการบริหารจัดการความ เสี่ยงทั้งการบริหารวิกฤตการณ์ การเตรียมความพร้อมเพื่อตอบสนองอย่างฉับไวและการบริหารจัดการในภาวะฉุกเฉิน รวมทั้งการเสริมสร้างศักยภาพของประเทศให้มีความ เข้มแข็งทางเศรษฐกิจและสามารถแข่งขันได้ในเวทีโลกอย่างต่อเนื่องและเพื่อให้ผู้ประกอบการไทยมีภูมิคุ้มกันและสามารถรองรับผลกระทบการเปลี่ยนแปลงจากเหตุ ปัจจัยทั้งภายนอกและภายในได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถฟื้นฟูและบรรเทาผลกระทบข้างต้นที่เกิดขึ้น แนวทางการส่งเสริม

หน่วยงานดําเนินการ

ฟื้นฟู และบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้นกับ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมจากสถานการณ์เหตุฉุกเฉินต่าง ๆ อก. (สสว.) โดยส่งเสริมการออกมาตรการช่วยเหลือ เช่น - จัดสรรเงินกองทุนส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเพื่อบรรเทาปัญหาเร่งเด่วนหรือปัญหา เฉพาะหน้าของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยจัดทําบัญชีแยกประเภทเงินช่วยเหลือวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมที่ได้รับจากรัฐบาล เพื่อช่วยเหลือวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเป็นการ เร่งด่วน - ระดมทุ น ระหว่ า งวิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่ อ มด้ ว ยกั น โดยสํ า นั ก งานส่ ง เสริ ม วิ ส าหกิ จ อก. (สสว.) ขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ร่วมสมทบมีเพื่อเป็นแหล่งทุนในยามที่เกิดปัญหา -

ลดภาระค่าใช้จ่ายให้กับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ประสบภัยพิบัติหรือเหตุฉุกเฉิน เช่น การลด ยกเว้น หรือการให้ผ่อนชําระค่าสาธารณูปโภค การยืดระยะเวลาการชําระภาษี และการชะลอ การจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมในส่วนของนายจ้างและลูกจ้าง โดยที่ภาครัฐยังคงจ่ายเงิน สบทบเท่าเดิม

ข-25

กค. (สพ.) รง. (สปส.) กฟผ. กฟน. กปน. กปภ.

ระยะเวลาดําเนินการ 2555 2556 2557 2558

2559


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559) แนวทางการส่งเสริม -

หน่วยงานดําเนินการ

เสริมสภาพคล่องให้กับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ประสบภัยพิบัติหรือเหตุฉุกเฉิน โดยการ กค. (SFIs) อก. (สสว.) ให้เงินอุดหนุน เพื่อลดผลกระทบที่อาจมีต่อการจ้างงานและเพื่อให้ธุรกิจสามารถอยู่รอด จัดหาผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายประกันภัย เพื่อให้คําปรึกษาแก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมใน คปภ. การเจรจาเพื่อขอรับสิทธิ์ในกรณีที่ธุรกิจประสบภัยอันเป็นเหตุฉุกเฉินที่มิได้มีการระบุในกรมธรรม์ จัดหาสถานที่สําหรับการประกอบการ เพื่อเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุภัยต่าง ๆ ให้มีสถานที่ พณ. (คน.) ในการประกอบการชั่วคราวในระหว่างที่ประสบเหตุหรือหลังประสบเหตุ รวมถึงการจัดหาช่องทางการ มท. (อปท.) มท. (องค์การตลาด) จําหน่ายใหม่ ๆ

สร้างภูมิคุ้มกันจากปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการดําเนินธุรกิจของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เช่น - สนับสนุนและส่งเสริมให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม มีการบริหารความเสี่ยงจากปัจจัยที่ส่งผล กระทบต่อธุรกิจ เช่น การทําประกันภัย การจัดทําสัญญาซื้อ-ขายอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้า - สนับสนุนระบบศูนย์ข้อมูลระบบเตือนภัยให้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เพื่อชี้นําการพัฒนา ผู้ประกอบการเกิดความมั่นใจในการลงทุนของภาคส่วนต่าง ๆ โดยเน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน เพื่อกําหนดแนวทางการพัฒนาผู้ให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงและศักยภาพของไทย เพราะหาก ล่าช้าอาจเสียโอกาสในการแข่งขัน

ข-26

สถาบันการเงิน ธปท. คปภ. อก. (สสว./สศอ.) วท. (วว./สวทช./วศ.) พณ. (พค./คน./จร.) กษ. (กวก./กสก.) พน. (พพ.) ธปท. สถาบันการเงิน

ระยะเวลาดําเนินการ 2555 2556 2557 2558

2559


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559) ยุทธศาสตร์ที่ 2 ทิศทางการส่งเสริม

เสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย สนับสนุนให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย ปรับปรุงประสิทธิภาพการดําเนินธุรกิจ รวมทั้งพัฒนาการรวมกลุ่มเป็นเครือข่ายวิสาหกิจที่เข้มแข็ง ตลอดจนพัฒนาสินค้าและบริการให้มีคุณภาพและมาตรฐานสอดคล้องกับความต้องการของตลาด และสามารถดําเนินธุรกิจได้ในภาวะวิกฤติ ตลอดจน สนับสนุนการขยายโอกาสและช่องทางการตลาด และสร้างผู้ประกอบการใหม่ให้มีศักยภาพสูง

แนวทางตัวชี้วัดระดับ ยุทธศาสตร์

• • • • •

กลยุทธ์ที่ 2.1

เพิ่มผลิตภาพและพัฒนาประสิทธิภาพในการดําเนินธุรกิจ

การเพิ่มขึ้นของจํานวนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่จดทะเบียนนิติบุคคล การเพิ่มขึ้นของจํานวนเครือข่ายวิสาหกิจของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ได้รับการพัฒนาให้มีความเข้มแข็ง การเพิ่มขึ้นของจํานวนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่มีการนําการวิจัยและพัฒนามาใช้พัฒนาสินค้าและบริการ การเพิ่มขึ้นของจํานวนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ได้รับการพัฒนาขีดความสามารถของกิจการ การเพิ่มขึ้นของจํานวนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ได้รับการส่งเสริมให้เกิดการยกระดับมาตรฐาน

การเพิ่มผลิตภาพและพัฒนาประสิทธิภาพของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม มีวัตถุประสงค์หลักคือการลดต้นทุนการผลิต เพิ่มผลผลิตและยอดขายสินค้าและ บริการ ของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมทั้งภาคการผลิต ภาคการค้าและบริการ ซึ่งผู้ประกอบการของไทยยังขาดทักษะในการประเมินศักยภาพของธุรกิจและ ความรู้เบื้องต้นในการดําเนินธุรกิจในการกําหนดแนวทางการดําเนินธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพและสามารถปรับตัวได้ตามปัจจัยแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป ดังนั้น จึงต้องมีการพัฒนาทักษะของผู้ประกอบการและบุคลากรของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือนํารูปแบบธุรกิจที่ประสบความสําเร็จมาใช้ รวมถึงควรมีการ รวบรวมข้อมูลในแต่ละพื้นที่ เพื่อทราบปัญหา อุปสรรค ข้อจํากัดในการดําเนินงานเพื่อนํามาปรับปรุงการดําเนินงานของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในแต่ละ พื้นที่

ข-27


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559) แนวทางการส่งเสริม

หน่วยงานดําเนินการ

ระยะเวลาดําเนินการ 2555 2556 2557 2558 2559

กระตุ้นและส่งเสริมให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเห็นถึงความสําคัญของการวิเคราะห์ ประเมิน อก. (กสอ.) ศักยภาพของธุรกิจ และนํามาใช้เพื่อกําหนดแนวทางการดําเนินธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพและสามารถ สถาบันเครือข่าย อก. (สถาบัน เพิ่มผลผลิตแห่งชาติ) ปรับตัวได้ตามปัจจัยแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง พณ. (พค.) ภาคเอกชน (สอท./หกค.) อก. (กสอ./กรง./กพร.) สถาบันเครือข่าย อก. (สถาบัน เพิ่มผลผลิตแห่งชาติ/สถอ./ สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่ง ทอ/สถาบันยานยนต์/สถาบัน ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์/สถาบัน เหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศ ไทย) พณ. (พค./สอ./ศ.ศ.ป.) วท. (วศ./สวทช./สวทน./สนช.) ทก. (SIPA/ปณท.) กษ. (กสก.) ศธ. (สถาบันการศึกษา) กก. (กทท./ททท.) ภาคเอกชน (สอท./หกค.) สนับสนุนให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมนํารูปแบบธุรกิจที่ประสบความสําเร็จ มาประยุกต์ใช้ในการ อก. (กสอ.) ดําเนินธุรกิจ โดยผ่านกิจกรรมต่างๆ เช่น ศึกษาดูงาน จัดทําคู่มือเผยแพร่ การอบรมสัมมนา เป็นต้น สถาบันเครือข่าย อก. (สพว./ สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ) ภาคเอกชน (สอท./หกค.) ส่งเสริมการเพิ่มผลิตภาพการพัฒนาประสิทธิภาพรวมทั้งความรู้เบื้องต้นในการดําเนินธุรกิจให้แก่วิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม และผู้ประกอบการชุมชนในแต่ละพื้นที่ เพื่อลดต้นทุนการผลิต เพิ่มผลผลิต • การบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ ครอบคลุมถึง การจัดทําระบบบัญชี การบริหารการเงิน การ จัดการความรู้ในองค์กร การปรับปรุงประสิทธิภาพระบบโลจิสติกส์ในองค์กร การจัดการโซ่ อุปทานระหว่างองค์กร การจัดผังกระบวนการผลิตเพื่อลดระยะเวลาการดําเนินการ และการ ปรับปรุงระบบการจัดหาวัตถุดิบให้มีประสิทธิภาพ และเครื่องมือการบริหารจัดการอื่นๆ • การเพิ่ ม ประสิ ท ธิ ภ าพการผลิ ต โดยการปรั บ เปลี่ ย นเครื่ อ งจั ก ร การใช้ พ ลั ง งานในสถาน ประกอบการอย่างมีประสิทธิภาพ การใช้เทคโนโลยีสะอาด การลดต้นทุนพลังงาน • การปรั บ ปรุ ง ประสิ ท ธิ ภ าพภาคการค้ า และบริ ก าร โดยการนํ า เทคโนโลยี ส ารสนเทศ มาใช้ ประโยชน์ในการบริหารจัดการ การบริการลูกค้า การประชาสัมพันธ์ การลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์ และการพัฒนาทักษะบุคลากร

ข-28


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559) แนวทางการส่งเสริม

หน่วยงานดําเนินการ

ระยะเวลาดําเนินการ 2555 2556 2557 2558 2559

สร้างความตระหนักให้ความรู้และสร้างค่านิยมให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมีการดําเนินธุรกิจอย่าง พน. (พพ.) มีความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility: CSR) รวมถึงส่งเสริมให้มีกิจกรรมที่มี ทส. (DEQP) ประโยชน์ต่อชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม พม. (กรมพัฒนาสังคมและ สวัสดิการ) มท. (สถ./อปท.) ศธ. (สถาบันการศึกษาในพื้นที่) ส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้มีความรู้และทักษะด้านการวิเคราะห์ สถาบันเครือข่าย อก. (สถาบัน และประเมินศักยภาพของธุรกิจ เพื่อให้สามารถนําไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาประสิทธิภาพขององค์กร เพิ่มผลผลิตแห่งชาติ/สพว./ สถาบันไทย-เยอรมัน) ศธ. (สถาบันการศึกษา) พณ. (พค.) สนับสนุนการเพิ่มศักยภาพของหน่วยงานที่ให้บริการด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการดําเนินธุรกิจ (Service มท. (สถ./อปท.) ศธ. (สถาบันการศึกษาในพื้นที่) Provider) ให้สอดคล้องและเพียงพอต่อความต้องการของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม อก. (กสอ./สสว.) สถาบันเครือข่าย อก. (สพว./ สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ) พณ. (พค.จังหวัด) สนับสนุนให้มีการสํารวจ รวบรวมข้อมูลของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในแต่ละพื้นที่ เพื่อทราบ มท. (สถ./อปท.) ปัญหา อุปสรรค ข้อจํากัดและความต้องการของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เพื่อนําไปกําหนด อก. (สสว./สศอ./สอจ.) แนวทางมาตรการเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในสาขาเป้าหมาย ทก. (สสช.) พณ. (พค.) รง. (สปส.)

ข-29


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559) กลยุทธ์ที่ 2.2

ส่งเสริมการสร้างพันธมิตรทางธุรกิจ การรวมกลุ่มและการพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจ การพัฒนาพันธมิตรทางธุรกิจ การรวมกลุ่มและเครือข่ายวิสาหกิจเป็นแนวทางสําคัญที่ทําให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมีความเข้มแข็ง และมีศักยภาพ ทางการแข่งขันเพิ่มขึ้น จากการร่วมศักยภาพที่แตกต่างและมีการเชื่อมโยงการดําเนินธุรกิจร่วมกันของสมาชิกเครือข่าย โดยจะทําให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลและ องค์ความรู้ของสมาชิก ช่วยลดต้นทุนในการดําเนินธุรกิจ รวมทั้งเป็นการสนับสนุนการเพิ่มผลิตภาพ (Productivity) โดยรวมของเครือข่ายวิสาหกิจ ซึ่งในการ ส่งเสริมเครือข่ายวิสาหกิจนี้สามารถดําเนินการได้โดยดําเนินการจัดทํายุทธศาสตร์การพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจ เพื่อเป็นทิศทางการพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจ เป้าหมาย และพัฒนาผู้ประสานการพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจ ให้เป็นผู้นําในการผลักดันมีการรวมกลุ่มและพัฒนาความสามารถในการแข่งขันของเครือข่ายอย่าง ต่อเนื่อง แนวทางการส่งเสริม

หน่วยงานดําเนินการ

สนับสนุนให้มีการจัดทํายุทธศาสตร์การพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจในธุรกิจสาขาต่าง ๆ เช่น อาหาร สิ่งทอและ เครื่องนุ่งห่ม ท่องเที่ยว ดิจิตอลคอนเทนท์ สปา ธุรกิจบริการเพื่อสุขภาพ และภาพยนตร์ เป็นต้น โดยให้มี การทบทวนและต่อยอดผลการศึกษาที่เกี่ยวกับการพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจเพื่อกําหนดเครือข่ายวิสาหกิจ เป้าหมาย

อก. (กสอ./สปอ./สสว.) พณ. (พค.) มท. (สป.มท./พช.) กก. (กทท.) นร. (สศช.) ภาคเอกชน (สอท./หกค.) สนับสนุนให้มีการเสริมสร้างศักยภาพผู้ประสานงานการพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจอย่างต่อเนื่องเพื่อให้การ อก. (กสอ./สปอ./สสว.) ประสานงานมีประสิทธิภาพและเครือข่ายมีความแข็งแกร่ง รวมทั้งส่งเสริมให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาด พณ. (พค.) ย่อม ตระหนักและเห็นความสําคัญของการรวมกลุ่ม มท. (สป.มท./พช.) นร. (สศช.) กก. (กทท.) ภาคเอกชน (สอท./หกค.)

ข-30

ระยะเวลาดําเนินการ 2555 2556 2557 2558 2559


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559) แนวทางการส่งเสริม

หน่วยงานดําเนินการ

ผลักดันให้มีการรวมกลุ่มและมีกิจกรรมที่เกื้อหนุนให้เกิดความเชื่อมโยงระหว่างธุรกิจในห่วงโซ่อุปทาน และ การดําเนินงานระหว่างวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมด้วยกัน รวมทั้งเชื่อมโยงกับผู้ประกอบการราย ใหญ่และวิสาหกิจชุมชน ส่งเสริมการรวมกลุ่มให้เป็นสมาคมการค้า กลุ่มผู้ผลิต สหกรณ์และผลักดันให้มี บทบาทในการพัฒ นาธุรกิจ รวมทั้งให้มีค วามร่วมมือกับสถาบันการศึ กษาสถาบันวิจัย สถาบันการเงิน หน่วยงานภาครัฐ และเอกชน เป็นต้น

อก. (กสอ./สปอ./สสว.) พณ. (พค.) มท. (สป.มท./พช.) นร. (สศช.) กก. (กทท.) ภาคเอกชน (สอท./หกค.) เสริมสร้ างความเข้มแข็ง ให้กับเครือข่ายวิสาหกิจ เพื่อการพัฒนาตามยุทธศาสตร์การพัฒนาเครือข่า ย อก. (กสอ./สปอ./สสว.) วิสาหกิจโดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดําเนินการอย่างต่อเนื่อง พณ. (พค.) มท. (สป.มท./พช.) นร. (สศช.) กก. (กทท.) ภาคเอกชน (สอท./หกค.)

ข-31

ระยะเวลาดําเนินการ 2555 2556 2557 2558 2559


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559) กลยุทธ์ที่ 2.3

พัฒนาสินค้าและบริการของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด โดยใช้เทคโนโลยี นวัตกรรม ภูมิปัญญา และ ทุนทางวัฒนธรรม การพัฒนาและปรับปรุงสินค้าและบริการ ในปัจจุบันผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมจําเป็นต้องนําแนวโน้มความต้องการของตลาดมาพิจารณา เพื่อให้สามารถผลิตสินค้าและบริการได้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค ซึ่งการผลิตผู้ประกอบการจําเป็นต้องนําเทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่เข้ามาใช้ เพื่อ สร้างและพัฒนาสินค้าและบริการให้มีความทันสมัยและเพิ่มอรรถประโยชน์ในการใช้งาน รวมถึงมีการนําภูมิปัญญาและทุนทางวัฒนธรรมเข้ามาใช้ในการออกแบบ และพัฒนาสินค้าและบริการ เพื่อสร้างเอกลักษณ์ ความโดดเด่น หรือสร้างความแตกต่างให้กับสินค้าและบริการของผู้ประกอบการไทยให้ดึงดูดความสนใจและ ความต้องการของผู้บริโภคในตลาดระดับสากลได้นอกจากนี้ควรมีการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาในสินค้าและบริการของผู้ประกอบการไทยที่มีการพัฒนาขึ้นด้วย แนวทางการส่งเสริม

หน่วยงานดําเนินการ

ระยะเวลาดําเนินการ 2555 2556 2557 2558 2559

สนับสนุนให้มีการรวบรวมข้อมูล ความรู้ด้านทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อพัฒนาฐานข้อมูลและนําข้อมูลในเชิง อก. (สสว.) วิเคราะห์มาใช้ประโยชน์ในการสร้างคุณค่าให้กับสินค้าและบริการ พณ. (ทป./พค./ศ.ศ.ป.) ศธ. (สถาบันการศึกษา) ส่วนราชการ หน่วยงานรัฐ

ข-32


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559) แนวทางการส่งเสริม

หน่วยงานดําเนินการ

ระยะเวลาดําเนินการ 2555 2556 2557 2558 2559

กระตุ้นให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมีการใช้ความริเริ่มสร้างสรรค์ในการเพิ่มมูลค่าสินค้าและ ศธ. (สถาบันการศึกษา) บริการ โดยจัดกิจกรรมสนับสนุนต่าง ๆ เช่น การจัดประกวดผลงานความริเริ่มสร้างสรรค์ เป็นต้น และ นร. (สคบ.) ให้การสนับสนุนด้านเงินทุน ที่ปรึกษา และผู้เชี่ยวชาญ วท. (สนช./สวทช.) อก. (กสอ.) พณ. (ทป.) ทก. (SIPA) ผลักดันการพัฒนาสินค้าและบริการเพื่อให้เกิดคุณค่าและมูลค่าเพิ่มจากการสร้างสินค้าและบริการที่มีความ อก. (กสอ.) แตกต่าง ปรับเปลี่ยนรูปแบบการผลิต โดยการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญา ผสานกับเทคโนโลยีและนวัตกรรม พณ. (ทป.) ให้ ส อดคล้ อ งกั บ ความต้ อ งการของลู ก ค้ า และรองรั บ ต่ อ การเปลี่ ย นแปลงตามแนวโน้ ม ของโลก วท. (สนช./สวทช.) (Mega Trend) เช่น การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี โดยการสนับสนุนให้ใช้ประโยชน์ นร. (สบร.) จากข้อมูลงานวิจัยสนับสนุนการผู้เชี่ยวชาญ นักออกแบบ นักการตลาดและนักพัฒนาผลิตภัณฑ์/บรรจุภัณฑ์ ทก. (SIPA) ศธ. (สถาบันการศึกษา) วธ. (สศร.) มท. (สถ./อปท.) เสริ มสร้า งความรู้ค วามเข้ า ใจเกี่ย วกับ การคุ้ มครองทรั พย์ สิน ทางปั ญ ญา ผลัก ดั น และส่ง เสริ ม ให้มี ก าร พณ. (พค./สอ.) จดทะเบียนคุ้มครองและปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา รวมทั้งสนับสนุนให้ใช้ทรัพย์สินทางปัญญาที่หมดอายุ อก. (กสอ.) การคุ้มครองหรือที่ไม่คุ้มครองในประเทศไทยมาใช้ต่อยอดในการพัฒนาสินค้าและบริการ นร. (สบร.) พณ. (ทป.) ศธ. (สถาบันการศึกษา) อก. (สสว.)

ข-33


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559) แนวทางการส่งเสริม

หน่วยงานดําเนินการ

ระยะเวลาดําเนินการ 2555 2556 2557 2558 2559

ส่งเสริมให้ใช้ประโยชน์จากงานศึกษาวิจัยทั้งในและต่างประเทศ เพื่อให้เกิดนวัตกรรมในสินค้าและบริการที่ พณ. (ทป.) เหมาะสมตามแต่ละพื้นที่ รวมถึงใช้ข้อมูลทางวิชาการในการสร้างความเชื่อมั่นแก่สินค้าและบริการของ วท. (วว./สนช./สวทช.) วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมโดยจัดให้มีศูนย์กลางข้อมูลงานศึกษาวิจัยที่เป็นประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ศธ. (สถาบันการศึกษา) อก. (สสว.) สนับสนุนให้เกิดเครือข่ายนักออกแบบ นักการตลาด และนักพัฒนาผลิตภัณฑ์ ในห่วงโซ่มูลค่า (Value วท. (สนช./สวทช.) Chain) เพื่อให้มีบทบาทในการริเริ่มผลิตสินค้าและบริการใหม่ ศธ. (สถาบันการศึกษา) กค. (สพ./ธพว.)

ข-34


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559) กลยุทธ์ที่ 2.4

ยกระดับคุณภาพสินค้าและบริการของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้ได้มาตรฐานสากล ปัจจุบันการสร้างความเชื่อมั่นในสินค้าและบริการให้แก่ผู้บริโภคมีความสําคัญอย่างมาก เพื่อให้ผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศเกิดความไว้ใจในสินค้าและบริการ และก่อให้เกิดการบริโภคอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งในปัจจุบันมีสินค้าราคาถูกจากต่างประเทศเข้ามาขายในตลาดจํานวนมาก ซึ่งผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อมของไทยไม่สามารถแข่งขันในด้านต้นทุนได้ ดังนั้นผู้ประกอบการจึงต้องปรับตัวโดยการพัฒนาสินค้าและบริการให้มีคุณภาพ และได้มาตรฐานเพื่อ ยกระดับสินค้าและบริการให้เหนือกว่าสินค้าราคาถูกจากต่างประเทศ ซึ่งจะเป็นการสร้างจุดแข็งของสินค้าและบริการได้อีกทางหนึ่ง แนวทางการส่งเสริม

หน่วยงานดําเนินการ

ระยะเวลาดําเนินการ 2555 2556 2557 2558 2559

สร้างความตระหนักให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เห็นความสําคัญของการพัฒนาคุณภาพและ มาตรฐานของสินค้าและบริการอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถแข่งขันได้และเตรียมพร้อมในการรองรับ ข้อกําหนดด้านมาตรฐานระดับสากล โดยการให้องค์ความรู้ด้านคุณภาพและมาตรฐานต่างๆ และการเตรียม ความพร้ อ มแก่ วิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่ อ ม ในการใช้ ป ระโยชน์ แ ละขอรั บ รองมาตรฐานจาก หน่วยงานรับรองมาตรฐานต่าง ๆ ได้อย่างสะดวกและรวดเร็วมากขึ้น

ข-35

อก. (กสอ./กรอ.สมอ./สศอ.) สถาบันเครือข่าย อก. (สถาบัน เพิ่มผลผลิตแห่งชาติ/สพว.) วท. (วศ./วว.) สธ. (กรมการแพทย์/ การพัฒนาการแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก/อย.) พณ. (คต./คน./จร./ทป./พค./ สอ.) ทก. (SIPA) กก. (กทท./ททท.) ทส. (DEQP/สผ.) รง. (กพร.) วธ. (สศร.) ศธ. (สถาบันการศึกษา) กษ. (มกอช./กสก.)


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559) แนวทางการส่งเสริม

หน่วยงานดําเนินการ

ระยะเวลาดําเนินการ 2555 2556 2557 2558 2559

ส่งเสริม พัฒนา และยกระดับการผลิตสินค้าและบริการของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ให้ได้ มาตรฐาน โดยเฉพาะมาตรฐานบังคับตามที่กฏหมายกําหนดในแต่ละธุรกิจ เช่น มาตรฐานอาหารและยา (อย.) มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) มาตรฐาน Q (Q-Mark) หลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิต (GMP) เป็นต้น โดยสนับสนุนและช่วยเหลือวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในการปรับปรุงการดําเนิน ธุรกิจให้ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ

อก. (กสอ./สมอ.) วท. (วศ./ สนช./วว.) สธ. (กรมการแพทย์/ การพัฒนาการแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก/อย.)

สนับสนุนให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในธุรกิจเป้าหมายได้การรับรองมาตรฐานระดับสากล เช่น International Standardization and Organization (ISO), Hazard Analysis Critical Control Point (HACCP), International Electrotechnical Commission (IEC), Hospital Accreditation (HA) เป็นต้น โดยภาครัฐให้การสนับสนุนด้านความรู้ ปรับปรุงกระบวนการดําเนินงานเพื่อให้ได้มาตรฐาน และ สนับสนุนด้านการเงิน เพื่อลดภาระของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

อก. (กรอ./สมอ./สศอ.) สธ. (กรมการแพทย์/ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก) พณ. (คต./คน./จร./พค./ทป./ สอ.) กษ. (มกอช./กสก.) กก. (กทท./ททท.) รง. (กพร.) วธ. (สศร.) อก. (กสอ./สมอ.) วท. (วศ.) สธ. (กรมการแพทย์/ การพัฒนาการแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก/ อย.) พณ. (คต./คน./จร./ทป./พค./ สอ.) ทก. (SIPA)

สนับสนุนการกําหนดมาตรฐานสินค้าด้อยคุณภาพจากต่างประเทศ ที่อาจส่งผลกระทบต่อการบริโภคของ ประชาชนในประเทศ โดยส่งเสริมให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมใช้วัตถุดิบภายในประเทศที่ได้ มาตรฐาน ส่ ง เสริ ม ให้ ท บทวนมาตรฐานเกี่ ย วกั บ สิ น ค้ า ที่ ป ระกาศใช้ แ ล้ ว ให้ ส อดคล้ อ งเหมาะสมกั บ สถานการณ์ปัจจุบัน และตรวจติดตาม เฝ้าระวังสินค้าด้อยคุณภาพที่เข้าสู่ตลาด ส่งเสริมให้มีการบังคับใช้ กฎหมายด้านมาตรฐานเกี่ยวกับสินค้าและบริการอย่างเคร่งครัด

ข-36


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559) แนวทางการส่งเสริม

หน่วยงานดําเนินการ

ระยะเวลาดําเนินการ 2555 2556 2557 2558 2559

ส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในธุรกิจที่มีศักยภาพได้รับการ รับรองมาตรฐานวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง (Professional Certification) และเกณฑ์คุณภาพธุรกิจ เพื่อให้ การบริการวิชาชีพของไทยเป็นที่รู้จัก และเป็นที่ยอมรับในระดับสากล เช่น การนวดแผนไทย มัคคุเทศก์ การบริการโรงแรม เป็นต้น โดยภาครัฐให้การสนับสนุนด้านการเงินเพื่อลดภาระของวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม

อก. (กสอ./สมอ.) วท. (วศ.) สธ. (กรมการแพทย์/ การพัฒนาการแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก/อย.) พณ. (คต./คน./จร./ทป./พค./ สอ.) ทก. (SIPA) กก. (กทท./ททท.) วธ. (สวธ.) ส่งเสริมให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในธุรกิจบริการนําแนวทางวิศวกรรมและการจัดการบริการ ศธ. (สถาบันการศึกษา) (Service Science Management and Engineer: SSME) มาประยุกต์ใช้ในการดําเนินงาน เพื่อปรับปรุง ทก. (SIPA) กระบวนการธุรกิจด้านบริการให้เป็นระบบ (service system) สามารถให้บริการแก่ลูกค้าอย่างมีมาตรฐาน (standardization) และสอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า (customization) เช่น ธุรกิจเทคโนโลยี สารสนเทศ (IT) ดิจิตอลคอนเทนท์ บริการโลจิสติกส์ เป็นต้น

ข-37


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559) กลยุทธ์ที่ 2.5

สร้างโอกาสและเพิ่มช่องทางการตลาดให้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม การสร้างโอกาสและเพิ่มช่องทางการตลาด เป็นแนวทางสนับสนุนการเพิ่มรายได้โดยตรงให้กับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมซึ่งในปัจจุบันวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมยังขาดความรู้ด้านการตลาด ขาดการนําเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้เพื่อสนับสนุนการขยายตลาด และยังมีข้อจํากัดในการขยายตลาดและการเข้าถึง ข้อมูลด้านการตลาดเชิงลึก รวมทั้งมีตัวแทนการค้าที่รวบรวมสินค้าส่งหรือจัดจําหน่ายสินค้าและบริการที่ไม่เพียงพอ และธุรกิจภาคการค้ายังขาดความร่วมมือเพื่อ การพัฒนาทางธุรกิจร่วมกัน สําหรับแนวทางในการพัฒนาด้านการตลาดสามารถดําเนินการได้โดยการให้ความรู้พื้นฐานด้านการตลาดแก่วิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อม แล้วจึงสนับสนุนกิจกรรมส่งเสริมด้านการตลาด พัฒนาตราสินค้า และเพิ่มช่องทางการตลาดอย่างทั่วถึงในพื้นที่และระหว่างประเทศ ผ่านการค้า รูปแบบต่างๆ เช่น การค้าผ่านระบบสารสนเทศ หรือผ่านกิจการด้านการค้า (Trading Firm) เป็นต้น โดยให้มีการพัฒนาร้านค้าส่งให้ช่วยเหลือและเชื่อมโยงกับ ร้านค้าปลีกดั่งเดิม เพื่อยกระดับภาคการค้าในภาพรวม และสนับสนุนให้มีการนําข้อมูลด้านการตลาดเชิงลึกมาใช้ประโยชน์ประกอบในการดําเนินธุรกิจ แนวทางการส่งเสริม

หน่วยงานดําเนินการ

เสริมสร้างองค์ความรู้ด้านการตลาดขั้นพื้นฐานให้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เช่น ความรู้ พณ. (คต./คน./ทป./พค./สอ./ เกี่ยวกับส่วนผสมทางการตลาด (Marketing Mix) การสื่อสารการตลาด การจัดการช่องทางการจําหน่าย จร.) การบริหารลูกค้าสัมพันธ์ เป็นต้น อก. (กสอ./สมอ./สกท./สสว.) มท. (พช./อปท.) ทก. (สสช./SIPA) กษ. (กสก./กสส./มกอช./สศก.) กก. (กทท./ททท.) กต. (ศก.) ภาคเอกชน (สอท./หกค.)

ข-38

ระยะเวลาดําเนินการ 2555 2556 2557 2558 2559


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559) แนวทางการส่งเสริม

หน่วยงานดําเนินการ

สนับสนุนให้มีกิจกรรมส่งเสริมทางการตลาด เช่น การจับคู่ทางธุรกิจ งานแสดงสินค้าภายในท้องถิ่นและ ภายในเครือข่ายระหว่างจังหวัด และกิจกรรมอื่น ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศให้ตรงกับความต้องการ และเกิดประโยชน์ต่อวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม รวมถึงให้มีการศึกษาข้อมูลตลาด ข้อมูลผู้ซื้อ และ การให้ความรู้เพื่อเตรียมความพร้อมแก่ผู้ประกอบการที่จะเข้าร่วมกิจกรรม

พณ. (คต./คน./ทป./พค./สอ.) อก. (กสอ./สกท./สสว./สมอ./ สศอ.) มท. (พช./อปท.) ทก. (SIPA) กษ. (กสก./กสส./มกอช./สศก.) กก. (กทท.) กต. (ศก.) ภาคเอกชน (สอท./หกค.) พณ. (ทป./พค./สอ.) อก. (กสอ./สมอ./สสว.) มท. (พช./อปท.) กษ. (กสก./กสส./มกอช.) ศธ. (สถาบันการศึกษา) ภาคเอกชน (สอท./หกค.) ทก. (SIPA) พณ. (คต./คน./ทป./พค.) อก. (กสอ./สสว./สศอ./สกท.) มท. (พช./อปท.) กษ. (กสก./มกอช./สศก.) กก. (กทท.) ภาคเอกชน (สอท./หกค.)

สนับ สนุน การพั ฒ นาตราสิน ค้ า อย่า งต่อ เนื่อง สร้า งการยอมรับ และความเชื่อ มั่ น ต่อ ตราสิน ค้า (Brand Loyalty) ส่งเสริมให้มีการพัฒนาตราสินค้าย่อย (Sub - brand) ตลอดจนสนับสนุนการพัฒนาตราสินค้าใน รูปแบบอื่น เช่น ความร่วมมือและใช้ตราสินค้าเดียวกัน (Co - branding) การปรับปรุงและพัฒนา ตราสินค้า (Re-branding) และพัฒนาตราสินค้าท้องถิ่น (Local Brand) เป็นต้น

พัฒนาและสนับสนุนให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมนํา เทคโนโลยีสารสนเทศไปใช้ป ระโยชน์ใน การดําเนินธุรกิจ การสื่อสารการตลาด การประชาสัมพันธ์ และระบบการค้ารูปแบบใหม่ เช่น การค้าผ่าน ระบบสารสนเทศ (e-Market, e-Commerce, Social Network) เป็นต้น

ข-39

ระยะเวลาดําเนินการ 2555 2556 2557 2558 2559


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559) แนวทางการส่งเสริม

หน่วยงานดําเนินการ

เพิ่ มช่ อ งทางการตลาดให้ วิส าหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่ อ มทั้ง ในประเทศและต่ า งประเทศ โดยการ พณ. (คต./คน./ทป./พค./สอ./ สนับสนุนการจําหน่ายในหลายช่องทาง เช่น ร้านสะดวกซื้อ ขยายธุรกิจแฟรนไชส์ เครื่องจําหน่ายสินค้า จร.) อัตโนมัติ เป็นต้น ทก. (SIPA) อก. (กสอ./สมอ./สกท.) มท. (พช./อปท.) กษ. (กสก./มกอช./สศก.) กก. (กทท.) กต. (ศก.) ภาคเอกชน (สอท./หกค.) ส่งเสริมให้เกิดกิจการด้านการค้า (Trading Firm) สําหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เพื่อทําหน้าที่ พณ. (คต./คน./ทป./พค. /สอ.) เป็นตัวกลางในการรวบรวมและกระจายคําสั่งซื้อสินค้าให้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม อก. (กสอ./สมอ./สกท.) มท. (พช./อปท.) ทก. (SIPA) กษ. (กสก./กสส./มกอช./สศก.) กต. (ศก.) ภาคเอกชน (สอท./หกค.) พัฒนาและสนับสนุนการเชื่อมโยงระหว่างร้านค้า ส่งและร้านค้าปลีกดั้ง เดิม โดยส่งเสริมให้ร้านค้าส่ง มี พณ. (คน./พค./สอ.) บทบาทมากขึ้นในการพัฒนาการดําเนินธุรกิจของร้านค้าปลีกดั้งเดิมสําหรับเป็นช่องทางการกระจายสินค้าที่ อก. (กสอ./สสว./สกท.) มีประสิทธิภาพ สามารถลดต้นทุนการบริหารสินค้าคงคลัง มท. (พช./อปท.) ทก. (SIPA) กษ. (กสก./กสส./มกอช./สศก.) ภาคเอกชน (สอท./หกค.)

ข-40

ระยะเวลาดําเนินการ 2555 2556 2557 2558 2559


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559) แนวทางการส่งเสริม

หน่วยงานดําเนินการ

สนับสนุนการใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลด้านการตลาดเชิงลึก เพื่อให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พณ. (คต./คน./ทป./พค./สอ.) ทราบทิศทางและแนวทางสําหรับการการขยายตลาด รวมทั้งใช้เป็นข้อมูลในการปรับปรุงสินค้าและบริการ อก. (กสอ./สศอ./สกท./สสว.) ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ มท. (พช./อปท.) ทก. (SIPA) กษ. (กสก./กสส./มกอช./สศก.) กก. (กทท.) กต. (ศก.) ภาคเอกชน (สอท./หกค.)

ข-41

ระยะเวลาดําเนินการ 2555 2556 2557 2558 2559


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559) กลยุทธ์ที่ 2.6

พลิกฟื้นธุรกิจเพื่อความอยู่รอด สภาวะการแข่งขันในปัจจุบันมีความรุนแรงมาก และมีปัจจัยแวดล้อมทางธุรกิจที่ควบคุมไม่ได้หลายปัจจัยส่งผลต่อการดําเนินงานของกิจการทําให้การดําเนินธุรกิจ ของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมอาจประสบปัญหา และอาจต้องเลิกกิจการ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อประเทศในหลายด้าน เช่น เศรษฐกิจ และ สังคม ดังนั้นจึงต้องมีการช่วยเหลือวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้สามารถพลิกฟื้นการดําเนินงานเพื่อความอยู่รอดหรือลดผลกระทบจากการเลิกกิจการ โดยให้ความช่วยเหลือในรูปแบบต่างๆ เช่น ให้คําปรึกษาการปรับปรุงการดําเนินธุรกิจ ปรับปรุงแผนการตลาด ปรับปรุงกระบวนการผลิต และสนับสนุนมาตรการ ทางการเงิน เป็นต้น เพื่อให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมใช้ฟื้นฟูธุรกิจและปรับรูปแบบการดําเนินธุรกิจ แนวทางการส่งเสริม

หน่วยงานดําเนินการ

ช่วยเหลือวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ประสบปัญหาจากปัจจัยต่างๆ มีความจําเป็นต้องปรับเปลี่ยน ธุรกิจ เพื่อความอยู่รอดหรือลดผลกระทบจากการเลิกกิจการ โดยการสนับสนุนที่ปรึกษา หรือผู้เชี่ยวชาญใน การปรับปรุงการดําเนินธุรกิจในด้านต่างๆ เช่น - ส่ ง เสริ ม ให้ มี ก ารวิ เ คราะห์ และประเมิ น สมรรถนะทางธุ ร กิ จ เพื่ อ ให้ ท ราบความสามารถใน การดําเนินธุรกิจ และวางแผนการปรับปรุงกิจการ - ให้ ค วามรู้ แ ละส่ ง เสริ ม ให้ วิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่ อ มมี ก ารบริ ห ารความเสี่ ย ง (Risk Management) ในการดําเนินธุรกิจ - ส่งเสริมให้มีการปรับปรุงแผนการตลาดในการดําเนินธุรกิจใหม่ โดยการกําหนดตําแหน่งทางการ ตลาดและกลุ่มลูกค้าเป้าหมายใหม่ รวมทั้งการหาช่องทางการตลาดใหม่ - สนับสนุนการปรับเปลี่ยนรูปแบบของสินค้า โดยการวิจัยและพัฒนาสินค้าใหม่เพื่อให้ได้สินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์และสอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า เพื่อยกระดับธุรกิจจากการรับจ้างทํา หรือผลิตสินค้าให้กับสินค้ายี่ห้อต่าง ๆ (Original Equipment Manufacturing: OEM) เป็นออกแบบและพัฒนาสินค้าของธุรกิจเอง (Original Design Manufacturing: ODM) จนถึง การสร้างตราเป็นของธุรกิจเอง (Original Brand name Manufacturing : OBM)

ข-42

อก. (กสอ.) สถาบันเครือข่าย อก. (สพว./ สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ) พณ. (พค./จร.) ศธ. (สถาบันการศึกษา) สถาบันการเงิน ภาคเอกชน (สอท./หกค.)

ระยะเวลาดําเนินการ 2555 2556 2557 2558 2559


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559) แนวทางการส่งเสริม

หน่วยงานดําเนินการ

(ต่อ) -

-

สนับสนุนมาตรการทางการเงินแก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เพื่อใช้ฟื้นฟูธุรกิจปรับ รู ป แบบการดํ า เนิ น ธุ ร กิ จ เป็ น ต้ น โดยผลั ก ดั น ให้ ส ถาบั น การเงิ น มี ผ ลิ ต ภั ณ ฑ์ ก ารเงิ น เพื่ อ ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ต้องการฟื้นฟูธุรกิจ ส่งเสริมให้มีหน่วยงานกลางซึ่งทําหน้าที่ รวบรวมข้อมูล ประสานงานเพื่อช่วยเหลือและอํานวย ความสะดวกแก่ผู้ประกอบการในการปรับปรุงธุรกิจ และขายหรือซื้อกิจการ เช่น การควบรวม กิจการ การจับคู่ธุรกิจ การขายกิจการบางส่วน การหาพันธมิตรทางธุรกิจใหม่ และการซื้อกิจการ

ข-43

ระยะเวลาดําเนินการ 2555 2556 2557 2558 2559


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559) กลยุทธ์ที่ 2.7

สร้างและพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการใหม่ ผู้ประกอบการรายใหม่ เป็นปัจจัยสําคัญที่สนับสนุนให้เศรษฐกิจของประเทศมีการอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นรวมถึงก่อให้เกิดการจ้างงานและการสร้างรายได้ให้กับ ประชาชนในประเทศ ซึ่งการพัฒนาผู้ที่มีศักยภาพให้เป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมรายใหม่ที่มีความสามารถในการแข่งขันที่เหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจ โลกในปัจจุบันได้นั้นจะต้องมีองค์ประกอบของความพร้อมทั้งความรู้ ทักษะ ทัศนคติ ทางด้านการบริหารจัดการ รวมทั้งวิทยาการเฉพาะด้านในธุรกิจไม่ว่าจะเป็น ในภาคการผลิต ภาคการค้า หรือภาคบริการ โดยจําเป็นต้องใช้วิธีดําเนินการในหลายรูปแบบ แนวทางการส่งเสริม

หน่วยงานดําเนินการ

สร้างแรงจูงใจและจิตสํานึกในการเป็นผู้ประกอบการ โดยเสริมสร้างทัศนคติและประสบการณ์ให้นักเรียน ศธ. (สอศ./สกอ.) นั ก ศึ ก ษา และผู้ ส นใจ มี ค วามรู้ ค วามเข้ า ใจเกี่ ย วกั บ การประกอบธุ ร กิ จ และการเป็ น เจ้ า ของธุ ร กิ จ อก. (กสอ./สสว.) (entrepreneurship) พณ. (พค.) ภาคเอกชน (สอท./หกค.) สนับสนุนการพัฒนาความพร้อมด้านการประกอบธุรกิจแก่ผู้ที่มีความพร้อมในการจัดตั้งธุรกิจ โดยจัดให้มี อก. (กสอ./สสว.) หลักสูตรทั่วไปสําหรับการประกอบธุรกิจ และหลักสูตรเฉพาะด้านสําหรับผู้ที่มีความพร้อมสูงรวมถึงสร้าง พณ. (พค.) แรงจูงใจให้ผู้เริ่มต้นดําเนินธุรกิจจดทะเบียนนิติบุคคล โดยสนับสนุนสิทธิประโยชน์พิเศษ ในการเข้าร่วม ศธ. (สอศ. สกอ.) กิจกรรมของหน่วยงานภาครัฐ และสิทธิประโยชน์ด้านภาษี กก. (กทท.) กษ. (กสก.) วท. (สวทช.) วธ. (สวธ./สศร.) ภาคเอกชน (สอท./หกค.)

ข-44

ระยะเวลาดําเนินการ 2555 2556 2557 2558 2559


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559) แนวทางการส่งเสริม

หน่วยงานดําเนินการ

ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการใหม่ตระหนักและมีแนวคิดในการดําเนินธุรกิจเพื่อสังคม (Social Enterprises: นร. (สกส.) SE) โดยการรณรงค์ให้ทราบความสําคัญและความจําเป็นของการดําเนินธุรกิจเพื่อสังคม ตลอดจนสนับสนุน อก. (กสอ./สสว.) ให้มีกิจกรรมที่สร้างผลตอบแทนให้แก่สังคมชุมชน และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พณ. (พค.) ทส. (สผ./DEQP) กษ. (กสก.) วธ. (สวธ./สศร.) ภาคเอกชน (สอท./หกค.) สร้างผู้ประกอบการการค้า (Merchandiser) และธุรกิจที่ให้ความสําคัญกับการออกแบบใช้องค์ความรู้ พณ. (พค./ทป.) ประยุกต์ใช้นวัตกรรมและภูมิปัญญา รวมทั้งเทคนิคการบริหารจัดการ สมัยใหม่ เพื่อสร้างสินค้าและบริการ ศธ. (สอศ./สกอ.) ที่มีมูลค่า รวมถึงพัฒนาธุรกิจที่ประเทศไทยมีศักยภาพทางการแข่งขัน อก. (สสว./กสอ.) ภาคเอกชน (สอท./หกค.) สนับสนุนการรวมกลุ่มพัฒนาเครือข่ายของผู้ประกอบการที่ดําเนินธุรกิจเพื่อสังคม นร. (สกส.) ศธ. (สอศ./สกอ.) อก. (สสว/กสอ.) พณ. (พค.) วท. (สวทช.) วธ. (สวธ./สศร.) ภาคเอกชน (สอท./หกค.)

ข-45

ระยะเวลาดําเนินการ 2555 2556 2557 2558 2559


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559) ยุทธศาสตร์ที่ 3 ทิศทางการส่งเสริม

ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทยให้เติบโตอย่างสมดุล ตามศักยภาพของพื้นที่ มุ่งเน้นการยกระดับศักยภาพวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทยตามศักยภาพของพื้นที่ โดยส่งเสริมการนําอัตลักษณ์ วัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น มาใช้ในการสร้างมูลค่าให้กับสินค้าและบริการ ส่งเสริมให้เกิดการจ้างงานในพื้นที่และการนําทรัพยากรที่มีในท้องถิ่นมาใช้อย่างเหมาะสมและเกิดประโยชน์ สูงสุด อีกทั้ง สนับสนุนให้เกิดการบูรณาการการทํางานและสร้างเครือข่ายความร่วมมือในทุกภาคส่วน

แนวทางตัวชี้วัดระดับ ยุทธศาสตร์

• • • •

กลยุทธ์ที่ 3.1

ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมและผู้ประกอบการชุมชน ให้พัฒนาบนพื้นฐานทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม

การเพิ่มขึ้นของจํานวนแรงงานในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ได้รับการพัฒนาความรู้และทักษะ สอดคล้องกับความต้องการของธุรกิจในพื้นที่ การเพิ่มขึ้นของจํานวนผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และผู้ประกอบการชุมชน ที่ได้รับการพัฒนาศักยภาพการดําเนินธุรกิจ การเพิ่มขึ้นของจํานวนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่มีการบริหารจัดการโดยคํานึงถึงสังคมและสิ่งแวดล้อม การเพิ่มขึ้นของสินค้าและบริการของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ได้รับการพัฒนาโดยคํานึงถึงอัตลักษณ์ วัฒนธรรม

ความแตกต่างของภูมิประเทศส่งผลให้เกิดความหลากหลายทางโครงสร้างเศรษฐกิจ สังคม วัฒธรรม และภูมิปัญญา ที่มีผลต่อการดําเนินชีวิตและการประกอบ ธุรกิจในแต่ละพื้นที่ ซึ่งผู้ประกอบการสามารถนํามาใช้ในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าและบริการ รวมถึงการดําเนินธุรกิจ อย่างไรก็ตาม ในบางพื้นที่ศักยภาพ ดังกล่าวยังขาดการจัดระบบ การวางแผน การเชื่อมโยง และการนํามาใช้ให้เป็นประโยชน์ ทั้งในด้านความรู้ การพัฒนาเชิงพื้นที่ และการมีส่วนร่วมของคนในพื้นที่ จึงจําเป็นต้องส่งเสริมผู้ประกอบการชุมชน ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ให้พัฒนาบนพื้นฐานทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม แนวทางการส่งเสริม

หน่วยงานดําเนินการ

ระยะเวลาดําเนินการ 2555 2556 2557 2558 2559

กําหนดธุรกิจที่มีศักยภาพในการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับพื้นที่ โดยพิจารณาจากแผนยุทธศาสตร์การ อก. (สปอ.) พัฒนากลุ่มจังหวัด และแผนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ พณ. (สป.พณ) กษ. (สป.กษ.) มท. (ปค./อปท.) ภาคเอกชน (หกค./สอท.) พัฒนาความรู้และทักษะฝีมือแรงงานในแต่ละพื้นที่ให้สอดรับกับความต้องการของวิสาหกิจขนาดกลางและ รง. (กพร.) ขนาดย่อม เพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจในพื้นที่ โดยเพิ่มบทบาทการมีส่วนร่วมของภาคธุรกิจ ศธ. (สถาบันการศึกษาในพื้นที่) ภาครัฐและสถาบันการศึกษาในพื้นที่ มท. (ปค./อปท.) ภาคเอกชน (หกค./สอท.)

ข-46


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559) แนวทางการส่งเสริม

หน่วยงานดําเนินการ

ระยะเวลาดําเนินการ 2555 2556 2557 2558 2559

ผลักดันให้เกิดการจ้างงานในพื้นที่ โดยการให้สิทธิประโยชน์และมาตรการจูงใจแก่วิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อมในการจ้างแรงงานในพื้นที่ ตลอดจนส่งเสริมการสร้างงาน สร้างอาชีพ เพื่อสร้างทางเลือกและ รายได้ให้แ ก่คนในชุมชนโดยคํา นึงถึงความต้องการของชุมชน วิถีชีวิต ทรัพยากรในพื้น ที่ และการเอื้อ ประโยชน์ต่อคนในท้องถิ่น ด้วยการให้ความรู้ อบรมวิชาชีพควบคู่ไปกับการสนับสนุนเครื่องมืออุปกรณ์ เงินทุนฯลฯ

สนับสนุนให้มีการใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลเศรษฐกิจของพื้นที่ เพื่อกําหนดแนวทางการพัฒนาที่เหมาะสม กับกลุ่มเป้าหมาย และเป็นแนวทางในการสร้างโอกาสการประกอบธุรกิจในพื้นที่

สนับสนุนให้แต่ละพื้นที่ สํารวจ ค้นหา รวบรวม และจัดระบบ ประวัติและเรื่องราวของชุมชน/ผลิตภัณฑ์ องค์ความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมถึงปราชญ์ชุมชน โดยเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อใช้ในการ สร้ างสรรค์และเพิ่มมูล ค่า สิน ค้าและบริการ โดยยังคงรักษาคุณ ค่า เอกลักษณ์ของท้องถิ่น แต่ สามารถ ตอบสนองต่อรูปแบบการดําเนินชีวิตในปัจจุบัน (lifestyle) รวมถึงเผยแพร่และถ่ายทอดให้เยาวชน ชุมชน และสังคม ได้ตระหนักถึงความเป็นเจ้าของชุมชน เห็นถึงความสําคัญของคุณค่าภูมิปัญญาท้องถิ่น

ข-47

อก. (กนอ./กสอ./สกท.) รง. (กพร./สปส.) กค. (สพ.) พณ. (พค.) ศธ. (สถาบันการศึกษาในพื้นที่) กษ. (กสก./กสส.) กห. (กรมราชองครักษ์) มท. (ปค./อปท./พช.) นร. (สทบ.) นรม. (ศอ.บต.) อก. (กสอ.) กษ. (กสก./กสส.) พณ. (สป.พณ.) ศธ. (สถาบันการศึกษาในพื้นที่) กก. (ททท.) ศธ. (สถาบันการศึกษาในพื้นที่) วธ. (ศก./สวธ.) มท. (พช./สถ./อปท.) อก. (กสอ.) พณ. (สป.พณ) กษ. (กสก.)


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559) แนวทางการส่งเสริม

หน่วยงานดําเนินการ

ระยะเวลาดําเนินการ 2555 2556 2557 2558 2559

พัฒนาศักยภาพในการดําเนินธุรกิจของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และ ผู้ประกอบการชุมชน โดยเฉพาะวิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการ OTOP กลุ่มอาชีพ กลุ่มสหกรณ์ บน พื้นฐานอัตลักษณ์ วัฒนธรรม และศักยภาพของพื้นที่ ให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ประกอบการ

อก. (กสอ.) พณ. (สป.พณ./พค.) กก. (ททท./กทท.) ศธ. (สถาบันการศึกษาในพื้นที่) กษ. (กสก./กสส.) มท. (พช./อปท.)

ภาคเอกชน (หกค./สอท.) ส่ ง เสริ ม ให้ มี ก ารแลกเปลี่ ย นเรี ย นรู้ ภู มิ ปั ญ ญาท้ อ งถิ่ น และประสบการณ์ ค วามสํ า เร็ จ ของชุ ม ชน อก. (กสอ.) (Best Practice) ด้วยความร่วมมือระหว่างจังหวัดและกลุ่มจังหวัด กก. (ททท./กทท.) ศธ. (สถาบันการศึกษาในพื้นที่) กษ. (กสก./กสส.) มท. (พช./อปท.) วธ. (สวธ.) ส่งเสริมให้ปราชญ์ชุมชนและบุคคลต้นแบบในท้องถิ่นเข้ามามีบทบาทเป็นที่ปรึกษาในการถ่ายทอดแนวคิด ศธ. (สถาบันการศึกษาในพื้นที่) องค์ ค วามรู้ ภู มิ ปั ญ ญา ทั ก ษะและประสบการณ์ ให้ แ ก่ ผู้ ป ระกอบการ รวมถึ ง คนในชุ ม ชน โดยผ่ า น วธ. (สวธ.) กระบวนการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วม มท. (พช./อปท./ปค.) สนับสนุนให้ผู้ประกอบการชุมชนรวมตัวกัน เพื่อประโยชน์ในการดําเนินธุรกิจ ซึ่งอาจเป็นการรวมตัวกันใน ลักษณะธุรกิจประเภทเดียวกัน ผลิตภัณฑ์ประเภทเดียวกัน หรือในห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ในแต่ ละพื้นที่หรือระหว่างพื้นที่ โดยจัดกิจกรรมเสริมสร้างความเข้มแข็งในการรวมกลุ่มเพื่อการประกอบอาชีพ ศึกษาแนวทางการสร้างห่วงโซ่อุปทานของสินค้าและบริการแต่ละพื้นที่เพื่อเพิ่มมูลค่าและสร้างสรรค์สินค้า ใหม่ เป็นต้น

อก. (กสอ.) พณ. (สป.พณ.) กก. (ททท./กทท.) ศธ. (สถาบันการศึกษาในพื้นที่) กษ. (กสก./กสส.) มท. (พช./อปท.) ภาคเอกชน (หกค./สอท.)

ส่งเสริมโอกาสทางการตลาดในพื้นที่ โดยพัฒนาพื้นที่ที่มีศักยภาพในการเป็นแหล่งจําหน่ายสินค้าและ/หรือ พณ. (สป.พณ./พค.)

ข-48


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559) กก. (กทท./ททท.) ศธ. (สถาบันการศึกษาในพื้นที่) วธ. (สวธ.) มท. (อปท./พช./ปค.) นร. (กปส.)

แนวทางการส่งเสริม

หน่วยงานดําเนินการ

ระยะเวลาดําเนินการ 2555 2556 2557 2558 2559

พัฒนาความเข้มแข็งขององค์กรการเงินระดับฐานราก โดยการสร้างจิตสํานึก วินัยทางการเงิน และส่งเสริม การออมแก่ผู้ป ระกอบการชุมชน ในรูปแบบต่างๆ เพื่อเพิ่มโอกาสการเข้า ถึง แหล่งเงินทุน และเพิ่มขีด ความสามารถการบริหารจัดการภายในองค์กรการเงินระดับฐานราก โดยบูรณาการการทํางานระหว่าง ภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและสถาบันการศึกษาให้มีบทบาท เพิ่มมากขึ้น รวมทั้งกําหนดมาตรฐาน และตัวชี้วัดขององค์กรการเงินระดับฐานราก เพื่อให้เกิดการรับรอง สถานภาพองค์กรการเงินชุมชน

ข-49

กษ. (กสส./กตส.) กค. (ธ.ออมสิน/ธ.ก.ส.) มท. (สถ./อปท.) นร. (สทบ.) ธพ.


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)

กลยุทธ์ที่ 3.2

เพิ่มศักยภาพของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตเศรษฐกิจชายแดนและพื้นที่ยุทธศาสตร์เศรษฐกิจ ประเทศไทย ถือได้ว่า มีความได้เปรียบทางภูมิประเทศ เนื่องจากมีอาณาเขตติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้านถึง 4 ประเทศ ได้แก่ มาเลเซีย พม่า ลาว และกัมพูชา อีกทั้งอยู่ในบริเวณที่เป็นศูนย์กลางของภูมิภาค ซึ่งควรใช้ความได้เปรียบทางภูมิประเทศนี้ให้เป็นประโยชน์ จากที่ผ่านมา เห็นได้ว่ามูลค่าการค้าชายแดนของไทย กับประเทศเพื่อนบ้าน 4 ประเทศดังกล่าว เพิ่มขึ้นจาก 554,283 ล้านบาทในปี 2550 เป็น 778,070 ล้านบาทในปี 2553 หรือคิดเป็นร้อยละ 77.3 แสดงให้เห็นถึง ความสําคัญของการค้าชายแดนต่อเศรษฐกิจของประเทศ ขณะที่ความร่วมมือด้านต่างๆ กับประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคนี้ ส่งผลต่อการดําเนินธุรกิจทั้งด้าน การค้า การลงทุนและการท่องเที่ยว ดังนั้นจึงจําเป็นต้องมีแนวทางการส่งเสริมและเพิ่มศักยภาพของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม รวมถึงแรงงานในพื้นที่เขต เศรษฐกิจชายแดน และพื้นที่ยุทธศาสตร์เศรษฐกิจ โดยการให้ความรู้ เพื่อพัฒนาความสามารถให้พร้อมรับการแข่งขันที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และพร้อมรุกภายใต้ กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน ตลอดจนพัฒนาพื้นที่ สิ่งอํานวยความสะดวก กฎระเบียบให้เอื้อต่อการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว แนวทางการส่งเสริม

หน่วยงานดําเนินการ

ระยะเวลาดําเนินการ 2555 2556 2557 2558 2559

ส่งเสริมให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตเศรษฐกิจชายแดน และพื้นที่ยุทธศาสตร์เศรษฐกิจ อก. (สกท./กนอ.) ตระหนักถึงความสําคัญ และสามารถใช้ประโยชน์จากความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน โดย พณ. (คต./สอ.) การสร้างความรู้ ความเข้าใจและเตรียมความพร้อมด้านการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว กก. (ททท./กทท.) กต. (ศก.) ภาคเอกชน (หกค./สอท.) ยกระดับศักยภาพผู้ประกอบการที่ประกอบธุรกิจในเขตเศรษฐกิจชายแดนและพื้นที่ยุทธศาสตร์เศรษฐกิจ โดยการให้ความรู้ด้านการบริหารจัดการ โลจิสติกส์ บรรจุภัณฑ์ ฯลฯ

ข-50

อก. (กสอ./สมอ./สปอ.) สถาบันเครือข่าย อก. (สถอ./ สพว.)


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559) วท. (วว.) พณ. (สป.พณ./พค.) มท. (อปท./พช.) ศธ. (สถาบันการศึกษาในพื้นที่) ภาคเอกชน (หกค./สอท.) กษ. (กสก./กสส./กตส./มกอช.)

แนวทางการส่งเสริม

หน่วยงานดําเนินการ

ระยะเวลาดําเนินการ 2555 2556 2557 2558 2559

เพิ่มทักษะฝีมือแรงงานไทยในพื้นที่ให้มีความสามารถด้านภาษาและความชํานาญเฉพาะด้านที่จําเป็นต่อการ รง. (กพร.) ศธ. (สถาบันการศึกษาในพื้นที่) ประกอบอาชีพ โดยการพัฒนาความรู้ และทักษะ รวมถึงจัดให้มีการสอบเทียบมาตรฐานฝีมือแรงงาน มท. (อปท./ปค.) ภาคเอกชน (หกค./สอท.) พัฒนาเขตเศรษฐกิจชายแดนและพื้นที่ยุทธศาสตร์เศรษฐกิจให้เอื้อต่อการค้า การลงทุนและการท่องเที่ยว อก. (กนอ./สกท.) โดยการประสาน ผลักดัน ทบทวน ปรับปรุงกฎหมายกฎระเบียบต่างๆ รวมถึงการยกระดับจุดผ่านแดน พณ. (สอ.) และการจัดตั้งเขตนิคมอุตสาหกรรมชายแดน ฯลฯ กก. (กทท./ททท.) กต. (ศก.) กค. (ศก.) มท. (สป.มท./อปท.) นรม. (ศอ.บต.) ส่ ง เสริ ม การสร้ า งเครื อ ข่ า ยความร่ ว มมื อ และความสั ม พั น ธ์ อั น ดี ร ะหว่ า งผู้ ป ระกอบการในพื้ น ที่ กั บ อก. (สปอ./สกท.) ผู้ประกอบการในประเทศเพื่อนบ้า น โดยการแลกเปลี่ยนองค์ค วามรู้ในการประกอบธุรกิจและการจัด พณ. (สป.พณ.) กิจกรรมทางการตลาด รวมถึงกิจกรรมเสริมสร้างความสัมพันธ์ กก. (ททท.) กษ. (กสส./กสก.) มท. (พช./อปท.)

ข-51


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559) ภาคเอกชน (หกค./สอท.) นรม. (ศอ.บต.)

กลยุทธ์ที่ 3.3

สนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในการใช้ประโยชน์และบริหารจัดการ ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ ความหลากหลายของทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและบริการ และเป็นตัวบ่งชี้ความเชื่อมโยงระหว่างพื้นที่ผลิตกับ ทรัพยากรในท้องถิ่น ซึ่งสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการส่งเสริมทางการตลาดได้ แต่การพัฒนาที่ผ่านมายังขาดความตระหนักและขาดการวางแผนการบริหารจัดการ ทรัพยากรและสิง่ แวดล้อมเพื่อให้เกิดประโยชน์สงู สุด หรือเกิดความคุ้มค่า รวมถึงเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการขาดแคลนทรัพยากรที่จะเกิดขึน้ ในอนาคต ดังนัน้ จึงควรให้ ความสําคัญต่อการใช้ประโยชน์และการบริหารจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่เพื่อให้สามารถมีใช้อย่างต่อเนือ่ งและยั่งยืน แนวทางการส่งเสริม

หน่วยงานดําเนินการ

ระยะเวลาดําเนินการ 2555 2556 2557 2558 2559

ส่ ง เสริ ม การใช้ ค วามหลากหลายของทรั พ ยากรในพื้ น ที่ ผ นวกกั บ ลั ก ษณะเฉพาะทางภู มิ ป ระเทศและ ภูมิอากาศ มาสร้างความแตกต่างให้กับสินค้าและบริการ โดยการสํารวจ ค้นหาสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indications: GI) ที่มีในพื้นที่ที่เป็นไปได้ในเชิงพาณิชย์ รวมถึงศึกษา วิจัยและพัฒนาเพื่อ สร้ า งมู ล ค่ า เพิ่ ม กั บ สิ น ค้ า และบริ ก าร สร้ า งความรู้ ความเข้ า ใจเรื่ อ งสิ่ ง บ่ ง ชี้ ท างภู มิ ศ าสตร์ ใ ห้ แ ก่ ผู้ประกอบการในท้องถิ่น และบุคลากร เช่น เจ้าหน้าที่ภาครัฐ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เป็นต้น ตลอดจนส่งเสริมการจดทะเบียนและคุ้มครองทรัพย์สินทาง ปัญญา โดยเฉพาะสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ความเชื่อมโยงระหว่างพื้นที่ผลิตกับทรัพยากรใน ท้องถิ่น รวมถึงส่งเสริมให้นํามาใช้เป็นเครื่องมือในการส่งเสริมทางการตลาด

ข-52

กษ. (กสก./สวก./กวก./กรม ประมง/ปศ./กรมหม่อนไหม/ กรมการข้าว) วท. (สนช./วว./สวทช.) ทส. (สผ.) มท. (พช./อปท.) พณ. (ทป./พค.)


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559) ส่งเสริมให้มีความสามารถในการบริหารจัดการทรัพยากรในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่า และมี ประสิทธิภาพ โดยคํานึงถึงการรักษาสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ เช่น การวางแผนการผลิตและใช้ทรัพยากร การ จัดหาทรัพยากรทดแทน รวมถึงการวางแผนรองรับนักท่องเที่ยวตามขีดความสามารถของแหล่งท่องเที่ยว โดยเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนและให้ความรู้แก่บุคลากร ผู้ประกอบการในท้องถิ่น

กลยุทธ์ที่ 3.4

ทส. (สผ./DEQP) มท. (อปท./พช.) กษ. (กสก./สศก./กวก.) กก. (ททท./กทท.) อก. (กรอ.)

การบูรณาการความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน รวมถึงสร้างความเข้มแข็งเครือข่ายการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทยในระดับพื้นที่ การดําเนินงานช่วยเหลือ สนับสนุน ส่งเสริม และพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ผ่านมามีหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งระดับส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น แต่การดําเนินการดังกล่าวยังขาดการมีส่วนร่วม และการบรูณาการการทํางานร่วมกัน จึงจําเป็นต้องสร้างกลไกและบูรณาการระหว่างหน่วยงาน ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการ และภาคชุมชน ให้เชื่อมโยงสอดรับกับนโยบายการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนนโยบาย ในการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมอย่างเป็นรูปธรรม และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน แนวทางการส่งเสริม

หน่วยงานดําเนินการ

ระยะเวลาดําเนินการ 2555 2556 2557 2558 2559

สร้างองค์ความรู้ด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ทรัพยากร ระดับชุมชนและพื้นที่ รวมถึงโครงสร้างพื้นฐาน อย่างเป็นระบบและปรับให้ทันสมัยอยู่เสมอ และเชื่อมโยงข้อมูลกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้ในการวาง แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้สอดคล้องกับศักยภาพด้านต่าง ๆ ของพื้นที่ พัฒนากลไกการดําเนินการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในระดับพื้นที่ โดยให้หน่วยงานที่มี หน้าที่ดูแลการดําเนินงานของคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ (ก.น.จ.) ทบทวนองค์ประกอบคณะกรรมการ โดยให้เพิ่มสํานักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาด ย่อม (สสว.) เป็นองค์ประกอบในคณะกรรมการในทุกระดับ เพื่อให้เกิดการผลักดันนโยบายแนวทางการ ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในพื้นที่ รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพในการดําเนินงานส่งเสริมฯ ให้ ทั่วถึงและสอดคล้องกับความต้องการของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมอย่างแท้จริง พร้อมทั้งส่งเสริม

ข-53

ส่วนราชการ/หน่วยงานของรัฐ/ รัฐวิสาหกิจ/องค์การเอกชน ส่วนราชการ/หน่วยงานของรัฐ/ รัฐวิสาหกิจ/องค์การเอกชน


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)

ส่งเสริมให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากข้อมูลของพื้นที่เพื่อใช้ใน อก. (สปอ./สสว.) การวางแผนและดําเนินธุรกิจ พณ. (สป.พณ.) กก. (กทท.) กษ. (กสก.) ศธ. (สถาบันการศึกษาในพื้นที่) ภาคเอกชน (หกค./สอท.) มท. (อปท./พช./สป.มท.) แนวทางการส่งเสริม

หน่วยงานดําเนินการ

ระยะเวลาดําเนินการ 2555 2556 2557 2558 2559

ส่งเสริมการบูรณาการและการสร้างเครือข่ายการทํางานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมทั้งใน อก. (สปอ.) ระดับพื้นที่ และระหว่างพื้นที่ เพื่อผลักดันการพัฒนาและส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย พณ. (สป.พณ.) ให้สอดคล้องกับนโยบายและความต้องการของพื้นที่ กก. (กทท.) ศธ. (สถาบันการศึกษาในพื้นที่) กษ. (กสก.) มท. (อปท./พช./สป.มท.) ภาคเอกชน (หกค./สอท.)

ข-54


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559) ยุทธศาสตร์ที่ 4 ทิศทางการส่งเสริม

เสริมสร้างศักยภาพของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทยให้เชื่อมโยงกับเศรษฐกิจระหว่างประเทศ มุ่งเน้นการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสถานการณ์การค้าระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องให้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย โดยเฉพาะข้อตกลง ภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งมีผลต่อการประกอบธุรกิจในหลายๆ สาขาธุรกิจ การสนับสนุนการปรับปรุงการประกอบธุรกิจให้สามารถรองรับการ แข่งขันที่มีมากขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ นอกจากนี้ยังให้ความสําคัญต่อการส่งเสริมศักยภาพและสร้างโอกาสในการค้าระหว่างประเทศและการ ลงทุนในต่างประเทศให้กับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย รวมทั้งการสนับสนุนการสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับธุรกิจในต่างประเทศ

แนวทางตัวชี้วัดระดับ ยุทธศาสตร์

• การเพิ่มขึ้นของจํานวนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ได้รับความรู้เกี่ยวกับการประกอบธุรกิจภายใต้บริบทการเปิดเสรีทางการค้าและการลงทุน และประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน • การเพิ่มขึ้นของจํานวนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ได้รับการส่งเสริมโอกาสในการเชื่อมโยงธุรกิจกับต่างประเทศ

กลยุทธ์ที่ 4.1

เสริมสร้างความพร้อมให้กับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทยในการเข้าสู่การเปิดเสรีทางการค้าและการลงทุน ด้วยกระแสโลกาภิวัตน์เป็นปัจจัยสําคัญต่อการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ส่งผลให้ประเทศต่างๆ มีการเปิดเสรีทางการค้าและการลงทุนมากขึ้น ทั้งในระดับและรูปแบบที่หลากหลาย ทําให้สถานการณ์การค้าและการลงทุนระหว่างประเทศมีการเปลี่ยนแปลงไป การแข่งขันมีความซับซ้อนและรุนแรงมากขึ้น นอกจากนี้ ประเทศไทยกําลังเข้าสู่ความเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนอย่างเต็มรูปแบบในปี 2558 และได้มีความตกลงการเปิดเสรีทางการค้ากับประเทศต่างๆ ซึ่งปัจจัยดังกล่าวล้วนแต่มีผลกระทบต่อวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ไม่ใช่เฉพาะผู้ประกอบการที่มีธุรกิจระหว่างประเทศเท่านั้น แต่ผู้ประกอบการที่ดําเนิน ธุรกิจในประเทศ จะได้รับผลกระทบเช่นกัน จึงมีความจําเป็นต้องเสริมสร้างความพร้อมให้กับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในการประกอบธุรกิจภายใต้ บริบทที่เปลี่ยนแปลงไป แนวทางการส่งเสริม

หน่วยงานดําเนินการ

ระยะเวลาดําเนินการ 2555 2556 2557 2558 2559

เสริมสร้า งความรู้ค วามเข้า ใจให้กับวิส าหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเกี่ยวกับความตกลงประชาคม เศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC), ความตกลงการค้าเสรี (Free Trade Agreement: FTA) และกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจต่างๆ โดยสนับสนุนให้มีการจัดทําองค์ความรู้และ ฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เช่น ข้อตกลง สิทธิประโยชน์ สิ่งอํานวยความสะดวก กฎระเบียบที่วิสาหกิจขนาด กลางและขนาดย่อม สามารถเข้าถึงได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงสนับสนุนให้มีการบูรณาการร่วมกัน ระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจให้กับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เพื่อให้ทราบสถานการณ์ต่าง ๆ อย่างเท่าเทียมและทั่วถึง

ข-55

พณ. (จร./คต./พค./สอ.) กต. (ศก.) อก. (สศอ./กสอ./กรอ./สมอ.) กษ. (สศก./กวก.) กก. (กทท.) ภาคเอกชน (หกค./สอท.)


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559) แนวทางการส่งเสริม

หน่วยงานดําเนินการ

ระยะเวลาดําเนินการ 2555 2556 2557 2558 2559

ส่งเสริมให้มีการศึกษาโอกาสและผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้าและการลงทุนในธุรกิจสาขาต่างๆ เพื่อให้ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมีทิศทางในการปรับตัวเพื่อรองรับสถานการณ์ที่ เปลี่ยนแปลงไป รวมถึงสนับสนุนให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมีการพัฒนาการประกอบธุรกิจเพื่อ ยกระดับศักยภาพในการแข่งขัน เช่น การเพิ่มประสิทธิภาพการประกอบธุรกิจ การบริหารจัดการ การ ยกระดับคุณภาพและมาตรฐานสินค้าและบริการ เป็นต้น

พณ. (จร./คต./พค./สอ.) กต. (ศก.) อก. (สศอ./กสอ./กรอ./สมอ.) กษ. (สศก./กวก.) กก. (กทท.) ภาคเอกชน (หกค./สอท.)

สนับสนุนให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมใช้สิทธิประโยชน์จากความตกลงทางการค้าการลงทุนมาก พณ. (คต./พค./สอ.) ขึ้น โดยสนับสนุนการอํานวยความสะดวกการขอใช้สิทธิประโยชน์ รวมถึงสนับสนุนให้มีการปรับใช้วัตถุดิบ อก. (สศอ./กสอ./กรอ.) ภายในประเทศทดแทนการนําเข้า เพื่อให้สอดคล้องกับกฎแหล่งกําเนิดสินค้า (Rule of Origin: ROO) ตาม กษ. (สศก./กวก.) ความตกลงทางการค้าต่างๆ ภาคเอกชน (หกค./สอท.) สนับสนุนให้มีการช่วยเหลือและบรรเทาผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้าและการลงทุนให้แก่วิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม โดยสนับสนุนให้มีบริการให้คําปรึกษาแนะนําแก่วิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อมในการปรับปรุงหรือปรับเปลี่ยนการดําเนินธุรกิจ รวมถึงการสนับสนุนเงินทุนในการปรับปรุงและ ปรับเปลี่ยนการดําเนินธุรกิจ ส่งเสริมการบูรณาการการสร้างเครือข่ายระหว่างหน่วยงานและองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนในการ สนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้สามารถรองรับการเปิดเสรีทางการค้าและการลงทุนได้

ข-56

พณ. (คต.) อก. (กสอ.) กค. (สถาบันการเงินของรัฐ) พณ. (จร./คต./พค./สอ./สป.พณ.) กต. (ศก.) อก. (สศอ./กรอ./กสอ./สปอ.) กษ. (สศก./กวก.) กก. (กทท.) มท. (อปท.) ภาคเอกชน (หกค./สอท.)


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559) แนวทางการส่งเสริม

หน่วยงานดําเนินการ

ระยะเวลาดําเนินการ 2555 2556 2557 2558 2559

สนับสนุนการสร้างและพัฒนาแรงงานในประเทศให้มีความพร้อมทั้งในเชิงคุณภาพและปริมาณที่สอดคล้องกับ ความต้องการของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และพร้อมรับการเข้าสูป่ ระชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

รง. (กพร.) ศธ. (สอศ./สกอ.) ภาคเอกชน (หกค./สอท.)

รณรงค์การสร้างความเชื่อมั่นและจิตสํานึกในการใช้สินค้าและบริการของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาด ย่อมทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ เพื่อให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมสามารถแข่งขันได้ ภายใต้สถานการณ์การแข่งขันที่มีความรุนแรงมากขึ้น

ข-57

นร. (กปส.) มท. (อปท.)


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559) กลยุทธ์ที่ 4.2

เสริมสร้างศักยภาพวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทยในการประกอบธุรกิจระหว่างประเทศ การค้าระหว่างประเทศมีบทบาทที่สําคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย รายได้จากการส่งออกถือได้ว่าเป็นรายได้หลักของประเทศ ถึงแม้ว่าวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมที่มีการดําเนินธุรกิจการค้าระหว่างประเทศจะมีจํานวนไม่มากเมื่อเปรียบเทียบกับจํานวนวิสาหกิจทั้งประเทศ อย่างไรก็ตามการส่งเสริม ให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมีโอกาสและศักยภาพในการเข้าสู่ตลาดต่างประเทศเพิ่มขึ้น ทั้งจากการส่งออก การลงทุนในต่างประเทศ หรือการใช้ ประโยชน์จากนักลงทุนที่มาลงทุนในประเทศ เป็นแนวทางสําคัญที่จะช่วยสร้างรายได้ที่มากขึ้น และเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจได้ แนวทางการส่งเสริม

หน่วยงานดําเนินการ

ระยะเวลาดําเนินการ 2555 2556 2557 2558 2559

สร้างองค์ความรู้ และฐานข้อมูลเชิงลึกด้านการค้าการลงทุนระหว่างประเทศ เช่น พฤติกรรมผู้บริโภค วิธีการ ดําเนินธุรกิจ กฎระเบียบ เป็นต้น รวมถึงเผยแพร่ให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมสามารถเข้าถึงได้อย่าง สะดวก เพื่อให้สามารถนําไปใช้ในการวางแผนการดําเนินธุรกิจได้ ตลอดจนผลักดันให้มีศูนย์กลางในการ ให้บริการข้อมูล คําปรึกษาแนะนําแบบครบวงจรให้แก่ผู้ประกอบการในด้านการค้า การลงทุนระหว่างประเทศ สนับสนุนการพัฒนาศักยภาพของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในการเข้าสู่การค้าและการลงทุนระหว่าง ประเทศ เช่น การเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ การพัฒนาสินค้าและบริการ ที่สามารถตอบสนองความต้องการของตลาดต่างประเทศ การยกระดับคุณภาพมาตรฐานสินค้าและบริการให้ สอดคล้องกับข้อกําหนดของประเทศคู่ค้า สนับสนุนและอํานวยความสะดวกให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่มีศักยภาพให้มีโอกาสในการแสวงหา ลู่ทางการขยายการลงทุนไปในต่างประเทศ (Outward Investment) โดยเฉพาะในภูมิภาคอาเซียน เพื่อขยาย ฐานการผลิตไปยังประเทศที่สามารถสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันได้ เช่น ด้านวัตถุดิบ ด้านแรงงาน เป็นต้น รวมทั้งการจัดตั้งธุรกิจขนาดเล็กในต่างประเทศ เช่น ร้านอาหารไทย ร้านสปา เป็นต้น โดยมีมาตรการ การส่งเสริมการลงทุนที่เหมาะสม และการให้ความช่วยเหลือด้านวิชาการและเทคโนโลยีให้กับวิสาหกิจขนาด กลางและขนาดย่อม สนับสนุนให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมีความร่วมมือกับธุรกิจต่างประเทศที่มาลงทุนในประเทศ ไทย โดยให้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้สมัยใหม่

ข-58

พณ. (สอ./คต./จร.) กต. (ศก.) อก. (สกท./สมอ.) พณ. (สอ.) กต. (ศก.) อก. (สกท./สมอ.) กก. (กทท.) อก. (สกท.) พณ. (สอ.) ภาคเอกชน (หกค./สอท.)

อก. (สกท.)


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559) แนวทางการส่งเสริม

หน่วยงานดําเนินการ

ระยะเวลาดําเนินการ 2555 2556 2557 2558 2559

สนับสนุนให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมีโอกาสในการแสวงหาตลาดใหม่ที่มีศักยภาพสูงแต่มกี าร แข่งขันน้อยกว่า นอกเหนือจากตลาดหลักเดิมที่ธุรกิจมีการแข่งขันสูง เช่น ตลาดที่มีการเติบโตสูง (Emerging Market) ตลาดในภูมิภาคอาเซียน หรือตลาดต่างประเทศที่ไทยยังไม่มีความสัมพันธ์ทางการค้าด้วย เป็นต้น ส่งเสริมและพัฒนาบริการที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจระหว่างประเทศให้มีประสิทธิภาพและได้มาตรฐาน เพื่อให้สามารถช่วยยกระดับประสิทธิภาพการประกอบธุรกิจให้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมได้ เช่น บริการโลจิสติกส์

พณ. (สอ.) ภาคเอกชน (หกค./สอท.) พณ. (สอ.) อก. (กพร.) ภาคเอชน (หกค./สอท.)

สนับสนุนการพัฒนาช่องทางการจําหน่ายสินค้าและบริการในต่างประเทศให้กับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาด พณ. (สอ./พค.) ย่อมให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น การพัฒนาผูป้ ระกอบการการค้า (Trader/Merchandiser) รวมทั้งการ พัฒนาระบบการจําหน่ายหรือประชาสัมพันธ์ผา่ นทางอินเตอร์เน็ต หรือพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ทบทวน ปรับปรุงกฎระเบียบ วิธีปฏิบัติต่างๆ หรือออกกฎหมายใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการค้าและการลงทุน อก. (สกท.) ระหว่างประเทศ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการประกอบธุรกิจของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้มี กค. (สพ.) ประสิทธิภาพมากขึ้น ธปท. ส่งเสริมการสร้างภาพลักษณ์ให้กับสินค้าและบริการไทยในตลาดต่างประเทศ (Country Image) ให้สามารถสื่อ นร. (กปส.) ถึงศักยภาพและจุดแข็งของความเป็นไทยให้ผู้บริโภคได้รับรู้

ข-59


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559) กลยุทธ์ที่ 4.3

สร้างความร่วมมือระหว่าง SMEsไทยกับธุรกิจในต่างประเทศ ด้วยการแข่งขันทางการค้าระหว่างประเทศมีความซับซ้อนมากขึ้น วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมจําเป็นต้องแสวงหาความร่วมมือหรือพันธมิตรทางธุรกิจกับคู่ ค้าในต่างประเทศเพื่อให้สามารถสร้างความร่วมมือในรูปแบบต่างๆ ซึ่งจะสามารถเกื้อหนุนการดําเนินธุรกิจระหว่างกันได้ แนวทางการส่งเสริม

หน่วยงานดําเนินการ

ระยะเวลาดําเนินการ 2555 2556 2557 2558 2559

ส่งเสริมให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมตระหนักถึงความสําคัญและประโยชน์ของการสร้างความ ร่วมมือ หรือสร้างพันธมิตรกับธุรกิจในต่างประเทศ เพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการดําเนินธุรกิจ รวมถึง สนับสนุนให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมหรือองค์การเอกชนของไทยมีการสร้างความสัมพันธ์และ ความร่วมมือกับธุรกิจในต่างประเทศ โดยเฉพาะกับธุรกิจในภูมิภาคอาเซียน โดยสนับสนุนให้มีการพบปะ เจรจาธุรกิจ การแลกเปลี่ยนข้อมูลองค์ความรู้ การรวมกลุ่มแสวงหาตลาดร่วมกัน การร่วมลงทุน ส่งเสริมความรู้ให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเพื่อยกระดับศักยภาพในการดําเนินธุรกิจกับประเทศ เพื่อนบ้าน และการใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานที่พัฒนาไว้ภายใต้กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ต่างๆ เช่น GMS ACMECS IMT-GT เป็นต้น

พณ. (พค./คต.) อก. (กสอ.) กก. (กทท.) ภาคเอกชน (หกค./สอท.) กต. (ศก.) องค์การมหาชน (สพบ.) ภาคเอกชน (หกค./สอท.)

สนับสนุนให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมสร้างความร่วมมือกับธุรกิจในภูมิภาคอาเซียนเพื่อสร้าง อก. (สกท./กสอ./กพร.) ห่วงโซ่อุปทานในภูมิภาค (Regional Supply Chain) เชื่อมโยงการดําเนินธุรกิจระหว่างประเทศ ตั้งแต่ กก. (กทท.) ต้นน้ํา กลางน้ํา ปลายน้ํา ภาคเอกชน (หกค./สอท.)

ข-60


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559)

อักษรย่อหน่วยงานและหน่วยงานรับผิดชอบ กห. นร.

กค.

: กระทรวงกลาโหม : สํานักนายกรัฐมนตรี กกถ. กปส. ก.พ.ร. ก.น.จ. ก.บ.จ. ก.บ.ก. สกส. สคบ. สงป. สพร. สบร. สศช. สทบ. สอร. : กระทรวงการคลัง บก. สพ. สศค. ศก. สพพ. SFIs ธพว. ธสน. ธกส. ธอท. ธอส. ธ.ออมสิน บสย. -

: กรมราชองครักษ์ : : : : : : : : : : : : : : : : : : :

: : : : : : : : :

คณะกรรมการกระจายอํานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรมประชาสัมพันธ์ สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ คณะกรรมการนโยบายการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัด แบบบูรณาการ คณะกรรมการบริหารงานกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการและกลุ่มจังหวัด คณะกรรมการบริหารงานกลุ่มจังหวัด สํานักงานกลางสารสนเทศบริการสุขภาพ สํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สํานักงบประมาณ สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ สํานักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สํานักงานคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ อุทยานการเรียนรู้ กรมบัญชีกลาง กรมสรรพากร สํานักงานเศรษฐกิจการคลัง กรมศุลกากร สํานักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน สถาบันการเงินเฉพาะกิจ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารออมสิน บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม กรมสรรพสามิต

ข-61


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559) กต. กก.

พม. กษ.

คค.

ทส.

ทก.

พน.

: กระทรวงการต่างประเทศ ศก. : กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ : กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กทท. : กรมการท่องเที่ยว ททท. : การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย : กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ : กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ : กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สป.กษ. : สํานักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กสก. : กรมส่งเสริมการเกษตร กสส. : กรมส่งเสริมสหกรณ์ กตส. : กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ กวก. : กรมวิชาการเกษตร มกอช. : สํานักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ ปศ. : กรมปศุสัตว์ สศก. : สํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร สวก. : สํานักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) : กรมประมง : กรมการข้าว : กรมหม่อนไหม : กระทรวงคมนาคม จท. : กรมเจ้าท่า ขส.ทบ. : กรมการขนส่งทางบก ขส.ทอ. : กรมการขนส่งทางอากาศ รสพ. : องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุ : กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สผ. : สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อบก. : ก๊าซเรือนกระจกองค์การจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (องค์การมหาชน) DEQP : กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม : กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สสช. : สํานักงานสถิติแห่งชาติ ปณท. : บริษัท ไปรษณีย์ไทย จํากัด SIPA : สํานักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์กรมหาชน) : กระทรวงพลังงาน พพ. : กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ธพ. : กรมธุรกิจพลังงาน

ข-62


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559) พณ.

มท.

รง.

วธ.

วท.

: กระทรวงพาณิชย์ สป.พณ. : สํานักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ คต. : กรมการค้าต่างประเทศ คน. : กรมการค้าภายใน สอ. : กรมส่งเสริมการส่งออก พค. : กรมพัฒนาธุรกิจการค้า พค.จังหวัด : กรมพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัด ทป. : กรมทรัพย์สินทางปัญญา จร. : กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ศ.ศ.ป. : ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ : กระทรวงมหาดไทย สป.มท. : สํานักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย ปค. : กรมการปกครอง พช. : กรมการพัฒนาชุมชน สถ. : กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น อปท. : องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น : องค์การตลาด : กระทรวงแรงงาน กพร. : กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน สปส. : สํานักงานประกันสังคม : กระทรวงวัฒนธรรม สวธ. : กรมส่งเสริมวัฒนธรรม สศร. : สํานักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ศก. : กรมศิลปากร : หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) : กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วว. : สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย วศ. : กรมวิทยาศาสตร์บริการ สกว. : สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย สวทช. : สํานักพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ สนช. : สํานักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) สวทน. : สํานักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี่และ นวัตกรรมแห่งชาติ สพฐ. : สํานักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน สอศ. : สํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา สกศ. : สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา

ข-63


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559) ศธ.

สธ.

อก.

-

นรม. -

: กระทรวงศึกษาธิการ (ต่อ) สกอ. : สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา : สถาบันการศึกษา : สถาบันการศึกษาในพื้นที่ : กระทรวงสาธารณสุข อย. : สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา : กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก : กรมการแพทย์ : กระทรวงอุตสาหกรรม สปอ. : สํานักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กสอ. : กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กพร. : กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ กนอ. : การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กรอ. : กรมโรงงานอุตสาหกรรม สกท : สํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน สสว. : สํานักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สมอ. : สํานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม สศอ. : สํานักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สรอ. : สถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ สอจ. : สํานักงานอุตสาหกรรมจังหวัด : สถาบันเครือข่ายกระทรวงอุตสาหกรรม สพว. : สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สถอ. : สถาบันอาหาร : สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ : สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ : สถาบันยานยนต์ : สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ : สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย : สถาบันไทย-เยอรมัน : นายกรัฐมนตรี ศอ.บต. : ศูนย์อํานวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ภาคเอกชน/หน่วยงาน/สถาบันอิสระ และอื่นๆ หกค. : หอการค้าไทย สอท. : สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ส.ส.ท. : สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น (ส.ส.ท.)

ข-64


แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559) -

ภาคเอกชน/หน่วยงาน/สถาบันอิสระ และอื่นๆ (ต่อ) คปภ. : สํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจ ประกันภัย กลต. : สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ธปท. : ธนาคารแห่งประเทศไทย กฟผ. : การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย กฟน. : การไฟฟ้านครหลวง กปน. : การประปานครหลวง ปภ. : การประปาส่วนภูมิภาค สสท. : สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย NCB : บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จํากัด : สํานักงานสร้างเสริมกิจการเพื่อสังคมแห่งชาติ สกส. : สถาบันการเงิน สง. : ธนาคารพาณิชย์ ธพ. : บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม วรรณ จํากัด บลจ. วรรณ : บริษัท หลักทรัพย์จัดการเงินร่วมลงทุนข้าวกล้า จํากัด บลท. ข้าวกล้า : สถาบันพัฒนาธุรกิจเพื่อสังคม CSRI : สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์ : ส่วนราชการ/หน่วยงานของรัฐ/รัฐวิสาหกิจ/องค์การเอกชน : ธุรกิจเงินร่วมลงทุน : สถาบันไทยพัฒน์

ข-65


สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เลขที่ 21 อาคารทีเอสที ทาวเวอร์ ชั้น G, 17, 18, 20, 23 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทร. 0 2278 8800 โทรสาร 0 2273 8850

www.sme.go.th


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.