รายงาน “บันทึกการเดินทาง” โครงการ เจเนซิส 2.0 (ศิลปินรุ่นเยาว์)
01
คำ�นำ� โอกาสในชี วิ ต ครั้ ง นี้ เ ป็ น โอกาสดี ที่หาไม่ได้ง่ายๆ การได้ เข้ า ร่ ว มโครงการนี้ ทำ � ให้ ผ มได้ รั บ แนวคิดใหม่ๆ ทั้งจากกิจกรรม สิ่ง ที่ได้พบเห็น ผู้คนที่ได้พบปะ หรือ กระทั่งการได้ทบทวนตัวเอง
02
การได้ เข้ า ร่ ว มโครงการ นี้ นับว่าเป็นการเปิดมุมมอง เปิด แผนที่ชีวิต ให้กว้างมากขึ้น ทำ�ให้ ผมค้นพบดินแดนใหม่ในแผนที่ชีวิต ของผม
สารบัญ บันทึกการเดินทาง - 04 ประโยชน์ที่ได้รับ - 28 ข้อเสนอแนะ - 30
03
04
บันทึกการเดินทาง
ผมขอเล่าเป็นรูปแบบของ บันทึกการเดินทางก็แล้วกัน เพราะ ผมเขียนอะไรเป็นเรื่องเป็นทางการ ไม่ค่อยเก่งเท่าไหร่นัก การเดิ น ทางในโครงการ นี้ของผม เริ่มต้นตั้งแต่วันที่ผมมา สัมภาษณ์แล้ว จุดหมายปลายทาง ที่ผมวางไว้ไม่สูงนัก แค่มาสัมภาษณ์ ผมก็ถือว่าประสบความสำ�เร็จแล้ว เพราะวั น นั้ น ผมได้ อ ะไรมากมาย ผมได้ รู้ จั ก คนอื่ น ๆในสายวิ ช า เดียวกัน ได้มุมมองใหม่ๆ ได้เห็นว่า พวกเขากำ�ลังทำ�อะไร ถึงแม้ว่าจะ
เพียงผิวเผิน แต่แผนที่ชีวิตผมก็ได้ เปิดกว้างขึ้นมาแล้วล่ะครับ จ น วั น ที่ ป ร ะ ก า ศ ผ ล ปรากฏว่าผมติด ผมดีใจอยู่สัก พักแล้วก็เริ่มคิดว่า การเข้าร่วม โครงการนี้ ผมต้องได้อะไร ผม ต้องทำ�อย่างไรเพื่อเก็บเกี่ยว และ หลังจากนั้นผมจะเอาสิ่งที่ผมได้มา พัฒนาต่ออย่างไร เพื่อให้คุ้มค่ากับ ที่ได้รับเลือก ซึ่งผมวิธีการของผมก็ ง่ายๆเลยคือ “มีสติอยู่เสมอ และ มองทุกอย่างให้ทะลุ” 05
06
วันที่ 1 (9 มี.ค. 57)
เ มื่ อ ถึ ง ส น า ม บินนาริตะประเทศญี่ปุ่น สิ่งแรกที่ ผมสัมผัสได้เลยคือ ความสะอาด ตาของพื้นที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น โถงทางเดิน รันเวย์ เมื่อผมเดินไป เรื่อยๆผมได้พบเจอกับการต้อนรับ โดยพนักงานหญิงชาวญี่ปุ่น ซึ่ง ไม่ใช่มนุษย์แต่เป็น CG บนจอฉาย รูปร่างเท่ามนุษย์ ซึ่งกล่าวทักทาย บรรดานักเดินทางอย่างสุภาพ สิ่ง นี้ทำ�ให้ผมรู้ได้เลยทันทีว่า นับแต่ บัดนี้ผ มได้ก้าวเท้าเข้าสู่ประเทศที่ เต็มไปด้วยเทคโนโลยีทันสมัยอย่าง แน่นอน เ มื่ อ รั บ ก ร ะ เ ป๋ า เ ส ร็ จ เรียบร้อย ผมเริ่มทำ�ที่ผมวางแผน ไว้ตั้งแต่ก่อนมา ว่าผมจะสำ�รวจ ห้องน้ำ�ของทุกๆที่ ที่ได้ไป ผมลอง เข้าใช้ห้องน้ำ�ของสนามบินนาริตะ และสังเกตุกลอนประตู และจดจำ�ไว้ ว่าที่อื่นๆจะเหมือนกันหรือไม่ (ซึ่ง ตลอดระยะเวลาของโครงการพบ ว่าห้องน้ำ�สาธารระทุกที่จะใช้กลอน ลักษณะนี้ทั้งหมด คงจะเพื่อความ เป็ น มาตรฐานและความสะดวก) ต่อมาก็สังเกตุชักโครกว่ามีลักษณะ การใช้งานอย่างไร ซึ่งก็เหมือนที่ คาดไว้ คือ มีระบบฉีดล้างอัตโนมัติ เพียงกดปุ่ม ปรับอุณหภูมิของน้ำ� ได้ และถึงแม้จะเป็นภาษาญี่ปุ่น มี ภาษาอังกฤษเล็กน้อย ก็ยังสามารถ เข้าใจและใช้งานได้ง่าย เพราะทำ� อินโฟกราฟิกได้ดีทีเดียว ซึ่งสื่อให้
เห็นว่า การออกแบบกราฟิกของ ประเทศนี้ฝังรากลึกยาวนานอย่าง แท้จริง ตามที่เคยได้พบเห็นจากสื่อ ต่างๆ จนรถมารั บ ไปที่ โรงแรม ที่ พั ก ที่ อ ยู่ บ ริ เ วณย่ า นชิ น จุ กุ ซึ่ ง ระหว่ า งทางผมได้ สั ง เกตลั ก ษณะ ของบ้านเมือง ที่อยู่อาศัย และ ตึกต่างๆ พบว่าเป็นระเบียบมาก แต่ ร ะหว่ า งทางแทบไม่ เ จอผู้ ค น เดินตามท้องถนนเลย อาจจะ เป็นเพราะอากาศหนาว จนมาถึง โรงแรมรับกุญแจซึ่งที่นี่ใช้ระบบคีย์ การ์ด เสียบที่ประตูเพื่อเข้าห้อง และเปิ ด ไฟและเครื่ อ งใช้ ไ ฟฟ้ า ใน ห้อง ด้วยระยะเวลาอันสั้นต้องรีบ เก็บกระเป๋าในห้อง แล้วออกไป ทานอาหารเย็น ผมเลยสำ�รวจห้อง อย่างคร่าวๆ ทั้งที่นอนและห้องน้ำ� พบว่า ใช้พื้นที่ได้คุ้มค่า และแทรก เทคโนโลยีเพื่อความสะดวกสบาย แทบอย่างครบครัน เมื่ อ มาถึ ง ร้ า นอาหารซึ่ ง อยู่ในตึกไกล้ๆกับโรงแรม พบว่า ออกแบบได้สวยงามสะดุดตา มี การเว้นพื้นที่ตรงกลางไว้ และ ตกแต่งเป็นด้วยไฟและกระจกอย่าง สวยงาม เห็นแล้วรู้สึกทึ่งว่ากล้า เว้นพื้นที่ขนาดนี้ได้ยังไง ทั้งๆที่ พื้นที่ใจกลางเมืองในประเทศนี้มีค่า มากและต้องใช้อย่างประหยัดและ รอบคอบที่สุด
07
08
วันที่ 2 (10 มี.ค. 57)
วันนี้ผมตื่นแต่เช้า และ ออกไปเดิ น ถ่ า ยรู ป บริ เวณรอบๆ ที่พักกับคนอื่นๆและพี่ติ้ว ซึ่งเป็น ผู้ดูแลเหล่าศิลปินรุ่นเยาว์ทั้งหลาย ซึ่งบริเวณที่พักนั้นไกล้กับ ศาลา ว่าการกรุงโตเกียว เป็นตึกแฝดสูง ซึ่งสวยงามและดูมีความมั่นคง ยิ่ง ใหญ่เป็นอย่างมาก ซึ่งบริเวณโดย รอบผมสั ง เกตุ เ ห็ น ป้ า ยผ้ า ใบและ โปสเตอร์ TOKYO 2020 อยู่เป็นระ ยะๆ ซึ่งผมคิดในใจว่าโอลิมปิกครั้ง นี้ จ ะต้ อ งน่ า ตื่ น เต้ น อย่ า งแน่ น อน และถ้ า มี โ อกาสก็ จ ะกลั บ มาที่ ประเทศนี้ อี ก ครั้ ง เพื่ อ ชมโอลิ ม ปิ ก ครั้งนี้ เดินถ่ายรูปไปสักพักก็กลับ โดยทางกลั บ นั้ น ใช้ ท างใต้ ดิ น เพื่ อ จะไปโผล่แถวๆที่พัก ซึ่งทำ�ให้ผม กระจ่างว่า ชาวญี่ปุ่นที่หายไปจาก ท้องถนนนั้น มาเดินกันอยู่ใต้ดิน นี่เอง ซึ่งทางใต้ดินนี้จะเชื่อมต่อ ไปยังสถานีรถไฟ และยังมีร้านค้า ต่างๆอยู่อีกด้วยระหว่างทาง ซึ่ง เมื่ อ กลั บ มาแล้ ว ก็ ท านอาหารเช้ า และรอทำ � กิ จ กรรมปฐมนิ เ ทศใน ช่วงบ่าย ซึ่งชาวญี่ปุ่นจะเคร่งครัด เรื่องความสะอาดมาก ก่อนทาน อาหารต้องล้างมือเพื่อป้องกันเชื้อ โรค หลังจากทานอาหารเสร็จ ผม ตัดสินใจลองไปสัมผัส ชีวิตชาวกรุง โตเกียว โดยการลองใช้งานระบบ รถไฟของที่นี่ โดยจุดหมายที่ผม จะไปคือ ย่านอากิฮาบาระซึ่งเป็น ย่ า นของเครื่ อ งใช้ ไ ฟฟ้ า และศู น ย์ รวมร้ า นค้ า ที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ อนิ เ มะ และเกมส์ ผมขอแผนที่จากแผนก
ประชาสัมพันธ์ของโรงแรม และ เดินทางใต้ดินไปยังสถานีรถไฟชิจุกุ ตามคำ�แนะนำ� ผมสังเกตได้ว่า ไม่ ค่อยมีภาษาอังกฤษเท่าใดนัก ซึ่งใน ตอนแรกผมก็ ส งสั ย ทำ � ไมประเทศ ที่ มี ชื่ อ เสี ย งเป็ น อั น ดั บ ต้ น ๆของ โลกถึงมีการใช้ภาษาอังกฤษที่น้อย อย่างนี้ (แต่เมื่อกลับมาผมก็เข้าใจ ว่า นี่คือวิถีของประเทศมหาอำ�นาจ นั่นเอง ถ้าคุณอยากจะสื่อสารก็ ต้องไปเรียนรู้ภาษาของเขามา ซึ่ง แนวคิ ด นี้ น่ า สนใจเพราะเป็ น การ สร้างภาพลักษณ์ให้ดูแจ็งแกร่งด้วย ความหยิ่งทะนงเล็กๆ) จนสุดท้าย ผมก็ เ ดิ น ทางมาถึ ง ที่ ห มายจนได้ ด้วยระบบอินโฟกราฟิกของที่นี่และ ภาษาอังกฤษอันน้อยนิด ผมได้เดิน ไปรอบๆย่านนี้ และพบว่าคนที่นี่ใช้ งานตึกได้คุ้มค่าทุกตารางนิ้วจริงๆ เพียงตึกเดียวแคบๆ แต่กลับมีร้าน ค้าแฝงอยู่มากมาย และผมก็ได้ลอง ข้ามถนนแบบชาวญี่ปุ่นด้วย จนถึง เวลาที่กลับเพื่อเข้าร่วมกิจกรรมใน ช่วงบ่ายต่อไป ผมเผื่อเวลาไว้เยอะ พอสมควร เผื่อจะได้ไม่ไปสาย เพราะวัฒนธรรมของที่นี่คือ ต้อง ตรงต่อเวลา ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่ดีและ ยังขาดอยู่ที่ประเทศของผมเอง ซึ่งกิจกรรมช่วงบ่ายทำ�ให้้ ผมได้ เจอกั บ เพื่ อ นประเทศอื่ น ใน อาเซียน และได้เห็นถึงวัฒนธรรม ในที่ ป ระชุ ม ของชาติ ต่ า งๆอย่ า ง คร่าวๆ พอจบจากกิจกรรมก็ได้มี โอกาสไปซื้ อ ของจากร้ า นค้ า ของ ชาวบ้านแถวๆนั้น 09
วันที่ 3 (11 มี.ค. 57)
วั น นี้ เ ป็ น วั น ที่ ไ ด้ มี โ อกาสไป เยี่ยมชม สถานที่ต่างๆที่มีชื่อเสียงของ กรุงโตเกียว ที่แรกคือ พิพิธภัณฑสถาน แห่งชาติโตเกียว ซึ่งที่นี่ผมเคยเห็น มาแล้วในภาพยนต์ญี่ปุ่น เมื่อมา เห็ น สถานที่ จ ริ ง พบว่ า ยิ่ ง ใหญ่ ก ว่ า ที่ คิดไว้เยอะ และได้มีโอกาสชมงาน ประติมากรรม และจิตรกรรมโบราณ ของญี่ปุ่นมากมาย ถัดมาก็ได้ไปยังวัดอาซะกุซะ ซึ่งเป็นวัดที่ชาวไทยนิยมไปมาก ที่วัดนี้ ผมได้เห็น ศาสนาพุทธในรูปแบบของ ญี่ปุ่นอย่างชัดเจน และได้ทำ�บุญแบบ ญี่ปุ่นทั้งการบริจาคเหรียญ 5 เยน ซึ่งออกเสียงคล้ายๆกับคำ�ว่า พรหม ลิขิต และ การรมควันศักดิ์สิทธิ์ ทำ�ให้ ผมเข้าใจว่าเรื่องความเชื่อทางศาสนาก็ คล้ายๆกับของไทยเรา คือมีการตีความ (เช่นการทำ�บุญด้วยเหรียญ 5 เยน เพราะออกเสียงคล้ายคำ�มงคล) และ การประยุกต์ใช้ (เช่นการรมควันเพื่อ โชคลาภ) ที่คล้ายๆกัน พ อ ช่ ว ง เ ที่ ย ง ก็ ไ ด้ ไ ป ท า น อาหารที่บริษัทอาซาฮี ที่นั่นผมได้พบ กับประติมากรรมชิ้น ใหญ่ซึ่ง สื่ อความ หมายถึงภาพลักษณ์ของบริษัทอาซาฮี ได้เป็นอย่างดี ที่นั่นมีห้องน้ำ�ที่ล้ำ�สมัย มากๆ ฝาชักโครกเปิดเองเมื่อเปิดประตู ห้องน้ำ� และการออกแบบที่เห็นแล้วทึ่ง ว่ากล้าทำ�ได้ยังไง คิดได้ยังไง พอช่วงบ่ายก็ได้เดินทางไปยัง ย่านฮาราจุกุ เมื่อถึงแล้วต้องเดินผ่าน สวนสาธารณะเพื่ อ ไปยั ง ย่ า นการค้ า ของที่นี่ ระหว่างทางผมเริ่มสังเกตุฝา ท่อเป็นครั้งแรก หลังจากที่รู้สึกสะดุดตา
มาตั้งแต่แถวที่พักแล้ว พบว่ามีลวดลาย ที่ไม่่เหมือนกัน และจะแตกต่างกันไป ตามแต่ละพื้นที่ ซึ่งผมจะจำ�ไว้และลอง ไปสั ง เกตุ เ มื่ อ ไปยั ง เมื อ งนากาโน่ ด้ ว ย (ซึ่งก็แตกต่างตามที่คาดไว้) เมื่อไกล้จะ ถึงย่านการค้าพบว่า มีทางเข้าวัดและ สวนซึ่งมีต้นไม้ใหญ่จำ�นวนมากอยู่ ซึ่ง ต้องเดินเข้าไปลึกพอสมควรกว่าจะถึง วัด แตที่น่าประหลาดใจคือ สถานที่ แบบนี้ไม่น่าจะอยู่ติดๆกับย่านการค้า ที่มีชื่อเสียงเป็นอย่างมากได้เลย แถม ต้นไม้ก็ยังอยู่อีกเยอะด้วย ซึ่งแต่ละต้น ก็ดูจะมีอายุหลายสิบหรือร้อยปีเลยก็ว่า ได้ ซึ่งต่างกับประเทศไทยที่ตัดหมดไม่มี เหลือ พอเดิ น เข้ า ไปยั ง ย่ า นการค้ า ผมก็ได้เห็นกับวัฒนธรรม Cool Japan อย่างแท้จริง ที่นั่นผมได้พบกับร้านค้า แฟชั่นมากมาย และผมต้องมาสะดุด เข้ากับ รั้วข้างถนนลักษณะเป็นรั้ว เตี้ยๆ ขนานกัน รูปร่างของรั้วคล้าย คลื่นสูง-ต่ำ� สลับกันซึ่งสามารถนั่งได้ ซึ่งทีแรกผมก็มองว่าสวยดีและยังแลาด ที่ประยุกต์รั้วเป็นที่นั่งได้เพราะตรงนั้น เป็นย่านการค้า ผู้คนที่เดินซื้อของก็จะ เมื่อย ที่นั่งจึงเป็นสิ่งจำ�เป็น และเมื่อ ผมเห็ น คนนั่ ง ผมก็ คิ ด ได้ ว่ า ช่ ว งคลื่ น ที่ สวยงามนั้น ไม่ได้แค่สวยอย่างเดียว แต่ยังทำ�ให้คนที่สูงหรือเตี้ยนั่งได้สบาย เพราะคนที่ขายาวก็จะนั่งที่ช่วงคลื่นที่ สูง ส่วนคนขาสั้นก็จะนั่งที่ช่วงคลื่นที่ ต่ำ� ซึ่งสิ่งนี้สะท้อนให้เห็นว่าชาวญี่ปุ่น ที่นอกจะออกแบบเก่งและสวยงามแล้ว ยังใส่ใจในรายละเอียดเล็กๆอีกด้วย
11
12
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติโตเกียว
วัดอาซะกุซะ
ย่านฮาราจุกุ 13
14
วันที่ 4 (12 มี.ค. 57)
วั น นี้ ต้ อ งไปทำ � กิ จ กรรม แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมที่มหาวิทยา ลัยนิฮง คณะศิลปกรรม (นิชิเก) ซึ่ง มีชื่อเสียงมากในประเทศญี่ปุ่น เมื่อ ไปถึงก็ประหลาดใจที่ว่าที่นี่ไม่มีร้ำ� หรือกำ�แพงกั้นเขตเลย เข้ามาถึง โดยไม่รู้ตัว เมื่อถึงห้องที่รับรองซึ่งน่า จะเป็นห้องเรียนใหญ่ คณบดีของ ที่นี่ก็ได้กล่าวต้อนรับ และมอบของ ฝากให้กับเหล่าศิลปินรุ่นเยาว์ ผม สังเกตุเห็นผ้าตาข่ายถี่ สีดำ�ซึ่งผม คาดว่าเป็นผ้าใบสำ�หรับฉายโปรเจ็ก เตอร์ ซึ่งผมสงสัยมากว่าทำ�ไมเป็น สี ดำ �แถมยั ง โปร่ ง แสงด้ ว ยรู ต าข่ า ย อีกด้วย จากนั้นครบดีก็พูดเกี่ยวกับ คณะแห่งนี้และเปิดวิดีโอ Vocaloid ซึ่งเป็นศิลปิน CG เสียงสังเคราะห์ ที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลกของญี่ปุ่น ซึ่ง เมื่อฉายออกมาแล้ว ก็เห็นเป็นตัว นักร้องซึ่งเป็น CG ที่ดูเหมือนยืน อยู่ตรงหน้าจริงๆ ซึ่งทำ�ให้ผมคลาย ข้อสงสัยเกี่ยวกับผ้าใบสีดำ� เมื่อฉายจบก็รู้ว่าคนที่ทำ� คือ อาจารย์และนักศึกษาของที่นี่ และก็เริ่มกิจกรรมเดิมชมห้องเรียน ต่อ ซึ่งที่นี่อุปกรณ์การเรียนมีครบ ครัน และทันสมัยเป็นอย่างมาก มี การแบ่ ง พื้ น ที่ สำ � หรั บ สาขาต่ า งๆ
ชัดเจน ระหว่างทางเชื่อมหรือทาง เดินก็จะไม่ปล่อยพื้นที่ให้ว่าง โดย การนำ�เอาผลงานของนักศึกษามา จัดแสดง และที่นี่มีแผ่นพับเยอะ มากๆ(ซึ่ ง ตลอดระยะเวลาของ โครงการผมสั ง เกตุ เ รื่ อ งสิ่ ง พิ ม พ์ ตลอด พบว่าประเทศนี้ใช้งานสิ่ง พิมพ์เยอะมากถึงแม้ว่า เทคโนโลยี จะก้าวล้ำ�ไปเพียงใด แต่ผมคิดว่า เพราะสิ่งพิมพ์มีเสน่หกว่า และจำ� ต้องได้นั่นเอง และะประเทศญี่ปุ่น มีระบบรีเซิลเคิลที่ดี สังเกตได้จาก ถั ง ขยะที่ มี ก ารแยกประเภทขยะ ชัดเจน) พอช่วงเที่ยง ก็มารับ ประทานโมจิ ฝี มื อ ของนั ก ศึ ก ษาที่ นี่ทำ�ให้ทานกันสดๆ โดยนำ�มาทำ� เป็นของคาวคล้ายๆก๋วยเตี๋ยว และ ของหวาน โมจิให้ความรู้สึกหนืด เหนียว เคี้ยวแล้วติดฟัน แต่ก็อร่อย มากๆทั้งแบบของคาวและหวาน เ มื่ อ ท่ า น อ า ห า ร เ ที่ ย ง เสร็ จ ก็ เข้ า สู้ กิ จ กรรมแลกเปลี่ ย น วัฒนธรรมในช่วงบ่าย ซึ่งในตอน แรกเป็ น การแสดงของนั ก ศึ ก ษา ญี่ปุ่น และช่วงท้ายเป็นการรำ�วง ของแต่ ล ะชาติ ซึ่ ง สนุ ก มากและได้ รู้จักกับการรำ�วงของชาติต่างๆ
15
16
วันที่ 5 (13 มี.ค. 57)
วั น นี้ ต้ อ ง เ ดิ น ท า ง ไ ป ยังเมืองอิยามะ จ.นากาโน่ แล้ว ระหว่างทางได้แวะที่จุดพักรถแห่ง หนึ่ง เป็นจุดพักรถที่ใหญ่มาก และ สั ง เกตุ ไ ด้ ว่ า อากาศหนาวขึ้ น กว่ า ตอนที่อยู่โตเกียวพอสมควร เมื่อ ออกจากจุ ด พั ก รถได้ สั ก พั ก เริ่ ม สังเกตุได้ว่า ตามข้างทางเริ่มมีหิมะ ให้เห็นแล้ว จนเมื่อไกล้ถึงที่หมาย หมิะก็ปกคลุมไปทั่ว จนเมื่อถึงที่ หมาย ผมสังเกตุได้ว่าถึงแม้จะเป็น ต่ า งจั ง หวั ด ที่ ห่ า งไกลเมื อ งใหญ่ บ้านเมืองก็ยังเป็นระเบียบอยู่ และ ร้านค้าใหญ่ๆก็ยังมีให้เห็น ที่หมาย แรกที่ไปคือ พิพิธภัณฑ์บ้านตุ๊กตา ของศิลปิน มายูมิ ทากาฮาชิ ซึ่ง ศิลปินผู้นี้จะไม่ขายผลงาน แต่จะนำ� ไปจัดแสดงเพียงเท่านั้น หรือนำ�ไป ประกอบโปสเตอร์ โดยที่บ้านตุ๊กตา แห่งนี้มีการจัดแสดงผลงาน พร้อม กั บ บทกวี ป ระกอบผลงานแต่ ล ะ ชิ้น ซึ่งผลงานแต่ละชิ้นละเอียด และบรรจงมาก และตุ๊กตาแต่ละ ตัวก็เหมือนกำ�ลังพูดอยู่เลย ยิ่งได้รู้ ความหมายของบทกวีแล้วยิ่งทำ�ให้ รู้สึกมีอารมณ์ร่วม ยิ่งผลงานส่วน ใหญ่ ส ร้ า งสรรค์ จ ากความรั ก ของ ครอบครัวอีกยิ่งทำ�ให้รู้สึกร่วมเป็น อย่างมาก ต่อมาได้เดินต่อไปยังร้าน ขายหิ้งพระที่มีประวัติยาวนานกว่า 350 ปี่ ซึ่งเป็นร้านที่มีชื่อเสียงมาก และเมื่อไม่นานมานี้ยังมีลูกหลาน ของลูกค้าเก่าที่ซื้อหิ้งพระจากร้าน นี้ไปเมื่อ 150 ปีก่อน นำ�หิ้งพระ
มาบูรณะอีกด้วย ซึ่งหิ้งพระของ ร้านนี้นั้นสวยงามมาก และมีราคา แพงมากอีกด้วย แต่น่าเป็นห่วงคือ ลูกชายของร้านนี้ที่ยังไม่แน่นอนว่า จะสืบทอดกิจการของทางบ้านหรือ เปล่า ซึ่งผมก็เข้าใจว่าคงเป็นอย่าง นี้เหมือนกันทุกประเทศที่หนุ่มสาว ก็จะมุ่งหน้าเข้าเมืองใหญ่กันหมด ต่อจากนั้นก็ได้ไปเยี่ยมชม วัดประจำ�ท้องถิ่น ซึ่งยังอยู่ในสภาพ ที่ดี และสังเกตุเห็นร่องรอยที่เพิ่ง บูรณะไปใหม่ๆ ซึ่งวัดๆนี้เป็นวัด ของเจ้าเมืองโบราณซึ่งย้ายมาจาก เมืองอื่น พอย้ายมาประจำ�เมืองนี้ ก็ย้ายวัดมาด้วย และได้ความรู้ใหม่ ด้วย หลั ง จากนั้ น ก็ เ ดิ น ทางไป ชมพิพิธภัณฑ์ประจำ�เมือง ซึ่งมี ของใช้เก่าๆ และสิ่งที่เป็นชื่ิอเสียง ของเมืองนี้มาจัดแสดงอยู่ โดยของ ส่ ว นใหญ่ นั้ น ได้ รั บ บริ จ าคมาจาก ชาวเมือง ทำ�ให้ผมรู้สึกได้ถึงความ อบอุ่ น และความรั ก ของผู้ ค นใน เมืองนี้ ซึ่งความรู้สึกนี้คงหาได้ยาก จากเมืองใหญ่อย่างโตเกียว พอช่ ว งเย็ น ก็ ไ ด้ ไ ปเข้ า พักที่โรงแรมมาดาราโอะ ซึ่งเป็น โรงแรมสกีชื่อดังของเมืองนี้ ซึ่งที่นี่ มีบ่ออาบน้ำ�ออนเซ็นขนาดใหญ่ให้ อาบด้วย และผมได้ลองไปอาบดู เพื่อลองซึมซับกับวัฒนธรรมญี่ปุ่น และพบว่าชาวญี่ปุ่นเคร่งเรื่องความ สะอาด ก่อนจะลงบ่อออนเซ็น ต้อง อาบน้ำ�ชำ�ระร่างกายเสียก่อนจึงลง อาบบ่อออนเซ็นได้ 17
18
วันที่ 6 (14 มี.ค. 57)
วั น นี้ เ ป็ น วั น ที่ ต้ อ งพบกั บ ครอบครัวโฮมสเตย์ แต่ก่อนหน้า นั้นต้องไปบ้านป่าอิยาม่าก่อน ซึ่ง ที่ นั่ น ผมและคนอื่ น ๆได้ เ ล่ น หิ ม ะ กันอย่างจริงจัง โดยบ้านป่าก็คือ รีสอร์ทกลางป่านั่นเอง ทางเจ้า หน้ า ที่ ก็ บ รรยายเกี่ ย วกั บ การท่ อ ง เที่ยวในเมืองอิยาม่านี้ ซึ่งในแต่ละ ฤดูก็จะแตกต่างกันไป หลั ง จากจบกิ จ กรรมก็ กลั บ เข้ า ไปในตั ว เมื อ งเพื่ อ ไปพบ กับครอบครัวโฮมสเตย์ โดยจะแบ่ง เป็นกลุ่ม กลุ่มละครอบครัว ซึ่ง ครอบครัวที่ผมได้ไปอยู่ด้วยนั้น คือ ครอบครัว คาเนโอะ ซึ่งประกอบ ไปด้วย โอโต้ซัง (พ่อ) โอก้าซัง (แม่) ลูกชาย ลูกสะไภ้ และหลาน อายุ 0 ขวบ ซึ่งครั้งแรกที่เจอกับ ครอบครัวนี้ ได้เจอกับโอโต้ซัง และ โอก้าซัง เท่านั้น เมื่อทักทาย และ ทางโครงการส่ ง มอบเหล่ า ศิ ล ปิ น รุ่นเยาว์ให้ทางครอบครัวเรียบร้อย ทางครอบครัวก็จะพาไปยังบ้านของ แต่ละครอบครัว โอก้าซังหน้าตายิ้ม แย้ม และชวนคุยกับกลุ่มของผม ตลอดเวลา แต่โอโต้ซังกลับหน้าตา ไม่ยิ้มแย้มเอาแต่ขับรถอย่างเดียว จนกระทั่งถึงบ้าน บ้านของครอบ ครัวคาเนโอะมีลักษณะเป็นโรงแรม แบ่งเห็นห้องพักห้องๆในตัว ซึ่งโอก้ าซังบอกว่า ในฤดูหนาวที่มีหิมะก็ จะทำ�ธุรกิจโรงแรมสำ�หรับนักท่อง
เที่ยวที่มาเล่นสกี ส่วนฤดูอื่นที่จะทำ� นา ปลูกข้่าวญี่ปุ่น ซึ่งนับว่าเป็นการ หารายได้ที่ดีแถมยังมีรายได้ตลอด ทั้งปีอีกด้วย ซึ่งชาวนาญี่ปุ่นนั้นจะมี ฐานะที่ดีมากๆ พอเก็บของเสร็จเรียบร้อย โอก้ า ซั ง ก็ พ าไปเปลี่ ย นชุ ด ลุ ย หิ ม ะ ซึ่งตอนแรกกลุ่มของผมก็ดีใจ นึกว่า จะได้เล่นสกีเสียอีก แต่พอเปลี่ยน เสร็จเรียบร้อย โอโต้ซังก็เดินมาด้วย ท่าทางแข็งขัน ยิ้มแย้ม พร้อมกับ ที่โกยหิมะ แล้วบอกว่าให้พวกผม ช่วยโกยหิมะกันหน่อย ซึ่งโอโต้ซัง เปลี่ยนไปเป็นคนละคนเลย ทำ�ให้ พวกผมรู้ว่าเขาแกล้ง แต่พวกผม ก็โกยหิมะกันไป นับว่านี่เป็นการ ซึมซับวัฒนธรรมของญี่ปุ่นแบบได้ เหงื่อเลยทีเดียวถึงแม้ว่าอากาศจะ หนาวก็ตาม สักพักโอโต้ซังก็เข็นรถ โกยหิมะ มาไล่โกยหิมะใส่พวกผม อย่างสนุกสนาน พวกผมก็วิ่งหนีกัน อย่างอุตลุด และโกยหิมะต่อ จน เหนื่อยก็พยายามนึกคำ�ภาษาญี่ปุ่น ว่าขอพักก่อนได้ไหม และบอกกับ โอก้าซัง แล้วก็ได้พัก โอก้าซังบอก ว่าพวกผมเป็นศิลปิน ไหนลองทำ� ประติมากรรมให้ดูหน่อย ซึ่งพวก เราก็ยินดี และเริ่มมองหาว่ามีกอง หิมะกองไหนสามารถนำ�มาทำ�เป็น ประติมากรรมง่ายๆได้บ้าง ซึ่งผล สรุปออกมาก็ได้วาฬหนึ่งตัว
19
หลังจากทำ�เสร็จ ก็ไปทาน อาหารเย็น ซึ่งได้มีโอกาานร่วมกับ โอก้าซังและลูกสะไภ้ พวกผมก็ได้ แลกเปลี่ยนพูดคุยกับทางครอบครัว ผมได้ รู้ ว่ า คนญี่ ปุ่ น นั้ น ดู ก าร์ ตู น ทีวี (ซึ่งญี่ปุ่นเรียกว่าอนิเมะ) กัน ทุกเพศทุกวัย แม้แต่โอก้าซังที่แก่ แล้วก็ยังดูการ์ตูนอยู่เลย และโอก้ าซั ง ก้ ยั ง สอนการจั บ ตะเกี ย บแบบ ญี่ปุ่นอย่างถูกวิธีให้อีกด้วย ซึ่งการ จับตะเกียบแบบญี่ปุ่นั้น ถ้าหาก จับได้ถูกวิธี อาหารชิ้นเล็กๆอย่าง เมล็ ด ถั่ ว ก็ ยั ง สามารถคี บ ได้ อ ย่ า ง ง่ายดาย และยังได้ทำ�ความรู้จักกับ โชจัง สมาชิกที่อายุน้อยที่สุดของ
20
ครอบครัวนี้ ซึ่งมีอายุ 11 เดือน โช จังเป็นเด็กชายน่ารัก และซนมากๆ เ มื่ อ ท า น ข้ า ว เ ส ร็ จ เรียบร้อยก็ไปอาบน้ำ�ซึ่งที่นี่มีบ่ออน เซ็นเล็กๆให้อาบด้วย เมื่ออาบเสร็จ ก็แยกย้ายกันเข้านอน เมื่อเข้าไปในห้องนอน ผม สั ง เกตุ เ ห็ น แแผ่ น กระดาษที่ เขี ย น เตื อ นเกี่ ย วกั บ แมลงหน้ า ตาหน้ า กลัว เป็นภาษาญี่ปุ่น ซึ่งผมก็อ่าน ไม่ออก (ซึ่งเมื่อตื่นมาตอนเช้า ผม ก็พบกับมันหนึ่งตัวและเอาไปถาม โอก้าซัง ว่ามันคือตัวอะไร โอก้าซัง ตอบว่ า มั น คื อ ตั ว เหม็ น ของญี่ ปุ่ น นั่นเอง)
21
22
วันที่ 7 (15 มี.ค. 57)
วั น นี้ เ ป็ น เช้ า วั น แรกกั บ ครอบครั ว โฮมสเตย์ ห ลั ง จากที่ ผ ม ตื่นมาและจบแมลงประหลาด แล้ว เล่าให้โอก้าซังฟัง ผมและคนอื่นๆ ก็ได้ทานอาหาร แต่ไม่ได้ทานกับ ครอบครัว เพราะพวกผมตื่นสายไป หน่อย พ อ ช่ ว ง ส า ย โ อ โ ต้ ซั ง ก็ พาไปเปลี่ยนชุดลุยหิมะ เพื่อไป เล่นถาดลื่น พอเปลี่ยนชุดเสร็จ เรี ย บร้ อ ยโอโต้ ซั ง ก็ พ าเดิ น ไปยั ง เนินเขาที่มีหิมะปกคลุมอยู่หนาพอ สมควร และเริ่มเล่นถาดลื่นให้ดู เป็นตัวอย่าง แล้วพวกผมก็ลองเล่น มั่ง พวกผมสนุกกันมาก ถาดลื่นมี่ ท่าเล่นมาตรฐานอยู่คือ ท่านั่งแล้ว ใช้มือจับเชือกที่ติดอยู่กับถาดเพื่อ ความมั่นคง พร้อมเอนตัวไปด้าน หลัง แล้วถาดลื่นก็จะไหลไปเอง และมีอีกท่าหนึ่งคือ ท่านอนค่ำ�บน กับถาดลื่น ท่านี้ต้องอาศัยความคุ้น เคยกับลักษณะของถาดลื่น เป็นท่า ที่อันตรายพอสมควรเพราะใบหน้า ของเราจะอยู่ไกล้กับพื้นมากๆ ต้อง อาศัยทักษะการทรงตัว และท่านี้ ถาดลื่นจะลื่นยาก แต่ถ้าทำ�ได้ก็จะ สนุกมากๆ พอเล่นถาดลื่นเสร็จ โอโต้ ซังก็พาเดินกลับบ้าน โดยเดินผ่าน พื้นที่ที่เป็นทุ่งนาของครอบครัวใน ฤดูทำ�นา หลังจากนั้นก็ทานอาหาร เที่ยง และเตรียมตัวไปรวมกับคน อื่นๆ เพื่อไปดู “ลิงหิมะอาบออน เซ็น” อันเลื่องชื่อของเมืองนี้ เมื่อไปถึงพวกผมทั้งหมด
ต้ อ งเดิ น ไปตามแนวเขาเรื่ อ ยๆ ระหว่างทางมีวิวทิวทัศน์ที่สวยงาม และนักท่องเที่ยวทั้งที่เป็นชาวญี่ปุ่น และ ชาวต่างชาติ ผมสังเกตุได้ว่า มีหมูบ้านอยู่ด้วย ซึ่งเป็นหมู่บ้าน ที่สวยงาม และดูสงบ เมื่อไปถึงจุด สำ�นักงานก็รับตั๋วซึ่งทางครอบครัว โฮมสเตย์จัดการไว้ให้แล้ว และเดิน ไปชมลิงหิมะ ระหว่างทางผมพบ โปสเตอร์ ห นึ่ ง ที่ เ ป็ น การร่ ว มมื อ กันระหว่างที่นี่ กับ สินค้า เพื่อทำ� กิจกรรมร่วมกัน ซึ่งถือเป็นไอเดียที่ ดีที่ส่งเสริมทั้งการท่องเที่ยวและตัว สินค้าเอง โดยลักษณะจะเป็นเมื่อ มาเที่ยวที่นี่ก็จะได้รับสิทธิพิเศษของ สินค้านั้น หลังจากชมลิงหิมะเสร็จ พวกผมทั้ งหมดก็ แยกย้ า ยกั น กลั บ แต่ละครอบครัว ก่อนจะกลับถึง บ้าน โอโต้ซังพาไปแวะร้านสะดวก ซื้อก่อน ซึ่งเป็นเซเว่นอีเลเว่น นั่นเอง เมื่อถึงบ้านแล้วก็ไปทาน อาหารเย็น ซึ่งมื้อนี่ไม่ได้ทานกับ ครอบครัวเพราะเป็นวันเสาร์ เริ่ม มนั ก ท่ อ งเที่ ย วที่ ม าเล่ น สกี เข้ า พั ก ที่โรงแรมเป็นจำ�นวนมาก เมื่อ ทานอาหารเสร็ จ พวกผมก็ ไ ปช่ ว บ ครอบครัวล้างจาน ซึ่งที่นี่ใช้เครื่อง ล้างจาน และที่ผมสังเกตุไปรอบๆ พบว่าถึงแม้ที่นี่จะเป็นโรงแรมเล็กๆ ในเมืองห่างไกล แต่ก็ยังครบครันไป ด้วยเครื่องใช้ทันสมัย เช่นหุ่นยนต์ ดูดฝุ่น เครื่องล้างจาน เครื่องถ่าย เอกสารและปริ้นท์ เป็นต้น ไปจนถึง กลไกลการเปิดใช้ไฟฟ้าภายในห้อง พักด้วยแท่งพวงกุญแจ 23
24
วันที่ 8 (16 มี.ค. 57)
วันนี้เป็นวันที่ต้องจากกับ ครอบครัวโฮมสเตย์แล้ว วันนี้พวก ผมตื่นแต่เช้า พอทานอาหารเช้า เสร็จเรียบร้อย โอก้าซังและลูกสะไภ้ ก็ให้พวกเราลอง พับกระดาษแบบ ญี่ปุ่น ที่เรียกว่า “โอริกามิ” เป็นการ พับกระดาษเป็นรูปต่างๆ ที่ซับซ้อน พอสมควร หลั ง จากนั้ น โอโต้ ซั ง ก็ พ า พวกผมไปลองนั่ง “สโนว์โมบิล” หลังจากนั้นก็ได้ดื่มน้ำ�ชากลางหิมะ แล้วไปเก็บกระเป๋าเตรียมตัวกลับ ช่ ว งสายพวกผมเดิ น ทาง ไปรวมกั บ คนอื่ น ๆเพื่ อ เข้ า ร่ ว ม งานเลี้ยงอำ�ลาครอบครัวโฮมสเตย์ จากเวลาไม่ กี่ วั น ที่ ไ ด้ อ ยู่ ร่ ว มกั บ ครอบครัวโฮมสเตย์ ผมสังเกตุได้ว่า ผู้คนที่นี่ดูยิ้มแย้มแจ่มใส มีความ สุขกันมาก เป็นกันเอง และมีน้ำ�ใจ ระหว่างงานเลี้ยง พวกผมก็ได้สอน ครอบครัวโฮมสเตย์พับ “ตง” ซึ่ง เป็นการพับกระดาษเป็นโคมไฟ ซึ่ง เป็นวัฒนธรรมของชาวล้านนาของ ประเทศไทย จากนั้นครอบครัวโฮม สเตย์ ก็แสดงการเต้นระบำ�หุ่น และ ทานอาหารร่วมกัน และร่ำ�ลากัน
ช่วงบ่ายของวันนี้พวกผม ทั้งหมดได้ไปรวมตัวกันอีกครั้งและ ประชุมวางแผนงาน ที่จะทำ�หลัง จากจบโครงการนี้ เ มื่ อ กลั บ มายั ง ประเทศไทย ที่นี่ผมได้เห็นนวคิด ของแต่ละคนมากขึ้น รู้สึกสนุกมาก ที่ได้ร่วมคิดงานกัน จนช่วงเย็นก็ได้ กลับไปยังโรงแรมมาดาราโอะเพื่อ เข้าพักก่อนที่จะกลับโตเกียวในวัน รุ่งขึ้น ที่ โ รงแรมมาดาราโอะ พวกผมได้ ป ระชุ ม คิ ด แผนงานกั น ต่อ และทำ�สไลด์นำ�เสนอ เพื่อ การประชุ ม สรุ ป โครงการร่ ว มกั บ ชาติอื่นๆในอาเซียน ในวันพรุ่งนี้ ที่โตเกียว ในคืนนั้นทุกคนนอนกัน ดึกมากๆ เพราะทุกคนต่างนั่งคุย และเปลี่ยนทัศนคติ แลกเปลี่ยน ประสบการณ์ แนวความคิดกัน ผม รู้สึกว่าอยากให้มีบรรยากาศอย่าง นี้ อี ก เมื่ อ กลั บ ไปยั ง ประเทศไทย เพราะไม่ง่ายเลย ทีคนในสาย งานเดี ย วกั น แต่ ห ลากหลายแขนง จำ�นวนมากจะได้มาอยู่ร่วมกัน และ ใช้ชีวิตร่วมกัน
25
26
วันที่ 9 (17 มี.ค. 57)
วั น นี้ ต้ อ งกลั บ ไปโตเกี ย ว แล้ว เมื่อตื่นเช้ามาก็ลงไปทาน อาหารเช้า และเตรียมตัวเก็บ กระเป๋าเพื่อกลับไปยังโตเกียว พอ จะขึ้นรถ ปรากฏว่ามีครอบครัวโฮม สเตย์มาส่งพวกผมด้วย ซึ่งเป็นอะไร ที่ประทับใจมากๆ และไม่คิดว่าจะ เกิดขึ้น เมื่อรถออกพวกผมก็โบกมือ จนลับสายตา ตามทำ�เนียมของชาว ญี่ปุ่น เพื่อแสดงความขอบคุณต่อ พวกเขา เมื่ อ เดิ น ทางไปเรื่ อ ยๆ หิมะก็เริ่มบางตาลง จนถึงจุดพัก รถ ผมก็ไปเข้าห้องน้ำ�ตามปกติ แต่ คราวนี้ผมสะดุดตากับ ที่นั่งเด็ก ทารกให้ห้องน้ำ� ผมทึ่งมากที่ว่า คนญี่ปุ่นเขาละเอียดจริงๆ และยัง ห่วงใยผู้ใช้งานมากๆ ผมคิดว่าสิ่ง นี้น่าจะมีในไทยบ้างตามสถานที่สา ธารณะใหญ่ๆ เพื่อเพิ่มโอกาสให้ กับคนที่มีข้อจำ�กัดต่างๆ ได้เข้าถึง สถานที่ต่างๆ ได้อย่างเท่าเทียมกัน เมื่อถึงกรุงโตเกียว ก็ได้ไป ทานอาหารเที่ยงที่เกาะโอไดบะ ซึ่ง เป็ น เกาะที่ ถู ก สร้ า งขึ้ น โดยการถม
ทะเลด้วยขยะ นับว่าเป็นความคิดที่ ดีมากๆ สำ�หรับประเทศที่เป็นเกาะ พื้นที่จำ�กัด พอช่ ว งบ่ า ยก็ ไ ด้ เข้ า ร่ ว ม ประชุ ม สรุ ป โครงการกั บ ชาติ อื่ น ๆ ผมได้เห็นหน้าตา และอารมณ์ของ ทุกคนที่ต่างจากวันปฐมนิเทศ ทุก คนดูอิ่มเอม และมีความสุข พอเริ่ม ประชุม แต่ละชาติก็นำ�เสนอแผน งาน ซึ่งแสดงออกถึงวัฒนธรรมของ แต่ละชาติผ่านแนวคิดของแผนงาน รูปแบบการนำ�เสนอะ หรือกระทั่ง การแต่ ง กายของตั ว แทนผู้ อ อกไป นำ�เสนอแผนงาน ซึ่งทำ�ให้ผมเข้าใจ และรู้จักเพื่อนๆในอาเซียนมากยิ่ง ขึ้น พอช่ ว งเย็ น ก็ ไ ด้ เข้ า พั ก ที่ โรงแรมไกล้ ๆ กั บ สนามบิ น นาริ ต ะ เพื่อเตรียมตัวกลับประเทศในวันรุ่ง ขึ้น ที่นั่นผมได้พูดคุยแลกเปลี่ยน ความคิด ประสบการณ์กับคนอื่นๆ และได้พูดคุยกับเพื่อนชาวอาเซียน และผมรู้ สึ ก ว่ า อากาศไม่ ห นาว เท่ากับวันแรกที่มาถึง หรือเป็น เพราะผมชินไปแล้วก็ไม่ทราบ
27
ประโยชน์ที่ได้รับ - แนวคิ ด ในการออกแบบ สิ่งพิมพ์เพื่อการโฆษณา ที่พบเห็น ได้มากมายในรูปแบบของใบปลิวที่ พิมพ์ทั้ง 2 ด้าน เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ ครบถ้วนและคุ้มกับทรัพยากรที่เสีย ไป ทั้งยังสามารถนำ�มารีไซเคิลได้ และยั ง เล่ น กั บ การพั บ คลี่ อ อกมา เป็นเนื้อหาได้อีก - แนวคิดในการสร้างสรรค์ งานกราฟิ ก ที่ มั ก ใช้ อ งค์ ป ระกอบ ง่ายๆ แต่สื่อความหมายได้เป็น อย่างดี ไม่จำ�เป็นต้องใช้เทคนิคที่ เยอะเกินจำ�เป็น - งานออกแบบที่ ส วยงาม แต่ ยั ง แฝงประโยชน์ ใช้ ส อยเข้ า ไป ด้วย ยกตัวอย่างเช่น รั้วทรงคลื่น ที่เป็นม้านั่งได้ที่ฮารจุกุที่ผมพูดถึง ในส่วนของบันทึกการเดินทาง ที่ ทั้ ง สวยงามและยั ง ใช้ นั่ ง ได้ ด้ ว ย และด้วยความใส่ใจในรายละเอียด เล็ ก ๆที่ นำ � มาใช้ ใ นการแบบเรื่ อ ง ความสบายของผู้นั่ง - แนวคิ ด เรื่ อ งการปรั บ ใช้ เทคโนโลยี ที่ มี ลั ก ษณะการใช้ ง าน เหมื อ นกั น แต่ ไ ม่ จำ � เป็ น ต้ อ งใช้ เทคโนโลยี ที่ ทั น สมั ย เท่ า กั น เช่ น โรงเแรมหรูในชินจุกุใช้ระบบกุญแจ แบบคีย์การ์ดอิเล็กโทรนิค และใช้ คี ย์ ก าร์ ด เพื่ อ เปิ ด ระบบไฟฟ้ า ใน ห้องพัก แต่ในโรงแรมในเมืองห่าง ไกลอย่ า งเช่ น นากาโน่ ก็ ใช้ ร ะบบ เดี ย วกั น แต่ ไ ม่ ใ ช่ ร ะบบอิ เ ล็ ก โท
รนิค แต่เป็นระบบกลไล โดยใช้แท่ง เสียบเข้ า ไปในช่ องสวิ ต ท์ เ พื่ อเปิ ด ระบบไฟฟ้าภายในห้อง - วั ฒ นธรรมการใช้ บ รร ไดเลื่ อ นหรื อ เส้ น ทางสาธารณะ ในโตเกี ย วที่ ข นที่ ไ ม่ ด่ ว นชิ ด ซ้ า ย เพื่ อ หลี ก ทางให้ ผู้ ที่ เร่ ง รี บ เดิ น ไป ได้ทางด้านขวา ถึงแม้มันจะเป็น เรื่องเล็กๆ แต่มันช่วยให้สังคม ขับเคลื่อนไปได้ และวัฒนธรรมนี้ ยั ง สร้ า งความมี น้ำ � ใจลึ ก ๆในผู้ ค น อีกด้วย ซึ่งเอาไปต่อยอดเป็นการ กระทำ�ที่ดีอย่างอื่นได้มากมาย - วัฒนธรรมการขอโทษถึง แม้เราจะไม่ได้ทำ�ผิด ยกตัวอย่าง เช่น เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับตัวผมที่ ผมทำ�ผิดต่อร้านค้าชาวญี่ปุ่น แต่ พนักงานในร้านก็กล่าวคำ�ขอโทษ ต่อผม ซึ่งทำ�ให้ผมคิดว่าต่อไป ผมจะไม่ทำ�ผิดพลาดอีกแล้ว ซึ่ง วัฒนธรรมนี้จะเป็นการสร้างความ ระมัดระวังเพื่อไม่ให้ทำ�ผิดซ้ำ�อีก - การรักษาไว้ซึ่งศิลปะ และ วัฒนธรรมดั้งเดิม โดยแทรกเข้าไป ในงานออกแบบสมัยใหม่ สังเกตุได้ จากงานออกแบบกราฟิกต่าง หรือ งานออกแบบภายใน และอื่นๆ - การสร้างความแข็งแกร่ง ข อ ง ช า ติ นั้ น ไ ม่ ไ ด้ ม า จ า ก ก า ร ลงทุนด้วยเม็ดเงินมหาศาล หรือ เทคโนโลยีที่ก้าวล้ำ�กว่าชาติอื่น เท่า ที่ผมเห็นจากประเทศญี่ปุ่น ชาติ
ของเขาเข้มแข็งได้เพราะวินัย และ ความรับผิดชอบของแต่ละบุคคล - ญี่ ปุ่ น เ ป็ น ป ร ะ เ ท ศ ที่ ประชากรในเมืองใหญ่ดูเคร่งเครียด มาก แต่ก็มีสิ่งที่ช่วยบำ�บัด ความเครียดแก่ประชากรเช่น สื่อ ต่างๆ ซึ่งบางอย่างถ้าเป็นที่ไทยนั้น ไม่เป็นที่ยอมรับ - วั ฒ น ธ ร ร ม ก า ร ล า ที่ ชาวญี่ ปุ่ น จะโบกมื อ ลาผู้ ม าเยื อ น จนกว่าผู้มาเยือนจะลับสายตาไป แสดงให้เห็นถึงความเอาใจใส่ และ ให้ความสำ�คัญกับผู้อื่น ซึ่งสิ่งนี้ สมควรนำ�มาปรับใช้กับวัฒนธรรม ไทยได้ - ป ร ะ เ ท ศ ญี่ ปุ่ น เ ป็ น ประเทศที่มีชื่อเสียง มีนักท่อง เที่ยวมากมาย แต่ถึงกระนั้นก็ไม่ ค่อยจะมีการใช้ภาษาอังกฤษที่แพร่ หลายหรือมากเท่าที่คิดไว้ ซึ่งเมื่อ ผมกลับมาแล้วผมจึงได้เข้าใจว่านั่น คือ วิถีของความเป็นผู้นำ� วิถีของ มหาอำ�นาจ ที่มีความหยิ่งเล็กๆ ถ้าคุณจะสื่อสารกับเขาคุณต้องไป ศึกษาภาษาเขามาก่อน - ความเอาใจใส่ในราย ละเอียดเล็กน้อย และเห็นว่าทุก เรื่องนั้นมีความสำ�คัญ และไม่มีคำ� ว่าไม่เป็นไร เช่นตอนที่แจกร่มให้ กับเหล่าผู้เข้าร่วมโครงการ แล้วร่ม ไม่พอ ก็ยังไปหาร่มมาเพิ่มให้จนได้ ในที่สุด
29
ข้อเสนอแนะ 30
โครงการนี้ น่ า จะมี กิ จ กรรมที่ ใ ห้ ผู้ เข้ า ร่ ว มโครงการได้ มี โ อกาสแลกเปลี่ ย น ประสบการณ์ เรียนรู้วัฒนธรรม และแนวคิด กับนักศึกษา หรือผู้ที่เกี่ยวข้องชาวญี่ปุ่น
ขอขอบพระคุณ กระทรวงวัฒนธรรมแห่งประเทศไทย รัฐบาลประเทศญี่ปุ่น องค์กร JICE พี่ติ้ว พี่ออร์แกน พี่มะนาว พี่ส้ม ครอบครัวคาเนโอะ ชาวญี่ปุ่นที่ได้พบระหว่างโครงการ เพื่อนๆชาวอาเซียนที่ได้พบระหว่างโครงการ และผู้เข้าร่วมโครงการ JENESYS2.0 ทั้งหลาย
และชาติอื่นๆที่เข้าร่วมโครงการมากกว่านี้ เช่นโครงการนี้เป็นศิลปินรุ่นเยาว์ ก็อยาก ให้มีโอกาสได้พบปะกับศิลปินรุ่นเยาว์ของ ญี่ปุ่นและชาติอื่นๆมากขึ้นกว่านี้ เพื่อที่จะ
ได้เรียนรู้แนวคิด และ ประสบการณ์ของผู้ ที่มีความสนใจในด้านเดียวกันมากขึ้น เพื่อ นำ�ไปต่อยอดเป็นสิ่งดีๆ และสร้างมิตรภาพ ความสัมพันธ์ และการติดต่อกันต่อไป 31
32