รามเกียรติ์ (หนังสืออิเล็กทรอนิกส์)

Page 1


รามเกียรติ์


คานา

ามเกียรติ์ เป็นวรรณคดีสาคัญเรื่องหนึ่งของไทย โดยมีต้นเค้าจากวรรณคดี อินเดีย คือ มหากาพย์รามายณะ ที่ฤๅษีวาลมีกิชาวอินเดีย แต่งขึ้นเป็นภาษาสันสกฤต เมื่อประมาณ ๒,๔๐๐ ปีเศษเชื่อว่าน่าจะเป็นที่รู้จักในหมู่ชาวไทยมาตั้งแต่สมัยโบราณ จากอิทธิพลของลัทธิพราหมณ์ฮินดู โดยแฝงไว้ซึ่งคติยกย่องพระมหากษัตริย์ ซึ่งเชื่อ กันว่าเป็นอวตารของพระนารายณ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้ทรง พระราชนิพ นธ์ บ ทละครเรื่ อ งรามเกี ย รติ์ โดยได้ ท รงเลื อ กมาเป็ นตอน ๆ ในสมั ย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องรามเกียรติ์ โดยใช้ฉบับของอินเดีย (รามายณะ) มาพระราชนิพนธ์ ใช้ชื่อว่า "บ่อเกิดรามเกียรติ์" หนั ง สื อ เล่ ม นี้ ก ล่ า วถึ ง เรื่ อ งราวของรามเกี ย รติ์ “ก าเนิ ด ทศกั ณ ฐ์ ” โดยมีเนื้อหาสาคัญอันประกอบด้วย ความเป็นมา ตัวละครแต่ละฝ่าย และการอวตาร ลงมาเกิดของทศกัณฐ์ ประกอบด้วยรูปภาพสาคัญ ๆ ทั้งนี้เพื่อจุดประสงค์ที่ต้องการ ให้ผู้อ่านมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับตัวละครสาคัญของเรื่องรามเกียรติ์ ทั้งนี้ผู้จัดทาได้พยายามค้นคว้าข้อมูลจากตาราต่าง ๆ แล้วนามาเรียบเรียงใหม่ เพื่อให้ง่ายต่อผู้ที่ต้องการศึกษาต่อไปในภายหน้า และมีความเข้าใจเกี่ยวกับวรรณคดี เรื่องรามเกียรติ์ยิ่งขึ้น ทั้งนี้ผู้จัดทาหวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ ต่อผู้ที่สนใจไม่มากก็น้อย สิทธิกร นามนุ ๙ กันยายน ๒๕๖๐


สารบัญ หน้า คานา

สารบัญ

แบบทดสอบก่อนเรียน บทที่ ๑ ความเป็นมาของรามเกียรติ์ ๑.๑ ความเป็นมาของรามเกียรติ์ในประเทศไทย ๑.๒ ต้นเรื่องรามเกียรติ์ ๑.๓ อิทธิพลของรามเกียรติ์ที่มีต่อคนไทย บทที่ ๒ นามานุกรมตัวละครสาคัญ ๒.๑ นามานุกรมตัวละครสาคัญในรามเกียรติ์ บทที่ ๓ กาเนิดทศกัณฐ์ ๓.๑ กาเนิดทศกัณฐ์ แบบทดสอบหลังเรียน

๒ ๓ ๕

๑๔ ๑๖

เฉลยแบบทดสอบก่อนเรียน และหลังเรียน

๑๘

ประวัติผู้จัดทา

อ้างอิง


คาถามก่อนเรียน คาชี้แจง : ให้นักเรียนเลือกคาตอบที่ถกู ที่สุดจากตัวเลือก ๑. นนทก เมื่อลงมาเกิดบนโลกมนุษย์คือตัวละครใดในวรรณคดีเรื่อง รามเกียรติ์ ก. นนทุก ข. พิเภก ค. รณพักตร์ ง. ทศกัณฐ์ ๒. รามเกียรติ์ จัดเป็นวรรณคดีประเภทใด ก. เสภา ข. นิราศ ค. เพลงยาว ง. บทละคร ๓. “รามเกียรติ์ เป็นวรรณคดีสาคัญเรื่องหนึ่งของไทย โดยมีต้นเค้าจากวรรณคดี อินเดีย” คาว่า วรรณคดีอินเดีย คือเรื่องอะไร ก. สีดาราม ข. มหากาพย์รามาวตาร ค. มหากาพย์ภารตะ ง. มหากาพย์รามายณะ ๔. จากคาตอบข้อที่ ๓ ใครคือผู้แต่งวรรณคดีอินเดียที่เป็นต้นเค้าของวรรณคดีเรื่อง รามเกียรติ์ ก. ปาณีนิ ข. ฤๅษีโคดม ค. ฤๅษีวาลมิกิ ง. ฤๅษีวาลมิสะ ๕. สารัตถะของวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์ คืออะไร ก. ธรรมะย่อมชนะอธรรม ข. ทุกสรรพสิ่งย่อมแปรผันไปตามกาลเวลา ค. ความไม่แนะนอนของชีวิต ง. ความรักเป็นสิ่งที่ดี แต่ต้องรู้จักเลือกที่จะรัก


๖. ตัวละครในข้อใดไม่เกิดจากการสมสู่ตามวิสัยธรรมชาติ ก. พาลี ข. หนุมาน ค. ชมพูพาน ง. สุครีพ ๗. ตัวละครในข้อใดอยู่ฝ่าย อสุรพงศ์ ก. พิเภก ข. รณพักตร์ ค. พระกาฬ ง. พระสัตรุต ๘. อาวุธในข้อใดไม่ใช่อาวุธของ อินทรชิต ก. ศรนาคบาศ ข.ศรพรหมบาสตร์ ค.ศรวิศณุปาณัม ง. ศรอัคนิวาต ๙. “สีดา” แปลว่าอะไร ก. คันไถ ข. รถไถ ค. ดินพรวนไถ ง. รอยไถ ๑๐. อินทรชิต ในวรรณคดีเรื่อง รามเกียรติ มีความหมายว่าอย่างไร ก. ผู้สืบสายโลหิตจากพระอินทร์ ข. ผู้มีชัยเหนือพระอินทร์ ค. ผู้เป็นใหญ่ในสามโลก ง. ผู้ปราชัยแก่พระอินทร์


บทที่ ๑ ความเป็นมาของรามเกียรติ์


๑.๑ ความเป็นมาของเรื่องรามเกียรติ์ในประเทศไทย รามเกียรติ์ มีที่มาจากเรื่อง รามยณะ ที่ฤาษีวาลมิกิ ชาวอินเดีย แต่งขึ้นเป็น ภาษาสันกฤตเมื่อประมาณ ๒,๔๐๐ ปีเศษ มาแล้ว และได้แพร่หลาย จากอินเดียไปยัง ประเทศใกล้ เ คี ย ง และได้ มี ก ารเพิ่ มเติ ม รายละเอี ย ด ผิ ด แผกแตกต่ า งออกไปจาก ต้นฉบับเดิมไปไม่น้อย รามยณะเป็นปางหนึ่งในสิบปางของการอวตารมาปราบยุคเข็ญ ของพระนารายณ์ ที่มีชื่อว่า “รามาวตาร” สาหรับเรื่องรามเกียรติ์ ของไทยนั้น มีมาแต่สมัยอยุธยา ในสมัยกรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ได้ทรงพระราชนิพนธ์สาหรับให้ละครหลวงเล่น ปัจจุบันมีอยู่ ไม่ครบ ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็ จพระพุทธยอดฟ้าฯ ได้ทรงพระราช นิพนธ์ขึ้นเพื่อรวบรวมเรื่องรามเกียรติ์ ซึ่งมีมาแต่เดิมให้ครบถ้วน สมบูรณ์ตั้งแต่ต้น จนจบ พระบาทสมเด็ จ พระพุ ท ธเลิ ศ หล้ า ฯ ได้ ท รงพระราชนิ พ นธ์ บ ทละครเรื่ อ ง รามเกียรติ์ เพื่อให้ละครหลวงเล่น ได้ทรงเลือกมาเป็นตอน ๆ รามเกียรติ์ นี้จึงมี สานวนกลอนที่ไพเราะที่สุด พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องรามเกียรติ์ โดย ดัดแปลงจากพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าฯ เพื่อใช้ในการเล่น โขน ซึ่งจะมีอยู่เพียงบางตอนที่คัดเลือกไว้เท่านั้น เช่น ตอนนางลอย ตอนหักคอช้าง เอราวัณ ตอนสีดาลุยไฟ เป็นต้น รามเกียรติ์เป็นวรรณคดีที่สาคัญของไทย เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย เนื้อ เรื่องและสานวนกลอน ในเรื่องรามเกียรติ์มีความไพเราะ มีคติสอนและแง่คิดในด้าน ต่าง ๆ อยู่เป็นอันมาก สอดแทรกเอาไว้ตลอดทั้งเรื่อง ตามหลักนิยมของอินเดียใน เนื้อเรื่อง และหลักนิยมของไทยในสานวนกลอนจิตรกรรมฝาผนังเรื่องรามเกียรติ์ ที่ ร อบพระระเบี ย งวั ด พระศรี รั ต นศาสดาราม (วั ด พระแก้ ว ) เขี ย นขึ้ น มาตั้ ง แต่ สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช


๑.๒ ต้นเรื่องรามเกียรติ์ ณ ยอดเขาจักรวาลมียักษ์ตนหนึ่งชื่อ หิรันตยักษ์ ได้บาเพ็ญตบะเพื่อขอพร จากพระอิศวรให้มีฤทธิ์มากขึ้น เมื่อได้พรแล้วจึงคิดกาเริบว่าไม่มีใครสามารถสู้ได้ จึงม้วนแผ่นดินแล้วเหาะนาไปไว้ที่เมืองบาดาล เหล่าเทวดาจึงไปทูลฟ้องพระอิศวร พระอิศวรให้พระนารายณ์ไปปราบ แล้วจึงนาแผ่นดินมาคลี่ไว้ที่เดิม จากนั้ นจึงกลับยัง เกษียณสมุทร พบดอกบัวบานมีกุมารน้อยอยู่ในนั้นจึงนาไปถวายพระอิศวร พระอิ ศ วรให้ พ ระอิ น ทร์ ไ ปสร้า งเมือ งให้ ที่ ป่ า ทวาราวดี แล้ ว ตั้ ง ชื่ อ กุ มารว่ า อโนมาตัน และมอบอาวุธคือ ตรีเพชร คทา และธามรงค์ ให้ไปปกครองเมืองนั้น ส่วนพระอินทร์ได้มอบนางมณีเกสร เป็นพระมเหสี ต่อมามีโอรสชื่อ อัชบาล และต่อมา ท้าวอัชบาลกับนางเทพอัปสรมีโอรสชื่อ ทศรถ ฝ่ายพระพรหมองค์หนึ่งชื่อสหบดี ซึ่งเคยให้สหมลิวัน ไปปกครองทวีปลังกาแต่ ได้หนีพระนารายณ์ ไปอยู่เมืองบาดาล ทวีปลังกาจึงกลายเป็นเมืองร้าง สหบดีเห็นว่า ควรมีการสืบวงศ์พรหมต่อไป จึ งสั่งให้พระวิษณุพรหม ไปดูทาเลสร้างเมืองใหม่ พระวิษณุพบเกาะกลางทวีปมีภูเขาสูงชื่อ นิลกาฬ สีดาสนิทตั้งอยู่กลางเกาะเห็นว่าเป็น ทาเลที่เหมาะจะสร้างเมืองที่มีความมั่นคง ป้องกันการรุกรานของข้าศึกได้ จึงสร้าง เมืองขึ้นตรงเกาะนั้น แล้ ว ตั้ ง ชื่ อ ว่ า พิ ชั ย ลั ง กา ท้ า วสหบดี ไ ด้ ใ ห้ ญ าติ ชื่ อ ท้ า วจตุ ร พั ก ร ไปครอง มอบอาวุธคือ ตรีศูล คทา ฉัตรแก้ว พร้อมพระเวทกากับฉัตร หากเมื่อข้าศึกมาประชิด เมือง ให้ยกฉัตรขึ้นบังแสงอาทิตย์ ข้าศึกจะมองไม่เห็นเมือง ทั้งยังประทาน นางมลิกา ไปเป็นมเหสี ต่อมามีโอรสชื่อท้าวลัสเตียน ซึ่งมีมเหสี ๕ องค์ องค์สุดท้ายชื่อ พระนาง รัชดาเทวี ซึ่งเป็นแม่ของทศกัณฐ์ มียักษ์ชื่ออสุรพรหม อยู่เชิงเขาจักรวาล ต้องการมีฤทธิ์มากขึ้น เพียรทูลขอ กระบองที่ ไ ม่ มี ใ ครสู้ ได้ จ ากพระอิ ศ วร จนพระอิ ศ วรประทานกระบองเพชรให้ มาลี วัค คพรหม จึง ทู ลทั ก ท้ว งว่า การที่ท รงประทานกระบองเพชรให้นั้น จะทาให้โ ลก เดือดร้อนได้ เพราะอสุรพรหมเป็นยักษ์ที่หยาบช้า ควรจะประทานอาวุธแก่ท้าวอัชบาล ๓


เพื่ อ ใช้ ป ราบอสุ ร พรหม พระอิ ศ วรจึ ง ประทานพระขรรค์ แ ละพรแก่ ท้ า วอั ช บาล ซึ่งภายหลังได้ฆ่าอสุรพรหมตาย ด้วยเหตุนี้มาลีวัคคพรหม จึงเป็นเพื่ อนกับท้าวอัช บาลในเวลาต่อมา ต่อมา มาลีวัคคพรหมเสด็จไปเฝ้าพระอิศวรทูลลาไปอยู่ ณ เขายอดฟ้า พระอิศวรเห็นว่าเป็นพรหมที่มีความซื่อสัตย์ จึงประทานพรให้มีวาจาสิทธิ์ ทั้งได้ตั้งชื่อ ให้ใหม่ว่าท้าวมาลีวราช ปกครองเหล่าคนธรรพ์และยักษ์ มียักษ์อีกตนหนึ่งชื่อ ตรีบุรัม ครองเมืองโสพัส ต้องการมีฤทธิ์เอาชนะ พระนารายณ์ได้จึงบาเพ็ญตบะเพื่อขอพรจากพระอิศวร จนพระอิศวรต้องเสด็จลงมา ให้พรตามที่ขอว่า พระนารายณ์ไม่สามารถฆ่าตรีบุรัมได้ เมื่อได้พรแล้วจึงกาเริบไปข่ม เหงเหล่าเทวดาและนางฟ้าจนถึงสวรรค์ชั้นที่หกเดือดร้อนไปทั่ว จึงพากันมาฟ้องพระ อิศวร เนื่องจากศึกครั้งนี้ใหญ่หลวง ด้วยตรีบุรัมได้พรจากพระอิศวร ทั้งพระพรหม และพระนารายณ์ไม่อาจปราบได้ พระอิศวรจึงต้องยกทัพไปปราบเองในกระบวนทัพ ของพระอิศวร ให้พระขันธกุมารเป็นทัพหน้า พระราหูถือธง พระพิเนตรเป็นปีกซ้าย พระพินายะเป็นปีกขวา พระกาฬเป็นเกียกกาย ท้าวเวสสุวรรณเป็นยกกระบัตร และพระ เพลิงเป็นกองหลัง ส่วนพระอิศวรนั่งบนหลังพระโคอุสุภราช เอากาลังพระพรหมผสม กั บ พระเดชเป็ น เกราะเพชร เขาพระสุ เ มรุ เ ป็ น คั น ธนู ชื่ อ มหาโลหะโมลี เอาอนันตนาคราชเป็นสายธนู พระนารายณ์เป็นลูกศร แต่ไม่สามารถยิงได้เพราะพร จากพระอิศวรดังกล่าว พระอิศวรจึงลืมตาที่สามขึ้นเป็นเพลิงกรดไหม้ ตรีบุรัมตาย จากนั้นจึงมอบธนูโลหะโมลีไว้ที่เมืองมิถิลาและฝากเกราะเพชร ไว้ที่พระฤาษีอัคถะดาบส เพื่อเก็บไว้ถวายพระนารายณ์ ตอนอวตารมาปราบเหล่ายักษ์


๑.๓ อิทธิพลของรามเกียรติ์ที่มีต่อคนไทย รามเกียรติ์ จัดเป็นมหากาพย์ ๑ ใน ๒ ของอารยธรรมตะวันออก และ ๑ ใน ๔ ของมหากาพย์โลก ซึ่งประกอบด้วย มหากาพย์ของตะวันตก ๒ เรื่องคือ มหากาพย์อี เลียดและโอดิส ซี มหากาพย์ของตะวันออกอีก ๒ เรื่อง คือ มหากาพย์รามายณะ (รามเกียรติ์ ) และมหากาพย์ภารตะ ว่ากันว่าฤาษีวาลมีกิเป็นผู้รจนารามายณะ คนอิ น เดี ย ถื อ ว่ า การฟั ง เรื่ อ งรามายณะนั้ น ได้ บุ ญ ได้ กุ ศ ล (เป็ น บทสวด) พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระราชนิพนธ์ ถึงความเชื่ อของคน อินเดี ยไว้ ว่ า "คั มภี ร์ ร ามายณะมีคุ ณ วิเศษต่า ง ๆ ใครได้ ฟั ง แล้ ว ล้ า งบาปได้ และ ปรารถนาสิ่งใดก็จะได้ สมปรารถนา จะเจริญอายุ วรรณ สุข พละ และเมื่อละโลกนี้ไป แล้วก็จะได้ไปสู่พรหมโลกมีกาหนดว่ารามายณะนี้ให้ใช้พิธีสวดเพื่อล้างบาปผู้ตาย..." คนไทยรู้จักเรื่องรามเกี ยรติ์มาแต่โบราณ รู้จักมาแต่ครั้งกรุงสุโขทัยหรือกรุง ศรีอยุธยาตอนต้น สันนิษฐานว่าเข้ามาพร้อมศาสนาพราหมณ์-ฮินดู (เพราะรามายณะ เป็นความเชื่อทางลัทธิพราหมณ์ -ฮินดู)/ชื่อของกรุงศรีอยุธยา หรือเมืองอโยธยา ก็มาจากความเชื่อในเรื่องรามเกียรติ์ที่เรียกเมืองของพระรามว่า อโยธยา ( Ayodhya) และพระมหากษัตริย์ไทยสมัยกรุงศรีอยุธยาก็ออกพระนามว่า สมเด็จพระรามาธิบดี คือ นาพระนาม ราม มาเป็นพระปรมาภิไธย เรื่องรามเกียรติ์ฉบับที่ถือกันว่าในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เป็นฉบับที่สมบูรณ์ที่สุด แต่กระนั้นก็ตามมาสมัยรัชกาลที่ ๒ ก็มีการนามาแก้ไขเพื่อใช้ เป็นละครรา และโขน โดยยึดโครงเรื่องเดิมของรัชกาลที่ ๑ เป็นหลัก รามเกียรติ์นั้น เป็นที่นิยมนามาใช้ในการเล่นโขน ไม่เคยมีใครอุตรินาวรรณคดีอื่นมาแสดงโขน สมัย อยุธยา การแสดงโขนนั้น แสดงทางเดียวคือ การพากย์ และ เจรจา พอถึงสมัยกรุง รัตนโกสินทร์ตั้งแต่รัชกาลที่ ๑ เป็นต้นมา การแสดงโขนแบ่งเป็น ๒ ทาง คือ ๑. การแสดงโขน ทาง โขน คือใช้ พากย์ เจรจา ผสมกาพย์ยานี ๒. การแสดงโขน ทาง ละคร คือใช้ทั้ง พากย์ เจรจาผสมกาพย์ยานี และเพิ่มบทร้องเข้าไปด้วย ดังที่เราเคยดู โขน ที่ศิลปินกรมศิลปากรแสดงให้ชม ๕


ภาพที่ ๑ การแสดงโขน ถือเป็นนาฏศิลป์การแสดงชั้นสูงของคนไทยตั้งแต่อดีต ซึ่งจะมีจารีตการแสดงที่เป็นเอกลักษณ์ จุ ด น่ า สั ง เกตของเรื่ อ งรามเกี ย รติ์ คื อ ตั ว ละครเอกทั้ ง ฝ่ า ยธรรม และฝ่ า ย อธรรม อันประกอบด้วยฝ่ายพระราม พระลักษณ์ กับฝ่ายทศกัณฐ์ กุมภกรรม อินทร ชิต มีลักษณะของชนชั้นในประวัติศาสตร์เหมือนเอาส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์มา รจนา คื อ ชนชั้ น อารยั น (ผิ ว ขาว สู ง จมู ก โด่ ง เหมื อ นชาวอิ น เดี ย ด้ า นเหนื อ เทียบเคียงได้กับพระราม พระลักษณ์ พระพรต พระสัตรุดฯ) กับชนชั้น ดราวิเดียน (ผิวดา ผมหยิกหยักโศก จมูกแบน เตี้ยและผิวค่อนข้างดา เหมือนชาวอินเดียตอนใต้ ติดปากีสถาน เทียงเคียงได้กับทศกัณฐ์ กุมภกรรณ ฯ) เพราะเดิมในประวัติอายธรรม ตะวันออก ชนชั้นอารยัน ได้ทาสงครามรุกไล่แผ่นดินชนชั้นดราวิเดียน ลงสู่ใต้ โดยยึด แม่น้าคงคาเป็นแหล่งตั้งถิ่นฐาน เรื่องราวของรามเกียรติ์ เป็นลักษณะการสรรเสริญพระราม ซึ่งเป็นองค์หนึ่ง ในการอวตารของพระนารายณ์ลงมาเป็นมนุษย์ เพื่อช่วยดับทุกข์ต่าง ๆ ในชมพูทวีป อันมีห มู่อ ธรรมเหล่ า ยัก ษาต่ า ง ๆ ได้ ก่ อ เอาไว้ ปฐมบทแห่ ง เรื่อ งราวมาจากการ ประทานพรของพระอิศวรเป็นส่วนมาก ซึ่งพระองค์เป็นผู้ใจดีใจกุศล ชอบประทานพร ศักดิ์สิทธิฤทธิ์เดชต่าง ๆ ให้แก่ผู้บาเพ็ญที่เพียรขอพรได้ง่าย ๆ เมื่อผู้ขอพรได้ดังใจ แล้ว ก็จะก่อความวุ่นวายให้เกิดแก่สวรรค์ โลก และบาดาล เหตุยุ่งยากนี้จึงทาให้ พระนารายณ์ต้องเสด็จออกแก้ปัญหาอยู่เสมอมา


บทที่ ๒ ตัวละครสาคัญ


๒.๑ นามานุกรมตัวละครในรามเกียรติ์ เรื่องรามเกียรติ์ เป็นวรรณคดีที่มีตัวละครมากมายหลายตัวด้วยกัน ซึ่งจะแบ่ง ภาคกั นไปตามบทบาท และสภาพของตั ว ละครนั้น ๆ เช่ น ตั วละครที่ เป็นยั ก ษ์ ลิ ง คน ฤๅษี เทวดา หรือแบ่งเป็นฝ่ายดี และฝ่ายชั่ว เป็นต้น โดยในหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ประกอบการสอน รามเกียรติ์ เรื่อง กาเนิดทศกัณฐ์ เล่มนี้ ผู้จัดทาได้นาเสนอตัวละคร สาคัญ ที่ปรากฏในเรื่องรามเกียรติ์ ดังต่อไปนี้

ทศกัณฐ์

Totsakan

ทศกั ณ ฐ์ พญายั ก ษ์ ท ศกั ณ ฐ์ ชาติก่อนเป็นยักษ์ชื่อ นนทุก หรือ นนทก ถู ก พระนารายณ์ ฆ่ า ตาย และสาปให้ ม า เกิดบนโลก ครองกรุง ลงกา ใครฆ่าก็ไ ม่ ตายเพราะถอดดวงใจฝากไว้กับพระฤๅษี โคบุตร มีพระมเหสีชื่อ นางมณโฑ และ เป็นบิดาของ นางสีดา อีกด้วย


พระราม RAMA

พระราม คือ พระนารายณ์ อวตารลงมาเกิดเป็น มนุษย์ เป็นโอรสท้าวทศรถ กับพระนางเกาสุ ริยา แห่งกรุงอโยธยา มีมเหสีชื่อ นางสีดา... พระรามมี ลูกศรวิเ ศษที่เทพเจ้า (พระอิศวร) พระทานให้ ๓ เล่ม คือ ศรพรหมาสตร์ (พรม-มาด) ศรอัคนิวาต (อัก-คะ-นิ-วาด) และศรพลายวาต

พระลักษมณ์ PRA LAK

พระลักษมณ์ เมื่อพระนารายณ์ลงมาเกิด เป็นพระราม จึงให้สั งข์ และบัลลัง ก์นาคของ พระองค์ ลงมาเกิดเป็นน้องชาย นามว่า องค์ ชายลักษมณ์ มีกายสีเหลืองอร่าม และเป็นโอรส ของท้าวทศรถ กับ พระนางสมุทรเทวี


นางสีดา SI TA

สีดา เป็นธิดาของทศกัณฐ์ และ นางมณโฑ .... เมื่อแรกเกิดได้ร้องว่า “ผลาญราพณ์” สามครั้ง ภิเภกทานายว่าดวงชะตาของธิดาองค์นี้เป็นภัยต่อ ทศกั ณ ฐ์ และวงศ์ ว านยั ก ษ์ ทศกั ณ ฐ์ จึ ง สั่ ง ให้ เอาทารกลอยน้าไป... ฤๅษีช นก พบผอบมีทารก น้ อ ยจึ ง เก็ บ เอามาเลี้ ย งเป็ น ลู ก นามว่ า “สี ด า” แปลว่า รอยไถ

อินทรชิต

INTRA - CHIT อินทรชิต เป็นยักษ์กายสีเขียว เป็นโอรส ของทศกัณฐ์ และนางมณโฑ เป็นพี่ชายแท้ ๆ ของสีดา เดิมชื่อรณพักตร์ แต่เมื่อชนะศึกพระ อิ น ทร์ ไ ด้ ทศกั ณ ฐ์ จึ ง ให้ ชื่ อ ว่ า อิ น ทรชิ ต มีพระชายาชื่อ สุวรรณกันยุมา มีโอรส ๒ ตน ชื่อ ยามลิวันและกันยุเวก มีอาวุธสาคัญคือ ศร นาคบาศ ศรพรหมมาสตร์ และศรวิศณุปาณัม

๑๐


หนุมาน

HANUMAN หนุมาน เป็นลูกของนางสวาหะ และพระพาย มี รู ป กายเป็ น ลิ ง เผื อ ก อี ก ทั้ ง ยั ง เป็ น ทหารเอกของ พระราม มีเขี้ยวเป็นเพชร ได้รับพระจากพระอิศวรว่า หากคราใดที่ปราชัยจนถึงขั้นล้มตาย เพียงมีลมพั ด ก็ขอให้ฟื้นคืนชีพดังเดิม และมีพลังเพิ่มอีกหนึ่งเท่า

พาลี

PA LI พาลี เป็ น ลู ก พระอิ น ทร์ กั บ นางกาล อัจนา มีกายสี เ ขียว แต่เ ดิมเป็นมนุษย์ แต่ ถูก ฤๅษีโคดม ซึ่งมารู้ทีหลังว่าพาลีและสุครีพ ไม่ใช่ ลูกของตน จึงสาปให้เป็นลิงเข้าป่า จากนั้นพระ อิ น ทร์ จึ ง มาเนรมิ ต ปราสาท นครขี ด ขิ น ให้ครอง

๑๑


สุครีพ

SU KREEP สุครีพ เป็นลูกของพระอาทิตย์ กับนาง กาลอัจนา มีกายเป็นสีแดงเพลิง ตามสีของบิดา มีศักดิ์เป็นน้องชายต่างบิดาของพาลี หลังจาก โดนพาลี ขั บ ไล่ อ อกนอกเมื อ ง ก็ ไ ด้ พ บกั บ พระราม และได้ถวายตัวเป็นทหารของพระราม หลังพาลีตายลงก็ได้ครองเมืองขีดขินต่อจากพาลี

การศึ ก ษาเรื่ อ งตั ว ละครในวรรณคดี เรื่ อ ง รามเกี ย รติ์ เป็ น สิ่ ง ที่ มี ความสาคัญอย่างยิ่ง เพราะจะช่วยให้การศึกษารามเกียรติ์มีอรรถรส และเข้าใจมาก ขึ้น เนื่องด้วย วรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์ เป็นวรรณคดีที่มีตัวละครเป็นจานวนมาก และตัวละครจะมีหลายมิติ หลายพงศ์เผ่า ในหนังสืออิเล็กทรอนิกส์รามเกียรติ์ เรื่อง นามานุกรมตัวละครรามเกียรติ์ จึงได้พยายามรวบรวมข้ อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับตัว ละครสาคัญในวรรณคดีเรื่อง รามเกียรติ์ แลภาพประกอบ เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น

๑๒


บทที่ ๓ กาเนิดทศกัณฐ์


๓.๑ กาเนิดทศกัณฐ์ ในชาติก่อน ทศกัณฐ์ทาหน้าที่ล้างเท้าให้กับเทวดาบนเขาไกรลาศชื่อว่า นนทก ทุกครั้งที่นนทกล้างเท้าให้เหล่าเทวดา เทวดาเหล่านั้นก็จะหยอกล้อนนทกโดยการ ดึงผม ตบศีรษะ จนนนทกหัวล้าน เมื่อเห็นว่าตนถูกรังแกเช่นนี้จึงไปเข้าเฝ้าพระอิศวร และทูลเรื่องราวทั้งหมดให้ฟัง พระอิศวรจึงประทาน “นิ้วเพชร” ให้แก่นนทกเพราะทรง เห็นว่านนทกมีความดีความชอบมาก่อน แต่นนทกกลับนานิ้วเพชรไปใช้ในทางที่ผิดคือ นาไปแก้แค้นพวกเทวดา แต่ถ้าเราอยู่ในสถานการณ์เดียวกันกับ นนทก เราก็คงรู้สึก คับแค้นอยู่ไม่น้อย และถ้ามีโอกาสแก้แค้น เราก็คงทาเช่นเดียวกัน จึงไม่น่าแปลกใจ ที่นนทกซึ่งเป็นเทวดาชั้นต่าจะคิดแก้แค้นคนที่ทาร้ายตน แต่เมื่อพระอิศวรทรงทราบจึง ทรงกริ้ว พระนารายณ์จึงต้องแปลงกายเป็นนางอัปสรมาล่อให้นนทกร่ายราจนใน ที่สุดนนทกก็ชี้นิ้วเพชรเข้าที่ขาของตน จากนั้นพระนารายณ์ก็แปลงกายกลับร่างเดิม ท่าราแม่บทนั้น ในหนังสือพระราชนิพนธ์เรื่องรามเกียรติ์ ว่าไว้ดังนี้ เทพนมปฐมพรหมสี่หน้า ทั้งกวางเดินหงส์บิน อีกช้านางนอนภมรเคล้า เมขลาโยนแก้วแววไว ลมพัดยอดตองพรหมนิมิต ย้ายท่ามัจฉาชมสาคร ฝ่ายนนทกก็ราตาม ถึงท่านาคาม้วนหางวง

สอดสร้อยมาลาเฉิดฉิน กินรินเลียบถ้าอาไพ ทั้งแขกเต้าผาลาเพียงไหล่ มยุเรศฟ้อนในอัมพร ทั้งพิสมัยเรียงหมอน พระสี่กรขว้างจักรฤทธิรงค์ ด้วยความพิสมัยใหลหลง ชี้ตรงถูกเพลาทันใด ฯ

นนทกจึ ง ตั ด พ้ อ ว่ า ตนมี เ พี ย งสองกร แต่ พ ระนารายณ์ มีสี่ ก รตนจึ ง สู้ ไ ม่ไ ด้ ซึ่งก็ไม่ต่างจากคนทั่วไปที่ต้องการความเท่าเทียมและความยุติธรรม พระนารายณ์จึง ๑๔


ท้านนทกว่าชาติหน้าให้ไป เกิดเป็นยักษ์มีสิบเศียร สิบกร แล้วพระองค์จะเกิดเป็นมนุษย์ สองกรตามไปราวี ตามหนังสือพระราชนิพนธ์ว่า " ชาตินี้มึงมีแต่สองหัตถ์ ให้สิบเศียรสิบพักตร์เกรียงไกร มีมือยี่สิบซ้ายขวา กูจะเป็นมนุษย์แต่สองกร

ลงไปอุบัติเอาชาติใหม่ เหาะเหิรเดินอากาศได้ในอัมพร ถือคฑาอาวุธธนูศร ตามไปราญรอนชีวี "

เมื่อนนทกถูกพระนารายณ์ฆ่าแล้ว ก็กลับชาติมาเกิดเป็น “ทศกัณฐ์” ลูกของ ท้ า วลั ส เตี ย น ครองเมื อ งลงกา กั บ นางรั ช ดามเหสี ทศกั ณ ฐ์ มีสิ บ หน้ า ยี่ สิ บ มื อ ตามที่พระนารายณ์พูดไว้ ทศกัณฐ์มีน้องชายชื่อ “กุมภกรรณ”

๑๕


คาถามหลังเรียน คาชี้แจง : ให้นักเรียนเลือกคาตอบที่ถกู ที่สุดจากตัวเลือก ๑. “รามเกียรติ์ เป็นวรรณคดีสาคัญเรื่องหนึ่งของไทย โดยมีต้นเค้าจาก วรรณคดี อินเดีย” คาว่า วรรณคดีอินเดีย คือเรื่องอะไร ก. มหากาพย์รามายณะ ข. มหากาพย์ภารตะ ค. มหากาพย์รามาวตาร ง. สีดาราม ๒. จากคาตอบข้อที่ ๑ ใครคือผู้แต่งวรรณคดีอินเดียที่เป็นต้นเค้าของวรรณคดีเรื่อง รามเกียรติ์ ก. ฤๅษีวาลมิสะ ข. ฤๅษีวาลมิกิ ค. ฤๅษีโคดม ง. ปาณีนิ ๓. รามเกียรติ์ จัดเป็นวรรณคดีประเภทใด ก. เสภา ข. นิราศ ค. เพลงยาว ง. บทละคร ๔. นนทก เมื่อลงมาเกิดบนโลกมนุษย์คือตัวละครใดในวรรณคดีเรื่อง รามเกียรติ์ ก. ทศกัณฐ์ ข. รณพักตร์ ค. พิเภก ง. นนทุก ๕. สารัตถะของวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์ คืออะไร ก. ทุกสรรพสิ่งย่อมแปรผันไปตามกาลเวลา ข. ความรักเป็นสิ่งที่ดี แต่ต้องรู้จักเลือกที่จะรัก ค. ธรรมะย่อมชนะอธรรม ง. ความไม่แนะนอนของชีวิต ๑๖


๖. ตัวละครในข้อใดไม่เกิดจากการสมสู่ตามวิสัยธรรมชาติ ก. พาลี ข. ชมพูพาน ค. หนุมาน ง. สุครีพ ๗. ตัวละครในข้อใดอยู่ฝ่าย อสุรพงศ์ ก. พระสัตรุต ข. พิเภก ค. พระกาฬ ง. รณพักตร์ ๘. อินทรชิต ในวรรณคดีเรื่อง รามเกียรติ มีความหมายว่าอย่างไร ก. ผู้ปราชัยแก่พระอินทร์ ข. ผู้สืบสายโลหิตจากพระอินทร์ ค. ผู้เป็นใหญ่ในสามโลก ง. ผู้มีชัยเหนือพระอินทร์ ๙. “สีดา” แปลว่าอะไร ก. รอยไถ ข. รถไถ ค. คันไถ ง. ดินพรวนไถ ๑๐. อาวุธในข้อใดไม่ใช่อาวุธของ อินทรชิต ก. ศรนาคบาศ ข. ศรพรหมบาสตร์ ค. ศรวิศณุปาณัม ง. ศรอัคนิวาต

๑๗


เฉลยแบบทดสอบ แบบทดสอบก่อนเรียน ข้อที่ คาตอบ ๑ ง ๒ ง ๓ ง ๔ ค ๕ ก ๖ ข ๗ ข ๘ ง ๙ ง ๑๐ ข

แบบทดสอบหลังเรียน ข้อที่ คาตอบ ๑ ก ๒ ก ๓ ง ๔ ก ๕ ค ๖ ค ๗ ง ๘ ง ๙ ก ๑๐ ง

๑๘


นายสิทธิกร นามนุ

ประวัตกิ ารศึกษา ๒๕๕๗ : โรงเรียนละหานทรายรัชดาภิเษก แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ – คณิตศาสตร์ ปัจจุบัน :

วิทยาลัยการฝึกหัดครู มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร สาขาวิชาภาษาไทย หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต (๕ ปี)

ประสบการณ์ ๒๕๕๙ : ปัจจุบนั :

ติวเตอร์ชั่วคราว สถาบัน Advance Genius ติวเตอร์ประจา สถาบัน The Tony Williams Academy

ติดต่อ โทรศัพท์ : ๐๘๒ – ๒๔๗ – ๗๔๓๔ Line ID : Gorn.SF E – mail : Namnu_gorn@outlook.com


อ้างอิง วิเชียร เกษประทุม.(๒๕๕๐).เล่าเรื่องรามเกียรติ์.กรุงเทพฯ : เรืองแสงการพิมพ์. ศุภชัย จันต๊ะนา.(ม.ป.ป).ออนไลน์.แหล่งที่มา : http://www1./ramakian. ๒๑ กันยายน ๒๕๖๐



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.