สารเครือข่าย ฉบับที่ 06 final

Page 1

à¤Ã×Í¢‹ÒÂ

¡ÒÃá¾·Â©Ø¡à©Ô¹

สาร www.niems.go.th

ปที่ 2 : ประจำเดือน ตุลาคม - ธันวาคม พ.ศ. 2559 ฉบับที่

รวมพลังกู้ชีพกู้ภัย

จิตอาสาไทย ใจเป็นหนึ่งเดียว

ส�ำนักประสานการแพทย์ฉุกเฉินและเครือข่ายสัมพันธ์ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ

06


บทบรรณาธิการ “รวมพลังกู้ชีพกู้ภัย จิตอาสาไทย ใจเป็นหนึ่งเดียว” เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ.2559 มีเครือข่าย 350 องค์กร 3,500 คนจากทั่วประเทศ เข้าร่วมประชุมการแพทย์ฉุกเฉิน ขององค์ ก รการกุ ศ ลที่ มี บ ทบาทด้ า นการแพทย์ ฉุ ก เฉิ น ที่ไม่แสวงหาก�ำไร ครั้งที่ 1 ณ บางแสน จังหวัดชลบุรี นับว่า เป็นการรวมพลังของเครือข่ายอาสาสมัครการแพทย์ฉุกเฉิน ครั้งที่ใหญ่ที่สุด นอกจากนี้ ยังมีเรื่องความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงาน ในรถพยาบาล (Ambulance Safety) ที่สามารถลดความ สู ญ เสี ย และท� ำ ให้ สั ง คมเห็ น ความส� ำ คั ญ ต่ อ การอ� ำ นวย ความสะดวกให้ ร ถพยาบาล และวิ ธี บ ริ ห ารจั ด การด้ ว ย “วิถีครูบางานหน้าหมู่กับการพัฒนาการแพทย์ฉุกเฉินของ องค์ ก ารบริ ห ารส่ ว นจั ง หวั ด ล�ำ พู น ” เป็ น อี ก มิ ติ ห นึ่ ง ของ งานการแพทย์ฉุกเฉินของท้องถิ่น และยังมีบทความทางวิชาการ เรื่อง การดูแลผู้บาดเจ็บนอกโรงพยาบาลที่มีภาวะช็อกและ การห้ามเลือด และส่งท้ายด้วยเรื่องการประสานบูรณาการ เมื่อเกิดภัยพิบัติ หวังว่าสารเครือข่าย จะเป็นพื้นที่สื่อสารแลกเปลี่ยน เรียนรู้กับเครือข่ายการแพทย์ฉุกเฉิน หากมีข้อเสนอแนะ เรายินดีพัฒนาและปรับปรุง ให้เป็นประโยชน์ต่อทุกท่าน

คณะที่ปรึกษา

นายแพทย์อนุชา เศรษฐเสถียร นายแพทย์ไพโรจน์ บุญศิริค�ำชัย นายแพทย์ภูมินทร์ ศิลาพันธุ์ นายสุรชัย ศิลาวรรณ นายพรชัย โควสุรัตน์ นายนิพนธ์ บุญญามณี

บรรณาธิการ

นายพิเชษฐ์ หนองช้าง

ผู้ช่วยบรรณาธิการ

นางสาวชฎารัตน์ เกิดเรียน

กองบรรณาธิการ

นายพงษ์พิษณุ ศรีธรรมานุสาร ว่าที่ร้อยเอกอรรณพ สุขไพบูลย์

3 8 10 13 15

สารบัญ รวมพลังกู้ชีพกู้ภัย จิตอาสาไทย ใจเป็นหนึ่งเดียว

วิถีครูบางานหน้าหมู่กับการพัฒนาการแพทย์ฉุกเฉิน ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดล�ำพูน

ความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงานในรถพยาบาล

การดูแลผู้บาดเจ็บนอกโรงพยาบาลที่มีภาวะช็อก และการห้ามเลือด

การประสานบูรณาการเมื่อเกิดภัยพิบัติ

นางนลินรัตน์ เรืองจิรยศ นายบัณฑิต พีระพันธ์ นางนวนันทน์ อินทรักษ์ ว่าที่ร้อยตรีการันต์ ศรีวัฒนบูรพา นางพัชรี รณที นางสาวเทียมจันทร์ ฉัตรชัยกนันท์ นางสาวชฎารัตน์ เกิดเรียน นายทรงศักดิ์ ภูมิสายดร

ติดต่อประสานงาน

email : chadarat.k@niems.go.th


รวมพลังกู้ชีพกู้ภัย

ดร.นพ.ไพโรจน์ บุญศิริคำ�ชัย รองเลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ

จิตอาสาไทย ใจเป็นหนึ่งเดียว

การประชุมการแพทย์ฉุกเฉินขององค์กรการกุศล ที่มีบทบาทด้านการแพทย์ฉุกเฉินที่ไม่แสวงหาก�ำไร ครั้งที่ 1 ณ โรงแรมบางแสน เฮอริเทจ อ�ำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ.2559 มีเครือข่ายเข้าร่วมถึง 350 องค์กร ประมาณ 3,500 คน จากทั่วประเทศ ได้รับผลการตอบรับและ ความเห็นดีมากจากทุกฝ่ายทุกการสื่อสาร ทั้งวิชาการภาคเช้า และสาธิตปฏิบัติการภาคบ่าย หนาแน่นอยู่กันจนเลิก รอรับ ธงแสดงสัญลักษณ์การได้มาร่วมประชุมครั้งที่ 1 เป็นที่ระลึก และสะสมธง นายพรเทพ ผ่องศรี หัวหน้าส�ำนักงานจังหวัดชลบุรี ในนามผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรีกล่าวต้อนรับ ชื่นชมในความเสียสละ ของทุ ก คน นายมนตรี ไตรรั ก ษ์ มู ล นิ ธิ ธ รรมรั ศ มี ม ณี รั ต น์ เจ้ าภาพ กล่ า วรายงานวัตถุป ระสงค์ก ารจัดประชุมเพื่อสร้าง องค์ ค วามรู ้ การแลกเปลี่ ย นเรีย นรู ้ ง านการกู ้ ชี พ กู้ ภั ย สร้ า ง ความเข้มแข็งและความร่วมมือภาคีเครือข่าย พัฒนาการกู้ชีพ กู้ภัย ให้เป็นที่ยอมรับของประชาชนชาวไทยและชาวต่างชาติ ทั้ ง ในภาวะปกติ แ ละภาวะภั ย พิ บั ติ ประธานร่ ว มเปิ ด งาน โดย นายแพทย์อนุชา เศรษฐเสถียร เลขาธิการสถาบัน การแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ นายสุปกิต โพธิ์ปภาพันธ์ รองอธิบดี กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย นายนพดล สันติภากรณ์ กรรมการผู้จัดการบริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถจ�ำกัด รองเสนาธิการกองทัพเรือภาค 1 กรรมการการแพทย์ฉุกเฉินและ ประธานองค์กรเอกชนที่ไม่แสวงหาก�ำไรทุกท่าน โดยพลโทวิทยา วชิรกุล ผอ.ศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติและที่ปรึกษาคณะ ท�ำงานเครือข่ายองค์กรเอกชนที่ไม่แสวงหาก�ำไรได้กล่าวให้ก�ำลังใจ ว่า “ผมพูดได้อย่างเต็มปากจากประสบการณ์ที่ท�ำงานทั้งใน และต่างประเทศ ไม่มีที่อื่นในประเทศใดในโลก ขอชื่นชมงานที่ ท่านท�ำและเสียสละ งานในวันนี้ผมประทับใจอย่างมาก ด้านหลังยืนล้นออกไปยังนอกห้อง สิ่งที่ท่านจะได้รับคือความรู้ จากวิทยากร ความสัมพันธ์ เพื่อนยิ่งมาก ท่านจะท�ำงานยากๆ ได้ง่าย และงานง่ายๆจะไม่มีปัญหาอะไรเลย”

การเสวนาวิชาการ เรื่อง “การสนับสนุนภารกิจองค์กร ภาคเอกชนกับการพัฒนางานกู้ชีพกู้ภัย” โดย ดร.ดล บุญนาค ผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัว กล่าวว่างานกู้ชีพกู้ภัย มีความเสี่ยงสูง รีบเร่งฉุกเฉิน อาจกระทบผู้อื่นเสี่ยงต่อการถูกฟ้อง แม้เจตนาดีแต่ก็ยังไม่มีกฎหมายคุ้มครองเรา การท�ำงานต้องอยู่ ภายใต้กฎหมาย เมื่อเราขึ้นกับสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ จะก� ำ กั บ ดู แ ลเรา สนั บ สนุ น องค์ ค วามรู ้ อุ ป กรณ์ และยั ง มี มาตรการ มีกฎระเบียบ มีวินัย มีการแบ่งเขตงาน เราต้องปฏิบัติตาม แต่ ถ ้ า เราไม่ ป ฏิ บั ติ ต ามสถาบั น การแพทย์ ฉุ ก เฉิ น แห่ ง ชาติ ก็ ส ามารถตั ก เตื อ นและปรั บ ตามความรุ น แรงของโทษได้ ในทางกฎหมาย พลเมืองดีไม่มีความรู้ไม่ช่วยเหลือผู้บาดเจ็บหรือ เข้าไปช่วยทั้งที่ไม่มีความรู้ อาจท�ำให้ผู้บาดเจ็บตายหรือพิการได้ ในทางกฎหมายพลเมืองดีไม่ผิดเพราะมีเจตนาดี ส่วนผู้ที่มีความรู้ ถ้าไม่ช่วยถือว่ามีความผิด ถ้าผู้บาดเจ็บรอดชีวิตก็ดีไป ถ้าผู้บาด เจ็บตายหรือพิการ สามารถฟ้องเอาผิดกับอาสาสมัครและต้น สั ง กั ด ได้ กฎหมายจะอนุ ญ าตให้ ร ถพยาบาลไม่ ต ้ อ งรั บ ผิ ด ตามกฎจราจร แต่ยังต้องรับผิดหากขาดความระมัดระวัง ÊÒÃà¤Ã×Í¢‹Ò ¡ÒÃá¾·Â ©Ø¡à©Ô¹

3


นายแพทย์ ป ราโมทย์ นิล เปรม ผอ.รพ.กรุ ง เทพพิ ษ ณุ โ ลกและเป็ น ผู ้ ช ่ ว ยประธานเจ้ า หน้ า ที่ ป ฏิ บั ติ ก าร ของส่ ว นกลางคื อ บริ ษั ท กรุ ง เทพฯ มอบหมายให้ Setup โรงพยาบาลกรุงเทพในสาขาต่างๆ กล่าวว่า ผมรู้สึกภาคภูมิใจใน อาสากู้ชีพกู้ภัยของเรา จ�ำกรณีลาวด้าแอร์ตกอื้อฉาวไปทั่วโลก มารุมกระฉากทรัพย์ของคนในเครื่องบิน แต่ปัจจุบันนี้แทบไม่มี เก็บไอโฟนคืน เก็บทองเก็บแหวนคืน ทุกท่านมีใจกุศล โมเดล รับบริจาคอย่างเดียว ผมเกรงว่าจะไม่ยั่งยืน การแพทย์ฉุกเฉิน ควรจะเป็น Not for profit คือมีการแสวงหารายได้แต่ไม่เอา ก�ำไร เพื่อให้กิจการหมุนต่อ ไม่ใช่ Non- profit คือไม่แสวงหา ก�ำไรเลย ในโลกธุรกิจถ้าไม่มีจ�ำนวนเม็ดเงินมันอยู่ไม่ได้ ผมรับ นโยบายส่วนกลางมา ต้องให้ความร่วมมือกับภาครัฐและเอกชน อื่นๆ อย่างเต็มที่ การแพทย์ฉุกเฉินเป็นสิ่งที่เราให้เต็มที่เห็น บรรยากาศการอบรมวันนี้ผมคิดว่าต้องมีอย่างไม่หยุดยั้ง การแพทย์ฉุกเฉินจะต้องเดินหน้าไปสู่ความก้าวหน้าและยั่งยืน ภายใต้การน�ำของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ในประเด็น ที่สอง ผมรับค�ำสั่งมาจากส่วนกลางให้ท�ำ CSR เราจะไม่มุ่งไม่เน้น เรื่องของการเอาปลาให้เราต้องสอนให้ตกปลา ต้องเน้นความยั่งยืน บทบาทกาชาด โดยศาสตราจารย์เกียรติคุณนายแพทย์ วงศ์กุลพัทธ์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา สภากาชาดมีสาขาจังหวัดมีการ บริหารจัดการ เรามีโรงพยาบาล 1,000 เตียง ที่จุฬาฯ 500 เตียง ที่ศรีราชา กาชาดห่างไกล ผมมุ่งมั่นพัฒนาหลักสูตร Paramedic ไปกับมูลนิธิกับจิตอาสา ลูกหลานจิตอาสา สามารถยกมาตรฐาน ความสามารถและความก้าวหน้า

4 ¡ÒÃá¾·Â©Ø¡à©Ô¹ ÊÒÃà¤Ã×Í¢‹ÒÂ

และการเสวนา “รวมพลังกู้ชีพกู้ภัย จิตอาสาไทย ใจเป็นหนึ่งเดียว” โดยผู้แทนจากองค์กรเอกชนที่ไม่แสวงหา ก� ำ ไร เสวนาแชร์ ป ระสบการณ์ โดยคุณ ศุ ภ ชั ย หนิ ม พานิช หัว หน้ า บริ ห ารงานกู ้ ภัย มู ล นิธิ ป ระสาทบุญ สถานพิ ษ ณุโ ลก อุปสรรคการอบรม EMTB ให้เพียงพอ ยังขาดการสนั บ สนุ น ไม่มีโครงการ ขาดแคลนครู ก. แม้พยายามหาครูจากจังหวัดอื่น ก็ไม่ได้รับการยอมรับ เราได้ติดต่อโรงพยาบาลกรุงเทพ-พิษณุโลก เขาออกทุนให้ รวมทั้งสถานที่และบุคลากรที่เป็นครูฝึกอบรม อฉช. อบรม FR โรงพยาบาลเอกชนมีความพร้อมและยินดี อยากให้ รัฐรวมทั้งสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติพิจารณาความร่วมมือ ระหว่างโรงพยาบาลเอกชนกับองค์กรเอกชนที่ไม่แสวงหาก�ำไร เป็นแนวทางที่ดี

คุณชาญชัย ศุภวีระกุล หัวหน้าหน่วยกู้ภัยทางน�้ำ ของมูลนิธิฮุก 31 ประเทศไทย ปีหนึ่งมีเด็กต�่ำกว่า 15 ปี จมน�้ำ เสียชีวิต 1,500 รายต่อปี โคราชเป็นแชมป์ของประเทศ เด็กตาย เฉลี่ย 80-90 รายต่อประชากรแสนคน ปี พ.ศ.2555 ผมไปเรียน เป็นวิทยากรองค์กรกลับมาเผยแพร่ความรู้ให้กับจังหวัด สถิติเด็ก จมน�้ำลดลงเรื่อยๆจาก 40 รายต่อปีในปีพ.ศ.2555 เหลือ 18 ราย ในปีที่ผ่านมา ผมได้สร้างเครือข่ายสหสาขาร่วมกับโรงพยาบาล ส�ำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ท้องถิ่น ประชาชน โรงเรียน เพื่อความยั่งยืนท้องถิ่นต้องจัดการแหล่งน�้ำเสี่ยง ลดจมน�้ำ ง่ายสุด ติดป้ายเตือน แขวนอุปกรณ์ ให้ความรู้ สวมชูชีพ ผมได้เสนอ ผลงานทวีปเอเชีย และที่ฟินแลนด์ ผมงมศพมา 23 ปี เป็นพันศพ ไม่ เ คยช่ ว ยชี วิ ต ใครได้ สัก คน ปี ที่แ ล้ ว กระทรวงสาธารณสุข มอบรางวัลให้


นายสฤษดิ์พันธ์ แซ่จัง เจ้าหน้าที่จากมูลนิธิแม่กอเหนี่ยว ยะลา พื้นที่เสี่ยงภัย กล่าวว่า พูดได้เต็มปากว่าเรามาพร้อมกับ สถานการณ์ มาทุกรูปแบบ ใช้ยางรถยนต์ เปลืองมากๆ ที่ไหน ยิงกัน ฆ่ากัน กู้ภัยไปพิมพ์มือ ห่อๆ แล้วก็เก็บ ก่อนจะถึงที่เกิด เหตุเจอตะปูเรือใบ เปลี่ยนยางกันก่อน คันที่ 1 ไป โดน แล้วก็จอด คันที่ 2 เข้าไปการท�ำงานของเราล�ำบากมาก เข้าใกล้อีกหน่อย เจอต้นไม้ขวางถนน เจอป้ายปักเอาไว้ เขียนว่า “ให้เข้าได้เฉพาะ ก�ำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และกู้ภัย ถ้าต�ำรวจ ทหารเข้ามา กูยิง” ระเบิดเรียกแขก เจอระเบิดลูกใหญ่ เจ็บเยอะ ผู้กล้าของเราศพ ไม่สวย ล่าสุดคาร์บอมปัตตานี เป็นรถ รพ.สต. รถพยาบาล มีไซเรนพี่น้องกู้ภัยเรา ระเบิดไล่แขก อยากฝากถึงผู้มีอ�ำนาจให้ เขียนหลักสูตรอบรมเรื่องระเบิดให้กู้ภัยทั่วประเทศ ฝากอีกนิด ไม่ ต ้ อ งเชิ ญ พยาบาลไป เพราะที่ เ กิ ด เหตุ โ รงพยาบาลไม่ อ อก พี่น้องผมเท่านั้นที่เสี่ยงชีวิต และขอสนับสนุนรถน�้ำ ถ้าไม่มีบ้าน ที่อยู่อาศัยมา 50 ปี ถูกเผาวอด กู้ภัยถึงก่อนได้ใช้แน่นอน พื้นที่พิเศษห่างไกลติดต่ออุทยานแห่งชาติที่มีนักท่องเที่ยว ทั้งชาวไทยและต่างประเทศ โดยคุณสุวรรณ อุตะมะแก้ว ผอ.รพ.สต. ตัวแทนชมรมกู้ชีพปิดทองหลังพระดอยอ่างขาง เป็นทีมกู้ชีพ ปิ ดทองหลั ง พระดอยอ่างขาง เริ่มท�ำงานตั้ง แต่ป ี พ.ศ.2541 เริ่มต้น 2 คน 18 ปีผ่านมาเพิ่มเป็น 13 คน มีนักท่องเที่ยวมากขึ้น ทีมอ่างขางได้เติบโตในรอบ3ปีนี้เพิ่มเป็น 200 คน แม้ยากล�ำบาก ขนาดไหนเราก็ไม่กลัว ทุกคนมีหัวใจเสียสละ

ในอดีตภาพลักษณ์กู้ภัยฆ่ากันตีกัน ขโมยของเหยื่อ ปัจจุบันมีการจัดระเบียบทุกองค์กร โดยเฉพาะคุณมนตรี ไตรรักษ์ ประธานหน่ ว ยกู ้ ภั ย มู ล นิ ธิ ธ รรมรั ศ มี ม ณี รั ต น์ ได้ ก ล่ า วถึ ง ความจ� ำ เป็ น ที่ ต ้ อ งยกระดั บ มาตรฐานในการกู ้ ภั ย ให้ เ ป็ น ที่ยอมรับของสังคม การมีระเบียบวินัยเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ต้องมี ในองค์กร ตั้งแต่เครื่องแบบการแต่งกายที่ทางหน่วยได้พยายาม ท�ำเพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีในการปฏิบัติหน้าที่ทุกครั้ง เพื่อสร้าง ความน่าเชื่อถือให้ผู้ได้รับบาดเจ็บว่าบุคคลที่ได้เข้าไปช่วยเหลือ เป็นใคร มาจากไหน ผู้บาดเจ็บก็จะได้มั่นใจว่าจะปลอดภัยขึ้น เมื่อนักกู้ภัยเข้ามาถึงหน่วยงานพยายามปลูกฝังให้ทางเจ้าหน้าที่ ประจ�ำและอาสาสมัคร ต้องปฏิบัติในทุกเหตุการณ์ องค์กรเอกชนที่ไม่แสวงหาก�ำไร จากผู้เรียนเป็นผู้สอน เราได้สอนประชาชนที่สนใจสมัครเข้ามาเรียนทุก 2 สัปดาห์ ปัจจุบันก�ำลังยกระดับขึ้นมาเป็นหน่วยฝึกอบรม โดยคุณสุรพล พูลเกตุ หัวหน้าหน่วยกู้ชีพมูลนิธิป่อเต็กตึ๊งกล่าว คณะกรรมการ ได้แต่งตั้งคณะท�ำงานด้านฝึกอบรมขึ้น เพื่อพัฒนาผู้ฝึกอบรม ได้ประสานกับสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ กรมป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัย เพื่อยกระดับรับรองให้ป่อเต็กตึ๊งเป็น หน่วยฝึกอบรมทั้ง EMR และ EMTB เพื่อแบ่งเบาภาระของภาครัฐ เปิ ด ให้ ทุก มูล นิ ธิที่ส ่ ง คนมาอบรมในหลัก สูต รต่ า งๆ ได้ โ ดย ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ เพื่อที่องค์กรการกุศลของประเทศไทย ทั้งหมดได้พัฒนาไปด้วยกัน

ÊÒÃà¤Ã×Í¢‹Ò ¡ÒÃá¾·Â ©Ø¡à©Ô¹

5


นายบุญเสริม ศุภศรี ผู้แทนจากมูลนิธิร่วมกตัญญู กล่าวว่า ในนามขององค์กรร่วมกตัญญูซึ่งมีหลายสาขา ได้มีส่วนรวมเป็น คณะกรรมการของระบบการแพทย์ผลักดันการพัฒนาบุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งที่ผ่านมาต้องเสียค่าเรียนยังค่อนข้างสูง ทางมูลนิธิ ร่วมกตัญญูเองได้มีโอกาสไปให้ความรู้แก่อาสาสมัครบางจังหวัด การพัฒนาบุคลากร โดยนายพลเสฎบฐ์ เลาหกรรณวนิช มูลนิธิสว่างเบญจธรรม กล่าวว่าจริงๆแล้วมูลนิธิทั่วประเทศไทยก็คือ ช่วยเหลือคนเจ็บ เก็บคนตาย ความสูญเสียบนท้องถนนรุนแรงมากขึ้น เราต้องท�ำงานในเชิงป้องกันมากขึ้นเพื่อลดการสูญเสียจาก การเกิดอุบัติเหตุ เราได้รับโอกาสเขียนโครงการเข้าไปสู่ส�ำนักงานสร้างเสริมสุขภาพแห่งชาติ (สสส.) เพื่อรับรองคนท�ำงานป้องกัน ในเชิงป้องกันมากขึ้นปัจจุบันมี 17 องค์กร โดยทางมูลนิธิสว่างเบญจธรรมเป็นวิทยากรหลักให้กับโครงการนักกู้ชีพการสื่อสาร สถานการณ์เพื่อความปลอดภัยบนท้องถนน

การพัฒนาระบบที่มีคุณภาพมากขึ้น โดยนายสุเทพ ณั ฐ กานต์ ก นก ประธานมู ล นิ ธิส ว่ า งเมตตาธรรมสถาน นครราชสีมา “เรามีพนักงาน EMT-B ถึง 40 คน ปัจจุบันเราได้ พัฒนารถยนต์ร่วมกับโรงพยาบาลมหาราช ได้รับการสนับสนุน จากทางหน่วยราชการ (อบจ.) เป็นระบบเทเลกราฟฟิคเมดดิซีน โดยสามารถสื่อสารกับแพทย์ที่โรงพยาบาลได้ เห็นผู้ป่วยบน รถพยาบาล เห็นข้อมูลทางการแพทย์ผ่านอุปกรณ์ที่สื่อสาร ทางไกล ระบบสามารถค�ำนวณเวลาการน�ำส่งผู้ป่วย มีระบบนี้ ติดรถพยาบาล 28 อ�ำเภอ รวมทั้งมูลนิธิสว่างเมตตาธรรมสถาน เป็นต้นแบบ” ในภาคบ่ายหลังรับประทานอาหาร (โต๊ะจีน) อิ่มท้องแล้ว เคลื่อนคนเข้าสู่การชมสาธิตปฏิบัติการโดยมีเวทีกลางแจ้ง สนทนาธรรมโดยพระมหาสมปอง ร่วมกับ ศิลปิน จิ้ม ชวนชื่น คู่ขนานไปพร้อมกับการชมบู๊ทนิทรรศการต่างๆเรียงรายพื้นที่ ถนนและชายหาดอย่างกว้างขวาง เริ่มจากสาธิตการช่วยเหลือ ผู้ประสบเหตุทางน�้ำด้วยอากาศยาน(เฮลิคอปเตอร์) โดยมูลนิธิ สว่างพร ระยอง มูลนิธิฮุก 31 มูลนิธิร่มไทร หน่วยฉลามขาว และ กองทัพเรือ ตามด้วยสาธิตการช่วยเหลือผู้ประสบเหตุที่ติดบน

6 ¡ÒÃá¾·Â©Ø¡à©Ô¹ ÊÒÃà¤Ã×Í¢‹ÒÂ

อาคารสูง โดย มูลนิธิร่วมกตัญญู มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง และการช่วยเหลือ ผู้ประสบภัยจากอุบัติเหตุทางบก โดยมูลนิธิสว่างเบญจธรรม มูลนิธิธรรมรัศมีมณีรัตน์ การสาธิตเป็นไปอย่างอลังการ ท�ำกัน อย่างเต็มที่ ชมกันอย่างจุใจ ประทับใจมากๆ เป็นการรวมพล คนกู้ชีพกู้ภัยโดยแท้ สุดท้ายเมื่อเวทีการแสดงและดนตรีสลับกับ การมอบของรางวัลเป็นไปอย่างต่อเนื่อง งานที่ยิ่งใหญ่ เป็นความ ทรงจ�ำที่ดีมีคุณค่า ก่อนจะแยกย้ายกันกลับภูมิล�ำเนาพร้อมกับธง ที่ระลึกที่เป็นพันธะสัญญาว่าเราจะกลับมาพบกันใหม่ในปีหน้าครับ


ÊÒÃà¤Ã×Í¢‹Ò ¡ÒÃá¾·Â ©Ø¡à©Ô¹

7


วิถีครูบางานหน้าหมู่กับการพัฒนาการแพทย์ฉุกเฉินของ

องค์การบริหารส่วนจังหวัดล�ำพูน ก

ารพัฒนาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินจังหวัดล�ำพูน โดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดล�ำพูน ดร.นิรันดร์ ด่านไพบูลย์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดล�ำพูน ได้ให้ความส�ำคัญกับการ ด�ำเนินงานด้านสาธารณสุข โดยบูรณาการการท�ำงานร่วมกับ หน่วยงานสาธารณสุขในจังหวัดล�ำพูน และเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อส่งเสริมพัฒนาและแก้ไขปัญหาสุขภาพร่วมกันในระดับพื้นที่ ประกอบกับผู้บริหารองค์การบริหารส่วนจังหวัดล�ำพูน เล็งเห็น ความส�ำคัญของการดูแลชีวิต และการส่งต่อเข้ารับการรักษา พยาบาลของประชาชน ซึ่ ง เป็ น การลดอั ต ราความพิ ก าร การเสียชีวิต โดยการสนับสนุนการด�ำเนินงานร่วมกันของ ทุกภาคส่วน จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการด�ำเนินงาน งค์การบริหารส่วนจังหวัดล�ำพูน ได้เริ่มด�ำเนินการ ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 โดยการจัดซื้อรถปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินพร้อมอุปกรณ์ ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีความพร้อม จ�ำนวน 20 คัน ซึ่งเป็นการบูรณาการการท�ำงานร่วมกันระหว่างองค์การบริหาร ส่วนจังหวัดล�ำพูน สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ส�ำนักงาน สาธารณสุขจังหวัดล�ำพูน โรงพยาบาลล�ำพูน และองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น จ�ำนวน 20 แห่ง เพื่อน�ำรถปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉิน ไปช่วยเหลือผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินหรือผู้ได้รับอุบัติเหตุฉุกเฉินในพื้นที่

8 ¡ÒÃá¾·Â©Ø¡à©Ô¹ ÊÒÃà¤Ã×Í¢‹ÒÂ

ายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดล�ำพูน ได้เล็งเห็น ความส�ำคัญของการด�ำเนินงาน จึงมอบนโยบายพร้อมสนับสนุน ให้คณะผู้บริหาร บุคลากรได้ศึกษาดูงานการด�ำเนินงานระบบ บริการการแพทย์ฉุกเฉินในจังหวัดที่มีผลการด�ำเนินงานเป็นที่ ประจักษ์ คือ องค์การบริห ารส่ว นจังหวัดอุบลราชธานี และ องค์ ก ารบริ ห ารส่ ว นจัง หวัด สงขลา เพื่อ เรีย นรู้ ก ระบวนการ ด�ำเนินงานระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน การสนับสนุน รถปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินพร้อมอุปกรณ์ และการจัดตั้ง ศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการจังหวัด ท�ำให้มองเห็นภาพการ จัดการปัญหาและการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ เป็น การลดอัตราการเสียชีวิต และลดค่าใช้จ่ายในการดูแล ในทุกภาค ส่วนทั้งระดับครอบครัว หน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน ดยในปีงบประมาณ 2558 องค์การบริหารส่วนจังหวัด ล�ำพูน ได้พัฒนาต่อยอดการด�ำเนินงานระบบบริการการแพทย์ ฉุกเฉิน ในการจัดซื้อรถปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินพร้อม อุปกรณ์ ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จ�ำนวน 7 แห่ง โดยการ บูรณาการการท�ำงานร่วมกันของทุกภาคส่วน ประกอบกับ


สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ได้เล็งเห็นศักยภาพใน การด�ำเนินงานขององค์การบริหารส่วนจังหวัดล�ำพูนในการ จัดตั้งศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน จังหวัดล�ำพูน โดยการบูรณาการการท�ำงานร่วมกับส�ำนักงาน สาธารณสุขจังหวัดล�ำพูน และโรงพยาบาลล�ำพูน โดยได้มีการ ลงนามบันทึกความร่วมมือ เรื่อง การพัฒนาระบบบริการ ด้านการแพทย์ฉุกเฉินจังหวัดล�ำพูน ระหว่าง องค์การบริหารส่วน จังหวัดล�ำพูน โดยนายนิรันดร์ ด่านไพบูลย์ นายกองค์การบริหาร ส่วนจังหวัดล�ำพูน ส�ำนักงานสาธารณสุขจังหวัดล�ำพูน โดยนาย แพทย์ปัจจุบัน เหมหงษา นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดล�ำพูน และสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ โดยนายแพทย์อนุชา เศรษฐเสถียร เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2559 โดย องค์การบริหารส่วนจังหวัดล�ำพูน มีบทบาทหน้าที่จัดตั้งศูนย์รับแจ้งเหตุและจ่ายงานการแพทย์ฉุกเฉิน และด�ำเนินงานบริหารจัดการระบบการแพทย์ฉุกเฉินก่อนถึง

โรงพยาบาลในพื้นที่จังหวัดล�ำพูน และได้ย้ายศูนย์รับแจ้งเหตุ และสั่ ง การจั ง หวัด จากโรงพยาบาลล�ำ พู น มาปฏิบั ติ ง าน ณ องค์การบริหารส่วนจังหวัดล�ำพูน เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2559 โดยมี แ นวทางการด� ำ เนิ น งานโดยใช้ วิ ถี แ ห่ ง ศรั ท ธา “วิถีครูบางานหน้าหมู่” ร่วมคิด ร่วมแรง ร่วมทุน ร่วมรับผิดชอบ ร่วมรับผลประโยชน์และร่วมดูแลรักษาในเบื้องต้น องค์การ บริหารส่วนจังหวัดล�ำพูน สนับสนุนอาคารศูนย์รับแจ้งเหตุและ สั่งการ ครุภัณฑ์วัสดุอุปกรณ์ส�ำนักงาน ระบบและวัสดุอุปกรณ์ การสื่อสาร ส�ำนักงานสาธารณสุขจังหวัดล�ำพูน สนับสนุน การพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉิน โรงพยาบาลล�ำพูนสนับสนุน บุคลากร โดยสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ คาดหวังว่า ศู น ย์ รั บ แจ้ ง เหตุ แ ละสั่ ง การจั ง หวั ด ล� ำ พู น องค์ ก ารบริ ห าร ส่ ว นจั ง หวั ด ล� ำ พู น จะเป็ น ศู น ย์ รั บ แจ้ ง เหตุ แ ละสั่ ง การที่ มี ประสิท ธิภ าพ ทุก ระบบในการช่ ว ยเหลือ ผู้ เ จ็บ ป่ ว ยฉุก เฉิน ของจังหวัดล�ำพูน

ÊÒÃà¤Ã×Í¢‹Ò ¡ÒÃá¾·Â ©Ø¡à©Ô¹ 9


ความปลอดภัยของผู ้ปฏิบัติงานในรถพยาบาล

(Ambulance Safety) นายธีระ ศิริสมุด พนักงานอาวุโสงานวิจัยและพัฒนา นายศิริชัย นิ่มมา ผู้จดั การงานบริหารทั่วไป

ช่วง 3-5 ปีที่ผ่านมา สถาบันการแพทย์ ฉุกเฉินแห่งชาติ เล็งเห็นปัญหาและความ สูญเสียที่เกิดจากอุบัติเหตุรถพยาบาล และให้ ความส�ำคัญกับความปลอดภัยผู้ปฏิบัติงาน อย่างเป็นรูปธรรมเรื่อยมา นพ.อนุชา เศรษฐเสถียร เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ได้ก�ำหนดประเด็นด้านการคุ้มครองผู้ปฏิบัติงาน ในระบบการแพทย์ฉุกเฉิน ให้เป็นนโยบายหนึ่ง เพื่อส่งเสริมให้ผู้ปฏิบัติการแพทย์ฉุกเฉิน โดย เฉพาะผู้ที่ต้องปฏิบัติงานด้วยความยากล�ำบาก และต้องแบกรับความเสี่ยงขณะปฏิบัติงานอยู่บนรถพยาบาลและรถปฏิบัติการแพทย์ ฉุกเฉินทุกประเภทให้มีความปลอดภัยมากที่สุด โดยก�ำหนดประเด็นเรื่องการ “คุ้มครอง” เป็นหนึ่งในนโยบาย 5 ค ได้แก่ ความครอบคลุม คล่องแคล่ว ครบพร้อม 24 ชั่วโมง คุณภาพ และการคุ้มครอง นั้นเอง

10 ¡ÒÃá¾·Â©Ø¡à©Ô¹ ÊÒÃà¤Ã×Í¢‹ÒÂ


ตั้งแต่ปี พ.ศ.2557 สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งขาติ มีมาตรการ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยทั้งผู้ปฏิบัติงานและผู้ร่วมโดยสารหลายประการ หนึ่งในมาตรการที่ส�ำคัญ คือ การรวบรวมข้อมูลการเกิดอุบัติเหตุรถพยาบาล และการสอบสวนอุบัติเหตุรถพยาบาล ร่วมกับภาคีเครือข่ายทั้งระดับส่วนกลาง และพื้นที่ ซึ่งในปี พ.ศ. 2557 พบว่ามีอุบัติเหตุรถพยาบาลเกิดขึ้น จํานวน 61 ครั้ง มีผู้เสียชีวิต 19 คน เป็นรถในระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน (EMS) 31 ครั้ง และเป็นรถพยาบาลในระบบส่งต่อ (Refer) 30 ครั้ง และจากการ ศึกษาวิจัยสาเหตุและปัจจัยที่ท�ำให้เกิดอุบัติเหตุรถพยาบาล มีดังนี้

• ทุกคนไม่เคยผ่านการอบรมหลักสูตรขับรถพยาบาล • ทุกคนไม่เคยผ่านการฝึกอบรม FR มีใบขับขี่ทั่วไป • บางคนยังไม่ขึ้นทะเบียนในระบบการแพทย์ฉุกเฉิน • ส่วนใหญ่ขับรถใช้ความเร็วมากกว่า 90 กม./ชม. • บางคนใช้ความเร็วตอนเข้าโค้ง ในชุมชน พนักงาน • พขร./ผู้โดยสารส่วนใหญ่ไม่คาด ขับรถ เข็มขัดนิรภัย

• รถตู้บางคันดัดแปลงเป็นรถพยาบาลไม่ได้มาตรฐาน • หลายคันขาดการตรวจสภาพมากกว่า 2 ปี • บางคันมีอายุใช้งานมากกว่า 10 ปี • บางคันมีปัญหาการบังคับพวงมาลัย ปัญหาระบบเบรค รถพยาบาล เครื่องมือ อุปกรณ

ขณะใช้ความเร็วสูง

สาเหตุ/ปจจัย

• บางกรณีเกิดเหตุที่มีตลาดนัด

สังคม วัฒนธรรม

ช่วงผู้คนเริ่มใช้เส้นทางบริเวณนั้น • มีบางเหตุการณ์เกิดเหตุบริเวณ ใกล้โรงงาน/ช่วงเลิกงาน ช่วงที่การจราจรคับคั่ง • มีบางกรณีระบุถนนที่ใช้ขนถ่ายผลผลิตทางการเกษตร มีเศษผลผลิตการเกษตรตกเกลื่อนบนพื้น

จากข้อมูลอุบัติเหตุและสาเหตุหรือปัจจัยของการเกิด อุบัติเหตุรถพยาบาลครั้งนี้ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ได้ส่งเสริมและพัฒนามาตรการเพื่อให้ทุกชีวิตปลอดภัยใน รถพยาบาล โดยได้ด�ำเนินงานร่วมกับภาคีเครือข่ายการแพทย์ ฉุกเฉินต่างๆ ตั้งแต่ ปี พ.ศ.2557 จนถึงปัจจุบันอย่างจริงจัง อาทิ มูลนิธิ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงสาธารณสุข ตลอดจน หน่ ว ยงานภาครั ฐ และเอกชนต่างๆ มีกิจ กรรมหรือมาตรการ ประกอบด้วย 1. การจัดท�ำหลักสูตรและการรณรงค์ฝึกอบรมพนักงาน ขับรถพยาบาล รถปฏิบัติการฉุกเฉินขับขี่ปลอดภัย 2. สร้างเครือข่าย และรณรงค์ติดตั้งระบบ GPS ใน รถพยาบาล ร่วมกับภาคี เครือข่ายทั่วประเทศ 3. จัดแข่งขันเพิ่มทักษะการขับรถพยาบาลปลอดภัย ระดับชาติ หรือ Ambulance Safety Rally ร่วมกับภาคี เครือข่าย

สิ่งแวดลอม กายภาพ

• ส่วนใหญ่เกิดถนนสายหลัก นอก

ชุมชนและใช้ความเร็วในการขับรถได้ • ถนนที่เกิดเหตุส่วนใหญ่เป็นแบบเลนคู่ รถสามารถวิ่งสวนเลน กันได้ บางกรณีสถาพถนนเป็นหลุม บ่อ • บางกรณีเกิดบนเขา ทางโค้ง • เหตุการณ์ส่วนใหญ่เกิดช่วงบ่าย

4. พัฒนาแนวทางการสอบสวนอุบัติเหตุรถพยาบาล (Ambulance Accidental Investigation) และส่งเสริมให้ภาคี เครือข่ายสอบสวนอุบัติเหตุรถพยาบาล รวมทั้งเฝ้าระวังติดตาม รวบรวมข้อมูลการเกิดอุบัติเหตุรถพยาบาลอย่างต่อเนื่อง 5. ศึกษา ค้นคว้า วิจัย แนวทางเพิ่มความปลอดภัยใน รถพยาบาล เช่น การออกแบบ Safety Ambulance ร่วมกับภาคีฯ การค้นหามาตรการความปลอดภัยเพิ่มเติม เป็นต้น 6. รณรงค์ประชาสัมพันธ์เรื่องหลีกทางให้รถพยาบาล ÊÒÃà¤Ã×Í¢‹Ò ¡ÒÃá¾·Â ©Ø¡à©Ô¹

11


จากมาตรการ และการรณรงค์ส่งเสริมของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ร่วมกับภาคีเครือข่ายอย่างต่อเนื่องนี้ ท�ำให้มี มาตรการความปลอดภัยรถพยาบาลในภาพของประเทศที่ชัดเจน เป็นรูปธรรม ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศมาตรการ รถพยาบาลปลอดภัย 5 ข้อ ได้แก่ 1) จัดหาหรือติดตั้งอุปกรณ์ความปลอดภัยตามเกณฑ์ เช่น เข็มขัดประจ�ำที่นั่ง 2) ติดตั้งระบบติดตาม GPS 3) ติดตั้งระบบสื่อสารสัญญาภาพกล้อง CCTV เพื่อติดตามการขับรถ 4) ติดตั้งระบบสื่อสารสัญญาภาพเพื่อติดตามอาการผู้ป่วย และ 5) โครงสร้างตัวถังต้องแข็งแรง มีการก�ำหนดคุณลักษณะพนักงานขับรถ ดังนี้ 1) ต้องตรวจแอลกอฮอล์และระดับแอลกอฮอล์ จากลมหายใจต้องเป็น 0 ก่อนขับรถ 2) ตรวจสารเสพติด 2 ครั้ง/ปี 3) ทดสอบสุขภาพจิต1 ครั้ง/ปี 4) มีช่วงเวลาขับรถไม่เกิน ก�ำหนด 4 ชั่วโมง และมีเวลาพัก 5) พนักงานขับรถต้องผ่านการอบรมและประสบการณ์ เรื่องการขับรถพยาบาล การดูแลผู้ป่วยฉุกเฉิน เบื้องต้น และ Simulator สถานการณ์ต่างๆ โดยพนักงานขับรถต้องมีวินัยส�ำคัญ 3 ประการ คือ 1) การขับรถกรณีมีผู้ป่วยบนรถ จ�ำกัด ความเร็ว 80 กม./ชม. หรือไม่เกินที่กฎหมายก�ำหนด 2) ยึดกฏจราจรอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะไม่ฝ่าไฟแดง และ 3) ถือปฏิบัติ หลักการขับขี่ปลอดภัยตลอดเวลา ส�ำหรับด้านการเก็บรวบรวมข้อมูล กระทรวงฯ ให้ส�ำนักงานสาธารณสุขจังหวัด หรือ Trauma & Emergency Administraticon Unit (TEA Unit) ในโรงพยาบาลด�ำเนินการสอบสวนสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุรถพยาบาลให้ แล้วเสร็จภายใน 1 สัปดาห์หลังเกิดอุบัติเหตุ นอกจากนั้นได้ระบุหลักการคุ้มครองขั้นพื้นฐานที่ต้องมีส�ำหรับการจัดท�ำประกันภัย รถยนต์ราชการ (รถพยาบาล) ประเภท 1 กรณีเกิดอุบัติ ซึ่งระบุความคุ้มครองและวงเงินเอาประกันภัย ทั้งรถพยาบาลและบุคคล ภายในรถอย่างชัดเจน ปัจจุบันภาพการเกิดอุบัติเหตุและการสูญเสียลดลงอย่างต่อเนื่อง ทั้งจ�ำนวนครั้งที่เกิด จ�ำนวนผู้บาดเจ็บ เสียชีวิต หรือแม้แต่ ลักษณะการปฏิบัติงาน ดังตาราง

ปี

จ�ำนวน (ครั้ง)

เสียชีวิต (คน)

2557

61

19

130

30

31

2558

42

9

104

29

13

2559 (ณ 30 มิ.ย.59)

25

3

48

17

8

แต่อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ตัวเลขต่างๆ เหล่านี้จะลดลง ซึ่งไม่ว่าจะเป็นเพราะมาตรการใดๆ จากหน่วยงานไหนก็ตาม สพฉ. และภาคีเครือข่าย ก็จะต้องด�ำเนินการมาตรการที่มีอยู่ให้ เข้มข้นต่อเนื่อง และศึกษา ค้นคว้าหามาตรการอื่นๆ รวมทั้ง ประสานการท�ำงานกับภาคี เครือข่ายเพิ่มมากขึ้น เพื่อให้เกิด ความปลอดภัยสูงสุดแก่ผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งสิ่งควรต้องด�ำเนินการต่อไป อาจจะต้องเน้นรณรงค์ ส่งเสริม สนับสนุนและหามาตรการเชิง กฏหมาย กฏบังคับ เพื่อให้ประชาชนหลีกทางให้รถพยาบาล ผลักดันให้ พนักงานขับรถพยาบาล มีใบขับขี่เฉพาะ (มีการอบรม จากหน่วยงานของกระทรวงสาธารณสุข หรือใบอนุญาตจากกรม การขนส่ง) ต้องประกาศและใช้กฏความปลอดภัยอย่างแท้จริง สร้างความเข้าใจที่ถูกต้องและปรับทัศนคติการขับรถเร็ว/เกิน ก�ำหนด กับ พขร. รวมทั้งมีการเยียวยาให้กับผู้ประสบภัยด้วย

12 ¡ÒÃá¾·Â©Ø¡à©Ô¹ ÊÒÃà¤Ã×Í¢‹ÒÂ

ผู้บาดเจ็บ (คน) รถ REFER (ครั้ง)

รถ EMS (ครั้ง)


การดูแลผู้บาดเจ็บนอกโรงพยาบาลที่มีภาวะช็อกและการห้ามเลือด

Pre-hospital Trauma Management : Circulation and Bleeding control ผู้ช่วยศาสตราจารย์นายแพทย์ไชยพร ยุกเซ็น คณะแพทย์ศาสตร์รามาธิดี มหาวิทยาลัยมหิดล

การเสียเลือดเป็นสาเหตุส�ำคัญของการเสียชีวิติของ ผู้ป่วยอุบัติเหตุนอกโรงพยาบาล การที่ผู้บาดเจ็บได้รับการ วินิจฉัยที่ถูกต้อง การช่วยชีวิต (resuscitation) อย่างรวดเร็ว และการน�ำส่งผู้บาดเจ็บไปยังศูนย์อุบัติเหตุที่เหมาะสมอย่าง รวดเร็วเพื่อท�ำการผ่าตัดหยุดเลือดจะให้ลดอัตราการตายและ ความพิการที่เกิดขึ้นในผู้ป่วยกลุ่มนี้ อวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายมีความสามารถในการทน ต่อการขาดเลือดได้แตกต่างกัน เช่น หัวใจ สมอง ปอด สามารถ ทนการขาดเลือดได้เพียง 4 ถึง 6 นาทีเท่านั้น ในขณะที่ ไต ตับ ทางเดินอาหาร สามารถทนการขาดเลือดได้เพียง 45 ถึง 90 นาที ส่วนอวัยวะที่ไม่ส�ำคัญ เช่น กล้ามเนื้อ กระดูกและผิวหนัง สามารถทนการขาดเลือดได้ถึง 4 ถึง 6 ชั่วโมง ค�ำจ�ำกัดความของช็อก (Shock) ไม่ได้หมายความถึง การมีความดันโลหิตที่ต�่ำลง อัตราการเต้นของหัวใจที่เพิ่มขึ้น ตัว เย็น ซีด เพียงเท่านั้น แต่ค�ำจ�ำกัดความจริง ๆ ของภาวะช็อก คือ การที่เลือดไปเลี้ยงยังเนื้อเยื่อส่วนต่าง ๆ ได้ลดลงท�ำให้เกิด กระบวนการสร้างพลังงานของเนื้อเยื่อแบบไม่ใช้ออกซิเจน (anaerobic metabolism) ท�ำให้เนื้อเยื่อขาดพลังงานและมี ของเสียเกิดขึ้นจนเกิดการสูญเสียการท�ำงานในที่สุด สาเหตุของภาวะช็อกที่พบบ่อยในผู้บาดเจ็บอาจแบ่งได้ เป็น 3 ชนิด ได้แก่ 1. Hypovolemic shock หมายถึง ช็อกที่เกิดจากการ สูญเสียน�้ำหรือเลือด ซึ่งส่วนมากมักเป็นช็อกที่เกิดจากการเสีย เลือด (Hemorrhagic shock) 2. Distributive shock หมายถึง ช็อกที่เกิดจากมีการขยาย ขนาดของหลอดเลือดให้ใหญ่ขึ้นโดยที่มีปริมาณน�้ำเลือดเท่าเดิม มักพบในผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บของไขสันหลัง (Spinal cord injury) ซึ่งอาจเรียกว่า กลุ่ม Neurogenic shock ซึ่งอาการช็อกเกิดจาก การที่ระบบประสาท Sympathetic ถูกรบกวน ท�ำให้สูญเสีย ความสามารถในการควบคุมให้มีการหดตัวของหลอดเลือด 3. Cardiogenic shock หมายถึง ช็อกที่เกิดจากความ สามารถในการบีบตัวของหัวใจลดลง ซึ่งอาจจะเกิดจากสาเหตุ ภายนอกหัวใจ เช่น Cardiac Tamponade (ภาวะที่มีเลือดออก ในเยื่อหุ้มหัวใจจนเกิดการบีบรัดท�ำให้หัวใจไม่สามารถเต้นได้ตามปกติ จนท�ำให้ความดันโลหิตลดต�่ำลง) Tension Pneumothorax (ภาวะที่มีลมอยู่ในเยื่อหุ้มปอดปริมาณมากจนดัน Mediastinum ให้เอียงไปด้านตรงข้าม จนท�ำให้เส้นเลือดด�ำใหญ่ที่รับเลือดกลับ เข้าสู่หัวใจ (Inferior Vena Cava) ตีบงอจนเลือดด�ำกลับเข้าสู่ หัวใจน้อยลง ท�ำให้ความดันโลหิตลดลง) หรือเกิดจากสาเหตุ ภายในตัวของหัวใจเอง เช่น การบาดเจ็บของกล้ามเนื้อหัวใจ หรือลิ้นหัวใจ เป็นต้น

ภาวะช็อกจากการเสียเลือด (Hemorrhagic shock) ร่างกายของคนปกติในผู้ใหญ่จะประกอบด้วยเลือด ประมาณ 7% ของน�้ำหนักตัว เช่น ผู้ป่วยหนัก 60 กิโลกรัม จะมี ปริมาณเลือดประมาณ 4,200 มิลลิลิตร หรือประมาณ 4 ลิตร เป็นต้น ส่วนในผู้ป่วยเด็กจะมีเลือดได้ 8-9% ของน�้ำหนักตัว การ ประเมินภาวะช็อกที่เกิดจากการเสียเลือด สามารถแบ่งออกได้ เป็น 4 ระดับ คือ Class I (เสียเลือดประมาณ 15% ของปริมาณเลือด ทั้งหมด หรือประมาณ 750 มล.) อาจตรวจไม่พบความผิดปกติ ชีพจรอาจเต้นเร็วขึ้นได้เล็กน้อย โดยไม่มีความเปลี่ยนแปลงของ ความดันโลหิต อัตราการหายใจ และ Pulse pressure ซึ่ง ผู้ป่วยในกลุ่มนี้จะมีความสามารถในการปรับตัวต่อการเสียเลือด ได้ภายใน 24 ชั่วโมง การรักษาผู้ป่วยกลุ่มนี้ คือ การให้สารน�้ำ เป็น Crystalloid โดยไม่มีความจ�ำเป็นต้องให้เลือด (Blood transfusion) ร่วมด้วย Class II (เสียเลือดประมาณ 15-30% ของปริมาณ เลือดทั้งหมดหรือ ประมาณ 750-1,500 มิลลิลิตร) อาจตรวจพบ การเต้นของหัวใจเร็วขึ้นมากกว่า 100 ครั้งต่อนาที การหายใจเร็วขึ้น ประมาณ 20-30 ครั้งต่อนาที และมีการลดลงของ Pulse pressure ในการเสียเลือด class II จึงประเมินจากการเต้นของ หัวใจที่เพิ่มขึ้นและ Pulse pressure ที่แคบลงเป็นส�ำคัญ ผู้ป่วย กลุ่มนี้สามารถดีขึ้นด้วยการให้ Crystalloid เพียงอย่างเดียว Class III (เสียเลือดประมาณ 30-40% ของปริมาณ เลือดทั้งหมดหรือประมาณ 1,500 - 2,000 มิลลิลิตร) ผู้ป่วยกลุ่ม นี้อาจตรวจพบอัตราการเต้นของหัวใจที่เร็วขึ้นมากกว่า 100 ครั้ง ต่อนาที อัตราการหายใจที่เร็วขึ้น มีการเปลี่ยนแปลงของระดับ ความรู้ตัว และมีการลดลงของความดันโลหิตซิสโตลิก (Systolic blood pressure) ในการเสียเลือด class III จะประเมินจากการลดลงของ Systolic blood pressure เป็นส�ำคัญ ผู้ป่วยกลุ่มนี้ต้องมีการให้ Crystalloid ร่วมกับการให้เลือดทดแทน นอกจากนี้ยังต้องมีการสืบค้นหา ต�ำแหน่งที่มีการเสียเลือดเพื่อท�ำการหยุดเลือด โดยอาจมีความ จ�ำเป็นต้องท�ำการผ่าตัดด่วน Class IV (เสียเลือดมากกว่า 40 % ของปริมาณเลือด ทั้งหมดหรือมากกว่า 2,000 มล.) ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีอัตราการเต้น ของหัวใจเร็วขึ้นอย่างมาก มีการลดลงของ Systolic blood pressure ปัสสาวะไม่ออกและซึมลงได้ การรักษาผู้ป่วยกลุ่มนี้มี ความจ�ำเป็นต้องได้รับเลือดทดแทนทันที และต้องได้รับการ ผ่าตัดฉุกเฉินเพราะมีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตสูง

ÊÒÃà¤Ã×Í¢‹Ò ¡ÒÃá¾·Â ©Ø¡à©Ô¹

13


ตารางที่ 1 แสดงระดับความรุนแรงของการเสียเลือด และการตรวจร่างกายที่พบได้ CLASS I

CLASS II

Class III

Class IV

ปริมาณการเสียเลือด (มิลลิลิตร)

น้อยกว่า 750

750–1500

1500–2000

> 2000

เปอร์เซ็นต์การเสียเลือด (มิลลิลิตร)

น้อยกว่า 15%

15-30%

30–40%

> 40%

การเต้นของหัวใจ (ครั้งต่อนาที)

< 100

100–120

120–140

> 140

ความดันโลหิต

ปกติ

ปกติ

ลดลง

ลดลง

Pulse pressure (mm Hg)

ปกติ หรือ เพิ่มขึ้น

ลดลง

ลดลง

ลดลง

อัตราการหายใจ

14–20

20–30

30–40

> 35

ปริมาณปัสสาวะ (ml/hr)

> 30

20–30

5–15

Negligible

ความรู้สึกตัว การให้สารน�้ำ

Slightly anxious Mildly anxious Anxious, confused Confused, lethargic Crystalloid

Crystalloid

Crystalloid และเลือด Crystalloid และเลือด

ที่มา : ดัดแปลงจาก Committee on Trauma, American college of Surgeons (2008). ATLS: Advanced Trauma Lift Support Program for Doctors (8thed.) Chicago: American College of Surgeons

ผู้บาดเจ็บที่มีอาการช็อกให้คิดถึงสาเหตุของการเสียเลือด ไว้ก่อนจนกว่าจะมีหลักฐานที่ชัดเจนว่ามาจากสาเหตุอื่น การหา สาเหตุของการเสียเลือดแบ่งเป็นการเสียเลือดภายในร่างกาย (Internal bleeding) โดยต�ำแหน่งที่มีเลือดออกแล้วท�ำให้ความดัน โลหิตต�่ำลงได้มี 4 ต�ำแหน่ง ได้แก่ ช่องอก (ได้แก่ ภาวะ Massive Hemothorax) ช่องท้อง (สามารถวินิจฉัยได้จากการตรวจร่างกาย พบท้องอืด กดเจ็บ) ช่องเชิงกราน (สามารถวินิจฉัยได้จากการกด บริเวณกระดูกเชิงกราน ซึ่งในปัจจุบันแนะน�ำให้ตรวจโดยการกด กระดูกเชิงกรานเข้าหากันแล้วดูว่าผู้ป่วยเจ็บหรือไม่ ให้ตรวจได้เพียง ครั้งเดียวเท่านั้น ทั้งนี้เพราะการตรวจกระดูกเชิงกรานในท่าที่กดลง บน Iliac crest จะท�ำให้ปริมาตรของช่องเชิงกรานขยายขึ้น ซึ่งถ้า ผู้ป่วยมีการบาดเจ็บที่เชิงกรานจริงจะท�ำให้ปริมาณเลือดที่ออกใน ช่องเชิงกรานเพิ่มขึ้นตามไปด้วย) และการหักของกระดูกต้นขา (Femur) ซึ่งสามารถเสียเลือดได้ถึงข้างละ 1,000 ถึง 2,000 มล. ส่วนกระดูกหักส่วนอื่นก็สามารถท�ำให้มีการเสียเลือดได้เช่นกัน การดูแลรักษาผู้บาดเจ็บที่มีอาการช็อกที่สงสัยจากการเลือดเลือด นอกโรงพยาบาล มีขั้นตอนที่ส�ำคัญคือ 1. ดูแลทางเดินหายใจส่วนบน (Airway) การหายใจ (Breathing) ให้เป็นปกติ และให้ออกซิเจนเพื่อช่วยประคับ ประครองระบบทางเดินหายใจ 2. ประเมินหาต�ำแหน่งที่เสียเลือดจากบาดแผลภายนอก และท�ำการห้ามเลือด ร่วมทั้งพยายามมองหาสาเหตุของการเสีย เลือดภายในร่างกายให้ได้ 3. น�ำส่งผู้บาดเจ็บไปยังศูนย์อุบัติเหตุที่มีความเหมาะสม 4. การให้สารน�้ำอย่างเหมาะสม การให้สารน�้ำในผู้บาดเจ็บที่มีอาการช็อกที่สงสัยจากการเสียเลือด นอกโรงพยาบาล กรณีที่ 1 ยังไม่สามารถหยุดเลือดได้ (Uncontrolled hemorrhage) เช่น สงสัยเลือดออกจากช่องอก ช่องท้อง หรือ retroperitoneal - ช็อกระดับ 1 และ 2 ให้สารน�้ำเพื่อเปิดเส้นเลือดเท่านั้น (keep vein open : KVO) หรืออัตรา 30 cc/hr.

14 ¡ÒÃá¾·Â©Ø¡à©Ô¹ ÊÒÃà¤Ã×Í¢‹ÒÂ

- ช็อกระดับ 3 และ 4 เปิดเส้นเลือดเพื่อให้สารน�้ำโดยมี เป้าหมายของความดันโลหิตที่ 80-90 mmHg หรือ MAP 60-65 mmHg เท่านั้น * ในกรณีที่สงสัยว่ามีการได้รับบาดเจ็บของระบบประสาท ร่วมด้วยให้สารน�้ำโดยมีเป้าหมายของความดัน Systolic ที่มากกว่า 90 mmHg กรณีที่ 2 สามารถหยุดเลือดได้แล้ว (Controlled hemorrhage) เช่น เลือดออกจากแผลภายนอกที่สามารถหยุดเลือดได้แล้วจากการ ท�ำ Pressure dressing หรือ Tourniquet - ช็อกระดับ 1 ให้สารน�้ำเพื่อเปิดเส้นเลือดเท่านั้น (keep vein open : KVO) หรืออัตรา 30 cc/hr. - ช็อกระดับ 2, 3 และ 4 เปิดเส้นเลือดเพื่อให้สารน�้ำอย่าง รวดเร็ว 1-2 ลิตร และประเมินซ�้ำหลังจากได้สารน�้ำไปแล้ว กรณีที่ 1 : ผู้ป่วยกลับมามีความดันโลหิตปกติหลังได้รับสารน�้ำ 1-2 ลิตร เรียกกลุ่มนี้ว่า Rapid response หลังจากนั้นให้สารน�้ำเพื่อ รักษาความดันโลหิตให้ปกติ กรณีที่ 2 : ผู้ป่วยกลับมามีความดันโลหิตปกติหลังได้รับสารน�้ำ 1-2 ลิตร แต่หลังจากนั้นความดันโลหิตตกลงไปอีก หรือความดันโลหิต ต�่ำโดยตลอด เรียกกลุ่มนี้ว่า Transient และ no response ตาม ล�ำดับ ในกลุ่มนี้หลังจากนั้นให้สารน�้ำเพื่อรักษาความดันค่า Systolic ที่ 80-90 mmHg หรือ MAP 60-65 mmHg การห้ามเลือดผู้บาดเจ็บที่เสียเลือดนอกโรงพยาบาลที่เกิดจากการ เลือดจากภายนอกร่างกาย (External hemorrhage) 1. การกดบริเวณแผล (Pressure dressing) การใช้มือ กดเหนือแผลเป็นขั้นตอนแรกของการห้ามเลือด หลังจากนั้นถ้า สามารถห้ามเลือดได้ให้ท�ำเป็น pressure dressing ก่อนการเคลื่อน ย้าย แต่ถ้าไม่สามารถท�ำการห้ามเลือดได้ให้ใช้วิธี Tourniquet 2. การท�ำ Tourniquet ให้พิจารณาท�ำทันทีหลังจากการ ห้ามเลือดวิธีแรกไม่ได้ผล แต่เดิมเชื่อว่าจะท�ำให้ส่วนที่อยู่ใต้ต�ำแหน่ง ที่รัด Tourniquet ขาดเลือดไปเลี้ยงมีการบาดเจ็บของเส้นเลือดและ เส้นประสาทมากขึ้น แต่จากการศึกษาในปัจจุบันพบว่ามีโอกาสเกิด ภาวะแทรกซ้อนน้อย และประโยชน์จากการท�ำ Tourniquet ในการ ช่วยชีวิตมากกว่า การท�ำ Tourniquet ให้รัดเหนือต�ำแหน่งที่มีเลือดออก โดยใช้เฉพาะเลือดที่ออกจากส่วนระยางค์เท่านั้น โดยรัดจนคล�ำ ชีพจรที่ส่วนปลายไม่ได้หรือจนเลือดหยุด ถ้าไม่สามารถหยุดเลือดได้ สามารถรัด Tourniquet เพิ่มในต�ำแหน่งที่เหนือจากต�ำแหน่งเดิมได้ จากการศึกษาพบว่าสามารถท�ำ Tourniquet ได้นานถึง 120-150 นาทีในห้องผ่าตัดโดยไม่มีภาวะแทรกซ้อน ซึ่งในระบบการแพทย์ ฉุกเฉินการน�ำส่งผู้ป่วยที่ท�ำ Tourniquet ไปส่งยังศูนย์อุบัติเหตุใช้ เวลาน้อยกว่านี้มาก Tourniquet จึงเป็นหัตถการที่ปลอดภัยและ ช่วยรักษาชีวิตผู้บาดเจ็บได้

เอกสารอ้างอิง

National Association of Emergency Medicine Technicians (U.S.). Shock. In: Prehospital trauma life support. McSwain N, Pons PT, Chapleau W, editors. 8ed. United States of America: World Headquarters; 2016. P217-57.


การประสานบูรณาการเมื่อเกิดภัยพิบัติ

วันจักร จันทร์สว่าง

หัวหน้าฝ่ายกู้ชีพกู้ภัย มูลนิธิพิทักษ์กาญจน์

นอดีตที่ผ่านมาเมื่อเกิดภัยพิบัติขึ้น ระบบการช่วยเหลือ ประชาชนในพื้นที่ภัยพิบัติยังมีความสับสน วุ่นวายไม่เป็นระบบ ประชาชนที่ได้รับบาดเจ็บ ได้รับการช่วยเหลือที่ล่าช้า ท�ำให้ เกิ ด ความสู ญ เสี ย อย่ า งที่ ไ ม่ ค วรเป็ น ฉะนั้ น ในพื้ น ที่ ต ่ า งๆ ที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดภัยพิบัติ ต้องมีการเตรียมความพร้อมที่จะ รับมือภัยพิบัติที่จะเกิดขึ้น มีการส�ำรวจความเสี่ยง การวางแผน รับมือ การลดความเสี่ยง การระวังป้องกัน การอบรมให้ความรู้ กับหน่วยงานที่มีหน้าที่ ช่วยเหลือประชาชน การเตรียมเครื่องมือ การฝึกซ้อมร่วมกันระหว่างหน่วยงาน

ังหวัดกาญจนบุรี เป็นอีกหนึ่งจังหวัดที่มีความเสี่ยงที่ จะเกิดภัยพิบัติขึ้นในพื้นที่ในหลายๆ รูปแบบ ทั้งจากภัยธรรมชาติ อุบัติเหตุทางรถยนต์รถโดยสารขนาดใหญ่ หน่วยงานในจังหวัด ต้องมีความพร้อม ที่ผ่านมาได้มีการจัดฝึกอบรมให้ความรู้เรื่อง การช่วยเหลือผู้เจ็บป่วยฉุกเฉิน ระบบการบริหารการจัดการ เมื่อเกิดสาธารณภัยขนาดใหญ่ วิธีการช่วยเหลือด้านกู้ชีพกู้ภัย ให้กับมูลนิธิต่างๆ กองร้อยช่วยเหลือประชาชน กองพลทหารราบที่ 9 กองพันเสนารักษ์ ชุดกู้ภัยอุทยานแห่งชาติ โรงพยาบาลต่างๆ ส�ำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จังหวัด หน่วยบินต�ำรวจ และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

ÊÒÃà¤Ã×Í¢‹Ò ¡ÒÃá¾·Â ©Ø¡à©Ô¹

15


ต่สิ่งที่ส�ำคัญคือ เมื่อทุกหน่วยงานมีความรู้แล้วยังได้มีการวางแผนร่วมการท�ำงานกัน ดังนั้นการฝึกซ้อมร่วมกัน เพื่อให้เกิด การประสานงาน การบูรณาการในการช่วยเหลือประชาชน จึงเป็นสิ่งจ�ำเป็นเมื่อเกิดภัยพิบัติขึ้นจะได้สามารถท�ำงานประสานงานกัน เพื่อช่วยเหลือประชาชนได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ระดมทรัพยากรจากหน่วยงานออกมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้ประสบภัย

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.)

88/40 หมู่ 4 อาคารเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 84 พรรษา สาธารณสุข 6 ถนนติวานนท์ ต�ำบลตลาดขวัญ อ�ำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000 โทรศัพท์ 0 2872 1669 โทรสาร 0 2872 1602-5 www.niems.go.th


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.