สารเครือข่าย5

Page 1

à¤Ã×Í¢‹ÒÂ

¡ÒÃá¾·Â©Ø¡à©Ô¹

สาร www.niems.go.th

ปที่ 2 : ประจำเดือน กรกฎาคม - กันยายน พ.ศ. 2559 ฉบับที่

05

การแพทย์ฉุกเฉินดิจิทัล สู่การพัฒนานครอัจฉริยะ

(Digital EMS Toward Smart City Development)

ส�ำนักประสานการแพทย์ฉุกเฉินและเครือข่ายสัมพันธ์ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ


บทบรรณาธิการ สารเครือข่ายการแพทย์ฉุกเฉิน มีวัตถุประสงค์เพื่อสื่อสารและแลกเปลี่ยนเรียนรู้การพัฒนา ระบบ นวัตกรรมงานการแพทย์ฉุกเฉิน และจุดประกาย ในการขั บ เคลื่ อ นงานการแพทย์ ฉุ ก เฉิ น ของประเทศ มีประเด็นใหม่การพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉิน เรื่อง การแพทย์ฉุกเฉินดิจิทัลสู่การพัฒนานครอัจฉริยะ (Digital EMS Toward Smart City Development) การแพทย์ฉุกเฉิน ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม การอบรมครูผู้สอน อฉช. การมี ส ่ ว นร่ ว มของเครือข่ายภาคประชาชน ระบบ สารสนเทศการแพทย์ฉุกเฉิน และบทความวิชาการ เรื่อง การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูงในผู้ใหญ่ (ACLS) และในปลายปีนี้ เราจะมีก ารจั ด ประชุ ม วิ ช าการ การแพทย์ ฉุ ก เฉิ น ของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดับชาติ ครั้งที่ 3 ในวันที่ 16-18 พฤศจิกายน 2559 ณ โรงแรมตักศิลา จังหวัดมหาสารคาม โดยองค์ ก ารบริ ห ารส่ ว นจั ง หวั ด มหาสารคามกั บ สถาบั น การแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติร่วมกันเป็นเจ้าภาพหลักในการ จัดประชุม หวั ง ว่ า สารเครือข่าย จะเป็นพื้นที่ในการสื่ อ สาร แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเครือข่ายการแพทย์ฉุกเฉิน หากมี ข้อเสนอแนะ เรายินดีพัฒนาและปรับปรุง ให้เป็นประโยชน์ ต่อทุกท่าน คณะที่ปรึกษา

นายแพทย์อนุชา เศรษฐเสถียร นายแพทย์ไพโรจน์ บุญศิริค�ำชัย นายแพทย์ภูมินทร์ ศิลาพันธุ์ นายสุรชัย ศิลาวรรณ นายพรชัย โควสุรัตน์ นายนิพนธ์ บุญญามณี

บรรณาธิการ

นายพิเชษฐ์ หนองช้าง

ผู้ช่วยบรรณาธิการ

นางสาวชฎารัตน์ เกิดเรียน

กองบรรณาธิการ

นายพงษ์พิษณุ ศรีธรรมานุสาร ว่าที่ร้อยเอกอรรณพ สุขไพบูลย์

3 7 10 12 14 15

สารบัญ การแพทย์ฉุกเฉินดิจิทัล สู่การพัฒนานครอัจฉริยะ

กู้ชีพใจถึงกัน : การแพทย์ฉุกเฉินของ องค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม

การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูงในผู้ใหญ่ ส�ำหรับบุคลากรทางการแพทย์

ครูผู้สอนอาสาฉุกเฉินชุมชน

การมีส่วนร่วมของเครือข่ายองค์กรภาคประชาชน ในการด�ำเนินงานการแพทย์ฉุกเฉิน

ระบบสารสนเทศการแพทย์ฉุกเฉิน ตอนที่ 1

นางนลินรัตน์ เรืองจิรยศ นายบัณฑิต พีระพันธ์ นางนวนันทน์ อินทรักษ์ ว่าที่ร้อยตรีการันต์ ศรีวัฒนบูรพา นางพัชรี รณที นางสาวเทียมจันทร์ ฉัตรชัยกนันท์ นางสาวชฎารัตน์ เกิดเรียน นายทรงศักดิ์ ภูมิสายดร

ติดต่อประสานงาน

email : chadarat.k@niems.go.th


การแพทย์ฉุกเฉินดิจิทัล สู่การพัฒนานครอัจฉริยะ

(Digital EMS Toward Smart City Development) โครงการการแพทย์ฉุกเฉินดิจิทัลสู่การพัฒนานครอัจฉริยะ จะด�ำเนินโครงการฯ ใน 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดมหาสารคาม และจังหวัดสงขลา นับว่าเป็นการพัฒนา ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินช่วงก่อนถึงโรงพยาบาลอีกระดับหนึ่ง ซึ่งจังหวัดอุบลราชธานี ได้ลงนาม บันทึกข้อตกลงความ ร่วมมือ เรื่อง การแพทย์ฉุกเฉินดิจิทัลและการพัฒนานคร อัจฉริยะจังหวัดอุบลราชธานี (Digital EMS and Smart City Project) เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2559 ระหว่างสถาบันการแพทย์ ฉุกเฉินแห่งชาติ องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี ส�ำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี โรงพยาบาลสรรพ สิ ท ธิ ป ระสงค์ ศู น ย์ ป ฏิ บั ติ ก ารทุ ่ น ระเบิ ด แห่ ง ชาติ ส� ำ นั ก งาน รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) บริษัท ทีโอที จ�ำกัด (มหาชน) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดย นายสมศักดิ์ จังตระกุล ผู้ว่าราชการจังหวัด ประธานพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือและสักขีพยาน

ดร.นพ.ไพโรจน์ บุญศิริคำ�ชัย

จังหวัดมหาสารคาม ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความ ร่วมมือ เรื่อง การแพทย์ฉุกเฉินดิจิทัลแห่งนครอัจฉริยะจังหวัด มหาสารคาม (Smart City Digital EMS Project) เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2559 ระหว่าง สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ องค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม ส�ำนักงานสาธารณสุข จังหวัดมหาสารคาม โรงพยาบาลมหาสารคาม มหาวิทยาลัย มหาสารคาม ส�ำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) โดย นายโชคชัย เดชอมรธัญ ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม เป็นประธานพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือและ สักขีพยาน

ÊÒÃà¤Ã×Í¢‹Ò ¡ÒÃá¾·Â ©Ø¡à©Ô¹

3


2. โครงการพัฒนาระบบปฏิบัติการสมบูรณ์ แบบ (Optimizing EMS Operation Project)

วัตถุประสงค์ของโครงการเพื่อพัฒนาระบบการแพทย์ ฉุกเฉินในพื้นที่จังหวัดต้นแบบของชุมชนอัจฉริยะ ประชาชนมี คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีความรู้ได้รับข่าวฉุกเฉิน สามารถป้องกัน และเตรียมความพร้อมได้อย่างเหมาะสม มีระบบการแพทย์ ฉุกเฉินช่วงก่อนถึงโรงพยาบาลที่มุ่งสู่คุณภาพระดับสากล ผู้ป่วย ฉุกเฉินวิกฤตรอดชีวิตและลดความพิการ ด้วยการบูรณาการ หน่วยงานในจังหวัดและหน่วยงานส่วนกลางที่เกี่ยวข้อง ด�ำเนิน โครงการ Digital EMS Toward Smart City Development Project โดยผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นหลักในการการประสานบูรณาการ โครงการฯ ตลอดจนเป็นประธานในพิธีการท�ำความตกลงระหว่าง หน่วยงานต่างๆ เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ประสบความส�ำเร็จ เป็นไปในทิศทางที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย

1. โครงการพั ฒ นาชุ ด ปฏิ บั ติ ก ารระดั บ สู ง (Advance EMS Project)

เพื่อให้มีระบบการแพทย์ฉุกเฉินช่วงก่อนถึงโรงพยาบาล ที่เป็นชุดปฏิบัติการระดับสูงช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต สามารถเข้าถึงจุดเกิดเหตุได้ภายในเวลา 10 นาที ครอบคลุม พื้นที่ของจังหวัดด้วยการประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดท�ำ ยุทธศาสตร์และแผนงานโครงการร่วมกันให้ครอบคลุมพื้นที่ชุด ปฏิบัติการระดับสูงเข้าถึงจุดเกิดเหตุภายใน 10 นาที เพื่อช่วย เหลือผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต จัดท�ำแผนโดยแบ่งพื้นที่ปฏิบัติการส�ำหรับ ชุดปฏิบัติการฉุกเฉินแต่ละคันของโรงพยาบาลชุมชนทุกแห่ง จัดหาทรัพยากรได้แก่รถพยาบาลฉุกเฉินระดับสูง พร้อมอุปกรณ์ กู้ ชี พ ระดั บ สูง และระบบสื่อ สารสารสนเทศเพื่ อ ใช้ กับ ผู้ ป ่ ว ย ฉุ ก เฉิน วิ ก ฤตครอบคลุ ม พื้ น ที่ทั้ ง หมด จั ด หาบุ ค ลากรที่เ ป็ น ผู้ปฏิบัติการระดับสูงได้แก่ แพทย์ พยาบาล นักปฏิบัติการฉุกเฉิน การแพทย์ให้เพียงพอและสอดคล้องกับแผนด�ำเนินการ คาดหมาย ว่าเมื่อชุดปฏิบัติการระดับสูงสามารถเข้าถึงจุดเกิดเหตุได้ภายใน 10 นาที อัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตเพิ่มขึ้น

4 ¡ÒÃá¾·Â©Ø¡à©Ô¹ ÊÒÃà¤Ã×Í¢‹ÒÂ

ITEMS Version 3 ถูกพัฒนาขึ้นมาภายใต้แนวคิดที่ เรียกว่า Operation Information System: OIS ซึ่งแนวคิดใน การพัฒนาระบบให้มีความสามารถในการสนับสนุนการปฏิบัติการ ของชุดปฏิบัติการในการออกช่วยเหลือผู้ป่วย โดยค�ำนึงถึง เวลาเป็นสาระส�ำคัญ ในขณะที่รับแจ้งเหตุฉุกเฉินจะต้องกดรับใน ระบบคอมพิวเตอร์ที่หน้าจอมอนิเตอร์ไปด้วยทันที เพื่อให้เวลา เดินไปพร้อมกับการปฏิบัติการ เป็นลักษณะของการป้อนข้อมูลที่ เป็นปัจจุบันตลอดการรับแจ้งเหตุและสั่งการออกปฏิบัติการ จนถึงโรงพยาบาล ระบบมีความสามารถในการระบุสถานที่เกิดเหตุ อย่างแม่นย�ำ พร้อมกับมีระบบช่วยสนับสนุนการตัดสินใจ เพื่อเลือกชุดปฏิบัติการที่อยู่ใกล้ที่เกิดเหตุและเหมาะสมกับ อาการของผู้ป่วยมากที่สุดเพื่อออกช่วยเหลือผู้ป่วย โดยศูนย์รับ แจ้งเหตุและสั่งการจังหวัดจะจ่ายงานผ่านระบบอินเตอร์เน็ตไป ยังหน่วยปฏิบัติการซึ่งจะต้องมีการเปิดระบบรองรับการจ่ายงาน

อยู่ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่ว่าจะเป็นมูลนิธิ องค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น โรงพยาบาลรัฐ โรงพยาบาลเอกชน โรงพยาบาลค่ายและ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย ซึ่งจะมีเสียงดังเมื่อมีการแจ้งเหตุมา ยังหน่วยปฏิบัติการ จากนั้นหน่วยปฏิบัติการจะกดรับการแจ้งเหตุ พร้อมกับการรับทราบข้อมูลที่ศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการจังหวัด ส่งมาให้ที่หน้าจอคอมพิวเตอร์ โดยที่ศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการ จังหวัดได้รับทราบจากหน้าจอมอนิเตอร์ แล้วหน่วยปฏิบัติการ ก็จะเรียกไปยังชุดปฏิบัติการที่เหมาะสมไปยังจุดเกิดเหตุ จะมีการบันทึกเวลาต่างๆของการปฏิบัติการของชุดปฏิบัติการ ตั้งแต่ออกจากฐาน ถึงจุดเกิดเหตุ ถึงโรงพยาบาลจนถึงฐาน รวมถึง ข้อมูลการคัดแยกและการปฏิบัติการโดยชุดที่ออกปฏิบัติการ เป็นผู้บันทึกผ่านระบบโดย mobile ที่น�ำไปด้วย หรือวิทยุกลับ มาให้หน่วยสังกัดบันทึกให้ก็ได้ เจ้าหน้าที่ที่ศูนย์รับแจ้งเหตุและ สั่งการจังหวัดที่ท�ำหน้าที่ประสานการปฏิบัติการจะท�ำการ ติดตามการปฏิบัติการและให้ค�ำแนะน�ำปรึกษาและติดต่อ


ประสานงานไปยังโรงพยาบาลที่ใกล้จุดเกิดเหตุและเหมาะสมกับ อาการของผู้ป่วยมากที่สุด จนผู้ป่วยถูกน�ำส่งถึงห้องฉุกเฉินของ โรงพยาบาล รวมถึงข้อมูลจะขึ้นที่ห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาลที่ ได้ รั บ การเลื อ กและมี ก ารบั น ทึก ข้ อ มู ล ที่ ห ้ อ งฉุ ก เฉิ น ด้ ว ย โดยข้อมูลระหว่างการออกปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ป่วยทั้งหมดจะ ส่งผ่านกันแบบ Real-Time Online ซึ่งจะสามารถน�ำมา วิเคราะห์และสนับสนุนการช่วยเหลือผู้ป่วยให้พ้นภาวะฉุกเฉินได้ อย่างรวดเร็วและแม่นย�ำ อันจะเป็นการพัฒนาศักยภาพใน งานการแพทย์ฉุกเฉินให้มีศักยภาพในการช่วยเหลือผู้ป่วยมาก ยิ่งขึ้น

3. โครงการพัฒนาระบบการอ�ำนวยการทาง การแพทย์ชั้นสูงและระบบทางด่วนฉุกเฉินโรคเฉพาะ (Advance Medical Direction and Special Fast Track Project)

เพื่อให้มีการจัดให้มีระบบเทเลเมดิซีน (Telemedicine) ที่เหมาะสมประกอบด้วยการเห็นทั้งภาพและเสียงผู้ป่วยและการ ปฏิบัติการ ข้อมูลผู้ป่วย ข้อมูลสุขภาพ สัญญาณชีพ ค่าความเข้มข้น ของออกซิเจนในเลือด คลื่นหัวใจและอื่นๆที่เป็นปัจจุบัน ด้วย เทคโนโลยีสื่อสารและสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพมาใช้ ประโยชน์ ใ นระบบบริ ก ารการแพทย์ ฉุก เฉิ น ช่ ว งก่ อ นถึง โรงพยาบาลในจั ง หวั ด เพื่ อ ให้ มี ก ารน� ำ ระบบเทเลเมดิ ซี น (Telemedicine) ที่มีประสิทธิภาพมาใช้ในการเชื่อมโยงบทบาท การด�ำเนินการและบริหารจัดการขององค์การบริหารส่วนจังหวัด กับบทบาทการรักษาพยาบาลของแพทย์อ�ำนวยการและแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องของโรงพยาบาล เพื่อเป็นการยกระดับ การประสานสั่งการ การปรึกษา การอ�ำนวยการทางการแพทย์ ชั้นสูงและระบบทางด่วนฉุกเฉินโรคเฉพาะด้วยระบบเทเลเมดิซีน ที่ประกอบด้วยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัย ในการ ปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินช่วงก่อนถึงโรงพยาบาลของจังหวัด

ÊÒÃà¤Ã×Í¢‹Ò ¡ÒÃá¾·Â ©Ø¡à©Ô¹

5


4. โครงการพลเมืองอัจฉริยะ (Smart Citizen Project)

เป็นโครงการชุมชนอัจฉริยะกับชีวิตคุณภาพและระบบการแพทย์ฉุกเฉิน (SMART Community for SMART Life and Smart Community EMS Project) ความร่วมมือพัฒนาชุมชน ภายใต้แผนการพัฒนา “Digital Economy and Society” เพื่อใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศในการขับเคลื่อนร่วมกับองค์การบริหารส่วนต�ำบล และหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ในการน�ำเทคโนโลยี สารสนเทศ วิศวกรรมความรู้ มาประยุกต์ในการจัดเก็บข้อมูล ประมวลผลข้อมูล และบูรณาการข้อมูล เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึง การให้บริการและสวัสดิการของภาครัฐ เพื่อให้ภาครัฐสามารถดูแลประชาชนได้อย่างทั่วถึง โปร่งใส เพื่อให้ประชาชนแจ้งเหตุ ฉุกเฉินได้ง่าย รวดเร็ว ทั่วถึง ด้วยระบบเทคโนโลยี โมบายแอพพลิเคชั่นและ Digital EMS Data Center ที่สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ พัฒนาขึ้น โดยมีการเชื่อมข้อมูลระหว่างหน่วยงาน (Connected Government for Digital EMS) ท�ำให้มีข้อมูลปัจจุบันในระหว่าง การรับแจ้งเหตุและสั่งการรวมถึงการปฏิบัติการของชุดปฏิบัติการฉุกเฉิน ได้แก่ข้อมูลบุคคล ข้อมูลสุขภาพสถานที่ต่างๆ เส้นทางที่ดีที่สุด รวมถึงการรับแจ้งเหตุฉุกเฉินส�ำหรับผู้เปราะบาง เช่น ผู้พิการทางการได้ยิน โดยเชื่อมระบบกับศูนย์ล่ามภาษามือ TTRS for EMS การคัดแยกระดับความรุนแรงและการจ่ายงานด้วยการพัฒนาเทคโนโลยีสื่อสารและสารสนเทศที่เป็นปัจจุบัน (Real Time) และมี ภูมิสารสนเทศ GIS ทรัพยากร Logistic การจัดการ ติดตามด้วยระบบ GPS สนับสนุน ฟื้นฟูและส่งเสริมป้องกันภาวะฉุกเฉิน ตลอดจน การคุ้มครองสิทธิ (Citizen Right Protection Emergency Medicine) ให้ประชาชนรู้ ตระหนัก เตรียมพร้อม รู้การปฐมพยาบาลและ กู้ชีพเบื้องต้น ด้วยการมีส่วนร่วมและประชาชนเป็นศูนย์กลาง (Citizen Centric and Community Participation) และแจ้งเหตุการณ์ ฉุกเฉินถึงรายบุคคลและสื่อสารสาธารณะด้วยระบบ EMS Public Information System โดยที่ประชาชนจะได้รับการแจ้งข่าว ฉุกเฉินเป็นรายคนผ่านโมบายแอพพลิเคชั่น (Emergency News) และสามารถรู้ได้ถึงข้อมูลขณะก�ำลังได้รับการออกปฏิบัติการของ รถพยาบาลฉุกเฉิน (Emergency Information)

6 ¡ÒÃá¾·Â©Ø¡à©Ô¹ ÊÒÃà¤Ã×Í¢‹ÒÂ


กู้ชีพใจถึ ง กั น : การแพทย์ฉุกเฉินของ

องค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม

งค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม ได้ด�ำเนินการ ด้านการแพทย์ฉุกเฉิน โดยการประสานและส่งเสริมสนับสนุน จากสถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน โดยนโยบายของ นางคมคาย อุดรพิมพ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม และได้ร่วมด�ำเนินงาน กับส�ำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม โรงพยาบาล มหาสารคาม และคณะแพทย์ศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ ซึ่งมี ดร.ยิ่งยศ อุดรพิมพ์ ที่ปรึกษานายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม เป็น ผู้ริเริ่มและผลักดันที่ส�ำคัญ ครั้งนี้ ดยได้ท�ำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในจังหวัด มหาสารคาม โดยสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินร่วมกับองค์การ บริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม ส�ำนักงานสาธารณสุขจังหวัด มหาสารคาม สถานีต�ำรวจภูธรจังหวัดมหาสารคาม จังหวัด มหาสารคาม และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัด มหาสารคาม เมื่อวันที่ 14 สิงหาคาม 2557 มีจัดอบรมหลักสูตร อาสาสมัครฉุกเฉินการแพทย์หลักสูตร 40 ชั่วโมง ให้แก่ องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นที่จะได้รับการสนับสนุนรถกู้ชีพฉุกเฉินจาก องค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม และมูลนิธิที่ปฏิบัติงาน ในจังหวัดมหาสารคาม หน่วยงานละ 10 คน จ�ำนวน 3 รุ่น รวมทั้งสิ้น 450 คน เดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน 2558

ÊÒÃà¤Ã×Í¢‹Ò ¡ÒÃá¾·Â ©Ø¡à©Ô¹

7


งค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม ได้จัดหา อ รถกู้ชีพ จ�ำนวน 40 คัน ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ท�ำ

บันทึกข้อตกลงความร่วมมือและมีความพร้อมที่จะด�ำเนินการ ด้านการแพทย์ฉุกเฉิน โดยได้ออกประเมินความพร้อมในการจัดตั้ง หน่วยกู้ชีพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่จะรับการสนับสนุน รถพยาบาลจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม และลงนาม ท�ำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการจัดท�ำบริการสาธารณะ ร่วมกันและส่งมอบรถพยาบาลฉุกเฉินให้แก่องค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นในวันที่ 15 กันยายน 2558

ารด�ำเนินการและบริหารจัดการการแพทย์ฉุกเฉินช่วง ก่อนถึงโรงพยาบาล เป็นอีกบทบาทหนึ่งขององค์การบริหารส่วน จังหวัดมหาสารคาม ได้จัดตั้งศูนย์ประสานงานและสั่งการ องค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม โดยจัดหาอาคารสถานที่ วัสดุครุภัณฑ์ และบุคลากรมาประจ�ำศูนย์ฯ ฝึกอบรมความรู้ และฝึกประสบการณ์ ตามมาตรฐานที่สถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน ก�ำหนด ได้รับการโอนย้ายศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการจาก โรงพยาบาลมหาสารคาม มาองค์การบริหารส่วนจังหวัด มหาสารคาม ตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน 2559 และมีพิธีเปิดศูนย์ฯ อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2559 โดยมีนายโชคชัย เดชอมรธัญ ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม เป็นประธานพิธี

8 ¡ÒÃá¾·Â©Ø¡à©Ô¹ ÊÒÃà¤Ã×Í¢‹ÒÂ


ÊÒÃà¤Ã×Í¢‹Ò ¡ÒÃá¾·Â ©Ø¡à©Ô¹ 9


การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูงในผู้ใหญ่

(Advance Cardiac Life Support : ACLS) สำ�หรับบุคลากรทางการแพทย์ ผศ.นพ.ไชยพร ยุกเซ็น / นศ.นฉพ.เจษฎากร เจนพาณิชพงศ์ ผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้นเป็นผู้ป่วยที่จัดอยู่ใน ประเภทผู้ป่วยฉุกเฉินที่ต้องได้รับการช่วยเหลือและแก้ไขอย่าง รีบด่วนทันที ทั้งการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน (Basic Life Support, BLS) และการช่วยชีวิตขั้นสูง (Advance Cardiac Life Support, ACLS) สาเหตุของหัวใจหยุดเต้นในผู้ใหญ่ที่พบบ่อยมักเกิดจาก หั ว ใจเต้ น ผิ ด จั ง หวะ (Cardiac arrhythmia) ส่ ว นใน ผู้ป่วยเด็กมักเกิดจากปัญหาของระบบทางเดินหายใจ

ขั้นตอนการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูง

เมื่อพบผู้ป่วยที่สงสัยว่ามีภาวะหัวใจหยุดเต้น (จะสงสัย เมื่อผู้ป่วยมีอาการหมดสติ หายใจเฮือกหรือ gasping ชัก) ให้ พยายามเรียกผู้ป่วยโดยการใช้มือตบบริเวณไหล่ทั้ง 2 ข้าง และ เรียกผู้ป่วยดัง ๆ ถ้าผู้ป่วยไม่มีตอบสนองให้เรียกทีมช่วยเหลือ และปฏิบัติตามขั้นตอนดังนี้ 1. คล�ำชีพจรบริเวณคอ (Carotid artery) โดยใช้เวลา ไม่เกิน 10 วินาที ถ้าคล�ำไม่ได้ชีพจรหรือไม่แน่ใจว่าคล�ำได้หรือไม่ ให้ถือว่าไม่มีชีพจร 2. กดหน้าอกในอัตราเร็ว 100-120 ครั้งต่อนาที ความ ลึกในการกดหน้าอกอยู่ที่ 5-6 เซนติเมตร ปล่อยมือเพื่อให้ หน้าอกมีการคืนตัวอย่างสมบูรณ์ก่อนที่จะกดครั้งต่อไปและระวัง ให้มีการรบกวนการกดหน้าอกให้น้อยที่สุด 3. ช่วยหายใจผ่านชุดช่วยหายใจมือบีบ (Ambu Bag) ในอัตราส่วนการกดหน้าอกต่อการช่วยหายใจเป็น 30:2 4. ติดตามคลื่นไฟฟ้าหัวใจโดยเปิดเป็น lead 2 หลัง จากนั้นพิจารณาการรักษาตามคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่เห็น

10 ¡ÒÃá¾·Â©Ø¡à©Ô¹ ÊÒÃà¤Ã×Í¢‹ÒÂ

กรณีที่ 1 คลื่นไฟฟ้าหัวใจเป็น Ventricular Fibrillation (VF) หรือ Ventricular tachycardia (VT) ให้ท�ำการช็อกไฟฟ้า หัวใจแบบ defibrillation ด้วยพลังงาน 200 จูล หลังจากนั้น ท�ำการกดหน้าอกกู้ชีพทันที ประเมินคลื่นไฟฟ้าหัวใจและคล�ำชีพจรที่คออีกครั้ง หลังจากการช็อกไฟฟ้าหัวใจไปแล้ว 2 นาที ถ้าคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เป็น Ventricular Fibrillation (VF) หรือ Ventricular tachycardia (VT) ที่ค ล� ำ ชีพ จรไม่ ไ ด้ ให้ ท� ำ การช็อ กไฟฟ้ า หั ว ใจแบบเดิ ม แต่ถ้าคลื่นไฟฟ้าหัวใจเป็นแบบ Asystole หรือ PEA ให้ท�ำการ กดหน้าอกกู้ชีพต่อไปโดยไม่ต้องช็อกไฟฟ้าหัวใจ และประเมิน ชีพจรและคลื่นไฟฟ้าหัวใจซ�้ำทุก 2 นาที การให้ยา Adrenalin 1 มิลลิกรัมผสม NSS เป็น สารละลาย 10 มิลลิลิตรให้ทางหลอดเลือดด�ำทุก 3-5 นาที โดยใช้หลังจากการช็อกไฟฟ้าหัวใจไปแล้ว 2 ครั้ง การให้ยา Amiodarone ให้ขนาด 300 มิลลิกรัม ผสม NSS และให้ทางหลอดเลือดด�ำ โดยใช้หลังจากการช็อกไฟฟ้า หัวใจไปแล้ว 3 ครั้ง และสามารถให้ซ�้ำได้ขนาด 150 มิลลิกรัม หลังการช็อกไฟฟ้าหัวใจครั้งที่ 4 หรือ 5 กรณีที่ 2 คลื่นไฟฟ้าหัวใจเป็น Asystole หรือ PEA ให้ ท�ำการกดหน้าอกกู้ชีพโดยไม่ต้องช็อกไฟฟ้าหัวใจ และประเมิน ชีพจรและคลื่นไฟฟ้าหัวใจซ�้ำทุก 2 นาที การกดหน้าอกอย่างมีคุณภาพ (Quality CPR) 1. กดหน้าอกลึก 5 ถึง 6 เซนติเมตร อัตราเร็ว 100 ถึง 120 ครั้งต่อนาที และหน้าอกคืนตัวทุกครั้ง 2. ไม่หยุดกดหน้าอกเกินกว่า 10 วินาที 3. ระวังไม่ช่วยหายใจมากเกินไป ถ้ายังไม่ใส่ท่อช่วย หายใจ ให้กดหน้าอก 30 ครั้งสลับการช่วยหายใจ 2 ครั้ง


4. เปลี่ยนคนกดหน้าอกทุก 2 นาที 5. ใช้ Waveform Capnography ประเมินคุณภาพ การกดหน้าอก คือ End Tidal CO2 น้อยกว่า 10 mmHg แสดงว่า คุณภาพของการกดหน้าอกยังไม่ดี ต้องกดหน้าอกให้ลึกและ เร็วกว่าเดิม การกลับมีสัญญาณชีพ (Return of Spontaneous Circulation; ROSC) หมายถึง การกลับมีชีพจรและวัดความดัน โลหิตได้ สามารถประเมินจาก Waveform Capnography ได้ เมื่อ End Tidal CO2 มากกว่าหรือเท่ากับ 40 mmHg การช่วยหายใจขั้นสูง (Advanced airway) หมายถึง การ ใส่ ท่ อหายใจชนิ ด Supraglottic advanced airway หรือ Endotracheal intubation หลั ง ใส่ ค วรใช้ Waveform Capnography ยืนยันต�ำแหน่งท่อหายใจ และจะช่วยหายใจ อัตรา 8-10 ครั้งต่อนาที โดยท�ำการกดหน้าต่อเนื่องที่ไม่ต้องหยุด พักเพื่อช่วยหายใจ

การเปิดเส้นเพื่อให้น�้ำเกลือและยา แนะน�ำทางหลอดเลือดด�ำ (Peripheral intravenous route) หรือทางกระดูก (Intraosseous route) เป็นล�ำดับแรก ส่วนการให้ยาทางท่อช่วยหายใจ (Endotracheal route) สามารถให้ยา Lidocaine, Epinephrine, Atropine, Naloxone ได้ โดยต้องเพิ่มขนาดเป็น 2–2.5 เท่าของ ขนาดปกติ และควรละลายใน NSS หรือ sterile water 5-10 มล. สิ่งส�ำคัญที่สุดคือ การหาสาเหตุที่แก้ไขได้ระหว่างการกู้ชีพ (Reversible Course) ได้แก่ 5Hs, 5Ts โดยต้องพยายามค้นหา สาเหตุตั้งแต่เริ่มต้นการกู้ชีพและรีบแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็ว และเมื่ อ ผู้ ป ่ ว ยมี ภ าวะ ROSC (Return of spontaneous circulation) ให้ท�ำการดูแลหลังภาวะหัวใจหยุดท�ำงาน (Post Cardiac Arrest Care) ซึ่งจะกล่าวถึงในฉบับถัดไป

ÊÒÃà¤Ã×Í¢‹Ò ¡ÒÃá¾·Â ©Ø¡à©Ô¹

11


ครูผู้สอนอาสาฉุกเฉินชุมชน (ครู อฉช.) นายวันจักร จันทร์สว่าง ลักสูตรอาสาฉุกเฉินชุมชน (ครู อฉช.) ของสถาบัน ห การแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ จึงเป็นค�ำตอบทั้งหมด หลักสูตร อฉช. ยั งมี ป ระชาชน เน้นให้ประชาชนทั่วไปมีความรู้เรื่อง การประเมินอาการของ คนไทยอีกมากมายที่ยังเข้าไม่ถึง

ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน และมี อี ก หลายคนที่ ไ ม่ มี ความรู้การปฐมพยาบาลเบื้องต้นที่ถูกต้อง มีอีกหลายคนที่รู้ว่าถ้า เจ็บป่วยฉุกเฉินต้องโทรแจ้งขอความช่วยเหลือสายด่วน 1669 แต่ เมื่อโทรติดแล้ว จะต้องแจ้งข้อมูลอะไรบ้างและระหว่างที่รอการ ช่วยเหลือ ถ้าผู้เจ็บป่วยฉุกเฉิน มีอาการเสียเลือดมากมีอาการ เจ็บ-ป่วยหนัก จะต้องช่วยเหลือเบื้องต้นอย่างไร ถ้าหัวใจหยุดเต้น จะปั๊มหัวใจอย่างไร ซึ่งสาเหตุเหล่านี้เป็นสิ่งที่ภาคประชาชนควร มี ค วามรู ้ เ ป็ น ขั้ น พื้ น ฐานของชี วิ ต เลย หรื อ อย่ า งน้ อ ยใน 1 ครอบครัว ควรมีคนที่มีความรู้การปฐมพยาบาลเบื้องต้นสัก 1 คน

ผู้เจ็บ-ป่วยฉุกเฉิน ว่ามีอาการหนักหรือเบาขนาดไหน เมื่อ ประเมินแล้วก็จะโทรขอความช่วยเหลือที่สายด่วน 1669 เมื่อ โทร1669 แล้วจะต้องบอกข้อมูลอะไรบ้างเพื่อให้เจ้าหน้าที่ศูนย์ รับแจ้งเหตุและสั่งการประจ�ำจังหวัด (1669) สามารถประเมิน อาการผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินและสั่งทีมชุดปฏิบัติการฉุกเฉินทาง การแพทย์ที่เหมาะสม เข้ามาท�ำการช่วยเหลือได้อย่างรวดเร็ว ระหว่างที่รอการช่วยเหลือจากชุดปฏิบัติการฉุกเฉินทางการแพทย์ มาช่วยเหลือนั้น ผู้ที่ผ่านการอบรมหลักสูตรอฉช. สามารถท�ำ การช่วยเหลือชีวิตเบื้องต้นได้ เช่น การปิดแผลห้ามเลือด การดามกระดูกที่หัก หรือการปั๊มหัวใจช่วยชีวิตเบื้องต้นถ้าผู้ป่วย หัวใจหยุดเต้น ผ่านมามีการอบรมหลักสูตรอฉช. ให้กับภาคประชาชน นักเรียน นักศึกษา จ�ำนวนมากแล้วและก็ยังไม่ทั่วถึงและเพียงพอ จึงได้จัดให้มีโครงการอบรมทีมครูผู้สอนอาสาฉุกเฉินชุมชน (ครู อฉช.) ขึ้น เพื่อให้ผู้ที่จะน�ำความรู้ไปสอนต่อนั้น เข้าใจถึง บทบาทหน้าที่ของอฉช. ความรู้ภาคประชาชน นักเรียน นักศึกษา จะได้รับต้องเป็นระดับไหน เพราะต้องเน้นให้เข้าใจว่าผู้ที่มีความรู้ ระดับ อฉช. ไม่ใช่ชุดปฏิบัติการฉุกเฉินทางการแพทย์ ต้องไม่ท�ำ เกินบทบาทหน้าที่ของ อฉช. และเพื่อให้ทิศทางการสอนเป็นไป ในทิศทางเดียวกันและมีประสิทธิภาพสูงสุด

ที่

12 ¡ÒÃá¾·Â©Ø¡à©Ô¹ ÊÒÃà¤Ã×Í¢‹ÒÂ


ารอบรม ครู อฉช. ได้ด�ำเนินการอบรมครูรุ่นที่ 1 ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยมีผู้เข้าอบรมมาจากหลายหน่วยงาน เช่ น เจ้ า หน้ า ที่ ศู น ย์ ป ระสานงานกู ้ ภั ย อุ ท ยานแห่ ง ชาติ กรมอุ ท ยานแห่ ง ชาติ สั ต ว์ ป ่ า และพั น ธุ ์ พื ช จาก 5 ศู น ย์ ทั่วประเทศ เพื่อให้ไปอบรมให้กับเจ้าหน้าที่อุทยานฯที่อยู่ ตามอุทยานแห่งชาติต่างๆทั่วประเทศ ไว้ช่วยเหลือนักท่องเที่ยว ที่เข้าไปเที่ยวในเขตอุทยาน และประชาชนที่อยู่ป่าเขา มีการอบรม ให้กับเจ้าหน้าที่อาสาสมัครมูลนิธิพุทธธรรม 31 จังหวัดนครราชสีมา มูลนิธิประสาทบุญสถาน จังหวัดพิษณุโลก มูลนิธิพิทักษ์กาญจน์ จังหวัดกาญจนบุรี เจ้าหน้าที่อบต./เทศบาลของจังหวัดเลย จังหวัดหนองคาย เพื่อไปอบรมให้กับประชาชนในพื้นที่ของตนเอง ซึ่งมีผู้เข้าอบรมทั้งสิ้น 70 คน ท�ำให้เรามีทีมครูที่มีคุณภาพ ในรุ่นแรกมากถึง 70 คน

นเดือนตุลาคม 2559 จะมีการอบรมหลักสูตรครู อฉช. รุ่นที่ 2 ขึ้นอีก โดยกลุ่มผู้เข้าอบรมจะเป็นคณะครูอาจารย์ สังกัด สถานศึกษาในจังหวัดกาญจนบุรี วัตถุประสงค์เพื่อน�ำความรู้ อฉช.ไปเผยแพร่ต่อในสถานศึกษาต่อตนเอง และในอนาคตก็จะมี การอบรมครูอฉช.เพิ่มขึ้นเรื่อยๆอีกหลายๆรุ่น เพื่อครู อฉช.เหล่านี้ จะได้ช่วยกันเผยแพร่ความรู้เรื่องการปฐมพยาบาล และการ ช่วยชีวิตเบื้องต้นให้กับประชาชน นักเรียน-นักศึกษา เพื่อให้ ทุกครอบครัวของประชาชนคนไทย มีความรู้ระดับ อฉช. อย่างน้อย 1 คน ต่อ 1 ครอบครัว ซึ่งจะท�ำให้ประชาชนคนไทยมีความเข้มแข็ง และเข้าถึงระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินได้อย่างถั่วถึง

ÊÒÃà¤Ã×Í¢‹Ò ¡ÒÃá¾·Â ©Ø¡à©Ô¹

13


การมีส่วนร่วมของเครือข่ายองค์กร ภาคประชาชนในการด�ำเนินงาน การแพทย์ฉุกเฉิน นายพงษ์พิษณุ ศรีธรรมานุสาร ผู้จัดการงานบริหารเครือข่าย

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ได้มีการประสานกับ กลุ่ม/องค์กร ภาคีเครือข่ายภาคประชาชน ให้มีตัวแทนของแต่ละ กลุ่ม/องค์กร โดยกระจายไปให้ทั่วถึงและครอบคลุมทั้งประเทศ เพื่อร่วมกันพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉินของประเทศไทย ซึ่ง ประชาชนนั้นจะเป็นผู้รับบริการการแพทย์ฉุกเฉินโดยตรง ดังนั้น การพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉิน จ�ำเป็นต้องรับฟังเสียงสะท้อน และข้อเสนอแนะจากผู้แทนของภาคประชาชน ซึ่งประกอบด้วย เครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข กรุงเทพมหานคร มูลนิธิเพื่อศูนย์กลางอิสลาม เครือข่าย นักสื่อสารชุมชนและสื่อท้องถิ่น สมาคมพัฒนาชนบทสมบูรณ์ ผู้ประสานงาน 3 จังหวัดชายแดนใต้ ตัวแทนผู้ป่วยในนาม Healthy Forum ตัวแทนศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพ และศูนย์ 50 (5) สมาคมสายใยรักครอบครัว กลุ่มพิทักษ์สิทธิและ เสรีภาพของประชาชน เครือข่ายประชาชนต้านคอร์รัปชั่น มูลนิธิ สื่อสร้างสรรค์ มูลนิธิเพื่อนช่วยเพื่อน ชมรมเบาหวานรพ.จุฬาฯ อรุณอินสยาม มูลนิธิบูรณชนบท เครือข่ายเพื่อนมะเร็ง พลเมือง ฟ้าวันใหม่ เครือข่ายผู้ประสบภัยจากสึนามิ สถาบันชุมชนท้องถิ่น พัฒนา เครือข่ายสมัชชาสุขภาพ กลุ่มแม่ในเขตกทม. เครือข่าย จักรยานกู้ชีพ และเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี รวมทั้งสิ้น 50 คน เป็นคณะท�ำงานพัฒนาเครือข่ายการแพทย์ฉุกเฉินภาคประชาชน

14 ¡ÒÃá¾·Â©Ø¡à©Ô¹ ÊÒÃà¤Ã×Í¢‹ÒÂ

คณะท�ำงานชุดนี้ มีการประชุมต่อเนื่องกันมาทุกๆ 2 เดือน เพื่อพิจารณาหาแนวทางพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉิน เพื่อให้ประชาชนและกลุ่มเป้าหมายต่างๆ เข้าถึงระบบการแพทย์ ฉุกเฉินได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียม และมีการตั้งคณะท�ำงานย่อย ขึ้นมา เพื่อจัดท�ำหลักสูตรการเอาชีวิตรอดจากอัคคีภัย/แผ่นดิน ไหว/การจมน�้ำ/และหลักสูตรอาสาฉุกเฉินชุมชน (อฉช.) เสนอ เข้าในหลักสูตรการเรียนการสอนของกระทรวงศึกษาธิการ รวม ทั้งจัดท�ำคู่มือหลักสูตรส�ำหรับวิทยากร เรื่อง การพาผู้ป่วยจิตเวช รุนแรงฉุกเฉินไปสถานบ�ำบัดรักษาอย่างมีประสิทธิภาพรวดเร็ว และทันกาล ซึ่งจะมีการฝึกอบรมน�ำร่องในพื้นที่จังหวัดเลย ในเบื้องต้น หลังจากมีการประชุมหารือ ท�ำความรู้จัก และทราบถึงบทบาทและภาระหน้าที่ของสถาบันการแพทย์ ฉุก เฉิน แห่ ง ชาติ คณะท�ำ งานมีค วามประสงค์ จ ะฝึ ก อบรม หลักสูตร อาสาฉุกเฉินชุมชน (อฉช.) เพื่อน�ำไปต่อยอดในการ พัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉินของแต่ละองค์กร แต่ละชุมชน ต่อไป ทางสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติจึงจัดฝึกอบรมให้แก่ คณะท�ำงาน เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2559 ที่สถาบันการแพทย์ ฉุกเฉินแห่งชาติ ซึ่งคณะท�ำงานแต่ละท่านที่ผ่านการฝึกอบรม จะสามารถน�ำองค์ความรู้ไปพัฒนาต่อยอดต่อไป


ระบบสารสนเทศการแพทย์ฉุกเฉิน ตอนที่ (Information Technology for Emergency Medical Service system: ITEMS)

1

นายบัณฑิต พีระพันธ์ ผู้จัดการงานบริหารระบบสารสนเทศ

การเกิดอุบัติเหตุหรือการเจ็บป่วยฉุกเฉินสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนทุกที่ทุกเวลา ผู้ป่วยจ�ำเป็นจะต้องได้รับการดูแล เพื่อรักษาชีวิตและลดโอกาสการเกิดความพิการของผู้ป่วยอย่างทันท่วงที ระบบสารสนเทศการแพทย์ฉุกเฉินเป็นระบบงานที่พัฒนาขึ้น โดย สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ เพื่อสนับสนุน “ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน” (Emergency Medical Service System : EMS) ซึ่งใช้ในการบันทึกข้อมูลการรับแจ้งเหตุและสนับสนุนข้อมูลในการให้บริการการแพทย์ฉุกเฉิน เมื่อผู้พบเหตุแจ้งเหตุผ่านทางช่องทาง การสื่อสาร เช่น สายฉุกเฉิน 1669 หรือ Mobile Application EMS1669 เป็นต้น โดยจะมีการคัดกรองระดับความฉุกเฉินตาม “หลักเกณฑ์การประเมินเพื่อคัดแยกระดับความฉุกเฉินและมาตรฐานการปฏิบัติการฉุกเฉิน” จากนั้นจะท�ำการประสานให้ชุดปฏิบัติการ ที่เหมาะสมออกปฏิบัติการดูแลผู้ป่วย พร้อมติดตามปฏิบัติการจนกระทั่งน�ำส่งผู้ป่วยถึงโรงพยาบาล หรือจนกว่าผู้ป่วยจะพ้นจาก ภาวะฉุกเฉิน ข้อมูลในระบบทั้งหมดจะถูกรวบรวมไว้เพื่อใช้ในการประมวลผลส�ำหรับการพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉิน ตลอดไปถึง ส่งต่อข้อมูลให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้ในการวางแผนในเชิงป้องกันต่อไปในอนาคต

ÊÒÃà¤Ã×Í¢‹Ò ¡ÒÃá¾·Â ©Ø¡à©Ô¹

15


การประชุมการแพทย์ฉุกเฉิน

ขององค์กรปกครองส่ ว นท้ อ งถิ่ น ระดั บ ชาติ ครั้ งที่ 3 ในปลายปีนี้ เครือข่ายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ก�ำหนดการประชุมการแพทย์ฉุกเฉินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ระดับชาติ ครั้งที่ 3 โดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคามและสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติร่วมกันเป็นเจ้าภาพหลักในการ จัดประชุม “การแพทย์ฉุกเฉินดิจิทัลสู่การพัฒนานครอัจฉริยะ” (Digital EMS Toward Smart City Development) ในวันที่ 16-18 พฤศจิกายน 2559 ณ โรงแรมตักศิลา อ�ำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างองค์ความรู้และ แลกเปลี่ ย นเรี ย นรู ้ ง านการแพทย์ ฉุ ก เฉิ น ขององค์ ก รปกครองส่ ว นท้ อ งถิ่ น และเพื่ อ สร้ า งความเข้ ม แข็ ง ของภาคี เ ครื อ ข่ า ยด้ า น การแพทย์ฉุกเฉิน ซึ่งจะท�ำให้การสนับสนุนและส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถด�ำเนินงานและบริหารจัดการ ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีกลุ่มเป้าหมาย เป็นผู้บริหารและผู้รับผิดชอบ งานด้านการแพทย์ฉุกเฉินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคีเครือข่าย จ�ำนวนประมาณ 2,000 คน สามารถลงทะเบียน เข้าร่วมประชุมผ่าน Website ของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติและองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.)

88/40 หมู่ 4 อาคารเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 84 พรรษา สาธารณสุข 6 ถนนติวานนท์ ต�ำบลตลาดขวัญ อ�ำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000 โทรศัพท์ 0 2872 1669 โทรสาร 0 2872 1602-5 www.niems.go.th


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.