Book ayutthaya

Page 1

จัดทาโดย นักศึกษาหลักสูตรสังคมศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช


เอกสารประกอบการศึกษาภาคสนามนอกภูมิภาค

พระนครศรีอยุธยา ระว่างวันที่ ๑๘ – ๒๔ มกราคม ๒๕๕๘ ณ ภาคตะวันตกและภาคกลางของประเทศไทย


ภาคสนามนอกภูมภิ าค ประจาปีการศึกษา ๒๕๕๘

เอกสารเล่มนี้จัดทาขึ้นเพื่อเป็นให้ความรู้ และเพื่อเป็นประโยชน์สาหรั บนักศึกษา ในการศึ ก ษานอกภู มิ ภ าค ประจ าปี ก ารศึ ก ษา ๒๕๕๘ ที่ อุ ท ยานประวั ติ ศ าสตร์ พระนครศรีอยุธยา ไว้อย่างกระชับและน่าสนใจ เอกสารเล่มนี้ประกอบด้วยเนื้อหาทางด้านประวัติศาสตร์ของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา แม่ น้ าสายส าคั ญ และ บริ เ วณอุ ท ยานประวั ติ ศ าสตร์ พ ระนครศรี อ ยุ ธ ยา ประกอบด้ ว ย พิพิ ธ ภัณ ฑสถานแห่ ช าติ เ จ้าสามพระยา วัด มหาธาตุ วั ด หน้ า พระราม วิห ารมงคลบพิ ต ร

วัดพระศรีสรรเพชญ์ พระราชวังโบราณ วัดใหญ่ชัยมงคล และวัดพนัญเชิง เพื่อให้นักศึกษา และผู้ที่สนใจได้ศึกษาและนาความรู้ที่ได้รับไปบู รณาการในชั้นเรียนและนาไปปรับใช้ในการ เรียนการสอนได้ อย่างเหมาะสม หวั ง เป็ น อย่ า งยิ่ ง ว่ า เอกสารประกอบการศึ ก ษาภาคสนามนอกภู มิ ภ าค ประจ าปี การศึ ก ษา ๒๕๕๘ ที่ อุ ท ยานประวั ติ ศ าสตร์ พ ระนครศรี อ ยุ ธ ยา เล่ ม นี้ จะเป็ น ประโยชน์

กับศึกษา และผู้ที่สนใจ


ภาคสนามนอกภูมภิ าค ประจาปีการศึกษา ๒๕๕๘

สารบัญ ประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา แม่น้าเจ้าพระยา แม่น้าลพบุรี แม่น้าป่าสัก พระมหากษัตริย์อยุธยา ศิลปะอยุธยา แผนที่อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา วัดมหาธาตุ วัดหน้าพระราม พระวิหารมงคลบพิตร วัดพระศรีสรรเพชญ์ พระราชวังโบราณ วัดใหญ่ชัยมงคล วัดพนัญเชิง

๑ ๒ ๓ ๔ ๖ ๑๑ ๕๑ ๕๓ ๕๖ ๕๗ ๕๘ ๖๐ ๖๒ ๖๗ ๖๙


เอกสารประกอบการศึกษาภาคสนามนอกภูมิภาค

พระนครศรีอยุธยา ระว่างวันที่ ๑๘ – ๒๔ มกราคม ๒๕๕๘ ณ ภาคตะวันตกและภาคกลางของประเทศไทย


ภาคสนามนอกภูมภิ าค ประจาปีการศึกษา ๒๕๕๘

พระนครศรีอยุธยา นครประวัตศิ าสตร์มรดกโลก

อยุธยาเป็นเมืองหลวงของสยามเป็นเวลาทั้งสิ้น ๔๑๗ ปี สมเด็จพระรามธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอยู่ทอง) ทรง สถาปนากรุงศรีอยุธยา เมื่อวันศุกร์ที่ ๔ มีนาคม พ.ศ.๑๘๙๓ และล่มสลายลงในสมัยพระเจ้าเอกทัศน์ เมื่อวันที่ ๗ เมษายน พ.ศ.๒๓๑๐ อยุธยามีกษัตริย์ปกครองทั้งหมด ๓๔ พระองค์ จาก ๕ ราชวงศ์ (มีราชวงศ์ อู่ทอง สุพรรณบุรี สุ โ ขทั ย ปราสาททอง และบ้ า นพลู ห ลวง) มี พ ระพุ ท ธศาสนาแบบหิ น ยานเป็ น ศาสนาประจ าอาณาจั ก ร แต่ ใ น ขณะเดียวกันก็มีความเชื่อด้านวิญญาณและพระพุทธศาสนาแบบมหายานเจือปนอยู่ด้วย สาหรับในสถาบันกษัตริย์ของ อยุธยา ก็ยังใช้พิธีกรรมที่เป็นพราหมณ์เป็นการสร้างอานาจและความศักดิ์สิทธิ์ เป็นการผสมระหว่างหลัก ธรรมราชา และ เทวราชา


ภาคสนามนอกภูมภิ าค ประจาปีการศึกษา ๒๕๕๘

กรุ ง ศรอยุ ธ ยาตั้ ง อยู่ บ นเกาะที่ มี แม่น้า ๓ สาย ล้อมรอบ ซึ่งทาหน้าที่เป็นคู เมือง ได้แก่ แม่น้าเจ้าพระยา เป็นคูเมือง ด้านทิศตะวันตก และแม่น้าลพบุรี เป็นคู เมืองด้านทิศเหนือ และแม่น้าป่าศักดิ์ เป็น คูเมืองด้านทิ ศตะวั นออก ภูมิศาสตร์ของ ที่ตั้งกรุงที่มีแม่น้า ๓ สายล้อมรอบนี้ ทาให้ อยุธยาสามารถควบคุมเส้นทางคมนาคมที่ สาคัญของราชอาณาจักรไว้ได้ อันส่งผลให้ ควบคุมกลไกทางการเมืองการปกครอง หัวเมือง ทหาร และการค้าไว้ที่ศูนย์กลางของราชอาณาจักร ยิ่งไปกว่านั้น ที่ราบลุ่มแม่น้าเจ้าพระยาและที่ราบลุ่มแม่น้าสายต่างๆ ในที่ราบภาคกลาง ทั้งแม่น้าแม่กลอง ท่าจีน บางปะกง ทาให้พื้นที่แถบนี้อุดมสมบูรณ์ไปด้วย ข้าวปลาอาหาร

แม่นาเจ้ ้ าพระยา แม่น้าเจ้าพระยามีความยาวประมาณ ๓๖๐ กิโลเมตร โดยมีจุดเริ่มต้นที่ปากแม่น้าโพ ในเขตอาเภอเมือง จังหวัดนครสรรค์ ซึง่ เป็นจุดบรรจบของแม่น้าปิงและแม่น้าน่าน แม่น้าปิง มีต้นกาเนิดมาจากดอยถ้วยในเทือกเขาแดนลาว อาเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ เป็นแม่น้า สายเล็ก ๆ ไหลลงสู่ทางใต้เฉลีดใกล้เมืองหริภุณชัย ผ่านอาเภอจอมทอง อาเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ ผ่านเข้าสู่ จังหวัดตาก กาแพงเพชร และนครสวรรค์ ไปสิ้นสุดที่ปากน้าโพ รวมความยาวประมาณ ๗๑๕ กิโลเมตร แม่น้าน่าน แม่น้านี้โบราณเรียกว่า แควใหญ่ มีต้นกาเนิดมาจากเทือกเขาหลวงพระบาง ในเขตอาเภอ ปั ว จั ง หวัด น่ าน ไหลผ่ า นจั งหวั ดน่ า น สุ โ ขทั ย อุ ตรดิ ต ถ์ พิษ ณุ โ ลก พิ จิ ตร แล้ ว จึ งไหลไปรวมกับ แม่น้ าปิ ง ที่ปากน้าโพ จังหวัดนครสวรรค์ รวมความยาวประมาณ ๗๔๐ กิโลเมตร แม่น้ายม มีต้นกาเนิดมาจากทิวเขาผีปันน้า บริเวณดอยภูรังกา อาเภอปง จังหวัดพะเยา ไหลผ่านที่ ราบในอาเภอปง ผ่านอาเภอม่ว น จั งหวัดพระเยา มาบรรจบกับล าน้างาวที่สบงาว อาเภอสอง จังหวัดแพร่ จากนั้ นไหลวกไปทางตะวัน ตก ผ่ านจังหวัดสุโขทัย แล้ วไหลไปทางตะวันออกเฉียงใต้ใกล้แม่น้าน่าน ก่อนที่ จะบรรจบกั น ที่ ป ากน้ าเกยไชย บ้ า นเกยไชย อ าเภอชุ ม แสง จั ง หวั ด นครสวรรค์ รวมความยาวประมาณ ๗๐๐ กิโลเมตร


ภาคสนามนอกภูมภิ าค ประจาปีการศึกษา ๒๕๕๘

แม่น้าวัง เป็นแม่น้าอยู่ในภาคเหนือของไทย เกิดในเทือกเขาผีปันน้าในเขตจังหวัดเชียงราย มีความยาว ๓๘๒ กิโลเมตร ไหลไปรวมกับแม่น้าปิง ที่อาเภอบ้านตาก จังหวัดตาก ก่อนจะไหลไปที่แม่น้าเจ้าพระยา ลุ่มน้าวัง เป็นลุ่มน้าในลาดับที่ ๗ จากจานวนลุ่มน้าทั้งหมด ๒๕ ลุ่มน้าของประเทศมีพื้นที่ ประมาณ ๑๐,๗๙๑ ตาราง กิโลเมตร หรือ ๖,๗๔๖,๒๕๐ ไร่ เป็นแควที่มีขนาดเล็กและสั้นที่สุดของแม่น้าเจ้าพระยา มีความยาวตามลาน้า ประมาณ ๔๖๐ กิโลเมตร เกิดจากเทือกเขาผีปันน้า บริเวณดอยหลวง บ้านป่าหุ่ง อาเภอพาน จังหวัดเชียงราย

ที่ตั้งของเมืองหลวงอยุธยาอยู่ห่างจากปากแม่น้าหรืออ่าวไทยประมาณ ๑๔๓ กิโลเมตร (ตามเส้นทาง ของแม่น้า) ระยะทางที่เหยียดยาวนี้สืบเนื่องจากการที่แม่น้าไหลคดเคี้ยวเลี้ยวลดผ่านปทุมธานี นนทบุรี บากกอก (กรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์) ออกสู่ทะเลที่สมุทรปราการ ดังนั้น ในสมัยที่อยุธยาต้องการที่จะส่งเสริมการค้า และการคมนาคมระหว่างเมืองหลวงกับต่างอาณาจักรอื่นๆ โดยทางทะเล จึงได้มีการขุดคลองลัดเพื่อย่นระยะทาง ของแม่น้ารวม ๔ ช่วงด้วยกัน คือ คลองลัด บางกอก (ขุดเมื่อ พ.ศ.๒๐๗๗ – ๒๐๘๐ สมัยพระไชยราชาธิราช) คลองลัดเชียงราก (ปทุมธานี ขุดเมื่อ พ.ศ.๒๑๕๑ สมัยพระเจ้าทรงธรรม) คลองลั ดบางกรวย (หรือลัดเมืองนนท์ ขุ ด เมื่ อ พ.ศ.๒๑๗๘ สมั ย พระเจ้ า ปราสาททอง) และลั ด เกร็ ด (ปากเกร็ ด นนทบุ รี ขุ ด เมื่ อ พ.ศ.๒๒๖๕ สมัยพระเจ้าท้ายสระ)

แม่นาลพบุ ้ รี แม่น้าลพบุรีเป็นแม่น้าสายสั้นๆ มีความยาวประมาณ ๘๕ กิโลเมตร โดยเป็นแม่น้าที่แยกออกมาขาก แม่น้าเจ้าพระยาทางฝั่งตะวันออก แยกตัวตั้งแต่ตอนใต้ของอาเภอเมืองสิงห์ บุรีไหลเข้าสู่เขตจังหวัดลพบุรี เมือง ลพบุรีเป็นเมืองสาคัญและเก่าแก่ที่ปรากฏร่องรอยชุมชนมนุษย์มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เป็นเมืองใหญ่ใน อาณาจักรเขมร และเป็นเสมือนเมืองหลวงอีกแห่งหนึ่งในสมัยพระนารายณ์ แม่น้าลพบุรีไหลเข้าสู่เขตเมืองลพบุรี เป็นระยะทางไม่มากนักทางด้านใต้ของจังหวัดแล้วจึงไหลเข้าสู่อยุธยาผ่านอาเภอบ้านแพรก อาเภอมหาราช อาเภอบางปะหัง แล้วจึงไหลเป็น คลองเมือง ด้านทิศเหนือของเกาะกรุงศรีอยุธยา แล้งไหลไปบรรจบกับแม่น้า เจ้าพระยาที่ หัวแหลม ด้านตะวันตกของกรุง แม่น้าลพบุรีมีน้าน้อยในหน้าแล้ง


ภาคสนามนอกภูมภิ าค ประจาปีการศึกษา ๒๕๕๘

แม่นาป่ ้ าสัก แม่น้ าป่ าสักมีต้นน้ าในเขตเทือกเขาเพชรบูรณ์ ไหลผ่านอาเภอต่างๆ เกือ บจะทุกอาเภอของจังหวัด เพชรบูรณ์ แล้วไหลผ่านพื้นที่ด้านตะวันออกของลพบุรี และเป็นแม่น้าสานสาคัญของจังหวัดสระบุรี ไหลเข้าสู่ อยุธยาไหลบรรจบกับแม่น้าเจ้าพระยาที่ คุ้งสาเภาล่ม หรือบางกะจะหน้าป้อมเพชรและหน้าวัดพนัญเชิง อนึ่ง แม่น้าป่าสักที่เป็นคูเมืองด้านทิศตะวันออกนั้น เดิมทีนั้นแม่น้าป่าสักไหลรวมกั บแม่น้าลพบุรีด้านคู เมืองทิศเหนือ แต่เนื่องในคราวป้องกันสงครามกั บพม่าในช่วงสงครามก่อนเสียกรุงครั้งที่ ๑ จึงได้มีการขยาย อาณาเขตกรุงออกมาด้านตะวันออก และให้ขุด คูเมืองขื่อหน้า ตั้งแต่หัวรอไปจนถึง บางกะจะขึ้นเพื่อเป็นคูเมือง ซึ่งในปัจจุบันก็เรียกชื่อคลองคูขื่อหน้านี้ว่า แม่น้าป่าสัก แม่น้าป่าสักมีความยาวประมาณ ๕๐๐ กิโลเมตร เป็น แม่น้าที่มีเกาะแก่งมากไม่สะดวกต่อการเดินเรือ

คลอง คลองสาคัญในเกาะกรุงศรีอยุธยา ส่วนใหญ่เป็นคลองที่เชื่อมแม่น้าลพบุรีกับแม่น้าเจ้าพระยาหรือเชื่อม จากเหนือลงใต้ทั้งนี้เพื่อดึงน้าเข้ามาใช้ในเมืองด้วย คลองในกรุงมีมากกว่า ๑๐ สาย ที่ยังทราบชื่อได้แก่ คลองในไก่ (หรือคลองมะขามเรียง เชื่อมจากวังหน้า แถวหัวรอลงมาถึงแถวป้อมเพชร) คลองประตูจีน (ตัดผ่านหน้าวัดราชบูรณะและวัดมหาธาตุ ซึ่งคลองช่วงหน้าวัด นี้จนถึงแม่น้าลพบุรีบางทีเรียกชื่อว่าคลองประตูข้าวเปลือก) คลองประตูเทพหมี คลองฉะไกรน้อย คลองฉะไกร ใหญ่ (หรือคลองท่อ ซึ่งเป็นคลองที่ตัดผ่านด้านท้ายพระราชวังโบราณ และเป็นแหล่งน้าสาหรับใช้สอยที่สาคัญ ของพระบรมมหาราชวังด้วย) ขณะเดียวกันก็มีคลองอีกหลานสายที่วางแนวขวาง เชื่อตะวันออก-ตะวันตก เพื่อ เชื่อมคลองทุกสายในกรุงเข้าด้วยกัน ส่วนพื้นที่ฝั่งนอกกรุงศรีอยุธยาโดยรอบนั้น ก็มีคลองสายสาคัญๆ เช่น พื้นที่ด้านตะวันออก เช่น คลองวัด เดิม (คลองหันตรา หรือแม่เบีย้ ) คลองวัดประดู่ คลองบ้านบาตร (หรือคลองกะมัง) คลองข้าวสาร และคลองสวน พลู ทุกคลองเชื่อมต่อกันเป็นแหล่งชุมชนหนาแน่นและหลากหลายเชื้อชาติในสมัยอยุธยา ทั้งยังเป็นตลาดการค้า ของสินค้าจากหัวเมืองและต่างอาณาจักร เป็นเขตโรงต้มกลั่นสุรา โรงเลียงหมู และแหล่งขายข้าวเปลือก และท่า จอดเรือสาเภา เป็นต้น


ภาคสนามนอกภูมภิ าค ประจาปีการศึกษา ๒๕๕๘

พื้นที่นอกเกาะกรุงด้านใต้มี คลองคูจาม เป็นเส้นทางลัดสาหรับเรือเล็กที่ไม่สามารถพายทวนกระแสน้า ของแม่น้าเจ้าพระยาได้ โดยเข้าทางปากคลองตะเคียนฝั่งตะวันตกของแม่น้าเจ้าพระยา พานทวนน้าตามคลอง ขึ้นมาแล้วออกแม่น้าเจ้าพระยาบริเวณวัดพุทไธษวรรย์ ชุมชนในเขตคลองคูจามเป็น แขก ทั้งชาวชวาและมลายู นับถือศาสนาอิสลามเป็นสาคัญ พื้นที่นอกเกาะกรุงด้านเหนือ มีคลองมหานาค ที่ขุดเชื่อมเกาะกรุงกับทุ่งภูเขาทองและคลองสระบัว ซึ่ง เป็นคลองที่อยู่ด้านเหนือของพระราชวังหลวง ที่ใช้เป็นเส้นทางไปยังเพนียดคล้องช้างและแม่น้าลพบุรี โดย คลองสระบัวมีชุมชนบ้านหม้อย่านวัดครุฑที่ทา นางเลิ้ง โอ่งน้าดินเผาสีแดงไม่เคลือบทาขายในสมัยอยุธยา


ภาคสนามนอกภูมภิ าค ประจาปีการศึกษา ๒๕๕๘

กษัตริย์อยุธยา ประวัติศาสตร์สมัยอยุธยาตลอดระยะเวลา ๕๓๗ ปี ในฐานะของการเป็นราชธานีแห่งราชอาณาจักร สยามภายใต้การปกครองของ ๕ ราชวงศ์ ปรากฏงานเขียนทางประวัติศาสตร์ลักษณะที่เรียกว่า “พงศาวดาร” และ “ตานาน”ประกอบกัน จากข้อมูลทางประวัติศาสตร์อยุธยาที่พบในปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นงานที่ได้จากเขียน ขึ้นใหม่ทั้งสิ้น ในสมัยรัตนโกสินทร์ประกอบด้วยข้อมูล จากเอกสารทางประวัติศาสตร์จานวนหนึ่ง เป็นเอกสารที่ มีทั้งข้อมูลที่เหมือนและมีความขัดแย้งประกอบกัน ดังนั้นข้อมูลทางประวัติศาสตร์อยุธยาในปัจจุบัน จึงสามารถ เรียกได้ว่าเป็น”งานประวัติศาสตร์นิพนธ์ ” ที่ผ่านการชาระโดยนักวิชาการทางประวัติศาสตร์ จนปรากฏเป็น ทฤษฎีที่ยอมรับแล้วในปัจจุบัน ประวัติศาสตร์สมัยอยุธยาออกเป็นช่วงสมัยต่างๆ ๓ ตอน โดยสรุปได้ดังนี้ ๑. ประวัติศาสตร์สมัยอยุธยาตอนต้น (สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ รัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ) การสถาปนากรุงศรีอยุธยาปี พ.ศ.๑๘๙๓ โดยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑(พระเจ้าอู่ทอง)จนถึงสิ้นรัชกาลสมเด็จ

พระบรมไตรโลกนาถ ในปี พ.ศ.๒o๓๑ รวมระยะเวลา ๓๓๘ ปี ภายใต้การปกครองของ ๒ ราชวงศ์ คือ ราชวงศ์ ฝ่ายเหนือ(ราชวงศ์เชียงราย,อู่ทอง)และราชวงศ์สุพรรณภูมิ ๒. ประวัติศาสตร์สมัยอยุธยาตอนกลาง (สมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๓ รัชกาลสมเด็จพระอาทิต ยวงศ์) ประวัติศาสตร์สมัยอยุธยาตอนกลาง เริ่มตั้งแต่รัชกาลสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๓ ในปี พ.ศ.๒o๓๑ ถึงสิ้นรัชกาลสมเด็จพระอาทิตยวงศ์ในปี พ.ศ.๒๑๗๒ รวม ๑๔๒ปี ภายใต้การปกครองของ ๒ราชวงศ์ คือ ราชวงศ์สุพรรณภูมิ และราชวงศ์สุโขทัย ๓. ประวัติศาสตร์สมัยอยุธยาตอนปลาย (สมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง-รัชกาลสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์) ประวัติศาสตร์สมัยอยุธยาตอนปลาย เริ่มตั้งแต่รัชกาลสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ในปี พ.ศ.๒๑๗๓ ถึงเสียกรุง ศรีอยุธยาครั้งที่ ๒ เมื่อปี พ.ศ.๒๓๑o ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ รวม ๑๓๗ ปี เป็นสมัยของการ ปรับเปลี่ยนอานาจจากกลุ่มกษัตริย์ไปสู่อานาจของกลุ่มขุนนางราชวงศ์ปราสาททอง และราชวงศ์บ้านพลูหลวง


ภาคสนามนอกภูมภิ าค ประจาปีการศึกษา ๒๕๕๘

กษัตริยแ์ ห่

ราชวงศ์อู่ทอง ราชวงศ์สพุ รรณภูมิ ราชวงศ์สโุ ขทัย พระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง) พ.ศ. ๑๘๙๓-๑๙๑๒

พระราเมศวร ครั้งที่ ๑ พ.ศ.๑๙๑๒-๑๙๑๓ ครั้งที่ ๒ พ.ศ.๑๙๓๑-๑๙๓๘

พระบรมราชาธิราชที่ ๑ (ขุนหลวงพะงั่ว) พ.ศ.๑๙๑๓-๑๙๓๑

พระเจ้าทองลัน พ.ศ.๑๙๑๓ (ครองราชย์ ๗ วัน) พระอินทราชาธิราชที่ ๑ พ.ศ.๑๙๕๒-๑๙๖๗ พระรามราชาธิราช พ.ศ.๑๙๓๘-๑๙๕๒

พระมหาธรรมราชา พ.ศ.๒๑๑๒-๒๑๓๓

พระนเรศวร พ.ศ.๒๑๓๓-๒๑๔๔

สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ พ.ศ.๑๙๖๗-๑๙๙๑ ขุนวรวงศาธิราช พ.ศ.๒o๙๑ (๒ เดือน)

พระบรมราชาหน่อพุทธางกูร พ.ศ.๒o๗๒-๒o๗๖ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ พ.ศ.๑๙๙๑-๒o๓๑ พ.ศ.๒o๓๔-๒o๗๒ สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๓ พ.ศ.๒o๓๑-๒o๓๔


ภาคสนามนอกภูมภิ าค ประจาปีการศึกษา ๒๕๕๘

งอยุธยา

ราชวงศ์บ้านพลู หลวง ราชวงศ์ปราสาททอง พระเพทราชา พ.ศ.๒๒๓๑-๒๒๔๖ พระเจ้าเสือ พ.ศ.๒๒๔๖-๒๒๕๒ พระเจ้าท้ายสระ พ.ศ.๒๒๕๒-๒๒๗๕

พระเจ้าปราสาททอง พ.ศ.๒๑๗๒-๒๑๙๙ เจ้าฟ้าไชย พ.ศ.๒๑๙๙(๒วัน) พระศรีสุธรรมราชา พ.ศ.๒๑๙๙(๒เดือน ๓๘ วัน)

พระเจ้าบรมโกศ พ.ศ.๒๒๗๕-๒๓o๑

พ.ศ.๒๓o๑-๒๓๑o พระเจ้าเอกทัศ

พระเจ้าอุทุมพร พ.ศ. ๒๓o๑

พระนารายณ์ พ.ศ.๒๑๙๙-๒๒๓๑

พระเอกาทศรถ พ.ศ.๒๑๔๔-๒๑๕๕

พระศรีเสาวภาคย์ พระเจ้าทรงธรรม พระเชษฐาธิราช พ.ศ.๒๑๕๕ พ.ศ.๒๑๕๕-๒๑๗๑ พ.ศ.๒๑๗๑-๒๑๗๒

พระอทิตยวงศ์ พ.ศ.๒๑๗๒

พระยอดฟ้า พ.ศ.๒o๙o-๒o๙๑ พระรัษฎาธิราช สมเด็จพระไชยราชาธิราช พระมหาจักรพรรดิ พ.ศ.๒o๗๒-๒o๗๗ พ.ศ.๒o๗๗-๒o๙o พ.ศ.๒o๙๑-๒๑๑๑

พระมหินทราธิราช พ.ศ.๒๑๑๑-๒๑๑๒


ภาคสนามนอกภูมภิ าค ประจาปีการศึกษา ๒๕๕๘

ศิลปะอยุธยา

พุทธศตวรรษที่ ๒๑ – ๒๓ การเติบของรัฐบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้าเจ้าพระยา แม่น้าท่าจีน และแม่น้าแม่กลอง นั บตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๘ เป็นต้นมา รัฐเหล่านี้ได้ผ่านช่วงเวลาแห่งการพัฒนาโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรม เกิดการแลกเปลี่ยนและ เรียนรู้ทางวัฒนธรรมจนในที่สุดสามารถสร้างสถานะของรัฐที่พัฒนาสู่การเป็นราชธานี ศิลปะอยุธยาเริ่มเด่นชัดขึ้นในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๙ เมื่อวัฒนธรรมจากเขมรซึ่งสันนิษฐานว่ามาจาก เมืองลพบุรีเริ่มเบาบางลง การเริ่มต้นในการสร้างเอกลักษณ์ของรูปแบบศิลปกรรมเช่นเดียวกับความสัมพันธ์ที่มีใน รัฐสุโขทัย ล้านนา และอู่ทองสุพรรณภูมิ รวมไปถึงความสัมพันธ์หรือแรงบันดาลใจจากวัฒนธรรมพุกามในประเทศ พม่ า ได้ ห ล่ อ หลอมให้ เ กิ ด เอกลั ก ษณ์ ข องความเป็ น อยุ ธ ยาภายใต้ ร ะบบพระมหากษั ต ริ ย์ แ ละรั ฐ ที่ นั บ ถื อ พระพุทธศาสนาจึงเป็นเครื่องยึดโยงให้เกิดระบบที่ขับเคลื่อนกรุงศรอยุธยาในฐานะราชธานีแห่งแรกของประเทศ ไทย หลักฐานปรากฏความสัมพันธ์กับรัฐต่างๆ ทั้งในและภายนอกภูมิภาคโดยเฉพาะทางการทูต เช่น ส่งคณะ ทูตไปเจริญสัมพัน ธไมตรีกั บเมืองจี นในสมัยสมเด็จพระนครินทราธิ ราช จนเป็นที่มาของการพบศิล ปะจีนอย่าง มากมายในกลุ่มพระปรางค์วัดราชบูรณะ การปฏิ รู ป การปกครองรั ฐ ของอยุ ธ ยามี ค วามชั ด เจนขึ้ น อี ก ครั้ ง เมื่ อ สมเด็ จ พระบรมไตรโลกนาถทรง วางรากฐานการปกครองใหม่กล่าวคือการก่อตัวขึ้นของระบบศักดินาอย่างเต็มรูปแบบอันเกิดจากความต้องการใน การสร้างความมั่นคงของสถาบันกษัตริย์รวมไปถึงการวางระบบการปกครองส่วนกลางที่เรียกว่า จุตุสดมภ์ ได้แก่ เวียง วัง คลัง นา เพื่อทาหน้าที่ในการบริหารราชการแผ่นดิน นอกจากนั้นแล้วการที่พระองค์ทรงมีพระมารดาเป็น เชื้อพระวงศ์ในฝ่ายสุโขทัยประกอบกับการติดพันทั้งสุโขทัยและล้านนาทาให้เกิดการแลกเปลี่ยนของรูปแบบทาง ศิลปกรรม ปรากฏความนิยมในการสร้างเจดีย์กลมแบบสุโขทัยขึ้นในกรุงศรีอยุธยาในเวลาต่อมา


ภาคสนามนอกภูมภิ าค ประจาปีการศึกษา ๒๕๕๘

๑๐

ความวุ่นวายของอยุธยาเกิดขึ้นอีกครั้งในศึกกับพม่านามาซึ่งการสูญเสียอิสรภาพครั้งที่ ๑ ในปี พ.ศ.๒๑๑๒ หลังจากที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชและสมเด็จพระเอกาทศรถทรงกู้เอกราชได้ในอีก ๑๕ ปีต่อมา จึงคงเข้าสู่ยุค แห่งการฟื้นฟูบ้านเมือง ทานุบารุงพระศาสนาฟื้นฟูศิลปะวิทยาการภายในพระนคร ดังปรากฏการสร้างพระพุทธ บาท จ. สระบุรี ในสมัยแผ่นดินพระเจ้าทรงธรรม นับได้ว่าเป็นยุคที่อยุธยามีความเจริญก้าวหน้าในหลายๆ ด้านรวม

ไปถึงความสัมพันธ์กับต่างชาติด้วย ในปี พ.ศ.๒๑๗๒ สมเด็จพระเจ้าปราสาททองขึ้นครองราชย์พระองค์ทรงฟื้นฟูคติความเชื่อดั้งเดิมของเขมร โดยกลับมาสร้างพระปรางค์แบบขอมอีกครั้ง เช่น วัดไชยวัฒนาราม จ. พระนครศรีอยุธยา รวมไปถึงการสร้างเจดีย์ มีเหลี่ยมย่อมุมซึ่งปรากฏรูปแบบอย่างชัดเจนในช่วงราชกาลของพระองค์ สมเด็จพระนารายณ์ทรงขึ้นครองราชย์ เมื่อปี พ.ศ.๒๑๙๙ กล่าวได้ว่าเป็นยุคทองของความสัมพันธ์กับต่างประเทศรวมไปถึงความเจริญทางศิลปะวิทยาการ ต่างๆ การรับเอาเทคโนโลยีการก่อสร้างจากตะวันตกก่อ ให้เกิดการพัฒนารูปแบบในศิลปะและสถาปัตยกรรมไทย เราเรียกว่า ศิลปะสกุลช่าง สมเด็จพระนารายณ์ ทั้งความรู้ที่ได้จากแขก ฝรั่ง จีน และชาติต่างๆ ในภูมิภาค กล่าวได้ ว่าการเริ่มต้นของเทคโนโลยีในการก่อสร้างโดยเฉพาะอาคารได้รับการปฏิรูปตั้งแต่ยุคนี้เป็นต้นไป เมื่อพระพระเพทราชาขึ้นครองราชย์และสถาปนาราชวงศ์บ้านพลูหลวงขึ้นในปี พ.ศ.๒๒๓๑ เป็นช่วงเวลาที่ กล่าวได้ว่าศิลปะอยุธยาได้สร้างสรรค์รูปแบบจนมีเอกลักษณ์ของตนเอง สุนทรียภาพและเอกลักษณ์ของช่างชาว อยุธยาได้ถ่ายทอดผ่านงานศิลปะและสถาปัตยกรรมอย่างชัดเจน เช่น ลวดลายในศิลปกรรมไทยหรือ การปรับแบบ สถาปั ต ยกรรมไทยให้ มี ค วามสู ง มากขึ้ น เป็ น ต้ น การพั ฒ นางานของช่ า งอยุ ธ ยายั ง คงด ารงอยู่ เ ช่ น นี้ จ นถึ ง ปี พ.ศ.๒๓๑๐ อยุธยาได้เสียเอกสารเป็นครั้งที่ ๒ ให้กับพม่า และถือเป็นจุดสิ้นจุดของรัฐและศิลปกรรมแบบอยุธยา


๑๑

ภาคสนามนอกภูมภิ าค ประจาปีการศึกษา ๒๕๕๘

ช่วงเวลาในศิลปะอยุธยา การแบ่งช่วงเวลาในศิลปะอยุธยา ได้ สะท้อนปรากฏกา รณทางประวัติศาสตร์ความต่อเนื่องกับความเปลี่ยนแปลงควบคู่ เป็นเหตุเป็นผลกันเสมอมา แต่เดิมสมเด็จพระเจ้ าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาด ารงราชานุภ าพ ไดทรงแบ่ ง ไว้ เ ป็ น ๔ สมัย จาก หลักฐานรูปแบบสถาปัตยกรรม ต่อมาอาจารย์ตรี อมาตยกุล ได้ ลดเหลือเพียง ๓ ช่วง คือ ยุคต้น ตั้งแต่รัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ ถึงรัชกาล สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ยุคกลาง ตั้งแต่รัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ ถึงรัชกาลสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม

ยุคปลาย ตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททองจนถึงเสียกรุงศรีอยุธยา

สถาปัตยกรรมสมัยอยุธยา ในสมัยอยุธยาตอนต้นแผนผังของพุทธสถาปัตยกรรมโดยเฉพาะวัด มีลักษณะแบบแผนค่อนข้างชัดเจนคือ มักสร้างเจดีย์ประธานเป็นเจดีย์ทรงปรางค์เป็นหลักของวัด รอบปรางค์ประธานสร้างแนวกาแพงระเบียงคต โดย ระเบียงคตทางฝั่งทิศตะวันออกสร้างเป็นวิหารมักมีขนาดใหญ่ท้ายวิหารล้าเข้ามาในเขตเจดีย์ประธานเชื่อมต่อกับ แนวระเบียงคต ฝั่งทิศตะวันตกของปรางค์ประธานสร้างพระอุโบสถมีใบเสมารอบรอบมักมีขนาดเล็กกว่าพระวิหาร และไม่เชื่อมต่อกับระเบียงคต ทาให้วัดที่สร้างในสมัยอยุธยาตอนต้นส่วนใหญ่หันหน้าไปทางทิศตะวันออกเป็นหลัก เช่น แผนผังวัดพุทธไธสวรรค์ วัดพระราม วัดมหาธาตุ และวัดราชบูรณะ จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นต้น สมัยอยุธยาตอนปลายในช่วงแรกยังคงปรากฏแผนผังวัดขนาดใหญ่แต่เริ่มที่จะมีแนวโน้มเล็กลงตามลาดับ การสร้างเจดีย์ประธานเริ่มลดบทบาทลงนิยมสร้างพระอุโบสถเป็นหลักของวัด การวางผังทิศทางของวัดมักยึดทาง สัญจรเป็นหลักมากกว่าการกาหนดทิศตะวันออกตะวันตกเหมือนสมัยอยุธยาตอนต้น นิยมสร้างเจดีย์ขนาดเล็กอยู่ ในตาแหน่งต่างๆ ของผังบริเวณ เช่น วัดไชยวัฒนาราม วัดบรมพุทธาราม วัดพญาแมน จ.พระนครศรีอยุธยา วัดกวิศราราม วัดตองปุ จ.ลพบุรี และวัดโพธิ์ประทับช้าง จ.พิจิตร


ภาคสนามนอกภูมภิ าค ประจาปีการศึกษา ๒๕๕๘

๑๒

๑. เจดีย์ในสมัยอยุธยา ในสมัยอยุธยาตอนต้นนิยมสร้างเจดีย์ทรงปรางค์เป็นประธานของวัด สมัยอยุธยาตอนกลางจึงเริ่มนิยมสร้าง พระเจดีย์ทรงกลมหรือเจดีย์ทรงลังกา สันนิษฐานว่าได้แรงบันดาลใจมาจากสุโขทัย เมื่อเข้าสู่สมัยอยุธยาตอนปลาย ระยะแรกสร้างพระเจดีย์ทรงปรางค์เป็นหลักของวัด และลดบทบาทลง ทาให้บทบาทเจดีย์ประธานถูกปรับรูปแบบ เป็นเจดีย์รายหรือเจดีย์บริวารแทน มีขนาดเล็กลงและมีหลากหลายตามการพัฒนารูปแบบของสมัยอยุธยา สามารถ แบ่งประเภทของเจดีย์ตามลักษณะทางสถาปัตยกรรมได้ เช่น เจดีย์ทรงปรางค์ เจดีย์ทรงกลมหรือลังกา เจดีย์ทรง กลมฐานแปดเหลี่ยม เจดีย์ทรงปราสาทหรือปรางค์ยอดเจดีย์ และเจดีย์เหลี่ยมย่อมุม ๑.๑ เจดีย์ทรงปรางค์ เป็นเจดีย์ที่นิยมสร้างเป็นหลักของวัดของวัดมากที่สุดในสมัยอยุธยาตอนต้น เช่น ปรางค์ป ระธาน วัดพุทไธสวรรค์ วัดพระราม ปรางค์ ประธาน วัดมหาธาตุและปรางค์ประธาน วัดราชบูรณะ จ.พระนครศรีอยุธยา โดยเฉพาะปรางค์ประธานวัดราชบูรณะ ถือว่าเป็นแบบแผนของเจดีย์ทรงปรางค์สมัยอยุธยา ตอนต้นที่สมบูรณ์ที่สุด กล่าวคือเป็นพระปรางค์ก่อบนฐานไพทีบนฐานไพทีมีเจดีย์ประจามุขและประจาด้าน องค์ ปรางค์ป ระธานมี มุขทางเข้ ายื่ น ออกกจากองค์ปรางค์เ รียกว่ า ตรี มุข ยื่นออกทางทิศตะวันออกของเรือ นธาตุ มีทางเข้า ๓ ทาง พระปรางค์ลักษณะนี้คือลักษณะเด่นของสมัยอยุธยาตอนต้น ส่วนปรางค์องค์อื่นนั้นมักดีรับการ ซ่อมหรือเปลี่ยนแปลงแบบไม่มากก็น้อย ความนิยมในการสร้างปรางค์ปรากฏขึ้นอีกครั้งในสมัยอยุธยาตอนปลาย คือปรางค์ประธาน วัดไชยวัฒนาราม จ.พระนครศรีอยุธยา ลักษณะของปรางค์เป็นแบบปรางค์โดดไม่มีการสร้างตรี มุข ด้ านหน้ าของปรางค์ทาบั น ไดทางขึ้น เข้า ช่องคูห า ลั ก ษณะนี้เป็ นลั ก ษณะส าคั ญของปรางค์ ในช่ ว งสุ ดท้ าย หลั งจากนี้ ป รางค์จ ะเริ่ มมี ขนาดเล็ ก ลงและไม่นิ ยมสร้างปรางค์ในลั กษณะเป็น ปรางค์ประธานของวัดอีก เช่ น

พระปรางค์วัดประจามุม วัดไชยวัฒนาราม พระปรางค์ด้านหน้าพระอุโบสถ วัดบรมพุทธาราม จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นต้น

วัดราชบูรณะ


ภาคสนามนอกภูมภิ าค ประจาปีการศึกษา ๒๕๕๘

๑๓

๑.๒ เจดีย์ทรงกลมหรือลังกา เนื่องจากมีลักษณะคล้ายระฆังกลมคว่าลงซึ่งเป็นลักษณะที่มีความเด่นชัด ตลอดช่วงสมัยอยุธยามีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบและองค์ประกอบของเจดีย์ไม่มากนัก ส่วนใหญ่มักเปลี่ยนแปลงใน เรื่องการเพิ่มองค์ประกอบและการปรับสัดส่วนตามรสนิยมของยุคสมัยเท่านั้น เจดีย์ทรงกลมสมัยอยุธยาตอนต้นที่สาคัญองค์หนึ่งคือเจดีย์ประธานวัดแม่นางปลื้ม เป็นเจดีย์สิงห์ล้อมและ เจดีย์ประธาน วัดธรรมิกราช จ.พระนครศรีอยุธยา เจดีย์ทรงกลมนิยมสร้างมากขึ้นในสมัยอยุธยาตอนกลาง เช่น เจดีย์ประธานสามองค์ วัดพระศรีสรรเพชญ์ จ.พระนครศรีอยุธยา สร้างในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ (พ.ศ.๒๐๓๕) มีการเพิ่มมุขยื่นทั้งสี่ด้านตรงบริเวณมาลัย เถาใต้องค์ระฆัง มุขด้านทิศตะวันออกทาเป็นช่องคูหาเข้าสู่ห้องภายในเจดีย์ ส่วนอีกสามมุขเป็นผนังทึ บประดิษฐาน พระพุทธรูป ซึ่งการเพิ่มมุขในองค์เจดีย์นี้เป็ นวิธีที่ช่างไทยใช้ในการพัฒนารูปแบบสถาปัตยกรรมในรสนิยมของช่าง ไทยด้วย

ในสมัยอยุธยาตอนปลายเจดีย์ทรงกลมมักถูกสร้างให้มีขนาดเล็กลงมีทรวดทรงสูงขึ้นและในบางองค์มีการ เพิ่มลวดลายประดับชั้นฐานสิงห์เพิ่มในเจดีย์ด้วย เช่น เจดีย์บริวาร วัดเหมยงค์ จ.พระนครศรีอยุธยา ๑.๓ เจดีย์ทรงกลมฐานแปดเหลี่ยม เป็นเจดีย์ที่มีโครงสร้างใกล้เคียงกั บเจดีย์ทรงกลมแต่มีผังพื้นเป็นรูป แปดเหลี่ยมกล่าวคือเจดีย์จะตั้งอยู่บนฐานเขียงแปดเหลี่ยมซ้อน ๒ - ๓ ชั้น รองรับฐานบัวลูกแก้วแปดเหลี่ยม มาลัย เถาแปดเหลี่ยม และบัลลังก์ซึ่งมักเป็น ๔ – ๘ เหลี่ยม ส่วยยอดเหมือนเจดีย์กลมทั่วไปความแตกต่างอีกประการหนึ่ง คือ เจดีย์กลมฐานแปดเหลี่ยมมักมีโครงสร้างภายนอกสูงชะลูดคล้ายทรงกระบอกยอดแหลม ปรากฏรูปแบบตั้งแต่ ก่อนกรุงศรีอยุธยาจนถึงอยุธยาตอนกลาง เช่น เจดีย์ประธานวัดอโยธยา เจดีย์วัดหลังคาขาว เจดีย์ประธาน วัดใหญ่ ชัยมงคล เจดีย์ประธาน วัดสุวรรณาวาส จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นต้น ในสมัยอยุธยาตอนปลาย ตัวอย่างเช่น เจดีย์ ทองแดงในวัดเหมยงค์ ได้แสดงให้เห็นพัฒนาการโดยเพิ่มชั้นฐานสิงห์ ๘ เหลี่ยม เป็นองค์ประกอบใหม่ในองค์เจดีย์ เพิ่มขึ้นอีกด้วย

วัดราชบูรณะ

วัดพระศรีสรรเพชญ์


ภาคสนามนอกภูมภิ าค ประจาปีการศึกษา ๒๕๕๘

๑๔

๑.๔ เจดีย์ทรงปราสาทหรือปรางค์ยอดเจดีย์ หรือที่นักวิชาการบางท่านเรียกว่าเจดีย์ทรงปราสาทยอด เป็นแบบเจดีย์ที่มีลักษณะตั้งแต่ส่วนฐานถึงเรือนธาตุคล้ายพระปรางค์ ส่วนตั้งแต่เหนือเรือนธาตุเป็นเจดีย์ทรงกลมมี องค์ระฆังและส่วนยอด ลักษณะการผสมผสานเช่นนี้มีการเชื่อมโยงกั บรูปแบบที่พบในศิลปะสุโขทัย เช่น เจดีย์ราย บางองค์ในวัดมหาธาตุ จ.สุโขทัย ตัวอย่างสาคัญของเจดีย์ทรงปราสาทในสมัยอยุธยาตอนต้นคือเจดีย์ทรงปราสาท ประจามุมและด้านองค์ปรางค์ประธาน วัดมหาธาตุ จ .พระนครศรีอยุธยา เจดีย์องค์นี้มีลักษณะพิเศษคือ ส่วนของ

เจดีย์กลมที่เป็นยอดเป็นเจดีย์แบบมีเอวคอดไม่มีบลั ลังก์ยอดเป็นแบบบัวลูกแก้วขนาดใหญ่รียงกัน ๓ ลูกซ้อนสูงเป็น รูปกรวยบริเวณองค์ระฆังมีการตกแต่งเป็นพวงอุบะคล้ายลายตกแต่งในศิลปะแบบพุกาม ลักษณะเช่นนี้พัฒนาจนถึง สมัยอยุธยาตอนปลาย เช่น เจดีย์ทรงปราสาท วัดราชบูรณะ แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการที่สาคัญคือ ส่วนฐานพัฒนา เป็นฐานสิงห์ซ้อน ๓ ชั้น รองรับเรือนธาตุที่มีลักษะเรียวสูง เหนือยอดธาตุรองรับองค์ระฆังปรากฏมีชั้นบัวปากระฆัง เป็นบั วโถหรือบัว คลุ่มรองรั บ องค์ร ะฆังแต่องค์ระฆังและยอดหกไป ซึ่ งแสดงให้เห็นถึงพัฒนาการของเจดีย์ทรง ปราสาทที่เน้นลักษณะผอมสูงเป็น ทรงจองแห ซึ่งเป็นรสนิยมของช่างในสมัยอยุธยาตอนปลาย

เจดีย์ราย วัดมหาธาตุ ๑ .๕ เจดี ย์ ท รงเหลี่ ย มย่ อ มุ ม ยั ง มี ข้ อ โต้ แ ย้ ง เกี่ ย วกั บ สมมุ ติ ฐ านของการสร้ า งเจดี ย์ เ หลี่ ย มย่ อ มุ ม ซึ่ ง นั กวิช าการบางท่ านเชื่อว่ าสร้ างขึ้ น ตั้งแต่ ส มัยอยุธ ยาตอนกลาง คือ เจดีย์ศ รีสุ ริโ ยทั ย วัดสวนหลวงสพสวรรค์ จ.พระนครศรีอยุธยา อย่างไรก็ตามความนิยมในการสร้างเจดีย์เหลี่ ยมย่อมุมเริ่มชัดเจนและนิยมมากขึ้นตั้งแต่ช่วง ต้นสมัยอยุธยาตอนปลายคือ เจดีย์เหลี่ยมย่อมุมคู่หน้าพระอุโ บสถ วัดไชยวัฒนาราม จ .พระนครศรีอยุธยา ที่สร้าง ขึ้นในสมัยพระเจ้าปราสาททอง มีองค์ประกอบของเจดีย์เหมือนเจดีย์กลมเพียงแต่สร้างบนฐานย่อมุมไม้ ๑๒ และ ย่อมุมที่องค์เจดีย์ตั้งแต่ฐานจนถึงบัลลังก์


ภาคสนามนอกภูมภิ าค ประจาปีการศึกษา ๒๕๕๘

๑๕

ซึ่งเป็นลักษณะสาคัญของเจดีย์เหลี่ยมย่อมุมในสมัยพระเจ้าปราสาททอง ในสมัยพระเพทราชาเจดีย์เหลี่ยม ย่อมุมเปลี่ยนจากการใช้ฐานมาลัยเถา ๓ ชั้น มาเป็นฐานสิงห์ซ้อน ๓ ชั้น รองรับองค์ระฆังแทน เช่น เจดีย์เหลี่ยมย่อ มุมที่วัดพระยาแมน จ.พระนครศรีอยุธยา โดยมีแนวโน้มของเจดีย์ที่สูงขึ้นและมีการย่อมุมมากขึ้นจากย่อมุมไม้ ๑๒ เป็นถึงย่อมุมไม้ ๒๐ ในช่วงปลายเจดีย์เหลี่ยมย่อมุมได้มีการพัฒนาลวดลายประดั บตกแต่งให้มีความหรูหราขึ้น บัวปากระฆังเปลี่ยนเป็นบัวโถหรือบัวคลุ่ม ปล้องไฉนเปลี่ยนเป็นบัวคลุ่มรองรับปลีที่มีลูกแก้วขั้น บริเวณองค์ระฆังมี

การตกแต่งแบบต่างๆ ทั้งแบบมีจีบริ้ว และมีสังวาลครอบ ซึ่งเรียกเจดีย์เหลี่ยมย่อมุมที่มีการตกแต่งลักษณะนี้ว่า เจดี ย์ ท รงเครื่ อ ง เช่ น เจดี ย์ บ ริ ว ารวั ด พุ ท ไธสวรรค์ เจดี ย์ บ ริ ว ารวั ด ภู เ ขาทอง เจดี ย์ ป ระธานวั ด สามวิ ห าร จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นต้น

เจดีย์เหลี่ยมย่อมุมวัดชุมพลนิกา ๒. อุโบสถวิหารสมัยอยุธยา

ยาราม

ลักษณะโรงอุโบสถสมัยอยุธยาตอนต้นคงถ่ายแบบมาจากสถาปัตยกรรมแบบลพบุรีโดยนิยมสร้างพระวิหารเป็น อาคารหลัก โรงอุโบสถในยุคนี้ยังไม่มีการเจาะช่องหน้าต่างแต่จะมีการเจาะช่องลมเป็นซี่ลูกกรงเรียกว่า เสามะหวด หรือบางแห่งทาเป็นเสาเหลี่ยม วัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างส่วนใหญ่ใช้อิฐเป็นหลักแล้วจึงฉาบปูนทับ จนถึงสมัยอยุธยาตอนกลางการสร้างโรงอุโบสถจึงมีลักษณะแน่น บึกบึน กว้างใหญ่ และมีการยกฐานสูง นิยมมี พระไลทางด้ า นข้ า งแบบปี ก นกทั้ ง สองข้ า ง ยั ง คงไม่ มี ก ารท าช่ อ งหน้ า ต่ า ง เช่ น พระอุ โ บสถ วั ด หน้ า พระเมรุ จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นต้น


ภาคสนามนอกภูมภิ าค ประจาปีการศึกษา ๒๕๕๘

๑๖

ในสมัยอยุธยาตอนปลายเริ่มปรากฏลักษณะสาคัญคือ การทาเส้นโค้งที่ฐานและหลังคาที่เรียกว่า โค้งสาเภา เริ่มปรากฏการเจาะช่องหน้าต่าง การมุงหลังคานิยมใช้กระเบื้องหางตัดและกระเบื้องชนิดกาวมีกระเบื้องเชิงชาย ประกอบ การใช้กระเบื้องเคลือบเริ่มปรากฏในราวสมเด็จพระนารายณ์ถึงพระเพทราชา เช่น ที่ วัดบรมพุทธาราม จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งเชื่อว่าเป็นวัดแรกที่ใช้กระเบือ้ งเคลือบสีเหลือง จนถึงช่วงสุดท้ายลักษณะเส้นโค้งสาเภาของ ฐานและแนวสันหลังคาเกือ บเป็นเส้นขนานกัน นิยมทาหลังคาทรงโรงคือ มีหลังคาคลุมทั้งสี่ด้านซึ่งเป็นแบบอย่าง ถ่ายทอดให้กบั สมัยรัตนโกสินทร์ เช่น แบบหลังคาของพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพมหานคร

ประติมากรรมสมัยอยุธยา ๑. พระพุทธรูป เป็นงานประติมากรรมที่สร้างขึ้นในพุทธศาสนามีทั้งทาจากศิลา ปูนปั้น สาริด และโลหะแบบ ต่างๆ ลักษณะของพระพุทธรูปในยุคแรกยงคงถ่ายทอดมาจากลักษณะของพระพุทธรูปแบบอู่ทอง ซึ่งมีลักษณะ แบบขอมอยู่บ้างคือ มีพระพักตร์ค่อนข้างเหลี่ยม พระขนงเป็ นขอบบางต่อกันเป็นปีกกา พระโอษฐ์เป็นเส้นยาว ค่อนข้างหนาพระนลาฏกว้าง มีขอบไร้พระศก เม็ดพระศกเล็ก รัศมีรูปดอกบัว ตูม ครองจีวรเฉียงแบบห่มดอง นั่งขัดสมาธิราบ ชายสังฆาฏิเป็นแผ่นพาดบ่าปลายตัดตรง ซึ่งเป็นลักษณะโดยรวมของพระพุทธรูปสมัยอู่ทอง ใน สมัยอยุธยายังคงปรากฏรูปแบบของพระพุทธรูปตั้งแต่รุ่น ๒ เลื่อยมา เช่น เศียรพระพุทธรูปขนาดใหญ่หล่อด้วย สาริดได้จากวัดธรรมิกราช จ.พระนครศรีอยุธยา ปัจจุบันตั้งแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา ซึ่งแบบ พระพักตร์มีลักษณะโดยรวมของศิลปะอู่ทองรุ่น ๒ เช่นเดียวกับพระประธานสาริดขนาดใหญ่ในวิหารวัดพนัญเชิง จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งในพงศาวดารระบุว่าสร้างก่อนสถาปนากรุงศรีอยุธยา ๒๖ ปี ก็มีลักษณะพระอู่ทองรุ่น ๒ เช่นเดียวกัน ลักษณะสาคัญอีกประการหนึ่งคือ เทคนิคการหล่อโละสาริดของยุคนี้ถือว่าสูงมากเพราะสามารถหล่อ

โลหะให้มีความบางและประณีตแบบที่เรียกว่า หล่อแบบเปลือกไข่ นอกจากพระสาริดแล้วยังพบพระพุทธรูปแกะ หินทราย เช่น พระพุทธรูปในวัดมหาธาตุ จ .พระนครศรีอยุธยา มีพระพักตร์เป็นรูปไข่ ไม่มีไรพระศก รัศมีรูปเปลว แสดงให้เห็นถึงลักษณะของพระพุทธรูปแบบอู่ทองรุ่น ๓


๑๗

ภาคสนามนอกภูมภิ าค ประจาปีการศึกษา ๒๕๕๘ ต่อมาในสมัย อยุ ธ ยาตอนกลางพระพุทธรูปองค์ส าคัญ เช่น พระมงคลบพิตรในวิหารพระมงคลบพิตร

จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นพระพุทธรูปก่ออิฐถือปูนหุ้มด้วยสาริด ในการบูรณะของกรมศิลปกรได้พ บพระพุทธรูป สาริดหลายองค์อยู่ในพระอุระมีทั้งขนาดย่อมและขนาดเล็กประกอบด้วยพระพุทธรูปทรงเครื่องน้อยประทั บยืน พระพุทธรูปนั่งขัดสมาธิราบ พระพุทธรูปนั่งขัดสมาธิเพชร พระพุทธรูปเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลต่างๆ เช่น อิ ท ธิ พ ลศิ ล ปะแบบล้ า นนา อิ ท ธิ พ ลศิ ล ปะแบบอู่ ท อง อิ ท ธิ พ ลศิ ล ปะแบบสุ โ ขทั ย และอิ ท ธิ พ ลศิ ล ปะแบบ

นครศรีธรรมราช ที่ปรากฏในพระพุทธรูปของอยุธยาในสมัยกลาง ปัจจุ บันพระพุทธรูปในพระอุระของพระมงคล บพิตรตั้งแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา จ.พระนครศรีอยุธยา ส่วนพระพุทธรูปในสมัยอยุธยาตอนปลายนิยมสร้างพระพุทธรูปทรงเครื่องใหญ่ หมายถึง พระพุทธรูปที่มี การประดับเครื่องทรงอย่างมหาจักรพรรดิ มีเครื่องประดับ เช่น มงกุฎ พาหุรัด ทองกร กรองศอ ทั บทรวง ปั้นเหน่ง และทองพระบาท เป็ น ต้ น นิ ย มสร้ า งทั้ งในอิ ริ ยาบถยื นปางประธานอภั ย และอิ ริย าบถนั่ง ปางมารวิ ชัย เช่ น พระพุทธรูปทรงเครื่องใหญ่นั่งขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย ในพระเมรุทิศและพระเมรุราย วัดไชยวัฒนาราม แม้มี ลั ก ษณะค่ อนข้า งช ารุ ด แต่ จ ากลั กษณะสามารถเทีย บเคีย งได้กั บ พระประธานในพระอุโ บสถ วั ดหน้า พระเมรุ ซึ่งสันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยเดียวกัน มีลักษณะพระพักตร์ค่อนข้างเสี้ยม พระขนงโก่งมาก เปลือกพระเนตรใหญ่ พระนาสิ กโด่ง พระโอษฐ์อิ่มเป็น รูปล าโค้ง ซึ่งเป็นลั กษณะเฉพาะของพระพุทธรูปในสมัยพระเจ้าปราสาททอง ลักษณะสาคัญอีกประการหนึ่งของพระพุทธรูปในยุคท้ายคือ การพัฒนาลักษณะของฐานชุกชีหรือฐานรองรับพระให้ มีลักษณะสูงขึ้นและพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ จนเป็นลักษณะเด่นของพระพุทธรูปประทับนั่งรุ่นหลังสุดของอยุธยา


ภาคสนามนอกภูมภิ าค ประจาปีการศึกษา ๒๕๕๘

๑๘

๒. พระพิมพ์ในสมัยอยุธยา จากหลักฐานการพบพระพิมพ์จานวนมากจากกรุพระปรางค์ วัดราชบูรณะ จ.พระนครศรีอยุธยา ทาให้ทราบพระ พิมพ์ที่มีในอยุธยา เช่น พระพิมพ์รูปแบบศิลปะปาละอินเดีย พระพิมพ์อิทธิพลศิลปะร่วมแบบเขมรในประเทศไทย พระพิมพ์ศิลปะแบบอู่ทอง พระพิมพ์ศิลปะสุโขทัย พระพิมพ์แ บบอยุธยา พระพิมพ์เหล่านี้มีทั้งที่สร้างด้วยชิน เงิน ทอง และดินเผา นอกจากนี้ยังพบพระพิมพ์รูปแบบต่างๆ ปรากฏในสมัยอยุธยาโดยทั่วไป เช่น พระพิมพ์เนื้อดินเผา

ที่เรียกว่า หลวงพ่อโต พบมากที่สุดในกรุวัดบางกระทิง และพระดินเผาเคลือบสีเหลืองที่เรียกว่า พระขุนแผนเคลือบ พบที่วัดใหญ่ชัยมงคล จ.พระนครศรีอยุธยา

จิตรกรรมในสมัยอยุธยา จิตรกรรมในสมัยอยุธยาตอนต้นเหลือหลักฐานให้ศึกษาน้อยมากเนื่องจากผลงานส่ว นใหญ่สูญสลายไป พร้อมกับตัวสถาปัตยกรรมหรือบางครั้งเมื่อหลังคาของอาคารเสียหายเป็นเหตุให้จิตรกรรมฝาผนังถูกชะล้างไปด้วย อีกทั้งจิตรกรรมฝาผนังเป็นงานที่ค่อนข้างบอบบางจึงเสียหายไปทั้งจากฝีมือมนุษย์และธรรมชาติ แต่ยังคงเหลือ จิตรกรรมฝาผนังในสมัยอยุธยาตอนต้นที่สาคัญอี กกลุ่มหนึ่งคือ จิตรกรรมฝาผนังในผนังคูหาพระปรางค์ประจาทิศ ตะวันตกเฉียงเหนือของปรางค์ประธาน วัดมหาธาตุ จ .พระนครศรีอยุธยา อยู่ในสภาพค่อนข้างชารุด จิตรกรรม เขียนเป็นภาพซุ้มเรือนแก้ว บนผนังฝั่งตรงข้ามทางเข้าคูหา สันนิษฐานว่าคงใช้เป็นฉากหลังของพระพุทธรูป ส่วน ผนังทัง้ สองข้างซ้ายขวา อยู่ในสภาพชารุดมากแต่สันนิษฐานได้ว่าคงเขียนเป็นรูปอดีตพระพุทธเจ้าทั้ง ๒๘ พระองค์ อันเป็นคติความเชื่อที่มาจากคัมภีร์พุทธวงศ์ จิตรกรรมในคูหาปรางค์ประธาน วัดพระราม จ .พระนครศรีอยุธยา เขียนเป็นภาพเหล่าอดีตพุทธเจ้าที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่ปัจจุบันอยู่ในสภาพเสียหายอย่างมาก และจิตรกรรมฝาผนัง

ที่กรุภายในพระปรางค์ประธานวัดราชบูรณะ จ.พระนครศรีอยุธยา ถือว่าเป็นงานจิตรกรรมฝาผนังที่มีคุณค่าและ สาคัญมากในสมัยอยุธ ยาตอนต้น จิตรกรรมแสดงให้เห็น บทบาทของชาวจีนโดนเฉพาะในทางศิลปกรรมที่มีใน อยุธยา จิตรกรรมฝาผนังเขียนเป็นเรื่องราวต่างๆ ในพระพุทธศาสนา เช่น ภาพอดีตพุทธเจ้า ภาพพุทธประวัติ ภาพ พระอสีติสาวกหรือพระอรหันต์ ๘๐ องค์ และเรื่องชาดกซึ่งเขียนไว้ประมาณ ๖๐ ชาติ ลักษณะโดยรวมของงาน จิตรกรรมในสมัยอยุธยาตอนต้นคือ ยังคงใช้สีไม่มากนัก เทคนิคการเขียนสีลงบนรองพื้นสีขาว ระบายพื้นหลังตัว ภาพด้วยสีแดง ตัวภาพมีการระบายสีขาว สีเนื้อ และปิดทองคาเปลว ตัดเส้นด้วยสีดาหรือสีแดง


๑๙

ภาคสนามนอกภูมภิ าค ประจาปีการศึกษา ๒๕๕๘ ในสมัยอยุธยาตอนกลางเหลือตัวอย่างอยู่น้อยมากพบเพียงภาพลายเส้นบนแผ่นชินเป็นภาพพระสงฆ์พนม

มือเดินทักษินาวัตรที่วัดพระศรีสรรเพชญ์ จ.พระนครศรีอยุธยา และล่าสุดมีการค้นพบจิตรกรรมฝาผนังรูปพระสงฆ์ เดินทักษินาวัตรที่ภายในเจดีย์วัดสิงหารามภายในเขตมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็น จิตรกรรมฝาผนังที่เขียนขึ้นราวสมัยอยุธยาตอนกลางด้วย

สมัยอยุธยาตอนปลาย ปรากฏหลักฐานการเขียนจิตรกรรมฝาผนังในพระอุโ บสถแต่เหลือหลักฐานอยู่ไม่ มากนัก เช่น จิตรกรรมฝาผนังรูปลายก้านขดในพระเมรุทิศพระเมรุราย วัดชัยวัฒนาราม จิตรกรรมฝาผนังในวัด ใหญ่ประชุมพล จิตรกรรมฝาผนังในตาหนักพระพุทธโฆษาจารย์ วัดพุทไธสวรรค์ จ.พระนครศรีอยุธยา ลักษณะ จิตรกรรมฝาผนังในสมัยอยุธยาตอนปลายได้แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการในการวางองค์ประกอบ การใช้สี การเริ่มใช้สี ที่ ห ลากหลาย การปิ ด ทองค าเปลว และตั ด เส้ น ด้ ว ยสี แ ดง วิ ธี ก ารในการเขี ย นตั ว ภาพ สถาปั ต ยกรรม และ ทัศนียวิทยา ภาพกิจกรรมฝาผนังที่มีองค์ประกอบอย่างน่าสนใจปรากฏที่วัดเกาะแก้วสุทธาราม จ.เพชรบุรี เขียนขึ้น ในสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ พ.ศ.๒๒๗๗ โดยแบ่งผนังเป็นช่องสามเหลี่ยม เขียนภาพพระพุทธเจดีย์สัตตมหาสถาน ภาพมารผจญ และไตรภูมิ ด้วยฝีมือที่ยอดเยี่ยมแสดงความฉั บพลันในการเขียนจิตรกรรมได้อย่างเป็นเอกลักษณ์ สิ่งเหล่านี้ได้ถ่ายทอดให้กบั การสร้างสรรค์จิตรกรรมให้กับสมัยรัตนโกสินทร์ทั้งสิ้น


ภาคสนามนอกภูมภิ าค ประจาปีการศึกษา ๒๕๕๘

๒๐

งานประณีตศิลป์สมัยอยุธยา งานประณีตศิลป์ที่สาคัญที่สุดแห่งหนึ่งในสมัยอยุธยาคือ การค้นพบเครื่องทองภายในกรุใต้ฐานพระปรางค์ วัดราชบูรณะที่บรรจุไว้เมื่อปี พ.ศ.๑๙๘๖ แม้จะเหลือเครื่องทองเพียงจานวนน้อยแต่กลั บทาให้เห็นถึงลักษณะและ พัฒนาการในงานประณีตศิลป์ประเภทช่างทองได้เป็นอย่างดี จากการศึกษาลวดลายและกระบวนการขึ้นรูปเครื่อง

ทองพบว่า รูปแบบลวดลายยังคงเป็นกระหนกยุคต้นแบบลายกลมม้วนต่อกันยังไมสะบัดปลายแบบกระหนกที่พบ ในสมัยอยุธยาตอนปลาย เครื่องทองใช้วิธีการขึ้นรูปและฝังอัญมณีต่างๆ ด้วยวิธีการขึ้นกระเปาะ แทนที่จะขุดแล้ว ฝังอัญมณีลงไปแทนที่เราเรียกว่า แบบฝังชาด ซึ่งเป็นวิธีการที่เกิดขึ้นในภายหลังการฝังอัญมณีแบบขึ้นกระเปาะ ต่อมาในสมัยอยุธยาตอนกลาง ไทยได้มีการติดต่อสัมพันธ์กั บจีนทาให้งานศิลปะและประณีตศิลป์แ บบจีน หลั่งไหลเข้าสู่อยุธยา เช่น ถ้วยชามเครื่องเคลือ บดินเผา พบเครื่องถ้วยแบบลายครามและลายสีแ บบมีสีน้อยที่ เรียกว่า เครื่องถ้วยราชวงศ์เหม็ง ราว พ.ศ.๑๙๑๑ – ๒๑๘๗ ซึ่งเป็นยุคเริ่มต้นการสั่งสินค้าและถ้วยชามราชวงศ์เหม็ง ในประเทศไทยถึงปัจจุบัน งานเครื่องไม้ เช่น บานประตู ธรรมาสน์เทศน์ ได้รับการพัฒนารูปแบบอย่างสูง เช่น ที่วัดใหญ่สุวรรณาราม จ.เพชรบุรี ได้เป็นลักษณะที่ยอดเยี่ยมของงานจาหลักไม้ที่เริ่มต้นตั้งแต่สมัยพระเจ้ าปราสาททอง (พ.ศ.๒๑๗๓) เป็น ต้นมา งานประณีตศิลป์ได้รั บการยอมรับในเชิงความงามอย่างสูงในสมัยอยุธยาตอนปลายสุดโดยเฉพาะในช่วง รัชกาลพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ (พ.ศ.๒๒๗๕ – ๒๓๑๐) พบงานประณีตศิลป์ชิ้นสาคัญ เช่น งานประดั บมุขบานประตู

ที่พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศทรงสร้างถวายวัดบรมพุทธราม (พ.ศ.๒๒๙๕) จ.พระนครศรีอยุธยา บานประตูมุขพระพุทธ บาท จ.สระบุรี และบานประตูมุขวิหารพระพุทธชินราช จ .พิษณุโลก ได้แสดงให้ เห็นลั กษณะการผู กลายไทยที่ พัฒนาขึ้นจากสมัยอยุธยาตอนต้นอย่างชัดเจน นอกจากนี้ยังปรากฏงานเครื่องถม แม้จะยังไม่สามารถหาแหล่งผลิต ที่ชัดเจนได้ แต่ด้วยรูปแบบ และชนิดของลายแสดงให้เห็นความเป็นเลิศในงานประณีตศิลป์


๒๑

ภาคสนามนอกภูมภิ าค ประจาปีการศึกษา ๒๕๕๘ เครื่องถ้วยเบญจรงค์ สันนิษฐานว่าเป็นสินค้าที่อยุธยาสั่งทาจากประเทศจีน โดนส่วนลวดลายเป็นต้นแบบ

แล้วผลิตจากประเทศจีน เครื่องเบญจรงค์ในสมัยอยุธ ยา ประกอบด้วย สีดา แดง เหลือง เขียว ขาว เครื่องถ้วยที่ รู้จักกันดีคือ ชามเทพพนมนรสิงห์ พื้นดา ภายในชามเคลือบสีเขียวตัดลายขอบชามด้วยลายเชิง ลักษณะของเครื่อง เบญจรงค์นี้ยังคงผลิตสืบเนื่องและเฟื่องฟูมากขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ กล่าวได้ว่าพระนครศรีอยุธยาคือเบ้าหลอมสาคัญของการสร้างสรรค์งานศิลปกรรมเพื่อสร้างความเป็น เอกลักษณ์ทางศิลปกรรมของความเป็นชาติไทย จากรูปแบบและอิทธิพลที่หลากหลายในอดีต ทั้งอิทธิพลจากศิลปะ ร่วมแบบเขมรในประเทศไทย อิทธิพลจากศิลปะแบบพุกาม รวมไปถึงรูปแบบศิลปะร่วมสมัย เช่น ศิลปะแบบ สุโขทัย ศิลปะแบบล้านนา ศิลปะแบบนครศรีธรรมราช และศิลปะแบบอู่ทอง ตลอดช่วง ๔๑๗ ปี ได้ผ่านช่วงเวลา แห่งการทดสอบพัฒนาการและสร้างสรรค์ใหม่จนสามารถเป็นรูปแบบของศิลปกรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง การกาเนิดของรูปแบบสถาปัตยกรรมไทย การกาเนิดของลวดลายไทย และความงดงามจากพลังแห่งการสร้างสรรค์ ทัง้ หมดนี้ได้สืบทอดสู่กรุงรัตนโกสินทร์ในเวลาต่อมา


ภาคสนามนอกภูมภิ าค ประจาปีการศึกษา ๒๕๕๘

รูปที่ ๑ แผนผังวัดไชยวัฒนาราม

รูปที่ ๒ แผนผังวัดพญาแมน

๒๒


๒๓

ภาคสนามนอกภูมภิ าค ประจาปีการศึกษา ๒๕๕๘

รูปที่ ๓ แผนผังวัดบรมพุทธาราม


ภาคสนามนอกภูมภิ าค ประจาปีการศึกษา ๒๕๕๘

รูปที่ ๔ แผนผังวัดพระศรีสรรเพชญ์ อยุธยา

รูปที่ ๕ แผนผังวัดพระราม

๒๔


๒๕

ภาคสนามนอกภูมภิ าค ประจาปีการศึกษา ๒๕๕๘

รูปที่ ๖ แผนผังวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.ลพบุรี ก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยา ๑๐๐ ปี

รูปที่ ๗ แผนผังวัดพุทไธสวรรย์


ภาคสนามนอกภูมภิ าค ประจาปีการศึกษา ๒๕๕๘

รูปที่ ๘ แผนผังวัดโพธิ์ประทับช้าง จ.พิจิตร

รูปที่ ๙ แผนผังวัดมหาธาตุ

๒๖


๒๗

ภาคสนามนอกภูมภิ าค ประจาปีการศึกษา ๒๕๕๘

รูปที่ ๑๐ แผนผังวัดราชบูรณะ

รูปที่ ๑๑ แผนผังวัดวรเชษฐาราม


ภาคสนามนอกภูมภิ าค ประจาปีการศึกษา ๒๕๕๘

รูปที่ ๑๒ เจดีย์ประธานสามองค์เป็นทรงระฆัง วัดพระศรีสรรเพชญ์ รัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒

๒๘


๒๙

ภาคสนามนอกภูมภิ าค ประจาปีการศึกษา ๒๕๕๘

รูปที่ ๑๓ ปรางค์ประธาน วัดไชยวัฒนาราม อยุธยายุคปลายรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง


ภาคสนามนอกภูมภิ าค ประจาปีการศึกษา ๒๕๕๘

รูปที่ ๑๔ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ก่อนการสถาปนาราชธานีอยุธยาประมาร ๑๐๐ ปี

๓๐


๓๑

ภาคสนามนอกภูมภิ าค ประจาปีการศึกษา ๒๕๕๘

รูปที่ ๑๕ เจดีย์เหลี่ยมเพิ่มมุม ศรีสุริโยทัย อยุธยายุคกลาง รัชสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ


ภาคสนามนอกภูมภิ าค ประจาปีการศึกษา ๒๕๕๘

รูปที่ ๑๖ ปรางค์วัดบรมพุทธาราม อยุธยายุคปลาย รัชกาลสมเด็จพระเพทราชา เหลือเพียงชุดฐาน

๓๒


๓๓

ภาคสนามนอกภูมภิ าค ประจาปีการศึกษา ๒๕๕๘

รูปที่ ๑๗ เจดีย์รายทรงปราสาทยอด วัดราชบูรณะ อยุธยายุคปลาย


ภาคสนามนอกภูมภิ าค ประจาปีการศึกษา ๒๕๕๘

รูปที่ ๑๘ เจดีย์ประธานทรงแปดเหลี่ยม วัดใหญ่ชัยมงคล อยุธยายุคต้น

รูปที่ ๑๙ เจดีย์ทรงแปดเหลี่ยม วัดหลังคาขาว อยุธยายุคต้น

๓๔


๓๕

ภาคสนามนอกภูมภิ าค ประจาปีการศึกษา ๒๕๕๘

รูปที่ ๒๐ เจดีย์ทรงแปดเหลี่ยมประจ้ามุมตะวันออกเฉียงเหนือ วัดราชบูรณะ อยุธยายุคต้น รัชกาลสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ (เจ้าสามพระยา)

รูปที่ ๒๑ เจดีย์ทองแดง วัดมเหมยงคณ์ อยุธยายุคปลาย รัชสมัยพระเจ้าท้ายสระ


ภาคสนามนอกภูมภิ าค ประจาปีการศึกษา ๒๕๕๘

รูปที่ ๒๒ เจดีย์ประจ้าด้านทรงปราสาทยอด วัดมหาธาตุ อยุธยายุคต้น รัชกาลสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ (ขุนหลวงพะงั่ว)

รูปที่ ๒๓ เจดีย์ราย ทรงระฆัง วัดกุฎีดาว

๓๖


๓๗

ภาคสนามนอกภูมภิ าค ประจาปีการศึกษา ๒๕๕๘

รูปที่ ๒๔ เจดีย์ราย ทรงระฆัง วัดพระราม สร้างเพิ่มเติมในสมัยอยุธยายุคปลาย

รูปที่ ๒๕ ปรางค์ประจ้ามุมตะวันออกเฉลียงเหนือของปรางค์ประธาน วัดไชยวัฒนาราม อยุธยายุคปลาย รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง


ภาคสนามนอกภูมภิ าค ประจาปีการศึกษา ๒๕๕๘

รูปที่ ๒๖ ปรางค์ประธาน วัดพระราม อยุธยายุคต้น

รูปที่ ๒๗ ปรางค์ประธาน วัดพุทไธสวรรย์ อยุธยายุคต้น เข้าใจว่าสร้างในรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง)

๓๘


๓๙

ภาคสนามนอกภูมภิ าค ประจาปีการศึกษา ๒๕๕๘

รูปที่ ๒๘ อุโบสถวัดหน้าพระเมรุ

รูปที่ ๒๙ พระอดีตพุทธเจ้า มหาชนกชาดก จิตรกรรมฝาผนังด้านใต้อุโบสถวัดช่องนนทรี กรุงเทพฯ อยุธยายุคปลาย


ภาคสนามนอกภูมภิ าค ประจาปีการศึกษา ๒๕๕๘

รูปที่ ๓๐ เตมียกุมารชาดก จิตรกรรมฝาผนังด้านทิศตะวันตก ต้าหนักโฆษาจารย์ วัดพุทไธสวรรย์ อยุธยายุคปลาย

รูปที่ ๓๑ เทพชุมนุมในพุทธประวัติเมื่อพระองค์ทรงตรัสรู้ จิตรกรรมฝาผนังด้านใต้ อุโบสถวัดสุวรรณาราม จ.เพชรบุรี อยุธยายุคปลาย

๔๐


๔๑

ภาคสนามนอกภูมภิ าค ประจาปีการศึกษา ๒๕๕๘

รูปที่ ๓๒ เทวดานั่งพนมมือสลับเจดีย์ อุโบสถหลังเดิม วัดใหญ่ประชุมพล อยุธยายุคปลาย

รูปที่ ๓๓ วิทูรบัณฑิตชาดก จิตรกรรมฝาผนังด้านใต้ อุโบสถวัดช่องนนทรี กรุงเทพฯ อยุธยายุคปลาย


ภาคสนามนอกภูมภิ าค ประจาปีการศึกษา ๒๕๕๘

รูปที่ ๓๔ เทวดายืนพนมมือคั่นภาพเรื่องทศชาติชาดก จิตรกรรมฝาผนังด้านใต้ อุโบสถ วัดปราสาท นนทบุรี อยุธยายุคปลาย

๔๒


๔๓

ภาคสนามนอกภูมภิ าค ประจาปีการศึกษา ๒๕๕๘

รูปที่ ๓๕ พระโพธิสัตว์ประสูติ จิตรกรรมด้านขวาของพระประธานอุโบสถ วัดเกาะแก้ว สุทธาราม จ.เพชบุรี อยุธยายุคปลาย

รูปที่ ๓๖ ภาพพระสงฆ์พนมมือเดินทักษินาวัตรที่วัดพระศรีสรรเพชญ์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา จ.พระนครศรีอยุธยา


ภาคสนามนอกภูมภิ าค ประจาปีการศึกษา ๒๕๕๘

รูปที่ ๓๗ ลายประดับปูนปั้นผนังข้าง ด้านใต้ วิหารวัดนางพญา จ.สุโขทัย

รูปที่ ๓๘ พระพุทธรูทรงเครื่องใหญ่ ประทับนั่งขัดสมาธิราบปางมารวิชัย ปูนปั้น ปิดทอง ในพระอุโบสถวัดหน้าพระเมรุ อยุธยายุคปลาย

๔๔


๔๕

ภาคสนามนอกภูมภิ าค ประจาปีการศึกษา ๒๕๕๘

รูปที่ ๓๙ พระพุทธรูทรงเครื่องใหญ่ ประทับนั่งขัดสมาธิราบปางมารวิชัย ปูนปั้น เมรุทิศใต้ วัดไชยวัฒนาราม อยุธยายุคปลาย รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง

รูปที่ ๔๐ เศียรพระพุทธรูปแบบอู่ทอง รุ่นที่ ๒ ส้าริด จากวัดธรรมิกราช ก่อนอยุธยา ยุคต้น พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา


ภาคสนามนอกภูมภิ าค ประจาปีการศึกษา ๒๕๕๘

รูปที่ ๔๑ พระพุทธรูปโลหะ อยุธยายุคกลาง ค้นพบจากกรุยอดปรางค์ วัดพระปรางค์ จ.สิงห์บุรี

รูปที่ ๔๒ พระพุทธรูปนั่งขัดสมาธิราบปางมารวิชัย ส้าริด อยุธยายุคกลาง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร กรุงเทพฯ

๔๖


๔๗

ภาคสนามนอกภูมภิ าค ประจาปีการศึกษา ๒๕๕๘

รูปที่ ๔๓ พระพุทธรูปอู่ทอง รุ่นที่ ๓ หินทราย วัดมหาธาตุ อยุธยายุคต้น

รูปที่ ๔๔ พระพุทธรูปทรงเครื่องน้อย ส้าริด อยุธยายุคกลาง พบในอุระ พระพุทธรูปมงคลบพิตร พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา รัชกาลสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม


ภาคสนามนอกภูมภิ าค ประจาปีการศึกษา ๒๕๕๘

รูปที่ ๔๕ พระพุทธรูปอู่ทองรุ่นที่ ๑ ส้าริดก่อนอยุธยา พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร กรุงเทพฯ

๔๘


๔๙

ภาคสนามนอกภูมภิ าค ประจาปีการศึกษา ๒๕๕๘

รูปที่ ๔๖ พระพุทธรูปอู่ทองรุ่นที่ ๒ ส้าริด อยุธยายุคต้น พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร กรุงเทพฯ

รูปที่ ๔๗ พระพุทธรูปอู่ทองรุ่นที่ ๓ ส้าริด อยุธยายุคต้น พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร กรุงเทพฯ


ภาคสนามนอกภูมภิ าค ประจาปีการศึกษา ๒๕๕๘

ภาพวาดของชาวตะวันตกที่เดินทางไปเจริญสัมพันธไมตรีเมื่อ ๓๐๐ ปีที่แล้ว สะท้อนให้เห็นวัดวาอาราม ปราสาทราชวังและกิจกรรมในแม่น้าเจ้าพระยา นักการทูต ฝรั่งเศสบันทึกเอาไว้ว่า "อูเดีย" เป็นเมืองที่สวยงาม.. นักประวัติศาสตร์ชาวอเมริกันใน ยุคใหม่พบว่า เมืองหลวงของราชอาณาจักรสยามแห่งนี้เคยมีประชากรถึง ๑,๐๐๐,๐๐๐ คน ใหญ่โตที่สุดในยุคสมัย.

๕๐


๕๑

ภาคสนามนอกภูมภิ าค ประจาปีการศึกษา ๒๕๕๘


ภาคสนามนอกภูมภิ าค ประจาปีการศึกษา ๒๕๕๘

๕๒


ภาคสนามนอกภูมภิ าค ประจาปีการศึกษา ๒๕๕๘

๕๓

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา เป็นพิพิธ ภั ณฑ์ที่ส าคัญที่สุ ดในจังหวั ดอยุธ ยา และจัดแสดงศิลปวัตถุสมัยอยุธยาที่สาคัญ ๆ พิพิธภัณฑ์ แห่งนี้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๒ จากเงินที่ประชาชนขอ เช่ า พระพิ ม พ์จ ากกรมศิ ล ปากรที่ขุ ด ได้ จากกรุวั ด ราช บูรณะ เป็นจานวนเงินทั้งสิ้น ๓,๔๑๖,๙๒๘ บาท เปิดให้ เข้าชมเมื่อวันที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๐๔ และโดยเหตุ ที่ วั ด ราชบู ร ณะสร้ า งขึ้ น ในสมั ย เจ้ า สามพระยา พิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ แ ห่ ง นี้ จึ ง ใช้ พ ระนามของพระองค์ เ ป็ น ชื่ อ พิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ ด้ ว ย ตั ว พิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ ตั ว พิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ ประกอบด้วย อาคารหลัก ๓ อาคาร ๑. หมู่อาคารเรือนไทย สร้างคร่อมอยู่บนสระ จัดแสดงเพื่อรักษารูปแบบเรือนไทยแบบภาคกลาง และจัดแสดงสิ่งของเครื่อง ใช้ต่าง ๆ ภายในเรือนอาศัยของคนไทยภาคกลางในอดีต ๒. อาคารศิลปะในประเทศไทย เป็นอาคาร ๒ ชั้น จัดแสดงศิลปวัตถุสมัยต่าง ๆ ที่รวบรวมได้จากจังหวัดอยุธยา เช่น สมัยทวารวดี (พระพุทธรูปหินประทับยืนบนหัวของพนัสบดี พระพุทธรูปสาริดประทับยืนปางประทานพร) สมัยศรีวิชัย (เศียรพระ สาริด) สมัยลพบุรี (พระพุทธรูปสาริดปางประทานพร ปางนาคปรก พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร) สมัยสุโขทัย (เครื่อง กระเบื้องเคลือบต่าง ๆ โดยเฉพาะตุ๊กตา) สมัยเชียงแสน สมัยอยุธยา (ฐานพระพุทะรูปทาจากดินเผา มีรูปพระแม่ธรณี และเศียรพระพุทธสาวกที่ทาจากดินเผา) สมัยรัตนโกสินทร์ (แผ่นหินอ่อนจาหลักเรื่อง รามเกียรติ์ จากวัดโพธิ์)


ภาคสนามนอกภูมภิ าค ประจาปีการศึกษา ๒๕๕๘

๕๔

๓. อาคารตึกเจ้าสามพระยา เป็นอาคารหลักที่สาคัญที่สุด เพราะเก็บศิลปวัตถุอยุธยาชิ้นที่ถือว่าสาคัญ ๆ

ชั้นล่าง - เศียรพระพุทธรูปสาริดขนาดใหญ่จากวัดธรรมิกราช เป็นศิลปะแบบอู่ทอง ซึ่งนอกจากแสดงให้เห็นการบรรลุ ถึงความงดงามตามลักษณะพุทธศิลป์แล้ว ยังแสดงให้เห็นถึงความรู้ความสามารถในเรื่องโลหะและ การหล่อโลหะ ของอยุธยา - แนวตู้กระจกทางด้านขวามือของห้องโถงชั้นล่างจัดแสดงพระพุทธรูปหลายสกุลช่าง และหลายแบบที่พบใน องค์พระมงคลบพิตร และที่ได้มาจากวัดราชบูรณะ เศษปูนปั้นศิลปะแบบอยุธยาที่ประดับเจดีย์วัดมหาธาตุ (เช่น ครุฑ และสุครีพถอนต้นรัง) - พระพุทธรูปทวารวดีขนาดใหญ่ ที่เคลื่อนย้ายมาจากวัดหน้าพระเมรุ เช่นเดียวกับพระประธานในวิหารเขียน ของวัดหน้าพระเมรุ


ภาคสนามนอกภูมภิ าค ประจาปีการศึกษา ๒๕๕๘

๕๕

- เครื่องปั้นดินเผาชิ้นขนาดเล็กที่จัดแสดงอยู่อย่างเช่น คนอุ้มเด็กและไก่ ชาวต่างชาติ (ดัทช์) กับสุนัข เป็นต้น - ส่วนแนวด้านซ้ายมือของโถงชั้นล่าง จัดแสดงเครื่องไม้จาหลักต่าง ๆ เช่น ทวารบาล ประตูไม้จากวัดพระศรี สรรเพชญ์ บานประตูไม้ลายพรรณพฤกษาจากวัดวิหารทอง และหน้าบันไม้จาหลักรูปนารายณ์ทรงสุบรรณแวดล้อม ด้วยอสูร เป็นต้น - เชิงบันไดสุดห้องโถง จัดแสดงหัวเรือรูปครุฑไม้แกะสลัก เป็นตัวอย่างของหัวเรือรูปสัตว์ต่าง ๆ ที่ใช้กันอยู่ใน สมัยอยุธยา ชั้นบน จัดแสดงข้าวของต่าง ๆ ตั้งแต่เครื่องเคลือบหลายสกุล จากหลายประเทศ เศียรพระและพระพุทธรูป แบบจาลองอาคาร เครื่องปั้นดินเผาภาพพระบฏเขียนสี ธรรมาสน์ไม้แกะสลัก และตู้พระธรรมที่งดงามอยู่หลายใบ แต่ ที่สาคัญที่สุดคือ ห้องที่อยู่ปลายโถงทั้งสองอัน ได้แก่

ห้องมหาธาตุ จัดแสดงเครื่องทอง และพระบรมสารีริกธาตุ ที่พบอยู่กับกรุบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ มีแผนภาพอธิบายให้ เข้าใจถึงลักษณะการประดิษฐานพระธาตุที่ถือกันว่าสาคัญที่สุดของอาณาจักรอยุธยา อีกทั้งยังได้จัดแสดงผอบทั้งเจ็ด ชั้นที่บรรจุพระธาตุ และที่สาคัญที่สุดคือ จะได้เห็นองค์พระธาตุอีกด้วย ห้องราชบูรณะ จัดแสดงศิลปวัตถุที่ค้นพบภายในกรุของวัดราชบูรณะ ซึ่งเป็นทองคาและอัญมณีทั้งหมด อันมีพระแสงขรรค์ชัย ศรี แผ่นทองดุนลายนูนประกอบกันเป็นองค์จาลองของตัวพระปรางค์ เครื่องราชกกุธภัณฑ์ขนาดย่อส่วน กรองพระศอ สังวาลทับทรวง สร้อยพาหุรัด ทองพระกร ซึ่งเป็นทองประดับอัญมณี จุลมงกุฎใช้ครอบมุ่นมวยผมของบุรุษ ส่วนของ สตรีนั้นเป็นเส้นทองขนาดเล็กมาก ถักเป็นตาข่ายโปร่งครอบศีรษะของสตรี หมวดเครื่องราชูปโภคย่อส่วน มีทั้งเป็นรูปภาชนะต่าง ๆ เช่น ผอบ กระปุก ถาด พาน หีบ ภาชนะ รูปหงส์ ทั้งตัว ตลับขนาดเล็กเป็นแมลงทับและช้างทรงเครื่องนั่งหมอบ ชูงวงเป็นพวงอุบะหรือช่อดอกไม้ เครื่องทองเหล่านี้ นอกจากความงดงามในเชิงศิลปะแล้ว ยังสะท้อนให้เห็นความมั่งคั่งของราชสานักอยุธยาอีกด้วย อาคาร 2

Chao Sam Phraya National Museum อาคาร 3

อาคาร 1


๕๖

ภาคสนามนอกภูมภิ าค ประจาปีการศึกษา ๒๕๕๘

วัดมหาธาตุ

พระนครศรีอยุธยา วัดมหาธาตุ กรุงศรีอยุธยา เป็น ๑ ในวัดที่จัดอยู่ในอุทยานประวัติศาสตร์ พระนครศรี อ ยุ ธ ยาเป็ น ศู น ย์ ก ลางทาง ศาสนาที่ ส าคั ญ ที่ สุ ด ในกรุ ง ศรี อ ยุ ธ ยา เ พ ร า ะ น อ ก จ า ก เ ป็ น ที่ ป ร ะ ดิ ษ ฐ า น พระบรมธาตุ ก ลางเมื อ งแล้ ว ยั ง เป็ น ที่ พ านั ก ของ สมเด็ จ พระสั ง ฆราช ฝ่ า ย คามวาสี วั ด แห่ ง นี้ จึ ง ได้ รั บ การก่ อ สร้ า ง และ ดูแลตลอดเวลาวัดแห่งนี้จึงได้รับการ ก่อสร้างและดูแลตลอดเวลา ประวั ติ สั น นิ ษ ฐานว่ า วั ด นี้ ไ ด้ ริ เ ริ่ ม สร้ า งองค์ พ ระมหาธาตุ ขึ้ น ในแผ่ น ดิ น สมเด็ จ บรมราชาธิ ร าชที่ ๑ (ขุนหลวงพระงั่ว) แต่อาจจะยังไม่สาเร็จในรัชกาลของพระองค์ จนถึงรัชกาของสมเด็จพระราเมศวรจึงทรงสร้างเพิ่มเติม จนเสร็จบริบูรณ์เป็นพระอาราม แล้วขนานนามว่า ”วัดมหาธาตุ” ในสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม (พ.ศ.๒๑๕๓-๒๑๗๑) พระปรางค์เคยพังลงมาเกือบครึ่งองค์ถึงชั้นครุฑ ต่อมาสมเด็จพระเจ้าปราสาททองทรงบูรณะใหม่โดยเสริมพระมหาธาตุ ให้สูงยิ่งขึ้น รวมเป็นความสูง ๒๕ วา ดังปรากฏในพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาว่า “ศักราช ๙๙๕ (พ.ศ.๒๑๗๖) ปี ร ะกา เบญจศก ทรงพระกรุ ณาให้ ส ถาปนาพระปรางค์วัดพระมหาธาตุ อันทาลายลง เก่ าเดิม ในองค์สู ง ๑๙ วา ยอดนภศูลสูง ๓ วา จึงดารัสว่าทรงเก่าล่านัก ให้ก่อใหม่ไห้องค์สูงเส้น ๒ วา ยอดนภศูลคงไว้ เข้ากันเป็นเส้น ๕ วา ก่อ แล้วเห็นเพรียวอยู่ ให้เอาไว้มะค่ามาแทรก ตามอิฐเอาปูนบวก ๙ เดือนสาเร็จให้กระทาการฉลองเป็นอันมาก ” หลังจาก รัชกาลสมเด็จพระเจ้าปราสาททองแล้ว ก็ไม่ปรากฏเรื่องราวของวัดมหาธาตุอีกเลยครั้นเมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียแก่ข้าศึก ครั้งหลังใน พ.ศ.๒๓๑๐ ในคราวนั้นวัดมหาธาตุถูกไฟไหม้เสียหายมาก พระอุโบสถและวิหาร ตลอดจนกุฏิสงฆ์ถูกเผา ผลาญยับเยิน คงเหลือแต่ซากผนังและตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา วัดมหาธาตุก็ได้กลายเป็นวัดร้าง จนกระทั่งพระยาไชยวิชิต (เผือก) ผู้รักษาการกรุงศรีอยุธยา ในรัชกาลที่ ๓ ทาการซ่อมวัดหน้าพระเมรุที่ริมครองสระบัวขึ้นใหม่หมดทั้งวัด จึงได้ เชิญพระพุทธรูปองค์นั่งห้องพระบาทไปประดิษฐานไว้ในวิหารน้อย ซึ่งอยู่ในวัดหน้าพระเมรุจนบัดนี้


ภาคสนามนอกภูมภิ าค ประจาปีการศึกษา ๒๕๕๘

๕๗

วัดพระราม

พระนครศรีอยุธยา วัดพระราม ตั่งอยู่นอกเขตพระราชวัง ไปทางด้านทิศตะวันออก ตรงข้ามกับวิหารพระ มงคลบพิ ต ร ปั จ จุ บั น คื อ “สวนสาธารณะ บึงพระราม” ซึ่งใช้เป็นที่สาหรับพักผ่ อนของ นักท่องเที่ยวและชาวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ประวัติ วัดพระรามนั้น คาดว่าถูกสร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๑๙๑๒ ในรัชสมัยสมเด็จพระราเมศวร ซึ่งเป็นบริเวณที่ ถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง) พระราชบิดาแต่พระองค์ทรงครองราชย์ ได้เพียง แค่ปีเดียว จึงเข้าใจกันว่าสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ ทรงได้ช่วยเหลือให้สร้าง จนสาเร็จก็ได้ หรืออาจจะสร้างเสร็จ เมื่อสมเด็จพระราเมศวรเสวยราชย์ครั้งที่ ๒ ก็เป็นไปได้

จุดทีน่ า่ จนใจ พระปรางค์ พระปรางค์อ งค์ ใหญ่ ตั้ง อยู่ บนฐานสี่ เ หลี่ ย ม สู ง แหลมขึ้ น ไปด้ า นบนทางด้ า นทิ ศ ตะวั น ออก มีพระปรางค์องค์ขนาดกลางองค์ส่วนทางตะวันตกทาเป็นซุ้มประตู มีบันไดสูงจากฐานขึ้นไปทั้งสองข้ างที่มุมปรางค์ ประกอบด้วยรูปสัตว์หิมพาน มีปรางค์ขนาดเล็กตั้งอยู่ทางทิศเหนือ และ ใต้รอบๆปรางค์เล็กมีเจดีย์ล้อมรอบอีก ๔ ด้าน นอกจากนี้ยังมีเจดีย์เล็กบ้าง ใหญ่บ้างอยู่รอบๆ องค์พระปรางค์ประมาณ ๒๘ องค์วัดพระรามนี้เป็นที่น่าสังเกตอย่าง หนึ่ง คือ กาแพงวัดพระรามด้านเหนือ มีแนวเหลื่อมกันอยู่กาแพงด้านตะวันออก ตะวันตก และด้านใต้ มีซุ้มประตูค่อน ไปทางทิศตะวันตกได้ระดับกับมุมระเบียงด้านตะวันตกเฉียงเหนือของปรางค์ส่วนแนวเหลื่อมนั้นได้ระดับกับมุมระเบียง ตะวันออกเฉียงเหนือของปรางค์ ไม่มีซุ้มประตู คล้ายเจตนาสร้างไว้เพื่อประสงค์อะไรอย่างหนึ่ง


๕๘

ภาคสนามนอกภูมภิ าค ประจาปีการศึกษา ๒๕๕๘

วิหารพระมงคลบพิตร พระนครศรีอยุธยา

วิหารพระมงคลบพิตร ตั้งอยู่ติดกับพระราชวังโบราณ ทางทิศใต้ของวัดพระศรีสรรเพชญ์ เป็นโบราณสถาน สาคัญแห่งหนึ่งในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สันนิษฐานกันว่าสร้างในสมัยกรุงศรี อยุธยาตอนต้นราวแผ่นดินสมเด็จพระ บรมไตรโลกนาถ ผ่านเหตุการณ์ต่างๆ มามากมายหลายครั้ง เช่น ยอดมณฑปต้องอสนีบาต (ฟ้าผ่า) ไฟไหม้เครื่องบน มณฑปหักพังลงมาต้องพระเศียรพระพุทธรูปหัก(สมัยสมเด็จพระเจ้าเสือ) เมื่อเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 วิหารและ พระพุทธรูปถูกไฟไหม้ ชารุ ดทรุดโทรม เครื่องบนวิหารหักลงมาต้องพระเมาฬีและพระกรข้างขวาหัก กระทั่งรัฐบาล สมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม จึงได้เริ่มการบูรณปฏิสังขรณ์พระวิหารและองค์พระพุทธเสียใหม่ดังที่เห็นอยู่ในปัจจุบันนี้ นักท่องเที่ยวนิยมเข้ามานมัสการหลวงพ่อมงคลบพิตรก่อนจะเข้าชมพระราชวังโบราณ


ภาคสนามนอกภูมภิ าค ประจาปีการศึกษา ๒๕๕๘

๕๙

พ ร ะ ม ง ค ล บ พิ ต ร เ ป็ น พระพุ ท ธรู ป ปางมารวิ ชั ย ครองจี ว รห่ ม เฉี ย ง เปิ ด พระอั ง สาขวามี สั ง ฆาฏิ พ าด เหนือ พระอั งสาซ้ าย ชายยาวลงมาจรด พระนาภี ภายในองค์ก่ออิฐเป็นแกนแล้วบุ

ด้ ว ยทองสั ม ฤทธิ์ มี ข นาดหน้ า ตั ก กว้ า ง ๙.๕๕ เมตร ส่วนสูงเฉพาะองค์พระไม่รวม ฐานบั ว ๑๒.๔๕ เมตร ส่ ว นฐานบั ว สู ง ๔.๕๐ เมตร พระเศี ย รวั ด โดยรอบตรง บริเวณเหนือพระกรรณ ๗.๒๕ เมตร พระพักตร์กว้าง ๒.๓๒ เมตร บัวหงายระหว่างพระรัศมีกับพระเกศาเมาลีสูง ๔๓ เซนติเมตร พระรัศมีเหนือ บัวหงายสูง ๑.๓๐ เมตร พระกรรณยาวข้างละ ๑.๘๑ เมตรพระเนตรยาวข้ างละ ๑.๐๕ เมตร พระนาสิกยาว ๑.๒๐ เมตร พระโอษฐ์ยาว ๑.๑๖ เมตรและเป็นพระพุทธรูปหล่อขนาดใหญ่องค์เดียวในประเทศไทย สันนิษฐานกันว่า สร้าง ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้นราวแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ


๖๐

ภาคสนามนอกภูมภิ าค ประจาปีการศึกษา ๒๕๕๘

วัดพระศรีสรรเพชญ์ พระนครศรีอยุธยา

เป็ น วั ด พุ ท ธาวาสที่ ไ ม่ มี พระสงฆ์จาพรรษาเพื่อประกอบ พิ ธี ส าคั ญ ต่ า ง ๆ ของบ้ า นเมื อ ง และเก็บอัฐิ ของพระมหากษัตริย์ เปรี ย บได้ กั บวั ด พระศ รี รั ต น ศาสดารามในพระบรมมหาราชวัง ในกรุงเทพมหานคร

วัดพระศรีสรรเพชญ ตั้งอยู่ในเขตพระราชวังโบราณ เป็นวัดพุทธาวาสที่ไม่มีพระสงฆ์จาพรรษาเพื่อ ประกอบพิธีสาคัญต่าง ๆ ของบ้านเมือง และเก็บอัฐิของพระมหากษัตริย์เปรียบได้กับวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวังในกรุงเทพมหานครปัจจุบันเหลือเพียงซากอิฐปูนและเจดีย์สามองค์ที่ตั้งต ระหง่านเป็น จุดเด่น เดิมในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ใช้เป็นที่ ประทับ ต่อมาสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงสร้าง พระ ราชมณเฑียรขึ้นใหม่ทางตอนเหนือ แล้วจึงโปรดฯให้ยกเป็นเขตพุทธาวาส เพื่อประกอบพิธีสาคัญต่าง ๆ ของ บ้านเมือง จึงเป็นวัดในเขตพระราชวังที่ไม่มีพระสงฆ์จาพรรษา แตกต่างกับวัดมหาธาตุสุโขทัย ที่มีพระสงฆ์จา พรรษา ทั้งวัดมหาธาตุ สุโขทัย วัดพระศรีสรรเพชญ์ อยุธยา และวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ต่างก็ถูกสถาปนาขึ้น ในมูลเหตุการณ์สร้างวัดเดียวกันนั่นคือ "สร้างเพื่อ เป็นวัดประจาพระราชวัง"


ภาคสนามนอกภูมภิ าค ประจาปีการศึกษา ๒๕๕๘

๖๑

ต่อ มาในปี พ .ศ. ๒๐๓๕ รั ช สมัย ของสมเด็จ พระรามาธิ บ ดี ที่ ๒ พระองค์ ท รงโปรดเกล้ าฯ ให้ ส ร้ า ง พระสถูปเจดีย์องค์ตะวันออก เพื่อบรรจุพระอัฐิของพระราชบิดา สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ และพระสถูปเจดีย์ องค์กลางเพื่อบรรจุพระอัฐิ ของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๓ ผู้เป็นพระเชษฐาหลังจากนั้นในปี พ.ศ. ๒๐๔๒ พระองค์โปรดให้สร้างพระวิหารหลวงขึ้นในปีต่อ มาพ.ศ. ๒๐๔๓ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ ทรงสร้างพระวิหาร ทรงหล่ อพระพุท ธรู ป ยื น สู ง ๘ วา (ประมาณ ๑๖ เมตร) หุ้ ม ด้ว ยทองค า หนัก ๒๘๖ ชั่ง (ประมาณ ๑๗๑

กิโลกรัม) ประดิษฐานไว้ในวิหาร ถวายพระนามว่าพระศรีสรรเพชญดาญาณซึ่งภายหลังเมื่อเสียกรุง พ.ศ. ๒๓๑๐ องค์พระพังยับเยินรัชกาลที่ ๑ จึงโปรดเกล้าฯให้ย้ายมาประดิษฐานวัดพระเชตุพนและ บรรจุชิ้นส่วนซึ่งบูรณะ ไม่ได้เหล่านั้นไว้ในเจดีย์องค์ใหญ่ที่สร้างขึ้นแล้วพระราชทานชื่อเจดีย์ว่า เจดีย์ศรีสรรเพชญดาญาณเจดีย์ องค์ที่ ๓ ถัดมาจากด้านทิศตะวัน ตกเป็ น เจดีย์ บ รรจุพระอัฐิ ของสมเด็จ พระบรมราชาธิราชที่ ๒ ซึ่งสมเด็จพระบรม ราชาธิราชที่ ๔ (พระหน่อพุทธางกูร) พระราชโอรสได้โปรดให้สร้างขึ้น เจดีย์ทั้งสามองค์นี้เป็นเจดีย์แบบลังกา ในรัชสมัยพระเจ้าทรงธรรมพระองค์โปรดเกล้าฯให้สร้าง พระที่นั่งจอมทองตั้งอยู่ใกล้ๆ กาแพงทางด้าน

ติดกับวิหารพระมงคลบพิตร เพื่อ ให้เป็นสถานที่ให้พระสงฆ์บอกเล่าหนังสือพระสงฆ์ ราวรัชสมัยสมเด็จพระ เจ้าอยู่หัวบรมโกศมีการบูรณะปฏิสังขรณ์วัดหลวง แห่งนี้เป็นครั้งแรก ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัวพระยาโบราณราชธานินทร์สมุห เทศาภิบาลมณฑลกรุงเก่า ได้ดาเนิน การขุดสมบัติจากกรุภ ายในเจดีย์ พบพระพุทธรูปเครื่องทองมากมาย และในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงครามได้มีการบูรณะ วัดนี้จนมีสภาพที่เห็นอยู่ ในปัจจุบัน


๖๒

ภาคสนามนอกภูมภิ าค ประจาปีการศึกษา ๒๕๕๘

พระราชวังโบราณ พระนครศรีอยุธยา พระราชวั ง โบราณมี วั ด พระศรี ส รรเพชญ์ อ ยู่ ท างทิ ศ ใต้ ทิศเหนือจรดคลองเมือ ง (แม่ น้ า ลพบุรี) ซึ่งฝั่งตรงข้ามคลองคือวัด ห น้ า พ ร ะ เ ม รุ ด้ า น ห น้ า ข อ ง พระราชวั ง เป็ น ท้ อ งสนามหน้ า พระที่นั่งจักรวรรดิไพชยนต์ หรือ สนามหลวง ซึ่ ง ใช้ ใ นการชุ ม นุ ม ขนาดใหญ่ทางการทหาร ด้านทิศตะวันออกมีวัดธรรมิกราช บึงพระราม และมีโรงม้าหลวงเรียงรายตามถนนหน้าวังด้านทิ ศตะวันตก เป็นเขตท้ายวัง มีคลองและแนวถนนดินกั้นเป็นลาดับชั้นก่อนที่จะมาถึงแนวกาแพงวัง ๒ ชั้น แต่ละชั้นสูง ๘ ศอก และ มีทางเดินอยู่บนแนวกาแพงสาหรับทหารประจายาม พระราชวังโบราณแบ่ งเขตพื้น ที่เป็ น ๓ ส่ว น ส่ ว นแรกเป็นพระราชฐานชั้นนอก พื้นที่ส่ วนใหญ่เป็นท้อง สนามหลวง ส่วนที่สอง เป็นเขตพระราชฐานชั้นกลาง มีอาคารสาคัญๆ ได้แก่ พระที่นั่งวิหารสมเด็จมหาปราสาททอง พระที่นั่งสรรเพชญ์มหาปราสาท พระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์มหาปราสาท และส่วนที่สาม เป็นเขตพระราชฐานชั้นใน อาคารที่สาคัญคือพระที่นั่งบรรยงก์รัตนาสน์มหาปราสาท พระนั่งตรีมุข และพระที่นั่งทรงปืน


ภาคสนามนอกภูมภิ าค ประจาปีการศึกษา ๒๕๕๘

๖๓

พระราชวังโบราณ พระที่นั่งตรีมุข พระที่นั่งสรรเพชญ์ปราสาท พระที่นั่งบรรยงก์รัตนาสน์

ท่าวาสุกรี

พระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์

พื้นที่ของฝ่ายในสร้างด้วยไม้ จึงสูญสลายไป

วัดพระศรีสรรเพชญ์

บริเวณหน่วยงานราชการ พระที่นั่งจักรวรรดิไพชยนต์

และศาลาขุนนาง

พระที่นั่งวิหารสมเด็จ


ภาคสนามนอกภูมภิ าค ประจาปีการศึกษา ๒๕๕๘

๖๔

พระที่นั่งจักรวรรดิไพชยนต์ สร้างในสมัยพระเจ้าปราสาททอง เมื่อ พ.ศ. ๒๑๗๕ เป็นอาคาร ๓ ชั้นคร่อมอยู่บนกาแพงพระราชวังด้านทิศ ตะวันออก ค่อนลงไปทางทิศใต้ ริมท้องสนามหลวง ใช้ประทับทอดพระเนตรการยกทัพพยุหยาตรา และการมหรสพ พระที่นั่งวิหารสมเด็จมหาปราสาท พระที่นั่งองค์นี้อยู่ทางทิศใต้ของพระที่นั่งสรรเพชญ์มหาปราสาท มียอดปรางค์ห้ายอดหลังคามุงดีบุก ยอดหุ้ม ดีบุกปิดทอง เป็นพระที่นั่งที่สร้างขึ้นแทนพระที่นั่งมังคลาภิเษกในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง เนื่องจากเกิดฟ้าผ่า ไฟไหม้ ใน พ.ศ. ๒๑๘๖ ที่พระที่นั่งเรือนหน้าและหลัง ตบอดจนห้องคลัง ต่อเนื่องกันถึง ๑๑๐ เรือน พระเจ้าปราสาท ทองจึงโปรดเกล้าฯ ให้ก่อมหาปราสาทขึ้นใหม่ใช้เวลา ๑ ปี พระที่นั่งองค์นี้ใช้ในการประกอบพระราชพิธีต่างๆ เช่น พระ ราชพิธีราชาภิเษก พระราชพิธีโสกันต์ เป็นต้น พระที่นั่งองค์นี้ได้รับการปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่อีกครั้ง โดยเปลี่ยนเครื่องบน ทั้งหมดในสมัยพระเจ้าบรมโกศ โดยโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ ซึ่งเป็นกรมพระราชวังบวรฯ (วังหน้า) เป็นแม่

งานควบคุมการบูรณะ ใช้เวลา ๑๐ เดือน จึงแล้วเสร็จใน พ.ศ. ๒๒๘๕ ตรงพระที่นั่งมังคลาภิเษก พระที่นั่งสรรเพชญ์มหาปราสาท สร้างในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เป็นพระที่นั่งองค์กลางของหมู่มหาปราสาท ๓ องค์ วางตัวยาวตาม แนวตะวันออก-ตะวันตก มีหลังคา ๕ ชั้น ยอดหุ้มดีบุกปิดทอง พระมหากษัตริย์ทรงใช้พระที่นั่งองค์นี้ตามพระราช ประสงค์ เช่น รับรองคณะทูตเคยใช้รับรองราชทูตโปรตุเกสในสมัยพระรามาธิบดีที่ ๒ รับรองราชทูตกัมพุชประเทศ ใน สมัยพระเพทราชารับรองราชทูตจากกรุงศรีสัตนาคนหุต และราชทูตจากลังกาในสมัยพระบรมโกศ พระที่นั่งสรรเพชญ์มหาปราสาท ยังใช้ในพระราชพิธีปราบดาภิเษกในสมัยพระเพทราชา พระเจ้าเสือ พระเจ้า ท้ายสระ พระราชพิธีราชาภิเษกของพระเจ้าเอกทัศ พระราชพิธีอุปราชาภิเษก และปราบดาภิเษกของพระเจ้าอุทุมพร ใช้ในพระราชพิธีโสกันต์สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ สมัยพระเพทราชา พระที่นั่งองค์นี้ได้รับการบูรณะในสมัยพระเจ้าบรมโกศ โดยปรับปรุงเครื่องบนทั้งหมด แล้วปิดทองทั้งสิ้น


ภาคสนามนอกภูมภิ าค ประจาปีการศึกษา ๒๕๕๘

๖๕

พระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์มหาปราสาท ชื่อว่าสร้างสมัยสมเด็จพระนารายณ์ โดยสร้างทับพระที่นั่งองค์เดิม คือ พระที่นั่งเบญจรัตนมหาปราสาท ซึ่ ง สร้ า งในสมั ย สมเด็ จ พระบรมไตรโลกนาถ พระที่ นั่ ง มี ลั ก ษณะเป็ น จั ตุ ร มุ ข ตั ว อาคารทอดยาวไปทางทิ ศ ตะวันออก-ตะวันตก ส่วนด้านทิศเหนือ-ใต้ มีมุขสั้นๆ ยื่นออกมา อาคารก่ออิฐถือปูน สูง ๒๕ วา ยอดเป็นพรหม พักตร์ เหนือขึ้นไปมีฉัตรปิดทอง ๕ ชั้น เครื่องบินทั้งหมดปิดทอง ส่วนหลังคานั้นมุงด้ วยกระเบื้องซึ่งทาจากดีบุก ตรงกลางของพระที่นั่งตั้งพระบัลลังก์ พระที่นั่งองค์นี้เคยใช้ประดิษฐานพระบรมศพของพระนารายณ์ และยังเป็น พระนามที่เรียกขานกันอีกชื่อหนึ่งของพระเจ้าเอกทัศ กษัตริย์องค์สุดท้ายของอยุธยา พระที่นั่งองค์นี้ได้รับการ บูรณปฏิสังขรณ์เครื่องบนครั้งใหญ่ในสมัยพระเจ้าบรมโกศ และทาเครื่องบนใหม่อีกครั้งในสมัยพระเจ้าเอกทัศ ซึ่ง พังทลายลงโดยปืนใหญ่ของกองทัพพม่าคราวศึกพระเจ้าอลองพญา พระที่นั่งบรรยงค์รัตนาสน์มหาปราสาท หรือ “พระที่นั่งท้ายสระ” สร้างในสมัยสมเด็จพระเพทราชา เมื่อ พ.ศ. ๒๒๓๐ อยู่บริเวณฝ่ายในด้านท้ายวัง ใช้เป็นที่ประทับของ กษัตริย์หลายพระองค์ ได้แก่ พระเพทราชา พระเจ้าท้ายสระ พระเจ้าบรมโกศ เป็นพระที่นั่งที่ตั้งอยู่บนเกาะที่มี สระน้ากว้าง ๖ วา ล้อมรอบขอบสระ ด้านนอกมีกาแพงแก้วสูง ๖ ศอก ล้อมรอบอาคารพระที่นั่งเป็นทรงจัตุรมุข เครื่องยอดเป็นมณฑป มีพรหมพักตร์ หลังคามุงด้วยกระเบื้องดีบุก กลางสระด้านเหนือมีพระตาหนักที่ให้พระมา เทศน์มหาชาติคาหลวงทุกปี กลางสระด้านตะวันออกเป็นพระที่นั่งไม่มีหลังคา เป็นพระที่นั่งทรงดาว กลางสระ ด้านใต้เป็นพระที่นั่งโถง เพื่อประทับโปรยข้าวตอกเลี้ยงปลาในสระ ด้านตะวันตกมีอ่างแก้ว มีภูเขาจาลอง มีน้าตก

อาคารหลังนี้ได้รับการบูรณะครั้งใหญ่ในสมัยพระเจ้าบรมโกศ พระที่นั่งตรีมุข ไม่ ท ราบว่ า สร้ า งในสมั ย ใดและถู ก ท าลายลงเมื่ อ ใด พบแต่ ซ ากฐาน ในสมั ย พระบาทสมเด็ จ พระ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงให้สร้างพลับพลาตรีมุข เพื่อประกอบพระราชพิธี บวงสรวงบรรพกษัตริย์ในวาระที่พระองค์ครองราชย์ครบ ๔๐ ปี เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๑ ซึ่งเป็นเวลายาวนานเท่ากับพระ บรมไตรโลกนาถ แห่งอยุธยา


ภาคสนามนอกภูมภิ าค ประจาปีการศึกษา ๒๕๕๘

๖๖

นอกเหนือจากพระที่นั่งสาคัญที่สุด ๓ องค์ และที่รองลงมาอีก ๔ องค์แล้ว ในบริเวณพระราชวังยังมี ปราสาทต่างๆ อีกมากมาย ตามคาให้การชาวกรุงเก่าและคาให้การขุนหลวงหาวัด ยังมีอาคารที่อยู่อาศัยของพระ บรมวงศานุวงศ์อีกมาก รวมไปถึงหน่วยงานต่างๆ และอาคารหลากชนิด เช่น หอพระราชสาสน์ ศาลาลูกขุน หอ ไตร โรงช้าง โรงม้า โรงรถ โรงปืนใหญ่ อาคารต่างๆ นั้นได้ประดับ ประดาไปด้วยลวดลายปิดทอง ล่องกระจก ล่องชาด มีประติมากรรมรูปสัตว์ต่างๆ ทั้งในจินตนาการ และในธรรมชาติ ตลอดรวมไปถึงการจัดต้นไม้นานาพันธุ์ ประดับประดาสลับกับสวน และสระน้าใหญ่น้อย หลังสงครามเสียกรุงศรีอยุธยา พ.ศ. ๒๓๑๐ พระราชวังโบราณนี้ ก็ถูกทิ้งร้าง ซึ่งในสมัยต่อมาได้มีการขนย้ายซากอิฐจากอยุธยาลงมาเป็นวัสดุพื้นฐานในการสร้างกรุงเทพทวารวดีศรี อยุธยา หรืออยุธยา ให้มีชีวิตขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง (กรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์) พระที่นั่งทรงปืน อยู่ท้ายวังด้านทิศตะวันตก ต่อจากพระที่นั่งบรรยงก์รัตนาสน์ พระที่นั่งองค์นี้ไม่ทราบแน่ชัดว่าสร้างสมัย

ใด ใช้เป็นท้องพระโรงสาหรับเสด็จออกว่าราชการแผ่นดินในสมัยที่กษัตริย์ราชวงศ์บ้านพลูหลวง นิยมประทับที่ พระที่นั่งบรรยงก์รัตนาสน์ เมื่อคราวที่พระเจ้าบรมโกศประชวรหนักก็ทรงมอบราชสมบัติแก่กรมพระราชวังบวรฯ (กรมขุนพรพินิต) แล้วเสด็จสวรรคตบนพระที่นั่งองค์นี้ พระเจ้าตากก็เคยเสด็จมาประทับ ณ พระที่นั่งองค์นี้หลังจากได้รับชัยชนะในการรบกับก๊กสุกี้พระนายกอง ที่ค่ายโพธิ์สามต้น และน่าจะเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทาให้พระองค์ทรงตัดสินพระทัยเลือกเมืองธนบุรีให้เป็นศูนย์กลางทาง การเมืองใหม่แทนอยุธยา ทั้งนี้เพราะได้สุบินว่าบูรพกษัตริย์อยุธยามิได้มีพระราชประสงค์ให้พระองค์ประทับอยู่ที่นี่


ภาคสนามนอกภูมภิ าค ประจาปีการศึกษา ๒๕๕๘ เจดี ย์ วั ด ใหญ่ ชั ย มงคล เป็นสัญลักษณ์ที่โดดเด่นมองเห็น แต่ ไ กลทางด้ า นตะวั น ออกของ

๖๗

วัดใหญ่ชัยมงคล

พระนครศรีอยุธยา

กรุ ง ศรี อ ยุ ธ ยาขณะที่ เจดี ย์ ภู เ ขา

ทอ ง เป็ น สั ญ ลั ก ษณ์ ที่ โด เ ด่ น ทางด้านทิศตะวันตก กระเบื้องเชิงชาย ทาหน้าที่ปิดปลายกระเบื้องแผ่นสุดท้าย ด้านล่างทาเป็นขามาสอดเข้าไปในกระเบื้องคว่าตัวสุดท้าย

สั น นิ ษ ฐานว่ า วั ด ใหญ่ ชั ย มงคล เป็ น วั ด ที่ สร้างมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าอยู่ทองหลังการสร้างกรุง

วัดป่าแก้ว เป็นวัดของพระสงฆ์ที่สืบมาจากสานักของ

ศรี อ ยุ ธ ยาเมื่ อ ปี พ .ศ .๑๘๙๓ ไม่ น านนั ก โดย

พระวันรัตนมหาเถระในลังกา ที่เน้นทางวิปัสสนาธุระถือการ

พระองค์ ไ ด้ ขุ ด พระศพของเจ้ า แก้ ว เจ้ า ไทยที่

บ าเพ็ ญ ภ าวนาเป็ น ส าคั ญ สมเด็ จ พระวั น รั ต น์ เป็ น

สิ้นพระชนม์ด้วยอหิวาตกโรค เอาขึ้นมาเผาเสียและ

พระสังฆราชฝ่ายขวา (ส่วนพระสังฆราชฝ่ายซ้ายหรือคันถธุระ

ที่ ป ลงพระศพนั้ น ให้ ส ถาปนาพระเจดี ย์ แ ละพระ

คือ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ที่เน้นการศึกษาพระไตรปิฎก)

วิหาร แล้วให้นามว่า วัดป่าแก้ว

วัดป่าแก้ว ในพงศาวดารอาจเรียกในอีกชื่อหนึ่งว่า วัดเจ้าพระยาไทย หรือวัดพระยาไทย ชาวบ้านเรียกวัดนี้ว่า วัดใหญ่ ซึ่งเกี่ยวกับการสร้าง มหาเจดีย์ เมื่อ คราวที่พ ระนเรศวรรบชนะพระ มหาอุปราชาแห่งพม่า ทาให้อยุธยาประกาศเป็น อาณาจักรอิส ระได้อีกครั้ง พระองค์จึงได้

ผังมหาเจดีย์

สร้างมหาเจดีย์ ชัยมงคล องค์นี้ขึ้นมาที่วัด นี้ และชื่อวัดจึงเปลี่ยนจากวัดป่าแก้ว มาเป็น วัดใหญ่ชัยมงคล


ภาคสนามนอกภูมภิ าค ประจาปีการศึกษา ๒๕๕๘

๖๘

วัดใหญ่ชัยมงคล หันหน้าไปทางทิศตะวันออกมีกาแพงล้อมรอบเป็นสี่เหลี่ยม (๑๓๐.๘๐ x ๑๘๓.๗๐ เมตร) ในปัจจุบันทางวัดได้ขยายพื้นที่ไปทางตะวันออกจัดทาเป็นสวนเฉลิมพระเกียรติพระนเรศวรมหาราช ทางเข้าวัดในปัจจุบันถูกบังคับโดยถนนที่ตัดผ่านด้านหลังของวัด โดยมีลานจอดรถทางด้านทิศเหนือ ดังนั้นผู้ ที่มาทาบุญและมาเยือนยังวัดนี้จึงต้องเข้าทางประตูทิศเหนือ ทาให้ต้องเดินผ่านเขตสังฆวาสหรือที่อยู่ของพระสงฆ์ จึง เข้าสู่เขตพุทธาวาส ด้านซ้ายมือเป็นวิหารพระนอนขนาดใหญ่ที่ปรักหักพัง มีพระนอนหรือพระไสยาสน์หันพระพักตร์ไปทางทิศ

ตะวันออก พระเศียรไปทางทิศใต้ ซึ่งองค์เดิมนั้นได้ถูกนักแสวงโชคขุดทาลายจนพังไปหมดแล้ว องค์ปัจจุบันเป็นองค์ที่ สร้างขึ้นมาใหม่ ถัดมาเป็นเขตพระอุโบสถ (๑๕.๙๐ x ๔๔ เมตร) ที่อยู่ด้านหน้าของพระมหาเจดีย์ กาแพงด้านข้างทั้งสองของ พระอุโบสถหลังเดิมยังได้รับการรักษาไว้โดยสร้างอุโบสถหลังใหม่ซ้อนขึ้นมา เชื่อกันว่านี่คือพระอุโบสถที่เหล่าขุนนาง และพระเฑียรราชา (ต่อมาคือพระมหาจักรพรรดิ) ได้มาชุมนุมกันเสี่ยงเทียน เพื่อตัดสินใจว่าจะร่วมกันทาการยึด อานาจจากองค์กษัตริย์ขุนวรวงศาธิราชและพระแม่เจ้าอยู่หัวศรีสุดาจันทร์หรือไม่


ภาคสนามนอกภูมภิ าค ประจาปีการศึกษา ๒๕๕๘

๖๙

วัดพนัญเชิง

พระนครศรีอยุธยา

วัดพนัญเชิง (เดิมเรียกวัดพระเจ้าพแนงเชิง) ตั้งอยู่นอกเกาะเมืองทางทิศใต้ ริมแม่น้าเจ้าพระยาทางทิศ ตะวันออก ตรงบริเวณปากน้าขนาดใหญ่ซึ่งแม่น้าป่าสักและแม่น้าเจ้าพระยามาบรรจบกันในสมัยอยุธยาเป็นราธานี วัดพนัญเชิงและชุมชนโดยรอบ เชื่อกันว่ามีอยู่ตั้งแต่ก่อนกรุงศรีอยุธยาจะเป็นราธานีใน พ.ศ.๑๘๙๓ ถึง ๒๖ ปีสิ่งที่สาคัญที่สุดก็คือพระพุทธรูปปางสมาธิขนาดใหญ่ หน้าตักกว้าง ๒๐ เมตร ๗ เซนติเมตร สูง ๑๙ เมตร ซึ่งแต่ เดิมนั้น ประทับนั่ งอยู่กลางแจ้ง ชาวบ้านเรีย กว่า หลวงพ่อโต หรือชาวไทยเชื้อสายจีนเรียกว่า ซ้าปอกง และ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานนามว่า พระพุทธไตรรัตนนายก


ภาคสนามนอกภูมภิ าค ประจาปีการศึกษา ๒๕๕๘

๗๐

ตานานกล่าวว่าเมื่อคราวจะเสี ยกรุงครั้งที่ ๒ มรน้าพระเนตรไหลลงมาถึงพระนาภี วัดและองค์พระชารุด เนื่องจากไฟไหม้ใน พ.ศ.๒๔๔๔ จึงได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์ใหญ่ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อย่างที่เห็นในปัจจุบัน ในบริเวณนั้นมีอาคารสาคัญอยู่ ๔ อาคาร คือ พระอุโบสถภายในมีพระพุทธรูป ๓ องค์ ซึ่ง ชาวบ้านเรียกว่า พระเงิน พระทอง พระนาก เป็นพรุทะรูปแบบสุโขทัย ภายในมีภาพจิตรกรรมฝาผนัง

พระวิหารน้อย คู่ขนานกับพระอุโบสถ น่าจะเป็นอาคารคู่กันมาตั้งแต่ดั้งเดิมโดยตั้งอยู่ข้างหน้าพระพุทธรูป ใหญ่ ภายในพระวิหารน้อยมีภาพจิตรกรรมฝาผนังสมัยใหม่ที่วาดเป็นรูปโต๊ะหมู่บูชาแบบจีน วิหารใหญ่ ซึ่งมีหลวงพ่อโตเป็นพระประธาน สิ่งที่น่าชม คือ ไม้แกะสลักซึ่งจาหลักเป็นลวดลายพรรณไม้ สัตว์ตัวเล็กตัวน้อย ซึ่งโผล่หรือหลบซ่อนหยอกล้อกันอยู่ในลวดลายต้นไม้ ทาให้เกิดชีวิตชีวาและความสนุกสนาน ส่วนตรงกลางบานแกะสลักเป็นลายดอกไม้ขนาดใหญ่ ประดับด้วยเทพพนมและสัตว์ในเทพนิยาย ลายแกะสลักที่ งดงามเหล่านี้เป็นไปตามจารีตเดิมของบานประตูวังทั้งหลายในสมัยอยุธยา ผนังโดยรอบของวิหารใหญ่เจาะเป็นซุ้มขนาดเล็กตามศิลปะแบบเปอร์เซีย ภายในซุ้มมีพระพุทธรูปขนาด เล็กๆบรรจุไว้ซุ้มละองค์หรือสององค์ให้ความรู้สึ กเหมือนพระประธานขนาดใหญ่ประดับอยู่กลางพุทธจักรวาล สันนิษฐานว่าตัวอาคารน่าจะได้สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าปราสาททองหรือสมัยพระนารายณ์ อาคารหลังที่สี่ คือ เก๋งจีนขนาดเล็ก ซึ่งอยู่ทางด้านข้างของพระวิหารใหญ่ ชาวบ้านเรียกอาคารเก๋งจีนนี้ว่า ศาลเจ้าแม่สร้อยดอกหมาก ตัวอาคารเป็ นตัวอย่างของสถาปัตยกรรมแบบจีนซึ่งล้อมลานขนาดเล็กไว้ตรงกลาง ด้านหลังเป็นเรือนสองชั้น ชั้นบนประดิษฐานรูปเคารพ ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า เจ้าแม่สร้อยดอกหมาก ตามตานานที่

เล่าสืบต่อกันมา


ภาคสนามนอกภูมภิ าค ประจาปีการศึกษา ๒๕๕๘

๗๑

เอกสารอ้างอิง คู่มือท่องเที่ยว พระนครศรีอยุธยา นครประวัติศาสตร์มรดกโลก . (๒๕๔๗). สถาบันอยุธยาศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา. ประวัตศิ าสตร์และประวัตศิ าสตร์ศิลปะอยุธยา. (๒๕๔๗). สถาบันอยุธยาศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา. พิพธิ ภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา . สืบค้นวันที่ ๒๗ ธันวาคม ๒๕๕๘. จาก http://www.ayutthayastudies.aru.ac.th/content/view/356/116/.


เอกสารประกอบการศึกษาภาคสนามนอกภูมิภาค

พระนครศรีอยุธยา ระว่างวันที่ ๑๘ – ๒๔ มกราคม ๒๕๕๘ ณ ภาคตะวันตกและภาคกลางของประเทศไทย


เอกสารประกอบการศึกษาภาคสนามนอกภูมิภาค

พระนครศรีอยุธยา ระว่างวันที่ ๑๘ – ๒๔ มกราคม ๒๕๕๘ ณ ภาคตะวันตกและภาคกลางของประเทศไทย


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.