www.typemagazinethailand.com
magazine
ISSUE #01 DEC 2015
FREE COPY
Mr.Nakra Yako Student ID 5620610002
Typography & Inspiration
PROJECT
MDPI+MDIC Founded 2005-2015
SUBJECT
POSTER DESIGN
© 2015 ALL Right Reserved. Nakra Yako
A good design cannot be seen with the eyes, but can be felt.
ดี ไซน์ที่ดี คือสิ่งที่มองไม่เห็น แต่สัมผัสได้
Editor’ Talk แบบตัวอักษรดี ท�ำให้งานเสร็จไปแล้ว 50% ผมเชื่อในข้อความข้างต้นน่ะ เพราะเราปฏิเสธไม่ได้ว่า ตัวอักษรคือองค์ประกอบ พื้นฐานที่ส�ำคัญของการออกแบบ นอกจากนี้ตัวอักษรยังมีบทบาทที่ส�ำคัญส�ำหรับ ภาพรวมของการออกแบบสื่อสาร และยังนับว่าเป็นสื่อทางวัฒนธรรมที่เห็นได้ชัดเป็น รูปธรรมมากที่สุดชนิดหนึ่ง เราใกล้ชิดกับตัวอักษรเป็นอย่างมาก ตัวอักษรแถบจะอยู่ในทุกระเบียบนิ้วของ วิถีชีวิตของเรา ใกล้จนเรานั้นคุ้นชิน จนไม่ให้ความส�ำคัญในรายละเอียดของตัวอักษร กี่มากน้อยแล้วที่เราเห็นสื่อสิ่งพิมพ์่ประเภทต่าง ๆ ในสังคม ที่มีการใช้ที่ตัวอักษรแบบ ผิดๆ ซึ่งสิ่งหล่าวนี่บ่งบอกถึงความบกพร่องของนักออกแบบเป็นอย่างมาก เพราะในยุคที่เราต้องสื่อสารกับคนจ�ำนวนมากจากหลายกลุ่มหลายเหล่า การ สือ่ สารทีด่ คี วรมีสำ� เนียงหรือลีลาทีเ่ หมาะสม การใช้ฟอนต์คอื การเลือกบุคลิก หรือ ลีลาของสิ่งที่เราต้องการแสดงออก ฟอนต์หรือแบบตัวอักษรที่เหมาะสมเป็นเรื่องที่ เราต้องศึกษา โดยเฉพาะในยุคปัจจุบันซึ่งเรามีฟอนต์ให้เลือกนับร้อยนับพัน... นิตยาสาร TYPE เล่มนี้ ได้เกิดขึ้นท่ามกลางสังคมที่เกลื่อนกลาดไปด้วย นักออกแบบ ซึ่งจะน�ำเสนอองค์ความรู้ต่างๆ เกี่ยวกับตัวอัษร ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่า นิตยาสารเล่มนี้ จะเป็นส่วนส�ำคัญทีค่ อ่ ยเติมเต็มความรู้ ให้กบั นักออกแบบและผูท้ สี่ นใจ ในตัวอักษร ไม่มากก็น้อย
นิตยาสารฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา 870-211 Design and Production of Print Media ปีการศึกษา 2558 อาจารย์ผู้สอน อมีน นาคเสวี จัดท�ำโดย นครา ยะโกะ รหัสนักศึกษา 5620610002 สาขาวิชานวัตกรรมการออกแบบและสร้างสรรค์สื่อ คณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
นครา ยะโกะ บรรณาธิการอ�ำนวยการ arkanmystudio@gmail.com
อ่านนิตยาสารฉบับออนไลน์ได้ที่ http://issuu.com/home/publications
Contents 06 Type To day
18 Type Talk
เปิดโลกคน “ออกแบบตัวอักษร” สร้างเงินผ่านลายเส้น และไลเซนส์
ฟังความคิดร่วมสมัยของไทป์ดีไซเนอร์ไทย
10 Type Trend
22 Type Talk
ฟ้อนต์ไทยฟรี !! ที่นักออกแบบโคตรนิยมใช้
เฮลเวทิก้า เพื่อนคนเก่าที่ไม่เคยลืม
14 Type Teach
เรื่องพื้นฐานองนักออกแบบผู้ใช้ตัวอักษร
to day เปิดโลกคน “ออกแบบตัวอักษร” สร้างเงินผ่านลายเส้น และไลเซนส์
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ http://www.manager.co.th/iBizChannel
7 l type to day l type magazine
เหล่านักออกแบบตัวอักษร ร่วมกันสร้างเครือข่าย “สโมสรอักษรศิลป์และอักขรศิลป์กรุงเทพฯ” (Typographic Association Bangkok หรือ TAB)
การสื่อสารด้วยการอ่าน นอกเหนือจากเนื้อหาใจความที่เขียนแล้ว สิง่ หนึง่ ทีถ่ า่ ยทอดไปถึงผูร้ บั โดยไม่รตู้ วั นัน่ คือ ความรูส้ กึ จากลักษณะ “ตัวอักษร” หรือฟอนต์ (Font) ที่แฝงไปด้วยเรื่องความสวยงาม อารมณ์ และเอกลักษณ์ ช่วยให้สารที่ออกไปเพิ่มคุณค่า และความ ส�ำคัญมากยิ่งขึ้น ความส�ำคัญดังกล่าว ท�ำให้มีการคิดค้นรูปแบบตัวอักษรต่างๆ มายาวนาน และต่อเนือ่ งจนพัฒนากลายเป็นอาชีพ มีผรู้ บั จ้างออกแบบ ตัวอักษรโดยตรง ซึ่งในต่างประเทศเกิดขึ้นหลายสิบปีแล้ว ทว่า ในเมืองไทยแล้ว อาชีพนี้ ถือเป็นเรือ่ งใหม่มากๆ ทัง้ วงการ มีบุคลากรนักออกแบบตัวอักษรมืออาชีพแค่ไม่เกิน 100 คน เทียบ สัดส่วนกับความต้องการของตลาด ที่สามารถขายได้ทั่วโลก จึงยังมี ช่องไฟอีกเหลือเฟ้อให้หน้าใหม่ก้าวเข้ามาหาโอกาสในอาชีพนี้ หากจะหาจุดเริ่มต้นอย่างเป็นรูปธรรมของวงการออกแบบตัว อักษรในเมืองไทยนั้น ต้องย้อนไปตั้งแต่ 10 ปีที่แล้ว เมื่อค่ายมือถือ ของไทยแข่งขันกันดุเดือด แต่ละรายพยายามสร้างเอกลักษณ์เฉพาะ ตัว นอกเหนือจากแบ่งกันโดย “สี” และ “โลโก้” เท่านั้น จึงมองมาที่ การสร้าง “ฟอนต์ประจ�ำตัว” ของแบรนด์ โดยว่าจ้างบริษัท คัดสรร ดีมาก จ�ำกัด ซึ่งเวลานั้นเป็นบริษัทไทยหนึ่งเดียวที่มีบริการออกแบบ ฟอนต์
type magazine l type to day l 8
สมิชฌน์ สมันเลาะ ตัวแทน บริษัท คัดสรร ดีมาก จ�ำกัด เสริม ให้ฟังว่า บริษัทฯ ก่อตั้งมาประมาณ 12 ปี บุกเบิกโดยคุณอนุทิน วงศ์สรรคกร รับจ้างออกแบบฟอนต์ ให้แก่บริษัทในต่างประเทศ จน เมื่อค่ายมือถือไทยรายหนึ่งเข้ามาว่าจ้าง และผลงานที่ออกไปได้ผล ตอบรับอย่างดี ท�ำให้ธรุ กิจไทยอืน่ ๆ หันมาให้ความส�ำคัญ แล้วเกิดการ ว่าจ้างออกแบบตัวอักษรต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน เขาอธิบายเสริมถึงลักษณะพิเศษของอาชีพรับจ้างออกแบบ ฟอนต์ คนที่จะท�ำได้ดีควรเป็นเจ้าของภาษานั้นๆ เนื่องจากอักษรของ แต่ละภาษาจะมาพร้อมกับวัฒนธรรมประจ�ำชาติ ซึ่งคนท้องที่เท่านั้น จึงจะเข้าใจได้อย่างลึกซึ้งแท้จริง “ยกตัวอย่างอักษรภาษาไทย ให้ชาวตะวันตกมาออกแบบ แม้ จะท�ำออกมาได้ แต่การวางต�ำแหน่งสระ วรรณยุกต์ เว้นช่องไฟ ฯลฯ ยังไรเสีย ไม่มีทางจะเข้าใจได้ดีกว่าคนไทยเอง เช่นเดียวกับเราจะไป ออกแบบฟอนต์จีน เกาหลี ก็ไม่มีทางท�ำได้ดีเท่าเจ้าของภาษา ดังนั้น บริษัทต่างชาติท่ีมาลงทุนในเมืองไทย เมื่อจะท�ำสื่อโฆษณาโดยใช้ ฟอนต์ภาษาไทยจึงต้องจ้างทีมออกแบบโดยคนไทย ท�ำให้วงการนัก ออกแบบฟอนต์ ได้ประโยชน์และเติบโตมากยิ่งขึ้น” สมิชฌน์ กล่าว และเผยด้วยว่า แม้ทกุ วันนี้ จะมีฟอนต์ ให้โหลดใช้งานฟรีมากมาย ทัง้ ถูกและผิด กฎหมาย ทว่า วงการออกแบบตัวอักษรไทยยังมีทศิ ทางขาขึน้ ต่อเนือ่ ง จากการเก็บข้อมูลเฉลีย่ โตปีละ 25% ปัจจัยส�ำคัญมาจากเรือ่ งกฎหมาย ลิขสิทธิ์ในเมืองไทย โดยเฉพาะช่วง 5 ปีหลังที่ผ่านมา รัดกุมมากยิ่ง ขึน้ และมีบทลงโทษรุนแรงเป็นรูปธรรม หากไปใช้ฟอนต์ละเมิดลิขสิทธ์ แล้วถูกด�ำเนินคดี ค่าเสียหายจะสูงกว่าจ้างออกแบบเสียอีก และปัจจัยต่อมาที่มีความส�ำคัญเช่นกัน คือ ภาคธุรกิจต่าง ๆ ตั้งแต่ขนาดใหญ่และเอสเอ็มอีเห็นความส�ำคัญเกี่ยวกับตัวอักษรมาก ขึน้ ยอมควักกระเป๋าจ้างออกแบบ เพราะรับรูแ้ ล้วว่า ของฟรีมกั ไม่ตอบ สนองการใช้งานที่เหมาะสม “ศุภกิจ เฉลิมลาภ” และ “ธนรัชฏ์ วชิรัคกุล” บริษัท กะทัดรัด
การออกแบบตัวอักษร ต้องอาศัยทักษะ ระหว่างงานศิลปะกับ ด้านเทคโนโลยี ควบคู่อยู่ในคนๆ เดียว จึงยากมากที่จะหาบุคลากร ประเภทนี้ได้
อักษร จ�ำกัด ซึ่งมุ่งเจาะลูกค้าเอสเอ็มอี เผยว่า ลูกค้าหลักของนัก ออกแบบฟอนต์แบ่งเป็น 2 กลุม่ ได้แก่ 1.รับจ้างออกแบบให้แก่องค์กร โดยตรง กลุ่มนี้ค่าออกแบบสูง เริ่มต้นที่หลักแสนไปจนถึงหลักล้าน บาท และ 2. ขายปลีกส�ำหรับรายย่อยทั่วไปที่ต้องการมีฟอนต์เฉพาะ ตัว โดยจะมีชอ่ งทางเป็นเว็บไซต์หน้าร้านออนไลน์รวมรวบฟอนต์ตา่ งๆ จากทัว่ โลกไว้รว่ มกัน สามารถเข้าไปเลือกซือ้ ใช้ได้ ซึง่ จะมีรายละเอียด ปลีกย่อยในการน�ำไปงานประกอบด้วย “เดิมผู้มาจ้างออกแบบฟอนต์จะเป็นองค์กรใหญ่ เงินทุนสูง เท่านัน้ แต่ปจั จุบนั ตลาดฟอนต์เปิดกว้างขึน้ งบประมาณแค่หลักหมืน่ บาท ก็สามารถมีฟอนต์เฉพาะตัวได้ ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีจึงเข้ามา ใช้บริการมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะมันช่วยเสริมภาพลักษณ์แบรนด์ และ ท�ำให้ขอ้ มูลทีต่ อ้ งการสือ่ ไปถึงลูกค้าถูกต้อง จึงเป็นการลงทุนทีค่ มุ้ ค่า” ศุภกิจ กล่าว อย่างไรก็ตาม ในวงการออกแบบฟอนต์มืออาชีพของเมืองไทย เวลานี้ เบ็ดเสร็จแล้วมีอยู่เพียง 12 บริษัทเท่านั้น นับบุคลากรรวมกัน ยังไม่ถงึ 100 คนด้วยซ�ำ ้ ศุภกิจ ไล่เรียบสาเหตุหลักมาจากในเมืองไทย ยังไม่มกี ารหลักสูตรการเรียนการสอนศาสตร์นอี้ ย่างเป็นทางการ ท�ำให้ ความรู้ไม่ถูกแพร่กระจายในวงกว้าง
สมิชฌน์ สมันเลาะ ตัวแทน บริษัท คัดสรร ดีมาก จ�ำกัด
9 l type to day l type magazine
ธนรัชฏ์ วชิรัคกุล (ขวา) และ ศุภกิจ เฉลิมลาภ (ซ้าย) บริษัท กะทัดรัด อักษร จ�ำกัด
และเหตุผลต่อว่า การออกแบบตัวอักษรต้องอาศัยทักษะระหว่าง งานศิลปะกับด้านเทคโนโลยีควบคู่อยู่ในคนๆ เดียว จึงยากมากที่จะ หาบุคลากรประเภทนี้ได้ รวมถึง ในความเป็นจริงการออกแบบตัว อักษรเป็นงานละเอียดอ่อน ใช้เวลานานมาก ถ้าใจไม่รักจริงๆ ย่อม กลายเป็นความน่าเบื่อ “อักษรไทยหนึง่ ชุด ต้องมีทงั้ ตัวหนา ตัวเอน ฯลฯ รวมถึงไอคอท ต่างๆ รวมแล้วชุดหนึง่ มีอกั ษรมากกว่า 500 แบบ อย่างอักษรจีน หรือ เกาหลี ชุดหนึ่งมีเป็นพันแบบ ใช้เวลาท�ำเป็นปีกว่าจะเสร็จ ดังนั้น หน้า ใหม่ท�ำไปสักพัก จะรู้สึกว่ามันไม่สนุกเลย ซึ่งเทรนด์นี้ไม่ใช่เฉพาะใน เมืองไทย แม้แต่ต่างชาติ คนที่ยึดอาชีพนี้ในแต่ละประเทศก็มีจ�ำนวน ไม่มาก” ศุภกิจ เผย ในส่วนของเมืองไทยนั้น อาชีพนักออกแบบฟอนต์มักจะแตก ยอดจากการเป็นนักออกแบบสาขาอื่นๆ ที่มักประสบปัญหาว่า อักษร ไทยทีม่ อี ยู่ ยังไม่ตอบสนองกับความต้องการในการใช้งานอย่างแท้จริง จึงจ�ำเป็นต้องออกแบบใหม่ขึ้นเอง และหลังจากนั้น เชี่ยวชาญจนก้าว สู่การเป็นนักออกแบบตัวอักษรมืออาชีพ ขวัญชัย อัครธรรมกุล จากสตูดิโอ คราฟส์แมนชิพ เป็นหนึ่งใน ผลผลิตที่เติบโตมาจากโมเดลดังกล่าว เดิมรับจ้างออกแบบงาน คอมพิวเตอร์กราฟิก แต่ฟอนต์ทั่วไปไม่เป็นที่พอใจ เลยต้องออกแบบ เอง และพัฒนาจนปัจจุบนั กลายเป็นจุดขายเสริมในธุรกิจเดิม สามารถ ออกแบบฟอนต์เฉพาะตัวให้แก่ลูกค้าได้ ช่วยให้ลูกค้ากลับมาจ้างซ�้ำ เรื่อยๆ และแน่นอนว่า ได้ค่าจ้างในการผลิตสูงขึ้นด้วย
ย้อนกลับมาที่ สมิชฌน์ กล่าวว่า อุตสาหกรรมออกแบบตัวอักษร ยังมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง ดังนั้น ผู้ประกอบการในธุรกิจนี้ทั้ง 12 ราย ร่ ว มกั น สร้ า งเครื อ ข่ า ย “สโมสรอั ก ษรศิ ล ป์ แ ละอั ก ขรศิ ล ป์ กรุงเทพฯ” (Typographic Association Bangkok หรือ TAB) ขึ้น เพื่อถ่ายทอดความรู้ระหว่างกัน จัดกิจกรรมต่างๆ สร้างการรับรู้สู่คน ภายนอก อีกทัง้ เชือ่ มโยงเครือข่ายช่วยเหลือกันและกัน และสร้างแรง บันดาลใจให้แก่คนรุ่นใหม่ๆ ให้ก้าวเข้าสู่วงการนี้ “ส�ำหรับหน้าใหม่ทอี่ ยากเข้าสูว่ งการ อันดับแรก ต้องรักตัวอักษร ต้องเข้าใจว่า อักษรมีความรู้ประวัติศาสตร์ และต้องตระหนักเสมอว่า การออกแบบตัวอักษร สิ่งส�ำคัญที่สุดต้องน�ำไปใช้งานได้จริง ยิ่ง ปัจจุบัน โลกเชื่อมโยงเป็นหนึ่งเดียว การท�ำงานให้แก่บริษัทต่างชาติ ต้องสอดคล้องกับมาตรฐานสากล อย่าคิดแค่เข้ามาท�ำเพราะเห็นว่าง่าย และรายได้ดี สุดท้ายงานจะออกมาไม่ได้คุณภาพ” สมิชฌน์ กล่าว ขวัญชัย อัครธรรมกุล จากสตูดิโอ คราฟส์แมนชิพ
type magazine l type trend l 10
trend ฟ้อนต์ไทยฟรี !!
ที่นักออกแบบโคตรนิยมใช้ ฟ้อนต์ฟรีนักออกแบบทุกคนล้วนชอบยิ่งถ้าเป็นฟ้อนต์ ไทยฟรีดว้ ยแล้วบอกได้เลยว่านักออกแบบทุกคนยิง่ ชอบ เข้าไปใหญ่ เมือ่ ไม่นานก็นกี้ ็ได้นงั่ คิดว่าฟ้อนต์ไทยทีฟ่ รีๆ มีเยอะมาก แต่ๆ นักออกแบบส่วนมากใช้ฟ้อนต์ตัวไหน กันละ เป็นค�ำถามทีค่ อ่ นข้างคาใจมานานเพราะโดยส่วน ตัวก็ ใช้อยู่ไม่กี่ชนิดเท่านั้นจึงเกิดไอเดียถามแฟนเพจ GRAPPIK ดีกว่าว่าฟ้อนไทยฟรีตวั ไหนทีน่ ยิ มใช้กนั มาก ที่สุด โพสต์ที่ได้ตั้งให้ Fanpage ทุกคนเข้ามาร่วมแชร์ ความคิดเห็นกัน ใครอยากรู้ว่าพูดคุยอะไรกันบ้างตาม ไปได้ที่นี่เลยครับ ผ่านไป 2 วันในที่สุดก็ได้ข้อสรุปแม้จะไม่เป็น เอกฉันท์มากนักแต่ก็ท�ำให้เรารู้ได้แล้วว่า ฟ้อนต์ไทยฟรี ที่นิยมใช้กันมากที่ตัวไหนกันบ้าง พร้อมแล้วจัดไป
BY PLAYMAK3R http://grappik.com/font-thai-free-download/
type magazine l type trend l 12
สร้างสรรค์โดย: superstore
1. Supermarket มาแรงมากหลายคนให้เป็นเสียงเดียวกันว่าเจ๋ง ซูเปอร์มาร์เก็ต คือฟ้อนต์ไทยอีก 1 ตัวที่คนไทยนิยมใช้กันมากเพราะ อ่านงายฟ้อนไม่หนาไม่บางจนเกินไป ใครชอบตามไปโหลดกันได้เลย
สร้างสรรค์โดย: นายทิวากร นาวารัตน์ Design Director บริษัท ไบรท์ไซด์จ�ำกัด และ ศิษย์เก่าสาขาวิชาออกแบบนิเทศศิลป์รุ่นที่ 12 คณะศิลปะและการออกแบบ มหาวิทยาลัย รังสิต
3. Quark : ควาร์ก อีกหลายเสียงยกให้ Quark เป็น ฟ้อนต์ไทยฟรี ที่นิยมอีก 1 ตัว แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ฟ้อนต์ Quark ทั้งชุดมี 6 น�้ำหนัก แต่เวอร์ชันสามารถใช้ฟรีได้ นั้นคือ Light กับ Bold หากต้องการน�ำไปใช้งานให้ครบ ถ้วนสมบูรณ์ทั้ง 6 น�้ำหนัก สามารถซื้อได้ที่นี่ครับ Typomancer หรืออยากจะโหลดไปใช้ฟรีแค่ตัว Light กับ Bold ก็โหลดกันได้ที่นี่เลย
2. RSU หรือ ฟ้อนต์ของมหาวิทยาลัยรังสิต จุดเด่นของ RSU ฟ้อนต์ คือเป็นฟ้อนต์ไม่มีหัว ซึ่งดัดแปลงมาจากฟอนต์ภาษาอังกฤษชุดหนึ่ง โดยอักษรภาษาไทยทีไ่ ม่มหี วั เกือบทุกชุดในเมืองไทย ล้วนถูกดัดแปลง มาจากอักษรภาษาอังกฤษแทบทัง้ สิน้ เพราะการแปลงตัวอักษรภาษา อังกฤษให้กลายเป็นภาษาไทยจะช่วยให้มีความทันสมัย เมื่อได้ชุด อักษรภาษาไทยแล้วจึงท�ำาชุดอักษรภาษาอังกฤษให้สอดคล้องกัน ฟ้อนต์ RSU เป็นอีกหนึ่งฟ้อนต์ที่ได้รับความนิยมในการน�ำไป ใช้งานเยอะมาก โดยที่เป็นฟ้อนต์ที่ดูทันสมัยและยังสามารถใช้ได้กับ งานทุกประเภทจึ่งไม่แปลกเลยที่ฟ้อนต์นี้เป็นที่นิยมมาก
สร้างสรรค์โดย: Typomancer
4. Sukhumvit Set ก็เป็นอีกหนึ่งฟ้อนต์ที่นิยมใช้แต่ๆ ๆๆๆจะฟรีกต็ อ่ เมือ่ ใช้ระบบปฏิบตั กิ ารของ Mac เท่านัน้ เพราะฟ้อนต์ Sukhumvit Set นั้นจะติดมากับระบบ ปฏิบัติการ OS X Yosemite เลยครับ
สร้างสรรค์โดย: คุณศุภกิจ เฉลิมลาภ
5. TH Sarabun New ฟ้อนต์ไทยฟรี ที่ส่วนมากน�ำ ไปใช้ ในส่วนของเนื้อหาเพราะเป็นฟ้อนต์ที่มีหัวและ อ่านง่ายถูกจริตคนไทยเป็นที่สุด
ส�ำหรับ 5 อันดับที่ทางทีมงาน GRAPPIK คัดมานั้นเป็นฟ้อนต์ที่เห็นและนิยมใช้งานกันบ่อยที่สุด ส่วนใครอยากจะหาฟ้อนต์ไทยแบบอื่นๆ ทีไ่ ว้นำ� ไปใช้งานสามารถเข้าไปดูได้ทเี่ ว็บไซต์นเี้ ลยนะครับ www.f0nt.com ท้ายทีส่ ดุ ขอขอบคุณแฟนเพจทุกท่านทีร่ ว่ มกันแชร์และร่วมพูดคุยกัน จนเกิดเป็นบทความนี้ขึ้นมา ขอบคุณทุกคนครับ
13 l type trend l type magazine
สร้างสรรค์โดย: คุณอนุทิน วงศ์สรรกร บริษัทคัดสรรดีมาก จ�ำกัด
tech เรื่องพื้นฐาน ของนักออกแบบ ผู้ใช้ตัวอักษร
เข้าใจเรื่องทั่วไปของการน�ำตัวอักษร ไปใช้ก่อนเริ่มสร้างตัวอักษร
สมิชฌน์ สมันเลาะ หนังสือ บันทึกการบรรยาย ๑๐๑๐10 โดย ส�ำนักพิมพ์ คัดสรร ดีมาก
15 l type tech l type magazine
หนุษย์เราซึง่ ใช้ตวั อักษรอย่างเป็นปกติในชีวติ ประจ�ำวันกลับมองข้ามเรือ่ ง แบบตัวอักษรไปได้อย่างไร? ค�ำตอบสั้นๆ ที่อธิบายได้อย่างตรงประเด็น คือ ในชีวิตประจ�ำวันเราอ่านหรือพิมพ์เพื่อเข้าถึงใจความของการสื่อสาร แต่ในบางสถานการณ์การเข้าถึงเพียงใจความก็ไม่สามารถท�ำให้การสือ่ สาร สมบูรณ์ ได้เชื่อหรือไม่ เราๆ เคยชินกับการสื่อสารที่ไม่สมบูรณ์นี้ การ บรรยายของ สมิชฌน์ สมันเลาะถูกบรรจงวางลงในส่วนแรก เพื่อชี้ ให้คน ทั่วไปเข้าใจกับสิ่งที่คุ้นชินนี้ โดยช่วยให้เกิดการตั้งค�ำถามต่อว่าเราเข้าใจ สิ่งที่เราคุ้นชินนี้แค่ไหน
เรามักมองข้ามสิ่งที่อยู่ใกล้ๆ ตัวเราเสมอ หลายครั้งที่เราคิดว่ารู้จัก มันดีแล้ว บางทีเราอาจจะไม่ร้จู ักมันอย่างดีพอ เช่นเดียวกบเรือ่ งของฟอนต์ เรารู้จักฟอนต์ ฟอนต์คือแบบตัวอักษร เราเรียนหนังสือก็ต้องใช้ตัวอักษร ท�ำรายงานส่งอาจารย์ก็ต้องใช้ตัวอักษรจะอ่านหนังสือก็ต้องเจอตัวอักษรที่ ปรากฏอยู่บนหน้ากระดาษ “ทัง้ ๆทีเ่ รามีปฏิสมั พันธ์กบั ตัวอักษรมากขนาดนี้ แต่เรากลับไม่รเู้ รือ่ ง ราวเบื้องหลังของตัวอักษรอย่างที่ควรจะเป็น” สมิชฌน์ 1 ในทีมวิทยากร ของการบรรยาย กล่าวตั้งค�ำถาม เรื่องจริงอย่างที่ว่า น้อยคนจะทราบถึงที่มาของค�ำว่าฟอนต์ “การ ค้นคว้าจากหลักฐานทีพ่ อจะมีอยู่ ท�ำให้นกั วิชาการพบความเป็นไปได้ 2 ทาง ทางแรกคือ ฟอนต์ (font) มาจากค�ำว่า ฟาวน์เทน (fountain) ที่แปลว่าน�้ำพุ
type magazine l type tech l 16
17 l type tech l type magazine
สรรพนามเรียกภาชนะเพื่อหลอมโลหะธาตุ คือ 1 ในข้อสันนิษฐานซึ่งดูจะมีความเป็นไป ได้ส�ำหรับที่มาของค�ำว่าฟอนต์
สันนิฐานว่าเพราะน�้ำพุเป็นหยดน�้ำที่เรียงตัวกันเป็นสายน�้ำ เปรียบ เสมือนตัวอักษรที่เรียงกันจนกลายเป็นค�ำ จงเป็นที่มาของค�ำว่า font ที่แปลงมาจากค�ำว่า fountain”
เรามักมองข้าม สิ่งที่อยู่ใกล้ๆ ตัวเราเสมอ หลายครั้งที่เราคิดว่า รู้จักมันดีแล้ว บางทีเราอาจจะ ไม่รู้จักมันอย่างดีพอ
แบบตัวอักษรที่ถูกบรรจุในถาดตาราง จัดเก็บโดยแยกตามหน้าตาของแบบและ ขนาดในอดีต 1 แบบ ใน 1 ขนาด เราเรียกว่า 1 ฟอนต์
“ยังมีอีกความเป็นไปได้หนึ่งที่เป็นไปได้มากกว่าข้อสันนิษฐาน แรกคือ ฟอนต์ ทีห่ มายถึงภาชนะใส่ของเหลว โดยปกติหากเราเปิดดิกั นนารีเพื่อหาความหมายของค�ำว่า ฟอนต์ ห็จะพบความหมายอยู่ 2 ความหมาย คือ ฟอนต์ ที่แปลว่า ตัวอักษร และ ฟอนต์ ที่แปลว่า ภาชนะใส่ของเหลว ย้อยไปในยุคทีย่ งั ต้องใช้ตวั พิมพ์ตะกัว่ หรือทีเ่ รียก กันว่า hot metal type ก่อนที่จะมีการน�ำตะกั่วหลอมไปเทลงในแม่ พิมพ์เพื่อให้แข็งตัวและขึ้นรูปเป็นตัวพิมพ์ ตะกั่วจะถูกหลอมพักไว้ ใน ภาชนะหนึ่งซึ่งมีชื่อเรียกว่า ฟอนต์ นั้นเอง” แต่ ใ นการเรี ย กตั ว อั ก ษรทุ ก ว่ า นี้ เ รามั ก ได้ ยิ น คนใช้ ค� ำ ว่ า “ไทป์เฟซ” (typeface) ควบคูไ่ ปกับค�ำว่าฟอนต์ “ฟอนต์” (font) ด้วย เช่นกัน จะเห็นว่า เพียงค�ำว่าฟอนต์ ยังมีความเป็นมาของความหมาย ที่ผันแปร นั่นยิ่งหมายความว่า ไม่มีทางเป็นไปได้ที่ค�ำ 2 ค�ำที่สะกด แตกต่างกันจะมีความหมายเหมือนกันอย่างแน่นอน “เคยสงสัยหรือไม่ว่า ฟอนต์ กับ ไทป์เฟซ ต่างกันอย่างไร” สมิชฌน์ตั้งประเด็นชวนสงสัย “ในปัจจุบันมีการใช้ค�ำ 2 ค�ำนี้อยู่บ่อย ครั้ง บางคนเรียกฟอนต์ บางคนก็เรียกไทป์เฟซ แต่ในเชิงของการจัด วางตัวอักษร ย่อมมีหลักที่การเรียกที่ท�ำให้เราเห็นความแตกต่างของ ค�ำ 2 ค�ำนี้ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น” ถ้าเปรียบเทียบเรื่องของการฟังเพลง เพลงก็จะมีส่วนของชื่อ เพลงและนามสกุลเพลง (ในทีน่ ขี้ อยกตัวอย่างเป็นนามสกุล.mp3) เมือ่ เราฟังเพลงและรูส้ กึ ว่าไฟเราะ เราจะพูดว่า “เพลงเพราะ” ซึง่ เราไม่พดู ว่า .mp3 เพราะ นั่นคือไทป์เฟซเปรียบได้กับเพลง ส่วนฟอนต์เปรียบ ได้กับ .mp3 หรือไทป์เฟซคือสิ่งที่เรามองเห็น แต่ฟอนต์คือไพล์ที่เรา ใช้งาน อ่านต่อฉบับเต็มได้ ในหนังสือ บันทึกการบรรยาย ๑๐๑๐10 โดย ส�ำนักพิมพ์ คัดสรร ดีมาก
talk ฟังความคิดร่วมสมัยของ ไทป์ดีไซเนอร์ไทย อนุทนิ วงศ์สรรคกร “นักออกแบบเลขนศิลป์สงิ่ พิมพ์ และนักออกแบบ ตัวอักษร ท�ำงานและใช้ชีวิตในกรุงเทพฯ เมืองหลวง ของประเทศไทย รักการท่องเทีย่ ว ชอบถ่ายภาพ มีแนวเพลงทีช่ อบ มีของเก็บสะสมบ้าง ตามความสมควร ตรงไปตรงมา ทานอาหารสามมื้อตรงเวลาบ้างไม่ ตรงบ้าง เกลียดการโกงและการเอา เปรียบพอๆ กับเกลียดรถติด รวมๆ แล้วใช้ชีวิตเหมือนคนปกติทั่วไป โดยไม่ต้องใช้ความพยายาม มากที่จะต้องให้ ใครเข้าใจว่าเป็นนักออกแบบ” คือพารากราฟที่สองที่ อนุทิน วงศ์สรรคกร จ�ำกัดความตัวเองผ่าน http://private.anuthin. com Computer Arts (Thai Edition) November 2009 Exclusive Interview with Anuthin Wongsunkakon ฟังความคิดร่วมสมัยของ ไทป์ดีไซเนอร์ไทย ชวนอ่าน kerning, Spacing และ Leading ในแบบ อนุทนิ วงศ์สรรคกร หนึง่ ในสามผูร้ ว่ มก่อตัง้ บริษทั ‘คัดสรรดีมาก’ ดิส ทริบิวชั่น บริษัทในกลุ่มพฤติกรรมการออกแบบ บริษัทออกแบบที่คัด สรรคอสตอมฟอนต์มาดี
ย้อนกลับไปในช่วงแรกที่ท�ำฟอนต์ เมื่อถึงเวลาต้องลงมือ ออกแบบฟอนต์ ไทยในประเทศที่ ไม่ค่อยมีการเรียนการสอนหรือมี ตัวอย่างให้ดูมากนัก คุณเริ่มต้นกับมันยังไง ลองผิดลองถูก เป็นค�ำพูดทีด่ เู ป็นรูปแบบมากส�ำหรับบริบทของ ทุกวันนี้ แต่มันเป็นเรื่องที่จริงส�ำหรับคนที่ลองผิดลองถูกจริงๆ ผมใช้ วิธคี ดิ แบบตัวละติน ก็คดิ กับแบบตัวอักษรไทยในแบบนัน้ ไม่ได้มองว่า เป็นภาษาทีแ่ ตกต่างกันแล้วต้องใช้คนละแนวทาง ไม่วา่ จะเป็นความสูง ขนาด หรือแม้กระทั่งฟอร์ม ผมท�ำตามที่คิดว่าเหมาะสมกับการใช้งาน จริงในการออกแบบและจัดวาง อย่างปัญหาที่เราเคยเจอบ่อยๆ สมัย ก่อน เช่นต้องปรับพอยต์ของภาษาไทยขึ้นสองพอยต์จึงจะขนาดใกล้ กันกับตัวภาษาอังกฤษ พอเราลองมาท�ำภาษาไทยเราก็มาก�ำหนดความ สูงใหม่ตามความคิดว่ามันต้องเป็นแบบนี้สิเพื่อการใช้งานที่คล่องขึ้น เราก็ทำ� เลย มันอยูท่ คี่ วามสมเหตุผล ผมใช้ฟอนต์ไทยในงานออกแบบ มาก่ อ นตั้ ง แต่ แมคอิ น ทอช แอลซี ทู เราเห็ น ปั ญ หามาตลอด วิธเี ริม่ ต้นท�ำงานก็คอื แก้ปญ ั หาตามทีเ่ ราเห็นนัน่ แหละครับ ในเรือ่ งของ ทางเทคนิคตอนสมัยยังเป็นฟอนต์รุ่นแอสกี้ก็ได้จากการถามจาก อาจารย์มานพ ศรีสมพร
Computer Arts (Thai Edition) : Interview (Part 1) December 1, 2009 by Anuthin Wongsunkakon
type magazine l type talk l 20
แล้วคิดว่าปัญหาส�ำหรับไทป์ดีไซเนอร์ ในสมัยนีเ้ หมือนหรือแตกต่างกัน ส�ำหรับบ้านเราผมมองว่าปัญหาเดิมๆ ยังคงอยู่ ตรงที่การเรียน รูเ้ รือ่ งการออกแบบตัวอักษรยังผูกติดอยูก่ บั องค์ความรูท้ างด้านเทคนิค ในภาคการออกแบบฟอร์มของตัวอักษรที่ดีนั้นเป็นเรื่องที่ทุกคนมอง ข้าม คนส่วนใหญ่เข้าใจการออกแบบตัวอักษรในภาพของการใช้แอพ พริเคชัน่ ฉะนัน้ มักสรุปจากเพียงแค่วา่ พิพม์ แสดงผลได้ เจนเนอร์เรต ฟอนต์ไฟล์ได้ กล่าวคือแทบไม่เห็นไทป์ดไี ซน์ถกู ถ่ายทอดกันในเชิงการ ออกแบบ การเข้าถึงแอพพริเคชั่นเป็นเรื่องง่ายมากส�ำหรับสมัยนี้ แต่ ทักษะการขึ้นรูปตัวอักษรนี่สิเป็นสิ่งที่ไม่ได้เอามาพูดกัน แบบที่ “ใหม่ จริงๆ” จึงเกิดขึ้นน้อย ซึ่งแปลกมากที่เป็นเช่นนี้ ในยุคที่การเข้าถึง ข้อมูลต่างๆ เป็นไปได้งา่ ยมาก ประกอบกับกรอบของการออกแบบตัว อักษรก็ถกู ขยายพืน้ ทีจ่ นกว้างมากแล้ว เรียกว่าแทบจะรับได้กบั แนวคิด ทีส่ ดุ ขัว้ ต่างๆ แต่กลับกลายเป็นผลเสียตรงทีบ่ างคนคิดไปว่าไม่จำ� เป็น ต้องท้าทายอะไรอีกแล้ว หรือไม่กย็ ากมากทีจ่ ะดันกรอบออกไปอีก ผม มองด้านบวกครับ และยืนยันว่านักออกแบบตัวอักษรไทยยังมีพนื้ ทีอ่ กี เยอะให้ผลักไปงานออกแบบไปข้างหน้า เราต้องท�ำให้เกิดนักออกแบบ ที่เข้าถึงการออกแบบไม่ใช่เข้าถึงการใช้โปรแกรม ไม่เช่นนั้นอีกสิบปี หากคุณถามผมค�ำถามนี้ก็คงได้ค�ำตอบเดิม อะไรคือเสน่หข์ องตัวอักษรขนาดทีท่ ำ� ให้คณ ุ ถอนตัวไม่ขนึ้ มาร่วมยีส่ บิ ปี เสน่ห์ส�ำหรับผมนั้นมันเป็นเชิงนามธรรม จะอธิบายได้ค่อนข้าง ยาก ทุกคนมีความชอบส่วนตัว ผมว่ามันเป็นการยากมากที่จะแจงให้ ชัดเจนว่าเสน่หข์ องสิง่ ทีเ่ ราชอบอยูต่ รงไหน เราจะได้หลายชุดค�ำตอบร อบๆ ทีช่ ว่ ยอธิบายความชอบนัน้ นอกจากฟอร์มของตัวอักษรเองแล้ว ที่น่าสนใจเกี่ยวกับตัวอักษรคือสิ่งที่มันกลายไปเป็น การร้อยเรียงกัน และการน�ำไปใช้ ตัวอักษรทีผ่ า่ นออกมาเป็นแบบทีเ่ ราเห็น รวมกันเป็น ค�ำ เกิดเป็นความหมายทางภาษาทีเ่ ข้าใจตรงกัน กลายมาเป็นประโยค กลายมาเป็นค�ำสั่ง กลายมาเป็นความรู้ กลายมาเป็นข้อมูล กลายมา เป็นการบันทึก ผมอยากให้เรามองกันไปไกลกว่าที่เราใช้อยู่ใกล้ๆตัว เรามองข้ามสิ่งเหล่านี้ไปหมดเลย หรือในมิติอื่นๆเช่น แบบตัวอักษร ยังเป็นบันทึกทางประวัติศาสตร์ สะท้อนถึงวิถีชีวิตและสังคม มันถูก ส่งผ่านมากับแบบตัวอักษร แสดงให้เห็นว่าคนในยุคนั้นๆ มีความคิด อ่านเป็นอย่างไร เห็นไหมว่ามันเป็นเรื่องรอบๆ ที่ช่วยอธิบายว่าท�ำไม ผมถึงชอบมัน ถอนตัวไม่ขนึ้ เหรอ? เท่าทีพ่ ดู มาผมว่ามันเป็นชีวติ ประจ�ำ วันครับ ไม่ต้องพยายามถอน อะไรมีอิทธิพลในการท�ำงานของคุณมากที่สุด ก็มีหลายอย่างอยู่ครับ แต่ที่ชัดๆคือ ผมเป็นรุ่นที่เกิดมาในยุคที่ คาบเกีย่ ว จึงได้สมั ผัสทัง้ แอนนาลอคและดิจติ อล มันเป็นอะไรทีแ่ ปลก มากเมือ่ คุณมองอนาคตทีเ่ รายืนอยูต่ รงนี้ ในวันทีท่ กุ อย่างยังเป็นระบบ แอนนาลอค สุดท้ายความเป็นดิจติ อลมันก็ไม่ได้เป็นอย่างทีเ่ ราคิดเลย ตอนนีด้ จิ ติ อลมันเป็นมนุษย์มากแล้วด้วยซ�ำ ้ แต่ในตอนนัน้ เรากลับเห็น ว่ามันแมชชีนมากๆ ฉะนั้นวัฒนธรรมและวิธีคิดในสังคมของเจนเนอ เรชั่นเอ็กซ์ยุคแปดศูนย์เกิดเป็นส่วนผสมที่สะท้อนมาในงานออกแบบ ทีผ่ มท�ำ ผมว่ามันต่างจากงานของนักออกแบบทีเ่ ป็นดิจติ อลไปเลย นัก ออกแบบรุ่นใหม่ๆ ที่เกิดมาในยุคที่คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องใช้ ไฟฟ้า มาตรฐานในบ้าน เขาก็จะมีมุมมองกับความเป็นดิจิตอลอีกแบบ คือ เขาจะไม่เคยรู้จักกับการออกแบบในโลกใบก่อนหน้านี้
แล้ว Émigré มีอิทธิพลต่อคุณมากน้อยแค่ไหน มีทั้งในสองด้านครับ ด้านของทัศนคติต่องานออกแบบเอง และ ในด้านของโมเดลธุรกิจ พูดได้ว่าเราโตมากับอิมมิเกรฟอนต์ เห็นนิตย สารอิมมิเกรมาตัง้ แต่ตน้ ยอมรับว่าในช่วงแรกของดิจทิ ลั ฟอนต์นนั้ อิม มิเกรส่งผลต่อแนวคิดและการเกิดขึ้นของค่ายฟอนต์ขนาดเล็กทั่วโลก ค่ายฟอนต์บูติกสมัยนี้ก็คือโครงสร้างการสร้างแบรนด์และการจัดการ แบบอิมมิเกร ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าคัดสรรดีมากเองก็ได้รับอิทธิพลจาก แรงกระเพือ่ มทีเ่ กิดขึน้ นีเ้ ช่นกัน แนวคิดของการจัดการอย่างเป็นระบบ ส�ำหรับงาน (ฟอนต์) จากนักออกแบบ และการเลือกที่จะท�ำงานกับนัก ออกแบบคนใดคนหนึ่งในการพัฒนาแบบใหม่ ความเป็นแบรนด์ที่บูติ กเชิงธุรกิจฟอนต์มาตรฐานสากล เป็นสิ่งที่ค่ายบ้านเรายังมีการบ้าน ต้องท�ำอีกเยอะ
ฟอนต์ที่ดีสำ�หรับผม นอกจากจะต้องมีทักษะ ของการเขียนแบบตัวอักษร อยู่ในนั้นแล้ว มันต้องมีความตั้งใจ ของนักออกแบบที่มีต่อแบบสถิต อยู่ในแบบด้วย ซึ่งก็จะผูกพันอยู่กับที่มาและ แนวคิดของแบบนั้นๆ
แปลว่าฟอนต์ทดี่ สี ำ� หรับคุณก็คอื ฟอนต์ทมี่ คี ณ ุ สมบัตอิ ย่างทีว่ า่ หาไม่ได้ครับ การที่จะบอกว่าแบบตัวอักษรที่ดีเป็นอย่างไร มัน มีปจั จัยแวดล้อมหลายอย่าง ตัง้ แต่จดุ ประสงค์ของการเกิดขึน้ ของแบบ ไปถึงตัวของแบบเองในข้อแม้ของการเกิดขึ้น เราคงไม่สามารถเอา กรอบเดียวไปครอบเพือ่ ตัดสินว่าอันนีด้ อี นั นีไ้ ม่ดี ฟอนต์ทดี่ สี ำ� หรับผม นอกจากจะต้องมีทักษะของการเขียนแบบตัวอักษรอยู่ในนั้นแล้ว มัน ต้องมีความตั้งใจของนักออกแบบที่มีต่อแบบสถิตอยู่ในแบบด้วย ซึ่ง ก็จะผูกพันอยูก่ บั ทีม่ าและแนวคิดของแบบนัน้ ๆ เรือ่ งดีไม่ดจี ะค่อนข้าง ปัจเจกมาก ผมว่าถ้าจะต้องตอบค�ำถามนี้ เราต้องหากรอบสักอันที่ค่า ไม่ผันแปรมากนักส�ำหรับการประเมินผล ฉะนั้นมันน่าจะอยู่ที่วิธีคิด Side Reading : รากศัพท์ของค�ำว่าไทป์คือ ท�ำไมต้องไทป์ดีไซเนอร์ แล้วจริงๆ เค้าเรียกได้กี่แบบ ค�ำว่าไทป์ดีไซเนอร์มีชื่อย่อหรือชื่อเล่นไหม ไทป์ในทีน่ มี้ คี วามหมายถึงค�ำว่าพิมพ์ กดหรือพิมพ์ลงไปแทนตัว อักษรนั้นๆ ยกตัวอย่างเพื่อให้เห็นภาพเช่น เราสามารถท�ำความเข้าใจ ได้จากค�ำว่าไทป์ไรท์เตอร์ หรือทีเ่ รารูจ้ กั ในภาษาไทยว่าเครือ่ งพิมพ์ดดี ซึ่งก็คือการกดหรือพิมพ์ตัวอักษรลงไปแทนการเขียน ฉะนั้นไทป์ ดีไซเนอร์ก็คือคนที่ออกแบบสิ่งที่ใช้กดหรือพิมพ์ลงไปแทนการเขียน รูปแบบหน้าตาของสิง่ ทีก่ ดลงไปแทนการเขียนก็คอื ไทป์เฟสนัน่ เอง ซึง่ เป็นอีกค�ำที่เราคุ้นเคย การที่เรามักจะเห็นนักออกแบบเลือกใช้ค�ำว่า ไทป์ดีไซเนอร์น่าจะเป็นเพราะว่านิยามของค�ำว่าไทป์ที่ครอบคลุมทั้ง ไทป์ ไทป์เฟส และฟอนต์ ประกอบกับมีพยางค์ที่สั้นกว่า
เราต้องทำ�ให้เกิดนักออกแบบ ที่เข้าถึงการออกแบบ ไม่ใช่เข้าถึงการใช้โปรแกรม
21 l type talk l type magazine
แล้วกับตอนนี้ยังใช้วิธีนี้อยู่มั้ย ส�ำหรับรูปแบบของคัดสรรดีมากทีเ่ ห็นทุกวันนี้ ทางการออกแบบ นั้นเราไม่ได้รับอิทธิพลมาแต่อย่างไร น่าจะเป็นส่วนของวิธีคิดมากกว่า ผมโตมากับบทความทางการ ออกแบบของโพสโมเดินท์นิสจากนิตยสารอิมมิเกร มันเป็นยุคที่ถก เถียงกันในเรือ่ งของความสามารถในการอ่าน การสร้างกรอบใหม่ การ ท้าทายทฤษฏี การท้าทายการอ่าน การสร้างฟอร์มตัวอักษรใหม่ และ อื่ น ๆ ซึ่ ง สิ่ ง เหล่ า นี้ ต ่ า งหากที่ ส ่ ง ผลในงานออกแบบของผมและ คอเลคชั่นของคัดสรรดีมาก ในส่วนของโมเดลธุรกิจนั้น อย่างที่บอก ไปว่าหลีกเลี่ยงไม่ได้เลย
Helvetica ABCDEFGHIJKLMNOPQRSTUVWXYZ abcdefghijklmnopqrstuvwxyz
time
เฮลเวทิก้า เพื่อนคนเก่าที่ไม่เคยแก่
March 20, 1999 by Anuthin Wongsunkakon
type magazine l type time l 24
หากพูดถึงความเป็นคลาสสิคในยุค 50 ก็คงไม่สามารถที่จะหลีกเลี่ยงการกล่าวถึง สไตล์การออกแบบที่เรียกว่า Swiss Style ไป ได้ ลักษณะทีเ่ รียกว่า Swiss Style นัน้ เกิดขึน้ ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 บนรากฐาน อิทธิพลของ Bauhaus – Constructivism และ De Stijl ซึ่งเป็นช่วงที่การใช้ grid ในการ สร้างสรรค์งานยังคงได้รบั การขานรับอย่างต่อ เนื่อง และถูกผสมผสานเข้ากับการใช้เทคนิค ใหม่ๆ ในการตกแต่งแก้ไขภาพถ่าย (photomontage) นอกเหนือไปจากนั้น การพัฒนา
ด้านการพิมพ์กไ็ ด้เปิดช่องทางใหม่ และลูกเล่น ใหม่ ๆ ให้ กั บ นั ก ออกแบบ ในยุ ค นี้ อ ย่ า ง มากมาย แต่สิ่งที่ท�ำให้ Swiss Style นั้นมี ความเด่นชัด และมีความแตกต่างจากการ ออกแบบในเงาของ Bauhaus ก็คือลักษณะ การใช้ตวั อักษรทีแ่ ตกต่างออกไป ซึง่ ส่วนหนึง่ มาจากความสะดวกสบาย และตัวเลือกที่มาก ขึ้ น จากเทคโนโลยี ก ารเรี ย งพิ ม พ์ ด ้ ว ยแสง (phototype setting) ที่เติบโตขึ้นมารองรับ กับเทคโนโลยีการพิมพ์สมัยใหม่ที่เริ่มพัฒนา ตัวอย่างรวดเร็ว จากความเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นใน เรื่องการใช้และจัดวางตัวอักษร ของ Swiss Style คงจะไม่สามารถข้ามเลยการพูดถึงแบบ ตัวอักษรที่ชื่อ Helvetica ไปได้ หลายๆ คน ทีเ่ คยศึกษางานในยุค Swiss Style โดยเฉพาะ งานของ Josef Muller Brockmann คงจะชิน ตากับแบบตัวอักษรเดิมๆ ที่ใช้กันเป็นประจ�ำ ในงานเกือบทุกชิ้นในยุคนั้น ซึ่งเป็นตัวที่มี ลักษณะเรียบๆ ไม่มีตีน และไม่มีลักษณะของ เส้นบาง ผสมกับเส้นหนา ส่วนใหญ่จะเข้าใจ ตรงกันว่านั่นคือ Helvetica แต่ในความเป็น จริงแล้วมันไม่ใช่ เพราะ Helvetica นัน้ เกิดใน
ช่วงต้นยุค60 ซึ่งเป็นตอนปลายของ Swiss Style ในเมื่อมันไม่ใช่ Helvetica แล้วมันคือ อะไร? อันที่จริงแล้วแบบตัวอักษรที่เราคิดว่า เป็น Helvetica นั้น คือแบบตัวอักษรที่มีชื่อ เรียกว่า Akzidenz Grotesk (Grotesque) ตัวอักษรตัวนีเ้ กิดจากการพัฒนาตัวอักษรเพือ่ เครื่องเรียงพิมพ์ของบริษัท Berthold ใน เยอรมัน ภายใต้การควบคุมของ Hermann Berthold แบบตัวอักษร Akzidenz Grotesk ในรุ่นต้นแบบนั้น เป็นการออกแบบเพื่อเป็น ภาษาเยอรมัน ถูกน�ำ ออกใช้ ค รั้ ง แรกใน ปี1896 ในส่วนที่มา ของชื่ อ นั้ น ค� ำ ว่ า Akzidenz ก็คือค�ำ เดียวกันกับ Accident ในภาษา อังกฤษนั่นเอง ส่วน ค�ำว่า Grotesk ก็คือ ค�ำที่เป็นต้นตอของ ค� ำ ว่ า Gothic ซึ่ ง หมายถึง ลักษณะตัว หนังสือทีไ่ ม่มตี นี และ มีความหนาพอสมควร ค�ำว่า Gothic นีเ้ องถูก แปลงความหมายมาเป็น Sans Serif ทีเ่ รารูจ้ กั กันในทุกวันนี้ เมื่อเป็นเช่นนี้แบบตัวอักษรใน ปัจจุบันที่ถูกตั้งชื่อลงท้ายว่า Gothic จึงไม่ได้ มีอะไรเกีย่ วข้องกับยุคสมัย Gothic ตามความ หมายทางสถาปัตยกรรม เนื่องด้วยต้นฉบับของการออกแบบตัว อั ก ษรชุ ด นี้ เ ป็ น ภาษาเยอรมั น ในปี 1 956 Edouard Hoffman เจ้าของ Hass type foundry ในสวิสเซอร์แลนด์จึงได้ ว่าจ้างให้ Max Miedinger มาท�ำการออกแบบ ปรับแต่งรูปทรงบางส่วน โดยมีจดุ ส�ำคัญคือใช้ ความสูงของ X-height ที่มากกว่าของเดิม และเพิ่มเติมตัวอักษรที่ภาษาอังกฤษต้องการ เช่นตัว “j” โดยใช้เวลาร่วมปีในการออกแบบ เพิ่มเติมดังกล่าว ก่อนที่จะน�ำออกขายให้กับ ศูนย์เรียงพิมพ์ดว้ ยแสงทีต่ า่ งๆ ในปี1957 ภาย ใต้ชื่อ Neue Hass Grotesk เพื่อตอบสนอง กับตลาดการออกแบบที่ก�ำลังขานรับกระแส ของ Swiss Style โดยขายจุดเด่นที่ว่า แบบ ตั ว อั ก ษ ร ภ า ษ า อั ง ก ฤ ษ ที่ ค ร บ ชุ ด ตัวอักษรดัดแปลงมาจาก Akzidenz Grotesk ซึ่งก�ำลังได้รับความนิยมอย่างสูงจากอิทธิพล
ของ Swiss Style หลังจากนัน้ บริษทั Stample AG ในเยอรมัน ซึ่งเป็นบริษัทที่ท�ำการ ออกแบบตัวอักษรให้กับ Linotype technology ได้น�ำเอา Neue Hass Grotesk มา ดัดแปลงเพื่อใช้ ในเทคนิคการเรียงพิมพ์แบบ ใหม่ ทีภ่ ายหลังเรียกกันอย่างติดปากว่าเครือ่ ง Linotype บริษัท Stample AG ได้ขาย Neue Hass Grotesk ที่น�ำมาท�ำใหม่ ด้วยการ ออกแบบเพิม่ ความหลากหลายของความหนา ให้กับตัวอักษรชุดนี้ ให้กับ Linotype Technology ในปี1961 และได้น�ำออกขายในปี เดียวกัน ภายใต้ชื่อใหม่ว่า Helvetica ซึ่งน�ำ มาจากชือ่ เรียกสวิตเซอร์แลนด์ ในภาษาละติน และเพื่อเป็นการยกย่อง ให้เกียรติแก่ Swiss Style จากการที่ Linotype จัดจ�ำหน่าย Helvetica และประกอบกับอิทธิพลของเครื่อง เรียงพิมพ์ ในระบบของ Linotype นี้เอง เป็น
Helvetica จัดได้ว่าเป็นแบบ ตัวอักษร สารพัดประโยชน์ งานแทบทุกรูปแบบ สามารถใช้ Helvetica ได้เกือบทั้งหมด เป็นแบบอักษร ที่ดูเป็นกลางๆ
นี้เองก็มีผลเกี่ยวเนื่องส่งให้ postmodernist เริ่มออกแบบและผลิตแบบตัวอักษรรุ่นใหม่ที่ สามารถรองรับแนวงาน New Wave ทีเ่ ปลีย่ น ไป) Helvetica กลับมาได้รบั ความนิยมอีก ครั้งในช่วงปลายยุค90 ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่า Helvetica ก็ยังคงดูร่วมสมัยอยู่ ในอีก 20 ปี ข้างหน้าเราก็อาจจะได้เห็นการกลับมาของ Helvetica อีกครั้งโดยที่ยังคงดูร่วมสมัยอยู่ เช่นนี้ ส่วนหนึ่งอาจจะมาจากการที่ Helvetica นั้นกลายเป็นสัญลักษ์ส�ำคัญของ Modernist’s Sans Serif ไปแล้ว ถึงวันนี้เรายังได้ พบความจริงอีกประการว่า Helvetica นั้นมี คุณค่าในตัวมันเองมากกว่าการเป็นแบบตัว อักษรชุดหนึง่ ทีส่ ร้างปรากฏการณ์มากมายให้ กับประวัตศิ าสตร์การออกแบบ หากเรามองดู สิ่งที่เกิดขึ้นกับ Swiss Style อย่างเข้าใจเรา จะเห็นได้ว่า Helvetica นั้นเป็นส่วนหนึ่งที่ ส�ำคัญในวิถีการด�ำรงค์ชีวิตของ modernist ช่วงปลาย (Helvetica=Lifestyle) แบบตัว อั ก ษรชุ ด นี้ มั น เป็ น ตั ว แทนของสิ่ ง ต่ า งๆ มากมายที่เกิดขึ้นในยุค 60 ที่สามารถถูกรวม กันไว้ ในแบบตัวอักษรชุดเดียว ทุกวันนี้การก
แล้วเมื่อกระแสของ New Wave เริ่มอิ่มตัว ลงที่ RayGun Typographic Style เราก็เริ่ม ได้เห็นการกลับมาอีกครั้งของ Helvetica ใน ช่ ว งปลาย ของยุ ค 90 โดยเริ่ ม จากนั ก ออกแบบทางฝั่งยุโรปที่ได้ลดความบ้าคลั่งใน ลักษณะของ RayGun Culture ลงสู่ความ เรียบง่ายแต่ยังคงลักษณะการวางตัวอักษร ของ New Wave (New Wave back to basic) ไว้ ที่ส�ำคัญคือการน�ำเอาแบบตัวอักษร Sans Serif ในยุค modern กลับมาใช้เพื่อให้เกิด ความแตกต่างกับตัวหนังสือแบบที่เรียกกัน ว่า”อ่านยาก”ของ postmodernist (จากจุด
ลับมาในรูปแบบอื่นๆ ที่นอกเหนือจาก Blur ของ Brody หรือ Helvetica Neue ของ Adobe ก็ล้วนแต่เป็นการเคลื่อนไหวที่น่า สนใจทั้งสิ้นที่เกิดขึ้นกับแบบตัวอักษรอมตะ ชุดนี้ และในระหว่างที่เรารอปริมาณ postmodern’s readable font ที่พอเเพียงจาก postmodernist เราจึงได้มีโอกาสเห็นเพื่อน เก่ า อย่ า ง Helvetica กลั บ มารั บ ใช้ เ ป็ น พระเอกในงานออกแบบอีกครั้ง ดูเหมือนว่า เพือ่ นเก่าคนนีไ้ ม่เคยแก่ลงไปเลย คุณว่าไหม?
25 l type time l type magazine
สิ่ ง ที่ ท� ำ ให้ ทั่ ว โลกได้ รู ้ จั ก กั บ แบบตั ว อั ก ษร คลาสสิคตัวนี้ Helvetica จัดได้ว่าเป็นแบบตัวอักษร สารพัดประโยชน์ งานแทบทุกรูปแบบสามารถ ใช้ Helvetica ได้เกือบทั้งหมด เป็นแบบ อักษรที่ดูเป็นกลางๆ (แต่ก็ไม่ได้หมายความ ว่าสามารถใช้กบั ทุกงานได้เสมอไป) ข้อดีของ Helvetica ก็คือการที่สามารถเป็นทั้ง text font ทีด่ ใี นขณะทีก่ ส็ ามารถท�ำหน้าที่ display ได้ไม่ยิ่งหย่อน และไม่สูญเสียความสามารถ ในการอ่านเมื่อใช้ ในขนาดเล็กๆ หรือใหญ่ มากๆ แถมยังสามารถใช้คู่กับแบบตัวอักษร อื่นๆ ได้แทบทุกตัว แม้แต่นักออกแบบตัว อักษรภาษาไทยยังพยายามที่จะน�ำลักษณะ เด่นดังกล่าวของ Helvetica มาเป็นแม่แบบ ในการออกแบบ อย่างเช่นตัว “ชวนพิมพ์” ของอาจารย์ เชาวน์ ศรสงคราม จากความ สมบูรณ์ ในการออกแบบ และความสามารถ ในการน�ำไปใช้ ในงานหลากหลายประเภทนี้ เอง ท�ำให้หากจะเปรียบเทียบ Helvetica กับวงการแฟชั่น ก็คงจะเปรียบได้กับกางเกง ยีนส์ที่ดูเหมือนจะเข้าได้กับทุกโอกาสทุกยุค ทุกสมัย แต่ก็ใช่วา่ เราจะไม่เคยเบือ่ กางเกงยีน ส์ตัวนี้ หลังจากที่ Helvetica เป็นทีแ่ พร่หลาย ตามกระแสของ Swiss Style บวกกับการ ผลักดันทางเทคโนโลยีการเรียงพิมพ์ และการ ตลาดของ Linotype แล้วนั้น ส่งผลให้ Helvetica กลายเป็ น font สุ ด ฮิ ต จนนั ก ออกแบบแนวหน้าหลายคนต้องเลิกใช้มันไป เพราะเกิดความเบื่อหน่าย ประกอบกับการ เกิดขึ้นของแบบตัวอักษรอื่นๆ อีกมากมายที่ มีลักษณะใกล้เคียงกันกับ Helvetica ท�ำให้ เเป็นตัวเร่งความชินชา ยิ่งเมื่อมีการเกิดขึ้น ของ Macintosh ในปี1984 ซึ่งมอบความ สะดวกสบาย และให้อสิ ระกับการควบคุมและ เลือกแบบตัวอักษรแก่นักออกแบบอย่างเต็ม
ที่ นั ก ออกแบบมี โ อกาสที่ จ ะควบคุ ม การ ออกแบบด้วยตนเอง ก็เกิดการเปลี่ยนแปลง อี ก ครั้ ง กั บ Helvetica ไปสู ่ รู ป แบบของ Digital Font เพื่อคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล Apple ได้ตัดสินใจน�ำเอา Helvetica มาเป็น font พืน้ ฐานในระบบจัดการของ Macintosh ยิ่งเป็นการท�ำให้กระแสความเบื่อ Helvetica เพิ่มมากขึ้นเพราะใครๆก็ใช้ จะหันจะมองไป ทางไหนก็เจอแต่ Helvetica ทั่วไป จากตรง จุ ด นี้ นั ก ออกแบบหลายต่ อ หลายคนจึ ง พยายามเลิกใช้ Helvetica ในช่วงปี 80 เพราะ เกิดความอิ่มตัว ในช่วงยุค80 นี้เองก็ได้มีการเกิดขึ้น ของกระแส New Wave Typographic Style เข้ามาแทนที่ และหนึ่งในความคิดหลักของ New Wave ก็คือ ต่อต้านการใช้แบบตัว หนังสือของ modernist โดยพยายามใช้แบบ ตั ว อั ก ษรใหม่ ๆ ที่ เ กิ ด ขึ้ น มาเพื่ อ รองรั บ คอมพิวเตอร์ จึงท�ำให้ Helvetica ถูกแช่แข็ง และลืมเลือนไปชั่วขณะ Helvetica เคยพบ กับยุคตกต�่ำจนถึงขนาดถูกใช้เพื่อเป็น text ในการพิมพ์จดหมายหรือรายงานเท่านัน้ นีค่ อื ยุคที่เรียกได้ว่าเป็นยุคมืดของ Helvetica แต่
LEELAS TM
กรุงเทพมหานคร
ประเทศไทย เซียมไท้ ไทยฟอนต์ฟาวน์ดรี Typeface Design
Bangkok, Thailand
Siamtype Thai Font Foundry www.siamtype.com
SIAMTYPE