พิ(ศ)พิธภัณฑ์ | Museum Refocused

Page 1




พิ(ศ)พิธภัณฑ์

Museum Refocused ISBN: 978-616-329-057-1

บรรณาธิการ ฆัสรา ขมะวรรณ มุกดาวิจิตร

กองบรรณาธิการ ชนน์ชนก พลสิงห์ วีรพงษ์ สุนทรฉัตราวัฒน์ อาทิตย์ เคนมี ทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะ อารยา คงแป้น

พิสูจน์อักษร คีรีบูน วงษ์ชื่น

ออกแบบปก สกลชนก เผื่อนพงษ์

ศิลปกรรม ณขวัญ ศรีอรุโณทัย

ภาพถ่าย อนุชิต นิ่มตลุง

จัดพิมพ์โดย สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ 4 ถนนสนามไชย แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200 www.ndmi.or.th พิมพ์ครั้งแรก จำ�นวนพิมพ์

กันยายน 2558 1,000 เล่ม

พิมพ์ที่

ห้างหุ้นส่วนจำ�กัด ภาพพิมพ์


ดำ�เนินการผลิตโดย เปนไท พับลิชชิ่ง Pen Thai Publishing โทรศัพท์ 0 2736 9918 โทรสาร 0 2736 8891 waymagazine@yahoo.com www.waymagazine.org


สถาบั น พิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ ก ารเรี ย นรู้ แ ห่ ง ชาติ (สพร.) ภายใต้กำ�กับ

สำ�นักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) สังกัดสำ�นักนายกรัฐมนตรี มีพนั ธกิจในการจัดตัง้ และบริหารจัดการมิวเซียมสยาม สร้างความร่วมมือกับเครือข่าย พิพิธภัณฑ์ เพื่อยกระดับมาตรฐานพิพิธภัณฑ์ของประเทศ เผยแพร่วัฒนธรรม สร้างสรรค์ และเสริมสร้างความรู้ด้านพิพิธภัณฑ์วิทยาแก่สังคมไทย หนังสือเล่มนีเ้ กิดขึน้ ภายใต้บริบทของการจัดประชุมวิชาการด้านพิพธิ ภัณฑ์ศกึ ษา พิ(ศ)พิธภัณฑ์ หรือ Museum Refocused ซึ่งเป็นการประชุมที่มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ทบทวนและรวบรวมองค์ความรูเ้ กีย่ วกับพิพธิ ภัณฑ์ 2) เพือ่ แลกเปลีย่ นความรูแ้ ละ ประสบการณ์ด้านพิพิธภัณฑ์ระหว่างนักวิชาการและนักปฏิบัติการจากหลากสาขา วิชา การประชุมดังกล่าวทำ�หน้าที่สำ�รวจประเด็นต่างๆ ทางด้านพิพิธภัณฑ์ในภาพ กว้าง ส่วนหนังสือเล่มนี้ ทำ�หน้าที่สำ�รวจประเด็นที่เจาะจงสำ�หรับนักปฏิบัติการด้าน พิพธิ ภัณฑ์โดยเฉพาะ โดยจัดทำ�ด้วยวิธกี ารสัมภาษณ์และเรียบเรียงความคิด แนวทาง การทำ�งานของผู้ปฏิบัติงานด้านพิพิธภัณฑ์จำ�นวน 9 เรื่อง


สำ�หรับคนทำ�งานด้านพิพิธภัณฑ์ หนังสือเล่มนี้เปิดให้เห็นวิธีคิดของคนทำ� พิพธิ ภัณฑ์ในด้านต่างๆ ประกอบด้วย ด้านนิทรรศการ ด้านการอนุรกั ษ์ ด้านกิจกรรม การศึกษา ด้านการทำ�งานกับชุมชน ด้านความสัมพันธ์ระหว่างพิพธิ ภัณฑ์กบั ผูช้ ม ฯลฯ สำ�หรับสาธารณชนทีส่ นใจหาความรูจ้ ากพิพธิ ภัณฑ์ หรือนักท่องพิพธิ ภัณฑ์ การ ได้รบั ทราบส่วนเสีย้ วเบือ้ งหลังการทำ�งานพิพธิ ภัณฑ์ น่าจะทำ�ให้ทา่ นเทีย่ วพิพธิ ภัณฑ์ ได้อย่างเพลิดเพลินมากยิ่งขึ้น สพร. หวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือที่อยู่ในมือท่านเล่มนี้จะยังประโยชน์ให้ผู้อ่าน ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ด้วยความตระหนักว่าพิพิธภัณฑ์จะทำ�หน้าที่ของตัวเองอย่าง เต็มที่ และสามารถสร้างวัฒนธรรมการหาความรู้จากพิพิธภัณฑ์ขึ้นได้ในสังคมไทย ก็ด้วยอาศัยความเข้าใจ ความสนับสนุน และการมีส่วนร่วมทั้งจากชุมชนพิพิธภัณฑ์ และสาธารณชนโดยรวม ราเมศ พรหมเย็น รองผู้อำ�นวยการสำ�นักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ และผู้อำ�นวยการสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ


‘พิศ’ พิพิธภัณฑ์ 9 จากเบื้องหลังคนทำ�งาน

เพราะรัก...เพาะรู ้ 21 ศูนย์การเรียนรู้พิพิธภัณฑ์ด่านช้าง

ชวนเด็กเดินออกนอกห้องเรียน 41 องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ

ผ้าที่นี่มีชีวิต

พิพิธภัณฑ์ผ้าในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ

ผู้ดูแลเรื่องเล่าขนาดเล็ก

หอศิลป์ บ้านจิม ทอมป์สัน

65

85


ภัณฑารักษ์วิถี

103 ศุภมาศ พะหุโล ภัณฑารักษ์อิสระ อดีตภัณฑารักษ์ประจำ�ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ

หัวหอมในหอศิลป์

119 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร

ดวงดาวของชาวสวน

139 พิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษาวัดหนังราชวรวิหาร

เดินด้วยกัน พิพิธภัณฑ์มีชีวิต พิพิธภัณฑ์โรงงานหลวงที่ 1 (ฝาง)

ที่แห่งนี้ไม่มีภัณฑารักษ์

163

183 พิพิธภัณฑ์บ้านเก่าเล่าเรื่อง ชุมชนเจริญไชย



‘พิศ’ พิพิธภัณฑ์

จากเบือ้ งหลังคนทำ�งาน


พิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ เป็นสถาบันที่ถือกำ�เนิดในสังคมไทยมาร่วมร้อยปีแล้ว จาก

จุดเริ่มต้นจนถึงปัจจุบัน สังคมไทยได้เห็นพิพิธภัณฑ์ในหลายรูปแบบ เป็นต้นว่า พิพธิ ภัณฑสถานแห่งชาติ พิพธิ ภัณฑ์สว่ นบุคคล พิพธิ ภัณฑ์ในวัด พิพธิ ภัณฑ์ในโรงเรียน เส้นทางของพิพธิ ภัณฑ์ไทยไม่ตา่ งจากพิพธิ ภัณฑ์ทอี่ นื่ ๆ ในโลก การอนุรกั ษ์วตั ถุ การ จัดแสดง การเล่าเรือ่ ง การสือ่ สารกับผูช้ ม การให้การศึกษา การให้บริการแก่ผชู้ ม ฯลฯ เป็นประเด็นเชิงปฏิบัติการที่นักพิพิธภัณฑ์ทั้งมืออาชีพและมือสมัครเล่นล้วนเผชิญ ในฐานะส่วนหนึง่ ของชุมชนพิพธิ ภัณฑ์ไทย ฝ่ายวิชาการ มิวเซียมสยามคิดว่าน่า จะทำ�หนังสือที่ ‘แกะกล่อง ถอดรหัส’ ความคิดของคนทำ�งานพิพธิ ภัณฑ์ ตามประเด็น พิพิธภัณฑ์ศึกษาที่ร่ำ�เรียนกันมา เช่น เรื่องการวางแผน การให้การศึกษา การทำ� นิทรรศการ การดูแลคลังวัตถุ การตลาด กิจกรรม ชุมชน ฯลฯ โดยตั้งเป้าว่าหนังสือ เล่มนี้จะเสนอทั้งวิธีคิดและวิธีการ เพื่อให้ผู้สนใจสามารถนำ�ไปทดลองและปรับใช้ เองได้ ทีมงานได้คัดเลือกประเด็นและคัดเลือกพิพิธภัณฑ์ที่เห็นว่าเด่นและน่าจะเป็น ตัวแทนของประเด็นที่ตั้งใจไว้ แล้วสัมภาษณ์ บนเป้าหมายดังกล่าว อย่างไรก็ตาม จากการสัมภาษณ์ เราพบว่าถึงแม้ว่าแต่ละพิพิธภัณฑ์จะมีข้อเด่น แตกต่างกัน แต่เมื่อมองภาพกว้าง ก็พบว่ามีจุดร่วมกันไม่น้อย เป็นต้นว่าการสร้าง ความรู้และปฏิบัติการในเงื่อนไขที่สังคมไทยเป็น ภายใต้ข้อจำ�กัดของงบประมาณ ของความรู้ หรือผู้เชี่ยวชาญที่ไม่พอจะรองรับการเกิดขึ้นเป็นดอกเห็ดของพิพิธภัณฑ์ ในขณะเดียวกันก็มีโจทย์ร่วมกันที่การสื่อสารความรู้ ออกไปสู่สังคมวงกว้าง ที่ไม่ได้มี วัฒนธรรมของการใช้พิพิธภัณฑ์เป็นแหล่งเรียนรู้ ทีมงานเห็นว่าประเด็นที่หยิบยกมา ในทีน่ สี้ ะท้อนสภาวะของพิพธิ ภัณฑ์ในบริบทแบบ ‘ไทยๆ’ ได้อย่างน่าสังเกต กล่าวคือ

10

‘พิศ’ พิพิธภัณฑ์


วัตถุ ความรู้และการปรับตัว วัตถุเป็นสิง่ ทีเ่ ป็นพืน้ ฐานทีส่ ดุ เป็นสิง่ ทีส่ ร้างภาพจำ�ให้กบั พิพธิ ภัณฑ์ เป็นเกณฑ์ ในการบ่งชี้ว่าที่ใดใช่หรือไม่ใช่พิพิธภัณฑ์ การดูแล อนุรักษ์วัตถุในพิพิธภัณฑ์เป็น ศาสตร์เฉพาะทาง และแม้ว่าเราจะอยู่ในยุคพิพิธภัณฑ์เบ่งบาน แต่กลับมีพิพิธภัณฑ์ ไม่กี่แห่งในประเทศไทยที่มีห้องปฏิบัติการด้านการอนุรักษ์ ห้องคลังเก็บวัตถุที่มี มาตรฐานสากล พิพิธภัณฑ์ผ้าในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เป็น หนึ่งในพิพิธภัณฑ์ดังกล่าว พิพิธภัณฑ์นี้ให้ความสำ�คัญกับขั้นตอนของการหาข้อมูล เกี่ยวกับวัตถุชิ้นหนึ่งๆ ให้ความสำ�คัญอย่างยิ่งยวดกับงานด้านการอนุรักษ์ จัดเก็บ และการทำ�ทะเบียนเกีย่ วกับวัตถุแต่ละชิน้ นอกจากระบบทะเบียนแล้ว พิพธิ ภัณฑ์ผา้ นำ�ระบบสืบค้นข้อมูลวัตถุดว้ ยคอมพิวเตอร์มาใช้ อย่างไรก็ดี ใช่วา่ พิพธิ ภัณฑ์แบบอืน่ ๆ จะไม่มรี ะบบจัดเก็บและสืบค้นข้อมูล วัตถุชนิ้ หนึง่ ๆ มีประวัตศิ าสตร์ของมัน ทัง้ ระดับ ท้องถิ่น ภูมิภาค ชุมชน และบุคคล ข้อมูลเหล่านี้มักถูกจัดเก็บไว้ในระบบทะเบียนที่ ‘มีชีวิต’ คือคลังความทรงจำ�ของภัณฑารักษ์ ซึ่งจะสูญสิ้นไปพร้อมกับตัวบุคคล แต่ หากพิพธิ ภัณฑ์ได้มกี ารจัดเก็บและสืบค้นแบบดิจทิ ลั อย่างเป็นระบบ ก็จะทำ�ให้เกิดการ สะสมความรู้ และเรือ่ งราวเกีย่ วกับวัตถุอย่างเป็นระบบ และสืบทอดต่อไปได้อย่างไม่ สิ้นสุด ไม่จบไปพร้อมกับภัณฑารักษ์ที่ดูแลพิพิธภัณฑ์ ความน่าสนใจอีกประการหนึ่งที่ได้จากการพูดคุยที่ พิพิธภัณฑ์ผ้าในสมเด็จพระ นางเจ้าฯ คือการปรับตัว ปรับความรู้ให้เข้ากับพื้นถิ่น พิพิธภัณฑ์ผ้าในสมเด็จพระ นางเจ้าฯ มีที่ปรึกษาเป็นชาวต่างชาติ ความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์ส่วนหนึ่งได้รับมา จาก ‘มาตรฐาน’ แบบตะวันตก หากในความเป็นจริงแล้ว ไม่มีความรู้ใดที่สำ�เร็จรูป ในการจัดเก็บพระภูษา พิพิธภัณฑ์ผ้าในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พบว่าชั้นใต้ดินเป็นชั้น ที่ไม่เหมาะกับการจัดเก็บวัตถุ เนื่องจากอากาศร้อนชื้นของเขตเส้นศูนย์สูตรก่อให้ เกิดความชื้นและรา นอกจากนี้ยังมีแมลงประจำ�ถิ่นซึ่งแม้ว่าทางผู้เชี่ยวชาญตะวันตกจะได้ให้การ อบรมเกีย่ วกับแมลงแล้ว แต่ในความเป็นจริง แมลงในเขตร้อนชืน้ ก็แตกต่างจากแมลง ในอีกซีกโลกหนึ่ง จนถึงขั้นต้องออกแบบการสำ�รวจแมลงในพิพิธภัณฑ์เพื่อหาวิธีมา จัดการกับแมลงเฉพาะทางเหล่านี้ ความรูท้ เี่ กิดขึน้ ระหว่างการปฏิบตั งิ านจริง จึงขยาย ออกไปจากความรู้แบบที่ได้รับการฝึกฝนมา ซึ่งต่างจากโลกตะวันตก จะเห็นได้ว่า ความรู้ที่ใช้ในพิพิธภัณฑ์มีพลวัตเสมอ แม้ในมิติที่เป็นเทคนิคซึ่งดูเหมือนจะสำ�เร็จรูป

จากเบื้องหลังคนทำ�งาน

11


ก็ตาม เมื่อนำ�ไปใช้ในท้องถิ่น ในสภาวะแวดล้อมหนึ่งๆ ย่อมถูกปรับแปลงให้เข้ากับ สภาพแวดล้อมนั้นๆ

ความรู้และการเรียนรู้ สังคมไทยมีพพิ ธิ ภัณฑ์หลากหลายประเภท ความรูจ้ ากพิพธิ ภัณฑ์กม็ หี ลากหลาย บ้างเป็นเรือ่ งโบราณวัตถุ บ้างเป็นเรือ่ งทางวิทยาศาสตร์ บ้างเป็นเรือ่ งข้าวของเครือ่ งใช้ ของบุคคลสำ�คัญ บ้างเป็นเรือ่ งเกีย่ วกับหน่วยงาน บ้างเป็นเรือ่ งเกีย่ วกับท้องถิน่ ฯลฯ อย่างไรก็ดี หากเรามองเรื่องความรู้ให้พ้นไปจากการ ‘จัดแสดงเนื้อหา’ มาสู่ความคิด เกี่ยวกับความรู้ และการเรียนรู้ น่าจะทำ�ให้เห็นที่มาที่ไปอันเป็นเบื้องใต้ของการจัด แสดงความรู้ในพิพิธภัณฑ์แต่ละแห่งได้ดียิ่งขึ้น หอศิลป์ บ้านจิม ทอมป์สนั เน้นว่าเรือ่ งราวทีจ่ ะนำ�มาจัดนิทรรศการนัน้ จะต้อง มีความเชื่อมโยงระหว่าง อดีตและปัจจุบัน เก่ากับใหม่ รวมถึงคิดเชื่อมปัจจุบันกับ อนาคตโดยทีย่ ดึ โยงกับอดีตด้วย ในกระบวนการหาความรูท้ นี่ เี่ น้นการวิจยั ด้วยตนเอง ก่อนที่จะนำ�ความรู้นั้นมาตีความและจัดแสดง ด้วยวิธีเช่นนี้ทำ�ให้ หอศิลป์ บ้านจิม ทอมป์สัน สามารถสร้างสรรค์กิจกรรมเกี่ยวข้องกับนิทรรศการได้อย่างน่าสนใจ ส่วนที่ พิพธิ ภัณฑ์เพือ่ การศึกษา วัดหนังราชวรวิหาร นัน้ พระครูสงั ฆรักษ์ไพฑูรย์ สุภาทโร เห็นว่าเมื่อมาที่นี่ผู้ชมควรได้รู้จักตัวตน อัตลักษณ์ของท้องถิ่น เข้าใจความ เป็นท้องถิ่นว่าแตกต่างกับถิ่นอื่นอย่างไร อย่างไรก็ตามท่านตั้งคำ�ถามให้คิดว่าอะไร และอย่างไรคือการเรียนรูใ้ นพิพธิ ภัณฑ์ ในทัศนะของท่านจะคิดถึงการเรียนรูแ้ ต่จากฝัง่ ผูช้ มโดยไม่ได้คดิ จากฝัง่ คนทำ�พิพธิ ภัณฑ์ไม่ได้ ผูช้ มจะเรียนรูไ้ ด้ ผูท้ �ำ จะต้องเรียนรูก้ อ่ น ผู้ทำ�ต้องค้นคว้า ต้องตอบคำ�ถาม ต้องรับฟังคำ�ถามของคนชมพิพิธภัณฑ์ ต้องปรับ เนื้อหา วัตถุ การนำ�ชมตามคำ�ถามของคนดู คือปรับทั้งความรู้และวิธีสื่อสาร เพื่อให้ ผูช้ มเรียนรูใ้ ห้ได้มากทีส่ ดุ หากก็ตอ้ งรักษาประเด็นของตัวเองให้ชดั ในแง่นห้ี มายความว่า เนือ้ หาในพิพธิ ภัณฑ์นนั้ แม้จะเป็นนิทรรศการถาวร แต่จะไม่ใช่ความถาวรแบบหยุดนิง่ ตายตัว หากมีพลวัตจากการสื่อสารสองทางกับผู้ชมเสมอ ส่วนที่ องค์การพิพธิ ภัณฑ์วทิ ยาศาสตร์แห่งชาติ นัน้ ชัดเจนในพันธกิจว่า อพวช. ไม่ได้ทำ�พิพิธภัณฑ์เพื่อช่วยเด็กทำ�การบ้านหรือเข้ามหาวิทยาลัย แต่เพื่อสร้างสังคม แห่งการใช้เหตุผล หากพิพิธภัณฑ์จะเป็นที่ที่สร้างกระบวนการให้คนคิด พิพิธภัณฑ์ 12

‘พิศ’ พิพิธภัณฑ์


จะต้องให้มากกว่าข้อมูล ความรู้ แต่ตอ้ งสร้างความเข้าใจและความตระหนัก ต้องเน้น การสร้างกระบวนการคิดแบบเป็นวิทยาศาสตร์ คือตัง้ ข้อสังเกต พิสจู น์ หาคำ�ตอบ อัน จะทำ�ให้เห็นว่าวิธคี ดิ แบบวิทยาศาสตร์ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เป็นสิง่ ทีน่ �ำ มา ใช้ทำ�ความเข้าใจทุกอย่างได้ ไม่ว่าจะเป็นหัวข้อที่เป็นวิทยาศาสตร์มากๆ หรือหัวข้อ ทางสังคม เช่น ภูมิปัญญาไทย ภูมิปัญญาท้องถิ่น แม้ว่าดูเผินๆ แล้ว ศูนย์การเรียนรู้พิพิธภัณฑ์ด่านช้าง จะไม่ได้แตกต่างจาก พิ พิธ ภั ณ ฑ์ ท้ อ งถิ่นทั่วไป คือ จัดแสดงสิ่ง ของและเรื่องเล่า เกี่ยวกับ วิถีของชุมชน อั ต ลั ก ษณ์ ผู้ ค นที่ นั่ น แต่ เ มื่ อ พู ด ถึ ง ประเด็ น การเรี ย นรู้ แ ล้ ว พิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ ด่ า นช้ า ง เห็นว่าพิพิธภัณฑ์จะต้องบูรณาการการเรียนรู้ในพิพิธภัณฑ์ให้เข้ากับสาระการเรียนรู้ ในหลักสูตรของนักเรียน มีการปรับหลักสูตรเพือ่ ให้พพิ ธิ ภัณฑ์เป็นพืน้ ทีข่ องการเรียนรู้ นอกระบบที่สามารถเชื่อมโยงกับการศึกษาในระบบได้ ที่น่าสนใจคือการใช้ข้าวของ เครื่องใช้ในพิพิธภัณฑ์มาเป็นสื่อการเรียนรู้ ในแง่นี้ข้าวของเครื่องใช้จะมีหน้าที่อัน สำ�คัญ ไม่ใช่เพียงของที่ตั้งโชว์ หรือของที่ต้องอนุรักษ์สงวนไว้ แต่เป็นของที่ถูกนำ�มา เพือ่ การเรียนรู้ ในมิตขิ องการเรียนรูแ้ ล้ว ข้าวของพวกนีเ้ ชือ่ มโยงอดีตให้เข้ากับปัจจุบนั และเชื่อมโยงการศึกษานอกและในระบบเข้าด้วยกัน จากประเด็นเรือ่ งการเรียนรูใ้ นพิพธิ ภัณฑ์ สะท้อนให้เห็นว่าพิพธิ ภัณฑ์แต่ละแห่ง พยายามอย่างมากทีจ่ ะก้าวข้ามข้อท้าทายเกีย่ วกับวิถขี องการเรียนรูข้ องผูช้ มในสังคม ไทย อีกนัยหนึง่ เราสามารถมองเห็นสังคมไทย การรับรู้ การเรียนรูข้ องคนไทยปัจจุบนั ได้จากความพยายามที่จะทำ�งานกับกลุ่มเป้าหมายของพิพิธภัณฑ์เหล่านี้ เป็นต้นว่า หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (BACC) ตั้งข้อสังเกตว่างานศิลปะแนว avant-garde เป็นแนวที่ผู้ชมไม่สนใจดูเท่ากับงานแนวประเพณี ใช่หรือไม่ว่าคนไทย ไม่ได้ถูกสอนให้คิดในเชิงมโนทัศน์ จึงไม่รู้สึกชื่นชมการแสดงของในงานศิลปะสกุลนี้ ส่วน อดีตภัณฑารักษ์จาก ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ กรุงเทพฯ (TCDC) คิดกับ เรื่องการจัดแสดงและการดีไซน์ว่าจะดึงความสนใจคนอย่างไร ให้อยู่กับนิทรรศการ ให้นานที่สุด งานดีไซน์จึงเน้นให้ประสบการณ์การดูนิทรรศการเป็นประสบการณ์ที่ สนุกสนาน พิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษา วัดหนังราชวรวิหาร ใช้วิธีจำ�กัดคนดู พระเป็น ผูน้ �ำ ชมเองเพือ่ โฟกัสความสนใจ ให้มปี ฏิสมั พันธ์ เป็นการดึงคนไม่ให้หลุดและไปสนใจ แต่เรื่องการถ่ายรูปตัวเองกับวัตถุในพิพิธภัณฑ์ ที่ พิพิธภัณฑ์โรงงานหลวงที่ 1 (ฝาง) ไม่ได้เน้นจับกลุ่มนักท่องเที่ยวแบบฉาบฉวย และเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวที่มีความ สนใจในเนื้อหา พิพิธภัณฑ์ได้เตรียมสถานีความรู้ไว้ตามจุดต่างๆ ทั้งที่พิพิธภัณฑ์ ที่

จากเบื้องหลังคนทำ�งาน

13


โรงงานและในหมูบ่ า้ น โดยทีแ่ ต่ละจุดมีความเชือ่ มต่อกัน กล่าวโดยย่อ โจทย์ของทุกคน ส่วนใหญ่แล้วเป็นเรื่อง ผู้ชม (audience) ว่าจะทำ�อย่างไรถึงจะดึงความสนใจของ ผูช้ มทีแ่ ม้วา่ จะดัน้ ด้นมาจนถึงพิพธิ ภัณฑ์แล้ว ก็ยงั ไม่ใช้เวลาเต็มทีก่ บั ความรูเ้ บือ้ งหน้า

ผู้ชมและการ ‘หมั้นหมาย’ ในภาพจำ�ของคนทัว่ ไป พิพธิ ภัณฑ์เป็นทีข่ องข้าวของมีคา่ เป็นทีข่ องเรือ่ งราวจาก อดีต เป็นที่ของผู้ทรงภูมิที่มีความรู้ความเข้าใจเฉพาะทาง และทำ�หน้าที่ ‘ให้’ ความรู้ นั้นกับผู้ชม หากในมุมของคนทำ�งานพิพิธภัณฑ์แล้ว พิพิธภัณฑ์เป็นมากกว่านั้น คน ทำ�พิพธิ ภัณฑ์ทกุ วันนี้ ไม่วา่ จะเป็นพิพธิ ภัณฑ์ใหญ่หรือเล็ก ต้องคิดถึงผูช้ มเป็นสำ�คัญ พิพธิ ภัณฑ์ในอังกฤษหรืออเมริกาต้องหันมาคำ�นึงถึงความต้องการของผูช้ ม สิง่ ทีผ่ ชู้ ม สนใจ กิจกรรมที่รองรับผู้ชมที่มีความหลากหลายทั้งวัย การศึกษา ข้อจำ�กัดทางกาย ความต่างทางวัฒนธรรม จนแทบกล่าวได้ว่าอนาคตของพิพิธภัณฑ์นั้นขึ้นอยู่กับผู้ชม ในประเทศไทยก็เช่นกัน พิพิธภัณฑ์หลายแห่งไม่ได้มองตัวเองเป็นองค์กรที่แยกอยู่ อย่างโดดเดี่ยว หากให้ความสนใจกับผู้ชมและสัมพันธ์กับผู้ชมในหลายระดับ หลาย มิติด้วยกัน หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (BACC) มีการกำ�หนดกลุ่มเป้าหมาย ที่ไม่ได้ดูแค่อายุแต่ดูไลฟ์สไตล์ ดูพฤติกรรมการรับสื่อ ดูความสนใจ จนเห็นความ หลากหลายของกลุ่มผู้ชม และนำ�มาคิดงานที่รองรับความสนใจของคนที่แตกต่างกัน ความพยายามทีจ่ ะรองรับกลุม่ คนทีแ่ ตกต่าง ส่งผลกลับไปทีก่ ารนิยามความหมายของ ศิลปะ ว่าจะต้อง engage กับผูค้ น และในบางครัง้ ศิลปะก็เป็นสือ่ ทีอ่ าจสร้างปฏิสมั พันธ์ ระหว่างกลุ่มผู้ชมที่แตกต่างกันได้ด้วย ด้วยการคำ�นึงถึงผู้ชม หอศิลปวัฒนธรรม แห่งกรุงเทพมหานคร (BACC) ปรับตัว ปรับวิธีการทำ�งาน จากการที่ภัณฑารักษ์ หรือกรรมการบริหารหน่วยงานเป็นผู้กำ�หนด มาเป็นการให้ความสำ�คัญกับผู้ชมว่า เขาเป็นใคร เขาอยากรู้อะไร เขาใช้เวลากับอะไร จะสร้างงานที่ engage กับผู้ชมได้ อย่างไร จะให้เด็กเข้าใจศิลปะที่มีตัวเองเป็นหลักได้อย่างไร ในประเทศไทย มีพิพิธภัณฑ์จำ�นวนไม่น้อยที่ไม่ได้สร้างขึ้นมาจากวัตถุสิ่งของ เลอค่า ไม่ได้สร้างขึ้นมาจากของสะสม หากสร้างขึ้นมาจากวิกฤติ หรือสร้างจากการ ที่มีการเผชิญกับภาวะอันไม่พึงใจบางอย่าง เป็นต้นว่า พิพิธภัณฑ์โรงงานหลวงที่ 1 14

‘พิศ’ พิพิธภัณฑ์


(ฝาง) ทีเ่ กิดขึน้ หลังจากอุทกภัยครัง้ ใหญ่ อาคารถูกกระแสน้�ำ ทำ�ลาย พิพธิ ภัณฑ์เกิดขึน้ เพื่อชุบชีวิตให้โรงงาน และสร้างชีวิตใหม่ให้กับพื้นที่บ้านยางกลายเป็นแหล่งเรียนรู้ สำ�หรับทั้งคนในและคนนอกชุมชน เมื่อเวลาผ่านไป พิพิธภัณฑ์ถูกใช้เป็นเครื่องมือ ในการพัฒนาชุมชน โดยในการพัฒนาระยะแรก พิพิธภัณฑ์เป็นผู้กำ�หนดและดำ�เนิน โครงการ หากในภายหลังทีช่ มุ ชนกับพิพธิ ภัณฑ์ท�ำ งานร่วมกันมากขึน้ เข้าใจกันมากขึน้ จนถึงจุดที่ชุมชนมีข้อเสนอว่าชุมชนต้องการอะไร โครงการแบบไหนเหมาะสมที่ จะดำ�เนินการในพื้นที่ โครงการที่ชุมชนเสนอมักมาจากองค์ความรู้ของเขาที่มีต่อ พื้นถิ่น เช่นเรื่องการทำ�ฝาย ชาวบ้านจะรู้มากกว่าว่าจะทำ�ฝายกั้นลำ�น้ำ�ไหน ส่วนใน งานพิพิธภัณฑ์นั้น ชาวบ้านเสนอการทำ�หนังสือประวัติหมู่บ้าน ทำ�ห้องเรียนชุมชน จากกรณีนี้จะเห็นได้ว่า พิพิธภัณฑ์ไม่ได้เป็นฝ่ายที่ถ่ายทอด เอื้อมมือไปหาชุมชน ฝ่ายเดียว ชุมชนเองก็เห็นพิพิธภัณฑ์เป็นส่วนหนึ่งของเขา เป็นหุ้นส่วนในการทำ�งาน ของกันและกัน องค์การพิพธิ ภัณฑ์วทิ ยาศาสตร์แห่งชาติ แม้จะเน้นว่ากลุม่ เป้าหมายคือนักเรียน และเยาวชน แต่คนที่ อพวช. ให้ความสำ�คัญมากและพยายามจัดความสัมพันธ์ให้ดี คือกลุ่มครูและบุคลากรทางการศึกษา เนื่องจากครูเป็นผู้นำ�เด็กมาพิพิธภัณฑ์ ครูคือ ผูส้ อน ผูใ้ ห้การศึกษา อพวช. จึงทำ�งานกับครูดว้ ยการให้ครูมาช่วยทำ�กิจกรรม ช่วยทำ� นิทรรศการ มาให้ความเห็น ผลิตสื่อ ออกแบบเนื้อหา ให้ข้อเสนอแนะต่อพิพิธภัณฑ์ สิง่ ที่ อพวช. พยายามจะสร้างให้เกิดขึน้ กับกลุม่ ครูนนั้ มากไปกว่า ‘การมีสว่ นร่วม’ แต่ ขยายไปสูก่ ารสร้าง ‘ความเป็นเจ้าของ’ ร่วม พิพธิ ภัณฑ์เป็นของครูไม่นอ้ ยไปกว่าเป็น ของกระทรวงวิทยาศาสตร์ สิ่งเหล่านี้เปรียบเสมือนการ ‘หมั้นหมาย’ ที่ทั้งสองฝ่าย ในคู่ความสัมพันธ์ต่างยื่นมือให้กันและกันเพื่อสร้างพันธสัญญาบางอย่างร่วมกัน ปฏิบตั กิ าร engage กับผูช้ มของพิพธิ ภัณฑ์เบือ้ งต้น ทำ�ให้เห็นว่าพิพธิ ภัณฑ์ไม่ใช่ พืน้ ทีท่ สี่ ถิตความรูท้ พี่ พิ ธิ ภัณฑ์เป็นผูใ้ ห้ฝา่ ยเดียว ชุมชนหรือผูช้ มก็สามารถให้ความรู้ ให้การเรียนรูก้ บั พิพธิ ภัณฑ์ได้ พิพธิ ภัณฑ์ไม่ได้ตงั้ อยูอ่ ย่างโดดเดีย่ ว เป็นขุมคลังความรู้ ที่แยกจากผู้ชม หรือเป็นผู้ผลิตและบริการความรู้แก่สังคมเท่านั้น แต่อนาคตของ พิพิธภัณฑ์ ความยั่งยืนของพิพิธภัณฑ์นั้น อยู่ได้ด้วยการเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับสังคม อย่างใกล้ชิด จนถึงระดับของความรู้สึกถึงการเป็นเจ้าของพิพิธภัณฑ์ และด้วยการ สร้างสำ�นึกเช่นนี้เท่านั้น จึงจะทำ�ให้พิพิธภัณฑ์มีความยั่งยืนต่อไปในอนาคต

จากเบื้องหลังคนทำ�งาน

15


พิพิธภัณฑ์ชุมชน: คนนอกหรือคนใน เมื่อพูดถึงพิพิธภัณฑ์ชุมชน หลายคนมีความเข้าใจว่าพิพิธภัณฑ์ชุมชนควรเป็น สิ่งที่ชาวบ้านหรือคนในชุมชนทำ�เอง ทำ�เรื่องเกี่ยวกับชุมชน โดยชุมชน วัตถุประสงค์ คือเพือ่ การเรียนรูเ้ กีย่ วกับชุมชนของชุมชนเอง อย่างไรก็ตาม สิง่ ทีพ่ บในความเป็นจริง คือพิพิธภัณฑ์ชุมชนอาจไม่จำ�เป็นต้องทำ�โดยคนในชุมชนเสมอไป คนนอกชุมชนก็ สามารถทำ�พิพิธภณฑ์ชุมชนได้ หากเราจะนิยามพิพิธภัณฑ์ชุมชนจากกระบวนการ ทำ�งานเป็นสำ�คัญ ในหนังสือเล่มนี้ เราอาจแบ่งคนทำ�พิพิธภัณฑ์ชุมชนออกเป็นสองกลุ่มใหญ่ กลุ่มแรกคือกลุ่ม ‘คนใน’ คือคนในชุมชนเองที่ทำ�พิพิธภัณฑ์เกี่ยวกับชุมชน กลุ่มนี้ ได้แก่ พิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษา วัดหนังราชวรวิหาร และ พิพิธภัณฑ์บ้านเก่าเล่าเรื่อง ชุมชนเจริญไชย กลุ่มที่สองคือ ‘คนนอก’ หรือคนที่มาจากที่อื่น ไม่ใช่คนในชุมชน เช่นที่ พิพิธภัณฑ์โรงงานหลวงที่ 1 (ฝาง) ศูนย์การเรียนรู้พิพิธภัณฑ์ด่านช้าง แต่ไม่ว่า จะเป็นคนนอกหรือคนใน คนทำ�พิพิธภัณฑ์ก็มีวิธีทำ�งานที่ไม่ต่างกันนักคือต้องอ่าน ถาม ฟัง สร้างความสัมพันธ์ ทำ�ความเข้าใจ กับคนในพื้นที่ กรณี พิพิธภัณฑ์เพื่อการ ศึกษา วัดหนังราชวรวิหาร แม้ว่าพระครูสังฆรักษ์ไพฑูรย์ สุภาทโร จะเป็นคนในพื้นที่ เอง แต่ในกระบวนการทำ�พิพิธภัณฑ์ยังต้องหาวัตถุ หาข้อมูลเพิ่มจากคนเฒ่าคนแก่ ต้องเชิญคนจากชุมชนมาดูความถูกต้องของการจัดแสดง ต้องจัดหมุนเวียนวัตถุเพื่อ ให้ญาติโยมสบายใจว่าข้าวของที่ตนเองบริจาคมาได้รับการจัดแสดง ที่ พิพิธภัณฑ์ บ้านเก่าเล่าเรือ่ ง ชุมชนเจริญไชย ก็เช่นกัน ผูท้ �ำ พิพธิ ภัณฑ์ตอ้ งค้นหาอัตลักษณ์ชมุ ชน มีการทำ�ความเข้าใจกับชุมชนถึงบทบาทของพิพิธภัณฑ์ ซึ่งกระบวนการเชื่อมโยง พิพิธภัณฑ์ให้เข้ากับพื้นที่นี้ไม่ต่างจากที่ พิพิธภัณฑ์โรงงานหลวงที่ 1 (ฝาง) หรือ ศูนย์การเรียนรู้พิพิธภัณฑ์ด่านช้าง ซึ่งคนทำ�งานมาจาก ‘ที่อื่น’ เลย นอกเหนือจาก การทำ�ความเข้าใจพื้นที่แล้ว การสร้างความเข้าใจให้คนชุมชนตระหนักเกี่ยวกับ พิพิธภัณฑ์ และทำ�ให้ชุมชนเข้ามาเกี่ยวข้องไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ก็เป็นกระบวนการ ที่พิพิธภัณฑ์ต้องสร้างขึ้น เช่น การร่วมบริจาคข้าวของให้พิพิธภัณฑ์ การฝึกเด็กให้ สามารถนำ�ชมนิทรรศการ เช่นที่ ศูนย์การเรียนรูพ้ พิ ธิ ภัณฑ์ดา่ นช้าง เช่นที่ พิพธิ ภัณฑ์ บ้านเก่าเล่าเรื่อง ชุมชนเจริญไชย ที่ต้องทำ�ความเข้าใจกับชุมชนนอกพิพิธภัณฑ์ เช่น ที่ พิพิธภัณฑ์โรงงานหลวงที่ 1 (ฝาง) ที่คนนอกชุมชนได้ก้าวข้ามความเป็นคนนอกไป 16

‘พิศ’ พิพิธภัณฑ์


ระดับหนึ่ง ไปสู่การทำ�งานที่ participate เกินงานในขอบเขตของพิพิธภัณฑ์ ดังนั้น สิ่งที่มีร่วมกันไม่ว่าจะคนนอกหรือคนในชุมชนทำ�คือการสัมพันธ์กับชุมชน คือการ ตระหนักว่าพิพิธภัณฑ์ไม่ได้อยู่โดดๆ เป็นอิสระ ดำ�เนินการได้ตามใจของคนทำ� พิพิธภัณฑ์โดยไม่ต้องสนใจชุมชน แม้ว่าชุมชนเองเห็นด้วย เห็นชอบกับการมีอยู่ของ พิพิธภัณฑ์ ความ ‘ใส่ใจ’ นี้ยังต้องขยายไปถึงขั้นการรักษาความสัมพันธ์ ด้วยสำ�นึก เช่นนีท้ �ำ ให้พพิ ธิ ภัณฑ์ตอ้ งรักษาความสัมพันธ์กบั ชุมชนในหลายมิติ ซึง่ ในอีกทางหนึง่ ส่งผลให้การดำ�รงอยู่ของพิพิธภัณฑ์มีความชอบธรรมมากขึ้นในสำ�นึกของชุมชน น่าสังเกตว่า เมื่อพิพิธภัณฑ์เป็นเครื่องมือของอะไรบางอย่าง เช่น การพัฒนา การยืนยันอัตลักษณ์ชุมชน การต่อสู้ คนทำ�พิพิธภัณฑ์มีบทบาทมากกว่าการอนุรักษ์ ข้าวของ การเล่าเรือ่ ง การจัดแสดง หากบทบาทของเขาขยายไปสูก่ ารเป็นนักสือ่ สารที่ ต้องสือ่ สารกับชุมชน สือ่ สารกับคนนอก และต้องเป็นนักพัฒนาไปโดยปริยาย เพราะ ขอบเขตของงาน เป้าหมายของงานไม่ใช่แค่พนื้ ทีใ่ นพิพธิ ภัณฑ์ แต่ขยายไปพ้นอาคาร พ้น รัว้ พิพธิ ภัณฑ์ เวลาทำ�การของนักพิพธิ ภัณฑ์ประเภทนีไ้ ม่ได้จบลงแค่เวลาปิด 16.30 น. แต่บางคราอาจจะเป็นเสาร์อาทิตย์ เป็นการไปร่วมงานบวช งานแต่งงาน การขุดฝาย การไปต่อรองกับเจ้าของที่ การไปจัดกิจกรรมกับครู นักเรียน การทำ�ค่าย บทบาท ทางสังคมเหล่านี้ทำ�ให้ความหมายของคำ�ว่าภัณฑารักษ์ขยายไปมากกว่าความเข้าใจ ในคำ�แต่ดั้งเดิม

ชีวิตพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ วลีหนึ่งที่เรามักจะได้ยินเสมอในหมู่คนทำ�พิพิธภัณฑ์คือ ต้องทำ�ให้พิพิธภัณฑ์ ‘มีชีวิต’ แต่หากจะถามว่าอะไรคือชีวิตของพิพิธภัณฑ์ อะไรทำ�ให้พิพิธภัณฑ์มีชีวิต คำ�ตอบของแต่ละคนก็อาจจะต่างกันไป หากจะตอบจากคนทำ�พิพิธภัณฑ์ทั้ง 9 แห่ง ก็อาจตอบได้ว่าพิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิตคือพิพิธภัณฑ์ที่ไม่ตาย ไม่นิ่งในหลายๆ ระดับ ทั้งระดับของการวิจัย การหาเรื่องมาเล่า การจัดแสดง การหมุนเวียนข้าวของ การ สัมพันธ์กับชุมชน การ engage กับคนดู ให้เขาเข้ามามีส่วนร่วมและสำ�นึกถึงความ เป็นเจ้าของพิพิธภัณฑ์ เหล่านี้คือชีวิตของพิพิธภัณฑ์ในความหมายที่แท้จริงของการ เป็น ‘พื้นที่การเรียนรู้’

จากเบื้องหลังคนทำ�งาน

17


สุดท้าย หนังสือเล่มนี้เป็นเพียงการนำ�เสนอวิธีคิดของคนทำ�พิพิธภัณฑ์ในบาง เรื่อง และยังขาดคำ�ถามสำ�คัญอีกหลายเรื่องที่น่าจะนำ�มาสู่การหาคำ�ตอบต่อไป เป็นต้นว่าพิพธิ ภัณฑ์ไทยจะรองรับการเรียนรูข้ องผูม้ ขี อ้ จำ�กัดทางกายภาพอย่างไรได้ บ้าง เทคโนโลยีที่ซับซ้อนจำ�เป็นขนาดไหนกับการเรียนรู้ของผู้ชม การออกแบบการ เรียนรูส้ �ำ หรับพิพธิ ภัณฑ์ส�ำ หรับทุกคนควรเป็นอย่างไร พิพธิ ภัณฑ์จะมีสว่ นในการสร้าง การอยูร่ ว่ มกันในสังคมพหุวฒ ั นธรรม ซึง่ เป็นภาวะทางสังคมทีห่ ลีกเลีย่ งไม่ได้อย่างไร ได้บา้ ง คำ�ถามเหล่านีแ้ ละคำ�ถามอีกมากมายทีไ่ ม่ได้ถกู ถามในทีน่ ี้ ล้วนรอให้ผปู้ ฏิบตั กิ าร ทางวัฒนธรรมคิดและทำ� เพื่อให้พิพิธภัณฑ์เป็นอีกหนึ่ง cultural landscape ที่หยั่ง รากลงไปในปริมณฑลของการเรียนรู้ในสังคมไทยอย่างแท้จริง ฆัสรา ขมะวรรณ มุกดาวิจิตร

18

‘พิศ’ พิพิธภัณฑ์




เพราะรัก...เพาะรู้

ศูนย์การเรียนรูพ้ พิ ธิ ภัณฑ์ดา่ นช้าง



พิพิธภัณฑ์ที่ดีต้องเป็นพิพิธภัณฑ์ที่ไม่ตาย ต้อง เป็นพิพิธภัณฑ์ที่อนุญาตให้เด็กนักเรียนจับต้องได้ ต้ อ งมี ก ารเชื่ อ มโยงกั บ หลั ก สู ต รการศึ ก ษา ไม่ใช่ว่ามีแต่ของมาตั้งโชว์ พิพิธภัณฑ์ต้องทำ�ให้ คนพื้นถิ่นรู้สึกว่าพวกเขาต้องช่วยกันเฝ้าระวัง ทางวัฒนธรรม อุบล ทรัพย์อินทร์ ศูนย์การเรียนรู้พิพิธภัณฑ์ด่านช้าง



ศูนย์การเรียนรู้พิพิธภัณฑ์ด่านช้างตั้งอยู่ในโรงเรียนอนุบาลด่านช้าง จังหวัด

สุพรรณบุรี โรงเรียนแห่งนีม้ ปี ระชากรตัง้ แต่ชนั้ อนุบาลจนถึงประถมศึกษาปีที่ 6 ภายใน พิพิธภัณฑ์แบ่งพื้นที่การจัดแสดงสิ่งของเป็น 3 ส่วน อาคารแรก เป็นพื้นที่จัดแสดงเครื่องมือเครื่องใช้และสิ่งประดิษฐ์ตั้งแต่อดีตถึง ปัจจุบัน มีวัตถุจัดแสดงตั้งแต่เครื่องมือหินขัดที่พบในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรีมาแล้ว กระทั่งเครื่องใช้ร่วมสมัย เช่น นาฬิกาปลุก เครื่องเล่นแผ่นเสียงโบราณ โทรศัพท์มือ ถือ วิทยุ กล้องถ่ายรูปแบบใช้ฟิล์ม พัดลม เครื่องพิมพ์ดีด จักรเย็บผ้า ฯลฯ “ห้องนี้แสดงถึงการตั้งถิ่นฐานที่เก่าแก่ของมนุษย์ในแถบนี้ค่ะ” นักเรียนหญิงชั้น ป.5 ให้ข้อมูลด้วยเสน่ห์แบบสำ�เนียงสุพรรณฯ อาคารที่ 2 จัดแสดงเรือ่ งราวเกีย่ วกับชนพืน้ เมืองในอำ�เภอด่านช้าง มีบา้ นเรือน จำ�ลองของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง ละว้า และลาวครั่ง เครื่องแต่งกายที่สวมอยู่บน หุน่ ของกลุม่ ชาติพนั ธุท์ งั้ สาม รวมถึงโครงกระดูกจำ�ลองซึง่ เชือ่ มโยงกับการเรียนรูข้ อง นักเรียน และอาคารที่ 3 จัดแสดงเครื่องมือเครื่องใช้ในชีวิตประจำ�วัน และวิถีชีวิตของ ชาวด่านช้าง เมือ่ พิจารณาอย่างผิวเผิน พิพธิ ภัณฑ์ดา่ นช้างไม่ได้ตา่ งอะไรจากพิพธิ ภัณฑ์ชมุ ชน แห่งอื่น ที่จัดแสดงสิ่งของที่บอกเล่าความเป็นมา อัตลักษณ์ และวิถีชีวิตของชุมชน แต่สงิ่ ทีท่ �ำ ให้พพิ ธิ ภัณฑ์แห่งนีม้ ชี วี ติ ขึน้ มาจากสิง่ ของในอดีต คือการใช้สอยพืน้ ทีแ่ ละ เรื่องราวในพิพิธภัณฑ์เป็นห้องเรียน เด็กนักเรียนทีน่ จี่ ะเรียนวิชาคณิตศาสตร์ สังคมศึกษา ประวัตศิ าสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาจีน ผ่านสิ่งของและเรื่องราวในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้

ศูนย์การเรียนรู้พิพิธภัณฑ์ด่านช้าง

25


ยุคบุกเบิก “ผอ.นพรัตน์ พิมพ์จฬุ า ไปพบขวานหินทีไ่ ร่มนั สำ�ปะหลัง ท่านก็ให้กรมทรัพยากร ธรณีพิสูจน์ ก็พบว่ามันมีอายุ 3,300 กว่าปี ตรงกับยุคหินใหม่” สิทถาพร ป้อมทอง อดีตครูสอนวิชาวิทยาศาสตร์ โรงเรียนอนุบาลด่านช้าง ผู้เป็นครูในยุคบุกเบิกการ ทำ�พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ เล่าให้ฟังถึงจุดตั้งต้นในสมัยที่ นพรัตน์ พิมพ์จุฬา ผู้อำ�นวยการ คนเก่าได้ริเริ่มจัดทำ�พิพิธภัณฑ์ที่บ่งบอกตัวตนในอดีตของอำ�เภอด่านช้าง จังหวัด สุพรรณบุรี เพือ่ บูรณาการเข้ากับสาระการเรียนรูข้ องนักเรียนโรงเรียนอนุบาลด่านช้าง นอกจากความสนใจโบราณวัตถุและเครือ่ งมือเครือ่ งใช้เก่าๆ ทีพ่ บในเขตอำ�เภอ ด่านช้างของผู้อำ�นวยการคนเก่าแล้ว สิทถาพรยังเล่าว่า ในช่วงเวลานั้นทางโรงเรียน 26

เพราะรัก...เพาะรู้


พิพธิ ภัณฑ์ตอ้ งสอดคล้องกับหลักสูตร วิชาประวัตศิ าสตร์ นี่ก็ตรงกับสิ่งที่นำ�เสนอในพิพิธภัณฑ์อยู่แล้ว ภาษาไทยก็ ตรงกับพิพิธภัณฑ์...ไม่ยาก อังกฤษก็เล่นกับคำ�ศัพท์ ของชิ้นไหนที่เด็กชอบเด็กอยากรู้ว่าภาษาอังกฤษเรียกว่า อะไร วิชาสุขศึกษาก็วางโครงกระดูกของชาติพันธุ์เป็น อนาโตมี คณิตศาสตร์เราสอนเรื่องทิศ เอาโม่หินใน พิพิธภัณฑ์มาวางไว้ 8 ทิศ

ได้รบั นโยบายจากเขตพืน้ ทีก่ ารศึกษาประถมศึกษา (สพฐ.) สุพรรณบุรี เขต 3 ให้มกี าร จัดกิจกรรมในวาระฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี จึงได้เริ่มมีโครงการจัดนิทรรศการ และศูนย์การเรียนรู้ทางด้านประวัติศาสตร์ สังคมและวัฒนธรรมของอำ�เภอด่านช้าง ขึ้นภายในโรงเรียนอนุบาลด่านช้าง คณะครูรนุ่ บุกเบิกอย่างอดีตผูอ้ �ำ นวยการนพรัตน์และอดีตครูวทิ ยาศาสตร์อย่าง สิทถาพร เริ่มสะสมข้าวของเครื่องใช้โบราณเข้ามายังโรงเรียนในปี 2550 พร้อมกับ ประชาสัมพันธ์ไปยังผู้ปกครองถึงจุดประสงค์ในการสร้างพิพิธภัณฑ์ของโรงเรียนเพื่อ ร่วมบริจาค จนกระทั่งได้ของสะสมมากพอ พวกเขาทำ�การแยกหมวดหมู่สิ่งของ ซึ่ง นำ�องค์ความรู้มาจากพิพิธภัณฑ์อู่ทอง เรียนรู้วิธีการจัดแยก วิธีการรักษาให้คงสภาพ เดิม จนได้พื้นที่จัดแสดงในอาคารที่ 1 “ศูนย์แรกคือเครือ่ งมือเครือ่ งใช้และเครือ่ งปัน้ ดินเผาไล่เรียงตามการแบ่งยุคสมัย ทางประวัติศาสตร์ เริ่มจากยุคหินใหม่ สุโขทัย อยุธยา รัตนโกสินทร์ โดยมีเอกสาร ทางประวัติศาสตร์เป็นจุดอ้างอิง เพื่อให้เด็กสามารถเข้าใจได้ง่ายในการเข้าดู เครื่อง มือเครื่องใช้บางอย่างที่เราไม่มีเราก็ทำ�เลียนแบบเพื่อให้เด็กเห็นภาพว่าเครื่องมือ เครื่องไม้ชนิดนี้เคยมีบทบาทอย่างไรต่อชีวิตคนสมัยก่อนบ้าง” สิทถาพรเล่า จากหลั กฐานทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ที่พบในเขตอำ�เภอด่า นช้าง

ศูนย์การเรียนรู้พิพิธภัณฑ์ด่านช้าง

27


แสดงให้เห็นว่ามีการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ในบริเวณนี้มาอย่างน้อยตั้งแต่ยุคหินใหม่ นอกจากนี้ยังพบร่องรอยการถลุงโลหะในสมัยอยุธยา ก่อนที่พื้นที่แห่งนี้จะถูกทิ้งร้าง ไป หลงเหลือเพียงหลักฐานการบันทึกและคำ�บอกเล่าถึงกลุม่ คนดัง้ เดิมทีอ่ าศัยอยูใ่ น เขตนีก้ อ่ นการเข้ามาตัง้ ถิน่ ฐานของชาวพืน้ ราบ (ชาวสุพรรณ) คือ ชาวกะเหรีย่ ง ละว้า และลาวครั่ง โดยกลุ่มหลังนี้เพิ่งเข้ามาตั้งถิ่นฐานในช่วงต้นรัตนโกสินทร์เมื่อคราว รัชกาลที่ 3 ซึ่งได้ยกทัพไปทำ�สงครามกับเวียดนาม ขากลับก็ได้กวาดต้อนผู้คนเมือง ภูครัง ทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำ�โขง และให้ตั้งบ้านเรือนอยู่ในเขตจังหวัดสุพรรณบุรี และ เมืองนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ด้วยข้อมูลทางประวัตศิ าสตร์และการเสาะหาสิง่ ของได้มากขึน้ ทำ�ให้เกิดการแบ่ง พืน้ ทีเ่ พือ่ จัดแสดงเป็น 3 อาคารดังกล่าว ปัจจุบนั สิทถาพรเกษียณอายุราชการแล้ว แต่ ยังคงแวะเวียนมาให้คำ�ปรึกษาหรือให้การช่วยเหลือในบางเรื่อง ภารกิจก่อนเกษียณ อายุราชการของเขาคือ ฝึกฝนให้เด็กซึมซับเรื่องราวภายในพิพิธภัณฑ์จนสามารถ ถ่ายทอดความรู้ออกไปยังผู้อื่นได้ “ผมจะฝึกเด็กให้เป็นมัคคุเทศก์นอ้ ย ให้เขาสามารถนำ�เสนอสิง่ ของในพิพธิ ภัณฑ์

28

เพราะรัก...เพาะรู้


ได้ โดยแบ่งเป็น 3 โซน เราไม่ได้เป็นนักวิชาการด้านโบราณคดีอะไร แต่เราอาศัยอิง ตามช่วงเวลาทางประวัตศิ าสตร์ แล้วให้เด็กเข้าไปเรียนรู้ แบ่งตามหนังสือทีเ่ ราค้นคว้า” สิทถาพรเล่า นอกจากการก่อรูปก่อร่างของศูนย์การเรียนรู้พิพิธภัณฑ์ด่านช้างแล้ว โรงเรียน อนุบาลด่านช้างยังจัดทำ�หลักสูตรการเรียนการสอนแบบบูรณาการ โดยมีพิพิธภัณฑ์ เป็นสื่อการเรียนการสอน “ในแต่ ล ะกลุ่ ม สาระการเรี ย นรู้ จะมี ก ารบู ร ณาการเข้ า กั บ ศู น ย์ ก ารเรี ย นรู้ พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ เพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ทุกอย่าง อย่างน้อยๆ เด็กที่อยู่ ในโรงเรียนนี้จะได้เรียนรู้กับพิพิธภัณฑ์นี้ เพราะจุดประสงค์ของพิพิธภัณฑ์คือเป็น ห้องเรียนที่มีชีวิต” ปัจจุบัน ศูนย์การเรียนรู้พิพิธภัณฑ์ด่านช้างดูแลโดย ครูอุบล ทรัพย์อินทร์ ซึ่ง เพิม่ ความเข้มข้นมากขึน้ ในการบูรณาการการเรียนการสอนในสาระการเรียนรูก้ บั ศูนย์ การเรียนรู้พิพิธภัณฑ์ ทั้งด้วยบุคลิกส่วนตัวของเธอ และความเอาจริงเอาจัง

ศูนย์การเรียนรู้พิพิธภัณฑ์ด่านช้าง

29


เพาะความรู้ “หลักสูตรต้องปรับ!” เสียงดังฟังชัดทุกถ้อยคำ� บ่งลักษณะอย่างน้อยสองประการ ของ อุบล ทรัพย์อินทร์ หนึ่ง เธอเป็นครูภาษาไทย สอง เธอเป็นมนุษย์นิยมความสมบูรณ์แบบ – เพอร์เฟ็คชั่นนิสต์ “หลักสูตรต้องปรับ เรากำ�ลังปรับหลักสูตร แต่เดิมนั้นหลักสูตรของเราคือการ ให้เด็กทุกชั้น ทุกสาระการเรียนรู้ต้องเข้ามาที่ศูนย์ฯ ซึ่งมันเยอะไป ทำ�ให้เกิดขึ้น จริงได้ยาก ก็เลยมีการปรับหลักสูตรเพื่อให้เด็กได้เข้ามาเรียนรู้พิพิธภัณฑ์ แต่เราจะ ให้สาระการเรียนรู้สาระฯ ใดสาระฯ หนึ่งเป็นเจ้าภาพ เช่น ป.1 ให้สาระภาษาไทย เป็นเจ้าภาพ ป.2 คณิตศาสตร์ ป.3 อังกฤษ ป.4 สุขศึกษา ป.5 ภาษาไทยและสังคม ป.6 ประวัติศาสตร์และเทคโนฯ การงาน ก็จะครบทุกสาระ เด็กได้เข้าทุกชั้นปีแน่ถ้า เดินตามหลักสูตรนี้” 30

เพราะรัก...เพาะรู้


สิ่งที่ครูอุบลกล่าว หมายความว่าในทุกสาระวิชาที่กล่าวมา จะต้องเชื่อมโยงกับ เนื้อหาสาระที่ปรากฏในศูนย์การเรียนรู้พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ ถามว่า แล้ววิชาอย่างคณิตศาสตร์สามารถเชื่อมโยงกับความรู้ในพิพิธภัณฑ์ อย่างไร “คณิตศาสตร์” แน่นอน ครูอุบลตอบด้วยเสียงดังฟังชัดเช่นเดิม “เราจะพูดเรื่อง ของทิศ เราจะเอาโม่หินที่เรามีอยู่ในศูนย์การเรียนรู้ฯ มาวางไว้ เราต้องการให้เด็กรู้ ว่าทิศทั้ง 8 มีอะไรบ้างโดยผ่านสื่อการสอนอย่างโม่หิน ซึ่งเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่เขาจะได้ เรียนรู้ว่าคนสมัยก่อนเขาใช้ทำ�อะไร” สิ่งที่ครูอุบลพยายามทำ�ให้เกิดขึ้นอยู่นี้คือการประยุกต์เอาวัตถุสะสมที่มีอยู่ใน ศูนย์การเรียนรูพ้ พิ ธิ ภัณฑ์ดา่ นช้าง ปรับให้สอดคล้องเข้ากับหลักสูตรการเรียนการสอน “ถูกค่ะ” ครูอุบลตอบทันที และเสียงดังชัดเจน “ต้องสอดคล้องกับหลักสูตร ถ้าสิง่ ของเหล่านีไ้ ม่เข้าไปในหลักสูตร...มันไม่ได้ ต้อง เรียนเข้าไปในเนือ้ หาหลักสูตร เช่น วิชาประวัตศิ าสตร์นกี่ ต็ รงกับสิง่ ทีอ่ ยูใ่ นพิพธิ ภัณฑ์ อยูแ่ ล้ว...ไม่ยาก ภาษาไทยก็ตรงกับพิพธิ ภัณฑ์...ไม่ยาก อังกฤษก็เล่นกับคำ�ศัพท์ ของ ชิ้นไหนที่เด็กชอบเด็กอยากรู้ว่าในภาษาอังกฤษเรียกว่าอะไร แล้วก็ทำ�เป็นสมุดศัพท์ อย่างวิชาสุขศึกษาเราก็วางโครงกระดูกของชาติพนั ธุเ์ ป็นอนาโตมี เพือ่ เชือ่ มโยงกับการ เรียนรู้ความเป็นอยู่ของชนชาติพันธุ์ที่มีอยู่ในชุมชน นี่คือตัวอย่างของการเชื่อมโยง สาระการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับองค์ความรู้ที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์” ครูอุบลอธิบาย ฉะฉาน

ครูอุบลโมเดล สำ�หรับครูอุบล การเรียนรู้ต้องให้ผู้เรียนรู้สามารถสัมผัสจับต้อง เพราะความรู้ ไม่ควรอยู่บนหิ้ง “ถ้าศูนย์การเรียนรูใ้ นพิพธิ ภัณฑ์จดั โชว์ของไว้เฉยๆ เด็กรูแ้ ค่นนั้ ไม่เกิดประโยชน์ หลักการคือเราต้องเชื่อมโยงวัตถุให้สอดคล้องกับหลักสูตรการเรียน พิพิธภัณฑ์ต้อง ทำ�หน้าทีป่ ลุกคนให้เฝ้าระวังทางวัฒนธรรม เด็กต้องรักและตระหนัก กล้าทีจ่ ะจับ หิน ชิ้นนี้คือขวานหินมันเกิดจากกระบวนการอย่างไร เด็กต้องจับได้ ไห 4 หูเริ่มใช้กันมา ตั้งแต่สมัยใด เด็กต้องได้จับต้องและรู้ว่าอยู่สมัยไหน ใช้ทำ�อะไร แล้วเราต้องปลูกฝัง

ศูนย์การเรียนรู้พิพิธภัณฑ์ด่านช้าง

31


ถ้าศูนย์การเรียนรู้ในพิพิธภัณฑ์จัดโชว์ของไว้เฉยๆ เด็กรู้แค่นั้น มัน ไม่เกิดประโยชน์ หลักการคือเราต้องเชื่อมโยงวัตถุให้สอดคล้องกับ หลักสูตรการเรียน พิพิธภัณฑ์ต้องทำ�หน้าที่ปลุกคนให้เฝ้าระวังทาง วัฒนธรรม เด็กต้องรัก ตระหนัก และกล้าที่จะจับ

เรื่องการเฝ้าระวังทางวัฒนธรรมด้วย” จากการเฝ้าสังเกตนักเรียน ครูอุบลพบว่า ท่าทีการพูดคุยกันระหว่างครูกับ นักเรียนย่อมมีชอ่ งว่างมากกว่านักเรียนด้วยกันเอง เธอจึงเลือกใช้การสร้างเครือข่าย ในหมู่นักเรียนเพื่อการส่งต่อและถ่ายทอดความรู้ “ภาษาที่เราถ่ายทอดจะเป็นภาษาผู้ใหญ่ ซึ่งมีกำ�แพงกั้นอยู่ แต่ถ้าเด็กเขาคุย กันเอง เขาจะมีความลึกซึ้ง เวลาครูฟังพวกเขาคุยกันครูสังเกตว่า มันจะมีความ ลึกซึ้งกว่ามาก ประกอบกับจำ�นวนเด็กมี 200 คน เด็กที่นี่มีเยอะ แต่ครูมีน้อย ก็เป็นการยากทีจ่ ะไปลากไปดึงกันมา เราทำ�ให้เด็กเขารูส้ กึ ว่าเขามีหน้าที่ แล้วทำ�ให้เขา ตระหนักถึงหน้าที่ ให้เขาไปหาเครือข่ายในโรงเรียน 5 คน เพื่อที่จะถ่ายทอดความรู้ ให้กนั ภายในเครือข่าย ครูไม่ได้คาดหวังว่าต้องสำ�เร็จภายในวันเดียวหรือภายในเดือน เดียว ครูปล่อยให้ซมึ ซับทัง้ ปีนะ ให้เขาค่อยๆ เรียนรู้ ปล่อยให้เด็กสอนกัน ดึงกันเข้าหา ความรู้ แล้วปลายเทอมเราก็ให้คะแนน” ถามครูอบุ ลว่าคำ�ว่าบูรณาการ และการเน้นผูเ้ รียนเป็นศูนย์กลาง (Child Center) จะเชื่อมโยงกับพิพิธภัณฑ์ได้อย่างไร คำ�ตอบที่เราได้รับเป็นคำ�ตอบที่เฉพาะตัวอย่าง ยิ่ง สะท้อนความเป็นตัวตนของครูอุบลอย่างยิ่ง และแน่นอน เสียงของครูอุบลชัดถ้อยชัดคำ�อย่างยิ่ง “เอาคำ�ว่าบูรณาการก่อน ตามความเข้าใจของครูนะ หรือจะลองแลกเปลี่ยน กันก็ได้ คำ�ว่าบูรณาการของครูก็คือการหลอมรวม ตัวกลางในการรวมหลอมในที่นี้ ก็คือพิพิธภัณฑ์ แล้วเราจะบูรณาการกับอะไร เราต้องรู้ เช่น เราจะบูรณาการกับทุก สาระการเรียนรู้หรือทุกสายชั้น นี่คือการดึงเข้ามายังพิพิธภัณฑ์ โดยมีพิพิธภัณฑ์เป็น ตัวหลัก ถามว่าเป็นตัวหลักยังไง เราก็ต้องรู้ว่าพิพิธภัณฑ์มีอะไรบ้าง มีความเป็นมา ตรงไหน ตรงนีค้ อื เนือ้ หาหลัก แต่เนือ้ หารองทีใ่ ห้บรู ณาการเสริม เช่น วิชาคณิตศาสตร์ รูเ้ รือ่ งทิศ สุขศึกษารูเ้ รือ่ งอนาโตมีของโครงกระดูกทีค่ น้ พบในด่านช้าง รูเ้ รือ่ งความเป็นอยู่ 32

เพราะรัก...เพาะรู้


ศูนย์การเรียนรู้พิพิธภัณฑ์ด่านช้าง

33


ครูพพิ ธิ ภัณฑ์ไม่ยากลำ�บากอะไร ลำ�ดับแรกเราต้องรักก่อน ต่อให้คณ ุ จบด้านนีม้ าแต่คณ ุ ไม่รกั พิพธิ ภัณฑ์กต็ าย ถ้าเป็นคนทีร่ กั จะพยายามคิด หากิจกรรมต่างๆ ดึงเด็กเข้ามา ดึงเพือ่ นครูเข้ามาให้เกิดการสนับสนุน แต่ต้องไม่ลืมว่าเราต้องทำ�งานท่ามกลางความขาดแคลนไปก่อน

34

เพราะรัก...เพาะรู้


ของคนในอดีต วิชาภาษาไทยเรียนรู้เกี่ยวกับการขับเสภาเล่าเรื่องราวประวัติศาสตร์ ส่วนวิชาประวัติศาสตร์นี่ตรงอยู่แล้ว เราต้องรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น สังคมวิถีพุทธ ดึงเข้ามา อย่างนี้จึงเรียกว่าบูรณาการ” สำ�หรับการเน้นเด็กเป็นศูนย์กลางในทัศนะของครูอุบลนั้น ยิ่งน่ารับฟัง “ถ้าพูดว่าศูนย์กลาง Child Center มาจากอังกฤษ แต่ขอโทษเถอะค่ะ ตอนนีเ้ ขา เลิกแล้วนะ จริงๆ แล้วหัวใจของการเรียนรูใ้ ห้ประสบความสำ�เร็จ ครูจะต้องเป็นตัวเอก! แต่จะเป็นอย่างไร เป็นแบบผู้กำ�กับให้เขาทำ�กิจกรรมด้วยตัวเอง ตามความเข้าใจ ของครูน่ะนะ การเน้นเด็กเป็นศูนย์กลางคือให้เด็กได้เรียนรู้ด้วยตัวเอง อย่างทฤษฎี ‘CIPPA Model’ ทีค่ รูเอานำ�ร่องในวิชาภาษาไทย ขัน้ แรกเด็กต้องเรียนรูด้ ว้ ยตัวเองก่อน เขาจึงจะอยากศึกษา ได้จบั ได้ตอ้ งได้สมั ผัส ชิน้ นัน้ ชิน้ นี้ เราต้องกล้าปล่อยให้เขาจับเลย “แต่ถ้าเรื่องไหนที่เป็นนามธรรมจับต้องไม่ได้เราต้องสร้างเป็นหนังสือ แล้ว หนังสือธรรมดาเด็กไม่สนใจ เราก็เล่นหนังสือป๊อปอัพ สร้างเครือ่ งมือเป็นสือ่ การสอน ทีน่ เี่ ล่นสือ่ ป๊อปอัพ แต่ถา้ เรามีอยูแ่ ล้ว เช่น ขวานหิน มีหม้อ มีไห ให้เด็กได้เรียนรูด้ ว้ ย ตัวเอง พอเด็กได้เรียนได้รู้ได้จับต้องด้วยตัวเอง เราต้องมีสื่อเป็นหนังสือเป็นเอกสาร ประกอบสอนเขา หรือครูเป็นผู้ถ่ายทอด นี่คือการเรียนรู้ด้วยตัวเองในทฤษฎีซิปป้า โมเดล มันก็คือการเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางนี่เอง” นอกจากนี้ ครูอบุ ลยังเน้นย้�ำ ว่า ผลลัพธ์ปลายทางของการเรียนรูต้ อ้ งเกิดให้เห็น ได้อย่างเป็นรูปธรรม “เด็กจะผ่านกระบวนการเรียนรู้ได้ เด็กก็ต้องแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เขาต้องพูดคุย กันเองแลกเปลี่ยนกันเอง ซึ่งความรู้ที่เขาแลกเปลี่ยนต้องเป็นความรู้ที่มีคุณภาพ นะคะ ซึ่งเกิดจากการจัดให้โดยครู ให้เด็กได้เรียน แล้วเราก็จับหลอมกันเลย เอาสอง กิจกรรมมารวมกัน ให้เด็กแลกเปลีย่ นเรียนรู้ และถ้าให้เด็กนัง่ นิง่ ๆ เด็กก็จะเบือ่ ใช่มยั้ เราต้องปล่อยให้เด็กได้เคลื่อนที่ไปจุดนั้นจุดนี้ เราเอาเกมเข้ามา เอามาหลอมรวม ซิปป้า โมเดลเชือ่ ว่า เด็กจะเรียนรูไ้ ด้ดตี อ้ งผ่านกระบวนการทีห่ ลากหลาย กระบวนการ แก้ปัญหา ครูต้องตั้งโจทย์ขึ้นมา เพื่อให้เด็กแก้ปัญหา “เช่นครูบอกว่า เธอเรียนรู้เรื่องตำ�นานด่านช้างแล้ว เธอรู้ทฤษฎีของกลอนแปด แล้ว ลองเล่าเรือ่ งราวตำ�นานด่านช้างโดยหาวิธนี �ำ เสนอหน้าห้องสิ เธอจะนำ�เสนอยังไง ให้เขาจับคูก่ นั คิดเพือ่ นำ�เสนอผลงานเป็นคู่ ทฤษฎีนคี้ อื การแก้ปญ ั หา และสุดท้ายต้อง ประยุกต์ เราจะรูไ้ ด้ไงว่าเด็กประสบผลสำ�เร็จหรือไม่ประสบผลสำ�เร็จ ก็ตอ้ งให้เด็กสร้าง ชิน้ งาน เขาจะสร้างเป็นหนังสือเล่มเล็ก สร้างเป็นสือ่ ป๊อปอัพ หรือสร้างใบความรู้ แต่เด็ก

ศูนย์การเรียนรู้พิพิธภัณฑ์ด่านช้าง

35


จะทำ�ได้ครูกต็ อ้ งมีสอื่ ต้นแบบเป็นตัวอย่าง นีส่ �ำ คัญนะคะ เราจะมาบอกเด็กอย่างนัน้ อย่างนี้แล้วไปทำ�มา มันไม่ได้ เราต้องมีสื่อตัวอย่าง แล้วเขาก็ไปค้นของเขาเอง ก็จะ ได้เป็นสื่อใหม่จากเด็ก นี่คือการเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางตามที่ครูเข้าใจนะ ครูดึง ซิปป้า โมเดล เข้ามาสร้างการเรียนการสอน” ครูอุบลแจกแจง

36

เพราะรัก...เพาะรู้


เพราะความรัก ครูอุบลเป็นคนกรุงเทพฯ โดยกำ�เนิด เธอจบเอกวิชาภาษาไทย จบโทวิชา นาฏศิลป์ และพ่วงด้วย คศ.3 จึงทำ�ให้ครูอุบลสามารถสร้างสื่อการสอนอย่างหนังสือ ป๊อปอัพ ที่ดึงดูดนักเรียนให้เข้าถึงเนื้อหาด้วยงานศิลปะ นอกจากนี้ครูอุบลยังสนใจ ประวัติศาสตร์ ทำ�ให้เธอสวมบทบาทนักประวัติศาสตร์ เป็นนักรื้อค้นข้อมูลถึงขนาด เขียนหนังสือประวัติศาสตร์ชุมชนของอำ�เภอด่านช้าง และด้วยความสามารถด้าน นาฏศิลป์ ครูอุบลจึงอาสาทำ�ละครให้ทางโรงเรียนและทางอำ�เภอ ก่อนที่ครูอุบลจะมาดูแลศูนย์การเรียนรู้พิพิธภัณฑ์ด่านช้าง เธอเป็นครูสอน วิชาภาษาไทย ดูแลนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และดูแลการแสดงละครเวทีของ นักเรียน เธอมองเห็นว่าศูนย์การเรียนรู้พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เริ่มหยุดนิ่ง และดูคล้ายว่า จะเป็นพิพธิ ภัณฑ์ทไี่ ม่มชี วี ติ ครูอบุ ลจึงขออาสาผูอ้ �ำ นวยการโรงเรียน เข้ามาดูแลศูนย์ การเรียนรู้พิพิธภัณฑ์ด่านช้าง “ก่ อ นหน้ า นี้ พิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ ก็ ดู เ หมื อ นเงี ย บไปเลย ครู จึ ง ขอเข้ า มาดู แ ล ขอ ผูอ้ �ำ นวยการด้วยตัวเองเลย ตอนแรกครูดแู ลเรือ่ งการแสดงของโรงเรียน แต่ไม่จบั การ แสดงแล้วเพราะมีครูรนุ่ น้องทีท่ �ำ ได้ สำ�หรับงานพิพธิ ภัณฑ์ถา้ ไม่รกั ครูไม่ท�ำ เพราะเรา ทำ�งานท่ามกลางความขาดแคลน ดูสิว่าตัวอาคารกว่าเราจะขอได้ หลังคาก็รั่ว แล้วก็ ร้อนกว่าทุกตึก แต่เราอดทน พออยู่ๆ ไปเด็กที่เข้ามาเรียนเขาเห็นสื่อการสอนเขาก็ ตื่นเต้น ครูก็เลยยึดเอาพิพิธภัณฑ์เป็นที่สอน “แล้วครูปวารณาตนเข้ามาด้วยเหตุผลอะไร ครูชอบทำ�ด้านนี้ ครูชอบสืบค้น เรื่องภูมิปัญญา ครูเดินทางเข้าไปยังหมู่บ้านกะเหรี่ยง หมู่บ้านละว้า ครูเป็นคนชอบ เข้าไปสืบค้นเพื่อหาคำ�ตอบ เช่น ครูอยากรู้ว่าตอนนี้ลาวครั่งอยู่ทไี่ หนบ้างในด่านช้าง ละว้าอยู่ที่ไหน กะเหรี่ยงอยู่ที่ไหน ครูเข้าไปในพื้นที่แล้วกลับมาแต่งหนังสือทีละเล่ม สองเล่ม จนกระทัง่ เขตการศึกษารู้ ก็ดงึ ครูเข้าไปทำ�หนังสือท่องแดนด่านช้าง เกีย่ วกับ ภูมปิ ญ ั ญาท้องถิน่ ของอำ�เภอด่านช้าง แล้วครูกไ็ ด้ไอเดียว่าจะทำ�ยังไงให้เด็กสามารถ จับต้องความรู้ได้ ครูก็เอา ซิปป้า โมเดล มาใช้อย่างที่เล่าให้ฟังไปแล้วเสียยืดยาว สิง่ ทีท่ �ำ มานีค้ รูอยากจะบอกเพือ่ นครูดว้ ยกันว่ามันสามารถทำ�ให้เป็นจริงได้ พิพธิ ภัณฑ์ จะไม่ตาย ความรู้จะไหลเวียน และเด็กจะมีทักษะในการสื่อสาร” ถามว่าพิพิธภัณฑ์ที่ดีในทัศนะของครูอุบลเป็นอย่างไร

ศูนย์การเรียนรู้พิพิธภัณฑ์ด่านช้าง

37


“ต้องเป็นพิพิธภัณฑ์ที่ไม่ตาย ต้องให้เด็กจับต้องได้ ต้องมีอย่างอื่นเข้ามาเชื่อม โยง ไม่ใช่ว่ามีแต่ของมาตั้งโชว์ ต้องมีกิจกรรมอื่น พิพิธภัณฑ์ต้องทำ�ให้คนพื้นถิ่นรู้สึก ว่าเราต้องช่วยกันเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม ตามความรู้สึกของครูนะ แล้วผู้ทำ�งานใน พิพธิ ภัณฑ์ตอ้ งอุทศิ ค่ะ ต้องพร้อมค่ะ เช่น เราต้องสามารถเขียนแผนการสอน ครูอา่ น งานวิจยั มาหลายร้อยเล่ม เพราะครูชอบศึกษา รวมถึงทฤษฎีการสอนต่างๆ ปีนคี้ รูตงั้ ความหวังว่าครูจะบูรณาการทุกสาระการเรียนรูแ้ ละทุกสายชัน้ ครูจะเอานักเรียน ป.5 นำ�ร่องเป็นมัคคุเทศก์ ต้องรูแ้ ละสามารถเล่าเรือ่ งในพิพธิ ภัณฑ์ได้ แล้วไปหาน้องมา 5 คน ทำ�เป็นเครือข่าย ครูเรียกว่าเครือข่ายเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม มาสอนมาเรียนมา รู้กัน ครูคิดว่าถ้าทำ�ได้อย่างนี้พิพิธภัณฑ์จะไม่ตาย อย่างน้อยๆ เด็กอนุบาลด่านช้าง จะรู้เรื่องราวความเป็นมาของชาติพันธุ์ตนเอง” หากถามครูอุบลว่า อะไรคือความยากและท้าทายในการเป็นครูที่พยายาม ทำ�งานสอนให้สอดคล้องกับงานพิพิธภัณฑ์ ครูอุบลจะไม่ยอมเสียความเชื่อมั่นของ ตนลงด้วยการลดระดับเสียงในการตอบคำ�ถามเลย “คนที่เป็นครูพิพิธภัณฑ์มันไม่ยากลำ�บากอะไรนะ ลำ�ดับแรกเราต้องรักก่อน ไม่ ว่าคุณจะเป็นครูสาระการเรียนรู้อะไรก็แล้วแต่...คุณต้องรัก ต่อให้คุณจบด้านนี้มาแต่ คุณไม่รัก...จบเลย พิพิธภัณฑ์ตายเลย ถ้าเป็นคนที่รัก จะพยายามคิด คิดหากิจกรรม ต่างๆ ดึงเด็กเข้ามาดึงเพื่อนครูเข้ามาให้เกิดการสนับสนุน แต่ต้องไม่ลืมว่าเราต้อง ทำ�งานท่ามกลางความขาดแคลนไปก่อนนะ อย่าไปหวังว่าเราจะมีสถานที่ดีๆ มี งบประมาณสนับสนุน ครูมาแบบไม่มีอะไรเลย ถ้าประสบความสำ�เร็จจะสุขที่สุด เรา ทำ�ก่อน ทำ�ให้คนเห็นว่าเราตั้งใจนะ แล้วถ้ามันเป็นไปได้ มันมีคุณค่า เขาจะเข้ามา หาเราเอง วันต่อไปจะมีคนเข้ามายื่นข้อเสนอแนะเราเอง แค่คำ�เสนอแนะนี่ถือว่าเขา สนใจเราแล้วนะ แล้วตอนหลังก็จะเริ่มบริจาคนะ นั่นคือสิ่งที่มีค่า” ทฤษฎีที่ว่าการจัดทำ�พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นให้ดีนั้น จำ�ต้องอาศัยคนในท้องถิ่นนั้น เป็นผู้ดูแล อาจจะไม่จริงเสมอไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีของครูอุบล ทรัพย์อินทร์ เพราะเธอย้ำ�อยู่เสมอ “เราทำ�ได้เพราะเรารัก”

38

เพราะรัก...เพาะรู้




ชวนเด็กเดินออกนอกห้องเรียน

องค์การพิพธิ ภัณฑ์วทิ ยาศาสตร์แห่งชาติ



ถ้าผมมีพลังมากพอ ผมอยากทำ�พิพธิ ภัณฑ์ตม้ ยำ�กุง้ เหมือนที่ญี่ปุ่นทำ�พิพิธภัณฑ์ราเมน แล้วประกาศ ให้คนรู้ไปเลยว่าต้มยำ�กุ้งจริงๆ เป็นอย่างไร คำ�ว่า อร่อยเป็นอย่างไร อร่อยแบบภาคกลาง ภาคอีสาน ภาคใต้เป็นอย่างไร เพราะตอนนี้ต้มยำ�กุ้งของเรา ถูกดัดแปลงไปหมด ที่เมืองนอกคนทำ�ต้มยำ�กุ้ง ก็ไม่ใช่คนไทย ใส่อะไรบ้างก็ไม่รู้ ซึ่งไม่ใช่ต้มยำ�กุ้ง แบบบ้านเรา ทั้งที่อาหารไทยมีเอกลักษณ์โดดเด่น สิง่ ต่างๆ เหล่านีผ้ มเชือ่ ว่าคนต่างชาติจะต้องสนใจ พอมาดูมาชิมจะได้รู้ว่าความอร่อยแบบต้มยำ�กุ้ง เป็นอย่างไร สาคร ชนะไพฑูรย์ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ


กว่า 15 ปีมาแล้วที่พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์เปิดให้บริการแก่ประชาชนอย่างเป็น

ทางการ นับจากวันที่ 8 มิถุนายน 2543 ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้จัดตั้งแหล่งเรียน รู้แห่งนี้ขึ้น โดยมีองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) สังกัดกระทรวง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รับผิดชอบดูแล ด้วยงบประมาณโครงการ 650 ล้านบาท ภาครัฐมุ่งหมายว่าพิพิธภัณฑ์แห่งนี้จะ ทำ�หน้าที่เป็นศูนย์ความเป็นเลิศด้านการพัฒนา การบริหารจัดการ การใช้ประโยชน์ ของแหล่งเรียนรู้ และการสร้างความตระหนักด้านวิทยาศาสตร์ให้กับประชาชนโดย ทั่วไป บนเนื้อที่ 180 ไร่ บริเวณเทคโนธานี ตำ�บลคลอง 5 อำ�เภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ประกอบด้วยพิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้ต่างๆ ได้แก่ พิพิธภัณฑ์ วิทยาศาสตร์ พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศ และ อยู่ในระหว่างการดำ�เนินโครงการพิพิธภัณฑ์พระรามเก้า โครงการศูนย์การเรียนรู้ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินนี าถ และโครงการศูนย์การเรียนรู้ การจัดการภัยพิบัติ นอกเหนือจากพิพิธภัณฑ์ถาวรต่างๆ ที่ได้จัดสร้างขึ้นแล้ว อพวช. ยังมีการจัด แสดงนิทรรศการเคลื่อนที่ไปสู่ทุกภูมิภาค ภายใต้พันธกิจของการสั่งสมภูมิปัญญา ถ่ายทอดสารสาระ และพัฒนาการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เมื่อความรู้กับความบันเทิงสามารถเดินคู่ขนานกันได้ สิ่งที่องค์การพิพิธภัณฑ์ วิทยาศาสตร์แห่งชาติพยายามส่งมอบให้กับประชาชนคือ การเป็นแหล่งการเรียนรู้ ตลอดชีวติ (Life-long Learning) แหล่งสาระบันเทิง (Edutainment) แหล่งพัฒนาวิชาชีพ (Career Development) และแหล่งท่องเที่ยวอย่างมีสาระ (Edu-tourism Attraction) สาคร ชนะไพฑูรย์ รองผู้อำ�นวยการ อพวช. พาย้อนกลับไปทบทวนเส้นทาง การปลุกปั้นพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ให้ประสบความสำ�เร็จในห้วงเวลาที่ผ่านมา นับ 44

ชวนเด็กเดินออกนอกห้องเรียน


ตั้งแต่วันที่เริ่มก่อร่างสร้างพิพิธภัณฑ์จนกระทั่งลงหลักปักฐานในฐานะที่เป็นแหล่ง เรียนรู้ที่สำ�คัญของคนไทย นอกจากนี้ เขายังมองไปถึงทิศทางในอนาคตข้างหน้า ขององค์การพิพธิ ภัณฑ์วทิ ยาศาสตร์แห่งชาติทต่ี อ้ งมีการปรับตัวให้สอดคล้องกับยุคสมัย เพื่อกระตุ้นให้สังคมไทยเห็นความสำ�คัญของวิทยาศาสตร์ที่มีต่อการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะการปลูกฝังให้เยาวชนมีทัศนคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ

45


แหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียน ยุคแรกเริ่มของการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ ได้มีการออกแบบเนื้อหาการ จัดแสดงนิทรรศการและกิจกรรมต่างๆ ให้สอดรับกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขัน้ พื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ เพื่อเสริมทักษะและประสบการณ์ให้แก่เด็กนักเรียน สาครกล่าวถึงแนวทางการจัดโปรแกรมการเรียนรู้ในพิพิธภัณฑ์ว่า ในช่วงแรก นั้นจะยึดโยงกับหลักสูตรของเด็กนักเรียนในแต่ละช่วงชั้นว่าเรียนเกี่ยวกับเรื่องใด บ้าง จากนั้นจึงนำ�เนื้อหามาปรับใช้ให้เข้ากับพื้นที่ของพิพิธภัณฑ์ในลักษณะของ นิทรรศการถาวร รวมถึงสร้างกิจกรรมรูปแบบต่างๆ เพือ่ ตอบโจทย์ทตี่ รงกับการเรียนรู้ ในห้องเรียนของเด็ก ตั้งแต่ระดับประถมศึกษาจนถึงชั้นมัธยมศึกษา ยกเว้นระดับ มหาวิทยาลัย “การออกแบบเนือ้ หาของเราจะมีอยู่ 2 ลักษณะคือนิทรรศการกับกิจกรรม ซึง่ เรา สามารถทำ�เรือ่ งวิทยาศาสตร์ยากๆ ให้เป็นเรือ่ งทีส่ นุกขึน้ ได้ เช่น จัดค่ายวิทยาศาสตร์ ค่ายการบิน นักสืบธรรมชาติ เป็นการสร้างความเข้าใจในวิทยาศาสตร์ที่มีอยู่ใน ธรรมชาติ” รองผู้อำ�นวยการ อพวช. เล่า อีกส่วนหนึง่ อพวช. ยังมีการจัดกิจกรรมการแข่งขันทางวิทยาศาสตร์ทสี่ อดคล้อง กับวิชาที่เด็กเรียน โดยนำ�เนื้อหาในห้องเรียนมาตีความใหม่และนำ�มาสู่ภาคการ ทดลองหรือปฏิบัติจริง เช่น จรวดขวดน้ำ� ทำ�ให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องกฎของแรงต่างๆ ทัง้ แรงยกตัว แรงลอยตัว แรงเฉือ่ ย แรงเสียดทาน การคำ�นวณน้�ำ หนักและทิศทาง ซึง่ ในแต่ละกิจกรรมการแข่งขันอาจมีการแยกย่อยออกเป็นช่วงชั้นตามระดับความยาก ง่ายของเนือ้ หา ไม่วา่ จะเป็นโครงการวาดภาพวิทยาศาสตร์ ตอบคำ�ถามวิทยาศาสตร์ แก้ปัญหาวิทยาศาสตร์ หรือจัดประกวด ‘Science Show’ โดย อพวช. เป็นผู้กำ�หนด โจทย์ กำ�หนดหัวข้อ เช่น เสียง ดนตรี ความร้อน การเกิดไฟ แล้วให้เด็กกลับไปคิด กิจกรรมขึ้นเอง นอกจากนี้ อพวช. ได้รว่ มมือกับสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรม ราชูปถัมภ์ จัดประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ระดับเยาวชนในกลุ่มประเทศอาเซียน ครั้งที่ 1 เมื่อเดือนกรกฎาคม 2558 ถือเป็นครั้งแรกที่ไทยได้มีโอกาสเป็นเจ้าภาพ จัดการแข่งขันโครงงานวิทยาศาสตร์ระดับนานาชาติ กิจกรรมนี้จัดขึ้นเพื่อรองรับการ เปลี่ยนผ่านสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เป็นเวทีแสดงความสามารถของเด็กไทยสู่ สายตาประเทศเพือ่ นบ้าน และเพือ่ เป็นการขับเคลือ่ นประเทศเข้าสูส่ งั คมวิทยาศาสตร์ 46

ชวนเด็กเดินออกนอกห้องเรียน


เราต้องการสร้างวัฒนธรรมทาง วิทยาศาสตร์ให้กับเด็ก การตั้ง ข้อสังเกต พิสูจน์ ค้นหาคำ�ตอบ เพื่อสร้างกระบวนการคิด ฉะนั้น สาระไม่ใช่เรื่องใหญ่ เรามีเนื้อหา มากพอ เพราะหลักสูตรของแต่ละ โรงเรียนก็เน้นอยูแ่ ล้ว เราจึงเน้นที่ กระบวนการคิดแบบวิทยาศาสตร์ มากกว่า องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ

47


การจัดโปรแกรมการเรียนรู้ของ อพวช. นอกจากจะนำ�เสนอความรู้ด้านเนื้อหา สาระแล้ว ยังมุ่งให้เยาวชนเกิดความเข้าใจในกระบวนการทางวิทยาศาสตร์อีกด้วย “เราต้ อ งการสร้ า งวั ฒ นธรรมทางวิ ท ยาศาสตร์ ใ ห้ กั บ เด็ ก วั ฒ นธรรมทาง วิ ท ยาศาสตร์ คื อ อะไร ก็ คื อ การตั้ ง ข้ อ สั ง เกต พิ สู จ น์ ค้ น หาคำ � ตอบ เพื่ อ สร้ า ง กระบวนการคิด ฉะนัน้ สาระไม่ใช่เรือ่ งใหญ่ เรามีเนือ้ หามากพอ เพราะหลักสูตรของ แต่ละโรงเรียนก็เน้นอยู่แล้ว เราจึงเน้นที่กระบวนการคิดแบบวิทยาศาสตร์มากกว่า” รองผูอ้ �ำ นวยการ อพวช. เล่าว่า ในระยะเวลาทีผ่ า่ นมากว่า 15 ปี เห็นพัฒนาการ ของเยาวชนแต่ละยุคสมัยมีแนวโน้มทีด่ ขี นึ้ ทว่านัน่ ไม่ได้หมายความว่าเด็กไทยเก่งขึน้ เพราะในขณะทีเ่ ด็กไทยกำ�ลังอยูใ่ นขัน้ พัฒนา แต่เมือ่ เทียบกับประเทศอืน่ ๆ อย่างเช่น เกาหลี สิงคโปร์ ฟินแลนด์ เยาวชนเหล่านั้นก็พัฒนาขึ้นไปอีกขั้นหนึ่ง “ถ้าเปรียบเทียบกับระยะเวลาเมื่อ 20-30 ปีก่อน ถือว่าเราดีขึ้นกว่าเดิมแน่นอน แต่ถ้าเทียบกับประเทศอื่นทั่วโลกแล้ว เราอาจยังแย่อยู่ก็ได้ ฉะนั้นจึงตอบยากว่า เด็กไทยเราเก่งจริงไหม แต่ผมคิดว่าอย่างน้อยเด็กสมัยนีไ้ ด้เปรียบเด็กสมัยก่อน เพราะ 48

ชวนเด็กเดินออกนอกห้องเรียน


มีแหล่งเรียนรูเ้ ยอะแยะ เพียงแต่ปญ ั หาใหญ่คอื กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ไม่คอ่ ย ถูกนำ�มาใช้ ส่วนมากเด็กจะถูกฝึกให้ทอ่ งจำ� ประเด็นสำ�คัญจึงอยูต่ รงนีม้ ากกว่า แม้แต่ วิชาวิทยาศาสตร์กเ็ น้นให้เด็กท่องจำ� ดูอย่างโรงเรียนกวดวิชาต่างๆ ทีเ่ กิดขึน้ มากมาย มีแต่การเฉลยข้อสอบ เขาไม่จำ�เป็นต้องใช้หลักเหตุและผลในการหาคำ�ตอบ แต่ใช้วิธี จำ�และท่องเอา” หากถามเขาว่ า แหล่ ง เรี ย นรู้ อ ย่ า งพิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ กั บ ธุ ร กิ จ โรงเรี ย นกวดวิ ช าใน ประเทศไทย อะไรเข้มแข็งกว่ากัน สาครตอบได้ทันทีว่า “ยังไงเราก็สู้ไม่ได้” ก่อนจะ ขยายความเพิ่ม “มันสูย้ าก นีผ่ มกล้าพูดเลย เพราะเขาทำ�ให้เด็กสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้ ในขณะ ที่พิพิธภัณฑ์ของเราอาจไม่ได้ช่วยให้เด็กสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้ เพราะเราไม่ได้เอา ข้อสอบมานั่งไล่ดูแต่วิธีที่จะติวให้เด็กสอบผ่าน แค่เอาข้อสอบย้อนหลัง 10 ปีมาให้ดู ก็ได้คำ�ตอบแล้ว เพราะข้อสอบมันก็วนอยู่แค่นั้น”

องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ

49


เด็กที่อยู่ในระบบการแข่งขันที่สูงเกินไปและต้องวัดผล กันที่การทำ�ข้อสอบ ผมไม่เรียกว่าเป็นความตระหนัก ผมไม่เรียกว่าความเข้าใจ ผมเรียกสิ่งที่เกิดขึ้นแค่ว่า ‘รู้’ คือ แค่รู้ข้อสอบเท่านั้นเอง ขณะที่กระบวนการ ของพิพิธภัณฑ์เรามุ่งเน้นความตระหนักในการรับรู้ และความเข้าใจ

50

ชวนเด็กเดินออกนอกห้องเรียน


กระบวนการเรียนรูแ้ บบวิทยาศาสตร์แตกต่างอย่างสิน้ เชิงกับระบบท่องจำ� สาคร ยกตัวอย่างว่า หากเรียนรู้แบบวิทยาศาสตร์จริงๆ บางเนื้อหาอาจต้องใช้เวลากว่า 3 ชั่วโมง เพียงเพื่อจะอธิบายให้ได้ว่าความร้อนคืออะไร เช่น เริ่มจากทดลองเอามือไป อังไฟว่าร้อนแค่ไหน ไฟเกิดขึ้นได้อย่างไร ถ้าออกซิเจน เชื้อเพลิง และอุณหภูมิ ทั้ง 3 ปัจจัยนีร้ วมกันแล้วจะเกิดผลอย่างไร ถ้าขาดตัวใดตัวหนึง่ จะเกิดไฟได้หรือไม่ จากนัน้ จึงค่อยทดลองทำ� แล้วกระบวนการคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผลจึงจะเกิด “กล่าวโดยสรุปก็คอื เด็กทีอ่ ยูใ่ นระบบการแข่งขันทีส่ งู เกินไปและต้องวัดผลกันที่ การทำ�ข้อสอบ ผมไม่เรียกว่าเป็นความตระหนัก ผมไม่เรียกว่าความเข้าใจ ผมเรียกสิง่ ที่เกิดขึ้นแค่ว่า ‘รู้’ คือ แค่รู้ข้อสอบเท่านั้นเอง ขณะที่กระบวนการของพิพิธภัณฑ์เรา มุ่งเน้นความตระหนักในการรับรู้และความเข้าใจ” ความเข้าใจในความหมายของสาครคือ ความสามารถในการอธิบายสิง่ ต่างๆ ที่ เกิดขึ้นได้บนพื้นฐานของความรู้ เช่น อธิบายได้ว่าโลกร้อนเกิดขึ้นจากอะไร เกิดจาก การเผาเชือ้ เพลิงฟอสซิล ทำ�ให้กา๊ ซปกคลุมชัน้ บรรยากาศจนเกิดเป็นภาวะเรือนกระจก สาครบอกว่า เมื่อ ‘รู้’ จึงจะเกิดความเข้าใจและเชื่อมโยงสิ่งต่างๆ ได้ ก่อน ที่ จ ะนำ � ไปสู่ ค วามรู้ อี ก ขั้ น ที่ สู ง ขึ้ น ไปคื อ ‘ความตระหนั ก ’ และในที่ สุ ด จะเกิ ด การเปลี่ ย นแปลงพฤติ ก รรมในทิ ศ ทางที่ ดี ขึ้ น ของตั ว ผู้ เรี ย นเอง คื อ ไม่ เ ผาขยะ ไม่ทำ�ลายสิ่งแวดล้อม “การเรียนรูท้ แี่ ท้จริงต้องไม่หยุดอยูแ่ ค่ ‘รู’้ ไม่หยุดอยูแ่ ค่ ‘ความเข้าใจ’ แต่ตอ้ งไป ให้ถึง ‘ความตระหนัก’ แต่ระบบการศึกษาที่เราเป็นอยู่ทุกวันนี้ยังย่ำ�อยู่ที่องค์ความรู้ พืน้ ฐาน ยังไม่สามารถพัฒนาต่อได้ ซึง่ ถ้าเด็กเกิด ‘ความตระหนัก’ ในเรือ่ งใดเรือ่ งหนึง่ แล้ว จะไปต่อได้อีกหลายเรื่องทีเดียว นี่คือสิ่งที่เราหวังไว้” การสร้างความตระหนักรู้ให้เกิดขึ้นแก่สังคมไทย ไม่ได้ขึ้นอยู่แค่ตัวนักเรียนหรือ ครูผู้สอน หากสาครเชื่อมั่นว่า กระบวนการดังกล่าวต้องทำ�ในทุกมิติ ทุกเพศ ทุกวัย ทุกอาชีพ จึงจะก้าวไปสูส่ งั คมแห่งวิทยาศาสตร์ สังคมแห่งการคิดอย่างเป็นเหตุและผล

องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ

51


พันธสัญญาระหว่างพิพิธภัณฑ์-ครู-โรงเรียน แม้วา่ กลุม่ เป้าหมายของพิพธิ ภัณฑ์วทิ ยาศาสตร์จะเน้นไปทีน่ กั เรียนและเยาวชน เป็นหลัก ขณะเดียวกันครูและบุคลากรทางการศึกษาก็มสี ว่ นสำ�คัญด้วยเช่นกัน เพราะ ครูคอื ผูท้ จี่ ะนำ�พาเด็กเข้ามาสูพ่ พิ ธิ ภัณฑ์ ดังนัน้ กลยุทธ์ทจี่ ะสามารถดึงดูดให้นกั เรียน เข้ามาใช้บริการพิพิธภัณฑ์อย่างต่อเนื่องสม่ำ�เสมอ จึงจำ�เป็นต้องมีการจัดความ สัมพันธ์ที่ดีกับครูและโรงเรียน ภายใต้ข้อตกลงที่ทุกฝ่ายพร้อมจะร่วมมือกัน “เราต้องการมากกว่าคำ�ว่าข้อผูกมัด (commitment) ไม่ใช่วา่ ครูตอ้ งมีภาระผูกมัด กับเราว่าจะพาเด็กมาเท่านั้นเท่านี้ แต่สิ่งที่เราต้องการคือข้อผูกพัน (engagement) หมายความว่า ครูเองก็ควรจะมีข้อตกลงบางอย่างร่วมกันกับเรา หรือมีข้อเสนอแนะ กับเราได้ “ตอนนี้เรายังอยู่ในขั้นเริ่มต้นของคำ�ว่า engagement เราอยากให้ครูมาช่วยเรา ทำ�กิจกรรม มาช่วยเราทำ�นิทรรศการ มาช่วยกันให้ความเห็น เสนอแนะ มีส่วนร่วม เพื่อให้ครูรู้สึกว่าพิพิธภัณฑ์เป็นของเขา เป็นของคนไทยทุกคน ไม่ใช่เป็นพิพิธภัณฑ์ ของกระทรวงวิทย์ฯ ฉะนั้นเขาต้องมีส่วนร่วมในพันธกิจนี้ด้วย” สาครกล่าว ระหว่างคำ�ว่า ‘ข้อผูกมัด’ กับ ‘ข้อผูกพัน’ ฟังดูคล้ายคลึงกัน แต่แตกต่างทาง ความรู้สึกอย่างสิ้นเชิง สาครอธิบายเพิ่มว่า “ข้อผูกพัน แปลง่ายๆ ก็คือการหมั้นหมายกัน หมายความว่าทั้งสองฝ่ายต้อง ยินยอมพร้อมใจกัน ไม่ใช่แค่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ถ้าคุณจะไปสวมแหวนหมั้น อย่างน้อย เขาก็ต้องยื่นมือมาให้คุณ ต่างกับข้อผูกมัด ที่ผมเป็นผู้สั่งฝ่ายเดียว แต่ข้อผูกพันจะมี หลักของการมีส่วนร่วมมากกว่า และเขาก็มีความรู้สึกเป็นเจ้าของด้วย แต่การจะเข้า มามีบทบาทนั้นเขาก็ต้องมีความรู้มาแลกเปลี่ยนกับเราด้วย คือตัวเขาเองต้องรู้ว่า ต้องการอะไร อยากได้อะไร” ณ วันนี้ สิ่งที่ อพวช. พยายามทำ�คือการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมระหว่าง ครู นักเรียน โรงเรียน เพื่อให้พิพิธภัณฑ์เติบโตตามทิศทางที่ทุกฝ่ายเห็นพ้อง จาก เดิมที่พิพิธภัณฑ์ก่อตั้งขึ้นพื่ออุดช่องว่างที่ยังขาดหายไปในระบบการศึกษา แต่นับ จากนี้ไปจะเข้าสู่ยุคของการร่วมคิดร่วมทำ� ทั้งในด้านการออกแบบเนื้อหา การผลิต สื่อนิทรรศการ และการจัดกิจกรรมเสริมต่างๆ แนวทางในการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ให้เติบโตไปพร้อมๆ กับสังคมแห่งการ เรียนรู้ รองผูอ้ �ำ นวยการ อพวช. ระบุวา่ ในยุคปัจจุบนั จำ�เป็นต้องมีการประยุกต์ใช้หลัก 52

ชวนเด็กเดินออกนอกห้องเรียน


เราสร้าง ‘ข้อผูกมัด’ ใหม่ว่า ถ้าครูจะพาไปเที่ยวต้อง ให้เด็กอยู่ท่ีนี่อย่างน้อย 3 ชั่วโมง ทำ�ได้ไหม ไม่ใช่มา 5 นาที 10 นาที แล้วกลับ มันไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย เพราะนักเรียนต้องใช้เวลาอยู่กับเราเพียงพอจึงจะได้ ประโยชน์

องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ

53


การตลาด CRM (Customer Relationship Management) หรือระบบบริหารงานลูกค้า สัมพันธ์ เพื่อกระชับความสัมพันธ์ที่ดีกับครู โดยเชื้อเชิญสถานศึกษาต่างๆ เข้ามา ร่วมเป็นสมาชิก ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการขยายเครือข่ายพันธมิตรให้กว้างขวางยิ่งขึ้น ปัจจุบัน อพวช. ได้มีการประชาสัมพันธ์เชิงรุกไปยังโรงเรียนต่างๆ กว่า 30,000 แห่งทัว่ ประเทศ ในจำ�นวนนีม้ กี ารใช้กลยุทธ์ CRM ประมาณ 10,000 แห่ง ส่วนโรงเรียน ที่มี ‘ข้อผูกมัด’ ร่วมกันจะมีจำ�นวนลดหลั่นลงไป สำ�หรับครูที่เข้ามาร่วมคิดร่วมทำ� มีทั้งอาจารย์ระดับมหาวิทยาลัย ครูหัวหน้า หมวดวิชาวิทยาศาสตร์ จนถึงครูผู้สอนวิชาวิทยาศาสตร์ ซึ่งกระบวนการถัดไปอาจ ต้องมีการจัดเสวนากลุ่มย่อยเพื่อระดมสมอง แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันในเรื่อง ต่างๆ มากขึ้น วิธีการเข้าถึงครูกลุ่มเป้าหมาย อพวช. ใช้เครื่องมือหลักๆ ได้แก่ จัดทำ� ‘Road Show’ เยี่ยมเยือนสถานศึกษา นำ�เสนอกิจกรรมต่างๆ เพื่อเชื้อเชิญให้มาร่วมชม นิทรรศการ จัดอบรมครู สร้างความเข้าใจอันดีต่อพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ และจัด สัมมนาร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ โดยเน้นทีร่ ะดับมหาวิทยาลัย เพือ่ พัฒนาสือ่ การ เรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ “ครูสว่ นมากเห็นด้วยกับการมีพพิ ธิ ภัณฑ์ ปัญหาคือทุกคนเห็นด้วย แต่ยงั ไม่รสู้ กึ เป็นเจ้าของ เหมือนกับถามว่าอยากได้รถเบนซ์ไหม อยาก แต่ไม่ซื้อ ฉะนั้นวิธีการที่ จะทำ�ให้เกิดความต้องการที่แท้จริง เราต้องไปดูกรอบของกฎหมายว่ามีเงื่อนไขอะไร บ้าง การเดินทางลำ�บากไหม ต้นทุนของครูมเี ท่าไหร่ ใครคือผูม้ อี �ำ นาจอนุมตั ทิ แี่ ท้จริง ผู้ปกครองเกี่ยวข้องไหม ถ้าเกิดอุบัติเหตุระหว่างเดินทางครูจะรับผิดชอบไหม ฉะนั้น การจะทำ�ให้เกิด ‘ข้อผูกมัด’ เราต้องช่วยเขาแก้ปัญหาด้วย “เมื่อ 5-6 ปีก่อน ผมเคยทำ�วิจัยว่า เมื่อครูพานักเรียนมาที่นี่แล้วไปไหนกันต่อ ใช้เวลาตรงไหนมากที่สุด อย่างครูภาคอีสานจะนิยมไปบางแสน ครูภาคกลางจะไป ดรีมเวิลด์ นั่นคือประเด็นว่าเราต้องวิจัยไปถึงตรงนั้นจึงจะเกิด ‘ข้อผูกมัด’ จากนั้น เราจึ ง สร้ า ง ‘ข้ อ ผู ก มั ด ’ ใหม่ ว่ า ถ้ า ครู จ ะพาไปเที่ ย วแบบนั้ น ต้ อ งให้ เ ด็ ก อยู่ ที่ นี่ อย่างน้อย 3 ชั่วโมง ทำ�ได้ไหม ไม่ใช่มา 5 นาที 10 นาที แล้วกลับ มันไม่ได้ประโยชน์ อะไรเลย เพราะนักเรียนต้องใช้เวลาอยู่กับเราเพียงพอจึงจะได้ประโยชน์ “เราวิจัยแม้กระทั่งพฤติกรรมของนักเรียนที่มาพิพิธภัณฑ์ โดยพบว่าในจำ�นวน 100 คน มีประมาณ 50 คนที่ไม่ได้สนใจเลย อีก 30 คน ครูให้ใบงานแล้วก็กลับไป ลอกเพื่อนที่โรงเรียน อีก 15 คน ลอกเพื่อนที่นี่ เหลือแค่ 5 คนเท่านั้นที่สนใจจริงๆ 54

ชวนเด็กเดินออกนอกห้องเรียน


ฉะนั้น เราจะทำ�ยังไงให้คน 5 เปอร์เซ็นต์มันใหญ่ขึ้น เราก็ต้องไปสื่อสารกับครูว่าต้อง ให้โจทย์นกั เรียนหน่อย แล้วต้องไม่ใช่ให้โจทย์เดียวเหมือนกันทัง้ โรงเรียน ไม่อย่างนัน้ เด็กก็ไปลอกกันหมด ต้องแบ่งงานกันเป็นกลุม่ เด็กจะได้ชว่ ยกันทำ� สุดท้ายแล้วถ้าครู ทำ�ไม่ได้กโ็ ยนมาให้เราช่วย เราก็ท�ำ เป็นกิจกรรม วอล์คแรลลี พาเด็กไปเรียนรูต้ ามฐาน กิจกรรมต่างๆ ซึ่งก็ได้รับการตอบรับที่ดี” หากสรุปกระบวนการทำ�งานของ อพวช. จะเห็นได้ว่ามีการจัดวางระบบอย่าง เป็นขั้นตอน ระยะแรกเน้นการประชาสัมพันธ์เชิงรุก ถัดมาคือการโรดโชว์และการใช้ กลยุทธ์การบริหารความสัมพันธ์กับครูและโรงเรียน เพื่อนำ�ไปสู่ ‘ข้อผูกมัด’ จากนั้น จึงจะเกิด ‘ข้อผูกพัน’ ตามมา ซึ่งสาครหวังไว้ว่า หากเดินตามขั้นตอนนี้โดยเริ่มจาก นักเรียนกลุ่มเป้าหมายล้านคน สุดท้ายแม้จะเหลือ ‘ข้อผูกพัน’ แค่หลักร้อยคนก็ นับว่าเป็นที่น่าพอใจ เพราะจากประสบการณ์ที่เคยลองผิดลองถูกในอดีตที่ผ่านมา ทำ�ให้เขามั่นใจว่า นี่คือวิธีการที่ควรจะเป็นในอนาคต รองผู้อำ�นวยการ อพวช. บอกอีกว่า การบริหารพิพิธภัณฑ์ให้ราบรื่นต้องเปิด โอกาสให้คนทำ�งานทุกฝ่ายเข้ามาร่วมเป็นทีมเดียวกัน ทัง้ ฝ่ายวิชาการ ฝ่ายภัณฑารักษ์ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ ฝ่ายการตลาด “ตอนนี้เรามองเห็นแล้วว่า ทุกฝ่ายต้องมานั่งคุยกัน จากในอดีตนักการตลาด ก็คือนักขายเท่านั้นเอง ไม่มีส่วนร่วมในการผลิต แต่ต่อไปต้องหาทางปรับเข้าหากัน ผมเชื่อว่างานทุกงานมันจะต้องบูรณาการ คือรวมเอาศาสตร์ต่างๆ เข้าด้วยกัน เพื่อ ให้พิพิธภัณฑ์สมบูรณ์ที่สุด”

มองไปข้างหน้า กว่า 15 ปีกบั จังหวะก้าวเดินขององค์การพิพธิ ภัณฑ์วทิ ยาศาสตร์แห่งชาติ จากการ ผลิตเนือ้ หาเพือ่ ตอบสนองการเรียนรูน้ อกห้องเรียนของเยาวชน สูก่ ารเป็นพิพธิ ภัณฑ์ ในฐานะเป็นแหล่งเรียนรู้ที่ประชาชนทุกคนเป็นเจ้าของ สาครมองว่า ก้าวต่อไปจะ ต้องมีการสร้างสรรค์เนื้อหาเพื่อการมีส่วนร่วมของสังคมมากยิ่งขึ้น “ในอนาคตผมมองว่า ตัวพิพธิ ภัณฑ์เองก็ตอ้ งปรับทิศทางด้วย ทิศทางทีผ่ มมองเห็น และเป็นสิ่งที่ประเทศไทยควรทำ�ก็คือ ภูมิปัญญาไทย ภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งขณะนี้ ก็ได้เริ่มทำ�ไปบ้างแล้ว อย่างเช่นทีจ่ งั หวัดเชียงราย เราทำ�เรือ่ งของเล่นโบราณ ลูกข่าง

องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ

55


56

ชวนเด็กเดินออกนอกห้องเรียน


องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ

57


เครือ่ งบิน ไปดูวา่ คนเฒ่าคนแก่เขาทำ�กันอย่างไร แล้วเราก็มานัง่ คิดต่อว่าสิง่ นัน้ จะนำ� มาสอนให้เป็นวิทยาศาสตร์อย่างไร” ประเด็นการจัดนิทรรศการที่ อพวช. กำ�ลังให้ความสนใจและพยายามขับเคลือ่ น ได้แก่ หนึ่ง ภูมิปัญญาไทยในแนววิทยาศาสตร์ เพื่อแสดงถึงองค์ความรู้ที่เกิดจาก ภูมิปัญญาท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็นของเล่นไทย เครื่องมือจับปลา จนถึงภูมิปัญญาด้าน การแพทย์ เช่น การนวดแผนโบราณ ซึง่ ถือเป็นภูมปิ ญ ั ญาตะวันออกทีค่ นทัว่ โลกกำ�ลัง ให้ความสนใจ สอง สเต็มศึกษา (Science Technology Engineering and Mathematics Education: STEM Education) หรือการเรียนรู้แบบบูรณาการ สาม ปัญหาสิ่งแวดล้อม สภาวะโลกร้อน ทั้งนี้ เพื่อขยายพื้นที่ในการสื่อสารกับ สังคมโดยรวมให้มากขึ้น นอกเหนือจากกลุ่มเด็กนักเรียนที่ อพวช. ได้ดำ�เนินการมา อย่างต่อเนื่อง สำ�หรับกลุ่มผู้เยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ที่มาในลักษณะครอบครัว ทาง อพวช. ได้เตรียมความพร้อมในการรองรับด้านต่างๆ เช่น การจัดกิจกรรมหรือ พื้นที่สำ�หรับเด็กอายุต่ำ�กว่า 9 ขวบ และการนำ�เสนอนิทรรศการอาชีพที่เกี่ยวข้อง กับวิทยาศาสตร์ เพื่อให้เด็กมองเห็นอาชีพที่อยากเป็นในอนาคต ซึ่งขณะนี้อยู่ใน ขั้นเตรียมการ นอกจากนี้ยังจัดให้มีโซน Science Lab เช่น ห้องทดลองทำ�ไอศกรีม โดยให้พ่อแม่ผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วมกับบุตรหลานได้ โดยพยายามออกแบบ กิจกรรมให้ครอบคลุมทุกเพศวัย รวมถึงกลุ่มผู้สูงอายุ ซึ่งจะมีการจัดอบรมเรื่องการ ใช้คอมพิวเตอร์ การใช้อีเมล อินเทอร์เน็ต และการจัดค่ายสำ�หรับผู้พิการทางสายตา เป็นต้น “ที่สำ�คัญ อพวช. จะไม่เลือกปฏิบัติระหว่างเด็กที่มีความสามารถพิเศษด้าน วิทยาศาสตร์กับเด็กที่มีพัฒนาการเรียนรู้ต่ำ�กว่าเกณฑ์ ซึ่งหลักการของ อพวช. คือ การออกแบบพิพธิ ภัณฑ์ให้เด็กทุกคนสามารถเข้าถึงแหล่งเรียนรูไ้ ด้อย่างเท่าเทียมกัน ขอเพียงให้เด็กเกิดกระบวนการคิดและความเข้าใจแบบวิทยาศาสตร์ก็นับว่าประสบ ผลสำ�เร็จแล้ว” สาครกล่าว นอกจากกลุ่มผู้เข้าชมที่เป็นครอบครัวแล้ว ยังมีกลุ่มนักวิชาการ นักการศึกษา ซึ่งทาง อพวช. จะจัดให้มีกิจกรรมเสวนา โดยเลือกหัวข้อที่เกาะเกี่ยวตามกระแสที่ สังคมสนใจในขณะนั้น 58

ชวนเด็กเดินออกนอกห้องเรียน


ในอนาคตอันใกล้นี้ สาครระบุว่า อพวช. เตรียมที่จะพัฒนาพิพิธภัณฑ์เพิ่มขึ้น อีก 2 แห่ง แห่งแรกคือพิพิธภัณฑ์พระราม 9 ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์ด้านสิ่งแวดล้อม ขนาดใหญ่ โดยมีเนื้อที่มากกว่าพิพิธภัณฑ์ทั้งหมดที่มีอยู่เดิม ขณะนี้ได้รับการจัดสรร งบประมาณมาแล้วทั้งสิ้น 1,800 ล้านบาท คาดว่าภายใน 3-4 ปีข้างหน้าจะเริ่มมีการ วางโครงสร้างหลัก ส่วนอีกแห่งหนึง่ คือ พิพธิ ภัณฑ์วา่ ด้วยนวัตกรรมของประเทศหรือสิง่ ประดิษฐ์ทาง วิทยาศาสตร์ของไทย เพราะนวัตกรรมเป็นสิง่ ทีจ่ บั ต้องได้ สามารถใช้ประโยชน์ได้จริง โดยวิธกี ารนำ�เสนอของพิพธิ ภัณฑ์สมัยใหม่จะต้องมีปฏิสมั พันธ์กบั คนมากขึน้ และใช้ เทคโนโลยีเข้าช่วยมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น 3 มิติ 4 มิติ เสมือนจริง หรือแม้กระทั่งการ สร้างเรื่องราวแบบสวนสนุกควบคู่ไปกับแหล่งเรียนรู้ “อพวช. ยังมีแนวคิดอีกว่า อยากทำ�พิพิธภัณฑ์ด้านแรงงาน ผมมองว่าเด็กที่จบ ม.6 ทุกวันนี้เกินกว่าครึ่งใช้เกรดเป็นตัวชี้วัดในการเลือกอาชีพ แต่ไม่ได้มองว่าตัวเอง ชอบอะไร เพราะไม่เคยสัมผัสเลยไม่เข้าใจ เช่น ไม่รู้ว่าวิชาจุลชีววิทยาคืออะไร แต่ บังเอิญสอบได้กเ็ ข้าไปเรียน ซึง่ มันทำ�ให้เสียทรัพยากรมหาศาล เพราะเข้าไปแล้วอาจ จะไม่ชอบก็ได้ เราจึงอยากทำ�พิพิธภัณฑ์แรงงานขึ้นมาเพื่อให้เด็กตัดสินใจได้ว่าจะ เลือกอาชีพอะไร แต่ละอาชีพเขาทำ�งานอะไรบ้าง โดยไม่ต้องวัดกันที่เกรด เพื่อสร้าง แรงบันดาลใจให้เด็ก เพราะสาขาทางวิทยาศาสตร์ที่เกิดขึ้นใหม่ยังมีอีกมาก เพียงแต่ เด็กไม่รู้ก็เลยเลือกไม่เป็น “ยกตัวอย่างบางคนสอบได้วิศวะสิ่งแวดล้อม แต่มีคนบอกว่าอาชีพนี้ต้องไปตัก น้ำ�เสีย ทำ�ไมไม่ไปเลือกวิทยาศาสตร์ด้านอัญมณีล่ะ เพราะมันสวยงาม ซึ่งบางครั้ง เด็กก็ไม่รู้ว่ามันคืออะไร ไม่เข้าใจ หรือบางคนมีคะแนนสอบเข้าคณะแพทย์ได้ แต่พอ เข้าไปแล้วไม่ชอบก็ต้องทนเรียนไป 6 ปี ทำ�ให้เบียดบังพื้นที่คนอื่นที่เขาอยากเรียน เสร็จแล้วจบออกมาประกอบอาชีพอื่น มันก็เสียเปล่า” สาครมองว่า การทำ�พิพิธภัณฑ์ด้านแรงงานวิทยาศาสตร์เป็นประเด็นที่มีความ สำ�คัญทีจ่ ะทำ�ให้เด็กมองเห็นเส้นทางในอนาคตของตัวเองได้ อีกทัง้ ต้องคำ�นึงถึงระบบ เศรษฐกิจของประเทศว่ากำ�ลังมุ่งไปในทิศทางใด ขาดแคลนอาชีพอะไรบ้าง เพื่อให้ เด็กเกิดแรงบันดาลใจ

องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ

59


“อีกเนือ้ หาหนึง่ ทีผ่ มมองว่าน่าสนใจสำ�หรับประเทศไทยคือ เรือ่ งภัยพิบตั ิ จะเห็น ว่าประเทศญีป่ นุ่ เมือ่ เกิดเหตุการณ์สนึ ามิครัง้ ใหญ่ เขาใช้เวลาแค่ 1-2 ปี ก็สามารถฟืน้ ฟู ทุกอย่างได้ เพราะคนของเขาเข้าใจ รูจ้ กั การเข้าคิวด้วยความใจเย็น สุดท้ายจึงเกิดแอพ พลิเคชั่น Line ขึ้นมาเพื่อใช้ในการติดต่อสื่อสาร จนกลายเป็นที่นิยมของคนทั่วโลก “ขณะที่ประเทศไทยเคยมีประสบการณ์ครั้งใหญ่จากเหตุการณ์น้ำ�ท่วมเมื่อปี 2554 แต่รู้ไหมว่าสาเหตุที่ทำ�ให้คนไทยเสียชีวิตมากที่สุดคือถูกไฟฟ้าช็อต ทั้งที่เราก็

60

ชวนเด็กเดินออกนอกห้องเรียน


มีความรู้กันอยู่แล้วว่าไฟฟ้ากับน้�ำ อยู่คู่กันแล้วอันตราย แต่บางทีก็เอาเรือเหล็กพาย เข้าไป บางทีเห็นคนโดนไฟช็อต อีกคนโดดลงไปช่วยเลยตายทั้งคู่ นี่คือความน่ากลัว จากความไม่รู้ ผมเลยมองว่าเราควรต้องมีพพิ ธิ ภัณฑ์ดา้ นภัยพิบตั ิ เพือ่ ให้คนตระหนัก รู้และตั้งรับเป็น” สาครกล่าว รองผู้อำ�นวยการ อพวช. กล่าวด้วยว่า ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่ง ชาติ ฉบับที่ 11 เน้นย้ำ�ให้คนไทยต้องรู้จักการปรับตัว ในเมื่อมนุษย์ยังไม่สามารถแก้ ปัญหาโลกร้อนได้ และภัยพิบัติก็ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ฉะนั้น คนไทยจะปรับตัว ให้อยู่ร่วมกับภัยพิบัติได้อย่างไร เพื่อให้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก

ภูมิปัญญาไทยในมุมวิทยาศาสตร์ ดังทีร่ องผูอ้ �ำ นวยการ อพวช. เกริน่ ไว้กอ่ นหน้านีว้ า่ การทำ�พิพธิ ภัณฑ์ภมู ปิ ญ ั ญาไทย เป็นสิ่งที่ต้องขับเน้นให้โดดเด่นยิ่งขึ้นในฐานะที่เป็นจิตวิญญาณของโลกตะวันออก เพราะบ่งบอกได้ถึงความรุ่งเรืองของอารยธรรมที่สั่งสมมาช้านาน หนึ่ ง ในประเด็ น ที่ ส าครให้ ค วามสนใจและมองว่ า สามารถสร้ า งเรื่ อ งราวที่ น่าประทับใจให้แก่ชาวต่างชาติได้ก็คือ ‘ต้มยำ�กุ้ง’ “ถ้ า ผมมี พ ลั ง มากพอ ผมอยากทำ � พิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ ต้ ม ยำ � กุ้ ง เหมื อ นที่ ญี่ ปุ่ น ทำ � พิพิธภัณฑ์ราเมน แล้วประกาศให้คนรู้ไปเลยว่าต้มยำ�กุ้งจริงๆ เป็นยังไง คำ�ว่าอร่อย เป็นยังไง (หัวเราะ) อร่อยแบบภาคกลาง ภาคอีสาน ภาคใต้เป็นยังไง เพราะตอนนี้ ต้มยำ�กุง้ ของเราถูกดัดแปลงไปหมด ทีเ่ มืองนอกคนทำ�ต้มยำ�กุง้ ก็ไม่ใช่คนไทย ใส่อะไร บ้างก็ไม่รู้ ซึง่ ไม่ใช่ตม้ ยำ�กุง้ แบบบ้านเรา ทัง้ ทีอ่ าหารไทยมีเอกลักษณ์โดดเด่น สิง่ ต่างๆ เหล่านี้ผมเชื่อว่าคนต่างชาติจะต้องสนใจ พอมาดูมาชิมจะได้รู้ว่าความอร่อยแบบ ต้มยำ�กุ้งเป็นยังไง” เหตุผลที่เขาเชื่อมั่นว่า พิพิธภัณฑ์ภูมิปัญญาจะสามารถสร้างความตื่นตาให้ ชาวต่างชาติได้ เพราะประเทศไทยอยูไ่ ด้ดว้ ยเศรษฐกิจการท่องเทีย่ วเป็นสำ�คัญ ฉะนัน้ หากหยิบเอาเรื่องราวเหล่านีม้ าเล่าขานใหม่ในมุมมองทีเ่ ป็นวิทยาศาสตร์อาจช่วยให้ เกิดการรับรู้ที่เป็นสากลยิ่งขึ้น สาครระบุวา่ เป็นเรือ่ งน่าเสียดายทีก่ อ่ นหน้านีป้ ระเทศไทยเคยมีนโยบายผลักดัน ให้ ‘ครัวไทยสู่ครัวโลก’ แต่ขณะเดียวกันเรากลับละเลยความรู้พ้ืนฐานที่จะนำ�มาใช้

องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ

61


เป็นหลักยึดได้ “ถ้าครัวไทยจะไปสู่ครัวโลกจริง ทุกบ้านจะต้องทำ�ต้มยำ�กุ้งเป็น อย่างน้อยที่สุด ต้องวิจารณ์เป็น แต่เดี๋ยวนี้เราซื้อกินอย่างเดียว แล้วพ่อครัวก็เป็นคนจากประเทศ เพื่อนบ้าน “อาหารไทยที่โดดเด่นขณะนี้มีอยู่ 4 ประเภท ต้มยำ�กุ้ง มัสมั่นไก่ ผัดไทย ผัดกะเพรา ตอนนีก้ �ำ ลังดัง คนญีป่ นุ่ ชอบกันมาก ถ้าสิง่ ต่างๆ เหล่านีถ้ กู ทอดทิง้ ก็เป็น เรื่องที่น่าเสียดาย เราอาจจะพูดกันว่าผัดกะเพราเป็นอาหารสิ้นคิด แต่ที่จริงตอนนี้ กำ�ลังจะเป็นอาหารประจำ�ชาติแล้ว” เรื่องง่ายๆ ที่พบเห็นได้ในชีวิตประจำ�วันของคนไทย มักกลายเป็นสิ่งที่คนมอง ข้ามเสมอ เพราะเหตุนี้รองผู้อำ�นวยการ อพวช. จึงพยายามมองต่างมุม โดยหัน กลับไปพิจารณาถึงต้นทุนทีส่ งั คมไทยมีอยูเ่ พือ่ ต่อยอดให้เกิดคุณค่า ไม่วา่ จะเป็นเรือ่ ง อาชีพ อาหาร การท่องเที่ยว และภูมิปัญญา วิถีชีวิตเหล่านี้ล้วนสามารถนำ�มาผูก เรื่องราวแล้วอธิบายใหม่ด้วยหลักทางวิทยาศาสตร์ “จริงๆ ผมอยากทำ�อีกเรื่องหนึ่งคือ เหล้า แต่ผมไม่กล้าเล่น (หัวเราะ) หลายคน ยังไม่รู้ว่าเหล้ากับไวน์ต่างกันยังไง เหล้าก็คือการกลั่นเมรัยในอุณหภูมิที่เหมาะสม จนกระทั่งได้แอลกอฮอล์ออกมา ถ้าเอาองุ่นไปกลั่นเรียกว่าบรั่นดี ถ้าเอาข้าวไปกลั่น เรียกวิสกี้ เอาข้าวโพดไปกลั่นเรียกว่าวอดก้า เอาอ้อยไปกลั่นเรียกว่ารัม แต่หลายคน ก็ไม่รู้ นี่คือประเด็นว่าเราจ่ายเงินไปปีละไม่รู้กี่ร้อยล้าน แต่เราไม่รู้ที่มาที่ไปของมัน นี่ คือสิ่งที่ผมอยากทำ� เพียงแต่เกรงว่าจะเป็นการส่งเสริมการดื่ม (หัวเราะ)”

ความรู้คู่ขนานความเชื่อ ภายใต้อารยธรรมอันเก่าแก่ของดินแดนสยาม ปฏิเสธไม่ได้ว่าสังคมไทยมี พัฒนาการขึน้ มาบนรากฐานของความเชือ่ และศรัทธาในสิง่ ลีล้ บั เหนือธรรมชาติ ทว่า ในสายตาของคนยุคปัจจุบันอาจมองว่า ความเชื่อและความงมงาย คือปฏิปักษ์ต่อ ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ เมื่อสังคมไทยเดินมาถึง ณ จุดนี้ ทำ�อย่างไรให้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เดินคู่ไป กับความเชื่อของผู้คนได้โดยไม่ล้ำ�เส้นกัน รองผู้อำ�นวยการ อพวช. มองว่า หน้าที่ ของนักวิทยาศาสตร์ไม่ใช่การสนับสนุนให้คนเชือ่ แต่ตอ้ งหาคำ�อธิบายให้ได้ตามหลัก 62

ชวนเด็กเดินออกนอกห้องเรียน


วิทยาศาสตร์ ส่วนใครจะเชือ่ หรือไม่อย่างไรนัน้ ถือเป็นสิทธิสว่ นบุคคลทีไ่ ม่อาจละเมิด ตัวอย่างเช่น ‘เขีย้ วเสือ’ ของวัดดังแห่งหนึง่ ซึง่ มีชอื่ เสียงเป็นทีเ่ ลือ่ งลือว่าสามารถ ป้องกันสัตว์รา้ ยนานาชนิดได้ หากมองในมุมเศรษฐศาสตร์อาจเรียกได้วา่ เป็นของหา ยาก ทำ�ให้ราคาสูง แต่ถา้ มองแบบวิทยาศาสตร์อาจสามารถอธิบายได้วา่ มันคือกลิน่ สาบเสือ เช่นนั้นแล้วสัตว์ใดๆ ก็ตามล้วนต้องถอยห่าง “คนญีป่ นุ่ เขาก็มกี ารเอาภูมปิ ญ ั ญามาใช้กบั โลกสมัยใหม่ อย่างกรณีรถไฟชินคันเซ็น ที่มักเกิดอุบัติเหตุชนกวางที่ออกมาหากินบ่อยมาก วิธีแก้ปัญหาของเขาคือ เขาให้ ผู้เชี่ยวชาญเรื่องสัตว์มาดู เขาบอกว่าไม่ยากเลย แค่เอาขี้สิงโตไปทาบนรางรถไฟ ก็จบแล้ว แค่นั้นกวางก็ไม่กล้าเข้ามา ฉะนั้น นี่คือสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติอยู่แล้ว เพียง แต่เราจะรู้จักหยิบมาใช้ให้เป็นประโยชน์หรือไม่เท่านั้นเอง” หากถามว่า ภายใต้บริบทสังคมไทยความรู้ทางวิทยาศาสตร์จะสามารถทลาย กำ�แพงความเชือ่ ได้หรือไม่ สาครบอกว่า เป็นเรือ่ งยากและไม่จ�ำ เป็นต้องทำ� หากความ เชื่อนั้นทำ�ให้คนจำ�นวนหนึ่งดำ�รงชีวิตอยู่ได้อย่างมีความหวัง ฉะนั้น การไปลบล้าง ความเชื่ออาจเป็นการทำ�ลายความหวังของผู้คนก็เป็นได้ “บางครั้งความเชื่อก็เป็นสิ่งจรรโลงสังคม เพียงแต่เราต้องอธิบายให้คนเข้าใจ สมมุติคนที่ชอบเล่นหวย สิ่งที่เขาเล่นมากที่สุดคือเลขทะเบียนรถนายกฯ ไม่ว่าใคร เป็นนายกฯ เขาก็จะซื้อเลขนั้น แล้วถ้าเขาซื้อหวยสักใบด้วยความฝันว่าจะถูกสักครั้ง มันก็เป็นช่วงเวลา 15 วันที่ทำ�ให้เขามีความสุข ถือเป็นการซื้อเพื่อการบริโภคอย่าง หนึ่ง ไม่ต่างกับคนที่ซื้อตั๋วดูหนังใบละ 200 บาท ฉันใดฉันนั้น ถ้าทำ�แล้วมีความสุขก็ ทำ�ไปเถอะ (หัวเราะ)” แม้วา่ โลกปัจจุบนั จะเป็นยุคของวิทยาศาสตร์ เป็นยุคของเหตุและผล แต่สงั คมไทย ก็ ยั ง ต้ อ งเรี ย นรู้ ที่ จ ะอยู่ ร่ ว มโลกกั น ให้ ไ ด้ บนเส้ น ทางคู่ ข นานระหว่ า งความรู้ กั บ ความเชื่อ โดยพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์เป็นอีกพื้นที่หนึ่งของการเชื่อมร้อยผู้คนเข้าไว้ ด้วยกัน

องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ

63



ผ้าที่นี่มีชีวิต

พิพธิ ภัณฑ์ผา้ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิรกิ ติ ์ิ พระบรมราชินนี าถ



หัวใจของงานอนุรกั ษ์นนั้ คือการรักษาวัตถุให้อยูใ่ น สภาพดี โดยการซ่อมสงวนใดๆ ก็ตามทีเ่ ราทำ�แล้ว ต้องสามารถรือ้ คืนได้ เพราะเราไม่มที างรูว้ า่ ในอีก ห้าปีหรือสิบปีขา้ งหน้า จะมีเทคโนโลยีการอนุรกั ษ์ ทีด่ กี ว่านีม้ าใช้หรือไม่ ถ้ามี นักอนุรกั ษ์รนุ่ ใหม่กจ็ ะ สามารถรื้องานที่เราเคยทำ�ไว้เพื่ออนุรักษ์ใหม่ให้ ดีกว่าเดิมได้โดยไม่เสียหายเพิ่มเติม ปิยะมน กิ่งประทุมมาศ พิพิธภัณฑ์ผ้าในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ


เริ่มนับหนึ่งจากการสูญ

“สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้ทรงอุทิศพระองค์ทรงงานตาม แนวพระราชดำ�ริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อให้อาชีพเสริมเพิ่มรายได้แก่ ราษฎร โดยในขณะทีพ่ ระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ทรงดูแลเรือ่ งการเกษตร ทีด่ นิ ทำ�กิน การชลประทานต่างๆ สมเด็จพระนางเจ้าฯ ก็ทรงดูแลเรือ่ งปากท้อง และความเป็นอยู่ ในครอบครัว โดยทรงก่อตัง้ มูลนิธสิ ง่ เสริมศิลปาชีพขึน้ เพือ่ ช่วยพัฒนาและสร้างสรรค์ งานฝีมือจากวัตถุดิบในท้องถิ่น รักษาภูมิปัญญาดั้งเดิม เป็นเวลาหลายสิบปีที่การ สร้างอาชีพ พัฒนาชีวิต ดำ�เนินไปพร้อมๆ กับการอนุรักษ์ วันนี้ผ้าไหมทอมือฝีมือ ชาวบ้านเป็นทีร่ จู้ กั อย่างแพร่หลาย และเพือ่ ไม่ให้เกิดการพัฒนาในเชิงพาณิชย์เท่านัน้ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินนี าถ จึงทรงให้จดั ตัง้ พิพธิ ภัณฑ์ผา้ ฯ ขึน้ โดยมุง่ หวัง ให้เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้เรื่องผ้าและสิ่งทอที่ยั่งยืน พร้อมทั้งเป็นศูนย์กลางการจัด เก็บรักษาและการอนุรกั ษ์ตามมาตรฐานสากล” ปิยะมน กิง่ ประทุมมาศ ซึง่ วันนีเ้ ป็น หัวหน้าแผนกอนุรกั ษ์และทะเบียน พิพธิ ภัณฑ์ผา้ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิรกิ ติ ิ์ พระบรม ราชินีนาถ ให้ข้อมูลเบื้องต้น หัวเรือใหญ่ในการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์เมื่อเริ่มตั้งนั้น คือ อาจารย์สมิทธิ ศิริภัทร (ถึ ง แก่ ก รรม) พร้ อ มภั ณ ฑารั ก ษ์ แ ละนั ก อนุ รั ก ษ์ ช าวอเมริ กั น อี ก สามท่ า นร่ ว มให้ คำ�ปรึกษา โดยมีเจ้าหน้าทีไ่ ทยร่วมวางระบบอย่างใกล้ชดิ ในขณะทีง่ านทุกส่วนกำ�ลัง ดำ�เนินไปตามลำ�ดับ ก็มีเหตุต้องสูญเสียอาจารย์สมิทธิไปอย่างกะทันหัน การดำ�เนิน การทุกอย่างจึงต้องเริ่มนับหนึ่งใหม่เกือบทั้งหมด ทว่าด้วยความร่วมแรงร่วมใจของ ทุกฝ่าย ทีส่ ดุ แล้ว พิพธิ ภัณฑ์ผา้ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิรกิ ติ ิ์ พระบรมราชินนี าถ ก็ส�ำ เร็จลง และเปิดให้เข้าชมอย่างเป็นทางการเมื่อปี 2555

68

ผ้าที่นี่มีชีวิต


“เราเคยเชิญฉลองพระองค์ไหมมัดหมี่สีม่วงองค์หนึ่งมาจัดแสดง ในนิทรรศการ เราทราบประวัติคร่าวๆ ว่าเป็นฉลองพระองค์ที่ พระราชทานให้กับชาวบ้านไว้เป็นตัวอย่างในการทอผ้า เราต้องการ ข้อมูลเพิม่ เติม ก็เลยเดินทางลงพืน้ ทีก่ นั ไปหาข้อมูลเพิม่ เติม ก็ได้ขอ้ มูล มาว่า ประมาณ 30 ปีทแี่ ล้ว สมเด็จพระนางเจ้าฯ เสด็จพระราชดำ�เนิน ไปทรงเยีย่ มแม่ทมุ้ แม่ไท้ (นางไท้ แสงวงศ์ และนางทุม้ พรหมดี) ทีบ่ า้ น ในจังหวัดสกลนคร เพือ่ พระราชทานกำ�ลังใจในการทอผ้าไหม ทรงถาม เรื่องความเป็นอยู่ และพระราชทานฉลองพระองค์คลุมมัดหมี่สีม่วง เพื่อเป็นแบบให้แม่ไท้ทอผ้าเป็นอาชีพเสริม แม่ไท้ก็เชิญฉลองพระองค์ นัน้ ขึน้ ไว้บนหิง้ และบูชาด้วยดอกสะเลเตด้วยความจงรักภักดีและความ ผูกพัน จนวันที่แม่ไท้เสียชีวิต แกก็กอดฉลองพระองค์นี้ไว้แนบอก เป็น เรื่องที่ประทับใจพวกเรามาก”

พิพิธภัณฑ์ผ้าในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ

69


คอลเล็คชั่น อาคารพิพธิ ภัณฑ์ทไี่ ด้รบั การบูรณะปรับปรุงขึน้ จากอาคารเก่าในสมัยรัชกาลที่ 5 นี้ นอกจากพืน้ ทีส่ ว่ นจัดแสดงหรือห้องนิทรรศการ และพืน้ ทีป่ ฏิบตั งิ านของเจ้าหน้าที่ แล้ว ยังมีห้องคลังขนาดใหญ่ซึ่งใช้เป็นที่เก็บรักษาวัตถุนับพันรายการ โดยมีการจัด ระเบียบแบ่งหมวดหมู่วัตถุสะสมในพิพิธภัณฑ์ผ้าฯ ออกเป็นสามประเภท หนึ่ง ฉลองพระองค์และของใช้ส่วนพระองค์ “มีอัตราส่วน จำ�นวนชิ้นค่อนข้าง เยอะ หลักๆ จะเป็นฉลองพระองค์ในสมเด็จพระนางเจ้าฯ ตั้งแต่สี่สิบห้าสิบปีก่อน ขณะยังทรงพระชนมายุนอ้ ย จนเจริญพระชันษามากขึน้ มีฉลองพระองค์ในพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจำ�นวนหนึ่ง เฉพาะส่วนที่ตัดเย็บจากผ้าไหม” สอง ผ้าจากมูลนิธสิ ง่ เสริมศิลปาชีพฯ ซึง่ ปิยะมนอธิบายว่า “ผ้าทอฝีมอื ชาวบ้าน จำ�นวนมาก นอกจากทอขึน้ เพือ่ จำ�หน่ายสร้างรายได้เสริมแล้ว ชิน้ ไหนทีท่ อสวย ฝีมอื ดี หรือมีลายที่หายาก พระองค์ท่านก็ทรงรับซื้อมาเก็บสะสมไว้เป็นคอลเล็คชั่นส่วน พระองค์ สำ�หรับไว้ใช้เป็นตัวอย่างศึกษาลวดลายและพัฒนาต่อไป” สาม ผ้าชาติพนั ธุ์ อย่างผ้าของคนเผ่าอาข่า ม้ง เย้า กะเหรีย่ ง ลีซอ ละหู่ ผ้าลาวแดง

70

ผ้าที่นี่มีชีวิต


ไทครัง่ ไททรงดำ� ฯลฯ ผ้าทีใ่ ช้ในพิธกี รรมของประเทศต่างๆ ซึง่ เป็นของสะสมส่วนตัว ของอาจารย์สมิทธิที่ได้มอบให้กับพิพิธภัณฑ์ วัตถุทุกชิ้นในพิพิธภัณฑ์ผ้าฯ จะได้รับการทำ�ประกัน โดยมีคณะกรรมการผู้ เชีย่ วชาญเกีย่ วกับวัตถุประเภทนัน้ ๆ ร่วมประเมินมูลค่า ซึง่ มีทงั้ รูปแบบการทำ�ประกัน แบบเหมา และแยกรายชิ้น อย่างชิ้นที่จัดแสดงในนิทรรศการซึ่งมีความเสี่ยงสูงกว่า ชิ้นที่เก็บอยู่ในห้องคลัง ทั้งนี้ประกันภัยจะครอบคลุมความเสียหายในกรณีการเกิด อัคคีภัย อุทกภัย จลาจล โจรกรรม ฯลฯ

สืบค้นเรื่องเล่า วัตถุทกุ ชิน้ ทีจ่ ดั เก็บและจัดแสดงอยูน่ นั้ ถือเป็นหัวใจของพิพธิ ภัณฑ์ ทุกชิน้ ทีร่ บั เข้า มาจะต้องผ่านกระบวนการรับเข้าตามกฎและเงือ่ นไขของพิพธิ ภัณฑ์ โดยมีภณ ั ฑารักษ์ เป็นผู้พิจารณารับของเข้า และให้ข้อมูลสำ�หรับบันทึกข้อมูลประกอบการจัดเก็บวัตถุ แต่ละชิ้นนั้น ซึ่งต้องยึดถือความถูกต้องและข้อเท็จจริงเป็นสำ�คัญ “เราพยายามจะบันทึกข้อมูลของวัตถุแต่ละชิ้นให้ครบถ้วน ทั้งในส่วนของ รูปพรรณสัณฐาน รายละเอียดทัว่ ไป ตลอดจนทีม่ าทีไ่ ปของวัตถุ เพือ่ ให้สามารถนำ�ไป ใช้งานต่อได้สะดวก ส่วนวัตถุทรี่ บั เข้ามายังพิพธิ ภัณฑ์จะมีประวัตมิ ที มี่ าติดมาด้วยอยู่ แล้ว แต่ก็มีบางส่วนเหมือนกันที่มันไม่มี นี่ก็จะเป็นปัญหาในการบันทึกข้อมูลอยู่เล็ก น้อย ในกรณีนี้ก็แก้ปัญหาด้วยการให้ภัณฑารักษ์หาข้อมูลสืบประวัติมาให้ บางครั้ง ภัณฑารักษ์ไม่ทราบก็จะมีเจ้าหน้าที่ทะเบียนช่วยบ้าง เช่น กรณีที่เป็นฉลองพระองค์ ก็ตอ้ งตรวจสภาพว่า สภาพเป็นอย่างไร ดีมาก ดีนอ้ ย พอใช้ หรือชำ�รุด ดูวา่ ยีห่ อ้ อะไร ใครเป็นผู้ออกแบบ ตัดเย็บในปีใด ทรงในโอกาสไหน เมื่อไร” หลายครั้ ง ที่ ไ ม่ ส ามารถสื บ ค้ น ข้ อ มู ล เปรี ย บเที ย บจากเอกสารหรื อ รู ป ถ่ า ย เปรียบเทียบ ก็จำ�เป็นต้องหาข้อมูลปฐมภูมิจากบุคคลต่างๆ เช่น คุณข้าหลวง นาง สนองพระโอษฐ์ และข้าราชบริพาร ประกอบด้วย บางครั้งการสืบค้นข้อมูลของ ฉลองพระองค์ ก็ต้องดั้นด้นเดินทางลงพื้นที่ไปถึงบ้านช่างทอผ้า “เราเคยเชิญฉลองพระองค์ไหมมัดหมี่สีม่วงองค์หนึ่งมาจัดแสดงในนิทรรศการ เราทราบประวัติคร่าวๆ ว่าเป็นฉลองพระองค์ที่พระราชทานให้กับชาวบ้านไว้เป็น ตัวอย่างในการทอผ้า เราต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ก็เลยเดินทางลงพื้นที่กันไปหา

พิพิธภัณฑ์ผ้าในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ

71


ข้อมูลเพิ่มเติม ก็ได้ข้อมูลมาว่า ประมาณ 30 ปีที่แล้ว สมเด็จพระนางเจ้าฯ เสด็จ พระราชดำ�เนินไปทรงเยีย่ มแม่ทมุ้ แม่ไท้ (นางไท้ แสงวงศ์ และนางทุม้ พรหมดี) ทีบ่ า้ น ในจังหวัดสกลนคร เพื่อพระราชทานกำ�ลังใจในการทอผ้าไหม ทรงถามเรื่องความ เป็นอยู่ และพระราชทานฉลองพระองค์คลุมมัดหมีส่ มี ว่ งเพือ่ เป็นแบบให้แม่ไท้ทอผ้า เป็นอาชีพเสริม แม่ไท้ก็เชิญฉลองพระองค์นั้นขึ้นไว้บนหิ้งและบูชาด้วยดอกสะเลเต ด้วยความจงรักภักดีและความผูกพัน จนวันทีแ่ ม่ไท้เสียชีวติ แกก็กอดฉลองพระองค์นี้ ไว้แนบอก เป็นเรื่องที่ประทับใจพวกเรามาก” “สุดท้ายแล้วอันไหนที่ไม่รู้จริงๆ เราก็เว้นไว้ เราจะหลีกเลี่ยงการสันนิษฐานและ คาดเดาเพราะการบันทึกตามข้อสันนิษฐานโดยไม่ทราบว่าจริงเท็จยังไง ก็อาจกลาย เป็นประวัติผิดๆ ติดตัววัตถุชิ้นนั้นๆ ไปอีกนาน” 72

ผ้าที่นี่มีชีวิต


จัดระบบเพื่อระเบียบ ทีพ่ พิ ธิ ภัณฑ์ผา้ ฯ วัตถุทกุ ชิน้ นอนพักอย่างสงบสบายอยูภ่ ายในห้องคลังทีม่ รี ะบบ ควบคุมอุณหภูมิและความชื้นให้มีสภาพคงที่และเหมาะสมสำ�หรับการจัดเก็บวัตถุ ประเภทผ้าและสิ่งทอ “เมื่อรับวัตถุแต่ละชิ้นเข้ามายังพิพิธภัณฑ์แล้ว เจ้าหน้าที่ทะเบียนก็จะทำ�การ ให้เลขทะเบียนประจำ�ตัววัตถุ ถ่ายภาพ บันทึกข้อมูลทั้งบนกระดาษและบันทึกลง ในฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ เปรียบง่ายๆ ก็เหมือนกับการทำ�บัตรประชาชน จากนั้น ก็จะนำ�ไปผ่านกระบวนการทำ�ความสะอาดด้วยการแช่แข็ง ภายใต้อุณหภูมิลบยี่สิบ

พิพิธภัณฑ์ผ้าในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ

73


“เพราะผ้าเป็นวัตถุทจี่ ดั ว่ามีความเปราะบางมาก พิพธิ ภัณฑ์ผา้ ฯ จึงให้ความสำ�คัญกับการสร้างสภาพแวดล้อมในการจัดเก็บและ สร้างแนวทางในการสงวนรักษาที่เหมาะสมที่สุด”

องศาเซลเซียส เป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์ เพื่อกำ�จัดเชื้อราและแมลงที่อาจติดมากับวัตถุ ออกจากตูแ้ ช่แข็งมาแล้วก็จะนำ�มาดูดฝุน่ อีกครัง้ จึงจะนำ�ไปเตรียมการจัดเก็บ” ปิยะ มนอธิบายขั้นตอนแรกรับวัตถุเข้าพิพิธภัณฑ์ ห้องคลังที่นี่กินพื้นที่หนึ่งชั้นครึ่ง บริเวณปีกซ้ายของตึก ภายในมีตู้จัดเก็บแบบ สุญญากาศ ที่แบ่งเป็นตู้สำ�หรับแขวน ตู้เก็บผ้าม้วน ตู้เก็บผ้าแบบวางราบ ตู้ขนาด ใหญ่พิเศษสำ�หรับวัตถุขนาดใหญ่ ฯลฯ “ศักยภาพสูงสุดในการจัดเก็บวัตถุในคลังของเรานัน้ ตัง้ ไว้ทปี่ ระมาณ 10,000 ชิน้ ขณะนี้มีวัตถุจัดเก็บอยู่แล้วประมาณ 3,000 ชิ้น แต่ละชิ้นถูกแยกประเภทและจัดเก็บ ในตูต้ ามหมวดหมู่ แต่ละตูจ้ ะถูกเรียกด้วยรหัสสัน้ ๆ ตามประเภทวัตถุทเี่ ก็บอยูข่ า้ งใน แต่ละลิ้นชักในตู้ก็มีรหัสย่อยลงไปอีก รหัสชุดนี้จะช่วยให้ผู้ที่ค้นหาสามารถเข้าถึง สถานทีจ่ ดั เก็บได้งา่ ย เพียงแค่คน้ จากฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ เช่น วัตถุรหัส 2011.9.6 อยู่ในห้องคลังตู้ R8 ลิ้นที่ D ม้วนที่ 3 ฟังดูอาจจะเหมือนเยอะ แต่เป็นระบบที่ทำ�ให้ การบันทึกข้อมูลเป็นระเบียบ” 74

ผ้าที่นี่มีชีวิต


“เราใช้โปรแกรมชื่อ มิมซี (MIMSY XG) ในการบันทึกข้อมูล มิมซีเป็นโปรแกรม สำ�หรับใช้ในพิพิธภัณฑ์โดยเฉพาะ ดำ�เนินการด้วยระบบสองภาษา (ไทย-อังกฤษ) ที่ ผู้ใช้สามารถออกแบบ Interface ได้เองตามการใช้งาน เจ้าหน้าที่แต่ละคนจะได้รับ อนุญาตให้เข้าถึงข้อมูลในฐานข้อมูลในระดับที่ไม่เท่ากัน เพราะเหตุผลเรื่องความ ปลอดภัยในการนำ�ข้อมูลไปเผยแพร่” ปิยะมนเสริมว่า ในอนาคตเว็บไซต์ของพิพธิ ภัณฑ์ผา้ ฯ จะเปิดในส่วนของการเข้าถึง ฐานข้อมูลวัตถุให้คนภายนอกเข้าระบบมาค้นหาข้อมูลเบื้องต้นได้ โดยการเชื่อมต่อ เว็บไซต์เข้ากับโปรแกรมมิมซีโดยตรง

เพราะเขาเป็นวัตถุที่เปราะบาง จากประสบการณ์คลุกคลีกบั ผ้ามากว่าเจ็ดปี สำ�หรับปิยะมน ‘ผ้าคือเพือ่ น’ บ่อย ครั้งในบทสนทนา ปิยะมนจึงเรียก ‘ผ้า’ ว่า ‘เขา’ อยู่เสมอ “เขา (ผ้า) เป็นวัตถุที่เปราะบางมาก เราคนดูแลก็ต้องดูแลกันลงไปให้ลึกซึ้ง ทั้ง เรื่องโครงสร้าง เรื่องเส้นใย ต้องให้เขาอยู่ในห้องที่สบายตัว ถ้าอากาศแห้งไป เส้นใย จะแห้ง หดตัวเยอะจนเกิดการแตกกรอบ หรือถ้าอากาศชื้นมากไปเส้นใยจะขยายตัว เกิดการยืดๆ หดๆ อยู่เรื่อยๆ แบบนี้ตามสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงตลอด อุณหภูมิ ไม่คงที่ เส้นใยก็ออ่ นล้า เกิดการเสือ่ มสภาพ เหมือนคนทีอ่ อกกำ�ลังหนักไปก็บาดเจ็บ” อุปสรรคสำ�คัญคือสภาพอากาศร้อนชืน้ ในประเทศไทย ทีส่ ง่ ผลกระทบต่ออาคาร พิพธิ ภัณฑ์ ประกอบกับน้�ำ ใต้ดนิ ทีม่ มี ากเพราะอยูใ่ กล้แม่น�้ำ เจ้าพระยา วายร้ายอย่าง ‘รา’ จึงมาเยือนตั้งแต่ปีแรกๆ ปิยะมนเล่าว่า ก่อนคลังจะสร้างเสร็จ วัตถุส่วนใหญ่ถูกจัดเก็บไว้ชั่วคราวที่ชั้น หนึ่ง ในห้องที่ไม่มีระบบควบคุมสภาพแวดล้อมใดๆ น้ำ�ใต้ดินทำ�ให้อากาศในห้อง ชื้นกว่าปกติ ราจึงถือโอกาสบุกครั้งใหญ่ จนต้องนำ�วัตถุทั้งหมดมาทำ�ความสะอาด ใหม่ และรื้อระเบียบปฏิบัติการจัดเก็บวัตถุครั้งใหญ่ เพื่อไม่ให้ประวัติศาสตร์ซ้ำ�รอย “ราชอบอากาศร้อนชื้น เราจึงสร้างระบบบริหารจัดการความชื้นในอาคารด้วย การติดตั้งระบบ HVAC system เป็นตัวช่วยจัดการความชื้นให้คงที่ ความชื้นสัมพัทธ์ ในตึกนี้จะอยู่ที่ระหว่าง 50-70 เปอร์เซ็นต์ ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เคยปิดเลย ภายในตู้ จัดแสดงก็มีระบบควบคุมอุณหภูมิความชื้นอีกชั้นหนึ่ง ในกรณีที่สภาพแวดล้อม

พิพิธภัณฑ์ผ้าในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ

75


ภายนอกผกผันมากเมื่อมีฝนตก หรืออุณหภูมิจากตัวผู้เข้าชมที่สูงเกินไป” ศัตรูตัวฉกาจไม่แพ้กันคือแมลง แม้จะได้รับการถ่ายทอดความรู้เบื้องต้นเรื่อง แมลงจากฐานข้อมูลแมลงในวงการอนุรักษ์มาบ้างแล้ว โดยมากก็เป็นแมลงจาก โลกตะวันตก เจ้าหน้าทีอ่ นุรกั ษ์ฝงั่ ไทยจึงต้องมาลองผิดลองถูกกันใหม่วา่ แมลงตัวร้าย ในไทยมีชนิดไหนบ้าง “แมลงเมืองไทยน่ากลัวกว่ามาก ช่วงแรกในการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ก็จะวางกับดัก แมลงด้วยการใส่ฟีโรโมนกับอาหารแมลงไว้ตามจุดต่างๆ ซึ่งฟีโรโมนมีหลายประเภท ดึงดูดแมลงต่างกัน เราไปวางไว้บนชัน้ วางของ ในซอกหลืบมุมมืดต่างๆ ดักเอาแมลง ที่เจอมาศึกษาและทำ�สถิติว่ามีแมลงอะไรอยู่บ้าง จะได้บริหารจัดการถูก ทุกวันนี้ พิพิธภัณฑ์ก็ยังจ้างบริษัทภายนอกมากำ�จัดแมลงอยู่เป็นระยะ”

เหมือนหมอรักษาคนไข้ พิพธิ ภัณฑ์ผา้ ฯ มีหอ้ งปฏิบตั กิ ารอนุรกั ษ์ทไี่ ด้รบั การออกแบบและวางระบบอย่าง ถูกต้องตามมาตรฐานงานอนุรักษ์สากล มีศักยภาพในการปฏิบัติการเทียบเท่าห้อง อนุรกั ษ์ในต่างประเทศ มีเจ้าหน้าทีอ่ นุรกั ษ์ทไี่ ด้รบั การฝึกฝนจากผูเ้ ชีย่ วชาญโดยเฉพาะ “ในส่วนของงานอนุรกั ษ์ มีเจ้าหน้าทีป่ ฏิบตั งิ านอยู่ 3 คน รวมตัวเราด้วย เราถือว่า ค่อนข้างโชคดีที่วัตถุส่วนใหญ่ที่นี่อยู่ในสภาพดี มั่นคง สมบูรณ์อยู่แล้ว งานส่วนใหญ่ ที่ทำ�ก็เป็นงานอนุรักษ์เบื้องต้น ยึดแนวทางการอนุรักษ์เชิงป้องกัน (Preventive Conservation) เน้นการป้องกันไม่ให้เสื่อมสภาพเพิ่มเติมเป็นหลัก เช่น การเย็บเสริม ความมั่นคงแข็งแรง ทำ�ส่วนรับน้ำ�หนักเพิ่มเติม เตรียมการจัดแสดงเป็นหลัก ในส่วน ของวัตถุที่เสื่อมสภาพมีการชำ�รุดสึกหรอ เราก็ดำ�เนินการซ่อมสงวนตามแต่กรณีไป ให้วัตถุนั้นๆ อยู่ในสภาพที่มั่นคงแข็งแรงสามารถจัดเก็บไว้โดยปลอดภัยต่อไปได้” แม้ จ ะทำ � ทุ ก อย่ า งเพื่ อ กั น ไว้ ดี ก ว่ า แก้ แต่ เ มื่ อ พบว่ า มี วั ต ถุ ที่ เ กิ ด การชำ � รุ ด เสือ่ มสภาพ อันดับแรกเจ้าหน้าทีอ่ นุรกั ษ์จะต้องทำ�คือ ตรวจสภาพเพิม่ เติม ศึกษาลึก ลงไปถึงโครงสร้างการทอ และเส้นใย “ในแต่ละครัง้ ทีเ่ ราจะลงมือซ่อมสงวนวัตถุชนิ้ ใดชิน้ หนึง่ ไม่ใช่เห็นว่าเขาขาดแล้ว จะคว้ามาชุนมาปะได้เลยเหมือนเวลาเสือ้ ผ้าเราขาด นักอนุรกั ษ์ตอ้ งมีกระบวนการคิดที่ รอบคอบ ต้องวางแผนล่วงหน้า กรณีทคี่ ดิ ว่าจะซ่อมชิน้ ไหน ก็ตอ้ งตรวจสภาพเพิม่ เติม 76

ผ้าที่นี่มีชีวิต


ใช้กล้องจุลทรรศน์สอ่ งขยายดูถงึ โครงสร้างเส้นใย ทดสอบการซึมเปือ้ นของสี ทดสอบ ความยืดหยุ่นของโครงสร้าง บันทึกข้อมูล ถ่ายภาพประกอบ ไว้สำ�หรับเปรียบเทียบ “มีปัจจัยมากมายที่ทำ�ให้วัตถุประเภทผ้าเกิดการเสื่อมสภาพ บางส่วนเกิดจาก สภาพแวดล้อม บางส่วนก็เกิดจากการเสื่อมสภาพแบบแพ้ภัยตัวเอง คือเส้นใยถูก ทำ�ลายด้วยสีย้อมหรือสารประกอบทางเคมีที่อยู่ในผ้าระหว่างที่ผ้าผ่านกระบวนการ ผลิตมา เวลาที่เราจะซ่อมทีนึง ก็ต้องพิจารณาหาสาเหตุว่าตกลงนี่เขาเสียหายเพราะ อะไร รู้สาเหตุแล้วเราจะแก้ปัญหาได้ถูกจุดและเหมาะสม “ทุกครั้งที่เราทำ�งาน เราจะคิดเสมอว่า หัวใจของงานอนุรักษ์น้ันคือการรักษา วัตถุให้อยูใ่ นสภาพดี โดยการซ่อมสงวนใดๆ ก็ตามทีเ่ ราทำ�แล้วต้องสามารถรือ้ คืนได้ เพราะเราไม่มที างรูว้ า่ ในอีกห้าปีหรือสิบปีขา้ งหน้า จะมีเทคโนโลยีการอนุรกั ษ์ทดี่ กี ว่านี้ มาใช้หรือไม่ ถ้ามี นักอนุรักษ์รุ่นใหม่ก็จะสามารถรื้องานที่เราเคยทำ�ไว้เพื่ออนุรักษ์ ใหม่ให้ดีกว่าเดิมได้โดยไม่เสียหายเพิ่มเติม”

พิพิธภัณฑ์ผ้าในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ

77


ร้อยปีต่อจากนี้ เพราะการดูแลวัตถุให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์และยืดอายุให้ยาวนานที่สุดเป็น ภารกิจที่ทุกฝ่ายตระหนักดี พิพิธภัณฑ์ผ้าฯ จึงเน้นใช้วัสดุที่ปลอดภัยต่อวัตถุเสมอ ปิยะมนกำ�ลังพูดถึง ‘กระดาษไร้กรด’ วัสดุสำ�คัญในการทำ�กล่องจัดเก็บวัตถุ เพราะกรดถือเป็นศัตรูทำ�ลายผ้าอย่างเงียบๆ แต่เรียบวุธ “งานอนุรักษ์เป็นงานที่ต้องใช้เป็นวัสดุเฉพาะทางจริงๆ ส่วนมากยังไม่มีขายใน ประเทศ ในช่วงแรกสร้างห้องปฏิบัติการอนุรักษ์นี่เราสั่งวัสดุอุปกรณ์เข้ามาเยอะมาก ค่าใช้จ่ายสูงลิบ ไม่ว่าจะเส้นใยโพลีเอสเตอร์ ผ้าหุ้มหุ่น โฟมโพลีเอธิลีน ไทเวค เข็ม ด้าย กระดาษลูกฟูกไร้กรด และพวกชื่อเฉพาะอีกเยอะ ซึ่งทุกอย่างมีความพิเศษอยู่ ในตัว เราไม่ได้เลือกของที่แพงมาใช้เพราะเก๋ แต่เราค้นคว้ามาแล้วว่ามันมีคุณสมบัติ ดีมีประโยชน์ดีอย่างไร ทำ�ไมเขาใช้กันทั่วโลก “ตอนหลังมานี้ ช่วงทีเ่ ราใช้กระดาษลูกฟูกไร้กรดล็อตแรกทีส่ งั่ มาจากต่างประเทศ แล้วขนส่งมาทางเรือใกล้หมด ก็เริ่มคิดทบทวนแล้ว จะสั่งอีกก็คงแพงมาก เพราะเรา ต้องใช้อีกเยอะมาก เสียดายเงิน เราก็เลยนั่งเปิดเว็บไซต์หาข้อมูล อ่านคุณสมบัติ กระดาษในแค็ตตาล็อกทีเ่ คยสัง่ ของดูวา่ กระดาษมันพิเศษยังไง ได้ขอ้ มูลมาส่วนหนึง่ ว่า มันไม่ใช่แค่ไร้กรดนะ มันเคลือบด่างไว้ดว้ ยบางๆ เพือ่ การป้องกันสองชัน้ เราก็ตดิ ต่อ ไปทางเอสซีจี (SCG) ขอความอนุเคราะห์ให้เขาทำ�วิจัยเพิ่มเติมและผลิตกระดาษให้ คุยกันอยู่นานกว่าจะผ่านกระบวนการทดสอบ จนผ่านการรับประกันตามมาตรฐาน ก็เลยออกมาเป็นกระดาษลูกฟูกไร้กรดที่ใช้อยู่ทุกวันนี้ ต้นทุนราคาลดลงประมาณ ครึ่งหนึ่ง” นอกจากจะผลิตเพื่อใช้เองแล้ว พิพิธภัณฑ์ผ้าฯ ยังจำ�หน่ายให้กับพิพิธภัณฑ์ อืน่ ๆ และเครือข่ายนักสะสมผ้าและวัตถุตา่ งๆ ทีส่ นใจด้วย โดยขายในราคาใกล้เคียง ต้นทุน คิดเพียงค่าแรงในการตัดและขึน้ รูปเป็นกล่อง เพราะอยากให้เพือ่ นร่วมอาชีพ ได้ใช้ของดีในราคาย่อมเยา และแม้จะพยายามลดค่าใช้จ่ายด้วยการหาวัสดุทดแทนที่มีคุณสมบัติเทียบเท่า ในเมืองไทย แต่กม็ อี กี หลายอย่างทีไ่ ม่สามารถหาได้ จึงยังต้องนำ�เข้าจากต่างประเทศ ต่อไปเพื่อประโยชน์ต่อการทำ�งานกับวัตถุ ยืดอายุวัตถุให้ยาวนานมากที่สุด “เราให้ความสำ�คัญกับวัสดุที่ใช้มาก และโชคดีที่ผู้ใหญ่ก็เข้าใจเรามากเหลือเกิน เพราะท่านรู้เราก็ตั้งใจให้ที่นี่เป็นศูนย์กลางเพื่อเรียนรู้เรื่องงานอนุรักษ์ที่ดีในอนาคต 78

ผ้าที่นี่มีชีวิต


“วัตถุแต่ละชิ้น ต้องการการซ่อมสงวนและการดูแลที่ต่างกัน ถ้าเปรียบวัตถุเป็นเหมือนคนไข้ เราก็เหมือนหมอ แต่ละกรณีมี ความพิเศษแตกต่างกัน สิง่ ทีเ่ ราเจอทุกวันก็เปลีย่ นไปเรือ่ ยๆ เป็น ความท้าทาย มีปัญหา ให้เราแก้ ให้ได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ ใหม่ๆ อยู่ตลอด”

พิพิธภัณฑ์ผ้าในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ

79


ความตั้งใจคือไม่ใช่แค่มีและอยากเก็บเอาไว้ใช้คนเดียว แต่อยากให้คนที่สนใจเข้ามา ศึกษาวิจัยกับเราได้ด้วย โตไปด้วยกัน” เมื่อถามถึงอายุที่คาดหวังจะเก็บรักษาวัตถุสะสมไว้ให้ได้ ปิยะมนตอบว่าอยาก ให้อยู่ไปเป็นร้อยปี

80

ผ้าที่นี่มีชีวิต


พัฒนาองค์ความรู้ องค์ความรูใ้ ดๆ ก็ตาม ถ้าหยุดนิง่ กับที่ ไม่มกี ารเปลีย่ นแปลงหรือต่อยอดก็ยอ่ ม จะถูกพับเก็บรอฝุ่นอยู่บนหิ้ง เจ้าหน้าที่อนุรักษ์ประจำ�พิพิธภัณฑ์ผ้าฯ ก็คิดเช่นนั้น งานอนุรักษ์ผ้าถือเป็นองค์ความรู้ใหม่และไม่มีหลักสูตรเฉพาะในประเทศไทย ทีมงานจึงพยายามออกไปหาความรูด้ ว้ ยการศึกษาด้วยตนเองและฝึกงานในประเทศ ต่างๆ เพื่อนำ�กลับมาประยุกต์ใช้กับงานพิพิธภัณฑ์ผ้าฯ “เวลามีงานประชุมวิชาการ เราก็พยายามให้เจ้าหน้าที่ทำ�งานวิจัยไปชิงทุน เพราะถ้าเขาเลือกเรา เราก็จะมีโอกาสได้เข้าร่วมประชุมโดยไม่เสียค่าใช้จา่ ย นอกจาก ช่วยประหยัดงบทางนี้ เจ้าหน้าทีเ่ ราก็จะได้มโี อกาสไปดูงาน ไปฟังผลงานทีน่ กั อนุรกั ษ์ จากทั่วโลกเขามานำ�เสนอกัน ได้เจอเพื่อนนักอนุรักษ์หลากหลายวัย บางคนเป็นครู ที่เราเคยอ่านตำ�ราเขา บางคนก็เป็นนักอนุรักษ์รุ่นใหม่คล้ายๆ กับเรา มีโอกาสได้ ทำ�ความรู้จัก และเปลี่ยนความรู้กันผ่านทางอีเมล ทุกวันนี้ยังไปมาหาสู่ มีเพื่อนที่มา เมืองไทยแล้วแวะมาขอชมห้องปฏิบัติการเราอยู่ตลอด” ปิยะมนยกตัวอย่าง Heritage Conservation Center, Singapore ศูนย์อนุรกั ษ์ทวี่ าง ระบบ ดูแลจัดการวัตถุสะสมของพิพธิ ภัณฑ์ทดี่ �ำ เนินการโดยรัฐบาลทุกแห่งของประเทศ สิงคโปร์ และมีฝา่ ยปฏิบตั กิ ารอนุรกั ษ์วตั ถุทกุ ประเภท ก็เป็นเครือข่ายอนุรกั ษ์ทใี่ กล้ชดิ ได้ขอความคิดเห็นแลกเปลี่ยนข้อมูลกันมากอีกแห่งหนึ่ง “ในปี 2557 เจ้าหน้าทีอ่ นุรกั ษ์ของเราได้ไปนำ�เสนอผลงานวิชาการในการประชุม วิชาการว่าด้วยเรื่องงานอนุรักษ์หลายแห่ง ทั้งอังกฤษ ออสเตรเลีย ฮ่องกง หนึ่งใน นัน้ เรานำ�เสนอเรือ่ งการใช้สมุนไพรในท้องถิน่ เพือ่ การซักล้างแทนการใช้สารเคมี เจ้า หน้าที่เราก็ทำ�วิจัยสมุนไพรไทยต่างๆ อย่างลงไปเก็บข้อมูลจากชาวบ้านว่าใช้อะไร ซักล้างบ้างแล้วเก็บตัวอย่างกลับมาเข้าห้องปฏิบัติการ ตอนนี้ก็ยังทำ�การวิจัยต่ออยู่ โดยได้รบั ความร่วมมือจาก ซีมโี อ-สปาฟา พัฒนาให้เป็นโครงการระดับภูมภิ าคเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้”

พิพิธภัณฑ์ผ้าในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ

81


ความปรารถนาของหัวหน้าแผนกอนุรักษ์และทะเบียน เจ็ดปีกับการทำ�งานในแผนกอนุรักษ์และทะเบียน ปิยะมนระลึกอยูเ่ สมอว่างาน ที่ทำ�อยู่นี้มีคุณค่า น้อยคนที่จะมีโอกาสได้มาทำ�งานเช่นเธอ “งานแต่ละวันไม่เหมือนกันเลย วัตถุแต่ละชิ้น ต้องการการซ่อมสงวนและการ ดูแลที่ต่างกัน ถ้าเปรียบวัตถุเป็นเหมือนคนไข้ เราก็เหมือนหมอ แต่ละกรณีมีความ พิเศษแตกต่างกัน สิ่งที่เราเจอทุกวันก็เปลี่ยนไปเรื่อยๆ เป็นความท้าทาย มีปัญหา ให้เราแก้ ให้ได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ อยู่ตลอด สนุกดี” อย่างไรก็ตาม ในความสนุกท้าทายนั้นมาพร้อมความรับผิดชอบสูงเพราะต้อง ทำ�งานกับวัตถุทรงคุณค่า จึงต้องปฏิบัติหน้าที่อย่างระมัดระวังตลอดเวลา เพราะถ้า พลาดนิดเดียวอาจหมายถึงความเสียหายที่กลับไปแก้ไขไม่ได้ “หัวใจสำ�คัญของเรา ต้องมีใจทีจ่ ดจ่อกับงาน ต้องระมัดระวัง ให้คดิ ไว้เสมอว่าสิง่ ทีเ่ ราจับต้องอยูน่ นั้ เป็นของพิเศษ ไม่ใช่พเิ ศษเพราะเป็นของส่วนพระองค์ ไม่ใช่พเิ ศษ เพราะมีมลู ค่ามีราคาสูง ไม่ใช่พเิ ศษเพราะเป็นแบรนด์ดมี ดี ไี ซเนอร์ดงั ออกแบบ แต่ของ พิเศษเหล่านัน้ คือสมบัตทิ างวัฒนธรรมอันสำ�คัญของชาติ เป็นสมบัตทิ เี่ ราตัง้ ใจอยาก ให้ลูกให้หลานมีโอกาสเห็นอย่างที่เราเห็นจริงๆ”

82

ผ้าที่นี่มีชีวิต




ผู้ดูแลเรื่องเล่าขนาดเล็ก หอศิลป์ บ้านจิม ทอมป์สนั



ศิลปิน ภัณฑารักษ์ นักประวัติศาสตร์คือคนคน เดียวกัน ซึ่งทำ�หน้าที่เหมือนเป็นนักมานุษยวิทยา ด้วย หน้าที่ของภัณฑารักษ์กับนักประวัติศาสตร์ ก็คอื นักมานุษยวิทยา ซึง่ ต้องลงพืน้ ที่ ไปสัมภาษณ์ ต้องฟังประวัตศิ าสตร์บอกเล่า เพราะบางเรือ่ งไม่มี หลักฐาน เราจึงต้องทำ�แบบนี้ กฤติยา กาวีวงศ์ หอศิลป์ บ้านจิม ทอมป์สัน


88

ผู้ดูแลเรื่องเล่าขนาดเล็ก


คำ�ว่า ‘curator’ มีรากศัพท์จากภาษาละตินซึ่งแปลว่า take care

คำ�ถามก็คือ curator หรือภัณฑารักษ์ดูแลอะไร ก่อนที่จะตอบคำ�ถาม นั้น กฤติยา กาวีวงศ์ บอกว่า หน้าที่หนึ่งของภัณฑารักษ์คือการ เป็นคนกลางที่เชื่อมระหว่างโลกของศิลปะกับผู้ชม โดยการทำ�หน้าที่ คนกลางนีม้ เี งือ่ นไขอยูภ่ ายใต้พนั ธกิจขององค์กร นัน่ คือพิพธิ ภัณฑ์หรือ หอศิลป์ที่ภัณฑารักษ์ทำ�งานอยู่ กฤติยาจบการศึกษาปริญญาโทด้านการจัดการศิลปะ จากคณะ บริหารจัดการศิลปะและนโยบาย สถาบันศิลปะชิคาโก มลรัฐอิลลินอยส์ สหรัฐอเมริกา เธอร่วมกับเพือ่ นศิลปินอย่าง อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล และไมเคิล เชาวนาศัย ก่อตั้ง Project 304 เป็นองค์กรอิสระด้านศิลปะ ในปี 2539 เพื่อสนับสนุนศิลปินร่วมสมัย และกิจกรรมทางวัฒนธรรม ผ่านทางนิทรรศการงานศิลปะต่างๆ รวมถึง เทศกาลหนังทดลอง กรุงเทพ (Bangkok Experimental Film Festival: BEFF) กฤติ ย าดำ � รงตำ � แหน่ ง ผู้ อำ � นวยการฝ่ า ยศิ ล ปะ และหั ว หน้ า ภัณฑารักษ์ประจำ�หอศิลป์ บ้านจิม ทอมป์สัน ตั้งแต่ปี 2549 หอศิลป์ บ้านจิม ทอมป์สัน จัดนิทรรศการหมุนเวียนปีละ 2-3 ครั้ง และจัดกิจกรรม เช่น งานเสวนา งานบรรยายวิชาการ และการ ประชุมเชิงปฏิบัติการ ฯลฯ ดำ�เนินคู่ขนานไปกับตัวนิทรรศการ นี่คือ ภารกิจหนึ่งของกฤติยา นอกเหนือจากทำ�หน้าที่ดูแลงานศิลปะและ ปกปักเรื่องเล่าขนาดเล็ก

หอศิลป์ บ้านจิม ทอมป์สัน

89


ชีวประวัติฉบับย่อหอศิลป์ บ้านจิม ทอมป์สัน “คุณจิม ทอมป์สัน เริ่มสะสมงานศิลปะตั้งแต่ช่วงปี 2490-2510 ช่วงที่มีชีวิตอยู่ เขาจะเปิดบ้านให้เพื่อนๆ เข้าชมอาทิตย์ละ 2 วัน เช่นบรรดาทูตและภรรยา โดยมี อาสาสมัครเป็นมัคคุเทศก์​์ แล้วเก็บค่าเข้าชมเพือ่ นำ�เงินส่วนนัน้ บริจาคให้โรงเรียนสอน คนตาบอด เหมือนกับเขาคิดตั้งแต่แรกแล้วว่าบ้านหลังนี้จะเป็นพิพิธภัณฑ์ “หลังจากคุณจิม ทอมป์สันหายตัวไปในปี 2518 มีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมา เพราะบ้านหลังนี้ตกเป็นของหลานชายชื่อ เฮนรี บี. ทอมป์สัน ปรากฏว่าคุณเฮนรี ก็รู้ว่าคุณจิมรักบ้านหลังนี้มากและรักเมืองไทย เขาจึงไม่รับสมบัติชิ้นนี้และบริจาคให้ ประเทศไทย โดยตั้งเป็นมูลนิธิเจมส์ เอช. ดับเบิลยู. ทอมป์สัน ที่จะดูแลรักษาบ้าน หลังนี้ นี่คือต้นกำ�เนิดของพิพิธภัณฑ์” กฤติยาเริ่มต้นเล่าที่มา หลังจากนัน้ หอศิลป์ บ้านจิม ทอมป์สนั ก่อตัง้ ขึน้ เมือ่ ปี 2546 ภายในบริเวณเดียว กับพิพธิ ภัณฑ์ไทยบ้านจิม ทอมป์สนั ซึง่ ดูแลโดยมูลนิธเิ จมส์ เอช. ดับเบิลยู. ทอมป์สนั ในห้วงเวลานัน้ กรุงเทพฯ ยังขาดแคลนพืน้ ทีแ่ สดงงานศิลปะ และเมือ่ กฤติยาซึง่ มีความ สนใจศิลปะร่วมสมัยได้เป็นที่ปรึกษาให้กับผู้บริหารในมูลนิธิเจมส์ เอช. ดับเบิลยู. ทอมป์สัน ซึ่งอยากจะทำ�ศูนย์กลางสิ่งทอ (center for textiles) ขึ้นมากลางเมืองใหญ่ หอศิลป์ บ้านจิม ทอมป์สันจึงถือกำ�เนิด ร่างกายของหอศิลป์ บ้านจิม ทอมป์สนั ถือกำ�เนิดขึน้ โดยมีเลือดเนือ้ ทีไ่ หลเวียน ภายในเป็นนิทรรศการศิลปวัฒนธรรมไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สลับแทรกกับ งานศิลปะร่วมสมัย หอศิลป์ บ้านจิม ทอมป์สัน จัดนิทรรศการปีละ 2-3 ครั้ง และมีการจัดกิจกรรม พิเศษ เช่น งานเสวนา งานบรรยายวิชาการ และการประชุมเชิงปฏิบตั กิ าร ฯลฯ ดำ�เนิน คู่ขนานไปกับนิทรรศการ มีรายได้หลักจากการขายบัตรเข้าชม ซึ่งกฤติยาบอกว่า “ปีหนึง่ มีผเู้ ข้าชม 2 แสนกว่าคน เราน่าจะเป็นพิพธิ ภัณฑ์เอกชนไม่กแี่ ห่งในเมือง ไทยที่อยู่ได้ด้วยตัวเอง” เนื้อหาของนิทรรศการที่ถูกจัดขึ้นภายใต้หอศิลป์ บ้านจิม ทอมป์สัน กฤติยา อธิบายว่า เป็นการนำ�เสนองานศิลปวัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เป็นสากล เป็นการนำ�เสนอศิลปะร่วมสมัยที่พูดถึงปัจจุบันโดยเชื่อมโยงกับอนาคตและยึดโยง อยู่กับอดีต

90

ผู้ดูแลเรื่องเล่าขนาดเล็ก


“นี่คือสิ่งที่เราสนใจ ไม่ว่าคุณจะพูดเรื่องอะไรต้องพูดถึงประเด็น ทางสังคมและการเมืองได้”

หอศิลป์ บ้านจิม ทอมป์สัน

91


“ถ้านิยามว่าพิพิธภัณฑ์บ้านไทยเป็นส่วนจัดแสดงถาวรที่พูดถึงอดีต หอศิลป์ บ้ า นจิ ม ทอมป์ สั น จะเป็ น ส่ ว นจั ด แสดงหมุ น เวี ย นที่ พู ด ถึ ง ปั จ จุ บั น และอนาคต ที่เชื่อมต่อกับอดีต ซึ่งพันธกิจของเรากว้างมาก เช่น อนุรักษ์วัฒนธรรมทั้งไทย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ดูแลของสะสมในบ้านจิม ทอมป์สัน เพื่อที่จะให้ คนไทยและต่างชาติได้ชื่นชม ถ้าเอาแค่นี้มันก็แค่นั้นใช่มั้ย แต่พวกเราต้องมาตีความ ว่า อะไรคือของสะสมของ จิม ทอมป์สัน “เราพบว่าคือการผลิตองค์ความรู้ที่ครอบคลุมมาก แต่ก็ไม่ใช่แค่ไทยหรือเอเชีย มันค่อนข้างเป็นสากล เพราะถ้าคุณพูดถึงเรื่องผ้าหรือศิลปะ มันไม่มีขอบเขต” กฤติยาเล่า

“ไม่มีข้อมูลน่ะ ถูกต้องแล้ว นี่คือ หน้าที่ของนักวิจัย ถ้ามีข้อมูลอยู่แล้ว เราก็ไม่จำ�เป็น ต้องไปทำ�วิจัยหรอก... ถูก เรามาถูกทางแล้ว ไปตามมาต่อ”

92

ผู้ดูแลเรื่องเล่าขนาดเล็ก


ว่าด้วยเนื้อและหนัง ที่มาของโจทย์หรือเนื้อหาในการจัดนิทรรศการของหอศิลป์ บ้านจิม ทอมป์สัน มีที่มาจาก 3 ส่วน หนึ่ง มูลนิธิเจมส์ เอช. ดับเบิลยู. ทอมป์สัน จะให้ทุนวิจัยประเด็นเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรม ดังนัน้ หอศิลป์ บ้านจิม ทอมป์สนั จึงมีวตั ถุดบิ ในรูปของงานวิจยั ทีน่ า่ สนใจ อยูม่ าก และคณะผูบ้ ริหารตัง้ คำ�ถามเชิงบอกกล่าวแก่หวั หน้าภัณฑารักษ์อย่างกฤติยา ว่า ‘เมื่อเรามีข้อมูลและงานวิจัยที่น่าสนใจมากมาย ทำ�ไมเราไม่จัดนิทรรศการล่ะ’ สอง ข้อเสนอจากบุคคลภายนอก ซึ่งมีจุดร่วมและจุดยืนเดียวกันกับหอศิลป์ บ้านจิม ทอมป์สัน สาม ข้อเสนอจากทีมภัณฑารักษ์เอง

คดงออย่างเป็นศิลปะ ไม่ว่าที่มาของโจทย์และเนื้อหาจะมาจากส่วนไหน สิ่งที่กฤติยาบอกก็คือ ใน กระบวนการพัฒนาเนื้อหาเพื่อนำ�มาจัดนิทรรศการ จะต้องผ่านกระบวนการวิจัย หาข้อมูลและตีความเพื่อนำ�เสนอออกมา นิทรรศการอย่าง แคนล่อง คะนองลำ� (Joyful Khaen, Joyful Dance) และ มุมมองใหม่ขุนช้างขุนแผน (Re - Reading Khun Chang Khun Phaen) เป็นตัวอย่าง ของวิธีการทำ�งานของภัณฑารักษ์อย่างกฤติยา นิทรรศการ มุมมองใหม่ขนุ ช้างขุนแผน เป็นนิทรรศการทีก่ ฤติยาและทีม พัฒนา เนื้อหาและตีความมาจากงานศึกษาวิจัย ‘The Tale of Khun Chang Khun Phaen Siam′s Folk Epic of Love, War and Tragedy’ โดย คริส เบเกอร์ นักประวัติศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ และ ผาสุก พงษ์ไพจิตร อดีตอาจารย์ประจำ�คณะ เศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย “มูลนิธิก็ให้ทุนในการพิมพ์ The Tale of Khun Chang Khun Phaen Siam′s Folk Epic of Love, War and Tragedy ของอาจารย์คริสกับอาจารย์ผาสุก เสร็จแล้ว กรรมการมูลนิธิฯ ก็โยนมาให้เราทำ�นิทรรศการ ซึ่งคำ�ถามแรกของเราก็คือหนังสือ 2,000 กว่าหน้านี้ ฉันจะทำ�เป็นโชว์ได้อย่างไร ซึ่งกว่าจะออกมาเป็นโชว์ได้ ต้องผ่าน

หอศิลป์ บ้านจิม ทอมป์สัน

93


กระบวนการคิดและตีความเยอะมาก มันจะเป็นนิทรรศการที่พูดเรื่องขุนช้างขุนแผน ให้น่าสนใจและสัมพันธ์กับปัจจุบันได้อย่างไร นี่เป็นโจทย์ที่เราถามตัวเองตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องผ้า เรื่องโบราณ เรื่องขุนช้างขุนแผน หรือวิดีโออาร์ต มันตอบโจทย์ กับคนดูกับสังคม กับพวกเราอย่างไร” ภายในนิทรรศการมีสื่อหลายประเภทที่กฤติยาในฐานะหัวหน้าภัณฑารักษ์ เชื้อเชิญศิลปินมาตีความ The Tale of Khun Chang Khun Phaen Siam′s Folk Epic of Love, War and Tragedy เพื่อผลิตเป็นงานศิลปะที่นำ�มาจัดแสดงในนิทรรศการ “เราคิดนานมาก ว่าจะออกมาเป็นนิทรรศการที่พูดถึงประวัติศาสตร์ของขุนช้าง ขุนแผนว่ามันเป็นมาอย่างไร เรานำ�เสนอตั้งแต่ประวัติศาสตร์บอกเล่าจากอยุธยา มาถึงยุควัดเกาะ ที่ถูกเผยแพร่โดยหมอบรัดเลย์ และในหลายๆ เวอร์ชั่นต่อมาที่ถูก ชำ�ระโดยกรมพระยาดำ�รงฯ ถูกสร้างความหมายใหม่เพื่อรับใช้อุดมการณ์ทางสังคม ในแต่ละช่วง ไม่ว่าจะเป็นการ์ตูน หนัง อันนี้เป็นส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งเราเลือก นำ�เสนอโดยเชิญศิลปินมาตีความใหม่ รวมถึงจัดแสดงผ้าหรือสิ่งทอที่คนเขาคาด หวังอยู่แล้วว่าอยากเห็นเครื่องแต่งกาย โดยการนำ�เสนอพยายามให้ครอบคลุมใน หลายๆ มิติ “อาจารย์ ค ริ ส กั บ อาจารย์ ผ าสุ ก ไม่ ไ ด้ เ ป็ น ภั ณ ฑารั ก ษ์ พวกเขาเป็ น นั ก ประวัติศาสตร์ พวกเขาเป็นเนื้อหาแต่เราเป็นคนทำ�นิทรรศการ เราต้องทำ�ให้ออกมา เป็นโชว์ที่ทำ�ให้คนดูเข้าใจ ในนิทรรศการนี้เราดึงเอาส่วนบทวิเคราะห์ที่เป็นคำ�ถาม ของอาจารย์คริสมาทำ�นิทรรศการ แต่จริงๆ อาจารย์อยากให้เราทำ�อะไรเยอะกว่านี้ แต่เราบอกไม่เอา เอาแค่นี้ (หัวเราะ) เราอยากให้คนมาอ่านขุนช้างขุนแผนใหม่ อ่าน ผ่านนิทรรศการ “เราถามอาจารย์ ค ริ ส ว่ า ทำ � ไมจึ ง ศึ ก ษาเรื่ อ งนี้ เขาก็ บ อกว่ า เขาเป็ น นั ก ประวัติศาสตร์ที่อยากจะศึกษาประวัติศาสตร์ของชีวิตคนเล็กคนน้อยที่ไม่ใช่กษัตริย์ แล้วประวัติศาสตร์ของประเทศไทยจะพูดแต่ข้างบนหมดเลย เขาสนใจประวัติศาสตร์ ช่วงอยุธยาแล้วไม่สามารถหาหลักฐานอะไรเกี่ยวกับคนเล็กคนน้อยได้เลยนอกจาก ในวรรณคดี เขาก็เลยกลับมาดูขุนช้างขุนแผน มันถูกชำ�ระและสร้างความหมายใหม่ อยู่ตลอด เพราะฉะนั้นมันจึงบอกถึงอะไรได้หลายอย่างที่เชื่อมโยงกับประวัติศาสตร์ ของสังคมได้ นี่คือสิ่งที่เราสนใจ ไม่ว่าคุณจะพูดเรื่องอะไรมันต้องพูดถึงประเด็นทาง สังคมและการเมืองได้” นอกจากนิทรรศการที่ยืนระยะประมาณ 4 เดือนแล้ว ภายในช่วงเวลาของ 94

ผู้ดูแลเรื่องเล่าขนาดเล็ก


การจัดนิทรรศการ หอศิลป์ บ้านจิม ทอมป์สัน จะมีการจัดกิจกรรมพิเศษ ซึ่งเป็น กิจกรรมการศึกษา เช่น นิทรรศการขุนช้างขุนแผนก็มกี ารจัดเสวนาทางวิชาการในหัวข้อ ‘ขุนช้างขุนแผนในสื่อสมัยใหม่: การผลิตซ้ำ�และการตีความใหม่’ “การคิดโจทย์ในส่วนของกิจกรรมจะเชื่อมโยงกับนิทรรศการ พวกเราจะเอา นิทรรศการเป็นหลัก แล้วตีความเพือ่ ให้งานออกมามีหลายมิติ บางครัง้ เราจะให้โจทย์ กับทีมว่าเราอยากจะได้คนดูหลายๆ กลุ่ม ทั้งเด็ก ผู้ใหญ่ นักศึกษา และคนที่สนใจ เฉพาะกลุ่ม ซึ่งทำ�ให้การนำ�เสนอมีหลายแบบ ตั้งแต่ของเก่าที่นำ�มาแสดง งานศิลปะ ร่วมสมัยที่ผ่านการตีความ และงานเสวนาทางวิชาการ” กฤติยาเล่า

ภารกิจตามหาอัศวิน สีหมอก และเรื่องเล่าขนาดเล็ก ที่อำ�เภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา ‘จิม ทอมป์สัน ฟาร์ม’ เป็นแหล่งผลิต ไข่ไหมจำ�หน่ายให้สมาชิกเกษตรกรเพื่อรับซื้อรังสดในการผลิตเส้นไหมและเป็นพื้นที่ ปลูกหม่อนอันเป็นอาหารหลักของหนอนไหม พร้อมเปิดเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิง เกษตรปีละครั้งในเดือนธันวาคมให้บุคคลทั่วไปเรียนรู้ประสบการณ์ด้านการเกษตร โดยมีเจตนารมณ์ที่จะอนุรักษ์และถ่ายทอดมรดกทางวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าของ ชาวไทยเชือ้ สายลาว ซึง่ อาศัยอยูท่ างภาคตะวันออกเฉียงเหนือสูส่ ายตาชาวไทยและ ชาวต่างชาติ และด้วยหอศิลป์ บ้านจิม ทอมป์สันอยู่ภายใต้การบริหารของมูลนิธิฯ ที่ต้อง ทำ�งานภายใต้พันธกิจ และเมื่อนิทรรศการ แคนล่อง คะนองลำ� (Joyful Khaen, Joyful Dance) ทีถ่ กู จัดขึน้ ทีห่ อศิลป์ บ้านจิม ทอมป์สนั ได้รบั เสียงชืน่ ชม มูลนิธฯิ  จึงมอบ หมายภารกิจครั้งใหม่ให้กฤติยาและทีมงาน พิพิธภัณฑ์หมอลำ� ณ อำ�เภอปักธงชัย “พิพธิ ภัณฑ์หมอลำ�ก็ถกู โยนมาเหมือนกัน ทุกอย่างมีทมี่ าทีไ่ ป พิพธิ ภัณฑ์หมอลำ� ก็เชื่อมโยงกับฟาร์มด้วย เพราะเราทำ�งานให้มูลนิธิฯ พอมีโปรเจ็คต์หมอลำ�เขาก็ให้ พวกเราดูแล เราเคยจัดประกวดหมอลำ� เพราะเขาอยากอนุรกั ษ์วฒ ั นธรรมอีสาน เรา ก็ทำ�ตามโจทย์ ปรากฏว่าผลตอบรับดี เจ้านายก็บอกแถลงข่าวเลยว่า จิม ทอมป์สัน ต้องการสร้างพิพิธภัณฑ์หมอลำ� อ้าว! ฉันเพิ่งรู้นะเนี่ย (หัวเราะ) แล้วให้เราดูแล โปรเจ็ ค ต์ เราก็ ตั้ ง เป้ า ว่ า ขอวิ จั ย ก่ อ น ก็ เ ลยไปดึ ง เด็ ก ปริ ญ ญาโทที่ ทำ � วิ จั ย เรื่ อ ง

หอศิลป์ บ้านจิม ทอมป์สัน

95


“พิพิธภัณฑ์แต่ละแห่งต้องมีเนื้อหาของตัวเอง แต่พวกที่เรียนบริหารจัดการมาทำ�พิพิธภัณฑ์จะไม่มี เนื้อหา จะมีองค์ความรู้การจัดการพิพิธภัณฑ์ แต่ไม่มีเนื้อหา ซึ่งต้องทำ�ควบคู่กัน”

พวกนี้ ใครทีเ่ คยทำ�วิจยั หมอลำ�เอามากองให้หมด แล้วให้ทนุ เขาไปทำ�วิจยั ไปตระเวน สัมภาษณ์หมอลำ� แล้วเชิญผู้เชี่ยวชาญมา” ในช่วงของการค้นคว้าวิจัยเพื่อหาข้อมูล หน้าที่หนึ่งของทีมทำ�พิพิธภัณฑ์คือ การตระเวนหาของเพื่อเตรียมไว้จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ “ตอนนีเ้ รามีนอ้ งทีแ่ ฝงตัวตามพืน้ ทีต่ า่ งๆ น้องๆ ก็จะส่งข่าวมา เจ๊ๆ มีอนั นีเ้ อามัย้ ถ่ายรูปมาให้ดู ราคาเท่าไร เราก็โอนตังค์ไป แล้วตอนนีม้ หาวิทยาลัยแห่งหนึง่ ในอีสาน กำ�ลังจะสร้างพิพิธภัณฑ์หมอลำ�เหมือนกัน” “อย่างนี้คุณก็ไม่จำ�เป็นต้องทำ�ก็ได้แล้วนี่” เราถาม “ทางโน้นเขาจะแนวกระแสหลัก เน้นศิลปินแห่งชาติ แต่ของเราเน้นเรื่องเล่า 96

ผู้ดูแลเรื่องเล่าขนาดเล็ก


ขนาดเล็ก เราเน้นที่เป็นของจริง เน้นชาวบ้านที่มีความสำ�คัญทางประวัติศาสตร์” ในขั้นตอนของการวิจัย กฤติยาและทีมงานมีคำ�ถามหนึ่งที่ค้างคาใจว่า ทำ�ไม ต้องสร้างพิพิธภัณฑ์หมอลำ�ที่อำ�เภอปักธงชัย นอกจากความเชื่อมโยงของเนื้องาน ภายในองค์กรอย่างฟาร์มไหม แล้วหมอลำ�เกีย่ วข้องอย่างไรในบริบทของพืน้ ทีอ่ �ำ เภอ ปักธงชัย เพราะใครต่อใครต่างก็บอกเธอว่า “คนโคราชเขาฟังเพลงโคราช เขาไม่ฟัง หมอลำ�กันหรอกนะ” แต่คำ�ตอบหลุดออกมาระหว่างการหาข้อมูล “ที่ผ่านมาเราไม่เคยตอบตัวเองได้เลยว่าทำ�ไมต้องไปสร้างพิพิธภัณฑ์หมอลำ�ที่ ปักธงชัย ปรากฏว่าตอนทีเ่ ราไปหาข้อมูลทีข่ อนแก่น ทุกคนก็พดู ถึงหมอลำ�คนหนึง่ ชือ่

หอศิลป์ บ้านจิม ทอมป์สัน

97


อัศวิน สีหมอก เราก็งงว่าคนนี้ใคร แต่ทุกคนจะยกย่องเขาว่าคนนี้คือจุดเปลี่ยนของ หมอลำ�ในยุคก่อนสงคราม อัศวิน สีหมอกเป็นลาวเวียงที่ถูกกวาดต้อนมาตั้งแต่สมัย รัชกาลที่ 3 มาอยู่สุพรรณบุรี แล้วโยกย้ายมาอยู่ปักธงชัย เราจึงสามารถพูดได้แล้ว ว่าทำ�ไมต้องเป็นที่ปักธงชัย (หัวเราะ) ตอนนี้ก็เลยให้น้องนักวิจัยไปตามหาเรื่องราว ของอัศวิน สีหมอก เพราะโชว์แรกทีต่ งั้ ใจไว้วา่ จะไปทำ�ทีป่ กั ธงชัยคือโชว์อศั วิน สีหมอก ผูซ้ งึ่ ทุกคนเคยได้ยนิ ชือ่ แต่ไม่มใี ครรูจ้ กั ตัว แล้วน้องนักวิจยั ก็บอกว่า หนูไม่มขี อ้ มูลเลย เราก็เลยบอกว่า ถ้าอย่างนั้นเรามาถูกทางแล้ว ไม่มีข้อมูลน่ะถูกต้องแล้ว นี่คือหน้าที่ ของนักวิจัย ถ้ามีข้อมูลอยู่แล้วเราก็ไม่จำ�เป็นต้องไปทำ�วิจัยหรอก...ถูก เรามาถูกทาง แล้ว ไปตามมาต่อ นี่คือภารกิจที่เราส่งให้เด็ก” กฤติยาเล่า

ผู้ดูแลเรื่องเล่าขนาดเล็ก จุดแข็งที่น่าสนใจในการทำ�นิทรรศการของหอศิลป์ บ้านจิม ทอมป์สัน คือการ ให้ความสำ�คัญกับข้อมูลและการวิจัย และอีกส่วนหนึ่งคือการเปิดโอกาสให้ศิลปิน หรือภัณฑารักษ์รับเชิญเข้ามาร่วมในการตีความข้อมูลและนำ�เสนออย่างเป็นศิลปะ เราถามกฤติยาถึงกระบวนการจัดทีมทำ�วิจัยและตีความข้อมูลเพื่อออกแบบ เนื้อหาในนิทรรศการว่ามีลักษณะอย่างไร “จากความที่เรารู้จักคนหลากหลายมาก แล้วเราจะนำ�คนมาจับคู่กัน คนนี้สนใจ เรื่องนี้ใช่มั้ย งั้นคุณไปคุยกับคนนี้ แล้วเด็กมันจะสร้างทีมกันขึ้นมาเอง แต่เราจะไม่ ทำ�งานกับนักวิชาการที่เขาทำ�งานด้านนั้นๆ อยู่แล้ว เพราะวิธีการของเราจะทำ�ให้ได้ ความใหม่อีกแบบหนึ่ง เราอยากได้กลุ่มศิลปินที่ผลักงานออกมาเป็นงานศิลปะ แล้ว งานที่ออกมามันจะไม่ตรงไปตรงมาเหมือนนักวิจัย งานที่ออกมาจะเป็นศิลปะ” สิ่งเหล่านี้ทำ�ให้งานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยของหอศิลป์ บ้านจิม ทอมป์สัน ไม่อาจดำ�รงตนอยู่โดยตัดขาดออกจากบริบททางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และ ประวัติศาสตร์ “มันจะคู่ขนานกันเลย เนื่องจากเราสนใจอะไรแบบนี้ เราจะปล่อยให้น้องคน หนึ่งที่ทำ�วิจัยหมอลำ�เกี่ยวกับบริบทของสังคมและการเมืองก็ดูแต่เรื่องนี้ไปเลย อีก คนดูเรื่องดนตรีหมอลำ�อย่างเดียว เราก็เอา 2 คนนี้มารวมกัน ส่วนพวกเราเป็น คนทำ�นิทรรศการ มีหน้าที่สร้างโชว์” 98

ผู้ดูแลเรื่องเล่าขนาดเล็ก


“เหมือนเป็นคนควบคุมวงออร์เคสตรา?” “ใช่ เหมือนทำ�หน้าที่เป็นผู้กำ�กับและโปรดิวเซอร์ด้วย ถ้าพูดถึงค่ายหนังก็เป็น ทั้งโปรดิวเซอร์และผู้กำ�กับ ถ้าเป็นช่อง 3 ก็เป็นทั้งประวิทย์ มาลีนนท์ และผู้จัดด้วย (หัวเราะ) เราก็หาตัวผู้กำ�กับและหาดารา” ในการทำ�งานร่วมกับศิลปิน กฤติยาเล่าว่า หอศิลป์ บ้านจิม ทอมป์สัน ปฏิบัติ กับคนทำ�งานศิลปะอย่างเป็นวิชาชีพหนึ่งที่ต้องมีมาตรฐาน “เราเป็นมิวเซียมที่อาจจะพูดได้เลยนะในเมืองไทยเรามีค่าใช้จ่ายให้ศิลปินและ ภัณฑารักษ์ เรามีงบสำ�หรับโปรดักชัน่ เราจะทำ�งานแบบมืออาชีพ ทุกคนต้องมีความ เป็นมืออาชีพ ถ้าฉันเชิญเธอมาคิวเรท เธอต้องได้เงินพอที่เธอจะโอเคกับฉัน เพราะ เมื่อก่อนเมืองไทยมันไม่ใช่แบบนี้ เวลาคุณมาแสดงงานบางทีศิลปินต้องออกเอง ซึ่ง เราไม่ใช่ เราพยายามจะสร้างมาตรฐานใหม่ แล้วศิลปินทีเ่ ขาเคยทำ�งานกับเราเขาก็ไป เรียกร้องกับที่อื่น เขาถูกเราปฏิบัติแบบนี้มา เวลาไปทำ�งานกับที่อื่นเขาก็คิดว่าทำ�ไม คุณไม่ทำ�แบบนี้ ดังนั้นตอนนี้หอศิลป์ที่อื่นก็เริ่มมีค่าใช้จ่ายให้ศิลปิน” เนื้อหาถือเป็นหัวใจของพิพิธภัณฑ์หรือหอศิลป์ นอกจากเนื้อหาที่จะนำ�เสนอ แล้ว กฤติยาบอกว่า การจัดการก็เป็นสิ่งสำ�คัญที่แต่ละพิพิธภัณฑ์ต้องมี “มันคือข้อผิดพลาดของอุตสาหกรรมพิพิธภัณฑ์ตั้งแต่แรกเลย ตอนที่เราจบมา ใหม่ๆ อย่างเราจบสายการจัดการศิลปะ ตอนนัน้ ยังไม่มหี ลักสูตรภัณฑารักษ์ศกึ ษา ยัง ไม่มีหลักสูตรนิทรรศการศึกษา ช่วงยุค 90s คนเริ่มอยากทำ�พิพิธภัณฑ์ แต่คนทำ�งาน ยังไม่พอ มันก็เลยซวย มันซวยสำ�หรับตัวพิพิธภัณฑ์เอง คนที่โชคดีคือบริษัทรับงาน พวกนี้ ก็เลยกลายเป็นคนทำ�เนื้อหาให้พิพิธภัณฑ์ไป แต่ปัญหาก็คือไม่สามารถสร้าง ความยั่งยืนแก่ทรัพยากรบุคคลในสายงานพิพิธภัณฑ์ “ตอนนี้พิพิธภัณฑ์ศิลปะกำ�ลังจะเกิดขึ้นเยอะมาก ทีนี้ก็หาตัวภัณฑารักษ์กันให้ วุ่นวาย พวกบริษัทออร์แกไนซ์เหล่านี้จะมีองค์ความรู้ของการทำ�พิพิธภัณฑ์ แต่เขา จะไม่มีเนื้อหา แต่จริงๆ แล้วพิพิธภัณฑ์แต่ละแห่งต้องมีเนื้อหาของตัวเอง แต่พวก ที่เรียนบริหารจัดการมาทำ�พิพิธภัณฑ์จะไม่มีเนื้อหา จะมีองค์ความรู้ด้านการจัดการ พิพธิ ภัณฑ์ แต่ไม่มคี อนเทนต์ ซึง่ ต้องทำ�ควบคูก่ นั ปัญหาของบริษทั พวกนีพ้ อทำ�เสร็จ ที่หนึ่ง ก็ไปทำ�ที่ใหม่เรื่อยๆ ตัวพิพิธภัณฑ์ที่ทำ�ไปแล้วก็ไม่มีภัณฑารักษ์ของตัวเอง ก็ เลยผลิตกิจกรรมของตัวเองไม่ได้” สิง่ ทีก่ ฤติยาบอกเล่าคือวิธคี ดิ วิธกี ารทำ�งานในฐานะภัณฑารักษ์แห่งหอศิลป์ บ้าน จิม ทอมป์สัน ทำ�ให้เรามองเห็นความเชื่อมโยงและความเป็นเนื้อเดียวกันของศิลปะ

หอศิลป์ บ้านจิม ทอมป์สัน

99


วัฒนธรรม สังคม เศรษฐกิจ การเมือง ประวัติศาสตร์ และปรัชญา “ช่วงหลังเราจะทำ�งานกับศิลปินทีเ่ ขาศึกษาค้นคว้าค่อนข้างเยอะ อย่างงานของ อภิชาติพงศ์ในภาพยนตร์เรือ่ ง ลุงบุญมีระลึกชาติ มันเป็นส่วนหนึง่ ของการค้นคว้า เขา ไปสัมภาษณ์คนมาเยอะมาก เจ้ยไปสัมภาษณ์ชาวบ้านมาเยอะมาก คอมมิวนิสต์เก่า ทั้งหลาย เจ้ยไปสัมภาษณ์มาหมด แล้วเจ้ยมันไม่ใช้เลยนะ เอาทิ้งหมดเลย แต่เขาใช้ เป็นทรัพยากรในการเล่าเรื่อง เป็นแรงบันดาลใจ “ตอนหลังศิลปิน ภัณฑารักษ์ นักประวัติศาสตร์คือคนคนเดียวกัน ซึ่งทำ�หน้าที่ เหมือนเป็นนักมานุษยวิทยาด้วย มีนกั วิชาการเคยเขียนไว้วา่ ประวัตศิ าสตร์ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะประวัตศิ าสตร์ศลิ ปะ มันไม่มหี ลักฐาน ฉะนัน้ หน้าทีข่ อง ภัณฑารักษ์กับนักประวัติศาสตร์ก็คือนักมานุษยวิทยา ซึ่งต้องลงพื้นที่ ไปสัมภาษณ์ ต้องฟังประวัติศาสตร์บอกเล่า เพราะไม่มีหลักฐาน มันต้องทำ�แบบนี้ เราสนใจอะไร แบบนี้ ประวัติศาสตร์ที่ไปไกลกว่าความเป็นรัฐชาติ” นี่คือเรื่องเล่าขนาดเล็ก ประวัติศาสตร์คนเล็กคนน้อย ซึ่งภัณฑารักษ์ชื่อกฤติยา ปรารถนาจะดูแล

100

ผู้ดูแลเรื่องเล่าขนาดเล็ก




ภัณฑารักษ์วิถี

ศุภมาศ พะหุโล ภัณฑารักษ์อสิ ระ อดีตภัณฑารักษ์ประจำ�ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ



การทำ�นิทรรศการต้องคำ�นึงเส้นทางการเดินของ ผู้ชม เขาเดินไปถึงตรงนี้จะเหนื่อยไหม เขาจะหยุด พักตรงไหน ตรงไหนควรจะตื่นเต้น ตรงไหนควร เป็นช่วงอ่านข้อมูล การทำ�นิทรรศการคล้ายกับ การทำ�โชว์การแสดง แต่นิทรรศการที่ดีต้องทำ�ให้ หัวใจของผู้ชมเต้น ศุภมาศ พะหุโล ภัณฑารักษ์อิสระ อดีตภัณฑารักษ์ประจำ�ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ


106

ภัณฑารักษ์วิถี


ศุภมาศ พะหุโล วีเจลูกตาลเคยเป็นวีเจ

ยุคบุกเบิกของชาแนลวี ไทยแลนด์ เคยเป็นเด็กเสิร์ฟ ที่ อ อสเตรเลี ย ในระหว่ า งที่ ศึ ก ษาปริ ญ ญาโทสาขา ประวัติศาสตร์ศิลปะสมัยใหม่และการจัดการพิพิธภัณฑ์ มหาวิทยาลัยซิดนีย์ (Curatorship and Modern Art University of Sydney) หลังจากนั้นเธอเป็นภัณฑารักษ์ ประจำ�ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (Thailand Creative & Design Center - TCDC) ในยุคที่มีเจ้าหน้าที่เพียง 10 คน ในช่วงนัน้ ‘เศรษฐกิจสร้างสรรค์’ ยังเป็นคำ�แปลกหน้า ในสังคมไทย และการชมนิทรรศการยังเป็นสิ่งแปลกใหม่ ของสังคมไทย เธอบอกว่า ในช่วงที่ทำ�งานนิทรรศการระยะแรก การที่มีผู้ชมใช้เวลาในนิทรรศการเป็นเวลา 15 นาที ถือ เป็นเรื่องที่ควรเฉลิมฉลอง ปัจจุบัน ศุภมาศเป็นภัณฑารักษ์อิสระที่กำ�ลังจะ มี อ าร์ ต แกลเลอรี เ ป็ น ของตั ว เอง และนี่ คื อ เรื่ อ งราว ประสบการณ์การทำ�งานของภัณฑารักษ์คนหนึ่ง

ศุภมาศ พะหุโล ภัณฑารักษ์อสิ ระ อดีตภัณฑารักษ์ประจำ�ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ

107


โจทย์ของภัณฑารักษ์ การทำ�หน้าทีเ่ ป็นภัณฑารักษ์ประจำ�ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ หรือ TCDC มี ลักษณะของการรับโจทย์มาจากองค์กร แต่ในฐานะภัณฑารักษ์ ‘โจทย์ใหญ่’ มีอยู่ว่า จะตีโจทย์ทไี่ ด้รบั มาจากองค์กรอย่างไรเพือ่ นำ�ไปสูก่ ารนำ�เสนอทีน่ า่ สนใจ โจทย์ทเี่ ธอ ได้รบั จากการทำ�งานร่วมกับ TCDC คือการนำ�เสนอแนวคิดเรือ่ งเศรษฐกิจสร้างสรรค์ สู่สังคมวงกว้าง “เมือ่ เรามีนโยบายหรือมีกรอบความคิดบางอย่างมาแล้ว ถามว่าเราเล่นได้ไหม... เราเล่นได้ แต่อย่างไรก็ตามเราต้องอยู่ภายใต้กรอบที่มีอยู่ แต่จริงๆ แล้วกรอบก็ใหญ่ มาก ในส่วนของ TCDC ที่เคยทำ�เกี่ยวกับเศรษฐกิจ เกี่ยวกับเรื่องของผลผลิต เกี่ยว กับเรื่องของบริการเป็นหลัก สมมุติถ้าเรายังไม่ได้ ‘หลักใหญ่’ หรือ ‘ใจความสำ�คัญ’ ที่เราจะพูด จะแตกประเด็นออกไปไม่ได้เลย เหมือนดูที่ ‘ใจความสำ�คัญ’ ก่อนว่าเรา จะพูดเรื่องอะไร บางนิทรรศการบางหัวข้อ เรื่องกว้างมาก ต้องคิดว่าจะพูดเรื่องอะไร ถ้าเห็นพ้องกันแล้วว่าจะพูดเรื่องอะไร ค่อยมาหาวิธีการเล่าเรื่อง” ย้อนกลับไปประมาณ 10 ปีที่แล้ว คำ�ว่าเศรษฐกิจสร้างสรรค์ยังคงเป็นกลุ่มคำ� แปลกหน้าสำ�หรับสังคมไทย แนวความคิดในการนำ�งานออกแบบ หรืองานความคิด สร้างสรรค์ที่ทำ�ให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ ยังคงเป็นสิ่งใหม่ของสังคม โจทย์ของภัณฑารักษ์อย่างศุภมาศจึงเริม่ จากการปูพนื้ ฐานจนนำ�ไปสูห่ วั ใจสำ�คัญ ที่ต้องการสื่อสาร “เราแยกเป็นคำ�เลย เช่น เรื่องของความคิดสร้างสรรค์ เรื่องของการออกแบบ เรื่องของการออกแบบที่เกี่ยวข้องกับมูลค่า เพราะฉะนั้นคนที่เข้าไป TCDC จะมี คนบางกลุ่มที่รู้อยู่แล้วว่าเรามีเบื้องหลังบางอย่าง แต่ด้วยความที่มีลักษณะของ นิทรรศการ มันมีหน้าที่ของนิทรรศการมาเป็นส่วนหนึ่งอยู่แล้ว คือเรื่องของการ สือ่ สารทำ�ความเข้าใจและเป็นส่วนหนึง่ ของการประชาสัมพันธ์หน่วยงาน ด้วยลักษณะ เช่นนี้ คำ�ถามก็คือเราจะนำ�เสนอความรู้อย่างไร จริงๆ แล้วไม่ต่างกับการที่คนเข้า มาอ่านหนังสือ แต่หนังสือเล่มนี้ต้องเปิดออกมาเป็นสามมิติ คนสามารถเดินเข้า มาดูได้ ได้รับประสบการณ์ใหม่ๆ ที่รู้สึกว่าไม่ได้ถูกบังคับมากเกินไป ไม่ถูกยัดเยียด ความรู้มากเกินไป “การนำ�เสนอมักเริ่มจากการปูพื้นฐานของข้อมูลก่อน พอมีความเข้าใจเกี่ยวกับ งานออกแบบหรือเรื่องที่แวดล้อมแล้ว เวลาหยิบเรื่องอื่นมาพูดก็จะง่ายขึ้น ส่วนวิธี 108

ภัณฑารักษ์วิถี


โจทย์สำ�คัญมากของการทำ�นิทรรศการในเมืองไทยย้อนกลับไปในช่วง เวลานั้น คือการทำ�ให้คนเข้าใจและอยากมาชมนิทรรศการ เพราะ ณ วันนัน้ ถือเป็นเรือ่ งใหม่มากทีค่ ณ ุ จะมาใช้เวลาอยูใ่ นห้องนิทรรศการ เมื่อก่อนเราจับเวลากันด้วยซ้ำ�ว่าคนอยู่ในห้องนิทรรศการกี่นาที

ศุภมาศ พะหุโล ภัณฑารักษ์อสิ ระ อดีตภัณฑารักษ์ประจำ�ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ

109


การเลือกหัวข้อ เนื่องจากเป็นองค์กรที่ไม่ได้ใหญ่มาก ทีมทำ�งานไม่ได้มีเยอะ แต่ทุก อย่างต้องผ่านคณะกรรมการบริหารฯ นั่นหมายความว่าเมื่อมีการเสนอหัวข้ออะไร ขึ้นมา มีงบประมาณที่จำ�เป็นต้องขอ แล้วเราจะอธิบายอย่างไรเพื่อของบฯ จึงไม่ ต่างกับภัณฑารักษ์ทตี่ อ้ งเขียนโครงการเพือ่ จะขอเงิน ซึง่ เขาคงไม่ให้งบฯ ถ้าสิง่ ทีเ่ ขียน ไปไม่ตอบโจทย์ในสิ่งที่เขากำ�ลังค้นหา บางครั้งเราทำ�เรื่องหนักแต่จะมีบางช่วงที่ทำ� เรื่องเบาลงหรือเรื่องที่คนเข้าถึงง่ายขึ้น เพราะโจทย์ของเราในตอนแรกคือประชาชน ทั่วไป รองลงมาคือผู้ประกอบการและนักออกแบบ เมื่อก่อนเรายังเคยพูดกันเลยว่า อาเฮียเขาจะมาดูนทิ รรศการของเราเหรอ เพราะย้อนกลับไป 10 ปี ไม่มผี ปู้ ระกอบการ สร้างสรรค์เหมือนปัจจุบันนี้ เวลาเราพูดถึงผู้ประกอบการเราอาจจะนึกถึงคนที่เป็น เจ้าของโรงงานหรืออะไรก็ตาม เราอยากให้เขาเข้ามานิทรรศการแต่เขาก็ต้องทำ�มา หากินนะ ซึ่งเขาก็คงจะไม่มาหรอก ฉะนั้นเราต้องมาดูว่ากลุ่มผู้ชมที่จะเข้ามาคือใคร เราต้องรูต้ งั้ แต่วนั แรกของการเริม่ ทำ�นิทรรศการเลยว่าใครคือคนทีจ่ ะมาดูนทิ รรศการ ของเรา ซึง่ ไม่ได้หมายความว่าเราทำ�เฉพาะแค่คนกลุม่ เดียว เพราะเรามีกลุม่ เป้าหมาย 110

ภัณฑารักษ์วิถี


ค่อนข้างกว้าง บางนิทรรศการอาจจะเลือกกลุ่มครอบครัว บางนิทรรศการเลือกกลุ่ม เด็ก ก็ต้องดูความเหมาะสมระหว่างกลุ่มคนดูกับโจทย์ที่เราได้รับ”

การเล่าเรื่องของภัณฑารักษ์ หลังจากที่ตีความโจทย์ที่จะนำ�เสนอได้ชัดเจนแล้ว วิธีการเล่าเรื่องมีส่วนสำ�คัญ ในการนำ�เสนอเนื้อหาไปสู่ผู้ชม “เราคุยกันในทีมว่าการทำ�นิทรรศการของเราเหมือนทำ�ภาพยนตร์ เราอาจจะเล่า แบบง่ายๆ ตัง้ แต่ตน้ จนจบ ว่ามันมายังไง มันไปไหนต่อ อันแรกคุณต้องให้ปมู หลัง ซึง่ ก็ขึ้นอยู่ว่าคุณจะให้หนักและเบาแค่ไหน คุณต้องมีปูมหลัง คุณต้องมีตัวเนื้อหา คุณ ต้องมีข้อสรุป แต่ในนั้นมันก็จะมีข้อปลีกย่อยออกไป คราวนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่าเราจะสลับ เอาอะไรขึ้นมาก่อนหลัง บางทีเราอาจจะไม่ได้เอาปูมหลังขึ้นมาก่อน เราอาจจะเปิด ด้วยบทสรุป เราถึงค่อยดำ�เนินไปที่ตัวเนื้อหา แล้วเราอาจจะมีปูมหลังตอนจบก็ได้ หรือบางทีเราอาจจะให้ทั้งเนื้อหาและมีปูมหลังแทรก วิธีนี้ก็ได้เหมือนกัน “วิธีการเล่าเรื่องที่ง่ายที่สุดคือเราต้องสนุกกับมัน เราแทนตัวเองเป็นผู้ชม แล้ว เราอยากรู้เรื่องอะไร สมมุติว่าเราปูปูมหลังปาเข้าไป 50 เปอร์เซ็นต์ของนิทรรศการ คนยังไปไม่ถึงตัวแก่นเรื่องที่เราจะพูด เขาก็เหนื่อยแล้ว ถ้าเป็นอย่างนั้นเราลองสลับ ไหม เอาเนื้อหาเขยิบขึ้นมาเร็วหน่อย เนื้อหาที่เขาตั้งใจมาดู แล้วพยายามที่จะให้ปูม หลังอีกทีหนึ่ง เรามีวิธีการหลายแบบ” ย้อนกลับไปในช่วง 10 ปีกอ่ น เธอบอกว่า โจทย์ส�ำ คัญของการทำ�นิทรรศการใน เมืองไทยคือการทำ�ให้คนอยากมาชมนิทรรศการ “เพราะ ณ วันนั้นการชมนิทรรศการเป็นเรื่องใหม่มาก การเข้ามาใช้เวลาอยู่ใน ห้องนิทรรศการเป็นเรื่องที่สังคมยังไม่คุ้นชิน เมื่อก่อนเราจับเวลากันด้วยซ้ำ�ว่าคนอยู่ ในห้องนิทรรศการกี่นาที นิทรรศการไหนคนดูเยอะที่สุด กลุ่มที่เข้าชมเป็นใครบ้าง ซึ่งส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะเราต้องตอบกรรมการผู้ให้เงินและงบประมาณทั้งหลาย บางคนอาจมองว่าทำ�ไมต้องนับตัวเลข ทำ�ไมต้องดูกลุม่ เป้าหมาย แต่เรากลับมองต่าง เรารู้สึกว่าสิ่งนี้ทำ�ให้เราพัฒนาการนำ�เสนอได้มากขึ้น เพราะเราสามารถดูได้ว่าในวัน เสาร์อาทิตย์กลุ่มคนดูเป็นคนกลุ่มไหน ในการทำ�นิทรรศการเราจะชอบปฏิกิริยาของ คนขณะที่ดูนิทรรศการ อยากเห็นปฏิกิริยาคนดูที่เขามีกับงาน”

ศุภมาศ พะหุโล ภัณฑารักษ์อสิ ระ อดีตภัณฑารักษ์ประจำ�ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ

111


ศุภมาศบอกว่า ปัจจัยหนึ่งในการออกแบบเนื้อหาและวิธีการเล่าในนิทรรศการ คือข้อมูลที่สำ�รวจมาจากความสนใจของกลุ่มผู้ชม “เราดูความสนใจของผูช้ มได้สว่ นหนึง่ แต่เราก็ตอ้ งเลือกเนือ้ หาทีต่ อ้ งการนำ�เสนอ แต่ข้อมูลเกี่ยวกับความสนใจของผู้ชมจะช่วยในส่วนของการออกแบบนิทรรศการ ดู เรื่องทิศทางการชมที่เป็นอิสระ ดูเรื่องปฏิกิริยาของคน คนแก่ดูนิทรรศการแบบไหน เด็กมีปัญหาเรื่องอะไร วัยรุ่นมาพร้อมกันกี่คน เราไม่พูดถึงเนื้อหานะ เพราะส่วนที่ เป็นเนื้อหาต้องมีการค้นคว้าวิจัยอะไรกันอยู่แล้ว แต่ข้อมูลเหล่านี้คือสิ่งที่เราจะนำ� มาใช้เพื่อปรับปรุง เพราะส่วนหนึ่งการนำ�นิทรรศการจากเมืองนอกมาจัดแสดง เรื่อง ความรู้ ปูมหลังของคนทีเ่ ข้าชมจะมีไม่เหมือนกัน จึงจำ�เป็นทีจ่ ะต้องทำ�บางอย่างเพือ่ ทำ�ให้เขาเกิดการเรียนรูไ้ ด้มากทีส่ ดุ คราวนีก้ ข็ นึ้ อยูก่ บั เทคนิคว่าจะทำ�ในลักษณะไหน”

112

ภัณฑารักษ์วิถี


หัวใจของภัณฑารักษ์ ด้วยความสนใจที่หลากหลาย จึงทำ�ให้ศุภมาศมองว่า หน้าที่สำ�คัญอย่างหนึ่ง ของภัณฑารักษ์คือการเปิดประตูไปสู่ความรู้ที่หลากหลาย เพราะภัณฑารักษ์ต้อง ทำ�งานในเนื้อหาที่หลากหลาย แน่นอน ภัณฑารักษ์ไม่ได้เชี่ยวชาญไปเสียทุกเรื่อง ด้วยเหตุนี้การทำ�งานเป็นทีมจึงสำ�คัญ “เราไม่ได้มีความเชี่ยวชาญด้านใดด้านหนึ่งหรือลงลึกเป็นพิเศษ แต่คิดว่าสิ่งที่ ตัวเองมีคือความสนใจที่หลากหลาย จนบางครั้งอาจจะเยอะเกินไปด้วยซ้ำ� เวลา มีคนโยนโจทย์ที่เป็นเรื่องใหม่เข้ามา เราจะรับมันและตื่นเต้นกับมัน เป็นช่วงเวลา กระตือรือร้น ถ้าเราไม่รู้ก็ไปหาคนที่รู้ หรือไปหาคนที่มาช่วยเราหรือเป็นที่ปรึกษา “ก่อนที่เราจะเข้ามาทำ�ใน TCDC เราเชื่อในสิ่งที่เรากำ�ลังจะทำ� เชื่อในนโยบาย บางอย่าง ถึงเราจะไม่เชื่อบางอย่างในรายละเอียดปลีกย่อย ถึงเราจะต่อต้านอะไรที่ เป็นทุนนิยมมากๆ แต่เรามีความเชือ่ ในเรือ่ งทีเ่ ป็นโจทย์ใหญ่ของ TCDC ฉะนัน้ เราจึง เลือกตัง้ แต่เข้ามาทำ�งานแล้ว การทำ�งานของเราจึงไม่คอ่ ยมีปญ ั หามาก เพราะว่าเรามี ความเชือ่ บางอย่างทีเ่ ราอยากทำ� เราอยากนำ�เสนอเรือ่ งนี้ เราเชือ่ ว่าเรือ่ งงานออกแบบ เป็นเรื่องที่สนุก เป็นเรื่องที่คนควรรู้ แล้วมันจะช่วยหลายๆ อย่างในชีวิต เรารู้สึกว่า นโยบายขององค์กรคือสิ่งที่ใช่และเข้าใจได้” ถามเธอว่าขอบเขตหน้าที่ของภัณฑารักษ์เริ่มต้นและสิ้นสุดที่ตรงไหน “เราคิดว่าภัณฑารักษ์มีหลายลักษณะมาก มีทั้งคนที่เป็นผู้ชำ�นาญทางด้านนั้น จริงๆ ที่สามารถเป็นภัณฑารักษ์ได้…ก็มี แต่อย่างที่บอก เราไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญ ทางด้านใดด้านหนึ่งเป็นการเฉพาะ เราอาจจะเรียกตัวเองว่าเป็น ‘นักจัดการความรู้’ มากกว่าที่จะเป็นภัณฑารักษ์ เรานำ�เนื้อหาหรือหาข้อมูลมาจัดการ เป็นเรื่องของการ จัดการตัวข้อมูลมากกว่า “ปัญหาของเมืองไทยจะมีอย่างหนึง่ ทีย่ ากมาก เพราะเรามี ‘ออแกไนเซอร์’ ทีเ่ ป็น ‘คิวเรเตอร์’ ได้ด้วย ซึ่งสองส่วนนี้ก็มีความคล้ายที่คาบเกี่ยวกัน ก่อนหน้านี้ก็ไม่ได้คิด อะไรมากกับประเด็นเหล่านี้กระทั่งได้ฟังว่า ถ้าเป็นที่ฝรั่งเศส เขาจะมี ‘นักออกแบบ’ (decorator) กับ ‘นักอนุรักษ์’ (conservator) ก็เลยคิดถึงตอนที่เรียนมาในพาร์ตของ งานออกแบบนิทรรศการ (curatorial) ก็มีงานดีไซน์ด้วยเหมือนกัน ฉะนั้นก็เลยคิดว่า ดีไซเนอร์ทที่ �ำ นิทรรศการน่าจะมีสว่ นช่วยการเล่าเรือ่ งเหมือนกัน เราเคยทำ�นิทรรศการ ชื่อ อจีรังคือโอกาส Percival Beautiful ในโซนหนึ่ง เราคิดที่จะนำ�เสนอโดยใช้วิธีการ

ศุภมาศ พะหุโล ภัณฑารักษ์อสิ ระ อดีตภัณฑารักษ์ประจำ�ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ

113


ความสวยงามหรือเสน่ห์ของนิทรรศการหรือ วิธีการมันมีหลายอย่าง แต่ถ้าถามว่าอันไหนที่ คิดว่าเป็นสิ่งดี สิ่งที่ดีของแต่ละคนไม่เหมือนกัน แน่ๆ เพราะคุณต้องการของที่มันไม่เหมือนกัน ความรู้ที่คุณอยากได้มันก็ไม่เหมือนกันด้วย

114

ภัณฑารักษ์วิถี


ทำ�เป็นตูใ้ ส่ของทีม่ นั จะเน่าเสีย เรากำ�ลังจะพูดว่าทุกอย่างมันไม่มอี ะไรทีจ่ รี งั แล้วเราจะ เล่าเรือ่ งนีอ้ ย่างไรดี เราจะไปหาของมาเหมือนกับการจะทำ�พิพธิ ภัณฑ์ แต่อนั นีเ้ รานึกถึง ภาพเขียนดัตช์สมัยศตวรรษที่ 17 แล้วคิดว่าทำ�อย่างไรให้มนั เสือ่ มสภาพ ณ ตอนนัน้ มันยังไม่มีงานร่วมสมัยที่นำ�เสนอประเด็นนี้ ก็หยิบภาพอันนี้ขึ้นมาแล้วคิดว่าเราจะ ทำ�งานอะไรสักอย่างหนึ่งที่มันออกมา เรานั่งคุยกับดีไซเนอร์ พัฒนากันมาจนกระทั่ง กลายเป็นกล่องที่ใส่ของอันนี้อยู่ ถ้าถามว่าเขามีส่วนที่เป็นคิวเรเตอร์ด้วยหรือเปล่า เรื่องนี้เขาก็ช่วยนะ แต่มันขึ้นอยู่กับว่าเราในฐานะภัณฑารักษ์จะเลือกด้วยหรือเปล่า” เมื่อฟังจากที่เธอเล่า ในการจัดนิทรรศการหนึ่ง นอกจากภัณฑารักษ์ที่ทำ�หน้าที่ เป็นแม่งานแล้ว ยังประกอบไปด้วยทีมงานทีม่ คี วามเชีย่ วชาญในเนือ้ หาหรือประเด็น นั้นๆ ด้วย “ในช่วงค้นคว้าข้อมูล เราก็อาจจะดูว่างานวิจัยแบบนี้เหมาะกับคนกลุ่มไหน ซึง่ มันมีตงั้ แต่นกั วิชาการ นักอนาคตศาสตร์ (ถ้าเราทำ�นิทรรศการเกีย่ วกับเรือ่ งราวใน อนาคต) หรือนักการตลาด ก็จะมีคนหลายกลุม่ อย่างงาน อจีรงั คือโอกาส ทีพ่ ยายาม จะพูดถึงเรื่องการเน่าเปื่อยหรือเสื่อมสลายก็ต้องไปคุยกับนักวิชาการที่มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ เพราะเราไม่รเู้ รือ่ งวิทยาศาสตร์ เดีย๋ วเอาเชือ้ ราเข้าเอ็มโพเรียมแล้วคน ตายกัน (หัวเราะ) จึงขึ้นกับว่าเรากำ�ลังทำ�งานประเภทไหนมากกว่า ทำ�งานประเภท ไหนก็ไปหาผู้เชี่ยวชาญทางด้านนั้น “งานส่วนทีเ่ ป็นข้อมูลก็จะมีแผนผังใหญ่ทเี่ ราต้องมานัง่ คุยนัง่ ถกจนเราเชือ่ กันทัง้ ทีม ในทีมของเราถ้าแยกเป็นความเชี่ยวชาญ อาจจะมีคนที่เชี่ยวชาญด้านนิเทศศิลป์ หมายถึ ง ด้ า นกราฟิ ก หรื อ การสื่ อ สารด้ ว ยภาพ อาจมี ที ม ที่ มี ค วามรู้ ด้ า นการใช้ ภาษา อาจจะมีคนที่แบบวิชาการจัดๆ สนุกกับการหาข้อมูล เคยทำ�อยู่งานหนึ่ง ทีเ่ ป็นนักเศรษฐศาสตร์ทงั้ ทีมเลยค่ะ เป็นนักเศรษฐศาสตร์ทงั้ ทีมทีว่ จิ ยั ข้อมูลก้อนนีม้ า ก่อนทีจ่ ะส่งต่อมาให้เรา วิธกี ารของเขาคือทำ�วิจยั ของเขามาในหัวข้อทีเ่ ราคุยกัน แล้ว เขาจะส่งเอกสารนำ�เสนอให้กับเรา ซึ่งจริงๆ แล้วเป็นอย่างนั้นบ่อยมาก แล้วเราก็มา นั่งคิดว่าเราจะเล่าให้คนฟังอย่างไรดี เราเป็นเหมือนนักเล่าเรื่อง”

ศุภมาศ พะหุโล ภัณฑารักษ์อสิ ระ อดีตภัณฑารักษ์ประจำ�ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ

115


ทางเดินของภัณฑารักษ์ เมือ่ งานในแต่ละส่วนถูกแจกจ่ายไปตามความสามารถเฉพาะของแต่ละฝ่ายแล้ว ศุภมาศบอกว่า ธรรมชาติของนิทรรศการคือการเดิน ซึ่งภัณฑารักษ์มีส่วนสำ�คัญใน การออกแบบจังหวะการเดินชมนิทรรศการ “นิทรรศการต้องคำ�นึงเส้นทางการเดินของคน คนเดินไปถึงอันนี้จะเหนื่อยไหม จะพักตรงไหน จะหยุดตรงไหน ตรงไหนควรจะตื่นเต้น ตรงไหนควรเป็นช่วงอ่าน มันคล้ายกับการทำ�โชว์การแสดงนะ การทำ�นิทรรศการที่เป็นวิจัยก็เหมือนการตั้งข้อ สมมุติฐานบางอย่าง เราต้องมาดูด้วยว่าสมมุติฐานนั้นในโลกความจริงสามารถเป็น ไปได้ไหม บางอย่างเราอยากนำ�เสนอมาก แต่ไม่รจู้ ะไปเอาของชิน้ นัน้ มาอย่างไร หรือ วิธีการในการนำ�เสนอเป็นอย่างไร เราก็ต้องหาวิธีการ” สำ�หรับศุภมาศ ความสวยงามหรือเสน่ห์ของนิทรรศการมีมากกว่าหนึ่ง ถ้าถาม ว่าแบบไหนถึงเรียกว่าดี เธอตอบว่า “สิ่งที่ดีของแต่ละคนไม่เหมือนกันแน่ๆ เพราะคุณต้องการของที่ไม่เหมือนกัน ความรูท้ คี่ ณ ุ อยากได้กไ็ ม่เหมือนกันด้วย บางนิทรรศการเข้าไปอาจจะเป็นศิลปะ บาง นิทรรศการเข้าไปแล้วยืนไม่ได้ ต้องเดินออกมาหายใจ กลัวว่าจะช็อกอยูใ่ นนัน้ เพราะ ไม่นา่ เชือ่ ว่าเราจะได้เห็นสิง่ นีห้ รือได้รบั รูป้ ระสบการณ์ลกั ษณะนี้ ล่าสุดไปทีล่ อนดอน ก็สนุกมาก นิทรรศการที่ ดีไซน์ มิวเซียม (Design Museum, London) เวลาจัดแสดง ชอบเอาวัตถุมาจัดแสดงโดยไม่บอกบริบท แต่เข้าไปเราแค่อ่านส่วนที่เป็นไทม์ไลน์ ก็น้ำ�ตาจะไหล เรานึกถึงคนค้นข้อมูลเลย เมื่อวิจัยเสร็จ คุณต้องมาตีความแล้วย่อย เหลือแค่ 3 บรรทัดให้คนอ่านรู้เรื่อง คุณหาวิธีการจัดการกับรูปภาพที่บางทีคุณไม่ได้ มีทกุ ภาพ คุณจึงเลือกนำ�เสนอด้วยวิธกี ารนี้ เราจะมองวิธกี ารคิวเรทของเขา แล้วเดิน ไปจนสิน้ สุดการบอกเล่า วิธกี ารของเขาคือให้ขอ้ มูลพืน้ ฐานอยูข่ า้ งหลัง มีสถิตทิ กุ อย่าง อยู่บนกำ�แพง ถ้าคุณอยากอ่านคุณต้องเดินไปอ่านมัน เรารู้สึกว่าเขาเล่าเรื่องดี วิธีที่ ง่ายของการทำ�นิทรรศการคือการทำ�เส้นทางให้เดินห้องต่อห้อง บังคับทางให้เดินไว้ แล้ว แต่นทิ รรศการทีย่ ากคือการทีเ่ ปิดหมด เหมือนกับเอาเนือ้ หาอันนีม้ าปะติดปะต่อ กับอันนี้ เหมือนการสุม่ พอเห็นอันนีแ้ ล้วชอบผูช้ มก็จะเดินไปหาส่วนทีช่ อบก่อน เห็น สิ่งที่ตัวเองสนใจก็เดินไปดู การลำ�ดับเรื่องจะไม่เป็นเส้นตรง” ถามเธอว่า การจัดนิทรรศการจำ�เป็นที่ภัณฑารักษ์ต้องควบคุมจังหวะการเดิน ของผู้ชมไหม 116

ภัณฑารักษ์วิถี


“ช่วงแรกของการทำ�งาน เราคุม 100 เปอร์เซ็นต์ เราคิดมาหมดแล้วว่าคนดูจะ ต้องเดินแบบนี้ เพราะเราห่วงคนที่ได้รับข้อมูลที่กระโดดไปมาแล้วจะไม่เข้าใจ ก็อาจ จะต้องบังคับทางเดิน แต่นิทรรศการที่ดีมันต้องทำ�ให้เราหัวใจเต้น (หัวเราะ) เหมือน เวลาเราไปงานบางงาน เดินเข้าไปดูแค่โซนข้างหน้า ดูแค่ส่วนนำ�เรื่องก็หัวใจจะวาย คงเหมือนหนังที่เปิดเรื่องมาก็ตรึงความสนใจของคนดูได้” นี่คืองานของภัณฑารักษ์ที่ถูกเล่าจากประสบการณ์ของศุภมาศ พะหุโล

ศุภมาศ พะหุโล ภัณฑารักษ์อสิ ระ อดีตภัณฑารักษ์ประจำ�ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ

117



หัวหอมในหอศิลป์

หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร



โซเชี ย ลมี เ ดี ย เข้ า มามี อิ ท ธิ พ ลต่ อ วิ ถี ชี วิ ต ของ คนรุ่ น ใหม่ ความสนใจของคนจึ ง เชื่ อ มกั น ไป หมด ความหลากหลายของความสนใจเหล่านี้ จึงตอบโจทย์กบั ลักษณะทางกายภาพของหอศิลป วัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานครด้วย เพราะ ถ้าเรามีศิลปะทั้ง 9 ชั้น มันคงไม่ใช่ เราจึงมี วรรณกรรม ศิลปะการแสดง ดนตรี เรื่องอื่นๆ ที่เชื่อมโยงเข้ามาเพื่อตอบโจทย์ความหลากหลาย ทางวัฒนธรรม พิชญา ศุภวานิช หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร


122

หัวหอมในหอศิลป์


หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร หรือ Bangkok Art and

Culture Centre: BACC เป็นพื้นที่จัดแสดงงานศิลปะที่ครอบคลุมทั้งงาน จิตรกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม ศิลปะจัดวาง ดนตรี วรรณกรรม และภาพยนตร์ ด้วยที่ตั้งที่ง่ายต่อการเข้าถึง และการออกแบบอาคาร ขนาด 9 ชั้น BACC จึงเป็นเหมือนศูนย์กลางของศิลปวัฒนธรรมที่ตั้งอยู่ ใจกลางกรุงเทพมหานคร นอกจากความหลากหลายของงานศิ ล ปะที่ ถู ก นำ � มาจั ด แสดง ความหลากหลายของกลุ่มผู้เข้าชมยังเป็นหัวใจสำ�คัญอีกประการหนึ่ง ของ BACC เราพูดคุยกับ พิชญา ศุภวานิช หัวหน้าฝ่ายนิทรรศการ ถึงเรื่องราวพื้นที่ทั้ง 9 ชั้น การคัดเลือกงานศิลปะ การพัฒนาผู้ชม และรวมถึงพื้นที่ภายนอกอย่างลานด้านหน้า ซึ่งเป็นพื้นที่อันแสดงถึง ความหลากหลาย มีตงั้ แต่รถรับจ้าง หาบเร่ และการรณรงค์ทางการเมือง

หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร

123


แกนที่อยู่ใจกลางหัวหอมคือคนรุ่นใหม่ เขยิ บ ออกไปชั้ น นอกของหั ว หอมคื อ กลุ่มอาร์ต เขยิบออกไปอีกก็อาจจะเป็น คนทั่วไปที่มีความสนใจด้านศิลปะและ วัฒนธรรม นี่เป็นฐานผู้ชมโดยหลัก ของเรา

124

หัวหอมในหอศิลป์


ผู้ชมของ BACC “หอศิลป์ปีนี้เป็นปีที่ 7 เอมทำ�งานมาตั้งแต่หอศิลป์เปิดมาสัก 2-3 เดือน ช่วง 2 ปีแรกเป็นช่วงทีก่ ารจัดการยังไม่เข้าที่ เพราะเราไม่มงี บฯ สนับสนุนต่อเนือ่ งจาก กทม. สิง่ ทีท่ �ำ ในช่วงแรกคือการเปิดพืน้ ทีใ่ ห้มกี จิ กรรมเข้ามาเพือ่ หล่อเลีย้ งพืน้ ทีซ่ งึ่ มีทงั้ หมด 9 ชัน้ มองดูเหมือนเป็นเรือ่ งทีไ่ ม่นา่ จะมีอะไรมาก แต่จริงๆ แล้วเป็นเรือ่ งค่อนข้างยาก พอสมควรที่จะจัดแสดงงานหรือกิจกรรมให้เต็มพื้นที่อาคารที่มีขนาดใหญ่ขนาดนี้ ใน 2 ปีแรกจึงเกิดลักษณะของความมั่ว” ‘ความมั่ว’ ในความหมายของพิชญา คือการขาดทิศทางการพัฒนาองค์ความรู้ ที่เป็นระบบ หรือนโยบายที่ส่งมาจากด้านบน รวมถึงงบประมาณ แต่การขาดแคลน นั้นกลับมีข้อดีบางประการ “ข้อดีของการไม่มงี บประมาณ ไม่มวี สิ ยั ทัศน์ ไม่มกี ารจัดการทีช่ ดั เจนก็คอื เราได้ สัมผัสกับวิธคี ดิ ของคนดู เราจับสังเกตได้วา่ งานทีเ่ ป็นเนือ้ แท้ของวัฒนธรรมเมืองไทย มีอะไรบ้าง นี่เป็นข้อดีอย่างเดียวเลยในช่วง 2 ปีแรกของความมั่ว” หลังจากนัน้ การทำ�งานเริม่ มีทศิ ทางมากขึน้ ประกอบกับการได้เรียนรูใ้ นช่วงต้น ว่าใครคือกลุ่มผู้ชมของ BACC ทำ�ให้การทำ�งานเริ่มมีกลยุทธ์ “เราเริ่มตั้งตัวได้และมองเห็นแล้วว่าคนดูของเราคือใครบ้าง และจากทำ�เลที่เรา อยู่ ทำ�ให้ 70 เปอร์เซ็นต์ของผูช้ มอายุประมาณ 15-35 ปี ไม่วา่ จะมาจากมหาวิทยาลัย รอบๆ หรือศูนย์การค้าที่มีมากมายในละแวกนี้ หรือการที่สถานที่สามารถเข้าถึง ได้งา่ ย ถ้าเทียบกับมิวเซียมแห่งอืน่ เรามีขอ้ ได้เปรียบ เพราะสามารถเข้าถึงได้งา่ ยมาก แปลว่ากลุม่ ผูช้ มของเราคือคนรุน่ ใหม่เป็นหลัก กลุม่ รองลงมาก็คอื กลุม่ ผูเ้ สพงานศิลปะ และศิลปิน ในการนำ�งานมาจัดแสดงเอมจะทำ�เป็นหัวหอม แกนทีอ่ ยูใ่ จกลางหัวหอม คือคนรุน่ ใหม่ เขยิบออกไปชัน้ นอกของหัวหอมคือกลุม่ อาร์ต เขยิบออกไปอีกก็อาจจะ เป็นคนทัว่ ไปทีม่ คี วามสนใจด้านศิลปะและวัฒนธรรม นีเ่ ป็นฐานโดยหลักของเรา งาน ทีเ่ ลือกมาแสดงโดยช่วงแรกจะเอนไปทางนัน้ คือมีมมุ ทีต่ อบสนองคนทีเ่ ข้ามาเป็นหลัก ของเรา แต่ช่วงหลังๆ เราเริ่มมีกลยุทธ์ที่หลากหลายมากขึ้น”

หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร

125


รสนิยมของกลุ่มผู้ชมและการจัดการพื้นที่ กลุ่มผู้ชมของ BACC มีความหลากหลายและมีเรื่องช่องว่างระหว่างวัยเข้ามา กำ�หนดทิศทางการจัดแสดงนิทรรศการศิลปะด้วย “ถ้ามองเป็นช่วงอายุ มันมีช่องว่างระหว่างอายุแน่นอน อย่างเอมอายุ 43 มือข้างหนึ่งอยู่กับแอนะล็อก มืออีกข้างอยู่กับดิจิทัล แต่ถ้าคนกลุ่มอายุ 40 ลงมา พวกเขามาจากยุคทีข่ อ้ มูลข่าวสารเกือบจะสมบูรณ์แบบ พวกเขาจะมีวธิ คี ดิ อีกแบบหนึง่ รวมถึงวิธีการมองโลก ทัศนคติ ไลฟ์สไตล์ จะมีคิดต่างจากคนยุคก่อน ก็มีช่องว่าง อยู่ คนรุ่นใหม่จะไม่มองงานศิลปะเป็นลักษณะขาวจัดหรือดำ�จัดเหมือนคนรุ่นก่อน หน้า ศิลปะในมุมมองของคนในรุ่นก่อนจะมีเรื่องการเมือง มีเรื่องศิลปะเพื่อชีวิต มี ลักษณะความเป็นขาวและดำ� มีความเป็นสถาบัน คนกลุ่มนี้จะมองงานศิลปะแบบ ตายตัว ในขณะทีค่ นรุน่ ใหม่ พวกเขาจะค่อนข้างหลากหลาย ซึง่ ไม่ใช่ความไม่ชดั เจนนะ มันเป็นอะไรทีห่ ลากหลาย...โอเค ในแบบคนรุน่ ใหม่นมี้ กี ลุม่ คนทีม่ องอะไรขาวและดำ� แน่นอน แต่ก็มีคนอีกมากมายที่มองโลกเป็นสีเทา ใช้ชีวิตแบบทางเลือก (Alternative Living)” เมื่อกลุ่มผู้ชมของ BACC เป็นกลุ่มที่หลากหลาย จึงเป็นการกำ�หนดทิศทางให้ นิทรรศการทีห่ มุนเวียนเข้ามาต้องหลากหลายตามไปด้วย เพราะความสนใจของกลุม่ ผู้ชมไม่ได้มีเรื่องศิลปะเรื่องเดียว “พวกเขาไม่เหมือนคนรุน่ เอมทีม่ คี วามเป็นยุคสมัยใหม่ (Modernity) มีความเป็น แบบแผนมาก เรียนมาแบบนี้ ลงลึกแบบนี้ ศาสตร์ตา่ งๆ ต้องเป็นแบบนี้ แต่คนรุน่ ใหม่ จะมีลกั ษณะผสม (hybrid) ซึง่ จุดเปลีย่ นก็คอื การทีโ่ ซเชียลมีเดียเข้ามามีอทิ ธิพลต่อวิถี ชีวิต ความสนใจของคนจึงเชื่อมกันไปหมด ความหลากหลายของความสนใจเหล่านี้ จึงตอบโจทย์กับลักษณะทางกายภาพของเราด้วย เพราะถ้าเรามีศิลปะทั้ง 9 ชั้น มัน คงไม่ใช่ เราจึงมีวรรณกรรม ศิลปะการแสดง ดนตรี เรื่องอื่นๆ ที่เชื่อมโยงเข้ามาเพื่อ ตอบโจทย์ความหลากหลายทางวัฒนธรรม แต่ในความหลากหลายทางวัฒนธรรมก็ มีความหลากหลายในพื้นที่ของมันอีก อย่างศิลปะก็มีหลายประเภท ดนตรีก็มีหลาย แนว พูดง่ายๆ ก็คือ ถ้าเราทำ�ความเข้าใจคนรุ่นใหม่ มันก็สามารถแตกแขนงออกมา เป็นงานที่หลากหลายเพื่อตอบสนองความสนใจที่หลากหลายของผู้ชม” ในแง่ของวิธีคิดในการจัดการพื้นที่จัดแสดงนิทรรศการสำ�หรับพิชญา ส่วนหนึ่ง มาจากปฏิกิริยาตอบสนองของผู้ชม เมื่อกลุ่มผู้ชมมีความหลากหลายและไม่ได้สนใจ ศิลปะแขนงใดแขนงหนึ่งเป็นการเฉพาะ กลุ่มผู้ชมเหล่านี้จึงเกิดการแลกเปลี่ยนพื้นที่ 126

หัวหอมในหอศิลป์


2 เปอร์เซ็นต์ของนักศึกษาศิลปะที่จบมาเท่านั้นที่ทำ�งานศิลปะ อย่างต่อเนื่อง เพราะเมืองไทยไม่มีระบบสนับสนุนให้เขาได้ ทำ�งานอย่างเป็นอาชีพ พอเขาจบมา 1 ปี ทำ�งานไปสัก 3 ปี ไม่มีอะไรกิน หลังจาก 3 ปีนี้ก็จะเริ่มขายข้าวสาร เริ่มเปิดปั๊ม เริ่มขายเสื้อผ้า

หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร

127


ความสนใจของตนเอง ประกอบกับความต้องการสร้างการเรียนรู้ของภัณฑารักษ์ก็มี ส่วนกำ�หนดพื้นที่และเลือกงานศิลปะเข้ามาจัดแสดง “ถ้ามองในเชิงกายภาพ เราเปรียบพื้นที่ทั้ง 9 ชั้นเป็นเค้ก ในช่วงเวลาเดียวกัน อาจจะมีงานที่ต่างกัน งานหนึ่งอาจจะเป็นแนวคิดคอนเซ็ปชวลจัดๆ อีกงานเป็น อนุรักษนิยมจัดๆ อีกงานอาจจะประเพณีนิยมจัดๆ อะไรแบบนี้ ซึ่งตอนแรกเอมก็ ค้านงานแบบอนุรกั ษนิยม เพราะคิดว่าสิง่ ทีส่ งั คมเราขาดคือการคิดไปในเชิงก้าวหน้า หรืองานแบบคอนเซ็ปชวล แต่เมื่อเห็นอะไรสักพักหนึ่งจะรู้ว่างานแบบประเพณีนิยม หรืออนุรักษนิยมเป็นสิ่งที่ผู้ชมต้องการด้วยเหมือนกัน ซึ่งถ้าพูดตรงๆ เป็นงานที่ ให้คุณค่าในเชิงความคิดน้อย ขอพูดตรงๆ นะ แต่มันให้คุณค่าในเชิงอารมณ์และ ความรู้สึกเยอะ แล้วพองานเหล่านี้มาอยู่ใจกลางเมืองแบบนี้ ก็เป็นสิ่งที่คนในเมือง ต้องการ การเข้ามาดูงานศิลปะที่พูดถึงอุดมคติความดีงามแบบประเพณีนิยมหรือ วิถีชีวิตในต่างจังหวัด ซึ่งคุณจะพบเจอได้ก็ต่อเมื่อคุณไปต่างจังหวัด กลายเป็นสิ่งที่ คนเมืองขาด ก็กลายเป็นว่ามีคนจำ�นวนมากที่เข้ามาดูงานประเภทนี้ ขณะที่งาน คอนเซ็ปชวลจัดๆ งานอาวองต์การ์ด (avant-garde) เป็นงานเชิงความคิดที่ไป ข้างหน้ากลับไม่ค่อยมีคนเข้ามาดู” เมือ่ เป็นเช่นนี้ พิชญา มองว่า ในฐานะภัณฑารักษ์ ต้องมีวธิ กี ารใหม่ๆ เพือ่ สร้าง กลุ่มผู้ชมให้กับงานศิลปะที่อยากจะเผยแพร่ในวงกว้าง “ตอนแรกเอมไม่มีคำ�อธิบายอะไรเลยด้วยซ้ำ� คือปล่อยให้ผู้ชมคิดเอง ซึ่งเป็น สิ่งที่ควรทำ�สำ�หรับการดูงานคอนเซ็ปชวล ผลลัพธ์ที่ได้คือไม่ค่อยมีคนดู (หัวเราะ) ฝ่ า ยบริ ห ารก็ เข้ า มาแนะนำ � ว่ า เราต้ อ งคำ � นึ ง ถึ ง การให้ ก ารศึ ก ษาผู้ ช มด้ ว ย ถ้ า มันแห้งมันเพียวมันคอแข็งเกินไปคนดูไม่สามารถย่อยได้ มันก็ไม่มีประโยชน์ ซึ่งเขา ก็พูดถูก เราก็เริ่มหาวิธี” วิธีการที่พิชญานำ�มาใช้ก็คือการให้ข้อมูลแวดล้อมและช่วยสร้างความเข้าใจใน เนื้อหาที่งานศิลปะนั้นๆ นำ�เสนอ โดยให้อิสระกับผู้ชมในการรับหรือไม่รับข้อมูลที่ ภัณฑารักษ์จัดเตรียมไว้ให้ “เราใช้วธิ เี ขียนปลายเปิด ในขณะเดียวกันเราก็ให้ผกั ปลาเขาโดยการแตกเนือ้ หา ออกมาว่ามีอะไรบ้างทีค่ ณ ุ ควรรู้ ซึง่ ผักปลาเหล่านีส้ ามารถประกอบเป็นอาหารจานนี้ ได้ เช่น โลกาภิวัตน์ (globalization) คืออะไร สัญญะนิยม (symbolism) คืออะไร เรา ให้ผักปลา แต่เขาจะผสมอาหารเป็นความคิดของเขา เขาต้องรวมเอง เราใช้วิธีนี้กับ งานทีย่ ากๆ ทำ�งานในมุมของการจัดลำ�ดับย่อย (micro level) แนะนำ�วิธกี าร มีเนือ้ หา 128

หัวหอมในหอศิลป์


มีผักปลาให้ แต่จะไปผสมยังไงก็เป็นเรื่องของผู้ชมแต่ละคนเอง”

เดินเข้าหากลุ่มผู้ชม ด้วยทำ�เลที่ตั้งทำ�ให้หอศิลปวัฒนธรรมแห่งนี้สามารถเข้าถึงได้ง่ายทั้งจากกลุ่ม ผู้ชมที่ตั้งใจเข้ามาชมและกลุ่มผู้ชมที่เป็นเยาวชน จนเราสามารถเห็นภาพชินตาที่เด็ก วัยรุ่นยืนถ่ายภาพเซลฟี่กับงานศิลปะ แน่นอนว่าอาจจะเป็นภาพบาดตาสำ�หรับคน ทำ�งานศิลปะและภัณฑารักษ์ที่จัดนิทรรศการ “เขาเข้ามาก็เซลฟีก่ บั งานศิลปะ จนบางทีเห็นแล้ว... (หัวเราะ) แต่ถา้ มองให้ลกึ ๆ มันไม่ใช่ เอมคิดว่าเขาใส่ใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นรอบตัวมากกว่าที่เราเห็น แต่บางทีมันเบื่อ เรื่องที่มันเป็นวงจรเดิมที่ไม่รู้จะคิดตรงนี้ต่อไปทำ�ไม แค่เรื่องการเมืองเอมคิดว่า คนรุ่นใหม่ไม่เอาเลย ไม่เอานี่ไม่ใช่เพราะไม่แคร์นะ แต่มันซ้ำ�จนเบื่อจนตัวเขา ฉีกตัวเองออกไป แล้วเขาก็ไปหาทางออกแบบอื่น จะบอกว่าเขาตื้นหรือเปล่า ถ้า ความตื้นเป็นปัญหาสากลด้วยยุคข้อมูลข่าวสาร เราแบนและกว้าง ขณะเดียวกัน เราไม่ได้ลงลึก นี่คือภาวะที่เกิดขึ้นกับคนรุ่นใหม่ทุกที่ทั่วโลกอยู่แล้ว โดยเฉพาะเรา ไม่ได้มีรากของความเจ็บปวดในอดีตที่ต้องก้าวข้าม “ในขณะเดียวกัน เทียบกับเวียดนาม รุ่นเก่าเขามองว่ารุ่นนี้ตื้นเหมือนกัน คน รุน่ ใหม่ของเวียดนามไม่สนใจเรือ่ งสงครามเวียดนาม แต่กอ็ ย่างทีเ่ อมบอก เขารูส้ กึ ว่า พอแล้วจากการที่เห็นพ่อแม่พูดเรื่องนี้ซ้ำ�ซาก ตัวเองอยากจะก้าวข้ามไปแล้ว อยาก ไปทำ�อย่างอืน่ อยากมีทศั นคติไปข้างหน้า มันก็เลยมาในมุมของชีวติ ทางเลือก ไม่วา่ จะเป็นคำ�นิยามของฮิปสเตอร์ หรือการมองประเด็นเรื่องอื่นในมุมอื่น การมองโลก สีเทา การสนใจเรื่องธรรมชาติ แน่นอนมันต้องมีกลุ่มที่เซลฟี่พวกนี้อยู่ แต่ถ้ามอง ลึกลงไปเอมกลับคิดว่าเขาฉลาดกว่าที่เราคิด และเขารู้กว้างกว่าที่เราคิด แล้วเขารู้ กว้างกว่าเราด้วย เพราะเขาเกิดมากับการมีทุกอย่างอยู่ใกล้มือกว่าเรา แต่สิ่งที่น่า กลัวคือเขารู้ทุกอย่างในโลกแต่ไม่รู้จักตัวเองหรือเปล่า ไม่มีฐานในการหยิบจับมา ใช้สอยหรือไม่ สมมุติเรามีทุกอย่างแต่ไม่รู้จะหยิบอะไรออกมาใช้ก็ไม่มีประโยชน์ ตรงนี้มากกว่าการจัดการกับข้อมูล” ‘BACC KID’ เป็นงานที่มีกลุ่มผู้ชมเป้าหมายเป็นเด็กและเยาวชน ซึ่งพิชญายก ตัวอย่างให้ฟังถึงการพัฒนากลุ่มผู้ชม

หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร

129


“มีงานทีเ่ ราทำ�กับเด็กเลยชือ่ BACC KID เรามีแบบการเรียนรูส้ ามแบบ หนึง่ พหุ ปัญญา (multiple intelligence) สอง วอลดอร์ฟ (Waldorf) สาม มอนเตสซอรี (Montessori) เราทำ�เป็น 3 แผนกิจกรรมศิลปะ เรามองว่าเด็กมีวิธีที่จะเข้าถึงศิลปะแบบหนึ่ง วอลดอร์ฟสอนให้รจู้ กั ตัวเอง มอนเตสซอรีกเ็ ช่นกัน และพหุปญ ั ญา พอเอาแบบแผน การเรียนรู้แบบนี้เข้ามาจับการเรียนรู้ศิลปะ มันเอื้อให้เด็กเรียนรู้และเข้าใจศิลปะที่มี ตัวเองเป็นหลัก เราใช้วิธีนี้ ขั้นต่อไปเราคิดถึงผู้ชมเป็นหลัก แทนที่จะเอาภัณฑารักษ์ เป็นหลัก หรือบอร์ดของเราเป็นหลัก” นอกจากนีพ้ ชิ ญา ยังเล่าให้ฟงั ถึงงานเชิงรุกทีเ่ ข้าไปยังสถาบันสอนศิลปะเพือ่ เก็บ ข้อมูลเกี่ยวกับนักศึกษาศิลปะ ผู้ซึ่งในอนาคตจะเรียนจบออกมาเป็นศิลปิน “เราโฟกัสไปทีก่ ลุม่ มหาวิทยาลัยกับศิลปินรุน่ ใหม่มากกว่า เราไปทีม่ หาวิทยาลัยเลย เพื่อพูดคุยกับเขา เราใช้โปรแกรมที่เรียกว่า ‘Match-Ups Talk’ เป็นภาษาแร็พ ว่าเขา คิดยังไง แต่ให้อาจารย์ออกไปก่อน แล้วคุยกับเขาว่าการเรียนการสอนเป็นยังไง เขา สนใจอะไรอยู่ มองโลกข้างหน้ายังไง เป็นเด็กปี 4 เป็นนักศึกษาศิลปะที่เราโฟกัสไว้ พอคุยกับเขามันก็เปิดโลกเรา อย่างถามว่าใครบ้างที่จบไปจะเป็นศิลปิน ปรากฏไม่มี ใครยกเลย แล้วอาจารย์จะโมโหมาก 130

หัวหอมในหอศิลป์


“เราถามตัวเองว่าการสนับสนุนศิลปินในแต่ละปี 1-2 คน อย่างที่ทำ�กันทั่วโลก มันเหมาะกับ BACC หรือเปล่า เอมรีเสิรช์ มาพบว่า 2 เปอร์เซ็นต์ของนักศึกษาศิลปะที่ จบมาเท่านัน้ ทีท่ �ำ งานศิลปะอย่างต่อเนือ่ ง เพราะไม่มรี ะบบสนับสนุนให้เขาได้ท�ำ งาน อย่างเป็นอาชีพ พอเขาจบมา 1 ปี ทำ�งานไปสัก 3 ปี พ่อแม่เริ่มกังวลแล้ว (หัวเราะ) มันไม่มีอะไรกิน หรืออะไรก็ตาม หลังจาก 3 ปีนี้ก็จะเริ่มขายข้าวสาร เริ่มเปิดปั๊ม เริ่มขายเสื้อผ้า” เรื่องเล่าของพิชญาสะท้อนให้เห็นว่าอาชีพศิลปินไม่สามารถทำ�เป็นอาชีพเลี้ยง ตัวเองได้ และนอกจากจะไม่สามารถเลีย้ งตัวเองได้แล้ว ‘ศิลปิน’ ยังเป็นคำ�ทีอ่ ยูบ่ นหิง้ ไม่มีใครกล้าเรียกตัวเองเช่นนั้น ซึ่งพิชญามองว่านี่คือปัญหา “มันเป็นปัญหา แปลว่าความภูมิใจในคำ�นี้ไม่มี เอมมองว่าศิลปินคืออาชีพหนึ่ง และควรจะถูกมองแบบนั้น เพราะถ้าถูกมองแบบนั้น แปลว่ามันสามารถยังชีพได้ แต่ถ้ามองในมุมสูงส่ง ไม่มีกินก็ได้ มันก็ไม่ไปไหน เราอาจจะต้องล้างมายาคติจาก คนรุ่นเก่าด้วย มายาคติก็คือมันไม่ใช่เรื่องสูงส่ง (หัวเราะ) ไม่มีกิน มันไม่ใช่ เอมจะ คุน้ มากกับมายาคติแบบนี้ พอสร้างมโนคติแบบนีข้ นึ้ มา โดยอัตโนมัตมิ นั ไปถึงเรือ่ งอืน่ ซึ่งน่าเสียดาย แต่ถ้ามองว่าคืออาชีพหนึ่ง แล้วต้องได้เงินนะเวลาฉันทำ�งาน แล้ว เท่านี้ด้วยนะห้ามต่ำ�กว่านี้ นี่โอเค เราก็คุยกันอย่างธุรกิจ”

ว่าด้วยภัณฑารักษ์ ภัณฑารักษ์ (curator) เป็นอาชีพใหม่ ซึ่งพิชญามองว่า คำ�นิยามของคำ�นี้ยังไม่ ชัดเจน เมื่อไม่ชัดเจนจึงทำ�ให้เกิดอุปสรรคเล็กน้อยในการทำ�งาน “เอาเข้าจริงๆ ในแง่อาชีพ คำ�นี้ก็ยังไม่สามารถทำ�งานได้อย่างเต็มที่กับศิลปิน ด้วยซ้ำ� เช่น พอเราบอกว่าเอางานมาที่ห้องจัดแสดงแล้ว วางใจเลยนะเพราะเรา ทำ�งานร่วมกัน แต่ศลิ ปินจะคุน้ กับการทีจ่ ะติดตัง้ เอง จัดการเอง อย่ามายุง่ ฉันจัดการ เอง ฉันเป็นศิลปิน แต่ภณ ั ฑารักษ์คอื คนทีค่ ณ ุ ต้องรูต้ งั้ แต่เลือกแล้วว่างานนีจ้ ะดูดที สี่ ดุ ยังไง นี่คือความเป็นอาชีพ ต้องรู้แสง รู้ความสูงจากพื้น ต้องรู้ทุกอย่าง ถ้าเขาเข้าใจ ความเป็นอาชีพ เคารพความเป็นอาชีพ เขาจะรู้ว่ารอยต่อจบตรงนี้ อีกคนหนึ่งรับ ช่วงไป ทำ�งานเป็นทีม นิทรรศการมันซับซ้อน ต้องทำ�งานเป็นทีม แต่เอมคิดว่ามัน จะดีขนึ้ มองว่าคนรุน่ นีน้ า่ จะเป็นความหวัง เพราะพวกเขาไม่ยดึ ติดกับปัญหามากนัก

หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร

131


และหาทางออกเสมอ” ในฐานะภัณฑารักษ์ พิชญาต้องการรับรูผ้ ลลัพธ์หรือปฏิกริ ยิ าจากผูช้ มและสังคม ด้วย “เรามีการวัดเชิงคุณภาพทีว่ ดั จากการสนทนากลุม่ จากการสอบถามเชิงคุณภาพ กับผู้ชม หรือค่าวัดจากสื่อ ซึ่งมันก็พร่องอีก เพราะค่าวัดจากสื่อที่เราต้องการไม่ใช่ แค่การรีวิวงาน เราต้องการสื่อที่วิพากษ์วิจารณ์งาน ตรงนี้เราก็พร่องอีก เพราะเรา ไม่มนี กั วิจารณ์ทเี่ พียงพอทีจ่ ะขึน้ ไปดูงานแล้ววิพากษ์วจิ ารณ์วา่ ดีไม่ดอี ย่างไร ใน 1 ปี เอมทำ� 12 นิทรรศการ สิ่งที่ต้องการคือคนที่เข้ามาบอกว่างานแต่ละงานดีไม่ดี ตรงไหนอย่างไร ซึ่งเป็นสิ่งที่เราจะไม่ได้มาจากผู้ชมทั่วไป เพราะผู้ชมเขาตอบสนอง เราได้ระดับหนึง่ แต่ถา้ เราต้องการไปข้างหน้าเราต้องการผูเ้ ชีย่ วชาญเข้ามาเจาะลงไป แล้วกระเทาะออกมา” นอกจากวิจารณ์ตัวงานศิลปะแล้ว พิชญายังคาดหวังเสียงวิจารณ์การทำ�งาน ของภัณฑารักษ์ด้วย “จริงๆ คาดหวังทัง้ สองอย่างเลย ซึง่ เขาอาจจะต้องรูค้ วบคูก่ นั คืองานภัณฑารักษ์ กับงานศิลปะ สมมุติเดินเข้ามาในนิทรรศการหนึ่ง คนที่เป็นนักวิจารณ์จริงๆ เขาต้อง บอกว่าพอเปิดประตูเข้ามาแล้วควรเป็นยังไง มองในภาพรวมของนิทรรศการด้วย แสงโดยรวมเป็นยังไง การจัดวางเป็นยังไง หรือการนำ�เสนองาน ชิ้นงานมีคุณค่า หรือเปล่า เอาตรงนีก้ อ่ น (หัวเราะ) มีคณ ุ ค่าต่อสังคมหรือใดๆ หรือเปล่า ถ้ามีคณ ุ ค่าแล้ว สื่อสารได้ชัดเจนหรือเปล่า คนดูได้รับสารนั้นหรือเปล่า นี่คือสิ่งที่เราต่อสู้ด้วย เพราะ บางครัง้ เรารูส้ กึ ว่าเราพูดเคลียร์แล้วนะ แต่ปรากฏว่าคนดูไม่เคลียร์ เราคาดหวังผูท้ จี่ ะมา ช่วยบอกเรามันดีหรือไม่ดอี ย่างไร แต่ดว้ ยความทีว่ า่ มันเป็นสิง่ ทีเ่ พิง่ จะเกิดขึน้ อย่างเป็น มืออาชีพ การประเมินผลเรือ่ งนีก้ ย็ งั ไต่เต้าขึน้ มาพอๆ กับการทำ�งานของเรา พูดง่ายๆ ว่า ทุกอย่างมันเริ่มจากศูนย์ เราก็ค่อยๆ ไต่กันขึ้นมา” ถามพิชญาว่าการรู้จักผู้ชมถือเป็นหน้าที่หนึ่งของภัณฑารักษ์หรือไม่ “ภั ณ ฑารั ก ษ์ มี ห ลายแบบ อย่ า งบางคนอาจจะไม่ จำ � เป็ น ต้ อ งคำ � นึ ง ถึ ง ผู้ ชมขนาดนั้น แต่เอมเป็นภัณฑารักษ์ในหน่วยงานที่มีความเป็นสถาบัน ซึ่งเป็น สถาบั น ที่ เ ป็ น สาธารณะด้ ว ย แน่ น อนว่ า ผู้ ช มมาเป็ น อั น ดั บ หนึ่ ง ด้ ว ยซ้ำ � ตรง นี้ ก็ เ ป็ น ความคิ ด ในการพู ด คุ ย เรื่ อ งการพั ฒ นาผู้ ช ม ว่ า ท้ า ยที่ สุ ด แล้ ว ต้ อ งจบที่ ผูช้ ม ก็เพราะเราทำ�งานบนเงือ่ นไขเรือ่ งของผูส้ นับสนุน ทุน เรือ่ งความคิด หรือการให้การ ศึกษา ทุกอย่างจึงจบที่ผู้ชมหมด ผู้สนับสนุนให้เงินก็ต่อเมื่อมีจำ�นวนของผู้ชมเข้ามา 132

หัวหอมในหอศิลป์


เยอะ หรือทุนจากรัฐที่ให้มาก็ต่อเมื่อเราสามารถตอบสนองการให้การศึกษาผู้ชม ในประเด็นนั้นๆ หรือการเอาความคิดที่ก้าวหน้าไปสู่ผู้ชม เอมทำ�งานที่ไปข้างหน้า ไม่ได้ถ้าผู้ชมไม่ไปกับเรา ไม่เช่นนั้นจะเหมือนกับการที่เราวิ่งไปข้างหน้าแล้วมองซ้าย มองขวากลับไม่เห็นมีใครมาด้วย (หัวเราะ) ซึ่งเป็นความรู้สึกที่โดดเดี่ยวมากทั้งศิลปะ และภัณฑารักษ์ แล้วเราก็อยูก่ นั แค่นี้ อยูก่ บั กลุม่ ทีเ่ ข้าใจกัน ก็อยูก่ นั แค่นไี้ ปเรือ่ ยๆ ซึง่ เราไม่ได้พัฒนาไปไหนเราก็วนอยู่ในอ่าง และบอกกันและกันว่าเขาไม่เข้าใจเราเนาะ (หัวเราะ) แต่เอมว่าเราต้องก้าวข้ามตรงนั้นไปได้แล้ว และไม่ควรจะเป็นใต้ดินแล้วใน บางเรือ่ ง แต่บางเรือ่ งทีต่ อ้ งใต้ดนิ ก็อาจจะเป็นเช่นนัน้ แต่บางเรือ่ งไม่ควรจะเป็นใต้ดนิ แล้ว ควรจะขึ้นมาบนดิน ในเมืองนอกเขาก็เป็นแบบนี้กันแล้ว ดึงเอาความคิดจัดๆ ขึ้นมาบนดินสื่อสารกับคนกลุ่มใหญ่ ช่อง 3 5 7 9”

พื้นที่หน้าหอศิลป์ ในช่วงที่สังคมการเมืองมีปัญหามักจะทำ�ให้ศิลปะมีปัญหาไปด้วย ถามว่าอะไร คือปัญหาของศิลปะที่เกิดจากปัญหาทางสังคมการเมือง คำ�ตอบเบื้องต้นที่มองเห็น ได้ชัดก็คือ พื้นที่ที่หดแคบลงในการนำ�เสนอความคิดผ่านศิลปะ “ศิลปินจะทำ�งานสุ่มเสี่ยงมากขึ้นโดยเฉพาะช่วงนี้นะคะ ทางภาพยนตร์และ ศิลปะการแสดงจะแรงกว่าทัศนศิลป์ พอเขาเข้ามาเขาก็เซ็นเซอร์โต้งๆ มีอยู่งานหนึ่ง ก็เชิญไปปรับทัศนคติเลย” นี่คือรูปธรรมของปัญหาที่เกิดขึ้นกับพื้นที่ทางศิลปะ นอกจากสิ่งที่เกิดขึ้นกับ ศิลปินอย่างที่พิชญาเล่าแล้ว ในกรณีของ BACC เราจะเห็นว่าพื้นที่หน้าหอศิลป์แห่ง นีย้ งั เป็นพืน้ ทีท่ ใี่ ช้ในการรณรงค์ประเด็นทางสังคมการเมืองอยูบ่ อ่ ยครัง้ และโดยกลุม่ คนที่หลากหลาย เราจึงถามเธอถึงเรื่องนี้ “คนทีม่ าแสดงออกทีห่ น้าลาน ท้ายทีส่ ดุ แล้วมาตรการการป้องกันความปลอดภัย มาก่อนเป็นอันดับแรก แต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก็ไม่ได้ร้ายแรง สามารถป้องกันได้ เป็น จุดที่ต้องต่อสู้หลายระดับ เอมมีความเชื่อแบบหนึ่งแน่นอน แต่เอมอยู่ในองค์กรที่มี ความเชือ่ อีกแบบหนึง่ หรืออยูก่ บั คนทีม่ คี วามเชือ่ อีกแบบหนึง่ แต่สงิ่ ทีเ่ อมยึดคือความ เปิดใจกว้าง แต่ในขณะเดียวกันการจะทำ�ให้ลานข้างหน้าเปิดใจกว้าง ก็มจี ดุ ยึดยือ้ กับ

หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร

133


ถามว่ า ลานข้ า งหน้ า เป็ น ของใคร ใครเป็นเจ้าของพืน้ ที่ พืน้ ทีต่ รงนัน้ กลับ หาเจ้าของไม่ได้อย่างแท้จริง เพราะเป็น พื้นที่สาธารณะที่คนเข้ามาใช้ มีเด็กมา เต้นบีบอย มีมอเตอร์ไซค์รบั จ้าง นี่คือ ไทยค่ะ

134

หัวหอมในหอศิลป์


หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร

135


หลายอย่างมาก เอาง่ายๆ ลานด้านหน้ามีทั้งตุ๊กตุ๊ก มีเทศกิจ มีหลายอย่าง เอมถาม ว่าลานข้างหน้าเป็นของใคร ใครเป็นเจ้าของพื้นที่ พื้นที่ตรงนั้นกลับหาเจ้าของไม่ได้ อย่างแท้จริง เพราะเป็นพืน้ ทีส่ าธารณะทีค่ นเข้ามาใช้ มีเด็กเต้นบีบอย มีมอเตอร์ไซค์รับจ้าง นี่คือไทยค่ะ (หัวเราะ) เราไม่ใช่สิงคโปร์แม้เราจะอยากเป็น เราไม่ใช่เยอรมัน หรือเราอยากจะห้ามเข้ามาตรงนี้ แสดงว่าเรามีความหลากหลายทีล่ กั ลัน่ อยู่ ถามว่าถ้า นักศึกษาเข้ามาโดยอุดมคติ เขาก็ควรจะเข้ามาและสามารถใช้พื้นที่อย่างอิสระ ทำ�ไม เราไม่เห็นด้วยเหมือนอเมริกาที่เห็นด้วยกับไม่เห็นด้วยเดินร่วมในขบวนเดียวกัน มี เพียงเส้นกั้นเท่านั้น เรามีแบบนั้นหรือเปล่า ถ้าถามว่าหอศิลป์ผิดหรือเปล่า เอมว่า ต้องถามภาพรวมมากกว่า ถ้าหอศิลป์เป็นแบบนี้ หอศิลป์คอื ตัวแทน (representation) ของเมืองไทย ก็ต้องถามว่าเมืองไทยมันผิดตรงไหนมากกว่า เอมว่าประเด็นนี้เป็น ปัญหาในภาพรวมที่เอื้อให้เกิดสิ่งนี้ขึ้น “ตรงลานข้างหน้าเรามีประท้วงทุกอย่างตัง้ แต่พม่า โรฮีนจา จุดเทียน มีคอ่ นข้าง หลากหลาย อาจจะมีความเปิดกว้างในแง่กายภาพอยูแ่ ล้ว ทางภูมศิ าสตร์มนั เปิดกว้าง เพราะถ้ามีอะไรเกิดขึ้นก็วิ่งได้ (หัวเราะ) แต่ถ้าให้เป็นสัญลักษณ์ของบางอย่างก็ใช่นะ สัญลักษณ์ของการพูดเรื่องสิทธิ แต่ถ้าถามว่ามันกลางมั้ย อาจยังมีความเป็นสถาบัน ที่มาจากรัฐบาลชัดเจนมาก” พิชญาเล่า

136

หัวหอมในหอศิลป์




ดวงดาวของชาวสวน

พิพธิ ภัณฑ์เพือ่ การศึกษาวัดหนังราชวรวิหาร



คนทำ�พิพิธภัณฑ์ต้องใส่หัวใจเข้าไป ถ้าทางพระ ทางธรรมเรี ย กอิ ท ธิ บ าท 4 คื อ มี ค วามใส่ ใ จ� สนใจ ฝักใฝ่ และไม่ทอดทิ้ง เสมอต้นเสมอปลาย การทำ�พิพิธภัณฑ์ในแง่หนึ่งเป็นการรักษาศรัทธา ความรู้สึกของผู้คนในชุมชนด้วย พระครูสังฆรักษ์ไพฑูรย์ สุภาทโร พิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษาวัดหนังราชวรวิหาร


142

ดวงดาวของชาวสวน


บริ เ วณ ทางเข้า พิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษาวัดหนัง

ราชวรวิ ห าร มี ป้ า ยบอกระเบี ย บการเข้ า ชม ‘ไม่ อ นุ ญ าต ให้บันทึกภาพทุกประเภท’ แต่ก็อนุโลมเฉพาะ ‘นักเรียน/ นั ก ศึ ก ษา’ ด้ ว ยเหตุ ผ ลเพื่ อ ประกอบ ‘การเรี ย นการสอน’ เท่านั้น หากคุณไม่เชื่อในกติกานี้ และสิ่งของโบราณยวนใจ ให้หยิบสมาร์ทโฟนขึ้นมาถ่ายรูป คุณอาจโดนตั้งข้อสงสัยใน ทาง ‘โจรกรรม’ ได้ แต่ พระครูสังฆรักษ์ไพฑูรย์ สุภาทโร ผู้ริเริ่มจัดทำ� พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ และยังทำ�หน้าที่ภัณฑารักษ์ ผู้นำ�ชม กระทั่ง ทำ�ความสะอาดพิพิธภัณฑ์ บอกว่า “อาตมาขู่เฉยๆ ผู้เข้ามา ชมพิพิธภัณฑ์ทุกคนสามารถถ่ายรูปได้ เราไม่ได้วางไว้เป็นกฎ เหล็ก เพราะอยากให้เรียนรู้กันอยู่แล้ว อาตมานึกถึงตอนเป็น นักเรียน เวลาเข้าชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ...มันลำ�บาก เราทำ�อะไรไม่ได้ ถ่ายรูปไม่ได้ วิธีการเดียวที่ใช้จดจำ�คือการ วาดภาพ เมื่อเราทำ�พิพิธภัณฑ์ขึ้นมาก็อยากให้สะดวกต่อการ เรียนรู้” ทัง้ การขูผ่ า่ นป้ายหน้าพิพธิ ภัณฑ์และถ้อยคำ�จากปากของ พระครูสังฆรักษ์ไพฑูรย์ น่าจะสะท้อนบุคลิกบางประการของ ภัณฑารักษ์ทา่ นนีไ้ ด้ และหากพิพธิ ภัณฑ์เพือ่ การศึกษาวัดหนัง ราชวรวิหารเป็นเหมือนภาพยนตร์เรื่องหนึ่ง พระครูสังฆรักษ์ ไพฑูรย์ ก็เป็นทั้งผู้กำ�กับ คนเขียนบท ผู้กำ�กับภาพ นักตัดต่อ ผู้กำ�กับศิลป์ และเด็กยกของในกองถ่าย

พิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษาวัดหนังราชวรวิหาร

143


ว่าด้วยชั้นบนและชั้นล่าง เดินตามหลังพระครูสังฆรักษ์ไพฑูรย์เข้าไปภายในพิพิธภัณฑ์ จุดแรกเราพบกับ ประวัติศาสตร์ฉบับย่อของวัดหนังราชวรวิหารผ่านยุคสมัยต่างๆ ข้อมูลที่ใช้ในการ อ้างอิงเพื่อเล่าเรื่องราวนั้น พระครูสังฆรักษ์ไพฑูรย์ค้นคว้าจากการศึกษาของนัก ประวัติศาสตร์ จึงทำ�ให้เห็นภาพความเป็นมาของวัดหนังฯ ตั้งแต่สมัยอยุธยา ‘วัดหนัง’ หรือ ‘วัดหนังราชวรวิหาร’ สร้างเมื่อ ปี 2260 หรือประมาณรัชกาล พระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ หลักฐานนี้ได้มาจากจารึกที่ระฆังโบราณของวัด ภายในพิพธิ ภัณฑ์มี 2 ชัน้ นอกจากประวัตศิ าสตร์ฉบับย่อของวัดหนังราชวรวิหาร หัวใจของเรื่องเล่าบริเวณชั้นล่างคือพื้นที่จัดแสดงวิถีชีวิตในอดีตของชาวบ้านย่าน วัดหนังฯ หรือเขตบางขุนเทียน ผ่านข้าวของเครื่องใช้ในการทำ�ไร่ทำ�สวนผลไม้และ แปลงผัก แทนที่สิ่งของเหล่านี้จะถูดจัดเรียงเป็นสองฝั่งตามความยาวผนังของตัวอาคาร แต่วิถีชีวิตชาวสวนย่านบางขุนเทียนในอดีตถูกจัดไว้ตามจุดต่างๆ ในลักษณะสลับ ฟันปลา จังหวะการเดินชมสิง่ ของตามจุดต่างๆ ถูกกำ�หนดตามจังหวะการจัดวางของ พรครูฯ ผู้เป็นภัณฑารักษ์ “อาตมาพยายามจัดวางสิง่ ของให้การเดินชมไปพบมุมพบหลืบ เวลาเด็กนักเรียน เข้ามาดูเขาก็จะลุ้นว่าห้องนี้มีอะไร มันมีหลืบมีซอยมีการจัดวางแบบซิกแซก แต่ ซิกแซกแค่นี้ก็มีคนหลงนะ อาตมาจงใจทำ�ให้การเดินชมคล้ายอยู่ในเขาวงกต เกิด ความสนุก ไม่อยากให้การจัดวางสิ่งของเป็นไปแบบมองเข้ามาทีเดียวแล้วจบเลย เราจึงนำ�ฝาไม้มากั้นเป็นฉากมาแบ่งเป็นห้อง ซึ่งฝาไม้เหล่านี้ก็บอกเล่ายุคสมัยของ ตัวมันด้วย เป็นการอนุรักษ์ฝาไปในตัว” พระครูสังฆรักษ์ไพฑูรย์ กล่าวไปพลาง สาวเท้ามุ่งหน้าไปพลาง ไม่ว่าจะเป็น ระหัดวิดน้ำ� เชือกกล้วย เรือ เครื่องครัว โทรทัศน์ขาวดำ� วิทยุ ทรานซิสเตอร์ ร้านค้าโบราณ ไร่สวนจำ�ลอง สิง่ ของเหล่านีค้ อื เรือ่ งเล่าในอดีตทีค่ อ่ ยๆ เดินทางมาบรรจบกับข้อเท็จจริงของปัจจุบัน และจะเผยแนวโน้มความเป็นไปของ ชุมชนในอนาคต แม้ว่าไม่มีสิ่งของแห่งอนาคตในห้องจัดแสดง แต่พระครูสังฆรักษ์ไพฑูรย์เลือกที่จะจัดวางเรื่องเล่าของความเปลี่ยนแปลงไว้ในห้องนี้ด้วย “ย่านบางขุนเทียนเริม่ สร้างรถไฟฟ้า ชาวบ้านก็ขายทีด่ นิ กัน พืน้ ทีท่ เี่ คยเป็นสวน จึงเหลือไม่มากแล้ว อาตมาและผูช้ ว่ ยต้องเก็บภาพถ่ายสวนทีย่ งั เหลือไว้ ในอนาคตถ้า 144

ดวงดาวของชาวสวน


“ของเก่าของโบราณมัน ใช้ ไ ม่ ไ ด้ แ ล้ ว มั น หมด บทบาทการใช้งานไปแล้ว แต่มนั ยังมีบทบาทในการ ให้ความรู้กับคนรุ่นใหม่”

พิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษาวัดหนังราชวรวิหาร

145


เราไม่มภี าพสวนของชาวบางขุนเทียน เราอาจต้องไปเก็บภาพสวนของชาวอัมพวามา แสดงแทน แต่มันไม่เหมือนกัน ภูมิประเทศต่างกัน สวนของเขาท้องร่องจะแบนและ กว้าง ของเราจะเล็กและแคบ แถวอัมพวาไม่ค่อยมีแหน แต่ของเรามีแหน ลักษณะ การปลูกก็จะต่างกัน แต่ต่อจากนี้มันจะมีเหลือแต่ชื่อ การทำ�สวนจะกลายเป็นอดีต เป็นประวัติศาสตร์สำ�หรับการศึกษาอดีตของคนรุ่นต่อไป” พื้นที่จัดแสดงสิ่งของบนชั้นสองเป็นอาคารไม้ แต่เดิมเป็นกุฏิพระสงฆ์ ถูก ปรับปรุงทำ�เป็นพิพธิ ภัณฑ์ในปี 2547 ก่อนทีอ่ าคารไม้หลังนีจ้ ะถูกยกขึน้ และก่อสร้าง อาคารปูนชัน้ ล่างเพือ่ จัดแสดงวิถชี วี ติ ของชาวบางขุนเทียนในปี 2550 บริเวณชัน้ สอง เป็นพื้นที่จัดแสดงเรื่องต่างๆ ของวัดหนังที่เชื่อมโยงกับราชสำ�นัก พระเครื่อง ข้าวของเครื่องใช้ของพระอาจารย์รูปต่างๆ ใบลานจารตำ�รายา หนังสือเรียนทีใ่ ช้เรียนในโรงเรียนวัดหนัง เครือ่ งถ้วยชามเบญจรงค์สมัยต่างๆ ตาลปัตร พัดยศ หุ่นขี้ผึ้งของหลวงปู่เอี่ยม พระเกจิอาจารย์ที่โด่งดังของวัดหนังในช่วงสมัย รัชกาลที่ 5 พร้อมทัง้ เครือ่ งใช้ประจำ�กายของหลวงปู่ ถูกจัดแสดงบนพืน้ ทีช่ นั้ สอง การ จัดวางสิง่ ของบริเวณชัน้ สองก็มลี กั ษณะสลับซับซ้อน มีฉากลับแลทำ�หน้าทีก่ นั้ แบ่งเป็น ห้อง เพื่อสร้างจังหวะการเดินชมไม่ให้เป็นเส้นตรง ซึ่งไม่ต่างจากชั้นแรก “ชั้นล่างเป็นเรื่องราวของชาวบ้าน ชั้นบนเป็นเรื่องราวของชาววัดหนังฯ ถ้าพูด ถึงคนไทยตำ�รับตำ�ราจะเป็นของสูง เราจึงเก็บไว้ชั้นบน” อดีตภายในพิพิธภัณฑ์ถูกแบ่งเป็นสองส่วน ทั้งอดีตของวัดและอดีตของชุมชน อดีตทั้งสองส่วนนี้เดินทางมาสู่ปัจจุบันด้วยการค้นคว้าข้อมูลและการจัดวางสิ่งของ ของภัณฑารักษ์ บริบทของสิ่งของส่วนหนึ่งมาจากความทรงจำ�ของผู้เฒ่าผู้แก่ และ ความทรงจำ�ของพระครูเอง ซึ่งเป็นลูกชาวสวนแห่งบางขุนเทียน และที่นี่คือบ้านเกิด ของท่าน ท่านกำ�ลังเล่าเรือ่ งตัวตนในอดีตของชาวบางขุนเทียนให้คนปัจจุบนั ได้เรียนรู้ อดีตที่ผ่านพ้น แต่ยังมองเห็นเรื่องราวผ่านสิ่งของ เหมือนมองดาวบนฟ้า...เห็น แสง แม้ดาวดับสูญ

146

ดวงดาวของชาวสวน


สิ่งของ เรื่องเล่า และคน สิง่ ของ เรือ่ งเล่า และคน เป็นสามสิง่ ทีส่ อ่ งสะท้อนกันและกัน ในฐานะภัณฑารักษ์ มือสมัครเล่น พระครูสังฆรักษ์ไพฑูรย์เริ่มต้นทำ�พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ด้วยการเดินทาง ไปศึกษารูปแบบของพิพิธภัณฑ์แห่งอื่น ก่อนจะกลับมาและคัดแยกสิ่งของโบราณที่ กระจัดกระจายภายในวัด ให้เป็นหมวดหมู่และดำ�เนินเรื่องราว ปีนั้นคือปี 2547 “ที่วัดหนังฯ จะมีของเก่าของโบราณอยู่แล้ว แต่กระจัดกระจาย สิ่งของก็จะอยู่ ตามกุฏิเก่าบ้างใต้ถุนบ้าง จมอยู่ตามดินก็มี เราก็ค่อยๆ ขุด ค่อยๆ เก็บ อาตมาบวช ปี 2533 เริม่ ทำ�พิพธิ ภัณฑ์ปี 2547 ถ้าถามอาตมาว่าเราเริม่ ทำ�พิพธิ ภัณฑ์จากเรือ่ งราว หรือสิ่งของ วัดมีสิ่งของอยู่แล้ว เราเอาของที่มีมาจัดแบ่งหมวดหมู่ มีวัดหลายแห่ง เป็นต้นแบบ ซึง่ มีของน่าสนใจทีบ่ อกเล่าเรือ่ งราวของความเป็นพืน้ ถิน่ นัน้ ๆ แต่อาตมา สังเกตว่าของเหล่านัน้ ถูกรวมอยูใ่ นตูเ้ ดียวกันหมด หินบดยาก็อยูร่ วมกับภาพถ่ายเก่า ปะปนอยูก่ บั สตุง้ สตางค์ ลักษณะเหมือนการสะสมมากกว่าการให้ความสำ�คัญกับการ เรียนรู้ พอกลับมายังพืน้ ทีข่ องเรา ก็พบว่ามันสามารถแบ่งเป็นเรือ่ งๆ ได้ ก็เลยค้นคว้า ข้อมูลและดำ�เนินเรื่อง” สิ่งของโบราณบอกเล่าเรื่องราวของวัดหนังฯ ขณะที่ชุมชนคือแหล่งอ้างอิงชีวิต ที่อยู่แวดล้อมวัดหนังฯ อีกที นี่คือเรื่องเล่าที่ไม่สามารถตัดเรื่องใดเรื่องหนึ่งออกไป ได้ เรื่องเล่าสองส่วนนี้คือเค้าโครงในแผนผังการจัดวางเรื่องเล่าของพระครูสังฆรักษ์ ไพฑูรย์ “โจทย์ของพิพธิ ภัณฑ์วดั หนังฯ คือเรือ่ งวัดกับเรือ่ งชุมชน วัดเกีย่ วข้องกับราชวงศ์ ในช่วงรัชกาลที่ 3 ด้วยกรมสมเด็จพระศรีสลุ าลัย (พระราชชนนี) ทรงมีเชือ้ สายเป็นลูก หลานชาวสวนวัดหนังฯ  แล้ววัดก็แวดล้อมด้วยชุมชนชาวสวน อาตมาเองก็เป็นชาวสวน บางขุนเทียนซึง่ เป็นแหล่งปลูกผลไม้ เช่น ลิน้ จี่ กล้วย เราจึงนำ�เรือ่ งราวของวัดกับชุมชน มาดำ�เนินเรือ่ งควบคูก่ นั เครือ่ งมือทำ�สวนก็เอามาจากทีบ่ า้ นอาตมาส่วนหนึง่ เป็นของ ชาวบ้านที่เคยทำ�สวนแต่เขายังเก็บของอยู่ เมื่อเราทำ�พิพิธภัณฑ์ชาวบ้านบริจาคกัน เข้ามา ชาวบ้านก็มีส่วนร่วม รวมถึงของกระจุกกระจิกของใช้สอยในชีวิตประจำ�วัน เช่น เตารีดหัวไก่ที่ใส่ถ่าน ซึ่งตามบ้านในชุมชนเขาเก็บอยู่ เขาก็มาถวายให้วัด” พระครูสังฆรักษ์ไพฑูรย์ ชี้รอยจางของแผลเป็นบริเวณหัวคิ้วซ้าย “แผลนี้อาตมาได้มาจากการปีนต้นลิ้นจี่ในวัยเด็ก” แผลเป็นของพระครูฯ ประหนึ่งสิ่งของหรือภาพแทนเรื่องเล่าในพิพิธภัณฑ์ แผล หายแล้วแต่ยังคงบอกเล่าเรื่องราวว่าครั้งหนึ่งได้มาจากการปีนต้นลิ้นจี่

พิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษาวัดหนังราชวรวิหาร

147


“เมื่ออาตมาเริ่มทำ� พิพิธภัณฑ์เพื่อการเรียนรู้ พิพิธภัณฑ์ก็บังคับให้อาตมา เรียนรู้ไปด้วย”

148

ดวงดาวของชาวสวน


เช่นเดียวกับสิ่งของพ้นสมัยภายในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ที่ยังคงบอกเล่าเรื่องราวทั้ง ของตัวเองและยุคสมัยที่ผ่านพ้น แม้ว่าปัจจัยหนึ่งที่สำ�คัญของพิพิธภัณฑ์คือสิ่งของ แต่นโยบายในช่วงหลังของ พิพธิ ภัณฑ์ไม่รบั บริจาคสิง่ ของแล้ว เพราะข้าวของทีช่ าวบ้านบริจาคเข้ามาก็เป็นข้าวของ ที่พิพิธภัณฑ์จัดแสดงอยู่แล้ว “อาตมามีแนวคิดว่าไม่อยากรับของที่ซ้ำ�เพราะมันแน่น เด็กนักเรียนห้าสิบคน เข้ามาดูมันจะสะดวกกว่า ในขณะที่พิพิธภัณฑ์ทั่วไปก็จะมีซ้ำ�ๆ กัน เรียงกันเยอะไป เราก็ไม่รับของที่มีซ้ำ�” ในสายตาของพระครูสังฆรักษ์ไพฑูรย์ มีเส้นแบ่งบางๆ คั่นกลางระหว่าง ‘นัก สะสม’ กับ ‘คนทำ�พิพิธภัณฑ์’ ถ้าจะจัดหมวดหมู่ว่าพระครูสังฆรักษ์ไพฑูรย์จัดอยู่ใน ประเภทไหน คำ�ตอบของท่านน่าจะบ่งบอกอะไรบางอย่างได้ “คนทำ � พิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ กั บ นั ก สะสมมั น ไม่ เ หมื อ นกั น นะ นั ก สะสมจะเก็ บ ของ ทุกอย่างที่สวยงามมีศิลปะ ในสายตาอาตมา นักสะสมเหมือนนักเล่นพระ แต่คนทำ� พิพิธภัณฑ์ โดยเฉพาะถ้าบอกว่าเป็นพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น อาจารย์สุจิตต์ วงษ์เทศ รวมถึงอาจารย์ น. ณ ปากน้ำ� เคยเขียนให้ข้อคิดว่า พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นควรเป็นแหล่ง เรียนรู้ คนภาคอืน่ มาทีน่ กี่ จ็ ะต้องรูจ้ กั เรา รูว้ า่ ตัวตนเราเป็นอย่างไร เข้าไปแล้วได้ความ รูอ้ อกมา หรือเวลาทีเ่ ราไปเชียงใหม่ เราอยากเห็นความเป็นล้านนา เราก็ได้เห็นความ เป็นล้านนาชัดเจน ของใช้เดียวกันอย่างต้นหมาก คนเพชรบุรกี บั คนธนบุรยี งั มีวธิ กี าร ใช้ต้นหมากที่แตกต่างกัน” เมื่อพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นคือการเรียนรู้ พระครูสังฆรักษ์ไพฑูรย์ มองว่า ความรู้คือ การเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา หาใช่การหยุดนิ่ง “บางทีการปรับเปลี่ยนข้อมูลในพิพิธภัณฑ์เกิดจากคำ�ถามของคนที่เข้ามาชม เขาถามแย้งในสิ่งที่เขาเห็น เราก็ว่าเราสมบูรณ์แล้ว แต่บางทีมันก็มีผิดพลาดตกหล่น ได้ หลายหูหลายตาที่เข้ามามันทำ�ให้เกิดความละเอียดรัดกุม ก็ปรับแก้ไปเรื่อยๆ มัน ไม่ได้เสร็จในคราวเดียว ทำ�ครัง้ แรกยังไม่สมบูรณ์หรอก เราต้องทำ�ต้องเปลีย่ นเรือ่ ยๆ เพราะถ้าไม่ปรับเปลีย่ นอย่างน้อยทีส่ ดุ มันก็ซ�้ำ ซากและข้อมูลไม่สมบูรณ์ บางครัง้ การ ปรับเปลีย่ นเกิดจากการพูดคุยแลกเปลีย่ นกัน เราฟังไม่กป่ี ระโยคทีเ่ ขาพูด เออ เราต้อง ปรับ...ก็มีนะ การได้ฟังคนอื่นเป็นข้อดี “ยกตัวอย่างตะเกียงเรือ นึกว่าแขวนตะเกียงบนเรือเพือ่ เป็นสัญญาณไฟ เราก็ไม่รู้ ว่าที่จริงต้องแขวนซ้ายขวาเพื่อหลีกกันด้วย ตอนแรกคิดว่าแขวนที่หัวเรืออย่างเดียว

พิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษาวัดหนังราชวรวิหาร

149


150

ดวงดาวของชาวสวน


แต่ความจริงต้องแขวนรอบๆ ก็ได้ความรู้จากอาจารย์ไพฑูรย์ ขาวมาลา พิพิธภัณฑ์เรือไทย อยุธยา เราต้องพร้อมที่จะปรับเปลี่ยนเพราะเจตนาของเราคือการทำ� พิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษา” พระครูสังฆรักษ์ไพฑูรย์ กล่าว

พิพิธภัณฑ์ที่มีอิทธิบาท 4 “ตอนเด็กๆ ครูจะพาไปชมพิพิธภัณฑ์แล้วอาตมาก็เกิดความสนใจ” พระครู สังฆรักษ์ไพฑูรย์ เริ่มประโยคนี้หลังถูกถามว่า เพราะเหตุใดจึงสนใจทำ�พิพิธภัณฑ์ “ถามว่าลึกๆ เป็นนักสะสมไหม เป็นคนลุม่ หลงของเก่าหรือไม่ อาตมาไม่มกี เิ ลส ประเภทเมื่อได้เห็นของเก่าแล้วต้องมีต้องเก็บ เมื่ออาตมาบวชในปี 2533 เห็นวัด หลายแห่งมีพพิ ธิ ภัณฑ์ วันหยุดของพระคือวันโกน อาตมาจะไปดูตามวัดต่างๆ ตอนนัน้ คิดอย่างเดียวเลยว่าอยากทำ�พิพิธภัณฑ์ให้เป็นแหล่งเรียนรู้” เห่อล่ะสิ – คือประโยคแรกที่พระครูได้ยินหลังจากขออนุญาตวัดต้นสังกัดทำ� พิพิธภัณฑ์ แต่ระยะเวลากว่าสิบปีที่พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ดำ�เนินมา เป็นข้อพิสูจน์ถึง ความหมายที่ตรงข้ามกับคำ�ว่า ‘เห่อ’ “เมื่ออาตมาเริ่มทำ�พิพิธภัณฑ์เพื่อการเรียนรู้ พิพิธภัณฑ์ก็บังคับให้อาตมา เรียนรู้ไปด้วย ความรู้ใดที่เราไม่มี...ต้องเติม ค้นคว้าไปเรื่อยๆ แต่ไม่ได้มีจุดมุ่งหมาย ว่าต้องประสบความสำ�เร็จในรูปแบบไหน เพียงแต่วดั มีของอยูแ่ ล้ว เราก็จดั แต่งให้เป็น พิพิธภัณฑ์เพื่อการเรียนรู้ คนทำ�พิพิธภัณฑ์ต้องใส่หัวใจเข้าไป ถ้าทางพระทางธรรม เขาเรียกอิทธิบาท 4 คือมีความใส่ใจ สนใจ ฝักใฝ่ และไม่ทอดทิง้ เสมอต้นเสมอปลาย การทำ�พิพิธภัณฑ์ในแง่หนึ่งเป็นการรักษาศรัทธาความรู้สึกของผู้คนในชุมชนด้วย” ในฐานะภัณฑารักษ์ที่ทำ�งานพิพิธภัณฑ์เป็นงานอดิเรกอย่างจริงจัง พระครู สังฆรักษ์ไพฑูรย์มีรูปแบบการจัดการพิพิธภัณฑ์ที่เฉพาะตัวอย่างยิ่ง “วัดหลายแห่งที่ทำ�พิพิธภัณฑ์จะเจอปัญหาเรื่องค่าใช้จ่าย ขณะที่วัดหนังฯ ไม่มี ปัญหาตรงนี้ วัดหนังฯ ไม่ใช่วัดเล็กขณะเดียวกันก็ไม่ใช่วัดใหญ่ ในการทำ�พิพิธภัณฑ์ คณะกรรมการวัดก็ไม่ได้เข้ามากำ�หนดกะเกณฑ์อะไร ท่านก็ให้อาตมาทำ�อย่างมีอสิ ระ พอทำ�ออกมาแล้วท่านก็บอกดีแล้ว...ใช่แล้ว ไม่มขี อ้ ติเตียนอะไรเลย อาจเป็นเพราะว่า อาตมาเป็นคนทีน่ ดี่ ว้ ย เราเป็นคนท้องถิน่ เราไม่ได้ท�ำ อะไรผิดเพีย้ น การทำ�พิพธิ ภัณฑ์ สำ�หรับที่นี่ไม่มีอะไรยากครับ ยังมานั่งนึกว่า 10 ปีมาแล้วก็ไม่ได้มีอะไรยากเกินไป

พิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษาวัดหนังราชวรวิหาร

151


ตัวอาคารก็สร้างจากเงินของวัด เงินทีใ่ ช้ตกแต่งหรือสือ่ ประกอบการเล่าเรือ่ งก็เป็นเงิน ส่วนตัวนะ อาตมาไม่ได้เบิกวัด ไม่ได้เรีย่ ไรชาวบ้านด้วย เพราะเวลาเราไปประกาศว่า เราจะทำ�พิพิธภัณฑ์ คนก็ยังไม่ได้เชื่อถือ เพราะวัดไม่ได้ออกใบประกาศ วัดหลวงจะ มีกฎว่าจะทำ�อะไรก็แล้วแต่ เจ้าอาวาสจะต้องเป็นผู้ประกาศ เพราะชาวบ้านเขาจะ ไม่เชื่อพระลูกวัด เดี๋ยวหาว่ามาอ้าง อาตมาก็ไม่เรี่ยไร ก็ค่อยๆ ทำ�ไป” พูดได้วา่ รูปแบบการจัดการพิพธิ ภัณฑ์ของพระครูสงั ฆรักษ์ไพฑูรย์ในระยะ 10 ปี ที่ผ่านมา ถูกสรุปรวบยอดอยู่ที่ประโยคง่ายๆ - ค่อยๆ ทำ�ไป ขณะที่โครงการจัดทำ�พิพิธภัณฑ์หลายแห่งของหน่วยงานต่างๆ ตั้งต้นและ ล้มหายไปก่อนที่พิพิธภัณฑ์จะเป็นรูปเป็นร่าง สิ่งนี้ทำ�ให้พระครูสังฆรักษ์ไพฑูรย์ มองเห็นปัญหาในเชิงโครงสร้างการทำ�งานของระบบราชการ แต่ถึงกระนั้นท่านกลับ ตั้งข้อสังเกตกับคนทำ�พิพิธภัณฑ์ ว่า “ทำ�ไมไม่ทำ�ไปเลย” เพราะสิ่งสำ�คัญในการขับเคลื่อนงานพิพิธภัณฑ์ในสายตาของพระครูสังฆรักษ์ ไพฑูรย์คือ ‘คนทำ�’ “เขาอาจจะตัง้ ต้นดี แต่พอมีหลายหน่วยงานเข้ามาก็ถอดใจ พูดง่ายๆ ว่าอาจจะ เป็นเรือ่ งการเงินเรือ่ งธุรกิจทีเ่ ข้ามา ก็ลม้ เลิกไปหลายทีเ่ หมือนกัน มันรุมกันเหลือเกิน เวลาจะทำ�อะไรขึ้นมาสักอย่าง ก็เลยทำ�ไม่ได้ อาตมาก็แปลกใจว่าทำ�ไมไม่ทำ�เลย พิพิธภัณฑ์ท่ีวัดหนังฯ ทำ�เสร็จแล้วถึงค่อยบอกค่อยประกาศ จนเป็นรูปเป็นร่างแล้ว อาตมาจึงไปบอกครูท่ีโรงเรียนว่าเราทำ�พิพิธภัณฑ์ อยากให้เด็กเข้ามาดู ครูก็ถามว่า ท่านทำ�ตั้งแต่เมื่อไร “อาตมามองว่าคนทำ�พิพิธภัณฑ์คือสิ่งสำ�คัญ เราทำ�ไปก่อนเลยเท่าที่เรามีกำ�ลัง และความรู้ พอทำ�แล้วค่อยเปิดตัว ทีนี้ใครจะยื่นข้อเสนอเราก็พิจารณาเอาเอง จะ เอาตู้โชว์มั้ย? เออน่าสนใจ แต่ขอดูก่อนว่ามันใส่ของได้มั้ย เพราะเราต้องดูสิ่งของ ของเราก่อนทีจ่ ะดูโครงสร้างส่วนอืน่ ทีจ่ ะเข้ามาสนับสนุน กรรมการวัดหนังฯ ไม่เข้ามา ยุง่ เลย ท่านให้อสิ ระอาตมา ก็เลยไม่มอี ปุ สรรคอะไรมากมาย ก็นงั่ นึกๆ ดูอยูน่ ะว่าเรา เจออุปสรรคอะไร เรามีชา่ งไม้ชา่ งซ่อมทีด่ แู ล...ปลวก เราก็มบี า้ ง เพราะเรามีไม้เนือ้ นิม่ ปะปนเหมือนกัน ป้องกันแมลงเราจะพ่นไบกอน สองสามวันพ่นที พ่นตอนเย็นก่อน ปิดหน้าต่าง ฉีดใต้ตู้ให้กลิ่นกระจายไว้ พอเช้ามาก็มีแมลงสาบนอนหงายบ้างก็มี”

152

ดวงดาวของชาวสวน


พิพิธภัณฑ์กับการเรียนรู้ภาคบังคับ การทำ�พิพิธภัณฑ์เหมือนการเดินทางที่ไม่มีจุดสิ้นสุด การ ‘ค่อยๆ ทำ�ไป’ ของ พระครูสังฆรักษ์ไพฑูรย์ทำ�ให้เกิดการเรียนรู้ ว่าเรื่องเล่าย่อมมีทั้ง ‘เนื้อ’ และ ‘น้ำ�’ การทำ�พิพิธภัณฑ์ก็เช่นกัน “เราต้องรักษาประเด็นของเราให้ชดั ” พระครูสงั ฆรักษ์ไพฑูรย์ เกริน่ นำ�และเล่าว่า “อารมณ์ของคนทำ�พิพธิ ภัณฑ์ เห็นอะไรมันก็อยากซือ้ อยากสะสมเข้ามา เมือ่ ก่อน อาตมาก็เป็นนะ อาตมาไปหนองคาย ไปสะพานไทย-ลาว เราก็เห็นของที่มาขาย ไปเชียงแสนข้ามไปฝั่งลาวก็เห็นของ ก็อยากได้ เป็นของทำ�เลียนก็มี ก็อยากได้มา จัดแสดง แต่ตอ้ งกลับมาคิดใหม่วา่ มันตรงกับเรือ่ งเล่าทีเ่ รากำ�ลังเล่าในพิพธิ ภัณฑ์ไหม” การสูบฝิ่นคือรอยจางๆ ของอดีตชุมชนที่พระครูสังฆรักษ์ไพฑูรย์อยากบันทึก เก็บเอาไว้ในห้องจัดแสดงของพิพิธภัณฑ์ “ถ้านำ�เรือ่ งการสูบฝิน่ มาจัดแสดงในพิพธิ ภัณฑ์วดั หนังฯ ได้ไหม อาตมาว่าได้นะ เพราะสมัยก่อนมีโรงฝิ่นตรงตลาดพลู ชาวบ้านแถบวัดหนังฯ ก็ติดฝิ่นกันเยอะ มีพระ รูปหนึ่งชื่อหลวงตากลีบ บวชสามพรรษาแล้วก็สึก สึกไปก็ติดยาฝิ่น แกก็เดินตาม ทางรถไฟไปตลาดพลูเพือ่ ไปสูบฝิน่ แล้วหลวงพ่อรูปก่อนก็ให้เลิกแล้วมาบวชใหม่ แล้ว แกก็กลับมาเล่าให้ฟงั ว่าไปก็เจอแต่เจ๊กหางเปีย สูบกันควันโขมง ทีว่ ดั ก็มหี มอนสูบฝิน่ อยู่ใบหนึ่ง กลักฝิ่นก็มี “ถามว่าในพิพิธภัณฑ์ควรมีเรื่องฝิ่นมั้ย...มีได้ แต่ถามว่ามันสำ�คัญมั้ย อาตมา ก็เลยพักเอาไว้ก่อนแล้วกัน เพราะแม้ว่าช่วงหนึ่งจะมีคนติดฝิ่นกันเยอะ แต่ใน บางขุนเทียนไม่ค่อยมีโรงฝิ่น จะมีเยอะก็ตลาดพลู แต่อาตมาก็อยากทำ�เรื่องฝิ่นนะ เพราะวัดหนังฯ ทำ�ยาด้วย แล้วใช้ขฝี้ นิ่ ทำ�ยา ใช้ขฝี้ นิ่ ผสม อาตมาก็อยากเอามาเล่า แต่ ถามตัวเองว่าตอนนีก้ �ำ ลังทำ�อะไร กำ�ลังเล่าเรือ่ งอะไรอยู่ ก็คดิ ทบทวนเสียใหม่ เพราะ มันอาจเป็นความชอบส่วนตัวของเรา โจทย์เราจึงต้องชัด” ด้วยความสนใจประวัติศาสตร์เป็นทุนเดิม แต่เมื่อมาทำ�พิพิธภัณฑ์ พระครูฯ ย้ำ� มากกว่าหนึ่งครั้งว่า เมื่ออาตมาเริ่มทำ�พิพิธภัณฑ์เพื่อการเรียนรู้ พิพิธภัณฑ์ก็บังคับ ให้อาตมาเรียนรูไ้ ปด้วย ในฐานะคนทำ�พิพธิ ภัณฑ์ทอ้ งถิน่ หนังสือคือแหล่งข้อมูลหนึง่ การเดินทางไปพบปะผู้คนและสถานที่จริงก็เป็นอีกแหล่งข้อมูลหนึ่ง

พิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษาวัดหนังราชวรวิหาร

153


“คนที่เริ่มทำ�พิพิธภัณฑ์จะติด� ตรงทีว่ า่ ไปดูพพิ ธิ ภัณฑสถาน-� แห่งชาติมา แล้วจะจดจำ�มา แบบนั้ น หรื อ บางกรณี ไ ป ดู มิ ว เซี ย มสยาม อยากจะ มี เ ทคโนโลยี ใ ห้ ค นดู ไ ด้ เ ล่ น แต่เราเป็นพิพิธภัณฑ์ชุมชน� บางที เ ราต้ อ งปรั บ ความ คิ ด ตั ว เองใหม่ ใ ห้ เ ป็ น ตั ว ตน� ของเรา เราจะทำ � แบบนี้ สื่อสารให้เห็นชัดๆ”

“อาตมาจะอ่านวารสาร เมืองโบราณ ศิลปวัฒนธรรม และนิตยสาร สารคดี นิตยสารพวกนี้อาตมาบอกรับเป็นสมาชิกประจำ� พอมาทำ�พิพิธภัณฑ์ก็ต้องอ่าน เยอะ แม้ว่าเราจะทำ�พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นที่บอกเล่าชีวิตชาวสวน แต่เราก็ต้องเรียนรู้ เรื่องปราสาทหิน มันมีความเชื่อมโยงกัน ไม่ใช่ว่าเราจะรู้จำ�กัดแค่นี้ เคยไปเจอคนทำ� พิพิธภัณฑ์บางที่ เขารู้มากแต่รู้ลึกเฉพาะเรื่องที่เขาทำ� อาตมาคิดว่าคนทำ�พิพิธภัณฑ์ ต้องรู้ให้กว้างและลึกในบางเรื่อง ทั้งการพบปะกับคนต่างถิ่น คำ�พูดของเขา เรื่องเล่า ของเขา มันคือความรู้ทั้งหมด” 154

ดวงดาวของชาวสวน


ถามว่าอะไรคือหัวใจสำ�คัญของการทำ�พิพิธภัณฑ์ พระครูสังฆรักษ์ไพฑูรย์ เริ่ม คำ�ตอบแรกทันทีที่สิ้นประโยคสุดท้ายของคำ�ถาม “อย่างหนึ่งเก็บรักษาสิ่งของของวัดไว้ อย่างหนึ่งรักษาศรัทธาความรู้สึกดีๆ ของ ชาวบ้านที่เขามีต่อวัด ว่าเรายังมีสิ่งของของบรรพบุรุษของพวกเขาอยู่ที่นี่ เรารักษา สมบัติของวัดก็เหมือนเรารักษาสมบัติของชาติ มันเป็นสิ่งเดียวกัน มันเป็นประโยชน์ แก่คนรุ่นใหม่ที่เข้ามาเรียนรู้ ของเก่าของโบราณมันใช้ไม่ได้แล้ว มันหมดบทบาทการ ใช้งานไปแล้ว แต่มันยังมีบทบาทในการให้ความรู้กับคนรุ่นใหม่ ให้เขาได้รู้ว่ารุ่นปู่ย่า ตายายเขาอยู่กันแบบนี้ “เด็กรุน่ ใหม่ทเี่ ข้ามาดูเขาก็พดู นะ ว่าคนสมัยโบราณก็อยูก่ นั ได้อย่างไร มีของเพียง เท่านี้ เห็นห้องครัวห้องนอน ไม่มีซีดี ไม่มีวิดีโอ ก็อยู่กันได้นี่ คนรุ่นใหม่ก็จะวิจารณ์ และตั้งคำ�ถามกับวิถีคนรุ่นก่อน เขาก็พูดกันเอง วิเคราะห์กันเอง ครัวแบบนี้ก็หุงข้าว ได้เหรอ...อะไรแบบนี้ เวลาคนรุ่นใหม่ไปออกค่าย เขาก็ต้องใช้วิธีหุงแบบโบราณ ใช่มยั้ แต่เขาหุงข้าวแบบนีก้ นั แค่คนื สองคืนในช่วงเวลาทีอ่ อกค่ายใช่มยั้ พอเขามาเห็น คนโบราณว่าเขาหุงกินแบบนี้ทุกมื้อนะ เขาก็เกิดความคิดอะไรบางอย่างของเขานะ”

ยืนยันในเรื่องเล่าของตัวเอง ในบางเย็นย่ำ�ภายหลังปิดพิพิธภัณฑ์ พระครูสังฆรักษ์ไพฑูรย์ ก้มๆ เงยๆ ปัด กวาดเช็ดถูภายในพิพธิ ภัณฑ์ดว้ ยตัวเอง และนีเ่ ป็นตำ�แหน่งหน้าทีห่ นึง่ ทีท่ า่ นหวงแหน “มีคนแนะนำ�ว่าให้เด็กช่วยทำ� บางทีเขาถูเท่าทีถ่ ไู ด้ มันไม่ละเอียดลออ เราให้เด็ก ทำ�รอบนอกดีกว่า แต่งานละเอียดเราควรทำ�เอง เพราะเด็กไม่ระวัง ถูพนื้ บางทีไม้ถไู ป ชนตูก้ ระจกร้าวก็มี ก็เลยทำ�เองดีกว่า เราเป็นคนทำ�พิพธิ ภัณฑ์เรารูว้ า่ ของบางชิน้ ต้อง ทำ�ความสะอาดยังไง ของบางชิน้ ไม่ควรเอาผ้าชุบน้�ำ ไปถู บางคนถูหมดเลยเอาผ้าชุบ น้ำ�ไปเช็ดพานประดับมุก ความชื้นมันก็เข้าไป อาตมาก็เลยทำ�เอง” นอกจากของโบราณทีท่ �ำ หน้าทีเ่ ป็นสือ่ ในการเล่าเรือ่ งหลักแล้ว พระครูสงั ฆรักษ์ ไพฑูรย์ยงั ให้ความสำ�คัญกับการจัดแแสดงเพือ่ ให้การเรียนรูเ้ กิดมิตแิ ละความน่าสนใจ “การทำ�ของเพื่อแต่งเสริมให้การเรียนรู้มีสีสันและสมจริง อาตมาก็มีฝีมือทาง ช่างไม้ อย่างบอร์ดหรือต้นไม้บางอย่างก็ท�ำ ขึน้ เอง เราไม่มปี ญ ั หาในการหาช่างมาซ่อม ตู้ไม้โบราณที่ชำ�รุด ทำ�บอร์ดให้ความรู้เราก็ทำ�เอง ซื้อระแนงซื้อลวดลายมาตกแต่ง

พิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษาวัดหนังราชวรวิหาร

155


มีบางกลุม่ เขามาดูแล้วเขาไม่เชือ่ ว่าทัง้ หมดทีเ่ ห็นทำ�โดยอาตมา ผูช้ ว่ ย และเด็กวัดอีก สองคน มีเพื่อนอาตมาที่เป็นช่างไม้ก็มาช่วย “คนที่เริ่มทำ�พิพิธภัณฑ์จะติดตรงที่ว่าไปดูพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติมา แล้วจะ จดจำ�มาแบบนั้น อาตมาไม่ได้ตำ�หนินะ หรือบางกรณีไปดูมิวเซียมสยาม อยากจะมี เทคโนโลยีให้คนดูได้เล่น แต่เราเป็นพิพธิ ภัณฑ์ชมุ ชน เราก็ท�ำ ไปตามอัตภาพก่อน เรา เป็นแบบนี้เราก็ทำ�แบบนี้ เราไม่มีกำ�ลังจะติดแอร์ เราก็ติดพัดลม เปิดหน้าต่างรับลม ธรรมชาติ ซึง่ มันก็เข้ากับการเรียนรูถ้ งึ วิถคี นโบราณ อาตมาก็สอนเด็กนักเรียนว่าบ้าน คนโบราณถ้าหน้าร้อนมันก็รอ้ นอยู่ อาจจะไม่รอ้ นจัดเพราะมีลมถ่ายเท มีหน้าต่างเปิด รับลม ก็อธิบายให้เขาได้เห็น มันก็เป็นการสอนไปในตัวเหมือนกัน ถ้าเรามีก�ำ ลังมีทนุ มากเราก็ทำ�ได้ มิวเซียมสยามเป็นระดับประเทศ แต่เราเป็นชุมชนใช่มั้ย เราจะไปทำ� แบบนั้นมันก็ยังไงอยู่ บางทีเราต้องปรับความคิดตัวเองใหม่ให้เป็นตัวตนของเรา เรา จะทำ�แบบนี้ สื่อสารให้เห็นชัดๆ” “ในการทำ�พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น จำ�เป็นไหมที่คนในชุมชนควรเป็นคนกำ�หนดเรื่อง เล่าด้วยตัวเอง” เราถามพระครูสังฆรักษ์ไพฑูรย์ “ถ้าเป็นไปได้ก็น่าจะดี เพราะแต่ละชุมชนก็มีความต่างกันอยู่ ชาวสวนย่าน บางขุนเทียนกับชาวสวนแถวบางมดมันก็ต่างกันนะ บางมดจะมีสุเหร่าซึ่งก็ส่งผลให้ เขามีอาหารอย่างมัสมั่นที่อร่อย แต่ตัวพิพิธภัณฑ์เขาก็ไม่ได้กล่าวเรื่องนี้เท่าไร กล่าว เน้นไปที่สวนส้มอย่างเดียว ไม่ได้เล่าเรื่องกว้าง เพราะแถบนั้นมีมุสลิมด้วย เชื่อมต่อ ไปถึงพระประแดง คนโบราณเคยบอกว่าบางมดไม่ได้มีเฉพาะเรื่องส้ม มีเรื่องแขก แล้วแต่เดิมบางมดทำ�นา แขกก็ทำ�นาทำ�เห็ด อาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม มักจะย้ำ� ว่าพิพิธภัณฑ์ควรจะเริ่มจากคนในชุมชน ตอนที่หน่วยงานจากภายนอกเข้ามาทำ� โครงการพิพธิ ภัณฑ์ทอ้ งถิน่ มันก็เลยออกมาเป็นไปตามโจทย์ของโครงการ ว่าบางมด คือสวนส้ม”

งานอดิเรกของพระรูปหนึ่ง เรื่องเล่าบางเรื่องถูกเล่าจนจบ ทั้งที่เจ้าของเรื่องเล่ายังไม่มีโอกาสเริ่มต้นบอก เล่าเรื่องตัวเอง พระครูฯ ยกตัวอย่างพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นบางแห่งให้ฟังว่า 156

ดวงดาวของชาวสวน


“เจ้าอาวาสสั่งปิด เนื่องจากไม่มีคนเข้าดู เพราะมันเต็มไปด้วยข้อความ ภาพ ที่พิมพ์ด้วยอิงค์เจ็ท ชุมชนไม่ได้มีส่วนร่วม แล้วข้อมูลมันไม่ตรงกับความเป็นจริง ชาวบ้านเอาของไปถวายวัด วัดก็ไม่รบั เพราะบอกว่าของนัน้ มันไม่เข้ากับการจัดของใน พิพธิ ภัณฑ์ พิพธิ ภัณฑ์ทอ้ งถิน่ ของ กทม. หลายแห่งเป็นแบบนี้ ชาวบ้านเอาตะเกียงไป ร่วม เอาเครือ่ งมือทำ�สวนไปร่วม ปรากฏว่าไม่รบั เพราะไปคิดเองว่าไม่เข้ากับแนวคิด ที่วางแผนไว้ มันก็เลยดูเป็นเหมือนศูนย์ข้อมูล “เพราะคำ�ว่าพิพิธภัณฑ์มันต้องมีของมาก่อน พูดว่าพิพิธภัณฑ์ปุ๊บ ของเก่ามัน ต้องวิง่ เข้ามาแล้ว วิง่ เข้ามาเหมือนขบวนรถไฟในหัว เพราะสิง่ ของทำ�ให้เด็กเพลิดเพลิน การมาพิพิธภัณฑ์คือต้องได้เห็นของเก่า นี่คือสิ่งที่อยู่ในหัวของคนไทย แต่เราต้อง ทำ�ให้เกิดความรูด้ ว้ ย ยกตัวอย่างกระดานชนวนทีเ่ ห็นนีม้ นั เหมือนไอแพด อาตมาว่า

พิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษาวัดหนังราชวรวิหาร

157


158

ดวงดาวของชาวสวน


พิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษาวัดหนังราชวรวิหาร

159


เราก็ทำ�ของเก่าของเราให้เข้ากับยุคสมัยของเขา ให้เกิดการเชื่อมโยงกัน” ตลอด 10 ปีที่ทำ�พิพิธภัณฑ์ ความคาดหวังในการทำ�พิพิธภัณฑ์ของพระครู สังฆรักษ์ไพฑูรย์ คือ การได้เห็นนักเรียนนักศึกษาหรือคนที่สนใจ เข้ามาเรียนรู้และ ศึกษาอดีตของชีวิตชาวบางขุนเทียนและความเชื่อมโยงกับวัดหนังฯ “ไม่ได้ตั้งเป้าว่าจะเป็นแหล่งท่องเที่ยว เท่าที่ทำ�พิพิธภัณฑ์มาสิบปี เด็กนักเรียน ไม่เคยทำ�ของเสียหายนะ แต่จะมีกลุ่มผู้ใหญ่อายุประมาณหกสิบปี อยากจะปีนลงไป ถ่ายรูปในเรือ อาตมาก็บอกเขาว่า เด็กประถมยังไม่คิดจะลงไปถ่ายเลย เขาเรียกว่า อะไร? ทัวร์จับฉ่าย เขาเอาปริมาณ ใครก็ได้เข้ามา คนละสองร้อยบาทนั่งเรือมา ไหว้พระเก้าวัด แล้วขึน้ ฝัง่ มาทีว่ ดั หนังฯ ให้เวลาชมทีล่ ะสิบนาที แค่ตรงนีเ้ วลาก็หมดแล้ว เฮเข้ามามันไม่ได้อะไร ก็เลยตั้งเป้าว่าเรารับนักเรียนนักศึกษา เพราะเรามุ่งหวังและ ทุ่มเทให้เด็กเหล่านี้ได้เรียนรู้ ให้คนรุ่นใหม่ได้เชื่อมโยงเรื่องราวในอดีตเข้ากับปัจจุบัน ของเขา” “มีคำ�ถามที่พระครูฯ ตอบเด็กนักเรียนไม่ได้บ้างมั้ยครับ?” เราถาม “มีบา้ งเหมือนกัน บางทีนกั ศึกษาถาม บางทีเราต้องตอบแบบไว้เชิงเหมือนกันนะ” พระครูฯ หัวเราะก่อนจะเล่าต่อ “เขาถามแล้วเราตัน ถ้าตอบไม่รู้ มันก็ยังไงอยู่นะ บางทีเราต้องตอบแบบให้เขาไปศึกษาค้นคว้าต่อ เพราะเราก็มีข้อจำ�กัด เราไม่ได้รู้ ทุกเรื่อง แต่เราต้องไปค้นในสิ่งที่ตอบไม่ได้” และทุกครั้งที่มีกลุ่มนักเรียนนักศึกษาติดต่อเข้าชมกันเป็นหมู่คณะ หรือแม้แต่ ครอบครัวเดีย่ วทีม่ เี พียงพ่อแม่ลกู มาเข้าชมแบบไม่ได้แจ้งล่วงหน้า ถ้าพระครูสงั ฆรักษ์ ไพฑูรย์ไม่ติดภารกิจอื่น ท่านก็จะลงมาเปิดประตูพิพิธภัณฑ์ให้ และเป็นผู้นำ�ชมแทบ ทุกครัง้ เพราะเรือ่ งราวส่วนหนึง่ ผ่านการค้นคว้ามาด้วยตนเอง ขณะทีเ่ รือ่ งราวอีกครึง่ ในพิพิธภัณฑ์กลั่นมาจากประสบการณ์และความทรงจำ�ในฐานะคนพื้นถิ่น และแม้ว่าบริเวณทางเข้า จะมีคำ�ขู่สารพัด ทั้งเรื่องการถ่ายภาพ และบุคคลที่ อนุญาตเข้าชม แต่พระครูสังฆรักษ์ไพฑูรย์บอกว่า “แค่ขู่” ในความเป็นจริงพิพิธภัณฑ์ แห่งนี้เปิดรับทุกคนที่อยากเรียนรู้ “สาเหตุที่อาตมาเขียนขู่ เพราะกลุ่มคนที่เข้ามาชมพิพิธภัณฑ์ก็มีหลายแบบ บางคนก็มาขอเข้าตอนเย็น บอกว่าจะมาทำ�งาน แต่ไม่หรอก มาถ่ายรูปเล่น เราก็เปิด ประตูให้ เปิดไฟให้เปิดพัดลมให้ คือไม่ได้ประโยชน์อะไรเลยนอกจากมาถ่ายรูปเล่น โดยไม่รวู้ า่ มุมทีถ่ า่ ยรูปเล่นด้วยนัน้ มันคืออะไร แบบนีอ้ าตมาไม่คอ่ ยชอบ ถือไว้อย่าง ว่าถ้ามาต้องมาเรียนรู้ เราไม่ได้ทำ�พิพิธภัณฑ์ให้เข้ามาถ่ายรูปเล่น มันเกิดความรู้สึก 160

ดวงดาวของชาวสวน


ว่าเราทำ�มาเหนื่อย ทั้งการหาข้อมูล จัดวาง ทำ�บอร์ด กวาดเก็บเช็ดถู แล้วไม่อ่าน ไม่สนใจอะไรเลย ไปอยู่ตามมุมแล้วทำ�ท่าแบบนี้ (พระครูฯ ทำ�ท่าเซลฟี) ถามว่าที่ ถ่ายนั้นคืออะไร ไม่รู้ แล้วไหนบอกมาเรียนรู้ อาตมาเปิดไฟเปิดพัดลมแล้วคุณไม่ได้ เรียนรู้อะไรเลยเหรอ บางทีเราก็ไม่ได้อยากให้มีคนเข้ามามากๆ แต่เราอยากให้เกิด ประโยชน์” ถึงอย่างนั้นก็ดี บางเสาร์อาทิตย์ที่มีภาพบางภาพทำ�ให้ส่ิงที่พระครูสังฆรักษ์ ไพฑูรย์เห็นแล้วหายเหนื่อย “พ่อแม่น�ำ ลูกเข้าชม พวกเขาเล่าเรือ่ งราวให้ลกู ฟังว่า เมือ่ ก่อนพ่อก็เรียนหนังสือ แบบนี้ เล่าหน้าตู้ที่เราจัดแสดงการเรียนในวัด นี่เป็นเรื่องที่ดี อาตมาดูก็มีความสุข พวกเขาน่ารักดี” การเรียนรู้ไม่มีจุดสิ้นสุด ในเวลาที่รออยู่ในอนาคต พื้นที่ภายในพิพิธภัณฑ์เพื่อ การศึกษาวัดหนังราชวรวิหารก็คงถูกปรับปรุงและปรับเปลีย่ น ทัง้ องค์ความรู้ เรือ่ งราว และวิธกี ารเล่าเรือ่ ง นีไ่ ม่ใช่สงิ่ ทีภ่ ณ ั ฑารักษ์มอื สมัครเล่นอย่างพระครูสงั ฆรักษ์ไพฑูรย์ กำ�ลังจะทำ� แต่ท่านทำ�งานอดิเรกนี้อย่างจริงจังมาตลอดกว่า 10 ปี

พิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษาวัดหนังราชวรวิหาร

161



เดินด้วยกัน พิพิธภัณฑ์มีชีวิต พิพธิ ภัณฑ์โรงงานหลวงที่ 1 (ฝาง)



ความทรงจำ�ไม่ได้อยู่ในอาคารที่สร้างขึ้นใหม่ แต่ ความทรงจำ�อยู่ในทุกที่ของหมู่บ้าน ในคนที่อยู่ใน ชุมชน เพราะฉะนัน้ จึงต้องดึงขึน้ มาเป็นพิพธิ ภัณฑ์ กษิดิศ รัตนโอภาส พิพิธภัณฑ์โรงงานหลวงที่ 1 (ฝาง)

กลุ่มเป้าหมายของพิพิธภัณฑ์ชัดเจน เราไม่ได้เน้น กลุ่มนักท่องเที่ยวที่เป็นทัวร์ แต่คนที่เราดึงเข้ามา เป็นคนที่ตั้งใจเข้ามาเรียนรู้ เพราะฉะนั้นเมื่อเขา เข้ามา สิ่งที่เขามีปฏิสัมพันธ์กับชาวบ้านคือการ เข้ามาหาความรู้ ชาวบ้านเลยรู้ว่าคนที่เข้ามาหา เขา เป็นคนที่ต้องการเรียนรู้ไม่ใช่เข้ามาซื้อสินค้า หรือถ่ายรูปเท่านั้น สุรางคนา ไม้ตราวัฒนา สำ�นักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์


166

เดินด้วยกัน พิพิธภัณฑ์มีชีวิต


พิพิธภัณฑ์โรงงานหลวงที่ 1 (ฝาง) อาจมีรูปแบบคล้ายพิพิธภัณฑ์แห่งอื่นๆ

ในแง่ของการจัดแสดงสิ่งของและการจัดนิทรรศการ แต่ในมิติของการทำ�งาน ด้วย แนวคิด พิพิธภัณฑ์มีชีวิต (Living Site Museum) พิพิธภัณฑ์แห่งนี้จึงเปี่ยมไปด้วย ความมีชีวิตชีวา 10 ปีที่แล้วเสาต้นแรกของพิพิธภัณฑ์โรงงานหลวงฯ ถูกปักลงบนผืนดินของ หมูบ่ า้ นยาง ตำ�บลแม่งอน อำ�เภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ก่อนจะมีพพิ ธิ ภัณฑ์ หมูบ่ า้ นยาง ยังเป็นเพียงหมู่บ้านอายุน้อย แร้นแค้น ทุรกันดาร ทั้งมีความหลากหลายทาง ชาติพันธุ์และศาสนา เดิมชาวบ้านในพื้นที่ปลูกท้อเป็นหลัก ซึ่งรายได้จากการขาย ไม่ได้เกื้อหนุนให้พวกเขามีชีวิตที่ดีนัก แต่ทุกวันนี้ความยากลำ�บากเหล่านั้นทุเลาเบาบางลง เพราะการเกิดขึ้นมาของ โครงการหลวงอ่างขางเมื่อปี 2513 เพื่อเป็นแหล่งอาชีพและพัฒนาคุณภาพชีวิต ให้คนในพื้นที่โดยการใช้ความรู้ในการเพาะปลูกพืชเมืองหนาว หลังจากนั้นไม่นาน โรงงานหลวงอาหารสำ�เร็จรูปจึงเกิดขึน้ เพือ่ รองรับผลผลิตของเกษตรกร โรงงานดำ�เนิน งานเรื่อยมาจนถึงปี 2549 เหตุการณ์น้ำ�ป่าได้พัดพาความเสียหายมาสู่โรงงานและ ชาวบ้าน สำ � นั ก งานทรั พ ย์ สิ น ส่ ว นพระมหากษั ต ริ ย์ ใ นฐานะผู้ ถื อ หุ้ น โรงงานหลวงจึ ง ก้าวเข้าไปฟื้นฟู และพกพาแนวคิดการพัฒนาพื้นที่ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ชุมชนเข้าไป ปลูกสร้างในพื้นที่บ้านยาง พิพิธภัณฑ์โรงงานหลวงที่ 1 (ฝาง) จึงถือกำ�เนิดเกิดขึ้น โดยมีหัวใจในการยึดโยง สิ่งต่างๆ ไว้ด้วยกัน ทั้งโครงการหลวง โรงงานหลวง และคนในพื้นที่ “เนือ่ งจากว่าเราเข้าไปดูในพืน้ ที่ แล้วพบว่ามันมีความสำ�คัญหลายอย่าง ทัง้ เรือ่ ง ชาติพนั ธุ์ เรือ่ งศาสนา เรือ่ งความเป็นชุมชนทีเ่ ข้มแข็ง ทีส่ �ำ คัญคือเป็นทีท่ พี่ ระเจ้าอยูห่ วั ทรงสร้างโรงงานหลวงเป็นแห่งแรกในประเทศไทย” สุรางคนา ไม้ตราวัฒนา หัวหน้า แผนกงานผู้แทนพิเศษ 2 สำ�นักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เล่าแนวคิดให้ฟัง

พิพิธภัณฑ์โรงงานหลวงที่ 1 (ฝาง)

167


ช่วยชาวเขา ช่วยชาวเรา ช่วยชาวโลก หมูบ่ า้ นยางเป็นหมูบ่ า้ นอายุราว 50 ปี ชาวบ้านส่วนใหญ่ฝา่ กระสุนอพยพมาจาก พม่า ซึ่งนอกจากจะปลูกท้อเป็นอาชีพ พืชอีกชนิดที่ปลูกกันมากในพื้นที่คือฝิ่น พืชที่ ส่งผลเสียต่อชีวิตของคนและคุณภาพของดิน อีกทั้งยังมีการทำ�ไร่เลื่อนลอยในพื้นที่ ปี 2507 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำ�เนินเยี่ยมเยียนราษฎร ชาวไทยภูเขาในเขตจังหวัดภาคเหนือ และทอดพระเนตรเห็นปัญหาในพื้นที่ดังกล่าว จึงมีพระราชดำ�ริและโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี รับสนอง พระราชดำ�ริเพื่อจัดตั้งโครงการพระบรมราชานุเคราะห์ชาวไทยภูเขา ซึ่งต่อมาจึง เปลี่ยนชื่อเป็น ‘โครงการหลวง’ นอกจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงส่งเสริมให้ชาวไทยภูเขาปลูกพืช เมืองหนาว พระองค์ยังพระราชทานไก่ แพะ วัว ทั้งยังทรงส่งเสริมให้ปลูกเห็ด และ ด้วยสายพระเนตรทีก่ ว้างไกล พระองค์ทรงเล็งเห็นว่า พืชผักเมืองหนาวเหล่านีอ้ าจจะ ล้นตลาดในภายภาคหน้า โรงงานแปรรูปผลิตผลทางการเกษตรจึงถูกสร้างขึน้ เพือ่ รับ ซื้อผลผลิตจากเกษตรกร รวมทั้งทำ�หน้าที่สร้างงานให้ชาวบ้านในอีกทางหนึ่ง ในก้าวแรก โรงงานหลวงอาหารสำ�เร็จรูปใช้กำ�ลังคนในการผลิต เพราะยังไม่มี เครื่องจักรทุ่นแรง และผลิตภัณฑ์แรกที่ผลิตออกมาก็คือ ท้อลอยแก้ว “โรงงานแบ่งเป็นสามยุค ยุคแรกเป็นโรงงานที่ทำ�มือทุกอย่าง ยุคที่สองเริ่มมี เครื่องจักรบ้างเล็กน้อย และยุคที่สามคือยุคที่ใช้เครื่องจักรในการผลิตก่อนที่จะถูก น้ำ�ท่วม” กษิดิศ รัตนโอภาส ผู้จัดการพิพิธภัณฑ์โรงงานหลวงที่ 1 (ฝาง) ลำ�ดับความ เป็นมาของเหตุการณ์ ก่อนจะมาเป็นพิพิธภัณฑ์โรงงานหลวง เหตุการณ์น้ำ�ท่วมเป็นจุดพลิกผันของที่นี่ เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นในวันที่ 8 เดือนตุลาคม ปี 2549 “พอน้ำ�ทะลักลงมา ส่วนที่รับน้ำ�เป็นส่วนแรกคือโรงงานหลวง ส่วนที่เสียหาย มากที่สุดคืออาคารโรงงานซึ่งมีประมาณห้าหกหลังได้รับความเสียหาย เหลืออยู่แค่ สองหลัง คืออาคารสโมสรทีเ่ อาไว้ขายของให้พนักงานในโรงงาน ซึง่ เป็นอาคารเล็กๆ “ส่วนอาคารที่เหลืออีกหลังคืออาคารที่เก็บบ๊วยดอง ซึ่งอยู่ด้านหลัง ตรงนั้น มีพระบรมฉายาลักษณ์ของพระเจ้าอยู่หัวที่เหลืออยู่เพียงชิ้นเดียว เป็นพระบรม ฉายาลักษณ์ที่ไม่มีโครงสร้างอะไรมากมายแต่กลับไม่พัง ตรงนี้เลยเป็นเหมือนจุด รวมใจของชาวบ้านยาง” สุรางคนา เล่าด้วยน้ำ�เสียงตื่นเต้นปนประทับใจ 168

เดินด้วยกัน พิพิธภัณฑ์มีชีวิต


สุรางคนาลำ�ดับเรื่องราวต่อว่า หลังจากเหตุการณ์นั้น โจทย์แรกที่สำ�นักงาน ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ต้องเลือกมีสองทาง คือ หนึ่ง เข้าไปชุบชีวิตให้โรงงาน หรือ สอง ปล่อยโรงงานให้จมหายไปกับสายน้ำ� ซึ่งแปลว่าต้องปล่อยให้ชาวบ้านขาด รายได้ ไร้อาชีพ “เราเลือกทางที่หนึ่งอยู่แล้ว” สุรางคนาว่า โจทย์ทตี่ ามมาอีกประการหนึง่ คือ การทำ�ให้พนื้ ทีบ่ า้ นยางกลายเป็นแหล่งเรียนรู้ ของชุมชน เป็นสถานทีท่ คี่ นภายนอกเข้ามาหาความรูไ้ ด้โดยทีไ่ ม่ตอ้ งอิงอยูก่ บั รูปแบบ ของการท่องเทีย่ ว หลังจากนัน้ จึงมีการเข้าไปเก็บข้อมูลในหมูบ่ า้ น เข้าไปพูดคุย มีการ ทำ�วิจัย เพราะเสียงของคนในพื้นที่ถือเป็นสิ่งสำ�คัญ ในที่สุดโจทย์ของการสร้างแหล่งเรียนรู้ชุมชน จึงมีคำ�ตอบออกมาเป็นการทำ� พิพิธภัณฑ์มีชีวิต คำ�ถามมีอยู่ว่า ชาวบ้านในพื้นที่ให้ความสนใจมากน้อยแค่ไหนกับสิ่งที่กำ�ลังจะ เกิดขึ้นในหมู่บ้านของพวกเขา กษิดิศ ในฐานะผู้จัดการพิพิธภัณฑ์ ตอบด้วยใบหน้า ยิ้มแย้มว่า “ต้องบอกว่ายากนะครับ ตอนทีเ่ ข้าไปทำ�งานร่วมกับชุมชนครัง้ แรก ตอนนัน้ เรามี ธงว่าเราต้องการทำ�พิพธิ ภัณฑ์ แต่วา่ เราจะทำ�อย่างไรให้ชาวบ้านเข้าใจคำ�ว่าพิพธิ ภัณฑ์ เพราะว่าคำ�นีก้ ย็ ากอยูใ่ นที แล้วยังยากเข้าไปอีกว่าต้องทำ�เป็นพิพธิ ภัณฑ์มชี วี ติ ซึง่ ไม่มี ต้นแบบที่ไหนให้ดูด้วย “วิธีการที่ทำ�คือ อย่างแรกให้คนในชุมชนขุดเอาความภาคภูมิใจของแต่ละคน ออกมาก่อนว่าความภูมิใจของเขาคืออะไร มีความดีงามอะไรซ่อนอยู่ในพื้นที่นี้บ้าง แล้วเขาอยากจะบอกเล่าอะไร แล้วเราค่อยสะท้อนออกมาว่าสิ่งต่างๆ เหล่านั้นมัน สามารถเล่าผ่านพิพิธภัณฑ์ได้ไหม”

พิพิธภัณฑ์โรงงานหลวงที่ 1 (ฝาง)

169


พิพิธภัณฑ์มีชีวิต แล้วพิพิธภัณฑ์มีชีวิตก็เกิดขึ้น ภายใต้การดำ�เนินงานตามหลักการทรงงานของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ว่า ‘เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา’ พิพิธภัณฑ์ทำ�หน้าที่เป็น เหมือนสถานที่เก็บเรื่องราวการทรงงานในอดีตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ มีต่อชุมชนบ้านยาง พิพิธภัณฑ์เป็นอาคารหลังใหญ่ที่มีรูปร่างหน้าตากลมกลืนไปกับสิ่งปลูกสร้าง ในพื้นที่ ด้านหลังเป็นภูเขาเขียวสดสบายตา อากาศสะอาดชื่นปอด ภายในจัดแสดง นิทรรศการเรื่องราวต่างๆ ทั้งความเป็นมาของหมู่บ้านมีการจัดแสดงสิ่งของของ ชาวบ้าน เช่น อุปกรณ์ดองผัก อุปกรณ์ในครัว การเข้ามาของโครงการหลวง การเกิดขึน้ ของโรงงาน มีการฉายภาพเคลือ่ นไหวทีถ่ กู บันทึกไว้ในช่วงน้�ำ ท่วม และมีการจัดแสดง เครื่องจักรกลที่เสียหาย “สินทรัพย์สำ�คัญในพื้นที่ นอกจากสิ่งที่สามารถจับต้องได้อย่างเครื่องจักร ก็ คือสิ่งที่ไม่สามารถจับต้องได้ เช่น ความทรงจำ�ของคนในพื้นที่กับพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ซึ่งมีสองมิติ หนึ่งคือความรู้สึกของชาวบ้านที่เข้ามาพึ่งพระบรม โพธิสมภาร ส่วนอีกมิติคือชาวโรงงานหลวงที่เข้ามาทำ�งาน “ในมุมที่เป็นความทรงจำ�ที่ดีของชาวบ้าน ชาวโรงงานที่มีต่อพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวถือเป็นส่วนหนึ่งของการทำ�พิพิธภัณฑ์ เพราะว่าความทรงจำ�ไม่ได้อยู่ ในอาคารที่สร้างขึ้นใหม่ แต่ความทรงจำ�อยู่ในทุกที่ของหมู่บ้าน ในคนที่อยู่ในชุมชน เพราะฉะนั้นจึงต้องดึงขึ้นมาเป็นพิพิธภัณฑ์ แล้วการที่จะเอาความทรงจำ�ของคนมา บรรจุใส่อาคารก็เป็นไปได้ยากและอาจไม่ถึงใจคนที่มาเรียนรู้” กษิดิศ บอกแบบนั้น ด้วยความเป็นพิพิธภัณฑ์มีชีวิต ทำ�ให้การเรียนรู้ไม่ได้จำ�กัดอยู่ในห้องจัดแสดง นิทรรศการ แต่องค์ความรูต้ า่ งๆ กระจายตัวอยูต่ ามบ้านเรือนแต่ละหลัง อยูใ่ นความ ทรงจำ�และวิถชี วี ติ ของชาวบ้าน ซึง่ ตัวพืน้ ทีบ่ า้ นยางเองมีความหลากหลายของความรู้ เป็นต้นทุน นอกจากนัน้ ยังโดดเด่นในเรือ่ งของอาหาร ทัง้ อาหารจีนยูนาน และอาหาร พื้นเมือง “เรามีอาคารนิทรรศการทีท่ �ำ หน้าทีเ่ ป็นเหมือนสารบัญ ต่อมาคือตัวโรงงานหลวง ซึ่งยังมีการแปรรูปผลิตภัณฑ์อยู่ สามารถเข้าไปชมได้ มีโรงไฟฟ้าพลังน้ำ�ขนาดเล็กซึ่ง เป็นแห่งแรกของประเทศไทย มีสถานีอนามัยพระราชทาน

170

เดินด้วยกัน พิพิธภัณฑ์มีชีวิต


“มีอยูว่ นั หนึง่ เดินเข้าไปในหมูบ่ า้ นแล้วมีสภุ าษิตจีนติดไว้ ผูใ้ หญ่บา้ น ถามผมว่ารูไ้ หมคำ�นีแ้ ปลว่าอะไร ผมบอกผมไม่รภู้ าษาจีนไม่ทราบ ความหมายครับ เขาจึงบอกคำ�แปลว่า ‘ขอฟ้าว่ายากแล้ว ขอคน ยังยากกว่า’ ณ จุดนั้นเรารู้สึกว่าเราเข้าใจอะไรมากขึ้น”

พิพิธภัณฑ์โรงงานหลวงที่ 1 (ฝาง)

171


“ส่วนในชุมชนก็มีศาลเจ้าแม่กวนอิม มีมัสยิด มีบ้านชาวบ้านที่ทำ�เส้นหมี่ ทำ� ขนมเปี๊ยะ ทำ�สุกี้ยูนนาน หมู่บ้านนี้เด่นเรื่องการแปรรูปอาหาร ซึ่งสอดคล้องกับการ ทำ�งานของโรงงานหลวง” ผูจ้ ดั การพิพธิ ภัณฑ์เล่าต่อว่า สิง่ ทีพ่ วกเขาตัง้ ใจทำ�ให้ทนี่ แี่ ตกต่างจากทีอ่ นื่ ๆ คือ การส่งมอบความรู้จากคนในชุมชนสู่คนภายนอก ภายใต้ความตั้งใจที่จะเรียนรู้จริงๆ มิใช่เพียงผ่านเข้ามาแวะชม ถ่ายรูปกับดอกไม้ ช็อปปิ้ง แล้วกลับออกไป “อาจเป็นเพราะกลุม่ เป้าหมายของพิพธิ ภัณฑ์ชดั เจน เราไม่ได้เน้นกลุม่ นักท่องเทีย่ ว ทีเ่ ป็นทัวร์ แต่คนทีเ่ ราดึงเข้ามาเป็นคนทีต่ งั้ ใจเข้ามาเรียนรู้ เพราะฉะนัน้ เมือ่ เขาเข้ามา สิง่ ทีเ่ ขามีปฏิสมั พันธ์กบั ชาวบ้านคือการเข้ามาหาความรู้ ชาวบ้านเลยรูว้ า่ คนทีเ่ ข้ามา หาเขา เป็นคนที่ต้องการเรียนรู้ ไม่ใช่เข้ามาซื้อสินค้าหรือถ่ายรูปเท่านั้น” สุรางคนา อธิบายเสริมแนวคิด

172

เดินด้วยกัน พิพิธภัณฑ์มีชีวิต


นอกจากคนภายนอกจะเข้ามาหาความรู้และขจัดความเงียบ สร้างชีวิตชีวาให้ ชุมชน พวกเขาเหล่านั้นยังสร้างความเปลี่ยนแปลงบางอย่าง “อย่างเรือ่ งของเศรษฐกิจทุกวันนีก้ พ็ ฒ ั นาขึน้ มีรา้ นอาหาร มีโฮมสเตย์ มีทพี่ กั คน เข้ามาเยอะขึน้ แต่ไม่ใช่หน้าทีเ่ ราทีจ่ ะยุง่ กับการทำ�โฮมสเตย์ เรามีหน้าทีท่ �ำ ให้ชาวบ้าน รู้สึกว่ามีคนเข้ามาในชุมชน มีความต้องการกิน ต้องการที่พัก” กษิดิศกล่าวถึงความ ชัดเจนในการแบ่งแยกบทบาทหน้าที่ แต่กว่าจะมาถึงจุดนี้ ทัง้ ผูจ้ ดั การพิพธิ ภัณฑ์ และตัวแทนจากสำ�นักงานทรัพย์สนิ ส่วนพระมหากษัตริยก์ ผ็ า่ นอะไรต่อมิอะไรมาหลายหลาก ลองผิดลองถูกกับการทำ�งาน มานับครั้งไม่ถ้วน

learning by doing แม้กษิดศิ จะเป็นคนเชียงใหม่ มีพนื้ ฐานความคิดและรับรูว้ ถิ ชี วี ติ ของชาวล้านนา แต่การเข้าไปเป็นส่วนหนึง่ ของสถานทีห่ นึง่ นัน้ ไม่ใช่เรือ่ งง่าย โดยเฉพาะพืน้ ทีท่ มี่ คี วาม หลากหลายทางชาติพันธุ์อย่างหมู่บ้านบ้านยาง “อย่างแรกเราต้องถอดหัวโขนของตัวเองทิ้งก่อนว่าเราเป็นคนมีการศึกษา เรา ต้องไม่คิดเรื่องนั้นเลย เพราะถ้าเราต้องการเข้าใจและเข้าถึงชาวบ้าน เราก็ต้องเป็น ชาวบ้าน เราคือบ้านเลขที่หนึ่งในชุมชนนั้น และก็เข้าไปเรียนรู้วิถีชีวิตของเขา อย่าง เวลาทีเ่ ป็นการทำ�งานเราก็เข้าไปทำ�งาน เข้าไปเก็บข้อมูลไปสัมภาษณ์ แต่หลังเลิกงาน เราก็เดินเข้าไปในชุมชนแล้วไปขอข้าวเขากิน เขาก็ต้อนรับเรา “ผมว่าการเข้าไปเป็นส่วนหนึง่ ของชุมชน ไม่ได้มอี ะไรซับซ้อนเลยถ้าเอาหลักการ ทรงงานของพระเจ้าอยูห่ วั เป็นทีต่ งั้ เราก็ท�ำ ตามทีพ่ ระองค์ทา่ นทรงทำ� ในรูปทีท่ มี งาน คัดสรรขึ้นมาจัดนิทรรศการ เราจะเห็นว่าพระองค์ท่านทรงใกล้ชิดกับชาวบ้านมากๆ คิดว่านี่คือการเรียนลัดว่าเราก็ทำ�งานแบบพระองค์ท่านสิ” กษิดศิ ย้อนความหลัง เขาเล่าว่าในช่วงแรกๆ การทำ�งานในพืน้ ทีน่ ที้ �ำ ให้เขาต้องยืน อยูค่ นละฝัง่ กับผูใ้ หญ่บา้ น ชาวบ้านทีเ่ ข้ากับผูใ้ หญ่บา้ นไม่ได้กจ็ ะมาขอความช่วยเหลือ จากเขา เนื่องจากคำ�ว่า ‘หลวง’ ที่แปะอยู่ท้ายหน่วยงาน ทำ�ให้ชาวบ้านมองว่า พิพิธภัณฑ์และตัวเขา คือความหวังใหม่ของชาวชุมชน

พิพิธภัณฑ์โรงงานหลวงที่ 1 (ฝาง)

173


“น้ำ�ไม่ไหล ไฟไหม้ ลูกไม่กินข้าวก็มาหาผม” เขาเล่ากลั้วเสียงหัวเราะทั้งของเขา เอง และคนรอบวงสนทนา ในขวบปีแรกๆ อาจเป็นเรื่องยากที่จะทำ�ให้ชาวบ้านเข้าใจในเจตนารมณ์การ ทำ�งานของพิพิธภัณฑ์ว่าไม่ใช่เข้ามาบำ�บัดทุกข์ บำ�รุงสุข แต่เข้ามาพัฒนาพื้นที่ สร้าง ความรู้โดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงเป็นหมุดหมาย แต่ในปีต่อๆ มาชาวชุมชนเริ่ม เข้าใจและร่วมมือกันทำ�งานอย่างเต็มที่ เต็มความสามารถ และเขากับผู้ใหญ่บ้านก็ หันมาคุยกันโดยโยนความคาใจต่อกันทิ้งไป “มีอยูว่ นั หนึง่ เดินเข้าไปในหมูบ่ า้ นแล้วมีสภุ าษิตจีนติดไว้ ผูใ้ หญ่บา้ นก็ถามผมว่า รู้ไหมคำ�นี้แปลว่าอะไร ผมก็บอกผมไม่รู้ภาษาจีนไม่ทราบความหมายครับ เขาก็บอก ว่ามันแปลว่า ‘ขอฟ้าว่ายากแล้ว ขอคนยังยากกว่า’ ณ จุดนัน้ เรารูส้ กึ ว่าเราเข้าใจอะไร มากขึน้ แล้วเราก็สลายความมีตวั ตนของเราด้วย เราก็ยนิ ดีทจี่ ะเปิดรับความเข้าใจใหม่ กับหมู่บ้าน เลยเหมือนการตั้งต้นใหม่ เพราะยังไงเราก็ต้องทำ�งานร่วมกัน “ทุกอย่างที่ทำ�ต้องอาศัยการเรียนรู้แบบลงมือทำ� (learning by doing) แหละ ครับ” กษิดิศสรุปบทเรียน

จุดเชื่อมโยง หากขีดเส้นขอบเขตของการทำ�งาน คงต้องบอกว่ากษิดศิ ทำ�งานกับคนทัง้ ชุมชน ซึ่งคำ�ว่า ‘ทั้งชุมชน’ หมายความตามนั้นจริงๆ เพราะเขาต้องการให้ทุกคน ทุกวัย มีส่วนในการทำ�งานร่วมกัน ร่วมกันคิด ร่วมกันออกแบบกิจกรรมต่างๆ ถึงอย่างนั้นก็ตาม การทำ�งานกับกลุ่มคนในหมู่บ้านที่อายุต่างกันแม้จะไม่มาก ก็เป็นสิ่งที่ผู้จัดการพิพิธภัณฑ์ยอมรับว่าไม่ง่ายเลย เพราะมีข้อจำ�กัดใหญ่ๆ อยู่ที่การ สื่อสาร โดยเฉพาะคนรุ่นแรกของหมู่บ้านที่เข้าสู่วัยอากงอาม่าที่สื่อสารภาษาไทย ได้น้อยมากหรือไม่ได้เลย สำ�หรับรุ่นที่สอง คือรุ่นที่เป็นวัยกลางคน บางคนสื่อสาร ภาษาไทยได้ดเี พราะบางคนมีโอกาสได้เรียนหนังสือ ส่วนรุน่ ทีส่ าม คือเด็กของยุคสมัย นี้ เป็นรุ่นที่กำ�ลังเรียนมหาวิทยาลัย หรือบางรายก็เรียนจบแล้ว “การทำ�งานกับคนสามรุ่นมีวิธีการทำ�งานต่างกันหมดเลยครับ อย่างแรกคือ ข้อจำ�กัดของภาษา แล้วก็ความเป็นตัวตนของคนแต่ละรุน่ ก็ตา่ งกัน คนรุน่ แรกทีส่ อื่ สาร ภาษาไทยไม่ค่อยได้มีความเป็นจีนสูง เวลาเราเข้าหาเขาเราก็ต้องใช้วิธีการที่ไม่เป็น 174

เดินด้วยกัน พิพิธภัณฑ์มีชีวิต


ทางการ ไม่ต้องมีพิธีรีตองอะไรเยอะแยะ เข้าไปตามงานต่างๆ ทั้งงานแต่ง งานศพ ก็เข้าไปนั่งคุยซึ่งทุกอย่างสามารถเก็บเป็นข้อมูลได้ เวลาคุยกับเขาเราจะรู้จักเขามาก ขึ้น สิ่งที่เขาอาจไม่เคยพูดกับคนอื่นที่เข้ามา เขาก็เริ่มพูดกับเรามากขึ้นเรื่อยๆ “ส่วนคนรุน่ ทีส่ องซึง่ เป็นกลุม่ ผูใ้ หญ่กเ็ ข้าหาแบบทางการได้บา้ ง เป็นโจทย์อยูแ่ ล้ว ว่าต้องทำ�งานร่วมกับชุมชน มีการตั้งคณะทำ�งานร่วมในพื้นที่ เชิญผู้ใหญ่ที่เป็นผู้นำ� แบบทางการและผู้นำ�โดยธรรมชาติ ผู้นำ�ทางศาสนา เข้ามาเป็นคณะทำ�งานร่วมกัน เป็นที่ปรึกษา เพราะฉะนั้นเวลาจะทำ�อะไรแต่ละอย่างเราคิดคนเดียวไม่จบ เราต้อง ชวนเขาเข้ามาช่วยคิดว่าแบบนั้นได้ไหม แบบนี้ดีไหมถูกต้องหรือเปล่า “สำ�หรับรุ่นที่สามเด็กเยาวชนเป็นคนยุคใหม่ ส่วนนี้เป็นกลุ่มที่ชวนเขามาเป็น ยุวมัคคุเทศก์ เป็นเยาวชนจิตอาสา มาทำ�กิจกรรมร่วมกัน ก็จะเป็นกลุม่ ทีเ่ ข้ามาใกล้ชดิ ซึง่ พวกเขาเป็นกลไกสำ�คัญในการขับเคลือ่ นความสัมพันธ์ระหว่างพิพธิ ภัณฑ์ โรงงาน และชุมชน” กษิดิศเล่าว่า เด็กๆ เหล่านี้บอกกับเขาตามตรงว่าก่อนจะมีพิพิธภัณฑ์พวกเขา ไม่เคยรู้เลยว่า อีกฝั่งหนึ่งของกำ�แพงโรงงานมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง ทั้งๆ ที่อยู่ในชุมชน เดียวกัน เรียกได้ว่าความสัมพันธ์ค่อนข้างห่างเหินกันอยู่ในที แต่เมื่อมีพิพิธภัณฑ์ พวกเขาก็ใกล้ชิดกันมากขึ้น เพราะรั้วที่กั้นทั้งทางรูปธรรมและนามธรรมได้พังทลาย ลงไปแล้ว เหลือเพียงดินผืนเดียวกันที่ทุกคนสามารถไปมาหาสู่กันได้อย่างสะดวกใจ “โดยสากลพิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ มี ห น้ า ที่ ร วบรวมและส่ ง ต่ อ แต่ ที่ นี่ พิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ เ ป็ น เครื่องมือหนึ่งในการพัฒนาพื้นที่ ถ้าเราเข้าใจตรงนี้ เราจะเข้าใจเลยว่าทำ�ไมเราต้อง เข้าไปทำ�งานกับชุมชนมากขนาดนัน้ นัน่ เพราะว่าเราต้องพัฒนาคน พัฒนาพืน้ ทีต่ รงนี้ พัฒนาเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม ซึ่งคนเป็นผู้ขับเคลื่อนทุกสิ่งอย่าง”

รูปธรรมของความก้าวหน้า ในภาพกว้างของการทำ�งานร่วมกับชุมชน จำ�นวนคนที่เข้าร่วมกิจกรรมอาจ เป็นสิ่งสำ�คัญในการวัดผลสัมฤทธิ์ในการทำ�งาน แต่ในการทำ�งานร่วมกับชุมชนของ พิพิธภัณฑ์โรงงานหลวงที่ 1 (ฝาง) การมีส่วนร่วมด้วยความสมัครใจของชาวบ้าน ถือเป็นเครื่องชี้วัดได้ดีกว่ามาตรวัดตามหลักการเก็บสถิติแบบสากล “ช่วงแรกๆ เราก็ท�ำ ไปตามกระบวนการดัชนีชวี้ ดั ผลงานทีร่ าชการใช้กนั อยูท่ วั่ ไป

พิพิธภัณฑ์โรงงานหลวงที่ 1 (ฝาง)

175


“พิพิธภัณฑ์มีชีวิต ต้องเน้นการเติบโตไปเคียงข้างกัน”

176

เดินด้วยกัน พิพิธภัณฑ์มีชีวิต


คือการทำ�เชิงปริมาณ สร้างฝายจำ�นวนเท่านั้น ปลูกต้นไม้จำ�นวนเท่านี้ แต่ถามว่าทำ� แบบนั้นมันแฮปปี้ไหม มันไม่แฮปปี้แฮะ มันเหนื่อย เพราะว่าสุดท้ายเรามาตั้งคำ�ถาม กับตัวเองว่า ต้นไม้ที่เราปลูกไว้เหลือกี่ต้น ฝายที่สร้างไว้เหลือกี่แห่ง มันยังทำ�หน้าที่ ของมันอยู่ไหม มีคนมาร่วมกิจกรรมเป็นร้อยคน เราดูแลไหวหรือเปล่า เมื่อผ่านช่วง การทำ�งานแบบนั้นไปประมาณ 2-3 ปี เราก็ลบความคิดแบบเดิมทิ้งไปเลย” หลังจากโยนความคิดเก่าทิ้ง กษิดิศทดลองทำ�งานแบบใหม่โดยใช้หลักการ ทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว คือการ ‘ปลูกป่าในใจคน’ เริ่มต้นด้วยการ เลิกนับปริมาณคนมาร่วมงาน เพราะแต่ละครั้งที่จัดกิจกรรม ชาวบ้านจะมาร่วมงาน ไม่ซ้ำ�หน้า นั่นแปลว่าพวกเขาจัดเวรหมุนเวียนกันมาหลังจากเปลี่ยนวิธีทำ�งานและ กรองจนเหลือคนทีต่ อ้ งการมาร่วมกิจกรรมจริงๆ ชาวบ้านก็เริม่ รวมตัวกันทำ�กิจกรรม เอง คิดโครงการเองโดยไม่ต้องให้พิพิธภัณฑ์เป็นหัวเรือใหญ่ “หลังจากนัน้ ชาวบ้านคิดกันเอง ว่าช่วงไหนควรปลูกต้นไม้ ช่วงไหนควรทำ�ฝาย” สำ�หรับสุรางคนา ในฐานะผู้แทนจากสำ�นักงานทรัพย์สินฯ มองว่า ชาวบ้านมี องค์ความรู้เรื่องต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องสิ่งแวดล้อมเยอะมาก เพราะอยู่ในพื้นที่มา กว่า 50 ปี เพราะฉะนั้นการทำ�งานจึงต้องเคารพภูมิปัญญาและยกให้ชาวบ้านเป็นที่ พึ่งของพิพิธภัณฑ์ “ชาวบ้านเขารู้เยอะกว่าเรา ถ้าเราไปทำ�ฝายผิดเส้น กลายเป็นว่าน้ำ�ไม่เข้าสวน ไม่เข้าไร่เขา เขารูเ้ ยอะกว่าเรามากในการดำ�รงชีวติ ในธรรมชาติ สิง่ ทีส่ �ำ คัญของคนทีจ่ ะ เข้าไปพัฒนาพื้นที่คือเราต้องให้ความสำ�คัญและให้คุณค่ากับคนในชุมชน ถ้าเมื่อไรที่ เราไม่ให้ความสำ�คัญกับเขา เขาจะรู้สึกได้ เราอย่าไปมองว่าเรารู้มาเยอะ” หากพูดถึงความเปลี่ยนแปลงของชุมชน นอกจากชาวบ้านจะเริ่มใส่ใจคุณภาพ ชีวติ ตัวเอง คุณภาพหมูบ่ า้ น และเรือ่ งสิง่ แวดล้อม พวกเขายังสนใจทีจ่ ะบอกเล่าความ เป็นมาของหมู่บ้านและตัวตนผ่านการทำ�หนังสือประวัติหมู่บ้าน กษิดิศบอกว่างานนี้ ชาวบ้านเสนอขึ้นเอง โดยที่มีพิพิธภัณฑ์เป็นผู้สนับสนุนด้านกระบวนการทำ�งาน “สิง่ ทีไ่ ด้ออกมาคือหนังสือ แต่สงิ่ ทีไ่ ด้มากกว่านัน้ คือคนในหมูบ่ า้ นสามัคคีกนั การ ทำ�หนังสือทำ�ให้ผใู้ หญ่กบั เด็กได้มาเจอกัน เพราะเด็กต้องสัมภาษณ์คนแก่ เรือ่ งพวกนี้ มันมาของมันเอง แล้วนำ�ไปสูจ่ ดุ มุง่ หวังของเราทีต่ อ้ งการให้พพิ ธิ ภัณฑ์กบั ชุมชนกลาย เป็นแหล่งเรียนรู้ คนในชุมชนก็จะมีก้อนความรู้ใหม่ขึ้นมา ซึ่งได้จากหลักฐานที่เขามี” อดีตนายอำ�เภอจำ�เป็น เล่าให้ฟังด้วยน้ำ�เสียงภาคภูมิใจ

พิพิธภัณฑ์โรงงานหลวงที่ 1 (ฝาง)

177


คนของกันและกัน หากจุดหมายสำ�คัญของการทำ�พิพิธภัณฑ์มีชีวิตแห่งนี้คือการพัฒนาพื้นที่บ้าน ยาง จึงเกิดข้อสงสัยและคำ�ถามตามมาว่า ถึงวันนีพ้ พิ ธิ ภัณฑ์ได้ท�ำ หน้าทีไ่ ด้ดมี ากน้อย แค่ไหน และคำ�ตอบทีเ่ ราคาดไว้ในใจนัน้ เป็นคำ�ตอบทีไ่ ม่ตรงกับคำ�ตอบจากปากของ ผู้จัดการพิพิธภัณฑ์แม้แต่น้อย “เราไม่มีตัวชี้วัดเชิงปริมาณ เคยมีทีมงานทำ�การสอบถามเชิงปริมาณว่าคิดเห็น อย่างไรกับโรงงานหลวง กับพิพิธภัณฑ์ฯ อยากเห็นอะไรเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติม แต่ถ้า ชีว้ ดั จากความสบายใจของคนทีท่ �ำ งาน ผมว่าเป็นคำ�ตอบโดยตัวเองแล้วแหละว่าเป็น อย่างไร การทำ�งานกับผูน้ �ำ ชุมชนสามปีแรกตีกนั แต่สามปีหลังทำ�งานร่วมกันได้ เดีย๋ ว นี้เวลาชาวบ้านจัดประชุมเขาก็ไม่ลืมพิพิธภัณฑ์ฯ ไม่ลืมโรงงานหลวง ไม่มีใครลืมใคร ทุกอย่างมันถึงกันหมด” นั่นคือคำ�ตอบของเขา มาถึงวันนี้ จึงสามารถพูดได้วา่ พิพธิ ภัณฑ์ได้ผนวกเป็นส่วนหนึง่ ของชุมชนแห่งนี้ อย่างสอดคล้องกลมกลืน 178

เดินด้วยกัน พิพิธภัณฑ์มีชีวิต


“ถ้าตัดเรื่องของจำ�นวนและปริมาณทิ้ง ตัวชี้วัดที่บอกว่าพิพิธภัณฑ์ประสบ ความสำ�เร็จเรื่องงานชุมชนก็คือสามภาคี ชุมชน โรงงาน พิพิธภัณฑ์ มีส่วนร่วมกัน ทุกกิจกรรมและมีความต่อเนื่องมาตลอด นั่นแปลว่าปฏิสัมพันธ์ของทั้งสามยังดีอยู่ “ตอนนีก้ ลายเป็นเรือ่ งปกติไปแล้วทีเ่ ราจะทำ�งานร่วมกัน ถ้าหายไปหนึง่ ส่วนก็คง รู้สึกแปลกๆ ไม่ว่างานอะไรเราก็ทำ�ร่วมกัน วันพ่อ วันแม่ วันตรุษจีน ก็เป็นกลุ่มเป็น ก้อนเดียวกัน สิง่ นีเ้ ป็นตัวชีว้ ดั ถึงความสำ�เร็จว่าเราทำ�งานกับชุมชนแค่ไหน” สุรางคนา ตอบด้วยรอยยิ้ม ในมิตขิ องการทำ�งานพิพธิ ภัณฑ์หากการมีสว่ นร่วมคือคำ�ตอบของความอุตสาหะ เป้าต่อไปของการมีส่วนร่วมอาจเป็นการขยายองค์ความรู้ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น เพื่อ รองรับความกระหายในความใคร่รู้จากคนทุกวัย ซึ่งในส่วนนี้กษิดิศบอกว่าพวกเขา กำ�ลังเตรียมการกันอยู่ โครงการที่วางไว้ภายหน้าคือโครงการ ‘ห้องเรียนชุมชน’ ที่ ต้องการให้มีการเปิดพื้นที่การเรียนรู้ใหม่ๆ “ชาวบ้านมีสวนลิ้นจี่อยู่ประมาณยี่สิบไร่ ตอนแรกเขาก็ยกให้โรงงานดูแลไปเลย เพราะเขาดูแลไม่ไหว แล้วตอนหลังชาวบ้านก็มาบอกว่าน่าจะเอาสวนนัน้ ทำ�เป็นแหล่ง เรียนรู้เรื่องการปลูกไม้ป่าแซมไม้ผล” ผู้จัดการพิพิธภัณฑ์เล่าถึงความเปลี่ยนแปลงที่ เกิดขึ้น กษิดศิ ยังบอกด้วยว่าการทำ�งานนัน้ ขับเคลือ่ นด้วยแนวความคิดสีก่ อ้ นทีห่ มุนวน ไปตลอดเวลา หนึง่ คือองค์ความรูเ้ ป็นของชุมชนซึง่ หมายถึงชาวบ้านและชาวโรงงาน สอง พิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ ซึ่ ง เป็ น ผู้ ส ร้ า งกระบวนการแลกเปลี่ ย นเรี ย นรู้ ข องคนในชุ ม ชน สาม การนำ�ความรู้ไปต่อยอดขยายผลองค์ความรู้ใหม่ๆ ขึ้นมา และ สี่ การส่งมอบ สิ่งใหม่ๆ เหล่านั้นให้คนนอกที่เข้ามาศึกษาหาความรู้ “เพราะฉะนั้นความรู้จึงไม่หยุดนิ่ง มันจะหมุนไปเรื่อยๆ เราสร้างความรู้ใหม่ๆ ขึ้นมาทุกปี เราไม่รู้ว่าจุดสิ้นสุดมันอยู่ตรงไหน” ก่อนวงสนทนาจะยุติ อยากรู้ว่า ‘พิพิธภัณฑ์มีชีวิต’ ในความคิดของพวกเขา คืออะไร กษิดิศอาสาตอบก่อน “อย่างไรก็ตาม พิพธิ ภัณฑ์กต็ อ้ งคงความเป็นสิง่ ของเอาไว้ให้อยูไ่ ด้นานทีส่ ดุ เท่าที่ มันจะอยูไ่ หว เช่นกันผมก็มองว่าเราก็จะรักษาสิง่ ทีม่ อี ยูใ่ ห้อยูไ่ ด้นานทีส่ ดุ เท่าทีจ่ ะเป็น ไปได้ แต่ทกุ อย่างล้วนเป็นพลวัตทีม่ กี ารเปลีย่ นแปลง สิง่ ทีเ่ ราทำ�ได้คอื ให้เปลีย่ นแปลง ช้าที่สุด และเป็นไปในทิศทางที่น่าจะดีสำ�หรับทุกคนที่อยู่ตรงนั้น

พิพิธภัณฑ์โรงงานหลวงที่ 1 (ฝาง)

179


“ทุกวันนีผ้ มคิดว่าเราเป็นนักพัฒนาไม่ใช่ภณ ั ฑารักษ์ เพราะว่างานของเราชีไ้ ปว่า เราต้องพัฒนาพื้นที่นี้โดยใช้พิพิธภัณฑ์เป็นเครื่องมือ เพราะฉะนั้นพิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิต คือการเป็นแหล่งที่รักษาวิถี รักษาตัวตน รักษาอัตลักษณ์ของพื้นที่เอาไว้” ส่วนสุรางคนาตอบว่า “พิพิธภัณฑ์มีชีวิตต้องเน้นการเติบโตไปเคียงข้างกัน” เมื่อ พิพิธ ภัณฑ์เป็นเหมือ นสารบัญ ความรู้ ชุมชนเป็นหนังสือพูดได้ และ โรงงานหลวงเป็นเครื่องยืนยันการมีอยู่ของสายสัมพันธ์ ชาวบ้านเป็นส่วนหนึ่งของ พิพธิ ภัณฑ์และพิพธิ ภัณฑ์เป็นส่วนหนึง่ ของชุมชน ทุกองค์ประกอบล้วนผสมกลมเกลียว จึงนำ�สู่ถ้อยคำ�สรุปที่เรียบง่ายแต่แจ่มชัดว่า พวกเขาเป็นคนของกันและกัน

180

เดินด้วยกัน พิพิธภัณฑ์มีชีวิต




ที่แห่งนี้ไม่มีภัณฑารักษ์

พิพิธภัณฑ์บ้านเก่าเล่าเรื่อง ชุมชนเจริญไชย



ถ้าชุมชนอยู่ได้ พิพิธภัณฑ์ก็อยู่ได้ เพราะชุมชน คือสิ่งที่ทำ�ให้พิพิธภัณฑ์นี้เกิดและอยู่ได้ แต่ถ้าไม่มี ชุมชนแล้ว คุณเก็บพิพิธภัณฑ์ไว้ก็ไม่มีประโยชน์ ถ้าชุมชนยังคงมีชีวิต มีการขับเคลื่อนในด้าน เศรษฐกิจด้านสังคม ชุมชนก็ยังคงน่าสนใจอยู่ใน ตัวเอง ศิริณี อุรุนานนท์ พิพิธภัณฑ์บ้านเก่าเล่าเรื่อง ชุมชนเจริญไชย


“เราต้องการรู้ว่าแต่ละบ้านอยู่กันมาตั้งแต่เมื่อไหร่ เราต้องการจะบอกคนข้างนอกว่าตรงนี้อยู่กันมา ตัง้ แต่เมือ่ ไหร่ มีสงิ่ หนึง่ ทีค่ นในชุมชนคิดเหมือนกันคือ อยากให้มองตัวคนมากกว่าตัวอาคาร เพราะสิง่ สำ�คัญ ไม่ได้อยู่ที่อาคาร”

186

ที่แห่งนี้ไม่มีภัณฑารักษ์


กระดาษไหว้เจ้าสีทองสีแดงแขวนเรียงรายภายในร้านค้าริมถนน

คือทัศนียภาพแรกเมือ่ เดินทางมายังชุมชนแห่งนี้ โดยมีกลิน่ สมุนไพรจีน เป็นอากาศหลัก ร้านบะหมีใ่ นตรอกยังคงให้บริการคนในชุมชนและผูค้ น แปลกหน้าที่เดินทางมาเพราะพบเจอรีวิวร้านอาหารในแอพพลิเคชั่น ตึกเก่าทรงชิโนโปรตุกีสยังคงปักหลักมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 และ แสงแฟลชของช่างภาพสมัครเล่นยังคงสนใจพวกมันอยู่เสมอ แม้ว่า ปัจจุบนั จะไม่บนั ทึกเป็นประวัตศิ าสตร์ และไม่ไกลออกไปจากปากซอย เจริญกรุง 23 มีการก่อสร้างสถานีรถไฟฟ้าใต้ดนิ แต่ชวี ติ ผูค้ นในชุมชนนี้ ก็ยังคงดำ�เนินต่อไป ยังดำ�เนินต่อไป – แม้วา่ ชาวไทยเชือ้ สายจีนทีอ่ าศัยและค้าขายอยู่ ในชุมชนเจริญไชยจะถูกยกเลิกสัญญาเช่าระยะยาว พวกเขาอาศัยอยู่ ในบ้านด้วยความกังวลแบบเดือนต่อเดือน เพราะไม่อาจมั่นใจได้ว่า เดือนต่อไปพวกเขาจะต้องย้ายชีวิตไปแห่งหนใด มีแนวโน้มว่าเจ้าของทีด่ นิ คือมูลนิธจิ มุ ภฏ-พันธุท์ พิ ย์ จะทำ�ให้ทดี่ นิ มีมูลค่ามากกว่าการเก็บค่าเช่าแบบเดิม เนื่องจากโครงการก่อสร้าง รถไฟฟ้าใต้ดนิ ทีก่ �ำ หนดให้สร้างอาคารสถานีรถไฟฟ้าใต้ดนิ วัดมังกรตรง บริเวณนี้ ตึกแถวบางส่วนบริเวณปากซอยเจริญกรุง 23 และฝัง่ ตรงข้าม อีกเป็นแนวยาวจึงถูกรื้อถอนออกไป ในวันนัน้ ศิรณ ิ ี อุรนุ านนท์ ยืนมองการรือ้ ถอนอยูไ่ กลๆ และกังวล ถึงอนาคตอันใกล้ของชุมชนเจริญไชย ปีนั้นเป็นปี 2551

พิพิธภัณฑ์บ้านเก่าเล่าเรื่อง ชุมชนเจริญไชย

187


เมื่อถูกรื้อถอนจึงต้องรื้อค้น นีค่ อื วิกฤติในบ้านพวกเขา บ้านทีอ่ ยูก่ นั มาตัง้ แต่รนุ่ ทวดรุน่ ปู่ จนชีวติ หยัง่ รากลง ทีน่ ี่ ภายหลังการประกาศขอบเขตพืน้ ทีท่ จี่ ะถูกเรียกคืนเพือ่ ใช้ประโยชน์ในการก่อสร้าง อาคารสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินวัดมังกร ผู้เช่าอาคารของมูลนิธิจุมภฏ-พันธุ์ทิพย์ บริเวณ ซอยเจริญไชยและพืน้ ทีใ่ กล้เคียงริมถนนเจริญกรุงและพลับพลาไชย ได้รว่ มกันกำ�หนด แนวทางการพัฒนาชุมชนให้มีความสอดคล้องกับคุณค่าของพื้นที่ ทางชุมชนได้รวม กลุม่ กันในนาม ‘กลุม่ อนุรกั ษ์และฟืน้ ฟูชมุ ชนเจริญไชย’ เพือ่ ฟืน้ ฟูสภาพทางกายภาพ และฟืน้ ฟูวฒ ั นธรรมประเพณีของชุมชน พวกเขามีแนวคิดทีจ่ ะสร้างพิพธิ ภัณฑ์ชมุ ชน ที่จะเป็นแหล่งเรียนรู้วัฒนธรรมประเพณีชาวจีน และเป็นแหล่งเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ของพื้นที่และชุมชน วิกฤติที่อยู่อาศัยจากการไล่รื้อถอนอาคารในปีนั้น คือจุดเริ่มต้นของการรื้อหา เรื่องเล่าเพื่อยืนยันอัตลักษณ์ของชุมชน “เรารวมตัวกันเป็นกลุ่มอนุรักษ์และฟื้นฟูชุมชนเจริญไชย กิจกรรมที่เราทำ�แล้ว คิดว่าสามารถแสดงอัตลักษณ์ของชุมชนได้ดีที่สุด คือเทศกาลไหว้พระจันทร์ เพราะ เป็นเทศกาลที่ใช้กระดาษไหว้เจ้าเยอะ ซึ่งชุมชนของเราเป็นย่านขายกระดาษไหว้เจ้า ขนาดใหญ่ เราจึงรื้อฟื้นประเพณีตอนปี 2553 ขึ้นมาเป็นปีแรก” ศิริณีเล่า ในห้วงเวลานั้น กลุ่มอนุรักษ์และฟื้นฟูชุมชนเจริญไชย มีความคิดที่จะจัดทำ� นิทรรศการ ก่อร่างสร้างพิพิธภัณฑ์เพื่อสร้างความทรงจำ�ของชุมชน ทั้งหมดนี้มี ปลายทางที่การปกปักรักษาบ้านของพวกเขา ปีนั้นเป็นปี 2554 เป็นปีที่ ‘พิพิธภัณฑ์ บ้านเก่าเล่าเรื่อง ชุมชนเจริญไชย’ ได้ฤกษ์เปิดตัว “เมื่อประมาณปี 2554 เราจึงเริ่มทำ�พิพิธภัณฑ์ แต่ก่อนห้องตรงนี้เป็นพื้นที่ของ มูลนิธิจุมภฏ-พันธุ์ทิพย์ทั้งหมด พวกเราเช่าอยู่ทั้งหมด สมัยก่อนห้องนี้เป็นห้องของ คนทีม่ อี าชีพเป็นนักแสดงงิว้ แต่ตอนหลังเมือ่ เขาเสียชีวติ ลูกหลานได้ยา้ ยออก ห้องนี้ จึงปิดมานาน เราเลยขออนุญาตทางมูลนิธิฯ เพื่อเป็นสถานที่ทำ�กิจกรรมของคนใน ชุมชน โดยมีการซ่อมแซมเล็กน้อย “จากนัน้ ทีเ่ ราคิดว่ามันเป็นห้องโล่งๆ จึงเอามาเป็นทีจ่ ดั นิทรรศการ ให้ความรูก้ บั คนทีม่ าดูวา่ ชุมชนมีคณ ุ ค่าอย่างไร สำ�คัญอย่างไร และกำ�ลังเกิดอะไรขึน้ กับชุมชนของ เรา โดยคนในชุมชนช่วยกันทำ�ขึ้นมา การจัดห้องนิทรรศการทำ�ให้คนรู้จักชุมชนมาก ขึ้น พิธีเปิดอยู่ในช่วงปลายปี 2554” 188

ที่แห่งนี้ไม่มีภัณฑารักษ์


‘พิพิธภัณฑ์บ้านเก่าเล่าเรื่อง ชุมชนเจริญไชย’ ตั้งอยู่ในซอยเจริญกรุง 23 เป็น ตึกแถว 2 ชั้นทรงชิโนโปรตุกีส ภายในจัดแสดงสิ่งของและบอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับ ชาวจีนที่อยู่ในชุมชนเจริญไชย

นักพิพิธภัณฑ์สมัครเล่น ศิริณีและเพื่อนสมาชิกในกลุ่มอนุรักษ์และฟื้นฟูชุมชนเจริญไชย ต่างก็เกิดและ เติบโตขึ้นมาในชุมชนเจริญไชย ทั้งหมดประกอบอาชีพค้าขายเช่นเดียวกับชาวจีนใน ชุมชน แต่วันหนึ่งที่ต้องเริ่มทำ�พิพิธภัณฑ์ พวกเขาเข้ารับการอบรมจากศูนย์ภูมิภาค โบราณคดีและวิจิตรศิลป์ในองค์การรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ซีมโี อ-สปาฟา) เป็นเวลา 4 วัน และนอกจากนัน้ ก็เริม่ ต้นกันเองเหมือนนักดนตรีเล่นกัน แบบอิมโพรไวส์ ศิริณีบอกเล่าถึงความปรารถนาในการทำ�พิพิธภัณฑ์ ว่า “ตอนเริ่มทำ�พิพิธภัณฑ์ พวกเราคิดแค่ว่าจะทำ�อย่างไรให้คนที่ผ่านไปผ่านมาใน ย่านเจริญไชยได้รับรู้และเรียนรู้เกี่ยวกับชุมชน เพราะปกติคนจะมาซื้อของบ้าง มา กินอาหารบ้าง แล้วก็กลับไป เราคิดว่าต้องมีสถานที่หนึ่งที่จะบอกเล่าว่า ชุมชนนี้ คืออะไร และกำ�ลังเกิดอะไรขึ้น มีความสำ�คัญอย่างไร เลยเป็นจุดที่คิดว่าควรจะเป็น พิพิธภัณฑ์ที่บอกเล่าเรื่องราวแก่ผู้คนได้” ปัญหาแรกที่ศิริณีและเพื่อนเจอ ก็คือการปราศจากสิ่งของจัดแสดงซึ่งเป็นหัวใจ หนึ่งของการเป็นพิพิธภัณฑ์ “ตอนแรกเราเรียกห้องนีว้ า่ เป็นห้องนิทรรศการ เราไม่ได้เรียกเป็นห้องพิพธิ ภัณฑ์ มันไม่มีของเก่าของโบราณเยอะแยะมากพอที่จะทำ�ให้เรียกพิพิธภัณฑ์ได้ เลยเรียก ห้องนิทรรศการในตอนแรกไปก่อน ช่วงแรกทีจ่ ดั แสดง เราใช้หอ้ งข้างล่างแสดงประวัติ ชุมชน เป็นประวัติศาสตร์ของบ้านแต่ละหลัง วางไว้ให้คนได้เปิดอ่าน มีภาพถ่ายเก่า ของคนในชุมชนที่เราไปขอตามบ้านต่างๆ เอามาใส่กรอบจัดแสดง และภาพเก่าของ ถนนในมุมต่างๆ ของย่านนี้ ตอนหลังเราก็ทำ�หนังสือของเราเองชื่อ บันทึกเจริญไชย คนจีนสยาม โดยทำ�ประวัติให้สมบูรณ์แล้วพิมพ์เป็นหนังสือ” การทำ�พิพธิ ภัณฑ์บา้ นเก่าเล่าเรือ่ ง ชุมชนเจริญไชย ไม่ได้เริม่ จากการมีคอลเล็คชัน่ หรือของสะสม พวกเขาไม่มีอะไรเลยนอกจากความปรารถนาที่จะใช้เรื่องเล่าเพื่อ

พิพิธภัณฑ์บ้านเก่าเล่าเรื่อง ชุมชนเจริญไชย

189


ยืนยันอัตลักษณ์ชาวจีนในชุมชนเจริญไชย อัตลักษณ์ที่จะสามารถต่อรองเพื่อยืนยัน ถึงสิทธิในที่อยู่อาศัย “ตอนไปดูพพิ ธิ ภัณฑ์ชมุ ชนแห่งอืน่ ๆ ส่วนใหญ่ของเก่าเขาเยอะ วางเต็มไปหมด แต่เราแทบจะไม่มขี องเก่าอะไรเลย เราต้องมาทำ�เอง จัดมุมให้มเี รือ่ งราว ตอนแรกมัน ยังโล่งๆ ทำ�แค่โปสเตอร์ขนึ้ มาอธิบายความเป็นมาและประวัตถิ นนเจริญกรุง อธิบาย ความเป็นมาของกลุม่ เราว่าเกิดขึน้ ได้อย่างไร เราคิดว่าภายในห้องจัดแสดง อย่างน้อย ก็นา่ จะเป็นการบอกเรือ่ งราวของคนในชุมชน บอกประวัตศิ าสตร์ของคนในชุมชน มัน ต้องมีห้องตรงนี้ แต่ส่วนอื่นมันค่อยๆ เพิ่มมาทีละอย่าง “อย่างโต๊ะไหว้พระจันทร์เพิ่งมาทำ�ตอนหลัง อย่างน้อยต้องมีเรื่องราวกระดาษ ไหว้เจ้าที่อยู่บนห้องนี้ เพราะชุมชนเจริญไชยเป็นย่านขายกระดาษไหว้เจ้า อย่างงิ้ว ตอนแรกจะเป็นชุดงิ้วที่ยังไม่สมบูรณ์ เป็นชุดที่นำ�มาแสดง และเป็นชุดที่อยู่ในร้าน ชุมชน เป็นร้านทีต่ ดั ชุดงิว้ จริงๆ เป็นชุดเก่าเอามาแสดง ตอนแรกเอามาวางๆ ยังไม่ได้ แสดงเป็นเรื่องเป็นราว แต่ตอนหลังมีการปรับรูปแบบ คิดคอนเซ็ปต์ว่าจะทำ�อะไร ก็เลยออกมาเป็นนิทรรศการ หลังม่านงิ้ว ตามไปค้นไปถามประวัติคนที่อยู่ตรงนี้ว่า เป็นอย่างไร” ศิริณีเล่า ย้อนกลับไปก่อนทีพ่ พิ ธิ ภัณฑ์จะเป็นรูปเป็นร่าง ศิรณ ิ แี ละเพือ่ นอีก 2-3 คน ออก ตระเวนเข้าบ้านโน้นออกมาบ้านนีป้ ระมาณ 80 ครัวเรือน สัมภาษณ์ผเู้ ฒ่าผูแ้ ก่เพือ่ ต่อ จิ๊กซอว์ภาพความเป็นมาของชุมชนเจริญไชย “เราต้องการรูว้ า่ แต่ละบ้านอยูก่ นั มาตัง้ แต่เมือ่ ไหร่ เราต้องการจะบอกคนข้างนอก ว่าตรงนีอ้ ยูก่ นั มาตัง้ แต่เมือ่ ไหร่ มีสงิ่ หนึง่ ทีค่ นในชุมชนคิดเหมือนกันคือ อยากให้มอง ตัวคนมากกว่าตัวอาคาร เพราะสิง่ สำ�คัญไม่ได้อยูท่ อี่ าคาร เพราะถ้ามีอาคาร แต่ไม่มี ผูค้ น มันก็ไม่มคี วามหมาย เราเลยทำ�ประวัตศิ าสตร์ชมุ ชนขึน้ มา สัมภาษณ์แต่ละบ้าน โดยทำ�กันเอง 3-4 คน ว่างตอนไหนก็สมั ภาษณ์ตอนนัน้ เพราะว่าพวกเราทีท่ �ำ งานกัน ก็อยู่แถวนี้อยู่แล้ว บางครอบครัวเคยมีคนนอกมาขอสัมภาษณ์ แต่คนเฒ่าคนแก่ ไม่ยอมให้สมั ภาษณ์เลย พวกเขากลัว คนจีนสมัยทีเ่ ข้ามาอยูแ่ รกๆ เขาโดนเจ้าหน้าทีร่ ฐั ข่มขู่ เขาก็ฝังใจ กว่าพวกเขาจะเข้าใจว่าพวกเรากำ�ลังทำ�อะไรก็เหนื่อยเหมือนกัน”

190

ที่แห่งนี้ไม่มีภัณฑารักษ์


“ถ้าชุมชนยังคงมีชีวิต มีการขับเคลื่อนในด้านเศรษฐกิจด้านสังคม ชุมชนก็ยังคงน่าสนใจอยู่ในตัวของมันเอง”

พิพิธภัณฑ์บ้านเก่าเล่าเรื่อง ชุมชนเจริญไชย

191


ปกปักบ้านด้วยเรื่องเล่า นอกเหนือจากประวัติศาสตร์ หลักฐาน วัตถุสิ่งของแล้ว จากการสัมภาษณ์ผู้คน กว่า 80 ครอบครัว ศิรณ ิ พี บว่าเครือ่ งมือสำ�คัญในการส่งมอบบันทึกทางประวัตศิ าสตร์ ในชุมชนเล็กๆ แห่งนี้ก็คือเรื่องเล่า “เรื่องบางเรื่อง ถ้าเราไม่ถามถ้าเราไม่จดมันจะหายไปเลย เพราะบางเรื่องเราไม่ เคยรู้ เขาไม่เคยเล่าให้ใครฟัง บางทีลูกหลานก็ไม่เคยคิดที่จะจด ถ้าเราไม่จดตรงนี้มัน จะหายไปพร้อมกับเขา ซึ่งคนที่เราสัมภาษณ์หลายคนก็เสียชีวิตไปแล้ว “ตรงนี้เป็นย่านเก่าแก่ที่ถูกล้อมรอบด้วยศาลเจ้าของคนจีน เลยทำ�ให้ชุมชน เจริญไชยเป็นย่านขายกระดาษไหว้เจ้า ขายสินค้าตามประเพณี เวลามีคนเข้ามาใน พิพิธภัณฑ์เราพยายามบอกถึงคุณค่าตรงนี้ หรือการที่เราสะท้อนอะไรหลายอย่าง ในตัวพิพิธภัณฑ์ เช่น นิทรรศการ หลังม่านงิ้ว เราบอกว่าคนที่อยู่หลังม่านงิ้วล้วนแต่ สะท้อนชีวิตของคนในย่านนี้ ไม่ว่าจะเป็นคนเล่น นักแสดง คนที่ทำ�ฉาก ทำ�เครื่อง ดนตรี ตี่จู่เอี๊ยะที่ต้องใช้ คนแต่งหน้า อยู่หลังม่านคือคนที่อยู่บริเวณนี้ทั้งนั้น เรา พยายามจะเล่าเรื่องของคนในอดีตให้ฟังว่าคุณค่าของคนสำ�คัญอย่างไร “สิ่งที่ได้จากการสัมภาษณ์คนในชุมชน เมืองจีนในช่วงปฏิวัติวัฒนธรรม เขาถูก ห้ามไม่ให้ไหว้ศาลเจ้า ไม่มีการเผากระดาษ ไม่มีการจุดธูป แต่คนจีนที่อพยพมาอยู่ เมืองไทย เอาความรู้ตรงนั้นมาพัฒนา อาชีพนี้ก็สืบต่อมา พอตอนหลังคนจีนเปิด ประเทศ แต่เขาไม่มีความรู้แล้ว” ศิริณีเล่า

192

ที่แห่งนี้ไม่มีภัณฑารักษ์


จากปี 2554 จนถึงปัจจุบัน การมีอยู่ของ ‘พิพิธภัณฑ์บ้านเก่าเล่าเรื่อง ชุมชน เจริญไชย’ ได้สง่ เสียงและสารถึงการมีอยูข่ องชุมชนแก่คนภายนอก มีรายการโทรทัศน์ เข้ามาถ่ายทำ� มีนกั ท่องเทีย่ วเข้ามาเทีย่ วชม รวมถึงนิสติ นักศึกษาทีเ่ ข้ามาทำ�รายงาน “ถ้าช่วงเทศกาล นักศึกษาจะมาสัมภาษณ์เขาจะไม่อยากให้สัมภาษณ์ เพราะ เขาจะขายของ และอีกกรณีหนึง่ เนือ่ งจากตรงนีย้ งั เป็นบริเวณทีย่ งั ไม่มคี วามแน่นอน เรื่องที่อยู่อาศัย เพราะฉะนั้นเวลามีใครมาสัมภาษณ์หรือถ่ายรูป เขาก็จะบอกต่อกัน จะเป็นอีกกรณีหนึ่งที่เขาระวัง เพราะเขาไม่รู้ว่ามาเพราะอะไร “เพราะฉะนัน้ เวลาทีม่ คี นมา เขาพยายามบอกกันว่า มีคนนีม้ าถ่ายรูป มีใครไม่รู้ มาเดิน ยกเว้นที่จะมาทำ�รายงาน มาติดต่อผ่านทางคณะทำ�งาน เราก็จะแจ้งบอก ชาวบ้านว่าจะมีคนนี้มาสัมภาษณ์เขาก็จะเปิดรับ ยอมให้สัมภาษณ์” นอกจากปริมาณคนที่เข้ามาจำ�นวนมาก การมีอยู่ของพิพิธภัณฑ์ที่ลูกหลานใน ชุมชนตั้งใจทำ�นั้นก่อให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ “ร้านอาหารจะขายได้เยอะขึ้น ก็จะมีทีวีมาถ่ายทำ� มารีวิวร้านอาหารในย่านนี้ เวลารายการมาถ่ายทำ�เราก็จะพาไปร้านที่คนยังไม่รู้จัก ก็ทำ�ให้มีคนมาเยอะขึ้น แต่ เราไม่เคยบอกชาวบ้านว่าเมื่อมีพิพิธภัณฑ์แล้วคนจะมาเยอะ เราบอกชาวบ้านเสมอ ว่า สิ่งที่คุณจะต้องปรับปรุงคือตัวเอง ทำ�อย่างไรก็ได้ที่ทำ�ให้คุณอยู่ได้ เพราะคือสิ่งที่ ยั่งยืนที่สุด พิพิธภัณฑ์นี้คือการบอกกล่าวว่าชุมชนแห่งนี้มีคุณค่าอย่างไร แต่ไม่เคย บอกชาวบ้านว่าถ้ามีพิพิธภัณฑ์แล้ว คนจะเข้ามาแล้วทำ�ให้ขายดี

พิพิธภัณฑ์บ้านเก่าเล่าเรื่อง ชุมชนเจริญไชย

193


“คนจีนทั่วไปไม่ค่อยคุ้นกับพิพิธภัณฑ์เท่าไหร่ เขาเข้าใจว่าพิพิธภัณฑ์มันคือของ เก่า แต่ทำ�อย่างไรให้คนรู้สึกว่า คนที่เขามารู้จักชุมชนเรา ให้คนในชุมชนรู้สึกร่วมกัน ว่าห้องนี้มันสำ�คัญ เป็นสถานที่จัดแสดงตัวตนของชุมชนเจริญไชย เราพยายามบอก คนในชุมชนให้ชว่ ยกันรักษาห้องนีไ้ ว้ ทุกคนเข้าใจตรงกันว่าห้องนีเ้ กิดขึน้ แล้วมีคณ ุ ค่า มีประโยชน์ต่อชุมชนอย่างไรที่จะต้องช่วยกันรักษา”

พิพิธภัณฑ์ใกล้หมดอายุ หลังจากพิพธิ ภัณฑ์บา้ นเก่าเล่าเรือ่ ง ชุมชนเจริญไชย มีตวั ตนชัดเจน ว่าการมีอยู่ ของพิพธิ ภัณฑ์แห่งนีบ้ อกเล่าวิถชี วี ติ วัฒนธรรมประเพณีของชาวจีน รวมถึงตำ�แหน่ง แห่งทีท่ างประวัตศิ าสตร์ชมุ ชนทีอ่ ยูร่ ว่ มกับประวัตศิ าสตร์ทางการ หน่วยงานภายนอก อย่างการท่องเทีย่ วของกรุงเทพมหานครก็เข้ามาเสนอทุนให้ทางชุมชนสามารถดำ�เนิน กิจกรรมได้ “แต่เขาไม่ได้มาช่วยอะไร เขาจะคอยบอกว่ากรมการท่องเที่ยวมีทุนมา ให้เรา เขียนไปขอ เขาก็จะสนับสนุนว่าเราทำ�กิจกรรมแบบนี้ เหมือนเป็นการยืนยันตัวตน ของเรา” เมือ่ ถามว่าองค์ความรูภ้ ายนอกอย่างนักวิชาการหรือมหาวิทยาลัย ได้เข้ามายืน่ มาเสนอองค์ความรู้ให้บ้างไหม ศิริณียิ้มก่อนจะตอบ เป็นรอยยิ้มแบบดื้อๆ “คนที่อยู่ตรงนี้ค่อนข้างจะดื้อ ถ้าบอกว่าทำ�แบบนี้ ทำ�แบบนั้นมันไม่ใช่ เราฟัง แต่เราก็คิดว่าอะไรที่เราทำ�ได้ อะไรที่เราทำ�ไม่ได้ เมื่อพิพิธภัณฑ์เป็นรูปเป็นร่าง ก็มี บ้างที่นักวิชาการจะเข้ามาแนะนำ� ‘ผมเคยทำ�ที่นั่นมาทำ�ที่นี่มาประสบความสำ�เร็จ ถ้าสนใจเดีย๋ วมาทำ�ให้ ออกแบบให้’ แต่กอ็ ย่างทีบ่ อก ถ้าสิง่ นัน้ มันไม่ใช่ความต้องการ ของเรา เราก็ได้แค่ฟัง” ในฐานะคนทำ�งานตั้งแต่ต้น ศิริณีจึงรู้ว่าอะไรคือสิ่งที่พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ต้องการ การสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอก “ตอนนีเ้ ราอยากจะปรับปรุงห้องนิทรรศการห้องนี้ ปรับปรุงในเรือ่ งของโครงสร้าง เพราะถ้าคนมาเยอะพื้นอาจจะรับน้ำ�หนักคนเยอะไม่ไหว เพราะเมื่อก่อนเป็นบ้านที่ คนอยู่ แต่ตอนนี้เป็นพิพิธภัณฑ์แล้วเราต้องจำ�กัดคน อย่างการท่องเที่ยวกรุงเทพฯ พาคนมาเป็นร้อย ต้องให้แบ่งคนขึ้น ขึ้นได้ครั้งละไม่เกิน 30 คน หลังคาเริ่มรั่ว เรา 194

ที่แห่งนี้ไม่มีภัณฑารักษ์


“เมืองจีนในสมัยก่อนตอนปฏิวัติวัฒนธรรม เขาถูกห้ามไม่ให้ไหว้ ศาลเจ้า ไม่มีการเผากระดาษ ไม่มีการจุดธูป แต่คนจีนที่อพยพมาอยู่ เมืองไทย เอาความรูต้ รงนัน้ มาพัฒนา อาชีพนีก้ ส็ บื ต่อมา พอตอนหลัง คนจีนเปิดประเทศ แต่เขาไม่มีความรู้แล้ว”

พิพิธภัณฑ์บ้านเก่าเล่าเรื่อง ชุมชนเจริญไชย

195


คลุมผ้าใบอยู่ มันเกี่ยวในเรื่องของโครงสร้างที่มันจะต้องหาทุนมาปรับปรุง “การหาทุนในการปรับปรุงเราไม่ต้องการให้คนในชุมชนมาลำ�บาก ซึ่งกรมการ ท่องเที่ยวมีกองที่เราสามารถเขียนขอทุนไปได้ แล้วจะมีเจ้าหน้าที่มาซ่อมปรับปรุงให้ แต่ติดที่เจ้าของที่ดินต้องอนุญาต ซึ่งเราคิดว่าก็คงลำ�บากที่เจ้าของที่ดินจะยินยอม” คูหาที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์บ้านเก่าเล่าเรื่อง ชุมชนเจริญไชย เป็นที่ดินของมูลนิธิ จุมภฏ-พันธุท์ พิ ย์ ซึง่ ทางกลุม่ อนุรกั ษ์และฟืน้ ฟูชมุ ชนเจริญไชยได้ขออนุญาตเจ้าของที่ จนเมื่อครบระยะเวลาการขอยืมใช้สถานที่ เจ้าของที่ดินได้ขอคืน แต่ก็มีการต่อรอง จนพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ยังคงอยู่ต่อมาจนปัจจุบัน แต่ภายในปี 2558 ใกล้จะครบระยะ เวลาการขออนุญาตใช้ที่ดินของพิพิธภัณฑ์อีกครั้ง สิ่งที่ศิริณีจะทำ�ได้หากเจ้าของ ทีด่ นิ ไม่อนุญาตให้พพิ ธิ ภัณฑ์ใช้อาคาร ก็คงเหมือนวันทีเ่ ธอยืนมองตึกแถวโบราณถูก รื้อถอนไปต่อหน้าต่อตา “ตัวอาคารของพิพธิ ภัณฑ์เมือ่ ครบปี เขาจะขอคืน ตอนนีใ้ กล้จะครบกำ�หนดทีเ่ รา ทำ�หนังสือขอ เพราะคราวก่อนที่เขาจะเอาคืน เราขอไว้ แต่ถ้าเขาจะมาปิด ให้เขามา ปิดเอง เพราะเราทำ�มากับมือ ไม่อยากปิดเอง ก่อนหน้านี้ทางมูลนิธิฯ ส่งกรรมการ มา ซึง่ เป็นความเข้าใจผิด เขาไม่ได้จะปิดพิพธิ ภัณฑ์ เขาให้ใช้ได้ แต่ให้เขียนหนังสือขอ อย่างเป็นทางการ ระบุเวลาทีจ่ ะขอ เราเลยเขียนไปว่าขอใช้หา้ ปี หรือจนกว่ารถไฟฟ้าใต้ดินจะก่อสร้างแล้วเสร็จ เพราะไม่รู้จะเอาอะไรมากำ�หนด แต่รถไฟฟ้าจะสร้าง ห้าปี เลยขอตามรถไฟฟ้า เพราะฉะนัน้ เมือ่ รถไฟฟ้าเสร็จเราก็ไม่รวู้ า่ จะเป็นอย่างไรต่อ” ไม่มีความแน่นอนและหลักประกันในการอยู่อาศัยของชุมชนชาวเจริญไชย สิ่ง หนึง่ ทีท่ างกลุม่ อนุรกั ษ์และฟืน้ ฟูชมุ ชนเจริญไชยจะทำ�ได้กค็ อื การเขียนประวัตศิ าสตร์ ชุมชน จัดทำ�พิพิธภัณฑ์ชุมชน เพื่อบอกเล่าว่าพวกเขาคือใคร มีตำ�แหน่งแห่งที่ใด ในประวัติศาสตร์ และเผยให้เห็นคุณค่าของอาคารเก่าทรงชิโนโปรตุกีส ที่พวกเขา พยายามร้องบอกให้มีการอนุรักษ์ “เราเข้าใจเจ้าของที่ เขาก็อยากจะได้มลู ค่า เราไม่ตอ้ งการทีจ่ ะบีบมูลนิธฯิ เราเคย ยืน่ เรือ่ งไปทีผ่ งั เมือง ว่าควรจะมีมาตรการในการดูแลอาคารเก่าทีม่ คี ณ ุ ค่า เราไม่ได้พดู แค่ตวั อาคาร แต่เราพูดถึงคนทีอ่ ยูใ่ นอาคารด้วย ถ้าเป็นต่างประเทศเขาจะมีมาตรการ ในการดูแลอาคารเก่าอยูแ่ ล้ว ไม่วา่ จะเป็นการลดภาษีให้เจ้าของที่ หรือให้สทิ ธิในการ พัฒนาในที่อยู่อาศัย แต่ในตอนนี้ภาครัฐก็ไม่ทำ�อะไร”

196

ที่แห่งนี้ไม่มีภัณฑารักษ์


ไม่มีภัณฑารักษ์ในพิพิธภัณฑ์ ถ้าชุมชนเจริญไชยถูกยกเลิกสัญญาให้เช่า ถามศิรณ ิ วี า่ พิพธิ ภัณฑ์แห่งนีจ้ ะยังคง อยู่หรือสูญไปกับการกระจัดกระจายของชุมชน “ถ้าคนอยูไ่ ด้ พิพธิ ภัณฑ์กอ็ ยูไ่ ด้ เพราะคนคือสิง่ ทีท่ �ำ ให้พพิ ธิ ภัณฑ์นเี้ กิดและอยูไ่ ด้ แต่ถา้ คนไปแล้ว คุณยังจะเก็บพิพธิ ภัณฑ์ไว้กไ็ ม่มปี ระโยชน์ บางคนมองว่าเดีย๋ วเราทำ� พิพธิ ภัณฑ์ตรงนีใ้ หม่หมดเลย แต่คนทีม่ าเช่ากลายเป็นใครก็ไม่รู้ เราไม่ตอ้ งการแบบนี้ มีบางแนวคิดจะทำ�พิพิธภัณฑ์รวม คือรวมเอาหลายชุมชนมารวมอยู่ในพิพิธภัณฑ์ เดียวกัน เป็นพิพิธภัณฑ์ใหญ่ของกรุงเทพมหานคร แล้วเอาเรื่องราวของชุมชนไปอยู่ เรามองว่าไม่ใช่ พิพิธภัณฑ์ของชุมชนควรจะอยู่ในแต่ละชุมชน จึงจะแสดงความรู้สึก ว่าคุณมาเที่ยวมาเรียนรู้ชุมชนเขา ไม่ใช่เอาเรื่องชุมชนไปใส่ไว้ในพิพิธภัณฑ์เดียวกัน ทั้งหมด มันไม่ใช่” สำ�หรับศิรณ ิ ี การเดินเข้ามาภายในอาคารเก่าๆ เล็ก และแคบแห่งนี้ เพือ่ ชมเรือ่ งราว ในพิพิธภัณฑ์บ้านเก่าเล่าเรื่อง เป็นเพียงการเข้ามาเพื่อรับการบอกข้อมูลคร่าวๆ แต่เมื่อเดินออกจากพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ เดินไปยังชุมชนเจริญไชย นั่นคือของจริง คือ พิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิตจริง “ถ้าชุมชนยังคงมีชวี ติ มีการขับเคลือ่ นในด้านเศรษฐกิจด้านสังคม ชุมชนก็ยงั คง น่าสนใจอยู่ในตัวของมันเอง” ศิริณีบอก หลังถูกถามว่าอะไรคือหัวใจสำ�คัญของการ ดำ�รงอยู่ของพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ คำ�ถามคือ แล้วอะไรคือความสำ�เร็จของพิพธิ ภัณฑ์บา้ นเก่าเล่าเรือ่ ง ชุมชนเจริญไชย “ถ้าถือว่าความสำ�เร็จของพิพิธภัณฑ์ คือการให้คนภายนอกรู้จักชุมชนของเรา ก็ต้องบอกว่าเราสำ�เร็จแล้ว แต่ถ้าความสำ�เร็จในแบบที่ชุมชนตั้งใจไว้ มันไม่ได้สำ�เร็จ โดยตัวพิพธิ ภัณฑ์ คนในชุมชนตัง้ ใจไว้วา่ ทำ�อย่างไรให้คนอยูต่ รงนีแ้ ละสามารถใช้ชวี ติ ต่อไป รักษาวัฒนธรรมและประเพณีที่มีอยู่ ถ้าเราได้อยู่ต่อ พิพิธภัณฑ์ก็จะต้องทำ� ต่อไป เราอาจจะได้ซ่อมแซมอาคารให้ดีขึ้นด้วย ไม่เฉพาะอาคารพิพิธภัณฑ์ แต่ รวมถึงบ้านของชาวบ้านด้วย แต่ตอนนี้เขาไม่กล้าทำ�อะไร เพราะเขาอยู่กันแบบ เดือนต่อเดือน เขาจะปรับปรุงบ้านก็กลัวว่าพรุ่งนี้จะถูกยกเลิกสัญญา แต่สำ�หรับ พิพิธภัณฑ์นี้เราต้องการบอกข้อมูลคร่าวๆ สำ�หรับคนที่เข้ามาในพิพิธภัณฑ์ ถ้าคุณ ต้องการเห็นของจริง เห็นชีวิตจริงๆ คุณต้องลงไปดูข้างล่างเอง”

พิพิธภัณฑ์บ้านเก่าเล่าเรื่อง ชุมชนเจริญไชย

197


เมื่อเราเดินออกมาจากพิพิธภัณฑ์ ทัศนียภาพแรกคือตึกเก่าทรงชิโนโปรตุกีส ที่ปักหลักมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 และแสงแฟลชของช่างภาพสมัครเล่นยังคงสนใจ พวกมันอยู่เสมอแม้ว่าปัจจุบันจะไม่บันทึกเป็นประวัติศาสตร์ ร้านบะหมี่ในตรอก ยั ง คงให้ บ ริ ก ารคนในชุ ม ชนและผู้ ค นแปลกหน้ า ที่ เ ดิ น ทางมาเพราะพบเจอรี วิ ว ร้านอาหารในแอพพลิเคชัน่ อากาศหลักของชุมชนแห่งนีค้ อื กลิน่ สมุนไพรจีน กระดาษ ไหว้เจ้าสีทองสีแดงแขวนเรียงรายภายในร้านค้าริมถนน นี่คือพิพิธภัณฑ์ที่ภัณฑารักษ์ไม่สามารถจัดวางสิ่งของหรือควบคุมเรื่องเล่าได้ สิ่งของจัดแสดงและเรื่องเล่าเหล่านี้เกิดขึ้นจากชีวิตจริงของชาวชุมชนเจริญไชย การ จัดวางวัตถุสิ่งของมีแรงผลักดันคือชีวิต สิง่ ทีภ่ ณ ั ฑารักษ์จะทำ�ได้คอื การสังเกต คัดกรอง และบอกเล่าออกมาเป็นเรือ่ งราว

198

ที่แห่งนี้ไม่มีภัณฑารักษ์


ขอขอบคุณ

ด้วยความเคารพในวิธีคิด และการทำ�งาน คุณครูสิทถาพร ป้อมทอง คุณครูอุบล ทรัพย์อินทร์ คุณสาคร ชนะไพฑูรย์ คุณปิยะมน กิ่งประทุมมาศ คุณกฤติยา กาวีวงศ์ คุณศุภมาศ พะหุโล คุณพิชญา ศุภวานิช พระครูสังฆรักษ์ไพฑูรย์ สุภาทโร คุณกษิดิศ รัตนโอภาส คุณสุรางคนา ไม้ตราวัฒนา คุณศิริณี อุรุนานนท์




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.