frist university

Page 1


คํานํา งานวิจัยฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาการออกแบบการฟิคบรรจุภัณฑ์ Graphic Design On Package โดยมีจุดประสงค์เพื่อการออกแบบผลิตภัณฑ์สําหรับการเก็บรักษาชุดอุปกรณ์แต่งกายของนักศึกษา ซึ่งใน งานวิจัยฉบับนี้มี ที่มาของปัญหา ขั้นตอนการออกแบบ เนือ้ หาที่เกี่ยวข้อง คือ หลักการออกแบบผลิตภัณฑ์ หลักการออกแบบบรรจุภัณฑ์ หลักการออกแบบกราฟฟิกบนบรรจุภัณฑ์ ผู้วิจัยได้เลือกทําการวิจัยนี้ เนื่องมาจากต้องการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เก็บรักษาชุดอุปกรณ์แต่งกาย รวมถึงยังสามารถใช้เป็นบรรจุภัณฑ์ได้อีกด้วย ผู้วิจัยต้องขอขอบคุณ อาจารย์ประชิด ทิณบุตร ผู้ให้ความรู้และ แนวทางการศึกษา ผู้วิจัยหวังว่างานวิจัยฉบับนี้จะให้ความรู้และประโยชน์แก่ผู้อ่าน

ผู้วิจัย นายธัชพล แทนเพชร รหัสนักศึกษา 51113133374 Email: thatchapol510@gmail.com thatchapol510@googlewave.com นายอลงกรณ์ ตู้ธีระ รหัสนักศึกษา 5111311956 Email: alongkorn.tooteera@gmail.com alongkorn.tooteera@googlewave.com นายวิศิษฏ์พงษ์ ปานทอง รหัสนักศึกษา 5111313473 Email:Visitpongs@gmail.com visitpongs@googlewave.com นางสาวอุบลวรรณ นันท์อาณาเขต รหัสนักศึกษา 5111312145 Email: ubonwan.nanarkhet@gmail.com ubonwan.nanarkhet@googlewave.com


สารบัญ

หน้า คํานํา บทที่ 1 บทนํา 1.1 ทีม่ าของการออกแบบ 1.2 วัตถุประสงค์ของการศึกษา 1.3 ขอบเขตการศึกษา 1.4 ประโยชน์ที่ได้รับจากการศึกษา 1.5การกําหนดคุณลักษณะที่ความต้องการ

1 1 2 2

บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2.1 หลักการออกแบบผลิตภัณฑ์ 2.2 หลักการออกแบบบรรจุภัณฑ์ 2.3 การออกแบบกราฟฟิคบนบรรจุภัณฑ์

3 6 10

บทที่ 3 วิธีการดําเนินการศึกษาค้นคว้าและการออกแบบ 3.1 ขั้นตอนในการศึกษาค้นคว้าและออกแบบ

11

บทที่ 4 สรุปผลการค้นคว้า และข้อเสนอแนะ บรรณานุกรม ภาคผนวก

12

หน้าที่การรับผิดชอบ 1.นายธัชพล แทนเพชร รับผิดชอบ แบบร่างทางความคิด , บทที่ 4 สรุปผลการค้นคว้า , ผลิตภัณฑ์ 2.นายอลงกรณ์ ตู้ธีระ รับผิดชอบ บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง , แบบร่างทางความคิด , ผลิตภัณฑ์, Design Brief 3.นายวิศฺษฏ์พงษ์ ปานทอง รับผิดชอบ แบบร่างทางความคิด , ออกแบบด้วยคอมพิวเตอร์จากโปรแกรม Google SketchUp 7 , Moodboard , บทที่ 3 วิธีการดําเนินการศึกษาค้นคว้าและการออกแบบ 4.นางสาวอุบลวรรณ นันท์อาณาเขต รับผิดชอบ บทที่ 1 บทนํา , แบบร่างทางความคิด , ออกแบบบรรจุภัณฑ์, บรรจุภัณฑ์ , ปเล่มรายงาน นอกเหนือจากหน้าที่รับผิดชอบแล้วสมาชิกในกลุ่มยังช่วยกันแสดงความคิดเห็นและร่วมมือกันทํางาน


บทที่ 1

บทนํา

ที่มาของการออกแบบ เนื่องจากสังคมในปัจจุบันเป็นสังคมแห่งการแข่งขัน ไม่ว่าจะเป็นนักเรียน นักศึกษา คนวัยทํางาน ล้วน ต้องแข่งขันกับเวลา นักเรียนต้องแข่งขันกันเพื่อที่จะสอบเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยที่ดี นักศึกษาต้องแข่งกัน ศึกษาเพื่อที่จะทํางานในที่ทํางานที่ดี จึงทําให้นิสัยที่ดีขาดหายไป นิสัยทีด่ ีในที่นี้คือ ความเรียบร้อย เมื่อขาด ความเรียบร้อยแล้ว อุปกรณ์แต่งกายของนักศึกษาก็จะไม่ได้รับการดูแลรักษา ซึ่งในบางครั้งอาจจะทําหายได้ การที่นักศึกษาใช้อุปกรณ์แต่งกายในชุดนักศึกษาดังเช่น เข็มขัด เนคไท กระดุม ตราสัญลักษณ์ติดเสื้อ เป็นต้น หลังจากการใช้งานในแต่ละครั้งจะมีการเก็บรักษาที่ไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย ซึ่งส่งผลให้อุปกรณ์เหล่านี้เสียหาย ได้ คณะผู้วิจัยจึงคิดทํากล่องสําหรับใส่อุปกรณ์แต่งกายชุดนักศึกษาขึ้นมา เพื่อเก็บอุปกรณ์เหล่านี้หลังจากการ ใช้งานทําให้เรียบร้อย และอยู่ในสภาพที่ดี ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ชิ้นนี้คํานึงถึงความสามารถในการใช้งานที่หลากหลาย นอกจากจะใช้เก็บ อุปกรณ์แต่งกายแล้วยังมีกระจกเพื่อใช้ส่องเพื่อตรวจความเรียบร้อยของเครื่องแต่งกาย มีช่องสําหรับใส่ดินสอ และยังมีการออกแบบให้สามารถจัดเก็บเข็มขัดได้อย่างง่าย และสะดวก กล่องนี้ยังสามารถพัฒนาเป็นบรรจุ ภัณฑ์สําหรับอุปกรณ์เครื่องแต่งกายเพื่อจําหน่ายภายในมหาวิทยาลัยได้อีกด้วย

วัตถุประสงค์ของการศึกษา เพื่อออกแบบสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่สามารถเก็บอุปกรณ์เครื่องแต่งกายได้

ขอบเขตการศึกษา อุปกรณ์เครื่องแต่งกายของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม


ประโยชน์ที่ได้รับจากการศึกษา 1.ทราบถึงหลักการออกแบบผลิตภัณฑ์ การออกแบบบรรจุภัณฑ์ การออกแบบกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์ 2.เป็นแนวทางที่ลดปัญหาในการเก็บรักษาอุปกรณ์แต่งกายนักศึกษา 3.มีบรรจุภัณฑ์สําหรับสินค้าเกี่ยวกัฐการแต่งกายของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

การกําหนดคุณลักษณะที่ความต้องการ Design Brief

โครงการออกแบบกลองอุปกรณแตงกาย

Logoกลุ มABC คลาสสิค

ตัวกลอง

Function

กราฟฟกบนบรรจุภัณฑ

ลวดลาย

Package ลวดลาย

ติดกระจก

สวยงาม

มีชองเพื่อใสเข็มขัด

– สีทอง

เนคไท เข็มกลัดตรา

ไฮโซ

มีโลโก มจษ. เพือ่ แสดงถึงสถาบัน

นารัก ออนหวาน สดใส

สี

วัสดุ

ใชสีเหลือง เทา

สี

ไม

รูปทรง

สี่เหลี่ยม ขนาด 9x16x5 เซนติเมตร

เทา

เหลือง


บทที่ 2

เอกสารและงานวิจัยที่เกีย่ วข้อง

การศึกษาการออกแบบกล่องอุปกรณ์แต่งกายนักศึกษาครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่ เกี่ยวข้องดังนี้ 1.หลักการออกแบบผลิตภัณฑ์ 2.หลักการออกแบบบรรจุภัณฑ์ 3. การออกแบบกราฟฟิคบนบรรจุภัณฑ์ หลักการออกแบบผลิตภัณฑ์ Product-Design การออกแบบมีหลักการพื้นฐาน โดยอาศัยส่วนประกอบขององค์ประกอบศิลป์ตามที่ได้กล่าวมาแล้วใน บทเรียนเรื่อง “ องค์ประกอบศิลป์ ” คือ จุด เส้น รูปร่าง รูปทรง น้ําหนัก สี และพื้นผิว นํามาจัดวางเพื่อให้ เกิดความสวยงามโดยมีหลักการ ดังนี้ 1. ความเป็นหน่วย (Unity) ในการออกแบบผู้ออกแบบจะต้องคํานึงถึงงานทั้งหมดให้อยูใ่ นหน่วยงานเดียวกัน เป็นกลุ่มก้อน หรือมีความสัมพันธ์กันทั้งหมดของงานนั้นๆ และพิจารณาส่วนย่อยลงไปตามลําดับในส่วนย่อยๆ ก็คงต้องถือหลักนี้เช่นกัน 2. ความสมดุลหรือความถ่วง (Balancing) เป็นหลักทั่วๆไปของงานศิลปะที่จะต้องดูความสมดุลของงานนั้นๆ ความรู้สึกทางสมดุลของงานนี้เป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นในส่วนของความคิดใน เรื่องของความงามในสิ่งนั้นๆ มี น้ําหนักตัวก็จะลงเท้าข้างหนึ่งและส่วนหนึ่งจะลงที่หลังพิงฝา รูปปั้นคนในท่าวิ่งจุดศูนย์ถ่วงจะอยู่ที่ใด ผู้ออกแบบจะต้องรู้และวางรูปได้ถูกต้องเรื่องของจุดศูนย์ถ่วงจึงหมายถึงการ ทรงตัวของวัตถุสิ่งของนั่นเอง 3. ความสัมพันธ์ทางศิลปะ ( Relativity of Arts) ในเรื่องของศิลปะนั้น เป็นสิ่งที่จะต้องพิจารณากันหลาย ขั้นตอนเพราะเป็นเรื่องความรู้สึกที่สมั พันธ์กัน อันได้แก่ 3.1 การเน้นหรือจุดสนใจ (Emphasis or CentreofInterest) 3.2 จุดสําคัญรอง ( Subordinate) 3.3 จังหวะ ( Rhythem) 3.4 ความต่างกัน ( Contrast) 3.5 ความกลมกลืน ( Harmomies)


ผลิตภัณฑ์ที่ดียอ่ มเกิดมาจาก การออกแบบที่ดีในการออกแบบผลิตภัณฑ์ นักออกแบบต้องคํานึงถึง หลักการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เป็นเกณฑ์ในการกําหนด คุณสมบัติผลิตภัณฑ์ที่ดีเอาไว้ว่าควรจะมีองค์ประกอบ อะไรบ้างแล้วใช้ความคิด สร้างสรรค์ วิธีการต่างๆ ที่ได้กล่าวมาเสนอแนวคิดให้ผลิตภัณฑ์มีความเหมาะสมตาม หลักการออกแบบโดยหลัก การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่นักออกแบบควรคํานึงนั้นมีอยู่ 9 ประการ คือ • หน้าที่ใช้สอย ( FUNCTION) • ความปลอดภัย (SAFETY) • ความแข็งแรง (CONSTRUCTION) • ความสะดวกสบายในการใช้ (ERGONOMICS) • ความสวยงาม (AESTHETIES) • ราคาพอสมควร (COST) • การซ่อมแซมง่าย (EASE OF MAINTENANCE) • วัสดุและการผลิต (MATERIALS AND PRODUCTION) • การขนส่ง (TRANSPORTATION) 1 หน้าที่ใช้สอย หน้าที่ใช้สอยถือเป็นหลักการ ออกแบบผลิตภัณฑ์ที่สําคัญที่สุดเป็นอันดับแรกที่ต้องคํานึงผลิตภัณฑ์ทุก ชนิด ต้องมีหน้าที่ใช้สอยถูกต้องตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ คือสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้อย่างมี ประสิทธิภาพและสะดวกสบาย ผลิตภัณฑ์นนั้ ถือว่ามีประโยชน์ใช้สอยดี (HIGH FUNCTION) แต่ถ้าหาก ผลิตภัณฑ์ใดไม่สามารถสนองความต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลิตภัณฑ์นั้นก็จะถือว่ามีประโยชน์ใช้สอย ไม่ดีเท่าที่ควร (LOW FUNTION) สําหรับคําว่าประโยชน์ใช้สอยดี (HIGH FUNCTION) นั้น ดลต์ รัตนทัศนีย์ ( 2528 : 1) ได้กล่าวไว้ว่าเพื่อให้ง่ายแก่การเข้าใจขอให้ดูตัวอย่างการออกแบบมีดหั่นผัก แม้ว่ามีดหั่นผักจะมี ประสิทธิภาพในการหั่นผักให้ขาดได้ตามความต้องการ แต่จะกล่าวว่ามีดนั้นมีประโยชน์ใช้สอยดี (HIGH FUNCTION) ยังไม่ได้ จะต้องมีองค์ประกอบอย่างอื่นร่วมอีกเช่น ด้ามจับของมีดนั้นจะต้องมีความโค้งเว้าที่ สัมพันธ์กับขนาดของมือผู้ใช้ ซึ่งจะเป็นส่วนที่ก่อให้เกิดความสะดวกสบายในการหั่นผักด้วย และภายหลังจาก การใช้งานแล้วยังสามารถทําความสะอาดได้ง่าย การเก็บและบํารุงรักษาจะต้องง่ายสะดวกด้วย ประโยชน์ใช้ สอยของมีดจึงจะครบถ้วนและสมบูรณ์ เรื่องหน้าที่ใช้สอยนับว่าเป็น สิ่งที่ละเอียดอ่อนซับซ้อนมาก ผลิตภัณฑ์บางอย่างมีประโยชน์ใช้สอย ตามที่ผู้คนทั่วๆ ไปทราบเบื้องต้นว่า มีหน้าที่ใช้สอยแบบนี้ แต่ความละเอียดอ่อนที่นักออกแบบได้คิดออกมานั้น ได้ตอบสนองความสะดวกสบาย อย่างเต็มที่ เช่น มีดในครัวมีหน้าที่หลักคือใช้ความคมช่วยในการหั่น สับ แต่ เราจะเห็นได้ว่ามีการออกแบบมีดที่ใช้ในครัวอยู่มากมายหลายแบบหลายชนิดตาม ความละเอียดในการใช้ ประโยชน์เป็นการเฉพาะที่แตกต่างเช่น มีดสําหรับปอกผลไม้ มีดแล่เนื้อสัตว์ มีดสับกระดูก มีดบะช่อ มีดหั่นผัก เป็นต้น ซึ่งก็ได้มีการออกแบบลักษณะแตกต่างกันออกไปตามการใช้งาน ถ้าหากมีการใช้มีดอยู่ชนิดเดียวแล้วใช้


กันทุกอย่างตั้งแต่แล่เนื้อ สับบะช่อ สับกระดูก หั่นผัก ก็อาจจะใช้ได้ แต่จะไม่ได้ความสะดวกเท่าที่ควร หรือ อาจได้รับอุบัติเหตุขณะที่ใช้ได้ เพราะไม่ใช่ประโยชน์ใช้สอยที่ได้รับการออกแบบมาให้ใช้เป็นการเฉพาะอย่าง การออกแบบเก้าอี้ก็เหมือนกัน หน้าที่ใช้สอยเบื้องต้นของเก้าอี้ คือใช้สําหรับนั่ง แต่นั่งในกิจกรรมใดนั่งใน ห้องรับแขก ขนาดลักษณะรูปแบบเก้าอี้ก็เป็นความสะดวกในการนั่งรับแขก พูดคุยกัน นั่งรับประทานอาหาร ขนาดลักษณะเก้าอี้ก็เป็นความเหมาะสมกับโต๊ะอาหาร นั่งเขียนแบบบนโต๊ะเขียนแบบ เก้าอี้ก็จะมีขนาด ลักษะณทีใ่ ช้สาํ หรับการนั่งทํางานเขียนแบบ ถ้าจะเอาเก้าอี้รับแขกมาใช้นั่งเขียนแบบ ก็คงจะเกิดการเมื่อยล้า ปวดหลัง ปวดคอ แล้วนั่งทํางานได้ไม่นาน ตัวอย่างดังกล่าวต้องการที่จะพูดถึงเรื่องของหน้าที่ใช้สอยของ ผลิตภัณฑ์ว่า เป็นสิ่งที่สําคัญและละเอียดอ่อนมาก ซึ่งนักออกแบบจําเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษาข้อมูลอย่าง ละเอียด 2 ความปลอดภัย สิ่งที่อํานวยประโยชน์ได้มาก เพียงใดย่อมจะมีโทษเพียงนั้น ผลิตภัณฑ์ทใี่ ห้ความสะดวกต่างๆ มักจะ เกิดจากเครื่องจักรกลและเครื่องใช้ไฟฟ้า การออกแบบควรคํานึงถึงความปลอดภัยของผู้ใช้ ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็ ต้องแสดงเครื่องหมายไว้ให้ชัดเจนหรือมีคําอธิบายไว้ ผลิตภัณฑ์สําหรับเด็กต้องคํานึง ถึงวัสดุที่เป็นพิษเวลาเด็กเอาเข้าปากกัดหรืออม นักออกแบบจะต้องคํานึงถึง ความปลอดภัยของผู้ใช้เป็นสําคัญมีการออกแบบบางอย่าง ต้องใช้เทคนิคที่เรียกว่าแบบธรรมดาแต่คาดไม่ถึง ช่วยในการให้ความปลอดภัย เช่น การออกแบบหัวเกลียววาล์ว ถังแก๊ส หรือปุ่มเกลียว ล็อกใบพัดของพัดลมจะ มีการทําเกลียวเปิดให้ย้อนศรตรงกันข้ามกับเกลียวทั่วๆ ไปเพื่อความปลอดภัยสําหรับคนที่ไม่ทรายหรือเคยมือ ไปหมุนเล่นคือ ยิ่งหมุนก็ยิ่งขันแน่นเป็นการเพิ่มความปลอดภัยให้แก่ผู้ใช้ 3 ความแข็งแรง ผลิตภัณฑ์จะต้องมีความแข็งแรง ในตัวของผลิตภัณฑ์หรือโครงสร้างเป็นความเหมาะสมในการที่นัก ออกแบบรู้จักใช้ คุณสมบัติของวัสดุและจํานวน หรือปริมาณของโครงสร้าง ในกรณีที่เป็นผลิตภัณฑ์ที่จะต้องมี การรับน้ําหนัก เช่น โต๊ะ เก้าอี้ ต้องเข้าใจหลักโครงสร้างและการรับน้ําหนัก อีกทั้งต้องไม่ทิ้งเรื่องของความ สวยงามทางศิลปะ เพราะมีปัญหาว่าถ้าใช้โครงสร้างให้มากเพื่อความแข็งแรงจะเกิดสวนทางกับความ งาม นัก ออกแบบจะต้องเป็นผู้ดึงเอาสิ่งสองสิ่งนี้เข้ามาอยู่ในความพอดีให้ได้ ส่วนความแข็งแรงของตัว ผลิตภัณฑ์เองนั้นก็ขึ้นอยู่ที่การออกแบบรูปร่างและการเลือกใช้วัสดุ และประกอบกับ การศึกษาข้อมูลการใช้ผลิตภัณฑ์ว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวต้องรับ น้ําหนักหรือกระทบกระแทกอะไรหรือไม่ในขณะ ใช้งานก็คงต้องทดลองประกอบการออกแบบ ไปด้วยแต่อย่างไรก็ตาม ความแข็งแรงของโครงสร้างหรือตัว ผลิตภัณฑ์นอกจากเลือกใช้ประเภทของวัสดุ โครงสร้างที่เหมาะสมแล้วยังต้องคํานึงถึงความประหยัดควบคู่กัน ไปด้วย


4 ความสะดวกสบายในการใช้ นักออกแบบต้องศึกษาวิชากาย วิภาคเชิงกลเกี่ยวกับสัดส่วน ขนาด และขีดจํากัดที่เหมาะสมสําหรับ อวัยวะส่วนต่างๆ ในร่างกายของมนุษย์ทุกเพศ ทุกวัย ซึ่งจะประกอบด้วยความรู้ทางด้านขนาดสัดส่วนมนุษย์ (ANTHROPOMETRY) ด้านสรีรศาสตร์ (PHYSIOLOGY) จะทําให้ทราบ ขีดจํากัด ความสามารถของอวัยวะ ส่วนต่างๆ ในร่างกายมนุษย์ เพื่อใช้ประกอบการออกแบบ หรือศึกษาด้านจิตวิทยา (PSYCHOLOGY) ซึ่งความรู้ ในด้านต่างๆ ที่กล่าวมานี้ จะทําให้นักออกแบบ ออกแบบและกําหนดขนาด (DIMENSIONS) ส่วนโค้ง ส่วนเว้า ส่วนตรง ส่วนแคบของผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้อย่างพอเหมาะกับร่างกายหรืออวัยวะของมนุษย์ที่ใช้ ก็จะเกิดความ สะดวกสบายในการใช้การไม่เมื่อยมือหรือเกิดการล้าในขณะที่ใช้ไป นานๆ ผลิตภัณฑ์ที่จําเป็นอย่างยิ่งที่ต้อง ศึกษาวิชาดังกล่าว ก็จะเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผู้ใช้ต้องใช้อวัยวะร่างกายไปสัมผัสเป็นเวลานาน เช่น เก้าอี้ ด้าม เครื่องมือ อุปกรณ์ต่างๆ การออกแบบภายในห้องโดยสารรถยนต์ ที่มือจับรถจักรยาน ปุ่มสัมผัสต่างๆ เป็นต้น ผลิตภัณฑ์ที่ยกตัวอย่างมานี้ถ้าผู้ใช้ผู้ใดได้เคยใช้มาแล้วเกิดความไม่สบาย ร่างกายขึ้น ก็แสดงว่าศึกษากายวิภาค เชิงกลไม่ดีพอแต่ทั้งนี้ก็ต้องศึกษาผลิตภัณฑ์ดัง กล่าวให้ดีก่อน จะไปเหมาว่าผลิตภัณฑ์นั้นไม่ดี เพราะผลิตภัณฑ์ บางชนิดผลิตมาจากประเทศตะวันตก ซึ่งออกแบบโดยใช้มาตรฐานผู้ใช้ของชาวตะวันตก ที่มีรูปร่างใหญ่โตกว่า ชาวเอเชีย เมื่อชาวเอเชียนํามาใช้อาจจะไม่พอดีหรือหลวม ไม่สะดวกในการใช้งาน นักออกแบบจึงจําเป็นต้อง ศึกษาสัดส่วนร่างกายของชนชาติหรือเผ่าพันธุ์ที่ใช้ ผลิตภัณฑ์เป็นเกณฑ์ 5 ความสวยงาม ผลิตภัณฑ์ในยุคปัจจุบันนี้ความ สวยงามนับว่ามีความสําคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าหน้าที่ใช้สอยเลย ความ สวยงามจะเป็นสิ่งที่ทําให้เกิดการตัดสินใจซื้อเพราะประทับใจ ส่วนหน้าที่ใช้สอยจะดีหรือไม่ต้องใช้เวลาอีก ระยะหนึ่งคือใช้ไปเรื่อยๆ ก็จะเกิดข้อบกพร่องในหน้าที่ใช้สอยให้เห็นภายหลัง ผลิตภัณฑ์บางอย่างความ สวยงามก็คือ หน้าที่ใช้สอยนัน่ เอง เช่น ผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก ของโชว์ตกแต่งต่างๆ ซึ่งผู้ซื้อเกิดความประทับใจ ในความสวยงามของผลิตภัณฑ์ ความสวยงามจะเกิดมาจากสิ่งสองสิ่งด้วยกันคือ รูปร่าง (FORM) และสี (COLOR) การกําหนดรูปร่างและสี ในงานออกแบบผลิตภัณฑ์ไม่เหมือนกับการกําหนด รูปร่าง สี ได้ตามความ นึกคิดของจิตรกรที่ต้องการ แต่ในงานออกแบบผลิตภัณฑ์เป็นในลักษณะศิลปะอุตสาหกรรมจะทําตาม ความชอบ ความรู้สึกนึกคิดของนักออกแบบแต่เพียงผู้เดียวไม่ได้จําเป็นต้องยึดข้อมูลและ กฎเกณฑ์ผสมผสาน รูปร่างและสีสนั ให้เหมาะสม ด้วยเหตุของความสําคัญของรูป ร่างและสีทมี่ ีผลต่อผลิตภัณฑ์ นักออกแบบจึงจําเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษา วิชาทฤษฏีหรือหลีกการออกแบบและวิ ชาทฤษฏีสี ซึ่งเป็นวิชาทางด้านของศิลปะแล้วนํามาประยุกต์ผสานใช้ กับศิลปะทางด้าน อุตสาหกรรมให้เกิดความกลมกลืน 6 ราคาพอสมควร ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นมาขายนั้น ย่อมต้องมีข้อมูลด้านผู้บริโภคและการตลาดที่ได้ค้นคว้าและสํารวจแล้ว ผลิตภัณฑ์ย่อมจะต้องมีการกําหนดกลุ่มเป้าหมายที่จะใช้ว่าเป็นคนกลุ่มใด อาชีพฐานะเป็นอย่างไร มีความ


ต้องการใช้สินค้าหรือผลิตภัณฑ์นี้เพียงใด นักออกแบบก็จะเป็นผู้กําหนดแบบผลิตภัณฑ์ ประมาณราคาขายให้ เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายทีจ่ ะซื้อได้การจะได้มาซึ่ง ผลิตภัณฑ์ที่มีราคาเหมาะสมกับผูซ้ ื้อนั้นก็อยู่ที่การเลือกใช้ ชนิดหรือเกรด ของวัสดุและเลือกวิธีการผลิตที่ง่ายรวดเร็ว เหมาะสม อย่างไรก็ดี ถ้าประมาณการออกมาแล้วปรากฏว่าราคาค่อนข้างจะสูงกว่าที่กําหนดไว้ก็อาจจะมี การ เปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาองค์ประกอบด้านต่างๆ กันใหม่ แต่ก็ยังต้องคงไว้ซึ่งคุณค่าของผลิตภัณฑ์นั้นเรียกว่า เป็นวิธีการลดค่าใช้ จ่าย 7 การซ่อมแซมง่าย หลักการนี้คงจะใช้กับผลิตภัณฑ์ เครื่องจักรกล เครื่องยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ที่มีกลไกภายใน ซับซ้อน อะไหล่บางชิ้นย่อมต้องมีการเสื่อมสภาพไปตามอายุการใช้งานหรือการใช้งานในทาง ที่ผิด นัก ออกแบบย่อมที่จะต้องศึกษาถึงตําแหน่งในการจัดวางกลไกแต่ละชิ้นตลอดจนนอต สกรู เพื่อที่จะได้ออกแบบ ส่วนของฝาครอบบริเวณต่างๆ ให้สะดวกในการถอดซ่อมแซมหรือเปลี่ยนอะไหล่ง่าย 8 วัสดุและวิธีการผลิต ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่ผลิต ด้วยวัสดุสังเคราะห์อาจมีกรรมวิธีการเลือกใช้วัสดุและวิธีผลิตได้หลาย แบบแต่ แบบหรือวิธีใดถึงจะเหมาะสมที่สุด ที่จะไม่ทําให้ต้นทุนการผลิตสูงกว่าที่ประมาณ ฉะนั้น นักออกแบบ คงจะต้องศึกษาเรื่องวัสดุและวิธีผลิตให้ลึกซึง้ โดยเฉพาะวัสดุจําพวก พลาสติกในแต่ละชนิดจะมีคุณสมบัติทาง กายภาพที่ต่างกันออกไป เช่น มีความใส ทนความร้อน ผิวมันวาว ทนกรดด่างได้ดี ไม่ลื่น เป็นต้น ก็ต้องเลือก ให้คุณสมบัติดังกล่าวให้เหมาะสมกับคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ที่พึง มียิ่งในยุคสมัยนี้มีการรณรงค์ช่วยกันพิทักษ์ สิ่งแวดล้อมด้วยการใช้วัสดุที่ นํากลับหมุนเวียนมาใช้ใหม่กย็ ิ่งทําให้นักออกแบบย่อมต้องมีบทบาทเพิ่มขึ้นอีก คือ เป็นผู้ช่วยพิทักษ์สิ่งแวดล้อมด้วยการเลือกใช้วัสดุที่หมุนเวียนกลับมาใช้ ใหม่ได้ที่เรียกว่า “ รีไซเคิล ” 9 การขนส่ง นักออกแบบต้องคํานึงถึงการ ประหยัดค่าขนส่ง การขนส่งสะดวกหรือไม่ ระยะใกล้หรือระยะไกลกิน เนื้อที่ในการขนส่งมากน้อยเพียงใด การขนส่งทางบกทางน้ําหรือทางอากาศต้องทําการบรรจุหีบห่ออย่างไร ถึง จะทําให้ผลิตภัณฑ์ไม่เกิดการเสียหายชํารุด ขนาดของตู้คอนเทนเนอร์บรรทุกสินค้าหรือเนื้อที่ที่ใช้ในการขนส่งมี ขนาด กว้าง ยาว สูง เท่าไหร่ เป็นต้น หรือในกรณีที่ผลิตภัณฑ์ที่ทําการออกแบบมีขนาดใหญ่โตยาวมาก เช่น เตียง หรือพัดลมแบบตั้งพื้น นักออกแบบก็ควรที่จะคํานึงถึงเรื่องการขนส่ง ตั้งแต่ขั้นตอนของการออกแบบกัน เลย คือ ออกแบบให้มีชิ้นส่วนสามารถถอดประกอบได้ง่าย สะดวก เพื่อทําให้หีบห่อมีขนาดเล็กสุดสามารถ บรรจุได้ในลังที่เป็นขนาดมาตรฐานเพื่อ การประหยัดค่าขนส่ง เมื่อผู้ซื้อซือ้ ไปก็สามารถที่จะขนส่งได้ด้วยตนเอง นํากลับไปบ้านก็สามารถ ประกอบชิ้นส่วนให้เข้ารูปเป็นผลิตภัณฑ์ได้โดยสะดวกด้วยตนเอง เรื่องหลักการออกแบบผลิตภัณฑ์ ที่ได้กล่าวมาทั้ง 9 ข้อนี้เป็นหลักการทีน่ ักออกแบบผลิตภัณฑ์ต้องคํานึงถึง เป็นหลักการทางสากลที่ ได้กล่าวไว้ในขอบเขตอย่างกว้าง ครอบคลุมผลิตภัณฑ์ไว้ทั่วทุกกลุ่มทุกประเภทใน ผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดนั้น อาจจะไม่ต้องคํานึงหลักการดังกล่าวครบทุกข้อก็ได้ ขึ้นอยู่กับความซับซ้อนของ


ผลิตภัณฑ์หรือผลิตภัณฑ์บางชนิดก็อาจจะต้องคํานึง ถึงหลักการดังกล่าวครบถ้วนทุกข้อ เช่น ออกแบบ ผลิตภัณฑ์ไว้แขวนเสื้อ ก็คงจะเน้นหลักการด้านประโยชน์ใช้สอย ความสะดวกในการใช้และความสวยงามเป็น หลัก คงจะไม่ต้องไปคํานึงถึงด้านการซ่อมแซม เพราะไม่มีกลไกซับซ้อนอะไร หรือการขนส่ง เพราะขนาดจํากัด ตามประโยชน์ใช้สอยบังคับ เป็นต้น ในขณะที่ผลิตภัณฑ์บางอย่าง เช่น ออกแบบผลิตภัณฑ์รถยนต์ ก็จําเป็นที่ นักออกแบบจะต้องคํานึงถึงหลักการออกแบบผลิตภัณฑ์ครบทั้ง 9 ข้อ เป็นต้น หลักการออกแบบบรรจุภัณฑ์ การออกแบบบรรจุภัณฑ์มีอิทธิพลต่อความนิยมสินค้าของลูกค้า โดย ชนิดของบรรจุภัณฑ์มี 4 ชนิด ได้แก่ กระดาษ โลหะ แก้ว และพลาสติก ซึ่งต้องศึกษาให้ละเอียดลึกซึ้ง รวมถึงการศึกษาเรื่องการตลาด จะเป็นตัวช่วยในการกําหนดความเหมาะสมของชนิดบรรจุภัณฑ์ นอกจากนี้ สินค้าชนิดเดียวสามารถใช้บรรจุ ภัณฑ์ได้หลากหลาย ทั้งด้านรูปแบบและลักษณะบรรจุภัณฑ์ด้วย เพื่อดึงดูดความต้องการของลูกค้า การ ออกแบบบรรจุภัณฑ์ต้องเหมาะสมกับการใช้งาน การออกแบบเป็นชุด ( Package Uniform) การออกแบบเป็นชุดเป็นเทคนิคที่มีความนิยมมากใช้กันมาก จากกราฟิกง่าย ๆ ที่เป็น จุด เส้น และ ภาพ มาจัดเป็นรูปบนบรรจุภัณฑ์ สร้างอารมณ์ร่วมจากการสัมผัสด้วยสายตา หลักเกณฑ์ในการออกแบบ คือ ให้ดูง่ายสะอาดตา แต่ต้องทันสมัยและเหมาะแก่การใช้งาน ความง่ายสะอาดตามีผลต่อการดึงดูดความสนใจ ความทันสมัยช่วยสร้างความแปลกใหม่ ส่วนความรู้สึกว่าเหมาะแก่การใช้งานเสริม ความรู้สึกว่าคุ้มค่าเงิน และ ความมั่นใจในตัวสินค้า ข้อมูลบนบรรจุภัณฑ์ ข้อมูล ต่าง ๆ ที่มี ทั้งผลดีและผลเสียของผลิตภัณฑ์ ข้อมูลที่นักออกแบบกราฟฟิกควรนําเสนอมีดังนี้ • ประเภท • ส่วนประกอบหรือส่วนผสมโดยประมาณ • คุณค่าทางสมุนไพร • ขั้นตอนหรือวิธีใช้ • การเก็บรักษา • วันที่ผลิตและวันหมดอายุ • คําบรรยายสรรคุณ • ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ผลิต


การใช้ตัวอักษรและตัวพิมพ์ ประชิด ทินบุตร (2530 :29) กล่าวไว้ว่า ตัวอักษรหรือตัวพิมพ์จัดว่าเป็นองค์ประกอบพื้นฐานที่สําคัญอันดับ แรกของการ ออกแบบ การออกแบบโดยทั่ว ๆ ไป มีการนําตัวอักษรมาใช้เพื่อการออกแบบเป็น 2 ลักษณะ ใหญ่ๆคือ 1. ใช้ตัวอักษรเป็นส่วนดึงดูดตา มีลักษณะตัวอักษรแบบ Display face เพื่อต้องการตกแต่งหรือการเน้น ข้อความข่าวสารให้สามารถดึงดูดความสนใจของผู้ ดู ผู้อ่าน ด้วยการใช้ขนาดรูปแบบตัวอักษรที่มีขนาดใหญ่ มี ความเด่นเป็นพิเศษ 2. ใช้ตัวอักษรเป็นส่วนบรรยายหรืออธิบายเนื้อหา คือ การใช้ตัวอักษรเป็น Book face หรือเป็นตัว Text ที่มี ขนาดเล็กในลักษณะของการเรียงพิมพ์ข้อความเพื่อการบรรยายหรืออธิบายส่วน ประกอบปลีกย่อย และ เนื้อหาที่สื่อสารเผยแพร่ ดังนั้นการที่จะนําตัวอักษรมาใช้ในการออกแบบกราฟฟิกผู้ออกแบบจึงควรที่จะต้อง ศึกษาเรียนรู้ถึง ส่วนประกอบของตัวอักษรในภาษาต่าง ๆ ในเรื่องต่อไปนี้ 1. รูปแบบตัวอักษร 2. รูปลักษณะของตัวอักษร 3. ขนาดตัวอักษร การพิจารณาเลือกตัวหนังสือในการออกแบบ 1. ลักษณะรูปร่างหนังสือแต่ละตัวสวยน่าพอใจ และมีความสูง ความกว้าง สมดุล สําหรับผู้อ่านทั่วไป ( สัดส่วน โดยประมาณ สูง 1 กว้าง 3/5 ) 2. การประสมคําบรรทัดเป็นหน้า - การประสมคํา ตัวหนังสือทุกตัวต้องเข้ากันได้ ในการออกแบบมีช่องไปเหมาะสม - การเรียงบรรทัด ต้องไม่ผอมเกินไป เพราะอ่านได้ไม่สะดวก อ่านช้า น่าเบื่อ - การจัดบรรทัดเป็นหน้า อย่าวางบรรทัดชิดเกินไป ทําให้อ่านยากและอ่านพลาดได้ง่าย ควรมีชายหน้าและ หลัง เพราะอ่านง่ายกว่า และง่ายต่อการผลิต 3.Contrast ของตัวหนังสือ เกิดจากความหนักเบาของเส้น และความอ่อนแก่ของแสงสีพื้นกับตัวอักษร 4. ความเหมาะสมกับผู้อ่าน โดยพิจารณาจาก คน ที่มีปัญหาทางสายตา เช่น สายตาสั้น สายตายาว ตาบอดสี ก็ต้องเลือกใช้ตัวหนังสือแก่สิ่งเหล่านี้ สภาพแวดล้อมของที่ใช้อ่าน เช่น มีเสียงรบกวนมาก คนพลุกพล่าน อากาศร้อนไป เย็นไป เช่น ตัวหนังสือที่ใช้


กับเบลเดอร์กลางแจ้ง ก็ต้องมี Contrast ของตัวหนังสือมาก เพื่อแข่งกับสิ่งแวดล้อมนั้นได้ ในที่ร่มอ่านสบาย ตา ลด Contras ให้น้อยลง แบบการจัดตัวอักษร Type Composition การเลือกรูปแบบการจัดตัวอักษร ควรคํานึงถึงการรับรู้ของกลุ่มผู้อ่าน • แบบชิดซ้าย Flush Left แบบชิดซ้ายจะปล่อยให้ทางขวามือเว้าแหว่งแบบอิสระ ให้ความรู้สึกความลื่นไหล ของคําเป็นธรรมชาติ เป็นที่นิยมของนักออกแบบกราฟฟิค การชิดแนวด้านซ้ายมือ เป็นวิธีการของพิมพ์ดีด โดยทั่วไป • แบบปรับซ้ายขวาตรง Justified เป็นแบบที่ปรับตัวอักษรให้ได้แนวตรงทั้งซ้ายขวา นิยมใช้พิมพ์ในหนังสือ และนิตยสาร ไม่ดีตรงที่คําบางคําถูกตัดขาดทําให้ยากต่อการ • แบบชิดขวา Flush Right แบบชิดขวาจะปล่อยให้ทางซ้ายมือเว้าแหว่งเป็นอิสระ ให้ความรู้สึกอ่อนแอ ทาง ซ้ายมือเหมาะสมกับข้อมูลสัน้ ๆ เช่น คําโฆษณา (Ad Copy) ระบบธุรกิจ (Business Systems) หัวเรื่อง (Headlinees) ให้ความสมบูรณ์และช่องไฟดี • แบบศูนย์กลาง Centered เป็นการจัดแบบสมดุลยภาพ ทั้งขอบซ้ายและขวาเว้าแหว่ง ช่องไฟระหว่างคําดี แต่ละบรรทัดควรจะมีความสั้นยาวแตกต่างกัน เพื่อสร้างรูปร่างที่น่าสนใจ ให้ความรู้สึกเป็นแบบแผน • แบบรอบขอบภาพ (Contour) เป็นการจัดวางตัวอักษรให้สัมพัทธ์กับรูปร่างของสัญลักษณ์ภาพถ่ายเฉพาะ รูปร่าง (Silhouette) หรือภาพประกอบ ให้ความรู้สึกสบาย ตื่นเต้น • แบบล้อมรอบ (Run Around) ตัวอักษรที่จัดล้อมรอบรูปภาพซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นภาพสี่เหลี่ยม ความยาวของ คอลัมน์แต่ละตอนแตกต่างกันออกไป ส่วนมากเป็นคําบรรยายภาพ • แบบอดุลภาค Asymmetric มีสภาพเว้าแหว่งทั้งซ้ายและขวา เป็นแบบหรือการจัดวางที่คาดเดาไม่ได้ ดึง ความสนใจในการมองเห็นได้ดี อ่านค่อนข้างยาก นิยมใช้กับข้อความสั้นๆ • แบบแสดงรูปร่าง Shaped การจัดตัวอักษรแบบนี้สัมพันธ์ กับทฤษฎีเกสตอลท์ ในเรือ่ งของความสืบเนื่อง (Continuation) สายตาจะมองสืบเนื่องไปตามแนวโค้งหรือแนวเส้น ฐานในลักษณะต่าง ๆ ให้ความรู้สึกในการ แสดงออกได้ดี เป็นแบบการจัดที่หาดูไม่ค่อยได้


• แบบรูปธรรม Vertical Type เป็นการจัดตัวอักษรให้เกิดรูปร่างของวัตถุ หรือรูปร่างอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้น เช่น รูปร่างเรขาคณิตหรือนามธรรม ซึ่งสอดคล้องกับคําที่บรรยาย เป็นการช่วยกระตุ้นความหมายของภาษาให้ มีศักยภาพกว้างขึ้น • แบบแนวตั้ง Vertical Type การจัดตัวอักษรตามแนวตั้งนี้นิยมใช้กับหัวเรื่อง บ่อยครั้งที่พบการนําไปใช้อย่าง ผิดพลาด • แบบเอียง lnclined Type โดยจัดเอียงมุมเปลี่ยนไปตามมุมที่ต้องการมีส่วนดึงความสนใจต่อประชากรเป้า หมายได้พอสมควร ตัวอักษรเอียงช่วยกระตุ้นความรู้สึกสร้างสรรค์หรือก้าวหน้าได้ การเอียงลาดขึ้นทางขวามือ จะให้ความรู้สกึ สะดวกสบายกว่าเอียงลง • ลักษณะเฉพาะของตัวอักษร Identificationโดยทั่วไปแล้วจะพิจารณาตามบุคลิกของตัวอักษรแบบต่าง ๆ ซึ่ง มีแบบตัวอักษรอยู่มากมาย อาจจะพิจารณาตัวอักษรต่าง ๆ ได้ดังนี้ รูปร่าง (Shape)การกําหนดชื่อแบบตัวอักษรบางแบบมาจากชื่อนักออกแบบ บางแบบมาจากบุคลิกของ ตัวอักษร หรือบางแบบมาจากจุดประสงค์ในการออกแบบก็ได้ ขนาด (Size) ขนาดของตัวอักษรจะวัดตามแนวตั้ง โดยวัดเป็นพอยท์ ตัวอักษรภาษาอังกฤษจะวัดตัวใหญ่เป็น หลัก น้ําหนัก (Weight) ความกว้างของเส้นตัวอักษรเป็นสิ่งสําคัญในการกําหนดรูปแบบของตัวอักษร คําที่ใช้คือ บาง (Light) กลาง (Medium) หนา (Bold) และความหนามาก (Extra Bold) โดยพิจารณาตามความแคบกว้างของ สีดําหรือความทึบ (Density) ความกว้าง (Width) เป็นการวัดความกว้างของตัวอักษรตามแนวราบ คําที่ใช้เรียกคือ ผอม (Condensed) ปกติ ( Normal ) กว้าง (Expanded) โดยพิจารณาจากแคบไปสู่กว่าง แนวลาด (Slope)เป็นการพิจารณามุมของตัวอักษรเพื่อบอกบุคลิก คําทีใ่ ช้คือ ตัวตรง (Vertical) ตัวเอียง (Italic หรือ Lnclined) ความคิดพื้นฐาน Fundamental Concept ความคิดรวบยอดพื้นฐานสําหรับการแก้ปญ ั หาการจัดวาง ตัวอักษร จําเป็นต้องคํานึงถึงปัญหาความขัดแย้งกัน (Contrast) ของตัวอักษร ต้องเปรียบเทียบผลการมองเห็น ที่ขัดแย้งกันของประชากรเป้าหมาย สภาพตัดกันหรือขัดแย้งกันเป็นตัวแสดงพลัง ในอันที่จะช่วยให้การ ออกแบบเสนอความคิดที่ชัดเจนขึ้น ความขัดแย้งคือ พลังอันเร้าใจทางการเห็น (Force of Visual Intensity) และช่วยให้กระบวนการสื่อสารง่ายขึ้นได้


การออกแบบกราฟฟิคบนบรรจุภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์เป็นตัวแทนของกระบวนการส่งเสริมการขายทางด้านการตลาด ณ จุดขายที่สามารถจับ ต้องได้ ทําหน้าที่เป็นสื่อโฆษณาได้อย่างดีเยี่ยม ณ จุดขาย รูปทรงของบรรจุภัณฑ์เปรียบได้กับตัวโครงร่างกาย ของมนุษย์ สีที่ออกแบบบรรจุภัณฑ์เปรียบเสมือนผิวหนังของมนุษย์ คําบรรยายบนบรรจุภัณฑ์เปรียบได้กับปาก ที่กล่าวแจ้งแถลงสรรพคุณ การออกแบบอาจจะเขียนเป็นสมการอย่างง่าย ๆ ได้ดังนี้ การออกแบบ = คํา บรรยาย + สัญลักษณ์ + ภาพพจน์ เนื่องจากการออกแบบภาพพจน์เป็นศิลปะอย่างหนึ่งซึ่งอาจแสดงออกได้ ด้วย จุด เส้น สี รูปวาด และรูปถ่าย ผสมผสานกันออกมาเป็นพาณิชย์ศิลป์บนบรรจุภัณฑ์ ด้วยหลักการง่าย ๆ 4 ประการ คือ SAFE ซึ่งมีความหมายว่า S = Simple เข้าใจง่ายสบายตา A = Aesthetic มีความสวยงามชวนมอง F = Function ใช้งานได้ง่าย สะดวก E = Economic ต้นทุนค่าใช้จ่ายเหมาะสม การออกแบบพัฒนาบรรจุภัณฑ์ยังมีบทบาทช่วยเสริมกิจกรรมต่าง ๆ ทางด้านการตลาด ดังนี้ ตาม ที่ได้อธิบายแล้วว่าบรรจุภัณฑ์มีบทบาทในส่วนผสมการตลาดในการทําหน้าที่เสริม กิจกรรมการตลาดใน แต่ละขั้นตอนของวัฏจักรชีวิตผลิตภัณฑ์ รายละเอียดปลีกย่อยในการช่วยเสริมกิจกรรมต่าง ๆ มีดังต่อไปนี้ 1. การใช้โฆษณา บรรจุภัณฑ์จําต้องออกแบบให้จําได้ง่าย ณ จุดขาย หลังจากกลุ่มเป้าหมายได้เห็นหรือฟัง โฆษณามาแล้ว ในกลยุทธ์นี้บรรจุภัณฑ์มักจะต้องเด่นกว่าคู่แข่งขันหรือมีกราฟฟิกที่สะดุดตา โดยไม่ต้องให้ กลุ่มเป้าหมายมาองหา ณ จุดขาย 2. การเพิ่มช่องทางการจัดจําหน่าย ช่องทางการจัดจําหน่ายที่เปลี่ยนแปลงไปอาจจําเป็นต้องมีการออกแบบ ปริมาณสินค้า ต่อหน่วยขนส่งใหม่เพื่อลดค่าใช้จ่าย หรือมีการพัฒนาบรรจุภัณฑ์สําหรับจุดขายใหม่ การเพิ่มหิ้ง ณ จุดขายที่เรียกว่า POP (Point of Purchase) อาจมีสว่ นช่วยส่งเสริมการขายเมื่อเปิดช่องทางการจัด จําหน่ายใหม่ 3. เจาะตลาดใหม่ มีความจําเป็นอย่างยิ่งที่ต้องออกแบบบรรจุภัณฑ์ใหม่ในการเจาะตลาดใหม่หรือ กลุ่มเป้าหมายใหม่ ในบางกรณีอาจจําเป็นต้องเปลี่ยนตราสินค้าใหม่อีกด้วย 4.ผลิตภัณฑ์ใหม่ ถ้าผลิตภัณฑ์ใหม่เป็นสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับสินค้าเก่า เช่น เปลี่ยนจากการขายกล้วยตากแบบ เก่า เพิ่มผลิตภัณฑ์ใหม่มาเป็นกล้วยตากชุบน้ําผึ้ง อาจใช้บรรจุภัณฑ์เก่าแต่เปลี่ยนสีใหม่เพื่อแสดงความสัมพันธ์


กับสินค้าเดิม หรืออาจใช้เทคนิคของการออกแบบบรรจุภัณฑ์ยูนิฟอร์มดังจะกล่าวต่อไปในบทนี้ แต่ในกรณีที่ เป็นสินค้าใหม่ถอดด้ามจําต้องออกแบบบรรจุภัณฑ์ใหม่หมด แต่อาจคงตราสินค้าและรูปแบบเดิมไว้เพื่อสร้าง ความสัมพันธ์กับลูกค้ากลุ่มที่ เคยเป็นลูกค้าประจําของ 5. การส่งเสริมการขาย จําเป็นอย่างยิ่งต้องมีการออกแบบบรรจุภัณฑ์ใหม่ เพื่อเน้นให้ผู้บริโภคทราบว่ามีการ เพิ่มปริมาณสินค้า การลดราคาสินค้า หรือการแถมสินค้า รายละเอียดบนบรรจุภัณฑ์ย่อมมีส่วนช่วยกระตุ้นให้ ผู้บริโภคมีความอยากซื้อมาก ขึ้น 6. การใช้ตราสินค้า เป็นสิ่งจําเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีเพื่อสร้างความทรงจําที่ดีต่อสินค้าบรรจุ ภัณฑ์ที่มีตรา สินค้าใหม่ควรจะได้รับการออกแบบใหม่ด้วยการเน้นตราสินค้า รายละเอียดในเรื่องนี้จะได้กล่าวต่อไปในหัวข้อ ตราสินค้า 7. เปลี่ยนขนาดหรือรูปทรงของบรรจุภัณฑ์ โดยปกติสินค้าแต่ละชนิดมีวัฏจักรชีวิตของตัวมันเอง (Product Life Cycle) เมื่อถึงวัฏจักรชีวิตช่วงหนึ่ง ๆ จําเป็นต้องมีการเปลี่ยนโฉมของบรรจุภัณฑ์เพื่อยืดอายุของวัฏจักร ในบางกรณี การเปลี่ยนขนาดอาจเกิดจากนวัตกรรมใหม่ทางด้านบรรจุภัณฑ์ เช่น การเลือกใช้วัสดุใหม่จึงมีการ เปลี่ยนรูปทรงหรือขนาด ไม่ว่าจะเป็นสาเหตุใดก็ตามมีความจําเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการออกแบบบรรจุ ภัณฑ์ ใหม่เพื่อรักษาหรือขยายส่วนแบ่งการตลาด


บทที่ 3

วิธีการดําเนินการศึกษาค้นคว้าและออกแบบ

การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่สามารถเก็บอุปกรณ์เครื่อง แต่งกายได้ ได้ดําเนินการศึกษาค้นคว้าตามหัวข้อต่อไปนี้ 1.ขั้นตอนในการศึกษาค้นคว้าและออกแบบ ขั้นตอนในการศึกษาค้นคว้าและออกแบบ 1.แบบร่างทางความคิด นําเสนอมา 4 แบบ โดย - นายธัชพล แทนเพชร - นายอลงกรณ์ ตู้ธีระ - นางสาวอุบลวรรณ นันท์อาณาเขต - นายวิศิฏษ์พงษ์ ปานทอง จากการศึกษาและรวบรวมความคิด จึงได้ตัดสินใจเลือกแบบของนางสาวอุบลวรรณ นันท์อาณาเขต โดยได้นําข้อเสนอแนะของสมาชิกมาปรับปรุงให้ดีขึ้น แบบร่างทางความคิดแนบในภาคผนวก 2.ขั้นตอนการศึกษาค้นคว้าหาข้อมูล แนบในบทที่ 2 3.การออกแบบ ในการออกแบบครั้งนี้ได้มีการนําโปรแกรมคอมพิวเตอร์มาใช้ โปรแกรมที่นํามาใช้ได้แก่ Google SketchUp 7 , Adobe Illustrator CS3 , Adobe Photoshop CS3 ผลงานที่พัฒนาและออกแบบ จากโปรแกรมเหล่านี้แนบในภาคผนวก 4.การสร้างสรรค์ผลงาน


บทที่ 4 สรุปผลการค้นคว้า และข้อเสนอแนะ โครงการออกแบบกล่องใสอุปกรณ์แต่งกายชุดนักศึกษา สามารถสรุปได้ดังนี้ ประโยชน์ของกล่องบรรจุภัณฑ์สําหรับเครื่องแต่งกายชุดนักศึกษา คือ ใช้บรรจุอุปกรณ์เครื่องแต่งกายนักศึกษาเพื่อ จําหน่ายในร้านค้าสวัสดิการ แต่ในการทํางานครั้งนี้พบว่า ผลงานที่ผลิตขึ้นจริงยังมีข้อบกพร่องที่ควรแก้ไขอยู่หลายแห่งทําให้ ยังไม่สามารถใช้งานได้ดีเท่าที่ควร เช่น มีขนาดไม่พอดีกับสิ่งของที่จะใส่ลงไป เป็นต้น ซึ่งผลของการทําโครงการสามารถสรุปได้ ดังนี้

1.แรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงาน(Inspiration) ที่มาและแรงบันดาลใจในการคิดสร้างสรรค์ผลงานครั้งนี้ถือว่าเป็นการมองเห็นปัญหารอบตัวได้ แต่ยังไม่สามารถ จัดการกับปัญหาได้ดีเท่าที่ควร ซึ่งส่งผลให้ผลิตภัณฑ์ที่ได้ทําการออกแบบนั้นไม่ตรงตามความต้องการของผู้บริโภคและไม่ตรง ตามความต้องการแก้ปัญหา 2.ความคิดสร้างสรรค์(Creative Idea) ในเรื่องของความคิดสร้างสรรค์นั้นยังไม่มีการแสดงออกมาอย่างชัดเจน ซึ่งอาจเป็นเพราะยึดติดกับรูปแบบเดิมๆยังไม่ มีความคิดที่แตกต่างที่ชัดเจน 3.การออกแบบโครงงานที่ลงตัว สวยงาม(Design and Aesthetics) ในขั้นตอนของการออกแบบนั้นถือว่ามีการออกแบบได้ดี แต่ในบางจุดยังไม่มีความชัดเจน ไม่ตรงตามความต้องการ ใช้งาน และด้วยเรื่องของขนาดที่มีการคํานวณผิดพลาดแล้วนั้นทําให้ผลงานตัวจริงไม่สามารถใช้งานได้อย่างเต็มที่ 4.คุณค่าและประโยชน์ที่ได้รับจากตัวผลงาน(Value and Benefit) 1.เป็นแนวทางความคิดให้สามารถปรับปรุงพัฒนาโครงการได้ดียิ่งขึ้น 2.สามารถใช้บรรจุอุปกรณ์เครื่องแต่งกายเผื่อจําหน่ายได้ 3.ทําให้ได้เรียนรู้การทํางานจริง ขัน้ ตอนการทํางานที่แท้จริง การวางแผลการทํางาน การแก้ไขปัญหาต่างๆ ทําให้ได้เรียนรู้ที่จะ นําไปพัฒนาในโครงการอื่นๆ


5.การนําเสนอและตอบคําถาม(Presentation) ในขั้นตอนการเตรียมการนําเสนอ ทางผู้วิจัยนั้นมีเนื้อหา รายงาน ตัวผลิตภัณฑ์ครบถ้วน ซึ่งถือว่าพร้อมสําหรับการ นําเสนอ แต่เนื่องจากผลงานยังไม่ดีเท่าที่ควรจึงทําให้การนําเสนอมีข้อบกพร่องหลายแห่ง ทางผู้วิจัยจึงถือว่าครั้งนี้เป็น ประสบการณ์ที่จะนําไปพัฒนาในโครงการครั้งหน้า 6.ข้อเสนอแนะ 1.ในการทํางานนั้นการคํานวณ ขนาดกล่องนั้นถือว่าสําคัญมาก ต้องให้ความแม่นยําแก่การวัดขนาด การออกแบบ 2.เรื่องของวดลายกราฟฟิกควรสื่อแนวคิดให้ชัดเจน 3.ควรเตรียมความพร้อมสําหรับสําหรับทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็น การวางแผนโครงการ การทํางาน การผลิต และการนําเสนอ 4.ควรศึกษาหาข้อมูลให้เรียบร้อย เพื่อประโยชน์ของงาน


บรรณานุกรม

หลักการออกแบบผลิตภัณฑ์ [ระบบออนไลน์].เข้าถึงจาก http://product.exteen.com/20070401/entry‐4

หลักการออกแบบบรรจุภัณฑ์ [ระบบออนไลน์].เข้าถึงจาก http://netra.lpru.ac.th/~weta/m4/index.html

การออกแบบกราฟฟิคบนบรรจุภัณฑ์ [ระบบออนไลน์].เข้าถึงจาก http://www.mew6.com/composer/package/package_8.php


ภาคผนวก


แบบร่างทางความคิด


การออกแบบด้วยคอมพิวเตอร์










ทดสอบการใช้งานจริง





Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.