Property Perfect : Annual Report 2009

Page 1



สารบัญ 2 สารจากคณะกรรมการ 4 ข้อมูลบริษัท 6 ข้อมูลทางการเงิน

49 ประวัติผู้บริหารและผู้มีอำนาจควบคุมของบริษัท 53 รายละเอียดการดำรงตำแหน่งของกรรมการ

7 ลักษณะการประกอบธุรกิจ

54 ค่าตอบแทนผู้บริหาร 56 การกำกับดูแลกิจการ

15 โครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการ 25 คณะกรรมการบริษัท

65 บุคคลอ้างอิงอื่น ๆ 66 รายการระหว่างกัน

26 ผังองค์กร 28 ข้อมูลโครงการ

69 ปัจจัยความเสี่ยง 73 คำอธิบายและการวิเคราะห์ฐานะการเงิน

32 แผนที่โครงการ 33 การตลาด และการแข่งขัน

85 รายงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต 86 งบการเงิน

41 ภาวะอุตสาหกรรมและแนวโน้มธุรกิจ อสังหาริมทรัพย์

94 หมายเหตุประกอบงบการเงิน 123 รายงานความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริษัท

45 ข้อมูลอื่น ๆ

124 รายงานของคณะกรรมการตรวจสอบ ปี 2551 126 แบบยืนยันความถูกต้องครบถ้วนของผูส้ อบบัญชี

บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน)


สารจากคณะกรรมการบริษัท บริษัทได้ปรับกลยุทธ์ที่จะขยายการพัฒนาธุรกิจที่อยู่อาศัยในรูปแบบ ที่ถนัดไปยังต่างจังหวัด นอกเหนือจากเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ที่นับวันการแข่งขันจะทวีความรุนแรงขึ้น โดยจะเน้นหัวเมืองใหญ่ ทั้ง ภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคตะวันออก และ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องของสถาบันการเงินในประเทศสหรัฐอเมริกาได้ส่งผลกระทบการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจในประเทศ สหรัฐอเมริกาและเศรษฐกิจโลก นอกจากนี้การขาดเสถียรภาพของการเมืองไทยอันก่อให้เกิดความไม่สงบในสังคม การแพร่ระบาดของไข้ หวัด 2009 ได้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อธุรกิจการท่องเที่ยว รวมถึงปัญหาการสะดุดของโครงการการลงทุนขนาดใหญ่ที่มีมูลค่ารวมกว่า 280,000 ล้านบาท ในพื้นที่มาบตาพุด จังหวัดระยอง ซึ่งเป็นผลกระทบของการพัฒนาอุตสาหกรรมที่มีต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของ ประชาชนในชุมชน ได้ส่งผลต่อความเชื่อมั่นในการลงทุนของนักลงทุนภาคเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ ปัจจัยลบเหล่านี้ส่งผลให้ เศรษฐกิจไทยปี 2552 เกิดการหดตัวร้อยละ 2.3 ปี 2552 บริษทั และบริษทั ย่อย มีรายได้จากการขายบ้านพร้อมทีด่ นิ จำนวน 5,073 ล้านบาท และจากการขาดความต่อเนือ่ งของการรับรูร้ ายได้ จากการขายหน่วยในอาคารชุดพักอาศัย ทำให้ปีนี้บริษัทมีรายได้จากส่วนนี้เพียง 779 ล้านบาท ส่งผลให้กำไรสุทธิรวมเท่ากับ 400 ล้านบาท อย่างไรก็ตามคณะกรรมการได้เสนอให้จ่ายเงินปันผลที่อัตราหุ้นละ 0.25 บาท สำหรับด้านสินทรัพย์รวมนั้น ณ สิ้นปี มีจำนวนเท่ากับ 14,477 ล้านบาท ในขณะที่หนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้นรวม มีจำนวนเท่ากับ 7,657 ล้านบาท และ 6,820 ล้านบาท ตามลำดับ คิดเป็นอัตราส่วนหนี้ สินต่อทุนรวม เท่ากับ 1.12 ต่อ 1 เท่า สำหรับปี 2553 นั้น หลายฝ่ายได้คาดการณ์ว่า ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์จะมีอัตราการเติบโตที่ดีกว่าปี 2552 เนื่องจากเศรษฐกิจไทยจะขยาย ตัวได้ประมาณร้อยละ 3.5-4.5 สถาบันการเงินน่าจะหันกลับมาปล่อยสินเชื่อในการพัฒนาโครงการมากขึ้น ในขณะที่ความเชื่อมั่นของผู้ บริโภคน่าจะปรับตัวดีขึ้น ระบบขนส่งมวลชนที่คาดว่าจะมีการเปิดดำเนินการในปี 2553 ได้แก่ เส้น Airport Rail Link ซึ่งเป็นเส้นที่เชื่อมการ เดินทางไปยังสนามบินสุวรรณภูมิ และในปี 2554 รถไฟลอยฟ้า (BTS) ส่วนต่อขยาย บริเวณ อ่อนนุช – แบริ่ง และ วงเวียนใหญ่–บางหว้า น่า จะเปิดดำเนินการได้และการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วงเส้นทางบางซื่อ-บางใหญ่ จะมีส่วนผลักดันให้ภาพรวมของบริษัทมีทิศทางที่ปรับตัวดี ขึ้น ซึ่งบริษัทจะได้รับประโยชน์โดยตรงเนื่องจากมีโครงการตามแนวเส้นทางดังกล่าวเป็นจำนวนมาก บริษัทได้เตรียมรับมือกับการเติบโตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในปีนี้ โดยการปรับแผนการดำเนินธุรกิจที่เน้นผลิตภัณฑ์ที่เป็นที่ต้องการของผู้ที่ ต้องการที่อยู่อาศัยเพิ่มมากขึ้น จะมีโครงการที่เปิดใหม่ในปี 2553 ประมาณ 14 โครงการ คิดเป็นมูลค่าขายกว่า 20,000 ล้านบาท โดยแยก เป็นบ้านเดี่ยว 4 โครงการ ทาวน์เฮ้าส์ 5 โครงการ และห้องชุดคอนโดมิเนียม 5 โครงการ การกำหนดสัดส่วนของสินค้าในปี 2553 จะมีจากข้อมูลของศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งตัวเลขการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ อสังหาริมทรัพย์ เฉพาะประเภทที่อยู่อาศัยจากนิติบุคคล ในปี 2552 มีประมาณ 160,600 หน่วย แยกเป็นห้องชุดคอนโดมิเนียม จำนวนมาก สุด 56,100 หน่วย รองลงมาเป็นทาวน์เฮ้าส์ 51,500 หน่วย บ้านเดี่ยว 33,100 หน่วย ที่เหลือเป็น อาคารพาณิชย์ และบ้านแฝด โดยการโอน กรรมสิทธิ์ ห้องชุดคอนโดมิเนียมเพิ่มขึ้น 22% ทาวน์เฮ้าส์เพิ่มขึ้น 7% ในขณะที่บ้านเดี่ยวเพิ่มขึ้นเพียง 2% จะเห็นได้ว่าที่อยู่อาศัยประเภท ห้องชุดคอนโดมิเนียมและทาวน์เฮ้าส์ เป็นที่ต้องการของผู้ที่ต้องการที่อยู่อาศัย เนื่องจากมีมูลค่าต่อหน่วยต่ำกว่าบ้านเดี่ยว จึงคาดว่าแนว โน้วของที่อยู่อาศัยที่ราคาไม่สูง ยังคงเป็นที่ต้องการในปี 2553 ต่อไป

รายงานประจำปี 2552


จากการปรับกลยุทธ์ที่หันมาเน้นสินค้าที่เป็นที่ต้องการของตลาด โดยเฉพาะสินค้าที่มีราคาต่อหน่วยต่ำกว่า 3 ล้านบาท ขนาดของโครงการไม่ใหญ่ มากนัก และสามารถรับรู้รายได้ภายใน 1 ปี ทำให้คาดว่าหนี้สิน ที่เพิ่มขึ้นระหว่างปีที่ก่อสร้าง จะสามารถปรับลดลงได้เมื่อมีการโอน ณ สิ้นปีได้ ในปีนี้ สินค้าของบริษัทจึงมีแบรนด์ใหม่เพิ่มขึ้น อีก 2 แบรนด์ ได้แก่ The Villa เป็น ทาวน์เฮ้าส์ 2 ชั้น ราคาต่อหน่วยประมาณ 2 ล้านบาท และ UNILOFT เป็นห้องชุดคอนโดมิเนียม ที่เน้นทำเลใกล้มหาวิทยาลัยหรือแหล่งชุมชน ราคาต่อหน่วยประมาณ 1 ล้านบาท และเพื่อ เป็นการรักษาระดับรายได้ของบริษัทในอนาคต บริษัทได้ปรับกลยุทธ์ที่จะขยายการพัฒนาธุรกิจที่อยู่อาศัยในรูปแบบที่ถนัด ไปยังต่างจังหวัด นอกเหนือจากเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ที่นับวันการแข่งขันจะทวีความรุนแรงขึ้น โดยจะเน้นหัวเมืองใหญ่ ทั้ง ภาคเหนือ ภาคใต้ ภาค ตะวันออก และ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นต้น จากการปรับกลยุทธ์ที่หันมาเน้นสินค้าที่เป็นที่ต้องการของตลาด โดยเฉพาะสินค้าที่มีราคาต่อหน่วยต่ำกว่า 3 ล้านบาท ขนาดของ โครงการไม่ใหญ่มากนัก และสามารถรับรู้รายได้ภายใน 1 ปี ทำให้คาดว่าหนี้สินที่เพิ่มขึ้นระหว่างปีที่ก่อสร้าง จะสามารถปรับลดลงได้เมื่อมี การโอน ณ สิ้นปีได้ ทำให้คาดว่า ณ สิ้นปี 2553 อัตราส่วนหนี้สินต่อทุนรวมของบริษัท น่าจะประมาณ 1 ต่อ 1 เท่า และบริษัทพยายามที่จะ รักษาเงินสดในมือ ณ สิ้นไตรมาสใดๆ ให้อยู่ในระดับประมาณ 1,000 ล้านบาท อันจะเป็นการลดความเสี่ยงทางการบริหารจัดการด้านการ เงินลงได้ มาตรการการลดหย่อนภาษีและค่าธรรมเนียมในการกระตุ้นธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ หมดอายุในวันที่ 28 มีนาคม 2553 และได้ต่อออกไป จนถึง 31 พฤษภาคม 2553 รวมระยะเวลากว่า 2 ปี และเมื่อสิ้นสุดมาตรการดังกล่าว ผู้ซื้อที่อยู่อาศัยจะมีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นอีก ร้อยละ 1.985 จากค่าจดทะเบียนการโอนและค่าจดจำนองที่สูงขึ้น ซึ่งน่าจะทำให้ผู้ที่ต้องการที่อยู่อาศัยตัดสินใจโอนที่อยู่อาศัยในไตรมาสหนึ่งของปี 2553 สำหรับผู้ประกอบการหลังหมดมาตรการดังกล่าว ต้องรับภาระเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.195 จากภาระภาษีธุรกิจเฉพาะและค่าจดทะเบียน การโอน ทำให้คาดการณ์ว่าผู้ประกอบการบางรายจะสามารถผลักภาระดังกล่าวให้ผู้ซื้อได้ หลายฝ่ายจึงคาดว่าราคาขายที่อยู่อาศัยหลังหมด มาตรการภาษี บวกกับการที่ราคาวัสดุก่อสร้างและราคาที่ดินมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น น่าจะทำให้ราคาของที่อยู่อาศัยมีการปรับตัวสูงขึ้น อย่างน้อย ร้อยละ 5 จากแผนการดำเนินงานที่คาดว่าจะมีอัตราการเติบโตแบบก้าวกระโดด คณะกรรมการหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้รับความมุ่งมั่น ความเชื่อ มั่น และ การตั้งใจในการทำงานจากพนักงานทุกท่าน ในการที่จะช่วยกันผลักดันให้บริษัทบรรลุสู่เป้าหมายที่วางไว้ให้จงได้ และท้ายที่สุดนี้ ต้องขอขอบคุณผู้มีอุปการะคุณของบริษัทอันได้แก่ ลูกค้า คู่ค้า สถาบันการเงิน นักลงทุน ที่ได้ให้ความไว้วางใจต่อบริษัทด้วยดีมาโดยตลอด และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ความรู้สึกดี ๆ ของทุกท่าน จะยังคงมีต่อบริษัทตลอดไป ดร. ธวัชชัย นาคะตะ นายชายนิด โง้วศิริมณี ประธานกรรมการบริษัท ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร

บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน)


ข้อมูลบริษัท ชื่อ : บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน) ที่ตั้งสำนักงาน : เลขที่ 100/1 อาคารวรสมบัติ ชั้น 17 ถนนพระราม 9 แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพ ฯ โทรศัพท์ 02-245-6640-7 โทรสาร 02- 247-3328 ประเภทธุรกิจ : พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ประเภทพัฒนาที่ดิน และก่อสร้างบ้านเพื่อจำหน่าย ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภายใต้ชื่อโครงการ “มณีรินทร์ พาร์ค” “มณีรินทร์ เลค&พาร์ค” “เพอร์เฟค พาร์ค” “เพอร์เฟค เพลส” “เพอร์เฟค มาสเตอร์พีซ” “เดอะ เมทโทร” “เดอะ วิลล่า” “เมโทร พาร์ค” และ “เมโทร สกาย” จำนวนหุ้นที่เรียกชำระแล้ว : 787,721,620 หุ้น (ณ 31 ธันวาคม 2552) มูลค่าที่ตราไว้ : 6 บาท มูลค่าที่เรียกชำระแล้ว : 4,726,329,720 บาท

รายงานประจำปี 2552


การลงทุนในบริษัทอื่น

ชื่อและที่ตั้ง

ทุนจดทะเบียน (ล้านบาท)

บริษัท เอสเตท เพอร์เฟ็คท์ จำกัด 1,000 เลขที่ 100/1 อาคารวรสมบัติ ชั้น 17 ถนนพระราม 9 แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ โทรศัพท์ 02- 245-6640-7 โทรสาร 02- 645-1976 บริษัท ไบรท์ ดีเวลลอปเมนท์ กรุงเทพ จำกัด 1 เลขที่ 100/1 อาคารวรสมบัติ ชั้น 17 ถนนพระราม 9 แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ โทรศัพท์ 02- 245-6640-7 โทรสาร 02- 645-1976 บริษัท เซ็นเตอร์พ้อยท์ ช็อปปิ้ง มอลล์ จำกัด 1 เลขที่ 100/1 อาคารวรสมบัติ ชั้น 17 ถ.พระราม 9 แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ บริษัท เพอร์เฟค แซทเทลไลท์ เซอร์วิสเซส จำกัด 1 เลขที่ 100/52 อาคารว่องวานิช บี ชั้น 19 ถนนพระราม 9 แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ โทรศัพท์ 02- 645–1406-8 โทรสาร 02-645–1409 บริษัท กรุงเทพบ้านและที่ดิน จำกัด (มหาชน) 2,230 เลขที่ 100/1 อาคารวรสมบัติ ชั้น 21 ถนนพระราม 9 แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพ ฯ โทรศัพท์ 02- 645-0960-3 โทรสาร 02- 645-0380 บริษัท เรียล เซอร์วิส จำกัด 40 เลขที่ 100/9 ซอยท่าอิฐ ถนนรัตนาธิเบศร์ นนทบุรี โทรศัพท์ 02-594-4001-5 โทรสาร 02-594-4021

จำนวนทุนที่เรียก สัดส่วน ชำระแล้ว (ล้านบาท) การลงทุน

ประเภทธุรกิจ

1,000

100.00%

พัฒนาอสังหาริมทรัพย์

1

99.94%

พัฒนาอสังหาริมทรัพย์

1

59.99%

พัฒนาอสังหาริมทรัพย์

1

99.98% บริหารสถานออกกำลังกาย และสโมสร

1,780

20.22%

พัฒนาอสังหาริมทรัพย์

40

19.00%

บริการซ่อมแซม บำรุงบ้านพักอาศัย

บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน)


ข้อมูลทางการเงิน หน่วย : ล้านบาท งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะของบริษัท ฐานะการเงิน 2552 2552 2551 2550 สินทรัพย์รวม 14,477 13,099 11,525 11,951 ต้นทุนการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อขายและรอการพัฒนา 12,332 9,866 8,670 9,405 หนี้สินรวม 7,657 6,674 5,203 6,233 ส่วนของผู้ถือหุ้น 6,820 6,425 6,322 5,718 ผลการดำเนินงาน รายได้จากการขายบ้านพร้อมที่ดิน 5,852 4,846 6,834 5,713 รายได้รวม 5,948 4,977 6,935 5,778 กำไรขั้นต้น 30.51% 30.91% 31.09% 29.57% กำไรสุทธิ 400 386 798 369 อัตราส่วนทางการเงิน อัตรากำไร(ขาดทุน)สุทธิต่อรายได้รวม 6.72% 7.76% 11.51% 6.38% อัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น 5.91% 6.06% 13.26% 6.66% อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์รวม 2.92% 3.14% 6.80% 3.06% อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน 2.38 2.45 4.19 2.56 อัตราส่วนสินทรัพย์สภาพคล่องต่อหนี้สินหมุนเวียน 0.19 0.21 0.25 0.24 ข้อมูลต่อหุ้น หน่วย : บาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 0.51 0.49 1.01 0.47 เงินปันผล 0.25 0.25 0.36 0.24

รายงานประจำปี 2552


ลักษณะการประกอบธุรกิจ ประวัติความเป็นมา การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการที่สำคัญ บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน) จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2528 โดยกลุ่มผู้บริหารหมู่บ้านจัดสรรมณียา ด้วยทุนจด ทะเบียนเริ่มแรกจำนวน 300,000 บาท ต่อมาในวันที่ 19 ตุลาคม 2536 บริษัทได้จดทะเบียนแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัด และวันที่ 1 มิถุนายน 2536 บริษัทได้นำหลักทรัพย์เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในหมวดอสังหาริมทรัพย์ โดยในปี 2540 บริษัทได้ เข้าสู่หมวดบริษัทจดทะเบียนที่อยู่ระหว่างฟื้นฟูการดำเนินงาน (REHABCO Sector) และได้กลับเข้าซื้อขายในหมวดบริษัทจดทะเบียนที่อยู่ ระหว่างฟื้นฟูการดำเนินงานอีกครั้งในวันที่ 22 พฤศจิกายน 2544 ภายหลังจากที่บริษัทมีฐานะการเงินและผลการดำเนินงานที่เป็นไปตาม เกณฑ์ที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนด หลักทรัพย์ของบริษัทจึงย้ายกลับเข้าซื้อขายในหมวดอสังหาริมทรัพย์ตั้งแต่วันที่ 19 มิถุนายน 2545 ทั้งนี้ บริษัทสามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขในการฟื้นฟูกิจการและปรับโครงสร้างหนี้ได้อย่างครบถ้วน ศาลล้มละลายกลางได้มีคำสั่งยกเลิกการฟื้นฟู กิจการในวันที่ 12 เมษายน ซึ่งต่อมาบริษัทได้มีการขยายธุรกิจอย่างต่อเนื่องและมีการเพิ่มทุน/ลดทุนจดทะเบียน โดย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 บริษัทมีทุนจด ทะเบียน 6,552.00 ล้านบาท คิดเป็นหุ้นสามัญ 1,092.00 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 6 บาท และทุนจดทะเบียนชำระแล้ว 4,726.33 ล้าน บาท คิดเป็นหุ้นสามัญ 787.72 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 6 บาท

ภาพรวมการประกอบธุรกิจของกลุ่มบริษัท บริษัท แบ่งการลงทุนในบริษัทย่อยและบริษัทร่วม เป็น 2 กลุ่มหลัก ดังนี้ 1. กลุ่มธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ประกอบด้วย บริษัทย่อย 3 บริษัท บริษัทร่วม 1 บริษัท 2. กลุ่มธุรกิจบริการ ประกอบด้วย บริษัทย่อย 1 บริษัท บริษัทร่วม 1 บริษัท

โครงสร้างการลงทุนของบริษัท บมจ. พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค กลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์

99.94 % บจ. ไบรท์ ดีเวลลอปเมนท์ กรุงเทพ 59.99 % บจ. เซ็นเตอร์พ้อยท์ ช็อปปิ้ง มอลล์ *

กลุ่มธุรกิจบริการ 99.98 % บจ. เพอร์เฟค แซทเทลไลท์ เซอร์วิสเซส

19 % บจ. เรียลเซอร์วิส **

100 % บจ. เอสเตท เพอร์เฟ็คท์ 20.22 % บมจ. กรุงเทพบ้านและที่ดิน

51 % บจ. ริเวอร์ไซด์ โฮมส์ ดีเวลลอปเม้นท์***

หมายเหตุ : *

ปัจจุบันยังไม่เริ่มประกอบธุรกิจ ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 1/2553 วันที่ 22 มกราคม 2553 มีมติให้บริษัทซื้อหุ้นสามัญของบริษัท เซ็นเตอร์ พ้อยท์ ช็อปปิ้ง มอลล์ จำนวน 4,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 100 บาท จากบริษัท ทิมเบอร์ไลน์ อินเวสเม้นท์ พีที อี เอลทีดี เป็นผลให้บริษัทถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 99.98 ** ปัจจุบันหยุดประกอบธุรกิจ *** ดำเนินธุรกิจโครงการคอนโดมิเนียม ภายใต้ชื่อ “เดอะ พาโน” โดยผู้ถือหุ้นที่เหลืออีก 49% คือกลุ่มทุนจากสิงคโปร์ ในนามบริษัท เฟรเซอร์ (ไทยแลนด์) พีทีอี แอลทีดี

บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน)


1. กลุ่มธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อขาย บริษัท บริษัทย่อย และบริษัทร่วม ดำเนินธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อขายเป็นหลัก บริษัท บริษัทย่อยและบริษัทร่วมได้พัฒนา โครงการเพื่ออยู่อาศัยประเภทบ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ และคอนโดมิเนียมแนวราบ โดยทั้งบริษัท บริษัทย่อย และบริษัทร่วมจะมีแนวนโยบาย ในการบริหารงานและว่าจ้างผู้รับเหมาก่อสร้างบ้านตามแบบที่กำหนด และมีการควบคุมการก่อสร้างโดยการจัดส่งวิศวกรและสถาปนิกของ บริษัทเข้าไปตรวจสอบคุณภาพในทุกขั้นตอน ปัจจุบันโครงการของบริษัท บริษัทย่อย และ บริษัทร่วมจะอยู่ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล บริษัทมีนโยบายพิจารณาขยายการลงทุน ไปในเขตพื้นที่ต่างจังหวัดที่มีศักยภาพ ในภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคตะวันออก และ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาและ ศึกษาความเป็นไปได้ บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน) (บริษัท) บริษัทประกอบธุรกิจประเภทบ้านจัดสรร และ คอนโดมิเนียมแนวราบ โดย ณ 31 ธันวาคม 2552 บริษัทมีโครงการที่อยู่ระหว่างการ พัฒนา รวมทั้งสิ้น 12 โครงการ มูลค่าโครงการคงเหลือรวมทั้งสิ้น 17,638 ล้านบาท และมีโครงการใหม่ที่จะเปิดขายในปี 2553 อีก 6 โครงการ คิดเป็นมูลค่ารวมทั้งสิ้น 12,795 ล้านบาท บริษัท เอสเตท เพอร์เฟ็คท์ จำกัด (บริษัทย่อย) บริษัท เอสเตท เพอร์เฟ็คท์ จำกัด ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 100/1 อาคารวรสมบัติ ชั้น 17 ถนนพระราม 9 แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร ประกอบธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ประเภทบ้านจัดสรร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อขยายการลงทุนด้านฝั่งตะวันออกของ กรุงเทพฯ เอสเตทฯ มีทุนจดทะเบียน 1,000 ล้านบาท และเป็นทุนจดทะเบียนชำระแล้ว 1,000 ล้านบาท คิดเป็นหุ้นสามัญ 100 ล้านหุ้นมูลค่า ที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท โดยบริษัทมีสัดส่วนการถือหุ้น 100 % ปัจจุบันเอสเตทฯ มีโครงการที่อยู่ระหว่างการพัฒนา 2 โครงการ ณ 31 ธันวาคม 2552 มีมูลค่าโครงการคงเหลือรวม 2,675 ล้านบาท ในปี 2553 บริษัทมีแผนขยายการลงทุนในโครงการขนาดเล็ก 30-40 ไร่ ในทำเลต่างที่มีศักยภาพในรูปแบบทาวน์เฮ้าส์ ระดับราคา 1.8- 2 ล้านบาท จำนวน 5 โครงการ ภายใต้แบรนด์ Estate Villa คิดเป็นมูลค่ารวมทั้งสิ้น 3,713 ล้านบาท เพื่อเพิ่มส่วนแบ่งตลาดในกลุ่มของ ทาวน์เฮ้าส์ ทั้งนี้ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน) ครั้งที่ 1/2553 วันที่ 22 มกราคม 2553 มีมติให้เพิ่มทุนใน เอสเตทฯ จากทุนจดทะเบียนเดิม 1,000,000,000 บาท เป็นทุนจดทะเบียน 1,200,000,000 บาท โดยการออกหุ้นสามัญใหม่จำนวน 20,000,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท บริษัท ไบรท์ ดีเวลลอปเมนท์ กรุงเทพ จำกัด (บริษัทย่อย) บริษัท ไบรท์ ดีเวลลอปเมนท์ กรุงเทพ จำกัด (“ไบรท์”) ตั้งอยู่ที่เลขที่ 100/1 อาคารวรสมบัติ ชั้น 17 ถนนพระราม 9 แขวงห้วยขวาง เขต ห้วยขวาง กรุงเทพฯ ก่อตั้งขึ้นตามมติที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทครั้งที่ 4/2550 วันที่ 30 เมษายน 2550 ด้วยทุนจดทะเบียน 1,000,000 บาท และบริษัทถือหุ้นร้อยละ 99.94 ประกอบธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ประเภทคอนโดมิเนียม

รายงานประจำปี 2552


ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน) ครั้งที่ 6/2552 วันที่ 12 พฤศจิกายน 2552มีมติเพิ่มทุนทุนจด ทะเบียนจากเดิม 1,000,000 บาท เป็น 500,000,000 บาท ซึ่งมีมติให้บริษัทลงทุนในหุ้นสามัญเพิ่มทุนของไบรท์ จำนวน 4,990,000 หุ้น ใน ราคาหุ้นละ 100 บาท หลังการเรียกชำระค่าหุ้นเพิ่มทุนแล้วจะทำให้บริษัทถือหุ้นร้อยละ 99.99 และปัจจุบันอยู่ระหว่างการจดทะเบียนเพิ่ม ทุน ปัจจุบันมีโครงการเปิดขาย 1 โครงการ คือ เมโทร สกาย รัชดา เฟส1 มีมูลค่าโครงการ ณ 31 ธันวาคม 2552 คงเหลือ 753 ล้านบาท ใน ปี 2553 มีแผนลงทุนในโครงการคอนโดมิเนียมแนวราบ ภายใต้แบรนด์ Uniloft ระดับราคา 1-2 ล้านบาท ใกล้แหล่งชุมชน และมหาวิทยาลัย จำนวน 3 โครงการ คิดเป็นมูลค่ารวมทั้งสิ้น 4,500 ล้านบาท บริษัท กรุงเทพบ้านและที่ดิน จำกัด (มหาชน) (บริษัทร่วม) บริษัท กรุงเทพบ้านและที่ดิน จำกัด (มหาชน) (“กรุงเทพบ้านฯ”) ก่อตั้งเมื่อปี 2527 ประกอบธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ โดยเน้นการ พัฒนาโครงการในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล โครงการที่ประสบความสำเร็จในอดีต ได้แก่ โครงการมณียา 2 โครงการมณียา 3 และ โครงการบ้านราชพฤกษ์ เกษตร-นวมินทร์ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 กรุงเทพบ้านฯ มีโครงการที่อยู่ระหว่างการพัฒนารวม 10 โครงการ มูลค่าโครงการคงเหลือรวม 7,696 ล้านบาท และโครงการที่จะเปิดในปี 2553 มูลค่ารวม 2,160 ล้านบาท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 กรุงเทพบ้านฯ มีทุนจดทะเบียน 2,230 ล้านบาท และมีทุนจดทะเบียนชำระแล้ว 1,780 ล้านบาท คิดเป็นหุ้น สามัญ 178 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท โดยบริษัทมีสัดส่วนการถือหุ้นร้อยละ 20.22 ปัจจุบัน คณะกรรมการของกรุงเทพบ้านฯ มีจำนวน 13 คน โดยมี นายชายนิด โง้วศิริมณี เป็นกรรมการของบริษัท และเป็นกรรมการของ กรุงเทพบ้านฯ ในฐานะที่บริษัทถือหุ้นกรุงเทพบ้านฯ บริษัท เซ็นเตอร์พ้อยท์ ช็อปปิ้ง มอลล์ จำกัด (บริษัทย่อย) บริษัท เซ็นเตอร์พ้อยท์ ช็อปปิ้ง มอลล์ จำกัด (“เซ็นเตอร์พ้อยท์”) ตั้งอยู่ที่เลขที่ 100/1 อาคารวรสมบัติ ชั้น 17 ถ.พระราม 9 แขวง ห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ ก่อตั้งขึ้นในเดือนธันวาคม 2550 ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทครั้งที่ 8/2550 วันที่ 24 กันยายน 2550 โดยมีทุนจดทะเบียน 1,000,000 บาท มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 100 บาท และได้เรียกชำระค่าหุ้นทั้งจำนวนแล้ว และมีวัตถุประสงค์เพื่อ บริหารและพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์ เช่น ศูนย์การค้า อาคารสำนักงานให้เช่า เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2553 ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน) มีมติอนุมัติให้บริษัทซื้อหุ้นสามัญของ เซ็นเตอร์พ้อยท์จำนวน 4,000 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 40 จาก บริษัท ทิมเบอร์ไลน์ อินเวสเม้นท์ พีทีอี จำกัด ซึ่งจะทำให้จำนวนหุ้นที่บริษัทถืออยู่ ทั้งหมดภายหลังจากการซื้อหุ้นสามัญเท่ากับจำนวน 9,999 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 99.99 โดยมีวัตถุประสงค์ในการซื้อ เพื่อให้เซ็นเตอร์พ้อยท์เป็น บริษัทย่อยที่บริษัทถือหุ้นทั้งร้อยละ 100 ปัจจุบันยังไม่ได้ดำเนินการ

บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน)


2. กลุ่มธุรกิจบริการ บริษัท เพอร์เฟค แซทเทลไลท์ เซอร์วิสเซส จำกัด บริษัท เพอร์เฟค แซทเทลไลท์ เซอร์วิสเซส จำกัด ก่อตั้งเมื่อเดือนมีนาคม 2547 เพื่อประกอบธุรกิจบริหารสถานออกกำลังกายและสโมสร ของโครงการต่างๆ ของบริษัทในกลุ่ม ปัจจุบันมีทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท โดยมีบริษัทเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ในสัดส่วนร้อยละ 99.98 บริษัท เรียลเซอร์วิส จำกัด บริษัท เรียลเซอร์วิส จำกัด ก่อตั้งเมื่อปี 2538 เพื่อประกอบธุรกิจรับเหมาก่อสร้างและรับซ่อมแซมและบำรุงรักษาบ้านของลูกค้าใน โครงการที่บริษัทพัฒนาขึ้น โดยดำเนินการรับซ่อมแซมบ้านและเก็บความเรียบร้อยของงานก่อสร้างบ้านต่อจากผู้รับเหมาหลักของบริษัท ก่อนจะส่งมอบหรือโอนบ้านให้ลูกค้า ซึ่งเป็นการรับจ้างโดยตรงจากผู้รับเหมาหลักของบริษัท ทำให้ผู้รับเหมาหลักสามารถปิดงานก่อสร้างได้ เร็วขึ้น ส่งผลให้บริษัทสามารถรับรู้รายได้จากการรับโอนบ้านของลูกค้าตามโครงการต่างๆ ได้เร็วยิ่งขึ้น ปัจจุบันบริษัท เรียลเซอร์วิส จำกัด เป็นบริษัทร่วม มีทุนจดทะเบียน 40 ล้านบาท แบ่งออกเป็นหุ้นสามัญ 400,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 100 บาท โดยบริษัทมีสัดส่วนการถือหุ้น ร้อย ละ 19 ซึ่งปัจจุบันได้หยุดดำเนินกิจการแล้ว

โครงสร้างรายได้รวมการจำหน่ายผลิตภัณฑ์หลักจำแนกตามผลิตภัณฑ์ รายได้หลักของบริษัทมาจากรายได้จากการขายบ้านพร้อมที่ดิน โดยโครงการของกลุ่มบริษัทจะเน้นบ้านเดี่ยว เป็นหลัก โครงสร้างรายได้ ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาของบริษัท ปรากฏดังนี้

2552 ล้านบาท % รายได้จากการขายบ้านพร้อมที่ดิน 5,073.4 85.3% รายได้จากการขายหน่วยในอาคารชุดพักอาศัย 778.5 13.1% รายได้จากการขายที่ดินรอพัฒนา - - รายได้อื่น ดอกเบี้ยรับ 0.6 - รายได้จากการรับเงินจอง 8.5 0.1% โอนกลับค่าเผื่อผลขาดทุนจากการด้อยค่าของต้นทุน การพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ - - อื่น ๆ 86.8 1.5% รายได้รวม 5,947.8 100.0%

งบการเงินรวม 2551 2550 ล้านบาท % ล้านบาท % 5,420.1 71.2% 4,697.1 74.3% 2,109.5 27.7% 1,469.5 23.2% 8.6 0.1% 99.3 1.6% 1.6 - 1.4 - 14.5 0.2% 11.6 0.2% - 63.3 7,617.6

- - 0.8% 42.6 100.0% 6,321.5

- 0.7% 100.0%

ในระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา บริษัทมีรายได้จากการขายบ้านพร้อมที่ดิน จากงบการเงินรวมของบริษัทในปี 2550 ถึงปี 2552 คิดเป็นร้อยละ 74.3 ร้อยละ 71.2 และร้อยละ 85.3 ของรายได้รวม และในปี 2550 - 2552 บริษัทยังมีรายได้จากการขายหน่วยในอาคารชุดพักอาศัย คิดเป็น ร้อยละ 23.2 ร้อยละ 27.7 และร้อยละ 13.1 ของรายได้รวม นอกจากนี้ตามงบกำไรขาดทุนรวมยังมีส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนในบริษัทร่วม ซึ่งแสดงไว้ถัดจากค่าใช้จ่ายทางการเงิน จำนวน 12 ล้านบาท จำนวน 8 ล้านบาท และ 3 ล้านบาท ในปี 2550 - 2552 รายได้จากการขายบ้านพร้อมที่ดิน และรายได้จากการขายหน่วยในอาคารชุดพักอาศัย จากโครงการต่าง ๆ มีรายละเอียดดังนี้

รายงานประจำปี 2552

10


โครงสร้างรายได้จากการขายบ้านพร้อมที่ดิน จำแนกตามผลิตภัณฑ์ ชื่อโครงการ

ลักษณะ โครงการ

ปี 2552 ล้านบาท %

ปี 2551 ล้านบาท %

ปี 2550 ล้านบาท %

แบรนด์ “มาสเตอร์พีซ” มณียา มาสเตอร์พีช SDH - - - - 76 2% มณียา มาสเตอร์พีช เอ็กซ์คลูซีฟโซน SDH 12 - - - 101 2% เพอร์เฟค มาสเตอร์พีช เอกมัย - รามอินทรา SDH 169 3% 412 8% 845 18% เพอร์เฟค มาสเตอร์พีช รัตนาธิเบศร์ SDH 202 4% 407 7% 147 3% เพอร์เฟค มาสเตอร์พีช รามคำแหง-สุวรรณภูมิ SDH 52 1% - - - - เพอร์เฟค มาสเตอร์พีช พระราม 9 SDH 455 9% - - - - เพอร์เฟค มาสเตอร์พีช สุขุมวิท 77** SDH 160 3% - - - - แบรนด์ “เพอร์เฟค เพลส” เพอร์เฟค เพลส รัตนาธิเบศร์ SDH/Land - - - - 22 0% เพอร์เฟค เพลส เฟส 1 รัตนาธิเบศร์ SDH 423 8% 504 9% 292 6% เพอร์เฟค เพลส รามคำแหง 1,2,3 SDH/Land - - - - 8 0% เพอร์เฟค เพลส รามคำแหง (เลคไซด์โฮม) SDH - - 9 - - - เพอร์เฟค เพลส รามคำแหง– สุวรรณภูมิ (โคโลเนียลโซน) SDH - - 224 4% - - เพอร์เฟค เพลส รามคำแหง – สุวรรณภูมิ (การ์เด้นโซน) SDH - - - - 26 1% เพอร์เฟค เพลส รามคำแหง – สุวรรณภูมิ (ไพรเวทโซน) SDH 301 6% 612 11% 223 5% เพอร์เฟค เพลส พระราม 5– ราชพฤกษ์ SDH 57 1% 486 9% 461 10% เพอร์เฟค เพลส เฟส 2 รัตนาธิเบศร์ SDH 17 - - - - - เพอร์เฟค เพลส ราชพฤกษ์ SDH 279 6% - - - - เพอร์เฟค เพลส รามคำแหง– สุวรรณภูมิ (เลค โซน) SDH 166 3% - - - - เพอร์เฟค เพลส สุขุมวิท 77-สุวรรณภูมิ ** SDH 483 10% 638 12% 553 12% แบรนด์ “มณีรินทร์ / เพอร์เฟค พาร์ค” มณีรินทร์ เลค & พาร์ค ราชพฤกษ์-ติวานนท์ SDH/Land 212 4% 300 6% 377 8% มณีรินทร์ เอ็กซ์คลูซีฟ รังสิต SDH - - 4 - - - มณีรินทร์ เลค & ลากูน SDH/ Land - - - - - - มณีรินทร์ พาร์ค รังสิต SDH - - 6 - 93 2% มณีรินทร์ พาร์ค รัตนาธิเบศร์ SDH - - 10 - 51 1% มณีรินทร์ พาร์ค 2 รังสิต SDH 11 - 145 3% 135 3% เพอร์เฟค พาร์ค รัตนาธิเบศร์ SDH - - - - 158 3% เพอร์เฟค พาร์ค รามคำแหง- สุวรรณภูมิ SDH 8 - 146 3% 243 5% เพอร์เฟค พาร์ค พระราม 5-บางใหญ่ SDH 599 12% 684 13% 462 10% เพอร์เฟค พาร์ค สุวรรณภูมิ ** SDH 363 7% 67 1% - - อื่น ๆ มณียา 4 SDH 5 - - - - - นันทนาการ์เด้น รังสิต TH - - 3 - - - แบรนด์ “เดอะ วิลล่า / เดอะ เมทโทร” เดอะ วิลล่า รัตนาธิเบศร์ TH 477 10% 590 11% 424 9% เดอะ เมทโทร พระราม 9 TH 512 10% 173 3% - - เดอะ เมทโทร สาทร TH 110 3% 173 3% - - รายได้จากการขายบ้านพร้อมที่ดิน รวม 5,073 100% 5,420 100% 4,697 100% หมายเหตุ : SDH = บ้านเดี่ยว, TH = ทาวน์เฮ้าส์, Land = ที่ดินเปล่า ** พัฒนาโครงการในนาม บริษัท เอสเตท เพอร์เฟ็คท์ จำกัด ซึ่งบริษัทถือหุ้นอยู่ 100 %

บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน)

11


รายได้จากการขายบ้านพร้อมที่ดินที่ปรากฏในงบการเงินรวมของบริษัท เป็นรายได้รวมจากโครงการที่ดำเนินงานภายใต้ บมจ. พร็อพ เพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำนวน 4,144 ล้านบาท จำนวน 4,715 ล้านบาท และจำนวน 4,067 ล้านบาท ในปี 2550 - 2552 ตามลำดับ และเป็นราย ได้จากบริษัทย่อย จำนวน 553 ล้านบาท จำนวน 705 ล้านบาท และจำนวน 1,006 ล้านบาท ในปี 2550 - 2552 ตามลำดับ โครงสร้างรายได้จากการขายหน่วยในอาคารชุดพักอาศัย จำแนกตามผลิตภัณฑ์ ชื่อโครงการ ลักษณะ ปี 2552 ปี 2551 ปี 2550 โครงการ ล้านบาท % ล้านบาท % ล้านบาท % แบรนด์ “เมโทร พาร์ค” เมโทร พาร์ค สาทร CvONDO 779 100% 2,109 100% 1,470 100% รายได้จากการขายหน่วยในอาคารชุดพักอาศัย รวม 779 100% 2,109 100% 1,470 100% รายได้จากการขายบ้านหน่วยในอาคารชุดพักอาศัยที่ปรากฏในงบการเงินรวมของบริษัท ในปี 2550 - 2552 เป็นรายได้รวมจากโครงการ ที่ดำเนินงานภายใต้ บมจ. พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำนวน 1,470 ล้านบาท 2,109 ล้านบาท และ 779 ล้านบาท ตามลำดับ

การเปลี่ยนแปลงที่ผ่านมา จากผลวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศในช่วงปี 2540 บริษัทประสบปัญหาทางการดำเนินธุรกิจเช่นเดียวกับผู้ประกอบพัฒนา อสังหาริมทรัพย์อื่นๆ ในประเทศ โดยในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2544 ศาลล้มละลายกลางได้มีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ และในวันที่ 2 ตุลาคม 2544 ศาลล้มละลายกลางได้มีคำสั่งเห็นชอบกับแผนฟื้นฟูกิจการของบริษัทและมีบริษัท เอเชียน อินเตอร์เนชั่นแนล แพลนเนอร์ส จำกัด เป็นผู้จัด ทำและผู้บริหารแผน ทั้งนี้บริษัทสามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขในการฟื้นฟูกิจการและปรับโครงสร้างหนี้ได้อย่างครบถ้วนและได้ยื่นคำขอออก จากกระบวนการฟื้นฟูกิจการต่อศาล ส่งผลให้ในวันที่ 12 เมษายน 2547 ศาลล้มละลายกลางได้มีคำสั่งยกเลิกการฟื้นฟูกิจการ ในปี 2551 บริษัทได้ดำเนินการจ่ายชำระหนี้ให้กับเจ้าหนี้ตามแผนฟื้นฟู แต่มีเจ้าหนี้ที่สามารถรับชำระหนี้ได้ในระหว่างปี 2551 เป็น จำนวนเงิน 383 ล้านบาท ในปี 2552 บริษัทได้จ่ายชำระหนี้เพิ่มเติมให้กับเจ้าหนี้อีกเป็นจำนวนเงิน 138 ล้านบาทเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2552 และ จ่ายชำระหนี้อีกเป็นจำนวน 65 ล้านบาท เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2552 และต่อมาได้จ่ายชำระหนี้อีกเป็นจำนวน 26 ล้านบาท รวม จ่ายชำระหนี้ให้กับเจ้าหนี้ระหว่างปีเป็นจำนวนเงิน 229 ล้านบาท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 บริษัทมีเจ้าหนี้ส่วนที่เหลือจำนวนเงิน 37 ล้านบาท อยู่ในระหว่างการดำเนินการเพื่อให้เจ้าหนี้สามารถรับชำระหนี้จากบริษัทได้

การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการที่สำคัญภายหลังการออกจากกระบวนการฟื้นฟูกิจการ ปี 2551 : ที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2551 วันที่ 30 เมษายน 2551 มีมติอนุมัติ ดังนี้ • อนุมัติการออกและเสนอขายหุ้นกู้ทุกประเภทและรูปแบบ (มีหลักประกันหรือไม่มีหลักประกัน) ภายในวงเงินไม่เกิน 2,000 ล้านบาท อายุไม่เกิน 5 ปี เสนอขายภายในประเทศต่อประชาชนทั่วไป และ/หรือนักลงทุนประเภทสถาบัน และ/หรือ นัก ลงทุนเฉพาะเจาะจง ทั้งหมดหรือบางส่วน ทั้งภายในประเทศและ/หรือต่างประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเงินที่ได้จาก การเสนอขายไปซื้อที่ดินพัฒนาโครงการ ชำระหนี้ที่มีต้นทุนทางการเงินสูง และเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนของบริษัท • 21 มกราคม 2551 บริษัทได้จัดตั้งกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค (“กองทุนฯ”) มูลค่าหน่วยลงทุนของ กองทุนฯ มีจำนวน 520 ล้านบาท โดยเป็นการลงทุนซื้อที่ดิน และบ้านพักอาศัยประเภทบ้านเดี่ยว 2 ชั้นจำนวน 64 หลัง และประกันรายได้ขั้นต่ำเป็นระยะเวลา 5 ปี นอกจากนั้นบริษัทได้ลงทุนในกองทุนฯ ในสัดส่วนร้อยละ 5.73 ของมูลค่า หน่วยลงทุน และเพิ่มการลงทุนในกองทุนฯ เป็นสัดส่วนร้อยละ 6.24 (ณ 31 ธันวาคม 2551) ที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2551 วันที่ 20 มิถุนายน 2551 มีมติอนุมัติ ดังนี้ • ให้บริษัทยกเลิกการออกและเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญในส่วนที่เหลือจำนวน 15 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา ตามที่เคยได้รับอนุมัติจากที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นของบริษัทครั้งที่ 1/2548 เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2548 • ยกเลิกการออกและจัดสรรหุ้นสามัญจำนวน 39,000,000 หุ้นที่ได้สำรองไว้เพื่อรองรับการใช้สิทธิซื้อหุ้นสามัญของผู้ถือใบ สำคัญแสดงสิทธิที่บริษัทออกและเสนอขายให้แก่กรรมการ และ/หรือ พนักงานของบริษัทตามโครงการ ESOP • ลดทุนจดทะเบียนจากทุนจดทะเบียนเดิม 6,213.56 ล้านบาท เป็นทุนจดทะเบียน 5,589.56 ล้านบาท คิดเป็นหุ้นสามัญ จำนวน 931.59 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 6 บาท

รายงานประจำปี 2552

12


• •

อนุมัติการออกและเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญของบริษัทในวงเงินไม่เกิน 30 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา หรือ เทียบเท่าเงินบาทไทยเป็นจำนวนเงินไม่เกิน 1,000 ล้านบาท อายุหุ้นกู้แปลงสภาพไม่เกิน 5 ปี เพื่อเสนอขายผู้ลงทุน ประเภทสถาบันต่างประเทศ หรือ ผู้ลงทุนประเภทสถาบันในประเทศ เพิ่มทุนจดทะเบียน จากทุนจดทะเบียนเดิม 5,589.56 ล้านบาท เป็นทุนจดทะเบียน 6,552.00 ล้านบาท โดยการออกหุ้น สามัญใหม่จำนวน 160.40 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 6 บาท เพื่อรองรับการใช้สิทธิแปลงสภาพหุ้นกู้เป็นหุ้นสามัญตาม ที่ที่ประชุมวิสามัญที่มีมติอนุมัติไว้แล้ว

ปี2552 : ที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2552 วันที่ 30 เมษายน 2552 มีมติอนุมัติ ดังนี้ • ที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีมติให้จัดสรรกำไรส่วนหนึ่งเป็นเงินสำรองตามกฎหมาย จำนวน 40 ล้านบาทและอนุมัติจ่ายเงินปันผล ในอัตราหุ้นละ 0.36 บาทรวมเป็นเงิน 283,579,783.20 บาท โดยกำหนดรายชื่อผู้ถือหุ้นที่มีสิทธิได้รับเงินปันผลในวันที่ 14 พฤษภาคม 2552 (Record Date) และให้รวบรวมรายชื่อผู้ถือหุ้นตามมาตรา 225 ของพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 โดยวิธีปิดสมุดทะเบียนในวันที่ 15 พฤษภาคม 2552 เป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินปันผล และบริษัท จะจ่ายเงินปันผลภายในวันที่ 30 พฤษภาคม 2552 • ที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีมติให้บริษัทจ่ายเงินค่าตอบแทนพิเศษ(โบนัส)สำหรับผลการดำเนินงานปี 2551 ให้แก่คณะกรรมการ บริษัทในวงเงินไม่เกิน 15 ล้านบาทโดยมอบหมายให้ประธานกรรมการเป็นผู้พิจารณาจัดสรรเงินค่าตอบแทน • ที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีมติเลือกตั้งให้ - นายวิทยา เนติวิวัฒน์ และนางสาวศิริรัตน์ วงศ์วัฒนา และนายออย บูน อัน ซึ่งเป็นกรรมการที่ออกจากตำแหน่งตาม กำหนดวาระ กลับเข้าดำรงตำแหน่งกรรมการของบริษัทใหม่อีกวาระหนึ่ง - นายสมศักดิ์ โตรักษา ซึ่งเป็นกรรมการที่ออกจากตำแหน่งตามวาระในครั้งนี้กลับเข้าดำรงตำแหน่งกรรมการ กรรมการ อิสระ และกรรมการตรวจสอบ โดยมีวาระการดำรงตำแหน่งเป็นเวลา 3 ปี นับแต่วันที่ได้รับการเลือกตั้งจากที่ประชุม สามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2552 เป็นต้นไป • ที่ประชุมผู้ถือหุ้นได้มีมติอนุมัติให้จ่ายเงินค่าตอบแทนในรูปเบี้ยประชุมให้แก่คณะกรรมการบริษัทประจำปี 2552 ภายใน วงเงินไม่เกิน 7.5 ล้านบาท • ที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีมติอนุมัติแต่งตั้งให้ผู้สอบบัญชีของบริษัท สำนักงาน เอินส์ท แอนด์ ยัง จำกัด โดยนายณรงค์ พันตาวงษ์ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตทะเบียนเลขที่ 3315 และ/หรือนางสาวทิพวัลย์ นานานุวัฒน์ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตทะเบียนเลขที่ 3459 และ/หรือนางสาวศิราภรณ์ เอื้ออนันต์กุล ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตทะเบียนเลขที่ 3844 เป็นผู้สอบบัญชีของบริษัท ประจำปี 2552 และกำหนดเงินค่าตอบแทนให้ผู้สอบบัญชีภายในวงเงินไม่เกิน1.65 ล้านบาท

บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน)

13


ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 4/2552 วันที่ 14 กรกฎาคม 2552 • มีมติให้ดำเนินการตรวจสอบสถานะทางทรัพย์สินและหนี้สิน (Due Diligence) ของบริษัทแห่งหนึ่ง โดยคณะกรรมการได้ พิจารณาเห็นควรในการเข้าครอบงำกิจการด้วยวิธีซื้อหุ้นของบริษัท ในวงเงินไม่เกิน 500 ล้านบาท ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 5/2552 วันที่ 14 สิงหาคม 2552 • มีมติให้บริษัทออกตั๋วแลกเงินระยะสั้น (Bill of Exchange) เสนอขายแก่นักลงทุนสถาบัน ผู้ลงทุนรายใหญ่ หรือนักลงทุน ทั่วไป ซึ่งตั๋วจะมีอายุไม่เกิน 1 ปี มูลค่าไม่เกิน 1,000 ล้านบาท ในอัตราดอกเบี้ยตามภาวะตลาดในช่วงที่ทำการเสนอขาย เพื่อเพิ่มแหล่งเงินทุนในการดำเนินงานของบริษัท ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 6/2552 วันที่ 12 พฤศจิกายน 2552 • มีมติให้บริษัทออกตั๋วแลกเงินระยะสั้น (Bill of Exchange) เสนอขายแก่นักลงทุนสถาบัน ผู้ลงทุนรายใหญ่ หรือนักลงทุน ทั่วไป ซึ่งตั๋วจะมีอายุไม่เกิน 1 ปี มูลค่าไม่เกิน 1,000 ล้านบาท ในอัตราดอกเบี้ยตามภาวะตลาดในช่วงที่ทำการเสนอขาย เพื่อเพิ่มแหล่งเงินทุนในการดำเนินงานของบริษัท

รายงานประจำปี 2552

14


โครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการ 1. ผู้ถือหุ้น ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ รายชื่อกลุ่มผู้ถือหุ้นของบริษัทที่ถือหุ้นสูงสุด 10 อันดับแรก ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 ปรากฏดังนี้

ลำดับ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10

รายชื่อผู้ถือหุ้น 10 อันดับแรก บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เพื่อผู้ฝาก บริษัท แจแปนเอเชีย กรุ๊ป จำกัด /1 Thailand Securities Depository Company Limited For Depositors บริษัท เอ็มเจแอล อินเตอร์เทรด จำกัด /2 บริษัท สำนักกฎหมายนทีอินเตอร์แนทชั่นแนล จำกัด /3 Japan Asia Group Limited น.ส.สุมาลี หวังประกอบสุข นายปราโมทย์ เริ่มยินดี นายวิทยา เนติวิวัฒน์ บริษัท กรุงเทพบ้านและที่ดิน จำกัด (มหาชน)

จำนวนหุ้น (หุ้น) 491,800,238 84,776,944 51,691,553 45,910,827 37,018,928 12,467,224 11,385,000 11,385,000 10,580,000 9,200,000

ร้อยละ 62.43 10.76 6.56 5.83 4.70 1.58 1.45 1.45 1.34 1.17

ข้อมูลจาก: บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด

หมายเหตุ : /1 บริษัท แจแปนเอเชีย กรุ๊ป จำกัด ได้เข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัท เนื่องจากเป็นเจ้าหนี้บริษัทตามแผนฟื้นฟูกิจการ และได้ ดำเนินการแปลงหนี้เป็นทุนตามขั้นตอนในแผนฟื้นฟูกิจการ /2 บริษัท เอ็มเจแอล อินเตอร์เทรด จำกัด ได้เข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัท เนื่องจากเป็นเจ้าหนี้บริษัท ตามแผนฟื้นฟูกิจการ และได้ดำเนินการแปลงหนี้เป็นทุนตามขั้นตอนใน แผนฟื้นฟูกิจการ /3 บริษัท สำนักกฎหมายนทีอินเตอร์แนทชั่นแนล จำกัด ได้เข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัท ในฐานะตัวแทนเจ้าหนี้ที่มีสิทธิโดย ชอบตามแผนฟื้นฟูกิจการของบริษัท กรณีผู้ถือหุ้นสัญชาติต่างด้าวที่ถือหุ้นในบริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด (NVDR) ผู้ถือหุ้น NVDR ดังกล่าวจะมีสิทธิได้รับประโยชน์เช่น เดียวกับผู้ถือหุ้น แต่จะไม่มีสิทธิในการออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหุ้น (เว้นแต่กรณีการใช้สิทธิการออกเสียงเพื่อลงมติเพื่อการเพิกถอนหุ้นออก จากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ) ทั้งนี้ในการตรวจสอบจำนวนหุ้นที่ถูกออกเป็น NVDR นั้น สามารถ ตรวจสอบได้จากเว็บไซท์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย คือ www.set.or.th รายงานการกระจายการถือหุ้นตามสัญชาติ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 นิติบุคคล บุคคลธรรมดา ผู้ถือหุ้น ราย หุ้น % ราย จำนวนหุ้น % ราย จำนวนหุ้น % สัญชาติไทย 223 637,238,095 80.90 12 588,517,012 74.71 211 48,721,083 6.19 สัญชาติต่างด้าว 8 150,483,525 19.10 3 148,935,721 18.91 5 1,547,804 0.19 รวม 231 787,721,620 100.00 15 737,452,733 93.62 216 50,268,887 6.38 ข้อมูลจาก: บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด

2. การจัดการ โครงสร้างการจัดการ ปัจจุบัน โครงสร้างการจัดการของบริษัท ประกอบด้วยคณะกรรมการบริษัท 1 คณะ และคณะอนุกรรมการ 5 คณะ ได้แก่ คณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการสรรหาชื่อบุคคลเพื่อเสนอเป็นกรรมการบริษัท คณะกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนและ ทรัพยากรมนุษย์ คณะกรรมการบริหาร และ คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง รวม 6 ชุด ดังมีรายละเอียดต่อไปนี้

บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน)

15


(ก) คณะกรรมการบริษัท คณะกรรมการบริษัท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 ประกอบด้วย ลำดับ รายชื่อกรรมการ ตำแหน่ง 1 ดร.ธวัชชัย นาคะตะ ประธานกรรมการ 2 นายชายนิด โง้วศิริมณี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร 3 นายไพรัตน์ เสนาจักร์ กรรมการ 4 นายวิทยา เนติวิวัฒน์ กรรมการ 5 นายเดวิด ไบรซ์ ฟาน ออฟเพน กรรมการ 6 นายออย บูน อัน กรรมการ 7 นางสาวศิริรัตน์ วงศ์วัฒนา กรรมการ 8 นายวีระยุค พันธุเพชร กรรมการ กรรมการอิสระ และประธานกรรมการตรวจสอบ 9 นายสมศักดิ์ โตรักษา กรรมการ กรรมการอิสระ และกรรมการตรวจสอบ 10 ดร.ธรรมนูญ อานันโทไทย กรรมการ กรรมการอิสระ และกรรมการตรวจสอบ 11 นางเนื้อนวล สวัสดิกุล ณ อยุธยา * กรรมการ กรรมการอิสระ โดยมี นายปราโมทย์ เริ่มยินดี เป็นเลขานุการคณะกรรมการบริษัท หมายเหตุ * ได้รับการแต่งตั้ง ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2552 กรรมการผู้มีอำนาจลงนาม กรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพันบริษัทประกอบด้วย 1) ดร.ธวัชชัย นาคะตะ ลงลายมือชื่อร่วมกับนายชายนิด โง้วศิริมณี และประทับตราสำคัญของบริษัท 2) ดร.ธวัชชัย นาคะตะ หรือนายชายนิด โง้วศิริมณี ลงลายมือชื่อร่วมกับนายไพรัตน์ เสนาจักร์ หรือ นางสาวศิริรัตน์ วงศ์วัฒนา รวมเป็นสองคนและประทับตราสำคัญของบริษัท 3) ดร.ธวัชชัย นาคะตะ หรือนายชายนิด โง้วศิริมณี หรือนายไพรัตน์ เสนาจักร์ หรือนางสาวศิริรัตน์ วงศ์วัฒนา ลงลายมือชื่อและ ประทับตราสำคัญของบริษัท เฉพาะในเรื่องดังต่อไปนี้ (ก) การดำเนินการใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับน้ำประปา ไฟฟ้า โทรศัพท์ การขอโอนและรับโอนสิทธิการใช้ไฟฟ้า น้ำประปา โทรศัพท์ (ข) การดำเนินการใด ๆ ที่เกี่ยวกับการขออนุญาตปลูกสร้างอาคาร การขอเลขหมายประจำบ้าน การขอเชื่อมทาง การ เชื่อมท่อระบายน้ำ การเปิดใช้อาคาร (ค) การขอนุญาตเพื่อดำเนินการใด ๆ กับกรมที่ดินหรือหน่วยงานราชการอื่นใดเกี่ยวกับการค้าที่ดิน การจัดสรรที่ดิน การแก้ไขผังจัดสรรที่ดินและโครงการและวิธีจัดสรรที่ดิน การรังวัดที่ดินทุกประเภท การชี้แนวเขตและรับรองแนวเขต ที่ดิน การรวมและแบ่งแยกโฉนดที่ดิน การจดทะเบียนอาคารชุดนิติบุคคลอาคารชุด (ง) การยื่นเอกสารและดำเนินการใด ๆ กับกรมสรรพากร รายงานประจำปี 2552

16


ขอบเขตอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริษัท คณะกรรมการบริษัท เป็นผู้มีอำนาจหน้าที่ในการตัดสินใจ และดูแลการดำเนินงานของบริษัทให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ข้อ บังคับ มติประชุมผู้ถือหุ้น และกฎหมาย เว้นแต่การตัดสินใจหรือการดำเนินงานในเรื่องที่ตามกฎหมาย ประกาศ และข้อกำหนดของ คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กำหนดให้ต้องรับการอนุมัติจากที่ ประชุมผู้ถือหุ้น ซึ่งคณะกรรมการบริษัทจะต้องได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นก่อนจึงจะดำเนินการได้ โดยที่ข้อบังคับของบริษัทได้ ให้อำนาจคณะกรรมการบริษัท แต่งตั้งคณะกรรมการบริหาร เพื่อทำหน้าที่ควบคุมการดูแลกิจการรายวันของบริษัทให้เป็นไปตาม แนวนโยบายและงบประมาณที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัท และกิจการอื่นตามที่คณะกรรมการบริษัทมอบหมายซึ่งได้แก่ การอนุมัติการดำเนินงานตามขอบเขตอำนาจที่คณะกรรมการบริษัทได้ให้ไว้ และการกลั่นกรองเรื่องใด ๆ ที่อยู่นอกเหนือขอบเขต อำนาจของตนเพื่อเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการบริษัท นอกจากนี้ ข้อบังคับได้ให้อำนาจคณะกรรมการบริษัท มีสิทธิแต่งตั้ง เจ้าหน้าที่ หรือคณะทำงานอื่น ๆ เพื่อช่วยเหลือคณะกรรมการในการบริหารงานได้ด้วย (ข) คณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการตรวจสอบของบริษัท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 ประกอบด้วยกรรมการอิสระจำนวน 3 คน ดังนี้ ลำดับ รายชื่อ ตำแหน่ง 1 นายวีระยุค พันธุเพชร ประธานกรรมการตรวจสอบ 2 นายสมศักดิ์ โตรักษา กรรมการตรวจสอบ 3 ดร.ธรรมนูญ อานันโทไทย กรรมการตรวจสอบ โดยมี นางสาวดวงพร เริ่มยินดี เป็นเลขานุการคณะกรรมการตรวจสอบ ขอบเขตอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการตรวจสอบ 1. กำกับดูแลการดำเนินงานของบริษัท ให้มีการบริหารงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต โปร่งใส และรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้นของบริษัท 2. ดำเนินการให้เป็นที่มั่นใจว่า กรรมการบริหาร และผู้บริหารของบริษัทได้บริหารงานให้เป็นไปตามนโยบายของบริษัทอย่าง ถูกต้อง ครบถ้วนและมีมาตรฐาน 3. ดูแลรายงานทางการเงินของบริษัทให้ตรงต่อความเป็นจริง ครบถ้วน เพียงพอและเชื่อถือได้ ตลอดจนมีการเปิดเผยข้อมูลที่ ครบถ้วนและเพียงพอโดยการประสานงานกับผู้สอบบัญชีภายนอก และผู้บริหารที่รับผิดชอบจัดทำรายงานทางการเงิน ทั้ง รายไตรมาสและประจำปี หรือตามที่คณะกรรมการบริษัท และ/หรือคณะกรรมการบริหารร้องขอ 4. ดูแลให้บริษัทมีระบบการควบคุมภายในที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ โดยการสอบทานร่วมกับผู้ตรวจสอบภายในและ ผู้สอบบัญชี 5. พิจารณาคัดเลือกผู้สอบบัญชีและกำหนดค่าตอบแทน แล้วเสนอต่อคณะกรรมการเพื่อขออนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น โดยคำนึง ถึ ง ความน่ า เชื ่ อ ถื อ ความเพี ย งพอของทรั พ ยากรบุ ค คล ปริ ม าณการสอบบั ญ ชี ข องสำนั ก งานตรวจสอบบั ญ ชี รวมถึ ง ประสบการณ์ของบุคลากรที่ได้รับมอบหมายให้ทำการตรวจสอบบัญชีบริษัท 6. ดูแลให้บริษัทปฏิบัติตามข้อกำหนดของกฎหมาย สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ตลาดหลัก ทรัพย์แห่งประเทศไทย และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง

บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน)

17


7. ดูแลไม่ให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ โดยการสอบทานการทำรายการระหว่างกันของบุคคลที่เกี่ยวข้องกัน และประสาน งานกับผู้สอบบัญชี รวมถึงพิจารณาการเปิดเผยข้อมูลของบริษัทในกรณีที่เกิดรายการที่เกี่ยวโยงกันหรือรายการที่อาจมีความขัด แย้งทางผลประโยชน์ให้มีความถูกต้องและครบถ้วน 8. จัดทำรายงานการกำกับดูแลของคณะกรรมการตรวจสอบและเปิดเผยไว้ในรายงานประจำปีของบริษัท โดยในรายงานดังกล่าว จะต้องประกอบด้วยข้อมูลอย่างน้อยในเรื่องดังต่อไปนี้ • ความเห็นเกีย่ วกับกระบวนการจัดทำและการเปิดเผยข้อมูลในรายงานทางการเงินของบริษทั ถึงความถูกต้องครบถ้วนและ เชือ่ ถือได้ • ความเห็นถึงความพอเพียงของระบบการควบคุมภายในของบริษัท • เหตุผลที่เชื่อว่า ผู้สอบบัญชีของบริษัทมีความเหมาะสมที่จะได้รับแต่งตั้งต่อไปอีกวาระหนึ่ง • ความเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ หรือ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท • รายงานอื่นใดที่เห็นว่าผู้ถือหุ้นและผู้ลงทุนทั่วไปควรทราบ ภายใต้ขอบเขตหน้าที่และความรับผิดชอบที่ได้รับมอบหมาย จากคณะกรรมการบริษัท 9. พิจารณาแผนงานการตรวจสอบของฝ่ายตรวจสอบภายใน 10. สอบทานหลักฐานการตรวจสอบภายใน หากพบหรือสันนิษฐานว่าอาจมีการทุจริตเกิดขึ้น ตลอดจนถึงความบกพร่องหรือไม่ เพียงพอของระบบการควบคุมภายในและรายงานต่อคณะกรรมการบริษัทเพื่อพิจารณา 11. พิจารณาผลการตรวจสอบของฝ่ายตรวจสอบภายใน ข้อเสนอแนะของผู้สอบบัญชี รวมถึงวิธีการติดตามผล 12. คณะกรรมการตรวจสอบมีอำนาจตรวจสอบ สอบทาน รวมทั้งเชิญกรรมการบริหาร ผู้บริหารที่เกี่ยวข้อง ที่ปรึกษา และผู้สอบ บัญชี มาเข้าร่วมประชุมเพื่อรับทราบข้อมูลอันเป็นประโยชน์ รวมถึงแสวงหาความเห็นที่เป็นอิสระจากที่ปรึกษาทางวิชาชีพอื่นใด เมื่อเห็นว่าจำเป็นด้วยค่าใช้จ่ายของบริษัท เพื่อให้การปฏิบัติงานภายใต้หน้าที่รับผิดชอบสำเร็จลุล่วงด้วยดี 13. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่คณะกรรมการของบริษัทมอบหมาย เช่น การทบทวนนโยบายการบริหารทางการเงินและความเสี่ยง ทบทวนการปฏิบัติตามจรรยาบรรณทางธุรกิจของผู้บริหาร ทั้งนี้ คณะกรรมการตรวจสอบมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 3 ปี หรือเท่ากับวาระที่คงเหลือในคณะกรรมการบริษัท และ จะแต่งตั้งใหม่โดยคณะกรรมการบริษัทเมื่อครบกำหนดวาระ

คุณสมบัติกรรมการอิสระ คุณสมบัติกรรมการอิสระเป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรื่องการขออนุญาตและ การอนุญาตให้เสนอขายหุน้ ทีอ่ อกใหม่ และเป็นไปตามคุณสมบัตกิ รรมการตรวจสอบตามข้อบังคับของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2550 ที่ประชุมคณะกรรมการ ก.ล.ต. ได้มีมติให้ปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับกรรมการอิสระและ กรรมการตรวจสอบของบริษัทจดทะเบียนใหม่ โดยจะกำหนดให้มีผลตั้งแต่การประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปีที่จะจัดขึ้นในปี 2552 เป็นต้นไป แต่เพื่อให้บริษัทมีหลักธรรมาภิบาลที่ดี ฝ่ายบริหารจึงได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมคุณสมบัติกรรมการอิสระให้สอดคล้องกับหลัก เกณฑ์ใหม่ของคณะกรรมการ ก.ล.ต. (ค) คณะกรรมการสรรหาชื่อบุคคลเพื่อเสนอเป็นกรรมการบริษัท คณะกรรมการสรรหาชื่อบุคคลเพื่อเสนอเป็นกรรมการบริษัท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 มีจำนวน 3 คน ดังนี้ ลำดับ รายชื่อ ตำแหน่ง 1 ดร.ธรรมนูญ อานันโทไทย ประธานคณะกรรมการสรรหาฯ 2 นายสมศักดิ์ โตรักษา กรรมการสรรหาฯ 3 นายวิทยา เนติวิวัฒน์ กรรมการสรรหาฯ โดยมี นายปราโมทย์ เริ่มยินดี เป็นเลขานุการคณะกรรมการสรรหา ขอบเขตอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการสรรหาชื่อบุคคลเพื่อเสนอเป็นกรรมการของบริษัท 1. คัดเลือกและสรรหาบุคคลที่มีความเหมาะสมในการเป็นกรรมการบริษัทเพื่อเสนอชื่อผู้ได้รับการคัดเลือกต่อที่ประชุมคณะ กรรมการบริษัท และหรือนำเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อขอมติแต่งตั้งต่อไป 2. การพิจารณาคัดเลือกและสรรหาบุคคลดังกล่าว คณะกรรมการจะต้องพิจารณาถึงคุณวุฒิ ความรู้ ความสามารถ รวมทั้ง ประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องในการเป็นกรรมการบริษัท ซึ่งหัวข้อในการคัดสรรดังกล่าว จะต้องมีส่วนที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนิน

รายงานประจำปี 2552

18


กิจการของบริษัท นอกจากนี้ คณะกรรมการยังต้องพิจารณาถึงคุณสมบัติของผู้ที่จะถูกเสนอชื่อดังกล่าว จะต้องไม่มีลักษณะ ต้องห้ามตามกฎหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คณะกรรมการจะต้องพิจารณาถึงคุณสมบัติของผู้ที่จะเสนอชื่อเป็นกรรมการอิสระ และกรรมการตรวจสอบเป็นพิเศษ 3. ในการคัดสรรผู้เข้าเสนอชื่อในตำแหน่งกรรมการอิสระและกรรมการตรวจสอบนั้น คณะกรรมการสรรหาจะต้องคำนึงถึง (ก) ผู้ได้รับการคัดเลือกต้องถือหุ้นของบริษัท บริษัทร่วม บริษัทในเครือ บริษัทย่อย หรือบริษัทที่เกี่ยวข้องกันไม่เกินร้อยละ 1 ของทุนชำระแล้วของแต่ละบริษัท ทั้งนี้ การนับจำนวนหุ้นให้นับรวมการถือหุ้นของผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น คู่สมรส บุตรที่ยังไม่ บรรลุนติ ภิ าวะด้วย (ข) ผู้ได้รับการเสนอชื่อต้องไม่ใช่ผู้เกี่ยวข้องหรือเป็นญาติสนิทของผู้บริหาร หรือผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัท (ค) ผู้รับการคัดเลือกต้องไม่มีผลประโยชน์หรือส่วนได้เสียไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม ทั้งในด้านการเงิน และการบริหารของ บริษัทในเครือ บริษัทร่วม หรือเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัท (ง) ผู้ได้รับการเสนอชื่อต้องไม่ใช่ผู้ที่มีความสัมพันธ์กับบริษัท และบริษัทที่เกี่ยวข้องในลักษณะที่มีส่วนได้เสีย หรือได้ผล ประโยชน์ในด้านการเงิน หรือการบริหารงาน ทั้งในปัจจุบันและช่วง 2 ปี ก่อนเป็นกรรมการอิสระ โดยลักษณะความ สัมพันธ์ดังกล่าว เช่น • เป็นกรรมการที่มีส่วนร่วมในการบริหารงาน พนักงาน ลูกจ้าง ที่ปรึกษาที่รับเงินเดือนประจำหรือผู้มีอำนาจควบคุม • เป็นผูใ้ ห้บริการทางวิชาชีพ เช่น เป็นผูส้ อบบัญชี ทีป่ รึกษากฎหมาย ทีป่ รึกษาทางการเงิน หรือผูป้ ระเมินราคาทรัพย์สนิ • เป็นผู้มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจ เช่น ซื้อ/ขายสินค้าหรือบริการซื้อขายสินทรัพย์ ให้/รับความช่วยเหลือทางการเงิน เป็นต้น (จ) ในกรณีที่ผู้ได้รับการเสนอชื่อดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการอิสระของบริษัทอื่นในกลุ่ม จะต้องเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวและ ค่าตอบแทนที่ได้รับจากบริษัทนั้นด้วย (ฉ) ผู้ได้รับการเสนอชื่อให้เป็นกรรมการอิสระและกรรมการตรวจสอบ ไม่ได้เป็นกรรมการใด ๆ ในบริษัทอื่นในกลุ่มที่เป็น บริษัทจดทะเบียน (ช) บริษัทจดทะเบียนต้องแจ้งตลาดหลักทรัพย์ฯ ทันทีที่กรรมการตรวจสอบลาออกหรือถูกให้ออกก่อนครบวาระ 4. ผู้ได้รับการคัดสรรสามารถปฏิบัติหน้าที่และแสดงความเห็นหรือรายงาน ผลการปฏิบัติงานตามหน้าที่ได้รับมอบหมายได้โดย อิสระ และไม่อยู่ภายใต้การควบคุมของผู้บริหาร หรือผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัท รวมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้องหรือญาติสนิทของบุคคล ดังกล่าว ทั้งนี้ การมอบหมายอำนาจ หน้าที่ และความรับผิดชอบของคณะกรรมการสรรหานั้น จะต้องไม่มีลักษณะเป็นการมอบ อำนาจหรือมอบอำนาจช่วงที่ทำให้กรรมการสรรหา หรือผู้รับมอบอำนาจจากกรรมการสรรหาสามารถอนุมัติรายการที่ตนหรือบุคคล ที่อาจมีความขัดแย้ง (ตามที่นิยามไว้ในประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์) มีส่วนได้เสีย หรืออาจมีความ ขัดแย้งทางผลประโยชน์อื่นใดกับบริษัทหรือบริษัทย่อย เว้นแต่เป็นการอนุมัติรายการที่เป็นไปตามธุรกิจปกติที่มีการกำหนดขอบเขต ชัดเจน การนำเสนอชื่อผู้ได้รับการคัดสรรเพื่อเสนอชื่อให้เป็นกรรมการบริษัทต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทนั้น คณะกรรมการ สรรหาต้องดำเนินการคัดสรรและเสนอชื่อบุคคลเพียงเท่าที่ จำเป็นจะต้องแต่งตั้งเป็นกรรมการบริษัทเท่านั้น เว้นแต่คณะกรรมการ สรรหาไม่สามารถพิจารณาและตกลงกันในคณะกรรมการสรรหาได้ไม่ว่าเหตุใด ๆ ก็ตาม คณะกรรมการสรรหาจึงสามารถนำเสนอ ชื่อผู้อยู่ในข่ายการคัดสรรทั้งหมดต่อคณะกรรมการบริษัท เพื่อให้คณะกรรมการบริษัทพิจารณาและมีมติเลือกผู้ได้รับการคัดสรรเอง

(ง) คณะกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนและทรัพยากรมนุษย์ คณะกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนและทรัพยากรมนุษย์ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 มีจำนวน 3 คน ดังนี้ ลำดับ รายชื่อ ตำแหน่ง 1 ดร.ธวัชชัย นาคะตะ ประธานคณะกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนฯ 2 ดร.ธรรมนูญ อานันโทไทย กรรมการพิจารณาค่าตอบแทนฯ 3 นายวิทยา เนติวิวัฒน์ กรรมการพิจารณาค่าตอบแทนฯ โดยมี นายปราโมทย์ เริ่มยินดี เป็นเลขานุการคณะกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนฯ ขอบเขตอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนและทรัพยากรมนุษย์ 1. พิจารณานโยบายและหลักเกณฑ์ในการพิจารณาจ่ายค่าตอบแทนสำหรับประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กรรมการ และที่ปรึกษาของ บริษัท 2. พิจารณากำหนดค่าตอบแทนประจำปี การปรับเงินเดือนประจำปี การปรับเงินเดือนระหว่างปี รวมทั้งผลประโยชน์อื่นอันเป็นการ ตอบแทนการทำงานของฝ่ายต่าง ๆ ของบริษัทและพนักงานทุกระดับ บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน)

19


3. พิจารณาระเบียบการจ้างงาน ระเบียบการทำงาน และพิจารณาเกณฑ์การลงโทษให้เหมาะสมและเป็นธรรมต่อพนักงานบริษัท 4. คณะกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนและทรัพยากรมนุษย์รับผิดชอบโดยตรงต่อคณะกรรมการบริษัท และมีหน้าที่ชี้แจง ตอบ คำถามเกี่ยวกับค่าตอบแทนพนักงานทุกระดับในที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ทั้งนี้ การมอบหมายอำนาจ หน้าที่ และความรับผิดชอบของคณะกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนและทรัพยากรมนุษย์นั้น จะไม่มี ลักษณะเป็นการมอบอำนาจหรือมอบอำนาจช่วงที่ทำให้กรรมการพิจารณาค่าตอบแทนและทรัพยากรมนุษย์ หรือผู้รับมอบอำนาจ จากกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนและทรัพยากรมนุษย์สามารถอนุมัติรายการที่ตนหรือบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง (ตามที่นิยามไว้ ในประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์) มีส่วนได้เสีย หรืออาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์อื่นใดกับ บริษัทหรือบริษัทย่อย เว้นแต่เป็นการอนุมัติรายการที่เป็นไปตามปกติธุรกิจที่มีการกำหนดขอบเขตชัดเจน

(จ) คณะกรรมการบริหาร คณะกรรมการบริหารของบริษัท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 มีจำนวน 11 คน ดังนี้ ลำดับ รายชื่อ ตำแหน่ง 1 ดร.ธวัชชัย นาคะตะ ประธานคณะกรรมการบริหาร (กรรมการผู้มีอำนาจลงนาม) 2 นายชายนิด โง้วศิริมณี รองประธานคณะกรรมการบริหาร (กรรมการผู้มีอำนาจลงนาม) 3 นายไพรัตน์ เสนาจักร์ กรรมการบริหาร (กรรมการผู้มีอำนาจลงนาม) 4 นายวิชัย สิงห์วิชา * กรรมการบริหาร 5 นางสาวสุพีร์ เรี่ยวเดชะ * กรรมการบริหาร 6 นายสุรศักดิ์ วัชรพงศ์ปรีชา * กรรมการบริหาร 7 นายวิชาญ ศิริเวชวราวุธ * กรรมการบริหาร 8 นายพรสวัสดิ์ เกษจุฬาศรีโรจน์ ** กรรมการบริหาร 9 นายวงศ์กรณ์ ประสิทธ์วิภาต ** กรรมการบริหาร 10 นายธงชัย ปิยะสันติวงศ์ ** กรรมการบริหาร 11 นางสาวศิริรัตน์ วงศ์วัฒนา กรรมการบริหาร และเลขานุการคณะกรรมการบริหาร (กรรมการผู้มีอำนาจลงนาม)

หมายเหตุ: * ได้รับการแต่งตั้งตามมติคณะกรรมการบริษัทเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2552 ** ได้รบั การแต่งตัง้ ตามมติคณะกรรมการบริษทั เมือ่ วันที่ 12 พฤศจิกายน 2552 โดยให้มผี ลตัง้ แต่วนั ที่ 1 มกราคม 2553 เป็นต้นไป

รายงานประจำปี 2552

20


ขอบเขตอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริหาร 1. บริหารงานในเรื่องเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจปกติของบริษัทภายใต้นโยบายของคณะกรรมการบริษัท และภายในขอบเขตของ กฎหมาย เงื่อนไข กฎระเบียบ หนังสือบริคณห์สนธิ และข้อบังคับของบริษัท ยกเว้นในเรื่องการทำธุรกรรมใด ๆ เกี่ยวกับการเปิด โครงการ และการลงทุนที่ไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจหลักของบริษัท 2. แต่งตั้งผู้บริหารระดับสูงเพื่อให้บริหารงานของบริษัท 3. พิจารณาการจัดสรรงบประมาณประจำปี เพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการบริษัทพิจารณาอนุมัติ 4. พิจารณากลั่นกรองโครงการลงทุนต่าง ๆ ของบริษัทเพื่อนำเสนอต่อ คณะกรรมการบริษัท 5. พิจารณาและอนุมัติการจัดซื้อที่ดิน ภายในวงเงินเกินกว่า 200 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 800 ล้านบาท โดยที่วงเงินรวมไม่เกินกว่างบ ประมาณที่คณะกรรมการบริษัทได้อนุมัติไว้ และการอนุมัติจัดซื้อที่ดินแต่ละครั้งต้องมีการกำหนดแผนเบื้องต้นและรายงาน ความเป็นไปได้ของโครงการประกอบการพิจารณา 6. พิจารณาและอนุมัติการกู้เงินหรือขอสินเชื่อจากสถาบันการเงิน รวมตลอดถึงการชำระหรือใช้จ่ายเงินเพื่อธุรกรรมปกติของบริษัท ดังนี้ • วงเงินกู้ส่วนที่ใช้ทำโครงการ (Project Finance) ได้พิจารณาและอนุมัติการกู้เงินและขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินใน วงเงินไม่เกิน 1,000 ล้านบาทต่อโครงการ โดยไม่นับรวมวงเงินหนังสือค้ำประกันสาธารณูปโภค • วงเงินกู้ส่วนที่ใช้สำหรับ Working Capital ให้พิจารณาและอนุมัติการขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินในวงเงินไม่เกิน 800 ล้านบาท 7. จัดทำ เสนอแนะ และกำหนดนโยบายธุรกิจ รวมทั้งกลยุทธ์ทางธุรกิจของบริษัทต่อคณะกรรมการบริษัท 8. พิจารณาและอนุมัติแผนการตลาด แผนการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ 9. ประเมินผลการดำเนินงานของบริษัท ทั้งในด้านการจัดการบริหารทรัพย์สิน และการบริหารการเงิน เพื่อให้เป็นไปอย่างมี ประสิทธิภาพและประสิทธิผล 10. ปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัท ทั้งนี้ การมอบหมายอำนาจ หน้าที่ และความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริหารนั้นจะไม่มีลักษณะเป็นการมอบอำนาจ หรือมอบอำนาจช่วงที่ทำให้กรรมการบริหาร หรือผู้รับมอบอำนาจจากกรรมการบริหาร สามารถอนุมัติรายการที่ตนหรือบุคคลที่อาจ มีความขัดแย้ง (ตามที่นิยามไว้ในประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์) มีส่วนได้ส่วนเสีย หรืออาจมีความ ขัดแย้งทางผลประโยชน์อื่นใดกับบริษัท หรือ บริษัทย่อย เว้นแต่เป็นการอนุมัติรายการที่เป็นลักษณะการดำเนินธุรกรรมการค้าปกติ ทั่วไปของบริษัท ที่เป็นไปตามนโยบายและหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการบริษัทได้พิจารณาอนุมัติไว้ ซึ่งเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วย หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง หรือข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หมายเหตุ * แก้ไขปรับปรุงตามมติคณะกรรมการ ครั้งที่ 5/2552 เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2552 ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร * ประธานเจ้าหน้าที่บริหารเป็นหัวหน้าของฝ่ายบริหาร มีหน้าที่ดำเนินการและรายงานผลการดำเนินงานต่อคณะกรรมการ บริหาร คณะกรรมการบริษัทและที่ประชุมผู้ถือหุ้นในกิจการดังนี้ 1. กำหนดนโยบาย ทิศทาง กลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจของบริษัท 2. กำหนดแผนธุรกิจ งบประมาณ และอำนาจของหน่วยงานภายในบริษัท เพื่อเสนอขอความเห็นชอบต่อคณะกรรมการบริษัท 3. บริหารงานในเรื่องเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจปกติของบริษัท ภายใต้นโยบายของคณะกรรมการบริษัท และภายในขอบเขตของ กฎหมาย เงื่อนไข กฎระเบียบ หนังสือบริคณห์สนธิ และข้อบังคับของบริษัท 4. แต่งตั้งคณะกรรมการการจัดการ ที่ปรึกษา กรรมการอื่นใด เพื่อให้คำปรึกษาในการบริหารงานของบริษัท 5. พิจารณาและอนุมัติการจัดซื้อที่ดินภายในวงเงินไม่เกิน 500,000,000 บาท (ห้าร้อยล้านบาท) และแจ้งเรื่องดังกล่าวให้ที่ประชุม คณะกรรมการบริหารทราบ เพื่อทำรายงานการประชุมจดทะเบียนนิติกรรมต่อสำนักงานที่ดินที่เกี่ยวข้องต่อไป 6. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัท ทั้งนี้การมอบหมายอำนาจ หน้าที่ และความรับผิดชอบของประธานเจ้าหน้าที่บริหารนั้น จะไม่มีลักษณะเป็นการมอบ อำนาจ หรือ มอบอำนาจช่วง ที่ทำให้ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร หรือผู้รับมอบอำนาจจากประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สามารถอนุมัติ รายการที่ตนหรือบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง (ตามที่นิยามไว้ในประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์) มีส่วน ได้เสีย หรืออาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์อื่นใดกับบริษัท หรือบริษัทย่อย เว้นแต่เป็นการอนุมัติรายการที่เป็นลักษณะการ ดำเนินธุรกรรมการค้าปกติทั่วไปของบริษัท ที่เป็นไปตามนโยบายและหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการบริษัทได้พิจารณาอนุมัติไว้ ซึ่งเป็น ไปตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง หรือข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์แห่ง ประเทศไทย หมายเหตุ * แก้ไขปรับปรุงตามมติคณะกรรมการ ครั้งที่ 1/2553 เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2553 บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน)

21


(ฉ) คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงของบริษัท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 มีจำนวน 5 คน ดังนี้ ลำดับ รายชื่อ ตำแหน่ง 1 นางเนื้อนวล สวัสดิกุล ณ อยุธยา * ประธานกรรมการบริหารความเสี่ยง 2 นายบุญเลี่ยม เหลืองนาคทองดี * กรรมการบริหารความเสี่ยง 3 ดร.ธรรมนูญ อานันโทไทย กรรมการบริหารความเสี่ยง 4 นายเชิดศักดิ์ กู้เกียรตินันท์ ** กรรมการบริหารความเสี่ยง 5 ดร.ธีรธร ธาราไชย เลขานุการคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง หมายเหตุ * ได้รับการแต่งตั้งตามมติคณะกรรมการบริษัท เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2552 ** ได้รับการแต่งตั้งตามมติคณะกรรมการบริษัท เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2552 ขอบเขตอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง (1) สอบทานและนำเสนอนโยบายการบริหารความเสี่ยง และความเสี่ยงที่ยอมรับได้ให้แก่คณะกรรมการบริษัทเพื่อพิจารณาอนุมัติ (2) กำกับดูแลการพัฒนาและการปฏิบัติตามกรอบการบริหารความเสี่ยงทั่วทั้งองค์กร (3) สอบทานรายงานการบริหารความเสี่ยงเพื่อติดตามความเสี่ยงที่สำคัญและดำเนินการให้มั่นใจได้ว่าองค์กรมีการจัดการความ เสี่ยงอย่างเพียงพอและเหมาะสม (4) นำเสนอความเสี่ยงในภาพรวมของบริษัท รวมถึงความเพียงพอของระบบการควบคุมภายใน เพื่อการจัดการความเสี่ยงด้าน ต่างๆ ที่สำคัญให้กับคณะกรรมการบริษัท (5) ให้คำแนะนำกับบริษัทในด้านงานบริหารความเสี่ยง และการพิจารณาแก้ไขข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการพัฒนาระบบการบริหาร ความเสีย่ ง (6) ให้มีอำนาจแต่งตั้งคณะทำงานประเมินและติดตามความเสี่ยงของบริษัท (7) เรื่องอื่น ๆ เกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยงตามที่คณะกรรมการบริษัทมอบหมาย การเข้าประชุมของคณะกรรมการบริษัทและคณะอนุกรรมการ 4 คณะ ในปี 2551 และปี 2552 ชื่อ คณะกรรมการ คณะกรรมการ คณะกรรมการ คณะกรรมการ คณะกรรมการ บริษัท ตรวจสอบ พิจารณา สรรหาฯ พิจารณา ค่าตอบแทน บริหารความเสี่ยง ปี 2552 ปี 2551 ปี 2552 ปี 2551 ปี 2552 ปี 2551 ปี 2552 ปี 2552 ดร.ธวัชชัย นาคะตะ 6 5 1 1 นายสมศักดิ์ โตรักษา * 6 5 8 8 1 ดร.ธรรมนูญ อานันโทไทย * 6 5 8 8 1 1 1 4 นายชายนิด โง้วศิริมณี 6 5 ดร.ธีระชน มโนมัยพิบูลย์ ** 5 นายไพรัตน์ เสนาจักร์ 6 5 นายวิทยา เนติวิวัฒน์ * 6 5 1 1 1 นายวีระยุค พันธุเพชร * 6 5 8 8 นางสาวศิริรัตน์ วงศ์วัฒนา 6 3 นายเดวิด ไบรซ์ ฟาน ออฟเพน 6 3 นายออย บูน อัน 6 3 นางเนื้อนวล สวัสดิกุล ณ อยุธยา * 6 4 นางสาวสุพีร์ เรี่ยวเดชะ *** 5 นายสุรศักดิ์ วัชรพงศ์ปรีชา *** 5 นายบุญเลี่ยม เหลืองนาคทองดี 6 นายเชิดศักดิ์ กู้เกียรตินันท์ 4 ดร.ธีรธร ธาราไชย 9 จำนวนครั้งของการประชุมทั้งหมด (ครั้ง) 6 5 8 8 1 1 1 9 หมายเหตุ: * กรรมการอิสระ ** ลาออกเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2552 เพื่อไปดำรงตำแหน่งรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร *** ออกจากการเป็นกรรมการบริหารความเสี่ยงเนื่องจากแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงชุดใหม่ เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2552

รายงานประจำปี 2552

22


เลขานุการบริษัท ตามข้อกำหนดในมาตรา 89/15 พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 กำหนดให้คณะกรรมการต้อง จัดให้มีเลขานุการบริษัทรับผิดชอบในนามของบริษัทหรือคณะกรรมการดำเนินการ โดยที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2551 ได้มีมติแต่งตั้งเลขานุการบริษัท คือ นายปราโมทย์ เริ่มยินดี ขอบเขต หน้าที่ และความรับผิดชอบของเลขานุการบริษัท 1) จัดทำและเก็บรักษาเอกสารดังต่อไปนี้ (ก) ทะเบียนกรรมการ (ข) หนังสือนัดประชุมคณะกรรมการ รายงานการประชุมคณะกรรมการ และรายงานประจำปีของบริษัท (ค) หนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นและรายงานการประชุมผู้ถือหุ้น 2) เก็บรักษารายงานการมีส่วนได้เสียที่รายงานโดยกรรมการหรือผู้บริหาร และส่งสำเนารายงานดังกล่าวให้ประธานกรรมการและ ประธานกรรมการตรวจสอบทราบภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่บริษัทได้รับรายงานนั้น 3) จัดทำระบบการเก็บรักษาเอกสารและหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการแสดงข้อมูลดังต่อไปนี้ รวมทั้งดูแลให้มีการเก็บรักษาเอกสาร หรือหลักฐานดังกล่าวให้ถูกต้องครบถ้วนและสามารถตรวจสอบได้ในระยะเวลาไม่น้อยกว่าห้าปีนับแต่วันที่มีการจัดทำเอกสาร หรือข้อมูลดังกล่าว การเก็บรักษาเอกสารและหลักฐานข้างต้น ให้หมายความรวมถึงการเก็บรักษาด้วยระบบคอมพิวเตอร์หรือระบบอื่นใดที่ สามารถเรียกดูได้โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงข้อความ (1) การให้ข้อมูลประกอบการขอมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น (2) งบการเงินและรายงานเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัท หรือรายงานอื่นใดที่ต้องเปิดเผยตาม มาตรา 56 มาตรา 57 มาตรา 58 หรือ มาตรา 199 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (3) ความเห็นของบริษัทเมื่อมีผู้ทำคำเสนอซื้อหุ้นของบริษัทจากผู้ถือหุ้นเป็นการทั่วไป (4) การให้ข้อมูลหรือรายงานอื่นใดเกี่ยวกับกิจการที่บริษัทจัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ต่อผู้ถือหุ้นหรือประชาชนทั่วไป ตามที่คณะ กรรมการกำกับตลาดทุนกำหนด 4) ดำเนินการอื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการกำกับตลาดทุนประกาศกำหนดต่อไป 5) ต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ ความระมัดระวัง และความซื่อสัตย์สุจริต รวมทั้งต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย วัตถุประสงค์ ข้อบังคับของบริษัท มติคณะกรรมการ ตลอดจนมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น และไม่กระทำการใดอันเป็นการขัดหรือแย้ง กับประโยชน์ของบริษัทอย่างมีนัยสำคัญ 6) ต้ อ งปฏิ บ ั ต ิ ห น้ า ที ่ ด ้ ว ยความรั บ ผิ ด ชอบและความระมั ด ระวั ง เยี ่ ย งวิ ญ ญู ช นผู ้ ป ระกอบธุ ร กิ จ เช่ น นั ้ น จะพึ ง กระทำภายใต้ สถานการณ์อย่างเดียวกัน โดย (1) การตัดสินใจได้กระทำไปด้วยความเชื่อโดยสุจริตและสมเหตุสมผลว่าเป็นไปเพื่อประโยชน์สูงสุดของบริษัทเป็นสำคัญ (2) การตัดสินใจได้กระทำบนพื้นฐานข้อมูลที่เชื่อโดยสุจริตว่าเพียงพอ และ (3) การตัดสินใจได้กระทำไปโดยตนไม่มีส่วนได้เสีย ไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อมในเรื่องที่ตัดสินใจนั้น ในกรณีที่เลขานุการบริษัทพ้นจากตำแหน่งไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้คณะกรรมการแต่งตั้งเลขานุการบริษัทคนใหม่ภายใน เก้าสิบวันนับแต่วันที่เลขานุการบริษัทคนเดิมพ้นจากตำแหน่งหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ และมอบหมายให้นางสาวศิริรัตน์ วงศ์ วัฒนา ปฏิบัติหน้าที่แทนในช่วงเวลาดังกล่าว การสรรหากรรมการและผู้บริหาร บริษัทมีคณะกรรมการสรรหาชื่อบุคคลเพื่อเสนอเป็นกรรมการบริษัท โดยคณะกรรมการสรรหา จะคัดเลือกและสรรหาบุคคล ที่มีความเหมาะสมในการเป็นกรรมการบริษัทเพื่อเสนอชื่อผู้ได้รับการคัดเลือกต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท และหรือนำเสนอต่อ ที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อขอมติแต่งตั้งต่อไป โดยคณะกรรมการจะต้องพิจารณาถึงคุณวุฒิ ความรู้ความสามารถ รวมทั้งประสบการณ์ที่ เกี่ยวข้องในการเป็นกรรมการบริษัท ซึ่งหัวข้อในการคัดสรรดังกล่าว จะต้องมีส่วนที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินกิจการของบริษัท (รายละเอียดตามขอบเขต อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการสรรหาชื่อบุคคลเพื่อเสนอเป็นกรรมการบริษัท) องค์ประกอบและการแต่งตั้งคณะกรรมการบริษัท ตามข้อบังคับของบริษัท คณะกรรมการของบริษัทประกอบด้วยกรรมการจำนวนไม่น้อยกว่า 5 คน และประกอบด้วยกรรมการ 3 ประเภท

บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน)

23


1. 2. 3.

กรรมการที่เป็นอิสระ ( Independent Director ) ต้องมีจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของกรรมการหรืออย่างน้อยต้องมีไม่น้อยกว่า 3 คน กรรมการที่มีอำนาจบริหาร ( Executive Director ) กรรมการที่ไม่มีอำนาจบริหาร ( Non-Executive Director )

กรรมการจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดต้องมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร ในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งกรรมการ ที่ประชุมผู้ถือหุ้นจะเลือกตั้งกรรมการ โดยให้นับว่าผู้ถือหุ้นมีคะแนนเสียงเท่ากับหนึ่งหุ้นต่อ หนึ่งเสียง และผู้ถือหุ้นแต่ละคนจะต้องใช้คะแนนเสียงของตนที่มีอยู่ทั้งหมดเลือกตั้งบุคคลคนเดียวหรือหลายคนเป็นกรรมการก็ได้ แต่จะแบ่ง คะแนนเสียงให้แก่ผู้ใดมากน้อยเพียงใดไม่ได้ การออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้งกรรมการให้ใช้เสียงข้างมาก หากมีคะแนนเสียงเท่ากันให้ผู้เป็นประธานที่ประชุมเป็นผู้ออกเสียง ชี้ขาด ในการประชุมสามัญประจำปีทุกครั้ง ให้กรรมการออกจากตำแหน่ง 1 ใน 3 ถ้าจำนวนกรรมการที่จะแบ่งออกให้ตรงเป็นสามส่วนไม่ ได้ ก็ให้ออกโดยจำนวนใกล้ที่สุดกับส่วน 1 ใน 3 ห้ามมิให้กรรมการประกอบกิจการอันมีสภาพอย่างเดียวกันและเป็นการแข่งขันกับกิจการของบริษัท หรือเข้าเป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้น ส่วนสามัญ หรือเป็นหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดในห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือเข้าเป็นกรรมการในนิติบุคคลอื่นที่ประกอบกิจการ อันมีสภาพ อย่างเดียวกันและเป็นการแข่งขันกับกิจการของบริษัท เว้นแต่จะแจ้งให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นทราบก่อนที่จะมีมติแต่งตั้ง กรรมการต้องแจ้งให้บริษัททราบโดยไม่ชักช้า หากมีส่วนได้เสียในสัญญาที่ทำกับบริษัทหรือเข้าถือหุ้น หรือหุ้นกู้เพิ่มขึ้นหรือลดลงใน บริษัทหรือบริษัทในเครือ

3. นโยบายจ่ายเงินปันผลของบริษัทและบริษัทย่อย ได้มีมติการประชุมคณะกรรมการบริษัทครั้งที่ 5/2550 เกี่ยวกับนโยบายการจ่ายเงินปันผลของ บริษัท จากเดิม ที่มีนโยบายการจ่าย เงินปันผลในอัตราร้อยละ 50 ของกำไรสุทธิหลังหักภาษีเงินได้นิติบุคคลโดยการจ่ายเงินปันผลดังกล่าวข้างต้นจะต้องได้รับมติเห็นชอบจากที่ ประชุมผู้ถือหุ้นเป็นสำคัญ คณะกรรมการบริษัทได้มีมติ กำหนดนโยบายการจ่ายเงินปันผลภายหลังการเปลี่ยนแปลงนโยบายวิธีการบันทึก เงินลงทุนในบริษัทย่อยและบริษัทร่วม จากวิธีส่วนได้เสีย ( Equity Method ) มาเป็นวิธีการบันทึกต้นทุน ( Cost Method ) ตามนโยบายเดิม คือ บริษัทมีนโยบายจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นในอัตราไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 50 ของกำไรสุทธิของงบการเงินเฉพาะกิจการหลังหักสำรองตาม กฎหมาย โดยให้พิจารณาฐานะการเงิน สภาพคล่อง การขยายธุรกิจ และปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในการบริหารงานของบริษัท เป็นส่วน ประกอบในการพิจารณาด้วย บริษัทย่อยมีนโยบายจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นในอัตราไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 50 ของกำไรสุทธิของงบการเงินเฉพาะกิจการหลังหัก สำรองตามกฎหมาย โดยให้พิจารณา ฐานะการเงิน สภาพคล่อง การขยายธุรกิจ และปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในการบริหารงานของบริษัท เป็นส่วนประกอบในการพิจารณาด้วย

รายงานประจำปี 2552

24


คณะกรรมการบริ ษัท Board Of Directors

ดร.ธวัชชัย นาคะตะ

นายไพรัตน์ เสนาจักร์

นายวีระยุค พันธุเพชร

ดร.ธรรมนูญ อานันโทไทย นายวิทยา เนติวิวัฒน์ กรรมการบริษัท กรรมการอิสระ กรรมการตรวจสอบ ประธานคณะกรรมการสรรหาฯ กรรมการพิจารณาค่าตอบแทนฯ กรรมการบริหารความเสี่ยง

กรรมการบริษัท กรรมการสรรหาฯ กรรมการพิจารณาค่าตอบแทนฯ

นายสมศักดิ์ โตรักษา

นายเดวิด ไบร์ ฟาน ออฟเพน

นายออย บูน อัน

นางเนื้อนวล สวัสดิกุล

ณ อยุธยา

นางสาวศิริรัตน์ วงศ์วัฒนา นายปราโมทย์ เริ่มยินดี

ประธานกรรมการบริษัท ประธานกรรมการบริหาร ประธานคณะกรรมการ พิจารณาค่าตอบแทนฯ

กรรมการบริษัท

นายชายนิด โง้วศิริมณี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร รองประธานกรรมการบริหาร

กรรมการบริษัท กรรมการอิสระ ประธานกรรมการบริหาร ความเสี่ยง

กรรมการบริษัท รองประธานเจ้าหน้าที่ ฝ่ายปฏิบัติการ กรรมการบริหาร

กรรมการบริษัท กรรมการอิสระ กรรมการตรวจสอบ กรรมการสรรหาฯ

กรรมการบริษัท ผู้ช่วยประธานเจ้าหน้าที่ ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ กรรมการบริหาร และ เลขานุการคณะกรรมการบริหาร

กรรมการบริษัท กรรมการอิสระ ประธานกรรมการตรวจสอบ

กรรมการบริษัท

เลขานุการคณะกรรมการบริษัท เลขานุการคณะกรรมการสรรหาฯ เลขานุการคณะกรรมการ พิจารณาค่าตอบแทน

บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน)

25


ผังองค์กร ประธานคณะที่ปรึกษา

คณะกรรมการบริษัท

คณะกรรมการสรรหา

คณะกรรมการบริหาร

คณะกรรมการตรวจสอบ

ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร

สำนักตรวจสอบภายใน

ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน

ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ

รองประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน

รองประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ

ผู้ช่วยประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน

ผู้ช่วยประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ

สายงานการเงินและบริหารเงิน

สายงานนักลงทุนสัมพันธ์และ สารสนเทศ

สายงานวิจัยและพัฒนาธุรกิจ

สายงานบัญชี

สายงานพัฒนาธุรกิจ อสังหาริมทรัพย์

สายงานวางแผนโครงการ

สำนักงบประมาณ

สายงานประชาสัมพันธ์และ สื่อสารองค์กร

สายงานโฆษณา

รายงานประจำปี 2552

26


คณะกรรมการพิจารณา ค่าตอบแทน เลขานุการบริษัท ฝ่ายกฎหมาย สายงานทรัพยากรมนุษย์ สำนักประธานเจ้าหน้าที่บริหาร

ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ

รองประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ

ผู้ช่วยประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ

สายงานออกแบบ

สายงานบริหารงานกลาง สายงานนิติกรรมและ โอนกรรมสิทธิ์ สายงานบริหารงานขาย

สายงานพัฒนาผลิตภัณฑ์

และควบคุมคุณภาพ สายงานบริหารโครงการ โซน 1

สายงานบริหารโครงการ โซน 2

สายงานบริหารโครงการ โซน 3

สายงานบริการและลูกค้าสัมพันธ์ สายงานบริหารโครงการ โซน 4 สายงานบริหารงานก่อสร้าง

สายงานบริหารโครงการ โซน 5

บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน)

27


ข้อมูลโครงการ

โครงการของ บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย ณ 31 ธันวาคม 2552

1. เพอร์เฟค มาสเตอร์พีซ รัตนาธิเบศร์ เฟส1-2

2. เพอร์เฟค มาสเตอร์พีซ เอกมัย-รามอินทรา

4. เพอร์เฟค เพลส รัตนาธิเบศร์

5. เพอร์เฟค เพลส รัตนาธิเบศร์ เฟส 2

ระยะเวลาพัฒนาโครงการ 2550-2554 ผลิตภัณฑ์ บ้านเดี่ยว จำนวนยูนิตทั้งหมด 145 มูลค่าโครงการทั้งหมด 1,439 ล้านบาท จำนวนยูนิต คงเหลือ 62 มูลค่าโครงการคงเหลือ 606 ล้านบาท

ระยะเวลาพัฒนาโครงการ 2548-2553 ผลิตภัณฑ์ บ้านเดี่ยว จำนวนยูนิตทั้งหมด 396 มูลค่าโครงการทั้งหมด 1,652 ล้านบาท จำนวนยูนิต คงเหลือ 41 มูลค่าโครงการคงเหลือ 145 ล้านบาท

รายงานประจำปี 2552

28

3. เพอร์เฟค มาสเตอร์พีซ พระราม 9

ระยะเวลาพัฒนาโครงการ 2547-2553 ผลิตภัณฑ์ บ้านเดี่ยว จำนวนยูนิตทั้งหมด 233 มูลค่าโครงการทั้งหมด 3,437 ล้านบาท จำนวนยูนิต คงเหลือ 36 มูลค่าโครงการคงเหลือ 446 ล้านบาท

ระยะเวลาพัฒนาโครงการ 2552-2555 ผลิตภัณฑ์ บ้านเดี่ยว จำนวนยูนิตทั้งหมด 349 มูลค่าโครงการทั้งหมด 1,467 ล้านบาท จำนวนยูนิต คงเหลือ 333 มูลค่าโครงการคงเหลือ 1,384 ล้านบาท

ระยะเวลาพัฒนาโครงการ 2551-2557 ผลิตภัณฑ์ บ้านเดี่ยว จำนวนยูนิตทั้งหมด 277 มูลค่าโครงการทั้งหมด 3,400 ล้านบาท จำนวนยูนิต คงเหลือ 224 มูลค่าโครงการคงเหลือ 2,732 ล้านบาท


6. เพอร์เฟค เพลส รามคำแหง-สุวรรณภูมิ

ไพรเวท โซน

ระยะเวลาพัฒนาโครงการ ผลิตภัณฑ์ จำนวนยูนิตทั้งหมด มูลค่าโครงการทั้งหมด จำนวนยูนิต คงเหลือ มูลค่าโครงการคงเหลือ

2548-2553 บ้านเดี่ยว 301 1,730 ล้านบาท 16 119 ล้านบาท

มาสเตอร์พีซ โซน

ระยะเวลาพัฒนาโครงการ ผลิตภัณฑ์ จำนวนยูนิตทั้งหมด มูลค่าโครงการทั้งหมด จำนวนยูนิต คงเหลือ มูลค่าโครงการคงเหลือ

2551-2553 บ้านเดี่ยว 6 160 ล้านบาท 3 68 ล้านบาท

เลค โซน

ระยะเวลาพัฒนาโครงการ ผลิตภัณฑ์ จำนวนยูนิตทั้งหมด มูลค่าโครงการทั้งหมด จำนวนยูนิต คงเหลือ มูลค่าโครงการคงเหลือ

2552-2553 บ้านเดี่ยว 83 720 ล้านบาท 66 539 ล้านบาท

7. เพอร์เฟค เพลส สุขุมวิท 77 – สุวรรณภูมิ*

เฟส 3

ระยะเวลาพัฒนาโครงการ ผลิตภัณฑ์ จำนวนยูนิตทั้งหมด มูลค่าโครงการทั้งหมด จำนวนยูนิต คงเหลือ มูลค่าโครงการคงเหลือ

2550-2553 บ้านเดี่ยว 348 1,760 ล้านบาท 101 513 ล้านบาท

มาสเตอร์พีซ โซน

ระยะเวลาพัฒนาโครงการ ผลิตภัณฑ์ จำนวนยูนิตทั้งหมด มูลค่าโครงการทั้งหมด จำนวนยูนิต คงเหลือ มูลค่าโครงการคงเหลือ

2551-2553 บ้านเดี่ยว 19 279 ล้านบาท 7 100 ล้านบาท

เฟส 4

ระยะเวลาพัฒนาโครงการ ผลิตภัณฑ์ จำนวนยูนิตทั้งหมด มูลค่าโครงการทั้งหมด จำนวนยูนิต คงเหลือ มูลค่าโครงการคงเหลือ

2553-2556 บ้านเดี่ยว 350 1,715 ล้านบาท 350 1,715 ล้านบาท

บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน)

29


8. เพอร์เฟค เพลส ราชพฤกษ์ เฟส 1 9. มณีรินทร์ เลค& พาร์ค ระยะเวลาพัฒนาโครงการ 2552-2555 ราชพฤกษ์-ติวานนท์

10. เพอร์เฟค พาร์ค พระราม 5-บางใหญ่ เฟส 1-4

11. เพอร์เฟค พาร์ค สุวรรณภูมิ*

13. เมโทร พาร์ค สาทร เฟส 3

ผลิตภัณฑ์ จำนวนยูนิตทั้งหมด มูลค่าโครงการทั้งหมด จำนวนยูนิต คงเหลือ มูลค่าโครงการคงเหลือ

บ้านเดี่ยว 402 1,945 ล้านบาท 334 1,598 ล้านบาท

ระยะเวลาพัฒนาโครงการ 2550-2553 ผลิตภัณฑ์ บ้านเดี่ยว จำนวนยูนิตทั้งหมด 194 มูลค่าโครงการทั้งหมด 789 ล้านบาท จำนวนยูนิต คงเหลือ 85 มูลค่าโครงการคงเหลือ 347 ล้านบาท

รายงานประจำปี 2552

30

ระยะเวลาพัฒนาโครงการ 2546-2554 ผลิตภัณฑ์ บ้านเดี่ยว จำนวนยูนิตทั้งหมด 702 มูลค่าโครงการทั้งหมด 2,966 ล้านบาท จำนวนยูนิต คงเหลือ 146 มูลค่าโครงการคงเหลือ 565 ล้านบาท

12. เดอะ วิลล่า รัตนาธิเบศร์

ระยะเวลาพัฒนาโครงการ 2549-2555 ผลิตภัณฑ์ ทาวน์เฮ้าส์ , บ้านแฝด จำนวนยูนิตทั้งหมด 1,427 มูลค่าโครงการทั้งหมด 3,420 ล้านบาท จำนวนยูนิต คงเหลือ 685 มูลค่าโครงการคงเหลือ 1,864 ล้านบาท

ระยะเวลาพัฒนาโครงการ 2549-2554 ผลิตภัณฑ์ บ้านเดี่ยว , บ้านแฝด จำนวนยูนิตทั้งหมด 1,198 มูลค่าโครงการทั้งหมด 3,761 ล้านบาท จำนวนยูนิต คงเหลือ 622 มูลค่าโครงการคงเหลือ 1,969 ล้านบาท

ระยะเวลาพัฒนาโครงการ 2552-2555 ผลิตภัณฑ์ คอนโดมิเนียม จำนวนยูนิตทั้งหมด 2,155 มูลค่าโครงการทั้งหมด 4,075 ล้านบาท จำนวนยูนิต คงเหลือ 1,976 มูลค่าโครงการคงเหลือ 3,711 ล้านบาท


14. เดอะ เมทโทร พระราม 9

ระยะเวลาพัฒนาโครงการ 2551-2554 ผลิตภัณฑ์ ทาวน์เฮ้าส์ จำนวนยูนิตทั้งหมด 543 มูลค่าโครงการทั้งหมด 1,970 ล้านบาท จำนวนยูนิต คงเหลือ 357 มูลค่าโครงการคงเหลือ 1,262 ล้านบาท

15. เดอะ เมทโทร สาทร

ระยะเวลาพัฒนาโครงการ 2552-2553 ผลิตภัณฑ์ ทาวน์เฮ้าส์ จำนวนยูนิตทั้งหมด 250 มูลค่าโครงการทั้งหมด 1,010 ล้านบาท จำนวนยูนิต คงเหลือ 159 มูลค่าโครงการคงเหลือ 629 ล้านบาท

16. เมโทร สกาย รัชดา เฟส1 **

ระยะเวลาพัฒนาโครงการ 2553-2554 ผลิตภัณฑ์ คอนโดมิเนียม จำนวนยูนิตทั้งหมด 441 มูลค่าโครงการทั้งหมด 1,111 ล้านบาท จำนวนยูนิต คงเหลือ 293 มูลค่าโครงการคงเหลือ 753 ล้านบาท

หมายเหตุ ไม่รวมโครงการที่มีมูลค่าโครงการคงเหลือน้อยกว่า 5% ของมูลค่าโครงการทั้งหมด * โครงการบริษัทย่อย (บจก.เอสเตท เพอร์เฟ็คท์) ** โครงการบริษัทย่อย (บจก. ไบรท์ ดีเวลลอปเมนท์ กรุงเทพ)

บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน)

31


แผนที่โครงการ

รายงานประจำปี 2552

32


การตลาด และการแข่งขัน

การตลาด กลยุทธ์การตลาด บริษัทได้ให้ความสำคัญกับการกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาด โดยพิจารณารายละเอียดทำเล สภาวการณ์แข่งขัน กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย การวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน (SWOT Analysis) รวมถึงการพิจารณาปัจจัยภายนอกที่อาจมีผลกระทบต่อการพัฒนาโครงการ ก่อนที่จะเริ่ม ดำเนินการ ซึ่งสามารถแยกตามกลยุทธ์ได้ดังนี้

กลยุทธ์ด้านผลิตภัณฑ์ (Product)

• รูปแบบโครงการและสิ่งแวดล้อม (Environment Impact Assessment) นอกจากแบบบ้านสวยงาม การกำหนดแบ่งพื้นที่ใช้สอยให้คุ้มค่า คุ้มราคา อย่างเหมาะสมแล้ว บริษัทเน้นการออกแบบผัง โครงการ การจัดการสภาพแวดล้อมในโครงการ การวางระบบสาธารณูปโภค ระบบรักษาความปลอดภัยและ การบริการหลังการ ขาย นอกจากนี้บริษัทยังจัดให้มีการจัดกิจกรรมตามเทศกาล และวัฒนธรรมไทย เพื่อให้ลูกค้าได้ร่วมกิจกรรมและมีสังคมที่ดีร่วมกัน จากแนวทางดังกล่าว ทำให้โครงการของบริษัทได้รับรางวัลโครงการที่มีการบริหารและการจัดการสภาพแวดล้อมดีเด่น หรือ EIA Monitoring Awards จากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมถึง 3 ปีซ้อน คือ • ปี 2548-2550 โครงการเพอร์เฟค เพลส รัตนาธิเบศร์, โครงการเพอร์เฟค เพลส รามคำแหง เฟส 1 • ปี 2549-2551 โครงการเพอร์เฟค เพลส รามคำแหง เฟส 2 และ เฟส 3 การจัดให้มีสวนสาธารณะ ทะเลสาบ พร้อมด้วยคลับเฮ้าส์ขนาดใหญ่ที่สมบูรณ์แบบ โดยร่วมกับพันธมิตรธุรกิจในบริเวณ คลับเฮ้าส์ของแต่ละโครงการ อาทิ ร้านอาหารแบล็คแคนยอน ศูนย์ออกกำลังกาย Clark Hatch Fitness Center ร้านสะดวกซื้อ V Shop ได้สร้างความแตกต่างที่เป็นจุดเด่นเหนือคู่แข่งในสังคมที่อบอุ่นและสัมผัสได้ ซึ่งได้รับการตอบรับที่ดีจากลูกค้าในโครงการ ของบริษัท • ทำเล (Location) โครงการของบริษัทส่วนใหญ่จะตั้งอยู่ในทำเลที่มีศักยภาพในการเติบโตสูง โดยอยู่ใกล้แนวรถไฟฟ้าหรือแนวถนนตัดใหม่สาย สำคัญ โครงการของบริษัทมีทำเลที่ดีกว่า มีศักยภาพการเติบโตสูง เดินทางสะดวก อาทิ • โครงการในโซนเหนือและตะวันตกของบริษัท ตั้งอยู่ใกล้สถานีรถไฟฟ้าสายสีม่วง(บางซื่อ-บางใหญ่) รถไฟฟ้าสายสี แดง(บางซื่อ-ตลิ่งชัน) ถนนราชพฤกษ์ สะพานพระราม 4 (ข้ามแยกปากเกร็ด) เชื่อมต่อถนนแจ้งวัฒนะ • โครงการในโซนตะวันออกของบริษัท ตั้งอยู่ใกล้แนวรถไฟฟ้า Airport Rail Link ใกล้สนามบินสุวรรณภูมิ และถนนวงแหวน รอบนอก (ฝั่งตะวันออก) ที่เชื่อมต่อพื้นที่โซนเหนือและใต้ของกรุงเทพฯ รวมถึงถนนมอเตอร์เวย์ ที่เชื่อมออกสู่จังหวัดชลบุรี และ พัทยา

บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน)

33


• โครงการโซนในเมืองของบริษัท ตั้งอยู่ในพื้นที่เขตศูนย์กลางธุรกิจ ได้แก่ บริเวณถนนเลียบทางด่วนเอกมัยรามอินทรา แนว ถนนมอเตอร์เวย์ แนวรถไฟฟ้า Airport Rail Link แนวรถไฟลอยฟ้า BTS และแนวรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT ในเส้นทางทั้งที่เปิดให้ บริการอยู่ และเส้นทางที่กำลังจะเปิดให้บริการในอนาคต โดยโครงการส่วนใหญ่ พัฒนาเป็นโครงการบ้านเดี่ยวระดับบน ทาวน์ เฮ้าส์และคอนโดมิเนียม เป็นหลัก บริษัทและบริษัทย่อยมีนโยบายขยายโครงการ เพื่อเพิ่มส่วนแบ่งตลาดในทำเลที่มีศักยภาพ โดยในปี 2553 บริษัทและบริษัท ย่อยมีแผนเปิดโครงการใหม่ในทำเลที่มีศักยภาพอีก 14 โครงการในรูปแบบบ้านเดี่ยว 4 โครงการ ทาวน์เฮ้าส์ 4-5 โครงการ และ คอนโดมิเนียม 5 โครงการ

• คุณภาพ (Quality) งานก่อสร้าง บริษัทมีการบริหารจัดการควบคุมการก่อสร้างโดยจัดจ้างผู้รับเหมาให้ดำเนินการก่อสร้างตามแบบที่บริษัทกำหนด ด้วยวัสดุ ก่อสร้างมาตรฐาน มีกำหนดระยะเวลาการก่อสร้าง รวมถึงการพิจารณาร่วมกันในการกำหนดรูปแบบ วิธีการก่อสร้างเพื่อให้ได้ คุณภาพตามมาตรฐานของบริษัท ตั้งแต่ปี 2551 ที่ผ่านมา บริษัทได้นำ ระบบการก่อสร้างบ้านสำเร็จรูปแบบ Prefabrication และ ระบบเสา-คานสำเร็จรูป (Rigid Frame or Skeleton) มาใช้ก่อสร้างบ้านเดี่ยว บ้านแฝด และทาว์นเฮ้าส์ ในโครงการ เพอร์เฟค เพลส เพอร์เฟค พาร์ค และเดอะวิลล่า ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี ในปี 2552 บริษัทยังได้พัฒนา ระบบการควบคุมคุณภาพงาน ก่อสร้างให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ( Site Management ) ซึ่งเป็นระบบควบคุมการก่อสร้างทุกขั้นตอนการผลิตเพื่อให้ได้มาตรฐาน ก่อนส่งมอบ ให้แก่ลูกค้า ในปี 2553 บริษัทมีแผนการขยายกำลังการผลิตบ้านสำเร็จรูปแบบ Prefabrication เพิ่มเพื่อรองรับการเติบโต ของบริษัท เนื่องจากสามารถลดระยะเวลาก่อสร้าง จากเดิม 6- 8 เดือน เหลือเพียง 4-5 เดือน บริษัทยังคงให้ความสำคัญด้านคุณภาพของวัสดุ ที่นำมาใช้ในการก่อสร้างโดยการใช้ผลิตภัณฑ์วัสดุก่อสร้างหลักจากบริษัท SCG ผลิตภัณฑ์ก่อสร้างจำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ บริษัท ปูนซีเมนต์ไทยจำกัด (มหาชน) เป็นการสร้างความมั่นใจ ในความคงทนแข็งแรงและสวยงามการก่อสร้าง โดยบริษัทยังคง พิจารณาด้านการบริหารต้นทุนจากการซือ้ สินค้า โดยการเจรจาสัง่ ซือ้ จำนวนมากเพือ่ ไม่ให้กระทบต้นทุนการผลิต และเตรียมแผนการ บริหารจัดการโดยใช้ระบบ Supply Chain • รูปแบบบ้าน (Design) บริษัทได้มีการพัฒนาการออกแบบที่อยู่อาศัยโดยนำข้อมูลจากฝ่ายวิจัยและพัฒนามาพิจารณา เพื่อสามารถตอบสนอง ความความต้องการของลูกค้าให้ได้มากที่สุด ทั้งนี้ทางบริษัทได้มีการพัฒนารูปแบบบ้านในสไตล์ต่างๆ ตามประเภทของสินค้า ทั้ง บ้านเดี่ยว และ ทาวน์เฮ้าส์ ซึ่งยังคงเน้นการออกแบบบ้านให้สวยงาม เปี่ยมด้วยประโยชน์ใช้สอย สอดคล้องกับความต้องการ วิถี การใช้ชีวิตในปัจจุบัน (Life Style) ตามลักษณะสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย โดยบริษัทมีทีมงานออกแบบหลักที่มีประสบการณ์

รายงานประจำปี 2552

34


ยาวกว่า 20 ปีในการออกแบบ และยังมีการพัฒนาร่วมกับ บริษัทสถาปนิกชั้นนำจากภายนอก ในการออกแบบ เพื่อสร้างนวัตกรรม ใหม่ โดยคำนึงรูปแบบบ้านและประโยชน์ใช้สอย อย่างคุ้มค่า คุ้มราคา ซึ่งได้รับการตอบรับจากกลุ่มลูกค้าในแต่ละกลุ่มเป้าหมาย เป็นอย่างดี นอกจากนั้นบริษัทได้ตระหนักถึงการมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาสภาพแวดล้อมและคำนึงถึงความต้องการของลูกค้าที่ ต้องการบ้านที่อยู่สบาย ไม่สิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้าโดยไม่จำเป็น ทำให้ในปีที่ผ่านมา มีแบบบ้านหลายแบบของทางบริษัทได้รับ รางวัลบ้านจัดสรรอนุรักษ์พลังงานจากกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน ดังนี้ • แบบบ้าน Carina Euro โครงการเพอร์เฟค เพลส รัตนาธิเบศร์ รางวัล ระดับดีเด่น ประเภท อาคารบ้านเดี่ยวขนาดเล็ก พื้นที่ใช้สอยไม่เกิน 200 ตารางเมตร • แบบบ้าน Patio Nature โครงการเพอร์เฟค เพลส รัตนาธิเบศร์ รางวัล ระดับดี ประเภท อาคารบ้านเดี่ยวขนาดเล็ก พื้นที่ใช้สอยไม่เกิน 200 ตารางเมตร • แบบบ้าน Polar โครงการเพอร์เฟค เพลส รัตนาธิเบศร์ รางวัล ระดับดี ประเภท อาคารบ้านเดี่ยวขนาดเล็ก พื้นที่ใช้สอยไม่เกิน 200 ตารางเมตร • แบบ เอกอัมพร โครงการเพอร์เฟค มาสเตอร์พีซ รัตนาธิเบศร์ รางวัล ระดับดีเด่น ประเภท อาคารบ้านเดี่ยวขนาดกลาง พื้นที่ใช้สอย 200-300 ตารางเมตร • แบบบ้าน เอกอินทรา โครงการเพอร์เฟค มาสเตอร์พีซ รัตนาธิเบศร์ รางวัล ระดับดี ประเภท อาคารบ้านเดี่ยวขนาดกลาง พื้นที่ใช้สอย 200-300 ตารางเมตร • แบบบ้าน METRO โครงการเดอะ วิลล่า รัตนาธิเบศร์ รางวัล ระดับชมเชย ประเภท บ้านแถว (ทาวน์เฮ้าส์) พื้นที่ใช้สอยไม่เกิน 120 ตารางเมตร • แบบบ้าน EURO โครงการเดอะ เมทโทร พระราม 9 รางวัล ระดับชมเชย ประเภท บ้านแถว (ทาวน์เฮ้าส์) พื้นที่ใช้สอยมากกว่า 120 ตารางเมตร • โครงการ มณีรินทร์ พาร์ค 2 รังสิต รางวัล ระดับดีเด่น ประเภท โครงการจัดสรรขนาดเล็ก จำนวนแปลงย่อยไม่เกิน 99 แปลง • โครงการ เพอร์เฟค มาสเตอร์พีซ เอกมัย-รามอินทรา รางวัล ระดับดี ประเภท โครงการจัดสรรขนาดกลาง จำนวนแปลงย่อยตั้งแต่ 100-299 แปลง • โครงการ เพอร์เฟค เพลส สุขุมวิท77-สุวรรณภูมิ รางวัล ระดับดี ประเภท โครงการจัดสรรขนาดใหญ่ จำนวนแปลงย่อยตั้งแต่ 300 แปลงขึ้นไป สำหรับการนำเสนอขายบ้านพร้อมที่ดินของบริษัทและบริษัทย่อยนั้น จะนำเสนอในรูปแบบของบ้านสร้างเสร็จก่อนขาย หรือ บ้านพร้อมอยู่ เป็นการสร้างบ้านตามแบบที่กำหนด ให้เสร็จก่อนนำมาขายให้ลูกค้า ซึ่งเหมาะกับลูกค้าที่ต้องการบ้านที่สามารถเข้า อยู่ได้ทันที ได้เห็นบ้านที่เสร็จสมบูรณ์ก่อนตัดสินใจซื้อ โดยลูกค้าสามารถทำการโอนและเข้าอยู่ได้ภายในระยะเวลา ไม่เกิน 1 เดือน ด้านคอนโดมิเนียม บริษัทได้เริ่มเปิดตัวคอนโดมิเนียม โดยใช้ชื่อเมโทร พาร์ค (Metro Park) เป็นโครงการคอนโดมิเนียม Low-Rise อยู่บนทำเลที่ใกล้เมือง และใกล้แนวรถไฟฟ้า โดยมีระดับราคาอยู่ที่ 1.2-3.0 ล้านบาท ในปี 2552 เปิดตัวคอนโดมิเนียมภายใต้ชื่อ เมโทร สกาย (Metro Sky) ซึ่งเป็นโครงการคอนโดมิเนียม High-Rise ที่ตอบโจทย์ ความต้องการของลูกค้าที่ต้องการพักอาศัยอยู่ในโครงการที่ตั้งอยู่บนทำเลใจกลางเมือง ใกล้รถไฟฟ้าและรถไฟฟ้าใต้ดิน โดยมีระดับ ราคาอยู่ที่ 2.0-5.0 ล้านบาท ปี 2553 บริษัทมีแผนเปิดตัวคอนโดมิเนียมยูนิลอฟท์ (Uniloft) เป็นโครงการคอนโดมิเนียม Low-Rise ดำเนินการโดยบริษัท ย่อย (บริษัท ไบรท์ ดีเวลลอปเม้นท์ กรุงเทพ จำกัด) บนทำเลที่ใกล้แหล่งชุมชนและมหาวิทยาลัย มีระดับราคาอยู่ที่ 1.0 - 2.0 ล้าน บาท เพื่อเป็นการเพิ่มส่วนแบ่งตลาดคอนโดมิเนียมราคาถูก ทั้งนี้รูปแบบคอนโดมิเนียมของบริษัทจะเน้นการให้พื้นที่ส่วนกลางมากกว่าข้อกำหนดเพื่อเพิ่มความร่มรื่น มีการออกแบบ ตกแต่งสภาพแวดล้อมให้เกิดบรรยากาศ ของโครงการบ้านเดี่ยว มีสระว่ายน้ำ สโมสรออกกำลังกาย และระบบรักษาความปลอดภัย อย่างเข้มงวด เพื่อเพิ่มความสมบูรณ์ให้สอดคล้องกับ Life Style

บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน)

35


• กลยุทธ์ด้านราคา (Price) บริษัทมีนโยบายในการตั้งราคา เพื่อสร้างแรงจูงใจและความคุ้มค่า ตามลักษณะสินค้า ความเหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจ สภาพการแข่งขัน โดยพิจารณาร่วมกับปัจจัยด้านต้นทุน ทำเล รูปแบบโครงการ เงื่อนไขการตลาด เปรียบเทียบกับคู่แข่ง ซึ่งมีหลาย แนวทาง เช่น การตั้งราคาขายใกล้เคียงกับคู่แข่ง แต่โครงการของบริษัท มีสภาพแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวกที่ดีกว่า เนื่องจากบริษัทมีการออกแบบที่คำนึงถึงความต้องการของผู้บริโภค เน้นประโยชน์การใช้ส่อยของพื้นที่ บริษัทมีการพัฒนาโครงการ หลายรูปแบบ และหลายระดับราคา โดยมีสินค้าตั้งแต่ระดับราคา 1.5 ล้านบาทขึ้นไปจนถึงโครงการหรูระดับราคา 7 ล้านบาทขึ้นไป ตารางแสดงระดับราคาผลิตภัณฑ์แบ่งตามแบรนด์ ประเภท ระดับราคาผลิตภัณฑ์ (หน่วย: ล้านบาท) 1.0 – 2.0 2.0 – 3.0 3.0 – 4.0 4.0 – 5.0 5.0 – 6.0 6.0 – 7.0 7.0 - ขึ้นไป 7.0 ล้านบาทขึ้นไป SDH 3.5 – 7.0 ล้านบาท (บ้านเดี่ยว) 2.5 – 5.0 ล้านบาท 3.0 – 5.0 ล้านบาท TH / DH (ทาว์นเฮ้าส์และบ้านแฝด) 1.7 – 3.0 ล้านบาท 2.5 – 5.0 ล้านบาท 1.2 – 3.0 ล้านบาท CONDO (คอนโดมิเนียม) Uniloft 1.0 – 2.0 ล้านบาท • กลยุทธ์ด้านโฆษณาและช่องทางการจัดจำหน่าย (Advertising & Place) บริษัทมีนโยบายในการทำการตลาดโดยใช้สื่อแบบผสมผสาน โดยพิจารณาตามความเหมาะสมในการเลือกใช้สื่อต่าง ๆ เช่น สื่อหนังสือพิมพ์ สื่อโทรทัศน์ สื่อวิทยุ ป้ายบิลบอร์ด ไดเร็ค เมล์ ฯลฯ ปัจจุบันบริษัทได้พัฒนาการใช้สื่อในรูปแบบของบูรณาการ (Integrated Communication) เป็นลักษณะ Mass Media ซึ่งเป็นการโฆษณาที่สามารถสื่อไปถึงลูกค้ากลุ่มเป้าหมายหลายๆ โครงการ ส่งผลให้ต้นทุนลดลง ผสานกับการใช้ Direct Marketing โดยคัดเลือกรูปแบบการใช้สื่อให้เหมาะสมกับลักษณะกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย

รายงานประจำปี 2552

36


และแคมเปญ การจัดกิจกรรมการตลาด และการทำการตลาด แบบ Customer Relationship Management (CRM) โดยเน้นการดูแล บริการกลุ่มลูกค้าที่อาศัยในโครงการต่างๆ ของบริษัทและมีการจัดแคมเปญ Perfect Friend Club เพื่อเป็นการขอบคุณลูกค้าที่อาศัย อยู่ในโครงการต่างๆ ของบริษัท ที่แนะนำเพื่อนมาซื้อบ้านของบริษัท เป็นการขยายช่องทางในการเข้าถึงลูกค้าทำให้บริษัทสามารถ เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพและมีต้นทุนต่ำ จากการวางกลยุทธ์ CRM ที่ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี ปัจจุบันบริษัทมี อัตราส่วนการตัดสินใจซื้อ จากการแนะนำเพื่อนและญาติพี่น้องให้มาซื้อโครงการของบริษัทเพิ่มขึ้นตามลำดับ อย่างมีนัย ปี 2552 บริษัทดำเนินนโยบายเชิงรุกด้านกิจกรรมการตลาดในรูปแบบของเว็บไซท์ และสังคมออนไลน์ (Internet Social Network ) ทั้ง Facebook และ Twitter บริษัทยังมีกิจกรรมการตลาดเฉพาะกับกลุ่มลูกค้าที่เข้ามาดูข้อมูลบนเว็บไซท์ของบริษัท ใน ไตรมาส 4 ปี 2552 บริษัทได้จัดทำมินิซิรี่ส์ ออนไลน์ที่ถือเป็นครั้งแรกของวงการอสังหาริมทรัพย์ในการทำมินิซิรีส์ ออนไลน์ โดยใช้ชื่อ เรื ่ อ ง “คู ่ ใ หม่ ป ลามั น “ เป็ น หนั ง โรแมนติ ก คอมเมดี ้ จำนวน 5 ตอน ความยาวตอนละ 8 นาที (ติ ด ตามได้ ท างเว็ ป ไซด์ www.thehappylivingstory.com) ถ่ายทำจากสถานที่จริงของโครงการ เพอร์เฟค มาสเตอร์พีช พระราม 9 และทะเลสาบที่เพอร์เฟค เพลส รามคำแหง-สุวรรณภูมิ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้บริโภคเข้าถึงบรรยากาศและสภาพแวดล้อมความเป็นชุมชนเหนือระดับของ โครงการบริษัท ซึ่งจากการออกมินิซิรี่ส์ ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี จากสถิติการ Walk In เพิ่มของลูกค้าที่ต้องการเข้ามาสัมผัส สถานที่จริงภายในโครงการ

• กลยุทธ์ด้านการส่งเสริมการขาย (Promotion) บริษัทเลือกใช้กลยุทธ์การส่งเสริมการขายที่เหมาะสมกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่มีความต้องการที่แตกต่างกัน เพื่อกระตุ้นการ ตัดสินใจของลูกค้าที่หลากหลาย โดยคำนึงถึงปัจจัยในสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจในแต่ละช่วงเวลา อาทิ ข้อเสนอพิเศษสำหรับ ลูกค้าที่ต้องการบ้านพร้อมอยู่ ด้วยเงื่อนไขทางการเงิน โดยร่วมกับสถาบันการเงินชั้นนำ เสนอเงื่อนไขพิเศษ เช่น สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ การขยายระยะเวลากู้ การผ่อนแบบขั้นบันได เป็นต้น การร่วมมือกับบริษัทผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์ชั้นนำ ให้ออกแบบตกแต่งเฟอร์นิเจอร์ ภายในบ้าน เพื่อให้ลูกค้าได้บ้านพร้อมเฟอร์นิเจอร์ในราคาพิเศษ เป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ลูกค้า และลดภาระการจัดหา มัณฑนากรเพื่อมาออกแบบตกแต่งบ้านรวมถึงการจัดหาสินเชื่อ ซึ่งมีอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าสินเชื่อที่อยู่อาศัย ปัจจุบันทางบริษัทได้ ขยายฐานความร่วมมือกับพันธมิตรในภาคธุรกิจอื่นๆ เช่น ระบบดูแลรักษาความปลอดภัย และระบบสื่อสารเป็นต้นเพื่อสร้างมูลค่า เพิ่มและความพึงพอใจสูงสุดต่อลูกค้า • กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ บริษัทได้มีการสร้างแบรนด์ เพื่อเน้นรูปแบบการอยู่อาศัยที่แตกต่างจากคู่แข่งขัน ซึ่งปัจจุบันได้พัฒนา Brand DNA ของ บริษัท ภายใต้แนวคิด “Happy Living” ซึ่งเป็นมาตรฐานใหม่ของการอยู่อาศัย ที่คำนึงถึงความสุขในการใช้ชีวิตภายในโครงการของ พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค “Happy Living” คือมาตรฐานความสุขในการอยู่อาศัย ซึ่งมีส่วนประกอบในการสร้างความสุขใน 4 องค์ ประกอบหลัก คือ • House (Happy with Perfect Quality) คือ ความสุขที่ได้อยู่อาศัยในบ้านที่มีคุณภาพสูง เริ่มตั้งแต่การออกแบบอย่างพิถีพิถัน มีฟังก์ชั่นที่ให้ประโยชน์ใช้สอยสูงสุดตอบรับการใช้ชีวิตได้อย่างสมบูรณ์แบบ มีความสวยงาม ประหยัดพลังงานและเป็นมิตรต่อ

บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน)

37


สิ่งแวดล้อม ตลอดจนกระบวนการก่อสร้างที่มีการควบคุมคุณภาพตั้งแต่เริ่มต้นจนเสร็จ ใช้เทคโนโลยีการก่อสร้างทันสมัย เช่น การก่อสร้างระบบ Prefabrication ที่ให้ทั้งความรวดเร็วในการผลิต และคุณภาพที่เป็นมาตรฐาน ตลอดจนมีการตรวจเช็คความ เรียบร้อยในขั้นตอนสุดท้ายด้วยระบบ QC Passed ก่อนส่งถึงมือลูกค้า • Security (Happy with Peace of Mind) คือ ความสุขในการอยู่อาศัยในโครงการที่มีการรักษาความปลอดภัยสูงสุด โดยได้ ร่วมมือกับบริษัท ไทยซีคอมพิทักษ์กิจ จำกัด (SECOM) ซึ่งเป็นบริษัทรักษาความปลอดภัยชั้นนำของประเทศญี่ปุ่นที่มีการพัฒนา ระบบรักษาความปลอดภัยตลอด 24 ชั่วโมง ในการออกแบบและบริหารการรักษาความปลอดภัยตั้งแต่ทางเข้าโครงการ ซุ้ม ประตู ป้อมยาม ภายในโครงการ จนถึงภายในตัวบ้านด้วยระบบ Home Security • Lifestyle (Happy with Healthy Lifestyle) คือ ความสุขในการอยู่อาศัยที่ให้มากกว่าเพียงแค่การอยู่อาศัยภายในบ้าน พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค สร้างสรรกิจกรรมต่างๆ ที่ตอบสนองไลฟ์สไตล์แห่งความสุขของลูกบ้าน ด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกครบ ครัน อาทิ คลับเฮ้าส์ขนาดใหญ่ ที่ให้บริการฟิตเนส สระว่ายน้ำ ห้องออกกำลังกาย ร้านค้าและบริการต่างๆ ตลอดจนพื้นที่ส่วน กลางที่สามารถใช้พักผ่อน ออกกำลังกาย และทำกิจกรรมสำหรับครอบครัวได้มากมายโดยไม่ต้องออกไปหาภายนอกโครงการ • Green Environment (Happy with Friendly Environment) คือ ความสุขในการอยู่อาศัยในบ้านที่ใกล้ชิดกับธรรมชาติ ท่ามกลางสิ่งแวดล้อมที่ดี ด้วยพื้นที่ส่วนกลางที่ให้มากกว่า ด้วยสวนพันธุ์ไม้ขนาดใหญ่และทะเลสาบกว้าง ให้ความร่มรื่นเย็น ชุ่มชื่นและอากาศบริสุทธิ์ บริษัทเชื่อว่าการสร้างแบรนด์ที่ดีต้องเกิดจากประสบการณ์ของลูกค้า อันนำไปสู่ความมั่นคงของภาพพจน์บริษัท ดังนั้น บริ ษ ั ท จึ ง ได้ เ น้ น คุ ณ ภาพงานก่ อ สร้ า ง การออกแบบและวางผั ง โครงการที ่ ด ี การจั ด สภาพแวดล้ อ มภายในโครงการ ระบบ สาธารณูปโภค และระบบรักษาความปลอดภัย และบริษัทยังได้มีการจัดกิจกรรมเชื่อมความสัมพันธ์สำหรับลูกค้าที่อยู่อาศัยใน โครงการ ทำให้สังคมในโครงการเป็นสังคมที่อบอุ่น ผู้อาศัยในหมู่บ้านอยู่ร่วมกันในโครงการอย่างเป็นสุข ทำให้ลูกค้ามีชุมชนและ สังคมที่ดี ทำให้เกิดผลของการบอกต่อกันของลูกค้า เป็นการสร้างแบรนด์อย่างยั่งยืนผ่านประสบการณ์ของลูกค้าที่อาศัยอยู่ใน โครงการของบริษัท

• กลุ่มเป้าหมาย (Target Group) บริษัทมีการกำหนดลักษณะสินค้าตามแบรนด์ โดยพิจารณาจากทำเลที่ตั้ง ศักยภาพการเติบโตของพื้นที่ สภาวะการแข่งขัน และต้นทุน บริษัทมีนโยบายขยายโครงการเพื่อรองรับความต้องการของลูกค้าในแต่ละทำเล แต่ละระดับราคาสินค้าที่แตกต่างกัน เพื่อให้ครอบคลุม โดยมีการจับกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างกันในแต่ละแบรนด์ ปัจจุบันบริษัทและบริษัทย่อยได้ขยายโครงการต่างๆ ออกเป็น 8 แบรนด์ เพื่อให้ครอบคลุมทุกความต้องการของตลาด ดังนี้

รายงานประจำปี 2552

38


คอนโดมิเนียม 1. เมโทร พาร์ค (Metro Park) ได้แก่ คอนโดมิเนียมแบบ Low Rise กลางเมือง ใกล้รถไฟฟ้า พร้อมพื้นทะเลสาบและสโมสรบน พื้นที่เปิดโล่งถึง 70% และสิ่งอำนวยความสะดวกที่ครบครัน 2. เมโทร สกาย (Metro Sky) ได้แก่ คอนโดมิเนียมแบบ High Rise กลางเมือง ใกล้รถไฟฟ้า พร้อมพื้นที่สีเขียวและ Sky Lounge และสิ่งอำนวยความสะดวกที่ครบครัน 3. ยูนิลอฟท์ (Uniloft) เป็นโครงการคอนโดมิเนียม Low-Rise ดำเนินการโดยบริษัท ไบรท์ ดีเวลลอปเม้นท์ กรุงเทพ จำกัด (บริษัท ย่อย) บนทำเลที่ใกล้แหล่งชุมชนและมหาวิทยาลัย มีระดับราคาอยู่ที่ 1-1.2 ล้านบาท โดยจะเริ่มเปิดตัวในปี 2553 ทาวน์เฮ้าส์ 4. เดอะ วิลล่า (The Villa) ได้แก่ ทาวน์โฮม 2 ชั้นและบ้านแฝดแนวคิดใหม่ ใกล้รถไฟฟ้า สำหรับครอบครัวเริ่มต้น 5. เดอะ เมทโทร (The Metro) ได้แก่ ทาวน์โฮม สไตล์โมเดิร์น 3 ชั้น อยู่ใจกลางเมือง ใกล้แนวรถไฟฟ้า พร้อมสิ่งอำนวยความ สะดวกครบครัน บ้านเดี่ยว 6. เพอร์เฟค พาร์ค (Perfect Park) ได้แก่ บ้านเดี่ยวหลากสไตล์และบ้านแฝด พร้อมพื้นที่สีเขียวและสโมสรในโครงการ สำหรับ ครอบครัวเริ่มต้น 7. เพอร์เฟค เพลส (Perfect Place) ได้แก่ บ้านเดี่ยว พร้อมพื้นที่สีเขียว ทะเลสาบ และสโมสรในโครงการสำหรับครอบครัว ขนาดกลาง บนทำเลที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน 8. เพอร์เฟค มาสเตอร์พีซ (Perfect Masterpiece) ได้แก่ บ้านเดี่ยวขนาดใหญ่ พร้อมพื้นที่สีเขียวและสโมสรในโครงการสำหรับ ครอบครัวขนาดใหญ่

• ภาวะการแข่งขัน (Competitive) ในปี 2552 จากการปรับตัวดีขึ้นของเศรษฐกิจโลก การดำเนินการมาตรการขยายการลงทุนภาครัฐ ภายใต้แผนปฏิบัติการ ไทยเข้มแข็ง ทำให้เศรษฐกิจภายในประเทศช่วงครึ่งปีหลังของปี 2552 ปรับตัวดีขึ้น ทั้งการขยายตัวของการส่งออก การฟื้นตัวของ ภาคอุตสาหกรรม การท่องเที่ยว ภาวะการจ้างงาน รายได้และความเชื่อมั่นปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง การบริโภคและการลงทุนของ ภาคเอกชนฟื้นตัว ส่งผลให้เศรษฐกิจโดยรวมฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง แต่ก็ยังมีข้อจำกัดในเรื่องของเสถียรภาพการเมืองภายในประเทศ ปัญหาเกี่ยวกับมาบตาพุด การเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมัน การแข็งค่าขึ้นของเงินบาท และอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น โดยสรุปเศรษฐกิจไทย ของทั้งปี 2552 หดตัวลงร้อยละ 2.3 ซึ่งต่ำกว่าประมาณการที่คาดการณ์ไว้ตอนต้นปี เป็นผลจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ปี 2553 ผู้ประกอบการธุรกิจภาคอสังหาริมทรัพย์ยังคงเผชิญปัจจัยเสี่ยงการฟื้นตัวเศรษฐกิจไทยที่ยังมีปัญหาในเรื่องความ ไม่แน่นอนทางการเมือง และเสถียรภาพการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยที่คาดว่าจะปรับขึ้น ต้นทุนก่อสร้างที่สูง ขึ้น การสิ้นสุดมาตรการลดหย่อนค่าธรรมเนียมการทำธุรกิจภาคอสังหาริมทรัพย์ ที่จะสิ้นสุดในวันที่ 28 มีนาคม 2553 ส่งผลต่อการ ตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัย บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน)

39


สภาวการณ์แข่งขันในปี 2553 จะเป็นการแข่งขันเพื่อเพิ่มส่วนแบ่งตลาดของผู้ประกอบการรายใหญ่ในแต่ละผลิตภัณฑ์ ส่งผลให้ผู้ ประกอบการใช้กลยุทธ์ ทั้งด้านราคา ผลิตภัณฑ์ ความร่วมมือกับพันธมิตร โปรโมชั่นต่าง ๆ เพื่อดึงดูดและเร่งการตัดสินใจซื้อของลูกค้า บริษัทยังคงดำเนินนโยบายสร้างความแตกต่างในเรื่องผลิตภัณฑ์ การพิจารณาทำเล ที่เหมาะสม การตั้งราคาที่คุ้มค่าคุ้มราคาในแต่ละทำเล เพื่อสร้างความพึงพอใจให้ลูกค้าเป็นสำคัญ บริษัทให้ความสำคัญในเรื่องทำเล ในการกำหนดกลยุทธ์ต่างๆ ทั้งประเภทบ้าน แบบบ้าน และราคา โดยบริษัทได้พิจารณาแบ่งทำเล ที่ตั้งเป็น 4 กลุ่ม ดังนี ้ กลุ่มที่ 1 โครงการที่มีทำเลดีมาก อยู่ในเขตเมือง (อยู่ในรัศมีไม่เกิน 15 กม.) ในปี 2553 บริษัทฯได้เพิ่มสินค้าในกลุ่มคอนโดมิเนียมระดับราคา 1-3 ล้านบาท ต่อยอดความสำเร็จจาก โครงการเมโทร พาร์ค สาทร ที่อยู่ใกล้สถานีรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย ที่บริษัทฯได้ดำเนินการไปแล้วและได้รับการตอบรับจากตลาดเป็นอย่างดียิ่ง โดยยังคง ตอกย้ำแนวคิด ที่เน้นความสะดวกสบายในการเดินทาง ตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าทั้งส่วนลอยฟ้า(BTS) และใต้ดิน(MRT) รวมถึงการเน้น ความน่าอยู่อาศัยทางด้านสภาพแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวกภายในโครงการที่ยังคงเป็นจุดแข็งของบริษัทเป็นหลัก บริษัทฯมีแผน เปิดโครงการในสินค้าประเภทนี้เพื่อรองรับความต้องการของลูกค้ากลุ่มดังกล่าวในทำเลอื่นๆ ได้แก่ โครงการ เมโทร สกาย บนทำเลถนน รัชดาภิเษกและสุขุมวิท บริษัทฯเชื่อว่าผลกระทบจากความผันผวนของราคาน้ำมันที่ยังคงมีอยู่ต่อเนื่อง และยังไม่มีแนวโน้มที่จะหยุดนิ่ง จะ เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้ความต้องการที่อยู่อาศัย ใกล้ระบบขนส่งมวลชนขนาดใหญ่ยังคงเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคอยู่ กลุ่มที่ 2 โครงการที่มีทำเลดี ใกล้เมือง (อยู่ในรัศมี 15-20 กม.) โครงการส่วนใหญ่ของบริษัทจัดอยู่ในกลุ่มนี้ เป็นทำเลที่มีการแข่งขันสูง เนื่องจากเป็นทำเลที่ไม่ไกลจากศูนย์กลางธุรกิจมากนัก และ ยังสามารถเข้าสู่เมืองได้สะดวกรวดเร็วขึ้น จากการพัฒนาโครงข่ายคมนาคมอย่างต่อเนื่องของภาครัฐ ทำให้ที่ดินที่อยู่ในแนวเส้นทางดัง กล่าวมีศักยภาพรวมถึงราคาที่ดินขยับสูงขึ้นตามไปด้วย บริเวณดังกล่าวจัดเป็นการพัฒนาเป็นโครงการบ้านจัดสรร ในระดับราคาตั้งแต่ 3 ล้านบาทขึ้นไป เช่น ถนนราชพฤกษ์ ถนนรัตนาธิเบศร์ ถนนพระรามเก้าตัดใหม่ ถนนวงแหวนรอบนอกฯ ถนนอ่อนนุช เป็นต้น บริษัทได้ กำหนดกลุ่มเป้าหมายและพัฒนาโครงการภายใต้แบรนด์ มาสเตอร์พีซ เพอร์เฟคเพลส เพอร์เฟคพาร์ค เดอะเมทโทร และเดอะวิลล่า กลุ่มที่ 3 โครงการย่านชานเมือง (รัศมี 20-30 กม.) กลุ่มนี้มีการแข่งขันสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากพื้นที่ย่านชานเมืองนี้ ราคาที่ดินไม่สูงมากนัก ซึ่งสามารถพัฒนาเป็นโครงการบ้าน จัดสรรในระดับราคาไม่เกิน 4 ล้านบาท ทำให้มีผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยึดทำเลนี้พัฒนาโครงการเป็นจำนวนมาก เนื่องจากกำลังซื้อที่อยู่ อาศัยของผู้บริโภค(Purchasing Power) ในกลุ่มนี้มีฐานที่ใหญ่ที่สุด แต่ด้วยเหตุผลที่ผู้ประกอบการสามารถทำโครงการได้ง่าย ส่งผลให้มี ปริมาณสินค้าเสนอขาย (Supply) มากกว่าปริมาณความต้องการซื้อ (Demand) ทำให้เกิดภาวะการแข่งขันที่รุนแรงมากตามไปด้วย จนเกิด ภาวะสงครามราคา (Price War) เพื่อช่วงชิงตลาดผู้ซื้อ ทำให้มีราคาขายค่อนข้างต่ำ โดยผู้ประกอบการยอมทำกำไรในพื้นที่นี้ต่ำกว่าพื้นที่ ทำเลดี ใกล้เมือง สำหรับบริษัทฯมีแผนขยายการพัฒนาโครงการในกลุ่มนี้เพื่อเพิ่มส่วนแบ่งตลาด และกระจายฐานการรับรู้ในตราสิน ค้า(Brand) เพอร์เฟคพาร์ค และ เดอะวิลล่า กลุ่มที่ 4 โครงการทำเลไม่ดีหรือออกนอกเมือง ลูกค้ากลุ่มนี้ เลือกซื้อที่อยู่อาศัยที่อยู่นอกเมือง เพราะมีต้นทุนต่ำและหวังว่าในอนาคตมูลค่าบ้านและที่ดินจะปรับตัวสูงขึ้นเมื่อความ เจริญมาถึง จากระดับราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นและมีแนวโน้มทรงตัวอยู่ในระดับราคาที่สูง จึงทำให้ความต้องการสินค้าที่อยู่อาศัยกลุ่มนี้เป็น เฉพาะกลุ่มที่อยู่ในทำเลนั้นมีการเติบโตสูงขึ้นอย่างมีนัยยะ บริษัทได้พิจารณาถึงความต้องการของกลุ่มลูกค้ากลุ่มนี้ และมีแผนขยายการ ลงทุนในอนาคต

รายงานประจำปี 2552

40


ภาวะอุตสาหกรรมและแนวโน้มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ปี 2552 ที่ผ่านมาประเทศไทยได้รับผลกระทบจากการถดถอยของเศรษฐกิจโลก คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะหดตัวลงร้อยละ 2.3 โดยภาค อุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือการส่งออก ซึ่งต่อเนื่องไปถึงภาคการผลิต รวมถึงการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนที่ชะลอหด ตัวลงเช่นกัน มีเพียงการบริโภคและการลงทุนของภาครัฐที่กลับมาขยายตัว อย่างไรก็ตามภาวะเศรษฐกิจในปี 2552 เริ่มส่งสัญญาณในด้าน บวกในช่วงปลายไตรมาสที่ 3 ต่อเนื่องไตรมาสที่ 4 จากการที่ตัวเลขเศรษฐกิจด้านต่าง ๆ เริ่มมีสัญญาณฟื้นตัว ปี 2553 มีการคาดการณ์จากหลายสถาบันว่าเศรษฐกิจไทยจะกลับมาสามารถขยายตัวได้ร้อยละ 3 – 5 จากแนวโน้มเศรษฐกิจโลกเริ่ม ปรับตัวดีขึ้น ซึ่งจะได้ส่งผลให้การส่งออก ภาคการผลิตและการจ้างงานกลับมาขยายตัว รวมทั้งหากสถานการณ์การเมืองมีเสถียรภาพพอที่ จะเบิกจ่ายงบประมาณต่างๆโดยเฉพาะงบประมาณตามแผนไทยเข้มแข็งได้ตามเป้างบประมาณก็จะเป็นส่วนสำคัญที่สร้างการหมุนเวียน ทางเศรษฐกิจ ซึ่งหากทุกภาคทางเศรษฐกิจที่กล่าวมาสามารถกลับมาขยายตัวได้ ก็จะส่งผลให้ผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นในการบริโภคมากขึ้น รวมทั้งความเชื่อมั่นในการซื้อที่อยู่อาศัยด้วย ทั้งนี้แม้ว่าแนวโน้มเศรษฐกิจจะมีทิศทางในทางบวก แต่ก็ยังคงมีปัจจัยที่เป็นความเสี่ยงอยู่ด้วย เช่น 1.การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกยังคงเปราะบาง 2.ราคาน้ำมันและสินค้าที่เป็นปัจจัยการผลิตต่างๆมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้ต้นทุน การผลิต อัตราเงินเฟ้อและค่าครองชีพปรับตัวสูงขึ้น 3.แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยที่เลยจุดต่ำสุดมาแล้ว และมีโอกาสจะปรับตัวสูงขึ้นในช่วง ปลายปี สำหรับภาคอสังหาริมทรัพย์ในปี 2552 แม้ว่าทางด้านอุปสงค์ผู้บริโภคจะได้รับผลกระทบจากสภาวะเศรษฐกิจ แต่เนื่องด้วยมาตรการทาง ภาษีเพื่อกระตุ้นธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ (ซึ่งได้แก่การลดหย่อนค่าธรรมเนียมการโอนและการจดจำนองจากร้อยละ 2 และร้อยละ 1 เหลือเพียง ร้อยละ 0.01 อีกทั้งมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ผู้ซื้อบ้านสามารถนำเงินซื้อบ้านในวงเงินสูงสุดไม่เกิน 300,000 บาท รวมทั้งดอกเบี้ยจากสิน เชื่อที่อยู่อาศัยไม่เกิน 100,000 บาท ไปใช้ลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา) ตลอดจนการส่งเสริมการขาย และ อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำยังคง เป็นปัจจัยเกื้อหนุนต่อตลาดอสังหาริมทรัพย์ ส่งผลให้ตลาดฟื้นตัวมากขึ้นโดยเฉพาะในช่วงครึ่งปีหลังเมื่อผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นมากขึ้น ตัวเลขที่อยู่อาศัยสร้างเสร็จจดทะเบียนกรุงเทพและปริมณฑลในปี 2552 เพิ่มขึ้นจากปี 2551 ประมาณ 10% จากที่อยู่อาศัยประเภท อาศัยชุดเป็นหลัก ขณะที่ที่อยู่อาศัยแนวราบปรับตัวลดลง ส่วนของจำนวนการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยปี 2552 พบว่ามี การจดทะเบียนโอน กรรมสิทธิ์เพิ่มขึ้นประมาณ 10% เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2551 (ที่มา:ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์) เมื่อประกอบกับ จำนวนที่อยู่อาศัยเปิดขายใหม่ที่ลดลงประมาณ 15% ขณะที่ยอดขายลดลงเพียงประมาณ 10 %(ที่มา:บริษัท Agency for Real Estate Affairs) จะเห็นได้ว่ามีการดูดซับอุปทานคงเหลือในระดับที่ดี ประกอบกับอุปทานใหม่ที่ลดลง และการโครงการที่เปิดตัวไปแล้วยังสามารถดำเนินการ สร้างเสร็จและมีการโอนได้ต่อเนื่อง แสดงให้เห็นว่าตลาดได้มีการปรับตัวด้านอุปทานอย่างชัดเจน โดยเข้าภาวะที่สมดุลมากขึ้น และตลาดยัง

บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน)

41


มีแนวโน้มไปในทิศทางที่ดี เมื่อเปรียบเทียบกับสภาวะเศรษฐกิจโดยรวม โดยเฉพาะผู้ประกอบการรายใหญ่ที่ยังมีอัตราการขายที่ดี และ สินค้าคงเหลือในระดับที่ต่ำลงมาก ซึ่งสะท้อนเห็นถึงการปรับตัวที่เหมาะสมนั้นเอง ตลาดอสังหาริมทรัพย์ในปี 2553 มีแนวโน้มฟื้นตัวตามภาวะเศรษฐกิจโดยรวม และความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่มีแนวโน้มที่ดีขึ้นต่อเนื่อง และ อัตราดอกเบี้ยที่น่าจะทรงตัวอยู่ในระดับต่ำไปจนถึงปลายปี ประเด็นที่สำคัญคือ การประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา มี มติไม่ขยายระยะเวลามาตรการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์มาตรการทางภาษีเพื่อกระตุ้นธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่จะหมดอายุในเดือนมีนาคม ซึ่ง น่าจะส่งผลให้ผู้บริโภคเร่งการตัดสินใจก่อนมาตรการหมดอายุ แต่ช่วงที่เหลือของปีผู้บริโภคบางส่วนอาจจะชะลอการตัดสินใจออกไป โดย เฉพาะกลุ่มเก็งกำไรหรือซื้อเพื่อลงทุน แต่ในการกลุ่มที่ซื้อเพื่ออยู่อาศัยการที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายการโอนกรรมสิทธิและค่าจดจำนองเพิ่มขึ้นไม่ ถึง 2 % น่าจะไม่ส่งผลต่อการตัดสินใจของผู้บริโภคมากนัก ทั้งนี้การยกเลิกมาตรการดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการมากกว่า เนื่องจากจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นประมาณ 4% ซึ่งในสถานการณ์ที่ตลาดยังไม่ฟื้นตัวอย่างชัดเจนการขึ้นราคาเพื่อชดเชยค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น ทั้งหมดคงเป็นไปได้ยาก ดังนั้นผู้ประกอบการอาจะปรับลดต้นทุนค่าใช้จ่ายทางด้านอื่นรวมทั้งกิจกรรมส่งเสริมการขายบางส่วนลง สำหรับ แนวโน้มด้านราคาที่อยู่อาศัยน่าจะมีการปรับตัวสูงขึ้นเพียงเล็กน้อย จากแนวโน้มต้นทุนที่สูงขึ้นและสินค้าคงเหลือที่ลดลง แต่ก็มีปัจจัยด้าน การแข่งขันของโครงการเปิดใหม่ที่น่าจะเปิดตัวมากขึ้นและการฟื้นตัวของอุปสงค์ที่ยังไม่ชัดเจนที่กดดันราคาที่อยู่อาศัยไม่ให้ขยับขึ้นได้อย่าง ชัดเจน การแข่งขันในตลาดอสังหาริมทรัพย์ ยังคงเป็นการแข่งขันกันระหว่างผู้ประกอบการรายใหญ่ซึ่งมีความสามารถในการระดมทุนมากกว่า รวมทั้งศักยภาพทางด้านต้นทุน ด้านความสามารถในการผลิตและข้อได้เปรียบทางการตลาดที่สูงกว่า โดยการแข่งขันน่าจะอยู่ในรูปของการ พัฒนาจากภายในเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในด้านต่างๆ รวมทั้งการสร้างภาพลักษณ์และความน่าเชื่อถือกับผู้บริโภคเพื่อเพิ่มความได้เปรียบใน การแข่งขันและการกำหนดราคา โดยหลีกเลี่ยงการทำสงครามราคาและรักษาอัตราการทำกำไร ซึ่งจะได้รับการกดดันและข้อจำกัดมากขึ้น แนวโน้มที่อยู่อาศัยขนาดเล็กจะกลายเป็นตลาดหลักมีมากขึ้น เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมด้านกำลังซื้อและพฤติกรรมบริโภค อย่างชัดเจน เช่น การลดงบประมาณในการซื้อที่อยู่อาศัยลงตามกำลังซื้อที่ลดลง เนื่องจากแนวโน้มราคาที่อยู่อาศัยที่ปรับขึ้นสูงอย่างต่อ เนื่องเมื่อเทียบการเติบโตของรายได้ รูปแบการดำเนินชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป ไม่ว่าจะเป็นการที่ขนาดครอบครัวเล็กลง หรือ แต่งงานช้าลง หรือ ต้องการการเดินทางที่สะดวกรวดเร็ว ปัจจัยทั้งหมดนี้มีผลให้อุปสงค์ของที่อยู่อาศัยประเภทที่มีขนาดเล็กเช่น อาคารชุด บ้านแฝด และ ทาวน์เฮ้าส์ มีมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่บ้านเดี่ยวซึ่งเหมาะกับการอยู่อาศัยเป็นครอบครัว สอดคล้องวัฒนธรรมการอยู่อาศัยของคนไทย โดยให้คุณภาพชีวิตและสิ่ง แวดล้อมที่ดีต่อผู้อยู่อาศัย ส่งผลให้บ้านเดี่ยวจึงยังมีความต้องการอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าจะอยู่ในทำเลที่ไกลกว่า ซึ่งบ้านเดี่ยวชานเมืองน่าจะ ได้รับผลดีขึ้นบ้าง จากปัจจัยการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและความเชื่อมั่นผู้บริโภค รวมทั้งขยายตัวของเส้นทางคมนาคม ไม่ว่าจะเป็น เส้นทาง ตัดใหม่ ทางด่วน สะพานข้ามแม่น้ำ และที่สำคัญคือการเปิดใช้และการเริ่มดำเนินการก่อสร้างของโครงการระบบขนส่งมวลชนต่างๆ ข้อมูลยอดจดทะเบียนที่อยู่อาศัยสร้างเสร็จปี 2552 (ดูรูปที่ 1) เติบโตขึ้นจากปี 2551 ทั้งปี ร้อยละ 10.4 โดยอาคารชุดสร้างเสร็จเพิ่มขึ้น ร้อยละ 47.3 ส่วนที่อยู่อาศัยแนวราบยังคงหดตัว ทั้งนี้เกิดจากการชะลอการลงทุนของผู้ประกอบการโดยเน้นการขายบ้านสั่งสร้าง และ ระบายสินค้าคงเหลือ ขณะที่จำนวนอาคารชุดที่สร้างเสร็จเพิ่มขึ้นจำนวนมากเกิดจากการเปิดโครงการจากจำนวนมากในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ซึ่งสะท้อนถึงสถานการณ์ของโครงการอาคารชุดที่สามารถดำเนินการจนสร้างเสร็จได้ ซึ่งหากประกอบยอดจดทะเบียนโอนที่เพิ่มขึ้นแล้ว จะ เห็นว่าสถานการณ์ของอาคารยังคงดำเนินไปอย่างปกติ ทั้งนี้แม้ว่าภาพรวมด้านอุปทานและอุปสงค์ยังชะลอตัว แต่จากผลประกอบการในปี 2552 ของผู้ประกอบการรายใหญ่หลายบริษัทยังคงอยู่ในระดับที่ดี

รายงานประจำปี 2552

42


จำนวนที่อยู่อาศัยจดทะเบียนเพิ่มในกทม. และปริมณฑล ปี 2538 ถึง ม.ค.-พ.ย. 2552 (แบ่งตามประเภทที่อยู่อาศัย)

2538

2539

2540

2541

2542

2543

2544

2545

2546

2547

2548

2549

2550

2551

2552

SDH

48,909

44,877

41,305

23,985

17,469

23,128

24,041

24,973

34,592

44,248

46,643

42,764

38,599

34,525

29,721

Duplex House

1,089

791

1,009

196

178

539

227

80

1,144

945

678

965

1,556

2,276

1,128

TH & Shop H.

61,944

60,373

43,480

11,895

2,319

2,728

5,062

7,011

12,950

15,418

13,858

17,421

17,837

14,101

13,670

CD

66,911

70,575

62,837

30,978

9,063

6,679

4,650

5,118

7,399

8,439

10,893

16,966

16,229

31,535

46,452

Total

178,853 176,616 148,631

67,054

29,029

33,074

33,980

37,182

56,085

69,050

72,072

78,116

74,221

82,437

90,971

หมายเหตุ SDH (บ้านเดี่ยว), Duplex House (บ้านแฝด), TH & Shop H. (ทาวน์เฮ้าส์และตึกแถว), CD (คอนโดมิเนียม) ที่มา: ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์

รูปที่ 1 จำนวนที่อยู่อาศัยจดทะเบียนเพิ่มใน กทม. และปริมณฑล ปี 2538 ถึง ปี 2552 (แบ่งตามประเภทที่อยู่อาศัย) 200,000 180,000 160,000 140,000 120,000 100,000 80,000 60,000 40,000 20,000 0

10.4% 47.3% -13.9% -3.1% -50.4% 2538 2539 2540 2541 2542 2543 2544 2545 2546 2547 2548 2549 2550 2551 2552 บ้านเดี่ยว

บ้านแฝด

ทาวน์เฮ้าส์และตึกแถว

คอนโดมิเนียม

รวม

สำหรับที่อยู่อาศัยที่เปิดขายใหม่ที่ในปี 2552 (ดูรูปที่ 2) ตลาดมีการปรับตัวอย่างมากโดยอาคารชุดเปิดขายลดลงถึง 23.4% หลังจากมี การเปิดตัวอาคารชุดเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ซึ่งจำนวนที่อยู่อาศัยที่เปิดขายใหม่ทั้งหมดลดลงจากช่วงเวลาเดียวของปีที่ผ่าน มาถึง 14.6% ผู้ประกอบการรายใหญ่ซึ่งมี Backlog อยู่จำนวนมากให้ความสำคัญกับการเร่งการก่อสร้างและเร่งโอนมากกว่าการเปิดโครงการ ใหม่ ส่งผลให้ในปีนี้หน่วยเปิดขายใหม่ลดลงค่อนข้างมาก แต่ยังคงมีการแข่งขันที่สูง เนื่องจากมีปริมาณสินค้าสร้างเสร็จและระหว่างก่อสร้าง จำนวนมาก ส่วนโครงการทาวน์เฮ้าส์และบ้านเดี่ยวนั้นมีการเปิดตัวลดลงเล็กน้อยประมาณร้อยละ 5.8 และ 4.7 ตามลำดับ ซึ่งส่วนใหญ่ เป็นการเร่งเปิดตัวมากขึ้นในช่วงปลายปี จากการผู้ประกอบการมีความมั่นใจในสถานการณ์การขายมากขึ้นรวมทั้งสามารถควบคุมสินค้าคง เหลือได้ในระดับที่เหมาะสมแล้ว จากข้อมูลดังกล่าวจึงอาจกล่าวได้ว่า สินค้าที่กำลังเปิดขายอยู่ ณ ปัจจุบันนั้นอาจจะยังไม่ได้มีการก่อสร้าง หรืออยู่ระหว่างก่อสร้าง ซึ่งมีความยืดหยุ่นของการลงทุนในระดับหนึ่ง

บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน)

43


จำนวนหน่วยที่เปิดขายใหม่ เปรียบเทียบระหว่างปี 2551 กับ 2552 2551 2552 บ้านเดี่ยว 11,707 11,157 บ้านแฝด 3,354 2,665 ทาวน์เฮ้าส์ 20,243 19,079 คอนโดมิเนียม 31,322 23,993 รวม 66,626 56,894 ที่มา: บริษัท Agency for Real Estate Affairs รูปที่ 2 เปรียบเทียบจำนวนหน่วยที่เปิดขายใหม่ (แบ่งตามประเภทที่อยู่อาศัย) ปี 2551 กับ 2552 70,000

2551

60,000

เปลี่ยนแปลง % -4.7% -20.5% -5.8% -23.4% -14.6%

-14.6%

2552

50,000 40,000

-23.4%

30,000

-5.8%

20,000

-4.7%

10,000

-20.5% บ้านเดี่ยว

รายงานประจำปี 2552

44

บ้านแฝด

ทาว์นเฮ้าส์

คอนโดมิเนียม

รวม


ข้อมูลอื่น ๆ โครงสร้างเงินทุน

หลักทรัพย์ของบริษัทหุ้นสามัญ ณ สิ้นงวดบัญชี 31 ธ.ค. 2550 31 ธ.ค. 2551 31 ธ.ค. 2552 ทุนจดทะเบียน - มูลค่า (บาท) 6,213,565,176 6,552,000,000 6,552,000,000 - จำนวน (หุ้น) 1,035,594,196 1,092,000,000 1,092,000,000 ทุนจดทะเบียนชำระแล้ว - มูลค่า (บาท) 4,724,947,164 4,726,329,720 4,726,329,720 - จำนวน (หุ้น) 787,491,194 787,721,620 787,721,620 - มูลค่าที่ตราไว้ (บาทต่อหุ้น) 6.00 6.00 6.00 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 บริษัทมีทุนจดทะเบียนจำนวน 6,552,000,000 บาท (หุ้นสามัญ 1,092,000,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 6 บาท) เพิ่มขึ้น 338,434,824 บาท (หุ้นสามัญ 56,405,804 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 6.00 บาท) จากทุนจดทะเบียนจำนวน 6,213,565,176 บาท (หุ้นสามัญ 1,035,594,196 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 6.00 บาท) ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 อันเป็นผลจากมติที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2551 เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2551 ที่มีมติอนุมัติให้ลดทุนจดทะเบียนจากทุนจดทะเบียน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 จำนวน 6,213,565,176 บาท (หุ้นสามัญ 1,035,594,196 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 6.00 บาท) เป็น 5,589,565,176 บาท (หุ้นสามัญจำนวน 931,594,196 หุ้น มูลค่าที่ ตราไว้หุ้นละ 6.00 บาท) โดยการตัดหุ้นสามัญจดทะเบียนที่ยังมิได้นำออกจำหน่ายจำนวน 104,000,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 6.00 บาท รวมเป็นเงิน 624,000,000 บาท ซึ่งสำรองไว้เพื่อรองรับการใช้สิทธิแปลงสภาพหุ้นกู้เป็นหุ้นสามัญ และมีมติอนุมัติให้เพิ่มทุนจดทะเบียนจาก เดิม 5,589,565,176 บาท (หุ้นสามัญจำนวน 931,594,196 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 6.00 บาท) เป็น 6,552,000,000 บาท (หุ้นสามัญจำนวน 1,092,000,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 6.00 บาท) เพื่อรองรับการใช้สิทธิแปลงสภาพหุ้นกู้เป็นหุ้นสามัญ โดยบริษัทได้จดทะเบียนการลด ทุนและเพิ่มทุนดังกล่าวกับกระทรวงพาณิชย์เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2551 และเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2551 ตามลำดับ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 บริษัทมีทุนจดทะเบียนจำนวน 6,552,000,000 บาท (หุ้นสามัญจำนวน 1,092,000,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้ หุ้นละ 6.00 บาท) และมีทุนจดทะเบียนชำระแล้วจำนวน 4,726,329,720 บาท (หุ้นสามัญจำนวน 787,721,620 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 6.00 บาท) ใบสำคัญแสดงสิทธิ (1) ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญสำหรับเจ้าหนี้ไม่มีประกัน ตามแผนฟื้นฟูกิจการ บริษัทต้องดำเนินการออกใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญของบริษัทให้แก่เจ้าหนี้ไม่มี ประกันในอัตราหนี้ 1,000 บาท ต่อใบสำคัญแสดงสิทธิ 7 หน่วย โดยไม่คิดมูลค่า โดยใบสำคัญแสดงสิทธิ 1 หน่วย มีสิทธิซื้อ หุ้นสามัญของบริษัทได้ 1 หุ้น ในราคาหุ้นละ 0.01 บาท ทั้งนี้ บริษัทได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลัก ทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ให้เสนอขายใบสำคัญแสดงสิทธิจำนวน 53,000,000 หน่วย อายุ 10 ปี นับจากออกใบสำคัญ แสดงสิทธิในวันที่ 7 พฤศจิกายน 2545 โดยไม่คิดมูลค่า และมีกำหนดระยะเวลาการใช้สิทธิทุกวันสุดท้ายของไตรมาส 2 และไตรมาส 4 ของปี โดยเริ่มจากไตรมาส 4 ปี 2545 ต่อมา เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำสั่งยกคำร้องการขอรับชำระหนี้ ของเจ้าหนี้บางส่วน ทำให้บริษัทจัดสรรไปสำคัญแสดงสิทธิให้แก่เจ้าหนี้ไม่มีประกันได้เพียง 50,930,000 หน่วย คงเหลือใบ สำคัญแสดงสิทธิที่ยังมิได้จัดสรรจำนวน 2,070,000 หน่วย ซึ่งที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2548 มีมติอนุมัติให้ยกเลิกใบ สำคัญแสดงสิทธิที่คงเหลือจากการจัดสรรทั้งจำนวน ทั้งนี้ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 บริษัทคงเหลือใบสำคัญแสดงสิทธิที่ ยังไม่ได้มีการใช้สิทธิจำนวน 8,870,076 หน่วย (2) ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญสำหรับกรรมการและ/หรือพนักงานของบริษัทในวงจำกัด (ESOP) ที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นของบริษัทประจำปี 2548 ซึ่งประชุมเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2548 มีมติอนุมัติให้ออกใบสำคัญ แสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญของบริษัทให้แก่กรรมการและ/หรือพนักงานของบริษัทในวงจำกัด (ESOP) โดยไม่คิดมูลค่า จำนวน 39,000,000 หน่วย โดยผู้ถือใบสำคัญแสดงสิทธิดังกล่าวมีสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญของบริษัทในอัตราส่วนใบสำคัญ แสดงสิทธิ 1 หน่วยต่อหุ้นสามัญ 1 หุ้น ในราคาหุ้นละ 6.00 บาท โดยจะต้องใช้สิทธิภายใน 5 ปี นับแต่วันที่ออกใบสำคัญ แสดงสิทธิ ซึ่งขณะนี้บริษัท ยังไม่ได้ดำเนินการออกใบสำคัญแสดงสิทธิแต่อย่างใด

บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน)

45


ต่อมา ที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2551 วันที่ 20 มิถุนายน 2551 มีมติอนุมัติให้ยกเลิกการออกและจัดสรรหุ้น สามัญจำนวน 39,000,000 หุ้นที่ได้สำรองไว้เพื่อรองรับการใช้สิทธิซื้อหุ้นสามัญของผู้ถือใบสำคัญแสดงสิทธิที่บริษัทออกและ เสนอขายให้แก่กรรมการ และ/หรือ พนักงานของบริษัทในวงจำกัดตามโครงการ ESOP ที่เคยได้รับอนุมัติจากที่ประชุม สามัญผู้ถือหุ้นของบริษัทประจำปี 2548 เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2548

หุ้นกู้แปลงสภาพ ครั้งที่ 1/2548 วันที่ออกหุ้นกู้ : ชนิดของหุ้นกู้ : เสนอขายต่อ : จำนวนหุ้นกู้ : ราคาหุ้นกู้ต่อหน่วย : อายุหุ้นกู้ : อัตราดอกเบี้ย : การชำระดอกเบี้ย : การชำระคืนเงินต้น : ราคาแปลงสภาพ : ระยะเวลาการใช้สิทธิแปลงสภาพ : ข้อบังคับกำหนดแปลงสภาพ :

เงื่อนไขของผู้ถือหุ้นกู้

:

รายงานประจำปี 2552

46

วันที่ 25 พฤศจิกายน 2548 หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิแปลงสภาพ ระบุชื่อผู้ถือ ไม่มีประกันและไม่มีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ผู้ลงทุนประเภทสถาบันต่างประเทศเฉพาะเจาะจงเป็นเงินสกุลเหรียญสหรัฐอเมริกา ทั้งนี้ ผู้ลงทุนสถาบันต่างประเทศเป็นผู้รับความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนทั้งหมด 200,000 หน่วย 100 เหรียญสหรัฐอเมริกา 5 ปี นับแต่วันที่ออกหุ้นกู้แปลงสภาพ คือ วันที่ 25 พฤศจิกายน 2548 อัตราดอกเบี้ยคงที่ร้อยละ 3.50 ต่อปี ทุกวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 25 พฤษภาคม 25 สิงหาคม และ 25 พฤศจิกายนของทุกปีตลอดอายุ ของหุ้นกู้ซึ่งจะมีการจ่ายดอกเบี้ยครั้งแรกในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2549 เฉพาะหุ้นกู้ส่วนที่ไม่ได้ใช้สิทธิแปลงสภาพ ให้ชำระคืนเป็นเงินสกุลเหรียญสหรัฐอเมริกา พร้อม ส่วนที่เกินจากมูลค่าที่ตราไว้ในอัตราร้อยละ 31.60 ของมูลค่าที่ตราไว้ โดยจำนวนเงินที่ชำระคืน

ข้างต้น ให้ยึดอัตราแลกเปลี่ยนที่กำหนดไว้ ณ วันที่ออกหุ้นกู้แปลงสภาพ (41.15 บาทต่อเหรียญ สหรัฐฯ) หุ้นละ 6.25 บาท ภายหลังจากการเสนอขายหุ้นกู้ 18 เดือน จนถึงวันที่ครบกำหนดไถ่ถอนหุ้นกู้ แต่การใช้สิทธิ แปลงสภาพ หุ้นกู้แต่ละครั้ง จะต้องมีมูลค่าไม่ต่ำกว่า 1 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา บริษัทมีสิทธิเรียกให้ผู้ถือหุ้นกู้ใช้สิทธิแปลงสภาพหุ้นกู้เป็นหุ้นสามัญได้เป็นจำนวน 1 ใน 3 ของจำนวนหุ้นกู้แปลงสภาพที่ผู้ถือหุ้นได้รับจัดสรรในครั้งแรก เมื่อ 1. ปริมาณการซื้อขายหุ้นสามัญของบริษัทถัวเฉลี่ยในช่วง 45 วันทำการซื้อขายในตลาด หลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ก่อนวันที่บริษัทเรียกให้ผู้ถือหุ้นกู้ใช้สิทธิแปลงสภาพสูงเกิน กว่า 10 ล้านหุ้น และ 2. ราคาปิดถัวเฉลี่ยของหุ้นสามัญของบริษัทที่ทำการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศ ไทยในช่วง 60 วันทำการก่อนวันที่บริษัทเรียกให้ผู้ถือหุ้นกู้ใช้สิทธิแปลงสภาพ และราคา ปิดในช่วง 5 วันทำการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ก่อนวันที่บริษัทเรียก ให้ผู้ถือหุ้นกู้ใช้สิทธิแปลงสภาพสูงเกินกว่า - ร้อยละ 130 ของราคาใช้สิทธิแปลงสภาพ สำหรับปีที่ 1-2 - ร้อยละ 150 ของราคาใช้สิทธิแปลงสภาพ สำหรับปีที่ 3 - ร้อยละ 175 ของราคาใช้สิทธิแปลงสภาพ สำหรับปีที่ 4-5 หลังจากนั้น บริษัทสามารถบังคับให้ผู้ถือหุ้นกู้แปลงสภาพหุ้นกู้เป็นหุ้นสามัญได้อีกครั้งละ 1 ใน 3 ของจำนวนหุ้นกู้แปลงสภาพที่ผู้ถือหุ้นกู้ได้รับการจัดสรรในครั้งแรก โดยมีเงื่อนไขดังนี้ 1. ผู้ถือหุ้นกู้แปลงสภาพที่ถูกบังคับแปลงสภาพในครั้งก่อนได้จำหน่ายหุ้นสามัญที่เกิดจาก การใช้สิทธิแปลงสภาพในครั้งก่อนทั้งจำนวนแล้ว หรือ 2. หลังจากที่บริษัทได้เรียกให้ผู้ถือหุ้นกู้ใช้สิทธิแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญครั้งก่อนได้ไม่น้อย กว่า 60 วันทำการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ทัง้ นี้ ปริมาณการซือ้ ขายหุน้ สามัญและราคาปิดถัวเฉลีย่ ของหุน้ สามัญจะต้องเป็นไปตามเงือ่ นไข 1. และ 2. ข้างต้น ผู้ลงทุนสถาบันต่างประเทศเฉพาะเจาะจงที่ได้ซื้อ และชำระเงินหุ้นกู้เป็นจำนวนตั้งแต่ 20 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกาขึ้นไป บริษัทจะจัดให้มีการประชุมเพื่อแต่งตั้งให้บุคคลที่ผู้ลงทุน

ต่างประเทศให้ความเห็นชอบเข้าเป็นกรรมการบริษัทจำนวน 1 ท่าน


ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 บริษัทได้บันทึกสำรองสำหรับหุ้นกู้ส่วนที่ไม่ได้ใช้สิทธิแปลงสภาพตามอายุของหุ้นกู้ไม่ ด้อยสิทธิแปลงสภาพ โดยแสดงเป็นหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิแปลงสภาพ-องค์ประกอบที่เป็นหนี้สิน จำนวน 812.56 ล้านบาทและ สำรองสำหรับหู้นกู้ส่วนที่ไม่ได้ใช้สิทธิแปลงสภาพ จำนวน 202.91 ล้านบาท

หุ้นกู้ หุ้นกู้ของบริษัทที่ยังไม่ได้ไถ่ถอน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 มีรายละเอียดดังนี้ (ก)

หุ้นกู้มีประกันครั้งที่ 1/2552 โดยมีรายละเอียดสำคัญดังนี้

(ข)

ชื่อเฉพาะหุ้นกู้ : “หุ้นกู้มีประกันของบริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน) ครั้งที่ 1/2552 ครบกำหนดไถ่ถอน ปี พ.ศ. 2555” ประเภทของหุ้นกู้ : หุ้นกู้ชนิดระบุชื่อผู้ถือ ประเภทมีประกัน และมีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ จำนวนหุ้นกู้ : 520,000 หน่วย มูลค่าที่ตราไว้หน่วยละ : 1,000 บาท มูลค่าหุ้นกู้ : 520 ล้านบาท วิธีเสนอขาย : เสนอขายให้กับนักลงทุนทั่วไปและผู้ลงทุนสถาบัน วันที่ออกหุ้นกู้ : วันที่ 3 มิถุนายน 2552 อายุ : อายุ 3 ปี นับจากวันที่ออกหุ้นกู้ วันที่ครบกำหนดไถ่ถอน : วันที่ 3 มิถุนายน 2555 อัตราดอกเบี้ย : อัตราดอกเบี้ยคงที่ร้อยละ 6 ต่อปี กำหนดชำระดอกเบี้ย : วันที่ 3 มีนาคม 3 มิถุนายน 3 กันยายน และ 3 ธันวาคม ของทุกปีตลอดอายุหุ้นกู้ การชำระคืนเงินต้น : ชำระเงินต้นในวันครบกำหนดไถ่ถอน คือ วันที่ 3 มิถุนายน 2555 การไถ่ถอนคืนก่อนกำหนด : ไม่มี เงื่อนไขอื่นที่สำคัญ : บริษัทต้องดำรงสัดส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้นไว้ไม่เกิน 1.75 ต่อ 1 การจัดอันดับ ความน่าเชื่อถือของหุ้นกู้ : อันดับเครดิต BBB+ โดยบริษัท ฟิชท์เรทติ้ง (ประเทศไทย) ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ : ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) นายทะเบียนหุ้นกู้ : ธนาคารทหารไทยจำกัด (มหาชน) ตลาดรองของหุ้นกู้ : สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย หุ้นกู้มีประกันครั้งที่ 2/2552 จำนวน 2 ชุด โดยมีรายละเอียดสำคัญดังนี้ ชื่อเฉพาะหุ้นกู้ ประเภทของหุ้นกู้ จำนวนหุ้นกู้ มูลค่าที่ตราไว้หน่วยละ มูลค่าหุ้นกู้ วิธีเสนอขาย วันที่ออกหุ้นกู้

: : : : : : :

1. หุน้ กูช้ ดุ ที่ 1 : “หุน้ กูม้ ปี ระกันของบริษทั พร็อพเพอร์ต้ี เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน) ครัง้ ที่ 2/2552 ชุดที่ 1 ครบกำหนดไถ่ถอน ปี พ.ศ. 2554” 2. หุน้ กูช้ ดุ ที่ 2 : “หุน้ กูม้ ปี ระกันของบริษทั พร็อพเพอร์ต้ี เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน) ครัง้ ที่ 2/2552 ชุดที่ 2 ครบกำหนดไถ่ถอน ปี พ.ศ. 2555” หุ้นกู้ชนิดระบุชื่อผู้ถือ ประเภทมีประกัน และมีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ 1. หุ้นกู้ชุดที่ 1 : 300,000 หน่วย 2. หุ้นกู้ชุดที่ 2 : 800,000 หน่วย 1,000 บาท 1. หุ้นกู้ชุดที่ 1 : 300 ล้านบาท 2. หุ้นกู้ชุดที่ 2 : 800 ล้านบาท เสนอขายให้กับนักลงทุนทั่วไปและผู้ลงทุนสถาบัน 1. หุ้นกู้ชุดที่ 1 : วันที่ 14 สิงหาคม 2552 2. หุ้นกู้ชุดที่ 2 : วันที่ 14 สิงหาคม 2552

บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน)

47


อายุ : วันที่ครบกำหนดไถ่ถอน : อัตราดอกเบี้ย : กำหนดชำระดอกเบี้ย : การชำระคืนเงินต้น : การไถ่ถอนคืนก่อนกำหนด : เงื่อนไขอื่นที่สำคัญ : การจัดอันดับ ความน่าเชื่อถือของหุ้นกู้ : ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ : นายทะเบียนหุ้นกู้ : ตลาดรองของหุ้นกู้ :

1. หุ้นกู้ชุดที่ 1 : อายุ 1 ปี 6 เดือน นับจากวันที่ออกหุ้นกู้ 2. หุ้นกู้ชุดที่ 2 : อายุ 3 ปี นับจากวันที่ออกหุ้นกู้ 1. หุ้นกู้ชุดที่ 1 : วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2554 2. หุ้นกู้ชุดที่ 2 : วันที่ 14 สิงหาคม 2555 1. หุ้นกู้ชุดที่ 1 : อัตราดอกเบี้ยคงที่ร้อยละ 4.85 ต่อปี 2. หุ้นกู้ชุดที่ 1 : อัตราดอกเบี้ยคงที่ร้อยละ 6 ต่อปี วันที่ 14 กุมภาพันธ์ วันที่ 14 พฤษภาคม วันที่ 14 สิงหาคม และวันที่ 14 พฤศจิกายน ของแต่ละปี ตลอดอายุหุ้นกู้ 1. หุ้นกู้ชุดที่ 1 : ชำระเงินต้นในวันครบกำหนดไถ่ถอน คือ วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2554 2. หุ้นกู้ชุดที่ 2 : ชำระเงินต้นในวันครบกำหนดไถ่ถอน คือ วันที่ 14 สิงหาคม 2555 ไม่มี บริษัทต้องดำรงสัดส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้นไว้ไม่เกิน 1.75 ต่อ 1 อันดับเครดิต BBB/Stable โดยบริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย

หุ้นกู้มีประกันของบริษัท ไบรท์ ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2551 บริษัท ไบรท์ ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (“ไบรท์”) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัทได้ออกและเสนอขาย หุ้นกู้มีประกันจำนวน 462,150 หน่วย มูลค่าหน่วยละ 1,000 บาท มูลค่ารวม 462,150,000 บาท ให้กับสถาบันการเงินแห่งหนึ่งตามที่ ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นของไบรท์ เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2550 โดยหุ้นกู้ดังกล่าวมีกำหนดไถ่ถอนในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2551 และมีอัตราดอกเบี้ย THBFIX บวกด้วยส่วนต่างในอัตราร้อยละ 5.55256 ต่อปี และค้ำประกันโดยบริษัทรวมทั้งการ จดจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างในโครงการบางส่วนของบริษัทและไบรท์ และการจำนำหุ้นสามัญของไบรท์ที่ถือโดยบริษัท ต่อมาเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2552 ไบรท์ฯ ได้ทำสัญญาแก้ไขรายละเอียดของหุ้นกู้กับสถาบันการเงินดังกล่าว โดยมี กำหนดไถ่ถอนพร้อมดอกเบี้ยเป็นรายงวด และจะต้องชำระทั้งหมดภายในเดือนพฤษภาคม 2552 และมีอัตราดอกเบี้ย THBFIX บวก ด้วยส่วนต่างในอัตราร้อยละ 8.55256 ต่อปี และเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2522 ไบรท์ฯได้ทำสัญญาแก้ไขรายละเอียดของหุ้นกู้กับ สถาบันการเงินดังกล่าว โดยมีกำหนดไถ่ถอนพร้อมดอกเบี้ยเป็นรายงวดและจะต้องชำระทั้งหมดภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2553 และ มีอัตราดอกเบี้ย THBFIX บวกด้วยส่วนต่างในอัตราร้อยละ 8.55256 ต่อปี จนถึงเดือนพฤศจิกายน 2552 และอัตราดอกเบี้ย THBFIX บวกด้วยส่วนต่างในอัตราร้อยละ 10.05256 ต่อปีในระหว่างเดือนธันวาคม 2552 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2553 ปัจจุบัน ไบรท์ฯได้ชำระ หุ้นกู้ดังกล่าว

หุ้นกู้มีข้อปฏิบัติและข้อจำกัดบางประการตามปกติธุรกิจของบริษัทฯและบริษัทย่อย

รายงานประจำปี 2552

48


ประวัติผู้บริหารผู้มีอำนาจควบคุมของบริษัท ชื่อ – สกุล / ตำแหน่ง

อายุ (ปี)

คุณวุฒิทางการศึกษา

ความ สัมพันธ์ สัดส่วน การ ทาง ถือหุ้นใน ครอบครัว บริษัท (%) ระหว่าง ผู้บริหาร

ประสบการณ์ทำงานในระยะ 5 ปี ย้อนหลัง

ช่วงเวลา

ตำแหน่ง

ชื่อหน่วยงาน / บริษัท / ประเภทธุรกิจ

1

ดร.ธวัชชัย นาคะตะ ประธานกรรมการบริษัท ประธานกรรมการบริหาร ประธานคณะกรรมการ พิจารณาค่าตอบแทนฯ กรรมการผู้มีอำนาจลงนาม ผูกพันบริษัท

62

• ดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ • Audit Committee Program (ACP) 13/2006 ; Director Accreditation Program (DAP) 52/2006 ; สมาคมส่งเสริม สถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD)

0.001 %

ปี 2535 – ปัจจุบัน ปี 2549 - ปัจจุบัน ปี 2538 - ปี 2549 ปี 2538 - ปัจจุบัน ปี 2527 – ปี 2538 ปี 2521 – ปี 2527

ประธานกรรมการบริษัท/ ประธานกรรมการบริหาร/ ประธานคณะกรรมการ พิจารณาค่าตอบแทนฯ ประธานกรรมการ กรรมการผู้จัดการ วุฒิวิศวกร วย.736 วิศวกรทีป่ รึกษา/กรรมการผูจ้ ดั การ หัวหน้าหน่วยวิจัย กองก่อสร้าง

บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน) บริษัท ซีด้า จำกัด บริษัท ซีด้า จำกัด สภาวิศวกร บริษัท ซีด้า จำกัด กรมโยธาธิการ กระทรวงมหาดไทย

2

นายชายนิด โง้วศิริมณี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร รองประธานกรรมการ บริหาร กรรมการผู้มีอำนาจลงนาม ผูกพันบริษัท

55

• นิติศาสตร์บัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย • เนติบัณฑิตไทย สำนักอบรมศึกษากฎหมาย แห่งเนติบัณฑิตยสภา

0.844%

ปี 2528 – ปัจจุบัน ปี 2550 - ปัจจุบัน ปี 2545 – ปัจจุบัน ปี 2542 – ปัจจุบัน ปี 2538 – ปัจจุบัน

ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร/ รองประธานคณะกรรมการ บริหาร กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ

3

นายสมศักดิ์ โตรักษา กรรมการ กรรมการอิสระ กรรมการตรวจสอบ กรรมการสรรหาฯ

58

0.0000 %

ปี 2541 – ปัจจุบัน ปี 2536 – ปัจจุบัน

กรรมการ/กรรมการอิสระ/ กรรมการตรวจสอบ และ กรรมการสรรหาฯ กรรมการผู้จัดการ

4

นายวิทยา เนติวิวัฒน์ กรรมการที่ไม่ได้เป็น ผู้บริหาร กรรมการสรรหาฯ กรรมการพิจารณา ค่าตอบแทนฯ

55

1.343%

ปี 2547 – ปัจจุบัน ปี 2529 – ปัจจุบัน

กรรมการที่ไม่ได้เป็นผู้บริหาร กรรมการสรรหาฯ/ กรรมการพิจารณาค่าตอบแทนฯ กรรมการผู้จัดการ

บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน) บริษัท สำนักงานกฎหมายบรรจงแอนด์วิทยา จำกัด / กฎหมาย

5

นายวีระยุค พันธุเพชร กรรมการ กรรมการอิสระ ประธานกรรมการ ตรวจสอบ

63

• ปริญญาโท นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง • Audit Committee Program (ACP) 13/2006 Director Certificate Program (DAP) 52/2006 ; สมาคมส่งเสริมสถาบัน กรรมการบริษัทไทย (IOD) • ปริญญาโท กฎหมาย มหาวิทยาลัยยอร์ช วอชิงตัน,สหรัฐอเมริกา • นิติศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ • Director Accreditation program(DAP)77/2005; สมาคมส่งเสริมสถาบัน กรรมการบริษัทไทย(IOD) • ปริญญาโท วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต • ปริญญาตรี รัฐศาสตร์บัณฑิต • ประกาศนียบัตรชั้นสูง ด้านการวิเคราะห์นโยบาย ทางการเงิน สถาบันฝึกอบรมกองทุน การเงินระหว่างประเทศ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี., สหรัฐอเมริกา • ประกาศนียบัตรชั้นสูง ด้านการพัฒนาตลาดหลักทรัพย์ สำนั ก งานกำกั บ หลั ก ทรั พ ย์ แ ละ ตลาดหลักทรัพย์ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี., สหรัฐอเมริกา • ประกาศนียบัตรชั้นสูง ด้านการพัฒนาผู้บริหาร มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด, สหรัฐอเมริกา

บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน) บริษัท ไบรท์ ดีเวลลอปเมนท์ กรุงเทพ จำกัด /พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ บริษัท เซ็นเตอร์พ้อยท์ ช็อปปิ้ง มอลล์ จำกัด /พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ บริษัท กรุงเทพบ้านและที่ดิน จำกัด (มหาชน) / พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ บริษัท เอสเตท เพอร์เฟ็คท์ จำกัด / พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ บริษัท ไทย พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) / พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ [เดิมชื่อ บริษัท รัตนการเคหะ จำกัด (มหาชน)] บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน) บริษัทสำนักกฎหมายสมศักดิ์ โตรักษา จำกัด / กฎหมาย

0.000%

ปี 2550 – ปัจจุบัน ปี 2549 ปี 2548 – ปี 2549 ปี 2547 ปี 2543 – ปี 2547 ปี 2541 – ปี 2543 ปี 2539 – ปี 2543 ปี 2537 – ปี 2541 ปี 2537 ปี 2532 ปี 2529 ปี 2522 – ปี 2523 ปี 2515

กรรมการ/กรรมการอิสระ/ ประธานกรรมการตรวจสอบ ข้าราชการบำนาญ ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี หัวหน้า ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ผู้ตรวจราชการ / ผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการ / ผู้อำนวยการ ผู้อำนวยการ ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านเงินกู้ ผู้อำนวยการ ผู้อำนวยการ ผู้อำนวยการ ผู้ช่วยกรรมการบริหารประจำ ประเทศในกลุ่ม SEA Group วิทยากรโท / หัวหน้าฝ่าย

บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน) สังกัดสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ฝ่ายข้าราชการประจำด้านการค้าระหว่าง ประเทศ สำนักงานผู้แทนการค้าไทย ฝ่ายราชการประจำ สำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงการคลัง / สำนักงานกองทุนรวม วายุภักษ์ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง / สำนักอำนวย การจัดประชุมประจำปี สภาผู้ว่าการธนาคาร พัฒนาเอเชีย ครั้งที่ 33 สำนักงานกองทุนให้ความช่วยเหลือพัฒนา เศรษฐกิจ แก่ประเทศเพื่อนบ้าน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กองนโยบายการออมและการลงทุน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กองนโยบายตลาดทุน สำนักงานเศรษฐกิจ การคลัง กองนโยบายการเงินและสถาบันการเงิน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ธนาคารโลก กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐอเมริกา ประจำกองควบคุมธนาคารและ การออมสิน / ภาษีสรรพสามิต กองนโยบายภาษี สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง

บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน)

49


ชื่อ – สกุล / ตำแหน่ง

อายุ (ปี)

คุณวุฒิทางการศึกษา

6

นายไพรัตน์ เสนาจักร์ กรรมการ กรรมการบริหาร รองประธานเจ้าหน้าที่ ฝ่ายปฏิบัติการ กรรมการผู้มีอำนาจ ลงนามผูกพันบริษัท

60

• • •

7

นายเดวิด ไบรซ์ ฟาน ออฟเพน กรรมการที่ไม่ได้เป็น ผู้บริหาร

43

• •

8

ดร.ธรรมนูญ อานันโทไทย กรรมการ กรรมการอิสระ กรรมการตรวจสอบ ประธานคณะกรรมการ สรรหาฯ กรรมการพิจารณา ค่าตอบแทนฯ

52

• • • • •

9

นายออย บูน อัน กรรมการที่ไม่ได้เป็น ผู้บริหาร

รายงานประจำปี 2552

51

50

MINI MBA มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ บริหารธุรกิจบัณฑิต มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ Director Certification Program(DCP)74/2006, Director Accreditation Program(DAP)30/2004; สมาคมส่งเสริมสถาบัน กรรมการบริษัทไทย (IOD) ปริญญาโท เศรษฐศาสตร์ นานาชาติ และการศึกษาเอเชีย, มหาวิทยาลัยฮอปกิ้นส์ ศิลปศาสตร์บัณฑิต ด้านความสัมพันธ์นานาชาติ วิทยาลัยโพโนมา

ประสบการณ์ทำงานในระยะ 5 ปี ย้อนหลัง

ความ สัมพันธ์ สัดส่วน การ ทาง ถือหุ้นใน ครอบครัว บริษัท (%) ระหว่าง ผู้บริหาร

ช่วงเวลา

ชื่อหน่วยงาน / บริษัท / ประเภทธุรกิจ

ตำแหน่ง

0.000 %

ปี 2539 – ปัจจุบัน กรรมการ / กรรมการบริหาร รองประธานเจ้าหน้าที่ ฝ่ายปฏิบัติการ

บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน)

0.000 %

ปี 2550 – ปัจจุบัน ปี 2541 – ปัจจุบัน ปี 2538 – ปี 2541 ปี 2536 – ปี 2538 ปี 2531 – ปี 2534 ปี 2548 – ปัจจุบัน ปี 2551 – ปัจจุบัน ปี 2550 – ปัจจุบัน ปี 2550 – ปัจจุบัน ปี 2549 – ปัจจุบัน ปี 2548 – ปัจจุบัน ปี 2547 – ปัจจุบัน ปี 2544 – ปัจจุบัน ปี 2544 – ปัจจุบัน ปี 2540 – ปัจจุบัน ปี 2545 – ปี 2546 ปี 2541 – ปี 2545

กรรมการที่ไม่ได้เป็นผู้บริหาร กรรมการ ผูอ้ ำนวยการ / ผูจ้ ดั การฝ่ายลงทุน นักวิเคราะห์การเงินอาวุโส ผู้จัดการ กรรมการ / กรรมการอิสระ/ กรรมการ ตรวจสอบ/ ประธานคณะกรรมการสรรหาฯ และกรรมการพิจารณาค่า ตอบแทนฯ กรรมการ / กรรมการตรวจสอบ Vice Chairman / ประธาน กรรมการตรวจสอบ กรรมการ / ประธานกรรมการ ตรวจสอบ กรรมการ / ประธานกรรมการ ตรวจสอบ กรรมการ / กรรมการตรวจสอบ กรรมการบริหาร คณะกรรมการบริหาร / อนุกรรมการสำนักงานหักบัญชี กรรมการ ในคณะอนุกรรมการ บริหารการลงทุน กรรมการ ในคณะกรรมการสาย งานเศรษฐกิจ คณบดี คณะบริหารธุรกิจ กรรมการผูจ้ ดั การ / ประธานเจ้า หน้าทีบ่ ริหาร President & CEO

บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน) บริษัท เจนเนอรัล เอ็นเตอร์ไพรซ์ แมเนจเม้นท์ เซอร์วิส(ฮ่องกง) จำกัด บริษัท ลาซาร์ด เอเชีย (ฮ่องกง) จำกัด / บริษัท ลาซาร์ด เอเชีย อินเวสเม้นท์ แมเนจเม้นท์ จำกัด บริษัท สมิท บาร์นี่ อินช์ บริษัท ซันมาร์ ชิปปิ้ง บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน) มหาวิทยาลัยกรุงเทพ / มหาวิทยาลัย บริษัท เบตเตอร์ เวิลด์ กรีน จำกัด (มหาชน) บริษัท ไอเอฟเอส แคปปิตอล (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) บริษัท โรงพิมพ์ตะวันออก จำกัด (มหาชน) บริษัท เอื้อวิทยา จำกัด (มหาชน) บริษัทหลักทรัพย์ เมอร์ชั่น พาร์ทเนอร์ จำกัด ในคณะกรรมการตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า แห่งประเทศไทย กองทุนประกันสังคม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ / มหาวิทยาลัย บริษัทหลักทรัพย์ ดีบีเอส ไทยทนุ จำกัด / หลักทรัพย์

กรรมการที่ไม่ได้เป็นผู้บริหาร Financial & Management Consultancy Managing Director Executive Director Group Vice Chairman / President Executive Director Chief Executive Officer

บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน) East Alliance Assets Limited (“EAAL”) Depfa Investment Bank Ltd., Standard Bank Group and the Group Subsidiary Standard Bank Asia Ltd., TCC Group of Companies London Forfaiting Company PLC (“LFC”) LFC’s Asian operation

0.000 % Ph.D., International Management, Walden University, Naples, Florida U.S.A. A.C.A. Certificate, American Accreditation Council for Accountancy, U.S.A. M.B.A., Management, The University of Sarasota- Sarasota Florida, U.S.A B.A., Accountancy & Management, Eckerd College-St. Petersburg, U.S.A. Audit Committee Program(ACP) 10/2005, Director Accreditation Program(DAP) 48/2005, Director Certification Program (RCP) 14/2006, Understanding the Fundamental of Financial Statement (UFS) 7/2007; สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการ บริษัทไทย (IOD) Bachelor of Business 0.000 % Administration National University of Singapore

ปี 2551 - ปัจจุบัน ปี 2550 – ปัจจุบัน ปี 2547 – ปี 2550 ปี 2546 – ปี 2547 ปี 2541 – ปี 2546 ปี 2532 - ปี 2541


ชื่อ – สกุล / ตำแหน่ง

อายุ (ปี)

คุณวุฒิทางการศึกษา

ความ สัมพันธ์ สัดส่วน การ ทาง ถือหุ้นใน ครอบครัว บริษัท (%) ระหว่าง ผู้บริหาร

10 นางสาวศิรริ ตั น์ วงศ์วฒ ั นา กรรมการ กรรมการบริหาร ผู้ช่วยประธานเจ้าหน้าที่ฝ่าย พัฒนาธุรกิจ กรรมการผู้มีอำนาจลงนาม ผูกพันบริษัท

48

• •

ปริญญาโท การเงิน มหาวิทยาลัยฮุสตัน– เครียเลค, เท็กซัส, สหรัฐอเมริกา ปริ ญ ญาตรี ว ิ ท ยาศาสตร์ บ ั ณ ฑิ ต เศรษฐศาสตร์- บริหารธุรกิจการเงิน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

0.000 %

11 นางเนื้อนวล สวัสดิกุล ณ อยุธยา กรรมการ กรรมการอิสระ ประธานกรรมการบริ ห าร ความเสี่ยง

60

• •

ปริญญาตรี สาขาวิชานิติศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เนติบัณฑิตไทย สำนักอบรม ศึกษากฎหมายแห่ง เนติบัณฑิตยสภา

0.003 %

12 นายปราโมทย์ เริ่มยินดี เลขานุการบริษัท

56

• • •

13 นายวิชัย สิงห์วิชา กรรมการบริหาร ประธานเจ้าหน้าที่ ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ

54

• • •

14 นางวนิดา ไวยาวัจมัย รองประธานเจ้าหน้าที่ ฝ่ายปฏิบัติการ

55

• •

นิติศาสตร์บัณฑิต 1.445 % จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เนติบัณฑิตไทย ประกาศนียบัตรบัณฑิตทาง กฎหมายธุรกิจ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ Director Certification Program (DCP ) 69/2006 Director Accreditation Program (DAP) 43/2005 Finance for Non-Finance Director ; สมาคมส่งเสริมสถาบัน กรรมการบริษัทไทย (IOD) ปริญญาโท บริหารธุรกิจ 0.025 % มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นิติศาสตร์บัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย Direct Certificate Program (DCP) 74/2006, Direct Accreditation Program (DAP) 54/2006 ; สมาคมส่งเสริมสถาบัน กรรมการบริษัทไทย (IOD) ปริญญาตรี บัญชี 0.000 % จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย Director Accreditation Program (DAP) 50/2006 ; สมาคมส่งเสริมสถาบัน กรรมการบริษัทไทย (IOD)

ประสบการณ์ทำงานในระยะ 5 ปี ย้อนหลัง

ช่วงเวลา

ตำแหน่ง

ชื่อหน่วยงาน / บริษัท / ประเภทธุรกิจ

ปี 2551 – ปัจจุบัน ปี 2546 – ปี 2549 ปี 2543 – ปี 2546 ปี 2542 – ปี 2543 ปี 2541 – ปี 2542 ม.ค. 2552-ปัจจุบนั ปี 2539 - ปี 2551 ปี 2537 – ปี 2539 ปี 2535 – ปี 2537 ปี 2534 – ปี 2535 ปี 2533 – ปี 2534

กรรมการ/ กรรมการบริหารและ เลขานุการคณะกรรมการบริหาร/ ผู้ช่วยประธานเจ้าหน้าที่ฝ่าย พัฒนาธุรกิจ ผู ้ อ ำนวยการสายงานลงทุ น สัมพันธ์และสารสนเทศ หัวหน้าฝ่ายวิจัย ผูอ้ ำนวยการฝ่ายการตลาด รายย่อย ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่าย กรรมการ / กรรมการอิสระ / ประธานกรรมการบริหาร ความเสียง ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้จัดการฝ่ายอาวุโสฝ่ายสินเชื่อ พาณิชยกรรม และ ฝ่ายสินเชื่อก่อสร้าง ผูจ้ ดั การฝ่ายสินเชือ่ พาณิชยกรรม ผู้จัดการฝ่ายสินเชื่ออุตสาหกรรม และพาณิชยกรรม ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ

บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน) บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน) ฝ่ายวิจัย / บริษัทหลักทรัพย์ บีฟิท จำกัด ฝ่ายการตลาด / บริษัทหลักทรัพย์จัดการ กองทุนรวม บีโอเอ จำกัด ฝ่ายบริหารจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ / ธนาคาร เอเชีย จำกัด(มหาชน) บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน) บริษัท ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) บริษัท ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) บริษัท ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) บริษัท ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) บริษัท ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน)

ปี 2541 – ปัจจุบัน ปี 2535 – ปัจจุบัน ปี 2537 – ปี 2540 ปี 2536

เลขานุการบริษัท หุ้นส่วนผู้จัดการ กรรมการบริหาร กรรมการบริหาร

บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน) คณะบุคคล สำนักงานกฎหมายธรรมาทิตย์ / กฎหมาย บริษัทเงินทุน ทรัพย์ธำรง จำกัด / สถาบันการเงิน บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ศรีนคร จำกัด/ สถาบันการเงิน

ปี 2531 – ปัจจุบัน ประธานเจ้าหน้าที่ ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ

บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน)

ปี 2531 – ปัจจุบัน ปี 2531 – ปี 2550 ปี 2528 – ปี 2531

บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน) บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน) บริษทั เงินทุนหลักทรัพย์ ธนานันต์ จำกัด / สถาบันการเงิน

รองประธานเจ้าหน้าที่ ฝ่ายปฏิบัติการ กรรมการ / กรรมการบริหาร หัวหน้าส่วนบัญชี / ผู้จัดการ ฝ่ายตรวจสอบและวางแผน

บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน)

51


ชื่อ – สกุล / ตำแหน่ง

อายุ (ปี)

คุณวุฒิทางการศึกษา

15 นางสาวสุพีร์ เรี่ยวเดชะ กรรมการบริหาร ผู้ช่วยประธานเจ้าหน้าที่ฝ่าย การเงิน

50

• •

16 นายวงศกรณ์ ประสิทธิ์วิภาต กรรมการบริหาร ผู้ช่วยประธานเจ้าหน้าที่ฝ่าย ปฏิบัติการ

49

• • •

17 นายวิชาญ ศิริเวชวราวุธ กรรมการบริหาร ผู้ช่วยประธานเจ้าหน้าที่ฝ่าย ปฏิบัติการ

49

18 นายสุรศักดิ์ วัชรพงศ์ปรีชา กรรมการบริหาร ผู้ช่วยประธานเจ้าหน้าที่ฝ่าย การเงิน

46

• • •

19 นายธงชัย ปิยสันติวงศ์ กรรมการบริหาร ผู้ช่วยประธานเจ้าหน้าที่ฝ่าย ปฏิบัติการ

46

• ปริญาโท บริหารธุรกิจ Edgewood College, Madison, Winconsin, USA

ความ สัมพันธ์ สัดส่วน การ ทาง ถือหุ้นใน ครอบครัว บริษัท (%) ระหว่าง ผู้บริหาร

ประสบการณ์ทำงานในระยะ 5 ปี ย้อนหลัง

ช่วงเวลา

ตำแหน่ง

ปริญญาโท บริหารธุรกิจ Roosevelt University, USA. ปริญญาตรี เศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

0.000 %

ปี 2545 – ปัจจุบัน ปี 2539 – ปี 2543

กรรมการบริหาร ผู้ช่วยประธานเจ้าหน้าที่ ฝ่ายการเงิน ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ

บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน) บริษัท โรงแรมชายทะเล จำกัด / โรงแรม

ปริญญาโท บริหารธุรกิจ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปริญญาตรี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หลักสูตรบริหารอสังหาริมทรัพย์ (RECU รุ่นที่ 10) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย • ปริญญาโท บริหารธุรกิจ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย • ปริญญาตรี วิศวกรรมศาสตร์-โยธา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

0.034 %

ปี 2551 – ปัจจุบัน ปี 2536 – ปี 2550

กรรมการบริหาร / ผู้ช่วยประธานเจ้าหน้าที่ ฝ่ายปฏิบัติการ ผู้อำนวยการสายงานออกแบบ

บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน) บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน)

ปี 2546 – ปัจจุบัน ปี 2538 – ปี 2544

กรรมการบริหาร / ผู้ช่วยประธานเจ้าหน้าที่ฝ่าย ปฏิบัติการ กรรมการผู้จัดการ

บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน) บริษัท บ้านแพนเอ็นจิเนียริ่งแอนด์โฮลดิ้ง จำกัด

0.126 %

ปี 2551 – ปัจจุบัน ปี 2548 – ปี 2550 ปี 2536 – ปี 2547

กรรมการบริหาร/ ผู้ช่วยประธาน เจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน กรรมการบริหาร/ ผู้อำนวยการ สายงานบัญชี กรรมการบริหาร/ รองผู้อำนวยการสายงานบัญชี

บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน) บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน) บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน)

0.00 %

ปี 2545 – ปัจจุบัน กรรมการบริหาร/ ผู้ช่วยประธาน บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด เจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ (มหาชน) ปี 2544 – ปี 2544 ผู้อำนวยการเขต บริษัท อินเตอร์ไลฟ์ จอห์นแฮนคอค ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) / ประกันชีวิต

ปริญาโท บริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปริญญาตรี บัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต

0.032%

หมายเหตุ - ลำดับที่ 16 นายวงศกรณ์ ประสิทธิ์วิภาต - ลำดับที่ 18 นายสุรศักดิ์ วัชรพงศ์ปรีชา - ลำดับที่ 19 นายธงชัย ปิยสันติวงศ์

รายงานประจำปี 2552

52

ชื่อหน่วยงาน / บริษัท / ประเภทธุรกิจ

ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการบริหาร เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2553 ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2553 ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการบริหาร เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2553 ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2553


รายละเอียดการดำรงตำแหน่งของกรรมการ

ผู้บริหาร และผู้มีอำนาจควบคุม ในบริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน) บริษัทย่อย บริษัทร่วม และบริษัทที่เกี่ยวข้อง ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552

รายชื่อบริษัทย่อย รายชื่อกรรมการ

บริษัท PF

PSS

1. ดร.ธวัชชัย นาคะตะ 2. นายชายนิด โง้วศิริมณี 3. นายวีระยุค พันธุเพชร 4. นายไพรัตน์ เสนาจักร์ 5. นายสมศักดิ์ โตรักษา 6. ดร.ธรรมนูญ อานันโทไทย 7. นายวิทยา เนติวิวัฒน์ 8. นายเดวิด ไบรซ์ ฟาน ออฟเพน 9. นางสาวศิริรัตน์ วงศ์วัฒนา 10. นายออย บูน อัน 11. นางเนื้อนวล สวัสดิกุล ณ อยุธยา 12. นายปราโมทย์ เริ่มยินดี 13. นายวิชัย สิงห์วิชา 14. นางวนิดา ไวยาวัจมัย 15. นางสาวสุพีร์ เรี่ยวเดชะ 16. นายสุรศักดิ์ วัชรพงศ์ปรีชา 17. นายวิชาญ ศิริเวชวราวุธ 18. นายพรสวัสดิ์ เกษจุฬาศรีโรจน์ 19. นายวงศ์กรณ์ ประสิทธิ์วิภาต 20. นายธงชัย ปิยสันติวงศ์ 21. นายนันทชาติ กลีบพิพัฒน์ 22. นางสาวรัศมี เมธาวิกุล 23. นางสาวสุรีย์พร พิพัฒนวัฒนพงษ์ 24. นางธนิดา สุรธำรงค์ 25. นางเจเน็ต มาเรียน เก็ทเด็ท 26. ดร.พิจิตต รัตตกุล 27. นางอุไรวรรณ ภัทรกานต์ 28. นายธงชัย คุณากรปรมัตถ์ 29. นางสาววิลาวัณย์ เหลืองนาคทองดี 30. นายประสงค์ วรารัตนกุล 31. นายเกรียงไกร จิวานันต์ 32. นายเซียง ฟุค เซ็ง 33. นายเชีย คอง ชุน 34. นายลิม อี้ เซ็ง 35. นายชาน คิน ฟาย 36. นายอรรถพงศ์ พรธิติ 37. นางอัญชลี ชวนิชย์ 38. นายภูริชญ์ ประภาวดี 39. นายชัยณรงค์ เงินโสภา

X, XX /, //, /// *, / /, //, /// *, / *, / / / /, //, /// / *, / @ //, /// /// //, /// //, /// //, /// // //, /// //

/ / / /

หมายเหตุ : 1. PF PSS ESTPF Bright Center Point KL REAL

บริษัทย่อย บริษัทร่วม บริษัทอื่น ESTPF Bright Center Point KL REAL / / /, /// /

/ /

หมายถึง บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน) 2. หมายถึง บริษัท เพอร์เฟค แซทเทลไลท์ เซอร์วิสเซส จำกัด หมายถึง บริษัท เอสเตท เพอร์เฟ็คท์ จำกัด หมายถึง บริษัท ไบรท์ ดีเวลลอปเมนท์ กรุงเทพ จำกัด หมายถึง บริษัท เซ็นเตอร์พ้อยท์ ช็อปปิ้ง มอลล์ จำกัด หมายถึง บริษัท กรุงเทพบ้านและที่ดิน จำกัด (มหาชน) หมายถึง บริษัท เรียลเซอร์วิส จำกัด (ปัจจุบันหยุดประกอบธุ รกิจ)

/ /

/ X /, // /, XX / *, / *, / / / / /, // / *, /

/

X หมายถึง ประธานกรรมการ XX หมายถึง ประธานกรรมการบริหาร * หมายถึง กรรมการอิสระ / หมายถึง กรรมการ // หมายถึง กรรมการบริหาร /// หมายถึง ผู้บริหาร @ หมายถึง เลขานุการบริษัท

บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน)

53


ค่าตอบแทนผู้บริหาร ค่าตอบแทนที่เป็นตัวเงิน

บริษัทมีการจ่ายค่าตอบแทนในรูปของเบี้ยประชุมและค่าบำเหน็จกรรมการ สำหรับปี 2551 และ 2552 มีรายละเอียดดังต่อไปนี้ ก.) ค่าตอบแทนฐานะกรรมการ ประจำปี 2551-2552

รายชื่อ ดร.ธวัชชัย

ประธานกรรมการ ประธานคณะกรรมการพิจารณา ค่าตอบแทน ประธานคณะกรรมการบริหาร นายสมศักดิ์ โตรักษา * กรรมการบริษัท / กรรมการตรวจสอบ/ กรรมการสรรหาฯ ดร.ธรรมนูญ อานันโทไทย * กรรมการบริษัท / กรรมการตรวจสอบ กรรมการพิจารณาค่าตอบแทน/ ประธานคณะกรรมการสรรหาฯ / กรรมการบริหารความเสี่ยง นายชายนิด โง้วศิริมณี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และ รองประธานคณะกรรมการบริหาร ดร.ธีระชน มโนมัยพิบูลย์ ** กรรมการบริษัท นายไพรัตน์ เสนาจักร์ กรรมการบริษัท นายวิทยา เนติวิวัฒน์ กรรมการบริษัท / กรรมการสรรหาฯ / กรรมการพิจารณาค่าตอบแทน นายวีระยุค พันธุเพชร * กรรมการบริษัท / ประธานกรรมการตรวจสอบ นางสาวศิริรัตน์ วงศ์วัฒนา กรรมการบริษัท/ กรรมการบริหาร นายเดวิด ไบร์ซ ฟาน ออฟเพน กรรมการบริษัท นายออย บูน อัน กรรมการบริษัท นางเนื้อนวล สวัสดิกุล ณ อยุธยา * กรรมการบริษัท / ประธานกรรมการบริหารความเสี่ยง นางสาวสุพีร์ เรี่ยวเดชะ *** กรรมการบริหารความเสี่ยง นายสุรศักดิ์ วัชรพงศ์ปรีชา *** กรรมการบริหารความเสี่ยง นายบุญเลี่ยม เหลืองนาคทองดี กรรมการบริหารความเสี่ยง นายเชิดศักดิ์ กู้เกียรตินันท์ กรรมการบริหารความเสี่ยง ดร.ธีรธร ธาราไชย เลขานุการกรรมการบริหารความเสี่ยง นางสาวสมศรี เกียรติธีรรัตน์ ผู้ช่วยเลขานุการบริษัท รวม

รายงานประจำปี 2552

นาคะตะ

ตำแหน่ง

54

(หน่วย :ล้านบาท) ปี 2552 ปี 2551 เบี้ย บำเหน็จ เบี้ย บำเหน็จ ประชุม ประชุม 0.650 2.336 0.550 0.940

0.570

1.168

0.430

0.940

0.740

1.168

0.450

0.940

0.300

1.168

0.250

0.940

- 0.300 0.360

1.168 1.168 1.168

0.250 0.250 0.270

0.940 0.940 0.940

0.700

1.168

0.600

0.630

0.300 0.300 0.300 0.450

1.168 1.168 1.168 -

0.150 0.150 0.150 -

- 0.520 - -

0.025 0.025 0.170 0.120 0.025 - 5.335

- - - - - 0.484 14.500

- - - - - - 3.500

- - - - - - 7.730


หมายเหตุ:

( นอกเหนือจากค่าตอบแทนในรูปของเบี้ยประชุมในฐานะกรรมการบริษัท กรรมการบริษัทบางคนจะได้รับค่าตอบแทนในรูป เงินเดือน ในฐานะที่เป็นผู้บริหารและกรรมการบริหารของบริษัท) * กรรมการอิสระ ** ลาออกเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2552 เพื่อไปดำรงตำแหน่งรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร *** ออกจากการเป็นกรรมการบริหารความเสี่ยงเนื่องจากแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงชุดใหม่ เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2552

ข.) ค่าตอบแทนผู้บริหาร ปี 2552 – 2551 มีรายละเอียดดังนี้ ลักษณะตอบแทน จำนวน (คน) เงินเดือน โบนัส/อื่นๆ รวม

ค.) ค่าตอบแทนอื่น

2552 (ล้านบาท) 10 30.90 5.50 36.40

2551 (ล้านบาท) 10 29.29 10.30 39.59

- ไม่มี-

บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน)

55


การกำกับดูแลกิจการ คณะกรรมการบริษัทตระหนักถึงความสำคัญของการกำกับดูแลกิจการที่ดี เพื่อเพิ่มความโปร่งใส เพิ่มขีดความสามารถในการแข่ง ขันของบริษัท เพิ่มความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ถือหุ้น ผู้ลงทุน และผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย และ เพิ่มคุณค่าให้กับผู้ถือหุ้นในระยะยาวภายใต้จริยธรรมที่ดี รวมทั้งยังคำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสียอื่นและสังคมโดยรวม บริษัทได้ปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี 5 หมวด ตามแนวทางที่ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกำหนด โดยมีรายละเอียดดังนี้ หมวดที่ 1 สิทธิของผู้ถือหุ้น คณะกรรมการบริษัทตระหนักและให้ความสำคัญถึงสิทธิของผู้ถือหุ้น ซึ่งสิทธิพื้นฐานที่ผู้ถือหุ้นได้รับโดยเท่าเทียมตามที่ กำหนดไว้ในข้อบังคับของบริษัทและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สิทธิในการเข้าร่วมประชุมผู้ถือหุ้น สิทธิในการมอบฉันทะให้บุคคล อื่นเข้าประชุมและออกเสียงลงคะแนนแทน สิทธิในการออกเสียงลงคะแนนเพื่อแต่งตั้งหรือถอดถอนกรรมการเป็นรายบุคคล สิทธิใน การออกเสียงลงคะแนน ในกิจการต่างๆ ที่สำคัญ สิทธิในการรับเงินปันผล สิทธิในการแสดงความคิดเห็นและซักถามในการประชุมผู้ ถือหุ้น และสิทธิที่จะได้รับสารสนเทศอย่างเพียงพอและทันเวลา คณะกรรมการบริษัทได้กำหนดให้มีการประชุมใหญ่สามัญผู้ถือหุ้นปีละครั้ง ภายในระยะเวลาไม่เกิน 4 เดือนนับแต่วันสิ้นสุด รอบบัญชี และกรณีมีความจำเป็นต้องเสนอวาระเป็นพิเศษในเรื่องที่มีผลกระทบต่อผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้น เกี่ยวกับกฎหมาย ข้อ กำหนดที่บังคับที่ต้องได้รับการอนุมัติจากผู้ถือหุ้น คณะกรรมการบริษัทจะเรียกประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นต่อไป ในการจัดการประชุมผู้ถือหุ้น คณะกรรมการบริษัทได้ให้ความสำคัญต่อสิทธิของผู้ถือหุ้น โดยบริษัทจะจัดส่งหนังสือเชิญ ประชุมที่มีรายละเอียดวาระการประชุม พร้อมความเห็นของคณะกรรมการ หนังสือมอบฉันทะตามที่กฎหมายกำหนด และรายชื่อ ของกรรมการอิสระพร้อมทั้งคำแนะนำในการมอบฉันทะ เพื่อให้ผู้ถือหุ้นสามารถเลือกที่จะมอบฉันทะให้เข้าประชุมแทนได้ รวมทั้ง แผนที่แสดงสถานที่ประชุมให้ผู้ถือหุ้นเป็นการล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 15 วันก่อนการประชุม เพื่อให้ผู้ถือหุ้นได้รับข้อมูลทันเวลาและมี เวลาเพียงพอในการพิจารณาและตัดสินใจลงคะแนนในวันประชุม หรือทำการมอบฉันทะให้กรรมการอิสระเป็นผู้เข้าร่วมประชุมแทน และยังได้ประกาศลงหนังสือพิมพ์รายวันติดต่อกันไม่น้อยกว่า 3 วันและก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่า 3 วัน นอกจากนี้ บริษัทยังได้เผย แพร่ข้อมูลเกี่ยวกับกำหนดการจัดประชุมผู้ถือหุ้น และวาระการประชุมบนเว็บไซด์ของบริษัทก่อนการประชุม 30 วัน เพื่อเปิดโอกาส ให้ผู้ถือหุ้นหรือนักลงทุนสามารถส่งคำถามล่วงหน้าได้ก่อนวันประชุม ในการประชุมผู้ถือหุ้นนั้น คณะกรรมการบริษัทได้อำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ถือหุ้นในการเข้าร่วมประชุมและออกเสียง อย่างเต็มที่ และละเว้นการกระทำใดๆ ทีเป็นการจำกัดโอกาสในการเข้าประชุมของผู้ถือหุ้น และเปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นซักถามและ แสดงความคิดเห็นในการประชุมอย่างอิสระ หมวดที่ 2 การปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน บริษัทให้ความสำคัญในการปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน โดยคณะกรรมการบริษัทได้กำหนดนโยบายการกำกับดูแล กิจการโดยคำนึงถึงสิทธิของผู้ถือหุ้น และปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นทุกรายอย่างเท่าเทียมกัน ซึ่งได้ดำเนินการต่างๆ ดังนี้ • จัดให้มีกระบวนการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นที่โปร่งใสและมีประสิทธิภาพเป็นไปตามข้อบังคับของบริษัทและกฎหมายที่ เกี่ยวข้อง และเปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นมีสิทธิอย่างเท่าเทียมกันในการแสดงความคิดเห็นและตั้งคำถามในที่ประชุมโดยจัดสรร เวลาให้อย่างเพียงพอ • จัดให้มีการพิจารณาและลงมติเลือกตั้งกรรมการเป็นรายบุคคล และพิจารณาค่าตอบแทนกรรมการ รวมทั้งแต่งตั้งผู้สอบ บัญชี และอนุมัติค่าสอบบัญชี และวาระอื่นตามที่กำหนดในหนังสือเชิญประชุม • จัดให้มีบัตรลงคะแนนเสียงสำหรับทุกวาระ • กำหนดให้ผู้ถือหุ้นที่เป็นผู้บริหารมิทำการเพิ่มวาระในที่ประชุมโดยไม่ได้แจ้งให้ผู้ถือหุ้นทราบล่วงหน้า ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้ถือหุ้นได้ มีเวลาศึกษาข้อมูลประกอบการพิจารณาวาระต่างๆ อย่างเพียงพอและเหมาะสม • สำหรับผู้ถือหุ้นที่ไม่สะดวกเข้าร่วมประชุมด้วยตนเอง สามารถมอบฉันทะให้กรรมการอิสระ หรือบุคคลใดๆ เข้าประชุมและ ลงคะแนนเสียงแทน โดยบริษัทได้จัดเตรียมหนังสือมอบฉันทะในรูปแบบที่ผู้ถือหุ้นสามารถกำหนดทิศทางการลงคะแนน เสียงได้ • มีการบันทึกรายงานการประชุมอย่างครบถ้วน ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลสาระสำคัญ ได้แก่ มติที่ประชุมและผลการลงคะแนน เสียง คำถาม คำชี้แจงและความคิดเห็นของที่ประชุม

รายงานประจำปี 2552

56


กำหนดมาตรการป้องกันการใช้ข้อมูลภายในเพื่อหาผลประโยชน์ของกรรมการและผู้บริหารโดยการแจ้งให้ทราบถึงบทบาท ภาระหน้าที่ที่ต้องรายงานการถือครองหลักทรัพย์ของตน คู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะซึ่งถือหลักทรัพย์ของบริษัท และรับทราบการจัดทำรายงานการเปลี่ยนแปลงการถือครองหลักทรัพย์ทุกครั้งที่มีการซื้อ ขาย โอน หรือรับโอนหลักทรัพย์ ต่อคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ตามมาตรา 59 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ปี 2535 ภายใน 3 วันทำการหลังจากวันที่ซื้อ ขาย โอน หรือรับโอนหลักทรัพย์ กำหนดนโยบายและขั้นตอนการอนุมัติรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์หรือรายการที่เกี่ยวโยงกัน โดยได้ถือ ปฏิบัติตามประกาศตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่ใช้บังคับการทำรายการที่เกี่ยวโยงกันอย่างเคร่งครัด เพื่อประโยชน์ต่อ ผู้ถือหุ้นโดยรวมอย่างเท่าเทียมกัน นอกจากนี้ คณะกรรมการตรวจสอบได้เสนอคณะกรรมการบริษัทเพื่อรับทราบรายการที่ เกี่ยวโยงกันและรายการที่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ซึ่งได้มีการพิจารณาความเหมาะสมอย่างรอบคอบ และได้ปฏิบัติ ตามหลักเกณฑ์ที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกำหนด

หมวดที่ 3 บทบาทของผู้มีส่วนได้เสีย บริษัทได้ตระหนักถึงความสำคัญของผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นผู้มีส่วนได้เสียภายใน ได้แก่ ผู้ถือหุ้น พนักงาน และ ผู้มีส่วนได้เสียภายนอก ได้แก่ ลูกค้า คู่แข่ง เจ้าหนี้ (ผู้จำหน่ายสินค้าหรือผู้รับเหมาก่อสร้าง) ภาครัฐและหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจน สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยบริษัทได้พยายามดำเนินนโยบาย เพื่อให้เกิดความยุติรรมและเหมาะสมกับผู้มีส่วนได้เสียทุก กลุ่ม ดังนี้ ผู้ถือหุ้น บริษัทคำนึงถึงความโปร่งใสในการเปิดเผยข้อมูลสำคัญต่อผู้ถือหุ้นทุกรายอย่างถูกต้องครบถ้วนทันเวลา โดยผ่านช่องทาง ต่างๆ เช่น การแจ้งข้อมูลผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และการแจ้งข้อมูลผ่านทางเว็บไซด์ของบริษัท การประกาศทางหนังสือพิมพ์ การจัดทำ Press Release หรือการจัดส่งจดหมายเป็นลายลักษณ์อักษร พนักงานบริษัท บริษัทได้แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาค่าตอบแทน เพื่อทำหน้าที่พิจารณากำหนดการจ่ายผลตอบแทนให้กับพนักงานอย่าง เหมาะสม การพิจารณาการปรับเลื่อนตำแหน่งอย่างมีขั้นตอนเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย และจัดทำคู่มือให้กับพนักงานทุก คนที่ปฏิบัติงานกับบริษัท เพื่อให้ทราบถึงนโยบายสวัสดิการที่พนักงานพึงได้รับอย่างชัดเจน รวมทั้ง บริษัทยังมีการจัดตั้งกองทุน สำรองเลี้ยงชีพเพื่อพนักงาน ลูกค้า นอกจากให้ความสำคัญในการก่อสร้างบ้านที่มีคุณภาพ บริษัทยังให้ความสำคัญเรื่องจรรยาบรรณในการปฏิบัติ โดยเอาใจ ใส่และรับผิดชอบต่อลูกค้า ให้บริการที่มีคุณภาพและมีมาตรฐาน รวมทั้งการแก้ปัญหาที่ลูกค้าร้องเรียนหรือให้ข้อเสนอแนะต่อบริษัท โดยเร็วที่สุด คู่แข่ง บริษัทดำเนินนโยบายตามกรอบกติกาการแข่งขันที่ดี หลีกเลี่ยงวิธีการไม่สุจริต เพื่อทำลายคู่แข่ง เจ้าหนี้ ผู้จำหน่ายสินค้า บริษัทมีการแจ้งรอบระยะเวลาการวางบิลและการจ่ายเช็คให้แก่ผู้จำหน่ายสินค้าไว้อย่างชัดเจน และ ดำเนินการจ่ายให้เป็นไปตามกฎระเบียบอย่างเคร่งครัด เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับเจ้าหนี้ ผู้รับเหมา บริษัทมีหลักการพิจารณาคัดเลือกผู้รับเหมาเพื่อให้ได้คุณสมบัติในการรับเหมางานของบริษัท ที่มีประสิทธิภาพ และเสมอภาคโดยบริษัทพิจารณากำหนดราคายุติธรรมเป็นราคากลางเปรียบเทียบกับราคาตลาดทั่วไป โดยมีระดับราคาบาง รายการที่สูงกว่าราคาจัดจ้างตลาดบ้าง แต่ก็รักษาอัตราเฉลี่ยตามระดับราคาตลาด และยังมีการพิจารณาถึงความยากง่ายของ สภาพการทำงานในการกำหนดราคาด้วยในกรณีพิเศษที่มีความจำเป็นในบางครั้งโดยจะมีคณะอนุกรรมการจัดจ้างแต่ละคณะเป็นผู้ พิจารณาตามความเหมาะสม โดยพิจารณาถึงวัตถุประสงค์และความสำเร็จในการจัดซื้อจัดจ้างที่โปร่งใส นอกจากนี้ การกำหนด งวดงาน การแบ่งงวดงานค่าก่อสร้างอย่างเป็นธรรม การตรวจรับงาน การวางบิล มีการกำหนดอย่างชัดเจนในการทำสัญญากับผู้รับ เหมาเพื่อให้มีการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกัน รวมทั้งกำหนดการจ่ายเงินตรงตามระเบียบบริษัท เพื่อให้ผู้รับเหมามีความมั่นใจและ เติบโตไปพร้อมๆ กับบริษัท บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน)

57


สังคมและสิ่งแวดล้อม บริษัทตระหนักถึงคุณภาพชีวิต ความเป็นอยู่สังคม วัฒนธรรมไทย รวมทั้งสิ่งแวดล้อมเป็นสาระสำคัญในการพัฒนาที่ดิน ของบริษัท ทุกโครงการของบริษัทจะมีการออกแบบโดยมิได้เพียงพิจารณาตามข้อกำหนดของ พรบ.จัดสรรและกฎระเบียบของหน่วย งานที่เกี่ยวข้อง แต่บริษัทจะมองถึงคุณภาพความเป็นอยู่ของสังคมที่จะเกิดขึ้นจากการพัฒนาของบริษัท การให้พื้นที่ส่วนกลางมาก กว่าข้อกำหนดของกฎหมายเพื่อให้โครงการมีความสมบูรณ์ ทั้งต้นไม้ สถานที่พักผ่อนออกกำลังกาย สนามกีฬาสำหรับลูกบ้าน นอกจากนี้บริษัทยังได้ดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อสังคม ดังนี้ ด้านพุทธศาสนา จัดให้มีการทำบุญใส่บาตรในโครงการ มีการจัดพิธีกรรมการทำบุญในเทศกาลต่าง ๆในทุกโครงการของ บริษัท ด้านการรณรงค์สืบสานวัฒนธรรมไทย บริษัทได้ดำเนินการส่งเสริมสนับสนุนการจัดงานประเพณีไทยต่างๆ เช่นการจัด ประกวดรำไทยของเยาวชน การจัดงานประเพณีสงกรานต์ ลอยกระทง ฯลฯ ด้านกีฬา บริษัทสนับสนุนและส่งเสริมการกีฬา โดยจัดให้มีการแข่งขันฟุตซอล เทนนิส แบดมินตัน ว่ายน้ำ และการออก กำลังกายโดยการจัดสถานที่สโมสรและการสนับสนุนด้านการเงินและรางวัล การส่งเสริมเพิ่มทักษะเพิ่มความเป็นมืออาชีพ โดยจัดการแข่งขันประกวดถ่ายภาพ บริษัทเป็นศูนย์รวบรวมเงินเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประสพภัยชาวเฮติพร้อมทั้งบริจาคให้ความช่วยเหลือ นอกจากนีบ้ ริษทั ยังให้การสนับสนุนทางการเงินในกิจกรรมต่าง ๆ ของทางสถาบันศึกษาทัง้ ในเรือ่ งของการศึกษาและการกีฬา

หมวดที่ 4 การเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใส คณะกรรมการบริษัทให้ความสำคัญต่อการเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใส โดยมีการเปิดเผยข้อมูลอย่างเพียงพอแก่ผู้ เกี่ยวข้องทุกฝ่าย พร้อมทั้งดูแลให้มีการเปิดเผยข้อมูลที่ถูกต้อง น่าเชื่อถือ ครบถ้วนและทันเวลา และทุกฝ่ายสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ อย่างเท่าเทียมกัน สำหรับการเปิดเผยข้อมูลทางการเงินที่สำคัญนั้น บริษัทได้มีการเปิดเผยข้อมูลอย่างเพียงพอในงบการเงิน โดยการเปิดเผย เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ และเผยแพร่ผ่านระบบเผยแพร่ข้อมูลของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและเว็บไซท์ของบริษัท ซึ่งงบการเงินดังกล่าวได้ผ่านการตรวจสอบ/สอบทานและให้ความเห็นอย่างไม่มีเงื่อนไขจากผู้สอบบัญชีรับอนุญาต และผ่านความ เห็นชอบจากคณะกรรมการตรวจสอบก่อนเปิดเผยต่อผู้ถือหุ้น โดยคณะกรรมการบริษัทได้เปิดเผยรายงานความรับผิดชอบของคณะ กรรมการต่อรายงานทางการเงินในรายงานประจำปีด้วย ในการเปิดเผยข้อมูลที่สำคัญของบริษัท ทั้งรายงานทางการเงินและข้อมูลที่มิใช่ข้อมูลทางการเงิน บริษัทได้เผยแพร่ตามช่อง ทางของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และยังได้เผยแพร่ในเว็บไซท์ของบริษัท เพื่อให้ผู้สนใจทั่วไปได้รับทราบข้อมูลของบริษัทได้ อย่างถูกต้อง ครบถ้วน ทั่วถึง เท่าเทียม โปร่งใส และทันการณ์ ทั้งนี้ บริษัทได้จัดตั้งสายงานลงทุนสัมพันธ์และสารสนเทศเพื่อทำ หน้าที่ติดต่อสื่อสารและเผยแพร่ข้อมูลของบริษัทให้กับผู้ถือหุ้น นักลงทุน นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ได้ อย่างถูกต้อง เท่าเทียมและทันเวลา โดยผู้ลงทุนสามารถติดต่อขอทราบข้อมูลบริษัทได้ที่ฝ่ายลงทุนสัมพันธ์ โทรศัพท์ 0-2247-7500 โทรสาร 0-2247-7399 อีเมล์ jirawan@pf.co.th หรือที่ www.pf.co.th/ir คณะกรรมการบริษัทได้เปิดเผยบทบาทและหน้าที่ของคณะกรรมการบริษัท และคณะกรรมการชุดย่อย รวมทั้งจำนวนครั้งที่ กรรมการแต่ละท่านเข้าร่วมประชุมไว้ภายใต้หัวข้อ “การจัดการ” และมีการเปิดเผยนโยบายการจ่ายค่าตอบแทนกรรมการและผู้ บริหารระดับสูงไว้ภายใต้หัวข้อ “ค่าตอบแทนกรรมการ” บริษัทได้ปฎิบัติตามกฎเกณฑ์และข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ที่เกี่ยวกับการทำรายการที่ เกี่ยวโยงกันของบริษัทจดทะเบียน หรือการได้มาและจำหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียน แล้วแต่กรณี รวมทั้งกำหนด นโยบายและวิธีการดูแลไม่ให้ผู้บริหารและผู้ที่เกี่ยวข้องนำข้อมูลภายในของบริษัทไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตน บริษัทได้ให้ความสำคัญต่อระบบการควบคุมภายใน ทั้งในระดับบริหารและระดับปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพ มีการ กำหนดการดำเนินการของผู้ปฏิบัติงาน ผู้บริหาร ไว้เป็นลายลักษณ์อักษรอย่างชัดเจน สำหรับการตรวจสอบภายในได้มีการจัดตั้ง สำนักตรวจสอบภายในขึ้นเฉพาะ เพื่อรับผิดชอบช่วยตรวจสอบการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ หน่วยงานตรวจสอบภายใน จะรายงานผลการตรวจสอบโดยตรงต่อคณะกรรมการตรวจสอบ

รายงานประจำปี 2552

58


หมวดที่ 5 ความรับผิดชอบของคณะกรรมการ โครงสร้างคณะกรรมการ บริษัทกำหนดให้มีกรรมการอิสระอย่างน้อย 3 คน โดยปัจจุบันบริษัทมีคณะกรรมการที่มีประสบการณ์และมีความรู้ ความ สามารถจำนวน 11 คน ประกอบด้วย - กรรมการที่เป็นผู้บริหาร (Executive Director) จำนวน 3 คน - กรรมการที่ไม่ได้เป็นผู้บริหาร (Non-Executive Director) จำนวน 4 คน - กรรมการอิสระ (Independent Director) จำนวน 4 คน ทั้งนี้ ประธานกรรมการมิได้เป็นบุคคลเดียวกันกับประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เพื่อให้มีการแบ่งแยกหน้าที่ในการกำหนด นโยบายกำกับดูแล และการบริหารงานประจำ คณะกรรมการของบริษัททุกคน มีความเป็นอิสระอย่างเต็มที่ในการแสดงความคิดเห็น บริษัทให้ความสำคัญกับความเห็น ของคณะกรรมการอิสระมาก ในกรณีที่กรรมการอิสระมีข้อท้วงติงหรือไม่เห็นด้วยในเรื่องใด จะต้องนำเรื่องกลับไปพิจารณาทบทวน อีกครั้งหนึ่ง เพื่อหาข้อสรุปที่ชัดเจนโปร่งใสในเรื่องนั้นๆ คณะกรรมการบริษัทได้กำหนดคุณสมบัติของบุคคลที่จะดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการอิสระตามกรอบขั้นต่ำของนิยาม กรรมการอิสระ ที่ประกาศโดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) และตลาดหลักทรัพย์แห่ง ประเทศไทย ดังนี้ 1. ถือหุ้นไม่เกินร้อยละหนึ่ง ของจำนวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัท บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม ผู้ถือหุ้นราย ใหญ่ หรือผู้มีอำนาจควบคุมของบริษัท ทั้งนี้ให้นับรวมการถือหุ้นของผู้ที่เกี่ยวข้องของกรรมการอิสระรายนั้นๆ ด้วย 2. ไม่เป็นหรือเคยเป็นกรรมการที่มีส่วนร่วมบริหารงาน ลูกจ้าง พนักงาน ที่ปรึกษาที่ได้เงินเดือนประจำ หรือผู้มีอำนาจควบคุม ของบริษัท บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม บริษัทย่อยลำดับเดียวกัน ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือของผู้มีอำนาจควบคุมของผู้ ขออนุญาต เว้นแต่จะได้พ้นจากการมีลักษณะดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่าสองปีก่อนวันที่ยื่นคำขออนุญาตต่อสำนักงาน ทั้งนี้ ลักษณะต้องห้ามดังกล่าวไม่รวมถึงกรณีที่กรรมการอิสระเคยเป็นข้าราชการ หรือที่ปรึกษา ของส่วนราชการซึ่งเป็นผู้ถือ หุ้นรายใหญ่ หรือผู้มีอำนาจควบคุมของผู้ขออนุญาต 3. ไม่เป็นบุคคลที่มีความสัมพันธ์ทางสายโลหิต หรือโดยการจดทะเบียนตามกฎหมายในลักษณะที่เป็น บิดามารดา คู่สมรส พี่ น้อง และบุตร รวมทั้งคู่สมรสของบุตร ของผู้บริหาร ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ผู้มีอำนาจควบคุม หรือบุคคลที่จะได้รับการเสนอให้ เป็นผู้บริหารหรือผู้มีอำนาจควบคุมของผู้ขออนุญาตหรือบริษัทย่อย 4. ไม่มีหรือเคยมีความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับบริษัท บริษัทใหญ่ บริษัทย่อยบริษัทร่วม ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้มีอำนาจควบคุม ของบริษัทในลักษณะที่อาจเป็นการขัดขวางการใช้วิจารณญาณอย่างอิสระของตน รวมทั้งไม่เป็นหรือเคยเป็นผู้ถือหุ้นที่มีนัย หรือผู้มีอำนาจควบคุมของผู้ที่มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับบริษัท บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม ผู้ถือหุ้นรายใหญ่หรือผู้ มีอำนาจควบคุมของบริษัท เว้นแต่จะได้พ้นจากการมีลักษณะดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่าสองปีก่อนวันที่ยื่นคำขออนุญาต ต่อสำนักงาน 5. ไม่เป็นหรือเคยเป็นผู้สอบบัญชีของบริษัทบริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้มีอำนาจควบคุมของ บริษัท และไม่เป็นผู้ถือหุ้นที่มีนัย ผู้มีอำนาจควบคุมหรือหุ้นส่วนของสำนักงานสอบบัญชี ซึ่งมีผู้สอบบัญชีของบริษัท บริษัท ใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้มีอำนาจควบคุมของผู้ขออนุญาตสังกัดอยู่ เว้นแต่จะได้พ้นจากการมี ลักษณะดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่าสองปีก่อนวันที่ยื่นคำขออนุญาตต่อสำนักงาน 6. ไม่เป็นหรือเคยเป็นผู้ให้บริการทางวิชาชีพใด ๆ ซึ่งรวมถึงการให้บริการเป็นที่ปรึกษากฎหมายหรือที่ปรึกษาทางการเงิน ซึ่งได้ รับค่าบริการเกินกว่าสองล้านบาทต่อปีจากบริษัท บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้มีอำนาจ ควบคุมของบริษัท และไม่เป็นผู้ถือหุ้นที่มีนัย ผู้มีอำนาจควบคุม หรือหุ้นส่วนของผู้ให้บริการทางวิชาชีพนั้นด้วย เว้นแต่จะได้ พ้นจากการมีลักษณะดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่าสองปีก่อนวันที่ยื่นคำขออนุญาตต่อสำนักงาน 7. ไม่เป็นกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนของกรรมการของบริษัท ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้ถือหุ้นซึ่งเป็นผู้ที่ เกี่ยวข้องกับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ 8. ไม่ประกอบกิจการที่มีสภาพอย่างเดียวกันและเป็นการแข่งขันที่มีนัยกับกิจการของบริษัทหรือบริษัทย่อยหรือไม่เป็นหุ้นส่วนที่ มีนัยในห้างหุ้นส่วน หรือเป็นกรรมการที่มีส่วนร่วมบริหารงาน ลูกจ้าง พนักงาน ที่ปรึกษาที่รับเงินเดือนประจำ หรือถือหุ้น เกินร้อยละหนึ่งของจำนวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทอื่น ซึ่งประกอบกิจการที่มีสภาพอย่างเดียวกันและเป็นการ แข่งขันที่มีนัยกับกิจการของบริษัทหรือบริษัทย่อย 9. ไม่มีลักษณะอื่นใดที่ทำให้ไม่สามารถให้ความเห็นอย่างเป็นอิสระเกี่ยวกับการดำเนินงานของบริษัท บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน)

59


คณะกรรมการชุดย่อย คณะกรรมการบริษัทได้แต่งตั้งกรรมการที่มีความรู้ความสามารถที่เหมาะสมในเรื่องต่างๆ เพื่อช่วยในการกำกับดูแลกิจการ ของบริษัทและเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน โดยคณะกรรมการบริษัทได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการโดยกำหนดขอบเขตอำนาจ หน้าที่ไว้อย่างชัดเจนจำนวน 5 คณะ ประกอบด้วย 1. คณะกรรมการตรวจสอบ 2. คณะกรรมการบริหาร 3. คณะกรรมการสรรหาชื่อบุคคลเพื่อเสนอเป็นกรรมการบริษัท 4. คณะกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนและทรัพยากรมนุษย์ 5. คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง โดยคณะกรรมการชุดย่อยที่ถูกตั้งขึ้นทั้ง 5 คณะนี้จะทำหน้าที่พิจารณาอย่างโปร่งใส ทั้งนี้ รายละเอียดเกี่ยวกับรายชื่อ หน้าที่ความรับผิดชอบ ได้เปิดเผยอยู่ภายใต้หัวข้อ “โครงสร้างการจัดการ” บทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบของคณะกรรมการ คณะกรรมการบริษัทประกอบด้วย บุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ ทักษะ มีประสบการณ์ในการดำเนินธุรกิจและมีความ เข้าใจในบทบาท หน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบเป็นอย่างดี ทำให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยคณะกรรมการบริษัทได้มี ส่วนร่วมในการกำหนดวิสัยทัศน์ ภารกิจ กลยุทธ์ เป้าหมาย แผนธุรกิจ และงบประมาณของบริษัท เพื่อให้ฝ่ายจัดการดำเนินงาน ตามนโยบายและแผนที่กำหนดไว้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล คณะกรรมการบริษัทตระหนักถึงความสำคัญของการกำกับดูแลกิจการที่ดี เพื่อเพิ่มความโปร่งใส เพิ่มขีดความสามารถใน การแข่งขันของบริษัท และเพิ่มความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ถือหุ้น ผู้ลงทุน และผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย จึงได้จัดให้มีนโยบายการกำกับดูแล กิจการเป็นลายลักษณ์อักษร และมีการทบทวนอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อให้นโยบายมีความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อม แนวทาง การดำเนินธุรกิจ และเป็นสากลมากยิ่งขึ้น อีกทั้ง ยังได้จัดทำคู่มือจริยธรรมธุรกิจ (Code of Conduct) เพื่อให้เป็นแนวทางในการ ปฎิบัติของพนักงานเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี นอกจากนั้น เพื่อป้องกันการทำรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ หรือรายการที่เกี่ยวโยงกัน หรือรายการ ระหว่างกัน คณะกรรมการบริษัทได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการต่างๆ เพื่อแบ่งแยกอำนาจอย่างชัดเจน รวมทั้ง ได้กำหนดนโยบาย ระเบียบปฎิบัติ และกระบวนการในการอนุมัติรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ให้ผู้บริหาร พนักงาน และผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้ยึดถือปฎิบัติในเรื่องต่างๆ ได้แก่ หลักเกณฑ์การอนุมัติรายการ การทำรายการที่เกี่ยวโยงกัน การใช้ข้อมูลภายใน การเปิดเผย ข้อมูล อีกทั้ง คณะกรรมการบริษัทยังได้กกำหนดให้ฝ่ายบริหารประเมินความเสี่ยงของกิจการ และกำหนดมาตรการป้องกันและ จัดการความเสี่ยงและรายงานให้ทราบเป็นประจำ ซึ่งรวมถึงความเสี่ยงที่มีผลต่อการดำเนินงานของบริษัทตามที่ระบุไว้ในหัวข้อ ”ปัจจัยความเสี่ยง” การประชุมคณะกรรมการบริษัท คณะกรรมการบริษัทได้กำหนดให้มีการประชุมทุกไตรมาส หรือมีการประชุมพิเศษเพิ่มตามความจำเป็น โดยมีการกำหนด วาระการประชุมไว้ชัดเจนและล่วงหน้า เพื่อพิจารณาผลการดำเนินงานในแต่ละไตรมาสและติดตามความคืบหน้าการดำเนินงาน โดยประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหารจะร่วมกันพิจารณาเรื่องที่สำคัญและนำเข้าสู่วาระการประชุม นอกจากนั้น กรรมการแต่ละท่านมีความเป็นอิสระที่จะเสนอเรื่องเข้าสู่วาระการประชุมได้ ในการประชุมคณะกรรมการบริษัทแต่ละครั้ง ประธานกรรมการได้จัดสรรเวลาอย่างเพียงพอและมากพอในการพิจารณา วาระการประชุม และได้มีการจดบันทึกการประชุมเป็นลายลักษณ์อักษร จัดเก็บรายงานการประชุมที่ผ่านการรับรองจากคณะ กรรมการ พร้อมให้คณะกรรมการและผู้เกี่ยวข้องตรวจสอบได้ การประเมินตนเองของคณะกรรมการ คณะกรรมการที่เป็นผู้บริหารมีการประเมินผลงานในส่วนที่ตนเองรับผิดชอบรายไตรมาสและประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อ เสนอต่อคณะกรรมการบริษัท โดยนำเสนอเปรียบเทียบในช่วงเวลาที่ผ่านมา

รายงานประจำปี 2552

60


ค่าตอบแทน บริษัทได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนและทรัพยากรมนุษย์ เพื่อพิจารณานโยบายและหลักเกณฑ์ในการ พิจารณาจ่ายค่าตอบแทนสำหรับกรรมการผู้จัดการ กรรมการ และที่ปรึกษาของบริษัท และพิจารณากำหนดค่าตอบแทนประจำปี การปรับเงินเดือนประจำปี รวมทั้งการปรับเงินเดือนระหว่างปี รวมทั้งผลประโยชน์อื่นอันเป็นการตอบแทนการทำงานของฝ่ายบริษัท และพนักงานทุกระดับ โดยคำนึงถึงประสบการณ์ ภาระหน้าที่ และขอบเขตความรับผิดชอบ และเปรียบเทียบกับบริษัทอื่นที่อยู่ใน ระดับและอุตสาหกรรมเดียวกัน (รายละเอียดค่าตอบแทนกรรมการตามหัวข้อ “ค่าตอบแทนกรรมการและผู้บริหาร”) การพัฒนากรรมการและผู้บริหาร บริษัทได้ให้ความสำคัญในการพัฒนากรรมการและผู้บริหารเพื่อการสืบทอดการบริหารในอนาคต บริษัทตระหนักถึงความ สำคัญด้านบุคลากรระดับผู้บริหาร โดยจัดอบรมหลักสูตร “การบริหารจัดการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์” โดยมีเนื้อหาของหลักสูตร ประกอบด้วยความรู้ทางด้านอสังหาริมทรัพย์ กฎหมาย การเงิน บัญชี และการกำกับดูแลกิจการที่ดี ฯลฯ เพื่อให้ผู้บริหารระดับสูง ของบริษัทได้เรียนรู้เตรียมพร้อมในการเป็นกรรมการในอนาคต และในส่วนของกรรมการบริษัทก็ได้เข้าร่วมอบรมหลักสูตรต่างๆ ของ สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทยที่จัดขึ้นสำหรับการพัฒนาและให้การสนับสนุนกรรมการบริษัท เพื่อการกำกับดูแลกิจการ ที่ดีไปปฏิบัติในองค์กร การดูแลเรื่องการใช้ข้อมูลภายใน บริษัทมีนโยบายห้ามกรรมการและผู้บริหารนำข้อมูลภายในของบริษัทซึ่งยังไม่เปิดเผยต่อสาธารณชนไปเปิดเผยเพื่อแสงหา ผลประโยชน์ส่วนตนหรือเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่นไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม นอกจากนี้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัท ที่ได้รับข้อมูลทางการเงินของบริษัทต้องไม่ใช้ประโยชน์จากข้อมูลดังกล่าวในระยะเวลา 1 เดือนก่อนเปิดเผยสู่สาธารณะ โดยบริษัท ได้แจ้งให้กรรมการ ผู้บริหารและพนักงานของบริษัทข้างต้นหลีกเลี่ยงการซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัทก่อนที่งบการเงินจะเปิดเผยสู่ สาธารณะ รวมทั้งได้แจ้งให้กรรมการและผู้บริหารเข้าใจถึงภาระหน้าที่ในการรายงานการถือครองหลักทรัพย์ในบริษัท ตลอดจนการ เปลี่ยนแปลงการถือหลักทรัพย์ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ตามมาตรา 59 และบทลงโทษตาม มาตรา 275 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ทั้งนี้บริษัทได้กำหนดบทลงโทษทางวินัยต่อพนักงานของบริษัทที่กระทำการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับหรือประกาศของบริษัท ซึ่งระบุไว้ในระเบียบข้อบังคับในการปฏิบัติงานของพนักงาน

การควบคุมภายใน บริษัทฯได้ให้ความสำคัญกับการควบคุมภายในอย่างต่อเนื่อง โดยคณะกรรมการบริษัทฯได้จัดให้มีระบบการควบคุมภายในที่เพียง พอ เหมาะสมแก่การดำเนินธุรกิจ เพื่อสนับสนุนให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ดูแลรักษาทรัพย์สิน ระบบบัญชีและ รายงานทางการเงินมีความถูกต้องน่าเชื่อถือ และมีการปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งยังกำหนดให้มีการประเมินความเพียง พอของระบบการควบคุมภายในเป็นประจำทุกปี ซึ่งการประเมินครอบคลุมองค์ประกอบการควบคุมภายใน 5 ประการ ได้แก่ 1) องค์กรและ สภาพแวดล้อม 2) การบริหารความเสี่ยง 3) กิจกรรมการควบคุม 4) ระบบสารสนเทศและการสื่อสารข้อมูล และ 5) การติดตามและประเมิน ผล และในการประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ ครั้งที่ 2/2553 เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2553 ที่ประชุมได้มีความเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสม และความเพียงพอของระบบการควบคุมภายใน ดังนี้ 1. สภาพแวดล้อมของการควบคุม คณะกรรมการบริษัทฯมีการกำหนดเป้าหมายการดำเนินงานที่ชัดเจนและวัดผลได้ มีการสอบทานและอนุมัติแผน งานประจำปีของบริษัทฯตามที่ฝ่ายบริหารเสนออย่างรอบคอบ และจัดให้มีสภาพแวดล้อมในองค์กรที่สนับสนุนให้ระบบการ ควบคุมภายในเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่ กำหนดขอบเขต อำนาจหน้าที่ของกรรมการบริหาร และประธานเจ้าหน้าที่ บริหารอย่างชัดเจน การจัดโครงสร้างองค์กรที่เหมาะสม และจัดทำนโยบายและระเบียบวิธีปฏิบัติงานครอบคลุมธุรกรรม ด้านการเงิน การจัดซื้อ และการบริหารทั่วไปเพื่อป้องกันการทุจริต นอกจากนี้ คณะกรรมการบริษัทฯยังได้กำหนดให้ กรรมการและผู้บริหารของบริษัทฯ จัดทำรายงานการมีส่วนได้เสียของตนเองและบุคคลที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้บริษัทฯมีข้อมูล ประกอบการดำเนินการตามข้อกำหนดเกี่ยวกับการทำรายการที่เกี่ยวโยงกัน และติดตามดูแลให้กรรมการและผู้บริหารต้อง ทำหน้าที่ด้วยความระมัดระวังและซื่อสัตย์สุจริต (Fiduciary Duties)

บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน)

61


2.

3.

4.

5.

การบริหารความเสี่ยง บริษัทฯกำหนดวัตถุประสงค์ระดับองค์กรที่ชัดเจน มีการประเมินปัจจัยความเสี่ยงในการประกอบธุรกิจทั้งที่เป็น ปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการบรรลุเป้าหมายในการดำเนินธุรกิจภายใต้งบประมาณที่กำหนด มีการวิเคราะห์สาเหตุที่อาจทำให้เกิดปัจจัยความเสี่ยงต่างๆ และมีการกำหนดมาตรการจัดการความเสี่ยงดังกล่าว นอกจาก นี้ คณะกรรมการบริษัทฯมีการแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง เพื่อทำหน้าที่สนับสนุนการปฏิบัติงานของคณะ กรรมการในเรื่องดังกล่าวให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ กิจกรรมการควบคุม บริษัทฯมีกิจกรรมการควบคุมในการวางแผนและควบคุมการปฏิบัติงาน มีการแบ่งแยกหน้าที่เพื่อตรวจสอบซึ่งกัน และกัน มีการกำหนดขอบเขตอำนาจหน้าที่และวงเงินในการอนุมัติในแต่ละระดับไว้อย่างชัดเจน บริษัทฯมีการควบคุมการ ปฏิบัติงานของฝ่ายบริหารที่เหมาะสมเพียงพอ มีการสอบทานผลการดำเนินงานของฝ่ายบริหารโดยคณะกรรมการบริษัทฯ คณะกรรมการตรวจสอบได้มีการพิจารณาทบทวนและอนุมัติแผนงานตรวจสอบประจำปีเพื่อให้มั่นใจว่าแผนงานตรวจสอบ ครอบคลุมกิจกรรมที่สำคัญของบริษัทฯ รวมถึงการอนุมัติการทำธุรกรรมของบริษัทฯกับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ กรรมการ ผู้บริหาร หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลดังกล่าวจะพิจารณาเสมือนเป็นรายการที่กระทำกับบุคคลภายนอก ระบบสารสนเทศและการสื่อสารข้อมูล บริษัทฯมีการพัฒนาระบบสารสนเทศและระบบข้อมูลอย่างต่อเนื่อง มีการจัดทำข้อมูลที่สำคัญต่างๆอย่างเพียงพอ เพื่อประกอบการตัดสินใจของคณะกรรมการบริษัทฯและผู้บริหาร กรรมการบริษัทฯได้รับเอกสารการประชุมที่มีข้อมูลที่ จำเป็นชัดเจนเพียงพอก่อนการประชุมภายในระยะเวลาที่เหมาะสม รายงานการประชุมคณะกรรมการบริษัทฯมีการบันทึก ข้อซักถาม ข้อสังเกต และสรุปความเห็นของกรรมการ มีการจัดเก็บเอกสารเป็นหมวดหมู่ รวมถึงการบันทึกบัญชีจัดทำขึ้น ตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปและเหมาะสมกับลักษณะธุรกิจ ระบบการติดตามประเมินผล บริษัทฯมีการติดตามประเมินผลการควบคุมภายในและประเมินคุณภาพการปฏิบัติงาน โดยกำหนดวิธีปฏิบัติงานที่ เหมาะสม เพื่อให้มีการติดตามการปฏิบัติตามระบบการควบคุมภายในอย่างต่อเนื่องและเป็นส่วนหนึ่งของระบบการปฏิบัติ งานตามปกติของฝ่ายบริหาร และผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง และบริษัทฯมีการกำหนดแผนการดำเนินงานในการติดตามและ เปรียบเทียบผลการดำเนินงานว่าเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงบริษัทฯมีหน่วยงานตรวจสอบภายใน รายงานตรงต่อคณะกรรมการตรวจสอบ โดยมีการประเมินระบบการควบคุมภายในตามแผนการตรวจสอบประจำปี

นอกจากนี้ การแสดงความเห็นต่องบการเงินบริษัทฯ ประจำปี 2552 โดยผู้สอบบัญชีของบริษัทฯ ก็มิได้ระบุข้อบกพร่องของระบบการ ควบคุมภายในที่มีสาระสำคัญซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อการดำเนินงานของบริษัทฯ อย่างไรก็ตาม ในระหว่างปีผู้สอบบัญชีมีการ รายงานข้อสังเกตที่พบจากการตรวจสอบบัญชีของบริษัทฯบางประการให้แก่คณะกรรมการบริษัทฯทราบ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการปรับปรุง ระบบการควบคุมภายในให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ซึ่งข้อสังเกตสำคัญๆ ได้แก่ บริษัทฯมีเงินทดรองจ่ายค่าซื้อที่ดินและเงินมัดจำค่าซื้อที่ดินที่คงค้างเป็นเวลานาน การซื้อที่ดินมีราคาสูงกว่าราคาประเมินจากกรม ธนารักษ์อย่างเป็นสาระสำคัญ ซึ่งเงินทดรองจ่ายฯดังกล่าวฯได้ติดตามทวงถามและได้รับชำระคืนบางส่วนแล้ว สำหรับการซื้อที่ดินบริษัทฯจะ พิจารณาราคาตลาดของที่ดินบริเวณนั้นและโอกาสทางการตลาด ในการพัฒนาโครงการประกอบด้วย ทั้งนี้ มูลค่าประเมินที่ดินดังกล่าวโดย ผู้ประเมินอิสระสูงกว่าราคาจัดซื้อของบริษัทฯ ทั้งนี้คณะกรรมการตรวจสอบได้จัดให้มีรายงานของกรรมการตรวจสอบสำหรับปี 2552 ไว้แล้ว

รายงานประจำปี 2552

62


บุคลากร จำนวนพนักงาน ณ สิ้นปี 2551 และปี 2552 บริษัทและบริษัทย่อย มีจำนวนพนักงานทั้งสิ้น 481 คน และ 470 คน ตามลำดับ โดยบริษัทมี พนักงานแบ่งตามแต่ละสายงานได้ดังนี้ สังกัด จำนวนพนักงาน (คน) จำนวนพนักงาน (คน) 31 ธันวาคม 2552 31 ธันวาคม 2551 1 กรรมการและที่ปรึกษา 10 10 2 สำนักประธานเจ้าหน้าที่บริหาร 11 11 3 สายงานวางแผนโครงการ 18 16 4 สายงานออกแบบ 17 17 5 สายงานบริหารงานก่อสร้าง 14 15 6 สายงานพัฒนาผลิตภัณฑ์และควบคุมคุณภาพ 8 9 7 สายงานโฆษณา 13 13 8 สายงานประชาสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร 5 5 9 สายงานบัญชี 13 14 10 สำนักตรวจสอบภายใน 3 3 11 สายงานนิติกรรมและโอนกรรมสิทธิ์ 41 45 12 สายงานบริหารงานขาย 8 7 13 สายงานการเงินและบริหารเงิน 14 16 14 สำนักงบประมาณ 3 5 15 สายงานลงทุนสัมพันธ์และสารสนเทศ 8 8 16 สายงานพัฒนาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ 5 1 17 สายงานวิจัยและพัฒนาธุรกิจ 4 5 18 สายงานทรัพยากรมนุษย์ 6 6 19 สายงานบริหารงานกลาง 21 21 20 สายงานบริการและลูกค้าสัมพันธ์ 21 20 21 สายงานบริหารโครงการ โซน 1 - 5 227 234 รวม 470 481 ทั้งนี้ ในระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมาบริษัทไม่เคยมีปัญหากฎหมายเกี่ยวกับข้อพิพาทด้านแรงงานแต่อย่างใด ค่าตอบแทนพนักงาน บริษัทมีคณะกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนและทรัพยากรมนุษย์ โดยมีขอบเขตอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ ในการ พิจารณานโยบายและหลักเกณฑ์ในการพิจารณาจ่ายค่าตอบแทนสำหรับประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กรรมการ และที่ปรึกษาของ บริษัท รวมทั้งกำหนดค่าตอบแทนประจำปี การปรับเงินเดือนประจำปี การปรับเงินเดือนระหว่างปี ผลประโยชน์อื่นอันเป็นการ ตอบแทนการทำงานของฝ่ายบริษัทและพนักงานทุกระดับ และพิจารณาระเบียบการจ้างงาน ระเบียบการทำงาน และพิจารณา เกณฑ์การลงโทษให้เหมาะสมและเป็นธรรมต่อพนักงานบริษัท ค่าตอบแทนรวมของบุคลากร (ไม่รวมผู้บริหาร) ของบริษัทประกอบด้วย เงินเดือน โบนัส สวัสดิการ ล่วงเวลา เบี้ยเลี้ยง และ เงินสมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ รวมทั้งสิ้นในปี 2551 และปี 2552 จำนวน 305.25 ล้านบาท และ 236.72 ล้านบาท ตามลำดับ

บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน)

63


ค่าตอบแทนพนักงานในปี 2551 - 2552 มีรายละเอียดดังนี้ ลักษณะตอบแทน เงินเดือน โบนัส/อื่นๆ รวม

2552 (ล้านบาท) 204.86 31.86 236.72

2551 (ล้านบาท) 237.05 68.20 305.25

นโยบายในการพัฒนาบุคลากร บุคลากรของบริษัทถือเป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญอย่างมาก บริษัทจึงให้ความสำคัญในการพัฒนาให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ บริษัทได้ตั้งหน่วยงานด้านการพัฒนาบุคลากร มีการจัดอบรมโดยวิทยากรที่มีความรู้และประสบการณ์เพื่อถ่ายทอดให้กับพนักงานเป็นการ ส่งเสริมให้มีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง สำหรับนำความรู้มาใช้ในการพัฒนาองค์กร โดยมีการตั้งงบประมาณสำหรับการอบรมสัมมนา รวมทั้ง การสนับสนุนด้านการเงินให้ทุนการศึกษา บริษัทมีนโยบายในการให้รางวัล พิจารณาเลื่อนตำแหน่งการให้ผลตอบแทนต่างๆ นอกเหนือจากเงินเดือนสำหรับพนักงานที่ปฏิบัติ งานด้วยความตั้งใจ และมีผลงานดีเด่น รวมถึงการประกาศเกียรติคุณ

รายงานประจำปี 2552

64


บุคคลอ้างอิงอื่นๆ ผู้สอบบัญชี ที่ปรึกษากฎหมาย นายทะเบียนหลักทรัพย์ ประเมินราคาที่ดิน

นายณรงค์ พันตาวงษ์ นางสาวทิพวัลย์ นานานุวัฒน์ นางสาวศิราภรณ์ เอื้ออนันต์กุล บริษัท สำนักงาน เอินส์ท แอนด์ ยัง จำกัด เลขที่ 193/136-137 อาคารเลครัชดา คอมเพล็กซ์ ชั้น 33 ถนนรัชดาภิเษก เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 โทรศัพท์ 0–2264–0777, 0–2661–6190 โทรสาร 0–264–0790, 0–2661–9192 บริษัท สำนักงานกฎหมายบรรจงแอนด์วิทยา จำกัด 33/35, 33/39-40 อาคารวอลล์สตรีท ทาวน์เวอร์ ชั้น 9 ถนนสุรวงศ์ แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500 โทรศัพท์ 0-2236-2334 โทรสาร 0-2236-3916 บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เลขที่ 62 อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ชั้น 4, 6-7 ถนนรัชดาภิเษก แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 โทรศัพท์ 0-2359-1200-1 โทรสาร 0-2359-1259 บริษัท เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส จำกัด 10 ถนนนนทรี แขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา กรุงเทพฯ 10120 โทรศัพท์ 0-2295-3905 โทรสาร 0-2295-1154 บริษัท บรูค เรียลเอสเตท จำกัด ชั้นที่ 20 ห้อง 2005-6, อาคารเดอะมิลเลนเนีย ทาวเวอร์ เลขที่ 62 ถนนหลังสวน แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 โทรศัพท์ 0-2652-6300 โทรสาร 0-2652-6399

บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน)

65


รายการระหว่างกันกับบุคคลที่มีผลประโยชน์ร่วม 1.

รายการระหว่างกันกับบริษัท เอสเตท เพอร์เฟ็คท์ จำกัด (“เอสเตท”) ลักษณะความสัมพันธ์ - เพอร์เฟคเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของเอสเตท โดยถือในสัดส่วน 100% - เพอร์เฟคและเอสเตท มีกรรมการร่วมกันจำนวน 1 คน คือนายชายนิด โง้วศิริมณี - ผู้บริหารของเพอร์เฟคเป็นกรรมการของเอสเตทฯ 1 คน คือนายปราโมทย์ เริ่มยินดี รายละเอียดรายการ ลักษณะรายการ ปี 2552 หมายเหตุ (ล้านบาท) ให้กู้ยืมเงิน ลูกหนี้ 311.61 เพอร์เฟคให้เอสเตทกู้ยืมเงินโดยมีตั๋วสัญญาใช้เงินเป็นหลักฐาน ดอกเบี้ยรับ 14.93 การเบิกเงินกู้บางส่วน คิดดอกเบีย้ ในอัตราต้นทุนทางการเงินถัวเฉลีย่ ของเพอร์เฟคบวก 0.75-1% ดอกเบี้ยค้างรับ 5.31 เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2553 ที่ประชุมคณะกรรมการตรวจสอบมี มติเห็นชอบให้เอสเตทกู้ยืมเงินเพิ่มเติมจำนวน 825 ล้านบาท คิด ดอกเบี้ยในอัตราต้นทุนทางการเงินถัวเฉลี่ยของเพอร์เฟคบวก 0.75%

ค้ำประกัน

วงเงิน

จำนองทรัพย์สิน

ที่ดินรอการพัฒนา ที่ดินเปล่าตีตรา จัดสรร

2.

2,132 เพอร์เฟคเข้าทำสัญญาค้ำประกันเงินกู้ยืมระหว่างเอสเตทกับ สถาบันการเงินโดยไม่คิดค่าธรรมเนียมดังนี้ เงินกู้โครงการร่มเกล้า วงเงิน 377 ล้านบาท เงินกู้โครงกาเพอร์เฟค เพลส วงเงิน 1,350 ล้านบาท เงินกู้เพื่อเงินทุนหมุนเวียน วงเงิน 20 ล้านบาท เพอร์ เ ฟคเข้ า ทำสั ญ ญาค้ ำ ประกั น ตั ๋ ว สั ญ ญาใช้ เ งิ น ค่ า ที ่ ด ิ น โครงการร่มเกล้าที่อาวัลโดยธนาคารวงเงิน 385 ล้านบาท 2-3-21 ไร่ เพอร์เฟคจำนองที่ดินรอการพัฒนาและที่ดินเปล่าตีตราจัดสรรเป็น 3-2-7.1 ไร่ หลักประกันเงินกู้ยืมของเอสเตทฯกับสถาบันการเงิน

ความเห็นกรรมการตรวจสอบ การให้กู้ยืมดังกล่าวเป็นการให้ความช่วยเหลือทางการเงินที่จำเป็นเนื่องจากเป็นการนำไปพัฒนาโครงการและขยายงานตาม แผนงานของเอสเตท และเพอร์เฟคจำเป็นต้องค้ำประกันเนื่องจากถืออยู่ 100%

รายการระหว่างกันกับบริษัท ไบรท์ ดีเวลลอปเมนท์ กรุงเทพฯ จำกัด (“ไบรท์“) ลักษณะความสัมพันธ์ - เพอร์เฟคเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของไบรท์ โดยถือในสัดส่วน 99.94% - เพอร์เฟคและไบรท์ มีกรรมการร่วมกันจำนวน 1 คน ได้แก่ นายชายนิด โง้วศิริมณี รายละเอียดรายการ ลักษณะรายการ ปี 2552 หมายเหตุ (ล้านบาท) ให้กู้ยืมเงินและเงิน ลูกหนี้ 428.29 เพอร์ เ ฟคโอนเงิ น ทดรองจ่ า ยค่ า ที ่ ด ิ น และค่ า ใช้ จ ่ า ยเกี ่ ย วกั บ ทดรองจ่าย โครงการรัชดาภิเษก ให้เป็นของไบรท์ เพื่อให้สอดคล้องกับเงื่อนไข ดอกเบี้ยรับ 26.15 ของสถาบันการเงินผู้ให้สินเชื่อที่ให้เพอร์เฟคจัดตั้งไบรท์เพื่อให้เป็นผู้ ดำเนินการพัฒนาโครงการรัชดาภิเษก ทำให้ไบรท์เป็นลูกหนี้เงินให้กู้ ดอกเบี้ยค้างรับ 30.77 ยืมของเพอร์เฟค และให้ไบรท์กู้ยืมเงินเพื่อนำไปพัฒนาโครงการเพิ่ม เติม โดยมีตั๋วสัญญาใช้เงินเป็นหลักฐานการเบิกเงินกู้บางส่วน คิด เงินทดรองจ่าย 1.50 ดอกเบี้ยในอัตราต้นทุนทางการเงินถัวเฉลี่ยของเพอร์เฟคบวก 0.751.5% ค้ำประกัน วงเงิน 462 เพอร์ เ ฟคเข้ า ทำสั ญ ญาค้ ำ ประกั น หุ ้ น กู ้ ข องไบรท์ ท ี ่ อ อกให้ ก ั บ สถาบันการเงินโดยไม่คิดค่าธรรมเนียม

รายงานประจำปี 2552

66


3.

ความเห็นกรรมการตรวจสอบ การให้กู้ยืมดังกล่าวเป็นการให้ความช่วยเหลือทางการเงินที่จำเป็นเนื่องจากเป็นการนำไปพัฒนาโครงการและขยายงานตาม แผนงานของไบรท์ และเพอร์เฟคจำเป็นต้องค้ำประกันเนื่องจากถืออยู่ 99.94%

รายการระหว่างกันกับบริษัท เพอร์เฟค แซทเทลไลท์ เซอร์วิสเซส จำกัด (“แซทเทลไลท์”) ลักษณะความสัมพันธ์ - เพอร์เฟคเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของแซทเทลไลท์ โดยถือในสัดส่วน 99.98% - เพอร์เฟคส่งผู้บริหารของบริษัทเข้าเป็นกรรมการของแซทเทลไลท์ จำนวน 4 คน ได้แก่ นส.รัศมี เมธาวิกลุ นายธงชัย ปิยสันติวงศ์ นส.สุรยี พ์ ร พิพฒ ั นวัฒนพงษ์ และ นางธนิดา สุรธำรงค์ รายละเอียดรายการ ลักษณะรายการ ปี 2552 หมายเหตุ (ล้านบาท) ว่าจ้างบริหาร ค่าใช้จ่าย 11.42 เพอร์เฟคว่าจ้างแซทเทลไลท์เพื่อให้บริหารสโมสรและสนาม สโมสร เจ้าหนี้ 1.25 กอล์ฟในโครงการของบริษัท ดังนี้ - บริหารสโมสร ในอัตราเดือนละ 138,000 บาท/โครงการ - บริหารสนามกอล์ฟ ในอัตราเดือนละ 50,000 บาท/โครงการ และให้แซทเทลไลท์เรียกเก็บค่าบริการในการจัดหาเจ้าหน้าที่ไว้ให้ บริการตามค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง

4.

ความเห็นกรรมการตรวจสอบ รายการดังกล่าวเป็นรายการค้าตามปกติของธุรกิจซึ่งบริษัททั้งสองกำหนดราคาร่วมกัน

รายการระหว่างกันกับบริษัท เซ็นเตอร์พ้อยท์ ช็อปปิ้ง มอลล์ จำกัด (“เซ็นเตอร์พ้อยท์”) ลักษณะความสัมพันธ์ - เพอร์เฟคเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของเซ็นเตอร์พ้อยท์ โดยถือในสัดส่วน 59.99% และที่ประชุม คณะกรรมการของเพอร์เฟค ครั้งที่ 1/2553 เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2553 มีมติอนุมัติให้บริษัทซื้อ หุ้นสามัญของเซ็นเตอร์พ้อยท์จำนวน 4,000 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 40 จาก Timberline Investments Pte Ltd. ซึ่งจะทำให้บริษัทถือหุ้นในเซ็นเตอร์พ้อยท์ 100% - เพอร์เฟคและเซ็นเตอร์พ้อยท์ มีกรรมการร่วมกันจำนวน 1 คน คือ นายชายนิด โง้วศิริมณี รายละเอียดรายการ ลักษณะรายการ ปี 2552 หมายเหตุ (ล้านบาท) รับเงินมัดจำ เจ้าหนี้อื่น 80.00 เพอร์เฟคทำสัญญาโอนสิทธิการเช่าที่ดินเนื้อที่ 7-3-62.1 ไร่ ให้แก่ เซ็นเตอร์พ้อยท์ในราคา 200 ล้านบาท โดยได้รับเงินมัดจำจำนวน 80 ล้านบาท ให้กู้ยืมเงิน ลูกหนี้ 15.20 เพอร์เฟคให้เซ็นเตอร์พ้อยท์กู้ยืมเงิน คิดดอกเบี้ยในอัตราต้นทุน ดอกเบี้ยรับ 0.81 ทางการเงินถัวเฉลี่ยของเพอร์เฟคบวก 1-1.5% ดอกเบี้ยค้างรับ 0.87 ความเห็นกรรมการตรวจสอบ การทำสัญญาโอนสิทธิการเช่าดังกล่าวเป็นรายการค้าตามปกติของธุรกิจซึ่งบริษัททั้งสองกำหนดราคาร่วมกันซึ่งไม่ต่ำกว่า ราคาประเมินซึ่งประเมินโดยผู้ประเมินอิสระจำนวน 2 ราย และการให้กู้ยืมดังกล่าวเป็นการให้ความช่วยเหลือทางการเงินที่จำเป็น เนื่องจากเป็นการนำไปพัฒนาโครงการและขยายงานตามแผนงานของเซ็นเตอร์พ้อยท์

บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน)

67


5. 6.

รายการระหว่างกันกับบริษัท กรุงเทพบ้านและที่ดิน จำกัด (“กรุงเทพบ้าน”) ลักษณะความสัมพันธ์ - เพอร์เฟคเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของกรุงเทพบ้าน โดยถือในสัดส่วน 20.22% - เพอร์เฟคและกรุงเทพบ้าน มีกรรมการร่วมกันจำนวน 1 คน คือนายชายนิด โง้วศิริมณี ในระหว่างปีไม่มีรายการระหว่างกัน รายการระหว่างกันกับบริษัท เรียลเซอร์วิส จำกัด (“เรียลเซอร์วิส”) ลักษณะความสัมพันธ์ - เพอร์เฟคเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของเรียลเซอร์วิส โดยถือในสัดส่วน 19% - พนักงานของเพอร์เฟคเป็นกรรมการของเรียลเซอร์วิส 1 คน ได้แก่ นายชัยณรงค์ เงินโสภา - ผู้บริหารของเพอร์เฟคถือหุ้นในเรียลเซอร์วิส 10% ได้แก่ นายสุรศักดิ์ วัชรพงศ์ปรีชา - ผู้บริหารของเอสเตทเพอร์เฟคถือหุ้นในเรียลเซอร์วิส 10% ได้แก่ นายพรสวัสดิ์ เกษจุฬาศรีโรจน์ - ผู้บริหารของกรุงเทพบ้านถือหุ้นในเรียลเซอร์วิสฯ 5% ได้แก่ นายทศพร จิระเกียรติดีกุล ในระหว่างปีไม่มีรายการระหว่างกัน

รายงานประจำปี 2552

68


ปัจจัยความเสี่ยง ปัจจัยที่อาจทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการลงทุนของผู้ลงทุนหรือได้รับผลกระทบต่อผู้ออกหลักทรัพย์ มีดังนี้ 1 ความเสี่ยงเกี่ยวกับสภาพคล่องและการเข้าถึงแหล่งเงินทุน การประกอบธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ เป็นการดำเนินธุรกิจที่ต้องใช้การลงทุนสูง เริ่มตั้งแต่การสรรหาที่ดิน พัฒนาที่ดิน ดำเนินการก่อสร้าง ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร เพื่อให้เกิดการรับรู้รายได้ ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวล้วนต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมาก และประกอบกับมีระยะเวลาในการการบริหารโครงการนานกว่า 1-2 ปีขึ้นไปในแต่ละโครงการ ซึ่งขึ้นอยู่กับขนาดของโครงการ บริษัท ได้พิจารณาและตระหนักถึงความสำคัญในการบริหารกระแสเงินสดให้มีสภาพคล่องเพียงพอต่อการดำเนินธุรกิจ บริษัทดำเนินการประกอบธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์มานานกว่า 25 ปี โดยผู้บริหารที่มีประสบการณ์ จากภาวะวิกฤต เศรษฐกิจ ต่างๆ ทำให้ทราบถึงปัญหาและแนวทางพัฒนาอย่างระมัดระวัง บริษัทได้ให้ความสำคัญในการดำเนินธุรกิจอย่างโปร่งใส มีการระมัดระวังรอบคอบในการพิจารณาพัฒนาโครงการ เริ่มตั้งแต่การพิจารณาเลือก ทำเล ซื้อที่ดิน มีการทำวิจัยเพื่อวิเคราะห์ ศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการต่าง ๆ ให้ความสำคัญในรายละเอียดของทุกส่วนงานที่สำคัญ และนำข้อมูลทั้งหมดเข้าที่คณะ กรรมการบริหารเพื่อพิจารณาอนุมัติดำเนินการในแต่ละโครงการ แบบ 360 องศา ซึ่งบริษัทได้รับความไว้วางใจจากสถาบันการเงิน และให้สนับสนุนเป็นอย่างดีตลอดมา ทั้งในส่วนของสินเชื่อโครงการ( Project Finance ) ในฐานะลูกค้าชั้นดี และการให้สินเชื่อสำหรับ ลูกค้าที่ต้องการกู้ซื้อบ้าน นอกจากนี้บริษัทยังใช้เครื่องมือทางการเงินต่างๆ เพื่อระดมทุนผ่านตราสารหนี้ ตราสารทุน อาทิเช่น ตั๋ว สัญญาใช้เงิน ตั๋วแลกเงิน การออกหุ้นกู้ การออกหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิแปลงสภาพ เพื่อ การลดต้นทุนทางการเงิน และบริหารระยะเวลา การชำระหนี้ ในปี 2552 ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2552 และวันที่ 12 พฤศจิกายน 2552 ได้มีมติอนุมัติให้ออก ตั๋วแลกเงินภายในวงเงินไม่เกิน 2,000 ล้านบาท บริษัทและบริษัทย่อยได้ดำเนินการออกหุ้นกู้ชนิดมีหลักประกัน รวม 4 ครั้ง ( รายละเอียดปรากฏตามหมายเหตุประกอบงบ การเงินข้อ 22 ) มีมูลค่ารวม 1,793 ล้านบาท โดยมีส่วนถึงกำหนดชำระภายใน 1 ปี 187 ล้านบาท ซึ่งปัจจุบันได้ดำเนินการชำระ เรียบร้อยแล้ว บริษัทได้พิจารณาและให้ความสำคัญในการบริหารอัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทและบริษัทย่อย โดยให้ ดำรงอัตราส่วนหนี้สินต่อทุนที่กำหนดไม่เกิน 1.75 เท่า ปัจจุบันบริษัทและบริษัทย่อยมีหนี้สินรวม ณ 31 ธันวาคม 2552 จำนวน 7,656.65 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นส่วนของหนี้สินหมุนเวียน 4.052.17 ล้านบาท รายละเอียดปรากฏตาม งบการเงินสำหรับปี สิ้นสุดวัน ที่ 31 ธันวาคม 2552) โดยมีอัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนผู้ถือหุ้น 0.92 เท่า ในปี 2551 และ1.12 เท่า ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 บริษัทมีความเชื่อมั่นว่าจากผลการดำเนินงานที่ผ่านมา สถาบันการเงินภายในประเทศยังคงให้การสนับสนุนด้านการเงินแก่ บริษัทในระดับสูงต่อไป ซึ่งช่วยให้ความเสี่ยงด้านการเข้าถึงสถาบันการเงินและการขาดสภาพคล่องอยู่ในระดับต่ำ 2. ความเสี่ยงจากการรับประกันผลตอบแทนขั้นต่ำของกองทุนอสังหาริมทรัพย์ เมื ่ อ วั น ที ่ 28 กุ ม ภาพั น ธ์ 2551 บริ ษ ั ท ได้ ท ำสั ญ ญาขายอสั ง หาริ ม ทรั พ ย์ ข องบริ ษ ั ท ให้ ก องทุ น รวมอสั ง หาริ ม ทรั พ ย์ พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค (“กองทุนฯ”) มีมูลค่าหน่วยลงทุนเป็นจำนวน 520 ล้านบาท โดยมีเงื่อนไขที่สำคัญที่บริษัทตกลงรับประกัน รายได้ขั้นต่ำของกองทุน เป็นระยะเวลา 5 ปี ซึ่งจะสิ้นสุดภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2555 ดังนั้นบริษัทอาจมีความเสี่ยงจากการที่ต้อง รับผิดชอบสำหรับรายได้ขั้นต่ำเป็นระยะเวลา 5 ปี บริษัทได้ประมาณมูลค่าที่คาดว่าจะเกิดขึ้นของค่าใช้จ่ายในการรับประกันรายได้ ขั้นต่ำดังกล่าวตามมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดที่บริษัทต้องชำระให้แก่กองทุนฯ ทั้งสิ้นเป็นจำนวนเงิน 73.8 ล้านบาท โดยบันทึก เป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุนสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2551 การประมาณการผลขาดทุนดังกล่าว อันเป็นช่วงปีแรกของ การดำเนินงานของกองทุนฯ ซึ่งเกิดความวุ่นวายทางการเมืองและภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจทำให้รายได้ค่าเช่าไม่เป็นตามเป้าหมาย กองทุนมีรายได้ค่าเช่า 12.6 ล้านบาท ทำให้บริษัทต้องจ่ายค่าประกันรายได้ขั้นต่ำให้แก่กองทุนเป็นจำนวน 33.4 ล้านบาท (เนื่องจา กกองทุนฯ เริ่มก่อตั้งและดำเนินการประมาณเดือนมีนาคม 2551 ทำให้ประกันรายได้ขั้นต่ำในปี 2551 เท่ากับ 46 ล้านบาท) ในปี 2552 บริษัทชำระค่าประกันรายได้ขั้นต่ำให้แก่กองทุนอีก 6.9 ล้านบาทรวมเป็นจำนวน 40.3 ล้านบาท บริษัทตั้งสำรองเผื่อผลขาดทุน จากการประกันรายได้ขั้นต่ำเพิ่มระหว่างปีขึ้นอีก 9.4 ล้านบาท ทำให้คงเหลือเงินสำรองที่เผื่อผลขาดทุนจากการรับประกันรายได้ขั้น ต่ำอีก 9.6 ล้านบาท ในปี 2553 บริษัทมั่นใจว่าจากสภาวะเศรษฐกิจที่มีสัญญานการฟื้นตัวในไตรมาส 4 ปี 2552 จะช่วยให้ตลาด บ้านเช่าดีขึ้นอย่างมีนัย และด้วยศักยภาพของทำเลที่ติดกับโรงเรียนนานาชาติ สภาพแวดล้อมของโครงการ และการบริการที่ดี จะ ช่วยให้การชดเชยส่วนนี้ลดลงตามลำดับ บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน)

69


3.

4.

ความเสี่ยงจากความต้องการเงินทุนหมุนเวียนที่เพิ่มขึ้น จากการสร้างบ้านพร้อมอยู่และความสามารถในการชำระหนี้ บริษัทยังคงดำเนินนโยบายสร้างบ้านพร้อมอยู่ เพื่อตอบสนองความต้องการและสร้างความมั่นใจแก่ผู้บริโภคว่าจะได้รับการ ส่งมอบได้ตามสัญญา ส่งผลให้บริษัทต้องใช้เงินทุนหมุนเวียนล่วงหน้าในการก่อสร้างที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้น ซึ่งบริษัทได้ดำเนินการ ควบคู่ไปกับการขายบ้านระหว่างก่อสร้าง บริษัทมีการกำหนดปริมาณก่อสร้างบ้านพร้อมอยู่เพื่อรองรับการขายในจำนวนที่เหมาะสม โดยพิจารณาถึงปริมาณการขายถัวเฉลี่ย (Moving Average) ซึ่งในหลายโครงการของบริษัทความต้องการของผู้บริโภคมากกว่า ปริมาณการสร้างบ้านพร้อมอยู่ บริษัทจึงจำเป็นต้องเปิดโอกาสให้ผู้บริโภคจองบ้านระหว่างก่อสร้าง ซึ่งช่วยสร้างความพึงพอใจให้แก่ ผู้บริโภค ในขณะเดียวกันบริษัทได้เริ่มการขายบ้านระหว่างก่อสร้างในโครงการที่มีศักยภาพ ซึ่งก็ได้รับการตอบรับที่ดีเนื่องจากความ เชื่อถือต่อบริษัทที่เชื่อมั่นว่าจะได้รับการส่งมอบบ้านตามสัญญา ซึ่งช่วยบริษัทได้ลดความเสี่ยงในการหาแหล่งเงินทุนหมุนเวียนจาก การเปิดขายล่วงหน้า (Presale) สำหรับโครงการใหม่ ทำให้ได้รับการพิจารณาอนุมัติเงินสนับสนุนโครงการจากสถาบันการเงิน อย่าง มั่นใจในศักยภาพของโครงการที่มียอดขายจากผู้บริโภคล่วงหน้าซึ่งลดความเสี่ยงจากการสร้างแล้วขายไม่ได้ นอกจากนี้จากการที่บริษัทได้นำเทคนิคการก่อสร้างบ้านสำเร็จรูปแบบ Prefabrication และระบบเสา-คานสำเร็จรูป (Rigid Frame or Skeleton) ซึ่งทำให้ลดระยะเวลาในการก่อสร้างบ้าน และสามารถควบคุมคุณภาพของวัสดุได้ดีกว่าเพราะสามารถลดการ พึ่งพาฝีมือแรงงาน ลดระยะเวลาก่อสร้างบ้านจากเดิมที่ใช้เวลาประมาณ 6-8 เดือน เหลือเพียง ประมาณ 4-5 เดือน ทำให้สามารถ บริหารสินค้าคงเหลืออย่างมีประสิทธิภาพ ในปี 2553 บริษัทมีแผนการขยายกำลังการผลิตบ้านสำเร็จรูปเพิ่มขึ้นเพื่อรองรับการ เติบโตของยอดขาย ความต้องการเงินทุนหมุนเวียนที่เพิ่มสูงขึ้นจากการขยายตัวของธุรกิจ ไม่ก่อให้เกิดปัญหาในการชำระหนี้คืนให้แก่เจ้าหนี้ ของบริษัท เนื่องจากบริษัทใช้เงินทุนหมุนเวียนดังกล่าวจากการโอนขายบ้านและที่ดินในโครงการต่างๆ ซึ่งมีระยะเวลาพัฒนา โครงการและระยะเวลาการขายที่แตกต่างกัน ช่วยให้บริษัทสามารถบริหารเงินทุนหมุนเวียนได้ โดยบริษัทยังได้ป้องกันความเสี่ยง โดยการใช้วงเงินกู้ที่ได้รับการสนับสนุนจากสถาบันการเงินเป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนสำรองเพิ่มเติมอีกทางหนึ่ง ซึ่ง ณ วันที่ 31ธันวาคม 2552 บริษัทและบริษัทย่อยมีวงเงินเงินกู้ยืมระยะยาวตามสัญญาเงินกู้ที่ยังไม่ได้เบิกใช้คงเหลือจำนวน 3,917.8 ล้านบาท นอกจากนี้ บริษัทยังได้จัดให้มีระบบการตรวจสอบการขายและสั่งสร้างเพื่อให้บริษัทสามารถรักษาสมดุลของปริมาณบ้านสร้างเสร็จ หรือสินค้าคงเหลือของบริษัทให้อยู่ในระดับที่เพียงพอเพื่อรองรับกับนโยบายการตลาดอีกทางหนึ่งด้วย ความเสี่ยงจากความผันผวนของต้นทุนในการก่อสร้าง ผลกระทบจากความผันผวนของระดับราคาน้ำมันตลอดปี 2552 มีผลกระทบโดยตรงที่ทำ ให้ราคาวัสดุก่อสร้างปรับตัวเพิ่ม สูงขึ้น ก่อให้เกิดผลกระทบต่อต้นทุนในการดำเนินธุรกิจและภาคอุตสาหกรรมก่อสร้าง บริษัทได้ให้ความสำคัญกับการลดความเสี่ยง ของความผันผวนของราคาวัสดุก่อสร้างซึ่งเป็นต้นทุนหลักในการก่อสร้าง โดยมีการพิจารณาแนวทางบริหารจัดการทั้งทางตรงและ ทางอ้อม กล่าวคือ ทางตรง บริษัทมีนโยบายการสั่งซื้อล่วงหน้าสำหรับวัสดุก่อสร้างที่สำคัญ ได้แก่ เสาเข็ม เหล็กเสริมคอนกรีต โดยมีการสั่งซื้อ ล่วงหน้าไว้อย่างน้อย 6-12 เดือน เพื่อลดความผันผวนของราคา นอกจากนี้บริษัทได้ช่วยเหลือผู้รับเหมาในการติดต่อเจรจาจัดหา วัสดุก่อสร้างเพื่อใช้สำหรับโครงการทั้งหมดของบริษัท ทำให้บริษัทมีอำนาจในการต่อรองราคาและกำหนดเงื่อนไขการส่งมอบ ในปี 2552 บริษัทดำเนินนโยบายบริหารต้นทุนโดยสร้างพันธมิตรกับ บริษัท SCG ผลิตภัณฑ์ก่อสร้างจำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ บริษัท ปูนซีเมนต์ไทยจำกัด (มหาชน) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการและเตรียมความพร้อมในการนำระบบ Supply Chain มาใช้ใน การบริหารงานก่อสร้าง ลดต้นทุนทั้งในเรื่องของราคาและการบริหารงานก่อสร้างระยะยาว ทางอ้อม การปรับกลยุทธ์ในการสร้างบ้านเป็นการสร้างบ้านพร้อมอยู่ทดแทนบ้านสั่งสร้าง จึงเป็นผลทำให้บริษัททราบ แผนการก่อสร้างล่วงหน้า สามารถต่อรองราคาและควบคุมต้นทุนวัสดุก่อสร้างได้ระดับหนึ่ง ทำให้บริษัททราบจำนวนต้นทุนรวมที่ เกิดขึ้นก่อนการขาย ซึ่งสามารถช่วยการบริหารต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพในระดับหนึ่งและยังช่วยลดระดับความเสี่ยงจากความ ผันผวนของต้นทุนในการก่อสร้าง

รายงานประจำปี 2552

70


5.

6.

ความเสี่ยงจากการขาดแคลนผู้รับเหมา จากปริมาณการก่อสร้างที่มากขึ้นทั้งในส่วนของภาครัฐบาลและปริมาณการก่อสร้างที่ขยายตัวเพิ่มตามผลการดำเนินงาน ของผู้ประกอบการทั้งรายเล็ก รายใหญ่ จึงมีความเสี่ยงในการขาดแคลนผู้รับเหมาก่อสร้างที่มีคุณภาพ บริษัทได้ให้ความสำคัญกับ การบริหารงานก่อสร้างเป็นอย่างมาก บริษัทดำเนินนโยบายสำหรับผู้รับเหมารายใหม่และผู้รับเหมาปัจจุบันที่ทำงานร่วมกับบริษัท อย่างเท่าเทียมกันโดยมีการจัดทำทะเบียน ประวัติการทำงานอย่างเป็นระบบ เพื่อการพิจารณาขีดความสามารถของผู้รับเหมาใน การจัดลำดับชั้น รวมทั้งการแนะนำวิธีปฏิบัติและการทำงานร่วมกับบริษัทเพื่อให้ได้คุณภาพตามที่บริษัทต้องการ โดยบริษัทตระหนักถึงวิธีปฏิบัติเพื่อสร้างพันธ์มิตรทางธุรกิจกับผู้รับเหมาเป็นเรื่องสำคัญ จึงให้ความสำคัญในการพิจารณา ปริมาณงานก่อสร้างที่จะมอบหมายให้แก่ผู้รับเหมาอย่างเหมาะสมและสม่ำเสมอโดยคำนึงถึงความพร้อมของผู้รับเหมาทั้งกำลังคน และกำลังเงิน เป็นสำคัญ บริษัทยังเปิดโอกาสแก่ผู้รับเหมารายใหม่เข้ามาร่วมงานกับบริษัทเพื่อรองรับปริมาณงานก่อสร้างที่เพิ่ม การกำหนดราคาก่อสร้างอย่างยุติธรรม ระยะเวลาการเบิกจ่ายเงินตามงวดงาน การให้การสนับสนุนในการปฏิบัติงานทั้ง โฟร์แมนและวิศวกรของบริษัท ได้สร้างบรรยากาศการร่วมงานที่ดี ส่งผลถึงการก่อสร้างที่ได้มาตรฐาน และมีคุณภาพ ในปี 2552 บริษัทได้เริ่มนำระบบ Site Management มาพัฒนาเพื่อควบคุมมาตรฐานการก่อสร้างของบริษัทให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทุก โครงการ ซึ่งระบบนี้จะช่วยให้ผู้รับเหมามีความมั่นใจในการทำงานร่วมกับบริษัทและพร้อมที่จะเติบโตไปกับบริษัทอย่างมั่นคงยิ่งขึ้น การสร้างบรรยากาศความร่วมมือระหว่างผู้รับเหมากับบริษัทในการทำงาน ส่งผลให้ความเสี่ยงในการขาดแคลนผู้รับเหมานั้นอยู่ใน ระดับต่ำ ความเสี่ยงจากภาวะการแข่งขันที่สูงขึ้นของตลาดที่อยู่อาศัย บริษัทได้ตระหนักถึงประเด็นนี้ และได้มีการเตรียมแผนงานเพื่อรักษาส่วนแบ่งของตลาดและการรุกเพิ่มเข้าไปในบาง Segmentation ที่ยังมีช่องว่าง รวมทั้งเพิ่มส่วนแบ่งตลาดปัจจุบัน โดยบริษัทมีการกำหนด นโยบาย และแผนพัฒนาธุรกิจ 3 ปี สำหรับ การเตรียมความพร้อมเพื่อการเปิดโครงการใหม่ การเพิ่มสินค้าให้ตรงความต้องการของสภาวะตลาดปัจจุบัน รวมทั้งการขยายกลุ่ม ลูกค้าไปในจังหวัดที่มีศักยภาพที่มีการเติบโตต่อเนื่อง ปี 2552 บริษัทได้ดำเนินกลยุทธ์ด้านผลิตภัณฑ์เพื่อให้สอดคล้องสภาพเศรษฐกิจ ภาวะราคาน้ำมันเพื่อรองรับความต้องการ ของผู้บริโภคตั้งแต่ระดับราคา 1.2-20 ล้านบาทขึ้นไป โดยแบ่งลักษณะผลิตภัณฑ์ตามแบรนด์ เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถเลือกได้ตาม ความต้องการของผู้บริโภค โดยทุกทำเลของโครงการจะอยู่ใกล้ระบบขนส่งมวลชนที่เกิดขึ้นแล้ว และจะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ ทำให้สามารถรองรับความต้องการของผู้บริโภคในทุกกลุ่มลูกค้า (Segmentation) และทุกทำเล โดยบริษัทยังคงเน้นสภาพแวดล้อม ภายในโครงการที่บริษัทได้ลงทุนเพื่อให้เกิดบรรยากาศอันร่มรื่นภายในโครงการโดยมีรางวัล จากการจัดการสภาพแวดล้อมดีเด่น (EIA Monitoring Awards) ติดต่อกัน 4 ปี (2548-2551) และ ในปี 2551 บริษัทได้รับรางวัลบ้านจัดสรรอนุรักษ์พลังงานจากกรมพัฒนา พลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงแรงงานเป็นรางวัล “ รางวัลบ้านจัดสรรอนุรักษ์พลังงานดีเด่น” 10 รางวัล จาก 7 แบบบ้าน และ 3 โครงการ ในปี 2553 บริษัทและบริษัทย่อยมีแผนการเปิดโครงการใหม่ เพื่อเพิ่มส่วนแบ่งตลาดแยกตามประเภทผลิตภัณฑ์ ดังนี้ โครงการบ้านเดี่ยว จำนวน 4 โครงการ ระดับราคาที่ 3-5 ล้าน มูลค่ารวมประมาณ 6,240 ล้านบาท ทาวน์เฮ้าส์ แบรนด์ เดอะ วิลล่า (โดยบริษัทย่อย “เอสเตท”)จำนวน 4-5 โครงการ ระดับราคาที่ 1.8 - 2 ล้านบาท มูลค่ารวมประมาณ 3,713 ล้านบาท คอนโดมิเนียม แบรนด์ เมโทรพาร์ค และเมโทรสกาย จำนวน 2 โครงการ ระดับราคาที่ 2-5 ล้านบาท มูลค่ารวมประมาณ 6,555 ล้านบาท คอนโดมิเนียม แบรนด์ ยูนิลอฟท์ ( โดยบริษัทย่อย “ไบรท์” ) จำนวน 3 โครงการ ระดับราคาที่ 1.0-2.0 ล้านบาท มูลค่ารวมประมาณ 4,500 ล้านบาท รวมโครงการเปิดใหม่ ปี 2553 จำนวน 14 โครงการ มูลค่าประมาณ 21,000 ล้านบาท ในทำเลต่าง ๆ ซึ่งรวมกับ โครงการปัจจุบัน 15 โครงการ ที่อยู่ระหว่างดำเนินการมีมูลค่าโครงการคงเหลือรวม 21,066 ล้านบาท บริษัทและบริษัทย่อยจะมี โครงการรวมในปี 2553 เป็นจำนวน 29 โครงการ คิดเป็นมูลค่า 42,066 ล้านบาท บริษัทมั่นใจนโยบายการขยายเปิดโครงการในทำเล ต่างๆ จะช่วยเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดในแต่ประเภทของผลิตภัณฑ์ จากประสบการณ์ในการดำเนินธุรกิจของบริษัทและชื่อเสียงบริษัท จะสามารถลดระดับความเสี่ยงในการแข่งขันได้อย่างมีนัย

บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน)

71


7.

8.

ความเสี่ยงในการชำระคืนหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิแปลงสภาพ เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2548 บริษัทได้ออกและเสนอขายหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญ จำนวน 200,000 หน่วย มูลค่าหน่วยละ 100 เหรียญสหรัฐฯ มูลค่ารวมจำนวน 20 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยมีรายละเอียดดังนี้ วันเริ่มใช้สิทธิแปลงสภาพ : 25 พฤษภาคม 2550 วันครบกำหนดไถ่ถอน : 25 พฤศจิกายน 2553 อัตราดอกเบี้ย : ร้อยละ 3.50 ต่อปี อัตราแปลงสภาพ : หุ้นกู้ 1 หน่วย ต่อ 658.4 หุ้นสามัญ หรือคิดเป็นราคาหุ้นละ 6.25 บาท เงื่อนไขอื่นๆ : สำหรับหุ้นกู้ส่วนที่ไม่ได้ใช้สิทธิแปลงสภาพจะชำระคืนเป็นจำนวน 131.60 เหรียญ สหรัฐฯ ต่อหน่วย โดยกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนไว้ที่ 41.15 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ ซึ่ง ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 บริษัทได้บันทึกสำรองสำหรับหุ้นกู้ส่วนที่ไม่ได้ใช้สิทธิแปลง สภาพตามอายุของหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิแปลงสภาพจำนวน 809.15 ล้านบาท อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัท (D/E Ratio) ณ 31 ธันวาคม 2552 เท่ากับ 1.12 เท่า คิดเป็นสัดส่วนหนี้สินที่ เกิดจากการออกหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิแปลงสภาพคิดเป็นร้อยละ 11.26 ของหนี้สินรวมทั้งหมดของบริษัทและบริษัทย่อย ทั้งนี้ จากการที่ บริษัทมีการพัฒนาโครงการบ้านจัดสรรอย่างต่อเนื่อง บริษัทมีความมั่นใจในสภาพคล่องทางการเงินของบริษัทว่ามีความสามารถ เพียงพอในการจ่ายชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ยของหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิแปลงสภาพดังกล่าว รวมทั้งผู้ถือหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิแปลงสภาพ ดังกล่าวไม่มีสิทธิไถ่ถอนหุ้นกู้ก่อนวันครบกำหนดไถ่ถอน (Put Option) ความเสี่ยงจากการค้ำประกันบริษัทย่อย บริษัทมีบริษัทย่อยที่ให้การค้ำประกัน จำนวน 2 บริษัท คือ บริษัท เอสเตท เพอร์เฟ็คท์ จำกัด ซึ่งบริษัท ถือหุ้น 100% ของ ทุนจดทะเบียนที่เรียกชำระแล้ว จำนวน 1,000 ล้านบาท ประกอบธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ประเภทบ้านเดี่ยว ได้แก่ โครงการ เพอร์เฟค เพลส สุขุมวิท 77–สุวรรณภูมิ และ โครงการเพอร์เฟค พาร์ค สุวรรณภูมิ โดยบริษัทได้ค้ำประกันวงเงินกู้ และวงเงินสินเชื่อ ในวงเงิน 2,132.4 ล้านบาท ณ 31 ธันวาคม 2552 มียอดหนี้เงินกู้สถาบันการเงินคงค้าง 272.7 ล้านบาท และหนี้ตั๋วสัญญาใช้เงิน จำนวน 355 ล้านบาท และ บริษัท ไบร์ท ดีเวลลอปเมนท์ กรุงเทพ จำกัด ซึ่งบริษัทถือหุ้น 99.94% ของทุนจดทะเบียนที่เรียกชำระ แล้ว จำนวน 1 ล้านบาท ประกอบธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ประเภทอาคารชุดพักอาศัย ได้แก่ โครงการเมโทร สกาย รัชดา โดย บริษัทได้ค้ำประกันวงเงินหุ้นกู้ จำนวน 462 ล้านบาท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 ยอดหุ้นกู้คงเหลือ 187.15 ล้านบาท การค้ำประกันของบริษัทฯนั้น เป็นการค้ำประกันตามสัดส่วนการถือหุ้น และที่ผ่านมาโครงการที่ดำเนินการภายใต้ บริษัท เอสเตท เพอร์เฟ็คท์ จำกัด นั้น สามารถสร้างรายได้ให้กับบริษัทอย่างต่อเนื่อง ซึ่งโครงการ เพอร์เฟค เพลส สุขุมวิท 77–สุวรรณภูมิ มีความคืบหน้าในการขายไปแล้ว 60% และโครงการ เพอร์เฟค พาร์ค สุวรรณภูมิ (เฟส 1) มีความคืบหน้าในการขายไปแล้ว 56% โดยมีมูลค่าโครงการคงเหลือรวม ณ 31 ธันวาคม 2552 จำนวน 2,675 ล้านบาท ส่วนโครงการที่ดำเนินการภายใต้ บริษัท ไบร์ท ดีเวลลอปเมนท์ กรุงเทพ จำกัด คือ โครงการเมโทร สกาย รัชดา (เฟส 1) มีความคืบหน้าในการขายไปแล้ว 32% มีมูลค่าโครงการคง เหลือ ณ 31 ธันวาคม 2552 จำนวน 753 ล้านบาท แม้ว่าความเสี่ยงต่างๆที่เกิดจากการค้ำประกันในบริษัทย่อยนั้น จะกระทบต่อบริษัทฯ โดยตรงในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ แต่ อย่างไรก็ตามภาระหนี้สินในการค้ำประกันบริษัทย่อยทั้งหมดนั้น ได้แสดงไว้ในงบการเงินรวมของบริษัทซึ่ง ณ 31 ธันวาคม 2552 บริษัท และบริษัทย่อย มีหนี้สินรวม เท่ากับ 7,656.65 ล้านบาท เปรียบเทียบกับส่วนของผู้ถือหุ้นรวม 6,820.10 ล้านบาท คิดเป็น อัตราส่วนหนี้ สินรวมต่อทุน 1.12 เท่า โดยเพิ่มขึ้นจาก 0.93 เท่า เมื่อสิ้นปี 2551 เนื่องจากการที่บริษัทมีการลงทุนในที่ดินบริเวณ ต่างๆ เพื่อรองรับการขยายตัว จึงทำให้หนี้สินรวมเพิ่มขึ้น แต่เมื่อเทียบกับ ข้อจำกัดในการก่อหนี้ (Financial Covenant) รวมที่ อัตราส่วนหนี้สิน ต่อทุนที่กำหนดไม่เกิน 1.75 เท่า และอัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้นที่เพิ่มขึ้นไม่ส่งผลกระทบต่อเงื่อนไข ทางการเงินที่บริษัทได้กู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินหรือจากการที่บริษัทเข้าค้ำประกันการออกหุ้นกู้ของบริษัทย่อย (บริษัทไบร์ท ดีเวลลอปเม้นท์ กรุงเทพ จำกัด) ที่กำหนดเงื่อนไขให้บริษัทซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันต้องดำรงอัตราส่วนหนี้สินทางการเงินต่อส่วนของผู้ถือ หุ้นไม่เกิน 2 เท่า

รายงานประจำปี 2552

72


คำอธิบายและการวิเคราะห์ฐานะการเงินและ ผลการดำเนินงาน ผลการดำเนินงานและฐานะการเงินรวมของบริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน)และบริษัทย่อย ในปี 2550-2552 เป็นดังนี้ การเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีเกี่ยวกับการบันทึกเงินลงทุนในบริษัทย่อยและบริษัทร่วมในงบการเงินเฉพาะกิจการ ในระหว่างปี 2550 บริษัทฯได้เปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีเกี่ยวกับการบันทึกเงินลงทุนในบริษัทย่อยและบริษัทร่วมในงบการเงิน เฉพาะกิจการจากวิธีส่วนได้เสียเป็นวิธีราคาทุนตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 44 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง งบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะ กิจการซึ่งกำหนดให้เงินลงทุนในบริษัทย่อย เงินลงทุนในกิจการที่มีการควบคุมร่วมกันและเงินลงทุนในบริษัทร่วมในงบการเงินเฉพาะกิจการ ต้องแสดงตามวิธีราคาทุน ในการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีดังกล่าว บริษัทฯได้ปรับย้อนหลังงบการเงินเฉพาะกิจการปีก่อนที่นำมาแสดงเปรียบเทียบ เสมือนว่าบริษัทฯได้ถือปฏิบัติเกี่ยวกับการบันทึกบัญชีเงินลงทุนในบริษัทย่อย และบริษัทร่วมตามวิธีราคาทุนมาโดยตลอด การเปลี่ยนแปลง นี้ทำให้บริษัทฯมีกำไรสุทธิในงบกำไรขาดทุนเฉพาะกิจการ สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2550 และ 2549 ลดลงเป็นจำนวน 42.8 ล้าน บาท (0.05 บาทต่อหุ้น) และ 21.9 ล้านบาท (0.03 บาทต่อหุ้น) ตามลำดับ ผลสะสมของการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีดังกล่าวได้แสดง ไว้ในหัวข้อ “ผลสะสมจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีเกี่ยวกับการบันทึกเงินลงทุนในบริษัทย่อยและบริษัทร่วม” ในงบแสดงการ เปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้นเฉพาะกิจการแล้ว ทั้งนี้การเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีดังกล่าว มีผลกระทบเฉพาะต่อรายการบัญชีที่เกี่ยวข้องกับเงินลงทุนในบริษัทย่อยและบริษัท ร่วมในงบการเงินเฉพาะกิจการเท่านั้น ไม่ได้มีผลกระทบต่องบการเงินรวมแต่อย่างใด การจัดตั้งบริษัทย่อย ในปี 2550 บริษัทได้จัดตั้งบริษัท ไบรท์ ดีเวลลอปเม้นท์ กรุงเทพ จำกัด ซึ่งมีทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท เพื่อบริหารพัฒนาโครงการ เมโทร สกาย รัชดา โดยปัจจุบันบริษัทถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 99.94 ของทุนจดทะเบียนและเรียกชำระแล้ว นอกจากนั้นบริษัทยังได้ร่วมทุนกับบริษัท ทิมเบอร์ไลน์ อินเวสเม้นท์ส พีทีอี แอลทีดี จำกัด จากประเทศสิงคโปร์ ซึ่งมีความเชี่ยวชาญ ทางด้านศูนย์การค้า โดยมีทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท และบริษัทถือหุ้นร้อยละ 59.99 ของทุนจดทะเบียนและเรียกชำระแล้ว จัดตั้งบริษัท เซ็นเตอร์พ้อยท์ ช็อปปิ้ง มอลล์ จำกัด วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งบริษัทดังกล่าว เพื่อบริหารพัฒนาโครงการด้านศูนย์การค้าอสังหาริมทรัพย์ เชิงพาณิชย์ เช่น ศูนย์การค้า และอาคารสำนักงาน เป็นต้น และเมื่อวันที่ 22 มกราคม 2553 ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ได้มีมติอนุมัติให้ บริษัทดำเนินการซื้อหุ้นทั้งหมดจากบริษัท ทิมเบอร์ไลน์ อินเวสเม้นท์ส พีทีอี แอลทีดี จำกัด (หุ้นสามัญจำนวน 400,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 100 บาท) ซึ่งภายหลังจากการซื้อหุ้นข้างต้น บริษัทจะมีสัดส่วนการถือหุ้นเป็นร้อยละ 99.99 และยังมีมติอนุมัติให้เพิ่มทุนจดทะเบียนของบริษัท เซ็นเตอร์พ้อยท์ ช็อปปิ้ง มอลล์ จำกัด จากมูลค่า 1 ล้านบาทเป็น 500 ล้านบาท ภาพรวมผลการดำเนินงาน ผลการดำเนินงานของบริษัท ช่วง 3 ปีที่ผ่านมาในปี 2550 ได้พลิกฟื้นขึ้นมาจากปี 2549 โดยบริษัทและบริษัทย่อยได้เปิดโครงการเพื่อ รองรับความต้องการของผู้บริโภค ในปี 2550 มีการเปิดโครงการใหม่ 2 โครงการ และเปิดเฟสใหม่ในโครงการเดิมจำนวน 3 โครงการ ในปี 2551 มีการเปิดโครงการใหม่ 4 โครงการ เป็นบ้านเดี่ยว 1 โครงการ ทาวน์เฮ้าส์ 1 โครงการและคอนโดมิเนียม 2 โครงการ และในปี 2552 มี การเปิดโครงการใหม่ 4 โครงการ เป็นบ้านเดี่ยว 3 โครงการ และทาวน์เฮ้าส์ 1 โครงการ นอกจากนั้นยังเปิดเฟสใหม่ในโครงการเดิมจำนวน 1 โครงการเป็นคอนโดมิเนียม ปัจจุบันบริษัทและบริษัทย่อยมีโครงการที่ดำเนินการอยู่ทั้งสิ้นรวม 15 โครงการ ผลการดำเนินงานรวม - งบการเงินรวม • รายได้จากการขาย บริษัทจะบันทึกรายการขายบ้านพร้อมที่ดินและรายการขายหน่วยในอาคารชุดพักอาศัยเป็นรายได้ในงบกำไรขาดทุนเมื่อมี การโอนกรรมสิทธิ์แก่ผู้ซื้อแล้ว

บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน)

73


ในปี 2550 บริษัทและบริษัทย่อยมีรายได้จากการขายบ้านพร้อมที่ดินจำนวน 4,697.13 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 219.85 ล้านบาท จากปี 2549 และในปี 2550 นี้บริษัทยังมีรายได้จากการขายหน่วยในอาคารชุดพักอาศัยในโครงการเมโทร พาร์ค สาทร จำนวน 1,469.49 ล้านบาท ซึ่งโครงการนี้เปิดขายในปลายปี 2548 และได้เริ่มโอนกรรมสิทธิหน่วยในอาคารชุดพักอาศัยให้แก่ลูกค้าตั้งแต่ ไตรมาสที่ 1 ของปี 2550 นอกจากนั้น บริษัทยังมีรายได้จากการขายที่ดิน จำนวน 99.31 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 1.58 ของรายได้จากการขายรวม ดังนั้นรายได้จากการขายในปี 2550นี้จึงมีจำนวนรวมเท่ากับ 6,265.93 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2549 เป็นจำนวน 1,788.64 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 39.95 สำหรับปี 2551 บริษัทและบริษัทย่อยมีรายได้จากการขายบ้านพร้อมที่ดินจำนวน 5,420.14 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 723.01 ล้าน บาทจาก ปี 2550 โดยส่วนหนึ่งมาจากการขายบ้านพร้อมที่ดินจำนวน 64 หลัง มูลค่ารวม 510 ล้านบาท ให้กับกองทุนรวม อสังหาริมทรัพย์ พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค และมีรายได้จากการขายหน่วยในอาคารชุดพักอาศัยในโครงการเมโทร พาร์ค สาทร จำนวน 2,109.46 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 639.97 ล้านบาทจากปี 2550 ซึ่งเป็นผลจากบริษัทเริ่มโอนอาคารชุดพักอาศัยในโครงการเมโทร พาร์ค สาทร เฟส 2 ได้ในปลายปี 2550 สำหรับปี 2552 บริษัทและบริษัทย่อยมีรายได้จากการขายบ้านพร้อมที่ดินจำนวน 5,073.42 ล้านบาท ลดลง 346.72 ล้าน บาทจากปี 2551 โดยส่วนหนึ่งมาจากในปี 2551 มีการขายบ้านพร้อมที่ดินจำนวน 64 หลัง มูลค่ารวม 510 ล้านบาท ให้กับกองทุน รวมอสังหาริมทรัพย์ พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค ซึ่งในปี 2552 ไม่มีรายการดังกล่าว และมีรายได้จากการขายหน่วยในอาคารชุดพัก อาศัยในโครงการเมโทร พาร์ค สาทร จำนวน 778.47 ล้านบาท ลดลง 1,330.99 ล้านบาทจากปี 2551 ซึ่งเป็นผลจากบริษัทเริ่มโอน อาคารชุดพักอาศัยในโครงการเมโทร พาร์ค สาทร เฟส 2 ได้ในปลายปี 2550 และตลอดปี 2551 ส่วนในปี 2552 มีหน่วยโอนคงเหลือ ไม่มากนัก ขณะที่โครงการเมโทร พาร์ค สาทร เฟส 3 คาดว่าจะเริ่มโอนและรับรู้รายได้ ได้ในปลายปี 2553 ทั้งนี้ รายได้จากการขายของบริษัทและบริษัทย่อยในปี 2550 -ปี 2552 แยกตามรายโครงการ สามารถดูได้จาก ตาราง โครงสร้างรายได้รวมการจำหน่ายผลิตภัณฑ์หลักจำแนกตามผลิตภัณฑ์ • ต้นทุนขาย และกำไรขั้นต้นจากการดำเนินงาน ในการคำนวณหาต้นทุนการขายบ้านพร้อมที่ดินและหน่วยในอาคารชุดพักอาศัย ซึ่งเป็นต้นทุนหลักของบริษัทและบริษัท ย่อยนั้น ได้ทำการแบ่งสรรต้นทุนการพัฒนาทั้งหมดที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (โดยได้คำนึงถึงต้นทุนที่แท้จริงด้วย) ให้กับบ้านพร้อมที่ดินที่ ขายได้และหน่วยในอาคารชุดพักอาศัยตามเกณฑ์พน้ื ทีท่ ข่ี าย แล้วจึงรับรูเ้ ป็นต้นทุนขายในงบกำไรขาดทุนเมือ่ รับรูร้ ายได้จากขายแล้ว ทั้งนี้ ต้นทุนการพัฒนาข้างต้นจะแสดงตามราคาทุนสุทธิจากค่าเผื่อผลขาดทุนจากการลดลงของมูลค่าโครงการ โดยต้นทุน การพัฒนาประกอบด้วย ต้นทุนที่ดิน ค่าพัฒนาที่ดิน ค่าก่อสร้าง และดอกเบี้ยที่เกี่ยวข้อง

ในปี 2550 ต้นทุนขายของบริษัทและบริษัทย่อย แบ่งเป็น - ต้นทุนการขายบ้านพร้อมที่ดิน เท่ากับ 3,297.30 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2549 จำนวน 203.31 ล้านบาท หรือคิดเป็น ร้อยละ 6.57 โดยสัดส่วนต้นทุนขายเทียบกับรายได้จากการขาย เท่ากับร้อยละ 70.20 ซึ่งสูงกว่าปี2549 ซึ่งเท่ากับ ร้อยละ 69.10 - ต้นทุนการขายหน่วยในอาคารชุดพักอาศัย เท่ากับ 1,041.59 ล้านบาท โดยสัดส่วนต้นทุนขายเทียบกับรายได้จาก การขาย เท่ากับร้อยละ 70.88 - ต้นทุนการขายที่ดิน เท่ากับ 56.58 ล้านบาท โดยสัดส่วนต้นทุนขายเทียบกับรายได้จากการขาย เท่ากับร้อยละ 56.97 สำหรับปี 2551 ต้นทุนขายของบริษัทและบริษัทย่อย มีรายละเอียดดังนี้ - ต้นทุนการขายบ้านพร้อมที่ดิน เท่ากับ 3,767.92 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน จำนวน 470.62 ล้านบาท หรือคิดเป็น ร้อยละ 14.27 โดยสัดส่วนต้นทุนขายเทียบกับรายได้จากการขาย เท่ากับร้อยละ 69.52 ซึ่งต่ำกว่าปี2550 ซึ่งเท่ากับ ร้อยละ 70.20

รายงานประจำปี 2552

74


-

ต้นทุนการขายหน่วยในอาคารชุดพักอาศัย เท่ากับ 1,395.41 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน จำนวน 353.82 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 33.97 โดยสัดส่วนต้นทุนขายเทียบกับรายได้จากการขาย เท่ากับร้อยละ 66.15 ซึ่งต่ำกว่าปี2550 ซึ่งเท่ากับร้อยละ 70.88 - ต้นทุนการขายบ้านพร้อมที่ดินและต้นทุนการขายหน่วยในอาคารชุดพักอาศัยที่เพิ่มขึ้น เนื่องมาจากรายได้ที่สูงขึ้น และเมื่อพิจารณาสัดส่วนต้นทุนขายเทียบกับรายได้จากการขายจะลดลงจากปีก่อน เป็นผลจากการปรับราคาขาย เพิ่มขึ้นในตอนต้นปี 2551 - ต้นทุนการขายที่ดินเท่ากับ 6.59 ล้านบาท ลดลงจำนวน 49.99 ล้านบาทจากปีก่อน โดยสัดส่วนต้นทุนขายเทียบกับ รายได้จากการขายเท่ากับร้อยละ 76.24 ซึ่งสูงกว่าปีก่อน ซึ่งเท่ากับร้อยละ 56.97 ส่วนปี 2552 ต้นทุนขายของบริษัทและบริษัทย่อย มีรายละเอียดดังนี้ - ต้นทุนการขายบ้านพร้อมที่ดิน เท่ากับ 3,514.25 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนจำนวน 253.67 ล้านบาท หรือคิดเป็น ร้อยละ 6.73 โดยสัดส่วนต้นทุนขายเทียบกับรายได้จากการขายเท่ากับร้อยละ 69.27 ซึ่งต่ำกว่าปี 2551 ซึ่งเท่ากับ ร้อยละ 69.52 - ต้นทุนการขายหน่วยในอาคารชุดพักอาศัยเท่ากับ 551.95 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนจำนวน 843.46 ล้านบาท หรือ คิดเป็นร้อยละ 60.44 โดยสัดส่วนต้นทุนขายเทียบกับรายได้จากการขายเท่ากับร้อยละ 70.90 ซึ่งสูงกว่าปี2551 ซึ่ง เท่ากับร้อยละ 66.15 - ต้นทุนการขายบ้านพร้อมที่ดินและต้นทุนการขายหน่วยในอาคารชุดพักอาศัยที่ลดลง เนื่องมาจากรายได้ที่ลดลง และเมื่อพิจารณาสัดส่วนต้นทุนขายเทียบกับรายได้จากการขายในส่วนของบ้านพร้อมที่ดินถือได้ว่าไม่แตกต่างจาก ปีก่อน ส่วนต้นทุนขายเทียบกับรายได้จากการขายในส่วนของอาคารชุดพักอาศัยเพิ่มขึ้น เนื่องจากการลดราคาขาย ในห้องชุดที่เหลืออยู่ในโครงการเมโทร พาร์ค สาทร เฟส 1 และ 2 เมื่อพิจารณากำไรขั้นต้นจากการดำเนินงานปกติ พบว่า บริษัทและบริษัทย่อยมีอัตรากำไรขั้นต้นในปี 2550 บริษัทและบริษัท ย่อยมีอัตรากำไรขั้นต้นจากการขายบ้านพร้อมที่ดินเท่ากับร้อยละ 29.80 ลดลงจากปี 2549 ซึ่งมีอัตรากำไรขั้นต้นเท่ากับร้อยละ 30.90 เนื่องจากต้นทุนที่สูงขึ้น แต่บริษัทไม่ได้มีการปรับราคาขายเพิ่มขึ้น ในส่วนอัตรากำไรขั้นต้นจากการขายหน่วยในอาคารชุดพักอาศัย เท่ากับร้อยละ 29.12 สำหรับปี 2551 บริษัทและบริษัทย่อยมีอัตรากำไรขั้นต้นสูงขึ้นทั้งจากการขายบ้านพร้อมที่ดินและจากการขายหน่วยใน อาคารชุดพักอาศัย ซึ่งเท่ากับร้อยละ 30.48 และ ร้อยละ 33.85 ตามลำดับ โดยเป็นผลมาจากการปรับราคาขายบ้านในต้นปี 2551 และการปรับราคาขายอาคารชุดพักอาศัย ในเฟส 2 เพิ่มขึ้นในปลายปี 2550 ส่วนปี 2552 บริษัทและบริษัทย่อยมีอัตรากำไรขั้นต้นจากการขายบ้านพร้อมที่ดินเพิ่มขึ้นเล็กน้อยซึ่งเท่ากับร้อยละ 30.73 และมีอัตรากำไรขั้นต้นจากการขายหน่วยในอาคารชุดพักอาศัยลดลงเป็น ร้อยละ 29.10 โดยเป็นผลมาจากการลดราคาขายอาคาร ชุดพักอาศัย ในโครงการเมโทร พาร์ค สาทร เฟส 1 และ 2 • รายได้อื่น รายได้อื่นโดยส่วนใหญ่มาจากค่าสาธารณูปโภคของโครงการ ค่าบริหารสโมสร จากการริบเงินจอง ในปี 2550 ถึงปี 2552 บริษัทและบริษัทย่อยมีรายได้อื่นเท่ากับ 55.56 ล้านบาท 79.37 ล้านบาท และ 95.93 ล้านบาทตามลำดับ โดยในปี 2552 รายได้อื่น เพิ่มขึ้นจากกำไรจากการจำหน่ายทรัพย์สินจำนวน 18.54 ล้านบาท • ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร ในปี 2550 บริษัทและบริษัทย่อยมีค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารเท่ากับ 1,286.33 ล้านบาท สูงขึ้นจากปี 2549 จำนวน 198.57 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.26 เนื่องจากในปีนี้รายได้จากการขายมีจำนวนรวมเท่ากับ 6,265.93 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2549 เป็นจำนวน 1,788.64 ล้านบาทคิดเป็นร้อยละ 39.95 ทำให้ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับภาษีธุรกิจเฉพาะและค่าธรรมเนียม โอนเพิ่มขึ้น

บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน)

75


สำหรับปี 2551 บริษัทและบริษัทย่อยมีค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารเท่ากับ 1,244.10 ล้านบาท สูงขึ้นจำนวน 12.83 ล้าน บาทจากปี 2550 (ปี 2550 เท่ากับ 1,231.27 ล้านบาท) คิดเป็นสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.04 เนื่องจากในปีนี้มีมาตรการกระตุ้น อสังหาริมทรัพย์ของรัฐ ในการลดภาษีธุรกิจเฉพาะและค่าธรรมเนียมโอนจากร้อยละ 3.3 และ ร้อยละ 2 คงเหลือร้อยละ 0.11 และ ร้อยละ 0.01 ตามลำดับ ทำให้ค่าใช้จ่ายรวมจึงเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย หมายเหตุ : ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารของปี 2550 ที่แสดงในงบการเงินเปรียบเทียบกับปี 2551 ลดลงจากเดิม 55.06 ล้านบาท เนื่องจากการนำเสนองบการเงินปี 2551 ได้แสดงค่าใช้จ่ายสำรองหุ้นกู้ส่วนที่ไม่ได้ใช้สิทธิแปลงสภาพตามอายุของหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ แปลงสภาพ ส่วนเกินมูลค่าหุ้นกู้แปลงสภาพตัดจำหน่าย (จำนวน 50.48ล้านบาทในปี 2550 และ 55.25 ล้านบาทในปี 2551) และค่า ธรรมเนียมทางการเงิน แสดง รวมอยู่ในหมวดค่าใช้จ่ายทางการเงิน ส่วนปี 2552 บริษัทและบริษัทย่อยมีค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารเท่ากับ 1,034.58 ล้านบาท ลดลงจำนวน 209.52 ล้าน บาทจากปี 2551 คิดเป็นสัดส่วนที่ลดลงร้อยละ 16.84 โดยค่าใช้จ่ายในการขายลดลง 136.52 ล้านบาท จากภาษีธุรกิจเฉพาะและค่า ธรรมเนียมโอนที่ลดลงจำนวน 67 ล้านบาท เนื่องมาจากรายได้จากการโอนกรรมสิทธิ์ที่ลดลง ค่าโฆษณา ประชาสัมพันธ์และค่าใช้ จ่ายทางการตลาดที่ลดลง จำนวน 70 ล้านบาท ในด้านค่าใช้จ่ายในการบริหารลดลงจำนวน 77.62 ล้านบาท เป็นผลจากการที่ บริษัทได้มีการควบคุมค่าใช้จ่ายให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น • ค่าใช้จ่ายอื่น ในปี 2551 บริษัทได้ขายบ้านพร้อมที่ดินจำนวน 64 หลัง มูลค่ารวม 510 ล้านบาท ให้กับกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ พร็อพ เพอร์ตี้ เพอร์เฟค ตามที่ระบุไว้ในสัญญาดังกล่าว บริษัทฯตกลงรับประกันรายได้ขั้นต่ำของกองทุนฯ (รายได้จากการเช่าและค่า บริการก่อนหักค่าใช้จ่าย) เป็นจำนวนเงิน 55 ล้านบาทต่อปี เป็นระยะเวลา 5 ปี ซึ่งจะสิ้นสุดภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2555 โดยมี กำหนดชำระภายในวันที่ 31 กรกฎาคม และ 31 มกราคม ของทุกปี ตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในสัญญา อย่างไรก็ตามการรับประกันราย ได้ขั้นต่ำขึ้นอยู่กับสัดส่วนของมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ที่คงเหลือต่อมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ที่กองทุนฯลงทุนครั้งแรก โดยคำนวณมูลค่า อสังหาริมทรัพย์จากการประเมินค่าทรัพย์สินเพื่อลงทุนครั้งแรกโดยบริษัทประเมินราคา บริษัทฯได้ประมาณมูลค่าที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ของค่าใช้จ่ายในการรับประกันรายได้ขั้นต่ำดังกล่าวตามมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดที่บริษัทฯต้องชำระให้แก่กองทุนฯทั้งสิ้นเป็น จำนวนเงิน 73.8 ล้านบาท และบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายโดยแยกแสดงเป็นรายการต่างหากภายใต้หัวข้อ “ขาดทุนจากการรับประกันราย ได้ขั้นต่ำ”ในงบกำไรขาดทุนสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2551 สำหรับปี 2552 บริษัทบันทึกเป็นค่าใช้จ่าย “ขาดทุนจากการรับประกันรายได้ขั้นต่ำ” จำนวน 9.4 ล้านบาท เนื่องจากรายได้ ค่าเช่าของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค ต่ำกว่าที่ประมาณการไว้ • ค่าใช้จ่ายทางการเงิน ประกอบด้วย ดอกเบี้ยจ่าย ค่าใช้จ่ายสำรองหุ้นกู้ส่วนที่ไม่ได้ใช้สิทธิแปลงสภาพตามอายุของหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิแปลงสภาพ ส่วนเกินมูลค่าหุ้นกู้แปลงสภาพตัดจำหน่าย และค่าธรรมเนียมทางการเงิน

ดอกเบี้ยจ่าย ในปี 2550 - 2552 เท่ากับ 225.44 ล้านบาท 192.29 ล้านบาท และ178.96 ล้านบาทตามลำดับ

ค่าใช้จ่ายสำรองหุ้นกู้ส่วนที่ไม่ได้ใช้สิทธิแปลงสภาพตามอายุของหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิแปลงสภาพ ส่วนเกินมูลค่าหุ้นกู้แปลง สภาพตัดจำหน่าย ในปี 2550 - 2552 เท่ากับ 50.48 ล้านบาท 55.25 ล้านบาทและ60.47 ล้านบาทตามลำดับ ค่าธรรมเนียมทางการเงินในปี 2550 - 2552 เท่ากับ 4.59 ล้านบาท 24.50 ล้านบาทและ 47.16 ล้านบาท ตามลำดับ ซึ่งในปี 2552 มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากบริษัทมีกิจกรรมทางการเงินในการออกตราสารหนี้มากขึ้น เช่นการออกหุ้นกู้มีประกัน การออก ตั๋วแลกเงิน

รายงานประจำปี 2552

76


กำไรสุทธิ บริษัทและบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิ ในปี 2550 ถึงปี 2552 ดังนี้

(หน่วย : ล้านบาท) ปี 2551 ปี 2550 802.57 411.61

ปี 2552 กำไรสุทธิ 399.75 ในปี 2550 บริษัทฯและบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิ เท่ากับ 411.61 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนจำนวน 399.61 ล้านบาท หรือคิด เป็นร้อยละ 3,332.34 โดยเป็นผลจากรายได้จากการขายบ้านพร้อมที่ดินที่เพิ่มขึ้น นอกจากนั้นในปีนี้ยังมีการรับรู้รายได้จากการโอน กรรมสิทธิหน่วยในอาคารชุดพักอาศัย และรายได้จากการขายที่ดินอีกด้วย ในขณะที่อัตรากำไรขั้นต้นของรายได้จากการขายบ้าน พร้อมที่ดินลดลงเล็กน้อยจากร้อยละ 30.90 เป็น ร้อยละ 29.80 สำหรับปี 2551 บริษัทฯและบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิ เท่ากับ 802.57 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนจำนวน 390.96 ล้านบาท หรือ คิดเป็นร้อยละ 94.99 โดยเป็นผลจากรายได้จากการขายบ้านพร้อมที่ดินและหน่วยในอาคารชุดพักอาศัยที่เพิ่มขึ้น อีกทั้งยังมีอัตรา กำไรขั้นต้นที่สูงขึ้นด้วย นอกจากนั้นยังได้รับประโยชน์จากมาตรการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์ของรัฐ ในการลดภาษีธุรกิจเฉพาะและ ค่าธรรมเนียมโอนจากร้อยละ 3.3 และ ร้อยละ 2 คงเหลือร้อยละ 0.11 และร้อยละ 0.01 ตามลำดับ อีกทั้งอัตราดอกเบี้ยที่ลดลงใน ครึ่งปีหลังของปี 2551 ส่วนปี 2552 บริษัทฯและบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิ เท่ากับ 399.75 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนจำนวน 402.81 ล้านบาท หรือคิด เป็นร้อยละ 50.19 เนื่องจากรายได้จากการขายบ้านพร้อมที่ดินและหน่วยในอาคารชุดพักอาศัยลดลงตามที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น ทำให้ กำไรขั้นต้นลดลง 582.62 ล้านบาท ในขณะที่ค่าใช้จ่ายในการขาย การบริหารและค่าใช้จ่ายอื่นลดลงจำนวน 273.90 ล้านบาท จาก การที่บริษัทมีการควบคุมค่าใช้จ่ายให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น และบริษัทมีภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มขึ้นจำนวน 91.27 ล้านบาท ฐานะการเงิน ภาพรวมฐานะการเงิน ตารางแสดงฐานะการเงินของบริษัทและบริษัทย่อย (หน่วย :ล้านบาท) สินทรัพย์ หนี้สิน ส่วนของผู้ถือหุ้น ณ 31 ธันวาคม 2552 14,476.74 7,656.65 6,820.09 ณ 31 ธันวาคม 2551 12,932.87 6,229.64 6,703.23 ณ 31 ธันวาคม 2550 12,911.03 6,823.84 6,087.19 สินทรัพย์ บริษัทและบริษัทย่อยมีสินทรัพย์รวมเท่ากับ 12,911.03 ล้านบาท 12,932.87 ล้านบาท และ 14,476.74 ล้านบาท ในปี 2550 ถึง 2552 ตามลำดับ ในปี 2551 สินทรัพย์เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจำนวน 21.84 ล้านบาทหรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.17 และในปี 2552 สินทรัพย์เพิ่มขึ้นจำนวน 1,543.87 จากการที่บริษัทมีการซื้อที่ดินเพื่อรองรับการขยายตัวในตลาดทั้งคอนโดมิเนียมและทาว์นเฮ้าส์ หากพิจารณาโครงสร้างสินทรัพย์ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 อันดับหนึ่งได้แก่ ต้นทุนการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ จำนวน 8,708.71 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 60.16 ของสินทรัพย์รวม อันดับที่สองได้แก่ ที่ดินรอการพัฒนาสุทธิจำนวน3,623.64 ล้านบาท โดย มีสัดส่วนร้อยละ 25.03 ของสินทรัพย์รวม อันดับที่สามและสี่ได้แก่ เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดจำนวน 740.59 ล้านบาท และเงิน ลงทุนในบริษัทร่วมจำนวน 419.74 ล้านบาท โดยมีสัดส่วนร้อยละ 5.12 และ ร้อยละ 2.90 ตามลำดับ โดยโครงสร้างของสินทรัพย์ดังกล่าว สอดคล้องกับรูปแบบการดำเนินธุรกิจของบริษัทและบริษัทย่อย โดยมีรายละเอียดดังนี้

บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน)

77


ต้นทุนการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ บริษัท – งบเดี่ยว บริษัทย่อย รวม *

2552 7,151.91 82.12% 1,556.80 17.88% 8,708.71 100.00%

2551 7,085.15 79.33% 1,845.93 20.67% 8,931.08 100.00%

(หน่วย : ล้านบาท) 2550 6,425.48 80.40% 1,566.37 19.60% 7,991.85 100.00%

หมายเหตุ * ต้นทุนการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ตามงบการเงินรวม ณ วันที่ 31 ธ.ค. 2550 ถึง 2552 • ต้นทุนการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ของบริษัท (งบเดี่ยว) ในปี 2551 เพิ่มขึ้นจำนวน 659.67 ล้านบาท เนื่องมาจากบริษัท มีการพัฒนาและขยายโครงการจำนวน 4 โครงการ ส่วนในปี 2552 นั้นมีการเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ทั้งนี้ ต้นทุนการพัฒนาโครงการ อสังหาริมทรัพย์ ปี 2552 จำนวน 7,151.91 ล้านบาท เป็นมูลค่าสุทธิจากค่าเผื่อผลขาดทุนจากการลดมูลค่าของโครงการ จำนวน 68.81 ล้านบาท ซึ่งเป็นค่าเผื่อที่เกิดจากการบันทึกบัญชีตามมาตรฐานการบัญชีเมื่อต้นทุนทางบัญชีมีมูลค่าสูงกว่า ราคาประเมินจากผู้ประเมินราคาอิสระ • ต้นทุนการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ของบริษัทย่อยมีรายละเอียดดังนี้ - บริษัท เอสเตท เพอร์เฟ็คท์ จำกัด ซึ่งมีโครงการที่อยู่ในระหว่างพัฒนาจำนวน 2 โครงการ โดยต้นทุนฯ ปี 2552 เท่ากับ 1,043.84 ล้านบาท เป็นมูลค่าสุทธิจากค่าเผื่อผลขาดทุนจากการลดมูลค่าของโครงการ จำนวน 4.647 ล้านบาท - บริษัท ไบรท์ ดีเวลลอปเมนท์ กรุงเทพ จำกัด ซึ่งมีโครงการที่อยู่ในระหว่างพัฒนาจำนวน 1 โครงการ โดยต้นทุนฯ ปี 2552 เท่ากับ 511.40 ล้านบาท - บริษัท เซ็นเตอร์พ้อยท์ ช็อปปิ้ง มอลล์ จำกัด โดยต้นทุนฯ ปี 2552 เท่ากับ 1.55 ล้านบาท ที่ดินรอการพัฒนาสุทธิ บริษัท – งบเดี่ยว บริษัทย่อย รวม *

2552 2,713.86 74.89% 909.78 25.11% 3,623.64 100.00%

2551 1,585.30 85.21% 275.07 14.79% 1,860.37 100.00%

(หน่วย : ล้านบาท) 2550 2,979.84 100.00% - - 2,979.84 100.00%

หมายเหตุ * ที่ดินรอการพัฒนาสุทธิ ตามงบการเงินรวม ณ วันที่ 31 ธ.ค. 2550 ถึง 2552 • ที ่ ด ิ น รอการพั ฒ นาสุ ท ธิ ข องบริ ษ ั ท และบริ ษ ั ท ย่ อ ย ณ สิ ้ น ปี 2549-2551จำนวน 2,979.84 ล้ า นบาท 1,860.37 ล้ า นบาท และ3,623.64 ล้านบาท ตามลำดับ ประกอบด้วยต้นทุนที่ดิน ต้นทุนการพัฒนาที่ดิน ต้นทุนงานก่อสร้าง ดอกเบี้ยส่วนที่ถือ เป็นต้นทุน หักด้วยต้นทุนที่โอนไปเป็นต้นทุนขาย ที่ดินที่โอนเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้และเพื่อการจ่ายชำระหนี้ตามแผนฟื้นฟู และค่าเผื่อผลขาดทุนจากการด้อยค่าของที่ดินรอการพัฒนา ปี 2550 มีค่าเผื่อการด้อยค่าของที่ดินรอการพัฒนาจำนวน 127.35 ล้านบาท และในปี 2551-2552 มีจำนวน 103.99 ล้านบาท ในปี 2552 ได้มีการลงทุนในที่ดินเพื่อรองรับการขยายตัวไปในตลาด คอนโดมิเนียมและทาว์นเฮ้าส์ อนึ ่ ง บริ ษ ั ท และบริ ษ ั ท ย่ อ ย จะพิ จ ารณาโอนรายการที ่ ด ิ น รอการพั ฒ นาไปบั น ทึ ก เป็ น ต้ น ทุ น การพั ฒ นาโครงการ อสังหาริมทรัพย์ ก็ต่อเมื่อได้เริ่มมีการพัฒนาโครงการแล้ว อาทิเช่น การเริ่มปรับปรุงพื้นที่ การกำหนดผังการจัดสรร เป็นต้น เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด บริษัท – งบเดี่ยว บริษัทย่อย รวม *

2552 668.54 90.27% 72.05 9.73% 740.59 100.00%

2551 426.61 93.75% 28.44 6.25% 455.05 100.00%

หมายเหตุ * เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ตามงบการเงินรวม ณ วันที่ 31 ธ.ค. 2550 ถึง 2552

(หน่วย : ล้านบาท) 2550 397.60 93.76% 26.46 6.24% 424.06 100.00%

เงินลงทุนในบริษัทร่วม บริษัทฯได้รับรู้ส่วนแบ่งผลกำไรจากเงินลงทุนในบริษัทร่วม หลังจากปรับปรุงกำไรของบริษัทร่วม เนื่องจาก ผลแตกต่างของ นโยบายการบัญชีเกี่ยวกับการรับรู้รายได้หน่วยในอาคารชุดพักอาศัย

รายงานประจำปี 2552

78


เงินลงทุนใน บมจ.กรุงเทพบ้านและที่ดิน จำนวน 300 ล้านบาทในปี 2548 คิดเป็นสัดส่วนการถือหุ้นของบริษัทฯใน บมจ.กรุงเทพบ้านและที่ดิน ร้อยละ 20 (ณ 31 ธันวาคม 2548 ทุนที่ออกและชำระแล้วของ บมจ.กรุงเทพบ้านและที่ดิน เท่ากับ 1,500 ล้านบาท) และเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2550 ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯได้มีมติอนุมัติให้บริษัทฯซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนของ บมจ.กรุงเทพบ้านและที่ดิน เป็นจำนวน 6,000,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท รวมเป็นเงิน 60 ล้านบาท เพื่อเป็นการรักษา สัดส่วนการถือหุ้นเดิมของบริษัท เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2550 ที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นบมจ.กรุงเทพบ้านและที่ดิน ครั้งที่ 1/2550 ได้มีมติอนุมัติการลดทุน จดทะเบียน จากเดิมจำนวน 2,100,000,000 บาท ลงเหลือจำนวน 1,780,000,000 บาท โดยการตัดหุ้นสามัญที่ยังมิได้นำออก จำหน่ายจำนวน 32,000,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท คิดเป็นจำนวนเงิน 320,000,000 บาท นอกจากนี้ได้มีมติอนุมัติการ เพิ่มทุนจดทะเบียนของบริษัทร่วมอีกจำนวน 450,000,000 บาท ทำให้ทุนจดทะเบียนเดิมจำนวน 1,780,000,000 บาท เพิ่มขึ้นเป็นทุน จดทะเบียนใหม่จำนวน 2,230,000,000 บาท โดยการออกเป็นหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวน 45,000,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท เพื่อรองรับการใช้สิทธิแปลงสภาพของหุ้นกู้แปลงสภาพ เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2551 กรุงเทพบ้านฯได้ออกหุ้นกู้แปลงสภาพ ชนิดระบุชื่อผู้ถือและไม่มีหลักประกัน ระยะเวลา 5 ปี จำนวน 188,806 หน่วย มูลค่าหน่วยละ 100 เหรียญสหรัฐอเมริกา มูลค่ารวม 18,880,600 เหรียญสหรัฐอเมริกา ให้แก่บริษัทต่าง ประเทศแห่งหนึ่ง ตามที่ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นของกรุงเทพบ้านฯครั้งที่ 1/2551 เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2551 ตาม เงื่อนไขของหุ้นกู้แปลงสภาพ จะทำการจ่ายดอกเบี้ยเฉพาะในปีที่กรุงเทพบ้านฯ มีการประกาศจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้น โดยจะ ทำการจ่ายดอกเบี้ยทุก 6 เดือนในอัตราดอกเบี้ยไม่เกินร้อยละ 3 ต่อปีหรือในอัตราเงินปันผลตอบแทนตามเงื่อนไขของหุ้นกู้แปลง สภาพ (แล้วแต่อัตราใดจะสูงกว่า) หุ้นกู้แปลงสภาพนี้ครบกำหนดไถ่ถอนในวันที่ 31 มกราคม 2556 โดยเริ่มใช้สิทธิแปลงสภาพได้ทุก 3 เดือน ภายหลังจากการนำหุ้นของกรุงเทพบ้านฯเข้าจดทะเบียนเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ หรือครบรอบ 1 ปี นับแต่วันออกหุ้นกู้แปลงสภาพ (แล้วแต่ระยะเวลาใดจะถึงก่อน) ที่ราคาแปลง สภาพ 13.85 บาท ต่อ 1 หุ้นสามัญ โดยมูลค่าการไถ่ถอนหุ้นกู้แปลงสภาพที่คงค้างต่อหน่วยเท่ากับ 1.311651 เท่าของมูลค่าที่ตราไว้ ของหุ้นกู้แปลงสภาพต่อหน่วยที่เทียบเท่ากับเงินบาท ในกรณีที่กรุงเทพบ้านฯไม่มีการชำระดอกเบี้ยแก่ผู้ถือหุ้นกู้แปลงสภาพ ทั้งนี้ มูลค่าการไถ่ถอนดังกล่าวอาจมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นอยู่กับการจ่ายดอกเบี้ยในระหว่างอายุของหุ้นกู้แปลงสภาพ ตามงบการเงินรวมบริษัทบันทึกส่วนแบ่งกำไรตามวิธีส่วนได้เสีย และรับรู้เป็นรายได้ ในงบกำไรขาดทุนจำนวน 11.75 ล้าน บาท 7.82 ล้านบาท และ 3.00 ล้านบาทในปี 2550 – 2552 ตามลำดับ บัญชีเงินลงทุนในบริษัทร่วมตามวิธีส่วนได้เสียในงบการเงิน รวม ในปี 2550 – 2552 มีมูลค่า 401.45 ล้านบาท 416.74 ล้านบาทและ 419.74 ล้านบาทตามลำดับ ภาระหนี้ค้ำประกันอื่น บริษัทมีภาระค้ำประกันหนี้ให้แก่บริษัทย่อยคือ บริษัท เอสเตท เพอร์เฟ็คท์ จำกัด จำนวน 2,132.20 ล้านบาทและบริษัท ไบรท์ ดีเวลลอปเมนท์ กรุงเทพ จำกัด จำนวน 462.15 ล้านบาทกับสถาบันการเงินด้วย ซึ่งบริษัทยังไม่มีความรับผิดชอบต่อเจ้าหนี้ กลุ่มนี้ เนื่องจากบริษัทย่อยดังกล่าวยังมิได้มีการผิดนัดชำระหนี้ คุณภาพของสินทรัพย์ บริษัทฯและบริษัทย่อยรับรู้รายได้จากการขายบ้านพร้อมที่ดิน/หน่วยในอาคารชุดพักอาศัย/ที่ดินเมื่อมีการโอนกรรมสิทธิ์ให้ แก่ผู้ซื้อ ดังนั้น บริษัทจะบันทึกเงินดาวน์หรือเงินค่างวดที่ได้รับจากลูกค้าเป็นหนี้สิน ในรายการเงินมัดจำและเงินรับล่วงหน้าของ ลูกค้า สำหรับเงินที่ถึงกำหนดชำระแล้วแต่ลูกค้ายังไม่ได้ชำระเงิน จะบันทึกเป็นรายการลูกหนี้การค้า นอกจากนี้ แม้ว่าบริษัทจะมีนโยบายขายบ้านพร้อมอยู่ แต่ยังคงมีลูกค้าบางกลุ่มได้มีความประสงค์ที่จะซื้อบ้านที่อยู่ใน ระหว่างก่อสร้าง บริษัทจึงได้ขายบ้านที่อยู่ในระหว่างก่อสร้างให้แก่ลูกค้ากลุ่มดังกล่าวพร้อมกับให้ลูกค้าผ่อนชำระเงินดาวน์กับ บริษัท และบันทึกเป็นลูกหนี้การค้า ทั้งนี้ส่วนใหญ่ลูกหนี้กลุ่มนี้จะมีระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี โดยในปี 2552 บริษัทและบริษัทย่อยมีลูกหนี้การค้าค้างชำระจำนวน 41.29 ล้านบาท และได้ตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ สำหรับลูกหนี้ที่ค้างเกินกว่า 12 เดือน จำนวน 11.19 ล้านบาท ทำให้ยอดลูกหนี้การค้าสุทธิของบริษัทและบริษัทย่อย เท่ากับ 33.10 ล้านบาทซึ่งบริษัทเชื่อว่าจำนวนค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญที่ได้บันทึกไว้ในบัญชีมีความเพียงพอในสถานการณ์ปัจจุบัน โดยลูกหนี้การ ค้าของบริษัทและบริษัทย่อย แบ่งเป็น 2 ประเภท

บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน)

79


ลูกหนี้ค้างชำระค่างวด เป็นลูกหนี้ที่เกิดจากการค้างชำระค่างวดของบ้าน ซึ่งยังอยู่ระหว่างก่อสร้างและผ่อนจ่ายชำระค่างวด โดยลูกหนี้ค้างชำระค่า งวดมีจำนวน 26.90 ล้านบาทคิดเป็นร้อยละ 65.14 ของลูกหนี้ค้างชำระทั้งหมด ลูกหนี้ค้างชำระค่าโอน เกิดจากการที่ลูกค้าชำระเงินไม่ครบถ้วนในวันโอนกรรมสิทธิ์ คิดเป็นร้อยละ 34.86 อย่างไรก็ตาม สัดส่วนลูกหนี้ค้างชำระของ บริษัท จำนวน 14.39 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 0.10 ของสินทรัพย์รวม ซึ่งเป็นสัดส่วนถือว่าไม่มีนัยสำคัญ และได้มี การตั้งสำรองไว้แล้วจำนวน 11.19 ล้านบาท สำหรับลูกหนี้ที่ค้างชำระตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป บริษัทได้ติดตามทวงถามหนี้จากลูกหนี้กลุ่มดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง และบาง กรณีอยู่ในระหว่างการฟ้องร้องให้ชำระหนี้ ทั้งนี้บริษัท เชื่อว่าจำนวนค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญที่ได้บันทึกไว้ในบัญชีมีความเพียงพอใน สถานการณ์ปัจจุบัน สภาพคล่อง งบกระแสเงินสดสำหรับปี 2550 – ปี 2552 มีดังนี้

(หน่วย : ล้านบาท) รายการ ปี 2552 ปี 2551 ปี 2550 กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน 1,233.59 1,330.43 1,265.06 กระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุน (2,000.86) (414.31) (333.62) กระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงิน 1,052.81 (885.13) (820.13) กระแสเงินสดสุทธิเพิ่มขึ้น (ลดลง) 285.54 30.99 111.31 บริษัทและบริษัทย่อย มีกระแสเงินสดจากกิจกรรมการดำเนินงานเป็นบวกเท่ากับ 1,265.06 ล้านบาท 1,330.43 ล้านบาทและ 1,233.59 ล้านบาท ในปี 2550 – 2552 ตามลำดับ เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้กระแสเงินสดสุทธิในปี 2550 – 2552 เป็นบวกจำนวน 111.31 ล้านบาท 30.99 ล้านบาทและ 285.54 ล้านบาท ตามลำดับ สำหรับกระแสเงินสดจากการกิจกรรมลงทุนติดลบมาโดยตลอด เท่ากับ 333.62 ล้านบาท 414.31 ล้านบาทและ 2,000.86 ล้านบาทในปี 2550 – 2552 ตามลำดับ ทั้งนี้เนื่องจากบริษัทได้ลงทุนในการจัดซื้อที่ดินรอการพัฒนาเพิ่ม เพื่อรองรับโครงการต่าง ๆ ของบริษัท มีรายการโดยสังเขปดังนี้ - ในปี 2550 มีกิจกรรมในการลงทุนในเงินจ่ายล่วงหน้าค่าซื้อที่ดินและการซื้อที่ดินรอการพัฒนารวม 45.26 ล้านบาท เงินฝาก ที่ติดภาระค้ำประกัน 225.28 ล้านบาทนอกจากนั้น ในปี 2550 บริษัทได้ลงทุนเพิ่มในกรุงเทพบ้านฯ จำนวน 60 ล้านบาท เพื่อเป็นการรักษาสัดส่วนการถือหุ้น - ส่วนในปี 2551 บริษัทฯและบริษัทย่อยมีกิจกรรมในการลงทุนใน เงินจ่ายล่วงหน้าค่าซื้อที่ดินและการซื้อที่ดินรอการพัฒนา รวม 502.88 ล้านบาท และมีการลงทุนในกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค เป็นจำนวนเงินประมาณ 32.5 ล้านบาทคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 6.24 ของมูลค่าหน่วยลงทุน และกองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ ควอลิตี้ ฮอสพิทอ ลลิตี้ เป็นจำนวนเงินประมาณ 20.0 ล้านบาทคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 1.1 ของมูลค่าหน่วยลงทุน ขณะที่เงินฝากที่ติดภาระค้ำ ประกันลดลง 217.27 ล้านบาท - สำหรับในปี 2552 มีกิจกรรมในการลงทุนในเงินจ่ายล่วงหน้าค่าซื้อที่ดินและการซื้อที่ดินรอการพัฒนารวม 1,939.15 ล้าน บาท และมีเงินมัดจำจำนวน 60 ล้านบาทในการซื้อหุ้นสามัญทั้งหมดของบริษัทแห่งหนึ่ง ในราคา 507 ล้านบาท เมื่อพิจารณากระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงิน ในปี 2550 และปี 2551 เป็นกระแสเงินสดใช้ไปในกิจกรรมด้านการเงินคือ ในปี 2550 มีการชำระคืนหนี้สุทธิจำนวน 470.13 ล้านบาทและการไถ่ถอนหุ้นกู้ 350.0 ล้านบาท สำหรับปี 2551 มีการชำระคืนหนี้ สุทธิจำนวน 696.12 ล้านบาทและการจ่ายเงินปันผล 189.01 ล้านบาท ส่วนในปี 2552 นั้นเป็นกระแสเงินสดได้มาในกิจกรรมด้านการ เงินคือ การออกหุ้นกู้สุทธิจำนวน 1,329.40 ล้านบาท การออกตั๋วแลกเงินและตั๋วสัญญาใช้เงินจำนวน 1,612.10 ล้านบาท มีการชำระ คืนหนี้สุทธิจำนวน 1,605.16 ล้านบาทและการจ่ายเงินปันผล 283.54 ล้านบาท

รายงานประจำปี 2552

80


การจ่ายเงินปันผล บริษัทได้มีการจ่ายเงินปันผลดังนี้ - สำหรับผลการดำเนินงานประจำปี 2550 ให้แก่ผู้ถือหุ้น ในอัตราหุ้นละ 0.24 บาท เป็นจำนวนเงิน 189.01 ล้านบาท เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2551 - สำหรับผลการดำเนินงานประจำปี 2551 ให้แก่ผู้ถือหุ้น ในอัตราหุ้นละ 0.36 บาท เป็นจำนวนเงิน 283.54 ล้านบาท เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2552

แหล่งที่มาของเงินทุน หนี้สิน ในปี 2552 บริษัทและบริษัทย่อย มีหนี้สินรวมเท่ากับ 7,656.65 ล้านบาท (โดยแบ่งเป็นหนี้สินของบริษัท 6,674.00 ล้านบาท และบริษัทย่อย 982.65 ล้านบาท) เพิ่มขึ้นจำนวน 1,427.01 ล้านบาท จากปี 2551 รายการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญดังนี้ - เป็นการเพิ่มขึ้นจากการออกหุ้นกู้-สุทธิ 1,331.78 ล้านบาท ตั๋วแลกเงิน 1,266.26 ล้านบาท ตั๋วสัญญาใช้เงินค่าที่ดิน 355 ล้าน บาท ภาษีเงินได้นิติบุคคลค้างจ่าย 76.27 ล้านบาทและสำรองหุ้นกู้ส่วนที่ไม่ได้ใช้สิทธิแปลงสภาพตามอายุของหุ้นกู้ไม่ด้อย สิทธิแปลงสภาพจำนวน 57.07 ล้านบาท - ลดลงจากการคืนเงินกู้ยืม-สุทธิ 817.30 ล้านบาท คืนเงินกู้ยืมระยะสั้น 559.27 ล้านบาท ชำระคืนเจ้าหนี้ตามแผนฟื้นฟู กิจการจำนวน 228.60 ล้านบาท และ และสำรองเผื่อผลขาดทุนจากการรับประกันรายได้ขั้นต่ำจำนวน 30.87 ล้านบาท อนึ่ง โครงสร้างหนี้สินของบริษัทและบริษัทย่อย ในปี 2552 ประกอบด้วย เงินกู้ยืมระยะยาว คิดเป็นร้อยละ 27.91 ของหนี้สิน รวม หุ้นกู้มีประกันคิดเป็นร้อยละ 23.43 ตั๋วแลกเงินคิดเป็นร้อยละ 16.54 หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิแปลงสภาพ คิดเป็นร้อยละ 10.61 และ ตั๋ว สัญญาใช้เงินค่าที่ดินคิดเป็นร้อยละ 4.64 โดยมีรายละเอียดดังนี้ - เงินกู้ยืมระยะยาว ในปี 2552 เท่ากับ 2,137.14 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นเงินกู้ยืมของบริษัทจำนวน 1,865.03 ล้านบาท(ครบกำหนดชำระภายใน หนึ่งปี จำนวน 148.68 ล้านบาท) และเงินกู้ยืมของบริษัทย่อยจำนวน 272.11 ล้านบาท (ครบกำหนดชำระภายในหนึ่งปี จำนวน 45.54 ล้านบาท) โดยนำมาใช้ในการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ และจัดซื้อที่ดินเพื่อใช้ในการพัฒนาโครงการในอนาคต โดยมี รายละเอียดเงินกู้ยืมดังนี้ (หน่วย : ล้านบาท) 31 ธันวาคม 2552 31 ธันวาคม 2551 เฉพาะ บริษัท รวม เฉพาะ บริษัท รวม บริษัท ย่อย บริษัท ย่อย เงินกู้ยืมระยะยาว 1,865.03 272.11 2,137.14 2,564.97 389.47 2,954.44 หัก : ส่วนที่ถึงกำหนดชำระภายใน 1 ปี 148.68 45.54 194.22 228.88 4.22 233.10 เงินกู้ยืมระยะยาว (สุทธิ) 1,716.35 226.57 1942.92 2,336.09 385.25 2,721.34 นอกจากนี้ บริษัทได้ค้ำประกันเงินกู้ยืมธนาคารและสถาบันการเงินและหุ้นกู้ให้แก่บริษัทย่อยในวงเงิน 2,594.4 ล้านบาท - หุ้นกู้ประเภทมีประกัน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 มียอดคงค้าง หุ้นกู้ประเภทมีประกัน และกำหนดชำระคืนเงินต้นทั้งจำนวน ในวันที่ครบกำหนด ไถ่ถอน จำนวน 1,793.926 ล้านบาท ซึ่งออกโดยบริษัท จำนวน 1,606.776 ล้านบาทโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเงินไปซื้อที่ดินและเป็น เงินทุนหมุนเวียนของกิจการ และอีก 187.15 ล้านบาทออกโดยบริษัท ไบรท์ ดีเวลลอปเมนท์ กรุงเทพ จำกัดซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ บริษัท (บริษัทถือสัดส่วนร้อยละ 100) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเงินไปซื้อที่ดินบริเวณถนนรัชดาภิเษก(ช่วงสุทธิสาร – ห้วยขวาง) โดย มีรายละเอียดหุ้นกู้ดังนี้

บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน)

81


หุ้นกู้มีประกันที่ออกโดยบริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน) ประเภท มูลค่า วันออกหุ้นกู้ วันครบกำหนด เงื่อนไข (ล้านบาท) ไถ่ถอน หุ้นกู้มีประกันครั้งที่ 1/2552 506.776 3 มิ.ย. 2552 3 มิ.ย. 2555 - ดำรงสั ด ส่ ว นทรั พ ย์ ส ิ น ที ่ เ ป็ น หลั ก ประกั น (ไม่รวมมูลค่าของหลักประกันตามหนังสือ อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 6 ต่อปี ค้ำประกันธนาคาร)ต่อมูลค่ารวมของ จ่ายดอกเบี้ยทุก 3 เดือน หุ้นกู้ที่ยังไม่ได้ไถ่ถอน เท่ากับ 1.6 : 1 - ดำรงสัดส่วนหนี้สินรวมต่อส่วนของผู้ถือหุ้น ไม่เกิน 1.75 เท่า หุ้นกู้มีประกันครั้งที่ 2/2552 300.000 14 ส.ค. 2552 14 ก.พ. 2554 - ดำรงสัดส่วนทรัพย์สินที่เป็นหลักประกัน ชุดที่ 1 อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4.85 ต่อมูลค่ารวมของหุ้นกู้ที่ยังไม่ได้ไถ่ถอน ต่อปี จ่ายดอกเบี้ยทุก 3 เดือน เท่ากับ 1.6 : 1 - ดำรงสัดส่วนหนี้สินรวมต่อส่วนของผู้ถือหุ้น ไม่เกิน 1.75 เท่า หุ้นกู้มีประกันครั้งที่ 2/2552 800.000 14 ส.ค. 2552 14 ส.ค. 2555 - ดำรงสัดส่วนทรัพย์สินที่เป็นหลักประกัน ชุดที่ 2 อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 6 ต่อมูลค่ารวมของหุ้นกู้ที่ยังไม่ได้ไถ่ถอน ต่อปี จ่ายดอกเบี้ยทุก 3 เดือน เท่ากับ 1.6 : 1 - ดำรงสัดส่วนหนี้สินรวมต่อส่วนของผู้ถือหุ้น ไม่เกิน 1.75 เท่า รวม 1,606.776 หุ้นกู้มีประกันที่ออกโดยบริษัทไบรท์ ดีเวลลอปเมนท์ กรุงเทพ จำกัด ประเภท มูลค่า วันออกหุ้นกู้ วันครบกำหนด เงื่อนไข (ล้านบาท) ไถ่ถอน หุ้นกู้มีประกัน 462.15 18 ส.ค.2551 28 พ.ย.2551 ดำรงสัดส่วนมูลค่ารวมของหุน้ กูท้ ย่ี งั ไม่ได้ไถ่ถอน ต่อทรัพย์สินที่เป็นหลักประกัน ไม่เกินร้อยละ 65 ผู้ค้ำประกัน(บริษัท)ดำรงสัดส่วนหนี้สินทาง การเงินสุทธิรวมต่อส่วนของผู้ถือหุ้น ไม่เกิน 2.00 เท่า รวม 462.15 เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2551 บริษัท ไบรท์ ดีเวลลอปเมนท์ กรุงเทพ จำกัด (“ไบรท์ฯ”) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัทฯได้ออก และเสนอขายหุ้นกู้มีประกันจำนวน 462,150 หน่วย มูลค่าหน่วยละ 1,000 บาท มูลค่ารวม 462,150,000 บาท ให้กับสถาบันการเงิน แห่งหนึ่งตามที่ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นของไบรท์ฯเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2550 หุ้นกู้ดังกล่าวมีกำหนดไถ่ถอนใน วันที่ 28 พฤศจิกายน 2551 และมีอัตราดอกเบี้ย THBFIX บวกด้วยส่วนต่างในอัตราร้อยละ 5.55256 ต่อปี และ ค้ำประกันโดยบริษัทฯ และการจดจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างในโครงการบางส่วนของบริษัทฯและไบรท์ฯและการจำนำหุ้นสามัญของไบรท์ฯที่ถือโดย บริษัทฯ

รายงานประจำปี 2552

82


ต่อมาเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2552ไบรท์ฯได้ทำสัญญาแก้ไขรายละเอียดของหุ้นกู้กับสถาบันการเงินดังกล่าว โดยมีกำหนด ไถ่ถอนพร้อมดอกเบี้ยเป็นรายงวดและจะต้องชำระทั้งหมดภายในเดือนพฤษภาคม 2552 และมีอัตราดอกเบี้ย THBFIX บวกด้วยส่วน ต่างในอัตราร้อยละ 8.55256 ต่อปี และเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2552ไบรท์ฯได้ทำสัญญาแก้ไขรายละเอียดของหุ้นกู้กับสถาบันการ เงินดังกล่าว โดยมีกำหนดไถ่ถอนพร้อมดอกเบี้ยเป็นรายงวดและจะต้องชำระทั้งหมดภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2553 และมีอัตราดอก เบี้ย THBFIX บวกด้วยส่วนต่างในอัตราร้อยละ 8.55256 ต่อปีจนถึงเดือนพฤศจิกายน 2552 และมีอัตราดอกเบี้ย THBFIX บวกด้วย ส่วนต่างในอัตราร้อยละ 10.05256 ต่อปีในระหว่างเดือนธันวาคม 2552 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2553 • ตั๋วแลกเงิน ในปี 2552 เท่ากับ 1,266.26 ล้านบาท ออกโดยบริษัททั้งจำนวน มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4.5 – 5.0 ต่อปี และจะครบกำหนด ชำระภายในเดือนมิถุนายนถึงเดือนกันยายน 2553

• หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิแปลงสภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อชำระคืนเงินกู้ยืม และใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนของกิจการ โดยมีรายละเอียดหุ้นกู้ดังนี้ ประเภท มูลค่า วันออกหุ้นกู้ วันครบกำหนด เงื่อนไข (ล้านบาท) ไถ่ถอน

หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิแปลงสภาพ 823.00 (จำนวน 200,000 หน่วย มูลค่า หน่วยละ 100 เหรียญสหรัฐฯ) -

25 พ.ย. 2548 25 พ.ย. 2553

- อัตราแปลงสภาพ 1 หุน้ กูต้ อ่ 658.4 หุน้ สามัญ หรือ คิดเป็นราคาหุ้นละ 6.25 บาท - หุน้ กูท้ ไ่ี ม่ได้ใช้สทิ ธิแปลงสภาพจะชำระคืนเป็น จำนวน 131.60 เหรียญสหรัฐฯต่อหน่วย กำหนดอัตราแลกเปลี่ยนไว้ที่ 41.15 บาท ต่อเหรียญสหรัฐฯ - ต้องแต่งตั้งให้บุคคลที่ผู้ลงทุนต่างประเทศให้ ความเห็นชอบเข้าเป็นกรรมการของบริษัท จำนวน 1 ท่าน

หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิแปลงสภาพ ครั้งที่ 1/2548 (เฉพาะส่วนที่เป็นหนี้สิน) ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 มีมูลค่า 812.56 ล้านบาท (ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2548 บริษัทได้ออกและเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพมูลค่ารวม 20 ล้าน เหรียญสหรัฐฯ) ทั้งนี้ ในการบันทึกบัญชีของหุ้นกู้แปลงสภาพในงบดุล จะแบ่งเป็นสองส่วนคือ ส่วนที่เป็นหนี้สินและ ส่วนที่เป็นทุน ดังนี้ • หุ้นกู้แปลงสภาพ-องค์ประกอบที่เป็นหนี้สิน คำนวณจากกระแสเงินสดของเงินต้นและดอกเบี้ยที่จ่ายใน อนาคตคิดลดด้วยอัตราดอกเบี้ยในตลาดขณะนั้น • หุ้นกู้แปลงสภาพ-องค์ประกอบที่เป็นทุน บันทึกโดยหักตามบัญชีของหนี้สินจากมูลค่าทั้งสิ้นของหุ้นกู้ แปลงสภาพ โดยผลต่างระหว่างราคาตามบัญชีของหนี้สินดังกล่าวและมูลค่าหน้าตั๋วของหุ้นกู้แปลง สภาพจะตัดจำหน่ายตามอายุของหุ้นกู้แปลงสภาพ

• ตั๋วสัญญาใช้เงิน ยอดคงค้าง ณ 31 ธันวาคม 2552 จำนวน 355 ล้านบาทเป็นตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อชำระค่าที่ดิน ไม่คิดดอกเบี้ย โดยตั๋ว ดังกล่าวถูกอาวัลโดยสถาบันการเงินแห่งหนึ่งและจะครบกำหนดชำระในวันที่ 4 มีนาคม 2553

บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน)

83


ส่วนของผู้ถือหุ้น ส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทและบริษัทย่อย ในปี 2552 เท่ากับ 6,820.09 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 116.86 ล้านบาท จากปี 2551 ซึ่งมาจากผลกำไรสุทธิประจำปี 2552 โดยโครงสร้างส่วนของผู้ถือหุ้น ประกอบด้วย ทุนจดทะเบียนที่เรียกชำระแล้ว 4,726.33 ล้านบาท มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 6 บาท ส่วนต่ำกว่ามูลค่าหุ้น (44.09) ล้านบาท หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิแปลงสภาพ – องค์ประกอบที่เป็นทุน 31.01 ล้านบาท (เป็นของบริษัท 23.54 ล้านบาท และเป็นของบริษัทร่วม 7.47 ล้านบาท) ขาดทุนที่ยังไม่เกิดขึ้นจริงของส่วนต่ำกว่าทุนจากการเปลี่ยนแปลงมูลค่าเงิน ลงทุน (4.75) ล้านบาท กำไรสะสมที่จัดสรรสำรองตามกฏหมาย 179.10 ล้านบาท กำไรสะสมที่ยังไม่ได้จัดสรร 1,937.95 ล้านบาท และส่วนผู้ถือหุ้นส่วนน้อยของบริษัทย่อย (5.46) ล้านบาท ทั้งนี้ในปี 2551 บริษัทยังคงมีใบสำคัญแสดงสิทธิที่ออกสำหรับเจ้าหนี้ไม่มีประกันยังไม่มีการใช้สิทธิอีก 8.87 ล้านหน่วย อัตราการใช้สิทธิ 1 ใบสำคัญแสดงสิทธิ สามารถแปลงเป็นหุ้นสามัญได้ 1 หุ้น ในอัตราหุ้นละ 0.01 บาท กำหนดระยะเวลาการใช้ สิทธิทุกวันสุดท้ายของไตรมาสที่ 2 และ 4 ของปี อายุ 10 ปี เริ่มจากไตรมาสที่ 4 ของปี 2545 อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น ในปี 2550 เท่ากับ 1.12 เท่า และลดลงเป็น 0.93 เท่าในปี 2551 เท่า และเพิ่มขึ้นเป็น 1.12 เท่าในปี 2552 เนื่องจากการที่บริษัทมีการลงทุนในที่ดินบริเวณต่างๆเพื่อรองรับการขยายตัว ทำให้หนี้สินรวมเพิ่มขึ้น

รายงานประจำปี 2552

84


รายงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต เสนอต่อผูถ้ อื หุน้ ของบริษทั พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน) ข้าพเจ้าได้ตรวจสอบงบดุลรวม ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551 งบกำไรขาดทุนรวม งบแสดงการเปลีย่ นแปลงส่วนของผูถ้ อื หุน้ รวม และงบกระแสเงินสดรวมสำหรับปีสิ้นสุดวันเดียวกันของแต่ละปีของบริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย

และได้ตรวจสอบงบการเงินเฉพาะกิจการของบริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน) ด้วยเช่นกัน ซึ่งผู้บริหารของกิจการเป็น

ผูร้ บั ผิดชอบ ต่อความถูกต้องและครบถ้วนของข้อมูลในงบการเงินเหล่านี้ ส่วนข้าพเจ้าเป็นผูร้ บั ผิดชอบในการแสดงความเห็นต่องบการ เงินดังกล่าวจากผลการตรวจสอบของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าได้ปฏิบตั งิ านตรวจสอบตามมาตรฐานการสอบบัญชีทร่ี บั รองทัว่ ไป ซึง่ กำหนดให้ขา้ พเจ้าต้องวางแผนและปฏิบตั งิ านเพือ่ ให้ได้ ความเชื่อมั่นอย่างมีเหตุผลว่างบการเงินแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญหรือไม่ การตรวจสอบรวมถึงการใช้วิธีการ ทดสอบหลักฐานประกอบรายการทัง้ ทีเ่ ป็นจำนวนเงินและการเปิดเผยข้อมูลในงบการเงิน การประเมินความเหมาะสมของหลักการบัญชี ที่กิจการใช้และประมาณการเกี่ยวกับรายการทางการเงินที่เป็นสาระสำคัญ ซึ่งผู้บริหารเป็นผู้จัดทำขึ้น ตลอดจนการประเมินถึงความ เหมาะสมของการแสดงรายการที่นำเสนอในงบการเงินโดยรวม ข้าพเจ้าเชื่อว่าการตรวจสอบดังกล่าวให้ข้อสรุปที่เป็นเกณฑ์อย่าง

เหมาะสมในการแสดงความเห็นของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าเห็นว่า งบการเงินข้างต้นนีแ้ สดงฐานะการเงิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551 ผลการดำเนินงานและกระแสเงินสดสำหรับ ปีสน้ิ สุดวันเดียวกันของแต่ละปีของบริษทั พร็อพเพอร์ต้ี เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน) และบริษทั ย่อยและเฉพาะของบริษทั พร็อพเพอร์ต้ี

เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน) โดยถูกต้องตามทีค่ วรในสาระสำคัญตามหลักการบัญชีทร่ี บั รองทัว่ ไป ศิราภรณ์ เอือ้ อนันต์กลุ ผูส้ อบบัญชีรบั อนุญาต เลขทะเบียน 3844 บริษทั สำนักงาน เอินส์ท แอนด์ ยัง จำกัด กรุงเทพฯ: 26 กุมภาพันธ์ 2553

บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน)

85


บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย

งบดุล

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551

หมายเหตุ

งบการเงินรวม 2552 2551

(หน่วย: บาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551

สินทรัพย์ สินทรัพย์หมุนเวียน เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด 740,586,086 455,045,559 668,539,373 428,606,931 ลูกหนี้การค้า 41,293,226 44,096,309 37,265,493 40,481,559 หัก: ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ (11,193,299) (10,293,299) (11,193,299) (10,293,299) ลูกหนี้การค้า - สุทธิ 7 30,099,927 33,803,010 26,072,194 30,188,260 ลูกหนี้ค่าที่ดิน 8 30,958,000 35,358,000 30,958,000 35,358,000 ต้นทุนการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ - สุทธิ 9 8,708,711,350 8,931,082,106 7,151,912,394 7,085,145,739 สิทธิการเช่ารอการขาย - สุทธิ 18 - - 64,923,228 60,717,672 สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น เงินจ่ายล่วงหน้าผู้รับเหมา - สุทธิ 86,230,565 44,745,733 86,230,565 42,216,371 ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า 14,125,428 14,679,752 14,125,428 14,679,752 อื่น ๆ 29,428,369 15,683,741 25,420,517 12,105,102 รวมสินทรัพย์หมุนเวียน 9,640,139,725 9,530,397,901 8,068,181,699 7,709,017,827 สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน เงินฝากที่ติดภาระค้ำประกัน 10 1,448,880 8,857,942 1,448,880 8,857,942 เงินทดรองแก่บริษัทที่เกี่ยวข้องกัน 6 - - 1,500,000 1,500,000 เงินให้กู้ยืมแก่บริษัทที่เกี่ยวข้องกันและดอกเบี้ยค้างรับ 6 - - 792,040,997 412,052,946 เงินลงทุนในบริษัทย่อย 11 - - 541,057,356 541,057,356 เงินลงทุนในบริษัทร่วม 12 419,736,574 416,738,479 359,999,240 359,999,240 เงินลงทุนระยะยาวอื่น - สุทธิ 13 53,726,160 51,695,442 53,726,160 51,695,442 ที่ดินรอการพัฒนา - สุทธิ 14 3,623,641,774 1,860,368,585 2,713,863,099 1,585,301,544 เงินจ่ายล่วงหน้าค่าซื้อที่ดิน 15 128,775,752 476,159,648 79,020,752 388,904,213 ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ - สุทธิ 16 341,693,881 400,586,425 290,676,270 347,716,575 สิทธิการเช่า - สุทธิ 17 117,805,081 119,566,744 52,881,853 58,849,072 สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย 37,088,340 40,932,044 36,715,792 36,715,792 เงินมัดจำการซื้อหุ้น 11 60,000,000 - 60,000,000 - อื่น ๆ 52,688,129 27,569,334 48,176,865 23,379,946 รวมสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน 4,836,604,571 3,402,474,643 5,031,107,264 3,816,030,068 รวมสินทรัพย์ 14,476,744,296 12,932,872,544 13,099,288,963 11,525,047,895

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้

รายงานประจำปี 2552

86


บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย

งบดุล (ต่อ)

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551

หมายเหตุ

งบการเงินรวม 2552 2551

(หน่วย: บาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551

หนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น หนี้สินหมุนเวียน เงินกู้ยืมระยะสั้นจากสถาบันการเงิน 19 - 528,268,062 - 508,000,000 เจ้าหนี้การค้า 485,171,615 472,883,812 408,011,684 402,828,046 เจ้าหนี้ตั๋วสัญญาใช้เงิน 20 355,000,000 - - - เงินกู้ยืมจากบุคคลอื่น 21 - 31,000,000 - - เจ้าหนี้ตั๋วแลกเงิน 22 1,266,264,051 - 1,266,264,051 - ส่วนของหุ้นกู้ที่ถึงกำหนดชำระภายในหนึ่งปี 23 187,150,000 462,150,000 - - เจ้าหนี้ตามแผนฟื้นฟู 24 37,037,390 265,633,156 37,037,390 265,633,156 หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิแปลงสภาพ - องค์ประกอบที่เป็นหนี้สิน 25 812,558,417 - 812,558,417 - ส่วนของเงินกู้ยืมระยะยาวที่ถึงกำหนดชำระภายในหนึ่งปี 26 194,222,860 233,096,097 148,683,961 228,880,399 เจ้าหนี้บริษัทที่เกี่ยวข้องกัน 6 - - 81,246,015 83,954,452 เงินทดรองจากกรรมการ 6 80,000,000 80,000,000 - - เงินมัดจำและเงินรับล่วงหน้าจากลูกค้า 7 107,467,518 112,235,496 88,889,110 103,684,414 ประมาณการหนี้สินระยะสั้น 27 212,467,366 26,483,178 212,467,366 26,483,178 หนี้สินหมุนเวียนอื่น ดอกเบี้ยค้างจ่าย 16,055,682 22,933,411 14,803,034 17,406,514 ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย 159,997,229 193,251,857 114,746,406 150,017,814 ภาษีเงินได้นิติบุคคลค้างจ่าย 76,274,504 - 53,373,063 - อื่น ๆ 62,509,571 53,720,080 58,016,130 53,568,664 รวมหนี้สินหมุนเวียน 4,052,176,203 2,481,655,149 3,296,096,627 1,840,456,637 หนี้สินไม่หมุนเวียน หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิแปลงสภาพ - องค์ประกอบที่เป็นหนี้สิน 25 - 809,153,899 - 809,153,899 หุ้นกู้ - สุทธิจากส่วนที่ถึงกำหนดชำระภายในหนึ่งปี 23 1,606,776,162 - 1,606,776,162 - เงินกู้ยืมระยะยาว - สุทธิจากส่วนที่ถึงกำหนดชำระภายในหนึ่งปี 26 1,942,916,047 2,721,339,526 1,716,346,538 2,336,094,030 เงินประกันและเงินรับล่วงหน้าจากสัญญาเช่าช่วง 54,783,437 57,712,083 54,783,437 57,712,083 ประมาณการหนี้สินระยะยาว 27 - 159,782,083 - 159,782,083 รวมหนี้สินไม่หมุนเวียน 3,604,475,646 3,747,987,591 3,377,906,137 3,362,742,095 รวมหนี้สิน 7,656,651,849 6,229,642,740 6,674,002,764 5,203,198,732

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้

บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน)

87


บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย

งบดุล (ต่อ)

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551

หมายเหตุ

งบการเงินรวม 2552 2551

(หน่วย: บาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551

ส่วนของผู้ถือหุ้น ทุนเรือนหุ้น 28 ทุนจดทะเบียน หุ้นสามัญ 1,092,000,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 6 บาท 6,552,000,000 6,552,000,000 6,552,000,000 6,552,000,000 ทุนที่ออกและชำระแล้ว หุ้นสามัญ 787,721,620 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 6 บาท 4,726,329,720 4,726,329,720 4,726,329,720 4,726,329,720 ส่วนต่ำกว่ามูลค่าหุ้น 29 (44,093,444) (44,093,444) (44,093,444) (44,093,444) เงินรับล่วงหน้าค่าหุ้น 29 25 - 25 - หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิแปลงสภาพ - องค์ประกอบที่เป็นทุน 25 31,011,986 31,011,986 23,535,270 23,535,270 ขาดทุนที่ยังไม่เกิดขึ้นจริง ส่วนต่ำกว่าทุนจากการเปลี่ยนแปลงมูลค่าเงินลงทุน (4,750,330) (5,396,570) (4,750,330) (5,396,570) กำไรสะสม จัดสรรแล้ว - สำรองตามกฎหมาย 30 179,100,000 159,100,000 179,100,000 159,100,000 ยังไม่ได้จัดสรร 1,937,950,688 1,837,858,815 1,545,164,958 1,462,374,187 ส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ 6,825,548,645 6,704,810,507 6,425,286,199 6,321,849,163 ส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยของบริษัทย่อย (5,456,198) (1,580,703) - - รวมส่วนของผู้ถือหุ้น 6,820,092,447 6,703,229,804 6,425,286,199 6,321,849,163 รวมหนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น 14,476,744,296 12,932,872,544 13,099,288,963 11,525,047,895

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้

รายงานประจำปี 2552

88


บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย

งบกำไรขาดทุน

สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551

หมายเหตุ

งบการเงินรวม 2552 2551

(หน่วย: บาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551

รายได้ รายได้จากการขายบ้านพร้อมที่ดิน 5,073,423,380 5,420,143,581 4,067,577,404 4,715,701,794 รายได้จากการขายหน่วยในอาคารชุดพักอาศัย 778,469,844 2,109,457,909 778,469,844 2,109,457,909 รายได้จากการขายที่ดิน - 8,644,000 - 8,644,000 รายได้อื่น ดอกเบี้ยรับ 606,892 1,578,989 42,494,943 30,730,466 รายได้จากการริบเงินจอง 8,488,292 14,535,519 8,017,699 13,554,546 อื่น ๆ 86,834,101 63,252,281 80,445,648 56,410,041 รวมรายได้ 5,947,822,509 7,617,612,279 4,977,005,538 6,934,498,756 ค่าใช้จ่าย ต้นทุนการขายบ้านพร้อมที่ดิน 3,514,251,255 3,767,924,462 2,796,302,041 3,307,202,035 ต้นทุนการขายหน่วยในอาคารชุดพักอาศัย 551,946,601 1,395,411,661 551,946,601 1,395,411,661 ต้นทุนการขายที่ดิน - 6,589,828 - 6,589,828 ค่าใช้จ่ายในการขาย 262,386,598 398,904,663 236,867,700 363,181,650 ค่าใช้จ่ายในการบริหาร 700,697,148 778,316,723 601,055,593 674,045,826 ค่าตอบแทนผู้บริหาร 6 71,497,059 66,876,730 56,235,043 53,088,203 ขาดทุนจากการรับประกันรายได้ขั้นต่ำ 27 9,422,551 73,800,000 9,422,551 73,800,000 รวมค่าใช้จ่าย 5,110,201,212 6,487,824,067 4,251,829,529 5,873,319,203 กำไรก่อนส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนในบริษัทร่วม ค่าใช้จ่ายทางการเงินและภาษีเงินได้นิติบุคคล 837,621,297 1,129,788,212 725,176,009 1,061,179,553 ส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนในบริษัทร่วม 12 2,998,095 7,815,893 - - กำไรก่อนค่าใช้จ่ายทางการเงินและภาษีเงินได้นิติบุคคล 840,619,392 1,137,604,105 725,176,009 1,061,179,553 ค่าใช้จ่ายทางการเงิน (286,591,111) (272,035,652) (230,722,567) (231,064,340) กำไรก่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล 554,028,281 865,568,453 494,453,442 830,115,213 ภาษีเงินได้นิติบุคคล (154,276,756) (63,002,412) (108,127,524) (31,846,488) กำไรสุทธิสำหรับปี 399,751,525 802,566,041 386,325,918 798,268,725 การแบ่งปันกำไร (ขาดทุน) สุทธิ ส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นบริษัทใหญ่ 403,627,020 804,546,744 386,325,918 798,268,725 ส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยของบริษัทย่อย (3,875,495) (1,980,703) 399,751,525 802,566,041 กำไรต่อหุ้น 32 กำไรต่อหุ้นขั้นพื้นฐาน กำไรสุทธิส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นบริษัทใหญ่ 0.512 1.021 0.490 1.013 กำไรต่อหุ้นปรับลด กำไรสุทธิส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นบริษัทใหญ่ 0.507 0.957 0.485 0.951 หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้

บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน)

89


บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย

งบกระแสเงินสด

สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551

หมายเหตุ

งบการเงินรวม 2552 2551

(หน่วย: บาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551

กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน กำไรก่อนภาษี 554,028,281 865,568,453 494,453,442 830,115,213 รายการปรับกระทบยอดกำไรก่อนภาษีเป็นเงินสดรับ (จ่าย) จากกิจกรรมดำเนินงาน ส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนในบริษัทร่วม (2,998,095) (7,815,893) - - ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย 66,381,957 67,761,368 57,176,936 58,976,422 ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้าตัดจำหน่าย 22,235,190 30,791,634 20,098,965 14,924,392 ส่วนเกินมูลค่าหุ้นกู้ตัดจำหน่าย 3,404,517 3,272,503 3,404,517 3,272,503 สำรองสำหรับหุ้นกู้ส่วนที่ไม่ใช้สิทธิแปลงสภาพ 57,067,834 51,976,915 57,067,834 51,976,915 ตัดจำหน่ายค่าใช้จ่ายในการออกหุ้นกู้ 2,376,162 - 2,376,162 - รายได้รับล่วงหน้าค่าสิทธิการเช่าตัดบัญชี (4,128,646) (4,334,204) (4,128,646) (4,334,204) ขาดทุนจากการด้อยค่าของเงินลงทุน (โอนกลับ) (229,578) 352,082 (229,578) 352,082 ขาดทุนจากการรับประกันรายได้ขั้นต่ำ 9,422,551 73,800,000 9,422,551 73,800,000 ขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์ 4,143,880 - 4,143,880 - ขาดทุน (กำไร) จากการจำหน่ายที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ (18,415,498) 6,630,452 (18,415,498) 6,630,452 หนี้สงสัยจะสูญ 900,000 - 900,000 - เงินปันผลรับ (5,240,888) - (5,240,888) - ดอกเบี้ยรับ (606,892) (1,578,989) (42,494,943) (30,730,466) ค่าใช้จ่ายดอกเบี้ย 178,957,075 192,290,335 138,043,527 171,712,724 กำไรจากการดำเนินงานก่อนการเปลี่ยนแปลงในสินทรัพย์และ หนี้สินดำเนินงาน 867,297,850 1,278,714,656 716,578,261 1,176,696,033 สินทรัพย์ดำเนินงานลดลง (เพิ่มขึ้น) ลูกหนี้การค้า 2,803,083 (350,572) 3,216,066 2,342,578 ลูกหนี้ค่าที่ดิน 4,400,000 - 4,400,000 - ต้นทุนการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ 909,619,614 524,638,582 596,869,953 970,895,636 เงินจ่ายล่วงหน้าผู้รับเหมา (41,484,832) (11,828,859) (44,014,194) (9,299,497) ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า (21,680,866) (40,031,254) (19,544,641) (24,164,012) สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น (13,744,628) (1,234,942) (13,315,415) (717,120) สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น (25,118,795) (1,544,035) (24,796,917) (1,228,869) หนี้สินดำเนินงานเพิ่มขึ้น (ลดลง) เจ้าหนี้การค้า 12,287,803 52,848,217 5,183,638 27,917,124 เจ้าหนี้บริษัทที่เกี่ยวข้องกัน - - (2,708,437) 2,977,174 เงินมัดจำและเงินรับล่วงหน้าจากลูกค้า (4,767,978) (106,357,797) (14,795,304) (112,777,724) เงินสดจ่ายสำหรับการรับประกันรายได้ขั้นต่ำ (40,366,736) (13,568,415) (40,366,736) (13,568,415) หนี้สินหมุนเวียนอื่น (20,138,711) 53,042,948 (28,779,010) 30,149,562 เงินสดสุทธิจากกิจกรรมดำเนินงาน 1,629,105,804 1,734,328,529 1,137,927,264 2,049,222,470 จ่ายดอกเบี้ย (319,525,273) (365,347,351) (250,725,228) (320,856,507) จ่ายภาษีเงินได้ (80,053,101) (97,461,068) (54,754,461) (68,562,280) ดอกเบี้ยรับ 606,892 1,578,989 - 1,529,626 รับคืนภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย 3,459,197 57,329,685 - 57,329,685 เงินสดสุทธิจากกิจกรรมดำเนินงาน 1,233,593,519 1,330,428,784 832,447,575 1,718,662,994 หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้ รายงานประจำปี 2552

90


บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย

งบกระแสเงินสด (ต่อ) ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551

หมายเหตุ

งบการเงินรวม 2552 2551

(หน่วย: บาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551

กระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุน เงินฝากที่ติดภาระค้ำประกันลดลง 7,409,062 217,265,217 7,409,062 217,265,217 เงินทดรองแก่บริษัทที่เกี่ยวข้องกันลดลง - - - 51,620,271 เงินให้กู้ยืมแก่บริษัทที่เกี่ยวข้องกันเพิ่มขึ้น - - (350,992,429) (129,911,998) ดอกเบี้ยรับ - - 13,499,321 22,522,811 เงินปันผลรับ 5,240,888 - 5,240,888 - เงินมัดจำการซื้อหุ้นเพิ่มขึ้น (60,000,000) - (60,000,000) - เงินลงทุนระยะยาวอื่นเพิ่มขึ้น (1,154,900) (52,458,150) (1,154,900) (52,458,150) ที่ดินรอการพัฒนาเพิ่มขึ้น (1,487,097,620) (88,787,146) (1,278,141,421) (88,787,146) เงินจ่ายล่วงหน้าค่าซื้อที่ดินเพิ่มขึ้น (112,053,552) (414,089,013) (63,798,552) (376,296,213) สิทธิการเช่าเพิ่มขึ้น (1,449,432) (1,438,452) (1,449,432) (1,438,452) ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์เพิ่มขึ้น (36,283,003) (74,848,070) (29,084,083) (67,799,879) เงินสดรับจากการจำหน่ายที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ 24,531,388 49,000 24,531,388 49,000 เงินสดสุทธิใช้ไปในกิจกรรมลงทุน (1,660,857,169) (414,306,614) (1,733,940,158) (425,234,539) กระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงิน เงินเบิกเกินบัญชีและเงินกู้ยืมระยะสั้นจากสถาบันการเงินเพิ่มขึ้น (ลดลง) (528,268,062) 206,627,484 (508,000,000) 201,359,422 เจ้าหนี้ตั๋วสัญญาใช้เงินเพิ่มขึ้น 15,000,000 - - - เงินกู้ยืมจากบุคคล/บริษัทอื่นเพิ่มขึ้น (ลดลง) (31,000,000) 21,000,000 - - เจ้าหนี้ตั๋วแลกเงินเพิ่มขึ้น 1,257,099,868 - 1,257,099,868 - เงินกู้ยืมระยะยาวลดลง (817,296,716) (553,117,950) (699,943,930) (441,984,819) หุ้นกู้เพิ่มขึ้น (ลดลง) 1,329,400,000 12,150,000 1,604,400,000 (450,000,000) เจ้าหนี้ตามแผนฟื้นฟูกิจการลดลง (228,595,766) (382,777,076) (228,595,766) (382,777,076) เงินปันผลจ่าย (283,535,147) (189,014,648) (283,535,147) (189,014,648) เงินสดสุทธิจาก (ใช้ไปใน) กิจกรรมจัดหาเงิน 712,804,177 (885,132,190) 1,141,425,025 (1,262,417,121) เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดเพิ่มขึ้นสุทธิ 285,540,527 30,989,980 239,932,442 31,011,334 เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ณ วันต้นปี 455,045,559 424,055,579 428,606,931 397,595,597 เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ณ วันปลายปี 740,586,086 455,045,559 668,539,373 428,606,931 ข้อมูลกระแสเงินสดเปิดเผยเพิ่มเติม รายการที่ไม่ใช่เงินสด โอนเงินจ่ายล่วงหน้าค่าซื้อที่ดินเป็นต้นทุนการพัฒนาโครงการ อสังหาริมทรัพย์และที่ดินรอการพัฒนา 459,437,448 89,392,000 373,682,013 9,392,000 โอนที่ดินรอการพัฒนาเป็นต้นทุนการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ 480,418,666 1,212,647,661 480,418,666 1,487,714,703 โอนที่ดิน อาคารและอุปกรณ์เป็นต้นทุนการพัฒนาโครงการ อสังหาริมทรัพย์ 21,898,776 - 21,898,776 - โอนเงินทดรองแก่บริษัทที่เกี่ยวข้องกันเป็นเงินให้กู้ยืมแก่ บริษัทที่เกี่ยวข้องกัน - - - 28,379,729 ออกตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อชำระค่าที่ดิน 340,000,000 - - - หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้

บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน)

91


รายงานประจำปี 2552

92

งบการเงินรวม ส่วนของผู้ถือหุ้นบริษัทใหญ่ ทุนเรือนหุ้น หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ส่วนต่ำกว่าทุนจาก กำไรสะสม รวม ส่วนของผู้ถือหุ้น ที่ออก ส่วนต่ำกว่า เงินรับล่วงหน้า แปลงสภาพ - การเปลี่ยนแปลง สำรอง ส่วนของผู้ถือหุ้น ส่วนน้อยของ และชำระแล้ว มูลค่าหุ้น ค่าหุ้น องค์ประกอบที่เป็นทุน มูลค่าเงินลงทุน ตามกฎหมาย ยังไม่ได้จัดสรร บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย รวม

(หน่วย: บาท)

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้

ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 4,724,947,164 (42,713,192) 1,938 23,535,270 - 119,100,000 1,262,326,719 6,087,197,899 - 6,087,197,899 ค่าใช้จ่ายที่รับรู้ในส่วนของผู้ถือหุ้น เงินลงทุนในหลักทรัพย์เผื่อขาย ผลขาดทุนที่รับรู้ในส่วนของผู้ถือหุ้น - - - - (5,396,570) - - (5,396,570) - (5,396,570) รวมค่าใช้จ่ายที่รับรู้ในส่วนของผู้ถือหุ้น - - - - (5,396,570) - - (5,396,570) - (5,396,570) กำไร (ขาดทุน) สุทธิสำหรับปี - - - - - - 804,546,744 804,546,744 (1,980,703) 802,566,041 รวมรายได้ (ค่าใช้จ่าย) ทั้งสิ้นที่รับรู้สำหรับปี - - - - (5,396,570) - 804,546,744 799,150,174 (1,980,703) 797,169,471 เงินปันผลจ่าย (หมายเหตุ 35) - - - - - - (189,014,648) (189,014,648) - (189,014,648) โอนกำไรสะสมที่ยังไม่ได้จัดสรร เป็นสำรองตามกฏหมาย - - - - - 40,000,000 (40,000,000) - - - หุ้นสามัญเพิ่มขึ้นจากการใช้สิทธิ ตามใบสำคัญแสดงสิทธิ 1,382,556 (1,380,252) (1,938) - - - - 366 - 366 หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิแปลงสภาพ - องค์ประกอบที่เป็นทุนเพิ่มขึ้น - - - 7,476,716 - - - 7,476,716 - 7,476,716 ส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยของบริษัทย่อยเพิ่มขึ้น - - - - - - - - 400,000 400,000 ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 4,726,329,720 (44,093,444) - 31,011,986 (5,396,570) 159,100,000 1,837,858,815 6,704,810,507 (1,580,703) 6,703,229,804 ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 4,726,329,720 (44,093,444) - 31,011,986 (5,396,570) 159,100,000 1,837,858,815 6,704,810,507 (1,580,703) 6,703,229,804 รายได้ที่รับรู้ในส่วนของผู้ถือหุ้น เงินลงทุนในหลักทรัพย์เผื่อขาย ผลกำไรที่รับรู้ในส่วนของผู้ถือหุ้น - - - - 646,240 - - 646,240 - 646,240 รายได้ที่รับรู้ในส่วนของผู้ถือหุ้น - - - - 646,240 - - 646,240 - 646,240 กำไร (ขาดทุน) สุทธิสำหรับปี - - - - - - 403,627,020 403,627,020 (3,875,495) 399,751,525 รวมรายได้ (ค่าใช้จ่าย) ทั้งสิ้นที่รับรู้สำหรับปี - - - - 646,240 - 403,627,020 404,273,260 (3,875,495) 400,397,765 เงินปันผลจ่าย (หมายเหตุ 35) - - - - - - (283,535,147) (283,535,147) - (283,535,147) โอนกำไรสะสมที่ยังไม่ได้จัดสรร เป็นสำรองตามกฏหมาย - - - - - 20,000,000 (20,000,000) - - - เงินรับล่วงหน้าค่าหุ้น - - 25 - - - - 25 - 25 ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 4,726,329,720 (44,093,444) 25 31,011,986 (4,750,330) 179,100,000 1,937,950,688 6,825,548,645 (5,456,198) 6,820,092,447

สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551

งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น

บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย


บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน)

93

(หน่วย: บาท)

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้

ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 4,724,947,164 (42,713,192) 1,938 23,535,270 - 119,100,000 ค่าใช้จ่ายที่รับรู้ในส่วนของผู้ถือหุ้น เงินลงทุนในหลักทรัพย์เผื่อขาย ผลขาดทุนที่รับรู้ในส่วนของผู้ถือหุ้น - - - - (5,396,570) - ค่าใช้จ่ายที่รับรู้ในส่วนของผู้ถือหุ้น - - - - (5,396,570) - กำไรสุทธิสำหรับปี - - - - - - รวมรายได้ (ค่าใช้จ่าย) ทั้งสิ้นที่รับรู้สำหรับปี - - - - (5,396,570) - เงินปันผลจ่าย (หมายเหตุ 35) - - - - - - โอนกำไรสะสมที่ยังไม่ได้จัดสรรเป็นสำรองตามกฏหมาย - - - - - 40,000,000 หุ้นสามัญเพิ่มขึ้นจากการใช้สิทธิตามใบสำคัญแสดงสิทธิ 1,382,556 (1,380,252) (1,938) - - - ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 4,726,329,720 (44,093,444) - 23,535,270 (5,396,570) 159,100,000 ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 4,726,329,720 (44,093,444) - 23,535,270 (5,396,570) 159,100,000 รายได้ที่รับรู้ในส่วนของผู้ถือหุ้น เงินลงทุนในหลักทรัพย์เผื่อขาย ผลกำไรที่รับรู้ในส่วนของผู้ถือหุ้น - - - - 646,240 - รายได้ที่รับรู้ในส่วนของผู้ถือหุ้น - - - - 646,240 - กำไรสุทธิสำหรับปี - - - - - - รวมรายได้ทั้งสิ้นที่รับรู้สำหรับปี - - - - 646,240 - เงินปันผลจ่าย (หมายเหตุ 35) - - - - - - โอนกำไรสะสมที่ยังไม่ได้จัดสรรเป็นสำรองตามกฏหมาย - - - - - 20,000,000 เงินรับล่วงหน้าค่าหุ้น - - 25 - - - ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 4,726,329,720 (44,093,444) 25 23,535,270 (4,750,330) 179,100,000

6,321,849,163

1,462,374,187

646,240 646,240 386,325,918 386,972,158 (283,535,147) - 25 6,425,286,199

(5,396,570) (5,396,570) 798,268,725 792,872,155 (189,014,648) - 366 6,321,849,163

- - 798,268,725 798,268,725 (189,014,648) (40,000,000) - 1,462,374,187

- - 386,325,918 386,325,918 (283,535,147) (20,000,000) - 1,545,164,958

5,717,991,290

893,120,110

งบการเงินเฉพาะกิจการ ทุนเรือนหุ้น หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ส่วนต่ำกว่าทุนจาก กำไรสะสม ที่ออก ส่วนต่ำกว่า เงินรับล่วงหน้า แปลงสภาพ - การเปลี่ยนแปลง สำรอง และชำระแล้ว มูลค่าหุ้น ค่าหุ้น องค์ประกอบที่เป็นทุน มูลค่าเงินลงทุน ตามกฎหมาย ยังไม่ได้จัดสรร รวม

สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551

งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น (ต่อ)

บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย


บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย

หมายเหตุประกอบงบการเงินรวม สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551

1. ข้อมูลทั่วไป

บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน) (“บริษัทฯ”) จัดตั้งขึ้นเป็นบริษัทมหาชนและมีภูมิลำเนาในประเทศไทย ธุรกิจหลัก

ของบริษัทฯ คือ การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ โดยมีที่อยู่ตามที่จดทะเบียนอยู่ที่ 100/1 อาคารวรสมบัติ ชั้น 17 ถนนพระราม 9 แขวง ห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ

2. เกณฑ์ในการจัดทำงบการเงิน 2.1

2.2

งบการเงินนี้จัดทำขึ้นตามมาตรฐานการบัญชีที่กำหนดในพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 และการแสดงรายการใน งบการเงินได้ทำขึ้นเพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดในประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้าลงวันที่ 30 มกราคม 2552 ออกตาม ความในพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 งบการเงินฉบับภาษาไทยเป็นงบการเงินฉบับที่บริษัทฯใช้เป็นทางการตามกฎหมาย งบการเงินฉบับภาษาอังกฤษแปลจาก งบการเงินฉบับภาษาไทยดังกล่าว งบการเงินนี้ได้จัดทำขึ้นโดยใช้เกณฑ์ราคาทุนเดิมเว้นแต่จะได้เปิดเผยเป็นอย่างอื่นในนโยบายการบัญชี เกณฑ์ในการจัดทำงบการเงินรวม ก) งบการเงินรวมนี้ได้จัดทำขึ้นโดยรวมงบการเงินของบริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน) (ซึ่งต่อไปนี้เรียก ว่า “บริษัทฯ”) และบริษัทย่อย (ซึ่งต่อไปนี้เรียกว่า “บริษัทย่อย”) ดังต่อไปนี้

จัดตั้งขึ้น อัตราร้อยละ ชื่อบริษัท ลักษณะธุรกิจ ในประเทศ ของการถือหุ้น 2552 2551 ร้อยละ ร้อยละ บริษัท เอสเตท เพอร์เฟ็คท์ จำกัด พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ไทย 100.00 100.00 บริษัท เพอร์เฟค แซทเทลไลท์ เซอร์วิสเซส จำกัด บริหารสโมสร ไทย 99.98 99.98 บริษัท ไบรท์ ดีเวลลอปเมนท์ กรุงเทพ จำกัด พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ไทย 99.94 99.94 บริษัท เซ็นเตอร์พ้อยท์ ช็อปปิ้ง มอลล์ จำกัด พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ไทย 59.99 59.99 ร้อยละของสินทรัพย์ที่ ร้อยละของรายได้ที่รวมอยู่ ชื่อบริษัท รวมอยู่ในสินทรัพย์รวม ในรายได้รวมสำหรับปีสิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม วันที่ 31 ธันวาคม 2552 2551 2552 2551 ร้อยละ ร้อยละ รัอยละ ร้อยละ บริษัท เอสเตท เพอร์เฟ็คท์ จำกัด 14.58 13.74 17.01 9.34 บริษัท เพอร์เฟค แซทเทลไลท์ เซอร์วิสเซส จำกัด 0.04 0.05 - - บริษัท ไบรท์ ดีเวลลอปเมนท์ กรุงเทพ จำกัด 3.65 4.06 - - บริษัท เซ็นเตอร์พ้อยท์ ช็อปปิ้ง มอลล์ จำกัด 0.05 0.02 - - ข) ค) ง) จ)

รายงานประจำปี 2552

บริษัทฯนำงบการเงินของบริษัทย่อยมารวมในการจัดทำงบการเงินรวมตั้งแต่วันที่ได้มา (วันที่บริษัทฯมีอำนาจในการ ควบคุมบริษัทย่อย) จนถึงวันที่บริษัทฯสิ้นสุดการควบคุมบริษัทย่อยนั้น งบการเงินของบริษัทย่อยได้จัดทำขึ้นโดยมีรอบระยะเวลาบัญชีและใช้นโยบายการบัญชีที่สำคัญเช่นเดียวกันกับ

ของบริษัทฯ ยอดคงค้างระหว่างบริษัทฯและบริษัทย่อย รายการค้าระหว่างกันที่มีสาระสำคัญได้ถูกตัดออกจากงบการเงินรวมนี้ แล้ว ส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย คือ จำนวนกำไรหรือขาดทุนและสินทรัพย์สุทธิของบริษัทย่อยส่วนที่ไม่ได้เป็นของบริษัทฯ และแสดงเป็นรายการแยกต่างหากในงบกำไรขาดทุนรวมและส่วนของผู้ถือหุ้นในงบดุลรวม

94


ฉ)

2.3

ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2552 ได้มีมติอนุมัติให้เพิ่มทุนจดทะเบียนของบริษัท ไบรท์ ดีเวลลอปเมนท์ กรุงเทพ จำกัด จากมูลค่า 1 ล้านบาท (หุ้นสามัญจำนวน 10,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 100 บาท) เป็น 500 ล้านบาท (หุ้นสามัญจำนวน 5 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 100 บาท) ซึ่งเป็นการเพิ่มทุนโดย บริษัทฯทั้งหมด ปัจจุบันอยู่ระหว่างการจดทะเบียนเพิ่มทุนดังกล่าว บริษัทฯได้จัดทำงบการเงินเฉพาะกิจการเพื่อประโยชน์ต่อสาธารณะ ซึ่งแสดงเงินลงทุนในบริษัทย่อย และบริษัทร่วมตามวิธี ราคาทุน

3. การประกาศใช้มาตรฐานการบัญชีใหม่

ในเดือนมิถุนายน 2552 สภาวิชาชีพบัญชีได้ออกประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ฉบับที่ 12/2552 เรื่อง การจัดเลขระบุฉบับมาตรฐานการ บัญชีของไทยให้ตรงตามมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ การอ้างอิงเลขมาตรฐานการบัญชีในงบการเงินนี้ได้ถือปฏิบัติตาม ประกาศสภาวิชาชีพบัญชีฉบับดังกล่าว สภาวิชาชีพบัญชีได้ออกประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ฉบับที่ 86/2551 และฉบับที่ 16/2552 ให้ใช้มาตรฐานการบัญชี มาตรฐานการ รายงานทางการเงิน และแนวปฏิบัติทางการบัญชีใหม่ดังต่อไปนี้ 3.1 มาตรฐานการบัญชี มาตรฐานการรายงานทางการเงิน และแนวปฏิบัติทางการบัญชีที่มีผลบังคับใช้ในปีปัจจุบัน แม่บทการบัญชี (ปรับปรุง 2550) มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 36 (ปรับปรุง 2550) การด้อยค่าของสินทรัพย์ มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 5 (ปรับปรุง 2550) สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่ถือไว้เพื่อขายและ การดำเนินงานที่ยกเลิก แนวปฏิบัติทางการบัญชีสำหรับการบันทึกสิทธิการเช่า แนวปฏิบัติทางการบัญชีสำหรับการรวมธุรกิจภายใต้การควบคุมเดียวกัน มาตรฐานการบัญชี มาตรฐานการรายงานทางการเงิน และแนวปฏิบัติทางการบัญชีข้างต้นถือปฏิบัติกับงบการเงินสำหรับ รอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2552 เป็นต้นไป ฝ่ายบริหารของบริษัทฯได้ประเมินแล้วเห็นว่าแนว ปฏิบัติทางการบัญชีสำหรับการรวมธุรกิจภายใต้การควบคุมเดียวกันไม่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจของบริษัทฯ ส่วนแม่บทการบัญชี (ปรับปรุง 2550) มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 36 (ปรับปรุง 2550) มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 5 (ปรับปรุง 2550) และแนวปฏิบัติทางการบัญชีสำหรับการบันทึกสิทธิการเช่า ไม่มีผลกระทบอย่างเป็นสาระสำคัญต่องบการเงินสำหรับปี ปัจจุบัน 3.2 มาตรฐานการบัญชีที่ยังไม่มีผลบังคับใช้ในปีปัจจุบัน

วันที่มีผลบังคับใช้ มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 20 การบัญชีสำหรับเงินอุดหนุนจากรัฐบาลและ 1 มกราคม 2555 การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับความช่วยเหลือจากรัฐบาล มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 24 การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน 1 มกราคม 2554 (ปรับปรุง 2550) มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 40 อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน 1 มกราคม 2554 อย่างไรก็ตาม กิจการสามารถนำมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 24 (ปรับปรุง 2550) และมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 40 มาถือ ปฏิบัติก่อนกำหนดได้ ฝ่ายบริหารของบริษัทฯได้ประเมินแล้วเห็นว่ามาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 20 ไม่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจของบริษัทฯ ส่วนมาตรฐาน การบัญชีฉบับที่ 24 (ปรับปรุง 2550) และมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 40 จะไม่มีผลกระทบอย่างเป็นสาระสำคัญต่องบการเงิน สำหรับปีที่เริ่มใช้มาตรฐานการบัญชีดังกล่าว

4. นโยบายการบัญชีที่สำคัญ 4.1

การรับรู้รายได้ รายได้จากการขายบ้านพร้อมที่ดิน/หน่วยในอาคารชุดพักอาศัย/ที่ดิน บริษัทฯและบริษัทย่อยรับรู้รายได้จากการขายบ้านพร้อมที่ดิน/หน่วยในอาคารชุดพักอาศัย/ที่ดินเมื่อมีการโอนกรรมสิทธิ์ให้ แก่ผู้ซื้อ

บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน)

95


4.2 4.3 4.4 4.5 4.6

4.7 4.8

ดอกเบี้ยรับ ดอกเบี้ยถือเป็นรายได้ตามเกณฑ์คงค้างโดยคำนึงถึงอัตราผลตอบแทนที่แท้จริง ต้นทุนการขายบ้านพร้อมที่ดิน/หน่วยในอาคารชุดพักอาศัย/ที่ดิน ในการคำนวณหาต้นทุนการขายบ้านพร้อมที่ดิน/หน่วยในอาคารชุดพักอาศัย/ที่ดิน บริษัทฯและบริษัทย่อยได้ทำการแบ่งสรร ต้นทุนการพัฒนาทั้งหมดที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (โดยคำนึงถึงต้นทุนที่เกิดขึ้นจริงด้วย) ให้กับบ้านพร้อมที่ดิน/หน่วยในอาคารชุด พักอาศัย/ที่ดินที่ขายได้ตามเกณฑ์พื้นที่ที่ขาย แล้วจึงรับรู้เป็นต้นทุนขายในงบกำไรขาดทุน เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด หมายถึง เงินสดและเงินฝากธนาคาร และเงินลงทุนระยะสั้นที่มีสภาพคล่องสูง ซึ่งถึง กำหนดจ่ายคืนภายในระยะเวลาไม่เกิน 3 เดือนนับจากวันที่ได้มาและไม่มีข้อจำกัดในการเบิกใช้ ลูกหนี้การค้า ลูกหนี้การค้าแสดงมูลค่าตามจำนวนมูลค่าสุทธิที่จะได้รับ บริษัทฯและบริษัทย่อยบันทึกค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญสำหรับผล ขาดทุนโดยประมาณที่อาจเกิดขึ้นจากการเก็บเงินจากลูกหนี้ไม่ได้ ซึ่งโดยทั่วไปพิจารณาจากประสบการณ์การเก็บเงินและ การวิเคราะห์อายุหนี้ ต้นทุนการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ ต้นทุนการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์แสดงตามราคาทุนสุทธิจากค่าเผื่อผลขาดทุนจากการลดลงของมูลค่าโครงการ ต้นทุนการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ประกอบด้วยต้นทุนที่ดิน ค่าพัฒนาที่ดิน ค่าก่อสร้างและดอกเบี้ยที่เกี่ยวข้อง ต้นทุนการกู้ยืม ต้นทุนการกู้ยืมของเงินกู้ที่ใช้ในการจัดหาหรือก่อสร้างสินทรัพย์ที่ต้องใช้ระยะเวลานานในการแปลงสภาพให้พร้อมใช้หรือ ขาย ได้ถูกนำไปรวมเป็นราคาทุนของสินทรัพย์จนกว่าสินทรัพย์นั้นจะอยู่ในสภาพพร้อมที่จะใช้ได้ตามที่มุ่งประสงค์ ส่วน ต้นทุนการกู้ยืมอื่นถือเป็นค่าใช้จ่ายในงวดที่เกิดรายการ ต้นทุนการกู้ยืมประกอบด้วยดอกเบี้ยและต้นทุนอื่นที่เกิดขึ้นจากการ กู้ยืมนั้น เงินจ่ายล่วงหน้าค่าซื้อที่ดิน เงินจ่ายล่วงหน้าค่าซื้อที่ดินจะถูกบันทึกเป็นส่วนหนึ่งของต้นทุนที่ดินเมื่อที่ดินเหล่านั้นได้ถูกโอนกรรมสิทธิ์เป็นของบริษัทฯ และบริษัทย่อย ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ และค่าเสื่อมราคา ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์แสดงตามราคาทุนหักค่าเสื่อมราคาสะสม และค่าเผื่อการด้อยค่าของสินทรัพย์ (ถ้ามี) ค่าเสื่อมราคาของอาคารและอุปกรณ์คำนวณจากราคาทุนของสินทรัพย์โดยวิธีเส้นตรงตามอายุการใช้งานโดยประมาณดัง ต่อไปนี้

อาคารสำนักงานและสโมสร 10 ปี และ 20 ปี เครื่องตกแต่งและเครื่องใช้สำนักงานและสโมสร 5 ปี ยานพาหนะ 5 ปี อื่น ๆ 5 ปี ค่าเสื่อมราคารวมอยู่ในการคำนวณผลการดำเนินงาน ไม่มีการคิดค่าเสื่อมราคาสำหรับที่ดินและงานระหว่างก่อสร้าง 4.9 สิทธิการเช่าและค่าตัดจำหน่าย/สิทธิการเช่ารอการขาย สิทธิการเช่าแสดงตามราคาทุนหักค่าตัดจำหน่ายสะสมและค่าเผื่อการด้อยค่าของสินทรัพย์ (ถ้ามี) ค่าตัดจำหน่ายของสิทธิการเช่าคำนวณจากราคาทุนของสิทธิการเช่าโดยใช้วิธีเส้นตรงตามอายุสัญญาเช่า ค่าตัดจำหน่ายรวมอยู่ในการคำนวณผลการดำเนินงาน สิทธิการเช่ารอการขายแสดงตามราคาทุนหรือราคาที่คาดว่าจะได้รับแล้วแต่ราคาใดจะต่ำกว่า รายงานประจำปี 2552

96


4.10 เงินลงทุน ก) เงินลงทุนในบริษัทร่วมที่แสดงอยู่ในงบการเงินรวมแสดงมูลค่าตามวิธีส่วนได้เสีย ข) เงินลงทุนในบริษัทย่อยและบริษัทร่วมที่แสดงอยู่ในงบการเงินเฉพาะกิจการแสดงมูลค่าตามวิธีราคาทุน ค) เงินลงทุนในหลักทรัพย์เผื่อขายแสดงตามมูลค่ายุติธรรม บริษัทฯบันทึกการเปลี่ยนแปลงมูลค่าหลักทรัพย์ดังกล่าว เป็ น รายการแยกต่ า งหากในส่ ว นของผู ้ ถ ื อ หุ ้ น จนกระทั ่ ง จำหน่ า ยหลั ก ทรั พ ย์ ด ั ง กล่ า วออกไป จึ ง บั น ทึ ก การ เปลี่ยนแปลงมูลค่านั้นในงบกำไรขาดทุน ง) เงินลงทุนในตราสารทุนที่ไม่อยู่ในความต้องการของตลาดถือเป็นเงินลงทุนทั่วไปซึ่งแสดงในราคาทุนสุทธิจากค่าเผื่อ การด้อยค่า (ถ้ามี) 4.11 รายการธุรกิจกับบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน บุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกันกับบริษัทฯ หมายถึง บุคคลหรือกิจการที่มีอำนาจควบคุมบริษัทฯ หรือถูกควบคุมโดย บริษัทฯไม่ว่าจะเป็นโดยทางตรงหรือทางอ้อม หรืออยู่ภายใต้การควบคุมเดียวกันกับบริษัทฯ นอกจากนี้บุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกันยังหมายรวมถึงบริษัทร่วมและบุคคลซึ่งมีอิทธิพลอย่างเป็นสาระสำคัญกับบริษัทฯ ผู้บริหารสำคัญ กรรมการหรือพนักงานของบริษัทฯ ที่มีอำนาจในการวางแผนและควบคุมการดำเนินงานของบริษัทฯ 4.12 หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิแปลงสภาพ หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิแปลงสภาพแสดงองค์ประกอบที่เป็นหนี้สินและทุนแยกจากกันในงบดุล บริษัทฯได้แยกแสดงองค์ประกอบ ดังกล่าว โดยกำหนดราคาตามบัญชีของหนี้สินจากการคำนวณจากกระแสเงินสดของเงินต้นและดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายใน อนาคตคิดลดด้วยอัตราดอกเบี้ยในตลาดที่เป็นอยู่ในขณะนั้น และกำหนดราคาตามบัญชีของตราสารทุน โดยหักราคาตาม บัญชีของหนี้สินจากมูลค่าทั้งสิ้นของหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิแปลงสภาพ ผลต่างระหว่างราคาตามบัญชีของหนี้สินดังกล่าวข้างต้น และมูลค่าหน้าตั๋วของหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิแปลงสภาพจะตัดจำหน่ายตามอายุของหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิแปลงสภาพ 4.13 การด้อยค่าของสินทรัพย์ ทุกวันทีใ่ นงบดุล บริษทั ฯและบริษทั ย่อยจะทำการประเมินการด้อยค่าของทีด่ นิ อาคารและอุปกรณ์ของบริษทั ฯและบริษทั ย่อย หากมี ข้อบ่งชี้ว่าสินทรัพย์ดังกล่าวอาจด้อยค่า บริษัทฯและบริษัทย่อยรับรู้ขาดทุนจากการด้อยค่าเมื่อมูลค่าที่คาดว่าจะได้ รับคืนของสินทรัพย์มีมูลค่าต่ำกว่ามูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์นั้น ทั้งนี้มูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืนหมายถึงมูลค่ายุติธรรม หักต้นทุนในการขายของสินทรัพย์หรือมูลค่าจากการใช้สินทรัพย์แล้วแต่ราคาใดจะสูงกว่า ในการประเมินมูลค่าจากการใช้ สินทรัพย์ บริษัทฯและบริษัทย่อยประมาณการกระแสเงินสดในอนาคตที่กิจการคาดว่าจะได้รับจากสินทรัพย์และคำนวณคิด ลดเป็นมูลค่าปัจจุบันโดยใช้อัตราคิดลดก่อนภาษีที่สะท้อนถึงการประเมินความเสี่ยงในสภาพตลาดปัจจุบันของเงินสดตาม ระยะเวลาและความเสี่ยงซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของสินทรัพย์ที่กำลังพิจารณาอยู่ ในการประเมินมูลค่ายุติธรรมหักต้นทุนใน การขาย บริษัทฯและบริษัทย่อยใช้แบบจำลองการประเมินมูลค่าที่ดีที่สุดซึ่งเหมาะสมกับสินทรัพย์ ซึ่งสะท้อนถึงจำนวนเงินที่ กิจการสามารถจะได้มาจากการจำหน่ายสินทรัพย์หักด้วยต้นทุนในการจำหน่าย โดยการจำหน่ายนั้นผู้ซื้อกับผู้ขายมีความ รอบรู้และเต็มใจในการแลกเปลี่ยนและสามารถต่อรองราคากันได้อย่างเป็นอิสระในลักษณะของผู้ที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกัน บริษัทฯและบริษัทย่อยจะรับรู้รายการขาดทุนจากการด้อยค่าในงบกำไรขาดทุน 4.14 ผลประโยชน์พนักงาน บริษัทฯและบริษัทย่อยรับรู้เงินเดือน ค่าจ้าง โบนัส และเงินสมทบกองทุนประกันสังคมและกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นค่าใช้ จ่ายเมื่อเกิดรายการ 4.15 ประมาณการหนี้สิน บริษัทฯและบริษัทย่อยรับรู้ประมาณการหนี้สินเมื่อมีภาระผูกพันในปัจจุบันซึ่งเกิดจากเหตุการณ์ในอดีตและมีความเป็นไป ได้ค่อนข้างแน่นอนที่บริษัทฯและบริษัทย่อยจะสูญเสียทรัพยากรที่มีประโยชน์เชิงเศรษฐกิจเพื่อจ่ายชำระภาระผูกพันดัง กล่าวและสามารถประมาณมูลค่าภาระผูกพันนั้นได้อย่างน่าเชื่อถือ 4.16 ภาษีเงินได้ บริษัทฯและบริษัทย่อยบันทึกภาษีเงินได้โดยคำนวณจากกำไรสุทธิทางภาษีตามกฎหมายภาษีอากร

บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน)

97


5. การใช้ดุลยพินิจและประมาณการทางบัญชีที่สำคัญ

ในการจัดทำงบการเงินตามมาตรฐานการบัญชีที่รับรองทั่วไป ฝ่ายบริหารจำเป็นต้องใช้ดุลยพินิจและการประมาณการในเรื่องที่มี ความไม่แน่นอนเสมอ การใช้ดุลยพินิจและการประมาณการดังกล่าวนี้ส่งผลกระทบต่อจำนวนเงินที่แสดงในงบการเงินและต่อข้อมูล ที่แสดงในหมายเหตุประกอบงบการเงิน ผลที่เกิดขึ้นจริงอาจแตกต่างไปจากจำนวนที่ประมาณการไว้ การใช้ดุลยพินิจและการ ประมาณการที่สำคัญมีดังนี้ สัญญาเช่า ในการพิจารณาประเภทของสัญญาเช่าว่าเป็นสัญญาเช่าดำเนินงานหรือสัญญาเช่าทางการเงิน ฝ่ายบริหารได้ใช้ดุลยพินิจในการ ประเมินเงื่อนไขและรายละเอียดของสัญญาเพื่อพิจารณาว่าบริษัทฯและบริษัทย่อยได้โอนหรือรับโอนความเสี่ยงและผลประโยชน์ใน สินทรัพย์ที่เช่าดังกล่าวแล้วหรือไม่ ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญของลูกหนี้ ในการประมาณค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญของลูกหนี้ ฝ่ายบริหารจำเป็นต้องใช้ดุลยพินิจในการประมาณการผลขาดทุนที่คาดว่าจะเกิด ขึ้นจากลูกหนี้แต่ละราย โดยคำนึงถึงประสบการณ์การเก็บเงินในอดีต อายุของหนี้ที่คงค้างและสภาวะเศรษฐกิจที่เป็นอยู่ในขณะนั้น เป็นต้น มูลค่ายุติธรรมของเครื่องมือทางการเงิน ในการประเมินมูลค่ายุติธรรมของเครื่องมือทางการเงินที่ไม่มีการซื้อขายในตลาดและไม่สามารถหาราคาได้ในตลาดซื้อขายคล่อง ฝ่ายบริหารต้องใช้ดุลยพินิจในการประมาณมูลค่ายุติธรรมของเครื่องมือทางการเงินดังกล่าว โดยใช้เทคนิคและแบบจำลองการ ประเมินมูลค่า ซึ่งตัวแปรที่ใช้ในแบบจำลองได้มาจากการเทียบเคียงกับตัวแปรที่มีอยู่ในตลาด โดยคำนึงถึงสภาพคล่อง ข้อมูลความ สัมพันธ์ และการเปลี่ยนแปลงของมูลค่าของเครื่องมือทางการเงินในระยะยาว ค่าเผื่อการด้อยค่าของเงินลงทุนในหลักทรัพย์ บริษัทฯจะตั้งค่าเผื่อการด้อยค่าของเงินลงทุนในหลักทรัพย์เผื่อขายและเงินลงทุนทั่วไปเมื่อฝ่ายบริหารใช้ดุลยพินิจในการพิจารณาว่า มูลค่ายุติธรรมของเงินลงทุนดังกล่าวได้ลดลงอย่างมีสาระสำคัญและเป็นระยะเวลานาน การที่จะสรุปว่าเงินลงทุนดังกล่าวได้ลดลง อย่างมีสาระสำคัญหรือเป็นระยะเวลานานหรือไม่นั้น จำเป็นต้องใช้ดุลยพินิจของฝ่ายบริหาร ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์และค่าเสื่อมราคา ในการคำนวณค่าเสื่อมราคาของอาคารและอุปกรณ์ ฝ่ายบริหารจำเป็นต้องทำการประมาณอายุการใช้งานและมูลค่าซากเมื่อเลิกใช้ งานของอาคารและอุปกรณ์ และต้องทบทวนอายุการใช้งานและมูลค่าซากใหม่หากมีการเปลี่ยนแปลงเช่นนั้นเกิดขึ้น นอกจากนี้ฝ่ายบริหารจำเป็นต้องสอบทานการด้อยค่าของที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ในแต่ละช่วงเวลาและบันทึกขาดทุนจากการด้อย ค่าหากคาดว่ามูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืนต่ำกว่ามูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์นั้น ในการนี้ฝ่ายบริหารจำเป็นต้องใช้ดุลยพินิจที่ เกี่ยวข้องกับการคาดการณ์รายได้และค่าใช้จ่ายในอนาคตซึ่งเกี่ยวเนื่องกับสินทรัพย์นั้น การประมาณต้นทุนการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ ในการรับรู้รายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ บริษัทฯและบริษัทย่อยต้องประมาณต้นทุนทั้งหมดที่จะใช้ในการพัฒนาโครงการ อสังหาริมทรัพย์ ซึ่งประกอบด้วย ต้นทุนที่ดิน ต้นทุนการปรับปรุงที่ดิน ต้นทุนค่าออกแบบและก่อสร้าง และต้นทุนการกู้ยืมเพื่อใช้ใน การก่อสร้างโครงการ ฝ่ายบริหารได้ประมาณการต้นทุนดังกล่าวขึ้นจากประสบการณ์ในการประกอบธุรกิจและจะทบทวนการ ประมาณการดังกล่าวเป็นระยะ ๆ หรือเมื่อต้นทุนที่เกิดขึ้นจริงแตกต่างจากประมาณการอย่างมีสาระสำคัญ สำรองสำหรับหุ้นกู้ส่วนที่ไม่ได้ใช้สิทธิแปลงสภาพ ในการบันทึกสำรองสำหรับหุ้นกู้ส่วนที่ไม่ได้ใช้สิทธิแปลงสภาพ ฝ่ายบริหารได้ประมาณการใช้สิทธิแปลงสภาพหุ้นกู้เป็นหุ้นสามัญ

ของบริษัทฯจากอายุของหุ้นกู้แปลงสภาพ มูลค่าหุ้นของบริษัทฯในตลาดและสภาวะเศรษฐกิจในขณะนั้น โดยจะทบทวนการ ประมาณการดังกล่าวเมื่อสถานการณ์และข้อสมมติฐานที่เกี่ยวข้องเปลี่ยนแปลงไป สำรองเผื่อผลขาดทุนจากการรับประกันรายได้ขั้นต่ำ ในการบันทึกสำรองเผื่อผลขาดทุนจากการรับประกันรายได้ขั้นต่ำ ฝ่ายบริหารได้ประมาณมูลค่าที่คาดว่าจะเกิดขึ้นของค่าใช้จ่ายใน การรับประกันรายได้ขั้นต่ำดังกล่าวตามมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดที่บริษัทฯต้องชำระให้แก่กองทุนฯ ซึ่งคำนวณขึ้นโดยใช้ข้อ สมมติฐานที่เหมาะสมกับสถานการณ์และผลการดำเนินงานในปัจจุบันของกองทุนฯ บริษัทฯจะทบทวนการประมาณการดังกล่าว เป็นระยะ ๆ เมื่อสถานการณ์และข้อสมมติฐานที่เกี่ยวข้องเปลี่ยนแปลงไป

รายงานประจำปี 2552

98


คดีฟ้องร้อง บริษัทย่อยมีหนี้สินที่อาจจะเกิดขึ้นจากการถูกฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย ซึ่งฝ่ายบริหารได้ใช้ดุลยพินิจในการประเมินผลของคดีที่ถูก ฟ้องร้องแล้ว และเชื่อมั่นว่าจะไม่มีความเสียหายเกิดขึ้น จึงไม่ได้บันทึกประมาณการหนี้สินดังกล่าว ณ วันที่ในงบการเงิน

6. รายการธุรกิจกับกิจการที่เกี่ยวข้องกัน

ในระหว่างปี บริษัทฯและบริษัทย่อยมีรายการธุรกิจที่สำคัญกับบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน รายการธุรกิจดังกล่าวเป็นไปตาม เงื่อนไขทางการค้าและเกณฑ์ตามที่ตกลงกันระหว่างบริษัทฯและบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกันเหล่านั้น ซึ่งเป็นไปตามปกติธุรกิจ โดยสามารถสรุปได้ดังนี้

(หน่วย: ล้านบาท) งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551 2552 2551 นโยบายการกำหนดราคา รายการธุรกิจกับบริษัทย่อย (ตัดออกจากงบการเงินรวมแล้ว) ดอกเบี้ยรับ - - 41.9 29.2 ร้อยละ 8.34 ถึง 9.37 ต่อปี ค่าใช้จ่ายในการบริหารสโมสร - - 11.4 10.5 ตามสัญญา ยอดคงค้างระหว่างบริษัทฯและบริษัทที่เกี่ยวข้องกัน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551 มีรายละเอียดดังนี้ (หน่วย: พันบาท) งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551 2552 2551 เงินทดรองแก่บริษัทที่เกี่ยวข้องกัน บริษัท ไบรท์ ดีเวลลอปเมนท์ กรุงเทพ จำกัด - - 1,500 1,500 เงินทดรองแก่บริษัทที่เกี่ยวข้องกัน - - 1,500 1,500 เงินให้กู้ยืมแก่บริษัทที่เกี่ยวข้องกันและดอกเบี้ยค้างรับ เงินให้กู้ยืมแก่บริษัทย่อย บริษัท เอสเตท เพอร์เฟ็คท์ จำกัด - - 311,606 298,713 บริษัท ไบรท์ ดีเวลลอปเมนท์ กรุงเทพ จำกัด - - 428,294 100,294 บริษัท เซ็นเตอร์พ้อยท์ ช็อปปิ้ง มอลล์ จำกัด - - 15,200 5,100 - - 755,100 404,107 ดอกเบี้ยค้างรับ บริษัท เอสเตท เพอร์เฟ็คท์ จำกัด - - 5,308 3,271 บริษัท ไบรท์ ดีเวลลอปเมนท์ กรุงเทพ จำกัด - - 30,768 4,616 บริษัท เซ็นเตอร์พ้อยท์ ช็อปปิ้ง มอลล์ จำกัด - - 865 59 - - 36,941 7,946 เงินให้กู้ยืมแก่บริษัทที่เกี่ยวข้องกันและดอกเบี้ยค้างรับ - - 792,041 412,053 เจ้าหนี้บริษัทที่เกี่ยวข้องกัน บริษัท เพอร์เฟค แซทเทลไลท์ เซอร์วิสเซส จำกัด - - 1,246 1,065 บริษัท เซ็นเตอร์พ้อยท์ ช็อปปิ้ง มอลล์ จำกัด - - 80,000 80,000 บริษัท ไบรท์ ดีเวลลอปเมนท์ กรุงเทพ จำกัด - - - 2,889 เจ้าหนี้บริษัทที่เกี่ยวข้องกัน - - 81,246 83,954 เงินทดรองจากกรรมการ กรรมการ 80,000 80,000 - - เงินทดรองจากกรรมการ 80,000 80,000 - -

บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน)

99


ในระหว่างปี 2552 เงินให้กู้ยืมแก่บริษัทที่เกี่ยวข้องกันมีการเคลื่อนไหวดังต่อไปนี้

(หน่วย: พันบาท) ยอดคงเหลือ ยอดคงเหลือ ณ วันที่ ในระหว่างปี ณ วันที่ 1 มกราคม 2552 เพิ่มขึ้น ลดลง 31 ธันวาคม 2552 บริษัทย่อย บริษัท เอสเตท เพอร์เฟ็คท์ จำกัด 298,713 433,000 (420,107) 311,606 บริษัท ไบรท์ ดีเวลลอปเมนท์ กรุงเทพ จำกัด 100,294 328,000 - 428,294 บริษัท เซ็นเตอร์พ้อยท์ ช็อปปิ้ง มอลล์ จำกัด 5,100 10,100 - 15,200

ค่าตอบแทนกรรมการและผู้บริหาร ในปี 2552 บริษัทฯและบริษัทย่อยได้จ่ายเงินเดือน โบนัส ค่าเบี้ยประชุมและเงินบำเหน็จให้แก่ กรรมการและผู้บริหาร เป็น จำนวนเงิน 71.5 ล้านบาท (งบการเงินเฉพาะกิจการ: 56.2 ล้านบาท) (2551: 66.9 ล้านบาท (งบการเงินเฉพาะกิจการ: 53.1 ล้านบาท))

ภาระค้ำประกันกับกิจการที่เกี่ยวข้องกัน บริษัทฯมีภาระจากการค้ำประกันให้กับกิจการที่เกี่ยวข้องกันตามที่กล่าวไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 36.4 ก)

7. ลูกหนี้การค้า/เงินมัดจำและเงินรับล่วงหน้าจากลูกค้า

ยอดคงเหลือของลูกหนี้การค้า ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551 มีรายละเอียดดังนี้

จำนวนเงินตามที่ได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายแล้ว ร้อยละของยอดขายรวมของโครงการ ค่างวดที่ถึงกำหนดชำระ หัก: เงินรับชำระแล้ว ลูกหนี้ค่างวดที่ค้างชำระ หัก: ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ลูกหนี้ค่างวดที่ค้างชำระสุทธิ

งบการเงินรวม 2552 2551 55,019,352,991 49,187,840,012 59.13 65.60 53,042,354,574 47,195,229,327 (53,001,061,348) (47,151,133,018) 41,293,226 44,096,309 (11,193,299) (10,293,299) 30,099,927 33,803,010

(หน่วย: บาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551 50,691,609,835 45,984,494,128 60.39 68.11 49,115,224,716 44,283,972,772 (49,077,959,223) (44,243,491,213) 37,265,493 40,481,559 (11,193,299) (10,293,299) 26,072,194 30,188,260

เงินมัดจำและเงินรับล่วงหน้าจากลูกค้า ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551 มีรายละเอียดดังนี้ (หน่วย: บาท) งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551 2552 2551 ค่างวดที่ถึงกำหนดชำระ 53,042,354,574 47,195,229,327 49,115,224,716 44,283,972,772 หัก: การรับรู้รายได้ (52,934,887,056) (47,082,993,831) (49,026,335,606) (44,180,288,358) เงินมัดจำและเงินรับล่วงหน้าจากลูกค้า 107,467,518 112,235,496 88,889,110 103,684,414

รายงานประจำปี 2552

100


ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551 บริษัทฯและบริษัทย่อยมีลูกหนี้การค้าแยกตามอายุหนี้ที่คงค้างนับจากวันที่ถึงกำหนดชำระได้ ดังนี้ (หน่วย: บาท) งบการเงินรวม ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 น้อยกว่า ระหว่าง ระหว่าง มากกว่า 3 เดือน 3-6 เดือน 6-12 เดือน 12 เดือน รวม ลูกหนี้ค้างชำระค่างวด 13,022,427 2,290,000 4,695,000 6,891,500 26,898,927 ลูกหนี้ค้างชำระ ณ วันโอน 2,398,400 - 900,000 11,095,899 14,394,299 รวม 15,420,827 2,290,000 5,595,000 17,987,399 41,293,226 หัก: ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ - - (900,000) (10,293,299) (11,193,299) ลูกหนี้การค้า - สุทธิ 15,420,827 2,290,000 4,695,000 7,694,100 30,099,927 (หน่วย: บาท) งบการเงินรวม ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 น้อยกว่า ระหว่าง ระหว่าง มากกว่า 3 เดือน 3-6 เดือน 6-12 เดือน 12 เดือน รวม ลูกหนี้ค้างชำระค่างวด 15,035,892 5,369,818 6,108,500 2,496,200 29,010,410 ลูกหนี้ค้างชำระ ณ วันโอน 3,740,000 50,000 50,000 11,245,899 15,085,899 รวม 18,775,892 5,419,818 6,158,500 13,742,099 44,096,309 หัก: ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ - - - (10,293,299) (10,293,299) ลูกหนี้การค้า - สุทธิ 18,775,892 5,419,818 6,158,500 3,448,800 33,803,010 (หน่วย: บาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 น้อยกว่า ระหว่าง ระหว่าง มากกว่า 3 เดือน 3-6 เดือน 6-12 เดือน 12 เดือน รวม ลูกหนี้ค้างชำระค่างวด 10,568,694 1,647,000 4,030,000 6,875,500 23,121,194 ลูกหนี้ค้างชำระ ณ วันโอน 2,198,400 - 900,000 11,045,899 14,144,299 รวม 12,767,094 1,647,000 4,930,000 17,921,399 37,265,493 หัก: ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ - - (900,000) (10,293,299) (11,193,299) ลูกหนี้การค้า - สุทธิ 12,767,094 1,647,000 4,030,000 7,628,100 26,072,194 (หน่วย: บาท)

งบการเงินเฉพาะกิจการ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 น้อยกว่า ระหว่าง ระหว่าง มากกว่า 3 เดือน 3-6 เดือน 6-12 เดือน 12 เดือน รวม ลูกหนี้ค้างชำระค่างวด 12,341,142 5,249,818 6,108,500 2,496,200 26,195,660 ลูกหนี้ค้างชำระ ณ วันโอน 3,040,000 - - 11,245,899 14,285,899 รวม 15,381,142 5,249,818 6,108,500 13,742,099 40,481,559 หัก: ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ - - - (10,293,299) (10,293,299) ลูกหนี้การค้า - สุทธิ 15,381,142 5,249,818 6,108,500 3,448,800 30,188,260

บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน)

101


8. ลูกหนี้ค่าที่ดิน

ลูกหนี้ดังกล่าวจะทยอยแบ่งจ่ายชำระเป็นรายงวด โดยมีกำหนดชำระงวดแรกในวันที่ 30 เมษายน 2552 และจะครบกำหนดชำระ ทั้งหมดภายในเดือนธันวาคม 2552 อย่างไรก็ตาม ลูกหนี้ดังกล่าวขอเลื่อนการชำระหนี้ออกเป็น 2 งวด โดยงวดแรกจะจ่ายชำระเป็น จำนวนเงิน 4.4 ล้านบาท (บริษัทฯได้รับชำระแล้วเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2552) และงวดสองจะจ่ายชำระส่วนที่เหลือทั้งหมดภายใน เดือนธันวาคม 2552 อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2553 ลูกหนี้ดังกล่าวได้ส่งแผนการปรับโครงสร้างทุนของลูกหนี้ให้กับ บริษัทฯและได้ขอเลื่อนการชำระหนี้ส่วนที่เหลือทั้งหมดออกไปเป็นภายในเดือนพฤษภาคม 2553 บริษัทฯพิจารณาแล้วเห็นชอบกับ การเลื่อนการชำระหนี้และเชื่อว่าจะไม่เกิดผลเสียหายกับบริษัทฯ

9. ต้นทุนการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์

งบการเงินรวม 2552 2551

ต้นทุนที่ดิน ต้นทุนการพัฒนาที่ดิน ต้นทุนงานก่อสร้าง ดอกเบี้ยที่ถือเป็นต้นทุน รวม หัก: จำนวนสะสมที่โอนเป็นต้นทุนขาย ที่ดินที่โอนเพื่อการจ่ายชำระหนี้ตามแผนฟื้นฟู หัก: ค่าเผื่อผลขาดทุนจากการลดลง ของมูลค่าโครงการ ต้นทุนการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ - สุทธิ

15,236,926,057 7,456,774,142 21,018,135,721 4,493,432,497 48,205,268,417 (37,898,910,477) (1,524,192,396) 8,782,165,544

14,217,301,525 6,960,773,362 18,832,022,136 4,351,344,294 44,361,441,317 (33,821,534,282) (1,524,192,396) 9,015,714,639

13,655,486,115 12,635,861,583 6,800,930,425 6,343,427,661 19,349,106,061 17,529,694,014 4,187,264,425 4,068,788,471 43,992,787,026 40,577,771,729 (35,247,874,548) (31,892,897,573) (1,524,192,396) (1,524,192,396) 7,220,720,082 7,160,681,760

(73,454,194) 8,708,711,350

(84,632,533) 8,931,082,106

(68,807,688) (75,536,021) 7,151,912,394 7,085,145,739

เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2552 บริษัทฯได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกับมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในราคา 900 ล้านบาท (โดยยกเลิก สัญญาจะซื้อจะขายเดิมลงวันที่ 9 เมษายน 2552) ตามที่ระบุไว้ในสัญญา บริษัทฯจะต้องสร้างถนนตามรายละเอียดที่กำหนดไว้ใน สัญญา และจัดตั้งกองทุนเพื่อการศึกษาให้กับมหาวิทยาลัยเป็นจำนวนเงิน 20 ล้านบาท รวมไปถึงต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขอื่นๆ ที่ กำหนดไว้ และบริษัทฯจะต้องรับผิดชอบค่าปรับในกรณีที่บริษัทฯกระทำการใดๆ ที่ผิดสัญญาดังกล่าว ปัจจุบัน บริษัทฯอยู่ระหว่าง การปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในสัญญา และเตรียมการโอนที่ดินให้กับมหาวิทยาลัยดังกล่าว บริษัทฯและบริษัทย่อยได้นำที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในโครงการซึ่งมีมูลค่าสุทธิตามบัญชี ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 เป็นจำนวนเงิน ประมาณ 6,435.1 ล้านบาท (2551: 8,352.7 ล้านบาท) ไปจดจำนองไว้กับสถาบันการเงินเพื่อเป็นหลักประกันวงเงินสินเชื่อ การค้ำ ประกันและหุ้นกู้ ในระหว่างปีปัจจุบัน บริษัทฯและบริษัทย่อยบันทึกโอนที่ดินรอการพัฒนาเป็นต้นทุนการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์เป็นจำนวน เงิน 480.4 ล้านบาท (งบการเงินเฉพาะกิจการ: 480.4 ล้านบาท) ในระหว่างปีปัจจุบัน บริษัทฯและบริษัทย่อยได้รวมต้นทุนการกู้ยืมเข้าเป็นต้นทุนการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์เป็นจำนวน 142.1 ล้านบาท (งบการเงินเฉพาะกิจการ: 118.5 ล้านบาท) (2551: 162.3 ล้านบาท (งบการเงินเฉพาะกิจการ: 133.9 ล้านบาท)) โดย มีอัตราการตั้งขึ้นเป็นทุนเท่ากับร้อยละ 5.0 ถึงร้อยละ 7.3 ต่อปี (2551: ร้อยละ 5.8 ถึงร้อยละ 7.8 ต่อปี)

10. เงินฝากที่ติดภาระค้ำประกัน

ยอดคงเหลือนี้ คือเงินฝากประจำซึ่งบริษัทฯได้นำไปค้ำประกันวงเงินสินเชื่อ

11. เงินลงทุนในบริษัทย่อย

(หน่วย: บาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551

เงินลงทุนในบริษัทย่อยตามที่แสดงอยู่ในงบการเงินเฉพาะกิจการ มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

รายงานประจำปี 2552

102


(หน่วย: บาท)

งบการเงินเฉพาะกิจการ บริษัท ทุนเรียกชำระแล้ว ราคาทุน 2552 2551 2552 2551 ล้าน ล้าน บริษัท เอสเตท เพอร์เฟ็คท์ จำกัด 1,000 1,000 538,459,056 538,459,056 บริษัท เพอร์เฟค แซทเทลไลท์ เซอร์วิสเซส จำกัด 1 1 999,400 999,400 บริษัท ไบรท์ ดีเวลลอปเมนท์ กรุงเทพ จำกัด 1 1 999,400 999,400 บริษัท เซ็นเตอร์พ้อยท์ ช็อปปิ้ง มอลล์ จำกัด 1 1 599,500 599,500 รวม 541,057,356 541,057,356

หุ้นสามัญของบริษัท ไบรท์ ดีเวลลอปเมนท์ กรุงเทพ จำกัด ถูกนำไปจำนำไว้กับสถาบันการเงินแห่งหนึ่งเพื่อเป็นหลักประกันหุ้นกู้ เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2552 บริษัทฯได้ทำสัญญาซื้อขายหุ้นกับผู้ถือหุ้นของบริษัทแห่งหนึ่ง (“ผู้ขาย”) เพื่อซื้อหุ้นทั้งหมดของบริษัทดัง กล่าวจำนวน 6 ล้านหุ้น ในราคา 484 ล้านบาท บริษัทฯได้จ่ายเงินมัดจำการซื้อหุ้นดังกล่าวเป็นจำนวนเงิน 60 ล้านบาท และจะชำระ เงินส่วนที่เหลือโดยมีรายละเอียดดังนี้ ก) เงินสดจำนวน 254 ล้านบาท ชำระภายในวันโอนกรรมสิทธิ์ ข) ตั๋วสัญญาใช้เงินจำนวน 170 ล้านบาท แบ่งเป็นตั๋วสัญญาใช้เงินจำนวน 50 ล้านบาทชำระภายในเดือนมิถุนายน 2553 และ ตั๋วสัญญาใช้เงินจำนวน 120 ล้านบาทชำระภายในเดือนมีนาคม 2554 ต่อมาเมื่อวันที่ 27 มกราคม 2553 บริษัทฯได้ทำบันทึกข้อตกลงแก้ไขสัญญาซื้อขายหุ้นกับผู้ขาย โดยบริษัทดังกล่าวจะ ทำการเพิ่มทุนจาก 600 ล้านบาท (หุ้นสามัญจำนวน 6 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 100 บาท) เป็น 1,000 ล้านบาท (หุ้น สามัญจำนวน 10 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 100 บาท) โดยเสนอขายแก่ผู้ถือหุ้นเดิม บริษัทฯตกลงที่จะซื้อหุ้นดังกล่าว หลังจากการเพิ่มทุนแล้วทั้งหมดจำนวน 10 ล้านหุ้น ในราคา 507 ล้านบาท บริษัทฯและผู้ขายตกลงจะโอนกรรมสิทธ์ของหุ้น ดังกล่าวภายในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2553

12. เงินลงทุนในบริษัทร่วม

12.1 รายละเอียดของบริษัทร่วม

งบการเงินรวม บริษัท ลักษณะ จัดตั้งขึ้น สัดส่วนเงินลงทุน มูลค่าตามบัญชี ธุรกิจ ในประเทศ ตามวิธีส่วนได้เสีย 2552 2551 2552 2551 ร้อยละ ร้อยละ

(หน่วย: บาท) ส่วนแบ่งกำไร จากเงินลงทุนในบริษัท ร่วมในระหว่างปี 2552 2551

บริษัท กรุงเทพบ้านและที่ดิน พัฒนา ไทย 20.22 20.22 419,736,574 416,738,479 2,998,095 7,815,893 จำกัด (มหาชน) อสังหา ริมทรัพย์ รวม 419,736,574 416,738,479 2,998,095 7,815,893

บริษัท ลักษณะธุรกิจ จัดตั้งขึ้นในประเทศ

(หน่วย: บาท)

งบการเงินเฉพาะกิจการ

สัดส่วนเงินลงทุน

2552 ร้อยละ

ราคาทุน

2551 2552 ร้อยละ

2551

บริษัท กรุงเทพบ้านและ พัฒนา ไทย 20.22 20.22 359,999,240 359,999,240 ที่ดิน จำกัด (มหาชน) อสังหาริมทรัพย์ รวม 359,999,240 359,999,240

บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน)

103


12.2 ข้อมูลทางการเงินของบริษัทร่วม ข้อมูลทางการเงินตามที่แสดงอยู่ในงบการเงินของบริษัทร่วมโดยสรุปมีดังนี้

(หน่วย: ล้านบาท)

กำไรสุทธิสำหรับปี บริษัท ทุนเรียกชำระ สินทรัพย์รวม หนี้สินรวม รายได้รวมสำหรับปี สิ้นสุดวันที่ ณ วันที่ 31 ธันวาคม ณ วันที่ 31 ธันวาคม ณ วันที่ 31 ธันวาคม สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 31 ธันวาคม

2552 บริษัท กรุงเทพบ้านและ 1,780 ที่ดิน จำกัด (มหาชน)

2551 1,780

2552 7,800

2551 6,496

2552 4,990

2551 3,847

2552 2,106

2551 1,974

2552 96

2551 123

บริษัทฯได้รับรู้ส่วนแบ่งผลกำไรจากเงินลงทุนในบริษัทร่วม หลังจากปรับปรุงกำไรของบริษัทร่วม เนื่องจากผลแตกต่างของนโยบาย การบัญชีเกี่ยวกับการรับรู้รายได้หน่วยในอาคารชุดพักอาศัย เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2551 บริษัท กรุงเทพบ้านและที่ดิน จำกัด (มหาชน) (“กรุงเทพบ้านฯ”) ได้ออกหุ้นกู้แปลงสภาพ ชนิดระบุชื่อผู้ ถือและไม่มีหลักประกัน ระยะเวลา 5 ปี จำนวน 188,806 หน่วย มูลค่าหน่วยละ 100 เหรียญสหรัฐอเมริกา มูลค่ารวม 18,880,600 เหรียญสหรัฐอเมริกา ให้แก่บริษัทต่างประเทศแห่งหนึ่ง ตามที่ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นของกรุงเทพบ้านฯครั้งที่

1/2551 เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2551 ตามเงื่อนไขของหุ้นกู้แปลงสภาพ จะทำการจ่ายดอกเบี้ยเฉพาะในปีที่กรุงเทพบ้านฯ มีการ ประกาศจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้น โดยจะทำการจ่ายดอกเบี้ยทุก 6 เดือนในอัตราดอกเบี้ยไม่เกินร้อยละ 3 ต่อปีหรือในอัตรา เงินปันผลตอบแทนตามเงื่อนไขของหุ้นกู้แปลงสภาพ (แล้วแต่อัตราใดจะสูงกว่า) หุ้นกู้แปลงสภาพนี้ครบกำหนดไถ่ถอนในวันที่ 31 มกราคม 2556 โดยเริ่มใช้สิทธิแปลงสภาพได้ทุก 3 เดือน ภายหลังจากการนำหุ้นของกรุงเทพบ้านฯเข้าจดทะเบียนเป็นหลักทรัพย์จด ทะเบียนต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ หรือครบรอบ 1 ปี นับแต่วันออกหุ้นกู้แปลงสภาพ (แล้วแต่ระยะเวลาใดจะถึงก่อน) ที่ราคาแปลงสภาพ 13.85 บาท ต่อ 1 หุ้นสามัญ โดยมูลค่าการไถ่ถอนหุ้นกู้แปลงสภาพที่คงค้างต่อ หน่วยเท่ากับ 1.311651 เท่าของมูลค่าที่ตราไว้ของหุ้นกู้แปลงสภาพต่อหน่วยที่เทียบเท่ากับเงินบาท ในกรณีที่กรุงเทพบ้านฯไม่มีการ ชำระดอกเบี้ยแก่ผู้ถือหุ้นกู้แปลงสภาพ ทั้งนี้มูลค่าการไถ่ถอนดังกล่าวอาจมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นอยู่กับการจ่ายดอกเบี้ยในระหว่าง อายุของหุ้นกู้แปลงสภาพ

13. เงินลงทุนระยะยาวอื่น

(หน่วย: บาท) งบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551 เงินลงทุนเผื่อขาย หน่วยลงทุนในกองทุนรวม 53,613,050 52,458,150 หัก: ค่าเผื่อการปรับมูลค่า (4,750,330) (5,396,570) 48,862,720 47,061,580 เงินลงทุนเพื่อค้า ตราสารทุนในความต้องการของตลาดในประเทศ 1,800,000 1,800,000 หัก: ค่าเผื่อการปรับมูลค่า (1,211,560) (1,441,138) 588,440 358,862 เงินลงทุนทั่วไป ตราสารทุนที่ไม่อยู่ในความต้องการของตลาดในประเทศ 4,275,000 4,275,000 4,275,000 4,275,000 รวมเงินลงทุนระยะยาวอื่น - สุทธิ 53,726,160 51,695,442

รายงานประจำปี 2552

104


14. ที่ดินรอการพัฒนา งบการเงินรวม 2552 2551 ต้นทุนที่ดิน 5,147,311,175 3,403,987,764 ต้นทุนการพัฒนาที่ดิน 118,096,031 98,123,248 ต้นทุนงานก่อสร้าง 17,449,523 17,472,528 ดอกเบี้ยที่ถือเป็นต้นทุน 487,540,431 487,540,431 รวม 5,770,397,160 4,007,123,971 หัก: จำนวนสะสมที่โอนเป็นต้นทุนขาย (350,701,624) (350,701,624) ที่ดินที่โอนเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้ (1,540,946,166) (1,540,946,166) ที่ดินที่โอนเพื่อการจ่ายชำระหนี้ตามแผนฟื้นฟู (151,117,368) (151,117,368) 3,727,632,002 1,964,358,813 หัก: ค่าเผื่อการด้อยค่าของโครงการ (103,990,228) (103,990,228) ที่ดินรอการพัฒนา - สุทธิ 3,623,641,774 1,860,368,585

(หน่วย: บาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551 4,239,195,435 3,128,920,723 116,433,096 98,123,248 17,449,523 17,472,528 487,540,431 487,540,431 4,860,618,485 3,732,056,930 (350,701,624) (350,701,624) (1,540,946,166) (1,540,946,166) (151,117,368) (151,117,368) 2,817,853,327 1,689,291,772 (103,990,228) (103,990,228) 2,713,863,099 1,585,301,544

บริษัทฯและบริษัทย่อยได้จดจำนองที่ดินซึ่งมีมูลค่าสุทธิตามบัญชี ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 เป็นจำนวนเงินประมาณ 2,491.7 ล้าน บาท (2551: 680.8 ล้านบาท) ไปจดจำนองไว้กับสถาบันการเงินเพื่อเป็นหลักประกันวงเงินสินเชื่อ การค้ำประกันและหุ้นกู้ ในระหว่างปีปัจจุบัน บริษัทฯและบริษัทย่อยบันทึกโอนที่ดินรอการพัฒนาเป็นต้นทุนการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์เป็นจำนวน เงิน 480.4 ล้านบาท (งบการเงินเฉพาะกิจการ: 480.4 ล้านบาท)

15. เงินจ่ายล่วงหน้าค่าซื้อที่ดิน

ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 เพิ่มขึ้นในระหว่างปี รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินในระหว่างปี ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552

งบการเงินรวม 2552 2551 476,159,648 151,462,635 112,053,552 414,089,013 (459,437,448) (89,392,000) 128,775,752 476,159,648

(หน่วย: บาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551 388,904,213 22,000,000 63,798,552 376,296,213 (373,682,013) (9,392,000) 79,020,752 388,904,213

ยอดคงเหลือของเงินจ่ายล่วงหน้าค่าซื้อที่ดินจำนวนเงินประมาณ 92.0 ล้านบาท (งบการเงินเฉพาะกิจการ: 70.9 ล้านบาท) เป็นเงิน จ่ายล่วงหน้าให้แก่เจ้าของที่ดินหลายรายตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินซึ่งบริษัทฯและบริษัทย่อยและตัวแทนในการรวบรวมซื้อที่ดิน ลงนามร่วมกับเจ้าของที่ดินเหล่านั้น สำหรับเงินจ่ายล่วงหน้าค่าซื้อที่ดินส่วนที่เหลือจำนวนเงินประมาณ 36.8 ล้านบาท (งบการเงินเฉพาะกิจการ: 8.1 ล้านบาท) เป็นเงินที่ บริษัทฯและบริษัทย่อยได้จ่ายล่วงหน้าให้กับตัวแทนในการรวบรวมซื้อที่ดิน (จำนวน 1.1 ล้านบาท จ่ายให้กับตัวแทนในการรวบรวม ซื้อที่ดินซึ่งเป็นผู้บริหารของบริษัทฯ) และอยู่ในระหว่างการลงนามในสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกับเจ้าของที่ดิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 บริษัทฯและบริษัทย่อยมีสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินที่ลงนามเรียบร้อยแล้วเป็นจำนวนเงินประมาณ 452.4 ล้านบาท (งบการเงินเฉพาะกิจการ: 332.1 ล้านบาท)

บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน)

105


รายงานประจำปี 2552

106

(หน่วย: บาท) งบการเงินรวม อาคาร เครื่องตกแต่งและ สำนักงาน เครื่องใช้สำนักงาน งานระหว่าง ที่ดิน และสโมสร และสโมสร ยานพาหนะ ก่อสร้าง อื่น ๆ รวม ราคาทุน 31 ธันวาคม 2551 61,106,629 264,554,272 166,309,241 34,497,129 56,437,092 39,177,053 622,081,416 ซื้อเพิ่ม - - 13,571,443 5,799,998 16,522,659 388,903 36,283,003 โอนจาก (ไป) ต้นทุนการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ - - 3,066,746 - (24,965,522) - (21,898,776) จำหน่าย (500,000) (10,049,130) (3,812,906) (510,000) - - (14,872,036) โอนเข้า (ออก) - 28,545,992 3,118,352 - (32,578,254) 913,910 - 31 ธันวาคม 2552 60,606,629 283,051,134 182,252,876 39,787,127 15,415,975 40,479,866 621,593,607 ค่าเสื่อมราคาสะสม 31 ธันวาคม 2551 - 64,530,643 97,954,755 27,269,253 - 31,740,340 221,494,991 ค่าเสื่อมราคาสำหรับปี - 29,294,517 25,236,581 5,764,866 - 2,874,898 63,170,862 ค่าเสื่อมราคาของส่วนที่จำหน่าย - (6,004,980) (2,395,028) (509,999) - - (8,910,007) 31 ธันวาคม 2552 - 87,820,180 120,796,308 32,524,120 - 34,615,238 275,755,846 ค่าเผื่อการด้อยค่า 31 ธันวาคม 2551 - - - - - - - เพิ่มขึ้นในระหว่างปี 1,112,160 3,031,720 - - - - 4,143,880 31 ธันวาคม 2552 1,112,160 3,031,720 - - - - 4,143,880 มูลค่าสุทธิตามบัญชี 31 ธันวาคม 2551 61,106,629 200,023,629 68,354,486 7,227,876 56,437,092 7,436,713 400,586,425 31 ธันวาคม 2552 59,494,469 192,199,234 61,456,568 7,263,007 15,415,975 5,864,628 341,693,881 ค่าเสื่อมราคาสำหรับปีซึ่งรวมอยู่ในค่าใช้จ่ายในการบริหาร 2551 64,631,476 2552 63,170,862

16. ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์


บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน)

107

(หน่วย: บาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ อาคาร เครื่องตกแต่งและ สำนักงาน เครื่องใช้สำนักงาน งานระหว่าง ที่ดิน และสโมสร และสโมสร ยานพาหนะ ก่อสร้าง อื่น ๆ รวม ราคาทุน 31 ธันวาคม 2551 61,106,629 222,202,048 141,884,551 33,063,941 56,437,090 31,369,919 546,064,178 ซื้อเพิ่ม - - 12,806,077 899,998 15,268,008 110,000 29,084,083 โอนจาก (ไป) ต้นทุนการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ - - 3,066,746 - (24,965,522) - (21,898,776) จำหน่าย (500,000) (6,982,384) (7,002,380) (510,000) - - (14,994,764) โอนเข้า (ออก) - 28,545,991 3,118,352 - (32,578,253) 913,910 - 31 ธันวาคม 2552 60,606,629 243,765,655 153,873,346 33,453,939 14,161,323 32,393,829 538,254,721 ค่าเสื่อมราคาสะสม 31 ธันวาคม 2551 - 58,329,447 89,668,891 26,365,938 - 23,983,327 198,347,603 ค่าเสื่อมราคาสำหรับปี - 25,371,351 20,604,054 5,285,330 - 2,705,106 53,965,841 ค่าเสื่อมราคาของส่วนที่จำหน่าย - (6,004,980) (2,363,895) (509,998) - - (8,878,873) 31 ธันวาคม 2552 - 77,695,818 107,909,050 31,141,270 - 26,688,433 243,434,571 ค่าเผื่อการด้อยค่า 31 ธันวาคม 2551 - - - - - - - เพิ่มขึ้นในระหว่างปี 1,112,160 3,031,720 - - - - 4,143,880 31 ธันวาคม 2552 1,112,160 3,031,720 - - - - 4,143,880 มูลค่าสุทธิตามบัญชี 31 ธันวาคม 2551 61,106,629 163,872,601 52,215,660 6,698,003 56,437,090 7,386,592 347,716,575 31 ธันวาคม 2552 59,949,469 163,038,117 45,964,296 2,312,669 14,161,323 5,705,396 290,676,270 ค่าเสื่อมราคาสำหรับปีซึ่งรวมอยู่ในค่าใช้จ่ายในการบริหาร 2551 55,846,530 2552 53,965,841


ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 บริษัทฯและบริษัทย่อยมีอาคารและอุปกรณ์จำนวนหนึ่งซึ่งตัดค่าเสื่อมราคาหมดแล้วแต่ยังใช้งานอยู่ ราคาทุนของสินทรัพย์ดังกล่าวมีจำนวนเงินประมาณ 105.4 ล้านบาท (2551: 66.6 ล้านบาท) (งบการเงินเฉพาะกิจการ: 94.3 ล้าน บาท (2551: 57.8 ล้านบาท)) ในระหว่างปี 2551 บริษัทฯและบริษัทย่อยได้เปลี่ยนแปลงอายุการใช้งานของสโมสรจาก 20 ปีเป็น 10 ปี เพื่อให้สอดคล้องกับอายุ การใช้งานโดยประมาณของสินทรัพย์ การเปลี่ยนแปลงนี้มีผลทำให้กำไรสุทธิในงบกำไรขาดทุนรวมสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2551 ลดลงประมาณ 14.8 ล้านบาท (งบการเงินเฉพาะกิจการ: 13.1 ล้านบาท)

17. สิทธิการเช่า สิทธิการเช่า - ราคาทุน หัก: ค่าตัดจำหน่ายสะสม หัก: ค่าเผื่อการด้อยค่า โอนเป็นสิทธิการเช่ารอการขาย - สุทธิ (หมายเหตุ 18) สิทธิการเช่า - สุทธิ ค่าตัดจำหน่ายที่รวมอยู่ในค่าใช้จ่ายในการบริหาร

งบการเงินรวม 2552 2551 346,767,125 345,317,693 (39,118,147) (35,907,052) 307,648,978 309,410,641 (189,843,897) (189,843,897) 117,805,081 119,566,744 - - 117,805,081 119,566,744 3,211,095 3,129,892

(หน่วย: บาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2551 2552 346,767,125 345,317,693 (39,118,147) (35,907,052) 307,648,978 309,410,641 (189,843,897) (189,843,897) 117,805,081 119,566,744 (64,923,228) (60,717,672) 52,881,853 58,849,072 3,211,095 3,129,892

ยอดคงเหลือดังกล่าวประกอบด้วยสิทธิการเช่าที่ดินจำนวนประมาณ 11 ไร่ ซึ่งบริษัทฯได้นำสิทธิการเช่าส่วนหนึ่งจำนวนประมาณ 4 ไร่ ไปให้เช่าช่วงกับผู้เช่าช่วงรายอื่นโดยมีอายุสัญญาเช่าช่วงตามอายุสัญญาเช่าที่ดินที่เหลืออยู่ โดยผู้เช่าช่วงได้จ่ายชำระค่าเช่าล่วง หน้าจำนวนหนึ่งและจ่ายชำระค่าเช่ารายปีตามอัตราที่กำหนดในสัญญา บริษัทฯรับรู้ค่าเช่าจ่ายล่วงหน้าจากผู้เช่าช่วงเป็นรายได้ตาม อายุของสัญญาให้เช่าช่วง

18. สิทธิการเช่ารอการขาย

เมือ่ วันที่ 25 ธันวาคม 2550 บริษทั ฯได้ทำสัญญาโอนสิทธิการเช่าทีด่ นิ ให้กบั บริษทั ย่อยแห่งหนึง่ เป็นจำนวนเงิน 200 ล้านบาท โดยชำระ ณ วันทำสัญญาเป็นจำนวน 80 ล้านบาท ส่วนทีเ่ หลือบริษทั ย่อยดังกล่าว จะชำระให้แก่บริษทั ฯภายในวันจดทะเบียนโอนสิทธิการเช่า เมือ่ วันที่ 27 มิถนุ ายน 2551 บริษทั ฯได้ทำสัญญาแก้ไขเพิม่ เติมสัญญาโอนสิทธิการเช่าทีด่ นิ ดังกล่าว โดยบริษทั ย่อยจะชำระเงินส่วนที่ เหลือให้แก่บริษทั ฯภายในวันจดทะเบียนโอนสิทธิการเช่า ซึง่ กำหนดไว้ไม่เกินวันที่ 30 กันยายน 2552 และเมือ่ วันที่ 26 มิถนุ ายน 2552 ได้ แก้ไขเพิม่ เติมโดยเลือ่ นออกไปเป็นไม่เกินวันที่ 31 ธันวาคม 2552 ต่อมาทีป่ ระชุมคณะกรรมการบริษทั ฯ เมือ่ วันที่ 22 มกราคม 2553 ได้มมี ติอนุมตั ใิ ห้ยกเลิกสัญญาโอนสิทธิการเช่าทีด่ นิ ดังกล่าว และคืน เงินจำนวน 80 ล้านบาท ให้กับกรรมการของบริษัทย่อย และอนุมัติให้บริษัทฯโอนสิทธิการเช่าที่ดินดังกล่าวให้กับบริษัทย่อยดังกล่าว (ภายหลังจากการซือ้ หุน้ ในบริษทั ย่อยตามทีก่ ล่าวไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 40 ก)) ในราคา 70 ล้านบาท

19. เงินกู้ยืมระยะสั้นจากสถาบันการเงิน

เงินกูย้ มื ดังกล่าวมีอตั ราดอกเบีย้ อิงกับอัตราดอกเบีย้ เงินกูย้ มื ขัน้ ต่ำ (MLR) และอัตราดอกเบีย้ เงินเบิกเกินบัญชี (MOR) และค้ำประกันโดย บริษทั ฯ กรรมการของบริษทั ฯ และการจำนองทีด่ นิ พร้อมสิง่ ปลูกสร้างในโครงการบางส่วนของบริษทั ฯ สัญญาเงินกูย้ มื เงินส่วนใหญ่ได้ระบุขอ้ ปฏิบตั แิ ละข้อจำกัดบางประการตามปกติธรุ กิจของบริษทั ฯและบริษทั ย่อย

รายงานประจำปี 2552

108


20. เจ้าหนี้ตั๋วสัญญาใช้เงิน

บริษทั ย่อยได้ออกตัว๋ สัญญาใช้เงินเพือ่ ชำระค่าทีด่ นิ และค่าใช้จา่ ยอืน่ ให้กบั เจ้าของทีด่ นิ ซึง่ เป็นตัวแทนในการรวบรวมซือ้ ทีด่ นิ ของบริษทั ย่อย โดยมีกำหนดชำระเงินไม่เกินวันที่ 4 มีนาคม 2553 และไม่คดิ ดอกเบีย้ ตัว๋ สัญญาใช้เงินดังกล่าวถูกอาวัลโดยสถาบันการเงินแห่ง หนึง่ โดยมีทด่ี นิ บางส่วนของบริษทั ย่อยเป็นหลักประกัน และบริษทั ฯให้การค้ำประกันแก่สถาบันการเงินดังกล่าว

21. เงินกู้ยืมจากบุคคลอื่น

เงินกูย้ มื ดังกล่าวมีอตั ราดอกเบีย้ ร้อยละ 8 ต่อปี และครบกำหนดชำระเมือ่ ทวงถาม

22. เจ้าหนี้ตั๋วแลกเงิน

ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2552 และวันที่ 12 พฤศจิกายน 2552 ได้มีมติอนุมัติให้ออกตั๋วแลกเงิน ภายในวงเงินไม่เกิน 2,000 ล้านบาท ตั๋วแลกเงินดังกล่าวมีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4.5 - 5.0 ต่อปี และจะครบกำหนดชำระภายในเดือน มิถนุ ายนถึงเดือนกันยายน 2553

23. หุน้ กู ้

หุ้นกู้ชนิดมีหลักประกันของบริษัทย่อย หุ้นกู้ชนิดมีหลักประกันออกครั้งที่ 1/2552 หุ้นกู้ชนิดมีหลักประกันออกครั้งที่ 2/2552 ชุดที่ 1 หุ้นกู้ชนิดมีหลักประกันออกครั้งที่ 2/2552 ชุดที่ 2 รวม หัก: ส่วนที่ถึงกำหนดชำระภายในหนึ่งปี หุ้นกู้ - สุทธิจากส่วนที่ถึงกำหนดชำระภายในหนึ่งปี

งบการเงินรวม 2552 2551 187,150 462,150 506,776 - 300,000 - 800,000 - 1,793,926 462,150 (187,150) (462,150) 1,606,776 -

(หน่วย: พันบาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2551 2552 - - 506,776 - 300,000 - 800,000 - 1,606,776 - - - 1,606,776 -

บริษัทฯ ตามมติที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นของบริษัทฯเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2549 และวันที่ 30 เมษายน 2551 ได้มีมติอนุมัติให้ออกและเสนอ ขายหุ้นกู้มีหลักประกันหรือไม่มีหลักประกันภายในวงเงินไม่เกิน 3,200 ล้านบาท ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ - เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2552 บริษัทฯได้ออกและเสนอขายหุ้นกู้มีหลักประกันจำนวน 520,000 หน่วย มูลค่าหน่วยละ 1,000 บาท มูลค่ารวม 520 ล้านบาท โดยมีกำหนดไถ่ถอนในวันที่ 3 มิถุนายน 2555 และมีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 6 ต่อปี หุ้นกู้ดัง กล่าวถูกค้ำประกันโดยการจดจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างในโครงการบางส่วนของบริษัทฯและสถาบันการเงินแห่งหนึ่งใน วงเงิน 260 ล้านบาท - เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2552 บริษัทฯได้ออกและเสนอขายหุ้นกู้มีหลักประกันชุดที่ 1 จำนวน 300,000 หน่วย มูลค่าหน่วยละ 1,000 บาท มูลค่ารวม 300 ล้านบาท โดยมีกำหนดไถ่ถอนในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2554 และมีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4.85 ต่อ ปี หุ้นกู้ดังกล่าวถูกค้ำประกันโดยการจดจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างในโครงการบางส่วนของบริษัทฯ - เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2552 บริษัทฯได้ออกและเสนอขายหุ้นกู้มีหลักประกันชุดที่ 2 จำนวน 800,000 หน่วย มูลค่าหน่วยละ 1,000 บาท มูลค่ารวม 800 ล้านบาท โดยมีกำหนดไถ่ถอนในวันที่ 14 สิงหาคม 2555 และมีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 6 ต่อปี หุ้น กู้ดังกล่าวถูกค้ำประกันโดยการจดจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างในโครงการบางส่วนของบริษัทฯ บริษัทย่อย เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2551 บริษัท ไบรท์ ดีเวลลอปเมนท์ กรุงเทพ จำกัด (“ไบรท์ฯ”) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัทฯได้ออกและเสนอ ขายหุ้นกู้มีประกันจำนวน 462,150 หน่วย มูลค่าหน่วยละ 1,000 บาท มูลค่ารวม 462,150,000 บาท ให้กับสถาบันการเงินแห่งหนึ่ง ตามที่ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นของไบรท์ฯเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2550 หุ้นกู้ดังกล่าวมีกำหนดไถ่ถอนในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2551 และมีอัตราดอกเบี้ย THBFIX บวกด้วยส่วนต่างในอัตราร้อยละ 5.55256 ต่อปี และ ค้ำประกันโดยบริษัทฯและการ จดจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างในโครงการบางส่วนของบริษัทฯและไบรท์ฯและการจำนำหุ้นสามัญของไบรท์ฯที่ถือโดยบริษัทฯ

บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน)

109


เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2552 ไบรท์ฯได้ทำสัญญาแก้ไขรายละเอียดของหุ้นกู้กับสถาบันการเงินแห่งหนึ่ง โดยมีกำหนดไถ่ถอนพร้อม ดอกเบี้ยเป็นรายงวดและจะต้องชำระทั้งหมดภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2553 และมีอัตราดอกเบี้ย THBFIX บวกด้วยส่วนต่างในอัตรา ร้อยละ 8.55256 ต่อปี จนถึงเดือนพฤศจิกายน 2552 และอัตราดอกเบี้ย THBFIX บวกด้วยส่วนต่างในอัตราร้อยละ 10.05256 ต่อปีใน ระหว่างเดือนธันวาคม 2552 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2553 ปัจจุบัน ไบรท์ฯอยู่ระหว่างเตรียมการชำระหุ้นกู้ดังกล่าว

หุ้นกู้มีข้อปฏิบัติและข้อจำกัดบางประการตามปกติธุรกิจของบริษัทฯและบริษัทย่อย

24. เจ้าหนี้ตามแผนฟื้นฟู

ในระหว่างปีปัจจุบัน บริษัทฯได้จ่ายชำระหนี้ให้กับเจ้าหนี้เป็นจำนวนเงิน 229 ล้านบาท สำหรับเจ้าหนี้ส่วนที่เหลือจำนวนเงิน 37 ล้าน บาท อยู่ในระหว่างการดำเนินการเพื่อให้เจ้าหนี้สามารถรับชำระหนี้จากบริษัทฯได้

25. หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิแปลงสภาพ

เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2548 บริษัทฯได้ออกและเสนอขายหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิแปลงสภาพจำนวน 200,000 หน่วย มูลค่าหน่วยละ 100 เหรียญสหรัฐฯมูลค่ารวม 20 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ให้กับบริษัทต่างประเทศแห่งหนึ่ง ตามที่ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมวิสามัญผู้ถือ หุ้นเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2548 โดยเริ่มใช้สิทธิแปลงสภาพได้ตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคม 2550 และจะครบกำหนดไถ่ถอนในวันที่ 25 พฤศจิกายน 2553 หุ้นกู้ดังกล่าวมีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 3.50 ต่อปี โดยใช้อัตราแปลงสภาพ 1 หุ้นกู้ต่อ 658.4 หุ้นสามัญ หรือคิดเป็น ราคาหุ้นละ 6.25 บาท สำหรับหุ้นกู้ส่วนที่ไม่ได้ใช้สิทธิแปลงสภาพจะชำระคืนเป็นจำนวน 131.60 เหรียญสหรัฐฯต่อหน่วย โดย กำหนดอัตราแลกเปลี่ยนไว้ที่ 41.15 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งบริษัทฯได้บันทึกสำรองสำหรับหุ้นกู้ส่วนที่ไม่ได้ใช้สิทธิแปลงสภาพ ตามอายุของหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิแปลงสภาพ โดยแยกแสดงเป็นรายการต่างหากไว้ภายใต้หัวข้อ “ประมาณการหนี้สิน” ในงบดุล ตาม ที่กล่าวไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 27 หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิแปลงสภาพมีข้อปฏิบัติและข้อจำกัดบางประการตามปกติธุรกิจของบริษัทฯ

ต่อมาเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2551 ที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 1/2551 ได้มีมติที่เกี่ยวกับหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิแปลงสภาพดังนี้ ก) อนุมัติให้บริษัทฯยกเลิกการออกและเสนอขายหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิแปลงสภาพจำนวน 15 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตามที่เคยได้รับ อนุมัติจากที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 1/2548 เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2548 (บริษัทฯได้รับอนุมัติให้ออกและเสนอขายหุ้นกู้ ไม่ด้อยสิทธิแปลงสภาพทั้งหมดจำนวน 35 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งบริษัทฯได้ออกเรียบร้อยแล้วเป็นจำนวน 20 ล้านเหรียญ สหรัฐฯ ตามทีก่ ล่าวไว้ขา้ งต้น) ข) อนุมัติให้ออกและเสนอขายหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิแปลงสภาพไม่มีหลักประกัน มูลค่าไม่เกิน 30 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือเทียบเท่า เงินบาทมูลค่าไม่เกิน 1,000 ล้านบาทโดยมีรายละเอียดดังนี้ อายุ : ไม่เกิน 5 ปี นับจากวันออกหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิแปลงสภาพ มูลค่าต่อหน่วย : 100,000 เหรียญสหรัฐฯ อัตราดอกเบี้ย : ไม่เกินร้อยละ 5 ต่อปี ราคาแปลงสภาพ : ไม่นอ้ ยกว่าร้อยละ 110 ของราคาปิดเฉลีย่ ของหุน้ ของบริษทั ฯในระหว่าง 7-15 วันทำการติดต่อกัน ก่อนวันเสนอขายแต่ต้องไม่ต่ำกว่าหุ้นละ 6.50 บาท วิธีการจัดสรร : ผู้ลงทุนประเภทสถาบันในต่างประเทศหรือผู้ลงทุนประเภทสถาบันในประเทศ อย่างไรก็ตาม ผู้บริหารของบริษัทฯมีอำนาจในการกำหนดหรือแก้ไขรายละเอียดวิธีการและเงื่อนไขอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการ ออกและเสนอขายหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิแปลงสภาพตามความเหมาะสม เช่น ราคาเสนอขาย อัตราการแปลงสภาพ มูลค่าต่อ หน่วย อัตราดอกเบี้ย ระยะเวลาการใช้สิทธิแปลงสภาพ วันสิ้นสุดการแปลงสภาพ และราคาไถ่ถอน ปัจจุบัน บริษัทฯยังไม่ได้ออกและเสนอขายหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิแปลงสภาพดังกล่าวแต่อย่างใด

รายงานประจำปี 2552

110


บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน)

111

5) วงเงิน 1,280 ล้านบาท

4) วงเงิน 1,501 ล้านบาท

3) วงเงิน 722 ล้านบาท

2) วงเงิน 1,186 ล้านบาท

1) วงเงิน 464 ล้านบาท

ยอดคง เหลือ อัตราดอกเบี้ยต่อปี เงื่อนไขการชำระคืนเงินต้น 2552 2551 (ล้านบาท) 113.1 232.8 อัตราดอกเบี้ยอิงกับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมขั้นต่ำ ชำระคืนเมื่อมีการปลอดจำนองที่ดินพร้อมบ้านใน อัตราไม่ต่ำกว่าร้อยละ 65 ของราคาขายในแต่ละ (MLR) แปลงโดยไม่ต่ำกว่าจำนวนเงินที่บริษัทฯได้แจ้งไว้ กั บ ธนาคารและชำระคื น ส่ ว นที ่ เ หลื อ ทั ้ ง หมด ภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2553 17.3 230.8 อัตราดอกเบี้ยอิงกับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมขั้นต่ำ ชำระคืนเมื่อมีการปลอดจำนองที่ดินพร้อมบ้านใน อัตราร้อยละ 65 ของราคาขายในแต่ละแปลงโดย (MLR) ไม่ ต ่ ำ กว่ า จำนวนเงิ น ที ่ บ ริ ษ ั ท ฯได้ แ จ้ ง ไว้ ก ั บ ธนาคารและชำระคืนส่วนที่เหลือทั้งหมดภายใน เดือนเมษายน 2554 - 228.9 อัตราดอกเบี้ยอิงกับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมขั้นต่ำ ชำระคืนเมื่อมีการปลอดจำนองที่ดินพร้อมบ้านใน อัตราไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 ของราคาขายในแต่ละ (MLR) แปลงโดยไม่ต่ำกว่าจำนวนเงินที่บริษัทฯได้แจ้งไว้ กั บ ธนาคาร บริ ษ ั ท ฯได้ ช ำระคื น เงิ น กู ้ ย ื ม นี ้ ท ั ้ ง จำนวนแล้วในปี 2552 160.9 421.3 อัตราดอกเบี้ยอิงกับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมขั้นต่ำ ชำระคืนเมื่อมีการปลอดจำนองที่ดินพร้อมบ้าน ทาวน์ เ ฮ้ า ส์ แ ต่ ล ะหลั ง ในอั ต ราร้ อ ยละ 80 ของ (MLR) ราคาขายและชำระคืนส่วนที่เหลือทั้งหมดภายใน เดือนมิถุนายน 2556 - 93.6 อัตราดอกเบี้ยอิงกับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมขั้นต่ำ ชำระคืนเมื่อมีการปลอดจำนองคอนโดมิเนียมใน อัตราร้อยละ 65 ของราคาขายในแต่ละห้องโดย (MLR) ไม่ ต ่ ำ กว่ า จำนวนเงิ น ที ่ บ ริ ษ ั ท ฯได้ แ จ้ ง ไว้ ก ั บ ธนาคารและชำระคืนส่วนที่เหลือทั้งหมดภายใน เดือนกรกฎาคม 2553 บริษัทฯได้ชำระคืนเงินกู้ยืม นี้ทั้งจำนวนแล้วในปี 2552

บริษัทฯ เงินกู้ยืมระยะยาวประกอบด้วย เงินกู้ยืมจากสถาบันการเงินในประเทศ 5 แห่ง โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

26. เงินกู้ยืมระยะยาว

ค้ำประกันโดยการจดจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ในโครงการบางส่วนของบริษัทฯ

ค้ำประกันโดยการจดจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ในโครงการบางส่วนของบริษัทฯ

ค้ำประกันโดยบริษัทอื่นและกรรมการของบริษัทฯ และการจดจำนองที่ดินของบริษัทฯและที่ดินพร้อม

สิ่งปลูกสร้างในโครงการบางส่วนของบริษัทฯและหุ้น ของบริษัทฯที่ถือโดยผู้ถือหุ้นรายหนึ่งและหุ้นของ บริษัทอื่น ค้ ำ ประกั น โดยกรรมการของบริ ษ ั ท ฯและการจด

จำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างในโครงการบางส่วน ของบริษัทฯ

ค้ ำ ประกั น โดยกรรมการของบริ ษ ั ท ฯ และการจด

จำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างในโครงการบางส่วน ของบริษัทฯ

หลักประกันเงินกู้ยืม


รายงานประจำปี 2552

112

วงเงิน 430 ล้านบาท

วงเงิน 160 ล้านบาท

วงเงิน 481 ล้านบาท

วงเงิน 1,578 ล้านบาท

วงเงิน 201 ล้านบาท

7)

8)

9)

10)

11)

6) วงเงิน 550 ล้านบาท

ยอดคงเหลือ 2552 2551 อัตราดอกเบี้ยต่อปี เงื่อนไขการชำระคืนเงินต้น (ล้านบาท) - 137.5 อัตราดอกเบี้ยอิงกับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมขั้นต่ำ ชำระคืนเมื่อมีการปลอดจำนองที่ดินพร้อมบ้านใน อัตราไม่ต่ำกว่าร้อยละ 72 ของราคาขายในแต่ละ (MLR) แปลงโดยไม่ต่ำกว่าจำนวนเงินที่บริษัทฯได้แจ้งไว้ กั บ ธนาคารและชำระคื น ส่ ว นที ่ เ หลื อ ทั ้ ง หมด ภายในเดือนพฤษภาคม 2554 บริษัทฯได้ชำระคืน เงินกู้ยืมนี้ทั้งจำนวนแล้วในปี 2552 - 91.4 อัตราดอกเบี้ยอิงกับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมขั้นต่ำ ชำระคืนเมื่อมีการปลอดจำนองที่ดินพร้อมบ้านใน อัตราร้อยละ 75 ของราคาขายในแต่ละแปลงโดย (MLR) ไม่ต่ำกว่าจำนวนเงินที่บริษัทฯได้แจ้งไว้กับ ธนาคารและชำระคืนส่วนที่เหลือทั้งหมดภายใน เดือนเมษายน 2553 บริษัทฯได้ชำระคืนเงินกู้ยืมนี้ ทั้งจำนวนแล้วในปี 2552 20.7 160.0 อัตราดอกเบี้ยอิงกับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมขั้นต่ำ ชำระคืนเมื่อมีการปลอดจำนองที่ดินพร้อมบ้านใน อัตราร้อยละ 75 ของราคาขายในแต่ละแปลงโดย (MLR) ไม่ต่ำกว่าจำนวนเงินที่บริษัทฯได้แจ้งไว้กับ ธนาคาร และชำระคืนส่วนที่เหลือทั้งหมดภายใน เดือนพฤษภาคม 2554 305.3 334.1 อัตราดอกเบี้ยอิงกับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมขั้นต่ำ ชำระคืนเมื่อมีการปลอดจำนองที่ดินพร้อมบ้านใน อัตราไม่ต่ำกว่าร้อยละ 65 ของราคาขายในแต่ละ (MLR) แปลงโดยไม่ต่ำกว่าจำนวนเงินที่บริษัทฯได้แจ้งไว้ กับธนาคารและชำระคืนส่วนที่เหลือทั้งหมด ภายในเดือนพฤษภาคม 2556 389.7 555.7 อัตราดอกเบี้ยอิงกับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมขั้นต่ำ ชำระคืนเมื่อมีการปลอดจำนองที่ดินพร้อมบ้านใน อัตราร้อยละ 80 ของราคาขาย และชำระคืนส่วน (MLR) ที่เหลือทั้งหมดภายในเดือนมิถุนายน 2556 35.5 78.8 อัตราดอกเบี้ยอิงกับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมขั้นต่ำ ชำระคืนเมื่อมีการปลอดจำนองที่ดินพร้อมบ้าน พร้อมบ้านในอัตราร้อยละ 70 ของราคาขายใน (MLR) แต่ละแปลงโดยไม่ต่ำกว่าจำนวนเงินที่บริษัทฯได้ แจ้งไว้กับธนาคารและชำระคืนส่วนที่เหลือ ทั้งหมดภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2553 ค้ำประกันโดยการจดจำนองที่ดินพร้อมสิ่ง

ปลูกสร้างในโครงการบางส่วนของบริษัทฯ

ค้ำประกันโดยการจดจำนองที่ดินพร้อมสิ่ง

ปลูกสร้างในโครงการบางส่วนของบริษัทฯ

ค้ำประกันโดยการจดจำนองที่ดินพร้อมสิ่ง

ปลูกสร้างในโครงการบางส่วนของบริษัทฯ

ค้ำประกันโดยกรรมการของบริษัทฯและการจด

จำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างในโครงการบาง ส่วนของบริษัทฯ

ค้ำประกันโดยการจดจำนองที่ดินพร้อมสิ่ง

ปลูกสร้างในโครงการบางส่วนของบริษัทฯ

ค้ำประกันโดยกรรมการของบริษัทฯและการจด

จำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างในโครงการบาง ส่วนของบริษัทฯ

หลักประกันเงินกู้ยืม


บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน)

113

93.5

1,865.0 (148.7)

วงเงิน 1,000 ล้านบาท

วงเงิน 820 ล้านบาท

วงเงิน 358 ล้านบาท

วงเงิน 360 ล้านบาท

13)

14)

15)

16)

รวม หัก: ส่วนที่ถึงกำหนดชำระ ภายในหนึ่งปี สุทธิ

เงื่อนไขการชำระคืนเงินต้น

ชำระคืนเมื่อมีการปลอดจำนองที่ดินพร้อมบ้านใน อัตราไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 ของราคาขาย และ ชำระคืนส่วนที่เหลือทั้งหมดภายในเดือนมกราคม 2555 - อัตราดอกเบี้ยอิงกับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมขั้นต่ำ ชำระคืนเมื่อมีการปลอดจำนองคอนโดมิเนียมใน อัตราไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 ของราคาขาย และ (MLR) ชำระคืนส่วนที่เหลือทั้งหมดภายในเดือนมิถุนายน 2555 - อัตราดอกเบี้ยอิงกับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมขั้นต่ำ ชำระคืนเมื่อมีการปลอดจำนองที่ดินพร้อมบ้านใน อัตราไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 ของราคาขายโดยไม่ต่ำ (MLR) กว่าจำนวนเงินที่บริษัทฯได้แจ้งไว้กับธนาคาร และชำระคืนส่วนที่เหลือทั้งหมดภายในเดือน ธันวาคม 2557 ชำระคืนเมื่อมีการปลอดจำนองที่ดินพร้อมบ้านใน - อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 7.0 ต่อปี อัตราไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 ของราคาขาย และ ชำระคืนส่วนที่เหลือทั้งหมดภายในเดือนเมษายน 2556 - อัตราดอกเบี้ยอิงกับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมขั้นต่ำ ชำระคืนเมื่อมีการปลอดจำนองที่ดินพร้อมบ้าน ทาวน์เฮ้าส์ในอัตราไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 ของราคา (MLR) ขาย และชำระคืนส่วนที่เหลือทั้งหมดภายใน เดือนกรกฎาคม 2555 2,564.9 (228.9)

1,716.3 2,336.0

246.4

235.0

168.9

วงเงิน 317 ล้านบาท

ยอดคงเหลือ 2552 2551 อัตราดอกเบี้ยต่อปี (ล้านบาท) 78.7 - อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 7.00 - 7.25 ต่อปี

12)

ค้ำประกันโดยการจดจำนองที่ดินพร้อมสิ่ง

ปลูกสร้างในโครงการบางส่วนของบริษัทฯ

ค้ำประกันโดยการจดจำนองที่ดินพร้อมสิ่ง

ปลูกสร้างในโครงการบางส่วนของบริษัทฯ

ค้ำประกันโดยการจดจำนองที่ดินพร้อมสิ่ง

ปลูกสร้างในโครงการบางส่วนของบริษัทฯ

ค้ำประกันโดยการจดจำนองที่ดินพร้อมสิ่ง

ปลูกสร้างในโครงการบางส่วนของบริษัทฯ

ค้ำประกันโดยการจดจำนองที่ดินพร้อมสิ่ง

ปลูกสร้างในโครงการบางส่วนของบริษัทฯ

หลักประกันเงินกู้ยืม


รายงานประจำปี 2552

114

5) วงเงิน 19.7 ล้านบาท

4) วงเงิน 720 ล้านบาท

3) วงเงิน 15 ล้านบาท

2) วงเงิน 382 ล้านบาท

1) วงเงิน 328 ล้านบาท

226.6 385.3

ยอดคงเหลือ 2552 2551 อัตราดอกเบี้ยต่อปี เงื่อนไขการชำระคืนเงินต้น (ล้านบาท) 35.6 268.6 อัตราดอกเบี้ยอิงกับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมขั้น ชำระคืนเมื่อมีการปลอดจำนองที่ดินพร้อมบ้านใน อัตราไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 ของราคาขายในแต่ละ ต่ำ (MLR) แปลงโดยไม่ต่ำกว่าจำนวนเงินที่บริษัทย่อยได้แจ้ง ไว้กับธนาคารและชำระคืนส่วนที่เหลือทั้งหมด ภายในเดือนมีนาคม 2553 - 116.7 อัตราดอกเบี้ยอิงกับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมขั้น ชำระคืนเมื่อมีการปลอดจำนองที่ดินพร้อมบ้านใน อัตราไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 ของราคาขายในแต่ละ ต่ำ (MLR) แปลงโดยไม่ต่ำกว่าจำนวนเงินที่บริษัทย่อยได้แจ้ง ไว้กับธนาคารและชำระคืนส่วนที่เหลือทั้งหมด ภายในเดือนเมษายน 2553 บริษัทย่อยได้ชำระ คืนเงินกู้ยืมนี้ทั้งจำนวนแล้วในปี 2552 - 4.2 อัตราดอกเบี้ยอิงกับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมขั้น ชำระคืนเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยเป็นรายงวดจำนวน ทั้งหมด 21 งวด โดยไม่น้อยกว่างวดละ 785,000 ต่ำ (MLR) บาท บริษัทย่อยได้ชำระคืนเงินกู้ยืมนี้ทั้งจำนวน แล้วในปี 2552 220.0 - อัตราดอกเบี้ยอิงกับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมขั้น ชำระคืนเมื่อมีการปลอดจำนองที่ดินพร้อมบ้านใน อัตราร้อยละ 70 ของราคาขายในแต่ละแปลงโดย ต่ำ (MLR) ไม่ต่ำกว่าจำนวนเงินที่บริษัทย่อยได้แจ้งไว้กับ ธนาคารและชำระคืนส่วนที่เหลือทั้งหมดภายใน เดือนกันยายน 2556 16.5 - อัตราดอกเบี้ยอิงกับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมขั้น ชำระคืนเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยเป็นรายงวด โดยไม่ น้อยกว่างวดละ 900,000 บาท และจะต้องชำระ ต่ำ (MLR) คืนทั้งหมดภายในเดือนกันยายน 2554 272.1 389.5 (45.5) (4.2)

บริษัทย่อย เงินกู้ยืมระยะยาวประกอบด้วยเงินกู้ยืมจากสถาบันการเงินในประเทศ 3 แห่ง โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

รวม หัก: ส่วนที่ถึงกำหนดชำระ ภายในหนึ่งปี สุทธิ

ค้ำประกันโดยบริษัทฯและการจดจำนองที่ดินพร้อม สิ่งปลูกสร้างในโครงการบางส่วนของบริษัทฯ

ค้ำประกันโดยบริษัทฯและการจดจำนองที่ดินพร้อม สิ่งปลูกสร้างในโครงการบางส่วนของบริษัทย่อย

ค้ำประกันโดยบริษัทฯและกรรมการของบริษัทย่อย และการจดจำนองที ่ ด ิ น พร้ อ มสิ ่ ง ปลู ก สร้ า งใน โครงการบางส่วนของบริษัทฯ

ค้ำประกันโดยบริษัทฯและกรรมการของบริษัทย่อย และการจดจำนองที ่ ด ิ น พร้ อ มสิ ่ ง ปลู ก สร้ า งใน โครงการบางส่วนของบริษัทย่อย

ค้ำประกันโดยบริษัทฯและกรรมการของบริษัทย่อย และการจดจำนองที ่ ด ิ น พร้ อ มสิ ่ ง ปลู ก สร้ า งใน โครงการบางส่วนของบริษัทย่อย

หลักประกันเงินกู้ยืม


ยอดคงเหลือของเงินกู้ยืมระยะยาวโดยสรุปมีดังนี้

เงินกู้ยืมระยะยาว หัก: ส่วนที่ถึงกำหนดชำระภายในหนึ่งปี เงินกู้ยืมระยะยาว - สุทธิจากส่วนที่ถึงกำหนด ชำระภายในหนึ่งปี

งบการเงินรวม 2552 2551 2,137.1 2,954.4 (194.2) (233.1)

(หน่วย: ล้านบาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551 1,865.0 2,564.9 (148.7) (228.9)

1,942.9

1,716.3

2,721.3

2,336.0

สัญญาเงินกู้ยืมเงินส่วนใหญ่ได้ระบุข้อปฏิบัติและข้อจำกัดบางประการตามปกติธุรกิจของบริษัทฯและบริษัทย่อยรวมถึงการ จ่ายเงินปันผลของบริษัทฯ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 บริษัทฯและบริษัทย่อยมีวงเงินกู้ยืมระยะยาวตามสัญญาเงินกู้ที่ยังมิได้เบิกใช้เป็นจำนวน 3,917.8 ล้านบาท

27. ประมาณการหนี้สิน

ยอดคงเหลือของประมาณการหนี้สินมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ ประมาณการหนี้สินระยะสั้น สำรองเผื่อผลขาดทุนจากการรับประกันรายได้ขั้นต่ำ สำรองสำหรับหุ้นกู้ส่วนที่ไม่ได้ใช้สิทธิแปลงสภาพ ประมาณการหนี้สินระยะยาว สำรองเผื่อผลขาดทุนจากการรับประกันรายได้ขั้นต่ำ สำรองสำหรับหุ้นกู้ส่วนที่ไม่ได้ใช้สิทธิแปลงสภาพ

(หน่วย: บาท) งบการเงินรวมและ งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551 9,557,897 202,909,469 212,467,366

26,483,178 - 26,483,178

(หน่วย: บาท) งบการเงินรวมและ งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551 - - -

13,940,447 145,841,636 159,782,083

การเปลี่ยนแปลงของบัญชีประมาณการหนี้สินสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 มีรายละเอียดดังนี้ (หน่วย: บาท) งบการเงินรวมและ งบการเงินเฉพาะกิจการ ประมาณการ ประมาณการ หนี้สินระยะสั้น หนี้สินระยะยาว ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 1 มกราคม 2552 26,483,178 159,782,083 บันทึกสำรองเผื่อผลขาดทุนจากการรับประกันรายได้ขั้นต่ำเพิ่มในระหว่างปี 9,422,551 - ปรับปรุงบัญชีค่าใช้จ่ายค้างจ่าย 78,456 - ปรับปรุงสำรองเผื่อผลขาดทุนจากการรับประกันรายได้ขั้นต่ำจากระยะยาวเป็นระยะสั้น 13,940,448 (13,940,448) บันทึกสำรองสำหรับหุ้นกู้ส่วนที่ไม่ได้ใช้สิทธิแปลงสภาพตามอายุของหุ้นกู้เพิ่มในระหว่างปี - 57,067,834 ปรับปรุงสำรองสำหรับหุ้นกู้ส่วนที่ไม่ได้ใช้สิทธิแปลง สภาพจากระยะยาวเป็นระยะสั้น 202,909,469 (202,909,469) รวม 252,834,102 - หัก: จ่ายชำระการรับประกันรายได้ขั้นต่ำ (40,366,736) - ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 212,467,366 - บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน)

115


เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2551 บริษัทฯได้ทำสัญญาขายอสังหาริมทรัพย์ของบริษัทฯให้แก่กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค (“กองทุนฯ”) โดยได้รับค่าตอบแทนเป็นจำนวนเงิน 510 ล้านบาท ตามที่ระบุไว้ในสัญญาดังกล่าว บริษัทฯตกลงรับประกัน รายได้ขั้นต่ำของกองทุนฯ (รายได้จากการเช่าและค่าบริการก่อนหักค่าใช้จ่าย) เป็นจำนวนเงิน 55 ล้านบาทต่อปี เป็นระยะเวลา 5 ปี ซึ่งจะสิ้นสุดภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2555 โดยมีกำหนดชำระภายในวันที่ 31 มกราคม และ 31 กรกฎาคมของทุกปี ตามเงื่อนไขที่ ระบุ ไว้ใ นสั ญญา อย่างไรก็ตามการรับประกันรายได้ขั้นต่ำขึ้นอยู่กับสัดส่วนของมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ที่คงเหลือต่อมูลค่า อสังหาริมทรัพย์ที่กองทุนฯลงทุนครั้งแรก โดยคำนวณมูลค่าอสังหาริมทรัพย์จากการประเมินค่าทรัพย์สินเพื่อลงทุนครั้งแรกโดย บริษัทประเมินราคา ในปี 2551 บริษัทฯได้ประมาณมูลค่าที่คาดว่าจะเกิดขึ้นของค่าใช้จ่ายในการรับประกันรายได้ขั้นต่ำดังกล่าวตาม มูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดที่บริษัทฯต้องชำระให้แก่กองทุนฯทั้งสิ้นเป็นจำนวนเงิน 73.8 ล้านบาท และในปี 2552 บริษัทฯได้ ปรับปรุงประมาณการของค่าใช้จ่ายในการรับประกันรายได้ขั้นต่ำดังกล่าว และบันทึกสำรองเผื่อผลขาดทุนจากการรับประกันรายได้ ขั้นต่ำเพิ่มจำนวน 9.4 ล้านบาท โดยแยกแสดงเป็นรายการต่างหากภายใต้หัวข้อ “ขาดทุนจากการรับประกันรายได้ขั้นต่ำ”ในงบ กำไรขาดทุน

28. ทุนเรือนหุ้น

เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2551 ที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 1/2551 ได้มีมติที่เกี่ยวกับทุนเรือนหุ้นของบริษัทฯดังนี้ ก) อนุมัติให้บริษัทฯยกเลิกการออกและจัดสรรหุ้นสามัญจำนวน 39,000,000 หุ้นที่ได้สำรองไว้เพื่อรองรับการใช้สิทธิซื้อหุ้น สามัญของผู้ถือใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญของบริษัทฯที่จะออกให้แก่กรรมการและ/หรือพนักงานของบริษัทฯในวง จำกัด (ESOP) ข) อนุมัติให้บริษัทฯยกเลิกการออกและจัดสรรหุ้นสามัญจำนวน 65,000,000 หุ้นที่ได้สำรองไว้เพื่อรองรับการใช้สิทธิแปลงสภาพ หุ้นกู้เป็นหุ้นสามัญตามที่กล่าวไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 25 ก) ค) อนุมัติให้ลดทุนจดทะเบียนของบริษัทฯ จากเดิมมูลค่า 6,213,565,176 บาท (หุ้นสามัญจำนวน 1,035,594,196 หุ้น มูลค่าตรา ไว้หุ้นละ 6 บาท) เป็น 5,589,565,176 บาท (หุ้นสามัญจำนวน 931,594,196 หุ้น มูลค่าตราไว้หุ้นละ 6 บาท) โดยการตัดหุ้น สามัญที่ยังไม่ได้ออกจำหน่ายจำนวน 104,000,000 หุ้น มูลค่าตราไว้หุ้นละ 6 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 624 ล้านบาท ซึ่ง สำรองไว้เพื่อรองรับการใช้สิทธิตามใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญของบริษัทฯและการใช้สิทธิแปลงสภาพหุ้นกู้เป็นหุ้น สามัญตามที่กล่าวไว้ในข้อ ก) และ ข) บริษัทฯได้จดทะเบียนการลดทุนดังกล่าวกับกระทรวงพาณิชย์เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2551 ง) อนุมัติให้เพิ่มทุนจดทะเบียนจากเดิม 5,589,565,176 บาท (หุ้นสามัญ 931,594,196 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 6 บาท) เป็น 6,552,000,000 บาท (หุ้นสามัญ 1,092,000,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 6 บาท) เพื่อรองรับการใช้สิทธิแปลงสภาพหุ้นกู้เป็น หุ้นสามัญตามที่กล่าวไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 25 ข) บริษัทฯได้จดทะเบียนการเพิ่มทุนดังกล่าวกับกระทรวง พาณิชย์เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2551 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 บริษัทฯมีทุนที่ออกและชำระแล้วเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนเงิน 4,726,329,720 บาท (หุ้นสามัญ 787,721,620 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 6 บาท) โดยจำนวนดังกล่าวเป็นผลมาจากการใช้สิทธิตามใบสำคัญแสดงสิทธิในเดือนธันวาคม 2550 และ มิถุนายน 2551 เป็นจำนวนเงินรวม 1,382,556 บาท (หุ้นสามัญ 230,426 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 6 บาท) บริษัทฯได้ดำเนินการจดทะเบียนเพิ่มทุนกับ กระทรวงพาณิชย์ สำหรับการใช้สิทธิตามใบสำคัญแสดงสิทธิดังกล่าวเมื่อวันที่ 8 มกราคม 2551 และ 8 กรกฎาคม 2551 ต่อมาเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2553 บริษัทฯได้ดำเนินการจดทะเบียนเพิ่มทุนกับกระทรวงพาณิชย์สำหรับการใช้สิทธิตามใบสำคัญ แสดงสิทธิจำนวน 15,000 บาท (หุ้นสามัญจำนวน 2,500 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 6 บาท) ตามที่กล่าวไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงิน

ข้อ 29

29. ใบสำคัญแสดงสิทธิ จำนวน (หน่วย) ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 8,872,576 ใช้สิทธิในระหว่างปี (2,500) ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 8,870,076 ใบสำคัญแสดงสิทธิ 1 หน่วยมีสิทธิซื้อหุ้นสามัญของบริษัทฯได้ 1 หุ้น ในราคาใช้สิทธิหุ้นละ 0.01 บาท และมีอายุ 10 ปี นับจากวันที่ 7 พฤศจิกายน 2545 และมีกำหนดระยะเวลาการใช้สิทธิทุกวันสุดท้ายของไตรมาสที่ 2 และไตรมาสที่ 4 ของปี เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2551 ที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 1/2551 ได้มีมติเห็นชอบให้ยกเลิกใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญ ของบริษัทฯที่จะออกให้แก่กรรมการและ/หรือพนักงานของบริษัทฯในวงจำกัด (ESOP) เป็นจำนวน 39 ล้านหน่วย รายงานประจำปี 2552

116


ในเดือนธันวาคม 2550 และมิถุนายน 2551 บริษัทฯได้รับเงินรับล่วงหน้าค่าหุ้นเพิ่มทุนจากการใช้สิทธิตามใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะ ซื้อหุ้นสามัญจำนวน 230,426 หุ้น ราคาหุ้นละ 0.01 บาท รวมเป็นเงิน 2,304 บาท บริษัทฯได้จดทะเบียนเพิ่มทุนจากการใช้สิทธิดัง กล่าวเป็นจำนวนเงิน 1,382,556 บาท กับกระทรวงพาณิชย์เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2551 และ 8 กรกฎาคม 2551 ทำให้ส่วนต่ำกว่า มูลค่าหุ้นเพิ่มขึ้นรวมเป็นจำนวนทั้งสิ้น 44,093,444 บาท ในเดือนธันวาคม 2552 บริษัทฯได้รับเงินรับล่วงหน้าค่าหุ้นเพิ่มทุนจากการใช้สิทธิตามใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญจำนวน 2,500 หุ้น ราคาหุ้นละ 0.01 บาท รวมเป็นเงิน 25 บาท บริษัทฯได้จดทะเบียนเพิ่มทุนจากการใช้สิทธิดังกล่าวเป็นจำนวนเงิน 15,000 บาท กับกระทรวงพาณิชย์เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2553

30. สำรองตามกฎหมาย

ภายใต้บทบัญญัติของมาตรา 116 แห่งพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 บริษัทฯต้องจัดสรรกำไรสุทธิประจำปีส่วน หนึ่งไว้เป็นทุนสำรองไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ของกำไรสุทธิประจำปีหักด้วยยอดขาดทุนสะสมยกมา (ถ้ามี) จนกว่าทุนสำรองนี้จะมี จำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของทุนจดทะเบียน สำรองตามกฎหมายดังกล่าวไม่สามารถนำไปจ่ายเงินปันผลได้

31. ค่าใช้จ่ายตามลักษณะ

รายการค่าใช้จ่ายแบ่งตามลักษณะประกอบด้วยรายการค่าใช้จ่ายที่สำคัญดังต่อไปนี้ (หน่วย: บาท) งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551 2552 2551 เงินเดือน ค่าแรงและผลประโยชน์อื่นของพนักงาน 354,952,860 384,577,851 298,613,287 324,110,611 ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย 63,017,000 67,761,368 57,176,936 58,976,422 ค่าเช่าจ่าย 24,659,535 23,840,531 19,900,653 19,358,596 ภาษีธุรกิจเฉพาะและค่าใช้จ่ายในการโอน 6,852,456 74,097,269 5,711,150 68,805,738 ค่าใช้จ่ายทางการตลาด 234,882,562 294,714,725 206,634,296 268,781,269 ค่าใช้จ่ายในการบริหารโครงการ 137,735,628 156,424,239 120,801,582 138,825,256 ขาดทุนจากการรับประกันรายได้ขั้นต่ำ 9,422,551 73,800,000 9,422,551 73,800,000 การพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ในระหว่างปี 5,465,012,086 4,827,401,202 4,425,100,899 3,840,439,231 การเปลี่ยนแปลงในโครงการอสังหาริมทรัพย์ (1,540,902,433) 180,233,686 (1,195,328,210) 734,867,361 ค่าใช้จ่ายทางการเงิน 428,679,312 434,326,714 349,198,521 364,961,272

32. กำไรต่อหุ้น

กำไรต่อหุ้นขั้นพื้นฐานคำนวณโดยหารกำไรสุทธิสำหรับปีด้วยจำนวนถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของหุ้นสามัญที่ออกอยู่ในระหว่างปี กำไรต่อหุ้นปรับลดคำนวณโดยหารกำไรสุทธิสำหรับปีด้วยผลรวมของจำนวนหุ้นสามัญถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักที่ออกอยู่ในระหว่างปีกับ

จำนวนถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของหุ้นสามัญที่บริษัทฯอาจต้องออกเพื่อแปลงหุ้นสามัญเทียบเท่าปรับลดทั้งสิ้นให้เป็นหุ้นสามัญ โดย สมมติว่าได้มีการแปลงเป็นหุ้นสามัญ ณ วันต้นปีหรือ ณ วันออกหุ้นสามัญเทียบเท่า กำไรต่อหุ้นขั้นพื้นฐานและกำไรต่อหุ้นปรับลด แสดงการคำนวณได้ดังนี้

บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน)

117


(หน่วย: บาท) งบการเงินรวม จำนวนหุ้นสามัญ กำไรสุทธิ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก กำไรต่อหุ้น 2552 2551 2552 2551 2552 2551 กำไรต่อหุ้นขั้นพื้นฐาน กำไรสุทธิส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นของบริษัทใหญ่ 403,627,020 804,546,744 787,721,634 787,703,620 0.512 1.021 ผลกระทบของหุ้นสามัญเทียบเท่าปรับลด ใบสำคัญแสดงสิทธิ จำนวน 8,870,076 หน่วย (2551: 8,872,576 หน่วย) - - 8,846,962 8,867,662 หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิแปลงสภาพ - 84,133,336 - 131,680,000 กำไรต่อหุ้นปรับลด กำไรสุทธิที่เป็นของผู้ถือหุ้นสามัญ สมมุติว่ามีการแปลงเป็นหุ้นสามัญ 403,627,020 888,680,080 796,568,596 928,251,282 0.507 0.957 (หน่วย: บาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ จำนวนหุ้นสามัญ กำไรสุทธิ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก กำไรต่อหุ้น 2552 2551 2552 2551 2552 2551 กำไรต่อหุ้นขั้นพื้นฐาน กำไรสุทธิส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นของบริษัทใหญ่ 386,325,918 798,268,725 787,721,634 787,703,620 0.490 1.013 ผลกระทบของหุ้นสามัญเทียบเท่าปรับลด ใบสำคัญแสดงสิทธิ จำนวน 8,870,076 หน่วย (2551: 8,872,576 หน่วย) - - 8,846,962 8,867,662 หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิแปลงสภาพ - 84,133,336 - 131,680,000 กำไรต่อหุ้นปรับลด กำไรสุทธิที่เป็นของผู้ถือหุ้นสามัญ สมมุติว่ามีการแปลงเป็นหุ้นสามัญ 386,325,918 882,402,061 796,568,596 928,251,282 0.485 0.951

เนื่องจากหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิแปลงสภาพมีผลทำให้กำไรต่อหุ้นในงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 เพิ่มขึ้น ดังนั้น บริษัทฯ จึงไม่นำผลของหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิแปลงสภาพดังกล่าวมารวมคำนวณเพื่อหากำไรต่อหุ้นปรับ ลดในงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552

33. การเสนอข้อมูลทางการเงินจำแนกตามส่วนงาน

บริษัทฯ และบริษัทย่อยดำเนินกิจการในส่วนงานหลักทางธุรกิจเดียวคือธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ และดำเนินธุรกิจในส่วนงาน หลักทางภูมิศาสตร์เดียวคือในประเทศไทย ดังนั้น รายได้ กำไรและสินทรัพย์ทั้งหมดที่แสดงในงบการเงินจึงเกี่ยวข้องกับส่วนงานทาง ธุรกิจและส่วนงานทางภูมิศาสตร์ตามที่กล่าวไว้

34. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

บริษัทฯ บริษัทย่อยและพนักงานได้ร่วมกันจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพขึ้นตามพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 โดยบริษัทฯ บริษัทย่อยและพนักงานจะจ่ายสมทบเข้ากองทุนเป็นรายเดือนในอัตราร้อยละ 3 ถึง 10 ของเงินเดือน กองทุนสำรอง เลี้ยงชีพนี้บริหารโดย บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กสิกรไทย จำกัด และจะจ่ายให้แก่พนักงานเมื่อพนักงานนั้นออกจากงานตาม ระเบียบว่าด้วยกองทุนของบริษัทฯและบริษัทย่อย ในระหว่างปีปัจจุบันบริษัทฯและบริษัทย่อยได้จ่ายเงินสมทบกองทุนเป็นจำนวน เงิน 16.5 ล้านบาท (2551: 15.5 ล้านบาท) (งบการเงินเฉพาะกิจการ: 13.8 ล้านบาท (2551: 13.1 ล้านบาท))

รายงานประจำปี 2552

118


35. เงินปันผล

เงินปันผลประจำปี สำหรับปี 2550 เงินปันผลประจำปี สำหรับปี 2551

อนุมัติโดย เงินปันผลจ่าย ที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้น เมื่อวันที่ 189.0 ล้านบาท 30 เมษายน 2551 ที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้น เมื่อวันที่ 283.5 ล้านบาท 30 เมษายน 2552

เงินปันผลจ่ายต่อหุ้น 0.24 บาท 0.36 บาท

36. ภาระผูกพันและหนี้สินที่อาจเกิดขึ้น

36.1 ภาระผูกพันเกี่ยวกับรายจ่ายฝ่ายทุน ก) บริษัทฯและบริษัทย่อยมีภาระผูกพันเกี่ยวกับสัญญาก่อสร้างโครงการบ้านพร้อมที่ดินและคอนโดมิเนียมที่ได้ทำสัญญากับ ผู้รับเหมาไว้แล้วเป็นจำนวนเงินประมาณ 2,047.2 ล้านบาท ข) บริษัทฯและบริษัทย่อยมีภาระผูกพันที่เกี่ยวข้องกับการซื้อที่ดินเป็นจำนวนเงินประมาณ 360.4 ล้านบาท ค) บริษัทย่อยมีภาระผูกพันที่เกี่ยวข้องกับการเช่าที่ดินเพื่อพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์เป็นจำนวนเงินประมาณ 16.8 ล้าน บาท ง) บริษัทย่อยมีภาระผูกพันเกี่ยวกับสัญญาจ้างออกแบบสถาปัตยกรรมโครงการศูนย์การค้าและสำนักงานเป็นจำนวนเงิน ประมาณ 14.0 ล้านบาท จ) บริษัทฯมีภาระผูกพันเกี่ยวกับสัญญาจ้างการให้บริการก่อสร้างโครงการบ้านพักอาศัยโดยใช้ระบบชิ้นส่วนสำเร็จรูปเป็น จำนวนไม่น้อยกว่า 1,000 หลัง ซึ่งถ้าบริษัทฯมอบหมายให้ผู้รับเหมาทำการก่อสร้างบ้านเป็นจำนวนน้อยกว่า 1,000 หลัง บริษัทฯต้องจ่ายค่าชดเชยจำนวนหนึ่งตามที่ระบุไว้ในสัญญา 36.2 ภาระผูกพันเกี่ยวกับสัญญาเช่าดำเนินงาน บริษัทฯและบริษัทย่อยได้เข้าทำสัญญาเช่าดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการเช่าที่ดิน รถยนต์ ป้ายโฆษณา พื้นที่สำนักงาน และ สัญญาบริการต่าง ๆ อายุของสัญญามีระยะเวลาตั้งแต่ 1 ถึง 5 ปี สัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาที่บอกเลิกไม่ได้ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 บริษัทฯและบริษัทย่อยมีจำนวนเงินขั้นต่ำที่ต้องจ่ายในอนาคตทั้งสิ้นภายใต้สัญญาเช่าดำเนิน งานที่บอกเลิกไม่ได้ ดังนี้ จ่ายชำระภายใน ล้านบาท ภายใน 1 ปี 52.6 2 ถึง 5 ปี 24.0 ในระหว่างปี 2552 บริษัทฯและบริษัทย่อยมีรายจ่ายตามสัญญาเช่าในงบกำไรขาดทุนเป็นจำนวนเงินประมาณ 24.7 ล้าน บาท (งบการเงินเฉพาะกิจการ: 19.9 ล้านบาท) 36.3 ภาระผูกพันเกี่ยวกับสัญญาให้บริการ บริษัทฯได้ทำสัญญาจ้างบริหารสโมสรกับบริษัทย่อยแห่งหนึ่ง โดยภายใต้เงื่อนไขตามสัญญาดังกล่าว บริษัทฯต้องจ่ายค่า บริการรายเดือนตามอัตราที่ระบุไว้ในสัญญาในระหว่างปี 2552 บริษัทฯมีค่าบริการภายใต้สัญญาดังกล่าวเป็นจำนวนเงิน ประมาณ 11.4 ล้านบาท 36.4 การค้ำประกัน ก) บริษัทฯค้ำประกันหุ้นกู้ วงเงินกู้และวงเงินสินเชื่อให้แก่บริษัทย่อยในวงเงิน 2,594.4 ล้านบาท ข) ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 บริษัทฯและบริษัทย่อยมีหนังสือค้ำประกันซึ่งออกโดยธนาคารในนามบริษัทฯและบริษัท ย่อยเหลืออยู่เป็นจำนวน 861.5 ล้านบาท ซึ่งเกี่ยวเนื่องกับภาระผูกพันทางปฏิบัติบางประการตามปกติธุรกิจของ

บริษัทฯและบริษัทย่อย ซึ่งประกอบด้วยหนังสือค้ำประกันเพื่อค้ำประกันงานสาธารณูปโภคจำนวน 601.5 ล้านบาท และเพื่อค้ำประกันหุ้นกู้จำนวน 260 ล้านบาท ค) ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 บริษัทฯมีหนังสือค้ำประกันรายได้ขั้นต่ำของกองทุนฯ ซึ่งออกโดยธนาคารในนามบริษัทฯ ในวงเงินจำนวน 55 ล้านบาท ต่อปี เป็นระยะเวลา 5 ปี ซึ่งจะสิ้นสุดภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2555

37. คดีฟ้องร้อง

คดีความ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 มีรายละเอียดดังนี้

บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน)

119


ก)

ข)

บริษัทย่อยแห่งหนึ่งถูกผู้รับเหมาก่อสร้างรายหนึ่งฟ้องร้องเรียกชำระค่าก่อสร้างที่ค้างชำระเป็นจำนวนเงินประมาณ 7.5 ล้าน บาท อย่างไรก็ตาม บริษัทย่อยได้ฟ้องแย้งให้ผู้รับเหมาดังกล่าวคืนเงินให้แก่บริษัทย่อยเป็นจำนวนเงินประมาณ 8.4 ล้าน บาท เนื่องจากบริษัทย่อยได้จ่ายเงินค่าก่อสร้างเกินกว่าผลงานที่ผู้รับเหมาก่อสร้างดังกล่าวทำให้กับบริษัทย่อย ซึ่งศาลได้ ยกฟ้องแต่โจทก์ได้ยื่นอุทธรณ์ต่อศาล ปัจจุบันคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ อย่างไรก็ตาม บริษัทย่อยเชื่อว่า จะไม่เกิดผลเสียหายอย่างเป็นสาระสำคัญจากคดีความดังกล่าว บริษัทย่อยแห่งหนึ่งถูกฟ้องร้องเป็นจำเลยจากลูกค้ารายหนึ่ง เพื่อเรียกร้องค่าเสียหายจากการละเมิดสิทธิของโจทก์เป็น จำนวนเงินประมาณ 7.7 ล้านบาท ซึ่งศาลชั้นต้นได้ยกฟ้องแต่โจทก์ได้ยื่นอุทธรณ์ต่อศาล ปัจจุบันคดีอยู่ระหว่างการ พิจารณาของศาลอุทธรณ์ อย่างไรก็ตาม บริษัทย่อยเชื่อว่าจะไม่เกิดผลเสียหายอย่างเป็นสาระสำคัญจากคดีความดังกล่าว

38. เครื่องมือทางการเงิน

38.1 นโยบายการบริหารความเสี่ยง เครื่องมือทางการเงินที่สำคัญของบริษัทฯตามที่นิยามอยู่ในมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 32 “การแสดงรายการและการเปิด เผยข้อมูลสำหรับเครื่องมือทางการเงิน” ประกอบด้วยรายการดังต่อไปนี้

สินทรัพย์ทางการเงิน หนี้สินทางการเงิน • เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด • เจ้าหนี้การค้า • ลูกหนี้การค้า - สุทธิ • เจ้าหนี้ตั๋วสัญญาใช้เงิน • ลูกหนี้ค่าที่ดิน • เจ้าหนี้ตั๋วแลกเงิน • เงินจ่ายล่วงหน้าผู้รับเหมา - สุทธิ • เจ้าหนี้ตามแผนฟื้นฟู • เงินให้กู้ยืมแก่บริษัทที่เกี่ยวข้องกัน - สุทธิ • เจ้าหนี้บริษัทที่เกี่ยวข้องกัน • เงินลงทุนระยะยาวอื่น - สุทธิ • เงินทดรองจากกรรมการ • เงินจ่ายล่วงหน้าค่าซื้อที่ดิน • เงินมัดจำและเงินรับล่วงหน้าจากลูกค้า • เงินมัดจำการซื้อหุ้น • หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิแปลงสภาพ • หุ้นกู้ • เงินกู้ยืมระยะยาว • เงินประกันและเงินรับล่วงหน้าจากสัญญาเช่าช่วง บริษัทฯ และบริษัทย่อยมีความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับเครื่องมือทางการเงินดังกล่าวและมีนโยบายในการบริหารความเสี่ยงดังนี้ ความเสี่ยงด้านสินเชื่อ บริษัทฯและบริษัทย่อยมีความเสี่ยงด้านการให้สินเชื่อที่เกี่ยวเนื่องกับลูกหนี้การค้า ลูกหนี้ค่าที่ดิน เงินให้กู้ยืม ฝ่ายบริหารควบคุม ความเสี่ยงนี้โดยการกำหนดให้มีนโยบายและวิธีการในการควบคุมสินเชื่อที่เหมาะสม ดังนั้นบริษัทฯและบริษัทย่อยจึงไม่คาดว่าจะ ได้รับความเสียหายที่เป็นสาระสำคัญจากการให้สินเชื่อ นอกจากนี้การให้สินเชื่อที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของบริษัทฯ และบริษัทย่อยไม่มีการกระจุกตัวเนื่องจากบริษัทฯและบริษัทย่อยมีฐานของลูกค้าที่หลากหลายและมีอยู่จำนวนมากราย จำนวนเงิน สูงสุดที่บริษัทฯและบริษัทย่อยอาจต้องสูญเสียจากการให้สินเชื่อคือมูลค่าตามบัญชีของลูกหนี้การค้า ลูกหนี้ค่าที่ดิน เงินให้กู้ยืมที่ แสดงอยู่ในงบดุล ความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ย บริษัทฯและบริษัทย่อยมีความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ยที่สำคัญอันเกี่ยวเนื่องกับเงินฝากสถาบันการเงิน เงินให้กู้ยืม เจ้าหนี้ตั๋วสัญญา ใช้เงิน เจ้าหนี้ตั๋วแลกเงิน เจ้าหนี้ตามแผนฟื้นฟู หุ้นกู้ หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิแปลงสภาพและเงินกู้ยืมระยะยาว อย่างไรก็ตาม เนื่องจาก สินทรัพย์และหนี้สินทางการเงินส่วนใหญ่มีอัตราดอกเบี้ยที่ปรับขึ้นลงตามอัตราตลาด หรือมีอัตราดอกเบี้ยคงที่ซึ่งใกล้เคียงกับอัตรา ตลาดในปัจจุบัน ดังนั้นความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ยของบริษัทฯและบริษัทย่อยจึงอยู่ในระดับต่ำ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 สินทรัพย์และหนี้สินทางการเงินที่สำคัญสามารถจัดตามประเภทอัตราดอกเบี้ย และสำหรับสินทรัพย์และ หนี้สินทางการเงินที่มีอัตราดอกเบี้ยคงที่สามารถแยกตามวันที่ครบกำหนด หรือวันที่มีการกำหนดอัตราดอกเบี้ยใหม่ (หากวันที่มีการ กำหนดอัตราดอกเบี้ยใหม่ถึงก่อน) ได้ดังนี้

รายงานประจำปี 2552

120


(หน่วย: ล้านบาท) งบการเงินรวม อัตราดอกเบี้ยคงที่ อัตราดอกเบี้ย อัตรา ภายใน มากกว่า ปรับขึ้นลง ไม่มีอัตรา ดอกเบี้ย 1 ปี 1 ถึง 5 ปี 5 ปี ตามราคาตลาด ดอกเบี้ย รวม (ร้อยละต่อปี) สินทรัพย์ทางการเงิน เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด - - - 739.3 1.3 740.6 0.125 - 2.00 ลูกหนี้การค้า - สุทธิ - - - - 30.1 30.1 - ลูกหนี้ค่าที่ดิน - - - - 31.0 31.0 - เงินจ่ายล่วงหน้าผู้รับเหมา - สุทธิ - - - - 86.2 86.2 - เงินลงทุนระยะยาวอื่น - สุทธิ - - - - 53.7 53.7 - เงินจ่ายล่วงหน้าค่าซื้อที่ดิน - - - - 128.8 128.8 - เงินมัดจำการซื้อหุ้น - - - - 60.0 60.0 - - - - 739.3 391.1 1,130.4 หนี้สินทางการเงิน เจ้าหนี้การค้า - - - - 485.1 485.1 - เจ้าหนี้ตั๋วสัญญาใช้เงิน - - - - 355.0 355.0 - เจ้าหนี้ตั๋วแลกเงิน 1,266.0 - - - - 1,266.0 4.00 - 5.00 เจ้าหนี้ตามแผนฟื้นฟู - - - - 37.0 37.0 - เงินทดรองจากกรรมการ - - - - 80.0 80.00 - เงินมัดจำและเงินรับล่วงหน้าจากลูกค้า - - - - 107.5 107.5 - หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิแปลงสภาพ 812.6 - - - - 812.6 9.56 หุ้นกู้ - 1,606.8 - 187.2 - 1,794.0 4.85 - 10.31 เงินกู้ยืมระยะยาว - - - 2,137.1 - 2,137.1 MLR เงินประกันและเงินรับล่วงหน้าจาก สัญญาเช่าช่วง - - - - 54.8 54.8 - 2,078.6 1,606.8 - 2,324.3 1,119.4 7,129.1 (หน่วย: ล้านบาท) งบการเงินฉพาะกิจการ อัตราดอกเบี้ยคงที่ อัตราดอกเบี้ย อัตรา ภายใน มากกว่า ปรับขึ้นลง ไม่มีอัตรา ดอกเบี้ย 1 ปี 1 ถึง 5 ปี 5 ปี ตามราคาตลาด ดอกเบี้ย รวม (ร้อยละต่อปี) สินทรัพย์ทางการเงิน เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด - - - 667.2 1.3 668.5 0.125 - 2.00 ลูกหนี้การค้า - สุทธิ - - - - 26.1 26.1 - ลูกหนี้ค่าที่ดิน - - - - 31.0 31.0 - เงินจ่ายล่วงหน้าผู้รับเหมา - สุทธิ - - - - 86.2 86.2 - เงินให้กู้ยืมแก่บริษัทที่เกี่ยวข้องกัน - สุทธิ - - - 755.1 - 755.1 8.49 - 9.37 เงินลงทุนระยะยาวอื่น - สุทธิ - - - - 53.7 53.7 - เงินจ่ายล่วงหน้าค่าซื้อที่ดิน - - - - 79.0 79.0 - เงินมัดจำการซื้อหุ้น - - - - 60.0 60.0 - - - - 1,422.3 337.3 1,759.6 หนี้สินทางการเงิน เจ้าหนี้การค้า - - - - 408.0 408.0 - เจ้าหนี้ตั๋วแลกเงิน 1,266.0 - - - - 1,266.0 4.00 - 5.00 เจ้าหนี้ตามแผนฟื้นฟู - - - - 37.0 37.0 - เจ้าหนี้บริษัทที่เกี่ยวข้องกัน - - - - 81.2 81.2 - เงินมัดจำและเงินรับล่วงหน้าจากลูกค้า - - - - 88.9 88.9 - หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิแปลงสภาพ 812.6 - - - - 812.6 9.56 หุ้นกู้ - 1,606.8 - - - 1,606.8 4.85 - 6.00 เงินกู้ยืมระยะยาว - - - 1,865.0 - 1,865.0 MLR เงินประกันและเงินรับล่วงหน้า จากสัญญาเช่าช่วง - - - - 54.8 54.8 - 2,078.6 1,606.8 - 1,865.0 669.9 6,220.3 บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน)

121


38.2 มูลค่ายุติธรรมของเครื่องมือทางการเงิน เนื่องจากสินทรัพย์และหนี้สินทางการเงินส่วนใหญ่ของบริษัทฯและบริษัทย่อยจัดอยู่ในประเภทระยะสั้นหรือมีอัตราดอกเบี้ย ใกล้เคียงกับอัตราดอกเบี้ยในตลาด บริษัทฯและบริษัทย่อยจึงประมาณมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์และหนี้สินทางการเงิน ใกล้เคียงกับมูลค่าตามบัญชีที่แสดงในงบดุล มูลค่ายุติธรรม หมายถึง จำนวนเงินที่ผู้ซื้อและผู้ขายตกลงแลกเปลี่ยนสินทรัพย์กันในขณะที่ทั้งสองฝ่ายมีความรอบรู้ และ เต็มใจในการแลกเปลี่ยนและสามารถต่อรองราคากันได้อย่างเป็นอิสระในลักษณะที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกัน วิธีการกำหนด มูลค่ายุติธรรมขึ้นอยู่กับลักษณะของเครื่องมือทางการเงิน มูลค่ายุติธรรมจะกำหนดจากราคาตลาดล่าสุด หรือกำหนดขึ้น โดยใช้เกณฑ์การวัดมูลค่าที่เหมาะสม

39. การบริหารจัดการทุน

วัตถุประสงค์ในการบริหารจัดการทุนที่สำคัญของบริษัทฯคือการจัดให้มีซึ่งโครงสร้างทางการเงินที่เหมาะสมและการดำรงไว้ซึ่งความ สามารถในการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง ตามงบดุล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 กลุ่มบริษัทมีอัตราหนี้สินต่อทุนเท่ากับ 1.1:1 (2551: 0.9:1) และบริษัทฯมีอัตราส่วนหนี้สินต่อ ทุนเท่ากับ 1.0:1 (2551: 0.8:1)

40. เหตุการณ์ภายหลังวันที่ในงบการเงิน

ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2553 และ 26 กุมภาพันธ์ 2553 ได้มีมติที่สำคัญดังต่อไปนี้ ก) อนุมัติให้บริษัทฯดำเนินการซื้อหุ้นที่เหลือทั้งหมดของบริษัท เซ็นเตอร์พ้อยท์ ช็อปปิ้ง มอลล์ จำกัด ที่ถือโดยบริษัทแห่งหนึ่ง ในราคา 400,000 บาท (หุ้นสามัญจำนวน 4,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 100 บาท) ซึ่งภายหลังจากการซื้อหุ้นข้างต้น บริษัทฯจะมี สัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทดังกล่าวเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 59.99 เป็นร้อยละ 99.99 ข) อนุมัติให้เพิ่มทุนจดทะเบียนของบริษัท เซ็นเตอร์พ้อยท์ ช็อปปิ้ง มอลล์ จำกัด จากมูลค่า 1 ล้านบาท (หุ้นสามัญจำนวน 10,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 100 บาท) เป็น 500 ล้านบาท (หุ้นสามัญจำนวน 5 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 100 บาท) ค) อนุมัติให้เพิ่มทุนจดทะเบียนของบริษัท เอสเตท เพอร์เฟ็คท์ จำกัด จากมูลค่า 1,000 ล้านบาท (หุ้นสามัญจำนวน 100 ล้าน หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท) เป็น 1,200 ล้านบาท (หุ้นสามัญจำนวน 120 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท) เพื่อ นำเงินเพิ่มทุนดังกล่าวชำระหนี้ให้แก่บริษัทฯ ง) อนุมัติให้เสนอจ่ายเงินปันผลจากผลการดำเนินงานของปี 2552 ให้แก่ผู้ถือหุ้นในอัตราหุ้นละ 0.25 บาท รวมเป็นเงิน 196.9 ล้านบาท จ) อนุมัติให้บริษัทฯออกและเสนอขายหุ้นกู้ภายในวงเงินไม่เกิน 4,000 ล้านบาท มีอายุไม่เกิน 5 ปี นับจากวันที่ออกหุ้นกู้

41. การอนุมัติงบการเงิน

งบการเงินนี้ได้รับอนุมัติให้ออกโดยคณะกรรมการบริษัทฯ เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2553

รายงานประจำปี 2552

122


รายงานความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริษัท ต่อรายงานทางการเงิน งบการเงินของบริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย ได้จัดทำขึ้นตามมาตรฐานการบัญชีที่กำหนดในพระ ราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 และการแสดงรายการในงบการเงินได้ทำขึ้นเพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดในประกาศกรมพัฒนาธุรกิจ การค้าลงวันที่ 14 กันยายน 2544 ออกตามความในพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 รวมทั้งการปรับปรุงวิธีปฏิบัติตามสภาวิชาชีพบัญชี ได้ออกประกาศสภาวิชาชีพบัญชีฉบับที่ 9/2550 ฉบับที่ 38/2550 และฉบับที่ 62/2550 เกี่ยวกับมาตรฐานการบัญชี คณะกรรมการบริษัทได้แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ ซึ่งประกอบด้วยกรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหาร เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบเกี่ยวกับการ รายงานทางการเงินว่า มีการปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง มีการเปิดเผยข้อมูลในงบการเงินอย่างเพียงพอและ ทันเวลา รวมทั้งมีระบบการควบคุมภายในกำกับดูแลงานตรวจสอบภายใน และความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบปรากฏในรายงาน ของคณะกรรมการตรวจสอบซึ่งแสดงไว้ในรายงานประจำปี คณะกรรมการบริษัท รับผิดชอบต่อรายงานทางการเงินของบริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด(มหาชน) และบริษัทย่อย ที่จัดทำ ขึ้นเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าได้แสดงฐานะการเงิน รายได้ ค่าใช้จ่ายและกระแสเงินสดรวมที่เป็นจริงและสมเหตุสมผล โดยได้จัดให้มีการ บันทึกบัญชีที่ถูกต้องครบถ้วนเพียงพอที่รักษาไว้ซึ่งทรัพย์สิน รวมทั้งมีระบบการควบคุมภายในการป้องกันการทุจริตและการดำเนินงานที่ผิด ปกติ และในการจัดทำรายงานทางการเงิน ได้มีการพิจารณาเลือกใช้นโยบายบัญชีที่เหมาะสมและถือปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้สะท้อน ผลการดำเนินงานที่เป็นจริงของบริษัท เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีที่รับรองโดยทั่วไป รวมทั้งได้มีการเปิดเผยข้อมูลสำคัญอย่างเพียงพอ ในหมายเหตุประกอบงบการเงิน ซึ่งผู้ตรวจสอบบัญชีได้แสดงความเห็นต่องบการเงินของ บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด(มหาชน) และ บริษัทย่อย ในรายงานผู้สอบบัญชี (ดร.ธวัชชัย นาคะตะ) (นายชายนิด โง้วศิริมณี) ประธานกรรมการบริษัท ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร

บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน)

123


รายงานของคณะกรรมการตรวจสอบปี 2552 เรียน ท่านผู้ถือหุ้น คณะกรรมการตรวจสอบบริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน) ประกอบด้วยกรรมการอิสระจำนวน 3 ท่าน โดยมี นายวีระยุค พันธุเพชร เป็นประธาน นายสมศักดิ์ โตรักษา และ ดร.ธรรมนูญ อานันโทไทย เป็นกรรมการ ในรอบปี 2552 คณะกรรมการตรวจสอบได้ปฏิบัติหน้าที่ตามขอบเขตความรับผิดชอบที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัทฯ โดยได้จัดให้มีการประชุม 8 ครั้ง โดยเป็นการประชุมเพื่อพิจารณาข้อมูลทางการเงิน ผลการดำเนินงาน รายการระหว่างกันฯ โดยเชิญฝ่าย จัดการเข้าร่วมประชุมเป็นครั้งคราวเพื่อชี้แจงข้อมูล และรายงานผลการปรับปรุงการควบคุมภายในตามข้อเสนอแนะ รวมถึงประชุมร่วมกับผู้ สอบบัญชี 1 ครั้ง เพื่อรับทราบความเห็นของผู้สอบบัญชีต่องบการเงินประจำปีของบริษัทฯ รวมทั้งหารือกับที่ปรึกษากฎหมายเพื่อรับทราบ การปฏิบัติตามกฏหมายที่เกี่ยวข้อง โดยสามารถสรุปกิจกรรมที่สำคัญของคณะกรรมการตรวจสอบได้ดังนี้ 1. สอบทานงบการเงินรายไตรมาส งบการเงินประจำปี และงบการเงินรวมของบริษัทฯประจำปี 2552 คณะกรรมการตรวจ สอบได้สอบทานงบการเงินร่วมกับผู้บริหารและผู้สอบบัญชีเพื่อให้มั่นใจได้ว่างบการเงินได้จัดทำขึ้นอย่างถูกต้องเหมาะสม มีการ ปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง ระบบบัญชีมีความถูกต้องน่าเชื่อถือ ดูแลให้มีการเปิดเผยข้อมูลในงบการ เงินอย่างเพียงพอและทันเวลา เพื่อเป็นประโยชน์ต่อนักลงทุนและผู้ใช้งบการเงินในการตัดสินใจลงทุน 2. สอบทานรายการระหว่างกัน คณะกรรมการตรวจสอบได้สอบทานรายการระหว่างกันของบริษัทฯกับบริษัทย่อยและบริษัทร่วม เพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทฯได้ดำเนินการตามเงื่อนไขทางธุรกิจปกติ รวมถึงบริษัทฯมีการให้ความช่วยเหลือทางการเงินที่จำเป็นแก่บริษัท ย่อยเพื่อเป็นการนำไปพัฒนาโครงการและขยายงานตามแผนงานของบริษัทย่อย 3. สอบทานการบริหารความเสี่ยง คณะกรรมการตรวจสอบได้เสนอข้อสังเกตเกี่ยวกับองค์ประกอบของคณะกรรมการบริหารความ เสี่ยงให้มีความเชื่อมโยงและเป็นอิสระ และเป็นไปตามข้อเสนอแนะของที่ประชุมผู้ถือหุ้น และสอบทานนโยบาย หลักเกณฑ์ ระเบียบวิธีปฏิบัติงาน ของบริษัทฯให้เหมาะสม สอดคล้องกับระบบการบริหารความเสี่ยงที่คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงของ บริษัทฯกำหนด 4. สอบทานการกำกับดูแลกิจการที่ดี คณะกรรมการตรวจสอบได้สอบทานการปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีของบริษัทฯ ซึ่งโดยรวมบริษัทฯมีการปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีอยู่ในเกณฑ์ดี อย่างไรก็ตาม บริษัทฯควรกำหนดหลักการปฏิบัติ งานในบางประเด็นให้เหมาะสมยิ่งขึ้นในด้านความรับผิดชอบของคณะกรรมการ รวมถึงคณะกรรมการตรวจสอบได้กำกับดูแลให้ บริษัทฯมีการเปิดเผยข้อมูลอย่างโปร่งใส ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ ธุรกิจของบริษัทฯตลอดจนได้เสนอแนะให้บริษัทมีการพิจารณาจัดตั้งคณะอนุกรรมการธรรมาภิบาลเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของ คณะกรรมการบริษัท 5. สอบทานการประเมินระบบการควบคุมภายใน คณะกรรมการตรวจสอบได้สอบทานให้บริษัทฯมีระบบการควบคุมภายในที่ เหมาะสม มีการดำเนินงานเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ของการควบคุมภายในในด้านประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการใช้ทรัพยากร มีระบบการป้องกันเพื่อลดความผิดพลาด ความเสียหาย และการสิ้นเปลืองจากการใช้ทรัพยากรของบริษัทฯ รายงานทางการเงินมี ความน่าเชื่อถือ

รายงานประจำปี 2552

124


6.

7.

8. 9. 10.

กำกับดูแลงานตรวจสอบภายใน คณะกรรมการตรวจสอบได้พิจารณาให้ความเห็นชอบแผนงานตรวจสอบประจำปีของสำนัก ตรวจสอบภายใน รับทราบรายงานผลการประเมินระบบการควบคุมภายในประจำปี 2552 ตามแผนงานที่ได้รับอนุมัติไว้ กำกับดูแล การปฏิบัติงานตรวจสอบภายในให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลเพียงพอกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ เหมาะสมกับ สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป กำหนดภารกิจในการตรวจสอบเพื่อมุ่งเน้นในเชิงป้องกันความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น มีการติดตาม ให้บริษัทฯมีการดำเนินการแก้ไขตามข้อเสนอแนะในรายงานผลการประเมินระบบควบคุมภายในในประเด็นที่มีนัยสำคัญ และ กำหนดระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานสำนักตรวจสอบภายในเพื่อนำข้อมูลมาปรับปรุงการปฏิบัติงานตรวจสอบให้ดียิ่งขึ้นต่อ ไป รวมถึงได้ให้ข้อเสนอแนะในการพิจารณาว่าจ้างที่ปรึกษาจากภายนอกเพื่อสนับสนุนงานตรวจสอบในด้านวิศวกรรมและการ ก่อสร้างให้แก่บริษัทด้วย สอบทานระบบการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของบริษัทฯ คณะกรรมการตรวจสอบมีการสอบทานผลการปฏิบัติ งานของ บริษัทฯ เพี่อให้มั่นใจได้ว่าบริษัทฯมีการปฏิบัติตามเป้าหมายที่วางไว้ และมีการปรับปรุงแก้ไขการดำเนินงานให้สอดคล้อง กับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป และสนับสนุนให้บริษัทฯกำหนดวิธีการวัดผลการปฏิบัติงานหรือตัวชี้วัดผลการดำเนินงานให้ ชัดเจนยิ่งขึ้น รวมถึงสอบทานให้บริษัทฯมีการติดตามการปฏิบัติตามระบบการควบคุมภายในอย่างต่อเนื่องและเป็นส่วนหนึ่งของ กระบวนการปฏิบัติงานตามปกติของฝ่ายบริหาร การประเมินตนเองของคณะกรรมการตรวจสอบ ได้ประเมินผลการปฏิบัติงานของตนเอง (Audit Committee Self Assessment) โดยเป็นการประเมินทั้งคณะในด้านต่างๆ อาทิ ในด้านอำนาจหน้าที่ ด้านการควบคุมภายใน ด้านการจัดทำรายงานทางการเงิน เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการปรับปรุงการปฏิบัติงาน และรายงานต่อคณะกรรมการบริษัทฯ นำเสนอข้อมูลทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ คณะกรรมการตรวจสอบได้ให้ข้อเสนอแนะแก่บริษัทฯ ในด้านการเงิน ด้านการบัญชี ด้านกฎหมาย เพื่อสนับสนุนให้บริษัทฯบรรลุเป้าหมายทางธุรกิจที่กำหนดไว้ พิจารณา คัดเลือกผู้สอบบัญชี คณะกรรมการตรวจสอบได้พิจารณาคัดเลือกผู้สอบบัญชี โดยพิจารณาความเป็นอิสระของผู้สอบ บัญชี ความเหมาะสมในการกำหนดค่าตอบแทน เพื่อให้ความเห็นต่อคณะกรรมการบริษัทฯในการขออนุมัติต่อที่ประชุมสามัญผู้ถือ หุ้นให้แต่งตั้ง บริษัท สำนักงาน เอินส์ท แอนด์ ยัง จำกัด เป็นผู้สอบบัญชี ประจำปี 2553

คณะกรรมการตรวจสอบมีการรายงานผลการประชุมให้คณะกรรมการบริษัทฯทราบอย่างสม่ำเสมอ และขอเรียนให้ทราบว่าได้ ปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายในฐานะคณะกรรมการตรวจสอบอย่างอิสระ ด้วยความรู้ ความสามารถ ตลอดจนได้ให้ความเห็นต่างๆแก่ทุก ฝ่ายอย่างตรงไปตรงมา เพื่อประโยชน์ต่อบริษัทฯ ผู้ถือหุ้นทุกราย และผู้มีส่วนได้เสียอื่นๆ อย่างเหมาะสมแล้ว (นายวีระยุค พันธุเพชร) ประธานคณะกรรมการตรวจสอบ 26 กุมภาพันธ์ 2553

บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน)

125


แบบยืนยันความถูกต้องครบถ้วนของค่าตอบแทน ที่จ่ายให้แก่ผู้สอบบัญชี รอบปี บัญชีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552

ค่าตอบแทนจากการสอบบัญชี ( Audit Fee) รายการที่ ชื่อบริษัทผู้จ่าย ชื่อผู้สอบบัญชี ค่าสอบบัญชี 1 บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน) นางสาวศิราภรณ์ เอื้ออนันต์กุล 1,650,000 2 บริษัท เอสเตท เพอร์เฟ็คท์ จำกัด นางสาวศิราภรณ์ เอื้ออนันต์กุล 500,000 3 บริษัท เพอร์เฟค แซทเทลไลท์ เซอร์วิสเซส จำกัด นางสาวศิราภรณ์ เอื้ออนันต์กุล 100,000 4 บริษัท ไบรท์ ดีเวลลอปเมนท์ กรุงเทพ จำกัด นางสาวศิราภรณ์ เอื้ออนันต์กุล 220,000 5 บริษัท เซ็นเตอร์พ้อยท์ ช็อปปิ้ง มอลล์ จำกัด นางสาวศิราภรณ์ เอื้ออนันต์กุล 100,000 รวมค่าตอบแทนจากการสอบบัญชี 2,570,000 ข้อมูลข้างต้น ถูกต้องครบถ้วนแล้ว ทั้งนี้ข้าพเจ้าขอยืนยันว่าไม่มีข้อมูลการให้บริการอื่นที่บริษัทและบริษัทย่อยจ่ายให้ข้าพเจ้า สำนักงานสอบบัญชี ที่ข้าพเจ้าและบุคคลหรือกิจการเกี่ยวข้องกับข้าพเจ้าและสำนักงานสอบบัญชีที่ข้าพเจ้าสังกัด ที่ข้าพเจ้าทราบและไม่มีการเปิดเผยไว้ ข้างต้น ไม่ถูกต้อง ไม่ครบถ้วน กล่าวคือ................................................................................................................................................................. .................................................................................................................................................................................................................... .............................. เมื่อปรับปรุงข้อมูลข้างต้น (ถ้ามี) แล้ว ข้าพเจ้าขอยืนยันว่าข้อมูลทั้งหมดในแบบฟอร์มนี้ แสดงค่าตอบแทนสอบบัญชีและ ค่าบริการอืน่ ทีบ่ ริษทั และบริษทั ย่อยจ่ายให้ขา้ พเจ้า สำนักงานสอบบัญชีทข่ี า้ พเจ้าสังกัดและบุคคลหรือกิจการทีเ่ กีย่ วข้องกับข้าพเจ้าถูก ต้องครบถ้วนแล้ว ลงชื่อ ( นางสาวศิราภรณ์ เอื้ออนันต์กุล) บริษัท สำนักงาน เอินส์ท แอนด์ ยัง จำกัด ผู้สอบบัญชีของ บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน)

รายงานประจำปี 2552

126


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.