120
Annual Report 2009 I PTT Chemical Public Company Limited
121
รายงานประจำปี 2552 I บริษทั ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
ข้อมูลสำคัญทางการเงิน
หมายเหตุ : ส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนในบริษัทร่วมซึ่งเดิมได้แสดงรวมไว้เป็นส่วนหนึ่งของรายได้รวม ได้มีการจัดประเภทใหม่ โดยแยกแสดงเป็นรายการ
แยกต่างหากภายใต้งบกำไรขาดทุนสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552
รายงานประจำปี 2552 I บริษทั ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
รางวัลแห่งความสำเร็จปี 2552
รายงานประจำปี 2552 I บริษทั ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
สารถึงผู้ถือหุ้น นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ประธานกรรมการ
นายวีรศักดิ์ โฆสิตไพศาล กรรมการผู้จัดการใหญ่
เรียน ท่านผู้ถือหุ้น
จากวิกฤติเศรษฐกิจโลกในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2551 ได้ส่งผลกระทบต่อเนื่องมายังเศรษฐกิจโดย รวม ในช่วงต้นปี 2552 ธุรกิจปิโตรเคมีและเคมีภณ ั ฑ์กไ็ ด้รบั ผลกระทบเช่นเดียวกัน ซึง่ คณะกรรมการบริษทั ฯ
ได้ให้ความสำคัญเป็นอย่างมากต่อปัญหาดังกล่าว ได้มีการติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และร่วม ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ เพื่อหารือและพิจารณาสถานการณ์ในด้านต่าง ๆ ได้มีการทบทวนแผน ธุรกิจและปรับกลยุทธ์การดำเนินงานของบริษทั ฯ ทัง้ ในด้านการตลาดและการขาย รวมทัง้ ในด้านการผลิต
ซึง่ ก็ตอ้ งปรับตัวให้เข้ากับสภาวการณ์เช่นกัน ได้จดั ให้มมี าตรการเร่งด่วน เพือ่ รับมือกับภาวะวิกฤติทเ่ี กิดขึน้
และควบคุมให้อยู่ในทิศทางที่สามารถบริหารจัดการได้ อาทิ การเร่งพัฒนาการตลาดและการจัดจำหน่าย การลดต้นทุน/ประหยัดพลังงานและเพิ่มความยืดหยุ่นในการผลิต การปรับปรุงกระบวนการทำงานและ ลดค่าใช้จ่าย และการบริหารกระแสเงินสดอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ยังสื่อสารให้พนักงานในทุก ระดับได้รับทราบ เพื่อร่วมกันดำเนินการตามมาตรการเร่งด่วนต่างๆ ทั้งนี้ เพื่อให้การดำเนินงานของ
บริษัทฯ สามารถผ่านพ้นจากภาวะวิกฤติเศรษฐกิจทีเ่ กิดขึน้ ในช่วงต้นปีไปได้ และด้วยความร่วมมือทีไ่ ด้รบั จากทุกฝ่าย ส่งผลให้ผลประกอบการของบริษัทฯ ในปี 2552 สูงกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ ด้วยรายได้
รวมทั้งสิ้น 87,083 ล้านบาท ซึ่งเมื่อหักค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานแล้ว มีกำไรสุทธิ 6,802 ล้านบาท
คิดเป็นกำไรต่อหุ้น 4.54 บาท อย่างไรก็ตาม ท่านผู้ถือหุ้นคงได้ทราบข่าวเรื่องคำสั่งศาลปกครองระงับโครงการลงทุนที่ตำบลมาบตาพุด และโครงการของบริษัทฯ และบริษัทในกลุ่ม รวม 7 โครงการ ได้รับผลกระทบจากคำสั่งดังกล่าว
ซึ่งบริษัทฯ ได้ประเมินผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อการดำเนินงานของบริษัทฯ ในขณะเดียวกัน ได้มีการศึกษาและหารือกับผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย เพื่อร่วมกันกำหนดแนวทางแก้ไขปัญหา และลดผล กระทบในทุก ๆ ด้าน นอกจากนี้ คณะกรรมการบริษัทฯ ยังได้พิจารณาความเสี่ยงที่อาจส่งผลต่อการ ลงทุน และได้กำหนดเป้าหมายและทิศทางองค์กรในระยะยาว เพื่อให้การเจริญเติบโตของบริษัทฯ ยังคง เป็นไปอย่างต่อเนื่อง
การลงทุนของบริษัท
ในปี 2552 บริษัทฯ ได้ขยายการลงทุนสู่ตลาดสากล โดยเป็นการร่วมทุนระหว่างบริษัท PTT Chemical International Private Limited และ Sime Darby Plantation (M) Sdn Bhd. แห่งประเทศมาเลเซีย
ด้วยสัดส่วนการลงทุน 50:50 ในบริษัท Emery Oleochemicals ซึ่งเป็นผู้ผลิตโอลีโอเคมีระดับโลก
เพื่อสร้างจุดแข็งให้บริษัทฯ ในการดำเนินธุรกิจใหม่ ๆ ในภูมิภาคร่วมกัน โดยมีเป้าหมายที่จะเป็นผู้นำ ระดับโลกในธุรกิจเคมีภัณฑ์ที่ผลิตจากวัตถุดิบธรรมชาติ
รายงานประจำปี 2552 I บริษทั ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
พัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์เคียงคู่ไปกับลูกค้า
จากการที่นวัตกรรมมีส่วนเกี่ยวข้องกับพลาสติกอย่างต่อเนื่อง บริษัทฯ จึงพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ กลุ่มธุรกิจโพลิเมอร์ภายใต้แบรนด์ InnoPlus ซึ่งถือว่าเป็นแบรนด์ที่ได้รับการยอมรับทั้งในประเทศ
และต่างประเทศ เพื่อรองรับความต้องการและเพิ่มทางเลือกที่หลากหลายให้แก่ลูกค้า ในขณะเดียวกัน
ได้ พ ั ฒ นาการบริ ห ารจั ด การภายในองค์ ก ร ด้ ว ยการปรั บ ปรุ ง ระบบห่ ว งโซ่ อ ุ ป ทาน (Supply Chain Management) เพื่อให้การประสานงานกับลูกค้าเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ ก็ด้วยมุมมองที่ว่า ลูกค้าคือพันธมิตรทางธุรกิจ
พนักงาน พลังสำคัญสู่การเติบโตอย่างแข็งแกร่งทั่วทั้งองค์กร
ด้วยความเชือ่ มัน่ ในพลังสำคัญของพนักงาน ซึง่ ถือเป็นกุญแจสำคัญในการก้าวไปสูค่ วามสำเร็จ ในปี 2552 บริษัทฯ ได้นำระบบ IDP (Individual Development Program) ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้พนักงานวางแผน การพัฒนาตนเองในอนาคต ร่วมกับหัวหน้างาน เพื่อสามารถเติบโตได้เต็มตามศักยภาพ โดยบริษัทฯ ให้การสนับสนุนดูแลและติดตามการพัฒนาอย่างใกล้ชิด รวมทั้งได้นำระบบการบริหารค่าตอบแทนตาม ผลการปฎิบัติงาน (Pay for Performance) ซึ่งเริ่มใช้งานเป็นปีแรก
ใส่ใจสังคม ความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อม
บริษัทฯ ให้ความสำคัญและใส่ใจในคุณภาพชีวิตและคุณภาพของสังคม ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ได้มี โครงการที่สร้างสรรค์อย่างมากมายเพื่อพัฒนาชุมชนและสังคม พนักงานของบริษัทฯ ได้รับการปลูกฝังให้ มีส่วนร่วมและรับผิดชอบในการดูแลสังคม ชุมชน และสภาพแวดล้อมรอบโรงงาน การเข้าร่วมกิจกรรม ต่าง ๆ จึงเป็นไปด้วยความเต็มใจและด้วยความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ในด้านการรักษาสิ่งแวดล้อมนั้น บริษัทฯ มุ่งเน้นการดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบตั้งแต่ต้นทางของ อุตสาหกรรมจนถึงมือของลูกค้า การมุ่งมั่นพัฒนาจึงเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา รวมไปถึงการปฏิบัติตาม มาตรฐานต่าง ๆ จนเป็นผลให้บริษัทฯ ได้รับรางวัลคุณภาพด้านสิ่งแวดล้อมจากสถาบันต่าง ๆ ติดต่อกัน อย่างต่อเนื่อง ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความตั้งใจในการรักษามาตรฐานดังกล่าวไว้ นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้ริเริ่มโครงการ Behavior Based Safety หรือ BBS เพื่อสร้างวัฒนธรรมความ ปลอดภัยในกลุ่มบริษัทฯ และเพื่อให้มีการจัดการด้านพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานอย่างมี ประสิทธิภาพ
เติบโตอย่างมั่นคงพร้อมกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ในเรื่องการพัฒนาอย่างยั่งยืนนั้น เป็นเรื่องที่บริษัทฯ ให้ความสำคัญมาตั้งแต่ต้น เริ่มตั้งแต่วิสัยทัศน์และ พันธกิจของบริษัทฯ ที่ต้องการเป็นองค์กรที่น่าเชื่อถือสำหรับผู้มีส่วนได้เสีย มีความรับผิดชอบทั้งในด้าน ความปลอดภัยและการให้ความสำคัญกับการรักษาสิ่งแวดล้อม การบริหารงานด้วยความรับผิดชอบต่อ
ผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย อีกทั้งการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ ก็เป็นไปตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี เพื่อ ก้าวไปสู่การเติบโตอย่างเข้มแข็งและยั่งยืน ดังจะเห็นได้จากการที่บริษัทฯ ได้รับรางวัลต่าง ๆ ในด้านการ กำกับดูแลกิจการที่ดี และในปี 2552 ยังเป็นปีแรกที่บริษัทฯ ได้เข้าร่วมรับการประเมินคณะกรรมการ แห่งปี โดยสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย ร่วมกับสถาบันต่าง ๆ และได้รับการประกาศ เกียรติคุณคณะกรรมการแห่งปี – ดีเลิศ และคณะกรรมการตรวจสอบแห่งปี 2551/52 การดำเนินงานของบริษัทฯ สามารถผ่านพ้นอุปสรรคต่าง ๆ มาได้ตามลำดับนั้น ก็ด้วยความร่วมมือและ สนับสนุนจากผู้ถือหุ้น ซึ่งต้องขอขอบคุณทุกท่าน รวมทั้งผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายทั้งภาครัฐและเอกชน ลูกค้า คู่ค้า ชุมชน สถาบันการเงินทั้งภายในและต่างประเทศ ผู้ถือหุ้นกู้ และพนักงานของบริษัทฯ ที่ สนับสนุนการดำเนินงานด้วยดีเสมอมา คณะกรรมการบริษัทฯ จะทำหน้าที่กำกับดูแลเพื่อให้กิจการ
ของบริษัทฯ พัฒนาและเติบโตต่อไปในระดับสากลสามารถแข่งขันกับประเทศต่าง ๆ ได้ด้วยความ แข็งแกร่ง อย่างมั่นคง และยั่งยืน บนพื้นฐานความโปร่งใสและเป็นธรรม เพื่อประโยชน์ต่อสังคมและ ประเทศชาติสืบไป
(นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์) ประธานกรรมการ
(นายวีรศักดิ์ โฆสิตไพศาล) กรรมการผู้จัดการใหญ่
10
รายงานประจำปี 2552 I บริษทั ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
ภาพรวมเศรษฐกิจปี 2552 เศรษฐกิจไทยในไตรมาสแรกของปี 2552 ยังคงอยู่ในภาวะถดถอยต่อเนื่องจากไตรมาสสุดท้ายของปี 2551 โดยมีอัตราการหดตัวสูงถึงร้อยละ 7.1 จากปีก่อนหน้า ซึ่งนับว่าสูงสุดตั้งแต่ช่วงหลังวิกฤติปี 2540 เป็นต้นมา ขณะที่วิกฤติเศรษฐกิจโลกส่งผลให้ความต้องการสินค้าส่งออกของไทย ทั้งจากกลุ่มประเทศที่ พัฒนาแล้วและกลุ่มประเทศเกิดใหม่ ยังคงลดลงต่อเนื่องจากในไตรมาสก่อนหน้า ส่งผลให้การผลิตเพื่อ การส่งออก โดยเฉพาะสินค้าคงทน เช่น อิเล็กทรอนิกส์ รถยนต์และชิ้นส่วน รวมถึงเครื่องใช้ไฟฟ้า อยู่ใน ระดับที่ต่ำกว่าปกติมาก ซึ่งนำไปสู่การปรับตัวอย่างมีนัยสำคัญของภาคการผลิต ทั้งในส่วนของการชะลอ การผลิต การเร่งลดสินค้าคงคลังทั้งสินค้าสำเร็จรูปและวัตถุดิบลง การปรับลดเวลาทำงาน การปรับลด คนงาน และการปรับลดต้นทุน โดยเริ่มในอุตสาหกรรมข้างต้น ก่อนจะกระจายวงกว้างไปยังอุตสาหกรรม ต่อเนื่องและระบบเศรษฐกิจโดยรวม ส่งผลให้การลงทุนภาคเอกชน การลงทุนภาครัฐและการบริโภค
ภาคเอกชนในไตรมาสที่ 1 ของปี 2552 ลดลงมากถึงร้อยละ 17.7, 9.1 และ 2.6 ตามลำดับ อย่างไรก็ดี ผลกระทบของวิกฤติเศรษฐกิจโลก ได้เริ่มคลี่คลายลงในระดับหนึ่งเมื่อเข้าสู่ไตรมาสที่ 2 ของปี 2552 โดยตลาดการเงินระหว่างประเทศเริ่มมีเสถียรภาพมากขึ้น และการหดตัวลงอย่างรวดเร็วของ เศรษฐกิจจริงในประเทศต่างๆ เริ่มชะลอลง ในขณะที่เศรษฐกิจไทยก็เริ่มมีสัญญาณดีขึ้นบ้างเป็นบางส่วน โดยเฉพาะการผลิตภาคอุตสาหกรรม ความเชื่อมั่นของนักธุรกิจ และการส่งออกในบางอุตสาหกรรม อาทิ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า อีกทั้งนโยบายการเงินและนโยบายการคลังที่ดำเนินการ มาในหลายประเทศ เริ่มเห็นผลชัดขึ้น ทั้งนี้ เศรษฐกิจไทยได้กลับมาขยายตัวร้อยละ 2.3 จากไตรมาสก่อนหน้า นับเป็นการขยายตัวเป็นครั้งแรก นับตั้งแต่ได้เผชิญกับปัญหาวิกฤติเป็นต้นมา ทำให้ภาวะเศรษฐกิจถดถอยของไทยที่เริ่มต้นในไตรมาสที่ 4 ของปี 2551 จบลงใน 2 ไตรมาส โดยการฟื้นตัวดังกล่าวเป็นผลมาจากแรงส่งจากมาตรการกระตุ้น เศรษฐกิจของภาครัฐที่เร่งใช้จ่ายในไตรมาสนี้ ทั้งในส่วนของรายจ่ายอุปโภคและรายจ่ายเพื่อการลงทุน ซึ่งช่วยเอื้อให้การบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนกลับมาขยายตัวได้ในอัตราร้อยละ 0.8 และ 1.5 ตาม ลำดับ ในขณะที่กระบวนการปรับตัวของสินค้าคงคลังที่เกิดขึ้นในช่วงเกิดวิกฤติใกล้สิ้นสุดลง กอปรกับ การผลิตในอุตสาหกรรมที่เน้นการส่งออก เช่น อิเล็กทรอนิกส์ และ Hard Disk Drive ได้ฟื้นตัวขึ้น
จนสามารถเริ่มกลับไปผลิตในระดับที่ใกล้เคียงกับช่วงก่อนวิกฤติ ในช่วงไตรมาสที่ 3 เศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยยังคงฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง แต่เป็นไปอย่างค่อยเป็น ค่อยไป ทั้งในส่วนของกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมหลักและประเทศส่วนใหญ่ในเอเชีย แม้ว่ายังคงมีความ ไม่แน่นอนอยู่บ้าง โดยเฉพาะเรื่องการแก้ไขปัญหาสถาบันการเงินในสหรัฐอเมริกาและในสหภาพยุโรป ตลอดจนตัวเลขการว่างงานและหนี้เสียที่ยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่การผลิตภาคอุตสาหกรรม การส่ง ออก การจ้างงาน การใช้จ่ายภาคเอกชนและระดับความเชื่อมั่นในประเทศเริ่มปรับตัวดีขึ้น อีกทั้งนโยบาย การเงินและนโยบายการคลังที่ดำเนินการมาในหลายประเทศเริ่มเห็นผลชัดเจนมากขึ้น ทั้งนี้ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 3 ชะลอลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า เนื่องจาก การเร่งตัวของการผลิตจากการปรับเพิ่มสินค้าคงคลังในช่วงไตรมาสที่ 2 จบลง โดยการฟื้นตัวได้รับแรง สนับสนุนจากภาคการส่งออกสินค้าและบริการที่ขยายตัวเป็นครั้งแรกในรอบปี โดยสินค้าอุตสาหกรรม
ที่พึ่งพาการส่งออกและภาคการท่องเที่ยวปรับตัวดีขึ้น ขณะที่การใช้จ่ายภาครัฐ ก็มีการเร่งเบิกจ่าย
11
งบประมาณสูงกว่าในไตรมาสเดียวกันของปีก่อนมากถึงร้อยละ 21.1 ตลอดจนการบริโภคภาคเอกชน
ที่ขยายตัวร้อยละ 1.0 โดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าคงทน สอดรับกับความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ปรับตัวดีขึ้น ผลจากการฟื้นตัวในภาคเศรษฐกิจจริงที่เริ่มในไตรมาสที่ 2 จากกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมที่พึ่งพาการส่ง ออก ได้กระจายตัวต่อเนื่องต่อไปยังอุตสาหกรรมที่พึ่งพาตลาดในประเทศ เช่น อุตสาหกรรมรถยนต์ เครือ่ งดืม่ และปิโตรเคมีในไตรมาสที่ 4 ตลอดจนรายได้จากการท่องเทีย่ วและรายได้เกษตรกรก็ปรับตัวดีขน้ึ ในไตรมาสนี้ ทำให้เศรษฐกิจไทยในไตรมาสสุดท้ายของปี 2552 ฟื้นตัวต่อเนื่อง โดยขยายวงกว้างไปยัง ภาคเศรษฐกิจต่างๆ ทั้งในส่วนของการผลิตภาคอุตสาหกรรม การส่งออกและการใช้จ่ายของผู้บริโภค สะท้อนถึงกระบวนการฟื้นตัวที่กระจายเป็นวงกว้าง ทำให้อัตราการว่างงานซึ่งเพิ่มสูงขึ้นมากในไตรมาส แรกปรับลดลงมาอยู่ในระดับปกติอีกครั้งในไตรมาสสุดท้ายของปี อย่างไรก็ดี อัตราการใช้กำลังการผลิตในภาคอุตสาหกรรมที่อยู่ในระดับต่ำกว่าภาวะปกติในช่วง 3 ไตรมาสก่อนหน้า ส่งผลกดดันให้ภาคเอกชนชะลอการขยายการลงทุนมาโดยตลอดก่อนจะปรับตัวดีขึ้น ในไตรมาสสุดท้ายของปี นอกจากนี้ การลงทุนภาคเอกชนซึ่งยังอยู่ในระดับต่ำ แต่มีแนวโน้มว่าจะปรับ ตัวดีขึ้นในไตรมาสที่ 4 ต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนหน้า กลับต้องเผชิญกับปัญหาการดำเนินการตาม มาตรา 67 วรรคสองของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ปี 2550 โดยโครงการลงทุนขนาดใหญ่ใน พื้นที่มาบตาพุดและบริเวณใกล้เคียงหลายโครงการต้องหยุดดำเนินการหรือได้รับผลกระทบโดยตรงหรือ โดยอ้ อ มจากคำสั ่ ง ของศาลปกครองกลางที ่ ใ ห้ ร ะงั บ การดำเนิ น โครงการไว้ เ ป็ น การชั ่ ว คราวในคดี
มาบตาพุด ส่งผลกระทบต่อการลงทุนภาคเอกชนให้ต้องชะลอลงในช่วงท้ายของปี ดังจะเห็นได้อย่าง ชัดเจนในการลงทุนในหมวดเครื่องจักรที่ยังคงฟื้นตัวอย่างเปราะบาง สะท้อนจากปริมาณนำเข้าสินค้าทุน ที่ยังคงติดลบที่ร้อยละ 1.6 ในไตรมาสนี้ ในช่วงท้ายของเดือนมกราคม 2553 ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ปรับคาดการณ์เศรษฐกิจไทยในปี 2552 ว่าหดตัวลงร้อยละ 2.7 โดยมีอัตราเงินเฟ้อทั่วไปติดลบอยู่ที่ร้อยละ 0.9 อีกทั้งได้ประเมินว่า เศรษฐกิจ ไทยยังคงเผชิญกับความเสี่ยงต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระยะต่อไป ที่สำคัญได้แก่ ความเป็นไป ได้ที่เศรษฐกิจประเทศคู่ค้าของไทยอาจฟื้นตัวช้ากว่าที่คาด ภาครัฐอาจเบิกจ่ายงบประมาณล่าช้ากว่าที่ กำหนดไว้ และความยืดเยื้อในการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการระงับโครงการลงทุนในเขตมาบตาพุด ซึ่งใน ประการสุดท้าย ทั้งธนาคารแห่งประเทศไทยและสำนักงานเศรษฐกิจการคลังได้ประเมินสอดคล้องกันว่า อาจส่งผลกระทบในเชิงลบต่อเศรษฐกิจไทยได้มากถึงร้อยละ 0.2-0.5 ทั้งนี้ ยังไม่รวมผลกระทบทาง สังคมอื่นที่ไม่อาจประเมินเป็นตัวเงินได้อย่างชัดเจน ซึ่งอาจเกิดขึ้นตามมาจากกรณีการระงับการดำเนิน โครงการในคดีมาบตาพุดดังกล่าว ที่อาจกินระยะเวลายาวนานจนส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคม ไทยในระดับจุลภาคและมหภาค ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ได้มากและรุนแรงเกินกว่าที่ผู้ใดจะสามารถ ประเมินได้อย่างถูกต้อง
12
รายงานประจำปี 2552 I บริษทั ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
โครงสร้างธุรกิจ
13
14
รายงานประจำปี 2552 I บริษทั ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
15
18
รายงานประจำปี 2552 I บริษทั ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
กลุม่ กิจการผลิตโอเลฟินส์และสาธารณูปการ Olefins & Shared Facilities ภาพรวมธุรกิจ
การผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์โอเลฟินส์
บริษัทฯ ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์เอทิลีนและโพรพิลีน ซึ่งรวมเรียกว่า “โอเลฟินส์” โดยจำหน่ายให้แก่ กลุ่มโรงงานปิโตรเคมีขั้นต่อเนื่องในเขตนิคมอุตสาหกรรม อีกทั้งยังส่งให้กับโรงงานเม็ดพลาสติก โพลีเอทิลีนความหนาแน่นสูง (HDPE) ของบริษัทฯ และโรงผลิตเอทิลีนออกไซด์/เอทิลีนไกลคอล (EO/EG) ของบริษัท ทีโอซี ไกลคอล จำกัด (TOCGC) ซึ่งบริษัทฯ ถือหุ้นร้อยละ100 ทั้งนี้ หากมีผลิตภัณฑ์ โอเลฟินส์สว่ นเกินจากการจำหน่ายในประเทศและราคาอยูใ่ นระดับทีใ่ ห้ผลตอบแทนทีด่ ี บริษทั ฯ จะส่งออก ไปขายยังตลาดจรระหว่างประเทศ (International Spot Market) ด้วย จากการที่บริษัทฯ มีโรงโอเลฟินส์ที่ใช้ทั้งก๊าซธรรมชาติและแนฟทาเป็นวัตถุดิบนั้น ทำให้สามารถปรับ
การใช้วัตถุดิบในการผลิตให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่บริษัทฯ โดย ณ สิ้นปี 2552 บริษัทฯ มีกำลังการผลิต ติดตั้ง (Nameplate Capacity) ของโอเลฟินส์รวม 1,863,000 ตันต่อปี ประกอบด้วย เอทิลีน 1,376,000 ตันต่อปี และโพรพิลีน 487,000 ตันต่อปี ประกอบด้วย • โรงโอเลฟินส์ ไอ-1 ที่ใช้ก๊าซเป็นวัตถุดิบ มีกำลังการผลิตเอทิลีน 461,000 ตันต่อปี และ โพรพิลีน 127,000 ตันต่อปี • โรงโอเลฟินส์ ไอ-4/1 ที่ใช้ได้ทั้งก๊าซและแนฟทาเป็นวัตถุดิบ มีกำลังการผลิตเอทิลีน 515,000 ตันต่อปี
และโพรพิลีน 310,000 ตันต่อปี • โรงโอเลฟินส์ ไอ-4/2 ที่ใช้ก๊าซเป็นวัตถุดิบ มีกำลังการผลิตเอทิลีน 300,000 ตันต่อปี ซึ่งได้มีการขยาย กำลังการผลิต โดยการขยายคอขวด (Debottleneck) ระยะที่ 2 เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตเอทิลีนอีก 100,000 ตั น ต่ อ ปี และโพรพิ ล ี น อี ก 50,000 ตั น ต่ อ ปี และพร้ อ มดำเนิ น การได้ ท ั น ที ท ี ่ ไ ด้ ร ั บ ข้อสรุปจากกรณีมาบตาพุด นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์พลอยได้ที่ได้จากการผลิตโอเลฟินส์ ได้แก่ มิกซ์ซี 4 ไพโรไลซิสก๊าซโซลีน เทลก๊าซ แครกเกอร์บอททอม และไฮโดรเจน โดยบริษัทฯ ขายผลิตภัณฑ์ พลอยได้ให้แก่ลูกค้าในประเทศ
การผลิตและจำหน่ายสาธารณูปการ
บริษัทฯ ได้ให้ความสำคัญกับธุรกิจและกิจกรรมสำคัญที่สนับสนุนให้การดำเนินธุรกิจปิโตรเคมีมีความ มั ่ น คงและครบวงจรยิ ่ ง ขึ ้ น อั น ได้ แ ก่ ไฟฟ้ า ไอน้ ำ และน้ ำ ใช้ ใ นอุ ต สาหกรรม ซึ ่ ง ประกอบด้ ว ย น้ำอุตสาหกรรม (Treated Water) น้ำประปา (Potable Water) และน้ำบริสุทธิ์ (Demineralized Water) เพื่อใช้ภายในโรงโอเลฟินส์ของบริษัทฯ และจำหน่ายแก่กลุ่มโรงงานปิโตรเคมีขั้นต่อเนื่องในเขตสัมปทาน ที่ได้รับอนุญาต และบริษัทอื่นในเขตนิคมอุตสาหกรรม มาบตาพุดอีกด้วย โดย ณ สิ้นปี 2552 บริษัทฯ มี กำลังการผลิตไฟฟ้า 247.5 เมกะวัตต์ ไอน้ำ 480 ตันต่อชัว่ โมง น้ำใช้ในอุตสาหกรรม 1,500 ลูกบาศก์เมตร ต่อชั่วโมง และ Sea Water Reverse Osmosis (SWRO) 1,000 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง
19
บริษัทฯ ยังมีท่าเทียบเรือและคลังผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีเป็นระบบสนับสนุนความมั่นคงในการผลิตเป็นของ ตนเอง โดยเฉพาะในกรณีที่ระบบการผลิตไม่สามารถผลิตได้หรือปิดโรงงานเพื่อการซ่อมบำรุง ซึ่งจะเป็น ช่องทางในการนำเข้าและส่งออกผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีและยังเปิดให้บริการแก่กลุ่มโรงงานปิโตรเคมี
ขั้นต่อเนื่องอีกด้วย
การดำเนินงานของกลุม่ กิจการโอเลฟินส์และสาธารณูปการ ปี 2552
กลุ่มกิจการผลิตโอเลฟินส์และสาธารณูปการ ได้ดำเนินการพัฒนาและปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มีต้นทุนที่แข่งขันได้ อันจะเป็นรากฐานที่มั่นคงในการสร้างโอกาส และการต่อยอด ธุรกิจต่อไป โดยมีการดำเนินงานที่สำคัญ ดังนี้
การปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต
• เพิ่มมาตรฐานในการปฏิบัติงานเพื่อให้อยู่ในระดับ 1st Quartile • เพิ่ม Reliability ของโรงงาน ให้มีความพร้อมในการผลิตอยู่เสมอ โดยดำเนินโครงการ MERIT Program ซึ่งได้ปรับเปลี่ยนเป็นโครงการ Operation Excellence Platform คาดว่า โรงงาน ไอ-1 จะแล้วเสร็จ ในปี 2553 ส่วนโรงงาน ไอ-4 ได้เริม่ Implement Reliability Center Maintenance (RCM) ในปี 2552-2553 และโครงการ Modernized Power Substation สำหรับ Gas Turbine Generation 22 kV เสร็จเรียบร้อย และจะช่วยเพิ่ม Reliability ของ Utility รวมถึงโครงการติดตั้ง Sea Water Reverse Osmosis (SWRO) เพื่อเป็น Back up ให้กับระบบน้ำของกลุ่มบริษัทฯ • ปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต เพื่อเพิ่ม Yield ผลิตภัณฑ์ ด้วยระบบ Advanced Process Control (APC) ของ โรงงาน ไอ-4/1 ซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินการ คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2553 • พัฒนาทักษะการควบคุมการผลิตของพนักงานโครงการ Operation Training Simulator (OTS) ของ โรงงาน ไอ-4/2 ซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินการ คาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนกรกฎาคม 2553 • ปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงาน (Energy Saving) • ดำเนินการเพื่อให้บรรลุผลในการลดต้นทุนการดำเนินงาน โดยการบริหารการใช้วัตถุดิบ ด้วยการ ทำ Optimization การบริหารสินค้าคงคลังทั้งวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม รวมทั้ง
การบริหารการใช้ Facility ให้คุ้มค่า และเกิดประโยชน์สูงสุด
20
รายงานประจำปี 2552 I บริษทั ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
สถานการณ์ตลาดโอเลฟินส์ในเอเชีย ปี 2552
จากปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นทั่วโลกตั้งแต่ช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2551 ราคาโอเลฟินส์ในช่วง ครึ่งแรกของปี 2552 จึงอยู่ในเกณฑ์ที่ดีขึ้นเพียงเล็กน้อย และแม้จะปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องจนถึงสิ้นปี แต่หากเปรียบเทียบกับปี 2551 ในช่วง 3 ไตรมาสแรกที่สภาพเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมยังเป็นไปได้ ด้วยดี จะพบว่าราคาเฉลี่ยของทั้งปี 2552 ก็ยังคงยังต่ำกว่าอยู่มาก โดยราคาเฉลี่ยเอทิลีนในปี 2552 อยู่ ที่ระดับ 864 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน ซึ่งน้อยกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนประมาณร้อยละ 241 และราคา โพรพิลีน อยู่ที่ 883 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน น้อยกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนประมาณร้อยละ 302 ในช่วงครึ่งหลังของปี 2552 ที่สภาพเศรษฐกิจทั่วโลกเริ่มมีสัญญาณการฟื้นตัว อันเป็นผลมาจาก มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากหลาย ๆ ประเทศ ช่วยให้ความต้องการใช้น้ำมันและผลิตภัณฑ์ Derivative ต่าง ๆ เพิ่มขึ้นอย่างมาก ส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบและแนฟทาเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วนอกจากนี้ ความตึงตัว ของตลาดเอทิลีนยังคงต่อเนื่องมาจากปลายไตรมาสที่ 2 ไปถึงสิ้นปี แม้ว่าความต้องการในตลาด ขั้นกลางและขั้นปลายของโอเลฟินส์จะเพิ่มมากขึ้น เนื่องจาก Petrochemical Complex บางแห่ง
มีกำหนดการเดินเครื่องโรงงานขั้นปลายได้ก่อนกำหนด ทำให้มีความจำเป็นต้องเข้ามาซื้อโอเลฟินส์จาก ตลาดจร อันเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ราคาเอทิลีนปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงกว่าระดับ 1,000 เหรียญสหรัฐฯ ต่ อ ตั น จนถึ ง สิ ้ น ปี แต่ อ ย่ า งไรก็ ต าม ผู ้ ผ ลิ ต เอทิ ล ี น ที ่ ใ ช้ แ นฟทาเป็ น วั ต ถุ ด ิ บ หลั ก ก็ จ ะทำกำไรได้
ลดลง ดังจะเห็นได้จากส่วนต่างระหว่างราคาเอทิลีนและแนฟทาในปี 2552 อยู่ที่ระดับ 314 เหรียญ สหรัฐฯ ต่อตัน ลดลงจากปี 2551 ประมาณ 18 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน4 แต่สำหรับการดำเนินการของ บริษัทฯ ที่มีความยืดหยุ่นของวัตถุดิบ จึงทำให้มีโอกาสในการแสวงหากำไรได้ ด้านราคาโพรพิลีนในตลาดเอเชียปี 2552 มีการปรับเพิ่มขึ้นมากกว่าเอทิลีน โดยในช่วงครึ่งปีแรก มีการ ปรับเพิ่มขึ้นจากราคาน้ำมันและแนฟทาที่เพิ่มสูงขึ้นและสภาวะของตลาดที่มีความตึงตัวกว่า เนื่องจาก การทีห่ น่วยผลิตโพรพิลนี แบบ On Purpose ในเอเชียจำนวน 4 โรงทีม่ กี ำลังการผลิตรวม 685,000 ตันต่อปี ได้หยุดการเดินเครื่อง เมื่อรวมกับการลดกำลังการผลิตของแครกเกอร์ ทำให้มีปริมาณโพรพิลีนลดลง ประมาณ 194,000 ตัน5 ในช่วงครึง่ หลังของปี 2552 ผลจากมาตรการกระตุน้ เศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ ส่งผลให้ตลาดมีแนวโน้มที่ค่อย ๆ ฟื้นตัวเช่นเดียวกับเอทิลีน ทำให้ความต้องการของผู้ผลิต derivative ต่าง ๆ เพิ่มขึ้นอย่างมาก ประกอบกับที่มีผู้ผลิตโพรพิลีน On Purpose บางรายได้หยุดการผลิตตามแผน ด้วย อย่างไรก็ตาม ภาพรวมตลาดโพรพิลีนยังคงผ่อนคลายกว่าเอทิลีน
1, 2, 4 (ที่มา : ICIS) 3, 5 (ที่มา : CMAI)
21
ด้ ว ยนโยบายที่ มุ่ ง เน้ น การสร้ า งความสามารถในการแข่ ง ขั น ทั้ ง จากความหลากหลายของ วั ต ถุ ดิ บ การมี ต้ น ทุ น ที่ แ ข่ ง ขั น ได้ และการเพิ่ ม โอกาสทางธุ ร กิ จ นั บ ตั้ ง แต่ ฐ านรากหรื อ อุตสาหกรรมต้นน้ำจนถึงอุตสาหกรรมปลายน้ำ ช่วยให้บริษัทฯ มีเสถียรภาพและทางเลือก ในการบริหารจัดการ พร้อมต่อการแข่งขันทั้งในและต่างประเทศ สนับสนุนการกำหนดนโยบาย การตลาดให้มีความคล่องตัวมากขึ้น เพิ่มช่องทางในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะใน สถานการณ์ที่มีความผันผวนสูงและวิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นทั่วโลก
24
รายงานประจำปี 2552 I บริษทั ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
กลุ่มธุรกิจผลิตภัณฑ์โพลิเมอร์ Polymer Products Value Center ภาพรวมธุรกิจ
ธุรกิจผลิตภัณฑ์โพลิเมอร์มีความสำคัญในการเป็นผลิตภัณฑ์ขั้นต่อเนื่องหลักของโอเลฟินส์ ซึ่งมีความ สัมพันธ์กับความเป็นอยู่และชีวิตประจำวัน เนื่องจากผลิตภัณฑ์โพลิเมอร์นำไปใช้แปรรูปเป็นสินค้า อุปโภคบริโภคทั่วไป สินค้าจำเป็นทั้งในภาคอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม ตลอดจนสินค้าที่เพิ่มความ สะดวกสบายตามวิถีชีวิตของผู้บริโภคยุคใหม่ จึงเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่บริษัทฯ ภาคภูมิใจ บริษทั ฯ ผลิตเม็ดพลาสติกโพลีเอทิลนี ความหนาแน่นสูง หรือ HDPE ด้วยกำลังการผลิต 250,000 ตันต่อปี และมีกำลังผลิตภายใต้บริษัทย่อย คือ บริษัท บางกอกโพลีเอททิลีน จำกัด (มหาชน) (BPE) อีก 250,000 ตันต่อปี ซึ่งจำหน่ายภายใต้เครื่องหมายการค้า “Innoplus” นอกจากนี้ ยังได้ดำเนินโครงการขยายกำลัง การผลิต HDPE เพิ่มขึ้นอีก 50,000 ตันต่อปี และ 250,000 ตันต่อปี ตามลำดับ โดยโรงงานทัง้ สองแห่งนีส้ ามารถผลิต HDPE ได้หลากหลายประเภท เหมาะสำหรับงานเป่าฟิลม์ งานเป่าแบบ งานท่อ งานฉีดแบบ และงานเส้นใย โดยสามารถปรับคุณสมบัติและลักษณะงานตามความต้องการของ ลูกค้าในการขึน้ รูปผลิตภัณฑ์ตา่ ง ๆ อาทิ ถุงบรรจุสนิ ค้า ขวดน้ำดืม่ ขวดนม แกลลอนน้ำมันหล่อลืน่ ของใช้ ในบ้าน ของเล่น ตลอดจนผลิตภัณฑ์ทางการก่อสร้าง การอุตสาหกรรม และการเกษตร เช่น เชือก อวน ตาข่าย ลัง แท่นรองสินค้า ท่อน้ำ และท่อร้อยสายไฟ เป็นต้น ในด้านการจัดจำหน่าย บริษัทฯ ได้จำหน่าย HDPE ให้แก่กลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ ทั้งในและต่างประเทศ ผ่านบริษัท พีทีที โพลีเมอร์ มาร์เก็ตติ้ง จำกัด (PTTPM) (บริษัทร่วมทุนระหว่าง บริษัทฯ กับ ปตท. และ IRPC โดยบริษัทฯ ถือหุ้นร้อยละ 25) โดย PTTPM จะเป็นตัวแทนในการ ดำเนินการด้านตลาดและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ให้กับบริษัทในกลุ่ม เพื่อเสริมสร้างศักยภาพทางการ ตลาดทั้งในและต่างประเทศให้แก่บริษัทฯ
การดำเนินงานของกลุ่มธุรกิจผลิตภัณฑ์โพลิเมอร์ ปี 2552
กลุ่มธุรกิจผลิตภัณฑ์โพลิเมอร์ ได้ปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มีต้นทุนในระดับที่ แข่งขันได้ ในขณะเดียวกัน ยังได้มุ่งเน้นด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อตอบสนองความต้องการผลิตภัณฑ์ และก้าวทันต่อความต้องการของลูกค้า ตลอดจนขยายโอกาสทางการค้าเพื่อรักษาฐานลูกค้าเดิมและ ขยายตลาดเพิ่มขึ้น เพื่อรองรับกำลังการผลิตที่จะเพิ่มขึ้นของกลุ่มธุรกิจฯ ให้ได้มากที่สุด โดยมีการดำเนิน งานที่สำคัญ ดังนี้
25
การปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต
• เพิ่มมาตรฐานในการปฏิบัติงานเพื่อรักษาให้อยู่ในระดับ 1st Quartile • ปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต ด้วยระบบ Advanced Process Control (APC) ที่ HDPE ไอ-1 ซึง่ แล้วเสร็จ
ในปี 2552 และ BPE ที่กำหนดจะแล้วเสร็จในปี 2553 • พัฒนาทักษะการควบคุมการผลิตของพนักงาน โครงการ Operation Training Simulator (OTS) ของ HDPE ไอ-1 ซึ่งดำเนินการด้านการติดตั้งระบบแล้วเสร็จตั้งแต่ไตรมาส 3 ปี 2552 • ปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงาน (Energy Saving) • ดำเนินการเพื่อให้บรรลุผลในการลดต้นทุนการดำเนินงาน โดยการปรับปรุงการผลิตให้มี Yield ต่ำที่สุด โดยยังคงรักษาคุณภาพผลิตภัณฑ์ไว้ บริหารการใช้วัตถุดิบ รวมทั้งการวางท่อรับส่งสไตรีนโมโนเมอร์ (SM) แล้วเสร็จในช่วงต้นปี 2552 เพื่อรองรับการนำเข้า SM จากต่างประเทศ ลดข้อจำกัดในการจัดหา SM ของกลุ่มธุรกิจฯ อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการบริหารจัดการต้นทุน SM ให้อยู่ใน ระดับที่แข่งขันได้
การพัฒนาความสามารถในการแข่งขันและการตลาด
• เพิ่มเครือข่ายการตลาด ด้วยการสนับสนุน บริษัท พีทีที โพลีเมอร์ มาร์เก็ตติ้ง จำกัด (PTTPM) ในการจัดตั้งบริษัทย่อย ณ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานในตลาดเป้าหมาย เพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการและตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างทั่วถึง อีกทั้ง ยังเป็นการเพิ่มช่องทางจัดจำหน่ายเพื่อรองรับปริมาณผลิตภัณฑ์โพลิเมอร์ ที่จะออกสู่ตลาดมากขึ้น • บริหารจัดการลูกค้า เพื่อสร้างฐานในระยะยาว ด้วยการบริหารจัดการลูกค้าสำคัญ (Key Account Management) ควบคู่ไปกับการจัดทำ Co-Creation Project ร่วมกับลูกค้า เพื่อสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ ที่ตรงกับความต้องการของลูกค้าร่วมกัน • เพิ่มความสามารถในการสร้างรายได้ โดยมุ่งเน้นการทำการตลาดและการจัดจำหน่ายเชิงรุก ซึ่งได้
วางแผนการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพและยืดหยุ่น เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า
26
รายงานประจำปี 2552 I บริษทั ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
สถานการณ์ตลาดเม็ดพลาสติกในปี 2552
หลังเกิดวิกฤติทางการเงินและการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกตั้งแต่ปลายปี 2551 ราคาโพลีเอทิลีนใน ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เช่น ราคาโพลีเอทิลีนชนิดความหนาแน่น สูง (HDPE) ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในไตรมาส 4 ปี 2551 เฉลี่ยทุกเกรดที่ 895 เหรียญ สหรัฐฯ ต่อตัน และในปี 2552 ราคาขายเฉลี่ยทุกเกรดได้ปรับตัวสูงขึ้นอีกก่อนจะทรงตัวอยู่ในระดับสูง
ในช่วงไตรมาส 4 ที่ 1,183 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน และมีราคาขายปี 2552 เฉลี่ยที่ 1,113 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน อย่างไรก็ตาม เมื่อเปรียบเทียบกับราคาขายทุกเกรดเฉลี่ยในปี 2551 (เท่ากับ 1,462 เหรียญ สหรัฐฯ ต่อตัน) ราคาเฉลี่ยของปี 2552 ก็ยังคงต่ำกว่าอยู่ประมาณร้อยละ 24* นอกจากนี้ การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกส่งผลให้ธุรกิจหลายภาคส่วนต้องปรับลดปริมาณการผลิต ลดการจ้างงานรวมถึงมีภาระด้านต้นทุนเพิ่มขึ้น โดยค่าเฉลี่ยของผลต่างระหว่างราคาโพลีเอทิลีนและ ราคาเอทิลีนที่เป็นวัตถุดิบหลักปี 2552 ลดลงจากปีที่ผ่านมาไม่ต่ำกว่าร้อยละ 20 โดยมีค่าอยู่ที่ประมาณ 249,293 และ 276 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน สำหรับผลิตภัณฑ์ HDPE, LDPE และ LLDPE ตามลำดับ * สถานการณ์ราคาโพลีโพรพิลีนของปี 2552 นั้น มีความผันผวนตามทิศทางราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก เช่นเดียวกันกับสถานการณ์ราคาโพลีเอทิลีน โดยมีราคาเฉลี่ยสูงสุดที่ 1,181 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน ในช่วงเดือนธันวาคม และมีราคาเฉลีย่ ต่ำสุดในเดือนมกราคม ที่ 779 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน ทัง้ นี้ ความสามารถ ในการทำกำไรของผู้ผลิตโพลีโพรพิลีน มีทิศทางที่ลดลงตามราคาของผลิตภัณฑ์ โดยมีส่วนต่างระหว่าง ราคาโพลีโพรพิลีนและโพรพิลีนทั้งปี เฉลี่ยที่ 176 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน ลดลงจากปี 2551 ประมาณ 16 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน * สำหรับสถานการณ์ราคาโพลีสไตรีนของปี 2552 มีทิศทางผันผวนมากกว่าผลิตภัณฑ์โพลีโพรพิลีน และ โพลีเอทิลีน โดยเกรด GPPS มีราคาเฉลี่ยต่ำสุดในเดือนมกราคมที่ 730 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน และราคา สูงสุดเฉลี่ยที่ 1,250 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตันในเดือนสิงหาคม สำหรับเกรด HIPS มีราคาเฉลี่ยต่ำสุด ในเดือนมกราคมที่ 840 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน และราคาสูงสุดเฉลี่ยที่ 1,335 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตันใน เดือนธันวาคม ราคาเฉลีย่ ทัง้ ปีสำหรับเกรด GPPS และ HIPS อยูท่ ่ี 1,065 และ 1,161 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน ตามลำดับ ซึ่งลดลงจากราคาเฉลี่ยในปี 2551 ที่ 359 และ 339 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน สำหรับเกรด GPPS และ HIPS ตามลำดับ*
* ที่มา : ICIS
27
สำหรับตลาดในประเทศไทย ถึงแม้ว่าเศรษฐกิจไทยจะหดตัวลงหลังการเกิดวิกฤตการณ์ทางการเงิน ในช่วงปลายปี 2551 แต่จากมาตรการสนับสนุนจากภาครัฐและการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้า เร็วกว่าที่คาดการณ์ ทำให้ดัชนีชี้วัดทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ปรับตัวไปในทิศทางที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับผลิตภัณฑ์พลาสติกเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในชีวิตประจำวันเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้น แม้ว่าในช่วงที่ ภาวะเศรษฐกิจถดถอยจึงส่งผลให้ความต้องการสินค้าพลาสติกภายในประเทศปรับตัวลดลงไปบ้าง แต่ก็ ไม่ ไ ด้ ท ำให้ ต ลาดเม็ ด พลาสติ ก ไทยได้ ร ั บ ผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิ จ ที ่ ร ุ น แรงนั ก เมื ่ อ เที ย บกั บ อุตสาหกรรมอื่น การที่ บ ริ ษั ท ฯ มี ป ระสบการณ์ ใ นการผลิ ต HDPE มายาวนาน มี ก ารรั ก ษาคุ ณ ภาพของ
เม็ดพลาสติกที่ดี และมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง มีการควบคุมต้นทุนการผลิตและ การมีฐานลูกค้าที่แน่นอน รวมทั้งมีระบบการจัดจำหน่ายอย่างครอบคลุมทุกภูมิภาคทั่วโลก และมีการบริหารต้นทุนในระดับที่แข่งขันได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การสร้างเครื่องหมายการค้า “InnoPlus” ให้เป็นที่ยอมรับอย่างแพร่หลาย รวมถึงความมุ่งมั่นและการให้ความสำคัญกับการ สร้างพันธมิตรทางธุรกิจ (Value of Partnership) จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้บริษัทฯ มั่นใจ
ได้ว่า จะสามารถดำเนินการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพ
ให้กับอุตสาหกรรมพลาสติกไทยให้แข่งขันกับตลาดสากลได้ในระยะยาวต่อไป
30
รายงานประจำปี 2552 I บริษทั ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
กลุ่มธุรกิจผลิตภัณฑ์เอทิลีนออกไซด์
EO-Based Performance Products Value Center
ภาพรวมธุรกิจ
เพื่อเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์โอเลฟินส์และตอบสนองความต้องการของกลุ่มอุตสาหกรรม และผู้บริโภค ได้ครอบคลุมขึ้น บริษัทฯ เล็งเห็นถึงความจำเป็นในการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ยังไม่มีการผลิตในประเทศ และ เป็นผลิตภัณฑ์ทม่ี มี ลู ค่าเพิม่ สูง สามารถทดแทนการนำเข้าจากต่างประเทศ และเพิม่ ศักยภาพในการแข่งขัน ให้กับอุตสาหกรรมปิโตรเคมีไทย บริษัทฯ จึงได้ดำเนินธุรกิจผลิตภัณฑ์เอทิลีนออกไซด์และผลิตภัณฑ์ ขั้นต่อเนื่อง (EO-Based Performance Products) ได้แก่ • เอทิลีนออกไซด์/เอทิลีนไกลคอล (EO/EG) ดำเนินการโดยบริษัท ทีโอซีไกลคอล จำกัด (TOCGC) บริษัทในเครือที่ดำเนินการผลิตเอทิลีนออกไซด์ (Ethylene Oxide : EO) และเอทิลีนไกลคอล (Ethylene Glycol : EG) โดยมีผลิตภัณฑ์หลักอยู่ในรูปของโมโนเอทิลีนไกลคอล (Monoethylene Glycol : MEG) ซึ่งใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเส้นใยโพลีเอสเตอร์สำหรับอุตสาหกรรมสิ่งทอ และอุตสาหกรรมการผลิต เม็ดพลาสติกใสสำหรับใช้ผลิตขวดพลาสติกใส หรือขวดเพ็ท (PET) โดยมีกำลังการผลิต MEG ปีละ 395,000 ตัน • แฟตตี้แอลกอฮอล์อีทอกซีเลท (Ethoxylate) ดำเนินการโดยบริษัท ไทยอีทอกซีเลท จำกัด (TEX) ซึ่งเป็นการร่วมทุนกับ Cognis Thai Ltd. (บริษัทในกลุ่มของ Cognis Group ผู้ผลิต Specialty Chemicals รายใหญ่ของโลก) ในสัดส่วนร้อยละ 50 เพื่อผลิตอีทอกซีเลทซึ่งเป็นวัตถุดิบในการผลิต แชมพู น้ำยาล้างจาน น้ำยาซักล้างต่าง ๆ โดยเป็นโรงงานผลิตสารอีทอกซีเลทแห่งแรกของประเทศไทย มีกำลังการผลิตติดตั้ง 50,000 ตันต่อปี • เอทานอลเอมีน (Ethanolamines) ดำเนินการโดยบริษัท ไทยเอทานอลเอมีน จำกัด (TEA) ซึ่งเป็น
โรงงานผลิ ต เอทานอลเอมี น (Ethanolamines) มี ผ ลิ ต ภั ณ ฑ์ ห ลั ก คื อ โมโนเอทานอลเอมี น (Monoethanolamine) ไดเอทานอลเอมี น (Diethanolamine) และไตรเอทานอลเอมี น (Triethanolamine) มีกำลังการผลิตรวม 50,000 ตันต่อปี ซึ่งใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตแชมพู ครีมนวดผม น้ำยาปรับผ้านุม่ เครือ่ งสำอาง อุตสาหกรรมยา อุตสาหกรรมซีเมนต์ และอืน่ ๆ ซึง่ ปัจจุบนั โรงงานได้ก่อสร้างแล้วเสร็จ พร้อมเดินเครื่องได้ทันทีที่ได้รับข้อสรุปจากกรณีมาบตาพุด • โคลีนคลอไรด์ (Choline Chloride) ดำเนินการโดยบริษทั ไทยโคลีนคลอไรด์ จำกัด (TCC) ผลิตภัณฑ์ หลักของโครงการนี้ คือ สารอาหารที่จำเป็นในการผสมกับอาหารเลี้ยงสัตว์ปีกและสุกร เป็นการผลิต เพื่อทดแทนการนำเข้า มีกำลังการผลิต 20,000 ตันต่อปี ซึ่งในขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาทบทวน โครงการ
31
การดำเนินงานของกลุ่มธุรกิจผลิตภัณฑ์เอทิลีนออกไซด์ ปี 2552
กลุ่มธุรกิจผลิตภัณฑ์เอทิลีนออกไซด์ มุ่งมั่นที่จะพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตให้แข่งขันได้ในระดับสากล รวมถึงการขยายศักยภาพด้านการผลิตเพื่อรองรับการเติบโตของตลาดในประเทศ โดยมีการดำเนินงาน ที่สำคัญ ดังนี้
การปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต
• เพิ่มมาตรฐานในการปฏิบัติงานเพื่อให้อยู่ในระดับ 1st Quartile • ปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงาน (Energy Saving) • ดำเนินการเพื่อให้บรรลุผลในการลดต้นทุนการดำเนินงาน โดยการบริหารสินค้าคงคลังทั้งวัตถุดิบและ ผลิตภัณฑ์ ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม • สร้างมาตรฐานการดำเนินการโดยการนำระบบบริหารจัดการเข้าใช้งาน อันได้แก่ การเตรียมความ พร้อมในระบบ ICP (Internal Control Program) สำหรับควบคุมสารเคมีในโรงงาน TEA เข้าใช้งาน โครงการปรับปรุงระบบ Plant Real Time Information System ของ TOCGC เพื่อให้เป็นมาตรฐาน เดียวกันกับบริษัทในกลุ่มฯ และเพื่อขยายศักยภาพในการบริหารจัดการแล้วเสร็จ โดยระบบแล้วเสร็จ
เมื ่ อ เดื อ นมี น าคม 2552 นอกจากนี ้ TEA ได้ เ ตรี ย มความพร้ อ มในการนำระบบบริหารจัดการ อันได้แก่ ระบบบริหารจัดการคุณภาพ (ISO 9000) ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม (ISO 14000) ระบบ การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย (มอก.18000) เข้าใช้งาน โดยบริษัทฯ ตั้งเป้าหมายให้มี การบรรลุผลสำเร็จในระบบการจัดการทั้งสามระบบดังกล่าวภายใน 2 ปี นับจากวันที่เข้าผลิต เชิงพาณิชย์
การพัฒนาความสามารถในการแข่งขันและการตลาด
• บริหารจัดการลูกค้า เพื่อสร้างฐานในระยะยาว ด้วยการบริหารจัดการลูกค้าสำคัญ (Key Account Management) • เพิ่มความสามารถในการสร้างรายได้ โดยมุ่งเน้นการทำการตลาดและการจัดจำหน่ายเชิงรุก โดยขยาย การส่งออกให้หลากหลายยิ่งขึ้น
32
รายงานประจำปี 2552 I บริษทั ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
สถานการณ์ตลาดในปี 2552
เนื่องจาก TOCGC เป็นผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ EG รายแรกและรายเดียวในประเทศ ผลิตภัณฑ์ส่วนที่เหลือจาก การจำหน่ายให้กับผู้ประกอบการภายในประเทศจะส่งออกไปจำหน่ายยังตลาดต่างประเทศในภูมิภาค เอเชีย เช่น ตลาดที่ประเทศจีน ซึ่งเป็นตลาดที่มีความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์ EG ในปริมาณมากเมื่อเทียบ กับตลาดประเทศอื่น ๆ เป็นต้น หรือตลาดในภูมิภาคอื่น ๆ ที่เป็น Niche Market ซึ่งมีความต้องการใช้ ผลิตภัณฑ์ในปริมาณไม่มาก แต่สามารถจำหน่ายผลิตภัณฑ์ได้ในราคาสูง ประกอบกับ MEG เป็น Commodity Product ใช้เป็นวัตถุดิบหลักของอุตสาหกรรมโพลีเอสเตอร์ ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักต่อเนื่อง สำหรับอุตสาหกรรมสิ่งทอ และอุตสาหกรรมผลิตขวดพลาสติกใส สถานการณ์ทางการตลาดของ MEG จึงเป็นไปในทิศทางเดียวกับอุตสาหกรรมโพลีเอสเตอร์ โดยเฉพาะตลาดในประเทศจีนซึ่งเป็นประเทศที่มี ความต้องการใช้ MEG และนำเข้า MEG มากที่สุดในโลก รวมถึงประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคเอเชียที่ยังคง ต้องนำเข้า MEG เพื่อสนองต่อความต้องการของตลาดอย่างต่อเนื่องอีกด้วย สำหรับตลาด MEG ในประเทศไทยมีความต้องการใช้ MEG ในปี 2552 ประมาณ 450,000 ตัน เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจที่ตกต่ำลงจากผลกระทบของการเมืองและปัจจัยอื่น ๆ ภายนอกประเทศ ต่อเนื่องมาจากช่วงปลายปี 2551 ทำให้ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2552 สภาพตลาดรวมถึงราคาผลิตภัณฑ์ MEG จึงไม่ค่อยดีนัก อย่างไรก็ตาม จากสภาพเศรษฐกิจโดยรวมที่ปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงครึ่ง หลังของปี 2552 ทำให้ความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์ปลายทางของลูกค้าทั้งในและต่างประเทศ ตลอดจน ราคาผลิตภัณฑ์ MEG ปรับตัวเพิ่มขึ้น และมีแนวโน้มที่จะดีขึ้นอย่างต่อเนื่องจนถึงช่วงต้นปี 2553
33
ส่วนตลาดผลิตภัณฑ์เอทานอลเอมีน ส่วนใหญ่ถูกส่งออกไปจำหน่ายยังตลาดต่างประเทศในภูมิภาค เอเชีย โดยเฉพาะตลาดในประเทศจีนที่มีความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์เอทานอลเอมีนในปริมาณมาก รวม ถึงการจำหน่าย Ethoxylate ในเกรดต่าง ๆ ประมาณร้อยละ 50 ของปริมาณที่ผลิตได้ให้กับกลุ่มบริษัท Cognis ตาม Joint Venture Agreement ในภาพรวมนั้น ในปี 2552 จึงเป็นช่วงขาลงของธุรกิจ เนื่องจาก วิกฤติเศรษฐกิจส่งผลให้เกิดการชะลอตัวของการดำเนินธุรกิจและความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์ของผูป้ ระกอบการ ในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง เช่น อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ Personal Care อุตสาหกรรมผลิตยากำจัดวัชพืช อุตสาหกรรมก่อสร้างลดลง ทำให้ราคาผลิตภัณฑ์เอทานอลเอมีนตกต่ำลง เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม เมื่อสภาวะเศรษฐกิจเริ่มมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2552 ทำให้ความ ต้องการใช้ผลิตภัณฑ์เริ่มปรับตัวไปในทิศทางที่ดีขึ้น และคาดว่าจะมีแนวโน้มดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในปี 2553 ในการดำเนินงานของกลุ่มธุรกิจผลิตภัณฑ์เอทิลีนออกไซด์ ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์และ ผลิตภัณฑ์เคมีขั้นกลางที่จะสามารถขยายไปสู่เคมีภัณฑ์เฉพาะด้านได้อย่างครอบคลุม โดยเน้น การสร้ า งมู ล ค่ า เพิ่ ม สู ง สุ ด จากผลิ ต ภั ณ ฑ์ แ ล้ ว ยั ง มุ่ ง เน้ น การป้ อ งกั น ปั ญ หาผลกระทบต่ อ
สิ่ ง แวดล้ อ มตั้ ง แต่ ต้ น ทาง โดยออกแบบและก่ อ สร้ า งโรงงานตามมาตรฐานสากล เน้ น การ ประหยัดพลังงาน ควบคุมสิ่งที่จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้อยู่ในมาตรฐานตาม กฎหมาย ด้วยความตั้งใจที่จะประกอบธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน
36
รายงานประจำปี 2552 I บริษทั ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
กลุ่มธุรกิจผลิตภัณฑ์โอลีโอเคมี
Oleochemical Products Value Center ภาพรวมธุรกิจ
จากการที่ประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพื้นที่และภูมิอากาศที่เหมาะสมในการปลูก พืชที่ให้น้ำมันประเภทต่างๆ ที่มีศักยภาพสำหรับใช้แปรรูปจากน้ำมันธรรมชาติเป็นผลิตภัณฑ์ทางเคมี
ได้เป็นอย่างดี อีกทั้งในปัจจุบัน ความต้องการใช้พลังงานทดแทนและผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีแนวโน้มสูงขึ้น บริษัทฯ จึงเล็งเห็นความสำคัญในการพัฒนาสายธุรกิจผลิตภัณฑ์โอลีโอเคมี ซึ่งเป็น ผลิตภัณฑ์ที่ใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติ อาทิ น้ำมันปาล์ม น้ำมันในเมล็ดปาล์ม น้ำมันพืช หรือไขมันสัตว์ เป็นวัตถุดิบหลักในการผลิต โดยผลิตภัณฑ์โอลีโอเคมีที่ได้สามารถนำไปผลิตผลิตภัณฑ์ต่อเนื่องต่าง ๆ ซึ่งผลิตภัณฑ์โอลีโอเคมีที่บริษัทฯ ดำเนินการโดยบริษัท ไทยโอลีโอเคมี จำกัด (TOL) (บริษัทฯ ถือหุ้น ร้อยละ 100) ได้แก่ • เมทิลเอสเตอร์ (Methyl Ester) จะนำไปใช้สำหรับผลิตน้ำมันดีเซลชีวภาพ หรือไบโอดีเซล (Biodiesel) คุณภาพสูง ซึ่งจะช่วยลดมลภาวะหรือผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และเพิ่มประสิทธิภาพแก่น้ำมันดีเซล มีกำลังการผลิต 200,000 ตันต่อปี • แฟตตีแ้ อลกอฮอล์ (Fatty Alcohol) ใช้ในอุตสาหกรรมสุขอนามัยส่วนบุคคล มีกำลังการผลิต 100,000 ตันต่อปี ส่วนหนึ่งที่นำไปใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตอีทอกซีเลทนั้น จะได้มาจากบริษัท ไทยแฟตตี้ แอลกอฮอล์ จำกัด (TFA) ซึ่ง TOL ถือหุ้นร้อยละ 100 • กลีเซอรีน (Glycerin) ซึง่ เป็นผลิตภัณฑ์พลอยได้ สำหรับใช้ในอุตสาหกรรมเคมี ยา และอาหาร มีกำลัง
การผลิต 31,000 ตันต่อปี นอกจากนี้ TOL ได้ดำเนินโครงการ Multi Purposed Reactor (MPR) ด้วยกำลังการผลิต 14,000 ตันต่อปี โดยผลิตภัณฑ์ของโครงการฯ คือ ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มสุขอนามัยส่วนบุคคล (Health & Personal Care) และ สารหล่ อ ลื ่ น ในการขึ ้ น รู ป พลาสติ ก (Plastic Additive) ซึ ่ ง ผลิ ต จากสารโอลี โ อเคมี พ ื ้ น ฐาน (Basic Oleochemicals) โดยคาดว่าจะสามารถดำเนินการผลิตได้ในไตรมาสที่ 2 ปี 2553
37
การดำเนินงานของกลุ่มธุรกิจผลิตภัณฑ์โอลีโอเคมี ปี 2552
ในปี 2552 ธุรกิจผลิตภัณฑ์โอลีโอเคมีของบริษัทฯ อยู่ในช่วงเรียนรู้ (Learning Curve) หลังจากเริ่มเปิด ดำเนินการในปี 2551 โดยบริษัทฯ ได้ให้ความสำคัญในการสร้างระบบคุณภาพและมาตรฐาน เพื่อเป็น ฐานรากที่สำคัญในการทำงาน และได้ทำการปรับปรุงคุณภาพการผลิตอย่างต่อเนื่อง โดยการเพิ่ม ประสิทธิภาพ และลดค่าใช้จ่ายในการผลิต รวมถึงการสร้างความเชื่อมั่นในผลิตภัณฑ์ ดังสรุปผลการ ดำเนินงานได้ดังนี้
การปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต
• ดำเนินการเพื่อไปสู่ 1st Quartile โดยเริ่มเก็บข้อมูลเพื่อใช้ทำ Benchmarking และจัดหา Best Practice ในการทำงานเมื่อเทียบกับผู้ผลิตรายอื่นในอุตสาหกรรมโอลีโอเคมี • ปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต ด้วยการพัฒนากระบวนการผลิตแฟตตี้แอลกอฮอลส์ C16/18 ให้ สามารถผลิตได้โดยตรงจาก Fractionation Unit ทำให้มีกระบวนการผลิตที่สั้นลง • ปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงาน (Energy Saving) • ดำเนินการเพื่อให้บรรลุผลในการลดต้นทุนการดำเนินงาน โดยการจัดหาวัตถุดิบที่หลากหลาย และมี
ต้นทุนต่ำ เช่น กรดไขมันบริสุทธิ์ (Palm Fatty Acid Distillate, PFAD) และปาล์มสเตียริน ในการผลิต เมทิลเอสเทอร์ รวมทั้งการซื้อขายน้ำมันปาล์มกับผู้ผลิตที่หลากหลายมากขึ้น และใช้วัตถุดิบชนิดอื่นๆ มาเป็นส่วนผสมในการผลิต • สร้างมาตรฐานการดำเนินการโดยการนำระบบบริหารจัดการเข้าใช้งาน โดย TOL ได้รับการรับรอง ระบบคุณภาพ ISO 9000 จากสถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ (สรอ.)
38
รายงานประจำปี 2552 I บริษทั ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
การพัฒนาความสามารถในการแข่งขันและการตลาด
• เพิ่มความสามารถในการสร้างรายได้ โดยผลิตภัณฑ์เมทิลเอสเทอร์สร้างความเป็นผู้มีส่วนแบ่ง การตลาดในประเทศสูง และได้จัดทำผลิตภัณฑ์ที่มีหลายเกรดมากขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการ ของลู ก ค้ า ขณะที ่ ผ ลิ ต ภั ณ ฑ์ แ ฟตตี ้ แ อลกอฮอลส์ และกลี เ ซอรี น สร้ า งเครื อ ข่ า ยการตลาดและ การจัดจำหน่ายระดับสากล • ดำเนินการให้ได้มาซึ่งมาตรฐานคุณภาพ เพื่อการเพิ่มโอกาสทางการตลาด และการจัดจำหน่าย ได้แก่ ผลิตภัณฑ์กลีเซอรีน ได้รับการรับรองในระบบ GMP (Good Manufacturing Practice) ที่เป็นระบบ พื้นฐานสำคัญเพื่อประกันความปลอดภัยของอาหาร และ HACCP (Hazard Analysis and Critical Control Point) ที่เป็นการใช้ระบบการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม ทำให้บริษัทฯ สามารถขายผลิตภัณฑ์กลีเซอรีนได้ในกลุ่มอุตสาหกรรมยา อุตสาหกรรมอาหาร และอุตสาหกรรม สุขอนามัยส่วนบุคคล และผลิตภัณฑ์แฟตตี้แอลกอฮอลส์ และกลีเซอรีน ได้รับการรับรองจากสถาบัน
มาตรฐานฮาลาลแห่งประเทศไทย ในช่วงปลายปี 2552
สถานการณ์ตลาดในปี 2552
ในระยะ 2–3 ปีที่ผ่านมา ประเทศต่างๆ ได้ตื่นตัวในเรื่องการหาพลังงานทดแทน การลดการใช้สาร สังเคราะห์พร้อมทั้งหาสารทดแทนที่มีส่วนประกอบ หรือใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติ แนวโน้มของผู้บริโภค ทั่วโลกจึงมีความต้องการในการใช้โภคภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบ หรือผลิตจากวัตถุดิบจากธรรมชาติที่ สามารถสร้างทดแทนขึ้นใหม่ได้เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ความต้องการโดยรวมของผลิตภัณฑ์โอลีโอเคมีพื้นฐาน เพิ่มสูงขึ้นทั่วโลก ตามอัตราการเจริญเติบโตของ GDP รวมทั้งนโยบายและการสนับสนุนจากรัฐบาล ในเรื่องของไบโอดีเซล ซึง่ รัฐบาลในหลาย ๆ ประเทศได้มกี ารสนับสนุนให้มกี ารใช้ไบโอดีเซลเพิ่มขึ้น ส่งผล ให้มีการใช้เมทิลเอสเทอร์มากขึ้น ซึ่งนโยบายดังกล่าวมีผลอย่างยิ่งในการที่จะทำนายภาวะอุปทาน (Supply) อุปสงค์ (Demand) และสถานการณ์ของเมทิลเอสเทอร์ในตลาด การติดตามนโยบายพลังงานของ ประเทศต่าง ๆ จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่บริษัทฯ ต้องกระทำอยู่ตลอด
39
สำหรับสถานการณ์ตลาดแฟตตี้แอลกอฮอลส์อยู่ในช่วงที่ภาวะอุปทาน (Supply) มากกว่าอุปสงค์ (Demand) เป็นอย่างสูง สาเหตุหลักเนื่องมาจากโครงการผลิตแฟตตี้แอลกอฮอลส์ในประเทศแถบเอเชีย ได้ก่อสร้างแล้วเสร็จ และเริ่มการดำเนินการผลิตเชิงพาณิชย์ อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ดังกล่าว มีแนวโน้มในการปรับตัวเข้าสู่สมดุลภายในระยะเวลา 1-2 ปีข้างหน้า อีกทั้งผลกระทบจากวิกฤติทาง การเงิ น ในปี 2552 ส่ ง ผลให้ อ ุ ต สาหกรรมปลายน้ ำ ของแฟตตี ้ แ อลกอฮอลส์ โดยเฉพาะในกลุ ่ ม อุตสาหกรรมพลาสติกอยู่ในภาวะตกต่ำ อย่างไรก็ดี ในช่วงปลายปี 2552 สถานการณ์ตลาดของ แฟตตี้แอลกอฮอลส์มีแนวโน้มที่ดีขึ้นจากความต้องการวัตถุดิบในกลุ่มอุตสาหกรรมสุขอนามัยส่วนบุคคล รวมถึงปัจจัยบวกจากความต้องการแฟตตีแ้ อลกอฮอลส์ทผ่ี ลิตจากวัตถุดบิ ธรรมชาติมเี พิม่ ขึน้ เพือ่ ทดแทน แฟตตีแ้ อลกอฮอลส์ที่ผลิตจากสารสังเคราะห์อีกด้วย สถานการณ์ตลาดของเมทิลเอสเตอร์ และแฟตตี้แอลกอฮอลส์ ส่งผลกระทบโดยตรงต่อราคากลีเซอรีนที่ ลดลงและอุปทานในตลาดที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ ได้มีการค้นคว้าวิจัยเพื่อนำกลีเซอรีนไปใช้ ทดแทนสารเคมีหลายชนิดในการผลิตเคมีภัณฑ์ต่อเนื่องอื่น ๆ ต่อไป ทั้งนี้ เพื่อรองรับกับสถานการณ์ ดังกล่าว เพื่อแสดงให้เห็นถึงความตั้งใจในการเติบโตด้านธุรกิจโอลีโอเคมี บริษัทฯ ได้ศึกษา พัฒนาและ ปรับปรุงคุณภาพการผลิตและบริการอย่างต่อเนื่อง ดำเนินโครงการเพิ่มประสิทธิภาพและ ลดค่าใช้จ่ายด้วยการประหยัดพลังงานในกระบวนการผลิต ทั้งนี้ เพื่อให้สามารถตอบสนอง ต่อความต้องการของลูกค้าให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น รวมถึงสร้างความเชื่อมั่นในผลิตภัณฑ์ เพื่อให้ลูกค้าเกิดความพอใจสูงสุด
42
รายงานประจำปี 2552 I บริษทั ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
กลุ่มธุรกิจการให้บริการและอื่น ๆ Services & Others
บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับธุรกิจและกิจกรรมที่สนับสนุนให้การดำเนินธุรกิจปิโตรเคมีมีความ มั่ น คงและครบวงจรยิ่ ง ขึ้ น โดยมี บ ริ ก ารด้ า นต่ า งๆ สำหรั บ กลุ่ ม บริ ษั ท ฯ และลู ก ค้ า ในกลุ่ ม อุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นต่อเนื่อง ดังนี้
ธุรกิจการให้บริการเก็บและขนถ่ายเคมีภัณฑ์
บริษัทฯ มีบริษัทย่อยที่ให้บริการเก็บและขนถ่ายเคมีภัณฑ์ ได้แก่ บริษัท ไทยแท้งค์เทอร์มินัล จำกัด (TTT) ทีใ่ ห้บริการท่าเทียบเรือขนถ่ายและคลังเก็บเคมีภณ ั ฑ์เหลว อันเป็นโครงสร้างพืน้ ฐานของอุตสาหกรรม ปิโตรเคมีแก่ลูกค้าอุตสาหกรรมทั่วไปในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด โดยได้รับสัมปทานในการให้บริการ แก่โรงงานอุตสาหกรรมที่อยู่ในเขตนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดด้วย
ธุรกิจการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าและไอน้ำ
บริษัทฯ ได้ร่วมทุนกับบริษัทในกลุ่ม ปตท. จัดตั้ง บริษัท พีทีที ยูทิลิตี้ จำกัด (PTTUT) เพื่อผลิตและ จำหน่ายไฟฟ้า ไอน้ำ และน้ำใช้ในกระบวนการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรมโครงการ 1 (CUP-1) ระยะที่ 1-5 โครงการผลิตไฟฟ้าและไอน้ำโครงการ 2 (CUP-2) และโครงการผลิตไฟฟ้าและไอน้ำโครงการ 3 (CUP-3) ระยะที่1 โดยโครงการทั้งหมดนี้ได้ดำเนินการผลิตเชิงพาณิชย์แล้ว ทั้งนี้ โครงการ 1 (CUP-1) ระยะที่ 6 ซึ่งจะดำเนินการแล้วเสร็จและดำเนินการผลิตได้ในไตรมาส 2 ของปี 2553
ธุรกิจให้บริการบำรุงรักษาโรงงานและการออกแบบทางวิศวกรรม
บริษัทฯ มีบริษัทย่อย คือ บริษัท อัลลายแอนซ์ แพลนท์ เซอร์วิส จำกัด (APS) ซึ่งได้เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท พีทีที เมนเทนแนนซ์ แอนด์ เอนจิเนียริง จำกัด (PTTME) ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2552 ที่ผ่านมา โดย บริษัทฯ ถือหุ้นร้อยละ 60 และ ปตท. ถือหุ้นร้อยละ 40 เพื่อดําเนินธุรกิจให้บริการงานบำรุงรักษา งาน ออกแบบและวิศวกรรม งานก่อสร้าง งานเดินท่อ งานจัดหา งานวัสดุและงานบริหารงานผลิต ให้กับ บริษัทในกลุ่มปิโตรเลียมและปิโตรเคมีภายในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด และกลุ่มอุตสาหกรรมอื่น ๆ ในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชีย
43
บริการด้านอื่น ๆ
• ความปลอดภัยและสิง่ แวดล้อม : ให้บริการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิง่ แวดล้อม อย่าง ครบวงจร ได้แก่ บริการฝึกอบรมด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อมทุกประเภท และ บริการออกแบบและวางระบบป้องกันอัคคีภัย รวมทั้งเป็นที่ปรึกษาทางด้านการจัดทำระบบมาตรฐาน การจัดการระบบคุณภาพ ระบบความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อมตามมาตรฐานสากล ผ่าน บริษัท เอ็นพีซี เซฟตี้ แอนด์ เอ็นไวรอนเมนทอล เซอร์วิส จำกัด (NPC S&E) ซึ่งเป็นบริษัท
ย่อยที่บริษัทฯ ถือหุ้นร้อยละ 100 • การเดินท่อขนส่งและโลจิสติกส์ : ให้บริการธุรกิจและวางโครงสร้างสำหรับท่อขนส่ง ดำเนินการผ่าน บริษัทร่วม คือ บริษัท อิสเทิร์น ฟลูอิด ทรานสปอร์ต จำกัด (EFT) • การให้บริการด้านอื่นๆ : ดำเนินการผ่านบริษัทร่วม คือ บริษัท พีทีที ไอซีที โซลูชั่น จำกัด (PTTICT) ซึ่งให้บริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กลุ่มธุรกิจการให้บริการต่างๆ ของบริษัทฯ ได้ดำเนินงานให้บริการอย่างเต็มประสิทธิภาพ และ ด้วยมาตรฐานสูงสุด ทั้งนี้ เพื่อให้บริษัทฯ สามารถต่อยอดธุรกิจได้อย่างครบถ้วนตลอดห่วงโซ่ คุณค่า อีกทั้งยังสนับสนุนธุรกิจด้านต่างๆ ของบริษัทฯ และลูกค้าในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี
ขั้นต่อเนื่อง ตลอดจนลูกค้าทั่วไป โดยมุ่งหวังความพึงพอใจและประโยชน์สูงสุดที่ลูกค้าจะได้รับ เป็นสำคัญ
46
รายงานประจำปี 2552 I บริษทั ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
ธุรกิจระหว่างประเทศ
International Business PTT Chemical International Private Limited (CH Inter) บริษทั ในกลุม่ ปตท. เคมิคอล ซึง่ บริษทั ฯ ถือหุน้ ร้อยละ 100 จดทะเบียนในประเทศสิงคโปร์ มีภารกิจหลักในการลงทุนและขยายธุรกิจใน กิจการต่างประเทศของบริษัทฯ เพื่อให้บรรลุถึงวัตถุประสงค์ในการขยายการลงทุนในกิจการต่างประเทศ CH Inter จึงได้ก่อตั้ง บริษัท ปตท. เคมิคอล อินเตอร์เนชั่นแนล (สำนักงานปฏิบัติการภูมิภาค เอเชีย แปซิฟิค) จำกัด หรือ PTT Chemical International (Asia Pacific ROH) Limited ขึ้นที่ประเทศไทย ในฐานะบริษัทย่อย เพื่อวางแผน พัฒนา และแสวงหาโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ รวมถึงการดำเนินธุรกิจด้านต่างประเทศของบริษัทฯ นอกจากนี้ CH Inter ยังได้ร่วมลงทุนกับ Sime Darby Plantation (Malaysia) Sdn Bhd ซึ่งเป็นผู้ผลิตน้ำมัน ปาล์มรายใหญ่ที่สุดของโลก โดยการเข้าถือหุ้นในบริษัท Emery Oleochemical (M) Sdn Bhd (Emery) หรือ ชื่อเดิมคือ Cognis Oleochemicals (M) Sdn Bhd (COM) ในสัดส่วนร้อยละ 50 เท่ากัน เพื่อขยายฐานการ ดำเนินธุรกิจการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์โอลีโอเคมีอย่างครบวงจรและครอบคลุมตลาดในภูมิภาค ต่าง ๆ ทั้งเอเชีย ยุโรป และอเมริกา
47
การเข้าถือหุน้ ใน Emery Oleochemicals เป็นจุดเริม่ ต้นในการขยายการดำเนินงานและการลงทุนในกิจการ ต่างประเทศของบริษัทฯ โดย CH Inter และ Sime Darby ในฐานะผู้ถือหุ้น ได้สนับสนุนให้ Emery จัดทำแผนกลยุทธ์ และแผนการดำเนินการ เพื่อขยายฐานการดำเนินธุรกิจ และเพิ่มศักยภาพการขยาย ธุรกิจในระดับสากล ปรับโครงสร้างองค์กร รวมถึงการปรับเปลี่ยนแบรนด์และภาพลักษณ์องค์กร จาก Cognis Oleochemicals เป็น Emery Oleochemicals ให้สอดคล้องกับกลยุทธ์และแผนการดำเนินงาน เพื่อ สนองตอบต่อความต้องการของตลาดและลูกค้า และดำรงความเป็นผู้นำในธุรกิจโอลีโอเคมีระดับโลก นอกจากนี้ บริษัท Emery Oleochemicals ยังได้รบั การคัดเลือกจาก Frost & Sullivan บริษทั ทีป่ รึกษาชัน้ นำ ระดับโลก ให้ได้รับรางวัล “บริษัทโอลีโอเคมียอดเยี่ยมแห่งปี 2552 ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก” เพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมายในการขยายการลงทุนในธุรกิจระหว่างประเทศให้ประสบความสำเร็จ CH Inter ยังมุ่งดำเนินธุรกิจและแสวงหาโอกาสทางธุรกิจ ภายใต้นโยบายของ ปตท. เคมิคอล
โดยมุ่งเน้นไปยังธุรกิจในระดับสากลเพื่อแสวงหาตลาดใหม่ๆ พร้อมปรับกลยุทธ์ในลักษณะของ การให้ร่วมมือด้วยการเป็นพันธมิตรทางธุรกิจ รวมทั้งการเพิ่มความแข็งแกร่งและขีดความ สามารถในการแข่งขันด้วยแผนการขยายฐานธุรกิจไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลก
50
รายงานประจำปี 2552 I บริษทั ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม นโยบายความรับผิดชอบต่อสังคม
บริษัท ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน) มุ่งมั่นสร้างสรรค์และพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคมที่
ยั่งยืน ด้วยการเริ่มต้นที่ดีก่อนในการดำเนินธุรกิจ โดยใช้ “นวัตกรรม” เป็นแนวทาง และจุด เชื่อมโยงในการค้นหาคุณค่าร่วมกันระหว่างบริษัทฯ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พันธมิตร ชุมชน และ สั ง คมที่ เ ราอาศั ย อยู่ ร่ ว มกั น เพื่ อ นำเอาองค์ ค วามรู้ ความชำนาญ ความเชี่ ย วชาญ และ
กระบวนการใหม่ ๆ มาสร้างพลังริเริ่มให้เกิดการสร้างสรรค์ในวงกว้างและรอบด้าน ด้วยแนวคิด “Shaping an Innovative Society” บริษัทฯ มีความมุ่งมั่นนำนโยบายสู่การปฏิบัติดังนี้
การเพิ่มคุณค่าด้านสิ่งแวดล้อม
การอนุรักษ์และดูแลทรัพยากรธรรมชาติ
กลุ่มบริษัท ปตท. เคมิคอล มุ่งเน้นในการดูแลและอนุรักษ์ทรัพยากรสิ่งแวดล้อมมาอย่างต่อเนื่องและ ครอบคลุมในทุกกิจกรรม โดยบริหารการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า เริ่มตั้งแต่ต้นทางโดยการคัดเลือก เทคโนโลยีในกระบวนการผลิตที่ได้มาตรฐาน ทันสมัย และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การเลือกใช้วัตถุดิบ ไปจนถึงการส่งมอบผลิตภัณฑ์ให้แก่ลูกค้า พร้อมทั้งส่งเสริมให้ผู้บริหารและพนักงานทุกคนช่วยกัน
คิดค้นโครงการด้านการอนุรักษ์พลังงาน และการดูแลสิ่งแวดล้อม
โครงการกระสอบพลาสติกแบบมีปีก ป้องกันดินถล่ม
จากปัญหาการบุกรุกป่า เพื่อปรับสภาพเป็นพื้นที่การเกษตรของชุมชนบ้านน้ำต๊ะ อ. ท่าปลา จ. อุตรดิตถ์ ทำให้เกิดการไหลของหน้าดินซึ่งเดิมเป็นดินภูเขาไฟเก่า ลักษณะทางกายภาพเมื่อแห้งจะมีลักษณะคล้าย ฝุ่น เมื่อถูกน้ำจะจับตัวเป็นก้อน จากเหตุการณ์ดังกล่าวสร้างความสูญเสียต่อชีวิตของประชาชน รวมถึง พื้นที่ทำกินของชุมชน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้พระราชทานพระราชดำริให้ สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา ได้เข้าช่วยเหลือราษฎร และหาแนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหา รวมถึง การปรั บ ปรุ ง คุ ณ ภาพชี ว ิ ต ของชุ ม ชนให้ ด ี ย ิ ่ ง ขึ ้ น สถาบั น สารสนเทศทรั พ ยากรน้ ำ และการเกษตร (องค์การมหาชน) กรมทรัพยากรธรณี และบริษัทฯ จึงได้ร่วมกันพัฒนา ทดสอบ และปรับปรุง โดยนำเม็ด พลาสติกชนิด HDPE ของ ปตท. เคมิคอล เป็นวัตถุดิบ เพื่อผลิตกระสอบพลาสติกแบบมีปีก มาใช้ในการ ช่วยเหลือประชาชน ซึ่งผลที่ได้คือสามารถป้องกันดินถล่มและประชาชนสามารถนำไปปรับใช้ในการทำ ฝายและพื้นที่เกษตรของชุมชนได้ นอกจากนี้ กระสอบพลาสติกแบบมีปีก ยังเป็นมิตรกับธรรมชาติ เกื้อกูลซึ่งกันและกัน โดยผลจากโครงการพบว่า ต้นไม้สามารถเจริญเติบโตในพื้นที่ที่เคยเกิดปัญหาได้
51
การบริหารจัดการทรัพยาการน้ำ
น้ำเป็นทรัพยากรที่มีค่าที่จำต้องได้รับการบริหารจัดการและใช้อย่างมีประสิทธิภาพ บริษัทฯ ได้มีการ บริหารจัดการอ่างเก็บน้ำในพื้นที่ปฏิบัติงานเป็นอย่างดี เพื่อให้มั่นใจได้ว่าน้ำทุกหยดถูกนำมาใช้อย่าง คุ้มค่าและปลอดภัย เพื่อประโยชน์ของภาคการเกษตร ภาคครัวเรือน ชุมชน และอุตสาหกรรม
โครงการบริหารจัดการน้ำจังหวัดระยอง
โครงการภายใต้ความร่วมมือกับสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อร่วมกันหาแนวทางและสร้างความร่วมมือในการแก้ไขปัญหา การบริหารจัดการน้ำจังหวัดระยอง ซึ่งถือเป็นพื้นที่อุตสาหกรรมที่สำคัญของประเทศ ให้เกิดการบริหาร จัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ โดยได้ดำเนินการ “โครงการศึกษาความเหมาะสมพื้นที่แก้มลิงบริเวณ คลองทับมา จังหวัดระยอง” และ “โครงการศึกษาความเหมาะสมพื้นที่แก้มลิงลุ่มน้ำประแสร์” เพื่อศึกษา สภาพฝาย พืน้ ทีเ่ หมาะสมในการพัฒนาบ่อลูกรังเดิมเพือ่ พัฒนาเป็นแก้มลิง ร่วมกับการประเมินน้ำท่าในลุม่ น้ำ ดังกล่าวโดยใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ (SWAT: Soil and Water Assessment Tool) และจัดทำบัญชี พื้นที่ชุ่มน้ำ และแหล่งน้ำในพื้นที่ศึกษา ทั้งนี้ ผลของการศึกษาและรวบรวมข้อมูล จะนำมาแสดงบน ระบบภูมิศาสตร์สารสนเทศ (Internet GIS-MIS) เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาในการบริหารจัดการน้ำ และพัฒนาพื้นที่แก้มลิง
โครงการ “ค่ายเสริมสร้างจินตนาการและความรู้ด้านการประมงภาคฤดูร้อน”
บริษทั ฯ ร่วมกับคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้เล็งเห็นถึงความจำเป็นในการทีจ่ ะเป็นส่วนหนึง่ ของการเพิ่มเติมความรู้และการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่ยั่งยืนแก่เยาวชน ซึ่งจะเป็นผู้ใช้และกำหนดแผน นโยบายในการอนุรักษ์จัดการต่อไปในอนาคต จึงได้ร่วมกันจัดทำ “ค่ายเสริมสร้างจินตนาการและความรู้ ด้านการประมงภาคฤดูร้อน” ขึ้น เพื่อมุ่งเน้นให้เยาวชนของชาติได้รู้จักทรัพยากรทางด้านประมง ตลอดจนการวางแผนการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต โดยเปิดโอกาสให้นักเรียน ระดับมัธยมปลายจากทั่วประเทศได้มีโอกาสเรียนรู้และสัมผัสชีวิตของชาวประมงด้วยตัวเอง
52
รายงานประจำปี 2552 I บริษทั ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
การเพิ่มคุณค่าทางสังคม
กลุ่มบริษัท ปตท. เคมิคอล และผู้มีส่วนได้เสีย รวมถึงลูกค้าและพนักงานได้ร่วมมือร่วมใจกันสร้างสรรค์ สังคม โดยบริษัทฯ ได้สนับสนุนให้ผู้มีส่วนได้เสียมีส่วนร่วมช่วยเหลือชุมชนและสังคมในด้านต่าง ๆ ดังนี้
โครงการไตรภาคีร่วมพัฒนาคุณภาพการศึกษา
กลุ่มบริษัท ปตท. เคมิคอล ส่งเสริมการสร้างคุณค่าและพัฒนาการศึกษาไทย โดยให้ความสำคัญต่อ ปัจจัยสำคัญแห่งความสำเร็จของ “ครู” ซึ่งเป็นต้นน้ำสำคัญของการสร้างและปูพื้นฐานการเรียนรู้ที่ดีให้ กับเด็กนักเรียนอย่างต่อเนื่องเสมอมา โครงการไตรภาคีร่วมพัฒนาคุณภาพการศึกษา เป็นการร่วมมือ ของ 3 ภาคส่วน ได้แก่ บริษัทฯ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสำนักงานเขตพื้นที่การ ศึกษาระยอง เขต 1 และเทศบาลเมืองมาบตาพุด จังหวัดระยอง นำนิสิตฝึกสอนที่ผ่านการคัดเลือกอย่าง สมบูรณ์ เข้าร่วมโครงการฯ มาฝึกสอนเด็กในโรงเรียนเป้าหมาย เพื่อมุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชน และสังคมทางด้านการศึกษาอย่างต่อเนื่องและเป็นรูปธรรม
โครงการการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม
เป็นโครงการที่กลุ่มบริษัท ปตท. เคมิคอล ได้น้อมนำแนวพระราชดำริฯ มาใช้เพื่อสร้างโอกาสทางการ ศึกษาในวิชาที่สถานศึกษาไม่มีความถนัด เนื่องจากขาดแคลนครูผู้สอน และเสริมสร้างการเรียนรู้จากสื่อ การเรียนการสอนอันหลากหลายให้แก่สถานศึกษาในจังหวัดระยอง ส่งผลให้เยาวชนได้รับการเรียน การสอนตรงตามสาขาวิชาต่าง ๆ อย่างเหมาะสม รวมทั้งเป็นการสร้างระบบการเรียนการสอนรูปแบบ ใหม่ในสถานศึกษาให้มีแหล่งค้นคว้าหาข้อมูลที่ทันสมัยเพื่อปรับปรุงการเรียนการสอนของโรงเรียน
โครงการครูอาสา
โครงการครูอาสา เป็นโครงการที่ช่วยกระตุ้นจิตสำนึกและตอกย้ำให้พนักงานมีการปฏิบัติอย่างจริงจัง ด้วยความใส่ใจและร่วมกันดูแลช่วยเหลือชุมชนและสังคม เพื่อส่งเสริมการมีจิตสำนึกที่ดี โดยครูอาสา ของโครงการ ได้อาสาช่วยสอนเด็กๆ โดยรอบนิคมอุตสาหกรรม ที่มีปัญหาขาดแคลนมีจำนวนบุคลากร ครูผู้สอนไม่เพียงพอกับจำนวนนักเรียนที่มีอยู่ เริ่มตั้งแต่กรรมการผู้จัดการใหญ่ ซึ่งเป็นผู้บริหารระดับสูง ถ่ายทอดความมีจิตอาสาลงมาถึงพนักงานในทุกระดับชั้น ทั้งนี้ เวลาที่ใช้ในการช่วยสอนเด็ก ๆ เหล่านี้ บริษัทฯ ให้การสนับสนุนโดยนับเป็นเวลาทำงานของพนักงานด้วย
โครงการเด็กดีกับ ปตท. เคมิคอล
การมีสมาธิที่ดีย่อมส่งผลถึงสุขภาวะทางสังคมและสุขภาวะทางอารมณ์ที่เบิกบาน แจ่มใส โครงการเด็กดี กับ ปตท. เคมิคอล เริ่มต้นด้วยจิตอาสาของพนักงาน ที่เล็งเห็นความสำคัญของการมีสุขภาวะทาง อารมณ์ที่ดี จึงได้มีจิตอาสา เป็นครูผู้สอนการนั่งสมาธิให้แก่เด็กนักเรียนในเขตจังหวัดระยอง ต่อเนื่อง มานานกว่า 10 ปี
53
การเพิ่มคุณค่าทางเศรษฐกิจ
การส่งเสริมด้านเศรษฐกิจด้วยผลิตภัณฑ์รักษาสิ่งแวดล้อม โดยการสร้างงานและรายได้ให้กับคนใน ชุมชนรอบ ๆ ด้วยนวัตกรรม และประสบการณ์ขององค์กร เพื่อยกระดับความเป็นอยู่ของชุมชน และ พัฒนาคุณภาพชีวิต
โครงการวิจัยและพัฒนาไบโอดีเซลจากสบู่ดำร่วมกับมูลนิธิชัยพัฒนา
กลุ่มบริษัท ปตท. เคมิคอล ร่วมกับมูลนิธิชัยพัฒนา สืบสานเจตนารมณ์ในการสนับสนุนและส่งเสริมงาน วิจยั พัฒนาเทคโนโลยี เพือ่ สนับสนุนกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมแบบองค์รวมและพัฒนาคุณภาพชีวติ ของชุมชนอย่างยัง่ ยืน ให้ชมุ ชนสามารถพึง่ ตนเองได้ ตามแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั โดยร่วมกันจัดทำแผนดำเนินงานวิจยั โดยมีเป้าหมายในการศึกษาเพือ่ สร้างองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการ ปลูก การพัฒนาสายพันธุ์สบู่ดำไร้พิษ ตลอดจนกระบวนการผลิตที่เกี่ยวข้อง ส่งเสริมให้เกิดการวิจัย พัฒนาพืชน้ำมันทางเลือกที่มีศักยภาพสามารถพัฒนาเป็นวัตถุดิบในการผลิตเชื้อเพลิงหรือสารเคมีอื่น ๆ และติดตามความก้าวหน้าของโครงการ รวมทั้งช่วยผลักดันให้โครงการประสบความสำเร็จ อันจะเป็นอีก แนวทางหนึ่งที่จะช่วยในการแก้ปัญหาด้านพลังงานของประเทศ ลดการพึ่งพาการนำเข้าวัตถุดิบและ เทคโนโลยีที่มีราคาสูงจากต่างประเทศ จากการส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืนอย่างต่อเนื่องบนพื้นฐานของการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และสังคม ทำให้บริษทั ฯ ได้รบั รางวัลและเกียรติบตั รการปฏิบตั ติ ามมาตรฐานความรับผิดชอบของ
ผูป้ ระกอบการอุตสาหกรรมต่อสังคม (CSR-DIW) จากกรมโรงงานอุตสาหกรรม รวมถึงความเชือ่ มัน่ จากผู้ร่วมธุรกิจของบริษัทฯ
ปตท. เคมิคอล ร่วมสร้างคุณค่านวัตกรรมสังคมทีย่ งั่ ยืน
54
รายงานประจำปี 2552 I บริษทั ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
นโยบายด้านอาชีวอนามัย ความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อม
บริษัท ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน) และบริษัทในกลุ่ม ปตท. เคมิคอล (ซึ่งต่อไปจะเรียกว่า “บริษัทฯ”) ต่างมุ่งมั่นบริหารจัดการด้านอาชีวอนามัย ความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อม โดยยึดหลักการ ดำเนินธุรกิจให้มีการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพ ตลอดจนควบคุมและป้องกันการเกิด ผลกระทบด้านต่าง ๆ ต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด รวมถึงปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการ ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม ทั้งของประเทศไทยและมาตรฐานสากล อย่าง เข้มงวด และเพื่อให้การดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ บริษัทฯ จึงได้กำหนดนโยบายและภารกิจ ด้านอาชีวอนามัย ความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อม ดังนี้ 1. สร้างความพึงพอใจให้ลูกค้า 2. ประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และชี้บ่งลักษณะปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม 3. ป้องกันและลดผลกระทบด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม 4. ปฏิบตั ติ ามกฎหมายและมาตรฐานทีก่ ำหนดอย่างเคร่งครัด 5. ปรับปรุงและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยบริษัทฯ จะพัฒนาและธำรงไว้ซึ่งระบบการจัดการด้านคุณภาพ อาชีวอนามัย ความปลอดภัย และ สิ่งแวดล้อม สนับสนุนทรัพยากรอย่างพอเพียง ให้พนักงานมีส่วนร่วมในการพัฒนา รวมถึงสื่อสารให้
ผู้เกี่ยวข้องทราบอย่างทั่วถึง
การจัดการด้านสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย และอาชีวอนามัย การจัดการสิ่งแวดล้อม
บริษัทฯ มุ่งเน้นการป้องกันปัญหาสิ่งแวดล้อมตั้งแต่ต้นทาง คือ การออกแบบและก่อสร้างโรงงานให้เป็น ไปตามกฎหมายและมาตรฐานสากล ตลอดจนการเลื อ กใช้ เ ทคโนโลยี กระบวนการผลิ ต และ กระบวนการควบคุมที่ทันสมัย มีการจัดการสิ่งแวดล้อมที่เป็นระบบและเป็นไปตามมาตรฐานสากล โดย บริษทั ฯ ได้รบั การรับรองมาตรฐานคุณภาพการดำเนินงานด้านการผลิต และระบบการจัดการสิง่ แวดล้อม ระดับสากล ซึ่งถือเป็นผลสะท้อนถึงความมุ่งมั่นในการพัฒนาระบบให้เป็นมาตรฐานสากล และคำนึงถึง ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเสมอมา โดยมาตรการควบคุมและป้องกันลักษณะปัญหาต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากกิจกรรมการดำเนินงาน การ พัฒนาและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (Continual Improvement) รวมถึงกิจกรรมส่งเสริมให้พนักงานมีความรู้ และจิตสำนึกในด้านการคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมตลอดเวลาของบริษัทฯ สรุปได้ดังนี้ • จัดให้มีการดำเนินการตามมาตรการป้องกันและลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตามที่ระบุใน รายการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัด ทั้งในช่วงของการก่อสร้าง และในช่วงของการ เดินเครื่องการผลิต ตลอดจนเฝ้าระวังคุณภาพสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ตามมาตรการที่ได้ระบุไว้
55
• จัดการการใช้ทรัพยากรธรรมชาติต่าง ๆ แบบบูรณาการ โดยนำหลักประสิทธิภาพนิเวศ เศรษฐกิจ (Eco-Efficiency) มาประยุกต์ใช้ ด้วยการร่วมมือกับภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะ วิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทำการศึกษาและวัดสมรรถภาพด้านสิ่งแวดล้อมของ โรงงานเบื้องต้น เพื่อใช้กำหนดนโยบายและเป้าหมายสำหรับการปรับปรุงการใช้ทรัพยากร และลด ปริมาณของเสียที่จะเกิดขึ้น โดยคำนึงถึงสมรรถภาพทางด้านการเงิน และเป็นการเพิ่มโอกาสทาง ธุรกิจและการค้า สำหรับดัชนีชี้วัดประสิทธิภาพนิเวศเศรษฐกิจนั้น ได้มีการศึกษา สำรวจ และรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ ผลกระทบสิ่งแวดล้อมใน 5 ด้านหลัก ประกอบด้วย การใช้น้ำ (Water Use) การใช้พลังงาน (Energy Use) กิจกรรมที่ก่อให้เกิดภาวะโลกร้อน (Global Warming Contribution) การใช้สารทำลายชั้นโอโซน (Ozone Depletion Substances) และปริมาณกากของเสีย (Waste) ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้ดำเนินการจัดทำ โครงการนี้มาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 จนถึงปัจจุบัน และจะดำเนินการขยายผลไปยังบริษัท ในกลุ่ม ปตท. เคมิคอล ในอนาคตอันใกล้ • เพิ่มกระบวนการระบบ Reverse Osmosis (RO) เพื่อนำน้ำทิ้งก่อนการบำบัดโดยระบบบำบัด
น้ำเสียของโรงงานแล้วมาใช้ประโยชน์โดยการผลิตน้ำใส (Clarified Water) เพื่อใช้ในกระบวนการผลิต ในระบบน้ำหล่อเย็น ซึ่งเป็นการลดปริมาณน้ำทิ้งและใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดประโยชน์สูงสุด • ควบคุ ม สารอิ น ทรี ย์ ร ะเหยง่ า ย (VOCs) อย่ า งต่ อ เนื ่ อ ง โดยมี ก ารตั ้ ง คณะทำงานดู แ ลเรื ่ อ งนี ้
โดยเฉพาะ พร้อมทั้งจัดฝึกอบรมให้กับพนักงาน เพื่อให้มีความรู้ด้านสารอินทรีย์ระเหยง่าย และ สามารถดำเนินการตามแผนงานที่กำหนดได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้จัดทำ โครงการตรวจวัดสารอินทรีย์ระเหยง่าย ด้วยการทำ Walk Through Survey อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ เกิดความมั่นใจว่าอุปกรณ์ที่ใช้อยู่ในโรงงานไม่ก่อให้เกิดปัญหาการรั่วซึมของสารอินทรีย์ระเหยง่าย • จั ด ทำโครงการเฝ้ า ระวั ง การขนส่ ง กากของเสี ย ผ่ า นดาวเที ย มด้ ว ยระบบ GPS (Global Positioning System) เพื่อติดตามเส้นทางการเดินทาง และระยะเวลาของรถขนส่งของเสียหรือสิ่ง ปฏิกูลที่ไม่ใช้แล้วออกจากโรงงานจนถึงบริษัทที่รับกำจัด และเพิ่มประสิทธิภาพการติดตามขนส่งได้ อย่างใกล้ชิด • เข้าร่วมโครงการธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อม (ธงขาวดาวเขียว) กับการนิคมอุตสาหกรรมแห่ง ประเทศไทย (กนอ.) โดยการจัดทำแผนลดและขจัดมลพิษในด้านต่าง ๆ ซึ่ง กนอ. และผู้แทนจาก ชุมชนจะเข้าตรวจเยี่ยม และประเมินผลความก้าวหน้าตามแผนลดและขจัดมลพิษ พร้อมทั้งติดตาม การบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมของบริษัทฯ อย่างใกล้ชิดเป็นประจำทุกไตรมาส เพื่อให้เกิดความ มั่นใจแก่ชุมชน และจากผลการตรวจประเมินที่ผ่านมา บริษัทฯ ได้รับรางวัลธงขาวดาวเขียวต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 เป็นต้นมา ซึ่งแสดงถึงการมีระบบบริหารจัดการลดและขจัดมลพิษเป็นอย่างดี
56
รายงานประจำปี 2552 I บริษทั ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
• ติดตั้งอุปกรณ์ตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมเพื่อเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง COD Online และ CEMS (Continuous Emission Monitoring System) เพื่อใช้สำหรับการติดตามตรวจสอบคุณภาพ น้ำ และคุณภาพอากาศที่ระบายออกจากโรงงาน เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าเป็นไปตามมาตรฐานและ ค่าควบคุมที่ได้กำหนดไว้ โดยคุณภาพอากาศและน้ำทิ้งที่ระบายออกจากโรงงานอยู่ในค่าควบคุม และสามารถส่งสัญญาณไปยังหน่วยงานภาครัฐอย่างสม่ำเสมอ • คัดกรอง/คัดเลือกผู้รับเหมาที่เข้ารับงาน โดยต้องมีระบบการบริหารจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อมที่ดี และหลังจากที่เข้าปฏิบัติงานแล้วยังจัดให้มีการติดตาม ตรวจสอบ การปฏิบัติ และรายงานผลการปฏิบัติงานเป็นระยะ • ติดตั้งป้ายแสดงข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม (Display Board) ด้านหน้าโรงงาน เพื่อแสดงข้อมูลการ จัดการด้านสิ่งแวดล้อม แผนการลดและขจัดมลพิษของบริษัทฯ และโครงการที่บริษัทฯ ดำเนินการ เกี่ยวกับการลดและขจัดมลพิษ ซึ่งเป็นการกระตุ้นและสร้างความตระหนักแก่พนักงาน เพื่อแสดงถึง ความมุ่งมั่นและโปร่งใสในการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมของบริษัทฯ • เพิ่มพื้นที่สีเขียวทั้งในบริเวณบริษัทฯ บริษัทในกลุ่มฯ และพื้นที่มาบตาพุดโดยรอบ โดยการปลูก ต้นไม้ และบำรุงรักษาต้นไม้ที่มีอยู่เดิม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการลดภาวะโลกร้อน
การดำเนินงานด้านความปลอดภัย
บริษัทฯ มีการดูแลด้านความปลอดภัยภายในโรงงานอย่างเข้มงวด รวมทั้งสนับสนุนการจัดกิจกรรมเพื่อ ส่งเสริมให้พนักงานตระหนักและคำนึงถึงความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน สำหรับกิจกรรมสำคัญเพื่อ
ส่งเสริมการปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยที่ได้จัดขึ้นในรอบปี 2552 ได้แก่ • กิจกรรมงาน S-H-E Day เป็นการส่งเสริมและกระตุ้นจิตสำนึกของพนักงานทุกคนได้มีส่วนร่วมใน กิจกรรมด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม โดยการนำเสนอนิทรรศการ ซุ้มความรู้ ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อมของแต่ละหน่วยงาน พร้อมทั้งได้เชิญวิทยากรที่มี ประสบการณ์ในด้านดังกล่าวมาบรรยายให้ความรู้แก่พนักงาน • ริเริ่มโครงการ Behavior Based Safety (BBS) ซึ่งเป็นวัฒนธรรมด้านความปลอดภัย มาปรับใช้กับ การดำเนินงานภายในองค์กร อันเป็นกระบวนการหนึ่งที่นำมาใช้เพื่อปรับพฤติกรรมด้านความ ปลอดภัยของบุคลากรทุกระดับในองค์กร ให้พัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับเป้าหมายด้าน ความปลอดภัย ตลอดจนเป็นการให้พนักงานช่วยกันดูแลเพื่อนร่วมงานและสถานที่ทำงานให้เกิด ความปลอดภัย ตามหลัก “เพื่อนช่วยเพื่อน” • จั ด ให้ มี ก ารอบรมการประเมิ น ความเสี่ ย ง และการวิ เ คราะห์ ง านเพื ่ อ สิ ่ ง แวดล้ อ มและความ ปลอดภัย (JSEA) ให้กับพนักงานในทุกงานที่มีความเสี่ยงในการปฎิบัติงาน
57
• จัดให้มีระบบป้องกันและระงับอัคคีภัยและเหตุฉุกเฉิน มีการติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับการรั่วไหล ของก๊าซและสารเคมี มีการออกแบบระบบน้ำดับเพลิงที่สามารถรองรับเหตุฉุกเฉินได้ พร้อมทั้งมีแผน ฉุกเฉินและแผนบริหารจัดการความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพ
การจัดการด้านอาชีวอนามัย
บริษัทฯ ให้ความสำคัญต่อการดำเนินโครงการส่งเสริมด้านสุขภาพอนามัยของพนักงานอย่างสม่ำเสมอ ได้แก่ • การตรวจสุขภาพประจำปี ซึ่งรวมถึงการตรวจสุขภาพสำหรับพนักงานตามลักษณะการทำงาน • การตรวจวัดสภาพแวดล้อมในการทำงาน เช่น การตรวจวัดระดับสารเคมี ระดับเสียงดัง ความ เข้มของแสงสว่าง และระดับความร้อน เป็นต้น • โครงการสมุดสุขภาพ (E-Health Book) ซึ่งเป็นการจัดทำโปรแกรมสมุดสุขภาพประจำตัวพนักงาน ที่ทำงานในสภาพแวดล้อมที่มีความเสี่ยง โดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการติดตามประวัติ สุขภาพของพนักงานตามผลการตรวจของแพทย์อาชีวเวชศาสตร์ ในทุกครั้งที่มีการตรวจสุขภาพ ซึ่ง พนักงานสามารถเรียกดูข้อมูลการตรวจสุขภาพของตนเองและประวัติการตรวจสุขภาพย้อนหลังถึง ปัจจุบันได้ตลอดเวลา ทำให้สามารถติดตามผลการตรวจสุขภาพได้อย่างต่อเนื่อง • โครงการอนุรักษ์การได้ยิน (Hearing Conservation Program) เป็นโครงการที่จัดทำขึ้นเพื่อให้ ความรู ้ แ ละเทคนิ ค ให้แก่พนักงานในการดูแลตนเอง ป้องกัน และหลีกเลี่ยงผลกระทบจากการ ปฏิบัติงานในพื้นที่ที่มีเสียงดัง • โครงการสุขภาพดี ชีวีมีสุข เป็นโครงการที่จัดขึ้นเพื่อดูแล Work Life Balance ของพนักงาน ซึ่งประกอบด้วย ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ ด้านสังคม และด้านจิตวิญญาณ ให้มีความสมดุล บริ ษั ท ฯ ยึ ด ถื อ และเชื่ อ มั่ น ว่ า การดำเนิ น ธุ ร กิ จ ควบคู่ ไ ปกั บ การจั ด การสิ่ ง แวดล้ อ ม ความ ปลอดภัย และอาชีวอนามัย ที่เป็นระบบและเป็นไปตามมาตรฐานสากล ในทุกโครงการและทุก หน่วยการผลิต ทั้งในปัจจุบัน และที่จะเกิดขึ้นในอนาคต จะเป็นส่วนสำคัญที่แสดงถึงความ
มุ่งมั่นในการรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายของบริษัทฯ ด้วยความตั้งใจที่จะประกอบธุรกิจ ให้เติบโตอย่างยั่งยืน
58
รายงานประจำปี 2552 I บริษทั ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
ข้อมูลทั่วไป ชื่อบริษัท
ชื่อย่อหลักทรัพย์ เว็บไซต์ เลขทะเบียนบริษัท ทุนจดทะเบียน ทุนชำระแล้ว วันเริ่มซื้อ-ขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ วันก่อตั้งบริษัท ธุรกิจหลัก จำนวนพนักงานรวม ติดต่อบริษัท บุคคลอ้างอิง นายทะเบียนหลักทรัพย์–หุ้นสามัญ ที่ตั้งบริษัทฯ : สำนักงานใหญ่ของบริษัทฯ
บริษัท ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน) PTTCH www.pttchemgroup.com 0107548000668 15,191,153,000 บาท แบ่งออกเป็นหุ้นสามัญ จำนวน 1,519,115,300 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้ หุ้นละ 10 บาท (ณ 31 ธันวาคม 2552) 15,010,400,000 บาท (ณ 31 ธันวาคม 2552) 13 ธันวาคม 2548 7 ธันวาคม 2548 กลุ่มกิจการผลิตโอเลฟินส์และสาธารณูปการ กลุ่มธุรกิจผลิตภัณฑ์โพลิเมอร์ กลุ่มธุรกิจผลิตภัณฑ์เอทิลีนออกไซด์ กลุ่มธุรกิจผลิตภัณฑ์โอลีโอเคมี กลุ่มธุรกิจการให้บริการและอื่น ๆ 1,362 คน สำนักงานใหญ่ โทรศัพท์ : 66 (0) 2265-8400 โทรสาร : 66 (0) 2265-8500 หน่วยงานกำกับองค์กรและเลขานุการบริษัท โทรศัพท์ : 66 (0) 2265-8632-5 อีเมล์ : cg@pttchemgroup.com หน่วยงานนักลงทุนสัมพันธ์ โทรศัพท์ : 66 (0) 2265-8574 อีเมล์ : ir@pttchemgroup.com บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด 62 อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ถนนรัชดาภิเษก แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 โทรศัพท์ 66 (0) 2229-2888 Call center 66 (0) 2229-2888 โทรสาร 66 (0) 2654-5427 เว็บไซต์ http://www.tsd.co.th ณ วันที่ 22 มีนาคม 2553 บริษัทฯ ได้ย้ายที่ตั้งสำนักงานใหญ่ กรุงเทพฯ และสำนักสาขาอาคารซันทาวเวอร์ส ไปยัง ศูนย์เอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์ และได้จดทะเบียนเปลี่ยนแปลง ที่ตั้งสำนักงานใหญ่และสำนักงานสาขา เป็นดังนี้ 555/1 ศูนย์เอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์ อาคาร เอ ชั้น 15 - 18 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์ 66 (0) 2265-8400 โทรสาร 66 (0) 2265-8500
59
สาขาที่ 1 (สาขาถนนไอ-หนึ่ง)
สาขาที่ 2 (สาขาถนนไอ-สี่) สาขาที่ 3 (สาขาท่าเทียบเรือ และคลังผลิตภัณฑ์) สาขาที่ 4 (สาขาถนนราษฎร์นิยม) สาขาที่ 5 (สาขาถนนปกรณ์สงเคราะห์) ที่ตั้งบริษัทในกลุ่มฯ นายทะเบียนหุ้นกู้และผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ นายทะเบียนหุ้นกู้ ผู้สอบบัญชี ที่ปรึกษากฎหมาย
14 ถนนไอ-หนึ่ง ตำบลมาบตาพุด อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง 21150 โทรศัพท์ 66 (0) 3892-2100
9 ถนนไอ-สี่ ตำบลมาบตาพุด อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง 21150 โทรศัพท์ 66 (0) 3892-2000
19 ถนนโรงปุ๋ย ตำบลมาบตาพุด อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง 21150 โทรศัพท์ 66 (0) 3892-2750
59 ถนนราษฎร์นิยม ตำบลเนินพระ อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง 21150 โทรศัพท์ 66 (0) 3899-4000
24/9 ถนนปกรณ์สงเคราะห์ ตำบลมาบตาพุด อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง 21150 นอกจากนี้ บริษทั ในกลุม่ ปตท. เคมิคอล ได้ยา้ ยทีต่ งั้ สำนักงานใหญ่ ไปยังศูนย์เอนเนอร์ยคี่ อมเพล็กซ์ เช่นกัน และได้จดทะเบียนเปลีย่ นแปลง ที่ตั้งสำนักงาน เป็นดังนี้ 555/1 ศูนย์เอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์ อาคาร เอ ชั้น 15 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) 393 ถนนสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500 โทรศัพท์ 66 (0) 2230-5479, 5575, 5783, 6061 โทรสาร 66 (0) 2266-8150, 9779 ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ฝ่ายปฏิบัติการ 1060 ถนนเพชรบุรี แขวงมักกะสัน เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 โทรศัพท์ 66 (0) 2256-2323-8 โทรสาร 66 (0) 2256-2406 ฝ่ายผลิตภัณฑ์ 9 ถนนรัชดาภิเษก แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์ 66 (0) 2544-3930, 3937 โทรสาร 66 (0) 2937-7662 บริษัท เคพีเอ็มจี ภูมิไชย สอบบัญชี จำกัด ชั้น 48 เอ็มไพร์ทาวเวอร์ 195 ถนนสาทรใต้ กรุงเทพฯ 10120 โทรศัพท์ 66 (0) 2677-2000 โทรสาร 66 (0) 2677-2222 บริษัท เบเคอร์ แอนด์ แม็คเค็นซี่ จำกัด ชั้น 22-25 อาคารอับดุลราฮิมเพลส 990 ถนนพระราม 4 แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500 โทรศัพท์ 66 (0) 2636-2000 โทรสาร 66 (0) 2636-2111 บริษัท สำนักกฎหมายสากล สยามพรีเมียร์ จำกัด ชั้น 26 อาคาร ดิ ออฟฟิศเศส แอท เซ็นทรัล เวิลด์ 999/9 ถนนพระราม 1 แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 โทรศัพท์ 66 (0) 2646-1888 โทรสาร 66 (0) 2646-1919 บริษัท สำนักกฎหมาย ดำเนิน สมเกียรติ และบุญมา จำกัด 719 ถนนสีพ่ ระยา แขวงบางรัก เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500 โทรศัพท์ 66 (0) 2266-6485-6510 โทรสาร 66 (0) 2266-6483,6484
60
รายงานประจำปี 2552 I บริษทั ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
คำอธิบายและการวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ ผลการดำเนินงานประจำปี 2552 1. บทสรุปผู้บริหาร
ในปี 2552 บริษัท ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิ 6,802 ล้านบาท หรือ 4.54 บาทต่อหุ้น ปรับตัวลดลงร้อยละ 42 จากปี 2551 ที่มีผลกำไรสุทธิ 11,739 ล้านบาท โดยสรุปผลการ ดำเนินงานของบริษัทฯ และบริษัทย่อย ได้ดังนี้
ผลการดำเนินงานเปรียบเทียบปี 2552 และ ปี 2551
ปี 2552 2551 รายได้จากการขาย 83,952 81,960 EBITDA 15,546 20,258 กำไรสุทธิ 6,802 11,739 กำไรต่อหุ้น (บาท) 4.54 7.84
(หน่วย : ล้านบาท)
เพิ่มขึ้น/(ลดลง) 2% (23%) (42%) (42%)
ในปี 2552 ราคาน้ำมันดิบเฉลี่ย (Dubai) เท่ากับ 62 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาเรล ปรับตัวลดลงจากปี 2551 ที่ 93 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาเรล ส่งผลให้ราคาแนฟทา ปรับตัวลดลงเป็น 547 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน จาก เดิมที่ 798 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน ในปี 2551 หรือลดลงร้อยละ 32 ประกอบกับในช่วง 3 ไตรมาสแรก ของปี 2551 เป็นช่วงขาขึ้นของธุรกิจปิโตรเคมี ทำให้ราคาผลิตภัณฑ์ HDPE เฉลี่ยทั้งปี สูงถึง 1,476 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน ในขณะที่ ราคา HDPE เฉลี่ยในปี 2552 ปรับตัวลดลงเป็น 1,134 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน หรือลดลงร้อยละ 23 จากปัญหาภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลกที่เริ่มต้นตั้งแต่ไตรมาส 4/2551
ต่อเนื่องถึงต้นไตรมาส 2/2552 ทำให้ส่วนต่างของราคาผลิตภัณฑ์ HDPE และวัตถุดิบแนฟทา ปี 2552
เท่ากับ 587 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน ลดลงจาก 678 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน ในปี 2551 หรือลดลงร้อยละ 13
61 ความก้าวหน้าโครงการที่อยู่ระหว่างก่อสร้างและการลงทุน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 สรุปได้ดังนี้ การรักษาความสามารถในการแข่งขัน
OLEFINS & SHARED FACILITIES โครงการ โครงการอีเทนแครกเกอร์ ภายใต้ บจ. พีทีที โพลีเอทิลีน
(PTTPE) ซึ่งบริษัทฯ ถือหุ้นร้อยละ 100 รายละเอียดโครงการ โรงงานผลิตเอทิลนี กำลังการผลิต 1,000,000 ตันต่อปี โดยใช้กา๊ ซอีเทน
จาก บมจ. ปตท. เป็นวัตถุดิบหลัก ความก้าวหน้า ก่อสร้างแล้วเสร็จ และอยู่ระหว่างการทดลองเดินเครื่อง (Test-Run) การขยายธุรกิจสู่ธุรกิจปลายน้ำ (Downstream Business) และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องเพื่อกระจาย ความเสี่ยง POLYMERS PRODUCTS
โครงการ รายละเอียดโครงการ ความก้าวหน้า โครงการ รายละเอียดโครงการ ความก้าวหน้า โครงการ รายละเอียดโครงการ ความก้าวหน้า
โครงการขยายกำลังการผลิต HDPE ของ PTTCH ขยายกำลังการผลิตจาก 250,000 ตันต่อปี เป็น 300,000 ตันต่อปี ก่อสร้างแล้วเสร็จ* โครงการขยายกำลังการผลิต HDPE ของ BPE ขยายกำลังการผลิตจาก 250,000 ตันต่อปี เป็น 500,000 ตันต่อปี ก่อสร้างแล้วเสร็จ พร้อมทำการทดลองเครื่อง* โครงการ โรงงานเม็ ด พลาสติ ก LDPE และ LLDPE ภายใต้
บจ. พีทที ี โพลีเอทิลีน (PTTPE) ซึ่งบริษัทฯ ถือหุ้นร้อยละ 100 LLDPE 400,000 ตันต่อปี LDPE 300,000 ตันต่อปี LLDPE เริ่มดำเนินการผลิตเชิงพาณิชย์ เมื่อวันที่ 1 ม.ค. 2553 LDPE อยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้าง ความก้าวหน้าโครงการ ~ 94% (31 ธ.ค. 52) คาดว่าจะแล้วเสร็จช่วงปลายไตรมาส 2 ปี 2553
โครงการ รายละเอียดโครงการ ความก้าวหน้า โครงการ รายละเอียดโครงการ ความก้าวหน้า
โครงการผลิต Ethanolamines ภายใต้ บจ. ไทยเอทานอลเอมีน
(TEA) ซึง่ บริษทั ฯ ถือหุน้ ร้อยละ 100 กำลังการผลิต 50,000 ตันต่อปี ก่อสร้างแล้วเสร็จ* โครงการผลิต Bis-Phenol A ภายใต้ บจ. พีทีที ฟีนอล (PPCL)
ซึง่ บริษทั ฯ ถือหุน้ ร้อยละ 30 กำลังการผลิต 150,000 ตันต่อปี อยู่ระหว่างการก่อสร้าง คาดว่าจะแล้วเสร็จในไตรมาส 3 ปี 2553
EO-Based PERFORMANCE PRODUCTS
OLEOCHEMICAL PRODUCTS
โครงการ โครงการผลิต MPR (Multi-Purpose Reactor) ภายใต้ บจ. ไทยโอลีโอเคมี (TOL) ซึง่ บริษทั ฯ ถือหุน้ ร้อยละ 100 รายละเอียดโครงการ กำลังการผลิต 14,000 ตันต่อปี ความก้าวหน้า ก่อสร้างแล้วเสร็จ และอยู่ระหว่างการทดลองเดินเครื่อง (Test-Run) * เป็นโครงการที่อยู่ภายใต้คำสั่งคุ้มครองชั่วคราวของศาลปกครองสูงสุด
62
รายงานประจำปี 2552 I บริษทั ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
2. ภาพรวมอุตสาหกรรม
ราคาผลิตภัณฑ์ วัตถุดิบอ้างอิงและส่วนต่าง
Naphtha Ethylene Unit:
$/MT
(MOPS)
Propylene (SEA)
HDPE
(MTP)
(SEA)
ที่มา:CMAI MEG Spread MEG Ethylene Propylene HDPE -0.65
(SEA)
(MTP)
2008
798 1,133
1,281
1,253 1,342 1,476 1,194
335
455
678
458
1Q-09 2Q-09 3Q-09 4Q-09 2009
410 627 508 743 600 1,030 671 1,056 547 864
680 758 926 1,025 847
672 797 1,045 1,018 883
218 263 234 288 429 444 385 347 317 336
524 636 649 538 587
207 117 71 98 123
615 934 750 1,144 1,030 1,249 1,081 1,209 869 1,134
(SEA)
615 600 740 784 685
-MOPS -MOPS
-MOPS Ethylene
สำหรับหน่วยผลิต ME ของ TOL ราคาขาย ME, ราคาวัตถุดิบ (Crude Palm Oil-CPO) และส่วนต่างราคา ผลิตภัณฑ์ สรุปได้ดังนี้ (หน่วย : เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน) ราคาขาย ME* ราคา CPO* ME-CPO ไตรมาส 1/2552 844 602 242 ไตรมาส 2/2552 944 725 219 ไตรมาส 3/2552 965 724 241 ไตรมาส 4/2552 953 700 253 Note : * ราคาตามประกาศกระทรวงพลังงาน 3. ผลการดำเนินงาน
รายได้จากการขายรวม ต้นทุนวัตถุดิบ Net Realize Value Adjustment Product to Feed Margin ค่าใช้จ่ายในการผลิต รายได้อื่นๆ ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร EBITDA ค่าเสื่อมราคาและรายการตัดบัญชี EBIT ค่าใช้จา่ ยด้านการเงิน (ดอกเบีย้ รับ-ดอกเบีย้ จ่าย) กำไร/(ขาดทุน) จากอัตราแลกเปลี่ยน ส่วนแบ่งกำไร (ขาดทุน) จากเงินลงทุน หัก กำไรสุทธิส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย ภาษีเงินได้นิติบุคคล กำไรสุทธิ กำไรต่อหุ้นขั้นพื้นฐาน (บาทต่อหุ้น)
ปี 2552 83,952 (56,456) - 27,497 (9,739) 2,263 (4,475) 15,546 (4,690) 10,856 (2,040) 648 144 (479) (2,329) 6,802 4.54
ปี 2551 81,960 (50,979) (753) 30,228 (9,444) 2,587 (3,113) 20,258 (4,054) 16,204 (814) (910) 40 (461) (2,320) 11,739 7.84
(หน่วย : ล้านบาท)
% ส่วนต่าง 2% 11% (100%) (9%) 3% (13%) 44% (23%) 16% (33%) 151% 171% 261% 4% 0% (42%) (42%)
63 ผลการดำเนินงานเปรียบเทียบปี 2552 และปี 2551
1. บริษัทฯ มีรายได้จากการขายเท่ากับ 83,952 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 2 โดยมีสาเหตุหลักจากการรับรู ้ รายได้ของ Emery ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2551 ที่ผ่านมา อย่างไรก็ดี รายได้จากการดำเนินการของ
บริษัทฯ ปรับตัวลดลง โดยสรุปได้ดังนี้ 1.1 รายได้จากการขาย Olefins ของบริษัทฯ ลดลง 6,616 ล้านบาท หรือร้อยละ 22 เนื่องจากในปี
2552 ราคา Ethylene (SEA) ปรับตัวลดลงร้อยละ 24 เป็น 864 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน และราคา
Propylene (SEA) ปรับตัวลดลงร้อยละ 30 เป็น 883 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน ในขณะที่ปริมาณขาย
Ethylene ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 22 เป็น 1,043,479 ตัน และ Propylene ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ
26 เป็น 400,063 ตัน 1.2 รายได้จากการขายเม็ดพลาสติก HDPE ปรับตัวลดลง 3,713 ล้านบาท หรือ คิดเป็นร้อยละ 16
จากราคาเม็ดพลาสติก HDPE (SEA) ที่ปรับตัวลดลงร้อยละ 23 เป็น 1,134 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน
ในขณะที่ปริมาณขาย HDPE ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 7 เป็น 529,022 ตัน 1.3 รายได้จากการขาย ผลิตภัณฑ์ EO และ MEG ปรับตัวลดลง 1,254 ล้านบาท หรือ คิดเป็นร้อยละ
13 จากราคา MEG (SEA) ที่ปรับตัวลดลงร้อยละ 43 เป็น 685 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน ในขณะที่
ปริมาณขาย MEG ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 29 เป็น 396,652 ตัน จากการขยายกำลังการผลิต
MEG ในไตรมาส 4/2551 2. ต้นทุนวัตถุดิบเพิ่มขึ้นเป็น 56,456 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายในการผลิตเพิ่มขึ้นเป็น 9,739 ล้านบาท และ
ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารเพิ่มขึ้นเป็น 4,475 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 11, 3 และ 44
ตามลำดับ โดยมีสาเหตุหลักจากการ Consolidate งบการเงินของ Emery ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2551 และ TFA ที่เริ่มดำเนินการผลิตเชิงพาณิชย์ในเดือนกันยายน 2551 3. ค่าเสื่อมราคาและรายการตัดบัญชี 4,690 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 16 โดยมีสาเหตุหลักจากค่าเสื่อม ราคาที่เพิ่มขึ้นจากการ Consolidate งบการเงินของ Emery ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2551 4. ค่าใช้จ่ายทางการเงินสุทธิจำนวน 2,040 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 151 มีสาเหตุหลักมาจากการเบิก เงินกู้ยืมระยะยาวเพิ่มขึ้นจำนวน 10,000 ล้านบาท ในไตรมาส 4/2551 ประกอบกับการออกหุ้นกู้ จำนวน 12,000 ล้านบาท และ 3,000 ล้านบาท ในเดือนธันวาคม 2551 และเดือนมิถุนายน 2552 ตามลำดับ เพื่อใช้ในการลงทุนตามแผนงาน 5. บริษัทฯ มีผลกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ยังไม่เกิดขึ้นจริงจำนวน 648 ล้านบาท ในขณะที่มีการ ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน 910 ล้านบาทในปี 2551 โดยมีสาเหตุหลักจากการแข็งค่าของเงินบาท จาก 35.08 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 เป็น 33.52 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 ส่งผลให้เงินกู้ระยะยาวจำนวน 442 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวลดลงเมื่อ คำนวณเป็นสกุลเงินบาท 6. ส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนจำนวน 144 ล้านบาท เพิม่ ขึน้ ร้อยละ 261 จากส่วนแบ่งกำไรของบริษทั ร่วม
ที่เพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ
4. การขายผลิตภัณฑ์
ปริมาณการขายผลิตภัณฑ์ปี 2552 เปรียบเทียบกับปี 2551 สรุปได้ดังนี้ 4.1 ปริมาณขายโอเลฟินส์ 1,443,541 ตัน ปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก 1,171,013 ตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 23
ตามปริมาณการผลิตที่เพิ่มขึ้น 4.2 ปริมาณขาย HDPE (โรงโอเลฟินส์ ไอ-1 + BPE) เท่ากับ 529,022 ตัน ปรับตัวเพิม่ ขึน้ จาก 492,232 ตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 7 ตามปริมาณการผลิตที่เพิ่มขึ้น 4.3 ปริมาณขายผลิตภัณฑ์ MEG ของ TOCGC เท่ากับ 396,652 ตัน ปรับตัวเพิม่ ขึน้ จาก 306,875 ตัน
หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 29 ตามกำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้น
64
รายงานประจำปี 2552 I บริษทั ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
5. ประสิทธิภาพการผลิต
ปริมาณการผลิตปี 2552 เปรียบเทียบกับปี 2551 สรุปได้ดังนี้ 5.1 ปริมาณผลิตโอเลฟินส์ 1,715,588 ตัน ปรับตัวเพิม่ ขึน้ จาก 1,437,432 ตัน หรือเพิม่ ขึน้ ร้อยละ 19
จากการขยายกำลังการผลิต (De-bottlenecking) โรงโอเลฟินส์ ไอ 4-2 ในช่วงไตรมาส 4/2551 โดย
อัตราการใช้กำลังการผลิตโอเลฟินส์ คิดเป็นร้อยละ 92 ในปี 2552 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 84 ในปี
2551 และอัตราการผลิตโอเลฟินส์ตอ่ วัตถุดบิ คิดเป็นร้อยละ 67 คงทีเ่ มือ่ เปรียบเทียบกับปี 2551 5.2 ปริมาณผลิต HDPE (โรงโอเลฟินส์ ไอ-1 + BPE) เท่ากับ 527,967 ตัน ปรับตัวเพิม่ ขึน้ จาก 492,722 ตัน
หรือเพิม่ ขึน้ ร้อยละ 7 เนือ่ งจาก บริษทั ฯ มีการปิดโรงงาน HDPE ของโรงเอฟินส์ ไอ-1 และ BPE ในปี
2551 นานกว่าการปิดโรงงานทัง้ 2 ในปี 2552 สรุปได้ดงั นี ้ ปี 2551 - โรงงาน BPE หยุดผลิตเพือ่ บำรุงรักษา (ตามแผนงาน) เป็นเวลา 30 วัน ในไตรมาส 3/2551 (1-30 ส.ค.) และหยุดผลิตเชิงพาณิชย์เป็นเวลา 21 วัน ในไตรมาส 4/2551 (25-31 ต.ค. และ 14-27 พ.ย.) - โรงงาน HDPE ของโรงโอเลฟินส์ ไอ-1 หยุดผลิตเชิงพาณิชย์เป็นเวลา 8 วัน ในไตรมาส 4/2551
(19-26 ธ.ค.) ปี 2552 - โรงงาน HDPE ของโรงโอเลฟินส์ ไอ-1 หยุดผลิตเพือ่ ขยายกำลังการผลิตเป็นเวลา 46 วัน ในไตรมาส
4/2552 (3 พ.ย.-18 ธ.ค.) โดยอัตราการใช้กำลังการผลิต HDPE คิดเป็นร้อยละ 106 ในปี 2552
เพิม่ ขึน้ จากร้อยละ 99 ในปี 2551 5.3 ปริมาณผลิต MEG ของ TOCGC เท่ากับ 396,722 ตัน ปรับตัวเพิม่ ขึน้ จาก 310,121 ตัน หรือ เพิม่
ขึน้ ร้อยละ 28 จากการขยายกำลังการผลิต (Expansion) ในไตรมาส 4/2551 โดยอัตราการใช้กำลัง
การผลิต MEG คิดเป็นร้อยละ 100 ในปี 2552 ลดลงจากร้อยละ 103 ในปี 2551 5.4 ปริมาณการผลิต ME ของ TOL เท่ากับ 127,807 ตัน ปรับตัวเพิม่ ขึน้ จาก 109,592 ตัน หรือเพิม่ ขึน้ ร้อยละ 17 โดยอัตราการใช้กำลังการผลิต ME คิดเป็นร้อยละ 64 ในปี 2552 เพิม่ ขึน้ จากร้อยละ 55 ในปี 2551
6. สถานะทางการเงิน สินทรัพย์
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 บริษัทฯ มีสินทรัพย์รวมทั้งสิ้น 160,251 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก ณ สิ้นปี 2551 จำนวน 7,933 ล้านบาท หรือร้อยละ 5 โดยมีสาเหตุหลักจากการลดลงของเงินสดและรายการเทียบเท่า เงินสดจำนวน 10,124 ล้านบาท เนื่องจากการลงทุนในโครงการต่างๆ ของบริษัทย่อย โดยเฉพาะ
โครงการ PTTPE ในขณะที่ลูกหนี้การค้าและตั๋วเงินรับเพิ่มขึ้น 3,423 ล้านบาท จากปริมาณขายที่เพิ่มขึ้น และราคาขายที่ปรับตัวสูงขึ้นในช่วงปลายปี 2552 ลูกหนี้อื่นเพิ่มขึ้น 716 ล้านบาท จากการเพิ่มขึ้นของ
ลูกหนี้สรรพากร สินทรัพย์หมุนเวียนอื่นเพิ่มขึ้น 769 ล้านบาท จากค่าพัสดุคงคลังจ่ายล่วงหน้า และ สินทรัพย์ไม่มีตัวตนเพิ่มขึ้น 907 ล้านบาท จากสิทธิบัตรด้านเทคโนโลยี (Technology License) ของ PTTPE ประกอบกับที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์สุทธิ เพิ่มขึ้น จำนวน 10,915 ล้านบาท จากงานระหว่าง ก่อสร้างของบริษัทย่อยเป็นสำคัญ
หนี้สิน
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 บริษัทฯ มีหนี้สินรวมทั้งสิ้น 59,158 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก ณ สิ้นปี 2551 จำนวน 3,037 ล้านบาท หรือร้อยละ 5 โดยมีสาเหตุหลักจากการเพิ่มขึ้นของเจ้าหนี้การค้าจำนวน 2,462 ล้านบาท จากปริมาณการซื้อ Feedstock ที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับราคา Feedstock ที่ปรับตัวสูงขึ้นในช่วง ปลายปี 2552 การเพิ่มขึ้นของภาษีเงินได้นิติบุคคลค้างจ่าย 1,195 ล้านบาท ซึ่งมีกำหนดจ่ายในปี 2010 การเพิ่มขึ้นของเงินกู้ยืมระยะยาวจากการออกหุ้นกู้ในเดือนมิถุนายน 2552 จำนวน 3,000 ล้านบาท ใน ขณะที่เจ้าหนี้ค่าก่อสร้างลดลง 1,570 ล้านบาท จากการจ่ายชำระหนี้ในระหว่างปี และการจ่ายชำระคืน เงินกู้ระยะยาว และไถ่ถอนหุ้นกู้ จำนวน 1,993 ล้านบาท เป็นสำคัญ
65 ส่วนของผู้ถือหุ้น
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 บริษัทฯ มีส่วนของผู้ถือหุ้น 101,093 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก ณ สิ้นปี 2551 จำนวน 4,896 ล้านบาท โดยมีสาเหตุหลักจากการเพิ่มขึ้นของส่วนเกินมูลค่าหุ้นจากการใช้สิทธิซื้อหุ้น ของพนักงาน (ESOP) จำนวน 280 ล้านบาท และการเพิ่มขึ้นของกำไรสุทธิปี 2552 จำนวน 6,802 ล้าน บาท ในขณะที่บริษัทฯ และบริษัทย่อย มีการจ่ายเงินปันผล 2,881 ล้านบาท
กระแสเงินสด
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 บริษัทฯ มีกระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน 11,572 ล้านบาท ในขณะที่ กระแสเงินสดทีใ่ ช้ไปในกิจกรรมลงทุนเท่ากับ 17,773 ล้านบาท จากการลงทุนในบริษทั ย่อยเป็นหลัก ส่งผล
ให้บริษทั ฯ มีกระแสเงินสดสุทธิกอ่ นกิจกรรมจัดหาเงิน (Free Cash Flow) ติดลบ 6,201 ล้านบาท ในขณะที ่ มีกระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงินติดลบ 3,896 ล้านบาท จากการจ่ายคืนดอกเบี้ย การชำระเงินคืนกู้ ระยะยาว และการจ่ายเงินปันผล ส่งผลให้เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดติดลบ 10,098 ล้านบาท นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังมีกระแสเงินสดติดลบจากผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนของเงินตราต่างประเทศ คงเหลือสิ้นปีอีก 27 ล้านบาท ซึ่งเมื่อรวมกับกระแสเงินสดต้นงวด จำนวน 21,175 ล้านบาท ทำให้ บริษัทฯ มีกระแสเงินสด ณ สิ้นปี 2552 เท่ากับ 11,050 ล้านบาท
อัตราส่วนทางการเงินที่สำคัญ
อัตราส่วนสภาพคล่อง (เท่า) อัตราส่วน EBITDA ต่อรายได้รวม อัตราส่วนกำไรสุทธิต่อรายได้รวม อัตราส่วนผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ อัตราส่วนผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น อัตราส่วนหนีส้ นิ ทีม่ ภี าระดอกเบีย้ ต่อส่วนของผูถ้ อื หุน้ (เท่า) อัตราส่วนหนี้สินสุทธิต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (เท่า) อัตราส่วนหนี้สินสุทธิต่อ EBITDA (เท่า)
หมายเหตุ : อัตราส่วนสภาพคล่อง = อัตราส่วน EBITDA ต่อรายได้รวม = อัตราส่วนกำไรสุทธิต่อรายได้รวม = อัตราส่วนผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ = อัตราส่วนผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น = อัตราส่วนหนีส้ นิ ทีม่ ภี าระดอกเบีย้ ต่อส่วนของผูถ้ อื หุน้ = อัตราส่วนหนี้สินสุทธิต่อส่วนของผู้ถือหุ้น = อัตราส่วนหนี้สินสุทธิต่อ EBITDA =
ปี 2552 2.29 18.02% 7.88% 4.35% 6.90% 0.45 0.34 2.20
ปี 2551 2.96 23.55% 13.65% 8.21% 12.32% 0.46 0.24 1.16
สินทรัพย์หมุนเวียน หาร หนี้สินหมุนเวียน EBITDA หาร รายได้รวม (ไม่รวมกำไร/(ขาดทุน) จากอัตรา
แลกเปลี่ยนและส่วนได้เสียจากการลงทุนในบริษัทย่อย) กำไรสุทธิ หาร รายได้รวม (ไม่รวมกำไร/(ขาดทุน) จากอัตรา
แลกเปลี่ยนและส่วนได้เสียจากการลงทุนในบริษัทย่อย) กำไรสุทธิ หาร สินทรัพย์รวมเฉลี่ย กำไรสุทธิ หาร ส่วนของผู้ถือหุ้นรวมเฉลี่ย หนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ย หาร ส่วนของผู้ถือหุ้น หนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยหักเงินสดและรายการเทียบเท่า เงินสดและเงินลงทุนชั่วคราว หาร ส่วนของผู้ถือหุ้น หนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยหักเงินสดและรายการเทียบเท่า
เงินสดและเงินลงทุนชัว่ คราว หาร EBITDA
66
รายงานประจำปี 2552 I บริษทั ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
การบริหารความเสี่ยงและปัจจัยความเสี่ยง การบริหารความเสี่ยง (Risk Management)
บริษัทฯ และบริษัทในกลุ่ม ได้ตระหนักถึงความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจ จึงได้กำหนดให้มีการบริหาร ความเสี่ยงทั่วทั้งองค์กรอย่างเป็นระบบ โดยในปี 2552 บริษัทฯ ได้ปรับเปลี่ยนโครงสร้างหน่วยงานที่ รับผิดชอบการบริหารความเสี่ยงองค์กรและปรับปรุงคู่มือการบริหารความเสี่ยงองค์กรของบริษัทฯ ให้มี ความเหมาะสมยิ่งขึ้น รวมทั้งได้จัดทำเอกสารขั้นตอนการดำเนินงานการบริหารความเสี่ยงองค์กร เพื่อใช้ ควบคู่กับคู่มือการบริหารความเสี่ยงฯ เมื่อเดือนกรกฎาคม 2552 ทั้งนี้ บริษัทฯ กำหนดให้ผู้บริหารระดับสูงเป็นคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง มีหน้าที่ในการกำหนด นโยบายและกรอบการบริ ห ารความเสี ่ ย งระดั บ บริ ษ ั ท ฯ ติ ด ตามและให้ ค วามเห็ น ต่ อ ความเสี ่ ย ง การบริหารความเสี่ยงและรายงานการบริหารความเสี่ยงระดับบริษัทฯ ซึ่งจะได้นำเสนอต่อคณะกรรมการ ตรวจสอบและคณะกรรมการบริษัทฯ ตามระยะเวลาและขั้นตอนดำเนินการที่กำหนดไว้ บริษัทฯ ได้ดำเนินการให้มีการวิเคราะห์ความเสี่ยงของกลุ่มบริษัทฯ ทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพอย่าง ต่อเนื่อง โดยมีการวิเคราะห์แบบจำลองทางการเงิน เพื่อประเมินความเสี่ยงแบบ Value at Risk (VaR) ซึ่ง จะชี้ถึงผลกระทบทางการเงินต่อบริษัทฯ จากการเปลี่ยนแปลงปัจจัยสำคัญ ณ ระดับความเป็นไปได้
ต่าง ๆ และการวิเคราะห์ผลกระทบและโอกาสของความเสี่ยงที่อาจส่งผลต่อการบรรลุวัตถุประสงค์ บริษัทฯ หรือเป้าหมายของโครงการในรูปแบบเมทริกซ์ 4x4 พร้อมทั้งให้มีการจัดทำแผนจัดการความ เสี่ยง เพื่อลดทอนโอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์ที่เป็นความเสี่ยง หรือบรรเทาผลกระทบกรณีเกิดเหตุการณ์ที่ เป็นความเสี่ยงขึ้น และให้มีการรายงานข้อมูลความเสี่ยงระดับบริษัทฯ ต่อคณะกรรมการบริหารความ เสี่ยง คณะกรรมการตรวจสอบและคณะกรรมการบริษัทฯ อย่างสม่ำเสมอ
ปัจจัยความเสี่ยง (Risk Factors)
แม้บริษัทฯ จะได้ให้ความสำคัญในการจัดให้มีระบบการบริหารความเสี่ยงที่สอดคล้องกับมาตรฐาน สากล แต่จากลักษณะเฉพาะของอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและของกลุ่มบริษัทฯ ทำให้ไม่อาจหลีกเลี่ยง ความเสี่ยงบางประการที่หากเกิดขึ้นแล้วอาจส่งผลต่อการบรรลุเป้าหมายหรือการดำเนินธุรกิจของกลุ่ม บริษัทฯ อย่างมีนัยสำคัญ ความเสี่ยงดังกล่าวอาจแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ได้แก่ ความเสี่ยงของ อุตสาหกรรม และความเสี่ยงเฉพาะของบริษัทฯ และบริษัทในกลุ่ม
67
• ความเสี่ยงของอุตสาหกรรม (Industrial Risks) ความเสี่ยงด้านราคาผลิตภัณฑ์และวัตถุดิบ (Product & Feedstock Price Risks)
การเปลี่ยนแปลงของราคาผลิตภัณฑ์และวัตถุดิบของกลุ่มบริษัทฯ อาจส่งผลกระทบต่อผลการดำเนินงาน ของกลุ่มบริษัทฯ อย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากราคาของผลิตภัณฑ์และวัตถุดิบส่วนใหญ่ของกลุ่มบริษัทฯ เป็นราคาตลาดโลก หรือมีสูตรอ้างอิงราคาตลาดโลก ซึ่งจะได้รับผลกระทบโดยตรงจากการเปลี่ยนแปลง ในปริมาณความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์ ซึ่งมักขึ้นอยู่กับภาวะเศรษฐกิจโลก หรือเศรษฐกิจในประเทศที่เป็น ตลาดหลักของผลิตภัณฑ์ และจากการเปลี่ยนแปลงระดับกำลังการผลิตของผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ในตลาด โลก อันเป็นปัจจัยที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของบริษัทฯ แนวทางการลดความเสี่ยง : บริษัทฯ มีนโยบายที่ให้มีการกำหนดสูตรราคาที่ชัดเจนในสัญญาซื้อขาย ผลิตภัณฑ์และวัตถุดิบ ทั้งของบริษัทฯ และบริษัทในกลุ่ม ที่สะท้อนราคาอ้างอิงตลาดซื้อขายหลัก หลายแห่งซึ่งจะช่วยลดความผันผวนของราคาลงได้ระดับหนึ่ง ทั้งยังมีนโยบายที่จะให้สูตรราคาในสัญญา ซื้อขายผลิตภัณฑ์และวัตถุดิบของบริษัทฯ หรือระหว่างบริษัทฯ กับบริษัทในกลุ่ม หรือระหว่างบริษัทใน กลุ่มด้วยกันเชื่อมโยงกับราคาต้นทุนของผลิตภัณฑ์ในกรณีที่มีความเหมาะสม ซึ่งจะช่วยลดผลกระทบต่อ บริษัทฯ หรือบริษัทในกลุ่มที่เป็นผู้ขายกรณีราคาตลาดของผลิตภัณฑ์บางประเภทลดต่ำลงกว่าต้นทุน ผลิต ดังจะเห็นได้จากการที่ราคาวัตถุดิบก๊าซธรรมชาติ ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักของบริษัทฯ เป็นราคาที่ สะท้อนความเคลื่อนไหวของราคาผลิตภัณฑ์เม็ดพลาสติก ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ขั้นปลายที่สำคัญของบริษัทฯ นโยบายดังกล่าวทำให้ราคาต้นทุนวัตถุดิบบางส่วนของกลุ่มบริษัทฯ มีความยืดหยุ่นในการสะท้อนราคา ผลิตภัณฑ์ปลายทาง และสามารถลดผลกระทบจากราคาที่เปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะในช่วงวัฏจักรขาลง ของอุตสาหกรรมลงได้ในระดับหนึ่ง บริษัทฯ ได้กำหนดให้มีการประสานแผนการผลิตจากส่วนกลางในกลุ่มกิจการผลิตโอเลฟินส์ กลุ่มธุรกิจ ผลิตภัณฑ์โพลิเมอร์ และกลุ่มธุรกิจผลิตภัณฑ์เอทิลีนออกไซด์ เพื่อให้การจัดสรรเอทิลีนและโพรพิลีน ให้การผลิตในแต่ละสายผลิตภัณฑ์ของกลุ่มบริษัทฯ มีประสิทธิภาพและได้ผลตอบแทนสูงสุดภายใต้ข้อ จำกัดใด ๆ ที่อาจมีอยู่ ซึ่งจะช่วยลดผลกระทบจากความผันผวนหรือการเปลี่ยนแปลงราคาวัตถุดิบและ ผลิตภัณฑ์ภายในกลุ่มบริษัทฯ ลงได้ในระดับหนึ่ง กลุ่มบริษัทฯ ยังคงแสวงหาโอกาสทางธุรกิจอย่างต่อเนื่อง เพื่อขยายการผลิตไปสู่ผลิตภัณฑ์ปลายน้ำที่มี ศักยภาพ ซึ่งจะช่วยลดผลกระทบในเชิงลบกรณีราคาผลิตภัณฑ์ในสายการผลิตหนึ่ง ๆ ตกต่ำลง และลด ความผันผวนในรายได้และกำไรสุทธิของกลุ่มบริษัทฯ ลงได้ในระยะยาว เนื่องจากวัฏจักรราคาของ ผลิตภัณฑ์ปลายน้ำบางประเภท อาทิ ผลิตภัณฑ์สายโพลิเมอร์ อาจแตกต่างไปจากวัฏจักรราคาเอทิลีน ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ต้นน้ำและเป็นผลิตภัณฑ์หลักของบริษัทฯ ทั้งนี้ การขยายการผลิตไปสู่ปิโตรเคมี
ปลายน้ำ รวมถึงผลิตภัณฑ์ปลายน้ำที่มีมูลค่าเพิ่มสูง จะช่วยลดผลกระทบจากการแข่งขันด้านราคาลงได้ ในระยะยาว และเป็นการขยายโอกาสทางธุรกิจไปสู่ผลิตภัณฑ์ที่มีนวัตกรรมสูงขึ้น ซึ่งจะสนับสนุนให้กลุ่ม บริษัทฯ มีการเติบโตได้อย่างยั่งยืนในระยะยาว กลุ่มบริษัทฯ ตระหนักถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น หากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกไม่เป็นไปตามที่คาด ซึ่งอาจส่งผลให้ความต้องการผลิตภัณฑ์ของกลุ่มบริษัทฯ ชะลอตัวหรือลดน้อยลงได้อย่างมีนัยสำคัญ ดังนั้น บริษัทฯ จึงกำหนดให้มีแผนการขยายตลาดในผลิตภัณฑ์ที่ยังคงมีศักยภาพหรือมีอัตรากำไรขั้นต้น ในระดับดี และไปยังประเทศหรือภูมิภาคที่มีศักยภาพในการรองรับผลิตภัณฑ์ของกลุ่มบริษัทฯ ให้มากยิ่ง ขึ้น พร้อมกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้สามารถตอบสนองความต้องการของตลาดได้อย่างทันท่วงที ซึ่งจะ ช่วยลดผลกระทบจากความผันผวนด้านราคาของผลิตภัณฑ์หลักของบริษัทฯ ซึ่งอยู่ในกลุ่มสินค้า โภคภัณฑ์ลงได้ในระดับหนึ่ง
68
รายงานประจำปี 2552 I บริษทั ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
ความเสีย่ งจากการทีส่ ถานทีต่ ง้ั โรงงานของกลุม่ บริษทั ฯ ผูจ้ ดั หาวัตถุดบิ หลัก และลูกค้า หลักส่วนใหญ่ของกลุ่มบริษัทฯ อยู่รวมกันในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดหรือบริเวณ ใกล้เคียง (Cluster of Plants Risk) โรงงานปิโตรเคมีขนาดใหญ่โดยทั่วไป มักตั้งอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับโรงงานของผู้จัดหาวัตถุดิบหรือ ลูกค้าหลัก เพื่อลดค่าใช้จ่ายด้านการจัดส่งวัตถุดิบหรือนำส่งผลิตภัณฑ์ (Logistics Costs) โรงงานของ กลุ่มบริษัทฯ มีที่ตั้งในลักษณะดังกล่าวเช่นกัน โดยตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดและบริเวณ ใกล้เคียง อีกทัง้ ผูจ้ ดั หาวัตถุดบิ หลักและลูกค้าหลักของกลุม่ บริษทั ฯ ต่างก็ตง้ั อยูใ่ นนิคมอุตสาหกรรมมาบตา พุดหรือบริเวณใกล้เคียง ดังนั้น หากเกิดเหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงต่อโรงงาน สถานประกอบการ หรือระบบท่อส่งของกลุ่มบริษัทฯ ผู้จัดหาวัตถุดิบหลักหรือลูกค้าหลักของกลุ่มบริษัทฯ อาจส่งผลเสียหายร้ายแรงต่อผลการดำเนินงานของบริษัทฯ หรือบริษัทในกลุ่มได้ แนวทางการลดความเสี่ยง : กลุ่มบริษัทฯ กำหนดให้มีการรักษาความปลอดภัยของโรงงานตาม มาตรฐานสากลและมีนโยบายให้มีการประกันความเสี่ยงภัยทุกชนิดที่เกิดจากการดำเนินงานของบริษัทฯ หรือบริษัทในกลุ่มที่ดำเนินการเชิงพาณิชย์แล้ว และการประกันความเสี่ยงภัยทุกชนิดที่เกิดระหว่างการ ก่อสร้างสำหรับโครงการที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างตามมาตรฐานสากล เพื่อลดผลกระทบกรณีเกิด เหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงต่อกลุ่มบริษัทฯ
ความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Risk)
จากลักษณะการดำเนินการของอุตสาหกรรมและการดำเนินงานโครงการในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีโดย ทั่วไป มักเกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตจากปฏิกิริยาทางเคมีและกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อ สุขภาพและสิ่งแวดล้อม ซึ่งหากเกิดอุบัติเหตุ เหตุสุดวิสัยหรือความผิดพลาดในการดำเนินงาน อาจส่งผล กระทบต่อผู้มีส่วนได้เสีย ต่อแผนการลงทุนของกลุ่มบริษัทฯ และต่อผลการดำเนินงาน รวมทั้งภาพ ลักษณ์ของบริษัทฯ และบริษัทในกลุ่ม ทั้งในระยะสั้นและในระยะยาวได้อย่างมีนัยสำคัญ แนวทางการลดความเสี่ยง : บริ ษ ั ท ฯ กำหนดนโยบายด้ า นอาชี ว อนามั ย ความปลอดภั ย และ สิ่งแวดล้อม เป็นกรอบภารกิจตั้งแต่เริ่มต้นในการวางแผนการลงทุนโครงการ การเลือกเทคโนโลยีและ กระบวนการผลิต การออกแบบติดตั้ง การกำหนดวิธีปฏิบัติงาน การสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัย การ ดำเนินกิจกรรมการประเมินความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม การป้องกันและลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมต่อ ผู้มีส่วนได้เสีย การปฏิบัติตามกฎหมายและมาตรฐานที่กำหนดอย่างเคร่งครัด การปรับปรุงและพัฒนา ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมในเชิงรุก และการปรับปรุงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพพลังงานเชิงเศรษฐนิเวศ (Eco-efficiency) หรือการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน โดยการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่าเพื่อให้เกิดการ เติ บ โตอย่ า งยั ่ ง ยื น ทั ้ ง องค์ ก รและสั ง คม ตลอดถึ ง การดำเนิ น การตามมาตรฐานระบบจั ด การด้ า น สิ่งแวดล้อม ISO 14001 การจัดทำรายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบ สิ่งแวดล้อม กำหนดให้มีมาตรการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมเสนอต่อสำนักงานนโยบายและ แผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง และการสื่อสารให้ผู้เกี่ยวข้องทราบอย่างทั่วถึง โดยกลุ่มบริษัทฯ ได้จัดตั้งคณะทำงานที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อมที่ประกอบด้วยตัวแทนชุมชนรอบโรงงาน และหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องให้เข้ามามีส่วนร่วมกิจกรรมด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมภายใน โรงงาน เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องในลักษณะของความเสี่ยงที่ได้มีการบริหารจัดการ รวมถึง มาตรการป้องกันเพื่อควบคุมด้านกระบวนการผลิตต่าง ๆ ที่กลุ่มบริษัทฯ ดำเนินการอยู่
69 ความเสี่ยงด้านกฎหมาย (Legal Risk)
เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2552 ศาลปกครองกลางมีคำสั่งในคดีคำร้องที่ 586/2552 (คดีมาบตาพุด) ให้ หน่วยงานของรัฐซึง่ เป็นผูถ้ กู ฟ้องคดีสง่ั ระงับโครงการหรือกิจกรรมรวม 76 โครงการตามเอกสารหมายเลข 7 ท้ายคำฟ้อง ที่ยังปฏิบัติไม่ตรงตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 67 วรรคสอง ต่อมาในวันที่ 2 ธันวาคม 2552 ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งในคดีคำร้องที่ 592/2552 ยืนตามคำสั่งศาล ปกครองกลาง ยกเว้นโครงการจำนวน 11 โครงการ ซึง่ มีโครงการของบริษทั ฯ ได้รบั การอนุญาตให้ดำเนินการ ต่อได้จำนวน 1 โครงการ จากโครงการของบริษัทฯ และบริษัทในกลุ่ม รวมทั้งสิ้น 8 โครงการ จึงคงเหลือ โครงการที่ถูกระงับชั่วคราว 7 โครงการ หลังจากนั้น บริษัทฯ และบริษัทในกลุ่มได้ยื่นคำร้องต่อศาลปกครองกลางในฐานะผู้มีส่วนได้เสียเพื่อ ขอให้โครงการสามารถดำเนินการต่อไปได้ และศาลปกครองกลางได้มคี ำสัง่ ในคดีหมายเลขดำที่ 908/2552 ในวันที่ 22 มกราคม 2553 ให้โครงการต่าง ๆ ที่ถูกสั่งระงับโครงการจำนวนชั่วคราว 65 โครงการ ไปพิจารณาโครงการของตนเองโดยขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาว่าโครงการเข้าตามคำสั่งของศาล ข้อใด เพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามคำสั่งศาล ทั้งนี้ บริษัทฯ และบริษัทในกลุ่ม อยู่ระหว่างการประสาน งานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อทำความเข้าใจในรายละเอียดของโครงการที่เข้าข่ายต้องหยุดดำเนิน กิจกรรมตามคำสั่งศาล และโครงการที่สามารถดำเนินการต่อไปได้เนื่องจากเข้าข่ายข้อยกเว้นตามคำสั่ง หรือคำวินิจฉัยของศาล รวมทั้งพิจารณาหาแนวทางเพื่อให้เกิดผลเสียหายหรือผลกระทบน้อยที่สุด ต่อผู้มีส่วนได้เสีย อาทิ ผู้รับเหมาก่อสร้าง เจ้าหนี้เงินกู้ และความปลอดภัยในตัวโรงงาน เป็นต้น แนวทางการลดความเสี่ยง : บริษัทฯ ได้มีความพยายามในการร่วมมือกับหน่วยราชการและบริษัทอื่น ที่ได้รับผลกระทบในทำนองเดียวกัน โดยประสานงานและจัดเตรียมข้อมูลการดำเนินงานโครงการตาม แนบท้ายคำฟ้อง เพื่อชี้แจงต่อหน่วยราชการและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนชุมชนโดยรอบโครงการ เพื ่ อ เร่ ง รั ด โครงการต่าง ๆ ของบริษัทฯ และบริษัทในกลุ่มให้สามารถดำเนินการต่อไปได้โดยเร็ว และสอดคล้องกับกฎหมายรัฐธรรมนูญ นอกเหนือจากการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานภายนอก กลุ่มบริษัทฯ ยังได้ดำเนินการปรับ โครงสร้างและระบบการทำงานที่จำเป็นในส่วนงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดหาวัตถุดิบ การผลิตและการจัด จำหน่ายของกลุ่มบริษัทฯ เพื่อให้บางโครงการของกลุ่มบริษัทฯ ที่ไม่ได้เป็นโครงการที่ถูกอ้างอิงตาม เอกสารแนบท้ายคำฟ้อง แต่ได้รับผลกระทบที่ต่อเนื่องจากคำสั่งระงับโครงการเป็นการชั่วคราวของศาล ปกครองกลางดังกล่าว ให้สามารถดำเนินการผลิตต่อไปได้โดยมีความคุ้มค่าสูงสุดต่อบริษัทฯ และคาดว่า จะสามารถบรรเทาผลกระทบจากคำสั่งระงับโครงการของศาลปกครองกลางได้ในระดับหนึ่ง
ความเสี่ยงด้านการเงิน (Financial Risks)
(ก) ความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน (FX Risk)
แม้ว่ารายจ่ายอื่นที่มิใช่ค่าวัตถุดิบส่วนใหญ่ของกลุ่มบริษัทฯ จะอยู่ในสกุลเงินบาท แต่เนื่องจากทั้งราคา วัตถุดิบและรายได้จากการขายผลิตภัณฑ์ของกลุ่มบริษัทฯ ส่วนใหญ่อ้างอิงค่าเงินสกุลเงินต่างประเทศ โดยเฉพาะดอลลาร์สหรัฐฯ ดังนั้น กลุ่มบริษัทฯ จึงมีความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนใน ส่วนต่างของรายได้จากการขายผลิตภัณฑ์กับต้นทุนวัตถุดิบ (Product-to-Feed Margin) โดยหากเงินบาท แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ความสามารถในการทำกำไรของบริษัทฯ ในสกุลเงินบาทจะ ลดลง ดังนั้น ความผันผวนและการเปลี่ยนแปลงของค่าเงินบาทเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐฯ จึงอาจ ส่งผลกระทบในทางลบต่อกลุ่มบริษัทฯ อย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงค่าเงินดังกล่าวอยู่นอก เหนือการควบคุมของกลุ่มบริษัทฯ
70
รายงานประจำปี 2552 I บริษทั ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
แนวทางการลดความเสี่ยง : บริษัทฯ เน้นการบริหารความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนแบบธรรมชาติ (Natural Hedge) โดยการพยายามทำให้รายได้รับสุทธิที่เป็นส่วนต่างระหว่างรายได้จากการขาย ผลิตภัณฑ์กับต้นทุนวัตถุดิบ (Product-to-Feed Margin) สอดคล้องกับภาระหนี้ต่างประเทศของบริษัทฯ มากที่สุดในแต่ละช่วงเวลา กล่าวคือ หากค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น รายได้สุทธิของบริษัทฯ จะลดลง ในขณะที่ภาระหนี้ต่างประเทศเมื่อคิดเป็นเงินบาทก็จะลดลงสอดคล้องกันด้วย เป็นต้น นอกจากนั้น บริษัทฯ ยังได้ใช้เครื่องมือทางการเงินอื่น ๆ เช่น การซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า (Forward) เพื่อ ป้องกันความเสี่ยงของรายรับและรายจ่ายที่เป็นเงินสกุลต่างประเทศ ในกรณีที่มีความเหมาะสม
(ข) ความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ย (Interest Rate Risk)
บริษัทฯ มีนโยบายที่จะรักษาอัตราส่วนหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยสุทธิต่อทุน (Net Interest Bearing Debtto-Equity Ratio) ของบริษัทฯ และของบริษัทในกลุ่มในระยะยาว ให้อยู่ในระดับไม่เกิน 1.0 เท่า (และ อัตราส่วนหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยสุทธิต่อกำไรก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษี ค่าเสื่อมราคาและรายการตัดบัญชี (Net Interest Bearing Debt-to-EBITDA Ratio) ของบริษัทฯ และของบริษัทในกลุ่มในระยะยาว ให้อยู่ใน ระดับไม่เกิน 2.0 เท่า) เพื่อสร้างผลตอบแทนให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียในระดับเหมาะสมสูงสุด และเพื่อ สนับสนุนแผนการดำเนินงานและการลงทุนของกลุ่มบริษัทฯ อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ ไม่อาจหลีกเลี่ยงในการเผชิญความเสี่ยงที่อัตราดอกเบี้ยในตลาดการเงินจะ ผันผวนหรือปรับตัวสูงขึ้นในช่วงระยะเวลาที่กลุ่มบริษัทฯ ประสงค์จะกู้เงินจากตลาดการเงิน ซึ่งอาจส่งผล ให้บริษัทฯ หรือบริษัทในกลุ่มไม่อาจกู้เงินได้ครบตามจำนวนที่ต้องการ หรือมีต้นทุนทางการเงินสูงขึ้น แนวทางการลดความเสี่ยง : เพื่อลดผลกระทบจากความผันผวนของอัตราดอกเบี้ยในตลาดการเงิน ที่อาจเกิดขึ้น และจากอัตราดอกเบี้ยในตลาดการเงินที่อาจปรับตัวสูงขึ้นในช่วงระยะเวลาที่บริษัทฯ ประสงค์จะกู้ยืมเงิน บริษัทฯ ได้พิจารณาเตรียมวงเงินกู้ยืมระยะสั้นกับสถาบันการเงิน โดยจะพิจารณา ระยะเวลา วงเงิน และรูปแบบการกู้ยืม ให้มีความสอดคล้องกับโครงสร้างทางการเงินและความต้องการ ใช้เงินของกลุ่มบริษัทฯ รวมถึงพิจารณาโครงสร้างหนี้ระหว่างหนี้ที่มีอัตราดอกเบี้ยคงที่และหนี้ที่มีอัตรา ดอกเบี้ยลอยตัวให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมกับสถานการณ์และแนวโน้มของอัตราดอกเบี้ย ตลอดถึงภาวะ ตลาดการเงินในแต่ละช่วงเวลา โดยอาจใช้เครื่องมือทางการเงิน เพื่อลดผลกระทบจากความผันผวนของ อัตราดอกเบี้ยกรณีมีความเหมาะสม เป็นต้น
• ความเสี่ยงเฉพาะของบริษัทฯ และบริษัทในกลุ่ม (Company-specific Risks) ความเสีย่ งจากการขัดแย้งทางผลประโยชน์ของผูม้ สี ว่ นได้เสีย (Conflict of Interests Risk)
จากการที่ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทฯ คิดเป็นร้อยละ 21.44 ของทุนจดทะเบียนชำระแล้ว มีบริษัทในเครือที่มีการผลิตโอเลฟินส์และเม็ดพลาสติก HDPE, LDPE และ LLDPE เช่นเดียวกับของกลุ่มบริษัทฯ (ที่ดำเนินการผลิตแล้วหรืออยู่ในแผนดำเนินการ) จึงอาจทำให้ เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ (Conflict of Interests) ระหว่างกลุ่มบริษัทฯ กับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ข้างต้น ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการบริหารจัดการเพื่อผลประโยชน์สูงสุดของบริษัทฯ และจากการที่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่สุดของบริษัทฯ คิดเป็นร้อยละ 49.30 ของทุนจด ทะเบียนชำระแล้ว เป็นผู้จัดหาวัตถุดิบหลักของบริษัทฯ มากเกินกว่า 4/5 ของปริมาณวัตถุดิบที่กลุ่ม บริษัทฯ จัดหาทั้งหมดในสายการผลิตโอเลฟินส์ จึงอาจทำให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ระหว่าง กลุ่มบริษัทฯ กับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ดังกล่าว ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการบริหารจัดการเพื่อผลประโยชน์ สูงสุดของบริษัทฯ
71 แนวทางการลดความเสี่ยง : บริษัทฯ มีเจตนารมณ์ในการดำเนินธุรกิจตามหลักกำกับดูแลกิจการที่ดี โดยกำหนดให้มีการเผยแพร่ความสำคัญและหลักการปฏิบัติในการกำกับดูแลกิจการที่ดีและจรรยาบรรณ ธุรกิจในการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ อันเป็นมาตรฐาน ซึ่งบริษัทฯ คาดหวังจากบุคลากรทุกระดับ อันได้แก่ คณะกรรมการ ผู้บริหาร พนักงาน ผู้ปฏิบัติงานสมทบและพนักงานของผู้รับจ้าง ให้ได้รับทราบ และถือปฏิบัติในการดำเนินงาน ซึ่งรวมถึงแนวทางการทำธุรกรรมกับผู้ถือหุ้น บริษัทย่อย หรือบริษัทร่วม ทุนของผู้ถือหุ้น กรรมการ หรือเจ้าหน้าที่บริหารของบริษัทฯ อย่างรัดกุม และข้อปฏิบัติในการทำรายการ เกี่ยวโยงกัน ซึ่งกำหนดให้ผู้มีส่วนได้เสียงดออกเสียงในวาระดังกล่าวในการประชุมคณะกรรมการและการ ประชุมผู้ถือหุ้น เพื่อป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่อาจเกิดขึ้น ทั้งนี้ บริษัทฯ ในฐานะที่เป็น บริษัทจดทะเบียนได้ให้ความสำคัญอย่างมากต่อการปฏิบัติตาม พ.ร.บ. หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2551 โดยได้แต่งตั้งกรรมการอิสระและคณะกรรมการตรวจสอบ เข้ามาดูแลผลประโยชน์ให้แก่ผู้ถือหุ้นรายย่อย และความเป็นธรรมให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายอย่างเท่า เทียมกัน
ความเสี่ยงจากการพึ่งพาผู้จัดหาวัตถุดิบรายใหญ่ (Supplier Risk)
จากการที่บริษัทฯ และบริษัทในกลุ่มบางราย ต้องพึ่งพาวัตถุดิบส่วนใหญ่จาก บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (มากเกินกว่า 4/5 ของปริมาณวัตถุดิบที่กลุ่มบริษัทฯ จัดหาทั้งหมดในสายการผลิตโอเลฟินส์) ดังนั้น กลุ่มบริษัทฯ จึงมีความเสี่ยงในการจัดหาวัตถุดิบในระดับหนึ่ง แนวทางการลดความเสี่ยง : จากการที่ผู้จัดหาวัตถุดิบหลักเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ลำดับที่หนึ่งของ บริษัทฯ และบริษัทในกลุ่มบางแห่ง กอปรกับการจัดหาวัตถุดิบจากผู้จัดหาวัตถุดิบหลักดังกล่าวอยู่ภายใต้ สัญญาซื้อขายระยะยาว อีกทั้งลักษณะเฉพาะของอุตสาหกรรมปิโตรเคมีที่มีข้อจำกัดในการแสวงหา ลูกค้า (ในฝั่งผู้จัดหาวัตถุดิบของบริษัทฯ) ดังนั้น โอกาสที่ผู้จัดหาวัตถุดิบหลักของกลุ่มบริษัทฯ ข้างต้น จะไม่ปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายหรือเปลี่ยนแปลงปริมาณซื้อขายที่ผิดไปจากข้อตกลงภายในระยะเวลา อันสั้นจึงอยู่ในระดับต่ำ ซึ่งหมายถึงความเสี่ยงจากการพึ่งพาผู้จัดหาวัตถุดิบรายใหญ่ของบริษัทฯ และ บริษัทในกลุ่มบางแห่งที่อยู่ในระดับจำกัดด้วยเช่นกัน
ความเสี่ยงในการเดินเครื่องจักรโรงงาน (Plant Operation Risk)
ในการเดินเครื่องจักรโรงงานของกลุ่มบริษัทฯ ย่อมมีความเป็นไปได้ที่จะเกิดเหตุขัดข้องหรือภาวะชะงักงัน จากหลากหลายสาเหตุ ทั้งจากภายในกลุ่มบริษัทฯ และจากภายนอกกลุ่มบริษัทฯ โดยไม่สามารถ คาดการณ์ล่วงหน้าได้ เหตุดังกล่าวอาจได้แก่ ความผิดพลาดของบุคลากร อุบัติเหตุ สาธารณูปการ (ไฟฟ้า น้ำ ไอน้ำ ฯลฯ) ไม่เพียงพอหรือขัดข้องในการนำจ่าย อุปกรณ์เครื่องจักรขัดข้อง โรงงานของผู้ จัดหาวัตถุดิบขัดข้อง ส่งผลให้ต้องลดปริมาณจัดส่งวัตถุดิบให้แก่กลุ่มบริษัทฯ และโรงงานของลูกค้า ขัดข้อง ส่งผลให้ไม่สามารถรับผลิตภัณฑ์ของกลุ่มบริษัทฯ ได้ตามที่ตกลงไว้ เป็นต้น เหตุการณ์ที่เป็น ความเสี่ยงข้างต้นอาจส่งผลให้การดำเนินธุรกิจของกลุ่มบริษัทฯ ชะงักงันหรือคลาดเคลื่อนไปจากแผน ที่วางไว้ และอาจส่งผลลบต่อรายได้และผลกำไรของบริษัทฯ หรือบริษัทในกลุ่ม อย่างมีนัยสำคัญ แนวทางการลดความเสี่ยง : บริษัทฯ ตระหนักถึงความเสี่ยงในการเดินเครื่องจักรโรงงานของกลุ่ม บริษัทฯ จึงได้กำหนดให้มีแผนรองรับภาวะชะงักงันในการดำเนินธุรกิจ เพื่อใช้ระงับเหตุฉุกเฉินหรือ ควบคุมเหตุขัดข้อง ลดความเสียหายต่อทรัพย์สิน ป้องกันอันตรายต่อบุคคลและสิ่งแวดล้อมและให้ โรงงานกลับคืนสู่สภาวะปกติได้เร็วที่สุด อีกทั้งยังได้กำหนดให้มีแผนบำรุงรักษาเชิงป้องกันและเชิง พยากรณ์ (Preventive/Predictive Maintenance) เพื่อลดความเสี่ยงในส่วนที่เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์ เครื่องจักรลงให้อยู่ในระดับต่ำสุด กำหนดให้มีคู่มือขั้นตอนการดำเนินงานในด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ การเดินเครื่องจักรโรงงานและการซ่อมบำรุงรักษา รวมทั้งมีการฝึกอบรมเพื่อทบทวนคู่มือขั้นตอนต่างๆ เป็นประจำสม่ำเสมอ เพื่อลดโอกาสที่จะเกิดความผิดพลาด อุบัติเหตุหรือเหตุขัดข้องลงให้อยู่ในระดับ ต่ำสุด และมีนโยบายให้บริษัทฯ และบริษัทในกลุ่มที่มีการผลิตเชิงพาณิชย์แล้วมีการประกันความเสี่ยง ภัยทุกชนิดที่เกิดจากการดำเนินงาน (All Risks Insurance) ตามมาตรฐานสากล เพื่อลดความเสียหายต่อ กลุ่มบริษัทฯ ให้อยู่ในระดับต่ำสุด กรณีเกิดความเสี่ยงดังกล่าวขึ้น
72
รายงานประจำปี 2552 I บริษทั ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
ความเสี่ยงโครงการ (Project Risk)
เนื่องจากกลุ่มบริษัทฯ ยังคงดำเนินการและมีแผนดำเนินการขยายการลงทุนในสายการผลิตใหม่ ต่อเนื่องจากที่ดำเนินการในปีก่อนหน้าโดยเฉพาะปิโตรเคมีปลายน้ำ รวมถึงการเพิ่มกำลังการผลิตใน ระบบสาธารณูปการ (Utilities) เพื่อสนับสนุนแผนการลงทุนของกลุ่มบริษัทฯ โดยโครงการส่วนใหญ่มี ความเชื่อมโยงกันในลักษณะของการรับส่งวัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์ระหว่างโครงการที่กำลังดำเนินการกับ หน่วยผลิตเดิม หรือในการรับส่งกระแสไฟฟ้าและไอน้ำระหว่างสายการผลิตกับระบบสาธารณูปการ อีกทั้งหลายโครงการยังอยู่ในระหว่างขั้นตอนการก่อสร้าง ดังนั้น กลุ่มบริษัทฯ จึงไม่อาจหลีกเลี่ยงความ เสี ่ ย งโครงการที ่ ม ี อ ยู ่ ใ นหลากหลายรูปแบบได้ ซึ่งหากเกิดความเสี่ยงเหล่านี้ขึ้นอาจส่งผลกระทบ ต่อโครงการในหลายลักษณะ ที่สำคัญได้แก่ ผลกระทบต่อระยะเวลาดำเนินโครงการที่อาจต้องล่าช้า จากแผนที่กำหนดไว้ (Project Delay) ผลกระทบต่อต้นทุนโครงการที่อาจเพิ่มขึ้นเกินกว่างบลงทุน ที่กำหนดไว้ (Cost Overrun) และผลกระทบต่อความคุ้มค่าของโครงการลงทุน ซึ่งความเสี่ยงที่อาจก่อให้ เกิดผลกระทบที่สำคัญข้างต้น ได้แก่ ความเสี่ยงในการจัดหาวัตถุดิบ ความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม ความ เสี่ยงด้านสุขภาพ ความเสี่ยงในการออกแบบโครงการ ความเสี่ยงในการจัดหาวัสดุ อุปกรณ์และ เครื่องจักร ความเสี่ยงในการก่อสร้าง ความเสี่ยงในการเดินเครื่องจักรระยะแรกภายหลังการก่อสร้าง แล้วเสร็จ (Execution Risk) ความเสี่ยงด้านการตลาด และความเสี่ยงด้านการจัดส่งวัตถุดิบหรือนำส่ง ผลิตภัณฑ์ (Logistics Risk) เป็นต้น ทั้งนี้ ความเสี่ยงด้านกฎหมายในส่วนที่เชื่อมโยงกับคำสั่งระงับโครงการของศาลปกครองกลางในคดี
มาบตาพุด ส่งผลให้ความเสี่ยงโครงการหลายความเสี่ยง เช่น ความเสี่ยงด้านการจัดหาวัตถุดิบ ความ เสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม ความเสี่ยงด้านสุขภาพ และความเสี่ยงด้านการตลาด มีระดับความเสี่ยงเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากบางโครงการของกลุ่มบริษัทฯ ได้รับผลกระทบในการจัดหาวัตถุดิบและยังคงไม่อาจประเมิน ระดับหรือระยะเวลาที่จะได้รับผลกระทบหรือความเสียหายได้อย่างแน่ชัด ขณะที่บางโครงการอาจต้อง ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมหรือสุขภาพตามกฎเกณฑ์ที่อาจ เปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มขึ้นจากเดิม ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อโครงการได้ในหลากหลายมิติ และบางโครงการ อาจต้องสูญเสียโอกาสทางการตลาดหรือได้รับผลกระทบจากภาวะตลาดที่เปลี่ยนแปลงไปเนื่องจาก โครงการถูกระงับดำเนินการเป็นการชั่วคราวตามคำสั่งศาลปกครองกลาง ซึ่งความไม่แน่นอนทั้งหมดหรือ อื่นใดที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานโครงการของกลุ่มบริษัทฯ ทั้งในปัจจุบันและที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่ง รวมถึงที่อาจไม่ได้กล่าวถึงข้างต้น อาจส่งผลในเชิงลบต่อผลการดำเนินงานของบริษัทฯ ได้อย่างมี
นัยสำคัญ ทั้งในปีดำเนินงานปัจจุบันและในอนาคต แนวทางการลดความเสี่ยง : บริษัทฯ ตระหนักถึงความเสี่ยงโครงการของกลุ่มบริษัทฯ ที่มีอยู่ จึง กำหนดให้หน่วยงานผู้รับผิดชอบโครงการมีการบริหารความเสี่ยงตามนโยบายของบริษัทฯ โดยดำเนิน การตามขั้นตอนและรูปแบบที่กำหนด ซึ่งรวมถึงการระบุความเสี่ยงของโครงการที่อยู่ภายใต้ความ รับผิดชอบ การประเมินผลกระทบและโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยง การจัดทำและดำเนินการตามแผน จัดการความเสี่ยง และการรายงานและทบทวนรายงานความเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งคาดว่าจะช่วยลด โอกาสที่ความเสี่ยงโครงการแต่ละความเสี่ยงจะเกิดขึ้น หรือเพิ่มประสิทธิภาพในการรับมือกับผลกระทบ กรณี เ กิ ด เหตุ ก ารณ์ ท ี ่ เ ป็ น ความเสี ่ ย งขึ ้ น ซึ ่ ง หมายถึ ง ค่ า เสี ย โอกาสทางธุ ร กิ จ หรื อ ความเสี ย หายที ่ อาจน้อยกว่ากรณีทไ่ี ม่มกี ารบริหารความเสีย่ งเลย ซึง่ จะเพิม่ โอกาสให้กลุม่ บริษทั ฯ สามารถเติบโตได้ตาม เป้าหมายในระยะยาว ทั้งนี้ บริษัทฯ มีนโยบายให้มีการประกันความเสี่ยงภัยระหว่างการก่อสร้าง โครงการตามมาตรฐานสากล เพื่อลดความเสียหายต่อกลุ่มบริษัทฯ ให้อยู่ในระดับต่ำสุดกรณีเกิดความ เสี่ยงขึ้น จากความเสี่ยงมาบตาพุดที่เกิดขึ้นแล้วส่วนหนึ่งและยังคงอยู่อีกส่วนหนึ่ง กลุ่มบริษัทฯ จึงได้ดำเนินการ ปรับโครงสร้างและระบบการทำงานที่จำเป็นในส่วนงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดหาวัตถุดิบ การผลิตและ การจัดจำหน่ายของกลุ่มบริษัทฯ เพื่อให้บางโครงการของกลุ่มบริษัทฯ ซึ่งไม่ได้เป็นโครงการอยู่แนบท้าย คำฟ้อง แต่ได้รับผลกระทบจากคำสั่งระงับโครงการเป็นการชั่วคราวของศาลปกครองกลาง สามารถ ดำเนินการผลิตได้โดยมีความคุ้มค่าสูงสุดต่อบริษัทฯ ซึ่งคาดว่าจะสามารถบรรเทาผลกระทบจากคำสั่ง ระงับโครงการของศาลปกครองกลางได้ในระดับหนึ่ง
73 ความเสี่ยงด้านบุคลากร (Human Resources Risk)
จากการที่กลุ่มบริษัทฯ อยู่ในระหว่างขยายการดำเนินธุรกิจไปยังปิโตรเคมีขั้นปลาย ผลิตภัณฑ์ต่อเนื่อง หรืออื่นใดหลายโครงการทั้งภายในและต่างประเทศ ซึ่งอาจมีลักษณะหรือรูปแบบการเดินเครื่องจักร โรงงานและการวางแผนและบริหารงานขายผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างไปจากธุรกิจปัจจุบันของกลุ่มบริษัทฯ อย่างมาก ซึ่งบุคลากรที่มีอยู่ภายในกลุ่มบริษัทฯ อาจขาดความเชี่ยวชาญหรือประสบการณ์ในการ ดำเนินงานดังกล่าวในระดับที่มีประสิทธิภาพ ได้มาตรฐานหรือเพียงพอต่อการแข่งขันในระดับสากล หรือกลุ่มบริษัทฯ อาจไม่สามารถสรรหาบุคลากรจากภายนอกที่มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ได้ ตามความต้องการของแต่ละโครงการ ซึ่งหากเกิดความเสี่ยงด้านบุคลากรดังกล่าวขึ้นในระดับรุนแรง อาจส่งผลในเชิงลบต่อการดำเนินการของกลุ่มบริษัทฯ อย่างมีนัยสำคัญ แนวทางการลดความเสี่ยง : กลุ่มบริษัทฯ ตระหนักถึงความเสี่ยงด้านบุคลากรดังกล่าวมาโดยตลอด นับตั้งแต่ช่วงการพิจารณาความเป็นไปได้ของการดำเนินโครงการ และเตรียมการด้านบุคลากรที่มีความ เชี่ยวชาญและประสบการณ์ตามความต้องการของแต่ละโครงการตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นโครงการ โดยบริษัทฯ กำหนดให้มีการพัฒนาระบบ Shared Services ภายในกลุ่มบริษัทฯ และมีการจัดทำแผนพัฒนาศักยภาพ รายบุคคล ให้มีประสิทธิภาพในการตอบสนองความต้องการของกลุ่มบริษัทฯ ตามแผนการเติบโตของ กลุ่มบริษัทฯ ในอนาคต ซึ่งบริษัทฯ เชื่อว่าการดำเนินการดังกล่าว จะสามารถลดความเสี่ยงด้าน บุคลากรของกลุ่มบริษัทฯ ลงได้ในระดับหนึ่ง
74
รายงานประจำปี 2552 I บริษทั ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
โครงสร้างการถือหุ้นบริษัทในเครือ
75
โครงสร้างรายได้ของบริษัทฯ และบริษัทย่อย ผลิตภัณฑ์/บริการ*
ดำเนิน
การโดย ของบริษัทฯ ล้านบาท % ล้านบาท % ล้านบาท %
% ถือหุ้น
ปี 2550
ปี 2551
ปี 2552
ส่วนงาน 1 - กลุ่มกิจการผลิตโอเลฟินส์ และสาธารณูปการ 1.1 รายได้จากการขายเอทิลีน PTTCH 100 16,154 21% 17,306 21% 12,970 15% 1.2 รายได้จากการขายโพรพิลีน PTTCH 100 12,511 17% 13,187 16% 10,944 13% 1.3 รายได้จากการขายผลิตภัณฑ์พลอยได้ PTTCH 100 6,025 8% 6,723 8% 5,775 7% 1.4 รายได้จากการขายสาธารณูปการ PTTCH 100 2,929 4% 2,798 3% 3,070 4% 1.5 อื่นๆ PTTCH 100 - 0% 47 0% 31 0%
รวม 37,619 50% 40,061 48% 32,790 38% ส่วนงาน 2 - กลุ่มธุรกิจผลิตภัณฑ์โพลิเมอร์ 2.1 รายได้จากการขายเม็ดพลาสติก PTTCH, BPE 100 22,211 29% 23,325 28% 19,611 23% 2.2 รายได้จากการขายโพลีสไตรีน TSCL 100 - 0% 1,225 1% 1,687 2% รวม 22,211 29% 24,550 29% 21,298 25% ส่วนงาน 3 - กลุ่มธุรกิจผลิตภัณฑ์เอทิลีนออกไซด์ 3.1 รายได้จากการขาย EO/EG, EO Derivatives TOCGC 100 13,128 17% 10,598 13% 9,343 11% 3.2 รายได้จากการขาย EO Derivatives TEX 50 912 1% 1,183 1% 1,181 1% รวม 14,040 19% 11,781 14% 10,524 12% ส่วนงาน 4 - กลุ่มธุรกิจผลิตภัณฑ์โอลีโอเคมี 4.1 รายได้จากการขาย ME/FA TOL,TFA 100 - 0% 4,568 5% 6,426 7% 4.2 รายได้จากการขายจาก CH Inter, EMERY CH Inter 100 - 0% 1,000 1% 12,915 15% รวม - 0% 5,568 7% 19,341 22% ส่วนงาน 5 - กลุ่มธุรกิจการให้บริการและอื่น ๆ 5.1 รายได้จากการให้บริการเก็บและขนถ่ายผลิตภัณฑ์ TTT 51 1,234 2% 1,385 2% 1,479 2% 5.2 รายได้จากการให้บริการต่อเนื่อง PTTCH 100 159 0% 238 0% 236 0% 5.3 รายได้จากการให้บริการบำรุงรักษาโรงงาน PTTME 60 189 0% 378 0% 206 0% 5.4 รายได้จากการให้บริการด้านความปลอดภัย NPC S&E 100 132 0% 156 0% 156 0% และสิ่งแวดล้อม รวม 1,714 2% 2,157 3% 2,077 2% รวมรายได้จากการขาย/บริการ 75,584 100% 84,117 100% 86,030 100% หมายเหตุ: * แบ่งส่วนงานทางธุรกิจตามนโยบายโครงสร้างการดำเนินงานเป็นกลุ่มธุรกิจตามสายผลิตภัณฑ์ (Value Chain)
76
รายงานประจำปี 2552 I บริษทั ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
รายการระหว่างกัน รายการระหว่างกันกับบริษัทที่เกี่ยวข้องกัน
สำหรับสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 บริษัทฯ มีความเกี่ยวข้องกับบริษัทต่างๆ ในกลุ่มบริษัทฯ โดยการ มีผู้ถือหุ้นร่วมกันหรือมีกรรมการร่วมกัน รายการบัญชีระหว่างกิจการที่เกี่ยวข้องกันได้กำหนดขึ้นโดยใช้ ราคาตลาดหรือเป็นไปตามเงื่อนไขและเกณฑ์ที่ตกลงกันตามสัญญาระหว่างบริษัทฯ และบริษัทเหล่านั้น หากไม่มีตลาดรองรับ ความสัมพันธ์กับบริษัทต่างๆ มีรายละเอียด ดังต่อไปนี้ ชื่อบริษัท บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (PTT) ลักษณะการประกอบธุรกิจ ประกอบกิจการและส่งเสริมธุรกิจปิโตรเคมี ความสัมพันธ์กับบริษัท - เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ถือหุ้นบริษัทฯ ร้อยละ 49.30 - มีกรรมการร่วมกัน คือ นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ - มีการซื้อขายผลิตภัณฑ์ และให้บริการระหว่างกัน ชื่อบริษัท บริษทั เอ็ชเอ็มซี โปลีเมอส์ จำกัด (HMC) ลักษณะการประกอบธุรกิจ ผลิตและจำหน่ายเม็ดพลาสติกโพลิโพรพิลีน ความสัมพันธ์กับบริษัท - เป็นผู้ถือหุ้นร้อยละ 2.81 ของบริษัทฯ - มีกรรมการร่วมกัน คือ 1. นายปรัชญา ภิญญาวัธน์ 2. นายพิชิต นิธิวาสิน - มีการขายผลิตภัณฑ์และให้บริการระหว่างกัน ชื่อบริษัท บริษทั ไทยพลาสติกและเคมีภัณฑ์ จำกัด (มหาชน) (TPC) ลักษณะการประกอบธุรกิจ ผลิตและจำหน่ายพลาสติกผงและเม็ดโพลิไวนิลคลอไรด์ ความสัมพันธ์กับบริษัท - เป็นผู้ถือหุ้นร้อยละ 0.58 ของบริษัทฯ - ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ (บมจ.ปูนซิเมนต์ไทย) เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ - มีกรรมการร่วมกัน คือ นายชลณัฐ ญาณารณพ - มีการซื้อขายผลิตภัณฑ์ และให้บริการระหว่างกัน ชื่อบริษัท บริษัท ไทยโพลิเอททีลีน จำกัด (TPE) ลักษณะการประกอบธุรกิจ ผลิตและจำหน่ายเม็ดพลาสติกโพลิเอทิลีน ความสัมพันธ์กับบริษัท - ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ (บมจ.ปูนซิเมนต์ไทย) เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ - มีกรรมการร่วมกัน คือ 1. นายชลณัฐ ญาณารณพ 2. นายรุ่งโรจน์ รังสิโยภาส - มีการซื้อขายผลิตภัณฑ์ และให้บริการระหว่างกัน ชื่อบริษัท บริษัท ไทยโพลิโพรไพลีน จำกัด (TPP) ลักษณะการประกอบธุรกิจ ผลิตและจำหน่ายเม็ดพลาสติกโพลิโพรพิลีน ความสัมพันธ์กับบริษัท - ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ (บมจ.ปูนซิเมนต์ไทย) เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ - มีกรรมการร่วมกัน คือ 1. นายชลณัฐ ญาณารณพ 2. นายรุ่งโรจน์ รังสิโยภาส - มีการซื้อขายผลิตภัณฑ์ และให้บริการระหว่างกัน
77 ชื่อบริษัท บริษทั ปตท. อะโรเมติกส์ และการกลัน่ จำกัด (มหาชน) (PTTAR) ลักษณะการประกอบธุรกิจ ผลิตผลิตภัณฑ์หลัก 5 ชนิด คือ เบนซีน ไทลูอนี พาราไซลีน ออร์โธโซลีน มิกซ์ไซลีน และดำเนินธุรกิจโรงกลั่นน้ำมัน ความสัมพันธ์กับบริษัท - ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ (บมจ. ปตท.) เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ - มีกรรมการร่วมกัน คือ 1. นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ 2. นายวิฑูรย์ สิมะโชคดี 3. นายปรัชญา ภิญญาวัธน์ 4. นายเทวินทร์ วงศ์วานิช - มีการซื้อขายผลิตภัณฑ์ และให้บริการระหว่างกัน ชื่อบริษัท บริษทั ระยองโอเลฟินส์ จำกัด (ROC) ลักษณะการประกอบธุรกิจ ประกอบอุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นต้น ความสัมพันธ์กับบริษัท - ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ (บมจ.ปูนซิเมนต์ไทย) เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ - มีกรรมการร่วมกัน คือ 1. นายชลณัฐ ญาณารณพ 2. นายรุ่งโรจน์ รังสิโยภาส 3. นายพิชิต นิธิวาสิน 4. นายปรัชญา ภิญญาวัธน์ - มีการซื้อขายผลิตภัณฑ์ และให้บริการระหว่างกัน ชื่อบริษัท บริษทั สยามสไตรีน โมโนเมอร์ จำกัด (SSMC) ลักษณะการประกอบธุรกิจ ผลิตสไตรีนโมโนเมอร์คุณภาพสูง ความสัมพันธ์กับบริษัท - ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ (บมจ.ปูนซิเมนต์ไทย) เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ - มีกรรมการร่วมกัน คือ 1. นายชลณัฐ ญาณารณพ 2. นายรุ่งโรจน์ รังสิโยภาส - มีการซื้อขายผลิตภัณฑ์ และให้บริการระหว่างกัน ชื่อบริษัท บริษทั สยาม มิตซุย พีทีเอ จำกัด (SIAM MITSUI) ลักษณะการประกอบธุรกิจ ผลิตสาร Purified Terephthalic Acid ความสัมพันธ์กับบริษัท - ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ (บมจ.ปูนซิเมนต์ไทย) เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ - มีกรรมการร่วมกัน คือ นายชลณัฐ ญาณารณพ - มีการซื้อขายผลิตภัณฑ์ระหว่างกันกับบริษัทย่อย ชื่อบริษัท บริษทั ไทยแท้งค์เทอร์มินัล จำกัด (TTT) ลักษณะการประกอบธุรกิจ ให้บริการเก็บ และบริการ ขนถ่ายเคมีเหลว น้ำมันและก๊าซ ความสัมพันธ์กับบริษัท - เป็นบริษัทย่อย (บริษัทฯ ถือหุ้นร้อยละ 51) - มีกรรมการร่วมกัน คือ นายวีรศักดิ์ โฆสิตไพศาล - ผู้บริหารที่เป็นกรรมการใน TTT คือ 1. นายธเนศ เจริญทรัพย์ 2. นางพันธ์ทิพ อึ๊งผาสุข 3. นายณรงค์ บันฑิตกมล - มีการขายผลิตภัณฑ์ และให้บริการระหว่างกัน ชื่อบริษัท บริษทั พีทีที เมนเทนแนนซ์ แอนด์ เอนจิเนียริ่ง จำกัด (PTTME) ลักษณะการประกอบธุรกิจ ให้บริการบำรุงรักษางานออกแบบและวิศวกรรม ฯลฯ แก่อุตสาหกรรม ในประเทศและทวีปเอเซีย ความสัมพันธ์กับบริษัท - เป็นบริษัทย่อย (บริษัทฯ ถือหุ้นร้อยละ 60) - ผู้บริหารที่เป็นกรรมการ คือ นายเจียมศักดิ์ นันทนาเนตร - มีการให้บริการระหว่างกัน
78
รายงานประจำปี 2552 I บริษทั ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
ชื่อบริษัท บริษทั เอ็นพีซี เซฟตี้ แอนด์ เอ็นไวรอนเมนทอล เซอร์วสิ จำกัด (NPC S&E) ลักษณะการประกอบธุรกิจ ดำเนิ น ธุ ร กิ จ งานบริ ก ารด้ า นความปลอดภั ย และสิ ่ ง แวดล้ อ มให้ ก ั บ
บริษทั ในเครือ หน่วยงานราชการ และเอกชนต่างๆ ความสัมพันธ์กับบริษัท - เป็นบริษัทย่อย (บริษัทฯ ถือหุ้นร้อยละ 100) - มีกรรมการร่วมกัน คือ นายวีรศักดิ์ โฆสิตไพศาล - ผู้บริหารที่เป็นกรรมการใน NPC S&E คือ 1. นายเจียมศักดิ์ นันทนาเนตร 2. นายณรงค์ บันฑิตกมล 3. นายสุวิทย์ ทินนโชติ - มีการให้บริการระหว่างกัน ชื่อบริษัท บริษทั พีทีที ยูทิลิตี้ จำกัด (PTTUT) ลักษณะการประกอบธุรกิจ ผลิตไฟฟ้า ไอน้ำ และน้ำใช้ในกระบวนการผลิตของโรงงาน ความสัมพันธ์กับบริษัท - เป็นบริษัทร่วม (บริษัทฯ ถือหุ้นร้อยละ 40) - ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ (บมจ.ปตท.) เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ - ผู้บริหารที่เป็นกรรมการใน PTTUT คือ 1. นายอัฒฑวุฒิ หิรัญบูรณะ 2. นายธเนศ เจริญทรัพย์ 3. นายณรงค์ บันฑิตกมล 4. นายเจียมศักดิ์ นันทนาเนตร - มีผู้บริหารร่วมกันคือ 1. นายเจียมศักดิ์ นันทนาเนตร 2. นายณรงค์ บันฑิตกมล - มีการซื้อขายผลิตภัณฑ์ระหว่างกัน ชื่อบริษัท บริษทั พีทีที โพลีเอทิลีน จำกัด (PTTPE) ลักษณะการประกอบธุรกิจ ผลิตโอเลฟินส์ และผลิตภัณฑ์ขั้นต่อเนื่อง ความสัมพันธ์กับบริษัท - เป็นบริษัทย่อย (บริษัทฯ ถือหุ้นร้อยละ 100) - มีกรรมการร่วมกัน คือ 1. นายปรัชญา ภิญญาวัธน์ 2. นายวีรศักดิ์ โฆสิตไพศาล - ผู้บริหารที่เป็นกรรมการใน PTTPE คือ 1. นายขับพล ศักดิ์สุภา 2. นางพันธ์ทิพ อึ๊งผาสุข 3. นายปฏิภาณ สุคนธมาน - มีผู้บริหารร่วมกัน คือ 1. นายสุวิทย์ ทินนโชติ 2. นายณรงค์ บัณฑิกมล - มีการให้บริการระหว่างกัน ชื่อบริษัท บริษทั ไทยสไตรีนิคส์ จำกัด (TSCL) ลักษณะการประกอบธุรกิจ ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี ความสัมพันธ์กับบริษัท - เป็นบริษัทย่อย (บริษัทย่อยของบริษัทฯ ถือหุ้น ร้อยละ 100) - ผู้บริหารที่เป็นกรรมการใน TSCL คือ 1. นายขับพล ศักดิ์สุภา 2. นางพันธ์ทิพ อึ๊งผาสุข 3. นายสุวิทย์ ทินนโชติ 4. นายธเนศ เจริญทรัพย์ - มีการซื้อขายผลิตภัณฑ์ และให้บริการระหว่างกัน ชื่อบริษัท บริษทั พีทีที ฟีนอล จำกัด (PPCL) ลักษณะการประกอบธุรกิจ ผลิตสาร Phenol และผลิตภัณฑ์พลอยได้ ความสัมพันธ์กับบริษัท - เป็นบริษัทร่วม (บริษัทฯ ถือหุ้นร้อยละ 30) - ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ (ปตท.) เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ - มีกรรมการร่วมกัน คือ 1. นายปรัชญา ภิญญาวัธน์ 2. นายวีรศักดิ์ โฆสิตไพศาล - ผู้บริหารที่เป็นกรรมการใน PPCL คือ 1. นางพันธ์ทิพ อึ๊งผาสุข 2. นายธเนศ เจริญทรัพย์ - มีการซื้อขายผลิตภัณฑ์ และให้บริการระหว่างกัน
79 ชื่อบริษัท บริษทั พีทีที โพลีเมอร์ มาร์เก็ตติ้ง จำกัด (PTTPM) ลักษณะการประกอบธุรกิจ เป็นตัวแทนในการดำเนินการด้านการตลาดและ จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์โพลีเมอร์ให้กับกลุ่มบริษัทในเครือ ปตท. ความสัมพันธ์กับบริษัท - เป็นบริษัทร่วม (บริษัทฯ ถือหุ้นร้อยละ 25) - ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ (ปตท.) เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ - มีกรรมการร่วมกัน คือ 1. นายปรัชญา ภิญญาวัธน์ 2. นายวีรศักดิ์ โฆสิตไพศาล - ผู้บริหารที่เป็นกรรมการใน PTTPM คือ นายธเนศ เจริญทรัพย์ - มีการซื้อขายผลิตภัณฑ์ และให้บริการระหว่างกัน ชื่อบริษัท บริษัท สตาร์ ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง จำกัด (SPRC) ลักษณะการประกอบธุรกิจ ดำเนินธุรกิจโรงกลั่นน้ำมัน ความสัมพันธ์กับบริษัท - ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ (ปตท.) เป็นผู้ถือหุ้น - มีการซื้อขายผลิตภัณฑ์ระหว่างกัน ชื่อบริษัท บริษัท วีนิไทย จำกัด (มหาชน) (VNT) ลักษณะการประกอบธุรกิจ ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการผลิตและจำหน่ายผงพลาสติกพีวีซี ความสัมพันธ์กับบริษัท - เป็นบริษัทร่วม (บริษัทฯ ถือหุ้นร้อยละ 24.98) - มีกรรมการร่วมกัน คือ นายวีรศักดิ์ โฆสิตไพศาล - ผู้บริหารที่เป็นกรรมการใน VNT คือ 1. นางพันธ์ทิพ อึ๊งผาสุข 2. นายธเนศ เจริญทรัพย์ - มีการซื้อขายผลิตภัณฑ์ระหว่างกัน ชื่อบริษัท บริษทั ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) (IRPC) ลักษณะการประกอบธุรกิจ ดำเนินธุรกิจเกีย่ วกับการผลิตปิโตรเคมีภณ ั ฑ์ ความสัมพันธ์กับบริษัท - ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ (ปตท.) เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ - มีกรรมการร่วมกัน คือ 1. นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ 2. นายปรัชญา ภิญญาวัธน์ - มีการซื้อขายผลิตภัณฑ์ระหว่างกัน ชื่อบริษัท บริษัท บางกอกโพลีเอททีลีน จำกัด (มหาชน) (BPE) ลักษณะการประกอบธุรกิจ ดำเนินธุรกิจเกีย่ วกับการผลิตเม็ดพลาสติกโพลิเอทิลนี ชนิดความหนาแน่นสูง ความสัมพันธ์กับบริษัท - เป็นบริษัทย่อย (บริษัทฯ ถือหุ้นร้อยละ 100) - มีกรรมการร่วมกัน คือ นายปรัชญา ภิญญาวัธน์ - ผู้บริหารที่เป็นกรรมการ BPE คือ นายสุวิทย์ ทินนโชติ - มีการซื้อขายผลิตภัณฑ์ และให้บริการระหว่างกัน ชื่อบริษัท บริษัท กรุงเทพซินธิติกส์ จำกัด (BST) ลักษณะการประกอบธุรกิจ ดำเนินธุรกิจผลิตภัณฑ์ทม่ี าจาก Mixed C4 ความสัมพันธ์กับบริษัท - เป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ โดยถือหุ้นอยู่ร้อยละ 1.46 - มีกรรมการร่วมกัน คือ นายชลณัฐ ญาณารณพ - มีกรรมการที่เป็นผู้บริหาร BST คือ นายพิชิต นิธิวาสิน - มีการให้บริการระหว่างกัน ชื่อบริษัท บริษัท บางกอกอินดัสเทรียลแก๊ส จำกัด (BIG) ลักษณะการประกอบธุรกิจ บริษัทผลิตก๊าซสำหรับใช้ในอุตสาหกรรม - มีกรรมการร่วมกัน คือ นายพิชิต นิธิวาสิน ความสัมพันธ์กับบริษัท - มีการซื้อขายผลิตภัณฑ์ และให้บริการระหว่างกัน ชื่อบริษัท บริษัท ท่อส่งปิโตรเลียมไทย จำกัด (THAPPLINE) ลักษณะการประกอบธุรกิจ ให้บริการขนส่งน้ำมันทางท่อ ความสัมพันธ์กับบริษัท - ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ (ปตท.) เป็นผู้ถือหุ้น - มีการให้บริการระหว่างกัน
80
รายงานประจำปี 2552 I บริษทั ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
ชื่อบริษัท บริษัท อีสเทิร์น ฟลูอิด ทรานสปอร์ต จำกัด (EFT) ลักษณะการประกอบธุรกิจ ประกอบธุรกิจดูแลโครงสร้างพื้นฐานการวางท่อ ความสัมพันธ์กับบริษัท - เป็นบริษัทร่วม (บริษัทฯ ถือหุ้นร้อยละ 22.7) - ผู้บริหารที่เป็นกรรมการ EFT คือ นายอัฒฑวุฒิ หิรัญบูรณะ - มีการให้บริการระหว่างกัน ชื่อบริษัท บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) (DHIPAYA) ลักษณะการประกอบธุรกิจ รับประกันภัย ความสัมพันธ์กับบริษัท - ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ (ปตท.) เป็นผู้ถือหุ้น - มีการให้บริการระหว่างกัน ชื่อบริษัท บริษัท ทีโอซี ไกลคอล จำกัด (TOCGC) ลักษณะการประกอบธุรกิจ ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการผลิตเอ็มอีจี ความสัมพันธ์กับบริษัท - เป็นบริษัทย่อย (บริษัทฯ ถือหุ้นร้อยละ 100) - ผู้บริหารที่เป็นกรรมการในบริษัทย่อย คือ 1. นายปฏิภาณ สุคนธมาน 2. นางพันธ์ทิพ อึ๊งผาสุข 3. นายอัฒฑวุฒิ หิรัญบูรณะ - มีการซื้อขายผลิตภัณฑ์ และให้บริการระหว่างกัน ชื่อบริษัท บริษัท ไทยอีทอกซีเลท จำกัด (TEX) ลักษณะการประกอบธุรกิจ ผลิตและจำหน่ายสารแฟตตีแ้ อลกอฮอล์ อีทอกซีเลท ซึง่ เป็นสารประกอบ ในผลิตภัณฑ์ดแู ลสุขอนามัยบุคคล ความสัมพันธ์กับบริษัท - เป็นกิจการร่วมค้า โดยบริษัทฯ ถือหุ้นร้อยละ 50 - มีการซื้อขายผลิตภัณฑ์ และให้บริการระหว่างกัน ชื่อบริษัท บริษัท ไทยเอทานอลเอมีน จำกัด (TEA) ลักษณะการประกอบธุรกิจ ผลิตสารเอทานอลเอมีน รวมถึงผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมสี อุตสาหกรรมยา เครือ่ งสำอาง ซีเมนต์ ความสัมพันธ์กับบริษัท - เป็นบริษัทย่อย (บริษัทฯ ถือหุ้นร้อยละ 100) - ผู้บริหารที่เป็นกรรมการใน TEA คือ 1. นายปฏิภาณ สุคนธมาน 2. นายอัฒฑวุฒิ หิรัญบูรณะ - มีการให้บริการระหว่างกัน ชื่อบริษัท บริษัท ไทยโคลีนคลอไรด์ จำกัด (TCC) ลักษณะการประกอบธุรกิจ ผลิตสารโคลีนคลอไรด์ ใช้ในอาหารเลี้ยงสัตว์ ความสัมพันธ์กับบริษัท - เป็นบริษัทย่อย (บริษัทฯ ถือหุ้นร้อยละ 100) - ผู้บริหารที่เป็นกรรมการใน TCC คือ 1. นายเจียมศักดิ์ นันทนาเนตร 2. นายอัฒฑวุฒิ หิรัญบูรณะ 3. นายปฏิภาณ สุคนธมาน - มีการให้บริการระหว่างกัน ชื่อบริษัท บริษัท ไทยโอลีโอเคมี จำกัด (TOL) ลักษณะการประกอบธุรกิจ ผลิตผลิตภัณฑ์หลัก ได้แก่ เมทิลเอสเตอร์ แฟตตีแ้ อลกอฮอล์ กลีเซอรีน - เป็นบริษัทย่อย (บริษัทฯ ถือหุ้นร้อยละ 100) ความสัมพันธ์กับบริษัท - มีกรรมการร่วมกัน คือ นายวิฑูรย์ สิมะโชคดี - ผู้บริหารที่เป็นกรรมการใน TOL คือ 1. นายปฏิภาณ สุคนธมาน 2. นายอัฒฑวุฒิ หิรัญบูรณะ - มีการซื้อขายผลิตภัณฑ์ และให้บริการระหว่างกัน ชื่อบริษัท บริษัท ไทยอินดัสเตรียลแก๊ส จำกัด (มหาชน) (TIG) ลักษณะการประกอบธุรกิจ ผลิตก๊าซสำหรับใช้ในอุตสาหกรรม - มีกรรมการร่วมกัน คือ นายไพบูลย์ ปัญญวุฒิ ความสัมพันธ์กับบริษัท - มีการซื้อขายผลิตภัณฑ์ และให้บริการระหว่างกัน
81 ชื่อบริษัท บริษัท พีทีที ไอซีที โซลูชั่นส์ จำกัด (PTTICT) ลักษณะการประกอบธุรกิจ ให้บริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ความสัมพันธ์กับบริษัท - เป็นบริษัทร่วม (บริษัทฯ ถือหุ้นร้อยละ 20) - มีกรรมการร่วมกัน คือ นายเทวินทร์ วงศ์วานิช - ผู้บริหารที่เป็นกรรมการ คือ นายอัฒฑวุฒิ หิรัญบูรณะ - มีการให้บริการระหว่างกัน ชื่อบริษัท บริษัท พีทีที โพลีเมอร์โลจิสติกส์ จำกัด (PTTPL) ลักษณะการประกอบธุรกิจ ให้บริการด้านโลจิสติกส์แก่บริษัทปิโตรเคมีในเครือ ปตท. ความสัมพันธ์กับบริษัท - ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ (ปตท.) เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ - มีกรรมการร่วมกันคือ 1. นายปรัชญา ภิญญาวัธน์ 2. นายวีรศักดิ์ โฆสิตไพศาล - ผู้บริหารที่เป็นกรรมการ คือ นายขับพล ศักดิ์สุภา ชื่อบริษัท บริษัท ไทยแฟตตี้แอลกอฮอลล์ จำกัด (TFA) ลักษณะการประกอบธุรกิจ ผลิตผลิตภัณฑ์โอลิโอเคมิคอล และแฟตตี้แอลกอฮอล์ รวมถึง อนุพันธ์ของแฟตตี้แอลกอฮอล์ทุกชนิด ความสัมพันธ์กับบริษัท - เป็นกิจการร่วมค้า (บริษัทย่อยของบริษัทฯ ถือหุ้นร้อยละ 100) - มีกรรมการร่วมกัน คือ นายวิฑูรย์ สิมะโชคดี - ผู้บริหารที่เป็นกรรมการคือ 1. นายปฏิภาณ สุคนธมาน 2. นายอัฒฑวุฒิ หิรัญบูรณะ - มีการซื้อขายผลิตภัณฑ์ และให้บริการระหว่างกัน ชื่อบริษัท Emery Oleochemicals (M) SDN BHD (Emery) (ชื่อเดิม Cognis Oleochemicals (M) SDN BHD) ลักษณะการประกอบธุรกิจ ผลิตผลิตภัณฑ์โอลิโอเคมิคอล และแฟตตี้แอลกอฮอล์ รวมถึงอนุพันธ์ของแฟตตี้แอลกอฮอล์ทุกชนิด ความสัมพันธ์กับบริษัท - เป็นบริษัทร่วมค้า (บริษัทย่อยของบริษัทฯ ถือหุ้นร้อยละ 50) - มีกรรมการร่วมกันคือ นายวีรศักดิ์ โฆสิตไพศาล - ผู้บริหารที่เป็นกรรมการ คือ นางพันธ์ทิพ อึ๊งผาสุข - มีการซื้อขายผลิตภัณฑ์ระหว่างกัน ชื่อบริษัท PTT Chemical International Private Limited (CH Inter) ลักษณะการประกอบธุรกิจ ลงทุนและดำเนินธุรกิจในกิจการต่างประเทศ ความสัมพันธ์กับบริษัท - เป็นบริษัทย่อย (บริษัทฯ ถือหุ้นร้อยละ 100) - มีกรรมการร่วมกันคือ นายวีรศักดิ์ โฆสิตไพศาล ชื่อบริษัท PTT Chemical International (ASIA PACIFIC ROH) LTD (AP ROH) ลักษณะการประกอบธุรกิจ ให้บริการแก่บริษัทในกลุ่ม ความสัมพันธ์กับบริษัท - เป็นบริษัทย่อย (บริษัทย่อยของบริษัทฯ ถือหุ้น ร้อยละ 100) - มีกรรมการร่วมกันคือ นายวีรศักดิ์ โฆสิตไพศาล ชื่อบริษัท บริษทั ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) (PTTEP) ลักษณะการประกอบธุรกิจ สำรวจและผลิตปิโตรเลียม ความสัมพันธ์กับบริษัท - ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ (ปตท.) เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ - มีกรรมการร่วมกันคือ นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ชื่อบริษัท บริษัท พีทีที แทงค์เทอร์มินัล จำกัด (PTT TANK) ลักษณะการประกอบธุรกิจ ให้บริการเก็บ และบริการ ขนถ่ายเคมีเหลว น้ำมัน และก๊าซ ความสัมพันธ์กับบริษัท - ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ (ปตท.) เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ - มีกรรมการร่วมกันคือ นายปรัชญา ภิญญาวัธน์ - มีการให้บริการระหว่างกัน
82
รายงานประจำปี 2552 I บริษทั ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
ชื่อบริษัท ลักษณะการประกอบธุรกิจ ความสัมพันธ์กับบริษัท ชื่อบริษัท ลักษณะการประกอบธุรกิจ ความสัมพันธ์กับบริษัท
บริษัท พีทีที อินเตอร์เนชั่นแนล เทรดดิ้ง จำกัด (PTTT) ค้าน้ำมัน - ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ (ปตท.) เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ - มีกรรมการร่วมกันคือ นายเทวินทร์ วงศ์วานิช - มีการซื้อขายผลิตภัณฑ์ระหว่างกัน บริษัท พีทีที อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (PTT INTER) ลงทุนและดำเนินธุรกิจในกิจการต่างประเทศ - ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ (ปตท.) เป็นถือหุ้นรายใหญ่ - มีกรรมการร่วมกันคือ นายเทวินทร์ วงศ์วานิช
ลักษณะของรายการระหว่างกันกับบริษัทที่เกี่ยวข้อง
สำหรับปี 2552 และปี 2551 รายการระหว่างกันของบริษัทฯ กับบริษัทที่เกี่ยวข้องกันมีรายละเอียดตาม หมายเหตุประกอบงบการเงินสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551 ข้อที่ 5
ความจำเป็นและความสมเหตุสมผลของการเข้าทำรายการระหว่างกัน
สำหรับการเข้าทำรายการขายสินค้าที่บริษัทฯ ผลิตให้แก่บริษัทที่เกี่ยวข้องกันนั้น โดยส่วนใหญ่มี วัตถุประสงค์เพื่อให้บริษัทที่เกี่ยวข้องกันซึ่งอยู่ในฐานะผู้ซื้อนำเอาผลิตภัณฑ์ที่ซื้อจากบริษัทฯ ไปแปรรูป เพื่อผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ของตน ทั้งนี้ ราคาที่จำหน่ายเป็นไปตามสูตรราคาที่กำหนดไว้ในสัญญา หรือ ราคาซื้อขายในตลาดจรแล้วแต่กรณี ซึ่งเป็นราคาที่คำนึงถึงผลประโยชน์ของคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายและ อ้างอิงกับราคาตลาด โดยที่มิได้มีการถ่ายเทผลประโยชน์ระหว่างกันหรือมีรายการใดเป็นพิเศษแต่อย่าง ใด ส่วนการเข้าทำรายการให้บริการแก่บริษัทที่เกี่ยวข้องของบริษัทฯ นั้น เป็นไปเพื่อประโยชน์ในการ ขนส่งหรือจัดเก็บผลิตภัณฑ์ของบริษัทที่เกี่ยวข้องกัน ทั้งนี้ อัตราค่าธรรมเนียมที่ได้จากการให้บริการนั้น เป็นไปตามสภาวะตลาด ซึ่งเป็นราคาที่คำนึงถึงผลประโยชน์ของคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายและอ้างอิงกับราคา ตลาด โดยที่มิได้มีการถ่ายเทผลประโยชน์ระหว่างกันหรือมีรายการใดเป็นพิเศษแต่อย่างใด สำหรับการเข้าทำรายการซื้อสินค้า วัตถุดิบ และ/หรือ รับบริการจากบริษัทที่เกี่ยวข้องกันนั้น เป็นการ ดำเนินธุรกิจปกติ โดยที่ปริมาณสินค้าหรือวัตถุดิบที่บริษัทฯ ซื้อ หรือบริการที่บริษัทฯ ได้รับจากบริษัทที่ เกี่ยวข้องนั้นสอดคล้องกับความต้องการและการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ ทั้งนี้ ราคาที่รับซื้อหรือรับ บริการจากบริษัทที่เกี่ยวข้องมีลักษณะเป็นไปตามที่ตกลงกันในสัญญาซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์ทางการค้า แก่ทั้งบริษัทฯ และบริษัทที่เกี่ยวข้อง โดยที่มิได้มีวัตถุประสงค์ในการถ่ายเทผลประโยชน์ระหว่างกัน หรือมี รายการใด ๆ เป็นพิเศษ นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังมีความจำเป็นที่จะต้องซื้อวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตเอทิลีน โพรพิลนี และผลิตภัณฑ์ พลอยได้อน่ื ๆ จากบริษทั ทีเ่ กีย่ วข้อง เนือ่ งจากบริษทั ทีเ่ กีย่ วข้องมีกำลังผลิตเพียงพอที่จะขายให้กับบริษัทฯ และวัตถุดิบที่ซื้อจากบริษัทที่เกี่ยวข้องก็มีคุณภาพตรงตามความต้องการของโรงงาน อีกทั้ง บริษัทฯ ยัง ได้รับประโยชน์จากการประหยัดค่าขนส่ง เนื่องจากสามารถขนส่งวัตถุดิบที่ซื้อจากบริษัทที่เกี่ยวข้องผ่าน ทางระบบท่อซึ่งมีความปลอดภัยสูง เพราะบริษัทที่เกี่ยวข้องมีโรงงานที่ผลิตวัตถุดิบซึ่งขายให้แก่บริษัทฯ ตั้งอยู่ในหรือบริเวณนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง
มาตรการหรือขั้นตอนอนุมัติการเข้าทำรายการระหว่างกัน
กรณีที่กรรมการของบริษัทฯ จะทำการซื้อทรัพย์สินของบริษัทฯ หรือขายทรัพย์สินให้แก่บริษัทฯ หรือ กระทำธุรกิจอย่างใดอย่างหนึ่งกับบริษัทฯ ไม่ว่าจะกระทำในนามของตนเองหรือบุคคลอื่น ข้อบังคับของ
บริษัทฯ กำหนดไว้อย่างชัดเจนว่า การทำรายการในลักษณะดังกล่าวจะต้องได้รับความยินยอมจากคณะ กรรมการของบริษทั ฯ จึงจะทำให้รายการดังกล่าวมีผลผูกพันบริษทั ฯ อย่างไรก็ตาม กรรมการทีม่ สี ว่ นได้เสีย
ในการซื้อทรัพย์สิน ขายทรัพย์สิน หรือกระทําธุรกิจอย่างใดอย่างหนึ่งกับบริษัทฯ จะไม่มีสิทธิออกเสียง
ในเรื่องดังกล่าวตามข้อบังคับของบริษัทฯ
83 นอกจากจะได้รับความยินยอมจากคณะกรรมการของบริษัทฯ แล้ว การที่บริษัทฯ หรือบริษัทย่อยเข้าทํา รายการที่เกี่ยวโยงกันหรือกระทําการเพื่อให้ได้มาหรือจําหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์ที่สําคัญของบริษัทฯ
หรือบริษทั ย่อยในลักษณะทีเ่ ป็นไปตามหลักเกณฑ์ทก่ี าํ หนดไว้ในประกาศของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ที่ใช้บังคับกับการทํารายการที่เกี่ยวโยงกันของบริษัทจดทะเบียน หรือการได้มาหรือจําหน่ายไปซึ่ง สินทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนแล้วแต่กรณี บริษัทฯ และ/หรือบริษัทย่อยต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และ วิธีการตามที่ประกาศดังกล่าวกําหนดไว้ในเรื่องนั้นๆ ด้วย
ความเห็นของกรรมการอิสระ
ไม่มีความเห็นที่แตกต่างจากคณะกรรมการบริษัทฯ
นโยบาย หรือแนวโน้มการทํารายการระหว่างกันในอนาคต
รายการระหว่างกันของบริษัทฯ ในอนาคต จะเป็นรายการที่ดําเนินการตามปกติของธุรกิจเช่นเดิม ไม่มี รายการใดเป็นพิเศษ ไม่มีการถ่ายเทผลประโยชน์ระหว่างบริษัทฯ กับบริษัทที่เกี่ยวข้องหรือบุคคลที่ เกี่ยวข้อง ส่วนนโยบายการกําหนดราคาระหว่างบริษัทฯ กับบริษัทหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกันก็จะกําหนด จากราคาตามปกติของธุรกิจเช่นเดียวกับที่กําหนดให้แก่บริษัทหรือบุคคลอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกัน ทั้งนี้ราคา สินค้าหรือวัตถุดิบที่ซื้อจากบริษัทหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกันก็จะเป็นไปตามที่ตกลงกันไว้ในสัญญา หรือ เป็นราคาที่อิงกับราคาตลาดสําหรับวัตถุดิบชนิดนั้นๆ นอกจากนี้ในส่วนของค่าบริการที่จะจ่ายให้แก่ บริษัทหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกันก็จะอิงกับอัตราค่าบริการปกติที่อาจจ่ายให้แก่บริษัทหรือบุคคลอื่นที่ไม่ เกี่ยวข้องกัน ส่วนราคาขายสินค้าที่บริษัทฯจะขายให้แก่บริษัทหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกันนั้น จะเป็นราคาที่ อิงกับราคาตลาดซึ่งส่วนใหญ่มักเป็นราคามาบตาพุด ในส่ ว นของการเปิ ด เผยรายการที ่ เ กี ่ ย วโยงกั น ของบริ ษ ั ท ฯ จะเป็ น ไปตามกฎหมายและระเบี ย บที ่
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ฯ รวมทั้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประทศไทย กําหนด อีกทั้งเป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีเกี่ยวกับบริษัทหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกันของสมาคมนักบัญชี และผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย
84
รายงานประจำปี 2552 I บริษทั ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
โครงสร้างผู้ถือหุ้น
85
นโยบายการจ่ายเงินปันผล 1. บริษัท ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
มติที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ ครั้งที่ 1/2548 เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2548 ได้กำหนดนโยบายการจ่าย เงินปันผลของบริษัทฯ ดังนี้ “ให้จ่ายได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ของกำไรสุทธิหลังหักภาษีและทุนสำรอง ต่าง ๆ ทั้งหมดของบริษัทฯ โดยมีเงื่อนไขว่าการจ่ายเงินปันผลดังกล่าวจะขึ้นอยู่กับแผนการลงทุน ความ จำเป็น และความเหมาะสมอื่น ๆ ในอนาคตด้วยและเมื่อคณะกรรมการบริษัทมีมติเห็นชอบให้จ่าย เงินปันผลประจำปีแล้ว จะต้องนำเสนอเพื่อขออนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น เว้นแต่เป็นการจ่ายเงินปันผล ระหว่างกาล ให้คณะกรรมการบริษทั มีอำนาจอนุมตั ใิ ห้จา่ ยเงินปันผลได้ แล้วให้รายงานให้ทป่ี ระชุม ผูถ้ อื หุน้ ทราบในการประชุมคราวต่อไป”
สรุปการจ่ายเงินปันผลย้อนหลัง
สำหรับผลประกอบการ ปี 2548 ปี 2549 ปี 2550 ปี 2551 6 เดือนแรก ปี 2552 เงินปันผล (บาท/หุ้น) 5.00 5.25 6.00 4.00 0.60 จำนวนเงินปันผล (ล้านบาท) 5,656 6,926 8,967 5,987 898
2. บริษัทย่อย : บริษัท ไทยแท้งค์เทอร์มินัล จำกัด
มีนโยบายจ่ายเงินปันผลดังนี้ “ในกรณีที่ไม่มีความจำเป็นอื่นใด บริษัทจะจ่ายเงินปันผลเป็นจำนวน ไม่ น้อยกว่าร้อยละ 40 ของกําไรสุทธิที่หักภาษีเงินได้นิติบุคคลในแต่ละปี และมีเป้าหมายดำรงอัตราส่วน
หนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้นไม่ให้เกิน 1 เท่า”
3. บริษัทย่อย : บริษัท ทีโอซี ไกลคอล จำกัด
มีนโยบายจ่ายเงินปันผลดังนี้ “ในการจ่ายเงินปันผลทุกคราว บริษัทต้องจัดสรรเงินไว้เป็นทุนสำรองอย่าง น้อยหนึ่งในยี่สิบของเงินกำไรสุทธิ ซึ่งบริษัททำมาหาได้จากกิจการของบริษัท จนกว่าทุนสำรองนั้นจะมี จำนวนถึงหนึ่งในสิบของจำนวนทุนของบริษัทหรือมากกว่านั้น”
4. บริษัทย่อย : บริษัท ไทยโอลีโอเคมี จำกัด
มีนโยบายจ่ายเงินปันผลดังนี้ “การจ่ายเงินปันผลทุกคราว บริษัทต้องจัดสรรเงินไว้เป็นทุนสำรองอย่าง น้อยหนึ่งในยี่สิบของเงินกำไรสุทธิ ซึ่งบริษัททำมาหาได้จากกิจการของบริษัท จนกว่าทุนสำรองนั้นจะมี จำนวนถึงหนึ่งในสิบของจำนวนทุนของบริษัทหรือมากกว่านั้น”
5. บริษัทย่อย : บริษัท บางกอกโพลีเอททีลีน จำกัด (มหาชน)
มีนโยบายจ่ายเงินปันผลดังนี้ “ห้ามมิให้ประกาศอนุญาตจ่ายเงินปันผล นอกจากโดยมติของที่ประชุม
ผู้ถือหุ้น หรือมติของคณะกรรมการ คณะกรรมการอาจจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลให้แก่ผู้ถือหุ้นเป็น
ครั้งคราวได้ เมื่อปรากฏแก่กรรมการว่า บริษัทมีกำไรพอสมควรที่จะกระทำเช่นนั้นได้ และเมื่อได้จ่าย เงินปันผลแล้วให้รายงานให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นทราบในการประชุมคราวต่อไป บริษัทต้องจัดสรรกำไรสุทธิ ประจำปีส่วนหนึ่งไว้เป็นทุนสำรองไม่น้อยกว่าร้อยละห้าของกำไรสุทธิประจำปี หักด้วยยอดขาดทุนสะสม ยกมา (ถ้ามี) จนกว่าทุนสำรองนี้จะมีจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละสิบ ของทุนจดทะเบียน”
86
รายงานประจำปี 2552 I บริษทั ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
โครงสร้างองค์กร
87
การบริหารองค์กรและบุคลากร ด้วยทิศทางการขยายธุรกิจของบริษัทฯ ที่มุ่งเน้นการเติบโตและเป็นผู้ประกอบการในตลาดที่หลากหลาย ยิ่งขึ้น การพัฒนาศักยภาพและการเตรียมความพร้อมของบุคลากรจึงเป็นกลยุทธ์สำคัญอีกด้านหนึ่ง
ที่บริษัทฯ กำหนดขึ้นควบคู่และสอดรับกับกลยุทธ์ด้านธุรกิจมาโดยตลอด บริษัทฯ จึงเล็งเห็นความท้าทายและโอกาสในการสร้างวัฒนธรรมการทำงาน การหล่อหลอมทัศนคติและ พฤติกรรม ตลอดจนการพัฒนาความรู้ความสามารถของบุคลากรให้ตอบรับกับความต้องการของตลาด และลูกค้าภายนอก (Market Base) มากขึ้น และเพิ่มเติมจากความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ด้าน
การผลิตในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีที่บุคลากรของบริษัทฯ สั่งสมมาเป็นเวลานาน (Manufacturing Base) เพื่อให้มีโครงสร้างพื้นฐานที่จะสนับสนุนการนำพาองค์กรและบุคลากรให้สามารถตอบรับกับตลาดและ ลู ก ค้ า ภายนอกได้ อ ย่ า งมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ บริ ษ ั ท ฯ จึ ง ได้ ป รั บ โครงสร้ า งองค์ ก รเป็ น Value-Based Organization (VBO) โดยเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 เป็นต้นมา อันเป็นการวางรากฐานอันมั่นคงในการสร้าง มูลค่าเพิ่มและต่อยอดการเติบโตทางธุรกิจด้วยการแบ่งกลุ่มการบริหารออกเป็น 3 กลุ่มงานด้วยกัน คือ หน่วยงานที่มีบทบาทเป็น Governance ซึ่งทำหน้าที่กำกับดูแลและกำหนดนโยบาย หน่วยงานที่มีบทบาท เป็น Shared Services ซึ่งเป็นการรวมศูนย์งานสนับสนุนต่างๆ เพื่อให้สามารถบริหารทรัพยากรได้อย่างมี ประสิทธิภาพสูงสุด โดยหน่วยงานที่มีบทบาทเป็น Governance และ Shared Services นั้นจะมีอยู่ทั้งที่ ส่วนกลาง (Corporate Center) และกระจายอำนาจไปยังกลุ่มธุรกิจด้วย สำหรับกลุ่มงานหลักจะเป็นกลุ่มธุรกิจ (Value Centers : VC) ซึ่งรับผิดชอบในการสร้างผลิตภัณฑ์และผล ตอบแทนทางธุรกิจ โดยครอบคลุมถึงการวางแผนกลยุทธ์และการตลาด การบริหารการเงินและบัญชี และการบริหารทรัพยากรมนุษย์ภายใต้นโยบายที่มาจากส่วนกลาง และเพื่อให้การกระจายอำนาจและ การกำกับดูแลจากส่วนกลางเป็นไปอย่างเหมาะสม บริษัทฯ จึงนำแนวทางการบริหารงานแบบเมตริกซ์ (Matrix Organization) มาใช้ ซึ่งเป็นการบริหารงานข้ามสายงานแบบสองทาง คือ การบังคับบัญชาแบบ สายตรง (Solid Line) และการบังคับบัญชาแบบสายรอง (Dotted Line) ด้วยแนวทางการมอบหมายอำนาจหน้าที่และการบริหารงานภายใต้โครงสร้างองค์กรดังกล่าว บริษัทฯ จึง ได้กำหนดนโยบายและระเบียบข้อบังคับขึ้นใหม่ให้สอดคล้องและสนับสนุนให้การประสานงานภายใน เป็นไปอย่างราบรื่น โดยเฉพาะในส่วนของการบริหารทรัพยากรมนุษย์นั้น จะมีนโยบายการบริหาร ทรัพยากรมนุษย์ (Human Resources Policy) เป็นหลักปฏิบตั พิ น้ื ฐานเกีย่ วกับการกระจายอำนาจ ตลอดจน
การกำหนดความสัมพันธ์และการประสานงานระหว่างหน่วยงานทรัพยากรมนุษย์ทง้ั 3 หน่วย คือ หน่วยงาน
นโยบายและกลยุทธ์งานทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งมีบทบาทเป็น Governance หน่วยงานบริหารและพัฒนา งานทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งมีบทบาทเป็น Shared Services และหน่วยงานทรัพยากรมนุษย์ประจำกลุ่มธุรกิจ
88
รายงานประจำปี 2552 I บริษทั ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
ในการนี้ เพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมการทำงานเป็นทีมและข้ามสายงานตามแนวทางของ VBO บริษัทฯ จึงได้ ริเริ่มนำวิธีการประเมินผลปฏิบัติงานในลักษณะ Pay for Performance (P4P) มาใช้เป็นปีแรก โดยจะ พิจารณาผลสำเร็จของงานเป็น 3 ระดับด้วยกัน คือ การบรรลุเป้าหมายระดับองค์กร เป้าหมายระดับ สายงาน และเป้าหมายระดับบุคคล ซึ่งนอกจากจะสร้างความแข็งแกร่งในการทำงานเป็นทีมแล้ว P4P ยังช่วยให้มั่นใจด้วยว่าการถ่ายทอดเป้าหมายกลยุทธ์ขององค์กรมาสู่เป้าหมายผลสำเร็จของงานของ พนักงานแต่ละคนนั้น มีความสอดคล้องและเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมในทางปฏิบัติ การเสริมสร้างศักยภาพและความสามารถของบุคลากร เป็นความท้าทายอีกประการหนึ่งที่ผู้บริหาร
ทุกระดับมุ่งมั่นและให้ความสำคัญอย่างจริงจัง โดยเปิดโอกาสให้บุคลากรได้รับการพัฒนาความรู้
ความสามารถที่บริษัทฯ จัดให้ทั่วทั้งองค์กรตามทิศทางกลยุทธ์ของบริษัทฯ ทั้งในเรื่องของการเสริมสร้าง ความรู้ในธุรกิจเพื่อรองรับการขยายไปสู่ตลาดที่หลากหลายยิ่งขึ้น การบริหารความเสี่ยงและการบริหาร ความเปลี่ยนแปลงเพื่อให้สามารถตอบรับกับผลกระทบทั้งจากภายในและภายนอกที่เกิดขึ้นได้อย่างทัน ท่วงที และที่สำคัญ คือ การพัฒนาภาวะผู้นำ ซึ่งบริษัทฯ ได้จัดให้มี Leadership Development Program สำหรับผู้บริหารทุกระดับ นอกจากการพัฒนาในภาพรวมขององค์กรแล้ว บุคลากรทุกคนยังสามารถ กำหนดแนวทางการพัฒนาเพื่อเพิ่มความรู้ความสามารถที่เชื่อมโยงกับ Competency Model ได้ โดยใน
ปีที่ผ่านมา บริษัทฯ ได้กำหนดให้พนักงานทุกคนวางแผนพัฒนารายบุคคลของตนโดยปรึกษาหารือกับ
ผู้บังคับบัญชาอย่างใกล้ชิด นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังได้เริ่มออกแบบและวางแนวทางการบริหารสายอาชีพของบุคลากร โดยเป็นการ บู ร ณาการแนวทางการบริ ห ารผลการปฏิ บ ั ต ิ ง าน การบริ ห าร Competency การบริ ห าร Talent
การวางแผนสืบทอดตำแหน่งงาน และการวางแผนพัฒนาบุคลากรเข้าด้วยกันอย่างเป็นระบบ กล่าวคือ ผลจากการประเมินผลการปฏิบัติงาน และ Competency จะเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ชี้ให้เห็นถึงระดับ ความสามารถและศักยภาพในการเติบโตของแต่ละบุคคล ซึ่งสามารถนำมาใช้ในการวางทางเดินสาย อาชีพและการพัฒนาเป็นรายบุคคลทัง้ สำหรับบุคลากรทีม่ คี วามเติบโตในสายอาชีพตามปกติ และบุคลากร
ที่มีความสามารถและศักยภาพสูง ซึ่งจะเข้าสู่กระบวนการบริหาร Talent เพื่อเตรียมความพร้อม
ตามแผนการสืบทอดตำแหน่งต่อไป เห็นได้ว่าการจะบรรลุเป้าหมายในการเติบโตของบริษัทฯ ได้นั้น ต้องอาศัยความทุ่มเทและความอุทิศตน ของบุคลากรเป็นสำคัญ ดังนั้น สิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้ คือ การสร้างสมดุลระหว่างชีวิตการทำงานและ
ชีวิตส่วนตัว โดยบริษัทฯ ได้นำแนวทางของ มาตรฐานระบบการบริหารจัดการคุณภาพชีวิตการทำงาน ในองค์กร โดยสถาบันเสริมสร้างขีดความสามารถมนุษย์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย มาเป็นหลัก ในการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตให้กับบุคลากร ซึ่งในปี 2552 บริษัทฯ ได้จัดทำโครงการสุขภาพดีชีวีมีสุข
เพือ่ เสริมสร้างสุขภาวะทางกาย สุขภาวะทางอารมณ์ สุขภาวะทางจิต และสุขภาวะทางสังคม ซึง่ มีพนักงาน
ให้ความสนใจเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก
89 ในขณะเดียวกัน บริษัทฯ ได้ให้ความสำคัญต่อสภาพแวดล้อมและความปลอดภัยในการทำงาน โดยได้มี การสื่อสารและชี้แนะการป้องกันอุบัติเหตุและอุบัติภัยที่อาจเกิดขึ้นในการปฏิบัติงาน เพื่อมิให้เกิด
ผลกระทบและความเสียหายต่อชีวิต ทรัพย์สิน องค์กร ชุมชน และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งได้มีการจัดฝึก อบรมและทบทวนเพือ่ ให้พนักงานเข้าใจและปฏิบตั ติ ามกระบวนการและข้อกำหนดทีเ่ ป็นมาตรฐานได้อย่าง
ถูกต้องและเหมาะสม ด้วยตระหนักถึงกระแสความเปลี่ยนแปลงทางด้านสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วทั่วโลก บริษัทฯ จึงมุ่งมั่นพัฒนาองค์กรและบุคลากรในทุกด้านอย่างต่อเนื่องและสอดคล้องกับทิศทางการดำเนิน ธุรกิจทั้งในระยะสั้นและระยะยาวเพื่อให้สามารถรับมือกับสภาวะและปัจจัยภายนอกที่มิอาจควบคุมได้ อย่างทันท่วงทีและก่อให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด
90
รายงานประจำปี 2552 I บริษทั ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
คณะกรรมการ
นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ประธานกรรมการ อายุ : 58 ปี
ตำแหน่งทีส่ ำคัญในปัจจุบนั • ประธานเจ้าหน้าทีบ่ ริหารและกรรมการผูจ้ ดั การใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) • ประธานกรรมการ บริษัท ปตท. สำรวจและผลิต ปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) • รองประธานกรรมการ บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) • กรรมการ บริษัท ปตท. อะโรเมติกส์และการกลั่น จำกัด (มหาชน) • กรรมการ บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) การศึกษา / การฝึกอบรม • วิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย • บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สถาบัน บัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ • บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชา การจัดการทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี • M.B.A., Utah State University, U.S.A. • วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมโยธา) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย • Certificate in Advanced Management Program, Harvard Business School, U.S.A. • หลักสูตรป้องกันราชอาณาจักรภาครัฐร่วมเอกชน รุ่นที่ 10 วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปรอ. 4010) • หลักสูตรการเมืองการปกครองในระบอบ ประชาธิปไตยสำหรับนักบริหารชัน้ สูง รุน่ ที่ 6 สถาบันพระปกเกล้า • หลักสูตรผู้บริหารระดับสูง สถาบันวิทยาการ ตลาดทุน (หลักสูตร วตท.) รุ่นที่ 3 การอบรมบทบาทหน้าทีก่ รรมการ • หลักสูตร Director Accreditation Program (DAP) รุ่น 26/2547 สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการ บริษัทไทย (IOD) ประสบการณ์ • รองประธานกรรมการ บริษัท ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน) • รองกรรมการผูจ้ ดั การใหญ่ กลุม่ ธุรกิจก๊าซธรรมชาติ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) • รองประธานกรรมการ บริษัท ปิโตรเคมีแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) • รองประธานกรรมการ บริษัท ไทยโอเลฟินส์ จำกัด (มหาชน) • กรรมการ บริษัท อะโรเมติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) • กรรมการ บริษัท โรงกลั่นน้ำมันระยอง จำกัด (มหาชน) ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างผูบ้ ริหาร ไม่มี
91
นายวิฑูรย์ สิมะโชคดี
กรรมการอิสระ กรรมการกำกับดูแลกิจการ อายุ : 55 ปี
พลตำรวจเอก นพดล สมบูรณ์ทรัพย์ กรรมการอิสระ ประธานกรรมการกำหนดค่าตอบแทน กรรมการตรวจสอบ อายุ : 65 ปี
ตำแหน่งทีส่ ำคัญในปัจจุบนั • ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม • ประธานกรรมการ บริษทั ไทยโอลีโอเคมี จำกัด • ประธานกรรมการ บริษัท ไทยแฟตตี้ แอลกอฮอลส์ จำกัด • กรรมการ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย • กรรมการ บริษัท ปตท. อะโรเมติกส์และ การกลั่น จำกัด (มหาชน) • กรรมการ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) • กรรมการ บริษทั กฟผ. อินเตอร์เนชัน่ แนล จำกัด การศึกษา / การฝึกอบรม • ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต รัฐประศาสนศาสตร์ (การบริหารจัดการภาครัฐและภาคเอกชน) มหาวิทยาลัยรามคำแหง • ปริญญาโท MBA (การบริหารธุรกิจ) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ • นิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ • วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมไฟฟ้า) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ • หลักสูตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุน่ 46 • หลักสูตรการเมืองการปกครองของสถาบัน พระปกเกล้า รุ่น 11 • หลักสูตรผู้บริหารระดับสูง สถาบันวิทยาการ ตลาดทุน (วตท.) รุ่นที่ 7 • หลักสูตรผู้บริหารกระบวนการยุติธรรม ระดับสูง รุ่นที่ 13 วิทยาลัยการยุติธรรม สำนักงานศาลยุติธรรม • หลักสูตรผู้บริหารระดับสูงด้านการค้าและการ พาณิชย์ รุ่นที่ 2 (มิ.ย.–ก.ย. 2552)
การอบรมบทบาทหน้าทีก่ รรมการ • หลักสูตร Financial Statement for Director (FSD) รุ่น 4/2552 • หลักสูตร Director Certification Program (DCP) รุ่น 115/2552 สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษทั ไทย (IOD) • หลักสูตรการกำกับดูแลกิจการสำหรับ กรรมการและผู้บริหารระดับสูงของ รัฐวิสาหกิจและองค์การมหาชน รุ่นที่ 1 สถาบันพระปกเกล้า ประสบการณ์ • กรรมการ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) • กรรมการอิสระ บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) • รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม • อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและ การเหมืองแร่ กระทรวงอุตสาหกรรม • อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างผูบ้ ริหาร ไม่มี
ตำแหน่งทีส่ ำคัญในปัจจุบนั • ประธานคณะความมั่นคงทางธุรกิจ เครือเจริญโภคภัณฑ์ • Executive Assistant to President / CEO & Director ฝ่ายสืบสวนสอบสวนคดีพิเศษ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) การศึกษา / การฝึกอบรม • วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (อาชญาวิทยา) มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียสเตท ประเทศ สหรัฐอเมริกา • รัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต (การตำรวจ) โรงเรียนนายร้อยตำรวจ • การบริหารงานชั้นสูง วิทยาลัยตำรวจ ประเทศอังกฤษ • หลักสูตรวิชาการตำรวจ FBI National Academy ประเทศสหรัฐอเมริกา
การอบรมบทบาทหน้าทีก่ รรมการ • หลักสูตร Director Accreditation Program (DAP) รุ่น 25/2004 • หลักสูตร Audit Committee Program (ACP) รุ่น 11/2547 • หลักสูตร Finance for Non-Finance Director (FND) รุ่น 29/2549 สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) ประสบการณ์ • กรรมการ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) • รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ • อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ • ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างผูบ้ ริหาร ไม่มี
นายสมชาย คูวิจิตรสุวรรณ กรรมการอิสระ กรรมการกำกับดูแลกิจการ กรรมการกำหนดค่าตอบแทน อายุ : 59 ปี
นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม กรรมการอิสระ กรรมการตรวจสอบ อายุ : 52 ปี
ตำแหน่งทีส่ ำคัญในปัจจุบนั • อธิบดีอัยการฝ่ายคดีศาลสูงเขต 9 ปฏิบัติหน้าที่อธิบดีอัยการฝ่ายนโยบาย ยุทธศาสตร์ และงบประมาณ • กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สำนักงาน คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ฯ • ประธานกรรมการ บริษัท กฎหมาย กรุงไทย จำกัด • กรรมการ การไฟฟ้านครหลวง • กรรมการผู้ชำระบัญชี องค์การรับส่ง สินค้าและพัสดุภัณฑ์ (รสพ.) การศึกษา / การฝึกอบรม • รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ • เนติบัณฑิตไทย รุ่นที่ 27 สำนักอบรม ศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา • นิติศาสตรบัณฑิต รุ่นที่ 1 มหาวิทยาลัยรามคำแหง • หลักสูตรอัยการจังหวัด รุ่นที่ 9/2530 การอบรมบทบาทหน้าทีก่ รรมการ • หลักสูตร Director Certification Program (DCP) รุ่น 76/2006 • หลักสูตร Understanding the Fundamental of Financial Statement (UFS) รุ่น 3/2006 สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัท ไทย (IOD)
ประสบการณ์ • รองอธิบดีอัยการ ฝ่ายคณะกรรมการอัยการ สำนักงานคณะกรรมการอัยการ สำนักงาน อัยการสูงสุด • กรรมการและกรรมการตรวจสอบ ธนาคาร พัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม แห่งประเทศไทย • ผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุดในการประสาน งานกับสำนักงานเลขาธิการคณะมนตรี ความมั่นคงแห่งชาติ สำนักงานอัยการสูงสุด • กรรมการและกรรมการตรวจสอบ สำนักงาน ความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศ เพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน) • รองอธิบดีอยั การ ฝ่ายคดีทรัพย์สนิ ทางปัญญา และการค้าระหว่างประเทศ สำนักงานคดี ทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่าง ประเทศ สำนักงานอัยการสูงสุด • รองอธิบดีอัยการ ฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้ สำนักงานคดีอาญากรุงเทพใต้ สำนักงาน อัยการสูงสุด ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างผูบ้ ริหาร ไม่มี
ตำแหน่งทีส่ ำคัญในปัจจุบนั • อธิบดีกรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง • กรรมการ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) • กรรมการ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) การศึกษา / การฝึกอบรม • ปริญญาเอก การเงิน มหาวิทยาลัย มิสซิสซิปปี้ ประเทศสหรัฐอเมริกา • ปริญญาโท การเงิน มหาวิทยาลัย มาร์แชล ประเทศสหรัฐอเมริกา • ปริญญาตรี การจัดการระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยบอสตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา • หลักสูตร Government Debt Monitoring System ธนาคารโลก (World Bank) • หลักสูตร Global Trend and Public Enterprise Reform มหาวิทยาลัย ฮาร์วาร์ด ประเทศสหรัฐอเมริกา การอบรมบทบาทหน้าทีก่ รรมการ • หลักสูตร Director Certification Program (DCP) รุ่น 3/2000 สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัท ไทย (IOD)
ประสบการณ์ • ผูอ้ ำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบาย รัฐวิสาหกิจ กระทรวงการคลัง • รองผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการ นโยบายรัฐวิสาหกิจ กระทรวงการคลัง • กรรมการ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรี จำกัด • กรรมการ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรี โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) • กรรมการ บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) • กรรมการ ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) • กรรมการ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) • กรรมการ บริษัท อะโรเมติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างผูบ้ ริหาร ไม่มี
93 ตำแหน่งทีส่ ำคัญในปัจจุบนั • กรรมการตรวจสอบ บริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์ เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) • กรรมการ บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด • ประธานกรรมการ บริษัท ไทย ซาน มิกเกล ลิคอร์ จำกัด • ประธานมูลนิธิพิทักษ์ประชาชาติ • เลขานุการมูลนิธทิ า่ นผูห้ ญิงประภาศรี กำลังเอก การศึกษา / การฝึกอบรม • โรงเรียนเสนาธิการทหารบก ประเทศสหรัฐอเมริกา • โรงเรียนเสนาธิการทหารบก หลักสูตร ประจำชุดที่ 57 • โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า • วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 41 • หลักสูตรผู้บริหารระดับสูง สถาบันวิทยาการ ตลาดทุน (หลักสูตร วตท.) รุ่นที่ 8
การอบรมบทบาทหน้าทีก่ รรมการ • หลักสูตรการกำกับดูแลกิจการสำหรับ กรรมการและผู้บริหารระดับสูงของ รัฐวิสาหกิจและองค์การมหาชน รุ่นที่ 1 สถาบันพระปกเกล้า ประสบการณ์ • ปลัดกระทรวงกลาโหม • เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างผูบ้ ริหาร ไม่มี
ตำแหน่งทีส่ ำคัญในปัจจุบนั • ประธานกรรมการ บริษัท วังทองกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) • กรรมการ บริษัท ไทยอินดัสเตรียลแก๊ส จำกัด (มหาชน) • ประธานกรรมการ บริษัท เอทอป เทคโนโลยี จำกัด การศึกษา / การฝึกอบรม • วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเคมีวิศวกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย • หลักสูตรนักบริหารระดับกอง สถาบันบัณฑิต พัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) • หลักสูตร Senior Executive Program สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ • NPRA International Petrochemical Conference ประเทศสหรัฐอเมริกา • หลักสูตร Balanced Scorecard โดย Learnet International (Thailand) Co., Ltd.
การอบรมบทบาทหน้าทีก่ รรมการ • หลักสูตร Director Certification Program (DCP) รุ่น 22/2545 • หลักสูตร Setting the CEO Performance Plan and Evaluation สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) • หลักสูตรการกำกับดูแลกิจการสำหรับ กรรมการและผู้บริหารระดับสูงของ รัฐวิสาหกิจและองค์การมหาชน รุ่นที่ 2 สถาบันพระปกเกล้า ประสบการณ์ • กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท อะโรเมติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) • ที่ปรึกษาคณะกรรมการ บริษัท อะโรเมติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) • ประธานกรรมการ บริษัท ระยองปิโตรเคมีคัล จำกัด ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างผูบ้ ริหาร ไม่มี
พลเอก วินัย ภัททิยกุล
กรรมการอิสระ กรรมการสรรหา อายุ : 61 ปี
นายไพบูลย์ ปัญญวุฒิ กรรมการอิสระ ประธานกรรมการตรวจสอบ ประธานกรรมการสรรหา อายุ : 68 ปี
นายพานิช พงศ์พิโรดม กรรมการ อายุ : 60 ปี
นายปรัชญา ภิญญาวัธน์
กรรมการ ประธานกรรมการกำกับดูแลกิจการ กรรมการสรรหา อายุ : 59 ปี
ตำแหน่งทีส่ ำคัญในปัจจุบนั • หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงพลังงาน การศึกษา / การฝึกอบรม • วิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิศวกรรมชายฝั่งทะเล สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย • วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมแหล่งน้ำ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย • วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขา สุขาภิบาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย • วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรม โยธา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย • ปริญญาบัตร วิทยาลัยป้องกัน ราชอาณาจักร หลักสูตรการป้องกัน ราชอาณาจักรภาครัฐร่วมเอกชน (ปรอ.) รุ่นที่ 15 • อบรมนักบริหารระดับสูง หลักสูตรที่ 1 รุ่นที่ 32 สถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน สำนักงาน กพ. การอบรมบทบาทหน้าทีก่ รรมการ • หลักสูตร Director Certification Program (DCP) รุ่น 121/2552 • หลักสูตร Understanding the Fundamental of Financial Statement (UFS) รุ่น 1/2549
• หลักสูตร Director Accreditation Program (DAP) รุ่น 56/2549 • หลักสูตร Setting the CEO Performance Plan and Evaluation สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) • หลักสูตรการกำกับดูแลกิจการสำหรับ กรรมการและผู้บริหารระดับสูงของ รัฐวิสาหกิจและองค์การมหาชน รุ่นที่ 3 สถาบันพระปกเกล้า ประสบการณ์ • อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและ อนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน • อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน กระทรวงพลังงาน • ผูต้ รวจราชการกระทรวง กระทรวงพลังงาน • กรรมการ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) • กรรมการอิสระ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรี โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างผูบ้ ริหาร ไม่มี
ตำแหน่งทีส่ ำคัญในปัจจุบนั • ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ กลุ่มธุรกิจ ปิโตรเลียมขั้นปลาย และรองกรรมการ ผู้จัดการใหญ่ หน่วยธุรกิจน้ำมัน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) • กรรมการ บริษัท ปตท. อะโรเมติกส์และ การกลั่น จำกัด (มหาชน) • กรรมการ บริษทั ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) • กรรมการ บริษทั ไออาร์พซี ี จำกัด (มหาชน) • กรรมการ บริษัท บางกอกโพลีเอททีลีน จำกัด (มหาชน) • กรรมการ บริษทั ไทยลูบ้ เบส จำกัด (มหาชน) • ประธานกรรมการ บริษัท พีทีที อาซาฮี เคมิคอล จำกัด • ประธานกรรมการ บริษัท เอ็ชเอ็มซี โปลีเมอส์ จำกัด • ประธานกรรมการ บริษัท พีทีที โพลี เอทิลีน จำกัด • ประธานกรรมการ บริษัท พีทีที โพลิ เมอร์โลจิสติกส์ จำกัด • ประธานกรรมการ พีทที ี โพลิเมอร์ มาร์เก็ตติง้ จำกัด • ประธานกรรมการ บริษทั พีทที ี ฟีนอล จำกัด • ประธานกรรมการ บริษัท พีทีที แทงค์
เทอร์มินัล จำกัด • กรรมการ บริษัท ไทยพาราไซลีน จำกัด • กรรมการ บริษัท ระยองโอเลฟินส์ จำกัด
การศึกษา / การฝึกอบรม • Ph.D. (Civil Eng.) University of Texas at Austin, U.S.A. • M.S. (Civil Eng.) Stanford University, U.S.A. • วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (โยธา) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย • ปริญญาบัตร หลักสูตรการป้องกัน ราชอาณาจักรภาครัฐร่วมเอกชน รุ่นที่ 15 วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร • หลักสูตรผู้บริหารระดับสูง สถาบันวิทยาการ ตลาดทุน (หลักสูตร วตท.) รุน่ ที่ 7 การอบรมบทบาทหน้าทีก่ รรมการ • หลักสูตร Director Certification Program (DCP) รุ่น 14/2545 สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) ประสบการณ์ • รองกรรมการผู้จัดการใหญ่กลุ่มธุรกิจปิโตร เคมีและการกลัน่ บริษทั ปตท. จำกัด (มหาชน) • ประธานกรรมการ บริษัท อัลลายแอนซ์ รีไฟน์นิ่ง จำกัด • กรรมการ บริษัท สตาร์ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง จำกัด • กรรมการ บริษัท พีทีที ยูทิลิตี้ จำกัด ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างผูบ้ ริหาร ไม่มี
95
นายเทวินทร์ วงศ์วานิช
กรรมการ กรรมการกำหนดค่าตอบแทน อายุ : 51 ปี
นายชลณัฐ ญาณารณพ กรรมการ อายุ : 51 ปี
ตำแหน่งทีส่ ำคัญในปัจจุบนั • ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงิน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) • กรรมการ บริษัท ปตท. อะโรเมติกส์และ การกลั่น จำกัด (มหาชน) • กรรมการ บริษัท ปตท. สำรวจและผลิต ปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) • กรรมการ บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) • กรรมการ บริษัท บริการเชื้อเพลิงการบิน กรุงเทพ จำกัด (มหาชน) • ประธานกรรมการ บริษัท พีทีที ไอซีที โซลูชั่นส์ จำกัด • กรรมการ บริษัท พีทีที อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด การศึกษา / การฝึกอบรม • M.S. (Petroleum Engineering) University of Houston, U.S.A. • M.S. (Chemical Engineering) Rice University, U.S.A. • วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมเคมีเกียรตินิยมอันดับ 1) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย • หลักสูตรผู้บริหารระดับสูง สถาบันวิทยาการ ตลาดทุน (วตท.) รุ่น 6 ตลาดหลักทรัพย์แห่ง ประเทศไทย 6/08 • ประกาศนียบัตรชั้นสูง สถาบันพระปกเกล้า หลักสูตรการเมืองการปกครองในระบอบ ประชาธิปไตยสำหรับผู้บริหารระดับสูง (ปปร.) รุ่น 10
• ประกาศนียบัตรโครงการอบรมผู้นำสากล (Program for Global Leadership-PGL), Harvard Business School, U.S.A. • ประกาศนียบัตรโครงการอบรมผู้บริหารระดับ สูง สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ แห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (S.E.P. รุ่น 7) การอบรมบทบาทหน้าทีก่ รรมการ • หลักสูตร Director Certification Program (DCP) รุ่น 21/2545 • หลักสูตร Financial Statement for Director (FSD) รุ่น 6/2552 สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) ประสบการณ์ • รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ปตท. สผ. ปฏิบัติ งานในตำแหน่ง รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลยุทธ์และพัฒนาองค์กร บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) • รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ปตท. สผ. ปฏิบัติ งานในตำแหน่ง ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ พัฒนาธุรกิจองค์กร บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างผูบ้ ริหาร ไม่มี
ตำแหน่งทีส่ ำคัญในปัจจุบนั • กรรมการ บริษัท ไทยพลาสติกและเคมีภัณฑ์ จำกัด (มหาชน) • กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด • ประธานกรรมการ บริษทั ระยองโอเลฟินส์ จำกัด • ประธานกรรมการ บริษทั เอสซีจี โพลิโอเลฟินส์ จำกัด • ประธานกรรมการ บริษัท ไทยโพลิเอททีลีน จำกัด • ประธานกรรมการ บริษัท ไทยโพลิโพรไพลีน จำกัด • ประธานกรรมการ บริษัท เอสซีจี พลาสติกส์ จำกัด • ประธานกรรมการ บริษัท มาบตาพุด โอเลฟินส์ จำกัด • ประธานกรรมการ บริษัท สยามสไตรีน โมโนเมอร์ จำกัด • กรรมการ บริษัท สยามมิตซุย พีทีเอ จำกัด • กรรมการ บริษัท กรุงเทพ ซินธิติกส์ จำกัด • กรรมการอำนวยการ สถาบันปิโตรเลียมแห่ง ประเทศไทย
การศึกษา / การฝึกอบรม • Master of Chemical Engineering, Imperial College, London, U.K. • Bachelor of Environmental Chemical Engineering, Salford University, Manchester, U.K. • Certificate in Advance Management Program, Harvard Business School, U.S.A. การอบรมบทบาทหน้าทีก่ รรมการ • หลักสูตร Director Accreditation Program (DAP) รุ่น 39/2548 สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) ประสบการณ์ • กรรมการ บริษัท แปซิฟิค พลาสติคส์ (ประเทศไทย) จำกัด • รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เคมีภัณฑ์ ซิเมนต์ไทย จำกัด • กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ซีซีซี ค้าเคมีภัณฑ์ จำกัด • กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ซีซีซี โพลิโอเลฟินส์ จำกัด ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างผูบ้ ริหาร ไม่มี
นายรุ่งโรจน์ รังสิโยภาส กรรมการ อายุ : 46 ปี
นายพิชิต นิธิวาสิน กรรมการ อายุ : 63 ปี
ตำแหน่งทีส่ ำคัญในปัจจุบนั • ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) • กรรมการ บริษัท ไทย-เยอรมัน เซรามิค อินดัสทรี่ จำกัด (มหาชน) • กรรมการ บริษัท ระยองโอเลฟินส์ จำกัด • กรรมการ บริษทั เอสซีจี โพลิโอเลฟินส์ จำกัด • กรรมการ บริษัท ไทยโพลิเอททีลีน จำกัด • กรรมการ บริษัท ไทยโพลิโพรไพลีน จำกัด • กรรมการ บริษัท เอสซีจี พลาสติกส์ จำกัด • กรรมการ บริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด • กรรมการ บริษัท มาบตาพุดโอเลฟินส์ จำกัด • กรรมการ บริษัท สยามสไตรีนโมโนเมอร์ จำกัด การศึกษา / การฝึกอบรม • M.S. Industrial Engineering, University of Texas (Arlington), U.S.A. • M.B.A. (with Distinction), Harvard Business School, Harvard University, U.S.A. • วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาเหมืองแร่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
การอบรมบทบาทหน้าทีก่ รรมการ • หลักสูตร Director Accreditation Program (DAP) รุ่นปูนซิเมนต์ไทย สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) ประสบการณ์ • ผู้อำนวยการสำนักงานวางแผนกลาง บริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างผูบ้ ริหาร ไม่มี
ตำแหน่งทีส่ ำคัญในปัจจุบนั • กรรมการ บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำกัด (มหาชน) • ประธานกรรมการ บริษัท บางกอก อินดัสเทรียลแก๊ส จำกัด • กรรมการ บริษัท เอ็ชเอ็มซี โปลีเมอส์ จำกัด • กรรมการ บริษัท ระยองโอเลฟินส์ จำกัด • ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท กรุงเทพ ซินธิติกส์ จำกัด • ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บีเอสที อิลาสโตเมอร์ส จำกัด • กรรมการผูจ้ ดั การ บริษทั บี ไอ จี มาร์เก็ตติง้ จำกัด • กรรมการผู้จัดการ บริษัท บางกอก โคเจนเนอเรชั่น จำกัด • กรรมการ บริษัท โปลิเมอส์ มาร์เก็ตติ้ง จำกัด • กรรมการ บริษทั มาบตาพุด แทงค์ เทอร์มนิ ลั จำกัด
การศึกษา / การฝึกอบรม • ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขา Operation Research, University of California, Berkeley, U.S.A. • วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ University of California, Berkeley, U.S.A. • วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ University of California, Berkeley, U.S.A. • วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรม อุตสาหการ University of California, Berkeley, U.S.A. การอบรมบทบาทหน้าทีก่ รรมการ • หลักสูตร Finance for Non-Finance Director รุ่น 4/2546 สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) ประสบการณ์ • รองประธานกรรมการบริหาร บริษัท บางกอกโพลีเอททีลีน จำกัด (มหาชน) • กรรมการผู้จัดการ บริษัท มาบตาพุด อินดัสเทรียลแก๊ส จำกัด ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างผูบ้ ริหาร ไม่มี
97
นายวีรศักดิ์ โฆสิตไพศาล กรรมการ และเลขานุการคณะกรรมการ อายุ : 55 ปี
ตำแหน่งทีส่ ำคัญในปัจจุบนั • รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สังกัดประธาน เจ้าหน้าทีป่ ฏิบตั กิ าร กลุม่ ธุรกิจปิโตรเลียม ขัน้ ปลาย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) • กรรมการ บริษัท วีนิไทย จำกัด (มหาชน) • กรรมการ บริษัท เอ็นพีซี เซฟตี้ แอนด์ เอ็น ไวรอนเมนทอล เซอร์วิส จำกัด • กรรมการ บริษทั พีทที ี โพลีเมอร์ มาร์เก็ตติง้ จำกัด • กรรมการ บริษัท พีทีที โพลีเอทิลีน จำกัด • กรรมการ บริษัท พีทีที โพลีเมอร์ โลจิสติกส์ จำกัด • กรรมการ บริษัท พีทีที ฟีนอล จำกัด • กรรมการ บริษัท ไทยแท้งค์เทอร์มินัล จำกัด • กรรมการ Emery Oleochemicals (M) Sdn Bhd • กรรมการ PTT Chemical International Pte. Ltd. • กรรมการ PTT Chemical International (Asia Pacific ROH) Ltd. • ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมพลาสติก สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย การศึกษา / การฝึกอบรม • วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิศวกรรม) Texas A&I University, U.S.A. • วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาเครื่องกล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย • หลักสูตรผู้บริหารระดับสูงด้านการค้าและ การพาณิชย์ รุ่นที่ 2 (มิ.ย. – ก.ย. 2552)
การอบรมบทบาทหน้าทีก่ รรมการ • Director Certification Program (DCP) รุ่น 82/2549 • Finance for Non-Finance Director รุ่น 30/2549 สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษทั ไทย (IOD) ประสบการณ์ • ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ รักษาการ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) • กรรมการและเลขานุการคณะกรรมการ และกรรมการผู้จัดการ บริษัท บางกอก โพลีเอททีลีน จำกัด (มหาชน) • รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มธุรกิจ ผลิตภัณฑ์โพลิเมอร์ บริษัท ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน) • กรรมการและผู้จัดการประชาสัมพันธ์ บริษัท เอ็กซอนโมบิล จำกัด ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างผูบ้ ริหาร ไม่มี
98
รายงานประจำปี 2552 I บริษทั ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
คณะผู้บริหาร ตำแหน่งทีส่ ำคัญในปัจจุบนั • รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สังกัดประธาน เจ้าหน้าทีป่ ฏิบตั กิ าร กลุม่ ธุรกิจปิโตรเลียม ขัน้ ปลาย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) • กรรมการ บริษัท วีนิไทย จำกัด (มหาชน) • กรรมการ บริษัท เอ็นพีซี เซฟตี้ แอนด์ เอ็นไวรอนเมนทอล เซอร์วิส จำกัด • กรรมการ บริษทั พีทที ี โพลีเมอร์ มาร์เก็ตติง้ จำกัด • กรรมการ บริษัท พีทีที โพลีเอทิลีน จำกัด • กรรมการ บริษทั พีทที ี โพลีเมอร์ โลจิสติกส์ จำกัด • กรรมการ บริษัท พีทีที ฟีนอล จำกัด • กรรมการ บริษัท ไทยแท้งค์ เทอร์มินัล จำกัด • กรรมการ Emery Oleochemicals (M) Sdn Bhd • กรรมการ PTT Chemical International Pte. Ltd. • กรรมการ PTT Chemical International (Asia Pacific ROH) Ltd. • ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมพลาสติก สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
นายวีรศักดิ์ โฆสิตไพศาล กรรมการผู้จัดการใหญ่ อายุ : 55 ปี
ตำแหน่งทีส่ ำคัญในปัจจุบนั • ประธานกรรมการ บริษัท เอ็นพีซี เซฟตี้ แอนด์ เอ็นไวรอนเมนทอล เซอร์วิส จำกัด • กรรมการ บริษัท ไทยโคลีนคลอไรด์ จำกัด • กรรมการ บริษัท พีทีที เมนเทนแนนซ์ แอนด์ เอนจิเนียริ่ง จำกัด • กรรมการ บริษัท พีทีที ยูทิลิตี้ จำกัด การศึกษา / การฝึกอบรม • วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรม เครื่องกล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย • วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรม เครื่องกล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย • หลักสูตร Director Certification Program (DCP) รุ่น 92/2550 สมาคมส่งเสริมสถาบัน กรรมการบริษัทไทย (IOD)
นายเจียมศักดิ์ นันทนาเนตร
รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานเพิ่มประสิทธิภาพปฏิบัติการ อายุ : 57 ปี
การศึกษา / การฝึกอบรม • วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิศวกรรม) Texas A&I University, U.S.A. • วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาเครื่องกล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย • หลักสูตรผู้บริหารระดับสูงด้านการค้าและ การพาณิชย์ รุ่นที่ 2 (มิ.ย.–ก.ย. 2552) การอบรมบทบาทหน้าทีก่ รรมการ • Director Certification Program (DCP) รุน่ 82/2549 • Finance for Non-Finance Director รุน่ 30/2549 สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษทั ไทย (IOD) ประสบการณ์ • ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ รักษาการรอง กรรมการผูจ้ ดั การใหญ่ บริษทั ปตท. จำกัด (มหาชน) • กรรมการและเลขานุการคณะกรรมการ และ กรรมการผู้จัดการ บริษัท บางกอก โพลีเอททีลีน จำกัด (มหาชน) • รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มธุรกิจผลิตภัณฑ์ โพลิเมอร์ บริษทั ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน) • กรรมการและผู้จัดการประชาสัมพันธ์ บริษัท เอ็กซอนโมบิล จำกัด ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างผูบ้ ริหาร ไม่มี ประสบการณ์ • รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงาน วิศวกรรมและก่อสร้าง ทำหน้าที่
ผู้อำนวยการโครงการ Plant Debottleneck บริษัท ปตท.เคมิคอล จำกัด (มหาชน) ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างผูบ้ ริหาร ไม่มี
99 ตำแหน่งทีส่ ำคัญในปัจจุบนั • กรรมการ บริษัท เอ็นพีซี เซฟตี้ แอนด์ เอ็นไวรอนเมนทอล เซอร์วิส จำกัด • กรรมการ บริษัท ไทยแท้งค์เทอร์มินัล จำกัด • กรรมการ บริษัท พีทีที ยูทิลิตี้ จำกัด • รักษาการรองกรรมการผู้จัดการ ปฎิบัติการ ผลิตโอเลฟินส์ บริษัท พีทีที โพลีเอทิลีน จำกัด การศึกษา / การฝึกอบรม • พาณิชยศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา บริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ • วิศวกรรมศาสตรบัณทิต สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย • หลักสูตรผู้บริหารระดับสูง สถาบันบัณฑิต บริหารธุรกิจ ศศินทร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย • Advance Management Program (AMP), Harvard Business School, U.S.A. • หลักสูตร Director Certification Program (DCP) รุ่น 97/2550 สมาคมส่งเสริมสถาบัน กรรมการบริษัทไทย (IOD)
ประสบการณ์ • ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ (ปฏิบัติการ) บริษัท ปิโตรเคมีแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างผูบ้ ริหาร ไม่มี
นายณรงค์ บัณฑิตกมล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มกิจการผลิตโอเลฟินส์ และสาธารณูปการ อายุ : 55 ปี
นายธเนศ เจริญทรัพย์
รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานการตลาดและพาณิชยกิจ อายุ : 55 ปี
ตำแหน่งทีส่ ำคัญในปัจจุบนั • กรรมการ บริษทั ไทยแท้งค์ เทอร์มนิ ลั จำกัด • กรรมการ บริษทั พีทที ี โพลีเมอร์ มาร์เก็ตติง้ จำกัด • กรรมการ บริษัท พีทีที ยูทิลิตี้ จำกัด • กรรมการ บริษัท พีทีที ฟีนอล จำกัด • กรรมการ บริษัท ไทยสไตรีนิคส์ จำกัด • กรรมการ Alliance Petrochemical Investment (Singapore) Pte., Ltd. • กรรมการ บริษัท วีนิไทย จำกัด (มหาชน) การศึกษา / การฝึกอบรม • Ph. D. (Mechanical Engineering), Illinois Institute of Technology, U.S.A. • Master of Science (Mechanical Engineering), Texas A & I University, U.S.A. • วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรม เครื่องกล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย • Advance Management Program (AMP), Harvard Business School, U.S.A. • หลักสูตร Director Certification Program (DCP) รุ่น 97/2550 สมาคมส่งเสริมสถาบัน กรรมการบริษัทไทย (IOD)
ประสบการณ์ • ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน) • รองผู้จัดการใหญ่ สายงานปฏิบัติการ บริษัท ทีโอซีไกลคอล จำกัด • ผู้อำนวยการโครงการผลิตภัณฑ์ อีโอ/อีจี บริษัท ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน) ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างผูบ้ ริหาร ไม่มี
นายอัฒฑวุฒิ หิรัญบูรณะ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานบริหารศักยภาพองค์กร อายุ : 54 ปี
นางพันธ์ทิพ อึ๊งผาสุข
รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานกลยุทธ์และกิจการต่างประเทศ อายุ : 50 ปี
ตำแหน่งทีส่ ำคัญในปัจจุบนั • กรรมการ บริษัท ทีโอซี ไกลคอล จำกัด • กรรมการ บริษัท ไทยโคลีนคลอไรด์ จำกัด • กรรมการ บริษัท ไทยเอทานอลเอมีน จำกัด • กรรมการ บริษัท ไทยโอลีโอเคมี จำกัด • กรรมการ บริษัท ไทยแฟตตี้แอลกอฮอลส์ จำกัด • กรรมการ บริษทั อีสเทิรน์ ฟลูอดิ ทรานสปอร์ต จำกัด • กรรมการ บริษัท พีทีที ยูทิลิตี้ จำกัด • กรรมการ บริษัท พีทีที ไอซีที โซลูชั่นส์ จำกัด • กรรมการ PTT Chemical International Pte. Ltd. การศึกษา / การฝึกอบรม • Master of Science (Mechanical), Manhattan College, New York, U.S.A. • Bachelor of Science (Mechanical), New York Institute of Technology, U.S.A. • หลักสูตร Director Accreditation Program (DAP), Class 81/2549 สมาคมส่งเสริม สถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) • Senior Executive Program 2007, Stanford University, U.S.A. • หลักสูตร Senior Executive Program โดย สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ตำแหน่งทีส่ ำคัญในปัจจุบนั • กรรมการ บริษัท ทีโอซี ไกลคอล จำกัด • กรรมการ บริษัท วีนิไทย จำกัด (มหาชน) • กรรมการ บริษัท พีทีที โพลีเอทิลีน จำกัด • กรรมการ บริษัท พีทีที ฟีนอล จำกัด • กรรมการ บริษัท ไทยสไตรีนิคส์ จำกัด • กรรมการ บริษทั ไทยแท้งค์เทอร์มนิ ลั จำกัด • กรรมการ PTT Chemical International Pte. Ltd. • กรรมการ PTT Chemical International (Asia Pacific ROH) Limited • กรรมการ Emery Oleochemicals (M) Sdn. Bhd การศึกษา / การฝึกอบรม • บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ • วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมเคมี มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ • The Advance Management Program (AMP), Harvard Business School, U.S.A. • หลักสูตร Director Certification Program (DCP) รุน่ ที่ 67/2548 สมาคมส่งเสริม สถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) และ สถาบันกรรมการบริษัทออสเตรเลีย
ประสบการณ์ • รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานบริหาร ศักยภาพองค์กร บริษัท ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน) • รักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไทยอีทอกซีเลท จำกัด ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างผูบ้ ริหาร ไม่มี
• ประกาศนียบัตร Chief Finance Officer (CFO) รุ่นที่ 1/2547 จากสมาคมนักบัญชี และผู้สอบบัญชีแห่งประเทศไทย (สภาวิชาชีพบัญชี) ประสบการณ์ • กรรมการ บริษทั พีทที ี โพลีเมอร์ มาร์เก็ตติง้ จำกัด • รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงาน วางแผนและพัฒนาธุรกิจองค์กร บริษัท ปตท.เคมิคอล จำกัด (มหาชน) ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างผูบ้ ริหาร ไม่มี
101
นายปฏิภาณ สุคนธมาน
ตำแหน่งทีส่ ำคัญในปัจจุบนั • กรรมการ บริษัท พีทีที โพลีเอทิลีน จำกัด • กรรมการ บริษัท ไทยโอลีโอเคมี จำกัด • กรรมการ บริษทั ไทยแฟตตีแ้ อลกอฮอลส์ จำกัด • กรรมการ บริษัท ทีโอซี ไกลคอล จำกัด • กรรมการ บริษัท ไทยเอทานอลเอมีน จำกัด • กรรมการ บริษัท ไทยโคลีนคลอไรด์ จำกัด การศึกษา / การฝึกอบรม • ปริญญาโท สาขาบริหารธุรกิจ วิชาเอกการเงิน The American University, U.S.A. • ปริญญาตรี สาขารัฐศาสตร์ วิชาเอก การบริหารงานคลัง (เกียรตินิยมอันดับ 2) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย • หลักสูตร Director Certification Program (DCP) รุ่น 73 สมาคมส่งเสริมสถาบัน กรรมการบริษัทไทย (IOD) • หลักสูตร การบริหารงานภาครัฐและ กฎหมายมหาชน รุ่นที่ 8 (ปรม.8) สถาบันพระปกเกล้า • โครงการอบรมผูบ้ ริหารระดับสูงในยุคโลกาภิวตั น์ ปี 2552 รุ่นที่ 5 (Ex – PSM 5) มูลนิธิสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง
ประสบการณ์ • รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานด้าน บัญชีและการเงิน บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) • ผู้อำนวยการสายอาวุโส ด้านการเงิน บริษัท บ้านปูพาวเวอร์ จำกัด • Group CFO, บริษัท เดอะโคเจนเนอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างผูบ้ ริหาร ไม่มี
ตำแหน่งทีส่ ำคัญในปัจจุบนั • กรรมการ บริษทั เอ็นพีซี เซฟตี้ แอนด์ เอ็นไวรอนเมนทอล เซอร์วิส จำกัด • กรรมการ บริษัท บางกอกโพลีเอททีลีน จำกัด (มหาชน) • ประธานกรรมการ บริษัท ไทยสไตรีนิคส์ จำกัด • รักษาการ รองกรรมการผู้จัดการ ปฏิบัติการผลิตโพลิเมอร์ บริษัท พีทีที โพลีเอทิลีน จำกัด การศึกษา / การฝึกอบรม • Master of Public and Private Management, National Institute of Development Administration (NIDA) • วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า สถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้าฯ เจ้าคุณทหารลาดกระบัง • หลักสูตร Director Certification Program (DCP) รุ่น 92/2550 สมาคมส่งเสริม สถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) • ประกาศนียบัตร Asean Executive Program (AEP), GE Crotonville
ประสบการณ์ • รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มธุรกิจผลิตภัณฑ์เอทิลีนออกไซด์ บริษัท ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน) • รองกรรมการผูจ้ ดั การใหญ่ หน่วยปฏิบตั กิ าร โรงงาน I-4 บริษัท ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน) ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างผูบ้ ริหาร ไม่มี
รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานการเงินและบัญชี อายุ : 49 ปี
นายสุวิทย์ ทินนโชติ
รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มธุรกิจผลิตภัณฑ์โพลิเมอร์ อายุ : 52 ปี
ตำแหน่งทีส่ ำคัญในปัจจุบนั • กรรมการ บริษัท ไทยโอลีโอเคมี จำกัด • กรรมการ บริษัท ไทยแฟตตี้แอลกอฮอลส์ จำกัด • กรรมการ บริษัท เอ็นพีซี เซฟตี้ แอนด์ เอ็นไวรอนเมนทอล เซอร์วิส จำกัด การศึกษา / การฝึกอบรม • ปริญญาโท – เอก กฎหมายระหว่าง ประเทศ University D’Aix-Marseille, ฝรั่งเศส • รัฐศาสตรบัณฑิต (การระหว่างประเทศ) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ • หลักสูตร Director Certification Program (DCP) รุ่น 92/2550 สมาคมส่งเสริม สถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) • ประกาศนียบัตร Business Program NIDAWharton สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ รุ่นที่ 2
ประสบการณ์ • ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สำนักกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน) • ผู้จัดการฝ่ายกำกับองค์กรและเลขานุการ บริษทั บริษทั ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน) ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างผูบ้ ริหาร ไม่มี
นางทัศนาลักษณ์ สันติกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานกิจการองค์กร อายุ : 55 ปี
ตำแหน่งทีส่ ำคัญในปัจจุบนั • กรรมการ บริษัท ทีโอซี ไกลคอล จำกัด การศึกษา / การฝึกอบรม • ปริญญาโท การจัดการภาครัฐและเอกชน สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ • วิศวกรรมไฟฟ้า มหาวิทยาลัย เฟียติ, ฟิลิปปินส์ • หลักสูตร Director Certification Program (DCP) รุ่น 117/2552 สมาคมส่งเสริม สถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) • ประกาศนียบัตร Senior Executive Program สถาบันบัณฑิตธุรกิจ ศศินทร์ (SEP รุ่น 19) • ประกาศนียบัตร Business Program NIDA Wharton สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ รุ่นที่ 3
นายเสริมศักดิ์ ศรียาภัย
ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มธุรกิจผลิตภัณฑ์เอทิลีนออกไซด์ อายุ : 54 ปี
ประสบการณ์ • กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทีโอซี ไกลคอล จำกัด • กรรมการผูจ้ ดั การ บริษทั ไทยเอทานอลเอมีน จำกัด ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างผูบ้ ริหาร ไม่มี
103
ผู้บริหารซึ่งดำรงตำแหน่งในบริษัทย่อย
รายชื่อผู้บริหารบริษัทฯ ระดับผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ขึ้นไป ที่ได้รับมอบหมายให้ไปดำรงตำแหน่ง
ผู้บริหารในบริษัทย่อยของบริษัท ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
นายขับพล ศักดิ์สุภา
รองกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส ปฏิบัติงาน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และกรรมการผู้จัดการ บริษัท พีทีที โพลีเอทิลีน จำกัด
นายคงกระพัน อินทรแจ้ง
ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ปฏิบตั งิ าน Group Chief Executive Officer, Emery Oleochemicals (M) Sdn Bhd.
นายธวัชชัย จิตตวานิช
ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ปฏิบัติงาน กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยแท้งค์เทอร์มินัล จำกัด
นายสมศักดิ์ กีรติวุฒิเศรษฐ์
ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ปฏิบัติงาน กรรมการผู้จัดการ บริษัท พีทีที เมนเทนแนนซ์ แอนด์ เอนจิเนียริง จำกัด
นายประกอบ เพชรรัตน์
ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ปฏิบัติงาน ผู้จัดการใหญ่ บริษัท เอ็นพีซี เซฟตี้ แอนด์ เอ็นไวรอนเมนทอล เซอร์วิส จำกัด
104
รายงานประจำปี 2552 I บริษทั ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
โครงสร้างการจัดการ โครงสร้างการจัดการของบริษัท ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน) ประกอบด้วย คณะกรรมการบริษัทฯ คณะกรรมการเฉพาะเรื่อง กรรมการผู้จัดการใหญ่ และคณะผู้บริหาร รายชื่อคณะกรรมการบริษัทฯ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 ชื่อกรรมการ
1. นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์* 2. นายวิฑูรย์ สิมะโชคดี 3. พลตำรวจเอก นพดล สมบูรณ์ทรัพย์ 4. นายสมชาย คูวิจิตรสุวรรณ 5. นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม 6. พลเอก วินัย ภัททิยกุล 7. นายไพบูลย์ ปัญญวุฒิ 8. นายพานิช พงศ์พิโรดม 9. นายปรัชญา ภิญญาวัธน์ 10. นายเทวินทร์ วงศ์วานิช 11. นายชลณัฐ ญาณารณพ 12. นายรุ่งโรจน์ รังสิโยภาส 13. นายพิชิต นิธิวาสิน 14. นายวีรศักดิ์ โฆสิตไพศาล
ตำแหน่ง
ประธานกรรมการ กรรมการอิสระ กรรมการกำกับดูแลกิจการ กรรมการอิสระ ประธานกรรมการกำหนดค่าตอบแทน กรรมการตรวจสอบ กรรมการอิสระ กรรมการกำหนดค่าตอบแทน กรรมการกำกับดูแลกิจการ กรรมการอิสระ กรรมการตรวจสอบ กรรมการอิสระ กรรมการสรรหา กรรมการอิสระ ประธานกรรมการตรวจสอบ ประธานกรรมการสรรหา กรรมการ กรรมการ ประธานกรรมการกำกับดูแลกิจการ กรรมการสรรหา กรรมการ กรรมการกำหนดค่าตอบแทน กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการผูจ้ ดั การใหญ่ และเลขานุการคณะกรรมการ
* ที ่ ป ระชุ ม คณะกรรมการบริ ษ ั ท ฯ ครั ้ ง ที ่ 1/2553 เมื ่ อ วั น ที ่ 19 กุ ม ภาพั น ธ์ 2553 ได้ ม ี ม ติ แ ต่ ง ตั ้ ง
นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ รองประธานกรรมการ ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการ โดยมีผลตั้งแต่วันที่
19 กุมภาพันธ์ 2553 เป็นต้นไป (รายละเอียดกรรมการเข้า-ออกระหว่างปี 2552 ปรากฎในหน้า 115)
105
คณะกรรมการบริษัทฯ
1. องค์ประกอบคณะกรรมการบริษัท
ข้อบังคับบริษัทฯ กำหนดให้คณะกรรมการบริษัท ประกอบด้วย กรรมการจำนวนไม่น้อยกว่า 5 คน แต่
ไม่เกิน 15 คน และมีกรรมการอิสระไม่น้อยกว่า 3 คน ซึ่งเลือกตั้งและถอดถอนโดยที่ประชุมผู้ถือหุ้น ทั้งนี้ กรรมการไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดต้องมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร และกรรมการ ทัง้ หมดของบริษทั ฯ ต้องเป็นผูม้ คี ณ ุ สมบัตติ ามทีก่ ฎหมายกำหนด
2. การแต่งตั้ง และการพ้นจากตำแหน่งกรรมการบริษัท
ข้อบังคับบริษทั มีบทบัญญัตเิ กีย่ วกับการแต่งตัง้ ถอดถอน หรือพ้นจากตำแหน่งกรรมการบริษทั สรุปได้ดงั นี้ การแต่งตั้งกรรมการ • ให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นลงคะแนนเสียงเลือกตั้งกรรมการบริษัท ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ผู้ถือหุ้นรายหนึ่งมีคะแนนเสียงเท่ากับหนึ่งหุ้นต่อหนึ่งเสียง (2) กรณีที่ผู้ได้รับการเสนอชื่อเป็นกรรมการมีจำนวนไม่เกินกว่าจำนวนกรรมการที่จะมีได้ในการ
เลือกตั้งครั้งนั้น ให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นเลือกตั้งกรรมการที่ได้รับการเสนอชื่อนั้น โดยกรรมการที่
ผู้ถือหุ้นออกเสียงเลือกตั้งจะได้รับคะแนนเสียงจากผู้ถือหุ้นตามจำนวนหุ้นที่ผู้ถือหุ้นนั้นมีอยู่
ทั้งหมดตาม (1) โดยจะแบ่งคะแนนเสียงให้แก่ผู้ใดมากน้อยเพียงใดไม่ได้ (3) กรณี ท ี ่ ผู ้ ไ ด้ ร ั บ การเสนอชื่อเป็นกรรมการมีจำนวนเกินกว่าจำนวนกรรมการที่จะมีได้ในการ
เลือกตั้งครั้งนั้น ให้ใช้วิธีการลงคะแนนเป็นรายบุคคล ทั้งนี้ บุคคลแต่ละคนที่ผู้ถือหุ้นออกเสียง
เลือกตั้งจะได้รับคะแนนเสียงจากผู้ถือหุ้นตามจำนวนหุ้นที่ผู้ถือหุ้นมีอยู่ทั้งหมดตาม (1) โดยจะ
แบ่งคะแนนเสียงให้แก่ผู้ใดมากน้อยเพียงใดไม่ได้ โดยผู้ที่ได้รับคะแนนเสียงสูงสุดตามลำดับ
ลงมาเป็นผู้ได้รับการเลือกตั้งเป็นกรรมการเท่าจำนวนกรรมการที่จะเลือกตั้งในครั้งนั้น ในกรณีที่
บุคคลซึ่งได้รับการเลือกตั้งในลำดับถัดลงมามีคะแนนเสียงเท่ากันเกินจำนวน ให้ประธานใน
ที่ประชุมเป็นผู้ออกเสียงชี้ขาด • ให้คณะกรรมการเลือกกรรมการคนใดคนหนึ่งเป็นประธานกรรมการของบริษัท ประธานกรรมการ
มีสิทธิออกเสียงชี้ขาดในกรณีที่คะแนนเสียงของคณะกรรมการในที่ประชุมมีจำนวนเท่ากัน และให้ คณะกรรมการพิจารณาเลือกและแต่งตั้งกรรมการอีกคนหนึ่งเป็นรองประธานกรรมการ และให้ปฏิบัติ หน้าที่แทนประธานกรรมการ ในกรณีที่ประธานกรรมการไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้เป็นการชั่วคราว หรือเมื่อตำแหน่งประธานกรรมการว่างลง • ในกรณีที่ตำแหน่งกรรมการว่างลงเพราะเหตุอื่นนอกจากถึงคราวออกตามวาระ ให้คณะกรรมการ เลือกบุคคลซึ่งมีคุณสมบัติครบถ้วนเข้าเป็นกรรมการแทนในการประชุมคณะกรรมการคราวถัดไปก็ได้ เว้นแต่วาระของกรรมการจะเหลือน้อยกว่าสองเดือน บุคคลซึ่งเป็นกรรมการแทนดังกล่าวจะอยู่ใน ตำแหน่งกรรมการได้เพียงเท่าวาระที่ยังเหลืออยู่ของกรรมการที่ตนแทน มติของคณะกรรมการในกรณี นี้ต้องประกอบด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของจำนวนกรรมการที่ยังเหลืออยู่ • กรณีที่ตำแหน่งกรรมการว่างลงจนเหลือน้อยกว่าจำนวนที่จะเป็นองค์ประชุม ให้กรรมการที่เหลืออยู่ กระทำการในนามของคณะกรรมการได้แต่เฉพาะการจัดให้มีการประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อเลือกตั้งกรรมการ แทนตำแหน่งที่ว่างทั้งหมดเท่านั้น โดยให้กระทำภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันที่จำนวนกรรมการว่างลง เหลือน้อยกว่าจำนวนที่จะเป็นองค์ประชุม และบุคคลซึ่งเข้าเป็นกรรมการแทนตามวรรคแรกอยู่ใน ตำแหน่งได้เพียงเท่าวาระที่ยังเหลืออยู่ของกรรมการซึ่งตนแทน การพ้นจากตำแหน่งกรรมการ • ในการประชุมสามัญประจำปีทุกครั้ง ให้กรรมการออกจากตำแหน่ง 1 ใน 3 กรรมการที่ออกตามวาระ นั้นอาจถูกเลือกเข้ามาดำรงตำแหน่งใหม่ก็ได้ • นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระแล้ว กรรมการจะพ้นจากตำแหน่งเมื่อ ตาย หรือ ลาออก หรือ ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามที่กฎหมายกำหนด หรือ ที่ประชุมผู้ถือหุ้นลงมติให้ออก หรือ ศาลมีคำสั่งให้ออก • กรรมการคนใดจะลาออกจากตำแหน่งให้ยื่นใบลาออกต่อบริษัท การลาออกมีผลนับแต่วันที่ใบลาออก ไปถึงบริษัท ทั้งนี้ กรรมการซึ่งลาออกจะแจ้งการลาออกของตนให้นายทะเบียนทราบด้วยก็ได้
106
รายงานประจำปี 2552 I บริษทั ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
• ที่ประชุมผู้ถือหุ้นอาจลงมติให้กรรมการคนใดออกจากตำแหน่งก่อนถึงคราวออกตามวาระได้ด้วย คะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของจำนวนผู้ถือหุ้นซึ่งมาประชุมและมีสิทธิออกเสียง และมีหุ้นนับ รวมกันได้ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของ จำนวนหุ้นที่ถือโดยผู้ถือหุ้นที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียง
3. อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ
คณะกรรมการมีหน้าที่ในการจัดการบริษัทฯ ตลอดจนปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามกฎหมาย วัตถุประสงค์ และข้อบังคับบริษัทฯ ตลอดจนมติของที่ประชุมผู้ถือหุ้น โดยอำนาจ หน้าที่ และความรับผิดชอบที่สำคัญ ของคณะกรรมการ สรุปได้ดังนี้ หน้าที่ตามกฎหมาย • จัดให้มีบัญชีงบดุลและบัญชีกำไรขาดทุน และรายงานทางการเงิน • จัดให้มีผู้สอบบัญชีตรวจสอบบัญชีงบดุลและบัญชีกำไรขาดทุนของบริษัท เพื่อขออนุมัติผู้ถือหุ้นใน การประชุมสามัญประจำปีภายในกำหนด 4 เดือนนับแต่วันสิ้นสุดรอบปีทางบัญชี และให้ส่งสำเนา บัญชีงบดุล พร้อมกับรายงานการตรวจสอบบัญชีของผู้สอบบัญชี รวมทั้งรายงานประจำปีของ
คณะกรรมการให้กับผู้ถือหุ้นทุกคนที่มีชื่ออยู่ในสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน • กำหนดชื่อกรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพันบริษัทและประทับตราสำคัญของบริษัท • พิจารณาการจ่ายเงินปันผลระหว่างกาล เมื่อบริษัทมีกำไรสมควรพอ และรายงานให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้น ทราบในการประชุมคราวต่อไป หน้าที่กำกับดูแลบริษัทฯ • กำกับดูแลการบริหารงานของฝ่ายจัดการให้ดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ • กำหนดข้อบังคับภายในของบริษัทในเรื่องต่าง ๆ • พิจารณางบประมาณประจำปี ซึ่งประกอบด้วยงบทำการ และงบลงทุน • มอบหมายให้กรรมการคนหนึ่งหรือหลายคนปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่งแทนคณะกรรมการ • แต่งตั้งบุคคลอื่นใดให้ดำเนินกิจการของบริษัท ภายใต้การควบคุมของคณะกรรมการ หรือมอบอำนาจ เพื่อให้บุคคลดังกล่าวมีอำนาจตามที่คณะกรรมการเห็นสมควรและภายในเวลาที่คณะกรรมการเห็น สมควร และคณะกรรมการอาจยกเลิกเพิกถอน เปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขอำนาจนั้น ๆ ได้ • จัดประชุมคณะกรรมการ จัดให้มีและเรียกประชุมผู้ถือหุ้น จัดทำรายงานการประชุมคณะกรรมการ และรายงานการประชุมผู้ถือหุ้น • พิจารณากำหนดโครงสร้างของบริษัท • พิจารณาการให้ความยินยอมกรณีที่กรรมการคนใดซื้อทรัพย์สินของบริษัท หรือขายทรัพย์สินให้แก่ บริษัท หรือกระทำธุรกิจกับบริษัท ไม่ว่ากระทำในนามของตนเองหรือของบุคคลอื่น • จัดทำความเห็นเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ ที่เสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้น รวมถึงความเห็นเพื่อเสนอขออนุมัติ การจัดสรรกำไรสุทธิประจำปีเป็นทุนสำรอง • จัดให้มีคณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการสรรหา คณะกรรมการกำหนดค่าตอบแทน และ
คณะกรรมการกำกับดูแลกิจการ โดยในแต่ละคณะแต่งตั้งจากกรรมการบริษัทตามเกณฑ์ที่กำหนด นอกจากนี้ การดำเนินการของคณะกรรมการบริษัท ที่ต้องได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นก่อน ดำเนินการในเรื่องต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ • การเข้าทำรายการที่เกี่ยวโยงกัน และการได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์ที่สำคัญของบริษัทตามที่ กฎหมาย และคณะกรรมการกำกับตลาดทุนประกาศกำหนด • การขายหรือโอนกิจการของบริษัททั้งหมดหรือบางส่วนที่สำคัญให้แก่บุคคลอื่น • การรับซื้อหรือรับโอนกิจการของบริษัทอื่นมาเป็นของบริษัท • การทำ แก้ไข หรือเลิกสัญญาเกี่ยวกับการให้เช่ากิจการของบริษัททั้งหมดหรือบางส่วนที่สำคัญ การ มอบหมายให้บุคคลอื่นเข้าจัดการธุรกิจของบริษัท หรือการรวมกิจการกับบุคคลอื่นโดยมีวัตถุประสงค์ ที่จะแบ่งกำไรขาดทุน • การเพิ่มเติมหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงหนังสือบริคณห์สนธิหรือข้อบังคับของบริษัท • การเพิ่มทุน/ลดทุนจดทะเบียน
107 • • • •
การออกหุ้นกู้เพื่อเสนอขายต่อประชาชน การเลิกบริษัท / การควบเข้ากับบริษัทอื่น การประกาศจ่ายเงินปันผลประจำปี กิจการอื่นใดที่กฎหมายหรือข้อบังคับของบริษัทกำหนดให้ต้องได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุม
ผู้ถือหุ้นก่อนดำเนินการ
4. กรรมการผู้มีอำนาจลงนามแทนบริษัท
อำนาจลงลายมือชื่อแทนบริษัทของกรรมการ ตามที่ระบุในข้อบังคับบริษัท คือ “กรรมการ 2 คน
ลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราสำคัญของบริษัท ทั้งนี้ คณะกรรมการบริษัทฯ อาจกำหนดชื่อ กรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพันบริษัท พร้อมประทับตราสำคัญของบริษัทได้” คณะกรรมการบริษัทฯ ในการประชุมครั้งที่ 5/2552 เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2552 ได้มีมติกำหนดชื่อและ จำนวนกรรมการซึ่งมีอำนาจลงนามผูกพันบริษัท ดังนี้ “นายไพบูลย์ ปัญญวุฒิ นายเทวินทร์ วงศ์วานิช นายวิฑูรย์ สิมะโชคดี นายวีรศักดิ์ โฆสิตไพศาล พลตำรวจเอกนพดล สมบูรณ์ทรัพย์ นายพานิช
พงศ์พิโรดม พลเอกวินัย ภัททิยกุล กรรมการสองคนในเจ็ดคนนี้ลงลายมือชื่อร่วมกัน และประทับตรา สำคัญของบริษัท”
5. อำนาจหน้าที่ของกรรมการผู้จัดการใหญ่
ข้อบังคับบริษัทกำหนดให้คณะกรรมการเลือกและแต่งตั้งกรรมการคนหนึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ และเลขานุการของคณะกรรมการ โดยให้เรียกว่า กรรมการผู้จัดการใหญ่ มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการ
เกี่ยวกับธุรกิจปกติ ของบริษัทฯ และดำเนินการในเรื่องต่าง ๆ ตามมติของคณะกรรมการบริษัทฯ ในการ ประชุมครั้งที่ 1/2548 เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2548 และมีบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบหลัก ตามคำสั่ง บริษัทฯ ที่ 108/2550 ลงวันที่ 1 ธันวาคม 2550 รวมทั้งมีอำนาจหน้าที่ในการบริหารงานของบริษัทให้ เป็นไปตามนโยบายของคณะกรรมการบริษัทฯ สรุปได้ดังนี้ • มีภาระหน้าที่ในการผิดชอบต่อคณะกรรมการบริษัทฯ และผู้ถือหุ้นทุกรายด้วยการสร้างและก่อให้เกิด มูลค่าทางธุรกิจแก่ผู้มีส่วนได้เสีย • กำหนดวัตถุประสงค์ในการกำกับดูแลกลุ่มบริษัทฯ เพื่อสร้างมูลค่าทางธุรกิจให้แก่ผู้มีส่วนได้เสีย • วางวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ และเป้าหมายในภาพรวมของการดำเนินธุรกิจ ตลอดจนผลักดัน ให้เกิดการนำออกสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม และการพัฒนาองค์กรอย่างเป็นรูปธรรม • มอบหมายอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบให้แก่ผู้บริหารระดับสูง ตลอดจนผู้บริหารระดับอาวุโส เพื่อสนับสนุนกรรมการผู้จัดการใหญ่ในการสร้างมูลค่าทางธุรกิจ • รั บ ผิ ด ชอบผลประกอบการทางธุ ร กิ จ และพั ฒ นาธุ ร กิ จ ให้ ค รบวงจรเพื ่ อ ให้ ไ ด้ ผ ลตอบแทนทาง เศรษฐศาสตร์ ในอัตราที่เหมาะสมเทียบได้กับธุรกิจปิโตรเคมีทั้งในและต่างประเทศในระยะยาว • พัฒนาบริษทั ให้ประกอบธุรกิจอย่างมีจรรยาบรรณ ปฏิบตั ติ ามกฎหมาย ศีลธรรมและวัฒนธรรมอันดีงาม • พัฒนาองค์กรและบุคลากรให้มคี วามรูค้ วามสามารถเต็มศักยภาพ สร้างวัฒนธรรมองค์กรและจรรยาบรรณ วิชาชีพ ทั้งนี้ การมอบอำนาจดังกล่าวข้างต้น ไม่รวมถึงการอนุมัติรายการที่ผู้รับมอบอำนาจหรือบุคคลที่อาจมี ความขัดแย้ง มีส่วนได้เสียหรืออาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ในลักษณะอื่นใด กับบริษัทฯ หรือ บริษัทย่อยของบริษัทฯ
คณะกรรมการเฉพาะเรื่อง
เพื่อให้เป็นไปตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี คณะกรรมการบริษัท ในการประชุมครั้งที่ 1/2548 เมื่อ
วันที่ 7 ธันวาคม 2548 ได้แต่งตั้งคณะกรรมการเฉพาะเรื่องทั้งสิ้น 4 คณะ โดยได้มอบหมายภาระหน้าที่ ในการพิ จ ารณากลั ่ น กรองการดำเนิ น งานที ่ ส ำคั ญ เป็ น การเฉพาะเรื ่ อ งด้ ว ยความรอบคอบและมี ประสิทธิภาพ เพื่อนำเสนอความเห็นต่อคณะกรรมการบริษัทฯ
108
รายงานประจำปี 2552 I บริษทั ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
สรุปโครงสร้างของคณะกรรมการเฉพาะเรื่อง ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 มีดังต่อไปนี้
1. คณะกรรมการตรวจสอบ
ประกอบด้วย กรรมการบริษัทฯ ที่เป็นกรรมการอิสระ 3 คน ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ที่ กำหนดในประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ โดยทุกท่านเป็นผู้ที่มีความรู้และ ประสบการณ์เพียงพอที่จะสามารถทำหน้าที่ในการสอบทานความน่าเชื่อถือของงบการเงิน ดังนี้ ชื่อ
ตำแหน่ง
นายไพบูลย์ ปัญญวุฒิ ประธานกรรมการตรวจสอบ พลตำรวจเอก นพดล สมบูรณ์ทรัพย์ กรรมการตรวจสอบ นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม กรรมการตรวจสอบ โดยมี นายอดิศร วิชัยขัทคะ ผู้จัดการฝ่าย หน่วยงานตรวจสอบภายใน ทำหน้าที่เลขานุการคณะ กรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการตรวจสอบ มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 3 ปี หรือสิ้นสุดวาระการดำรงตำแหน่งโดย
การลาออกหรือการถอดถอนจากคณะกรรมการบริษัท หรือการพ้นสภาพการเป็นกรรมการบริษัท ทั้งนี้ กรรมการตรวจสอบที่พ้นจากตำแหน่งตามวาระอาจได้รับแต่งตั้งจากคณะกรรมการบริษัทอีกได้ แต่ไม่ เกินสองวาระติดต่อกัน เว้นแต่คณะกรรมการบริษัทฯ จะมีความเห็นเป็นอื่น โดยคณะกรรมการตรวจสอบ มีขอบเขตอำนาจหน้าที่ และความรับผิดชอบตามกฎบัตรคณะกรรมการตรวจสอบ ซึ่งได้รับการปรับปรุง ล่าสุด และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัทฯ ในการประชุมครั้งที่ 10/2552 เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2552 โดยคณะกรรมการตรวจสอบมีขอบเขตอำนาจหน้าที่ ดังนี้ รายงานทางการเงิน และการสอบบัญชี • สอบทานให้บริษัทฯ มีการรายงานทางการเงินอย่างถูกต้องและเปิดเผยอย่างเพียงพอ • พิจารณา คัดเลือก เสนอแต่งตั้ง และเสนอค่าตอบแทนผู้สอบบัญชีของบริษัท เพื่อให้ได้ผู้สอบบัญชี
ที่มีความเป็นอิสระ การควบคุมภายใน • สอบทานให้ บ ริ ษ ั ท ฯ มี ร ะบบการควบคุ ม ภายในและการบริ ห ารความเสี ่ ย งที ่ เ หมาะสมและมี ประสิทธิผล • ส่งเสริมให้บริษัทฯ มีการดำเนินงานด้านการผลิต การบำรุงรักษา และการดำเนินงานอื่นใดที่เกี่ยวกับ การผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ด้วยความปลอดภัย มีการป้องกันหรือลดผลกระทบด้าน
สิ่งแวดล้อม การตรวจสอบภายใน • สอบทานให้บริษัทฯ มีหน่วยงานตรวจสอบภายในที่มีความเป็นอิสระ และมีระบบการตรวจสอบ ภายในที่มีประสิทธิผล • พิจารณาการเสนอแต่งตั้ง โยกย้าย เลิกจ้าง และผลการปฏิบัติงานของผู้จัดการฝ่าย หน่วยงานตรวจ สอบภายใน • พิจารณาอนุมัติกฎบัตรหน่วยงานตรวจสอบภายใน • สอบทานและพิจารณาร่วมกับผู้ตรวจสอบภายในเกี่ยวกับผลการตรวจสอบ • ประสานความเข้าใจระหว่างคณะกรรมการตรวจสอบ ฝ่ายจัดการ หน่วยงานตรวจสอบภายใน และ
ผู้สอบบัญชี ให้อยู่ในแนวทางเดียวกัน รวมทั้งพิจารณาขอบเขตการตรวจสอบ และแผนการตรวจสอบ ของผู้ตรวจสอบภายใน และผู้สอบบัญชีของบริษัท ให้มีความสัมพันธ์และเกื้อกูลกัน การปฏิบัติตามกฎหมายและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง • สอบทานให้บริษัท ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกำหนดของ ก.ล.ต. และตลาดหลักทรัพย์ และ/หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท
109 • พิจารณารายการที่เกี่ยวโยงกัน หรือรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ให้เป็นไปตาม กฎหมายและข้อกำหนดของ ก.ล.ต. และตลาดหลักทรัพย์ เพื่อให้มั่นใจว่ารายการดังกล่าวสมเหตุ
สมผลและเป็นประโยชน์สูงสุดต่อบริษัท การรายงาน • จัดทำรายงานของคณะกรรมการตรวจสอบ และเปิดเผยไว้ในรายงานประจำปีของบริษัท โดยแสดง รายการตามที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกำหนด และลงนามโดยประธานกรรมการตรวจสอบ • รายงานผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการตรวจสอบให้คณะกรรมการบริษัทฯ รับทราบ • ในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบ หากพบหรือมีข้อสงสัยว่ามีรายการหรือการกระทำ ซึง่ อาจมีผลกระทบอย่างมีนยั สำคัญต่อฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของบริษทั ฯ คณะกรรมการ ตรวจสอบต้องรายงานต่อคณะกรรมการบริษัทฯ เพื่อดำเนินการปรับปรุงแก้ไข ภายในเวลาที่
คณะกรรมการตรวจสอบเห็นสมควร รายการหรือการกระทำดังกล่าว ได้แก่ 1) รายการที่เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ 2) การทุจริต หรือมีสิ่งผิดปกติหรือมีความบกพร่องที่สำคัญในระบบการควบคุมภายใน 3) การฝ่าฝืนกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์แห่ง ประเทศไทย หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัทฯ • หากคณะกรรมการบริษัทฯ หรือฝ่ายจัดการไม่ดำเนินการให้มีการปรับปรุงแก้ไขรายการหรือการ กระทำซึ ่ ง อาจมี ผ ลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อฐานะการเงิน และผลการดำเนินงานของบริษัท กรรมการตรวจสอบรายใดรายหนึ่งอาจรายงานว่ามีรายการหรือการกระทำตามที่กล่าวข้างต้น ต่อ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หน้าที่อื่นๆ • คณะกรรมการตรวจสอบสามารถขอคำปรึกษาจากที่ปรึกษาภายนอกที่เป็นอิสระได้ในกรณีจำเป็น โดยบริษัทเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย • ประเมินตนเองเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่และความรับผิดชอบตามที่ได้รับมอบหมาย • ทบทวนและปรับปรุงกฎบัตรคณะกรรมการตรวจสอบ และเสนอต่อคณะกรรมการบริษัทฯ เพื่ออนุมัติ • ปฏิบัติการอื่นใดตามที่คณะกรรมการบริษัทฯ มอบหมาย และด้วยความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ตรวจสอบ • ปฏิบัติหน้าที่อื่นใดตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับบริษัทฯ นอกจากนี้ กำหนดให้คณะกรรมการตรวจสอบจัดให้มีการประชุมร่วมกับผู้สอบบัญชีของบริษัท โดยไม่มี ฝ่ายจัดการเข้าร่วมประชุม อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ความรับผิดชอบ : คณะกรรมการตรวจสอบมีความรับผิดชอบต่อคณะกรรมการบริษัทฯ โดยตรงตาม หน้าที่และความรับผิดชอบที่ได้รับมอบหมาย และคณะกรรมการบริษัทฯ ยังคงมีความรับผิดชอบในการ ดำเนินงานของบริษัทฯ ต่อบุคคลภายนอก
2. คณะกรรมการสรรหา
ประกอบด้วย กรรมการบริษัทฯ อย่างน้อย 3 คน กรรมการสรรหา อย่างน้อยหนึ่ง (1) คน ต้องเป็น กรรมการอิสระ และประธานกรรมการสรรหาควรเป็นกรรมการอิสระ คณะกรรมการสรรหา ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 มีดังนี้ ชื่อ
ตำแหน่ง
นายไพบูลย์ ปัญญวุฒิ ประธานกรรมการสรรหา (กรรมการอิสระ) พลเอก วินัย ภัททิยกุล กรรมการสรรหา (กรรมการอิสระ) นายปรัชญา ภิญญาวัธน์ กรรมการสรรหา คณะกรรมการสรรหา มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 3 ปี หรือสิ้นสุดโดยการลาออก การพ้นสภาพ การเป็นกรรมการบริษัทฯ หรือการถอดถอนจากคณะกรรมการบริษัทฯ ทั้งนี้ กรรมการสรรหาซึ่งพ้นจาก ตำแหน่งตามวาระ อาจได้รับแต่งตั้งจากคณะกรรมการบริษัทฯ ให้ดำรงตำแหน่งต่อไปอีกได้
110
รายงานประจำปี 2552 I บริษทั ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
คณะกรรมการสรรหา มีขอบเขตอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบตามกฎบัตรคณะกรรมการสรรหา ซึ่ง ได้รบั ความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริษทั ฯ ในการประชุมครัง้ ที่ 2/2552 เมือ่ วันที่ 9 มิถนุ ายน 2552 ดังนี ้ ขอบเขตอำนาจหน้าที่ : • กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาและคัดเลือกกรรมการบริษัทฯ หรือกรรมการผู้จัดการใหญ่ เพื่อ ให้เกิดความโปร่งใส • สรรหาและพิจารณาคัดเลือกบุคคลที่สมควรได้รับการเสนอรายชื่อเป็นกรรมการใหม่ หรือ สรรหา กรรมการผู้จัดการใหญ่ เพื่อเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ และ/หรือ ที่ประชุมผู้ถือหุ้นให้ พิจารณาอนุมัติ • ปฏิบัติหน้าที่อื่นใดตามที่คณะกรรมการบริษัทฯ มอบหมาย และตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับบริษัทฯ ความรับผิดชอบ : คณะกรรมการสรรหามีความรับผิดชอบต่อคณะกรรมการบริษัทฯ โดยตรงตามหน้าที่ และความรับผิดชอบที่ได้รับมอบหมาย และคณะกรรมการบริษัทฯ ยังคงมีความรับผิดชอบในการ
ดำเนินงานของบริษัทฯ ต่อบุคคลภายนอก
3. คณะกรรมการกำหนดค่าตอบแทน
ประกอบด้วย กรรมการบริษัทฯ อย่างน้อย 3 คน กรรมการกำหนดค่าตอบแทน อย่างน้อยหนึ่ง (1) คน ต้องเป็นกรรมการอิสระ และประธานกรรมการกำหนดค่าตอบแทน ควรเป็นกรรมการอิสระ คณะกรรมการ กำหนดค่าตอบแทน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 มีดังนี้ ชื่อ
ตำแหน่ง
พลตำรวจเอก นพดล สมบูรณ์ทรัพย์ ประธานกรรมการกำหนดค่าตอบแทน (กรรมการอิสระ) นายสมชาย คูวิจิตรสุวรรณ กรรมการกำหนดค่าตอบแทน (กรรมการอิสระ) นายเทวินทร์ วงศ์วานิช กรรมการกำหนดค่าตอบแทน คณะกรรมการกำหนดค่าตอบแทน มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 3 ปี หรือสิ้นสุดโดยการลาออก การ พ้นสภาพการเป็นกรรมการบริษัทฯ หรือการถอดถอนจากคณะกรรมการบริษัทฯ ทั้งนี้ กรรมการกำหนด ค่าตอบแทนซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระ อาจได้รับแต่งตั้งจากคณะกรรมการบริษัทฯ ให้ดำรงตำแหน่ง ต่อไปอีกได้ คณะกรรมการกำหนดค่ า ตอบแทน มี ข อบเขตอำนาจหน้ า ที ่ แ ละความรั บ ผิ ด ชอบตามกฎบั ต ร
คณะกรรมการกำหนดค่าตอบแทน ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริษัทฯ ในการประชุมครั้งที่
2/2552 เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2552 ดังนี้ ขอบเขตอำนาจหน้าที ่ • พิจารณาแนวทางการกำหนดค่าตอบแทนให้แก่กรรมการบริษัทฯ และกรรมการผู้จัดการใหญ่ • กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการกำหนดค่าตอบแทนให้แก่กรรมการบริษัทฯ และกรรมการ
ผู้จัดการใหญ่ ที่เป็นธรรมและสมเหตุสมผล และนำเสนอที่ประชุมผู้ถือหุ้น เพื่อพิจารณาอนุมัติ
ค่าตอบแทนคณะกรรมการบริษัทฯ • ปฏิบัติหน้าที่อื่นใดตามที่คณะกรรมการบริษัทฯ มอบหมาย และตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับบริษัทฯ ความรับผิดชอบ : คณะกรรมการกำหนดค่าตอบแทนมีความรับผิดชอบต่อคณะกรรมการบริษัทฯ โดยตรงตามหน้าทีแ่ ละความรับผิดชอบทีไ่ ด้รบั มอบหมาย และคณะกรรมการบริษทั ฯ ยังคงมีความรับผิดชอบ
ในการดำเนินงานของบริษัทฯ ต่อบุคคลภายนอก
4. คณะกรรมการกำกับดูแลกิจการ
ประกอบด้วย กรรมการบริษัทฯ อย่างน้อย 3 คน กรรมการกำกับดูแลกิจการ อย่างน้อยหนึ่ง (1) คน ต้อง เป็นกรรมการอิสระ คณะกรรมการกำกับดูแลกิจการ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 มีดังนี้
111 ชื่อ
ตำแหน่ง
นายปรัชญา ภิญญาวัธน์ ประธานกรรมการกำกับดูแลกิจการ นายวิฑูรย์ สิมะโชคดี กรรมการกำกับดูแลกิจการ (กรรมการอิสระ) นายสมชาย คูวิจิตรสุวรรณ กรรมการกำกับดูแลกิจการ (กรรมการอิสระ) คณะกรรมการกำกับดูแลกิจการ มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 3 ปี หรือสิ้นสุดโดยการลาออก การ พ้นสภาพการเป็นกรรมการบริษัทฯ หรือการถอดถอนจากคณะกรรมการบริษัทฯ ทั้งนี้ กรรมการกำกับ ดูแลกิจการซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระ อาจได้รับแต่งตั้งจากคณะกรรมการบริษัทฯ ให้ดำรงตำแหน่ง
ต่อไปอีกได้ คณะกรรมการกำกับดูแลกิจการ มีขอบเขตอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบตามกฎบัตรคณะกรรมการ กำกับดูแลกิจการ ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริษัทฯ ในการประชุมครั้งที่ 2/2552 เมื่อ
วันที่ 9 มิถุนายน 2552 ดังนี้ ขอบเขตอำนาจหน้าที่ : • พิจารณากำหนดนโยบาย / หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี และจรรยาบรรณธุรกิจของบริษัทฯ ให้ สอดคล้องกับมาตรฐานสากล และเสนอต่อคณะกรรมการ เพื่อกำหนดเป็นระเบียบปฏิบัติขององค์กร • กำกับดูแลการปฏิบัติตามนโยบาย / หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี และจรรยาบรรณธุรกิจของบริษัทฯ • ให้ ค ำปรึ ก ษา เสนอแนะแนวปฏิ บ ั ต ิ ด ้ า นการกำกั บ ดู แ ลกิ จ การที ่ ด ี และจรรยาบรรณธุ ร กิ จ ต่ อ
คณะกรรมการบริษัทฯ และฝ่ายจัดการ • ประเมินผลและทบทวนนโยบาย / หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี และจรรยาบรรณธุรกิจ และการ ปฏิบัติของบริษัทฯ เปรียบเทียบกับมาตรฐานสากล และองค์กรชั้นนำ และเสนอต่อคณะกรรมการ
บริษัทฯ เพื่อปรับปรุง / พัฒนาให้เหมาะสมทันสมัย และรักษาคุณภาพการปฏิบัติที่ดีอย่างต่อเนื่อง • ปฏิบัติหน้าที่อื่นใดตามที่คณะกรรมการบริษัทฯ มอบหมาย และตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับบริษัทฯ ความรับผิดชอบ : คณะกรรมการกำกับดูแลกิจการมีความรับผิดชอบต่อคณะกรรมการบริษัทฯ โดยตรง ตามหน้าที่และความรับผิดชอบที่ได้รับมอบหมาย และคณะกรรมการบริษัทฯ ยังคงมีความรับผิดชอบ
ในการดำเนินงานของบริษัทฯ ต่อบุคคลภายนอก
เลขานุการบริษัท
เพื่อให้เป็นไปตาม พ.ร.บ. หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 89/15 คณะ กรรมการบริษัทฯ ในการประชุมครั้งที่ 4/2551 เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2551 ได้แต่งตั้งให้ นางวลัยพร บุษปะเวศ ผู้จัดการฝ่าย หน่วยงานกำกับองค์กรและเลขานุการบริษัท ดำรงตำแหน่ง เลขานุการบริษัท โดยมีภาระหน้าที่ในการให้คำแนะนำกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่คณะกรรมการและผู้บริหารต้องทราบ เพื่อการ
ทำหน้าที่อย่างเป็นประโยชน์ต่อบริษัทฯ รวมทั้งดูแลกิจกรรมของคณะกรรมการ ประสานงานให้มีการ ปฏิบัติตามมติคณะกรรมการบริษัทฯ ดำเนินการเกี่ยวกับการประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ และการ ประชุมผู้ถือหุ้น รวมถึงการปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดในการกำกับดูแลการจัดทำและเก็บรักษา เอกสารสำคัญของบริษทั ฯ ได้แก่ ทะเบียนกรรมการ หนังสือนัดประชุม รายงานการประชุมคณะกรรมการ บริษัทฯ และผู้ถือหุ้น และรายงานประจำปีของบริษัทฯ
กรรมการอิสระ
คณะกรรมการบริษัทฯ ได้จัดให้มีกรรมการอิสระจำนวน 1 ใน 3 ของกรรมการทั้งคณะ เป็นหนึ่งใน
องค์ประกอบของคณะกรรมการบริษัทฯ ตามประกาศ ก.ล.ต. นอกจากนี้ คณะกรรมการบริษัทฯ ได้ให้ ความเห็นชอบการกำหนดนิยามคุณสมบัติ “กรรมการอิสระ” ให้เข้มกว่าข้อกำหนดของ ก.ล.ต. ในเรื่อง สัดส่วนการถือหุ้นไม่เกินร้อยละ 0.5 (ก.ล.ต. กำหนดร้อยละ 1) ของจำนวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมด ของบริษัทฯ บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้มีอำนาจควบคุมของบริษัทฯ โดย นับรวมการถือหุ้นของผู้ที่เกี่ยวข้องของกรรมการอิสระด้วย (นิยามคุณสมบัติกรรมการอิสระ ปรากฏใน หน้า 131)
112
รายงานประจำปี 2552 I บริษทั ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 กรรมการอิสระของบริษัทฯ มีจำนวน 6 ท่าน ซึ่งมากกว่า 1 ใน 3 ของ กรรมการทั้งคณะ ตามเกณฑ์ที่ ก.ล.ต. กำหนด ประกอบด้วย ชื่อ
1. นายไพบูลย์ ปัญญวุฒิ 2. พลตำรวจเอก นพดล สมบูรณ์ทรัพย์ 3. นายสมชาย คูวิจิตรสุวรรณ 4. นายวิฑูรย์ สิมะโชคดี 5. นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม 6. พลเอก วินัย ภัททิยกุล
ตำแหน่ง
กรรมการอิสระ ประธานกรรมการตรวจสอบ ประธานกรรมการสรรหา กรรมการอิสระ ประธานกรรมการกำหนดค่าตอบแทน กรรมการตรวจสอบ กรรมการอิสระ กรรมการกำหนดค่าตอบแทน กรรมการกำกับดูแลกิจการ กรรมการอิสระ กรรมการกำกับดูแลกิจการ กรรมการอิสระ กรรมการตรวจสอบ กรรมการอิสระ กรรมการสรรหา
การประชุมคณะกรรมการบริษัท และค่าตอบแทน 1. การประชุมคณะกรรมการบริษัท
ในปี 2552 คณะกรรมการบริษัทฯ และคณะกรรมการเฉพาะเรื่อง มีการประชุมดังนี้
คณะกรรมการ บริษัทฯ
10 ครั้ง
จำนวนครั้งการประชุม ในปี 2552 คณะกรรมการ คณะกรรมการ คณะกรรมการ คณะกรรมการ ตรวจสอบ สรรหา กำหนดค่าตอบแทน กำกับดูแลกิจการ
7 ครั้ง
2 ครั้ง
3 ครั้ง
6 ครั้ง
2. ค่าตอบแทนกรรมการบริษัท
ที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2552 เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2552 ได้มีมติอนุมัติค่าตอบแทนกรรมการ
บริษัท กรรมการเฉพาะเรื่อง และโบนัสกรรมการ สำหรับผลประกอบการปี 2551 ดังนี้ (1) ค่าตอบแทนกรรมการบริษัท และกรรมการเฉพาะเรื่อง ตั้งแต่วันที่ 8 เมษายน 2552 ดังนี้ ค่าตอบแทน
1. ค่าตอบแทนกรรมการบริษัทฯ • ค่าตอบแทนประจำเดือน • ค่าเบี้ยประชุม 2. ค่าตอบแทนกรรมการเฉพาะเรื่อง • กรรมการตรวจสอบ • กรรมการสรรหา • กรรมการกำหนดค่าตอบแทน • กรรมการกำกับดูแลกิจการ
อัตราค่าตอบแทน
• ประธานกรรมการ 50,000 บาท • กรรมการ 40,000 บาท/ท่าน • ไม่มี ค่าตอบแทนเป็นค่าเบี้ยประชุมรายครั้งเมื่อเข้าร่วม ประชุม ดังนี้ • ประธานกรรมการ 40,000 บาท/ครัง้ การประชุม • กรรมการ 30,000 บาท/คน/ครัง้ การประชุม
113 (2) โบนัสกรรมการสำหรับผลการดำเนินงานปี 2551 เป็นเงินทั้งสิ้น 35.21 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 0.3 ของกำไรสุทธิของบริษัทฯ ประจำปี 2551 โดยคำนวณจ่ายตามระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่ง และ ประธานกรรมการได้รับ ในอัตราสูงกว่ากรรมการ ร้อยละ 25 นอกจากนั้น ผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ ในการประชุมวิสามัญประจำปี 2549 วันที่ 26 เมษายน 2549 ยังได้ อนุมัติการออกและเสนอขายใบสำคัญแสดงสิทธิ (Warrant) ที่จะซื้อหุ้นสามัญ จำนวน 29,000,000 หน่วย ให้แก่กรรมการ ผู้บริหาร ที่ปรึกษา และพนักงานของบริษัทฯ และพนักงานของ บมจ. ปตท. และ บริษัทในเครือของ บมจ. ปตท. ที่ส่งมาปฏิบัติหน้าที่ในบริษัทฯ (ESOP Scheme)
3. การเข้าร่วมประชุมของกรรมการบริษัทฯ กรรมการเฉพาะเรื่อง และค่าตอบแทน กรรมการบริษัท ในปี 2552 ค่าตอบแทนที่จ่ายในปี 2552 สำหรับกรรมการที่ดำรงตำแหน่ง ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552
ค่าตอบแทน รายเดือน/ จำนวนครัง้ เบี้ยประชุม โบนัสที่จ่าย วันเริ่ม ที่เข้าร่วม กรรมการ ในปี 2552 รวม ชื่อกรรมการ ตำแหน่ง ตำแหน่ง ประชุม เฉพาะเรือ่ ง (บาท) (บาท) (บาท)
1. นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์* ประธานกรรมการ 7 ธ.ค. 48 10/10 480,000.00 2,378,307.65 2,858,307.65 กรรมการอิสระ 10 เม.ย. 51 8/10 480,000.00 1,728,496.82 2,388,496.82 2. นายวิฑูรย์ สิมะโชคดี กรรมการกำกับ 12 ธ.ค. 51 6/6 180,000.00 - ดูแลกิจการ 14 พ.ย. 51 10/10 480,000.00 311,909.20 1,081,909.20 3. พล ต.อ.นพดล สมบูรณ์ทรัพย์ กรรมการอิสระ กรรมการกำหนด 12 ธ.ค. 51 1/1 30,000.00 - ค่าตอบแทน - ประธานกรรมการ 4 พ.ค. 52 2/2 80,000.00 กำหนดค่าตอบแทน - กรรมการตรวจสอบ 4 พ.ค. 52 6/6 180,000.00 14 พ.ย. 51 10/10 480,000.00 311,909.20 1,031,909.20 4. นายสมชาย คูวิจิตรสุวรรณ กรรมการอิสระ 4 พ.ค. 52 2/2 60,000.00 - กรรมการกำหนด ค่าตอบแทน 12 ธ.ค. 51 6/6 180,000.00 - กรรมการกำกับ ดูแลกิจการ 8 เม.ย.52 7/8 350,666.67 - 350,666.67 5. นายพานิช พงศ์พิโรดม กรรมการ กรรมการอิสระ 8 เม.ย.52 6/8 350,666.67 - 500,666.67 6. นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม - กรรมการตรวจสอบ 4 พ.ค. 52 5/6 150,000.00 8 เม.ย.52 7/8 350,666.67 - 380,666.67 7. พลเอก วินัย ภัททิยกุล กรรมการอิสระ กรรมการสรรหา 4 พ.ค. 52 1/1 30,000.00 - 8. นายไพบูลย์ ปัญญวุฒิ กรรมการอิสระ 7 ธ.ค. 48 9/10 480,000.00 2,378,307.65 3,438,307.65 - กรรมการตรวจสอบ 7 ธ.ค. 48 1/1 300,000.00 ประธานกรรมการ 4 พ.ค. 52 6/6 240,000.00 ตรวจสอบ ประธานกรรมการ 4 พ.ค. 52 1/1 40,000.00 - สรรหา 7 ธ.ค. 48 10/10 480,000.00 2,378,307.65 3,158,307.65 9. นายปรัชญา ภิญญาวัธน์ กรรมการ 7 ธ.ค. 48 2/2 60,000.00 - กรรมการสรรหา - ประธานกรรมการ 12 ธ.ค. 51 6/6 240,000.00 กำกับดูแลกิจการ
114
รายงานประจำปี 2552 I บริษทั ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
ค่าตอบแทนที่จ่ายในปี 2552 สำหรับกรรมการที่ดำรงตำแหน่ง ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552
ค่าตอบแทน รายเดือน/ จำนวนครัง้ เบี้ยประชุม โบนัสที่จ่าย วันเริ่ม ที่เข้าร่วม กรรมการ ในปี 2552 รวม ชื่อกรรมการ ตำแหน่ง ตำแหน่ง ประชุม เฉพาะเรือ่ ง (บาท) (บาท) (บาท)
10. นายเทวินทร์ วงศ์วานิช กรรมการ 24 ก.ค.52 5/5 209,032.26 - 269,032.26 24 ก.ค.52 2/2 60,000.00 - กรรมการกำหนด ค่าตอบแทน 7 ธ.ค. 48 8/10 480,000.00 2,378,307.65 2,858,307.65 11. นายชลณัฐ ญาณารณพ กรรมการ 7 ธ.ค. 48 8/10 480,000.00 2,378,307.65 2,858,307.65 12. นายรุ่งโรจน์ รังสิโยภาส กรรมการ กรรมการ 7 ธ.ค. 48 9/10 480,000.00 2,378,307.65 2,858,307.65 13. นายพิชิต นิธิวาสิน 1 ต.ค.51 10/10 480,000.00 539,342.99 1,019,342.99 14.นายวีรศักดิ์ โฆสิตไพศาล** กรรมการ และ เลขานุการคณะกรรมการ * ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ ครั้งที่ 1/2553 เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2553 ได้มีมติแต่งตั้ง นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์
รองประธานกรรมการ ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการ โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2553 เป็นต้นไป ** ค่าตอบแทนตำแหน่งกรรมการ ไม่รวมตำแหน่งผูบ้ ริหาร
กรรมการที่ครบวาระ และลาออกระหว่างปี 2552
ค่าตอบแทนที่จ่ายในปี 2552 สำหรับกรรมการที่ครบวาระและลาออกระหว่างปี 2552 ค่าตอบแทน รายเดือน/ จำนวนครัง้ เบี้ยประชุม โบนัสกรรมการ วันสิ้นสุดการ ที่เข้าร่วม กรรมการ ที่จ่ายในปี 2552 รวม ชื่อกรรมการ ตำแหน่ง ดำรงตำแหน่ง ประชุม เฉพาะเรือ่ ง (บาท) (บาท) (บาท)
1. นายพรชัย รุจิประภา 2. นายมนู เลียวไพโรจน์ 3. นายพละ สุขเวช 4. นายเชิดพงษ์ สิริวิชช์ 5. นายพิชัย ชุณหวชิร
ประธานกรรมการ 15 พ.ค. 52 2/3 222,580.65 2,972,884.56 3,195,465.21 8 เม.ย. 52 2/2 129,333.33 2,378,307.65 2,547,640.98 กรรมการอิสระ ประธานกรรมการ 1/1 40,000.00 ตรวจสอบ 8 เม.ย. 52 1/2 129,333.33 2,378,307.65 2,587,640.98 กรรมการอิสระ 1/1 40,000.00 ประธานกรรมการ สรรหา 1/1 40,000.00 ประธานกรรมการ กำหนดค่าตอบแทน 8 เม.ย. 52 2/2 129,333,33 2,378.307.65 2,567,640.98 กรรมการอิสระ 1/1 30,000.00 กรรมการ ตรวจสอบ 1/1 30,000.00 กรรมการ สรรหา 30 มิ.ย.52 2/4 240,000.00 2,378,307.65 2,648,307.65 กรรมการ 1/1 30,000.00 กรรมการกำหนด ค่าตอบแทน
115
4. การเปลี่ยนแปลงกรรมการบริษัทฯ และกรรมการเฉพาะเรื่อง ในปี 2552 1. กรรมการบริษัทฯ
1.1 นายพรชัย รุจปิ ระภา ลาออกจากตำแหน่งประธานกรรมการบริษทั ฯ ตัง้ แต่วนั ที่ 15 พฤษภาคม 2552 1.2 นายมนู เลียวไพโรจน์ ครบวาระการดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัทฯ และนายพานิช พงศ์พิโรดม
ได้รบั แต่งตัง้ ให้ดำรงตำแหน่งแทน ในการประชุมสามัญผูถ้ อื หุน้ ประจำปี 2552 เมือ่ วันที่ 8 เมษายน 2552 1.3 นายพละ สุขเวช ครบวาระการดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัทฯ และนายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ได้รับ
แต่งตัง้ ให้ดำรงตำแหน่งแทน ในการประชุมสามัญผูถ้ อื หุน้ ประจำปี 2552 เมือ่ วันที่ 8 เมษายน 2552 1.4 นายเชิ ด พงษ์ สิ ร ิ ว ิ ช ช์ ครบวาระการดำรงตำแหน่ ง กรรมการบริ ษ ั ท ฯ และพลเอก วิ น ั ย
ภัททิยกุล ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งแทน ในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2552 เมื่อ
วันที่ 8 เมษายน 2552 1.5 นายพิชัย ชุณหวชิร ลาออกจากตำแหน่งกรรมการบริษัทฯ ตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2552 และ
นายเทวินทร์ วงศ์วานิช ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งแทน ตั้งแต่วันที่ 24 กรกฎาคม 2552 อนึ่ง ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ ครั้งที่ 1/2553 เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2553 ได้มีมติแต่งตั้ง
นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ รองประธานกรรมการ ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการ แทน นายพรชัย รุจปิ ระภา ประธานกรรมการ ทีล่ าออกจากตำแหน่งเมือ่ วันที่ 15 พฤษภาคม 2552 โดยมีผลตัง้ แต่วนั ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2553 เป็นต้นไป
2. กรรมการเฉพาะเรื่อง
2.1 กรรมการตรวจสอบ (1) นายไพบูลย์ ปัญญวุฒิ ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการตรวจสอบ แทน นายมนู
เลียวไพโรจน์ ตั้งแต่วันที่ 4 พฤษภาคม 2552 เป็นต้นไป (2) พลตำรวจเอก นพดล สมบูรณ์ทรัพย์ ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งกรรมการตรวจสอบ แทน
นายมนู เลียวไพโรจน์ ตั้งแต่วันที่ 4 พฤษภาคม 2552 เป็นต้นไป (3 นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งกรรมการตรวจสอบ แทน นายเชิดพงษ์ สิริวิชช์ ตั้งแต่วันที่ 4 พฤษภาคม 2552 เป็นต้นไป 2.2 กรรมการสรรหา (1) นายไพบูลย์ ปัญญวุฒิ ได้รบั แต่งตัง้ ให้ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการสรรหา แทน นายพละ สุขเวช ตั้งแต่วันที่ 4 พฤษภาคม 2552 เป็นต้นไป (2) พลเอก วินัย ภัททิยกุล ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งกรรมการสรรหา แทน นายเชิดพงษ์ สิริวิชช์ ตั้งแต่วันที่ 4 พฤษภาคม 2552 เป็นต้น 2.3 กรรมการกำหนดค่าตอบแทน (1) พลตำรวจเอก นพดล สมบูรณ์ทรัพย์ ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการกำหนด
ค่าตอบแทน แทน นายพละ สุขเวช ตั้งแต่วันที่ 4 พฤษภาคม 2552 เป็นต้นไป (2) นายสมชาย คูวิจิตรสุวรรณ ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งกรรมการกำหนดค่าตอบแทน แทน
นายพละ สุขเวช ตั้งแต่วันที่ 4 พฤษภาคม 2552 เป็นต้นไป (3) นายเทวินทร์ วงศ์วานิช ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งกรรมการกำหนดค่าตอบแทน แทน
นายพิชัย ชุณหวชิร ตั้งแต่วันที่ 24 กรกฎาคม 2552 เป็นต้นไป
116
รายงานประจำปี 2552 I บริษทั ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
5. ค่าตอบแทนของกรรมการบริษัทฯ ที่ดำรงตำแหน่งกรรมการในบริษัทย่อยที่สำคัญ
การดำรงตำแหน่งกรรมการในบริษัทย่อยของกรรมการบริษัทฯ เป็นไปเพื่อดูแลธุรกิจของบริษัทฯ และ
บริษัทย่อย ให้มีการดำเนินงานที่สอดคล้องตามนโยบายธุรกิจของกลุ่ม โดยค่าตอบแทนของกรรมการ
บริษัทฯ ที่ดำรงตำแหน่งกรรมการในบริษัทย่อยที่สำคัญ ในปี 2552 เป็นดังนี้ บริษทั พีทที ี โพลีเอททิลนี จำกัด (PTTPE) (บริษทั ฯ ถือหุน้ ร้อยละ 100)
ชื่อ
ตำแหน่ง
ค่าตอบแทนรวม (บาท)
ชื่อ
ตำแหน่ง
ค่าตอบแทนรวม (บาท)
ชื่อ
ตำแหน่ง
ค่าตอบแทนรวม (บาท)
ชื่อ
ตำแหน่ง
ค่าตอบแทนรวม (บาท)
ชื่อ
ตำแหน่ง
ค่าตอบแทนรวม (บาท)
ชื่อ
ตำแหน่ง
ค่าตอบแทนรวม (ดอลลาร์สิงคโปร์)
ชื่อ
ตำแหน่ง
ค่าตอบแทนรวม (ริงกิต มาเลเซีย)
1. นายปรัชญา ภิญญาวัธน์ ประธานกรรมการ 2. นายวีรศักดิ์ โฆสิตไพศาล กรรมการ บริษทั บางกอกโพลีเอททิลนี จำกัด (มหาชน) (BPE) (บริษทั ฯ ถือหุน้ ร้อยละ 100)
240,000 180,000
1. นายปรัชญา ภิญญาวัธน์ รองประธานกรรมการ บริษัท ไทยโอลีโอเคมี จำกัด (TOL) (บริษัทฯ ถือหุ้นร้อยละ 100)
480,000
1. นายวิฑูรย์ สิมะโชคดี ประธานกรรมการ 360,000 บริษทั เอ็นพีซี เซฟตี้ แอนด์ เอ็นไวรอนเมนทอล เซอร์วสิ จำกัด (NPC S&E) (บริษทั ฯ ถือหุน้ ร้อยละ 100) 1. นายวีรศักดิ์ โฆสิตไพศาล กรรมการ บริษัท ไทยแท้งค์เทอร์มินัล จำกัด (TTT) (บริษัทฯ ถือหุ้นร้อยละ 51)
180,000
1. นายวีรศักดิ์ โฆสิตไพศาล กรรมการ 240,000 บริษัท ปตท. เคมิคอล อินเตอร์เนชั่นแนล ไพรเวท จำกัด (CH Inter) (บริษัทฯ ถือหุ้นร้อยละ 100) 1. นายวีรศักดิ์ โฆสิตไพศาล กรรมการ Emery Oleochemicals (Emery) (CH Inter บริษทั ย่อยของบริษทั ฯ ถือหุน้ ร้อยละ 50 )
20,000
1. นายวีรศักดิ์ โฆสิตไพศาล
90,000
กรรมการ
117 6. การถือหุ้นของกรรมการบริษัทฯ ชื่อกรรมการ
ณ 31 ธันวาคม 2551 ณ 31 ธันวาคม 2552 เปลี่ยนแปลง ใบสำคัญแสดงสิทธิ ทุนชำระแล้ว ทุนชำระแล้ว เพิม่ /(ลด) ESOP Warrant 14,968,296,000 บาท 15,010,400,000 บาท ระหว่างปี สัดส่วนการถือหุ้น/ สัดส่วนการถือหุ้น/ (หุ้น) (หน่วย) จำนวนหุ้น จำนวนหุ้น 1. นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ - - - 75,000 ประธานกรรมการ 2. นายวิฑูรย์ สิมะโชคดี - - - - กรรมการอิสระ 3.พลตำรวจเอก นพดล สมบูรณ์ทรัพย์ - - - กรรมการอิสระ 4. นายสมชาย คูวิจิตรสุวรรณ - - - กรรมการอิสระ 5. นายพานิช พงศ์พิโรดม - - - - กรรมการ 6. นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม - - - - กรรมการอิสระ 7. พลเอก วินัย ภัททิยกุล - - - - กรรมการอิสระ 8. นายไพบูลย์ ปัญญวุฒิ - - - 75,000 กรรมการอิสระ 0.001002% 0.000999% - 75,000 9. นายปรัชญา ภิญญาวัธน์ กรรมการ 15,000 15,000 10. นายเทวินทร์ วงศ์วานิช - - - - กรรมการ 11. นายชลณัฐ ญาณารณพ - - - 25,000 กรรมการ 12. นายรุ่งโรจน์ รังสิโยภาส - - - 25,000 กรรมการ 13. นายพิชิต นิธิวาสิน 0.001670% 0.003331% 25,000 50,000 กรรมการ 25,000 50,000 14. นายวีรศักดิ์ โฆสิตไพศาล 0.001810% 0.001805% - 69,400 กรรมการและเลขานุการ 27,100 27,100 คณะกรรมการ
118
รายงานประจำปี 2552 I บริษทั ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
7. การถือหุ้นของผู้บริหารที่มีหน้าที่รายงานการถือหลักทรัพย์ ชื่อผู้บริหาร
ณ 31 ธันวาคม 2551 ณ 31 ธันวาคม 2552 เปลี่ยนแปลง ใบสำคัญแสดงสิทธิ ทุนชำระแล้ว ทุนชำระแล้ว เพิ่ม / (ลด) ESOP Warrant 14,968,296,000 บาท 15,010,400,000 บาท ระหว่างปี สัดส่วนการถือหุ้น/ สัดส่วนการถือหุ้น/ (หุ้น) (หน่วย) จำนวนหุ้น จำนวนหุ้น 1. นายวีรศักดิ์ โฆสิตไพศาล 0.001810% 0.001805% - 69,400 กรรมการผู้จัดการใหญ่ 27,100 27,100 2. นายขับพล ศักดิ์สุภา 0.000601% 0.000600% - 69,400 รองกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส 9,000 9,000 ปฏิบัติงาน บมจ. ปตท. 3. นายเจียมศักดิ์ นันทนาเนตร 0.005504% 0.003078% (36,174) 46,300 รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ 82,374 46,200 สายงานเพิ่มประสิทธิภาพ (รวมคู่สมรส (รวมคู่สมรส ปฏิบัติการ 59,274 หุ้น) 50,274 หุ้น) 4. นายณรงค์ บัณฑิตกมล 0.003433% 0.003623% 3,000 67,500 รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ 51,396 54,396 กลุ่มกิจการผลิตโอเลฟินส์ (รวมคู่สมรส (รวมคู่สมรส และสาธารณูปการ 15,698 หุ้น) 15,698 หุ้น) 5. นายธเนศ เจริญทรัพย์ - - - 69,400 รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานการตลาดและพาณิชยกิจ 6. นายอัฒฑวุฒิ หิรัญบูรณะ 0.003172% 0.002144% (15,305) 23,200 รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ 47,486 32,181 สายงานบริหาร (รวมคู่สมรส (รวมคู่สมรส ศักยภาพองค์กร 15,305 หุ้น) 15,305 หุ้น) 7. นางพันธ์ทิพ อึ๊งผาสุข 0.003693% 0.003283% (6,000) 46,300 รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ 55,281 49,281 สายงานกลยุทธ์ และกิจการต่างประเทศ 8. นายปฏิภาณ สุคนธมาน - - - - รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานการเงินและบัญชี 9. นายสุวิทย์ ทินนโชติ 0.001706% 0.001782% 1,200 23,200 รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ 25,543 26,743 กลุ่มธุรกิจผลิตภัณฑ์โพลิเมอร์ 10. นายทิติพงษ์ จุลพรศิริดี 0.000200% 0.000007% (2,900) 28,500 ผูจ้ ดั การฝ่าย หน่วยงานการเงิน 3,000 100 องค์กรและนักลงทุนสัมพันธ์ 11. นายธีระพล หมื่นภักดี - - - 13,500 ผู้จัดการฝ่าย หน่วยงานบัญชีบริหารองค์กร 12. นางวราณี อุบลพูลผล 0.000635% 0.000633% - 19,000 ผู้จัดการฝ่าย หน่วยงาน 9,500 9,500 บัญชีการเงิน 1
119 ผู้บริหาร
ผู้บริหารบริษัทฯ ตั้งแต่ระดับผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ขึ้นไปถึงกรรมการผู้จัดการใหญ่ จะได้รับการ แต่งตั้งโดยใช้มติเสียงข้างมากของคณะกรรมการบริษัทฯ โดยผู้บริหารจำนวน 2 ท่าน คือ นายวีรศักดิ์
โฆสิตไพศาล และนายขับพล ศักดิ์สุภา เป็นผู้บริหารระดับสูงที่ บมจ. ปตท. มอบหมายให้มาปฏิบัติงาน ในบริษัทฯ การเปลี่ยนแปลงผู้บริหาร ในปี 2552 * นายปฏิภาณ สุคนธมาน ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานการเงิน และบัญชี แทน นางสาวปนัดดา กนกวัฒน์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส สายงานการเงินและ บัญชี ที่ได้เกษียณอายุการดำรงตำแหน่ง ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2552
ค่าตอบแทนรวมของผู้บริหารสำหรับปี 2552 ค่าตอบแทนปี 2552
เงินเดือนรวม เงินรางวัลพิเศษ เงินสมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ รวม
จำนวนราย
17 17 17 17
จำนวนเงิน (บาท)
49,717,364.00 8,289,013.36 4,588,366.73 62,594,744.09
120
รายงานประจำปี 2552 I บริษทั ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
บริษัทย่อย = TOCGC = TCC = TEA = TOL = TTT = PTTME NPC S&E = = PTTPE = BPE = TEX
บจ.ทีโอซี ไกลคอล บจ.ไทยโคลีนคลอไรด์ บจ.ไทยเอทานอลเอมีน บจ.โอลีโอเคมี บจ.ไทยแท้งค์เทอร์มินัล บจ.พีทีที เมนเทนแนนซ์ แอนด์ เอนจิเนียริง บจ.เอ็นพีซี เซฟตี้ แอนด์ เอ็นไวรอนเมนทอลเซอร์ วิส บจ.พีทีที โพลีเอทิลีน บมจ.บางกอกโพลีเอททีลีน บจ.ไทยอีทอกซีเลท
= TFA = TSCL = CH Inter = AP ROH = EMERY บริษัทที่เกี่ยวข้อง = PTT = SCG = HMC บมจ.ปตท. บมจ.ปูนซิเมนต์ไทย บจ.เอ็ชเอ็มซี โปลีเมอส์
บจ.ไทยแฟตตี้แอลกอฮอล์ บจ.ไทยสไตรีนิคส์ บจ.ปตท. เคมิคอล อินเตอร์เนชั่นแนล ไพรเวท บจ.ปตท. เคมิคอล อินเตอร์เนชั่นแนล ไพรเวท (สำนักงานปฏิบัติการภูมิภาค เอเชีย แปซิฟิค) Emery Oleochemicals (M) Sbn Bhd
TPE TPP TPC TIG BST BIG PTTAR ROC SSMC SIAM MITSUI THAPPLINE DHIPAYA RPC
= = = = = = = = = = = = =
บจ.ไทยโพลิเอททีลีน บจ.ไทยโพลิโพรไพลีน บมจ.ไทยพลาสติกและเคมีภัณฑ์ บมจ.ไทยอินดัสเตรียลแก๊ส บจ.กรุงเทพซินธิติกส์ บจ.บางกอกอินดัสเตรียลแก๊ส บมจ.ปตท.อะโรเมติกส์และการกลั่น บจ.ระยองโอเลฟินส์ บจ.สยามสไตรีนโมโนเมอร์ บจ.สยามมิตซุยพีทีเอ บจ.ท่อส่งปิโตรเลียมไทย บมจ.ทิพยประกันภัย บมจ.ไออาร์พีซี
= PTTPL PTT TANK = = PTTT PTT INTER = บริษัทร่วม = PPCL = PTTPM = VNT = PTTICT = PTTUT = API = EFT
บจ.พีทีที ฟีนอล บจ.พีทีที โพลีเมอร์ มาร์เก็ตติ้ง บมจ.วีนิไทย บจ.พีทีที ไอซีที โซลูชั่นส์ บจ.พีทีที ยูทิลิตี้ Alliance Petrochemical Investment (Singapore) Pte. บจ.อีสเทิร์น ฟลูอิด ทรานสปอร์ต
บจ.พีทีที โพลีเมอร์ โลจิสติกส์ บจ.พีทีที แท้งค์เทอร์มินัล บจ.พีทีที อินเตอร์เนชั่นแนล เทรดดิ้ง บจ.พีทีที อินเตอร์เนชั่นแนล
121
122
รายงานประจำปี 2552 I บริษทั ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
123
124
รายงานประจำปี 2552 I บริษทั ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
การกำกับดูแลกิจการ ปี 2552 เป็นปีที่สองติดต่อกันที่บริษัทฯ ได้รับรางวัลและการรับรองการปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแล กิจการที่ดี ได้แก่ SET Awards 2009 : Top Corporate Governance Report Awards - บริษัท
จดทะเบียนที่มีความโดดเด่นด้านรายงานการปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี และคะแนน ประเมินการจัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2552 - AGM Assessment ในระดับ “ดีเยี่ยม”
รวมถึง Corporate Governance Report of Thai Listed Companies 2009 : Excellent CG Scoring - รายงานการประเมินการกำกับดูแลกิจการในระดับ “ดีเลิศ” โดยมีคะแนนประเมินเพิ่มขึ้น ในหมวด “ความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริษัท” นอกจากนี้ คณะกรรมการและคณะกรรมการ ตรวจสอบของบริษัทฯ ยังได้รับรางวัล “คณะกรรมการแห่งปี 2551/52 – ดีเลิศ (Board of the Year for Exemplary Practices)” และ “คณะกรรมการตรวจสอบแห่งปี 2551/52 (Audit Committee of the Year)” ระดับ Top Five ในตลาดหลักทรัพย์ฯ ซึ่งรางวัลและผลการประเมินที่ได้รับจาก สถาบัน / หน่วยงานที่ได้กำกับดูแลและสนับสนุนการปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการของบริษัทฯ ดังกล่าว แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการพัฒนาระดับการกำกับดูแลกิจการของบริษัทฯ ให้ทัดเทียมกับ มาตรฐานสากล โดยให้ความสำคัญกับการปฏิบัติตามนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี เพื่อประโยชน์ ต่อผู้ถือหุ้น นักลงทุน และผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย อย่างเท่าเทียมและยั่งยืน
การปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีของบริษัทฯ ในปี 2552
คณะกรรมการได้กำกับดูแลให้บริษัทฯ มีการปฏิบัติตามนโยบายและหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีใน หลักการสำคัญทั้ง 5 หมวด ได้แก่ สิทธิของผู้ถือหุ้น การปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน สิทธิของผู้มี ส่วนได้เสีย การเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใส และความรับผิดชอบของคณะกรรมการ อย่างครบถ้วน ในปี 2552 คณะกรรมการบริษทั ได้รกั ษาคุณภาพการปฏิบตั อิ ย่างต่อเนือ่ ง และปรับปรุง / พัฒนาการปฏิบตั ิ ในเรื่องต่างๆ เพิ่มเติม สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
สิทธิของผู้ถือหุ้น
หลักการ : ผู้ถือหุ้นควรได้รับการคุ้มครองและส่งเสริมให้ผู้ถือหุ้นได้ใช้สิทธิของตน การปฏิบัติของบริษัทฯ :
คณะกรรมการให้ความสำคัญต่อสิทธิของผู้ถือหุ้น โดยในการดำเนินการใด ๆ ของบริษัทฯ ได้คำนึงถึง สิทธิของผู้ถือหุ้น และไม่กระทำการที่จะเป็นการละเมิดหรือลิดรอนสิทธิของผู้ถือหุ้น ซึ่งได้กำหนดเป็น นโยบายและเปิดเผยไว้ในคู่มือการกำกับดูแลกิจการที่ดีของบริษัทฯ โดยคณะกรรมการได้ส่งเสริมและ สนับสนุนให้ผู้ถือหุ้นได้ใช้สิทธิของตน ดังนี้
สิทธิพื้นฐานตามกฎหมาย :
ดูแลอำนวยความสะดวกให้ผู้ถือหุ้นได้ใช้สิทธิต่างๆ ตามกฎหมายอย่างครบถ้วน ได้แก่ สิทธิในการซื้อ ขายและโอนหลักทรัพย์ และการได้รับส่วนแบ่งกำไรในรูปเงินปันผลตามสัดส่วนจำนวนหุ้น
สิทธิในการได้รับข้อมูลข่าวสารที่สำคัญ :
เปิดเผยข้อมูลสารสนเทศที่สำคัญและจำเป็นประกอบการตัดสินใจของผู้ถือหุ้นและนักลงทุน ผ่านระบบ ข่าวของตลาดหลักทรัพย์ฯ และเว็บไซต์ของบริษัทฯ ทั้งภาษาไทยและอังกฤษ จัดให้มีหน่วยงานนักลงทุน สัมพันธ์ เพื่อทำหน้าที่สื่อสารและตอบข้อซักถามในประเด็นที่มีการเปลี่ยนแปลง หรืออยู่ในความสนใจ
125 ของผู้ถือหุ้นและนักลงทุนอย่างเท่าเทียมกัน ดังรายละเอียดปรากฏในหัวข้อ “การเปิดเผยข้อมูลและ ความโปร่งใส”
สิทธิในการเข้าประชุมและออกเสียงลงคะแนนในการประชุมผู้ถือหุ้น :
อำนวยความสะดวกและเปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นทุกรายได้เข้าร่วมประชุมและใช้สิทธิออกเสียง รวมถึงการ ตัดสินใจในเรื่องสำคัญของบริษัทฯ ในการประชุมผู้ถือหุ้น โดยยึดถือและปฏิบัติตามแนวทางการจัด ประชุม AGM Checklist ที่สำนักงาน ก.ล.ต. และสมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย ได้ร่วมกันจัดทำขึ้น ซึ่งคณะ กรรมการได้นำมาใช้เป็นแนวทางในการประเมินความครบถ้วน/เหมาะสมของการจัดประชุมสามัญผู้ถือ หุ้นประจำปี รวมทั้งปรับปรุงและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ดังรายละเอียดปรากฏในหัวข้อ “การปฏิบัติต่อ
ผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน”
การปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน
หลักการ : ผู้ถือหุ้นทุกรายควรได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรมและเท่าเทียมกัน การปฏิบัติของบริษัทฯ :
เพื่อให้ผู้ถือหุ้นมั่นใจได้ว่าบริษัทฯ มีการปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน ทั้งในเรื่องการใช้สิทธิในการ ประชุมผู้ถือหุ้นในฐานะเจ้าของกิจการ และการใช้ประโยชน์จากข้อมูลภายในของคณะกรรมการผู้บริหาร และพนักงาน คณะกรรมการได้กำกับดูแลในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
การคำนึงถึงสิทธิและการปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน ในการประชุมผู้ถือหุ้น
กำกับดูแลและให้ความสำคัญกับการรักษา และยกระดับคุณภาพการจัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี (AGM) โดยนอกจากบริษัทฯ จะเข้าร่วมโครงการประเมินผลการจัดประชุม AGM ที่จัดโดยสำนักงาน ก.ล.ต. และสมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทยแล้ว ยังได้จัดทำแบบประเมินคุณภาพและความพึงพอใจในการ จัดประชุมของบริษัทฯ เพื่อให้ผู้ถือหุ้นที่เข้าประชุมร่วมประเมินผล ทั้งในด้านข้อมูล เอกสาร เนื้อหาการ ประชุม และการดำเนินการจัดประชุม รวมทั้งขอรับความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพิ่มเติม โดยบริษัทฯ ได้นำผลการประเมินมาพิจารณาเพื่อปรับปรุงการจัดประชุม AGM ให้มีคณ ุ ภาพยิ่งขึ้นต่อไป ในปี 2552 บริ ษั ท ฯ ได้ จั ด การประชุ ม สามั ญ ผู้ ถื อ หุ้ น ประจำปี เมื่ อ วั น ที่ 8 เมษายน 2552
เวลา 14.00 น. ณ ห้องวิภาวดีบอลรูม โรงแรมโซฟิเทล เซ็นทารา แกรนด์ กรุงเทพฯ โดยในการ พิจารณาสถานที่จัดการประชุมได้คำนึงถึงความเพียงพอในการรองรับจำนวนผู้ถือหุ้นที่เข้าร่วม ประชุม และความสะดวกในการเดินทางของผู้ถือหุ้น นอกจากนี้ คณะกรรมการได้กำกับดูแล ให้การจัดประชุมคำนึงถึงสิทธิและการปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นทุกรายอย่างเท่าเทียมกันสรุปได้ดังนี้ ก่อนการประชุม • แจ้งให้ผู้ถือหุ้นทราบล่วงหน้าเกี่ยวกับการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี ผ่านระบบข่าวของตลาด
หลักทรัพย์ฯ โดยทันทีเมื่อคณะกรรมการบริษัทฯ มีมติการประชุม และได้นำหนังสือแจ้งมติการ
จัดประชุมผู้ถือหุ้นที่ได้แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ ขึ้นบนเว็บไซต์บริษัทฯ ภายหลังจากที่ได้เผยแพร่ผ่าน
ระบบข้อมูลข่าวของตลาดหลักทรัพย์ฯ แล้ว • เปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นได้ใช้สิทธิเสนอเรื่องเพื่อพิจารณาบรรจุเป็นระเบียบวาระการประชุมผู้ถือหุ้น และ
เสนอชื่อบุคคลที่มีคณ ุ สมบัตเิ หมาะสมเข้าดำรงตำแหน่งกรรมการบริษทั เป็นการล่วงหน้า ซึง่ คณะกรรมการได้
กำหนดหลักเกณฑ์ / ช่องทาง และช่วงเวลาการเสนอเรื่องและเกณฑ์การพิจารณาที่สนับสนุนการใช้สิทธิ
ของผู้ถือหุ้น • คณะกรรมการได้ขยายระยะเวลาการเปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นเสนอระเบียบวาระ และเสนอชื่อ
กรรมการบริษทั เป็นการล่วงหน้า จาก 2 เดือน เป็น 3 เดือนสุดท้ายก่อนวันสิน้ สุดรอบปีบญ ั ชี
ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม ถึงวันที่ 31 ธันวาคม ของทุกปี เริ่มตั้งแต่การประชุมสามัญผู้ถือหุ้น
ประจำปี 2552 เป็นต้นไป เพือ่ ให้คณะกรรมการมีเวลาเพียงพอในการพิจารณาบรรจุ / ไม่บรรจุ
เรื่ อ งที่ ผู้ ถื อ หุ้ น เสนอเป็ น ระเบี ย บวาระการประชุ ม หรื อ ขอข้ อ มู ล ประกอบการพิ จ ารณา
เพิ่มเติมตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด
• เปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นส่งคำถามที่เกี่ยวข้องกับระเบียบวาระการประชุม ตามที่ระบุในหนังสือเชิญ
ประชุมผู้ถือหุ้นถึงคณะกรรมการล่วงหน้าก่อนวันประชุม ผ่านช่องทางต่าง ๆ ได้แก่ เว็บไซต์ โทรสาร
และจดหมาย • นอกจากการลงโฆษณาบอกกล่าวนัดประชุมในหนังสือพิมพ์รายวันทั้งฉบับภาษาไทยและอังกฤษ
ติดต่อกัน 3 วันก่อนการประชุมตามกฎหมายแล้ว บริษัทฯ ยังได้จัดทำและเผยแพร่หนังสือเชิญประชุม
และข้อมูลสำคัญประกอบการประชุมต่างๆ ทั้งภาษาไทยและอังกฤษ ไว้บนเว็บไซต์ของบริษัทฯ
ล่วงหน้าเป็นเวลา 1 เดือนก่อนการประชุมผู้ถือหุ้น รวมทั้งแจ้งการเผยแพร่ข้อมูลดังกล่าวผ่านระบบ
ข่าวของตลาดหลักทรัพย์ฯ ซึ่งเป็นข้อมูลชุดเดียวกับที่บริษัทฯได้จัดส่งให้ผู้ถือหุ้นทางไปรษณีย์
ลงทะเบียนล่วงหน้าก่อนการประชุม เพื่อให้ผู้ถือหุ้นได้มีเวลาในการศึกษาและพิจารณาข้อมูลต่าง ๆ
ก่อนการประชุม • ได้ปรับปรุงระยะเวลาการจัดส่งหนังสือเชิญประชุมในรูปแบบเอกสาร ให้ผู้ถือหุ้นล่วงหน้า
อย่างต่อเนื่อง จาก 7 วัน ในปี 2550 เป็น 14 วัน ในปี 2551 และ 20 วัน ในปี 2552 เพื่อให้
ผู้ถือหุ้นได้มีเวลาศึกษารายละเอียดของแต่ละวาระก่อนการประชุม และเตรียมการมอบฉันทะ
ในกรณีที่ไม่สะดวกเข้าประชุมด้วยตนเอง • ในปี 2552 ได้ปรับปรุงการจัดทำรายงานประจำปีให้ผถู้ อื หุน้ เป็นรูปแบบ CD ROM 2 ภาษา (ไทย-อังกฤษ)
ตามข้อเสนอของตลาดหลักทรัพย์ฯ และอำนวยความสะดวกให้ผู้ถือหุ้นที่มีความประสงค์จะรับในแบบ
รูปเล่ม สามารถติดต่อขอรับผ่านช่องทางต่างๆ ทั้งอีเมล์ โทรศัพท์ โทรสาร จดหมาย ซึ่งบริษัทฯ ได้
จัดส่งให้ทางไปรษณียใ์ นทันทีทผ่ี ถู้ อื หุน้ ร้องขอ พร้อมทัง้ จัดเตรียมไว้ในวันประชุมผูถ้ อื หุน้ ด้วย • เปิดเผยข้อมูลในหนังสือเชิญประชุมผู้ถือหุ้นอย่างเพียงพอ ชัดเจนและเป็นจริง โดยคณะกรรมการได้ให้
ความเห็นประกอบการพิจารณาในแต่ละระเบียบวาระการประชุมอย่างครบถ้วน • แจ้งหลักเกณฑ์และวิธีการเข้าร่วมประชุมให้ผู้ถือหุ้นทราบในหนังสือเชิญประชุม เสนอชื่อกรรมการ
อิสระให้เป็นผู้รับมอบฉันทะจากผู้ถือหุ้น พร้อมทั้งแนบหนังสือมอบฉันทะตามแบบที่กระทรวงพาณิชย์
กำหนด เพื่อให้ผู้ถือหุ้นได้เลือกใช้ตามความเหมาะสม รวมถึงหนังสือมอบฉันทะในรูปแบบที่ผู้ถือหุ้น
สามารถระบุความเห็นในการลงคะแนนเสียงได้ด้วย วันประชุม • จัดสถานที่/ขั้นตอน และวิธีการลงทะเบียนพร้อมเจ้าหน้าที่อย่างเพียงพอ เพื่อให้การลงทะเบียนมีความ
สะดวกรวดเร็ว โดยเปิดให้ผู้ถือหุ้นลงทะเบียนด้วยระบบบาร์โค้ดล่วงหน้าก่อนการประชุม 2 ชั่วโมง
และถึงแม้จะเริ่มการประชุมแล้วก็ยังเปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นสามารถลงทะเบียนและเข้าร่วมประชุม
ผู้ถือหุ้นได้โดยไม่เสียสิทธิ • จัดแสดงนิทรรศการ และให้ข้อมูลการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ รวมถึงจัดให้มีมุมผู้ถือหุ้น
“Shareholders Corner” บริเวณหน้าห้องประชุม โดยมีกรรมการ ผู้บริหารระดับสูง และ
เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานต่างๆ อาทิ หน่วยงานนักลงทุนสัมพันธ์ หน่วยงานบัญชีการเงิน
หน่วยงานวางแผนองค์กร หน่วยงานการตลาด หน่วยงานสื่อสารองค์กร ร่วมให้การต้อนรับ
และตอบข้อซักถาม/ชี้แจงในประเด็นต่างๆ ที่ผู้ถือหุ้นให้ความสนใจ • จัดให้มีการถ่ายทอดภาพและเสียงการประชุมผ่านระบบโทรทัศน์วงจรปิด เพื่อให้ผู้ถือหุ้นที่อยู่ภายนอก
ห้องประชุมได้รับทราบการดำเนินการประชุมตั้งแต่เริ่มต้นจนเสร็จสิ้นการประชุม • ประธานกรรมการ ประธานกรรมการเฉพาะเรื่องทุกคณะ กรรมการบริษัททุกท่าน และกรรมการ
ผู้จัดการใหญ่ ได้ให้ความสำคัญและเข้าร่วมประชุมเพื่อชี้แจงและตอบข้อซักถาม • เริ่มการประชุมตรงตามเวลาที่กำหนดไว้ และก่อนเข้าสู่การพิจารณาในแต่ละระเบียบวาระ ประธานได้
กล่าวแนะนำผู้เข้าร่วมประชุม ได้แก่ กรรมการ ผู้บริหาร ผู้สอบบัญชี ที่เข้าร่วมชี้แจงตอบข้อซักถามแก่
ผูถ้ อื หุน้ และทีป่ รึกษากฎหมาย ซึง่ ทำหน้าทีต่ รวจสอบการลงคะแนนเสียง รวมถึงอาสาพิทักษ์สิทธิผู้ถือหุ้น
ซึ่งเป็นผู้แทนจากสมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย ที่ร่วมประเมินคุณภาพการจัดประชุม นอกจากนี้
ได้แจ้งหลักเกณฑ์ทใ่ี ช้ในการประชุม ขัน้ ตอน และวิธกี ารออกเสียงลงมติให้ผถู้ อื หุน้ ได้รบั ทราบอย่างชัดเจน • เปิดโอกาสและให้เวลาผู้ถือหุ้นในการซักถามเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการประชุมหรือกิจการบริษัทฯ อย่าง
เพียงพอ พร้อมทั้งรวบรวมคำถามต่างๆ ที่ได้เปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นส่งล่วงหน้าก่อนการประชุม โดยได้
นำมาชี้แจง/ตอบคำถามและให้ข้อมูลประกอบในแต่ละคำถาม
127 • ในปี 2552 ได้ปรับปรุงรูปแบบและวิธกี ารนำเสนอระเบียบวาระเรือ่ งการรับทราบผลการดำเนินงาน
ในรอบปี และข้อเสนอการดำเนินกิจการในอนาคต โดยรวบรวมและนำเสนอสรุปผลการดำเนินงาน
ในรูปแบบวีดิทัศน์ เพื่อให้ผู้ถือหุ้นได้รับทราบข้อมูลทั้งภาพและเสียงได้อย่างชัดเจน • เปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นลงคะแนนเสียงเลือกตั้งกรรมการแทนกรรมการที่ครบวาระเป็นรายบุคคล โดย
การใช้และเก็บบัตรลงคะแนนเสียง กรรมการที่ครบวาระจะไม่อยู่ร่วมการประชุมในระเบียบวาระนี้ เพื่อ
เปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นได้อภิปรายและลงคะแนนเสียงได้อย่างเป็นอิสระ • ประมวลผลคะแนนและแสดงผลในทุกระเบียบวาระด้วยระบบคอมพิวเตอร์ และจัดให้ที่ปรึกษา
กฎหมาย ซึ่งเป็นผู้แทนภายนอกที่เป็นกลาง ทำหน้าที่ตรวจสอบการนับคะแนน โดยประธานในที่
ประชุมจะเป็นผู้อ่านคะแนน พร้อมแสดงผลคะแนนทางหน้าจอและโทรทัศน์วงจรปิด ให้ผู้ถือหุ้นได้
รับทราบข้อมูลอย่างชัดเจนและเท่าเทียมกัน • การประชุมในวันดังกล่าว ใช้เวลาทั้งสิ้น 3 ชั่วโมง (เริ่มตั้งแต่เวลา 14.00 น. ถึง 17.00 น.) โดยไม่มีการ
เสนอระเบียบวาระอื่นใดเข้าพิจารณาเพิ่มเติมในการประชุม นอกเหนือจากที่ได้ระบุและแจ้งให้ผู้ถือหุ้น
ทราบล่วงหน้าไว้ในหนังสือเชิญประชุมแล้ว หลังการประชุม • เลขานุการบริษัท ได้บันทึกข้อมูลที่เป็นสาระสำคัญและเป็นจริงในรายงานการประชุมผู้ถือหุ้นอย่าง
ครบถ้วน อาทิ มติและผลการลงคะแนนเสียงในแต่ละวาระ ทั้งเห็นด้วย ไม่เห็นด้วย และงดออกเสียง
บันทึกคำถาม-คำตอบ ชื่อ-สกุลผู้ถือหุ้นที่ถามและความคิดเห็นของผู้ถือหุ้นแต่ละรายอย่างชัดเจน รวม
ทั้งเผยแพร่รายงานการประชุมที่ลงนามโดยประธานการประชุมบนเว็บไซต์ของบริษัทฯ ภายใน 14 วัน
นับจากวันประชุม และจัดเก็บรายงานการประชุมอย่างมีระบบเพื่อการตรวจสอบและอ้างอิง • จัดให้มีการบันทึกเทปบรรยากาศการประชุม เพื่อให้ผู้ถือหุ้นที่ไม่เข้าร่วมประชุมได้รับทราบ โดยได้้
เผยแพร่ไว้ในเว็บไซต์ของบริษทั ฯ และเปิดโอกาสให้ผถู้ อื หุน้ สามารถติดต่อขอรับเทปในรูปแบบ VCD ได้ • เพื่อให้ผู้ถือหุ้นมั่นใจว่าจะได้รับผลตอบแทนตามสิทธิอย่างครบถ้วน หลังจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นได้อนุมัติ
การจ่ายเงินปันผล บริษัทฯ ได้แจ้งมติที่ประชุมรวมถึงรายละเอียดการจ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหุ้นทราบ
ผ่านระบบข่าวของตลาดหลักทรัพย์ฯ และประสานงานกับบริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ฯ ซึ่งเป็นนาย
ทะเบียนหุน้ ของบริษทั ฯ เพื่อให้มั่นใจว่าผู้ถือหุ้นได้รับสิทธิเงินปันผลอย่างครบถ้วนและถูกต้อง โดยได้
กำหนดวันจ่ายเงินปันผลให้เร็วกว่าที่กฎหมายกำหนด • นอกจากนี้ คณะกรรมการกำกับดูแลกิจการ ได้นำข้อเสนอแนะและความคิดเห็นที่ได้รับจากผู้ถือหุ้นใน
การประเมินผลการจัดประชุม จากแบบสอบถามความพึงพอใจในการจัดประชุมผู้ถือหุ้นในเรื่องต่าง ๆ
มาพิจารณาและหาแนวทางแก้ไข / ปรับปรุง เพื่อพัฒนาการจัดประชุมผู้ถือหุ้นอย่างต่อเนื่อง
การดูแลและป้องกันการใช้ข้อมูลภายใน
• เพื่อให้ผู้ถือหุ้นมั่นใจได้ว่า กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน รวมถึงบุคคลภายในที่เกี่ยวข้อง จะไม่นำ
ข้อมูลภายในที่ได้ล่วงรู้และยังไม่เปิดเผยต่อสาธารณชน ไปใช้ประโยชน์ส่วนตน คณะกรรมการจึงได้
กำหนดแนวทางในการดูแลและป้องกันการใช้ข้อมูลภายใน ดังนี้ • กำหนด “นโยบายการใช้ข้อมูลภายใน” เป็นลายลักษณ์อักษร และเปิดเผยไว้ในคู่มือการกำกับดูแล
กิ จ การที ่ ด ี แ ละจรรยาบรรณธุ ร กิ จ เพื ่ อ ให้ ก รรมการ ผู ้ บ ริ ห าร และพนั ก งานทุ ก คน รั บ ทราบ
และถือปฏิบัติ ซึ่งครอบคลุมเรื่องต่างๆ ดังนี้ การห้ามซื้อขายหลักทรัพย์บริษัทฯ โดยใช้ข้อมูลภายใน
การรักษาข้อมูลอันเป็นความลับ การให้ข้อมูลข่าวสาร และการแสดงความเห็นแก่บุคคลภายนอก • กำหนด “แนวปฏิบัติในการงดเว้นการซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัทฯ” โดยให้กรรมการและผู้บริหารรวม
ถึงบุคคลภายใน (คู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ) งดเว้นการซื้อขายหุ้น PTTCH ในช่วงก่อนการ
เปิดเผยงบการเงิน เป็นเวลา 45 วัน นับแต่วันสิ้นสุดไตรมาส และสิ้นสุดระยะเวลางดเว้นการซื้อขาย
หุ้นภายหลังจากที่บริษัทฯ ได้เปิดเผยงบการเงินต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ แล้ว เป็นเวลา 24 ชั่วโมง” • แจ้งให้กรรมการและผู้บริหารทราบถึงภาระหน้าที่ในการรายงานการเปลี่ยนแปลงการถือครองหลัก
ทรัพย์ ของตนเอง คู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ต่อสำนักงาน ก.ล.ต. และตลาดหลักทรัพย์ฯ
ตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ฯ มาตรา 59 พร้อมทั้งให้กรรมการและผู้บริหารดังกล่าว
รายงานการเปลี่ยนแปลงการถือครองหลักทรัพย์ ต่อคณะกรรมการบริษัทฯ เพื่อทราบเป็นประจำ โดย
มอบหมายให้เลขานุการบริษัทเป็นผู้รวบรวมและนำเสนอในการประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ
128
รายงานประจำปี 2552 I บริษทั ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
• จัดทำและส่งตารางแสดงช่วงเวลาการเปิดเผยข้อมูลสำคัญประจำปีของบริษัทฯ อาทิ งบการเงิน
รายไตรมาส และรายปี ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อราคาหลักทรัพย์ของบริษัทฯ ให้กรรมการและผู้บริหาร
เพื่อทราบถึงระยะเวลาที่ควรงดเว้นการซื้อขายหลักทรัพย์
บทบาทของผู้มีส่วนได้เสีย
หลักการ : ผู้มีส่วนได้เสียควรได้รับการดูแลตามสิทธิที่เกี่ยวข้อง และควรส่งเสริมให้เกิดความ
ร่วมมือระหว่างกัน การปฏิบัติของบริษัทฯ : คณะกรรมการได้กำหนดนโยบายให้มีการปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสียแต่ละกลุ่ม โดยคำนึงถึงสิทธิของผู้มี
ส่วนได้เสียตามกฎหมายหรือข้อตกลงที่มีกับบริษัทฯ รวมทั้งพิจารณาแนวทางการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วน
ได้เสียในการเสริมสร้างผลการดำเนินงานของบริษัทฯ อย่างยั่งยืน ในปี 2552 คณะกรรมการได้พิจารณา ทบทวนและกำหนดนโยบายการปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสียให้ครอบคลุม กลุ่มผู้มีส่วนได้เสียต่างๆ และ กำหนดแนวปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสียไว้เป็นลายลักษณ์อักษรในคู่มือการกำกับดูแลกิจการที่ดี และจรรยา บรรณธุรกิจ เพื่อให้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกระดับถือปฏิบัติ ดังนี้ ผู้ถือหุ้น : มุ่งมั่นสร้างความพึงพอใจสูงสุดให้กับผู้ถือหุ้นโดยคำนึงถึงการเจริญเติบโต ของบริษทั ฯ อย่างยัง่ ยืน สร้างมูลค่าเพิม่ และให้ผลตอบแทนทีเ่ หมาะสมอย่าง
ต่อเนื่อง รวมทั้งดำเนินธุรกิจตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ด ี ลูกค้า : มุ่งมั่นสร้างความพึงพอใจและความมั่นใจให้กับลูกค้าและประชาชนที่จะ
ได้รับผลิตภัณฑ์และบริการที่ดีมีคุณภาพในระดับราคาที่เหมาะสม และ
ยกระดับมาตรฐานให้สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งรักษาสัมพันธภาพที่ดี
และยั่งยืน คู่ค้า : คำนึงถึงความเสมอภาคและความซื่อสัตย์ในการดำเนินธุรกิจ รักษาผล
ประโยชน์ร่วมกับคู่ค้า โดยการปฏิบัติตามกฎหมายและกติกาที่กำหนด
ร่วมกันอย่างเคร่งครัด และมีจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ คู่แข่งทางการค้า : ปฏิบัติต่อคู่แข่งทางการค้าให้สอดคล้องกับหลักสากล ภายใต้กรอบแห่ง
กฎหมายเกี่ยวกับหลักปฏิบัติการแข่งขันทางการค้า และยึดถือกติกาของ
การแข่งขันอย่างเป็นธรรม เจ้าหนี้ : ยึดถือแนวทางการปฏิบัติที่ดี ตามเงื่อนไข และเป็นธรรมต่อเจ้าหนี้ รวมถึง
การชำระคืนตามกำหนดเวลา ภาครัฐ : กำหนดแนวทางในการปฏิบัติต่อภาครัฐในประเทศต่างๆ ที่กลุ่มบริษัทฯ
เข้าไปลงทุน เพือ่ หลีกเลีย่ งการดำเนินการทีส่ ง่ ผลต่อการกระทำทีไ่ ม่เหมาะสม พนักงาน : มุ่งมั่นพัฒนาองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ เสริมสร้าง / ปลูกฝัง
วัฒนธรรมองค์กร และบรรยากาศการทำงานเป็นทีม ให้ผลตอบแทนที่เป็น ธรรม ดูแลความปลอดภัย และสภาพแวดล้อมการทำงาน ให้ความสำคัญ
ต่อการพัฒนา ถ่ายทอดความรู้ และความสามารถของพนักงาน รับฟัง
ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากพนักงานทุกระดับอย่างเท่าเทียม ชุมชน สังคม : ดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบ ทั้งในด้านความปลอดภัยคุณภาพชีวิต
และสิง่ แวดล้อม และการอนุ ร ั ก ษ์ ท รั พ ยากรธรรมชาติ ส ่ ง เสริ ม การใช้ พ ลั ง งานอย่ า งมี
ประสิทธิภาพ ตระหนักถึงคุณภาพชีวิตของชุมชนและสังคมทั้งพื้นที่โดย
รอบโรงงานและในระดั บ ประเทศ คื น ผลกำไรส่ ว นหนึ ่ ง เพื ่ อ กิ จ กรรม
ที่จะมีส่วนเสริมสร้างชุมชนและสังคม คำนึงถึงการดำเนินธุรกิจที่จะมี
ผลกระทบต่ อ สิ ่ ง แวดล้ อ มตั ้ ง แต่ ข ั ้ น ตอนการเริ ่ ม ก่ อ สร้ า งโรงงาน
การเลือกเทคโนโลยีการผลิต และกระบวนการกำจัดของเสีย รวมถึงวิจยั
และพัฒนานวัตกรรมทีจ่ ะส่งเสริมการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ด้านคุณภาพ : ให้ความสำคัญต่อการบริหารจัดการด้านคุณภาพ ความปลอดภัยและ
ความปลอดภัย อาชีวอนามัยในการปฎิบัติงานด้วยมาตรฐานอย่างต่อเนื่อง กำหนดและ
และอาชีวอนามัย ทบทวนนโยบายรวมถึงแนวปฏิบัติที่ดี เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
129 • คณะกรรมการได้กำกับดูแลให้มีการปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสียตามนโยบายดังกล่าวข้างต้น โดยคำนึงถึง
กลไกการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียเป็นสำคัญ ตลอดจนกำหนดนโยบาย / มาตรการให้การชดเชย
ในกรณีที่ผู้มีส่วนได้เสียได้รับความเสียหายจากการถูกละเมิดสิทธิตามกฎหมาย มีการจัดทำแบบ
สำรวจความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่างๆ และนำผลที่ได้รับมาปรับปรุงการดำเนินการต่อไป • ได้จัดช่องทางให้ผู้มีส่วนได้เสียสามารถติดต่อสื่อสารกับคณะกรรมการบริษัท เพื่อให้ข้อเสนอแนะอัน
เป็นประโยชน์แก่บริษัทฯ ได้แก่ อีเมล์ : cg@pttchemgroup.com / เว็บไซต์บริษัท : หัวข้อ ติดต่อเรา
หัวข้อย่อย : การกำกับดูแลกิจการที่ดี โดยเลขานุการบริษัทจะเป็นผู้รับผิดชอบในการรับข้อมูลหรือ
เอกสาร เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวข้องพิจารณาในเบื้องต้น และรายงานต่อคณะ
กรรมการบริษัท ในที่สุด • ในปี 2552 คณะกรรมการกำกับดูแลกิจการ ได้กำหนดให้หน่วยงานทีด่ แู ลรับผิดชอบ ผู้มีส่วน
ได้เสียแต่ละกลุ่ม อาทิ ด้านชุมชน สังคม สิ่งแวดล้อม คู่ค้า ลูกค้า และเจ้าหนี้ มานำเสนอ
รายงานการดำเนินการ และแผนงานในอนาคตต่อที่ประชุมคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการ
เพื่อรับทราบและพิจารณาถึงความเพียงพอเหมาะสม พร้อมทั้งได้ให้ข้อเสนอแนะและความ
คิ ด เห็ น ที่ เ ป็ น ประโยชน์ เพื่ อ ปรั บ ปรุ ง และพั ฒ นารู ป แบบและแนวทางการปฏิ บั ติ ต่ อ
ผู้ มี ส่ ว นได้ เ สี ย ให้ มี ก ารปฏิ บั ติ อ ย่ า งเป็ น รู ป ธรรมด้ ว ยความรั บ ผิ ด ชอบ ซึ่ ง ในปี 2553
คณะกรรมการกำกับดูแลกิจการ จะได้จัดให้มีการพิจารณาให้ครบถ้วน และสรุปเสนอต่อ
คณะกรรมการบริษัทฯ ต่อไป
การเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใส
หลักการ : ข้อมูลข่าวสารสำคัญของบริษัทฯ ควรได้รับการเปิดเผยอย่างโปร่งใส ถูกต้อง ครบ ถ้วน ทันเวลา เท่าเทียมกัน และน่าเชื่อถือ เพื่อให้ผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายเกิดความมั่นใจ การปฏิบัติของบริษัทฯ : คณะกรรมการตระหนักและให้ความสำคัญกับคุณภาพของข้อมูล และการเปิดเผยข้อมูลอย่างเท่าเทียม โปร่งใส และเป็นธรรม ผ่านช่องทางที่เข้าถึงได้ง่าย โดยได้กำกับดูแลการเปิดเผยข้อมูลและกำหนด นโยบายการใช้ข้อมูลภายใน เพื่อให้ผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายเกิดความมั่นใจ ดังนี้
คุณภาพของข้อมูล
• กำกับดูแลให้การจัดทำรายงานทางการเงินมีข้อมูลถูกต้อง ครบถ้วน เป็นจริงตามมาตรฐานการบัญชี
โดยผ่านการตรวจสอบจากผู้สอบบัญชีที่เป็นอิสระและคณะกรรมการตรวจสอบ จัดทำรายงานความ
รับผิดชอบของคณะกรรมการต่อการจัดทำรายงานทางการเงินที่ลงนามโดยประธานกรรมการและ
กรรมการผู้จัดการใหญ่เปิดเผยไว้ในรายงานประจำปีควบคู่กับรายงานของผู้สอบบัญชี งบการเงิน
ประจำปี แ ละรายไตรมาส ได้ จ ั ด ทำและผ่ า นกระบวนการพิ จ ารณาตรวจสอบและนำส่ ง ก.ล.ต.
ตลาดหลักทรัพย์ฯ รวมทั้งเปิดเผยต่อผู้ถือหุ้น / นักลงทุน ก่อนระยะเวลาครบกำหนด • ข้อมูลสำคัญทั้งข้อมูลทางการเงินและไม่ใช่ข้อมูลทางการเงิน ได้รับการเปิดเผยอย่างถูกต้อง ครบถ้วน
โปร่งใส ผ่านการพิจารณาตรวจสอบตามขั้นตอน มีการประเมินและปรับปรุงประสิทธิภาพการเปิดเผย
ข้อมูลเป็นประจำ โดยในปี 2552 ไม่ได้รับการดำเนินการอันเนื่องมาจากการเปิดเผยข้อมูลไม่เป็นไป
ตามข้อกำหนดจาก ก.ล.ต. และตลาดหลักทรัพย์ฯ
ช่องทางการเปิดเผยข้อมูล
• ข้ อ มู ล บริ ษ ั ท ที ่ ส ำคั ญ เป็ น ปั จ จุ บ ั น และครบถ้ ว นตามหลั ก การกำกั บ ดู แ ลกิ จ การที ่ ด ี ได้ ร ั บ การ
จัดทำและเผยแพร่ผ่านช่องทางต่าง ๆ ได้แก่ แบบ 56-1 รายงานประจำปี และเว็บไซต์บริษัท
www.pttchemgroup.com ทั ้ ง ภาษาไทยและอั ง กฤษ พร้ อ มทั ้ ง เปิ ด ช่ อ งทางให้ ส ามารถติ ด ต่ อ
สอบถามและดาวน์โหลดข้อมูลต่าง ๆ ได้ • ในปี 2552 บริษัทฯ ได้ปรับปรุงเว็บไซต์ให้มีรูปโฉมทันสมัย มีข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน และได้จัดให้ม ี ช่องทางการติดต่อกับหน่วยงานต่าง ๆ ไว้อย่างครบถ้วน • สื่อสารวิสัยทัศน์ กลยุทธ์ เป้าหมาย และผลการดำเนินงานของบริษัทฯ ทั้งภายนอกและภายในองค์กร
130
รายงานประจำปี 2552 I บริษทั ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
โดยกรรมการผูจ้ ดั การใหญ่ สำหรับภายนอกองค์กรโดยผ่านช่องทางการแถลงข่าวต่อสือ่ มวลชน การให้
สัมภาษณ์ การแสดงวิสัยทัศน์ตามแผนงานประจำปีหรือตามโอกาส/สถานการณ์ที่เกิดขึ้น ส่วนภายใน
องค์กร กรรมการผู้จัดการใหญ่จะสื่อสารผ่านการจัดสัมมนาประจำปีให้แก่พนักงานของบริษัทใน
กลุ่ม ปตท. เคมิคอล ทุกระดับและทุกคน ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้พนักงานได้มีโอกาสพบผู้บริหาร
ได้รับฟังและทำความเข้าใจแนวทางและทิศทางการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ และได้มีการสื่อสารไปยัง
พนักงานอย่างต่อเนื่อง
หน่วยงานรับผิดชอบในการเปิดเผยข้อมูล
• จัดให้มีหน่วยงานนักลงทุนสัมพันธ์เป็นการเฉพาะ และมอบหมายผูร้ บั ผิดชอบงานนักลงทุนสัมพันธ์ใน
ระดับผู้จัดการฝ่าย และกำกับดูแลอย่างใกล้ชิดโดยรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายการเงินและบัญชี
และกรรมการผู้จัดการใหญ่ตามลำดับ • ผู้บริหารระดับสูงมีส่วนร่วมในการดำเนินงานนักลงทุนสัมพันธ์ ได้แก่ การพบปะนักลงทุนและ
นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ตามแผนงานประจำปี เข้าร่วมชี้แจงและตอบข้อซักถามในประเด็นต่างๆ
ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของบริษัทฯ นำเสนอข้อมูลอย่างชัดเจน และภายหลังการประชุมได้
เผยแพร่ข้อมูลที่นำเสนอไว้ในเว็บไซต์ของบริษัทฯ นอกจากนี้ ได้จัดให้มีแบบสอบถามเพื่อสำรวจความ
พึงพอใจของนักวิเคราะห์ต่อการดำเนินงานด้านนักลงทุนสัมพันธ์ เพื่อการปรับปรุงและพัฒนาให้งาน
นักลงทุนสัมพันธ์มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น • เพื่อเป็นช่องทางในการติดต่อสื่อสารและให้ข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับบริษัทเพิ่มเติมให้กับผู้ถือหุ้น นักลงทุน
ทั้งรายย่อย สถาบัน และนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ รวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ เช่น ตลาดหลักทรัพย์ฯ และ
ก.ล.ต. หน่วยงานนักลงทุนสัมพันธ์ ได้เปิดเผยข้อมูลสำคัญของบริษัทฯ ไว้ในหัวข้อ Investor Relations
หรือ นักลงทุนสัมพันธ์ ไว้ในเว็บไซต์บริษัท www.pttchemgroup.com และอีเมล์ของหน่วยงาน
ir@pttchemgroup.com โดยได้เปิดเผยช่องทางการติดต่อดังกล่าวไว้ในสื่อต่างๆ ของบริษัทฯ เพื่อให้
ผู้ถือหุ้นและนักลงทุนรับทราบ อีกทั้งยังจัดให้มี “IR News Clipping and Press Release” เพื่อเป็น
ช่องทางในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารบริษัทฯ ให้กับผู้ถือหุ้นและนักวิเคราะห์ กิจกรรมหลักในปี 2552 ของหน่วยงานนักลงทุนสัมพันธ์ สรุปได้ดังนี้ • กิจกรรมพบนักลงทุนในต่างประเทศ โดยการเข้าร่วม Conference และ Roadshow ในภูมิภาคเอเชีย
ยุโรป และสหรัฐอเมริกา รวมทั้งสิ้น 7 ครั้ง • กิจกรรมพบนักลงทุนในประเทศ ทั้งผู้ลงทุนสถาบัน และนักลงทุนรายย่อย • การจัดประชุมนักวิเคราะห์ เพื่อรายงานผลการดำเนินงานของบริษัทฯ ทั้งด้านการเงิน และด้านความ
รับผิดชอบต่อสังคมเป็นประจำทุกไตรมาส โดยจัดขึ้นภายหลังจากการรายงานผลประกอบการต่อ
ตลาดหลักทรัพย์ฯ • จัดประชุม (Company Visit และ Conference Call) ร่วมกับผู้บริหารของบริษัทฯ ตามการนัดหมายของ
ผู้ถือหุ้น นักลงทุนและนักวิเคราะห์ รวมทั้งสิ้น 71 ครั้ง • รายงานข้อมูลและข่าวสารที่สำคัญผ่านทางระบบข่าวของตลาดหลักทรัพย์ฯ อย่างสม่ำเสมอ โดยเป็น
ไปตามข้อกำหนดและหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีของตลาดหลักทรัพย์ฯ • ตอบข้อซักถามทางโทรศัพท์ / E-mail ต่อผู้ถือหุ้น นักลงทุน นักวิเคราะห์ และผู้ที่เกี่ยวข้องต่างๆ • เผยแพร่ข้อมูลบริษัทฯ ที่สำคัญผ่านเว็บไซต์ของบริษัทฯ ในหัวข้อ “ข้อมูลนักลงทุน” เช่น ข่าวแจ้ง
ตลาดหลักทรัพย์ฯ หนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้น ข้อมูลราคาหุ้นของบริษัท เป็นต้น • ร่วมงานมหกรรมการเงิน “Money Expo 2009” ระหว่างวันที่ 8-10 พฤษภาคม 2552 และ “Set in the
City” ระหว่ า งวั น ที ่ 12-15 พฤศจิ ก ายน 2552 เพื ่ อ ให้ ข ้ อ มู ล การดำเนิ น งานของบริ ษ ั ท ฯ แก่
นักลงทุนและผู้ถือหุ้นที่สนใจ ในรูปแบบเอกสารและนิทรรศการ • จัดให้มีหน่วยงานสื่อสารองค์กร เพื่อประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร เหตุการณ์ความ
เคลื่อนไหว กิจกรรมและความร่วมมือทางธุรกิจของบริษัทฯ ที่ทันต่อเหตุการณ์ แก่สื่อมวลชนทุกแขนง
เพื ่ อ เผยแพร่ สู ่ ส าธารณชนภายนอก และพนั ก งานภายในบริ ษ ั ท ฯ ที ่ ส อดคล้ อ งกั บ กลยุ ท ธ์ แ ละ
ทิศทางการดำเนินธุรกิจ
131
ความรับผิดชอบของคณะกรรมการ
หลักการ : คณะกรรมการมีบทบาทสำคัญในการกำกับดูแลกิจการเพื่อประโยชน์สูงสุดของ
บริษทั ฯ และรับผิดชอบต่อผลการปฏิบัติหน้าที่ของตน การปฏิบัติของบริษัทฯ : คณะกรรมการได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต โปร่งใส รอบคอบระมัดระวัง และเข้าใจถึงบทบาท หน้าที่ความรับผิดชอบที่อยู่บนพื้นฐานของกฎหมาย ข้อกำหนด/กฎเกณฑ์ ข้อบังคับบริษัท มติที่ประชุม
ผู้ถือหุ้น และหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี โดยไม่กระทำการใดที่เป็นการขัดหรือแย้งกับผลประโยชน์
ของบริษัทฯ เพื่อให้ผู้ถือหุ้น และนักลงทุนเกิดความมั่นใจ ดังนี้
ความสมดุลของโครงสร้างและองค์ประกอบของคณะกรรมการ
โครงสร้างและองค์ประกอบของคณะกรรมการ อันประกอบไปด้วย กรรมการบริษัท กรรมการอิสระ กรรมการเฉพาะเรื่อง กรรมการผู้จัดการใหญ่ และเลขานุการบริษัท มีความสมดุล และมีคุณสมบัติ เหมาะสม แสดงให้เห็นถึงการตรวจสอบและถ่วงดุลระหว่างกัน ดังนี้
กรรมการบริษัท
• กรรมการบริษัท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 มีจำนวน 14 คน ประกอบด้วย กรรมการที่ไม่เป็น
ผู้บริหาร 13 คน ซึง่ เป็นกรรมการอิสระ 6 คน และกรรมการทีเ่ ป็นผูบ้ ริหาร (กรรมการผูจ้ ดั การใหญ่) 1 คน
กรรมการบริษัททุกท่านเป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ด้านการบริหารที่
หลากหลายทั้งในสาขาธุรกิจปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ซึ่งเป็นธุรกิจหลัก และในสาขาอื่นๆ ที่จะเป็น
ประโยชน์ต่อบริษัท ทั้งนี้ เพื่อแสดงให้เห็นถึงการมีความรู้ ความสามารถ คุณสมบัติและประสบการณ์
ที่เป็นประโยชน์ต่อบริษัทฯ • ประธานกรรมการไม่เป็นบุคคลเดียวกับกรรมการผู้จัดการใหญ่ โดยแบ่งแยกบทบาทหน้าที่อย่าง
ชัดเจน และถึงแม้ประธานกรรมการจะไม่ได้เป็นกรรมการอิสระ แต่ก็ได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเป็น
อิสระในการแสดงความคิดเห็นต่อการดำเนินงานภายใต้นโยบายที่กำหนดไว้ เพื่อประโยชน์ของ
บริษัทฯ ผู้ถือหุ้น และประเทศชาติ เป็นสำคัญ • คณะกรรมการได้เปิดเผยชือ่ ประวัติ คุณวุฒิ ประสบการณ์ และการถือหุน้ ในบริษทั ฯ ผ่านช่องทางต่างๆ
ได้แก่ รายงานประจำปี แบบ 56-1 และเว็บไซต์บริษัทฯ
กรรมการอิสระ
• กรรมการอิสระของบริษัทฯ มีจำนวน 6 คน ซึ่งมากกว่า 1 ใน 3 ของกรรมการทั้งคณะ กรรมการอิสระ
ทุกท่านได้ปฏิบัติหน้าที่โดยคำนึงถึงประโยชน์ของผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายอย่างเท่าเทียมกัน • คณะกรรมการบริษัทได้พิจารณาคุณสมบัติความเป็นอิสระของกรรมการอิสระ ทั้งจากการดำรง
ตำแหน่งทีผ่ า่ นมาในอดีต และปัจจุบนั รวมถึงความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับบริษทั ฯ ตามหลักเกณฑ์ของ ก.ล.ต. • พิจารณาให้องค์ประกอบของคณะกรรมการเฉพาะเรื่อง ประกอบด้วยกรรมการอิสระเป็นส่วนใหญ่
และประธานกรรมการเฉพาะเรือ่ ง เป็นกรรมการอิสระ เพือ่ ให้สอดคล้องกับหลักการกำกับดูแลกิจการทีด่ ี • ในปี 2552 คณะกรรมการบริษัท โดยข้อเสนอของคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการ ได้กำหนดนิยาม
คุณสมบัติความเป็นอิสระของกรรมการอิสระ ซึ่งสอดคล้องกับข้อกำหนดของ ก.ล.ต. และตลาด
หลักทรัพย์ฯ รวมทั้งได้พิจารณากำหนดให้เข้มกว่าในเรื่องของสัดส่วนการถือหุ้นไม่เกินร้อยละ 0.5
(ก.ล.ต. กำหนด ร้อยละ 1) ซึง่ กรรมการอิสระของบริษทั ฯ ทุกท่าน มีคณ ุ สมบัตคิ วามเป็นอิสระครบถ้วน ดังนี้ 1. ถือหุ้นไม่เกินร้อยละ 0.5 ของจำนวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทฯ บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย
บริษัทร่วม ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้มีอำนาจควบคุมของบริษัทฯ โดยนับรวมการถือหุ้นของผู้ที่
เกี่ยวข้องของกรรมการอิสระด้วย 2. ไม่เป็นกรรมการที่มีส่วนร่วมบริหารงาน ลูกจ้าง พนักงาน ที่ปรึกษาที่ได้รับเงินเดือนประจำ หรือผู้มี
อำนาจควบคุมของบริษัทฯ บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม บริษัทย่อยลำดับเดียวกัน ผู้ถือหุ้นราย
ใหญ่ หรือของผู้มีอำนาจควบคุมของบริษัทฯ ทั้งในปัจจุบันและก่อนได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการ
อิสระไม่น้อยกว่า 2 ปี
132
รายงานประจำปี 2552 I บริษทั ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
3. ไม่มีความสัมพันธ์ทางสายโลหิต หรือโดยการจดทะเบียนตามกฎหมาย ในลักษณะที่เป็นบิดามารดา
คู่สมรส พี่น้อง และบุตร รวมทั้งคู่สมรสของบุตรของผู้บริหาร ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ผู้มีอำนาจควบคุม หรือ
บุคคลที่จะได้รับการเสนอให้เป็นผู้บริหาร หรือผู้มีอำนาจควบคุมของบริษัทฯ หรือบริษัทย่อย 4. ไม่มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับบริษัทฯ บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือ
ผู้มีอำนาจควบคุมของบริษัทฯ ในลักษณะที่อาจเป็นการขัดขวางการใช้วิจารณญาณอย่างอิสระ รวม
ทั ้ ง ไม่ เ ป็ น ผู ้ ถ ื อ หุ ้ น ที ่ ม ี น ั ย หรือ ผู ้ม ี อ ำนาจควบคุ ม ของผู ้ ที ่ ม ีค วามสั มพั นธ์ ท างธุร กิ จกั บ บริ ษ ั ทฯ
บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้มีอำนาจควบคุมของบริษัทฯ ทั้งในปัจจุบัน
และก่อนได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการอิสระไม่น้อยกว่า 2 ปี โดยความสัมพันธ์ทางธุรกิจดังกล่าว
รวมถึ ง การทำรายการทางการค้ า ที ่ ก ระทำเป็ น ปกติ เ พื ่ อ ประกอบกิ จ การ การเช่ า หรื อ ให้ เ ช่ า
อสังหาริมทรัพย์รายการเกี่ยวกับสินทรัพย์หรือบริการ หรือการให้หรือรับความช่วยเหลือทางการเงิน
ด้วยการรับหรือให้กู้ยืม ค้ำประกัน การให้สินทรัพย์เป็นหลักประกันหนี้สิน รวมถึงพฤติการณ์อื่น
ทำนองเดียวกัน ซึง่ เป็นผลให้บริษทั ฯ หรือคูส่ ญ ั ญามีภาระหนีท้ ต่ี อ้ งชำระต่ออีกฝ่ายหนึง่ ตัง้ แต่รอ้ ยละ 3
ของสินทรัพย์ที่มีตัวตนสุทธิของบริษัทฯ หรือตั้งแต่ 20 ล้านบาทขึ้นไป แล้วแต่จำนวนใดจะต่ำกว่า
ตามวิธีการคำนวณมูลค่าของรายการที่เกี่ยวโยงกัน ตามประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน โดย
ให้นับรวมภาระหนี้ที่เกิดขึ้นในระหว่าง 1 ปีก่อนวันที่มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับบุคคลเดียวกันด้วย 5. ไม่เป็นผู้สอบบัญชีของบริษัทฯ บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้มีอำนาจ
ควบคุมของบริษัทฯ และไม่เป็นผู้ถือหุ้นที่มีนัย (ถือหุ้นเกินกว่าร้อยละ 10 ของจำนวนหุ้นที่มีสิทธิออก
เสียงทั้งหมดของบริษัทฯ โดยนับรวมผู้ที่เกี่ยวข้องด้วย) ผู้มีอำนาจควบคุม หรือหุ้นส่วนของสำนักงาน
สอบบัญชี ซึ่งมีผู้สอบบัญชีของบริษัทฯ บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้มี
อำนาจควบคุมของบริษัทฯ สังกัดอยู่ ทั้งในปัจจุบันและก่อนได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการอิสระไม่
น้อยกว่า 2 ปี 6. ไม่เป็นผู้ให้บริการทางวิชาชีพใด ๆ ซึ่งรวมถึงการให้บริการเป็นที่ปรึกษากฎหมายหรือที่ปรึกษาทาง
การเงิน ซึ่งได้รับค่าบริการเกินกว่า 2 ล้านบาทต่อปีจากบริษัทฯ บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม
ผูถ้ อื หุน้ รายใหญ่ หรือผูม้ อี ำนาจควบคุมของบริษทั ฯ และไม่เป็นผูถ้ อื หุน้ ทีม่ นี ยั ผูม้ อี ำนาจควบคุม หรือ
หุ้นส่วนของผู้ให้บริการทางวิชาชีพนั้นด้วย ทั้งในปัจจุบันและก่อนได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการอิสระ
ไม่น้อยกว่า 2 ปี 7. ไม่เป็นกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนของกรรมการของบริษัทฯ ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือ
ผู้ถือหุ้นซึ่งเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ 8. ไม่ประกอบกิจการที่มีสภาพอย่างเดียวกันและเป็นการแข่งขันที่มีนัยกับกิจการของบริษัทฯ หรือ
บริษัทย่อย หรือไม่เป็นหุ้นส่วนที่มีนัยในห้างหุ้นส่วน หรือเป็นกรรมการที่มีส่วนร่วมบริหารงาน
ลูกจ้าง พนักงาน ที่ปรึกษาที่ได้รับเงินเดือนประจำ หรือถือหุ้นเกินร้อยละ 1 ของจำนวนหุ้นที่มีสิทธิ
ออกเสียงทั้งหมดของบริษทั อืน่ ซึง่ ประกอบกิจการทีม่ สี ภาพอย่างเดียวกันและเป็นการแข่งขันทีม่ นี ยั กับ
กิจการของบริษัทฯ หรือบริษัทย่อย 9. ไม่มีลักษณะอื่นใดที่ทำให้ไม่สามารถให้ความเห็นอย่างเป็นอิสระเกี่ยวกับการดำเนินงานของบริษัทฯ
ทัง้ นี้ ภายหลังได้รบั การแต่งตัง้ ให้เป็นกรรมการอิสระของบริษทั ฯ แล้ว กรรมการอิสระอาจได้รบั มอบหมาย
จากคณะกรรมการบริษัทฯ ให้ตัดสินใจในการดำเนินกิจการของบริษัทฯ บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย
บริษัทร่วม บริษัทย่อยลำดับเดียวกัน ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้มีอำนาจควบคุมของบริษัทฯ โดยมีการ
ตัดสินใจในรูปแบบขององค์คณะ (collective decision) ได้ โดยไม่ถือว่ากรรมการอิสระนั้นเป็น
กรรมการที่มีส่วนร่วมในการบริหารงาน
133 • บริษัทฯ ได้กำหนดให้กรรมการอิสระ รับรองคุณสมบัติความเป็นอิสระของตนเอง ตามเกณฑ์
ที่กำหนดเป็นประจำทุกปี
คณะกรรมการเฉพาะเรื่อง
เพื่อให้เป็นไปตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี คณะกรรมการได้จัดให้มีคณะกรรมการเฉพาะเรื่อง ทั้งหมด 4 คณะ ตั้งแต่เริ่มจัดตั้งบริษัทฯ ในปี 2548 และเพื่อให้สอดคล้องกับแนวปฏิบัติที่ดีในเรื่ององค์ ประกอบของคณะกรรมการสรรหา และคณะกรรมการกำหนดค่าตอบแทน คณะกรรมการบริษัทฯ ได้แต่ง ตั้งคณะกรรมการสรรหา และคณะกรรมการกำหนดค่าตอบแทน โดยมีองค์ประกอบของคณะกรรมการที่ เป็นกรรมการอิสระเป็นส่วนใหญ่ และมีประธานเป็นกรรมการอิสระ คณะกรรมการเฉพาะเรื่องทำหน้าที่พิจารณากลั่นกรองการดำเนินงานเฉพาะเรื่องต่างๆ ที่สำคัญอย่าง รอบคอบ และมีประสิทธิภาพ ตามบทบาทหน้าที่ที่คณะกรรมการมอบหมาย และมีการรายงานผลการ ปฏิบัติหน้าที่ต่อคณะกรรมการอย่างสม่ำเสมอ และรายงานการปฏิบัติหน้าที่ในรอบปีที่ผ่านมาต่อผู้ถือหุ้น ในรายงานประจำปี
คณะกรรมการตรวจสอบ
ประกอบด้วย กรรมการอิสระจำนวน 3 ท่าน โดยทุกท่านเป็นผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์เพียงพอที่จะ สามารถทำหน้าที่ในการสอบทานความน่าเชื่อถือของงบการเงิน มีขอบเขตอำนาจหน้าที่ และความรับผิด ชอบตามกฎบัตรคณะกรรมการตรวจสอบ ในการประชุมคณะกรรมการตรวจสอบเพื่อสอบทานงบการเงิน คณะกรรมการตรวจสอบได้เชิญผู้สอบบัญชีเข้าร่วมประชุมด้วยทุกครั้ง โดยผู้สอบบัญชีได้แสดงความเห็น ต่อรายงานทางการเงินให้คณะกรรมการตรวจสอบได้รับทราบ และบันทึกความเห็น รวมทั้งข้อสังเกตและ ข้อเสนอแนะของผู้สอบบัญชี ไว้ในรายงานการประชุมคณะกรรมการตรวจสอบทุกครั้ง นอกจากนี้
คณะกรรมการตรวจสอบได้มีการรายงานผลการปฏิบัติหน้าที่ต่อคณะกรรมการบริษัทฯ รับทราบอย่าง สม่ำเสมอ มีการประเมินผลการปฏิบัติงานประจำปี เปิดเผยจำนวนครั้งการประชุม และจำนวนครั้งที่ กรรมการตรวจสอบแต่ละท่านเข้าร่วมประชุม รวมทั้งจัดทำรายงานของคณะกรรมการตรวจสอบในรอบปี ที่ผ่านมาเสนอต่อผู้ถือหุ้นในรายงานประจำปี และได้เผยแพร่กฎบัตรของคณะกรรมการตรวจสอบไว้ใน เว็บไซต์ของบริษัทฯ และในปี 2552 คณะกรรมการตรวจสอบ ได้กำหนดให้มีการประชุมร่วมกับผู้สอบ บัญชีของบริษัทฯ โดยไม่มีฝ่ายจัดการเข้าร่วมประชุม 1 ครั้ง ตามแผนการประชุมคณะกรรมการตรวจ สอบ ปี 2552 • คณะกรรมการตรวจสอบได้พจิ ารณาทบทวนและปรับปรุงกฎบัตรคณะกรรมการตรวจสอบ ฉบับปี
2551 ให้มแี นวทางปฏิบตั สิ อดคล้องกับแนวทางปฏิบตั ทิ ดี่ ี เกีย่ วกับองค์ประกอบของคณะกรรมการ
ตรวจสอบ เป็นดังนี้ “เพือ่ ให้คณะกรรมการตรวจสอบสามารถปฏิบตั หิ น้าทีไ่ ด้อย่างต่อเนือ่ ง และมี
แนวคิดหรือมุมมองใหม่ๆ คณะกรรมการตรวจสอบจึงควรประกอบด้วย กรรมการตรวจสอบทีเ่ คย
ปฏิบตั หิ น้าทีต่ รวจสอบของบริษทั ฯ และกรรมการตรวจสอบทีไ่ ด้รบั การแต่งตัง้ ใหม่” โดยคณะกรรมการ
บริษัทฯ ในการประชุมครั้งที่ 10/2552 เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2552 ได้พิจารณาอนุมัติการ
แก้ไขกฎบัตรคณะกรรมการตรวจสอบดังกล่าวแล้ว
คณะกรรมการสรรหา
ประกอบด้วย กรรมการบริษัทฯ จำนวน 3 ท่าน และ 2 ท่าน เป็นกรรมการอิสระ มีวาระการดำรง ตำแหน่งคราวละ 3 ปี ประธานกรรมการสรรหาเป็นกรรมการอิสระ และไม่ใช่ประธานกรรมการบริษัท ปฏิบัติหน้าที่ ตามที่ได้รับมอบหมาย ในการพิจารณาหลักเกณฑ์และกระบวนการสรรหากรรมการและ กรรมการผู้จัดการใหญ่ รวมทั้งพิจารณาคัดเลือกบุคคลตามกระบวนการสรรหาที่ได้กำหนดไว้อย่างอิสระ และโปร่งใส ตามที่กำหนดไว้ในกฎบัตรของคณะกรรมการสรรหา
คณะกรรมการกำหนดค่าตอบแทน
ประกอบด้วย กรรมการบริษัทฯ จำนวน 3 ท่าน และ 2 ท่าน เป็นกรรมการอิสระ มีวาระการดำรง ตำแหน่งคราวละ 3 ปี ประธานกรรมการกำหนดค่าตอบแทนเป็นกรรมการอิสระ และไม่ใช่ประธาน
134
รายงานประจำปี 2552 I บริษทั ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
กรรมการบริษัท ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายในการพิจารณาหลักเกณฑ์และรูปแบบการจ่าย
ค่าตอบแทนแก่กรรมการและกรรมการผู้จัดการใหญ่ อย่างอิสระ เป็นธรรม โปร่งใส และสมเหตุสมผล ตามที่กำหนดไว้ในกฎบัตรของคณะกรรมการกำหนดค่าตอบแทน
คณะกรรมการกำกับดูแลกิจการ
ประกอบด้วย กรรมการบริษัทจำนวน 3 คน และ 2 คน เป็นกรรมการอิสระ มีวาระการดำรงตำแหน่ง คราวละ 3 ปี ประธานกรรมการกำกับดูแลกิจการ ไม่ใช่ประธานกรรมการบริษัท และถึงแม้ไม่ได้เป็น กรรมการอิสระ แต่ก็ได้ปฏิบัติหน้าที่ตามที่คณะกรรมการบริษัทฯ มอบหมายในการพิจารณาแนวปฏิบัติ ด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดี และให้ข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมการอย่างเป็นอิสระ เพื่อพัฒนาแนวทาง การกำกับดูแลกิจการที่ดีของบริษัทฯ ให้สอดคล้องกับแนวปฏิบัติของ ก.ล.ต. ตลาดหลักทรัพย์ฯ องค์กร ชั้นนำ และมาตรฐานสากล ตามที่กำหนดไว้ในกฎบัตรของคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการ • คณะกรรมการสรรหา คณะกรรมการกำหนดค่าตอบแทน และคณะกรรมการกำกับดูแล
กิจการ ได้จัดให้มีกฎบัตร เป็นลายลักษณ์อักษร ประกอบด้วย บทบาท หน้าที่ และความ
รับผิดชอบ คุณสมบัติ วาระการดำรงตำแหน่ง และการประชุม ซึง่ คณะกรรมการบริษทั ในการ
ประชุ ม ครั้ ง ที่ 4/2552 เมื่ อ วั น ที่ 19 มิ ถุ น ายน 2552 ได้ พิ จ ารณาอนุ มั ติ แ ล้ ว เป็ น ผลให้
คณะกรรมการเฉพาะเรื่องทุกคณะ มีการจัดทำกฎบัตรครบถ้วน และได้เปิดเผยไว้ในคู่มือ
การกำกับดูแลกิจการที่ดี และเว็บไซต์ของบริษัทฯ ด้วย
เลขานุการบริษัท
• คณะกรรมการบริษัทฯ ในการประชุมครั้งที่ 4/2551 เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2551 ได้แต่งตั้งให้
นางวลัยพร บุษปะเวศ ตำแหน่งผู้จัดการฝ่าย หน่วยงานกำกับองค์กรและเลขานุการบริษัท สังกัดสาย
งานกิจการองค์กร ทำหน้าที่เลขานุการบริษัท ตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ฯ ซึ่งเป็นผู้ที่
คณะกรรมการบริษัทพิจารณาเห็นว่ามีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ที่จะสามารถปฏิบัติ
หน้าที่ให้เป็นประโยชน์ต่อบริษัทฯ คณะกรรมการ และผู้ถือหุ้น ได้เป็นอย่างดี • ในการปฏิบตั หิ น้าทีข่ องเลขานุการบริษทั นอกจากการปฎิบตั หิ น้าทีต่ ามทีก่ ฎหมายกำหนด ได้แก่ จัดทำ
และเก็บรักษาเอกสารทะเบียนกรรมการ หนังสือนัดประชุมคณะกรรมการ รายงานการประชุมคณะ
กรรมการ หนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้น รายงานการประชุมผู้ถือหุ้น รายงานประจำปีของบริษัท และ
รวบรวม/เก็ บ รั ก ษารายงานการมี ส ่ ว นได้ เ สี ย ของกรรมการ/ผู ้ บ ริ ห ารแล้ ว เลขานุ ก ารบริ ษ ั ท
ยังได้ดูแลให้บริษัทฯ และคณะกรรมการมีการปฏิบัติอย่างถูกต้อง เป็นไปตามกฎหมาย ข้อบังคับ
บริษัท ข้อกำหนด/กฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง และหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี จัดการประชุมคณะ
กรรมการบริษัท คณะกรรมการเฉพาะเรื่อง การประชุมผู้ถือหุ้น การประชุมคณะจัดการ (Top Team)
การประชุมคณะกรรมการและผู้ถือหุ้นของบริษัทย่อย และแจ้งให้กรรมการ/ผู้บริหารรับทราบถึงการ
แก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อกำหนดกฎเกณฑ์ต่างๆ อีกทั้งยังสนับสนุน/ประสานการจัดให้กรรมการและ
ผู้บริหารได้รับความรู้/เข้าอบรมหลักสูตรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ รวมถึงการสนับสนุน
กิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกรรมการบริษัทฯ • เลขานุการบริษัทได้เข้ารับการอบรม สัมมนา รับฟังการชี้แจง และร่วมให้ความคิดเห็นด้วยตนเอง
ในเรื่องต่างๆ ที่จัดโดยหน่วยงานกำกับดูแลบริษัทจดทะเบียน อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาและ
ปรับปรุงงานเลขานุการบริษัท และงานการกำกับดูแลกิจการของบริษัทฯ ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ต่อไป โดยผู้ถือหุ้นสามารถติดต่อกับเลขานุการบริษัท ได้ที่ อีเมล์ : cg@pttchemgroup.com
การสรรหาและแต่งตั้งกรรมการ
• คณะกรรมการได้กำหนดนโยบาย และวิธีการสรรหากรรมการอย่างมีหลักเกณฑ์ และโปร่งใส โดยได้
แต่งตั้งและมอบหมายให้คณะกรรมการสรรหาทำหน้าที่พิจารณาบุคคลที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสม เพื่อ
นำเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท และที่ประชุมผู้ถือหุ้นพิจารณาอนุมัติตามแต่ละกรณี ทั้งนี้
เพื่อให้องค์ประกอบของคณะกรรมการบริษัท ประกอบด้วยกรรมการที่มีความรู้ ความสามารถ และ
ประสบการณ์ ทีห่ ลากหลายในแต่ละด้าน เพือ่ ทีจ่ ะร่วมทำประโยชน์ให้แก่การดำเนินงานของบริษทั ฯ ได้
135 นอกจากนี้ ยังได้เปิดโอกาสล่วงหน้าให้ผู้ถือหุ้นเสนอชื่อบุคคลที่เห็นว่าเหมาะสมเพื่อเข้ารับการ
พิจารณาคัดเลือกเป็นกรรมการบริษัทก่อนการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปีด้วย
วาระการดำรงตำแหน่งกรรมการ
• คณะกรรมการกำหนดวาระการดำรงตำแหน่งของกรรมการอย่างชัดเจนไว้ในข้อบังคับของบริษัท โดย
กำหนดจำนวนปีที่ดำรงตำแหน่งในแต่ละวาระ คราวละ 3 ปี ตาม พ.ร.บ. บริษัทมหาชนจำกัด และได้
กำหนดวาระการดำรงตำแหน่งติดต่อกันได้นานที่สุดของกรรมการตรวจสอบให้ไม่เกิน 2 วาระ
ติดต่อกัน เว้นแต่คณะกรรมการบริษัทฯ จะมีความเห็นเป็นอื่น โดยในส่วนของคณะกรรมการบริษัท
และคณะกรรมการเฉพาะเรื่องชุดอื่นๆ นั้น คณะกรรมการบริษัท จะได้พิจารณาแนวปฏิบัติให้
สอดคล้องกับหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีต่อไป • คณะกรรมการบริษัท ตระหนักถึงประสิทธิภาพของการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะกรรมการบริษัท จึงให้
ความสำคัญกับจำนวนบริษัทที่กรรมการไปดำรงตำแหน่งไม่ให้มากเกินไป และได้กำหนดเป็นนโยบาย
การดำรงตำแหน่ ง กรรมการในบริ ษ ั ท จดทะเบี ย นอื ่ น ของกรรมการ โดยกรรมการบริ ษ ั ท ฯ ควร
ดำรงตำแหน่งกรรมการในบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ไม่เกิน 5 บริษัท กรณีที่มีกรรมการ
บริษัทฯ ดำรงตำแหน่งกรรมการในบริษัทจดทะเบียนมากกว่า 5 บริษัท ให้พิจารณาการดำรงตำแหน่ง
ให้เหมาะสมกับลักษณะ/สภาพธุรกิจของบริษทั และการดูแลธุรกิจทีบ่ ริษทั ฯ เข้าไปลงทุนเป็นสำคัญ โดย
บริษัทฯ ได้เปิดเผยข้อมูลการดำรงตำแหน่งกรรมการในบริษัทอื่นของกรรมการแต่ละท่านไว้ในรายงาน
ประจำปี และแบบ 56-1 ตลอดจนเว็บไซต์ของบริษัทฯ • คณะกรรมการบริษัท ได้กำหนดให้เปิดเผยนโยบายการดำรงตำแหน่งกรรมการในบริษัท
จดทะเบี ย นอื่ น ของกรรมการบริ ษั ท ไว้ ใ นคู่ มื อ การกำกั บ ดู แ ลกิ จ การที่ ดี ฉบั บ ปรั บ ปรุ ง
พ.ศ. 2552 ด้วย • นอกจากนี้ คณะกรรมการบริษทั ยังได้กำหนดนโยบายและวิธปี ฏิบตั ใิ นการไปดำรงตำแหน่งกรรมการใน
กลุ่มบริษัทฯ ของผู้บริหารระดับสูง (Top Team) ตั้งแต่ตำแหน่งผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ขึ้นไป โดยได้
มอบอำนาจให้กรรมการผู้จัดการใหญ่พิจารณาความเหมาะสมของการดำรงตำแหน่งและจำนวน
บริษัท ที่ผู้บริหารจะไปดำรงตำแหน่งกรรมการ เพื่อให้ทิศทางการบริหาร/การดำเนินธุรกิจสอดคล้อง
กับนโยบายการบริหารจัดการกลุ่มธุรกิจของบริษัทฯ
การแบ่งแยกอำนาจหน้าที่
คณะกรรมการบริษัท ได้กำหนดอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการและฝ่ายบริหารไว้เป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อประโยชน์ในการกำกับดูแล ตรวจสอบ และประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ ดังนี้ • คณะกรรมการได้พิจารณาแบ่งแยกอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ และฝ่ายจัดการอย่างชัดเจน
โดยผ่านการพิจารณาจากที่ประชุมคณะกรรมการและจัดทำเป็นมติที่ประชุมเพื่อถือเป็นแนวทางปฏิบัติ
ได้แก่ อำนาจดำเนินการทางการเงิน และอำนาจการตัดสินใจในเรือ่ งต่างๆ ของกรรมการผูจ้ ดั การใหญ่
โดยจัดทำเป็นหนังสือมอบอำนาจการดำเนินการของกรรมการผูจ้ ดั การใหญ่ มีผลบังคับใช้คราวละ 3 ปี • คณะกรรมการบริษัท กำหนดบทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบที่สำคัญในเชิงรุก เพื่อบรรลุเป้า
หมายทางธุรกิจของบริษทั ฯ โดยได้พจิ ารณาและให้ความเห็นชอบในเรือ่ งสำคัญเกีย่ วกับการดำเนินงาน
ของบริษัทฯ ได้แก่ วิสัยทัศน์ ภารกิจ กลยุทธ์ เป้าหมายทางการเงิน การบริหารความเสี่ยง แผนงาน
และงบประมาณ โดยผ่านการพิจารณากลั่นกรองขั้นต้น จากคณะจัดการ (Top Team) ซึ่งประกอบด้วย
ผูบ้ ริหารระดับสูง ได้แก่ กรรมการผูจ้ ดั การใหญ่ รองกรรมการผูจ้ ดั การใหญ่ และผูช้ ว่ ยกรรมการผูจ้ ดั การใหญ่
จากสายงานและกลุ่มธุรกิจต่างๆ ก่อนนำเสนอคณะกรรมการบริษัทฯ พิจารณา โดยคณะกรรมการ
ได้ติดตามดูแลให้ฝ่ายจัดการดำเนินงานตามนโยบายและแผนงานดังกล่าวอย่างสม่ำเสมอ
บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการ
• ภาวะผู้นำของคณะกรรมการบริษัท สะท้อนผ่านการกำหนดและทบทวนวิสัยทัศน์ กลยุทธ์การดำเนิน
ธุรกิจ ในการประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานของการวิเคราะห์ปัจจัยต่างๆ ทั้ง
ภายในและภายนอกองค์กร ที่จะมีผลต่อการดำเนินธุรกิจ การวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน ศักยภาพ และ
สภาวะแวดล้อมต่าง ๆ ขององค์กร ตลอดจนความคาดหวังจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มต่างๆ
136
รายงานประจำปี 2552 I บริษทั ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
• คณะกรรมการได้มุ่งมั่นปฏิบัติภารกิจตามบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบโดยคำนึงถึงประโยชน์
ของบริษัทฯ และผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย โดยในปี 2552 คณะกรรมการได้ติดตามผลการดำเนินงาน
อย่ า งต่ อ เนื ่ อ ง ด้ ว ยการกำหนดตั ว ชี ้ ว ั ด ผลการดำเนิ น งานและเป้ า หมาย ตามระบบ Balanced
Scorecard เพื่อประเมินทั้งประสิทธิภาพและประสิทธิผลการดำเนินงานตามกลยุทธ์ โดยมอบหมายให้
ฝ่ายจัดการรายงานผลการดำเนินงานของบริษัทฯ และดัชนีวัดผลเปรียบเทียบกับเป้าหมายเป็นประจำ
ทุกไตรมาสและสิ้นปี เพื่อที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ รับทราบ ติดตาม และทบทวนเป็นระยะ ๆ
และในกรณีที่ผลการดำเนินงานไม่เป็นไปตามเป้าหมาย คณะกรรมการก็ได้กำหนดมาตรการเร่งด่วน
เพื่อให้บริษัทฯ สามารถดำเนินการได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ • นอกจากนี้ กรรมการอิสระก็ได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเป็นอิสระโดยสามารถให้ความคิดเห็นในการ
ประชุมได้อย่างเป็นอิสระ และดูแลไม่ให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ รวมทัง้ ได้รบั มอบหมายให้เข้า
ร่วมเป็นคณะกรรมการเฉพาะเรื่อง เพื่อให้มั่นใจว่าการพิจารณาดำเนินการในเรื่องต่าง ๆ ของคณะ
กรรมการบริษัทฯ ได้รับการกลั่นกรองอย่างรอบคอบและมีประสิทธิภาพ ตามหลักการกำกับดูแล
กิจการที่ดี
นโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี และจรรยาบรรณธุรกิจ
• คณะกรรมการบริษัทเชื่อมั่นว่าการกำกับดูแลกิจการที่ดี จะเป็นกรอบในการบริหารจัดการ และเป็น
แนวทางในการดำเนินธุรกิจ เพื่อสร้างความเจริญเติบโตอย่างยั่งยืนและความเชื่อมั่นให้แก่องค์กรต่อ
ผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย จึงได้กำหนดนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี รวมทั้งกำกับดูแลให้มีการสื่อสาร
เผยแพร่ และติดตามผลการปฏิบัติตามนโยบาย • คณะกรรมการกำกับดูแลกิจการ ได้กำหนดให้มีการทบทวนคู่มือการกำกับดูแลกิจการที่ดี
ของบริษัทฯ เป็นประจำทุกปี โดยในปี 2552 ได้พิจารณาและเห็นควรให้มีการปรับปรุงคู่มือฯ
ฉบับแรก ที่ได้จัดทำขึ้นเมื่อปี 2549 ทั้งนี้ เพื่อความเหมาะสม ครบถ้วน สอดคล้องกับสภาพ
การดำเนินธุรกิจปัจจุบัน และมาตรฐานสากล รวมทั้งเป็นไปตามกฎหมาย หลักเกณฑ์ และ
ข้อกำหนดต่างๆ ที่มีการแก้ไขปรับปรุง • ในการปรับปรุงดังกล่าว ได้แยกเนื้อหาของคู่มือฯ ออกเป็น 2 ส่วน คือ นโยบายการกำกับดูแล
กิจการทีด่ ี และจรรยาบรรณธุรกิจ เพือ่ ความชัดเจนตามแนวปฏิบัติที่ดีของตลาดหลักทรัพย์ฯ ดังนี้ นโยบายการกำกับดูแลกิจการ : ครอบคลุมหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีสำหรับบริษัทจดทะเบียน ของตลาดหลักทรัพย์ฯ และ
มาตรฐานสากล (OECD) จรรยาบรรณธุรกิจ : รวบรวมแนวปฏิบัติในเรื่องต่างๆ ที่กำหนดขอบเขตการประพฤติปฏิบัติที่ดีและเป็นมาตรฐาน ภายใต้
กรอบจริยธรรม คุณธรรม และความซื่อสัตย์ โดยพนักงานทุกระดับและทุกคน ได้ให้ความสำคัญและ
ยึดถือเป็นหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ • จากนั้น คณะกรรมการบริษัทในการประชุมครั้งที่ 8/2552 เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2552 ได้พิจารณา
อนุมัติ “คู่มือการกำกับดูแลกิจการที่ดี และจรรยาบรรณธุรกิจ (Corporate Governance & Business
Code of Conduct) ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2552” โดยในครั้งนี้ ได้ประกาศให้ใช้ครอบคลุมทั่วทั้ง
กลุ่มบริษัท ปตท. เคมิคอล • ในวันครบรอบ 4 ปี ของการจัดตั้งบริษัทฯ เมื่อเดือนธันวาคม 2552 บริษัทฯ ได้ส่งมอบคู่มือดังกล่าว
ซึ่งจัดทำแล้วเสร็จทั้งภาษาไทยและอังกฤษ ให้แก่ กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของกลุ่มบริษัท
ปตท. เคมิคอล ทุกคน เพือ่ ทำความเข้าใจ ลงนามรับทราบ และยึดถือเป็นหลักประพฤติปฏิบตั ิ เพือ่ แสดง
ให้เห็นถึงการมีส่วนร่วมของทุกคนในองค์กร • นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้จัดส่ง “จรรยาบรรณธุรกิจของกลุ่มบริษัท ปตท. เคมิคอล” เพื่อส่ง
มอบให้แก่ผู้มีส่วนได้เสีย อาทิ คู่ค้า ลูกค้า เจ้าหนี้ บริษัทร่วมทุน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ตลอดจนเผยแพร่ให้กับผู้สนใจทั่วไป ผ่านเว็บไซต์บริษัทฯ เพื่อแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นใน
การดำเนินธุรกิจอย่างมีจรรยาบรรณของกลุ่มบริษัท ปตท. เคมิคอล อีกทั้งยังมุ่งหวังให้ผู้ร่วม
ดำเนินธุรกิจต่างยึดมั่นในหลักการเดียวกันด้วย
137 การกำกับดูแลให้มีการสื่อสาร / เผยแพร่นโยบายฯ คณะกรรมการบริษัท ได้กำกับดูแลให้มีการเผยแพร่นโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี และจรรยาบรรณ ธุรกิจ ให้ครอบคลุมทั้งภายในและภายนอกองค์กร เพื่อสื่อสารกับกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียผ่านรูปแบบและสื่อ ต่างๆ ของบริษัทอย่างสม่ำเสมอ การติดตามผลการปฏิบัติตามนโยบายฯ • คณะกรรมการบริษัทได้จัดให้มีการติดตามผลการปฏิบัติตามนโยบายการกำกับดูแลกิจการ โดยการ
แต่งตั้งคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการ เพื่อพิจารณาแนวปฏิบัติ ให้ข้อเสนอแนะ และกำกับดูแลด้าน
การกำกับดูแลกิจการที่ดี และคณะกรรมการตรวจสอบ เพื่อสอบทานและประเมินผลการควบคุม
ภายในให้มีการปฏิบัติตามข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง • คณะกรรมการกำกับดูแลกิจการ ได้ติดตามผลการปฏิบัติตามนโยบายการกำกับดูแลกิจการ/ทบทวน
นโยบาย และประเมินประสิทธิผลการปฏิบัติเป็นประจำ ผ่านการประชุมคณะกรรมการกำกับดูแล
กิจการ ซึ่งกำหนดจัดเป็นประจำทุกไตรมาส โดยพิจารณาการปฏิบัติของบริษัทฯ เปรียบเทียบกับแนว
ปฏิบัติที่ดีตามหลักการกำกับดูแลกิจการของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ตามมาตรฐาน
สากล และรายงานการติดตามผลการปฏิบัติตามนโยบายการกำกับดูแลกิจการต่อคณะกรรมการ
บริษัทฯ และเสนอต่อผู้ถือหุ้นในรายงานประจำปี • กำหนดให้วัฒนธรรมองค์กรในเรื่อง Integrity หรือ ยึดมั่นคุณธรรม จริยธรรม ซื่อสัตย์ โปร่งใส ตรวจ
สอบได้ การปฏิบัติตามคำมั่นสัญญา และเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย เป็นส่วนหนึ่งของการประเมินพฤติกรรม
พนักงาน ในการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานประจำปี • ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมวัฒนธรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดี เพื่อสร้างความตระหนักรู้และเข้าใจ
ในหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี รวมทั้งการนำไปใช้ในการปฏิบัติงาน โดยในปี 2552 นอกจากบริษัทฯ
จะจัดกิจกรรมส่งเสริมหลักการ CG ภายในองค์กรแล้ว ยังได้ร่วมกับบริษัทจดทะเบียนในกลุ่ม ปตท.
จัดงาน PTT Group CG Day 2009 : CG to GC : From Good to Great โดยให้แต่ละบริษัทนำเสนอ
การก้าวสู่การเป็น Great Company ด้วย CG ซึ่งเป็นกิจกรรมที่บริษัทจดทะเบียนกลุ่มบริษัท ปตท.
ได้จัดอย่างต่อเนื่อง และได้รับความร่วมมือและความสนใจจากพนักงานเป็นอย่างมาก
กลไกการตรวจสอบและควบคุม
คณะกรรมการบริษัท ได้กำหนดให้มีกลไกการตรวจสอบและควบคุม เพื่อให้การดำเนินธุรกิจเป็นไป
ด้วยความโปร่งใส และสร้างความเชื่อมั่นกับผู้ถือหุ้น นักลงทุน และผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
ความขัดแย้งทางผลประโยชน์
• คณะกรรมการได้กำหนดนโยบายเกี่ยวกับความขัดแย้งทางผลประโยชน์ไว้ในคู่มือการกำกับดูแล
กิจการที่ดี และจรรยาบรรณธุรกิจ นอกจากนี้ ยังได้ปฏิบัติตามข้อแนะนำของ ก.ล.ต. ในเรื่องแนวทาง
การปฏิบัติเกี่ยวกับการขออนุมัติคณะกรรมการในการทำธุรกรรมที่เป็นข้อตกลงทางการค้า ระหว่าง
บริษัท หรือบริษัทย่อยของบริษัท กับกรรมการบริษัท ผู้บริหาร หรือบุคคลที่มีความเกี่ยวข้อง เพื่อให้
เป็นไปตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯ ฉบับใหม่ • ในการอนุมัติเข้าทำรายการ คณะกรรมการได้กำกับดูแลให้มีการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และขั้นตอนที่
กำหนดด้วยความรอบคอบ มีเหตุผลและมีความเป็นอิสระต่อกัน มีกระบวนการที่โปร่งใส และคำนึงถึง
ผลประโยชน์สูงสุดของบริษัทฯ อย่างครบถ้วนถูกต้อง • ในการพิจารณาอนุมัติการเข้าทำรายการที่มีความเกี่ยวโยงกัน ได้จัดให้มีการเปิดเผยข้อมูลส่วนได้เสีย
ของกรรมการ ผู้บริหาร และผู้เกี่ยวข้อง มูลค่าของรายการ ความเห็นของกรรมการอิสระ และข้อมูลอื่น
ที่จำเป็น เพื่อให้คณะกรรมการ/ผู้ถือหุ้นสามารถตัดสินใจเพื่อประโยชน์โดยรวมของบริษัทฯ • กำหนดแนวทางเพื่อไม่ให้กรรมการหรือผู้บริหารที่มีส่วนได้เสีย หรือพนักงานมีส่วนเกี่ยวข้อง เข้าร่วม
ในกระบวนการตัดสินใจเพื่อพิจารณาธุรกรรมระหว่างบริษัทกับผู้ที่มีส่วนได้เสียหรือมีส่วนเกี่ยวข้อง
ดังกล่าว โดยกำหนดให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือมีส่วนได้เสียในเรื่องใด ไม่เข้าร่วมประชุม หรือเข้าร่วม
ประชุมเพื่อชี้แจงข้อเท็จจริงประกอบการพิจารณา แต่ไม่มีสิทธิในการพิจารณาหรือลงมติในเรื่องนั้น • คณะกรรมการบริษัทฯ ในการประชุมครั้งที่ 2/2552 เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2552 ได้พิจารณา
กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และแบบรายงานการมีส่วนได้เสียของกรรมการ ผู้บริหาร และ
138
รายงานประจำปี 2552 I บริษทั ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
บุ ค คลที่ มี ค วามเกี่ ย วข้ อ ง เพื่ อ ให้ เ ป็ น ไปตาม พ.ร.บ. หลั ก ทรั พ ย์ แ ละตลาดหลั ก ทรั พ ย์ ฯ
มาตรา 89/14 และให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2552 โดยคณะกรรมการได้กำหนดให้มี
การ รายงานครั้งแรกเมื่อได้รับการแต่งตั้ง และทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลการมีส่วน
ได้เสียรวมถึงให้มีการทบทวนโดยการรายงานประจำปี ณ วันสิ้นปีของทุกปี โดยเลขานุการ
บริษัท รวบรวมและจัดส่งสำเนารายงานดังกล่าวให้ประธานกรรมการบริษัท และประธาน
กรรมการตรวจสอบ รับทราบทุกครั้ง • คณะกรรมการบริ ษั ท ฯ โดยข้ อ เสนอของคณะกรรมการกำกั บ ดู แ ลกิ จ การ ได้ ก ำหนดให้
กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน เปิดเผยรายการที่มีหรืออาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์
เป็ น ประจำทุ ก สิ้ น ปี ทั้ ง ในกรณี ที่ มี แ ละไม่ มี ก ารเข้ า ทำรายการเพิ่ ม เติ ม จากเดิ ม ที่ ไ ด้ เ คย
กำหนดให้มีการรายงานเฉพาะเมื่อมีการเข้าทำรายการ โดยเริ่มตั้งแต่สิ้นปี 2552 เป็นต้นไป • กำหนดให้หน่วยงานตรวจสอบภายใน เป็นหน่วยงานในการรับข้อร้องเรียนเกี่ยวกับจรรยา
บรรณธุรกิจ (Whistleblower) ของพนักงานในกลุ่มบริษัทฯ โดยสามารถส่งข้อร้องเรียนเมื่อ
พบพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมหรือขัดต่อจรรยาบรรณธุรกิจ เพื่อเข้าสู่กระบวนการพิจารณา
โดยมีมาตรการคุ้มครองผู้ร้องเรียนตลอดระยะเวลา และภายหลังการสอบสวน
ระบบควบคุมและตรวจสอบภายใน
• คณะกรรมการได้ให้ความสำคัญต่อการควบคุมภายในอย่างต่อเนื่อง โดยได้มอบหมายให้คณะ
กรรมการตรวจสอบทำหน้าที่สอบทานการประเมินระบบการควบคุมภายใน เพื่อให้ระบบการควบคุม
ภายในมีความเพียงพอและเหมาะสมกับการดำเนินธุรกิจและมีประสิทธิผลในการดำเนินงาน และ
รายงานให้คณะกรรมการบริษัทและผู้ถือหุ้นทราบ • นอกจากนี้ คณะกรรมการได้จัดให้งานตรวจสอบภายในแยกเป็นหน่วยงานหนึ่งของบริษัทโดยมีหน้าที่
และความรับผิดชอบในการประเมินความเพียงพอ และความมีประสิทธิผลของการควบคุมภายในของ
ระบบงานหรือกิจกรรมต่าง ๆ ตามแผนการตรวจสอบประจำปี ซึ่งได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการ
ตรวจสอบ และรายงานให้ ค ณะกรรมการตรวจสอบทราบอย่ า งสม่ ำ เสมอ เพื ่ อ สนั บ สนุ น ความ
มีประสิทธิผลของกระบวนการกำกับดูแล การบริหารความเสี่ยง และการควบคุม โดยปฏิบัติตามหลัก
จรรยาบรรณ และมาตรฐานวิชาชีพการตรวจสอบภายใน เพื่อรักษาความเป็นอิสระ และคุณภาพของ
งานตรวจสอบภายใน • คณะกรรมการตรวจสอบ ได้เสนอผลการประเมินการควบคุมภายในปี 2552 ของบริษัทฯ ในการ
ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ ครั้งที่ 1/2553 เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2553 ซึ่งคณะกรรมการตรวจ
สอบได้ให้ข้อเสนอแนะต่อฝ่ายจัดการ เพื่อการปรับปรุงระบบการควบคุมภายในอย่างต่อเนื่อง โดย
คณะกรรมการบริษัทฯ ได้รับทราบ และมีความเห็นสรุปได้ว่า บริษัทฯ มีระบบการควบคุมภายใน
ที่เพียงพอและมีประสิทธิผล โดยแสดงแยกตามองค์ประกอบการควบคุมภายใน ได้ดังนี้ 1. สภาพแวดล้อมการควบคุม (Control Environment) ในภาพรวมมีความเหมาะสม และมีส่วนทำให้การควบคุมภายในเพียงพอ และมีประสิทธิผล เช่น
บริษัทฯ ได้กำหนดนโยบายและระเบียบปฏิบัติเป็นลายลักษณ์อักษรเกี่ยวกับความซื่อสัตย์และ
จริยธรรม โดยกำหนดนโยบายด้านการกำกับดูแลกิจการทีด่ ี ตามหลักมาตรฐานสากล คณะกรรมการ
ผูบ้ ริหาร และพนักงานทุกคนต้องถือปฏิบตั ติ ามหลักการในคูม่ อื การกำกับดูแลกิจการทีด่ แี ละจรรยาบรรณ
ธุรกิจ เพือ่ สร้างประโยชน์สงู สุดให้แก่ผถู้ อื หุน้ และ รับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสีย ไม่ว่าจะเป็น ผู้ถือหุ้น
ลูกค้า คู่ค้า คู่แข่งทางการค้า เจ้าหนี้ ภาครัฐ พนักงาน ชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม มีจรรยาบรรณ
ในการดำเนินธุรกิจ มีความโปร่งใส และตรวจสอบได้ โดยมีเป้าหมายเป็นผู้ประกอบการชั้นนำด้าน
เคมีภัณฑ์ ปิโตรเคมี สาธารณูปการและบริการเสริมอื่นๆ ที่ได้รับการยอมรับในระดับสากลบนพื้นฐาน
การบริหารจัดการที่ดี มีประสิทธิภาพ สามารถสร้างความเชื่อมั่นแก่กลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อนำพา
องค์กรสู่การเติบโตก้าวหน้าอย่างต่อเนื่องยั่งยืน • บริษทั ฯ ได้วเิ คราะห์พน้ื ฐานความรูท้ างการศึกษา ทักษะทีจ่ ำเป็นในการปฏิบตั งิ าน และประเมินความรู้
ความชำนาญในการปฏิบัติงาน เพื่อให้บุคลากรมีความรู้ ทักษะ และความสามารถในการปฏิบัติงาน
ที่ได้รับมอบหมายในแต่ละตำแหน่ง • บริษัทฯ ได้กำหนดโครงสร้างของคณะกรรมการบริษัทฯ และคณะกรรมการตรวจสอบที่มีความเป็น
อิสระจากฝ่ายจัดการ ทำหน้าที่สอดส่องดูแลและติดตามการดำเนินงานของฝ่ายจัดการให้เป็นไปตาม
139 นโยบายและเป้าหมายที่กำหนด การรายงานทางการเงินที่เชื่อถือได้ การตรวจสอบภายในและการ
ควบคุมภายในที่เพียงพอและมีประสิทธิผล และการเปิดเผยรายการที่เกี่ยวโยงกันอย่างเหมาะสม • ผู้บริหารมีปรัชญาและรูปแบบในการทำงาน เช่น มีทัศนคติที่ดีและสนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับ
การบัญชี ระบบการจัดการสารสนเทศ ทรัพยากรบุคคล การติดตามประเมินผล การตรวจสอบภายใน
และการตรวจสอบโดยผู้สอบบัญชี และมีการบริหารความเสี่ยงเกี่ยวกับการดำเนินงานที่สำคัญ • บริษัทฯ ได้จัดโครงสร้างขององค์กรและสายงานบังคับบัญชาที่ชัดเจนและเหมาะสม มีการมอบอำนาจ
หน้าที่และความรับผิดชอบเป็นลายลักษณ์อักษร โดยมีการทบทวนปรับปรุงให้เหมาะสมกับสภาพ
แวดล้อมทางธุรกิจอย่างต่อเนื่อง • บริษัทฯ ได้กำหนดนโยบายและวิธีบริหารทรัพยากรบุคคลไว้เป็นลายลักษณ์อักษร เช่น การคัดเลือก
การฝึกอบรม การเลื่อนตำแหน่ง การจ่ายผลประโยชน์ตอบแทน เป็นต้น เพื่อให้เกิดขวัญ กำลังใจและ
รักษาสภาพแวดล้อมที่ดีในการทำงาน 2. การประเมินความเสีย่ ง (Risk Assessment) บริษทั ฯ จัดให้มกี ารบริหารความเสีย่ ง โดยมีคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงในระดับจัดการ รับผิดชอบ
ตรวจสอบและดูแลการบริหารความเสี่ยง มีการประเมินความเสี่ยงที่มีผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ
และการบรรลุวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ของบริษัทฯ ตามเกณฑ์ที่กำหนดในคู่มือการบริหารความเสี่ยง
และกำหนดแผนปฏิบัติการ (Mitigation Plan) เพื่อป้องกันหรือลดความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่สามารถ
ยอมรับได้ รวมทั้งมีการติดตามการดำเนินการตามแผนการบริหารความเสี่ยงหรือแผนปฏิบัติการเป็น
ประจำทุกเดือน และรายงานให้คณะกรรมการตรวจสอบทราบทุกไตรมาส 3. กิจกรรมการควบคุม (Control Activities) ในภาพรวม บริษทั ฯ มีกจิ กรรมควบคุมทีเ่ หมาะสม เพียงพอ และมีประสิทธิผล โดยกำหนดให้มีนโยบาย
และระเบียบปฏิบัติเป็นลายลักษณ์อักษร รวมทั้งวิธีปฏิบัติงานเพื่อให้มั่นใจว่า เมื่อนำไปปฏิบัติแล้วจะ
เกิดผลสำเร็จตามที่ฝ่ายบริหารกำหนดไว้ กิจกรรมเพื่อการควบคุมจะชี้ให้ผู้ปฏิบัติงานเห็นความเสี่ยง
ที่อาจเกิดขึ้นในการปฏิบัติงานเพื่อให้เกิดความระมัดระวังและสามารถปฏิบัติงานให้สำเร็จตาม
วัตถุประสงค์ เช่น • การควบคุ ม ภายในด้ า นการบริ ห าร บริษัทฯ กำหนดวัตถุประสงค์เป็นลายลักษณ์อักษรและ
สื่อสารให้ บ ุ ค ลากรทุ ก คนเข้ า ใจ เพื ่ อ ให้ ก ารดำเนิ น งานบรรลุ ต ามวั ต ถุ ป ระสงค์ พร้ อ มทั ้ ง มี ก าร
วางแผนการดำเนินงาน การจัดสรรทรัพยากร งบประมาณ และอัตรากำลัง นอกจากนี้ ได้มกี ารกำหนด
กระบวนการทำงานและมีการติดตามผล เพื่อให้บุคลากรปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล
และปฏิบตั ิ ตามกฎหมายระเบียบข้อบังคับ และมาตรฐานทีก่ ำหนด • การควบคุมภายในด้านบัญชีการเงิน บริษทั ฯ มีกระบวนการตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนของการ
บันทึกรายการบัญชีและการจัดทำรายงานทางการเงิน การควบคุมดูแลทรัพย์สิน การตรวจสอบ
รายการเบิกจ่ายเงิน การตรวจสอบรายการระหว่างบุคคลที่เกี่ยวข้องกัน และมีการแบ่งแยกหน้าที่ด้าน
บัญชีการเงินที่เหมาะสม • การควบคุมภายในด้ านการจัดซือ้ จัดจ้าง บริษทั ฯ มีระเบียบและข้อกำหนดว่าด้วยการปฏิบตั เิ กีย่ วกับ
งานจัดหาเพื่อนำไปปฏิบัติในการจัดซื้อจัดจ้าง ซึ่งได้กำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบในกระบวนการ
จัดซื้อจัดจ้างไว้อย่างชัดเจน • การควบคุมภายในด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล มีกระบวนการสรรหาเพือ่ ให้ได้บคุ ลากรทีม่ คี วาม
รู้ความสามารถตามที่กำหนด มีระบบค่าตอบแทนที่เหมาะสมและเป็นธรรม มีการกำหนดหน้าที่ความ
รับผิดชอบ และมีระบบการให้ข้อมูลและการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพเพียงพอ • การควบคุมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ มีการควบคุมเพือ่ ให้มกี ารปฏิบตั ติ ามกฎหมายทีเ่ กีย่ วข้อง และ
ติดตามให้มีการปฏิบัติเป็นไปตามกิจกรรมควบคุมที่กำหนด 4. ข้อมูลสารสนเทศและการสือ่ สาร (Information and Communication) บริษัทฯ มีระบบข้อมูลสารสนเทศที่เกี่ยวเนื่องกับการปฏิบัติงาน การรายงานทางการเงินและการ
ดำเนินงาน นโยบายและระเบียบปฏิบัติต่างๆ ที่ใช้ในการควบคุมและดำเนินกิจกรรมของบริษัทฯ รวม
ทั้งข้อมูลสารสนเทศที่ได้จากภายนอกบริษัทฯ มีการสื่อสารไปยังผู้บริหารและผู้ใช้ภายในบริษัทฯ ในรูป แบบที ่ ช ่ ว ยให้ ผู ้ ร ั บ ข้ อ มู ล สารสนเทศปฏิ บ ั ต ิ ห น้ า ที ่ ต ามความรั บ ผิ ด ชอบได้ อ ย่ า งมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ
140
รายงานประจำปี 2552 I บริษทั ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
และประสิทธิผล และมีการติดต่อสื่อสารภายในและภายนอกบริษัทฯ ที่มีผลทำให้บริษัทฯ บรรลุ
วัตถุประสงค์และเป้าหมาย นอกจากนี้ มีการสนับสนุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยเพื่อบริหาร
จัดการข้อมูลที่สำคัญของบริษัทฯ 5. การติดตาม (Monitoring) บริษทั ฯ มีกระบวนการติดตามทีช่ ว่ ยสนับสนุนให้บรรลุเป้าหมายการดำเนินธุรกิจ และความมีประสิทธิผล
ของการควบคุมภายในทีเ่ พียงพอ ทัง้ ทีเ่ ป็นการติดตามระหว่างดำเนินการ (Ongoing Monitoring Activities)
เช่น การติดตามการดำเนินการตามแผนกลยุทธ์ในการประชุม BSC Monitoring การประชุมประจำ
สั ป ดาห์ ข องผู ้ บ ริ ห ารระดั บ สู ง การตรวจติ ด ตามภายใน การประชุ ม ทบทวนระบบคุ ณ ภาพ
ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม และการติดตามการดำเนินงานของบริษัทย่อยเพื่อนำ
เสนอผู้บริหารเป็นรายเดือน เป็นต้น และการประเมินรายครั้ง (Separate Evaluations) เช่น การตรวจ
สอบภายใน การรั บ การตรวจประเมินระบบคุณภาพ และระบบการจัดการด้านความปลอดภัย
อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม และผู้สอบบัญชี เป็นต้น
การบริหารความเสี่ยง
• คณะกรรมการบริษทั ฯ ได้กำหนดนโยบายและกระบวนการในการบริหารความเสีย่ งไว้ในคูม่ อื การกำกับ
ดูแลกิจการที่ดี และจรรยาบรรณธุรกิจ และกำกับดูแลให้มีการบริหารความเสี่ยงครอบคลุมทั่วทั้ง
องค์กรอย่างเป็นระบบ โดยมอบหมายให้คณะกรรมการตรวจสอบ ทำหน้าที่สอบทานให้บริษัทฯ มีการ
บริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิผล ติดตามและรับทราบรายงานการบริหารความเสี่ยง ก่อนเสนอคณะ
กรรมการบริษัทในการประชุมทุกไตรมาส หรือเมื่อมีประเด็นความเสี่ยงที่สำคัญ หรือมีรายการผิดปกติ • คณะกรรมการบริษัทฯ ได้จัดให้มีระบบการติดตามและรายงานด้านการบริหารความเสี่ยง โดยได้
กำหนดให้มีการรายงานสถานะความเสี่ยงของกลุ่มบริษัท ปตท. เคมิคอล ทั้งความเสี่ยงต่อผล
ประกอบการ ความเสี่ยงต่อการบรรลุวัตถุประสงค์ของบริษัทฯ ตาม Balanced Scorecard และความ
เสี่ยงต่อการเติบโตของบริษัทฯ ตามแผนการลงทุนระยะยาว หรือเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่อาจก่อให้เกิด
ประเด็นความเสี่ยงที่สำคัญ • โดยคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงองค์กร (Risk Management Committee) ของบริษัทฯ ซึ่งประกอบ
ด้วยกรรมการผูจ้ ดั การใหญ่ ทำหน้าทีป่ ระธาน และผูบ้ ริหารระดับสูง (Top Team) เป็นกรรมการ มีหน้าที ่ ในการกำหนดนโยบายและกรอบการบริหารความเสี่ยงระดับบริษัท (Corporate Risk Management
Policy and Framework) เพื่อให้สามารถบริหารจัดการความเสี่ยงได้สอดคล้องกับเป้าหมายในการ
ดำเนินธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด กำหนดความเสี่ยงระดับบริษัท (Corporate Risk) ในช่วงการ
จัดทำแผนการดำเนินธุรกิจ (Top-down Approach) เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาจัดทำแผนเชิงกลยุทธ์
ติดตามความเสี่ยงและการบริหารความเสี่ยงระดับบริษัท และพิจารณาให้ความเห็นชอบรายงานการ
บริหารความเสี่ยงของบริษัท เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการตรวจสอบ ก่อนเสนอคณะกรรมการบริษัทฯ
ในการประชุมอย่างสม่ำเสมอ (รายละเอียดปรากฎในหัวข้อ “การบริหารความเสี่ยง และปัจจัยความเสี่ยง”)
การประชุมคณะกรรมการบริษัท
• ในปี 2552 คณะกรรมการบริษัท มีการประชุมทั้งสิ้น 10 ครั้ง คณะกรรมการได้พิจารณาจำนวนครั้ง
การประชุมให้เหมาะสมกับการทำหน้าทีข่ องคณะกรรมการ และลักษณะธุรกิจ และเปิดเผยจำนวนครัง้ ที่
กรรมการแต่ละท่าน เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการ ตามข้อกำหนดของสำนักงาน ก.ล.ต. ในการ
ประชุมแต่ละครั้งใช้เวลาเฉลี่ยครั้งละประมาณ 2-3 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับระเบียบวาระการประชุม • คณะกรรมการบริษัท มีการกำหนดตารางการประชุมล่วงหน้าเป็นรายปี และแจ้งให้กรรมการทุกท่าน
ทราบกำหนดการดังกล่าวเป็นการล่วงหน้า เพื่อให้กรรมการสามารถจัดสรรเวลาเข้าร่วมประชุมได้
และอาจมีการประชุมวาระพิเศษเฉพาะคราวเพิ่มเติมตามความจำเป็น ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นไม่
สามารถเข้าร่วมประชุมได้ กรรมการได้มีการแจ้งขอลาประชุมต่อประธานกรรมการเป็นลายลักษณ์
อั ก ษร ประธานกรรมการและกรรมการผู ้ จ ั ด การใหญ่ ร ่ ว มกั น พิ จ ารณาเรื ่ อ งเข้ า วาระการประชุ ม
กรรมการได้รับเอกสารประกอบการประชุมที่มีสารสนเทศสำคัญครบถ้วนและเพียงพอในการพิจารณา
เป็นการล่วงหน้า กรรมการแต่ละท่านมีความเป็นอิสระ สามารถเสนอเรื่องเข้าสู่วาระการประชุมและ
141 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่กรรมการผู้จัดการใหญ่ซึ่งทำหน้าที่เลขานุการของคณะกรรมการบริษัท
ประธานกรรมการจัดสรรเวลาให้กรรมการอภิปรายประเด็นปัญหาสำคัญอย่างเพียงพอ กรรมการที่มี
หรืออาจมีความเกี่ยวข้อง หรือมีส่วนได้เสียในแต่ละระเบียบวาระการประชุม จะต้องงดออกเสียง หรือ
งดให้ความเห็น หรือไม่เข้าร่วมประชุมในวาระนั้นๆ ตามแต่กรณี • ภายหลังการประชุม เลขานุการบริษัทได้จัดทำรายงานการประชุม ซึ่งมีสาระสำคัญครบถ้วน เสนอ
รับรองในที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ ครั้งถัดไป และลงนามโดยประธานในที่ประชุม โดยมีการจัด
เก็บที่เป็นระบบทั้งในรูปแบบเอกสารและอิเล็กทรอนิกส์ และมีระบบควบคุมที่ไม่สามารถแก้ไขโดยไม่
ผ่านที่ประชุมคณะกรรมการ • ฝ่ายจัดการจัดส่งเอกสาร/ข้อมูลสำคัญให้กับคณะกรรมการบริษัทฯ รับทราบอย่างสม่ำเสมอ และ
สนับสนุนให้กรรมการทีไ่ ม่เป็นผูบ้ ริหารมีการประชุมกันเองโดยไม่มฝี า่ ยจัดการ เพือ่ อภิปรายปัญหาต่างๆ
เกี่ยวกับการจัดการที่อยู่ในความสนใจ ซึ่งคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการได้ให้แนวทางในการดำเนิน
การโดยใช้เวลาก่อนการประชุมคณะกรรมการบริษทั ฯ เพือ่ ให้ขอ้ เสนอแนะหรือพิจารณาเรือ่ งอืน่ ๆ ร่วมกัน • คณะกรรมการบริษัทมีนโยบายให้กรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหารประชุมระหว่างกันเองตามความจำเป็น
โดยไม่มีฝ่ายจัดการเข้าร่วมด้วย ซึ่งคณะกรรมการตรวจสอบ ได้จัดให้มีการประชุมคณะกรรมการตรวจ
สอบร่วมกับผู้สอบบัญชีของบริษัทฯ โดยไม่มีฝ่ายจัดการเข้าร่วมประชุมอย่างน้อยปีละครั้ง สำหรับการ
ประชุมคณะกรรมการเฉพาะเรื่องอีก 3 คณะ ได้แก่ คณะกรรมการสรรหา คณะกรรมการค่าตอบแทน
และคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการ จะเป็นการประชุมเฉพาะคณะกรรมการเฉพาะเรื่องนั้นๆ และ
ผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง โดยกรรมการผู้จัดการใหญ่ไม่เข้าร่วมประชุม เพื่อความเป็นอิสระในการ
พิจารณา
การประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการ
• คณะกรรมการกำหนดให้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานของตนเองเป็นประจำทุกปี เพื่อให้คณะ
กรรมการบริษัทได้พิจารณาทบทวนผลงาน ปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ในระหว่างปีที่ผ่านมา • แบบประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ของตนเอง ของคณะกรรมการบริษัทในปี 2552 ได้จัดทำเป็น 3 ชุด
คือ แบบประเมินตนเอง แบบประเมินผลคณะกรรมการทั้งคณะ และแบบประเมินผลการปฏิบัติงาน
แบบไขว้ (ประเมินกรรมการท่านอื่น) • การประเมินผลการปฏิบตั งิ านของคณะกรรมการบริษทั ฯ ประจำปี 2552 มีเกณฑ์การประเมิน ดังนี้ มากกว่า ร้อยละ 85 = ดีมาก / เป็นตัวอย่างที่ดี มากกว่า ร้อยละ 50 = เหมาะสม / ปานกลาง ต่ำกว่า ร้อยละ 50 = ควรปรับปรุง / น้อย • สรุปผลการประเมินในภาพรวม โดยคณะกรรมการบริษัทฯ มีความเห็นดังนี้ การปฏิบตั หิ น้าทีข่ องคณะกรรมการทัง้ คณะ ซึง่ ประกอบด้วย การกำหนดนโยบายของคณะกรรมการ
ในการกำกับดูแลกิจการที่ดี และแนวปฏิบัติในการดูแลผู้มีส่วนได้เสีย ความเห็นของคณะกรรมการที่มี
ต่อโครงสร้างและองค์ประกอบของคณะกรรมการ การปฏิบัติหน้าที่ในปีที่ผ่านมา การจัดประชุมและ
เข้าร่วมประชุมของกรรมการทัง้ คณะ โดยสรุปคณะกรรมการมีความเห็นว่า การปฏิบตั หิ น้าทีม่ คี วาม
เหมาะสม / ดีมาก ถือเป็นตัวอย่างทีด่ ี มีคะแนนเฉลีย่ อยูใ่ นเกณฑ์ดมี าก เท่ากับ ร้อยละ 85.85
สูงกว่าปีที่ผ่านมา ซึ่งมีคะแนนเฉลี่ย ร้อยละ 80.8 การประเมินรายบุคคล (ประเมินตนเอง) ประกอบด้วย การปฏิบตั หิ น้าทีใ่ นการเป็นกรรมการของบริษทั
ซึ่งเป็นไปอย่างถูกต้องตามกฎระเบียบ ข้อบังคับ และมีบทบาทในการให้ความคิดเห็นต่อวิสัยทัศน์
กลยุทธ์ และการดำเนินงานต่างๆ ตลอดจนการทำงานเป็นทีม และบทบาทในการเข้าร่วมประชุม โดย
สรุป กรรมการได้ประเมินตนเองและมีความเห็นว่า ได้ปฏิบตั หิ น้าทีเ่ ป็นประจำในระดับดีมาก โดยมี
คะแนนเฉลี่ยอยู่ในเกณฑ์ดีมาก เท่ากับร้อยละ 87.61 สูงกว่าปีที่ผ่านมา ซึ่งมีคะแนนเฉลี่ย
ร้อยละ 86.12 การประเมินกรรมการท่านอืน่ (แบบไขว้) ซึง่ เป็นการประเมินครัง้ แรกของบริษทั ฯ โดยเป็นการประเมิน
ความรู้ ความชำนาญด้านธุรกิจและการมีส่วนร่วมในการแสดงข้อคิดเห็น ทั้งในด้านการบริหารความ
เสี่ยงและการบริหารจัดการ ความเป็นอิสระและเที่ยงธรรม รวมทั้งการอุทิศเวลาในการปฏิบัติหน้าที่
โดยมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในเกณฑ์ดีมาก คิดเป็นร้อยละ 89.75
142
รายงานประจำปี 2552 I บริษทั ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
• จากการประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการประจำปี 2552 บริษัทฯ ได้นำผลการประเมินรวม
ทั้งข้อเสนอแนะ และความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ต่าง ๆ เพื่อนำไปปรับปรุงและสนับสนุนการปฏิบัติ
หน้าที่ของคณะกรรมการบริษัทให้มีประสิทธิผลยิ่งขึ้นต่อไป
การประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการตรวจสอบ
คณะกรรมการตรวจสอบได้ประเมินผลการปฏิบัติงานสำหรับปี 2552 เพื่อพิจารณาทบทวนการปฏิบัติ งานตามขอบเขตอำนาจหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย และรายงานผลการประเมินให้คณะกรรมการบริษัทฯ ได้รับทราบ แยกเป็น • การประเมินผลการปฏิบตั งิ านของคณะกรรมการตรวจสอบ (ทัง้ คณะ) จำนวน 8 เรือ่ ง ได้แก่ กฎบัตร
ของคณะกรรมการตรวจสอบ องค์ประกอบของคณะกรรมการตรวจสอบ การประชุม การฝึกอบรมและ
ทรัพยากร ความรับผิดชอบของคณะกรรมการตรวจสอบ ความสัมพันธ์กับผู้จัดการฝ่าย หน่วยงาน
ตรวจสอบภายใน ผู้สอบบัญชี และผู้บริหาร การรายงานต่อคณะกรรมการบริษัทฯ และผู้ถือหุ้น และ
การรักษาคุณภาพการปฏิบัติงาน โดยแบ่งระดับประเมินการปฏิบัติเป็น 3 ระดับ ได้แก่ ยังไม่ปฏิบัติ
ปฏิบัติบางส่วน และปฏิบัติครบถ้วน สรุปว่า คณะกรรมการตรวจสอบ มีการปฏิบัติครบถ้วน • การประเมินผลการปฏิบตั งิ านตนเองของคณะกรรมการตรวจสอบ (รายบุคคล) โดยประเมินการปฏิบตั ิ งานของตนเองจำนวน 5 เรื่อง ประกอบด้วย ความรู้ด้านธุรกิจ ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ความเป็น
อิสระและความเที่ยงธรรม ความเข้าใจหน้าที่และความรับผิดชอบของกรรมการตรวจสอบ และการ
อุทิศเวลาในการปฏิบัติงานและการประชุม โดยแบ่งระดับการปฏิบัติเป็น 3 ระดับ น้อย ปานกลาง
และมาก สรุปว่าได้มีการปฏิบัติในระดับมากเป็นส่วนใหญ่ และ ไม่มีการปฏิบัติในระดับน้อย
ค่าตอบแทนกรรมการ
• คณะกรรมการกำหนดค่าตอบแทน ได้กำหนดนโยบายและหลักเกณฑ์การจ่ายค่าตอบแทนกรรมการที่
ชัดเจน เป็นธรรมและสมเหตุสมผล และนำเสนอคณะกรรมการบริษัทฯ เพื่อเสนอขออนุมัติจากผู้ถือหุ้น
โดยมีกระบวนการพิจารณาจำนวนเงินค่าตอบแทนประจำปีอย่างโปร่งใส และที่ประชุมผู้ถือหุ้นเป็น
ผู้อนุมัติการจ่ายค่าตอบแทน • การกำหนดโครงสร้าง/องค์ประกอบของค่าตอบแทน เหมาะสมและสะท้อนถึงภาระหน้าที่ความรับ
ผิดชอบและประโยชน์ที่ได้รับจากกรรมการแต่ละท่าน และสอดคล้องกับผลการดำเนินงานของบริษัทฯ
และเทียบเคียงได้ในอุตสาหกรรมระดับเดียวกัน กรรมการที่ได้รับมอบหมายหน้าที่และความรับผิด
ชอบในการเป็นกรรมการเฉพาะเรื่องจะได้รับค่าตอบแทนเพิ่มจากการปฏิบัติหน้าที่นั้นอย่างเหมาะสม • คณะกรรมการเปิดเผยรูปแบบหรือลักษณะของค่าตอบแทน จำนวนเงินค่าตอบแทนที่กรรมการแต่ละ
ท่านได้รับจากบริษัทฯ รวมทั้งค่าตอบแทนที่ได้รับจากการเป็นกรรมการในบริษัทย่อย ตามตำแหน่ง
หรือภาระหน้าที่ เพื่อแสดงให้เห็นถึงความเชื่อมโยงกับนโยบายที่กำหนดไว้ในรายงานประจำปี
ค่าตอบแทนกรรมการผู้จัดการใหญ่
• คณะกรรมการบริษัทฯ ได้จัดให้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานของกรรมการผู้จัดการใหญ่เป็นประจำ
ทุกปี โดยพิจารณาจากผลการดำเนินงานของบริษทั ฯ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงศักยภาพและความสามารถใน
การบริหารจัดการของกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผลการดำเนินงานตามแผนงาน การบริหารจัดการ
ตลอดทั้งปี และการบริหารศักยภาพขององค์กร • คณะกรรมการกำหนดค่าตอบแทน กำหนดเกณฑ์การประเมินผลงานของกรรมการผู้จัดการใหญ่ เพื่อ
เสนอต่อคณะกรรมการบริษัทฯ • คณะกรรมการกำหนดค่าตอบแทนเป็นผู้ประเมินผลงานกรรมการผู้จัดการใหญ่ และการกำหนด
ค่าตอบแทนของกรรมการผู้จัดการใหญ่จะพิจารณาจากผลการประเมินการปฏิบัติงานในเบื้องต้น
ก่อนเสนอคณะกรรมการบริษัทฯ พิจารณา โดยประธานกรรมการจะเป็นผู้สื่อสารผลการพิจารณาให้
กรรมการผู้จัดการใหญ่ทราบ
การพัฒนากรรมการและผู้บริหาร
คณะกรรมการมีนโยบายและวิธีการให้ความรู้แก่กรรมการบริษัทฯ ทั้งกรรมการเข้าใหม่ และกรรมการ ปัจจุบัน รวมถึงผู้บริหารที่ได้รับแต่งตั้งให้ทำหน้าที่กรรมการในกลุ่มบริษัทฯ รวมทั้งยังได้เผยแพร่เอกสาร
143 และคู่มือการปฏิบัติงานที่จำเป็นต่อการปฏิบัติหน้าที่กรรมการ รวมทั้งข้อมูลเกี่ยวกับบริษัท หลักการ กำกับดูแลกิจการ จรรยาบรรณธุรกิจ กฎระเบียบแนวปฏิบตั ติ า่ งๆ ทีไ่ ด้รบั จาก ก.ล.ต. และตลาดหลักทรัพย์ฯ
ให้กรรมการและผู้บริหารรับทราบอย่างสม่ำเสมอ ดังนี้ กรรมการเข้าใหม่ : บริ ษ ั ท ฯ ได้ จ ั ด ให้ ม ี โ ปรแกรม Orientation สำหรั บ กรรมการเข้ า ใหม่ เพื ่ อ ให้ ข ้ อ มู ล ที ่ เ ป็ น ประโยชน์ ต ่ อ การปฏิ บ ั ต ิ ห น้ า ที ่ และลั ก ษณะการ
ดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ โดยได้จัดบรรยายสรุป นำเยี่ยมชมโรงงาน
ของบริษัทฯ และบริษัทในกลุ่ม พบปะกับทีมผู้บริหาร นอกจากนี้ ยังได้
สนับสนุนให้เข้ารับการอบรมหลักสูตรกรรมการบริษัทของ IOD กรรมการปัจจุบัน : ส่งเสริมความรู้ให้แก่กรรมการปัจจุบันอย่างต่อเนื่อง โดยสนับสนุนให้
กรรมการเข้าอบรมหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับบทบาทหน้าที่ โดยกรรมการ
บริษทั ได้ผา่ นการอบรมกับ IOD ในหลักสูตรต่างๆ ทีไ่ ด้จดั ขึน้ รวมทัง้ อยูใ่ น
ระหว่างการอบรมในปี 2553 อีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งจะได้พิจารณาการ
ให้ความรู้ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับบทบาทหน้าที่กรรมการ และที่เกี่ยวข้อง
กับธุรกิจของบริษัทฯ ต่อไป ผู้บริหาร : ได้รับความรู้เกี่ยวกับกฎหมาย กฎเกณฑ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องและเป็น
ประโยชน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้บริหารอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้
ได้สนับสนุนให้ผู้บริหารที่เป็นกรรมการในกลุ่มบริษัทได้เข้ารับการอบรม
บทบาทหน้าที่กรรมการกับ IOD โดยผู้บริหารที่ดำรงตำแหน่งกรรมการ
ของบริษทั ในกลุม่ มากกว่าร้อยละ 90 ได้ผา่ นการอบรมกับ IOD แล้ว ผู้ที่เกี่ยวข้องในระบบ : เลขานุการบริษทั เลขานุการคณะกรรมการตรวจสอบ และนักลงทุนสัมพันธ์ การกำกับดูแลกิจการ รวมถึงผูเ้ กีย่ วข้องกับการปฏิบตั หิ น้าทีด่ งั กล่าว ได้เข้ารับการอบรมและร่วม
รับฟัง/เสวนาในเรื ่ อ งที ่ เ กี ่ ย วข้ อ ง/สอดคล้ อ งกั บ สถานการณ์ และเป็น
ประโยชน์ต่อการปฏิบัติงาน ที่จัดโดย ก.ล.ต. ตลาดหลักทรัพย์ฯ สมาคม
บริษทั จดทะเบียนไทย และ IOD อย่างสม่ำเสมอ
แผนการสืบทอดงาน
• คณะกรรมการบริษัทฯ ได้กำหนดแผนในการสืบทอดงาน และพิจารณาแผนการพัฒนาผู้บริหารเพื่อ
ประโยชน์ในการสืบทอดงาน โดยบริษัทฯ ได้จัดให้มีกระบวนการพัฒนาบุคลากร เพื่อสืบทอด
ตำแหน่งงาน ประกอบด้วยกระบวนการสำคัญ 6 ขั้นตอน มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความต่อเนื่อง
ทางการบริหาร เพื่อบุคลากรที่มีศักยภาพพร้อมที่จะดำรงตำแหน่งงานสำคัญ และเป็นการพัฒนา
บุคลากรอย่างมีเป้าหมาย เพือ่ ให้บคุ ลากรพัฒนาความสามารถพร้อมทีจ่ ะรับมือกับสิง่ ทีท่ า้ ทายในอนาคต
กระบวนการดังกล่าวประกอบด้วย 1. การกำหนด Key Position 2. การพิจารณาข้อมูลที่เกี่ยวกับ Key Position 3. การพิจารณาบุคคลที่อยู่ในเกณฑ์ 4. การกำหนดบุคคลที่ควรได้รับการพิจารณาคัดเลือก 5. การจัดทำแผนพัฒนารายบุคคล 6. การพัฒนาและติดตามผลตามระยะ การปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีของบริษัทฯ ดังกล่าวข้างต้น นอกจากความมุ่งมั่น ของคณะกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกคนในการปฏิบัติและพัฒนาการกำกับดูแลกิจการ ที่ดีของบริษัทฯ อย่างต่อเนื่องแล้ว บริษัทฯ ยังได้รับการสนับสนุนและข้อเสนอแนะที่เป็น ประโยชน์ จ ากหน่ ว ยงานกำกั บ ดู แ ลและประเมิ น ผลการปฏิ บั ติ ข องบริ ษั ท จดทะเบี ย น อาทิ สำนักงาน ก.ล.ต. ตลาดหลักทรัพย์ฯ สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย สมาคมส่งเสริมสถาบัน กรรมการบริษัทไทย และสมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย ฯลฯ ซึ่งต่างมีจุดมุ่งหมายและพันธกิจ ร่ ว มกั น ในการยกระดั บ การกำกั บ ดู แ ลกิ จ การของบริ ษั ท จดทะเบี ย นและตลาดทุ น ไทยให้ ทัดเทียมมาตรฐานสากล อันจะส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขันกับประเทศต่างๆ และ พัฒนาให้เติบโตได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนตลอดไป
144
รายงานประจำปี 2552 I บริษทั ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
รายงานคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการ เรียน ท่านผู้ถือหุ้น
ในปี 2552 คณะกรรมการกำกับดูแลกิจการ ประกอบด้วย นายปรัชญา ภิญญาวัธน์ ประธานกรรมการ กำกับดูแลกิจการ นายวิฑูรย์ สิมะโชคดี และ นายสมชาย คูวิจิตรสุวรรณ กรรมการกำกับดูแลกิจการ ได้ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ระบุในกฎบัตรของคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการ สรุปได้ดังนี้
การประชุมและการปฏิบัติหน้าที่ในปี 2552
• กำหนดให้มีการประชุมคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการทุกไตรมาส โดยในปี 2552 คณะกรรมการ กำกับดูแลกิจการ มีการประชุมทั้งสิ้น 6 ครั้ง กรรมการกำกับดูแลกิจการทุกท่านได้เข้าร่วมประชุมเพื่อ รับทราบและพิจารณาระเบียบวาระการประชุมต่าง ๆ ที่จะนำเสนอเป็นการล่วงหน้าก่อนการประชุม • คณะกรรมการกำกับดูแลกิจการทุกท่าน ได้เข้าร่วมการประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2552 โดยทั้ง ก่อนและหลังการประชุม คณะกรรมการกำกับดูแลกิจการได้พิจารณาทบทวน และได้ให้แนวทางการ ปรับปรุง/พัฒนาคุณภาพ เพื่อให้การจัดประชุมผู้ถือหุ้นมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
การกำกับดูแลการปฏิบัติตามกฎหมาย / หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี
(1) พิจารณาแนวทางการดำเนินงานของบริษัทฯ ให้มีการปฏิบัติที่สอดคล้องและเป็นไปตาม พ.ร.บ. หลั ก ทรั พ ย์ แ ละตลาดหลั ก ทรั พ ย์ ฯ ฉบั บ ใหม่ รวมทั ้ ง ประกาศและข้ อ กำหนดต่ า ง ๆ ที ่ ห น่ ว ย งานกำกับดูแลบริษัทจดทะเบียนมีการแก้ไขปรับปรุง ได้แก่ • พิจารณาการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และแบบฟอร์มรายงานการมีส่วนได้เสียของกรรมการ ผบู้ ริหาร และบุคคลทีเ่ กีย่ วข้อง ของบริษทั ฯ และกำกับดูแลให้กรรมการ ผูบ้ ริหาร รายงานการมีสว่ น ได้เสียของตนและบุคคลที่เกี่ยวข้อง ครั้งแรก ตามเวลาที่กฎหมายกำหนดอย่างครบถ้วน • พิจารณาการกำหนดนิยาม “กรรมการอิสระ” ของบริษัทฯ ให้เข้มกว่าข้อกำหนดของ ก.ล.ต. ตาม หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี ในเรื่องสัดส่วนการถือหุ้นของกรรมการอิสระในบริษัทฯ บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม ไม่เกินร้อยละ 0.5 ซึ่ง ก.ล.ต. กำหนดไว้ร้อยละ 1 • พิจารณาปรับปรุงหลักเกณฑ์ วิธกี าร และแบบรายงานความขัดแย้งทางผลประโยชน์ของกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน โดยให้รายงานเป็นประจำทุกสิ้นปี ทั้งกรณีที่มีและไม่มีเหตุการณ์ เพิ่มเติม จากเดิมทีก่ ำหนดให้รายงานเฉพาะเมือ่ เกิดเหตุการณ์ความขัดแย้งทางผลประโยชน์ และให้ครอบคลุม ถึงผู้บริหาร และพนักงานในกลุ่มบริษัท ปตท. เคมิคอล ด้วย (2) พิจารณากำหนดให้มีการจัดทำกฎบัตรของคณะกรรมการเฉพาะเรื่อง ให้ครบถ้วนทุกคณะ รวมทั้งให้ เผยแพร่กฎบัตรของคณะกรรมการเฉพาะเรื่องทุกคณะไว้ในเว็บไซต์บริษัทฯ และคู่มือการกำกับดูแล กิจการที่ดี ฉบับปรับปรุง (3) กำหนดให้มีการรายงานการดำเนินการด้านความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่าง ๆ ของบริษัทฯ โดยผู ้ บ ริ ห ารหน่ ว ยงานที ่ ดู แ ลรั บ ผิ ด ชอบผู ้ ม ี ส ่ ว นได้ เ สี ย แต่ ล ะกลุ ่ ม เพื ่ อ รั บ ทราบและพิ จ ารณา ความเพียงพอเหมาะสม พร้อมทัง้ ให้ขอ้ เสนอแนะ/ความคิดเห็นทีเ่ ป็นประโยชน์เพือ่ ให้มกี ารปรับปรุงพัฒนา และดำเนินการรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสียอย่างเป็นรูปธรรม โดยเริ่มตั้งแต่การประชุมครั้งที่ 3 /2552 เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2552 ซึ่งผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มที่ได้รายงานในปี 2552 แล้ว ได้แก่ ชุมชน สังคม สิ่งแวดล้อม คู่ค้า ลูกค้า และเจ้าหนี้ ซึ่งจะพิจารณากลุ่มต่างๆ ให้ครบถ้วน และรายงานสรุปต่อ คณะกรรมการบริษัทฯ ต่อไป
145 (4) พิจารณาทบทวนและเห็นชอบให้มีการปรับปรุงคู่มือการกำกับดูแลกิจการของบริษัทฯ ซึ่งเริ่มใช้ ครั้งแรกเมื่อปี 2549 เพื่อให้มีความถูกต้องครบถ้วนเป็นปัจจุบันและสอดคล้องกับการแก้ไขปรับปรุง ข้อกำหนด/กฎเกณฑ์ที่ออกโดยหน่วยงานกำกับดูแลบริษัทจดทะเบียน และสภาวะแวดล้อมการ ดำเนินธุรกิจ โดยได้พจิ ารณาแยกจรรยาบรรณธุรกิจ ออกจากหลักการ/นโยบายการกำกับดูแลกิจการ ที่ดีเพื่อความชัดเจนตามแนวปฏิบัติที่ดี และให้จรรยาบรรณธุรกิจมีผลใช้ครอบคลุมทั่วทั้งกลุ่มบริษัท ปตท. เคมิคอล ทั้งนี้ คณะกรรมการกำกับดูแลกิจการได้พิจารณาร่างคู่มือการกำกับดูแลกิจการที่ดี และจรรยาบรรณธุรกิจของบริษัทฯ ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2552 ก่อนเสนอคณะกรรมการ บริษัทฯ อนุมัติและประกาศใช้
แผนงาน / การจัดทำรายงาน / การร่วมกิจกรรม CG
• ให้ความเห็นชอบแผนงานการกำกับดูแลกิจการที่ดี ประจำปี 2552 ของบริษัทฯ โดยมุ่งพัฒนาสู่ มาตรฐานตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี ระดับสากล และให้มีการปฏิบัติอย่างแท้จริง • พิจารณาทบทวนความครบถ้วนของการปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีของบริษัทฯ ประจำปี 2552 พร้อมทั้งให้ข้อเสนอแนะ/แนวทางปรับปรุง/รักษาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง และจัดทำเป็นรายงาน การปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี เพื่อเปิดเผยต่อผู้ถือหุ้นในรายงานประจำปี 2552 • พิจารณาทบทวนการปฏิบัติงานของคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการในรอบปีที่ผ่านมา และจัดทำ รายงานคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการ ประจำปี 2552 เพื่อรายงานสรุปผลการปฏิบัติงานเสนอต่อ คณะกรรมการบริษัทฯ และเปิดเผยต่อผู้ถือหุ้นในรายงานประจำปี 2552 • ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมวัฒนธรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดี โดยเข้าร่วมกิจกรรม PTT Group CG Day 2009 และร่วมเป็นกรรมการตัดสินการนำเสนอผลงานของพนักงาน ที่แสดงให้เห็นถึงการ ก้าวสู่ความยั่งยืนด้วยความดีของบริษัทจดทะเบียนในกลุ่ม ปตท.
การพัฒนากรรมการ
พิจารณาทบทวนการประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการบริษัทฯ โดยให้มีการประเมินผลการ ปฏิบัติงานของคณะกรรมการบริษัทฯ แบบไขว้ เพิ่มเติม หลังจากที่ได้จัดให้มีการประเมินผลการปฏิบัติ งานของคณะกรรมการบริษัทฯ ทั้งคณะ และรายบุคคล พร้อมทั้งพิจารณาความเหมาะสม/ครบถ้วนของ แบบประเมิน โดยได้เสนอให้เพิ่มเติมการสรุปข้อมูลที่เกี่ยวข้องในหัวข้อต่าง ๆ เพื่อให้คณะกรรมการมี ข้อมูลประกอบการพิจารณา ซึ่งจะช่วยให้การประเมินผลมีประสิทธิภาพมากขึ้น การปฏิบตั หิ น้าทีข่ องคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการ ได้รบั ความสนับสนุนและร่วมมือเป็นอย่างดี จาก ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย อันได้แก่ ท่านผู้ถือหุ้น คณะกรรมการบริษัทฯ ผู้บริหาร และพนักงานทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์กรและหน่วยงานต่าง ๆ ที่กำกับดูแล ส่งเสริม ประเมินผล และสนับสนุน การยกระดับและพัฒนาการกำกับดูแลกิจการของบริษัทฯ สู่มาตรฐานสากล เพื่อสร้างความ เชื่ อ ถื อ และการยอมรั บ จากผู้ มี ส่ ว นได้ เ สี ย ทุ ก ฝ่ า ยรวมถึ ง สาธารณชน ให้ เ ป็ น บริ ษั ท ที่ มี ก าร ดำเนินธุรกิจบนพื้นฐานการกำกับดูแลกิจการที่ดี จึงขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ด้วย ในนามคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการ (นายปรัชญา ภิญญาวัธน์) ประธานกรรมการกำกับดูแลกิจการ
146
รายงานประจำปี 2552 I บริษทั ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
รายงานคณะกรรมการสรรหา
เรียน ท่านผู้ถือหุ้น
คณะกรรมการบริษัท ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน) ได้ให้ความสำคัญกับการปฏิบัติตามหลักการ กำกับดูแลกิจการที่ดี โดยได้จัดตั้งคณะกรรมการสรรหา เพื่อทำหน้าที่ตามที่คณะกรรมการบริษัทฯ มอบ หมายในการกำหนดวิธีการหลักเกณฑ์การสรรหาและพิจารณาคัดเลือกบุคคลที่สมควรได้รับการเสนอ รายชื่อเป็นกรรมการบริษัทฯ และกรรมการผู้จัดการใหญ่ เพื่อนำเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ และ/หรือที่ประชุมผู้ถือหุ้นพิจารณาอนุมัติ คณะกรรมการสรรหาของบริษัทฯ ประกอบด้วย นายไพบูลย์ ปัญญวุฒิ เป็นประธาน นายปรัชญา ภิญญาวัธน์ และ พลเอก วินัย ภัททิยกุล เป็นกรรมการสรรหา ซึ่ง นายไพบูลย์ ปัญญวุฒิ และ พลเอก วินัย ภัททิยกุล เป็นประธานและกรรมการสรรหา แทน นายพละ สุขเวช และ นายเชิดพงษ์ สิริวิชช์ ซึ่งครบวาระ โดยวาระการดำรงตำแหน่งทัง้ คณะ เริม่ ตัง้ แต่วนั ที่ 12 ธันวาคม 2551 ถึงวันที่ 11 ธันวาคม 2554
การประชุมในปี 2552 และผลการปฏิบัติงาน
ในปี 2552 คณะกรรมการสรรหา ได้มีการประชุมร่วมกัน 2 ครั้ง โดยกรรมการทุกท่านได้เข้าร่วมประชุม เพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามภารกิจที่ได้รับมอบหมาย สรุปได้ดังนี้
1. พิจารณารายงานคณะกรรมการสรรหา ปี 2551
คณะกรรมการสรรหาได้พจิ ารณารายงานคณะกรรมการสรรหา ปี 2551 และได้เสนอทีป่ ระชุมคณะกรรมการ บริษัทฯ ให้ทราบ และนำเสนอประธานกรรมการสรรหาลงนาม และเปิดเผยในแบบ 56-1 และ รายงาน ประจำปี 2551
2. พิจารณากฎบัตรคณะกรรมการสรรหา
คณะกรรมการสรรหาได้พจิ ารณาร่างกฎบัตรของคณะกรรมการสรรหา และได้เสนอทีป่ ระชุมคณะกรรมการ บริษัทฯ พิจารณาให้ความเห็นชอบ เพื่อนำเสนอประธานกรรมการลงนาม และเผยแพร่ไว้ในคู่มือการ กำกับดูแลกิจการของบริษัทฯ ฉบับปรับปรุง
3. พิจารณาเสนอชื่อบุคคลเพื่อเลือกตั้งเป็นกรรมการแทนกรรมการที่ออกตามวาระ ในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2552
ในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2552 กรรมการที่ต้องออกตามวาระ มีจำนวน 5 ท่าน ได้แก่ นายมนู เลียวไพโรจน์ นายพละ สุขเวช นายเชิดพงษ์ สิริวิชช์ พลตำรวจเอก นพดล สมบูรณ์ทรัพย์ และ นายวีรศักดิ์ โฆสิตไพศาล ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้เปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นเสนอชื่อผู้สมควรเป็นกรรมการบริษัทฯ ซึ่งเมื่อครบกำหนด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 ไม่มีการเสนอชื่อเข้ามายังบริษัทฯ คณะกรรมการสรรหา จึงได้พิจารณาผู้ที่มีคุณสมบัติ ประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญ และความเหมาะสมที่จะเป็นประโยชน์ สูงสุดแก่การดำเนินกิจการของบริษัทฯ และเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ ให้กรรมการ 2 ท่าน คือ พลตำรวจเอก นพดล สมบูรณ์ทรัพย์ และนายวีรศักดิ์ โฆสิตไพศาล กลับเข้าดำรงตำแหน่งกรรมการ บริษัทฯ และเสนอบุคคลจากภายนอก 3 ท่าน คือ นายพานิช พงศ์พิโรดม นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม และ พลเอก วินัย ภัททิยกุล เป็นกรรมการบริษัทฯ แทนกรรมการที่ต้องออกตามวาระในการประชุมสามัญ
147
ผู้ถือหุ้นประจำปี 2552 ซึ่งคณะกรรมการบริษัทฯ ได้นำเสนอต่อที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2552 และที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นได้มีมติเห็นชอบและอนุมัติตามข้อเสนอดังกล่าว
4. พิจารณาสรรหากรรมการแทนกรรมการที่ลาออก
นายพิชัย ชุณหวชิร ได้ขอลาออกจากตำแหน่งกรรมการก่อนครบวาระ คณะกรรมการสรรหาจึงได้ พิจารณาผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ และความเหมาะสมที่จะเป็นประโยชน์แก่การดำเนินงานของ บริษัทฯ ตลอดจนได้พิจารณาองค์ประกอบของคณะกรรมการบริษัทฯ ในปัจจุบัน เพื่อให้กรรมการ บริษัทฯ มีความรู้ ความสามารถ ที่หลากหลายในแต่ละด้าน และได้เสนอให้ที่ประชุมคณะกรรมการ บริษัทฯ แต่งตั้ง นายเทวินทร์ วงศ์วานิช เป็นกรรมการบริษัทฯ แทน นายพิชัย ชุณหวชิร คณะกรรมการสรรหา ได้ปฏิบัติหน้าที่เพื่อให้ผู้ถือหุ้น ตลอดจนผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายเกิดความ มั่นใจ ต่อกระบวนการสรรหาและการคัดเลือกกรรมการบริษัทฯ และกรรมการผู้จัดการใหญ่ ซึ่ง ได้มีการดำเนินการอย่างโปร่งใส และถูกต้องตามหลักเกณฑ์/ขั้นตอนที่กำหนด โดยคำนึงถึง คุณสมบัตเิ ฉพาะของบุคคลทีจ่ ะสามารถส่งเสริมการปฏิบตั หิ น้าทีข่ องกรรมการบริษทั ฯ ทัง้ คณะ อันจะ
ส่งผลถึงการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับบริษัทฯ ในระยะยาวต่อไป ในนามคณะกรรมการสรรหา (นายไพบูลย์ ปัญญวุฒิ) ประธานกรรมการสรรหา
148
รายงานประจำปี 2552 I บริษทั ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
รายงานคณะกรรมการกำหนดค่าตอบแทน เรียน ท่านผู้ถือหุ้น
คณะกรรมการบริษัท ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน) ได้จัดให้มีคณะกรรมการกำหนดค่าตอบแทน เป็น หนึ่งในคณะกรรมการเฉพาะเรื่องของบริษัทฯ ตามแนวทางการปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี ของบริษัทจดทะเบียน เพื่อทำหน้าที่พิจารณาแนวทาง วิธีการ และหลักเกณฑ์การกำหนดค่าตอบแทน ให้แก่กรรมการบริษัทฯ กรรมการเฉพาะเรื่อง และกรรมการผู้จัดการใหญ่ ที่เป็นธรรมและสมเหตุสมผล และนำเสนอคณะกรรมการบริษัทฯ พิจารณาเสนอที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาอนุมัติต่อไป คณะกรรมการกำหนดค่าตอบแทนของบริษัทฯ ประกอบด้วย พลตำรวจเอก นพดล สมบูรณ์ทรัพย์ เป็น ประธาน นายสมชาย คูวิจิตรสุวรรณ เป็นกรรมการกำหนดค่าตอบแทน แทน นายพละ สุขเวช ซึ่งครบ วาระ และนายเทวินทร์ วงศ์วานิช เป็นกรรมการกำหนดค่าตอบแทน แทน นายพิชัย ชุณหวชิร ซึ่งลาออก จากการดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัทฯ โดยวาระการดำรงตำแหน่งทั้งคณะ เริ่มตั้งแต่วันที่ 12 ธันวาคม 2551 ถึงวันที่ 11 ธันวาคม 2554
การประชุมในปี 2552 และผลการปฏิบัติงาน
ในปี 2552 คณะกรรมการกำหนดค่าตอบแทน มีการประชุมร่วมกัน 3 ครั้ง โดยกรรมการทุกท่าน ได้เข้า ประชุม เพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามภารกิจที่ได้รับมอบหมาย สรุปได้ดังนี้
1. การพิจารณารายงานคณะกรรมการกำหนดค่าตอบแทน ปี 2551
คณะกรรมการกำหนดค่าตอบแทนได้พิจารณารายงานคณะกรรมการกำหนดค่าตอบแทน ปี 2551 และ ได้เสนอที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ ให้ทราบ และนำเสนอประธานกรรมการกำหนดค่าตอบแทน ลงนาม และได้เปิดเผยในแบบ 56-1 รายงานประจำปี 2551
2. การพิจารณากฎบัตรคณะกรรมการกำหนดค่าตอบแทน
คณะกรรมการกำหนดค่าตอบแทนได้พิจารณาร่างกฎบัตรของคณะกรรมการกำหนดค่าตอบแทน และได้ เสนอที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ พิจารณาให้ความเห็นชอบ เพื่อนำเสนอประธานกรรมการลงนาม และได้เผยแพร่ไว้ในคู่มือการกำกับดูแลกิจการของบริษัทฯ ฉบับปรับปรุง
3. การพิจารณาค่าตอบแทนกรรมการบริษัทฯ และกรรมการเฉพาะเรื่อง
คณะกรรมการกำหนดค่าตอบแทน พิจารณาค่าตอบแทนกรรมการโดยใช้หลักการในการพิจารณา ค่าตอบแทนที่ได้รับในปัจจุบันเทียบเคียงกับบริษัทในกลุ่ม ปตท. และกลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมี เพื่อให้ ค่าตอบแทนสะท้อนถึงหน้าที่ความรับผิดชอบของกรรมการ ตลอดจนพิจารณาจากผลการดำเนินงานของ บริษัทฯ รวมทั้งผลตอบแทนที่บริษัทฯ จัดให้ผู้ถือหุ้นในการจ่ายเงินปันผล และได้เห็นสมควรกำหนด ค่าตอบแทนกรรมการและกรรมการเฉพาะเรื่องของบริษัทฯ ในปี 2552 ในอัตราเดิม ซึ่งที่ประชุมผู้ถือหุ้น ได้เห็นชอบและอนุมัติตามข้อเสนอดังกล่าว
149
4. การพิจารณากำหนดเงินโบนัสกรรมการ ประจำปี 2551
คณะกรรมการกำหนดค่ า ตอบแทนได้ พ ิ จ ารณาเงิ น โบนั ส กรรมการ ให้ ส ะท้ อ นและเชื ่ อ มโยงกั บ ผลประกอบการหรือกำไรสุทธิของบริษัทฯ และอยู่ในเกณฑ์ที่ใกล้เคียงกับอุตสาหกรรมเดียวกัน โดยได้ เสนอให้จ่ายโบนัสกรรมการในอัตราร้อยละ 0.3 ของกำไรสุทธิของบริษัทฯ ประจำปี 2551 ซึ่งเป็นอัตรา เดียวกับโบนัสกรรมการในปีที่ผ่านมา คิดเป็นวงเงิน 35.21 ล้านบาท ซึ่งที่ประชุมผู้ถือหุ้นได้เห็นชอบและ อนุมัติตามข้อเสนอดังกล่าว
5. การพิจารณาค่าตอบแทนกรรมการผู้จัดการใหญ่
คณะกรรมการกำหนดค่าตอบแทนได้พิจารณากำหนดค่าตอบแทนกรรมการผู้จัดการใหญ่ โดยพิจารณา ผลการประเมินการปฏิบัติงานตามเกณฑ์ที่กำหนดร่วมกัน และเสนอต่อคณะกรรมการบริษัทฯ ให้ความ เห็นชอบ คณะกรรมการกำหนดค่ า ตอบแทน ได้ ต ระหนั ก ถึ ง ความสำคั ญ ของการจั ด ให้ มี ก ระบวน
การพิจารณากำหนดค่าตอบแทนที่โปร่งใส โดยในการปฏิบัติหน้าที่ได้คำนึงถึงความสัมพันธ์ ระหว่างผลการดำเนินงานของบริษัทฯ ภาระหน้าที่ความรับผิดชอบของกรรมการ และกรรมการ ผู้จัดการใหญ่ เพื่อให้การกำหนดค่าตอบแทนเป็นไปตามหลักการกำกับดูแลกิจการทีด่ ี และเพือ่ ประโยชน์สงู สุดในระยะยาวของบริษทั ฯ ต่อไป ในนามคณะกรรมการกำหนดค่าตอบแทน (พลตำรวจเอก นพดล สมบูรณ์ทรัพย์) ประธานกรรมการกำหนดค่าตอบแทน
150
รายงานประจำปี 2552 I บริษทั ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
รายงานความรับผิดชอบของ คณะกรรมการต่อรายงานทางการเงิน งบการเงินของบริษัท ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย ที่ได้นำมาจัดทำงบการเงินรวม
ได้จัดทำขึ้นตามข้อกำหนดในประกาศกรมทะเบียนการค้า ซึ่งออกตามความในมาตรา 11 วรรคสาม
แห่งพระราชบัญญัตกิ ารบัญชี พ.ศ. 2543 โดยปฏิบตั ติ ามมาตรฐานการบัญชีทก่ี ำหนดโดยสภาวิชาชีพบัญชี คณะกรรมการรับผิดชอบต่อรายงานทางการเงินของบริษัท ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน) และ
บริษัทย่อย ที่จัดทำขึ้นเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าได้แสดงฐานะทางการเงิน รายได้และค่าใช้จ่าย และ กระแสเงิ น สดรวมที ่ เ ป็ น จริ ง และสมเหตุ ส มผล โดยได้ จ ั ด ให้ ม ี ก ารบั น ทึ ก ข้ อ มู ล ทางบั ญ ชี ท ี ่ ถู ก ต้ อ ง
ครบถ้วนเพียงพอที่รักษาไว้ซึ่งทรัพย์สิน รวมทั้งการป้องกันทุจริตและการดำเนินการที่ผิดปกติ และในการ จัดทำรายงานทางการเงินได้มีการพิจารณาเลือกใช้นโยบายบัญชีที่เหมาะสมและถือปฏิบัติโดยสม่ำเสมอ และเป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีที่รับรองโดยทั่วไป รวมทั้งได้มีการเปิดเผยข้อมูลสำคัญอย่างเพียงพอ ในหมายเหตุประกอบงบการเงิน ซึ่งผู้สอบบัญชีได้แสดงความเห็นต่องบการเงินของบริษัท ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย ในรายงานของผู้สอบบัญชีี
(นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์) ประธานกรรมการ
(นายวีรศักดิ์ โฆสิตไพศาล) กรรมการผู้จัดการใหญ่
151
152
รายงานประจำปี 2552 I บริษทั ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
รายงานคณะกรรมการตรวจสอบ เรียน ท่านผู้ถือหุ้น
คณะกรรมการบริษัท ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน) แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบของบริษัท ปตท. เคมิ ค อล จำกั ด (มหาชน) จากผู ้ ท รงคุ ณ วุ ฒ ิ ท ี ่ ม ี ป ระสบการณ์ ด ้ า นการบริ ห าร การเงิ น บั ญ ชี เศรษฐศาสตร์ กฎหมาย และการจัดการธุรกิจปิโตรเคมี ประกอบด้วย นายไพบูลย์ ปัญญวุฒิ เป็น ประธานกรรมการตรวจสอบ พลตำรวจเอก นพดล สมบูรณ์ทรัพย์ และนายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม เป็นกรรมการ ตรวจสอบ โดยมี อ งค์ ป ระกอบ คุ ณ สมบั ต ิ และขอบเขตหน้ า ที ่ ค วามรั บ ผิ ด ชอบตามประกาศ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ว่าด้วยเรื่องคุณสมบัติและขอบเขตการดำเนินงานของคณะกรรมการ ตรวจสอบ พ.ศ. 2551 และหลักเกณฑ์ที่กำหนดในประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ระหว่างปี 2552 มีการเปลีย่ นแปลงประธานกรรมการตรวจสอบและกรรมการตรวจสอบ โดยคณะกรรมการ บริษัทฯ ในการประชุมครั้งที่ 3/2552 วันที่ 4 พฤษภาคม 2552 มีมติแต่งตั้งนายไพบูลย์ ปัญญวุฒิ เป็นประธานกรรมการตรวจสอบ แต่งตั้งพลตำรวจเอก นพดล สมบูรณ์ทรัพย์ และนายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม เป็นกรรมการตรวจสอบ แทน นายมนู เลียวไพโรจน์ และนายเชิดพงษ์ สิริวิชช์ ซึ่งสิ้นสุดวาระการดำรง ตำแหน่งกรรมการ โดยคณะกรรมการตรวจสอบมีวาระการดำรงตำแหน่งถึงวันที่ 11 ธันวาคม 2554
การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบ
คณะกรรมการตรวจสอบปฏิบัติหน้าที่ตามขอบเขต อำนาจ และหน้าที่ที่ระบุในกฎบัตรคณะกรรมการ ตรวจสอบ ซึ่งได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัทฯ โดยจัดให้มีการประชุมคณะกรรมการตรวจสอบ ในปี 2552 รวม 7 ครั้ง และประชุมคณะกรรมการตรวจสอบครั้งที่ 1/2553 วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2553 เพื่อสอบทานงบการเงินประจำปี 2552 และสอบทานการควบคุมภายในปี 2552 ทั้งนี้ ได้เชิญผู้บริหาร ระดับสูง ผู้บริหารที่เกี่ยวข้อง และผู้สอบบัญชี เข้าร่วมประชุมตามวาระที่เกี่ยวข้อง คณะกรรมการตรวจสอบได้สอบทาน และให้ข้อเสนอแนะในวาระต่าง ๆ สรุปได้ดังนี้ 1. สอบทานงบการเงินรายไตรมาส และงบการเงินประจำปี 2552 เพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทฯ มีการรายงาน ทางการเงินอย่างถูกต้อง และให้ข้อมูลอย่างเพียงพอ เป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจของผู้ใช้งบการเงิน ของบริษัทฯ โดยผลการสอบทานงบการเงินรายไตรมาสของผู้สอบบัญชี ไม่พบสิ่งที่เป็นเหตุให้เชื่อว่า งบการเงินของบริษัทฯ ไม่ถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป และ ผู้สอบบัญชีได้ตรวจสอบงบการเงินประจำปี 2552 มีความเห็นว่า งบการเงินแสดงฐานะการเงินและ ผลการดำเนินงานโดยถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป ซึ่งคณะ กรรมการตรวจสอบมีความเห็นเช่นเดียวกับผู้สอบบัญชี นอกจากนี้คณะกรรมการตรวจสอบได้จัด ประชุมร่วมกับผู้สอบบัญชีเป็นการเฉพาะ เพื่อหารือกับผู้สอบบัญชีในเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการ ตรวจสอบงบการเงินประจำปี 2552 2. พิจารณา คัดเลือก เสนอแต่งตั้ง และเสนอค่าตอบแทนผู้สอบบัญชีของบริษัทฯ เพื่อให้ได้ผู้สอบบัญชี
ที่มีความเป็นอิสระ โดยคณะกรรมการตรวจสอบพิจารณาเสนอแต่งตั้งนายนิรันดร์ ลีลาเมธวัฒน์ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตเลขที่ 2316 หรือนายวินิจ ศิลามงคล ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตเลขที่ 3378 หรือ นายไวโรจน์ จินดามณีพิทักษ์ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตเลขที่ 3565 แห่งบริษัท เคพีเอ็มจี ภูมิไชย สอบบัญชี จำกัด เป็นผูส้ อบบัญชีของบริษทั ฯ ประจำปี 2552 ซึง่ มีคณ ุ สมบัตแิ ละค่าตอบแทนทีเ่ หมาะสม ให้ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ พิจารณาให้ความเห็นชอบนำเสนอให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นอนุมัติ
153
3. สอบทานให้บริษัทฯ มีการบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิผล โดยติดตามและรับทราบรายงานการ บริหารความเสี่ยงสำคัญที่มีผลต่อการดำเนินงานของบริษัทฯ รายไตรมาส ประกอบด้วย ความเสี่ยง ต่อผลประกอบการ ซึ่งประเมินและรายงานความเสี่ยงในรูปแบบของ Value at Risk (VaR) ความเสี่ยง ต่อการบรรลุวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ และความเสี่ยงต่อการเติบโตตามแผนการลงทุนระยะยาวของ บริษัทฯ ทั้งนี้ การบริหารความเสี่ยงของบริษัทฯ ดำเนินการตามนโยบายและกรอบการบริหารความ เสี่ยงที่กำหนดโดยคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง (Risk Management Committee) ซึ่งประกอบด้วย ผู้บริหารระดับสูงของบริษัทฯ 4. สอบทานให้บริษัทฯ มีการควบคุมภายในที่เพียงพอและมีประสิทธิผล สนับสนุนให้การดำเนินงาน บรรลุตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของบริษัทฯ โดยติดตามเพื่อให้มีการปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอ แนะของคณะกรรมการตรวจสอบ ผู้สอบบัญชี และโครงการตรวจสอบ รับทราบผลการประเมินการ ควบคุมภายในของผู้สอบบัญชี และพิจารณาผลการประเมินการควบคุมภายในของหน่วยงานตรวจ สอบภายใน โดยคณะกรรมการตรวจสอบมีความเห็นว่าบริษัทฯ มีการควบคุมภายในที่เพียงพอและ มีประสิทธิผล 5. สอบทานให้บริษัทฯ มีหน่วยงานตรวจสอบภายในที่มีความเป็นอิสระ และมีระบบการตรวจสอบ ภายในที่มีประสิทธิผล โดยพิจารณาผลการปฏิบัติงานของผู้จัดการฝ่าย หน่วยงานตรวจสอบภายใน ติดตามการเปลี่ยนแปลงบุคลากรของหน่วยงานตรวจสอบภายใน อนุมัติและติดตามการดำเนินงาน ของหน่วยงานตรวจสอบภายใน ได้แก่ การจัดทำและดำเนินการตามแผนการตรวจสอบ การทบทวน กฎบัตรหน่วยงานตรวจสอบภายใน การทบทวนคู่มือการปฏิบัติงาน และการประเมินการปฏิบัติงาน ของหน่วยงานตรวจสอบภายใน รวมทั้งให้คำแนะนำในการปรับปรุงคุณภาพของงานตรวจสอบภายใน 6. สอบทานการปฏิบัติของบริษัทฯ ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัทฯ โดย ติดตามการรายงานผลการตรวจสอบของหน่วยงานตรวจสอบภายใน ตามแผนการตรวจสอบประจำปี 2552 ซึ่งผลการตรวจสอบไม่มีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการรายงานการปฏิบัติที่เข้าข่ายหลีกเลี่ยงหรือ
ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย 7. พิจารณารายการที่เกี่ยวโยงกัน หรือรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ให้เป็นไปตาม ประกาศของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และคณะกรรมการ ก.ล.ต. เพื่อให้มั่นใจว่ารายการ ดังกล่าวสมเหตุสมผลและเป็นประโยชน์สูงสุดต่อบริษัทฯ โดยคณะกรรมการตรวจสอบได้ติดตามและ รั บ ทราบผลการตรวจสอบรายการบั ญ ชี ร ะหว่ า งบุ ค คลหรื อ กิ จ การที ่ เ กี ่ ย วข้ อ งกั น ที ่ เ ปิ ด เผยใน หมายเหตุประกอบงบการเงินรายไตรมาส และงบการเงินประจำปี 2552 โดยในปี 2552 ไม่มีรายการ ที่เข้าข่ายเป็นรายการที่เกี่ยวโยงกันที่ต้องขออนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น 8. ติดตาม รับทราบ และให้ข้อเสนอแนะในกิจกรรมสำคัญที่สนับสนุนต่อการบรรลุเป้าหมายและ วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ทั้งในด้านการเงิน (Financial) ด้านลูกค้า (Customer) ด้านกระบวนการภายใน (Internal Process) และด้านการเรียนรู้และการเติบโต (Learning and Growth) ของกลุ่มบริษัทฯ ประกอบด้วย กลุม่ กิจการโอเลฟินส์และสาธารณูปการ กลุม่ ธุรกิจผลิตภัณฑ์โพลิเมอร์ กลุม่ ธุรกิจผลิตภัณฑ์ เอทิลีนออกไซด์ และกลุ่มธุรกิจผลิตภัณฑ์โอลีโอเคมี โดยติดตามการดำเนินงานตามแผนเปรียบเทียบ กับเป้าหมาย การป้องกันหรือลดความเสี่ยงที่อาจส่งผลกระทบต่อการบรรลุวัตถุประสงค์ การบริหาร โครงการก่อสร้างที่สำคัญ การดำเนินงานด้านการตลาด และการเปลี่ยนแปลงนโยบายทางบัญชีที่ สำคัญ
154
รายงานประจำปี 2552 I บริษทั ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
9. ทบทวนและปรับปรุงกฎบัตรคณะกรรมการตรวจสอบ เพื่อให้มั่นใจว่ากฎบัตรคณะกรรมการตรวจ สอบมีความสอดคล้องกับประกาศตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เรื่อง คุณสมบัติและขอบเขต การดำเนินงานของคณะกรรมการตรวจสอบ พ.ศ. 2551 และประกาศของคณะกรรมการ ก.ล.ต. โดยในปี 2552 ได้ขออนุมัติคณะกรรมการบริษัทฯ ปรับปรุงเนื้อหาเกี่ยวกับองค์ประกอบของคณะ กรรมการตรวจสอบให้มีแนวทางที่สอดคล้องกับหลักการปฏิบัติที่ดียิ่งขึ้น 10. ประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการตรวจสอบทั้งคณะและรายบุคคล ประจำปี 2552 เพื่อ พิจารณาทบทวนการปฏิบัติงานตามขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบที่ได้รับมอบหมาย และรายงาน ผลการประเมินฯ ให้คณะกรรมการบริษัทฯ ได้รับทราบ 11. กำหนดแผนการประชุมของคณะกรรมการตรวจสอบประจำปี 2553 ให้ครอบคลุมการปฏิบัติงาน ตามขอบเขต อำนาจ และความรับผิดชอบที่ได้รับมอบหมาย 12. จัดทำรายงานของคณะกรรมการตรวจสอบ เพื่อเปิดเผยไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี และ รายงานประจำปีของบริษัทฯ และจัดทำรายงานการปฏิบัติงานของคณะกรรมการตรวจสอบนำเสนอ ให้คณะกรรมการบริษัทฯ ได้รับทราบอย่างสม่ำเสมอ จากการปฏิบัติหน้าที่ข้างต้น คณะกรรมการตรวจสอบได้มีข้อสังเกตและข้อเสนอแนะด้านการบริหาร โครงการสำคัญ ด้านการดำเนินงาน ด้านการตลาดและการขาย และด้านการบริหารความเสี่ยง เพื่อให้ ฝ่ายจัดการนำไปพิจารณาดำเนินการ และมีการติดตามการดำเนินงานตามข้อเสนอแนะทุกไตรมาส ในปี 2552 คณะกรรมการตรวจสอบได้ปฏิบัติหน้าที่เป็นไปตามขอบเขต อำนาจหน้าที่ และ ความรับผิดชอบตามกฎบัตรคณะกรรมการตรวจสอบอย่างครบถ้วน และจากการจัดประชุม รวม 7 ครั้ ง ส่ ว นใหญ่ มี ก รรมการตรวจสอบเข้ า ร่ ว มประชุ ม ครบทุ ก ท่ า น มี เ พี ย ง 1 ครั้ ง
ที่กรรมการตรวจสอบ 1 ท่าน ขอลาประชุม เนื่องจากติดภารกิจของทางราชการ และการปฏิบัติ งานของคณะกรรมการตรวจสอบได้รับความร่วมมือด้วยดีจากคณะกรรมการบริษัทฯ ผู้บริหาร ผู้ ส อบบั ญ ชี และทุ ก ฝ่ า ยที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการนำข้อสังเกตและข้อเสนอแนะไปพิจารณา ดำเนิ น การ ซึ่ ง มี ส่ ว นสนั บ สนุ น ให้ ค ณะกรรมการตรวจสอบสามารถปฏิ บั ติ ห น้ า ที่ ไ ด้ อ ย่ า งมี ประสิทธิผล และได้รับการคัดเลือกจากสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย ร่วมกับ
6 สถาบัน ให้ได้รับประกาศ เกียรติคุณ “คณะกรรมการตรวจสอบแห่งปี” (Audit Committee of The Year) ประจำปี 2551/52 จึงขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี ้ ในนามคณะกรรมการตรวจสอบ (นายไพบูลย์ ปัญญวุฒิ) ประธานกรรมการตรวจสอบ วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2553
155
รายงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต เสนอ ผู้ถือหุ้นบริษัท ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
ข้าพเจ้าได้ตรวจสอบงบดุลรวมและงบดุลเฉพาะกิจการ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551 และ งบกำไรขาดทุนรวมและงบกำไรขาดทุนเฉพาะกิจการ งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้นรวม และงบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้นเฉพาะกิจการ และงบกระแสเงินสดรวมและงบกระแส เงินสดเฉพาะกิจการ สำหรับปีสิ้นสุดวันเดียวกันของแต่ละปีของบริษัท ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย และของเฉพาะบริษัท ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน) ตามลำดับ ซึ่งผู้บริหารของกิจการ เป็ น ผู ้ ร ั บ ผิ ด ชอบต่ อ ความถู ก ต้ อ งและครบถ้ ว นของข้ อ มู ล ในงบการเงิ น เหล่ า นี ้ ส่ ว นข้ า พเจ้ า เป็ น ผู้รับผิดชอบในการแสดงความเห็นต่องบการเงินดังกล่าวจากผลการตรวจสอบของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติงานตรวจสอบตามมาตรฐานการสอบบัญชีที่รับรองทั่วไป ซึ่งกำหนดให้ข้าพเจ้าต้อง วางแผนและปฏิบัติงาน เพื่อให้ได้ความเชื่อมั่นอย่างมีเหตุผลว่างบการเงินแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริง อันเป็นสาระสำคัญหรือไม่ การตรวจสอบรวมถึงการใช้วิธีการทดสอบหลักฐานประกอบรายการ ทั้งที ่
เป็นจำนวนเงินและการเปิดเผยข้อมูลในงบการเงิน การประเมินความเหมาะสมของหลักการบัญชี
ที่กิจการใช้และประมาณการเกี่ยวกับรายการทางการเงินที่เป็นสาระสำคัญซึ่งผู้บริหารเป็นผู้จัดทำ ขึ้น ตลอดจนการประเมินถึงความเหมาะสมของการแสดงรายการที่นำเสนอในงบการเงินโดยรวม ข้าพเจ้าเชื่อว่าการตรวจสอบดังกล่าวให้ข้อสรุปที่เป็นเกณฑ์อย่างเหมาะสมในการแสดงความเห็น
ของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าเห็นว่างบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการข้างต้นนี้ แสดงฐานะการเงินรวมและฐานะ การเงินเฉพาะกิจการ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551 และผลการดำเนินงานรวมและผลการ ดำเนิ น งานเฉพาะกิ จ การ และกระแสเงินสดรวมและกระแสเงินสดเฉพาะกิจการ สำหรับปีสิ้นสุด วันเดียวกันของแต่ละปีของบริษัท ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย และของเฉพาะบริษัท ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน) ตามลำดับ โดยถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญ ตามหลักการบัญชีที่ รับรองทั่วไป
(ไวโรจน์ จินดามณีพิทักษ์) ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต เลขทะเบียน 3565 บริษัท เคพีเอ็มจี ภูมิไชย สอบบัญชี จำกัด กรุงเทพมหานคร 19 กุมภาพันธ์ 2553
156
รายงานประจำปี 2552 I บริษทั ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
งบดุล
บริษัท ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551
หมายเหตุ
2552
งบการเงินรวม 2551
หน่วย : บาท งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551
สินทรัพย์ สินทรัพย์หมุนเวียน เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด 6 11,050,292,553 21,174,886,782 7,767,293,426 ลูกหนี้การค้าและตั๋วเงินรับ 5,7 9,667,798,873 6,244,209,598 6,355,240,864 ลูกหนี้อื่นกิจการที่เกี่ยวข้องกัน 5 748,777,309 32,932,276 106,047,186 สินค้าคงเหลือ 8 8,537,365,815 7,560,859,708 4,332,985,726 เงินให้กู้ยืมระยะสั้นแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกัน 5 - - 11,277,000,000 เงินให้กู้ยืมระยะยาวแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกัน ที่ถึงกำหนดชำระภายในหนึ่งปี 5 - - 3,313,000,000 ลูกหนี้ภาษีมูลค่าเพิ่ม 1,136,636,294 220,576,563 67,505,200 สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น 1,273,644,347 1,423,754,059 767,026,845 รวมสินทรัพย์หมุนเวียน 32,414,515,191 36,657,218,986 33,986,099,247 สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน - - 38,392,325,977 เงินลงทุนในบริษัทย่อย 5,9 เงินลงทุนในกิจการที่ควบคุมร่วมกัน 5,9 - - 210,000,000 เงินลงทุนในบริษัทร่วม 5,10 8,370,334,303 8,000,430,700 8,478,066,913 เงินลงทุนระยะยาวอื่น 11 323,196,388 318,540,800 290,238,392 เงินให้กู้ยืมระยะยาวแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกัน 5 - - 26,027,000,000 ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ 12,15 111,063,466,713 100,147,662,466 39,574,556,078 สินทรัพย์ไม่มีตัวตน 13 6,519,820,210 5,612,486,300 729,153,215 สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี 14 131,906,503 197,559,932 3,096,578 สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น 1,427,685,166 1,384,479,344 625,574,649 รวมสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน 127,836,409,283 115,661,159,542 114,330,011,802 รวมสินทรัพย์ 160,250,924,474 152,318,378,528 148,316,111,049
หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้
18,171,231,970 3,052,602,658 173,384,401 3,232,943,101 7,995,000,000 - 220,576,563 968,723,162 33,814,461,855
33,752,540,137 210,000,000 8,150,091,913 290,238,392 21,678,213,200 37,359,436,306 458,101,876 112,536,282 438,411,044 102,449,569,150 136,264,031,005
157
หมายเหตุ
หนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น หนี้สินหมุนเวียน เงินกู้ยืมระยะสั้นจากสถาบันการเงิน 15 เจ้าหนี้การค้า 5,16 เจ้าหนี้อื่นกิจการที่เกี่ยวข้องกัน 5 เจ้าหนี้อื่นกิจการอื่น เจ้าหนี้เงินประกันผลงาน เจ้าหนี้ผู้รับเหมาก่อสร้าง 5 เงินกู้ยืมระยะยาวที่ถึงกำหนดชำระภายในหนึ่งปี 15 หุ้นกู้ที่ถึงกำหนดชำระภายในหนึ่งปี 15 ภาษีเงินได้นิติบุคคลค้างจ่าย 25 หนี้สินหมุนเวียนอื่น 17 รวมหนี้สินหมุนเวียน หนี้สินไม่หมุนเวียน 15 เงินกู้ยืมระยะยาวจากสถาบันการเงิน หุ้นกู้ 15 หนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี 14 หนี้สินไม่หมุนเวียนอื่น รวมหนี้สินไม่หมุนเวียน รวมหนี้สิน
หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้
2552
งบการเงินรวม 2551
771,721,822 978,964,102 5,891,962,161 3,429,565,463 550,190,977 167,667,560 710,120,714 998,995,402 490,695,673 311,501,284 1,451,959,603 3,022,707,252 855,546,545 1,304,921,621 400,000,000 400,000,000 1,339,266,972 143,832,486 1,721,602,422 1,654,787,465 14,183,066,889 12,412,942,635 12,817,834,335 30,398,595,244 881,969,619 876,436,935 44,974,836,133 59,157,903,022
13,732,764,536 28,256,802,032 749,672,715 968,721,723 43,707,961,006 56,120,903,641
หน่วย : บาท งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551
- 4,318,542,340 221,819,289 315,346,719 186,456,986 665,776,081 545,454,545 400,000,000 1,195,778,078 633,876,421 8,483,050,459 11,090,909,091 30,398,595,244 720,564,582 268,559,154 42,478,628,071 50,961,678,530
- 1,567,229,532 526,104,138 992,122,745 159,215,401 190,569,874 545,454,545 400,000,000 195,056,720 527,474,287 5,103,227,242 11,636,363,636 28,256,802,032 648,407,203 271,989,874 40,813,562,745 45,916,789,987
158
รายงานประจำปี 2552 I บริษทั ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
งบดุล
บริษัท ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551
หมายเหตุ
หนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น ส่วนของผู้ถือหุ้น ทุนเรือนหุ้น 18 ทุนจดทะเบียน ทุนที่ออกและชำระแล้ว ส่วนเกินทุน 19 ส่วนเกินมูลค่าหุ้น การแปลงค่างบการเงิน การเปลี่ยนแปลงสัดส่วนการลงทุน กำไรสะสม จัดสรรแล้ว สำรองตามกฎหมาย 19 สำรองสำหรับการชำระคืนเงินกู้ยืม สำรองสำหรับการขยายงาน ยังไม่ได้จัดสรร รวมส่วนของผู้ถือหุ้นเฉพาะบริษัท ส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย รวมส่วนของผู้ถือหุ้น รวมหนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น
2552
งบการเงินรวม 2551
หน่วย : บาท งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551
15,191,153,000 15,191,153,000 15,191,153,000 15,191,153,000 15,010,400,000 14,968,296,000 15,010,400,000 14,968,296,000 30,892,963,818 30,655,076,218 30,892,963,818 30,655,076,218 376,268,307 454,585,019 - - 10,998,638 10,998,678 - - 1,519,115,300 807,802,564 5,932,994,126 44,713,499,156 99,264,041,909 1,828,979,543 101,093,021,452 160,250,924,474
หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้
1,519,115,300 807,802,564 5,932,994,126 40,306,321,346 94,655,189,251 1,542,285,636 96,197,474,887 152,318,378,528
1,519,115,300 1,519,115,300 807,802,564 807,802,564 5,932,994,126 5,932,994,126 43,191,156,711 36,463,956,810 97,354,432,519 90,347,241,018 - - 97,354,432,519 90,347,241,018 148,316,111,049 136,264,031,005
159
งบกำไรขาดทุน บริษัท ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551
หมายเหตุ
รายได้ รายได้จากการขาย 5,26 รายได้จากการให้บริการ 5,26 เงินปันผลรับ 9,10 ดอกเบี้ยรับ 5 กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนสุทธิ รายได้อื่น 5 รวมรายได้ ค่าใช้จ่าย ต้นทุนขายสินค้า 5 ต้นทุนการให้บริการ 5 ค่าใช้จ่ายในการขาย 5,21 ค่าใช้จ่ายในการบริหาร 22 สำรองเผื่อขาดทุนจากมูลค่าสินค้าคงเหลือลดลง 8 ค่าตอบแทนผู้บริหาร 23 ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนสุทธิ รวมค่าใช้จ่าย ส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนในบริษัทร่วม (สุทธิจากภาษีเงินได้) 9,10 กำไรก่อนต้นทุนทางการเงินและภาษีเงินได้ ต้นทุนทางการเงิน 24 กำไรก่อนภาษีเงินได้ ภาษีเงินได้ 25 กำไรสุทธิสำหรับปี ส่วนของกำไรที่เป็นของ ผู้ถือหุ้นของบริษัท ผู้ถือหุ้นส่วนน้อย กำไรสุทธิสำหรับปี 27 กำไรต่อหุ้น ขั้นพื้นฐาน ปรับลด หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้
2552
งบการเงินรวม 2551
หน่วย : บาท งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551
83,952,092,721 81,960,152,137 59,930,898,598 68,015,754,509 2,077,078,053 2,156,666,732 333,916,864 302,935,523 21,090,045 - 975,212,042 4,797,888,077 219,177,658 564,004,930 2,001,587,050 1,618,472,336 648,469,768 - 589,950,500 - 165,022,462 430,574,480 603,803,065 531,991,091 87,082,930,707 85,111,398,279 64,435,368,119 75,267,041,536 70,213,817,930 62,534,630,540 48,943,197,748 53,603,725,861 1,017,941,703 1,671,286,142 93,819,399 84,354,553 1,455,118,072 172,207,359 17,097,136 13,158,550 3,267,423,124 3,045,808,627 2,470,488,436 2,710,600,493 (785,293,105) 752,843,762 (283,525,238) 283,525,238 189,982,519 166,467,006 97,670,302 127,023,189 - 910,042,439 - 576,408,684 75,358,990,243 69,253,285,875 51,338,747,783 57,389,796,568 144,450,952 40,146,336 - - 11,868,391,416 15,898,258,740 13,096,620,336 17,877,244,968 2,259,379,686 1,378,084,970 2,078,297,855 1,263,575,002 9,609,011,730 14,520,173,770 11,018,322,481 16,613,669,966 2,328,589,820 2,319,893,910 1,896,423,820 2,193,560,086 7,280,421,910 12,200,279,860 9,121,898,661 14,420,109,880 6,801,876,570 11,738,977,085 478,545,340 461,302,775 7,280,421,910 12,200,279,860 4.54 4.54
7.84 7.84
9,121,898,661 14,420,109,880 - - 9,121,898,661 14,420,109,880 6.09 6.09
9.63 9.63
ส่วนเกินทุน
- - -
- - -
- (40) -
- -
- - -
- -
15,010,400,000 30,892,963,818 376,268,307 10,998,638 1,519,115,300
- - -
- (78,316,712) - -
- - 42,104,000 237,887,600 - -
- -
หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้
ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552
รวมส่วนรายได้และค่าใช้จา่ ยทีร่ บั รู ้ ออกหุน้ สามัญ 18 เงินปันผล 28
ค่าใช้จา่ ยสุทธิของรายการทีร่ บั รูโ้ ดยตรง ในส่วนของผูถ้ อื หุน้ กำไรสุทธิสำหรับปี
14,968,296,000 30,655,076,218 454,585,019 10,998,678 1,519,115,300 - - (78,316,712) - -
- - -
- -
14,968,296,000 30,655,076,218 454,585,019 10,998,678 1,519,115,300
- 14,577,000 -
- -
ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 1 มกราคม 2552 ผลต่างจากการแปลงค่างบการเงิน
- 2,580,000 -
รวมส่วนรายได้และค่าใช้จา่ ยทีร่ บั รู ้ ออกหุน้ สามัญ 18 เงินปันผล 28
- 454,585,019 - -
ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551
- -
14,965,716,000 30,640,499,218 - 10,998,678 1,519,115,300 - - 454,585,019 - -
ทุนเรือนหุน้ จากการเปลีย่ น ทีอ่ อกและ ส่วนเกิน การแปลงค่า แปลงสัดส่วน สำรอง ชำระแล้ว มูลค่าหุน้ งบการเงิน การลงทุน ตามกฎหมาย
รายได้ (ค่าใช้จา่ ย) สุทธิของรายการ ทีร่ บั รูโ้ ดยตรงในส่วนของผูถ้ อื หุน้ กำไรสุทธิสำหรับปี
ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 1 มกราคม 2551 ผลต่างจากการแปลงค่างบการเงิน
หมายเหตุ
บริษัท ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551
รวมส่วนของ ผูถ้ อื หุน้ ของบริษทั
ส่วนของ ผูถ้ อื หุน้ ส่วนน้อย
461,302,775 - (394,450,000)
(686,887) 461,302,775
5,932,994,126 40,306,321,346 94,655,189,251 1,542,285,636
- 11,738,977,085 11,738,977,085 - - 17,157,000 - (10,476,312,000) (10,476,312,000)
- - 454,585,019 - 11,738,977,085 11,738,977,085
807,802,564
- - -
-
478,545,340 309,029,537 (464,380,644)
(36,500,326) 478,545,340
5,932,994,126 44,713,499,156 99,264,041,909 1,828,979,543
- 6,801,876,570 6,801,876,570 - - 279,991,560 - (2,394,698,760) (2,394,698,760)
- - (78,316,712) 6,801,876,570 6,801,876,570
807,802,564 5,932,994,126 40,306,321,346 94,655,189,251 1,542,285,636 - - - (78,316,712) (36,500,326)
807,802,564
- - -
- -
807,802,564 5,932,994,126 39,043,656,261 92,920,782,147 1,476,119,748 - - - 454,585,019 (686,887)
งบการเงินรวม กำไรสะสม จัดสรรแล้ว สำรองสำหรับ การชำระคืน สำรองสำหรับ เงินกูย้ มื การขยายงาน ยังไม่ได้จดั สรร
งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น
101,093,021,452
7,280,421,910 589,021,097 (2,859,079,404)
(114,817,038) 7,280,421,910
96,197,474,887 (114,817,038)
96,197,474,887
12,200,279,860 17,157,000 (10,870,762,000)
453,898,132 12,200,279,860
94,396,901,895 453,898,132
รวมส่วนของ ผูถ้ อื หุน้
หน่วย : บาท
160 รายงานประจำปี 2552 I บริษทั ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้
หมายเหตุ ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 1 มกราคม 2551 กำไรสุทธิสำหรับปี รวมส่วนรายได้และค่าใช้จ่ายที่รับรู้ ออกหุ้นสามัญ 18 เงินปันผล 28 ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 1 มกราคม 2552 กำไรสุทธิสำหรับปี รวมส่วนรายได้และค่าใช้จ่ายที่รับรู้ ออกหุ้นสามัญ 18 เงินปันผล 28 ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552
รวมส่วนของ ผู้ถือหุ้น ของบริษัท 86,386,286,138 14,420,109,880 14,420,109,880 17,157,000 (10,476,312,000) 90,347,241,018
หน่วย : บาท
14,968,296,000 30,655,076,218 1,519,115,300 807,802,564 5,932,994,126 36,463,956,810 90,347,241,018 - - - - - 9,121,898,661 9,121,898,661 - - - - - 9,121,898,661 9,121,898,661 42,104,000 237,887,600 - - - - 279,991,600 - - - - - (2,394,698,760) (2,394,698,760) 15,010,400,000 30,892,963,818 1,519,115,300 807,802,564 5,932,994,126 43,191,156,711 97,354,432,519
งบการเงินเฉพาะกิจการ ส่วนเกินทุน กำไรสะสม จัดสรรแล้ว ทุนเรือนหุ้น สำรองสำหรับ ที่ออกและ ส่วนเกิน สำรองตาม การชำระคืน สำรองสำหรับ ชำระแล้ว มูลค่าหุ้น กฎหมาย เงินกู้ยืม การขยายงาน ยังไม่ได้จัดสรร 14,965,716,000 30,640,499,218 1,519,115,300 807,802,564 5,932,994,126 32,520,158,930 - - - - - 14,420,109,880 - - - - - 14,420,109,880 2,580,000 14,577,000 - - - - - - - - - (10,476,312,000) 14,968,296,000 30,655,076,218 1,519,115,300 807,802,564 5,932,994,126 36,463,956,810
บริษัท ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551
งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น
161
162
รายงานประจำปี 2552 I บริษทั ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
งบกระแสเงินสด บริษัท ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551
หมายเหตุ
2552
งบการเงินรวม 2551
หน่วย : บาท งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551
กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน กำไรสุทธิสำหรับปี 7,280,421,910 12,200,279,860 9,121,898,661 14,420,109,880 รายการปรับปรุง ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย 4,913,676,157 4,130,412,614 2,861,550,897 2,897,083,990 ดอกเบี้ยรับ (219,177,658) (564,004,930) (2,001,587,050) (1,618,472,336) ต้นทุนทางการเงิน 2,259,379,686 1,378,084,970 2,078,297,855 1,263,575,002 (กำไร) ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน ที่ยังไม่เกิดขึ้นจริง (562,780,719) 350,087,990 (539,996,034) 264,867,434 หนี้สงสัยจะสูญ 13,994,116 - - - เงินปันผลรับ (21,090,045) - (975,212,042) (4,797,888,077) (กลับรายการ) ค่าเผื่อการลดมูลค่า สินค้าคงเหลือ (785,293,105) 752,843,762 (283,525,238) 283,525,238 ค่าเผื่อสินค้าเสื่อมสภาพ (79,931) 11,070,277 (79,931) 11,070,277 (กลับรายการ) ด้อยค่าของสินทรัพย์ไม่มีตัวตน และที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ 3,223,982 (55,457) - - ขาดทุนจากการจำหน่ายที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ 154,142,936 49,792,163 153,905,087 15,996,508 รายได้ที่รับรู้ค่าธรรมเนียมการใช้ฐานวางระบบท่อ และอุปกรณ์และรายได้อื่น (17,608,257) (14,562,471) (17,608,257) (14,562,471) ส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนในบริษัทร่วม (สุทธิจากภาษีเงินได้) (144,450,952) (40,146,336) - - ภาษีเงินได้ 2,328,589,820 2,319,893,910 1,896,423,820 2,193,560,086 15,202,947,940 20,573,696,352 12,294,067,768 14,918,865,531 การเปลี่ยนแปลงในสินทรัพย์และหนี้สินดำเนินงาน (3,237,862,666) 7,031,664,088 (3,302,177,275) 5,670,876,807 ลูกหนี้การค้าและตั๋วเงินรับ ลูกหนี้อื่นกิจการที่เกี่ยวข้องกัน (674,468,956) 39,246,413 67,337,215 (26,050,065) สินค้าคงเหลือ (295,100,306) 273,585,497 (819,392,390) 1,404,205,430 ลูกหนี้ภาษีมูลค่าเพิ่ม (916,059,731) (2,057,151) 153,071,363 (220,576,563) สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น (295,692,251) 56,345,015 (348,117,331) 648,255,800 สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น (146,402,448) (239,203,674) (237,720,477) (208,038,830) เจ้าหนี้การค้า 2,693,145,552 (5,556,893,388) 2,747,658,772 (6,800,745,779) เจ้าหนี้อื่นกิจการที่เกี่ยวข้องกัน 230,451,602 (30,523,596) (304,284,849) 358,970,200 เจ้าหนี้อื่นกิจการอื่น (288,874,688) 626,211,788 (676,776,026) 749,645,457 เจ้าหนี้เงินประกันผลงาน 72,104,528 88,806,344 27,241,584 27,882,402 หนี้สินหมุนเวียนอื่น 358,417,329 (739,399,280) 176,211,249 (982,944,404) หนี้สินไม่หมุนเวียนอื่น (220,197,815) (5,583,114) 53,860,529 5,260,232 จ่ายภาษีเงินได้ (910,153,309) (3,565,551,648) (714,105,378) (3,431,957,113) เงินสดสุทธิได้มาจากกิจกรรมดำเนินงาน 11,572,254,781 18,550,343,646 9,116,874,754 12,113,649,105 หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้
163
หมายเหตุ
กระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุน รับดอกเบี้ย รับเงินปันผล ซื้อที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ ขายที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ เงินให้กู้ยืมระยะสั้นแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกันเพิ่มขึ้น รับชำระคืนเงินให้กู้ยืมระยะสั้นแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกัน เงินให้กู้ยืมระยะยาวแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกันเพิ่มขึ้น รับชำระคืนเงินให้กู้ยืมระยะยาวแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกัน ซื้อสินทรัพย์ไม่มีตัวตน เงินสดจ่ายสุทธิเพื่อการลงทุนในบริษัทย่อย เงินสดจ่ายสุทธิเพื่อการลงทุนในบริษัทร่วม เงินสดจ่ายสุทธิเพื่อการลงทุนในเงินลงทุนระยะยาว เงินสดรับจากการจำหน่ายเงินลงทุนระยะยาว เงินสดสุทธิใช้ไปในกิจกรรมลงทุน กระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงิน จ่ายดอกเบี้ย จ่ายเงินปันผล จ่ายชำระหนี้สินตามสัญญาเช่าทางการเงิน เงินสดรับจากการกู้ยืมเงิน (ชำระคืน) เงินสดรับจากเงินกู้ยืมระยะสั้น จากสถาบันการเงิน ชำระคืนเงินกู้ยืมระยะยาว เงินสดรับจากการออกหุ้นกู้ ไถ่ถอนหุ้นกู้ เงินสดรับจากการออกหุ้นสามัญ เงินสดสุทธิได้มาจาก (ใช้ไปใน) กิจกรรมจัดหาเงิน เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดลดลงสุทธิ เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ณ วันต้นปี ผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนของเงินตรา ต่างประเทศคงเหลือสิ้นปี เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ณ วันสิ้นปี
2552
งบการเงินรวม 2551
หน่วย : บาท งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551
238,733,062 631,942,075 2,022,922,399 1,683,198,007 124,703,586 33,635,855 1,440,870,042 4,331,180,077 (17,369,087,056) (26,327,053,601) (4,524,512,399) (6,271,899,714) 35,171,343 5,826,917 5,853,049 3,014,844 - - (4,402,000,000) (3,695,000,000) - - 1,120,000,000 100,000,000 - - (7,661,786,800) (17,438,213,200) - - - 1,922,772,500 (502,087,681) (55,997,943) (371,880,638) (21,596,593) - (168,577,097) (4,639,785,840) (5,274,766,537) (327,975,000) (1,106,940,000) (327,975,000) (1,106,940,000) - (3,825,726,760) - - 27,231,377 - - - (17,773,310,369) (30,812,890,554) (17,338,295,187) (25,768,250,616) (2,319,852,606) (1,130,230,385) (2,085,323,116) (1,014,673,610) (2,880,852,811) (10,870,762,000) (2,394,698,760) (10,476,312,000) (77,531,609) (121,620,656) (37,033,290) (98,214,209) 235,055,000 10,741,949,093 - 10,000,000,000 (177,772,611) (1,592,793,843) 3,000,000,000 (400,000,000) 317,440,712 (3,896,307,768) (10,097,363,356) 21,174,886,782
หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้
(292,919,090) - - (1,078,497,717) (545,454,545) (545,454,545) 12,500,000,000 3,000,000,000 12,500,000,000 (1,257,143,500) (400,000,000) (1,257,143,500) 17,157,000 279,991,600 17,157,000 8,507,932,745 (2,182,518,111) 9,125,359,136 (3,754,614,163) (10,403,938,544) (4,529,242,375) 24,797,301,553 18,171,231,970 22,700,474,345
(27,230,873) 132,199,392 11,050,292,553 21,174,886,782
- - 7,767,293,426 18,171,231,970
164
รายงานประจำปี 2552 I บริษทั ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
หมายเหตุประกอบงบการเงิน บริษัท ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551
®¤µ¥Á® » ¦³ ° µ¦Á · Á } nª ® ¹É ° µ¦Á · ¸Ê µ¦Á · ¸ÊÅ o¦´ ° »¤´ ·Ä®o°° µ¦Á · µ ³ ¦¦¤ µ¦Á¤ºÉ°ª´ ¸É 19 »¤£µ¡´ r 2553
1
o°¤¼¨ ´ÉªÅ ¦·¬´ . Á ¤· °¨ ε ´ (¤®µ ) “ ¦·¬´ ” Á } · · » ¨ ¸É ´ ´Ê ¹Ê Ä ¦³Á «Å ¥ ¨³¤¸ ¸É°¥¼n ³Á ¸¥ ´ ¸Ê ε ´ µ Ä® n
: Á¨ ¸É 123 °µ µ¦ ´ µªÁª°¦r ¸ ´Ê 31-35 ª·£µª ¸¦´ ·  ª °¤¡¨ Á » ´ ¦ ¦» Á ¡¤®µ ¦ ¦³Á «Å ¥
µ µ ¸É 1 (µ µ ´ µªÁª°¦r Á°)
: Á¨ ¸É 123 °µ µ¦ ´ µªÁª°¦r Á° ´Ê 14 ¨³ ´Ê 18 ª·£µª ¸¦´ ·  ª °¤¡¨ Á » ´ ¦ ¦» Á ¡¤®µ ¦ ¦³Á «Å ¥
µ µ ¸É 2 (µ µ Å°-® ¹É )
: Á¨ ¸É 14 Å°-® ¹É ε ¨¤µ µ¡» °ÎµÁ£°Á¤º° ¦³¥° ´ ®ª´ ¦³¥° ¦³Á «Å ¥
µ µ ¸É 3 (µ µ Å°-¸É)
: Á¨ ¸É 9 Å°-¸É ε ¨¤µ µ¡» °ÎµÁ£°Á¤º° ¦³¥° ´ ®ª´ ¦³¥° ¦³Á «Å ¥
µ µ ¸É 4 (µ µ nµÁ ¸¥ Á¦º°Â¨³ ¨´ ¨· £´ r)
: Á¨ ¸É 19 æ »l¥ ε ¨¤µ µ¡» °ÎµÁ£°Á¤º° ¦³¥° ´ ®ª´ ¦³¥° ¦³Á «Å ¥
µ µ ¸É 5 (µ µ ¦µ¬ ¦r ·¥¤)
: Á¨ ¸É 59 ¦µ¬ ¦r ·¥¤ ε ¨Á · ¡¦³ °ÎµÁ£°Á¤º° ¦³¥° ´ ®ª´ ¦³¥° ¦³Á «Å ¥
µ µ ¸É 6 (µ µ ´ µªÁª°¦r ¸)
: Á¨ ¸É 123 °µ µ¦ ´ µªÁª°¦r ¸ ´Ê 10 ª·£µª ¸¦´ ·  ª °¤¡¨ Á » ´ ¦ ¦» Á ¡¤®µ ¦ ¦³Á «Å ¥
165 บริษัทจดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อเดือนธันวาคม 2548 บริษัทเป็นบริษัทในกลุ่มของบริษัท ปตท. จากัด (มหาชน) (“ปตท.”) ซึ่งเป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นในประเทศไทย และเป็น ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทซึ่งถือหุ้นร้อยละ 49.16 ของทุนที่ออกและชาระแล้ว
บริษัทดาเนินธุรกิจหลักเกี่ยวกับการผลิต และจาหน่ายผลิตภัณฑ์เอทิลีน โพรพิลีน และเม็ดพลาสติกโพลิเอทิลนี ผลิตภัณฑ์พลอยได้ ได้แก่ มิกซ์ซีโฟว์ ไพโรไลซีสก๊าซโซลีน แครกเกอร์บอททอม และเทเลก๊าซ และมีธุรกิจรอง คือ การ ผลิตและจำหน่ ไอน้าำและสาธารณู และสาธารณูปปการอื การอื่น่นๆๆตตลอดจนให้ และจาหน่ายไฟฟ้า น้าำ ไอน้ ลอดจนให้บริการต่อเนื่อง ได้แก่ การให้บริการท่าเทียบเรือ และคลังเก็บ เคมีภัณฑ์เหลว น้ามัน และก๊าซ เป็นต้น รายละเอียดของบริษัทย่อยและกิจการที่ควบคุมร่วมกัน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551 มีดังนี้ ชื่อกิจการ
บริษัทย่อยทางตรง บริษัท บางกอกโพลีเอททีลีน จากัด (มหาชน) (มหาชน) บริษัท ทีโอซี ไกลคอล จากัด
ลักษณะธุรกิจ
ผลิตและจาหน่าย ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี ผลิตและจาหน่าย ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี บริษัท ไทยเอทานอลเอมีน จากัด ผลิตและจาหน่าย ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี บริษัท ไทยโคลีนคลอไรด์ จากัด ผลิตและจาหน่าย ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี บริษัท ไทยโอลีโอเคมี จากัด ผลิตและจาหน่าย ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี บริษัท พีทีที โพลีเอทิลีน จากัด ผลิตและจาหน่าย ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี บริษัท เอ็นพีซี เซฟตี้ แอนด์ บริการด้านความปลอดภัย เอ็เอ็ นไวรอนเมลทอล วิสวิสจำกั ด ด นไวรอนเมลทอลเซอร์ เซอร์ จากั และสิ่งแวดล้อม PTT Chemical International Pte. Ltd. ลงทุน และดาเนินธุรกิจใน กิจการต่างประเทศ
ประเทศที่กิจการ จัดตั้ง
บริษัทถือหุ้นร้อยละ 2552
2551
ประเทศไทย
100
100
ประเทศไทย
100
100
ประเทศไทย
100
100
ประเทศไทย
100
100
ประเทศไทย
100
100
ประเทศไทย
100
100
ประเทศไทย
100
100
ประเทศสิงคโปร์
100
100
166
รายงานประจำปี 2552 I บริษทั ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
ºÉ° · µ¦ ¦·¬´ ¡¸ ¸ ¸ Á¤ Á  r ° r Á° ·Á ¸¥¦·É ε ´ (Á ·¤ ºÉ° : ¦·¬´ °´¨¨µ¥Â° r ¡¨ r Á °¦rª· ε ´ ) ¦·¬´ Å ¥Â o r Á °¦r¤· ´¨ ε ´
¦·¬´ ¥n°¥ µ °o°¤ ¦·¬´ Å ¥Å ¦¸ · r ε ´ ¦·¬´ Å ¥Â¢ ¸Ê°¨ °±°¨r ε ´ ¦·¬´ . Á ¤· °¨ °· Á °¦rÁ ´ É Â ¨ (ε ´ µ · ´ · µ¦£¼¤·£µ Á°Á ¸¥  ·¢d ) ε ´ · µ¦ ¸É ª »¤¦nª¤ ´ ¦·¬´ Å ¥ °¸ ° ¸Á¨ ε ´
¨´ ¬ ³ »¦ ·
¦·¬´ º°®»o ¦o°¥¨³ 2552 2551 60 60
¦· µ¦ 妻 ¦´ ¬µÃ¦ µ ¨³ µ ª·«ª ¦¦¤
¦³Á «Å ¥
¦· µ¦ ´ Á È Â¨³ nµ¥Á ¤¸£´ rÁ®¨ª Êε¤´ ¨³ pµ
¦³Á «Å ¥
51
51
¨· ¨³ ε® nµ¥ ¨· £´ r dà ¦Á ¤¸ ¨· ¨³ ε® nµ¥ ¨· £´ r dà ¦Á ¤¸ Ä®o ¦· µ¦Â nª·µ® · Ä ¨»n¤ ¦·¬ ´
¦³Á «Å ¥
100
100
¦³Á «Å ¥
100
100
¦³Á «Å ¥
100
100
¨· ¨³ ε® nµ¥ ¨· £´ r dà ¦Á ¤¸
¦³Á «Å ¥
50
50
¦³Á «¤µÁ¨Á ¸¥
50
50
· µ¦ ¸É ª »¤¦nª¤ ´ µ °o°¤ Emery Oleochemical (M) Sdn Bhd ¨· ¨³ ε® nµ¥ (Á ·¤ ºÉ° : Cognis Oleochemicals ¨· £´ r dà ¦Á ¤¸ (M) Sdn Bhd) 2
¦³Á « ¸É · µ¦ ´ ´Ê
Á r µ¦ ´ ε µ¦Á · µ¦Á · ¸Ê εÁ °Á¡ºÉ°ª´ » ¦³ r ° µ¦¦µ¥ µ Á¡ºÉ°Ä oÄ ¦³Á «Å ¥ ¨³ ´ εÁ } £µ¬µÅ ¥ µ¦Á · ´ £µ¬µ °´ §¬Å o ´ ε ¹Ê Á¡ºÉ° ªµ¤³ ª ° ¼o°nµ µ¦Á · ¸ÉŤn »o Á ¥ ´ £µ¬µÅ ¥ µ¦Á · ¸Ê ´ ε ¹Ê µ¤¤µ ¦ µ µ¦ ´ ¸Â¨³¤µ ¦ µ µ¦¦µ¥ µ µ µ¦Á · ¦ª¤ ¹ µ¦ ¸ ªµ¤Â¨³Â ª · ´ · µ µ¦ ´ ¸ ¸É ¦³ µ«Ä oà ¥£µª· µ ¸¡ ´ ¸² (“£µª· µ ¸¡ ´ ¸”) ¨³ ´ ε ¹ Ê µ¤®¨´ µ¦ ´ ¸ ¸É¦ ´ ¦° ´ÉªÅ ° ¦³Á « Å ¥
167 เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2552 สภาวิชาชีพบัญชีได้ออกประกาศฉบับที่ 12/2552 การจัดเลขระบุฉบับมาตรฐานการบัญชี ของไทยใหม่ให้ตรงตามมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ กลุม่ บริษัทได้ใช้มาตรฐานการบัญชีและมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่ปรับปรุงใหม่ตลอดจนแนวปฏิบตั ิทางการบัญชี ที่ออกโดยสภาวิชาชีพบัญชีในระหว่างปี 2551 และ 2552 ต่อไปนี้ ซึ่งมีผลบังคับสาหรับงบการเงินที่มีรอบระยะเวลาบัญชีที่ เริม่ ในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2552 เป็นต้นไป มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 36 (ปรับปรุง 2550)
เรือ่ ง การด้อยค่าของสินทรัพย์ (ฉบับ 36 เดิม)
มาตรฐานการรายงานทางการเงิ น ฉบับที่ 5 (ปรับปรุง 2550)
เรือ่ ง สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่ถอื ไว้เพือ่ ขายและการ ดาเนินงานที่ยกเลิก (ฉบับ 54 เดิม)
แม่บทการบัญชี เพือ่ จัดทาและนาเสนองบการเงิน (ปรับปรุง 2550) (มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วนั ที่ 26 มิถนุ ายน 2552) แนวปฏิบตั ิทางการบัญชีสาหรับการบันทึกบัญชีสทิ ธิการเช่า (มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วนั ที่ 26 มิถนุ ายน 2552) แนวปฏิบตั ิทางการบัญชีสาหรับการรวมธุรกิจภายใต้การควบคุมเดียวกัน การใช้มาตรฐานการบัญชีและมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับปรับปรุงตลอดจนแนวปฏิบตั ิทางการบัญชีเหล่านี้ ไม่มี ผลกระทบที่เป็นสาระสาคัญกับ งบการเงิ นรวมหรืองบการเงินเฉพาะกิจการ ในระหว่างปี 2552 สภาวิชาชีพบัญชีได้ออกและปรับปรุงมาตรฐานการบัญชีและมาตรฐานการรายงาน ทางการเงินหลาย ฉบับ ซึ่งยังไม่มีผลบังคับในปัจจุบนั และไม่ได้มีการนามาใช้สาหรับการจัดทางบการเงินนี้ มาตรฐานการบัญชีที่ได้ออกและ ปรับปรุงใหม่เหล่านี้ได้เปิดเผยในหมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 32 งบการเงิ นนี้แสดงหน่วยเงิ นตราเป็นเงิ นบาท และมีการปัดเศษในหมายเหตุประกอบ งบการเงินเพือ่ ให้แสดงเป็นหลักล้าน บาท ยกเว้นที่ระบุไว้เป็นอย่างอื่น งบการเงิ นนี้ได้จัดทาขึ้นโดยถือหลักเกณฑ์การบันทึกตามราคาทุนเดิม ยกเว้นที่กล่าวไว้ใน นโยบายการบัญชี ในการจัดทางบการเงิ นให้เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชี และมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ผูบ้ ริหารต้องใช้การ ประมาณและข้อสมมติฐานหลายประการ ซึ่งมีผลกระทบต่อการกาหนดนโยบาย และการรายงานจานวนเงินที่เกีย่ วกับ สินทรัพย์ หนี้สนิ รายได้ และค่าใช้จ่าย ผลที่เกิดขึ้นจริงอาจแตกต่างจากที่ประมาณไว้
168
รายงานประจำปี 2552 I บริษทั ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
¦³¤µ µ¦Â¨³ o°¤¤ · µ ¸ÄÉ oÄ µ¦ ´ ε µ¦Á · ³Å o¦ ´ µ¦ ª °¥nµ n°Á ºÉ° µ¦ ¦´ ¦³¤µ µ¦ µ ´ ¸ ³ ´ ¹ Ä ª ´ ¸ ¸É ¦³¤µ µ¦ ´ ¨nµªÅ o¦´ µ¦ ª ¨³Ä ª ° µ ¸ÉÅ o¦´ ¨ ¦³ o°¤¼¨Á ¸É¥ª ´ µ¦ ¦³¤µ ªµ¤Å¤n n ° ¨³ o°¤¤ · µ ¸ÉµÎ ´ Ä µ¦ ε® Ã¥ µ¥ µ¦ ´ ¸¤¸ ¨ ¦³ ε ´ n° µ¦¦´ ¦¼o ε ª Á · Ä µ¦Á · ¹É ¦³ ° oª¥®¤µ¥Á® » ¦³ ° µ¦Á · n°Å ¸Ê ®¤µ¥Á® » ¦³ ° µ¦Á · 4 ®¤µ¥Á® » ¦³ ° µ¦Á · 11 ®¤µ¥Á® » ¦³ ° µ¦Á · 13 ®¤µ¥Á® » ¦³ ° µ¦Á · 14 ®¤µ¥Á® » ¦³ ° µ¦Á · 29 3
Ã¥ µ¥ µ¦ ´ ¸ ¸Éε ´
( )
Á rÄ µ¦ ´ ε µ¦Á · ¦ª¤
µ¦ ºÊ° · µ¦ Á · ¨ » ¦³¥³¥µª°ºÉ · ¦´¡¥rŤn¤¸ ´ª £µ¬¸Á · Å o¦° µ¦ ´ ´ ¸ Á ¦ºÉ° ¤º° µ µ¦Á ·
µ¦Á · ¦ª¤ ¦³ ° oª¥ µ¦Á · ° ¦·¬´ ¦·¬´ ¥n°¥ ¨³ · µ¦ ¸É ª »¤¦nª¤ ´ (¦ª¤ ´ Á¦¸¥ ªnµ “ ¨»n¤ ¦·¬´ ”) ¨³nª Å oÁ¸¥ ° ¨»n¤ ¦·¬´ Ä ¦·¬´ ¦nª¤ µ¦¦ª¤ »¦ · µ¦¦ª¤ »¦ · ´ ¹ ´ ¸Ã ¥ª· ¸ °ºÊ »¦ · o » µ¦ ºÊ° »¦ · ´ ¹ oª¥¤¼¨ nµ¥» · ¦¦¤ ° · ¦´¡¥r ¸Én ¤° ¦µµ¦ » ¸É °° ¨³® ¸Ê · ¸ÁÉ · ¹Ê ¹ ª´ ¸É¤¸ µ¦Â¨ Á ¨¸É¥ ¦ª¤ ¹ ¦µ¥ nµ¥°ºÉ Ç ¸ÉÁ ¸É¥ª o° à ¥ ¦ ´ µ¦ ºÊ° »¦ · µ¦¦ª¤ »¦ · ° · µ¦®¦º° µ¦¦ª¤ »¦ · £µ¥Ä o µ¦ ª »¤Á ¸¥ª ´ ´ ¹ ´ ¸Ã ¥Ä oª· ¸Á¤º° ªnµÁ } ª· ¸ µ¦¦ª¤nª Å o Á¸¥Â¨³ µ¤Â ª · ´ · ¸É°° à ¥£µª· µ ¸¡ ´ ¸Ä ¦³®ªnµ e 2552
169 ¦·¬´ ¥n°¥ ¦·¬´ ¥n°¥Á } · µ¦ ¸É°¥¼n£µ¥Ä o µ¦ ª »¤ ° ¨»n¤ ¦·¬´ µ¦ ª »¤Á · ¹Ê Á¤ºÉ° ¨»n¤ ¦·¬´ ¤¸°Îµ µ ª »¤ ´Ê µ ¦ ®¦º° µ °o°¤Ä µ¦ ε® Ã¥ µ¥ µ µ¦Á · ¨³ µ¦ εÁ · µ ° · µ¦ ´Ê Á¡ºÉ°Å o¤µ ¹É ¦³Ã¥ r µ · ¦¦¤ ° ¦·¬´ ¥n°¥ µ¦Á · ° ¦·¬´ ¥n°¥Å o¦ª¤°¥¼nÄ µ¦Á · ¦ª¤ ´  nª´ ¸É¤¸ µ¦ ª »¤ ¹ ª´ ¸É µ¦ ª »¤·Ê » ¨ Ã¥ µ¥ µ¦ ´ ¸ ° ¦·¬´ ¥n°¥Å o ¼ Á ¨¸É¥ µ¤ ªµ¤ εÁ } Á¡ºÉ°Ä®oÁ } Ã¥ µ¥Á ¸¥ª ´ ´ ° ¨»n¤ ¦·¬´ · µ¦ ¸É ª »¤¦nª¤ ´ · µ¦ ¸É ª »¤¦nª¤ ´ Á } · µ¦ ¸É ¨»n¤ ¦·¬ ´ ¤¸ªn ¦nª¤Ä µ¦ ª »¤ · ¦¦¤Á · Á«¦¬ · µ¤ ¸ É ¨ ŪoÄ ´ µÂ¨³ Å o¦´ ªµ¤Á®È ° Á } Á° ´ rÄ µ¦ ´ · Ä Á · ¨¥» rr µ µ¦Á · ¨³ µ¦ εÁ · µ µ¦Á · ¦ª¤ ° ¨»n¤ ¦·¬´ Å o ¦ª¤· ¦´¡¥r ® ¸Ê· ¦µ¥Å o ¨³ nµÄ o nµ¥ ° · µ¦ ¸É ª »¤¦nª¤ ´ à ¥Ä oª · ¸¦ª¤ µ¤´ nª ¨³ εÁ ¡µ³nª ¸ÉÁ } ° ¨»n¤ ¦·¬´ ¤µ¦ª¤ ´ ¦µ¥ µ¦ · Á ¸¥ª ´ µ¤Á r n¨³ ¦¦ ´ ´  nª´ ¸É¤¸ µ¦¦nª¤ ª »¤ ¹ ª´ ¸É µ¦¦nª¤ ª »¤·Ê » ¨ ¦·¬´ ¦nª¤ ¦·¬´ ¦nª¤Á } · µ¦ ¸É ¨»n¤ ¦·¬ ´ ¤¸° · ·¡¨°¥nµ ¤¸ ´¥Îµ ´ à ¥¤¸°Îµ µ Á oµÅ ¤¸ªn ¦nª¤Ä µ¦ ´ · Ä Á ¸É¥ª ´ Ã¥ µ¥ µ µ¦Á · ¨³ µ¦ εÁ · µ  nŤn ¹ ¦³ ´ ¸ É ³ ª »¤ Ã¥ µ¥ ´ ¨nµª µ¦¤¸°· ·¡¨°¥nµ ¤¸ ¥´ ε ´ ¼ ´ ·¬ µ ªnµ ¤¸°¥¼nÁ¤ºÉ° ¨»n¤ ¦·¬´ ¤¸°Îµ µ Ä µ¦°° Á¸¥ Ä · µ¦°ºÉ ´Ê  n¦o°¥¨³ 20 ¹ ¦o°¥¨³ 50 µ¦Á · ¦ª¤ ° ¨»n¤ ¦·¬´ Å o ¦ª¤nª  n ¦µ¥Å o nµÄ o nµ¥ ¨³ µ¦Á ¨ºÉ° Å®ª ° nª ° Á oµ ° ° ¦·¬´ ¦nª¤ £µ¥®¨´ µ µ¦ ¦´ ¦» Ã¥ µ¥ µ¦ ´ ¸Ä®oÁ } Ã¥ µ¥Á ¸¥ª ´ ´ ° ¨»n¤ ¦·¬´ ´ µ ª´ ¸¤É ¸° · ·¡¨°¥nµ ¤¸ ´¥Îµ ´ ¹ ª´ ¸É µ¦¤¸°· ·¡¨°¥nµ ¤¸ ´¥Îµ ´ ·Ê » ¨ Á¤ºÉ° ¨ µ » ¸É ¨»n¤ ¦·¬ ´ Å o¦´ { nª µ ¦·¬´ ¦nª¤¤¸ µÎ ª Á · ªnµÁ · ¨ » Ä ¦·¬´ ¦nª¤ Á · ¨ » ³ ¼ ° ¨ Á } «¼ ¥r¨³®¥» ¦´ ¦¼onª ¨ µ » Áªo  n ¦ ¸ ¸É ¨»n¤ ¦·¬´ ¤¸£µ¦³ ¼ ¡´ µ¤ ®¤µ¥®¦º°° »¤µ ®¦º°¥· ¥°¤ ¸É ³ 妳£µ¦³ ¼ ¡´ ° ¦·¬´ ¦nª¤
170
รายงานประจำปี 2552 I บริษทั ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
การตัดรายการในงบการเงิ นรวม ยอดคงเหลือและรายการบัญชีระหว่างกิจการในกลุม่ รวมถึงรายไดหรือค่าใช้จ่ายที่ยงั ไม่เกิดขึ้นจริงซึ่งเป็นผลมาจากรายการ ระหว่างกิจการในกลุม่ ถูกตัดรายการในการจัดทางบการเงินรวม กาไรที่ยงั ไม่เกิดขึ้นจริงซึ่งเป็นผลมาจากรายการกับบริษัท ร่วมและกิจการร่วมค้าถูกตัดรายการกับเงิ นลงทุนเท่าที่กลุม่ บริษัทมีสว่ นได้เสียในกิ จการที่ถกู ลงทุนนั้น ขาดทุนที่ยงั ไม่เกิด ขึ้นจริงถูกตัดรายการในลักษณะเดียวกับกาไรที่ยงั ไม่เกิดขึ้นจริง แต่เท่าที่เมื่อไม่มีหลักฐานการด้อยค่าเกิดขึ้น
(ข) เงินตราต่างประเทศ รายการบัญ ชีที่เป็นเงิ นตราต่างประเทศ รายการบัญชีที่เป็นเงิ นตราต่างประเทศแปลงค่าเป็นเงินบาทโดยใช้อัตราแลกเปลีย่ น ณ วันที่เกิดรายการ สินทรัพย์และหนี้สนิ ที่เป็นตัวเงิ นและเป็นเงิ นตราต่างประเทศ ณ วันที่รายงาน แปลงค่าเป็นเงินบาทโดยใช้อัตราแลกเปลีย่ น ณ วันนั้น กาไรหรือขาดทุนจากการแปลงค่าบันทึกในงบกาไรขาดทุน สินทรัพย์และหนี้สนิ ที่ไม่เป็นตัวเงิ นซึ่งเกิดจากรายการบัญชีที่เป็นเงินตราต่างประเทศซึ่งบันทึกตามเกณฑ์ราคาทุนเดิม แปลงค่าเป็นเงิ นบาทโดยใช้อัตราแลกเปลีย่ น ณ วันที่เกิดรายการ กิจการในต่างประเทศ สินทรัพย์และหนี้สนิ ของกิจการในต่างประเทศแปลงค่าเป็นเงินบาทโดยใช้อัตราแลกเปลีย่ น ณ วันที่รายงาน ค่าความนิยมและรายการปรับปรุ งมูลค่ายุติธรรมที่เกิดจากการซื้อกิจการในต่างประเทศ แปลงค่าเป็นเงินบาทโดยใช้อัตรา แลกเปลีย่ น ณ วันที่รายงาน รายได้และค่าใช้จ่ายของกิจการในต่างประเทศ แปลงค่าเป็นเงินบาทโดยใช้อัตราแลกเปลีย่ นที่ใกล้เคียงกับอัตรา ณ วันที่ เกิดรายการ ผลต่างจากอัตราแลกเปลีย่ นที่เกิดจากการแปลงค่าบันทึกไว้เป็นรายการแยกต่างหากในส่วนของผูถ้ อื หุ้น จาหน่ายเงิ นลงทุนนั้นออกไป
จนกว่ามีการ
ในกรณีของการลงทุนสุทธิในกิจการในต่างประเทศของกลุม่ บริษัท โดยในสาระสาคัญแล้วการลงทุนดังกล่าวมีลกั ษณะเป็น รายการที่เป็นตัวเงิ น ผลต่างจากอัตราแลกเปลีย่ นซึ่งเกิดจากรายการที่เป็นตัวเงินและรายการป้องกันความเสีย่ งที่เกีย่ วข้อง ให้บนั ทึกไว้เป็นรายการต่างหากในส่วนของผูถ้ อื หุ้นจนกว่ามีการจาหน่ายเงินลงทุนนั้น
171 ( )
Á ¦ºÉ° ¤º° µ µ¦Á · ¸ÉÁ } ¦µµ¦° »¡´ r Á ¦ºÉ° ¤º° µ µ¦Á · ¸ÉÁ } ¦µµ¦° »¡´ rÅ o ¼ ε¤µÄ oÁ¡ºÉ° ´ µ¦ ªµ¤Á¸É¥ ¸ÉÁ · µ µ¦Á ¨¸É¥  ¨ Ä °´ ¦µÂ¨ Á ¨¸É¥ Á · ¦µ nµ ¦³Á « °´ ¦µ ° Á ¸Ê¥ ¸ÉÁ · µ · ¦¦¤ εÁ · µ ¨³ · ¦¦¤ ´ ®µÁ · Á ¦ºÉ° ¤º° µ µ¦Á · ¸ÉÁ } ¦µµ¦° »¡ ´ rŤnÅ o¤Å¸ ªoÁ¡ºÉ° oµ °¥nµ Ŧ È µ¤ ¦µµ¦° »¡´ r Å¸É ¤nÁ oµÁ ºÉ° Å µ¦ ε® Ä®oÁ } Á ¦ºÉ° ¤º° j° ´ ªµ¤ Á¸É¥ º°Á } ¦µ¥ µ¦Á¡ºÉ° oµ Á ¦ºÉ° ¤º° µ µ¦Á · ¸ÉÁ } ¦µµ¦° »¡´ r ³ ¼ ´ ¹ ´ ¸Ä ´ Ê Â¦ oª¥¤¼¨ nµ¥» · ¦¦¤ nµÄ o nµ¥ ¸ÉÁ · µ µ¦ 妵¥ µ¦ ´ ¨nµª ´ ¹ Ä ÎµÅ¦ µ » Á¤ºÉ°Á · ¹Ê µ¦ª´ ¤¼¨ nµÄ®¤n£µ¥®¨´ µ¦ ´ ¹ ¦´Ê ¦ Ä o¤¼¨ nµ¥» · ¦¦¤ εŦ®¦º° µ » µ µ¦ª´ ¤¼¨ nµÄ®¤nÄ®oÁ } ¤¼¨ nµ¥» · ¦¦¤ ´ ¹ Ä ÎµÅ¦ µ » ¤¼¨ nµ¥» · ¦¦¤ ° ´ µÂ¨ Á ¨¸É¥ °´ ¦µ ° Á ¸Ê¥ º° µ¤¦µ µ°oµ °· ° µ¥® oµ ª´ ¸É¦µ¥ µ ¦µ µ°oµ °· Á®¨nµ ´Ê µ¤µ¦ ° ®µ ªµ¤¤Á® »¤ ¨Å o oª¥ µ¦ · ¨ ¦³¤µ µ¦ ¦³ÂÁ · Ä ° µ £µ¥Ä o o° ε® nµ Ç Â¨³ ª´ ·Ê » °  n¨³´ µ ¨³Ã ¥ µ¦Ä o°´ ¦µ ° Á ¸Ê¥Ä o° ¨µ ° Á ¦ºÉ° ¤º° µ µ¦Á · ¸É ¨oµ¥ ¨¹ ´ ª´ ¸É ¦µ¥ µ ¤¼¨ nµ¥» · ¦¦¤ ° ´ µ ºÊ° µ¥Á · ¦µ nµ ¦³Á «¨nª ® oµ º° µ¤¦µ µ ¨µ ° ´ µ¨nª ® oµ ª´ ¸ÉÄ ¦µ¥ µ oµ¤¸¦µ µ ¨µ Ä ¦ ¸ Å¸É ¤n¤¦¸ µ µ ¨µ Ä®o ¦³¤µ ¤¼¨ nµ¥» · ¦¦¤Ã ¥ µ¦ · ¨ µ ¨ nµ ¦³®ªnµ ¦µ µ¨nª ® oµ µ¤ ´ µ ´ ¦µ µ¨nª ® oµ ° ´ µ { » ´ ª´ ¸É¦µ¥ µ ¸É ¦ ε® Ä ª´ Á ¸¥ª ´ à ¥Ä o° ´ ¦µ ° Á ¸Ê¥ ¦³Á£ ¸ÉÄ o ´ »¦ ¦¦¤ µ¦Á · ¸É ¨° ªµ¤Á¸É¥ Á n ¡´ ´ ¦¦´ µ¨
( )
Á · ¨³¦µ¥ µ¦Á ¸¥ Á nµÁ · Á · ¨³¦µ¥ µ¦Á ¸¥ Á nµÁ · ¦³ ° oª¥ ¥° Á · ¥° Á · µ µ µ¦ ¦³Á£ Á ºÉ°Á¦¸¥ ¨³ Á · ¨ » ¦³¥³´Ê ¸É¤¸£µ¡ ¨n° ¼ Á · Á · Á · ´ ¸ µ µ¦ ¹ É ³ o° 妳 º Á¤ºÉ° ª µ¤ º°Á } nª ® ¹É ° · ¦¦¤ ´ ®µÁ · Ä ¦³ÂÁ ·
( )
¨¼ ® ¸Ê µ¦ oµÂ¨³¨¼ ® ¸Ê°ºÉ ¨¼ ® ¸Ê µ¦ oµÂ¨³¨¼ ® ¸Ê° ºÉ Â Ä ¦µ µ µ¤Ä  o ® ¸Ê®´ nµÁ ºÉ°® ¸Ê ´¥ ³¼ nµÁ ºÉ°® ¸Ê ´¥ ³¼ ¦³Á¤· à ¥ µ¦ª·Á ¦µ³®r ¦³ª´ · µ¦ 妳® ¸Ê ¨³ µ¦ µ µ¦ rÁ ¸É¥ª ´ µ¦ 妳® ¸ÊÄ ° µ ° ¨¼ oµ ¨¼ ® ¸Ê ³ ¼ ´ ε® nµ¥ ´ ¸Á¤ºÉ° ¦µ ªnµÁ } ® ¸Ê¼
172
รายงานประจำปี 2552 I บริษทั ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
(ฉ)
สินค้าคงเหลือ วัตถุดิบ สินค้าระหว่างผลิต และสินค้าสาเร็จรูป สินค้าคงเหลือแสดงในราคาทุนหรือมูลค่าสุทธิที่จะได้รบั แล้วแต่ราคาใดจะต่่ากว่า ต้นทุนของสินค้าค่านวณโดยใช้วธิ ถี วั เฉลีย่ ถ่วงน้่าหนัก ต้นทุนสินค้าประกอบด้วยต้นทุนที่ซื้อ ต้นทุนในการดัดแปลงหรือ ต้นทุน อื่นเพือ่ ให้สนิ ค้ าอยูใ่ นสถานที่และสภาพปัจจุบนั ในกรณีของสินค้าส่าเร็จรูปและสินค้าระหว่างผลิตที่ผลิตเอง ต้นทุน สินค้าค่านวณโดยการปันส่วนของค่าโสหุ้ยการผลิตอย่างเหมาะสม โดยค่านึงถึงระดับก่าลังการผลิตตามปกติ มูลค่าสุทธิที่จะได้รบั เป็นการประมาณราคาที่จะขายได้จา กการด่าเนินธุรกิจปกติหักด้วยค่าใช้จ่ายที่จ่าเป็นในการขาย
(ช) เงินลงทุน เงิ นลงทุนในบริษัทย่อย กิจการที่ควบคุมร่วมกัน และบริษัทร่วม เงิ นลงทุนในบริษัทย่อย กิจการที่ควบคุ มร่วมกัน และบริษัทร่วม ในงบการเงินเฉพาะกิจการของบริษัท บันทึกบัญชีโดยใช้วธิ ี ราคาทุน ส่วนการบันทึกบัญชีเงิ นลงทุนในบริษัทร่วมในงบการเงินรวมใช้วธิ สี ว่ นได้เสีย เงิ นลงทุนในตราสารทุน เงิ นลงทุนในตราสารทุนซึ่งไม่ใช่หลักทรัพย์ในความต้องการของตลาดแสดงในราคาทุนหักขาดทุนจากการด้อยค่า การจาหน่ายเงิ นลงทุน เมื่อมีการจ่าหน่ายเงิ นลงทุน ผลต่างระหว่างจ่านวนเงินสุทธิที่ได้รบั และมูลค่าตามบัญชีจะถูกบันทึกในงบก่าไรขาดทุน ในกรณีที่กลุม่ บริษัท/บริษัทจ่าหน่ายบางส่วนของเงินลงทุนที่ถอื อยู่ การค่านวณต้นทุนส่าหรับเงินลงทุนที่จ่าหน่ายไปและเงิน ลงทุนที่ยงั ถืออยูใ่ ช้วธิ ถี วั เฉลีย่ ถ่วงน้่าหนัก
173 (ซ)
ที่ ดนิ อาคารและอุปกรณ์ สินทรัพย์ที่เป็นกรรมสิทธิข์ องกิจการ ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์แสดงด้วยราคาทุนหักค่าเสือ่ มราคาสะสมและขาดทุนจากการด้อยค่า สินทรัพย์ที่เช่า การเช่าซึ่งกลุม่ บริษัท /บริษัทได้รบั ส่วนใหญ่ของความเสีย่ งและผลตอบแทนจากการครอบครองทรัพย์สนิ ที่เ ช่านั้นๆ ให้จัด ประเภทเป็นสัญญาเช่าการเงิ น ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ที่ได้มาโดยทาสัญญาเช่าการเงินบันทึกเป็นสินทรัพย์ด้วยมูลค่า ยุติธรรมหรือมูลค่าปัจจุบนั ของจานวนเงิ นขั้นต่าที่ต้องจ่ายตามสัญญาเช่าแล้วแต่จานวนใดจะต่ากว่า หักด้วยค่าเสือ่ ม ราคา สะสมและขาดทุนนจากการด้ จากการด้อยค่ อยค่าา ค่ค่าาเช่เช่าาที่ชำระจะแยกเป็ นที่เ่เป็ป็นนค่ค่าาใช้ ใช้จจ่า่ายทางการเงิ ยทางการเงินน และส่ าม สะสมและขาดทุ าระจะแยกเป็นส่ววนที และส่วนที่จะหักจากหนี้ตาม สัญญา เพือ่ ทาให้อัตราดอกเบี้ยแต่ละงวดเป็นอัตราคงที่สาหรับยอดคงเหลือของหนี้สนิ ค่าใช้จ่ายทางการเงินจะบันทึก โดยตรงในงบกาไรขาดทุน ค่าเสือ่ มราคา ค่าเสือ่ มราคาบัน ทึกเป็นค่าใช้จ่ายในงบกาไรขาดทุน คานวณโดยวิธเี ส้นตรงตามเกณฑ์อายุการใช้งานโดยประมาณของสิน ทรัพย์แต่ละรายการ ประมาณการอายุการใช้งานของสินทรัพย์แสดงได้ดังนี้ โรงงาน เครือ่ งจักร และ อุปกรณ์ ระบบท่อเชื่อม เครือ่ งมือ เครือ่ งใช้โรงงาน อาคาร และสิง่ ปลูกสร้างอื่น ส่วนปรับปรุงทรัพย์สนิ ที่เช่า เครือ่ งตกแต่ง ติดตั้ ง และอุปกรณ์สานักงาน ยานพาหนะ กลุม่ บริษัท/บริษัทไม่คิดค่าเสือ่ มราคาสาหรับที่ดินและสินทรัพย์ที่อยูร่ ะหว่างการก่อสร้าง
3-30 7-30 3-15 10-25 6-30 3-20 5
ปี ปี ปี ปี ปี ปี ปี
174
รายงานประจำปี 2552 I บริษทั ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
(ฌ) สินทรัพย์ไม่มีตวั ตน ค่าความนิยม ค่าความนิยมจากการรวมธุรกิจ ได้แก่ ต้นทุนการได้มาของสินทรัพย์สทุ ธิที่ระบุได้สว่ นที่เกินกว่ามูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ สุทธินั้น กลุม่ บริษัทได้มีการเปลีย่ นแปลงนโยบายการบัญชีสาหรับค่าความนิยม ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วนั ที1่ มกราคม 2551 ดังนี้ ค่าความนิยมที่ได้มาก่อนวันที่ 1 มกราคม 2551 ค่าความนิยมแสดงในราคาทุน ณ วันที่เริม่ รับรูร้ ายการและตัดจาหน่ายตามระยะเวลาที่คาดว่าจะได้รบั ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ เป็นเวลา 20 ปีปี ณณ วัวันนทีที่ ่ 11มกราคม มกราคม 2551 2551 กลุม่ บริษัท/บริษัทหยุดตัดจำหน่ จาหน่ายค่าความนิ ความนิยมยอดคงเหลื ยมยอดคงเหลือของค่าความนิยมได้ ถูกทดสอบการด้อยค่าตามที่อธิบายในหมายเหตุประกอบงบการเงิ ระกอบงบการเงินข้อ33(ญ) (ญ) ค่าความนิยมที่ได้มาในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2551 ค่าความนิยมวัดมูลค่าด้วยราคาทุนหักค่าเผือ่ การด้อยค่าสะสม ค่าความนิยมได้ถกู ทดสอบการด้อยค่าตามที่อธิบายในหมาย เหตุปประกอบงบการเงินข้อ 3 (ญ) (ญ) สินทรัพย์ไม่มีตัวตนอื่น ๆ สินทรัพย์ไม่มีตัวตนอื่นๆ ที่กลุม่ บริษัท /บริษัทซื้อมาและมีอายุการใช้งานจากัด แสดงในราคาทุนหักค่าตัดจาหน่ายสะสมและ ขาดทุนจากการด้อยค่าสินทรัพย์ไม่มีตัวตนอื่นถูกตัดจาหน่าย และบันทึกในงบกาไรขาดทุนโดยวิธเี ส้นตรงตามเกณฑ์ระยะ เวลาที่คาดว่าจะได้รบั ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจนับจากวันที่อยูใ่ นสภาพพร้อมใช้งาน ระยะเวลาที่คาดว่าจะได้รบั ประโยชน์เชิง เศรษฐกิจแสดงได้ดังนี้ ค่าสิทธิสาหรับกระบวนการผลิต คอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์ ค่าสิทธิการใช้แนววางท่อ เครือ่ งหมายการค้า
10 - 20 5 - 10 15 10
ปี ปี ปี ปี
175 (ญ)
การด้อยค่า ยอดสินทรัพย์ตามบัญชีของกลุม่ บริษัท/บริษัทได้รบั การทบทวน ณ ทุกวันที่ในรายงานว่ามีข้อบ่งชี้เรือ่ งการด้อยค่าหรือไม่ ใน กรณีที่มีข้อบ่งชี้จะทาการประมาณมูลค่าสินทรัพย์ที่คาดว่าจะได้รบั คืน มูลค่าที่คาดว่าจะได้รบั คืนของค่าความนิยมจะถูก ประมาณ ณ ทุกวันที่รายงานก็ต่อเมื่อมีข้อบ่งชี้เรือ่ งการด้อยค่า ขาดทุนจากการด้อยค่ารับรูเ้ มื่อมูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์ หรือมูลค่าตามบัญชีของหน่วยสินทรัพย์ที่กอ่ ให้เกิดเงินสดสูง กว่ามูลค่าที่จะได้รบั คืนสูงกว่ามูลค่าที่ จะได้รบั คืน ขาดทุนจากการด้อยค่าบันทึกในงบกาไรขาดทุน เว้นแต่เมื่อมีการกลับ รายการการประเมินมูลค่าของสินทรัพย์เพิม่ ของสินทรัพย์ชิ้นเดียวกันที่เคยรับรูใ้ นส่วนของผูถ้ อื หุ้น และมีการด้อยค่าในเวลา ต่อมา ในกรณีนี้ให้รบั รูใ้ นส่วนของผูถ้ อื หุ้น การคานวณมูลค่าที่คาดว่าจะได้รบั คืน มูลค่าที่คาดว่าจะได้รบั คืนของสินทรัพย์ที่ไม่ใช่สนิ ทรัพย์ทางการเงิน หมายถึง มูลค่าจากการใช้ของสินทรัพย์หรือมูลค่า ยุติธรรมของสินทรัพย์หักต้นทุนในการขายแล้วแต่มูลค่าใดจะสูงกว่า ในการประเมินมูลค่าจากการใช้ของสินทรัพย์ ประมาณ การกระแสเงิ นสดที่จะได้รบั ในอนาคตจะคิดลดเป็นมูลค่าปัจจุบนั โดยใช้อัตราคิดลดก่อนคานึงภาษีเงินได้เพือ่ ให้สะท้อนมูล ค่าที่อาจประเมินได้ในตลาดปัจจุบนั ซึ่งแปรไปตามเวลาและความเสีย่ งที่มีต่อสินทรัพย์ สาหรับสินทรัพย์ที่ไม่กอ่ ให้เกิด กระแสเงิ นสดรับโดยอิสระจากสินทรัพย์อื่น จะพิจารณามูลค่าที่คาดว่าจะได้รบั คืนรวมกับหน่วยสินทรัพย์ที่กอ่ ให้เกิดเงินสดที่ สินทรัพย์นั้นเกีย่ วข้องด้วย การกลับรายการด้อยค่า ขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์ทางการเงิน จะถูกกลับรายการ เมื่อมูลค่าที่คาดว่าจะได้รบั คืนเพิม่ ขึ้นในภายหลัง และ การเพิม่ ขึ้นนั้นสัมพันธ์โดยตรงกับขาดทุนจากการด้อยค่าที่เคยรับรู้ ขาดทุนจากการด้อยค่าของค่าความนิ ยมจะไม่มีการปรับปรุงกลับรายการ ขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์ที่ไม่ใช่สนิ ทรัพย์ทางการเงิ นอื่นๆ ที่เคยรับรูใ้ นงวดก่อนจะถูกประเมิน ณ ทุกวันที่ที่ออกรายงานว่ามีข้อบ่งชี้เรือ่ งการด้อยค่าหรือไม่ ขาดทุนจากการด้อยค่าจะถูกกลับรายการ หากมีการเปลีย่ นแปลงประมาณการที่ใช้ในการคา นวณมูลค่าที่คาดว่าจะได้รบั คืน ขาดทุนจากการด้อยค่าจะถูกกลับรายการเพียงเท่าที่มูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์ไม่เกินกว่ามูลค่าตามบัญชีภายหลัง หักค่าเสือ่ มราคาหรือค่าตัดจาหน่าย เสมือนหนึ่งไม่เคยมีการบันทึกขาดทุนจากการด้อยค่ามาก่อน
176
รายงานประจำปี 2552 I บริษทั ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
( )
® ¸Ê· ¸É¤¸£µ¦³ ° Á ¸Ê¥ ® ¸Ê· ¸É¤¸£µ¦³ ° Á ¸Ê¥ ´ ¹ Á¦·É¤Â¦ Ä ¤¼¨ nµ¥» · ¦¦¤®´ nµÄ o nµ¥ ¸ÉÁ ¸É¥ª ´ µ¦Á · ® ¸Ê · £µ¥®¨´ µ µ¦ ´ ¹ ® ¸Ê· ¸É¤¸£µ¦³ ° Á ¸Ê¥ ³ ´ ¹ n°¤µÃ ¥ª· ¸¦µ µ » ´ ε® nµ¥ ¨ nµ ¦³®ªnµ ¥° ® ¸ÊÁ¦·É¤Â¦ ¨³¥° ® ¸ÊÁ¤ºÉ° ¦ ε® Å n ° ³ ´ ¹ Ä ÎµÅ¦ µ » ¨° °µ¥» µ¦ ¼o¥º¤Ã ¥Ä oª· ¸°´ ¦µ ° Á ¸Ê¥ ¸É o ¦·
( )
Á oµ® ¸Ê µ¦ oµÂ¨³Á oµ® ¸Ê°ºÉ Á oµ® ¸Ê µ¦ oµÂ¨³Á oµ® ¸°Ê ºÉ Â Ä ¦µ µ »
( )
¨ ¦³Ã¥ r¡ ´ µ à ¦ µ¦¤ Á · £µ¦³® ¸Ê · µ¤Ã ¦ µ¦¤ Á · ³ ´ ¹ Á } nµÄ o nµ¥Ä εŦ µ » Á¤ºÉ°Á · ¹Ê µ¦ nµ¥Ã ¥Ä o® »o Á } Á r à ¦ µ¦Ä®o· · ºÊ°®»o  n¡ ´ µ ° ¨»n¤ ¦·¬ ´ ° » µ Ä®o ¦¦¤ µ¦ ¨³¡ ´ µ ¤¸· · °ºÊ ®» o ° ¦·¬´ £µ¥Ä o Á ºÉ° Å ¸É ε® ε ª Á · ¸ÅÉ o¦ ´ µ µ¦Ä o· ·» · µ nµÄ o nµ¥Á ¸É¥ª ´ µ¦Ä o· · ³ ¼ ¦´ ¦¼Äo » Á¦º° ®»o ¨³ nª Á · ¤¼¨ nµ®» o Á¤ºÉ°¤¸ µ¦Ä o· · ºÊ°®» o ¨oª
( )
¦³¤µ µ¦® ¸Ê· ¦³¤µ µ¦® ¸Ê · ³¦´ ¦¼oÄ »¨ È n°Á¤ºÉ° ¨»n¤ ¦·¬´ / ¦·¬´ ¤¸£µ¦³® ¸Ê · µ¤ ®¤µ¥ ¸ÉÁ · ¹Ê Ä { » ´ ®¦º° ¸É °n ´ª ¹Ê °´ Á } ¨¤µ µ Á® » µ¦ rÄ ° ¸ ¨³¤¸ ªµ¤Á } Å Å o n° oµ  n ° ªnµ ¦³Ã¥ rÁ · Á«¦¬ · ³ o° ¼ nµ¥Å Á¡ºÉ° 妳£µ¦³® ¸Ê · ´ ¨nµª ¨³µ¤µ¦ ¦³¤µ ε ª £µ¦³® ¸Ê · Å o°¥nµ nµÁ ºÉ° º° oµ ¨ ¦³ ´ ¨nµª¤¸ ε ª ¸ÉÁ } µ¦³Îµ ´ ¦³¤µ µ¦® ¸Ê· ¡· µ¦ µ µ µ¦ · ¨ ¦³ÂÁ · ¸É ³ nµ¥Ä ° µ à ¥Ä o °´ ¦µ · ¨ Ä ¨µ { » ´ n° ε ¹ £µ¬¸Á · Å o Á¡ºÉ°Ä®o³ o° ε ª ¸°É µ ¦³Á¤· Å oÄ ¨µ { » ´ ¹É  ¦Å µ¤Áª¨µÂ¨³ ªµ¤Á¸É¥ ¸É¤¸ n°® ¸Ê·
177 ( )
¦µ¥Å o ¦µ¥Å o ¸É¦´ ¦¼oŤn¦ª¤£µ¬¸¤¼¨ nµÁ¡·É¤Â¨³Â » · µ nª ¨ µ¦ oµ µ¦ µ¥· oµÂ¨³Ä®o ¦· µ¦ ¦µ¥Å o¦´ ¦¼Äo εŦ µ » Á¤º°É Å o𠪵¤Á¸É¥ ¨³ ¨ °  ° ªµ¤Á } Á oµ ° · oµ ¸¤É ¸ ´¥Îµ ´ Å Ä®o ´ ¼o ºÊ°Â¨oª ¨³ ³Å¤n¦´ ¦¼o¦µ¥Å o oµ iµ¥ ¦·®µ¦¥´ ¤¸ µ¦ ª »¤®¦º° ¦·®µ¦· oµ ¸É µ¥Å ¨oª ´Ê ®¦º°¤¸ ªµ¤Å¤n n ° ¸É¤¸ ´¥Îµ ´ Ä µ¦Å o¦´ ¦³Ã¥ rÁ · Á«¦¬ · µ µ¦ µ¥· oµ®¦º°Ä®o ¦· µ¦ ´Ê Ťn°µ ª´ ¤¼¨ nµ ° ε ª ¦µ¥Å o ¨³ o » ¸ÉÁ · ¹Ê Å o°¥nµ nµÁ º°É º° ®¦º°¤¸ ªµ¤Á } Å Å o n° oµ  n ° ¸É ³ o° ¦´ º · oµ ¦µ¥Å o µ µ¦Ä®o ¦· µ¦¦´ ¦¼oÁ¤ºÉ°¤¸ µ¦Ä®o ¦· µ¦ ¦µ¥Å o nµÁ nµ ¦µ¥Å o nµÁ nµ µ °´ ®µ¦·¤ ¦´¡¥rÁ¡ºÉ° µ¦¨ » ¦´ ¦¼Äo εŦ µ » à ¥ª· ¸Áo ¦ ¨° °µ¥»´ µÁ nµ Á¦·É¤Â¦ ¸ÉÁ · ¹Ê Á } µ¦Á ¡µ³Á¡ºÉ°Ä®oÁ · ´ µÁ nµ¦´ ¦¼oÁ } nª ® ¹É ° nµÁ nµ ´Ê ·Ê µ¤´ µ
nµÄ o nµ¥
° Á ¸Ê¥¦´ ¨³Á · { ¨¦´ ° Á ¸Ê¥¦´ ´ ¹ Ä ÎµÅ¦ µ » µ¤Á r oµ Á · { ¨¦´ ´ ¹ Ä ÎµÅ¦ µ » Ä ª´ ¸É ¨»n¤ ¦·¬´ ¤¸ · · Å o¦´ Á · { ¨ ( ) nµÄ o nµ¥ ´ µÁ nµ εÁ · µ ¦µ¥ nµ¥£µ¥Ä o ´ µÁ nµ εÁ · µ ´ ¹ Ä ÎµÅ¦ µ » à ¥ª· ¸Áo ¦ ¨° °µ¥»´ µÁ nµ ¦³Ã¥ r Å¸É o¦´ µ¤´ µÁ nµ ³¦´ ¦¼oÄ ÎµÅ¦ µ » Á } nª ® ¹É ° nµÁ nµ ´ Ê ·Ê µ¤´ µ nµÁ nµ ¸É°µ Á · ¹Ê ³ ´ ¹ Ä ÎµÅ¦ µ » Ä ¦° ´ ¸ ¸É¤¸¦µ¥ µ¦ ´ ¨nµª o » µ µ¦Á · ° Á ¸Ê¥ nµ¥Â¨³ nµÄ o nµ¥Ä ε ° Á ¸¥ª ´ ´ ¹ Ä ÎµÅ¦ µ » Ä ª ¸É nµÄ o nµ¥ ´ ¨nµªÁ · ¹Ê ¥ Áªo Ä ¦ ¸ ¸É¤¸ µ¦ ´ ¹ Á } o » nª ® ¹É ° · ¦´¡¥r °´ Á } ¨¤µ µ µ¦Ä oÁª¨µ¥µª µ Ä µ¦ ´ ®µ n°¦oµ ®¦º° µ¦ ¨· · ¦´¡¥r ´ ¨nµª n° ¸É ³ ε¤µÄ oÁ° ®¦º°Á¡º°É µ¥ ° Á ¸Ê¥ ¹É Á } nª ® ¹É ° nµ ª µ¤´ µÁ nµ µ¦Á · ´ ¹ Ä ÎµÅ¦ µ » à ¥Ä oª· °¸ ´ ¦µ ° Á ¸Ê¥ ¸É o ¦·
178
รายงานประจำปี 2552 I บริษทั ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
(ด) ภาษีเงินได้ ภาษีเงิ นได้จากกาไรหรือขาดทุนสาหรับปีประกอบด้วยภาษีเงินได้ปจั จุ บนั และภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี ภาษีเงินได้รบั รูใ้ นงบกาไรขาดทุนเว้นแต่ในส่วนที่เกีย่ วกับรายการที่บนั ทึกในส่วนของผูถ้ อื หุ้นรับรูโ้ ดยตรงในส่วนของผูถ้ อื หุ้น ภาษีเงิ นได้ปจั จุบนั ภาษี าระโดยคานวณจากกาไรประจาปีที่ต้อทงเสี ภาษียภาษี โดยใช้อัตราภาษี ภาษีเเงิงินนได้ ได้ปปจั ัจจุจุบบนั ันได้ได้แแก่ก่ภภาษี าษีทที่คี่คาดว่ าดว่าจะจ่ าจะจ่ายช ายชำระโดยคำนวณจากกำไรประจำปี ี่ต้อยงเสี ราภาษีทที่ ี่ ประกาศใช้หหรืรืออทีที่ค่คาดว่ าดว่าามีมีผผลบัลบังคังคับบใช้ใช้ณณวันทีวัน่รายงาน ที่รายงาน นที่ในงบดุ ่งเกีย่ ่ยวกัวกับรอบบั บรอบบั ี่คำนวณภาษี ประกาศใช้ ณ วัณ นที่ใวันงบดุ ล ลซึซึ่งเกี ญญ ชีทชีี่คทานวณ ภาษีเงินได้ ปรุงงทางภาษี ทางภาษีทที่เี่ กีย่ วกั วกับบรายการในปี รายการในปีกกอ่ ่อนๆ นๆ ตลอดจนการปรับบปรุ ภาษีเงิ นได้รอการตัดบัญชี ภาษีเงิ นได้รอการตัดบัญชีบนั ทึกโดยคานวณจากผลแตกต่างชั่วคราวที่เกิดขึ้นระหว่างมูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์ และหนี้สนิ และจานวนที่ใช้เพือ่ ความมุ่งหมายทางภาษี ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีจะไม่ถกู รับรูเ้ มื่อเกิดจากผลแตกต่าง ชั่วคราวต่อไปนี้ การรับรูค้ ่าความนิยมในครัง้ แรก การรับรูส้ นิ ทรัพย์หรือหนี้สนิ ในครัง้ แรกซึ่งเป็นรายการที่ไม่ใช่การรวม ธุรกิจและรายการนั้นไม่มีผลกระท บต่อกาไรทางบัญชีหรือกาไรทางภาษี และผลแตกต่างที่เกีย่ วข้องกับเงินลงทุนใน บริษัทย่อยและกิจการร่วมค้ าหากเป็นไปได้วา่ จะไม่ มีการกลับรายการในอนาคตอันใกล้ ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีวดั มูลค่าโดยใช้อัตราภาษีที่คาดว่าจะใช้กบั ผลแตกต่างชั่วคราวเมื่อมีการกลับรายการโดยอิงกับกฎหมายที่ประกาศใช้หรือ ที่คาดว่ามีผลบังคับใช้ ณ วันที่รายงาน สินทรัพย์ภาษีเงิ นได้รอการตัดบัญชี จะบันทึกต่อเมื่อมีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่นอนว่ากาไรเพือ่ เสียภาษีในอนาคตจะ มีจานวนเพียงพอกับการใช้ป ระโยชน์จากผลแตกต่างชั่วคราวดังกล่าว สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีจะถูก ทบทวน ณ ทุกวันที่รายงานและจะถูกปรับลดลงเท่าที่ประโยชน์ทางภาษีจะมีโอกาสถูกใช้จริง
179 4
µ¦ ºÊ° · µ¦ Á¤ºÉ°ª´ ¸É 20 ¤· » µ¥ 2551 ¦·¬´ ¨ » Ä » Á¦º° ®» o ° PTT Chemical International Pte. Ltd. ε ª 205.2 ¨oµ Á®¦¸¥ · à ¦r 宦´ ®» o µ¤´ ε ª 205. 2 ¨oµ ®» o à ¥¤¸¤¼¨ nµ®» o ¸ É ¦µÅªo®»o ¨³ 1 Á®¦¸¥ · à ¦r ¹É · Á } ¦o°¥¨³ 100 ° » Á¦º° ®» o ° PTT Chemical International Pte. Ltd. n°¤µ Á¤ºÉ°ª´ ¸É 23 ¦ µ ¤ 2551 ¦·¬´ PTT Chemical International Pte. Ltd. Å o¨ µ¤Ä ´ µ ºÊ°®» o ° ¦·¬´ Cognis Oleochemicals (M) Sdn Bhd (Á ¨¸É¥ ºÉ°Á } Emery Oleochemical (M) Sdn Bhd ) ¹É ³Á ¸¥ Ä ¦³Á «¤µÁ¨Á ¸¥Ä ´ nª ¦o°¥¨³ 50 ° » ³Á ¸¥ µ ¦·¬´ È° · ¸ª¸ ¹É Á } · µ¦ ¸ÉÁ ¸É¥ª o° ´ Á } ε ª Á · 4,854 ¨oµ µ à ¥· ¦´¡¥r» · ° · µ¦ ¸É ¼ ºÊ° ª´ ¸É ºÊ° »¦ · (ª´ ¸É 24 ¡§« · µ¥ 2551) ¦´ ¦» oª¥¤¼¨ nµ¥» · ¦¦¤ µ¤¦µ¥ µ µ¦ ¦³Á¤· ° ¼o ¦³Á¤· ¦µ µ°·¦³¨ ª´ ¸É 12 ¡§« · µ¥ 2552 ¦³ ° oª¥¦µ¥ µ¦ n°Å ¸Ê ¤¼¨ nµ ¸É¦´ ¦¼o Á · ¨³¦µ¥ µ¦Á ¸¥ Á nµÁ · ¨¼ ® ¸Ê µ¦ oµ · oµ Á®¨º° · ¦´¡¥r®¤» Áª¸¥ °ºÉ Á · ¨ » ¦³¥³¥µª ¸É · °µ µ¦Â¨³°» ¦ r · ¦´¡¥rŤn¤¸ ´ª · ¦´¡¥r£µ¬¸Á · Å o¦° µ¦ ´ ´ ¸ · ¦´¡¥rŤn®¤» Áª¸¥ °ºÉ Á · ¼o¥º¤ ¸É¤¸£µ¦³ ° Á ¸Ê¥ Á oµ® ¸Ê µ¦ oµ ® ¸Ê· ®¤» Áª¸¥ °ºÉ ® ¸Ê· £µ¬¸Á · Å o¦° µ¦ ´ ´ ¸ ® ¸Ê· Ťn®¤» Áª¸¥ °ºÉ nª ° ¼o º°®» o nª o°¥ · ¦´¡¥r¨³® ¸Ê· » · ¸É¦³ »Å o
(¨oµ µ ) 959 2,344 2,276 243 28 3,118 140 23 77 (1,863) (1,429) (619) (44) (593) (273) 4,387
nµ ªµ¤ ·¥¤ µ µ¦ ºÊ° »¦ · ·É ° Â Ä µ¦ ºÊ° ¸ÉÅ o nµ¥Å
434 4,821
Á · ¸ÉÅ o¦´ ¦³ÂÁ · nµ¥ – » ·
(959) 3,862
¦´ ¦» ¤¼¨ nµ¥» · ¦¦¤ ¥° µ¤ ´ ¸ (229) 25 273 69
959 2,344 2,276 243 28 2,889 165 23 77 (1,863) (1,429) (619) (44) (593) 4,456
180
รายงานประจำปี 2552 I บริษทั ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
5
¦µ¥ µ¦ ¸ÉÁ · ¹Ê ¨³¥° Á®¨º° ´ » ¨®¦º° · µ¦ ¸ÉÁ ¸É¥ª o° ´ » ¨®¦º° · µ¦ ¸ÉÁ ¸É¥ª o° ´ Å o n » ¨®¦º° · µ¦ nµ Ç ¸É¤¸ ªµ¤Á ¸É¥ª o° ´ ¨»n¤ ¦·¬´ à ¥ µ¦Á } ¼o °º ®»o ®¦º°¤¸ ¼o °º ®» o ¦nª¤ ´ ®¦º°¤¸ ¦¦¤ µ¦¦nª¤ ´ ¦µ¥ µ¦ ¸É¤ ¸ ¹Ê ´ » ¨®¦º° · µ¦ ¸ÉÁ ¸É¥ª o° ´ Å o ε® ¹ Ê Ã ¥Ä o ¦µ µ ¨µ ®¦º°Ä ¦µ µ µ¤´ µ®µ Ťn¤¸¦µ µ ¨µ ¦° ¦´ ªµ¤´¤¡´ r ¸É ¦·¬´ / ¨»n¤ ¦·¬´ ¤¸ ´ » ¨®¦º° · µ¦ ¸ÉÁ ¸É¥ª o° ´ ¹É ¤¸ µ¦ ª »¤ ®¦º° ª »¤¦nª¤ ´ Ä ¦·¬´ ®¦º°Á } · µ¦ ¸ É ¦·¬´ ª »¤ ®¦º° ª »¤¦nª¤ ´ ®¦º°Á } » ¨®¦º° · µ¦ ¸É¤¸¦µ¥ µ¦ ´ ¸ ´ ¦·¬´ / ¨»n¤ ¦·¬´ ¤¸ ´ ¸Ê ºÉ° · µ¦ ¦·¬´ . ε ´ (¤®µ ) ¦·¬´ µ ° ᨸÁ° ¸¨¸ ε ´ (¤®µ )
¦·¬´ ¸Ã° ¸ Å ¨ °¨ ε ´ ¦·¬´ Å ¥Á° µ °¨Á°¤¸ ε ´ ¦·¬´ Å ¥Ã ¨¸ ¨°Å¦ r ε ´ ¦·¬´ Å ¥Ã°¨¸Ã°Á ¤¸ ε ´
¦·¬´ ¡¸ ¸ ¸ ᨸÁ° ·¨¸ ε ´
¦·¬´ Á°È ¡¸ ¸ Á ¢ ¸Ê ° r Á°È Ū¦° Á¤ °¨ Á °¦rª· ε ´
¦³Á « ¸É ´ ´Ê ¨´ ¬ ³ ªµ¤´¤¡´ r /´ µ · Å ¥ Á } ¼o º°®»o ¦µ¥Ä® n ¨³¤¸ ¦¦¤ µ¦ ¦nª¤ ´ ´ ¦·¬´ Å ¥ Á } ¦·¬´ ¥n°¥ ¦·¬´ º°®» o ¦o°¥¨³ 100 ¤¸ ¦¦¤ µ¦¦nª¤ ´ ´ ¦·¬´ ¨³¤¸ ¼o ¦·®µ¦ ° ¦·¬´ ¸ÉÁ } ¦¦¤ µ¦ Å ¥ Á } ¦·¬´ ¥n°¥ ¦·¬´ º°®» o ¦o°¥¨³ 100 ¨³ ¤¸ ¼o ¦·®µ¦ ° ¦·¬´ ¸ÉÁ } ¦¦¤ µ¦ Å ¥ Á } ¦·¬´ ¥n°¥ ¦·¬´ º°®» o ¦o°¥¨³ 100 ¨³ ¤¸ ¼o ¦·®µ¦ ° ¦·¬´ ¸ÉÁ } ¦¦¤ µ¦ Å ¥ Á } ¦·¬´ ¥n°¥ ¦·¬´ º°®» o ¦o°¥¨³ 100¨³ ¤¸ ¼o ¦·®µ¦ ° ¦·¬´ ¸ÉÁ } ¦¦¤ µ¦ Å ¥ Á } ¦·¬´ ¥n°¥ ¦·¬´ º°®» o ¦o°¥¨³ 100 ¤¸ ¦¦¤ µ¦¦nª¤ ´ ´ ¦·¬´ ¨³¤¸ ¼o ¦·®µ¦ ° ¦·¬´ ¸ÉÁ } ¦¦¤ µ¦ Å ¥ Á } ¦·¬´ ¥n°¥ ¦·¬´ º°®» o ¦o°¥¨³ 100 ¤¸ ¦¦¤ µ¦¦nª¤ ´ ´ ¦·¬´ ¨³¤¸ ¼o ¦·®µ¦ ° ¦·¬´ ¸ÉÁ } ¦¦¤ µ¦ Å ¥ Á } ¦·¬´ ¥n°¥ ¦·¬´ º°®» o ¦o°¥¨³ 100 ¤¸ ¦¦¤ µ¦¦nª¤ ´ ´ ¦·¬´ ¨³¤¸ ¼o ¦·®µ¦ ° ¦·¬´ ¸ÉÁ } ¦¦¤ µ¦
181 ชื่อกิจการ บริษัท พีทีที เมนเทนแนนซ์ แอนด์ เอนจิเนียริง่ จากัด บริษัท ไทยแท้งค์เทอร์มินัล จากัด
บริษัท ไทยอีทอกซีเลท จากัด บริษัท ไทยแฟตตี้แอลกอฮอล์ จจำกั ากั ด
Emery Oleochemical (M) Sdn Bhd
บริษัท พีทีที ยูยูททิลิลติ ิตี้ ี้ จจำกั ากัดด
บริษัท พีทีที ฟีนอล จากัด
ากัดด บริษัท พีทีที โพลี โพลีเเมอร์ มอร์มาร์ มาร์เก็เก็ตตติติ้ ง้งจจำกั
บริษัท วีนิไทย จากัด (มหาชน)
ประเทศที่จัดตัง้ ลักษณะความสัมพันธ์ /สัญชาติ ไทย เป็นบริษัทย่อย บริษัทถือหุ้นร้อยละ 60 และ มีผบู้ ริหารของบริษัทที่เป็นกรรมการ ไทย เป็นบริษัทย่อย บริษัทถือหุ้นร้อยละ 51 มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท และมีผบู้ ริหาร ของบริษัทที่เป็นกรรมการ ไทย เป็นกิจการที่ควบคุมร่วมกัน บริษัทถือหุ้น ร้อยละ 50 ไทย เป็นบริษัทย่อยของบริษัทย่อยของบริษัท บริษัทย่อยของบริษัทถือหุ้นร้อยละ 100 มีกรรมการร่วมกันกับบริษัทและมี ผูบ้ ริหารของบริษัทที่เป็นกรรมการ มาเลเซีย เป็นกิจการที่ควบคุมร่วมกันของบริษัทย่อย บริษัทย่อยถือหุ้นร้อยละ 50 มีกรรมการร่วมกันกับบริษัทและมีผบู้ ริหารของ บริษัทที่เป็นกรรมการ ไทย เป็นบริษัทร่วม บริษัทถือหุ้นร้อยละ40 มีผบู้ ริหารของบริษัทที่เป็นกรรมการและมีผถู้ อื หุ้นรายใหญ่รว่ มกัน ไทย เป็นบริษัทร่วม บริษั ทถือหุ้นร้อยละ 30 มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท มีผบู้ ริหารของ บริษัทที่เป็นกรรมการและมีผถู้ อื หุ้นรายใหญ่ ร่วมกัน ไทย เป็นบริษัทร่วม บริษัทถือหุ้นร้อยละ 25 มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท มีผถู้ อื หุ้นราย ใหญ่รว่ มกันและมีผบู้ ริหารของบริษัทที่เป็น กรรมการ ไทย เป็นบริษัทร่วม บริษัทถือหุ้นร้อยละ 25 มีกรรมการร่วมกันกับบริษัทและมีผบู้ ริหารของ บริษัทที่เป็นกรรมการ
182
รายงานประจำปี 2552 I บริษทั ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
ºÉ° · µ¦ ¦·¬´ ¡¸ ¸ ¸ Å° ¸ ¸ à ¨¼ ´É r ε ´
¦·¬´ °¸Á ·¦ r ¢¨¼°· ¦µ °¦r ε ´
¦·¬´ Å ¥Å ¦¸ · r ε ´
¦·¬´ Á°È Á°È¤ ¸ à ¨¸Á¤°r ε ´ ¦·¬´ Å ¥Ã¡¨·Á° ¸¨ ¸ ε ´ ¦·¬´ Å ¥Ã¡¨·Ã¡¦Å¡¨¸ ε ´ ¦·¬´ Å ¥¡¨µ · ¨³Á ¤¸£´ r ε ´ (¤®µ ) ¦·¬´ Å ¥°· ´Á ¦¸¥¨Â p ε ´ (¤®µ ) ¦·¬´ µ ° °· ´Á ¦¸¥¨Â p ε ´ ¦·¬´ ¦» Á ¡ · · · r ε ´ ¦·¬´ Å°°µ¦r¡¸ ¸ ε ´ (¤®µ ) ¦·¬´ .°³Ã¦Á¤ · r¨³ µ¦ ¨´É ε ´ (¤®µ ) ¦·¬´ .妪 ¨³ ¨· dà ¦Á¨¸¥¤ ε ´ (¤®µ )
¦³Á « ¸É ´ ´Ê ¨´ ¬ ³ ªµ¤´¤¡´ r /´ µ · Å ¥ Á } ¦·¬´ ¦nª¤ ¦·¬´ º°®»o ¦o°¥¨³ 20 ¤¸ ¦¦¤ µ¦¦nª¤ ´ ´ ¦·¬´ ¨³¤¸ ¼o ¦·®µ¦ ° ¦·¬´ ¸ÉÁ } ¦¦¤ µ¦ Å ¥ Á } ¦·¬´ ¦nª¤ ¦·¬´ º°®»o ¦o°¥¨³ 15 ¦·¬´ ¥n°¥ ° ¦·¬´ º°®»o ¦o°¥¨³ 15 ¨³ ¤¸ ¼o ¦·®µ¦ ° ¦·¬´ ¸ÉÁ } ¦¦¤ µ¦ Å ¥ Á } ¦·¬´ ¥n°¥ ° ¦·¬´ ¥n°¥ ° ¦·¬´ ¦·¬´ ¥n°¥ º°®»o ¦o°¥¨³ 100 ¨³¤¸ ¼o ¦·®µ¦ ° ¦·¬´ ¸ÉÁ } ¦¦¤ µ¦ Å ¥ Á } ¼o º°®»o ° ¦·¬´ ¨³¤¸ ¦¦¤ µ¦ ¦nª¤ ´ ´ ¦·¬´ Å ¥ ¤¸ ¼o º°®» o ¦µ¥Ä® n¦nª¤ ´ ¨³¤¸ ¦¦¤ µ¦¦nª¤ ´ ´ ¦·¬´ Å ¥ ¤¸ ¼o º°®» o ¦µ¥Ä® n¦nª¤ ´ ¨³¤¸ ¦¦¤ µ¦¦nª¤ ´ ´ ¦·¬´ Å ¥ ¤¸ ¼o º°®» o ¦µ¥Ä® n¦nª¤ ´ Á } ¼o º°®»o ° ¦·¬´ ¨³¤¸ ¦¦¤ µ¦¦nª¤ ´ ´ ¦·¬´ Å ¥ ¤¸ ¦¦¤ µ¦¦nª¤ ´ ´ ¦·¬´ Å ¥ ¤¸ ¦¦¤ µ¦¦nª¤ ´ ´ ¦·¬´ Å ¥ Á } ¼o º°®»o ° ¦·¬´ ¤¸ ¦¦¤ µ¦ ¦nª¤ ´ ´ ¦·¬´ ¨³¤¸ ¦¦¤ µ¦ ¸ÁÉ } ¼o ¦·®µ¦ Å ¥ ¤¸ ¼o º°®» o ¦µ¥Ä® n¦nª¤ ´ ¨³¤¸ ¦¦¤ µ¦¦nª¤ ´ ´ ¦·¬´ Å ¥ ¤¸ ¼o º°®» o ¦µ¥Ä® n¦nª¤ ´ ¨³¤¸ ¦¦¤ µ¦¦nª¤ ´ ´ ¦·¬´ Å ¥ ¤¸ ¼o º°®» o ¦µ¥Ä® n¦nª¤ ´ ¨³¤¸ ¦¦¤ µ¦¦nª¤ ´ ´ ¦·¬´
183 ºÉ° · µ¦ ¦·¬´ ¦³¥° ðÁ¨¢d r ε ´ ¦·¬´ µ¦r dà ¦Á¨¸¥¤¦¸Å¢ r ·É ε ´
¦³Á « ¸É ´ ´Ê ¨´ ¬ ³ ªµ¤´¤¡´ r /´ µ · Å ¥ ¤¸ o ¼ º°®» o ¦µ¥Ä® n¦nª¤ ´ ¨³¤¸ ¦¦¤ µ¦¦nª¤ ´ ´ ¦·¬´ Å ¥ ¤¸ ¼o º°®» o ¦µ¥Ä® n¦nª¤ ´
¦·¬´ ¥µ¤Å ¦¸ äà Á¤°¦r ε ´
Å ¥
¦·¬´ ¥µ¤¤· »¥ ¡¸ ¸Á° ε ´
Å ¥
¦·¬´ n°n dà ¦Á¨¸¥¤Å ¥ ε ´
Å ¥
¦·¬´ ¡¸ ¸ ¸ ᨸÁ¤°¦r è · · r ε ´
Å ¥
¦·¬´ ·¡¥ ¦³ ´ £´¥ ε ´ (¤®µ )
Å ¥
PTT Chemical International Private Limited
¦·¬´ . Á ¤· °¨ °· Á °¦rÁ ´ É Â ¨ (ε ´ µ · ´ · µ¦£¼¤·£µ °Á ¸¥Â ·¢d ) ε ´ ¦·¬´ ¡¸ ¸ ¸  rÁ °¦r¤ · ´¨ ε ´
· Ã ¦r
Å ¥ Å ¥
PTT Interenational Trading Pte Ltd.
· Ã ¦r
¦·¬´ ¡¸ ¸ ¸ °· Á °¦rÁ ´É  ¨ ε ´
Å ¥
¤¸ ¼o º°®» o ¦µ¥Ä® n¦nª¤ ´ ¨³¤¸ ¦¦¤ µ¦¦nª¤ ´ ´ ¦·¬´ ¤¸ ¼o º°®» o ¦µ¥Ä® n¦nª¤ ´ ¨³¤¸ ¦¦¤ µ¦¦nª¤ ´ ´ ¦·¬´ ¤¸ ¼o º°®» o ¦µ¥Ä® n¦nª¤ ´ ¤¸ ¼o º°®» o ¦µ¥Ä® n¦nª¤ ´ ¤¸ ¦¦¤ µ¦¦nª¤ ´ ´ ¦·¬´ ¨³¤¸ ¼o ¦·®µ¦ ° ¦·¬ ´ ¸ÉÁ } ¦¦¤ µ¦ ¤¸ ¼o º°®» o ¦µ¥Ä® n¦nª¤ ´ Á } ¦·¬´ ¥n°¥ ¦·¬´ º°®»o ¦o°¥¨³ 100 ¤¸ ¦¦¤ µ¦¦nª¤ ´ ´ ¦·¬´ ¨³¤¸ ¼o ¦·®µ¦ ° ¦·¬ ´ ¸ÉÁ } ¦¦¤ µ¦ Á } ¦·¬´ ¥n°¥ ¦·¬´ º°®» o ¦o°¥¨³ 100 ¨³¤¸ ¦¦¤ µ¦¦nª¤ ´ ¤¸ ¼o º°®» o ¦µ¥Ä® n¦nª¤ ´ ¨³¤¸ ¦¦¤ µ¦¦nª¤ ´ ´ ¦·¬´ ¤¸ ¼o º°®» o ¦µ¥Ä® n¦nª¤ ´ ¨³¤¸ ¦¦¤ µ¦¦nª¤ ´ ´ ¦·¬´ ¤¸ ¼o º°®» o ¦µ¥Ä® n¦nª¤ ´ ¨³¤¸ ¦¦¤ µ¦¦nª¤ ´ ´ ¦·¬´
184
รายงานประจำปี 2552 I บริษทั ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
นโยบายการกาหนดราคาสาหรับรายการแต่ละประเภทอธิบายได้ดังต่อไปนี้: รายการ รายได้จากการขายสินค้า รายได้ค่าบริการ ซื้อสินค้า / วัตถุดิบ ดอกเบี้ยเงินกู้
นโยบายการกาหนดราคา ราคาตามสัญญา / ราคาตลาดภูมิภาค / ราคาตลาดโลก ราคาตามสัญญา ราคาตามสัญญา / ราคาตลาด ต้นทุนถัวเฉลี่ยของเงินกู้ยืม
รายการที่สาคัญกับบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกันสาหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551 สรุปได้ดังนี้ งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551 2552 2551 (ล้านบาท) ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ขายสินค้าหรือการให้บริการ 4,485 4,632 1,742 1,821 ซื้อสินค้าหรือบริการ 38,159 43,735 38,076 43,554 รายได้อื่น 12 12 12 12 ค่าใช้จ่ายอื่น 71 98 36 79 บริษัทย่อย ขายสินค้าหรือการให้บริการ 17,147 14,869 ซื้อสินค้าหรือบริการ 793 730 รายได้อื่น 353 321 ค่าใช้จ่ายอื่น 208 125 ดอกเบี้ยรับ 1,816 1,131 กิจการที่ควบคุมร่วมกัน รายได้อื่น 31 7 บริษัทร่วม ขายสินค้าหรือการให้บริการ 29,004 29,757 17,410 19,362 ซื้อสินค้าหรือบริการ 1,410 913 68 108 รายได้อื่น ค่าใช้จ่ายอื่น
78 166
144 151
77 139
143 132
185 งบการเงินรวม 2552 2551 กิจการอื่นที่เกี่ยวข้องกัน ขายสินค้าหรือการให้บริการ ซื้อสินค้าหรือบริการ รายได้อื่น ค่าใช้จ่ายอื่น
22,448 2,096 31 59
(ล้านบาท)
33,337 1,318 2 122
งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551
21,545 1,586 31 7
29,958 327 2 93
ยอดคงเหลือกับบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551 มีดังนี้ ลูกหนี้การค้า-กิจการที่เกี่ยวข้องกัน
ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ บริษัท ปตท. จากัด (มหาชน) บริษัทย่อย บริษัท บางกอกโพลีเอททีลีน จากัด (มหาชน) บริษัท พีทีที โพลีเอทิลีน จากัด บริษัท ทีโอซี ไกลคอล จากัด บริษัท ไทยโอลีโอเคมี จากัด บริษัท ไทยแท้งค์เทอร์มินัล จากัด บริษัท ไทยสไตรีนิคส์ จากัด บริษัท ไทยเอทานอลเอมีน จากัด บริษัทร่วม บริษัท พีทีที ยูทิลิตี้ จากัด บริษัท พีทีที ฟีนอล จากัด บริษัท พีทีที โพลีเมอร์ มาร์เก็ตติ้ง จากัด บริษัท วีนิไทย จากัด (มหาชน)
งบการเงินรวม 2552 2551
(ล้านบาท)
งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551
352
190
173
76
-
-
1,188 507 686 7 10 5 1
530 406 4 6 1 -
66 265 1,605 608
46 143 1,504 138
247 464 605
111 758 134
186
รายงานประจำปี 2552 I บริษทั ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
¨¼ ® ¸Ê µ¦ oµ- · µ¦ ¸ÉÁ ¸É¥ª o° ´
· µ¦°ºÉ ¸ÉÁ ¸É¥ª o° ´ ¦·¬´ Á°È Á°È¤ ¸ à ¨¸Á¤°r ε ´ ¦·¬´ Å ¥Ã¡¨·Á° ¸¨ ¸ ε ´ ¦·¬´ Å ¥Ã¡¨·Ã¡¦Å¡¨¸ ε ´ ¦·¬´ Å ¥¡¨µ · ¨³Á ¤¸£´ r ε ´ (¤®µ ) ¦·¬´ Å ¥°· ´Á ¦¸¥¨Â p ε ´ (¤®µ ) ¦·¬´ µ ° °· ´Á ¦¸¥¨Â p ε ´ ¦·¬´ ¦» Á ¡ · · · r ε ´ ¦·¬´ Å°°µ¦r¡¸ ¸ ε ´ (¤®µ ) ¦·¬´ . °³Ã¦Á¤ · r¨³ µ¦ ¨´É ε ´ (¤®µ ) ¦·¬´ . 妪 ¨³ ¨· dà ¦Á¨¸¥¤ ε ´ (¤®µ ) ¦·¬´ ¥µ¤Å ¦¸ äà Á¤°¦r ε ´ ¦·¬´ µ¦r dà ¦Á¨¸¥¤¦¸Å¢ r ·É ε ´ ¦·¬´ ¥µ¤¤· »¥ ¡¸ ¸Á° ε ´ ¦·¬´ ° ·Å ¥ ε ´ PT Cognis Indonesia °ºÉ Ç ®´ nµÁ ºÉ°® ¸Ê ´¥ ³¼ » · ® ¸Ê¼ ¨³® ¸Ê ´¥ ³¼ 宦´ e
µ¦Á · ¦ª¤ 2552 2551
µ¦Á · Á ¡µ³ · µ¦ 2552 2551 (¨oµ µ )
291 215 292
316 212 54
286 215 292
314 212 54
226 3 2 135 365
176 5 9 43 1
226 3 2 134 365
176 9 42 -
335
53
309
27
6 230 8 6 184 5,194 5,194
5 1 12 2 103 4 3,017 3,017
230 168 6,123 6,123
1 2,861 2,861
-
-
-
-
187 ลูกหนี้ อื่น-กิจการที่ เกี่ยวข้องกัน
ผู้ถือหุ้ นรายใหญ่ บริษัท ปตท. จากัด (มหาชน) บริ ษัทย่อย บริษัท บางกอกโพลีเอททีลนี จากัด (มหาชน) บริษัท ทีโอซี ไกลคอล จากัด บริษัท ไทยเอทานอลเอมีน จากัด บริษัท ไทยโคลีนคลอไรด์ จากัด บริษัท ไทยโอลีโอเคมี จากัด บริษัท พีทีที โพลีเอทิลนี จากัด บริษัท เอ็นพีซี เซฟตี้ แอนด์ เอ็นไวรอนเมนทอล เซอร์วสิ จากัด บริษัท พีทีที เมนเทนแนนซ์ แอนด์ เอนจิเนียริง่ จากัด บริษัท ไทยแท้งค์เทอร์มินัล จากัด บริษัท ไทยแฟตตี้ แอลกอฮอล์ จากัด บริษัท ปตท. เคมิคอล อินเตอร์เนชั่นนอล (สานักงานปฎิบตั ิการภูมิภาค แอเชียแปซิฟคิ ) จากัด กิจการที่ ควบคุมร่ วมกัน ากัดด บริษัทไทยอี ไทยอีททอกซี อกซีเเลท ลทจจำกั บริ ษัทร่ วม บริษัท พีทีที ยูทิลติ ี้ จจำกั ากัดด บริษัท พีทีที ฟีนอล จากัด บริษัท พีทีที โพลี โพลีเเมอร์ มอร์ มาร์ มาร์เเก็ก็ตตติติ้ ง้ง จจำกั ากัดด บริษัท พีทีที ไอซีที โซลูชั่นส์ จากัด กิจการอื่นที่ เกี่ยวข้องกัน บริษัท คอกนิสไทย จากัด หัก ค่าเผือ่ หนี้สงสัยจะสูญ สุทธิ หนี้สญ ู และหนี้สงสัยจะสูญสาหรับปี
งบการเงินรวม 2552 2551
งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551 (ล้านบาท)
4
11
4
5
-
-
5 8 6 1 19 22
9 14 7 3 11 34
-
-
10 55
-
-
8 1 1 -
-
-
2
-
-
-
2
2
3 1 718 23
4 2 14
3 2 22
4 2 14
749 749
2 33 33
106 106
173 173
-
-
-
-
1 2
188
รายงานประจำปี 2552 I บริษทั ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
Á · Ä®o ¼o¥º¤Â n · µ¦ ¸ÉÁ ¸É¥ª o° ´ Á · Ä®o ¼o¥º¤¦³¥³´Ê ¦·¬´ ¥n°¥ ¦·¬´ µ ° ᨸÁ° ¸¨¸ ε ´ (¤®µ ) ¦·¬´ ¡¸ ¸ ¸ ᨸÁ° ·¨¸ ε ´ ¦·¬´ Á°È ¡¸ ¸ Á ¢ ¸Ê ° r Á°È Ū¦° Á¤ °¨ Á °¦rª· ε ´ ¦·¬´ Å ¥Ã°¨¸Ã°Á ¤¸ ε ´ บริ¬ษ´ ัทÅ ¥Á° µ °¨Á°¤¸ ไทยเอทานอลเอมี น εจำกั ¦· ´ ด
°´ ¦µ ° Á ¸Ê¥ 2552 2551 (¦o°¥¨³ n° e)
4.93-5.14 4.93-5.14
µ¦Á · ¦ª¤ 2552 2551
-
4.93-5.14 5.4-5.6 4.93-5.14 5.4-5.75 4.93-5.14 5.4-5.6
®´ nµÁ ºÉ°® ¸Ê ´¥ ³¼
-
-
310 600
-
-
-
290 8,580 1,497 11,277 -
230 7,215 550 7,995
-
-
11,277
7,995
4.93-5.14 5.4-5.75
-
-
4,040
2,030
4.93-5.14 5.4-5.75
-
-
25,300 29,340
19,648 21,678
(3,313)
-
26,027
21,678
Á · Ä®o ¼o¥º¤¦³¥³´Ê  n · µ¦ ¸ÉÁ ¸É¥ª o° ´ - » · Á · Ä®o ¼o¥º¤¦³¥³¥µª ¦·¬´ ¥n°¥ ¦·¬´ µ ° ᨸÁ° ¸¨¸ ε ´ (¤®µ ) ¦·¬´ ¡¸ ¸ ¸ ᨸÁ° ·¨¸ ε ´
µ¦Á · Á ¡µ³ · µ¦ 2552 2551 (¨oµ µ )
®´ nª ¸É ¹ ε® ε¦³ £µ¥Ä ® ¹É e ®´ nµÁ ºÉ°® ¸Ê ´¥ ³¼ Á · Ä®o ¼o¥º¤¦³¥³¥µªÂ n · µ¦ ¸ÉÁ ¸É¥ª o° ´ - » ·
-
-
189 งบการเงินรวม 2552 2551
งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551 (ล้านบาท)
สรุปเงินให้กู้ยืมแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกัน เงินให้กู้ยืมระยะสั้น เงินให้กู้ยืมระยะยาวส่วนที่ถึงกาหนดชาระภายในหนึ่งปี เงินให้กู้ยืมระยะยาว หัก ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ รวมเงินให้กู้ยืมแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกัน - สุทธิ
-
-
11,277 3,313 26,027 40,617 40,617
7,995 21,678 29,673 29,673
หนี้สูญและหนี้สงสัยจะสูญสาหรับปี
-
-
-
-
รายการเคลื่อนไหวของเงินให้กู้ยืมแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกันสาหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551 มี ดังนี้ งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะกิจการ เงินให้กู้ยืมแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกัน 2552 2551 2552 2551 (ล้านบาท) เงินให้กู้ยืมระยะสั้น บริษัทย่อย ณ วันที่ 1 มกราคม 7,995 4,400 เพิ่มขึ้น 4,402 3,695 ลดลง (1,120) (100) ณ วันที่ 31 ธันวาคม 11,277 7,995 เงินให้กู้ยืมระยะยาว บริษัทย่อย ณ วันที่ 1 มกราคม เพิ่มขึ้น ครบกาหนดชาระในหนึ่งปี ลดลง ณ วันที่ 31 ธันวาคม
-
-
21,678 7,662 (3,313) 26,027
-
6,163 17,438 (1,923) 21,678
190
รายงานประจำปี 2552 I บริษทั ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
งบการเงินรวม 2552 2551 เงินลงทุนในบริษัทย่อย (หมายเหตุ 9)
-
งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551 (ล้านบาท) 38,392 33,753 -
เงินลงทุนในกิจการที่ควบคุมร่วมกัน (หมายเหตุ 9)
-
-
210
210
8,370
8,000
8,478
8,150
เงินลงทุนในบริษัทร่วม (หมายเหตุ 10) เงินจ่ายล่วงหน้าค่างานระหว่างก่อสร้างกิจการที่เกี่ยวข้องกัน บริษัทย่อย บริษัท พีทีที เมนเทนแนนซ์ แอนด์ เอนจิเนียริ่ง จากัด เจ้าหนี้การค้า-กิจการที่เกี่ยวข้องกัน
ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ บริษัท ปตท. จากัด (มหาชน) บริษัทร่วม บริษัท พีทีที ยูทิลิตี้ จากัด กิจการอื่นที่เกี่ยวข้องกัน บริษัท ไทยพลาสติกและเคมีภัณฑ์ จากัด (มหาชน) บริษัท ไทยอินดัสเตรียลแก๊ส จากัด บริษัท บางกอกอินดัสเทรียลแก๊ส จากัด บริษัท กรุงเทพซินธิติกส์ จากัด บริษัท ไออาร์พีซี จากัด (มหาชน) บริษัท สยามสไตรีนโมโนเมอร์ จากัด บริษัท โวแพ็ค โฮลดิ้ง อินเตอร์เนชั่นแนล บี.วี. บริษัท คอกนิสไทย จากัด รวม
งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551 2552 2551 (ล้านบาท) -
-
งบการเงินรวม
7
128
งบการเงินเฉพาะกิจการ
2552
2551
4,076
1,486
4,076
1,485
-
103
-
1
1 6 13 41 4,137
1 10 10 4 44 157 5 1,820
5 8 4,089
5 4 1,495
(ล้านบาท)
2552
2551
191 เจ้าหนี้ อื่น-กิจการที่ เกี่ยวข้องกัน
ผู้ถือหุ้ นรายใหญ่ บริษัท ปตท. จากัด (มหาชน) บริ ษัทย่อย บริษัท บางกอกโพลีเอททีลนี จากัด (มหาชน) บริษัท ทีโอซี ไกลคอล จากัด บริษัท ไทยโอลีโอเคมี จากัด แอนด์ บริษัท เอ็นพีซี เซฟตี้ แอนด์ นไวรอนเมนทอล เซอร์วสิ จากัด เอ็ บริษัท พีทีที เมนเทนแนนซ์ แอนด์ เอนจิเนียริง่ จากัด บริษัทไทยแท้ ากัดด ไทยแท้งงค์ค์เเทอร์ ทอร์มมินินลั ัลจจำกั บริษัท ไทยโคลีนคลอไรด์ จากัด บริษัท ไทยเอทานอลเอมีน จากัด บริ ษัทร่ วม บริษัท วีนิไทย จากัด (มหาชน) บริษัท พีทีที ยูททิลิ ติ ตี้ ี้ จจำกั ากัดด บริษัท พีทีที ไอซีที โซลูชั่นส์ จากัด บริษัท อีสเทิรน์ ฟลูอิด ทรานสปอร์ต จากัด กิจการอื่นที่ เกี่ยวข้องกัน บริษัท ไทยพลาสติกและเคมีภัณฑ์ จากัด (มหาชน) บริษัท ไทยอินดัสเตรียลแก๊ส จากัด (มหาชน) บริษัท บางกอกอินดัสเทรียลแก๊ส จากัด บริษัท ไออาร์พซี ี จากัด (มหาชน) บริษัท ปตท. อะโรเมติกส์และการกลัน่ จากัด (มหาชน) บริษัท พีทีที โพลีเมอร์ โลจิสติกส์ จากัด บริษัท ทิพยประกันภัย จากัด (มหาชน)
งบการเงินรวม 2552 2551
งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551 (ล้านบาท)
28
74
4
52
-
-
14 7 5
28 6 6
-
-
11
21
-
-
80 2 1 1
336 4 -
1 300 59 4
1 4 37 2
1 1 59 2
1 32 2
1 7 2 11
1 12 1 2
1 5 10
1 10 1 2
59 13
3 17 13
2 13
3 11 10
192
รายงานประจำปี 2552 I บริษทั ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
Á oµ® ¸Ê°ºÉ - · µ¦ ¸ÉÁ ¸É¥ª o° ´
¦·¬´ Å ¥Ã¡¨¸Ã¡¦Å¡¨¸ ε ´ ¦·¬´ ¦» Á ¡ · · · r ε ´ ¦·¬´ ° ·Å ¥ ε ´ ¦ª¤ Á oµ® ¸Ê ¼o¦´ Á®¤µ- · µ¦ ¸ÉÁ ¸É¥ª o° ´
µ¦Á · ¦ª¤ 2552 2551
µ¦Á · Á ¡µ³ · µ¦ 2552 2551 (¨oµ µ ) 3 1 168 222 526
4 61 550 µ¦Á · ¦ª¤ 2552
¦·¬´ ¥n°¥ ¦·¬´ ¡¸ ¸ ¸ Á¤ Á  r ° r Á° ·Á ¸¥¦·É ε ´ ¦·¬´ ¦nª¤ ¦·¬´ ¡¸ ¸ ¸ ¥¼ ·¨· ¸Ê ε ´ ¦·¬´ ¡¸ ¸ ¸ Å° ¸ ¸ à ¨¼ ´É r ε ´ · µ¦°ºÉ ¸ÉÁ ¸É¥ª o° ´ ¦·¬´ µ ° °· ´Á ¦¸¥¨Â p ε ´ ¦ª¤
-
µ¦Á · Á ¡µ³ · µ¦ 2551 2552 2551 (¨oµ µ ) -
156 156
8
4 2
-
2
-
1 7
-
158
8
´ µÎµ ´ ¸É ε ´ » ¨®¦º° · µ¦ ¸ÉÁ ¸É¥ª o° ´ ´ µÁ · Ä®o ¼o¥º¤ Á¤ºÉ°ª´ ¸É 31 · ®µ ¤ 2550 ¦·¬´ Å o¨ µ¤´ µÁ · Ä®o ¼o¥¤º à ¥Å¤n¤®¸ ¨´ ¦³ ´  n ¦·¬ ´ ¡¸ ¸ ¸ ᨸÁ° ·¨ ¸ ε ´ ª Á · 26,700 ¨oµ µ à ¥Â n Á } Á · ¼o¥º¤¦³¥³¥µª ε ª 25,300 ¨oµ µ ¨³ª Á · ¼o¥¤º ¦³¥³´ Ê Îµ ª 1,400 ¨oµ µ Á · Ä®o ¼o¥º¤ ´ ¨nµª¤¸°´ ¦µ ° Á ¸Ê¥Á nµ ´ o » ´ªÁ ¨¸¥É Á · » ° ¦·¬ ´ à ¥Á · Ä®o ¥¼o º¤¦³¥³¥µª ¸¤Ê ¸ µÎ ® 妳 º » ¦µ¥Å ¦¤µÁ¦·¤É ´Ê  nÁ º° ¤· » µ¥ 2553 £µ¥Ä ¦³¥³Áª¨µ 5 e
193 Á¤ºÉ°ª´ ¸É 5 ´ ¥µ¥ 2550 ¦·¬´ Å o¨ µ¤´ µÁ · Ä®o ¼o¥º¤Ã ¥Å¤n¤®¸ ¨´ ¦³ ´  n ¦·¬´ µ ° ᨸÁ° ¸¨¸ ε ´ (¤®µ ) ª Á · 5,105 ¨oµ µ à ¥Â n Á } Á · ¼o¥º¤¦³¥³¥µª ε ª 4,605 ¨oµ µ ¨³ª Á · ¼o¥º¤¦³¥³´ Ê Îµ ª 500 ¨oµ µ Á · Ä®o ¥¼o º¤ ´ ¨nµª¤¸°´ ¦µ ° Á ¸Ê¥Á nµ ´ o » ´ªÁ ¨¸É¥Á · » ° ¦·¬´ à ¥Á · Ä®o ¼o¥º¤ ¦³¥³¥µª ¸¤Ê ¸ ε® ε¦³ º » ¦µ¥ ¦¹É eÁ¦·É¤ ´Ê  nÁ º° ¤· » µ¥ 2554 £µ¥Ä ¦³¥³Áª¨µ 5 e ´ µ ºÊ° µ¥ ¨· £´ r Á¤ºÉ°ª´ ¸É 16 ´ ªµ ¤ 2535 ¦·¬´ Å o ε´ µ ºÊ° µ¥ ¨· £´ rðÁ¨¢d r (Olefins Sales Agreement) ´ ¨»n¤ ¦·¬´ dà ¦Á ¤¸ ´Ê n°Á ºÉ° 5 ¦·¬´ ¦³¥³Áª¨µ ° ´ µ 15 e ´ µ ª´ ¸É 1 ¤· » µ¥ 2538 £µ¥Ä o o° ε® ° ´ µ ¦·¬´ ´ ¨nµªÅ o¦´ ¦³ ´ µ¦ ºÊ° ¨· £´ rðÁ¨¢d rŤn o°¥ ªnµ ε ª µ¤ ¸É ε® Ä ´ µ 宦´ ¦µ µ µ¥ ¨· £´ rðÁ¨¢d r ³Á } ¦µ µ ¸°É oµ °· ¦µ µ ¨µ è Á¤ºÉ°ª´ ¸É 6 »¤£µ¡´ r 2545 ¦·¬´ Å o ε´ µ ºÊ° µ¥Á° ·¨¸ µ nª ¥µ¥ ε¨´ µ¦ ¨· ´ ¦·¬´ . ε ´ (¤®µ ) ¦³¥³Áª¨µ ° ´ µ 7 e ´ µ ª´ ¸É ¦·¬´ Á¦·É¤ εÁ · ¡µ · ¥ · ° æ µ nª ¸É ¥µ¥ ε¨´ µ¦ ¨· Å o宦´ ¦µ µ µ¥ ³Á } ¦µ µ ¸°É oµ °· ¦µ µ ¨µ è Á¤ºÉ°ª´ ¸É 1 ¦ µ ¤ 2546 ¦·¬´ Å o ε´ µ ºÊ° µ¥Á° ·¨ ¸ ´ ¦·¬´ Å ¥Ã¡¨·Á° ·¨¸ ε ´ ¹É ε® ¦µ µ Á° ·¨¸ à ¥Ä o¦µ µ µ¤´ µ µ ¦µ µÁ ¨¸É¥ ° ¨· £´ rᨷÁ° ·¨¸ (HDPE) ¨³°µ¥»´ µ ³·Ê » Ä e 2559 Á¤ºÉ°ª´ ¸É 1 ¡§« · µ¥ 2546 ¦·¬´ Å o ε´ µ ºÊ° µ¥Á° ·¨¸ ´ ¦·¬´ Å ¥¡¨µ · ¨³Á ¤¸£´ r ε ´ (¤®µ ) ¨³¥ Á¨· o° ¼ ¡´ µ¤´ µ ºÊ° µ¥Ã°Á¨¢d r ´ Á ·¤Â¨³´ µ ºÊ° µ¥Ã°Á¨¢d rnª ¥µ¥Á¡·É¤Á ·¤ à ¥ ε® ¼ ¦Ã ¦ ¦oµ ¦µ µ µ¥Á° ¸¨¸ Ä®¤n ¸É°· ´ ¨µ è ¨³°µ¥»´ µ ³·Ê » Ä e 2559 Á¤ºÉ°ª´ ¸É 25 »¤£µ¡´ r 2547 ¦·¬´ Å o ε´ µ ºÊ° µ¥Ã¡¦¡·¨¸ ´ ¦·¬´ Á°È Á°È¤ ¸ à ¨¸Á¤°r ε ´ à ¥Ä o¦µ µ µ¤´ µ µ ¦µ µÁ ¨¸É¥Ã¡¨·Ã¡¦¡·¨¸ (PP Film) à ¥´ µ ´ ¨nµª¤¸ ¨ ´Ê  nª ´ ¸É 1 ¤ ¦µ ¤ 2547 ¨³°µ¥» ´ µ ³·Ê » Ä ª´ ¸É 31 ´ ªµ ¤ 2559 Á¤ºÉ°ª´ ¸É 1 ¤· » µ¥ 2547 ¦·¬´ Å o ε´ µ ºÊ° µ¥Ã¡¦¡·¨ ¸ ´ ¦·¬´ Å ¥Ã¡¨·Ã¡¦Å¡¨¸ ε ´ à ¥Ä o¦µ µ µ¤´ µ µ ¦µ µÁ ¨¸É¥Ã¡¨·Ã¡¦¡·¨¸ (PP Film) ¨³°µ¥»´ µ ³·Ê » Ä ª´ ¸É 31 ´ ªµ ¤ 2559 Á¤ºÉ°ª´ ¸É 28 »¤£µ¡´ r 2548 ¦·¬´ Å oÁ oµ ε´ µ ºÊ° µ¥Á° ·¨¸ Á¡·É¤Á ·¤ ´ ¦·¬´ ª¸ ·Å ¥ ε ´ (¤®µ ) ¦³¥³Áª¨µ ° ´ µ 15 e ¸É¦µ µ ¨µ à ¥ ¦·¬´ Á¦·É¤ ´ n ¨· £´ r¨³ ´ °µ¥»´ µ ´ ¦·¬´ ª¸ Å· ¥ ε ´ (¤®µ ) Ä Á º° Á¤¬µ¥ 2550
194
รายงานประจำปี 2552 I บริษทั ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
Á¤ºÉ°ª´ ¸É 7 ¦ µ ¤ 2549 ¦·¬´ Å o ε´ µ ºÊ° µ¥ Á° ·¨ ¸ ´ ¦·¬´ ¸Ã° ¸ Å ¨ °¨ ε ´ ¦³¥³Áª¨µ ° ´ µ 15 e 宦´ ¦µ µ µ¥ ³Á } ¦µ µ°oµ °· µ ¦µ µ°¸Á ¸É ¦·¬ ´ . ε ´ (¤®µ ) Á¦¸¥ Á È µ ¦·¬ ´ Á¤ºÉ°ª´ ¸É 25 ¡§¬£µ ¤ 2550 ¦·¬´ Å o ε´ µ ºÊ° µ¥Ã¡¦¡·¨¸ ´ ¦·¬´ ¡¸ ¸ ¸ ¢e °¨ ε ´ ¦³¥³Áª¨µ ° ´ µ 15 e 宦´ ¦µ µ µ¥ ³Á } ¦µ µ°oµ °· µ ¦µ µÃ¡¨·Ã¡¦¡·¨¸ ¨³¦µ µÃ¡¦¡·¨¸ ¨µ è Á¤ºÉ°ª´ ¸É 1 · ®µ ¤ 2552 ¦·¬´ Å o ε µ¦ n°´ µ ºÊ° µ¥Ã¡¦¡·¨¸ ´ ¦·¬´ Aditya Birla Chemicals (Thailand) Limited ¦³¥³Áª¨µ ° ´ µ 5 e 宦´ ¦µ µ µ¥ ³Á } ¦µ µ°oµ °· ¦µ µÃ¡¦¡·¨¸ ¨µ è à ¥´ µ ´ ¨nµª¤¸ ¨ ´Ê  nª´ ¸É 1 · ®µ ¤ 2552 ¨³°µ¥»´ µ·Ê » Ä ª´ ¸É 31 ¦ µ ¤ 2557 ´ µ ºÊ° µ¥ pµ űà ¦Á Á¤ºÉ°ª´ ¸É 1 »¨µ ¤ 2548 ¦·¬´ Å o ε´ µ º°Ê µ¥ pµ űà ¦Á ¦·» ·Í (Pure H2) ´ ¦·¬´ µ ° °· ´Á ¦¸¥¨  p ε ´ à ¥ ε® °µ¥» ´ µ 3 e Á¦·É¤ ´Ê  nª´ ¦´ ¨· £´ r º°ª´ ¸É 23 ¡§« · µ¥ 2548 ¨³µ¤µ¦ n°°µ¥» ´ µÅ o°¸ 1 e ®µ ´Ê ° iµ¥Á®È ° ¦nª¤ ´ Á¤ºÉ°ª´ ¸É 30 ¡§« · µ¥ 2552 ¦·¬´ Å o °n ´ µ ºÊ° µ¥ pµ űà ¦Á (Raw H2) ´ ¦·¬´ ¦» Á ¡ · · · r ε ´ ¨³´ µ ³· Ê » ª´ ¸É 30 ¡§« · µ¥ 2555 ´ µ ºÊ° µ¥Å¡Ã¦Å¨ ¸Â¨³ pµ à ¨¸ Á¤ºÉ°ª´ ¸É 1 ¤ ¦µ ¤ 2544 ¦·¬ ´ Å o ε´ µ º°Ê µ¥Å¡Ã¦Å¨ ¸Â¨³ pµ à ¨¸ ´ ¦·¬´ . °³Ã¦Á¤ · r¨³ µ¦ ¨´É ε ´ (¤®µ ) à ¥ ε® °µ¥»´ µ 15 e Á¦·É¤ ´Ê  nª´ ¦´ ¨· £´ r º°ª´ ¸É 2 ¡§« · µ¥ 2539 ¹ ª´ ¸É 1 ¡§« · µ¥ 2554 ´ µ ºÊ° µ¥¤· r ¸Ã¢ªr ¦·¬´ Å o ε´ µ ºÊ° µ¥¤· r ø ¢ªr ´ ¦·¬´ ¦» Á ¡ · · · r ε ´ ε ª 2 ´ º° ´ ¨ ª´ ¸É 20 »¨µ ¤ 2540 à ¥ ε® °µ¥»´ µ 10 e Á¦·É¤ ´Ê  nª´ ¦´ ¨· £´ r º°ª´ ¸É 8 ´ ¥µ¥ 2540 ¹ ª´ ¸É 7 ´ ¥µ¥ 2551 ¨³ ´ ¨ ª´ ¸É 16 ´ ªµ ¤ 2535 °µ¥»´ µ 15 e Á¦·É¤ ´Ê  nª´ ¦´ ¨· £´ r º°ª´ ¸É 1 ¤· » µ¥ 2538 ¹ ª´ ¸É 31 ¡§¬£µ ¤ 2553
195 สัญญาซื้อขายเทลก๊าซ เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2548 บริษัทได้ทาสัญญาซื้อขายเทลก๊าซ กับบริษัท ทีโอซี ไกลคอล จากัด โดยกาหนดอายุ สัญญา 15 ปี เริ่มตั้งแต่วันรับผลิตภัณฑ์ คือวันที่ 1 สิงหาคม 2550 ถึง วันที่ 31 กรกฎาคม 2565 สัญญาซื้อขายวัตถุดิบและก๊าซเชื้อเพลิง เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2534 บริษัทได้ทาสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติ และก๊าซแอลพีจีจากบริษัท ปตท. จากัด (มหาชน) สัญญาดังกล่าว มีอายุสัญญา 15 ปี โดยเริ่มนับจากวันที่ 1 มิถุนายน 2538 ซึ่งเป็นวันที่บริษัทเริ่มดาเนินพาณิชยกิจ และ สามารถต่อสัญญาได้อีก 5 ปี ตามข้อตกลงของทั้งสองฝ่าย เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2542 บริษัทได้ทาสัญญาซื้อขายแนฟทาเบาและราฟฟิเนท กับบริษัท ปตท. จากัด (มหาชน) สัญญา ดังกล่าวมีผลบังคับใช้ 13 ปี เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2542 บริษัทได้ลงนามในสัญญาซื้อขายวัตถุดิบและสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติ กับบริษัท ปตท . จากัด (มหาชน) โดยสัญญาซื้อขายวัตถุดิบนี้มีโครงสร้างราคาซื้อขายเป็นราคาแปรผัน ตามราคาขายโอเลฟินส์ที่บริษัท ขายให้กับลูกค้าตามที่กาหนดในสัญญาสัญญานี้เริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2542 และมีผลต่อเนื่องไปอีก 12 ปี และสามารถต่อสัญญาได้อีก 5 ปี ตามความเห็นชอบ ของทั้งสองฝ่าย ส่วนสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาตินั้นเป็น สัญญามาตรฐานที่ บริษัท ปตท. จากัด (มหาชน) จาหน่ายให้ผู้ผลิตไฟฟ้ารายย่อย โดยสัญญานี้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2542 และ มีผลต่อเนื่องไปอีก 20 ปี และสามารถต่อสัญญาได้อีก 4 ปี ตามความเห็นชอบของทั้งสองฝ่าย เมื่อวันที่ 1717กันกันยายน ษัทษได้ ทาสั ญญ ญาซื ้อขายก๊ าซอี เทนจากบริ ษัทษัทปตท . จากัดจำกั (มหาชน) โดยสัโดยสั ญญานี ้มีผลบั้มงีผคัลบ ยายน2544 2544บริบริ ัทได้ ทำสั ญาซื ้อขายก๊ าซอี เทนจากบริ ปตท. ด (มหาชน) ญญานี บัง15 คับปีใช้ นั15บตัปี้งแต่ นับวตััน้งทีแต่ ่ 1 สิง2548 หาคมและสามารถต่ 2548 และสามารถต่ อสัญอญาได้ 5 ปีอตามข้ อตกลงของทั ใช้ ่ 1 วสิันงทีหาคม อสัญญาได้ ีก 5 ปีอีกตามข้ ตกลงของทั ้งสองฝ่้งาย2 ฝ่าย เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2546 บริษัทได้แก้ไขสัญญาซื้อขายวัตถุดิบในส่วนของก๊าซอีเทนกับ บริษัท ปตท. จากัด (มหาชน) โดยมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างราคาซื้อขายเป็นราคาแปรผันตามราคาขายโพลิเอทิลีน (HDPE) ของบริษัท ทั้งนี้สัญญา ดังกล่าวมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 กรกฎาคม 2546 โดยอายุของสัญญาสิ้นสุดในปี 2559 เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2547 บริษัทได้ลงนามในสัญญาซื้อขายวัตถุดิบกับบริษัท ปตท. จากัด (มหาชน) โดยแก้ไขสูตร ราคาโพรเพน /LPG จากเดิมที่ใช้หลักการอ้างอิงจากราคาโพรพิลีนเป็นอ้างอิงจากราคาเฉลี่ยโพลิโพรพิลีน (PP Film) โดย ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2547 และขยายอายุของสัญญาจากเดิมสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2553 เป็น สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2559
196
รายงานประจำปี 2552 I บริษทั ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2548 บริษัทย่อยแห่งหนึ่งได้ทาสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติเหลวจาก บริษัท ปตท. จากัด (มหาชน) ระยะเวลาของสัญญา 15 ปี โดยเริ่มนับจากวันที่เริ่มมีการรับมอบ - ส่งมอบกัน และสามารถต่อสัญญาได้ตามเงื่อนไขของ สัญญา เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2551 บริษัทได้ลงนามในการแก้ไขสูตรราคาก๊าซอีเทน โพรเพน และแอลพีจี ในสัญญาซื้อขาย วัตถุดิบกับ ปตท. จากัด (มหาชน) โดยมีผลย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2551 สัญญาซื้อขายสาธารณูปการ เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2542 บริษัทได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ (Memorandum of Understanding) กับ บริษัท บางกอกโพลีเอททีลีน จากัด(มหาชน) เพื่อตกลงจ่ายไฟฟ้าจานวน 12 เมกกะวัตต์ เป็นระยะเวลา 15 ปี โดยเริ่ม จาหน่าย เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2543 เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2550 บริษัทได้ตกลงต่ออายุสัญญากับบริษัท เอ็ชเอ็มซี โปลีเมอส์ จากัด เพื่อจาหน่ายสาธารณูปการ ต่างๆ อาทิ ไฟฟ้า ไอน้า และน้าปรับสภาพเป็นระยะเวลา 10 ปี เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2550 บริษัทได้ตกลงต่ออายุสัญญากับบริษัท ไทยโพลิเอททีลีน จากัด เพื่อจาหน่ายสาธารณูปการ ต่างๆ อาทิ ไฟฟ้า ไอน้า และน้าปรับสภาพเป็นระยะเวลา 10 ปี บริษัทได้ลงนามสัญญาการจาหน่ายไฟฟ้ากับ บริษัท ไทยแท้งเทอร์มินัล จากัด เพื่อจ่ายไฟฟ้าจานวน 2.5 เมกกะวัตต์ เป็นระยะเวลา 15 ปี โดยเริ่มจ่ายไฟฟ้าเมื่อเดือนมกราคม 2545 เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2550 บริษัทได้ตกลงต่ออายุสัญญากับบริษัท ไทยพลาสติกและเคมีภัณฑ์ จากัด (มหาชน) เพื่อ จาหน่าย สาธารณูปการต่างๆ อาทิ ไฟฟ้า ไอน้า และน้าปรับสภาพเป็นระยะเวลา 10 ปี บริษัทได้ลงนามสัญญาการจาหน่ายไฟฟ้ากับบริษัท ไทยพลาสติกและเคมีภัณฑ์ จากัด (มหาชน) PVC 9 เพื่อจ่ายไฟฟ้า จานวน 3 เมกกะวัตต์ เป็นระยะเวลา 5 ปี และสามารถต่ออายุสัญญาได้อีก 5 ปี โดยเริ่มจ่ายไฟฟ้าเมื่อเดือนมกราคม 2550 เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2551 บริษัทได้ลงนามสัญญาซื้อขายไฟฟ้า กับ บริษัท ไทยสไตรีนิคส์ จากัด เพื่อจ่ายไฟฟ้า จานวน 1.2 เมกกะวัตต์ เป็นระยะเวลา 6 ปี สัญญาซื้อขายก๊าซไนโตรเจน เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2546 บริษัทได้ทาสัญญาซื้อขายก๊าซไนโตรเจนกับบริษัท บางกอกอินดัสเทรียลแก๊ส จากัด โดยกาหนดอายุสัญญา 10 ปี เริ่มตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2547 และสามารถต่ออายุสัญญาหรือสิ้นสุดสัญญาโดยบอก กล่าวเป็นลายลักษณ์อักษรแจ้งไปยังอีกฝ่ายหนึ่งเป็นเวลาล่วงหน้า 2 ปี
197 เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2549 บริษัทได้ทาสัญญาซื้อขายก๊าซไนโตรเจนกับบริษัท ไทยอินดัสเทรียลแก๊ส จากัด (มหาชน) โดยกาหนดอายุสญ ั ญา 8 ปี และสามารถสิน้ สุดสัญญาโดยบอกกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษรแจ้งไปยังอีกฝ่ายหนึ่งเป็นเวลา ล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 12 เดือน เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2552 บริษัทได้ลงนามสัญญากับ บริษัท บางกอกอินดัสเทรียลแก๊ส จากัด เพือ่ ซื้อก๊าซไนโตรเจน ให้แก่โรงงาน High Density Polyethylene เป็นระยะเวลา 15 ปี และบริษัทอยูใ่ นระหว่างดาเนินการต่อสัญญาเพือ่ ซื้อก๊าซ ไนโตรเจนให้แก่โรงงาน Jetty and Buffer Tank Farm สัญญาซื้อขายเม็ ดพลาสติก เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2549 บริษัทได้ลงนามในสัญญาซื้อขายเม็ดพลาสติกกับบริษัท พีทีที โพลีเมอร์ มาร์เก็ตติ้ง จากัด โดยมีอายุของสัญญา 15 ปี นับตั้ งแต่วนั ที่ 1 มกราคม 2550 ภายใต้สญ ั ญาซื้อขายเม็ดพลาสติกนี้ บริษัท ได้ขาย ผลิตภัณฑ์เม็ดพลาสติกที่ ผลิตได้ทั้งหมดให้กบั บริษัท พีทีที โพลีเมอร์ มาร์เก็ตติ้ง จากัด เพือ่ นาไปจัดจาหน่ายต่อ ให้กบั ลูกค้าในตลาดต่อไป โดยได้กาหนดให้มีสตู รราคาขายที่อ้างอิงราคาขายผลิตภัณฑ์ให้กบั ลูกค้าปลายทาง ซึ่งเป็นราคา ตลาดเม็ดพลาสติกในแต่ละช่วงเวลานั้น ๆ หักลบด้วยส่วนต่างทางการตลาดที่เหมาะสมและเป็นธรรมกับคู่สญ ั ญาทั้ง สองฝ่าย สัญญาสนับสนุนจากผู้ถือหุ้ น บริษัทในฐานะผูอ้ อกหุ้นกู้ ได้ทาสัญญาสนับสนุนวงเงินสินเชื่อจากผูถ้ อื หุ้น (Shareholder’s Commercial Support Arrangement) กับบริษัท ปตท. จากัด (มหาชน) และผูแ้ ทนผูถ้ อื หุ้นกู้ โดยบริษัท ปตท. จากัด (มหาชน) ให้สนิ เชื่อ ทางการค้า (Commercial Trade Credit) ในวงเงิน 100 ล้านเหรียญสหรัฐกับบริษัท (ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 บริษัท มิได้ใช้สนิ เชื่อดังกล่าว) สัญญาซื้อขายวัตถุดบิ และสาธารณูปการ เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2548 บริษัทย่อยได้ทาสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติ กับ บริษัท ปตท. จากัด (มหาชน) สัญญา ดังกล่าวมีอายุ 15 ปีนับจากวันที่เริม่ มีการรับ -ส่งมอบก๊าซ และสามารถต่ออายุสญ ั ญาโดยบอกกล่าวเป็นลายลักษณ์ อักษรแจ้งไปยังอีกฝ่ายหนึ่งเป็นเวลาล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 6 เดือน เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2550 บริษัทย่อยได้ทาสัญญาซื้อขายไอน้าไฟฟ้า และน้าปราศจากแร่ธาตุ กับ บริษัท พีทีที ยูทีลติ ี้ จากัด สัญญาดังกล่าวมีอายุ 15 ปีนับจากวันที่ 1 มกราคม 2550 เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2551 บริษัทย่อยได้ทาสัญญาซื้อขายไอน้าไฟฟ้า และน้ากับ บริษัท พี ทีที ยูทีลติ ี้ จากัด สัญญา ดังกล่าวมีอายุ 15 ปีนับจากวันที่ 1 กรกฎาคม 2551
198
รายงานประจำปี 2552 I บริษทั ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
´ µ ¦· µ¦ ´ ¦·¬´ ¥n°¥ Á¤ºÉ°ª´ ¸É 24 ´ ªµ ¤ 2551 ¦·¬´ Å o¨ µ¤Ä ´ µ µ¦Ä®o ¦· µ¦Â n ¦·¬´ ¥n°¥ 8 ®n Á¡ºÉ°Ä®o ¦· µ¦ oµ nµ Ç Ã ¥ °´ ¦µ nµ ¦· µ¦ ³ ε µ¦ ¨ ¦nª¤ ´ £µ¥Ä Å ¦¤µ 4 ° » e ´ µ¤¸ ¨ ´ ´ Ä o ´Ê  nª´ 1 ¦ µ ¤ 2551 ¨³ µ¤µ¦ ·Ê » ´ µÃ ¥ ° ¨nµªÄ®o°¸ iµ¥® ¹É ¦µ Á } ¨µ¥¨´ ¬ r°´ ¬¦¨nª ® oµ Ťn °o ¥ ªnµ 3 Á º° Á¤ºÉ°ª´ ¸É 20 »¨µ ¤ 2551 ¦·¬ ´ Å o ε´ µ oµ Á®¤µ°°  n°¦oµ ¨³ · ´Ê ¦³ Á ¦ºÉ° ´ ¦Â¨³°» ¦ rµÎ ®¦´ Interconnecting Pipelines and Cables Package ´ ¦·¬´ ¡¸ ¸ ¸ Á¤ Á  r ° r Á° ·Á ¸¥¦·É ε ´ à ¥¤¸°µ¥» ° ´ µ 1 e 4 Á º° ´ µ ª´ ¸É 6 »¨µ ¤ 2551 ¹ ª´ ¸É 31 ¤ ¦µ ¤ 2553 Á¤ºÉ°ª´ ¸É 26 ¤· » µ¥ 2551 ¦·¬´ Å o ε´ µ oµ Á®¤µ µ ¦³ ´ » £µ¡ µ ¦ª ° °» ¦ r¨³Á ¦ºÉ° ´ ¦ ´ ¦·¬´ ¡¸ ¸ ¸ Á¤ Á  r ° r Á° ·Á ¸¥¦·É ε ´ ¦³¥³Áª¨µ ° ´ µ 3 e ´ µ ª´ ¸É 1 ¤¸ µ ¤ 2551 ¹ ª´ ¸É 28 »¤£µ¡´ r 2554 Á¤ºÉ°ª´ ¸É 1 ¤ ¦µ ¤ 2552 ¦·¬´ Å o¨ µ¤Ä ´ µ ¦·®µ¦ ´ µ¦ ª »¤£µª³ » Á · ´ ´ ¦·¬´ Á°È ¡¸ ¸ Á ¢ ¸Ê ° r Á°È Ū¦° Á¤ °¨ Á °¦rª· ε ´ ¹É ³Ä®o ¦· µ¦ ¸É ¦¹ ¬µÂ¨³ ´ f ° ¦¤ oµ ªµ¤ ¨° £´¥ °µ ¸ª° µ¤´¥ ¨³ ·É ª ¨o°¤ ¨³ ´ ´Ê «¼ ¥r ª »¤£µª³ » Á · ´ µ ´ ¨nµª¤¸°µ¥» 3 e ´ µ ª´ ¸É 1 ¤ ¦µ ¤ 2552 ¹ ª´ ¸É 31 ´ ªµ ¤ 2554 ´ µÁ nµ¡ºÊ ¸Éε ´ µ Á¤ºÉ°ª´ ¸É 19 »¨µ ¤ 2552 ¦·¬´ Å o ε´ µÁ nµ¡ºÊ ¸Éε ´ µ ´ · µ¦ ¸ÉÁ ¸É¥ª o° ´ ®n ® ¹É à ¥´ µ ¸Ê ¤¸ ¨ ´ ´ Ä o ´Ê  nª´ ¸É 1 »¨µ ¤ 2552 ¨³·Ê » ª´ ¸É 30 ´ ¥µ¥ 2555 ¦ª¤¦³¥³Áª¨µ 3 e ¨³µ¤µ¦ ¥µ¥´ µ n°Å °¸ Á } ¦µª Ç ¦µª¨³ 3 e à ¥¤¸°´ ¦µ nµÁ nµ¡ºÊ ¸Éε ´ µ ¨³Á ºÉ° Å o° ¼ ¡´ Á } Å µ¤ ¸É ε® Ä ´ µ ´ µ ¦· µ¦ Á¤ºÉ°ª´ ¸É 19 »¨µ ¤ 2552 ¦·¬´ Å o ε´ µ ¦· µ¦ ´ · µ¦ ¸ÉÁ ¸É¥ª o° ´ ®n ® ¹É Á¡ºÉ°Ä®o ¦· µ¦ nµ Ç £µ¥Ä °µ µ¦ ¨³¡ºÊ ¸ÉÁ nµÃ ¥´ µ ¸Ê¤¸ ¨ ´ ´ Ä o ´Ê  nª´ ¸É 1 »¨µ ¤ 2552 ¨³·Ê » ª´ ¸É 30 ´ ¥µ¥ 2555 ¦ª¤¦³¥³Áª¨µ 3 e ¨³µ¤µ¦ ¥µ¥´ µ n°Å °¸ Á } ¦µª Ç ¦µª¨³ 3 e à ¥¤¸°´ ¦µ nµ ¦· µ¦Â¨³Á ºÉ° Å o° ¼ ¡´ Á } Å µ¤ ¸É ε® Ä ´ µ
199 6
เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด งบการเงินรวม 2552 2551 เงินสดในมือ เงินฝากธนาคารประเภทกระแสรายวัน เงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์ เงินฝากธนาคารประเภทประจา เงินลงทุนระยะสั้นที่มีสภาพคล่องสูง รวม
469 2,026 570 7,985 11,050
1 879 2,060 387 17,848 21,175
(ล้านบาท)
งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551
(2) 469 7,300 7,767
-
729 17,442 18,171
ยอดเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ณ วันที่ 31 ธันวาคม จัดตามประเภทสกุลเงินตราได้ดังนี้ งบการเงินรวม 2552 สกุลเงินบาท สกุลเงินเหรียญสหรัฐอเมริกา สกุลเงินยูโร
10,058 151 404
สกุลเงินริงกิต อื่นๆ รวม 7
ลูกหนี้การค้าและตั๋วเงินรับ หมายเหตุ บุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน บุคคลหรือกิจการอื่นๆ หัก ค่าเผือ่ หนี้สงสัยจะสูญ รวม หนี้สูญและหนี้สงสัยจะสูญสาหรับปี
5
งบการเงินเฉพาะกิจการ 2551 2552 2551 (ล้านบาท) 19,966 7,767 18,169 267 2 512 -
283 154
367 63
-
-
11,050
21,175
7,767
18,171
งบการเงินรวม 2552 5,194 4,489 9,683 (15) 9,668 14
งบการเงินเฉพาะกิจการ 2551 2552 2551 (ล้านบาท) 3,017 6,123 2,861 3,242 234 194 6,259 6,357 3,055 (15) (2) (2) 6,244 6,355 3,053 -
-
-
200
รายงานประจำปี 2552 I บริษทั ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
µ¦ª·Á ¦µ³®r°µ¥» ° ¨¼ ® ¸Ê µ¦ oµ¤¸ ´ ¸Ê
µ¦Á · ¦ª¤ 2552
µ¦Á · Á ¡µ³ · µ¦ 2551 2552 2551 (¨oµ µ )
· µ¦ ¸ÉÁ ¸É¥ª o° ´ ¥´ Ťn ¦ ε® ε¦³ Á · ε® ε¦³ : o°¥ ªnµ 3 Á º° 3 - 6 Á º° 6 - 12 Á º° ¤µ ªnµ 12 Á º° ®´ nµÁ ºÉ°® ¸Ê ´¥ ³¼ » · · µ¦°ºÉ Ç ¥´ Ťn ¦ ε® ε¦³ Á · ε® ε¦³ : o°¥ ªnµ 3 Á º° 3 - 6 Á º° 6 - 12 Á º° ¤µ ªnµ 12 Á º° ®´ nµÁ ºÉ°® ¸Ê ´¥ ³¼ » · ¦ª¤
5,149
2,978
6,118
2,861
45 5,194 5,194
35 4 3,017 3,017
5 6,123 6,123
2,861 2,861
4,007
2,850
231
188
467 3 6 6 4,489 (15) 4,474 9,668
370 11 2 9 3,242 (15) 3,227 6,244
1 2 234 (2) 232 6,355
4 2 194 (2) 192 3,053
à ¥ ·¦³¥³Áª¨µ µ¦Ä®o· Á ºÉ°Â n¨¼ oµ ° ¨»n¤ ¦·¬´ / ¦·¬´ ¤¸¦³¥³Áª¨µ ´Ê  n 19 ª´ ¹ 90 ª´
201 ¥° ¨¼ ® ¸Ê µ¦ oµ ª´ ¸É 31 ´ ªµ ¤ ´ µ¤ ¦³Á£ »¨Á · ¦µÅ o ´ ¸Ê µ¦Á · ¦ª¤ 2552
µ¦Á · Á ¡µ³ · µ¦ 2551
2552
2551
(¨oµ µ )
8
»¨Á · µ
7,053
3,877
6,186
3,055
»¨Á · Á®¦¸¥ ®¦´ °Á¤¦· µ
1,591
1,300
171
-
»¨Á · ¥¼Ã¦
628
649
-
-
°ºÉ Ç
411
433
-
-
¦ª¤
9,683
6,259
6,357
3,055
· oµ Á®¨º° µ¦Á · ¦ª¤ 2552 · oµÎµÁ¦È ¦¼ · oµ¦³®ªnµ ¨· ª´ » · ª´ »Ã¦ µ °³Å®¨n · oµ¦³®ªnµ µ ®´ nµÁ ºÉ°¤¼¨ nµ· oµ¨ ¨ nµÁ ºÉ°· oµÁºÉ°¤£µ¡ » ·
2,707 947 1,702 509 2,650 117 8,632 (95) 8,537
µ¦Á · Á ¡µ³ · µ¦ 2551 2552 2551 (¨oµ µ ) 3,594 865 864 676 1,753 1,070 805 273 213 102 2,034 2,185 1,751 21 6 8,351 4,333 3,528 (773) (284) (17) (11) 7,561 4,333 3,233
Ä e 2552 ¦·¬´ ¨³ ¦·¬ ´ ¥n°¥¦´ ¦¼o nµÁ ºÉ° µ¦ ¦´ ¨ ¤¼¨ nµ· oµ Á®¨º°Ä®oÁ nµ ´ ¤¼¨ nµ» · ¸É ³Å o¦´ Á } ε ª Á · ¨oµ µ ¨³ 95 ¨oµ µ µ¤¨Îµ ´ ¹É Å o¦ª¤Ä ´ ¸ o » µ¥ ε ª Á · (2551: 284 ¨oµ µ ¨³ 773 ¨oµ µ µ¤¨Îµ ´ ) o » ° · oµ Á®¨º° ¸É ´ ¹ Á } nµÄ o nµ¥Â¨³Å o¦ª¤Ä ´ ¸ o » µ¥Îµ®¦´ e·Ê » ª´ ¸É 31 ´ ªµ ¤ 2552 ¤¸ ε ª 70,214 ¨oµ µ (2551: 62,535 ¨oµ µ )
202
รายงานประจำปี 2552 I บริษทั ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
9
เงินลงทุนในบริษัทย่อย และกิจการที่ควบคุมร่วมกัน
บริษัทย่อย ณ วันที่ 1 มกราคม ซื้อเงินลงทุน ค่าเผื่อการด้อยค่า จาหน่าย ณ วันที่ 31 ธันวาคม กิจการที่ควบคุมร่วมกัน ณ วันที่ 1 มกราคม ซื้อเงินลงทุน ค่าเผื่อการด้อยค่า จาหน่าย ณ วันที่ 31 ธันวาคม รวม ณ วันที่ 1 มกราคม ซื้อเงินลงทุน ค่าเผื่อการด้อยค่า จาหน่าย ณ วันที่ 31 ธันวาคม
งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551 (ล้านบาท) 33,753 4,639 38,392
28,478 5,275 33,753
210 210
210 210
33,963 4,639 38,602
28,688 5,275 33,963
บริ ษัทย่อย บริษัท บางกอก โพลีเอททีลนี จากัด (มหาชน) บริษัท ทีโอซี ไกลคอล จากัด บริษัท ไทยเอทานอลเอมีน จากัด บริษัท ไทยโคลีนคลอไรด์ จากัด บริษัท ไทยโอลีโอเคมี จากัด บริษัท พีทีทีโพลีเอทิลนี จากัด บริษัท เอ็นพีซี เซฟตี้ แอนด์ เอ็นไวรอนเมนทอล เซอร์วสิ จากัด
100 100 100 100 100 100
100
100 100 100 100 100 100
100
สัดส่วนความเป็น เจ้าของ 2552 2551 (ร้อยละ)
165
165
165
165
3,664 5,395 900 280 2,400 15,700
วิธรี าคาทุน 2552 2551
1,700 1,700 3,664 5,395 5,395 5,395 900 900 900 280 280 280 2,400 2,400 2,400 19,600 15,100 20,200
ทุนชาระแล้ว 2552 2551
-
-
-
-
การด้อยค่า 2552 2551
165
3,664 5,395 900 280 2,400 20,200
165
3,664 5,395 900 280 2,400 15,700
ราคาทุน-สุทธิ 2552 2551 (ล้านบาท)
งบการเงินเฉพาะกิจการ
เงิ นลงทุนในบริษัทย่อย และกิจการที่ควบคุมร่วมกัน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551 และเงิ นปันผลรับสาหรับแต่ละปีมีดังนี้
-
-
-
-
ราคาตลาดสาหรับ หลักทรัพย์จด ทะเบียนฯ 2552 2551
-
341 -
-
4,336 -
เงิ นปันผลรับ 2552 2551
203
50
กิจการที่ควบคุมร่วมกัน บริษัท ไทย อีทอกซีเลท จากัด
รวม
100
100
50
60 51
60 51
บริษัทย่อย บริษัท พีทีที เมนเทนแนนซ์ แอนด์ เอนจิเนียริ่ง จากัด บริษัท ไทยแท้งค์ เทอร์มินัล จากัด PTT Chemical International Pte. Ltd.
สัดส่วนความเป็น เจ้าของ 2552 2551 (ร้อยละ)
420
4,847
137 900
420
4,765
42 900
ทุนชาระแล้ว 2552 2551
210 210 38,602
4,847 38,392
82 459
210 210 33,963
4,765 33,753
25 459
วิธีราคาทุน 2552 2551
-
-
-
-
-
-
การด้อยค่า 2552 2551
210 210 38,602
4,847 38,392
82 459
210 210 33,963
4,765 33,753
25 459
ราคาทุน-สุทธิ 2552 2551 (ล้านบาท)
งบการเงินเฉพาะกิจการ
-
-
-
-
-
-
ราคาตลาดสาหรับ หลักทรัพย์จด ทะเบียนฯ 2552 2551
25 25 849
824
483
4,747
4,747
411
เงินปันผลรับ 2552 2551
204 รายงานประจำปี 2552 I บริษทั ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
50
50
e 2552 บริ ไทยอี°¸ท อกซี ¦·ษ¬ัท´ Å ¥ ° ¸เÁลท ¨ Îจํµา ´กัด ¦ª¤
e 2551 ¦·ษ¬ัท´ Å ¥ ° ¸เÁลท ¨ Îจํµา ´กัด บริ ไทยอี°¸ท อกซี ¦ª¤
´ nª ªµ¤Á } Á oµ ° (¦o°¥¨³)
314 314
523 523
· ¦´¡¥r ®¤» Áª¸¥
241 241
245 245
· ¦´¡¥rŤn ®¤» Áª¸¥
555 555
768 768
· ¦´¡¥r ¦ª¤
85 85
226 226
143 143
122 122
® ¸Ê· ® ¸Ê· Ťn ®¤» Áª¸¥ ®¤» Áª¸¥ (¨oµ µ )
228 228
348 348
® ¸Ê· ¦ª¤
1,224 1,224
1,183 1,188
¦µ¥Å o ¦ª¤
1,131 1,131
1,072 1,072
nµÄ o nµ¥¦ª¤
o°¤¼¨ µ µ¦Á · à ¥¦» ° · µ¦ ¸É ª »¤¦nª¤ ´ ¹É ¨»n¤ ¦·¬ ´ ´ ¹ Á · ¨ » Ä ¦·¬ ´ ´ ¨nµª µ¤ª· ¸¦ª¤ µ¤´ nª Ä µ¦Á · ¦ª¤ à ¥Â µ¤´ nª ° ¨»n¤ ¦·¬´
93 93
111 111
εŦ
205
206
รายงานประจำปี 2552 I บริษทั ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
Ä µ¦ ¦³ »¤ ³ ¦¦¤ µ¦ ° ¦·¬´ ¸Ã° ¸ Å ¨ °¨ ε ´ Á¤ºÉ°ª´ ¸É 25 ´ ªµ ¤ 2552 ³ ¦¦¤ µ¦¤¸¤ ·° »¤´ · µ¦ ´ ¦¦Á · { ¨Â n ¼o º°®» o Ä °´ ¦µ®»o ¨³ 14.97 µ ε ª Á · 807.63 ¨oµ µ Á · { ¨ ´ ¨nµª Å o nµ¥Ä®o n ¼o º° ®»o Ä ¦³®ªnµ e 2552 ¨³Ä µ¦ ¦³ »¤µ¤´ ¦³ ε e ° ¼o º°®»o ° ¦·¬´ ¸Ã° ¸ Å ¨ °¨ ε ´ Á¤ºÉ°ª´ ¸É 27 Á¤¬µ¥ 2552 ¼o º°®»o ¤¸¤ ·° »¤´ ·Ä®oÁ ¨¸É¥  ¨ µ¦ nµ¥Á · { ¨Ä®o n ¼o º°®»o Á } ®»o ¨³ 20.39 µ ε ª Á · 1,100.04 ¨oµ µ µ Á ·¤®»o ¨³ 29.04 µ ε ª Á · 1,566.71 ¨oµ µ ¹É Å o¦´ ° »¤ ´ · µ ¸É ¦³ »¤ ³ ¦¦¤ µ¦ ° ¦·¬´ ´ ¨nµª Á¤ºÉ°ª´ ¸É 17 ¡§« · µ¥ 2551 Á } ¨Ä®oÁ · { ¨ nµ¥Ä e 2552 Á ¨¸É¥  ¨ Á } ε ª Á · 466.67 ¨oµ µ Ä µ¦ ¦³ »¤ ³ ¦¦¤ µ¦ ° ¦·¬´ ¸Ã° ¸ Å ¨ °¨ ε ´ Á¤ºÉ°ª´ ¸É 17 ¡§« · µ¥ 2551 ³ ¦¦¤ µ¦¤¸¤ ·° »¤´ · µ¦ ´ ¦¦Á · { ¨Â n ¼o º°®» o Ä °´ ¦µ®»o ¨³ 29.04 µ ε ª Á · 1,566.71 ¨oµ µ Á · { ¨ ´ ¨nµª ε ª Á · 1,100.04 ¨oµ µ Å o nµ¥Ä®o n ¼o º°®»o Ä ¦³®ªnµ e 2551 Ä µ¦ ¦³ »¤µ¤´ ¦³ ε e ° ¼o º°®»o ° ¦·¬ ´ ¸Ã° ¸ Å ¨ °¨ ε ´ Á¤ºÉ°ª´ ¸É 29 Á¤¬µ¥ 2551 ¼o º°®»o ¤¸¤ ·° »¤´ · µ¦ ´ ¦¦Á · { ¨Â n ¼o º°®» o Ä °´ ¦µ®»o ¨³ 51.33 µ ε ª Á · 2,769.25 ¨oµ µ Á · { ¨ ´ ¨nµªÅ o nµ¥Ä®o n ¼o º°®»o Ä ¦³®ªnµ e 2551 Ä µ¦ ¦³ »¤µ¤´ ¦³ ε e ° ¼o º°®»o ° ¦·¬ ´ Å ¥Â o rÁ °¦r¤· ´¨ ε ´ Á¤ºÉ°ª´ ¸É 24 Á¤¬µ¥ 2552 ¼o º°®» o ¤¸¤ · ° »¤´ · µ¦ ´ ¦¦ εŦÁ } Á · { ¨Ä °´ ¦µ®»o ¨³ 105.30 µ Á } ε ª Á · ´Ê ·Ê 947.72 ¨oµ µ Á · { ¨ ´ ¨nµª nµ¥Ä®o n ¼o º°®»o Ä ¦³®ªnµ e 2552 Ä µ¦ ¦³ »¤µ¤´ ¦³ ε e ° ¼o º°®»o ° ¦·¬ ´ Å ¥Â o rÁ °¦r¤· ´¨ ε ´ Á¤º°É ª´ ¸É 26 Á¤¬µ¥ 2551 ¼o º°®» o ¤¸¤ · ° »¤´ · µ¦ ´ ¦¦ εŦÁ } Á · { ¨Ä °´ ¦µ®»o ¨³ 89.44 µ Á } ε ª Á · ´Ê ·Ê 805 ¨oµ µ Á · { ¨ ´ ¨nµªÅ o nµ¥Ä®o n ¼o °º ®» o Ä ¦³®ªnµ e 2551 Ä µ¦ ¦³ »¤µ¤´ ¦³ ε e ° ¼o °º ®»o ° ¦·¬ ´ Å ¥°¸ ° ¸Á¨ ε ´ Á¤ºÉ°ª´ ¸É 29 Á¤¬µ¥ 2552 ¼o º°®»o ¤¸¤ ·° »¤´ · µ¦ ´ ¦¦ εŦÁ } Á · { ¨Ä °´ ¦µ®» o ¨³ 12 µ Á } ε ª Á · ´Ê ·Ê 50.40 ¨oµ µ Á · { ¨ ´ ¨nµª nµ¥Ä®o n ¼o º°®»o Ä ¦³®ªnµ e 2552 Ä µ¦ ¦³ »¤µ¤´ ¦³ ε e ° ¼o º°®»o ° ¦·¬ ´ ¡¸ ¸ ¸Ã¡¨¸Á° ·¨ ¸ ε ´ Á¤ºÉ°ª´ ¸É 31 ¤¸ µ ¤ 2552 ¼o º°®» o ¤¸¤ ·° »¤´ · µ¦Á¡·É¤ » ³Á ¸¥ ° ¦·¬´ ´ ¨nµª µ ε ª 15,100,000,000 µ ( n Á } 151,000,000 ®»o ®»o ¨³ 100 µ ) Á } 19,600,000,000 µ ( n Á } 196,000,000 ®»o ¤¼¨ nµ®»o ¨³ 100 µ ) à ¥°° ®»o µ¤´ Ä®¤n ε ª 4,500,000,000 µ ( n Á } 45,000,000 ®»o ¤¼¨ nµ®»o ¨³ 100 µ ) ¹É ¦·¬´ Á¦¸¥ 妳 nµ®» o ¡¦o°¤ ´Ê Å o¦´ 妳Á · ¤¼¨ nµ®»o Á Ȥ ε ª Ä e 2552
207 Ä µ¦ ¦³ »¤µ¤´ ¦³ ε e ° ¼o º°®»o ° ¦·¬´ ¡¸ ¸ ¸ Á¤ Á  r ° r Á° ·Á ¸¥¦·É ε ´ Á¤ºÉ°ª´ ¸É 21 Á¤¬µ¥ 2552 ¼o º°®»o ¤¸¤ ·° »¤ ´ · µ¦Á¡·É¤ » ³Á ¸¥ ° ¦·¬´ ´ ¨nµª µ ε ª 42,122,600 µ ( n Á } 421,226 ®»o ®»o ¨³ 100 µ ) Á } 200,000,000 µ ( n Á } 2,000,000 ®»o ¤¼¨ nµ®»o ¨³ 100 µ ) à ¥°° ®» o µ¤´ Ä®¤n ε ª 157,877,400 µ ( n Á } 1,578,774 ®»o ¤¼¨ nµ®»o ¨³ 100 µ ) ¹É ¦·¬´ Á¦¸¥ 妳 nµ®» o ¡¦o°¤ ´Ê Å o¦´ 妳Á · ¤¼¨ nµ®»o ¨³ 60 µ Á } ε ª Á · 94,726,440 µ Ä µ¦ ¦³ »¤µ¤´ ³ ¦¦¤ µ¦ ° ¦·¬ ´ . Á ¤· °¨ °· Á °¦rÁ ´É  ¨ Å¡¦Áª ε ´ Á¤ºÉ°ª´ ¸É 20 ¡§« · µ¥ 2552 ³ ¦¦¤ µ¦¤¸¤ ·° »¤´ · µ¦Á¡·É¤ » ³Á ¸¥ ° ¦·¬´ ´ ¨nµª µ ε ª 250 ¨oµ Á®¦¸¥ · à ¦r ( n Á } 250 ¨oµ ®»o ¤¼¨ nµ®»o ¨³ 1 Á®¦¸¥ · à ¦r) Á } 264 ¨oµ Á®¦¸¥ · à ¦r ( n Á } 264 ¨oµ ®» o ¤¼¨ nµ®»o ¨³ 1 Á®¦¸¥ · à ¦r) à ¥°° ®»o µ¤´ Ä®¤n ε ª 14 ¨oµ Á®¦¸¥ · à ¦r ( n Á } 14 ¨oµ ®»o ¤¼¨ nµ ®»o ¨³ 1 Á®¦¸¥ · à ¦r) ¹É ¦·¬´ Á¦¸¥ 妳 nµ®»o ¡¦o°¤ ´Ê Å o¦ ´ 妳Á · ¤¼¨ nµ®»o ¨³ 0.25 Á®¦¸¥ · à ¦r Á } ε ª Á · 3.5 ¨oµ Á®¦¸¥ · à ¦r 10
Á · ¨ » Ä ¦·¬´ ¦nª¤
ª´ ¸É 1 ¤ ¦µ ¤ nª  n εŦ» · µ Á · ¨ » µ¤ª· ¸nª Å oÁ¸¥ ºÊ°Á · ¨ » ¦µ¥Å oÁ · { ¨ nµÁ ºÉ° µ¦ o°¥ nµ ε® nµ¥ ª´ ¸É 31 ´ ªµ ¤
µ¦Á · ¦ª¤ µ¦Á · Á ¡µ³ · µ¦ 2552 2551 2552 2551 (¨oµ µ ) 8,001 6,905 8,150 7,043 146 328 (105) -
40 1,107 (51) -
328 -
1,107 -
8,370
8,001
8,478
8,150
¦·¬´ ¦nª¤ ¦·¬´ ¡¸ ¸ ¸ ¥¼ ·¨· ¸Ê ε ´ ¦·¬´ ¡¸ ¸ ¸ ¢e °¨ ε ´ ¦·¬´ ¡¸ ¸ ¸ ᨸÁ¤°¦r ¤µ¦rÁ È ·Ê ε ´ ¦·¬´ ª¸ ·Å ¥ ε ´ (¤®µ ) ¦·¬´ °¸Á ·¦r ¢¨¼°· ¦µ °¦r ε ´ ¦·¬´ ¡¸ ¸ ¸ Å° ¸ ¸ à ¨¼ ´É r ε ´ ¦ª¤
40 7,111
25 25
23 20
25 25
23 20 10 150
6,859 9,252
40 30
10 150
40 7,111
6,859 6,892
» ε¦³Â¨oª 2552 2551
40 30
´ nª ªµ¤Á } Á oµ ° 2552 2551 (¦o°¥¨³)
1 30 8,478
10 3,297
2,744 2,396
1 30 8,150
10 3,297
2,744 2,068
ª· ¸¦µ µ » 2552 2551
Á · ¨ » Ä ¦·¬ ´ ¦nª¤ ª´ ¸É 31 ´ ªµ ¤ 2552 ¨³ 2551 ¨³Á · { ¨¦´ 宦´  n¨³ e ¤¸ ´ ¸Ê
13 40 8,370
46 3,717
2,487 2,067
10 47 8,001
30 3,600
2,478 1,836
-
-
-
-
-
-
ª· ¸nª Å oÁ¸¥ µ¦ o°¥ nµ 2552 2551 2552 2551 (¨oµ µ )
µ¦Á · ¦ª¤
13 40 8,370
46 3,717
2,487 2,067
10 47 8,001
30 3,600
2,478 1,836
nª Å oÁ¸¥-» · 2552 2551
1 105
104
-
51
1
50
-
Á · { ¨¦´ 2552 2551
208 รายงานประจำปี 2552 I บริษทั ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
¦·¬´ ¦nª¤ ¦·¬´ ¡¸ ¸ ¸ ¥¼ ·¨· ¸Ê ε ´ ¦·¬´ ¡¸ ¸ ¸ ¢e °¨ ε ´ ¦·¬´ ¡¸ ¸ ¸ ᨸÁ¤°¦r ¤µ¦rÁ È ·Ê ε ´ ¦·¬´ ª¸ ·Å ¥ ε ´ (¤®µ ) ¦·¬´ °¸Á ·¦r ¢¨¼°· ¦µ °¦r ε ´ ¦·¬´ ¡¸ ¸ ¸ Å° ¸ ¸ à ¨¼ ´É r ε ´ ¦ª¤
6,859 9,252
40 7,111 10 150
40 30
25 25
15
20
25 25
15
20
150
10
40 7,111
6,859 6,892
» ε¦³Â¨oª 2552 2551
40 30
´ nª ªµ¤Á } Á oµ ° 2552 2551 (¦o°¥¨³)
30 8,478
1
10 3,297
2,744 2,396
30 8,150
1
10 3,297
2,744 2,068
ª· ¸¦µ µ » 2552 2551
-
-
-
-
-
-
-
-
30 8,478
1
10 3,297
2,744 2,396
30 8,150
1
10 3,297
2,744 2,068
µ¦ o°¥ nµ ¦µ µ » -» · 2552 2551 2552 2551 (¨oµ µ )
µ¦Á · Á ¡µ³ · µ¦
-
-
-
-
-
-
-
-
¦µ µ ¨µ 宦´ ®¨´ ¦´¡¥r ³Á ¸¥ ² 2552 2551
105
1
104
-
51
1
50
-
Á · { ¨¦´ 2552 2551
209
40 30 25 25 23 20
40 30 25 25 15 20
ปี 2552 บริษัท พีทีที ยูทิลิตี้ จากัด บริษัท พีทีที ฟีนอล จากัด บริษัท พีทีที โพลีเมอร์ มาร์เก็ตติ้ง จากัด บริษัท วีนิไทย จากัด (มหาชน) บริษัท อีสเทิร์น ฟลูอิดทรานสปอร์ต จากัด บริษัท พีทีที ไอซีที โซลูชั่นส์ จากัด รวม
ปี 2551 บริษัท พีทีที ยูทิลิตี้ จากัด บริษัท พีทีที ฟีนอล จากัด บริษัท พีทีที โพลีเมอร์ มาร์เก็ตติ้ง จากัด บริษัท วีนิไทย จากัด (มหาชน) บริษัท อีสเทิร์น ฟลูอิดทรานสปอร์ต จากัด บริษัท พีทีที ไอซีที โซลูชั่นส์ จากัด รวม
สัดส่วนความเป็นเจ้าของ (ร้อยละ)
15,661 14,676 1,877 15,830 75 840 48,959
20,996 19,039 2,996 15,291 78 882 59,282
สินทรัพย์รวม (ล้านบาท)
9,466 8,555 1,759 2,292 29 607 22,708
14,778 12,147 2,812 1,177 25 682 31,621
หนี้สินรวม
2,687 34 28,342 13,320 184 947 45,514
6,149 7,297 26,073 11,918 21 853 52,311
รายได้รวม
(343) (407) (33) 1,035 19 73 344
22 (323) 67 985 1 (32) 720
กาไร (ขาดทุน) สุทธิ
ข้อมูลทางการเงินโดยสรุปของบริษัทร่วมซึ่งกลุ่มบริษัทบันทึกเงินลงทุนในบริษัทดังกล่าวตามวิธีส่วนได้เสีย แต่ไม่ได้ปรับปรุงให้แสดงข้อมูลตามสัดส่วนที่ถือหุ้นโดยกลุ่มบริษัท
210 รายงานประจำปี 2552 I บริษทั ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
211 11
Á · ¨ » ¦³¥³¥µª°ºÉ µ¦Á · ¦ª¤ µ¦Á · Á ¡µ³ · µ¦ 2552 2551 2552 2551 (¨oµ µ ) Á · ¨ » ¦³¥³¥µª°ºÉ ¦µµ¦ » °ºÉ ¸ÉŤn°¥¼nÄ ªµ¤ o° µ¦ ° ¨µ Alliance Petrochemical Investment (Singapore) Pte. Ltd. ( ¦·¬´ º°®»o ¦o°¥¨³ 15.34) Guangzhou Keylink Chemical Co., Ltd. ( ¦·¬´ º°®»o ¦o°¥¨³ 15)
290
290
290
290
33 323
29 319
290
290
¥° Á · ¨ » ¦³¥³¥µª°ºÉ ª´ ¸É 31 ´ ªµ ¤ ´ µ¤ ¦³Á£ »¨Á · ¦µÅ o ´ ¸Ê µ¦Á · ¦ª¤ 2552 »¨Á · Á®¦¸¥ · à ¦r »¨Á · Á®¦¸¥ ±n° ¦ª¤
µ¦Á · Á ¡µ³ · µ¦
290 33
2551 2552 (¨oµ µ ) 290 290 29 -
323
319
290
2551 290 290
Á¡·É¤ ¹Ê ð ε® nµ¥ ¨ nµ µ µ¦Â ¨ nµ Ä µ¦ ´ ε µ¦Á · ¦ª¤ ª´ ¸É 31 ´ ªµ ¤ 2552
¦µ µ » ª´ ¸É 1 ¤ ¦µ ¤ 2551 Á¡·É¤ ¹Ê ð ε® nµ¥ Å o¤µ µ µ¦ º°Ê · µ¦ ¨ nµ µ µ¦Â ¨ nµ Ä µ¦ ´ ε µ¦Á · ¦ª¤ ª´ ¸É 31 ´ ªµ ¤ 2551 ¨³ 1 ¤ ¦µ ¤ 2552
12
610 86,692
(86) 3,266
83,720
3,292 145 2,474 (257)
144
(2)
26 57 (23)
66,854 665 9,695 (38) 6,400
2,475 689 130
¸É ·
æ µ Á ¦ºÉ° ´ ¦ ¨³°» ¦ r
1,154
230 262 (5)
667
-
571 77 22 (3) -
Á ¦ºÉ° ¤º° Á ¦ºÉ° Ä o æ µ
(3) 7,334
17 1,108 -
6,212
6
1,949 54 1,451 (89) 2,841
°µ µ¦
833
1 389 (4)
447
-
372 1 76 (2) -
nµ ¦´ ¦» ¸É · Á nµ
213
159 -
54
-
52 2 -
nµ ¦´ ¦» °µ µ¦Á nµ
¸É · °µ µ¦Â¨³°» ¦ r µ¦Á · ¦ª¤
4 1,277
107 (10) (25)
1,201
9
589 144 230 (17) 246
Á ¦ºÉ°  n · ´Ê ¨³°» ¦ r
(7) 659
71 98 (34)
531
-
396 119 8 (15) 23
¥µ ¡µ® ³
(106) 53,288
15,148 (4,971) -
43,217
(26)
30,670 24,779 (12,172) (438) 404
· ¦´¡¥r ¦³®ªnµ n°¦oµ
412 154,716
15,745 (434) (348)
139,341
131
103,928 25,839 1 (602) 10,044
¦ª¤
212 รายงานประจำปี 2552 I บริษทั ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
ต้นทุนการกู้ยืมที่รับรู้เป็นส่วนหนึ่งของสินทรัพย์ ต้นทุนการกู้ยืมที่รับรู้เป็นส่วนหนึ่งของ สินทรัพย์รับรู้ในปี 2551 (หมายเหตุ 24) อัตราดอกเบี้ยที่รับรู้ในปี 2551 (ร้อยละต่อปี) ต้นทุนการกู้ยืมที่รับรู้เป็นส่วนหนึ่งของ สินทรัพย์รับรู้ในปี 2552 (หมายเหตุ 24) อัตราดอกเบี้ยที่รับรู้ในปี 2552 (ร้อยละต่อปี)
ที่ดิน
-
-
เครื่องมือ เครื่องใช้ โรงงาน
-
โรงงาน เครื่องจักร และอุปกรณ์
1 3-4
4-6
13
อาคาร
-
-
-
-
-
-
ค่าปรับปรุง ค่าปรับปรุง ที่ดินเช่า อาคารเช่า (ล้านบาท)
งบการเงินรวม
-
-
-
เครื่องตกแต่ง ติดตั้ง และอุปกรณ์
-
-
-
ยานพาหนะ
-
4-6
1
สินทรัพย์ ระหว่าง ก่อสร้าง
1 3-4
4-6
14
รวม
213
nµÁºÉ°¤¦µ µÎµ®¦´ e ε® nµ¥ ð ¨ nµ µ µ¦Â ¨ nµÄ µ¦ ´ ε µ¦Á · ¦ª¤ ª´ ¸É 31 ´ ªµ ¤ 2552
nµÁºÉ°¤¦µ µ³¤ ª´ ¸É 1 ¤ ¦µ ¤ 2551 nµÁºÉ°¤¦µ µÎµ®¦´ e ε® nµ¥ Å o¤µ µ µ¦ º°Ê · µ¦ ¨ nµ µ µ¦Â ¨ nµÄ µ¦ ´ ε µ¦Á · ¦ª¤ ª´ ¸É 31 ´ ªµ ¤ 2551 ¨³ 1 ¤ ¦µ ¤ 2552
¸É ·
(171) (38,476)
-
(34,676)
(3,770) 103 38
(129)
-
-
(26,063) (3,436) 19 (5,067)
-
æ µ Á ¦ºÉ° ´ ¦Â¨³ °» ¦ r
(610)
(91) 5 (80)
(444)
-
(364) (84) 4 -
Á ¦ºÉ° ¤º° Á ¦ºÉ° Ä oæ µ
(3,073)
(281) 40
(2,832)
8
(1,042) (136) 58 (1,720)
°µ µ¦
(266)
(33) 3 (1)
(235)
-
(217) (19) 1 -
(61)
(12) (9)
(40)
-
(38) (2) -
nµ ¦´ ¦» nµ ¦´ ¦» ¸É · Á nµ °µ µ¦Á nµ (¨oµ µ )
µ¦Á · ¦ª¤
(9) (824)
(158) 24 29
(710)
(9)
(402) (94) 18 (223)
Á ¦ºÉ°  n · ´Ê ¨³ °» ¦ r
2 (343)
(106) 32 (15)
(256)
-
(168) (88) 12 (12)
¥µ ¡µ® ³
-
-
-
-
-
· ¦´¡¥r ¦³®ªnµ n°¦oµ
(178) (43,653)
(4,451) 167 2
(39,193)
(130)
(28,294) (3,859) 112 (7,022)
¦ª¤
214 รายงานประจำปี 2552 I บริษทั ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
3,266 3,266
มูลค่าสุทธิทางบัญชี ภายใต้กรรมสิทธิ์ของกลุ่มบริษัท ภายใต้สัญญาเช่าการเงิน รวม ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 48,216 48,216
49,044 49,044
543 1 544
223 223
เครื่องมือ เครื่องใช้โรงงาน
4,261 4,261
3,380 3,380
อาคาร
567 567
212 212
152 152
14 14
ค่าปรับปรุง ค่าปรับปรุง ที่ดินเช่า อาคารเช่า (ล้านบาท)
376 77 453
416 75 491
เครื่องตกแต่ง ติดตั้งและ อุปกรณ์
91 225 316
25 250 275
ยานพาหนะ
53,288 53,288
43,217 43,217
สินทรัพย์ ระหว่าง ก่อสร้าง
110,760 303 111,063
99,823 325 100,148
รวม
ราคาทรัพย์สินของกลุ่มบริษัทก่อนหักค่าเสื่อมราคาสะสมของอาคารและอุปกรณ์ ซึ่งได้คิดค่าเสื่อมราคาเต็มจานวนแล้ว แต่ยังคงใช้งานจนถึง ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 มีจานวน 10,084 ล้านบาท (2551: 919.08 ล้านบาท)
3,292 3,292
มูลค่าสุทธิทางบัญชี ภายใต้กรรมสิทธิ์ของกลุ่มบริษัท ภายใต้สัญญาเช่าการเงิน รวม ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551
ที่ดิน
โรงงาน เครื่องจักรและ อุปกรณ์
งบการเงินรวม
215
ราคาทุน ณ วันที่ 1 มกราคม 2551 เพิ่มขึ้น โอน จาหน่าย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ 1 มกราคม 2552 เพิ่มขึ้น โอน จาหน่าย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 50,340 298 1,023 (14) 51,647 83 2,370 (195) 53,905
1,032 689 -
1,721 33 1,754
ที่ดิน
โรงงาน เครื่องจักร และอุปกรณ์
566 185 (64) (5) 682
498 50 21 (3)
เครื่องมือ เครื่องใช้ โรงงาน
1,864 300 2,164
957 907 -
อาคาร
376 1 71 (2) 446
339 37 49 30 79
49 -
ค่าปรับปรุง ค่าปรับปรุง ที่ดินเช่า อาคารเช่า (ล้านบาท)
งบการเงินเฉพาะกิจการ
815 60 (86) (2) 787
482 118 229 (14)
เครื่องตกแต่ง ติดตั้งและ อุปกรณ์
365 23 36 (23) 401
301 72 (8)
ยานพาหนะ
5,829 4,858 (2,907) 7,780
2,995 6,149 (2,906) (409)
สินทรัพย์ ระหว่าง ก่อสร้าง
63,232 5,210 (217) (227) 67,998
56,993 6,687 (448)
รวม
216 รายงานประจำปี 2552 I บริษทั ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
ค่าเสื่อมราคาสะสม ณ วันที่ 1 มกราคม 2551 ค่าเสื่อมราคาสาหรับปี จาหน่าย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ 1 มกราคม 2552 ค่าเสื่อมราคาสาหรับปี จาหน่าย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 (21,695) (2,414) (24,109) (2,262) (48) (26,419)
-
-
ที่ดิน
โรงงาน เครื่องจักรและ อุปกรณ์
(413) (63) 79 (397)
(349) (67) 3
เครื่องมือ เครื่องใช้โรงงาน
(516) (97) 14 (599)
(460) (56) -
อาคาร
(212) (16) 3 (225)
(201) (11) (38) (7) (11) (56)
(38) -
ค่าปรับปรุง ค่าปรับปรุง ที่ดินเช่า อาคารเช่า (ล้านบาท)
งบการเงินเฉพาะกิจการ
(402) (114) 31 (485)
(339) (77) 14
เครื่องตกแต่ง ติดตั้งและ อุปกรณ์
(183) (69) 9 (243)
(124) (65) 6
ยานพาหนะ
สินทรัพย์ ระหว่าง ก่อสร้าง
-
-
(25,873) (2,628) 77 (28,424)
(23,206) (2,690) 23
รวม
217
27,538 27,538 27,486 27,486
1,721 1,721
1,754 1,754
285 285
153 153
เครื่องมือ เครื่องใช้ โรงงาน
1,565 1,565
1,348 1,348
อาคาร
221 221
164 164 23 23
11 11
ค่าปรับปรุง ค่าปรับปรุง ที่ดินเช่า อาคารเช่า (ล้านบาท)
245 57 302
356 57 413
เครื่องตกแต่ง ติดตั้ง และอุปกรณ์
19 139 158
4 178 182
ยานพาหนะ
7,780 7,780
5,829 5,829
สินทรัพย์ ระหว่าง ก่อสร้าง
ราคาทรัพย์สินของบริษัทก่อนหักค่าเสื่อมราคาสะสมของอาคารและอุปกรณ์ ซึ่งได้คิดค่าเสื่อมราคาเต็มจานวนแล้วแต่ยังคงใช้งานจนถึง ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 มีจานวน 1,012 ล้านบาท (2551: 732.98 ล้านบาท)
มูลค่าสุทธิทางบัญชี ภายใต้กรรมสิทธิ์ของกลุ่มบริษัท ภายใต้สัญญาเช่าการเงิน รวม ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 มูลค่าสุทธิทางบัญชี ภายใต้กรรมสิทธิ์ของกลุ่มบริษัท ภายใต้สัญญาเช่าการเงิน รวม ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552
ที่ดิน
โรงงาน เครื่องจักร และอุปกรณ์
งบการเงินเฉพาะกิจการ
39,378 196 39,574
37,124 235 37,359
รวม
218 รายงานประจำปี 2552 I บริษทั ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
สินทรั พย์ไม่ มีตวั ตน
ราคาทุน ณ วันที่ 1 มกราคม 2551 เพิม่ ขึ้น ได้มาจากการซื้อกิจการ การ โอน ผลต่างจากการแปลงค่าในการจัดทางบการเงินรวม ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ 1 มกราคม 2552 เพิม่ ขึ้น โอน ผลต่างจากการแปลงค่าในการจัดทางบการเงินรวม ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552
13
819 30 1,758 26 71 2,704 1 (5) (104) 2,596
ค่าลิขสิทธิส์ าหรับ กระบวนการผลิต
312 7 79 398 22 152 572
คอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์
25 25 67 92
สิทธิในการใช้ แนววางท่อ
115 115 115
สิทธิในการ ใช้ท่าเรือ (ล้านบาท)
งบการเงินรวม
1,768 30 55 (89) 4 1,768 628 286 2,682
สิทธิในการ ดาเนินการ อื่นๆ
2,943 431 36 1 3,411 3 3,414
ค่าความนิยม
5,982 498 1,849 16 76 8,421 718 147 185 9,471
รวม
219
(378) (78) (1,635) 17 (68) (2,142) (130) 5 63 (2,204)
562 392
ค่าตัดจาหน่ายสะสม ณ วันที่ 1 มกราคม 2551 ค่าตัดจาหน่ายสาหรับปี ได้มาจากการซื้อกิจการ การ โอน ผลต่างจากการแปลงค่าในการจัดทางบการเงินรวม ขาดทุนจากการด้อยค่า ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ 1 มกราคม 2552 ค่าตัดจาหน่ายสาหรับปี โอน ผลต่างจากการแปลงค่าในการจัดทางบการเงินรวม
ขาดทุนจากการด้อยค่า ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551
มูลค่าสุทธิทางบัญชี ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552
ค่าลิขสิทธิส์ าหรับ กระบวนการผลิต
200 318
(254)
(145) (36) (17) (198) (69) (2) 15
คอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์
13 68
(24)
(10) (2) (12) (12) -
สิทธิในการใช้ แนววางท่อ
96 88
(27)
(12) (7) (19) (8) -
สิทธิในการ ใช้ท่าเรือ (ล้านบาท)
งบการเงินรวม
1,722 2,633
(49)
(3) (41) (2) (46) (9) 6
สิทธิในการ ดาเนินการ อื่นๆ
3,020 3,020
(3) (394)
(390) (1) (391) -
ค่าความนิยม
5,613 6,519
(3) (2,952)
(935) (126) (1,676) (70) (1) (2,808) (228) 3 84
รวม
220 รายงานประจำปี 2552 I บริษทั ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
221 งบการเงินเฉพาะกิจการ ค่าลิขสิทธิ์สาหรับ กระบวนการผลิต เม็ดพลาสติก ราคาทุน ณ วันที่ 1 มกราคม 2551 เพิ่มขึ้น โอน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ 1 มกราคม 2552 เพิ่มขึ้น โอน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 ค่าตัดจาหน่ายสะสม ณ วันที่ 1 มกราคม 2551 ค่าตัดจาหน่ายสาหรับปี ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ 1 มกราคม 2552 ค่าตัดจาหน่ายสาหรับปี ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 มูลค่าสุทธิทางบัญชี ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 14
คอมพิวเตอร์ สิทธิในการ ซอฟท์แวร์ ดาเนินงานอื่นๆ (ล้านบาท)
รวม
680 -
256 15
6 -
936 6 15
680 680
271 10 144 425
6 218 224
957 228 144 1,329
(298) (57)
(117) (27)
-
(415) (84)
(355) (57) (412)
(144) (43) (187)
(1) (1)
(499) (101) (600)
325 268
127 238
6 223
458 729
ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี สินทรัพย์และหนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีภายหลังจากการนามาหักกลบกันตามความเหมาะสม ได้แสดงรวมไว้ในงบดุล โดยมีรายละเอียดดังนี้
222
รายงานประจำปี 2552 I บริษทั ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
µ¦Á · ¦ª¤ 2552 · ¦´¡¥r£µ¬¸Á · Å o¦° µ¦ ´ ´ ¸ ® ¸Ê· £µ¬¸Á · Å o¦° µ¦ ´ ´ ¸ » ·
132 (882) (750)
2551 197 (750) (553)
µ¦Á · Á ¡µ³ · µ¦ 2552 2551 (¨oµ µ ) 3 113 (720) (648) (717) (535)
¦µ¥ µ¦Á ¨ºÉ° Å®ª ° · ¦´¡¥r¨³® ¸Ê· £µ¬¸Á · Å o¦° µ¦ ´ ´ ¸ ¸ÉÁ · ¹Ê Ä ¦³®ªnµ e¤¸ ´ ¸Ê
ª´ ¸É 1 ¤ ¦µ ¤ 2552 · ¦´¡¥r£µ¬¸Á · Å o¦° µ¦ ´ ´ ¸ µ » » · µ µ¦ ¦´ ¤¼¨ nµ¥» · ¦¦¤ ° ´ µ ¨ Á ¨¸É¥ Á · ¦µ · oµ Á®¨º° ( nµÁ ºÉ° µ¦¨ ¤¼¨ nµ ° · oµ) ¥° µ » ¥ Å °ºÉ Ç ¦ª¤ ® ¸Ê· £µ¬¸Á · Å o¦° µ¦ ´ ´ ¸ nµÁºÉ°¤¦µ µÂ¨³ nµ ´ ε® nµ¥ ( ¨Â nµ ° nµÁºÉ°¤¦µ µ) · ¦´¡¥r£µ¥Ä o´ µÁ nµ µ µ¦Á · εŦ» · µ µ¦ ¦´ ¤¼¨ nµ ¥» · ¦¦¤ ° ´ µ ¨ Á ¨¸É¥ °´ ¦µ ° Á ¸Ê¥ °ºÉ Ç ¦ª¤ » ·
µ¦Á · ¦ª¤ ´ ¹ Á } (¦µ¥ nµ¥) / ¦µ¥Å oÄ ÎµÅ¦ nª µ¦Å o¤µ µ » ° ¹É (®¤µ¥Á® » 25) ¼o º°®»o ¦·¬´ ¥n°¥ (¨oµ µ )
¨ nµ µ °´ ¦µ ¨ Á ¨¸É¥
ª´ ¸É 31 ´ ªµ ¤ 2552
48
(48)
-
-
-
-
119 30 197
(117) 53 47 (65)
-
-
-
2 53 77 132
(709)
(143)
-
-
-
(852)
(22)
3
-
-
-
(19)
12 12 12
(9) (2) (882) (750)
(12) (7) (750) (553)
3 (6) (143) (208)
(1) (1) (1)
-
223
ª´ ¸É 1 ¤ ¦µ ¤ 2551 · ¦´¡¥r£µ¬¸Á · Å o¦° µ¦ ´ ´ ¸ µ » » · µ µ¦ ¦´ ¤¼¨ nµ¥» · ¦¦¤ ° ´ µ ¨ Á ¨¸É¥ Á · ¦µ · oµ Á®¨º° ( nµÁ ºÉ° µ¦¨ ¤¼¨ nµ ° · oµ) °ºÉ Ç ¦ª¤ ® ¸Ê· £µ¬¸Á · Å o¦° µ¦ ´ ´ ¸ nµÁºÉ°¤¦µ µÂ¨³ nµ ´ ε® nµ¥ · ¦´¡¥r£µ¥Ä o´ µÁ nµ µ µ¦Á · εŦ» · µ µ¦ ¦´ ¤¼¨ nµ ¥» · ¦¦¤ ° ´ µ ¨ Á ¨¸É¥ °´ ¦µ ° Á ¸Ê¥ °ºÉ Ç ¦ª¤ » ·
µ¦Á · ¦ª¤ ´ ¹ Á } (¦µ¥ nµ¥) / ¦µ¥Å oÄ ÎµÅ¦ nª µ¦Å o¤µ µ » ° ¹É (®¤µ¥Á® » 25) ¼o º°®»o ¦·¬´ ¥n°¥ (¨oµ µ )
¨ nµ µ °´ ¦µ ¨ Á ¨¸É¥
ª´ ¸É 31 ´ ªµ ¤ 2551
-
46
-
2
-
48
1 1
112 27 185
-
7 2 11
-
119 30 197
(618)
(75)
-
(16)
-
(709)
(23)
1
-
-
-
(22)
-
(12)
-
-
-
(12)
(641) (640)
(1) (87) 98
-
(6) (22) (11)
-
(7) (750) (553)
224
รายงานประจำปี 2552 I บริษทั ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
ª´ ¸É 1 ¤ ¦µ ¤ 2552
· ¦´¡¥r£µ¬¸Á · Å o¦° µ¦ ´ ´ ¸ ε¦° µ¦ ¦´ ¤¼¨ nµÁ } ¦µ µ ¨µ ¸É Éε ªnµ µ » » · µ µ¦ ¦´ ¤¼¨ nµ¥» · ¦¦¤ ° ´ µÂ¨ Á ¨¸É¥ Á · ¦µ °ºÉ Ç ¦ª¤ ® ¸Ê· £µ¬¸Á · Å o¦° µ¦ ´ ´ ¸ nµÁºÉ°¤¦µ µ · ¦´¡¥r£µ¥Ä o´ µÁ nµ µ µ¦Á · εŦ» · µ µ¦ ¦´ ¤¼¨ nµ¥» · ¦¦¤ ° ´ µÂ¨ Á ¨¸É¥ °´ ¦µ ° Á ¸Ê¥ ¦ª¤ » ·
µ¦Á · Á ¡µ³ · µ¦ ´ ¹ Á } (¦µ¥ nµ¥) / ¦µ¥Å oÄ ÎµÅ¦ nª µ » ° (®¤µ¥Á® » 25) ¼o º°®»o (¨oµ µ )
ª´ ¸É 31 ´ ªµ ¤ 2552
72
(72)
-
-
38 3 113
(38) (110)
-
3 3
(616) (19)
(79) 3
-
(695) (16)
(13) (648) (535)
4 (72) (182)
-
(9) (720) (717)
225
ª´ ¸É 1 ¤ ¦µ ¤ 2551 · ¦´¡¥r£µ¬¸Á · Å o¦° µ¦ ´ ´ ¸ ε¦° µ¦ ¦´ ¤¼¨ nµÁ } ¦µ µ ¨µ ¸É Éε ªnµ µ » » · µ µ¦ ¦´ ¤¼¨ nµ¥» · ¦¦¤ ° ´ µÂ¨ Á ¨¸É¥ Á · ¦µ °ºÉ Ç ¦ª¤ ® ¸Ê· £µ¬¸Á · Å o¦° µ¦ ´ ´ ¸ nµÁºÉ°¤¦µ µ · ¦´¡¥r£µ¥Ä o´ µÁ nµ µ µ¦Á · εŦ» · µ µ¦ ¦´ ¤¼¨ nµ¥» · ¦¦¤ ° ´ µÂ¨ Á ¨¸É¥ °´ ¦µ ° Á ¸Ê¥ ¦ª¤ » ·
µ¦Á · Á ¡µ³ · µ¦ ´ ¹ Á } (¦µ¥ nµ¥) / ¦µ¥Å oÄ ÎµÅ¦ nª µ » ° (®¤µ¥Á® » 25) ¼o º°®»o (¨oµ µ )
ª´ ¸É 31 ´ ªµ ¤ 2551
-
72
-
72
1 1
38 2 112
-
38 3 113
(618) (23)
2 4
-
(616) (19)
(641) (640)
(13) (7) 105
-
(13) (648) (535)
226
รายงานประจำปี 2552 I บริษทั ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
15
หนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ย
ส่วนที่หมุนเวียน เงินกู้ยืมระยะสั้นจากสถาบันการเงิน ส่วนที่ไม่มีหลักประกัน เงินกู้ยืมระยะยาวจากสถาบันการเงิน ส่วนที่ถึงกาหนดชาระภายในหนึ่งปี ส่วนที่มีหลักประกัน ส่วนที่ไม่มีหลักประกัน
หุ้นกู้ ส่วนที่มีหลักประกัน หนี้สินตามสัญญาเช่าการเงินส่วนที่ถึง กาหนดชาระภายในหนึ่งปี ส่วนที่ไม่หมุนเวียน เงินกู้ยืมระยะยาวจากสถาบันการเงิน ส่วนที่มีหลักประกัน ส่วนที่ไม่มีหลักประกัน หุ้นกู้ ส่วนที่มีหลักประกัน ส่วนที่ไม่มีหลักประกัน
หนี้สินตามสัญญาเช่าการเงิน รวม
งบการเงินรวม 2552 2551
งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551 (ล้านบาท)
772
979
-
-
21 835 856
392 913 1,305
546 546
546 546
400
400
400
400
155 2,183
130 2,814
111 1,057
100 1,046
122 12,696 12,818
431 13,302 13,733
11,091 11,091
11,636 11,636
30,399 30,399
400 27,857 28,257
30,399 30,399
400 27,857 28,257
196 43,413 45,596
234 42,224 45,038
126 41,616 42,673
166 40,059 41,105
227 หนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยซึ่งไม่รวมหนี้สินตามสัญญาเช่าการเงิน แสดงตามระยะเวลา ครบกาหนดการจ่ายชาระ ณ วันที่ 31 ธันวาคม ได้ดังนี้ งบการเงินรวม 2552 2551 ครบกาหนดภายในหนึ่งปี ครบกาหนดหลังจากหนึ่งปีแต่ไม่เกินห้าปี ครบกาหนดหลังจากห้าปี รวม
2,028 15,913 27,304 45,245
งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551 (ล้านบาท) 2,684 946 946 16,270 14,186 14,269 25,720 27,304 25,624 44,674 42,436 40,839
หนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยส่วนที่มีหลักประกัน ณ วันที่ 31 ธันวาคม มีรายละเอียดของหลักประกันซึ่งเป็นสินทรัพย์ดังนี้ งบการเงินรวม 2552 2551 เครื่องจักรและอุปกรณ์ รวม
12,416 12,416
งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551 (ล้านบาท) 14,460 12,000 12,000 14,460 12,000 12,000
300
2,100
หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิราคาร้อยละ เหรียญ 99.46 ของมูลค่าที่ตราไว้ อายุ สหรัฐ 10 ปี ไม่มหี ลักประกัน อเมริกา
บาท
บาท
บาท
หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน
หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน
หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน
500
2,800
2,000
บาท
หุ้นกู้มีหลักประกันชนิดทยอย ชาระคืนเงินต้นและ มีเงื่อนไข ตามที่ระบุไว้ในสัญญา
วงเงิน สกุลเงิน (ล้าน)
1,000
1,000
1,000
10,000
1,000
มูลค่าที่ตราไว้ หุ้นละ
บริษัทมีรายละเอียดของหุ้นกู้ ณ วันที่ 31 ธันวาคม ดังนี้
-
-
-
-
-
ปี
ระยะเวลาชาระคืน
5.6
5.5
4.58
5.5
400
ชาระดอกเบีย้ ทุกงวดหกเดือน และ ครบกาหนดไถ่ถอนวันที่ 22 ตุลาคม 2558
ชาระดอกเบี้ยทุกงวดหกเดือน และ ครบกาหนดไถ่ถอนวันที่ 10 ตุลาคม 2560
ชาระดอกเบี้ยทุกงวดหกเดือน และ ครบกาหนดไถ่ถอนวันที่ 10 ตุลาคม 2555
500
2,790
2,090
500
2,789
2,085
10,483
500
2,790
2,090
10,019
500
2,789
2,085
10,483
งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551 (ล้านบาท) 800 400 800
งบการเงินรวม 2552 2551
ชาระดอกเบี้ยทุกงวดหกเดือน และ 10,019 ครบกาหนดไถ่ถอนวันที่ 24 มิถุนายน ครบกำหนดไถ่ 2558
อัตราสูงสุดของ เงินฝาก ชาระคืนเงินต้นและดอกเบี้ยทุกงวด ประจา 6 เดือนถัวเฉลี่ย บวก หกเดือนและครบกาหนด ไถ่ถอน ร้อยละ 2.5 ต่อปี วันที่ 24 กันยายน 2553
ดอกเบี้ย อัตรา (ร้อยละ) ต่อปี
228 รายงานประจำปี 2552 I บริษทั ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
บาท
บาท
บาท
หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน
หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน
หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน
รวม หัก ส่วนที่ถึงกาหนดชาระภายในหนึ่งปี สุทธิ
บาท
หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน
1,942
1,058
4,000
8,000
วงเงิน สกุลเงิน (ล้าน)
1,000
1,000
1,000
1,000
มูลค่าที่ตราไว้ หุ้นละ
10
7
1-3 4-5 6-7
1-3 4-5
ปี
5.5
4.9
5.3 6 6.45
5.3 6
ดอกเบี้ย อัตรา (ร้อยละ) ต่อปี
ชาระดอกเบี้ยทุกงวดหกเดือน และครบกาหนดไถ่ถอนวันที่ 19 มิถุนายน 2562
ชาระดอกเบี้ยทุกงวดหกเดือน และครบกาหนดไถ่ถอนวันที่ 19 มิถุนายน 2559
ชาระดอกเบี้ยทุกงวดสามเดือน และครบกาหนดไถ่ถอนวันที่ 4 ธันวาคม 2558
ชาระดอกเบี้ยทุกงวดสามเดือน และครบกาหนดไถ่ถอนวันที่ 4 ธันวาคม 2556
ระยะเวลาชาระคืน
30,799 (400) 30,399
1,942
1,058
4,000
8,000
28,657 (400) 28,257
-
-
4,000
30,799 (400) 30,399
1,942
1,058
4,000
28,657 (400) 28,257
-
-
4,000
งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551 (ล้านบาท) 8,000 8,000 8,000
งบการเงินรวม 2552 2551
229
3,000
1,000
7,500
1,500
บาท (เบิกได้ถงึ เดือนธันวาคม 2549)
บาท
บาท
บาท
-
-
-
-
ดอกเบี้ย อัตรา (ร้อยละ) ต่อปี
อัตราดอกเบี้ยคงที่
อัตราสูงสุดของ เงิ นฝากประจา 6 เดือน บวก อัตราส่วนเพิม่
THBFIX 6 เดือน บวก อัตราส่วนเพิม่
เงิ นฝากประจา 3 เดือน ถัวเฉลีย่ ของธนาคารออมสิน บวก อัตราส่วนเพิม่
กลุม่ บริษัทมีรายละเอียดของเงิ นกูย้ มื ณ วันที่ 31 ธันวาคม ดังนี้ วงเงิ น สกุลเงิ น (ล้าน) ปี บริษัท
ชาระคืนเงิ นต้นทุกงวดหกเดือน จานวน 9 งวด โดยงวดแรกชาระในเดือนที่ 36 นับจากวันที่ ลงนามในสัญญา (เดือนกันยายน 2551)
ชาระคืนเงิ นต้นทุกงวดหกเดือน จานวน 15 งวด โดยงวดแรกชาระในเดือนที่ 36 นับจากวันที่ ลงนามในสัญญา (เดือนสิงหาคม 2551)
ชาระคืนเงิ นต้นทุกงวดหกเดือน จานวน 9 งวด โดยงวดแรกชาระในเดือนตุลาคม 2554
ชาระคืนเงิ นต้นทุกงวดหกเดือน จานวน 11 งวด โดยงวดแรกชาระในเดือนที่ 24 นับจากวันที่ ลงนามในสัญญา (เดือนกันยายน 2548)
ระยะเวลาชาระคืน
1,500
7,500
1,000
1,636
1,500
7,500
1,000
2,181
1,500
7,500
1,000
1,637
1,500
7,500
1,000
2,181
งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551 2552 2551 (ล้านบาท)
230 รายงานประจำปี 2552 I บริษทั ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
บริษัทย่อย
170
135
500
1,000
22.4
369.2
450
บาท
บาท
บาท
บาท
เหรียญสหรัฐ
บาท
บาท
สกุลเงิน
วงเงิน (ล้าน)
-
-
-
-
-
-
-
ปี
THBFIX 3 M บวก อัตราส่วน เพิ่ม
เงินฝากประจา 3 เดือน บวก อัตราส่วนเพิ่ม
เงินกู้ยืมระหว่างธนาคารใน ลอนดอน บวก อัตราส่วนเพิ่ม
THBFIX 3 M บวก อัตราส่วนเพิ่ม
MLR หัก อัตราส่วนลด
อัตราสูงสุดของ เงินฝากประจา 3 เดือน บวก อัตราส่วนเพิ่ม
THBFIX 6 M บวก อัตราส่วนเพิ่ม
ดอกเบี้ย อัตรา (ร้อยละ) ต่อปี
ชาระคืนเงินต้นทุกงวดสามเดือน จานวน 15 งวด โดยงวดแรกชาระเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2549
ชาระคืนเงินต้นทุกงวดหกเดือน จานวน 7 งวด โดยงวดแรกชาระเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2549
ชาระคืนเงินต้นทุกงวดหกเดือน จานวน 7 งวด โดยงวดแรกชาระเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2549
ชาระคืนเงินต้นทุกงวดสามเดือน จานวน 17 งวด โดยงวดแรกชาระ เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2551
ชาระคืนเงินต้นทุกงวดหกเดือน จานวน 14 งวด โดยงวดแรกชาระวันที่ 1 มิถุนายน 2552
ชาระคืนเงินต้นทุกงวดสามเดือน จานวน 11 งวด โดยงวดแรกชาระในเดือนพฤศจิกายน 2552
ชาระคืนเงินต้นทุกงวดสามเดือน จานวน 12 งวด โดยงวดแรกชาระเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2555
ระยะเวลาชาระคืน
-
-
-
600
-
123
170
120
104
220
835
336
70
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551 (ล้านบาท) -
งบการเงินรวม 2552 2551
231
ยูโร
13,733
(1,305)
15,038
164
11,091
(546)
11,637
-
11,635
(546)
12,181
-
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 กลุ่มบริษัทและบริษัทมีวงเงินสินเชื่อซึ่งยังมิได้เบิกใช้เป็นจานวนเงินรวม 9,197.93 ล้านบาท และ 6,300 ล้านบาท ตามลาดับ (2551: 30,997.48 ล้านบาท และ 16,755.85 ล้านบาท ตามลาดับ)
12,818
สุทธิ
144
1,001
(856)
ชาระคืนเงินต้นทุกงวดหกเดือน จานวน 14 งวด โดยงวดแรกชาระเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2551
ชาระคืนเงินต้นเมื่อสิ้นสุดสัญญาใน เดือนกุมภาพันธ์ ปี 2554
หัก ส่วนที่ถึงกาหนดชาระภายในหนึ่งปี
อัตราเงินฝากประจา 3 เดือน บวกอัตราส่วนเพิ่ม
อัตรา EURIBOR บวก อัตราส่วนเพิ่ม
ระยะเวลาชาระคืน
งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551 (ล้านบาท) 1,008 -
งบการเงินรวม 2552 2551
13,674
-
-
ปี
ดอกเบี้ย อัตรา (ร้อยละ) ต่อปี
รวม
บาท
286
41.8
สกุลเงิน
กิจการที่ควบคุมร่วมกัน
วงเงิน (ล้าน)
232 รายงานประจำปี 2552 I บริษทั ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
233 ยอดหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ย ณ วันที่ 31 ธันวาคม จัดตามประเภทสกุลเงินตราได้ดังนี้ งบการเงินรวม 2552 2551 สกุลเงินบาท สกุลเงินเหรียญสหรัฐอเมริกา อื่นๆ รวม 16
35,038 10,194 364 45,596
เจ้าหนี้การค้า หมายเหตุ บุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน บุคคลหรือกิจการอื่นๆ รวม
5
งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551 (ล้านบาท) 32,349 32,654 30,625 10,746 10,019 10,480 1,943 45,038 42,673 41,105
งบการเงินรวม 2552 2551 4,137 1,755 5,892
งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551 (ล้านบาท) 1,820 4,089 1,495 1,610 229 72 3,430 4,318 1,567
ยอดเจ้าหนี้การค้า ณ วันที่ 31 ธันวาคม จัดตามประเภทสกุลเงินตราได้ดังนี้ งบการเงินรวม 2552 2551 สกุลเงินบาท สกุลเงินเหรียญสหรัฐอเมริกา สกุลเงินยูโร อื่นๆ รวม
4,360 630 414 488 5,892
งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551 (ล้านบาท) 3,142 4,076 1,567 50 207 71 35 167 3,430 4,318 1,567
234
รายงานประจำปี 2552 I บริษทั ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
17
หนี้สินหมุนเวียนอื่น งบการเงินรวม 2552 2551 ดอกเบี้ยค้างจ่ายและเงินค้างจ่ายอื่น ภาษีมูลค่าเพิ่มรอนาส่ง ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายรอนาส่ง อื่นๆ รวม
18
909 174 639 1,722
งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551 (ล้านบาท) 1,057 387 252 18 199 137 159 381 110 116 1,655 634 527
ทุนเรือนหุ้น
ทุนจดทะเบียน ณ วันที่ 1 มกราคม หุ้นสามัญ ณ วันที่ 31 ธันวาคม หุ้นสามัญ ทุนที่ออกและชำระแล้ว ณ วันที่ 1 มกราคม หุ้นสามัญ เพิ่มทุน ณ วันที่ 31 ธันวาคม หุ้นสามัญ
มูลค่าหุ้น ต่อหุ้น (บาท)
จานวนหุ้น
2552
จานวนเงิน จานวนหุ้น (ล้านหุ้น / ล้านบาท)
2551
จานวนเงิน
10
1,519
15,191
1,519
15,191
10
1,519
15,191
1,519
15,191
10 10
1,497 4
14,968 42
1,497 -
14,966 2
10
1,501
15,010
1,497
14,968
235 Ä e 2552 ¼o º°Ä ε ´  · · ¸É ³ º°Ê ®» o £µ¥Ä oà ¦ µ¦ ´ ¦¦Ä ε ´  · · ¸É ³ ºÊ°®»o µ¤´ Ä®o ¡ ´ µ ¤¸nª ¦nª¤Á } Á oµ ° ¦·¬´ ε ª 4,210,400 ® nª¥ Å oÄ o· ·Ä µ¦ º°Ê ®»o µ¤´ ε ª 4,210,400 ®»o ° ¦·¬´ Ä ¦µ µÄ o· ·®»o ¨³ 66.50 µ ¦·¬´ Å o ³Á ¸¥ 宦´ nµ®» o ¦´ 妳 ε ª 42,104,000 µ ( n Á } 4,210,400 ®»o ¤¼¨ nµ®» o ¨³ 10 µ ) ´ ¦³ ¦ª ¡µ · ¥r¨oª εĮo » ¸°É ° ¨³Á¦¸¥ ε¦³Â¨oªÁ¡·É¤ ¹ Ê µ ε ª 14,968,296,000 µ ( n Á } 1,496,829,600 ®»o ¤¼¨ nµ®»o ¨³ 10 µ ) Á } 15,010,400,000 µ ( n Á } 1,501,400,000 ®»o ¤¼¨ nµ®»o ¨³ 10 µ ) à ¥Å o°° Ä ¤¼¨ nµ®»o ¨³ 66.50 µ ¹É εĮo¤¸nª Á · ¤¼¨ nµ ®»o ε ª 237,887,600 µ Ä e 2551 ¼o º°Ä ε ´  · · ¸É ³ ºÊ°®»o £µ¥Ä oà ¦ µ¦ ´ ¦¦Ä ε ´  · · ¸É ³ ºÊ°®» o µ¤´ Ä®o ¡ ´ µ ¤¸nª ¦nª¤Á } Á oµ ° ¦·¬´ ε ª 258,000 ® nª¥ Å oÄ o· ·Ä µ¦ ºÊ°®» o µ¤´ ε ª 258,000 ®»o ° ¦·¬´ Ä ¦µ µÄ o· ·® »o ¨³ 66.50 µ ¦·¬´ Å o ³Á ¸¥ 宦´ nµ®» o ¦´ 妳 ε ª 2,580,000 µ ( n Á } 258,000 ®»o ¤¼¨ nµ®»o ¨³ 10 µ ) ´ ¦³ ¦ª ¡µ · ¥r¨oª εĮo » ¸É°° ¨³Á¦¸¥ ε¦³Â¨oªÁ¡·É¤ ¹Ê µ ε ª 14,965,716,000 µ ( n Á } 1,496,571,600 ®»o ¤¼¨ nµ®»o ¨³ 10 µ ) Á } 14,968,296,000 µ ( n Á } 1,496,829,600 ®»o ¤¼¨ nµ®»o ¨³ 10 µ ) à ¥Å o°° Ä ¤¼¨ nµ®» o ¨³ 66.50 µ ¹É εĮo¤¸nª Á · ¤¼¨ nµ®» o ε ª 14,577,000 µ ª´ ¸É 31 ´ ªµ ¤ 2552 Ä Îµ ´  · · ¸É ³ ºÊ°®» o µ¤´ ¸É¥´ ŤnÅ oÄ o· ·¤¸ µÎ ª 18.08 ¨oµ ® nª¥ ¨³ ³®¤ °µ¥»Ä ª´ ¸É 28 ´ ¥µ¥ 2554 19
nª Á · » ¨³Îµ¦° µ¤ ®¤µ¥ nª Á · ¤¼¨ nµ®»o µ¤ ´ ´ ·Â®n ¡¦³¦µ ´ ´ · ¦·¬´ ¤®µ ε ´ ¡.«. 2535 ¤µ ¦µ 51 Ä ¦ ¸ ¸É ¦·¬ ´ Á ° µ¥®» o ¼ ªnµ ¤¼¨ nµ®»o ¸É ³Á ¸¥ Ūo ¦·¬´ o° ε nµ®»o nª Á · ¸Ê ´Ê Á } » ε¦° (“nª Á · ¤¼¨ nµ®»o ”) nª Á · ¤¼¨ nµ®»o ¸Ê ³ εŠnµ¥Á } Á · { ¨Å¤nÅ o µ¦Â ¨ nµ µ¦Á · nª Á · » µ µ¦Â ¨ nµ µ¦Á · ¸É ´ ¹ Ä nª ° ¼o º°®»o ¦³ ° oª¥ ( ) ¨ nµ µ °´ ¦µÂ¨ Á ¨¸É¥ Á · ¦µ nµ ¦³Á « ¸ÉÁ · µ µ¦Â ¨ nµ µ¦Á · ° · µ¦Ä nµ ¦³Á «Ä®o Á } Á · µ Á¡ºÉ° εŠ¦ª¤Ä µ¦Á · ° · µ¦
236
รายงานประจำปี 2552 I บริษทั ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
( ) ¨ nµ ° °´ ¦µÂ¨ Á ¨¸É¥ Á · ¦µ nµ ¦³Á « ¸ÉÁ · µ µ¦Â ¨ nµ¦µ¥ µ¦ ¸ÉÁ } ´ªÁ · ¹É Á } nª ® ¹É ° µ¦¨ » » ·Ä ® nª¥ µ nµ ¦³Á « ° ¨»n¤ ¦·¬´ Á¤ºÉ°Á oµÁ ºÉ° Å µ ¦³ µ¦ ε¦° µ¤ ®¤µ¥ µ¤ ´ ´ ·Â®n ¡¦³¦µ ´ ´ · ¦·¬´ ¤®µ ε ´ ¡.«. 2535 ¤µ ¦µ 116 ¦·¬´ ³ o° ´ ¦¦ » ε¦° (“ε¦° µ¤ ®¤µ¥”) °¥nµ o°¥¦o°¥¨³ 5 ° εŦ» · ¦³ ε e®¨´ µ ®´ µ » ³¤¥ ¤µ ( oµ¤¸) ªnµ ε¦° ´ ¨nµª¤¸ ε ª Ťn o°¥ ªnµ¦o°¥¨³ 10 ° » ³Á ¸¥ Á · ε¦° ¸Ê ³ εŠnµ¥Á } Á · { ¨Å¤nÅ o 20
o°¤¼¨ µ µ¦Á · ε µ¤nª µ ¨»n¤ ¦·¬´ εÁ ° o°¤¼¨ µ µ¦Á · ε µ¤nª µ à ¥Â nª µ »¦ · Á } ¦¼  ®¨´ Ä µ¦¦µ¥ µ à ¥¡· µ¦ µ µ µ¦ ¦·®µ¦ µ¦ ´ µ¦Â¨³Ã ¦ ¦oµ µ¦ ¦·®µ¦Â¨³ µ¦¦µ¥ µ µ µ¦Á · £µ¥Ä ° ¨»n¤ ¦·¬ ´ Á } Á rÄ µ¦ ε® nª µ ¨Å o (Á¸¥) · ¦´¡¥r¨³® ¸Ê · µ¤nª µ ¦ª¤¦µ¥ µ¦ ¸ÉÁ ¸É¥ª o° à ¥ ¦ ´ nª µ ®¦º° ¸Éµ¤µ¦ { nª Ä®o ´ nª µ Å o°¥nµ ¤Á® »¤ ¨ ¦µ¥ µ¦ ¸ÉŤnµ¤µ¦ { nª Å onª Ä® n ¦³ ° oª¥ ° Á ¸Ê¥®¦º°Á · { ¨ ´Ê nª ° · ¦´¡¥r¨³¦µ¥Å o Á · Ä®o ¼o¥¤º ¸¤É ¸ ° Á ¸Ê¥Á · ¼o¥º¤Â¨³ nµÄ o nµ¥ ¨³· ¦´¡¥r¨³ nµÄ o nµ¥ ° · µ¦ à ¥¦ª¤ ¨»n¤ ¦·¬´ Á °nª µ »¦ · ¸Éε ´ ´ ¸Ê nª µ 1 nª µ 2 nª µ 3 nª µ 4 nª µ 5 nª µ 6
¨»n¤ · µ¦ ¨· ðÁ¨¢d r¨³µ µ¦ ¼ µ¦ ¨»n¤ »¦ · ¨· £´ rᨷÁ¤°¦r ¨»n¤ »¦ · ¨· £´ rÁ° ·¨¸ °° Å r ¨»n¤ »¦ · ¨· £´ rð¨¸Ã°Á ¤¸ ¨»n¤ »¦ · ¦· µ¦Â¨³°ºÉ Ç ¨»n¤ »¦ · Ä nµ ¦³Á «
13,481 1,208 2,194 10,079
8,046 1,278 1,588 5,180
εŦ ( µ » ) n° ° Á ¸Ê¥ nµ¥Â¨³£µ¬¸Á · Å o ° Á ¸Ê¥ nµ¥ £µ¬¸Á · Å o εŦ ( µ » ) » ·Îµ®¦´ e
55,227 1,618 532 4,798 62,175
45,560 2,533 601 48,694
50,095 490 582 975 52,142
41,674 nµÄ o nµ¥Ä µ¦ µ¥Â¨³ ¦·®µ¦ 2,270 nµÄ o nµ¥°ºÉ 152 ¦ª¤ nµÄ o nµ¥ 44,096
o » µ¥
¦µ¥Å o ° Á ¸Ê¥¦´ ¦µ¥Å o° ºÉ ¦µ¥Å o Å¸É ¤nÅ o { nª ¦ª¤¦µ¥Å o
nª µ 1 2552 2551
o°¤¼¨Á ¸É¥ª ´ ¨Å o (Á¸¥) µ¤nª µ »¦ ·
3,800 174 187 3,439
17,491 538 5 18,034
21,300 133 401 21,834
3,932 143 24 3,765
20,069 572 178 20,819
24,550 23 178 24,751
nª µ 2 2552 2551
1,081 20 2 1,059
9,922 351 10,273
11,293 7 54 11,354
3,749 23 (1) 3,727
8,417 107 65 8,589
12,190 33 115 12,338
nª µ 3 2552 2551
(348) 398 1 (747)
9,288 302 9,590
(557) 271 (4) (824)
5,165 77 158 5,400
3,324 866 554 1,904
2,587 299 (2) 2,884
1,239 55 150 1,034
1,587 220 1,807
nª µ 4 nª µ 5 2552 2551 2552 2551 (¨oµ µ ) 9,115 4,759 4,209 3,025 2 8 1,420 11 125 76 579 10 9,242 4,843 6,208 3,046
(6) 97 12 (115)
11,182 1,869 16 13,067
12,915 13 133 13,061
(245) 11 (87) (169)
1,007 266 1,273
1,000 1 27 1,028
nª µ 6 2552 2551
(4,029) (574) (15) (3,440)
(21,697) (872) (16) (22,585)
(22,898) (1,846) (916) (954) (26,614)
(5,701) (333) 44 (5,412)
(16,829) (499) (17,328)
(16,634) (1,130) (467) (4,798) (23,029)
´ ¦µ¥ µ¦¦³®ªnµ ´ 2552 2551
11,868 2,259 2,329 7,280
70,447 4,757 155 75,359
86,029 219 958 21 87,227
2552
2551
15,898 1,378 2,320 12,200
64,976 3,276 1,002 69,254
84,117 564 471 85,152
¦ª¤
237
276 215 -
179 785 42,113 235
21,678
34,466 174 105 156 125,664
¸É · °µ µ¦ ¨³°» ¦ r · ¦´¡¥rŤn¤¸ ´ª · ¦´¡¥r£µ¬¸Á · Å o¦° µ¦ ´ ´ ¸ · ¦´¡¥rŤn®¤» Áª¸¥ °ºÉ ¦ª¤· ¦´¡¥r
-
42 513 55
-
5,956 1,505 27 1,255
26,24 5 40,887 2,068 2,031 27 325 312 35,017 52,610
-
7,995
59,053 622 3 328 165,305
2,294 1,605 733 1,256
12,610 2,295 173 2,700
nª µ 2 2552 2551
Á · ¨³Á · µ µ ´ µ¦Á · 6,309 ¨¼ ® ¸Ê µ¦ oµÂ¨³ ´ÌªÁ · ¦´ 5,892 ¨¼ ® ¸Ê° ºÉ · µ¦ ¸ÉÁ ¸É¥ª o° ´ 106 · oµ Á®¨º° 3,964 Á · Ä®o ¼o¥º¤¦³¥³´Ê  n · µ¦ ¸ÉÁ ¸É¥ª o° ´ 11,277 Á · Ä®o ¼o¥º¤¦³¥³¥µªÂ n · µ¦ ¸ÉÁ ¸É¥ª o° ´ ¸É ¹ ε® ε¦³£µ¥Ä® ¹É e 3,313 ¨¼ ® ¸Ê£µ¬¸¤¼¨ nµÁ¡·É¤ 355 · ¦´¡¥r®¤» Áª¸¥ °ºÉ 686 Á · ¨ » Ä ¦·¬ ´ ¦nª¤ 47,080 Á · ¨ » ¦³¥³¥µª°ºÉ 290 Á · Ä®o ¼o¥º¤¦³¥³¥µªÂ n · µ¦ ¸ÉÁ ¸É¥ª o° ´ 26,027
nª µ 1 2552 2551
o°¤¼¨Á ¸É¥ª ´ µ ³ µ µ¦Á · µ¤nª µ »¦ ·
-
312 -
-
273 853 11 299
11,143 11,319 188 43 21 17 750 827 15,222 13,954
-
362 161 -
-
367 1,850 13 367
nª µ 3 2552 2551
7,248 112 5 12 9,508
-
170 38 -
-
7,398 80 5 12 9,331
-
194 -
-
4,164 115 1 18 5,519
-
72 2
-
4,201 129 1 5,751
-
413 2
-
nª µ 4 nª µ 5 2552 2551 2552 2551 (¨oµ µ ) 394 445 548 593 690 360 502 373 5 6 42 834 831 55 39
3,212 471 102 107 9,238
159 33 -
1,138 1,954 2,062 -
3,031 569 44 79 9,407
-
217 28
-
1,298 2,006 2,135
nª µ 6 2552 2551
(7,995)
(1,148) (184) 302
(1) (1,155) 2,943 2,586 (112) (2) (79,558) (64,399)
(26,027) (21,678)
(3,313) (26) (58) (1,010) (38,710) (34,113) (2) (2)
(11,277)
(2,825) (150) -
111,064 6,519 132 1,428 160,251
-
1,137 1,273 8,370 323
-
11,050 9,668 749 8,538
100,147 5,612 198 1,385 152,318
-
221 1,424 8,000 318
-
21,175 6,244 33 7,561
´ ¦µ¥ µ¦¦³®ªnµ ´ ¦ª¤ 2552 2551 2552 2551
238 รายงานประจำปี 2552 I บริษทั ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
Á · ¼o¥º¤¦³¥³´Ê µ µ ´ µ¦Á · Á · ¼o¥º¤¦³¥³´Ê µ · µ¦ ¸ÉÁ ¸É¥ª o° ´ 330 Á oµ® ¸Ê µ¦ oµ 4,302 Á oµ® ¸Ê°ºÉ · µ¦ ¸ÉÁ ¸É¥ª o° ´ 938 Á oµ® ¸Ê°ºÉ · µ¦°ºÉ 351 Á oµ® ¸ÊÁ · ¦³ ´ ¨ µ 176 Á oµ® ¸Ê ¼o¦´ Á®¤µ n°¦oµ 1,052 Á · ¼o¥º¤¦³¥³¥µª ¸É ¹ ε® ε¦³£µ¥Ä ® ¹É e 2,279 ®»o ¼o ¸É ¹ ε® ε¦³£µ¥Ä ® ¹É e 334 £µ¬¸Á · Å o · · » ¨ oµ nµ¥ 1,196 ® ¸Ê· ®¤» Áª¸¥ °ºÉ 548 Á · ¼o¥º¤¦³¥³¥µª µ µ ´ µ¦Á · 9,255 Á · ¼o¥º¤¦³¥³¥µª µ » ¨®¦º° · µ¦ ¸ÉÁ ¸É¥ª o° ´ 12,104 ®»o ¼o 29,514 ® ¸Ê· £µ¬¸Á · Å o¦° µ¦ ´ ´ ¸ 601 ® ¸Ê· Ťn®¤» Áª¸¥ °ºÉ 251 ¦ª¤® ¸Ê· 63,231
580 1,064 447 185 262 548 1,579 66 66 167 1,836 13,923 885 214 42 21,864
22,884 516 240 37,613
nª µ 4 2552 2551 (¨oµ µ ) 8,580 7,215 85 37 59 31 70 15 28 13 48 121 238 - 288 290 130 6 28 34 18 289 62 521 604
230 316 49 6 75 367 37 573 658
nª µ 5 2552 2551
21,678 122 5,373 205 4 3 2 1 49 7 13 9 16 78 70 34,095 2,770 1,933 8,971 7,889 2,062 2,382
550 561 37 62 21 546 143
nª µ 3 2552 2551
- 1,497 661 881 107 82 196 77 176 11 2,740 50 427 21 76 15 (3) 180 25 2,212 -
nª µ 2 2552 2551
1,561 514 803 129 154 442 324 195 427 9,424
nª µ 1 2552 2551
60 602 4,048
771 1,169 2 18 425 1,001 - (26,149) 25 583 (113) 4,358 (43,788)
979 - (11,277) 1,284 (1,739) (983) (8) (244) - (3,313) 15 464 (84) 1,008 122 (21,678) (2) (32,149)
(7,995) (989) (569) (22) (118) (776) -
nª µ 6 ´ ¦µ¥ µ¦¦³®ªnµ ´ 2552 2551 2552 2551
30,399 881 876 59,158
771 5,892 551 711 490 1,452 855 400 1,339 1,723 12,818
28,257 750 969 56,121
979 3,431 169 999 311 3,022 1,305 400 144 1,652 13,733
¦ª¤ 2552 2551
239
240
รายงานประจำปี 2552 I บริษทั ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
21
ค่าใช้จ่ายในการขาย งบการเงินรวม 2552 2551 ค่าใช้จ่ายหลักในการขาย ค่าใช้จ่ายในการสนับสนุนการขาย ค่าใช้จ่ายทางการตลาด ค่าใช้จ่ายบุคลากร ค่าใช้จา่ ยในการขายอื่นๆ รวม
22
1,103 23 4 265 60 1,455
154 14 4 172
งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551 (ล้านบาท) 6 2 7 8 4 3 17 13
ค่าใช้จ่ายในการบริหาร งบการเงินรวม 2552 2551 ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับบุคลากร ค่าใช้จ่ายบริหาร ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจาหน่าย ขาดทุนจากการจาหน่ายสินทรัพย์ถาวร รวม
1,530 1,145 436 156 3,267
1,185 1,537 262 62 3,046
งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551 (ล้านบาท) 937 853 1,073 1,623 307 208 154 27 2,471 2,711
241 23
nµÄ o nµ¥ ¨ ¦³Ã¥ r °  ¡ ´ µ µ¦Á · ¦ª¤ 2552
2551
¼o ¦·®µ¦ Á · Á º° ¨³ nµÂ¦ Á · ¤ ° » ε¦° Á¨¸Ê¥ ¸¡
¡ ´ µ °ºÉ Á · Á º° ¨³ nµÂ¦ Á · ¤ ° » ε¦° Á¨¸Ê¥ ¸¡ °ºÉ Ç
¦ª¤
µ¦Á · Á ¡µ³ · µ¦
187
2552 (¨oµ µ ) 163
2551 95
124
3
3
3
3
190
166
98
127
3,177
2,648
1,688
1,771
146
119
84
80
56
20
-
-
3,379
2,787
1,772
1,851
3,586
2,944
1,870
1,978
¨»n¤ ¦·¬´ Å o ´ ´Ê ° » ε¦° Á¨¸Ê¥ ¸¡Îµ®¦´ ¡ ´ µ ° ¨»¤n ¦·¬´ ¡ºÊ µ ªµ¤¤´ ¦Ä ° ¡ ´ µ Ä µ¦Á } ¤µ · ° ° » à ¥¡ ´ µ nµ¥Á · ³¤Ä °´ ¦µ ´ Ê Éε µ¤ ¸É ®¤µ¥ ε®  nŤnÁ · °´ ¦µ¦o°¥¨³ 10 ° Á · Á º° » Á º° ¨³ ¨»n¤ ¦·¬´ nµ¥¤ Ä °´ ¦µ ´Ê Éε µ¤ ¸É ®¤µ¥ ε®  nŤnÁ · °´ ¦µ¦o°¥¨³ 10 ° Á · Á º° ° ¡ ´ µ Ä Â n¨³Á º° ° » ε¦° Á¨¸Ê¥ ¸¡ ¸ÊÅ o ³Á ¸¥ Á } ° » ε¦° Á¨¸Ê¥ ¸¡ µ¤ o° ε® ° ¦³ ¦ª µ¦ ¨´ ¨³ ´ µ¦ ° » à ¥ ¼o ´ µ¦ ° » ¸ÉÅ o¦ ´ ° » µ
242
รายงานประจำปี 2552 I บริษทั ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
24
o » µ µ¦Á · ®¤µ¥Á® » ° Á ¸Ê¥ nµ¥Â¨³ oµ nµ¥ ´ µ ´ µ¦Á · nª ¸É ´ ¹ Á } o » ° · ¦´¡¥r¦³®ªnµ n°¦oµ » ·
25
12
µ¦Á · ¦ª¤ 2552 2551
µ¦Á · Á ¡µ³ · µ¦ 2552 2551 (¨oµ µ )
2,260
1,392
2,078
1,264
(1) 2,259
(14) 1,378
2,078
1,264
£µ¬¸Á · Å o
®¤µ¥Á® » £µ¬¸Á · Å o { » ´ 宦´ e { » ´ £µ¬¸ e n° Ç ¸É ´ ¹ ÉεŠ/(¼ Å )
£µ¬¸Á · Å o¦° µ¦ ´ ´ ¸ 14 µ¦Á ¨¸É¥  ¨ ° ¨ nµ ´Éª ¦µª ¦ª¤
µ¦Á · ¦ª¤ 2552 2551
µ¦Á · Á ¡µ³ · µ¦ 2552 2551 (¨oµ µ )
2,151 (30) 2,121
2,359 58 2,417
1,723 (9) 1,714
2,236 63 2,299
208
(98)
182
(105)
2,329
2,319
1,896
2,194
243 µ¦Á · ¦ª¤
µ¦ ¦³ ¥° Á¡ºÉ°®µ°´ ¦µ£µ¬¸ ¸É o ¦·
εŦ n° £µ¬¸Á · Å o ε ª £µ¬¸ µ¤°´ ¦µ£µ¬¸Á · Å o µ¦¨ £µ¬¸Á · Å o ¨ ¦³ µ ªµ¤Â nµ ° °´ ¦µ£µ¬¸ 宦´ · µ¦Ä nµ ¦³Á « ¦µ¥Å o Å¸É ¤n °o Á¸¥£µ¬¸ nµÄ o nµ¥ o° ®oµ¤ µ £µ¬¸ ¦ª¤
2552 (¦o°¥¨³) 30.00 (0.14) (8.11) 2.49 24.24
(779) 239 2,329
(¨oµ µ ) 14,520 4,356 (13)
(0.01) (16.98) 3.05 15.97
(1) (2,466) 443 2,319
µ¦Á · Á ¡µ³ · µ¦
µ¦ ¦³ ¥° Á¡ºÉ°®µ°´ ¦µ£µ¬¸ ¸É o ¦·
εŦ n° £µ¬¸Á · Å o ε ª £µ¬¸ µ¤°´ ¦µ£µ¬¸Á · Å o µ¦¨ £µ¬¸Á · Å o ¦µ¥Å o Å¸É ¤n °o Á¸¥£µ¬¸ nµÄ o nµ¥ o° ®oµ¤ µ £µ¬¸ ¦ª¤
°´ ¦µ£µ¬¸ (¨oµ µ ) (¦o°¥¨³) 9,609 2,883 30.00 (14) (0.09)
2551
2552 (¦o°¥¨³) 30.00 (0.13) (13.35) 0.69 17.21
2551 °´ ¦µ£µ¬¸ (¨oµ µ ) (¦o°¥¨³) 11,018 3,305 30.00 (14) (0.08) (1,471) (18.57) 76 1.86 1,896 13.21
(¨oµ µ ) 16,614 4,984 (13) (3,086) 309 2,194
244
รายงานประจำปี 2552 I บริษทั ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
การลดภาษีเงิ นได้นิติบคุ คล พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากรฉบับที่ 387 พ.ศ. 2544 ลงวันที่ 5 กันยายน 2544 ให้สทิ ธิทางภาษีแก่บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยโดยลดอัตราภาษีเงินได้นิติบคุ คลจากอัตรา ร้อยละ 30 เป็นร้อยละ 25 สาหรับกาไรสุทธิทางภาษีเฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 300 ล้านบาท เป็นเวลาห้ารอบระยะเวลาบัญชี ต่อเนื่องกันนับแต่รอบระยะเวลาบัญชีแรกที่เริม่ ในหรือหลังวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บงั คับ และยังได้รบั สิทธิในการลดภาษี เงินได้นิติบคุ คลแห่งพระราชกฤษฎีกาตามความในประมวลรัษฎากร ฉบับที่ 475 แต่ไม่เกินรอบระยะเวลาบัญชี 2553 ที่ สิน้ สุดในหรือหลังวันที่ 31 ธันวาคม 2553 บริษัทได้คานวณภาษีเงินได้นิติบคุ คลจากกาไรทางภาษีสาหรับปีสนิ้ สุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551 ตามอัตราที่กาหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวข้างต้น 26
สิทธิประโยชน์จากการส่งเสริ มการลงทุน คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนอนุมัติให้กลุม่ บริษัท / บริษัทได้รบั สิทธิประโยชน์หลายประการในฐานะผูไ้ ด้รบั การส่งเสริม การ ลงทุนตามพระราชบัญญัติสง่ เสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 การผลิตผลิตภัณฑ์เคมีจากปิโตรเลียม กิจการการผลิตและขายเม็ด พลาสติกโพลิเอทิลนี กิจการผลิตสาธารณูปการ กิจการให้บริการท่าเทียบเรือสาหรับขนถ่ายสินค้าเหลวและคลังเก็บ สินค้ า เหลวและกิจการบริการขนส่งสินค้าสาหรับเดินทะเล ซึ่งพอสรุปสาระสาคัญได้ดังนี้ (ก)
ให้ได้รบั ยกเว้นอากรขาเข้าและภาษีสาหรับเครือ่ งจักรที่ได้รบั อนุมัติโดยคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
(ข)
ให้ได้รบั ยกเว้นภาษีเงิ นได้นิติบคุ คลสาหรับกาไรสุทธิที่ได้จากการประกอบกิจการที่ได้รบั การส่งเสริมมี กาหนดเวลา 8 ปี นับแต่วนั ที่เริม่ มีรายได้จากการประกอบกิจการนั้น
(ค)
ให้ได้รบั ลดหย่อนภาษีเงิ นได้นิติบคุ คลร้อยละ 50 สาหรับกาไรสุทธิที่ได้จากการประกอบกิจการที่ได้รบั การส่งเสริม มีกาหนดเวลา 5 ปี นับแต่วนั ที่สนิ้ สุดสิทธิประโยชน์ตามข้อ (ข) เนื่องจากเป็นกิจการที่ได้รบั การส่งเสริมการลงทุน บริษัทและบริษัทย่อยจะต้องปฏิบตั ิตามเงื่อนไข และข้อกาหนดตามที่ ระบุไว้ในบัตรส่งเสริมการลงทุน
245 รายได้ที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนและที่ไม่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนสรุปได้ดังนี้ งบการเงินรวม
ขายต่างประเทศ ขายในประเทศ รายได้จากการ ให้บริการ ตัดรายการระหว่างกัน รวมรายได้
กิจการที่ ได้รับการ ส่งเสริม
2552 กิจการที่ ไม่ได้รับ การส่งเสริม
3,808 36,787
13,398 50,525
กิจการที่ ได้รับการ รวม ส่งเสริม (ล้านบาท) 17,206 3,984 87,312 39,598 4,409
2551 กิจการที่ ไม่ได้รับ การส่งเสริม 1 54,199
(22,898) 86,029
รวม 3,985 93,797 2,969 (16,634) 84,117
งบการเงินเฉพาะกิจการ กิจการที่ ได้รับการ ส่งเสริม ขายต่างประเทศ ขายในประเทศ รายได้จากการให้บริการ รวมรายได้
2552 กิจการที่ ไม่ได้รับ การส่งเสริม
380
-
18,540 94 19,014
41,011 239 41,250
กิจการที่ ได้รับการ รวม ส่งเสริม (ล้านบาท) 380 59,551 333 60,264
24,970 24,970
2551 กิจการที่ ไม่ได้รับ การส่งเสริม
รวม
-
-
43,046 303 43,349
68,016 303 68,319
246
รายงานประจำปี 2552 I บริษทั ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
27
εŦ n°®»o εŦ n°®»o ´Ê ¡ºÊ µ εŦ n°®»o ´Ê ¡º Ê µ 宦´  n¨³ e·Ê » ª´ ¸É 31 ´ ªµ ¤ 2552 ¨³ 2551 ε ª µ εŦ宦´ e ¸ÉÁ } nª ° ¼o º° ®»o ° ¦·¬´ ¨³ ε ª ®»o µ¤´ ¸É°° ε® nµ¥Â¨oª¦³®ªnµ eÄ Â n¨³ eà ¥ª· ¸ ´ªÁ ¨¸É¥ nª Êε® ´  µ¦ ε ª ´ ¸Ê
εŦ ¸ÉÁ } nª ° ¼o º°®»o ° ¦·¬´ ( ´Ê ¡ºÊ µ ) ε ª ®» o µ¤´ ¸É°° ª´ ¸É 1 ¤ ¦µ ¤ ¨ ¦³ µ ®» o ¸É°° ε® nµ¥¦³®ªnµ e ε ª ®»o µ¤´ à ¥ª· ¸ ´ªÁ ¨¸É¥ nª Êε® ´ ( ´Ê ¡ºÊ µ ) εŦ n°®»o ( ´Ê ¡ºÊ µ ) ( µ )
µ¦Á · ¦ª¤ µ¦Á · Á ¡µ³ · µ¦ 2552 2551 2552 2551 (¨oµ µ /¨oµ ®»o ) 6,802 11,739 9,122 14,420 1,496.7 4.3 1,501.0
1,496.6 0.1 1,496.7
1,496.7 4.3 1,501.0
1,496.6 0.1 1,496.7
4.54
7.84
6.09
9.63
247 εŦ n°®»o ¦´ ¨ εŦ n°®»o ¦´ ¨ 宦´  n¨³ e·Ê » ª´ ¸É 31 ´ ªµ ¤ 2552 ¨³ 2551 ε ª µ εŦ宦´ e ¸ÉÁ } nª ° ¼o º° ®»o ° ¦·¬´ ¨³ ε ª ®»o µ¤´ ¸É°° ε® nµ¥Â¨oª¦³®ªnµ eÄ Â n¨³ e à ¥ª· ¸ ´ªÁ ¨¸É¥ nª Êε® ´  µ¦ ε ª ®¨´ µ ¸ÉÅ o ¦´ ¦» ¨ ¦³ ° ®»o ¦´ ¨ ´ ¸Ê µ¦Á · ¦ª¤ 2552 2551
µ¦Á · Á ¡µ³ · µ¦ 2552 2551
(¨oµ µ /¨oµ ®» o ) εŦ ¸ÉÁ } nª ° ¼o º°®»o ° ¦·¬´ ( ¦´ ¨ ) ε ª ®» o µ¤´ à ¥ª· ¸ ´ªÁ ¨¸É¥ nª Êε® ´ ( ´Ê ¡ºÊ µ ) ¨ ¦³ µ µ¦°° · · ¸É ³Á¨º° ºÊ°®» o ε ª ®»o µ¤´ à ¥ª· ¸ ´ªÁ ¨¸É¥ nª Êε® ´ ( ¦´ ¨ ) εŦ n°®»o ( ¦´ ¨ ) ( µ )
6,802
11,739
9,122
14,420
1,501.0 -
1,496.7 -
1,501.0 -
1,496.7 -
1,501.0 4.54
1,496.7 7.84
1,501.0 6.09
1,496.7 9.63
248
รายงานประจำปี 2552 I บริษทั ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
28
เงินปันผลจ่าย ในการประชุมคณะกรรมการบริษัทเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2552 คณะกรรมการมีมติอนุมัติการจัดสรรเงินปันผล ระหว่างกาล จากกาไรสุทธิสาหรับงวดหกเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2552 แก่ผู้ถือหุ้นในอัตราหุ้นละ 0.60 บาท เป็นจานวนเงินทั้งสิ้น 898 ล้านบาท และได้จ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้นเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2552 ในการประชุมสามัญประจาปีของผู้ถือหุ้นของบริษัทเมื่อวันที่ 8 เมษายน 2552 ผู้ถือหุ้นมีมติอนุมัติการจัดสรรกาไรสุทธิสาหรับ ปี 2551 เป็นเงินปันผลในอัตราหุ้นละ 4 บาท เป็นจานวนเงิน 5,937 ล้านบาท สุทธิจากเงินปั นผลระหว่างกาลซึ่งจัดสรรจาก กาไรสาหรับงวดหกเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2551 ในอัตราหุ้นละ 3 บาท เป็นจานวนเงิน 4,490 ล้านบาท และได้จ่าย ให้แก่ผู้ถือหุ้นในระหว่างปี 2551 ดังนั้น ยอดสุทธิของเงินปันผลดังกล่าวจานวนเงิน 1,497 ล้านบาท ได้จ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้นใน ระหว่างปี 2552 ในการประชุมคณะกรรมการบริษัทเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2551 คณะกรรมการมีมติอนุมัติการจัดสรรเงินปันผลระหว่างกาล จากกาไรสุทธิสาหรับงวดหกเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2551 แก่ผู้ถือหุ้นในอัตราหุ้นละ 3 บาท เป็นจานวนเงินทั้งสิ้น 4,490 ล้านบาท และได้จ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้นเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2551 ในการประชุมสามัญประจาปีของผู้ถือหุ้นของบริษัทเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2551 ผู้ถือหุ้นมีมติอนุมัตกิ ารจัดสรรเงินปันผลใน อัตราหุ้นละ 6 บาท เป็นจานวนเงิน 8,966 ล้านบาท สุทธิจากเงินปันผลระหว่างกาลซึ่งจัดสรรจากกาไรสุทธิสาหรับงวดหก เดือนสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2550 ในอัตราหุ้นละ 2 บาท เป็นจานวนเงิน 2,980 ล้านบาท ซึ่งจ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้นในระหว่างปี 2550 ยอดสุทธิของเงินปันผลดังกล่าวจานวนเงิน 5,986 ล้านบาท ได้จ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้นในระหว่างปี 2551
29
เครื่องมือทางการเงิน นโยบายการจัดการความเสี่ยงทางด้านการเงิน กลุ่มบริษัท/บริษัทมีความเสี่ยงจากการดาเนินธุรกิจตามปกติจากการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยและอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา ต่างประเทศ และจากการไม่ปฏิบัติตามข้อกาหนดตามสัญญาของคู่สัญญา กลุ่มบริษัท /บริษัทไม่มีการถือหรือออกเครือ่ งมือ ทางการที่เป็นตราสารอนุพันธ์ เพื่อการเก็งกาไรหรือการค้า การจัดการความเสี่ยงเป็นส่วนที่สาคัญของธุรกิจของกลุ่มบริษัท/บริษัท กลุ่มบริษัท/บริษัท มีระบบในการบริหารจัดการความ เสี่ยงอย่างต่อเนื่อง เพื่อการควบคุมความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและยอมรับได้
249 ªµ¤Á¸É¥ oµ °´ ¦µ ° Á ¸Ê¥ ªµ¤Á¸É¥ oµ °´ ¦µ ° Á ¸Ê¥ ®¤µ¥ ¹ ªµ¤Á¸É¥ ¸ÉÁ · µ ªµ¤ ´ ª ° °´ ¦µ ° Á ¸Ê¥Ä ¨µ Ä ° µ ¹É n ¨ ¦³ n° µ¦ εÁ · µ ¨³ ¦³ÂÁ · ° ¨»n¤ ¦·¬´ / ¦·¬´ Á ºÉ° µ ¨»n¤ ¦·¬´ / ¦·¬´ o° 妳°´ ¦µ ° Á ¸Ê¥Á · ¼o ¥º¤Á¡ºÉ°Ä oÄ µ¦ εÁ · µ ´Ê  ¸É¨³¨°¥ ´ª ¨»n¤ ¦·¬´ / ¦·¬´ Å o¨ ªµ¤Á¸É¥ ´ ¨nµªÃ ¥ εĮo nÄ ªnµ ° Á ¸Ê¥ ¸É Á · µ Á · ¼o¥º¤nª Ä® n¤¸°´ ¦µ ¸É °´ ¦µ ° Á ¸Ê¥ ¸É o ¦· ° Á · Ä®o ¼o¥º¤ ª´ ¸É 31 ´ ªµ ¤ ¨³¦³¥³ ¸É ¦ ε® ε¦³®¦º° ε® °´ ¦µÄ®¤n¤ ¸ ´ ¸Ê
e 2552 ®¤» Áª¸¥ Á · Ä®o ¼o¥º¤Â n » ¨®¦º° · µ¦ ¸ÉÁ ¸É¥ª o° ´ Ťn®¤» Áª¸¥ Á · Ä®o ¼o¥º¤Â n » ¨®¦º° · µ¦ ¸ÉÁ ¸É¥ª o° ´
°´ ¦µ ° Á ¸Ê¥ ¸É o ¦· (¦o°¥¨³ n° e)
£µ¥Ä 1 e
o » ´ª Á ¨¸É¥Á · ¼o¥º¤
14,590
o » ´ª Á ¨¸É¥Á · ¼o¥º¤
-
¦ª¤ e 2551 ®¤» Áª¸¥ Á · Ä®o ¼o¥º¤Â n » ¨®¦º° · µ¦ ¸ÉÁ ¸É¥ª o° ´ Ťn®¤» Áª¸¥ Á · Ä®o ¼o¥º¤Â n » ¨®¦º° · µ¦ ¸ÉÁ ¸É¥ª o° ´ ¦ª¤
o » ´ª Á ¨¸É¥Á · ¼o¥º¤ o » ´ª Á ¨¸É¥Á · ¼o¥º¤
µ¦Á · Á ¡µ³ · µ¦ ®¨´ µ 1 e ®¨´ µ 5 e  n£µ¥Ä 5 e (¨oµ µ )
-
14,590
25,116
911
26,027
14,590
25,116
911
40,617
7,995
-
-
7,995
20,835
843
21,678
20,835
843
29,673
7,995
-
¦ª¤
°´ ¦µ ° Á ¸Ê¥ ¸É o ¦· ° ® ¸Ê· µ µ¦Á · ¸É¤¸£µ¦³ ° Á ¸Ê¥ ª´ ¸É 31 ´ ªµ ¤ 2552 ¨³ 2551 ¨³¦³¥³Áª¨µ ¸É ¦ ε® ε¦³®¦º° ε® °´ ¦µÄ®¤nÅ oÁ d Á ¥Åªo¨oªÄ ®¤µ¥Á® » 15
250
รายงานประจำปี 2552 I บริษทั ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
ความเสี่ยงจากเงินตราต่างประเทศ กลุม่ บริษัท/บริษัทมีความเสีย่ งจากอัตราแลกเปลีย่ นเงิ นตราต่างประเทศ ซึ่งเกิดจากการซื้อสินค้าและการขายสินค้าที่ เป็นเงิ นตราต่างประเทศ รวมทั้งเงิ นกูย้ มื ที่เป็นสกุลต่างประเทศ กลุม่ บริษัท/บริษัทได้ปอ้ งกันความเสีย่ งจากความผัน ผวนของอัตราแลกเปลีย่ นโดยการทาสัญญาซื้อขายเงิ นตราต่างประเทศ ล่วงหน้าซึ่งสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศ ล่วงหน้า ณ วันที่ในงบดุลเป็นรายการที่เกีย่ วข้องกับรายการซื้อและขาย สินค้าที่เป็นเงินตราต่างประเทศในงวดถัดไป นอกจากการทาสัญญาซื้อและขายเงิ นตราต่างประเทศล่วงหน้าแล้ว กลุม่ บริษัทได้ใช้เครือ่ งมือทางการเงินเพือ่ ป้องกัน ความเสีย่ งจากความผันผวนของอัตราดอกเบี้ยและอัตราแลกเปลีย่ นได้แก่ การทาสัญญาแลกเปลีย่ นสกุลเงินและ อัตราดอกเบี้ย ณ วันที่ 31 ธันวาคม กลุม่ บริษัทและบริษัทมีความเสีย่ งจากอัตราแลกเปลีย่ นเงินตราต่างประเทศอันเป็นผลมาจาก การมีสนิ ทรัพย์และหนี้สนิ ที่เป็นเงิ นตราต่างประเทศดังนี้
251 หมายเหตุ สกุลเงินเหรียญสหรัฐอเมริกา เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ลูกหนี้การค้า เงินจ่ายล่วงหน้า หนี้สินทางการเงินที่มีภาระดอกเบี้ย เจ้าหนี้การค้า เจ้าหนี้ค่าก่อสร้าง เจ้าหนี้อื่น ยอดบัญชีในงบดุลที่มีความเสี่ยง สัญญาแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ สัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศ ยอดความเสี่ยงคงเหลือสุทธิ สกุลเงินยูโร เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ลูกหนี้การค้า เงินจ่ายล่วงหน้า หนี้สินทางการเงินที่มีภาระดอกเบี้ย เจ้าหนี้การค้า เจ้าหนี้อื่น ยอดบัญชีในงบดุลที่มีความเสี่ยง สัญญาแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ สัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศ ยอดความเสี่ยงคงเหลือสุทธิ
6 7 15 16
6 7 15 16
งบการเงินรวม 2552 2551 151 1,591 (10,194) (630) (185) (145) (9,412) 215 (259) (9,456)
404 628 156 (203) (413) (40) 532 (3) 529
งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551 (ล้านบาท) 267 2 1,300 171 290 290 (10,746) (10,019) (10,480) (50) (207) (1,058) (267) (68) (248) (10,264) (10,123) (10,436) 63 215 63 5 (10,196) (9,908) (10,373)
512 649 384 (1,583) (71) (123) (232) 1 (231)
151 (35) (10) 106 106
384 (85) 299 299
252
รายงานประจำปี 2552 I บริษทั ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
6 11
23 290 313 313
งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551 (ล้านบาท) 3 290 290 290 (10) (17) (7) 266 290 283 266 290 283
6 7
38 185 4 (18) (8) 201 201
17 234 439 (38) (97) (191) 364 364
4 (8) (4) (4)
283 138 (156) (430) (165) (165)
367 120 (311) (68) (108) (108)
-
หมายเหตุ สกุลเงินเหรียญสิงคโปร์ เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด เงินลงทุนอื่น เจ้าหนี้ค่าก่อสร้าง เจ้าหนี้อื่น ยอดบัญชีในงบดุลที่มีความเสี่ยง สัญญาแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ สัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศ ยอดความเสี่ยงคงเหลือสุทธิ สกุลเงินเยน เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ลูกหนี้การค้า เงินจ่ายล่วงหน้า หนี้สินทางการเงินที่มีภาระดอกเบี้ย เจ้าหนี้การค้า เจ้าหนี้อื่น ยอดบัญชีในงบดุลที่มีความเสี่ยง สัญญาแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ สัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศ ยอดความเสี่ยงคงเหลือสุทธิ สกุลเงินริงกิตมาเลเซีย เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ลูกหนี้การค้า หนี้สินทางการเงินที่มีภาระดอกเบี้ย เจ้าหนี้การค้า ยอดบัญชีในงบดุลที่มีความเสี่ยง สัญญาแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ สัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศ ยอดความเสี่ยงคงเหลือสุทธิ
15 16
6 7 15 16
งบการเงินรวม 2552 2551
439 (191) 248 248
-
253 ®¤µ¥Á® » °ºÉ Ç Á · ¨³¦µ¥ µ¦Á ¸¥ Á nµÁ · ¨¼ ® ¸Ê µ¦ oµ Á · ¨ » °ºÉ ® ¸Ê· µ µ¦Á · ¸É¤¸£µ¦³ ° Á ¸Ê¥ Á oµ® ¸Ê µ¦ oµ Á oµ® ¸Ê°ºÉ ¥° ´ ¸Ä »¨ ¸É¤¸ ªµ¤Á¸É¥ ´ µÂ¨ Á ¨¸É¥ Á · ¦µ nµ ¦³Á « ´ µ ºÊ° µ¥Á · ¦µ nµ ¦³Á « ¥° ªµ¤Á¸É¥ Á®¨º°» ·
6 7 11 15 16
µ¦Á · ¦ª¤ 2552 2551
93 89 33 (4) (39) 172 172
µ¦Á · Á ¡µ³ · µ¦ 2552 2551 (¨oµ µ )
43 79 29 (11) (2) (1) 137 137
-
ªµ¤Á¸É¥ µ oµ · Á ºÉ° ªµ¤Á¸É¥ µ oµ · Á ºÉ° º° ªµ¤Á¸É¥ ¸É¨¼ oµ®¦º° ¼n´ µÅ¤nµ¤µ¦ 妳® ¸Ê n ¨»n¤ ¦·¬´ µ¤Á ºÉ° Å ¸É ¨ ŪoÁ¤ºÉ° ¦ ε® ¹É ³ n°Ä®oÁ · ªµ¤Á¸¥®µ¥ µ µ¦Á ·  n ¨»n¤ ¦·¬´ / ¦·¬´ iµ¥ ¦·®µ¦Å o ε® Ã¥ µ¥ µ oµ · Á ºÉ°Á¡ºÉ° ª »¤ ªµ¤Á¸É¥ µ oµ · Á ºÉ° ´ ¨nµªÃ ¥¤ÉµÎ Á¤°Ã ¥ µ¦ª·Á ¦µ³®r µ ³ µ µ¦Á · ° ¨¼ oµ » ¦µ¥ ¸É °ª Á · · Á ºÉ°Ä ¦³ ´ ® ¹É Ç ª´ ¸ÉÄ »¨Å¤n¡ ªnµ¤¸ ªµ¤Á¸É¥ µ · Á ºÉ° ¸ÉÁ } µ¦³Îµ ´ ªµ¤Á¸É¥ ¼ » µ oµ · Á ºÉ°Â ŪoÄ ¦µ µ µ¤ ´ ¸ ° · ¦´¡¥r µ µ¦Á ·  n¨³¦µ¥ µ¦ ª´ ¸ÉÄ »¨ °¥nµ Ŧ È µ¤ Á ºÉ° µ ¨¼ oµnª Ä® n¤¸ ´ µ ¼ ¡´ ´ Ä ¦³¥³¥µªÂ¨³ µ nª Á } ¼o º°®»o ° ¦·¬´ ¦·¬´ ¹ Å o¦´ µ¦ 妳Á · nµ· oµÂ¨³ ¦· µ¦¤µÃ ¥¤ÉεÁ¤° 宦´ ¨¼ oµ£µ¥Ä ¦³Á « ¸ÅÉ ¤n¤¸´ µ ¼ ¡´ ¦³¥³¥µª ¨»n¤ ¦·¬´ ÈÅ o ¦³Á¤· ªµ¤Á¸É¥ à ¥¤ÉεÁ¤°Â¨³Á¨º° ε »¦ · Á ¡µ³ ´ ¦·¬´ ¸É¤¸ ªµ¤ nµÁ ºÉ° º°Á nµ ´Ê ´Ê ¸Ê à ¥¡¥µ¥µ¤ ε ´ ª Á · ªµ¤Á¸É¥ Ä®o°¥¼nÄ ° Á ¸É ε ´ ¨³°µ Ä®oªµ ®¨´ ¦³ ´ Ä µ ¦ ¸ 宦´ µ¦n °° ³¡· µ¦ µ ªµ¤ nµÁ ºÉ° º° ° ¼n oµÂ¨³°µ Á¨º° ª· ¸ µ¦ ¨ 妳Á · Á } ¦µ¥ ¦ ¸ ´ ´Ê iµ¥ ¦·®µ¦Å¤nÅ o µ ªnµ ³Á · ¨Á¸¥®µ¥ ¸É¤¸ µ¦³Îµ ´ µ µ¦Á È ® ¸ÊŤnÅ o
(1) (1) (1)
254
รายงานประจำปี 2552 I บริษทั ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
ความเสี่ยงจากสภาพคล่อง กลุ่มบริษัท/บริษัทมีการควบคุมความเสี่ยงจากการขาดสภาพคล่องโดยการรักษาระดับของเงินสดและรายการเทียบเท่าเงิน สดให้เพียงพอต่อการดาเนินงานของกลุ่มบริษัท/บริษัท เพื่อทาให้ผลกระทบจากความผันผวนของกระแสเงินสดลดลง การกาหนดมูลค่ายุติธรรม นโยบายการบัญชีและการเปิดเผยของกลุ่มบริษัท/บริษัทกาหนดให้มีการกาหนดมูลค่ายุติธรรมทั้งสินทรัพย์และหนี้สิน ทาง การเงินและไม่ใช่ทางการเงิน มูลค่ายุติธรรม หมายถึง จานวนเงินที่ผู้ซื้อและผู้ขายตกลงแลกเปลี่ยนสินทรัพย์หรือชาระ หนี้สินกัน ในขณะที่ทั้งสองฝ่ายมีความรอบรู้และเต็มใจในการแลกเปลี่ยนกัน และสามารถต่อรองราคากันได้อย่างเป็นอิสระ ในลักษณะของผู้ที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกัน วัตถุประสงค์ของการวัดมูลค่าและ/หรือการเปิดเผยมูลค่ายุติธรรมถูกกาหนดโดย วิธีต่อไปนี้ ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสมมติฐานในการกาหนดมูลค่ายุติธรรมถูกเปิดเผยในหมายเหตุที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ และหนี้สินนั้นๆ มูลค่ายุติธรรมของลูกหนี้การค้าและลูกหนี้ระยะสั้นอื่นๆ เป็นมูลค่าที่ใกล้เคียงกับราคาที่บันทึกในบัญชี มูลค่ายุติธรรมของเงินลงทุนในหลักทรัพย์ที่เป็นตราสารทุนที่จะถือไว้จนครบกาหนด พิจารณาโดยอ้างอิงกับราคาเสนอซื้อ ณ วันที่ในรายงาน มูลค่ายุติธรรมของเงินลงทุนที่จะถือไว้จนครบกาหนดถูกพิจารณาเพื่อความมุ่งหมายในการเปิดเผยใน งบการเงินเท่านั้น มูลค่ายุติธรรมของสัญญาแลกเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยถือตามราคาอ้างอิงของนายหน้า ณ วันที่ในงบดุล ราคาอ้างอิงเหล่านั้น สามารถทดสอบหาความสมเหตุสมผลได้ ด้วยการคิดลดประมาณการกระแสเงินสดในอนาคต ภายใต้ข้อกาหนดต่างๆ และ วันสิ้นสุดของแต่ละสัญญา และโดยการใช้อัตราดอกเบี้ยในท้องตลาดของเครื่องมือทางการเงินที่คล้ายคลึงกัน ณ วันที่ วัดมูลค่า มูลค่ายุติธรรมของสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าถือตามอัตราแลกเปลี่ยนของสัญญาซื้อขายล่วงหน้า สาหรับ ระยะเวลาคงเหลือของสัญญา มูลค่ายุติธรรมของหนี้สินทางการเงินที่ไม่ใช่ตราสารอนุพันธุ์ ซึ่งพิจารณาเพื่อความมุ่งหมายในการเปิดเผยในงบการเงิน คานวณจากมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดในอนาคตของเงินต้นและดอกเบี้ย ซึง่ คิดลดโดยใช้อัตราดอกเบี้ยในท้องตลาด ณ วันที่รายงาน
255 มูลค่ายุติธรรมของหุ้นกู้พร้อมทั้งมูลค่าตามบัญชีตามที่ปรากฏในงบดุล ณ วันที่ 31 ธันวาคม มีดังนี้
ปี 2552 หมุนเวียน หุ้นกู้ ไม่หมุนเวียน หุ้นกู้ รวม ปี 2551 หมุนเวียน หุ้นกู้ ไม่หมุนเวียน หุ้นกู้ รวม
งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะกิจการ มูลค่ายุติธรรม มูลค่าตามบัญชี มูลค่ายุติธรรม มูลค่าตามบัญชี (ล้านบาท) 400
400
400
400
31,108 31,508
30,399 30,799
31,108 31,508
30,399 30,799
400
400
400
400
26,457 26,857
28,257 28,657
26,457 26,857
28,257 28,657
256
รายงานประจำปี 2552 I บริษทั ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
30
£µ¦³ ¼ ¡´ ¸É¤¸ ´ » ¨®¦º° · µ¦ ¸ÉŤnÁ ¸É¥ª o° ´ µ¦Á · ¦ª¤ 2552 2551 £µ¦³ ¼ ¡´ ¦µ¥ nµ¥ iµ¥ » ´ µ ¸É¥´ ŤnÅ o¦´ ¦¼o ¸É · æ µ Á ¦ºÉ° ´ ¦Â¨³°» ¦ r °µ µ¦ °ºÉ Ç ¦ª¤
µ¦Á · Á ¡µ³ · µ¦ 2552 2551 (¨oµ µ )
2,595 22 2,617
21 13,346 199 28 13,594
µ¦Á · ¦ª¤ 2552 2551 £µ¦³ ¼ ¡´ µ¤´ µÁ nµ εÁ · µ ¸É ¥ Á¨· ŤnÅ o £µ¥Ä ® ¹É e ®¨´ µ ® ¹É e nŤnÁ · ®oµ e ®¨´ µ ®oµ e ¦ª¤
5,750 6 5,756
µ¦Á · Á ¡µ³ · µ¦ 2552 2551 (¨oµ µ )
150 289 27 466
598 361 100 1,059
µ¦Á · ¦ª¤ 2552 2551 £µ¦³ ¼ ¡´ °ºÉ Ç Á¨ Á °¦r°°¢Á ¦ · ¸É¥´ ŤnÅ oÄ o ® ´ º° Êε ¦³ ´ µ µ µ¦ ´ µ°ºÉ Ç ¦ª¤
1,560 18 1,578
-
-
µ¦Á · Á ¡µ³ · µ¦ 2552 2551 (¨oµ µ )
307 530 736 1,573
482 204 72 758
293 140 17 450
467 157 73 697
257 31
อื่นๆ เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2552 ศาลปกครองกลางมีคาสั่งในคดีคาร้องที่ 586/2552 (คดีมาบตาพุด) ให้หน่วยงานของรัฐซึ่ง เป็นผู้ถูกฟ้องคดีสั่งระงับโครงการหรือกิจกรรมรวม 76 โครงการตามเอกสารหมายเลข 7 ท้ายคาฟ้อง ที่ปฏิบัติ ยังไม่ตรงตาม รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ 2550 .มาตรา 67 วรรคสอง ต่อมาในวันที่ 2 ธันวาคม 2552 ศาลปกครอง สูงสุดมี คาสั่งในคดีคาร้องที่ 592/2552 ยืนตามคาสั่งศาลปกครองกลาง ยกเว้นโครงการจานวน 11 โครงการ ซึ่งมีโครงการของ บริษัทได้รับการอนุญาตให้ดาเนินการต่อได้จานวน 1 โครงการจากโครงการของบริษัท และบริษัทในกลุ่มรวมทั้งสิ้น 8 โครงการ จึงคงเหลือโครงการที่ถูกระงับชั่วคราว 7 โครงการ โดย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 บริษัทได้จ่ายเงินลงทุนไปแล้ว รวม 9,794 ล้านบาท และเมื่อวันที่ 22 มกราคม 2553 ศาลปกครองกลางได้มีคาสั่งในคดีหมายเลขดาที่ 908/ 2552 ให้โครงการต่างๆ ที่ถูก สั่ง ระงับโครงการชั่วคราวจานวน 65 โครงการ ไปประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาว่าโครงการมี เงื่อนไขตาม ข้อยกเว้นตามคาสั่งศาลหรือไม่ เพื่อการดาเนินการโครงการต่อไป ทั้งนี้บริษัทและบริษัทในกลุ่มอยู่ระหว่างการประสานงานกับหน่วยงานทีเ่ กี่ยวข้อง เพื่อทาความเข้าใจในรายละเอียดของ โครงการที่เข้าข่ายต้องระงับการดาเนินกิจกรรมเป็นการชั่วคราวตามคาสั่งศาล และโครงการที่สามารถดาเนินการต่อไปได้ เนื่องจากเข้าข่ายข้อยกเว้นตามคาสั่งหรือคาวินิจฉัยของศาล รวมทั้งพิจารณาหาแนวทางเพื่อให้เกิดผลเสียหาย หรือผล กระทบน้อยที่สุดต่อผู้มีส่วนได้เสีย อาทิ ผู้รับเหมาก่อสร้าง เจ้าหนี้เงินกูและความปลอดภั ้ ยในตัวโรงงาน เป็นต้น
32
มาตรฐานการบัญชีที่ยังไม่ได้ใช้ กลุ่มบริษัท/บริษัทยังไม่ได้ใช้มาตรฐานการบัญชีที่ออกและปรับปรุงใหม่ดังต่อไปนี้ ณ วันที่รายงาน เนื่องจากยังไม่มีการ บังคับใช้ มาตรฐานการบัญชีที่ออกและปรับปรุงใหม่ดังต่อไปนี้กาหนดให้ถือปฏิบัติกบั งบการเงินสาหรับรอบระยะเวลาบัญชี ทีเ่ ริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม ในปีดังต่อไปนี้ มาตรฐานการบัญชี
เรื่อง
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 24 (ปรับปรุง 2552)
การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน (ฉบับ 47 เดิม) อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 40 (ปรับปรุง 2552)
ปีที่มีผล บังคับใช้ 2554 2554
ขณะนี้ผู้บริหารกาลังพิจารณาถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้มาตรฐานการบัญชีที่ออกและปรับปรุงใหม่ ดังกล่าวต่อ งบการเงินรวมหรืองบการเงินเฉพาะกิจการ
258
รายงานประจำปี 2552 I บริษทั ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
33
µ¦ ´ ¦³Á£ ¦µ¥ µ¦Ä®¤n ¦µ¥ µ¦Ä µ¦Á · ° e 2551 µ ¦µ¥ µ¦Å o ´ ¦³Á£ Ä®¤nÄ®o° ¨o° ´ ¦µ¥ µ¦Ä µ¦Á · ° e 2552 ´ ¸Ê 2551 µ¦Á · ¦ª¤ µ¦Á · Á ¡µ³ · µ¦ n° ´ ´ ®¨´ ´ n° ´ ´ ®¨´ ´ ¦³Á£ ¦³Á£ ¦³Á£ ¦³Á£ ¦³Á£ ¦³Á£ Ä®¤n »¨ · oµ Á®¨º° Á · ¨ » Ä ¦·¬ ´ ¥n°¥Â¨³ · µ¦ ¸É ª »¤ ¦nª¤ ´ ¨³ ¦·¬ ´ ¦nª¤ Á · ¨ » Ä ¦·¬ ´ ¥n°¥ Á · ¨ » Ä · µ¦ ¸É ª »¤¦nª¤ ´ Á · ¨ » Ä ¦·¬ ´ ¦nª¤ ¸É · °µ µ¦ ¨³°» ¦ r ® ¸Ê· Ťn®¤» Áª¸¥ °ºÉ ¨¼ ® ¸Ê£µ¬¸¤¼¨ nµÁ¡·É¤ · ¦´¡¥r®¤» Áª¸¥ °ºÉ Á oµ® ¸Ê°ºÉ · µ¦°ºÉ Á oµ® ¸ÊÁ · ¦³ ´ ¨ µ ® ¸Ê· ®¤» Áª¸¥ °ºÉ
Ä®¤n
Ä®¤n
Ä®¤n (¨oµ µ )
7,647
(86)
7,561
8,000 100,061 988 1,644 2,947
(8,000) 8,000 86 (19) 221 (221) 999 312 (1,292) -
8,000 100,147 969 221 1,423 999 312 1,655
42,113 1,189 1,678
Ä®¤n
Ä®¤n
-
-
(42,113) 33,753 210 8,150 221 (221) 992 159 (1,151) -
33,753 210 8,150 221 968 992 159 527
¦·¬´ . Á ¤· °¨ ε ´ (¤®µ ) ¨³ ¦·¬´ ¥n°¥ ®¤µ¥Á® » ¦³ ° µ¦Á · 宦´  n¨³ e·Ê » ª´ ¸É 31 ´ ªµ ¤ 2552 ¨³ 2551
259 2551 µ¦Á · ¦ª¤ ´ ®¨´ ´ ¦³Á£ ¦³Á£
n° ´ ¦³Á£ Ä®¤n
εŦ µ » ¦µ¥Å o µ µ¦ µ¥Â¨³ µ¦Ä®o ¦· µ¦ ¦µ¥Å o µ µ¦ µ¥ ¦µ¥Å o µ µ¦Ä®o ¦· µ¦ o » µ¥· oµÂ¨³ µ¦Ä®o ¦· µ¦ o » µ¥· oµ o » µ¦Ä®o ¦· µ¦ nµÄ o nµ¥Ä µ¦ µ¥Â¨³ ¦·®µ¦ nµÄ o nµ¥Ä µ¦ µ¥ nµÄ o nµ¥Ä µ¦ ¦·®µ¦ nµ °  ¦¦¤ µ¦ nµ °  ¼o ¦·®µ¦
Ä®¤n
84,117 64,222 3,276 92 -
(84,117) 81,960 2,157 (64,222) 62,535 1,671 (3,276) 172 3,046 (92) 166 -
Ä®¤n
µ¦Á · Á ¡µ³ · µ¦ n° ´ ´ ®¨´ ´ ¦³Á£ ¦³Á£ ¦³Á£
Ä®¤n (¨oµ µ )
81,960 2,157 62,535 1,671 172 3,046 166
68,319 53,704 2,762 72 -
Ä®¤n
(68,319) 68,016 303 (53,704) 53,604 84 (2,762) 13 2,710 (72) 127 -
µ¦ ´ ¦³Á£ ¦µ¥ µ¦Ä®¤n ¸ÊÁ¡ºÉ°Ä®o° ¨o° ´ µ¦ ´ ¦³Á£ ¦µ¥ µ¦ µ¤ ¦³ µ« ¦¤¡´ µ »¦ · µ¦ oµ Á¦ºÉ° ε® ¦µ¥ µ¦¥n° ¸É °o ¤¸Ä µ¦Á · ¡.«.2552 ¨ ª´ ¸É 30 ¤ ¦µ ¤ 2552 34
Á® » µ¦ r£µ¥®¨´ ¦° ¦³¥³Áª¨µ ¸É¦µ¥ µ Á¤ºÉ°ª´ ¸É 19 »¤£µ¡´ r 2553 ¸É ¦³ »¤ ³ ¦¦¤ µ¦ ¦·¬´ Å o¤¸¤ ·Á®È ° Ä®oÁ ° ¸É ¦³ »¤µ¤´ ¼o º°®»o Á¡ºÉ° ° »¤´ · nµ¥Á · { ¨Îµ®¦´ e 2552 Ä °´ ¦µ®»o ¨³ 2.0 µ ¹É ¦·¬´ Å o nµ¥Á · { ¨¦³®ªnµ µ¨Å ¨oªÄ °´ ¦µ®»o ¨³ 0.60 µ Á¤ºÉ°ª´ ¸É 21 · ®µ ¤ 2552 µ¤ ¸É ¨nµªÅªoÄ ®¤µ¥Á® » 28 ¨³ ³ nµ¥Á · { ¨ ª Á®¨º°Ä °´ ¦µ®»o ¨³ 1.40 µ Ä®o n ¼o º°®»o Á ¡µ³ ¼o ¸É¤¸· ·¦´ Á · { ¨ ε ª Á · ¦³¤µ 2,102 ¨oµ µ ´Ê ¸Ê µ¦ nµ¥Á · { ¨ ´ ¨nµª ¹Ê °¥¼n ´ µ¦° »¤´ · µ ¸É ¦³ »¤µ¤´ ¼o º°®»o Ä ª´ ¸É 7 Á¤¬µ¥ 2553
88
Ä®¤n
68,016 303 53,604 84 13 2,710 127
260
รายงานประจำปี 2552 I บริษทั ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
ค่าตอบแทนของผู้สอบบัญชี ค่าตอบแทนของผู้สอบบัญชี
บริษัทฯ และบริษัทย่อยจ่ายค่าตอบแทนผู้สอบบัญชีให้แก่สำนักงานสอบบัญชี ที่ผู้สอบบัญชีสังกัด
ในรอบปี 2552 มีจำนวนเงินรวม 7.39 ล้านบาท
ค่าบริการอื่น ๆ ไม่มี
120
Annual Report 2009 I PTT Chemical Public Company Limited
123