ROBINS : รายงานประจำปี 2551

Page 1

รายงานประจำป 2551


บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

สารบัญ

สารถึงผู้ถือหุ้น จุดเด่นด้านการเงิน ผลการดำเนินงานในปี 2551 การตลาดและภาวะธุรกิจค้าปลีกในปี 2551 ประวัติความเป็นมาและพัฒนาการที่สำคัญ โครงสร้างธุรกิจ ลักษณะการประกอบธุรกิจ ปัจจัยความเสี่ยง ผู้ถือหุ้นและนโยบายการจ่ายปันผล การจัดการ คณะกรรมการบริษัทและคณะผู้บริหาร หลักการกำกับดูแลกิจการและความรับผิดชอบต่อสังคม รายงานคณะกรรมการตรวจสอบ รายงานความรับผิดชอบของคณะกรรมการต่อรายงานทางการเงิน งบการเงิน รายการระหว่างกัน ข้อมูลทั่วไป

1 3 5 8 10 14 17 22 25 27 36 45 53 55 56 112 117

1


บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

สารถึงผู้ถือหุ้น ห้างสรรพสินค้าโรบินสันมีความภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่ได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าและความร่วมมือจากพันธมิตรทางธุรกิจ รวมถึงท่านผู้ถือหุ้น ของโรบินสันที่ให้การสนับสนุนเป็นอย่างดีเสมอมา เป็นเวลากว่า 29 ปีที่โรบินสันสามารถฟันฝ่าอุปสรรคและปรับตัวให้ผ่านพ้นวิกฤติต่างๆ มาได้ ด้วยดี จนทำให้ปัจจุบันโรบินสันยังคงความเป็นหนึ่งในผู้นำด้านธุรกิจค้าปลีกในรูปแบบห้างสรรพสินค้า และเป็นบริษัทฯที่สามารถเติบโตขึ้นอย่าง มั่นคงและต่อเนื่องมาโดยตลอด สำหรับภาวะเศรษฐกิจไทยที่ยังคงชะลอตัวอันเนื่องมาจากปัจจัยลบต่างๆ รวมถึงวิกฤติการณ์ทางการเงินของโลกที่ส่งผลกระทบอย่างเด่นชัดมากขึ้น ในปัจจุบัน ได้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภค ที่เพิ่มความระมัดระวังมากขึ้นในการจับจ่ายใช้สอยในชีวิตประจำวัน โดยต้องการ สินค้าที่สามารถตอบสนองความต้องการในเชิงอรรถประโยชน์ และคุ้มค่าในการซื้อแต่ละครั้งด้วย ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ถือเป็นโอกาสที่น่า ท้าทายของโรบินสันอีกครั้ง แม้ว่าในปี 2552 โรบินสันจะต้องเผชิญกับภาวะความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ แต่โรบินสันยังคงเชื่อมั่นในศักยภาพของการเติบโตที่ดีในธุรกิจค้า ปลีก และมีนโยบายที่จะทำงานในเชิงรุกมากขึ้น โดยยังคงเน้นสินค้าแฟชั่น ทันสมัย คุณภาพดีและราคาที่เหมาะสม พร้อมด้วยการบริการที่เป็น เลิศที่สร้างความประทับใจให้แก่ลูกค้าอยู่เสมอ เพื่อให้ลูกค้ามั่นใจว่าสินค้าที่โรบินสันสามารถสอดรับกับทุกองค์ประกอบของความต้องการที่ เปลี่ยนแปลงไปได้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้ โรบินสันยังคงยึดมั่นวินัยในการใช้จ่ายและการลงทุนให้เป็นไปอย่างเหมาะสม ถูกต้อง และมี ประสิทธิภาพสูงสุดภายใต้สภาวการณ์ที่ท้าทายในปีนี้ นอกเหนือจากการดำเนินธุรกิจปกติแล้ว โรบินสันได้ให้ความสำคัญต่อการกำกับดูแลกิจการที่ดี และยึดถือเป็นหลักปฏิบัติในการดำเนินงานของ บริษัทอย่างจริงจัง จึงทำให้ได้รับการจัดอันดับอยู่ในระดับ “ดีมาก” จากการประเมินคุณภาพด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดีของบริษัทจดทะเบียน ประจำปี 2551 ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งความภาคภูมิใจในผลสำเร็จของโรบินสัน นอกจากนี้ คณะกรรมการบริษัทยังคำนึงถึงการรักษาผลประโยชน์ของ

ผู้ถือหุ้นเป็นสำคัญ จึงได้จัดทำโครงการซื้อหุ้นคืนเพื่อบริหารเงินและเพื่อให้ราคาหุ้นได้สะท้อนถึงมูลค่าที่เหมาะสม ในด้านความรับผิดชอบต่อสังคม และชุมชน โรบินสันได้ให้การสนับสนุนมูลนิธิและหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมด้านการให้ความช่วยเหลือสังคม รวมถึงได้ริเริ่มโครงการ สนับสนุนด้านการศึกษา โดยเปิดโอกาสและสนับสนุนให้พนักงานได้มีส่วนร่วมในโครงการมากขึ้น ในนามของบริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน) และตัวแทนของคณะกรรมการบริษัท ขอขอบคุณทุกความไว้วางใจที่ได้รับจากลูกค้า ท่านผู้ถือหุ้น และพันธมิตรทางธุรกิจทุกท่าน ตลอดจนความพยายามและความทุ่มเทในการทำงานอย่างเต็มที่โดยไม่คิดถึงความเหน็ดเหนื่อยของ พนักงานทุกคนที่เป็นกลไกสำคัญต่อความสำเร็จของบริษัทในทุกปีที่ผ่านมา และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าในโอกาสครบรอบปีที่ 30 ของโรบินสันในปีนี้ เราจะก้าวข้ามอุปสรรคต่างๆ และมุ่งไปสู่อนาคตที่สดใสพร้อมๆ กับการเติบโตที่มั่นคงและยั่งยืนด้วยการดำเนินธุรกิจที่ซื่อสัตย์และโปร่งใส พร้อมทั้ง สรรค์สร้างประโยชน์ให้แก่สังคมและสิ่งแวดล้อมให้น่าอยู่ไปด้วยกัน (นายสุทธิศักดิ์ จิราธิวัฒน์) ประธานกรรมการ

1


บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

สารถึงผู้ถือหุ้น ในปีที่ผ่านมาถือได้ว่าเป็นปีที่ภาวะเศรษฐกิจของไทยถูกกระทบอย่างรุนแรงจากปัจจัยลบหลายด้าน ทั้งในด้านปัญหาค่าครองชีพที่สูงขึ้นจาก

ผลกระทบของราคาน้ำมันที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างมาก การเกิดวิกฤติทางการเงินที่ส่งผลลุกลามไปทั่วโลก อีกทั้งปัญหาด้านการเมืองภายในประเทศ ที่ทวีความรุนแรงขึ้นและกดดันให้ภาวะเศรษฐกิจของไทยหดตัวในช่วงไตรมาสที่ 4 แต่อย่างไรก็ดี โรบินสันได้ปรับกลยุทธ์ต่างๆ ให้สามารถตอบ สนองกับตลาดได้เป็นอย่างดี และสามารถก้าวข้ามพ้นอุปสรรคต่างๆ มาได้ โดยมีผลการประกอบการที่ดีเกินกว่าที่คาดหมายและมีฐานะทางการ เงินที่แข็งแกร่ง ซึ่งการดำเนินงานในปี 2551 โรบินสันได้มุ่งสร้างประสบการณ์ความสุขรูปแบบใหม่ให้แก่ลูกค้า ภายใต้ชื่อกลยุทธ์ “Robinson Revolution” ด้วยการนำเสนอสินค้ากลุ่มใหม่และการเพิ่มแบรนด์สินค้าให้มากขึ้น เพื่อสร้างความหลากหลายให้กับสินค้าแฟชั่นของโรบินสัน และ สะท้อนภาพความทันสมัย รวมถึงพัฒนากลุ่มสินค้าที่มีจำหน่ายเฉพาะที่โรบินสันอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าที่ แตกต่างกันได้แม่นยำมากขึ้น พร้อมทั้งใช้กลยุทธ์ทางการตลาดรูปแบบใหม่ๆ ในการกระตุ้นความต้องการซื้อของลูกค้า การขยายฐานกลุ่มลูกค้า ประจำรวมถึงการบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้าในเชิงลึกเพื่อนำเสนอบริการที่ทำให้ลูกค้ารู้สึกถึงความสำคัญที่โรบินสันได้มอบให้เฉพาะตัวบุคคล มากขึ้น ในด้านรูปแบบของสาขา ในปีนี้ได้มีการปรับปรุงสาขาเพื่อให้มีภาพลักษณ์ที่ทันสมัย เสริมสร้างบรรยากาศที่สนุกสนานในการช้อบปิ้ง

เลือกซื้อสินค้าภายในห้างในหลายสาขา อาทิ สาขาอุดรธานี ศรีราชา บางรัก สุขุมวิท และแฟชั่นไอส์แลนด์ โดยเฉพาะสาขาอุดรธานีได้ปรับปรุง รูปแบบร้านใหม่ให้เทียบเท่ากับ Flagship Store ทำให้สาขานี้ได้รับการตอบรับที่ดีจากลูกค้าในพื้นที่และจังหวัดใกล้เคียงเป็นอย่างมาก ดังจะเห็นได้ จากอัตราการเติบโตของยอดขายที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ล้วนเป็นส่วนสำคัญที่ผลักดันให้โรบินสันเป็นห้างสรรพสินค้าชั้นนำและเป็น แหล่งช้อปปิ้งอันดับหนึ่งในใจของลูกค้าตลอด 29 ปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม แม้ว่าโรบินสันจะมีผลการดำเนินงานที่ดีและมีสถานะทางการเงินที่แข็งแกร่ง แต่ผลกระทบจากวิกฤติทางการเงินของโลกได้กดดันให้ มูลค่าของตลาดทุนทั่วโลกตกต่ำ และปัญหาทางการเมืองภายในประเทศที่ทำให้ความเชื่อมั่นของนักลงทุนลดลง คณะกรรมการบริษัทจึงมีมติจัดทำ โครงการซื้อหุ้นคืน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นเครื่องมือหนึ่งที่จะช่วยสะท้อนมูลค่าหุ้นที่เหมาะสมของบริษัทและเพื่อใช้ในการบริหารการเงินของ บริษัทอีกทางหนึ่งด้วย ซึ่งคณะกรรมการบริษัทได้จัดทำโครงการนี้โดยคำนึงถึงผู้ถือหุ้นของบริษัทเป็นสำคัญ ในด้านการตอบแทนสังคมและชุมชน โรบินสันให้ความสำคัญในด้านการให้การสนับสนุนทางการศึกษามากขึ้น โดยจัดทำโครงการ “โรบินสัน แต้ม 80 ฝัน ให้ 80 โรงเรียน” เพื่อเป็นการสร้างโอกาสในการเรียนรู้ให้กับเยาวชนผู้ด้อยโอกาสทางด้านการศึกษา รวมถึงได้จัดทำโครงการ “I Love My School - หนูรักโรงเรียน” ซึ่งเป็นโครงการที่เปิดโอกาสให้ลูกค้าและพนักงานได้มีส่วนร่วมในการตอบแทนสังคมมากขึ้น และโรบินสันจะยังคง ดำเนินโครงการลักษณะนี้ต่อเนื่องในปีต่อๆ ไป สำหรับโครงการอื่นๆ ที่โรบินสันได้ร่วมมือกับหน่วยงานเพื่อสังคมต่างๆ ก็ยังคงทำเป็นประจำ

ต่อเนื่องทุกปี อาทิเช่น การให้การสนับสนุนและประชาสัมพันธ์ในโครงการรับบริจาคโลหิตร่วมกับสภากาชาดไทย เป็นต้น สำหรับปี 2552 นี้ แม้ว่าเศรษฐกิจของไทยจะถูกกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจโลกมากยิ่งขึ้น รวมถึงความขัดแย้งทางการเมืองภายในประเทศที่ยังคง ยืดเยื้อ แต่โรบินสันยังยึดมั่นในเป้าหมายที่จะเป็นห้างสรรพสินค้าที่เป็นที่นิยมสูงสุด และมีสาขาครอบคลุมพื้นที่ที่มีศักยภาพทั่วประเทศ โดยมุ่งที่จะ สร้างการเติบโตอย่างต่อเนื่อง จึงยังคงแผนงานขยายสาขาเพิ่มขึ้นอีก 2 แห่ง เพื่อรุกเข้าหากลุ่มลูกค้าเป้าหมายและตอบสนองไลฟ์สไตล์ของลูกค้า โดยเฉพาะในพื้นที่ต่างจังหวัดที่มีศักยภาพสูง ในขณะเดียวกัน โรบินสันได้เพิ่มความระมัดระวังในการใช้จ่ายเพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงสุด รวมถึง รักษาวินัยในการลงทุนที่จะต้องได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนอย่างคุ้มค่าและเหมาะสม อีกทั้งโรบินสันได้เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารงาน โดย ในด้านกลยุทธ์ทางธุรกิจโรบินสันมุ่งเน้นการบริหารจัดการใน 3 ด้านเป็นหลัก คือ สินค้า การตลาด และบริการ โดยโรบินสันมุ่งมั่นที่จะนำเสนอ ความหลากหลายของสินค้าที่มีแฟชั่น มีการวางแผนเพื่อกำหนดเป้าหมาย และทำงานอย่างใกล้ชิดกับคู่ค้า พร้อมทั้งร่วมกันติดตามสถานการณ์ เพื่อปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นตลอดเวลา รวมถึงการใช้ฐานข้อมูลจาก The 1 Card เจาะลึกในความต้องการของลูกค้ามากขึ้น พร้อมทั้งเพิ่มทักษะของพนักงานขายให้สามารถนำเสนอบริการที่เป็นเลิศและสอดรับกับความต้องการเฉพาะของลูกค้าแต่ละบุคคลได้ดียิ่งขึ้น สุดท้ายนี้ ผมและคณะผู้บริหาร รวมถึงพนักงานทุกคน ขอขอบคุณทุกความไว้วางใจที่ได้รับจากลูกค้าทุกท่าน และการสนับสนุนจากท่านผู้ถือหุ้น ทุกท่านที่มีให้กับโรบินสันเสมอมา โดยเราจะมุ่งมั่นทุ่มเททำงานอย่างเต็มความสามารถ เพื่อเพิ่มมูลค่าของบริษัทให้เติบโตขึ้นอย่างแข็งแกร่งและ ยั่งยืนบนพื้นฐานของการดำเนินงานที่โปร่งใสและมีจริยธรรม นายปรีชา เอกคุณากูล กรรมการผู้จัดการใหญ่ 2


บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

จุดเด่นด้านการเงิน

สัดส่วนรายได้รวมแบ่งตามประเภทรายได้ในปี 2551 1.25% ส่วนแบ่งกำไรสุทธิจาก เงินลงทุนตามวิธีส่วนได้เสีย

รายได้จากการขายสินค้า 90.48% อื่นๆ 9.52%

กำไรขั้นต้น (ล้านบาท)

2551 2550 2549 2548 2547

รายได้จากการขาย % อัตรา การเติบโต

(ล้านบาท)

2551

12,417

10.03 %

3.22% รายได้อื่น

2550

11,285

4.38 %

2549

10,812

10.13 %

5.05% รายได้ค่าเช่า และค่าบริการ

2548

9,817

11.12 %

2547

8,835

13.78 %

กำไรสุทธิ

% อัตรากำไร ขั้นต้นต่อยอดขาย

2,888

23.25 %

2,600

23.04 %

2,430

22.47 %

2,175

22.16 %

1,935

21.90 %

(ล้านบาท)

2551 2550 2549 2548 2547

% อัตรากำไร สุทธิต่อยอดขาย

1,020

8.21 %

864

7.66 %

719

6.65 %

927

9.44 %

717

8.11 %

* การกลับรายการด้อยค่าของสินทรัพย์

สัดส่วนยอดขายแบ่งตามประเภทสินค้า เครื่องสำอางและเครื่องประดับ 30.10%

สินทรัพย์และหนี้สิน สินทรัพย์ (ล้านบาท)

เสื้อผ้าและเครื่องแต่งกายบุรุษ 27.07% เสื้อผ้าสตรี 17.17% สินค้าภายในบ้าน ของเล่น และกิฟท์ช้อป 14.87% เสื้อผ้าเด็ก 10.79%

2.23

หนี้สิน

2.26

มูลค่าตามบัญชีต่อหุ้น (บาท)

4.65 8,635

5.13 9,030

5.63 9,666

7,355 6,074 4,873 3,569

3,465

3,337

3,418

2547 2548 2549 2550 2551 3


บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

จุดเด่นด้านการเงิน งบกำไรขาดทุน

2551 12,417 13,723 9,529 2,926 1,020

งบการเงินรวม 2550 11,285 12,602 8,685 2,821 864

2551 1,547 3,708 9,666 3,352 3,418 3,943 1,955 150 6,249

งบการเงินรวม 2550 1,571 2,972 9,030 3,262 3,337 3,943 1,419 155 5,693

2551 1.11 11.14 27.25 92.72 23.25 8.21 17.08 10.91 0.55 5.63 0.92 43.33

งบการเงินรวม 2550 0.91 11.47 27.21 100.17 23.04 7.66 15.92 9.79 0.59 5.13 0.78 51.40

รายได้จากการขาย รวมรายได้ ต้นทุนขาย ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร กำไร (ขาดทุน) สุทธิ งบดุล เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด สินทรัพย์หมุนเวียน สินทรัพย์รวม หนี้สินหมุนเวียน หนี้สินรวม ทุนเรือนหุ้น กำไร (ขาดทุน) สะสม ส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย ส่วนของผู้ถือหุ้นสุทธิ อัตราส่วนทางการเงิน อัตราส่วนสภาพคล่อง (เท่า) ระยะเวลาเก็บหนี้เฉลี่ย (วัน) ระยะเวลาขายสินค้าเฉลี่ย (วัน) ระยะเวลาชำระหนี้เฉลี่ย (วัน) อัตรากำไรขั้นต้น (%) อัตรากำไรสุทธิ (%) อัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น (%) อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ (%) อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (เท่า) มูลค่าตามบัญชีต่อหุ้น (บาท) กำไรสุทธิต่อหุ้น (บาท) อัตราการจ่ายเงินปันผล (%)

(หน่วย : ล้านบาท) 2549 10,812 14,200 8,382 2,904 2,662 (หน่วย : ล้านบาท) 2549 997 2,138 8,635 3,380 3,465 11,107 992 140 5,169 2549 0.63 9.13 26.94 90.02 22.47 24.62 69.36 36.19 0.67 4.65 2.40 49.40

**สำหรับงบสิ้นปี 2549 บริษัทและบริษัทย่อย มีรายได้จากการตีราคาที่ดินและสิทธิการเช่าจากราคาตลาดเป็นราคาทุนจำนวน 2,170 ล้านบาท และมีค่าใช้จ่ายจากการตั้งสำรองสินค้าล้าสมัย 227 ล้านบาท

4


บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

ผลการดำเนินงานในปี 2551

บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน) ประกอบธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ ประเภทห้างสรรพสินค้าในประเทศไทย ในนาม ห้างสรรพสินค้า โรบินสัน ตั้งแต่ปี 2522 โดยเป็นห้างสรรพสินค้าแห่งแรกที่เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย บริษัทฯ มีทุนจดทะเบียน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 ทั้งสิ้น 3,942,847,022.15 บาท เรียกชำระเต็มมูลค่าแล้ว เป็นหุ้นสามัญจำนวน 1,110,661,133 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 3.55 บาท และมีกลุ่มบริษัทเซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น (ตระกูลจิราธิวัฒน์) เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ถือหุ้นอยู่รวมทั้งสิ้นร้อยละ 53.82 ของทุนจดทะเบียนที่เรียก ชำระแล้ว บริษัทฯ มีเป้าหมายในการเป็นห้างสรรพสินค้าที่เป็นที่นิยมสูงสุด และมีสาขาครอบคลุมพื้นที่ที่มีศักยภาพทั่วประเทศ ด้วยรูปแบบธุรกิจค้าปลีกที่มี สินค้าและบริการที่ทันสมัยและตอบรับกับรูปแบบไลฟ์สไตล์และความต้องการของลูกค้า ภายใต้แนวคิด โรบินสัน…ใส่สีสันใหม่ให้ชีวิต ปัจจุบัน บริษัทฯ และบริษัทย่อยมีห้างสรรพสินค้าที่เปิดให้บริการรวมกันทั้งสิ้น 20 สาขา แบ่งเป็นสาขาในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล 9 สาขา และ

ต่างจังหวัด 11 สาขา นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังมีแผนในการขยายสาขาห้างสรรพสินค้าโรบินสันอย่างต่อเนื่องทั้งในกรุงเทพและต่างจังหวัดด้วย สินค้าที่จำหน่ายภายในห้างสรรพสินค้าโรบินสัน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มหลัก คือ กลุ่มสินค้า Softline เป็นสินค้าที่เน้นแฟชั่น ความทันสมัย ซึ่งได้แก่ เสื้อผ้าเครื่องแต่งกายสุภาพบุรุษและสุภาพสตรี เครื่องสำอาง เครื่องประดับ เครื่องหนัง และสินค้าทั่วไปสำหรับเด็ก อีกกลุ่มหนึ่ง คือ กลุ่มสินค้า Hardline ซึ่งได้แก่ สินค้าตกแต่งบ้าน ของใช้ภายในบ้าน อุปกรณ์ตกแต่งรถยนต์และเครื่องมือ ของเล่น ของขวัญและกิฟท์ช้อป นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังได้มีการพัฒนาแบบสินค้าขึ้นเอง รวมถึงการนำเข้าแบรนด์สินค้าชั้นนำจากต่างประเทศ เพื่อสร้างความแตกต่างจากคู่แข่ง และเติมเต็ม ความต้องการในแฟชั่น และตอบรับไลฟ์สไตล์ของลูกค้า ในปี 2551 บริษัทฯ ได้ดำเนินธุรกิจภายใต้กลยุทธ์ “Robinson Revolution” ซึ่งได้แก่ การสร้างแบรนด์และภาพลักษณ์ที่ทันสมัย มีความเป็น

ไลฟ์สไตล์มากขึ้น ด้วยการปรับปรุงรูปแบบของห้างฯ และนำเสนอสินค้าที่ทันกระแสแฟชั่นอยู่เสมอ เพื่อสร้างประสบการณ์ใหม่ในการชอบปิ้ง การ สร้างความแตกต่าง ด้วยการเพิ่มสินค้าใหม่ๆ เพื่อสร้างความแตกต่างจากคู่แข่งและเติมเต็มช่องว่างทุกความต้องการของลูกค้า การทำการตลาด อย่างแม่นยำและกระตุน้ ความต้องการใหม่ ด้วยการบริหารความสัมพันธ์กบั ลูกค้าและเน้นแนวคิดการตลาดแบบเจาะกลุม่ ลูกค้าเชิงลึกที่ให้ผลลัพธ์สงู รวมถึงการจัดรายการส่งเสริมการขายให้สอดคล้องกับโอกาส เทศกาลต่างๆ และการจัดกิจกรรมการตลาดที่น่าสนใจเพื่อกระตุ้นให้เกิดความต้องการ ซื้อใหม่ การให้บริการลูกค้าที่ดีเลิศ ด้วยบริการที่เหนือความคาดหวังเพื่อสร้างความประทับใจและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับลูกค้า และการสร้าง ความผูกพันและรับผิดชอบต่อสังคม ด้วยการตอบแทนและช่วยเหลือทำประโยชน์ให้กับสังคมและชุมชน พร้อมปลูกฝังจิตสำนึกและเปิดโอกาสให้

พนักงานรวมถึงลูกค้าได้มีโอกาสร่วมกันทำประโยชน์ให้กับสังคม

5


บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

ผลการดำเนินงานในปี 2551 ฐานะการเงินและผลการดำเนินงานในปี 2551

รายได้จากการขายและรายได้อื่น ในปี 2551 บริษัทฯ มีรายได้จากการขายเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.03 จากปีก่อน หรือเพิ่มขึ้นเท่ากับ 1,132 ล้านบาท เป็น 12,417 ล้านบาท แม้ว่าต้อง เผชิญกับปัจจัยทางเศรษฐกิจทั้งจากภายในประเทศและภายนอกประเทศที่ไม่เอื้ออำนวยต่อภาคธุรกิจ รวมถึงการหยุดให้บริการในสาขาสีลมตั้งแต่ เดือนมิถุนายนเป็นต้นมา แต่บริษัทฯ ยังคงรักษาการเติบโตของยอดขายได้อย่างต่อเนื่อง โดยการเติบโตนี้มาจากแรงสนับสนุนของยอดขายสาขา เดิมเป็นหลักทั้งในเขตกรุงเทพและต่างจังหวัด อันเป็นผลสำเร็จจากการปรับปรุงสาขาและเพิ่มแบรนด์สินค้าใหม่อย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี การจัด โปรโมชั่นร่วมกับคู่ค้าและบัตรเครดิตต่างๆ ประกอบกับการจัดรายการส่งเสริมการขายเฉพาะในแต่ละสาขาที่สามารถตอบสนองความต้องการของ ลูกค้าในแต่ละพื้นที่ได้อย่างเหมาะสม รวมถึงการจัดกิจกรรมร่วมกับคู่ค้าอย่างต่อเนื่อง ซึ่งนอกจากช่วยกระตุ้นการใช้จ่ายของลูกค้าแล้วยังเป็นการ สร้างบรรยากาศที่ดีในการช้อปปิ้งอีกด้วย สำหรับยอดขายจากสาขาโอเชี่ยน จังซีลอน (สาขาใหม่ซึ่งเปิดดำเนินการในปลายปี 2550) สามารถสร้าง ยอดขายได้เป็นที่น่าพอใจหลังจากที่เปิดให้บริการเต็มปีในปีนี้ ในด้านรายได้ค่าเช่าและค่าบริการเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.72 หรือเพิ่มขึ้น 12 ล้านบาท เป็นจำนวน 693 ล้านบาท สืบเนื่องจากการปรับเพิ่มอัตรา

ค่าเช่าของร้านค้าเช่าบางรายที่ครบกำหนดรอบการปรับราคา ถึงแม้ว่าจะมีพื้นที่เช่าบางส่วนลดลงจากการปรับเปลี่ยนเป็นพื้นที่ขายสินค้า ทั้งนี้เพื่อ เพิ่มประสิทธิผลในการบริหารรายได้ต่อพื้นที่ (Space Productivity) รายได้ดอกเบี้ยรับและรายได้อื่นมีจำนวน 442 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อน 61 ล้านบาท สาเหตุหลักมาจากการบันทึกรายได้จากการกลับรายการค่า เผื่อการด้อยค่าเงินลงทุนในปี 2550 จำนวน 107 ล้านบาท สำหรับรายได้จากส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนในบริษัทร่วมนั้น เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.91 หรือเพิ่มขึ้น 38 ล้านบาท เป็น 171 ล้านบาท เนื่องจาก

ผลประกอบการของบริษัทร่วมดังกล่าวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น ในปี 2551 บริษัทฯ มีรายได้รวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.89 หรือเพิ่มขึ้น 1,121 ล้านบาท เป็น 13,723 ล้านบาท ต้นทุนขาย บริษัทฯ มีต้นทุนขายเพิ่มขึ้นตามยอดขาย แต่อัตราต้นทุนขายต่อยอดขายลดลงซึ่งทำให้อัตรากำไรขั้นต้นเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 23.04 เป็นร้อยละ 23.25 ทำให้มีกำไรขั้นต้นเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.04 หรือเท่ากับ 287 ล้านบาท เป็น 2,888 ล้านบาท ซึ่งเป็นผลสำเร็จจากการบริหารกลุ่มสินค้าที่ เหมาะสม และการเพิ่มขึ้นของสัดส่วนยอดขายสินค้ากลุ่ม Private Brand ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.71 หรือเท่ากับ 105 ล้านบาท เป็น 2,926 ล้านบาท ซึ่งการเพิ่มขึ้นนี้เป็นอัตราที่ต่ำกว่าการ เติบโตของยอดขาย เนื่องจากบริษัทฯ สามารถควบคุมค่าใช้จ่ายต่างๆ ได้มีประสิทธิภาพ แม้ว่ามีการปรับเพิ่มค่าครองชีพให้กับพนักงานตามภาวะ เศรษฐกิจ และมีค่าใช้จ่ายการตลาดที่สูงขึ้นจากกิจกรรมส่งเสริมการขายก็ตาม กำไรสุทธิ และดอกเบี้ยจ่าย บริษัทฯ มีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.01 หรือ 156 ล้านบาท เป็น 1,020 ล้านบาท ทั้งนี้หากไม่รวมรายได้พิเศษจากการกลับรายการค่าเผื่อการ ด้อยค่าเงินลงทุนในปี 2550 จำนวน 107 ล้านบาทแล้ว บริษัทฯ มีกำไรสุทธิจากการดำเนินงานเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 29.39 ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความ สำเร็จในกลยุทธ์ทางธุรกิจของบริษัทฯ ทั้งด้านการบริหารสินค้าและการตลาดที่ได้ดำเนินมาในปีนี้ อนึ่ง ในปี 2551 บริษัทฯ ไม่มีดอกเบี้ยจ่ายเนื่องจากไม่มีหนี้เงินกู้ยืม และภาษีเงินได้เพิ่มขึ้น 19 ล้านบาท 6


บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

ผลการดำเนินงานในปี 2551 สินทรัพย์ ณ สิ้นปี 2551 บริษัทฯ มีมูลค่าสินทรัพย์รวมเป็นจำนวน 9,666 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 637 ล้านบาท จากปี 2550 สาเหตุหลักมาจากการเพิ่มขึ้นของ เงินลงทุนชั่วคราวมูลค่าสุทธิ 244 ล้านบาท การเพิ่มขึ้นของสินทรัพย์หมุนเวียนอื่นจำนวน 413 ล้านบาท จากการกันสำรองเงินไว้เพื่อจ่ายค่าสินค้า ในต้นปี 2552 และเงินลงทุนในบริษัทย่อยและบริษัทร่วมเพิ่มขึ้น 171 ล้านบาท เนื่องมาจากการรับรู้ผลกำไรของบริษัทร่วม อย่างไรก็ตามที่ดิน อาคาร อุปกรณ์ และสิทธิการเช่า ลดลงสุทธิ 267 ล้านบาท สืบเนื่องจากการตัดจ่ายค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่ายสิทธิการเช่า หนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น ณ สิ้นปี 2551 บริษัทฯ มีหนี้สินเท่ากับ 3,418 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 81 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.43 เนื่องจากภาษีเงินได้ค้างจ่าย และมีค่าใช้ จ่ายค้างจ่ายอื่นเพิ่มขึ้น ในขณะที่เจ้าหนี้การค้าลดลง 57 ล้านบาท เนื่องมาจากการเดบิตเจ้าหนี้การค้าจากการคืนสินค้าของสาขาที่หยุดดำเนินการ สำหรับส่วนของผู้ถือหุ้นเพิ่มขึ้น 556 ล้านบาท เนื่องมาจากกำไรสุทธิจำนวน 1,020 ล้านบาท และการจ่ายเงินปันผลของบริษัทฯ และบริษัทย่อย จากกำไรสุทธิปี 2550 จำนวนเงินทั้งสิ้น 469 ล้านบาท สภาพคล่อง 2551 2550 เงินสดสุทธิได้มาจากกิจกรรมดำเนินงาน 1,027 1,312 เงินสดสุทธิได้มาจากกิจกรรมลงทุน (569) (141) เงินสดสุทธิได้มาจากกิจกรรมจัดหาเงิน (482) (597) เงินสดเพิ่มขึ้น (ลดลง) สุทธิ (24) 574 ในปี 2551 บริษัทฯ มีเงินสดสุทธิที่ได้มาจากกิจกรรมดำเนินงานลดลง 285 ล้านบาท เนื่องมาจากมีการใช้เงินสดไปในสินทรัพย์และหนี้สิน

ดำเนินงานซึ่งส่วนใหญ่เป็นการใช้ไปเพื่อชำระค่าสินค้า สำหรับเงินสดสุทธิใช้ไปในกิจกรรมลงทุนเพิ่มขึ้น 428 ล้านบาท เนื่องมาจากมีการใช้เงินสด ไปในค่าก่อสร้างสำหรับ 2 สาขาใหม่และการปรับปรุงสาขาเดิม นอกจากนี้ มีการใช้เงินสดบางส่วนในเงินลงทุนชั่วคราวด้วย สำหรับเงินสดสุทธิใช้ ไปในกิจกรรมการจัดหาเงินลดลงจากปีก่อน แม้ว่าในปีนี้บริษัทฯ ได้ใช้เงินสดเพื่อการจ่ายปันผลเพิ่มขึ้น 114 ล้านบาทเมื่อเทียบกับปีก่อน รวมทั้ง ยังมีการใช้เงินสดเพื่อซื้อหุ้นทุนคืนเป็นจำนวน 13 ล้านบาทก็ตาม แต่บริษัทฯ ไม่มีภาระในการจ่ายชำระคืนเงินกู้เช่นปี 2550 ดังนั้น ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 บริษัทฯ จึงมีเงินสดสุทธิลดลง 24 ล้านบาท

ค่าตอบแทนผู้สอบบัญชี

ค่าตอบแทนจากการสอบบัญชี (Audit fee) บริษัทและบริษัทย่อยจ่ายค่าตอบแทนการสอบบัญชีให้แก่ - ผู้สอบบัญชีของบริษัท ในรอบปีบัญชีที่ผ่านมามีจำนวนเงินรวม 6,474,000 บาท - สำนักงานสอบบัญชีที่ผู้สอบบัญชีสังกัด บุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกับผู้สอบบัญชีและสำนักงานสอบบัญชีที่ผู้สอบบัญชีสังกัด

ในรอบปีบัญชีที่ผ่านมามีจำนวนเงินรวม บาท ค่าบริการอื่น (non-audit fee) ไม่มี

7


บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

การตลาดและภาวะธุรกิจค้าปลีกในปี 2551

การตลาดและภาวะการแข่งขัน คู่แข่งขัน

ผู้ประกอบการห้างสรรพสินค้า ผู้ประกอบการห้างสรรพสินค้า ได้แก่ ห้างสรรพสินค้ารายใหญ่ (Chain Department Store) และห้างสรรพสินค้าท้องถิ่น โดยผู้ประกอบการ

ห้างสรรพสินค้ารายใหญ่ที่สำคัญ ได้แก่ กลุ่มเซ็นทรัล และกลุ่มเดอะมอลล์ ซึ่งในปี 2551 มีจำนวนสาขารวมกันทั้งสิ้น 24 สาขา โดยมีสาขาใน กรุงเทพฯ และปริมลฑล 20 สาขา และต่างจังหวัด 4 สาขา ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ หาดใหญ่ นครราชสีมา และภูเก็ต ซึ่งเป็นคู่แข่งโดยตรงใน บริเวณใกล้เคียงหรือมีกลุ่มลูกค้าเดียวกัน ผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีกอื่น ผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีกอื่น ได้แก่ ดิสเคาน์สโตร์ / ซุปเปอร์เซ็นเตอร์ และศูนย์การค้าในรูปแบบต่างๆ เช่น เซ็นทรัลเวิล์ด เอสพานาร์ด

คิงเพาเวอร์ แพลตินั่มมอล์ล คริสตัลพาร์ค และยูเนี่ยนมอล์ล เป็นต้น ซึ่งถือเป็นคู่แข่งขันทางอ้อม เนื่องจากมีลูกค้าหรือโอกาสของการจับจ่ายที่ แตกต่างกัน

ภาวะธุรกิจค้าปลีก

ในปี 2551 เศรษฐกิจไทยชะลอตัวลงอย่างมากจากปีก่อน อันเป็นผลจากราคาน้ำมันที่ปรับเพิ่มขึ้นอยู่ในระดับสูง กดดันให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้น อย่างมากซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อค่าครองชีพของผู้บริโภค ประกอบกับผลกระทบจากวิกฤติการณ์ทางการเงินที่ส่งผลลุกลามไปทั่วโลก และโดย เฉพาะอย่างยิ่งในไตรมาสที่สี่ เศรษฐกิจมีการหดตัว เนื่องจากปัจจัยลบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจมีมากขึ้นทั้งจากเศรษฐกิจโลกและสถานการณ์ ภายในประเทศ โดยภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวส่งผลให้ภาคการส่งออกของไทยเริ่มหดตัวจากปีก่อน นอกจากนี้ ปัญหาความขัดแย้งทาง

การเมืองที่ยืดเยื้อและรุนแรงมากขึ้นจนถึงกับมีการปิดสนามบินนานาชาติ 2 แห่ง ส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวลดลง รวมถึงบั่นทอนความเชื่อมั่น ของภาคเอกชนให้ลดลงด้วย ดังนั้น เศรษฐกิจไทยในปี 2551 จึงขยายตัวลดลงจากร้อยละ 4.93 ในปี 2550 เป็นร้อยละ 2.58 การบริโภคมีการ ขยายตัวอยู่ในระดับต่ำร้อยละ 2.51 ขณะที่ภาคธุรกิจค้าส่งค้าปลีกมีการขยายตัวในระดับต่ำและลดลงอย่างมากเมื่อเทียบกับปีก่อน จากร้อยละ 4.64 เป็นร้อยละ 1.91 (รายงานของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และธนาคารแห่งประเทศไทย) ภาวะค้าส่งค้าปลีกมีทิศทางที่ชะลอตัวเนื่องจากผู้บริโภคเพิ่มความระมัดระวังในการใช้จ่ายมากขึ้น โดยประเภทของสินค้าที่พบว่ามีการใช้จ่ายชะลอ ตัวลงมากได้แก่ สินค้าประเภทอาหาร และสินค้าไม่คงทน (เช่น เครื่องดื่ม ยารักษาโรค และของใช้ในครัวเรือน เป็นต้น) อย่างไรก็ตาม ธุรกิจ

ค้าปลีกสมัยใหม่ (Modern Trade) ยังคงสามารถขยายตัวต่อเนื่องจากปีก่อน ซึ่งนอกจากเป็นผลของราคาสินค้าที่ปรับเพิ่มขึ้นเนื่องจากอัตรา เงินเฟ้อแล้ว ยังมีสาเหตุจากการขยายฐานลูกค้าของดิสเคาน์สโตร์ / ซุปเปอร์เซ็นเตอร์ จากผู้บริโภคทั่วไปไปสู่ร้านค้าปลีกขนาดเล็กมากขึ้น รวมถึง การเปิดสาขาใหม่ของคอนวีเนียนท์สโตร์ ร้านค้าเฉพาะอย่าง และดิสเคาน์สโตร์ / ซุปเปอร์เซ็นเตอร์ สำหรับอัตราการขยายตัวของธุรกิจค้าปลีก

สมัยใหม่ (เฉพาะบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ) มีอัตราเฉลี่ยประมาณร้อยละ 12 ในปี 2551 ภาพรวมของธุรกิจห้างสรรพสินค้ามีการขยายตัวจากปีก่อน ซึ่งเป็นการเติบโตจากสาขาที่เปิดดำเนินการอยู่เดิมเป็นหลัก และหากพิจารณาสภาวะ ตลาดในแต่ละเขต พบว่า ในเขตกรุงเทพฯ ยังคงมีสภาพการแข่งขันที่รุนแรง อย่างไรก็ตาม ตลาดมีการขยายตัวดีขึ้นจากปีก่อน อันเป็นผลมาจาก ผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจที่สูงขึ้นภายหลังการจัดตั้งรัฐบาลในช่วงต้นปี รวมถึงผู้ประกอบการต่างจัดรายการส่งเสริมการขายและการให้ ส่วนลดราคาสินค้าเพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายของผู้บริโภคตลอดทั้งปี ขณะที่ห้างสรรพสินค้าย่านชานเมืองมีการเติบโตที่ดีกว่า เนื่องจากผู้บริโภคเริ่มหัน มานิยมจับจ่ายในทำเลใกล้บ้านมากขึ้น ประกอบกับสินค้าที่นำเสนอในห้างฯ นั้น มีความทันสมัย มีแฟชั่นตรงกับความต้องการของผู้บริโภค อีกทั้ง มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายที่โดดเด่นซึ่งสามารถจูงใจผู้บริโภคให้มาจับจ่ายสินค้ามากขึ้น สำหรับห้างสรรพสินค้าในเขตต่างจังหวัดมีการ ขยายตัวที่ดีอย่างต่อเนื่อง อันเป็นผลจากการที่ผู้บริโภคในต่างจังหวัดมีกำลังซื้อเพิ่มขึ้น ประกอบกับการปรับเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิตไปสู่ชีวิตที่

ทันสมัยและมีคุณภาพมากขึ้น จึงทำให้มีความต้องการในสินค้าที่มีดูดีมีแบรนด์ที่เป็นที่นิยม และก่อให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ในขณะที่สภาพการ แข่งขันในตลาดต่างจังหวัดไม่รุนแรงเปรียบเทียบกับการแข่งขันในเขตกรุงเทพฯ เพราะผู้ประกอบการประเภทห้างสรรพสินค้าในแต่ละจังหวัด 8


บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

การตลาดและภาวะธุรกิจค้าปลีกในปี 2551 มีจำนวนไม่มาก อีกทั้งยังมีความแตกต่างในด้านทำเลตั้ง และกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย อย่างไรก็ตาม ในช่วงไตรมาสที่สี่ธุรกิจห้างสรรพสินค้าซบเซา อย่างมากจากความไม่สงบทางการเมืองและจำนวนนักท่องเที่ยวที่ลดลง สำหรับการเปิดสาขาใหม่ของธุรกิจห้างสรรพสินค้าในปี 2551 มีเพิ่มขึ้น เพียง 1 แห่ง คือ ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล สาขาแจ้งวัฒนะ จังหวัดนนทบุรี การแข่งขันระหว่างธุรกิจค้าปลีกรูปแบบอื่นซึ่งจัดเป็นคู่แข่งทางอ้อมของบริษัทนั้น ดิสเคาน์สโตร์ / ซุปเปอร์เซ็นเตอร์มีการพัฒนาพื้นที่ให้เป็น ศูนย์การค้าเพิ่มขึ้น และมีการโปรโมทสินค้าประเภทเสื้อผ้าที่เป็นแฟชั่นมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ธุรกิจหลักยังเน้นทางด้านสินค้าอุปโภคบริโภคที่ใช้ใน ชีวิตประจำวัน โดยเน้นการใช้กลยุทธ์ทางด้านราคา มากกว่าการเน้นสินค้าที่มีแบรนด์เนมหรือความแตกต่างของสินค้าเนื่องจากปัจจัยเหล่านี้มีผล ต่อการตัดสินใจซื้อน้อย สำหรับศูนย์การค้าขนาดเล็กในรูปแบบ Lifestyle Center หรือ Neighborhood Mall มีการขยายตัวสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม สินค้าส่วนใหญ่เน้นด้านบริการอาหาร และความบันเทิงมากกว่าสินค้าทั่วไป โดยครอบคลุมกลุ่มลูกค้าเป้าหมายเฉพาะพื้นที่ ด้านพฤติกรรมผู้บริโภค ในปี 2551 มีปัจจัยลบกระทบเข้ามามาก โดยเฉพาะเรื่องอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นอย่างรุนแรง ซึ่งแม้ว่ากำลังซื้อของ

ผู้บริโภคได้รับแรงสนับสนุนจากภาครัฐ และการที่ภาคเอกชนหลายแห่งได้มีการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ และปรับเพิ่มค่าครองชีพ เพื่อเป็นการบรรเทา ปัญหาค่าครองชีพที่สูงขึ้น รวมถึงรายได้ภาคเกษตรที่ทรงตัวในระดับสูง แต่อย่างไรก็ดี พฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอยก็ยังคงมีความระมัดระวัง

ไม่แตกต่างจากช่วงที่ผ่านมา โดยผู้บริโภคมีแนวโน้มบริโภคสินค้าและบริการที่มีความคุ้มค่าต่อการจับจ่ายเพิ่มขึ้น ผนวกกับการใช้จ่ายขึ้นกับรายได้ และรสนิยมเป็นสำคัญ มีการเปรียบเทียบคุณภาพ ราคา และภาพลักษณ์ของสินค้าอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจซื้อ ในขณะเดียวกันมีการตอบสนอง ต่อแฟชั่นที่รวดเร็ว มีไลฟ์สไตล์มากขึ้น เนื่องจากการเข้าถึงสื่อต่างๆ ได้ง่าย และสื่อมีการนำเสนอในรูปแบบหลากหลาย ทำให้ผู้บริโภคต้องการ สินค้าที่มีความใหม่ หลากหลาย คุ้มค่า มีแฟชั่น ทันสมัย นอกจากนี้ การให้บริการที่ดีเป็นสิ่งจำเป็นที่ผู้ประกอบการห้างสรรพสินค้าต้องให้ความ สำคัญไม่น้อยไปกว่าการนำเสนอสินค้าด้วยเช่นกัน ในด้านการจ่ายชำระเงินค่าสินค้าผ่านบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลพบว่า มีอัตราการใช้

ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

9


บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

ประวัติความเป็นมาและพัฒนาการที่สำคัญ ความเป็นมาและพัฒนาการที่สำคัญ

ปี 2522 ปี 2535 ปี 2538 ปี 2539

ปี 2540

ปี 2541 ปี 2543

ปี 2544

ปี 2545

เริ่มเปิดดำเนินกิจการห้างสรรพสินค้าสาขาแรกที่สาขาอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ บริษัทฯ เป็นห้างสรรพสินค้าแห่งแรกที่เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยจดทะเบียนเมื่อวันที่ 3 มกราคม 2535 กลุ่มบริษัทเซ็นทรัลรีเทลคอร์ปอเรชั่นได้เข้าร่วมธุรกิจกับบริษัทฯ ในฐานะผู้ถือหุ้นรายใหญ่ พร้อมทั้งร่วมกันจัดตั้ง บริษัท ซีอาร์ (ประเทศไทย) จำกัด เพื่อร่วมทุนกับห้างสรรพสินค้าในต่างจังหวัดภายใต้ชื่อ “โรบินสัน” ส่งผลให้ บริษัทฯ มีจำนวนสาขาเพิ่มขึ้นเป็น 20 สาขา บริษัทฯ ได้รวมกิจการในธุรกิจซุปเปอร์มาร์เก็ตของบริษัทฯ กับกลุ่มบริษัทเซ็นทรัล และเข้าร่วมลงทุนกับบริษัท รอยัลเอโฮลด์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่ดำเนินธุรกิจด้านซุปเปอร์มาร์เก็ตที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ จัดตั้งเป็น บริษัท

ซีอาร์ซี เอโฮลด์ จำกัด บริหารงานด้านซุปเปอร์มาร์เก็ตภายใต้ชื่อ ‘TOPS SUPERMARKET’ โดยในธันวาคม 2539 และพฤษภาคม 2541 บริษัทฯได้ขายหุ้นที่ถืออยู่ให้แก่บริษัท รอยัลเอโฮลด์ จำกัด บริษัทฯ ได้รับอนุมัติให้โอนขายสินค้าคงเหลือพร้อมสิ่งตกแต่งและเครื่องใช้สำนักงานของแผนกเครื่องใช้ไฟฟ้าและ แผนกเครื่องกีฬาให้แก่บริษัท เพาเวอร์บาย จำกัด และ บริษัท ซีอาร์ซี สปอร์ต จำกัด ตามลำดับ และบริษัทฯ อนุมัติให้บริษัทดังกล่าวใช้พื้นที่ตามสาขาต่างๆ ของบริษัทฯ เพื่อดำเนินธุรกิจศูนย์จำหน่ายเครื่องใช้ไฟฟ้าและ เครื่องกีฬา โดยบริษัทฯได้รับผลตอบแทนในรูปของส่วนแบ่งรายได้ หรือค่าเช่าพื้นที่ และในเมษายน 2541 บริษัทฯ ได้ซื้อหุ้นของทั้ง 2 บริษัท โดยมีสัดส่วนในการถือหุ้นร้อยละ 40 บริษัทฯ ได้ประกาศหยุดพักชำระหนี้สินทางการเงิน เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการประกาศเปลี่ยนแปลงค่าเงิน บาทเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 วันที่ 2 พฤษภาคม 2543 ศาลล้มละลายกลางได้มีคำสั่งให้ดำเนินการฟื้นฟูกิจการของบริษัทฯ และแต่งตั้งบริษัท โรบินสัน แพลนเนอร์ จำกัด เป็นผู้ทำแผนฟื้นฟูกิจการของบริษัทฯ ต่อมาศาลล้มละลายกลางได้พิจารณาเห็นชอบ ด้วยกับแผนฟื้นฟูกิจการของบริษัท และมีคำสั่งแต่งตั้งให้ บริษัท โรบินสัน แพลนเนอร์ จำกัด เป็นผู้บริหารแผน ในวันที่ 20 ธันวาคม 2543 นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้ปิดให้บริการสาขาดอนเมือง เนื่องจากการลงทุนให้ผลตอบแทน ไม่คุ้มค่า บริษัทฯ ได้ปิดให้บริการสาขาอนุสาวรีย์ เนื่องจากครบกำหนดระยะเวลาของสัญญาสิทธิการเช่าอาคารที่ได้ทำไว้กับ ผู้ให้เช่าประกอบกับการลงทุนเพื่อปรับปรุงสาขานี้ให้ผลตอบแทนไม่คุ้มค่า บริษัทฯ จึงคงเหลือสาขาที่เปิดให้บริการ ทั้งสิ้นรวม 18 สาขา แบ่งเป็นสาขาในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 9 สาขา และต่างจังหวัด 9 สาขา นอกจากนี้ บริษัทฯได้ออกหุ้นกู้ตามแผนฟื้นฟูกิจการ ให้แก่เจ้าหนี้การเงินไม่มีหลักประกัน โดยมีจำนวนเงินต้นรวมดอกเบี้ย 4,766.7 ล้านบาท บริษัทฯ ประสบความสำเร็จในการดำเนินการตามขั้นตอนที่สำคัญของแผนฟื้นฟูกิจการ อันได้แก่การเพิ่มทุนจาก 1,480.8 ล้านบาท เป็น 14,808.8 ล้านบาท การแปลงหนี้เป็นทุน การดำเนินการลดทุนลงร้อยละ 25 และการ

ปลดหนี้ ทำให้ฐานะทางการเงินของบริษัทฯ ปรับตัวดีขึ้นอย่างมีสาระสำคัญ และในวันที่ 26 พฤศจิกายน 2545 หุ้นสามัญของบริษัทฯ ได้รับอนุญาตจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยให้กลับเข้าทำการซื้อขายได้ในหมวด พาณิชย์ตามปกติ 10


บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

ประวัติความเป็นมาและพัฒนาการที่สำคัญ ปี 2546

ปี 2547

ปี 2548 ปี 2549

ปี 2550

ในเดือนมีนาคมบริษัทฯ ได้สละสิทธิ์ซื้อหุ้นเพิ่มทุนของบริษัท ซีอาร์ซีสปอร์ต จำกัด ทำให้สัดส่วนการถือหุ้นใน บริษัทดังกล่าวลดลงเป็นร้อยละ 29.19 ในเดือนพฤษภาคม บริษัทฯ ได้จัดกิจกรรมเปิดตัวภาพลักษณ์ใหม่ภายใต้แนวคิด “โรบินสัน…ใส่สีสันใหม่ให้ชีวิต” เพื่อแนะนำการกลับมาอีกครั้งหนึ่งของโรบินสัน และในเดือนธันวาคม ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งเห็นชอบด้วย

คำเสนอขอแก้ไขแผนของลูกหนี้ เพื่อรองรับการซื้อคืนหุ้นกู้ตามโครงการรับซื้อคืนหุ้นกู้ก่อนครบกำหนดโดยสมัคร ใจ (Voluntary Debt Refinance Program หรือ “วีดีอาร์พี”) ในเดือนมกราคม บริษัท โรบินสัน เอสพีวี จำกัด (“เอสพีวี”) ได้ลงนามในสัญญากู้เงินกับสถาบันการเงิน 2 แห่ง เพื่อนำมาเป็นเงินทุนในการรับซื้อคืนหุ้นกู้ตามโครงการวีดีอาร์พี วงเงินกู้ระยะยาวในวงเงินไม่เกิน 2,700 ล้านบาท โดย ณ สิ้ น ปี 2547 เอสพี วี สามารถรั บ ซื้ อ หุ้ น กู้ ต ามโครงการดั ง กล่ า วจากผู้ ถื อ หุ้ น กู้ ไ ด้ เ ป็ น จำนวนทั้ ง สิ้ น 15,899,277 หน่วย หรือคิดเป็นร้อยละ 77.04 ของจำนวนคงเหลือทั้งหมด นอกจากนี้ ในวันที่ 22 มีนาคม

ที่ประชุมเจ้าหนี้โดยการเรียกประชุมตามคำสั่งศาลล้มละลายกลาง มีมติเลือกตั้งกรรมการของผู้บริหารแผน

ฝ่ายเจ้าหนี้การเงินที่ไม่มีหลักประกันใหม่ เพื่อทดแทนกรรมการชุดเดิมที่จะขอลาออก และในวันที่ 8 ธันวาคม บริษัทฯ ได้ซื้อหุ้นทั้งหมดจากผู้ร่วมทุนท้องถิ่นใน บริษัท ซีอาร์ ราชบุรี (ประเทศไทย) จำกัด จากเดิมร้อยละ 49.99 เป็นร้อยละ 99.99 เพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการบริหารงานมากยิ่งขึ้น บริษัทฯ มีการลงทุนเปิดสาขาใหม่จำนวน 1 สาขา ได้แก่ สาขารัตนาธิเบศร์ และบริษัทฯ มีการจ่ายชำระหนี้หุ้นกู้ คงค้างตามแผนฯ ได้ก่อนกำหนดทั้งหมดในวันที่ 19 ธันวาคม 2548 ทำให้บรรลุผลสำเร็จตามแผนฟื้นฟูกิจการโดย ใช้แหล่งเงินทุนจากเงินสดจากการดำเนินงานบางส่วนและจากการกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินภายในประเทศ ศาลล้มละลายกลางได้มีคำสั่งยกเลิกการฟื้นฟูกิจการเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2549 และบริษัทฯได้จัดการประชุม สามัญผู้ถือหุ้นเป็นครั้งแรกภายหลังจากการกลับเข้าสู่สถานะปกติ โดยที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นได้มีมติแต่งตั้ง กรรมการบริษัทจำนวน 10 ท่าน เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2549 ซึ่งประกอบด้วยกรรมการอิสระจำนวน 3 ท่าน นอกจากนี้ ในเดือนพฤศจิกายน บริษัทฯ ได้เปิดให้บริการสาขาใหม่ สาขาที่ 20 สาขาอยุธยา โดยใช้เงินลงทุน ประมาณ 347 ล้านบาท บริษัทฯ ประกาศจ่ายเงินปันผลเป็นครั้งแรก หลังจากที่ศาลล้มละลายกลางได้มีคำสั่งยกเลิกการฟื้นฟูกิจการ โดย จ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นในอัตรา 0.32 บาทต่อหุ้น และตามมติที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 1/2550 เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2550 บริษัทฯ ได้ลดทุนจดทะเบียนโดยวิธีลดมูลค่าหุ้นที่จดทะเบียนจากเดิมมูลค่าหุ้นละ 10 บาท เป็นมูลค่าหุ้นละ 3.55 บาท และโอนส่วนเกินมูลค่าหุ้นและกำไรสะสมที่ยังไม่จัดสรรมาล้างส่วนต่ำกว่ามูลค่าให้หมด ไปเพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานการบัญชีของสมาคมวิชาชีพนักบัญชี อนึ่ง เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2550 กรม พัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ได้ดำเนินการจดทะเบียนการลดทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้ว และแก้ไขหนังสือ บริคณห์สนธิของบริษัทฯ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และในเดือนกันยายน บริษัทฯ ได้เปิดให้บริการสาขาใหม่ โรบินสัน

จังซีลอน เป็นสาขาที่ 21 และเป็นสาขาที่ 2 ในจังหวัดภูเก็ต โดยใช้เงินลงทุนประมาณ 132 ล้านบาท

11


บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

ประวัติความเป็นมาและพัฒนาการที่สำคัญ

การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการที่สำคัญของบริษัทฯ ในปี 2551

มกราคม

มีนาคม เมษายน

บริษัทฯ เริ่มดำเนินโครงการเปิดสาขาใหม่ในจังหวัดชลบุรี ซึ่งอยู่ในโครงการเซ็นทรัลพลาซ่า ชลบุรี ของบริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) หรือ CPN ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้ดำเนินการเช่าที่ดิน* กับ CPN เพื่อปลูกสร้าง อาคารห้างสรรพสินค้า โดยมีกำหนดระยะเวลาเช่า 30 ปี บริษัทฯ คาดว่าจะเปิดให้บริการสาขานี้ได้ในกลางปี 2552 บริษัทฯ จัดงานแถลงเปิดตัวกลยุทธ์ใหม่ภายใต้ชื่อ “Robinson Revolution” ประกอบด้วย 5 กลยุทธ์หลัก ซึ่ง เป็นแนวคิดใหม่ทางการตลาดที่มุ่งเน้นการสร้างประสบการณ์ใหม่ที่ให้ความสุขแก่ลูกค้า ตลอดเวลาที่อยู่ใน โรบินสันทั้งในการเลือกซื้อสินค้าและการใช้บริการต่างๆ

นายจรัล มงคลจันทร์ ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการอิสระเข้าใหม่ตามมติที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 1/2551 ทำให้ปัจจุบันคณะกรรมการบริษัทมีจำนวนรวมทั้งหมด 11 ท่าน โดยเป็นกรรมการอิสระจำนวน 4 ท่าน และ ทำให้มีจำนวนกรรมการอิสระมากกว่า 1 ใน 3 ของคณะกรรมการทั้งคณะ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายการกำกับ ดูแลกิจการที่ดีของบริษัทฯ พฤษภาคม บริษัทฯ ร่วมกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในการแถลงผลประกอบการของบริษัทฯ ในงาน “บริษัท

จดทะเบียนพบผู้ลงทุน (Opportunity Day)” เป็นครั้งแรก เพื่อเปิดโอกาสให้นักลงทุนและนักวิเคราะห์ ตลอดจน สื่อมวลชนได้เข้ารับฟังผลการดำเนินงานของบริษัทเป็นประจำทุกไตรมาส มิถุนายน บริษัทฯ หยุดให้บริการห้างสรรพสินค้าโรบินสัน สาขาสีลม เนื่องจากบริษัท สีลม แอสเซ็ทส์ จำกัด ได้เสนอซื้อ สิทธิการเช่าและสินทรัพย์ของสาขาสีลม คิดเป็นมูลค่ารวม 230 ล้านบาท โดยบริษัทฯ เห็นว่าสาขาสีลมเป็น สาขาที่มีขนาดเล็ก อีกทั้งยังมีข้อจำกัดและไม่คุ้มค่าต่อการลงทุนปรับปรุงพื้นที่ เนื่องจากใกล้สิ้นสุดระยะเวลา คงเหลือของสิทธิการเช่าซึ่งกำหนดไว้ในปี 2557 อีกทั้ง บริษัทฯ คาดว่าจะไม่สามารถต่อสัญญาเช่าได้เพราะผู้ ให้เช่าเดิมมีแผนที่จะดำเนินโครงการเองในอนาคต กรกฎาคม สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้เผยแพร่ผลของโครงการประเมิน คุณภาพการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2551 ของบริษัทจดทะเบียน โดยบริษัทฯ ได้รับคะแนนมากกว่า

100 คะแนน (คะแนนเต็ม 110 คะแนน) ซึ่งมีผลประเมินอยู่ในระดับดีเยี่ยม สิงหาคม บริษัทฯ เปิดตัวห้างสรรพสินค้าโรบินสัน สาขาอุดรธานี หลังจากการปรับปรุงรูปโฉมใหม่ โดยยกระดับสาขา อุดรธานีเทียบเท่า Flagship Store หลังจากที่ประสบความสำเร็จจากการลงทุนในสาขาเชียงใหม่ไปเมื่อปี 2550 ตุลาคม บริษัท โรบินสันนครินทร์ จำกัด จะให้เช่าที่ดินว่างเปล่า** ในอำเภอสวนหลวง (พระโขนง) กรุงเทพมหานคร กับบริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) ภายหลังที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 1/2551 มีมติอนุมัติให้ ดำเนินการได้ โดยรายการนี้มีมูลค่ารวม 387 ล้านบาท แบ่งชำระเป็น 4 งวด นอกจากนี้ ที่ประชุมฯ ได้มีมติ อนุมัติให้แก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับของบริษัท ข้อ 52 เกี่ยวกับการซื้อหุ้นของบริษัทคืนด้วย บริษัทฯ มอบทุนให้กับโรงเรียนที่ได้รับการผ่านการพิจารณาและคัดเลือกจำนวน 80 แห่ง ภายใต้โครงการ “โรบินสัน แต้ม 80 ฝัน ให้ 80 โรงเรียน” เพื่อช่วยเหลือและสนับสนุนสิ่งอันเป็นประโยชน์สำหรับการศึกษา ต่อเยาวชน ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้คำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคมเป็นสำคัญ 12


บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

ประวัติความเป็นมาและพัฒนาการที่สำคัญ พฤศจิกายน บริษัทฯ เริ่มต้นโครงการซื้อหุ้นคืนเพื่อบริหารการเงิน โดยมีจำนวนหุ้นที่ซื้อคืนไม่เกินร้อยละ 10 ของหุ้นที่ จำหน่ายได้แล้วทัง้ หมดของบริษทั ฯ ภายในวงเงินไม่เกิน 536 ล้านบาท และมีกำหนดระยะเวลาทีจ่ ะซือ้ หุน้ คืน ตั้งแต่วันที่ 24 พฤศจิกายน 2551 ถึงวันที่ 22 พฤษภาคม 2552 โดย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 บริษัทฯ สามารถซื้อหุ้นคืนได้จำนวนรวม 2,185,200 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 0.20 ของทุนชำระแล้วและมีมูลค่ารวม 12,797,150 บาท บริษัทฯ ดำเนินการขยายสาขาเพิ่มอีก 1 แห่ง ในจังหวัดขอนแก่น โดยได้ดำเนินการเช่าที่ดิน* กับ CPN เพื่อปลูกสร้างอาคารห้างสรรพสินค้า โดยมีกำหนดระยะเวลา 31 ปี 3 เดือน ทั้งนี้ บริษัทฯ คาดว่าจะเปิด ให้บริการสาขานี้ได้ในปลายปี 2552 บริษัทฯ ได้ดำเนินการก่อสร้างโรงเรียนหลังใหม่ขึ้นที่อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ภายใต้ชื่อโครงการ “Robinson I Love My School - หนูรักโรงเรียน” เพื่อเป็นการมอบโอกาสทางการศึกษาให้กับเยาวชน

ในถิ่นทุรกันดารโดย โครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของแผนงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัทฯ สำนักงาน ก.ล.ต. ร่วมกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย ได้เผยแพร่ผลสำรวจจากการประเมินด้านการกำกับดูแลกิจการของบริษัทจดทะเบียนประจำปี 2551 ซึ่ง บริษัทฯ ได้รับการประเมินเป็นปีแรก และได้รับคะแนนอยู่ในระดับ “ดีมาก”

หมายเหตุ * รายการดังกล่าวเป็นรายการที่เกี่ยวโยงกัน เนื่องจากบริษัทฯ และบริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) มีผู้ถือหุ้นรายใหญ่คือ

กลุ่มเซ็นทรัล (ตระกูลจิราธิวัฒน์) เป็นกลุ่มเดียวกัน ** บริษัท โรบินสันนครินทร์ จำกัด เป็นบริษัทย่อยซึ่งบริษัทถือหุ้นร้อยละ 99.86 ซึ่งทำให้รายการดังกล่าวเป็นรายการที่เกี่ยวโยงกัน

เนื่องจากบริษัทฯ และบริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) มีผู้ถือหุ้นรายใหญ่คือกลุ่มเซ็นทรัล (ตระกูลจิราธิวัฒน์)

เป็นกลุ่มเดียวกัน

13


บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

โครงสร้างธุรกิจ ภาพรวมการประกอบธุรกิจของกลุ่มบริษัท

บจม. ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน 99.91% บจ. โรบินสันอนุสาวรีย์

99.99% บจ. เครือแก้ว

40.00% บจ. พาวเวอร์บาย

99.86% บจ. โรบินสันนครินทร์

99.99% บจ. เครือเพชร

29.19% บจ. ซีอาร์ซีสปอร์ต

99.98% บจ. อาร์ดีพัฒนา

33.33% บจ. อาร์ เอส ที สกายบริจ 24.00% บจ. สยามรีเทล ดีเวลล็อปเมนท์ 24.00% บจ. สแควร์ริทส์พลาซ่า

99.80% บจ. โรบินสันรัชดา 99.99% บจ. โรบินสันสุขุมวิท 99.92% R-Trading (L) BHD. 99.99% บจ. โรบินสัน เอส พี วี 99.99% บจ. ซีอาร์ (ประเทศไทย) 49.99% 50.00% บจ. ซีอาร์ ราชบุรี

89.99% บจ. ซีอาร์ เชียงใหม่

64.99% บจ. ซีอาร์ จันทบุรี

76.00% บจ. ซีอาร์ อุดรธานี

49.99% บจ. ซีอาร์ นครศรีธรรมราช

76.00% บจ. ซีอาร์ หาดใหญ่

49.99% บจ. ซีอาร์ ภูเก็ต

74.99% บจ. ซีอาร์ อุบลราชธานี 14


บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

โครงสร้างธุรกิจ รายละเอียดของบริษัทและบริษัทย่อย ชื่อบริษัท

ทุนชำระแล้ว (บาท)

บมจ. ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน 3,942,847,022

บจ. ซีอาร์ (ประเทศไทย)

501,000,000

645,600,000 220,000,000 202,000,000 225,000,000 71,000,000 130,000,000 280,000,000 177,000,000 8,000,000 105,000,000 100,000,000 75,000,000 40,000,000 11,250,000 50,000 1,000,000 560,000,000 370,000,000 500,000,000 125,000,000 3,000,000 49,395,000

บจ. ซีอาร์ ราชบุรี (ประเทศไทย) บจ. ซีอาร์ เชียงใหม่ (ประเทศไทย) บจ. ซีอาร์ หาดใหญ่ (ประเทศไทย) บจ. ซีอาร์ อุดรธานี (ประเทศไทย) บจ. ซีอาร์ อุบลราชธานี (ประเทศไทย) บจ. ซีอาร์ จันทบุรี (ประเทศไทย) บจ. ซีอาร์ นครศรีธรรมราช (ประเทศไทย) บจ. ซีอาร์ ภูเก็ต (ประเทศไทย) บจ. โรบินสันอนุสาวรีย์ บจ. โรบินสันนครินทร์ บจ. โรบินสันสุขุมวิท บจ. โรบินสันรัชดา บจ. เครือแก้ว บจ. เครือเพชร R-Trading (L) BHD บจ. โรบินสัน เอสพีวี บจ. เพาเวอร์บาย บจ. ซีอาร์ซี สปอร์ต บจ. สยามรีเทลดีเวลลอปเม้นท์ บจ. สแควร์ริทส์ พลาซ่า บจ. อาร์ดีพัฒนา บจ. อาร์ เอส ที สกายบริจ

}

ลักษณะการดำเนินธุรกิจ ดำเนินกิจการธุรกิจค้าปลีกเป็นหลัก ปัจจุบันดำเนินธุรกิจ ห้างสรรพสินค้าในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ภายใต้ชื่อ โรบินสัน โดยมีสาขาดังต่อไปนี้ รัชดาภิเษก สุขมุ วิท บางรัก บางแค ซีคอนสแควร์ แฟชั่นไอส์แลนด์ ฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต ลาดหญ้า รัตนาธิเบศร์ ศรีราชา และอยุธยา บริษัทโฮลดิ้งเพื่อร่วมลงทุนกับห้างสรรพสินค้าท้องถิ่นใน 8 จังหวัด เพื่อประกอบธุรกิจประเภทห้างสรรพสินค้า ภายใต้ชื่อ โรบินสัน ประกอบธุรกิจห้างสรรพสินค้าใน จ. ราชบุรี ประกอบธุรกิจห้างสรรพสินค้าใน จ. เชียงใหม่ ประกอบธุรกิจห้างสรรพสินค้าใน อ. หาดใหญ่ จ. สงขลา ประกอบธุรกิจห้างสรรพสินค้าใน จ. อุดรธานี ประกอบธุรกิจห้างสรรพสินค้าใน จ. อุบลราชธานี ประกอบธุรกิจห้างสรรพสินค้าใน จ. จันทบุรี ประกอบธุรกิจห้างสรรพสินค้าใน จ. นครศรีธรรมราช ประกอบธุรกิจห้างสรรพสินค้าใน จ. ภูเก็ต มิได้ดำเนินพาณิชยกิจ มิได้ดำเนินพาณิชยกิจ มิได้ดำเนินพาณิชยกิจ มิได้ดำเนินพาณิชยกิจ มิได้ดำเนินพาณิชยกิจ ประกอบธุรกิจลงทุนในกิจการต่างๆ ประกอบธุรกิจลงทุนในกิจการต่างๆ รับซื้อคืนหุ้นกู้จากเจ้าหนี้ตามโครงการ ”วีดีอาร์พี” ประกอบธุรกิจเป็นศูนย์จำหน่ายอุปกรณ์ไฟฟ้า ประกอบธุรกิจเป็นศูนย์จำหน่ายอุปกรณ์กีฬา เจ้าของและผู้บริหารศูนย์การค้าแฟชั่นไอส์แลนด์ ถนนรามอินทรา ประกอบธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ดำเนินการสร้างและบริหารจัดการทางเชื่อมรถไฟฟ้า

15


บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

โครงสร้างธุรกิจ โครงสร้างรายได้รวม ประเภทรายได้/บริษัท ร้อยละ ปี 2551 ปี 2550 ปี 2549 การถือหุ้น ล้านบาท ร้อยละ ล้านบาท ร้อยละ ล้านบาท ร้อยละ รายได้จากการขาย - บมจ. ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน 7,287 53.10 6,845 54.32 6,731 47.40 - บริษัทย่อย 5,130 37.39 4,439 35.23 4,080 28.47 บจ. ซีอาร์ ราชบุรี 99.99 บจ. ซีอาร์ เชียงใหม่ 89.99 บจ. ซีอาร์ หาดใหญ่ 76.00 บจ. ซีอาร์ อุดรธานี 76.00 บจ. ซีอาร์ อุบลราชธานี 74.99 บจ. ซีอาร์ จันทบุรี 64.99 บจ. ซีอาร์ นครศรีธรรมราช 49.99 บจ. ซีอาร์ ภูเก็ต 49.99 รวมรายได้จากการขาย 12,417 90.48 11,285 89.55 10,811 75.87 รายได้ค่าเช่าและค่าบริการ 693 5.05 681 5.40 702 4.95 ส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนในบริษัทร่วม 171 1.25 133 1.05 133 0.93 อื่นๆ 442 3.22 503 3.99 2,554 17.98 รายได้รวม 13,723 100.00 12,602 100.00 14,200 100.00

โครงสร้างรายได้จากการขายสินค้า กลุ่มสินค้า SOFTLINE HARDLINE OTHERS

ปี 2551 85.89 13.75 0.35

สัดส่วนรายได้ (ร้อยละ) ปี 2550 85.54 14.10 0.36

ปี 2549 85.31 14.24 0.45

เป้าหมายการดำเนินธุรกิจ มุ่งเน้นการดำเนินธุรกิจห้างสรรพสินค้าจำหน่ายสินค้าอุปโภคทั่วไป โดยมีเป้าหมายในการเป็นห้างสรรพสินค้าที่เป็นที่นิยมสูงสุด และมี ส าขาครอบคลุ ม พื้ น ที่ ที่ มี ศั ก ยภาพทั่ ว ประเทศ ด้ ว ยรู ป แบบธุ ร กิ จ ค้ า ปลี ก ที่ มี สิ น ค้ า และบริ ก ารที่ ทั น สมั ย และสอดคล้ อ ง กับความต้องการของลูกค้า

16


บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

ลักษณะการประกอบธุรกิจ ลักษณะการประกอบธุรกิจ

กลุ่มสินค้าที่จำหน่ายในปัจจุบัน สามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มหลักๆ ดังนี้

กลุ่มสินค้า

1. กลุ่มสินค้า Softline สินค้าในกลุ่มนี้ เน้นแฟชั่น ความทันสมัย เป็นสินค้าแบรนด์ที่มีชื่อเสียง มีคุณภาพ มีความหลากหลาย และมีแฟชั่น ซึ่งสินค้าแฟชั่น มักมีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว ลูกค้ามักตัดสินใจ ซื้อตามกระแสนิยม 2. กลุ่มสินค้า Hard Line สินค้าในกลุ่มนี้ เน้นคุณภาพ การใช้งาน รูปแบบ ความหลากหลาย และความทันสมัยของสินค้า ลูกค้ามักตัดสินใจเลือกสินค้าในกลุ่มนี้ด้วย รูปแบบของสินค้า อรรถประโยชน์ในการใช้งาน และระดับราคา

หมวดสินค้า - เสื้อผ้าเครื่องแต่งกายสุภาพบุรุษและสุภาพสตรี (Men’s Fashion and Ladies’ Fashion) - ครื่องสำอาง และเครื่องประดับ (Cosmetics and Accessories) - เครื่องหนัง (Leather Goods) - สินค้าทั่วไปสำหรับเด็ก (Children Goods) - สินค้าตกแต่งบ้านและของใช้ภายในบ้าน (Home and Kitchenware) - สินค้าประเภทอุปกรณ์รถยนต์และเครื่องมือ (Automobiles accessories and equipments) - สินค้าประเภทของเล่น ของขวัญและกิฟท์ช้อป (Toy and Gifts)

ในการนำเสนอสินค้าทั้ง 2 กลุ่มข้างต้น นอกจากบริษัทฯ จะนำเสนอสินค้าจากแบรนด์ชั้นนำที่ได้รับความนิยมแล้ว ยังได้พัฒนาแบบสินค้าขึ้นเอง โดยมีความแตกต่างจากสินค้าที่วางจำหน่าย รวมทั้งการสรรหาสินค้าใหม่ๆ ที่มีรูปแบบน่าสนใจ ทั้งนี้เพื่อเพิ่มความหลากหลายและสร้างความ

แตกต่างจากคู่แข่ง โดยวางจำหน่ายเฉพาะโรบินสันเท่านั้น (Only @ Robinson) ประกอบด้วยสินค้าในหมวดหลักๆ คือ สินค้า Private Label : ประกอบด้วยสินค้าที่บริษัทพัฒนาแบรนด์สินค้าขึ้นมาจำหน่ายเอง โดยพิจารณาเลือกเฉพาะสินค้าในหมวดที่ได้รับความ นิยม และช่วยเติมเต็มความหลากหลายของสินค้าที่ลูกค้าต้องการ โดยจำหน่ายในราคาที่เหมาะสมควบคู่กับคุณภาพที่ดีและรูปแบบที่ทันสมัย และ วางจำหน่ายทั้ง 20 สาขา โดยประกอบด้วยกลุ่มสินค้าประเภท

กลุ่มสินค้า

เครื่องครัวและเครื่องนอน แฟชั่นและเสื้อผ้าสตรี รองเท้าและกระเป๋าสตรี เสื้อผ้าและเครื่องแต่งกายชาย สินค้าเด็ก

R*Home Ella FOF Vivienne Pacific Union FOF Pacific Union Otoko Teeny Tiny Bon Bon Choo

แบรนด์สินค้า

Home Genius Cuizimate Decorative Home Marushi Ohayo Chee Tasha Taj Pacific Life Snap Beyond Basic Pumpkin Pie

True Blue Jeans Studio Beyond Basic 17


บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

ลักษณะการประกอบธุรกิจ สินค้า Exclusive Brand : เป็นสินค้าที่มีชื่อเสียงที่ผลิตในต่างประเทศนำมาจำหน่ายเฉพาะในห้างโรบินสัน

กลุ่มสินค้า

แบรนด์สินค้า

แฟชั่นและเครื่องแต่งกายสตรี

Allure Ermis

Perllini Voir Shoez David Jones (เริ่มวางจำหน่ายในปี 2552)

เครื่องหนังสตรี เครื่องสำอาง

Centro Moda Yin & Yang

I.E Esensual

นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังได้นำเสนอสินค้าแบรนด์ภายในประเทศที่เป็นที่นิยม โดยผลิตสินค้าคอลเล็คชั่นพิเศษเฉพาะสำหรับโรบินสันเท่านั้น ซึ่งสินค้า ที่กล่าวมาข้างต้นนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์การสร้างความแตกต่าง โดยคัดเลือกสินค้าเฉพาะประเภทแฟชั่นนำมาจำหน่ายในสาขาที่ผู้บริโภค

มีกำลังซื้อ และมีความต้องการสินค้าที่มีความแตกต่างจากสินค้าในร้านอื่น สินค้าราคาเดียว Just Buy : ประกอบด้วยสินค้าหลากหลายที่จำหน่ายในราคา 35 บาทและ 55 บาท ครอบคลุมทั้งสินค้าวัยรุ่น วัยเริ่มต้นทำงาน และสินค้าอุปโภค เช่น เครื่องประดับ เครื่องสำอาง เครื่องเขียน กิฟท์ช้อป และเครื่องใช้ภายในบ้าน เป็นต้น

การจัดหาผลิตภัณฑ์หรือบริการ

การจัดหาผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ ดำเนินการจากส่วนกลาง โดยสายงานจัดซื้อจากสำนักงานใหญ่เป็นผู้ควบคุมการจัดซื้อรวมไปถึงการเจรจาต่อรอง ด้านราคา เงื่อนไขการชำระเงิน การบริหารสต็อคสินค้าในแต่ละสาขาให้อยู่ในระดับที่บริษัทฯ กำหนด โดยมีการนำระบบคอมพิวเตอร์มาใช้ในการ ควบคุมและติดตามยอดขายและสต็อคสินค้าเพื่อให้เกิดความถูกต้องและเกิดประสิทธิภาพในการบริหารงาน นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังได้ร่วมมือกับ หน่วยงาน Supply Chain Management ของ บริษัท เซ็นทรัลรีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด ในการพัฒนาระบบ Supply Chain ให้มีประสิทธิภาพ และพยายามชักจูงคู่ค้าให้ร่วมเข้าใช้ระบบ Supply Chain ของบริษัทฯ ทั้งนี้เพื่อเป็นการลดต้นทุนของคู่ค้า และเพื่อให้สามารถสนองตอบความ ต้องการของลูกค้าได้ดีขึ้น บริษัทฯ มีการจัดซื้อสินค้าจากทั้งในประเทศและต่างประเทศ บริษัทฯ มีคู่ค้ากว่า 2,000 ราย การจัดซื้อสินค้าภายในประเทศจะเน้นที่ยี่ห้อสินค้า โดยเมื่อวางจำหน่ายแล้วต้องเป็นสินค้าที่ทันสมัย ตรงตามกระแสนิยม มีคุณภาพคุ้มราคา แปลกใหม่ และมีความหลากหลายทั้งประเภท ชนิด และรูปแบบ รวมทั้งสอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย การจัดซื้อจากต่างประเทศนั้น บริษัทฯ เป็นผู้ดำเนินการติดต่อกับคู่ค้าต่างประเทศเอง โดยการส่งเจ้าหน้าที่ไปสำรวจสินค้าและเจรจาต่อรองจาก

ผู้ผลิตหรือผู้จัดจำหน่ายในต่างประเทศโดยตรง ทั้งนี้บริษัทฯ มิได้ทำสัญญาผูกขาดการซื้อกับรายใดรายหนึ่งเป็นพิเศษ ประเทศที่บริษัทฯ นำเข้า เป็นส่วนใหญ่ได้แก่ ประเทศสิงคโปร์ สาธารณรัฐประชาชนจีน เกาหลี ฮ่องกง อินเดีย และญี่ปุ่น เป็นต้น วัตถุประสงค์หลักของการจัดซื้อจาก

ต่างประเทศเพื่อนำเสนอสินค้าที่แปลกใหม่ ทันสมัย มีความแตกต่างและโดดเด่นไม่ว่าจะเป็นสินค้ากลุ่มเสื้อผ้า เครื่องประดับ เครื่องแต่งกาย สินค้ากลุ่มเด็ก ของเล่น อุปกรณ์ในครัวเรือน สำหรับเงื่อนไขการชำระเงินค่าสินค้า บริษัทฯ ได้ดำเนินการอยู่ 2 ระบบ คือ การจ่ายตามยอดขายซึ่งมีประมาณร้อยละ 75 และระบบการซื้อขาด ประมาณร้อยละ 25

กลยุทธ์การแข่งขัน

ความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจของโรบินสันในปี 2551 ท่ามกลางสภาวะเศรษฐกิจที่ผันผวนอย่างรุนแรงทั่วโลกและสภาวะความไม่ชัดเจน ทางการเมืองภายในประเทศตลอดทัง้ ปีนนั้ เกิดจากการบริหารสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพ การจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายเฉพาะในแต่ละสาขา รวมถึง

18


บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

ลักษณะการประกอบธุรกิจ การบริหารความสัมพันธ์ที่ดีและให้บริการที่มีคุณค่ากับลูกค้าอย่างสม่ำเสมอ ทำให้สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ตรงกลุ่ม ประกอบ กับความร่วมมือกับคู่ค้าในการจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้ โรบินสันยังมีการปรับรูปแบบร้านใหม่ (Store Renovation) อย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างบรรยากาศและประสบการณ์ใหม่ในการชอปปิ้ง ซึ่งสิ่งเหล่านี้ได้ดำเนินการภายใต้กลยุทธ์ “Robinson Revolution” โดยประกอบด้วย 5 แนวคิดหลัก ดังนี้

1. การสร้างประสบการณ์ใหม่ในการชอปปิ้ง

บริษัทฯ ได้มีการปรับภาพลักษณ์ของห้างให้มีความทันสมัย เพื่อสร้างประสบการณ์ใหม่ในการชอปปิ้ง ทั้งยังชูความเป็นไลฟสไตล์เพิ่มขึ้น ด้วยการ ปรับปรุงสาขาที่มีศักยภาพทั่วประเทศอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้รูปแบบร้านดูทันสมัย มีบรรยากาศสว่างไสว ตื่นเต้น น่าสนุกสนานในการจับจ่าย

ในขณะเดียวกันก็มีการเพิ่มมาตรฐานสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ อาทิเช่น ทางเดินภายในห้างที่กว้างขวางเพื่อสร้างความสะดวกสบายในการเลือก ซื้อสินค้า การจัดวางสินค้าให้มองเห็นง่าย มีมุมพักผ่อน มุมบริการต่างๆ และมีห้องน้ำที่สะอาด ที่จอดรถพิเศษสำหรับลูกค้าประจำ เป็นต้น โดย

ในปี 2551 บริษัทฯ ได้ใช้งบลงทุนประมาณ 300 ล้านบาท สำหรับการปรับปรุงในสาขาอุดรธานี ศรีราชา บางรัก แฟชั่นไอส์แลนด์ และสุขุมวิท ทั้งนี้ สาขาอุดรธานีได้ปรับปรุงรูปแบบร้านให้เทียบเท่า Flagship Store เช่นเดียวกับสาขารัชดาภิเษก เชียงใหม่ จังซีลอน นอกเหนือจากการปรับปรุงสาขา บริษทั ฯ ยังได้ดำเนินการคัดสรรและนำเสนอแบรนด์สนิ ค้าใหม่ๆ ทีต่ รงใจลูกค้าควบคู่ไปด้วย อาทิ การเพิม่ แบรนด์ ใหม่ (High Brand) ในหมวดเครื่องสำอางค์สำหรับสาขาที่มีศักยภาพ และการขยายแบรนด์สินค้าประเภท High Fashion ในหมวดนาฬิกา รองเท้า กระเป๋าสตรี และชุดชั้นใน เพิ่มไปยังสาขาต่างๆ มากขึ้น นอกจากนี้ ยังได้มีการปรับรูปแบบการแสดงสินค้าเพื่อนำเสนอสินค้าคอลเล็คชั่นใหม่ๆ ได้ อย่างชัดเจน รวมถึงการนำเสนอข้อมูลและเคล็ดลับดีๆ เพื่อให้ลูกค้าได้ติดตามกระแสแฟชั่น รวมทั้งสาระน่ารู้ เพื่อกระตุ้นความสนใจและทำให้ ลูกค้าเลือกชอบปิ้งได้อย่างมีความสุข ทั้งนี้ยังทำให้โรบินสันสามารถจัดสรรการใช้พื้นที่ขายให้ได้ผลตอบแทนต่อตารางเมตรได้อย่างคุ้มค่าอีกด้วย

2. การสร้างความแตกต่าง

บริษัทฯ เน้นกลยุทธ์การสร้างความแตกต่างและตอกย้ำความเป็นแฟชั่น ด้วยการเพิ่มความหลากหลาย และเพิ่มสินค้าเทรนด์ใหม่ โดยเฉพาะสินค้า Private Label และ สินค้า Exclusive brand โดยบริษัทฯ ได้ขยายกลุ่มสินค้านี้ไปยังทุกสาขาที่มีศักยภาพ เพื่อสร้างความแตกต่างจากคู่แข่งและ เติมเต็มช่องว่างทุกความต้องการของลูกค้า ด้วยสินค้าที่มีคุณภาพ ราคาที่คุ้มค่าซึ่งลูกค้าสามารถเข้าถึงได้ง่ายและมีจำหน่ายเฉพาะที่โรบินสัน เท่านั้น (Only @ Robinson) นอกจากนี้ บริษัทฯ พบว่า สินค้าหมวดแฟชั่นสตรีและหมวดเครื่องใช้และเครื่องนอน มีช่องว่างในตลาดซึ่งเป็น โอกาสในการสร้างการเติบโตของยอดขาย ดังนั้น บริษัทฯ จึงได้เพิ่มสินค้าใหม่สำหรับทั้งสองหมวด โดยหมวดแฟชั่นสตรีเพิ่มสินค้า Private Label อาทิ Vivienne Yoga ชุดออกกำลังกายสตรีที่เน้นแฟชั่นทันสมัย Tasha Cute เสื้อผ้าสตรีกลุ่มวัยทีน Pacific Life เสื้อผ้าชายหญิงเน้นความท้าทาย เป็นต้น รวมถึงการนำเข้าแบรนด์ชั้นนำจากต่างประเทศ สำหรับสินค้า Exclusive brand อาทิ เสื้อผ้าสตรี Allure Noir กระเป๋าสตรี Perlini รองเท้าสตรี Voir Shoez เป็นต้น และเพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งของแบรนด์ บริษัทฯ ยังได้ทำการตลาดในกลุ่มสินค้าสตรี ด้วยการกระตุ้นให้ผู้หญิงพร้อมและมั่นใจที่จะแต่งตัว ตามแฟชั่นมากขึ้น ด้วยแคมเปญ “Rita’s Choice” โดยนำคุณศรีริต้า เจนเซ่น ดาราและนางแบบชั้นนำซึ่งเป็น Brand Ambassador ของโรบินสัน มาเป็นต้นแบบของผู้หญิงยุคใหม่เพื่อคัดเลือกสินค้าและ mix and match เสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้า และเครื่องประดับหลากหลายสไตล์ พร้อมทั้งมี การอัพเดทเทรนด์แฟชั่นใหม่ๆ ทุกเดือนเพื่อนำเสนอต่อลูกค้าอยู่เป็นประจำ 19


บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

ลักษณะการประกอบธุรกิจ

สำหรับหมวดเครื่องใช้และเครื่องนอน บริษัทฯ ได้มีการเพิ่มคอลเล็คชั่นและนำเสนอสินค้าที่มีดีไซน์เก๋ตอบสนองไลฟ์สไตล์ที่ทันสมัยมากขึ้น โดย แบ่งเป็น เครื่องนอนและห้องน้ำ เครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดเล็ก ของขวัญ อุปกรณ์ทำครัวและชุดภาชนะอาหาร และเพิ่มแบรนด์ใหม่ในกลุ่มอุปกรณ์ ทำครัวชื่อ Cuizimate และด้วยกลยุทธ์นี้จึงทำให้ในปี 2551 บริษัทฯ สามารถสร้างยอดขายในสินค้ากลุ่ม Differentiation นี้เติบโตอย่างมาก อัน เป็นผลสำเร็จจากการสรรหาสินค้าใหม่ๆ ที่มีรูปแบบทันสมัย น่าสนใจ มีความหลากหลาย และคุ้มค่าเงิน รวมถึงการประชาสัมพันธ์สินค้าได้ตรง กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย

3. การทำการตลาดอย่างแม่นยำและกระตุ้นความต้องการใหม่

นอกจากจะเน้นการสร้างชื่อแบรนด์ “โรบินสัน” ให้เป็นที่ชื่นชอบและจดจำได้ของสาธารณะ และภาพลักษณ์การเป็นห้างที่มีแฟชั่นทันสมัย มีไลฟสไตล์ รวมทั้งมีสินค้าและบริการที่แตกต่างเฉพาะที่โรบินสันเท่านั้น ด้วยวิธีการสื่อสารกับลูกค้าเพื่อสร้างการรับรู้แบรนด์ การประชาสัมพันธ์ โปรแกรมการตลาด และรายการส่งเสริมการขาย ผ่านทางสื่อต่างๆ เช่น Cable TV : True Vision “What’s Happening”, “Shop in Trend”, นิตยสารชั้นนำต่างๆ หนังสือพิมพ์ แผ่นป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ และ Robinson life channel โรบินสันยังเน้นแนวคิดการตลาดแบบเจาะกลุ่มลูกค้า เชิงลึกที่ให้ผลลัพธ์สูง ด้วยการทำวิจัยข้อมูลลูกค้าจาก The One Card และ Robinson Visa Card เพื่อให้เข้าใจถึงความต้องการของลูกค้าที่เกิด ขึ้น ความแตกต่างของแต่ละกลุ่ม แต่ละบุคคล รวมไปถึงอิทธิพลในการตัดสินใจซื้อ ซึ่งช่วยในการสร้างโปรแกรมการตลาดและการบริการที่เหมาะ สมสำหรั บ ลู ก ค้ า แต่ ล ะกลุ่ ม หรื อ แต่ ล ะบุ ค คล เพื่ อ ตอบสนองความต้ อ งการได้ ต รงจุ ด รวมทั้ ง เลื อ กใช้ สื่ อ การตลาดได้ อ ย่ า งมี ป ระสิ ท ธิ ภาพ

สิ่งเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ในด้านลูกค้าสัมพันธ์ ซึ่งทำให้ฐานลูกค้าประจำของโรบินสันเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในด้านกลยุทธ์การกระตุ้นความต้องการของลูกค้าเพื่อให้เกิดความต้องการซื้อใหม่ โรบินสันได้มีการจัดรายการส่งเสริมการขายให้สอดคล้องกับ โอกาส เทศกาลต่างๆ และแนวโน้มสินค้าใหม่ รวมทั้งได้มีการสร้างประสบการณ์แปลกใหม่เพื่อดึงดูดลูกค้าในแต่ละกลุ่มด้วยการจัดให้มีกิจกรรม ใหม่ ๆ อาทิ กลุ่มลูกค้าที่ชื่นชอบความงามและแฟชั่น (Fashionista Ladies) : Beauty Paradise กิจกรรมเพื่อผู้หญิงยุคใหม่ ที่สาขาเชียงใหม่ อุดรธานี และศรีราชา รวมถึงการนำเสนอ “Rita’s Choice by Sririta” กลุ่มลูกค้าที่ชอบความหรูหราและทันสมัย (Luxury and Modern) ได้แก่ The Ultimate Watch Fair - กิจกรรมของคนรักเวลา ที่สาขาเชียงใหม่ อุดรธานี และงาน Basel ที่สาขาจังซีลอน ภูเก็ต รวมถึงงาน Luxury Home & Gift เครื่องครัว ของตกแต่งบ้าน และของขวัญ กลุ่มคนรุ่นใหม่ (Young Generation) : งาน Jeans Expo กิจกรรมเพื่อวัยรุ่นที่รักการใส่ยีนส์แบบ Super Star ที่สาขารังสิต กลุ่มเด็กและครอบครัว (Kid and Family) : งาน Toy Fun Festival งานมหกรรมของเล่นที่สาขารังสิต กิจกรรมต่างๆ ที่บริษัทฯ จัดขึ้นนี้ได้รับการตอบรับที่ดีจากลูกค้าและประสบความสำเร็จอย่างสูงสามารถสร้างยอดขายได้เป็นอย่างมาก นอกจากนี้ โรบินสันได้มุ่งเน้นการสร้างความสัมพันธ์เฉพาะกลุ่มและเพิ่มระดับความผูกพันกับลูกค้าประจำ โดยจัดกิจกรรมและให้บริการพิเศษที่แตกต่าง เช่น Beauty Station เน้นการบริการด้านความสวยงามเต็มรูปแบบ Value Added Service ได้แก่ แนะนำวิธีการแต่งหน้าและแต่งผมตามแฟชั่น และ การจัด Workshop ของสินค้ากลุ่ม Home ได้แก่ การทำน้ำผลไม้เพื่อสุขภาพ การทำอาหารสำหรับครอบครัวยุคใหม่ เป็นต้น และด้วยกลยุทธ์นี้ ทำให้ โรบินสันสามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในพื้นที่หรือสาขานั้นๆ ได้ตรงจุด ทำให้สามารถรักษาฐานลูกค้าเดิมได้อย่าง

เหนียวแน่น รวมทั้งสามารถเพิ่มลูกค้าใหม่เข้ามาชอปปิ้งในห้างโรบินสันเพิ่มขึ้น อีกทั้ง ยังเป็นการบริหารการใช้งบประมาณในการทำการตลาด และรายการส่งเสริมการขายได้อย่างคุ้มค่า และมีประสิทธิผลอย่างสูง 20


บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

ลักษณะการประกอบธุรกิจ 4. การให้บริการลูกค้าที่ดีเลิศ โรบินสันมุ่งมั่นในการให้บริการที่เหนือความคาดหวังเพื่อสร้างความประทับใจต่อลูกค้า โดยการให้บริการลูกค้าที่ดีเลิศด้วยการปลูกจิตสำนึก

พนักงานในการให้บริการ ทำให้ลูกค้ารู้สึกถึงการเอาใจใส่ เป็นมิตร อัธยาศัยดี มีความรู้ในสินค้าและพร้อมที่จะให้บริการเสมอ เพื่อให้ลูกค้าพึง พอใจ กลับมาใช้บริการและซื้อสินค้ากับโรบินสันตลอดไป โดยนอกเหนือจากการบริการพื้นฐานที่มีให้ลูกค้าแล้ว โรบินสันยังได้มีการเพิ่มมาตรฐาน ใหม่ของการบริการในรูปแบบการให้บริการเฉพาะตัวบุคคล โดยครอบคลุมกลุ่มสินค้าและตัวสินค้ามากขึ้น เช่น มีการบริการตรวจวัดสรีระและ ขนาดทรวงอก (Bra Measurement Service) เพื่อให้ใช้สินค้าได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม การบริการแนะนำเทรนด์และแต่งหน้าฟรี (Free Makeup Service) เป็นต้น ทั้งนี้ พนักงานทุกคนได้รับการฝึกอบรมทั้งทางด้านความเข้าใจในตัวสินค้า ทักษะการขาย การสาธิตสินค้า และการให้บริการ โดยได้มีการตรวจสอบและควบคุมคุณภาพการให้บริการเพื่อให้ได้มาตรฐานเดียวกันอยู่ตลอดเวลา นอกจากนี้ ยังมีบริการ “One Stop Service” กับการช้อปปิ้งรูปแบบใหม่ โดยการถือบัตรช้อปปิ้งการ์ดเพียงใบเดียวก็สามารถเลือกซื้อสินค้าได้ทั้งห้าง โดยไม่ต้องถือสินค้าหลายชิ้นให้ยุ่งยาก และจ่ายชำระเงินเพียงจุดเดียว พร้อมทั้งบริการคำนวณความคุ้มค่าของสิทธิประโยชน์ต่างๆ ตามโปรแกรมการส่งเสริมการขายในแต่ละช่วงเวลา

อีกด้วย

5. การสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรอย่างยั่งยืน

นอกจากโรบินสันได้ให้ความสำคัญต่อการร่วมรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมมาโดยตลอดแล้ว โรบินสันยังมีนโยบายในการปลูกฝังจิตสำนึก และเปิดโอกาสให้พนักงานรวมถึงลูกค้าได้มีโอกาสร่วมกันทำประโยชน์ให้กับสังคม อีกทั้งร่วมกันรักษาสิ่งแวดล้อม อาทิ การจัดให้มีโครงการนำ แบตเตอรี่โทรศัพท์มือถือเก่าไปทำลายให้ถูกวิธี ซึ่งนอกจากลูกค้าจะได้ร่วมพิทักษ์สิ่งแวดล้อมแล้วยังได้แต้มคะแนนสะสมใน The One Card ด้วย ส่วนในด้านการตอบแทนและช่วยเหลือสังคมและชุมชนนั้น โรบินสันได้ให้การสนับสนุนศูนย์บริจาคโลหิต สภากาชาดไทย โดยอำนวยความสะดวก ทั้งในด้านประชาสัมพันธ์ การร่วมบริจาคโลหิตและการจัดสถานที่เพื่อรับบริจาคโลหิต ซึ่งได้ดำเนินการเป็นประจำทุกๆ ปีเสมอมา นอกจากนี้ โรบินสันยังได้ให้การสนับสนุนกิจกรรมช่วยเหลือสังคมอื่นๆ อาทิ มีการมอบเงินสมทบทุนมูลนิธิช้างป่ากุยบุรี เพื่อช่วยเหลือช้างที่ใกล้จะสูญพันธุ์ ทำกิจกรรมร่วมรณรงค์และส่งเสริมโครงการอนุรักษ์ป่าชายเลน จังหวัดชลบุรี ซึ่งเป็นโครงการพระราชดำริ การมอบผ้าห่มและอุปกรณ์การศึกษา ให้ชาวบ้านและนักเรียนที่ประสบภัยหนาวและอุปกรณ์การศึกษาที่จังหวัดเชียงใหม่ รวมทั้งบริจาคและทำบุญกุศล ณ บ้านเด็กด้อยโอกาส ศูนย์พระมหาไถ่ เมืองพัทยา และที่สำคัญในปี 2551 นี้ โรบินสันได้ริเริ่มโครงการสนับสนุนทางด้านการศึกษาให้กับชุมชน คือ โครงการ “โรบินสัน แต้ม 80 ฝัน ให้ 80 โรงเรียน” และโครงการสร้างโรงเรียน “I Love My School - หนูรักโรงเรียน” ซึ่งโครงการเหล่านี้เป็นโครงการแรกที่เปิดโอกาส ให้พนักงานและลูกค้ามีส่วนร่วมในการตอบแทนสังคมมากยิ่งขึ้น

ลูกค้าเป้าหมาย

กลุ่มลูกค้าเป้าหมายหลักของบริษัท ได้แก่ กลุ่มครอบครัวสมัยใหม่และกลุ่มวัยทำงาน อายุระหว่าง 25-45 ปี มีรูปแบบการดำเนินชีวิตที่ทันสมัย นิยมซื้อสินค้าแฟชั่นที่ได้รับความนิยมในราคาที่สมเหตุสมผล รวมทั้งกลุ่มวัยรุ่น นักศึกษาและวัยเริ่มทำงาน ที่เริ่มเข้ามาจับจ่ายในห้างฯ เป็นกลุ่ม ลูกค้าที่มีความต้องการสินค้าที่มีแฟชั่นแต่ราคาไม่สูงมากนัก สำหรับสาขาที่มีทำเลอยู่ในแหล่งนักท่องเที่ยว หรือย่านที่มีลูกค้าชาวต่างชาติอาศัยอยู่ เช่น สาขาถนนรัชดาภิเษก สีลม สุขุมวิท บางรัก ภูเก็ต เชียงใหม่ หาดใหญ่ และศรีราชา จะมีกลุ่มลูกค้าชาวต่างชาติ บริษัทฯ จึงได้จัดโครงการ Tourist Card และ Vat Refund เพื่ออำนวยความสะดวก ให้แก่ลูกค้าต่างชาติ รวมทั้งการมอบส่วนลดพิเศษ และจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายให้กับนักท่องเที่ยวโดยเฉพาะ สำหรับกลุ่มลูกค้าประจำที่เป็นสมาชิก The 1 Card และ Robinson Visa Card บริษัทฯ ได้จัดให้มีบริการพิเศษ เช่น การได้รับสิทธิพิเศษเป็น ส่วนลดในการซื้อสินค้า การได้รับคะแนนสะสมจากการซื้อสินค้าเพื่อนำมาแลกของรางวัล รวมทั้งการได้รับนิตยสาร Lifestyle ซึ่งจะส่งตรงถึงบ้าน สมาชิกทุกเดือน สมาชิกสามารถทราบข่าวรายการส่งเสริมการขาย สินค้าใหม่ รวมทั้งกิจกรรมพิเศษและรายการส่งเสริมการขายพิเศษสำหรับ สมาชิกได้จากนิตยสารดังกล่าว ณ สิ้นปี 2551 บริษัทฯมีจำนวนสมาชิก The One Card ทั้งสิ้น 821,499 ราย เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 111,099 ราย และมีสมาชิก Robinson Visa Card ทั้งสิ้น 83,423 ราย เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 29,928 ราย 21


บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

ปัจจัยความเสี่ยง บริษัทฯ ให้ความสำคัญต่อการบริหารจัดการความเสี่ยงทางธุรกิจ เพื่อสร้างมูลค่าระยะยาวแก่ผู้ถือหุ้น ด้วยเหตุดังกล่าว คณะกรรมการบริษัท จึงได้ แต่งตั้งคณะทำงานบริหารความเสี่ยงเพื่อให้เป็นกลไกสำคัญในการติดตามและวิเคราะห์ความเสี่ยงที่ส่งผลต่อบริษัทฯ รวมถึงการเพิ่มประสิทธิภาพ ของระบบการบริหารความเสี่ยงของบริษัทฯ สำหรับความเสี่ยงสำคัญที่มีผลกระทบต่อบริษัทฯ สามารถสรุปได้ดังนี้

ความสามารถในการตอบสนองต่อสภาวะการแข่งขันและความต้องการของลูกค้า

ธุรกิจห้างสรรพสินค้าได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจและการบริโภคที่ลดลง จากความผันผวนของราคาน้ำมัน ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ และสินค้าเกษตร และค่าครองชีพที่ปรับตัวสูงขึ้น ทำให้พฤติกรรมผู้บริโภคโดยเฉพาะในด้านการใช้จ่ายมีความระมัดระวังมากขึ้นรวมถึงการชะลอ การใช้จ่าย ด้วยเหตุดังกล่าวการแข่งขันในธุรกิจห้างสรรพสินค้าจึงทวีความรุนแรงขึ้นเช่นกัน ผู้ประกอบการห้างสรรพสินค้าต่างเร่งใช้กลยุทธ์ ทางการตลาด อาทิ การจัดกิจกรรมทางการตลาด รายการส่งเสริมการขาย รวมถึงการลดราคาสินค้า เพื่อหวังกระตุ้นการใช้จ่ายของผู้บริโภคที่มี กำลังซื้อ ทั้งกลุ่มลูกค้าระดับบน รวมถึงกลุ่มลูกค้าในระดับกลางซึ่งเป็นกลุ่มลูกค้าเป้าหมายหลักของบริษัทฯ อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ ได้มีระบบในการติดตามภาวะเศรษฐกิจและตลาดอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้สามารถปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ธุรกิจให้เข้ากับสภาพ ตลาดในช่วงเวลาต่างๆ ได้อย่างเหมาะสมและทันท่วงที ประกอบกับบริษัทฯ ได้มีการจัดวางระบบงานที่มีประสิทธิภาพ อันได้แก่ ระบบการบริหาร สินค้า ไม่ว่าจะเป็นด้านการวางระบบ Logistic และ Supply Chain เพื่อลดขั้นตอนในการจัดซื้อและการรับส่งสินค้า การวางระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้ ในการบริหารสินค้าคงคลังเพื่อลดความเสี่ยงจากสินค้าล้าสมัยและสามารถตอบสนองต่องานขายสินค้าหน้าร้านได้อย่างเหมาะสม รวมถึงการมี ประสิทธิภาพของระบบงานปฎิบตั งิ านหน้าร้าน ระบบติดตามแผนการตลาดและระบบการติดตามพฤติกรรมของลูกค้าด้วยข้อมูลจากบัตร The 1 Card สำหรับทางด้านกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจ บริษัทฯ มุ่งสร้างความสามารถในการแข่งขันด้วยการเน้นการสร้างความแตกต่างในสินค้า และบริการ โดยการสรรหาสินค้าที่มีรูปแบบที่น่าสนใจ การเพิ่มแบรนด์สินค้าใหม่ในสินค้าทั่วไป มีการพัฒนาสินค้าเองเพื่อนำเสนอสินค้าที่อยู่ในความต้องการ ของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้ทันท่วงที นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้นำเสนอบริการที่มุ่งเน้นมูลค่าเพิ่ม และความสอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า แต่ละกลุ่ม แต่ละบุคคลมากขึ้น รวมถึงการปรับกลยุทธ์การส่งเสริมการขายให้มีประสิทธิภาพเพิ่มสูงขึ้น โดยจัดกิจกรรมการตลาดในสาขาต่างๆ ทั้ง กรุงเทพและต่างจังหวัดมากขึ้น เพื่อเป็นการส่งเสริมการตลาดในพื้นที่ ซึ่งนอกจากจะช่วยเพิ่มยอดขายแล้ว ยังเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีและ สร้างความภักดีของลูกค้าต่อห้างสรรพสินค้าโรบินสันด้วย

การดำเนินธุรกิจตามกฎระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

ด้านทรัพย์สินทางปัญญา การดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ จะต้องมีการรับสินค้าจากคู่ค้าหลายราย ซึ่งสินค้าที่รับมาจำหน่ายอาจมีลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร หรือการกำหนดมาตรฐาน ของสินค้าจากหน่วยงานราชการต่างๆ ดังนั้น สินค้าที่วางจำหน่ายในห้างโรบินสัน ต้องได้รับอนุญาตให้ทำการขาย จำหน่าย หรือเผยแพร่เรียบร้อย แล้ว ซึ่งปัจจุบัน บริษัทฯ ได้กำหนดการตรวจสอบเรื่องดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของขั้นตอนการจัดซื้อ และได้ติดตามการจัดซื้อสินค้ากับคู่ค้าอย่าง

ใกล้ชิด รวมถึงการกำหนดหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบในเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา และเน้นย้ำกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้คำนึงถึงความเสี่ยงใน ด้านนี้เสมอเพื่อให้แน่ใจได้ว่าสินค้าที่รับมาเพื่อจัดจำหน่ายต่อไปนั้นเป็นไปตามกฎระเบียบและถูกต้องตามกฎหมาย ด้านผู้บริโภค พรบ. คุ้มครองผู้บริโภคและพรบ. ว่าด้วยความรับผิดชอบต่อสินค้าและบริการที่ผลิตขึ้น (Product Liability Law) พรบ. ทั้งสองฉบับนี้มี วัตถุประสงค์เพื่อกำหนดสิทธิที่พึงมีของผู้บริโภคและกำหนดหน้าที่ที่ต้องปฎิบัติของผู้ผลิตหรือผู้ให้บริการ ทั้งนี้เพื่อเป็นการเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ บริโภคเป็นสำคัญ และหลีกเลี่ยงปัญหาต่างๆ อันจะนำไปสู่ความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้บริโภค ซึ่งบริษัทฯ มีนโยบายในการดำเนิน ธุรกิจบนพื้นฐานของความถูกต้อง เป็นธรรม และสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าด้วยสินค้าที่ดีมีคุณภาพ ในราคาที่เหมาะสม พร้อมทั้ง การบริการที่เป็นเลิศ และคำนึงถึงความพึงพอใจของลูกค้าเป็นสำคัญ ซึ่งนอกจากขั้นตอนการจัดซื้อสินค้าที่มีประสิทธิภาพแล้ว บริษัทฯ ยังได้ กำหนดการบริการพื้นฐานที่ดีสำหรับลูกค้าด้วย กล่าวคือ ลูกค้าต้องได้รับสินค้าที่มีคุณภาพ และได้รับข้อมูลหรือคู่มือในการใช้สินค้านั้นๆ เป็น

อย่างดี เพื่อประโยชน์และความปลอดภัยในการใช้สินค้าด้วย นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังเปิดโอกาสให้แก่ลูกค้าในการร้องเรียน หรือสอบถามข้อมูลได้ ในกรณีที่มีข้อสงสัยในสินค้าหรือบริการที่ได้รับจากบริษัทด้วย 22


บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

ปัจจัยความเสี่ยง ด้านการประกอบธุรกิจค้าปลีก (ร่าง) กฎหมายการประกอบธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง มีวัตถุประสงค์เพื่อกำกับดูแลธุรกิจประเภทค้าปลีกค้าส่งโดยตรง ซึ่งได้มีการยกร่างกฎหมายและ แก้ไขปรับปรุงเรื่อยมา โดย (ร่าง) กฎหมายฉบับนี้มีเนื้อหาครอบคลุมถึงคำนิยามของธุรกิจค้าปลีก การกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการ ประกอบธุรกิจค้าปลีกค้าส่งบางประเภท และรวมถึงการให้ใบอนุญาตในการขยายสาขาด้วย โดยมีเจตนารมณ์เพื่อสร้างความสมดุลระหว่างธุรกิจ

ค้าปลีกรายใหญ่ (ที่จำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคจำเป็นพื้นฐานและใช้กลยุทธ์ด้านราคาเป็นสำคัญ) กับธุรกิจค้าปลีกชุมชน (ร้านโชห่วย) บริษัทฯ เห็นว่า ห้างสรรพสินค้าเป็นธุรกิจค้าปลีกที่เน้นสินค้าอุปโภคประเภทแฟชั่น มีความหลากหลายของสินค้าและแบรนด์เนมที่แตกต่างจากสินค้า อุปโภคบริโภคที่จำหน่ายในค้าปลีกรายย่อยทั่วไป รวมถึงการให้บริการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องแบบครบวงจร จึงเป็นธุรกิจค้าปลีกที่มีลักษณะเฉพาะ แตก ต่างจากธุรกิจค้าปลีกของชุมชน (ร้านโชห่วย) ดังนั้น การดำเนินการและการจัดการ ตลอดจนแผนงานการขยายสาขาของบริษัทฯ จึงมิได้ขัดกับ เจตนารมณ์ของ (ร่าง) กฎหมายดังกล่าว จึงไม่น่าที่จะได้รับผลกระทบโดยตรงจากบทบัญญัติของ (ร่าง) กฎหมายฉบับนี้ นอกจากนี้ ในเบื้องต้น ของการพิจารณา (ร่าง) กฎหมายค้าปลีกค้าส่ง ได้พิจารณาว่าธุรกิจห้างสรรพสินค้าไม่เข้าข่ายในการควบคุมการขยายสาขาเพิ่ม ทำให้บริษัทฯ มั่นใจว่าหากมีการตราและบังคับใช้กฎหมายฉบับนี้แล้วจะไม่เป็นอุปสรรคในการขออนุญาตเพื่อขยายสาขา การประกาศเรื่องแนวทางปฏิบัติในทางการค้าที่ไม่เป็นธรรมในธุรกิจการค้า มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดความหมายและคุณสมบัติของผู้ประกอบ

การค้าที่มีอำนาจเหนือตลาด เพื่อให้การประกอบกิจการค้าเป็นไปโดยเสรี และเป็นธรรม และเพื่อให้ผู้ประกอบการได้รับทราบว่าการกระทำใด หรือ คุณสมบัติอย่างไร ที่อาจที่เข้าข่ายการกระทำผิดตามพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542 อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ ได้มีนโยบาย ยึดถือ และปฏิบัติตามกฎหมายในเรื่องการปฏิบัติทางการค้าที่เป็นธรรมในการดำเนินธุรกิจมาโดยตลอด ซึ่งตลอดเวลาที่ผ่านมา บริษัทฯ และคู่ค้าเป็น พันธมิตรที่ดีต่อกัน และให้ความร่วมมือระหว่างกันมาเป็นระยะเวลายาวนาน ดังนั้น ประกาศคณะกรรมการแข่งขันทางการค้าในเรื่องดังกล่าวจึงไม่ ส่งผลกระทบใดๆ ต่อบริษัทฯ ด้านการขยายสาขา ทางด้านกฎหมายผังเมือง ซึ่งเป็นกฎหมายที่ส่งผลโดยตรงต่อการพัฒนาอาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ รวมถึงการก่อสร้าง การขยายสาขาของธุรกิจ

ค้าปลีกบางประเภท อาทิ ร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ที่จำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภค ซึ่งภาครัฐได้มีการนำเอากฎหมายฉบับนี้มาใช้เป็นเครื่องมือในการ ควบคุมการขยายสาขาของห้างค้าปลีกสมัยใหม่ ในขณะที่กระบวนการตรากฎหมายค้าปลีกค้าส่งยังไม่เสร็จสิ้น ซึ่งแม้ว่าเนื้อหาของกฎหมาย ผังเมืองจะไม่มีผลกระทบโดยตรงต่อการขยายสาขาของห้างสรรพสินค้า แต่กฎหมายฉบับนี้อาจส่งผลกระทบทางอ้อมได้ เนื่องจากการพัฒนา ศู น ย์ การค้ า ใหม่ อาจทำได้ ย ากขึ้ น และการขยายพื้ น ที่ ค้ า ปลี ก มี การชะลอตั ว ลง ทั้ ง นี้ ศู น ย์ การค้ า เป็ น ทำเลที่ ส ำคั ญ ในการขยายสาขาของ

ห้างสรรพสินค้า เพราะเป็นแหล่งรวมการค้าและบริการที่ครบครัน (Commercial Point)

การพึ่งพิงการจัดซื้อสินค้าจากซัพพลายเออร์

บริษัทฯ มีการกระจายการสั่งซื้อสินค้าจากซัพพลายเออร์จำนวนกว่า 2,000 ราย เพื่อให้สินค้ามีความหลากหลาย แตกต่าง สอดคล้องกับแผน กลยุทธ์ของบริษัทฯ รวมทั้งเพื่อลดการพึ่งพิงการจัดซื้อสินค้าจากซัพพลายเออร์รายใดรายหนึ่งเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ ยังคงมีการ สั่งซื้อสินค้าจากซัพพลายเออร์รายใหญ่ที่สุดคิดเป็น ร้อยละ 13.76 ของยอดขายในปี 2551 ซึ่งเป็นซัพพลายเออร์ที่มีสินค้าแบรนด์เนมที่เป็นที่นิยม ของลูกค้าจำนวนมาก โดยบริษัทฯ เป็นพันธมิตรที่สำคัญในการกระจายสินค้าให้แก่ซัพพลายเออร์ดังกล่าวทั้งในเขตกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด โดย มีความร่วมมือระหว่างกันในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาดอย่างต่อเนื่อง การบริหารสินค้าและการกระจายสินค้า (Supply Chain Management) เพื่อให้สินค้าเพียงพอและลดปริมาณสินค้าที่เกินความจำเป็น

สินค้าล้าสมัย

ด้วยธุรกิจที่เน้นการจำหน่ายสินค้าที่เป็นแฟชั่น และนำเสนอสินค้าที่มีรูปแบบที่ทันสมัยอยู่เสมอ ดังนั้น เมื่อกระแสความนิยมของผู้บริโภคเกิดการ เปลี่ยนแปลงไป อาจทำให้เกิดความเสี่ยงที่สินค้าจะล้าสมัยและไม่สามารถจำหน่ายออกไปได้ ในด้านการบริหารสินค้า ปัจจุบัน บริษัทฯ ได้จัดให้มี การบริหารจัดการที่ดีในระบบ Supply Chain รวมถึงการควบคุมและติดตามการเคลื่อนไหวของสินค้าคงคลังอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้สามารถบริหาร จัดการสินค้าคงคลังและสินค้าที่วางจำหน่ายในเคานเตอร์หน้าร้านให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม อีกทั้งบริษัทฯ มีนโยบายทางบัญชีในการตั้งสำรองการ 23


บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

ปัจจัยความเสี่ยง ด้อยค่าของสินค้าคงเหลือประเภทสินค้าซื้อขาด (Credit Stock) ซึ่งมีประมาณร้อยละ 25 ของต้นทุนค่าสินค้าอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้ สินค้าส่วน ใหญ่ของบริษัทประมาณร้อยละ 75 ของต้นทุนค่าสินค้าจัดอยู่ในประเภทสินค้าฝากขาย (Consignment Stock) ซึ่งจะไม่มีการสั่งซื้อสินค้าเพื่อ ทำการสต็อกสินค้าเอาไว้บริษัทฯ จึงมีความคล่องตัวสูงในการบริหารสินค้าคงเหลือ ดังนั้น ปัจจัยเสี่ยงเรื่องสินค้าล้าสมัยจึงไม่ส่งผลกระทบต่อการ ดำเนินงานของบริษัทฯ อย่างมีนัยสำคัญ

การพึ่งพิงการเช่าที่ดินและอาคารเพื่อประกอบการ

บริษัทฯ เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินและอาคารจำนวน 2 สาขา และบริษัทฯ มีการทำสัญญาเช่า เช่าช่วง และรับโอนสิทธิการเช่าที่ดินและอาคาร จากเจ้าของกรรมสิทธิ์เพื่อใช้เป็นสถานที่ประกอบการห้างสรรพสินค้า จำนวน 18 สาขา การทำสัญญาเช่าดังกล่าวเกิดจากความจำเป็นในการเลือก ทำเลที่ตั้งที่มีศักยภาพสูงในการดำเนินกิจการห้างสรรพสินค้าซึ่งเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินและ/หรืออาคารเหล่านี้มักจะไม่นิยมขายทรัพย์สิน

ดังกล่าว แต่จะใช้วิธีการนำออกให้เช่าแทน และในบางกรณีต้นทุนการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินและอาคารก็มักจะมีต้นทุนสูงจนไม่คุ้มค่าต่อการ ลงทุนเมื่อเทียบกับการเช่า ปัจจุบันสัญญาเช่าดังกล่าวมีอายุสัญญาคงเหลือระหว่าง 3 ปี ถึง 24 ปี และสัญญาส่วนหนึ่งได้กำหนดเงื่อนไขการต่อ อายุสัญญาไว้ล่วงหน้า ประกอบกับที่ผ่านมานั้นคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายต่างได้ปฏิบัติต่อกันตามสัญญา บริษัทฯ จึงคาดว่าจะสามารถเจรจาตกลงต่ออายุ สัญญาต่อไปในอนาคตได้ ในกรณีที่บริษัทฯ เป็นผู้เช่าอาคารทำให้ต้องพึ่งพิงการบริหารจัดการของเจ้าของศูนย์การค้า ดังนั้น บริษัทฯ อาจมีความเสี่ยงจากความเสื่อมโทรม และความเสียหายของอาคารศูนย์การค้าและสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ เนื่องจากขาดการดูแลและบำรุงรักษาอาคารศูนย์การค้าอย่างเหมาะสม อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ ได้มีการประสานงานและติดตามการบำรุงรักษาสภาพอาคารของผู้บริหารศูนย์การค้าอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้มั่นใจว่าอาคาร ศูนย์การค้านั้นมีสภาพที่ปลอดภัยและเหมาะสมในการประกอบธุรกิจของบริษัทฯ

อุบัติภัยและภัยธรรมชาติ

ความเสี่ยงจากการเกิดอุบัติภัยและภัยธรรมชาติต่างๆ อาทิ ไฟไหม้ น้ำท่วม เป็นต้น อาจส่งผลเสียหายต่อทรัพย์สินและบุคคลากรของบริษัทฯ และ ทำให้การดำเนินงานของบริษัทต้องหยุดชะงักลงได้ อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ ได้ดำเนินการจัดทำประกันภัยเพื่อคุ้มครองความเสียหายที่อาจขึ้น ครอบคลุมทรัพย์สินทั้งหมดที่บริษัทฯ เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์และทรัพย์สินที่อยู่ภายใต้การควบคุมของบริษัทฯ รวมถึงการประกันความเสียหายที่ อาจขึ้นกับบุคคลที่สาม ทั้งนี้ บริษัทฯ ยังได้จัดทำประกันภัยธุรกิจหยุดชะงัก (Business Interruption) ในกรณีที่สาขาใดสาขาหนึ่งของโรบินสันไม่ สามารถประกอบการได้เป็นการชั่วคราวเพื่อเป็นการบรรเทาการสูญเสียรายได้ของบริษัทฯ อีกด้วย

สภาพคล่องทางการเงิน

หลังเหตุการณ์วิกฤติการณ์ทางการเงินที่ส่งผลกระทบไปทั่วโลก ทำให้สถาบันการเงินต่าง เพิ่มความระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น สำหรับ ในปีที่ผ่านมา บริษัทฯ ไม่มีโครงการลงทุนขนาดใหญ่ แต่ในปี 2552 บริษัทฯ มีแผนการขยายสาขาเพิ่มขึ้นอีก 2 สาขา รวมถึงการปรับปรุงสาขา เดิมให้มีภาพลักษณ์ที่ทันสมัย ซึ่งปัจจุบันบริษัทฯ มีเงินสดจากการดำเนินงานที่สามารถรองรับแผนลงทุนของบริษัทฯ ได้อย่างเพียงพอ รวมถึง บริษัทฯ มีศักยภาพในการจัดหาเงินทุนจากภายนอกอีกด้วย ณ 31 ธันวาคม 2551 บริษัทฯ และบริษัทย่อยมีสินทรัพย์หมุนเวียนจำนวน 3,708 ล้านบาท และมีหนี้สินหมุนเวียน 3,352 ล้านบาท คิดเป็น อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน 1.11 เท่า บริษัทฯ ไม่มีภาระหนี้ทางการเงินแต่อย่างใด หนี้สินหมุนเวียนของบริษัทฯ ส่วนใหญ่อยู่ในรูปของเจ้าหนี้

การค้าซึ่งเป็นลักษณะทั่วไปของธุรกิจค้าปลีกประเภทห้างสรรพสินค้า ทั้งนี้ รอบระยะเวลาเฉลี่ยในการขายสินค้าสั้นกว่ารอบระยะเวลาเฉลี่ยในการ ชำระหนี้ เนื่องจากกว่าร้อยละ 75 เป็นเจ้าหนี้การค้าที่มีเงื่อนไขการจ่ายชำระเงินเมื่อสินค้าได้ถูกขายแล้วเท่านั้น ในขณะที่สินค้าคงคลังที่ปรากฏใน งบดุลเป็นสินค้าที่มีเงื่อนไขการซื้อขาดเท่านั้น ดังนั้น ภาระหนี้สินหมุนเวียนที่มีอยู่จึงไม่กระทบต่อสภาพคล่องปกติของบริษัทฯ แต่อย่างใด

24


บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

ผู้ถือหุ้นและนโยบายการจ่ายปันผล หลักทรัพย์ของบริษัท

หุ้นสามัญ - ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 บริษัทฯ มีทุนจดทะเบียน 3,942,847,022.15 บาท เรียกชำระเต็มมูลค่าแล้ว เป็นหุ้นสามัญจำนวน 1,110,661,133 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 3.55 บาท

ผู้ถือหุ้นสามัญ รายชื่อผู้ถือหุ้นที่ถือหุ้นสูงสุด 10 อันดับแรก ณ วันที่ 5 มกราคม 2552 ลำดับ

รายชื่อผู้ถือหุ้น

1 บริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด 2 บริษัท ซี.อาร์.จี. บริการ จำกัด 3 GOLDMAN SACHS & CO 4 THAILAND SECURITIES DEPOSITORY CO., LTD FOR DEPOSITOR 5 HSBC (SINGAPORE) NOMINEES PTE LTD 6 CREDIT SUISSE SINGAPORE BRANCH 7 STATE STREET BANK AND TRUST COMPANY 8 STATE STREET BANK AND TRUST COMPANY FOR AUSTRALIA 9 CHASE NOMINEES LIMITED 42 10 VIELLA ASSETS LTD. ผู้ถือหุ้นสัญชาติไทย ผูถ้ ือหุ้นสัญชาติต่างด้าว ยอดรวม

จำนวนหุ้น

ร้อยละ

308,162,660 289,645,488 145,532,953 67,786,904 56,250,690 51,992,765 25,706,255 16,250,800 15,265,100 14,578,677

27.75 26.08 13.10 6.10 5.07 4.68 2.32 1.46 1.37 1.31

662,474,809 448,186,324 1,110,661,133

59.65 40.35 100.00

กลุ่มผู้ถือหุ้นรายใหญ่ (Ultimate Shareholders) ของบริษัท ได้แก่ กลุ่มเซ็นทรัลรีเทล (กลุ่มตระกูลจิราธิวัฒน์) ซึ่งประกอบด้วย บริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด และบริษัท ซี.อาร์.จี.บริการ จำกัด โดยร่วมกันถือหุ้นในบริษัทจำนวนรวมร้อยละ 53.83 ของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้ว ทั้งหมดของบริษัท นโยบายการจ่ายปันผล เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2549 ที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 1/2549 ได้มีมติเห็นชอบให้บริษัทฯ กำหนดนโยบายการจ่ายเงินปันผลในอนาคตใน สถานการณ์ปกติที่อัตราประมาณร้อยละ 40 ของกำไรสุทธิจากการดำเนินงานปกติ (หลังภาษีเงินได้)

25


บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

ผู้ถือหุ้นและนโยบายการจ่ายปันผล การจ่ายเงินปันผลของบริษัทฯ ในช่วงที่ผ่านมา ปี

กำไรสุทธิจากการดำเนินงานปกติ ตามงบการเงินรวม (ล้านบาท)

เงินปันผลต่อหุ้น (บาท)

อัตราการจ่ายเงินปันผล ต่อกำไรสุทธิ

2549 2550 2551

719 864 1,020

0.32 0.40 0.40

49.4% 51.4% 43.3%

จากการประชุมคณะกรรมการบริษัทครั้งที่ 1/2552 เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2552 ที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้กำหนดการจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้น ในอัตราหุ้นละ 0.40 บาท ซึ่งเท่ากับในปี 2550 หรือคิดเป็นอัตราการจ่ายเงินปันผลในอัตราร้อยละ 43.3 (ซึ่งสูงกว่าอัตราที่นโยบายกำหนด) โดยจะ ได้นำเสนอต่อที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2552 ในวันที่ 23 เมษายน 2552

โครงการซื้อหุ้นของบริษัทคืน

เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2551 ที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2551 ได้มีมติอนุมัติการแก้ไขข้อบังคับบริษัท เกี่ยวกับการซื้อหุ้นของบริษัทคืน ซึ่ง ต่อมาที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทได้มีมติให้เข้าทำโครงการซื้อหุ้นคืนเพื่อบริหารการเงิน เนื่องจากบริษัทฯ มีกระแสเงินสดคงเหลือเพียงพอและ ไม่มีหนี้สินที่เกิดจากการกู้ยืมจากสถาบันการเงินที่ถึงกำหนดชำระภายในหกเดือนแต่อย่างใด นอกจากนี้ การซื้อหุ้นคืนยังเป็นเครื่องมือของ

ผู้บริหารที่จะสะท้อนมูลค่าหุ้นที่เหมาะสมอีกด้วย โดยบริษัทฯ ได้กำหนดวงเงินสูงสุดสำหรับโครงการนี้เท่ากับ 536 ล้านบาท หรือจำนวนหุ้นที่ซื้อ คืนไม่เกินร้อยละ 10 ของหุ้นจำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทฯ และกำหนดราคาหุ้นที่จะซื้อคืนไม่เกินกว่าร้อยละ 115 ของราคาปิดเฉลี่ย 5 วัน ทำการซื้อขายก่อนหน้าวันที่ทำรายการซื้อคืน โดยเริ่มต้นโครงการตั้งแต่วันที่ 24 พฤศจิกายน 2551 ถึงวันที่ 22 พฤษภาคม 2552 ทั้งนี้ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 บริษัทฯ สามารถซื้อหุ้นของบริษัทคืน รวมทั้งสิ้น 2,185,200 หุ้น หรือร้อยละ 0.20 ของหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด และคิด เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 12.8 ล้านบาท

26


บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

การจัดการ โครงสร้างผังองค์กร คณะกรรมการบริษัท คณะกรรมการ ตรวจสอบ

คณะกรรมการสรรหา และกำหนดค่าตอบแทน

หน่วยงาน ตรวจสอบภายใน

คณะทำงานบริหาร ความเสี่ยง

คณะทำงาน บรรษัทภิบาล

สายการตลาด

สายการเงิน

สายงานด้านการวิเคราะห์ และพัฒนาธุรกิจ

ผู้ช่วยกรรมการ ผจก. ใหญ่

ผู้ช่วยกรรมการ ผจก. ใหญ่

ผู้ช่วยกรรมการ ผจก. ใหญ่

คณะกรรมการบริหาร

กรรมการผู้จัดการใหญ่

สายบริหารสินค้า

สายปฏิบัติการ

ผู้ช่วยกรรมการ ผจก. ใหญ่อาวุโส

ผู้ช่วยกรรมการ ผจก. ใหญ่อาวุโส

ผู้ช่วยกรรมการ ผจก. ใหญ่

ผู้ช่วยกรรมการ ผจก. ใหญ่

27


บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

การจัดการ โครงสร้างการจัดการ บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด(มหาชน) มีคณะกรรมการบริษัทซึ่งทำหน้าที่กำกับดูแลกิจการของบริษัทฯ และมีคณะกรรมการรวมถึงคณะ ทำงานดูแลเฉพาะเรื่องอีก 5 คณะ อันได้แก่ คณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการบริหาร คณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน คณะ ทำงานบริหารความเสี่ยง และคณะทำงานบรรษัทภิบาล ดังมีรายละเอียดต่อไปนี้ คณะกรรมการบริษัท คณะกรรมการบริษัทประกอบด้วยกรรมการทั้งสิ้น 11 ท่าน ได้แก่ 1. นายสุทธิศักดิ์ จิราธิวัฒน์ ประธานกรรมการ 2. นายสุทธิธรรม จิราธิวัฒน์ รองประธานกรรมการ 3. นายสมชัย อภิวัฒนพร กรรมการและกรรมการอิสระ 4. นายพิบูล ภัทโรดม กรรมการและกรรมการอิสระ 5. นายวิทยา ชวนะนันท์ กรรมการและกรรมการอิสระ 6. นายจรัล* มงคลจันทร์ กรรมการและกรรมการอิสระ 7. นายปริญญ์ จิราธิวัฒน์ กรรมการ 8. นายทศ จิราธิวัฒน์ กรรมการ 9. นายปรีชา เอกคุณากูล กรรมการและกรรมการผู้จัดการใหญ่ 10. นายปิยะ งุ่ยอัครมหาวงศ์ กรรมการ 11. นายปัณฑิต มงคลกุล กรรมการ หมายเหตุ *ที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 1/2551 ได้มีมติแต่งตั้งกรรมการบริษัทฯเพิ่มอีก 1 ตำแหน่งคือ นายจรัล มงคลจันทร์ ดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัท และกรรมการอิสระ เมื่อวันที่ 25 เม.ย. 51 เลขานุการคณะกรรมการบริษัท ได้แก่ นายปริวัต โสภาษิต ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่สายการเงิน กรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพันบริษัทฯ ประกอบด้วยนายสุทธิศักดิ์ จิราธิวัฒน์ หรือ นายสุทธิธรรม จิราธิวัฒน์ หรือ นายปริญญ์ จิราธิวัฒน์ หรือ นายทศ จิราธิวัฒน์ หรือ นายปรีชา เอกคุณากูล หรือ นายปิยะ งุ่ยอัครมหาวงศ์ หรือ นายปัณฑิต มงคลกุล สองในเจ็ดคนนี้ ลงลายมือชื่อ ร่วมกันและประทับตราสำคัญของบริษัทฯ คณะกรรมการบริษัทมีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบในการพิจารณาอนุมัติในเรื่องดังต่อไปนี้ 1 การพิจารณาอนุมัตินโยบาย แผนธุรกิจ และการอนุมัติงบประมาณประจำปีของบริษัทฯ 2 การพิจารณาอนุมัติการทำธุรกรรมใดๆของบริษัทฯและบริษัทย่อย อันมีผลกระทบที่สำคัญต่อฐานะทางการเงิน ภาระหนี้สิน และโครงสร้าง

เงินทุนของบริษัทฯ 3 การพิจารณาอนุมัติการลงทุนในโครงการที่มีมูลค่าสูงกว่า 200 ล้านบาท 4 การทำสัญญาเช่าหรือสัญญาบริการที่เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ของบริษัทฯ และบริษัทย่อยที่มีสาระสำคัญ 5 การจำหน่าย การโอน และการทำลายทรัพย์สินถาวรของบริษัทฯ และบริษัทย่อยที่มีสาระสำคัญ 6 การพิ จารณาอนุ มั ติ ห รื อ การให้ ความเห็ น ชอบในการทำรายการที่ เ กี่ ย วโยงกั น และรายการที่ อาจมี ความขั ด แย้ ง ทางผลประโยชน์

ระหว่างบริษัทฯ หรือบริษัทย่อย กับบุคคลที่เกี่ยวโยงกัน โดยให้เป็นไปตามกฎระเบียบข้อบังคับของสำนักงานกำกับหลักทรัพย์และ

ตลาดหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 7 พิจารณาอนุมัติหรือให้ความเห็นชอบต่อรายการที่มีสาระสำคัญ รายการได้มาและจำหน่ายไปซึ่งทรัพย์สิน โดยให้เป็นไปตามกฎระเบียบ

ข้อบังคับของสำนักงานกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 8 การแต่งตั้งและกำหนดอำนาจหน้าที่ ของคณะกรรมการชุดย่อย 9 การเสนอแต่งตั้งกรรมการ และการพิจารณาอนุมัติแต่งตั้งกรรมการผู้จัดการใหญ่

28


บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

การจัดการ เลขานุการบริษัท

คณะกรรมการบริษัทแต่งตั้ง นายปริวัต โสภาษิต ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่สายการเงิน ดำรงตำแหน่งเลขานุการบริษัท เพื่อทำหน้าที่ดูแลและ จัดการ การประชุมของคณะกรรมการบริษัท คณะกรรมการชุดย่อย และการจัดประชุมผู้ถือหุ้น รวมถึงการจัดเก็บเอกสารที่เกี่ยวข้อง และสนับสนุน การดำเนินการอื่นๆให้เป็นไปตามมาตรฐานการกำกับดูแลกิจการที่ดี

คณะกรรมการตรวจสอบ

คณะกรรมการตรวจสอบประกอบด้วยบุคคลผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นกรรมการอิสระและมีคุณสมบัติครบถ้วนตามแนวทางที่ตลาดหลักทรัพย์แห่ง

ประเทศไทยและสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์กำหนด ทั้งสิ้น 3 ท่าน ได้แก่ 1 นายสมชัย อภิวัฒนพร ประธานกรรมการตรวจสอบ 2 นายพิบูล ภัทโรดม กรรมการตรวจสอบ 3 นายวิทยา ชวนะนันท์ กรรมการตรวจสอบ เลขานุการคณะกรรมการตรวจสอบ ได้แก่ นางสาวจันทนา ศรีวิริยะเลิศกุล หัวหน้าทีมตรวจสอบภายใน ขอบเขตอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบ 1 สอบทานให้บริษัทมีการรายงานทางการเงินอย่างถูกต้องและเพียงพอ 2 สอบทานให้บริษัทมีระบบการควบคุมภายใน (Internal control) และการตรวจสอบภายใน (Internal Audit) ที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ 3 สอบทานให้บริษัทปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ หรือกฎหมายอื่นใดที่

เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท 4 พิจารณา คัดเลือก เสนอแต่งตั้ง และเสนอค่าตอบแทนผู้ตรวจสอบบัญชีของบริษัท 5 พิจารณาการเปิดเผยข้อมูลของบริษัทในกรณีที่เกิดรายการเกี่ยวโยงกัน หรือรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ให้มีความถูกต้อง

และครบถ้วน 6 จัดทำรายงานการกำกับดูแลกิจการของคณะกรรมการตรวจสอบ ลงนามโดยประธานคณะกรรมการตรวจสอบ และเปิดเผยไว้ในรายงาน

ประจำปีของบริษัท 7 ปฏิบัติงานอื่นใดตามที่คณะกรรมการของบริษัทมอบหมาย ด้วยความเห็นชอบจากคณะกรรมการตรวจสอบ

คณะกรรมการบริหาร

คณะกรรมการบริหารซึ่งแต่งตั้งโดยคณะกรรมการบริษัท ประกอบด้วยกรรมการทั้งสิ้น 5 ท่าน ได้แก่ 1 นายสุทธิศักดิ์ จิราธิวัฒน์ ประธานกรรมการบริหาร 2 นายสุทธิธรรม จิราธิวัฒน์ กรรมการบริหาร 3 นายปริญญ์ จิราธิวัฒน์ กรรมการบริหาร 4 นายทศ จิราธิวัฒน์ กรรมการบริหาร 5 นายปรีชา เอกคุณากูล กรรมการบริหาร ขอบเขตอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการบริหาร 1 การมอบอำนาจกระทำแทนบริษัทและกำหนดขอบอำนาจให้กรรมการผู้จัดการใหญ่เพื่อการบริหารงานประจำ 2 พิจารณาและนำเสนอนโยบาย แผนธุรกิจ และงบประมาณประจำปี ตามที่ฝ่ายจัดการเสนอก่อนที่จะนำเสนอให้คณะกรรมการบริษัท

พิจารณาอนุมัติ 3 การอนุมัติเงินลงทุนในทรัพย์สินในวงเงินไม่เกิน 200 ล้านบาทต่อครั้ง ทั้งนี้ ให้คณะกรรมการผู้บริหารจัดทำรายงานแจ้งรายละเอียด

การลงทุนให้คณะกรรมการบริษัททราบเป็นรายไตรมาส 29


บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

การจัดการ 4 การจำหน่ายจ่ายโอนทรัพย์สินถาวรของบริษัทฯ ที่มีมูลค่าไม่เกินกว่า 100 ล้านบาทต่อรายการ 5 การพิจารณาอนุมัติรายการที่เกี่ยวกับธนาคาร และสถาบันการเงินอันเป็นการประกอบธุรกิจทางการค้าปกติของบริษัท

คณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน

คณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน ซึ่งแต่งตั้งโดยคณะกรรมการบริษัท ประกอบด้วยกรรมการ 4 ท่าน ได้แก่ 1 นายสมชัย อภิวัฒนพร ประธานกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน 2 นายวิทยา ชวนะนันท์ กรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน 3 นายสุทธิธรรม จิราธิวัฒน์ กรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน 4 นายทศ จิราธิวัฒน์ ที่ปรึกษาคณะกรรมการฯ ขอบเขตอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน การสรรหา 1 กำหนดหลักเกณฑ์และนโยบายในการสรรหา กรรมการบริษัท และกรรมการชุดย่อย โดยพิจารณาความเหมาะสมของจำนวนโครงสร้าง

และองค์ประกอบของคณะกรรมการ กำหนดคุณสมบัติของกรรมการ เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการบริษัทและหรือเสนอขออนุมัติต่อ

ที่ประชุมผู้ถือหุ้นแล้วแต่กรณี 2 พิจารณาสรรหา คัดเลือก และเสนอบุคคลที่เหมาะสม ให้ดำรงตำแหน่ง กรรมการบริษัท ที่หมดวาระและหรือมีตำแหน่งว่างลง รวมถึง

กรรมการผู้จัดการใหญ่ที่จะแต่งตั้งใหม่ การกำหนดค่าตอบแทน 1 พิจารณาแนวทางในการกำหนดค่าตอบแทนของคณะกรรมการบริษัท และคณะกรรมการชุดย่อย เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการบริษัทและหรือ

เสนอขออนุมัติต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นแล้วแต่กรณี 2 กำหนดวิธีการและหลักเกณฑ์การกำหนดค่าตอบแทนที่เหมาะสมทั้งที่เป็นตัวเงินและมิใช่ตัวเงินของคณะกรรมการบริษัท เพื่อเสนอให้

คณะกรรมการบริษัทพิจารณาเห็นชอบและนำเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่ออนุมัติ

คณะทำงานบริหารความเสี่ยง

คณะทำงานบริหารความเสี่ยง ซึ่งแต่งตั้งโดยคณะกรรมการบริษัท ประกอบด้วย 1 นายวิทยา ชวนะนันท์ ประธานคณะทำงาน 2 นายปรีชา เอกคุณากูล คณะทำงาน 3 นายจรัล* มงคลจันทร์ คณะทำงาน 4 นายปริวัต โสภาษิต คณะทำงาน 5 นางรัตนา อนุนตการุณ คณะทำงาน 6 นายอนันต์ ตันติปัญญาคุณ คณะทำงาน ที่ปรึกษาคณะทำงานบริหารความเสี่ยง ได้แก่ นางสาวจันทนา ศรีวิริยะเลิศกุล เลขานุการคณะกรรมการตรวจสอบ และหัวหน้าทีมตรวจสอบ ภายใน เลขานุการคณะทำงานบริหารความเสี่ยง ได้แก่ นางสาววาสนา สามงามน้อย หมายเหตุ *ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทครั้งที่ 3/2551 ได้มีมติแต่งตั้งคณะทำงานบริหารความเสี่ยงเพิ่มอีก 1 ตำแหน่งคือ นายจรัล มงคลจันทร์ เมื่อวันที่ 8 ส.ค. 51 30


บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

การจัดการ ขอบเขตอำนาจหน้าที่ของคณะทำงานบริหารความเสี่ยง 1 นำเสนอและให้การสนับสนุนคณะกรรมการบริษัท ในการกำหนดนโยบายการบริหารความเสี่ยง และระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ 2 กำหนดกรอบการบริหารความเสี่ยงของบริษัท ให้สอดคล้องกับนโยบายการบริหารความเสี่ยง เพื่อนำเสนอคณะกรรมการบริษัทอนุมัต ิ และติดตามการนำไปปฏิบัติ รวมทั้งการสอบทานประสิทธิผลของกรอบการบริหารความเสี่ยง 3 นำเสนอภาพรวมความเสี่ยงของบริษัท วิธีการจัดการ และผลการติดตามความเสี่ยงต่อคณะกรรมการบริษัท 4 สอบทานรายงานการบริหารความเสี่ยง และดำเนินการเพื่อให้มั่นใจได้ว่าการจัดการความเสี่ยงมีความเพียงพอและเหมาะสม สามารถ

จัดการความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ และการบริหารความเสี่ยงได้ถูกนำไปปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง 5 ประสานงานร่วมกับคณะกรรมการตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอโดยการแลกเปลี่ยนความรู้ และข้อมูลเกี่ยวกับความเสี่ยง และการควบคุม

ภายในที่มีผลกระทบ หรืออาจมีผลกระทบต่อบริษัท 6 ดำเนินการตัดสินใจ และให้คำแนะนำเกี่ยวกับปัญหาสำคัญที่เกิดขึ้น ในกระบวนการบริหารความเสี่ยง 7 สนับสนุนให้เกิดมีวัฒนธรรมการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายในที่เหมาะสม

คณะทำงานบรรษัทภิบาล

คณะทำงานบรรษัทภิบาล ซึ่งแต่งตั้งโดยคณะกรรมการบริษัท ประกอบด้วย 1 นายพิบูล ภัทโรดม ประธานคณะทำงาน 2 นายปิยะ งุ่ยอัครมหาวงศ์ คณะทำงาน 3 นายปริวัต โสภาษิต คณะทำงาน ขอบเขตอำนาจหน้าที่ของคณะทำงานบรรษัทภิบาล 1 พิจารณากำหนดนโยบาย ทบทวนความเหมาะสมและความเพียงพอของนโยบาย รวมถึงแนวปฏิบัติด้านบรรษัทภิบาล จริยธรรมทางธุรกิจ

ของบริษัท และความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility) 2 ประชุมรายไตรมาสเพื่อติดตามความคืบหน้าของแผนงานบรรษัทภิบาล รวมถึงการปฏิบัติตามนโยบายบรรษัทภิบาลของกรรมการ

ฝ่ายจัดการ และพนักงานบริษัท เพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทได้มีหลักการที่ดีในการกำกับดูแล การบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ โปร่งใส

และตรวจสอบได้ 3 ตรวจประเมินภายในด้วยเกณฑ์บรรษัทภิบาลเพื่อกำหนดประเด็นที่ต้องปรับปรุง และรายงานต่อคณะกรรมการบริษัท

คณะผู้บริหาร

คณะผู้บริหารมีจำนวน 8 ท่าน ประกอบด้วย 1 นายปรีชา เอกคุณากูล กรรมการผู้จัดการใหญ่ 2 นางนาถยา จิราธิวัฒน์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส สายบริหารสินค้า 3 มร.เจอร์ลาร์ด แมคเกริก ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส สายปฎิบัติการ 4 นายปริวัต โสภาษิต ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายการเงิน 5 นางรัตนา อนุนตการุณ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายบริหารสินค้า 6 นายสุกิตติ กิตติภัสสร ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ด้านการวิเคราะห์และพัฒนาธุรกิจ 7 นายอนันต์ ตันติปัญญาคุณ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายปฏิบัติการด้านระบบงานและบริหาร 8 นางสาวสิรินิจ โชคชัยฤทธิ์กุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายการตลาด ขอบเขตอำนาจหน้าที่ของกรรมการผู้จัดการใหญ่ 1 จัดทำนโยบาย แผนธุรกิจ และงบประมาณประจำปีเพื่อนำเสนอคณะกรรมการบริหารพิจารณาและนำเสนอคณะกรรมการบริษัทเพื่อ

พิจารณาอนุมัติต่อไป 31


บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

การจัดการ 2 3 4 5 6

ดำเนินกิจการตามนโยบาย และแผนธุรกิจตามที่คณะกรรมการบริษัทฯได้มอบหมาย การอนุมัติเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายตามงบประมาณ และการพิจารณาอนุมัติเงินลงทุนในทรัพย์สินในวงเงินไม่เกิน 5 ล้านบาทต่อครั้ง การพิจารณาและอนุมัติการทำสัญญาเช่าและหรือสัญญาบริการสังหาริมทรัพย์ที่เป็นการประกอบธุรกิจทางการค้าปกติของบริษัท การพิจารณาและอนุมัติการทำสัญญาเช่าและหรือสัญญาบริการอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นการประกอบธุรกิจทางการค้าปกติของบริษัท

โดยมูลค่าของสัญญาไม่เกินกว่า 50 ล้านบาท และมีอายุสัญญาไม่เกิน 3 ปี การพิจารณาและอนุมัตินโยบายการบริหารสินค้า การกำหนดนโยบายทางการค้า การตลาด การขาย และการบริหารทรัพย์สินทั่วไป

การสรรหากรรมการและผู้บริหารของบริษัท

วิธีการสรรหากรรมการบริษัทฯ คณะกรรมการบริษัทได้มอบหมายให้คณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทนมีหน้าที่ความรับผิดชอบในการพิจารณาสรรหา คัดเลือก บุคคลที่ มีคุณสมบัติที่เหมาะสมตามข้อบังคับบริษัท โดยผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริษัทในการนำเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นพิจารณาแต่งตั้งผู้ที่ มาดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัท การแต่งตั้งกรรมการบริษัทฯ เป็นไปตามที่ระบุในข้อบังคับบริษัท ดังนี้ - กรรมการของบริษัทไม่จำเป็นต้องมาจากผู้ถือหุ้นของบริษัท บุคคลภายนอกซึ่งยินยอมเป็นกรรมการบริษัท และได้รับการแต่งตั้งจากที่

ประชุมใหญ่แล้ว ย่อมสามารถเป็นกรรมการของบริษัทได้ - คณะกรรมการของบริษัทมีจำนวนไม่น้อยกว่า 5 คน และกรรมการไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดจะต้องมีถิ่นที่อยู่ใน

ราชอาณาจักร นอกจากนี้ บริษัทยังได้กำหนดโครงสร้างคณะกรรมการบริษัทตามนโยบายการกำกับดูแลกิจการ คือ คณะกรรมการบริษัทต้องประกอบด้วย กรรมการอิสระอย่างน้อย 1 ใน 3 ของกรรมการทั้งคณะด้วย หลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้งกรรมการโดยที่ประชุมผู้ถือหุ้นเป็นดังนี้ - ในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งกรรมการ ให้ใช้เสียงข้างมาก โดยให้ถือว่า ผู้ถือหุ้นแต่ละคนมีคะแนนเสียงเท่ากับหนึ่งหุ้นต่อหนึ่งเสียง - ให้ผู้ถือหุ้นลงคะแนนเสียงทั้งหมดที่ตนมีอยู่เลือกบุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อเป็นกรรมการทีละคน - บุคคลซึ่งได้รับคะแนนเสียงสูงสุดตามลำดับลงมาเป็นผู้ได้รับการเลือกตั้งเป็นกรรมการเท่ากับจำนวนกรรมการที่จะพึงมีหรือจะพึงเลือกตั้งใน

ครั้งนั้น ในกรณีที่บุคคลซึ่งได้รับเลือกตั้งในลำดับถัดลงมามีคะแนนเสียงเท่ากันเกินจำนวนกรรมการที่จะพึงมี ให้ประธานที่ประชุมออกเสียง

ได้เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งเสียง เป็นเสียงชี้ขาด - สิทธิของผู้ถือหุ้นรายย่อยในการแต่งตั้งกรรมการ ข้อบังคับของบริษัทระบุให้ผู้ถือหุ้นแต่ละคนมีคะแนนเสียงเท่ากับหนึ่งหุ้นต่อหนึ่งเสียง

ไม่ใช้ระบบ Cumulative voting อนึ่ง บริษัทฯแจ้งต่อผู้ถือหุ้นผ่านระบบข้อมูลข่าวสารของตลาดหลักทรัพย์ฯ ในการเปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ สามารถเสนอชื่อบุคคลที่มี คุณสมบัติตามข้อบังคับบริษัท พระราชบัญญัติบริษัทมหาชน จำกัด พ.ศ.2535 และตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ต่อเลขานุการบริษัทล่วงหน้า 2 เดือน ก่อนการประชุมคณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน และคณะกรรมการบริษัท เพื่อพิจารณาการเสนอชื่อบุคคลเพื่อมาดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัท เมื่อได้รับรายชื่อบุคคลที่เหมาะสมเลขานุการบริษัทจะเป็นผู้พิจารณากลั่นกรองในเบื้องต้น ก่อนนำเสนอให้คณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่า

ตอบแทนพิจารณาคุณสมบัติของบุคคลดังกล่าว และให้ความเห็นต่อคณะกรรมการบริษัท เพื่อพิจารณาว่าควรเสนอรายชื่อบุคคลดังกล่าวเพื่อรับ การเลือกตั้งในการประชุมผู้ถือหุ้นหรือไม่ โดยถือมติของคณะกรรมการบริษัทเป็นที่สิ้นสุด และบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริษัท จะได้รับการบรรจุชื่อในวาระการเลือกตั้งกรรมการพร้อมความเห็นของคณะกรรมการบริษัท และเสนอต่อที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาอนุมัติ แต่งตั้งอีกทางหนึ่งเช่นกัน 32


บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

การจัดการ ค่าตอบแทนกรรมการและผู้บริหาร ค่าตอบแทนที่เป็นตัวเงิน

กรรมการบริษัท

ที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นได้พิจารณาอนุมัติค่าตอบแทนกรรมการทั้งคณะประจำปี 2551 จำนวนรวมไม่เกิน 5,000,000 บาท (ห้าล้านบาทถ้วน)

(ไม่นับรวมค่าตอบแทนของนายปรีชา เอกคุณากูล ในฐานะผู้บริหารบริษัทฯ อีกตำแหน่งหนึ่ง) ซึ่งเท่ากับจำนวนเดิมที่ที่ประชุมผู้ถือหุ้นครั้งที ่ 1/2550 ค่าตอบแทนกรรมการประกอบด้วยค่าตอบแทน 2 ประเภท ดังนี้ 1. ค่าตอบแทนรายไตรมาส ประเภทกรรมการ ค่าตอบแทนรายไตรมาส (บาท/ไตรมาส) กรรมการอิสระที่เป็นประธานคณะกรรมการตรวจสอบ 65,000 กรรมการอิสระที่เป็นกรรมการตรวจสอบ/กรรมการอิสระ 55,000 ประธานกรรมการบริษัท 65,000 กรรมการ (ที่ไม่ได้เป็นผู้บริหาร) 45,000 2. ค่าเบี้ยประชุม ประเภทคณะกรรมการ ประเภทกรรมการ ค่าเบี้ยประชุม (บาท/ครั้ง) คณะกรรมการบริษัท กรรมการอิสระ / กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ / กรรมการ คณะกรรมการตรวจสอบ ประธานคณะกรรมการตรวจสอบ กรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการบริหาร ประธานกรรมการ / กรรมการ (ที่ไม่ได้เป็นผู้บริหาร) คณะกรรมการและคณะทำงานเฉพาะเรื่อง กรรมการอิสระ / กรรมการ (ที่ไม่ได้เป็นผู้บริหาร) กรรมการ (ที่ไม่ได้เป็นผู้บริหาร) ที่มีตำแหน่งเป็นที่ปรึกษา

20,000 30,000 20,000 15,000 20,000

33


บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

การจัดการ ในรอบปี 2551 ค่าตอบแทนที่เป็นตัวเงินของคณะกรรมการบริษัท และคณะกรรมการตรวจสอบ แสดงในตารางต่อไปนี้ ค่าตอบแทน (บาท/ปี) รายชื่อกรรมการ ตำแหน่ง 2551 2550 1. นายสุทธิศักดิ์ จิราธิวัฒน์ 2. นายสุทธิธรรม จิราธิวัฒน์ 3. นายปริญญ์ จิราธิวัฒน์ 4. นายทศ จิราธิวัฒน์ 5. นายปรีชา เอกคุณากูล 6. นายปิยะ งุ่ยอัครมหาวงศ์ 7. นายปัณฑิต มงคลกุล 8. นายสมชัย อภิวัฒนพร 9. นายพิบูล ภัทโรดม 10. นายวิทยา ชวนะนันท์ 11. นายจรัล มงคลจันทร์

ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ ประธานกรรมการตรวจสอบและกรรมการอิสระ กรรมการตรวจสอบและกรรมการอิสระ กรรมการตรวจสอบและกรรมการอิสระ กรรมการอิสระ ค่าตอบแทนรวม

470,000.00 395,000.00 390,000.00 325,000.00 120,000.00 300,000.00 300,000.00 600,000.00 500,000.00 580,000.00 286,666.67 4,266,666.67

180,000.00 180,000.00 180,000.00 140,000.00 160,000.00 130,000.00 130,000.00 275,000.00 245,000.00 245,000.00 - 1,865,000.00

ผู้บริหารของบริษัท

ได้แก่ ผู้บริหารระดับ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส และผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ จำนวน 11 ท่าน ค่าตอบแทน ที่เป็นตัวเงินผู้บริหาร ประกอบด้วย เงินเดือน โบนัส เงินสมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และค่าตอบแทนอื่น (รถประจำตำแหน่ง) ค่าตอบแทนผู้บริหาร ค่าตอบแทนรวม (บาท/ปี) 2551 ค่าตอบแทนที่เป็นตัวเงิน ค่าตอบแทนที่ไม่เป็นตัวเงิน

48,506,981* ไม่มี

2550 47,048,771 ไม่มี

หมายเหตุ *จำนวนเงินค่าตอบแทนในปี 2551นี้ รวมค่าตอบแทนของผู้บริหารจำนวน 3 ท่านซึ่งได้ลาออกไปแล้วคือ นางสาวอภินันท์ ฉัตรพงศ์พร(ลาออกวัน ที่ 1 มิถุนายน 2551), นางสาวอุสรา ยงปิยะกุล (ลาออกวันที่ 1 กันยายน 2551 และ นางสาวลลนา เกษมสันต์ ณ อยุธยา (ลาออกวันที่ 1 พฤศจิกายน 2551)

34


บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

การจัดการ

การดูแลเรื่องการใช้ข้อมูลภายใน

บริษัทฯ ได้กำหนดกรอบหน้าที่และความรับผิดชอบของพนักงานในรูปของคำบรรยายลักษณะงาน (Job Description) ไว้อย่างชัดเจนรวมทั้งมีการ ฝึกอบรมพนักงานให้มีความรู้ความเข้าใจหน้าที่งานของตนอย่างถูกต้อง รวมทั้งระเบียบข้อบังคับของบริษัท อย่างไรก็ตาม ในการปฏิบัติหน้าที่อาจ เป็นเหตุให้พนักงานได้ล่วงรู้ข้อมูลภายในบางประการ และอาจนำไปเปิดเผยโดยไม่ได้รับอนุญาต บริษัทฯ จึงกำหนดให้เฉพาะพนักงานที่มีหน้าที่ เกี่ยวข้องเท่านั้นที่มีสิทธิรับทราบข้อมูลภายในที่สำคัญของบริษัทฯ โดยเฉพาะข้อมูลทางการเงิน โดยการนำโปรแกรมคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วย กำหนดระดับการเข้าถึงข้อมูลของพนักงานระดับต่างๆ ทั้งนี้ บริษัทฯ จะได้แจ้งข้อมูลให้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบในเวลาที่เหมาะสมเท่านั้นโดยไม่ขัด ต่อข้อบังคับของตลาดหลักทรัพย์และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ บริษัทฯ มีการจัดทำคำรับรองจากพนักงานทุกคนซึ่งครอบคลุมถึงการใช้ ข้อมูลภายใน และมีกำหนดระเบียบข้อบังคับของบริษัทว่าด้วยเรื่อง การนำความลับของบริษัทฯ ไปเปิดเผย เพื่อบังคับใช้ในกรณีที่ตรวจพบว่ามี พนักงานผู้ใดนำความลับหรือข้อมูลทางการเงินของบริษัทฯ ไปเปิดเผยโดยมิได้รับอนุญาต โดยพนักงานดังกล่าวจะถูกกรรมการสอบสวนพิจารณา ลงโทษตามระเบียบฯ อย่างเคร่งครัด อนึ่ง ในกรณีที่บริษัทฯ ได้ว่าจ้างบุคคลภายนอกดำเนินการปฏิบัติงานบางประเภท บริษัทฯ ได้กำหนดให้มีการทำข้อสัญญาส่วนของการรักษา

ความลับของข้อมูลที่อาจได้รับจากการปฏิบัติงาน และผู้รับจ้างจะต้องกำหนดให้พนักงานของตนมีหน้าที่รักษาความลับของลูกค้า และห้าม

พนักงานหรือผู้บริหารของผู้รับจ้าง ใช้ข้อมูลภายในที่ได้ล่วงรู้มาเพื่อการซื้อขายหลักทรัพย์ที่ออกโดยบริษัทฯ ไม่ว่าเพื่อประโยชน์ของตนเอง

หรือผู้อื่น

การควบคุมภายใน

บริษัทฯ มีระบบการควบคุมภายในที่เพียงพอ เหมาะสมและมีประสิทธิผล โดยบริษัทฯ มีโครงสร้างองค์กรที่ชัดเจน และมีการกำหนดขอบเขต อำนาจในการดำเนินการในงานต่างๆ วงเงินอำนาจอนุมัติ ขั้นตอนการทำงาน รวมถึงความรับผิดชอบแต่ละฝ่าย อันได้แก่ คณะกรรมการบริษัท กรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหาร และพนักงานไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งทำให้ระบบการทำงานของบริษัทฯ มีความถูกต้อง โปร่งใส ตรวจสอบได้ และสามารถป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น รวมทั้งมีการพัฒนาระบบการควบคุมภายในให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างต่อเนื่อง โดย มีฝ่ายตรวจสอบภายในที่มีความเป็นอิสระจากฝ่ายบริหารในการทำหน้าที่สอบทานทั้งการปฏิบัติงานและระบบสารสนเทศของหน่วยงานต่างๆ

ของบริษัทฯ เพื่อให้มั่นใจว่าพนักงานทุกคนในองค์กรได้มีการปฏิบัติตามระบบการควบคุมภายในที่บริษัทฯ กำหนดไว้และรายงานผลการปฏิบัติงาน โดยตรงต่อคณะกรรมการตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง โดยมีการสื่อสารและประสานงานกับฝ่ายบริหารเกี่ยวกับผลการตรวจสอบ

ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะต่างๆ และร่วมกันกำหนดแนวทางในการแก้ไขอย่างเหมาะสม และประธานคณะกรรมการตรวจสอบรายงานสรุปผลการ ตรวจสอบต่อคณะกรรมการบริษัทฯ ทราบอย่างสม่ำเสมอ ในด้านความเห็นของผู้สอบบัญชีของบริษัทฯ ในรายงานผู้สอบบัญชีปี 2551 ไม่พบข้อบกพร่องที่เป็นสาระสำคัญของระบบการควบคุมภายในด้าน บัญชีรวมถึงระบบสารสนเทศของบริษัทฯ ในด้านการบริหารความเสี่ยง บริษัทฯ ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการบริหารความเสี่ยง ดังนั้น คณะกรรมการบริษัทจึงได้พิจารณาแต่งตั้ง

คณะทำงานบริหารความเสี่ยงขึ้นเพื่อเป็นเครื่องมือหรือกลไกที่สำคัญในการช่วยงานด้านบริหารความเสี่ยงของบริษัทฯ อย่างมีประสิทธิภาพ

มีระบบการควบคุมภายในครอบคลุมความเสี่ยงอย่างเพียงพอ ซึ่งคณะทำงานฯ ได้จัดทำนโยบายการบริหารความเสี่ยงของบริษัทฯ อย่างเป็นลาย ลักษณ์อักษร และได้จัดตั้งคณะทำงานฯ ที่ประกอบด้วยฝ่ายบริหารในสายงานต่างๆ เพื่อพิจารณาปัจจัยเสี่ยงที่บริษัทเผชิญอยู่และที่อาจเกิดขึ้น

ในอนาคต

35


บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

คณะกรรมการบริษัทและคณะผู้บริหาร คณะกรรมการบริษัท ตำแหน่ง

ประธานกรรมการ/ ประธานกรรมการบริหาร (มีอำนาจลงนามผูกพันบริษัท)

คุณวุฒิทางการศึกษา

• ปริญญาตรี B.S. สาขาคณิตศาสตร์ จากสถาบันเซนต์จอห์น ฟิชเชอร์ คอลเลจ New York, U.S.A. • Director Certification Program (DCP) ปี 2550 • Director Accreditation Program (DAP) ปี 2550 จากสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย

ความสัมพันธ์ระหว่างกรรมการและผู้บริหาร • พี่ชายนายสุทธิธรรมและนางนาถยา • อานายปริญญ์ และนายทศ

นายสุทธิศักดิ์ จิราธิวัฒน์ อายุ 63 ปี

ประสบการณ์ทำงานในระยะ 5 ปีย้อนหลัง

2537 ประธานบริหารธุรกิจกลุ่มอุตสาหกรรมและค้าส่ง บริษัทในเครือเซ็นทรัล 2543 ประธาน กรรมการบริหาร บจก. เซ็นทรัลมาร์เก็ตติ้งกรุ๊ป 2544-ปัจจุบัน กรรมการบริหาร บจก. กลุ่มเซ็นทรัล 2546-ปัจจุบัน กรรมการและกรรมการบริหาร บมจ. เซ็นทรัลพัฒนา 2546-ปัจจุบัน กรรมการและ กรรมการบริหาร บมจ. โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา 2549-ปัจจุบัน ประธานกรรมการและประธาน กรรมการบริหาร บมจ.ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน

ตำแหน่ง

กรรมการ/ กรรมการอิสระ/ ประธานกรรมการตรวจสอบ/ ประธานกรรมการสรรหาและกำหนดค่า ตอบแทน

คุณวุฒิทางการศึกษา

นายสมชัย อภิวัฒนพร อายุ 58 ปี

• ปริญญาตรี บริหารธุรกิจบัณฑิต (การบัญชี) มหาวิทยาลัยรามคำแหง • ปริญญาโท ศิลปศาสตร

มหาบัณฑิต (การจัดการงานสาธารณะ) มหาวิทยาลัยรามคำแหง • ประกาศนียบัตร วิทยาลัยป้องกัน ราชอาณาจักร (วปรอ. 2546) • ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต • Director Accreditation Program (DAP)

ปี 2547 • Director Certification Program (DCP) ปี 2549 • Audit Committee Program (ACP)

ปี 2551 จากสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย • ประกาศนียบัตร (หลักสูตร วตท. 5) จาก สถาบันวิทยาการตลาดทุน

ประสบการณ์ทำงานในระยะ 5 ปีย้อนหลัง

2546-2547 ประธานกรรมการบริหารทรัพย์สิน และกรรมการ ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) 2546-2551 ประธานกรรมการ โรงงานไพ่ กรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง 2548-2551 กรรมการ องค์การสุรา กรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง 2548-ปัจจุบัน กรรมการวิชาชีพด้านการบัญชีภาษี อากร สภาวิชาชีพบัญชี 2551-ปัจจุบัน ประธานกรรมการตรวจสอบ บมจ. ซินเน็ค (ประเทศไทย) 2551-ปัจจุบัน ประธานกรรมการ บมจ. เหมืองแร่โปรแตชอาเซียน 2551-ปัจจุบัน ผู้ตรวจราชการ กระทรวงการคลัง 2549-ปัจจุบนั กรรมการอิสระและประธานกรรมการตรวจสอบ บมจ. ห้างสรรพสินค้า โรบินสัน

36


บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

คณะกรรมการบริษัทและคณะผู้บริหาร

ตำแหน่ง

กรรมการ / กรรมการอิสระ / กรรมการตรวจสอบ / ประธานคณะทำงานบรรษัทภิบาล

คุณวุฒิทางการศึกษา

• ปริญญาตรี พาณิชยศาสตร์บัณฑิต และ นิติศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ • ปริญญาโท M.S. (Accounting) University of Kansas, U.S.A. • Director Accreditation Program (DAP) ปี 2547 • Audit Committee Program (ACP) ปี 2548 จากสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย

ประสบการณ์ทำงานในระยะ 5 ปีย้อนหลัง

นายพิบูล ภัทโรดม

2542-2548 กรรมการอิสระและกรรมการตรวจสอบ บมจ. โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา 2512-ปัจจุบัน หัวหน้าสำนักงานและผู้ตรวจสอบบัญชีรับอนุญาต สำนักงานภัทรธรรม 2549-ปัจจุบัน กรรมการอิสระ และกรรมการตรวจสอบ บมจ. ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน

อายุ 75 ปี

ตำแหน่ง

กรรมการ / กรรมการอิสระ / กรรมการตรวจสอบ / ประธานคณะทำงานบริหารความเสี่ยง / กรรมการ สรรหาและกำหนดค่าตอบแทน

คุณวุฒิทางการศึกษา

• ปริญญาตรี รัฐศาสตร์ สาขาการคลัง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย • ปริญญาโท สาขาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเวบเตอร์ สหรัฐอเมริกา • Director Accreditation Program (DAP) ปี 2549 • Director Certification Program (DCP) รุ่นที่ 84 ปี 2550 จากสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย

ประสบการณ์ทำงานในระยะ 5 ปีย้อนหลัง

นายวิทยา ชวนะนันท์ อายุ 51 ปี

2522-ปัจจุบัน กรรมการ บจก. วิจิตรภัณฑ์ก่อสร้าง 2528-ปัจจุบัน กรรมการผู้จัดการ บจก. วิจิตร ภัณฑ์สวนปาล์ม 2530-ปัจจุบัน กรรมการ บจก. วิจิตรภัณฑ์ฟาร์ม 2531-ปัจจุบัน รองประธาน กรรมการ บจก. วิจิตรภัณฑ์ปาล์มออลย์ 2535-ปัจจุบัน กรรมการ บจก. วิจิตรภัณฑ์เรียลเอสเตท 2537-ปัจจุบัน กรรมการผู้จัดการ บจก. ซี.วี.เอ็น ดีเวลลอปเมนท์ 2539-ปัจจุบัน กรรมการ บจก. ชวนะนันท์โฮลดิ้ง 2541-ปัจจุบัน กรรมการ บจก. แปซิฟิคโพลีเมอร์โปรดัคส์ 2541-ปัจจุบัน กรรมการ กรรมการอิสระ และกรรมการตรวจสอบ บมจ. ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน

37


บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

คณะกรรมการบริษัทและคณะผู้บริหาร

ตำแหน่ง

กรรมการ/ กรรมการอิสระ/ คณะทำงานบริหารความเสี่ยง

คุณวุฒิทางการศึกษา

• ปริ ญ ญาตรี ศิ ล ปศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย บู ร พา • ปริ ญ ญาโท ศิ ล ปศาสตร์ พั ฒ นาเศรษฐกิ จ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ • ประกาศนียบัตร วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปรอ. รุ่นที่ 4313) • Director Certification Program (DCP) รุ่นที่ 111 ปี 2551 จากสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการ บริษัทไทย

ประสบการณ์ทำงานในระยะ 5 ปีย้อนหลัง

นายจรัล มงคลจันทร์ อายุ 60 ปี

2544-2546 ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ควบคุมดูแลสนข. นครสวรรค์ ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) 2546-2547 ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ควบคุมสายงานสาขาภูมิภาค ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) 2547-2549 ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มธุรกิจสาขากรุงเทพ 1 ธนาคาร ทหารไทย จำกัด (มหาชน) 2549-ปัจจุบัน ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานบริการส่วนกลาง ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) กรรมการ บริษัท บริจวิว จำกัด 2551-ปัจจุบัน กรรมการ และ กรรมการอิสระ บมจ. ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน

ตำแหน่ง

รองประธานกรรมการ/ กรรมการบริหาร/ กรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน (มีอำนาจลงนาม ผูกพันบริษัท)

คุณวุฒิทางการศึกษา

• ปริญญาตรี วิศวกรรมศาสตร์ สาขาไฟฟ้า University of Maryland (College Park), U.S.A. • ปริญญาโท สาขาบริหารธุรกิจ (Operations Research) Iona University, New York, U.S.A. • Director Certification Program (DCP) ปี 2546 จากสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย • หลักสูตรภาครัฐร่วมเอกชน วปรอ. รุ่น 4313

ความสัมพันธ์ระหว่างกรรมการและผู้บริหาร

นายสุทธิธรรม จิราธิวัฒน์ อายุ 61 ปี

• น้องชายนายสุทธิศักดิ์ • พี่ชายนางนาถยา • อานายปริญญ์ และนายทศ

ประสบการณ์ทำงานในระยะ 5 ปีย้อนหลัง

2545-ปัจจุบัน กรรมการบริหาร สายงานค้าปลีกและพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ บจก.กลุ่มเซ็นทรัล ,ประธานกรรมการ บจก. เอิร์ธแคร์ ,กรรมการบริหาร บจก. เดอะวินเทจคลับ, กรรมการ บจก. เซ็นทรัลโฮลดิ้ง, กรรมการบริหาร บมจ. โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา, กรรมการ บมจ. เซ็นทรัลพัฒนา, กรรมการ บมจ. ทีทีแอนด์ที 2549-2550 สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ 2549-ปัจจุบัน รองประธาน กรรมการ และกรรมการบริหาร บมจ. ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน

38


บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

คณะกรรมการบริษัทและคณะผู้บริหาร

ตำแหน่ง

กรรมการ/ กรรมการบริหาร (มีอำนาจลงนามผูกพันบริษัท)

คุณวุฒิทางการศึกษา

นายปริญญ์ จิราธิวัฒน์ อายุ 46 ปี

• ปริญญาตรี B.S. (Accounting) Skidmore College, New York U.S.A. • ปริญญาโท สาขา บริหารธุรกิจ สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย • Director Certification Program (DCP) ปี 2543 • Director Accreditation Program (DAP) ปี 2548 • Audit Committee Program (ACP) ปี 2548 • The Role of Chairman (RCM) ปี 2548 • Monitoring the System of Internal Control and Risk Management (MIR) ปี 2550 • Monitoring the Internal Audit Function (MIA) ปี 2550 จากสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย • หลักสูตรการปฏิบัติการ จิตวิทยา ฝ่ายอำนวยการ รุ่นที่ 73 จากสถาบันจิตวิทยาความมั่นคง • หลักสูตรการบริหารเศรษฐกิจ สาธารณะสำหรับนักบริหารระดับสูง รุ่นที่ 4 จากสถาบันพระปกเกล้า • หลักสูตร วตท. สถาบัน วิทยาการตลาดทุน รุ่นที่ 1 ปี 2547

ความสัมพันธ์ระหว่างกรรมการและผู้บริหาร

• หลานนายสุทธิศักดิ์, นายสุทธิธรรม และนางนาถยา • พี่ชายนายทศ

ประสบการณ์ทำงานในระยะ 5 ปีย้อนหลัง

2538-2550 กรรมการ บจก. เจเนอรัล คาร์ด เซอร์วสิ เซส 2542-2550 กรรมการ บมจ.อินทรประกันภัย 2545-2549 กรรมการ บมจ. ธนมิตร แฟคตอริ่ง 2538-2550 กรรมการ บจก.เจเนอรัล คาร์ด

เซอร์วิสเซส 2536-ปัจจุบัน กรรมการและกรรมการบริหาร บมจ. โรงแรมเซ็นทรัลพลาซ่า 2537ปัจจุบัน กรรมการและกรรมการบริหาร บมจ. เซ็นทรัลพัฒนา 2539-ปัจจุบัน กรรมการและกรรมการ บริ ห าร บจก. เซ็ น ทรั ล รี เ ทล คอร์ ป อเรชั่ น 2542-ปั จ จุ บั น กรรมการ บมจ. มาลี ส ามพราน

2545-ปัจจุบัน กรรมการบริหาร บจก. กลุ่มเซ็นทรัล 2546-ปัจจุบัน ประธานกรรมการตรวจสอบ บมจ. หลักทรัพย์ บัวหลวง 2547-ปัจจุบัน คณะกรรมการส่งเสริมกิจกรรมมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏ เชียงราย 2547-ปัจจุบัน ที่ปรึกษา ตลาดหลักทรัพย์ใหม่ (MAI) 2549-ปัจจุบัน กรรมการและกรรมการ บริหาร บมจ. ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน

ตำแหน่ง

กรรมการ/ กรรมการบริหาร/ ที่ปรึกษาคณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน (มีอำนาจลงนาม ผูกพันบริษัท)

คุณวุฒิทางการศึกษา

• ปริญญาตรี B.A. Wesleyan University, CT, U.S.A. • ปริญญาโท สาขาบริหารธุรกิจ (Finance) Columbia University, New York, U.S.A.

ความสัมพันธ์ระหว่างกรรมการและผู้บริหาร

• หลานนายสุทธิศักดิ์, นายสุทธิธรรมและนางนาถยา • น้องชายนายปริญญ์

นายทศ จิราธิวัฒน์ อายุ 44 ปี

ประสบการณ์ทำงานในระยะ 5 ปีย้อนหลัง

2539-2544 กรรมการผู้จัดการใหญ่ฝ่ายปฏิบัติการ บจก. เซ็นทรัลรีเทล คอร์ปอเรชั่น 2545-ปัจจุบัน กรรมการผู้จัดการใหญ่ บจก. เซ็นทรัลรีเทล คอร์ปอเรชั่น 2537-ปัจจุบัน กรรมการ บมจ. บิ๊กซี ซุปเปอร์เซ็นเตอร์ 2547-ปัจจุบัน กรรมการและกรรมการบริหาร บมจ. ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน

39


บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

คณะกรรมการบริษัทและคณะผู้บริหาร

ตำแหน่ง

กรรมการ/ กรรมการบริหาร/ กรรมการผู้จัดการใหญ่/ คณะทำงานบริหารความเสี่ยง (มีอำนาจลงนาม ผูกพันบริษัท)

คุณวุฒิทางการศึกษา

• ปริญญาตรี สาขาเคมีวิศวกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย • ปริญญาโท สาขาอุตสาหการและการ จัดการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย • Director Accreditation Program (DAP) ปี 2547 • Director Certification Program (DCP) ปี 2548 จากสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย • Capital Market Academy Leader Program ปี 2551 จากสถาบันวิทยาการตลาดทุน

ประสบการณ์ทำงานในระยะ 5 ปีย้อนหลัง

นายปรีชา เอกคุณากูล

2538-2543 กรรมการผู้จัดการ บมจ. บิ๊กซี ซุปเปอร์เซ็นเตอร์ 2543-2546 กรรมการผู้จัดการใหญ่

บจก. ซีอาร์ซี เพาเวอร์ รีเทล 2543-2546 กรรมการผู้จัดการใหญ่ บจก. บีทูเอส 2546-ปัจจุบัน กรรมการ, กรรมการบริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ. ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน

อายุ 50 ปี

ตำแหน่ง

กรรมการ/ คณะทำงานบรรษัทภิบาล (มีอำนาจลงนามผูกพันบริษัท)

สัดส่วนการถือหุ้นในบริษัท ร้อยละ 0.0027

คุณวุฒิทางการศึกษา

• ปริญญาตรี B.S. (Electrical Engineering) และ B.S. (Management), Massachusetts Institution of Technology, Cambridge, U.S.A. • ปริญญาโท สาขาบริหารธุรกิจ และ M.S. (Electrical Engineering), University of Southern California, Los Angeles, U.S.A. • Director Certification Program (DCP) ปี 2548 จากสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย

นายปิยะ งุ่ยอัครมหาวงศ์ อายุ 51 ปี

ประสบการณ์ทำงานในระยะ 5 ปีย้อนหลัง

2540-ปัจจุบนั รองกรรมการผูจ้ ดั การใหญ่อาวุโส ฝ่ายการเงินและบัญชี บจก. เซ็นทรัลรีเทล คอร์ปอเรชัน่ 2540-ปัจจุบัน กรรมการ บจก.โรบินสันแพลนเนอร์ 2549-ปัจจุบัน กรรมการ บมจ. ธนมิตรแฟคตอริ่ง 2549-ปัจจุบัน กรรมการ บมจ.ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน

40


บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

คณะกรรมการบริษัทและคณะผู้บริหาร

ตำแหน่ง

กรรมการ (มีอำนาจลงนามผูกพันบริษัท)

คุณวุฒิทางการศึกษา

• ปริญญาตรี สาขาการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย • ปริญญาโท สาขาบริหารธุรกิจ (Finance and International Business) Sasin Graduate Institute of Business Administration • Director Certification Program (DCP) ปี 2546 จากสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย • หลักสูตร

ผู้บริหารระดับสูง (วตท.) รุ่น 4 ปี 2550 จากสถาบันวิทยาการตลาดทุน

สัดส่วนการถือหุ้นในบริษัท ร้อยละ 0.00002

นายปัณฑิต มงคลกุล อายุ 45 ปี

ประสบการณ์ทำงานในระยะ 5 ปีย้อนหลัง

2535-ปัจจุบัน รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บจก. ห้างเซ็นทรัลดีพาร์ทเมนท์สโตร์ 2536-ปัจจุบัน กรรมการ บจก. เอิร์ธแคร์ 2537-ปัจจุบัน กรรมการ บจก. เซ็นทรัลมาร์เก็ตติ้งกรุ๊ป อินเตอร์เทรด 2543-2547 กรรมการบริหาร บมจ. อาหารสากล 2543-ปัจจุบนั กรรมการ บจก. โรบินสัน แพลนเนอร์ 2547-ปัจจุบัน กรรมการ บจก.ซี จี โบรกเกอร์ 2547-ปัจจุบัน ประธานกรรมการบริหาร บมจ. ธนมิตร แฟคตอริ่ง 2548-ปัจจุบัน กรรมการ บจก. อันดามันแคปปิตอล 2549-ปัจจุบัน กรรมการบริหาร บมจ. มาลีสามพราน 2550-ปัจจุบัน กรรมการ บจก. ซี จี ไลฟ์ โบรกเกอร์ 2551-ปัจจุบัน กรรมการ บจก. เซ็นทรัล รีเทล เทรนนิ่ง เซ็นเตอร์ 2539-ปัจจุบัน กรรมการ บมจ. ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน และ กรรมการบริษัทในเครือฯ

41


บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

คณะกรรมการบริษัทและคณะผู้บริหาร คณะผู้บริหาร ตำแหน่ง

กรรมการผู้จัดการใหญ่

คุณวุฒิทางการศึกษา

• ปริญญาตรี สาขาเคมีวิศวกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย • ปริญญาโท สาขาอุตสาหการและการ จัดการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย • Director Accreditation Program (DAP) ปี 2547 • Director Certification Program (DCP) ปี 2548 จากสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย • Capital Market Academy Leader Program ปี 2551 จากสถาบันวิทยาการตลาดทุน

ประสบการณ์ทำงานในระยะ 5 ปีย้อนหลัง

นายปรีชา เอกคุณากูล

2538-2543 กรรมการผู้จัดการ บมจ.บิ๊กซี ซุปเปอร์เซ็นเตอร์ 2543-2546 กรรมการผู้จัดการใหญ่

บจก. ซีอาร์ซี เพาเวอร์ รีเทล 2543-2546 กรรมการผู้จัดการใหญ่ บจก. บีทูเอส 2546-ปัจจุบัน กรรมการ, กรรมการบริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ. ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน

อายุ 50 ปี

ตำแหน่ง

ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส สายบริหารสินค้า

สัดส่วนการถือหุ้นในบริษัท ร้อยละ 0.0009

ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างกรมการและผู้บริหาร • น้องสาวนายสุทธิศักดิ์และนายสุทธิธรรม • อานายปริญญ์และนายทศ

คุณวุฒิทางการศึกษา

นางนาถยา จิราธิวัฒน์

• ปริญญาตรี B.S. (Economic) University of Hartford, CT, U.S.A. • ปริญญาโท สาขาบริหารธุรกิจ University of Hartford Paris, France

ประสบการณ์ทำงานในระยะ 5 ปีย้อนหลัง

2538-ปัจจุบัน ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส สายบริหารสินค้า บมจ.ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน

อายุ 45 ปี

ตำแหน่ง

ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส สายปฏิบัติการ

คุณวุฒิทางการศึกษา

• HND in Business Practices and Business Computer Practices, Dundee College of Comerce • 5’0’ Grade-3’H’Level, Lawside RC Academy

ประสบการณ์ทำงานในระยะ 5 ปีย้อนหลัง

MR. GERARD McGURK อายุ 42 ปี

2527-2541 Commercial Manager Marks and Spencer PCL. (United Kingdom) 2541-2543 District Manager บมจ. ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน 2543-2545 Managing Director Planer Sports China Limited, MTS Lifestyle Thailand Limited. 2546-2550 ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สาย ปฏิบัติการด้านบริหารสินค้าและการขาย บมจ.ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน 2550-ปัจจุบัน ผู้ช่วยกรรมการ ผู้จัดการใหญ่อาวุโส สายปฏิบัติการ บมจ. ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน 42


บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

คณะกรรมการบริษัทและคณะผู้บริหาร ตำแหน่ง

ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ด้านการวิเคราะห์และพัฒนาธุรกิจ

คุณวุฒิทางการศึกษา

• ปริญญาตรี สาขาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล • ปริญญาโท สาขาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ประสบการณ์ทำงานในระยะ 5 ปีย้อนหลัง

นายสุกิตติ กิตติภัสสร

2540-2549 ผูช้ ว่ ยกรรมการผูจ้ ดั การใหญ่สายปฏิบตั กิ ารด้านระบบงานและบริหาร บมจ. ห้างสรรพสินค้า โรบินสัน 2550-ปัจจุบัน ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ด้านการวิเคราะห์และพัฒนาธุรกิจ บมจ.

ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน

อายุ 52 ปี

ตำแหน่ง

ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายบริหารสินค้า

คุณวุฒิทางการศึกษา

• ปริญญาตรี สาขาบริหารธุรกิจ (การบริหารทั่วไป) มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช • ปริญญาโท สาขาบริหารธุรกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

ประสบการณ์ทำงานในระยะ 5 ปีย้อนหลัง

2540-2549 รองประธานฝ่ายจัดซื้อ สินค้าทั่วไป บมจ. บิ๊กซีซูเปอร์เซ็นเตอร์ 2549-ปัจจุบัน ผู้ช่วย

กรรมการผู้จัดการใหญ่ สายบริหารสินค้า บมจ. ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน

นางรัตนา อนุนตการุณ อายุ 49 ปี

ตำแหน่ง

ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายปฏิบัติการ ด้านระบบงานและบริหาร

คุณวุฒิทางการศึกษา

• ปริญญาตรี สาขาการสอบบัญชี (เกียรตินิยมอันดับ 1) มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย • ปริญญาโท สาขาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

ประสบการณ์ทำงานในระยะ 5 ปีย้อนหลัง

นายอนันต์ ตันติปัญญาคุณ อายุ 41 ปี

2538-2546 ผู้จัดการทั่วไปสาขา บมจ. บิ๊กซีซูเปอร์เซ็นเตอร์ 2546-2550 ผู้อำนวยการกองวิเคราะห์ และโครงการ บมจ. ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน 2550-ปัจจุบนั ผูช้ ว่ ยกรรมการผูจ้ ดั การใหญ่ สายปฏิบตั กิ าร ด้านระบบงานและบริหาร บมจ.ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน

43


บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

คณะกรรมการบริษัทและคณะผู้บริหาร

ตำแหน่ง

ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายการตลาด

คุณวุฒิทางการศึกษา

• ปริญญาตรี สาขานิเทศศาสตร์ (International Program) มหาวิทยาลัยกรุงเทพ • ปริญญาโท สาขา นิเทศศาสตร์ (International Program) เกียรตินิยมอันดับ 1 (เหรียญทอง) มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

ประสบการณ์ทำงานในระยะ 5 ปีย้อนหลัง

นางสาวสิรินิจ โชคชัยฤทธิกุล

2538-2545 Regional Store Manager Marks and Spencer PCL. (United Kingdom) Marks and Spencer (Thailand) 2545-2548 ผู้อำนวยการกองประสานงานจัดซื้อ และผู้อำนวยการกองบริหาร สินค้า Differentiate บมจ. ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน 2548-2551 ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สาย บริหารสินค้า บมจ. ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน 2551-ปัจจุบัน ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายการ ตลาด บมจ. ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน

อายุ 33 ปี

ตำแหน่ง

เลขานุการบริษัท / ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายการเงิน

คุณวุฒิทางการศึกษา

• ปริญญาตรี สาขาบัญชีต้นทุน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย • Corporate Secretary Program (CSP) ปี 2550 จากสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย

ประสบการณ์ทำงานในระยะ 5 ปีย้อนหลัง

นายปริวัต โสภาษิต

2538-2544 ผู้จัดการส่วนบัญชีและระบบ บจก. กระจกสยามการ์เดียน 2544-2546 ผู้อำนวยการฝ่าย บัญชี บจก. ซีอาร์ซี เพาเวอร์รีเทล 2546-ปัจจุบัน ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายการเงิน บมจ.

ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน

อายุ 50 ปี

44


บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

หลักการกำกับดูแลกิจการและความรับผิดชอบต่อสังคม สรุปการปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการประจำปี 2551

คณะกรรมการและผู้บริหารของบริษัทฯ มีความมุ่งมั่นในการกำหนดและพัฒนาระดับการกำกับดูแลกิจการที่ดีเพื่อให้เป็นพื้นฐานที่สำคัญในการ ดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ และเป็นที่ยอมรับในระดับสากล มีความโปร่งใสและจริยธรรมในการดำเนินงาน และมีความรับผิดชอบต่อผู้ที่มีส่วนได้เสีย กับบริษัทฯ ไม่ว่าจะเป็นผู้ถือหุ้น พนักงาน ลูกค้าและคู่ค้าของบริษัทฯ รวมถึงความรับผิดชอบต่อสังคม ดังนั้น บริษัทฯ จึงนำหลักเกณฑ์การกำกับ ดูแลกิจการที่ดี และระเบียบปฏิบัติของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ มาเป็นปัจจัยหลักในการเสริมสร้างองค์กรให้มีระบบ บริหารงานที่มีประสิทธิภาพ เพิ่มมูลค่า และส่งเสริมการเติบโตอย่างยั่งยืนของบริษัทฯ ต่อไป ตั้งแต่ปี 2550 คณะกรรมการบริษัทฯ ได้จัดให้มีนโยบายการกำกับดูแลกิจการและจรรยาบรรณธุรกิจไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ทั้งนี้ บริษัทฯ มีการ ดำเนินการปฏิบัติตามนโยบายและจรรยาบรรณอย่างเคร่งครัด ซึ่งส่งผลให้บริษัทฯ ได้รับผลการประเมินด้านการกำกับดูแลกิจการอยู่ในระดับ

4 ดาว (หรืออยู่ในเกณฑ์ ดีมาก) ตามการสำรวจของสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย และได้มีการเผยแพร่ผ่านรายงานการกำกับดูแล กิจการบริษัทจดทะเบียน ประจำปี 2551 เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2551 โดยมีบริษัทจดทะเบียนเข้าร่วมการประเมินทั้งหมด 448 แห่ง ซึ่งบริษัทฯ ได้รับการประเมินเป็นครั้งแรกในปีนี้ นอกจากความสำเร็จที่บริษัทฯ ได้รับผลการประเมินด้านการกำกับดูแลกิจการอยู่ในระดับ 4 ดาวแล้ว บริษัทฯ ยังได้รับรางวัลสถานประกอบการดีเด่นฯ ในทุกสาขาของห้างฯ โรบินสัน ต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 อีกด้วย โดยมีผู้บริหารระดับสูง ระดับผู้จัดการทั่วไป จากสาขาทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด เข้ารับรางวัลเกียรติยศแห่งความภาคภูมิใจ จากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ณ กระทรวงแรงงาน เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2551 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าบริษัทฯ มุ่งมั่นเอาใจใส่และให้ความสำคัญต่อพนักงานด้านแรงงานสัมพันธ์เสมอมา ในปีต่อๆ ไป บริษัทฯ จะยังคงมุ่งมั่นดำเนินธุรกิจตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีอย่างเคร่งครัดและสม่ำเสมอ ทั้งนี้ ในปี 2552 บริษัทฯ มีแผนที่ จะถ่ายทอดนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดีไปสู่ระดับพนักงานเพิ่มขึ้น เพื่อให้แนวนโยบายมีความเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้นอีกด้วย

สิทธิของผู้ถือหุ้น (The Rights of Shareholders)

บริษัทฯ ให้ความสำคัญต่อสิทธิของผู้ถือหุ้น ซึ่งไม่เพียงแต่คำนึงถึงสิทธิขั้นพื้นฐานตามกฎหมาย บริษัทฯ คำนึงถึงสิทธิอื่นที่ผู้ถือหุ้นพึงได้รับ อาทิ เช่น สิทธิในการได้รับใบหุ้น การโอนหุ้น และการได้รับเงินปันผล เป็นต้น บริษัทฯ ปกป้องสิทธิของผู้ถือหุ้นและส่งเสริมให้ผู้ถือหุ้นใช้สิทธิ รวมทั้ง จะไม่กระทำการใดๆ อันเป็นการละเมิดหรือริดรอนสิทธิของผู้ถือหุ้น นอกจากนี้ บริษัทฯ มุ่งมั่นในการเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการจัดการใน การแจ้งข่าวสารข้อมูลที่จำเป็นของบริษัทอย่างถูกต้อง รวดเร็วและทันเวลา เพื่อให้มั่นใจว่าผู้ถือหุ้นได้ข้อมูลที่เพียงพอในการตัดสินใจ อีกทั้งผู้ถือ หุ้นสามารถใช้สิทธิในการดูแลรักษาผลประโยชน์ของตนโดยการซักถาม แสดงความคิดเห็น ให้ข้อเสนอแนะ และการออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหุ้น นอกจากนี้ บริษัทฯ มีการเปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นและผู้ถือหุ้นส่วนน้อยส่งคำถาม เสนอระเบียบวาระที่ประชุม และเสนอชื่อบุคคลที่มีคุณสมบัติเพื่อ เข้ารับการสรรหาเป็นกรรมการบริษัทฯ ก่อนการประชุมผู้ถือหุ้นล่วงหน้าประมาณ 3 เดือน ผ่านทางจดหมายถึงเลขานุการบริษัท หรือ E-mail: ir@robinson.co.th บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับการจัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี รวมถึงการจัดประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น เพื่อให้ผู้ถือหุ้นมีส่วนร่วมในการติดตามดูแล การดำเนินงานของบริษัทฯ และได้ข้อมูลล่วงหน้าเพื่อให้มีการพิจารณาอย่างรอบคอบก่อนการประชุม สำหรับรายละเอียดของข้อมูลในแต่ละวาระ ในเอกสารประกอบการประชุมที่นำเสนอให้ผู้ถือหุ้นพิจารณานั้น บริษัทฯ ยึดถือแนวทางการปฎิบัติและจัดทำตาม AGM Checklist ของคณะ กรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ นอกจากนี้ บริษัทฯ ส่งเสริมให้กรรมการบริษัททุกท่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประธานกรรมการ บริษัท ประธานกรรมการชุดย่อยและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ซึ่งในการประชุมปี 2551 ทุกท่านข้างต้นได้เข้าร่วมอย่างพร้อมเพรียง โดยเลขานุการ บริษัทฯ ได้มีการแจ้งกำหนดการล่วงหน้าเพื่อให้กรรมการทุกท่านสามารถจัดสรรเวลาเข้าร่วมประชุมได้

45


บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

หลักการกำกับดูแลกิจการและความรับผิดชอบต่อสังคม • การจัดประชุมผู้ถือหุ้น

บริษัทฯ มีการสนับสนุนให้ผู้ถือหุ้นเข้าร่วมประชุมและไม่มีการจำกัดสิทธิในการเข้าประชุมของผู้ถือหุ้นที่มาสาย โดยการอำนวยความสะดวกให้แก่ ผู้ถือหุ้นในการเข้าร่วมประชุม ทั้งในด้านการจัดเตรียมสถานที่ อาหาร เครื่องดื่ม รวมถึงเวลาการนัดประชุมที่เหมาะสม สำหรับหนังสือเชิญประชุม บริษัทฯ มีการจัดส่งหนังสือนัดประชุมที่มีรายละเอียดระเบียบวาระการประชุม พร้อมความเห็นของคณะกรรมการบริษัทประกอบในแต่ละวาระ ข้อมูลประกอบการประชุมตามวาระต่างๆ และรายละเอียดของเอกสารที่ต้องใช้แสดงตัวในการเข้าร่วมประชุม โดยทำการเผยแพร่เอกสารประกอบ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษใน Website ของบริษัทรวมทั้งหนังสือมอบฉันทะ (Proxy Form) แบบ ก. ข. และ ค. ล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วัน ก่อนวันประชุม และมีการจัดส่งให้แก่ผู้ถือหุ้นล่วงหน้าก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่า 14 วัน และ 21 วัน กรณีที่มีการพิจารณารายการที่เกี่ยวโยงกัน โดยจัดส่งให้กับผู้ถือหุ้นทุกรายที่มีรายชื่อปรากฏในสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้น ณ วันปิดสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้น รวมทั้งได้แต่งตั้งกรรมการอิสระซึ่งไม่มี ประเด็นเรื่อง ความขัดแย้งทางผลประโยชน์เกี่ยวกับวาระการประชุมเป็นผู้รับมอบฉันทะแทนผู้ถือหุ้น ในกรณีที่ผู้ถือหุ้นประสงค์จะมอบฉันทะให้

ผู้อื่นมาประชุมแทน สามารถเลือกมอบฉันทะให้บุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือกรรมการอิสระของบริษัทฯ เข้าร่วมประชุมแทนได้ ทั้งนี้ บริษัทฯ จะไม่มีการแจกเอกสารที่มีข้อมูลเพิ่มเติมในที่ประชุม และไม่มีการเพิ่มวาระการประชุมหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลสำคัญโดยมิได้มีการ แจ้งให้ทราบล่วงหน้า โดยเฉพาะวาระสำคัญที่ผู้ถือหุ้นต้องใช้เวลาในการศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจ ซึ่งบริษัทฯ ได้ถือปฎิบัติแนวทางนี้อย่างต่อเนื่อง เป็นประจำทุกปี

• การดำเนินการประชุมผู้ถือหุ้น

ก่อนการประชุมในแต่ละครั้ง ประธานกรรมการบริษัทจะแจ้งรายละเอียดขององค์ประชุม แจ้งสิทธิในการลงคะแนนเสียง ทำการชี้แจงวิธีการลง คะแนน และนับคะแนนอย่างชัดเจนต่อผู้ถือหุ้น โดยการออกเสียงลงคะแนนจะนับ 1 หุ้น เป็น 1 เสียง และถือเสียงข้างมากเป็นมติ ยกเว้นกรณีการ ลงมติที่กำหนดให้ถือคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นซึ่งมาประชุมและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน หรือการ ลงมติที่กำหนดให้ถือคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นซึ่งมาประชุมและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน ซึ่งเป็นไป ตามที่ระบุไว้ในข้อบังคับของบริษัท และตามกฎหมาย ส่วนในกรณีที่เป็นวาระการพิจารณาอนุมัติการเข้าทำรายการที่เกี่ยวโยง บุคคลที่เกี่ยวโยง และผู้ถือหุ้นที่มีส่วนได้เสียจะไม่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนน โดยบริษัทฯ มีการแจ้งข้อมูลในหนังสือเชิญประชุมอย่างชัดเจนและครบถ้วนเพียงพอ พร้อมกันนี้ บริษัทฯ มีการแต่งตั้งที่ปรึกษาทางการเงินอิสระเพื่อให้ความเห็นถึงความสมเหตุสมผลของการเข้าทำรายการ และเสนอต่อผู้ถือหุ้นเพื่อ ประกอบการพิจารณาอนุมัติการเข้าทำรายการดังกล่าว บริษัทฯ ได้จัดให้มีบัตรลงคะแนนเสียงสำหรับผู้ถือหุ้นใช้ในการลงคะแนนเสียงในทุกวาระ เพื่อความโปร่งใสและตรวจสอบได้ พร้อมทั้งนำระบบ คอมพิวเตอร์และ Barcode มาช่วยในการลงทะเบียนและนับคะแนนเสียงเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ถือหุ้นที่เข้าร่วมประชุม ในการประชุมแต่ละ ครั้ง มีการเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมประชุมทุกรายแสดงความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ ถามคำถามในแต่ละวาระ และให้เวลาอภิปรายอย่างเหมาะสม เพียงพอ ซึ่งประธานฯ และผู้บริหารจะให้ความสำคัญกับทุกคำถามและตอบข้อซักถามอย่างชัดเจน ตรงประเด็น และประธานฯ จะดำเนินการ ประชุมตามลำดับวาระการประชุม รวมทั้งจะไม่เพิ่มวาระการประชุมโดยไม่แจ้งให้ผู้ถือหุ้นทราบล่วงหน้า การลงมติเลือกกรรมการบริษัท บริษัทฯ ได้กำหนดให้การลงมติเลือกเป็นรายบุคคลเท่านั้น และส่งเสริมให้ผู้ถือหุ้นใช้แบบฟอร์มการมอบฉันทะแบบ ที่สามารถกำหนดทิศทางการลงคะแนนได้ (แบบมอบฉันทะ ข.) บริษัทฯ ยังได้จัดให้มีแบบฟอร์มการมอบฉันทะสำหรับ Custodian เพื่อผู้ถือหุ้น ชาวต่างประเทศประเภทสถาบัน (แบบมอบฉันทะ ค.) ทั้งนี้ ในการประชุมแต่ละครั้ง บริษัทฯ มีการจัดทำบันทึกการประชุมที่ถูกต้องครบถ้วน รวมถึงการระบุผลคะแนนเสียงในแต่ละวาระ อีกทั้งมีการ บันทึกภาพการดำเนินการประชุม และทำการเผยแพร่ใน Website ของบริษัท (www.robinson.co.th) ภายใน 14 วันหลังจากวันประชุม จากการดำเนินการดังกล่าว เป็นผลให้บริษัทได้รับการประเมินผลการจัดประชุมผู้ถือหุ้นสามัญประจำปี 2551 อยู่ในเกณฑ์ดีเยี่ยมด้วยช่วงคะแนน ที่มากกว่า 90 คะแนนขึ้นไป จากคะแนนเต็ม 110 คะแนน 46


บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

หลักการกำกับดูแลกิจการและความรับผิดชอบต่อสังคม การปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน (Equitable Treatment of Shareholders)

บริษัทฯ ยึดหลักการปฎิบัติต่อผู้ถือหุ้นทุกรายอย่างเท่าเทียมกัน โดยเฉพาะผู้ถือหุ้นส่วนน้อยย่อมได้รับสิทธิขั้นพื้นฐานและสิทธิอื่นที่พึงได้รับอย่าง เท่าเทียมกันกับผู้ถือหุ้นรายอื่นๆ อาทิ ผู้ถือหุ้นส่วนน้อยมีสิทธิในการเสนอชื่อบุคคลเพื่อเป็นกรรมการและการเสนอวาระการประชุมผ่านเลขานุการ บริษัทเพื่อเสนอให้คณะกรรมการบริษัทพิจารณา ก่อนที่คณะกรรมการบริษัทจะได้จัดประชุมเพื่อพิจารณาการกำหนดวาระการประชุมผู้ถือหุ้น ล่วง หน้าประมาณ 3 เดือน และได้รับการปฏิบัติโดยยุติธรรมในการประชุมผู้ถือหุ้น ในการประชุมผู้ถือหุ้น บริษัทฯ เปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นที่ไม่สามารถเข้าร่วมประชุมได้ด้วยตนเอง สามารถเลือกที่จะมอบฉันทะให้บุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือกรรมการอิสระที่ได้รับการแต่งตั้งโดยบริษัทฯ เข้าร่วมประชุมและออกเสียงลงมติแทนได้ และเปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นทุกรายแสดงความคิดเห็น และซักถามอย่างได้ทั่วถึง นอกจากนี้ บริษัทฯ กำหนดให้ผู้บริหารใหม่ต้องรายงานการถือครองหลักทรัพย์ รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงการถือครองหลักทรัพย์ ต่อ ก.ล.ต. ตาม มาตรา 59 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และได้กำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้บริหารและหน่วยงานไว้ อย่างชัดเจน โดยได้วางข้อกำหนดห้ามมิให้ผู้บริหารหรือบุคคลที่ได้รับทราบข้อมูลภายในเปิดเผยข้อมูลแก่บุคคลภายนอก หรือบุคคลที่ไม่มีหน้าที่ เกี่ยวข้อง ซึ่งจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้ถือหุ้นโดยรวม เว้นแต่เป็นการเผยแพร่ต่อสาธารณชนตามหลักเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์ หากผู้ใด ฝ่าฝืนจะถูกลงโทษทางวินัยของบริษัทฯ และบริษัทยังให้ความสำคัญกับการพิจารณาเรื่องที่เกิดหรืออาจเกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ หรือ รายการที่เกี่ยวโยงกันหรือรายการระหว่างกัน โดยบริษัทฯ มีการดำเนินการตามข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ของทางการอย่างเคร่งครัด ในกรณีที่ต้อง มีการพิจารณาเรื่องที่เกิดหรืออาจเกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ หรือรายการที่เกี่ยวโยงกันหรือรายการระหว่างกัน กรรมการผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ต้องไม่เข้าร่วมการพิจารณาอนุมัติรายการดังกล่าว

บทบาทของผู้มีส่วนได้เสีย (The Role of Stakeholders in Corporate Governance)

นอกจากผู้ถือหุ้นแล้ว บริษัทฯ ดูแลให้ความสำคัญต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม เพื่อให้ ได้รับสิทธิตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผู้มีส่วนได้เสีย

และ/หรือตามข้อตกลงที่มีกับบริษัทฯ และได้มีการจัดทำจรรยาบรรณธุรกิจเป็นลายลักษณ์อักษรขึ้น เพื่อให้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานได้ เข้าใจและตระหนักถึงมาตรฐานด้านจริยธรรมที่บริษัทฯ ใช้ในการดำเนินธุรกิจ และปรารถนาให้ทุกคนในองค์กรใช้เป็นกรอบในการปฏิบัติตนอย่าง เคร่งครัด เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมที่แสดงออกถึงความรับผิดชอบต่อผู้ที่มีส่วนได้เสีย เนื่องจากบริษัทฯ ตระหนักเป็นอย่างดีว่า ผู้มีส่วนได้เสียเหล่านี้ จะมีส่วนสนับสนุนต่อความสำเร็จในระยะยาวของบริษัทฯ โดยมีรายละเอียดดังนี้ ผู้ถือหุ้น – บริษัทฯ มีความมุ่งมั่นที่จะดำเนินธุรกิจให้มีการเจริญเติบโตอย่างมั่นคงโดยยึดหลักบรรษัทภิบาลที่ดีเพื่อให้ผู้ถือหุ้นได้รับผลตอบแทน อย่างยั่งยืน บริษัทฯ ให้ความสำคัญต่อสิทธิของผู้ถือหุ้นและการปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นทุกรายโดยเท่าเทียมกัน บริษัทฯ เคารพสิทธิของผู้ถือหุ้นในการ รับทราบข้อมูลที่จำเป็นเพื่อใช้ในการประเมินการบริหารงานของบริษัทฯ โดยเปิดเผยผลประกอบการ ฐานะทางการเงิน พร้อมข้อมูลสนับสนุนที่

ถูกต้องตามความเป็นจริงในเวลาที่กำหนด เพื่อให้เกิดความโปร่งใสและเป็นธรรมต่อผู้ถือหุ้น พนักงาน – บริษัทฯ มุ่งพัฒนาและเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างพนักงานและบริษัทฯ โดยมีการปฏิบัติต่อพนักงานตามข้อบังคับของ กฎหมายแรงงานและสวัสดิการสังคม และให้ความเคารพต่อสิทธิส่วนบุคคลอย่างเคร่งครัด ตลอดจนการให้ผลตอบแทนและสวัสดิการพนักงาน อย่างเหมาะสม เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มธุรกิจเดียวกัน อาทิเช่น การจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ จัดตั้งสหกรณ์ออมทรัพย์สำหรับพนักงาน การให้ ทุนการศึกษาแก่บุตรของพนักงานที่มีผลการเรียนดีเด่น และการตรวจสุขภาพประจำปีให้แก่พนักงาน เป็นต้น โดยบริษัทฯ จัดให้มีหน่วยงานที่ดูแล งานด้านสวัสดิการพนักงานโดยเฉพาะประจำทุกสาขาเพื่อให้มั่นใจว่า พนักงานของบริษัทฯ รวมถึงพนักงานขายหน้าร้านที่เป็นลูกจ้างของ

คู่ค้า ได้รับการปฏิบัติที่ดีจากบริษัทฯ และทำงานภายใต้สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินของพนักงานอยู่เสมอ นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังให้ความสำคัญอย่างมากต่อการพัฒนาศักยภาพของทรัพยากรบุคคล ทั้งในด้านความรู้ความสามารถ สุขภาพจิต และจริยธรรม โดย พนักงานในทุกระดับมีโอกาสได้รับการพัฒนาส่งเสริมความรู้ความสามารถอย่างทั่วถึงและต่อเนื่อง อีกทั้งส่งเสริมการปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีเพื่อ เป็นการสร้างคุณค่าแก่พนักงานและบริษัทฯ รวมถึงการจัดกิจกรรมต่างๆ สำหรับพนักงานเพื่อเสริมสร้างการทำงานเป็นทีมที่แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นและ สร้างบรรยากาศที่ดีระหว่างกัน 47


บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

หลักการกำกับดูแลกิจการและความรับผิดชอบต่อสังคม คู่ค้าและ/หรือเจ้าหนี้ – บริษัทฯ ปฏิบัติต่อคู่ค้าและ/หรือเจ้าหนี้ โดยการรักษาและปฏิบัติตามเงื่อนไขข้อตกลงต่างๆ ที่มีต่อคู่ค้า และ/หรือเจ้าหนี้ อย่างเคร่งครัด และได้วางข้อกำหนดห้ามมิให้ผู้บริหาร หรือพนักงาน เรียก รับ หรือยอมรับทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดที่ไม่สุจริตในการค้ากับ

คู่ค้า และ/หรือเจ้าหนี้ โดยหากบริษัทฯ หรือคู่ค้า และ/หรือเจ้าหนี้ พบหรือทราบข้อมูลว่ามีการกระทำที่ไม่สุจริตเกิดขึ้น จะรีบแจ้งหรือเปิดเผย ข้อมูลเพื่อพิจารณาร่วมกันในการแก้ไขปัญหาและป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ลูกค้า – บริษัทฯ มุ่งมั่นในการสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้าด้วยสินค้าที่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าด้วยสินค้าที่ดีมีคุณภาพ ใน ราคาที่เหมาะสม และบริการเป็นเลิศ โดยดำเนินธุรกิจอย่างถูกต้อง เป็นธรรม นอกจากนี้ บริษัทฯ มีนโยบายในการรักษาข้อมูลที่เป็นความลับ ของลูกค้าอย่างจริงจัง รวมทั้งการเปิดโอกาสให้แก่ลูกค้าในการร้องเรียน หรือสอบถามข้อมูลได้ตลอดเวลา คู่แข่ง – บริษัทฯ มีนโยบายในการปฏิบัติงานภายใต้กรอบ กติกา มารยาทของการแข่งขันที่ดี ไม่มีการนำเอากลยุทธ์การตัดราคาคู่แข่งขันหรือ

กลยุทธ์ใดๆ ที่ไม่สุจริต เพื่อทำลายคู่แข่งขัน ชุมชนและสิ่งแวดล้อม – บริษัทฯ มีนโยบายในการให้การสนับสนุนกิจกรรมอันเป็นประโยชน์กับชุมชนและสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง โดยบริษัทฯ จะไม่ทำการใดๆ หรือสนับสนุนการกระทำใดๆ ที่ผิดกฎหมาย และก่อให้เกิดผลเสียหายต่อทรัพยากรธรรมชาติ หรือชุมชน

การเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใส (Disclosure and Transparency)

บริษัทได้ให้ความสำคัญต่อการเปิดเผยข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วน โปร่งใส เท่าเทียม และทันเวลา ทั้งรายงานด้านการเงิน และข้อมูลธุรกิจผ่าน

ช่องทางสื่อสารของตลาดหลักทรัพย์ฯ และเว็ปไซต์ของบริษัท www.robinson.co.th สำหรับด้านนักลงทุนสัมพันธ์ (Investor Relations) นั้น บริษัทฯ กำหนดให้ฝ่ายนักลงทุนสัมพันธ์ กองบริหารการเงินและนักลงทุนสัมพันธ์ ร่วมด้วยกรรมการผู้จัดการใหญ่และผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายการเงิน ทำหน้าที่ในด้านนักลงทุนสัมพันธ์ เพื่อสื่อสารข้อมูลสำคัญที่เป็นประโยชน์แก่นักลงทุนสถาบัน ผู้ถือหุ้น นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ (Company visit & site visit) สื่อมวลชน และประชาชนทั่วไป โดยในรอบปี 2551 งานด้านนักลงทุนสัมพันธ์ที่ได้ดำเนินการ ได้แก่ 1. การต้อนรับนักลงทุนและนักวิเคราะห์ที่ขอพบ (Company Visit) หรือผ่านทางโทรศัพท์ (Conference Call) เป็นจำนวนทั้งสิ้น

95 ราย หรือคิดเป็น 50 ครั้ง (หมายเหตุ : จำนวนครั้งที่นักลงทุนและนักวิเคราะห์ขอเข้าพบ จะนับตามครั้งที่เข้ามาขอพบจริงโดย

คิดตามรายบริษัท) 2. การเข้าร่วมประชุมนักลงทุน (Thailand Focus และ Investor Conference) เป็นจำนวนทั้งสิ้น 2 ครั้ง 3. การเข้าร่วมงานบริษัทจดทะเบียนพบผู้ลงทุน (Opportunity Day) เป็นจำนวน 3 ครั้ง ทั้งนี้ เพื่อเป็นช่องทางในการสื่อสารระหว่างบริษัทฯ กับผู้ถือหุ้นและนักลงทุน ผู้สนใจสามารถติดต่องานนักลงทุนสัมพันธ์ของบริษัทฯ ได้ที่

คุณจิราพรรณ ทองตัน โทร. 02-248-2626 ต่อ 732, 733 หรือ E-mail: ir@robinson.co.th ในด้านคุณภาพของรายงานทางการเงิน คณะกรรมการบริษัทฯ เป็นผู้รับผิดชอบต่องบการเงินของบริษัทฯ (ซึ่งผ่านการตรวจสอบโดยผู้สอบบัญชี ของบริษัทฯ) และสารสนเทศทางการเงินที่ปรากฏในรายงานประจำปี โดยคณะกรรมการบริษัทฯ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ ซึ่งประกอบ ด้วย กรรมการอิสระ เพื่อทำหน้าที่ดูแล รับผิดชอบเกี่ยวกับคุณภาพของรายงานทางการเงินและระบบการควบคุมภายใน สำหรับรายงานทางการ เงินใน ปี 2551 คณะกรรมการบริษัทฯ มีความเห็นว่า รายงานดังกล่าวได้มีการจัดทำขึ้นตามมาตรฐานการบัญชีที่รับรองทั่วไป และใช้นโยบาย บัญชีที่เหมาะสมและถือปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งมีการเปิดเผยข้อมูลสำคัญอย่างเพียงพอในหมายเหตุประกอบงบการเงินของบริษัทฯ และ บริษัทย่อย

48


บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

หลักการกำกับดูแลกิจการและความรับผิดชอบต่อสังคม

ความรับผิดชอบของคณะกรรมการ (Responsibilities of the Board)

องค์ประกอบ ในปี 2551 ที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2551 ได้มีการลงมติพิจารณาอนุมัติแต่งตั้งกรรมการอิสระเพิ่มอีก 1 ท่าน จึงทำให้ปัจจุบัน บริษัทฯ มี กรรมการอิสระเป็นจำนวนทั้งสิ้น 4 ท่าน หรือคิดเป็น 1 ใน 3 ของจำนวนกรรมการทั้งคณะ ซึ่งองค์ประกอบของคณะกรรมการบริษัทสอดคล้องกับ หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับกรรมการบริษัท “โครงสร้างคณะกรรมการ” ที่มีกรรมการอิสระอย่างน้อย 1 ใน 3 ของกรรมการ ทั้งคณะ อีกทั้งมีความชัดเจนในการถ่วงดุลอำนาจดำเนินการต่อไป อนึง่ คณะกรรมการบริษทั ชุดปัจจุบนั มีคณ ุ สมบัตหิ ลากหลาย ทัง้ ในด้านทักษะและประสบการณ์ในการบริหารงานธุรกิจค้าปลีก และห้างสรรพสินค้า รวมถึงความสามารถและความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เช่น การบัญชี การเงิน และกฎหมาย เป็นต้น โดยกรรมการจำนวน 11 ท่าน มีโครงสร้างดังนี้ - กรรมการที่เป็นผู้บริหาร 1 ท่าน - กรรมการที่ไม่ได้เป็นผู้บริหาร 6 ท่าน - กรรมการอิสระ 4 ท่าน โดยกรรมการที่เป็นอิสระ คิดเป็นร้อยละ 36.4 บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการ คณะกรรมการบริษัทมีหน้าที่และความรับผิดชอบที่สำคัญดังนี้ • ปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามกฏหมาย วัตถุประสงค์และข้อบังคับของบริษัท ตลอดจนมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นด้วยความซื่อสัตย์สุจริต

มีจริยธรรมและระมัดระวังรักษาผลประโยชน์ของบริษัท • กรรมการเป็นบุคคลที่มีความซื่อสัตย์ สุจริต มีจริยธรรมในการดำเนินธุรกิจ มีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ที่จะเป็น

ประโยชน์ต่อการดำเนินธุรกิจ และมีความสนใจในกิจการของบริษัทอย่างแท้จริง • มีความรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้นอย่างสม่ำเสมอ และดำเนินงานโดยรักษาผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้นทุกรายอย่างเท่าเทียมกัน โดย

คณะกรรมการบริษัทจัดให้มีการเปิดเผยข้อมูลต่อผู้ถือหุ้น ผู้ลงทุนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มอย่างถูกต้อง ครบถ้วน มี

มาตรฐาน โปร่งใสและทันเวลาในหลากหลายช่องทาง • คณะกรรมการบริษัทได้มีการกำหนดวิสัยทัศน์ กลยุทธ์ นโยบายและทิศทางการดำเนินงานของบริษัท และควบคุมดูแลให้ฝ่าย

จัดการดำเนินงานให้เป็นไปตามนโยบายที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เพื่อเพิ่มมูลค่าสูงสุดให้แก่บริษัท และ

ผู้ถือหุ้น อย่างมั่นคงและยั่งยืน และติดตามผลการดำเนินงานของบริษัทอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ โดยบริษัทฯ ได้จัดให้มีการ

ประชุมคณะกรรมการบริษัทในทุกไตรมาส • คณะกรรมการบริษัทจัดให้มีระบบบัญชี และรายงานทางการเงินและการสอบบัญชีที่เชื่อถือได้ รวมถึงระบบควบคุมภายในและ

การตรวจสอบภายในที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งคณะกรรมการบริษัทได้มอบหมายให้คณะกรรมการตรวจสอบดำเนินการดูแลรับผิดชอบ

ในเรื่องดังกล่าว • คณะกรรมการบริษัทได้มีการจัดตั้งคณะทำงานบริหารความเสี่ยง และคณะทำงานบรรษัทภิบาล ซึ่งคณะทำงานทั้ง 2 คณะมี

กรรมการอิสระเป็นประธานคณะทำงาน ทำหน้าที่ดูแลในเรื่องการบริหารความเสี่ยง และการกำกับดูแลกิจการ ทั้งนี้เพื่อจัดให้มี

กระบวนการบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพและมีการติดตามผลอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงกำกับดูแลให้มีการดำเนินงานตาม

หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี • คณะกรรมการบริษัทได้แต่งตั้งเลขานุการบริษัทเพื่อช่วยดูแลกิจกรรมต่างๆ ของคณะกรรมการบริษัท และปฏิบัติให้เป็นไปตาม

กฏหมายและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง • กรรมการที่เป็นอิสระได้ใช้ดุลยพินิจอย่างเป็นอิสระในการพิจารณากำหนด กลยุทธ์ การบริหารงาน การใช้ทรัพยากร การแต่งตั้ง

กรรมการ และการกำหนดมาตรฐานการดำเนินธุรกิจ รวมทั้งพร้อมที่จะคัดค้านการกระทำของฝ่ายจัดการหรือกรรมการอื่น ในกรณี

ที่มีความเห็นขัดแย้งในเรื่องที่มีผลกระทบต่อความเท่าเทียมกันของผู้ถือหุ้นทุกราย • ประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ไม่เป็นบุคคลเดียวกัน ทั้งนี้เพื่อให้มีการแบ่งแยกบทบาทหน้าที่และมีการถ่วงดุลใน

อำนาจดำเนินงานอย่างชัดเจน 49


บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

หลักการกำกับดูแลกิจการและความรับผิดชอบต่อสังคม การดำรงตำแหน่งกรรมการ บริษัทฯ กำหนดให้กรรมการจะดำรงตำแหน่งนี้ให้กับบริษัทจดทะเบียนไม่เกินกว่า 5 บริษัท ในขณะที่รับตำแหน่งเป็นกรรมการของบริษัทฯ เพื่อให้ ความมั่นใจได้ว่ามีเวลาเพียงพอในการเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการเพื่อติดตามผลการดำเนินงานของบริษัทฯ และกรรมการผู้จัดการใหญ่จะดำรง ตำแหน่งนี้ในบริษัทจดทะเบียนได้เพียง 1 แห่งเท่านั้น เพื่อให้มีเวลาเพียงพอในการกำกับดูแลการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ เท่านั้น คณะกรรมการชุดย่อยและคณะทำงาน คณะกรรมการบริษัทได้พิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการชุดต่างๆ เพิ่มเติมตามที่พิจารณาว่าจำเป็นและเหมาะสม ในปี 2551 บริษัทมีคณะกรรมการ ชุดย่อยเพื่อดูแลเฉพาะเรื่อง เพื่อกำกับดูแลงานที่ต้องการความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านและกลั่นกรองงานเหล่านั้นแทนอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้ง กำหนดให้คณะกรรมการชุดย่อยต้องรายงานผลการปฏิบัติงานต่อคณะกรรมการบริษัทภายในเวลาที่กำหนดไว้เป็นประจำ โดยมีรายละเอียดดังนี้ 1. คณะกรรมการตรวจสอบ โครงสร้างของคณะกรรมการประกอบด้วยกรรมการอิสระ 3 คนและอย่างน้อย 1 คนต้องเป็นผู้ที่มีความรู ้ ด้านการบัญชีหรือการเงิน 2. คณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน โครงสร้างของคณะกรรมการประกอบด้วยกรรมการอิสระอย่างน้อย 2 คน ทั้งนี้

สัดส่วนของกรรมการอิสระต้องไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของจำนวนกรรมการทั้งคณะ และมีกรรมการอิสระเป็นประธานคณะกรรมการ 3. คณะทำงานบริหารความเสี่ยง โครงสร้างของคณะทำงานประกอบด้วยกรรมการอิสระอย่างน้อย 1 คน และมีกรรมการอิสระเป็น

ประธานคณะทำงาน 4. คณะทำงานบรรษัทภิบาล โครงสร้างของคณะทำงานประกอบด้วยกรรมการอิสระไม่น้อยกว่า 1 คน และมีกรรมการอิสระเป็น

ประธานคณะทำงาน การประชุมคณะกรรมการ บริษัทฯ กำหนดให้มีการประชุมคณะกรรมการอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยไตรมาสละ 1 ครั้ง ทั้งนี้ บริษัทได้มีการกำหนดตารางการประชุมประจำ ไตรมาสไว้ล่วงหน้าตลอดทั้งปี และมีการส่งหนังสือเชิญประชุม วาระการประชุมและเอกสารประกอบการประชุมในแต่ละครั้งให้กรรมการล่วงหน้า อย่างเหมาะสม เพื่อให้มีเวลาพิจารณาข้อมูลอย่างเพียงพอ นอกจากนี้ กรรมการทุกคนมีสิทธิที่จะตรวจสอบเอกสารประกอบการประชุมและ เอกสารสำคัญอื่นๆ ในกรณีที่มีข้อสงสัยกรรมการอื่นและฝ่ายจัดการต้องดำเนินการเพื่อตอบข้อสงสัยนั้นอย่างชัดเจน ในการประชุมคณะกรรมการ ประธานกรรมการ กรรมการผู้จัดการใหญ่ และเลขานุการบริษัท จะร่วมกันพิจารณาวาระการประชุม และเรื่องที่สำคัญ อันได้แก่ รายการได้มาหรือจำหน่ายทรัพย์สินของบริษัทและบริษัทย่อยที่มีผลกระทบสำคัญต่อบริษัท การขยายโครงการลงทุน รวมถึงการทำ

รายการเกี่ยวโยง จะมีการนำเสนอคณะกรรมการบริหารและ/หรือคณะกรรมการตรวจสอบเพื่อพิจารณากลั่นกรองและแสดงความเห็นก่อนเสนอต่อที่ ประชุมคณะกรรมการ กรณีที่การประชุมวาระใดๆ ที่มีกรรมการคนใดเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในวาระที่พิจารณา ต้องออกจากที่ประชุมก่อนเริ่มการพิจารณาเรื่องใน

วาระนั้นๆ

50


บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

หลักการกำกับดูแลกิจการและความรับผิดชอบต่อสังคม

รายละเอียดการเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการบริษัท และคณะกรรมการตรวจสอบ ในปี 2551 ดังนี้

การเข้าร่วมประชุม (ครั้งที่เข้าร่วม / ครั้งที่จัดประชุม) รายชื่อกรรมการ ตำแหน่ง คณะกรรมการ คณะกรรมการ บริษัท ตรวจสอบ 1. นายสุทธิศักดิ์ จิราธิวัฒน์ ประธานกรรมการ 6/6 2. นายสุทธิธรรม จิราธิวัฒน์ รองประธานกรรมการ 6/6 3. นายปริญญ์ จิราธิวัฒน์ กรรมการ 6/6 4. นายทศ จิราธิวัฒน์ กรรมการ 4/6 5. นายปรีชา เอกคุณากูล กรรมการ 6/6 6. นายปิยะ งุ่ยอัครมหาวงศ์ กรรมการ 5/6 7. นายปัณฑิต มงคลกุล กรรมการ 6/6 8. นายสมชัย อภิวัฒนพร ประธานกรรมการตรวจสอบ และกรรมการอิสระ 6/6 5/5 9. นายพิบูล ภัทโรดม กรรมการตรวจสอบ และกรรมการอิสระ 6/6 5/5 10. นายวิทยา ชวนะนันท์ กรรมการตรวจสอบ และกรรมการอิสระ 6/6 5/5 11. นายจรัล มงคลจันทร์* กรรมการอิสระ 4/5* หมายเหตุ *นายจรัล มงคลจันทร์ ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการบริษัทจากที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 1/2551 เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2551 และเริ่มเข้า ประชุมคณะกรรมการบริษัทตั้งแต่ครั้งที่ 2/2551 เป็นต้นไป

51


บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

หลักการกำกับดูแลกิจการและความรับผิดชอบต่อสังคม การประเมินตนเองของคณะกรรมการ บริษัทฯ จัดให้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานด้วยตนเองของคณะกรรมการบริษัท และคณะกรรมการตรวจสอบประเมินอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง การพัฒนากรรมการและผู้บริหาร บริษัทฯ ส่งเสริมให้กรรมการทุกท่านรวมถึงเลขานุการคณะกรรมการบริษัทได้ผ่านการฝึกอบรมจากสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (Thai Institute of Directors) รวมถึงการฝึกอบรมตามสถาบันต่างๆ เพื่อเพิ่มความรู้ความเข้าใจ และสามารถนำมาพัฒนาระบบการกำกับดูแล กิจการ ของบริษัทฯ อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ ในปี 2551 กรรมการบริษัท ร้อยละ 90 ของจำนวนกรรมการบริษัททั้งหมดได้ผ่านการอบรม จากสมาคม ส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทยแล้ว บริษัทได้กำหนดให้กรรมการผู้จัดการใหญ่และผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส จะต้องมีการจัดทำแผนการพัฒนาและสืบทอดงาน (Succession Plan) และรายงานต่อคณะกรรมการบริหารของบริษัท

ความรับผิดชอบต่อสังคม

บริษัทฯ มีนโยบายส่งเสริมในด้านความรับผิดชอบต่อสังคมอย่างต่อเนื่อง และได้มีการปลูกจิตสำนึกให้กับพนักงานของบริษัทฯ ในทุกระดับชั้นใน แต่ละสาขาของบริษัทฯ ให้ตระหนักถึงความสำคัญของสังคมและสิ่งแวดล้อม ผ่านระบบการประชาสัมพันธ์ภายในของบริษัทฯ โดยในปี 2551 บริษัทฯ ได้เน้นการส่งเสริมกิจกรรมใน 4 ด้าน คือ 1. การส่งเสริมเรื่องการบริจาคโลหิตโดยให้ความร่วมมือกับสภากาชาดไทย : บริษัทฯ ให้ความร่วมมือกับหน่วยงานราชการและ

ภาครัฐ โดยให้การสนับสนุนศูนย์บริการโลหิตสภากาชาดไทยอย่างต่อเนื่อง อาทิ การสนับสนุนโครงการรถรับบริจาคโลหิตเคลื่อนที่

ทูลเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี การประชาสัมพันธ์การร่วมบริจาคโลหิต การจัดทำของที่ระลึก

การบริจาคโลหิต เทิดไท้ 80 พรรษา การส่งเสริมให้พนักงานทั้งในส่วนกลางและในแต่ละสาขาของบริษัทฯ บริจาคโลหิตประจำปี

และให้การสนับสนุนกาชาดจังหวัด ในจังหวัดที่บริษัทฯ มีสาขาตั้งอยู่ เป็นต้น 2. การให้ความช่วยเหลือชุมชนและการรักษาสิ่งแวดล้อม : บริษัทฯ ได้ดำเนินการผ่านมูลนิธิเพื่อสิ่งแวดล้อมต่างๆ มีการให้ความ

ช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยหนาวโดยการบริจาคผ้าห่ม รวมถึงการตั้งกล่องรับบริจาคในทุกสาขาเพื่อเป็นการรวบรวมรายได้ไว้

เป็นทุนในโครงการต่างๆ ของมูลนิธิสิ่งแวดล้อม และให้การสนับสนุนในโครงการอื่นๆ ซึ่งโครงการที่เกิดขึ้นในปี 2551 อาทิเช่น

โครงการบริจาคและทำบุญกุศล ณ บ้านเด็กด้อยโอกาส ศูนย์พระมหาไถ่ เมืองพัทยา (มูลนิธิคุณเรย์), โครงการอนุรักษ์ป่าชายเลน

จ.ชลบุรี กรมทรัพยากรทางทะเลและป่าชายเลน (โครงการพระราชดำริ) และโครงการมอบเงินสมทบทุนมูลนิธิช้างป่ากุยบุรี เพื่อ

ช่วยเหลือช้างที่ใกล้จะสูญพันธ์ เป็นต้น 3. การให้ความสำคัญทางด้านการศึกษาและการกีฬา : บริษัทฯ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการศึกษาของเยาวชนไทย โดยให้เงิน

สนับสนุนด้านการศึกษา ทั้งในด้านค่าอุปกรณ์การเรียน และการซ่อมแซมอาคารโรงเรียนในต่างจังหวัด ซึ่งโครงการที่เกิดขึ้นในปี

2551 อาทิเช่น โครงการ “80 ฝัน 80 โรงเรียน“ เป็นการสร้างโรงเรียนในชนบท โครงการ Robinson I Love My School สร้าง

โรงเรียนหลังใหม่ให้แก่ศูนย์การเรียนชุมชนไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” ฟ้าห่มปก อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ โครงการมอบผ้าห่มและ

อุปกรณ์การศึกษาให้ชาวบ้านและนักเรียนที่ประสบภัยหนาว และขาดแคลนอุปกรณ์การศึกษาที่ จ. เชียงใหม่ นอกจากนี้ บริษัทฯ

ยังได้คำนึงถึงความสำคัญในเรื่องสุขภาพที่ดีของคนในสังคมโดยให้การสนับสนุนในการจัดงานแข่งขันกีฬาต่างๆ เป็นต้น 4. การทะนุบำรุงพุทธศาสนา : บริษัทฯ ได้ทำนุบำรุงและส่งเสริมพระพุทธศาสนา เพื่อเป็นการสืบสานวัฒนธรรมหรือประเพณีที่ดีงาม

ของไทยต่อไปในอนาคต และสนับสนุนการจัดกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับวันสำคัญทางพุทธศาสนา

52


บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

รายงานคณะกรรมการตรวจสอบ

เรียน ท่านผู้ถือหุ้น บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน) คณะกรรมการตรวจสอบ ได้ปฏิบัติหน้าที่ในปี 2551 ตามขอบเขตความรับผิดชอบที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัท ซึ่งสอดคล้องกับ

ข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยมีการประชุมทั้งสิ้น 6 ครั้ง และได้รายงานผลการดำเนินงานต่อคณะกรรมการบริษัทเป็น ประจำทุกไตรมาส และการประชุมทุกครั้งได้หารือกับฝ่ายบริหาร ผู้สอบบัญชี และผู้ตรวจสอบภายในตามวาระอันควร และคณะกรรมการตรวจ สอบได้รายงาน แสดงความเห็นและให้ข้อเสนอแนะอย่างอิสระตามที่พึงจะเป็น สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้ กระบวนการจัดทำและการเปิดเผยข้อมูลในรายงานทางการเงิน สอบทานความเหมาะสมของกระบวนการจัดทำงบการเงินประจำปี 2551 ความครบถ้วนเชื่อถือได้ของการเปิดเผยข้อมูลในงบการเงิน ตลอดจน พิจารณาประเด็นความเสี่ยงต่างๆ มาตรฐานการบัญชีที่เกี่ยวข้อง หรือการเปลี่ยนแปลงมาตรฐานการบัญชี และให้ความเห็นชอบต่องบการเงินราย ไตรมาส และงบการเงินประจำปี ว่าได้มีการปฏิบัติตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป มีการเปิดเผยข้อมูลที่สำคัญ รายการที่เกี่ยวข้องกันและ รายการที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์อย่างเพียงพอ ระบบควบคุมภายในและการตรวจสอบภายใน พิจารณาและให้ข้อเสนอแนะต่อแผนการตรวจสอบประจำปี ว่าได้ครอบคลุมประเด็นความเสี่ยงต่างๆ ของธุรกิจ รายงานผลการตรวจสอบของ

สำนักตรวจสอบภายใน และรายงานผลการติดตามมาตรการแก้ไขในเรื่องต่างๆ กำกับดูแลงานตรวจสอบภายใน ให้ปฏิบัติสอดคล้องกับมาตรฐาน วิชาชีพ และให้ความมั่นใจอย่างสมเหตุสมผลได้ว่าระบบควบคุมภายในยังมีอยู่อย่างเพียงพอและเหมาะสม เพื่อช่วยให้องค์กรสามารถบรรลุ

เป้าหมายที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า ตลอดจนพิจารณาและให้การสนับสนุนด้านอัตรากำลังและการพัฒนาบุคลากรตรวจสอบ ภายในอย่างต่อเนื่อง การปฏิบัติตามข้อกำหนดและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง สอบทานให้บริษัทปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และกฎหมายที่ เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัทอย่างสม่ำเสมอ การเปิดเผยข้อมูลของรายการที่เกี่ยวโยงกัน พิจารณาการเข้าทำรายการระหว่างกัน รวมทั้งการจัดทำเอกสารประกอบการเปรียบเทียบราคากลาง / ตลาด และสนับสนุนการเปิดเผยข้อมูลของ รายการที่เกี่ยวโยงหรือรายการที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์เป็นประจำ และให้ข้อเสนอแนะแก่ฝ่ายบริหาร เพื่อให้มั่นใจว่าการ ปฏิบัติมีความโปร่งใสและถูกต้อง การบริหารความเสี่ยง พิจารณาและให้ความเห็นต่อรายงานความคืบหน้าของคณะทำงานบริหารความเสี่ยงอย่างสม่ำเสมอ ตลอดจนแลกเปลี่ยนความรู้ และข้อมูล

เกี่ยวกับความเสี่ยงและการควบคุมภายในที่มี หรืออาจมีผลกระทบต่อบริษัท ร่วมกับคณะทำงานบริหารความเสี่ยงและฝ่ายบริหาร นอกจากนี้

คณะทำงานบริหารความเสี่ยงได้ให้ความสำคัญกับการประเมินความเสี่ยง จึงได้มีการทบทวนความเสี่ยงระดับองค์กร (Corporate Risk) ให้เหมาะ สมกับความเสี่ยงที่สำคัญของธุรกิจ และแผนปฏิบัติการ เพื่อลดความเสี่ยงดังกล่าว การกำกับดูแลกิจการที่ดี ส่งเสริมและติดตามให้บริษัทมีกระบวนการพัฒนาการกำกับดูแลกิจการที่ดีอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนให้แนวทางและข้อเสนอแนะที่จำเป็นเพื่อการ พัฒนากระบวนการดังกล่าว

53


บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

รายงานคณะกรรมการตรวจสอบ

การคัดเลือกและเสนอแต่งตั้งผู้สอบบัญชี พิจารณาคัดเลือกผู้สอบบัญชีรายใหม่ โดยพิจารณา ค่าตอบแทนงานบริการสอบบัญชี ความพร้อมในการปฏิบัติตามมาตรฐานการสอบบัญชี และ การเสนอรายงานการสอบบัญชี จึงได้เสนอคณะกรรมการบริษัท ให้แต่งตั้ง บริษัท เคพีเอ็มจี ภูมิไชย สอบบัญชี จำกัด เป็นผู้สอบบัญชีของบริษัท ต่อไป โดยมีค่าบริการงานสอบบัญชีของบริษัทฯ สำหรับปี 2552 เป็นเงิน 3,620,000 บาท และบริษัทย่อย เป็นเงิน 1,740,000 บาท ตามลำดับ รวมเป็นเงิน 5,360,000 บาท (ห้าล้านสามแสนหกหมื่นบาท ) เพื่อเสนออนุมัติต่อที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้น การประเมินตนเองของคณะกรรมการตรวจสอบ เพื่อสร้างเสริมประสิทธิผลในการทำงานของคณะกรรมการตรวจสอบ จึงได้มีการประเมินผลงานของคณะกรรมการตรวจสอบทุกปี โดยให้กรรมการ ตรวจสอบทุกท่านประเมินผลงานปี 2551 โดยอิสระ เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2552 และผลการประเมินโดยรวมมีการปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติ ครบถ้วน คณะกรรมการตรวจสอบมีความเห็นว่า บริษัทฯ มีกระบวนการจัดทำและการเปิดเผยข้อมูลใน รายงานทางการเงินอย่างถูกต้อง เหมาะสมและเชื่อ ถือได้ มีการบริหารความเสี่ยง รวมทั้งมีระบบควบคุมภายในที่เพียงพอ (นายสมชัย อภิวัฒนพร) ประธานกรรมการตรวจสอบ

54


บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

รายงานความรับผิดชอบของคณะกรรมการต่อรายงานทางการเงิน

คณะกรรมการบริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน) เป็นผู้รับผิดชอบต่องบการเงินรวมของ บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย และสารสนเทศทางการเงินที่ปรากฏในรายงานประจำปี ซึ่งงบการเงินดังกล่าวจัดทำขึ้นตามมาตรฐาน การบัญชีที่รับรอง ทั่วไปในประเทศไทย โดยเลือกใช้นโยบายบัญชีที่เหมาะสมและถือปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ และใช้ดุลยพินิจอย่างระมัดระวังและประมาณการที่ดีที่สุด ในการจัดทำ รวมทั้งมีการเปิดเผยข้อมูลสำคัญอย่างเพียงพอในหมายเหตุประกอบงบการเงิน คณะกรรมการได้จัดให้มีและดำรงรักษาไว้ซึ่งระบบควบคุมภายในที่มีประสิทธิผล เพื่อให้มั่นใจได้อย่างมีเหตุผลว่า การบันทึกข้อมูลทางบัญชีมีความ ถูกต้อง ครบถ้วน และเพียงพอที่จะดำรงรักษาไว้ซึ่งทรัพย์สินของบริษัท ในการนี้ คณะกรรมการบริษัทฯ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ

ซึ่งประกอบด้วยกรรมการที่เป็นอิสระเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบเกี่ยวกับคุณภาพ ของรายงานทางการเงินและระบบควบคุมภายใน และความเห็นของ คณะกรรมการตรวจสอบ เกี่ยวกับเรื่องนี้ปรากฏในรายงานของคณะกรรมการตรวจสอบแล้ว คณะกรรมการบริษัทฯ มีความเห็นว่าระบบควบคุมภายในของบริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน) โดยรวมอยู่ในระดับที่น่าพอใจ และ สามารถสร้างความเชื่อมั่นอย่างมีเหตุผลต่อความเชื่อถือได้ของงบการเงินรวมของบริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 นายสุทธิศักดิ์ จิราธิวัฒน์ นายปรีชา เอกคุณากูล ประธานกรรมการ กรรมการผู้จัดการ

55


บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

งบการเงินและรายงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ 2550

เสนอ ผู้ถือหุ้นบริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

ข้าพเจ้าได้ตรวจสอบงบดุลรวมและงบดุลเฉพาะกิจการ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 งบกำไรขาดทุนรวมและงบกำไรขาดทุนเฉพาะกิจการ งบแสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของผู้ถือหุ้นรวมและงบแสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของผู้ถือหุ้นเฉพาะกิจการ และงบกระแสเงินสดรวม และงบกระแสเงินสดเฉพาะกิจการ สำหรับปีสิ้นสุดวันเดียวกันของบริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย และ ของเฉพาะบริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน) ตามลำดับ ซึ่งผู้บริหารของกิจการเป็นผู้รับผิดชอบต่อความถูกต้องและ

ครบถ้วนของข้อมูลในงบการเงินเหล่านี้ ส่วนข้าพเจ้าเป็นผู้รับผิดชอบในการแสดงความเห็นต่องบการเงินดังกล่าวจากผลการตรวจสอบ ของข้าพเจ้า งบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2550 ของบริษัท ห้างสรรพสินค้า โรบินสัน จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย และของเฉพาะบริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน) ตามลำดับ ตรวจสอบโดยผู้สอบบัญชีอื่น ซึ่งได้แสดงความเห็นอย่างไม่มีเงื่อนไขตามรายงานลงวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2551 โดยมีวรรคเน้นเกี่ยวกับงบการเงินของบริษัทสำหรับปี

สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2549 ได้รับการปรับปรุงใหม่ อันเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีเกี่ยวกับเงินลงทุนในบริษัทย่อย

และบริษัทร่วมจากวิธีส่วนได้เสียเป็นวิธีราคาทุน ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติงานตรวจสอบตามมาตรฐานการสอบบัญชีที่รับรองทั่วไป ซึ่งกำหนดให้ข้าพเจ้าต้องวางแผนและปฏิบัติงานเพื่อให้

ได้ความเชื่อมั่นอย่างมีเหตุผลว่างบการเงินแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญหรือไม่ การตรวจสอบรวมถึงการใช้วิธีการ ทดสอบหลักฐานประกอบรายการ ทั้งที่เป็นจำนวนเงินและการเปิดเผยข้อมูลในงบการเงิน การประเมินความเหมาะสมของหลักการบัญชี

ทีก่ จิ การใช้และประมาณการเกีย่ วกับรายการทางการเงินทีเ่ ป็นสาระสำคัญ ซึง่ ผูบ้ ริหารเป็นผูจ้ ดั ทำขึน้ ตลอดจนการประเมินถึงความเหมาะสม ของการแสดงรายการที่นำเสนอในงบการเงินโดยรวม ข้าพเจ้าเชื่อว่าการตรวจสอบดังกล่าวให้ข้อสรุปที่เป็นเกณฑ์อย่างเหมาะสม

ในการแสดงความเห็นของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าเห็นว่า งบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการข้างต้นนี้ แสดงฐานะการเงินรวมและฐานการเงินเฉพาะกิจการ ณ วันที่

31 ธันวาคม 2551 ผลการดำเนินงานรวมและผลการดำเนินงานเฉพาะกิจการ และกระแสเงินสดรวมและกระแสเงินสดเฉพาะกิจการ สำหรับปีสนิ้ สุดวันเดียวกันของบริษทั ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน) และบริษทั ย่อยและของเฉพาะบริษทั ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน) ตามลำดับ โดยถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป ข้าพเจ้าขอให้สังเกตหมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 32 เกี่ยวกับการเปลี่ยนนโยบายการบัญชีสำหรับค่าความนิยมและค่าความนิยมติดลบ ที่เกิดขึ้นจากการรวมธุรกิจ (วินิจ ศิลามงคล) ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต เลขทะเบียน 3378 บริษัท เคพีเอ็มจี ภูมิไชย สอบบัญชี จำกัด กรุงเทพมหานคร 16 กุมภาพันธ์ 2552

56


บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

งบดุล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ 2550

สินทรัพย์

งบการเงินรวม หมายเหตุ

2551

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2550

2551

2550

(บาท)

สินทรัพย์หมุนเวียน เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด 5 เงินลงทุนชั่วคราว 6 ลูกหนี้การค้า 4, 7 เงินให้กู้ยืมระยะสั้นแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกัน 4 สินค้าคงเหลือ 8 สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น 4, 9 รวมสินทรัพย์หมุนเวียน

1,547,389,545 244,185,774 377,612,900 - 779,592,667 759,517,449 3,708,298,335

1,571,408,509 - 390,665,270 - 663,140,266 346,493,303 2,971,707,348

1,195,639,350 244,185,774 274,481,418 1,774,338,095 478,731,929 726,433,162 4,693,809,728

1,233,696,385 - 285,480,659 1,973,693,286 416,464,868 328,336,948 4,237,672,146

สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน เงินลงทุนในบริษัทย่อย และบริษัทร่วม 10 เงินลงทุนระยะยาวอื่น 6, 11 เงินให้กู้ยืมระยะยาวแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกัน 4 ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ 12 สิทธิการเช่า 13 ค่าความนิยม 14 สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น 15 รวมสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน

983,010,841 26,250,000 - 1,717,302,477 2,832,795,294 60,534,991 338,220,720 5,958,114,323

811,986,014 26,250,000 - 1,791,052,808 3,026,346,385 56,924,082 345,531,940 6,058,091,229

798,847,990 26,250,000 61,223,493 999,627,019 1,410,090,217 - 141,780,485 3,437,819,204

798,847,990 26,250,000 61,223,493 1,016,101,607 1,514,044,008 - 141,315,309 3,557,782,407

รวมสินทรัพย์

9,666,412,658

9,029,798,577

8,131,628,932

7,795,454,553

57


บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

งบดุล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ 2550

หนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น

งบการเงินรวม หมายเหตุ

หนี้สินหมุนเวียน เจ้าหนี้การค้า 4, 16 เงินกู้ยืมระยะสั้น จากกิจการที่เกี่ยวข้องกัน 4, 17 ภาษีเงินได้ค้างจ่าย หนี้สินหมุนเวียนอื่น 4, 18 รวมหนี้สินหมุนเวียน หนี้สินไม่หมุนเวียน เงินกูย้ มื ระยะยาวจากกิจการทีเ่ กีย่ วข้องกัน 4, 17 รายได้ค่าเช่ารอรับรู้ หนี้สินไม่หมุนเวียนอื่น 19 รวมหนี้สินไม่หมุนเวียน รวมหนี้สิน

2551

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2550

2551

2550

(บาท) 2,426,109,613

2,482,833,160

1,383,271,652

1,450,065,653

- 109,125,116 817,221,799 3,352,456,528

- 77,374,857 702,175,405 3,262,383,422

1,085,501,467 69,237,802 668,222,608 3,206,233,529

1,007,837,195 58,686,819 517,013,178 3,033,602,845

- 51,204,053 14,199,200 65,403,253 3,417,859,781

- 59,854,212 14,699,200 74,553,412 3,336,936,834

113,300,000 - - 113,300,000 3,319,533,529

113,300,000 - - 113,300,000 3,146,902,845

ส่วนของผู้ถือหุ้น ทุนเรือนหุ้น 20 ทุนจดทะเบียน ทุนที่ออกและชำระแล้ว ส่วนเกินทุน การเปลี่ยนแปลงในมูลค่ายุติธรรม 22 กำไรสะสม สำรองตามกฎหมาย 22 สำรองสำหรับหุ้นทุนซื้อคืน 22 ยังไม่ได้จัดสรร หุ้นทุนซื้อคืน 21 รวมส่วนของผู้ถือหุ้น เฉพาะบริษัท ส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย รวมส่วนของผู้ถือหุ้น

รวมหนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น

3,942,847,022 3,942,847,022 (6,048,000)

3,942,847,022 3,942,847,022

3,942,847,022 3,942,847,022

3,942,847,022 3,942,847,022

-

(6,048,000)

-

207,317,000 12,797,150 1,954,601,120 (12,797,150)

175,917,000 - 1,419,396,988 -

207,317,000 12,797,150 667,979,381 (12,797,150)

175,917,000 - 529,787,686 -

6,098,717,142 149,835,735 6,248,552,877

5,538,161,010 154,700,733 5,692,861,743

4,812,095,403 - 4,812,095,403

4,648,551,708 - 4,648,551,708

9,666,412,658

9,029,798,577

8,131,628,932

7,795,454,553

58


บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

งบกำไรขาดทุน สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ 2550

งบการเงินรวม หมายเหตุ

2551

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2550

รายได้ รายได้จากการขายสินค้า 4 12,417,011,866 11,284,877,927 รายได้ค่าเช่าและค่าบริการ 4 692,827,222 681,113,678 ดอกเบี้ยรับ 4, 24 34,794,470 17,293,796 รายได้อื่น 4, 25 407,107,339 485,943,751 ส่วนแบ่งกำไรสุทธิจากเงินลงทุน ตามวิธีส่วนได้เสีย 10 171,024,826 132,672,691 รวมรายได้ 13,722,765,723 12,601,901,843 ค่าใช้จ่าย ต้นทุนขายสินค้า 9,529,497,238 8,684,563,345 ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร 4, 26 2,925,660,268 2,820,884,708 รวมค่าใช้จ่าย 12,455,157,506 11,505,448,053 กำไรก่อนดอกเบี้ยจ่าย และภาษีเงินได้ 1,267,608,217 1,096,453,790 ดอกเบี้ยจ่าย 4, 28 - 3,571,847 ภาษีเงินได้ 29 227,438,657 208,696,505 กำไรสำหรับปี 1,040,169,560 884,185,438 ส่วนของกำไรที่เป็นของ ผู้ถือหุ้นของบริษัท 1,020,033,107 864,377,487 ผู้ถือหุ้นส่วนน้อย 20,136,453 19,807,951 กำไรสำหรับปี 1,040,169,560 884,185,438 กำไรต่อหุ้นขั้นพื้นฐาน 30 0.92 0.78

(บาท)

2551

2550

7,286,620,411 408,508,638 207,146,883 456,978,689

6,845,437,557 407,923,559 234,373,955 502,662,028

- 8,359,254,621

- 7,990,397,099

5,578,293,855 2,012,971,619 7,591,265,474

5,265,069,148 2,005,768,341 7,270,837,489

767,989,147 6,950,329 134,407,238 626,631,580

719,559,610 8,418,431 164,092,133 547,049,046

626,631,580 - 626,631,580

547,049,046 - 547,049,046

0.56

0.49

59


ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 1 มกราคม 2550 11,106,611,330 (7,217,474,659) การเปลี่ยนแปลงในส่วนของผู้ถือหุ้นสำหรับปี 2550 กำไรสำหรับปี - - รวมส่วนของรายได้ที่รับรู้ - - ส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยลดลง - จากบริษัทย่อยที่เลิกกิจการ ลดทุน 20 (7,163,764,308) 7,217,474,659 เงินปันผล 31 - - สำรองตามกฎหมาย 22 - - ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 3,942,847,022 - ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 1 มกราคม 2551 3,942,847,022 - การเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชี 32 - - ยอดคงเหลือที่ปรับปรุงแล้ว 3,942,847,022 - การเปลี่ยนแปลงในส่วนของผู้ถือหุ้นสำหรับปี 2551 การเปลี่ยนแปลงในมูลค่ายุติธรรม - - กำไรสำหรับปี - - รวมส่วนของรายได้ และค่าใช้จ่ายที่รับรู้ - - ซื้อหุ้นทุนคืน 21 - - เงินปันผล 31 - - สำรองตามกฎหมาย 22 - - สำรองสำหรับหุ้นทุนซื้อคืน 22 - - ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 3,942,847,022 -

- - - - - 31,400,000 - 207,317,000

(6,048,000) - - - - (6,048,000)

- - 27,502,000 175,917,000 175,917,000 - 175,917,000

- - - - - - - (6,048,000) -

-

- -

- - -

148,415,000

-

จัดสรรเป็น ทุนเรือนหุน้ ทีอ่ อก ส่วนต่ำกว่า การเปลีย่ นแปลงใน สำรองตาม กฎหมาย หมายเหตุ และชำระแล้ว มูลค่าหุน้ มูลค่ายุตธิ รรม

สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ 2550

งบแสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของผู้ถือหุ้น

- - - - 12,797,150 12,797,150

- -

- - - - - - -

- -

- 864,377,487 864,377,487

991,643,415

-

- -

- - - - - - -

- - -

19,807,951 19,807,951

(6,048,000) 1,020,033,107

60

20,136,453 1,034,121,560 - (12,797,150) (25,001,451) (469,244,186) - -

- -

149,835,735 6,248,552,877

- (6,048,000) 20,136,453 1,040,169,560

(5,279,305) - (355,411,563) - 5,692,861,743 5,692,861,743 3,610,910 5,696,472,653

884,185,438 884,185,438

140,172,087 5,169,367,173

- (5,279,305) - - (355,411,563) - - - 5,538,161,010 154,700,733 5,538,161,010 154,700,733 3,610,910 - 5,541,771,920 154,700,733

864,377,487 864,377,487

- 5,029,195,086

รวมส่วนของ ผูถ้ อื หุน้ ส่วนของผูถ้ อื หุน้ รวมส่วน เฉพาะบริษทั ส่วนน้อย ของผูถ้ อื หุน้

1,020,033,107 - 1,013,985,107 - (12,797,150) (12,797,150) (444,242,735) - (444,242,735) (31,400,000) - - (12,797,150) - - 1,954,601,120 (12,797,150) 6,098,717,142

- 1,020,033,107

- - (53,710,351) (355,411,563) (27,502,000) 1,419,396,988 1,419,396,988 3,610,910 1,423,007,898

(บาท)

งบการเงินรวม กำไรสะสม จัดสรรเป็น สำรองสำหรับ หุน้ ทุน หุน้ ทุนทีซ่ อื้ คืน ยังไม่ได้จดั สรร ซือ้ คืน

บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)


ทุนเรือนหุ้นที่ออก และชำระแล้ว

ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 1 มกราคม 2551 3,942,847,022 การเปลี่ยนแปลงในส่วนของผู้ถือหุ้นสำหรับปี 2551 การเปลี่ยนแปลงในมูลค่ายุติธรรม - กำไรสำหรับปี - รวมส่วนของรายได้และค่าใช้จ่ายที่รับรู้ - ซื้อหุ้นทุนคืน 21 - เงินปันผล 31 - สำรองตามกฎหมาย 22 - สำรองสำหรับหุ้นทุนซื้อคืน 22 - ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 3,942,847,022

ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 1 มกราคม 2550 11,106,611,330 การเปลี่ยนแปลงในส่วนของผู้ถือหุ้นสำหรับปี 2550 กำไรสำหรับปี - รวมส่วนของรายได้ที่รับรู้ - ลดทุน 20 (7,163,764,308) เงินปันผล 31 - สำรองตามกฎหมาย 22 - ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 3,942,847,022

หมายเหตุ

ส่วนต่ำกว่า มูลค่าหุ้น

การเปลี่ยนแปลงใน จัดสรรเป็น สำรองสำหรับ มูลค่ายุติธรรม สำรองตามกฎหมาย หุ้นทุนที่ซื้อคืน ยังไม่ได้จัดสรร

หุ้นทุน ซื้อคืน

รวมส่วนของ ผู้ถือหุ้น

- - - - - - - -

(6,048,000) - (6,048,000) - - - - (6,048,000)

-

- - - - - -

- - 7,217,474,659 - - - -

-

(7,217,474,659)

- - - - - 31,400,000 - 207,317,000

175,917,000

- - - - 27,502,000 175,917,000

148,415,000

(บาท)

- - - - - - 12,797,150 12,797,150

-

- - - - - -

-

- 626,631,580 626,631,580 - (444,242,735) (31,400,000) (12,797,150) 667,979,381

529,787,686

547,049,046 547,049,046 (53,710,351) (355,411,563) (27,502,000) 529,787,686

419,362,554

- - - (12,797,150) - - - (12,797,150)

-

- - - - - -

-

4,648,551,708 (6,048,000) 626,631,580 620,583,580 (12,797,150) (444,242,735) - - 4,812,095,403

547,049,046 547,049,046 - (355,411,563) - 4,648,551,708

4,456,914,225

งบการเงินเฉพาะกิจการ กำไรสะสม จัดสรรเป็น

สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ 2550

งบแสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของผู้ถือหุ้น

61

บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)


บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

งบกระแสเงินสด สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ 2550

งบการเงินรวม

กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน กำไรสำหรับปี รายการปรับปรุง ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย ดอกเบี้ยรับ ดอกเบี้ยจ่าย เงินปันผลรับ หนี้สูญและ หนี้สงสัยจะสูญ (กลับรายการ) ค่าเผื่อสินค้าล้าสมัย และเคลื่อนไหวช้า ขาดทุน (กำไร) จากการจำหน่ายที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ ขาดทุนจากการตัดจำหน่ายภาษีหัก ณ ที่จ่าย ส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุน

ตามวิธีส่วนได้เสีย กำไรจากการเปลี่ยนแปลงมูลค่าของเงินลงทุน รับรู้รายได้ค่าเช่า กำไรจากการชำระบัญชีบริษัทย่อยและบริษัทร่วม กลับรายการค่าเผื่อการด้อยค่าของเงินลงทุน ของบริษัทย่อยและบริษัทร่วม ภาษีเงินได้ การเปลี่ยนแปลงในสินทรัพย์และหนี้สินดำเนินงาน ลูกหนี้การค้า สินค้าคงเหลือ สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น เจ้าหนี้การค้า หนี้สินหมุนเวียนอื่น หนี้สินไม่หมุนเวียนอื่น จ่ายภาษีเงินได้ เงินสดสุทธิได้มาจากกิจกรรมดำเนินงาน

2551

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2550

(บาท)

2551

2550

1,040,169,560

884,185,438

626,631,580

547,049,046

630,086,889 (34,794,470) - (262,500)

691,486,271 (17,293,796) 3,571,847 (262,500)

381,233,476 (207,146,883) 6,950,329 (262,500)

438,877,625 (234,373,955) 8,418,431 (262,500)

(1,054,888)

2,952,807

(37,510,356)

351,449

(42,827,133)

1,426,452

(43,942,414)

912,002

(508,624) 2,045,859

(27,264,384) -

114,564 -

(26,741,722) -

(171,024,826) (233,773) (8,650,159) -

(132,672,691) - (9,100,060) (46,163,750)

- (233,773) - -

- - - (556,719)

- 227,438,657 1,640,384,592

(60,834,181) 208,696,505 1,498,727,958

- 134,407,238 860,241,261

(106,968,749) 164,092,133 790,797,041

14,107,258 (73,625,269) (413,085,438) 5,250,477 (56,723,547) 115,046,394 (500,000) (203,489,790) 1,027,364,677

(65,458,447) (14,831,133) (40,971,156) 38,659,774 132,835,389 (5,890,836) (1,552,986) (229,021,504) 1,312,497,059

11,102,873 (18,324,647) (398,163,510) (7,535,290) (66,794,001) 151,209,429 - (123,856,255) 407,879,860

(29,788,569) 14,247,176 (28,150,697) 33,933,723 (18,447,301) (62,533,805) - (179,465,200) 520,592,368

62


บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

งบกระแสเงินสด สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ 2550

งบการเงินรวม

2551

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2550

(บาท)

2551

กระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุน รับดอกเบี้ย 34,855,762 17,226,500 205,699,922 รับเงินปันผล 262,500 262,500 262,500 เงินสดของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย

ในบริษัทย่อยที่เลิกกิจการ - (5,279,305) - รับชำระคืนจากเงินให้กู้ยืม แก่กิจการที่เกี่ยวข้องกัน - - 5,819,245,751 เงินให้กู้ยืมแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกัน - - (5,580,969,581) ซื้อที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ (357,339,937) (344,409,369) (254,241,907) ขายที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ 2,879,370 95,117,109 392,361 ซื้อเงินลงทุนชั่วคราว (250,000,000) - (250,000,000) เงินสดรับจากการคืนทุนของบริษัทย่อย และบริษัทร่วมที่เลิกกิจการ - 96,175,468 - เงินสดสุทธิได้มาจาก (ใช้ไปใน) กิจกรรมลงทุน (569,342,305) (140,907,097) (59,610,954) กระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงิน จ่ายดอกเบี้ย - (3,894,251) (5,766,533) จ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหุ้นของบริษัท (444,242,735) (355,411,563) (444,242,735) จ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหุ้นส่วนน้อย (25,001,451) - - เงินสดจ่ายเพื่อซื้อหุ้นทุนคืน (12,797,150) - (12,797,150) เงินสดรับจากเงินกู้ยืมจากกิจการที่เกี่ยวข้องกัน - - 118,941,354 ชำระคืนเงินกู้ยืมจากกิจการที่เกี่ยวข้องกัน - (114,709,999) (42,460,877) ชำระคืนเงินกู้ยืมจากสถาบันการเงิน - (123,000,000) - เงินสดสุทธิใช้ไปในกิจกรรมจัดหาเงิน (482,041,336) (597,015,813) (386,325,941) เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด เพิ่มขึ้น (ลดลง) สุทธิ (24,018,964) 574,574,149 (38,057,035) เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ณ วันต้นปี 1,571,408,509 996,834,360 1,233,696,385 เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ณ วันสิ้นปี 1,547,389,545 1,571,408,509 1,195,639,350

2550 242,141,828 262,500 - 5,705,702,107 (5,445,201,733) (150,494,502) 90,673,798 - 96,175,468 539,259,466 (19,547,418) (355,411,563) - - 81,314,766 (143,369,329) (123,000,000) (560,013,544) 499,838,290 733,858,095 1,233,696,385

63


บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

หมายเหตุประกอบงบการเงิน สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ 2550 หมายเหตุ สารบัญ 1 ข้อมูลทั่วไป 2 เกณฑ์การจัดทำงบการเงิน 3 นโยบายการบัญชีที่สำคัญ 4 รายการที่เกิดขึ้นและยอดคงเหลือกับบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน 5 เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด 6 เงินลงทุนอื่น 7 ลูกหนี้การค้า 8 สินค้าคงเหลือ 9 สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น 10 เงินลงทุนในบริษัทย่อยและบริษัทร่วม 11 เงินลงทุนระยะยาวอื่น 12 ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ 13 สิทธิการเช่า 14 ค่าความนิยม 15 สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น 16 เจ้าหนี้การค้า 17 หนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ย 18 หนี้สินหมุนเวียนอื่น 19 หนี้สินไม่หมุนเวียนอื่น 20 ทุนเรือนหุ้น 21 หุ้นทุนซื้อคืน 22 ส่วนเกินทุน 23 ข้อมูลทางการเงินจำแนกตามส่วนงาน 24 ดอกเบี้ยรับ 25 รายได้อื่น 26 ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร 27 ค่าใช้จ่ายพนักงาน 28 ดอกเบี้ยจ่าย 29 ภาษีเงินได้ 30 กำไรต่อหุ้นขั้นพื้นฐาน 31 เงินปันผลจ่าย 32 การเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชี 33 เครื่องมือทางการเงิน 34 ภาระผูกพันที่มีกับกิจการที่ไม่เกี่ยวข้องกัน 35 มาตรฐานการบัญชีไทยที่ยังไม่ได้ใช้ 36 การจัดประเภทรายการใหม่

64


บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

หมายเหตุประกอบงบการเงิน สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ 2550

1

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้ งบการเงินนี้ได้รับอนุมัติให้ออกงบการเงินจากกรรมการเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2552

ข้อมูลทั่วไป

บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน) “บริษัท” เป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นในประเทศไทย และที่อยู่จดทะเบียนตั้งอยู่เลขที่ 2 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย บริษัทจดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อเดือนมกราคม 2535 ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ในระหว่างปีได้แก่ บริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (ถือหุ้นร้อยละ 27.74 ) และ บริษัท ซี อาร์ จี บริการ จำกัด (ถือหุ้นร้อยละ 26.07) ซึ่งบริษัททั้งสองแห่งเป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นในประเทศไทย บริษัทและบริษัทย่อยดำเนินธุรกิจหลักเกี่ยวกับห้างสรรพสินค้าภายใต้ชื่อ “โรบินสัน” นอกจากนี้บริษัทได้ร่วมลงทุนกับพันธมิตรธุรกิจ

บางกลุ่ม (บริษัทย่อยทางอ้อม) สำหรับพื้นที่นอกเขตกรุงเทพมหานคร โดยผ่านการถือหุ้นของบริษัท ซีอาร์ (ประเทศไทย) จำกัด

รายละเอียดของบริษัทย่อยของบริษัท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ 2550 มีดังนี้

ประเทศ บริษัทถือหุ้นร้อยละ ชื่อกิจการ ลักษณะธุรกิจ ที่กิจการจัดตั้ง 2551 2550 บริษัทย่อยทางตรง บริษัท โรบินสันอนุสาวรีย์ จำกัด มิได้ดำเนินพาณิชยกิจ ประเทศไทย 99.91 99.91 บริษัท โรบินสันรัชดา จำกัด มิได้ดำเนินพาณิชยกิจ ประเทศไทย 99.80 99.80 บริษัท โรบินสันนครินทร์ จำกัด มิได้ดำเนินพาณิชยกิจ ประเทศไทย 99.86 99.86 บริษัท โรบินสันสุขุมวิท จำกัด มิได้ดำเนินพาณิชยกิจ ประเทศไทย 99.99 99.99 บริษัท เครือเพชร จำกัด บริษัทลงทุน ประเทศไทย 99.99 99.99 บริษัท เครือแก้ว จำกัด มิได้ดำเนินพาณิชยกิจ ประเทศไทย 99.99 99.99 บริษัท ซีอาร์ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัทลงทุน ประเทศไทย 99.99 99.99 R-Trading (L) BHD. บริษัทลงทุน ประเทศมาเลเซีย 99.92 99.92 บริษัท อาร์ดี พัฒนา จำกัด พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ประเทศไทย 99.98 99.98 บริษัท โรบินสัน เอส.พี.วี. จำกัด บริษัทลงทุน ประเทศไทย 99.99 99.99 บริษัท ซีอาร์ ราชบุรี (ประเทศไทย) จำกัด ห้างสรรพสินค้า ประเทศไทย 50.00 50.00 บริษัทย่อยทางอ้อม บริษัท ซีอาร์ อุดรธานี (ประเทศไทย) จำกัด ห้างสรรพสินค้า ประเทศไทย 76.00 76.00 บริษัท ซีอาร์ ภูเก็ต (ประเทศไทย) จำกัด ห้างสรรพสินค้า ประเทศไทย 49.99 49.99 บริษัท ซีอาร์ นครศรีธรรมราช (ประเทศไทย) จำกัด ห้างสรรพสินค้า ประเทศไทย 49.99 49.99 บริษัท ซีอาร์ หาดใหญ่ (ประเทศไทย) จำกัด ห้างสรรพสินค้า ประเทศไทย 76.00 76.00 บริษัท ซีอาร์ เชียงใหม่ (ประเทศไทย) จำกัด ห้างสรรพสินค้า ประเทศไทย 89.99 89.99 บริษัท ซีอาร์ อุบลราชธานี (ประเทศไทย) จำกัด ห้างสรรพสินค้า ประเทศไทย 74.99 74.99 บริษัท ซีอาร์ จันทบุรี (ประเทศไทย) จำกัด ห้างสรรพสินค้า ประเทศไทย 64.99 64.99 บริษัท ซีอาร์ ราชบุรี (ประเทศไทย) จำกัด ห้างสรรพสินค้า ประเทศไทย 49.99 49.99 65


(มหาชน) บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

หมายเหตุประกอบงบการเงิน สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ 2550

2

เกณฑ์การจัดทำงบการเงิน

งบการเงินนี้นำเสนอเพื่อวัตถุประสงค์ของการรายงานเพื่อใช้ในประเทศไทย และจัดทำเป็นภาษาไทย งบการเงินฉบับภาษาอังกฤษได้จัด ทำขึ้นเพื่อความสะดวกของผู้อ่านงบการเงินที่ไม่คุ้นเคยกับภาษาไทย งบการเงินนี้จัดทำขึ้นตามมาตรฐานการบัญชีไทย (“มาตรฐานการบัญชี”) รวมถึงการตีความและแนวปฏิบัติทางการบัญชีที่ประกาศใช้

โดย สภาวิชาชีพบัญชีฯ (“สภาวิชาชีพบัญชี”) และจัดทำขึ้นตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปของประเทศไทย กลุ่มบริษัทได้ ใช้มาตรฐานการบัญชีที่ออกและปรับปรุงใหม่ โดยสภาวิชาชีพบัญชี ในระหว่างปี 2550 ต่อไปนี้ ซึ่งมีผลบังคับสำหรับ

งบการเงินที่มีรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2551 เป็นต้นไป มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 25 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง งบกระแสเงินสด มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 29 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง สัญญาเช่า มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 31 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง สินค้าคงเหลือ มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 35 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง การนำเสนองบการเงิน มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 39 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง นโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชี และข้อผิดพลาด มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 41 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง งบการเงินระหว่างกาล มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 43 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง การรวมธุรกิจ มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 51 เรื่อง สินทรัพย์ไม่มีตัวตน การใช้มาตรฐานการบัญชีฉบับใหม่และฉบับปรับปรุงเหล่านี้ ไม่มีผลกระทบที่เป็นสาระสำคัญกับงบการเงินรวมหรืองบการเงินเฉพาะ กิจการ ยกเว้นที่ได้เปิดเผยไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 32 ในระหว่างปี 2551 สภาวิชาชีพบัญชีได้ออกมาตรฐานการบัญชีฉบับปรับปรุงใหม่หลายฉบับ ซึ่งมีผลบังคับสำหรับงบการเงินที่มีรอบระยะ เวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2552 และไม่ได้มีการนำมาใช้สำหรับการจัดทำงบการเงินนี้ มาตรฐานการบัญชีที่ได้ปรับปรุง ใหม่เหล่านี้ได้เปิดเผยในหมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 35 งบการเงินนี้แสดงหน่วยเงินตราเป็นเงินบาท และมีการปัดเศษในหมายเหตุประกอบงบการเงินเพื่อให้แสดงเป็นหลักพันบาท งบการเงินนี้ ได้จัดทำขึ้นโดยถือหลักเกณฑ์การบันทึกตามราคาทุนเดิม ยกเว้นที่กล่าวไว้ในนโยบายการบัญชี ในการจัดทำงบการเงินให้เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชี ผู้บริหารต้องใช้การประมาณและข้อสมมติฐานหลายประการ ซึ่งมีผลกระทบ

ต่อการกำหนดนโยบายและการรายงานจำนวนเงินที่เกี่ยวกับ สินทรัพย์ หนี้สิน รายได้ และค่าใช้จ่าย การประมาณและข้อสมมติฐาน

มาจากประสบการณ์ในอดีต และปัจจัยต่างๆ รวมถึงการประเมินผลกระทบที่สำคัญต่อผลการดำเนินงานและฐานะการเงินของกลุ่มบริษัท อันเนื่องมาจากวิกฤตการณ์เศรษฐกิจโลก ผลที่เกิดขึ้นจริงอาจแตกต่างจากที่ประมาณไว้ ประมาณการและข้อสมมติฐานที่ใช้ในการจัดทำงบการเงินจะได้รับการทบทวนอย่างสม่ำเสมอการปรับประมาณการทางบัญชีจะบันทึกใน งวดบัญชีที่การประมาณการดังกล่าวได้รับการทบทวน หากการปรับประมาณการกระทบเฉพาะงวดนั้นๆ และจะบันทึกในงวดที่ปรับและ งวดในอนาคต หากการปรับประมาณการกระทบทั้งงวดปัจจุบันและอนาคต 66


บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

หมายเหตุประกอบงบการเงิน สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ 2550

3

นโยบายการบัญชีที่สำคัญ

(ก) เกณฑ์ในการทำงบการเงินรวม งบการเงินรวมประกอบด้วยงบการเงินของบริษัทและบริษัทย่อย (รวมกันเรียกว่า “กลุ่มบริษัท”) และส่วนได้เสียของกลุม่ บริษทั ในบริษทั ร่วม รายการที่มีสาระสำคัญซึ่งเกิดขึ้นระหว่างบริษัทและบริษัทย่อยได้ถูกตัดรายการในการทำงบการเงินรวม บริษัทย่อย บริษัทย่อยเป็นกิจการที่อยู่ภายใต้การควบคุมของบริษัท การควบคุมเกิดขึ้นเมื่อบริษัทมีอำนาจควบคุมทั้งทางตรงหรือทางอ้อมในการ กำหนดนโยบายทางการเงินและการดำเนินงานของบริษัทนั้น เพื่อได้มาซึ่งประโยชน์จากกิจกรรมของบริษัทย่อย งบการเงินของบริษัทย่อย ได้รวมอยู่ในงบการเงินรวม นับแต่วันที่มีการควบคุมจนถึงวันที่การควบคุมสิ้นสุดลง บริษัทร่วม บริษัทร่วมเป็นกิจการที่กลุ่มบริษัทมีอิทธิพลอย่างเป็นสาระสำคัญโดยมีอำนาจเข้าไปมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบายทางการเงิน และการดำเนินงานแต่ไม่ถึงระดับที่จะควบคุมนโยบายดังกล่าว งบการเงินรวมของกลุ่มบริษัทได้รวมส่วนแบ่งกำไรหรือขาดทุนของบริษัท ร่วมตามวิธีส่วนได้เสีย นับจากวันที่มีอิทธิพลอย่างเป็นสาระสำคัญจนถึงวันที่การมีอิทธิพลอย่างเป็นสาระสำคัญสิ้นสุดลง เมื่อผลขาดทุน

ที่ ก ลุ่ ม บริ ษั ท ได้ รั บ ปั น จากบริ ษั ท ร่ ว มมี จ ำนวนเกิ น กว่ า เงิ น ลงทุ น ในบริ ษั ท ร่ ว ม เงิ น ลงทุ น จะถู ก ทอนลงจนเป็ น ศู น ย์ แ ละหยุ ด รั บ รู้

ส่วนผลขาดทุน เว้นแต่กรณีที่กลุ่มบริษัทมีภาระผูกพันตามกฎหมายหรืออนุมานหรือยินยอมที่จะชำระภาระผูกพันของบริษัทร่วม (ข) เงินตราต่างประเทศ รายการบัญชีที่เป็นเงินตราต่างประเทศแปลงค่าเป็นเงินบาทโดยใช้อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่เกิดรายการ สินทรัพย์และหนี้สินที่เป็นตัวเงินและเป็นเงินตราต่างประเทศ ณ วันที่ในงบดุล แปลงค่าเป็นเงินบาทโดยใช้อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันนั้น กำไรหรือขาดทุนจากการแปลงค่าจะบันทึกในงบกำไรขาดทุน สินทรัพย์และหนี้สินที่ไม่เป็นตัวเงินซึ่งเกิดจากรายการบัญชีที่เป็นเงินตราต่างประเทศซึ่งบันทึกตามเกณฑ์ราคาทุนเดิม แปลงค่าเป็น

เงินบาทโดยใช้อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่เกิดรายการ

(ค) เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดประกอบด้วย ยอดเงินสด ยอดเงินฝากธนาคารประเภทเผือ่ เรียก และเงินลงทุนระยะสัน้ ทีม่ สี ภาพคล่องสูง เงินเบิกเกินบัญชีธนาคารซึ่งจะต้องชำระคืนเมื่อทวงถามถือเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมจัดหาเงินในงบกระแสเงินสด (ง) ลูกหนี้การค้าและลูกหนี้อื่น ลูกหนี้การค้าและลูกหนี้อื่น แสดงในราคาตามใบแจ้งหนี้หักค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญประเมินโดยการวิเคราะห์ประวัติการชำระหนี้ และการคาดการณ์เกี่ยวกับการชำระหนี้ในอนาคตของลูกค้า ลูกหนี้

จะถูกตัดจำหน่ายบัญชีเมื่อทราบว่าเป็นหนี้สูญ 67


บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

หมายเหตุประกอบงบการเงิน สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ 2550 (จ) สินค้าคงเหลือ สินค้าคงเหลือแสดงในราคาทุนหรือมูลค่าสุทธิที่จะได้รับแล้วแต่ราคาใดจะต่ำกว่า ต้นทุนของสินค้าคำนวณโดยใช้วิธีถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก ต้นทุนสินค้าประกอบด้วยต้นทุนที่ซื้อ ต้นทุนในการดัดแปลงหรือต้นทุนอื่นเพื่อให้ สินค้าอยู่ในสถานที่และสภาพปัจจุบัน มูลค่าสุทธิที่จะได้รับเป็นการประมาณราคาที่จะขายได้จากการดำเนินธุรกิจปกติหักด้วยค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการขาย (ฉ) เงินลงทุน เงินลงทุนในบริษัทย่อยและบริษัทร่วม เงินลงทุนในบริษัทย่อยและบริษัทร่วมในงบการเงินเฉพาะกิจการของบริษัท บันทึกบัญชีโดยใช้วิธีราคาทุน ส่วนการบันทึกบัญชีเงินลงทุน ในบริษัทร่วมในงบการเงินรวมใช้วิธีส่วนได้เสีย เงินลงทุนในตราสารทุนอื่น ตราสารทุนซึ่งเป็นหลักทรัพย์ในความต้องการของตลาดซึ่งถือไว้เพื่อค้า จัดประเภทเป็นสินทรัพย์หมุนเวียนและแสดงในมูลค่ายุติธรรม กำไรหรือขาดทุนจากการตีราคาหลักทรัพย์ได้บันทึกในงบกำไรขาดทุน ตราสารทุนซึ่งเป็นหลักทรัพย์ในความต้องการของตลาด นอกเหนือจากที่ถือไว้เพื่อค้าหรือตั้งใจถือไว้จนครบกำหนด จัดประเภทเป็น

หลั ก ทรั พ ย์ เ ผื่ อ ขายและแสดงในมู ล ค่ า ยุ ติ ธ รรม กำไรหรื อ ขาดทุ น จากการตี ร าคาหลั ก ทรั พ ย์ ไ ด้ บั น ทึ ก ในส่ ว นของผู้ ถื อ หุ้ น โดยตรง

ยกเว้นขาดทุนจากการด้อยค่าของเงินลงทุน จะรับรู้ ในงบกำไรขาดทุน เมื่อมีการจำหน่ายเงินลงทุน จะรับรู้ผลกำไรหรือขาดทุน

ที่เคยบันทึกในส่วนของผู้ถือหุ้นโดยตรงเข้าในงบกำไรขาดทุน ในกรณีที่เป็นเงินลงทุนประเภทที่มีดอกเบี้ย จะต้องบันทึกดอกเบี้ย

ในงบกำไรขาดทุนโดยวิธีอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง เงินลงทุนในตราสารทุนซึ่งไม่ใช่หลักทรัพย์ในความต้องการของตลาดแสดงในราคาทุนหักขาดทุนจากการด้อยค่า มูลค่ายุติธรรมของเครื่องมือทางการเงินสำหรับหลักทรัพย์เพื่อค้าและหลักทรัพย์เผื่อขายจะใช้ราคาเสนอซื้อ ณ วันที่ในงบดุล การจำหน่ายเงินลงทุน เมื่อมีการจำหน่ายเงินลงทุน ผลต่างระหว่างจำนวนเงินสุทธิที่ได้รับและมูลค่าตามบัญชี และรวมถึงกำไรหรือขาดทุนจากการตีราคา

หลักทรัพย์ที่เกี่ยวข้องที่เคยบันทึกในส่วนของผู้ถือหุ้นจะถูกบันทึกในงบกำไรขาดทุน ในกรณีที่กลุ่มบริษัทจำหน่ายบางส่วนของเงินลงทุนที่ถืออยู่ การคำนวณต้นทุนสำหรับเงินลงทุนที่จำหน่ายไปและเงินลงทุนที่ยังถืออยู่

ใช้วิธีถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก

68


บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

หมายเหตุประกอบงบการเงิน สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ 2550 (ช) ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ สินทรัพย์ที่เป็นกรรมสิทธิ์ของกิจการ ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์แสดงด้วยราคาทุนหักค่าเสื่อมราคาสะสมและขาดทุนจากการด้อยค่า ค่าเสื่อมราคา ค่าเสื่อมราคาบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุน คำนวณโดยวิธีผลรวมของจำนวนปี (ยกเว้นอาคารและอุปกรณ์ที่ได้มาก่อนปี 2544 คำนวณค่าเสื่อมราคาโดยวิธีเส้นตรง) ตามเกณฑ์อายุการใช้งานโดยประมาณของสินทรัพย์แต่ละรายการ ประมาณการอายุการใช้งาน

ของสินทรัพย์แสดงได้ดังนี้ ส่วนปรับปรุงสิทธิการเช่า 20 ปี อาคารและสิ่งปลูกสร้าง 20 ปี ส่วนปรับปรุงอาคารและสิ่งปลูกสร้าง 5-20 ปี อุปกรณ์ระบบสารสนเทศ 5-10 ปี อุปกรณ์ระบบงานอาคาร 5-10 ปี เครื่องตกแต่ง ติดตั้งและอุปกรณ์สำนักงาน 5 ปี ยานพาหนะ 5 ปี กลุ่มบริษัทไม่คิดค่าเสื่อมราคาสำหรับที่ดินและสินทรัพย์ที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง (ซ) สิทธิการเช่า สิทธิการเช่าบันทึกบัญชีด้วยราคาทุนหักขาดทุนจากการด้อยค่า ค่าตัดจำหน่าย สิทธิการเช่าตัดบัญชีเป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุน คำนวณโดยวิธีเส้นตรงตามระยะเวลาของสัญญาเช่า (ฌ) สินทรัพย์ไม่มีตัวตน ค่าความนิยม ค่าความนิยมจากการรวมธุรกิจ ได้แก่ต้นทุนการได้มาของสินทรัพย์สุทธิที่ระบุได้ส่วนที่เกินกว่ามูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์สุทธินั้น

ค่าความนิยมติดลบจากการรวมธุรกิจได้แก่มูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์สุทธิที่ระบุได้ ส่วนที่เกินกว่าต้นทุนการได้มาของสินทรัพย์สุทธินั้น กลุ่มบริษัทได้มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีสำหรับค่าความนิยม ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2551 ตามที่ได้กล่าวไว้

ในหมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 32 ค่าความนิยมที่ได้มาก่อนวันที่ 1 มกราคม 2551 ค่าความนิยมและค่าความนิยมติดลบที่ ได้รับรู้ ไว้ก่อนหน้า แสดงในราคาทุนหักด้วยค่าตัดจำหน่ายสะสมและขาดทุนจากการด้อยค่า

ค่าความนิยม ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 ยกมาวันที่ 1 มกราคม 2551 แสดงในราคาตามบัญชีสุทธิเสมือนราคาทุนใหม่ โดยการ

กลับรายการค่าตัดจำหน่ายสะสมกับราคาทุนเดิมของค่าความนิยม ค่าความนิยมติดลบในงบการเงิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550

รับรู้ทั้งจำนวนในยอดกำไรสะสม ณ วันที่ 1 มกราคม 2551 69


บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

หมายเหตุประกอบงบการเงิน สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ 2550 ค่าความนิยมที่ได้มาในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2551 ค่าความนิยมแสดงในราคาทุน ค่าความนิยมติดลบรับรู้ทันทีในงบกำไรขาดทุน การวัดมูลค่าหลังการรับรู้เริ่มแรก ค่าความนิยมวัดมูลค่าด้วยราคาทุนหักค่าเผื่อการด้อยค่าสะสม ในกรณีเงินลงทุนบันทึกตามวิธีส่วนได้เสีย ค่าความนิยมได้ถูกรวมในมูลค่า ตามบัญชีของเงินลงทุน สินทรัพย์ไม่มีตัวตนอื่นๆ สินทรัพย์ไม่มีตัวตนอื่นๆ ที่กลุ่มบริษัทซื้อมาและมีอายุการใช้งานจำกัด แสดงในราคาทุนหักค่าตัดจำหน่ายสะสมและขาดทุนจากการด้อยค่า ค่าตัดจำหน่าย ค่าตัดจำหน่ายบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุน คำนวณโดยวิธีเส้นตรงตามเกณฑ์ระยะเวลาที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ ของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนแต่ละประเภทยกเว้นค่าความนิยม ระยะเวลาที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจของค่าลิขสิทธิ์ซอฟท์แวร์ คือ 5 ปี และ 10 ปี (ญ) การด้อยค่า ยอดสินทรัพย์ตามบัญชีของกลุ่มบริษัทได้รับการทบทวน ณ ทุกวันที่ในงบดุลว่า มีข้อบ่งชี้เรื่องการด้อยค่าหรือไม่ ในกรณีที่มีข้อบ่งชี้

จะทำการประมาณมูลค่าสินทรัพย์ที่คาดว่าจะได้รับคืน ค่าความนิยมและสินทรัพย์ไม่มีตัวตนอื่นๆ ที่มีอายุการใช้งานไม่จำกัดและสินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตนซึ่งยังไม่ได้ใช้ จะมีการทดสอบการด้อยค่า ทุกปีและเมื่อมีข้อบ่งชี้เรื่องการด้อยค่า ขาดทุนจากการด้อยค่ารับรู้เมื่อมูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์ หรือมูลค่าตามบัญชีของหน่วยสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดเงินสดสูงกว่ามูลค่าที่จะได้ รับคืน ขาดทุนจากการด้อยค่าบันทึกในงบกำไรขาดทุน เว้นแต่เมื่อมีการกลับรายการการประเมินมูลค่าของสินทรัพย์เพิ่มของสินทรัพย์

ชิ้นเดียวกันที่เคยรับรู้ในส่วนของผู้ถือหุ้นและมีการด้อยค่าในเวลาต่อมา ในกรณีนี้ให้รับรู้ในส่วนของผู้ถือหุ้น เมื่อมีการลดลงในมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ทางการเงินเผื่อขาย ซึ่งได้บันทึกในส่วนของผู้ถือหุ้น และมีความชัดเจนว่าสินทรัพย์ดังกล่าว มีการด้อยค่า ยอดขาดทุนซึ่งเคยบันทึกในส่วนของผู้ถือหุ้นจะถูกบันทึกในงบกำไรขาดทุนโดยไม่ต้องปรับกับยอดสินทรัพย์ทางการเงิน

ดังกล่าว ยอดขาดทุนที่บันทึกในงบกำไรขาดทุนเป็นผลต่างระหว่างราคาทุนที่ซื้อกับมูลค่ายุติธรรมในปัจจุบันของสินทรัพย์ หักขาดทุนจาก การด้อยค่าของสินทรัพย์ทางการเงินนั้นๆ ซึ่งเคยรับรู้แล้วในงบกำไรขาดทุน การคำนวณมูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืน มูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืนของสินทรัพย์ทางการเงินสำหรับหลักทรัพย์เผื่อขาย คำนวณโดยอ้างอิงถึงมูลค่ายุติธรรม มูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืนของสินทรัพย์ที่ไม่ใช่สินทรัพย์ทางการเงิน หมายถึงราคาขายสุทธิของสินทรัพย์ หรือมูลค่าจากการใช้ของ สินทรัพย์ แล้วแต่มูลค่าใดจะสูงกว่า ในการประเมินมูลค่าจากการใช้ของสินทรัพย์ ประมาณการกระแสเงินสดที่จะได้รับในอนาคตจะคิดลด เป็นมูลค่าปัจจุบันโดยใช้อัตราคิดลดก่อนคำนึงภาษีเงินได้เพื่อให้สะท้อนมูลค่าที่อาจประเมินได้ในตลาดปัจจุบัน ซึ่งแปรไปตามเวลาและ ความเสี่ยงที่มีต่อสินทรัพย์ สำหรับสินทรัพย์ที่ไม่ก่อให้เกิดกระแสเงินสดรับโดยอิสระจากสินทรัพย์อื่น ให้พิจารณามูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืน รวมกับหน่วยสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดเงินสดที่สินทรัพย์นั้นเกี่ยวข้องด้วย 70


บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

หมายเหตุประกอบงบการเงิน สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ 2550 การกลับรายการด้อยค่า ขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์ทางการเงิน จะถูกกลับรายการ เมื่อมูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืนเพิ่มขึ้นในภายหลัง และการเพิ่มขึ้นนั้น สั ม พั น ธ์ โ ดยตรงกับขาดทุนจากการด้อยค่าที่เคยรับรู้ สินทรัพย์ทางการเงินที่เป็นตราสารทุนที่จัดประเภทเป็นหลักทรั พ ย์ เ ผื่ อ ขาย

การกลับรายการจะถูกรับรู้โดยตรงในส่วนของผู้ถือหุ้น ขาดทุนจากการด้อยค่าของค่าความนิยมจะไม่มีการปรับปรุงกลับรายการ ขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์ที่ไม่ใช่สินทรัพย์ทางการเงิน อื่นๆ ที่เคยรับรู้ในงวดก่อนจะถูกประเมิน ณ ทุกวันที่ที่ออกรายงานว่ามีข้อบ่งชี้เรื่องการด้อยค่าหรือไม่ ขาดทุนจากการด้อยค่าจะถูกกลับ รายการ หากมีการเปลี่ยนแปลงประมาณการที่ใช้ในการคำนวณมูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืน ขาดทุนจากการด้อยค่าจะถูกกลับรายการ

เพียงเท่าที่มูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์ไม่เกินกว่ามูลค่าตามบัญชีภายหลังหักค่าเสื่อมราคาหรือค่าตัดจำหน่าย เสมือนหนึ่งไม่เคยมีการ บันทึกขาดทุนจากการด้อยค่ามาก่อน (ฎ) หนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ย หนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยบันทึกเริ่มแรกในราคาทุน (ฏ) เจ้าหนี้การค้าและเจ้าหนี้อื่น เจ้าหนี้การค้าและเจ้าหนี้แสดงในราคาทุน

(ฐ) ประมาณการหนี้สิน ประมาณการหนี้สินจะรับรู้ในงบดุลก็ต่อเมื่อกลุ่มบริษัทมีภาระหนี้สินตามกฎหมายที่เกิดขึ้นในปัจจุบันหรือที่ก่อตัวขึ้นอันเป็นผลมาจาก เหตุการณ์ในอดีต และมีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่นอนว่าประโยชน์เชิงเศรษฐกิจจะต้องถูกจ่ายไปเพื่อชำระภาระหนี้สินดังกล่าว และ สามารถประมาณจำนวนภาระหนี้สินได้อย่างน่าเชื่อถือ ถ้าผลกระทบดังกล่าวมีจำนวนที่เป็นสาระสำคัญ ประมาณการหนี้สินพิจารณาจาก การคิดลดกระแสเงินสดที่จะจ่ายในอนาคตโดยใช้อัตราคิดลดในตลาดปัจจุบันก่อนคำนึงภาษีเงินได้ เพื่อให้สะท้อนจำนวนที่อาจประเมินได้ ในตลาดปัจจุบันซึ่งแปรไปตามเวลาและความเสี่ยงที่มีต่อหนี้สิน (ฑ) รายได้ รายได้ที่รับรู้ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มและแสดงสุทธิจากส่วนลดการค้า การขายสินค้าและให้บริการ รายได้จะรับรู้ในงบกำไรขาดทุนเมื่อได้โอนความเสี่ยงและผลตอบแทนที่เป็นสาระสำคัญของความเป็นเจ้าของสินค้าที่มีนัยสำคัญไปให้กับ

ผู้ซื้อแล้ว และจะไม่รับรู้รายได้ถ้าฝ่ายบริหารยังมีการควบคุมหรือบริหารสินค้าที่ขายไปแล้วนั้นหรือมีความไม่แน่นอนที่มีนัยสำคัญในการ

ได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจจากการขายสินค้าหรือให้บริการนั้น ไม่อาจวัดมูลค่าของจำนวนรายได้และต้นทุนที่เกิดขึ้นได้อย่างน่าเชื่อถือ หรือมีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่นอนที่จะต้องรับคืนสินค้า รายได้จากการให้บริการรับรู้เมื่อมีการให้บริการ

71


บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

หมายเหตุประกอบงบการเงิน สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ 2550 รายได้ค่าเช่า รายได้ค่าเช่ารับรู้ในงบกำไรขาดทุนโดยวิธีเส้นตรงตลอดอายุสัญญาเช่า ดอกเบี้ยรับและเงินปันผลรับ ดอกเบี้ยรับบันทึกในงบกำไรขาดทุนตามเกณฑ์คงค้าง เงินปันผลรับบันทึกในงบกำไรขาดทุนในวันที่กลุ่มบริษัทมีสิทธิได้รับเงินปันผล (ฒ) ค่าใช้จ่าย สัญญาเช่าดำเนินงาน รายจ่ายภายใต้สัญญาเช่าดำเนินการบันทึกในงบกำไรขาดทุนโดยวิธีเส้นตรงตลอดอายุสัญญาเช่า ค่าเช่าที่อาจเกิดขึ้นจะบันทึกในงบกำไร ขาดทุนในรอบบัญชีที่มีรายการดังกล่าว รายจ่ายทางการเงิน ดอกเบี้ยจ่ายและค่าใช้จ่ายในทำนองเดียวกันบันทึกในงบกำไรขาดทุนในงวดที่ค่าใช้จ่ายดังกล่าวเกิดขึ้น (ณ) ภาษีเงินได้ ภาษีเงินได้จากกำไรหรือขาดทุนสำหรับปีประกอบด้วยภาษีเงินได้ปัจจุบัน ซึ่งได้แก่ภาษีที่คาดว่าจะจ่ายชำระโดยคำนวณจากกำไรประจำปี

ที่ต้องเสียภาษี โดยใช้อัตราภาษีที่ประกาศใช้ ณ วันที่ในงบดุล ซึ่งเกี่ยวกับรอบบัญชีที่คำนวณภาษีเงินได้ ตลอดจนการปรับปรุงทางภาษี

ที่เกี่ยวกับรายการในปีก่อนๆ (ด) การซื้อหุ้นทุนคืน (หุ้นทุนซื้อคืน) เมื่อหุ้นทุนที่เป็นส่วนหนึ่งในส่วนของผู้ถือหุ้นได้ถูกซื้อคืน จำนวนเงินที่จ่ายซึ่งรวมถึงต้นทุนทางตรงที่เกี่ยวข้องจะถูกจัดประเภทเป็นหุ้นทุน ซื้อคืนและถือเป็นยอดหักจากส่วนของผู้ถือหุ้น บริษัทต้องกันกำไรสะสมเป็นสำรองสำหรับหุ้นซื้อคืนในส่วนของผู้ถือหุ้น เมื่อหุ้นทุนซื้อคืน ได้ถูกขาย จำนวนเงินที่ได้รับถือเป็นการเพิ่มขึ้นในส่วนของผู้ถือหุ้น โดยบันทึกล้างต้นทุนจากการขายหุ้นทุนซื้อคืนที่ขาย ซึ่งคำนวณโดยวิธี ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักกับจำนวนหุ้นทุนซื้อคืนและโอนสำรองในจำนวนเดียวกันไปยังกำไรสะสม ส่วนเกินทุนจากการขายหุ้นทุนซื้อคืน

จะถูกแยกเแสดงรายการเป็นส่วนเกินทุนจากการซื้อหุ้นทุนคืนในส่วนของผู้ถือหุ้น ขาดทุนสุทธิจากการขายหรือยกเลิกหุ้นทุนซื้อคืน

จะถูกหักจากกำไรสะสมหลังจากสุทธิจากยอดคงเหลือของส่วนเกินทุนของส่วนเกินทุนของหุ้นทุนซื้อคืนแล้ว

72


บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

หมายเหตุประกอบงบการเงิน สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ 2550

4

รายการที่เกิดขึ้นและยอดคงเหลือกับบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน

บุคคลหรือกิจการทีเ่ กีย่ วข้องกันได้แก่บคุ คลหรือกิจการต่างๆ ทีม่ คี วามเกีย่ วข้องกับกลุม่ บริษทั และบริษทั โดยการเป็นผูถ้ อื หุน้ หรือมีผถู้ อื หุน้ ร่วมกัน หรือมีกรรมการร่วมกัน รายการที่มีขึ้นกับบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกันได้กำหนดขึ้นโดยใช้ราคาตลาดหรือในราคาที่ตกลงกัน ตามสัญญาหากไม่มีราคาตลาดรองรับ ความสัมพันธ์ที่บริษัท/กลุ่มบริษัทมีกับบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกันซึ่งมีการควบคุม หรือควบคุมร่วมกันในบริษัท หรือเป็นกิจการ

ที่บริษัทควบคุม หรือควบคุมร่วมกัน หรือเป็นบุคคลหรือกิจการที่มีรายการบัญชีกับบริษัท/กลุ่มบริษัท มีดังนี้

ชื่อกิจการ

ประเทศที่จัดตั้ง /สัญชาติ

ลักษณะความสัมพันธ์

บริษัท เซ็นทรัล รีเทลคอร์ปอเรชั่น จำกัด ไทย เป็นผู้ถือหุ้นที่มีการควบคุมร่วมในบริษัท ถือหุ้นใน บริษทั ร้อยละ 27.74 และมีกรรมการร่วมกันกับบริษทั บริษัท ซี อาร์ จี บริการ จำกัด ไทย เป็นผู้ถือหุ้นที่มีการควบคุมร่วมในบริษัท ถือหุ้นใน บริษทั ร้อยละ 26.07 และมีกรรมการร่วมกันกับบริษทั บริษัท โรบินสันอนุสาวรีย์ จำกัด ไทย เป็นบริษัทย่อย บริษัทถือหุ้นร้อยละ 99.91 และมีกรรมการร่วมกันกับบริษัท บริษัท โรบินสันรัชดา จำกัด ไทย เป็นบริษัทย่อย บริษัทถือหุ้นร้อยละ 99.80 และมีกรรมการร่วมกันกับบริษัท บริษัท โรบินสันนครินทร์ จำกัด ไทย เป็นบริษัทย่อย บริษัทถือหุ้นร้อยละ 99.86 และมีกรรมการร่วมกันกับบริษัท บริษัท โรบินสันสุขุมวิท จำกัด ไทย เป็นบริษัทย่อย บริษัทถือหุ้นร้อยละ 99.99 และมีกรรมการร่วมกันกับบริษัท บริษัท เครือเพชร จำกัด ไทย เป็นบริษัทย่อย บริษัทถือหุ้นร้อยละ 99.99 และมีกรรมการร่วมกันกับบริษัท บริษัท เครือแก้ว จำกัด ไทย เป็นบริษัทย่อย บริษัทถือหุ้นร้อยละ 99.99 และมีกรรมการร่วมกันกับบริษัท บริษัท ซีอาร์ (ประเทศไทย) จำกัด ไทย เป็นบริษัทย่อย บริษัทถือหุ้นร้อยละ 99.99 และมีกรรมการร่วมกันกับบริษัท R-Trading (L) BHD. มาเลเซีย เป็นบริษัทย่อย บริษัทถือหุ้นร้อยละ 99.92 และมีกรรมการร่วมกันกับบริษัท บริษัท อาร์ดี พัฒนา จำกัด ไทย เป็นบริษัทย่อย บริษัทถือหุ้นร้อยละ 99.98 และมีกรรมการร่วมกันกับบริษัท บริษัท โรบินสัน เอส.พี.วี. จำกัด ไทย เป็นบริษัทย่อย บริษัทถือหุ้นร้อยละ 99.99 และมีกรรมการร่วมกันกับบริษัท บริษัท ซีอาร์ ราชบุรี (ประเทศไทย) จำกัด ไทย เป็นบริษัทย่อย บริษัทถือหุ้นร้อยละ 99.99 และมีกรรมการร่วมกันกับบริษัท บริษัท ซีอาร์ อุดรธานี (ประเทศไทย) จำกัด ไทย เป็นบริษัทย่อย บริษัทถือหุ้นร้อยละ 76.00 และมีกรรมการร่วมกันกับบริษัท บริษัท ซีอาร์ ภูเก็ต (ประเทศไทย) จำกัด ไทย เป็นบริษัทย่อย บริษัทถือหุ้นร้อยละ 49.99 และมีกรรมการร่วมกันกับบริษัท 73


บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

หมายเหตุประกอบงบการเงิน สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ 2550 ชื่อกิจการ

ประเทศที่จัดตั้ง /สัญชาติ

ลักษณะความสัมพันธ์

บริษัท ซีอาร์ นครศรีธรรมราช (ประเทศไทย) จำกัด ไทย เป็นบริษัทย่อย บริษัทถือหุ้นร้อยละ 49.99 และมีกรรมการร่วมกันกับบริษัท บริษัท ซีอาร์ หาดใหญ่ (ประเทศไทย) จำกัด ไทย เป็นบริษัทย่อย บริษัทถือหุ้นร้อยละ 76.00 และมีกรรมการร่วมกันกับบริษัท บริษัท ซีอาร์ เชียงใหม่ (ประเทศไทย) จำกัด ไทย เป็นบริษัทย่อย บริษัทถือหุ้นร้อยละ 89.99 และมีกรรมการร่วมกันกับบริษัท บริษัท ซีอาร์ อุบลราชธานี (ประเทศไทย) จำกัด ไทย เป็นบริษัทย่อย บริษัทถือหุ้นร้อยละ 74.99 และมีกรรมการร่วมกันกับบริษัท บริษัท ซีอาร์ จันทบุรี (ประเทศไทย) จำกัด ไทย เป็นบริษัทย่อย บริษัทถือหุ้นร้อยละ 64.99 และมีกรรมการร่วมกันกับบริษัท บริษัท พาวเวอร์ บาย จำกัด ไทย เป็นบริษัทร่วม บริษัทถือหุ้นร้อยละ 40 และมีกรรมการร่วมกันกับบริษัท บริษัท ซีอาร์ซี สปอร์ต จำกัด ไทย เป็นบริษัทร่วม บริษัทถือหุ้นร้อยละ 40 และมีกรรมการร่วมกันกับบริษัท บริษัท บีทูเอส จำกัด ไทย มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท บริษัท เซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล จำกัด ไทย มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท บริษัท สรรพสินค้าเซ็นทรัล จำกัด ไทย มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท บริษัท เซ็นทรัลเทรดดิ้ง จำกัด ไทย มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท บริษัท เซ็นทรัลการ์เม้นท์แฟคทอรี่ จำกัด ไทย มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท บริษัท ซีเทรคสากล จำกัด ไทย มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท บริษัท อาร์ ไอ เอส จำกัด ไทย มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท บริษัท พีบี โลจิสติก จำกัด ไทย มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา รัตนาธิเบศร์ จำกัด ไทย มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา เชียงใหม่ จำกัด ไทย มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท นโยบายการกำหนดราคาสำหรับรายการแต่ละประเภทอธิบายได้ดังต่อไปนี้: รายการ ขายสินค้า ดอกเบี้ยรับ/ดอกเบี้ยจ่าย รายได้ค่าเช่าหรือบริการ ค่าตอบแทนการบริหารงาน

นโยบายการกำหนดราคา ราคาตลาดซึ่งต้องไม่ต่ำกว่าราคาที่ได้มาของสินค้านั้นๆ อัตราดอกเบี้ยขั้นต่ำของเงินกู้หรือเงินฝากออมทรัพย์หรือเงินฝากประจำของสถาบันการเงิน

ภายในประเทศบางแห่งบวกส่วนต่างเพิ่มอีกร้อยละ 0 ต่อปี ถึงร้อยละ 2.5 ต่อปีทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ

ต้นทุนของแต่ละบริษัท อัตราร้อยละของยอดขายโดยคิดจากราคาตลาดเป็นเกณฑ์หรือจำนวนเงินคงที่ อัตราร้อยละของยอดขายหรือจำนวนเงินคงที่ 74


บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

หมายเหตุประกอบงบการเงิน สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ 2550 รายการที่สำคัญกับบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกันสำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ 2550 สรุปได้ดังนี้

งบการเงินรวม

2551

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2550

2551

2550

(พันบาท) ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ - รายได้ค่าเช่าและค่าบริการ 8,521 8,521 - รายได้ค่าสาธารณูปโภค 1,141 1,141 ค่าบริหารงานจ่าย 70,248 63,935 68,162 62,519 บริษัทย่อย - รายได้จากการขาย 125,977 111,364 - รายได้ค่าเช่าและค่าบริการ 60 60 - - ขายทรัพย์สินถาวร 36,902 - - รายได้ค่าตอบแทนการบริหารงาน 120,529 107,741 - ดอกเบี้ยรับ 176,293 218,294 - ค่าใช้จ่ายค่าเช่าและค่าบริการ 21,360 21,360 - ดอกเบี้ยจ่าย 6,950 4,984 บริษัทร่วม รายได้ค่าเช่าและค่าบริการ 110,251 106,830 74,194 74,310 รายได้ค่าสาธารณูปโภค 15,365 16,007 10,457 11,327 รายได้ค่าตอบแทนการบริหารงาน 4,752 4,834 2,971 3,091 - ดอกเบี้ยจ่าย 1,069 1,069 บุคคลหรือกิจการอื่นที่เกี่ยวข้องกัน - 107 รายได้จากการขาย 107 รายได้ค่าเช่าและค่าบริการ 319,742 298,369 218,924 213,232 รายได้ค่าสาธารณูปโภค 87,951 97,839 64,294 66,778 - ขายสินทรัพย์ถาวร 26,581 26,581 รายได้ค่าตอบแทนการบริหารงาน 2,543 2,536 1,461 1,549 ค่าใช้จ่ายค่าเช่าและค่าบริการ 91,464 52,183 49,347 51,971 - 948 ดอกเบี้ยจ่าย 948 ค่าตอบแทนกรรมการ 4,267 1,865 4,267 1,865

75


บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

หมายเหตุประกอบงบการเงิน สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ 2550 ยอดคงเหลือกับบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ 2550 มีดังนี้ ลูกหนี้การค้า-กิจการที่เกี่ยวข้องกัน

งบการเงินรวม

2551

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2550

2551

2550

(พันบาท) ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ บริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด บริษัทย่อย บริษัท ซีอาร์ อุดรธานี (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท ซีอาร์ ภูเก็ต (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท ซีอาร์ นครศรีธรรมราช (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท ซีอาร์ หาดใหญ่ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท ซีอาร์ เชียงใหม่ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท ซีอาร์ อุบลราชธานี (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท ซีอาร์ ราชบุรี (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท ซีอาร์ จันทบุรี (ประเทศไทย) จำกัด บริษัทร่วม บริษัท พาวเวอร์ บาย จำกัด บริษัท ซีอาร์ซี สปอร์ต จำกัด กิจการอื่นที่เกี่ยวข้องกัน บริษัท บีทูเอส จำกัด บริษัท เซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล จำกัด บริษัท สรรพสินค้าเซ็นทรัล จำกัด บริษัทอื่นๆ หัก ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ สุทธิ

3,723

3,884

2,155

2,244

- -

- -

4,353 7,348

3,444 6,572

- - - - - -

- - - - - -

3,383 4,535 5,427 1,580 3,229 2,732

4,554 4,893 5,625 1,126 2,203 2,298

5,715 6,305

6,229 6,685

3,855 4,347

4,568 4,570

5,142 31,123 12,717 7,346 72,071 - 72,071

6,359 30,008 15,520 11,137 79,822 - 79,822

3,133 24,274 12,607 4,646 87,604 - 87,604

4,223 26,280 15,490 5,637 93,727 - 93,727

ลูกหนี้อื่น-กิจการที่เกี่ยวข้องกัน

งบการเงินรวม

2551

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2550

2551

2550

(พันบาท) บริษัทย่อย บริษัท ซีอาร์ ภูเก็ต (ประเทศไทย) จำกัด - - - 10,339 กิจการอื่นที่เกี่ยวข้องกัน บริษัท อาร์ ไอ เอส จำกัด - 28,248 - 28,248 รวม - 28,248 - 38,587

76


บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

หมายเหตุประกอบงบการเงิน สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ 2550

เงินให้กู้ยืมแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกัน

อัตราดอกเบี้ย 2551 2550 (ร้อยละต่อปี)

งบการเงินรวม 2551

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2550

2551

2550

(พันบาท)

เงินให้กู้ยืมระยะสั้น บริษัทย่อย บริษัท โรบินสันอนุสาวรีย์ จำกัด 3.250 3.875 - - 87,859 84,364 บริษัท โรบินสันรัชดา จำกัด 3.250 3.875 - - - 10,950 บริษัท โรบินสันนครินทร์ จำกัด 3.250 3.875 - - 264,773 251,960 บริษัท เครือเพชร จำกัด 3.250 3.875 - - 156,843 151,830 บริษัท อาร์ดี พัฒนา จำกัด 3.250 3.875 - - 11,240 10,802 บริษัท โรบินสัน เอส.พี.วี จำกัด 3.250 3.875 - - 1,229 1,181 บริษัท ซีอาร์ (ประเทศไทย) จำกัด 3.250 3.875 - - 3,631,759 3,879,378 - - 4,153,703 4,390,465 หัก ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ - - (2,379,365) (2,416,772) เงินให้กู้ยืมระยะสั้นแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกัน - สุทธิ - - 1,774,338 1,973,693 กลับรายการหนี้สงสัยจะสูญสำหรับปี - - (37,407) - เงินให้กู้ยืมระยะยาว บริษัทย่อย บริษัท โรบินสันนครินทร์ จำกัด 6.0 6.0 - - 61,224 61,224 บริษัทร่วม บริษัท สยามรีเทล ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด - - 324,882 324,882 324,882 324,882 324,882 324,882 386,106 386,106 หัก ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ (324,882) (324,882) (324,882) (324,882) เงินให้กู้ยืมระยะยาวแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกันสุทธิ - - 61,224 61,224 สรุปเงินให้กู้ยืมแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกัน เงินให้กู้ยืมระยะสั้น - - 4,153,703 4,390,465 เงินให้กู้ยืมระยะยาว 324,882 324,882 386,106 386,106 324,882 324,882 4,539,809 4,776,571 หัก ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ (324,882) (324,882) (2,704,247) (2,741,654) รวมเงินให้กู้ยืมแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกัน - สุทธิ - - 1,835,562 2,034,917 กลับรายการหนี้สงสัยจะสูญสำหรับปี - - (37,407) -

77


บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

หมายเหตุประกอบงบการเงิน สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ 2550 รายการเคลื่อนไหวของเงินให้กู้ยืมแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกันสำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ 2550 มีดังนี้ เงินให้กู้ยืมแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกัน

งบการเงินรวม

เงินให้กู้ยืมระยะสั้น บริษัทย่อย ณ วันที่ 1 มกราคม เพิ่มขึ้น - เงินต้น - ดอกเบี้ย ลดลง - เงินต้น - ดอกเบี้ย ณ วันที่ 31 ธันวาคม เงินให้กู้ยืมระยะยาว บริษัทย่อย ณ วันที่ 1 มกราคม เพิ่มขึ้น ลดลง ณ วันที่ 31 ธันวาคม บริษัทร่วม ณ วันที่ 1 มกราคม เพิ่มขึ้น ลดลง ณ วันที่ 31 ธันวาคม รวมเงินให้กยู้ มื ระยะยาวแก่กจิ การทีเ่ กีย่ วข้องกัน ณ วันที่ 1 มกราคม เพิ่มขึ้น ลดลง ณ วันที่ 31 ธันวาคม

2551

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2550

2551

2550

(พันบาท) -

-

4,390,465

4,658,801

- -

- -

5,580,969 176,293

5,445,202 218,294

- - -

- - -

(5,819,245) (174,779) 4,153,703

(5,705,702) (226,130) 4,390,465

- - - -

- - - -

61,224 - - 61,224

61,224 - - 61,224

324,882 - - 324,882

324,882 - - 324,882

324,882 - - 324,882

324,882 - - 324,882

324,882 - - 324,882

324,882 - - 324,882

386,106 - - 386,106

386,106 - - 386,106

78


บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

หมายเหตุประกอบงบการเงิน สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ 2550

เจ้าหนี้การค้า-กิจการที่เกี่ยวข้องกัน

งบการเงินรวม

2551

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2550

2551

2550

(พันบาท)

บริษัทร่วม บริษัท พาวเวอร์ บาย จำกัด 643 - บริษัท ซีอาร์ซี สปอร์ต จำกัด 741 375 กิจการอื่นที่เกี่ยวข้องกัน บริษัท เซ็นทรัลเทรดดิ้ง จำกัด 117,037 77,146 บริษัท เซ็นทรัลการ์เม้นท์แฟคทอรี่ จำกัด 19,972 38,168 บริษัท ซีเทรคสากล จำกัด - 81 บริษัท สรรพสินค้าเซ็นทรัล จำกัด 3,394 3,787 บริษัทอื่นๆ 6,513 18,199 รวม 148,300 137,756 หนี้สินหมุนเเวียนอื่น งบการเงินรวม 2551 2550 (พันบาท) เงินทดรองจากกิจการที่เกี่ยวข้องกัน ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ บริษัท เซ็นทรัล รีเทลคอร์ปอเรชั่น จำกัด 50,149 16,231 บริษัทย่อย บริษทั ซีอาร์ นครศรีธรรมราช (ประเทศไทย) จำกัด - - บริษัทร่วม บริษัท พาวเวอร์ บาย จำกัด 59 - บริษัท ซีอาร์ซี สปอร์ต จำกัด - 70 กิจการอื่นที่เกี่ยวข้องกัน บริษัท เซ็นทรัลเทรดดิ้ง จำกัด 2,422 - บริษัท อาร์ ไอ เอส จำกัด 11,655 9,161 บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา รัตนาธิเบศร์ จำกัด 1,985 6,327 บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา เชียงใหม่ จำกัด 1,998 - บริษัทอื่น ๆ 1,863 1,333 รวม 70,131 33,122

337 158

- 73

60,344 10,787 - 3,387 8,654 83,667

47,671 21,485 70 3,755 6,925 79,979

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2551

2550

43,604

13,928

397

397

- -

- -

1,641 7,982 1,985 - 1,907 57,516

- 6,636 6,327 - 989 28,277 79


บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

หมายเหตุประกอบงบการเงิน สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ 2550

เงินกู้ยืมจากกิจการที่เกี่ยวข้องกัน

อัตราดอกเบี้ย

งบการเงินรวม

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2551 2550 2551 2550 2551 (ร้อยละต่อปี) (พันบาท) เงินกู้ยืมระยะสั้น บริษัทย่อย บริษัท โรบินสันรัชดา จำกัด 3.0 - - - 6,413 บริษัท เครือแก้ว จำกัด 3.0 3.0 - - 5,870 บริษัท โรบินสัน สุขุมวิท จำกัด 2.0 2.0 - - 4,165 R -Trading (L) BHD. - - - - 881,110 บริษัท ซีอาร์ ราชบุรี (ประเทศไทย) จำกัด 3.0 3.0 - - 187,943 เงินกู้ยืมระยะสั้นจากกิจการที่เกี่ยวข้องกัน - - 1,085,501 เงินกู้ยืมระยะยาว บริษัทย่อย บริษัท โรบินสันสุขุมวิท จำกัด 2.0 2.0 - - 113,300 เงินกู้ยืมระยะยาวจากกิจการที่เกี่ยวข้องกัน - - 113,300 สรุปเงินกู้ยืมจากกิจการที่เกี่ยวข้องกัน เงินกู้ยืมระยะสั้น - - 1,085,501 เงินกู้ยืมระยะยาว - - 113,300 รวมเงินกู้ยืมจากกิจการที่เกี่ยวข้องกัน - - 1,198,801

2550

- 6,442 3,169 880,450 117,776 1,007,837

113,300 113,300 1,007,837 113,300 1,121,137

รายการเคลื่อนไหวของเงินกู้ยืมจากกิจการที่เกี่ยวข้องกันสำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ 2550 มีดังนี้ เงินกู้ยืมจากกิจการที่เกี่ยวข้องกัน

งบการเงินรวม

เงินกู้ยืมระยะสั้น บริษัทย่อย ณ วันที่ 1 มกราคม เพิ่มขึ้น - เงินต้น - ดอกเบี้ย ลดลง - เงินต้น - ดอกเบี้ย ณ วันที่ 31 ธันวาคม

2551

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2550

2551

2550

(พันบาท) -

-

1,007,837

965,920

- -

- -

118,941 6,950

81,315 4,985

- - -

- - -

(42,461) (5,766) 1,085,501

(28,659) (15,724) 1,007,837 80


บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

หมายเหตุประกอบงบการเงิน สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ 2550

เงินกู้ยืมจากกิจการที่เกี่ยวข้องกัน

งบการเงินรวม

บริษัทร่วม ณ วันที่ 1 มกราคม เพิ่มขึ้น - เงินต้น - ดอกเบี้ย ลดลง - เงินต้น - ดอกเบี้ย ณ วันที่ 31 ธันวาคม กิจการอื่นที่เกี่ยวข้องกัน ณ วันที่ 1 มกราคม เพิ่มขึ้น - เงินต้น - ดอกเบี้ย ลดลง - เงินต้น - ดอกเบี้ย ณ วันที่ 31 ธันวาคม

2551

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2550

2551

2550

(พันบาท) -

60,997

-

60,997

- -

- 1,068

- -

- 1,068

- - -

(60,790) (1,275) -

- - -

(60,790) (1,275) -

-

54,103

-

54,103

- -

- 948

- -

- 948

- - -

(53,920) (1,131) -

- (53,920) - (1,131) - - รวมเงินกู้ยืมระยะสั้นจากกิจการที่เกี่ยวข้องกัน ณ วันที่ 1 มกราคม - 115,100 เพิ่มขึ้น - เงินต้น - - - ดอกเบี้ย - 2,016 ลดลง - เงินต้น - (114,710) - ดอกเบี้ย - (2,406) ณ วันที่ 31 ธันวาคม - - เงินกู้ยืมระยะยาวจากกิจการที่เกี่ยวข้องกัน บริษัทย่อย ณ วันที่ 1 มกราคม - - เพิ่มขึ้น - - ลดลง - - ณ วันที่ 31 ธันวาคม - -

1,007,837

1,081,020

118,941 6,950

81,315 7,001

(42,461) (5,766) 1,085,501

(143,369) (18,130) 1,007,837

113,300 - - 113,300

113,300 - - 113,300

81


บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

หมายเหตุประกอบงบการเงิน สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ 2550

ภาระผูกพันที่มีกับกิจการที่เกี่ยวข้องกัน

งบการเงินรวม

ภาระผูกพันตามสัญญาเช่าดำเนินงาน ภายในหนึ่งปี หลังจากหนึ่งปีแต่ไม่เกินห้าปี หลังจากห้าปี รวม

2551

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2550

2551

2550

81,163 201,078 233,737 515,978

57,241 105,857 261,512 424,610

(พันบาท) 111,821 283,129 478,180 873,130

91,282 198,054 526,467 815,803

สัญญาสำคัญที่ทำกับกิจการที่เกี่ยวข้องกัน

สัญญาเช่าพื้นที่และบริการ บริษัททำสัญญาให้เช่าพื้นที่ขายและให้บริการจัดการหลายฉบับกับกิจการที่เกี่ยวข้องกันหลายแห่ง ในการนี้ กิจการที่เกี่ยวข้องกันเหล่านี้ ตกลงที่จะจ่ายค่าเช่าและค่าบริการจัดการตามสัดส่วนของยอดขาย และ/หรือ ตามขนาดการใช้พื้นที่สัญญาดังกล่าวมีอายุ 1 ปี และ สามารถต่ออายุใหม่เป็นคราวๆ ไป โดยคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งต้องแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรล่วงหน้า สัญญารับบริการการจัดการ กลุ่มบริษัทได้ทำสัญญารับบริการจากกิจการที่เกี่ยวข้องกับแห่งหนึ่ง โดยบริษัทดังกล่าวจะให้บริการทางด้านบัญชี ภาษีอากร และการ บริการทางการเงิน และด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ในการนี้ บริษัทตกลงที่จะจ่ายค่าบริการเป็นจำนวนเงินตามที่ระบุในสัญญา สัญญาดังกล่าว มีอายุ 1 ปี และสามารถต่ออายุใหม่เป็นคราวๆ ไป โดยคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งต้องแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรล่วงหน้าเป็นเวลา 30 วัน สัญญารับบริการระบบคอมพิวเตอร์ บริษัทได้เข้าทำสัญญารับบริการจากกิจการที่เกี่ยวข้องกันแห่งหนึ่ง โดยบริษัทดังกล่าวจะให้บริการทางด้านระบบคอมพิวเตอร์แก่บริษัท ทั้งนี้ บริษัทต้องจ่ายค่าบริการเป็นจำนวนเงินตามที่ระบุในสัญญา สัญญามีอายุ 1 ปีและสามารถจัดทำสัญญาขึ้นใหม่เป็นคราว ๆ ไป สัญญาให้บริการบริหารสินค้าคงคลังและเช่าช่วงสถานที่เก็บสินค้า บริษัทได้เข้าทำสัญญาให้บริการบริหารสินค้าคงคลังและเช่าช่วงสถานที่เก็บสินค้ากับกิจการที่เกี่ยวข้องกัน เป็นเวลา 12 เดือน บริษัท

จะต้องจ่ายค่าบริการและค่าเช่าช่วงตามจำนวนที่ระบุไว้ในสัญญา ซึ่งคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดสามารถบอกเลิกสัญญาได้ภายใน 90 วัน

ก่อนสิ้นสุดระยะเวลาตามสัญญา มิฉะนั้นจะถือว่าสัญญาจะต่ออายุต่อไปอีกครั้งละ 12 เดือน สัญญาบริการบัตรสมาชิก บริษัทได้ทำสัญญารับบริการบัตรสมาชิก “เดอะ วัน การ์ด” กับกิจการที่เกี่ยวข้องกันแห่งหนึ่ง โดยกิจการดังกล่าวจะให้บริการแก่สมาชิก ของบริษัท บริหารการตลาด การบริหารจัดการฐานข้อมูลของสมาชิกและจัดให้มีของรางวัลและประโยชน์อื่นๆ สำหรับการใช้คะแนนสะสม เดอะ วัน การ์ด แลก ในการนี้ บริษัทต้องชำระค่าบริการตามอัตราที่ระบุไว้ในสัญญา สัญญาดังกล่าวจะสิ้นสุดในวันที่ 31 ธันวาคม 2551 ซึ่งคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดอาจบอกเลิกสัญญาได้โดยแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 6 เดือน 82


บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

หมายเหตุประกอบงบการเงิน สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ 2550

5

เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด

งบการเงินรวม

เงินสดในมือ เงินฝากธนาคารประเภทกระแสรายวัน เงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์ เงินลงทุนระยะสั้นที่มีสภาพคล่องสูง รวม

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2551

2550

81,473 8,883 1,253,892 203,142 1,547,390

108,961 10,959 1,250,529 200,960 1,571,409

(พันบาท)

2551

2550

48,075 37 1,045,346 102,181 1,195,639

67,596 6,290 958,850 200,960 1,233,696

เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดทั้งหมดของกลุ่มบริษัทและบริษัท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ 2550 เป็นสกุลเงินบาท

6

เงินลงทุนอื่น

งบการเงินรวม

เงินลงทุนชั่วคราว ตราสารทุนถือไว้เพื่อค้า ตราสารทุนที่เป็นหลักทรัพย์เผื่อขาย เงินลงทุนระยะยาวอื่น ตราสารทุนอืน่ ที่ไม่อยู่ในความต้องการของตลาด รวม

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2551

2550

2551

2550

50,234 193,952 244,186

- - -

50,234 193,952 244,186

- - -

26,250 270,436

26,250 26,250

26,250 270,436

26,250 26,250

(พันบาท)

เงินลงทุนอื่นทั้งหมดของกลุ่มบริษัทและบริษัท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ 2550 เป็นสกุลเงินบาท

83


บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

หมายเหตุประกอบงบการเงิน สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ 2550 รายการเคลื่อนไหวในระหว่างปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ 2550 ของตราสารทุนที่อยู่ในความต้องการของตลาดมีดังนี้

งบการเงินรวม

2551

2550

เงินลงทุนชั่วคราว หลักทรัพย์เพื่อค้า ณ วันที่ 1 มกราคม - ซื้อระหว่างปี 50,000 รายการปรับปรุงจากการตีราคา 234 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 50,234

หลักทรัพย์เผื่อขาย ณ วันที่ 1 มกราคม ซื้อระหว่างปี รายการปรับปรุงจากการตีราคา ณ วันที่ 31 ธันวาคม

7

งบการเงินเฉพาะกิจการ

- 200,000 (6,048) 193,952

2551

2550

- - - -

- 50,000 234 50,234

- - - -

- - - -

- 200,000 (6,048) 193,952

- - - -

(พันบาท)

ลูกหนี้การค้า

งบการเงินรวม หมายเหตุ

กิจการที่เกี่ยวข้องกัน กิจการอื่นๆ หัก ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ สุทธิ หนี้สูญและหนี้สงสัยจะสูญ สำหรับปี (กลับรายการ)

4

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2551

2550

72,071 306,852 378,923 (1,310) 377,613

79,822 314,024 393,846 (3,181) 390,665

(1,055)

2,953

(พันบาท)

2551

2550

87,604 186,965 274,569 (88) 274,481

93,727 192,396 286,123 (642) 285,481

(103)

351

84


บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

หมายเหตุประกอบงบการเงิน สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ 2550 การวิเคราะห์อายุของลูกหนี้การค้ามีดังนี้

งบการเงินรวม

2551

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2550

(พันบาท)

2551

กิจการที่เกี่ยวข้องกัน ยังไม่ครบกำหนดชำระ 69,797 79,706 82,386 เกินกำหนดชำระ: น้อยกว่า 3 เดือน 2,238 - 5,213 3 - 6 เดือน 36 105 5 6 - 12 เดือน - 11 - 72,071 79,822 87,604 หัก ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ - - - สุทธิ 72,071 79,822 87,604 กิจการอื่นๆ ยังไม่ครบกำหนดชำระ 278,795 308,478 186,754 เกินกำหนดชำระ: น้อยกว่า 3 เดือน 25,873 1,648 - 3 - 6 เดือน 394 776 64 6 - 12 เดือน 201 408 110 มากกว่า 12 เดือน 1,589 2,714 37 306,852 314,024 186,965 หัก ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ (1,310) (3,181) (88) สุทธิ 305,542 310,843 186,877 รวม 377,613 390,665 274,481 โดยปกติระยะเวลาการให้สินเชื่อแก่ลูกค้าของกลุ่มบริษัท มีระยะเวลาตั้งแต่ 30 วันถึง 60 วัน ลูกหนี้การค้าทั้งหมดของกลุ่มบริษัทและบริษัท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ 2550 เป็นสกุลเงินบาท

2550 93,653 - 49 25 93,727 - 93,727 191,363 - 365 404 264 192,396 (642) 191,754 285,481

85


บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

หมายเหตุประกอบงบการเงิน สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ 2550

8

สินค้าคงเหลือ

งบการเงินรวม

สินค้าสำเร็จรูป หัก ค่าเผื่อสินค้าสูญหาย เสียหาย ล้าสมัย และเคลื่อนไหวช้า สุทธิ

9

2551

2550

807,908

904,388

(28,315) 779,593

(241,248) 663,140

(พันบาท)

2551

2550

495,494

647,302

(16,762) 478,732

(230,837) 416,465

สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น

งบการเงินรวม หมายเหตุ

งบการเงินเฉพาะกิจการ

เงินสำรองฝากธนาคารเพื่อเจ้าหนี้ เงินฝากธนาคารเพื่อชำระหนี้ระยะสั้น ลูกหนี้อื่น - กิจการที่เกี่ยวข้องกัน 4 ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า เงินทดลองจ่าย อื่นๆ รวม

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2551

2550

512,434 170,855 - 51,430 7,647 17,151 759,517

99,360 157,727 28,248 47,020 8,113 6,025 346,493

(พันบาท)

2551

2550

512,434 170,855 - 22,043 4,181 16,920 726,433

99,360 157,727 38,587 20,467 4,419 7,777 328,337

86


บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

หมายเหตุประกอบงบการเงิน สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ 2550

10 เงินลงทุนในบริษัทย่อยและบริษัทร่วม

งบการเงินรวม

ณ วันที่ 1 มกราคม ส่วนแบ่งกำไรสุทธิจากเงินลงทุนตาม วิธีส่วนได้เสีย ชำระบัญชีบริษัทย่อย ณ วันที่ 31 ธันวาคม

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2551

2550

2551

2550

811,986

679,313

798,848

813,748

171,025 - 983,011

132,673 - 811,986

- - 798,848

- (14,900) 798,848

(พันบาท)

ในการประชุมวิสามัญผูถ้ อื หุน้ เมือ่ วันที่ 24 พฤษภาคม 2550 และ 19 มิถนุ ายน 2550 ของบริษทั สะพานใหม่สรรพสินค้า จำกัด ซึง่ เป็นบริษทั ย่อย ผู้ถือหุ้นของบริษัทย่อยดังกล่าวมีมติพิเศษให้เลิกกิจการ โดยบริษัทได้จดทะเบียนเลิกกิจการต่อกระทรวงพาณิชย์เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2550

และได้ชำระบัญชีในระหว่างปี 2550 ผู้ชำระบัญชีได้คืนทุนจำนวน 15.5 ล้านบาทแก่บริษัทจากการชำระบัญชีดังกล่าว บริษัท ดีซีอาร์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทร่วมได้ชำระบัญชีในระหว่างปี 2550 ผู้ชำระบัญชีได้คืนเงินทุนจำนวนเงิน 80.7 ล้านบาทแก่บริษัทจากการชำระ บัญชีดงั กล่าว ราคาทุนของเงินลงทุนของบริษทั ในบริษทั ร่วมนีม้ จี ำนวนเงิน 89.3 ล้านบาท ซึง่ ได้ตงั้ ค่าเผือ่ ผลขาดทุนจากการด้อยค่าเต็มจำนวนแล้ว ดังนั้นเงินลงทุนดังกล่าวจึงแสดงมูลค่าเป็นศูนย์ในงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการปี 2550 เงินคืนทุนแก่บริษัทจากผู้ชำระบัญชี

ได้ถูกบันทึกเป็นรายได้ในงบกำไรขาดทุนรวม และงบกำไรขาดทุนเฉพาะกิจการสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2550

87


งบการเงินรวม

สัดส่วนความเป็นเจ้าของ ทุนชำระแล้ว วิธีราคาทุน วิธีส่วนได้เสีย การด้อยค่า วิธีส่วนได้เสีย – สุทธิ 2551 2550 2551 2550 2551 2550 2551 2550 2551 2550 2551 2550 (ร้อยละ) (พันบาท) บริษัทร่วม บริษัท พาวเวอร์ บาย จำกัด 40.00 40.00 560,000 560,000 224,000 224,000 787,159 648,335 - - 787,159 648,335 บริษัท ซีอาร์ซี สปอร์ต จำกัด 29.19 29.19 370,000 370,000 108,000 108,000 195,852 163,651 - - 195,852 163,651 บริษทั สยามรีเทล ดีเวลล็อปเม้นท์ จำกัด 24.00 24.00 500,000 500,000 120,000 120,000 10,194 10,194 (10,194) (10,194) - - บริษัท สแควร์ริทซ์พลาซ่า จำกัด 24.00 24.00 125,000 125,000 30,000 30,000 29,858 29,858 (29,858) (29,858) - - บริษัท ดีซีอาร์ จำกัด - - - - - - รวม 482,000 482,000 1,023,063 852,038 (40,052) (40,052) 983,011 811,986

เงินลงทุนในบริษัทย่อย และบริษัทร่วม ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ 2550 มีดังนี้

สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ 2550

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

88

บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)


(501,000) - (104,850) - (74,850) - (11,249) (7,993) - - - (699,942) 224,000 - 108,000 - 120,000 (120,000) 30,000 (30,000) - 482,000 (150,000) 1,648,790 (849,942)

501,000 322,800 104,850 100,000 74,850 39,999 11,249 7,993 3,000 999 50 1,166,790

- 322,800 - 100,000 - 39,999 - - 3,000 999 50 466,848

224,000 108,000 - - - 332,000 798,848

- 322,800 - 100,000 - 39,999 - - 3,000 999 50 466,848

วิธีราคาทุน – สุทธิ 2551 2550

- 224,000 - 108,000 (120,000) - (30,000) - - (150,000) 332,000 (849,942) 798,848

(501,000) - (104,850) - (74,850) - (11,249) (7,993) - - - (699,942)

งบการเงินเฉพาะกิจการ วิธีราคาทุน การด้อยค่า 2551 2550 2551 2550 (พันบาท)

สัดส่วนความเป็นเจ้าของ ทุนชำระแล้ว 2551 2550 2551 2550 (ร้อยละ) บริษัทย่อย บริษัท ซีอาร์ (ประเทศไทย) จำกัด 99.99 99.99 501,000 501,000 501,000 บริษทั ซีอาร์ ราชบุรี (ประเทศไทย) จำกัด 50.00 50.00 645,600 645,600 322,800 บริษัท โรบินสันนครินทร์ จำกัด 99.86 99.86 105,000 105,000 104,850 บริษัท โรบินสันสุขุมวิท จำกัด 99.99 99.99 100,000 100,000 100,000 บริษัท โรบินสันรัชดา จำกัด 99.80 99.80 75,000 75,000 74,850 บริษัท เครือแก้ว จำกัด 99.99 99.99 40,000 40,000 39,999 บริษัท เครือเพชร จำกัด 99.99 99.99 11,250 11,250 11,249 บริษัท โรบินสันอนุสาวรีย์ จำกัด 99.91 99.91 8,000 8,000 7,993 บริษัท อาร์ดี พัฒนา จำกัด 99.98 99.98 3,000 3,000 3,000 บริษัท โรบินสัน เอส.พี.วี. จำกัด 99.99 99.99 1,000 1,000 999 R-Trading (L) BHD. 99.92 99.92 50 50 50 1,166,790 บริษัทร่วม บริษัท พาวเวอร์ บาย 40.00 40.00 560,000 560,000 224,000 บริษัท ซีอาร์ซี สปอร์ต จำกัด 29.19 29.19 370,000 370,000 108,000 บริษทั สยามรีเทล ดีเวลล็อปเม้น จำกัด 24.00 24.00 500,000 500,000 120,000 บริษัท สแควร์ริทซ์พลาซ่า จำกัด 24.00 24.00 125,000 125,000 30,000 บริษัท ดีซีอาร์ จำกัด - - 482,000 รวม 1,648,790

สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ 2550

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

89

บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)


งบการเงินเฉพาะกิจการ มูลค่าเงินลงทุน ค่าเผื่อการด้อยค่า 2551 2550 2551 2550 (พันบาท) 26,250 26,250 - - 12,713 12,713 (12,713) (12,713) 20,000 20,000 (20,000) (20,000) 58,963 58,963 (32,713) (32,713)

สัดส่วนความเป็นเจ้าของ ทุนชำระแล้ว 2551 2550 2551 2550 (ร้อยละ) บริษัท วัฒนวนา จำกัด 19.58 19.58 600,000 600,000 บริษัท รังสิต พลาซ่า จำกัด 6.56 6.56 400,000 400,000 บริษัท สามัคคีสาร (ดอกหญ้า) จำกัด 4.15 4.15 170,000 170,000 บริษัท สยามแฟมิลี่มาร์ท จำกัด 0.71 0.71 2,800,000 2,800,000 รวม

สัดส่วนความเป็นเจ้าของ ทุนชำระแล้ว 2551 2550 2551 2550 (ร้อยละ) บริษัท รังสิต พลาซ่า จำกัด 6.56 6.56 400,000 400,000 บริษัท สามัคคีสาร (ดอกหญ้า) จำกัด 4.15 4.15 170,000 170,000 บริษัท สยามแฟมิลี่มาร์ท จำกัด 0.71 0.71 2,800,000 2,800,000 รวม

- 26,250 - - 26,250

26,250 - - 26,250

26,250 - - 26,250

มูลค่าเงินลงทุน – สุทธิ 2551 2550

- 26,250 - - 26,250

มูลค่าเงินลงทุน – สุทธิ 2551 2550

90

ในปี 2549 บริษัท รังสิต พลาซ่า จำกัด มีกำไรจากการดำเนินงานเป็นเงิน 1,545 ล้านบาท และมีกำไรสะสม ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2549 เป็นเงิน 188.6 ล้านบาท จากปัจจัยข้างต้นได้แสดงให้เห็นว่ามูลค่าของ

เงินลงทุนระยะยาวนี้ไม่มีการด้อยค่าอีกต่อไป ฝ่ายบริหารของบริษัทจึงบันทึกกลับรายการค่าเผื่อการด้อยค่าของเงินลงทุนดังกล่าวเป็นจำนวน 26.25 ล้านบาทในงบกำไรขาดทุน สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2550

งบการเงินรวม มูลค่าเงินลงทุน ค่าเผื่อการด้อยค่า 2551 2550 2551 2550 (พันบาท) 117,500 117,500 (117,500) (117,500) 26,250 26,250 - - 12,713 12,713 (12,713) (12,713) 20,000 20,000 (20,000) (20,000) 176,463 176,463 (150,213) (150,213)

สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ 2550 11 เงินลงทุนระยะยาวอื่น เงินลงทุนระยะยาวอื่นซึ่งบันทึกตามวิธีราคาทุน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ 2550 มีดังนี้

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)


ราคาทุน ณ วันที่ 1 มกราคม 2550 เพิ่มขึ้น โอน จำหน่าย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 และ 1 มกราคม 2551 เพิ่มขึ้น โอน จำหน่าย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 ค่าเสื่อมราคาสะสม ณ วันที่ 1 มกราคม 2550 ค่าเสื่อมราคาสำหรับปี จำหน่าย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 และ 1 มกราคม 2551 ค่าเสื่อมราคาสำหรับปี จำหน่าย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 มูลค่าสุทธิทางบัญชี ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551

12 ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์

1,263,387 - - (56,294) 1,207,093 - - (291) 1,206,802 797,689 57,719 (54,885) 800,523 58,188 (196) 858,515 406,570 348,287

232,898 - - -

232,898 - - - 232,898

296 - -

296 - - 296

232,602 232,602

ที่ดิน ส่วนปรับปรุง และ ส่วนปรับปรุง สิทธิการเช่า

งบการเงินรวม

739,850 629,894

896,114 188,844 (807) 1,084,151

711,516 186,305 (1,707)

1,635,964 39,113 41,487 (2,519) 1,714,045

1,500,638 105,544 33,263 (3,481)

33,456 16,645

256,595 19,976 (3,906) 272,665

235,544 27,990 (6,939)

290,051 3,105 111 (3,957) 289,310

279,629 16,800 26,400 (32,778)

290,756 223,656

1,270,578 121,148 (805) 1,390,921

1,102,573 169,485 (1,480)

1,561,334 30,364 23,940 (1,061) 1,614,577

(พันบาท) 1,457,818 79,900 25,458 (1,842)

อาคาร สิ่งปลูกสร้าง อุปกรณ์ อุปกรณ์ระบบ และ ระบบ ส่วนปรับปรุง สารสนเทศ งานอาคาร

สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ 2550

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

74,979 71,567

1,422,450 39,965 (92,051) 1,370,364

1,477,372 39,945 (94,867)

1,497,429 26,061 10,622 (92,181) 1,441,931

1,563,139 26,083 4,642 (96,435)

1,238 641

13,459 598 (2,392) 11,665

12,826 885 (252)

14,697 - - (2,391) 12,306

14,449 503 - (255)

11,601 194,010

- - - -

- - -

11,601 258,697 (76,160) (128) 194,010

22,683 115,579 (89,763) (36,898)

1,791,052 1,717,302

4,660,015 428,719 (100,157) 4,988,577

4,337,816 482,329 (160,130)

6,451,067 357,340 - (102,528) 6,705,879

6,334,641 344,409 - (227,983)

เครื่องตกแต่ง ติดตั้งและ สินทรัพย์ อุปกรณ์ ยานพาหนะ ระหว่าง สำนักงาน ก่อสร้าง รวม

91

บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)


ราคาทุน ณ วันที่ 1 มกราคม 2550 เพิ่มขึ้น โอน จำหน่าย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 และ 1 มกราคม 2551 เพิ่มขึ้น โอน จำหน่าย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 ค่าเสื่อมราคาสะสม ณ วันที่ 1 มกราคม 2550 ค่าเสื่อมราคาสำหรับปี จำหน่าย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 และ 1 มกราคม 2551 ค่าเสื่อมราคาสำหรับปี จำหน่าย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 มูลค่าสุทธิทางบัญชี ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551

งบการเงินเฉพาะกิจการ

247,825 116,693 (1,253) 363,265 100,605 (317) 463,553

769,815 53,963 (54,885) 768,893 54,648 (188) 823,353 368,477 313,745

- - -

- - - -

69,538 69,538

326,435 256,193

689,700 22,099 8,527 (580) 719,746

1,137,370 - - (272) 1,137,098

69,538 - - - 69,538

643,256 35,664 12,504 (1,724)

1,193,666 - - (56,296)

23,835 11,651

217,827 14,527 (2,340) 230,014

204,698 21,819 (8,690)

241,662 2,393 - (2,390) 241,665

244,053 3,752 26,400 (32,543)

186,433 124,552

809,021 79,572 (632) 887,961

704,275 106,378 (1,632)

995,454 16,327 1,398 (666) 1,012,513

(พันบาท) 956,083 23,092 18,114 (1,835)

อาคาร สิ่งปลูกสร้าง อุปกรณ์ อุปกรณ์ระบบ และ ระบบ ส่วนปรับปรุง สารสนเทศ งานอาคาร

69,538 - - -

ที่ดิน ส่วนปรับปรุง และ ส่วนปรับปรุง สิทธิการเช่า

สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ 2550

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

38,068 32,626

962,298 20,644 (7,894) 975,048

1,028,531 28,428 (94,661)

1,000,366 13,361 1,917 (7,970) 1,007,674

1,086,388 9,734 - (95,756)

365 152

7,157 213 (1,530) 5,840

6,754 403 -

7,522 - - (1,530) 5,992

7,522 - - -

เครื่องตกแต่ง ติดตั้งและ อุปกรณ์ ยานพาหนะ สำนักงาน

2,951 191,170

- - - -

- - -

2,951 200,061 (11,842) - 191,170

18,615 78,252 (57,018) (36,898)

สินทรัพย์ ระหว่าง ก่อสร้าง

1,016,102 999,627

3,128,461 270,209 (12,901) 3,385,769

2,961,898 327,684 (161,121)

4,144,563 254,241 - (13,408) 4,385,396

4,219,121 150,494 - (225,052)

92

รวม

บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)


บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

หมายเหตุประกอบงบการเงิน สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ 2550 ราคาตามบัญชีก่อนหักค่าเสื่อมราคาสะสมของอาคารและอุปกรณ์ ซึ่งได้หักค่าเสื่อมราคาเต็มจำนวนแล้วแต่ยังคงใช้งานจนถึง ณ วันที ่ 31 ธันวาคม 2551 ของกลุ่มบริษัทและเฉพาะบริษัทมีจำนวน 2,649 ล้านบาท และ 1,762 ล้านบาท ตามลำดับ (2550: 3,087 ล้านบาท และ 2,161 ล้านบาท ตามลำดับ)

13 สิทธิการเช่า

งบการเงินรวม

งบการเงินเฉพาะกิจการ (พันบาท)

ราคาทุน ณ วันที่ 1 มกราคม 2550 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 และ 1 มกราคม 2551 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551

5,543,378 5,543,378 5,543,378

2,981,251 2,981,251 2,981,251

ค่าตัดจำหน่ายสะสม ณ วันที่ 1 มกราคม 2550 ค่าตัดจำหน่ายสำหรับปี ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 และ 1 มกราคม 2551 ค่าตัดจำหน่ายสำหรับปี ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551

2,322,944 194,088 2,517,032 193,551 2,710,583

1,362,717 104,490 1,467,207 103,954 1,571,161

มูลค่าสุทธิทางบัญชี ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551

3,026,346 2,832,795

1,514,044 1,410,090

93


บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

หมายเหตุประกอบงบการเงิน สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ 2550

14 ค่าความนิยม

หมายเหตุ

งบการเงินรวม ค่าความนิยม ค่าความนิยมติดลบ รวม (พันบาท)

ราคาทุน ณ วันที่ 1 มกราคม 2550 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 กลับรายการ ณ วันที่ 1 มกราคม 2551 กลับรายการค่าความนิยมติดลบ ณ วันที่ 1 มกราคม 2551 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551

ค่าตัดจำหน่ายสะสม ณ วันที่ 1 มกราคม 2550 15,307 (22,117) (6,810) ค่าตัดจำหน่ายสำหรับปี 2,908 (1,354) 1,554 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 18,215 (23,471) (5,256) กลับรายการ ณ วันที่ 1 มกราคม 2551 (18,215) 23,471 5,256 ณ วันที่ 1 มกราคม 2551 - - - ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 - - มูลค่าสุทธิทางบัญชี ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 60,535 (3,611) 56,924 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 60,535 - 60,535

32

78,750 78,750 (18,215) - 60,535 60,535

(27,082) (27,082) - 27,082 - -

51,668 51,668 (18,215) 27,082 60,535 60,535

94


บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

หมายเหตุประกอบงบการเงิน สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ 2550

15 สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น

งบการเงินรวม

เงินมัดจำและค้ำประกัน ลูกหนี้กรมสรรพากร ที่ดินทีย่ ังไม่ได้ใช้ในการดำเนินงาน - ราคาทุน เงินฝากธนาคารที่มีข้อจำกัดในการใช้ อื่นๆ รวม

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2551

2550

2551

2550

82,666 21,415

80,100 30,085

79,119 -

76,564 21

140,913 17,255 75,972 338,221

140,913 16,914 77,520 345,532

- - 62,661 141,780

- 64,730 141,315

(พันบาท)

16 เจ้าหนี้การค้า

งบการเงินรวม หมายเหตุ

กิจการที่เกี่ยวข้องกัน กิจการอื่นๆ รวม

4

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2551

2550

148,300 2,277,810 2,426,110

137,756 2,345,077 2,482,833

(พันบาท)

2551

2550

83,667 1,299,605 1,383,272

79,979 1,370,087 1,450,066

เจ้าหนี้การค้าทั้งหมดของกลุ่มบริษัทและบริษัท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ 2550 เป็นสกุลเงินบาท

95


บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

หมายเหตุประกอบงบการเงิน สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ 2550

17 หนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ย

งบการเงินรวม หมายเหตุ

ส่วนที่หมุนเวียน เงินกู้ยืมระยะสั้นจากกิจการที่เกี่ยวข้องกัน 4 - ส่วนที่ไม่มีหลักประกัน ส่วนที่ไม่หมุนเวียน เงินกู้ยืมระยะยาวจากกิจการที่เกี่ยวข้องกัน 4 - ส่วนที่ไม่มีหลักประกัน รวม

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2551

2550

2551

2550

- -

- -

1,085,501 1,085,501

1,007,837 1,007,837

- - -

- - -

113,300 113,300 1,198,801

113,300 113,300 1,121,137

(พันบาท)

หนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยแสดงตามระยะเวลาครบกำหนดการจ่ายชำระ ณ วันที่ 31 ธันวาคม ได้ดังนี้

งบการเงินรวม

2551

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2550

(พันบาท)

2551

2550

ครบกำหนดภายในหนึ่งปี - - 1,085,501 1,007,837 ครบกำหนดหลังจากหนึง่ ปี แต่ไม่เกินห้าปี - - 113,300 113,300 รวม - - 1,198,801 1,121,137 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 บริษัทมีวงเงินสินเชื่อซึ่งยังมิได้เบิกใช้เป็นจำนวนเงินรวม 1,377.5 ล้านบาท (2550: 1,378.2 ล้านบาท) หนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยทั้งหมดของกลุ่มบริษัทและบริษัท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ 2550 เป็นสกุลเงินบาท

18 หนี้สินหมุนเวียนอื่น

งบการเงินรวม หมายเหตุ

ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย เจ้าหนี้อื่น เงินทดรองจากกิจการที่เกี่ยวข้องกัน 4 เงินมัดจำและเงินรับล่วงหน้า เจ้าหนี้กรมสรรพากร อื่นๆ รวม

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2551

2550

203,173 226,846 70,131 87,642 6,099 223,331 817,222

179,575 162,169 33,122 74,492 3,894 248,923 702,175

(พันบาท)

2551

2550

134,337 178,543 57,516 47,053 4,092 246,682 668,223

121,496 88,453 28,277 34,324 2,404 242,059 517,013 96


บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

หมายเหตุประกอบงบการเงิน สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ 2550

19 หนี้สินไม่หมุนเวียนอื่น

งบการเงินรวม

สิทธิการเช่าค้างจ่าย

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2551

2550

14,199

14,699

(พันบาท)

2551

2550

-

-

20 ทุนเรือนหุ้น ทุนจดทะเบียน ณ วันที่ 1 มกราคม - หุ้นสามัญ - หุ้นสามัญ ลดมูลค่าหุ้น - จากหุ้นละ 10 บาท เป็นหุ้นละ 3.55 บาท ณ วันที่ 31 ธันวาคม - หุ้นสามัญ หุ้นที่ออกและชำระแล้ว ณ วันที่ 1 มกราคม - หุ้นสามัญ - หุ้นสามัญ ลดมูลค่าหุ้น - จากหุ้นละ 10 บาท เป็นหุ้นละ 3.55 บาท ณ วันที่ 31 ธันวาคม - หุ้นสามัญ

มูลค่าหุ้น ต่อหุ้น (บาท)

จำนวนหุ้น

2551

จำนวนเงิน จำนวนหุ้น (พันหุ้น/พันบาท)

2550

จำนวนเงิน

10 3.55

- 1,110,661

- 3,942,847

1,110,661 -

11,106,611 -

(6.45)

-

-

-

(7,163,764)

3.55

1,110,661

3,942,847

1,110,661

3,942,847

10 3.55

- 1,110,661

- 3,942,847

1,110,661 -

11,106,611 -

(6.45)

-

-

-

(7,163,764)

3.55

1,110,661

3,942,847

1,110,661

3,942,847

97


บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

หมายเหตุประกอบงบการเงิน สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ 2550

21 หุ้นทุนซื้อคืน

บัญชีหุ้นทุนซื้อคืนในส่วนของผู้ถือหุ้นประกอบไปด้วยต้นทุนของหุ้นทุนของบริษัทที่ถือโดยบริษัท เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2551 บริษัทถือหุ้นของบริษัทจำนวน 2,185,200 หุ้น ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 0.2 ของหุ้นทุนที่บริษัทออก ซึ่งมีราคา

ทุนรวม 12.8 ล้านบาท โดยถือเป็นเงินลงทุนที่มีไว้เผื่อขาย ในเดือนพฤศจิกายน 2551 ที่ประชุมคณะกรรมการของบริษัทมีมติอนุมัติโครงการการซื้อหุ้นของบริษัทคืน (“แผน”) เพื่อซื้อหุ้นคืนในจำนวน ไม่เกินร้อยละ 10 หรือ 111 ล้านหุ้น ของหุ้นของบริษัทที่ออกจำหน่ายแล้วในขณะนั้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อบริหารเงินส่วนเกินของบริษัท จำนวนเงินสูงสุดที่มีมติอนุมัติภายใต้แผนมีจำนวน 536 ล้านบาท และในราคาเสนอซื้อไม่เกินร้อยละ 115 ของราคาปิดของหุ้น

ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (“ตลท.”) เฉลี่ย 5 วันทำการก่อนวันที่ทำการซื้อขาย บริษัทจะดำเนินการซื้อหุ้นในตลท. ตั้งแต่วันที่ 24 พฤศจิกายน 2551 ถึงวันที่ 22 พฤษภาคม 2552 หุ้นที่ซื้อคืนดังกล่าวมีกำหนดระยะเวลาจำหน่ายหุ้นคืนกับบุคคลภายนอกภายหลัง

6 เดือน นับตั้งแต่การซื้อหุ้นคืนแล้วเสร็จแต่ไม่เกิน 3 ปี

22 ส่วนเกินทุน

การเปลี่ยนแปลงในมูลค่ายุติธรรม ส่วนเกินทุนจากการเปลี่ยนแปลงในมูลค่ายุติธรรมที่บันทึกไปยังส่วนของผู้ถือหุ้น รวมผลสะสมของการเปลี่ยนแปลงสุทธิในมูลค่ายุติธรรม ของเงินลงทุนในหลักทรัพย์เผื่อขายจนกระทั่งมีการจำหน่ายเงินลงทุนนั้น สำรองตามกฎหมาย ตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 มาตรา 116 บริษัทจะต้องจัดสรรทุนสำรอง (“สำรองตามกฎหมาย”) อย่างน้อยร้อยละ 5 ของกำไรสุทธิประจำปีหลังจากหักขาดทุนสะสมยกมา (ถ้ามี) จนกว่าสำรองดังกล่าวมีจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของทุนจดทะเบียน เงินสำรองนี้จะนำไปจ่ายเป็นเงินปันผลไม่ได้ สำรองสำหรับหุ้นซื้อคืน สำรองสำหรับหุ้นซื้อคืนแสดงในจำนวนเงินที่ถูกจัดสรรจากกำไรสะสมในจำนวนเท่ากับทุนของหุ้นทุนของบริษัทที่ถูกถือโดยบริษัท

23 ข้อมูลทางการเงินจำแนกตามส่วนงาน

ส่วนงานธุรกิจ กลุ่มบริษัทดำเนินกิจการในส่วนงานธุรกิจเดียวคือธุรกิจ ห้างสรรพสินค้า ดังนั้นฝ่ายบริหารจึงพิจารณาว่ากลุ่มบริษัทมีส่วนงานธุรกิจ

เพียงส่วนงานเดียว ส่วนงานภูมิศาสตร์ กลุ่มบริษัทดำเนินธุรกิจเฉพาะในประเทศเท่านั้น ดังนั้นฝ่ายบริหารจึงพิจารณาว่า กลุ่มบริษัทมีส่วนงานทางภูมิศาสตร์เพียงส่วนงานเดียว 98


บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

หมายเหตุประกอบงบการเงิน สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ 2550

24 ดอกเบี้ยรับ

งบการเงินรวม หมายเหตุ

ดอกเบี้ยรับที่เกี่ยวกับ กิจการทีเ่ กี่ยวข้องกัน สถาบันการเงิน รวม

4

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2551

2550

- 34,794 34,794

- 17,294 17,294

(พันบาท)

2551

2550

176,293 30,854 207,147

218,294 16,080 234,374

25 รายได้อื่น

งบการเงินรวม หมายเหตุ

4 รายได้ค่าสาธารณูปโภค รายได้จากการโฆษณาประชาสัมพันธ์ 4 รายได้จากการบริหารงาน กลับรายการค่าเผื่อการด้อยค่า ของเงินลงทุน อื่นๆ รวม

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2551

2550

177,763 70,060 -

180,411 46,031 8,139

- 159,284 407,107

60,834 190,529 485,944

(พันบาท)

2551

2550

111,345 64,806 120,495

115,058 46,317 107,741

- 160,333 456,979

106,969 126,577 502,662

26 ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร

งบการเงินรวม หมายเหตุ

ค่าใช้จ่ายพนักงาน ค่าใช้จ่ายส่งเสริมการขาย ค่าใช้จ่ายสาธารณูปโภค ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย ค่าใช้จ่ายอาคาร อื่นๆ รวม

4

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2551

2550

667,250 255,704 461,065 629,244 310,341 602,056 2,925,660

621,707 222,137 468,377 691,486 277,505 539,673 2,820,885

(พันบาท)

2551

2550

493,807 180,810 291,663 380,391 231,966 434,335 2,012,972

467,221 162,205 305,912 438,878 226,343 405,209 2,005,768

99


บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

หมายเหตุประกอบงบการเงิน สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ 2550

27 ค่าใช้จ่ายพนักงาน

งบการเงินรวม

เงินเดือนและค่าแรง เงินสมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ อื่น ๆ รวม

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2551

2550

452,188 6,440 208,622 667,250

437,242 5,649 178,816 621,707

(พันบาท)

2551

2550

334,477 5,437 153,893 493,807

327,849 4,870 134,502 467,221

กลุ่มบริษัทได้จัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพสำหรับพนักงานของกลุ่มบริษัทบนพื้นฐานความสมัครใจของพนักงานในการเป็นสมาชิกของกองทุน

โดยพนักงานจ่ายเงินสะสมในอัตราร้อยละ 3 และอัตราร้อยละ 5 ของเงินเดือนทุกเดือน และกลุ่มบริษัทจ่ายสมทบในอัตราร้อยละ 3 และอัตรา

ร้อยละ 5 ของเงินเดือนของพนักงานทุกเดือน กองทุนสำรองเลีย้ งชีพนี้ได้จดทะเบียนเป็นกองทุนสำรองเลีย้ งชีพตามข้อกำหนดของกระทรวงการคลัง และจัดการกองทุนโดยผู้จัดการกองทุนที่ได้รับอนุญาต

28 ดอกเบี้ยจ่าย

งบการเงินรวม หมายเหตุ

ดอกเบี้ยจ่ายที่เกี่ยวกับ กิจการทีเ่ กี่ยวข้องกัน สถาบันการเงิน รวม

4

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2551

2550

- - -

2,017 1,555 3,572

(พันบาท)

2551

2550

6,950 - 6,950

7,001 1,417 8,418

100


บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

หมายเหตุประกอบงบการเงิน สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ 2550

29 ภาษีเงินได้

งบการเงินรวม

ภาษีเงินได้ปัจจุบัน สำหรับปีปัจจุบัน ภาษีปีก่อนๆ ที่บันทึกต่ำไป / (สูงไป) การกระทบยอดเพื่อหาอัตราภาษีที่แท้จริง

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2551

2550

227,439 - 227,439

208,697 - 208,697

(พันบาท)

2551

2551

2550

134,407 - 134,407

164,092 - 164,092

งบการเงินรวม

2550

อัตราภาษี อัตราภาษี (ร้อยละ) (พันบาท) (ร้อยละ) (พันบาท) กำไรก่อนภาษีเงินได้ 1,267,608 1,092,882 จำนวนภาษีตามอัตราภาษีเงินได้ 30 380,282 30 327,865 การลดภาษีเงินได้ (15,000) - รายได้ที่ไม่ต้องเสียภาษี (122,305) (81,480) ค่าใช้จ่ายต้องห้ามทางภาษี 4,157 2,593 รายจ่ายที่มีสิทธิหักได้เพิ่ม (342) (652) การใช้ขาดทุนทางภาษี (19,353) (39,629) รวม 17.9 227,439 19.3 208,697 การกระทบยอดเพื่อหาอัตราภาษีที่แท้จริง

2551

อัตราภาษี (ร้อยละ) กำไรก่อนภาษีเงินได้ จำนวนภาษีตามอัตราภาษีเงินได้ 30 การลดภาษีเงินได้ รายได้ที่ไม่ต้องเสียภาษี ค่าใช้จ่ายต้องห้ามทางภาษี รายจ่ายที่มีสิทธิหักได้เพิ่ม รวม 17.7

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2550

อัตราภาษี (พันบาท) (ร้อยละ) 761,039 228,312 30 (15,000) (82,386) 3,823 (342) 134,407 23.1

(พันบาท) 711,141 213,342 - (51,871) 3,273 (652) 164,092

การลดภาษีเงินได้นิติบุคคล พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากรฉบับที่ 475 พ.ศ. 2551 ลงวันที่ 6 สิงหาคม 2551 ให้สิทธิแก่ บริษัทที่มีหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ โดยลดอัตราภาษีเงินได้ จากร้อยละ 30 เป็นร้อยละ 25 สำหรับกำไรสุทธิเฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 300 ล้านบาท เป็นเวลาสามรอบระยะเวลาบัญชีต่อเนื่องกันนับแต่รอบระยะ เวลาบัญชีแรกที่เริ่มในหรือหลัง 1 มกราคม 2551 101


บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

หมายเหตุประกอบงบการเงิน สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ 2550

30

กำไรต่อหุ้นขั้นพื้นฐาน กำไรต่อหุ้นขั้นพื้นฐานสำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ 2550 คำนวณจากกำไรสำหรับปีที่เป็นส่วนของผู้ถือหุ้น

ของบริษัทและจำนวนหุ้นสามัญที่ออกจำหน่ายแล้วระหว่างปีในแต่ละปี โดยวิธีถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก แสดงการคำนวณดังนี้

งบการเงินรวม

กำไรที่เป็นส่วนของผู้ถือหุ้น ของบริษัท (ขั้นพื้นฐาน) จำนวนหุ้นสามัญที่ออก ณ วันที่ 1 มกราคม ผลกระทบจากหุน้ ทีถ่ อื โดยบริษทั (หุน้ ทุนซือ้ คืน) จำนวนหุ้นสามัญโดยวิธีถัวเฉลี่ย ถ่วงน้ำหนัก (ขั้นพื้นฐาน) กำไรต่อหุ้นขั้นพื้นฐาน (บาท)

31

2551

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2550 2551 (พันบาท/พันหุ้น)

2550

1,020,033

864,377

626,632

547,049

1,110,661 (182)

1,110,661 -

1,110,661 (182)

1,110,661 -

1,110,479 0.92

1,110,661 0.78

1,110,479 0.56

1,110,661 0.49

เงินปันผลจ่าย ในการประชุมสามัญประจำปีผู้ถือหุ้นของบริษัท เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2551 ผู้ถือหุ้นมีมติอนุมัติการจัดสรรกำไรเป็นเงินปันผลในอัตรา หุ้นละ 0.40 บาท เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 444.24 ล้านบาท เงินปันผลดังกล่าวได้จ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้นในระหว่างปี 2551 โดยที่ประชุม

ดังกล่าวมีมติอนุมัติให้มีการจัดสรรสำรองตามกฎหมายเป็นจำนวนเงิน 27.5 ล้านบาท ซึ่งได้บันทึกในงบการเงินปี 2550 แล้ว ในการประชุมสามัญประจำปีผู้ถือหุ้นของบริษัท เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2550 ผู้ถือหุ้นมีมติอนุมัติการจัดสรรกำไรเป็นเงินปันผลในอัตรา หุ้นละ 0.32 บาท เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 355.4 ล้านบาท เงินปันผลดังกล่าวได้จ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้นในระหว่างปี 2550 โดยที่ประชุมดังกล่าว มีมติอนุมัติให้มีการจัดสรรสำรองตามกฎหมายเป็นจำนวนเงิน 52.2 ล้านบาท ซึ่งได้บันทึกในงบการเงินปี 2549 แล้ว

102


บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

หมายเหตุประกอบงบการเงิน สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ 2550

32 การเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชี

การเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีของกลุ่มบริษัทต่อไปนี้ไม่มีผลกระทบต่องบการเงินเฉพาะกิจการของบริษัท จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2550 บริษัทบันทึกค่าความนิยมและค่าความนิยมติดลบที่เกิดจากการรวมธุรกิจในราคาทุนหักด้วยค่าตัด จำหน่ายสะสมและค่าเผื่อการด้อยค่าสะสม ค่าตัดจำหน่ายบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุนตามระยะเวลาที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์ เป็นเวลา 20 ปี และ 27 ปี ระหว่างปี 2550 สภาวิชาชีพบัญชีได้ประกาศใช้มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 43 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง การรวมธุรกิจ ซึ่งให้ถือปฏิบัติ

กับงบการเงินสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2551 มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 43 (ปรับปรุง 2550) กำหนดให้ ณ วันที่ซื้อ ผู้ซื้อต้องวัดมูลค่าค่าความนิยมจากการรวมธุรกิจที่บันทึกเป็นสินทรัพย์ด้วยราคาทุน หลังการรับรู้เริ่มแรก

ค่าความนิยมจะถูกวัดมูลค่าด้วยราคาทุนหักค่าเผื่อการด้อยค่าสะสม การปฏิบัติในช่วงเปลี่ยนแปลงนี้ใช้สำหรับค่าความนิยมยกมาใน

งบการเงินสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีเริ่มแรกที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2551 ที่เกิดจากการรวมธุรกิจซึ่งวันที่ตกลงรวมธุรกิจก่อน วันที่ 1 มกราคม 2551 การถือปฏิบัติในช่วงเปลี่ยนแปลงให้หยุดการตัดจำหน่ายค่าความนิยม ล้างบัญชีค่าตัดจำหน่ายค่าความนิยมสะสม และลดมูลค่าของค่าความนิยม และตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีแรกที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2551 ให้ทดสอบการด้อยค่าของ

ค่าความนิยมทั้งหมดที่เกิดจากการรวมธุรกิจตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 36 เรื่อง การด้อยค่าของสินทรัพย์ มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 43 (ปรับปรุง 2550) ยังกำหนดให้ส่วนเกินของส่วนได้เสียของผู้ซื้อในมูลค่ายุติธรรมสุทธิของสินทรัพย์ หนี้สิน และหนี้สินที่อาจเกิดขึ้นที่ระบุได้ของผู้ถูกซื้อสูงกว่าต้นทุน ซึ่งเดิมบันทึกเป็น “ค่าความนิยมติดลบ” จะรับรู้ในกำไรหรือขาดทุนทันที

การปฏิบัติในช่วงเปลี่ยนแปลงนี้สำหรับค่าความนิยมติดลบยกมาในงบการเงินสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีเริ่มแรกที่เริ่มในหรือหลังวันที่

1 มกราคม 2551 ที่เกิดจากการรวมธุรกิจซึ่งวันที่ตกลงรวมธุรกิจตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2551 การถือปฏิบัติในช่วงเปลี่ยนแปลง

ให้ตัดรายการค่าความนิยมติดลบ ณ วันต้นงวด โดยปรับปรุงยอดกำไรสะสมต้นงวด กลุม่ บริษทั ได้เปลีย่ นแปลงนโยบายการบัญชีสำหรับค่าความนิยมและค่าความนิยมติดลบตัง้ แต่วนั ที่ 1 มกราคม 2551 เป็นต้นไป งบการเงิน สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2550 ไม่มีผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีนี้ ผลกระทบจากการเปลี่ยนนโยบาย

การบัญชีของงบการเงินรวมของกลุ่มบริษัทสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2551 คือ การลดลงของค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุนซึ่ง

เป็นผลมาจากการหยุดการตัดจำหน่ายค่าความนิยม ซึ่งจะถูกรับรู้ภายใต้นโยบายการบัญชีเดิมประมาณ 1.6 ล้านบาท ส่งผลให้กำไร สำหรับปีเพิ่มขึ้น และลดมูลค่ายอดยกมาของค่าความนิยมติดลบและเพิ่มในยอดยกมาของกำไรสะสม ณ วันที่ 1 มกราคม 2551

เป็นจำนวน 3.6 ล้านบาท และลดรายได้ในงบกำไรขาดทุน ซึ่งเป็นผลมาจากการตัดจำหน่ายค่าความนิยมติดลบภายใต้นโยบายการบัญชี เดิมประมาณ 1.2 ล้านบาท ส่งผลให้กำไรสำหรับปีลดลง

103


บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

33

เครื่องมือทางการเงิน นโยบายการจัดการความเสี่ยงทางด้านการเงิน กลุ่มบริษัทมีความเสี่ยงจากการดำเนินธุรกิจตามปกติจากการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยและจากการไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดตามสัญญา ของคู่สัญญา กลุ่มบริษัทไม่มีการถือหรือออกเครื่องมือทางการที่เป็นตราสารอนุพันธ์ เพื่อการเก็งกำไรหรือการค้า การจัดการความเสี่ยงเป็นส่วนที่สำคัญของธุรกิจของกลุ่มบริษัท กลุ่มบริษัทมีระบบในการควบคุมให้มีความสมดุลของระดับความเสี่ยง

ทีย่ อมรับได้ โดยพิจารณาระหว่างต้นทุนทีเ่ กิดจากความเสีย่ งและต้นทุนของการจัดการความเสีย่ ง ฝ่ายบริหารได้มกี ารควบคุมกระบวนการ การจัดการความเสี่ยงของกลุ่มบริษัทอย่างต่อเนื่องเพื่อให้มั่นใจว่ามีความสมดุลระหว่างความเสี่ยงและการควบคุมความเสี่ยง ความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ย ความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ย หมายถึงความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดในอนาคตของอัตราดอกเบี้ยในตลาด ซึ่งส่งผล กระทบต่อการดำเนินงานและกระแสเงินสดของกลุ่มบริษัท กลุ่มบริษัทมีความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ยที่เกิดจากหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ย (หมายเหตุข้อ 17)

104


งบการเงินรวม อัตราดอกเบี้ย อัตราดอกเบี้ยคงที่ถึงกำหนดชำระภายใน อัตราดอกเบี้ยถัวเฉลี่ย ปรับขึ้นลงตาม ภายใน หลังจาก 1 ปี หลังจาก ปรับขึ้นลง อัตราตลาด 1 ปี แต่ภายใน 5 ปี 5 ปี รวม ตามอัตราตลาด คงที่ (พันบาท) (ร้อยละ) สินทรัพย์ทางการเงิน เงินฝากสถาบันการเงิน 1,433,630 - - - 1,433,630 0.50-3.25 - เงินลงทุนระยะสั้นที่มีสภาพคล่องสูง 203,142 - - - 203,142 1.40-3.60 - เงินฝากธนาคารที่มีข้อจำกัดในการใช้ 188,110 - - - 188,110 1.00-2.75 -

ปี 2551

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ 2550 บริษัทและบริษัทย่อยมีความเสี่ยงที่มูลค่าของเครื่องมือทางการเงินจะเปลี่ยนแปลงไปเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยในตลาด ดังนี้

สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ 2550

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

105

บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)


งบการเงินเฉพาะกิจการ อัตราดอกเบี้ย อัตราดอกเบี้ยคงที่ถึงกำหนดชำระภายใน อัตราดอกเบี้ยถัวเฉลี่ย ปรับขึ้นลงตาม ภายใน หลังจาก 1 ปี หลังจาก ปรับขึ้นลง อัตราตลาด 1 ปี แต่ภายใน 5 ปี 5 ปี รวม ตามอัตราตลาด คงที่ (พันบาท) (ร้อยละ) สินทรัพย์ทางการเงิน เงินฝากสถาบันการเงิน 1,216,239 - - - 1,216,239 0.50-3.25 - เงินลงทุนระยะสั้นที่มีสภาพคล่องสูง 102,181 - - - 102,181 1.40-3.60 - เงินฝากธนาคารที่มีข้อจำกัดในการใช้ 170,855 - - - 170,855 1.00-1.50 - เงินให้กู้ยืมระยะสั้น แก่กิจการที่เกี่ยวข้องกัน 4,153,703 - - - 4,153,703 เงินฝากประจำบวก 1.50 - เงินให้กู้ยืมระยะยาวแก่กิจการ ที่เกี่ยวข้องกัน - - - 61,224 61,224 - 6.00 หนี้สินทางการเงิน เงินกู้ยืมระยะสั้นจากกิจการ ที่เกี่ยวข้องกัน 1,085,501 - - - 1,085,501 ออมทรัพย์บวก 2.50 3.00 เงินกู้ยืมระยะยาวจากกิจการ ที่เกี่ยวข้องกัน - - 113,300 - 113,300 - 2.00

ปี 2551

สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ 2550

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

106

บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)


งบการเงินรวม อัตราดอกเบี้ย อัตราดอกเบี้ยคงที่ถึงกำหนดชำระภายใน อัตราดอกเบี้ยถัวเฉลี่ย ปรับขึ้นลงตาม ภายใน หลังจาก 1 ปี หลังจาก ปรับขึ้นลง อัตราตลาด 1 ปี แต่ภายใน 5 ปี 5 ปี รวม ตามอัตราตลาด คงที่ (พันบาท) (ร้อยละ) สินทรัพย์ทางการเงิน เงินฝากสถาบันการเงิน 1,419,214 - - - 1,419,214 0.50 - 2.67 - เงินลงทุนระยะสั้นที่มีสภาพคล่องสูง 1,196 199,764 - - 200,960 0.75 - 2.375 3.074 เงินฝากธนาคารที่มีข้อจำกัดในการใช้ 174,641 - - - 174,641 0.50-3.50 -

ปี 2550

สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ 2550

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

107

บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)


งบการเงินเฉพาะกิจการ อัตราดอกเบี้ย อัตราดอกเบี้ยคงที่ถึงกำหนดชำระภายใน อัตราดอกเบี้ยถัวเฉลี่ย ปรับขึ้นลงตาม ภายใน หลังจาก 1 ปี หลังจาก ปรับขึ้นลง อัตราตลาด 1 ปี แต่ภายใน 5 ปี 5 ปี รวม ตามอัตราตลาด คงที่ (พันบาท) (ร้อยละ) สินทรัพย์ทางการเงิน เงินฝากสถาบันการเงิน 1,122,867 - - - 1,122,867 0.5-2.67 - เงินลงทุนระยะสั้นที่มีสภาพคล่องสูง 1,196 199,764 - - 200,960 0.75-2.375 3.074 เงินฝากธนาคารที่มีข้อจำกัดในการใช้ 157,727 - - - 157,727 1.50-3.50 - เงินให้กู้ยืมระยะสั้นแก่กิจการ ที่เกี่ยวข้องกัน 4,390,465 - - - 4,390,465 เงินฝากประจำบวก 1.5 - เงินให้กู้ยืมระยะยาวแก่กิจการ ที่เกี่ยวข้องกัน - - - 61,224 61,224 - 6.00 หนี้สินทางการเงิน เงินกู้ยืมระยะสั้นจากกิจการ ที่เกี่ยวข้องกัน 1,007,837 - - - 1,007,837 ออมทรัพย์บวก 2.50 3.00 เงินกู้ยืมระยะยาวจากกิจการ ที่เกี่ยวข้องกัน - - 113,300 - 113,300 - 2.00

ปี 2550

สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ 2550

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

108

บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)


บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

หมายเหตุประกอบงบการเงิน สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ 2550

ความเสี่ยงทางด้านสินเชื่อ ความเสี่ยงทางด้านสินเชื่อ คือ ความเสี่ยงที่ลูกค้าหรือคู่สัญญาไม่สามารถชำระหนี้แก่กลุ่มบริษัทตามเงื่อนไขที่ตกลงไว้เมื่อครบกำหนด ฝ่ายบริหารได้กำหนดนโยบายทางด้านสินเชื่อเพื่อควบคุมความเสี่ยงทางด้านสินเชื่อดังกล่าวโดยสม่ำเสมอ โดยการวิเคราะห์ฐานะ ทางการเงินของลูกค้าทุกรายที่ขอวงเงินสินเชื่อในระดับหนึ่งๆ ณ วันที่ในงบดุลไม่พบว่ามีความเสี่ยงจากสินเชื่อที่เป็นสาระสำคัญ

ความเสี่ยงสูงสุดทางด้านสินเชื่อแสดงไว้ในราคาตามบัญชีของสินทรัพย์ทางการเงินแต่ละรายการ ณ วันที่ในงบดุล อย่างไรก็ตาม เนื่องจากกลุ่มบริษัทมีฐานลูกค้าจำนวนมาก ฝ่ายบริหารไม่ได้คาดว่าจะเกิดผลเสียหายที่มีสาระสำคัญจากการเก็บหนี้ไม่ได้ ความเสี่ยงจากการขาดสภาพคล่อง กลุ่มบริษัทมีการควบคุมความเสี่ยงจากการขาดสภาพคล่อง โดยการรักษาระดับของเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดให้เพียงพอ

ต่อการดำเนินงานของกลุ่มบริษัทและเพื่อทำให้ผลกระทบจากความผันผวนของกระแสเงินสดลดลง มูลค่ายุติธรรม มูลค่ายุติธรรม หมายถึง จำนวนเงินที่ผู้ซื้อและผู้ขายตกลงแลกเปลี่ยนสินทรัพย์หรือชำระหนี้สินกัน ในขณะที่ทั้งสองฝ่ายมีความรอบรู้ และเต็มใจในการแลกเปลี่ยนกัน และสามารถต่อรองราคากันได้อย่างเป็นอิสระในลักษณะของผู้ที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกัน มูลค่ายุติธรรมของลูกหนี้การค้าและลูกหนี้ระยะสั้นอื่นๆ เป็นมูลค่าที่ใกล้เคียงกับราคาที่บันทึกในบัญชี มูลค่ายุติธรรมของเงินให้กู้ยืมแก่บริษัทย่อยตามที่ปรากฏในงบการเงินมีจำนวนใกล้เคียงกับมูลค่ายุติธรรม เนื่องจากเป็นเงินให้กู้ยืม

ที่มีวันครบกำหนดชำระคืนในระยะเวลาอันใกล้ ส่วนเงินให้กู้ยืมระยะยาวแก่บริษัทย่อยมีจำนวนใกล้เคียงกับมูลค่ายุติธรรมที่ประมาณ

จากอัตราดอกเบี้ยปัจจุบันในตลาดของเงินกู้ยืม ซึ่งมีเงื่อนไขและวันครบกำหนดที่คล้ายคลึงกัน มูลค่ายุติธรรมของเงินกู้ยืมตามที่ปรากฏในงบการเงินของรายการที่มีอัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัวมีจำนวนใกล้เคียงกับมูลค่ายุติธรรม ส่วนราคาตามบัญชีที่ปรากฏในงบการเงินของรายการที่มีอัตราดอกเบี้ยแบบคงที่ มีจำนวนไม่สาระสำคัญ

34

ภาระผูกพันที่มีกับกิจการที่ไม่เกี่ยวข้องกันและอื่นๆ

งบการเงินรวม

ก) ภาระผูกพันรายจ่ายฝ่ายทุน สัญญาที่ยังไม่ได้รับรู้สำหรับสิทธิการเช่า

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2551

2550

21,000

22,000

(พันบาท)

2551

2550

-

-

109


บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

หมายเหตุประกอบงบการเงิน สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ 2550 กลุ่มบริษัทได้ทำสัญญาเช่าบริการและเช่าอาคารกับบริษัทในประเทศหลายแห่ง โดยมีกำหนดระยะเวลาในการเช่าจนถึงปี 2568 ทั้งนี้ บริษัทจะต้องจ่ายค่าเช่าและค่าบริการเป็นจำนวนเงินดังนี้

งบการเงินรวม

2551

(ข) ภาระผูกพันตามสัญญาเช่า ดำเนินงานที่ยกเลิกไม่ได้ ภายในหนึ่งปี 180,134 หลังจากหนึ่งปีแต่ไม่เกินห้าปี 579,909 หลังจากห้าปี 1,471,755 รวม 2,231,798

35

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2550

174,660 669,834 1,555,364 2,399,858

(พันบาท)

2551

2550

118,066 353,404 379,073 850,543

112,492 442,703 407,840 963,035

(ค) สัญญา เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2551 บริษัทได้ทำสัญญาโอนสิทธิการเช่าสำหรับพื้นที่สาขาสีลมกับบริษัทในประเทศแห่งหนึ่ง โดยบริษัท ตกลงที่จะโอนสิทธิการเช่าและสินทรัพย์อื่นของห้างสรรพสินค้าโรบินสัน สาขาสีลม ซึ่งมีมูลค่าตามบัญชีสุทธิ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 เป็นเงิน 28.8 ล้านบาท ในราคา 230 ล้านบาท ภายใต้สัญญานี้ บริษัทจะโอนสิทธิการเช่าและสินทรัพย์อื่นในวันที่ 30 พฤษภาคม 2551 อย่างไรก็ตาม บริษัทได้ตกลงที่ขยายเวลาในการชำระเงินออกไป และอยู่ระหว่างการทำบันทึกข้อตกลงแก้ไขเพิ่ม เติมสัญญาโอนสิทธิการเช่า ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 บริษัทได้รับเงินตามสัญญาดังกล่าวแล้วจำนวน 46.5 ล้านบาท บริษัทได้ บันทึกเงินจำนวนดังกล่าวไว้ในหนี้สินหมุนเวียนอื่นในงบดุล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551

มาตรฐานการบัญชีไทยที่ยังไม่ได้ใช้

กลุ่มบริษัทยังไม่ได้ใช้มาตรฐานการบัญชีที่ปรับปรุงใหม่ดังต่อไปนี้ ณ วันที่ในงบดุล เนื่องจากยังไม่มีการบังคับใช้มาตรฐานการ บัญชีที่ปรับปรุงใหม่ดังต่อไปนี้กำหนดให้ถือปฏิบัติกับงบการเงินสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2552 เป็นต้นไป มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 36 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง การด้อยค่าของสินทรัพย์ มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 54 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนถือไว้เพื่อขายและการดำเนินงานที่ยกเลิก บริษัทคาดว่าการกำหนดให้ใช้มาตรฐานการบัญชีที่ปรับปรุงใหม่ดังกล่าวข้างต้น จะไม่มีผลกระทบต่องบการเงินรวมหรืองบการเงิน เฉพาะกิจการอย่างมีสาระสำคัญ

110


บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

หมายเหตุประกอบงบการเงิน สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ 2550

36 การจัดประเภทรายการใหม่ รายการในงบการเงินของปี 2550 บางรายการได้จัดประเภทใหม่ให้สอดคล้องกับรายการในงบการเงินของปี 2551 ดังนี้ งบการเงินรวม ก่อนจัด จัดประเภทใหม่ ประเภทใหม่

2550 หลังจัด ประเภทใหม่

งบการเงินเฉพาะกิจการ ก่อนจัด หลังจัด จัดประเภทใหม่ ประเภทใหม่ ประเภทใหม่

(พันบาท) งบดุล สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น 188,766 สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น 503,259 เงินกู้ยืมระยะสั้นจาก กิจการที่เกี่ยวข้องกัน 33,122 หนี้สินหมุนเวียนอื่น 669,053

157,727 (157,727)

346,493 345,532

170,610 299,042

157,727 (157,727)

328,337 141,315

(33,122) - 1,036,114 33,122 702,175 488,736 -

(28,277) 28,277 -

1,007,837 517,013

การจัดประเภทรายการใหม่นี้จัดทำขึ้นเนื่องจากผู้บริหารเห็นว่ามีความเหมาะสมกับธุรกิจของกลุ่มกิจการมากกว่า

111


บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

รายการระหว่างกัน

ในระหว่างปี 2551 บริษัทฯ มีรายการบัญชีกับบริษัทย่อย บริษัทร่วม และบริษัทอื่นที่เกี่ยวข้อง สินทรัพย์ หนี้สิน รายได้ ต้นทุนขาย และค่าใช้จ่าย ส่วนหนึ่งของบริษัทเป็นรายการที่เกิดขึ้นกับบริษัทย่อย บริษัทร่วม และบริษัทอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้บริษัทเหล่านี้เกี่ยวข้องกันโดยการถือหุ้นและ/หรือ มีกรรมการร่วมกัน ดังที่ได้เปิดเผยไว้ในงบการเงินประจำปีในส่วนของหมายเหตุประกอบงบการเงิน ข้อ 4 ซึ่งสามารถสรุปรายการทางบัญชีของ รายการระหว่างกันที่มีนัยสำคัญ ณ สิ้นสุด 31 ธันวาคม 2551 ดังปรากฎในตารางแสดงรายการทางบัญชีของรายการระหว่างกัน ดังต่อไปนี้

ตารางแสดงรายการทางบัญชีของรายการระหว่างกันที่มีนัยสำคัญ

ผู้ถือหุ้นร่วมกัน

ผู้ถือหุ้นรายใหญ่

บริษัทร่วม

บริษัทย่อย

ความสัมพันธ์ ลักษณะรายการ บริษัทที่เกี่ยวข้อง

กรรมการร่วมกัน

หน่วย : ล้านบาท มูลค่ารายการ ระหว่างกัน

รายได้ ดอกเบี้ยรับ บริษัท โรบินสันอนุสาวรีย์ จำกัด X 176.29 บริษัท โรบินสันรัชดา จำกัด X บริษัท โรบินสันนครินทร์ จำกัด X บริษัท เครือเพชร จำกัด X บริษัท โรบินสัน เอส.พี.วี. จำกัด X บริษัท อาร์ดีพัฒนา จำกัด X บริษัท ซีอาร์ ( ประเทศไทย ) จำกัด X ค่าเช่า/ค่าบริการ บริษัท พาวเวอร์บาย จำกัด X X 539.75 บริษัท ซี อาร์ ซี สปอร์ต จำกัด X X บริษัท สรรพสินค้าเซ็นทรัล จำกัด X X กลุ่มบริษัท เซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล จำกัด X X บริษัท ซีอาร์ซี เพาเวอร์ รีเทล จำกัด X X บริษัท บีทูเอส จำกัด X X บริษัท ออฟฟิซ คลับ (ไทย) จำกัด X X กลุ่มบริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) X X บริษัท เทราซอฟท์ โซลูชั่น ดีเวลอปเมนท์ จำกัด X X บริษัท เซ็นทรัลวัตสัน จำกัด X X บริษัท อาร์ไอเอส จำกัด X กลุ่มบริษัท เซ็นทรัลเรสตอรองส์กรุ๊ป จำกัด X (อานตี้ แอนส์,พิซซ่าฮัท,มิสเตอร์โดนัท,เค.เอฟ.ซี.)

112


บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

ผู้ถือหุ้นร่วมกัน

ผู้ถือหุ้นรายใหญ่

บริษัทร่วม

บริษัทย่อย

ความสัมพันธ์ ลักษณะรายการ บริษัทที่เกี่ยวข้อง

กรรมการร่วมกัน

รายการระหว่างกัน

มูลค่ารายการ ระหว่างกัน

ค่าบริการทาง บริษัท พาวเวอร์บาย จำกัด X X 7.30 การเงิน บริษัท ซี อาร์ ซี สปอร์ต จำกัด X X บริษัท บีทูเอส จำกัด X X ค่าบริหารงาน บริษัท โรบินสันสุขุมวิท จำกัด X 120.53 บริษัท เครือแก้ว จำกัด X บริษัท อาร์ดีพัฒนา จำกัด X บริษัท ซีอาร์หาดใหญ่ (ประเทศไทย) จำกัด X บริษัท ซีอาร์อุดรธานี (ประเทศไทย) จำกัด X บริษัท ซีอาร์ภูเก็ต (ประเทศไทย) จำกัด X บริษัท ซีอาร์นครศรีธรรมราช (ประเทศไทย) จำกัด X บริษัท ซีอาร์เชียงใหม่ (ประเทศไทย) จำกัด X บริษัท ซีอาร์อุบลราชธานี (ประเทศไทย) จำกัด X บริษัท ซีอาร์ราชบุรี (ประเทศไทย) จำกัด X บริษัท ซีอาร์จันทบุรี (ประเทศไทย) จำกัด X รายจ่าย รายการซื้อสินค้า บริษัท ซี อาร์ ซี สปอร์ต จำกัด X X 666.05 บริษัท สรรพสินค้าเซ็นทรัล จำกัด X X บริษัท พาวเวอร์บาย จำกัด X X บริษัท เซ็นทรัลเทรดดิ้ง จำกัด X X บริษัท ซีเทรคสากล จำกัด X X บริษัท เท็กซ์ทรัลเท็กซ์ไทล์ จำกัด X X บริษัท เซ็นทรัลการ์เมนท์แฟคทอรี่ จำกัด X X ค่าเช่า/ค่าบริการ กลุ่มบริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) X X 129.44 บริษัท เตียงจิราธิวัฒน์ จำกัด X X ดอกเบี้ยจ่าย บริษัท โรบินสันสุขุมวิท จำกัด X 6.95 บริษัท โรบินสันรัชดา จำกัด X บริษัท เครือแก้ว จำกัด X บริษัท ซีอาร์ราชบุรี (ประเทศไทย) จำกัด X

113


บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

ความช่วยเหลือทาง การเงิน ค่าบริหารงาน

ผู้ถือหุ้นร่วมกัน

ผู้ถือหุ้นรายใหญ่

บริษัทร่วม

บริษัทย่อย

ความสัมพันธ์ ลักษณะรายการ บริษัทที่เกี่ยวข้อง

กรรมการร่วมกัน

รายการระหว่างกัน

มูลค่ารายการ ระหว่างกัน

บริษัท ซีอาร์หาดใหญ่ (ประเทศไทย) จำกัด X 1,829.11 บริษัท ซีอาร์อุดรธานี (ประเทศไทย) จำกัด X บริษัท ซีอาร์นครศรีธรรมราช (ประเทศไทย) จำกัด X บริษัท ซีอาร์เชียงใหม่ (ประเทศไทย) จำกัด X บริษัท ซีอาร์อุบลราชธานี (ประเทศไทย) จำกัด X บริษัท ซีอาร์จันทบุรี (ประเทศไทย) จำกัด X บริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด X X 85.70 บริษัท อาร์ไอเอส จำกัด X บริษัท ห้างเซ็นทรัลดีพาร์ทเม้นท์สโตร์ จำกัด X

114


บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

รายการระหว่างกัน ความจำเป็นและความสมเหตุสมผลของรายการระหว่างกัน

ประเภทรายการ

1. รายการธุรกิจปกติของบริษัท

ความจำเป็นและความสมเหตุสมผล

- รายการซื้อสินค้า - รายได้ค่าเช่าและค่าบริการ - รายจ่ายค่าเช่าและค่าบริการ

สินค้าที่บริษัทฯ จัดซื้อมาจากบริษัทที่เกี่ยวโยงกันนั้นเป็นยี่ห้อที่ได้รับความนิยม และเป็นผู้จัดจำหน่าย

เพียงผู้เดียว ทั้งนี้ นโยบายที่ใช้ในการจัดซื้อสินค้ากับบริษัทดังกล่าวเป็นนโยบายเดียวกับที่ใช้กับคู่ค้าทั่วไป

โดยมีการเจรจาต่อรองราคาเพื่อให้ได้กำไรขั้นต้นสูงสุด และต้องเป็นสินค้าที่กำลังวางจำหน่ายอยู่ในท้อง

ตลาดหรือกำลังจะวางจำหน่ายและสามารถแข่งขันกับห้างสรรพสินค้าอื่นได้ ร้านค้าสินค้าเฉพาะอย่าง (Specialty Store) ที่ดำเนินการโดยบริษัทร่วม และบริษัทที่เกี่ยวโยง นับว่าเป็นผู้

ที่มีความเชี่ยวชาญในการบริหารสินค้าเฉพาะอย่างเหล่านั้น มีชื่อเสียง เป็นที่นิยมของลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย

ของบริษัทฯ นอกจากนี้รูปแบบร้านมีการตกแต่งที่ทันสมัยซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของบริษัทฯ สำหรับค่า

ตอบแทนจะคิดในอัตราร้อยละของยอดขาย และอัตราคงที่ นอกจากนี้บริษัทฯ ยังได้จัดหาพื้นที่ให้กับ

บริษัทที่เกี่ยวโยง สำหรับจัดตั้งเคาน์เตอร์บริการโอนเงินระหว่างประเทศ เป็นค่าบริการจ่ายและค่าเช่า จากการเช่าพื้นที่ในศูนย์การค้า ซึ่งดำเนินการโดยบริษัทที่เกี่ยวโยง โดยมี

ราคาหรือเงื่อนไขของรายการที่เป็นธรรม และสมเหตุสมผล

- รายได้ค่าบริการทางการเงิน - รายได้ค่าบริหารงาน - ค่าบริหารงานจ่าย

เป็นการเรียกเก็บค่าบริการทางการเงินจากบริษัทร่วมสำหรับการใช้บริการห้องมั่นคงในการเก็บรักษา

เงินสดจากรายรับระหว่างวัน ซึ่งเป็นบริการทั่วไปที่ธุรกิจห้างสรรพสินค้าเสนอให้กับผู้ค้าหรือผู้เช่า สำหรับ

อัตราการเรียกเก็บจากรายการดังกล่าวเป็นอัตราเดียวกับที่บริษัทฯ เรียกเก็บจากคู่ค้าทั่วไปที่มาใช้บริการ เป็นการเรียกเก็บจากบริษัทย่อยและบริษัทร่วม โดยคำนวณจากการบริหารงานห้างสรรพสินค้า การจัด

ซื้อ การตลาด และการใช้ชื่อ ”โรบินสัน” ซึ่งเป็นไปตามอัตราที่ตกลงไว้ ในสัญญาคิดเป็นร้อยละของ

ยอดขาย/รายได้ เป็นค่าบริการรับและขนส่งสินค้า ค่าบริหารงานด้านบัญชีและการเงิน ทรัพยากรบุคคล งานกฎหมาย และ

ภาษีอากร ที่ดำเนินการโดยบริษัทที่เกี่ยวโยง เนื่องจากบริษัทดังกล่าวมีความเชี่ยวชาญในการบริหารงาน

ทำให้เกิดความประหยัดและเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินการ

2. รายการสนับสนุนธุรกิจปกติ

3. รายการความช่วยเหลือทางการเงิน - การกู้ยืมและการให้กู้ยืมบริษัทย่อย

นโยบายการจัดซื้อกำหนดให้จัดซื้อจากส่วนกลาง ก่อให้เกิดการกู้ยืมเงินระหว่างกันโดยใช้ระบบบัญชีเดิน

สะพัด สำหรับการคิดต้นทุนการกู้ยืมระหว่างบริษัทจะอ้างอิงกับอัตราดอกเบี้ยขั้นต่ำของเงินกู้หรือเงิน

ฝากออมทรัพย์หรือเงินฝากประจำของสถาบันการเงินภายในประเทศบางแห่งบวกส่วนต่างเพิ่มอีกร้อยละ 0

ต่อปี ถึงร้อยละ 2.5 ต่อปีทั้งนี้ขึ้นอยู่กับต้นทุนของแต่ละบริษัท

มาตรการและขั้นตอนการอนุมัติการทำรายการระหว่างกัน

บริษัทและบริษัทย่อยปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และตามประกาศที่คณะกรรมการกำกับตลาดทุนกำหนดในเรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และการเปิดเผยรายการที่เกี่ยวโยงกันของบริษัทจดทะเบียน ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการบริษัท และคณะกรรมการ ตรวจสอบ

115


บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

รายการระหว่างกัน อย่างไรก็ดี ตามที่พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาและมีกฎหมายบางมาตราที่มีผล บังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 31 สิงหาคม 2551 เป็นต้นมานั้น ซึ่งมาตรา 89/12 ได้กำหนดหน้าที่ของบริษัทจดทะเบียนในการทำรายการที่อาจมีความ

ขัดแย้งทางผลประโยชน์ โดยให้สำนักงานกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (สำนักงาน ก.ล.ต.) เป็นผู้กำกับดูแล ปัจจุบัน (สำนักงาน ก.ล.ต.) ได้ออกหลักเกณฑ์เพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำรายการที่เกี่ยวโยงกัน กล่าวคือ ในการทำธุรกรรมระหว่างบริษัทหรือบริษัทย่อย กับกรรมการ ผู้บริหาร หรือบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องกรณีที่เป็นรายการที่มีเงื่อนไขการค้าโดยทั่วไป ธุรกรรมดังกล่าวต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการ หรือเป็นไปตาม หลักการที่คณะกรรมการอนุมัติไว้แล้วตามมาตรา 89/12 (1) ด้วยเหตุดังกล่าว ในการประชุมคณะกรรมการบริษัทครั้งที่ 3/2551 เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2551 ที่ประชุมจึงได้มีมติอนุมัติในหลักการสำหรับการทำ ธุรกรรมระหว่างบริษัท และบริษัทย่อยกับบุคคลที่เกี่ยวโยงกันของบริษัทที่มีเงื่อนไขการค้าทั่วไป ส่วนธุรกรรมอื่นๆ ที่ไม่เข้าข่ายเงื่อนไขการค้า ทั่วไป ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และตามประกาศที่คณะกรรมการกำกับตลาดทุนกำหนด

นโยบายหรือแนวโน้มการทำรายการระหว่างกันในอนาคต

บริษัทฯ และบริษัทย่อยยังคงมีการทำรายการระหว่างกันต่อไปในอนาคต เนื่องจากเป็นรายการจำเป็นในการดำเนินธุรกิจห้างสรรพสินค้าทั่วไป โดย กรอบการทำรายการต่างๆ จะยึดถือการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และตามประกาศที่คณะกรรมการกำกับ

ตลาดทุนกำหนดในเรื่องหลักเกณฑ์ในการทำรายการที่เกี่ยวโยงกัน สำหรับนโยบายการกำหนดราคาระหว่างบริษัทที่เกี่ยวข้องกัน มีดังนี้ รายได้จากการขายสินค้า ราคาตลาดซึ่งต้องไม่ต่ำกว่าราคาที่ได้มาของสินค้านั้นๆ ดอกเบี้ยรับ/ดอกเบี้ยจ่าย อัตราดอกเบี้ยขั้นต่ำของเงินกู้หรือเงินฝากออมทรัพย์หรือเงินฝาก ประจำของสถาบันการเงินภายในประเทศบางแห่งบวกส่วนต่างเพิ่ม อีกร้อยละ 0 ต่อปี ถึงร้อยละ 2.5 ต่อปีทั้งนี้ขึ้นอยู่กับต้นทุนของแต่ละบริษัท รายได้ค่าเช่าหรือบริการ อัตราร้อยละของยอดขายโดยคิดจากราคาตลาดเป็นเกณฑ์หรือจำนวนเงินคงที่ ค่าตอบแทนการบริหารงาน อัตราร้อยละของยอดขายหรือจำนวนเงินคงที่

116


บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

ข้อมูลทั่วไป บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน) ทะเบียนเลขที่ 010753600412 (เดิมเลขที่ บมจ.115) ประกอบธุรกิจห้างสรรพสินค้า ภายใต้ชื่อ “โรบินสัน” ซึ่งปัจจุบันได้เปิดให้บริการอยู่ทั่วประเทศภายใต้การบริหารงานของบริษัท ห้างสรรพสินค้า โรบินสัน จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย มีจำนวนสาขาทั้งสิ้น 20 สาขา แบ่งเป็น กรุงเทพฯ 9 สาขา และ ต่างจังหวัด 11 สาขา ทุนจดทะเบียน 3,942,847,022.15 บาท (หุ้นสามัญ 1,110,661,133 หุ้น) ทุนชำระแล้ว 3,942,847,022.15 บาท (หุ้นสามัญ 1,110,661,133 หุ้น) มูลค่าหุ้นที่ตราไว้ มูลค่าหุ้นละ 3.55 บาท สถานที่ตั้งของสำนักงานบริหารส่วนกลาง 139 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพ 10400 โทรศัพท์ 02-245-4811 โทรสาร 02-247-5317 นายทะเบียนหลักทรัพย์ บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด 62 อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ชั้น 4, 7 ถนนรัชดาภิเษก แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 โทรศัพท์ 02-229-2800 โทรสาร 02-359-1262-3 ผู้สอบบัญชี บริษัท เคพีเอ็มจี ภูมิไชย สอบบัญชี จำกัด ชั้น 22 เอ็มไพร์ทาวเวอร์ 195 ถนนสาทรใต้

แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120 โทรศัพท์ 02-677-2000 โทรสาร 02-677-2222 ผู้สอบบัญชี นายวินิจ ศิลามงคล เลขทะเบียน 3378

ที่ตั้งของสาขา บมจ. ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน สาขารัชดา (วันเปิดสาขา : 11 พฤศจิกายน 2532) 139 ถ. รัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กทม. 10400 โทร. 02-248-2626-35, 02-245-4811, 02-245-4822 แฟกซ์ 02-642-2047 บมจ. ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน สาขาสุขุมวิท (วันเปิดสาขา : 1 ธันวาคม 2533) 259 ถ.สุขุมวิท แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กทม. 10110 โทร. 02-252-5121, 02-651-1533 แฟกซ์. 02-651-1560 บมจ. ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน สาขาบางรัก (วันเปิดสาขา : 11 พฤศจิกายน 2535) 1522 ถ. เจริญกรุง แขวงบางรัก เขตบางรัก กทม. 10500 โทร.02-238-0052-61, 02-267-3781-6 แฟกซ์. 02-235-2467 117


บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

ข้อมูลทั่วไป บมจ. ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน สาขาบางแค (วันเปิดสาขา : 1 ธันวาคม 2536) 615 ถ. เพชรเกษม แขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ กทม. 10160 โทร. 02-455-0143-5 แฟกซ์. 02-454-8350 บมจ. ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน สาขาซีคอนสแควร์ (วันเปิดสาขา : 21 สิงหาคม 2537) 55/1 ถ.ศรีนครินทร์ แขวงหนองบอน เขตประเวศ กทม. 10250 โทร. 02-721-8990-9 แฟกซ์. 02-721-9066 บมจ. ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน สาขาฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต (วันเปิดสาขา : 18 มีนาคม 2538) 94 ถ. พหลโยธิน ต.ประชาธิปัตย์ อ. ธัญบุรี จ. ปทุมธานี 12130 โทร. 02-958-0800-59 แฟกซ์. 02-958-0899 บมจ. ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน สาขาแฟชั่นไอส์แลนด์ (วันเปิดสาขา : 1 มิถุนายน 2538) 591 ถ. รามอินทรา แขวงคันนายาว เขตคันนายาว กทม. 10230 โทร. 02-947-5320-62 แฟกซ์. 02-947-5400 บมจ. ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน สาขาลาดหญ้า (วันเปิดสาขา : 1 พฤศจิกายน 2539) 99 ถ. ลาดหญ้า แขวงสมเด็จเจ้าพระยา เขตคลองสาน กทม. 10600 โทร.02-437-0111, 02-437-0104-5 แฟกซ์. 02-439-4296 118


บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

ข้อมูลทั่วไป บมจ.ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน สาขารัตนาธิเบศร์ (วันเปิดสาขา : 15 มิถุนายน 2548) 68/100 หมู่ 8 ถ. รัตนาธิเบศร์ ต. บางกระสอ อ. เมืองนนทบุรี จ. นนทบุรี 11000 โทร. 02-526-9774 แฟกซ์. 02-525-4466 บ. ซีอาร์ อุดรธานี (ประเทศไทย) จำกัด (วันเปิดสาขา : 30 สิงหาคม 2538) 277/2 ถ. ประจักษ์ศิลปาคม ต. หมากแข้ง อ. เมือง จ. อุดรธานี 41000 โทร. 042-242-777 แฟกซ์. 042-248-780 บ. ซีอาร์ ภูเก็ต (ประเทศไทย) จำกัด (วันเปิดสาขา : 12 ตุลาคม 2538) 36 ถ. ติลกอุทิศ 1 ต. ตลาดใหญ่ อ.เมือง จ. ภูเก็ต 83000 โทร. 076-256-500-12 แฟกซ์. 076-223-304 บ. ซีอาร์ นครศรีธรรมราช (ประเทศไทย) จำกัด (วันเปิดสาขา : 27 ตุลาคม 2538) 89/201 ถ. พัฒนาการคูขวาง ต. คลัง อ.เมือง จ. นครศรีธรรมราช 80000 โทร. 075-318-012-20 แฟกซ์. 075-318-010 บ. ซีอาร์ หาดใหญ่ (ประเทศไทย) จำกัด (วันเปิดสาขา : 1 ธันวาคม 2538) 9 ถ. ธรรมนูญวิถี ต. หาดใหญ่ อ. หาดใหญ่ จ. สงขลา 90110 โทร. 074-220-150 แฟกซ์. 074-220-157 119


บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

ข้อมูลทั่วไป บ. ซีอาร์ เชียงใหม่ (ประเทศไทย) จำกัด (วันเปิดสาขา : 26 มกราคม 2539) 2 ถ. มหิดล ต. หายยา อ. เมืองเชียงใหม่ จ. เชียงใหม่ 50100 โทร. 053-203-640-59 แฟกซ์. 053-283-129 บ. ซีอาร์ อุบลราชธานี (ประเทศไทย) จำกัด (วันเปิดสาขา : 1 มิถุนายน 2539) 221 ถ. ชยางกรู ต. ในเมือง อ. เมืองอุบลราชธานี จ. อุบลราชธานี 34000 โทร. 045-241-887, 045-242-866 แฟกซ์. 045-241-268 บมจ. ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน สาขาศรีราชา (วันเปิดสาขา : 31 พฤษภาคม 2540) 90/1 ถ. สุขุมวิท ต. ศรีราชา อ. ศรีราชา จ. ชลบุรี 20110 โทร. 038-771-001-10 แฟกซ์. 038-770-999 บ. ซีอาร์ ราชบุรี (ประเทศไทย) จำกัด (วันเปิดสาขา : 1 พฤศจิกายน 2539) 265 ถ. ศรีสุริยวงศ์ ต. หน้าเมือง อ. เมืองราชบุรี จ. ราชบุรี 70000 โทร. 032-310-831 แฟกซ์. 032-310-866 บ. ซีอาร์ จันทบุรี (ประเทศไทย) จำกัด (วันเปิดสาขา : 16 มกราคม 2541) 22/107 ม. 7 ต. จันทนิมิต อ. เมืองจันทบุรี จ. จันทบุรี 22000 โทร. 039-340-348-57 แฟกซ์. 039-340-381 120


บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

ข้อมูลทั่วไป บมจ. ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน สาขาอยุธยา (วันเปิดสาขา : 16 พฤศจิกายน 2549) 126 ม. 3 ถ. สายเอเชีย ต. คลองสวนพลู อ. พระนครศรีอยุธยา จ. พระนครศรีอยุธยา 13000 โทร. 035-229-888 แฟกซ์. 035-229-878 บ. ซีอาร์ ภูเก็ต (ประเทศไทย) จำกัด สาขาโรบินสัน โอเชี่ยน จังซีลอน (วันเปิดสาขา : 3 พฤศจิกายน 2550) 177 ถ. ราษฎร์อุทิศ 200 ปี ต.ป่าตอง อ.กะทู้ จ. ภูเก็ต 83150 โทร. 076-600-888-97 แฟกซ์. 076-600-886

121



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.