ROBINS : Annual Report 2009

Page 1

Robinson Department Store Public Company Limited

ROBINSON

ANNUAL REPORT 2009


สารบัญ 3 4 9 10

14

16

20 24 31 35

37 50

65 75 77

79

80 141 146 2

สารจากประธานกรรมการ สารจากกรรมการผู้จัดการใหญ่ จุดเด่นทางการเงิน ฐานะการเงินและ ผลการดำเนินงานในปี 2552 การตลาดและภาวะธุรกิจค้าปลีก ในปี 2552 ความเป็นมาและ พัฒนาการที่สำคัญ โครงสร้างธุรกิจ ลักษณะการประกอบธุรกิจ ปัจจัยความเสี่ยง ผู้ถือหุ้นและ นโยบายการจ่ายปันผล การจัดการ คณะกรรมการบริษัท และคณะผู้บริหาร หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี ความรับผิดชอบต่อสังคม รายงานจาก คณะกรรมการตรวจสอบ รายงานความรับผิดชอบ ของคณะกรรมการ ต่อรายงานทางการเงิน งบการเงิน รายการระหว่างกัน ข้อมูลทั่วไป บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)


สารจากประธานกรรมการ

สารจากประธานกรรมการ “บริษัทฯ ได้พิสูจน์ถึงความมั่นคงทางธุรกิจวิสัยทัศน์

และการบริหารงานทีม่ ปี ระสิทธิภาพด้วยผลประกอบการ ที่มียอดขายและผลกำไรเป็นที่น่าพอใจสำหรับปี 2552 ถือเป็นอีกปีหนึ่งของความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้”

กว่า 30 ปีของห้างสรรพสินค้าโรบินสันที่เติบโตมาพร้อมกับ ความภาคภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างสรรค์ความทันสมัย ให้แก่ลกู ค้าของเราตลอดมา ถึงแม้ในช่วง 2-3 ปีทผี่ า่ นมาบริษทั ได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจ ซึ่งบริษัทได้พิสูจน์ถึง ความมั่นคงทางธุรกิจ วิสัยทัศน์ และการบริหารงานที่มี ประสิทธิภาพ ด้วยผลประกอบการที่มียอดขายและผลกำไร เป็นทีน่ า่ พอใจ สำหรับปี 2552 ถือเป็นอีกปีหนึง่ ของความสำเร็จ ตามเป้าหมายที่วางไว้ ด้วยการเปิดสาขาใหม่ถึงสองแห่ง คือ โรบินสัน ชลบุรี และ โรบินสัน ขอนแก่น เพื่อให้ลูกค้าสามารถ เข้าถึงแหล่งช้อปปิง้ ทีห่ รูหราทันสมัยพร้อมด้วยสินค้าแบรนด์ที่ มีชื่อเสียงได้ง่ายมากขึ้น นอกจากนี้ แนวทางในการดำเนินธุรกิจในปีที่ผ่านมา บริษัท มุง่ มัน่ ในการนำเสนอสินค้าทีม่ ชี อื่ เสียงและเป็นทีน่ ยิ มของตลาด และสอดคล้องกับไลฟ์สไตล์ มีแฟชั่นทันสมัยในราคาที่ตัดสินใจ ซื้อได้ง่าย พร้อมทั้งกลุ่มสินค้า Private Brand และ Exclusive Brand ที่โดดเด่นด้วยรูปแบบที่แตกต่างจากคู่แข่ง ประกอบกับ กลยุ ท ธ์ ท างการตลาดที่ เ พิ่ ม เติ ม ความน่ า สนใจให้ แ ก่ ลู ก ค้ า เฉพาะกลุ่มกับการเข้ามาเลือกซื้อสินค้าภายในห้างฯ พร้อมกับ การบริการที่เป็นเลิศที่สร้างความประทับใจแก่ลูกค้าจนยกให้ ห้างสรรพสินค้าโรบินสันเป็น “หนึง่ ในดวงใจ” ตลอดมา ในด้านการรักษาผลประโยชน์ของ ท่านผูถ้ อื หุน้ ยังเป็นหลักสำคัญ ในการดำเนินงานของเรา ถึงแม้ว่าในปีที่ผ่านมาภาวะเศรษฐกิจ จะดูไม่เอื้ออำนวยนัก แต่บริษัทยังคงรักษาระดับการจ่ายเงิน ปันผลจากผลประกอบการของปี 2551 ไว้เท่ากับปีที่ผ่านมาซึ่ง สูงกว่าอัตราการจ่ายเงินปันผลตามนโยบายของบริษัทรวมทั้ง ได้จดั ทำโครงการซือ้ หุน้ คืนเพือ่ บริหารเงิน และเพือ่ ให้ราคาหุน้ สะท้อนถึงมูลค่าทีเ่ หมาะสมภายหลังจากทีต่ ลาดหุน้ โดยรวมได้ รับผลกระทบจากวิกฤติการเงินโลก

นอกเหนือจากการมุ่งเน้นความเป็นเลิศทางด้านธุรกิจแล้ว บริษทั ยังให้ความสำคัญกับการรักษามาตรฐานการดำเนินธุรกิจ ตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีเสมอมา ส่งผลให้บริษัท ได้รับการจัดอันดับคุณภาพการกำกับดูแลกิจการที่ดีอยู่ใน ระดับ “ดีมาก” อย่างต่อเนื่อง ในด้านความรับผิดชอบต่อสังคม บริษัทมีวัตถุประสงค์ที่จะนำ ประโยชน์สูงสุดตอบแทนกลับคืนแก่สังคมและชุมชน โดย เน้นความสำคัญในการจัดกิจกรรมต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อ สังคมและสิ่งแวดล้อมในแต่ละสาขาทั่วประเทศ รวมถึงการ เข้าร่วมกับบริษัทต่างๆในเครือเซ็นทรัลกรุ๊ป และพันธมิตรทาง ธุรกิจอื่นๆ ในการดำเนินกิจกรรมหลากหลายเพื่อสังคมอย่าง ต่อเนื่องตลอดทั้งปี สุดท้ายนี้ กระผมในนามของบริษทั ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน) ขอขอบคุณทุกความไว้วางใจที่ ได้รับจากลูกค้า ท่านผู้ถือหุ้น และพันธมิตรทางธุรกิจ รวมถึงพนักงานและ กรรมการบริษทั ทุกท่านที่ได้ทมุ่ เทเวลาและความรูค้ วามสามารถ อย่างเต็มที่ให้แก่บริษัทอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งตั้งมั่นในความ ซื่อสัตย์และโปร่งใสในการดำเนินธุรกิจเพื่อประโยชน์สูงสุดต่อ ผู้ถือหุ้น และ ลูกค้า ของเรา และเพื่อการเติบโตที่มั่นคงและ ยั่งยืน พร้อมทั้งสร้างประโยชน์ให้แก่สังคมและชุมชนให้เติบโต ไปด้วยกันต่อไป

นายสุทธิศักดิ์ จิราธิวัฒน์ ประธานกรรมการ รายงานประจำปี 2552

3


สารจากกรรมการผู้จัดการใหญ่ “สถานการณ์ธรุ กิจในปี 2552 ถือเป็นความท้าทายของ

ผูป้ ระกอบธุรกิจในการทีต่ อ้ งเผชิญกับอุปสรรคและปัจจัยลบ ต่างๆอย่างที่ ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้แต่บริษัทสามารถ สร้างยอดขายจำนวน 12,842 ล้านบาท เติบโตขึ้นจาก ปีก่อนร้อยละ 3.4 ขณะที่บริษัทสามารถบริหารและ ควบคุมค่าใช้จ่ายต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารเติบโตอยู่ในระดับต่ำกว่า รายได้รวมและมีกำไรสุทธิจากการดำเนินงานเพิ่มขึ้นกว่า ร้อยละ 9 เมื่อเทียบกับปีก่อน” สถานการณ์ธรุ กิจในปี 2552 ถือเป็นความท้าทายของผูป้ ระกอบ ธุรกิจในการที่ต้องเผชิญกับอุปสรรค และปัจจัยลบต่างๆ อย่าง ที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ไม่ว่าจะเป็นภาวะเศรษฐกิจโลกที่ ซบเซา ความขัดแย้งทางการเมืองที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นและ การระบาดของไข้หวัดสายพันธ์ใุ หม่ ซึง่ ส่งผลให้ภาวะเศรษฐกิจ ไทยเข้าสู่ภาวะถดถอย ขณะเดียวกันการใช้จ่ายของผู้บริโภคก็ มีแนวโน้มลดลงเป็นลำดับ อย่างไรก็ดี ผลการดำเนินงานของบริษัทในปีนี้ถือได้ว่าประสบ ความสำเร็จอีกปีหนึ่ง แม้ว่าต้องเผชิญกับสถานการณ์ดังกล่าว ข้างต้น ซึ่งพิสูจน์ให้เห็นถึงความแข็งแกร่งของการบริหารงาน และการปรับใช้กลยุทธ์ต่างๆ ของบริษัทในการกระตุ้นความ ต้องการซื้อของลูกค้า โดยบริษัทมียอดขายจำนวน 12,842 ล้านบาท เติบโตขึน้ จากปีกอ่ นร้อยละ 3.4 ขณะทีบ่ ริษทั สามารถ บริหารและควบคุมค่าใช้จ่ายต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยบริษัทได้ปรับการบริหารจัดการทั้งด้านกระบวนการทำงาน กระบวนการคิด และการเพิม่ ประสิทธิภาพของทรัพยากรบุคคล ให้สูงขึ้น ควบคู่ไปกับการลดค่าใช้จ่ายทางด้านพลังงานและ ค่าใช้จา่ ยที่ไม่จำเป็นอืน่ ๆ ทำให้คา่ ใช้จา่ ยในการขายและบริหาร เติบโตอยู่ในระดับต่ำกว่ารายได้รวม จึงทำให้กำไรสุทธิจากการ ดำเนินงานเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 9 เมื่อเทียบกับปีก่อน ในขณะที่ ฐานะทางการเงินยังคงมีความแข็งแกร่งต่อเนือ่ งพร้อมสนับสนุน แผนการขยายธุรกิจของบริษัทในอนาคตตามแผนที่วางไว้ บริษัทมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในฐานะผู้นำห้างสรรพสินค้า ของประเทศในด้านต่างๆ ดังนี้

4

บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

“การขยายเครือข่ายได้ครอบคลุมพื้นที่ทุกภูมิภาคทั่วประเทศ อย่างแท้จริง” ในปี 2552 บริษัทขยายสาขาครอบคลุมพื้นที่ที่มีศักยภาพทาง การตลาดสูงมากขึ้น ด้วยการเปิดให้บริการสาขาใหม่ คือ สาขาชลบุรี และสาขาขอนแก่น ในรูปแบบห้างสรรพสินค้าที่ ทันสมัย มีความเป็นไลฟ์สไตล์ และมีบรรยากาศที่ดีเพื่อให้ลูกค้า ได้สมั ผัสถึงความเพลิดเพลินสนุกสนานในทุกการจับจ่าย เหล่านี้ ล้วนสะท้อนถึงความเป็นตัวตนของห้างสรรพสินค้าโรบินสันได้ อย่างชัดเจน ซึ่งไม่เพียงบริษัทจะประสบความสำเร็จในด้าน ภาพลักษณ์เท่านัน้ หากแต่สาขาใหม่นี้ได้รับการตอบรับที่ดจี าก ลูกค้า และสามารถสร้างยอดขายได้ตามแผนที่วางไว้อีกด้วย และด้วยการเปิดสาขาใหม่ถึงสองสาขาในปีนี้ ทำให้ ณ สิ้นปี 2552 บริษัทมีสาขาที่เปิดให้บริการรวม 22 สาขา ด้วยพื้นที่ขาย สุทธิมากกว่า 260,000 ตารางเมตร และถือเป็นห้างสรรพสินค้า ไทยเพียงแห่งเดียวทีม่ เี ครือข่ายมากทีส่ ดุ ครอบคลุมพืน้ ทีท่ สี่ ำคัญ ในทุกภูมิภาคทั่วประเทศอย่างแท้จริง นอกจากการเปิดสาขาใหม่แล้วความสำเร็จที่สำคัญอีกด้านคือ การพัฒนาและปรับปรุงสาขาที่มีอยู่เดิมด้วยการตกแต่งพื้นที่ ทัง้ ภายในและภายนอกห้างฯใหม่ให้โดดเด่นน่าสนใจ พร้อมทัง้ เสริมสร้างบรรยากาศทีส่ นุกสนานในการช้อปปิง้ แก่ลกู ค้ามากขึน้ ซึ่งเป็นการตอกย้ำภาพลักษณ์ของห้างฯที่มีความทันสมัยและ เป็นแฟชัน่ อาทิ สาขาแฟชัน่ ไอส์แลนด์ได้ดำเนินการตกแต่งใหม่ ในพืน้ ทีแ่ ต่ละชัน้ แต่ละแผนก เช่น แผนกเครือ่ งสำอางค์ แผนก เสือ้ ผ้าบุรษุ สตรี และแผนกของใช้ภายในบ้าน เป็นต้น ซึง่ นับเป็นอีก หนึ่งสาขาในปีนี้ที่ประสบความสำเร็จอย่างมากในการสร้างการ


เติบโตของยอดขายภายหลังจากดำเนินการแล้วเสร็จ ในขณะที่ สาขาหาดใหญ่ และสาขาราชบุรี นอกจากการปรับปรุงเพือ่ เพิม่ ศักยภาพในการขายให้มากขึ้นแล้ว ควบคู่กันไปบริษัทฯยังเน้น การเพิ่มประสิทธิภาพให้กับพื้นที่ทุกตารางเมตรด้วยการบริหาร จัดสรรพืน้ ที่ในแต่ละแผนก แต่ละส่วน ทัง้ พืน้ ทีข่ ายและพืน้ ทีเ่ ช่า ให้มีความสามารถในการสร้างรายได้สูงสุดต่อบริษัทด้วย

“ความพร้ อ มในสิ น ค้ า ที่ มี ค วามแปลกใหม่ แ ละหลากหลาย ครบครันด้วยแบรนด์ชั้นนำ เสริมด้วยสินค้าที่แตกต่าง” ในการคัดเลือกสินค้าเพือ่ มาวางจำหน่ายภายในห้าง บริษทั ฯจะ คำนึงถึง 3 ส่วนประกอบหลัก อันได้แก่ คุณภาพ รูปแบบ และ ราคา ที่จะต้องสอดรับกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมายอย่างเหมาะสม ดังนั้นบริษัทจึงยึดมั่นแนวทางการนำเสนอสินค้าคุณภาพดี ทันสมัย เป็นไลฟ์สไตล์ทมี่ แี ฟชัน่ ในราคาทีเ่ หมาะสม โดยนำเสนอ สินค้าแบรนด์ในประเทศและต่างประเทศทีอ่ ยู่ในความนิยมของ ตลาดในทุกประเภทสินค้าเพื่อตอบสนองความต้องการของ ลูกค้าแต่ละกลุ่ม และแม้ว่าโดยภาพรวมผู้บริโภคมีแนวโน้ม ในการปรับเปลีย่ นพฤติกรรมการใช้จา่ ยโดยมุง่ ทีค่ วามคุม้ ค่ามาก ขึ้น แต่ด้วยการเติบโตของยอดขายอย่างต่อเนื่องจึงพิสูจน์ ได้ ว่าสินค้าทีว่ างจำหน่ายในห้างโรบินสันสามารถตอบรับกับแนวโน้ม ของพฤติกรรมที่ปรับเปลี่ยนไปได้เป็นอย่างดีเช่นกัน

สารจากกรรมการผู้จัดการใหญ่

ในการคัดเลือกสินค้าเพื่อมาวางจำหน่ายภายในห้าง บริษัทจะคำนึงถึง 3 ส่วนประกอบหลัก ได้แก่ คุณภาพ รูปแบบ และราคา ที่จะต้องสอดรับกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมายอย่างเหมาะสม นอกจากนี้ สินค้ากลุ่ม Only @ Robinson อันได้แก่ สินค้า Private Brand สินค้า Exclusive Brand และสินค้า Exclusive Model ซึ่งถือเป็นกลุ่มที่สำคัญในการสร้างความโดดเด่นและ แตกต่างจากห้างสรรพสินค้าอืน่ ซึง่ ยังคงมีอตั ราการเติบโตของ ยอดขายทีด่ อี นั เป็นผลจากการพัฒนาตัวสินค้าให้มคี วามน่าสนใจ สามารถเติมเต็มความต้องการของลูกค้าได้เป็นอย่างดี ควบคู่ ไปกับการปรับพื้นที่เคาน์เตอร์ที่วางสินค้าให้อยู่ในทำเลที่ดีขึ้น รวมถึงการกระจายสินค้าให้มวี างจำหน่ายในทุกสาขาทัว่ ประเทศ ทำให้แบรนด์เหล่านีเ้ ป็นทีร่ จู้ กั ในกลุม่ ลูกค้ามากขึน้ ซึง่ นอกเหนือ จากแบรนด์ แ ฟชั่ น อื่ น ๆ ที่ มี การปรั บ ปรุ ง สิ น ค้ า ให้ มี ความ หลากหลายและเหมาะสมกับตลาดมากขึน้ แล้วบริษทั ยังได้เพิม่ ประเภทสินค้าเครื่องใช้ภายในครัวให้ครบครัน (Assortments) และเพิ่มรูปแบบใหม่ (Varieties) ให้หลากหลายและมีคุณภาพ การใช้งานที่ดีในราคาที่ตรงใจลูกค้าภายใต้แบรนด์ Cuizimate ในขณะทีแ่ ผนกเครือ่ งสำอางค์ บริษทั ได้มกี ารเพิม่ แบรนด์สนิ ค้า ใหม่จากต่างประเทศ คือ แบรนด์ David Jones Beauty ซึง่ เป็น ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวทีม่ ชี อื่ เสียงจากประเทศออสเตรเลีย โดยบริษทั เป็นห้างสรรพสินค้าที่เป็นผู้จัดจำหน่ายอย่างเป็นทางการเพียง รายเดียวในไทย ทั้งนี้ บริษัทได้กำหนดเป้าหมายในการเพิ่ม สัดส่วนยอดขายของสินค้ากลุม่ Only @ Robinson ต่อยอดขาย รวม จากร้อยละ 7 เป็นร้อยละ 10 ภายในอีก 2 ปี โดยการมุง่ มัน่ พัฒนาสินค้ากลุ่มนี้เพื่อนำเสนอสินค้าที่ดีตอบรับโอกาสทาง ธุรกิจทีม่ อี ยู่ในแต่ละพืน้ ที่ ซึง่ นับเป็นอีกยุทธศาสตร์หนึง่ ทีส่ ำคัญ ของบริษัทในการเพิ่มยอดขายและผลกำไรแก่บริษัททั้งในระยะ กลางและระยะยาว

ด้วยภาวะเศรษฐกิจที่ไม่เอื้ออำนวยทำให้ผู้ผลิตหลายรายชะลอ การผลิต แต่บริษัทยังคงเดินหน้าคัดสรรเพิ่มสินค้าแบรนด์ ใหม่ๆที่กำลังอยู่ในความนิยม รวมถึงผลักดันให้มีสินค้ารุ่นใหม่ๆ (New collection) เข้ามาวางจำหน่ายอย่างสม่ำเสมอตลอดทั้งปี เพื่อให้ลูกค้าสามารถเลือกซื้อได้อย่างพอใจ รวมถึงการเพิ่ม แบรนด์สินค้าที่ได้รับความนิยมเฉพาะกลุ่มเพื่อรุกเข้าสู่ตลาด ใหม่และขยายฐานลูกค้าสู่กลุ่มวัยรุ่นและคนรุ่นใหม่ที่ชื่นชอบ แฟชั่นความท้าทาย และความแปลกใหม่มากขึ้น

รายงานประจำปี 2552

5


เน้นการพัฒนาศักยภาพในการให้บริการของ พนักงานอย่างต่อเนื่อง และจริงจัง “การมุ่งมั่นพัฒนาการบริการที่ดีเลิศแก่ลูกค้า” ในด้านการให้บริการ บริษัทมุ่งมั่นในการสร้างความพึงพอใจ สูงสุดให้แก่ลูกค้าด้วยการบริการที่ดีเลิศ ดังนั้นบริษัทจึงได้เน้น การพัฒนาศักยภาพในการให้บริการของพนักงานอย่างต่อเนือ่ ง

ความพิเศษ ที่โรบินสันสรรสร้างให้ลูกค้าในปีที่ผ่านมา มกราคม

กุ ม ภ า พั น ธ์

และจริงจัง เพื่อให้พนักงานมีความรู้ในตัวสินค้ามีทักษะในการ ให้ บ ริ การโดยสามารถให้ ค ำแนะนำในการเลื อ กสิ น ค้ า และ สร้างความประทับใจจนเป็นทีจ่ ดจำของลูกค้า ซึง่ บริษทั ได้ปลูก จิ ต สำนึ ก ในการให้ บ ริ การของพนั ก งานขายผ่ า นโครงการ Robinson Fantasia ซึ่งเป็นโครงการที่กระตุ้นให้พนักงาน แข่งขันกันในการให้บริการลูกค้าอย่างเต็มใจ โดยมีการวัดคุณภาพ ของการบริการตามการจัดกลุม่ พนักงานขาย ทำให้ประสิทธิภาพ ในการพัฒนาอบรมเพื่อปรับปรุงคุณภาพการให้บริการดีขึ้น ซึ่งโครงการนี้ได้ให้ผลลัพธ์เป็นที่น่าพอใจ นอกเหนือจากพนักงานขายทีม่ ศี กั ยภาพแล้ว ความโดดเด่นของ งานบริการอีกส่วนหนึ่งของห้างโรบินสัน คือ บรรยากาศที่เป็น มิตรในการช้อปปิง้ ซึง่ ถือเป็นอีกกลยุทธ์หนึง่ ทีส่ ำคัญเพือ่ ทำให้ ลูกค้ารู้สึกสบายใจและสนุกสนานทุกครั้งเมื่อได้เข้ามาเลือกซื้อ สินค้าที่ห้างฯพร้อมกันนี้ บริษัทยังได้นำเสนอโปรแกรมการให้ บริการในรูปแบบ Value Added Service ซึ่งเป็นที่ชื่นชอบและ ได้รับการตอบรับที่ดีจากลูกค้ามาโดยตลอดและต่อเนื่องถึงปี 2552 อาทิ บริการ Bra Advisor ซึง่ เป็นบริการให้คำแนะนำด้าน ชุดชั้นในสตรีจากผู้เชี่ยวชาญ บริการ Free Make Up ซึ่งเป็น บริ การแต่ ง หน้ า ฟรี ส ำหรั บ ทุ ก โอกาสของลู ก ค้ า และบริ การ Stylish Consultant ซึ่งเป็นบริการให้คำแนะนำแก่ลูกค้าแผนก เสื้อผ้าบุรุษในการเสริมสร้างบุคลิกทีด่ ี เป็นต้น และบริษัทยังได้ เพิ่มความสะดวกสบายและสร้างความรู้สึกพิเศษให้กับลูกค้า โดยเพิ่มบริการต่างๆ ให้กับลูกค้า VIP อาทิ VIP Lounge VIP Parking และ VIP Delivery เป็นต้น

6

บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

มี น า ค ม

เมษายน

พฤษภาคม

มิ ถุ น า ย น


“เพิ่มการทำการตลาดในรูปแบบ Event Marketing” สำหรับกลยุทธ์ทางการตลาดในปีทผี่ า่ นมาบริษทั ได้เน้นกิจกรรม ทางการตลาดให้มขี นาดใหญ่นา่ สนใจ และเป็นทีจ่ ดจำของลูกค้า มากขึน้ โดยกระจายไปยังสาขาทีม่ ศี กั ยภาพทัว่ ประเทศ ซึง่ กลยุทธ์ ทางการตลาดดังกล่าวทำให้บริษัทประสบความสำเร็จในการ กระตุน้ กำลังซือ้ ของลูกค้าได้เป็นอย่างดี และแสดงถึงความเป็น ผู้นำในแต่ละกลุ่มสินค้าได้อย่างชัดเจน อาทิ การจัดกิจกรรม Jeans Expo เพื่อดึงกลุ่มลูกค้าวัยรุ่นที่ชอบความเป็นแฟชั่น โดยการนำเสนอสินค้ายีนส์คอลเลคชั่นใหม่จากแบรนด์ที่มีชื่อ เสียงกว่า 30 แบรนด์ กิจกรรม Beauty World เพือ่ นำเสนอสินค้า กลุ่ ม เครื่ อ งสำอางค์ ที่ เ ป็ น ที่ นิ ย มทั้ ง แบรนด์ ใ นประเทศและ ต่างประเทศให้แก่กลุ่มลูกค้าที่รักความสวยความงาม กิจกรรม Toy Fun Festival โดยเน้นทำตลาดสำหรับกลุ่มลูกค้าครอบครัว และกิจกรรม Ultimate Watch Fair ที่เป็นการนำเสนอสินค้า กลุม่ นาฬิกาโดยรวบรวมแบรนด์ ในระดับสากลมาอย่างครบถ้วน เพือ่ รองรับกลุม่ ลูกค้าทีช่ นื่ ชอบความหรูหราทันสมัยและมีสไตล์ ซึง่ การจัดกิจกรรมต่างๆ เหล่านี้ได้ชว่ ยกระตุน้ ให้ลกู ค้าเข้ามาเลือก ซื้อสินค้าในห้างโรบินสันมากขึ้น และสามารถสร้างยอดขาย ได้ดี

นอกเหนือจากกิจกรรมทางการตลาด บริษัทยังมุ่งทำการ ประชาสัมพันธ์ ให้มากขึ้นผ่านการใช้สื่อโฆษณาต่างๆ อาทิ การออก spot โฆษณาทางโทรทัศน์ ซึ่งสามารถช่วยให้การ ประชาสัมพันธ์เข้าถึงกลุ่มลูกค้าขนาดใหญ่ได้ง่ายและรวดเร็ว การโฆษณาผ่าน Robinson Live Channel ที่ติดตั้งกระจายอยู่ ทัว่ ภายในห้าง รวมถึงการทำการตลาดผ่าน SMS ทีท่ ำให้เข้าถึง ลูกค้าประจำของบริษทั โดยตรงมากขึน้ โดยใช้ฐานลูกค้าสมาชิก บัตร The 1 Card ซึ่งเราได้ทำการวิเคราะห์เจาะลึกข้อมูลการ ซื้อสินค้าอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดความเข้าใจในความต้องการ ของลูกค้าแต่ละกลุ่ม และสามารถนำเสนอรายการส่งเสริมการ ขายต่างๆ ให้สอดรับกับความต้องการของลูกค้าได้อย่างเหมาะสม โดยสามารถกระตุน้ ความต้องการจับจ่ายของลูกค้าได้อย่างตรง จุดและทำให้เกิดความต้องการซื้อซ้ำ นอกจากนี้ใน ปีที่ผ่านมา เราสามารถขยายฐานลูกค้าสมาชิก บัตร The 1 Card ที่เข้ามา

สารจากกรรมการผู้จัดการใหญ่

เราสามารถขยายฐานลู ก ค้ า สมาชิ ก บั ต ร The 1 Card ที่เข้ามาเลือกซื้อสินค้าที่ ห้างโรบินสันเพิ่มขึ้นมากกว่า 180,000 ราย เลือกซือ้ สินค้าทีห่ า้ งโรบินสันเพิม่ ขึน้ มากกว่า 180,000 รายและ มี ย อดการใช้ จ่ า ยของลู ก ค้ า สมาชิ ก กว่ า ร้ อ ยละ 70 ของ ยอดขายรวมจากสมาชิกกว่า 1 ล้านราย นอกเหนือจากกลยุทธ์หลักข้างต้นแล้ว บริษทั ได้ให้ความสำคัญ ในด้านทรัพยากรบุคคลเพราะเราเชื่อว่าพนักงานทุกคนเป็น ฟันเฟืองที่สำคัญในการดำเนินงาน เราจึงมุ่งพัฒนาบุคลากรให้ มีความรู้ความสามารถควบคู่ไปกับการทำงานอย่างมีความสุข ภายใต้สิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม ซึ่งที่ผ่านมาในด้านการพัฒนา ศักยภาพของพนักงาน บริษัทได้จัดทำโครงการฝึกอบรมต่างๆ ให้แก่พนักงานเพือ่ พัฒนาความรูค้ วามสามารถของตนเองอย่าง ต่อเนื่อง โดยในปี 2552 เราสามารถจัดฝึกอบรมพนักงานของ บริษัท (ไม่นับรวมถึงการฝึกอบรมพนักงานขาย PC/BA) ได้ถึง 357 รุ่น โดยมีพนักงานเข้าร่วมอบรมมากกว่า 2,600 คน รวมทั้งเรายังจัดทำโครงการ Power of Voice หรือ POV ซึ่ง เป็นโครงการที่วัดความผูกพันและความสุขในการทำงานของ พนักงาน โดยเราได้มีการติดตาม ประมวลผล และปรับปรุงมา อย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 ซึ่งทำให้ในปัจจุบันผลคะแนนที่ได้จาก โครงการนี้มีระดับคะแนนสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยที่เป็นมาตรฐาน ในระดับสากล ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งความสำเร็จของเราในปีนี้ บริษัทยังคงดำเนินการในด้านการแสดงความรับผิดชอบต่อ สังคมและการรักษาสิง่ แวดล้อมอย่างต่อเนือ่ ง อาทิ การรณรงค์ ลดการใช้ถุงพลาสติก โดยบริษัทได้เปลี่ยนเป็นการใช้ถุงกระดาษ และกระดาษห่ อ ของขวั ญ ที่ เ ป็ น กระดาษรี ไ ซเคิ ล ทดแทน ประกอบกับในปีที่ผ่านมาบริษัทได้ลดการใช้ปริมาณกระดาษใน สำนักงาน โดยนำเอาระบบ E-Commerce มาใช้มากขึ้น รวมทัง้ ได้ทำการติดตัง้ และเปลีย่ นอุปกรณ์เพือ่ ประหยัดพลังงาน ไฟฟ้าควบคูไ่ ปกับการรณรงค์ในเรือ่ งลดการใช้พลังงาน ซึง่ ทำให้ บริษัทสามารถประหยัดไฟฟ้าได้ถึง 2.4 ล้านยูนิต นอกจากนี้ บริษทั ยังคำนึงถึงเรือ่ งสภาพแวดล้อมในการทำงานทีเ่ หมาะสม กับพนักงานอยู่เสมอ โดยได้ดำเนินการปรับปรุงพื้นที่ ให้มี สวัสดิการสำหรับพนักงานเพิ่มขึ้น และมีความปลอดภัยในการ ทำงานของพนักงานมากขึ้นด้วย โดยในปีที่ผ่านมาบริษัทได้รับ รางวัลสถานประกอบกิจการดีเด่นด้านแรงงานสัมพันธ์และ สวัสดิการแรงงาน จากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน ติดต่อกันเป็นปีที่ 3 ในด้านความรับผิดชอบต่อสังคม บริษทั ได้ดำเนินโครงการต่างๆ อาทิ การร่วมกับพันธมิตรทางการค้าในการจัดโครงการ เดิน-วิง่ ระดมทุนช่วยเหลือผู้ป่วยมะเร็งเต้านม World Pink Fun Run 2009 โดยระดมทุนเพื่อนำไปช่วยเหลือผู้ป่วยมะเร็งเต้านมและ เป็นการรณรงค์ให้ประชาชนใส่ใจในสุขภาพมากขึ้น การสมทบทุน รายงานประจำปี 2552

7


เพื่อสนับสนุนโครงการทางด้านการศึกษา และการให้ความ ร่วมมือกับมูลนิธิช่วยคนปัญญาอ่อนแห่งประเทศไทยในการ รณรงค์หาทุนเพื่อช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนแก่ บุคคลปัญญาอ่อนและครอบครัวให้มีชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดี ขึ้น

ความพิเศษ ที่โรบินสันสรรสร้างให้ลูกค้าในปีที่ผ่านมา กรกฎาคม

สิ ง ห า ค ม

สำหรับปี 2553 ยังคงเป็นปีที่ท้าทายต่อบริษัท ทั้งในด้านภาวะ เศรษฐกิจทีเ่ ริม่ ฟืน้ ตัวและปัจจัยทางการเมืองที่ไม่แน่นอน รวม ถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการจับจ่ายของผู้บริโภคที่จะยิ่ง แสวงหาสินค้าและบริการทีค่ มุ้ ค่าต่อเม็ดเงินที่ใช้จา่ ยไปมากขึน้ อย่ า งไรก็ ดี บ ริ ษั ท เชื่ อ มั่ น ในศั ก ยภาพและความพร้ อ มที่ จ ะ สามารถข้ามผ่านอุปสรรคต่างๆ ไปได้ ซึ่งบริษัทมีแผนงานใน การเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับบริษัทมากขึ้นด้วยการสร้าง แบรนด์ห้างโรบินสันให้โดดเด่นเป็นที่รับรู้และจดจำของลูกค้า มากยิ่งขึ้นและมุ่งมั่นพัฒนาสินค้าอย่างต่อเนื่องเพื่อดึงดูดกลุ่ม ลูกค้าใหม่ๆ พร้อมทัง้ การเสริมสร้างความภักดีของลูกค้าโรบินสัน ด้วยการนำเสนอโปรแกรมทางการตลาดใหม่ๆ ทีส่ ามารถเจาะลึก ตรงความต้องการกลุ่มลูกค้าได้อย่างแม่นยำและกระตุ้นความ ต้องการซื้อได้ดีขึ้น รวมถึงการพัฒนาการให้บริการของพนักงาน เพื่อให้สามารถนำเสนอบริการที่ดีเลิศและสร้างความประทับใจ ให้แก่ลูกค้า นอกจากนี้ บริษัทยังคงแผนงานในการขยายสาขา ใหม่เพือ่ ให้สามารถครอบคลุมตลาดได้อย่างรวดเร็วยิง่ ขึน้ รวมถึง การปรับปรุงร้านในสาขาเดิมเพื่อสร้างการเติบโตที่แข็งแกร่ง อย่างแท้จริง ในฐานะตัวแทนของคณะผู้บริหาร ผมขอขอบคุณลูกค้าผู้มี อุปการะคุณและท่านผู้ถือหุ้นทุกท่านที่ได้มอบความไว้วางใจ และการสนับสนุนในด้านต่างๆ แก่โรบินสันตลอดมา รวมไปถึง พนักงานทุกท่านที่ทุ่มเทในการทำงานอย่างเต็มความสามารถ บนพืน้ ฐานของคุณธรรมและจริยธรรม เพือ่ ทีจ่ ะสร้างการเติบโต ให้กับบริษัทอย่างแข็งแกร่งและยั่งยืน

8

นายปรีชา เอกคุณากูล กรรมการผู้จัดการใหญ่

บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

กั น ย า ย น

ตุ ล า ค ม

พ ฤ ศ จิ ก า ย น

ธั น ว า ค ม


สารจากกรรมการผู้จัดการใหญ่

จุดเด่นทางการเงิน

(หน่วย : ล้านบาท) งบการเงินรวม 2552 2551 2550

งบดุล เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด 2,118 1,547 1,571 สินทรัพย์หมุนเวียน 4,029 3,708 2,972 สินทรัพย์รวม 10,608 9,666 9,030 หนี้สินหมุนเวียน 3,752 3,352 3,262 หนี้สินรวม 3,811 3,418 3,337 ทุนเรือนหุ้น 3,943 3,943 3,943 กำไร (ขาดทุน) สะสม 2,476 1,955 1,419 ส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยในบริษัทย่อย 135 150 155 ส่วนของผู้ถือหุ้นสุทธิ 6,797 6,249 5,693 งบการเงินรวม อัตราส่วนทางการเงิน 2552 2551 2550 อัตราส่วนสภาพคล่อง (เท่า) 1.07 1.11 0.91 ระยะเวลาเก็บหนี้เฉลี่ย (วัน) 12.24 11.29 11.62 ระยะเวลาขายสินค้าเฉลี่ย (วัน) 29.46 27.63 27.59 ระยะเวลาชำระหนี้เฉลี่ย (วัน) 96.33 94.01 101.56 อัตรากำไรขั้นต้น (%) 23.37 23.25 23.04 อัตรากำไรสุทธิ (%) 7.89 8.21 7.66 อัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น (%) 15.54 17.08 15.92 อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ (%) 10.00 10.91 9.79 อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (เท่า) 0.56 0.55 0.59 มูลค่าตามบัญชีต่อหุ้น บาท 6.12 5.63 5.13 กำไรสุทธิต่อหุ้น บาท 0.92 0.92 0.78 อัตราการจ่ายเงินปันผล (%) 45.75 43.33 51.40

* ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 1/2553 มีมติเห็นชอบให้กำหนดการจ่ายเงินปันผลแก่ผู้ถือหุ้นในอัตราหุ้นละ 0.42 บาท โดยจะนำเสนอ ต่อที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2553 เพื่อพิจารณาอนุมัติการจ่ายเงินปันผล ในวันที่ 22 เมษายน 2553 รายงานประจำปี 2552

9

จุดเด่นทางการเงิน

(หน่วย : ล้านบาท) งบการเงินรวม งบกำไรขาดทุน 2552 2551 2550 รายได้จากการขาย 12,842 12,417 11,285 รวมรายได้ 14,206 13,723 12,602 ต้นทุนขาย 9,841 9,529 8,685 ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร 3,016 2,926 2,821 กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 1,013 1,020 864


ฐานะการเงินและผลการดำเนินงานในปี 2552

รายได้จากการขาย

รายได้จากการขายและรายได้อื่น ในปี 2552 อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยมีการหดตัวเป็น ครั้งแรกภายหลังจากวิกฤติทางเศรษฐกิจในปี 2540 โดยเป็นผล จากภาวะเศรษฐกิจโลกทีช่ ะลอตัวต่อเนือ่ งจากปีกอ่ น รวมถึงปัญหา ความขัดแย้งทางการเมืองที่ทำให้เกิดเหตุการณ์ รุนแรงในเดือน เมษายน และการระบาดของไข้หวัดสายพันธ์ุใหม่ อย่างไรก็ดี ในช่วงไตรมาสที่ 4 ภาวะเศรษฐกิจเริ่มส่งสัญญาณฟื้นตัวส่งผล ให้ผบู้ ริโภค มีความเชือ่ มัน่ และช่วยให้บรรยากาศในการจับจ่ายใช้ สอยปรับตัว ดีขึ้น ในปี 2552 บริษัทฯ ได้เปิดให้บริการสาขาใหม่ 2 แห่ง คือ สาขา ชลบุรี และ สาขาขอนแก่น ซึ่งประสบความสำเร็จโดยได้รับการ ตอบรับทีด่ จี ากลูกค้าและมียอดขายเป็นทีน่ า่ พอใจ รวมทัง้ ยอดขาย จากสาขาเดิมยังคงมีการเติบโตที่ดีจากปีก่อน เนื่องจากการปรับ ปรุงโดยการตกแต่งพื้นที่ทั้งภายในและภายนอกห้างฯ ให้ดูทันสมัย รวมถึงการเพิ่มสินค้าใหม่และการขยายสินค้าในกลุ่ม Only @ Robinson (Private Brand/Exclusive Brand) ไปจำหน่าย ยังทุกสาขาทั่วประเทศ เพื่อเพิ่มสีสันในการเลือกซื้อสินค้าของ ลู ก ค้ า ควบคู่ ไ ปกั บ การทำการตลาดรวมทั้ ง การบริ ห ารลู ก ค้ า สัมพันธ์ สำหรับกลุ่มสินค้าที่มีอัตราการเติบโตของยอดขายที่ดี ได้แก่ สินค้ากลุ่มเครื่องใช้ภายในครัวเรือน กลุ่มสินค้าเครื่องสำอางค์ และ กลุ่มสินค้าสำหรับเด็ก ตามลำดับ ดังนั้น ในปี 2552 บริษัทฯ มียอดขายจำนวน 12,842 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 425 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 เมื่อเทียบกับปีก่อน

สัดส่วนยอดขายแบ่งตามประเภทสินค้า สินค้าภายในบ้าน ของเล่นและกิฟท์ช้อป 15.33%

เสื้อผ้าและเครื่องแต่งกายบุรุษ 26.50%

% อัตรา 11.1% 10.1% 4.4% 10.0% 3.4% การเติบโต 12,417 12,842 ของยอดขาย 11,285 (ล้านบาท) 9,817 10,812

2548 2549 2550 2551 2552

รายได้ค่าเช่าและค่าบริการ และรายได้อื่นมีจำนวนรวม 1,171 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 37 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 จาก ปีก่อน โดยมีสาเหตุหลักมาจากการเพิ่มขึ้นของรายได้ในกลุ่ม รายได้อิ่นๆ ประเภทค่าโฆษณาประชาสัมพันธ์ รายได้จากส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนในบริษทั ร่วมมีจำนวน 192 ล้านบาท เพิม่ ขึน้ จากปีกอ่ น 21 ล้านบาท หรือเพิม่ ขึน้ ร้อยละ 12.5 เนื่องจากผลการดำเนินงานของบริษัทร่วมดีขึ้นจากการบริหาร งานที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงยอดขายที่เพิ่มขึ้นในช่วงการฟื้นตัว ของเศรษฐกิจในไตรมาสสุดท้ายของปี ดังนั้นในปี 2552 บริษัทฯ มีรายได้รวมจำนวน 14,206 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 483 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 เมื่อเทียบกับ ปีก่อน

สัดส่วนรายได้รวมแบ่งตามประเภทรายได้ ในปี 2552 รายได้จากการขายสินค้า 90.40%

เสื้อผ้าเด็ก 10.73%

ส่วนแบ่งกำไรสุทธิจาก เงินลงทุนในบริษัทร่วม

1.35% รายได้อื่น

3.34%

เสื้อผ้าสตรี 16.77%

10

บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

เครื่องสำอางค์และ เครื่องประดับ 30.67%

อื่นๆ 9.60%

รายได้ค่าเช่า และค่าบริการ

4.91%

2,175

2,4


85

สินทรัพย์

ในปี 2552 บริษัทฯ มีต้นทุนขายจำนวน 9,841 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 312 ล้านบาท หรือร้อยละ 3.3 โดยเป็นไปตามยอดขายที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดี อัตราการเพิ่มขึ้นของต้นทุนขายต่ำกว่าอัตราการ เพิ่มขึ้นของยอดขาย ทำให้บริษัทฯ มีกำไรขั้นต้นจำนวน 3,001 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 113 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9 และอัตรากำไรขั้นต้นต่อยอดขายเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 23.3 เป็น 23.4 อันเป็นผลจากการทีบ่ ริษทั ฯ สามารถบริหารสัดส่วนของ สินค้าแต่ละกลุ่มได้อย่างเหมาะสม รวมถึงสัดส่วนของสินค้ากลุ่ม Only @ Robinson (Private Brand/Exclusive Brand) ที่ เพิ่มขึ้น

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 บริษัทฯ มีสินทรัพย์รวมจำนวน 10,608 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 942 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.7 เมื่อเทียบกับปีก่อน อันเป็นผลจากการลงทุนเปิดสาขาใหม่ ของ บริษัทฯ ซึ่งทำให้ที่ดิน อาคาร อุปกรณ์ และสิทธิการเช่าเพิ่มขึ้น สุทธิจำนวน 433 ล้านบาท เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด เพิ่มขึ้น 570 ล้านบาท โดยมีสาเหตุหลักมาจากการที่บริษัทฯ ยัง ไม่ได้มีการกันสำรองการชำระค่าสินค้า ณ สิ้นปี 2552 รวมทั้ง ลู ก หนี้ การค้ า เพิ่ ม ขึ้ น จากยอดขายผ่ า นบั ต รเครดิ ต ที่ เ พิ่ ม ขึ้ น นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้เพิ่มการลงทุนในเงินลงทุนชั่วคราว และ บริษัทฯ มีการรับรู้ผลกำไรของบริษัทร่วมที่สูงขึ้นจำนวน 192 ล้านบาท อย่างไรก็ดี สินทรัพย์หมุนเวียนอื่นๆ ลดลงจากปีก่อน จำนวน 504 ล้านบาท เนื่องจากในปลายปี 2551 บริษัทฯ ได้กัน สำรองเงินเพื่อจ่ายค่าสินค้าในช่วงต้นปี 2552

ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร

2,888

3,001

บริษัทฯ ได้ดำเนินแผนงานในการควบคุมค่าใช้จ่ายอย่างต่อเนื่อง ซึ่ ง ทำให้ ก ารบริ ห ารค่ า ใช้ จ่ า ยของบริ ษั ท ฯ เป็ น ไปอย่ า งมี ประสิทธิภาพ โดยในปี 2552 บริษัทฯ มีค่าใช้จ่ายในการขาย และบริหารจำนวนรวม 3,016 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 90 ล้านบาท หรือร้อยละ 3.1 โดยมีอัตราการเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่าย ต่ำกว่าการเติบโตของยอดขาย ทำให้อัตราส่ว1,020 นค่าใช้จ1,013 ่ายในการ 927 864 ขายและบริหารต่อยอดขายลดลงจากร้อยละ 23.56 เป็น 23.48 โดยมีสาเหตุหลักมาจากค่าใช้จ719่ายในการบริหารปรับลดลงจำนวน 35 ล้านบาท หรือร้อยละ -6.1 เมือ่ เทียบกับปีกอ่ น ซึง่ เป็นผลสำเร็จ จากการปรับปรุงกระบวนการในการทำงานและการเพิม่ ประสิทธิภาพ ในด้านทรัพยากรบุคคลมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ค่าใช้จ่ายในการขาย เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.4 จากปีก่อน เป็น 2,423 ล้านบาท โดยมีสาเหตุ หลักมาจากค่าใช้จ่ายในการเปิดสาขาและค่าใช้จ่ายดำเนินงาน ของ 2 สาขาใหม่

กำไรสุทธิ ดอกเบี้ยจ่าย และภาษีเงินได้จ่าย

หนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น

บริษัทฯ มีกำไรสุทธิจำนวน 1,013 ล้านบาท ลดลง 7 ล้านบาท หรือร้อยละ -0.7 เนื่องจากภาษีเงินได้จ่ายเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 73 ล้านบาท อีกทัง้ ในปี 2551 บริษทั ฯ ได้บนั ทึกรายได้พเิ ศษจากการ กลับรายการสำรองสินค้าล้าสมัยจำนวน 40 ล้านบาท และมีภาษี เงินได้อยู่ในระดับต่ำ อย่างไรก็ตาม หากไม่รวมรายการพิเศษ ดังกล่าว บริษัทฯ มีกำไรสุทธิจากการดำเนินงานปกติเพิ่มขึ้นจาก ปีก่อนร้อยละ 9.1 อันเป็นผลสำเร็จจากกลยุทธ์ทางธุรกิจการ บริหารสินค้าและการตลาด รวมถึงการควบคุมค่าใช้จ่ายที่มี ประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง อนึ่งในปี 2552 บริษัทฯ ไม่มีดอกเบี้ยจ่ายจากหนี้สินทางการเงิน

ณ สิ้นปี 2552 บริษัทฯ มีหนี้สินรวมจำนวน 3,811 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 393 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.5 โดยมี สาเหตุหลักจากเจ้าหนี้การค้าที่เพิ่มขึ้นจำนวน 342 ล้านบาท เนื่องจากยอดขายที่เพิ่มขึ้นและงวดการชำระเงินค่าสินค้าที่ล่าช้า เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน

สินทรัพย์และหนี้สิน สินทรัพย์

12,842 12,417 12,417 12,842

(ล้านบาท)

2 2.16% 22.47% 23.04% 23.25% 23.37% 2,430 2,175 2,175 2,430

2,600 2,600

3,001 2,888 2,888 3,001

หนี้สิน

9,030

8,635 (ล้านบาท)

มูลค่าตามบัญชีต่อหุ้น (บาท)

6.12

5.63

5.13

4.65

2.26

9,666

10,608

6,074 3,569

3,465

3,337

3,418

3,811

2548 2549 2550 2551 2552

บริษัทฯ มีส่วนของผู้ถือหุ้นจำนวน 6,797 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 548 ล้านบาทจากปีทแี่ ล้ว เนือ่ งจากการบันทึกกำไรสุทธิจำนวน 1,013 ล้านบาท และการจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ จาก กำไรสุทธิของปี 2551 จำนวน 442 ล้านบาท

กำไรสุทธิ

กำไรขั้นต้น

%อัตรากำไร ขั้นต้นต่อ ยอดขาย

ฐานะการเงินและผลการดำเนินงานในปี 2552

600

ต้นทุนขาย

% อัตรากำไร สุทธิต่อ ยอดขาย

(ล้านบาท)

9.44% 6.65% 7.66% 8.21% 7.89% 927 927

864 864

1,020 1,020 1,013 1,013

719 719

6,074 6,074

3,

2548 2549 2550 2551 2552

2548 2549 2550 2551 2552 * การกลับรายการด้วยค่าของสินทรัพย์ รายงานประจำปี 2552

11


สภาพคล่อง

2552

2551

2550

เงินสดสุทธิได้มาจากกิจกรรมดำเนินงาน เงินสดสุทธิได้มาจากกิจกรรมลงทุน เงินสดสุทธิได้มาจากกิจกรรมจัดหาเงิน เงินสดเพิ่มขึ้น(ลดลง)สุทธิ

2,056 (967) (518) 570

1,027 (569) (482) (24)

1,312 (141) (597) 575

ในปี 2552 บริษัทฯ มีเงินสดสุทธิที่ได้มาจากกิจกรรม ดำเนินงานเพิม่ ขึน้ 1,029 ล้านบาท โดยมีสาเหตุหลักมาจาก สินทรัพย์หมุนเวียนอืน่ เพิม่ ขึน้ 917 ล้านบาท เนือ่ งจากในปี 2551 ได้มีการบันทึกการกันสำรองเงินเพื่อชำระค่าสินค้า ในช่วงต้นปี 2552 สำหรับเงินสดสุทธิใช้ไปในกิจกรรม ลงทุนเพิ่มขึ้น 398 ล้านบาท เนื่องมาจากมีการใช้เงินสด ไปในค่าก่อสร้างสำหรับสาขาใหม่และการปรับปรุงสาขา เดิมเป็นหลัก สำหรับเงินสดสุทธิใช้ไปในกิจกรรมการจัดหา

เงินเพิ่มขึ้นจากปีก่อน อันเป็นผลมาจากการใช้เงินสดเพื่อ ซือ้ หุน้ ทุนคืนจำนวน 27 ล้านบาท เพิม่ ขึน้ จากปีกอ่ นจำนวน 14 ล้านบาท และการจ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหุ้นส่วนน้อย เพิม่ ขึน้ จากปีกอ่ น 25 ล้านบาท ทำให้ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 บริษัทฯ มีเงินสดสุทธิเพิ่มขึ้น 570 ล้านบาท และมี เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดคงเหลือจำนวน 2,118 ล้านบาท

ค่าตอบแทนผู้สอบบัญชี ค่าตอบแทนจากการสอบบัญชี (Audit fee) ที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่1/2552 มีมติอนุมัติแต่งตั้ง บริษัท เคพีเอ็มจี ภูมิไชย สอบบัญชี จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทใน เครือข่ายของ KPMG International ที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในระดับสากล เป็นผู้สอบบัญชีของบริษัทฯ ประจำปี 2552 โดย - นายวินิจ ศิลามงคล ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตเลขทะเบียน 3378 และ/หรือ - นางสาวบงกช อ่ำเสงี่ยม ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตเลขทะเบียน 3684 และ/หรือ - นางสาวนิตยา เชษฐโชติรส ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตเลขทะเบียน 4439 และ/หรือ - นายสงวน พงศ์หว่าน ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตเลขทะเบียน 5076 และ/หรือ - นางสาวอรวรรณ ศิริรัตนวงศ์ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตเลขทะเบียน 3757 และ/หรือ - นายธนิต โอสถาเลิศ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตเลขทะเบียน 5155 โดยให้ผู้สอบบัญชีคนใดคนหนึ่งมีอำนาจในการตรวจสอบ ทำ และลงนามในรายงานการสอบบัญชีของบริษัทฯ

12

บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)


ค่าตอบแทนการสอบบัญชีสำหรับสำนักงานสอบบัญชี* บริษัท บริษัทย่อย รวม ค่าตอบแทนการสอบบัญชีสำหรับผู้สอบบัญชี ค่าบริการอื่น (Non-audit fee)

(หน่วย : บาท) 2552 2551 3,620,000 4,339,000 1,740,000 2,135,000 5,360,000 6,474,000 ไม่มี ไม่มี ไม่มี ไม่มี

*สำนักงานสอบบัญชีที่ผู้สอบบัญชีสังกัด บุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกับผู้สอบบัญชีและสำนักงานสอบบัญชีที่ผู้สอบบัญชีสังกัด

รายงานประจำปี 2552

13

ฐานะการเงินและผลการดำเนินงานในปี 2552

ค่าตอบแทนการสอบบัญชีสำหรับงบการเงินของบริษัทและบริษัทย่อย


การตลาดและภาวะธุรกิจค้าปลีกในปี 2552

คู่แข่งขัน 1. ผู้ประกอบการห้างสรรพสินค้า ซึ่งเป็นคู่แข่งโดยตรงในบริเวณใกล้เคียง หรือมีกลุ่ม ลูกค้าเดียวกัน โดยสามารถแบ่งออกเป็น 1.1 ผู้ประกอบการห้างสรรพสินค้ารายใหญ่ (Chain Department Store) ได้แก่ กลุ่มเซ็นทรัล มีจำนวนสาขารวม 15 สาขา โดย เป็นผู้ประกอบการห้างสรรพสินค้าภายใต้ชื่อ - ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล ดีพาร์ทเมนท์สโตร์ (Central Department Store) ซึง่ ดำเนินธุรกิจ ห้างสรรพสินค้าที่เน้นกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่ มีกำลังซือ้ สูงหรือชืน่ ชอบความหรูหรา โดยมี จำนวนสาขาทัง้ หมด 14 สาขา แบ่งเป็นสาขา ในกรุงเทพจำนวน 10 สาขา และต่างจังหวัด จำนวน 4 สาขา - ห้างสรรพสินค้าเซน (ZEN) ซึ่งดำเนินธุรกิจ ห้างสรรพสินค้าที่เน้นกลุ่มลูกค้าวัยรุ่นและ คนรุ่นใหม่ที่มีกำลังซื้อสูง โดยมีจำนวนสาขา 1 สาขาในกรุงเทพ กลุ่มเดอะมอลล์ มีจำนวนสาขารวม 8 สาขา โดยเป็นผู้บริหารศูนย์การค้าและผู้ประกอบการ ห้างสรรพสินค้า ภายใต้ชื่อ - ห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์ (The Mall) ซึ่ง เน้ น กลุ่ ม ลู ก ค้ า ที่ มี ก ำลั ง ซื้ อ ในระดั บ ปาน กลาง โดยมีจำนวนสาขาทั้งหมด 6 สาขา แบ่งเป็นสาขาในกรุงเทพจำนวน 5 สาขา และต่างจังหวัดจำนวน 1 สาขา

14

บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

- ห้ า งสรรพสิ น ค้ า ดิ เอ็ ม โพเรี ย ม (The Emporium) (จำนวน 1 แห่ง) และห้าง สรรพสิ น ค้ า สยาม พารากอน (Siam Paragon) (จำนวน 1 แห่ง) เป็นศูนย์การค้าที่ ตั้งอยู่ ในเขตกรุงเทพ โดยเน้นกลุ่มลูกค้า เป้าหมายที่มีกำลังซื้อสูงหรือชื่นชอบความ หรูหรา 1.2 ผู้ประกอบการห้างสรรพสินค้ารายอื่นๆ อาทิ ตั้งฮั่วเส็ง โตคิว อิเซตัน และผู้ประกอบการห้าง สรรพสินค้าท้องถิ่นในแต่ละจังหวัด 2. ผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีกอื่น ผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีกอื่น ได้แก่ ดิสเคาน์สโตร์ / ซุปเปอร์เซ็นเตอร์ และศูนย์การค้าในรูปแบบต่างๆ เช่ น เซ็ น ทรั ล เวิ ล์ ด เอสพานาร์ ด คิ ง เพาเวอร์ แพลตินั่มมอล์ล และคริสตัลพาร์ค และอื่นๆ ซึ่งถือ เป็นคูแ่ ข่งขันทางอ้อม เนือ่ งจากมีลกู ค้าหรือโอกาสของ การจับจ่ายที่แตกต่างกัน

ภาวะธุรกิจค้าปลีก ภาวะธุรกิจค้าส่งและค้าปลีกในปี 2552 หดตัวจากปีก่อน ตามสภาพเศรษฐกิจโดยรวม โดยหดตัวลงมากในช่วงครึ่ง ปีแรกเนื่องจากผลกระทบจากปัจจัยลบต่างๆ ที่เข้ามา กดดันความเชือ่ มัน่ ของผูบ้ ริโภคให้อยู่ในระดับต่ำและทำให้ ผู้บริโภคเพิ่มความระมัดระวังในการใช้จ่ายมากขึ้น ส่งผล ให้การบริโภคภาคเอกชนหดตัวลงจากปีก่อนร้อยละ -1.1 อย่างไรก็ดี ธุรกิจห้างสรรพสินค้ายังคงสามารถขยายตัวได้ จากปีกอ่ นอันเป็นผลจากการขยายสาขาใหม่ของผูป้ ระกอบ การบางรายรวมถึงการใช้กลยุทธ์การตลาดอย่างต่อเนื่อง ทั้งปีเพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายของผู้บริโภคในปีที่ผ่านมา


ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ผลจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว และปัญหาในด้านต่างๆ เป็นปัจจัยสำคัญทีท่ ำให้ผบู้ ริโภคมี แนวโน้มในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้จ่ายโดยมุ่งที่ ความคุ้มค่ามากขึ้น นอกจากนี้ การใช้จ่ายในแต่ละครั้งยัง ขึ้นกับรสนิยมและกำลังซื้อเป็นสำคัญ ผู้บริโภคมีการ พิจารณาทั้งในด้านราคา คุณภาพ และภาพลักษณ์ของ สินค้าอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจซื้อ ในขณะเดียวกันมี การตอบสนองต่อแฟชั่นที่รวดเร็ว มีไลฟ์สไตล์มากขึ้น เนื่องจากสามารถเข้าถึงสื่อต่างๆ ได้ง่าย รวมทั้งสื่อต่างๆ มีการนำเสนอสินค้าและบริการในรูปแบบที่แปลกใหม่และ หลากหลาย ทำให้ผู้บริโภคต้องการสินค้าที่มีความใหม่ คุ้มค่า และทันสมัย นอกจากนี้ ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อ การตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคอีกประการหนึ่ง คือ การให้ บริการทีด่ แี ก่ลกู ค้า ซึง่ จะต้องทำให้ลกู ค้าประทับใจ รวมถึง การบริการที่เพิ่มมูลค่าให้กับลูกค้าและและอำนวยความ สะดวกสบายให้แก่ลูกค้าได้เป็นอย่างดี

สำหรับการขยายสาขาใหม่ของธุรกิจห้างสรรพสินค้าในปีนี้ มีจำนวน 3 แห่ง อันได้แก่ ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำนวน 2 แห่ง คือ สาขาชลบุรี และ สาขาขอนแก่น และห้าง สรรพสินค้าเซ็นทรัล พัทยา บีช ที่จังหวัดชลบุรี รายงานประจำปี 2552

15

การตลาดและภาวะธุรกิจค้าปลีกในปี 2552

ในด้านภาวะการแข่งขันของธุรกิจห้างสรรพสินค้าในปี 2552 ซึง่ แม้วา่ ผูป้ ระกอบการห้างสรรพสินค้ารายใหญ่ไม่มี แผนงานขยายสาขาใหม่ในเขตกรุงเทพเพิ่มขึ้น แต่เนื่อง ด้วยธุรกิจห้างสรรพสินค้าของไทยมีการกระจุกตัวอยู่ใน เขตกรุงเทพเป็นหลัก จึงทำให้การแข่งขันในเขตกรุงเทพมี ความรุนแรงสูง ประกอบกับปัจจัยลบทีเ่ ข้ามากระทบอย่าง ต่อเนื่อง อาทิ การเกิดเหตุการณ์รุนแรงทางการเมืองใน เดือนเมษายน ซึ่งทำให้ผู้ประกอบการห้างสรรพสินค้าบาง แห่งต้องหยุดให้บริการแก่ลูกค้าเป็นการชั่วคราวในบางวัน และการระบาดของไข้หวัดสายพันธ์ุใหม่ ซึ่งส่งผลกระทบ โดยตรงต่อความเชื่อมั่นและบรรยากาศในการจับจ่ายของ ผู้บริโภค ทำให้ผู้ประกอบการต่างๆ จำเป็นต้องใช้กลยุทธ์ การตลาดในรูปแบบใหม่ๆ เพือ่ กระตุน้ ความต้องการซือ้ ของ ลูกค้ามากขึ้น ซึ่งนอกเหนือจากกลยุทธ์ทางด้านราคาผ่าน การให้ส่วนลดราคาสินค้าและการจัดรายการส่งเสริมการ ขายต่างๆ แล้ว ผู้ประกอบการเหล่านี้ยังมุ่งสร้างความภักดี และความผูกพันให้กับแบรนด์ร้านค้าของตนเองด้วยการ ให้สิทธิประโยชน์ที่มากกว่าแก่ลูกค้าสมาชิก อาทิ การให้ ส่วนลดราคาสินค้า การสะสมแต้ม การแลกรับของสมนาคุณ เป็นต้น เพื่อเป็นการรักษาส่วนแบ่งตลาดเดิมไว้ และเป็น โอกาสในการขยายฐานลู ก ค้ า ไปยั ง กลุ่ ม ลู ก ค้ า ใหม่ ๆ มากขึ้น อีกทั้งผู้ประกอบการห้างสรรพสินค้าบางรายรวม ถึงผู้บริหารศูนย์การค้าได้ลงทุนปรับปรุงร้านเพื่อดึงดูดให้ ลูกค้าเข้ามาเลือกซื้อสินค้าภายในห้างของตนเองมากขึ้น ขณะที่การแข่งขันในต่างจังหวัดยังคงมีความรุนแรงน้อย กว่าการแข่งขันในเขตกรุงเทพ อันเนื่องมาจากผู้ประกอบ การห้างสรรพสินค้าทีม่ ขี นาดใหญ่ในแต่ละจังหวัดมีจำนวน ไม่มากซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการขนาดเล็ก รวมถึง ความแตกต่างในด้านทำเลที่ตั้ง ซึ่งมีการกระจุกตัวน้อย กว่าในกรุงเทพ อีกทั้งยังมีกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่แตกต่าง กัน เป็นต้น


ความเป็นมาและพัฒนาการที่สำคัญ

ปี 2522 เริ่มเปิดดำเนินกิจการห้างสรรพสินค้าสาขาแรกที่ สาขาอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ปี 2535 บริษทั ฯ เป็นห้างสรรพสินค้าแห่งแรกทีเ่ ข้าจดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยจดทะเบียนเมือ่ วันที่ 3 มกราคม 2535 ปี 2538 กลุ่มบริษัทเซ็นทรัลรีเทลคอร์ปอเรชั่นได้เข้าร่วม ธุรกิจกับบริษัทฯ ในฐานะผู้ถือหุ้นรายใหญ่ พร้อมทั้งร่วมกัน จัดตัง้ บริษทั ซีอาร์ (ประเทศไทย) จำกัด เพือ่ ร่วมทุนกับห้าง สรรพสินค้าในต่างจังหวัดภายใต้ชื่อ “โรบินสัน” ส่งผลให้ บริษัทฯ มีจำนวนสาขาเพิ่มขึ้นเป็น 20 สาขา ปี 2539 บริษทั ฯ ได้รวมกิจการในธุรกิจซุปเปอร์มาร์เก็ตของ บริษัทฯ กับกลุ่มบริษัทเซ็นทรัล และเข้าร่วมลงทุนกับบริษัท รอยัลเอโฮลด์ จำกัด ซึง่ เป็นบริษทั ทีด่ ำเนินธุรกิจด้านซุปเปอร์ มาร์เก็ตที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ จัดตั้งเป็นบริษัท ซีอาร์ซี เอโฮลด์ จำกัด บริหารงานด้านซุปเปอร์มาร์เก็ตภายใต้ชื่อ ‘TOPS SUPERMARKET’ โดยในธันวาคม 2539 และ พฤษภาคม 2541 บริษัทฯ ได้ขายหุ้นที่ถืออยู่ให้แก่ บริษัท รอยัล เอโฮลด์ จำกัด ปี 2540 บริษัทฯ ได้รับอนุมัติ ให้โอนขายสินค้าคงเหลือ พร้อมสิ่งตกแต่งและเครื่องใช้สำนักงานของแผนกเครื่องใช้ ไฟฟ้า และแผนกเครือ่ งกีฬาให้แก่บริษทั เพาเวอร์บาย จำกัด และ บริษัท ซีอาร์ซี สปอร์ต จำกัด ตามลำดับ และบริษัทฯ อนุมัติให้บริษัทดังกล่าวใช้พื้นที่ตามสาขาต่างๆ ของบริษัทฯ เพื่อดำเนินธุรกิจศูนย์จำหน่ายเครื่องใช้ไฟฟ้าและเครื่องกีฬา โดยบริษัทฯ ได้รับผลตอบแทนในรูปของส่วนแบ่งรายได้ หรือค่าเช่าพื้นที่ และในเดือนเมษายน 2541 บริษัทฯ ได้ซื้อ หุ้นของทั้ง 2 บริษัท โดยมีสัดส่วนในการถือหุ้นร้อยละ 40 16

บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

ปี 2541 บริษทั ฯ ได้ประกาศหยุดพักชำระหนีส้ นิ ทางการเงิน เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการประกาศเปลี่ยนแปลงค่า เงินบาทเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 ปี 2543 วันที่ 2 พฤษภาคม 2543 ศาลล้มละลายกลางได้มี คำสั่งให้ดำเนินการฟื้นฟูกิจการของบริษัทฯ และแต่งตั้ง บริษทั โรบินสัน แพลนเนอร์ จำกัดเป็นผูท้ ำแผนฟืน้ ฟูกจิ การ ของบริษัทฯ ต่อมาศาลล้มละลายกลางได้พิจารณาเห็นชอบ ด้วยกับแผนฟื้นฟูกิจการของบริษัท และมีคำสั่งแต่งตั้งให้ บริษัท โรบินสัน แพลนเนอร์ จำกัด เป็นผู้บริหารแผนใน วันที่ 20 ธันวาคม 2543 นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้ปิดให้บริการ สาขาดอนเมือง เนื่องจากการลงทุนให้ผลตอบแทนไม่คุ้มค่า ปี 2544 บริษัทฯ ได้ปิดให้บริการสาขาอนุสาวรีย์ เนื่องจาก ครบกำหนดระยะเวลาของสัญญาสิทธิการเช่าอาคารที่ได้ทำ ไว้กับผู้ให้เช่า ประกอบกับการลงทุนเพื่อปรับปรุงสาขานี้ให้ ผลตอบแทนไม่คุ้มค่า บริษัทฯ จึงคงเหลือสาขาที่เปิดให้ บริการทัง้ สิน้ รวม 18 สาขา แบ่งเป็นสาขาในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล 9 สาขา และต่างจังหวัด 9 สาขา นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้ออกหุ้นกู้ตามแผนฟื้นฟูกิจการ ให้แก่เจ้าหนี้การ เงินไม่มหี ลักประกัน โดยมีจำนวนเงินต้นรวมดอกเบีย้ 4,766.7 ล้านบาท ปี 2545 บริษัทฯ ประสบความสำเร็จในการดำเนินการตาม ขั้นตอนที่สำคัญของแผนฟื้นฟูกิจการ อันได้แก่การเพิ่มทุน จาก 1,480.8 ล้านบาท เป็น 14,808.8 ล้านบาท การแปลง หนี้เป็นทุน การดำเนินการลดทุนลงร้อยละ 25 และการปลด หนี้ ทำให้ฐานะทางการเงินของบริษัทฯ ปรับตัวดีขึ้นอย่าง มีสาระสำคัญ และในวันที่ 26 พฤศจิกายน 2545 หุ้นสามัญ ของบริษัทฯ ได้รับอนุญาตจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศ ไทยให้กลับเข้าทำการซื้อขายได้ในหมวดพาณิชย์ตามปกติ


ซึง่ ประกอบด้วยกรรมการอิสระจำนวน 3 ท่าน นอกจากนี้ ใน เดือนพฤศจิกายน บริษทั ฯ ได้เปิดให้บริการสาขาใหม่ สาขาที่ 20 สาขาอยุธยา โดยใช้เงินลงทุนประมาณ 347 ล้านบาท

ในเดือนพฤษภาคม บริษทั ฯ ได้จดั กิจกรรมเปิดตัวภาพลักษณ์ ใหม่ภายใต้แนวคิด “โรบินสัน...ใส่สสี นั ใหม่ให้ชวี ติ ”ิ เพือ่ แนะนำ การกลับมาอีกครั้งหนึ่งของโรบินสัน และในเดือนธันวาคม ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งเห็นชอบด้วยคำเสนอขอแก้ไข แผนของลูกหนี้ เพื่อรองรับการซื้อคืนหุ้นกู้ตามโครงการรับ ซื้อคืนหุ้นกู้ก่อนครบกำหนดโดยสมัครใจ (Voluntary Debt Refinance Program หรือ “วีดีอาร์พีิ”)

ปี 2550 บริษัทฯ ประกาศจ่ายเงินปันผลเป็นครั้งแรก หลัง จากที่ศาลล้มละลายกลางได้มีคำสั่งยกเลิกการฟื้นฟูกิจการ โดยจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นในอัตรา 0.32 บาทต่อหุ้น และตามมติที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 1/2550 เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2550 บริษัทฯ ได้ลดทุนจดทะเบียนโดยวิธีลด มูลค่าหุ้นที่จดทะเบียนจากเดิมมูลค่าหุ้นละ 10 บาท เป็น มูลค่าหุ้นละ 3.55 บาท และโอนส่วนเกินมูลค่าหุ้น และกำไร สะสมที่ยังไม่จัดสรรมาล้างส่วนต่ำกว่ามูลค่าให้หมดไป เพื่อ ให้สอดคล้องกับมาตรฐานการบัญชีของสมาคมวิชาชีพนัก บัญชี อนึง่ เมือ่ วันที่ 13 กันยายน 2550 กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ได้ดำเนินการจดทะเบียนการลดทุนจด ทะเบียนที่ชำระแล้ว และแก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิของ บริษัทฯ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และในเดือนกันยายน บริษัทฯ ได้เปิดให้บริการสาขาใหม่ โรบินสันจังซีลอน เป็นสาขาที่ 21 และเป็นสาขาที่ 2 ในจังหวัดภูเก็ต โดยใช้เงินลงทุนประมาณ 132 ล้านบาท

ปี 2547 ในเดือนมกราคม บริษัท โรบินสัน เอสพีวี จำกัด (“เอสพีวี”) ได้ลงนามในสัญญากู้เงินกับสถาบันการเงิน 2 แห่ง เพื่อนำมาเป็นเงินทุนในการรับซื้อคืนหุ้นกู้ตามโครงการ วีดีอาร์พี วงเงินกู้ระยะยาวในวงเงินไม่เกิน 2,700 ล้านบาท โดย ณ สิ้นปี 2547 เอสพีวี สามารถรับซื้อหุ้นกู้ตามโครงการ ดังกล่าวจากผู้ถือหุ้นกู้ได้เป็นจำนวนทั้งสิ้น 15,899,277 หน่วย หรือคิดเป็นร้อยละ 77.04 ของจำนวนคงเหลือทัง้ หมด นอกจากนี้ ในวันที่ 22 มีนาคม ที่ประชุมเจ้าหนี้โดยการเรียก ประชุมตามคำสัง่ ศาลล้มละลายกลาง มีมติเลือกตัง้ กรรมการ ของผู้บริหารแผนฝ่ายเจ้าหนี้การเงินที่ไม่มีหลักประกันใหม่ เพื่อทดแทนกรรมการชุดเดิมที่จะขอลาออก และในวันที่ 8 ธันวาคม บริษัทฯ ได้ซื้อหุ้นทั้งหมดจากผู้ร่วมทุนท้องถิ่นใน บริษัท ซีอาร์ ราชบุรี (ประเทศไทย) จำกัด จากเดิมร้อยละ 49.99 เป็นร้อยละ 99.99 เพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการ บริหารงานมากยิ่งขึ้น ปี 2548 บริษัทฯ มีการลงทุนเปิดสาขาใหม่จำนวน 1 สาขา ได้แก่ สาขารัตนาธิเบศร์ และบริษทั ฯ มีการจ่ายชำระหนีห้ นุ้ กู้ คงค้างตามแผนฯ ได้กอ่ นกำหนดทัง้ หมดในวันที่ 19 ธันวาคม 2548 ทำให้บรรลุผลสำเร็จตามแผนฟืน้ ฟูกจิ การ โดยใช้แหล่ง เงินทุนจากเงินสดจากการดำเนินงานบางส่วนและจากการกู้ ยืมเงินจากสถาบันการเงินภายในประเทศ ปี 2549 ศาลล้มละลายกลางได้มีคำสั่งยกเลิกการฟื้นฟูกิจ การเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2549 และบริษัทฯ ได้จัดการ ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นเป็นครั้งแรกภายหลังจากการกลับเข้า สู่สถานะปกติ โดยที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นได้มีมติแต่งตั้ง กรรมการบริษัทจำนวน 10 ท่าน เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2549

ปี 2551 บริษัทฯ ได้จำหน่ายสิทธิการเช่าและสินทรัพย์ของ ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน สาขาสีลม ให้กับ บริษัท สีลม แอสเซ็ทส์ จำกัด ในมูลค่าสุทธิทั้งสิ้น 230 ล้านบาท และ บริษัทฯ ได้หยุดให้บริการสาขานี้ในเดือนมิถุนายน ต่อมาใน เดือนตุลาคม ที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 1/2551 ได้มี มติอนุมัติการเข้าทำรายการที่เกี่ยวโยงกัน เรื่องการให้เช่าที่ ดินบริเวณถนนศรีนครินทร์ ระหว่างบริษทั โรบินสันนครินทร์ จำกัด และบริษัท เซ็นทรัล พัฒนา จำกัด (มหาชน) ซึ่งมี มูลค่ารายการรวม 387 ล้านบาท โดยแบ่งชำระเป็น 4 งวด นอกจากนี้ ที่ประชุมฯ ยังได้มีมติอนุมัติการแก้ไขข้อบังคับ บริษัท เกี่ยวกับการซื้อหุ้นของบริษัทคืน ซึ่งต่อมาที่ประชุม คณะกรรมการบริษัทได้มีมติ ให้เข้าทำโครงการซื้อหุ้นคืน เพื่อบริหารการเงินภายในวงเงิน 536 ล้านบาท หรือจำนวน หุน้ ทีซ่ อื้ คืนไม่เกินร้อยละ 10 ของหุน้ จำหน่ายได้แล้วทัง้ หมด ของบริษัทฯ โดยเริ่มโครงการตั้งแต่วันที่ 24 พฤศจิกายน 2551 ถึงวันที่ 22 พฤษภาคม 2552

รายงานประจำปี 2552

17

ความเป็นมาและพัฒนาการที่สำคัญ

ปี 2546 ในเดือนมีนาคมบริษัทฯ ได้สละสิทธิ์ซื้อหุ้นเพิ่มทุน ของบริษัท ซีอาร์ซีสปอร์ต จำกัด ทำให้สัดส่วนการถือหุ้นใน บริษัทดังกล่าวลดลงเป็นร้อยละ 29.19


ปี 2552 บริษัทฯ เปิดให้บริการสาขาใหม่จำนวน 2 สาขา ได้แก่ สาขาชลบุรี และ สาขาขอนแก่น เป็นสาขาลำดับที่ 22 และ 23 ตามลำดับ โดยมีงบลงทุนรวมกว่า 1,200 ล้านบาท โดยทัง้ 2 แห่ง เป็นสาขาขนาดใหญ่ มีพนื้ ทีข่ ายรวมประมาณ 32,000 ตารางเมตร นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้ดำเนินโครงการ ซื้อหุ้นคืนเพื่อบริหารการเงินจนครบกำหนดระยะเวลาใน การซื้อหุ้นคืนแล้ว เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2552 โดย

สามารถซื้อหุ้นคืนได้จำนวน 6,765,000 หุ้น หรือคิดเป็น ร้อยละ 0.61 ของทุนชำระแล้ว ทั้งนี้ คณะกรรมการบริษัทได้ มีมติอนุมัติการจำหน่ายหุ้นที่ซื้อคืนด้วยวิธีการขายในตลาด หลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยมีระยะเวลาในการขายหุ้นที่ ซื้อคืนตั้งแต่วันที่ 23 พฤศจิกายน 2552 ถึงวันที่ 22 พฤษภาคม 2555

การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการที่สำคัญของบริษัทฯ ในปี 2552 มีนาคม บริษัทฯ ได้ยกเลิกสัญญา และริบเงินรับชำระงวดแรกทั้ง จำนวน เป็นจำนวนเงิน 46.5 ล้านบาท จากบริษทั ในประเทศ แห่งหนึ่งซึ่งเป็นคู่สัญญาในการโอนสิทธิการเช่าสำหรับพื้นที่ สาขาสีลม เนือ่ งจากบริษทั ดังกล่าวไม่สามารถชำระเงินส่วน ที่เหลือตามเงื่อนไขที่ระบุในสัญญาได้ พฤษภาคม บริษัทฯ ได้ยกเลิกกิจการบริษัทย่อยจำนวน 2 บริษัท คือ บริษทั เครือเพชร จำกัด และบริษทั โรบินสันอนุสาวรีย์ จำกัด เนื่องจากบริษัทย่อยทั้งสองได้หยุดดำเนินการพาณิชยกิจ เป็นเวลานานแล้ว โดยการยกเลิกดังกล่าวไม่ได้ส่งผลกระทบ ต่อการดำเนินธุรกิจของทางบริษัทฯ แต่อย่างใด หลังจากที่บริษัทฯ ได้ดำเนินการโครงการซื้อหุ้นคืนเพื่อ บริหารการเงิน ซึง่ มีระยะเวลาในการซือ้ หุน้ คืนสิน้ สุดวันที่ 22 พฤษภาคม 2552 โดยบริษทั ฯ สามารถซือ้ หุน้ คืนได้จำนวนรวม 6,765,000 หุน้ คิดเป็นร้อยละ 0.61 ของทุนชำระแล้ว และมี มูลค่ารวม 39,389,950 บาท มิถุนายน เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2552 บริษัทฯ ได้ทำพิธีเปิดห้าง สรรพสินค้า โรบินสัน สาขาชลบุรี อย่างเป็นทางการ ซึ่งเป็น สาขาใหม่ ลำดับที่ 22 ด้วยมูลค่าการลงทุนกว่า 530 ล้านบาท โดยยกระดั บ สาขาชลบุ รี เ ป็ น ศู น ย์ ก ลางแฟชั่ น ของภาค ตะวันออก ภายใต้แนวคิด ทีเ่ น้นการสร้าง บรรยากาศทีแ่ ตกต่าง สำหรับการช้อปปิ้งของลูกค้าในภาคตะวันออก 18

บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

กรกฎาคม บริษทั ฯ ได้รบั รางวัล “สถานประกอบกิจการดีเด่น” ด้านความ ปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ระดับประเทศ ประจำปี 2552 ในงาน “สัปดาห์ความปลอดภัย ในการทำงานแห่งชาติ ครั้งที่ 23” โดยบริษัทฯ ได้รับ รางวัลนี้ติดต่อกันเป็นปีที่ 5 ในฐานะสถานประกอบการดี เด่นระดับประเทศที่ได้มาตรฐานด้านความปลอดภัย กันยายน บริษัทฯ ได้รับรางวัล “สถานประกอบกิจการดีเด่น” ด้าน แรงงานสัมพันธ์ ประจำปี 2552 จากกระทรวงแรงงานและ สวัสดิการสังคม โดยบริษัทฯ ได้รับรางวัลนี้เป็นปีที่ 3 ติดต่อ กัน ในฐานะสถานประกอบการทีม่ งุ่ มัน่ เอาใจใส่พนักงาน ส่งผล ให้ลูกจ้างมีความมั่นคง ปลอดภัย มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความ ก้ า วหน้ า และมี ส่ ว นร่ ว มในการรั บ ผิ ด ชอบต่ อ สั ง คมอย่ า ง ต่อเนื่อง พฤศจิกายน บริษัทฯ ได้รับประทานโล่เกียรติคุณจาก พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินดั ดามาตุ ในฐานะหน่วย งานที่ทำคุณประโยชน์ให้แก่สังคม โดยให้ความร่วมมือในการ รณรงค์หาทุนให้แก่ “มูลนิธิช่วยคนปัญญาอ่อนแห่งประเทศ ไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์”


คณะกรรมการบริษทั มีมติอนุมตั กิ ารจำหน่ายหุน้ ทีซ่ อื้ คืนด้วย วิธกี ารขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยมีกำหนด ระยะเวลาในการขายหุ้นที่ซื้อคืนตั้งแต่วันที่ 23 พฤศจิกายน 2552 ถึงวันที่ 22 พฤษภาคม 2555

ธันวาคม เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2552 บริษัทฯ ได้มีพิธีเปิดห้าง สรรพสินค้า โรบินสัน สาขาขอนแก่น อย่างเป็นทางการ ซึ่งเป็นสาขาใหม่ ลำดับที่ 23 และมีมูลค่าการลงทุนกว่า 680 ล้านบาท และเป็นสาขาภูมภิ าคที่ใหญ่ทสี่ ดุ ภายใต้คอนเซปต์ “อลังการ ทันสมัย Luxury & Hip” และเป็นศูนย์กลางแฟชั่น ในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

รายงานประจำปี 2552

19

ความเป็นมาและพัฒนาการที่สำคัญ

นายจรัล มงคลจันทร์ กรรมการอิสระของบริษัทฯ ได้รับการ แต่งตัง้ จากคณะกรรมการบริษทั ให้ดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการ อิสระและกรรมการตรวจสอบ เพือ่ ให้เป็นไปตามแนวทางการ กำกับดูแลกิจการที่ดี ทั้งนี้ทำให้บริษัทฯ มีจำนวนกรรมการ ตรวจสอบทั้งหมด 4 ท่าน และมีจำนวนกรรมการบริษัท ทั้งหมด 11 ท่าน


โครงสร้างธุรกิจ ภาพรวมการประกอบธุรกิจของกลุ่มบริษัท บมจ.ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน 99.91% บจ.โรบินสันอนุสาวรีย์

99.99% บจ.เครือแก้ว

99.86% บจ.โรบินสันนครินทร์

99.99% บจ.เครือเพชร

40.00% บจ.พาวเวอร์บาย

33.33% บจ.อาร์ เอส ที สกายบริจ

27.03%

29.19% บจ.ซีอาร์ซีสปอร์ต

99.98% บจ.อาร์ดีพัฒนา

24.00% บจ.สยามรีเทลดีเวลล็อปเมนท์

24.00% บจ.สแควร์ ริทส์ พลาซ่า

99.80% บจ.โรบินสันรัชดา 99.99% บจ.โรบินสันสุขุมวิท 99.92% R-Trading (L) BHD 99.99% บจ.โรบินสัน เอส พี วี 99.99% บจ. ซีอาร์ (ประเทศไทย) 49.99% บจ.ซีอาร์ ราชบุรี 50.00%

บจ.ซีอาร์ เชียงใหม่ 89.99%

บจ.ซีอาร์ จันทบุรี 64.99%

บจ.ซีอาร์ อุดรธานี 76.00%

บจ.ซีอาร์ นครศรีธรรมราช

บจ.ซีอาร์ หาดใหญ่ 76.00%

บจ.ซีอาร์ ภูเก็ต 49.99%

บจ.ซีอาร์ อุบลราชธานี 74.99% 20

บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

49.99%


โครงสร้างธุรกิจ

รายละเอียดของบริษัทและบริษัทย่อย ชื่อบริษัท

ทุนชำระแล้ว (บาท)

บมจ.ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน 3,942,847,022 บจ.ซีอาร์ (ประเทศไทย) 1) 3,201,000,000 บจ.ซีอาร์ ราชบุรี (ประเทศไทย) 645,600,000 บจ.ซีอาร์ เชียงใหม่ (ประเทศไทย) 220,000,000 บจ.ซีอาร์ หาดใหญ่ (ประเทศไทย) 202,000,000 บจ.ซีอาร์ อุดรธานี (ประเทศไทย) 225,000,000 บจ.ซีอาร์ อุบลราชธานี (ประเทศไทย) 71,000,000 บจ.ซีอาร์ จันทบุรี (ประเทศไทย) 130,000,000 บจ.ซีอาร์ นครศรีธรรมราช (ประเทศไทย) 280,000,000 บจ.ซีอาร์ ภูเก็ต (ประเทศไทย) 177,000,000 บจ.โรบินสันอนุสาวรีย์ 8,000,000 บจ.โรบินสันนครินทร์ 105,000,000 บจ.โรบินสันสุขุมวิท 100,000,000 บจ.โรบินสันรัชดา 75,000,000 บจ.เครือแก้ว 40,000,000 2) 15,000,000 บจ.เครือเพชร R-Trading (L) BHD 50,000 บจ.โรบินสัน เอสพีวี 1,000,000 บจ.เพาเวอร์บาย 560,000,000 บจ.ซีอาร์ซี สปอร์ต 370,000,000 บจ.สยามรีเทลดีเวลลอปเม้นท์ 500,000,000 บจ.สแควร์ริทส์ พลาซ่า 125,000,000 บจ.อาร์ดีพัฒนา 3,000,000 บจ.อาร์ เอส ที สกายบริจ 49,395,000 หมายเหตุ

:

1) 2)

ลักษณะการดำเนินธุรกิจ ดำเนินกิจการธุรกิจค้าปลีกเป็นหลัก ปัจจุบันดำเนินธุรกิจ ห้างสรรพสินค้าในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ภายใต้ชื่อ โรบินสัน โดยมีสาขาดังต่อไปนี้ รัชดาภิเษก สุขุมวิท บางรัก บางแค ศรีนครินทร์ แฟชั่นไอส์แลนด์ รังสิต ลาดหญ้า รัตนาธิเบศร์ ศรีราชา อยุธยา ชลบุรี และขอนแก่น บริษัทโฮลดิ้งเพื่อร่วมลงทุนกับห้างสรรพสินค้าท้องถิ่น ใน 8 จังหวัด เพือ่ ประกอบธุรกิจประเภทห้างสรรพสินค้า ภายใต้ชื่อ โรบินสัน ประกอบธุรกิจห้างสรรพสินค้าใน จ.ราชบุรี ประกอบธุรกิจห้างสรรพสินค้าใน จ.เชียงใหม่ ประกอบธุรกิจห้างสรรพสินค้าใน อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ประกอบธุรกิจห้างสรรพสินค้าใน จ.อุดรธานี ประกอบธุรกิจห้างสรรพสินค้าใน จ.อุบลราชธานี ประกอบธุรกิจห้างสรรพสินค้าใน จ.จันทบุรี ประกอบธุรกิจห้างสรรพสินค้าใน จ.นครศรีธรรมราช ประกอบธุรกิจห้างสรรพสินค้าใน จ.ภูเก็ต มิได้ดำเนินพาณิชยกิจและอยู่ในระหว่างการจดทะเบียน ยกเลิกกิจการและชำระบัญชี มิได้ดำเนินพาณิชยกิจ มิได้ดำเนินพาณิชยกิจ มิได้ดำเนินพาณิชยกิจ มิได้ดำเนินพาณิชยกิจ มิได้ดำเนินพาณิชยกิจและอยู่ในระหว่างการจดทะเบียน ยกเลิกกิจการและชำระบัญชี ประกอบธุรกิจลงทุนในกิจการต่างๆ รับซื้อคืนหุ้นกู้จากเจ้าหนี้ตามโครงการ “วีดีอาร์พีิ” ประกอบธุรกิจเป็นศูนย์จำหน่ายอุปกรณ์ไฟฟ้า ประกอบธุรกิจเป็นศูนย์จำหน่ายอุปกรณ์กีฬา เจ้าของและผู้บริหารศูนย์การค้าแฟชั่นไอส์แลนด์ ถนนรามอินทรา ประกอบธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ดำเนินการสร้างและบริหารจัดการทางเชื่อมรถไฟฟ้า

บจ. ซีอาร์ (ประเทศไทย) ได้ดำเนินการเพิ่มทุนจดทะเบียนจำนวน 2,700 ล้านบาท ทำให้ทุนจดทะเบียนของ บจ. ซีอาร์ (ประเทศไทย) เพิ่มขึ้นจาก 501,000,000 บาท เป็น 3,201,000,000 บาท เมื่อเดือนสิงหาคม 2552 บจ. เครือเพชร ได้ดำเนินการเรียกชำระเงินค่าหุ้นจากผู้ถือหุ้นที่ยังค้างชำระอยู่อีกมูลค่าหุ้นละ 25 บาท เพื่อให้เต็มมูลค่าหุ้น 100 บาท ทำให้ทุนจดทะเบียนของบจ. เครือเพชร เพิ่มขึ้นจาก 11,250,000 บาท เป็น 15,000,000 บาท เมื่อเดือนตุลาคม 2552 รายงานประจำปี 2552

21


โครงสร้างรายได้รวม ประเภทรายได้/บริษัท รายได้จากการขาย - บมจ.ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน - บริษัทย่อย* รวมรายได้จากการขาย รายได้ค่าเช่าและค่าบริการ ส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนในบริษัทร่วม อื่นๆ รายได้รวม

ปี 2552 ปี 2551 ปี 2550 ล้านบาท ร้อยละ ล้านบาท ร้อยละ ล้านบาท ร้อยละ 7,324 51.56 5,518 38.84 12,842 90.40 697 4.91 192 1.35 474 3.34 14,206 100.00

7,287 5,130 12,417 693 171 442 13,723

53.10 37.39 90.48 5.05 1.25 3.22 100.00

6,845 54.32 4,439 35.23 11,285 89.55 681 5.40 133 1.05 503 3.99 12,602 100.00

*บริษัทย่อย ประกอบด้วย บจ.ซีอาร์ ราชบุรี (บริษัทฯ ถือหุ้น 99.99%) บจ.ซีอาร์ เชียงใหม่ (บริษัทฯ ถือหุ้น 89.99%) บจ.ซีอาร์ หาดใหญ่ (บริษัทฯ ถือหุ้น 76.00%) บจ.ซีอาร์ อุดรธานี (บริษัทฯ ถือหุ้น 76.00%) บจ.ซีอาร์ อุบลราชธานี (บริษัทฯ ถือหุ้น 74.99%) บจ.ซีอาร์ จันทบุรี (บริษัทฯ ถือหุ้น 64.99%) บจ.ซีอารนครศรีธรรมราช (บริษัทฯ ถือหุ้น 49.99%) บจ.ซีอาร์ ภูเก็ต (บริษัทฯ ถือหุ้น 49.99%)

โครงสร้างรายได้จากการขายสินค้า กลุ่มสินค้า SOFTLINE HARDLINE OTHERS

22

บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

สัดส่วนรายได้ (ร้อยละ) ปี 2552 ปี 2551 85.46 14.11 0.43

85.89 13.75 0.35

ปี 2550 85.54 14.10 0.36


โครงสร้างธุรกิจ

เป้าหมายการดำเนินธุรกิจ มุ่งเน้นการดำเนินธุรกิจห้างสรรพสินค้า จำหน่ายสินค้าอุปโภคทั่วไป โดยมีเป้าหมายในการเป็นห้างสรรพสินค้าที่เป็นที่ นิยมสูงสุด และมีสาขาครอบคลุมพื้นที่ที่มีศักยภาพทั่วประเทศ ด้วยรูปแบบธุรกิจค้าปลีกที่มีสินค้าและบริการที่ทันสมัย และสอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า

รายงานประจำปี 2552

23


ลักษณะการประกอบธุรกิจ

ลักษณะผลิตภัณฑ์ บริษัทฯ ประกอบธุรกิจค้าปลีกประเภทห้างสรรพสินค้า โดยจำหน่ายสินค้าใน 2 สายผลิตภัณฑ์หลัก ได้แก่ 1. สายสิ น ค้ า Softline ซึ่ ง เป็ น สิ น ค้ า ที่ เ น้ น แฟชั่ น ความทันสมัย เป็นสินค้าแบรนด์ทมี่ ชี อื่ เสียง มีคณ ุ ภาพ ความหลากหลาย และเป็นสินค้าที่มีการเปลี่ยนแปลง ด้านแฟชั่นที่รวดเร็ว ลูกค้ามักตัดสินใจซื้อตามกระแส นิยม โดยแบ่งออกตามประเภทของสินค้า ได้แก่ - กลุ่มเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายสตรี (Ladies’ Wear) สิ น ค้ า ในกลุ่ ม นี้ ป ระกอบด้ ว ยเสื้ อ ผ้ า และเครื่ อ ง แต่งกายสำหรับสตรี โดยมีแบรนด์ชนั้ นำทัง้ ในประเทศ และต่างประเทศ รวมถึงกลุม่ สินค้าชุดชัน้ ในสำหรับ สตรีที่มีแบรนด์ที่มีชื่อเสียงและเป็นที่นิยม - กลุ่มเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายบุรุษ (Men’s Wear) สิ น ค้ า ในกลุ่ ม นี้ ป ระกอบด้ ว ยเสื้ อ ผ้ า และเครื่ อ ง แต่งกายสำหรับบุรุษ อาทิ เสื้อผ้า รองเท้า กระเป๋า เข็มขัด และชุดชั้นในสำหรับบุรุษ ที่รวบรวมทั้ง แบรนด์ ที่ มี ชื่ อ เสี ย งทั้ ง แบรนด์ ใ นประเทศและ ต่างประเทศ รวมทั้งแบรนด์ที่เป็นของบริษัทฯ เอง - กลุ่มเครื่องสำอางค์และเครื่องประดับ (Cosmetics and Accessories) สิ น ค้ า ในกลุ่ ม นี้ ป ระกอบด้ ว ยเครื่ อ งสำอางค์ ผลิตภัณฑ์บำรุงผิว จิวเวอร์รี่และเครื่องประดับต่างๆ รวมถึงสินค้าประเภทรองเท้าและกระเป๋าสำหรับ สตรี โดยมีแบรนด์ชั้นนำที่มีชื่อเสียงทั้งแบรนด์ ใน ประเทศและแบรนด์จากต่างประเทศ - กลุ่มเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายสำหรับเด็ก (Children’s Wear) สินค้าในกลุม่ นีป้ ระกอบด้วยเสือ้ ผ้า รองเท้าและของ ใช้สำหรับเด็กทุกเพศทุกวัย ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่ เด็กวัยแรกเกิด เด็กเล็ก จนถึงเด็กโต โดยบริษัทฯ 24

บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

ได้จดั เตรียมสินค้าทุกขนาดไว้ เพือ่ รองรับการเติบโต ของเด็กในแต่ละช่วงอายุได้อย่างเหมาะสม อีกทั้งยัง เป็นสินค้าแบรนด์ที่มีชื่อเสียงและมีคุณภาพ 2. สายสินค้า Hard Line ซึ่งเป็นสินค้าที่เน้นคุณภาพ การใช้งาน รูปแบบ ความหลากหลาย และความทันสมัย ของสินค้า ลูกค้าส่วนใหญ่จะตัดสินใจเลือกสินค้าใน กลุ่ ม นี้ ด้ ว ยรู ป แบบที่ ทั น สมั ย ของสิ น ค้ า และอรรถ ประโยชน์ในการใช้งาน อันได้แก่ - กลุ่มสินค้าตกแต่งบ้านและของใช้ภายในบ้าน ของขวัญ และของเล่น (Home, Gifts and Toys) สินค้าในกลุ่มนี้ประกอบด้วยสินค้าตกแต่งและของ ใช้ภายในบ้านต่างๆ อาทิ ผ้าเช็ดตัว เครื่องนอน เครื่องครัว สินค้าตกแต่งบ้าน เครื่องมือเครื่องใช้ ภายในบ้านต่างๆ และสินค้าประเภทอุปกรณ์รถยนต์ และเครือ่ งมือ รวมถึงสินค้าประเภทของเล่นสำหรับ เด็ก ของขวัญและกิฟท์ช้อป (Toy and Gifts) นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังได้พัฒนาแบบสินค้าขึ้นเอง โดยมีความแตกต่างจากสินค้าที่วางจำหน่ายทั่วไป ในท้องตลาด รวมทั้งการสรรหาสินค้าใหม่ๆ ทั้งใน ประเทศและต่างประเทศที่มีรูปแบบน่าสนใจ ทั้งนี้ เพื่อเพิ่มความหลากหลายและสร้างความแตกต่าง จากคู่แข่ง โดยวางจำหน่ายเฉพาะที่ห้างโรบินสัน เท่านัน้ (Only @ Robinson) สำหรับสินค้าในกลุม่ นี้ บริษัทฯ ได้แบ่งการบริหารจัดการออกเป็น 3 ประเภท คือ


ลักษณะการประกอบธุรกิจ

1. สินค้า Private Label : ประกอบด้วยสินค้าที่บริษัทฯ พัฒนาแบรนด์สินค้าขึ้นมาเองเพื่อวางจำหน่ายในทุก สาขาของบริษัทฯ โดยพิจารณาเลือกเฉพาะสินค้าในหมวดที่ได้รับความนิยม เพื่อเพิ่มความหลากหลายของ สินค้าและเป็นการเติมเต็มในความต้องการของลูกค้า โดยยังคงเน้นรูปแบบสินค้าที่ทันสมัย มีคุณภาพที่ดี ด้วยราคาที่เหมาะสม ประกอบด้วยกลุ่มสินค้าประเภท

เครื่องครัวและเครื่องนอน Cuizimate Home Genius Ella Marushi Robinson*Home

แฟชั่นและเสื้อผ้าสตรี FOF Ohayo Chee Vivienne Tasha Pacific Life

รองเท้าและกระเป๋าสตรี FOF Baragus

สินค้าเด็ก

เสื้อผ้าและเครื่องแต่งกายชาย Pacific Union Snap True Blue Otoko Beyond Basic เครื่องประดับสตรี Jeans Studio Taj AJ Susy Q Mebui

Teeny Tiny Pumpkin Pie Beyond Basic Bon Bon Choo

2. สินค้า Exclusive Brand : เป็นสินค้าแบรนด์ต่างประเทศที่มีชื่อเสียงและผลิตในต่างประเทศ โดยบริษัทฯ ได้ คัดสรรและนำเข้ามาจำหน่ายเฉพาะในห้างโรบินสันเท่านั้น

แฟชั่นและเครื่องแต่งกายสตรี

เครื่องหนังสตรี

Allure Centro Moda I.E Ermis Yin & Yang Esensual

Perllini Voir

เครื่องสำอางค์ David Jones

สินค้าประเภทนี้ ยังรวมถึงสินค้าแบรนด์ภายในประเทศทีเ่ ป็นทีน่ ยิ ม โดยบริษทั ฯ ได้สงั่ ผลิตสินค้าในคอลเล็คชัน่ พิเศษเฉพาะสำหรับจำหน่ายในห้างโรบินสันเท่านั้น สินค้าที่กล่าวมาข้างต้นนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ การสร้างความแตกต่างโดยคัดเลือกสินค้าเฉพาะประเภทแฟชั่นนำมาจำหน่ายในสาขาที่ผู้บริโภคมีกำลังซื้อ และมีความต้องการสินค้าที่มีความแตกต่างจากสินค้าที่มีจำหน่ายทั่วไป

รายงานประจำปี 2552

25


3. สินค้าราคาเดียว Just Buy : ประกอบด้วยสินค้า หลากหลายประเภททีค่ รอบคลุมลูกค้าทัง้ วัยเด็ก วัยรุ่น ตลอดจนลูกค้าวัยทำงาน เช่น เครื่อง ประดับ เครื่องสำอางค์ เครื่องเขียน กิฟท์ช้อป และเครื่องใช้ภายในบ้าน เป็นต้น ซึ่งเป็นสินค้า ที่จำหน่ายในราคา 35 บาทต่อชิ้น และ 55 บาท ต่อชิ้น

การจัดหาผลิตภัณฑ์หรือบริการ บริษัทฯ มีนโยบายเกี่ยวกับการบริหารสินค้าโดยเน้นถึง ความคุม้ ค่าในคุณภาพที่ได้รบั จากการใช้สนิ ค้าทีม่ จี ำหน่าย ในห้างฯของบริษัทฯ ตลอดจนความทันสมัย ตรงตาม กระแสนิยม และมีความหลากหลายทั้งประเภท ชนิด และ รูปแบบ รวมทั้งสอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มลูกค้า เป้าหมาย ดังนั้นบริษัทจึงได้มีการคัดสรรสินค้าทั้งจาก ภายในประเทศและต่างประเทศ โดยมีคู่ค้ากว่า 2,000 ราย ซึ่งส่วนใหญ่ได้ทำธุรกิจและพัฒนาสินค้าร่วมกันมาเป็น เวลานาน การจัดซื้อสินค้าภายในประเทศจะเน้นที่ยี่ห้อสินค้า ที่เป็น สินค้าทีม่ คี ณุ ภาพ รูปแบบทีท่ นั สมัย และมีความหลากหลาย ทั้งประเภท ชนิด และรูปแบบ เข้าได้กับรสนิยมและความ ต้องการของลูกค้าเป้าหมายในแต่ละกลุ่ม การจัดซื้อสินค้าจากต่างประเทศนั้น บริษัทฯ เป็นผู้ดำเนิน การติดต่อกับคู่ค้าต่างประเทศเอง โดยการส่งเจ้าหน้าที่ไป สำรวจสินค้าและเจรจาต่อรองจากผู้ผลิตหรือผู้จัดจำหน่าย ในประเทศนั้นๆ โดยตรง ทั้งนี้บริษัทฯ มิได้ผูกขาดการซื้อ กับรายใดรายหนึ่งเป็นพิเศษ โดยประเทศที่บริษัทฯ นำเข้า เป็นส่วนใหญ่ได้แก่ ประเทศสิงคโปร์ สาธารณรัฐประชาชน จีน เกาหลี ฮ่องกง อินเดีย ญีป่ นุ่ และออสเตรเลีย เป็นต้น การจั ด ซื้ อ จากต่ า งประเทศจะเน้ นการนำเสนอสิน ค้ า ที่ แปลกใหม่ ทันสมัย มีความโดดเด่นและแตกต่างจากคู่แข่ง วิธีการจัดหาผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ มีการดำเนินการ จากส่วนกลาง โดยหน่วยงานจัดซื้อของสายงานบริหาร สินค้าทัว่ ไปจากสำนักงานใหญ่เป็นผูค้ วบคุมการจัดซือ้ รวม ไปถึงการเจรจาต่อรองด้านราคา เงื่อนไขการชำระเงิน 26

บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

ค่าสินค้า รวมถึงการบริหารสต็อคสินค้าในแต่ละสาขาให้ อยู่ในระดับที่เหมาะสมตามที่บริษัทกำหนด ทั้งนี้ได้มีการ นำระบบคอมพิวเตอร์มาใช้ในการควบคุมและติดตามยอด ขายและระดับสต็อคสินค้าเพื่อให้เกิดความถูกต้องและเกิด ประสิทธิภาพสูงสุดในการบริหารงาน นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังได้ร่วมมือกับหน่วยงาน Supply Chain Management ของบริษัท เซ็นทรัล รีเทลคอร์ปอเรชั่น จำกัด ซึ่งเป็นผู้ เชี่ ย วชาญและมี ป ระสบการณ์ ใ นด้ า นการพั ฒ นาระบบ Supply Chain ทีม่ ปี ระสิทธิภาพ ร่วมประสานงานกับคูค่ า้ (Suppliers) ในการบริหารระบบ Supply Chain ของบริษทั ฯ ทั้งนี้เพื่อเป็นการลดต้นทุนของคู่ค้า และเพื่อให้สามารถ สนองตอบความต้องการของลูกค้าได้อย่างรวดเร็วและมี ประสิทธิภาพ อนึ่ง เงื่อนไขการชำระเงินค่าสินค้าของบริษัทฯ มีการ ดำเนินการอยู่ 2 แบบ คือ การจ่ายเงินตามยอดขายและ การซื้อขาดซึ่งมีสัดส่วนต่อต้นทุนขายคิดเป็นร้อยละ 79 และร้อยละ 21 ตามลำดับ กลยุทธ์การแข่งขัน ในปี 2552 บริษัทฯ ได้ปรับการบริหารจัดการทั้งด้าน กระบวนการทำงาน กระบวนการคิด และการดำเนินกลยุทธ์ ในการแข่งขันต่างๆ ทั้งในด้านการบริหารสินค้า การตลาด บริการ แผนงานขยายสาขา และการแสดงความรับผิดชอบ ต่อสังคม โดยได้เสริมความแข็งแกร่งของการบริหารจัด การใน 3 ด้านหลัก อันได้แก่ การบริหารสินค้าให้มีความ แปลกใหม่และหลากหลาย มีแบรนด์สินค้าชั้นนำวาง จำหน่ายอย่างครบถ้วนและแตกต่าง การเพิม่ ความน่าสนใจ ให้กับการทำการตลาดในรูปแบบ Event Marketing และ การพัฒนาการบริการทีเ่ ป็นเลิศแก่ลกู ค้า โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ด้านการบริหารสินค้า ในด้านการบริหารสินค้า บริษัทฯ ยึดมั่นในแนวทางการ นำเสนอสินค้าแฟชั่นที่มีคุณภาพดี เป็นไลฟ์สไตล์ ในราคา ที่ตัดสินใจซื้อได้ง่าย โดยคำนึงถึง 3 ส่วนประกอบหลัก อันได้แก่ คุณภาพ รูปแบบ และราคา ในการคัดเลือกสินค้า


ลักษณะการประกอบธุรกิจ

สำหรับนำมาวางจำหน่ายภายในห้างฯ เพื่อให้สอดรับกับ พฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีแนวโน้มในการปรับเปลี่ยนการ ใช้จ่ายโดยมุ่งที่ความคุ้มค่ามากขึ้นได้อย่างเหมาะสม รวม ทั้งการนำเสนอแบรนด์ที่กำลังอยู่ในความนิยมของตลาด ทั้งแบรนด์ ในประเทศและแบรนด์จากต่างประเทศอย่าง ครบถ้วน เพื่อให้ลูกค้าสามารถเลือกซื้อสินค้าได้ตรงตาม ความต้องการที่หลากหลาย ในปีทผี่ า่ นมา บริษทั ฯ เพิม่ การนำเสนอแบรนด์สนิ ค้าใหม่ๆ ที่กำลังอยู่ในความนิยมให้แก่ลูกค้ามากกว่า 350 แบรนด์ และนำเสนอสินค้ารุน่ ใหม่ๆ (New Collection) ให้แก่ลกู ค้า อย่างสม่ำเสมอต่อเนื่องตลอดทั้งปี เพื่อเป็นการกระตุ้น ความต้องการซือ้ ของลูกค้า อีกทัง้ บริษทั ฯ ยังได้เพิม่ แบรนด์ ที่ได้รับความนิยมเฉพาะกลุ่มเพื่อรุกเข้าสู่ตลาดใหม่และ ขยายฐานลูกค้าสูก่ ลุม่ วัยรุน่ และคนรุน่ ใหม่ทชี่ นื่ ชอบแฟชัน่ ความท้าทาย และความแปลกใหม่มากขึ้น

เป็นทางการเพียงรายเดียวในประเทศไทย อีกทั้งบริษัทฯ ยังได้ทำการปรับปรุงสินค้าแบรนด์แฟชั่นอื่นๆ ให้มีความ หลากหลายและเหมาะสมกับตลาดมากขึ้นด้วย ทั้งนี้ ยอดขายของสินค้าในกลุ่ม Only @ Robinson ยังคงมีการ เติบโตที่ดีอย่างต่อเนื่อง โดยบริษัทฯ ได้กำหนดเป้าหมาย ในการเพิ่มสัดส่วนยอดขายของสินค้ากลุ่มนี้ต่อยอดขาย รวม จากร้อยละ 7 เป็นร้อยละ 10 ภายใน 2 ปี ด้วยการมุง่ มัน่ พัฒนาสินค้ากลุ่มดังกล่าวให้สามารถตอบรับโอกาสทาง ธุรกิจที่มีอยู่ในแต่ละพื้นที่ ซึ่งนับเป็นอีกยุทธศาสตร์หนึ่งที่ สำคัญของบริษทั ในการเพิม่ ยอดขายและผลกำไรแก่บริษทั ทั้งในระยะกลางและระยะยาว

ด้านการตลาด จากปีที่ผ่านมาที่บริษัทฯ ประสบความสำเร็จจากการจัด กิจกรรมทางการตลาด บริษัทฯ ยังคงเน้นความต่อเนื่อง สำหรับกิจกรรมดังกล่าวเพือ่ กระตุน้ ความน่าสนใจและดึงดูด ในปีที่ผ่านมาผู้ผลิตสินค้าหลายรายมีการชะลอการผลิต ใจลูกค้าด้วยการเพิ่มขนาดของกิจกรรมให้มีขนาดใหญ่ สินค้าใหม่ๆ เข้าสู่ตลาดอันเป็นผลจากภาวะเศรษฐกิจที่ไม่ มากขึ้นและกระจายการจัดกิจกรรมออกไปยังสาขาที่มี เอือ้ อำนวย ซึง่ นับเป็นโอกาสดีในการทีบ่ ริษทั ฯ ได้ขยายการ ศักยภาพทั่วประเทศ เพื่อสร้างประสบการณ์ที่แปลกใหม่ที่ พัฒนากลุ่มสินค้าที่มีจำหน่ายเฉพาะที่โรบินสัน (Only @ น่าสนุกในการเลือกซื้อสินค้าให้แก่ลูกค้า อาทิ กิจกรรม Robinson) อย่างต่อเนื่อง อันได้แก่ กลุ่มสินค้า Private Jeans Expo ซึง่ เป็นกิจกรรมของกลุม่ สินค้าประเภทยีนส์ที่ Brand สินค้า Exclusive Brand และ Exclusive Model เน้นจับกลุ่มลูกค้าวัยรุ่นที่ชื่นชอบความเป็นแฟชั่น โดยได้ ซึ่งสินค้ากลุ่มดังกล่าวมีจุดเด่นที่ความเป็นแฟชั่นที่หลาก มีการนำเสนอแบรนด์สินค้ายีนส์ชั้นนำต่างๆ และเพิ่มด้วย หลาย มีความแตกต่างจากคูแ่ ข่ง และสามารถเติมเต็มช่อง การนำเสนอสินค้าคอลเล็คชัน่ ใหม่ๆ จากแบรนด์ทมี่ ชี อื่ เสียง ว่างทุกความต้องการของลูกค้าได้อย่างเหมาะสม โดยในปี กว่า 30 แบรนด์ให้แก่ลูกค้า กิจกรรม Beauty World ที่ ที่ผ่านมาบริษัทฯ ได้ขยายพื้นที่วางจำหน่ายสินค้าทั้ง 2 นำเสนอแบรนด์สินค้ากลุ่มเครื่องสำอางค์ที่เป็นที่นิยมทั้ง กลุ่มนี้ไปยังสาขาของบริษัทฯ ที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ แบรนด์ ในประเทศและต่างประเทศให้แก่กลุ่มลูกค้าที่รัก พร้อมทั้งปรับพื้นที่เคาน์เตอร์ที่วางสินค้าให้อยู่ในทำเลที่ดี ความสวยความงาม และต้องการมีภาพลักษณ์ที่ทันสมัย ซึ่งทำให้แบรนด์เหล่านี้เป็นที่รู้จักในกลุ่มลูกค้ามากขึ้น ตามฤดูกาล กิจกรรม Toy Fun Festival ซึ่งเน้นทำการ นอกจากนี้ ในปีที่ผ่านมาบริษัทฯ ยังได้เพิ่มประเภทสินค้า ตลาดสำหรับกลุ่มครอบครัว พร้อมกับการมอบนวตกรรม กลุ่มเครื่องใช้ภายในครัวให้ครบครัน (Assortments) และ ของเล่ น แบรนด์ ดั ง เพื่ อ สร้ า งเสริ ม จิ น ตนาการและแรง เพิม่ รูปแบบใหม่ (Varieties) ให้หลากหลาย และมีคณ ุ ภาพ บันดาลใจให้กับเด็กๆ และกิจกรรม Ultimate Watch Fair การใช้ ง านที่ ดี ใ นราคาที่ ต รงใจลู ก ค้ า ภายใต้ แ บรนด์ ซึ่งเป็นการนำเสนอสินค้ากลุ่มนาฬิกาที่เป็นที่นิยม โดย Cuizimate และเพิ่มแบรนด์สินค้าใหม่จากต่างประเทศใน บริษัทฯ ได้รวบรวมแบรนด์ในระดับสากลมาวางจำหน่าย สินค้ากลุ่มเครื่องสำอางค์ คือ แบรนด์ David Jones ซึ่ง ในห้างฯ อย่างครบถ้วนเพื่อรองรับกลุ่มลูกค้าที่ชื่นชอบ เป็นผลิตภัณฑ์บำรุงผิวทีม่ ชี อื่ เสียงจากประเทศออสเตรเลีย ความหรูหรา ทันสมัยและมีสไตล์ เป็นต้น ซึง่ การเพิม่ ความ โดยบริษัทฯ เป็นผู้ได้ลิขสิทธิ์ในการเป็นผู้จัดจำหน่ายอย่าง น่าสนใจให้กับการจัดกิจกรรมทางการตลาดเหล่านี้ทำให้ รายงานประจำปี 2552

27


บริษทั ฯ ประสบความสำเร็จในการกระตุน้ ความต้องการซือ้ ของลูกค้าได้เป็นอย่างดี และพิสจู น์ให้เห็นถึงความเป็นผูน้ ำ ในแต่ละกลุ่มสินค้าได้อย่างชัดเจน ในด้านการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ บริษทั ฯ ได้ขยายฐานลูกค้า ประจำผ่านบัตร The 1 Card ซึ่งทำให้บริษัทฯ สามารถใช้ ฐานข้อมูลของสมาชิกเหล่านั้นในการวิเคราะห์พฤติกรรม การจับจ่ายใช้สอย เพือ่ ให้เข้าใจในความต้องการของลูกค้า เป้าหมายแต่ละกลุม่ แต่ละบุคคลมากขึน้ รวมถึงการใช้เป็น แนวทางในการคัดเลือกสินค้า ซึง่ ทำให้บริษทั ฯ สามารถจัด รายการส่งเสริมการขายต่างๆ ให้สอดรับกับความต้องการ ของลูกค้าได้อย่างแม่นยำ โดยสามารถกระตุน้ ความต้องการ ซื้อสินค้าของลูกค้าได้อย่างตรงจุดและทำให้เกิดความต้อง การซื้อซ้ำ ซึ่งในปีที่ผ่านมา บริษัทฯ สามารถกระตุ้นการ ใช้จ่ายผ่านบัตร The 1 Card ได้กว่าร้อยละ 70 ของยอด ขายรวม

มีความรู้ในตัวสินค้าและทักษะในการให้บริการที่สามารถ ให้คำแนะนำในการเลือกซือ้ สินค้าและสร้างความประทับใจ ให้แก่ลูกค้าได้อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ลูกค้ารู้สึกถึงการ เอาใจใส่ เป็นมิตร อัธยาศัยดี และรู้สึกสบายใจทุกครั้งเมื่อ ได้เข้ามาเลือกซื้อสินค้าที่ โรบินสัน รวมถึงการปลูกจิต สำนึกพนักงานในการให้บริการผ่านโครงการ Robinson Fantasia เพื่อกระตุ้นให้พนักงานแข่งขันกันในการให้ บริการแก่ลูกค้าด้วยความเต็มใจ ซึ่งบริษัทฯ ได้มีการวัด คุณภาพของการบริการตามการจัดกลุ่มพนักงานขายเพื่อ เป็นตัวชี้วัดถึงคุณภาพของการให้บริการและนำผลลัพธ์ที่ ได้ไปพัฒนาการให้บริการของพนักงานให้ดีขึ้น โดยใน ปัจจุบนั ผลลัพธ์ของโครงการนีอ้ ยู่ในระดับทีน่ า่ พอใจ ซึง่ เป็น สิง่ ทีพ่ สิ จู น์ให้เห็นถึงศักยภาพของพนักงานขายของบริษทั ฯ ในการให้บริการที่เป็นเลิศแก่ลูกค้าได้เป็นอย่างดี

นอกเหนือจากการบริการพื้นฐานที่มีให้ลูกค้าแล้ว บริษัทฯ ได้พฒ ั นาและเพิม่ มาตรฐานของการให้บริการอย่างต่อเนือ่ ง นอกจากนี้ บริษัทฯ มุ่งมั่นที่จะสร้างชื่อแบรนด์ “โรบินสัน” โดยนำเสนอการให้บริการในรูปแบบ Value Added ให้เป็นที่ชื่นชอบและจดจำได้ของสาธารณะ และสร้างภาพ Service ซึ่งเป็นการบริการทีม่ ีเฉพาะทีห่ ้างโรบินสันเท่านั้น ลักษณ์ความเป็นห้างแฟชั่นทันสมัย มีไลฟสไตล์ รวมทั้งมี เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีและเพิ่มความผูกพันกับลูกค้า สินค้าและบริการที่แตกต่างเฉพาะที่โรบินสันเท่านั้น ด้วย ประจำ โดยบริการดังกล่าวได้รับการตอบรับที่ดีและเป็นที่ วิ ธี ก ารสื่ อ สารกั บ ลู ก ค้ า เพื่ อ สร้ า งการรั บ รู้ แ บรนด์ ก าร ชื่นชอบของลูกค้ามาโดยตลอด อาทิ บริการ Bra Advisor ประชาสัมพันธ์ โปรแกรมการตลาด และรายการส่งเสริม ซึ่งเป็นการบริการตรวจวัดสรีระและขนาดทรวงอกเพื่อให้ การขายผ่านทางสือ่ ต่างๆ อย่างต่อเนือ่ ง โดยในปีทผี่ า่ นมา ลูกค้าใช้สนิ ค้าประเภทชุดชัน้ ในได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม บริษัทฯ ได้ออก spot โฆษณาทางโทรทัศน์และ Cable TV บริการ Free Make-up เป็นการบริการแนะนำเทรนด์และ : True Vision “What’s Happening” ซึ่งสามารถช่วยให้ แต่งหน้าฟรีสำหรับทุกโอกาสให้ลูกค้า บริการ Stylist การประชาสัมพันธ์เข้าถึงกลุ่มลูกค้าขนาดใหญ่ได้ง่ายและ Consultant เป็นบริการให้คำแนะนำด้านการแต่งกายเพื่อ รวดเร็ว การทำประชาสัมพันธ์ผา่ น Robinson Live Channel เสริมสร้างบุคคลิกที่ดีในแผนกเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายบุรุษ ที่ติดตั้งกระจายอยู่ทั่วภายในห้าง การใช้ข้อมูลจากบัตร นอกจากนีย้ งั มีการอำนวยความสะดวกสบายในการช้อปปิง้ The 1 Card เพื่อทำการตลาดผ่านช่องทาง SMS ซึ่งทำให้ ให้แก่ให้ลูกค้ามากขึ้นด้วยการให้บริการในลักษณะ “One สามารถเข้าถึงลูกค้าได้อย่างใกล้ชิดยิ่งขึ้น รวมถึงการ Stop Service” ลูกค้าถือบัตรช้อปปิ้งการ์ดเพียงใบเดียวก็ โฆษณาผ่านสื่อต่างๆ อาทิ นิตยสารชั้นนำต่างๆ หนังสือ สามารถเลือกซื้อสินค้าในแต่ละแผนกสินค้าได้ทั้งห้าง โดย พิมพ์ แผ่นป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ เป็นต้น ไม่ตอ้ งถือสินค้าหลายชิน้ ให้ยงุ่ ยาก โดยลูกค้าสามารถจ่าย ชำระเงินค่าสินค้าได้ ณ จุดชำระเงินเพียงจุดเดียว พร้อมทัง้ ด้านการบริการ บริการคำนวณความคุ้มค่าของสิทธิประโยชน์ต่างๆ ตาม บริษทั ฯ มุง่ มัน่ ในการสร้างความพึงพอใจสูงสุดให้แก่ลกู ค้า โปรแกรมการส่งเสริมการขายในแต่ละช่วงเวลา เป็นต้น ด้วยการบริการทีเ่ ป็นเลิศ โดยเน้นการพัฒนาศักยภาพของ นอกจากนี้ บริษัทยังได้เพิ่มความสะดวกสบายและสร้าง พนักงานขายอย่างต่อเนือ่ งและจริงจังเพือ่ ให้พนักงานขาย 28

บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)


ลักษณะการประกอบธุรกิจ

การเสร็จสมบูรณ์และได้จัดกิจกรรมเปิดตัวแล้ว 3 แห่ง คือ สาขาแฟชั่นไอส์แลนด์ สาขาสุขุมวิท และสาขาบางรัก ได้ดำเนินการตกแต่งใหม่ในพื้นที่ทุกชั้น ทุกแผนก อาทิ แผนกเครือ่ งสำอางค์ แผนกเสือ้ ผ้าบุรษุ และสตรี และแผนก นอกเหนือจากการเสริมความแข็งแกร่งให้กับการบริหาร ของใช้ภายในบ้าน เป็นต้น โดยได้ทำการปรับปรุงแล้วเสร็จ จัดการใน 3 ด้านหลักข้างต้นแล้ว บริษทั ฯ ยังคงประสบความ เมื่อกลางปีที่ผ่านมาและสามารถสร้างการเติบโตของยอด สำเร็จในการบริหารด้านอื่นๆ อันได้แก่ ขายได้ดีเป็นไปตามที่วางแผนไว้ สำหรับสาขาหาดใหญ่ และราชบุรี ทีอ่ ยูร่ ะหว่างดำเนินการปรับปรุงพืน้ ที่ให้มคี วาม แผนงานด้านการขยายสาขา ทันสมัยเพื่อเพิ่มศักยภาพในการสร้างยอดขายให้มากขึ้น บริษทั ฯ ยังคงแผนงานในด้านการขยายสาขา โดยได้ตงั้ เป้า รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพให้กับพื้นที่ทุกตารางเมตรด้วย หมายในการเปิดให้บริการสาขาใหม่ปีละ 2-3 แห่ง เพื่อ การบริหารและจัดสรรพื้นที่ในแต่ละส่วนทั้งพื้นที่ขายและ ครอบคลุมพื้นที่ที่มีศักยภาพทางการตลาดสูง โดยในปี พื้นที่เช่าให้สามารถสร้างรายได้สูงสุดให้กับบริษัทฯ 2552 บริษทั ฯ ได้เปิดให้บริการสาขาใหม่เพิม่ ขึน้ อันได้แก่ สาขาชลบุรี และ สาขาขอนแก่น ซึ่งได้เปิดตัวอย่างเป็น ปัจจุบัน บริษัทฯ มีพื้นที่ขายสุทธิมากกว่า 260,000 ทางการไปเมื่อเดือนพฤษภาคมและเดือนธันวาคมตาม ตารางเมตรทั่วประเทศ แบ่งเป็นสาขาที่เปิดให้บริการใน ลำดับ สาขาใหม่ทั้ง 2 แห่งนี้เป็นห้างสรรพสินค้าในรูปแบบ กรุงเทพฯ ทั้งหมด 9 สาขา และต่างจังหวัด 13 สาขา ใหม่ที่ทันสมัย มีความเป็นไลฟ์สไตล์ทั้งพื้นที่ภายในและ ซึ่งทำให้บริษัทฯ เป็นห้างสรรพสินค้าไทยเพียงแห่งเดียวที่ ภายนอกห้าง รวมถึงการตกแต่งและจัดแสดงสินค้าใน มีเครือข่ายมากที่สุดโดยครอบคลุมพื้นที่ที่สำคัญในทุก แผนกต่างๆ ที่มีบรรยากาศที่ดีเหมาะสมสำหรับการเลือก ภูมิภาคทั่วประเทศอย่างแท้จริง ซื้อสินค้าของลูกค้า ซึ่งได้จัดเตรียมสินค้าทั้ง Inter Brand และ Fashion Brand ไว้อย่างครบครันเพื่อสะท้อนภาพ การแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและชุมชน ลักษณ์ถึงความเป็นห้างสรรพสินค้าโรบินสันที่เป็นห้าง การแสดงรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งที่ แฟชั่นได้เป็นอย่างชัดเจน โดยได้รับการตอบรับที่ดีมาก บริษัทฯ ให้ความสำคัญเสมอมา โดยบริษัทฯ มีนโยบายใน จากลูกค้าและสามารถสร้างยอดขายได้เกินกว่าแผนงานที่ การปลูกฝังจิตสำนึกและเปิดโอกาสให้พนักงานรวมถึงลูกค้า ได้ มี โ อกาสร่ ว มกั น ทำประโยชน์ ใ ห้ กั บ สั ง คมและรั ก ษา ได้วางไว้ สิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง อาทิ การรณรงค์ในการลดการ บริษัทฯ ได้พัฒนาและตอกย้ำภาพลักษณ์ความเป็นแฟชั่น ใช้ปริมาณถุงพลาสติก การใช้ถุงและกระดาษห่อของขวัญ อย่างต่อเนื่องด้วยการพัฒนาและปรับปรุงสาขาเดิมที่มี ที่ผลิตด้วยการรีไซเคิล การจัดให้มีโครงการนำแบตเตอรี่ ศักยภาพด้วยการตกแต่งพืน้ ทีท่ งั้ ภายในและภายนอกห้างฯ โทรศัพท์มือถือเก่าไปทำลายให้ถูกวิธี ซึ่งเป็นการป้องกัน ให้มีความทันสมัยและโดดเด่นอยู่เสมอเพื่อเสริมสร้าง ไม่ให้สารพิษแพร่กระจายไปสู่สิ่งแวดล้อมมากขึ้น การลด บรรยากาศที่น่าสนุกสำหรับการช้อปปิ้งมากขึ้น ในขณะ การใช้ ป ริ ม าณกระดาษในสำนั ก งานโดยนำเอาระบบ เดียวกันบริษัทฯ ยังมีการเพิ่มมาตรฐานสิ่งอำนวยความ E-Commerce มาใช้มากขึ้น รวมทั้งได้ทำการติดตั้งและ สะดวกต่างๆ อาทิ เช่น ทางเดินภายในห้างที่กว้างขวาง เปลี่ยนอุปกรณ์เพื่อประหยัดพลังงานไฟฟ้าควบคู่ไปกับ เพื่อสร้างความสะดวกสบายในการเลือกซื้อสินค้า การจัด การรณรงค์ในเรือ่ งลดการใช้พลังงาน ซึง่ ทำให้ในปีทผี่ า่ นมา วางสินค้าให้มองเห็นง่าย มีมุมพักผ่อน มุมบริการต่างๆ บริษทั สามารถประหยัดไฟฟ้าได้ถงึ 2.4 ล้านยูนติ เมือ่ เทียบ และมีห้องน้ำที่สะอาด ที่จอดรถพิเศษสำหรับลูกค้าประจำ กับปีก่อน เป็นต้น เป็นต้น สำหรับในปี 2552 บริษัทฯ ได้ใช้งบลงทุนกว่า 200 ล้านบาท ในการปรับปรุงสาขาจำนวน 5 แห่ง โดยดำเนิน ความรู้สึกพิเศษให้กับลูกค้า โดยเพิ่มบริการต่างๆ ให้กับ ลูกค้า VIP อาทิ VIP Lounge VIP Parking และ VIP Delivery เป็นต้น

รายงานประจำปี 2552

29


สำหรั บ โครงการในด้ า นความรั บ ผิ ด ชอบต่ อ สั ง คมและ ชุมชน นอกเหนือจากโครงการที่บริษัทฯ ได้ดำเนินการ เป็นประจำทุกปีแล้ว อาทิ การสนับสนุนศูนย์บริจาคโลหิต สภากาชาดไทย โดยอำนวยความสะดวกทั้ ง ในด้ า น ประชาสัมพันธ์ การร่วมบริจาคโลหิตและการจัดสถานที่ เพื่อรับบริจาคโลหิต การส่งเสริมทางด้านการศึกษาโดย สมทบทุนเพื่อสนับสนุนโครงการด้านการศึกษาต่างๆ รวม ถึงการบูรณปฏิสังขรณ์สถานที่สำคัญทางศาสนา ในปีที่ ผ่านมาบริษทั ฯ ยังได้สง่ เสริมให้คนในสังคมใส่ใจในสุขภาพ มากขึ้น โดยได้ร่วมกับพันธมิตรทางการค้าในการจัด โครงการเดิน-วิ่ง ระดมทุนช่วยเหลือผู้ป่วยมะเร็งเต้านม World Pink Fun Run 2009 อีกทั้งบริษัทฯ ยังได้ให้ความ ร่วมมือในการรณรงค์หาทุนให้กับมูลนิธิช่วยคนปัญญา อ่อนแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์เพื่อช่วย เหลือและบรรเทาความเดือดร้อนแก่บคุ คลปัญญาอ่อนและ ครอบครัวให้มีชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ลูกค้าเป้าหมาย กลุ่มลูกค้าส่วนใหญ่ของบริษัท ได้แก่ กลุ่มครอบครัว สมัยใหม่และกลุ่มวัยทำงาน อายุระหว่าง 25-45 ปี ซึ่งมี กำลังซื้อในระดับปานกลางถึงสูง มีรูปแบบการดำเนินชีวิต ที่ทันสมัย นิยมซื้อสินค้าแฟชั่น และเน้นคุณภาพสินค้าใน ราคาที่สมเหตุสมผล รวมทั้งกลุ่มวัยรุ่น นักศึกษาและวัย เริม่ ทำงาน ทีเ่ ริม่ เข้ามาจับจ่ายในห้างฯ เป็นกลุม่ ลูกค้าทีม่ ี ความต้องการสินค้าที่มีแฟชั่นที่มีความแตกต่างแต่ราคา ไม่สูงมากนัก

30

บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

นอกจากนี้ ยังมีกลุม่ ลูกค้าทีเ่ ป็นนักท่องเทีย่ วต่างชาติ อาทิ กลุ่มลูกค้าตะวันออกกลาง กลุ่มลูกค้าเอเชีย ได้แก่ จีน ไต้หวัน เกาหลี และ เวียดนาม ฯลฯ กลุ่มนักท่องเที่ยว จากยุ โ รป รวมถึ ง ชาวต่ า งชาติ ที่ เ ข้ า มาทำงานใน ประเทศไทย โดยบริษัทฯ ได้จัดเตรียมสินค้าที่เหมาะกับ ลูกค้าแต่ละกลุ่มไว้ยังสาขาต่างๆ ที่มีทำเลอยู่ในแหล่งลูกค้า กลุ่มนั้นๆ หรือย่านที่มีลูกค้าชาวต่างชาติอาศัยอยู่ เช่น สาขาถนน รัชดาภิเษก สุขุมวิท บางรัก ภูเก็ต เชียงใหม่ หาดใหญ่ ศรีราชา และชลบุรี นอกจากนี้บริษัทฯ ได้จัด โครงการ Tourist Card และ Vat Refund เพื่ออำนวย ความสะดวกให้แก่ลูกค้าต่างชาติ รวมทั้งการมอบส่วน ลดพิเศษ และกิจกรรมส่งเสริมการขายให้กับนักท่องเที่ยว โดยเฉพาะ สำหรับกลุ่มลูกค้าประจำที่เป็นสมาชิก The 1 Card และ Robinson Visa Card บริษทั ฯ ได้จดั ให้มบี ริการพิเศษ เช่น การได้รับสิทธิพิเศษเป็นส่วนลดในการซื้อสินค้า การได้รับ คะแนนสะสมจากการซื้อสินค้าเพื่อนำมาแลกของรางวัล รวมทั้งการได้รับนิตยสาร Lifestyle ซึ่งจะส่งตรงถึงบ้าน สมาชิกทุกเดือน สมาชิกสามารถทราบข่าวรายการส่งเสริม การขายสินค้าใหม่ รวมทัง้ กิจกรรมพิเศษและรายการส่งเสริม การขายพิเศษสำหรับสมาชิกได้จากนิตยสารดังกล่าว ในปี 2552 บริษัทฯ มีจำนวนลูกค้าสมาชิกบัตร The 1 Card ที่มาเลือกซื้อสินค้าที่ห้างโรบินสันมากกว่า 1 ล้าน ราย เพิ่มขึ้นจากปีก่อนกว่า 180,000 ราย และมีสมาชิก Robinson Visa Card ทัง้ สิน้ 85,700 ราย เพิม่ ขึน้ จากปีกอ่ น 2,277 ราย


ลักษณะการประกอบธุรกิจ

ปัจจัยความเสี่ยง

ปัจจัยความเสี่ยง

บริษัทฯ ได้ให้ความสำคัญต่อการบริหารจัดการความเสี่ยง ทางธุรกิจของบริษัทฯ อย่างจริงจัง โดยได้แต่งตั้งคณะ ทำงานบริหารความเสีย่ งขึน้ เมือ่ ปี 2551 โดยมีวตั ถุประสงค์ เพื่อเป็นกลไกสำคัญในการกำหนดนโยบาย ติดตามและ วิเคราะห์ความเสี่ยง ควบคู่ไปกับการเพิ่มประสิทธิภาพ ของระบบการบริหารความเสีย่ งของบริษทั ฯ เพือ่ สร้างมูลค่า เพิ่มแก่ผู้ถือหุ้นในระยะยาว โดยในปี 2552 คณะทำงาน บริหารความเสีย่ งได้ทำการรวบรวมและวิเคราะห์ปจั จัยเสีย่ ง ต่างๆ ทีม่ ผี ลกระทบต่อบริษทั ฯ โดยได้แบ่งออกเป็น 5 ด้าน หลัก ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้

ในปี 2552 ธุรกิจห้างสรรพสินค้ายังคงมีการแข่งขันที่ รุนแรงอย่างต่อเนื่อง โดยผู้ประกอบการต่างใช้กลยุทธ์ทาง การตลาด อาทิ การจัดกิจกรรมทางการตลาด จัดรายการ ส่งเสริมการขาย และการลดราคาสินค้า เป็นเครือ่ งมือสำคัญ ในการกระตุ้นยอดขาย และรักษาฐานลูกค้าเดิม ซึ่งในการ ตอบสนองต่อภาวะการแข่งขันนี้ บริษัทฯ มุ่งสร้างความ สามารถในการแข่งขันด้วยการเน้นการสร้างความแตกต่าง ในสินค้าควบคูไ่ ปกับการบริการที่ให้มลู ค่าเพิม่ และตรงตาม ความต้องการของลูกค้าแต่ละกลุ่ม แต่ละบุคคลมากขึ้น ในขณะเดียวกันบริษทั ฯ ได้เน้นกลยุทธ์การส่งเสริมการขาย ให้มปี ระสิทธิภาพเพิม่ สูงขึน้ มีการจัดกิจกรรมการตลาดใน ทุกสาขาที่มีศักยภาพทั้งกรุงเทพและต่างจังหวัดมากขึ้น 1. ด้านกลยุทธ์ (Strategic) เพื่อเป็นการส่งเสริมการตลาดในพื้นที่และให้เป็นที่จดจำ ความสามารถในการตอบสนองต่อภาวะความผันผวนทาง ประกอบกับการวิเคราะห์เจาะลึกพฤติกรรมการใช้จ่ายของ เศรษฐกิจ และภาวะการแข่งขัน ลูกค้าสมาชิกเพือ่ นำเสนอรายการส่งเสริมการขายทีต่ รงใจ ด้วยภาวะเศรษฐกิจไทยในปี 2552 ได้รับผลกระทบจาก ลูกค้าแต่ละกลุม่ ได้ดยี งิ่ ขึน้ ซึง่ นอกจากจะช่วยเพิม่ ยอดขาย วิกฤติเศรษฐกิจโลก การเกิดเหตุการณ์รนุ แรงทางการเมือง แล้ว ยังเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีและสร้างความภักดี ในเดือนเมษายน การแพร่ระบาดของไข้หวัดสายพันธ์ุใหม่ ของลูกค้าต่อห้างสรรพสินค้าโรบินสันด้วย นอกจากนี้ใน รวมถึงนักท่องเที่ยวที่มีจำนวนลดลงเมื่อเทียบกับปี 2551 ด้านระบบงานปฎิบัติการต่างๆ บริษัทฯ ได้มีการจัดวาง เหล่านี้ล้วนส่งผลลบโดยตรงต่อบรรยากาศในการใช้จ่าย ระบบงานที่มีประสิทธิภาพ อาทิ ระบบการบริหารสินค้า ของผู้บริโภค เป็นเหตุให้ปริมาณความต้องการในการ บริษัทฯ ได้มีการวางระบบ Logistic และ Supply Chain จั บ จ่ า ยซื้ อ สิ นค้าลดน้อยลงและการบริโภคหดตัว อย่ า ง เพือ่ ลดขัน้ ตอนในการจัดซือ้ และการรับส่งสินค้า นอกจากนี้ ต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ในช่วงปลายปีภาวะเศรษฐกิจเริ่ม บริษัทฯ ได้มีการวางระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการบริหาร ปรับตัวดีขึ้น ส่งผลให้ผู้บริโภคมีการใช้จ่ายเพิ่มขึ้นเช่นกัน สิ น ค้ า คงคลั ง เพื่ อ ลดความเสี่ ย งจากสิ น ค้ า ล้ า สมั ย และ ซึง่ ในการบริหารความเสีย่ งจากความผันผวนทางเศรษฐกิจ สามารถตอบสนองต่ อ งานขายสิ น ค้ า หน้ า ร้ า นได้ อ ย่ า ง นี้ บริษัทฯ ได้มีระบบในการติดตามสถานการณ์ทาง เหมาะสม รวมถึงการมีประสิทธิภาพของระบบงานปฎิบัติ เศรษฐกิจ การเมือง และการตลาดอย่างสม่ำเสมอ ทำให้ งานหน้าร้าน ระบบติดตามแผนการตลาด และระบบการ สามารถปรับเปลีย่ นแผนธุรกิจให้สอดรับกับสภาพตลาดใน ติดตามพฤติกรรมลูกค้าด้วย ช่วงเวลาต่างๆ ได้เป็นอย่างดี เพือ่ ให้ผลการดำเนินงานเป็น ไปตามเป้าหมายที่วางไว้

รายงานประจำปี 2552

31


2. ด้านการปฎิบัติงาน (Operation)

การพึ่งพิงการเช่าที่ดินและอาคารเพื่อประกอบการ บริษัทฯ เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินและอาคารจำนวน สินค้าล้าสมัย 2 สาขา และบริษัทฯ มีการทำสัญญาเช่า เช่าช่วง และรับ ด้วยธุรกิจทีเ่ น้นการจำหน่ายสินค้าทีเ่ ป็นแฟชัน่ และนำเสนอ โอนสิทธิการเช่าทีด่ นิ และอาคารจากเจ้าของกรรมสิทธิเ์ พือ่ สินค้าทีม่ รี ปู แบบทีท่ นั สมัยอยูเ่ สมอ ดังนัน้ เมือ่ กระแสความ ใช้เป็นสถานที่ประกอบการห้างสรรพสินค้า จำนวน 20 นิยมของผู้บริโภคเกิดการเปลี่ยนแปลงไป อาจทำให้เกิด สาขา การทำสัญญาเช่าดังกล่าวเกิดจากความจำเป็นใน ความเสี่ยงที่สินค้าจะล้าสมัยและไม่สามารถจำหน่ายออก การเลือกทำเลที่ตั้งที่มีศักยภาพสูงในการดำเนินกิจการ ไปได้ ในด้านการบริหารสินค้า ปัจจุบัน บริษัทฯ ได้จัดให้ ห้างสรรพสินค้า ซึ่งเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินและ/หรือ มีการบริหารจัดการที่ดีในระบบ Supply Chain รวมถึงการ อาคารเหล่านี้มักจะไม่นิยมขายทรัพย์สินดังกล่าว แต่จะใช้ ควบคุมและติดตามการเคลื่อนไหวของสินค้าคงคลังอย่าง วิธกี ารนำออกให้เช่าแทน และในบางกรณีตน้ ทุนการได้มา สม่ำเสมอเพื่อให้สามารถบริหารจัดการสินค้าคงคลังและ ซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินและอาคารก็มักจะมีต้นทุนสูงจนไม่ สินค้าที่วางจำหน่ายในเคานเตอร์หน้าร้านให้อยู่ในระดับที่ คุม้ ค่าต่อการลงทุนเมือ่ เทียบกับการเช่า ปัจจุบนั สัญญาเช่า เหมาะสม อีกทั้งบริษัทฯ มีนโยบายทางบัญชีในการตั้ง ดังกล่าวมีอายุสัญญาคงเหลือระหว่าง 2 ปี ถึง 30 ปี และ สำรองการด้อยค่าของสินค้าคงเหลือประเภทสินค้าซือ้ ขาด สัญญาส่วนหนึ่งได้กำหนดเงื่อนไขการต่ออายุสัญญาไว้ (Credit Stock) ซึ่งมีประมาณร้อยละ 21 ของต้นทุนค่า ล่วงหน้า ประกอบกับที่ผ่านมานั้นคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายต่าง สินค้าอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้ สินค้าส่วนใหญ่ของบริษทั ได้ปฏิบัติต่อกันตามสัญญา บริษัทฯ จึงคาดว่าจะสามารถ ประมาณร้อยละ 79 ของต้นทุนค่าสินค้าจัดอยู่ในประเภท เจรจาตกลงต่ออายุสัญญาต่อไปในอนาคตได้ สินค้าฝากขาย (Consignment Stock) ซึง่ จะไม่มกี ารสัง่ ซือ้ สินค้าเพือ่ ทำการสต็อกสินค้าเอาไว้บริษทั จึงมีความคล่องตัว ในกรณีที่บริษัทฯ เป็นผู้เช่าอาคารทำให้ต้องพึ่งพิงการ สูงในการบริหารสินค้าคงเหลือ ดังนั้น ปัจจัยเสี่ยงเรื่อง บริหารจัดการของเจ้าของศูนย์การค้า ดังนัน้ บริษทั ฯ อาจมี สินค้าล้าสมัยจึงไม่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของ ความเสีย่ งจากความเสือ่ มโทรมและความเสียหายของอาคาร บริษัทฯ อย่างมีนัยสำคัญ ศูนย์การค้าและสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ เนื่องจากขาด การดูแลและบำรุงรักษาอาคารศูนย์การค้าอย่างเหมาะสม การพึ่งพิงการจัดซื้อสินค้าจากซัพพลายเออร์ อย่างไรก็ตาม บริษทั ฯ ได้มกี ารประสานงานและติดตามการ บริษัทฯ มีการกระจายการสั่งซื้อสินค้าจากซัพพลายเออร์ บำรุงรักษาสภาพอาคารของผู้บริหารศูนย์การค้าอย่าง จำนวนกว่า 2,000 ราย เพื่อให้สินค้ามีความหลากหลาย สม่ำเสมอเพื่อให้มั่นใจว่าอาคารศูนย์การค้านั้นมีสภาพที่ แตกต่าง สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ของบริษทั รวมทัง้ เพือ่ ปลอดภัยและเหมาะสมในการประกอบธุรกิจของ บริษัทฯ ลดการพึ่งพิงการจัดซื้อสินค้าจากซัพพลายเออร์รายใด รายหนึ่งเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม บริษัทยังคงมีการ อุบัติภัย ภัยธรรมชาติ และโรคระบาด สั่งซื้อสินค้าจากซัพพลายเออร์รายใหญ่ทสี่ ุดคิดเป็นร้อยละ ความเสีย่ งจากการเกิดอุบตั ภิ ยั และภัยธรรมชาติตา่ งๆ อาทิ 13.90 ของยอดขายในปี 2552 ซึ่งเป็นซัพพลายเออร์ที่มี ไฟไหม้ น้ำท่วม เป็นต้น อาจส่งผลเสียหายต่อทรัพย์สิน สิ น ค้ า แบรนด์ เ นมที่ เ ป็ น ที่ นิ ย มของลู ก ค้ า จำนวนมาก และบุคคลากรของบริษัทฯ และทำให้การดำเนินงานของ โดยบริษัทเป็นพันธมิตรที่สำคัญในการกระจายสินค้าให้แก่ บริษทั ต้องหยุดชะงักลงได้ อย่างไรก็ตาม บริษทั ฯ ได้ดำเนิน ซัพพลายเออร์ดังกล่าวทั้งในเขตกรุงเทพฯและต่างจังหวัด การจัดทำประกันภัยเพื่อคุ้มครองความเสียหายที่อาจขึ้น โดยมีความร่วมมือระหว่างกันในการจัดกิจกรรมส่งเสริม ครอบคลุมทรัพย์สนิ ทัง้ หมดทีบ่ ริษทั ฯ เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ การตลาดอย่างต่อเนื่อง การบริหารสินค้าและการกระจาย และทรัพย์สินที่อยู่ภายใต้การควบคุมของบริษัทฯ รวมถึง สินค้า (Supply Chain Management) เพื่อให้สินค้าเพียง การประกันความเสียหายที่อาจขึ้นกับบุคคลที่สาม ทั้งนี้ พอและลดปริมาณสินค้าที่เกินความจำเป็น บริษัทฯ ยังได้จัดทำประกันภัยธุรกิจหยุดชะงัก (Business Interruption) ในกรณีที่สาขาใดสาขาหนึ่งไม่สามารถ 32

บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)


ปัจจัยความเสี่ยง

ประกอบการได้เป็นการชั่วคราวเพื่อเป็นการบรรเทาการ สูญเสียรายได้ของบริษัทฯ อีกด้วย

4. ด้านข้อมูลสารสนเทศ (Information Technology)

ความเสี่ยงจากการระบาดของโรคต่างๆ ในช่วงระยะเวลา หนึง่ ๆ ซึง่ อาจส่งผลกระทบธุรกิจห้างสรรพสินค้าได้ บริษทั ฯ ได้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และดำเนินการตาม มาตรการของกระทรวงสาธารณสุขในการป้องกันการแพร่ ระบาดของโรคอย่างเข้มงวด อาทิ รักษาความสะอาดในทุก พื้นที่ของห้างทั้งภายในและภายนอกห้าง โดยเฉพาะในจุด สำคัญต่างๆ ที่มีลูกค้าเข้ามาใช้บริการหนาแน่น รวมถึง ความสะอาดของระบบปรับอากาศภายในอาคารด้วย

ความปลอดภัยในการเก็บรักษาข้อมูล การเข้าถึงข้อมูล และระบบงาน ความปลอดภัยในการเก็บรักษาข้อมูลต่างๆ เป็นสิง่ ทีบ่ ริษทั ฯ ให้ความสำคัญอยู่เสมอ โดยเฉพาะข้อมูลที่สำคัญของ บริษัทฯ รวมไปถึงข้อมูลที่เป็นความลับทางธุรกิจของทั้ง คู่ค้าและลูกค้าแต่ละรายของบริษัทฯ ซึ่งในปัจจุบันบริษัทฯ มีระบบในการเก็บรักษาข้อมูลที่มีความปลอดภัยสูงและ เชื่อถือได้ รวมถึงการจัดสร้างระบบสำรองการใช้งานไว้ด้วย นอกจากนี้ บริษัทฯ ใช้ระบบคอมพิวเตอร์สำหรับการ กำหนดระดับการเข้าถึงข้อมูลของพนักงานระดับต่างๆ ควบคู่กับการกำหนดระเบียบข้อบังคับของบริษัทฯ ว่าด้วย เรือ่ ง “การนำความลับของบริษทั ฯ ไปเปิดเผย” รวมถึงการ เน้นย้ำให้พนักงานตระหนักถึงความสำคัญของการใช้งาน ระบบให้เป็นไปอย่างถูกวิธีและเหมาะสม เพื่อให้ระบบ จัดการและเก็บรักษาข้อมูลสามารถดำเนินงานไปได้อย่าง มีประสิทธิภาพสูงสุดและต่อเนื่อง

3. ด้านการเงิน (Finance) สภาพคล่องทางการเงิน ในด้านสภาพคล่องทางการเงินของ ณ 31 ธันวาคม 2552 บริษัทฯ มีสินทรัพย์หมุนเวียนจำนวน 4,029 ล้านบาท และมีหนี้สินหมุนเวียน 3,752 ล้านบาท คิดเป็นอัตราส่วน เงินทุนหมุนเวียน 1.07 เท่า และบริษัทฯ ไม่มีภาระหนี้ ทางการเงินแต่อย่างใด หนี้สินหมุนเวียนของบริษัทฯ ส่วน ใหญ่อยู่ในรูปของเจ้าหนี้การค้า ซึ่งเป็นลักษณะทั่วไปของ ธุรกิจค้าปลีกประเภทห้างสรรพสินค้า ทั้งนี้ รอบระยะเวลา เฉลี่ยในการขายสินค้าสั้นกว่ารอบระยะเวลาเฉลี่ยในการ ชำระหนี้ เนื่องจากกว่าร้อยละ 79 เป็นเจ้าหนี้การค้าที่มี เงื่อนไขการจ่ายชำระเงินเมื่อสินค้าได้ถูกขายแล้วเท่านั้น ในขณะทีส่ นิ ค้าคงคลังทีป่ รากฏในงบดุลเป็นสินค้าทีม่ เี งือ่ น ไขการซื้อขาดเท่านั้น ดังนั้น ภาระหนี้สินหมุนเวียนที่มีอยู่ จึงไม่กระทบต่อสภาพคล่องปกติของบริษัทฯ แต่อย่างใด นอกจากนี้ ในด้านการจัดหาเงินทุนเพื่อรองรับแผนการ ลงทุนในโครงการขยายสาขา รวมถึงการลงทุนปรับปรุงสาขา เดิมทีม่ ตี อ่ เนือ่ งทุกปีนนั้ บริษทั ฯ มีการประมาณการกระแส เงินสดในอนาคตอย่างสม่ำเสมอ และมีวนิ ยั ในการใช้จา่ ยเงิน เพือ่ การลงทุนอย่างเคร่งครัด รวมถึงการสร้างความสัมพันธ์ และความน่าเชื่อต่อสถาบันการเงิน ซึ่งแม้ว่าในปี 2552 สถาบันการเงินต่างๆ จะเพิ่มความระมัดระวังในการปล่อย สินเชื่อมากขึ้นหลังการเกิดวิกฤติทางการเงินของโลกในปี 2551 แต่บริษัทฯ ก็สามารถดำเนินโครงการลงทุนได้ตาม เป้าหมายที่กำหนดจากกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน ตามที่ประมาณการไว้

5. ด้านการปฎิบัติงานให้เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับ ที่เกี่ยวข้อง (Compliance) คณะทำงานบริหารความเสี่ยงมุ่งเน้นให้บริษัทฯ ดำเนิน ธุรกิจเป็นไปตามกรอบของกฎหมาย กฎระเบียบและ ข้อบังคับต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเป็นสำคัญ โดยได้ทำกำหนด นโยบายการปฏิบัติงานในแต่ละด้านที่อาจเกี่ยวข้องกับ กฎหมายหรือข้อบังคับต่างๆ ดังนี้ ด้านทรัพย์สินทางปัญญา การดำเนินธุรกิจของบริษทั ฯ จะต้องมีการรับสินค้าจากคูค่ า้ หลายราย ซึง่ สินค้าทีร่ บั มาจำหน่ายอาจมีลขิ สิทธิ์ สิทธิบตั ร หรือการกำหนดมาตรฐานของสินค้าจากหน่วยงานราชการ ต่างๆ ดังนั้น สินค้าที่วางจำหน่ายในห้างโรบินสันต้องได้รับ อนุญาตให้ทำการขาย จำหน่ายหรือเผยแพร่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งปัจจุบันบริษัทฯ ได้กำหนดการตรวจสอบ เรื่องดังกล่าว เป็นส่วนหนึ่งของขั้นตอนการจัดซื้อ และได้ติดตามการจัด ซือ้ สินค้ากับคูค่ า้ อย่างใกล้ชดิ รวมถึงการกำหนดหน่วยงาน ทีม่ หี น้าทีร่ บั ผิดชอบในเรือ่ งทรัพย์สนิ ทางปัญญา และเน้นย้ำ รายงานประจำปี 2552

33


กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้คำนึงถึงความเสี่ยงในด้านนี้ เสมอเพือ่ ให้แน่ใจได้วา่ สินค้าทีร่ บั มาเพือ่ จัดจำหน่ายต่อไป นั้นเป็นไปตามกฎระเบียบและถูกต้องตามกฎหมาย ด้านผู้บริโภค พรบ.คุ้มครองผู้บริโภคและพรบ.ว่าด้วยความรับผิดชอบ ต่อสินค้าและบริการที่ผลิตขึ้น (Product Liability Law) พรบ.ทั้งสองฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดสิทธิที่พึงมี ของผูบ้ ริโภคและกำหนดหน้าทีท่ ตี่ อ้ งปฎิบตั ขิ องผูผ้ ลิตหรือ ผูใ้ ห้บริการ ทัง้ นีเ้ พือ่ เป็นการเพิม่ คุณภาพชีวติ ของผูบ้ ริโภค เป็นสำคัญ และหลีกเลี่ยงปัญหาต่างๆ อันจะนำไปสู่ความ เสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้บริโภค ซึ่งบริษัทฯ มี นโยบายในการดำเนินธุรกิจบนพื้นฐานของความถูกต้อง เป็นธรรม และสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้า ด้วยสินค้าที่ดีมีคุณภาพ ในราคาที่เหมาะสม พร้อมทั้งการ บริการทีเ่ ป็นเลิศ และคำนึงถึงความพึงพอใจของลูกค้าเป็น สำคัญ ซึง่ นอกจากขัน้ ตอนการจัดซือ้ สินค้าทีม่ ปี ระสิทธิภาพ แล้ว บริษัทฯ ยังได้กำหนดการบริการพื้นฐานที่ดีสำหรับ ลูกค้าด้วย กล่าวคือ ลูกค้าต้องได้รบั สินค้าทีม่ คี ณุ ภาพ และ ได้รับข้อมูลหรือคู่มือในการใช้สินค้านั้นๆ เป็นอย่างดี เพื่อ ประโยชน์และความปลอดภัยในการใช้สนิ ค้าด้วย นอกจากนี้ บริษทั ฯ เปิดโอกาสให้แก่ลกู ค้าในการร้องเรียน หรือสอบถาม ข้อมูลได้ในกรณีที่มีข้อสงสัยในสินค้าหรือบริการที่ได้รับ จากบริษัทด้วย ด้านการประกอบธุรกิจค้าปลีก (ร่าง) กฎหมายการประกอบธุรกิจค้าปลีกค้าส่งมีวตั ถุประสงค์ เพื่อกำกับดูแลธุรกิจประเภทค้าปลีกค้าส่งโดยตรง ซึ่งได้มี การยกร่างกฎหมายและแก้ไขปรับปรุงเรื่อยมา โดย (ร่าง) กฎหมายฉบับนี้มีเนื้อหาครอบคลุมถึงคำนิยามของธุรกิจ ค้าปลีก การกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการ ประกอบธุรกิจค้าปลีกค้าส่งบางประเภท และรวมถึงการให้ ใบอนุญาตในการขยายสาขาด้วย โดยมีเจตนารมณ์เพื่อ สร้างความสมดุลระหว่างธุรกิจค้าปลีกรายใหญ่ (ทีจ่ ำหน่าย สินค้าอุปโภคบริโภคจำเป็นพืน้ ฐานและใช้กลยุทธ์ดา้ นราคา เป็นสำคัญ) กับธุรกิจค้าปลีกชุมชน (ร้านโชห่วย) บริษัทฯ เห็นว่า ห้างสรรพสินค้าเป็นธุรกิจค้าปลีกทีเ่ น้นสินค้าอุปโภค ประเภทแฟชัน่ มีความหลากหลายของสินค้าและแบรนด์เนม ทีแ่ ตกต่างจากสินค้าอุปโภคบริโภคทีจ่ ำหน่ายในค้าปลีกราย 34

บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

ย่อยทั่วไป รวมถึงการให้บริการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องแบบครบ วงจร จึงเป็นธุรกิจค้าปลีกที่มีลักษณะเฉพาะ แตกต่างจาก ธุรกิจค้าปลีกของชุมชน (ร้านโชห่วย) ดังนัน้ การดำเนินการ และการจัดการ ตลอดจนแผนงานการขยายสาขาของบริษัท จึงมิได้ขัดกับเจตนารมณ์ของ (ร่าง) กฎหมายดังกล่าว จึง ไม่นา่ ทีจ่ ะได้รบั ผลกระทบโดยตรงจากบทบัญญัตขิ อง (ร่าง) กฎหมายฉบับนี้ การประกาศเรื่องแนวทางปฏิบัติ ในทางการค้าที่ ไม่เป็น ธรรมในธุรกิจการค้า มีวตั ถุประสงค์เพือ่ กำหนดความหมาย และคุณสมบัติของผู้ประกอบการค้าที่มีอำนาจเหนือตลาด เพือ่ ให้การประกอบกิจการค้าเป็นไปโดยเสรี และเป็นธรรม และเพื่อให้ผู้ประกอบการได้รับทราบว่าการกระทำใด หรือ คุณสมบัติอย่างไร ที่อาจที่เข้าข่ายการกระทำผิดตาม พระราชบัญญัตกิ ารแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542 อย่างไร ก็ตาม บริษทั ฯ ได้มนี โยบาย ยึดถือและปฏิบตั ติ ามกฎหมาย ในเรื่องการปฏิบัติทางการค้าที่เป็นธรรมในการดำเนิน ธุรกิจมาโดยตลอด ซึง่ ตลอดเวลาทีผ่ า่ นมาบริษทั ฯ และคูค่ า้ เป็นพันธมิตรที่ดีต่อกัน และให้ความร่วมมือระหว่างกันมา เป็นระยะเวลายาวนาน ดังนั้น ประกาศคณะกรรมการแข่ง ขันทางการค้าในเรื่องดังกล่าวจึงไม่ส่งผลกระทบใดๆ ต่อ บริษัทฯ ด้านการขยายสาขา ทางด้านกฎหมายผังเมือง ซึ่งเป็นกฎหมายที่ส่งผลโดย ตรงต่อการพัฒนาอาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ รวมถึงการ ก่อสร้าง การขยายสาขาของธุรกิจค้าปลีกบางประเภท อาทิ ร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ทจี่ ำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภค ซึ่งภาครัฐได้มีการนำเอากฎหมายฉบับนี้มาใช้เป็นเครื่อง มือในการควบคุมการขยายสาขาของห้างค้าปลีกสมัยใหม่ ในขณะที่ กระบวนการตรากฎหมายค้ า ปลี ก ค้ า ส่ ง ยั ง ไม่ เสร็จสิ้น ซึ่งแม้ว่าเนื้อหาของกฎหมายผังเมืองจะไม่มีผล กระทบ โดยตรงต่อการขยายสาขาของห้างสรรพสินค้า แต่ กฎหมายฉบับนีอ้ าจส่งผลกระทบทางอ้อมได้ เนือ่ งจากการ พัฒนาศูนย์การค้าใหม่อาจทำได้ยากขึ้นและการขยาย พื้นที่ค้าปลีกมีการชะลอตัวลง ทั้งนี้ ศูนย์การค้าเป็นทำเล ที่สำคัญในการขยายสาขาของห้างสรรพสินค้า เพราะเป็น แหล่งรวมการค้าและบริการที่ครบครัน (Commercial Point)


ปัจจัยความเสี่ยง

ผู้ถือหุ้นและนโยบายการจ่ายปันผล

ผู้ถือหุ้นและนโยบายการจ่ายปันผล

หลักทรัพย์ของบริษัท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 บริษัทฯ มีรายละเอียดของโครงสร้างเงินทุนที่สำคัญ ดังนี้

หุ้นสามัญ

ทุนจดทะเบียน ทุนเรียกชำระแล้ว จำนวนหุ้นสามัญ มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ จำนวนหุ้นที่ซื้อคืน ราคาหุ้น ณ วันที่ 30 ธันวาคม 2552

3,942,847,022.15 3,942,847,022.15 1,110,661,133 3.55 6,765,000 10.40

บาท บาท หุ้น บาท หุ้น บาท

ผู้ถือหุ้นสามัญ รายชื่อผู้ถือหุ้นที่ถือหุ้นสูงสุด 10 อันดับแรก ณ วันที่ 30 ธันวาคม 2552

ลำดับ

1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8. 9. 10.

รายชื่อผู้ถือหุ้น

บริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด บริษัท ซี.อาร์.จี. บริการ จำกัด GOLDMAN SACHS & CO ASIA INVESTMENT INTERNATIONAL LIMITED HSBC (SINGAPORE) NOMINEES PTE LTD CREDIT SUISSE SINGAPORE BRANCH นายสุทธิลักษณ์ จิราธิวัฒน์ น.ส.ธาพิดา นรพัลลภ CHASE NOMINEES LIMITED 42 บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด

จำนวนหุ้น

ร้อยละ

308,162,660 289,645,488 97,945,230 60,900,000 52,698,870 51,992,765 40,386,752 32,818,044 26,037,400 24,122,910

27.75 26.08 8.82 5.48 4.74 4.68 3.64 2.95 2.34 2.17

กลุ่มผู้ถือหุ้นรายใหญ่ (Ultimate Shareholders) ของบริษัท ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่โดยพฤติการณ์มีอิทธิพลต่อ การกำหนดนโยบายหรือการดำเนินงานของบริษทั ฯ ได้แก่ กลุม่ เซ็นทรัลรีเทล (กลุม่ ตระกูลจิราธิวฒ ั น์) ซึง่ ประกอบด้วย บริษทั เซ็นทรัลรีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด, บริษัท ซี.อาร์.จี.บริการ จำกัด และบุคคลในตระกูลจิราธิวัฒน์ โดยร่วมกันถือหุ้นในบริษัท จำนวนรวมประมาณร้อยละ 58 รายงานประจำปี 2552

35


ข้อจำกัดการถือครองหลักทรัพย์ของบุคคลต่างด้าว

โครงการซื้อหุ้นของบริษัทคืน

บริษัทฯ มีข้อจำกัดการถือครองหลักทรัพย์ของบุคคลต่าง ด้าว (Foreign Limit) ไว้ร้อยละ 49 ของทุนชำระแล้ว โดย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 มีบุคคลต่างด้าวถือครองหลักทรัพย์ ของบริษัทฯ ร้อยละ 32.52 ของทุนชำระแล้ว

เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2551 ที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2551 ได้มมี ติอนุมตั กิ ารแก้ไขข้อบังคับบริษทั เกีย่ วกับการซือ้ หุ้นของบริษัทคืน ซึ่งต่อมาที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทได้มี มติให้เข้าทำโครงการซื้อหุ้นคืนเพื่อบริหารการเงิน เนื่องจาก บริษัทฯ มีกระแสเงินสดคงเหลือเพียงพอและไม่มีหนี้สินที่เกิด จากการกู้ยืมจากสถาบันการเงินที่ถึงกำหนดชำระภายในหก เดือนแต่อย่างใด นอกจากนี้ การซือ้ หุน้ คืนยังเป็นเครือ่ งมือของ ผู้บริหารที่จะสะท้อนมูลค่าหุ้นที่เหมาะสมอีกด้วย โครงการนี้ ได้กำหนดวงเงินสูงสุดเท่ากับ 536 ล้านบาท หรือจำนวนหุ้นที่ ซื้อคืนไม่เกินร้อยละ 10 ของหุ้นจำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของ บริษัทฯ และมีหลักเกณฑ์ ในการกำหนดราคาหุ้นที่จะซื้อคืน คือ ราคาซื้อคืนจะไม่เกินกว่าร้อยละ 115 ของราคาปิดเฉลี่ย 5 วันทำการซื้อขายก่อนหน้าวันที่ทำรายการซื้อคืน โดยเริ่มต้น โครงการตั้งแต่วันที่ 24 พฤศจิกายน 2551 ถึงวันที่ 22 พฤษภาคม 2552

ประเภท

จำนวนหุ้น

ผู้ถือหุ้นสัญชาติไทย 749,455,084 ผู้ถือหุ้นสัญชาติต่างด้าว 361,206,049 ยอดรวม 1,110,661,133

ร้อยละ 67.48 32.52 100.00

นโยบายการจ่ายปันผล บริษัทฯได้ กำหนดนโยบายการจ่ายเงินปันผลในสถานการณ์ ปกติที่อัตราประมาณร้อยละ 40 ของกำไรสุทธิจากการ ดำเนินงานปกติ (หลังภาษีเงินได้) ตามงบการเงินรวม ซึง่ การ จ่ายเงินปันผลของบริษัทฯ ที่ผ่านมามีดังนี้ ป ี

กำไรสุทธิ เงินปันผลต่อ หุ้นอัตราการจ่าย (ล้านบาท) (บาท) เงินปันผล

2549 2550 2551 2552

719 864 1,020 1,013

0.32 0.40 0.40 0.42

49% 51% 43% 46%

จากการประชุมคณะกรรมการบริษทั ครัง้ ที่ 1/2553 เมือ่ วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2553 ที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้กำหนดการ จ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้น ในอัตราหุ้นละ 0.42 บาท หรือ คิดเป็นอัตราการจ่ายเงินปันผลในอัตราร้อยละ 46 ซึ่งสูงกว่า อัตราทีน่ โยบายกำหนด โดยจะได้นำเสนอต่อทีป่ ระชุมสามัญ ผู้ถือหุ้นประจำปี 2553 ในวันที่ 22 เมษายน 2553 เพื่อ พิจารณาอนุมัติการจ่ายเงินปันผล

36

บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

ณ วันที่ 22 พฤษภาคม 2552 (วันสิ้นสุดระยะเวลาในการซื้อ หุ้นคืน) บริษัทฯ สามารถซื้อหุ้นของบริษัทคืน รวมทั้งสิ้น 6,765,000 หุน้ คิดเป็นร้อยละ 0.61 ของหุน้ ทีจ่ ำหน่ายได้แล้ว ทั้งหมด ณ วันที่ 5 พฤศจิกายน 2552 คณะกรรมการบริษัทได้มีมติ อนุ มั ติ จ ำหน่ า ยหุ้ น ที่ ซื้ อ คื น ด้ ว ยวิ ธี การขายในตลาดหลั ก ทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยมีหลักเกณฑ์ในการกำหนดราคา ที่จะจำหน่ายหุ้นที่ซื้อคืน คือ ราคาจำหน่ายหุ้นที่ซื้อคืนต้อง ไม่นอ้ ยกว่าร้อยละ 85 ของราคาปิดของหุน้ เฉลีย่ 5 วันทำการ ซื้อขายก่อนหน้าวันที่ทำรายการจำหน่ายหุ้นที่ซื้อคืน และมี กำหนดระยะเวลาในการจำหน่ายหุ้นที่ซื้อคืนตั้งแต่วันที่ 23 พฤศจิกายน 2552 ถึงวันที่ 22 พฤษภาคม 2555 ทัง้ นี้ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 บริษทั ฯ ได้จดั สรรกำไรสะสม ไว้เป็นสำรองสำหรับหุ้นทุนซื้อคืนเท่ากับจำนวนที่ได้จ่ายซื้อ หุ้นคืนเต็มจำนวนแล้ว


ผู้ถือหุ้นและนโยบายการจ่ายปันผล

การจัดการ ผังองค์กร

การจัดการ

คณะกรรมการบริษัท

คณะกรรมการ ตรวจสอบ

คณะกรรมการ สรรหาและกำหนด ค่าตอบแทน

หน่วยงาน ตรวจสอบภายใน

สายบริหารสินค้า

คณะกรรมการ บริหาร

คณะทำงาน บริหารความเสี่ยง

คณะทำงาน บรรษัทภิบาล

สายการเงิน

สายงานวิเคราะห์และ พัฒนาธุรกิจ

กรรมการ ผู้จัดการใหญ่

สายปฏิบัติการ

สายการตลาด

ผู้ช่วยกรรมการ ผู้จัดการใหญ่อาวุโส ผู้ช่วยกรรมการ ผู้จัดการใหญ่

ผู้ช่วยกรรมการ ผู้จัดการใหญ่

ผู้ช่วยกรรมการ ผู้จัดการใหญ่

ผู้ช่วยกรรมการ ผู้จัดการใหญ่

ผู้ช่วยกรรมการ ผู้จัดการใหญ่

ผู้ช่วยกรรมการ ผู้จัดการใหญ่

รายงานประจำปี 2552

37


โครงสร้างการจัดการ บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน) มี คณะกรรมการบริษัท ซึ่งทำหน้าที่กำกับดูแลกิจการของ บริษัทฯ และมีคณะกรรมการรวมถึงคณะทำงานดูแล เฉพาะเรื่องอีก 5 คณะ อันได้แก่ คณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการบริหาร คณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่า ตอบแทน คณะทำงานบริหารความเสี่ยง และคณะทำงาน บรรษัทภิบาล โดยมีรายละเอียดของคณะกรรมการแต่ละ คณะดังต่อไปนี้

คณะกรรมการบริษัท คณะกรรมการบริษัท มีหน้าที่ดำเนินกิจการของบริษัทฯ ให้เป็นไปตามกฎหมาย วัตถุประสงค์ และข้อบังคับของ บริษัทฯ ตลอดจนมติของที่ประชุมผู้ถือหุ้น รวมทั้งการ ปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และข้อบังคับของตลาด หลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และสำนักงานคณะกรรมการ ลำดับ

รายชื่อกรรมการ

นายสุทธิศักดิ์ นายสุทธิธรรม นายสมชัย นายพิบูล นายวิทยา นายจรัล นายปริญญ์ นายทศ นายปิยะ นายปัณฑิต นายปรีชา

1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8. 9. 10. 11.

กำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ โดยปฏิบัติหน้าที่ ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และระมัดระวังรักษาผลประโยชน์ ของผู้ถือหุ้น รวมถึงอยู่ในกรอบของจริยธรรมธุรกิจและ คำนึงถึงผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย อีกทั้งการ จัดให้มีระบบบัญชี และรายงานทางการเงินและการสอบ บัญชีที่เชื่อถือได้ ในการปฏิบัติหน้าที่ คณะกรรมการบริษัท อาจมีการมอบ หมายให้กรรมการคนหนึ่งหรือหลายคน หรือบุคคลอื่นใด ปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่งแทนคณะกรรมการ ภายใต้ การควบคุมของคณะกรรมการ หรือมอบอำนาจเพื่อให้ บุคคลดังกล่าวมีอำนาจตามที่คณะกรรมการเห็นสมควร และภายในระยะเวลาที่คณะกรรมการเห็นสมควรได้ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 คณะกรรมการบริษัทประกอบ ด้วยกรรมการทั้งสิ้น 11 ท่าน ได้แก่ ตำแหน่ง

จิราธิวัฒน์ จิราธิวัฒน์ อภิวัฒนพร ภัทโรดม ชวนะนันท์ มงคลจันทร์ จิราธิวัฒน์ จิราธิวัฒน์ งุ่ยอัครมหาวงศ์ มงคลกุล เอกคุณากูล

ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ กรรมการอิสระ กรรมการอิสระ กรรมการอิสระ กรรมการอิสระ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการและกรรมการผู้จัดการใหญ่

หมายเหตุ กรรมการลำดับที่ 1-2 และ 7-10 เป็นกรรมการที่เป็นตัวแทนจากผู้ถือหุ้น นอกจากนี้คณะกรรมการบริษัท ประกอบด้วยกรรมการที่เป็นผู้บริหารเพียงหนึ่งท่าน คือ นายปรีชา เอกคุณากูล เท่านั้น

38

บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)


การจัดการ

กรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพันบริษัทฯ ประกอบด้วย นายสุทธิศักดิ์ จิราธิวัฒน์ หรือ นายสุทธิธรรม จิราธิวัฒน์ หรือ นายปริญญ์ จิราธิวฒ ั น์ หรือ นายทศ จิราธิวฒ ั น์ หรือ นายปรีชา เอกคุณากูล หรือ นายปิยะ งุ่ยอัครมหาวงศ์ หรือ นายปัณฑิต มงคลกุล สองในเจ็ดคนนี้ ลงลายมือชือ่ ร่วมกันและประทับตราสำคัญของบริษัทฯ โดยมีนายปริวัต โสภาษิต ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายการเงิน เป็นเลขานุการบริษัท

ขอบเขตอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการบริษัท 1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8. 9.

การพิจารณาอนุมตั นิ โยบาย แผนธุรกิจ และการอนุมตั ิ งบประมาณประจำปีของบริษัทฯ การพิจารณาอนุมัติการทำธุรกรรมใดๆ ของบริษัทฯ และบริษัทย่อย อันมีผลกระทบที่สำคัญต่อฐานะทาง การเงิน ภาระหนี้สินและโครงสร้างเงินทุนของบริษัทฯ การพิจารณาอนุมัติการลงทุนในโครงการที่มีมูลค่าสูง กว่า 200 ล้านบาท การทำสั ญ ญาเช่ า หรื อ สั ญ ญาบริ ก ารที่ เ กี่ ย วกั บ อสังหาริมทรัพย์ของบริษัทฯ และบริษัทย่อยที่มีสาระ สำคัญ การจำหน่าย การโอน และการทำลายทรัพย์สินถาวร ของบริษัทฯ และบริษัทย่อยที่มีสาระสำคัญ การพิจารณาอนุมัติหรือการให้ความเห็นชอบในการ ทำรายการที่เกี่ยวโยงกัน และรายการที่อาจมีความ ขัดแย้งทางผลประโยชน์ระหว่างบริษทั ฯ หรือบริษทั ย่อย กับบุคคลทีเ่ กีย่ วโยงกัน โดยให้เป็นไปตามกฎ ระเบียบ ข้อบังคับของสำนักงานกำกับหลักทรัพย์และตลาด หลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พิจารณาอนุมัติหรือให้ความเห็นชอบต่อรายการที่มี สาระสำคัญ รายการได้มาและจำหน่ายไปซึง่ ทรัพย์สนิ โดยให้เป็นไปตามกฎระเบียบข้อบังคับของสำนักงาน กำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และตลาด หลักทรัพย์แห่งประเทศไทย การแต่งตัง้ และกำหนดอำนาจหน้าทีข่ องคณะกรรมการ ชุดย่อย การเสนอแต่งตั้งกรรมการ และการพิจารณาอนุมัติ แต่งตั้งกรรมการผู้จัดการใหญ่

คุณสมบัติของกรรมการอิสระ กรรมการอิสระของบริษัท มีคุณสมบัติครบถ้วนและมี ความเป็นอิสระ ซึง่ คุณสมบัตดิ งั กล่าวเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวคือ 1. ถื อ หุ้ น ไม่ เ กิ น ร้ อ ยละ 1 ของจำนวนหุ้ น ที่ มี สิ ท ธิ ออกเสียงทั้งหมดของบริษัท บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม หรือนิติบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง ทั้งนี้ ให้นับรวมการถือหุ้นของผู้ที่เกี่ยวข้องด้วย 2. ไม่เป็นหรือเคยเป็นกรรมการที่มีส่วนร่วมบริหารงาน ลูกจ้าง พนักงาน ที่ปรึกษาที่ได้รับเงินเดือนประจำ หรือผู้มีอำนาจควบคุมของบริษัท บริษัทใหญ่ บริษัท ย่อย บริษัทร่วม บริษัทย่อยลำดับเดียวกัน หรือ นิตบิ คุ คลทีอ่ าจมีความขัดแย้ง เว้นแต่จะพ้นจากการมี ลักษณะดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี ก่อนได้รับ การแต่งตั้ง 3. ไม่เป็นบุคคลที่มีความสัมพันธ์ทางสายโลหิตหรือโดย การจดทะเบียนตามกฎหมายในลักษณะที่เป็นบิดา มารดา คูส่ มรส พีน่ อ้ ง และบุตร รวมทัง้ คูส่ มรสของบุตร ของผู้บริหาร ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ผู้มีอำนาจควบคุม หรือ บุคคลที่จะได้รับการเสนอให้เป็นผู้บริหารหรือ ผู้มีอำนาจควบคุมของบริษัทหรือบริษัทย่อย 4. ไม่ มี ห รื อ เคยมี ความสั ม พั น ธ์ ท างธุ ร กิ จ กั บ บริ ษั ท บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม หรือนิติบุคคลที่ อาจมีความขัดแย้งในลักษณะที่อาจขัดขวางการใช้ วิจารณญาณอย่างอิสระของตน รวมทั้งไม่เป็นหรือ เคยเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ กรรมการซึ่งไม่ใช่กรรมการ อิสระ หรือผู้บริหาร ของผู้ที่มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจ กับบริษัท บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม หรือ นิตบิ คุ คลทีอ่ าจมีความขัดแย้ง เว้นแต่จะพ้นจากการมี ลักษณะดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี ก่อนได้รับ การแต่งตั้ง ความสัมพันธ์ทางธุรกิจ ตามวรรคแรก รวมถึงการทำ รายการทางการค้าที่กระทำเป็นปกติเพื่อประกอบ กิจการ การเช่าหรือให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ รายการ เกี่ยวกับสินทรัพย์หรือบริการ การให้หรือรับความ ช่วยเหลือทางการเงินด้วยการรับหรือให้กยู้ มื ค้ำประกัน รายงานประจำปี 2552

39


5. 6. 7. 8.

40

การให้ สิ น ทรั พ ย์ เ ป็ น หลั ก ประกั น หนี้ สิ น รวมถึ ง พฤติการณ์อื่นทำนองเดียวกัน ซึ่งเป็นผลให้บริษัท หรือคู่สัญญามีภาระหนี้สินที่ต้องชำระต่ออีกฝ่ายหนึ่ง ตัง้ แต่รอ้ ยละ 3 ของสินทรัพย์ทมี่ ตี วั ตนสุทธิของบริษทั หรือตั้งแต่ 20 ล้านบาทขึ้นไป แล้วแต่จำนวนใดจะต่ำ กว่าทั้งนี้การคำนวณภาระหนี้ดังกล่าวให้เป็นไปตาม วิธีการคำนวณมูลค่าของรายการที่เกี่ยวโยงกันตาม ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุนว่าด้วยหลัก เกณฑ์ในการทำรายการที่เกี่ยวโยงกัน โดยอนุโลมแต่ ในการพิจารณาภาระหนี้ดังกล่าว ให้นับรวมภาระหนี้ ที่เกิดขึ้นระหว่าง 1 ปี ก่อนวันที่มีความสัมพันธ์ทาง ธุรกิจกับบุคคลเดียวกัน ไม่เป็นหรือเคยเป็นผูส้ อบบัญชีของบริษทั บริษทั ใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม หรือนิติบุคคลที่อาจมีความ ขัดแย้ง และไม่เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ กรรมการซึ่ง ไม่ใช่กรรมการอิสระ ผู้บริหาร หรือหุ้นส่วนผู้จัดการ ของสำนักงานสอบบัญชี ซึ่งมีผู้สอบบัญชีของบริษัท บริษทั ใหญ่ บริษทั ย่อย บริษทั ร่วม หรือนิตบิ คุ คลทีอ่ าจ มีความขัดแย้งสังกัดอยู่ เว้นแต่จะพ้นจากการมีลกั ษณะ ดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี ก่อนได้รับการแต่งตั้ง ไม่เป็นหรือเคยเป็นผูใ้ ห้บริการทางวิชาชีพใดๆ ซึง่ รวม ถึงการให้บริการเป็นที่ปรึกษากฎหมายหรือที่ปรึกษา ทางการเงิน ซึ่งได้รับค่าบริการเกินกว่า 2 ล้านบาท ต่อปี จากบริษทั บริษทั ใหญ่ บริษทั ย่อย บริษทั ร่วมหรือ นิติบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง ทั้งนี้ ในกรณีที่ผู้ให้ บริการทางวิชาชีพเป็นนิติบุคคลให้รวมถึงการเป็น ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ กรรมการซึ่งไม่ใช่กรรมการอิสระ ผู้บริหาร หรือหุ้นส่วนผู้จัดการ ของผู้ให้บริการทาง วิชาชีพนั้นด้วย เว้นแต่จะพ้นจากการมีลักษณะดังกล่าว มาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปีก่อนได้รับการแต่งตั้ง ไม่เป็นกรรมการที่ ได้รับแต่งตั้งขึ้นเพื่อเป็นตัวแทน ของกรรมการของบริษทั ผูถ้ อื หุน้ รายใหญ่ หรือผูถ้ อื หุน้ ซึ่งเป็นผู้เกี่ยวข้องกับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัท ไม่มีลักษณะอื่นใดที่ทำให้ไม่สามารถให้ความเห็น อย่างเป็นอิสระเกี่ยวกับการดำเนินงานของบริษัท กรรมการอิสระอาจได้รบั มอบหมายจากคณะกรรมการ ให้ตดั สินใจในการดำเนินกิจการของบริษทั บริษทั ใหญ่

บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

บริษทั ย่อย บริษทั ร่วม บริษทั ย่อยลำดับเดียวกัน หรือ นิตบิ คุ คลทีอ่ าจมีความขัดแย้งโดยมีการตัดสินใจในรูป แบบขององค์คณะได้ ปัจจุบัน บริษัทมีกรรมการอิสระทั้งสิ้น 4 ท่าน ซึ่งมี จำนวนตามเกณฑ์ทนี่ โยบายการกำกับดูแลกิจการ คือ คณะกรรมการบริษัทต้องประกอบด้วยกรรมการอิสระ อย่างน้อย 1 ใน 3 ของกรรมการทั้งคณะ (11 ท่าน)

เลขานุการบริษัท คณะกรรมการบริษัทได้แต่งตั้งนายปริวัต โสภาษิต ผู้ช่วย กรรมการผู้จัดการใหญ่สายการเงิน ให้ดำรงตำแหน่ง เลขานุการบริษทั เพือ่ ทำหน้าทีด่ แู ลและจัดการการประชุม ของคณะกรรมการบริษัท คณะกรรมการชุดย่อย และการ จัดประชุมผู้ถือหุ้น รวมถึงการจัดเก็บเอกสารที่เกี่ยวข้อง และสนับสนุนการดำเนินการอืน่ ๆ ให้เป็นไปตามมาตรฐาน การกำกับดูแลกิจการที่ดี รวมถึงพรบ.หลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์

ขอบเขตหน้าที่และความรับผิดชอบของ เลขานุการบริษัท 1. จัดทำและเก็บรักษาเอกสาร - ทะเบียนกรรมการ - รายงานประจำปีของบริษัท - หนังสือนัดประชุมคณะกรรมการบริษัท และ รายงานการประชุมคณะกรรมการบริษัท - หนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้น และรายงาน การประชุมผู้ถือหุ้น 2. เก็ บ รั ก ษารายงานการมี ส่ ว นได้ เ สี ย ที่ ร ายงานโดย กรรมการหรือผู้บริหาร 3. จัดส่งสำเนารายงานการมีส่วนได้เสียของกรรมการ และผู้บริหารหรือบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องให้ประธาน กรรมการและประธานกรรมการตรวจสอบทราบ ภายใน 7 วันทำการนับแต่วันที่บริษัทได้รับรายงานนั้น 4. จัดการประชุมคณะกรรมการบริษัท และการประชุม ผูถ้ อื หุน้ ให้เป็นไปตามระเบียบ ข้อบังคับ และกฎหมาย ที่เกี่ยวข้อง


การจัดการ

5. 6. 7. 8.

ดูแล ตรวจสอบ และให้คำแนะนำในการดำเนินงานของ บริษัทและคณะกรรมการบริษัทให้เป็นไปตามหนังสือ บริคณห์สนธิ ข้อบังคับของบริษัท พระราชบัญญัติ หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พระราชบัญญัตบิ ริษทั มหาชนจำกัด และกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึง การเปิดเผยข้อมูลและรายงานสารสนเทศในส่วนที่ รับผิดชอบต่อหน่วยงานที่กำกับดูแล เป็นศูนย์กลางการติดต่อสือ่ สารข้อมูลข่าวสารระหว่าง กรรมการ ผู้บริหาร และผู้ถือหุ้น ประสานงาน และติดตามการดำเนินงานตามมติของ กรรมการ และผู้ถือหุ้น ดำเนินการอื่นๆ ตามที่คณะกรรมการกำกับตลาดทุน ประกาศกำหนด หรือตามที่คณะกรรมการบริษัท มอบหมาย

วาระการดำรงตำแหน่ง คราวละ 3 ปี สำหรับประธาน กรรมการตรวจสอบและกรรมการตรวจสอบ

ขอบเขตอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบ

1. สอบทานให้บริษัทมีการรายงานทางการเงินอย่าง ถูกต้องและเปิดเผยอย่างเพียงพอ 2. สอบทานให้บริษทั มีระบบการควบคุมภายใน (Internal Control) และการตรวจสอบภายใน (Internal Audit) ที่เหมาะสมและมีประสิทธิผล 3. สอบทานให้บริษัทปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลัก ทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกำหนดของตลาด หลักทรัพย์ หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท 4. พิจารณา คัดเลือก เสนอแต่งตัง้ ผูส้ อบบัญชี และเสนอ ค่าตอบแทนผู้สอบบัญชีของบริษัทต่อคณะกรรมการ รวมทั้งเข้าร่วมประชุมกับผู้สอบบัญชี โดยไม่มีฝ่าย จัดการเข้าร่วมประชุมด้วยอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง คณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการตรวจสอบ ซึ่งผ่านการแต่งตั้งจากคณะ 5. พิจารณารายการที่เกี่ยวโยงกัน หรือรายการที่อาจมี กรรมการบริษัทประกอบด้วยบุคคลผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็น ความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ให้เป็นไปตามกฎหมาย กรรมการอิสระ มีองค์ประกอบและคุณสมบัตคิ รบถ้วนตาม และข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ แนวทางทีต่ ลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและสำนักงาน 6. พิจารณาให้ความเห็นชอบระเบียบของบริษัท ว่าด้วย คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์กำหนด การตรวจสอบภายในก่ อ นนำเสนอคณะกรรมการ (ประกอบด้วยกรรมการที่เป็นอิสระอย่างน้อย 3 คน) มี บริษัทพิจารณาอนุมัติ ประธานกรรมการตรวจสอบเป็นผูม้ คี วามรูแ้ ละประสบการณ์ 7. อนุมัติแผนการตรวจสอบภายใน เพียงพอที่จะสามารถทำหน้าที่ในการสอบทานความน่า 8. พิจารณาและสอบทานความเป็นอิสระและรายงานผล การปฏิบัติงานของฝ่ายตรวจสอบภายใน ตลอดจนให้ เชื่อถือของงบการเงินบริษัท ความเห็นชอบในการพิจารณาแต่งตัง้ โยกย้าย เลิกจ้าง อนึง่ ทีป่ ระชุมคณะกรรมการบริษทั ครัง้ ที่ 4/2552 เมือ่ วันที่ หัวหน้าหน่วยงานตรวจสอบภายใน หรือหน่วยงาน 5 พฤศจิกายน 2552 ได้มีมติแต่งตั้งนายจรัล มงคลจันทร์ อื่นใดที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการตรวจสอบภายใน เป็นกรรมการตรวจสอบเพิ่มอีก 1 ตำแหน่ง ซึ่ง ณ วันที่ 9. จัดทำรายงานของคณะกรรมการตรวจสอบ โดยเปิด 31 ธันวาคม 2552 คณะกรรมการตรวจสอบมีจำนวนทั้ง เผยไว้ในรายงานประจำปีของบริษทั ซึง่ รายงานดังกล่าว ต้องลงนามโดยประธานคณะกรรมการตรวจสอบ สิ้น 4 ท่าน ดังนี้ 10. สอบทานให้บริษัทมีกระบวนการบริหารความเสี่ยง 1. นายสมชัย อภิวัฒนพร ประธานกรรมการ อย่างเป็นระบบมาตรฐานและมีประสิทธิภาพ ตรวจสอบ 11. ร่วมกับคณะทำงานบริหารความเสีย่ ง และฝ่ายบริหาร 2. นายพิบูล ภัทโรดม กรรมการตรวจสอบ ในการพิจารณาและให้ความเห็นในรายงานผลและ 3. นายวิทยา ชวนะนันท์ กรรมการตรวจสอบ รายงานความคืบหน้าการบริหารความเสี่ยงของบริษัท 4. นายจรัล* มงคลจันทร์ กรรมการตรวจสอบ 12. ทบทวนและปรับปรุงกฎบัตรคณะกรรมการตรวจสอบ เลขานุการคณะกรรมการตรวจสอบ ได้แก่ นางสาวจันทนา ให้ทนั สมัยและเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของบริษทั ศรีวิริยะเลิศกุล หัวหน้าทีมตรวจสอบภายใน อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง รายงานประจำปี 2552

41


13. ปฏิ บั ติ ก ารอื่ น ใดตามที่ ค ณะกรรมการของบริ ษั ท มอบหมาย

ความรับผิดชอบของคณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการตรวจสอบมี ค วามรั บ ผิ ด ชอบต่ อ คณะ กรรมการบริษัทตามหน้าที่และความรับผิดชอบที่ ได้รับ มอบหมายจากคณะกรรมการบริษัท ในขณะที่ความรับ ผิดชอบในกิจกรรมทุกประการของบริษัทต่อบุคคลภาย นอกยังคงเป็นของคณะกรรมการบริษัททั้งคณะ

คณะกรรมการบริหาร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 คณะกรรมการบริหารซึง่ แต่งตัง้ โดยคณะกรรมการบริษัท ประกอบด้วยกรรมการทั้งสิ้น 5 ท่าน ได้แก่ 1. นายสุทธิศักดิ์ จิราธิวัฒน์ ประธานกรรมการ บริหาร 2. นายสุทธิธรรม จิราธิวัฒน์ กรรมการบริหาร 3. นายปริญญ์ จิราธิวัฒน์ กรรมการบริหาร 4. นายทศ จิราธิวัฒน์ กรรมการบริหาร 5. นายปรีชา เอกคุณากูล กรรมการบริหาร

ขอบเขตอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการบริหาร 1. 2. 3. 4. 5. 42

การมอบอำนาจกระทำแทนบริษัทและกำหนดขอบ อำนาจให้กรรมการผู้จัดการใหญ่เพื่อการบริหารงาน ประจำ พิจารณาและนำเสนอนโยบาย แผนธุรกิจ และงบ ประมาณประจำปี ตามที่ฝ่ายจัดการเสนอก่อนที่จะ นำเสนอให้คณะกรรมการบริษัทพิจารณาอนุมัติ การอนุมัติเงินลงทุนในทรัพย์สินในวงเงินไม่เกิน 200 ล้านบาทต่อครัง้ ทัง้ นี้ ให้คณะกรรมการผูบ้ ริหารจัด ทำรายงานแจ้งรายละเอียดการลงทุนให้คณะกรรมการ บริษัททราบเป็นรายไตรมาส การจำหน่ายจ่ายโอนทรัพย์สินถาวรของบริษัทฯ ที่มี มูลค่าไม่เกินกว่า 100 ล้านบาทต่อรายการ การพิจารณาอนุมัติรายการที่เกี่ยวกับธนาคาร และ สถาบันการเงินอันเป็นการประกอบธุรกิจทางการค้า ปกติของบริษัท

บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

คณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 คณะกรรมการสรรหาและ กำหนดค่าตอบแทน ซึ่งแต่งตั้งโดยคณะกรรมการบริษัท ประกอบด้วยกรรมการ 4 ท่าน ได้แก่ 1. นายสมชัย อภิวัฒนพร ประธานกรรมการ สรรหาและกำหนด ค่าตอบแทน 2. นายวิทยา ชวนะนันท์ กรรมการสรรหาและ กำหนดค่าตอบแทน 3. นายสุทธิธรรม จิราธิวัฒน์ กรรมการสรรหาและ กำหนดค่าตอบแทน 4. นายทศ จิราธิวัฒน์ ที่ปรึกษา คณะกรรมการฯ

ขอบเขตอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการสรรหาและ กำหนดค่าตอบแทน การสรรหา 1. กำหนดหลักเกณฑ์และนโยบายในการสรรหากรรมการ บริษัท และกรรมการชุดย่อย โดยพิจารณาความ เหมาะสมของจำนวนโครงสร้าง และองค์ประกอบ ของคณะกรรมการ กำหนดคุณสมบัติของกรรมการ เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการบริษัทและหรือเสนอขอ อนุมัติต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นแล้วแต่กรณี 2. พิจารณาสรรหา คัดเลือก และเสนอบุคคลทีเ่ หมาะสม ให้ดำรงตำแหน่ง กรรมการบริษัท ที่หมดวาระและ หรือมีตำแหน่งว่างลง รวมถึงกรรมการผู้จัดการใหญ่ ที่จะแต่งตั้งใหม่ การกำหนดค่าตอบแทน 1. พิ จารณาแนวทางในการกำหนดค่ า ตอบแทนของ คณะกรรมการบริษัท และคณะกรรมการชุดย่อย เพื่อ เสนอต่อคณะกรรมการบริษัทและหรือเสนอขออนุมัติ ต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นแล้วแต่กรณี 2. กำหนดวิธกี ารและหลักเกณฑ์การกำหนดค่าตอบแทน ที่เหมาะสมทั้งที่เป็นตัวเงินและมิใช่ตัวเงินของคณะ กรรมการบริษัท เพื่อเสนอให้คณะกรรมการบริษัท พิจารณาเห็นชอบและนำเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้น เพื่ออนุมัติ


การจัดการ

คณะทำงานบริหารความเสี่ยง ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 คณะทำงานบริหารความเสี่ยง ซึ่งแต่งตั้งโดยคณะกรรมการบริษัท ประกอบด้วย 1. นายวิทยา ชวนะนันท์ ประธานคณะทำงาน 2. นายปรีชา เอกคุณากูล คณะทำงาน 3. นายจรัล มงคลจันทร์ คณะทำงาน 4. นายปริวัต โสภาษิต คณะทำงาน 5. นางรัตนา อนุนตการุณ คณะทำงาน 6. นายอนันต์ ตันติปัญญาคุณ คณะทำงาน ที่ปรึกษาคณะทำงานบริหารความเสี่ยง ได้แก่ นางสาว จันทนา ศรีวริ ยิ ะเลิศกุล เลขานุการคณะกรรมการตรวจสอบ และหัวหน้าทีมตรวจสอบภายใน และเลขานุการคณะทำงานฯ ได้แก่ นางสาววาสนา สามงามน้อย อนึง่ ทีป่ ระชุมคณะกรรมการบริษทั ครัง้ ที่ 1/2553 เมือ่ วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2553 ได้มีมติปรับโครงสร้างคณะทำงาน บริหารความเสีย่ ง โดยยกระดับเป็น “คณะกรรมการบริหาร ความเสี่ยง”

ขอบเขตอำนาจหน้าที่ของคณะทำงานบริหารความเสี่ยง 1. 2. 3. 4.

นำเสนอและให้การสนับสนุนคณะกรรมการบริษัท ในการกำหนดนโยบายการบริหารความเสี่ยง และ ระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ กำหนดกรอบการบริหารความเสี่ยงของบริษัท ให้ สอดคล้องกับนโยบายการบริหารความเสี่ยง เพื่อนำ เสนอคณะกรรมการบริษัทอนุมัติ และติดตามการนำ ไปปฏิบัติ รวมทั้งการสอบทานประสิทธิผลของกรอบ การบริหารความเสี่ยง นำเสนอภาพรวมความเสี่ยงของบริษัท วิธีการจัดการ และผลการติดตามความเสี่ยงต่อคณะกรรมการบริษัท สอบทานรายงานการบริหารความเสี่ยง และดำเนิน การเพื่อให้มั่นใจได้ว่าการจัดการความเสี่ยงมีความ เพียงพอและเหมาะสม สามารถจัดการความเสี่ยงให้ อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ และการบริหารความเสี่ยงได้ ถูกนำไปปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง

5. 6. 7.

ประสานงานร่วมกับคณะกรรมการตรวจสอบอย่าง สม่ำเสมอโดยการแลกเปลีย่ นความรู้ และข้อมูลเกีย่ วกับ ความเสีย่ ง และการควบคุมภายในทีม่ ผี ลกระทบ หรือ อาจมีผลกระทบต่อบริษัท ดำเนินการตัดสินใจ และให้คำแนะนำเกี่ยวกับปัญหา สำคัญที่เกิดขึ้นในกระบวนการบริหารความเสี่ยง สนับสนุนให้เกิดมีวัฒนธรรมการบริหารความเสี่ยง และการควบคุมภายในที่เหมาะสม

คณะทำงานบรรษัทภิบาล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 คณะทำงานบรรษัทภิบาล ซึ่งแต่งตั้งโดยคณะกรรมการบริษัท ประกอบด้วย 1. นายพิบูล ภัทโรดม ประธานคณะทำงาน 2. นายปิยะ งุ่ยอัครมหาวงศ์ คณะทำงาน 3. นายปัณฑิต มงคลกุล ที่ปรึกษาคณะทำงาน 4. นายปริวัต โสภาษิต คณะทำงาน หมายเหตุ :

*ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทครั้งที่ 1/2552 ได้มีมติแต่งตั้งคณะทำงานบรรษัทภิบาลเพิ่ม อีก 1 ตำแหน่งคือนายปัณฑิต มงคลกุล เมือ่ วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2552

อนึง่ ทีป่ ระชุมคณะกรรมการบริษทั ครัง้ ที่ 1/2553 เมือ่ วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2553 ได้มีมติปรับโครงสร้างคณะทำงาน บรรษัทภิบาล โดยยกระดับเป็น “คณะกรรมการบรรษัท ภิบาล”

ขอบเขตอำนาจหน้าที่ของคณะทำงานบรรษัทภิบาล 1. 2.

พิจารณากำหนดนโยบาย ทบทวนความเหมาะสมและ ความเพียงพอของนโยบาย รวมถึงแนวปฏิบัติด้าน บรรษัทภิบาล จริยธรรมทางธุรกิจของบริษัท และ ความรั บ ผิ ด ชอบต่ อ สั ง คม (Corporate Social Responsibility) ประชุมรายไตรมาสเพื่อติดตามความคืบหน้าของ แผนงานบรรษัทภิบาล รวมถึงการปฏิบตั ติ ามนโยบาย บรรษัทภิบาลของกรรมการ ฝ่ายจัดการ และพนักงาน บริษัท เพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทได้มีหลักการที่ดีในการ กำกับดูแล การบริหารจัดการทีม่ ปี ระสิทธิภาพ โปร่งใส และตรวจสอบได้ รายงานประจำปี 2552

43


3. ตรวจประเมินภายในด้วยเกณฑ์บรรษัทภิบาลเพื่อ กำหนดประเด็นที่ต้องปรับปรุง และรายงานต่อคณะ กรรมการบริษัท

คณะผู้บริหาร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 คณะผู้บริหารมีจำนวน 8 ท่าน ประกอบด้วย 1. นายปรีชา เอกคุณากูล กรรมการ ผู้จัดการใหญ่ 2. มร.เจอร์ลาร์ด แมคเกริก ผู้ช่วยกรรมการ ผู้จัดการใหญ่อาวุโส สายบริหารสินค้า 3. นายปริวัต โสภาษิต ผู้ช่วยกรรมการ ผู้จัดการใหญ่ สายการเงิน 4. มร.ไคลฟ เฟดเดอริค คูมส์ ผู้ช่วยกรรมการ ผู้จัดการใหญ่ สายบริหารสินค้า Differentiation 5. นางรัตนา อนุนตการุณ ผู้ช่วยกรรมการ ผู้จัดการใหญ่ สายบริหารสินค้า 6. นายสุกิตติ กิตติภัสสร ผู้ช่วยกรรมการ ผู้จัดการใหญ่ ด้านการวิเคราะห์ และพัฒนาธุรกิจ 7. นายอนันต์ ตันติปัญญาคุณ ผู้ช่วยกรรมการ ผู้จัดการใหญ่ สายปฏิบัติการด้าน ระบบงานและบริหาร 8. นางสาวสิรินิจ โชคชัยฤทธิกุล ผู้ช่วยกรรมการ ผู้จัดการใหญ่ สายการตลาด หมายเหตุ : 44

มร.ไคลฟ เฟดเดอริค คูมส์ ผู้ช่วยกรรมการ ผู้จัดการใหญ่ สายบริหารสินค้า Differentiation มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2552 นอกจากนี้ มีผู้ บริหารใหม่เข้าปฏิบตั งิ านระยะเวลาหนึง่ ระหว่าง ปี 2552 คือ นางมานิดา ราชวังเมือง ผู้ช่วย กรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส สายปฏิบัติการ

บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

ขอบเขตอำนาจหน้าที่ของกรรมการผู้จัดการใหญ่ 1. 2. 3. 4. 5. 6.

จัดทำนโยบาย แผนธุรกิจ และงบประมาณประจำปีเพือ่ นำเสนอคณะกรรมการบริหารพิจารณาและนำเสนอ คณะกรรมการบริษัทเพื่อพิจารณาอนุมัติต่อไป ดำเนินกิจการตามนโยบาย และแผนธุรกิจตามที่คณะ กรรมการบริษัทฯ ได้มอบหมาย การอนุมตั เิ บิกจ่ายค่าใช้จา่ ยตามงบประมาณ และการ พิจารณาอนุมัติเงินลงทุนในทรัพย์สินในวงเงินไม่เกิน 5 ล้านบาทต่อครั้ง การพิจารณาและอนุมัติการทำสัญญาเช่าและหรือ สัญญาบริการสังหาริมทรัพย์ที่เป็นการประกอบธุรกิจ ทางการค้าปกติของบริษัท การพิจารณาและอนุมัติการทำสัญญาเช่าและหรือ สัญญาบริการอสังหาริมทรัพย์ทเี่ ป็นการประกอบธุรกิจ ทางการค้าปกติของบริษัท โดยมูลค่าของสัญญาไม่ เกินกว่า 50 ล้านบาท และมีอายุสัญญาไม่เกิน 3 ปี การพิจารณาและอนุมตั นิ โยบายการบริหารสินค้า การ กำหนดนโยบายทางการค้า การตลาด การขาย และ การบริหารทรัพย์สินทั่วไป

การสรรหากรรมการและผู้บริหารของบริษัท วิธีการสรรหากรรมการบริษัทฯ คณะกรรมการบริษทั ได้มอบหมายให้คณะกรรมการสรรหา และกำหนดค่าตอบแทนมีหน้าที่ความรับผิดชอบในการ พิจารณาสรรหา คัดเลือก บุคคลที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสม ตามข้อบังคับบริษทั โดยผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรม การบริษทั ในการนำเสนอต่อทีป่ ระชุมผูถ้ อื หุน้ พิจารณาแต่ง ตั้งผู้ที่มาดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัท การแต่งตั้งกรรมการบริษัทฯ เป็นไปตามที่ระบุในข้อบังคับ บริษัท ดังนี้ - กรรมการของบริษัทไม่จำเป็นต้องมาจากผู้ถือหุ้น ของบริษทั บุคคลภายนอกซึง่ ยินยอมเป็นกรรมการ บริษัท และได้รับการแต่งตั้งจากที่ประชุมใหญ่แล้ว ย่อมสามารถเป็นกรรมการของบริษัทได้ - คณะกรรมการของบริษัทมีจำนวนไม่น้อยกว่า 5 คน และกรรมการไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวน กรรมการทั้งหมดจะต้องมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร


การจัดการ

นอกจากนี้ บริษัทยังได้กำหนดโครงสร้างคณะ กรรมการบริษัทตามนโยบายการกำกับดูแลกิจการ คือ คณะกรรมการบริษัทต้องประกอบด้วยกรรมการ อิสระอย่างน้อย 1 ใน 3 ของกรรมการทั้งคณะด้วย

หลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้งกรรมการโดยที่ประชุมผู้ ถือหุ้นเป็นดังนี้ - ในการลงคะแนนเสียงเลือกตัง้ กรรมการ ให้ใช้เสียง ข้างมาก โดยให้ถือว่าผู้ถือหุ้นแต่ละคนมีคะแนน เสียงเท่ากับหนึ่งหุ้นต่อหนึ่งเสียง - ให้ผู้ถือหุ้นลงคะแนนเสียงทั้งหมดที่ตนมีอยู่เลือก บุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อเป็นกรรมการทีละคน - บุคคลซึ่งได้รับคะแนนเสียงสูงสุดตามลำดับลงมา เป็นผูไ้ ด้รบั การเลือกตัง้ เป็นกรรมการเท่ากับจำนวน กรรมการที่จะพึงมีหรือจะพึงเลือกตั้งในครั้งนั้น ในกรณีทบี่ คุ คลซึง่ ได้รบั เลือกตัง้ ในลำดับถัดลงมามี คะแนนเสียงเท่ากันเกินจำนวนกรรมการที่จะพึงมี ให้ประธานที่ประชุมออกเสียงได้เพิ่มขึ้นอีกหนึ่ง เสียง เป็นเสียงชี้ขาด - สิทธิของผู้ถือหุ้นรายย่อยในการแต่งตั้งกรรมการ ข้ อ บั ง คั บ ของบริ ษั ท ระบุ ใ ห้ ผู้ ถื อ หุ้ น แต่ ล ะคนมี คะแนนเสียงเท่ากับหนึ่งหุ้นต่อหนึ่งเสียง ไม่ ใช้ ระบบ Cumulative voting

2. 3.

มีสัดส่วนการถือหุ้นขั้นต่ำไม่น้อยกว่า 100,000 หุ้น ถือหุ้นบริษัทในสัดส่วนที่กำหนดตามข้อข้างต้นต่อ เนื่องมาไม่น้อยกว่า 1 ปี และต้องถือหุ้นในวันที่เสนอ ชื่อบุคคลเพื่อเข้าดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัทด้วย

เมือ่ ได้รบั รายชือ่ บุคคลทีเ่ หมาะสมเลขานุการบริษทั จะเป็น ผู้พิจารณากลั่นกรองในเบื้องต้น ก่อนนำเสนอให้คณะ กรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทนพิจารณาคุณสมบัติ ของบุคคลดังกล่าว และให้ความเห็นต่อคณะกรรมการบริษทั เพื่อพิจารณาว่าควรเสนอรายชื่อบุคคลดังกล่าวเพื่อรับการ เลือกตั้งในการประชุมผู้ถือหุ้นหรือไม่ โดยถือมติของคณะ กรรมการบริษัทเป็นที่สิ้นสุด และบุคคลที่ได้รับความเห็น ชอบจากคณะกรรมการบริษัทจะได้รับการบรรจุชื่อในวาระ การเลือกตั้งกรรมการพร้อมความเห็นของคณะกรรมการ บริษัท และเสนอต่อที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณา อนุมัติแต่งตั้งอีกทางหนึ่งเช่นกัน

ค่าตอบแทนกรรมการและผู้บริหาร ค่าตอบแทนที่เป็นตัวเงิน

กรรมการบริษัท ทีป่ ระชุมสามัญผูถ้ อื หุน้ ครัง้ ที่ 1/2552 ได้อนุมตั คิ า่ ตอบแทน กรรมการบริษัททั้งคณะประจำปี 2552 จำนวนรวมไม่เกิน 5,000,000 บาท (ห้าล้านบาทถ้วน) (ไม่นับรวมค่า อนึ่ง บริษัทฯ แจ้งต่อผู้ถือหุ้นผ่านระบบข้อมูลข่าวสารของ ตอบแทนของนายปรีชา เอกคุณากูล ในฐานะผูบ้ ริหารบริษทั ฯ ตลาดหลักทรัพย์ฯ ในการเปิดโอกาสให้ผถู้ อื หุน้ ของบริษทั ฯ อีกตำแหน่งหนึง่ ) ซึง่ เท่ากับจำนวนเดิมทีท่ ปี่ ระชุมผูถ้ อื หุน้ สามารถเสนอชื่อบุคคลที่มีคุณสมบัติตามข้อบังคับบริษัท ครั้งที่ 1/2551 ทั้งนี้ที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นได้มีมติให้ปรับ พระราชบัญญัติบริษัทมหาชน จำกัด พ.ศ. 2535 และตาม เพิ่มค่าตอบแทนของประธานกรรมการตรวจสอบเพื่อให้ ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และ เทียบเท่ากับค่าเฉลีย่ อุตสาหกรรม มีเหมาะสมกับภาระหน้า ตลาดหลักทรัพย์ตอ่ เลขานุการบริษทั ล่วงหน้า 2 เดือน ก่อน ที่ที่ต้องรับผิดชอบ และผลการดำเนินงานของบริษัทฯ การประชุมคณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน สำหรับค่าตอบแทนกรรมการที่เป็นตัวเงินประกอบด้วย และคณะกรรมการบริษัท เพื่อพิจารณาการเสนอชื่อบุคคล ค่าตอบแทน 2 ประเภทได้แก่ ค่าตอบแทนรายไตรมาส เพื่อมาดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัท โดยผู้ถือหุ้นที่จะ และค่าเบี้ยประชุม ตามรายละเอียดดังนี้ เสนอรายชื่อบุคคลเพื่อมาดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัท ต้องมีคุณสมบัติดังนี้ 1. เป็นผู้ถือหุ้นของบริษัท โดยอาจเป็นผู้ถือหุ้นรายเดียว หรือหลายรายรวมกัน

รายงานประจำปี 2552

45


1. ค่าตอบแทนรายไตรมาส ประเภทกรรมการ

ค่าตอบแทนรายไตรมาส (บาท/ไตรมาส)

กรรมการอิสระที่เป็นประธานคณะกรรมการตรวจสอบ กรรมการอิสระที่เป็นกรรมการตรวจสอบ/กรรมการอิสระ ประธานกรรมการบริษัท กรรมการ (ที่ไม่ได้เป็นผู้บริหาร)

70,000 * 55,000 65,000 45,000

* ปรับจาก 65,000 บาท/ไตรมาส เป็น 70,000 บาท/ไตรมาส เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2552 2. ค่าเบี้ยประชุม ประเภทคณะกรรมการ คณะกรรมการบริษัท คณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการบริหาร คณะกรรมการและ คณะทำงานเฉพาะเรื่อง

ประเภทกรรมการ

ค่าเบี้ยประชุมต่อครั้ง

กรรมการอิสระ / กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ / กรรมการ 20,000 บาท ประธานคณะกรรมการตรวจสอบ 35,000 บาท * กรรมการตรวจสอบ 20,000 บาท ประธานกรรมการ / กรรมการ (ที่ไม่ได้เป็นผู้บริหาร) 15,000 บาท กรรมการอิสระ / กรรมการ(ที่ไม่ได้เป็นผู้บริหาร) / กรรมการ (ที่ไม่ได้เป็นผู้บริหาร)ที่มีตำแหน่งเป็นที่ปรึกษา 20,000 บาท

* ปรับจาก 30,000 บาท/ครั้ง เป็น 35,000 บาท/ครั้ง เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2552 ในรอบปี 2552 ค่าตอบแทนรวมที่เป็นตัวเงินของคณะกรรมการบริษัท 11 ท่าน เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 4,260,000.00 บาท

46

บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)


การจัดการ

รายละเอียดค่าตอบแทนที่กรรมการได้รับเป็นรายบุคคลในปี 2552 แสดงในตารางต่อไปนี้ ค่าเบี้ยประชุมกรรมการ คณะ คณะ คณะ คณะ คณะ คณะ กรรมการ ทำงาน ทำงาน ค่าตอบแทน กรรมการ กรรมการ กรรมการ สรรหาและ บรรษัท บริหาร รายชื่อกรรมการ รายไตรมาส บริษัท บริหาร ตรวจสอบ กำหนดฯ ภิบาล ความเสีย่ ง 1. นายสุทธิศักดิ์ จิราธิวัฒน์ 2. นายสุทธิธรรม จิราธิวัฒน์ 3. นายปริญญ์ จิราธิวัฒน์ 4. นายทศ จิราธิวัฒน์ 5. นายปรีชา เอกคุณากูล 6. นายปิยะ งุ่ยอัครมหาวงศ์ 7. นายปัณฑิต มงคลกุล(1) 8. นายสมชัย อภิวัฒนพร 9. นายพิบูล ภัทโรดม 10. นายวิทยา ชวนะนันท์ 11. นายจรัล มงคลจันทร์(2) รวม

หมายเหตุ :

260,000 100,000 75,000 180,000 100,000 75,000 180,000 100,000 75,000 180,000 60,000 60,000 - 100,000 - 180,000 100,000 180,000 100,000 280,000 100,000 220,000 100,000 220,000 100,000 220,000 100,000 2,100,000 1,060,000 285,000

- - - - - - - 175,000 100,000 100,000 - 375,000

รวม

- - - 435,000 60,000 - - 415,000 - - - 355,000 60,000 - - 360,000 - - - 100,000 - - 20,000 300,000 - - - 280,000 60,000 - - 615,000 - - 20,000 440,000 60,000 80,000 - 560,000 - 80,000 - 400,000 240,000 160,000 40,000 4,260,000

*การแต่งตั้งคณะกรรมการชุดย่อยเพิ่มเติมระหว่างปี 1). ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทครั้งที่ 1/2552 ได้มีมติแต่งตั้งคณะทำงานบรรษัทภิบาลเพิ่มอีก 1 ตำแหน่งคือนายปัณฑิต มงคลกุล เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2552 2). ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทครั้งที่ 4/2552 ได้มีมติแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบเพิ่มอีก 1 ตำแหน่งคือ นายจรัล มงคลจันทร์ เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2552

ผู้บริหารของบริษัท ได้แก่ ผู้บริหารระดับ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส และผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ รวมถึงผูบ้ ริหารทีเ่ ป็นกรรมการบริษทั จำนวน 10 ท่าน ค่าตอบแทนทีเ่ ป็นตัวเงินผูบ้ ริหารในปี 2552 ประกอบด้วย เงินเดือน โบนัส และค่าตอบแทนอืน่ (รถประจำตำแหน่ง) จำนวนรวม 48,377,177 บาท เงินสมทบกองทุนสำรองเลีย้ งชีพ เงินสมทบ กองทุนประกันสังคม จำนวนรวม 929,476.75 บาท ค่าตอบแทนรวมของผู้บริหาร ค่าตอบแทนผู้บริหาร

ค่าตอบแทนรวม (บาท/ปี) 2552

ค่าตอบแทนที่เป็นตัวเงิน ค่าตอบแทนที่ไม่เป็นตัวเงิน

49,306,654 ไม่มี

หมายเหตุ

2551

48,506,981 ไม่มี

*จำนวนเงินค่าตอบแทนในปี 2552 นี้ รวมค่าตอบแทนของผู้บริหารจำนวน 2 ท่านซึ่งได้ลาออกไปแล้ว คือ นางนาถยา จิราธิวัฒน์ (ลาออกมีผลวันที่ 1 กรกฎาคม 2552) และ นางมานิดา ราชวังเมือง (ลาออกมีผลวันที่ 1 มกราคม 2553) และผู้บริหารที่เข้ามาใหม่ ในปี 2552 มร.ไคลฟ เฟดเดอริค คูมส์ (มีผลวันที่ 1 ตุลาคม 2552) รายงานประจำปี 2552

47


การดูแลเรื่องการใช้ข้อมูลภายใน บริษัทได้กำหนดกรอบหน้าที่และความรับผิดชอบของ พนักงานในรูปของคำบรรยายลักษณะงาน (Job Description) ไว้อย่างชัดเจนรวมทั้งมีการฝึกอบรมพนักงานให้มีความรู้ ความเข้าใจหน้าทีง่ านของตนอย่างถูกต้อง รวมทัง้ ระเบียบ ข้อบังคับของบริษทั อย่างไรก็ตาม ในการปฏิบตั หิ น้าทีอ่ าจ เป็นเหตุให้พนักงานได้ลว่ งรูข้ อ้ มูลภายในบางประการ และ อาจนำไปเปิดเผยโดยไม่ได้รบั อนุญาต บริษทั จึงกำหนดให้ เฉพาะพนักงานทีม่ หี น้าทีเ่ กีย่ วข้องเท่านัน้ ทีม่ สี ทิ ธิรบั ทราบ ข้อมูลภายในที่สำคัญของบริษัท โดยเฉพาะข้อมูลทาง การเงิน โดยการนำโปรแกรมคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วย กำหนดระดับการเข้าถึงข้อมูลของพนักงานระดับต่างๆ ทั้งนี้ บริษัทจะได้แจ้งข้อมูลให้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบใน เวลาที่เหมาะสมเท่านั้นโดยไม่ขัดต่อข้อบังคับของตลาด หลักทรัพย์และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ บริษัทมี การจัดทำคำรับรองจากพนักงานทุกคนซึ่งครอบคลุมถึง การใช้ข้อมูลภายใน และมีกำหนดระเบียบข้อบังคับของ บริษัทว่าด้วยเรื่อง การนำความลับของบริษัทไปเปิดเผย เพื่อบังคับใช้ในกรณีที่ตรวจพบว่ามีพนักงานผู้ใดนำความ ลับหรือข้อมูลทางการเงินของบริษทั ไปเปิดเผยโดยมิได้รับ อนุญาต โดยพนักงานดังกล่าวจะถูกกรรมการสอบสวน พิจารณาลงโทษตามระเบียบฯ อย่างเคร่งครัด

การควบคุมภายใน

บริษัทฯได้ตระหนักถึงความสำคัญของระบบการควบคุม ภายในว่าเป็นปัจจัยทีจ่ ะส่งผลให้บริษทั สามารถดำเนินธุรกิจ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยบริษัทได้มีการดำเนินการให้ มีระบบการควบคุมภายในที่เพียงพอ เหมาะสม และมี ประสิทธิผล นับตัง้ แต่การกำหนดโครงสร้างองค์กร และการ วางเป้าหมายในการดำเนินธุรกิจที่ชัดเจน โดยได้กำหนด วิสัยทัศน์ พันธกิจ กลยุทธ์ และการวางแผนงบประมาณ เพื่อให้การดำเนินงานมีความสอดคล้อง และบรรลุตาม เป้าหมายที่วางไว้ รวมทั้งมีการกำหนดขอบเขตอำนาจ ดำเนินการในงานต่างๆ อาทิ วงเงินอำนาจอนุมัติ ขั้นตอน การทำงาน รวมถึง อำนาจ หน้าที่ และความรับผิดชอบของ ผู้บริหารทุกระดับรวมถึงพนักงานแต่ละฝ่ายไว้เป็นลาย ลักษณ์อกั ษร และมีการแบ่งแยกหน้าทีท่ อี่ าจก่อให้เกิดการ กระทำทุจริตออกจากกัน กรณีที่มีการทำธุรกรรมที่อาจก่อ ให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับบุคคลที่เกี่ยวข้อง กับบริษัทฯ ธุรกรรมที่เกิดขึ้นนั้นจะต้องผ่านขั้นตอนการ อนุมัติตามระเบียบของบริษัทฯ และผ่านการพิจารณาจาก คณะกรรมการตรวจสอบ เพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทฯได้ปฏิบัติ ตามกฎหมาย รวมทั้งหลักเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรม การกำกั บ หลั ก ทรั พ ย์ แ ละตลาดหลั ก ทรั พ ย์ และตลาด หลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึง่ ทำให้ระบบการทำงานของบริษทั ฯ มีความถูกต้อง โปร่งใส ตรวจสอบได้ และสามารถป้องกัน อนึ่ง ในกรณีที่บริษัทฯได้ว่าจ้างบุคคลภายนอกดำเนินการ ความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นได้ นอกจากนี้ บริษัทฯได้มี ปฏิบัติงานบางประเภท บริษัทฯ ได้กำหนดให้มีการทำข้อ การกำหนดสายงานบังคับบัญชาที่ชัดเจน และเหมาะสม สัญญาณส่วนของการรักษาความลับของข้อมูลทีอ่ าจได้รบั รวมถึงการกำหนดบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของ จากการปฏิบตั งิ าน และผูร้ บั จ้างจะต้องกำหนดให้พนักงาน พนักงานที่เป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อให้พนักงานทราบ ของตนมีหน้าทีร่ กั ษาความลับของลูกค้า และห้ามพนักงาน ถึงบทบาท หน้าที่และความรับผิดชอบของตน รวมทั้งมี หรือผูบ้ ริหารของผูร้ บั จ้างใช้ขอ้ มูลภายในที่ได้ลว่ งรูม้ าเพือ่ การใช้ระบบดัชนีชวี้ ดั ผลการปฏิบตั งิ าน (Key Performance การซือ้ ขายหลักทรัพย์ทอี่ อกโดยบริษทั ฯ ไม่วา่ เพือ่ ประโยชน์ Indicators : KPIs) เพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดทิศทาง ของตนเองหรือผู้อื่น การทำงาน และวัดผลการปฏิบัติงานของผู้บริหารและ พนักงานประจำปีอีกด้วย

48

บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)


การจัดการ

สำหรับในด้านการบริหารความเสี่ยง บริษัทฯตระหนักเป็น อย่างดีถงึ ความสำคัญในเรือ่ งนี้ ดังนัน้ คณะกรรมการบริษทั จึงได้พจิ ารณาแต่งตัง้ คณะทำงานบริหารความเสีย่ งขึน้ เพือ่ เป็นเครือ่ งมือหรือกลไกทีส่ ำคัญในการช่วยงานด้านบริหาร ความเสีย่ งของบริษทั อย่างมีประสิทธิภาพ มีระบบการควบคุม ภายในครอบคลุ ม ความเสี่ ย งอย่ า งเพี ย งพอ ซึ่ ง คณะ ทำงานฯ ได้จัดทำนโยบายการบริหารความเสี่ยงของ บริษัทฯอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และได้จัดตั้งคณะ ทำงานฯ ที่ประกอบด้วยฝ่ายบริหารในสายงานต่างๆ เพื่อ พิจารณาปัจจัยเสี่ยงที่บริษัทเผชิญอยู่ และที่อาจจะเกิดขึ้น ในอนาคต รวมถึงร่วมกำหนดแผนงานบริหารความเสี่ยง และแนวทางในการป้ อ งกั น และลดความเสี่ ย งดั ง กล่ า ว นอกจากนี้คณะทำงานฯ ยังได้รายงานความคืบหน้าของ การดำเนินงานตามแผนงานบริหารความเสี่ยงให้คณะ กรรมการตรวจสอบรับทราบเป็นประจำทุกไตรมาส รวมทัง้ ได้ มี ก ารทบทวนและปรั บ ปรุ ง แผนการปฏิ บั ติ ก ารให้ เหมาะสมกับสถานการณ์ เพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการ บริษัทเพื่อพิจารณาเป็นลำดับต่อไป

ในด้านความเห็นของผู้สอบบัญชีของบริษัทฯ ในรายงาน ผู้สอบบัญชีปี 2552 ไม่พบข้อบกพร่องที่เป็นสาระสำคัญ ของระบบการควบคุมภายในด้านบัญชีรวมถึงระบบสาร สนเทศของบริษัทฯ และจากการประเมินความเพียงพอ ของระบบการควบคุมภายในของบริษัทฯ คณะกรรมการ ตรวจสอบมีความเห็นว่า บริษัทฯ มีกระบวนการจัดทำและ การเปิดเผยข้อมูลในรายงานทางการเงินอย่างถูกต้อง เหมาะสมและเชื่อถือได้ รวมทั้งมีระบบการควบคุมภายใน การตรวจสอบภายใน การบริหารความเสี่ยงที่เหมาะสม และมีประสิทธิภาพ มีการปฏิบตั ทิ สี่ อดคล้องกับการกำกับ ดูแลกิจการที่ดีอย่างเพียงพอ โดยมีการพัฒนาปรับปรุง ระบบการปฏิบัติงานให้มีคุณภาพที่ดีขึ้นและเหมาะสมกับ สภาพแวดล้อมทางธุรกิจอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้บริษัทฯ ได้ แนบรายงานจากประธานคณะกรรมการตรวจสอบมา ณ ที่นี้ด้วย

นอกจากนีบ้ ริษทั ฯ ได้มกี ารติดตามผลการปฏิบตั งิ านอย่าง ใกล้ชิด โดยมีการประชุมคณะกรรมการบริหารและคณะ กรรมการบริษัทเป็นรายไตรมาส เพื่อพิจารณา วิเคราะห์ และประเมินผลการดำเนินงานว่าเป็นไปตามเป้าหมายการ ดำเนินธุรกิจที่กำหนดไว้เพียงใด โดยมีสำนักตรวจสอบ ภายในที่มีความเป็นอิสระจากฝ่ายบริหารทำหน้าที่ตรวจ สอบและประเมินว่าการปฏิบัติงานเป็นไปตามระบบการ ควบคุมภายในของบริษัทที่กำหนดไว้หรือไม่ โดยสำนัก ตรวจสอบภายในจะรายงานผลการปฏิบัติงานโดยตรงต่อ คณะกรรมการตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง รวม ทั้งมีการสื่อสารและประสานงานกับฝ่ายบริหารเกี่ยวกับ ผลการตรวจสอบ ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะต่างๆ และ ร่วมกันกำหนดแนวทางในการแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม พร้อมทั้งติดตามการดำเนินการแก้ไขอย่างต่อเนื่อง โดย ประธานคณะกรรมการตรวจสอบจะรายงานสรุปผลการ ตรวจสอบต่อคณะกรรมการบริษัทฯทราบอย่างสม่ำเสมอ ทุกไตรมาส ซึ่งหากพบการทุจริต ผู้บริหารจะต้องรายงาน ต่อคณะกรรมการบริษัททันที

รายงานประจำปี 2552

49


คณะกรรมการบริษัท และคณะผู้บริหาร คณะกรรมการบริษัท

นายสุทธิศักดิ์ จิราธิวัฒน์ อายุ 64

ปี

ประธานกรรมการ/ ประธานกรรมการบริหาร (มีอำนาจลงนามผูกพันบริษัท)

คุณวุฒิทางการศึกษา ปริญญาตรี B.S. สาขาคณิตศาสตร์ จากสถาบัน เซนต์จอห์น ฟิชเชอร์ คอลเลจ New York, U.S.A. Director Certification Program (DCP) ปี 2550 Director Accreditation Program (DAP) ปี 2550 จากสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย สัดส่วนการถือหุ้น* ไม่มี ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างกรรมการและผู้บริหาร พี่ชายนายสุทธิธรรม อานายปริญญ์ และนายทศ ประสบการณ์ทำงานในระยะ 5 ปีย้อนหลัง 2537 ประธานบริหารธุรกิจกลุ่มอุตสาหกรรม และค้าส่ง บริษัทในเครือเซ็นทรัล 2543 ประธานกรรมการบริหาร บจก. เซ็นทรัลมาร์เก็ตติ้งกรุ๊ป 2544 - ปัจจุบัน กรรมการบริหาร บจก. กลุ่มเซ็นทรัล 2546 - ปัจจุบัน กรรมการและกรรมการบริหาร บมจ. เซ็นทรัลพัฒนา 2546 - ปัจจุบัน กรรมการและกรรมการบริหาร บมจ. โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา 2549 - ปัจจุบัน ประธานกรรมการและประธาน กรรมการบริหาร บมจ. ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน

หมายเหตุ *นับรวมหุ้นของคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ

50

บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)


คณะกรรมการบริษัทและคณะผู้บริหาร

คณะกรรมการบริษัท

นายสมชัย อภิวัฒนพร อายุ 59

ปี

กรรมการ/กรรมการอิสระ/ ประธานกรรมการตรวจสอบ/ ประธานกรรมการสรรหา และกำหนดค่าตอบแทน

คุณวุฒิทางการศึกษา ปริญญาตรี บริหารธุรกิจบัณฑิต (การบัญชี) มหาวิทยาลัยรามคำแหง ปริญญาโท ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการงานสาธารณะ) มหาวิทยาลัยรามคำแหง ประกาศนียบัตร วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปรอ. 2546) ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต Director Accreditation Program (DAP) ปี 2547 Director Certification Program (DCP) ปี 2549 Audit Committee Program (ACP) ปี 2551 จากสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย ประกาศนียบัตร (หลักสูตร วตท. 5) จากสถาบันวิทยาการตลาดทุน สัดส่วนการถือหุ้น* ไม่มี ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างกรรมการและผู้บริหาร ไม่มี ประสบการณ์ทำงานในระยะ 5 ปีย้อนหลัง 2546 - 2547 ประธานกรรมการบริหารทรัพย์สิน และกรรมการ บมจ. ธนาคารทหารไทย 2546 - 2551 ประธานกรรมการ โรงงานไพ่ กรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง 2548 - 2551 กรรมการ องค์การสุรา กรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง 2548 - ปัจจุบัน กรรมการวิชาชีพด้านการบัญชี ภาษีอากร สภาวิชาชีพบัญชี 2551 - ปัจจุบัน ประธานกรรมการตรวจสอบ บมจ. ซินเน็ค (ประเทศไทย) 2551 - ปัจจุบัน ประธานกรรมการ บมจ. เหมืองแร่โปรแตชอาเซียน 2551 - ปัจจุบัน ผู้ตรวจราชการ กระทรวงการคลัง 2552 - ปัจจุบัน กรรมการ และประธานกรรมการตรวจสอบ องค์การสวนพฤกษศาสตร์ 2552 - ปัจจุบัน กรรมการ และประธานกรรมการตรวจสอบ บจก. หลักทรัพย์ นครหลวงไทย 2549 - ปัจจุบัน กรรมการ กรรมการอิสระ ประธานกรรมการตรวจสอบ และประธานกรรมการสรรหา และกำหนดค่าตอบแทน บมจ. ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน

หมายเหตุ *นับรวมหุ้นของคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ รายงานประจำปี 2552

51


คณะกรรมการบริษัท

นายสุทธิธรรม จิราธิวัฒน์ อายุ 62

ปี

กรรมการ/ รองประธานกรรมการ/ กรรมการบริหาร/ กรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน (มีอำนาจลงนามผูกพันบริษัท)

คุณวุฒิทางการศึกษา ปริญญาตรี วิศวกรรมศาสตร์ สาขาไฟฟ้า University of Maryland (College Park), U.S.A. ปริญญาโท สาขาบริหารธุรกิจ (Operations Research) Iona University, New York, U.S.A. Director Certification Program (DCP) ปี 2546 จากสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย หลักสูตรภาครัฐร่วมเอกชน วปรอ. รุ่น 4313 สัดส่วนการถือหุ้น* ไม่มี ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างกรรมการและผู้บริหาร น้องชาย นายสุทธิศักดิ์ อานายปริญญ์ และนายทศ ประสบการณ์ทำงานในระยะ 5 ปีย้อนหลัง 2545 - ปัจจุบัน กรรมการบริหาร สายงานค้าปลีกและ พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ บจก. กลุ่มเซ็นทรัล ประธานกรรมการ บจก. เอิร์ธแคร์ กรรมการบริหาร บจก. เดอะวินเทจคลับ กรรมการ บจก. เซ็นทรัลโฮลดิ้ง กรรมการและกรรมการบริหาร บมจ. โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา กรรมการและกรรมการบริหาร บมจ. เซ็นทรัลพัฒนา 2549 - 2550 สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ 2547 - ปัจจุบัน รองประธานกรรมการ กรรมการบริหารและ กรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน บมจ. ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน

หมายเหตุ *นับรวมหุ้นของคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ

52

บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)


นายปริญญ์ จิราธิวัฒน์ อายุ 47

ปี

กรรมการ/ กรรมการบริหาร (มีอำนาจลงนามผูกพันบริษัท)

คุณวุฒิทางการศึกษา ปริญญาตรี B.S. (Accounting) Skidmore College, New York, U.S.A. ปริญญาโท สาขาบริหารธุรกิจ สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย Director Certification Program (DCP) ปี 2543 Director Accreditation Program (DAP) ปี 2548 Audit Committee Program (ACP) ปี 2548 The Role of Chairman (RCM) ปี 2548 Monitoring the System of Internal Control and Risk Management (MIR) ปี 2550 Monitoring the Internal Audit Function (MIA) ปี 2550 จากสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย หลักสูตรการปฏิบัติการจิตวิทยา ฝ่ายอำนวยการ รุ่นที่ 73 จากสถาบันจิตวิทยาความมั่นคง หลักสูตรการบริหารเศรษฐกิจสาธารณะสำหรับ นักบริหารระดับสูง รุ่นที่ 4 จากสถาบันพระปกเกล้า หลักสูตร วตท. สถาบันวิทยาการตลาดทุน รุ่นที่ 1 ปี 2547 หลักสูตรผู้บริหารกระบวนการยุติธรรมระดับสูง (บยส) รุ่นที่ 13 ปี 2552 สัดส่วนการถือหุ้น* ไม่มี ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างกรรมการและผู้บริหาร หลานนายสุทธิศักดิ์, นายสุทธิธรรม พี่ชายนายทศ ประสบการณ์ทำงานในระยะ 5 ปีย้อนหลัง 2538 - 2550 กรรมการ บจก. เจเนอรัลคาร์ด เซอร์วิสเซส 2542 - 2550 กรรมการ บมจ. อินทรประกันภัย 2545 - 2549 กรรมการ บมจ. ธนมิตร แฟคตอริ่ง 2536 - ปัจจุบัน กรรมการและกรรมการบริหาร บมจ. โรงแรมเซ็นทรัลพลาซ่า 2537 - ปัจจุบัน กรรมการและกรรมการบริหาร บมจ. เซ็นทรัลพัฒนา 2539 - ปัจจุบัน กรรมการและกรรมการบริหาร บจก. เซ็นทรัลรีเทล คอร์ปอเรชั่น 2542 - ปัจจุบัน กรรมการ บมจ. มาลีสามพราน 2545 - ปัจจุบัน กรรมการบริหาร บจก. กลุ่มเซ็นทรัล 2546 - ปัจจุบัน ประธานกรรมการตรวจสอบ บมจ. หลักทรัพย์ บัวหลวง 2547 - ปัจจุบัน คณะกรรมการส่งเสริมกิจกรรมมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย 2547 - ปัจจุบัน ที่ปรึกษา ตลาดหลักทรัพย์ใหม่ (MAI) 2549 - ปัจจุบัน กรรมการ และกรรมการบริหาร บมจ. ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน

หมายเหตุ *นับรวมหุ้นของคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ รายงานประจำปี 2552

53

คณะกรรมการบริษัทและคณะผู้บริหาร

คณะกรรมการบริษัท


คณะกรรมการบริษัท

นายทศ จิราธิวัฒน์ อายุ 45

ปี

กรรมการ/ กรรมการบริหาร/ ที่ปรึกษาคณะกรรมการสรรหา และกำหนดค่าตอบแทน (มีอำนาจลงนามผูกพันบริษัท)

คุณวุฒิทางการศึกษา ปริญญาตรี B.A. Wesleyan University, CT, U.S.A. ปริญญาโท สาขาบริหารธุรกิจ (Finance) Columbia University, New York, U.S.A. สัดส่วนการถือหุ้น* ร้อยละ 0.071 ของจำนวนหุ้นทั้งหมด ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างกรรมการและผู้บริหาร หลานนายสุทธิศักดิ์, นายสุทธิธรรม น้องชายนายปริญญ์ ประสบการณ์ทำงานในระยะ 5 ปีย้อนหลัง 2539 - 2544 กรรมการผู้จัดการใหญ่ฝ่ายปฏิบัติการ บจก. เซ็นทรัลรีเทล คอร์ปอเรชั่น 2545 - ปัจจุบัน กรรมการผู้จัดการใหญ่ บจก. เซ็นทรัลรีเทล คอร์ปอเรชั่น 2537 - ปัจจุบัน กรรมการ บมจ. บิ๊กซี ซุปเปอร์เซ็นเตอร์ 2547 - ปัจจุบัน กรรมการและกรรมการบริหาร บมจ. ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน

หมายเหตุ *นับรวมหุ้นของคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ

54

บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)


คณะกรรมการบริษัทและคณะผู้บริหาร

คณะกรรมการบริษัท

นายปรีชา เอกคุณากูล อายุ 51

ปี

กรรมการ/ กรรมการบริหาร/ คณะทำงานบริหารความเสี่ยง/ กรรมการผู้จัดการใหญ่ (มีอำนาจลงนามผูกพันบริษัท)

คุณวุฒิทางการศึกษา ปริญญาตรี สาขาเคมีวิศวกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปริญญาโท สาขาอุตสาหการและการจัดการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย Director Accreditation Program (DAP) ปี 2547 Director Certification Program (DCP) ปี 2548 จากสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย Capital Market Academy Leader Program ปี 2551 จากสถาบันวิทยาการตลาดทุน

สัดส่วนการถือหุ้น* ไม่มี ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างกรรมการและผู้บริหาร ไม่มี ประสบการณ์ทำงานในระยะ 5 ปีย้อนหลัง 2538 - 2543 กรรมการผู้จัดการ บมจ. บิ๊กซี ซุปเปอร์เซ็นเตอร์ 2543 - 2546 กรรมการผู้จัดการใหญ่ บจก. ซีอาร์ซี เพาเวอร์ รีเทล 2543 - 2546 กรรมการผู้จัดการใหญ่ บจก. บีทูเอส 2546 - ปัจจุบัน กรรมการ กรรมการบริหารและ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ. ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน

หมายเหตุ *นับรวมหุ้นของคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ รายงานประจำปี 2552

55


คณะกรรมการบริษัท

นายปิยะ งุ่ยอัครมหาวงศ์ อายุ 52

ปี

กรรมการ/ คณะทำงานบรรษัทภิบาล (มีอำนาจลงนามผูกพันบริษัท)

คุณวุฒิทางการศึกษา ปริญญาตรี B.S. Electrical Engineering และ B.S. Management, Massachusetts Institution of Technology, Cambridge, U.S.A. ปริญญาโท สาขาบริหารธุรกิจ และ M.S. (Electrical Engineering), University of Southern California, Los Angeles, U.S.A. Director Certification Program (DCP) ปี 2548 จากสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย สัดส่วนการถือหุ้น* ร้อยละ 0.0045 ของจำนวนหุ้นทั้งหมด ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างกรรมการและผู้บริหาร ไม่มี ประสบการณ์ทำงานในระยะ 5 ปีย้อนหลัง 2540 - ปัจจุบัน รองกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส ฝ่ายการเงินและบัญชี บจก. เซ็นทรัลรีเทล คอร์ปอเรชั่น 2540 - ปัจจุบัน กรรมการ บจก. โรบินสันแพลนเนอร์ 2549 - ปัจจุบัน กรรมการ บมจ. ธนมิตรแฟคตอริ่ง 2549 - ปัจจุบัน กรรมการ บมจ. ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน

หมายเหตุ *นับรวมหุ้นของคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ

56

บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)


นายปัณฑิต มงคลกุล อายุ 46

ปี

กรรมการ/ คณะทำงานบรรษัทภิบาล (มีอำนาจลงนามผูกพันบริษัท)

คุณวุฒิทางการศึกษา ปริญญาตรี สาขาการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปริญญาโท สาขาบริหารธุรกิจ (Finance and International Business) สถาบันบัณฑิตบริหาร ธุรกิจศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย Director Certification Program (DCP) ปี 2546 จากสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย หลักสูตรผู้บริหารระดับสูง (วตท.) รุ่น 4 ปี 2550 จากสถาบันวิทยาการตลาดทุน สัดส่วนการถือหุ้น* ร้อยละ 0.00002 ของจำนวนหุ้นทั้งหมด ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างกรรมการและผู้บริหาร ไม่มี ประสบการณ์ทำงานในระยะ 5 ปีย้อนหลัง 2535 - ปัจจุบัน รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บจก. ห้างเซ็นทรัลดีพาร์ทเมนท์สโตร์ 2536 - ปัจจุบัน กรรมการ บจก. เอิร์ธแคร์ 2537 - ปัจจุบัน กรรมการ บจก. เซ็นทรัลมาร์เก็ตติ้งกรุ๊ป อินเตอร์เทรด 2543 - ปัจจุบัน กรรมการ บจก. โรบินสัน แพลนเนอร์ 2547 - ปัจจุบัน กรรมการ บจก. ซี จี โบรกเกอร์ 2547 - ปัจจุบัน ประธานกรรมการบริหาร บมจ. ธนมิตรแฟคตอริ่ง 2548 - ปัจจุบัน กรรมการ บจก. อันดามันแคปปิตอล 2549 - ปัจจุบัน กรรมการบริหาร บมจ. มาลีสามพราน 2550 - ปัจจุบัน กรรมการ บจก. ซี จี ไลฟ์ โบรกเกอร์ 2551 - ปัจจุบัน กรรมการ บจก. เซ็นทรัล รีเทล เทรนนิ่ง เซ็นเตอร์ 2551 - ปัจจุบัน กรรมการ บจก. เซ็นทรัล สมุย โฮเต็ลแมนเนจเม้นท์ 2539 - ปัจจุบัน กรรมการ บมจ. ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน และกรรมการบริษัทในเครือ

หมายเหตุ *นับรวมหุ้นของคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ รายงานประจำปี 2552

57

คณะกรรมการบริษัทและคณะผู้บริหาร

คณะกรรมการบริษัท


คณะกรรมการบริษัท

นายพิบูล ภัทโรดม อายุ 76

ปี

กรรมการ/ กรรมการอิสระ/ กรรมการตรวจสอบ/ ประธานคณะทำงานบรรษัทภิบาล

คุณวุฒิทางการศึกษา ปริญญาตรี พาณิชยศาสตร์บัณฑิต และ นิติศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปริญญาโท M.S. (Accounting) University of Kansas, U.S.A. Director Accreditation Program (DAP) ปี 2547 Audit Committee Program (ACP) ปี 2548 จากสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย สัดส่วนการถือหุ้น* ไม่มี ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างกรรมการและผู้บริหาร ไม่มี ประสบการณ์ทำงานในระยะ 5 ปีย้อนหลัง 2542 - 2548 กรรมการอิสระและกรรมการตรวจสอบ บมจ. โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา 2512 - ปัจจุบัน หัวหน้าสำนักงานและผู้ตรวจสอบ บัญชีรับอนุญาต สำนักงานภัทรธรรม 2549 - ปัจจุบัน กรรมการ กรรมการอิสระและกรรมการตรวจสอบ บมจ. ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน

หมายเหตุ *นับรวมหุ้นของคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ

58

บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)


นายวิทยา ชวนะนันท์ อายุ 52

ปี

กรรมการ/ กรรมการอิสระ/ กรรมการตรวจสอบ/ กรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน/ ประธานคณะทำงานบริหารความเสี่ยง

คุณวุฒิทางการศึกษา ปริญญาตรี รัฐศาสตร์ สาขาการคลัง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปริญญาโท สาขาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเวบสเตอร์ สหรัฐอเมริกา Director Accreditation Program (DAP) ปี 2549 Director Certification Program (DCP) รุ่นที่ 84 ปี 2550 จากสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย สัดส่วนการถือหุ้น* ไม่มี ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างกรรมการและผู้บริหาร ไม่มี ประสบการณ์ทำงานในระยะ 5 ปีย้อนหลัง 2522 - ปัจจุบัน กรรมการ บจก. วิจิตรภัณฑ์ก่อสร้าง 2528 - ปัจจุบัน กรรมการผู้จัดการ บจก. วิจิตรภัณฑ์สวนปาล์ม 2530 - ปัจจุบัน กรรมการ บจก. วิจิตรภัณฑ์ฟาร์ม 2531 - ปัจจุบัน รองประธานกรรมการ บจก. วิจิตรภัณฑ์ปาล์มออยล์ 2535 - ปัจจุบัน กรรมการ บจก. วิจิตรภัณฑ์เรียลเอสเตท 2537 - ปัจจุบัน กรรมการผู้จัดการ บจก. ซี.วี.เอ็น ดีเวลลอปเมนท์ 2539 - ปัจจุบัน กรรมการ บจก. ชวนะนันท์โฮลดิ้ง 2541 - ปัจจุบัน กรรมการ บจก. แปซิฟิคโพลีเมอร์โปรดัคส์ 2541 - ปัจจุบัน กรรมการ กรรมการอิสระและกรรมการตรวจสอบ บมจ. ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน

หมายเหตุ *นับรวมหุ้นของคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ รายงานประจำปี 2552

59

คณะกรรมการบริษัทและคณะผู้บริหาร

คณะกรรมการบริษัท


คณะกรรมการบริษัท

นายจรัล มงคลจันทร์ อายุ 61

ปี

กรรมการ/ กรรมการอิสระ/ กรรมการตรวจสอบ/ คณะทำงานบริหารความเสี่ยง/

คุณวุฒิทางการศึกษา ปริญญาตรี ศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ปริญญาโท ศิลปศาสตร์ พัฒนาเศรษฐกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประกาศนียบัตร วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปรอ. รุ่นที่ 4313) Director Certification Program (DCP) รุ่นที่ 111 ปี 2551 จากสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย สัดส่วนการถือหุ้น* ไม่มี ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างกรรมการและผู้บริหาร ไม่มี ประสบการณ์ทำงานในระยะ 5 ปีย้อนหลัง 2544 - 2546 ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ควบคุมดูแลสนข. นครสวรรค์ บมจ. ธนาคารทหารไทย 2546 - 2547 ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ควบคุมสายงานสาขาภูมิภาค บมจ. ธนาคารทหารไทย 2547 - 2549 ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มธุรกิจสาขากรุงเทพ 1 บมจ. ธนาคารทหารไทย 2549 - 2552 ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานบริการส่วนกลาง บมจ. ธนาคารทหารไทย 2549 - ปัจจุบัน กรรมการ บจก. บริจวิว 2551 - ปัจจุบัน กรรมการ กรรมการอิสระและกรรมการตรวจสอบ บมจ. ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน

หมายเหตุ *นับรวมหุ้นของคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ

60

บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)


คณะกรรมการบริษัทและคณะผู้บริหาร

คณะกรรมการบริษัท

และคณะผู้บริหาร คณะผู้บริหาร

นายปรีชา เอกคุณากูล อายุ 51

ปี

กรรมการ/ กรรมการบริหาร/คณะทำงานบริหารความเสี่ยง กรรมการผู้จัดการใหญ่ (มีอำนาจลงนามผูกพันบริษัท)

คุณวุฒิทางการศึกษา

ปริญญาตรี สาขาเคมีวิศวกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปริญญาโท สาขาอุตสาหการและการจัดการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย Director Accreditation Program (DAP) ปี 2547 Director Certification Program (DCP) ปี 2548 จากสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย Capital Market Academy Leader Program ปี 2551 จากสถาบันวิทยาการตลาดทุน

สัดส่วนการถือหุ้น*

ไม่มี

ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างกรรมการและผู้บริหาร ไม่มี ประสบการณ์ทำงานในระยะ 5 ปีย้อนหลัง

2538 - 2543 2543 - 2546 2543 - 2546 2546 - ปัจจุบัน

MR. GERARD MCGURK อายุ 43

ปี

ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส สายบริหารสินค้า

กรรมการผู้จัดการ บมจ. บิ๊กซี ซุปเปอร์เซ็นเตอร์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บจก. ซีอาร์ซี เพาเวอร์ รีเทล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บจก. บีทูเอส กรรมการ กรรมการบริหารและ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ. ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน

คุณวุฒิทางการศึกษา

HND in Business Practices and Business Computer Practices, Dundee College of Commerce 5’0’ Grade-3’H’Level, Lawside RC Academy

สัดส่วนการถือหุ้น* ไม่มี ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างกรรมการและผู้บริหาร ไม่มี ประสบการณ์ทำงานในระยะ 5 ปีย้อนหลัง 2527 - 2541 2541-2543 2543 - 2545 2546 - 2550 2550 - 2552 2552 - ปัจจุบัน

Commercial Manager Marks and Spencer PCL. (United Kingdom) District Manager บมจ. ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน Managing Director Planer Sports China Limited. TS Lifestyle Thailand Limited. ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายปฏิบัติการด้านบริหารสินค้าและการขาย บมจ. ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส สายปฏิบัติการ บมจ. ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส สายบริหารสินค้า บมจ. ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน

หมายเหตุ *นับรวมหุ้นของคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ รายงานประจำปี 2552

61


คณะผู้บริหาร

MR. CLIVE FREDERICK COOMBES อายุ 59

ปี

ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายบริหารสินค้า Differentiation

คุณวุฒิทางการศึกษา

Forest Hill School, United Kingdom

สัดส่วนการถือหุ้น* ไม่มี ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างกรรมการและผู้บริหาร ไม่มี ประสบการณ์ทำงานในระยะ 5 ปีย้อนหลัง

2543 - 2552 2552 - ปัจจุบัน

Director of Marketing and Merchandising Boots Retail (Thailand) Limited. ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายบริหารสินค้า Differentiation บมจ. ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน

นายสุกิตติ กิตติภัสสร

คุณวุฒิทางการศึกษา

ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ด้านการวิเคราะห์และพัฒนาธุรกิจ

สัดส่วนการถือหุ้น* ไม่มี

อายุ 53

ปี

ปริญญาตรี สาขาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ปริญญาโท สาขาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างกรรมการและผู้บริหาร ไม่มี ประสบการณ์ทำงานในระยะ 5 ปีย้อนหลัง 2540 - 2549 2550 - ปัจจุบัน

หมายเหตุ *นับรวมหุ้นของคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ

62

บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายปฏิบัติการด้านระบบงานและบริหาร บมจ. ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ด้านการวิเคราะห์และพัฒนาธุรกิจ บมจ. ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน


คณะกรรมการบริษัทและคณะผู้บริหาร

คณะผู้บริหาร

นางรัตนา อนุนตการุณ อายุ 50

ปี

ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายบริหารสินค้า

คุณวุฒิทางการศึกษา

ปริญญาตรี สาขาบริหารธุรกิจ (การบริหารทั่วไป) มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ปริญญาโท สาขาบริหารธุรกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

สัดส่วนการถือหุ้น*

ร้อยละ 0.009 ของจำนวนหุ้นทั้งหมด

ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างกรรมการและผู้บริหาร ไม่มี ประสบการณ์ทำงานในระยะ 5 ปีย้อนหลัง

2540 - 2549 2549 - ปัจจุบัน

นายอนันต์ ตันติปัญญาคุณ อายุ 42

ปี

ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายปฏิบัติการ ด้านระบบงาน และบริหาร

รองประธานฝ่ายจัดซื้อ สินค้าทั่วไป บมจ. บิ๊กซีซูเปอร์เซ็นเตอร์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายบริหารสินค้า บมจ. ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน

คุณวุฒิทางการศึกษา

ปริญญาตรี สาขาการสอบบัญชี (เกียรตินิยมอันดับ1) มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ปริญญาโท สาขาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

สัดส่วนการถือหุ้น* ไม่มี ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างกรรมการและผู้บริหาร ไม่มี ประสบการณ์ทำงานในระยะ 5 ปีย้อนหลัง

2538 - 2546 2546 - 2550 2550 - ปัจจุบัน

ผู้จัดการทั่วไปสาขา บมจ. บิ๊กซีซูเปอร์เซ็นเตอร์ ผู้อำนวยการกองวิเคราะห์และโครงการ บมจ. ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายปฏิบัติการ ด้านระบบงาน และบริหาร บมจ. ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน

หมายเหตุ *นับรวมหุ้นของคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ รายงานประจำปี 2552

63


คณะผู้บริหาร

นางสาวสิรินิจ โชคชัยฤทธิกุล อายุ 34

ปี

ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายการตลาด

คุณวุฒิทางการศึกษา

ปริญญาตรี สาขานิเทศศาสตร์ (International Program) มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ปริญญาโท สาขานิเทศศาสตร์ (International Program) เกียรตินิยมอันดับ 1 (เหรียญทอง) มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

สัดส่วนการถือหุ้น* ไม่มี ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างกรรมการและผู้บริหาร ไม่มี ประสบการณ์ทำงานในระยะ 5 ปีย้อนหลัง

2538 - 2545 2545 - 2548 2548 - 2551 2551 - ปัจจุบัน

นายปริวัต โสภาษิต อายุ 51

ปี

เลขานุการบริษัท/ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายการเงิน

Regional Store Manager Marks and Spencer PCL. (United Kingdom) Marks and Spencer (Thailand) ผู้อำนวยการกองประสานงานจัดซื้อและ ผู้อำนวยการกองบริหารสินค้า Differentiation บมจ. ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายบริหารสินค้า บมจ. ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายการตลาด บมจ. ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน

คุณวุฒิทางการศึกษา

ปริญญาตรี สาขาบัญชีต้นทุน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย Corporate Secretary Program (CSP) ปี 2550 จากสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย

สัดส่วนการถือหุ้น* ไม่มี ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างกรรมการและผู้บริหาร ไม่มี ประสบการณ์ทำงานในระยะ 5 ปีย้อนหลัง

2538 - 2544 2544 - 2546 2546 - ปัจจุบัน

หมายเหตุ *นับรวมหุ้นของคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ

64

บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

ผู้จัดการส่วนบัญชีและระบบ บจก. กระจกสยามการ์เดียน ผู้อำนวยการฝ่ายบัญชี บจก. ซี อาร์ ซี เพาเวอร์รีเทล เลขานุการบริษัท และ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายการเงิน บมจ. ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน


คณะกรรมการบริษัทและคณะผู้บริหาร

หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี

ในปี 2552 บริษัทฯ ได้รับผลการประเมินด้านการกำกับดูแ ลกิจการอยู่ในระดับ 4 ดาว (หรืออยู่ในเกณฑ์ ดีมาก) คณะกรรมการและผู้บริหารของบริษัทฯ มีความมุ่งมั่น ต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 ตามการสำรวจของสมาคมส่งเสริม ในการกำหนดและพัฒนาระดับการกำกับดูแลกิจการที่ดี สถาบันกรรมการบริษทั ไทย โดยมีบริษทั จดทะเบียนที่ได้รบั เพื่อให้เป็นพื้นฐานที่สำคัญในการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ การประเมินทัง้ หมด 229 แห่ง ซึง่ บริษทั ฯได้รบั การประเมิน และเป็ น ที่ ย อมรั บ ในระดั บ สากล มี ความโปร่ ง ใสและ เป็นครัง้ ทีส่ อง นอกจากความสำเร็จทีบ่ ริษทั ฯ ได้รบั ผลการ จริยธรรมในการดำเนินงาน และมีความรับผิดชอบต่อผู้ที่ ประเมินด้านการกำกับดูแลกิจการอยู่ในระดับ 4 ดาวแล้ว มีส่วนได้เสียกับบริษัทฯ ไม่ว่าจะเป็นผู้ถือหุ้น พนักงาน บริษัทฯ ยังได้รับรางวัลสถานประกอบการดีเด่นฯ ในทุก ลูกค้าและคู่ค้าของบริษัทฯ รวมถึงความรับผิดชอบต่อ สาขาของห้างฯโรบินสัน ต่อเนือ่ งเป็นปีที่ 3 อีกด้วยซึง่ แสดง สังคม ดังนั้น บริษัทฯ จึงนำหลักเกณฑ์การกำกับดูแล ให้เห็นว่าบริษัทฯ มุ่งมั่นเอาใจใส่และให้ความสำคัญต่อ กิจการที่ดี และระเบียบปฏิบัติของคณะกรรมการกำกับ พนักงานด้านแรงงานสัมพันธ์เสมอมา หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ มาเป็นปัจจัยหลักในการ อนึง่ พัฒนาการทางด้านการกำกับดูแลกิจการของบริษทั ฯ เสริมสร้างองค์กรให้มีระบบบริหารงานที่มีประสิทธิภาพ ในปี 2552 แบ่งตาม 5 หมวดหลักมีรายละเอียดที่สำคัญ เพิ่มมูลค่า และส่งเสริมการเติบโตอย่างยั่งยืนของบริษัทฯ ดังนี้ ต่อไป นโยบายการกำกับดูแลกิจการและจรรยาบรรณธุรกิจ บริ ษั ท ฯได้ ก ำหนดนโยบายการกำกั บ ดู แ ลกิ จ การและ จรรยาบรรณธุรกิจไว้เป็นลายลักษณ์อักษรตั้งแต่ปี 2549 ซึ่งมีเนื้อหาครอบคลุมโครงสร้าง บทบาทหน้าที่และความ รับผิดชอบของคณะกรรมการบริษทั คณะกรรมการชุดย่อย รวมถึงสิทธิและความเท่าเทียมของผู้ถือหุ้น บทบาทของ บริษัทฯต่อผู้มีส่วนได้เสีย การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่มี ความโปร่งใส โดยมีคณะทำงานบรรษัทภิบาลเป็นผู้รับ ผิดชอบในการจัดทำนโยบายด้านการกำกับดูแลกิจการ รวมถึงจรรยาบรรณธุรกิจ ซึ่งคณะทำงานฯได้ดำเนินการ ติดตามเพือ่ ให้มกี ารปฎิบตั อิ ย่างเคร่งครัด และมีการทบทวน ปรับปรุงนโยบายการกำกับกิจการนำเสนอต่อคณะกรรมการ บริษัทเพื่อพิจารณาอนุมัติอย่างสม่ำเสมอ ทั้งนี้เพื่อให้ สอดคล้องกับหลักการและแนวปฎิบัติที่ดีของสากล

สิทธิของผู้ถือหุ้น (The Rights of Shareholders) บริษัทฯ มุ่งมั่นในการเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการ จัดการในการแจ้งข่าวสารข้อมูลที่จำเป็นของบริษัทอย่าง ถูกต้อง รวดเร็วและทันเวลา เพื่อให้มั่นใจว่าผู้ถือหุ้นได้ ข้อมูลที่เพียงพอในการตัดสินใจ อีกทั้งผู้ถือหุ้นสามารถใช้ สิทธิในการดูแลรักษาผลประโยชน์ของตนโดยการซักถาม แสดงความคิดเห็น ให้ข้อเสนอแนะและการออกเสียงในที่ ประชุมผู้ถือหุ้น นอกจากนี้ บริษัทฯ มีการเปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นและผู้ถือ หุ้นส่วนน้อยส่งคำถาม เสนอระเบียบวาระที่ประชุม และ เสนอชื่อบุคคลที่มีคุณสมบัติเพื่อเข้ารับการสรรหาเป็น กรรมการบริษัทฯเป็นประจำทุกปีผ่านทางจดหมายถึง เลขานุการบริษัท หรือ E-mail: ir@robinson.co.th ทั้งนี้ บริษทั ฯได้มกี ารแจ้งผ่านระบบข่าวสารของตลาดหลักทรัพย์ฯ

รายงานประจำปี 2552

65

หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี

สรุปการปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการ ประจำปี 2552


เพื่อแจ้งเตือนให้ผู้ถือหุ้นได้ทราบ โดยผู้ถือหุ้นสามารถส่ง ข้อมูลก่อนการประชุมคณะกรรมการบริษัทเพื่อพิจารณา กำหนดวาระการประชุมผู้ถือหุ้นล่วงหน้าประมาณ 3 เดือน บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับการจัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี รวมถึงการจัดประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น โดยยึดถือ แนวทางการปฎิบัติและดำเนินการตาม AGM Checklist ของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เลขานุการบริษัทฯ แจ้งกำหนดการล่วงหน้าเพื่อให้กรรมการ ทุกท่านสามารถจัดสรรเวลาเข้าร่วมประชุมผู้ถือหุ้นได้ โดยเฉพาะอย่างยิง่ ประธานกรรมการบริษทั ประธานกรรมการ ชุดย่อยและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ซึ่งในการประชุมปี 2552 ทุกท่านข้างต้นได้เข้าร่วมอย่างพร้อมเพรียง สิทธิในการได้รับข้อมูลข่าวสาร

บริษัทฯมีการจัดส่งหนังสือนัดประชุมที่มีรายละเอียด ข้อเท็จจริง เหตุผลในแต่ละระเบียบวาระการประชุม พร้อมความเห็นของคณะกรรมการบริษัทที่ชัดเจน และเพียงพอ ประกอบแต่ละวาระ อาทิ

- ค่าตอบแทนกรรมการ บริษทั ฯได้นำเสนอให้ผถู้ อื หุน้ พิจารณาอนุมัติเป็นประจำทุกปี พร้อมทั้งนำเสนอ นโยบายและหลักเกณฑ์ทชี่ ดั เจนเกีย่ วกับการกำหนด ค่าตอบแทนกรรมการให้ผู้ถือหุ้นทราบ โดยแสดง รายละเอียดของค่าตอบแทนแยกตามตำแหน่ง ประเภทของค่าตอบแทน และเปรียบเทียบจำนวน เงินที่ได้จ่ายในแต่ละปีที่ผ่านมา - การแต่งตั้งกรรมการ บริษัทฯมีการนำเสนอประวัติ และรายละเอียดเกี่ยวกับบุคคลที่เสนอเข้ารับการ เลือกตั้งเป็นกรรมการพร้อมหนังสือเชิญประชุมผู้ ถือหุ้น ทั้งนี้ ในการลงคะแนนเสียงเลือกกรรมการ บริษัทฯได้เปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นสามารถลงคะแนน เสียงเลือกเป็นรายบุคคล - การแต่งตั้งผู้สอบบัญชีและกำหนดค่าสอบบัญชี บริษัทฯ ได้มีการนำเสนอข้อมูลของผู้สอบบัญชีที่

66

บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

เพียงพอเพื่อแสดงให้เห็นถึงความเป็นอิสระ และมี การเปรียบเทียบค่าสอบบัญชีในแต่ละปีที่ผ่านมา - การจ่ายเงินปันผล บริษทั ฯได้ให้รายละเอียดข้อเท็จ จริง และเหตุผลที่เพียงพอและชัดเจนในการเสนอ จำนวนเงินที่ขออนุมัติ พร้อมทั้งเปรียบเทียบกับ จำนวนเงินปันผลที่ได้จ่ายในแต่ละปีที่ผ่านมา นอกจากนีย้ งั มีการชีแ้ จงถึงรายละเอียดของเอกสาร ทีต่ อ้ งใช้แสดงตัวในการเข้าร่วมประชุม โดยทำการ เผยแพร่เอกสารประกอบทั้งภาษาไทยและภาษา อังกฤษใน Website ของบริษัทรวมทั้งหนังสือ มอบฉันทะ (Proxy Form) แบบ ก. ข. และ ค. ล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วันก่อนวันประชุม และมี การจัดส่งให้แก่ผู้ถือหุ้นล่วงหน้าก่อนวันประชุมไม่ น้อยกว่า 21วัน ในการประชุมผู้ถือหุ้นแต่ละครั้ง บริษัทฯไม่มีการ เพิม่ วาระการประชุมหรือเปลีย่ นแปลงข้อมูลสำคัญ โดยมิได้มีการแจ้งให้ทราบล่วงหน้า และบริษัทฯ ไม่มีการแจกเอกสารที่มีข้อมูลเพิ่มเติมในที่ประชุม โดยเฉพาะวาระสำคัญที่ผู้ถือหุ้นต้องใช้เวลาในการ ศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจ โดยบริษัทฯได้ถือปฎิบัติ แนวทางนี้อย่างต่อเนื่อง ในการจัดทำรายงานการประชุมผู้ถือหุ้น บริษัทฯมี การจัดทำรายงานการประชุมทั้งภาษาไทยและ ภาษาอังกฤษ มีการบันทึกการประชุมในแต่ละวาระ ที่พิจารณาให้ครบถ้วนและชัดเจน มีการบันทึก รายชื่อกรรมการ ผู้บริหาร และผู้สอบบัญชี หรือ บุคคลทีเ่ กีย่ วข้องอืน่ ๆในรายงานการประชุม พร้อม ทั้งผลการลงคะแนนเสียงในแต่ละวาระการประชุม ทัง้ เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย หรืองดออกเสียง นอกจากนี้ ยั ง มี การบั น ทึ ก คำถามและคำตอบที่ ผู้ ถื อ หุ้ น ได้ ซักถาม พร้อมทัง้ การบันทึกชือ่ ผูถ้ าม และกรรมการ ผู้ตอบด้วย


หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี

การจัดประชุมผู้ถือหุ้น บริษัทฯมีการสนับสนุนให้ผู้ถือหุ้นเข้าร่วมประชุมและ ไม่มีการจำกัดสิทธิในการเข้าประชุมของผู้ถือหุ้นที่มา สาย ในการอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ถือหุ้นในการ เข้าร่วมประชุม บริษัทฯได้เตรียมความพร้อม ทั้งใน ด้านงานเอกสารที่จำเป็นสำหรับการลงทะเบียนรวม ถึงอากรแสตมป์ การจัดเตรียมสถานที่ อาหาร เครือ่ งดืม่ รวมถึงเวลาการนัดประชุมที่เหมาะสม ซึ่งผู้ถือหุ้นมี ระยะเวลาการลงทะเบียน 2 ชั่วโมงล่วงหน้าก่อนการ ประชุม ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้นำระบบคอมพิวเตอร์และ บาร์โค้ดมาใช้ในการลงทะเบียน และตรวจนับคะแนน ทั้งนี้เพื่อความรวดเร็วและมีข้อมูลที่เชื่อถือได้ บริ ษั ท ฯมีการกำหนดรายชื่อกรรมการอิสระที่ ไ ม่ มี ความขัดแย้งทางผลประโยชน์เกีย่ วกับวาระการประชุม เป็นผู้รับมอบฉันทะแทนผู้ถือหุ้น ในกรณีที่ผู้ถือหุ้น ประสงค์จะมอบฉันทะให้ผอู้ นื่ มาประชุมแทน สามารถ เลือกมอบฉันทะให้บุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือกรรมการ อิสระของบริษัทฯ เข้าร่วมประชุมแทนได้ การดำเนินการประชุมผู้ถือหุ้น ก่อนการประชุมในแต่ละครั้ง ประธานกรรมการบริษัท จะแจ้งรายละเอียดขององค์ประชุม แจ้งสิทธิในการ ลงคะแนนเสียง ทำการชีแ้ จงวิธกี ารลงคะแนน และนับ คะแนนอย่างชัดเจนต่อผู้ถือหุ้น โดยการออกเสียง ลงคะแนนจะนับ 1 หุน้ เป็น 1 เสียง ส่วนในกรณีทเี่ ป็น วาระการพิจารณาอนุมัติการเข้าทำรายการที่เกี่ยวโยง บุคคลที่เกี่ยวโยง และผู้ถือหุ้นที่มีส่วนได้เสียจะไม่มี สิทธิออกเสียงลงคะแนน โดยบริษัทฯมีการแจ้งข้อมูล ในหนั ง สื อ เชิ ญ ประชุ ม อย่ า งชั ด เจนและครบถ้ ว น เพียงพอ พร้อมกันนี้ บริษัทฯ มีการแต่งตั้งที่ปรึกษา ทางการเงินอิสระเพื่อให้ความเห็นถึงความสมเหตุ สมผลของการเข้าทำรายการ และเสนอต่อผูถ้ อื หุน้ เพือ่ ประกอบการพิจารณาอนุมัติการเข้าทำรายการดังกล่าว

บริษัทฯ ได้จัดให้มีบัตรลงคะแนนเสียงสำหรับผู้ถือหุ้น ใช้ในการลงคะแนนเสียงในทุกวาระ เพื่อความโปร่งใส และตรวจสอบได้ พร้อมทั้งนำระบบคอมพิวเตอร์และ Barcode มาช่วยในการนับคะแนนเสียง ในการประชุม แต่ละครั้ง มีการเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมประชุมทุกราย แสดงความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ ถามคำถามในแต่ละ วาระ และให้เวลาอภิปรายอย่างเหมาะสมเพียงพอ ซึ่งประธานฯ และผู้บริหารจะให้ความสำคัญกับทุก คำถามและตอบข้อซักถามอย่างชัดเจน ตรงประเด็น และประธานฯ จะดำเนินการประชุมตามลำดับวาระ การประชุม รวมทั้งจะไม่มีการพิจารณาวาระอื่นใด นอกเหนือจากที่ได้กำหนดไว้ในหนังสือเชิญประชุม การลงมติเลือกกรรมการบริษัท บริษัทฯ ได้กำหนดให้ การลงมติเลือกเป็นรายบุคคลเท่านั้น และส่งเสริมให้ ผู้ถือหุ้นใช้แบบฟอร์มการมอบฉันทะแบบที่สามารถ กำหนดทิศทางการลงคะแนนได้ (แบบมอบฉันทะ ข.) บริษัทยังได้จัดให้มีแบบฟอร์มการมอบฉันทะสำหรับ Custodian เพื่อผู้ถือหุ้นชาวต่างประเทศประเภท สถาบัน (แบบมอบฉันทะ ค.) ทัง้ นี้ ในการประชุมแต่ละครัง้ บริษทั ฯมีการจัดทำบันทึก การประชุมทีถ่ กู ต้องครบถ้วน รวมถึงการระบุผลคะแนน เสียงในแต่ละวาระ อีกทั้งมีการบันทึกภาพการดำเนิน การประชุม และทำการเผยแพร่ใน Website ของบริษทั (www.robinson.co.th) ภายใน 14 วันหลังจากวัน ประชุม การปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน (Equitable Treatment of Shareholders) บริษัทฯ ยึดหลักการปฎิบัติต่อผู้ถือหุ้นทุกรายอย่าง เท่าเทียมกัน โดยเฉพาะผู้ถือหุ้นส่วนน้อยย่อมได้รับ สิทธิขั้นพื้นฐานและสิทธิอื่นที่พึงได้รับอย่างเท่าเทียม กันกับผู้ถือหุ้นรายอื่นๆ รวมถึงการให้สิทธิออกเสียง แก่ผู้ถือหุ้นตามจำนวนหุ้นที่ถืออย่างเท่าเทียมกัน

รายงานประจำปี 2552

67


ผู้ถือหุ้นส่วนน้อยมีสิทธิในการเสนอชื่อบุคคลเพื่อเป็น กรรมการและการเสนอวาระการประชุม และได้รบั การ ปฏิบัติโดยยุติธรรมในการประชุมผู้ถือหุ้น ในการประชุมผูถ้ อื หุน้ บริษทั ฯ เปิดโอกาสให้ผถู้ อื หุน้ ที่ ไม่สามารถเข้าร่วมประชุมได้ดว้ ยตนเองสามารถเลือก ที่จะมอบฉันทะให้บุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือกรรมการ อิสระที่ได้รับการแต่งตั้งโดยบริษัทฯ เข้าร่วมประชุมและ ออกเสียงลงมติแทนได้ และเปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นทุก รายแสดงความคิดเห็นและซักถามอย่างได้ทั่วถึง การส่งหนังสือเชิญประชุมต่อผู้ถือหุ้น ในปี 2552 บริษัทฯ ได้เริ่มส่งหนังสือเชิญประชุมล่วงหน้า 21 วัน และจะถือปฏิบัติในปีต่อๆไป นอกจากนี้ บริษัทฯได้จัด ทำเอกสารประกอบการประชุมทัง้ ภาษาไทยและภาษา อังกฤษ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ถือหุ้นต่าง ประเทศ บริษัทฯกำหนดให้กรรมการและผู้บริหารต้องรายงาน การถือครองหลักทรัพย์ รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงการ ถือครองหลักทรัพย์ บริษัทฯมีการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ บริหารและหน่วยงานไว้อย่างชัดเจน โดยได้วางข้อ กำหนดห้ามมิให้กรรมการ ผูบ้ ริหารหรือบุคคลที่ได้รบั ทราบข้อมูลภายในเปิดเผยข้อมูลแก่บุคคลภายนอก หรือบุคคลที่ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะก่อให้เกิดวาม เสียหายต่อผู้ถือหุ้นโดยรวม เว้นแต่เป็นการเผยแพร่ ต่อสาธารณชนตามหลักเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์ หากผู้ใดฝ่าฝืนจะถูกลงโทษทางวินัยของบริษัทฯ ในการพิจารณาเรื่องที่เกิดหรืออาจเกิดความขัดแย้ง ทางผลประโยชน์ หรือรายการที่เกี่ยวโยงกันหรือ รายการระหว่างกัน บริษัทฯมีการดำเนินการตาม กฎหมาย ข้อกำหนดและหลักเกณฑ์อย่างเคร่งครัด ในกรณีที่ต้องมีการพิจารณาเรื่องที่เกิดหรืออาจเกิด ความขัดแย้งทางผลประโยชน์ หรือรายการทีเ่ กีย่ วโยง กันหรือรายการระหว่างกัน กรรมการผูท้ มี่ สี ว่ นเกีย่ วข้อง ต้องไม่เข้าร่วมการพิจารณาอนุมัติรายการดังกล่าว

68

บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

บทบาทต่อผู้มีส่วนได้เสีย (The Role of Stakeholders in Corporate Governance) บริษัทฯ ดูแลให้ความสำคัญต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม เพื่อ ให้ได้รับสิทธิตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผู้มีส่วนได้เสีย และ/หรือตามข้อตกลงที่มีกับบริษัทฯ พร้อมทั้งได้มีการ ทบทวนและปรับปรุงจรรยาบรรณธุรกิจอย่างสม่ำเสมอ เพือ่ ให้กรรมการ ผูบ้ ริหาร และพนักงานได้เข้าใจและตระหนัก ถึงมาตรฐานด้านจริยธรรมที่บริษัทฯใช้ในการดำเนินธุรกิจ ได้อย่างเหมาะสม และปรารถนาให้ทุกคนในองค์กรใช้เป็น กรอบในการปฏิบตั ติ นอย่างเคร่งครัด เพือ่ ส่งเสริมพฤติกรรม ที่ แ สดงออกถึ ง ความรั บ ผิ ด ชอบต่ อ ผู้ ที่ มี ส่ ว นได้ เ สี ย เนื่องจากบริษัทฯ ตระหนักเป็นอย่างดีว่า ผู้มีส่วนได้เสีย เหล่านี้จะมีส่วนสนับสนุนต่อความสำเร็จในระยะยาวของ บริษัทฯ โดยมีรายละเอียดดังนี้ ผู้ถือหุ้น - บริษัทฯ มีความมุ่งมั่นที่จะดำเนินธุรกิจให้ มีการเจริญเติบโตอย่างมัน่ คงโดยยึดหลักบรรษัทภิบาล ที่ ดี เ พื่ อ ให้ ผู้ ถื อ หุ้ น ได้ รั บ ผลตอบแทนอย่ า งยั่ ง ยื น บริษัทฯ ให้ความสำคัญต่อสิทธิของผู้ถือหุ้นและการ ปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นทุกรายโดยเท่าเทียมกัน บริษัทฯ เคารพสิทธิของผูถ้ อื หุน้ ในการรับทราบข้อมูลทีจ่ ำเป็น เพื่อใช้ในการประเมินการบริหารงานของบริษัทฯ โดย เปิดเผยผลประกอบการ ฐานะทางการเงิน พร้อมข้อมูล สนับสนุนที่ถูกต้องตาม ในเวลาที่กำหนด เพื่อให้เกิด ความโปร่งใสและเป็นธรรมต่อผู้ถือหุ้น พนักงาน - บริษัทฯ มุ่งพัฒนาและเสริมสร้างความ สัมพันธ์อันดีระหว่างพนักงานและบริษัทฯ โดยมีการ ปฏิบตั ติ อ่ พนักงานตามข้อบังคับของกฎหมายแรงงาน และสวัสดิการสังคม และให้ความเคารพต่อสิทธิส่วน บุคคลอย่างเคร่งครัด ตลอดจนการให้ผลตอบแทนและ สวัสดิการพนักงานอย่างเหมาะสม เมือ่ เปรียบเทียบกับ กลุ่มธุรกิจเดียวกัน อาทิเช่น การจัดตั้งกองทุนสำรอง เลี้ยงชีพ จัดตั้งสหกรณ์ออมทรัพย์สำหรับพนักงาน การให้ทุนการศึกษาแก่บุตรของพนักงานที่มีผลการ


หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี

เรียนดีเด่น และการตรวจสุขภาพประจำปีให้แก่พนักงาน เป็นต้น โดยบริษัทฯจัดให้มีหน่วยงานที่ดูแลงานด้าน สวัสดิการพนักงานโดยเฉพาะประจำทุกสาขาเพื่อให้ มั่นใจว่า พนักงานของบริษัทฯ รวมถึงพนักงานขาย หน้าร้านที่เป็นลูกจ้างของคู่ค้า ได้รับการปฏิบัติที่ดี จากบริษัทฯ และทำงานภายใต้สภาพแวดล้อมที่ เหมาะสม ปลอดภัยต่อชีวติ และทรัพย์สนิ ของพนักงาน อยู่เสมอ นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังให้ความสำคัญอย่าง มากต่อการพัฒนาศักยภาพของทรัพยากรบุคคล ทั้งใน ด้านความรู้ความสามารถ สุขภาพจิต และจริยธรรม โดยพนั ก งานในทุ กระดั บ มี โ อกาสได้ รั บ การพั ฒ นา ส่งเสริมความรู้ความสามารถอย่างทั่วถึงและต่อเนื่อง อีกทั้งส่งเสริมการปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีเพื่อเป็น การสร้างคุณค่าแก่พนักงานและบริษัทฯ รวมถึงการ จัดกิจกรรมต่างๆ สำหรับพนักงานเพื่อเสริมสร้างการ ทำงานเป็นทีมที่แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นและสร้างบรรยากาศ ที่ดีระหว่างกัน คู่ค้าและ/หรือเจ้าหนี้ - บริษัทฯ ปฏิบัติต่อคู่ค้าและ/ หรือเจ้าหนี้ โดยการรักษาและปฏิบัติตามเงื่อนไขข้อ ตกลงต่างๆ ทีม่ ตี อ่ คูค่ า้ และ/หรือเจ้าหนี้ อย่างเคร่งครัด และได้วางข้อกำหนดห้ามมิให้ผู้บริหาร หรือพนักงาน เรียกรับ หรือยอมรับทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดที่ ไม่สุจริตในการค้ากับคู่ค้า และ/หรือเจ้าหนี้ โดยหาก บริษทั ฯ หรือคูค่ า้ และ/หรือเจ้าหนี้ พบหรือทราบข้อมูล ว่ามีการกระทำที่ไม่สุจริตเกิดขึ้น จะรีบแจ้งหรือเปิด เผยข้อมูลเพือ่ พิจารณาร่วมกันในการแก้ไขปัญหาและ ป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ลูกค้า - บริษัทฯ มุ่งมั่นในการสร้างความพึงพอใจให้ แก่ลกู ค้าด้วยสินค้าทีส่ ามารถตอบสนองความต้องการ ของลูกค้าด้วยสินค้าทีด่ มี คี ณ ุ ภาพ ในราคาทีเ่ หมาะสม และบริการเป็นเลิศ โดยดำเนินธุรกิจอย่างถูกต้อง เป็นธรรม นอกจากนี้ บริษัทฯ มีนโยบายในการรักษา ข้อมูลที่เป็นความลับของลูกค้าอย่างจริงจัง รวมทั้ง การเปิดโอกาสให้แก่ลกู ค้าในการร้องเรียน หรือสอบถาม ข้อมูลได้ตลอดเวลา

คู่แข่ง - บริษัทฯ มีนโยบายในการปฏิบัติงานภายใต้ กรอบ กติกา มารยาทของการแข่งขันที่ดี ไม่มีการนำ เอากลยุทธ์การตัดราคาคู่แข่งขันหรือกลยุทธ์ ใดๆ ที่ ไม่สุจริต เพื่อทำลายคู่แข่งขัน ชุมชนและสิ่งแวดล้อม - บริษัทฯ มีนโยบายในการให้ การสนับสนุนกิจกรรมอันเป็นประโยชน์กับชุมชนและ สิง่ แวดล้อมอย่างต่อเนือ่ ง โดยบริษทั ฯ จะไม่ทำการใดๆ หรือสนับสนุนการกระทำใดๆ ที่ผิดกฎหมาย และก่อ ให้เกิดผลเสียหายต่อทรัพยากรธรรมชาติ หรือชุมชน การเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใส (Disclosure and Transparency) บริษัทมีการเปิดเผยข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วน โปร่งใส เท่าเทียม และทันเวลา ทั้งรายงานด้านการเงิน และ ข้อมูลธุรกิจผ่านช่องทางสือ่ สารของตลาดหลักทรัพย์ฯ และเว็ปไซต์ของบริษัท www.robinson.co.th อย่าง สม่ำเสมอ งานด้านนักลงทุนสัมพันธ์ ได้รบั มอบหมายให้ดแู ลโดย ฝ่ายนักลงทุนสัมพันธ์ กองบริหารการเงินและนักลงทุน สัมพันธ์ ร่วมด้วยกรรมการผู้จัดการใหญ่และผู้ช่วย กรรมการผู้ จั ด การใหญ่ ส ายการเงิ น และบริ ห าร ทำหน้าที่ในด้านนักลงทุนสัมพันธ์ เพื่อสื่อสารข้อมูล สำคัญที่เป็นประโยชน์แก่นักลงทุนสถาบัน ผู้ถือหุ้น นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ (Company visit & site visit) สื่อมวลชน และประชาชนทั่วไป รวมถึงรายงานการ ปฎิ บั ติ ง านด้ า นนั ก ลงทุ น สั ม พั น ธ์ ต่ อ ที่ ป ระชุ ม คณะ กรรมการบริษทั ทราบเป็นรายไตรมาส ทัง้ นี้ ในรอบปีนี้ งานด้านนักลงทุนสัมพันธ์ที่ได้ดำเนินการ ได้แก่ 1. การต้ อ นรั บ นั ก ลงทุ น และนั กวิ เ คราะห์ ที่ ข อพบ (Company Visit) หรือผ่านทางโทศัพท์ (Con ference Call) เป็นจำนวนทั้งสิ้น 36 ราย หรือ คิดเป็น 34 ครัง้ (หมายเหตุ : จำนวนครัง้ ทีน่ กั ลงทุน และนักวิเคราะห์ขอเข้าพบ จะนับตามครั้งที่เข้ามา ขอพบจริงโดยคิดตามรายบริษัท)

รายงานประจำปี 2552

69


2. การเข้าร่วมประชุมนักลงทุน (Thailand Focus และ Investor Conference) ไม่มี 3. การเข้ า ร่ ว มงานบริ ษั ท จดทะเบี ย นพบผู้ ล งทุ น (Opportunity Day) เป็นจำนวน 4 ครั้ง ทั้งนี้ เพื่อเป็นช่องทางในการสื่อสารระหว่างบริษัทฯ กับผู้ถือหุ้นและนักลงทุน ผู้สนใจสามารถติดต่องาน นักลงทุนสัมพันธ์ของบริษัทได้ที่ ผู้ติดต่อ : ที่อยู่ : โทรศัพท์ : โทรสาร : E-mail:

คุณ จิราพรรณ ทองตัน ผู้อำนวยการ กองบริหารการเงินและ นักลงทุนสัมพันธ์ บมจ.ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน สาขา ถนนรัชดาภิเษก (ส่วนกลาง) 139 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพฯ 10400 02 248-2626 ต่อ 732, 733 02 642-3353 ir@robinson.co.th

ในด้านคุณภาพของรายงานทางการเงิน คณะกรรมการ บริษัทฯเป็นผู้รับผิดชอบต่องบการเงินของบริษัทฯ (ซึง่ ผ่านการตรวจสอบโดยผูส้ อบบัญชีของบริษทั ) และ สารสนเทศทางการเงินที่ปรากฏในรายงานประจำปี โดยคณะกรรมการบริษัทฯ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการ ตรวจสอบ ซึ่งประกอบด้วยกรรมการอิสระ เพื่อทำ หน้าที่ดูแล รับผิดชอบเกี่ยวกับคุณภาพของรายงาน ทางการเงินและระบบการควบคุมภายใน สำหรับ รายงานทางการเงินในปี 2552 คณะกรรมการบริษัทฯ มีความเห็นว่า รายงานดังกล่าวได้มีการจัดทำขึ้นตาม มาตรฐานการบัญชีทรี่ บั รองทัว่ ไป และใช้นโยบายบัญชี ทีเ่ หมาะสมและถือปฏิบตั อิ ย่างสม่ำเสมอ รวมทัง้ มีการ เปิดเผยข้อมูลสำคัญอย่างเพียงพอในหมายเหตุประกอบ งบการเงินของบริษัทฯและบริษัทย่อย

70

บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

ความรับผิดชอบของคณะกรรมการ (Responsibilities of the Board) องค์ประกอบ ในปี 2552 บริษัทฯ มีกรรมการอิสระเป็นจำนวนทั้งสิ้น 4 ท่าน หรือคิดเป็น 1 ใน 3 ของจำนวนกรรมการทั้งคณะ ซึ่งองค์ประกอบของคณะกรรมการบริษัทดังกล่าว ทำให้มี ความชัดเจนในการถ่วงดุลอำนาจดำเนินการที่เหมาะสม อนึ่ง คณะกรรมการบริษัทชุดปัจจุบัน กรรมการแต่ละท่าน มีคณุ สมบัตทิ หี่ ลากหลาย ทัง้ ในด้านทักษะและประสบการณ์ ในการบริหารงานธุรกิจค้าปลีก และห้างสรรพสินค้า รวมถึง ความสามารถและความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เช่น การ บัญชี การเงิน และกฎหมาย เป็นต้น โดยกรรมการจำนวน 11 ท่าน มีโครงสร้างดังนี้ - กรรมการที่เป็นผู้บริหาร - กรรมการที่ไม่ได้เป็นผู้บริหาร - กรรมการอิสระ

1 ท่าน 6 ท่าน 4 ท่าน

โดยกรรมการที่เป็นอิสระ คิดเป็นร้อยละ 36.4 บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการ คณะกรรมการบริษัทมีหน้าที่และความรับผิดชอบที่สำคัญ ดังนี้ ปฏิบตั หิ น้าที่ให้เป็นไปตามกฏหมาย วัตถุประสงค์และ ข้อบังคับของบริษทั ตลอดจนมติทปี่ ระชุมผูถ้ อื หุน้ ด้วย ความซื่อสัตย์สุจริต มีจริยธรรมและระมัดระวังรักษา ผลประโยชน์ของบริษัท กรรมการเป็นบุคคลทีม่ คี วามซือ่ สัตย์ สุจริต มีจริยธรรม ในการดำเนินธุรกิจ มีความรู้ ความสามารถ และ ประสบการณ์ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินธุรกิจ และมีความสนใจในกิจการของบริษัท อย่างแท้จริง มีความรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้นอย่างสม่ำเสมอ และ ดำเนินงานโดยรักษาผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้นทุกราย


หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี

อย่างเท่าเทียมกัน โดยคณะกรรมการบริษัทจัดให้มี การเปิดเผยข้อมูลต่อผู้ถือหุ้น ผู้ลงทุนและผู้มีส่วนได้ ส่วนเสียทุกกลุ่มอย่างถูกต้อง ครบถ้วน มีมาตรฐาน โปร่งใสและทันเวลาในหลากหลายช่องทาง คณะกรรมการบริษทั ได้มกี ารกำหนดวิสยั ทัศน์ กลยุทธ์ นโยบายและทิศทางการดำเนิน งานของบริษัท และ ควบคุมดูแลให้ฝ่ายจัดการดำเนินงานให้เป็นไปตาม นโยบายที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เพือ่ เพิม่ มูลค่าสูงสุดให้แก่บริษทั และผูถ้ อื หุน้ อย่างมัน่ คง และยั่งยืน และติดตามผลการดำเนินงานของบริษัท อย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ โดยบริษัทได้จัดให้มีการ ประชุมคณะกรรมการบริษัทในทุกไตรมาส คณะกรรมการบริษัทจัดให้มีระบบบัญชี และรายงาน ทางการเงินและการสอบบัญชีทเี่ ชือ่ ถือได้ รวมถึงระบบ ควบคุมภายในและการตรวจสอบภายในทีม่ ปี ระสิทธิภาพ ซึง่ คณะกรรมการบริษทั ได้มอบหมายให้คณะกรรมการ ตรวจสอบดำเนินการดูแลรับผิดชอบในเรื่องดังกล่าว คณะกรรมการบริษทั ได้มกี ารจัดตัง้ คณะทำงานบริหาร ความเสี่ยงและคณะทำงานบรรษัทภิบาล ซึ่งคณะทำ งานทั้ง 2 คณะมีกรรมการอิสระเป็นประธานคณะทำ งาน ทำหน้าที่ดูแลในเรื่องการบริหารความเสี่ยง และ การกำกับดูแลกิจการ ทั้งนี้เพื่อจัดให้มีกระบวนการ บริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพและมีการติดตาม ผลอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงกำกับดูแลให้มีการดำเนิน งานตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี คณะกรรมการบริษัทได้แต่งตั้งเลขานุการบริษัทเพื่อ ช่วยดูแลกิจกรรมต่างๆ ของคณะกรรมการบริษทั และ ปฏิบัติให้เป็นไปตามกฏหมายและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง กรรมการที่เป็นอิสระได้ใช้ดุลยพินิจอย่างเป็นอิสระใน การพิจารณากำหนดกลยุทธ์ การบริหารงาน การใช้ ทรัพยากร การแต่งตั้งกรรมการและการกำหนดมาตร ฐานการดำเนินธุรกิจ รวมทั้งพร้อมที่จะคัดค้านการ กระทำของฝ่ายจัดการหรือกรรมการอื่น ในกรณีที่มี ความเห็นขัดแย้งในเรื่องที่มีผลกระทบต่อความเท่า เทียมกันของผู้ถือหุ้นทุกราย

ประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ไม่เป็น บุคคลเดียวกัน ทั้งนี้เพื่อให้มีการแบ่งแยกบทบาท หน้าที่และมีการถ่วงดุลในอำนาจดำเนินงานอย่าง ชัดเจน การดำรงตำแหน่งกรรมการ บริษัทกำหนดให้กรรมการจะดำรงตำแหน่งนี้ให้กับบริษัท จดทะเบียนไม่เกินกว่า 5 บริษัท ในขณะที่รับตำแหน่งเป็น กรรมการของบริษัท เพื่อให้ความมั่นใจได้ว่ามีเวลาเพียง พอในการเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการเพือ่ ติดตามผลการ ดำเนินงานของบริษทั และกรรมการผูจ้ ดั การใหญ่จะดำรง ตำแหน่งนี้ในบริษทั จดทะเบียนได้เพียง 1 แห่งเท่านัน้ เพือ่ ให้มีเวลาเพียงพอในการกำกับดูแลการดำเนินธุรกิจของ บริษัทเท่านั้น นอกจากนี้ คณะกรรมการบริษัทได้กำหนดให้กรรมการ ผู้บริหารและผู้ที่เกี่ยวข้อง มีหน้าที่ในการเปิดเผยข้อมูล การมีส่วนได้เสีย ณ วันที่ 31 ธันวาคม ของทุกปี รวมถึง การกำหนดให้กรรมการ และผู้บริหารเปิดเผยข้อมูลการ ถือครองหลักทรัพย์ และทุกครั้งเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงต่อ เลขานุการบริษัท คณะกรรมการชุดย่อย และเลขานุการบริษัท บริษัทฯ มีคณะกรรมการชุดต่างๆเพิ่มเติมตามที่พิจารณา ว่าจำเป็นและเหมาะสมซึ่งแต่งตั้งโดยคณะกรรมการบริษัท โดยมีวตั ถุประสงค์เพือ่ ดูแลงานเฉพาะเรือ่ งทีต่ อ้ งการความ เชีย่ วชาญเฉพาะด้านและกลัน่ กรองงานเหล่านัน้ แทนอย่าง มีประสิทธิภาพ รวมทั้งกำหนดให้คณะกรรมการชุดย่อย ต้องรายงานผลการปฏิบตั งิ านต่อคณะกรรมการบริษทั ภาย ในเวลาที่กำหนดไว้เป็นประจำ นอกจากนี้ คณะกรรมการ บริษัทยังได้มีการแต่งตั้งเลขานุการบริษัทตามที่ได้กำหนด ไว้ในพระราชบัญญัติ หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2551

รายงานประจำปี 2552

71


1. 2. 3. 4. 5.

คณะกรรมการตรวจสอบ โครงสร้างของคณะกรรม การประกอบด้วยกรรมการอิสระ 3 คนและอย่างน้อย 1 คนต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ด้านการบัญชีหรือการเงิน คณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน โครง สร้างของคณะกรรมการประกอบด้วยกรรมการอิสระ อย่างน้อย 2 คน ทั้งนี้สัดส่วนของกรรมการอิสระ ต้องไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของจำนวนกรรมการทั้งคณะ และมีกรรมการอิสระเป็นประธานคณะกรรมการ คณะทำงานบริหารความเสี่ยง โครงสร้างของคณะ ทำงานประกอบด้วยกรรมการอิสระอย่างน้อย 1 คน และมีกรรมการอิสระเป็นประธานคณะทำงาน คณะทำงานบรรษัทภิบาล โครงสร้างของคณะทำงาน ประกอบด้วยกรรมการอิสระไม่น้อยกว่า1 คน และมี กรรมการอิสระเป็นประธานคณะทำงาน เลขานุการบริษทั คณะกรรมการบริษทั ได้แต่งตัง้ ผูช้ ว่ ย กรรมการผูจ้ ดั การใหญ่สายการเงิน ทำหน้าทีร่ บั ผิดชอบ งานด้านเลขานุการบริษัทตามที่กฎหมายกำหนดไว้

การประชุมคณะกรรมการ บริษทั กำหนดให้มกี ารประชุมคณะกรรมการอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยไตรมาสละ 1 ครั้ง และไม่น้อยกว่า 5 ครั้งต่อปี ทั้งนี้ บริษัทได้มีการกำหนดตารางการประชุมประจำไตร มาสไว้ลว่ งหน้าตลอดทัง้ ปี และมีการส่งหนังสือเชิญประชุม วาระการประชุมและเอกสารประกอบการประชุมในแต่ละ ครั้งให้กรรมการล่วงหน้าอย่างเหมาะสม เพื่อให้มีเวลา พิจารณาข้อมูลอย่างเพียงพอ นอกจากนีก้ รรมการทุกคนมี สิทธิทจี่ ะตรวจสอบเอกสารประกอบการประชุมและเอกสาร สำคัญอื่นๆ ในกรณีที่มีข้อสงสัยกรรมการอื่นและฝ่ายจัด การต้องดำเนินการเพื่อตอบข้อสงสัยนั้นอย่างชัดเจน ซึ่ง ในปี 2552 ได้จัดให้มีการประชุมคณะกรรมการบริษัททั้ง สิ้น 5 ครั้ง

72

บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

ในการประชุมคณะกรรมการ ประธานกรรมการ กรรมการ ผู้จัดการใหญ่ และเลขานุการบริษัท จะร่วมกันพิจารณา วาระการประชุม และเรื่องที่สำคัญอันได้แก่ รายการได้มา หรือจำหน่ายทรัพย์สินของบริษัทและบริษัทย่อยที่มีผล กระทบสำคัญต่อบริษัท การขยายโครงการลงทุน รวมถึง การทำรายการเกี่ยวโยง จะมีการนำเสนอคณะกรรมการ บริหารและ/หรือคณะกรรมการตรวจสอบเพื่อพิจารณา กลั่นกรองและแสดงความเห็นก่อนเสนอต่อที่ประชุมคณะ กรรมการบริษัท ทั้งนี้ คณะกรรมการบริษัทได้กำหนดให้ คณะกรรมการตรวจสอบทำหน้าที่ในการพิจารณาให้ความ เห็นต่อการทำรายการระหว่างกันทีม่ นี ยั สำคัญเพือ่ พิจารณา ความเหมาะสมของการทำรายการ โดยคำนึงถึงประโยชน์ สูงสุดแก่บริษัทเป็นสำคัญ นอกจากนี้ ยังได้มีการเปิดเผย ข้อมูลดังกล่าวในงบการเงินทุกไตรมาส รายงานแบบ 56-1 และรายงานประจำปีเป็นประจำ กรณีที่การประชุมวาระใดๆที่มีกรรมการคนใดเป็นผู้มีส่วน ได้ส่วนเสียในวาระที่พิจารณา ต้องออกจากที่ประชุมก่อน เริ่มการพิจารณาเรื่องในวาระนั้นๆ


หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี

รายละเอียดการเข้าร่วมประชุมของกรรมการแต่ละคณะในปี 2552 เป็นดังนี้

รายชื่อกรรมการ

การเข้าร่วมประชุมกรรมการแต่ละคณะ (ครั้ง) คณะ คณะ คณะ คณะ คณะทำงาน คณะทำงาน กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ บรรษัท บริหาร การประชุม บริษัท บริหาร ตรวจสอบ สรรหา ภิบาล ความเสี่ยง ผู้ถือหุ้น

1. นายสุทธิศักดิ์ จิราธิวัฒน์ 2. นายสุทธิธรรม จิราธิวัฒน์ 3. นายปริญญ์ จิราธิวัฒน์ 4. นายทศ จิราธิวัฒน์ 5. นายปรีชา เอกคุณากูล 6. นายปิยะ งุ่ยอัครมหาวงศ์ 7. นายปัณฑิต มงคลกุล(1) 8. นายสมชัย อภิวัฒนพร 9. นายพิบูล ภัทโรดม 10. นายวิทยา ชวนะนันท์ 11. นายจรัล มงคลจันทร์(2)

5/5 5/5 5/5 3/5 5/5 5/5 5/5 5/5 5/5 5/5 5/5

5/5 5/5 5/5 4/5 5/5 - - - - - -

- - - - - - - 5/5 5/5 5/5 -

- 3/3 - 3/3 - - - 3/3 - 3/3 -

- - - - - 1/1 - - 1/1 - -

- - - - - - - - - 4/4 4/4

1/1 1/1 1/1 0/1 1/1 1/1 1/1 1/1 1/1 1/1 1/1

หมายเหตุ : *การแต่งตั้งคณะกรรมการชุดย่อยเพิ่มเติมระหว่างปี 1). ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทครั้งที่ 1/2552 ได้มีมติแต่งตั้งคณะทำงานบรรษัทภิบาลเพิ่มอีก 1 ตำแหน่งคือ นายปัณฑิต มงคลกุล เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2552 2). ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทครั้งที่ 4/2552 ได้มีมติแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบเพิ่มอีก 1 ตำแหน่งคือ นายจรัล มงคลจันทร์ เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2552

การประเมินตนเองของคณะกรรมการ บริษัทจัดให้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานด้วยตนเอง ของคณะกรรมการบริษัท และคณะกรรมการตรวจสอบ ประเมินอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ทั้งนี้ บริษัทได้จัดส่งแบบประเมินผลการปฏิบัติงานตนเอง ของคณะกรรมการบริษัทให้กรรมการแต่ละท่านประเมิน ตนเอง โดยเลขานุการบริษัทเป็นผู้รวบรวม และนำเสนอ ผลการประเมินที่ได้ ให้กรรมการทุกท่านรับทราบเพื่อเป็น แนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาการปฏิบัติหน้าที่ของ คณะกรรมการบริษัทให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

สำหรับการประเมินผลการปฎิบตั งิ านของกรรมการผูจ้ ดั การ ใหญ่เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการบริหารและกำหนดให้มี การนำเสนอผลการประเมินต่อคณะกรรมการสรรหาและ กำหนดค่าตอบแทน และคณะกรรมการบริษทั เพือ่ รับทราบ ต่อไป

รายงานประจำปี 2552

73


การพัฒนากรรมการและผู้บริหาร บริษทั ส่งเสริมให้กรรมการทุกท่านรวมถึงเลขานุการบริษทั ได้ผ่านการฝึกอบรมจากสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการ บริษัทไทย (Thai Institute of Directors) รวมถึงการ ฝึกอบรมตามสถาบันต่างๆ เพื่อเพิ่มความรู้ความเข้าใจ และสามารถนำมาพัฒนาระบบการกำกับดูแลกิจการของ บริ ษั ท อย่ า งเหมาะสมกั บ สถานการณ์ ในปี 2552 กรรมการบริษัท ร้อยละ 90 ของจำนวนกรรมการบริษัท ทั้ ง หมดได้ ผ่ า นการอบรมจากสมาคมส่ ง เสริ ม สถาบั น กรรมการบริษัทไทยแล้ว

74

บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

บริ ษั ท ได้ ก ำหนดให้ กรรมการผู้ จั ด การใหญ่ แ ละผู้ ช่ ว ย กรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส จะต้องมีการจัดทำแผนการ พัฒนาและสืบทอดงาน (Succession Plan) และรายงาน ความคืบหน้าต่อคณะกรรมการบริหารของบริษัทฯ


หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี

ความรับผิดชอบต่อสังคม

1. การให้การสนับสนุนทางด้านการศึกษา บริษัทฯ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการศึกษา ของเยาวชนไทย โดยให้เงินสนับสนุนด้านการศึกษา ทั้งในด้านค่าอุปกรณ์การเรียน และการซ่อมแซม อาคารโรงเรียนในต่างจังหวัด อาทิ การให้เงินสนับสนุน เพื่อปรับปรุงซ่อมแซมห้องสมุด และเพื่อปูพื้นห้อง เรียนของโรงเรียนวัดแสงมณี อ.หนองเสือ จ.ปทุมธานี การให้การสนับสนุนในโครงการ Solar light project ของคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ รวมถึงการสมทบทุนเพื่อสนับสนุน โครงการทางด้านการศึกษาต่างๆเป็นต้น 2. การส่งเสริมในด้านการกีฬา บริษัทฯ คำนึงถึงความสำคัญในเรื่องสุขภาพที่ดี ของคนในสังคม โดยในปี 2552 บริษทั ฯ ได้สง่ เสริม การจัดงานแข่งขันกีฬาต่างๆ อาทิ การจัดโครงการ เดิ น -วิ่ ง ระดมทุ น ช่ ว ยเหลื อ ผู้ ป่ ว ยมะเร็ ง เต้ า นม World Pink Fun Run 2009 เพื่อระดมทุนและนำ ไปช่วยเหลือผู้ป่วยมะเร็งเต้านม รวมทั้งยังเป็นการ รณรงค์ให้ประชาชนใส่ใจในสุขภาพมากขึน้ ด้วยการ ส่งเสริมการออกกำลังกาย นอกจากนี้ บริษัทฯ ยัง ให้การสนับสนุนด้านการกีฬาภายในโรงเรียน อาทิ การสนับสนุนค่าอุปกรณ์กีฬาฟุตบอลแก่โรงเรียน เตรียมอุดมศึกษา พัฒนาการ เป็นต้น

3. การให้ความช่วยเหลือต่อชุมชนและสังคม บริษัทฯ ให้ความร่วมมือกับหน่วยงานราชการและ ภาครัฐ โดยให้การสนับสนุนศูนย์บริการโลหิตสภา กาชาดไทยอย่างต่อเนื่อง อาทิ การประชาสัมพันธ์ การร่วมบริจาคโลหิต การส่งเสริมให้พนักงานทัง้ ใน ส่วนกลางและในแต่ละสาขาของบริษัทฯ บริจาค โลหิตประจำปี และให้การสนับสนุนกาชาดจังหวัด ในจังหวัดทีบ่ ริษทั ฯ มีสาขาตัง้ อยู่ เป็นต้น นอกจากนี้ บริษทั ฯ ได้ให้ความช่วยเหลือประชาชนทีป่ ระสบภัย หนาวโดยการบริจาคผ้าห่มให้แก่ผู้ยากไร้ในจังหวัด ที่อยู่ในเขตภัยหนาว รวมทั้งการให้ความร่วมมือใน การรณรงค์หาทุนให้กับมูลนิธิช่วยคนปัญญาอ่อน แห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์ เพื่อช่วย เหลือและบรรเทาความเดือดร้อนแก่บุคคลปัญญา อ่อนและครอบครัวให้มีชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดี ขึ้น 4. การรักษาสิ่งแวดล้อม บริษัทฯ ตระหนักถึงความสำคัญในการรักษาสภาพ แวดล้อมให้ดีขึ้น โดยได้รณรงค์ในเรื่องการลดการ ใช้ถงุ พลาสติกและเปลีย่ นเป็นการใช้ถงุ กระดาษและ กระดาษห่อของขวัญที่ผลิตด้วยกระดาษรีไซเคิล ทดแทนอย่างต่อเนือ่ ง และในปีทผี่ า่ นมา บริษทั ฯได้ ลดการใช้ปริมาณกระดาษในสำนักงานโดยนำเอาระบบ

รายงานประจำปี 2552

75

ความรับผิดชอบต่อสังคม

บริษัทฯ มีนโยบายส่งเสริมในด้านความรับผิดชอบต่อสังคม โดยได้ปลูกจิตสำนึกให้กับพนักงานของบริษัทฯ ในทุก ระดับชั้นในแต่ละสาขาของบริษัทฯ ให้ตระหนักถึงความสำคัญของชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม ผ่านระบบการ ประชาสัมพันธ์ภายในของบริษัทฯ นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังมุ่งหวังให้โครงการต่างๆ สามารถคืนประโยชน์สูงสุดแก่สังคม และตอบแทนต่อชุมชนได้มากยิ่งขึ้น บริษัทฯ จึงได้ร่วมกับกลุ่มเซ็นทรัลในการจัดทำโครงการต่างๆ เพื่อแสดงออกถึง ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2552 บริษัทฯ ได้เน้นการส่งเสริมกิจกรรมใน 5 เรื่อง ได้แก่


หมุนเวียนไปตามแหล่งป่าขายเลนต่างๆ ของประเทศ E-Commerce มาใช้ในการดำเนินงานมากขึ้น เนื่องจากทางบริษัทฯ เล็งเห็นถึงความสำคัญของ รวมทัง้ ยังได้ตดิ ตัง้ และเปลีย่ นอุปกรณ์ เพือ่ ประหยัด ป่าชายเลน ซึง่ เป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติทสี่ ำคัญ พลังงานไฟฟ้า ควบคู่ไปกับการรณรงค์ ในเรื่องลด โดยในปี 2552 บริษทั ฯ ได้ให้เงินสนับสนุนโครงการ การใช้พลังงาน ซึ่งทำให้บริษัทสามารถประหยัด อนุรักษ์ป่าชายเลนที่ อ.ท่าฉลอม จ.สมุทรสาคร ไฟฟ้าได้ถึง 2.4 ล้านยูนิต นอกจากนี้บริษัทฯ ยังได้ พร้อมทั้งการตั้งกล่องรับบริจาคในทุกสาขาเพื่อ ปลูกจิตสำนึกที่ดีในการรักษาสิ่งแวดล้อมให้กับคน รวบรวมรายได้ไว้เป็นทุนในโครงการต่างๆ ของมูลนิธิ ในสังคมด้วยการสานต่อโครงการ “แบตเตอรี่ มีพิษ สิ่งแวดล้อมและเป็นการปลูกฝังจิตสำนึกในการ คิดก่อนทิ้ง” (Battery for Life) ซึ่งเป็นโครงการ อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่ดีแก่บุคคลทั่วไป เป็นต้น ที่บริษัทฯ จับมือร่วมกันกับ DTAC ในการรณรงค์ ให้ลูกค้าและประชาชนนำแบตเตอรี่มือถือที่ใช้แล้ว ทิง้ ลงในกล่องที่ได้จดั เตรียมไว้ ณ จุดประชาสัมพันธ์ 5. การทะนุบำรุงพุทธศาสนา และประเพณี ห้างสรรพสินค้าโรบินสันทุกสาขาทั่วประเทศ เพื่อ บริษัทฯ ได้ทำนุบำรุงและส่งเสริมพระพุทธศาสนา กระตุน้ ให้ลกู ค้าและประชาชนทัว่ ไปรูจ้ กั ทิง้ แบตเตอรี่ เพือ่ เป็นการสืบสานวัฒนธรรมและประเพณีทดี่ งี าม มื อ ถื อ อย่ า งถู กวิ ธี แ ละป้ อ งกั น ไม่ ใ ห้ ส ารพิ ษ จาก ของไทยต่อไปในอนาคต โดยได้ให้การสนับสนุน แบตเตอรี่กระจายไปสู่สิ่งแวดล้อมมากขึ้น การจัดกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับวันสำคัญทาง พุทธศาสนา โดยในปี 2552 บริษัทฯ ได้สมทบทุน นอกเหนือจากโครงการต่างๆ ที่บริษัทฯ ได้จัดทำ เพื่อใช้ในการบูรณะวัดต่างๆ ทั่วประเทศอย่าง ข้างต้นแล้ว บริษทั ฯ ยังมีการดำเนินการผ่านมูลนิธิ ต่อเนื่อง เพื่อสิ่งแวดล้อมต่างๆ อาทิ การให้การสนับสนุน โครงการอนุรักษ์ป่าชายเลนเป็นประจำทุกๆ ปี โดย

76

บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)


ความรับผิดชอบต่อสังคม

รายงานจากคณะกรรมการตรวจสอบ

ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน) ครั้งที่ 4 /2552 เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2552 มีมติแต่งตัง้ นายจรัล มงคลจันทร์ กรรมการอิสระ เป็น กรรมการตรวจสอบ เพิ่มขึ้นอีก 1 ท่าน ซึ่งเป็นผู้มีคุณสมบัติ ครบถ้วนตามแนวทางที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาด หลั ก ทรั พ ย์ ก ำหนด รวมทั้ ง มี ความรู้ ความสามารถ มี ประสบการณ์ และมีวิสัยทัศน์ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการทำ งานของคณะกรรมการตรวจสอบของบริษัทฯ ปัจจุบันคณะ กรรมการตรวจสอบ มี ทั้ ง สิ้ น 4 ท่ า น โดยมี นายสมชั ย อภิวฒ ั นพร ประธานคณะกรรมการตรวจสอบ เป็นผูม้ คี วามรู้ และประสบการณ์เพียงพอในการสอบทานความน่าเชื่อถือได้ ของงบการเงิน คณะกรรมการตรวจสอบ ได้ปฏิบัติหน้าที่ในปี 2552 เป็นไป ตามประกาศตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เรือ่ งคุณสมบัติ และขอบเขตการดำเนินงานของคณะกรรมการตรวจสอบ พ.ศ. 2551 และตามขอบเขตความรับผิดชอบที่ได้รับมอบ หมายจากคณะกรรมการบริษทั ฯ โดยมีการประชุมของคณะ กรรมการตรวจสอบทั้งสิ้น 5 ครั้ง และกรรมการตรวจสอบ ทุกท่านเข้าร่วมการประชุมทุกครั้ง รวมทั้งได้มีการหารือ ร่วมกับฝ่ายบริหาร ผู้สอบบัญชี และผู้ตรวจสอบภายในตาม วาระอันควร โดยได้รายงานแสดงความเห็น และให้ข้อเสนอ แนะอย่างอิสระตามที่พึงจะเป็น คณะกรรมการตรวจสอบได้ รายงานผลการดำเนินงานต่อคณะกรรมการบริษทั เป็นประจำ ทุกไตรมาส ซึ่งสรุปสาระสำคัญของผลการดำเนินงานได้ ดังนี้ ความถูกต้อง ครบถ้วน และเชื่อถือได้ของรายงาน ทางการเงิน สอบทานงบการเงินรายไตรมาส งบการเงินประจำปี 2552 และพิจารณารายงานผลการตรวจสอบร่วมกับผู้บริหาร และ ผู้สอบบัญชี โดยพิจารณาความครบถ้วนเชื่อถือได้ของการ เปิดเผยข้อมูลในงบการเงิน ประเด็นความเสีย่ งต่างๆ มาตรฐาน การบัญชีที่เกี่ยวข้อง หรือการเปลี่ยนแปลงมาตรฐานการบัญชี ระบบควบคุ ม ภายในด้ า นการเงิ น การบั ญ ชี และระบบ

สารสนเทศ คณะกรรมการตรวจสอบให้ความเห็นต่องบการ เงิน รายไตรมาส และงบการเงินประจำปี ว่ามีความถูกต้อง ตามที่ควรในสาระสำคัญตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป มีการ เปิดเผยข้อมูลที่สำคัญ รายการที่เกี่ยวข้องกัน และรา ยการทีอ่ าจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์อย่างเพีย งพอ ความเพียงพอของระบบควบคุมภายในและการตรวจสอบ ภายใน กำกับดูแลงานตรวจสอบภายใน ให้ปฏิบัติสอดคล้องกับ มาตรฐานวิชาชีพ โดยใช้วธิ กี ารประเมินความเสีย่ ง และระบบ ควบคุมภายในตามมาตรฐานของ COSO และใช้โปรแกรม คอมพิวเตอร์สนับสนุนงานตรวจสอบ เพื่อให้กระบวนการ ปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพ และมีระบบควบคุมภายในที่เพียง พอยิ่งขึ้น ตลอดจนพิจารณาแผนงานตรวจสอบประจำปี รายงานผลการตรวจสอบของสำนักตรวจสอบภายใน ติดตาม การดำเนินการแก้ไขอย่างต่อเนือ่ ง และให้ขอ้ เสนอแนะทัง้ ต่อ สำนักตรวจสอบภายในและฝ่ายบริหาร เพื่อปรับปรุงการ ปฏิบัติงาน ตลอดจนได้พิจารณาและให้การสนับสนุนด้าน อัตรากำลัง และการพัฒนาบุคลากรของสำนักตรวจสอบภาย ในอย่างต่อเนื่อง คณะกรรมการตรวจสอบมีความเห็นว่า ระบบควบคุมภายใน และการตรวจสอบภายในมีความเพียงพอ โดยให้ความเห็น ชอบต่อแผนงานตรวจสอบประจำปี รายงานผลการตรวจ สอบของสำนักตรวจสอบภายใน และรายงานผลการติดตาม กระบวนการและระบบงานต่างๆ โดยเสนอให้ฝ่ายบริหาร ปรับปรุงการปฏิบัติงานตามประเด็นที่ผู้ตรวจสอบภายใน ตรวจพบ การปฏิ บั ติ ต ามกฎหมายว่ า ด้ ว ยหลั ก ทรั พ ย์ แ ละตลาด หลักทรัพย์ ข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ และกฎหมายที่ เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท สอบทานให้บริษัทฯ ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์แห่ง ประเทศไทย และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัทฯ รายงานประจำปี 2552

77

รายงานจากคณะกรรมการตราจสอบ

เรียน ท่านผู้ถือหุ้น บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)


รวมถึงการปฏิบัติตามข้อกำหนดของบริษัทฯ และข้อผูกพัน ที่บริษัทฯ มีไว้กับบุคคลภายนอกอย่างสม่ำเสมอ คณะกรรมการตรวจสอบมีความเห็นว่า รายการที่บริษัทต้อง ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และกฎหมาย ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจนั้นมีการปฏิบัติถูกต้อง ครบถ้วน รายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ พิจารณารายการที่เกี่ยวโยงกัน หรือรายการที่อาจมีความ ขัดแย้งทางผลประโยชน์ ให้เป็นไปตามกฎหมาย และข้อกำหนด ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เพือ่ ให้มนั่ ใจว่ารายการ ดังกล่าวสมเหตุสมผลและเป็นประโยชน์สูงสุดต่อบริษัท คณะกรรมการตรวจสอบมีความเห็นว่า รายการทีเ่ กีย่ วโยงกัน ที่ได้พิจารณานั้น มีความสมเหตุสมผลและให้ข้อเสนอแนะ แก่ฝ่ายบริหารว่าควรจัดทำเอกสารประกอบการเปรียบเทียบ ราคากลาง / ตลาดทุกครั้ง และการตัดสินใจอนุมัติการทำ รายการนั้น ควรบันทึกเหตุผลสนับสนุนการอนุมัติการทำ รายการอย่างชัดเจน เพื่อให้มั่นใจว่าการพิจารณามีความ โปร่งใส ถูกต้อง และเป็นประโยชน์สูงสุดต่อบริษัท การบริหารความเสี่ยง สอบทานนโยบายแนวทางการบริหารความเสี่ยง แผนงาน การบริหารความเสี่ยงประจำปี 2552 และรับทราบรายงาน ความคื บ หน้ า ของการดำเนิ น งานตามแผนงานจากคณะ ทำงานบริหารความเสีย่ งอย่างสม่ำเสมอ ซึง่ ได้มกี ารทบทวน และปรับปรุงแผนการปฏิบัติการให้เหมาะสมกับสถานการณ์ คณะกรรมการตรวจสอบมีความเห็นว่า บริษัทฯ มีระบบการ บริหารความเสี่ยงที่เหมาะสม เพียงพอ การกำกับดูแลกิจการที่ดี ส่งเสริมและติดตาม ความคืบหน้าของกระบวนการพัฒนา การกำกับดูแลกิจการที่ดีอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งให้แนวทาง และข้อเสนอแนะที่จำเป็นเพื่อการพัฒนากระบวนการดังกล่าว

งานบริการสอบบัญชี รวมทั้งความพร้อมในการปฏิบัติตาม มาตรฐานการสอบบัญชี และการเสนอรายงานการสอบบัญชี จึงให้ความเห็นชอบเสนอต่อคณะกรรมการบริษัทให้แต่งตั้ง บริษัท เคพีเอ็มจี ภูมิไชย สอบบัญชี จำกัด เป็นผู้สอบ บัญชีของบริษัทฯ สำหรับปี 2553 โดยมีค่าบริการงานสอบ บัญชีของบริษัทฯ และบริษัทย่อย เป็น เงิน 3,620,000 บาท และบริษทั ย่อย เป็นเงิน 1,740,000 บาท ตามลำดับ รวมเป็น เงิน 5,360,000 บาท (ห้าล้านสามแสนหกหมื่นบาท) ซึ่ง เท่ากับค่าบริการงานสอบบัญชี ประจำปี 2552 เพือ่ เสนออนุมตั ิ ต่อที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้น การประเมินตนเองของคณะกรรมการตรวจสอบ จากการประเมินผลการปฏิบัติงานตนเองของคณะกรรมการ ตรวจสอบ ประจำปี 2552 เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2553 ใน 5 หมวด ได้แก่ หมวดองค์ประกอบของคณะกรรมการ ตรวจสอบ หมวดการฝึกอบรมและทรัพยากร หมวดการ ประชุม หมวดกิจกรรมของคณะกรรมการตรวจสอบ และหมวด ความสัมพันธ์กับผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโสสำนัก ตรวจสอบภายใน ผู้สอบบัญชี และผู้บริหาร ผลการประเมิน โดยสรุปว่า ได้ปฏิบัติงานอย่างเพียงพอและครบถ้วน โดยสรุปในภาพรวมแล้ว คณะกรรมการตรวจสอบได้ปฏิบัติ หน้าทีค่ รบถ้วนตามที่ได้ระบุไว้ในกฎบัตรคณะกรรมการตรวจ สอบที่ได้รบั อนุมตั จิ ากคณะกรรมการบริษทั ฯ และมีความเห็น ว่าบริษัทฯ มีกระบวนการจัดทำและการเปิดเผยข้อมูลใน รายงานทางการเงินอย่างถูกต้อง เหมาะสมและเชื่อถือได้ มีระบบการควบคุมภายใน การตรวจสอบภายใน การบริหาร ความเสี่ยงที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ มีการปฏิบัติตาม กฎหมาย ข้อกำหนด และข้อผูกพันต่างๆ มีการพิจารณาการ เข้ า ทำรายการที่ เ กี่ ย วโยงกั น อย่ า งรั ด กุ ม มี ก ารปฏิ บั ติ ทีส่ อดคล้องกับการกำกับดูแลกิจการทีด่ อี ย่างเพียงพอ โปร่งใส เชื่อถือได้ รวมทั้งมีการพัฒนาปรับปรุงระบบการปฏิบัติงาน ให้มคี ณ ุ ภาพดีขนึ้ และเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ อย่างต่อเนื่อง

คณะกรรมการตรวจสอบมีความเห็นว่า บริษัทฯ ควรพัฒนา และปรับปรุงการกำกับดูแลกิจการที่ดีอย่างต่อเนื่องต่อไป การพิจารณา คัดเลือกและเสนอแต่งตั้งผู้สอบบัญชี ประเมินผลการปฏิบัติงานปี 2552 ซึ่งเป็นปีที่หนึ่งของผู้ สอบบัญชีรายนี้ ผลการปฏิบัติงานโดยรวมเป็นที่น่าพึงพอใจ และพิจารณาความเป็นอิสระ ความเหมาะสมของค่าตอบแทน 78

บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

นายสมชัย อภิวัฒนพร ประธานกรรมการตรวจสอบ 16 กุมภาพันธ์ 2553


รายงานจากคณะกรรมการตราจสอบ

รายงานความรับผิดชอบของคณะกรรมการ ต่อรายงานทางการเงิน

คณะกรรมการได้จัดให้มีและดำรงรักษาไว้ซึ่งระบบควบคุมภายในที่มีประสิทธิผล เพื่อให้มั่นใจได้อย่างมีเหตุผลว่า การบันทึกข้อมูลทางบัญชีมีความถูกต้อง ครบถ้วน และเพียงพอที่จะดำรงรักษาไว้ซึ่งทรัพย์สินของบริษัท ในการนี้ คณะกรรมการบริษัทฯ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ ซึ่งประกอบด้วยกรรมการที่เป็นอิสระเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบ เกี่ยวกับคุณภาพของรายงานทางการเงินและระบบควบคุมภายใน และความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบเกี่ยวกับ เรื่องนี้ปรากฏในรายงานของคณะกรรมการตรวจสอบแล้ว คณะกรรมการบริษัทฯ มีความเห็นว่าระบบควบคุมภายในของบริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน) โดยรวม อยู่ในระดับที่น่าพอใจ และสามารถสร้างความเชื่อมั่นอย่างมีเหตุผลต่อความเชื่อถือได้ของงบการเงินรวมของบริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552

นายสุทธิศักดิ์ จิราธิวัฒน์ ประธานกรรมการ

นายปรีชา เอกคุณากูล กรรมการผู้จัดการใหญ่

รายงานประจำปี 2552

79

รายงานความรับผิดชอบของคณะกรรมการต่อรายงานทางการเงิน

คณะกรรมการบริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน) เป็นผู้รับผิดชอบต่องบการเงินรวมของ บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย และสารสนเทศทางการเงินที่ปรากฏในรายงานประจำปี ซึง่ งบการเงินดังกล่าวจัดทำขึน้ ตามมาตรฐานการบัญชีทรี่ บั รองทัว่ ไปในประเทศไทย โดยเลือกใช้นโยบายบัญชีทเี่ หมาะสม และถือปฏิบตั อิ ย่างสม่ำเสมอ และใช้ดลุ ยพินจิ อย่างระมัดระวังและประมาณการทีด่ ที สี่ ดุ ในการจัดทำ รวมทัง้ มีการเปิดเผย ข้อมูลสำคัญอย่างเพียงพอในหมายเหตุประกอบงบการเงิน


งบการเงินและรายงานของ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต เสนอ ผู้ถือหุ้นบริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน) ข้าพเจ้าได้ตรวจสอบงบดุลรวมและงบดุลเฉพาะกิจการ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 งบกำไรขาดทุนรวมและ งบกำไรขาดทุนเฉพาะกิจการ งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้นรวมและงบแสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของ ผู้ถือหุ้นเฉพาะกิจการ และงบกระแสเงินสดรวมและงบกระแสเงินสดเฉพาะกิจการ สำหรับปีสิ้นสุดวันเดียวกันของบริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน) และบริษทั ย่อย และของเฉพาะบริษทั ห้างสรรพสินค้า โรบินสัน จำกัด (มหาชน) ตามลำดับ ซึง่ ผูบ้ ริหารของกิจการเป็นผูร้ บั ผิดชอบต่อความถูกต้องและครบถ้วนของข้อมูลในงบการเงินเหล่านี้ ส่วนข้าพเจ้า เป็นผู้รับผิดชอบในการแสดงความเห็นต่องบการเงินดังกล่าวจากผลการตรวจสอบของข้าพเจ้า งบการเงินรวมและ งบการเงินเฉพาะกิจการสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2551 ของบริษัท ห้างสรรพสินค้า โรบินสัน จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย และของเฉพาะบริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน) ตามลำดับ ตรวจสอบโดยผู้สอบบัญชีอื่น ซึ่งได้แสดงความเห็นอย่างไม่มีเงื่อนไขตามรายงานลงวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2552 โดยมีวรรคเน้นเกี่ยวกับการเปลี่ยน นโยบายการบัญชีสำหรับค่าความนิยม และค่าความนิยมติดลบที่เกิดขึ้นจากการรวมธุรกิจ ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติงานตรวจสอบตามมาตรฐานการสอบบัญชีที่รับรองทั่วไป ซึ่งกำหนดให้ข้าพเจ้าต้องวางแผนและ ปฏิบัติงาน เพื่อให้ได้ความเชื่อมั่นอย่างมีเหตุผลว่างบการเงินแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญหรือไม่ การตรวจสอบรวมถึงการใช้วิธีการทดสอบหลักฐานประกอบรายการ ทั้งที่เป็นจำนวนเงินและการเปิดเผยข้อมูลในงบ การเงิน การประเมินความเหมาะสมของหลักการบัญชีที่กิจการใช้และประมาณการเกี่ยวกับรายการทางการเงินที่เป็น สาระสำคัญ ซึ่งผู้บริหารเป็นผู้จัดทำขึ้น ตลอดจนการประเมินถึงความเหมาะสมของการแสดงรายการที่นำเสนอใน งบการเงินโดยรวม ข้าพเจ้าเชื่อว่าการตรวจสอบดังกล่าวให้ข้อสรุปที่เป็นเกณฑ์อย่างเหมาะสมในการแสดงความเห็น ของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าเห็นว่า งบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการข้างต้นนี้ แสดงฐานะการเงินรวมและฐานะการเงินเฉพาะกิจการ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 ผลการดำเนินงานรวมและผลการดำเนินงานเฉพาะกิจการ และกระแสเงินสดรวมและ กระแสเงินสดเฉพาะกิจการ สำหรับปีสนิ้ สุดวันเดียวกันของบริษทั ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน) และบริษทั ย่อย และของเฉพาะบริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน) ตามลำดับ โดยถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญตาม หลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป บงกช อ่ำเสงี่ยม

ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต เลขทะเบียน 3684 บริษัท เคพีเอ็มจี ภูมิไชย สอบบัญชี จำกัด กรุงเทพมหานคร 16 กุมภาพันธ์ 2553 80

บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)


บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551

สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน เงินลงทุนในบริษัทย่อย 10 - - 1,247,320,965 466,847,990 เงินลงทุนในบริษัทร่วม 11 1,175,380,306 983,010,841 332,000,000 332,000,000 เงินลงทุนระยะยาวอื่น 6, 12 26,250,000 26,250,000 26,250,000 26,250,000 เงินให้กู้ยืมระยะยาวแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกัน 4 - - 61,223,493 61,223,493 ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ 13 2,296,311,749 1,717,302,477 1,635,322,622 999,627,019 สิทธิการเช่า 14 2,687,090,149 2,832,795,294 1,348,982,371 1,410,090,217 ค่าความนิยม 15 45,397,377 45,397,377 - สินทรัพย์ ไม่หมุนเวียนอื่น 16 349,193,879 353,358,334 140,111,296 141,780,485 รวมสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน 6,579,623,460 5,958,114,323 4,791,210,747 3,437,819,204 รวมสินทรัพย์ 10,608,219,457 9,666,412,658 8,454,484,218 8,131,628,932

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้ รายงานประจำปี 2552

81

งบดุล

(บาท) งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะกิจการ สินทรัพย์ หมายเหตุ 2552 2551 2552 2551 สินทรัพย์หมุนเวียน เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด 5 2,117,665,434 1,547,389,545 1,708,020,461 1,195,639,350 เงินลงทุนชั่วคราว 6 362,453,296 244,185,774 262,430,171 244,185,774 ลูกหนี้การค้า 4, 7 483,464,910 377,612,900 354,433,943 274,481,418 เงินให้กู้ยืมระยะสั้นแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกัน 4 - - 564,228,245 1,774,338,095 สินค้าคงเหลือ 8 809,072,147 779,592,667 537,885,738 478,731,929 สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น 9 255,940,210 759,517,449 236,274,913 726,433,162 รวมสินทรัพย์หมุนเวียน 4,028,595,997 3,708,298,335 3,663,273,471 4,693,809,728

งบการเงินและรายงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต

งบดุล


งบดุล (ต่อ) บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551

(บาท) งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะกิจการ หนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น หมายเหตุ 2552 2551 2552 2551 หนี้สินหมุนเวียน เจ้าหนี้การค้า 4, 17 2,768,340,860 2,426,109,613 1,630,234,078 1,383,271,652 เงินกู้ยืมระยะสั้นจากกิจการที่เกี่ยวข้องกัน 4, 18 - - 1,139,274,441 1,085,501,467 ภาษีเงินได้ค้างจ่าย 122,981,088 109,125,116 49,731,848 69,237,802 หนี้สินหมุนเวียนอื่น 4, 19 860,842,588 817,221,799 681,074,373 668,222,608 รวมหนี้สินหมุนเวียน 3,752,164,536 3,352,456,528 3,500,314,740 3,206,233,529 หนี้สินไม่หมุนเวียน เงินกู้ยืมระยะยาวจากกิจการที่เกี่ยวข้องกัน 4, 18 - - 113,300,000 113,300,000 รายได้ค่าเช่ารอรับรู้ 45,425,772 51,204,053 - หนี้สินไม่หมุนเวียนอื่น 20 13,699,200 14,199,200 - รวมหนี้สินไม่หมุนเวียน 59,124,972 65,403,253 113,300,000 113,300,000 รวมหนี้สิน 3,811,289,508 3,417,859,781 3,613,614,740 3,319,533,529 ส่วนของผู้ถือหุ้น ทุนเรือนหุ้น 21 ทุนจดทะเบียน 3,942,847,022 3,942,847,022 3,942,847,022 3,942,847,022 ทุนที่ออกและชำระแล้ว 3,942,847,022 3,942,847,022 3,942,847,022 3,942,847,022 หุ้นทุนซื้อคืน 22 (39,389,950) (12,797,150) (39,389,950) (12,797,150) ผลกำไร (ขาดทุน) ที่ยังไม่เกิดขึ้นจริง การเปลี่ยนแปลงในมูลค่ายุติธรรมของเงินลงทุน 12,219,522 (6,048,000) 12,196,397 (6,048,000) กำไรสะสม จัดสรรแล้ว ทุนสำรองตามกฎหมาย 23 231,265,000 207,317,000 231,265,000 207,317,000 สำรองหุ้นทุนซื้อคืน 23 39,389,950 12,797,150 39,389,950 12,797,150 ยังไม่ได้จัดสรร 2,475,548,722 1,954,601,120 654,561,059 667,979,381 รวมส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัท 6,661,880,266 6,098,717,142 4,840,869,478 4,812,095,403 ส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย 135,049,683 149,835,735 - รวมส่วนของผู้ถือหุ้น 6,796,929,949 6,248,552,877 4,840,869,478 4,812,095,403 รวมหนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น 10,608,219,457 9,666,412,658 8,454,484,218 8,131,628,932

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้ 82

บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)


งบดุล

งบกำไรขาดทุน บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้ รายงานประจำปี 2552

83

งบกำไรขาดทุน

(บาท) งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะกิจการ หมายเหตุ 2552 2551 2552 2551 รายได้ รายได้จากการขายสินค้า 4 12,842,281,973 12,417,011,866 7,323,947,089 7,286,620,411 รายได้ค่าเช่าและค่าบริการ 4 697,034,666 692,827,222 416,014,588 408,508,638 ดอกเบี้ยรับ 4, 25 18,933,348 34,794,470 89,960,668 207,146,883 รายได้อื่น 4, 26 455,432,226 407,107,339 487,002,486 456,978,689 รวมรายได้ 14,013,682,213 13,551,740,897 8,316,924,831 8,359,254,621 ค่าใช้จ่าย ต้นทุนขายสินค้า 9,841,447,278 9,529,497,238 5,576,633,192 5,578,293,855 ค่าใช้จ่ายในการขาย 4, 27 2,423,395,366 2,298,704,656 1,591,705,708 1,488,491,807 ค่าใช้จ่ายในบริหาร 4, 28 543,221,430 578,448,631 447,760,485 475,972,831 ค่าตอบแทนผู้บริหาร 29 49,306,654 48,506,981 49,306,654 48,506,981 รวมค่าใช้จ่าย 12,857,370,728 12,455,157,506 7,665,406,039 7,591,265,474 ส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุน ในบริษัทร่วม 11 192,369,466 171,024,826 - กำไรก่อนต้นทุนทางการเงินและภาษีเงินได้ 1,348,680,951 1,267,608,217 651,518,792 767,989,147 ต้นทุนทางการเงิน 4, 30 - - 8,751,944 6,950,329 กำไรก่อนภาษีเงินได้ 1,348,680,951 1,267,608,217 642,766,848 761,038,818 ภาษีเงินได้ 31 300,156,093 227,438,657 163,824,759 134,407,238 กำไรสำหรับปี 1,048,524,858 1,040,169,560 478,942,089 626,631,580 ส่วนของกำไรที่เป็นของ ผู้ถือหุ้นของบริษัท 1,013,308,013 1,020,033,107 478,942,089 626,631,580 ผู้ถือหุ้นส่วนน้อย 35,216,845 20,136,453 - - กำไรสำหรับปี 1,048,524,858 1,040,169,560 478,942,089 626,631,580 กำไรต่อหุ้นขั้นพื้นฐาน 32 0.92 0.92 0.43 0.56


84

บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

งบการเงินรวม ผลกำไร (ขาดทุน) ที่ยังไม่เกิดขึ้นจริง กำไรสะสม การเปลี่ยนแปลง ทุนสำรอง สำรอง รวมส่วนของผู้ถือ ส่วนของ หุ้นทุนซื้อคืน ในมูลค่ายุติธรรม ตามกฎหมาย หุ้นทุนซื้อคืน ยังไม่ได้ จัดสรร หุ้นเฉพาะบริษัท ผู้ถือหุ้นส่วนน้อย

รวมส่วน ของผู้ถือหุ้น

(บาท)

ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 1 มกราคม 2551 3,942,847,022 - - 175,917,000 - 1,423,007,898 5,541,771,920 154,700,733 5,696,472,653 ผลขาดทุนที่ยังไม่เกิดขึ้นจริง เงินลงทุนเผื่อขาย การเปลี่ยนแปลงในมูลค่ายุติธรรมสุทธิ ที่รับรู้ในส่วนของผู้ถือหุ้น - - (6,048,000) - - - (6,048,000) - (6,048,000) ค่าใช้จ่ายสุทธิของรายการที่รับรู้โดยตรง ในส่วนของผู้ถือหุ้น - - (6,048,000) - - - (6,048,000) - (6,048,000) กำไรสำหรับปี - - - - - 1,020,033,107 1,020,033,107 20,136,453 1,040,169,560 รวมส่วนของรายได้และค่าใช้จ่ายที่รับรู้ - - (6,048,000) - - 1,020,033,107 1,013,985,107 20,136,453 1,034,121,560 จัดสรรเป็นทุนสำรองตามกฎหมาย 23 - - - 31,400,000 - (31,400,000) - - เงินปันผล 33 - - - - - (444,242,735) (444,242,735) (25,001,451) (469,244,186) ซื้อหุ้นทุนคืน 22 - (12,797,150) - - - - (12,797,150) - (12,797,150) สำรองสำหรับหุ้นทุนซื้อคืน 23 - - - - 12,797,150 (12,797,150) - - ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 3,942,847,022 (12,797,150) (6,048,000) 207,317,000 12,797,150 1,954,601,120 6,098,717,142 149,835,735 6,248,552,877 หมายเหตุ ประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้

ทุนเรือนหุ้นที่ออก หมายเหตุ และชำระแล้ว

บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551

งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น


85

ผลกำไร (ขาดทุน) ที่ยังไม่เกิดขึ้นจริง กำไรสะสม การเปลี่ยนแปลง ทุนสำรอง สำรอง รวมส่วนของผู้ถือ ส่วนของ หุ้นทุนซื้อคืน ในมูลค่ายุติธรรม ตามกฎหมาย หุ้นทุนซื้อคืน ยังไม่ได้จัดสรร หุ้นเฉพาะบริษัท ผู้ถือหุ้นส่วนน้อย

งบการเงินรวม

รวมส่วน ของผู้ถือหุ้น

(บาท)

ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 1 มกราคม 2552 3,942,847,022 (12,797,150) (6,048,000) 207,317,000 12,797,150 1,954,601,120 6,098,717,142 149,835,735 6,248,552,877 ผลกำไรที่ยังไม่เกิดขึ้นจริง เงินลงทุนเผื่อขาย การเปลี่ยนแปลงในมูลค่ายุติธรรมสุทธิ ที่รับรู้ในส่วนของผู้ถือหุ้น - - 18,267,522 - - - 18,267,522 - 18,267,522 รายได้สุทธิของรายการที่รับรู้โดยตรง ในส่วนของผู้ถือหุ้น - - 18,267,522 - - - 18,267,522 - 18,267,522 กำไรสำหรับปี - - - - - 1,013,308,013 1,013,308,013 35,216,845 1,048,524,858 รวมส่วนของรายได้และค่าใช้จ่ายที่รับรู้ - - 18,267,522 - - 1,013,308,013 1,031,575,535 35,216,845 1,066,792,380 จัดสรรเป็นทุนสำรองตามกฎหมาย 23 - - - 23,948,000 - (23,948,000) - - เงินปันผล 33 - - - - - (441,819,611) (441,819,611) (50,002,897) (491,822,508) ซื้อหุ้นทุนคืน 22 - (26,592,800) - - - - (26,592,800) - (26,592,800) สำรองสำหรับหุ้นทุนซื้อคืน 23 - - - - 26,592,800 (26,592,800) - - ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 3,942,847,022 (39,389,950) 12,219,522 231,265,000 39,389,950 2,475,548,722 6,661,880,266 135,049,683 6,796,929,949 หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้

ทุนเรือนหุ้นที่ออก หมายเหตุ และชำระแล้ว

บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551

งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น (ต่อ)

งบแสดงการเปลี่ยนแปลงของผู้ถือหุ้น

รายงานประจำปี 2552


86

บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

งบการเงินเฉพาะกิจการ ผลกำไร (ขาดทุน) ที่ยังไม่เกิดขึ้นจริง กำไรสะสม การเปลี่ยนแปลง ทุนสำรอง สำรอง หุ้นทุนซื้อคืน ในมูลค่ายุติธรรม ตามกฎหมาย หุ้นทุนซื้อคืน ยังไม่ได้จัดสรร

รวมส่วน ของผู้ถือหุ้น

(บาท)

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้

ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 1 มกราคม 2551 3,942,847,022 - - 175,917,000 - 529,787,686 4,648,551,708 ผลขาดทุนที่ยังไม่เกิดขึ้นจริง เงินลงทุนเผื่อขาย การเปลี่ยนแปลงในมูลค่ายุติธรรมสุทธิที่รับรู้ในส่วนของผู้ถือหุ้น - - (6,048,000) - - - (6,048,000) ค่าใช้จ่ายสุทธิของรายการที่รับรู้โดยตรงในส่วนของผู้ถือหุ้น - - (6,048,000) - - - (6,048,000) กำไรสำหรับปี - - - - - 626,631,580 626,631,580 รวมส่วนของรายได้และค่าใช้จ่ายที่รับรู้ - - (6,048,000) - - 626,631,580 620,583,580 จัดสรรเป็นทุนสำรองตามกฎหมาย 23 - - - 31,400,000 - (31,400,000) เงินปันผล 33 - - - - - (444,242,735) (444,242,735) ซื้อหุ้นทุนคืน 22 - (12,797,150) - - - - (12,797,150) สำรองสำหรับหุ้นทุนซื้อคืน 23 - - - - 12,797,150 (12,797,150) ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 3,942,847,022 (12,797,150) (6,048,000) 207,317,000 12,797,150 667,979,381 4,812,095,403

ทุนเรือนหุ้นที่ออก หมายเหตุ และชำระแล้ว

บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551

งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น (ต่อ)


87

งบการเงินเฉพาะกิจการ ผลกำไร (ขาดทุน) ที่ยังไม่เกิดขึ้นจริง กำไรสะสม การเปลี่ยนแปลง ทุนสำรอง สำรอง หุ้นทุนซื้อคืน ในมูลค่ายุติธรรม ตามกฎหมาย หุ้นทุนซื้อคืน ยังไม่ได้จัดสรร

รวมส่วน ของผู้ถือหุ้น

(บาท)

ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 1 มกราคม 2552 3,942,847,022 (12,797,150) (6,048,000) 207,317,000 12,797,150 667,979,381 4,812,095,403 ผลกำไรที่ยังไม่เกิดขึ้นจริง เงินลงทุนเผื่อขาย การเปลี่ยนแปลงในมูลค่ายุติธรรมสุทธิที่รับรู้ในส่วนของผู้ถือหุ้น - - 18,244,397 - - - 18,244,397 รายได้สุทธิของรายการที่รับรู้โดยตรงในส่วนของผู้ถือหุ้น - - 18,244,397 - - - 18,244,397 กำไรสำหรับปี - - - - - 478,942,089 478,942,089 รวมส่วนของรายได้และค่าใช้จ่ายที่รับรู้ - - 18,244,397 - - 478,942,089 497,186,486 จัดสรรเป็นทุนสำรองตามกฎหมาย 23 - - - 23,948,000 - (23,948,000) เงินปันผล 33 - - - - (441,819,611) (441,819,611) ซื้อหุ้นทุนคืน 22 - (26,592,800) - - - - (26,592,800) สำรองสำหรับหุ้นทุนซื้อคืน 23 - - - - 26,592,800 (26,592,800) ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 3,942,847,022 (39,389,950) 12,196,397 231,265,000 39,389,950 654,561,059 4,840,869,478 หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้

ทุนเรือนหุ้นที่ออก หมายเหตุ และชำระแล้ว

บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551

งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น (ต่อ)

งบแสดงการเปลี่ยนแปลงของผู้ถือหุ้น

รายงานประจำปี 2552


งบกระแสเงินสด บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551

งบการเงินรวม 2552 2551

(บาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551

กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน กำไรสำหรับปี 1,048,524,858 1,040,169,560 478,942,089 626,631,580 รายการปรับปรุง ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย 641,724,527 630,086,889 410,212,209 381,233,476 ดอกเบี้ยรับ (18,933,348) (34,794,470) (89,960,668) (207,146,883) ต้นทุนทางการเงิน - - 8,751,944 6,950,329 เงินปันผลรับ (8,262,500) (262,500) (8,262,500) (262,500) หนี้สูญและหนี้สงสัยจะสูญ (กลับรายการ) 1,135,325 (1,054,888) (8,384,392) (37,510,356) ค่าเผื่อสินค้าล้าสมัยและเคลื่อนไหวช้า (กลับรายการ) 11,234,104 (42,827,133) 8,451,013 (43,942,414) กลับรายการจากค่าเผื่อด้อยค่าเงินลงทุน - - (6,482,293) ขาดทุน (กำไร) จากการจำหน่ายที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ (1,102,812) (508,624) (166,867) 114,564 ขาดทุนจากการตัดจำหน่ายภาษีหัก ณ ที่จ่าย - 2,045,859 - ส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนตามวิธีส่วนได้เสีย (192,369,466) (171,024,826) - กำไรจากการเปลี่ยนแปลงมูลค่าของเงินลงทุน - (233,773) - (233,773) รับรู้รายได้ค่าเช่า (5,778,282) (8,650,159) - ภาษีเงินได้ 300,156,093 227,438,657 163,824,759 134,407,238 1,776,328,499 1,640,384,592 956,925,294 860,241,261 การเปลี่ยนแปลงในสินทรัพย์และหนี้สินดำเนินงาน ลูกหนี้การค้า (106,987,335) 14,107,258 (80,893,604) 11,102,873 สินค้าคงเหลือ (40,713,584) (73,625,269) (67,604,822) (18,324,647) สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น 503,816,561 (413,085,438) 490,397,571 (398,163,510) สินทรัพย์ ไม่หมุนเวียนอื่น (2,417,054) 5,250,477 (5,876,827) (7,535,290) เจ้าหนี้การค้า 342,231,247 (56,723,547) 246,962,426 (66,794,001) หนี้สินหมุนเวียนอื่น (125,596,216) 115,046,394 (128,833,001) 151,209,429 หนี้สินไม่หมุนเวียนอื่น (500,000) (500,000) - จ่ายภาษีเงินได้ (289,999,260) (203,489,790) (183,330,713) (123,856,255) เงินสดสุทธิได้มาจากกิจกรรมดำเนินงาน 2,056,162,858 1,027,364,677 1,227,746,324 407,879,860

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้ 88

บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)


งบกระแสเงินสด

งบกระแสเงินสด (ต่อ) บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551 (บาท) งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551 2552 2551 กระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุน รับดอกเบี้ย 18,694,026 34,855,762 96,713,033 205,699,922 รับเงินปันผล 8,262,500 262,500 8,262,500 262,500 รับชำระคืนจากเงินให้กู้ยืม แก่กิจการที่เกี่ยวข้องกัน - - 9,006,396,645 5,819,245,751 เงินให้กู้ยืมแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกัน - - (5,864,193,842) (5,580,969,581) ซื้อที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ (854,594,995) (357,339,937) (794,183,890) (254,241,907) ขายที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ 4,524,808 2,879,370 2,139,572 392,361 เงินสดจ่ายเงินลงทุนในบริษัทย่อย - - ( 2,703,749,850) ซื้อเงินลงทุนชั่วคราว (100,000,000) (250,000,000) - (250,000,000) สิทธิการเช่าเพิ่มขึ้น (44,358,000) - (43,358,000) เงินสดสุทธิใช้ไปในกิจกรรมลงทุน (967,471,661) (569,342,305) (291,973,832) (59,610,954) กระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงิน ต้นทุนทางการเงิน - - (7,631,110) (5,766,533) จ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหุ้นของบริษัท (441,819,611) (444,242,735) (441,819,611) (444,242,735) จ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหุ้นส่วนน้อย (50,002,897) (25,001,451) - เงินสดรับจากเงินกู้ยืมระยะสั้นจากกิจการที่เกี่ยวข้องกัน - - 117,956,618 118,941,354 ชำระคืนเงินกู้ยืมระยะสั้นจากกิจการที่เกี่ยวข้องกัน - - (65,304,478) (42,460,877) ซื้อหุ้นทุนคืน (26,592,800) (12,797,150) (26,592,800) (12,797,150) เงินสดสุทธิใช้ไปในกิจกรรมจัดหาเงิน (518,415,308) (482,041,336) (423,391,381) (386,325,941) เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดเพิ่มขึ้น(ลดลง) สุทธิ 570,275,889 (24,018,964) 512,381,111 (38,057,035) เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ณ วันต้นปี 1,547,389,545 1,571,408,509 1,195,639,350 1,233,696,385 เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ณ วันสิ้นปี 2,117,665,434 1,547,389,545 1,708,020,461 1,195,639,350

รายการที่ไม่กระทบเงินสด ในระหว่างปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 กลุ่มบริษัทได้จัดซื้อที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ในราคาทุนรวม 1,019.8 ล้านบาท ซึ่งใน จำนวนนี้ บริษัทจัดซื้อเป็นเงินสดจำนวน 854.6 ล้านบาท และคงค้างเป็นหนี้สิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 จำนวน 165.2 ล้านบาท ในระหว่างปีสนิ้ สุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 บริษทั ได้จดั ซือ้ ทีด่ นิ อาคารและอุปกรณ์ในราคาทุนรวม 935.9 ล้านบาท ซึง่ ใน จำนวนนี้ บริษัทจัดซื้อเป็นเงินสดจำนวน 794.2 ล้านบาท และคงค้างเป็นหนี้สิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 จำนวน 141.7 ล้านบาท หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้ รายงานประจำปี 2552

89


หมายเหตุประกอบงบการเงิน บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551

หมายเหตุ สารบัญ

หมายเหตุ สารบัญ

1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19

20 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37

ข้อมูลทั่วไป เกณฑ์การจัดทำงบการเงิน นโยบายการบัญชีที่สำคัญ รายการที่เกิดขึ้นและยอดคงเหลือ กับบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด เงินลงทุนอื่น ลูกหนี้การค้า สินค้าคงเหลือ สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น เงินลงทุนในบริษัทย่อย เงินลงทุนในบริษัทร่วม เงินลงทุนระยะยาวอื่น ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ สิทธิการเช่า ค่าความนิยม สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น เจ้าหนี้การค้า หนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ย หนี้สินหมุนเวียนอื่น

90

บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

หนี้สินไม่หมุนเวียนอื่น ทุนเรือนหุ้น หุ้นทุนซื้อคืน สำรอง ข้อมูลทางการเงินจำแนกตามส่วนงาน ดอกเบี้ยรับ รายได้อื่น ค่าใช้จ่ายในการขาย ค่าใช้จ่ายในการบริหาร ค่าใช้จ่ายผลประโยชน์ตอบแทนพนักงาน ต้นทุนทางการเงิน ภาษีเงินได้ กำไรต่อหุ้นขั้นพื้นฐาน เงินปันผล เครื่องมือทางการเงิน ภาระผูกพันที่มีกับกิจการ ที่ไม่เกี่ยวข้องกันและอื่นๆ มาตรฐานการบัญชีที่ยังไม่ได้ ใช้ การจัดประเภทรายการใหม่


หมายหตุประกอบงบการเงิน

หมายเหตุประกอบงบการเงิน บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้ งบการเงินนี้ได้รับอนุมัติให้ออกงบการเงินจากกรรมการเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2553

1 ข้อมูลทั่วไป บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน) “บริษัท” เป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นในประเทศไทย และที่อยู่ จดทะเบียนตั้งอยู่เลขที่ 2 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย บริษัทจดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อเดือนมกราคม 2535 ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ในระหว่างปีได้แก่ บริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (ถือหุ้นร้อยละ 27.74 ) และ บริษัท ซี อาร์ จี บริการ จำกัด (ถือหุ้นร้อยละ 26.07) ซึ่งบริษัททั้งสองแห่งเป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นในประเทศไทย บริษทั และบริษทั ย่อยดำเนินธุรกิจหลักเกีย่ วกับห้างสรรพสินค้าภายใต้ชอื่ “โรบินสัน” นอกจากนีบ้ ริษทั ได้รว่ มลงทุน กับพันธมิตรธุรกิจบางกลุ่ม (บริษัทย่อยทางอ้อม) สำหรับพื้นที่นอกเขตกรุงเทพมหานคร โดยผ่านการถือหุ้นของ บริษัท ซีอาร์ (ประเทศไทย) จำกัด รายละเอียดของบริษัทย่อยของบริษัท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551 มีดังนี้ ชื่อกิจการ บริษัทย่อยทางตรง บริษัท โรบินสันอนุสาวรีย์ จำกัด บริษัท โรบินสันรัชดา จำกัด บริษัท โรบินสันนครินทร์ จำกัด บริษัท โรบินสันสุขุมวิท จำกัด บริษัท เครือเพชร จำกัด บริษัท เครือแก้ว จำกัด บริษัท ซีอาร์ (ประเทศไทย) จำกัด R-Trading (L) BHD. บริษัท อาร์ดี พัฒนา จำกัด บริษัท โรบินสัน เอส.พี.วี. จำกัด บริษัท ซีอาร์ ราชบุรี (ประเทศไทย) จำกัด

ลักษณะธุรกิจ

ประเทศ ที่กิจการจัดตั้ง

มิได้ดำเนินพาณิชยกิจ ประเทศไทย มิได้ดำเนินพาณิชยกิจ ประเทศไทย มิได้ดำเนินพาณิชยกิจ ประเทศไทย มิได้ดำเนินพาณิชยกิจ ประเทศไทย มิได้ดำเนินพาณิชยกิจ ประเทศไทย มิได้ดำเนินพาณิชยกิจ ประเทศไทย บริษัทลงทุน ประเทศไทย บริษัทลงทุน ประเทศมาเลเซีย พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ประเทศไทย บริษัทลงทุน ประเทศไทย ห้างสรรพสินค้า ประเทศไทย

บริษัทถือหุ้นร้อยละ 2552 2551 99.91 99.80 99.86 99.99 99.99 99.99 99.99 99.92 99.98 99.99 50.00 รายงานประจำปี 2552

99.91 99.80 99.86 99.99 99.99 99.99 99.99 99.92 99.98 99.99 50.00 91


ชื่อกิจการ

ลักษณะธุรกิจ

ประเทศ ที่กิจการจัดตั้ง

บริษัทย่อยทางอ้อม บริษัท ซีอาร์ อุดรธานี (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท ซีอาร์ ภูเก็ต (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท ซีอาร์ นครศรีธรรมราช (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท ซีอาร์ หาดใหญ่ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท ซีอาร์ เชียงใหม่ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท ซีอาร์ อุบลราชธานี (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท ซีอาร์ จันทบุรี (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท ซีอาร์ ราชบุรี (ประเทศไทย) จำกัด

ห้างสรรพสินค้า ห้างสรรพสินค้า ห้างสรรพสินค้า ห้างสรรพสินค้า ห้างสรรพสินค้า ห้างสรรพสินค้า ห้างสรรพสินค้า ห้างสรรพสินค้า

ประเทศไทย ประเทศไทย ประเทศไทย ประเทศไทย ประเทศไทย ประเทศไทย ประเทศไทย ประเทศไทย

บริษัทถือหุ้นร้อยละ 2552 2551 76.00 49.99 49.99 76.00 89.99 74.99 64.99 49.99

76.00 49.99 49.99 76.00 89.99 74.99 64.99 49.99

ในเดือนพฤษภาคม 2552 คณะกรรมการของบริษัท ได้มีมติยกเลิกกิจการของบริษัทย่อย 2 แห่งได้แก่ บริษัท โรบินสัน อนุสาวรีย์ จำกัด และ บริษัท เครือเพชร จำกัด โดยการดำเนินการดังกล่าวไม่มีผลกระทบต่อการ ดำเนินธุรกิจของบริษัทแต่อย่างใด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 บริษัทอยู่ระหว่างดำเนินการตามกฎหมาย

2 เกณฑ์การจัดทำงบการเงิน งบการเงินนี้นำเสนอเพื่อวัตถุประสงค์ของการรายงานเพื่อใช้ในประเทศไทย และจัดทำเป็นภาษาไทย งบการเงิน ฉบับภาษาอังกฤษได้จัดทำขึ้นเพื่อความสะดวกของผู้อ่านงบการเงินที่ไม่คุ้นเคยกับภาษาไทย งบการเงินนี้จัดทำขึ้นตามมาตรฐานการบัญชีและมาตรฐานการรายงานทางการเงิน รวมถึงการตีความและแนว ปฏิบัติทางการบัญชีที่ประกาศใช้โดยสภาวิชาชีพบัญชีฯ (“สภาวิชาชีพบัญชี”) และจัดทำขึ้นตามหลักการบัญชีที่ รับรองทั่วไปของประเทศไทย เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2552 สภาวิชาชีพบัญชีได้ออกประกาศฉบับที่ 12/2552 การจัดเลขระบุฉบับมาตรฐาน การบัญชีของไทยใหม่ให้ตรงตามมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ กลุ่มบริษัทได้ใช้มาตรฐานการบัญชีและมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่ปรับปรุงใหม่ตลอดจนแนวปฏิบัติทาง การบัญชีที่ออกโดยสภาวิชาชีพบัญชีในระหว่างปี 2551 และ 2552 ต่อไปนี้ ซึ่งมีผลบังคับสำหรับงบการเงินที่มี รอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2552 เป็นต้นไป มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 36 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง การด้อยค่าของสินทรัพย์ มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 5 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง สินทรัพย์ ไม่หมุนเวียนที่ถือไว้เพื่อขายและ การดำเนินงานที่ยกเลิก (ฉบับ 54 เดิม) 92

บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)


หมายหตุประกอบงบการเงิน

แม่บทการบัญชี เพื่อจัดทำและนำเสนองบการเงิน (ปรับปรุง 2550) (มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 26 มิถุนายน 2552) แนวปฏิบัติทางการบัญชีสำหรับการบันทึกบัญชีสิทธิการเช่า (มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 26 มิถุนายน 2552) การใช้มาตรฐานการบัญชีและมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับปรับปรุงตลอดจนแนวปฏิบัติทางการบัญชี เหล่านี้ ไม่มีผลกระทบที่เป็นสาระสำคัญกับงบการเงินรวมหรืองบการเงินเฉพาะกิจการ ในระหว่างปี 2552 สภาวิชาชีพบัญชีได้ปรับปรุงมาตรฐานการบัญชี ซึ่งยังไม่มีผลบังคับในปัจจุบัน และไม่ได้มี การนำมาใช้สำหรับการจัดทำงบการเงินนี้ มาตรฐานการบัญชีที่ได้ปรับปรุงใหม่เหล่านี้ได้เปิดเผยในหมายเหตุ ประกอบงบการเงินข้อ 36 งบการเงินนี้แสดงหน่วยเงินตราเป็นเงินบาท และมีการปัดเศษในหมายเหตุประกอบงบการเงินเพื่อให้แสดงเป็น หลักพันบาท งบการเงินนี้ได้จดั ทำขึน้ โดยถือหลักเกณฑ์การบันทึกตามราคาทุนเดิม ยกเว้นทีก่ ล่าวไว้ในนโยบาย การบัญชี ในการจัดทำงบการเงินให้เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีและมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ผู้บริหารต้องใช้ การประมาณ และข้อสมมติฐานหลายประการ ซึ่งมีผลกระทบต่อการกำหนดนโยบายและการรายงานจำนวนเงิน ที่เกี่ยวกับ สินทรัพย์ หนี้สิน รายได้ และค่าใช้จ่าย ผลที่เกิดขึ้นจริงอาจแตกต่างจากที่ประมาณไว้ ประมาณการและข้อสมมติฐานที่ใช้ในการจัดทำงบการเงินจะได้รับการทบทวนอย่างต่อเนื่อง การปรับประมาณ การทางบัญชีจะบันทึกในงวดบัญชีที่ประมาณการดังกล่าวได้รับการทบทวนและในงวดอนาคตที่ได้รับผลกระทบ

3 นโยบายการบัญชีที่สำคัญ (ก) เกณฑ์ในการจัดทำงบการเงินรวม งบการเงินรวมประกอบด้วยงบการเงินของบริษัทและบริษัทย่อย (รวมกันเรียกว่า “กลุ่มบริษัท”) และส่วน ได้เสียของกลุ่มบริษัทในบริษัทร่วม บริษัทย่อย บริษัทย่อยเป็นกิจการที่อยู่ภายใต้การควบคุมของกลุ่มบริษัท การควบคุมเกิดขึ้นเมื่อกลุ่มบริษัทมีอำนาจ ควบคุมทั้งทางตรงหรือทางอ้อมในการกำหนดนโยบายทางการเงินและการดำเนินงานของกิจการนั้น เพื่อ ได้มาซึง่ ประโยชน์จากกิจกรรมของบริษทั ย่อย งบการเงินของบริษทั ย่อยได้รวมอยู่ในงบการเงินรวม นับแต่ วันที่มีการควบคุมจนถึงวันที่การควบคุมสิ้นสุดลง นโยบายการบัญชีของบริษัทย่อยได้ถูกเปลี่ยนตามความ จำเป็นเพื่อให้เป็นนโยบายเดียวกันกับของกลุ่มบริษัท

รายงานประจำปี 2552

93


บริษัทร่วม บริษัทร่วมเป็นกิจการที่กลุ่มบริษัทมีอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญ โดยมีอำนาจเข้าไปมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ เกี่ยวกับนโยบายทางการเงิน และการดำเนินงานแต่ไม่ถึงระดับที่จะควบคุมนโยบายดังกล่าว การมีอิทธิพล อย่างมีนัยสําคัญถูกสันนิษฐานว่ามีอยู่เมื่อกลุ่มบริษัทมีอํานาจในการออกเสียงในกิจการอื่นตั้งแต่ร้อยละ 20 ถึง ร้อยละ 50 งบการเงินรวมของกลุม่ บริษทั ได้รวมส่วนแบ่งรายได้ ค่าใช้จา่ ย และ การเคลือ่ นไหวของส่วน ของเจ้าของของบริษัทร่วมนับจากวันที่มีอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญจนถึงวันที่การมีอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญ สิ้นสุดลง เมื่อผลขาดทุนที่กลุ่มบริษัทได้รับปันส่วนจากบริษัทร่วมมีจำนวนเกินกว่าเงินลงทุนในบริษัทร่วม เงินลงทุนจะถูกทอนลงจนเป็นศูนย์และหยุดรับรู้ส่วนผลขาดทุน เว้นแต่กรณีที่กลุ่มบริษัทมีภาระผูกพัน ตามกฎหมายหรืออนุมานหรือยินยอมที่จะชำระภาระผูกพันของบริษัทร่วม การตัดรายการในงบการเงินรวม ยอดคงเหลือและรายการบัญชีระหว่างกิจการในกลุ่ม รวมถึงรายไดหรือค่าใช้จ่ายที่ยังไม่เกิดขึ้นจริงซึ่งเป็น ผลมาจากรายการระหว่างกิจการในกลุม่ ถูกตัดรายการในการจัดทำงบการเงินรวม กำไรทีย่ งั ไม่เกิดขึน้ จริง ซึ่งเป็นผลมาจากรายการกับบริษัทร่วมถูกตัดรายการกับเงินลงทุนเท่าที่กลุ่มบริษัทมีส่วนได้เสียในกิจการที่ ถูกลงทุนนั้น ขาดทุนที่ยังไม่เกิดขึ้นจริงถูกตัดรายการในลักษณะเดียวกับกำไรที่ยังไม่เกิดขึ้นจริง แต่เท่าที่ เมื่อไม่มีหลักฐานการด้อยค่าเกิดขึ้น

(ข) เงินตราต่างประเทศ รายการบัญชีที่เป็นเงินตราต่างประเทศแปลงค่าเป็นเงินบาทโดยใช้อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่เกิดรายการ สินทรัพย์และหนี้สินที่เป็นตัวเงินและเป็นเงินตราต่างประเทศ ณ วันที่ในรายงาน แปลงค่าเป็นเงินบาทโดย ใช้อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันนั้น กำไรหรือขาดทุนจากการแปลงค่าจะบันทึกในงบกำไรขาดทุน สินทรัพย์และหนี้สินที่ไม่เป็นตัวเงินซึ่งเกิดจากรายการบัญชีที่เป็นเงินตราต่างประเทศซึ่งบันทึกตามเกณฑ์ ราคาทุนเดิม แปลงค่าเป็นเงินบาทโดยใช้อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่เกิดรายการ

(ค) เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดประกอบด้วย ยอดเงินสด ยอดเงินฝากธนาคารประเภทเผือ่ เรียก และเงิน ลงทุนระยะสั้นที่มีสภาพคล่องสูง เงินเบิกเกินบัญชีธนาคารซึ่งจะต้องชำระคืนเมื่อทวงถามถือเป็นส่วนหนึ่ง ของกิจกรรมจัดหาเงินในงบกระแสเงินสด

(ง) ลูกหนี้การค้าและลูกหนี้อื่น

ลูกหนี้การค้าและลูกหนี้อื่น แสดงในราคาตามใบแจ้งหนี้หักค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ

94

บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)


หมายหตุประกอบงบการเงิน

ค่าเผือ่ หนีส้ งสัยจะสูญประเมินโดยการวิเคราะห์ประวัตกิ ารชำระหนี้ และการคาดการณ์เกีย่ วกับการชำระหนี้ ในอนาคตของลูกค้า ลูกหนี้จะถูกตัดจำหน่ายบัญชีเมื่อทราบว่าเป็นหนี้สูญ

(จ) สินค้าคงเหลือ สินค้าคงเหลือแสดงในราคาทุนหรือมูลค่าสุทธิที่จะได้รับแล้วแต่ราคาใดจะต่ำกว่า ต้นทุนของสินค้าคำนวณโดยใช้วิธีถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก ต้นทุนสินค้าประกอบด้วยต้นทุนที่ซื้อ ต้นทุนในการ ดัดแปลงหรือต้นทุนอื่นเพื่อให้สินค้าอยู่ในสถานที่ และสภาพปัจจุบัน มูลค่าสุทธิที่จะได้รับเป็นการประมาณราคาที่จะขายได้จากการดำเนินธุรกิจปกติหักด้วยค่าใช้จ่ายที่จำเป็น ในการขาย

(ฉ) เงินลงทุน เงินลงทุนในบริษัทย่อยและบริษัทร่วม เงินลงทุนในบริษัทย่อยและบริษัทร่วมในงบการเงินเฉพาะกิจการของบริษัท บันทึกบัญชีโดยใช้วิธีราคาทุน ส่วนการบันทึกบัญชีเงินลงทุนในบริษัทร่วมในงบการเงินรวมใช้วิธีส่วนได้เสีย เงินลงทุนในตราสารทุนอื่น ตราสารทุนซึง่ เป็นหลักทรัพย์ในความต้องการของตลาดซึง่ ถือไว้เพือ่ ค้า จัดประเภทเป็นสินทรัพย์หมุนเวียน และแสดงในมูลค่ายุติธรรม กำไรหรือขาดทุนจากการตีราคาหลักทรัพย์ ได้บันทึกในงบกำไรขาดทุน ตราสารทุนซึ่งเป็นหลักทรัพย์ ในความต้องการของตลาด นอกเหนือจากที่ถือไว้เพื่อค้าหรือตั้งใจถือไว้จน ครบกำหนด จัดประเภทเป็นเงินลงทุนเผื่อขาย ภายหลังการรับรู้มูลค่าในครั้งแรกเงินลงทุนเผื่อขายแสดง ในมูลค่ายุติธรรม และการเปลี่ยนแปลงที่ไม่ใช่ผลขาดทุนจากการด้อยค่าและผลต่างจากสกุลเงินตราต่าง ประเทศของรายการที่เป็นตัวเงิน บันทึกโดยตรงในส่วนของผู้ถือหุ้น ส่วนผลขาดทุนจากการด้อยค่าและผล ต่างจากการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศรับรู้ในงบกำไรขาดทุน เมื่อมีการจำหน่ายเงินลงทุน จะรับรู้ผล กำไรหรือขาดทุนที่เคยบันทึกในส่วนของผู้ถือหุ้นโดยตรงเข้าในงบกำไรขาดทุน ในกรณีที่เป็นเงินลงทุน ประเภทที่มีดอกเบี้ย จะต้องบันทึกดอกเบี้ยในงบกำไรขาดทุนโดยวิธีอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง เงินลงทุนในตราสารทุนซึ่งไม่ใช่หลักทรัพย์ในความต้องการของตลาดแสดงในราคาทุนหักขาดทุนจากการ ด้อยค่า มูลค่ายุติธรรมของเครื่องมือทางการเงินสำหรับหลักทรัพย์เพื่อค้าและหลักทรัพย์เผื่อขายจะใช้ราคาเสนอ ซื้อ ณ วันที่รายงาน รายงานประจำปี 2552

95


การจำหน่ายเงินลงทุน เมื่อมีการจำหน่ายเงินลงทุน ผลต่างระหว่างจำนวนเงินสุทธิที่ได้รับและมูลค่าตามบัญชี และรวมถึงกำไร หรือขาดทุนจากการตีราคาหลักทรัพย์ที่เกี่ยวข้องที่เคยบันทึกในส่วนของผู้ถือหุ้นจะถูกบันทึกในงบกำไร ขาดทุน ในกรณีทกี่ ลุม่ บริษทั จำหน่ายบางส่วนของเงินลงทุนทีถ่ อื อยู่ การคำนวณต้นทุนสำหรับเงินลงทุนทีจ่ ำหน่าย ไปและเงินลงทุนที่ยังถืออยู่ใช้วิธีถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก

(ช) ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ สินทรัพย์ที่เป็นกรรมสิทธิ์ของกิจการ ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์แสดงด้วยราคาทุนหักค่าเสื่อมราคาสะสมและขาดทุนจากการด้อยค่า ค่าเสื่อมราคา ค่าเสื่อมราคาบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุน ตามเกณฑ์อายุการใช้งานโดยประมาณของสินทรัพย์ แต่ละรายการ อาคารและอุปกรณ์ที่ซื้อหรือได้มาก่อนปี 2544 คำนวณค่าเสื่อมราคาโดยวิธีเส้นตรง ส่วน อุปกรณ์ที่ซื้อหรือได้มาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2544 คำนวณค่าเสื่อมราคาโดยวิธีผลรวมจำนวนปี ประมาณ การอายุการใช้งานของสินทรัพย์แสดงได้ดังนี้ ส่วนปรับปรุงที่ดิน ส่วนปรับปรุงสิทธิการเช่า อาคารและสิ่งปลูกสร้าง ส่วนปรับปรุงอาคารและสิ่งปลูกสร้าง อุปกรณ์ระบบสารสนเทศ อุปกรณ์ระบบงานอาคาร เครื่องตกแต่ง ติดตั้งและอุปกรณ์สำนักงาน ยานพาหนะ

5 ปี 20 ปี 20 ปี 5-20 ปี 5-10 ปี 5-10 ปี 5 ปี 5 ปี

กลุ่มบริษัทไม่คิดค่าเสื่อมราคาสำหรับที่ดินและสินทรัพย์ที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง

(ซ) สิทธิการเช่า สิทธิการเช่าบันทึกบัญชีด้วยราคาทุนหักขาดทุนจากการด้อยค่า ค่าตัดจำหน่าย สิทธิการเช่าตัดบัญชีเป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุน คำนวณโดยวิธีเส้นตรงตามระยะเวลาของสัญญาเช่า

96

บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)


หมายหตุประกอบงบการเงิน

(ฌ) สินทรัพย์ไม่มีตัวตน ค่าความนิยม ค่าความนิยมจากการรวมธุรกิจ ได้แก่ต้นทุนการได้มาของสินทรัพย์สุทธิที่ระบุได้ส่วนที่เกินกว่ามูลค่า ยุติธรรมของสินทรัพย์สุทธินั้น ค่าความนิยมติดลบจากการรวมธุรกิจได้แก่มูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ สุทธิทร่ี ะบุได้ ส่วนทีเ่ กินกว่าต้นทุนการได้มาของสินทรัพย์สทุ ธินน้ั กลุม่ บริษทั ได้มกี ารเปลีย่ นแปลงนโยบาย การบัญชีสำหรับค่าความนิยม ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2551 ดังนี้

ค่าความนิยมที่ได้มาก่อนวันที่ 1 มกราคม 2551 ค่าความนิยมและค่าความนิยมติดลบแสดงในราคาทุน ณ วันที่เริ่มรับรู้รายการและตัดจำหน่ายตามระยะ เวลาทีค่ าดว่าจะได้รบั ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจเป็นเวลา 20 และ 27 ปี ณ วันที่ 1 มกราคม 2551 กลุม่ บริษทั หยุดตัดจำหน่ายค่าความนิยม ยอดคงเหลือของค่าความนิยมได้ถูกทดสอบการด้อยค่าตามที่อธิบายใน หมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 3 (ญ) ค่าความนิยมติดลบทีย่ กยอดมาในงบการเงิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 ถูกตัดรายการโดยการปรับปรุงกับกำไรสะสมที่ไม่ได้จดั สรร ณ วันที่ 1 มกราคม 2551 ค่าความนิยมที่ได้มาในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2551 ค่าความนิยมวัดมูลค่าด้วยราคาทุนหักค่าเผือ่ การด้อยค่าสะสม ค่าความนิยมได้ถกู ทดสอบการด้อยค่าตาม ทีอ่ ธิบายในหมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 3 (ญ) ค่าความนิยมติดลบรับรูท้ นั ทีในงบกำไรขาดทุน สินทรัพย์ไม่มีตัวตนอื่นๆ สินทรัพย์ไม่มตี วั ตนอืน่ ๆ ทีก่ ลุม่ บริษทั ซือ้ มาและมีอายุการใช้งานจำกัด แสดงในราคาทุนหักค่าตัดจำหน่าย สะสมและขาดทุนจากการด้อยค่า สินทรัพย์ ไม่มีตัวตนอื่นถูกตัดจำหน่ายและบันทึกในงบกำไรขาดทุนโดย วิธเี ส้นตรงตามเกณฑ์ระยะเวลาทีค่ าดว่าจะได้รบั ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจนับจากวันทีอ่ ยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน ระยะเวลาทีค่ าดว่าจะได้รบั ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจของค่าลิขสิทธิซ์ อฟท์แวร์ คือ 5 ปี 10 ปี และ 27 ปี

(ญ) การด้อยค่า ยอดสินทรัพย์ตามบัญชีของกลุม่ บริษทั ได้รบั การทบทวน ณ ทุกวันที่ในรายงานว่ามีขอ้ บ่งชีเ้ รือ่ งการด้อยค่า หรือไม่ ในกรณีทม่ี ขี อ้ บ่งชีจ้ ะทำการประมาณมูลค่าสินทรัพย์ทค่ี าดว่าจะได้รบั คืน มูลค่าทีค่ าดว่าจะได้รบั คืน ของค่าความนิยมจะถูกประมาณ ณ ทุกวันทีร่ ายงานก็ตอ่ เมือ่ มีขอ้ บ่งชีเ้ รือ่ งการด้อยค่า ขาดทุนจากการด้อยค่ารับรูเ้ มือ่ มูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์ หรือมูลค่าตามบัญชีของหน่วยสินทรัพย์ทก่ี อ่ ให้เกิดเงินสดสูงกว่ามูลค่าที่จะได้รับคืน ขาดทุนจากการด้อยค่าบันทึกในงบกำไรขาดทุน เว้นแต่เมื่อมีการ กลับรายการการประเมินมูลค่าของสินทรัพย์เพิ่มของสินทรัพย์ช้ินเดียวกันที่เคยรับรู้ในส่วนของผู้ถือหุ้น และมีการด้อยค่าในเวลาต่อมา ในกรณีนจ้ี ะรับรูใ้ นส่วนของผูถ้ อื หุน้

รายงานประจำปี 2552

97


เมื่อมีการลดลงในมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ทางการเงินเผื่อขาย ซึ่งได้บันทึกในส่วนของผู้ถือหุ้น และมี ความชัดเจนว่าสินทรัพย์ดังกล่าวมีการด้อยค่า ยอดขาดทุนซึ่งเคยบันทึกในส่วนของผู้ถือหุ้นจะถูกบันทึกใน งบกำไรขาดทุนโดยไม่ตอ้ งปรับกับยอดสินทรัพย์ทางการเงินดังกล่าว ยอดขาดทุนทีบ่ นั ทึกในงบกำไรขาดทุน เป็นผลต่างระหว่างราคาทุนที่ซื้อกับมูลค่ายุติธรรมในปัจจุบันของสินทรัพย์ หักขาดทุนจากการด้อยค่าของ สินทรัพย์ทางการเงินนั้นๆ ซึ่งเคยรับรู้แล้วในงบกำไรขาดทุน การคำนวณมูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืน มูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืนของหลักทรัพย์ท่ีถือไว้จนกว่าจะครบกำหนดและลูกหนี้ท่ีบันทึกโดยวิธีราคาทุนตัด จำหน่าย คำนวณโดยการหามูลค่าปัจจุบันของประมาณการกระแสเงินสดที่จะได้รับในอนาคต คิดลดด้วย อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง สำหรับลูกหนี้ระยะสั้นไม่มีการคิดลด มูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืนของสินทรัพย์ทางการเงินสำหรับหลักทรัพย์เผื่อขาย คำนวณโดยอ้างอิงถึงมูลค่า ยุติธรรม มูลค่าทีค่ าดว่าจะได้รบั คืนของสินทรัพย์ที่ไม่ใช่สนิ ทรัพย์ทางการเงิน หมายถึง มูลค่าจากการใช้ของสินทรัพย์ หรือมูลค่ายุตธิ รรมของสินทรัพย์หกั ต้นทุนในการขายแล้วแต่มลู ค่าใดจะสูงกว่า ในการประเมินมูลค่าจากการ ใช้ของสินทรัพย์ ประมาณการกระแสเงินสดที่จะได้รับในอนาคตจะคิดลดเป็นมูลค่าปัจจุบันโดยใช้อัตราคิด ลดก่อนคำนึงภาษีเงินได้ เพื่อให้สะท้อนมูลค่าที่อาจประเมินได้ในตลาดปัจจุบัน ซึ่งแปรไปตามเวลาและ ความเสี่ยงที่มีต่อสินทรัพย์ สำหรับสินทรัพย์ที่ไม่ก่อให้เกิดกระแสเงินสดรับโดยอิสระจากสินทรัพย์อื่น จะ พิจารณามูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืนรวมกับหน่วยสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดเงินสดที่สินทรัพย์นั้นเกี่ยวข้องด้วย การกลับรายการด้อยค่า ขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์ทางการเงิน จะถูกกลับรายการ เมื่อมูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืนเพิ่มขึ้น ในภายหลัง และการเพิ่มขึ้นนั้นสัมพันธ์โดยตรงกับขาดทุนจากการด้อยค่าที่เคยรับรู้ ส่วนสินทรัพย์ทางการ เงินที่เป็นตราสารทุนที่จัดประเภทเป็นหลักทรัพย์เผื่อขาย การกลับรายการจะถูกรับรู้โดยตรงในส่วนของผู้ ถือหุ้น ขาดทุนจากการด้อยค่าของค่าความนิยมจะไม่มีการปรับปรุงกลับรายการ ขาดทุนจากการด้อยค่าของ สินทรัพย์ที่ไม่ใช่สนิ ทรัพย์ทางการเงินอืน่ ๆ ทีเ่ คยรับรูใ้ นงวดก่อนจะถูกประเมิน ณ ทุกวันทีท่ อี่ อกรายงานว่ามี ข้อบ่งชีเ้ รือ่ งการด้อยค่าหรือไม่ ขาดทุนจากการด้อยค่าจะถูกกลับรายการ หากมีการเปลีย่ นแปลงประมาณ การที่ใช้ในการคำนวณมูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืน ขาดทุนจากการด้อยค่าจะถูกกลับรายการเพียงเท่าที่มูลค่า ตามบัญชีของสินทรัพย์ไม่เกินกว่ามูลค่าตามบัญชีภายหลังหักค่าเสือ่ มราคาหรือค่าตัดจำหน่าย เสมือนหนึง่ ไม่เคยมีการบันทึกขาดทุนจากการด้อยค่ามาก่อน

98

บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)


หมายหตุประกอบงบการเงิน

(ฎ) หนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ย

หนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยบันทึกในราคาทุน

(ฏ) เจ้าหนี้การค้าและเจ้าหนี้อื่น

เจ้าหนี้การค้าและเจ้าหนี้แสดงในราคาทุน

(ฐ) ผลประโยชน์พนักงาน

โครงการสมทบเงิน ภาระหนี้สินตามโครงการสมทบเงินจะบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุนเมื่อเกิดขึ้น

(ฑ) ประมาณการหนี้สิน ประมาณการหนี้สินจะรับรู้ก็ต่อเมื่อกลุ่มบริษัทมีภาระหนี้สินตามกฎหมายที่เกิดขึ้นในปัจจุบันหรือที่ก่อตัว ขึ้นอันเป็นผลมาจากเหตุการณ์ในอดีต และมีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่นอนว่าประโยชน์เชิงเศรษฐกิจจะ ต้องถูกจ่ายไปเพือ่ ชำระภาระหนีส้ นิ ดังกล่าว และสามารถประมาณจำนวนภาระหนีส้ นิ ได้อย่างน่าเชือ่ ถือ ถ้า ผลกระทบดังกล่าวมีจำนวนที่เป็นสาระสำคัญ ประมาณการหนี้สินพิจารณาจากการคิดลดกระแสเงินสดที่จะ จ่ายในอนาคตโดยใช้อตั ราคิดลดในตลาดปัจจุบนั ก่อนคำนึงภาษีเงินได้ เพือ่ ให้สะท้อนจำนวนทีอ่ าจประเมิน ได้ในตลาดปัจจุบันซึ่งแปรไปตามเวลาและความเสี่ยงที่มีต่อหนี้สิน

(ฒ) การซื้อหุ้นทุนคืน (หุ้นทุนซื้อคืน) เมือ่ มีการซือ้ คืนหุน้ ทุน จำนวนสิง่ ตอบแทนทีจ่ า่ ยซือ้ รวมถึงต้นทุนทีเ่ กีย่ วข้องโดยตรงจัดประเภทเป็นหุน้ ทุน ซื้อคืน และแสดงเป็นรายการหักในส่วนของผู้ถือหุ้น และจัดสรรจำนวนเดียวกันนี้จากกำไรสะสมไปเป็น สำรองหุ้นทุนซื้อคืนภายใต้ส่วนของผู้ถือหุ้น เมื่อมีการจำหน่ายหุ้นทุนซื้อคืน จำนวนเงินที่ได้รับรับรู้เป็น รายการเพิ่มขึ้นในส่วนของผู้ถือหุ้น โดยหักบัญชีหุ้นทุนซื้อคืนด้วยจำนวนต้นทุนของหุ้นทุนซื้อคืนที่จำหน่าย ซึ่งคำนวณโดยวิธีถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก และโอนจำนวนเดียวกันนี้จากบัญชีสำรองหุ้นทุนซื้อคืนไปกำไรสะสม ส่วนเกินทุนจากการจำหน่ายหุ้นทุนซื้อคืน (“ส่วนเกินทุนหุ้นทุนซื้อคืน”) แสดงเป็นรายการแยกต่างหากใน ส่วนของผู้ถือหุ้น ขาดทุนสุทธิจากการจำหน่ายหรือยกเลิกหุ้นทุนซื้อคืนนำไปหักจากกำไรสะสมหลังจากที่ หักจากส่วนเกินทุนหุ้นทุนซื้อคืนหมดแล้ว

(ณ) รายได้

รายได้ที่รับรู้ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มและแสดงสุทธิจากส่วนลดการค้า

รายงานประจำปี 2552

99


การขายสินค้าและให้บริการ รายได้รบั รูใ้ นงบกำไรขาดทุนเมือ่ ได้โอนความเสีย่ งและผลตอบแทนของความเป็นเจ้าของสินค้าทีม่ นี ยั สำคัญ ไปให้กับผู้ซื้อแล้ว และจะไม่รับรู้รายได้ถ้าฝ่ายบริหารยังมีการควบคุมหรือบริหารสินค้าที่ขายไปแล้วนั้น หรือมีความไม่แน่นอนที่มีนัยสำคัญในการได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจจากการขายสินค้าหรือให้บริการนั้น ไม่อาจวัดมูลค่าของจำนวนรายได้และต้นทุนที่เกิดขึ้นได้อย่างน่าเชื่อถือ หรือมีความเป็นไปได้ค่อนข้าง แน่นอนที่จะต้องรับคืนสินค้า รายได้จากการให้บริการรับรู้เมื่อมีการให้บริการ รายได้ค่าเช่า รายได้ค่าเช่าจากอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนรับรู้ในงบกำไรขาดทุนโดยวิธีเส้นตรงตลอดอายุสัญญาเช่า ค่าใช้จ่ายเริ่มแรกที่เกิดขึ้นเป็นการเฉพาะเพื่อให้เกิดสัญญาเช่ารับรู้เป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่าทั้งสิ้นตาม สัญญาค่าเช่าที่อาจเกิดขึ้นรับรู้เป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีซึ่งค่าเช่านั้นเกิดขึ้น ดอกเบี้ยรับและเงินปันผลรับ ดอกเบี้ยรับบันทึกในงบกำไรขาดทุนตามเกณฑ์คงค้าง เงินปันผลรับบันทึกในงบกำไรขาดทุนในวันที่กลุ่ม บริษัทมีสิทธิได้รับเงินปันผล

(ด) ค่าใช้จ่าย สัญญาเช่าดำเนินงาน รายจ่ายภายใต้สัญญาเช่าดำเนินการบันทึกในงบกำไรขาดทุนโดยวิธีเส้นตรงตลอดอายุสัญญาเช่า ค่าเช่าที่ อาจเกิดขึ้นจะบันทึกในงบกำไรขาดทุนในรอบบัญชีที่มีรายการดังกล่าว ต้นทุนทางการเงิน ดอกเบี้ยจ่ายและค่าใช้จ่ายในทำนองเดียวกันบันทึกในงบกำไรขาดทุนในงวดที่ค่าใช้จ่ายดังกล่าวเกิดขึ้น

(ต) ภาษีเงินได้ ภาษีเงินได้จากกำไรหรือขาดทุนสำหรับปีประกอบด้วยภาษีเงินได้ปัจจุบัน ซึ่งได้แก่ภาษีที่คาดว่าจะจ่ายชำระ โดยคำนวณจากกำไรประจำปีที่ต้องเสียภาษี โดยใช้อัตราภาษีที่ประกาศใช้ ณ วันที่รายงาน ตลอดจนการ ปรับปรุงทางภาษีที่เกี่ยวกับรายการในปีก่อนๆ

4 รายการที่เกิดขึ้นและยอดคงเหลือกับบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน บุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกันได้แก่บุคคลหรือกิจการต่างๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับกลุ่มบริษัท และบริษัท โดย การเป็นผู้ถือหุ้น หรือมีผู้ถือหุ้นร่วมกัน หรือมีกรรมการร่วมกัน รายการที่มีขึ้นกับบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน ได้กำหนดขึ้นโดยใช้ราคาตลาดหรือในราคาที่ตกลงกันตามสัญญาหากไม่มีราคาตลาดรองรับ 100

บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)


หมายหตุประกอบงบการเงิน

ความสัมพันธ์ที่กลุ่มบริษัทมีกับบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกันซึ่งมีการควบคุม หรือควบคุมร่วมกันในบริษัท หรือเป็นกิจการที่บริษัทควบคุม หรือควบคุมร่วมกัน หรือเป็นบุคคลหรือกิจการที่มีรายการบัญชีกลุ่มบริษัท มีดังนี้

ชื่อกิจการ

ประเทศที่ จัดตั้ง /สัญชาติ

ลักษณะความสัมพันธ์

บริษัท เซ็นทรัล รีเทลคอร์ปอเรชั่น จำกัด ไทย เป็นผู้ถือหุ้นที่มีการควบคุมร่วมในบริษัท ถือหุ้นในบริษัท ร้อยละ 27.74 และมีกรรมการร่วมกันกับบริษัท บริษัท ซี อาร์ จี บริการ จำกัด ไทย เป็นผู้ถือหุ้นที่มีการควบคุมร่วมในบริษัท ถือหุ้นในบริษัท ร้อยละ 26.07 และมีกรรมการร่วมกันกับบริษัท บริษัท โรบินสันอนุสาวรีย์ จำกัด ไทย เป็นบริษัทย่อย บริษัทถือหุ้นร้อยละ 99.91 และมี กรรมการร่วมกันกับบริษัท บริษัท โรบินสันรัชดา จำกัด ไทย เป็นบริษัทย่อย บริษัทถือหุ้นร้อยละ 99.80 และมี กรรมการร่วมกันกับบริษัท บริษัท โรบินสันนครินทร์ จำกัด ไทย เป็นบริษัทย่อย บริษัทถือหุ้นร้อยละ 99.86 และมี กรรมการร่วมกันกับบริษัท บริษัท โรบินสันสุขุมวิท จำกัด ไทย เป็นบริษัทย่อย บริษัทถือหุ้นร้อยละ 99.99 และมี กรรมการร่วมกันกับบริษัท บริษัท เครือเพชร จำกัด ไทย เป็นบริษัทย่อย บริษัทถือหุ้นร้อยละ 99.99 และมี กรรมการร่วมกันกับบริษัท บริษัท เครือแก้ว จำกัด ไทย เป็นบริษัทย่อย บริษัทถือหุ้นร้อยละ 99.99 และมี กรรมการร่วมกันกับบริษัท บริษัท ซีอาร์ (ประเทศไทย) จำกัด ไทย เป็นบริษัทย่อย บริษัทถือหุ้นร้อยละ 99.99 และมี กรรมการร่วมกันกับบริษัท R-Trading (L) BHD. มาเลเซีย เป็นบริษัทย่อย บริษัทถือหุ้นร้อยละ 99.92 และมี กรรมการร่วมกันกับบริษัท บริษัท อาร์ดี พัฒนา จำกัด ไทย เป็นบริษัทย่อย บริษัทถือหุ้นร้อยละ 99.98 และมี กรรมการร่วมกันกับบริษัท บริษัท โรบินสัน เอส.พี.วี. จำกัด ไทย เป็นบริษัทย่อย บริษัทถือหุ้นร้อยละ 99.99 และมี กรรมการร่วมกันกับบริษัท บริษัท ซีอาร์ ราชบุรี (ประเทศไทย) จำกัด ไทย เป็นบริษัทย่อย บริษัทถือหุ้นร้อยละ 99.99 และมี กรรมการร่วมกันกับบริษัท บริษัท ซีอาร์ อุดรธานี (ประเทศไทย) จำกัด ไทย เป็นบริษัทย่อย บริษัทถือหุ้นร้อยละ 76.00 และมี กรรมการร่วมกันกับบริษัท บริษัท ซีอาร์ ภูเก็ต (ประเทศไทย) จำกัด ไทย เป็นบริษัทย่อย บริษัทถือหุ้นร้อยละ 49.99 และมี กรรมการร่วมกันกับบริษัท บริษัท ซีอาร์ นครศรีธรรมราช ไทย เป็นบริษัทย่อย บริษัทถือหุ้นร้อยละ 49.99 และมี (ประเทศไทย) จำกัด กรรมการร่วมกันกับบริษัท รายงานประจำปี 2552

101


ชื่อกิจการ

ประเทศที่ จัดตั้ง /สัญชาติ

ลักษณะความสัมพันธ์

บริษัท ซีอาร์ หาดใหญ่ (ประเทศไทย) จำกัด ไทย เป็นบริษัทย่อย บริษัทถือหุ้นร้อยละ 76.00 และมี กรรมการร่วมกันกับบริษัท บริษัท ซีอาร์ เชียงใหม่ (ประเทศไทย) จำกัด ไทย เป็นบริษัทย่อย บริษัทถือหุ้นร้อยละ 89.99 และมี กรรมการร่วมกันกับบริษัท บริษัท ซีอาร์ อุบลราชธานี (ประเทศไทย) จำกัด ไทย เป็นบริษัทย่อย บริษัทถือหุ้นร้อยละ 74.99 และมี กรรมการร่วมกันกับบริษัท บริษัท ซีอาร์ จันทบุรี (ประเทศไทย) จำกัด ไทย เป็นบริษัทย่อย บริษัทถือหุ้นร้อยละ 64.99 และมี กรรมการร่วมกันกับบริษัท บริษัท เพาเวอร์ บาย จำกัด ไทย เป็นบริษัทร่วม บริษัทถือหุ้นร้อยละ 40 และมี กรรมการร่วมกันกับบริษัท บริษัท ซีอาร์ซี สปอร์ต จำกัด ไทย เป็นบริษัทร่วม บริษัทถือหุ้นร้อยละ 40 และมี กรรมการร่วมกันกับบริษัท บริษัท บีทูเอส จำกัด ไทย มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท บริษัท เซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล จำกัด ไทย มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท บริษัท สรรพสินค้าเซ็นทรัล จำกัด ไทย มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท บริษัท เซ็นทรัลเทรดดิ้ง จำกัด ไทย มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท บริษัท เซ็นทรัลการ์เม้นท์แฟคทอรี่ จำกัด ไทย มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท บริษัท ซีเทรดสากล จำกัด ไทย มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท บริษัท อาร์ ไอ เอส จำกัด ไทย มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท บริษัท พีบี โลจิสติก จำกัด ไทย มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา รัตนาธิเบศร์ จำกัด ไทย มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา เชียงใหม่ จำกัด ไทย มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา ชลบุรี จำกัด ไทย มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท

นโยบายการกำหนดราคาสำหรับรายการแต่ละประเภทอธิบายได้ดังต่อไปนี้:

รายการ

นโยบายการกำหนดราคา

รายได้จากการขายสินค้า ราคาตลาดซึ่งต้องไม่ต่ำกว่าราคาที่ได้มาของสินค้านั้นๆ ดอกเบี้ยรับ/ดอกเบี้ยจ่าย อัตราดอกเบี้ยขั้นต่ำของเงินกู้หรือเงินฝากออมทรัพย์หรือ เงินฝากประจำของสถาบันการเงินภายในประเทศบางแห่งบวกส่วนต่างเพิ่มอีก ร้อยละ 0 ต่อปี ถึงร้อยละ 2.5 ต่อปีทั้งนี้ขึ้นอยู่กับต้นทุนของแต่ละบริษัท รายได้ค่าเช่าและค่าบริการ อัตราร้อยละของยอดขายโดยคิดจากราคาตลาดเป็นเกณฑ์หรือจำนวนเงินคงที่ รายได้ค่าส่งเสริมการขาย ตามสัญญาที่ตกลงร่วมกัน รายได้ค่าสาธารณูปโภค ตามสัญญาที่ตกลงร่วมกัน รายได้ค่าตอบแทนการบริหารงาน อัตราร้อยละของยอดขายหรือจำนวนเงินคงที่ 102

บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)


หมายหตุประกอบงบการเงิน

รายการ

นโยบายการกำหนดราคา

ค่าใช้จ่ายค่าเช่าและค่าบริการ ตามสัญญาที่ตกลงร่วมกัน ค่าใช้จ่ายส่งเสริมการขาย ตามสัญญาที่ตกลงร่วมกัน ค่าบริหารหารงานจ่าย ตามสัญญาที่ตกลงร่วมกัน ค่าตอบแทนกรรมการ ตามหลักเกณฑ์ ที่กำหนดโดยคณะกรรมการสรรหาซึ่งไม่เกินจำนวนเงิน ที่ผู้ถือหุ้นอนุมัติ

รายการที่สำคัญกับบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกันสำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551 สรุปได้ดังนี้ (พันบาท) งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551 2552 2551 ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ค่าบริหารงานจ่าย รายได้ค่าส่งเสริมการขาย ค่าใช้จ่ายส่งเสริมการขาย บริษัทย่อย รายได้จากการขายสินค้า รายได้ค่าเช่าและค่าบริการ รายได้ค่าตอบแทนการบริหารงาน รายได้ค่าส่งเสริมการขาย ดอกเบี้ยรับ ค่าใช้จ่ายค่าเช่าและค่าบริการ ค่าใช้จ่ายส่งเสริมการขาย ดอกเบี้ยจ่าย บริษัทร่วม รายได้ค่าเช่าและค่าบริการ รายได้ค่าสาธารณูปโภค รายได้ค่าตอบแทนการบริหารงาน บุคคลหรือกิจการอื่นที่เกี่ยวข้องกัน รายได้ค่าเช่าและค่าบริการ รายได้ค่าสาธารณูปโภค รายได้ค่าตอบแทนการบริหารงาน รายได้ค่าส่งเสริมการขาย ค่าใช้จ่ายค่าเช่าและค่าบริการ ค่าตอบแทนกรรมการ ค่าใช้จ่ายส่งเสริมการขาย

65,963 28,678 57,769

70,248 11,917 41,786

64,222 17,419 35,972

68,162 6,928 25,674

- - - - - - - -

- - - - - - - -

137,516 60 128,186 1,875 74,318 22,743 369 8,752

125,977 60 120,529 2,718 176,293 21,360 93 6,950

109,221 15,850 4,698

110,251 15,365 4,752

72,772 10,751 2,967

74,194 10,457 2,971

306,860 95,114 2,412 5,747 119,332 4,260 119

319,742 87,951 2,543 5,136 91,464 4,267 69

205,799 61,674 1,362 5,741 61,332 4,260 69

218,924 64,294 1,461 4,689 49,347 4,267 65

รายงานประจำปี 2552

103


ยอดคงเหลือกับบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551 มีดังนี้

ลูกหนี้การค้า-กิจการที่เกี่ยวข้องกัน ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ บริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด บริษัทย่อย บริษัท ซีอาร์ อุดรธานี (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท ซีอาร์ ภูเก็ต (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท ซีอาร์ นครศรีธรรมราช (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท ซีอาร์ หาดใหญ่ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท ซีอาร์ เชียงใหม่ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท ซีอาร์ อุบลราชธานี (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท ซีอาร์ ราชบุรี (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท ซีอาร์ จันทบุรี (ประเทศไทย) จำกัด บริษัทร่วม บริษัท เพาเวอร์ บาย จำกัด บริษัท ซีอาร์ซี สปอร์ต จำกัด กิจการอื่นที่เกี่ยวข้องกัน บริษัท บีทูเอส จำกัด บริษัท เซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล จำกัด บริษัท สรรพสินค้าเซ็นทรัล จำกัด บริษัทอื่นๆ หัก ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ สุทธิ

104

บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

งบการเงินรวม 2552 2551

(พันบาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551

8,268

3,723

5,206

2,155

- - - - - - - -

- - - - - - - -

4,323 6,970 3,122 4,620 6,218 1,481 2,178 2,567

4,353 7,348 3,383 4,535 5,427 1,580 3,229 2,732

11,107 14,355

5,715 6,305

7,865 9,987

3,855 4,347

10,483 52,415 14,713 9,615 120,956 - 120,956

5,142 31,123 12,717 7,346 72,071 - 72,071

7,050 39,682 14,663 5,715 121,647 - 121,647

3,133 24,274 12,607 4,646 87,604 87,604


หมายหตุประกอบงบการเงิน

(พันบาท) งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551 2552 2551

เงินให้กู้ยืมแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกัน อัตราดอกเบี้ย 2552 2551 (ร้อยละต่อปี) เงินให้กู้ยืมระยะสั้น บริษัทย่อย บริษัท โรบินสันอนุสาวรีย์ จำกัด 2.00 3.25 - - 89,921 87,859 บริษัท โรบินสันนครินทร์ จำกัด 2.00 3.25 - - 273,750 264,773 บริษัท เครือเพชร จำกัด 2.00 3.25 - - 156,033 156,843 บริษัท อาร์ดี พัฒนา จำกัด 2.00 3.25 - - - 11,240 บริษัท โรบินสัน เอส.พี.วี จำกัด 2.00 3.25 - - - 1,229 บริษัท ซีอาร์ (ประเทศไทย) จำกัด 2.00 3.25 - - 484,804 3,631,759 - - 1,004,508 4,153,703 หัก ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ - - (440,280) (2,379,365) เงินให้กู้ยืมระยะสั้นแก่กิจการ ที่เกี่ยวข้องกัน - สุทธิ - - 564,228 1,774,338 กลับรายการหนี้สงสัยจะสูญสำหรับปี - - (1,939,085) (37,407) เงินให้กู้ยืมระยะยาว บริษัทย่อย บริษัท โรบินสันนครินทร์ จำกัด 6.0 6.0 - - 61,224 61,224 บริษัทร่วม บริษัท สยาม รีเทล ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด - - 324,882 324,882 324,882 324,882 324,882 324,882 386,106 386,106 หัก ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ (324,882) (324,882) (324,882) (324,882) เงินให้กู้ยืมระยะยาวแก่กิจการ ที่เกี่ยวข้องกัน - สุทธิ - - 61,224 61,224 เงินให้กู้ยืมแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกัน สรุปเงินให้กู้ยืมแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกัน เงินให้กู้ยืมระยะสั้น เงินให้กู้ยืมระยะยาว หัก ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ รวมเงินให้กู้ยืมแก่กิจการ ที่เกี่ยวข้องกัน - สุทธิ กลับรายการหนี้สงสัยจะสูญสำหรับปี

งบการเงินรวม 2552 2551 - 324,882 324,882 (324,882)

- 324,882 324,882 (324,882)

- -

- -

(พันบาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551 1,004,508 4,153,703 386,106 386,106 1,390,614 4,539,809 (765,162) (2,704,247) 625,452 (1,939,085)

1,835,562 (37,407)

รายงานประจำปี 2552

105


รายการเคลือ่ นไหวของเงินให้กยู้ มื แก่กจิ การทีเ่ กีย่ วข้องกันสำหรับแต่ละปีสนิ้ สุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551 มีดังนี้ (พันบาท) เงินให้กู้ยืมแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกัน งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551 2552 2551 เงินให้กู้ยืมระยะสั้น บริษัทย่อย ณ วันที่ 1 มกราคม - - 4,153,703 4,390,465 เพิ่มขึ้น - เงินต้น - - 5,864,194 5,580,970 - ดอกเบี้ย - - 74,318 176,293 ลดลง - เงินต้น - - (9,006,397) (5,819,246) - ดอกเบี้ย - - (81,310) (174,779) ณ วันที่ 31 ธันวาคม - - 1,004,508 4,153,703

เงินให้กู้ยืมแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกัน เงินให้กู้ยืมระยะยาว บริษัทย่อย ณ วันที่ 1 มกราคม เพิ่มขึ้น ลดลง ณ วันที่ 31 ธันวาคม บริษัทร่วม ณ วันที่ 1 มกราคม เพิ่มขึ้น ลดลง ณ วันที่ 31 ธันวาคม รวมเงินให้กู้ยืมระยะยาวแก่กิจการที่ เกี่ยวข้องกัน ณ วันที่ 1 มกราคม เพิ่มขึ้น ลดลง ณ วันที่ 31 ธันวาคม สิทธิการเช่า-กิจการที่เกี่ยวข้องกัน กิจการอื่นที่เกี่ยวข้องกัน 106

บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

งบการเงินรวม 2552 2551

(พันบาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551

- - - -

- - - -

61,224 - - 61,224

61,224 61,224

324,882 - - 324,882

324,882 - - 324,882

324,882 - - 324,882

324,882 324,882

324,882 - - 324,882

324,882 - - 324,882

386,106 - - 386,106

386,106 386,106

640,269

644,742

342,137

327,874


หมายหตุประกอบงบการเงิน

เจ้าหนี้การค้า-กิจการที่เกี่ยวข้องกัน บริษัทร่วม บริษัท เพาเวอร์ บาย จำกัด บริษัท ซีอาร์ซี สปอร์ต จำกัด กิจการอื่นที่เกี่ยวข้องกัน บริษัท เซ็นทรัลเทรดดิ้ง จำกัด บริษัท เซ็นทรัลการ์เม้นท์แฟคทอรี่ จำกัด บริษัท สรรพสินค้าเซ็นทรัล จำกัด บริษัทอื่นๆ รวม

หนี้สินหมุนเวียนอื่น เงินทดรองจากกิจการที่เกี่ยวข้องกัน ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ บริษัท เซ็นทรัล รีเทลคอร์ปอเรชั่น จำกัด บริษัทย่อย บริษัท ซีอาร์ นครศรีธรรมราช (ประเทศไทย) จำกัด บริษัทร่วม บริษัท เพาเวอร์ บาย จำกัด บริษัท ซีอาร์ซี สปอร์ต จำกัด

งบการเงินรวม 2552 2551

(พันบาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551

1,323 6,363

643 741

567 4,350

337 158

136,477 20,480 4,667 7,430 176,740

117,037 19,972 3,394 6,513 148,300

69,571 11,302 4,667 8,813 99,270

60,344 10,787 3,387 8,654 83,667

งบการเงินรวม 2552 2551

(พันบาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551

22,429

50,149

16,656

43,604

-

-

397

397

155 66

59 -

80 66

-

รายงานประจำปี 2552

107


หนี้สินหมุนเวียนอื่น เงินทดรองจากกิจการที่เกี่ยวข้องกัน กิจการอื่นที่เกี่ยวข้องกัน บริษัท เซ็นทรัลเทรดดิ้ง จำกัด บริษัท อาร์ ไอ เอส จำกัด บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา รัตนาธิเบศร์ จำกัด บริษัท เซ็นทรัล พัฒนา ชลบุรี จำกัด บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา เชียงใหม่ จำกัด บริษัทอื่นๆ รวม

งบการเงินรวม 2552 2551

29 5,068 1,848 3,187 7,061 5,973 45,816

2,422 11,655 1,985 - 1,998 1,863 70,131

(พันบาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551

29 2,797 1,848 3,187 - 3,806 28,866

1,641 7,982 1,985 1,907 57,516

(พันบาท) งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551 2552 2551

เงินกู้ยืมแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกัน อัตราดอกเบี้ย 2552 2551 (ร้อยละต่อปี) เงินกู้ยืมระยะสั้น บริษัทย่อย บริษัท โรบินสันรัชดา จำกัด 2.75 3.0 - - 24,276 6,413 บริษัท เครือแก้ว จำกัด 2.75 3.0 - - 5,393 5,870 บริษัท โรบินสัน สุขุมวิท จำกัด 2.75 2.0 - - 5,202 4,165 R-Trading (L) BHD. - - - - 881,625 881,110 บริษัท โรบินสัน เอส.พี.วี. จำกัด 2.75 - - - 2,198 - บริษัท อาร์ดี พัฒนา จำกัด 2.75 - - - 520 - บริษัท ซีอาร์ ราชบุรี (ประเทศไทย) จำกัด 2.75 3.0 - - 220,060 187,943 เงินกู้ยืมระยะสั้นจากกิจการ ที่เกี่ยวข้องกัน - - 1,139,274 1,085,501 เงินกู้ยืมระยะยาว บริษัทย่อย บริษัท โรบินสันสุขุมวิท จำกัด 2.0 2.0 - - เงินกู้ยืมระยะยาวจากกิจการ ที่เกี่ยวข้องกัน - - เงินกู้ยืมจากกิจการที่เกี่ยวข้องกัน สรุปเงินกู้ยืมจากกิจการ ที่เกี่ยวข้องกัน เงินกู้ยืมระยะสั้น - - เงินกู้ยืมระยะยาว - - รวมเงินกู้ยืมจากกิจการ ที่เกี่ยวข้องกัน - -

108

บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

113,300 113,300 113,300 113,300

1,139,274 1,085,501 113,300 113,300 1,252,574 1,198,801


หมายหตุประกอบงบการเงิน

รายการเคลื่อนไหวของเงินกู้ยืมจากกิจการที่เกี่ยวข้องกันสำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551 มีดังนี้ (พันบาท) เงินกู้ยืมจากกิจการที่เกี่ยวข้องกัน งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551 2552 2551 เงินกู้ยืมระยะสั้น บริษัทย่อย ณ วันที่ 1 มกราคม - - 1,085,501 1,007,837 เพิ่มขึ้น - เงินต้น - - 117,957 118,941 - ดอกเบี้ย - - 8,752 6,950 ลดลง - เงินต้น - - (65,305) (42,461) - ดอกเบี้ย - - (7,631) (5,766) ณ วันที่ 31 ธันวาคม - - 1,139,274 1,085,501

เงินกู้ยืมระยะยาวจากกิจการ ที่เกี่ยวข้องกัน บริษัทย่อย ณ วันที่ 1 มกราคม เพิ่มขึ้น ลดลง ณ วันที่ 31 ธันวาคม

งบการเงินรวม 2552 2551

- - - -

- - - -

(พันบาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551

113,300 - - 113,300

113,300 113,300

ภาระผูกพันที่มีกับกิจการที่เกี่ยวข้องกัน ภาระผูกพันตามสัญญาเช่าดำเนินงาน ภายในหนึ่งปี หลังจากหนึ่งปีแต่ไม่เกินห้าปี หลังจากห้าปี รวม

งบการเงินรวม 2552 2551 110,086 264,566 437,086 811,738

111,821 283,129 478,180 873,130

(พันบาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551 76,046 162,223 213,156 451,425

81,163 201,078 233,737 515,978

รายงานประจำปี 2552

109


สัญญาสำคัญที่ทำกับกิจการที่เกี่ยวข้องกัน

สัญญาเช่าพื้นที่และบริการ บริษทั ทำสัญญาให้เช่าพืน้ ทีข่ าย และให้บริการจัดการหลายฉบับกับกิจการทีเ่ กีย่ วข้องกันหลายแห่ง ในการนีก้ จิ การ ที่เกี่ยวข้องกันเหล่านี้ตกลงที่จะจ่ายค่าเช่าและค่าบริการจัดการตามร้อยละของยอดขาย และ/หรือ ตามขนาด การใช้พื้นที่ สัญญาดังกล่าวมีอายุ 1 ปี และสามารถต่ออายุใหม่เป็นคราวๆ ไป โดยคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งต้อง แจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรล่วงหน้า

สัญญารับบริการการจัดการ กลุ่มบริษัทได้ทำสัญญารับบริการจากกิจการที่เกี่ยวข้องกันแห่งหนึ่ง โดยบริษัทดังกล่าวจะให้บริการทางด้านบัญชี ภาษีอากร และการบริการทางการเงิน และด้านอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ในการนี้ กลุ่มบริษัทตกลงที่จะจ่ายค่าบริการเป็น จำนวนเงินตามที่ระบุในสัญญา สัญญาดังกล่าวมีอายุ 1 ปี และสามารถต่ออายุใหม่เป็นคราวๆไป โดยคู่สัญญา ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งต้องแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรล่วงหน้าเป็นเวลา 30 วัน

สัญญารับบริการระบบคอมพิวเตอร์ กลุ่มบริษัทได้ทำสัญญารับบริการจากกิจการที่เกี่ยวข้องกันแห่งหนึ่ง โดยกิจการที่เกี่ยวข้องกันดังกล่าวจะให้ บริการทางด้านระบบคอมพิวเตอร์แก่บริษัท ทั้งนี้ บริษัทต้องจ่ายค่าบริการเป็นจำนวนเงินตามที่ระบุในสัญญา สัญญามีอายุ 1 ปีและสามารถต่ออายุใหม่เป็นคราวๆไป

สัญญาให้บริการบริหารสินค้าคงคลังและเช่าช่วงสถานที่เก็บสินค้า บริษัทได้ทำสัญญาให้บริการบริหารสินค้าคงคลัง และเช่าช่วงสถานที่เก็บสินค้ากับกิจการที่เกี่ยวข้องกันแห่งหนึ่ง เป็นเวลา 12 เดือน บริษัทจะต้องจ่ายค่าบริการและค่าเช่าช่วงตามจำนวนที่ระบุไว้ในสัญญาซึ่งคู่สัญญา ฝ่ายหนึ่ง ฝ่ายใดสามารถบอกเลิกสัญญาได้ภายใน 90 วันก่อนสิ้นสุดระยะเวลาตามสัญญา มิฉะนั้นจะถือว่าสัญญาจะต่อ อายุอัตโนมัติต่อไปอีกครั้งละ 12 เดือน

สัญญาบริการบัตรสมาชิก บริษัทได้ทำสัญญารับบริการบัตรสมาชิก “เดอะ วัน การ์ด” กับกิจการที่เกี่ยวข้องกันแห่งหนึ่ง โดยกิจการที่เกี่ยว ข้องกันดังกล่าวจะให้บริการแก่สมาชิกของบริษัท บริหารการตลาด การบริหารจัดการฐานข้อมูลของสมาชิก และ จัดให้มีของรางวัลและประโยชน์อื่นๆ สำหรับการใช้คะแนนสะสม เดอะ วัน การ์ด แลก ในการนี้ บริษัทต้องชำระ ค่าบริการตามอัตราที่ระบุไว้ในสัญญา สัญญาดังกล่าวสิ้นสุดในวันที่ 31 ธันวาคม 2552

110

บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)


หมายหตุประกอบงบการเงิน

สัญญาเช่าและรับบริการ กลุ่มบริษัทตกลงเช่าพื้นที่และรับบริการจากกิจการที่เกี่ยวข้องกันแห่งหนึ่ง ในการนี้กลุ่มบริษัทตกลงที่จะจ่ายค่า เช่า และค่าบริการเป็นรายเดือน สัญญาดังกล่าวมีอายุ 1 และ 3 ปี และสามารถต่ออายุใหม่เป็นคราวๆ ไป โดยผู้ เช่าจะต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้าเป็นลายลักษณ์อักษรไม่น้อยกว่า 90 วัน

5 เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด เงินสดในมือ เงินฝากธนาคารประเภทกระแสรายวัน เงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์ เงินลงทุนระยะสั้นที่มีสภาพคล่องสูง รวม

งบการเงินรวม 2552 2551 88,531 81,473 612,159 8,883 1,222,590 1,253,892 194,385 203,142 2,117,665 1,547,390

(พันบาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551 52,571 48,075 610,847 37 941,761 1,045,346 102,841 102,181 1,708,020 1,195,639

เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดทั้งหมดของกลุ่มบริษัทและบริษัท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551 เป็น สกุลเงินบาท

6 เงินลงทุนอื่น เงินลงทุนชั่วคราว ตราสารทุนถือไว้เพื่อค้า ตราสารทุนที่เป็นหลักทรัพย์เผื่อขาย เงินลงทุนระยะยาวอื่น ตราสารทุนอื่นที่ไม่อยู่ในความต้องการของตลาด รวม

งบการเงินรวม 2552 2551

(พันบาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551

- 362,453 362,453

50,234 193,952 244,186

- 262,430 262,430

50,234 193,952 244,186

26,250 388,703

26,250 270,436

26,250 288,680

26,250 270,436

เงินลงทุนอื่นทั้งหมดของกลุ่มบริษัทและบริษัท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551 เป็นสกุลเงินบาท

รายงานประจำปี 2552

111


รายการเคลื่อนไหวในระหว่างปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551 ของตราสารทุนที่อยู่ในความต้องการ ของตลาดมีดังนี้ (พันบาท) เงินลงทุนชั่วคราว งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551 2552 2551 หลักทรัพย์เพื่อค้า ณ วันที่ 1 มกราคม 50,234 - 50,234 - โอนออกระหว่างปี (50,234) - (50,234) - ซื้อระหว่างปี - 50,000 - 50,000 รายการปรับปรุงจากการตีราคา - 234 - 234 ณ วันที่ 31 ธันวาคม - 50,234 - 50,234 หลักทรัพย์เผื่อขาย ณ วันที่ 1 มกราคม 193,952 - 193,952 - โอนเข้าระหว่างปี 50,234 - 50,234 - ซื้อระหว่างปี 100,000 200,000 - 200,000 รายการปรับปรุงจากการตีราคา 18,267 (6,048) 18,244 (6,048) ณ วันที่ 31 ธันวาคม 362,453 193,952 262,430 193,952

7 ลูกหนี้การค้า (พันบาท) งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะกิจการ หมายเหตุ 2552 2551 2552 2551 กิจการที่เกี่ยวข้องกัน 4 120,956 72,071 121,647 87,604 กิจการอื่นๆ 364,887 306,852 233,749 186,965 485,843 378,923 355,396 274,569 หัก ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ (2,378) (1,310) (962) (88) สุทธิ 483,465 377,613 354,434 274,481 หนี้สูญและหนี้สงสัยจะสูญ สำหรับปี(กลับรายการ) 1,135 (1,055) 941 (103)

112

บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)


หมายหตุประกอบงบการเงิน

การวิเคราะห์อายุของลูกหนี้การค้ามีดังนี้

กิจการที่เกี่ยวข้องกัน ยังไม่ครบกำหนดชำระ เกินกำหนดชำระ: น้อยกว่า 1 เดือน 1- 3 เดือน 3 - 12 เดือน มากกว่า 12 เดือน หัก ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ สุทธิ กิจการอื่นๆ ยังไม่ครบกำหนดชำระ เกินกำหนดชำระ: น้อยกว่า 1 เดือน 1- 3 เดือน 3 - 12 เดือน มากกว่า 12 เดือน หัก ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ สุทธิ รวม

งบการเงินรวม 2552 2551

(พันบาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551

103,811

69,797

107,900

82,386

14,979 2,038 128 - 120,956 - 120,956

1,564 640 70 - 72,071 - 72,071

11,681 1,767 298 1 121,647 - 121,647

3,073 1,989 155 1 87,604 87,604

291,166

278,795

188,726

186,754

66,373 4,273 2,168 907 364,887 (2,378) 362,509 483,465

25,873 394 201 1,589 306,852 (1,310) 305,542 377,613

40,734 2,802 1,451 36 233,749 (962) 232,787 354,434

64 110 37 186,965 (88) 186,877 274,481

โดยปกติระยะเวลาการให้สินเชื่อแก่ลูกค้าของกลุ่มบริษัท มีระยะเวลาตั้งแต่ 30 วันถึง 60 วัน

ลูกหนี้การค้าทั้งหมดของกลุ่มบริษัทและบริษัท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551 เป็นสกุลเงินบาท

รายงานประจำปี 2552

113


8 สินค้าคงเหลือ สินค้าสำเร็จรูป หัก ค่าเผื่อสินค้าสูญหาย เสียหาย ล้าสมัย และเคลื่อนไหวช้า สุทธิ

งบการเงินรวม 2552 2551 841,627 807,908

(พันบาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551 558,222 495,494

(32,555) 809,072

(20,336) 537,886

(28,315) 779,593

(16,762) 478,732

9 สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น เงินจ่ายล่วงหน้าแก่ธนาคาร เพื่อชำระเจ้าหนี้การค้า เงินฝากธนาคารเพื่อชำระหนี้ระยะสั้น ภาษีมูลค่าเพิ่มรอรับคืน ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า เงินทดรองจ่าย อื่นๆ รวม

10

- 172,230 38,582 20,040 11,448 13,640 255,940

512,434 170,855 21,195 31,269 7,647 16,117 759,517

- 172,230 34,130 11,021 7,316 11,578 236,275

512,434 170,855 22,043 4,181 16,920 726,433

เงินลงทุนในบริษัทย่อย

ณ วันที่ 1 มกราคม ซื้อเงินลงทุน ค่าเผื่อการด้อยค่า ณ วันที่ 31 ธันวาคม

114

งบการเงินรวม 2552 2551

(พันบาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551

บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

งบการเงินรวม 2552 2551 - - - - - - - -

(พันบาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551 466,848 466,848 2,703,750 (1,923,277) 1,247,321 466,848


สัดส่วนความเป็นเจ้าของ 2552 2551 (ร้อยละ)

งบการเงินเฉพาะกิจการ ทุนชำระแล้ว วิธีราคาทุน 2552 2551 2552 2551 การด้อยค่า 2552 2551

ราคาทุน - สุทธิ 2552 2551

บริษัทย่อย บริษัท ซีอาร์ (ประเทศไทย) จำกัด 99.99 99.99 3,201,000 501,000 3,201,000 501,000 (2,420,527) (501,000) 780,473 - บริษัท ซีอาร์ ราชบุรี (ประเทศไทย) จำกัด 50.00 50.00 645,600 645,600 322,800 322,800 - - 322,800 322,800 บริษัท โรบินสันนครินทร์ จำกัด 99.86 99.86 105,000 105,000 104,850 104,850 (104,850) (104,850) - - บริษัท โรบินสันสุขุมวิท จำกัด 99.99 99.99 100,000 100,000 100,000 100,000 - - 100,000 100,000 บริษัท โรบินสันรัชดา จำกัด 99.80 99.80 75,000 75,000 74,850 74,850 (74,850) (74,850) - - บริษัท เครือแก้ว จำกัด 99.99 99.99 40,000 40,000 39,999 39,999 - - 39,999 39,999 บริษัท เครือเพชร จำกัด 99.99 99.99 15,000 11,250 14,999 11,249 (14,999) (11,249) - - บริษัท โรบินสันอนุสาวรีย์ จำกัด 99.91 99.91 8,000 8,000 7,993 7,993 (7,993) (7,993) - - บริษัท อาร์ดี พัฒนา จำกัด 99.98 99.98 3,000 3,000 3,000 3,000 - - 3,000 3,000 บริษัท โรบินสัน เอส.พี.วี. จำกัด 99.99 99.99 1,000 1,000 999 999 - - 999 999 R-Trading (L) BHD. 99.92 99.92 50 50 50 50 - - 50 50 3,870,540 1,166,790 (2,623,219) (699,942) 1,247,321 466,848

(พันบาท)

หมายหตุประกอบงบการเงิน

รายงานประจำปี 2552

115


ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2552 ได้อนุมัติให้บริษัทลงทุนเพิ่มในบริษัทย่อย (บริษัท ซี อาร์ (ประเทศไทย) จำกัด) เป็นจำนวนเงินประมาณ 2,700 ล้านบาท ทั้งนี้บริษัทได้จ่ายเงินค่าเงินลงทุนเพิ่ม ในบริษัทย่อยดังกล่าวในเดือนสิงหาคม 2552

เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2552 บริษัทได้ชำระค่าหุ้นส่วนที่เหลือของบริษัท เครือเพชร จำกัด เป็นเงินประมาณ 3.8 ล้านบาท

11 เงินลงทุนในบริษัทร่วม ณ วันที่ 1 มกราคม ส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนตาม วิธีส่วนได้เสีย ณ วันที่ 31 ธันวาคม

116

บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

งบการเงินรวม 2552 2551 983,011 811,986 192,369 1,175,380

171,025 983,011

(พันบาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551 332,000 332,000 - 332,000

332,000


117

สัดส่วนความเป็นเจ้าของ 2552 2551 (ร้อยละ)

วิธีส่วนได้เสีย 2552 2551

การด้อยค่า 2552 2551

ส่วนได้เสีย-สุทธิ​ิ 2552 2551

(พันบาท)

การด้อยค่า 2552 2551

224,000 224,000 - - 108,000 108,000 - - 120,000 120,000 (120,000) (120,000) 30,000 30,000 (30,000) (30,000) 482,000 482,000 (150,000) (150,000)

งบการเงินเฉพาะกิจการ ทุนชำระแล้ว วิธีราคาทุน 2552 2551 2552 2551

224,000 224,000 108,000 108,000 - - - 332,000 332,000

ราคาทุน - สุทธิ 2552 2551

(พันบาท)

224,000 224,000 935,095 787,159 - - 935,095 787,159 108,000 108,000 240,285 195,852 - - 240,285 195,852 120,000 120,000 10,194 10,194 (10,194) (10,194) - - 30,000 30,000 29,858 29,858 (29,858) (29,858) - - 482,000 482,000 1,215,432 1,023,063 (40,052) (40,052) 1,175,380 983,011

งบการเงินรวม วิธีราคาทุน 2552 2551

บริษัทร่วม บริษัท เพาเวอร์ บาย จำกัด 40.00 40.00 560,000 560,000 บริษัท ซีอาร์ซี สปอร์ต จำกัด 29.19 29.19 370,000 370,000 บริษัท สยาม รีเทล ดีเวลล็อปเม้นท์ จำกัด 24.00 24.00 500,000 500,000 บริษัท สแควร์ ริทซ์ พลาซ่า จำกัด 24.00 24.00 125,000 125,000 รวม

บริษัทร่วม บริษัท เพาเวอร์ บาย จำกัด 40.00 40.00 560,000 560,000 บริษัท ซีอาร์ซี สปอร์ต จำกัด 29.19 29.19 370,000 370,000 บริษัท สยาม รีเทล ดีเวลล็อปเม้นท์ จำกัด 24.00 24.00 500,000 500,000 บริษัท สแควร์ ริทซ์ พลาซ่า จำกัด 24.00 24.00 125,000 125,000 รวม

สัดส่วนความเป็นเจ้าของ ทุนชำระแล้ว 2552 2551 2552 2551 (ร้อยละ)

เงินลงทุนในบริษัทร่วม ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551 มีดังนี้

หมายหตุประกอบงบการเงิน

รายงานประจำปี 2552


ข้อมูลทางการเงินโดยสรุปของบริษทั ร่วมซึง่ กลุม่ บริษทั บันทึกเงินลงทุนในบริษทั ดังกล่าวตามวิธสี ว่ นได้เสีย แต่ไม่ ได้ปรับปรุงให้แสดงข้อมูลตามสัดส่วนที่ถือหุ้นโดยกลุ่มบริษัท (พันบาท) สัดส่วนความ กำไร (ขาดทุน) เป็นเจ้าของ สินทรัพย์รวม หนี้สินรวม รายได้รวม สุทธิ (ร้อยละ) ปี 2552 บริษัท เพาเวอร์ บาย จำกัด 40.00 4,831,668 2,637,662 12,133,609 369,734 บริษัท ซีอาร์ซี สปอร์ต จำกัด 29.19 1,482,162 669,434 4,103,082 152,165 บริษัท สยาม รีเทล ดีเวลล็อปเม้นท์ จำกัด* 24.00 3,564,612 3,876,211 1,059,826 178,104 บริษัท สแควร์ ริทซ์ พลาซ่า จำกัด* 24.00 125,000 838 - (28) รวม 10,003,442 7,184,145 17,296,517 699,975 ปี 2551 บริษัท เพาเวอร์ บาย จำกัด 40.00 4,415,923 2,580,195 11,764,661 362,022 บริษัท ซีอาร์ซี สปอร์ต จำกัด 29.19 1,277,102 616,539 3,915,288 111,577 บริษัท สยาม รีเทล ดีเวลล็อปเม้นท์ จำกัด 24.00 3,564,612 3,876,211 1,059,826 178,104 บริษัท สแควร์ ริทซ์ พลาซ่า จำกัด 24.00 125,000 838 - (28) รวม 9,382,637 7,073,783 16,739,775 651,675

* ข้อมูลการเงินล่าสุดของบริษัทร่วมสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2551

118

บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)


สัดส่วนความเป็นเจ้าของ ทุนชำระแล้ว 2552 2551 2552 2551 (ร้อยละ)

บริษัท รังสิต พลาซ่า จำกัด 6.56 6.56 400,000 400,000 บริษัท สามัคคีสาร (ดอกหญ้า) จำกัด 4.15 4.15 170,000 170,000 บริษัท สยามแฟมิลี่มาร์ท จำกัด 0.71 0.71 175,000 175,000 รวม

(117,500) (117,500) - - (12,713) (12,713) (20,000) (20,000) (150,213) (150,213)

26,250 12,713 20,000 58,963

26,250 - - 12,713 (12,713) (12,713) 20,000 (20,000) (20,000) 58,963 (32,713) (32,713)

งบการเงินเฉพาะกิจการ วิธีราคาทุน การด้อยค่า 2552 2551 2552 2551

บริษัท วัฒนวนา จำกัด 0.98 19.58 600,000 600,000 117,500 117,500 บริษัท รังสิต พลาซ่า จำกัด 6.56 6.56 400,000 400,000 26,250 26,250 บริษัท สามัคคีสาร (ดอกหญ้า) จำกัด 4.15 4.15 170,000 170,000 12,713 12,713 บริษัท สยามแฟมิลี่มาร์ท จำกัด 0.71 0.71 175,000 175,000 20,000 20,000 รวม 176,463 176,463

เงินลงทุนระยะยาวอื่นซึ่งบันทึกตามวิธีราคาทุน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551 และเงินปันผลรับสำหรับแต่ละปี มีดังนี้ งบการเงินรวม สัดส่วนความเป็นเจ้าของ ทุนชำระแล้ว วิธีราคาทุน การด้อยค่า 2552 2551 2552 2551 2552 2551 2552 2551 (ร้อยละ)

12 เงินลงทุนระยะยาวอื่น

- 26,250 - - 26,250

26,250 - - 26,250

26,250 - - 26,250

ราคาทุน-สุทธิ ิ 2552 2551

- 26,250 - - 26,250

ราคาทุน-สุทธิ ิ 2552 2551

263 263 - - - - 263 263

เงินปันผลรับ 2552 2551

(พันบาท)

- - 263 263 - - - 263 263

เงินปันผลรับ 2552 2551

(พันบาท)

หมายหตุประกอบงบการเงิน

รายงานประจำปี 2552

119


120

บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

ราคาทุน ณ วันที่ 1 มกราคม 2551 เพิ่มขึ้น โอน จำหน่าย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ 1 มกราคม 2552 เพิ่มขึ้น โอน จำหน่าย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552

13 ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์

1,207,093 - - (291) 1,206,802 - - - 1,206,802

232,898 - - - 232,898 - - - 232,898

1,714,045 154,528 538,074 (584) 2,406,063

1,635,964 39,113 41,487 (2,519)

อาคาร สิ่งปลูกสร้าง ที่ดิน และ ส่วนปรับปรุง และ ส่วนปรับปรุง สิทธิการเช่า ส่วนปรับปรุง

289,310 6,720 1,859 (6,932) 290,957

290,051 3,105 111 (3,957) 1,614,577 70,424 366,518 (4,737) 2,046,782

1,561,334 30,364 23,940 (1,061) 1,441,931 62,609 10,216 (219,891) 1,294,865

1,497,429 26,061 10,622 (92,181)

12,306 - - (616) 11,690

14,697 - - (2,391)

งบการเงินรวม เครื่องตกแต่ง ติดตั้งและ อุปกรณ์ระบบ อุปกรณ์ระบบ อุปกรณ์ สารสนเทศ งานอาคาร สำนักงาน ยานพาหนะ

194,010 725,532 (916,667) (1,798) 1,077

11,601 258,697 (76,160) (128)

สินทรัพย์ ระหว่าง ก่อสร้าง และติดตั้ง

6,705,879 1,019,813 (234,558) 7,491,134

6,451,067 357,340 (102,528)

รวม

(พันบาท)


ค่าเสื่อมราคาสะสม ณ วันที่ 1 มกราคม 2551 ค่าเสื่อมราคาสำหรับปี จำหน่าย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ 1 มกราคม 2552 ค่าเสื่อมราคาสำหรับปี โอน จำหน่าย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 มูลค่าสุทธิทางบัญชี ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 800,523 58,188 (196) 858,515 56,721 - - 915,236 348,287 291,566

296 - - 296 - - - 296 232,602 232,602

629,894 1,120,820

1,084,151 201,532 - (440) 1,285,243

896,114 188,844 (807)

อาคาร สิ่งปลูกสร้าง ที่ดิน และ ส่วนปรับปรุง และ ส่วนปรับปรุง สิทธิการเช่า ส่วนปรับปรุง

16,645 12,082

272,665 12,954 23 (6,767) 278,875

256,595 19,976 (3,906)

223,656 534,793

1,390,921 124,626 - (3,558) 1,511,989

1,270,578 121,148 (805)

71,567 103,113

1,370,364 41,161 (23) (219,750) 1,191,752

1,422,450 39,965 (92,051)

641 259

11,665 381 - (615) 11,431

13,459 598 (2,392)

งบการเงินรวม เครื่องตกแต่ง ติดตั้งและ อุปกรณ์ระบบ อุปกรณ์ระบบ อุปกรณ์ สารสนเทศ งานอาคาร สำนักงาน ยานพาหนะ

194,010 1,077

- - - - -

- - -

สินทรัพย์ ระหว่าง ก่อสร้าง และติดตั้ง

1,717,302 2,296,312

4,988,577 437,375 (231,130) 5,194,822

4,660,015 428,719 (100,157)

รวม

(พันบาท)

หมายหตุประกอบงบการเงิน

รายงานประจำปี 2552

121


122

บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

ราคาทุน ณ วันที่ 1 มกราคม 2551 เพิ่มขึ้น โอน จำหน่าย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ 1 มกราคม 2552 เพิ่มขึ้น โอน จำหน่าย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 1,137,370 - - (272) 1,137,098 - - - 1,137,098

69,538 - - - 69,538 - - - 69,538

719,746 139,099 511,116 (583) 1,369,378

689,700 22,099 8,527 (580)

อาคาร สิ่งปลูกสร้าง ที่ดิน และ ส่วนปรับปรุง และ ส่วนปรับปรุง สิทธิการเช่า ส่วนปรับปรุง

241,665 6,129 1,815 (6,726) 242,883

241,662 2,393 - (2,390) 1,012,513 60,073 344,186 (2,999) 1,413,773

995,454 16,327 1,398 (666) 1,007,674 53,585 9,634 (194,373) 876,520

1,000,366 13,361 1,917 (7,970)

5,992 - - (33) 5,959

7,522 - - (1,530)

งบการเงินเฉพาะกิจการ เครื่องตกแต่ง ติดตั้งและ อุปกรณ์ระบบ อุปกรณ์ระบบ อุปกรณ์ สารสนเทศ งานอาคาร สำนักงาน ยานพาหนะ

191,170 676,982 (866,751) (937) 464

2,951 200,061 (11,842) -

สินทรัพย์ ระหว่าง ก่อสร้าง และติดตั้ง

4,385,396 935,868 (205,651) 5,115,613

4,144,563 254,241 (13,408)

รวม

(พันบาท)


ค่าเสื่อมราคาสะสม ณ วันที่ 1 มกราคม 2551 ค่าเสื่อมราคาสำหรับปี จำหน่าย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ 1 มกราคม 2552 ค่าเสื่อมราคาสำหรับปี โอน จำหน่าย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 มูลค่าสุทธิทางบัญชี ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 768,893 54,648 (188) 823,353 53,396 - - 876,749 313,745 260,349

- - - - - - - - 69,538 68,538

256,193 783,449

463,553 122,816 - (440) 585,929

363,265 100,605 (317)

อาคาร สิ่งปลูกสร้าง ที่ดิน และ ส่วนปรับปรุง และ ส่วนปรับปรุง สิทธิการเช่า ส่วนปรับปรุง

11,651 9,957

230,014 9,461 23 (6,572) 232,926

217,827 14,527 (2,340)

124,552 440,098

887,961 88,088 - (2,374) 973,675

809,021 79,572 (632)

32,626 71,431

975,048 24,319 (23) (194,255) 805,089

962,298 20,644 (7,894)

152 37

5,840 115 - (33) 5,922

7,157 213 (1,530)

งบการเงินเฉพาะกิจการ เครื่องตกแต่ง ติดตั้งและ อุปกรณ์ระบบ อุปกรณ์ระบบ อุปกรณ์ สารสนเทศ งานอาคาร สำนักงาน ยานพาหนะ

191,170 464

- - - - -

- - -

สินทรัพย์ ระหว่าง ก่อสร้าง และติดตั้ง

999,627 1,635,323

3,385,769 298,195 (203,674) 3,480,290

3,128,461 270,209 (12,901)

รวม

(พันบาท)

หมายหตุประกอบงบการเงิน

รายงานประจำปี 2552

123


ราคาทรัพย์สินของกลุ่มบริษัทก่อนหักค่าเสื่อมราคาสะสมของอาคารและอุปกรณ์ ซึ่งได้คิดค่าเสื่อมราคาเต็ม จำนวนแล้ว แต่ยังคงใช้งานจนถึง ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 มีจำนวน 2,766 ล้านบาท (2551: 2,649 ล้านบาท)

ราคาทรัพย์สินของบริษัทก่อนหักค่าเสื่อมราคาสะสมของอาคารและอุปกรณ์ ซึ่งได้คิดค่าเสื่อมราคาเต็มจำนวน แล้วแต่ยังคงใช้งานจนถึง ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 มีจำนวน 1,836 ล้านบาท (2551: 1,762 ล้านบาท)

14 สิทธิการเช่า งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะกิจการ หมายเหตุ 2552 2551 2552 2551 กิจการที่เกี่ยวข้องกัน 4 640,269 644,742 342,137 327,874 กิจการอื่นๆ 2,046,821 2,188,053 1,006,845 1,082,216 รวม 2,687,090 2,832,795 1,348,982 1,410,090

รายการเคลื่อนไหวของสิทธิการเช่าสำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31ธันวาคม 2552 และ 2551 มีดังนี้

ณ วันที่ 1 มกราคม เพิ่มขึ้น ค่าตัดจำหน่ายสำหรับปี ณ วันที่ 31 ธันวาคม

งบการเงินรวม 2552 2551 2,832,795 3,026,346 48,358 - (194,063) (193,551) 2,687,090 2,832,795

(พันบาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551 1,410,090 1,514,044 43,358 (104,466) (103,954) 1,348,982 1,410,090

กลุ่มบริษัท และบริษัทได้ทำสัญญาเช่าและสัญญาเช่าช่วงสิทธิการเช่าอาคารสำนักงาน และพื้นที่ห้างสรรพสินค้า เพื่อใช้ในการประกอบกิจการห้างสรรพสินค้าโรบินสัน เป็นระยะเวลาตั้งแต่ 19 ปี ถึง 30 ปี โดยสัญญาจะสิ้นสุด นานทีส่ ดุ ในเดือนพฤษภาคม 2582 โดยกำหนดค่าตอบแทนสำหรับสิทธิการเช่าเป็นจำนวนเงินรวมทัง้ สิน้ ประมาณ 5,862 ล้านบาท และ 3,309 ล้านบาท ตามลำดับ

124

บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)


หมายหตุประกอบงบการเงิน

15 ค่าความนิยม งบการเงินรวม ค่าความนิยม ค่าความนิยม ติดลบ

ราคาทุน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 ตัดรายการค่าความนิยมติดลบ กลับรายการ ณ วันที่ 1 มกราคม 2551 ณ วันที่ 1 มกราคม 2551 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 และ วันที่ 1 มกราคม 2552 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 ค่าตัดจำหน่ายสะสม ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 ตัดรายการค่าความนิยมติดลบ กลับรายการ ณ วันที่ 1 มกราคม 2551 ณ วันที่ 1 มกราคม 2551 มูลค่าสุทธิทางบัญชี ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552

(พันบาท) รวม

51,250 - (5,853) 45,397

(27,082) 27,082 - -

24,168 27,082 (5,853) 45,397

45,397 45,397

- -

45,397 45,397

5,853 - (5,853) -

(23,471) 23,471 - -

(17,618) 23,471 (5,853) -

45,397 45,397

- -

45,397 45,397

16 สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น เงินมัดจำและค้ำประกัน ลูกหนี้กรมสรรพากร ที่ดินที่ยังไม่ได้ใช้ในการดำเนินงาน - ราคาทุน เงินฝากธนาคารที่มีข้อจำกัดในการใช้ เครื่องหมายการค้า อื่นๆ รวม

งบการเงินรวม 2552 2551 82,762 82,666 3,699 21,415 140,913 17,547 13,120 91,153 349,194

140,913 17,255 15,137 75,972 353,358

(พันบาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551 78,165 79,119 - - - - 61,946 140,111

62,661 141,780

รายงานประจำปี 2552

125


17 เจ้าหนี้การค้า (พันบาท) งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะกิจการ หมายเหตุ 2552 2551 2552 2551 กิจการที่เกี่ยวข้องกัน 4 176,740 148,300 99,270 83,667 กิจการอื่นๆ 2,591,601 2,277,810 1,530,964 1,299,605 รวม 2,768,341 2,426,110 1,630,234 1,383,272

เจ้าหนี้การค้าทั้งหมดของกลุ่มบริษัทและบริษัท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551 เป็นสกุลเงินบาท

18 หนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ย

หมายเหตุ

งบการเงินรวม 2552 2551

(พันบาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551

ส่วนที่หมุนเวียน เงินกู้ยืมระยะสั้นจากกิจการ ที่เกี่ยวข้องกัน - ส่วนที่ไม่มีหลักประกัน 4

- -

- -

1,139,274 1,139,274

1,085,501 1,085,501

ส่วนที่ไม่หมุนเวียน เงินกู้ยืมระยะยาวจากกิจการ ที่เกี่ยวข้องกัน - ส่วนที่ไม่มีหลักประกัน 4

- -

- -

113,300 113,300

113,300 113,300

รวม

-

-

1,252,574

1,198,801

หนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยแสดงตามระยะเวลาครบกำหนดการจ่ายชำระ ณ วันที่ 31 ธันวาคม ได้ดังนี้

ครบกำหนดภายในหนึ่งปี ครบกำหนดหลังจากหนึ่งปี แต่ไม่เกินห้าปี รวม 126

บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

งบการเงินรวม 2552 2551 - - -

- - -

(พันบาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551 1,139,274 113,300 1,252,574

1,085,501 113,300 1,198,801


หมายหตุประกอบงบการเงิน

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 บริษัทมีวงเงินสินเชื่อซึ่งยังมิได้เบิกใช้เป็นจำนวนเงินรวม 1,934 ล้านบาท (2551: 1,378 ล้านบาท)

หนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยทั้งหมดของกลุ่มบริษัทและบริษัท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551 เป็นสกุล เงินบาท

19 หนี้สินหมุนเวียนอื่น

หมายเหตุ

ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย เจ้าหนี้อื่น เงินทดรองจากกิจการที่เกี่ยวข้องกัน 4 เงินมัดจำและเงินรับล่วงหน้า เจ้าหนี้กรมสรรพากร อื่นๆ รวม

งบการเงินรวม 2552 2551 286,379 188,821 45,816 120,753 9,137 209,937 860,843

203,173 226,846 70,131 87,642 6,099 223,331 817,222

(พันบาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551 215,129 157,895 28,866 75,887 6,356 196,941 681,074

134,337 178,543 57,516 47,053 4,092 246,682 668,223

20 หนี้สินไม่หมุนเวียนอื่น สิทธิการเช่าค้างจ่าย

งบการเงินรวม 2552 2551 13,699

14,199

(พันบาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551 -

รายงานประจำปี 2552

-

127


21

ทุนเรือนหุ้น

มูลค่าหุ้น ต่อหุ้น (บาท)

ทุนจดทะเบียน ณ วันที่ 1 มกราคม - หุ้นสามัญ ณ วันที่ 31 ธันวาคม - หุ้นสามัญ หุ้นที่ออกและชำระแล้ว ณ วันที่ 1 มกราคม - หุ้นสามัญ ณ วันที่ 31 ธันวาคม - หุ้นสามัญ

2552 2551 จำนวนหุ้น จำนวนเงิน จำนวนหุ้น จำนวนเงิน (พันหุ้น/พันบาท)

3.55 1,110,661

3,942,847 1,110,661 3,942,847

3.55 1,110,661

3,942,847 1,110,661 3,942,847

3.55 1,110,661

3,942,847 1,110,661 3,942,847

3.55 1,110,661

3,942,847 1,110,661 3,942,847

22 หุ้นทุนซื้อคืน หุ้นทุนซื้อคืนที่อยู่ในส่วนของผู้ถือหุ้นคือต้นทุนของหุ้นบริษัทที่ถือโดยกลุ่มบริษัท เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2552 บริษัทถือหุ้นของบริษัทจำนวน 6,765,000 หุ้น (2551 : 2,185,200 หุ้น) ซึ่งคิดเป็น ร้อยละ 0.6 (2551: ร้อยละ 0.2) ของหุน้ ทุนทีบ่ ริษทั ออก ซึง่ มีราคาทุนรวม 39.4 ล้านบาท (2551 : 12.8 ล้านบาท) เป็นเงินลงทุนเผื่อขาย ในเดือนพฤศจิกายน 2551 ที่ประชุมคณะกรรมการของบริษัทมีมติอนุมัติโครงการการซื้อหุ้นของบริษัทคืน (“แผน”) เพื่อซื้อหุ้นคืนในจำนวนไม่เกินร้อยละ 10 หรือ 111 ล้านหุ้น ของหุ้นของบริษัทที่ออกจำหน่ายแล้วใน ขณะนั้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อบริหารเงินส่วนเกินของบริษัท จำนวนเงินสูงสุดที่มีมติอนุมัติภายใต้แผนมีจำนวน 536 ล้านบาท และในราคาเสนอซื้อไม่เกินร้อยละ 115 ของราคาปิดของหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (“ตลท.”) เฉลีย่ 5 วันทำการก่อนวันทีท่ ำการซือ้ ขาย บริษทั จะดำเนินการซือ้ หุน้ ใน ตลท.ตัง้ แต่วนั ที่ 24 พฤศจิกายน 2551 ถึงวันที่ 22 พฤษภาคม 2552 หุ้นที่ซื้อคืนดังกล่าวมีกำหนดระยะเวลาจำหน่ายหุ้นคืนกับบุคคลภายนอก ภายหลัง 6 เดือน นับตั้งแต่การซื้อหุ้นคืนแล้วเสร็จแต่ไม่เกิน 3 ปี ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 บริษัทได้จัดสรร กำไรสะสมไว้เป็นสำรองสำหรับหุ้นทุนซื้อคืนเท่ากับจำนวนที่ได้จ่ายซื้อหุ้นคืนเต็มจำนวนแล้ว

128

บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)


หมายหตุประกอบงบการเงิน

23 สำรอง สำรองตามกฎหมาย ตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 มาตรา 116 บริษัทจะต้องจัดสรรทุนสำรอง (“สำรองตามกฎหมาย”) อย่างน้อยร้อยละ 5 ของกำไรสุทธิประจำปีหลังจากหักขาดทุนสะสมยกมา (ถ้ามี) จน กว่าสำรองดังกล่าวมีจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของทุนจดทะเบียน เงินสำรองนี้จะนำไปจ่ายเป็นเงินปันผล ไม่ได้ สำรองหุ้นทุนซื้อคืน

สำรองหุ้นทุนซื้อคืนคือจำนวนเงินที่จัดสรรจากกำไรสะสมในจำนวนที่เท่ากับต้นทุนของหุ้นบริษัทที่ถือโดยกลุ่ม บริษัท สำรองหุ้นทุนซื้อคืนนี้จะนำไปจ่ายเป็นเงินปันผลไม่ได้

24 ข้อมูลทางการเงินจำแนกตามส่วนงาน ส่วนงานธุรกิจ กลุ่มบริษัทดำเนินกิจการในส่วนงานธุรกิจเดียวคือธุรกิจ ห้างสรรพสินค้า ดังนั้นฝ่ายบริหารจึงพิจารณาว่ากลุ่ม บริษัทมีส่วนงานธุรกิจเพียงส่วนงานเดียว ส่วนงานภูมิศาสตร์ กลุ่มบริษัทดำเนินธุรกิจเฉพาะในประเทศเท่านั้น ดังนั้นฝ่ายบริหารจึงพิจารณาว่า กลุ่มบริษัทมีส่วนงานทางภูมิ ศาสตร์เพียงส่วนงานเดียว

25 ดอกเบี้ยรับ

หมายเหตุ

ดอกเบี้ยรับ กิจการที่เกี่ยวข้องกัน 4 สถาบันการเงิน รวม

งบการเงินรวม 2552 2551 - 18,933 18,933

- 34,794 34,794

(พันบาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551 74,318 15,643 89,961

176,293 30,854 207,147

รายงานประจำปี 2552

129


26 รายได้อื่น

หมายเหตุ

รายได้ค่าสาธารณูปโภค 4 รายได้จากการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ รายได้ค่าตอบแทนการบริหารงาน 4 กลับรายการค่าเผื่อการด้อยค่า ของเงินลงทุน อื่นๆ รวม

งบการเงินรวม 2552 2551

(พันบาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551

177,971

177,763

111,268

111,345

103,168 8,169

70,060 8,329

92,291 133,217

64,806 125,626

- 166,124 455,432

- 150,955 407,107

6,482 143,744 487,002

155,202 456,979

27 ค่าใช้จ่ายในการขาย ค่าใช้จ่ายพนักงาน ค่าใช้จ่ายส่งเสริมการขาย ค่าใช้จ่ายสาธารณูปโภค ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย ค่าใช้จ่ายอาคาร อื่นๆ รวม

130

บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

งบการเงินรวม 2552 2551 475,452 273,821 477,886 627,775 329,018 239,443 2,423,395

453,745 255,704 451,579 607,943 301,095 228,639 2,298,705

(พันบาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551 295,708 193,425 303,656 398,819 247,040 153,058 1,591,706

281,021 180,810 283,800 369,866 226,246 146,749 1,488,492


หมายหตุประกอบงบการเงิน

28 ค่าใช้จ่ายในการบริหาร ค่าใช้จ่ายพนักงาน ค่าบริหารงานจ่าย ค่าใช้จ่ายภาษีโรงเรือน ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย ค่าใช้จ่ายบำรุงรักษา อื่นๆ รวม

งบการเงินรวม 2552 2551 160,439 80,318 55,751 13,113 39,115 194,485 543,221

164,999 83,908 53,226 21,301 41,858 213,157 578,449

(พันบาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551 160,439 74,784 45,238 10,556 24,212 132,531 447,760

164,279 78,956 43,283 10,524 22,840 156,091 475,973

29 ค่าใช้จ่ายผลประโยชน์ตอบแทนพนักงาน

งบการเงินรวม 2552 2551

(พันบาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551

ผู้บริหาร เงินเดือนและค่าแรง เงินสมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ อื่นๆ

34,664 871 13,772 49,307

34,457 838 13,212 48,507

34,664 871 13,772 49,307

34,457 838 13,212 48,507

พนักงานอื่น เงินเดือนและค่าแรง เงินสมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ อื่นๆ รวม

438,359 6,403 191,129 635,891 685,198

417,732 5,603 195,409 618,744 667,251

318,516 5,229 132,402 456,147 505,454

300,020 4,599 140,681 445,300 493,807

กลุ่มบริษัทได้จัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพสำหรับพนักงานของกลุ่มบริษัทบนพื้นฐานความสมัครใจของพนักงาน ในการเป็นสมาชิกของกองทุน โดยพนักงานจ่ายเงินสะสมในอัตราร้อยละ 3 และอัตราร้อยละ 5 ของเงินเดือน ทุกเดือน และกลุ่มบริษัทจ่ายสมทบในอัตราร้อยละ 3 และอัตราร้อยละ 5 ของเงินเดือนของพนักงานทุกเดือน กองทุนสำรองเลีย้ งชีพนี้ได้จดทะเบียนเป็นกองทุนสำรองเลีย้ งชีพตามข้อกำหนดของกระทรวงการคลังและจัดการ กองทุนโดยผู้จัดการกองทุนที่ได้รับอนุญาต รายงานประจำปี 2552

131


30 ต้นทุนทางการเงิน

หมายเหตุ

ดอกเบี้ยจ่าย กิจการที่เกี่ยวข้องกัน 4 รวม

(พันบาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551

งบการเงินรวม 2552 2551 - -

- -

8,752 8,752

6,950 6,950

31 ภาษีเงินได้ ภาษีเงินได้ปัจจุบัน สำหรับปีปัจจุบัน การกระทบยอดเพื่อหาอัตราภาษีที่แท้จริง

งบการเงินรวม 2552 2551 300,156

บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

227,439

163,825

134,407

งบการเงินรวม

2552 2551 อัตราภาษี อัตราภาษี (ร้อยละ) (พันบาท) (ร้อยละ) (พันบาท)

กำไรก่อนภาษีเงินได้ จำนวนภาษีตามอัตราภาษีเงินได้ 30 การลดภาษีเงินได้ รายได้ที่ไม่ต้องเสียภาษี ค่าใช้จ่ายต้องห้ามทางภาษี รายจ่ายที่มีสิทธิหักได้เพิ่ม การใช้ขาดทุนทางภาษี รวม 22.3

132

(พันบาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551

1,348,681 404,604 30 (15,000) (84,625) 5,103 (2,393) (7,533) 300,156 17.9

1,267,608 380,282 (15,000) (122,305) 4,157 (342) (19,353) 227,439


หมายหตุประกอบงบการเงิน

การกระทบยอดเพื่อหาอัตราภาษีที่แท้จริง

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551 อัตราภาษี อัตราภาษี (ร้อยละ) (พันบาท) (ร้อยละ) (พันบาท)

กำไรก่อนภาษีเงินได้ จำนวนภาษีตามอัตราภาษีเงินได้ 30 การลดภาษีเงินได้ รายได้ที่ไม่ต้องเสียภาษี ค่าใช้จ่ายต้องห้ามทางภาษี รายจ่ายที่มีสิทธิหักได้เพิ่ม รวม 25.5

642,767 192,830 30 (15,000) (16,143) 4,002 (1,864) 163,825 17.7

761,039 228,312 (15,000) (82,386) 3,823 (342) 134,407

การลดภาษีเงินได้นิติบุคคล

พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากรฉบับที่ 475 พ.ศ. 2551 ลงวันที่ 6 สิงหาคม 2551 ให้สิทธิแก่บริษัทที่มีหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยตามกฎหมายว่า ด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ โดยลดอัตราภาษีเงินได้จากร้อยละ 30 เป็นร้อยละ 25 สำหรับกำไรสุทธิ เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 300 ล้านบาท เป็นเวลาสามรอบระยะเวลาบัญชีต่อเนื่องกันนับแต่รอบระยะเวลาบัญชีแรกที่ เริ่มในหรือหลัง 1 มกราคม 2551

32 กำไรต่อหุ้นขั้นพื้นฐาน

กำไรต่อหุ้นขั้นพื้นฐานสำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31ธันวาคม 2552 และ 2551 คำนวณจากกำไรสำหรับปีที่เป็น ส่วนของผูถ้ อื หุน้ ของบริษทั และจำนวนหุน้ สามัญทีอ่ อกจำหน่ายแล้วระหว่างปีในแต่ละปี โดยวิธถี วั เฉลีย่ ถ่วงน้ำหนัก แสดงการคำนวณดังนี้

รายงานประจำปี 2552

133


กำไรที่เป็นส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัท (ขั้นพื้นฐาน) จำนวนหุ้นสามัญที่ออก ณ วันที่ 1 มกราคม ผลกระทบจากหุ้นที่ถือโดยบริษัท (หุ้นทุนซื้อคืน) จำนวนหุ้นสามัญโดยวิธีถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก (ขั้นพื้นฐาน) กำไรต่อหุ้นขั้นพื้นฐาน (บาท)

งบการเงินรวม 2552 2551

(พันบาท/พันหุ้น) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551

1,013,308 1,110,661 (6,599)

1,020,033 1,110,661 (182)

478,942 1,110,661 (6,599)

626,632 1,110,661 (182)

1,104,062 0.92

1,110,479 0.92

1,104,062 0.43

1,110,479 0.56

33 เงินปันผล ที่ประชุมสามัญประจำปีผู้ถือหุ้นของบริษัทเมื่อวันที่ 23 เมษายน 2552 มีมติอนุมัติการจัดสรรเงินปันผลแก่ ผู้ถือหุ้นในอัตราหุ้นละ 0.40 บาท เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 441.82 ล้านบาท บริษัทได้จ่ายเงินปันผลดังกล่าวให้แก่ ผู้ถือหุ้นในระหว่างปี 2552 ที่ประชุมสามัญประจำปีผู้ถือหุ้นของบริษัทเมื่อวันที่ 25 เมษายน 2551 มีมติอนุมัติการจัดสรรเงินปันผลแก่ ผู้ถือหุ้นในอัตราหุ้นละ 0.40 บาท เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 444.24 ล้านบาท บริษัทได้จ่ายเงินปันผลดังกล่าวให้แก่ ผู้ถือหุ้นในระหว่างปี 2551

34 เครื่องมือทางการเงิน นโยบายการจัดการความเสี่ยงทางด้านการเงิน กลุ่มบริษัทมีความเสี่ยงจากการดำเนินธุรกิจตามปกติจากการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยและจากการไม่ปฏิบัติ ตามข้อกำหนดตามสัญญาของคู่สัญญา กลุ่มบริษัทไม่มีการถือหรือออกเครื่องมือทางการที่เป็นตราสารอนุพันธ์ เพื่อการเก็งกำไรหรือการค้า การจัดการความเสีย่ งเป็นส่วนทีส่ ำคัญของธุรกิจของกลุม่ บริษทั กลุม่ บริษทั มีระบบในการควบคุมให้มคี วามสมดุล ของระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ โดยพิจารณาระหว่างต้นทุนที่เกิดจากความเสี่ยงและต้นทุนของการจัดการ ความเสี่ยง ฝ่ายบริหารได้มีการควบคุมกระบวนการการจัดการความเสี่ยงของกลุ่มบริษัทอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ มั่นใจว่ามีความสมดุลระหว่างความเสี่ยงและการควบคุมความเสี่ยง ความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ย ความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ย หมายถึงความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดในอนาคตของอัตราดอกเบี้ย ในตลาด ซึ่งส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานและกระแสเงินสดของกลุ่มบริษัท กลุ่มบริษัทมีความเสี่ยงด้านอัตรา ดอกเบี้ยที่เกิดจากหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ย (หมายเหตุข้อ 18) 134

บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)


หมายหตุประกอบงบการเงิน

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 2551 บริษัทและบริษัทย่อยมีความเสี่ยงที่มูลค่าของเครื่องมือทางการเงินจะ เปลี่ยนแปลงไปเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยในตลาด ดังนี้

ปี 2552

สินทรัพย์ทางการเงิน เงินฝากสถาบันการเงิน เงินลงทุนระยะสั้นที่มีสภาพคล่องสูง เงินฝากธนาคารเพื่อชำระหนี้ระยะสั้น เงินฝากธนาคารที่มีข้อจำกัดในการใช้

ปี 2552

งบการเงินรวม อัตราดอกเบี้ยคงที่ อัตราดอกเบี้ย ถึงกำหนดชำระภายใน ปรับขึ้นลงตาม ภายใน หลังจาก 1 ปี หลังจาก อัตราตลาด 1 ปี แต่ภายใน 5 ปี 5 ปี (พันบาท)

1,222,590 194,385 172,230 17,547

- - - -

- - - -

อัตราดอกเบี้ย ถัวเฉลี่ย ปรับขึ้นลงตาม รวม อัตราตลาด คงที่ (ร้อยละ)

- 1,222,590 0.25 - 2.25 - 194,385 0.75 - 3.60 - 172,230 0.75 - 1.00 - 17,547 0.50 - 2.50

งบการเงินเฉพาะกิจการ อัตราดอกเบี้ยคงที่ อัตราดอกเบี้ย ถึงกำหนดชำระภายใน ปรับขึ้นลงตาม ภายใน หลังจาก 1 ปี หลังจาก อัตราตลาด 1 ปี แต่ภายใน 5 ปี 5 ปี (พันบาท)

-

อัตราดอกเบี้ย ถัวเฉลี่ย ปรับขึ้นลงตาม รวม อัตราตลาด คงที่ (ร้อยละ)

สินทรัพย์ทางการเงิน เงินฝากสถาบันการเงิน 941,761 - - - 941,761 0.25 - 2.25 เงินลงทุนระยะสั้นที่มีสภาพคล่องสูง 102,841 - - - 102,841 0.75 - 3.60 เงินฝากธนาคารเพื่อชำระหนี้ระยะสั้น 172,230 - - - 172,230 0.75 - 1.00 เงินให้กู้ยืมระยะสั้น แก่กิจการที่เกี่ยวข้องกัน 564,228 - - - 564,228 เงินฝาก ประจำบวก 1.50 เงินให้กู้ยืมระยะยาวแก่กิจการ ที่เกี่ยวข้องกัน - - - 61,224 61,224 - 6.00 หนี้สินทางการเงิน เงินกู้ยืมระยะสั้น จากกิจการที่เกี่ยวข้องกัน 1,139,274 - - - 1,139,274 ออมทรัพย์ บวก 2.50 เงินกู้ยืมระยะยาวจากกิจการ ที่เกี่ยวข้องกัน - - 113,300 - 113,300 - 2.00

รายงานประจำปี 2552

135


ปี 2551

งบการเงินรวม อัตราดอกเบี้ยคงที่ อัตราดอกเบี้ย ถึงกำหนดชำระภายใน ปรับขึ้นลงตาม ภายใน หลังจาก 1 ปี หลังจาก อัตราตลาด 1 ปี แต่ภายใน 5 ปี 5 ปี (พันบาท)

สินทรัพย์ทางการเงิน เงินฝากสถาบันการเงิน เงินลงทุนระยะสั้นที่มีสภาพคล่องสูง เงินฝากธนาคารเพื่อชำระหนี้ระยะสั้น เงินฝากธนาคารที่มีข้อจำกัดในการใช้

ปี 2551

1,253,892 203,142 170,855 17,255

- - - -

- - - -

อัตราดอกเบี้ย ถัวเฉลี่ย ปรับขึ้นลงตาม รวม อัตราตลาด คงที่ (ร้อยละ)

- 1,253,892 0.50 - 3.25 - 203,142 1.40 - 3.60 - 170,855 1.00 - 1.50 - 17,255 1.40 - 2.75

งบการเงินเฉพาะกิจการ อัตราดอกเบี้ยคงที่ อัตราดอกเบี้ย ถึงกำหนดชำระภายใน ปรับขึ้นลงตาม ภายใน หลังจาก 1 ปี หลังจาก อัตราตลาด 1 ปี แต่ภายใน 5 ปี 5 ปี (พันบาท)

-

อัตราดอกเบี้ย ถัวเฉลี่ย ปรับขึ้นลงตาม รวม อัตราตลาด คงที่ (ร้อยละ)

สินทรัพย์ทางการเงิน เงินฝากสถาบันการเงิน 1,045,346 - - - 1,045,346 0.50 - 3.25 เงินลงทุนระยะสั้นที่มีสภาพคล่องสูง 102,181 - - - 102,181 1.40 - 3.60 เงินฝากธนาคารเพื่อชำระหนี้ระยะสั้น 170,855 - - - 170,855 1.00 - 1.50 เงินให้กู้ยืมระยะสั้น แก่กิจการที่เกี่ยวข้องกัน 4,153,703 - - - 4,153,703 เงินฝาก ประจำบวก 1.50 เงินให้กู้ยืมระยะยาวแก่กิจการ ที่เกี่ยวข้องกัน - - - 61,224 61,224 - 6.00 หนี้สินทางการเงิน เงินกู้ยืมระยะสั้น จากกิจการที่เกี่ยวข้องกัน 1,085,501 - - - 1,085,501 ออมทรัพย์ บวก 2.50 เงินกู้ยืมระยะยาวจากกิจการที่เกี่ยวข้องกัน - - 113,300 - 113,300 - 2.00

136

บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)


หมายหตุประกอบงบการเงิน

ความเสี่ยงทางด้านสินเชื่อ ความเสี่ยงทางด้านสินเชื่อ คือความเสี่ยงที่ลูกค้าหรือคู่สัญญาไม่สามารถชำระหนี้แก่กลุ่มบริษัท ตามเงื่อนไขที่ ตกลงไว้เมื่อครบกำหนด ฝ่ายบริหารได้กำหนดนโยบายทางด้านสินเชื่อเพื่อควบคุมความเสี่ยงทางด้านสินเชื่อดังกล่าวโดยสม่ำเสมอ โดย การวิเคราะห์ฐานะทางการเงินของลูกค้าทุกรายที่ขอวงเงินสินเชื่อในระดับหนึ่งๆ ณ วันที่รายงานไม่พบว่ามีความ เสี่ยงจากสินเชื่อที่เป็นสาระสำคัญ ความเสี่ยงสูงสุดทางด้านสินเชื่อแสดงไว้ในราคาตามบัญชีของสินทรัพย์ทาง การเงินแต่ละรายการในงบดุล อย่างไรก็ตามเนือ่ งจากกลุม่ บริษทั มีฐานลูกค้าจำนวนมาก ฝ่ายบริหารไม่ได้คาดว่า จะเกิดผลเสียหายที่มีสาระสำคัญจากการเก็บหนี้ไม่ได้ ความเสี่ยงจากการขาดสภาพคล่อง กลุ่มบริษัท มีการควบคุมความเสี่ยงจากการขาดสภาพคล่องโดยการรักษาระดับของเงินสดและรายการเทียบเท่า เงินสดให้เพียงพอต่อการดำเนินงานของกลุ่มบริษัท และเพื่อทำให้ผลกระทบจากความผันผวนของกระแสเงินสด ลดลง การบริหารจัดการส่วนทุน นโยบายของคณะกรรมการ คือการดำรงฐานเงินทุนทีแ่ ข็งแกร่งเพือ่ รักษาความเชือ่ มัน่ ของผูถ้ อื หุน้ ผูล้ งทุน เจ้าหนี้ และตลาดเงินตลาดทุน และเพือ่ การดำเนินงานทางธุรกิจอย่างต่อเนือ่ งในอนาคต คณะกรรมการเฝ้าติดตามผลตอบ แทนจากเงินลงทุน ซึ่งกลุ่มบริษัทกำหนดว่าเป็นผลของกิจกรรมการดำเนินงานหารด้วยส่วนของผู้ถือหุ้นทั้งหมด โดยไม่รวมส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยและติดตามระดับการจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นสามัญ การกำหนดมูลค่ายุติธรรม นโยบายการบัญชีและการเปิดเผยของกลุ่มบริษัทกำหนดให้มีการกำหนดมูลค่ายุติธรรมทั้งสินทรัพย์และหนี้สิน ทางการเงินและไม่ใช่ทางการเงิน มูลค่ายุติธรรม หมายถึง จำนวนเงินที่ผู้ซื้อและผู้ขายตกลงแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ หรือชำระหนี้สินกัน ในขณะที่ทั้งสองฝ่ายมีความรอบรู้และเต็มใจในการแลกเปลี่ยนกัน และสามารถต่อรองราคา กันได้อย่างเป็นอิสระในลักษณะของผูท้ ี่ไม่มคี วามเกีย่ วข้องกัน วัตถุประสงค์ของการวัดมูลค่าและ/หรือการเปิดเผย มูลค่ายุติธรรมถูกกำหนดโดยวิธีต่อไปนี้ ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสมมติฐานในการกำหนดมูลค่ายุติธรรมถูกเปิด เผยในหมายเหตุที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์และหนี้สินนั้นๆ มูลค่ายุติธรรมของลูกหนี้และเจ้าหนี้การค้า ลูกหนี้และเจ้าหนี้ระยะสั้นอื่นๆ เป็นมูลค่าที่ใกล้เคียงกับราคาที่บันทึก ในบัญชี มูลค่ายุตธิ รรมของเงินลงทุนในหลักทรัพย์ทเี่ ป็นตราสารทุนทีถ่ อื ไว้เพือ่ ค้าและเผือ่ ขาย พิจารณาโดยอ้างอิงกับราคา เสนอซื้อ ณ วันที่ในรายงาน รายงานประจำปี 2552

137


มูลค่ายุติธรรมของเงินให้กู้ยืมแก่บริษัทย่อยมีจำนวนใกล้เคียงกับมูลค่ายุติธรรม เนื่องจากเป็นเงินให้กู้ยืมที่มีวัน ครบกำหนดชำระคืนในระยะเวลาอันใกล้ ส่วนเงินให้กู้ยืมระยะยาวแก่บริษัทย่อยมีจำนวนใกล้เคียงกับมูลค่ายุติธรรม ที่ประมาณจากอัตราดอกเบี้ยปัจจุบันในตลาดของเงินกู้ยืม ซึ่งมีเงื่อนไขและวันครบกำหนดที่คล้ายคลึงกัน มูลค่ายุตธิ รรมของเงินกูย้ มื ซึง่ มีอตั ราดอกเบีย้ แบบลอยตัวมีจำนวนใกล้เคียงกับมูลค่ายุตธิ รรม ส่วนราคาตามบัญชี ของรายการที่มีอัตราดอกเบี้ยแบบคงที่ มีจำนวนไม่สาระสำคัญ

35 ภาระผูกพันที่มีกับกิจการที่ไม่เกี่ยวข้องกันและอื่นๆ

งบการเงินรวม 2552 2551

(พันบาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2552 2551

(ก) ภาระผูกพันรายจ่ายฝ่ายทุน สัญญาที่ยังไม่ได้รับรู้สำหรับสิทธิการเช่า

20,000

21,000

-

-

(ข) ภาระผูกพันตามสัญญาเช่า ดำเนินงานที่ยกเลิกไม่ได้ ภายในระยะเวลาหนึ่งปี ระยะเวลามากกว่าหนึ่งปีถึงห้าปี ระยะเวลามากกว่าห้าปี รวม

184,088 529,753 1,408,262 2,122,103

180,134 579,909 1,471,755 2,231,798

120,712 301,442 370,388 792,542

118,066 353,404 379,073 850,543

กลุ่มบริษัทได้ทำสัญญาเช่าบริการ และเช่าอาคารกับบริษัทในประเทศหลายแห่ง โดยมีกำหนดระยะเวลาในการ เช่าจนถึงปี 2568

(ค) สัญญา เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2551 บริษัทได้ทำสัญญาโอนสิทธิการเช่าสำหรับพื้นที่สาขาสีลมกับบริษัทในประเทศ แห่งหนึ่ง โดยบริษัทตกลงที่จะโอนสิทธิการเช่าและสินทรัพย์อื่นของห้างสรรพสินค้าโรบินสัน สาขาสีลม ในราคา 230 ล้านบาท ภายใต้สัญญานี้ บริษัทจะโอนสิทธิการเช่าและสินทรัพย์อื่นในวันที่ 30 พฤษภาคม 2551 ทั้งนี้ในเดือนมีนาคม 2551 บริษัทได้รับเงินงวดแรกจากคู่สัญญาดังกล่าวแล้วจำนวน 46.5 ล้านบาท บริษทั ได้บนั ทึกเงินจำนวนดังกล่าวเป็นส่วนหนึง่ ในหนีส้ นิ หมุนเวียนอืน่ ในงบดุล อย่างไรก็ตาม บริษทั ดังกล่าว ไม่สามารถชำระเงินส่วนที่เหลือตามเงื่อนไขที่ระบุในสัญญาได้ ดังนั้น บริษัทจึงได้ยกเลิกสัญญาและริบเงิน รับชำระงวดแรกทั้งจำนวนในเดือนมีนาคม 2552 โดยได้บันทึกเงินจำนวนดังกล่าวเป็นรายได้อื่นในงบกำไร ขาดทุนสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552

138

บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)


หมายหตุประกอบงบการเงิน

36 มาตรฐานการบัญชีที่ยังไม่ได้ ใช้ กลุ่มบริษัทยังไม่ได้ใช้มาตรฐานการบัญชีที่ปรับปรุงใหม่ดังต่อไปนี้ ณ วันที่รายงาน เนื่องจากยังไม่มีการบังคับใช้ มาตรฐานการบัญชีที่ปรับปรุงใหม่ดังต่อไปนี้กำหนดให้ถือปฏิบัติกับงบการเงินสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มใน หรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2554 ได้แก่ มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 24 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลหรือกิจการที่ เกี่ยวข้องกัน (ฉบับ 47 เดิม) มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 40 (ปรับปรุง 2552) เรื่อง อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน บริษัทคาดว่าการกำหนดให้ใช้มาตรฐานการบัญชีที่ปรับปรุงใหม่ดังกล่าวข้างต้นจะไม่มีผลกระทบต่องบการเงิน รวม หรืองบการเงินเฉพาะกิจการอย่างมีสาระสำคัญ

37 การจัดประเภทรายการใหม่

รายการในงบการเงินของปี 2551 บางรายการได้จดั ประเภทใหม่ให้สอดคล้องกับรายการในงบการเงินของปี 2552 ดังนี้ (พันบาท) งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะกิจการ ก่อนจัด จัด หลังจัด ก่อนจัด จัด หลังจัด ประเภท ประเภท ประเภท ประเภท ประเภท ประเภท ใหม่ ใหม่ ใหม่ ใหม่ ใหม่ ใหม่

งบดุล เงินลงทุนในบริษัทย่อยและร่วม 983,011 (983,011) - 798,848 (798,848) เงินลงทุนในบริษัทย่อย - - - - 466,848 466,848 เงินลงทุนในบริษัทร่วม - 983,011 983,011 - 332,000 332,000 ค่าความนิยม 60,534 (15,137) 45,397 - - สินทรัพย์ ไม่หมุนเวียนอื่น 338,221 15,137 353,358 - - - - งบกำไรขาดทุน ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร 2,925,660 (2,925,660) - 2,012,972 (2,012,972) ค่าใช้จ่ายในการขาย - 2,298,705 2,298,705 - 1,488,492 1,488,492 ค่าใช้จ่ายในการบริหาร - 578,448 578,448 - 475,973 475,973 ค่าตอบแทนผู้บริหาร - 48,507 48,507 - 48,507 48,507 ต้นทุนทางการเงิน - - - - 6,950 6,950 ดอกเบี้ยจ่าย - - - 6,950 (6,950) - -

รายงานประจำปี 2552

139


การจัดประเภทรายการใหม่นี้เนื่องจากผู้บริหารเห็นว่ามีความหมาะสมกับธุรกิจของกลุ่มกิจการมากกว่า และเพื่อ ให้สอดคล้องกับการจัดประเภทรายการตามประกาศของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดรายการย่อที่ต้องมี ในงบการเงิน พ.ศ. 2552 ลงวันที่ 30 มกราคม 2552

140

บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)


หมายหตุประกอบงบการเงิน

รายการระหว่างกัน

ตารางแสดงรายการทางบัญชีของรายการระหว่างกันที่มีนัยสำคัญ

รายได้ ค่าเช่า/ค่าบริการ

บริษัท พาวเวอร์บาย จำกัด X บริษัท ซี อาร์ ซี สปอร์ต จำกัด X บริษัท สรรพสินค้าเซ็นทรัล จำกัด กลุ่มบริษัท เซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล จำกัด บริษัท ซีอาร์ซี เพาเวอร์ รีเทล จำกัด บริษัท บีทูเอส จำกัด บริษัท ออฟฟิซ คลับ (ไทย) จำกัด บริษัท เซ็นทรัลวัตสัน จำกัด บริษัท อาร์ไอเอส จำกัด กลุ่มบริษัท เซ็นทรัลเรสตอรองส์กรุ๊ป จำกัด (อานตี้ แอนส์,พิซซ่าฮัท,มิสเตอร์โดนัท,เค.เอฟ.ซี.)

ผู้ถือหุ้นและ/หรือ กรรมการร่วมกัน

ผู้ถือหุ้นรายใหญ่

บริษัทร่วม

ลักษณะรายการ บริษัทที่เกี่ยวข้อง ความสัมพันธ์

X X X X X X X X X X

มูลค่ารายการ ระหว่างกัน (ล้านบาท)

416.08

รายงานประจำปี 2552

141

รายการระหว่างกัน

ในระหว่างปี 2552 บริษัทฯและบริษัทย่อยมีการทำรายการระหว่างกันกับกิจการหรือบุคคลเกี่ยวข้องกันที่อาจเกิดความ ขัดแย้งทางผลประโยชน์ ทัง้ นี้ อาจมีความเกีย่ วข้องกันโดยการเป็นผูถ้ อื หุน้ หรือมีผถู้ อื หุน้ ร่วมกัน หรือมีกรรมการร่วมกัน ดังรายละเอียดที่ได้เปิดเผยไว้ในงบการเงินประจำปีในส่วนของหมายเหตุประกอบงบการเงิน ข้อ 4 ซึง่ สามารถสรุปรายการ ทางบัญชีของรายการระหว่างกันที่มีนัยสำคัญ สิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 ดังปรากฎในตารางแสดงรายการทาง บัญชีของรายการระหว่างกัน ดังต่อไปนี้


ผู้ถือหุ้นและ/หรือ กรรมการร่วมกัน

ผู้ถือหุ้นรายใหญ่

บริษัทร่วม

ลักษณะรายการ บริษัทที่เกี่ยวข้อง ความสัมพันธ์

มูลค่ารายการ ระหว่างกัน (ล้านบาท)

ค่าสาธารณูปโภค ค่าบริการทาง การเงิน

บริษัท พาวเวอร์บาย จำกัด X บริษัท ซี อาร์ ซี สปอร์ต จำกัด X บริษัท ห้องอาหารซี ดี เอส จำกัด กลุ่มบริษัท เซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล จำกัด กลุ่มบริษัท เซ็นทรัลเรสตอรองส์กรุ๊ป จำกัด บริษัท บีทูเอส จำกัด บริษัท ออฟฟิซ คลับ (ไทย) จำกัด บริษัท เซ็นทรัลวัตสัน จำกัด บริษัท อาร์ไอเอส จำกัด บริษัท พาวเวอร์บาย จำกัด X บริษัท ซี อาร์ ซี สปอร์ต จำกัด X บริษัท บีทูเอส จำกัด

X X X X X X X X X X X X

110.96

รายจ่าย รายการซื้อสินค้า

บริษัท ซี อาร์ ซี สปอร์ต จำกัด X บริษัท สรรพสินค้าเซ็นทรัล จำกัด บริษัท พาวเวอร์บาย จำกัด X บริษัท เซ็นทรัลเทรดดิ้ง จำกัด บริษัท เท็กซ์ทรัลเท็กซ์ไทล์ จำกัด บริษัท เซ็นทรัลการ์เมนท์แฟคทอรี่ จำกัด

X X X X X X

745.26

ค่าเช่า/ค่าบริการ ค่าบริหารงาน

กลุ่มบริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) บริษัท เตียงจิราธิวัฒน์ จำกัด บริษัท สรรพสินค้าเซ็นทรัล จำกัด บริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่นจำกัด X บริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด X บริษัท อาร์ไอเอส จำกัด บริษัท ห้างเซ็นทรัลดีพาร์ทเมนท์สโตร์ จำกัด

X X X X X X X

123.29

ค่าใช้จ่าย สาธารณูปโภค

กลุ่มบริษัท เซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล จำกัด กลุ่มบริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน)

X X

44.79

142

บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

7.11

84.22


รายการระหว่างกัน

ความจำเป็นและความสมเหตุสมผลของรายการระหว่างกัน 1. รายการธุรกิจปกติของบริษัท - รายการซื้อสินค้า สิ น ค้ า ที่ บ ริ ษั ท ฯจั ด ซื้ อ มาจากบริ ษั ท ที่ เ กี่ ย วโยงกั น นั้ น เป็ น ยี่ ห้ อ ที่ ไ ด้ รั บ ความนิยม และเป็นผู้จัดจำหน่ายเพียงผู้เดียว ทั้งนี้ นโยบายที่ใช้ในการจัด ซือ้ สินค้ากับบริษทั ดังกล่าวเป็นนโยบายเดียวกับที่ใช้กบั คูค่ า้ ทัว่ ไป โดยมีการ เจรจาต่อรองราคาเพื่อให้ได้กำไรขั้นต้นสูงสุด และต้องเป็นสินค้าที่กำลังวาง จำหน่ายอยู่ในท้องตลาดหรือกำลังจะวางจำหน่ายและสามารถแข่งขันกับ ห้างสรรพสินค้าอื่นได้ - รายได้ค่าเช่าและค่าบริการ ร้านค้าสินค้าเฉพาะอย่าง (Specialty Store) ที่ดำเนินการโดยบริษัทร่วม และบริษัทที่เกี่ยวโยง นับว่าเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในการบริหารสินค้า เฉพาะอย่างเหล่านั้น มีชื่อเสียง เป็นที่นิยมของลูกค้ากลุ่มเป้าหมายของ บริษัทฯ นอกจากนี้รูปแบบร้านมีการตกแต่งที่ทันสมัยซึ่งสอดคล้องกับแนว คิดของบริษัทฯ สำหรับค่าตอบแทนจะคิดในอัตราร้อยละของยอดขาย และอัตราคงที่ นอกจากนี้บริษัทฯยังได้จัดหาพื้นที่ให้กับบริษัทที่เกี่ยวโยง สำหรับจัดตั้งเคาน์เตอร์บริการโอนเงินระหว่างประเทศ - รายจ่ายค่าเช่าและค่าบริการ เป็นค่าบริการจ่ายและค่าเช่า จากการเช่าพื้นที่ในศูนย์การค้า ซึ่งดำเนินการ โดยบริษัทที่เกี่ยวโยง โดยมีราคาหรือเงื่อนไขของรายการที่เป็นธรรมและ สมเหตุสมผล - รายได้ค่าสาธารณูปโภค เป็นการเรียกเก็บค่าบริการ การให้บริการสาธารณูปโภคให้กับผู้ค้าหรือผู้เช่า ภายในห้างสรรพสินค้าของบริษทั ฯ โดยมีราคาซึง่ เป็นไปตามราคาตลาด และ เป็นไปตามหลักการของรายการค้าที่เป็นปกติธุรกิจ 2. รายการสนับสนุนธุรกิจปกติ - รายได้ค่าบริการทางการเงิน เป็นการเรียกเก็บค่าบริการทางการเงินจากบริษัทร่วมสำหรับการใช้บริการ ห้องมัน่ คงในการเก็บรักษาเงินสดจากรายรับระหว่างวัน ซึง่ เป็นบริการทัว่ ไป ที่ธุรกิจห้างสรรพสินค้าเสนอให้กับผู้ค้าหรือผู้เช่า สำหรับอัตราการเรียกเก็บ จากรายการดังกล่าวเป็นอัตราเดียวกับทีบ่ ริษทั ฯเรียกเก็บจากคูค่ า้ ทัว่ ไปทีม่ า ใช้บริการ - รายได้ค่าบริหารงาน เป็นการเรียกเก็บจากบริษัทย่อยและบริษัทร่วม โดยคำนวณจากการบริหาร งานห้างสรรพสินค้า การจัดซื้อ การตลาด และการใช้ชื่อ “โรบินสัน” ซึ่งเป็น ไปตามอัตราที่ตกลงไว้ในสัญญาคิดเป็นร้อยละของยอดขาย/รายได้ - ค่าบริหารงานจ่าย เป็นค่าบริการรับและขนส่งสินค้า ค่าบริหารงานด้านบัญชีและการเงิน ทรัพยากรบุคคล งานกฎหมาย และภาษีอากร ที่ดำเนินการโดยบริษัทที่ เกี่ยวโยง เนื่องจากบริษัทดังกล่าวมีความเชี่ยวชาญในการบริหารงาน ทำให้ เกิดความประหยัดและเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินการ อนึ่ง ในอดีตบริษัทฯได้ให้เงินกู้ยืมแก่บริษัทร่วม คือ บริษัท สยามรีเทลดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด บริษัทฯถือหุ้นร้อยละ 24 ของทุนที่ชำระแล้ว เป็นจำนวนเงินต้นรวม 324 ล้านบาท ซึ่งต่อมาบริษัทร่วมดังกล่าวมิได้มีการจ่ายชำระ ดอกเบี้ยและคืนเงินต้นเป็นระยะเวลานาน บริษัทฯจึงได้บันทึกการตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญทั้งจำนวนตั้งแต่ ปี 2541เป็นต้นมา รายงานประจำปี 2552

143


มาตรการและขั้ น ตอนการอนุ มั ติ ก ารทำรายการ ระหว่างกัน บริ ษั ท และบริ ษั ท ย่ อ ยปฏิ บั ติ ตามหลั ก เกณฑ์ ข องตลาด หลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และตามประกาศที่คณะ กรรมการกำกับตลาดทุนกำหนดในเรือ่ งหลักเกณฑ์ วิธกี าร และการเปิดเผยรายการทีเ่ กีย่ วโยงกันของบริษทั จดทะเบียน ภายใต้ ก ารกำกั บ ดู แ ลของคณะกรรมการบริ ษั ท และ คณะกรรมการตรวจสอบ

การพิจารณาจากผู้มีอำนาจตามสายงานที่รับผิดชอบและ เกี่ยวข้องในเรื่องนั้นๆ ซึ่งผู้รับผิดชอบและผู้ที่เกี่ยวข้องกับ การทำรายการจะต้องทำหน้าที่พิจารณาว่าการทำรายการ มีความสมเหตุสมผล และเป็นไปตามปกติธุรกิจ โดยคำนึง ถึงประโยชน์สูงสุดของบริษัท และผู้ถือหุ้น เสมือนเป็นราย การที่กระทำกับบุคคลภายนอก

อย่างไรก็ดี ตามที่พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา และมีกฎหมายบางมาตราที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 31 สิงหาคม 2551 เป็นต้นมานัน้ ซึง่ มาตรา 89/12 ได้กำหนด หน้าทีข่ องบริษทั จดทะเบียนในการทำรายการทีอ่ าจมีความ ขัดแย้งทางผลประโยชน์ โดยให้สำนักงานกำกับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ (สำนักงาน ก.ล.ต.) เป็นผู้กำกับดูแล ปัจจุบัน (สำนักงาน ก.ล.ต.) ได้ออกหลักเกณฑ์เพิ่มเติม เกี่ยวกับการทำรายการที่เกี่ยวโยงกัน กล่าวคือ ในการทำ ธุรกรรมระหว่างบริษทั หรือบริษทั ย่อยกับกรรมการ ผูบ้ ริหาร หรือบุคคลทีม่ คี วามเกีย่ วข้องกรณีทเี่ ป็นรายการทีม่ เี งือ่ นไข การค้าโดยทั่วไป ธุรกรรมดังกล่าวต้องได้รับอนุมัติจาก คณะกรรมการ หรือเป็นไปตามหลักการที่คณะกรรมการ อนุมัติไว้แล้วตามมาตรา 89/12 (1)

บริษัทฯ ได้มีการกำหนดขอบเขตอำนาจหน้าที่และวงเงิน อนุมัติของผู้บริหารทุกฝ่ายไว้อย่างชัดเจน เป็นลายลักษณ์ อักษร และมีการแบ่งแยกหน้าที่ที่อาจก่อให้เกิดการกระทำ ทุจริตออกจากกัน นอกจากนี้ การทำธุรกรรมดังกล่าวจะต้องผ่านการตรวจ สอบจากสำนักตรวจสอบภายใน รวมทั้งผ่านการพิจารณา จากคณะกรรมการตรวจสอบ เพือ่ ให้มนั่ ใจว่ารายการทีเ่ กีย่ ว โยงกันที่ได้พจิ ารณานัน้ โปร่งใส มีความสมเหตุ สมผล และ เป็นไปตามกฎหมาย รวมทั้งหลักเกณฑ์ของสำนักงาน คณะกรรมการกำกั บ หลั ก ทรั พ ย์ แ ละตลาดหลั ก ทรั พ ย์ (สำนักงาน ก.ล.ต.) และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย นโยบายหรือแนวโน้มการทำรายการระหว่างกันในอนาคต

เนื่องจากการทำธุรกรรมกับบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องกับ บริษัทฯเป็นรายการจำเป็นในการดำเนินธุรกิจห้างสรรพ สินค้าทั่วไปตามปกติ ดังนั้น บริษัท และบริษัทย่อยจึงยัง คงมีการทำรายการระหว่างกันต่อไปในอนาคต โดยกรอบ การทำรายการต่างๆ จะยึดถือและปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และตามประกาศที่ คณะกรรมการกำกับตลาดทุนกำหนด ในเรื่องหลักเกณฑ์ ในการทำรายการที่เกี่ยวโยงกันอย่างเคร่งครัด สำหรับ การทำธุรกรรมระหว่างบริษทั ฯกับบุคคลที่โยงกันกับบริษทั ฯ นโยบายการกำหนดราคาระหว่างบริษัทที่เกี่ยวข้องกันยัง นัน้ จะต้องผ่านขัน้ ตอนการอนุมตั ติ ามระเบียบวิธกี ารปฏิบตั ิ คงยึดหลักการเช่นเดียวกับปีที่ผ่านมา มีรายละเอียดดังนี้ งานของบริษทั ฯ เช่นเดียวกับการทำธุรกรรมปกติ โดยผ่าน ด้วยเหตุดังกล่าว ในการประชุมคณะกรรมการบริษัทครั้งที่ 3/2551 จึงได้มมี ติอนุมตั ิในหลักการสำหรับการทำธุรกรรม ระหว่างบริษัท และบริษัทย่อยกับบุคคลที่เกี่ยวโยงกันของ บริษัทที่มีเงื่อนไขการค้าทั่วไป ส่วนธุรกรรมอื่นๆ ที่ไม่เข้า ข่ายเงื่อนไขการค้าทั่วไป ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และตามประกาศที่คณะ กรรมการกำกับตลาดทุนกำหนด

144

บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)


รายการระหว่างกัน

รายการ

รายได้จากการขายสินค้า ดอกเบี้ยรับ/ดอกเบี้ยจ่าย รายได้ค่าเช่าและค่าบริการ รายได้ค่าส่งเสริมการขาย รายได้ค่าสาธารณูปโภค รายได้ค่าตอบแทนการบริหารงาน ค่าใช้จ่ายค่าเช่าและค่าบริการ ค่าใช้จ่ายส่งเสริมการขาย ค่าบริหารหารงานจ่าย ค่าตอบแทนกรรมการ

นโยบายการกำหนดราคา ราคาตลาดซึ่งต้องไม่ต่ำกว่าราคาที่ได้มาของสินค้านั้นๆ อัตราดอกเบีย้ ขัน้ ต่ำของเงินกูห้ รือเงินฝากออมทรัพย์หรือเงินฝากประจำ ของสถาบันการเงินภายในประเทศบางแห่งบวกส่วนต่างเพิ่มอีกร้อยละ 0 ต่อปี ถึงร้อยละ 2.5 ต่อปีทั้งนี้ขึ้นอยู่กับต้นทุนของแต่ละบริษัท อัตราร้อยละของยอดขายโดยคิดจากราคาตลาดเป็นเกณฑ์หรือจำนวน เงินคงที่ ตามสัญญาที่ตกลงร่วมกัน ตามสัญญาที่ตกลงร่วมกัน อัตราร้อยละของยอดขายหรือจำนวนเงินคงที่ ตามสัญญาที่ตกลงร่วมกัน ตามสัญญาที่ตกลงร่วมกัน ตามสัญญาที่ตกลงร่วมกัน ตามหลักเกณฑ์ ทีก่ ำหนดโดยคณะกรรมการสรรหาซึง่ ไม่เกินจำนวนเงิน ที่ผู้ถือหุ้นอนุมัติ

รายงานประจำปี 2552

145


ข้อมูลทั่วไป

บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน) ทะเบียนเลขที่ 010753600412 (เดิมเลขที่ บมจ.115) ประกอบธุรกิจธุรกิจห้างสรรพสินค้า ภายใต้ชื่อ “โรบินสัน” ซึ่งปัจจุบันได้เปิดให้บริการอยู่ทั่วประเทศภายใต้การบริหาร งานของบริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย มีจำนวนสาขาทั้งสิ้น 22 สาขา แบ่งเป็น กรุงเทพ 9 สาขา และ ต่างจังหวัด 13 สาขา ทุนจดทะเบียน ทุนชำระแล้ว มูลค่าหุ้นที่ตราไว้ สถานที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ สถานที่ตั้งของสำนักงานบริหารส่วนกลาง นายทะเบียนหลักทรัพย์ ผู้สอบบัญชี ผู้สอบบัญชี เว็บไซต์บริษัท

146

บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

3,942,847,022.15 บาท (หุ้นสามัญ 1,110,661,133 หุ้น) 3,942,847,022.15 บาท (หุ้นสามัญ 1,110,661,133 หุ้น) มูลค่าหุ้นละ 3.55 บาท 2 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพ 10500 โทรศัพท์ 02 266-3340 โทรสาร 02 236-5330 139 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพ 10400 โทรศัพท์ 02 245-4811 โทรสาร 02 247-5325 บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด 62 อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ชั้น 4, 7 ถนนรัชดาภิเษก แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 โทรศัพท์ 02 229-2800 โทรสาร 02 359-1262-3 บริษัท เคพีเอ็มจี ภูมิไชย สอบบัญชี จำกัด ชั้น 22 เอ็มไพร์ทาวเวอร์ 195 ถนนสาทรใต้ แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120 โทรศัพท์ 02 677-2000 โทรสาร 02 677-2222 นางบงกช อ่ำเสงี่ยม เลขทะเบียน 3684 www.robinson.co.th


ข้อมูลทั่วไป

ที่ตั้งของสาขา

บมจ. ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน สาขาถนนรัชดาภิเษก

(วันเปิดสาขา : 11 พฤศจิกายน 2532) 139 ถ.รัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กทม. 10320 โทร.02-247-5300-9, 245-4811 แฟกซ์ 02-642-2047 จันทร์-ศุกร์ 10.00 - 22.00 น. เสาร์ - อาทิตย์ และนักขัตฤกษ์ 10.00 - 22.00 น.

บมจ. ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน สาขาศรีนครินทร์ (วันเปิดสาขา : 21 สิงหาคม 2537) 904/1 ม.6 ถ.ศรีนครินทร์ แขวงหนองบอน เขตประเวศ กทม. 10260 โทร. 02-721-8990-9 แฟกซ์. 02-721-9066 จันทร์-ศุกร์ 10.30 - 21.00 น. เสาร์-อาทิตย์ และนักขัตฤกษ์ 10.00 - 21.00 น.

บมจ. ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน สาขาสุขุมวิท

บมจ. ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน สาขารังสิต

บมจ. ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน สาขาบางรัก

บมจ. ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน สาขารามอินทรา

บมจ. ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน สาขาบางแค

บมจ. ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน สาขาลาดหญ้า

(วันเปิดสาขา : 1 ธันวาคม 2533) 259 ถ.สุขุมวิท แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กทม. 10110 โทร.02-651-1533-42, 02-252-5121 แฟกซ์. 02-651-1560 จันทร์-ศุกร์ 10.00 - 22.00 น. เสาร์-อาทิตย์ และนักขัตฤกษ์ 10.00 - 22.00 น.

(วันเปิดสาขา : 11 พฤศจิกายน 2535) 1522 ถ.เจริญกรุง แขวงบางรัก เขตบางรัก กทม. 10500 โทร.02-238-0052-61, 02-267-3781-86 แฟกซ์. 02-235-2467 จันทร์-ศุกร์ 10.30 - 22.00 น. เสาร์-อาทิตย์ และนักขัตฤกษ์ 10.30 - 22.00 น.

(วันเปิดสาขา : 1 ธันวาคม 2536) 110/5 ม.9 ถ.เพชรเกษม แขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ กทม. 10160 โทร.02-455-0143-45 แฟกซ์. 02-454-8350 จันทร์-ศุกร์ 11.00 - 21.00 น. เสาร์-อาทิตย์ และนักขัตฤกษ์ 10.30 - 21.00 น.

(วันเปิดสาขา : 18 มีนาคม 2538) 161 ม.2 ถ.พหลโยธิน ต.ประชาธิปัตย์ อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี 12130 โทร. 02-958-0800-39 แฟกซ์. 02-958-0899 จันทร์-ศุกร์ 10.30 - 21.00 น. เสาร์-อาทิตย์ และนักขัตฤกษ์ 10.00 - 21.00 น.

(วันเปิดสาขา : 1 มิถุนายน 2538) 5/7 หมู่ 7 ถ.รามอินทรา แขวงคันนายาว เขตคันนายาว กทม. 10230 โทร. 02-947-5320-62 แฟกซ์. 02-947-5400 จันทร์-ศุกร์ 11.00 - 21.00 น. เสาร์-อาทิตย์ และนักขัตฤกษ์ 10.00 - 21.00 น.

(วันเปิดสาขา : 1 พฤศจิกายน 2539) 99 ถ.ลาดหญ้า แขวงสมเด็จเจ้าพระยา เขตคลองสาน กทม. 10600 โทร.02-437-0104-5 แฟกซ์. 02-439-4296, 02-437-0111 จันทร์-ศุกร์ 11.00 - 21.00 น. เสาร์-อาทิตย์ และนักขัตฤกษ์ 10.30 - 21.00 น.

รายงานประจำปี 2552

147


บมจ.ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน สาขารัตนาธิเบศร์

บ. ซีอาร์ หาดใหญ่ (ประเทศไทย) จำกัด

บ. ซีอาร์ อุดรธานี (ประเทศไทย) จำกัด

บ. ซีอาร์ เชียงใหม่ (ประเทศไทย) จำกัด

บ. ซีอาร์ ภูเก็ต (ประเทศไทย) จำกัด

บ. ซีอาร์ อุบลราชธานี (ประเทศไทย) จำกัด

บ. ซีอาร์ นครศรีธรรมราช (ประเทศไทย) จำกัด

บมจ. ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน สาขาศรีราชา

(วันเปิดสาขา : 15 มิถุนายน 2548) 68/100 หมู่ 8 ถ.รัตนาธิเบศร์ ต.บางกระสอ อ.เมืองนนทบุรี จ.นนทบุรี 11000 โทร. 02-525-4420-29 แฟกซ์. 02-525-4466 จันทร์-ศุกร์ 10.00 - 22.00 น. เสาร์-อาทิตย์และนักขัตฤกษ์ 10.00 - 22.00 น.

(วันเปิดสาขา : 30 สิงหาคม 2538) 277/2 ถ. ประจักษ์ ต.หมากแข้ง อ.เมือง จ.อุดรธานี 41000 โทร. 042-242-777 แฟกซ์. 042-248-780 จันทร์-ศุกร์ 11.00 - 21.00 น. เสาร์-อาทิตย์ และนักขัตฤกษ์ 10.00 - 21.00 น.

(วันเปิดสาขา : 12 ตุลาคม 2538) 36 ถ. ติลกอุทิศ 1 ต.ตลาดใหญ่ อ.เมือง จ.ภูเก็ต 83000 โทร. 076-256-500-12 แฟกซ์. 076-223-304 จันทร์-ศุกร์ 10.30 - 22.00 น. เสาร์-อาทิตย์ และนักขัตฤกษ์ 10.30 - 22.00 น.

(วันเปิดสาขา : 27 ตุลาคม 2538) 89/201 ถ.พัฒนาการคูขวาง ต.คลัง อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช 80000 โทร. 075-318-012-20 แฟกซ์. 075-318-010 จันทร์-ศุกร์ 10.30 - 21.00 น. เสาร์-อาทิตย์ และนักขัตฤกษ์ 10.30 - 21.00 น.

148

บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)

(วันเปิดสาขา : 1 ธันวาคม 2538) 9 ถ.ธรรมนูญวิถี ต.หาดใหญ่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110 โทร. 074-220-150 แฟกซ์. 074-220-157 จันทร์-ศุกร์ 10.30 - 21.00 น. เสาร์-อาทิตย์ และนักขัตฤกษ์ 10.30 - 21.00 น.

(วันเปิดสาขา : 26 มกราคม 2539) 2 ถ.มหิดล ต.หายยา อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50100 โทร. 053-203-640-59 แฟกซ์. 053-283-129 จันทร์-ศุกร์ 10.30 - 21.00 น. เสาร์-อาทิตย์ และนักขัตฤกษ์ 10.00 - 21.00 น.

(วันเปิดสาขา : 1 มิถุนายน 2539) 221 ถ.ชยางกรู ต.ในเมือง อ.เมือง จ.อุบลราชธานี 34000 โทร. 045-241-887 แฟกซ์. 045-241-268, 045-242-866 จันทร์-ศุกร์ 10.30 - 21.00 น. เสาร์-อาทิตย์ และนักขัตฤกษ์ 10.30 - 21.00 น.

(วันเปิดสาขา : 31 พฤษภาคม 2540) 90/1 ถ. สุขุมวิท ต.ศรีราชา อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี 20110 โทร. 038-771-001-10 แฟกซ์. 038-770-999 จันทร์-ศุกร์ 10.30 - 21.00 น. เสาร์-อาทิตย์ และนักขัตฤกษ์ 10.00 - 21.00 น.


ข้อมูลทั่วไป

บ. ซีอาร์ ราชบุรี (ประเทศไทย) จำกัด

(วันเปิดสาขา : 1 พฤศจิกายน 2539) 265 ถ. ศรีสุริยวงศ์ ต.หน้าเมือง อ.เมืองราชบุรี จ.ราชบุรี 70000 โทร. 032-310-831 แฟกซ์. 032-310-866 จันทร์-ศุกร์ 11.00 - 21.00 น. เสาร์-อาทิตย์ และนักขัตฤกษ์ 10.30 - 21.00 น.

บ. ซีอาร์ ภูเก็ต (ประเทศไทย) จำกัด สาขาโรบินสันโอเชี่ยน จังซีลอน

(วันเปิดสาขา : 3 พฤศจิกายน 2550) 177 ถ.ราษฎร์อุทิศ 200 ปี ต.ป่าตอง อ.กะทู้ จ.ภูเก็ต 83150 โทร. 076-600-888-97 แฟกซ์. 076-600-886 จันทร์-ศุกร์ 11.00 - 22.00 น. เสาร์-อาทิตย์ และนักขัตฤกษ์ 11.00 - 22.00 น.

บ. ซีอาร์ จันทบุรี (ประเทศไทย) จำกัด

บมจ. ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน สาขาชลบุรี

บมจ. ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน อยุธยา

บมจ. ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน สาขาขอนแก่น

(วันเปิดสาขา : 16 มกราคม 2541) 22/107 ม. 7 ต.จันทนิมิต อ. เมืองจันทบุรี จ.จันทบุรี 22000 โทร. 039-340-348-57 แฟกซ์. 039-303-114 จันทร์-ศุกร์ 11.00 - 21.00 น. เสาร์-อาทิตย์ และนักขัตฤกษ์ 10.00 - 21.00 น.

(วันเปิดสาขา : 16 พฤศจิกายน 2549) 126 ม. 3 ถ.สายเอเชีย ต.คลองสวนพลู อ.พระนครศรีอยุธยา จ. อ.พระนครศรีอยุธยา 13000 โทร. 035-229-888 แฟกซ์. 035-229-878 จันทร์-ศุกร์ 10.30 - 21.30 น. เสาร์-อาทิตย์ และนักขัตฤกษ์ 10.00 - 22.00 น.

(วันเปิดสาขา : 29 พฤษภาคม 2552) 55/90 หมู่ที่ 1 ตำบลเสม็ด อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี 20000 โทร. 033-003-444-53 จันทร์-ศุกร์ 10.30 - 21.30 น. เสาร์-อาทิตย์ และนักขัตฤกษ์ 10.00 - 22.00 น.

(วันเปิดสาขา : 3 ธันวาคม 2552) 99/2 ถนนศรีจันทร์ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น 40000 โทร. 043-288-288-97 แฟกซ์. 076-288-297 จันทร์-ศุกร์ 10.30 - 21.30 น. เสาร์-อาทิตย์ และนักขัตฤกษ์ 10.00 - 22.00 น.

รายงานประจำปี 2552

149


Robinson Department Store Public Company Limited www.robinson.co.th

20

Robinson Department Store Public Company Limited


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.