BJC : Annual Report 2010 TH

Page 1












10

ข้อมูลสำคัญทางการเงิน

ร า ย ไ ด จ า ก ก า ร ข า ย ร ว ม

หนวย : ลานบาท

17,622 19,162

2549 2550

22,243 22,799

2551 2552

25,000

20,000

15,000

10,000

5,000

0

30,000

26,082

2553

กํ า ไ ร สุ ท ธิ

หนวย : ลานบาท

989

2549

1,255

2550

1,082

2551

1,262

2552

2,000

1,500

1,000

500

0

2,500

1,905

2553

สิ น ท รั พ ย ร ว ม

หนวย : ลานบาท

17,618

2549

19,643

2550

22,813 23,036

2551 2552

27,196 30,000

25,000

20,000

15,000

10,000

5,000

0

2553

ส ว น ข อ ง ผู ถื อ หุ น

หนวย : ลานบาท

8,189

2549

8,988

2550

9,555 10,351

2551 2552

10,000

8,000

6,000

4,000

2,000

0

12,000

11,419

2553


รายงานประจำปี 2553

• บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) 11

ข้อมูลสำคัญทางการเงิน ล้านบาท

ล้านบาท

ร้อยละ

รายได้จากการขายและให้บริการจำแนกตามส่วนงานธุรกิจ 2553 2552

เพิ่มขึ้น / (ลดลง)

กลุ่มสินค้าและบริการทางอุตสาหกรรม กลุ่มสินค้าและบริการทางอุปโภคและบริโภค กลุ่มสินค้าและบริการทางเวชภัณฑ์และทางเทคนิค กลุ่มอื่นๆ การตัดรายการระหว่างกัน รวมรายได้จากการขายและให้บริการรวม รายได้อื่น รายได้รวม กำไรจากการดำเนินงาน ดอกเบี้ยจ่าย กำไรสุทธิก่อนหักภาษีเงินได้และส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย ภาษีเงินได้ กำไรสุทธิก่อนหักส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย ส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย กำไรสุทธิ สินทรัพย์รวม ส่วนของผู้ถือหุ้นสุทธิ สินทรัพย์สุทธิ เงินกู้ยืมสุทธิ ข้อมูลต่อหุ้น (บาท) กำไรสุทธิ เงินปันผลระหว่างกาล เงินปันผลงวดสิ้นปี เงินปันผลงวดรวม มูลค่าตามบัญชี

13,067.8 8,068.5 4,532.1 488.0 (74.6)

10,699.8 7,223.5 4,457.6 418.3

22.1% 11.7% 1.7% 16.7%

26,081.8 277.3

22,799.2 271.3

14.4% 2.2%

26,359.1 3,089.9 (227.0)

23,070.5 1,957.3 (222.2)

14.3% 57.9% 2.2%

2,862.9 (668.1) 2,194.8 (289.4)

1,735.1 (415.2) 1,319.9 (57.8)

65.0% 60.9% 66.3% 400.7%

1,905.5

1,262.1

51.0%

27,196.0 11,418.6 12,662.5 6,856.9

23,035.6 10,350.7 11,373.7 5,172.8

18.1% 10.3% 11.3% 32.6%

1.20 0.25 0.35 0.60 7.19

0.79 0.12 0.21 0.33 6.52

51.0% 108.3% 66.7% 81.8% 10.3%


12

“...ปี 2553 บีเจซีมีกำไรสุทธิเติบโต ด้วยอัตราสูงสุดตั้งแต่ได้ก่อตั้งบริษัทมา และที่สำคัญกว่านั้นก็คือ ได้ขยายเครือข่าย ทางการผลิตและการจัดจำหน่าย อย่างมีนัยสำคัญ ก้าวสู่ความเป็นผู้นำ ในกิจการบรรจุภัณฑ์แก้วของภูมิภาค เอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างแท้จริง...”


รายงานประจำปี 2553

• บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) 13

สารจากประธานคณะกรรมการบริษัท กิจการของบีเจซีในปี 2553 นับว่าได้เติบโตอย่างก้าวกระโดด หลังจากที่คณะผู้บริหารของเราได้ใช้นโยบาย เชิงรุกทั้งในประเทศและในระดับภูมิภาคต่อเนื่องกันมาตั้งแต่ ปี 2551 - 2552 โดยการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ยกระดั บ เทคโนโลยี แ ละประสิ ท ธิ ภ าพในการผลิ ต รวมทั้ ง ได้ แ สวงหาโอกาสในการควบรวบกิ จ การที่ ส ำคั ญ

ถึงสองประเภทได้ในจังหวะเวลาที่เหมาะสม คือร่วมมือกับพันธมิตรระดับโลก โอเว่น อิลลินอยส์ เข้าซื้อโรงงาน บรรจุภัณฑ์แก้ว 4 แห่งจากกลุ่มเฟรเซอร์ แอนด์ นีฟ และยังเข้าซื้อหุ้นส่วนข้างมากของบริษัทการค้าในเวียดนาม รวมมูลค่าการลงทุนทั้งสิ้นในสองครั้งนี้กว่าหนึ่งหมื่นหนึ่งพันสองร้อยล้านบาท ส่งผลให้ปี 2553 บีเจซีมีกำไรสุทธิ เติบโตด้วยอัตราสูงสุดตั้งแต่ได้ก่อตั้งบริษัทมาและที่สำคัญกว่านั้นก็คือ ได้ขยายเครือข่ายทางการผลิตและการ จัดจำหน่ายอย่างมีนัยสำคัญ ก้าวสู่ความเป็นผู้นำในกิจการบรรจุภัณฑ์แก้วของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อย่างแท้จริง อย่างไรก็ตาม ด้วยขนาดขององค์กรที่ใหญ่ขึ้นและสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่อาจผันผวนได้ตลอดเวลา คณะผู้บริหารและพนักงานของบีเจซีทุกคนจะต้องมีภาระที่หนักขึ้น ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2554 เราก็ได้เห็น จุดเริ่มต้นของปัญหาราคาน้ำมันแล้ว นักวิเคราะห์ในทุกประเทศทั่วโลกเริ่มกล่าวถึงความเป็นไปได้ถึงวิกฤตราคา น้ำมัน อันเนื่องมาจากปัญหาความไม่สงบในประเทศแถบตะวันออกกลางที่ก่อตัวขึ้นในบางประเทศมาระยะหนึ่ง และยั ง มี แ นวโน้ ม ว่ า อาจจะลุ ก ลามต่ อ ไปยั ง ประเทศอื่ น ๆ ปั จ จั ย เรื่ อ งราคาน้ ำ มั น เป็ น สิ่ ง สำคั ญ ที่ จ ะนำมาซึ่ ง ความผันผวนของดัชนีราคาของสินค้าและบริการเกือบทุกประเภท หากมีสภาวะความไม่สงบทางการเมืองและ ภัยธรรมชาติมาคอยซ้ำเติมด้วยแล้ว สถานการณ์แวดล้อมในการทำธุรกิจก็จะยิ่งยากลำบากขึ้นไปอีก ดังนั้น ผมขอให้เราก้าวต่อไปด้วยความระมัดระวัง และพร้อมใจกันทุ่มเททำงานอย่างเต็มกำลังความสามารถเพื่อนำ ผลตอบแทนที่ดีมาสู่ผู้ถือหุ้นและผู้ที่เกี่ยวข้องทุกคน ผมขอขอบคุณลูกค้า และพันธมิตรทางการค้าตลอดจนหน่วยงานต่างๆ ที่ได้ให้ความร่วมมือและสนับสนุน

ให้กิจการของกลุ่มบีเจซีเจริญเติบโตก้าวหน้าขึ้นมาเป็นลำดับจวบจนถึงปีที่ 129 ของการก่อตั้ง ขอขอบคุณและ แสดงความชื่นชมต่อคณะผู้บริหารและพนักงานทุกคนที่ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จในปีที่ผ่านมา ขอเป็น กำลังใจให้ทุกคน เพื่อเราจะได้ร่วมแรงร่วมใจกันพัฒนากิจการของกลุ่มบีเจซีให้ก้าวสู่ปีที่ 130 อย่างภาคภูมิ

เจริญ สิริวัฒนภักดี

ประธานกรรมการ


14

คณะกรรมการบริษัท 14 13 04 05 08 03 10 06 07 15 11 12 01 02 09


รายงานประจำปี 2553

• บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) 15

01

นายเจริญ สิรวิ ฒ ั นภักดี

ประธานกรรมการ /

ประธานกรรมการบริหาร /

ประธานเจ้าหน้าทีบ่ ริหาร

02 คุณหญิงวรรณา สิรวิ ฒ ั นภักดี

รองประธานกรรมการ

03

นายชัยยุทธ ปิลนั ธน์โอวาท กรรมการบริษทั /

รองประธานกรรมการบริหาร /

กรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน

04

นายธีรศักดิ์ นาทีกาญจนลาภ

กรรมการบริษทั /

รองประธานกรรมการบริหาร /

กรรมการบริหารความเสีย่ ง

05

นายประเสริฐ เมฆวัฒนา

กรรมการบริษทั /

รองประธานกรรมการบริหาร /

กรรมการบริหารความเสีย่ ง

06

นายอัศวิน เตชะเจริญวิกลุ กรรมการบริษทั /

กรรมการบริหาร /

ประธานกรรมการบริหารความเสีย่ ง / กรรมการผูจ้ ดั การใหญ่

07

นางฐาปณี เตชะเจริญวิกลุ กรรมการบริษทั / กรรมการบริหาร / กรรมการและเลขานุการคณะกรรมการ

บริหารความเสีย่ ง / เลขานุการคณะกรรมการสรรหาและ กำหนดค่าตอบแทน / กรรมการรองผูจ้ ดั การใหญ่อาวุโส

08

นายสิทธิชยั ชัยเกรียงไกร

กรรมการบริษทั /

กรรมการบริหาร /

กรรมการบริหารความเสีย่ ง

09 นายประสิทธิ์ โฆวิไลกูล กรรมการบริษทั /

กรรมการอิสระ

10 นายฐาปน สิรวิ ฒ ั นภักดี กรรมการบริษทั /

กรรมการบริหาร

11 นายปณต สิรวิ ฒ ั นภักดี กรรมการบริษทั / กรรมการบริหาร

12

13

14

15 นางสาวพจนีย์ ธนวรานิช กรรมการบริษทั / กรรมการอิสระ

นายสุวทิ ย์ เมษินทรีย ์ กรรมการบริษทั / กรรมการตรวจสอบ /

กรรมการอิสระ / กรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน

นายวีระวงค์ จิตต์มติ รภาพ

กรรมการบริษทั /

กรรมการตรวจสอบ /

กรรมการอิสระ

นายสถาพร กวิตานนท์ กรรมการบริษทั /

ประธานกรรมการตรวจสอบ /

กรรมการอิสระ /

ประธานกรรมการสรรหาและ

กำหนดค่าตอบแทน


16

คณะจัดการ 07 04 02 01 03 06 05


รายงานประจำปี 2553

• บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) 17

01 นายอัศวิน เตชะเจริญวิกลุ

กรรมการผูจ้ ดั การใหญ่

02 นางฐาปณี เตชะเจริญวิกลุ

กรรมการรองผูจ้ ดั การใหญ่อาวุโส

03

04 นายปฐพงศ์ เอีย่ มสุโร รองผูจ้ ดั การใหญ่ กลุม่ สินค้าและ

บริการทางอุปโภคบริโภค

05 นายธีระพล เกียรติสรุ นนท์

รองผูจ้ ดั การใหญ่ กลุม่ สินค้าและ

บริการทางเวชภัณฑ์

06 นายสมพร ภูมวิ ฒ ั น์ รองผูจ้ ดั การใหญ่ กลุม่ บรรจุภณ ั ฑ์

07 นายธีระ วีรธรรมสาธิต ผูช้ ว่ ยผูจ้ ดั การใหญ่ ฝ่ายทรัพยากรบุคคลกลุม่ บริษทั

นายปีเตอร์ เอมิล รอมฮิลด์ รองผูจ้ ดั การใหญ่อาวุโส กลุม่ สินค้าและ

บริการทางเทคนิค / กลุม่ ธุรกิจต่างประเทศ


18


รายงานประจำปี 2553

• บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) 19

โครงสรางองคกรกลุมบร�ษัท เบอรลี่ ยุคเกอร ป 2554 คณะกรรมการบร�ษัท ที่ปร�กษา คณะกรรมการสรรหา และกำหนดคาตอบแทน

คณะกรรมการตรวจสอบ

คณะกรรมการบร�หาร คณะกรรมการบร�หารความเสี่ยง

กรรมการ ผูจัดการใหญ กรรมการรองผูจัดการใหญอาวุโส กลุมสินคาและบร�การ ทางอุตสาหกรรม

กลุมสินคาและบร�การ ทางอุปโภคบร�โภค

กลุมสินคาและบร�การ ทางเวชภัณฑและทางเทคนิค

กลุมธุรกิจตางประเทศ และธุรกิจอื่นๆ

กลุมสนับสนุนธุรกิจ

กลุมบรรจุภัณฑ

ฝายขาย

ฝายเวชภัณฑ

ฝายธุรกิจตางประเทศ

ฝายบัญช�และ การเง�นกลุมบร�ษัท

ฝายบรรจุภัณฑ

ฝายการตลาด

แผนกเคร�่องมือและ นวัตกรรมทางการแพทย

บมจ. อุตสาหกรรม ทำเคร�่องแกวไทย

บจ. เบอรลี่ ยุคเกอร ฟูดส

แผนกเคร�่องมือแพทย และวัสดุทางการแพทย

บจ. เบอรลี่ ยุคเกอร (เมียนมาร)

ฝายบร�หารการเง�น

บีเจซ� กลาส เว�ยดนาม ลิมิเต็ด

บจ. เบอรลี่ ยุคเกอร โลจ�สติกส

บจ. บีเจซ� เฮลทแคร

บจ. บีเจซ� อินเตอรเนชั�นแนล

ฝายบร�หารการลงทุน

เจซ�ฟูดส เอสดีเอ็น บีเอชดี

บจ. มัณฑนา

บีเจซ� อินเตอรเนชั�นแนล คัมปะนี ลิมิเต็ด (ฮองกง)

ฝายบร�หารทรัพยากร บุคคล กลุมบร�ษัท

บีเจซ� อินเตอรเนชั�นแนล (เว�ยดนาม) ลิมิเต็ด

บจ. คอสมา เมดิคอล

บีเจซ� กลาส คัมปะนี ลิมิเต็ด (ฮองกง)

บจ. รูเบียอุตสาหกรรม

แผนกเคมีภัณฑ อุตสาหกรรม

ฝายกฎหมายและ บร�หารงาน สนับสนุนกลุมบร�ษัท

บจ. เบอรลี่ ยุคเกอร เซลล็อกซ

แผนกการพ�มพ

ไทยคอรป อินเตอรเนชั�นแนล คัมปะนี ลิมิเต็ด (ฮองกง)

แผนกตรวจสอบภายใน กลุมบร�ษัท

ไทยคอรป อินเตอรเนชั�นแนล เว�ยดนาม ลิมิเต็ด

แผนกเคร�่องเข�ยนและ เคร�่องใชสำนักงาน

บจ. ไทย เบเวอรเรจ แคน บจ.เบอรลี่ ไดนาพลาส มาลายา เว�ยดนาม กลาส ลิมิเต็ด บจ. ไทย มาลายา กลาส บจ. แกวกรุงไทย มาลายา กลาส โปรดักส เอสดีเอ็น บีเอชดี บีเจซ� โอ-ไอ กลาส พ�ทีอี แอลทีดี

แผนกว�ศวกรรม บจ. ไทย-สแกนดิค สตีล

บจ. บีเจซ� มารเก็ตติ�ง

บจ. เบอรลี่ ยุคเกอร สเปเช�ยลตี้ส บจ. เบอรลี่ เอเช�ยติ�ก โซดา บจ. บีเจซ� อินดัสเตร�ยล แอนด เทรดดิ�ง

สำนักงานผูแทนประจำ ประเทศเว�ยดนาม

บจ. รูเบีย อินเวสทเมนทส บจ. ที.ซ�.ซ�. เทคโนโลยี บจ. สยาม ซ�เมนต เมียนมาร เทรดดิ�ง จำกัด บจ. หินออนและศิลา บจ. ไทยฟลัว สปาร แอนด มิเนอรัลด บจ. บีเจซ� มาร�น ร�ซอสเซส ดีเวลลอปเมนท

ฝายบัญช�และการเง�น


20

รายงานคณะจัดการ เรียนท่านผู้ถือหุ้น ปี 2553 ถื อ ว่ า เป็ น ปี ที่ ดี อี ก ปี ห นึ่ ง ของ บี เ จซี ในขณะที่ เ ศรษฐกิ จ ไทยเติ บ โตขึ้ น จาก ปีก่อนร้อยละ 7.8 ยอดขายและกำไรสุทธิของ บีเจซี เติบโตขึ้นถึงร้อยละ 14.3 และ 50.1 ตามลำดับ แม้จะมีเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองในเดือนพฤษภาคมและเหตุการณ์ น้ำท่วมใหญ่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ในเดือนตุลาคมก็ตาม ในปีนี้ ได้เกิดเหตุการณ์สำคัญที่ต้องจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ของบริษัท นั่นคือ บริษัทมีมูลค่า หลักทรัพย์ตามราคาตลาดสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ โดยสูงถึง 38,274 ล้านบาท เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2553 รวมทั้งมีกำไรสุทธิสูงที่สุดตั้งแต่บริษัทเริ่มก่อตั้งมาเป็นเวลา 129 ปี ความพยายามอย่างต่อเนื่องที่จะเพิ่มผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้นได้บรรลุผลสำเร็จ โดยเพิ่มขึ้นจากปี 2552 ที่ร้อยละ 12.68 เป็นร้อยละ 17.51 ในปี 2553 โดย บีเจซี ได้ใช้ 2 กลยุทธ์ควบคู่กันไป นั่นคือ การออกสินค้าใหม่สู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง และการควบคุมขั้นตอน การผลิตให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ในปีนี้ ฝ่ายวิจัยและพัฒนาได้ออกสินค้าใหม่ถึง 96 ชนิด ทั้งขวดแก้ว กระป๋องอะลูมิเนียม สินค้าอุปโภคบริโภค และสินค้าเวชภัณฑ์ เพิ่มขึ้นจาก ปี 2552 ร้อยละ 37.14 สำหรับสินค้าที่ผลิตเอง บีเจซี ได้มีการนำเทคนิคใหม่ๆ มาปรับใช้ เพื่อ เพิ่มระดับคุณภาพในกระบวนการผลิต ไม่ว่าจะเป็น Six Sigma ระบบการผลิตแบบ Lean และมาตรการในการลดค่าใช้จ่ายต่างๆ ส่งผลให้อัตรากำไรขั้นต้นของบริษัทเพิ่มขึ้นจาก ปีก่อน ร้อยละ 2.8

“...ในปีนี้ได้เกิดเหตุการณ์ สำคัญทีต่ อ้ งจารึกไว้ใน ประวัตศิ าสตร์ของบริษทั นัน่ คือ บริษทั มีมลู ค่า หลักทรัพย์ตามราคาตลาด สูงทีส่ ดุ เป็นประวัตกิ ารณ์ โดยสูงถึง 38,274 ล้านบาท เมือ่ วันที่ 4 พฤศจิกายน 2553 รวมทัง้ มีกำไรสุทธิสงู ทีส่ ดุ

ตัง้ แต่บริษทั เริม่ ก่อตัง้ มา เป็นเวลา 129 ปี...”

การควบรวมกิจการเป็นอีกแนวทางหนึ่งของบริษัทในการขยายธุรกิจ ด้วยวิสัยทัศน์ที่จะ เป็นบริษัทชั้นนำในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บีเจซี ได้ทำการเข้าซื้อกิจการถึงสองครั้งในปีนี้ ในครั้งแรก บีเจซี ร่วมกับพันธมิตรระดับโลก โอเว่น อิลลินอยส์ เข้าซื้อโรงงานบรรจุภัณฑ์แก้ว 4 แห่ง จากกลุ่มเฟรเซอร์ แอนด์ นีฟ ด้วยมูลค่า 345 ล้านเหรียญสหรัฐ การควบรวมกิจการ ในครัง้ นี้ เปิดโอกาสให้ บีเจซี ก้าวสู่ตลาดมาเลเซียและเวียดนาม รวมทั้งส่งผลให้บริษัทเป็น ผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์แก้วที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนในครั้งที่สอง บีเจซีได้เข้าซื้อ หุ้นร้อยละ 75 ของไทยคอร์ป กรุ๊ป ผู้ดำเนินการค้าและจัดจำหน่ายสินค้าในประเทศเวียดนาม เพือ่ เสริมความแข่งแกร่งของ บีเจซี ในการเป็นผูค้ า้ และจัดจำหน่ายสินค้าในประเทศเวียดนาม การควบรวมกิจการทั้งสองนั้น ทำให้บีเจซีมีพนักงานในต่างประเทศเพิ่มถึง 1,000 คน พนักงาน บีเจซี ทุกคนถือเป็นกุญแจสำคัญของความสำเร็จของธุรกิจ บริษัทให้ความสำคัญ ของการคัดเลือก พัฒนา และรักษาไว้ซึ่งพนักงานที่มีคุณภาพ รวมไปถึงการสร้างแรงจูงใจไป สู่เป้าหมายเดียวกันให้กับทีม โดยในปีนี้บริษัทได้มีการจัดทำ Balanced Scorecard และ หลักเกณฑ์การจ่ายโบนัส โดยเปรียบเทียบกับดัชนีความสำเร็จทางธุรกิจ (Bonus Link) ขึ้น เป็นครั้งแรก เพื่อกำหนดเป้าหมายธุรกิจให้ชัดเจน รวมไปถึงมีการปรับฐานเงินเดือนและ


รายงานประจำปี 2553

• บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) 21

ค่าตอบแทนต่างๆ โดยเทียบเคียงกับอุตสาหกรรมนั้นๆ และคู่แข่ง นอกจากนี้ บีเจซี ได้มีการจัดทำแผนอบรมให้กับพนักงานในทุกระดับ ขององค์กร ในโอกาสนี้ บีเจซี ขอขอบคุณท่านผู้ถือหุ้น ลูกค้า นักลงทุน พันธมิตรทางธุรกิจและพนักงานกว่า 7,000 คนสำหรับการสนับสนุนที่มีให้กัน ตลอดมา

การเงิน

รายได้รวมของบีเจซี สิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553 อยู่ที่ 26,359 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.3 เมื่อเทียบกับปี 2552 และมีกำไร สำหรับส่วนของผู้ถือหุ้นอยู่ที่ 1,905 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 51.0

ราคาหุ้น

ณ วันที่ 30 ธันวาคม 2553 ราคาหุ้นของบีเจซี อยู่ที่ 18.40 บาท เพิ่มขึ้นจาก ณ วันที่ 30 ธันวาคม 2552 ที่ 5.00 บาท คิดเป็นอัตรา ผลตอบแทนต่อปีร้อยละ 268.0

ผลการดำเนินงานของธุรกิจหลักโดยสังเขป

กลุ่มสินค้าและบริการทางอุตสาหกรรม

ปี 2553 เป็นปีที่ผลประกอบการของกลุ่มสินค้าและบริการทางอุตสาหกรรมเป็นที่น่าพอใจ โดยมีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 222.0 จากปี 2552 ยอดขายธุรกิจบรรจุภัณฑ์แก้วเติบโตขึ้นทั้งจากธุรกิจบรรจุภัณฑ์แก้วเดิม และธุรกิจที่ควบรวมจากกลุ่มมาลายากล๊าสในเดือนกรกฎาคม 2553 โดยยอดขายธุรกิจบรรจุภัณฑ์แก้วเดิมเติบโตจากปี 2552 โดยเฉพาะยอดขายของกลุ่มอาหารและกลุ่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ นอกจากนี้ อัตราส่วนแสดงความสามารถในการทำกำไรของธุรกิจดีแสดงทิศทางที่ดีขึ้นในทุกอัตราส่วน เป็นผลมาจากราคาวัตถุดิบหลักที่ลดลงและการ พัฒนาประสิทธิภาพในการผลิตอย่างต่อเนื่อง กำไรสุทธิของธุรกิจบรรจุภัณฑ์แก้วรวมจากธุรกิจบรรจุภัณฑ์แก้วเดิมและจากกลุ่มมาลายากล๊าส เพิ่มขึ้นมากกว่าสองเท่าจากปี 2552 สำหรับธุรกิจบรรจุภัณฑ์กระป๋อง ยอดขายเพิ่มขึ้นจากปี 2552 โดยเฉพาะยอดขายภายในประเทศ ซึ่งทางบริษัท มีสัดส่วนทางการตลาด ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยในปี 2553 ยอดขายและกำไรของธุรกิจผลิตโครงสร้างเหล็กชุบสังกะสีเพิ่มขึ้นมากจากปี 2552 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มสินค้า Transmission Line, Substation และ Telecommunication Tower ส่วนทางด้านธุรกิจก่อสร้างและวิศวกรรม ยอดขายและกำไรลดลงจากปี 2552 ยอดขายที่ลดลง มีสาเหตุหลักมาจากสินค้าคู่แข่งจากประเทศจีน และรายได้กลุ่มบริการที่ชะลอตัวลง

กลุ่มสินค้าและบริการทางอุปโภคบริโภค

ยอดขายในกลุ่มสินค้าและบริการทางอุปโภคบริโภคดีขึ้นทุกกลุ่มธุรกิจ ยกเว้นกลุ่มธุรกิจรับจ้างผลิต

ยอดขายของธุรกิจขนมขบเคี้ยวในปี 2553 เพิ่มขึ้นจากปีก่อนเล็กน้อย โดยกำไรสุทธิลดลงจากปี 2552 เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการโฆษณา และส่งเสริมการขายสินค้าเพิ่มขึ้น ประกอบกับราคาวัตถุดิบที่สูงขึ้นโดยเฉพาะในไตรมาส 4 ของปี 2553 และผลกระทบทางอ้อมจากความ ไม่สงบทางการเมืองในช่วงต้นปีซึ่งทำให้บรรยากาศในการจับจ่ายใช้สอยของประชาชนชะลอตัวลง ในปี 2553 นั้น ผลประกอบการของสินค้า มันฝรั่งทอดกรอบ “เทสโต” อยู่ในระดับที่ทรงตัวเนื่องจากภาวะทางการแข่งขัน ทั้งทางด้านราคาและสินค้ารสชาติใหม่ในตลาด อย่างไรก็ตาม ผลประกอบการที่ดีของสินค้า ข้าวอบกรอบ “โดโซะ” และสินค้าใหม่เครื่องดื่มรสช็อคโกแลต “แคมปัส ช็อคโกดริ้งค์” ยังคงเติบโตต่อเนื่อง ในปีที่ผ่านมา


22

ในปี 2553 ธุรกิจกระดาษทิชชูมียอดขายที่เติบโตตามการเติบโตของตลาดที่ประมาณร้อยละ 5 และสามารถรักษาสัดส่วนทางการตลาด ไว้ได้จากปี 2552 โดยกำไรสุทธิลดลงเนื่องมาจากผลกระทบด้านราคาที่สูงขึ้นของวัตถุดิบการผลิต นอกจากนี้ กลุ่มธุรกิจกระดาษทิชชูได้รับ ผลกระทบทางอ้อมจากความไม่สงบทางการเมืองในช่วงต้นปี ซึ่งส่งผลให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการจับจ่ายใช้สอยของประชาชน ชะลอตัวลง อย่างไรก็ตาม ยอดขายสินค้าภายใต้ตราสินค้า “เซลล็อกซ์” และ “ซิลค์” ซึ่งนับเป็นสัดส่วนมากกว่าครึ่งของยอดขายในกลุ่มธุรกิจ ยังคงเติบโตต่อเนื่องอย่างดี นอกจากนี้เพื่อเป็นการรับมือราคาวัตถุดิบเยื่อกระดาษที่สูงขึ้นและแปรปรวนทางกลุ่มได้มีการปรับปรุงและ เพิ่มเติมมาตรการควบคุมต้นทุนและค่าใช้จ่าย พร้อมทั้งมีการออกผลิตภัณฑ์และสินค้าใหม่ เพื่อกระตุ้นความต้องการของตลาด ธุรกิจเครื่องใช้ส่วนตัวประสบความสำเร็จอย่างสูงในปี 2553 โดยผลลัพธ์ของการสร้างตราสินค้าและการทำการตลาดอย่างต่อเนื่อง ทำให้ ผลิตภัณฑ์ภายใต้ตรา “สบู่นกแก้ว” มียอดขายเกิน 1,000 ล้านบาทเป็นครั้งแรก นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์เด็กภายใต้ตราสินค้า “เดอร์มาพอน” ก็ยังคงได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีและสามารถเพิ่มยอดขายได้เป็นเท่าตัวจากปี 2552 การนำสินค้าภายใต้ เบอร์ลี่ ป๊อปส์ ของกลุ่ม

ในไตรมาส 3 ของปี 2553 ออกสู่ตลาดยังเล็งให้เห็นถึงความมั่นใจของกลุ่มต่อตลาดนี้และต่อกลุ่มธุรกิจเครื่องใช้ส่วนตัวเช่นกัน สำหรับธุรกิจรับจ้างจัดจำหน่ายประสบความสำเร็จอย่างสูงในปี 2553 เช่นกัน โดยยอดขายเติบโตอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผลิตภัณฑ์น้ำผลไม้ภายใต้ตราสินค้า “กาโตะ” นอกจากนี้ ทางกลุ่มได้รับมอบสิทธิการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์น้ำยาชำระห้องน้ำและครัวเรือน ภายใต้ตราสินค้า “เพนกวิน” ซึ่งเป็นการส่งเสริมประสิทธิภาพการขายและเพิ่มขอบเขตหมวดสินค้าที่จำหน่ายของกลุ่ม สำหรับธุรกิจโลจิสติกส์มีรายได้เพิ่มขึ้นจากปี 2552 เป็นผลมาจากการเติบโตของรายได้ประเภทการขนส่งอัตราการใช้คลังสินค้าเพิ่มขึ้น จากปี 2552 โดยเฉพาะที่คลังสินค้ากล้วยน้ำไท

กลุ่มสินค้าและบริการทางเวชภัณฑ์และทางเทคนิค

ปี 2553 ถือเป็นปีที่ท้าทายสำหรับกลุ่มสินค้าและบริการทางเวชภัณฑ์ ทั้งสามกลุ่มธุรกิจได้รับผลกระทบจากการปิดโรงพยาบาลชั่วคราว หลายแห่งในเขตกรุงเทพมหานครจากเหตุการณ์รุนแรงทางการเมืองในช่วงไตรมาส 2 ของปี รวมไปถึงการงดจ่ายงบประมาณโครงการ “ไทยเข้มแข็ง” ในบางโรงพยาบาล อย่างไรก็ตาม แม้จะได้รับผลกระทบจากปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ดังกล่าว กลุ่มสินค้าและบริการทางเวชภัณฑ์ ยังคงพยายามอย่างต่อเนื่องในการจัดกิจกรรมทางการตลาดต่างๆ เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้า เช่น การออกนิทรรศการแสดงสินค้า การสนับสนุนการประชุมวิชาการ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังเน้นการบริการหลังการขายที่มีคุณภาพ รวมทั้งการคัดสรรสินค้านวัตกรรมใหม่ๆ มา นำเสนอเรื่อยมา ในปีนี้ ทางกลุ่มได้นำเสนอเครื่องมือแพทย์ที่ใช้ในห้องผ่าตัดใหม่ กล่าวคือ กลุ่มผลิตภัณฑ์จักษุวิทยาทั้งการตรวจวินิจฉัยและ การรักษา ทางด้านกลุ่มสินค้าประเภทเครื่องมือวินิจฉัยทางการแพทย์นั้น ทางกลุ่มเน้นเสริมสร้างความแข็งแกร่งของกลุ่มผลิตภัณฑ์เดิม ด้วยการขยายสายผลิตภัณฑ์ให้กว้างขึ้น โดยมีสินค้าใหม่ คือ เครื่อง CT Scan ชนิดเคลื่อนย้ายได้ เครื่อง MRI และ เครื่องฉีดสารทึบรังสี นอกจากธุรกิจจัดจำหน่ายแล้ว ทั้งกลุ่มได้เริ่มขยายการดำเนินธุรกิจให้อยู่ในรูปแบบโปรเจกต์และคาดว่าจะมีการเติบโตที่เพิ่มขึ้นต่อไป ยอดขายของทุกกลุ่มธุรกิจภายใต้กลุ่มสินค้าและบริการทางเทคนิครายงานยอดขายเพิ่มขึ้น เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ดีขึ้นในปี 2553 ทางด้านกำไรสุทธินั้น ธุรกิจการพิมพ์และธุรกิจเคมีภัณฑ์อุตสาหกรรมรายงานผลกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นจากปี 2553 สำหรับธุรกิจเครื่องเขียน สินค้า Double A รายงานยอดขายเพิ่มขึ้นมากจากจำนวนร้านค้าที่ขายเพิ่มขึ้น ส่วนสินค้า 3M รายงานยอดขายเพิ่มขึ้นมากเช่นกันจากกิจกรรม ส่งเสริมการขาย ด้านธุรกิจการพิมพ์ ผลประกอบการที่ดีขึ้นมากในปี 2553 มาจากสินค้า Cine film และการติดตั้งเครื่องพิมพ์ Prepress ซึ่ง การติดตั้งดังกล่าว ส่งผลให้ผลประกอบการของผลิตภัณฑ์ Consumable ดีขึ้นเช่นกัน สำหรับธุรกิจเคมีภัณฑ์อุตสาหกรรม ผลประกอบการ ดีขึ้นจากปี 2553 ซึ่งเป็นไปตามภาวะเศรษฐกิจที่ดีขึ้น

(อัศวิน เตชะเจริญวิกุล) กรรมการผู้จัดการใหญ่


รายงานประจำปี 2553

• บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) 23

ผลการดำเนินงานและฐานะทางการเงิน การวิเคราะห์ผลการดำเนินงาน ในรอบปีบัญชีสิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553 บริษัทและบริษัทย่อยมีรายได้จากการประกอบธุรกิจรวม ทั้งสิ้น 26,359.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2552 ร้อยละ 14.3 โดยแบ่งเป็นรายได้จากการขายและการให้บริการ จำนวน 26,081.8 ล้านบาท และรายได้อื่นๆ จำนวน 277.3 ล้านบาท ในปี 2553 บริษัทและบริษัทย่อยมีค่าใช้จ่ายรวมทั้งสิ้น 23,331.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2552 จำนวน 2,154.5 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.2 โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้ • ต้นทุนขายและต้นทุนการให้บริการ เท่ากับ 18,939.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,741.8 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 10.1 ตามการเพิ่มขึ้นของยอดขาย • ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร เท่ากับ 4,391.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2552 เป็นจำนวน 412.7 ล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราการเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.4 โดยส่วนใหญ่มาจากค่าใช้จ่ายในการขาย การจัดจำหน่าย การตลาดและการส่งเสริมการขาย สำหรับผลประกอบการปี 2553 บริษัทและบริษัทย่อย มีกำไรสุทธิหลังหักภาษีจำนวน 2,194.8 ล้านบาท และ คิดเป็นกำไรสุทธิหลังหักภาษีสำหรับส่วนของผู้ถือหุ้นจำนวน 1,905.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2552 จำนวน 643.4 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 51.0 โดยมีสาเหตุหลักจากความสามารถในการปรับปรุงประสิทธิภาพในการ ผลิตและการควบคุมต้นทุนในการดำเนินงานของบริษัทย่อย ประกอบกับราคาวัตถุดิบหลักที่ใช้ในการผลิตลดลง โดยบริษัทและบริษัทย่อยมีอัตรากำไรขั้นต้นในปี 2553 และปี 2552 เท่ากับร้อยละ 27.4 และร้อยละ 24.6 และ อัตรากำไรสุทธิต่อยอดขายในปี 2553 และปี 2552 เท่ากับร้อยละ 7.3 และร้อยละ 5.5 ตามลำดับ

บริษัทมีกำไรต่อหุ้นปี 2553 เท่ากับ 1.20 บาท เปรียบเทียบกับปี 2552 ซึ่งมีกำไรต่อหุ้นเท่ากับ 0.79 บาท

การวิเคราะห์ฐานะการเงิน สินทรัพย์รวมของบริษัทและบริษัทย่อย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553 มีจำนวนทั้งสิ้น 27,196.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากสิ้นปี 2552 จำนวน 4,160.4 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 18.1 โดยมีรายละเอียดเมื่อเปรียบเทียบกับ สิ้นปี 2552 ดังนี้ • ลูกหนี้การค้าจำนวน 5,390.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 828.8 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 18.2 โดยเป็นการเพิ่มขึ้น ตามการเจริญเติบโตของยอดขาย ทั้งนี้ อัตราส่วนหมุนเวียนของลูกหนี้การค้า ปี 2553 คิดเป็นเท่ากับ 5.24 เท่า เปรียบเทียบกับปี 2552 ซึ่งคิดเป็นเท่ากับ 5.14 เท่า • สินค้าคงเหลือ จำนวน 4,466.1 ล้านบาท ลดลง 35.5 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 0.8 โดยการลดลงเกิดจาก การตั้งค่าเผื่อสินค้าล้าสมัยและเคลื่อนไหวช้าเพิ่มขึ้น 95.6 ล้านบาท และการเพิ่มขึ้นของสินค้าคงเหลือ 60.1 ล้านบาท ทั้งนี้ อัตราส่วนหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือในปี 2553 คิดเป็นเท่ากับ 4.22 เท่าเปรียบเทียบกับปี 2552 ที่คิดเป็นเท่ากับ 3.92 เท่า


24

• สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น จำนวน 610.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 193.7 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 46.5 ส่วนใหญ่ เกิดจากการเพิ่มขึ้นของเงินทดรองจ่ายล่วงหน้าจำนวน 75.9 ล้านบาท และการเพิ่มขึ้นของสินทรัพย์หมุนเวียนอื่น จากการรวมธุรกิจในปี 2553 เป็นจำนวนเงิน 96.1 ล้านบาท • เงินลงทุนในบริษัทร่วมจำนวน 412.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 13.7 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 3.4 ซึ่งเกิดจากการ เพิ่มขึ้นของส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทร่วม • ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ (สุทธิ) จำนวน 12,533.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,082.3 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 9.5 โดยระหว่างปี 2553 เกิดจากการรวมธุรกิจ 1,455.1 ล้านบาท บริษัทและบริษัทย่อยมีการลงทุนในสินทรัพย์ เพิ่มขึ้น 1,111.2 ล้านบาท โดยมาจากกลุ่มธุรกิจหลักคือกลุ่มธุรกิจสินค้าและบริการทางอุตสาหกรรม 660.3 ล้านบาท และกลุ่มสินค้าและบริการทางอุปโภคบริโภคจำนวน 120.1 ล้านบาท ขณะเดียวกันบริษัทและบริษัทย่อย มีค่าเสื่อมราคาสะสมเพิ่มขึ้นจากการตัดค่าเสื่อมราคาระหว่างปี 2553 จำนวน 1,387.9 ล้านบาท ทั้งนี้ บริษัท

มีอัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ถาวรในปี 2553 คิดเป็นร้อยละ 27.35 เปรียบเทียบกับปี 2552 ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 21.73 • สินทรัพย์ไม่มีตัวตน จำนวน 1,946.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,789.7 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 1,141.7 เกิดจากการค่าความนิยมจากการซื้อธุรกิจ 1,680.7 ล้านบาท ช่องทางการจัดจำหน่าย 98.7 ล้านบาท ซื้อลิขสิทธิ์ เพิ่มขึ้น 36.1 ล้านบาท และตัดจำหน่ายสินทรัพย์ไม่มีตัวตนระหว่างปี 2553 จำนวน 25.8 ล้านบาท • สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี จำนวน 432.8 ล้านบาท ลดลง 98.8 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 18.6 เกิดจากการรับรู้ผลขาดทุนทางภาษีลดลง 85.7 ล้านบาท สำรองและประมาณการหนี้สินอื่นเพิ่มขึ้น 57.4 ล้านบาท และเงินลงทุน (ค่าเผื่อด้อยค่า) ลดลง 70.5 ล้านบาท • สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น จำนวน 122.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.7 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 4.0 เกิดจากการ ลดลงของกล่องบรรจุเพื่อการขนส่งจำนวน 13.2 ล้านบาท และการเพิ่มขึ้นของเงินมัดจำ รวมทั้งสินทรัพย์อื่นๆ จำนวน 17.9 ล้านบาท หนี้สินรวมของบริษัทและบริษัทย่อย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553 มีจำนวนทั้งสิ้น 14,533.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้น จากสิ้นปี 2552 จำนวน 2,871.6 ล้านบาท คิดเป็นการเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.6 ซึ่งมีรายละเอียดเมื่อเปรียบเทียบกับ

สิ้นปี 2552 ดังนี้ • หนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ย จำนวน 8,075.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 2,062.6 ล้านบาท คิดเป็นการเพิ่มขึ้น ร้อยละ 34.3 โดยเป็นการเพิ่มขึ้นจากการออกหุ้นกู้แบบไม่มีหลักประกัน 1,898.4 ล้านบาท การกู้ยืมระยะสั้นและ ระยะยาวเพิ่มขึ้น จำนวน 1,550.3 ล้านบาท ชำระคืนเงินกู้ยืมระยะสั้นและระยะยาวจากสถาบันการเงิน จำนวน 1,386.0 ล้านบาท ทั้งนี้ อัตราส่วนหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยต่อส่วนของผู้ถือหุ้นของปี 2553 คิดเป็นเท่ากับ 0.64 เท่า เปรียบเทียบกับปี 2552 ซึ่งคิดเป็นเท่ากับ 0.53 เท่า • เจ้าหนี้การค้า จำนวน 3,132.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 465.7 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 17.5 และ มีอัตราส่วนการหมุนเวียนของเจ้าหนี้การค้าปี 2553 คิดเป็นเท่ากับ 6.5 เท่า เปรียบเทียบกับปี 2552 ซึ่งคิดเป็น เท่ากับ 6.1 เท่า • หนี้สินหมุนเวียนอื่น จำนวน 1,996.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 203.8 ล้านบาท คิดเป็นการเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.4 ส่วนใหญ่เกิดจากการเพิ่มขึ้นของรายได้รับล่วงหน้า 108.4 ล้านบาท การเพิ่มขึ้นของค่านายหน้าค้างจ่าย


รายงานประจำปี 2553

• บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) 25

22.9 ล้านบาท และการเพิ่มขึ้นของเจ้าหนี้และค่าใช้จ่ายค้างจ่ายอื่นๆ ได้แก่ ค่าสาธารณูปโภค ค่าใช้จ่ายในการ ดำเนินงาน จำนวน 72.5 ล้านบาท ส่วนของผู้ถือหุ้นรวมของบริษัทและบริษัทย่อย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553 มีจำนวนทั้งสิ้น 12,662.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากสิ้นปี 2552 จำนวน 1,288.8 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 11.3 ซึ่งมีรายละเอียดเมื่อเปรียบเทียบกับ สิ้นปี 2552 ดังนี้

• เพิ่มขึ้นด้วยผลกำไรสุทธิจากการดำเนินงาน ประจำปี 2553 จำนวน 2,194.8 ล้านบาท

• เพิ่มขึ้นจากส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยที่เพิ่มขึ้นจากการซื้อเงินลงทุนจำนวน 9.9 ล้านบาท

• ลดลงด้วยผลจากการจ่ายเงินปันผลจำนวน 730.5 ล้านบาท โดยแยกเป็นการจ่ายเงินปันผลจำนวน 333.5 ล้ า นบาท หรื อ หุ้ น ละ 0.21 บาท สำหรั บ ผลประกอบการงวด 6 เดื อ นหลั ง ของปี 2552 เมื่ อ วั น ที่ 27 พฤษภาคม 2553 ตามมติที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2553 และจ่ายเงินปันผลระหว่างกาล จำนวน 397.0 ล้านบาท หรือหุ้นละ 0.25 บาท สำหรับผลประกอบการงวด 6 เดือนแรกของปี 2553 เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2553 ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2553 • ลดลงจำนวน 185.4 ล้านบาท ด้วยผลจากเงินปันผลของบริษัทย่อยที่จ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้นส่วนน้อยจำนวน 78.4 ล้านบาท และผลต่างจากการแปลงค่างบการเงินลดลงจำนวน 107.0 ล้านบาท อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น สำหรับปี 2553 เท่ากับ 1.15 เท่า เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับปี 2552 ซึ่งเท่ากับ 1.03 เท่า สาเหตุหลักมาจากการเพิ่มขึ้นสุทธิของเงินกู้ยืมจากสถาบันการเงิน ตามที่ได้กล่าวไว้ในหัวข้อ หนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยของบริษัทและบริษัทย่อย


26

สินค้าของ บีเจซี ตราสินค้าของ บีเจซี กลุม่ สินค้าและบริการทางอุปโภคบริโภค ฝ่ายการตลาดและฝ่ายขายสินค้า อุปโภคบริโภค ผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ส่วนตัว • เซลล็อกซ์ • ซิลค์/เมโลน่า • เบลล์

• ดิออน • แม๊กซ์โม่ • โยริ • เซลล่า • สบู่และครีมอาบน้ำ แพรอท โกลด์ • สบู่และครีมอาบน้ำ พฤกษานกแก้ว

• สบู่เหลวเดอร์มาพอน ผลิตภัณฑ์อาหาร • เทสโต • ปาร์ตี้ • แคมปัส • ไบตี้ • โดโซะ

• เพลิน ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง • เบอร์ลี่ ป๊อปส์ ผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ส่วนตัวโดยรูเบีย อุตสาหกรรม • กาล่า (KA-LA)

• เบสท์ ฟู้ดส์ • ยู เอฟ ซี • แม่ศรี • ตะไคร้ • ม้าบิน • ไฮ-คิว • สุขุมพานิช • ดอยคำ • อิมพีเรียล • ทิพรส • ต้ากี่ หยั่น หว่อ หยุ่น • ศรีราชาพานิช • สุรีย์ อินเตอร์ฟู้ดส์ • มรดก • เอ็กซ์โซติก ฟู้ด • เพียวฟู้ดส์ • น้ำปลาตราหอยนางรม • ช้อนทอง • ตราเกษตร • เทสโก้ • คุ้มค่า • ท็อปส์ • เซฟแพ็ค • เอโร่ • ดีลักซ์ ซอฟท์ • คาร์ฟูร์ • กิฟฟารีน • สุรีย์ • พิชัย • โลโบ • กุ๊กทอง • แม่จินต์ • อร่อยดี

• เทสต์ เนอร์วาน่า • แพน • ซันซอส • ชั่งทอง • ฉั่วฮะเส็ง • ตราน้ำใจ • ราชา • ตรากุ้ง • แกรนด์ มอนเต้ • วิทยาศรม • ซาร่า • เพ็ญภาค • เวชพงศ์ • หมอเส็ง • ตราปืนไขว้ • ซุปเปอร์เซฟ • ลีดเดอร์ไพรซ์ • กุ้งไทย • เพ็นต้า • พ่อขวัญ • ดีดี • ไทยดีไลท์ • กู๊ดไลฟ์ • GHP • สวนจิตรลดา • ดี7 • นีโอสุกี้ • ซิลเวอร์เลค วินยาร์ด • เนเจอร์ริช • น้ำปลาหอยเป๋าฮื้อ • วิลเลจ ฟาร์ม • โคฟี่ • มองต์เฟลอ • บริ๊งค์

ตราสินค้าที่ บีเจซี ให้บริการทางการผลิต กลุม่ สินค้าและบริการทางอุตสาหกรรม บรรจุภัณฑ์ • เบียร์ช้างคลาสสิค • เบียร์ช้างไลท์ • เบียร์ช้างดร๊าฟต์ • เบียร์เฟเดอร์บรอยด์ • เบียร์อาชา • เบียร์อาซาฮี • ภูเก็ตเบียร์ • เบียร์เชียร์ • ไฮเนเก้น • ไทเกอร์ • แม่โขง • แสงโสม • หงส์ทอง • เบลนด์ 285 • บรั่นดีเมอริเดียน • สุราขาว • สปอนเซอร์ • กระทิงแดง • แรงเยอร์ • คาราบาวแดง • ซัน สปาร์ค • เอ็ม-150 • สปาย • สเมอร์นอฟ • สไปรท์ • โค้ก • อรายซ์ • ไบรท์ตี้ • แฟนต้า • เป็ปซี่ • เซเว่น-อัพ

• อาร์ซี โคล่า • อาร์ซี รอยัล • ไบเล่ • ไวตามิ้ลค์ • โซดาช้าง • น้ำดื่มช้าง • แบรนด์ • วีต้า • เบซซ์ • เฮลซ์ บลู บอย • โอวัลติน • เนสกาแฟ • คราฟท์ • แม่ประนอม • ง่วนเชียง • โรซ่า • ภูเขาทอง • ช้อยส์ • พันท้ายนรสิงห์ • อ.ส.ร. • แม็กกี้ • แม็กซ์ชัพ • ชาวเกาะ • แม่พลอย • แบรนด์ควินซ์บาลานซ์ • นมอัดเม็ดชี-คาว (She-Cow) • หยั่น หว่อ หยุ่น ตราเด็กสมบูรณ์ • แม่ครัว • ฉลากทอง • ปลาหมึก • สินสมุทร • ไฮนซ์


รายงานประจำปี 2553

• บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) 27

กลุม่ สินค้าและบริการทางอุปโภคบริโภค ผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ส่วนตัว • สบู่เดทตอล • สบู่เบบี้มายด์

• สบู่เอว่อน • เครื่องสำอางเอว่อน • เครื่องสำอางนีเวีย • เครื่องสำอาง Natriv

• เครื่องสำอาง Degaze • ซูกัส • คลอริฟินซี • สวีท เพอร์เฟค

ผลิตภัณฑ์อาหารโดยเจซี ฟู้ดส์ เอสดีเอ็น บีเอชดี • Wise • Calbee

• Leica Microsystems (Schweiz) AG • Lisa Laser Product OHG • Lumenis • The Magstim Company Ltd. • KLS Martin Group • Medigloves • Microtex • P.M.A. and Medical - Protextra (Dr. Boo) • Richard Wolf GmbH • Saha-Boonthong • Schaerer Mayfield • Union Micronclean กลุม่ สินค้าและบริการทางเทคนิค ฝ่ายเครื่องเขียนและ เครื่องใช้ สำนักงาน ผลิตภัณฑ์เครื่องเขียน • 3M • Double A • Stabilo • UHU • Copal ฝ่ายการพิมพ์ ผลิตภัณฑ์การพิมพ์ • Agfa • Hp Indigo • Luscher • Quote & Print • Taopix ฝ่ายเคมีภัณฑ์อุตสาหกรรม • AB Mauri • Adichem • Bakels • Berry Pharma • Biospectrum • Brad Chem • Chao Khun Agro Products • Climax • Cosmetochem • Creations Couleurs (CIT)

• Danisco • Decas Cranberry Products, • Decas Botanical Synergies • DSM Fine Chemicals • DSM Food Specialties • Droste • Dupont • Dutch Cocoa • Elco • Firmenich • IDI • InnoVactiv • IOI Loders Croklaan • Jan Dekker International • Kee-Seal • Kemira ChemSolutions • King Industries • Majulah Koko Tawau • Metal Working • Novus International • Petroferm Inc. • Phode • R.T. Vanderbilt • Rubia Industries • Sachtleben • Syral • Stratum • Tate & Lyle • The Malt Company • Thermphos • Toyo Hakko • Trisco Foods • Tri-K • Unipex Innovations • Yunehing FOS กลุ่มสินค้าและบริการทางอุปโภค บริโภค • นมจิตรลดา • ดรอสเต้ • คิริน • น้ำผลไม้ผสมวุ้นมะพร้าวตรากาโตะ • น้ำผลไม้ผสมวุ้นมะพร้าวตราคูลโคโค่

ตราสินค้าที่ บีเจซี เป็นผู้จัดจำหน่าย กลุม่ สินค้าและบริการทางอุตสาหกรรม ฝ่ายวิศวกรรม • ACL • AKAPP • Albany • Chase • Columbus McKinnon • East Power • Erskine • Fairbanks • Fenner • Hoppecke • iWind • J.D. Neuhaus • Kelley • Raynor • Richard Wilcox • Siemens • TDC • Woma • Yale กลุ่มสินค้าและบริการทางเวชภัณฑ์ ฝ่ายเวชภัณฑ์ • 3M • Ansell • Astellas Pharma • Bayer Shering Pharma Oy • Bio Sidus • BPL • Haidylena • CJ Corp. • Daito • Dr. Willmar Schwabe • Eurodrug • Genzyme • Kaketsuken • Micro Lab • SMB Technology • Pharmathen • Pierre Fabre • Schwarz Pharma • SciGen

• SK Chemicals • Bharat Serums and Vaccines • Synthon • Teijin • Taiko • CCM Pharma • Venus Remedies • Will Pharma • Rheamed Biotechnology ฝ่ายเครื่องมือและระบบวินิจฉัย ทางการแพทย์ • Agfa • Aloka • Alsius • Angiotech • Barco • Bard • EBM Technologies • Hologic • Shimadzu • SonoSite • Technidata Medical Software • Hitachi • Dilon • Medtron • Neurologica • PenRad • Supersonic ฝ่ายเครื่องมือแพทย์ และวัสดุ ทางการแพทย์ • AC International Srl. • Ahlstrom Specialties • Carefusion • Chattanooga Group Inc. • Cincinnati Sub-Zero - CISA Products, Inc. • Diter Eletroniikka OY • Electro Medical System S.A. • Huntleigh Healthcare • Imperial - Intuitive Surgical Inc. (da Vinci) • Laerdal Medical AS


28

...บี เ จซี ยึ ด มั่ น ในความรั บ ผิ ด ชอบต่ อ สั ง คม สะท้ อ นผ่ า น ค่านิยมองค์กรซึ่งได้ถูกหล่อหลอมมาเป็นระยะเวลายาวนาน ซึ่งการดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมถือเป็นเรื่องสำคัญ ที่เราปฏิบัติมาอย่างต่อเนื่อง จนแสดงให้เห็นถึงจิตสำนึกรักษ์ สิ่งแวดล้อมที่ถูกปลูกฝังถ่ายทอดมาจากรุ่นสู่รุ่น...


รายงานประจำปี 2553

• บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) 29

รายงานสิ่งแวดล้อม ปัจจุบันผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมก่อให้เกิดปัญหาขึ้นทั่วทุกมุมโลก บีเจซี เชื่อว่าทุกคนควรมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อสังคมในการรักษา สิ่งแวดล้อม ซึ่งการดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมถือเป็นเรื่องสำคัญที่ บีเจซี ยึดมั่นและปฏิบัติมาอย่างต่อเนื่อง ตลอดระยะเวลากว่า

หนึ่งร้อยยี่สิบเก้าปี การดำเนินธุรกิจของ บีเจซี ได้นำแนวคิดเพื่อลดผลกระทบที่อาจเกิดกับสิ่งแวดล้อมให้มากที่สุดในทุกขั้นตอน เริ่มตั้งแต่ ขั้นตอนการจัดหาวัตถุดิบในการผลิต จะพิจารณาคัดเลือกผู้จัดหาที่น่าเชื่อถือและดำเนินธุรกิจอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ดังเช่นในธุรกิจ กระดาษที่เน้นการจัดหาวัตถุดิบ และเยื่อกระดาษ จากบริษัทที่ดำเนินนโยบายเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ลดของเสียในกระบวนการผลิต ลดการใช้พลังงาน ใช้พลังงานสะอาด ใช้ก๊าซธรรมชาติในกระบวนการผลิตบำบัดของเสีย และกำจัดของเสีย เช่น น้ำ อากาศ และของเสีย ตามมาตรฐานอุตสาหกรรม ทั้งนี้ ยังได้นำเอามาตรฐานการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม ISO 14001 เข้ามาใช้เพื่อปรับปรุงและป้องกันปัญหา สิ่งแวดล้อม รวมทั้งปัญหาการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ โดยจะขอการรับรองมาตรฐานดังกล่าวภายในปี 2554 นอกเหนือไปจากการปรับปรุงกระบวนการผลิตแล้ว บีเจซี มีการดำเนินการที่ชัดเจนในการลดการใช้พลังงานให้น้อยลงอย่างต่อเนื่อง หรือ ใช้พลังงานที่มีความสะอาดมากขึ้น ซึ่งนอกจากจะเป็นการลดต้นทุนการผลิตแล้ว ยังจะช่วยลดการใช้พลังงานโดยรวมของโลกอีกด้วย กล่าวคือ การใช้พลังงานน้อยย่อมเท่ากับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้อยู่ได้นานขึ้น โดยที่ผ่านมาได้มีการดำเนินการไปแล้วในหลายเรื่อง ภายใต้นโยบาย ที่จะปรับเปลี่ยนพลังงานเชื้อเพลิงหลักไปเป็นพลังงานเชื้อเพลิงทางเลือกอื่นที่มีความสะอาดมากขึ้น อาทิ ธุรกิจผลิตขนมขบเคี้ยว บีเจซี ได้ใช้ เชื้อเพลิงจากก๊าซธรรมชาติ (Natural Gas Vehicle - NGV) ทั้งหมด ซึ่งเป็นการใช้พลังงานที่สะอาดในกระบวนการผลิต และได้ร่วมวิจัยกับ Japan Center of Excellence (JCOE) และหน่วยงานภายนอกในโครงการลดผลิตภัณฑ์ของเสียในโรงงานและศึกษาการแปรรูปขยะของเสีย เป็นสินค้ามูลค่าเพิ่มโดยมุ่งลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนเป็นสำคัญ เมื่อมาถึงขั้นตอนการผลิต บีเจซี มีความพยายามที่จะใช้วัตถุดิบรีไซเคิลให้มากที่สุด เช่น ในการผลิตบรรจุภัณฑ์แก้ว บีเจซี สามารถนำ ภาชนะแก้วกลับมาแปรรูปใหม่ได้ตลอดเวลาโดยปราศจากอันตรายต่อสุขภาพของผู้บริโภค โดยที่คุณสมบัติและคุณภาพไม่เปลี่ยนแปลงไป จากเดิม บีเจซี เป็นผู้นำในการหมุนเวียนนำเศษแก้วกลับมาแปรรูปเป็นบรรจุภัณฑ์แก้วได้ปีละกว่า 60,000 ตันต่อปี ซึ่งสามารถช่วยลดปริมาณ ขยะและรักษาทรัพยากรธรรมชาติ หรือ การผลิตบรรจุภัณฑ์กระป๋องและฝาอะลูมิเนียม บีเจซี มีการนำวัสดุภัณฑ์ที่ใช้หีบห่อกระป๋องและฝา กลับคืนมาจากลูกค้าเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ซึ่งเป็นการประหยัดทรัพยากรธรรมชาติ และต้นทุนของ บีเจซี ที่เรียกว่า Packaging Return รวมถึง การเข้าร่วมกับมูลนิธิขาเทียมในการนำเศษอะลูมิเนียมกลับมาใช้ในการผลิตขาเทียมซึ่งเป็นการสนับสนุนให้มีการรักษาสภาพแวดล้อม และ เป็นวิธีการกำจัดขยะอะลูมิเนียมและสร้างประโยชน์ให้กับสังคม นอกจากนี้ บีเจซี ได้ดำเนินการควบคุมการใช้พลังงานไฟฟ้า น้ำประปา น้ำมันเตา และทรัพยากรการผลิตต่างๆ อย่างได้ผล อาทิ การลดใช้ กำลังคน กระดาษ เครื่องเขียน และสารเคมีต่างๆ ตลอดจนการใช้เครื่องปรับอากาศชนิดประหยัดไฟเบอร์ 5 ทดแทนเครื่องปรับอากาศเก่า ที่ชำรุด รวมถึงการนำน้ำที่ใช้แล้ว กลับมาใช้ใหม่ (Reused Water) ในงานทำความสะอาดพื้น และรดน้ำต้นไม้ เป็นต้น เมื่อมาถึงขั้นตอนการจัดส่งสินค้า บีเจซี ใส่ใจรายละเอียดในเรื่องการขนส่ง และคลังสินค้าที่ต้องพยายามลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดย เฉพาะการขนส่งที่ได้มีการปรับปรุงรถขนส่งให้สามารถใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงอีกด้วย นอกจากนี้ เพื่อเป็นการลดการใช้พลังงาน บีเจซี พยายามลดการใช้ไฟฟ้าในคลังสินค้าและเพิ่มประสิทธิภาพของรถส่งสินค้า เพื่อลดจำนวนเที่ยวในการขนส่ง บีเจซี ยังคงมุ่งมั่นและให้ความสำคัญต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยนำระบบการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมมาพัฒนาปรับปรุง อย่างต่อเนื่อง ปัจจุบัน บีเจซี ได้รับการรับรองมาตรฐานคุณภาพ ISO 9001:2008 และระบบมาตรฐานการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14001:2004 ทั้งของโรงงานราษฎร์บูรณะและโรงงานบางพลี เมื่อปี 2553 บีเจซีได้เริ่มนำระบบ OHSAS 18001:2007 ซึ่งเป็นระบบมาตรฐานการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยมาใช้ที่โรงงานราษฎร์บูรณะ และได้ผ่านการรับรองมาตรฐานเมื่อวันที่ 17 มกราคม 2554 และจะนำไปประยุกต์ใช้ที่โรงงาน บางพลีต่อไป นอกจากนี้ บีเจซี ยังได้เริ่มนำ Six Sigma มาใช้เป็นเครื่องมือเพื่อการพัฒนา อย่างมีประสิทธิภาพ สร้างความพึงพอใจให้แก่ลกู ค้าและตอบสนองทางการตลาดด้วยกระบวนการ ปฏิบัติงานที่ปราศจากความผิดพลาด


30

...บีเจซี มีความใส่ใจในความรับผิดชอบต่อสังคม ควบคู่ ไปกับการดำเนินธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการ พัฒนาทางด้านการศึกษา ซึ่งถือเป็นพื้นฐานที่สำคัญ ต่อการพัฒนาประเทศ โดยได้ส่งเสริมการศึกษา...


รายงานประจำปี 2553

• บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) 31

ความรับผิดชอบต่อสังคม

บีเจซี มีความใส่ใจในความรับผิดชอบต่อสังคม ควบคูไ่ ปกับการดำเนินธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิง่ ในเรือ่ งการพัฒนา ทางด้านการศึกษา ซึ่งถือเป็นพื้นฐานที่สำคัญต่อการพัฒนาประเทศ โดยได้ส่งเสริมการศึกษาในด้านต่างๆ อาทิ

โครงการมอบทุนการศึกษาในระดับอุดมศึกษา โดยมูลนิธิบริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด ได้จัดทำโครงการมอบทุนการศึกษาให้แก่นักศึกษาในระดับอุดมศึกษาเรื่อยมาตั้งแต่ปี 2535 เพื่อส่งเสริมและ สนับสนุนให้นักศึกษาที่เรียนดี แต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ ได้รับโอกาสทางด้านการศึกษามากยิ่งขึ้น ซึ่งในปี 2553 นี้ ได้มอบทุนให้แก่นักศึกษาต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา รวมทั้งสิ้นจำนวน 43 ทุน เป็นเงิน 1,224,000 บาท อีกทั้งยังจัด กิจกรรมทุนสัมพันธ์ให้แก่นักศึกษาที่ได้รับทุนของทางมูลนิธิฯ โดยมีวัตถุประสงค์ในการเปิดโอกาสให้นักศึกษา สร้างทักษะการอยู่ร่วมกันในสังคม เปิดโลกทัศน์ในการทำงานในองค์กร และเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่ตลาด แรงงานภายหลังจากจบการศึกษา

โครงการมอบทุนการศึกษาให้แก่บุตรพนักงาน ได้มอบทุนการศึกษาให้แก่บตุ รพนักงาน เพือ่ เป็นการส่งเสริมการศึกษาของเยาวชน ทัง้ ในส่วนของบุตรพนักงาน ที่มีการเรียนดีและผ่านการคัดเลือกจะได้รับทุนช้างเผือก และบุตรพนักงานที่ขาดแคลนทุนทรัพย์จะได้รับทุนทั่วไป โดยในปี 2553 ได้มอบทุนให้แก่บุตรพนักงาน รวมทั้งสิ้น จำนวน 101 ทุน เป็นเงิน 590,500 บาท

โครงการช่วยเหลือโรงเรียนขาดแคลน ได้จัดให้มีโครงการที่ส่งเสริมการศึกษา ณ ท้องถิ่นทุรกันดารซึ่งมีความขาดแคลนทั้งในส่วนของอาคาร ห้องน้ำ อุปกรณ์และสือ่ การเรียนการสอนต่างๆ โดยได้ทำการเสาะหาและคัดเลือกโรงเรียนทีม่ คี วามขาดแคลนและเหมาะสม แก่การให้ความช่วยเหลือ ซึ่งได้ดำเนินโครงการมาอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลากว่า 10 ปี นอกจากการพัฒนาทางด้านการศึกษาแล้ว ในยามที่ประเทศประสบกับภัยพิบัติทางธรรมชาติ บีเจซี มีความ ห่วงใยและใส่ใจต่อผูท้ ปี่ ระสบความเดือดร้อน โดยได้รว่ มกับพนักงานในการบริจาคทัง้ เงินช่วยเหลือ สิง่ ของเครือ่ งใช้ และผลิตภัณฑ์ตา่ งๆ ของ บีเจซี ทีพ่ อจะเยียวยาและบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ผปู้ ระสบภัยพิบตั ทิ างธรรมชาติได้


32

ทรัพยากรมนุษย์

สำหรับปี 2553 ซึ่งถือเป็นอีกปีหนึ่งที่กลุ่มบริษัท บีเจซี ประสบความสำเร็จในทางธุรกิจเป็นอย่างมาก ทั้งธุรกิจ ภายในประเทศและธุรกิจที่ขยายไปยังต่างประเทศ ทั้งในประเทศมาเลเซีย เวียดนาม พม่า และกัมพูชา เป็นต้น ซึ่งแน่นอนว่าหากกลุ่มบริษัท บีเจซี ไม่มีพนักงานซึ่งถือเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่าสูงสุดแล้ว ความสำเร็จต่างๆ เหล่านี้คงไม่สามารถบังเกิดขึ้นได้เลย ดังนั้น ในรอบปีที่ผ่านมา กลุ่มบริษัท บีเจซี จึงได้มีการปรับเปลี่ยนและพัฒนาระบบการบริหารและพัฒนา ทรัพยากรมนุษย์อย่างจริงจัง ทัง้ ในเรือ่ งของระบบโครงสร้างตำแหน่งงานใหม่ (Job Band and Position Structure) ระบบบริหารค่าตอบแทนทั้งในเรื่องของโครงสร้างเงินเดือน ค่ารถยนต์และค่าน้ำมัน เพื่อให้สามารถแข่งขันในการ ดำเนินธุรกิจกับบริษัทภายนอกได้ นอกจากนี้ กลุ่มบริษัท บีเจซี ก็ยังได้มุ่งมั่นในการพัฒนาความผูกพันต่อค่านิยมและวัฒนธรรมองค์กรอย่าง ต่อเนื่องเพื่อสร้างรากฐานของระบบการบริหารทรัพยากรมนุษย์ให้มีความเข้มแข็ง มั่นคง รวมถึงการพัฒนาภาวะ ผู้นำ (Leadership Development) ของผู้บริหารในระดับต่างๆ ให้สามารถเป็นผู้นำในการบริหารหน่วยงานได้ อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมต่อการพัฒนาและขยายธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความเจริญเติบโตแบบยั่งยืน ต่อธุรกิจของกลุ่มบริษัท บีเจซี นอกเหนือจากนี้ กลุ่มบริษัท บีเจซี ยังได้ร่วมกันกับมูลนิธิ เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ ในการให้ทุนการศึกษากับนักศึกษา ที่มีผลการเรียนดี แต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ในมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับประเทศเฉพาะในปีนี้ จำนวน 23 ทุน และรวม ต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา รวมกันทั้งสิ้นเป็นจำนวน 43 ทุน เพื่อเสริมสร้างโอกาสทางการศึกษาโดยไม่มขี อ้ ผูกมัดใดๆ รวมทั้งบริษัทในกลุ่มบริษัท บีเจซี หลายบริษัทก็ยังได้รับรางวัลสถานประกอบการดีเด่นด้านแรงงานสัมพันธ์และ สวัสดิการแรงงานจากกระทรวงแรงงานอีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) ได้รับ รางวัลเป็นปีที่ 4 ติดต่อกัน ซึ่งถือเป็นหนึ่งในความภูมิใจที่สำคัญของกลุ่มบริษัท บีเจซี ที่แสดงถึงความใส่ใจในการ ดูแลพนักงานของเรา


รายงานประจำปี 2553

• บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) 33

ข้อมูลทางการเงินที่สำคัญ 5 ปี

รายได้รวม (ล้านบาท) กำไรสุทธิ (ล้านบาท) อัตรากำไรขั้นต้น (ร้อยละ) อัตรากำไรสุทธิ (ร้อยละ) กำไรต่อหุ้น (บาท)* เงินปันผลระหว่างกาลต่อหุ้น (บาท)* เงินปันผลสิ้นปีจ่ายต่อหุ้น (บาท)* อัตราเงินปันผลรวมต่อกำไรสุทธิ (ร้อยละ) อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน (เท่า) อัตราส่วนเงินกู้ยืมสุทธิต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (เท่า) เงินทุนหมุนเวียน (ล้านบาท) สินทรัพย์ (ล้านบาท) อัตราผลตอบแทนของสินทรัพย์ (ร้อยละ) ส่วนของผู้ถือหุ้น-สุทธิ (ล้านบาท) อัตราผลตอบแทนของผู้ถือหุ้น-สุทธิ โดยเฉลี่ย (ร้อยละ) จำนวนหุ้น (พันหุ้น) มูลค่าตามบัญชีต่อหุ้น (บาท) มูลค่าตามที่ตราไว้ต่อหุ้น (บาท) จำนวนพนักงาน

* ปี 2549 ปรับปรุงใหม่เพื่อการเปรียบเทียบ

2553

2552

2551

26,421 1,905 27.38% 7.31% 1.20 0.25 0.35 50.01% 1.22 0.64 2,124 27,196 7.01% 11,419 17.51% 1,588,125 7.19 1.00 6,471

23,134 1,262 24.57% 5.54% 0.79 0.12 0.21 41.52% 1.45 0.53 3,216 23,036 5.48% 10,351 12.68% 1,588,125 6.52 1.00 5,743

22,634 1,082 21.49% 4.86% 0.68 0.15 0.15 44.04% 1.30 0.63 2,176 22,813 4.74% 9,555 11.67% 1,588,125 6.02 1.00 5,149

2550 19,399 1,255 24.03% 6.55% 0.79 0.15 0.21 45.57% 1.06 0.49 426 19,643 6.39% 8,988 14.61% 1,588,125 5.68 1.00 4,792

2549 18,022 989 24.87% 5.61% 0.63 0.15 0.15 54.60% 1.02 0.36 145 17,618 5.61% 8,189 12.38% 158,812.5 52.16 10.00 4,649


34

...บริษัท จะมุ่งเน้นปรับปรุงในเรื่องของความปลอดภั ย ในการทำงาน การพัฒนาประสิทธิภาพของกระบวนการ ผลิต การพัฒนาบุคลากร การบริหารห่วงโซ่อุปทาน โดยจะนำกระบวนการแนวคิ ด แบบ Lean เข้ า มาผสม ผสานกับ Six Sigma เพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของ วัฒนธรรมองค์กรในทางบวกแบบยั่งยืน...


รายงานประจำปี 2553

• บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) 35

กลุ่มสินค้าและบริการทางอุตสาหกรรม ฝ่ายบรรจุภัณฑ์ ถึงแม้ว่าจะเกิดปัญหาความไม่สงบภายในประเทศในช่วงเดือนเมษายน ถึง พฤษภาคม ของปี 2553 และการ ควบคุมการจำหน่ายตลอดจนการโฆษณาของเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ยังคงใช้บังคับอย่างเข้มงวด แต่รายได้จาก การขายของฝ่ายบรรจุภัณฑ์ในปี 2553 เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาถึงร้อยละ 15 เป็นผลมาจากความต้องการขวดแก้ว

ที่เพิ่มสูงขึ้นของลูกค้าไทยเบฟเวอเรจและลูกค้าหลักในกลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม ในช่วงกลางปี 2553 บีเจซี ได้ร่วมทุนกับบริษัท โอเว่น อิลลินอยส์ อิงค์ (โอ-ไอ) ซึ่งเป็นผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์แก้ว

รายใหญ่ที่สุดในโลกเข้าซื้อบริษัทมาลายา กล๊าส โปรดักส์จากบริษัท เฟรเซอร์แอนด์นีฟโฮลดิ้ง บีเอชดี บริษัท มาลายา กล๊าส โปรดักส์ ซึ่งเป็นธุรกิจผลิตบรรจุภัณฑ์แก้ว มีโรงงานที่จังหวัดสระบุรี ประเทศไทย มณฑลเสฉวน ประเทศจีน ยะโฮร์บาห์รู ประเทศมาเลเซีย และที่โฮจิมินห์ซิตี้ ประเทศเวียดนาม สำหรับธุรกิจในมาเลเซีย และ เวียดนาม บีเจซี จะบริหารร่วมกับ โอ-ไอ ในอัตราส่วน 50/50 สำหรับโรงงานในประเทศไทย บีเจซี จะเข้าถือหุ้นและ รับผิดชอบการบริหาร ในขณะที่โอ-ไอ จะบริหารโรงงานในประเทศจีน จากการควบรวมกิ จ การข้ า งต้ น ทำให้ ก ำลั ง การผลิ ต ในประเทศที่ ฝ่ า ยบรรจุ ภั ณ ฑ์ รั บ ผิ ด ชอบอยู่ เ พิ่ ม ขึ้ น จาก 2,445 ตันน้ำแก้ว/วัน เป็น 2,735 ตันน้ำแก้วต่อวัน และมากกว่า 3,300 ตันน้ำแก้วต่อวัน เมื่อรวมกำลัง

การผลิตของโรงงานในมาเลเซียและเวียดนาม ทำให้สามารถสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นของลูกค้ากลุ่มต่างๆ ในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2553 และส่งผลให้รายได้จากการขายของฝ่ายบรรจุภัณฑ์สูงขึ้นอย่างมากในปี 2553 คาดการณ์ว่าผลประกอบการของปี 2554 จะดีขึ้นกว่าปีที่ผ่านมาถึงแม้ว่าราคาวัตถุดิบหลักมีแนวโน้มจะสูงขึ้น อย่างมาก เนื่องจากการหาตลาดเพิ่มจากภายในประเทศและต่างประเทศเพื่อให้โรงงานใช้กำลังการผลิตได้อย่าง เต็มที่


36

บริษัท อุตสาหกรรมทำเครื่องแก้วไทย จำกัด (มหาชน) ในปี 2553 เป็นปีที่บริษัท อุตสาหกรรมทำเครื่องแก้วไทย (จำกัด) มหาชน มีผลประกอบการที่ดีมาก อันเป็นผล เนื่องมาจากยอดขายที่เพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 15 เมื่อเทียบกับปี 2552 ประกอบกับราคาต้นทุนของวัตถุดิบหลักที่ลด ต่ำลง และการส่งเสริมกระบวนการต่างๆ ในการปรับปรุงเรือ่ งความปลอดภัย, การพัฒนาในด้านคุณภาพของสินค้า และประสิทธิภาพในการผลิตที่ดียิ่งขึ้น ส่งผลทำให้ผลการดำเนินงานของบริษัท ดีที่สุดในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา ในช่วงไตรมาสแรกของปี บริษัท ได้จัดตั้งทีมงานเพื่อเข้าร่วมสนับสนุน บีเจซี ในการเข้าซื้อบริษัท มาลายา กล๊าส โปรดักส์ จาก บริษัท เฟรเซอร์แอนด์นีฟโฮลดิ้ง บีเอชดี ทำให้บริษัทฯ สามารถเพิ่มศักยภาพทางการแข่งขัน และตอบสนองความต้องการของตลาดได้เป็นอย่างดีในระยะยาว ปั จ จุ บั น บริ ษั ท ได้ รั บ การรั บ รองมาตรฐาน ISO 9001:2008 และ ISO 14001:2004 ของทั้ ง โรงงาน ราษฎร์บูรณะและบางพลี ซึ่งนอกจากทั้งระบบมาตรฐานคุณภาพและระบบมาตรฐานการจัดการสิ่งแวดล้อม ดั ง ที่ ก ล่ า วมานี้ แ ล้ ว ในปี 2553 บริ ษั ท ได้ เ ริ่ ม นำเอาระบบ OHSAS 18001:2007 ซึ่ ง เป็ น ระบบมาตรฐาน การจัดการเกี่ยวกับความปลอดภัยและอาชีวอนามัยเข้ามาปรับใช้ โดยเริ่มที่โรงงานราษฎร์บูรณะและจะทำการ ขยายผลนำไปประยุกต์ใช้ต่อไปที่โรงงานบางพลีในปีหน้า พร้อมกันนี้บริษัท ยังได้นำเอา Six Sigma มาใช้เป็น เครื่องมือสำหรับการพัฒนาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในการสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้า นอกจากนี้บริษัท ยังได้ รับรางวัลสถานประกอบการดีเด่นด้านแรงงานสัมพันธ์ และสวัสดิการแรงงานจากกรมสวัสดิการคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงานทั้งโรงงานบางพลี และโรงงานราษฎร์บูรณะต่อเนื่องกันมาจนถึงปีนี้เป็นปีที่สามอีกด้วย สำหรับทิศทางในปี 2554 บริษัท จะมุ่งเน้นปรับปรุงในเรื่องของความปลอดภัยในการทำงาน, การพัฒนา ประสิทธิภาพของกระบวนการผลิต, การพัฒนาบุคลากร, การบริหารห่วงโซ่อุปทาน โดยจะนำกระบวนการแนวคิด แบบ Lean เข้ามาผสมผสานกับ Six Sigma เพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรมองค์กรในทางบวก แบบยั่งยืน ส่งผลให้เกิดการค้นพบและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยให้ผลลัพธ์เป็นตัวเลขทางการเงินที่แท้จริง


รายงานประจำปี 2553

• บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) 37

กลุ่มมาลายากล๊าส ในปี 2553 บีเจซี ได้ร่วมทุนกับ โอเว่น อิลินอยส์อิงค์ (โอไอ) ประเทศสหรัฐอเมริกา เข้าซื้อหุ้นของ มาลายา กล๊าส โปรดักส์ เอสดีเอ็น บีเอชดี (ประเทศมาเลเซีย) จาก เฟรเซอร์แอนด์นีฟ โฮลดิ้ง บีเอชดี ซึ่ง มาลายา กล๊าส โปรดักส์ เอสดีเอ็น บีเอชดี (ประเทศมาเลเซีย) ถือหุ้นร้อยละ 70 ใน มาลายา เวียดนาม กล๊าส ลิมิเต็ด และบริษัท ไทย มาลายา กลาส จำกัด จึงทำให้ มาลายา เวียดนาม กล๊าส ลิมิเต็ด และบริษัท ไทย มาลายา กลาส จำกัด ได้เข้ามาอยู่ในกลุ่มบีเจซี และส่งผลให้กลุ่มบีเจซี เป็นผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์ขวดแก้วรายใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ มาลายา กล๊าส โปรดักส์ เอสดีเอ็น บีเอชดี ตั้งอยู่ที่ มณฑลโจฮอ ประเทศมาเลเซีย มีกำลังการผลิตอยู่ที่ 425 ตันต่อวัน เป็นผู้ผลิตขวดแก้วรายใหญ่ที่สุดในประเทศมาเลเซีย โดยมีส่วนแบ่งทางการตลาดในประเทศมาเลเซีย กว่าร้อยละ 70 มาลายา เวียดนาม กล๊าส ลิมิเต็ด ตั้งอยู่ที่ โฮจิมินซิตี้ ประเทศเวียดนาม มีกำลังการผลิตอยู่ที่ 173 ตันต่อวัน โดยมีส่วนแบ่งทางการตลาดในประเทศเวียดนามประมาณร้อยละ 60 บริ ษั ท ไทย มาลายา กลาส จำกั ด มี ก ำลั ง การผลิ ต อยู่ ที่ 290 ตั น ต่ อ วั น บริ ษั ท ตั้ ง อยู่ ที่ จั ง หวั ด สระบุ รี ประเทศไทย ในเขตนิคมอุตสาหกรรมที่มีท่อแก๊สธรรมชาติ และได้รับการลดหย่อนทางภาษี ส่งผลให้บริษัทสามารถ ลดต้นทุนการผลิตได้อย่างเป็นที่น่าพอใจ สำหรับทิศทางในปี 2554 บริษัทจะมุ่งเน้นพัฒนาการผลิตให้มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง พร้อมกับเพิ่ม คุณภาพการบริการเพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า และเพื่อเป็นการรองรับการขยายธุรกิจ รวมทั้งการเสริม สร้างความสามารถของบุคลากรเพื่อให้บรรลุเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ


38

บริษัท ไทย เบเวอร์เรจ แคน จำกัด (TBC) บริษัท ไทย เบเวอร์เรจ แคน จำกัด (TBC) เป็นผู้ผลิต และจัดจำหน่ายบรรจุภัณฑ์ที่ทำจากอะลูมิเนียมสำหรับ บรรจุเครื่องดื่ม ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ กระป๋องและฝา โดยมีการพิมพ์เครื่องหมายการค้าสำหรับสินค้าของลูกค้า แต่ละราย บริษทั มีสำนักงานและโรงงานตัง้ อยูท่ นี่ คิ มอุตสาหกรรม เอสไอแอล อินดัสเตรียล แลนด์ อำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี บนพื้นที่ 56-2-75 ไร่ ประกอบด้วยอาคารสำนักงาน โรงงาน และคลังสินค้า 2 หลัง มีพื้นที่ 28,800 ตารางเมตร และ 4,800 ตารางเมตร ปัจจุบันมีสายการผลิตสินค้า 2 ส่วน คือ สายการผลิตกระป๋อง จำนวน 2 สาย การผลิต และสายการผลิตฝากระป๋อง จำนวน 2 สายการผลิต นอกจากนี้ มีสายการเคลือบและพิมพ์อะลูมิเนียม สำหรับการผลิตฝากระป๋อง จำนวน 1 สายการผลิต บริษัทใช้เทคโนโลยีในการผลิตกระป๋องและฝาของบริษัท บอลล์คอร์ปอเรชั่น จำกัด ซึ่งเป็นผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์ชั้นนำจากสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ บริษัทยังได้รับการรับรอง มาตรฐานคุณภาพในสินค้าและบริการ ISO 9001:2008, ISO 14001:2004, ISO 22000:2005 และมาตรฐานการ ปฏิบัติการในการผลิต (Good Manufacturing Practice - GMP) เนื่องจากอุตสาหกรรมผลิตกระป๋องอะลูมิเนียมต้องใช้เทคโนโลยีชั้นสูง เพื่อให้มีต้นทุนด้านการผลิตโดยเฉลี่ย ต่ำ เมื่อเทียบกับจำนวนที่ขายจำนวนมาก จึงมีคู่แข่งน้อย โดยในประเทศไทยมีผู้ผลิตกระป๋องอะลูมิเนียมทั้งหมด 3 ราย และ TBC เป็นผู้ผลิตรายใหญ่ที่สุดรายหนึ่ง ในปี 2553 ยอดขายของบริษัท เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 10 จากปี 2552 เนื่องจากความต้องการของตลาดการใช้ กระป๋องในประเทศและภูมิภาคเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ การวางแผนการผลิตที่มีประสิทธิภาพและการลดเวลาสูญเสีย ในการผลิต ทำให้บริษัทสามารถเพิ่มกำลังการผลิตได้โดยไม่ต้องมีการลงทุนหรือการขยายกำลังการผลิต บริษัท

มีการผลิตสินค้าโดยการร่วมกันวางแผนกับลูกค้าที่เป็นผู้ประกอบการเครื่องดื่มทั้งในและต่างประเทศ เพื่อให้เป็น ไปตามแผนการผลิตและจำหน่าย หรือความต้องการของลูกค้า โดยสัดส่วนเฉลี่ยต่อปีของลูกค้า ในประเทศและต่างประเทศเท่ากับร้อยละ 75 และ 25 ตามลำดับ บริ ษั ท ​ จั ด ทำโครงการการใช้ พ ลั ง งานอย่ า งประหยั ด และเหมาะสม นอกจากนี้ บริ ษั ท มีการดำเนินการนำวัสดุภัณฑ์ที่ใช้หีบห่อกระป๋องและฝา กลับคืนมาจากลูกค้าเพื่อนำกลับมาใช้ ใหม่ ซึ่ ง เป็ น การประหยั ด ทรั พ ยากรธรรมชาติ และต้ น ทุ น ของบริ ษั ท ที่ เ รี ย กว่ า Packaging Return รวมถึงการเข้าร่วมกับมูลนิธิขาเทียมในการนำเศษอะลูมิเนียมกลับมาใช้ในการผลิตขา เทียมซึ่งเป็นการสนับสนุนให้มีการรักษาสภาพแวดล้อม และเป็นวิธีการกำจัดขยะอะลูมิเนียม และสร้างประโยชน์ให้กับสังคม


รายงานประจำปี 2553

• บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) 39

บริษัท เบอร์ลี่ ไดน่าพลาส จำกัด หลังจากปี 2552 ที่ธุรกิจประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดียิ่ง ในปี 2553 บริษัท เบอร์ลี่ ไดน่าพลาส จำกัด ยังมีการเจริญเติบโตขึ้นอีกอย่างต่อเนื่อง โดยมียอดขายเพิ่มขึ้นร้อยละ 14 ซึ่งสูงกว่าของ อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์พลาสติกทั่วไปที่มีความเจริญเติบโตโดยเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 5 ยอดขาย ที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่มาจากสินค้าประเภทบำรุงเส้นผมและผิวกาย ซึ่งได้รับผลกระทบไม่มากนัก จากความไม่สงบทางการเมืองที่เกิดขึ้นในระหว่างปี 2553 ตั้งแต่ปลายปี 2552 เป็นต้นมา กำลังการผลิตของบริษัทได้ใช้จนถึงจุดสูงสุดแล้วพร้อมทั้ง พื้ น ที่ ใ นการทำงานก็ ไ ม่ เ พี ย งพอ ดั ง นั้ น คณะกรรมการของบริ ษั ท จึ ง เห็ น ชอบในการอนุ มั ต ิ

งบลงทุน 200 ล้านบาท เพื่อสร้างอาคารโรงงานเพิ่ม รวมไปถึงการติดตั้งเครื่องจักรและเพิ่ม เครื่องจักรอัตโนมัติมากขึ้นในการรองรับความต้องการของลูกค้าที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว อาคาร โรงงานใหม่นี้คาดว่าจะแล้วเสร็จในต้นปี 2554 ในระหว่างนี้ เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อการส่ง สินค้าไปยังลูกค้า บริษัทจึงต้องเสาะหาสถานที่เก็บสินค้าและผลิตสินค้าชั่วคราวภายนอกโรงงาน ซึ่งทำให้มีค่าใช้จ่ายในส่วนของการจัดเก็บและการขนส่งมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม บริษัทได้ พยายามควบคุมค่าใช้จ่ายอื่นๆ อีกทั้งการที่มียอดขายเพิ่มขึ้น จึงยังทำให้บริษัทมีผลกำไรอยู่ใน ระดับที่น่าพอใจเทียบเท่ากับอุตสาหกรรมพลาสติกที่มีมาตรฐานทั่วไปในประเทศไทย บริษัท ยังคงรักษาสถานะผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการ จากลูกค้าหลายราย และได้รับการรับรองมาตรฐานสากล ISO 9001:2000, GMP และ HACCP อี ก ทั้ ง ยั ง ได้ รั บ เกี ย รติ ใ ห้ เ ป็ น ผู้ รั บ รางวั ล คู่ ค้ า ที่ เ ป็ น หุ้ น ส่ ว นทางธุ ร กิ จ อย่ า งดี เ ยี่ ย ม จากบริ ษั ท ไบเออร์สด๊อรฟ (ประเทศไทย) จำกัด หลังจากที่บริษัท ได้ผลิตบรรจุภัณฑ์สำหรับสินค้า Nivea ได้เพียง 2 ปีเท่านั้น บริษัท ได้นำระบบ SAP มาใช้ในระบบบันทึกและจัดเก็บข้อมูล เพื่อยกระดับมาตรฐานใน การพัฒนาข้อมูลทั้งระบบ ให้มีความถูกต้องในกระบวนการทำงานต่างๆ รวมถึงความสามารถใน การตัดสินใจด้านธุรกิจได้รวดเร็วมากขึ้น สำหรับในปี 2554 นี้ บริษัท ยังคงมุ่งมั่นพัฒนาต่อไปโดยบริษัทมีความพร้อมและมีแผนการ เพิ่มการผลิตสินค้าใหม่อีกหลายชนิด เพื่อตอบสนองลูกค้าที่มีความต้องการเข้ามาอย่างต่อเนื่อง การเพิ่มความหลากหลายของสินค้านี้เป็นกลยุทธ์ระยะยาวของบริษัทเพื่อการเจริญเติบโตและ มีผลกำไรที่ดีอย่างยั่งยืน และลดความเสี่ยงทางธุรกิจ ในการที่ไม่ต้องพึ่งพาสินค้าหลักที่บริษัท ได้ผลิตและทำการตลาดมาเป็นเวลานานเพียงอย่างเดียว


40

ฝ่ายวิศวกรรม ด้วยปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและพลังงานที่ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง ทำให้การเติบโตของธุรกิจพลังงาน ทดแทนมีแนวโน้มที่ดี ในช่วงไตรมาส 3 ของปีที่ผ่านมา ทางฝ่ายวิศวกรรมจึงได้ขยายธุรกิจไปยังธุรกิจพลังงาน ทดแทน โดยเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ คือ iWind ซึ่งเป็นกังหันลมแบบแกนแนวตั้งสำหรับผลิตกระแสไฟฟ้า และได้รับ การตอบรับเป็นอย่างดีเยี่ยม เช่นเดียวกันกับกลุ่มผลิตภัณฑ์ชั้นวางสินค้า ที่ยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่องจากปีที่แล้ว สินค้าอีกประเภทที่มีผลประกอบการเป็นที่น่าพอใจในปีที่ผ่านมาคือ เครื่องชั่ง โดยปัจจัยหลัก คือ การที่ฝ่าย วิศวกรรมชนะการประมูลโครงการขนาดใหญ่ของรัฐบาลได้หลายโครงการ มีมูลค่ารวมเกือบ 30 ล้านบาท แม้ว่าสภาพเศรษฐกิจไทยในปี 2553 มี แนวโน้ม ที่ดีขึ้น แต่จ ากความผันผวนทางการเมือ ง และสภาวะ เศรษฐกิจโลกที่ยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ ทำให้หลายบริษัทยังคงชะลอแผนการลงทุนออกไป ส่งผลให้ผลประกอบการของ ฝ่ายวิศวกรรมต่ำกว่าเป้าหมายที่คาดการณ์ไว้ นอกจากนี้ ผลจากการบุกตลาดของสินค้าราคาต่ำจากประเทศ ในแถบเอเชีย เช่น จีน หรือ ไต้หวัน ซึ่งได้รับความนิยมอย่างมาก และได้รับส่วนแบ่งทางการตลาดเพิ่มมากขึ้น เรื่อยๆ ทำให้หลายบริษัทปรับเปลี่ยนกลยุทธ์มาแข่งขันกันที่ราคามากขึ้น จนบางครั้งอาจละเลยเรื่องคุณภาพของ สินค้า แต่นั่นไม่ใช่แนวทางของฝ่ายวิศวกรรม ที่ยืนหยัดในเรื่องของคุณภาพสินค้าเป็นสำคัญ สำหรับปี 2554 ฝ่ายวิศวกรรมตั้งเป้าที่จะขยายช่องทางการจำหน่ายให้มากขึ้น เน้นการประชาสัมพันธ์ตรา สินค้าใหม่ของสินค้าประเภทเครนเพื่ อ ที่ จ ะเปิ ด ตั ว ในปี ห น้ า แทนตราสิ น ค้ า มอร์ ริ ส ที่ ไ ด้ ยุ ติ ล งในปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ยังมีแผนที่จะขยายตลาดกลุ่มสินค้าประเภทชั้นวางสินค้าและเครื่องชั่ง โดยเน้นไปที่ระบบจัดการแบบ อัตโนมัติมากขึ้น ในปีหน้าฝ่ายวิศวกรรมคาดว่า สงครามราคา และการไหลเข้ามาของสินค้าราคาต่ำจะยังคง ดำเนินต่อไป ดังนั้นเราจึงวางแผนที่จะปรับปรุงโครงสร้างองค์กร และการทำงานในด้านต่างๆ เพื่อให้สอดคล้องกับ สภาวะการแข่งขันที่น่าจะรุนแรงขึ้น และสามารถนำเสนอสินค้าในราคาที่เหมาะสมกว่าเดิม โดยไม่ลดคุณภาพ สินค้าลง ทั้งนี้ การปรับปรุงต่างๆ จะเป็นไปตามมาตรฐาน ISO 9001:2008 เพื่อให้ลูกค้าได้รับสินค้าและบริการที่มี คุณภาพ และเกิดความพึงพอใจสูงสุด นอกจากนี้ ทางฝ่ายวิศวกรรมก็ไม่ละเลยที่จะพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง เพราะเราเน้นย้ำเสมอว่าบุคลากร ที่มีคุณภาพนั้นจะเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดในการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน


รายงานประจำปี 2553

• บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) 41

บริษัท ไทย-สแกนดิค สตีล จำกัด (Thai-Scandic Steel) ในปี 2553 ผลประกอบการโดยรวมของ บริษัท ไทย-สแกนดิค สตีล จำกัด (TSS) เติบโต อย่างมากจากปีที่ผ่านมา จากการเติบโตของยอดขายโครงการภายในประเทศเป็นหลัก ยอดขาย จากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ในโครงการเสาสายส่งไฟฟ้าแรงสูงมีการเติบโต ถึงเท่าตัวจากปี 2552 โดยโครงการหลักสองโครงการได้แก่ โครงการเสาสายส่งไฟฟ้าแรงสูง ขนาด 500 กิโลโวลท์ น้ำพอง 2 จังหวัดอุดรธานี และโครงการสายส่งไฟฟ้าแรงสูง 230 กิโลโวลท์ จังหวัดกระบี่ และพังงา ทางด้ า นโครงการรั บ จ้ า งออกแบบ และผลิ ต เสาสายส่ ง ไฟฟ้ า แรงสู ง ขนาด 230 / 115 กิโลโวลท์ แก่เทินหินบูน ประเทศลาวนั้น การส่งมอบเกือบเสร็จสมบูรณ์ในปี 2553 นอกจากการมุ่งเน้นการเติบโตของตลาดภายในประเทศแล้ว TSS ยังมุ่งมั่นในการเจริญ เติบโตในตลาดต่างประเทศ เช่น ประเทศแถบทวีปแอฟริกา เช่น ประเทศไนจีเรีย และประเทศ แถบเพื่อนบ้าน เช่น ประเทศฟิลิปปินส์และกัมพูชา โครงการจากต่างประเทศที่ได้รับในปี 2553 มีอาทิเช่น เสาสายส่งไฟฟ้าแรงสูงในประเทศกัมพูชา โครงการสถานีไฟฟ้าย่อย และโครงการเสา สื่อสารโทรคมนาคมอื่นๆ ในอีกหลายประเทศ การที่ TSS มุ่งเน้นการขยายฐานลูกค้าไปยังตลาด ต่างประเทศนัน้ ช่วยให้ TSS มีการกระจายรายได้อย่างเหมาะสม เนือ่ งจากจำนวนโครงการในประเทศ มีไม่มากนัก อาทิ จำนวนโครงการประเภทเสาสายส่งไฟฟ้าแรงสูง จากการที่เป็นเจ้าของอ่างเซรามิคขนาดใหญ่สำหรับชุบสังกะสีและมีกำลังการผลิตที่มาก ที่สุดในประเทศไทย TSS มีความมุ่งมั่นในการผลิตเหล็กชุบสังกะสีที่มีคุณภาพ ตลอดจนการ บริการระดับสูง นอกเหนือจากการปรับปรุงประสิทธิภาพ และคุณภาพในการดำเนินงานอย่าง ต่อเนื่อง TSS ได้นำเทคโนโลยีระดับสูงมาใช้ในโปรแกรมการวาดและการออกแบบ รวมถึงการนำ หุ่นยนต์สำหรับงานเชื่อมมาช่วยในการผลิตจำนวนมาก และปรับปรุงเครื่องจักรที่ควบคุมการ ทำงานด้วยสมองกล (Computer Numerical Control, CNC) จำนวน 8 เครื่องเพื่อการผลิต โครงสร้างเหล็ก การปรับปรุงพัฒนาเหล่านี้ ส่งผลให้ TSS สามารถนำเสนอสินค้าและให้บริการ ที่มีคุณภาพให้กับลูกค้าทั่วโลก ด้วยพันธสัญญาที่มุ่งมั่นของบริษัทในเรื่องของคุณภาพ และความใส่ใจต่อสังคม TSS ได้ ยกระดับมาตรฐานการบริหารงานคุณภาพสู่ ISO 9001:2008 ในเดือนสิงหาคม 2552 และได้รับ การรับรองมาตรฐานการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม ISO 14001:2004 นอกจากนี้ในช่วงกลางปี 2553 บริษัทได้นำแนวทางการบริหารงานคุณภาพทั่วทั้งองค์กร (Total Quality Management program, TQM) มาใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาระบบคุณภาพเพื่อเพิ่มระดับความพึงพอใจ ของลูกค้า ขณะนี้ บริษัทยังคงมุ่งมั่นอย่างต่อเนื่องในการพัฒนาระบบบริหารความปลอดภัยและ ชีวอนามัยสู่ OHSAS 18001:2007 เพื่อสร้างความมั่นใจในสุขภาพและความปลอดภัยภายใต้ สภาพแวดล้อมการทำงานที่เป็นไปตามมาตรฐานสากล


42

...มุ่งเน้นสร้างความแข็งแกร่งให้กับตราสินค้าปัจจุบันที่มีอยู่ และจะเริ่มขยายสินค้าใหม่ ทั้งในกลุ่มสินค้าเดิมและกลุ่มสินค้า ใหม่ ที่ มี มู ล ค่ า เพิ่ ม สู ง และมี ศั ก ยภาพในการเจริ ญ เติ บ โต ทั้ ง ในประเทศและต่ า งประเทศแถบอิ น โดจี น และยั ง มุ่ ง เน้ น พัฒนาช่องทางการจัดจำหน่าย รวมทั้งเพิ่มการกระจาย สินค้าสู่ร้านค้าปลีกรายย่อยให้ครอบคลุมมากที่สุด... ...


รายงานประจำปี 2553

• บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) 43

กลุ่มสินค้าและบริการทางอุปโภคบริโภค ฝ่ายการตลาด กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค จากภาวะความวุ่นวายทางการเมืองในช่วงครึ่งปีแรกซึ่งส่งผลกระทบบางส่วนต่อผู้บริโภค ในขณะที่ภาวะ เศรษฐกิจช่วงครึ่งปีหลังของปี 2553 มีการพัฒนาและปรับตัวดีขึ้น จึงทำให้ยอดขายโดยรวมของกลุ่มสินค้าและ บริการทางอุปโภคและบริโภค สามารถเติบโตจากปี 2552 ถึงร้อยละ 9.0 กลุ่มสินค้าที่มียอดขายเจริญเติบโตตามลำดับ ได้แก่ กลุ่มผลิตภัณฑ์สบู่และเครื่องใช้ส่วนตัว กลุ่มผลิตภัณฑ์ กระดาษทิชชู และกลุ่มผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยวและเครื่องดื่ม

ตลาดภายในประเทศ

ผลิตภัณฑ์สบู่นกแก้ว ได้มียอดขายเติบโตจากปีที่ผ่านมาถึงร้อยละ 15 โดยมีส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้นโดยรวม จากร้อยละ 9.9 ในปี 2552 มาเป็นร้อยละ 10.8 ของตลาดสบู่ทั้งหมดในปี 2553 โดยยังคงมุ่งเน้นจุดแข็งเรื่อง “คุณค่าความหอมสดชื่นจากพฤกษาธรรมชาติ” ผ่านแคมเปญโฆษณาทางโทรทัศน์และนิตยสาร รวมถึงได้มีการจัด แคมเปญชิงโชครถยนต์ และการจัดรายการส่งเสริมการขายต่างๆ ทั้งในซุปเปอร์มาร์เก็ต ไฮเปอร์มาร์เก็ต และร้าน ค้าปลีกทั่วประเทศซึ่งประสบผลสำเร็จอย่างสูง กลุ่มผลิตภัณฑ์กระดาษทิชชู่ มีการเติบโตร้อยละ 6 ทั้งที่ตลาดโดยรวมเติบโตประมาณร้อยละ 5 เป็นผลจาก การเติบโตของทุกตราสินค้าโดยมีการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ อาทิ กระดาษเช็ดหน้าและกระดาษชำระเซลล็อกซ์ โบทานิส กลิ่นพฤกษาธรรมชาติ กระดาษซิลค์ ป๊อปอัพ โดยมีการโฆษณาประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อโทรทัศน์ วิทยุและ นิตยสาร เพื่อตอกย้ำจุดขายของเซลล็อกซ์ พิวริฟายที่มีไมโครแบน เป็นทิชชูยับยั้งแบคทีเรีย ในขณะที่การโฆษณา ของซิลค์ เน้นการตอกย้ำเสริมความรู้จักของตราสินค้า ซิลค์ และชูจุดขายในเรื่องความเหนียวนุ่มคุ้มค่า นอกจากนี้


44

ได้มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย พร้อมการตั้งโชว์สินค้าในร้านค้า ส่งผลให้รักษาความเป็นผู้นำในตลาด กระดาษชำระด้วย ส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 38 นอกจากนี้ ยังได้ขยายฐานลูกค้าใหม่ในกลุม่ ผูใ้ ช้สถาบันทัง้ ในกรุงเทพ และต่างจังหวัด กลุ่มผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยวและเครื่องดื่มยังคงเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรง ทั้งในกลุ่มสินค้ามันฝรั่งทอด และกลุ่มข้าวเกรียบขึ้นรูป อย่างไรก็ตาม มันฝรั่งเทสโตยังคงรักษาความแข็งแรงและตำแหน่งในตลาดโดยเน้นการ เสริมภาพลักษณ์ที่ทันสมัยของสินค้าผ่านทางสื่อโฆษณาและพรีเซ็นเตอร์ เป้-อารักษ์ อมรศุภศิริ โดยใช้สื่อโฆษณา ทั้งทางอินเตอร์เน็ต โทรทัศน์และวิทยุ ส่วนข้าวอบกรอบ โดโซะ หลังจากที่กลับมาใช้กลยุทธ์ในการโฆษณาที่เน้นไป ยังเรื่องของความอบอุ่นและการแบ่งปัน รวมถึงการวางตลาดรสชาติใหม่ “ฮอตโตะยากิ” ที่ช่วยเสริมความตื่นเต้น ให้กับตราสินค้าโดโซะ สามารถกลับมาทำยอดขายได้สูงกว่าปี 2552 ถึงร้อยละ 22 ในขณะที่ขนมอบกรอบเคลือบ ช็อคโกแลต แคมปัส เน้นสร้างรายการส่งเสริมการขายและกิจกรรมทางการตลาดถึงผู้บริโภคโดยตรง สามารถทำ ยอดขายได้สูงกว่าปี 2552 ถึงร้อยละ 10 นอกจากนี้ สินค้าเครื่องดื่ม คือ น้ำผลไม้ผสมวุ้นมะพร้าวตรา กาโตะ ที่บริษัทรับจัดจำหน่ายยังคงเติบโตแข็งแรงอย่างต่อเนื่องโดยมียอดขายเติบโตจากปีก่อนหน้าสูงถึงร้อยละ 33 สำหรับในปี 2553 นี้บริษัท ได้ทำการวางตลาดสินค้าใหม่ คือ แคมปัส ช็อคโก ดริงค์ โดยพัฒนาจากแคมปัส ซึ่งเป็นตราสินค้าของขนมอบกรอบเคลือบรสช็อคโกแลต ที่รู้จักและชื่นชอบอย่างดีในกลุ่มเด็ก 8 - 12 ปี มาเป็น แคมปัส ช็อคโก ดริงค์ ซึ่งเป็นเครื่องดื่มรสช็อคโกแลต ที่มีความหอมอร่อย อุดมด้วยวิตามินและเกลือแร่หลายชนิด ซึ่งนอกจากคุณค่าทางอาหารแล้วยังเพิ่มความสนุกในการดื่มด้วย “หลอดซุปเปอร์ฟัน 4 ทิศทาง” ซึ่งส่งผลให้ ตราสินค้าแคมปัสเป็นที่แพร่หลายมากขึ้นต่อเด็กกลุ่มเป้าหมาย นอกจากนี้ บริษัทยังได้พัฒนาและวางตลาดสินค้า เครื่องสำอางใหม่ที่นำคุณค่าของสมูทตี้ผลไม้มาไว้ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ตรา เบอร์ลี่ ป๊อปส์ ซึ่งประกอบด้วย โฟมล้างหน้า แป้งพัฟ ลิปมัน และลิปกลอส โดยจับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้หญิง 18 - 25 ปี และได้จัดทำสื่อโฆษณา ทางโทรทัศน์และสิ่งพิมพ์อื่นๆ เพื่อสร้างการรับรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย ซึ่งก็ได้รับการตอบรับที่ดีจากกลุ่มเป้าหมาย เช่นกัน

ช่องทางการจัดจำหน่าย

การพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายเพื่อรองรับการเจริญเติบโตของโครงสร้างร้านค้าปลีกที่เปลี่ยนไปและการ กระจายสินค้าที่บริษัท จัดจำหน่ายให้ครอบคลุมร้านค้าปลีกทั่วประเทศ สำหรับร้านค้าปลีกสมัยใหม่ (Modern Trade) เช่น ไฮเปอร์มาร์เก็ต, ซุปเปอร์มาร์เก็ต, ร้านค้าสะดวกซื้อ บริษัท ได้ทุ่มงบประมาณในการทำรายการ ส่งเสริมการขาย ตั้งโชว์ ให้ผลิตภัณฑ์ของบริษัท สามารถหาซื้อได้ง่ายและสามารถแข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ร้านค้าส่งที่มีกระจายอยู่ทั่วประเทศ บริษัท ยังจัดให้มีการทำเป้าหมายการขาย รวมทั้งการจัดตั้งโชว์ผลิตภัณฑ์ ช่องทางการจัดจำหน่ายของร้านค้าปลีกรายย่อย บริษัท สามารถเพิ่มร้านค้าปลีกที่ค้าขายกับบริษัทโดยตรงภายใน ปี 2553 ถึง 50,000 ร้านค้า โดยบริษัท มีเป้าหมายในการขยายร้านค้าปลีกรายย่อยให้ได้ถึง 100,000 ร้านค้า

ในอนาคตอันใกล้


รายงานประจำปี 2553

• บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) 45

ตลาดต่างประเทศ

ยอดขายในส่วนของตลาดต่างประเทศ เติบโตเพิ่มขึ้นจากปี 2552 ถึงร้อยละ 11 ซึ่งมีการเติบโตมาจากกลุ่ม สินค้าสบู่ร้อยละ 17, กลุ่มกระดาษทิชชูร้อยละ 11 และ กลุ่มขนมขบเคี้ยวร้อยละ 9 โดยมุ่งเน้นในการทำตลาด ไปยังกลุ่มประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อาทิ เวียดนาม กัมพูชา ลาว พม่า และยังรวมไปถึง มาเลเซีย และ สิงคโปร์

แผนงานปี 2554

ตลาดในประเทศยังมุ่งเน้นสร้างความแข็งแกร่งให้กับตราสินค้าปัจจุบันที่มีอยู่ และจะเริ่มขยายสินค้าใหม่ ทั้งในกลุ่มสินค้าเดิมและกลุ่มสินค้าใหม่ที่มีมูลค่าเพิ่มสูง และมีศักยภาพในการเจริญเติบโตทั้งในประเทศและ ต่างประเทศแถบอินโดจีน และยังมุ่งเน้นพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่าย รวมทั้งเพิ่มการกระจายสินค้าสู่ร้าน ค้าปลีกรายย่อยให้ครอบคลุมมากที่สุด สำหรับธุรกิจการรับจัดจำหน่ายนั้น บริษัท ได้มีการเจรจาอย่างต่อเนื่องกับ เจ้าของสินค้าหลายรายและจะได้เริ่มทำการกระจายสินค้าตั้งแต่ไตรมาสแรกของปี 2554 เป็นต้นไป ส่วนตลาดต่างประเทศ บริษัท ยังมุ่งเน้นในการพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่าย รวมถึงโอกาสในการขยาย การลงทุนทั้งด้านการขาย การผลิต ทั้งสินค้าของบริษัทรวมถึงการรับเป็นตัวแทนจัดจำหน่ายให้กับเจ้าของสินค้า รายอื่นๆ อีกด้วย


46

บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ เซลล็อกซ์ จำกัด ในรอบปี 2553 บริ ษั ท ยั ง คงรั ก ษาความเป็ น ผู้ น ำตลาดทั้ ง เชิ ง ปริ ม าณและมู ล ค่ า ในกลุ่ ม กระดาษชำระ ในประเทศ ด้วยส่วนแบ่งการตลาดร้อยละ 41.8 และ 38.4 ตามลำดับ โดยซิลค์และเบลล์ยังคงเป็นผู้นำในกลุ่ม สินค้าระดับกลางและประหยัด สำหรับกระดาษเช็ดหน้า บริษัท มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 21.3 เนื่องจากยอดขาย ทีเ่ พิม่ ขึน้ ของกระดาษเช็ดหน้าซิลค์ เมโลน่า และเซลล็อกซ์ เพียวริฟาย นอกจากนี้ ยังประสบความสำเร็จในยอดขาย ของกลุ่มกระดาษอเนกประสงค์ของตราสินค้าเซลล็อกซ์และแม๊กซ์โม่ นอกเหนือไปจากการจัดกิจกรรม ณ จุดขาย อย่ า งต่ อ เนื่ อ งแล้ ว บริ ษั ท ได้ มุ่ ง เน้ น ในการสร้ า งการรั บ รู้ ใ นตราสิ น ค้ า ผ่ า นทางโฆษณาอย่ า งต่ อ เนื่ อ งสำหรั บ เครื่องหมายการค้าหลัก คือ เซลล็อกซ์ ซิลค์ และแม๊กซ์โม่ บริษัท ได้แนะนำผลิตภัณฑ์ใหม่ เซลล็อกซ์ พิวริฟาย โบทานิส ในกลุ่มกระดาษชำระและเช็ดหน้าที่มีคุณสมบัติยับยั้งแบคทีเรีย พร้อมทั้งกลิ่นหอมชวนใช้เมื่อต้นปี ซึ่ง ได้รับการตอบรับอย่างดีจากผู้บริโภค โดยช่วยเพิ่มยอดขายให้กับเซลล็อกซ์โดยรวมร้อยละ 9 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว สำหรับกลุ่มลูกค้าสถาบัน บริษัท ยังประสบความสำเร็จในการขยายตลาดในต่างจังหวัดโดยการเพิ่มลูกค้า รายใหม่ โดยเฉพาะได้ขยายฐานลูกค้าในกลุม่ ร้านอาหารและโรงงานเพิม่ ขึน้ นอกเหนือจากตลาดในกรุงเทพมหานคร และในต่างประเทศบริษัทยังคงทำตลาดในหลายประเทศอย่างต่อเนื่องในรูปแบบของสินค้าสำเร็จรูป รวมทั้งได้เริ่ม เข้าไปทำตลาดในประเทศพม่าอีกด้วย ปี 2553 ราคาวัตถุดิบสำหรับการผลิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งเยื่อกระดาษและกระดาษรีไซเคิล ได้ปรับตัวเพิ่มขึ้น มากประมาณร้อยละ 20 เมื่อเทียบกับปี 2552 อย่างไรก็ตาม บริษัท มุ่งเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและลดต้นทุน การผลิต ในกระบวนการผลิตอย่างต่อเนื่องซึ่งส่งผลให้บริษัทประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี

บริ ษั ท มี ก ารเพิ่ ม กำลั ง การผลิ ต ในส่ ว นของกระดาษเช็ ด หน้ า

และมี ก ารติ ด ตั้ ง เครื่ อ งจั ก รที่ ทั น สมั ย จากประเทศอิ ต าลี สำหรั บ การห่อผลิตภัณฑ์เพื่อรองรับการขยายตัวของตลาดและยังรวมถึง การพัฒนาทางด้านการอัดลายลงบนกระดาษป๊อปอัพเพื่อความ สวยงาม


รายงานประจำปี 2553

• บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) 47

บริษัท ดำเนินการพัฒนาปรับปรุงคุณภาพของกระบวนการผลิต ผลิตภัณฑ์ และองค์กร ด้วยระบบบริหาร คุณภาพ ISO 9001:2008 อย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังนำปรัชญาการบริหารแบบควบคุมคุณภาพทั่วทั้งองค์กร (TQM : Total Quality Management) และการบำรุงรักษาทวีผลแบบทุกคนมีส่วนร่วม (TPM : Total Productive Maintenance) รวมทั้งยังเป็นหนึ่งในโรงงานที่ได้รับการคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการ Lean Manufacturing Best Practise 2553 ของกระทรวงอุตสาหกรรม ทำให้พนักงานทุกคนเห็นความสำคัญในหน้าที่ความรับผิดชอบ และมี ส่วนร่วมในการพัฒนาองค์กรอย่างต่อเนื่อง พิจารณาได้จากกำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้น ความสูญเปล่าในกระบวนการ ผลิตน้อยลง ส่งผลให้กระบวนการทำงานทั่วทั้งองค์กรมีประสิทธิภาพสูงขึ้น และบริษัท กำลังดำเนินการขอการ รับรองห้องปฏิบัติการตามมาตรฐาน สมก. 17025 (ISO/IEC 17025) ทั้งนี้ บริษัท คาดว่าจะได้รับรอง (be accreditated) ภายในต้นปี 2554 นอกจากมาตรฐานทางด้านการจัดการคุณภาพแล้ว บริษัท ยังตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและ สิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นหนึ่งในค่านิยมของ บีเจซี จึงพัฒนาระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมของบริษัท ตามมาตรฐาน ISO 14001:2004, ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยตามมาตรฐาน OHSAS 18001:2007 โดยมี เป้าหมายจะได้รับการรับรองภายในปี 2554 เช่นเดียวกัน ในปี 2553 ราคาวัตถุดิบหลักคือ เยื่อและเศษกระดาษ ได้ปรับราคาขึ้นโดยตลอดจากเยื่อราคาประมาณ 720 เหรียญสหรัฐอเมริกาในเดือนมกราคม มาอยู่ที่ประมาณ 980 ในเดือนกรกฎาคม และอ่อนตัวลงประมาณ 800 เหรียญสหรัฐอเมริกาในไตรมาสที่ 4 และค่อยๆ ปรับตัวขึ้นประมาณ 820 เหรียญสหรัฐอเมริกา ในเดือนมกราคม 2554 คาดการณ์ว่าราคาเยื่อจะปรับราคาขึ้นลงอย่างช้าๆ ในระยะเวลาอีกประมาณ 6 เดือน และจะค่อยๆ ปรับตัว ขึ้นตามสภาวะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวของอเมริกาและยุโรป เช่นเดียวกับราคาน้ำมัน, ก๊าซธรรมชาติ และ LPG ประกอบ กับรัฐบาลได้ปรับค่าแรงขั้นต่ำ, เงินเดือนราชการ ฯลฯ ต้นปี 2554 ทำให้อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น ทำให้วัตถุดิบอื่นๆ ที่ใช้ในการผลิตปรับสูงขึ้น โดยภาพรวมแล้วต้นทุนการผลิตจะสูงขึ้นมาก เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2553 บริษัท มี โครงการลดต้นทุน และปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตอย่างต่อเนือ่ ง และเพิม่ ปริมาณยอดขาย เพือ่ คงความแข็งแรง ทางธุรกิจ


48

บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ ฟู้ดส์ จำกัด จากสถานการณ์การแข่งขันอย่างรุนแรงในตลาดขนมขบเคีย้ ว ภาวะความไม่มนั่ คงทางการเมือง สภาวะถดถอย ทางเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีแรก ภาวะอุทกภัยภายในประเทศ และราคาวัตถุดิบทางการผลิตมีการปรับตัวสูงขึ้น

เป็นอย่างมาก ตลอดรวมไปถึงการออกผลิตภัณฑ์สินค้ากลุ่มใหม่เครื่องดื่มแคมปัสช็อคโกแลต ส่งผลให้ในปี 2553 บริษัท มียอดขายโดยรวมเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาประมาณร้อยละ 6 และมีกำไรหลังหักภาษีโดยรวมลดลงประมาณ ร้อยละ 20 ตลอดปี 2553 บริษัท ได้พัฒนาและแนะนำผลิตภัณฑ์ใหม่ออกสู่ตลาดอย่างสม่ำเสมอ เช่น ขนมอบกรอบ สำหรับเด็กเล็กโดโซะเบบี้ไบต์ ข้าวอบกรอบโดโซะฮอตโตะยากิ ข้าวเกรียบทอดกรอบรสหมึกแซบเพลิน มันฝรั่ง

เทสโตรสชาติปูอลาสก้า รสชาติสาหร่ายกุ้งเทมปุระ รสชาติซีฟู้ดยำแซ่บ ขนมทอดกรอบไบตี้นาโนรสสาหร่ายทะเล รสซุปเปอร์โทเมโทซอส และปาร์ตี้รสสตรอเบอรี่บีดส์ เป็นต้น บริษัท ยังได้ว่าจ้างบริษัท ทีดีไอ แมนูแฟคเชอริ่ง จำกัด ผลิตสินค้า เครื่องดื่มแคมปัสช็อคโกดริ้งค์ยูเอชที เพื่อจำหน่ายในประเทศอีกด้วย บริษัท ได้ดำเนินกิจกรรมต่างๆ เพื่อลดต้นทุนการดำเนินงาน โดยมุ่งมั่นรักษาและเสริมสร้างประสิทธิภาพ การผลิต ตลอดรวมถึงการดูแลระบบคุณภาพความปลอดภัยและมาตรฐานอื่นๆ อย่างต่อเนื่อง และได้ดำเนินการ ผลักดันและส่งเสริมกิจกรรมการบำรุงรักษาทวีผลที่ทุกคนมีส่วนร่วม (TPM) ให้แผ่ขยายไปทั่วทั้งองค์กร บริษัทได้ รับทุนสนับสนุนการให้คำปรึกษาจาก Japan Center of Excellence (JCOE) และหน่วยงานภายนอกในโครงการ ลดผลิตภัณฑ์ของเสียในโรงงานและศึกษาการแปรรูปขยะของเสียเป็นสินค้ามูลค่าเพิ่มโดยมุ่งลดผลกระทบต่อ สิ่งแวดล้อมและชุมชนเป็นสำคัญ ทัง้ นี้ บริษทั ได้ใบรับรองระบบมาตรฐานการบริหารจัดการความปลอดภัย ISO 18001 ใบรับรองธรรมาภิบาล สิ่งแวดล้อม (Good Governance Award) ใบรับรอง SR Mark (Social Responsibility Mark) นอกเหนือไปจาก ระบบสุขอนามัยในการผลิต GMP, HACCP ระบบบริหารคุณภาพ ISO 9001:2008 ระบบมาตรฐานด้านความ ปลอดภัยของผลิตภัณฑ์อาหาร ISO 22000 ที่มีอยู่เดิม โดยมุ่งเน้นการตอบสนองความต้องการ และการสร้างความ พึงพอใจสูงสุดให้แก่ลูกค้าและผู้บริโภคตามระบบมาตรฐานสากลระดับโลก


รายงานประจำปี 2553

• บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) 49

สำหรับทิศทางในปี 2554 นั้น บริษัท ยังคงมุ่งเน้นการนำเสนอนวัตกรรมใหม่ที่สามารถ ตอบสนองความต้องการของลูกค้า และสามารถเพิ่มขยายฐานธุรกิจและโอกาสทางการตลาด โดยมุ่งวางตลาดสินค้าอาหารกลุ่มใหม่ๆ นอกเหนือไปจากสินค้าขนมขบเคี้ยวที่มีอยู่เดิมทั้งใน ประเทศและต่างประเทศ ทั้งนี้ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันเชิงธุรกิจ อันจะนำไปสู่การเจริญ เติบโตอย่างยั่งยืนในกลุ่มธุรกิจอาหาร สื บ เนื่ อ งจากราคาวั ต ถุ ดิ บ และราคาเชื้ อ เพลิ ง ยั ง คงมี แ นวโน้ ม สู ง ขึ้ น เป็ น ลำดั บ บริ ษั ท จำเป็นที่จะต้องบริหารต้นทุนการผลิตและการจัดจำหน่ายสินค้าให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งนี้ เพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขันและเพิ่มการสร้างกำไรให้กับกิจการมากยิ่งขึ้น บริษัท มีแผนดำเนินการนำระบบงานด้านคุณภาพ ซิกซ์ซิกม่า (Six Sigma) ระบบการจัดการด้าน สิ่งแวดล้อม ISO 14001 ระบบการจัดการด้านพลังงาน ISO 50001 และระบบการจัดการที่ดี ด้านการเกษตรกรรม (GAP : Good Agricultural Practices) มาประยุกต์ใช้ในกิจการของ บริษัท รวมถึงมีแผนการลงทุนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และแผนการขยายอาคาร โรงงานบางพลีเพื่อรองรับการขยายตัวของธุรกิจในประเทศอีกด้วย ในด้านการส่งเสริมพัฒนาเพิ่มพูนศักยภาพ ทักษะ และความสามารถของบุคลากรใน องค์กร บริษัท ยังคงมุ่งเน้นการจัดทำแผนพัฒนารายบุคคล ให้สอดคล้องกับวัฒนธรรม และค่า นิยมขององค์กร โดยจะดำเนินการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ด้านการผลิต (TPM Competence Center) นำระบบองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Knowledge Management) และระบบการบริหาร ทักษะแบบผสมผสาน (Multi skilled Management) เข้ามาประยุกต์ใช้เพื่อเสริมสร้างความ แข็งแกร่งขององค์กรและพร้อมรองรับการขยายตัวของธุรกิจในภูมิภาคและการขยายฐานสินค้า ของบริษัท ในอนาคตต่อไป


50

บริษัท รูเบียอุตสาหกรรม จำกัด ในปี 2553 ยอดขาย และกำไร โดยรวมของบริษทั เพิม่ ขึน้ ร้อยละ 4 และร้อยละ 2.8 ตามลำดับ จากปีทผี่ า่ นมา ซึ่งยอดขายที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่มาจากสบู่ก้อนนกแก้วพฤกษา จากผลการวิจัยส่วนแบ่งการตลาดพบว่า สบู่นกแก้ว สามารถครองส่วนแบ่งการตลาดสูงเป็นอันดับสองในตลาดสินค้ากลุ่มสบู่ก้อน และสูงเป็นอันดับสามในตลาด สินค้ากลุ่มสบู่ทั้งหมด และสบู่ก้อนนกแก้วยังสามารถบรรลุยอดขายได้สูงกว่าเป้าหมาย สำหรับธุรกิจรับจ้างผลิตในปี 2553 มียอดขายลดลงเทียบกับปีที่ผ่านมา เป็นผลมาจากยอดขายที่ลดลงจาก สินค้าประเภทของใช้ส่วนบุคคล และลูกอม จากตลาดในประเทศที่ลดลง เนื่องจากอัตราการขยายตัวของความ ต้องการต่ำกว่าปีที่ผ่านมา แต่บริษัทมียอดขายเพิ่มขึ้นในลูกอมที่ส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศ นอกจากนี้ ในปี 2553 บริษัทได้รับความไว้วางใจจากบริษัท เร็คคิตเบ็นคีเซอร์ ว่าจ้างให้ผลิตสบู่ภายใต้ตราสินค้า “เคลียร์ราซิล” เพื่อจำหน่ายในประเทศเม็กซิโกอีกด้วย ตลอดปี 2553 บริษัทฯ มุ่งมั่นรักษาและเสริมสร้างระบบคุณภาพและมาตรฐานต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ทั้งระบบ GMP, ISO 9001, HACCP, กิจกรรม TQM และ TPM โดยได้ปรับปรุงพัฒนาโรงงานผลิตสบู่และโรงงานผลิต อาหาร ซึ่งได้เพิ่มกำลังการผลิตอาหารจาก 8,050 ตัน เป็น 8,800 ตัน เพื่อสนองความต้องการของลูกค้ารวมทั้งได้ ดำเนินการพัฒนาในด้านการเพิ่มผลผลิต และคุณภาพ (Productivity and Quality Improvement) อย่างต่อเนื่อง มีการลดค่าใช้จ่ายการดำเนินงานในโครงการต่างๆ เช่น การประหยัดพลังงาน การหาวัสดุภัณฑ์ทดแทนภายใต้ โครงการ TQM และยังดำเนินการโครงการ TPM ที่มุ่งกำจัดความสูญเสียที่มีอยู่ทั้งหมดของระบบการผลิตอย่าง จริงจัง โดยพนักงานทุกคนมีส่วนร่วมในการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนการปรับปรุงระบบโครงสร้างค่านิยม และวัฒนธรรมองค์กร มีการสร้างจิตสำนึกและกระตุ้นเตือนพนักงานในการทำงานด้านพฤติกรรมที่ปลอดภัย (Behavior Base Safety) สำหรับทิศทางในปี 2553 นัน้ บริษทั ฯ ได้จดั ตัง้ ศูนย์วจิ ยั และพัฒนา (R&D Center) ขึน้ มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ใหม่ๆ ที่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าเดิมและลูกค้าใหม่ เพื่อเพิ่มโอกาสทางการตลาด นอกจากนี้ ยังได้เพิ่มคุณภาพการบริการเพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าด้วยระบบการจัดการลูกค้าสัมพันธ์ (Customer Relation Management หรือ CRM) และเพื่อรองรับการขยายธุรกิจอย่างต่อเนื่อง บริษัทฯ ได้จัดทำโครงการระบบ คุณภาพ ISO/IEC 17025 เพื่อยกระดับคุณภาพห้อง Lab ของบริษัทฯ ให้อยู่ในมาตรฐานสากล ซึ่งห้อง Lab ของ ทางบริษัทได้ผ่านการทดสอบโปรแกรมทดสอบความชำนาญด้านจุลินทรีย์จากสถาบันอาหาร และผ่านการทดสอบ ความชำนาญทางด้านเคมีจากทางกรมวิทยาศาสตร์บริการ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์และสถาบันอาหาร


รายงานประจำปี 2553

• บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) 51

บริษัท ได้ดำเนินการเสริมสร้างศักยภาพของบุคลากรหลักให้มีความรู้ความสามารถและมีทัศนคติที่ดี เพื่อ

เพิ่มความแข็งแกร่งของบุคลากรในอันที่จะผลักดันเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ให้สำเร็จลุล่วงได้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้จัดเตรียมแผนการกำหนดคุณสมบัติการเพิ่มความสามารถของบุคลากรด้วยการฝึกอบรม และพัฒนาบุคคล มีการปรับเปลี่ยนหน้าที่ความรับผิดชอบตลอดจนการพัฒนาทีมงานอย่างมีประสิทธิภาพและอย่างต่อเนื่อง บริษัท ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการเติบโตทางธุรกิจของบริษัทอย่างมีประสิทธิภาพ และการพัฒนาได้ อย่างยั่งยืนควบคู่กันไป จึงได้ดำเนินนโยบายความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) โดยในรอบปี 2553 ที่ผ่านมา บริษัท ได้ดำเนินโครงการ / กิจกรรมต่างๆ ดังนี้

1. โครงการการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

2. โครงการประหยัดการใช้พลังงานและทรัพยากรการผลิต

3. โครงการชุมชนสัมพันธ์

4. โครงการสาธารณกุศล

สำหรับทิศทางในปี 2554 นั้น บริษัท​ จะมุ่งเน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่สามารถตอบสนองความต้องการ ของลูกค้าเดิม และลูกค้าใหม่ อีกทั้งเพิ่มจำนวนลูกค้าใหม่ เพื่อเพิ่มโอกาสทางการตลาดให้ดีขึ้น เพื่อรองรับการ ขยายธุรกิจอย่างต่อเนื่อง และเพื่อเป็นการเสริมสร้างศักยภาพของบุคลากรหลักให้มีความสามารถ และความ แข็งแกร่งที่จะผลักดันเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ให้สำเร็จลุล่วงได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น บริษัท ได้จัดเตรียมแผนการ กำหนดคุณสมบัติการเพิ่มความสามารถของบุคลากรด้วยการฝึกอบรม และพัฒนาบุคคลตลอดจนการปรับเปลี่ยน หน้าที่ความรับผิดชอบเพื่อเตรียมรับสภาพการแข่งขันที่รุนแรงในปี 2554 โดยที่บริษัท ได้เล็งเห็นสภาวะที่ท้าทายของราคาต้นทุนวัตถุดิบที่ทะยานสูงขึ้นเรื่อยๆ นับตั้งแต่กันยายน ปี 2553 ฉะนั้น ในปี 2554 บริษัท จะได้พัฒนาวัตถุดิบทางเลือกอื่น หาแหล่งและผู้จัดจำหน่ายวัตถุดิบรายใหม่ๆ เพื่อลดต้นทุนของสินค้า โดยการนี้บริษัท​ ยังสามารถเพิ่มกำไรจากการขยายและพัฒนาการผลิตอย่างต่อเนื่องและ มีประสิทธิภาพ โดยมุ่งเน้นการส่งเสริมงานด้านคุณภาพ ลดการสูญเสียของกระบวนการผลิต ตลอดจนปรับปรุง ผลิตภัณฑ์ให้ดีขึ้น บริษัท มีความเชื่อว่าความมุ่งมั่นในการบริการลูกค้าด้วยความซื่อสัตย์ ยุติธรรม และยึดมั่นในพันธสัญญา ข้อตกลง ตลอดจนการรักษาผลประโยชน์ของลูกค้า จะส่งผลให้เกิดความเจริญเติบโตทางธุรกิจร่วมกันอย่างต่อเนื่อง และยั่งยืนตลอดไป


52

บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ โลจิสติกส์ จำกัด การฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ส่งผลให้ยอดขายทั้งในส่วนของลูกค้าภายในและลูกค้าภายนอกเพิ่มขึ้น ทำให้มี ความต้องการใช้บริการโลจิสติกส์ที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้รายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 13 จากปีที่ผ่านมาจากการเติบโตอย่าง แข็งแกร่งในการบริหารจัดการคลังสินค้าและการขนส่ง ในขณะเดียวกัน การให้บริการด้านตัวแทนออกของรับ อนุญาตจากกรมศุลกากรได้มีส่วนสนับสนุนรายได้ที่เพิ่มขึ้นจากการให้บริการพิธีการด้านศุลกากร และการให้ บริการรถหัวลาก ในขณะที่รายได้จากค่าระวางลดลง อันเนื่องมาจากปริมาณการส่งออกที่ลดลงของลูกค้า ในปีนี้ ส่วนงานการให้บริการตัวแทนออกของรับอนุญาตจากกรมศุลกากรได้มีลูกค้ารายใหม่ๆ เพิ่มขึ้น อาทิ อาหารสยาม, ไทย มาลายา กลาส, คอนวูด, เอส อาร์ เอฟ เทคนิคอล เท็กซ์ไทล์ และยังมีลูกค้าที่อยู่ระหว่างการ เจรจาอีกหลายราย ความต้องการในส่วนการให้บริการด้านพิธีการศุลกากรนั้นจะเติบโตควบคู่ไปตามปริมาณ การนำเข้าและการส่งออกของประเทศไทย ซึ่งจะส่งผลให้หน่วยงานนี้มีโอกาสทางธุรกิจที่หลากหลายและสามารถ เติบโตไปพร้อมๆ กันกับการเติบโตของลูกค้าภายในและลูกค้าภายนอกได้ สำหรับงานด้านคลังสินค้าและการขนส่งนั้น ปริมาณงานได้เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 15 จากปีที่ผ่านมา ปริมาณ การขายของลูกค้าที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ความต้องการใช้พื้นที่จัดเก็บสินค้าเพิ่มมากขึ้นด้วย ดังนั้น บริษัท จึงได้เพิ่ม

คลังสินค้าภายนอกขนาดพื้นที่ 5,000 ตารางเมตร ซึ่งทำให้บริษัทสามารถให้บริการที่มีต้นทุนด้านการดำเนินการ ต่ำให้กับลูกค้าอีกด้วย ยิ่งไปกว่านั้น เพื่อเป็นการตอบสนองกับความต้องการของลูกค้าในการกระจายสินค้าให้ ครอบคลุมพื้นที่อย่างกว้างขวางสำหรับกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค บริษัท ได้จัดตั้ง ศูนย์กระจายสินค้าภูมิภาค (Regional Distribution Center) ขึ้นที่จังหวัดนครราชสีมา เป็นโครงการต้นแบบในการเพิ่มความรวดเร็วในการ ส่งสินค้า และมีสต็อกสินค้าอย่างพอเพียง ซึ่งบริษัทมีแผนระยะยาว ในการเพิ่มศูนย์กระจายสินค้าภูมิภาคขึ้นอีก เพื่อตอบสนองต่อการเติบโตของลูกค้าอีกด้วย


รายงานประจำปี 2553

• บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) 53

ด้วยยุทธศาสตร์การขยายฐานลูกค้าผ่านการเพิ่มลูกค้าภายนอก หน่วยพัฒนาธุรกิจได้ประสบความสำเร็จได้ โดยการเพิ่มลูกค้าใหม่ๆ อาทิ เบเกิลส์ (ไทยแลนด์) รอซโซ่ เมก้า ไดเร็ค ท็อปปิคเจม (ไทย) ซึ่งนำไปสู่การเติบโตของ รายได้จากลูกค้าภายนอก ในขณะเดียวกัน บริษัทยังสามารถที่จะต่อสัญญากับลูกค้าปัจจุบันได้จากการให้บริการ ที่ดีเยี่ยมและใช้ระบบการบริหารงานลูกค้าสัมพันธ์ที่ดี สำหรับยุทธศาสตร์ในปี 2553 นั้น บริษัทมุ่งเน้นการเติบโตของลูกค้าใหม่จากอุตสาหกรรมที่มีการเติบโตสูง และการให้บริการใหม่ๆ ทั้งนี้ บริษัทยังลงทุนอย่างต่อเนื่องในการพัฒนาความสามารถด้านไอที การพัฒนา บุคลากรและการปรับปรุงกระบวนการทำงาน เพื่อให้บริการที่มีประสิทธิผล ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญในการเพิ่มลูกค้า ใหม่และเพิ่มความพึงพอใจแก่ลูกค้า โอกาสทางธุรกิจยังขยายได้ดีจากการเติบโตของเศรษฐกิจในประเทศไทยและ ประเทศในทวีปเอเชีย


54

เจซี ฟู้ดส์ เอสดีเอ็น บีเอชดี เจซี ฟู้ดส์ เอสดีเอ็น บีเอชดี เป็นบริษัทผู้ผลิตและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยวโดยมีผลิตภัณฑ์หลัก คือ มันฝรั่งทอดกรอบรสต่างๆ ที่ผลิตและจำหน่ายภายใต้ตราสินค้า “ไวส์” โดยร้อยละ 70 ของยอดขายรวมของบริษัท มาจากการขายภายในประเทศรวมถึงมาเลเซียตะวันออก ส่วนที่ เหลืออีกร้อยละ 30 มาจากการส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ เช่น ฮ่องกง และบรูไน บริษัท ยังดำเนินธุรกิจรับจ้างผลิตมันฝรั่งทอดกรอบให้กับ บริษัท คาลบี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ลิมิเต็ด ซึ่งเป็น หนึ่งในผู้ผลิตขนมขบเคี้ยวรายใหญ่ที่สุดในประเทศญี่ปุ่น เพื่อส่งออกไปประเทศสิงคโปร์และประเทศไทย ในปี 2010 ยอดขายของบริษัทเติบโตขึ้นร้อยละ 17 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตลาดแถบแหลมมลายู ทั้งนี้ มาจาก ความพยายามอย่างตั้งใจและทุ่มเทในการเพิ่มยอดขายและกำไรของบริษัท ตลาดภายในประเทศยังคงมีการแข่งขันที่รุนแรง แต่ผลิตภัณฑ์มันฝรั่งแผ่นหยักของเราก็สามารถช่วยสร้าง ความแตกต่างและขายความเป็นเอกลักษณ์/โดดเด่น (uniqueness) ท่ามกลางคู่แข่งในตลาด และด้วยความ พยายามอย่างต่อเนื่องในการจัดการดูแลและพัฒนาทั้งผู้บริโภค ผู้จัดจำหน่ายสินค้ารายใหญ่ ผู้ค้าส่ง รวมทั้งร้านโมเดิร์นเทรด (Modern Trade) ทำให้บริษัท สามารถเสริมสร้างความ สัมพันธ์ที่ดีในการเป็นคู่ค้าที่แข็งแกร่งแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น แม้ว่าจะต้องแข่งขันกับคู่แข่งรายใหญ่ และแข็งแกร่งกว่าก็ตาม

คาดว่าปี 2554 จะเป็นปีทที่ า้ ท้ายมากขึน้ สำหรับบริษทั เนือ่ งจากมีคแู่ ข่งในตลาดเพิม่ ขึน้ ประกอบกับต้นทุนของวัตถุดิบหลัก อาทิ มันฝรั่งดิบ น้ำมันปาล์มโอลีน และบรรจุภัณฑ์

ที่เพิ่มสูงขึ้น บริษัท จำเป็นต้องหาแหล่งวัตถุดิบอืน่ เพือ่ เป็นทางเลือก รวมถึงจัดหาวัตถุดบิ

ทีร่ าคาย่อมเยา พร้อมทัง้ ปรับปรุงประสิทธิภาพในการผลิต เพือ่ ลดผลกระทบจากต้นทุน ของวัตถุดิบที่สูงขึ้น


รายงานประจำปี 2553

• บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) 55

ไทยคอร์ป อินเตอร์เนชั่นแนล (เวียดนาม) ลิมิเต็ด ไทยคอร์ป อินเตอร์เนชั่นแนล (เวียดนาม) ลิมิเต็ด (ไทยคอร์ป) เป็นผู้จัดจำหน่ายสินค้าประเภทอุปโภค บริโภค ผ่านช่องทางกระจายสินค้าทั้งแบบการตลาดสมัยใหม่ (Modern Trade) และแบบดั้งเดิม (Traditional Trade) เพื่อ ครอบคลุมตลาดสินค้าผู้บริโภคทั่วประเทศเวียดนาม ปัจจุบันไทยคอร์ปมีพนักงานขายประจำประมาณ 300 คน ดูแลพื้นที่การจัดจำหน่ายสินค้าของไทยคอร์ป ทั่วทุกภาค ทุกจังหวัดของประเทศเวียดนาม อีกทั้งยังมีรถขายสินค้า เพื่อให้บริการส่งสินค้าโดยตรงถึงร้านค้าของ ตัวแทนจัดจำหน่าย ร้านค้าส่ง รวมถึงร้านค้าขายปลีกอีกด้วย ไทยคอร์ป นับเป็นผู้ลงทุนต่างชาติรายแรกๆ ที่ได้รับใบอนุญาตจากรัฐบาลเวียดนาม ให้เป็นผู้ประกอบการ ด้านการค้าทัง้ เป็นผูน้ ำเข้า และส่งออก การจัดจำหน่าย และการกระจายสินค้าประเภทอุปโภค บริโภค โดยมีเครือข่าย ในการกระจายสินค้าทั่วทั้ง 64 จังหวัดของประเทศเวียดนาม มีตัวแทนจัดจำหน่ายในแต่ละจังหวัด รวมกัน ประมาณ 1,000 ราย และมีร้านค้าขายปลีกที่เป็นลูกค้าของไทยคอร์ปอยู่ประมาณ 50,000 ร้านค้า ไทยคอร์ปเป็นตัวแทนจำหน่ายแต่เพียงผู้เดียวของสินค้าชั้นนำจากประเทศไทย อาทิ ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม ตรากระทิงแดง (Red Bull) ผลิตภัณฑ์ปลากระป๋องตราสามแม่ครัว ผลิตภัณฑ์กระดาษชำระตราเซลล็อกซ์ ซิลค์ และผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มนมตราดัชมิลล์ (Dutch Mill) โดยสินค้าดังกล่าวเป็นที่รู้จัก และยอมรับอย่างแพร่หลายใน ประเทศเวียดนาม ทั้งนี้ ในปี 2553 ไทยคอร์ปมียอดขายเติบโตกว่าร้อยละ 15 ความสำเร็จนี้มาจากกลุ่มสินค้าปลากระป๋องตรา สามแม่ครัว และเครื่องดื่มตรากระทิงแดง ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนการขายมากกว่าร้อยละ 90 ของรายได้ทั้งหมด ปี 2554 บริษัทได้ตั้งเป้าหมายที่จะเข้าถึงผู้บริโภคให้มากขึ้นโดยวางแผนขยายธุรกิจตัวแทนจำหน่าย โดยมี สินค้าใหม่ ทั้งนมถั่วเหลือง นมข้นหวาน และอาหารสำเร็จรูป ที่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้า รวมถึง ให้ความสำคัญกับการสร้างตราสินค้าขึ้นในใจผู้บริโภค เป็นการช่วยเสริมภาพลักษณ์ของสินค้าให้แข็งแกร่ง และ เป็นที่ยอมรับทั่วไปของผู้บริโภคทั่วประเทศเวียดนาม


56

...ปี 2554 จะเป็นปีที่ท้าทาย ฝ่ายเวชภัณฑ์มีแผนที่จะพัฒนา ขยายธุรกิจ และมุ่งมั่นที่จะสรรหาผลิตภัณฑ์ที่มีนวัตกรรม ใหม่ๆ จากแหล่งผลิตที่มีคุณภาพ ส่งเสริมพัฒนาศักยภาพ ของบุคลากรทางด้านการขาย เสริมสร้างความสัมพันธ์กับ ลูกค้า เพิ่มฐานลูกค้ามากขึ้น รวมไปถึงสร้างความพึงพอใจ แก่ผู้ถือหุ้น...


รายงานประจำปี 2553

• บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) 57

กลุ่มสินค้าและบริการทางเวชภัณฑ์และทางเทคนิค ฝ่ายเวชภัณฑ์ บีเจซี ฝ่ายเวชภัณฑ์ เน้นธุรกิจการเป็นตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์วิจัยใหม่ที่มีการพัฒนาและ ค้ น คว้ า วิ จั ย เพื่ อ ให้ เ กิ ด นวั ต กรรมที่ จ ะช่ ว ยรั ก ษาโรค, ป้ อ งกั น โรค และยกระดั บ สุ ข ภาพของ ประชาชนคนไทย ฝ่ า ยเวชภั ณ ฑ์ มี ค วามมุ่ ง มั่ น ที่ จ ะสรรหาเภสั ช ภั ณ ฑ์ ที่ มี น วั ต กรรมใหม่ จ าก หลากหลายผู้ผลิตที่มีชื่อเสียงทั้งใน และต่างประเทศ ผลิตภัณฑ์ที่จัดจำหน่ายครอบคลุมแผนก กระดูก โรคข้อ และรูมาติซมั่ อายุรกรรมโรคไต อายุรกรรมโรคเลือด อายุรกรรมโรคหัวใจ ทางเดิน ปัสสาวะ โรคเด็ก โรคติดเชื้อ และผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพอื่นๆ ในปี 2553 นี้ ฝ่ายเวชภัณฑ์มีอัตราการเติบโตของธุรกิจเทียบเท่ากับอัตราการขยายตัวของ ภาคอุ ต สาหกรรมยาซึ่ ง น้ อ ยกว่ า ร้ อ ยละ 10 เมื่ อ เที ย บกั บ ปี ที่ ผ่ า นมา สิ น ค้ า ผลิ ต ภั ณ ฑ์ ผ้ า ยื ด คุณภาพซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีการเปิดตัวสินค้าใหม่อีกครั้งเมื่อปี 2552 สามารถทำยอดขาย เพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว เช่นเดียวกันกับผลิตภัณฑ์เพื่อการดูแลสุขภาพและการปฐมพยาบาลเบื้องต้น 3M ที่มีการเจริญเติบโตมากกว่าร้อยละ 10 อย่างต่อเนื่อง สำหรับผลิตภัณฑ์วิจัยยาปฏิชีวนะ จากประเทศญี่ปุ่น ยังคงมียอดขายเติบโตอย่างน่าพอใจในปีนี้ นอกจากนี้ ฝ่ายเวชภัณฑ์ได้เริ่ม จำหน่ายผลิตภัณฑ์คุณภาพอีกสองผลิตภัณฑ์ คือ ตัวกรองเลือดสำหรับเครื่องฟอกไตเทียมจาก ประเทศอียิปต์ ที่จะช่วยทำให้ผู้ป่วยโรคไตมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และผลิตภัณฑ์ยาวิจัยรักษาโรค ซึมเศร้าจากประเทศฝรั่งเศส อนึ่ง ฝ่ายเวชภัณฑ์กลับเผชิญปัญหาเกี่ยวกับระเบียบการจัดซื้อและนโยบายการเบิกจ่าย ทำให้ ส่ ง ผลกระทบต่ อ ยอดขายของผลิ ต ภั ณ ฑ์ ที่ ไ ม่ ไ ด้ อ ยู่ ใ นบั ญ ชี ย าหลั ก แห่ ง ชาติ อั น ได้ แ ก่ ผลิตภัณฑ์ยาฉีดเข้าข้อ ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มวิตามินและแร่ธาตุสำหรับผู้ป่วยกระดูกพรุนหรือกระดูก เสื่อม อีกทั้งปัญหาในเรื่องของราคายาในตลาดที่ลดลงอย่างมากเนื่องจากคู่แข่งในตลาดที่มี จำนวนเพิ่มขึ้นทั้งจาก อินเดีย จีน และเกาหลี ส่งผลกระทบต่อยอดขายของผลิตภัณฑ์ในกลุ่มของ อายุรกรรมโรคเลือด อายุรกรรมโรคไต และผลิตภัณฑ์รักษาภาวะโปรตีนอัลบูมินในเลือดต่ำ ซึ่ง นำเข้าจากประเทศอาร์เจนตินาและอังกฤษ ตลอดจนภาวะความไม่มีเสถียรภาพทางการเมือง ภายในประเทศในช่วงเดือนพฤษภาคม แต่อย่างไรก็ตาม ฝ่ายเวชภัณฑ์ยังคงสามารถรักษาอัตรา การเติบโตอย่างต่อเนื่องเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา การบังคับใช้ขอ้ ตกลงว่าด้วยแผนการปรับกฎระเบียบการขึน้ ทะเบียนเภสัชภัณฑ์ให้สอดคล้อง กันแห่งอาเซียนในประเทศไทย ส่งผลกระทบต่อการขึน้ ทะเบียนผลิตภัณฑ์ยาในตลาดอย่างชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปริมาณเอกสารที่ใช้ในการขึ้นทะเบียนและระยะเวลาในการพิจารณาอนุมัต ิ

ที่เพิ่มมากขึ้นตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ปัจจัยเหล่านี้ล้วนส่งผลกระทบต่อแผนการดำเนินการ พัฒนาผลิตภัณฑ์และการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ใหม่ในตลาดทั้งสิ้น ปี 2554 จะเป็นปีที่ท้าทาย ฝ่ายเวชภัณฑ์มีแผนที่จะพัฒนาขยายธุรกิจ และมุ่งมั่นที่จะสรรหา ผลิตภัณฑ์ที่มีนวัตกรรมใหม่ๆ จากแหล่งผลิตที่มีคุณภาพ ส่งเสริมพัฒนาศักยภาพของบุคลากร ทางด้านการขาย เสริมสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า เพิ่มฐานลูกค้ามากขึ้น รวมไปถึงสร้างความ พึงพอใจแก่ผู้ถือหุ้น


58

บริษัท คอสม่า เมดิคอล จำกัด บริษัทเน้นธุรกิจการเป็นตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์ยาสามัญที่มีคุณภาพ เพื่อช่วยยกระดับ คุ ณ ภาพชี วิ ต ของประชาชนคนไทย บริ ษั ท มุ่ ง มั่ น ที่ จ ะสรรหาผลิ ต ภั ณ ฑ์ ย าสามั ญ ที่ มี คุ ณ ภาพ ในราคาที่เหมาะสมจากแหล่งผลิตที่หลากหลาย เช่น อินเดีย เกาหลี มาเลเซีย และโปแลนด์ เป็ น ตั ว แทนจำหน่ า ยผลิ ต ภั ณ ฑ์ ย าสามั ญ จากผู้ ผ ลิ ต ที่ มี ชื่ อ เสี ย งทั้ ง ในและต่ า งประเทศ โดย ผลิตภัณฑ์ที่จัดจำหน่ายนั้นครอบคลุมแผนกต่างๆ ดังนี้ อายุรกรรมต่อมไร้ท่อ อายุรกรรมโรคหัวใจ กลุ่มผลิตภัณฑ์ยารักษามะเร็ง อายุรกรรมโรคเลือด ระบบภูมิคุ้มกัน วัคซีน ยาต้านเชื้อแบคทีเรีย ยาต้านเชื้อราและผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพอื่นๆ ในปี 2553 ด้วยกลยุทธ์ทางการตลาดของเราที่มีประสิทธิภาพทำให้ยาอินซูลินประสบความ สำเร็จ โดยมียอดขายที่เติบโตอย่างเห็นได้ชัด สามารถเพิ่มส่วนแบ่งในตลาดได้เป็นร้อยละ 30 ตลาดยาอินซูลินชนิดพกพามีการเจริญเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นอีก ในอนาคต การใช้ผลิตภัณฑ์ยาอินซูลินเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่เพียงช่วยในการรักษา ผู้ป่วยเบาหวานเท่านั้น แต่ยังช่วยลดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ที่อาจเกิดต่ออวัยวะต่างๆ ทั้งระบบไต ระบบประสาท จอประสาทตา เป็นต้น นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์ยากระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดง ยังสามารถทำยอดขายเพิ่มขึ้นถึง 3 เท่า และมีแนวโน้มที่จะเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำยอดขายให้กับ บริษัทได้ในปีต่อไป จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุข มะเร็งคือสาเหตุการตายอันดับต้นๆ ในประเทศไทย บริ ษั ท มี ค วามตระหนั ก ในความจำเป็ น ในการใช้ ย ารั ก ษามะเร็ ง จึ ง เริ่ ม ขยายธุ ร กิ จ ไปในกลุ่ ม ผลิตภัณฑ์ยารักษามะเร็ง และสามารถสร้างยอดขายได้ดี แม้จะเผชิญกับปัญหาการแข่งขันด้าน ราคาและจำนวนคู่แข่งที่เพิ่มขึ้น บริษัท ยังได้เริ่มจำหน่ายผลิตภัณฑ์ยาในกลุ่มต้านเชื้อรา และ อายุรกรรมโรคหัวใจ ซึ่งได้รับการตอบรับที่น่าพึงพอใจ ทั้งนี้ผลิตภัณฑ์ทั้งสองที่เพิ่มเข้ามา ล้วน เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีศักยภาพและสามารถที่จะสร้างยอดขายต่อไปในอนาคต การออกสู่ตลาดของผลิตภัณฑ์วิจัยใหม่ๆ เริ่มลดน้อยลง จากสาเหตุการขาดการป้องกัน

สิทธิบัตรทางปัญญาในหลายประเทศ ทำให้แนวโน้มการเข้าสู่ตลาดของยาสามัญเพิ่มมากขึ้น นโยบายการเบิกจ่ายยาตามบัญชียาหลักแห่งชาติ, นโยบายการจัดซื้อยาของโรงพยาบาลรัฐบาล ตลอดจนรูปแบบการประมูลยา ได้ส่งผลต่อการจ่ายยาของแพทย์ และนำไปสู่การแข่งขันทางด้าน ราคาของตลาดยาสามั ญ ที่ เ ข้ ม ข้ น และรุ น แรง มี ผ ลกระทบต่ อ การเจริ ญ เติ บ โตของตลาดยา การพั ฒ นายาใหม่ ๆ ลดน้ อ ยลงและการหมดอายุ สิ ท ธิ บั ต รของผลิ ต ภั ณ ฑ์ ย าวิ จั ย จะทำให้ ม ี

ยาสามั ญ ใหม่ เ พิ่ ม เข้ า สู่ ต ลาดมากขึ้ น ส่ ง ผลให้ มี ก ารใช้ ย าที่ มี ร าคาเหมาะสมเพิ่ ม มากขึ้ น การตระหนักในเรื่องการดูแลสุขภาพของประชาชนที่เพิ่มมากขึ้นและการเพิ่มจำนวนของประชากร สูงอายุ (มากกว่า 65 ปี) คาดว่าคิดเป็นร้อยละ 10.2 ของจำนวนประชากรทั้งหมดในปี 2558 ล้วนแต่เป็นปัจจัยที่ทำให้ตลาดยาสามัญมีแนวโน้มที่จะขยายตัวอย่างมากในอนาคต การสรรหาผู้ ผ ลิ ต ยาสามั ญ ที่ มี คุ ณ ภาพ เป็ น ภารกิ จ ที่ ท้ า ทายสำหรั บ บริ ษั ท นอกจากนี้ ความเข้มงวดของขั้นตอนและเอกสารต่างๆ ในการขึ้นทะเบียน ล้วนเป็นสิ่งที่บริษัทต้องเผชิญ อย่างไรก็ตาม ด้ ว ยกลยุ ท ธ์ ท างการตลาดที่ ส ร้ า งสรรค์ การพั ฒ นาเพิ่ ม ศั ก ยภาพของทีมขาย, การจัดส่งสินค้าและบริการตลอดจนการเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้า ทั้งหมดนี้จะนำพา ให้บริษัทก้าวไปในตลาดที่มีการแข่งขันทางด้านราคาอย่างรุนแรงในปี 2554 สำเร็จได้ดังที่ตั้งใจ


รายงานประจำปี 2553

• บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) 59

ฝ่ายเครื่องมือและนวัตกรรมทางการแพทย์ ฝ่ายนวัตกรรมทางการทางแพทย์ (MID) เป็นผู้ให้บริการชั้นนำของผลิตภัณฑ์ถ่ายภาพทางการแพทย์ และ การบริการกับอุตสาหกรรมการดูแลสุขภาพ การบริการดังกล่าวรวมถึงการจำหน่าย การฝึกอบรม การติดตั้ง และการสนับสนุนทางด้านเทคนิคของผู้ใช้ อย่ า งต่ อ เนื่ อ ง สำหรั บ ผลิ ต ภั ณ ฑ์ ถ่ า ยภาพด้ ว ยระบบดิ จิ ต อล เครื่ อ ง x-ray ทั่ ว ไป, เครื่ อ ง x-ray เคลื่ อ นที่ , เครื่อง Fluoroscopy, Ultrasound, Cathlab, CT scanner, PACS และ LIS ในปี 2553 ฝ่ายได้รับเป็นตัวแทนจำหน่ายให้กับสินค้านวัตกรรมทางการแพทย์มากมาย อาทิเช่น ระบบ สารสนเทศทางห้องปฏิบัติการ (LIS) ของบริษัท TechniDATA ผลิตภัณฑ์ VeinViewer ที่ช่วยให้แพทย์พยาบาล และผู้เชี่ยวชาญด้านทางดูแลสุขภาพอื่นๆ สามารถมองเส้นเลือดผ่านผิวหนังได้อย่างง่ายๆ ไม่ว่าผู้ป่วยจะมีอายุ เท่าใด ร่างกายแบบไหน หรือโทนสีผิวเป็นอย่างไร โดยอาศัยแสงใกล้ infrared ซึ่งเป็นเทคโนโลยีจับภาพโครงสร้าง ของเส้นเลือดที่ได้รับการจดสิทธิบัตรของบริษัท Christie Medical Holdings, Inc. InSpiraHD เครื่อง SPECT ชนิดเคลื่อนที่เครื่องแรกของโลก จาก Neurologica Breast-Specific Gamma Imaging System จาก Dilon Technologies LLC ซึ่งใช้วิธีการทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์ ในการถ่ายภาพเต้านมผ่าน การดูดซึมรังสี โดยใช้กล้องรังสีแกมมาที่มีความละเอียดสูงโดยเฉพาะ เทคนิคการถ่ายภาพดังกล่าว ได้รับการ พิสูจน์แล้วว่า มีประสิทธิภาพในการตรวจหาโรคมะเร็งเต้านมและช่วยในการแยกแยะความแตกต่างระหว่าง เนื้อเยื่อร้ายและดี การเพิ่มสินค้าใหม่เหล่านี้ เป็นตัวช่วยเติมเต็มช่องว่างในส่วนผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยงข้องกับห้องปฏิบัติ การ และในเวลาเดียวกัน เพื่อช่วยเสริมความแข็งแกร่งในส่วนผลิตภัณฑ์ถ่ายภาพและ นวัตกรรมทางการแพทย์ นอกจากนี้แล้ว ฝ่ายยังดำเนินการปรับปรุงประสิทธิภาพและ ประสิทธิผลขององค์กรอย่างต่อเนื่อง ไม่เพียงแต่ตอบสนองภาวะเศรษฐกิจใน ปัจจุบัน แต่ที่สำคัญกว่านั้น เพื่อรากฐานของฝ่ายที่มั่นคงในอนาคต เรามีการ จัดการบริหารค่าใช้จ่ายและการปรับโครงสร้างธุรกิจอย่างจริงจัง ทั้งเพื่อตอบ สนองความต้องการของสินค้าและตลาด รวมถึงเพิ่มการเติบโตของผลกำไร การจั ด จำหน่ายสิ นค้าและการบริการมีทั่วประเทศ อาทิ สถาบั น การ ศึ ก ษาทางการแพทย์ องค์กรต่างๆ คลินิกแพทย์และหน่ ว ยงานที่ เ กี่ ย วกั บ ผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพที่บ้าน การตลาด การขายและช่องทางการให้บริการ ส่วนใหญ่เป็นการติดต่อโดยตรง


60

ฝ่ายเครื่องมือแพทย์และวัสดุทางการแพทย์ ฝ่ายเครื่องมือแพทย์และวัสดุทางการแพทย์มุ่งเน้นการเป็นผู้นำในการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ ที่เป็นนวัตกรรมสมัยใหม่ด้านการผ่าตัด การทำปราศจากเชื้อ และการตรวจวินิจฉัยระบบกล้ามเนื้อที่ล้ำหน้าบริษัท อื่นๆ ในประเทศไทย นอกจากนี้ ทางฝ่ายยังมุ่งมั่นในการเลือกสรรผลิตภัณฑ์ที่เป็นเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่มีคุณภาพสูง และเป็นทีย่ อมรับในต่างประเทศมาจัดจำหน่าย อีกทัง้ มองหาโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ทัง้ ในประเทศและต่างประเทศ เพื่อให้เกิดการเติบโตอย่างต่อเนื่องในอนาคต ความไม่มีเสถียรภาพทางการเมืองในประเทศ และเหตุการณ์น้ำท่วมในหลายพื้นที่ทั่วประเทศที่เกิดขึ้น ส่งผล ให้อัตราการเติบโตในอุตสาหกรรมการแพทย์ลดลง นอกจากนี้ งบประมาณในการจัดซื้อเครื่องมือแพทย์ใน ภาครัฐบาลและเอกชนบางส่วนถูกระงับ ทำให้ยอดขายในปี 2553 ของฝ่ายลดลง อย่างไรก็ตาม ด้วยความ เพียรพยายามของพนักงานทุกคน ฝ่ายเครื่องมือแพทย์และวัสดุทางการแพทย์ยังคงรักษาส่วนแบ่งในตลาดไว้ได้ และยังมองหาโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ในโครงการพิเศษ ทีจ่ ะสร้างยอดขายอย่างก้าวกระโดดในปีถัดๆ ไป จากเหตุการณ์วิกฤตที่เกิดขึ้นในปี 2553 ทางฝ่ายฯ ตระหนักดีว่าอาจส่งผลให้ธุรกิจทางการแพทย์ในปี 2554 มีการแข่งขันสูงขึ้นมาก จึงได้มีการพัฒนาระบบการจัดการเพื่อเพิ่มความพร้อมในการรับมือกับสถานการณ์ ดังกล่าว โดย • พัฒนาระบบการบริการ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพของพนักงานเพื่อจัดเตรียมบุคลากรผู้เชี่ยวชาญ สำหรับให้บริการลูกค้าในการให้ข้อมูลและการบริการหลังการขาย


รายงานประจำปี 2553

• บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) 61

• มีการนำระบบ SAP มาใช้ในการจัดการระบบ Supply Chain และ Customer Relationship Management

• พัฒนาระบบการทำงานภายในองค์กรโดยส่งเสริมให้มีการทำงานเป็นทีม Teamwork การควบคุม ค่าใช้จ่ายภายในองค์กรรวมถึงส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรให้มีความสามารถในการเรียนรู้และการพัฒนาตนเอง ฝ่ายเครื่องมือแพทย์ จากความสำเร็ จ ในการได้รับเลือกให้เป็นตัวแทนจัด จำหน่ าย หุ่น ยนต์ ช่ วยผ่ าตั ด ยี่ห้ อ da Vinci ซึ่ ง เป็ น

นวัตกรรมทางการผ่าตัดที่ทันสมัยที่สุด เพื่อเพิ่มความปลอดภัย แม่นยำ ประหยัดเวลาในการผ่าตัดและทำให้ผู้ป่วย สามารถฟื้นตัวได้เร็ว ทางฝ่ายเครื่องมือแพทย์ได้เร่งขยายฐานทางการตลาดโดยร่วมกับมหาวิทยาลัยแพทย์ชั้นนำ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ จัดการฝึกอบรมแพทย์เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ความสามารถในการผ่าตัดด้วยหุ่นยนต์ ช่วยผ่าตัดนี้ จนสามารถสร้างคุณค่าให้ตรายี่ห้อผลิตภัณฑ์ รวมทั้งมีโอกาสในการขายหุ่นยนต์ da Vinci เพิ่มขึ้น ในปีหน้า ฝ่ายวัสดุทางการแพทย์ ในปี 2553 ฝ่ายวัสดุทางการแพทย์ ประสบความสำเร็จอย่างสูงในการขยายตลาดผลิตภัณฑ์ ภายใต้ตราสินค้า “Protextra” ซึ่งเป็นตราของ บีเจซี โดยเฉพาะผ้าห่อเครื่องมือแพทย์เพื่อนำเข้าเครื่องทำให้ปราศจากเชื้อโรค มีอัตรา การเติบโต ถึง 100% จากการที่ลูกค้ายอมรับและเชื่อมั่นในตราสินค้า “Protextra” นี้ ฝ่ายวัสดุการแพทย์จึงมั่นใจ ว่าจะสามารถขยายฐานลูกค้าในประเทศให้​้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งสร้างฐานลูกค้าในตลาดต่างประเทศ ปี 2554 นี้


62

...สานสัมพันธ์ในเชิงยุทธศาสตร์กับพันธมิตรธุรกิจต่างๆ เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์การพิมพ์ อุปกรณ์เครื่องเขียน และ ผลิตภัณฑ์เฉพาะทางต่างๆ รวมทั้งมุ่งเน้นด้านการยกระดับ ความสามารถทางเทคนิค ความเชี่ยวชาญทางการตลาด การขยายตลาดให้ครอบคลุมในระดับภูมิภาค ตลอดจน การเสริมสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าเพื่อที่จะรักษาความ ได้เปรียบในการแข่งขันไว้ให้ได้ต่อไป หน่วยงานต่างๆ ที่อยู่ ภายใต้กลุม่ สินค้าและบริการทางเทคนิค จึงได้รบั การยอมรับ ในระดับโลก ว่าเป็นผู้นำของตลาดในแต่ละสายธุรกิจ...


รายงานประจำปี 2553

• บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) 63

กลุ่มสินค้าและบริการทางเทคนิค ฝ่ายเคมีภัณฑ์อุตสาหกรรม ในปี 2553 แม้ว่าในช่วงครึ่งปีแรกจะได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลก ตลอดจนความไม่แน่นอนทางการเมืองภายในประเทศ แต่ด้วย ความมุ่งมั่นพยายามและความร่วมมือจากพันธมิตรทางธุรกิจ ฝ่ายเคมีภัณฑ์อุตสาหกรรม (Specialties Division) สามารถทำยอดขายเป็นที่ น่าพอใจและสามารถเติบโตอย่างต่อเนื่องได้ กลุ่มผลิตภัณฑ์ Food Ingredients แผนก Food Ingredients ยังคงทำยอดขายได้ดีอย่างเด่นชัด โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ความสำเร็จของกลุ่มผลิตภัณฑ์ Flavouring Ingredients กลุ่ม Food & Nutraceuticals Ingredients เป็นผลจากการพัฒนาโครงการใหม่ร่วม กับลูกค้า และพันธมิตรหลักๆ โดยเฉพาะ บริษัท Tate & Lyle Group, DSM Food Specialties, IOI Loders & Croklaan และ Thermphos International ขณะเดียวกัน กลุ่ม Flavouring Ingredients ก็ประสบความสำเร็จจากการร่วมมือพัฒนาอย่างใกล้ชิดกับพันธมิตรหลัก คือ บริษัท Firmenich กลุ่มผลิตภัณฑ์ Industrial Ingredients แผนก Industrial Ingredients ยังคงมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง จากการรักษาฐานลูกค้าเดิม

พร้อมกับการพัฒนาธุรกิจเพิ่มเติมในทั้งสามผลิตภัณฑ์หลัก สามธุรกิจหลัก อาทิ ผลิตภัณฑ์สารทำความเย็นธุรกิจสารทำความเย็นสามารถ ทำยอดขายบรรลุเป้าหมาย พร้อมกับขยายฐานลูกค้าไปที่กลุ่มผู้ผลิตรับจ้างผลิตสินค้า (OEM manufacturer) กลุ่มโออีเอ็มได้ แม้ว่าจะต้อง เผชิญกับภาวะการขาดแคลนของสินค้าในตลาดและแนวโน้มของราคาที่สูงขึ้น ในขณะที่ ผลิตภัณฑ์สารเติมแต่งเคมีปิโตรเลียมธุรกิจ สารเติมแต่งเคมีปิโตรเลียมยังสามารถรักษาผลประกอบการและยังคงมีการเพิ่มผลิตภัณฑ์ใหม่อย่างต่อเนื่อง ส่วนผลิตภัณฑ์สารเติมแต่ง ในอาหารสัตว์ธุรกิจสารเสริมสำหรับสัตว์นั้น มีการเติบโตเป็นอย่างมากจากการครอบคลุมตลาดในกลุ่มผู้ผลิตอาหารสัตว์และฟาร์มไปพร้อมๆ กับการพัฒนาธุรกิจใหม่เพื่อการขยายตัวธุรกิจในอนาคต กลุ่มผลิตภัณฑ์วัตถุดิบส่วนผสมเบเกอรี่สินค้าวัตถุดิบส่วนผสมเบเกอรี่ มีการเติบโตอย่างต่อเนื่องตามแนวโน้มของตลาดที่ผู้บริโภคตอบรับ สินค้าเบเกอรี่ ชนิดใหม่ๆ ในรูปแบบที่หลากหลายมากขึ้น มีผู้ประกอบการเบเกอรี่รายใหม่เพิ่มมากขึ้นรวมถึงการขยายกำลังการผลิตของ


64

ผู้ประกอบการรายเดิม การให้บริการด้านเทคนิคควบคู่กับการพัฒนาสูตรขนมเบเกอรี่ร่วมกันอย่างใกล้ชิดกับลูกค้า หลักรายสำคัญ ทำให้ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนี้ของบริษัทประสบความสำเร็จในด้านยอดขาย และเป็นที่ยอมรับจาก ผูป้ ระกอบการเบเกอรีโ่ ดยทัว่ ไป ผลิตภัณฑ์เครือ่ งดืม่ ดรอสเต้โกโก้ตรานางพยาบาลสินค้าเครือ่ งดืม่ ดรอสเต้โกโก้ตรา นางพยาบาล และดรอสเต้มิกซ์ ยังคงรักษายอดขายในระดับที่ดี แม้ว่าจะมีอัตราการเติบโตที่ชะลอตัวลงอันเป็นผล จากความจำเป็นในการปรับขึ้นราคาสินค้าตามภาวะต้นทุนราคาผงโกโก้ที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างมากและต่อเนื่องตั้งแต่ ปลายปี 2552 สินค้า Danisco ยังรักษาความเป็นผู้นำในเรื่องคุณภาพสินค้าและการให้บริการด้านเทคนิค และ มียอดขายที่ดีต่อเนื่อง แม้ว่าจะประสบอุปสรรคด้านต้นทุนวัตถุดิบที่เพิ่มสูงขึ้นตลอดจนการแข่งขันที่เข้มข้นมากขึ้น ทางด้านกลุ่มผลิตภัณฑ์ Cosmetic Ingredients Cosmetic Ingredients ก็ยังคงสามารถเพิ่มยอดขายจาก พันธมิตรหลักๆ ได้อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มสารสกัดจากธรรมชาติสินค้าในกลุ่ม สารสกัดจากธรรมชาติ, Active Ingredient และ Color Cosmetic ประกอบกับมีผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ สินค้าใหม่ๆ จาก พันธมิตรรายหลัก ซึ่งเป็นสินค้าที่ได้รับการตอบรับอย่างดีจากลูกค้ารายสำคัญ ส่งผลให้ยอดขายเติบโตเป็นที่น่า พอใจ แม้จะได้รับผลกระทบบางส่วนจากเครื่องสำอางนำเข้าจากเกาหลีก็ตาม ในส่วนของกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่จัดจำหน่ายในประเทศเวียดนาม ในส่วนของธุรกิจเวียดนาม บริษัทฯ ได้มีการ ขยายธุรกิจเพิ่มเติมในกลุ่มผลิตภัณฑ์สารเติมแต่งในอาหารและเครื่องสำอาง ในกลุ่มสารเติมแต่งในอาหารและ เครื่องสำอาง โดยได้มีการพัฒนาธุรกิจกับพันธมิตรใหม่ๆ เพิ่มมากขึ้น ในขณะเดียวกัน ผลิตภัณฑ์สารเติมแต่งใน อาหารสัตว์ธุรกิจสารเติมแต่งในอาหารสัตว์ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีการริเริ่มจัดจำหน่ายมาก่อนก็สามารถเติบโตต่อไป ได้ ธุรกิจหลักแต่เดิมก็สามารถเติบโตต่อไปได้ แม้ว่าจะได้รับผลกระทบจากการเกิดโรคระบาดในสัตว์ และราคา ของวัตถุดิบที่สูงขึ้นอย่างมากในช่วงครึ่งปีหลังก็ตาม ในปี 2554 ทีมงานและพันธมิตรทางธุรกิจของฝ่ายเคมีภัณฑ์อุตสาหกรรมฝ่าย Specialties ยังคงมุ่งมั่นที่จะ สร้าง และขยายธุรกิจให้เติบโตต่อไปทั้งในประเทศไทยและเวียดนาม โดยเน้นการพัฒนาสินค้าและบริการอย่างต่อ เนื่องเพื่อรองรับความต้องการของลูกค้าในทุกด้านต่อไปเพื่อเป็นที่หนึ่งในใจลูกค้า


รายงานประจำปี 2553

• บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) 65

ฝ่ายเครื่องเขียนและเครื่องใช้สำนักงาน แนวโน้มทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้นตั้งแต่ช่วงหลังของปี 2552 ยังคงส่งผลดีต่อฝ่ายเครื่องเขียนและเครื่องใช้สำนักงานตลอดครึ่งแรกของปี 2553 แม้ว่าจะมีปัญหาทางการเมืองในเดือนเมษายน และได้พัฒนาเป็นความรุนแรงในเดือนพฤษภาคมในปีนี้ ยอดขายในช่วงไตรมาสที่สองของปี ยังคงมีการเติบโตที่น่าพอใจ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา แม้ว่ายอดขายในไตรมาสแรกของปี 2553 เป็นไปอย่างแข็งแกร่งเมื่อเทียบกับปีก่อน เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจที่ดีขึ้น และปัจจัยเสริมจาก การกระตุ้นเศรษฐกิจจากงบไทยเข้มแข็งก็ตาม การขายไปจนถึงช่วงปลายปีได้ค่อยๆ ชะลอลงเนื่องจากปัญหาต่างๆ รวมทั้งภัยธรรมชาติ ตั้งแต่ ภัยแล้ง น้ำท่วม และวาตภัยในหลายภูมิภาคของประเทศ อย่างไรก็ตามยอดขายโดยรวมก็ยังมีการเติบโตอย่างน่าพอใจ จากการบริโภคที่สูงขึ้นของส่วนต่างๆ ทั้งส่วนสำนักงาน โรงงานและภาครัฐ ส่งผลให้ยอดขายของผลิตภัณฑ์กาวภายใต้ตราสินค้า UHU มีการเติบโตที่ดีขึ้นในปีนี้ ทั้งกลุ่มกาวสารพัดประโยชน์ และกาวพิเศษสำหรับวัสดุเฉพาะ มีการเติบโตที่ดีเป็นเลขสองหลัก เนื่องจากการฟื้นตัว ในส่วนของโรงงาน ส่วนกลุ่มกาวแท่งมีอัตราการเติบโตที่น้อยกว่า เนื่องจากการแข่งขันที่รุนแรง ยอดขายของผลิตภัณฑ์ภายใต้ตราสินค้า Stabilo มีอัตราการเติบโตในทิศทางเดียวกับผลิตภัณฑ์กาวภายใต้ตราสินค้า UHU ท่ามกลาง การแข่งขันที่รุนแรงอย่างต่อเนื่องในตลาดโดยเฉพาะผลกระทบจากสินค้าลอกเลียนแบบ ซึ่งส่งผลต่อยอดขายผลิตภัณฑ์ปากการุ่น Point 88 ในปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ยอดขายของปากกาเน้นข้อความรุ่น Boss และรุ่น Swing Cool ยังคงมีการเติบโตดีขึ้นตามสภาพเศรษฐกิจ เช่นเดียวกับกลุ่มผลิตภัณฑ์อื่นๆ ในช่วงต้นปี ผลประกอบการของผลิตภัณฑ์ภายใต้ตราสินค้า 3M เติบโตอย่างแข็งแกร่งเมื่อเทียบกับปี ที่ผ่านมา ผลประกอบการของกลุ่มผลิตภัณฑ์นี้ ได้รับผลกระทบเพียงเล็กน้อยจากความไม่สงบทางการเมืองในช่วงไตรมาสสองและปัญหาภัย ธรรมชาติต่างๆ เช่น น้ำท่วมและวาตภัยในไตรมาสในปีนี้ รายการการส่งเสริมการขาย “สะสมแต้ม” จาก 3M ระหว่างเดือนมีนาคมถึงสิงหาคม ได้รับการตอบรับอย่างดี ส่งผลให้ยอดขายโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเดือนสิงหาคมเป็นที่น่าพอใจมาก ผลิตภัณฑ์ภายใต้ตราสินค้า Double A มีผลประกอบการที่ดี โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ เนื่องจากการจับจ่ายใช้สอยที่เพิ่มขึ้น จากการกระตุ้นทางเศรษฐกิจของภาครัฐผ่านงบประมาณโครงการไทยเข้มแข็ง การนำออกสู่ตลาดของผลิตภัณฑ์ที่มีความหลากหลาย และ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ภายใต้ตราสินค้า Double A เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้ากลุ่มเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ยอดขาย ของผลิตภัณฑ์ภายใต้ตราสินค้า Double A มีการเติบโตอย่างน่าพอใจในปีนี้ ในปีหน้า ฝ่ายเครื่องเขียนและเครื่องใช้สำนักงานคาดว่าจะมีการเติบโตดีอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจในปี 2554 จะเติบโต อย่างชะลอตัว อย่างไรก็ตาม อัตราการบริโภคที่เพิ่มขึ้นของทั้งภาคเอกชนและภาครัฐบาลจะเป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญในการทำให้ฝ่าย เครื่องเขียนและเครื่องใช้สำนักงานประสบความสำเร็จต่อไปในปี 2554


66

ฝ่ายงานพิมพ์ ในปี 2553 ฝ่ายการพิมพ์ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก ทั้งการเติบโตของยอดขายและผลกำไร ซึ่งมีอัตรา การเติบโตเป็นตัวเลขสองหลัก ทั้งนี้เป็นผลสืบเนื่องมาจากการทำงานที่มีประสิทธิภาพของทุกภาคส่วนธุรกิจ ซึ่งทางฝ่าย ได้ให้ความสำคัญในการเจาะและขยายตลาดในกลุ่มบรรจุภัณฑ์เป็นพิเศษ ในส่วนของเครื่องพิมพ์ดิจิตอล HP Indigo ได้มีการติดตั้งเครื่องพิมพ์ดิจิตอลอุตสาหกรรมรุ่น HP 6000 ซึ่งเป็น เครื่องแรกในประเทศไทยให้กับลูกค้าในกลุ่มธุรกิจฉลากและบรรจุภัณฑ์ นับว่าเป็นก้าวสำคัญของการพิมพ์แบบ ดิจิตอลในวงการบรรจุภัณฑ์ โดยทางฝ่ายยังคาดการณ์ว่าธุรกิจ HP Indigo น่าจะเติบโตขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในปี 2554 ทั้งในส่วนเครื่องพิมพ์อุตสาหกรรม (Industrial) และส่วนการพิมพ์เพื่อการพาณิชย์ (Commercial) ในส่วนของเครื่องยิงเพลท (CTP) สำหรับงานบรรจุภัณฑ์ ทางฝ่ายได้มีการติดตั้งเครื่อง Flexography CTP เครื่ อ งแรกในประเทศไทยให้ กั บ ลู ก ค้ า ซึ่ ง เป็ น ผู้ ผ ลิ ต กระป๋ อ งอะลู มิ เ นี ย มรายใหญ่ ร ายหนึ่ ง ของประเทศไทย ด้วยเทคโนโลยีที่รองรับนั้น สามารถเพิ่มศักยภาพในการออกแบบผลิตภัณฑ์ อีกทั้งยังเพิ่มมูลค่าให้แก่ตัวสินค้า

ได้อีกด้วย ยอดขายของเพลทอนาลอกและดิจิตอลยังคงเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องในปี 2553 แม้ว่ายอดขายเครื่องยิงเพลท (CTP) ของผลิ ต ภัณฑ์ภายใต้ต ราสิ น ค้ า Agfa ชะลอตั ว ลง อั น เนื่ อ งมาจากการแข่ ง ขั น อย่ า งรุ น แรงในตลาด อย่างไรก็ตาม ฝ่ายการพิมพ์คาดว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่ดีขึ้น หลังจากทาง Agfa ได้มีการปรับแผนงาน และให้การสนับสนุนมากขึ้น เครื่องพิมพ์ Inkjet หน้ากว้าง Agfa รุ่น Anapurna ซึ่งได้รับการออกแบบให้เป็นมิตร ต่อสิ่งแวดล้อมนั้น มีทิศทางการเติบโตที่ดีเมื่อเทียบกับปีกลาย ส่วนของธุรกิจภาพยนตร์ มีการขยายตัวอย่าง ต่อเนื่องส่งผลให้ยอดขายฟิล์มภาพยนตร์ Agfa โตขึ้นกว่าร้อยละ 200 ในปี 2553 นี้ นอกจากนี้ ฝ่ายการพิมพ์ยังเล็งเห็นโอกาสทางธุรกิจในกลุ่มธุรกิจซอฟท์แวร์สำหรับงานพิมพ์ ซึ่งทางฝ่ายได้เริ่ม ขายซอฟท์แวร์ Taopix สำหรับกลุ่มลูกค้าโฟโต้บุ๊คไปแล้วจำนวนหนึ่ง ทั้งนี้ยังได้จัดหาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ในสินค้า กลุ่มซอฟท์แวร์เข้ามาจำหน่าย ได้แก่ Quote & Print เป็นซอฟท์แวร์ระบบจัดการงานเอกสารของโรงพิมพ์ที่ถูกใช้ อย่างแพร่หลายในประเทศออสเตรเลีย PaSharp ซอฟท์แวร์สำหรับงานดีไซน์บรรจุภัณฑ์ ซึ่งซอฟท์แวร์ทั้งสอง ประเภทนี้ จะช่วยเสริมความแข็งแกร่งในการขายให้กับกลุ่มธุรกิจงานพิมพ์ ในปี 2554 ซึ่งเป็นปีที่ท้าทายเช่นเดียวกันสำหรับธุรกิจการพิมพ์ ทางฝ่ายการพิมพ์มีแผนที่จะขยายตลาดและ ยอดขายให้เพิ่มขึ้นทั้งในส่วนการพิมพ์เพื่อการพาณิชย์ การพิมพ์ฉลากและบรรจุภัณฑ์ รวมไปถึงการขยายตลาด ในกลุ่มธุรกิจการพิมพ์ดิจิตอลซึ่งเป็นกลุ่มธุรกิจงานพิมพ์ที่เติบโตเร็วมาก ทั้งนี้ทางฝ่าย ยังเล็งเห็นโอกาสทางธุรกิจ ในกลุ่มลูกค้าราชการและรัฐวิสาหกิจซึ่งจะเป็นกลุ่มที่ทางฝ่ายจะให้ความสนใจเป็นพิเศษในปีหน้า


รายงานประจำปี 2553

• บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) 67

บริษัท ที.ซี.ซี. เทคโนโลยี จำกัด

บริษัท ที.ซี.ซี. เทคโนโลยี จำกัด (TCCT) ดำเนินธุรกิจศูนย์คอมพิวเตอร์เชิงพาณิชย์ (Commercial Data Center) โดยบริการหลักคือ

• บริการ Infrastructure Services ได้แก่ บริการศูนย์หลัก ศูนย์สำรอง Colocation & Disaster Recovery Services บริการเชื่อมต่อ ระบบ Interconnection & Network Connectivity Services และบริการจัดการระบบ Operation Support & Monitoring Services • บริการจัดการระบบ Managed Hosting Services ได้แก่ บริการดูแลระบบ ERP - SAP Hosted Services บริการดูแลระบบ Microsoft - Microsoft Hosted Services บริการดูแลระบบ Unified Communication & Collaboration Hosted Services และบริการดูแล ระบบ Virtual Private Server Hosted Services

• บริการ IT Outsourcing Services ได้แก่ บริการดูแลระบบไอทีครบวงจรให้กับลูกค้า

ปัจจุบันบริษัทมีดาต้าเซ็นเตอร์คิดเป็นพื้นที่กว่า 29,700 ตารางฟุตในกรุงเทพฯและปริมณฑล บริษัทฯ ถือเป็นผู้ให้บริการศูนย์ดาต้า เซ็นเตอร์เชิงพาณิชย์ที่ใหญ่พร้อมมาตรฐานบริการที่สูงที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทยและเพื่อเป็นการตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านการให้บริการ ดาต้าเซ็นเตอร์ในประเทศไทย กอปรกับการเติบโตของธุรกิจและความต้องการของลูกค้าที่เพิ่มมากขึ้น TCCT ได้ดำเนินการขยายพื้นที่ชั้น 2 ของศูนย์ดาต้าเซ็นเตอร์แห่งล่าสุดที่ศูนย์บางนา บนเนื้อที่ 16,000 ตารางฟุต โดยเปิดให้บริการอย่างเต็มรูปแบบแล้วในเดือนมีนาคม 2553 ที่ผ่านมานี้ ดาต้าเซ็นเตอร์แห่งใหม่ของบริษัทฯ ได้รับการออกแบบจากไอบีเอ็ม นับเป็นต้นแบบดาต้าเซ็นเตอร์สีเขียวในประเทศไทยที่ตรงตาม มาตรฐาน IBM-certified Reliability Level 3+ ซึ่งเป็นมาตรฐานในการออกแบบดาต้าเซ็นเตอร์จากไอบีเอ็ม โดยคำนึงถึงความมีเสถียรภาพ และความมีประสิทธิภาพสูงสุด (Reliability and Efficiency) ใช้แนวคิดการประหยัดพลังงาน เทคโนโลยีสีเขียว ให้ความยืดหยุ่น และมีความ สามารถในการรองรับการขยายตัวทางธุรกิจเป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังมีความสามารถในการรองรับระบบคลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud Computing) นับเป็นการตอกย้ำความสามารถของบริษัท ในด้านนี้อีกครั้งด้วยการประกาศความร่วมมือกับบริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมานี้ ในการร่วมมือด้าน เทคโนโลยีเซิร์ฟเวอร์แบบเสมือนจริงและโซลูชั่นบริการHosted Messagingแห่งแรกในประเทศไทย โดยความร่วมมือดังกล่าวจะมุ่งช่วย ยกระดับการใช้งานโครงสร้างพื้นฐานทางไอทีของภาคธุรกิจไปสู่อีกระดับหนึ่งด้วยบริการแบบ Cloud บริษัทฯ ได้พัฒนาแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด (Best Practice) โดยอิงกับมาตรฐานสากลได้แก่ ISO 9001:2000 และ ITSM (Information Technology Service Management) สำหรับในด้านกระบวนการจัดการ และ ISO 27001:2008 สำหรับด้านความปลอดภัย นอกจากนี้ ในปัจจุบันบริษัทเป็น Microsoft Certified Partner และยังเป็นบริษัทผู้ให้บริการดาต้าเซ็นเตอร์อิสระรายแรกในประเทศไทยที่ผ่านการรับรอง มาตรฐาน SAP Hosting เป็นSAP Adaptive Solution Provider การดำเนินงานของบริษัทในปี 2553 โดยภาพรวมบริษัทฯ มีรายได้เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 36.7 และกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 20 ทั้งนี้เป็นผลจากการเติบโตของรายได้ด้านบริการศูนย์หลัก ศูนย์สำรอง และบริการจัดการระบบรวมถึงบริการดูแลระบบไอทีครบวงจร จากฐานลูกค้าทั้งภายในและต่างประเทศ สำหรับในด้านการตลาด บริษัทเน้นสร้างความแตกต่างโดยมุ่งเน้นการให้บริการคุณภาพและ ประโยชน์ที่คุ้มค่าแก่ลูกค้าและเน้นการสร้างความสามารถในการแข่งขันในระยะยาว การแข่งขัน ในปัจจุบันมีแนวโน้มสูงขึ้น อย่างไรก็ตามเนื่องจากบริษัทผู้ให้บริการมีพื้นฐานและความชำนาญ ในด้านที่ต่างกัน จึงเน้นการให้บริการและกลุ่มเป้าหมายที่ต่างกัน บริษัทถือได้ว่าอยู่ในอันดับต้นต้น ทั้งนี้เมื่อพิจารณาถึงอัตราการเติบโตและศักยภาพในการแข่งขันแล้ว นอกจากนี้บริษัทยังได้ร่วมมือ กับบริษัทในต่างประเทศทางด้านการตลาดและเทคโนโลยีระหว่าง 4 ประเทศในภูมิภาคเอเชีย ได้แก่ บริษัท ที.ซี.ซี. เทคโนโลยี จำกัด (TCCT) จากประเทศไทย, บริษัท CMC Telecom จาก ประเทศเวียดนาม, บริษัท 1-Net Singapore จากประเทศสิงคโปร์ และ The AIMS Asia Group จากประเทศมาเลเซีย โดยทำงานร่วมกันเพื่อให้บริษัทผู้ให้บริการศูนย์ข้อมูลในภูมิภาคอาเซียนนี้ สามารถแข่งขันกับตลาดโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น


68

...มี พั น ธกิ จ หลั ก ในการพั ฒ นาธุ ร กิ จ ใหม่ ใ นแถบ เอเชี ย ตะวั น ออกเฉี ย งใต้ ทั้ ง การหาโอกาสในการ เข้าซื้อกิจการ และเข้าร่วมทุนกับพันธมิตรทางธุรกิจ เพื่อผนวกธุรกิจใหม่กับกลุ่มธุรกิจต่างๆ ของบีเจซี...


รายงานประจำปี 2553

• บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) 69

กลุ่มธุรกิจต่างประเทศ กลุ่มธุรกิจต่างประเทศ ในปี 2553 กลุ่มธุรกิจต่างประเทศประสบความสำเร็จอย่างมากในการขยายฐานธุรกิจเชิงพาณิชย์ในภูมิภาค บีเจซี อินเตอร์เนชั่นแนล (บีเจไอ) มีสำนักงานใหญ่อยู่ในประเทศไทย และมีสำนักงานสาขาในประเทศเวียดนาม และประเทศพม่า บีเจไอมีพันธกิจหลักในการพัฒนา ธุรกิจใหม่ในแถบภูมิภาคนี้ ทั้งการหาโอกาสในการเข้าซื้อกิจการ หรือเข้าร่วมทุนกับพันธมิตรทางธุรกิจ เพื่อผนวกธุรกิจใหม่กับกลุ่มธุรกิจต่างๆ ของบีเจซีที่รับผิดชอบโดยตรงเพื่อบริหารธุรกิจต่อไป นอกจากนี้ บีเจไอยังมีส่วนในการสนับสนุนกิจการของกลุ่มธุรกิจบีเจซีในการมองหาตลาด ใหม่ๆ ในต่างประเทศเพิ่มขึ้น รวมทั้งยังเป็นศูนย์กลางบริหารงานด้านการจัดจำหน่าย ผลิตภัณฑ์ต่างๆ นอกเหนือจากผลิตภัณฑ์ในกลุ่มบีเจซี อีกด้วย ความสำเร็จทีเ่ ด่นชัดในปีนคี้ อื การเข้าร่วมทุนกับบริษทั โอเว่นอิลลินอยส์ อิงค์ สหรัฐอเมริกา เพือ่ เข้าซือ้ กิจการธุรกิจโรงงานผลิตบรรจุภณ ั ฑ์ แก้วมาลายากล๊าส ของบริษทั เฟรเซอร์ แอนด์ นีฟ โฮลดิง้ บีเอชดี ซึง่ เป็นโรงงานผลิตบรรจุภณ ั ฑ์แก้วมีสาขา 4 แห่งคือ จังหวัดสระบุรี ประเทศไทย มณฑลเสฉวน ประเทศจีน เมืองยะโฮร์บาห์รู ประเทศมาเลเซีย และเมืองโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม การเข้าซื้อโดยการร่วมทุนกับโอเว่น อิลลินอยส์ (โอ-ไอ) ซึ่งเป็นผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์แก้วที่ใหญ่ที่สุดในโลกในครั้งนี้ ทั้งนี้ บีเจซี และโอ-ไอ ได้ร่วมกันดำเนินธุรกิจในสัดส่วนร้อยละ 50:50 สำหรับโรงงานในประเทศมาเลเซีย และเวียดนาม ในขณะที่บีเจซี เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่สำหรับโรงงานในประเทศไทย และส่วนโรงงานที่ ประเทศจีนจะบริหารโดยโอ-ไอในประเทศจีน นอกจากนี้ บริษัท ไทย เบฟเวอร์เรจ แคน จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทภายใต้กลุ่มธุรกิจในเครือบีเจซี ได้ลงนามหนังสือความเข้าใจร่วมกันกับ บริษัท บอลล์ คอร์ปอเรชั่น สหรัฐอเมริกา กลุ่มผู้ผลิตกระป๋องอะลูมิเนียมที่ใหญ่ที่สุดในโลก เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการร่วมทุนตั้งโรงงาน ผลิตกระป๋องอะลูมิเนียมที่เมืองโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม คาดว่าจะเริ่มดำเนินการผลิตได้ในต้นปี 2555 เจซี ฟู้ดส์ เอสดีเอ็น บีเอชดี ประเทศมาเลเซีย ซึ่งเป็นบริษัทที่ บีเจซี ได้เข้าซื้อกิจการตั้งแต่ปี 2551 มีผลประกอบการที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง และยังคงเป็นฐานธุรกิจด้านตลาดขนมขบเคี้ยวอย่างมั่นคงในประเทศมาเลเซีย บีเจไอ ยังได้บรรลุการร่วมทุนในสัดส่วนการถือหุ้นร้อยละ 75 กับผู้ร่วมทุนท้องถิ่นไทย-เวียดนาม ในไทยคอร์ป อินเตอร์เนชั่นแนล (เวียดนาม) ลิมิเต็ด (ไทยคอร์ป) ทั้งนี้ ไทยคอร์ปเป็นผู้นำด้านธุรกิจจัดจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภค ในประเทศเวียดนามที่มีอัตราเติบโตอย่าง รวดเร็วมาเป็นเวลาหลายปี การร่วมทุนในครั้งนี้จะเป็นการเพิ่มศักยภาพ และขยายธุรกิจของกลุ่มธุรกิจอุปโภคบริโภคในประเทศเวียดนามได้ เป็นอย่างดี โรงงานวีนากล๊าสเดิม ซึ่งตั้งอยู่ใกล้นครโฮจิมินห์ ได้ถูกซื้อกิจการผ่าน บีเจซี อินเตอร์เนชั่นแนล คัมปะนี ลิมิเต็ด (ฮ่องกง) และได้โอนเข้ามา อยู่ภายใต้การบริหารของ บีเจซี อินเตอร์เนชั่นแนล คัมปะนี ลิมิเต็ด (เวียดนาม) เพื่อให้ บีเจไอ (เวียดนาม) เป็นศูนย์กลางในการจัดจำหน่าย สินค้าทางอุตสาหกรรม และเป็นฐานในการผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคต่อไป ในประเทศพม่า บริษัทประสบความสำเร็จในการขยายการขายผลิตภัณฑ์บรรจุแก้ว และกระป๋องอะลูมิเนียมได้อย่างดีในปีที่ผ่านมา ในปี 2554 นี้ กลุ่มธุรกิจต่างประเทศจะขยายธุรกิจอย่างเข้มแข็งในประเทศกัมพูชา และยังคงพัฒนาธุรกิจในประเทศพม่า เวียดนาม และ มาเลเซีย ต่อไป


70

โครงสร้างการจัดการ 1. โครงสร้างการจัดการ โครงสร้างการจัดการประกอบด้วย 1) คณะกรรมการบริษัท 2) คณะกรรมการตรวจสอบ 3) คณะกรรมการบริหาร 4) คณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน 5) คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง 6) คณะจัดการ 1) คณะกรรมการบริษัท ข้ อ บั ง คั บ ของบริ ษั ท ข้ อ ที่ 13 กำหนดให้ บ ริ ษั ท มี ก รรมการคณะหนึ่ ง ประกอบด้ ว ย กรรมการอย่างน้อย 5 คน ให้คณะกรรมการเลือกตั้งกรรมการด้วยกันเป็นประธานกรรมการ และอาจเลือกรองประธานด้วยก็ได้ ทั้งนี้ กรรมการไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการ ทัง้ หมดต้องมีถนิ่ ทีอ่ ยูใ่ นราชอาณาจักร สำหรับตำแหน่งกรรมการผูจ้ ดั การใหญ่นนั้ คณะกรรมการ สรรหาและกำหนดค่าตอบแทนจะเป็นผู้สรรหาจากกรรมการ และเสนอต่อคณะกรรมการ บริษัทเพื่อพิจารณาแต่งตั้ง ปัจจุบันคณะกรรมการบริษัทมีกรรมการจำนวน 15 คน ประกอบด้วย กรรมการที่ไม่เป็น ผู้บริหารหรือไม่เป็นที่ปรึกษาที่ได้เงินเดือนประจำ จำนวน 12 คน และกรรมการที่มีส่วนร่วม ในการบริ ห าร หรื อ เป็ น ที่ ป รึ ก ษาที่ ไ ด้ เ งิ น เดื อ นประจำ จำนวน 3 คน โดยในปี 2553 มีกรรมการที่มีคุณสมบัติเป็นกรรมการอิสระ จำนวน 5 คน คิดเป็นหนึ่งในสามของจำนวน กรรมการทั้งหมด ตามข้อ 16 ของประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุนที่ ทจ. 28/2551 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ (แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศ คณะกรรมการกำกับตลาดทุนที่ ทจ. 4/2552 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอ ขายหุ้นที่ออกใหม่ ฉบับที่ 2) และกรรมการของบริษัททุกคน ไม่มีประวัติการกระทำความผิด อาญาในความผิดที่เกี่ยวกับทรัพย์ซึ่งได้กระทำโดยทุจริตในรอบปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ รายละเอียด เกี่ยวกับประวัติกรรมการแต่ละคนปรากฏตามเอกสารแนบ 1 ของแบบแสดงรายงานข้อมูล ประจำปี 2553 (แบบ 56-1) ซึ่งบริษัทได้จัดทำส่งหน่วยงานกำกับดูแล โดยข้อมูลดังกล่าวได้ เปิดเผยไว้ในเว็บไซต์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในส่วนข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับบริษัท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553 มีกรรมการบริษัทจำนวน 15 คน ดังนี้ 1. นายเจริญ สิริวัฒนภักดี ประธานกรรมการ ประธานกรรมการบริหาร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร


รายงานประจำปี 2553

• บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) 71

2. คุณหญิงวรรณา สิริวัฒนภักดี 3. นายชัยยุทธ ปิลันธน์โอวาท 4. นายธีรศักดิ์ นาทีกาญจนลาภ 5. นายประเสริฐ เมฆวัฒนา 6. นายอัศวิน เตชะเจริญวิกุล 7. นางฐาปณี เตชะเจริญวิกุล 8. นายสิทธิชัย ชัยเกรียงไกร 9. นายฐาปน สิริวัฒนภักดี 10. นายปณต สิริวัฒนภักดี (1) 11. นายสุวรรณ วลัยเสถียร 12. นายประสิทธิ์ โฆวิไลกูล (2) 13. นายสถาพร กวิตานนท์ 14. นายวีระวงค์ จิตต์มิตรภาพ 15. นายสุวิทย์ เมษินทรีย์

รองประธานกรรมการ กรรมการบริษัท รองประธานกรรมการบริหาร กรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน กรรมการบริษัท รองประธานกรรมการบริหาร กรรมการบริหารความเสี่ยง กรรมการบริษัท รองประธานกรรมการบริหาร กรรมการบริหารความเสี่ยง กรรมการบริษัท กรรมการบริหาร ประธานกรรมการบริหารความเสี่ยง กรรมการผู้จัดการใหญ่ กรรมการบริษัท กรรมการบริหาร กรรมการและเลขานุการคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง เลขานุการคณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน กรรมการรองผู้จัดการใหญ่อาวุโส กรรมการบริษัท กรรมการบริหาร กรรมการบริหารความเสี่ยง กรรมการบริษัท กรรมการบริหาร กรรมการบริษัท กรรมการบริหาร กรรมการบริษัท กรรมการบริหาร กรรมการบริษัท กรรมการอิสระ กรรมการบริษัท ประธานกรรมการตรวจสอบ / กรรมการอิสระ ประธานกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน กรรมการบริษัท กรรมการตรวจสอบ / กรรมการอิสระ กรรมการบริษัท กรรมการตรวจสอบ / กรรมการอิสระ กรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน


72

16. นางสาวพจนีย์ ธนวรานิช นายชินวัฒน์ ทองภักดี

หมายเหตุ

(1)

(2)

กรรมการบริษัท กรรมการอิสระ เลขานุการบริษัท

นายสุวรรณ วลัยเสถียร ลาออกจากการเป็นกรรมการ โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2553

นายประสิทธิ์ โฆวิไลกูล เข้าดำรงตำแหน่งกรรมการแทนนายสุวรรณ วลัยเสถียร มีผลตั้งแต่วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2553 โดยมติที่ประชุม คณะกรรมการบริษัทครั้งที่ 2/2553 ประชุมเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2553 โดยการเสนอชื่อจากคณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน

ขอบเขตอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการบริษัท ข้อบังคับของบริษัท ข้อ 24 กำหนดให้คณะกรรมการบริษัทเป็นผู้รับผิดชอบจัดการกิจการทั้งหลายทั้งปวงของบริษัท และมีอำนาจ หน้าที่ดำเนินการภายในขอบเขตของกฎหมาย วัตถุประสงค์ และข้อบังคับของบริษัทและตามมติของที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น และมีอำนาจ กระทำการใด ๆ ตามที่ระบุไว้ในข้อบังคับของบริษัท หรือเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดังกล่าวนั้น คณะกรรมการบริษัทมีหน้าที่ควบคุมกำกับดูแลการบริหารกิจการให้เป็นไปเพื่อประโยชน์ที่ดีที่สุดแก่ผู้ถือหุ้น (Fiduciary Duty) โดย ยึดถือแนวปฏิบัติสำคัญ 4 ประการ คือ (1) การปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรอบคอบระมัดระวัง (Duty of Care) (2) การปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต (Duty of Loyalty) (3) การปฏิบัติตามกฎหมาย วัตถุประสงค์ ข้อบังคับ และมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น (Duty of Obedience) (4) การเปิดเผยข้อมูลต่อผู้ถือหุ้นอย่างถูกต้อง ครบถ้วน และโปร่งใส (Duty of Disclosure) กรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพันบริษัท กรรมการสองคนลงลายมือชื่อร่วมกัน และประทับตราสำคัญของบริษัท ยกเว้น นายสถาพร กวิตานนท์ นายวีระวงค์ จิตต์มิตรภาพ นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ นางสาวพจนีย์ ธนวรานิช และนายประสิทธิ์ โฆวิไลกูล การประชุมคณะกรรมการบริษัท คณะกรรมการบริษัทมีกำหนดการประชุมโดยปกติประจำทุก 3 เดือนหลังจากรายงานทางการเงินประจำไตรมาสเสร็จสิ้น และจะมี การประชุมเพิ่มตามความจำเป็น โดยมีการกำหนดวาระชัดเจนล่วงหน้า และมีวาระพิจารณาเรื่องที่สืบเนื่องจากการประชุมครั้งก่อน ฝ่ายเลขานุการบริษัทได้จัดส่งหนังสือเชิญประชุม พร้อมระเบียบวาระการประชุม และเอกสารประกอบการประชุมก่อนการประชุม

ล่วงหน้า เพื่อให้คณะกรรมการบริษัทได้มีเวลาศึกษาข้อมูลอย่างเพียงพอก่อนเข้าร่วมประชุม ตามปกติการประชุมจะใช้เวลาประมาณ 2 - 3 ชั่วโมง โดยมีประธานกรรมการเป็นผู้ควบคุมการประชุม นอกจากนี้ ได้มีการจดบันทึกการประชุมเป็นลายลักษณ์อักษรและจัดเก็บ รายงานการประชุมที่ผ่านการรับรองจากคณะกรรมการบริษัท พร้อมให้คณะกรรมการบริษัท และผู้ที่เกี่ยวข้องตรวจสอบได้ ในปี 2553 มีการประชุมคณะกรรมการบริษทั รวมทัง้ สิน้ 9 ครัง้ การเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการบริษทั ของกรรมการบริษทั แต่ละคน ดังรายละเอียดต่อไปนี้

รายชื่อกรรมการบริษัท

1. นายเจริญ สิริวัฒนภักดี

2. 3. 4. 5.

คุณหญิงวรรณา สิริวัฒนภักดี นายชัยยุทธ ปิลันธน์โอวาท นายธีรศักดิ์ นาทีกาญจนลาภ นายประเสริฐ เมฆวัฒนา

ตำแหน่ง

จำนวนครั้งที่เข้าประชุม

ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ

9/9 9/9 9/9 8/9 8/9


รายงานประจำปี 2553

• บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) 73

รายชื่อกรรมการบริษัท 6. 7. 8. 9. 10. 11. 12. 13. 14. 15. 16.

นายอัศวิน เตชะเจริญวิกุล นางฐาปณี เตชะเจริญวิกุล นายสิทธิชัย ชัยเกรียงไกร นายฐาปน สิริวัฒนภักดี นายปณต สิริวัฒนภักดี นายสุวรรณ วลัยเสถียร (1) นายประสิทธิ์ โฆวิไลกูล (2) นายสถาพร กวิตานนท์ นายวีระวงค์ จิตต์มิตรภาพ นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ นางสาวพจนีย์ ธนวรานิช

ตำแหน่ง

จำนวนครั้งที่เข้าประชุม

กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ

9/9 8/9 8/9 6/9 8/9 1/2 7/7 3/9 7/9 8/9 9/9

หมายเหตุ

(1)

นายประสิทธิ์ โฆวิไลกูล เข้าดำรงตำแหน่งกรรมการแทนนายสุวรรณ วลัยเสถียร มีผลตั้งแต่วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2553 โดยมติที่ประชุม

คณะกรรมการบริษัทครั้งที่ 2/2553 ประชุมเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2553 โดยการเสนอชื่อจากคณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน

นายสุวรรณ วลัยเสถียร ลาออกจากการเป็นกรรมการโดยมีผลตั้งแต่วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2553

(2)

การเข้าอบรมหลักสูตรที่จัดโดยสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) บริษัทสนับสนุนให้กรรมการเข้าร่วมอบรมหลักสูตรต่างๆ ที่จัดโดยหน่วยงานต่างๆ โดยเฉพาะสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการ บริษัทไทย (IOD) ทั้งนี้ เพื่อพัฒนาศักยภาพของกรรมการอย่างต่อเนื่อง

หลักสูตรการอบรม รายชื่อกรรมการ

1. นายเจริญ สิริวัฒนภักดี 2. คุณหญิงวรรณา สิริวัฒนภักดี 3. นายชัยยุทธ ปิลันธน์โอวาท 4. นายธีรศักดิ์ นาทีกาญจนลาภ 5. นายประเสริฐ เมฆวัฒนา 6. นายอัศวิน เตชะเจริญวิกุล 7. นางฐาปณี เตชะเจริญวิกุล 8. นายสิทธิชัย ชัยเกรียงไกร 9. นายฐาปน สิริวัฒนภักดี 10. นายปณต สิริวัฒนภักดี

Director DCP Director Audit Role of the Role of the Finance for Certification Refresher Accreditation Committee Chairman Compensation Non-Finance Program Course Program Program Program Committee Directors (DCP) (DCP-Re) (DAP) (ACP) (RCP) (RCC) (FND)

- - - / / / / / - /

- - - - - - - / - /

/ / / / / - / - / -

- - - - - - - - - -

- - - - - / - - - -

- - - - - - - - - -

- - - - - - / - - /


74

หลักสูตรการอบรม รายชื่อกรรมการ

11. นายสุวรรณ วลัยเสถียร 12. นายประสิทธิ์ โฆวิไลกูล 13. นายสถาพร กวิตานนท์ 14. นายวีระวงค์ จิตต์มิตรภาพ 15. นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ 16. นางสาวพจนีย์ ธนวรานิช

Director DCP Director Audit Role of the Role of the Finance for Certification Refresher Accreditation Committee Chairman Compensation Non-Finance Program Course Program Program Program Committee Directors (DCP) (DCP-Re) (DAP) (ACP) (RCP) (RCC) (FND)

/ - - / - /

- - - - - -

/ / / - / -

- - - - - /

- - - - - /

- - - - - /

- / - - - -

2) คณะกรรมการตรวจสอบ กฎบัตรคณะกรรมการตรวจสอบกำหนดให้คณะกรรมการตรวจสอบประกอบด้วยประธานคณะกรรมการตรวจสอบ และสมาชิกอีก อย่างน้อย 2 คน ซึ่งทั้งหมดมาจากการแต่งตั้งของที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทหรือที่ประชุมผู้ถือหุ้น โดยกรรมการตรวจสอบแต่ละคน ต้องเป็นกรรมการอิสระที่มีคุณสมบัติเพิ่มเติมครบถ้วนสำหรับการดำรงตำแหน่งกรรมการตรวจสอบตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ใน กฎหมาย ประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และประกาศตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ปัจจุบันคณะกรรมการตรวจสอบมีกรรมการจำนวน 3 คน มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 3 ปี โดยกรรมการตรวจสอบทุกคน มีคุณสมบัติครบถ้วนตามประกาศตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เรื่อง คุณสมบัติและขอบเขตการดำเนินงานของคณะกรรมการ ตรวจสอบ พ.ศ. 2551 ประกอบกับประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุนที่ ทจ. 28/2551 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอ ขายหุ้นที่ออกใหม่ (แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุนที่ ทจ. 4/2552 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอ ขายหุ้นที่ออกใหม่ ฉบับที่ 2) คณะกรรมการตรวจสอบมีภารกิจในการช่วยคณะกรรมการบริษัทให้ปฏิบัติหน้าที่ความรับผิดชอบ ด้วยความระมัดระวัง รอบคอบ และด้วยความชำนาญ เพื่อสอบทาน ตรวจตรา กระบวนการรายงานทางการเงิน และระเบียบการควบคุมภายในของบริษัท และ/หรือ บริษัทย่อย เพื่อป้องกันผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้เสียของบริษัท และจัดเตรียมการประชุมและหัวข้อการประชุมอย่างเป็นทางการ เพื่อ การสื่อสารระหว่างกันของคณะกรรมการบริษัทและผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ฝ่ายบัญชีและการเงินกลุ่มบริษัท ผู้ตรวจสอบภายในและผู้สอบ บัญชี เพื่อติดตามว่าระบบควบคุมภายในมีประสิทธิผล และรายงานประเด็นที่เกี่ยวข้องต่อคณะกรรมการบริษัท ทั้งนี้ มีกรรมการตรวจสอบหนึ่งคนเป็นผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์เพียงพอที่จะสามารถทำหน้าที่ในการสอบทานความน่าเชื่อถือ ของงบการเงิน คือ นายสถาพร กวิตานนท์ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553 คณะกรรมการตรวจสอบ มีกรรมการตรวจสอบจำนวน 3 คน ดังนี้ 1. นายสถาพร กวิตานนท์ ประธานกรรมการตรวจสอบ (เป็นกรรมการตรวจสอบที่มีความรู้และประสบการณ์เพียงพอ ที่จะสามารถทำหน้าที่ ในการสอบทานความน่าเชื่อถือของงบการเงิน) 2. นายวีระวงค์ จิตต์มิตรภาพ กรรมการตรวจสอบ 3. นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ กรรมการตรวจสอบ นายประสิทธิ์ วัชรชัยโสภณสิริ เลขานุการคณะกรรมการตรวจสอบ


รายงานประจำปี 2553

• บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) 75

ขอบเขตอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการตรวจสอบมีหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในประกาศตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เรื่อง คุณสมบัติและขอบเขตการ ดำเนินงานของคณะกรรมการตรวจสอบ พ.ศ. 2551 (ซึ่งได้มีการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เรื่อง คุณสมบัติและขอบเขตการดำเนินงานของคณะกรรมการตรวจสอบ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2552) และตามที่กำหนดไว้ในกฎบัตร คณะกรรมการตรวจสอบของบริษัท ดังนี้ 1. สอบทานให้บริษัทมีรายงานทางการเงินอย่างถูกต้องและเพียงพอ 2. สอบทานให้บริษัทมีระบบการควบคุมภายใน (Internal Control) และระบบการตรวจสอบภายใน (Internal Audit) ที่เหมาะสม และมีประสิทธิผล และพิจารณาความเป็นอิสระของหน่วยงานตรวจสอบภายใน ตลอดจนให้ความเห็นชอบในการพิจารณาแต่งตั้ง โยกย้าย เลิกจ้างหัวหน้าหน่วยงานตรวจสอบภายใน หรือหน่วยงานอื่นใดที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการตรวจสอบภายใน 3. สอบทานให้บริษัทปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท 4. พิจารณา คัดเลือก เสนอแต่งตั้งบุคคลซึ่งมีความเป็นอิสระเพื่อทำหน้าที่เป็นผู้สอบบัญชีของบริษัท และเสนอค่าตอบแทนของ บุคคลดังกล่าว รวมทั้งเข้าร่วมประชุมกับผู้สอบบัญชี โดยไม่มีคณะจัดการเข้าร่วมประชุมอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง 5. พิจารณารายการที่เกี่ยวโยงกันหรือรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ให้เป็นไปตามกฎหมายและข้อกำหนดของ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ทั้งนี้ เพื่อให้มั่นใจว่ารายการดังกล่าวสมเหตุสมผลและเป็นประโยชน์สูงสุดต่อบริษัท 6. จัดทำรายงานของคณะกรรมการตรวจสอบโดยเปิดเผยไว้ในรายงานประจำปีของบริษัท ซึ่งรายการดังกล่าวต้องลงนามโดย ประธานคณะกรรมการตรวจสอบ และต้องประกอบด้วยข้อมูลอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (ก) ความเห็นเกี่ยวกับความถูกต้อง ครบถ้วน เป็นที่เชื่อถือได้ของรายงานทางการเงินของบริษัท (ข) ความเห็นเกี่ยวกับความเพียงพอของระบบควบคุมภายในของบริษัท (ค) ความเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์

แห่งประเทศไทย หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท (ง) ความเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสมของผู้สอบบัญชี (จ) ความเห็นเกี่ยวกับรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ (ฉ) จำนวนการประชุมคณะกรรมการตรวจสอบ และการเข้าร่วมประชุมของกรรมการตรวจสอบแต่ละท่าน (ช) ความเห็นหรือข้อสังเกตโดยรวมที่คณะกรรมการตรวจสอบได้รับจากการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎบัตร (Charter) (ซ) รายการอื่นที่เห็นว่าผู้ถือหุ้นและผู้ลงทุนทั่วไปควรทราบ ภายใต้ขอบเขตหน้าที่และความรับผิดชอบที่ได้รับมอบหมายจาก คณะกรรมการบริษัท 7. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่คณะกรรมการของบริษัทมอบหมาย 8. ดำเนินงานในทุกๆ เรื่องที่กฎหมาย ประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และประกาศตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทยกำหนดให้เป็นหน้าที่หรือสิ่งที่ต้องดำเนินการสำหรับคณะกรรมการตรวจสอบ ความรับผิดชอบของคณะกรรมการตรวจสอบ 1. หลังจากคณะกรรมการตรวจสอบได้รับทราบกรณีที่ผู้สอบบัญชีพบพฤติการณ์อันควรสงสัยว่ากรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคล ซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของบริษัทกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 มาตรา 281/2 วรรคสอง มาตรา 305 มาตรา 306 มาตรา 308 มาตรา 309 มาตรา 310 มาตรา 311 มาตรา 312 หรือมาตรา 313 ให้คณะกรรมการ ตรวจสอบ ดำเนินการตรวจสอบและรายงานผลการตรวจสอบในเบือ้ งต้นให้สาํ นักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และผู้สอบบัญชีทราบภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากผู้สอบบัญชี


76

2. ในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบหากพบหรือมีข้อสงสัยว่ามีรายการหรือการกระทำดังต่อไปนี้ ซึ่งอาจมี ผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัท ให้คณะกรรมการตรวจสอบรายงานต่อคณะกรรมการของ บริษัทเพื่อดำเนินการปรับปรุงแก้ไขภายในเวลาที่คณะกรรมการตรวจสอบเห็นสมควร (1) รายการที่เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ (2) การทุจริต หรือมีสิ่งผิดปกติหรือมีความบกพร่องที่สำคัญในระบบควบคุมภายใน (3) การฝ่าฝืนกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือกฎหมาย ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท หากคณะกรรมการบริษัทหรือผู้บริหารไม่ดำเนินการให้มีการแก้ไขปรับปรุงภายในเวลาที่คณะกรรมการตรวจสอบกำหนด กรรมการ ตรวจสอบรายใดรายหนึง่ อาจรายงานว่ามีรายการ หรือการกระทำดังกล่าวต่อสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย การประชุมคณะกรรมการตรวจสอบ กฎบัตรคณะกรรมการตรวจสอบกำหนดให้คณะกรรมการตรวจสอบควรมีการประชุมไม่น้อยกว่า 4 ครั้ง ต่อปีและควรจัดประชุม

ร่วมกับผู้สอบบัญชีโดยไม่มีฝ่ายจัดการอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง สำหรับการประชุมคณะกรรมการตรวจสอบ ในปี 2553 มีการประชุมรวมทั้งสิ้น 6 ครั้ง โดยประชุมตามวาระปกติจำนวน 5 ครั้ง และ มีการประชุมในวาระพิเศษร่วมกับผูส้ อบบัญชี โดยไม่มคี ณะจัดการของบริษทั จำนวน 1 ครัง้ ซึง่ การเข้าร่วมประชุมของกรรมการตรวจสอบ แต่ละท่าน สรุปได้ดังนี้

รายนามคณะกรรมการตรวจสอบ

1. นายสถาพร กวิตานนท์ 2. นายวีระวงค์ จิตต์มิตรภาพ 3. นายสุวิทย์ เมษินทรีย์

ตำแหน่ง

จำนวนครั้งที่เข้าประชุม

ประธานกรรมการ กรรมการ กรรมการ

4/6 6/6 6/6

3) คณะกรรมการบริหาร กฎบัตรคณะกรรมการบริหารกำหนดให้คณะกรรมการบริหารประกอบด้วยประธานคณะกรรมการบริหารและสมาชิกอีกอย่างน้อย 2 คน ซึ่งทั้งหมดมาจากการแต่งตั้งของที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ปัจจุบันคณะกรรมการบริหารมีกรรมการจำนวนทั้งสิ้น 10 คน ซึ่งเป็นผู้มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามที่แสดงถึงการขาดความเหมาะสม ที่จะได้รับความไว้วางใจให้บริหารจัดการกิจการตาม หลั ก เกณฑ์ ที่ ค ณะกรรมการกำกั บ หลั ก ทรั พ ย์ แ ละตลาดหลั ก ทรั พ ย์ ป ระกาศกำหนด และไม่ ด ำรงตำแหน่ ง เป็ น กรรมการอิ ส ระใน คณะกรรมการบริษัท คณะกรรมการบริหารมีภารกิจในการรับนโยบายการบริหารงานจากคณะกรรมการบริษัท มาจัดทำเป็นแผนงานของบริษัทเพื่อนำมา ปฏิบัติ ติดตามผลการดำเนินงานเพื่อให้เป็นไปตามแนวนโยบาย ติดตามการแก้ไขปัญหาในการปฏิบัติงานโดยทั่วไปและรายงานถึง กิจกรรมที่คณะกรรมการบริหารได้ดำเนินการไปแล้วต่อคณะกรรมการบริษัท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553 คณะกรรมการบริหาร มีกรรมการบริหารจำนวน 10 คน ดังนี้ 1. นายเจริญ สิริวัฒนภักดี ประธานกรรมการบริหาร 2. นายชัยยุทธ ปิลันธน์โอวาท รองประธานกรรมการบริหาร 3. นายธีรศักดิ์ นาทีกาญจนลาภ รองประธานกรรมการบริหาร 4. นายประเสริฐ เมฆวัฒนา รองประธานกรรมการบริหาร


รายงานประจำปี 2553

• บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) 77

5. นายอัศวิน เตชะเจริญวิกุล กรรมการบริหาร 6. นางฐาปณี เตชะเจริญวิกุล กรรมการบริหาร 7. นายสิทธิชัย ชัยเกรียงไกร กรรมการบริหาร 8. นายสุวรรณ วลัยเสถียร กรรมการบริหาร 9. นายฐาปน สิริวัฒนภักดี กรรมการบริหาร 10. นายปณต สิริวัฒนภักดี กรรมการบริหาร นางกมลวรรณ ศิวรักษ์ เลขานุการคณะกรรมการบริหาร ขอบเขตอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการบริหาร มติที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 9/2553 ประชุมเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2553 มีมติอนุมัติกฎบัตรคณะกรรมการบริหาร เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางกำกับดูแลกิจการที่ดี โดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 11 พฤศจิกายน 2553 เป็นต้นไป ซึ่งคณะกรรมการ บริหารมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ 1. จัดทำและนำเสนอนโยบายทางธุรกิจ เป้าหมาย แผนการดำเนินงาน กลยุทธ์ทางธุรกิจ และงบประมาณประจำปีของบริษัท เพื่อ ขออนุมัติต่อคณะกรรมการบริษัท 2. กำหนดแผนธุรกิจ งบประมาณและอำนาจบริหารต่างๆ ของบริษัทเพื่อขออนุมัติต่อคณะกรรมการบริษัท 3. ควบคุมดูแลการดำเนินธุรกิจของบริษัทให้เป็นไปตามนโยบายทางธุรกิจ เป้าหมาย แผนการดำเนินงาน กลยุทธ์ทางธุรกิจ และ งบประมาณที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัท 4. มีอำนาจพิจารณาอนุมัติการใช้จ่ายเงินเพื่อการลงทุนหรือการดำเนินงานต่างๆ การกู้ยืมหรือการขอสินเชื่อใดๆ จากสถาบัน

การเงิน การให้กยู้ มื เงิน ตลอดจนการเข้าเป็นผูค้ ำ้ ประกัน เพือ่ การทำธุรกรรมตามปกติของบริษทั และเป็นไปเพือ่ ประโยชน์ในการดำเนินงาน ตามวัตถุประสงค์ของบริษัท ภายในวงเงินตามที่คณะกรรมการบริษัทกำหนด 5. กำหนดโครงสร้างองค์กรและอำนาจการบริหารจัดการ โดยให้ครอบคลุมรายละเอียดการคัดเลือก การว่าจ้าง การโยกย้าย การฝึกอบรม และการเลิกจ้างพนักงานของบริษัทที่เป็นคณะจัดการ หรือ ผู้บริหารระดับสูง และการลงนามในสัญญาจ้างแรงงานตามที่ คณะกรรมการกำหนด 6. กำกับดูแลและอนุมัติเรื่องที่เกี่ยวกับการดำเนินงานของบริษัท และอาจแต่งตั้งหรือมอบหมายให้บุคคลหนึ่งหรือหลายคน กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดแทนคณะกรรมการบริหารตามที่เห็นสมควรได้ และคณะกรรมการบริหารสามารถยกเลิก เปลี่ยนแปลง หรือ แก้ไขอำนาจนั้นๆ ได้ 7. ปฏิบัติหน้าที่อื่นใดตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัท การประชุมคณะกรรมการบริหาร การประชุมคณะกรรมการบริหาร ในปี 2553 ตามวาระปกติจัดขึ้นจำนวน 4 ครั้ง ซึ่งการเข้าร่วมประชุมของกรรมการบริหารแต่ละ ท่าน สรุปได้ดังนี้

รายนามคณะกรรมการบริหาร 1. 2. 3. 4.

นายเจริญ สิริวัฒนภักดี นายชัยยุทธ ปิลันธน์โอวาท นายธีรศักดิ์ นาทีกาญจนลาภ นายประเสริฐ เมฆวัฒนา

ตำแหน่ง

จำนวนครั้งที่เข้าประชุม

ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ

4/4 4/4 4/4 4/4


78

รายนามคณะกรรมการบริหาร 5. 6. 7. 8. 9. 10.

นายอัศวิน เตชะเจริญวิกุล นางฐาปณี เตชะเจริญวิกุล นายสิทธิชัย ชัยเกรียงไกร นายสุวรรณ วลัยเสถียร นายฐาปน สิริวัฒนภักดี นายปณต สิริวัฒนภักดี

ตำแหน่ง

จำนวนครั้งที่เข้าประชุม

กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ

4/4 4/4 3/4 4/4 3/4 4/4

4) คณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน กฎบัตรคณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน กำหนดให้คณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน ประกอบด้วย ประธานกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน และสมาชิกอีกอย่างน้อย 2 คน ซึง่ ทัง้ หมดมาจากการแต่งตัง้ ของทีป่ ระชุมคณะกรรมการ บริษัท และต้องไม่เป็นประธานกรรมการบริษัท ปัจจุบันคณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทนมีกรรมการทั้งสิ้น 3 คน โดยมีกรรมการที่เป็นกรรมการอิสระจำนวน 2 คน และ ประธานกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทนเป็นกรรมการอิสระ ตามที่กำหนดไว้ในหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553 มีกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน จำนวน 3 คน ดังนี้ 1. นายสถาพร กวิตานนท์ ประธานกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน 2. นายชัยยุทธ ปิลันธน์โอวาท กรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน 3. นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ กรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน นางฐาปณี เตชะเจริญวิกุล เลขานุการคณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน ขอบเขตอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน มติที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 7/2551 ประชุมเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2551 มีมติให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงกฎบัตรของ คณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทนเพือ่ ให้สอดคล้องกับแนวทางกำกับดูแลกิจการทีด่ ี โดยให้มผี ลบังคับใช้ตงั้ แต่วนั ที่ 1 มีนาคม 2552 เป็นต้นไป โดยคณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทนมีขอบเขตอำนาจหน้าที่ ดังนี้ 1. ดำเนินงานในทุกๆ เรื่องที่กฎหมาย ประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และประกาศ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กำหนดให้เป็นหน้าที่หรือสิ่งที่ต้องดำเนินการสำหรับคณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน 2. พิจารณาและเสนอชื่อบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อแต่งตั้งเป็นกรรมการบริษัท 3. พิจารณาและเสนอชื่อบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทเพื่อแต่งตั้งเป็นกรรมการผู้จัดการ ใหญ่ และผู้บริหารระดับสูงตั้งแต่ระดับรองผู้จัดการใหญ่ขึ้นไป 4. พิจารณากำหนดหลักเกณฑ์สำหรับการกำหนดค่าตอบแทนให้แก่กรรมการ และกรรมการผู้จัดการใหญ่ และผู้บริหารระดับสูง ตั้งแต่ระดับรองผู้จัดการใหญ่ขึ้นไป แล้วนำเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทเพื่อขออนุมัติ รวมทั้งสอบทานให้บริษัทมีหลักเกณฑ์ สำหรับการกำหนดค่าตอบแทนที่เหมาะสมอยู่เสมอ 5. พิจารณากำหนดค่าตอบแทนประจำปีและโบนัสประจำปีให้แก่กรรมการ กรรมการผู้จัดการใหญ่และผู้บริหารระดับสูงตั้งแต่ ระดับรองผู้จัดการใหญ่ขึ้นไป แล้วนำเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทและ/หรือที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่ออนุมัติ 6. พิจารณากำหนดหลักเกณฑ์ในการกำหนดค่าตอบแทนประจำปีและโบนัสประจำปีให้แก่พนักงานแล้วนำเสนอต่อที่ประชุม คณะกรรมการบริษัท


รายงานประจำปี 2553

• บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) 79

7. จัดทำรายงานของคณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทนเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทตามที่เห็นเหมาะสมหรือ เมื่อได้รับการร้องขอ 8. พิจารณากำหนดเงือ่ นไขต่างๆ ในกรณีทบี่ ริษทั จะทำการเสนอขายหลักทรัพย์ทอี่ อกใหม่เพือ่ จูงใจให้ปฏิบตั หิ น้าที่ ให้แก่กรรมการ และพนักงาน แล้วนำเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทและ/หรือที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่ออนุมัติ 9. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทมอบหมาย การประชุมคณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน การประชุมคณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน ในปี 2553 จัดขึ้นจำนวน 4 ครั้ง ซึ่งการเข้าร่วมประชุมของกรรมการสรรหา และกำหนดค่าตอบแทน แต่ละท่าน สรุปได้ดังนี้

รายนามคณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน

1. นายสถาพร กวิตานนท์ 2. นายชัยยุทธ ปิลันธน์โอวาท 3. นายสุวิทย์ เมษินทรีย์

ตำแหน่ง

จำนวนครั้งที่เข้าประชุม

ประธานกรรมการ กรรมการ กรรมการ

4/4 4/4 4/4

5) คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง กฎบัตรคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงกำหนดให้คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงประกอบด้วยประธานกรรมการบริหารความเสี่ยง และสมาชิกอีกอย่างน้อย 2 คน ซึ่งทั้งหมดมาจากการแต่งตั้งโดยที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงมีภารกิจในการนำเสนอนโยบายและกรอบการบริหารความเสี่ยง เพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติ ภายในกลุ่มบริษัท สนับสนุนการอบรม รวบรวม ติดตามความเสี่ยงเพื่อให้เกิดความตระหนักและเข้าใจในความสำคัญของการบริหาร ความเสี่ยง และสามารถนำไปปฏิบัติได้ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553 คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงมีจำนวน 10 คน ดังนี้ 1. นายอัศวิน เตชะเจริญวิกุล ประธานคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง 2. นายธีรศักดิ์ นาทีกาญจนลาภ กรรมการบริหารความเสี่ยง 3. นายประเสริฐ เมฆวัฒนา กรรมการบริหารความเสี่ยง 4. นายสิทธิชัย ชัยเกรียงไกร กรรมการบริหารความเสี่ยง 5. นางฐาปณี เตชะเจริญวิกุล กรรมการบริหารความเสี่ยง และเลขานุการคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง 6. นายปีเตอร์ เอมิล รอมฮิลด์ กรรมการบริหารความเสี่ยง กรรมการบริหารความเสี่ยง 7. นายสมพร ภูมิวัฒน์ (1) 8. นายปฐพงศ์ เอี่ยมสุโร กรรมการบริหารความเสี่ยง 9. นายธีระพล เกียรติสุรนนท์ กรรมการบริหารความเสี่ยง กรรมการบริหารความเสี่ยง 10. นายธีระ วีระธรรมสาธิต (1) หมายเหตุ (1) นายสมพร ภูมวิ ฒ ั น์ และนายธีระ วีระธรรมสาธิต ได้รบั การแต่งตัง้ ให้ดำรงตำแหน่งกรรมการบริหารความเสีย่ งเพิม่ เติม เมือ่ วันที่ 12 เมษายน 2553 โดยมติที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทครั้งที่ 3/2553 ประชุมเมื่อวันที่ 12 เมษายน 2553


80

ขอบเขตอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง มติที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 7/2551 ประชุมเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2551 มีมติให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงกฎบัตรของ คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางการกำกับดูแลกิจการที่ดี โดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2552 เป็นต้นไป โดยคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ 1. ดำเนินงานในทุกๆ เรื่องที่กฎหมายประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และประกาศ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กำหนดให้เป็นหน้าที่หรือสิ่งที่ต้องดำเนินการสำหรับคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง 2. พิจารณาความเสี่ยงที่สำคัญในระดับองค์กรเพื่อการดำเนินธุรกิจของบริษัทในทุกๆ ด้าน ซึ่งรวมถึงการพัฒนาขีดความสามารถ ขององค์กร การผลิตเพื่อให้เกิดความปลอดภัยและไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม การลงทุน การเงินและพาณิชย์ กฎหมาย และกฎระเบียบต่างๆ เพื่อกำหนดเป็นนโยบายการบริหารความเสี่ยงของธุรกิจที่สามารถวิเคราะห์ ประเมินผล และติดตามกระบวนการ บริหารความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิผล แล้วนำเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทเพื่อขออนุมัติ 3. สอบทานให้ บ ริ ษั ท มี น โยบายการบริ ห ารความเสี่ ย งของธุ ร กิ จ ที่ เ หมาะสมและมี ป ระสิ ท ธิ ผ ล รวมทั้ ง จั ด ทำรายงานของ คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารตามที่เห็นเหมาะสมหรือเมื่อได้รับการร้องขอ 4. กำหนดกลยุ ท ธ์ ที่ จ ะใช้ ใ นการบริ ห ารความเสี่ ย งให้ ส อดคล้ อ งกั บ นโยบายการบริ ห ารความเสี่ ย งของธุ ร กิ จ ซึ่ ง ที่ ป ระชุ ม คณะกรรมการบริษัทได้อนุมัติแล้ว พร้อมทั้งวิเคราะห์ ประเมินผล และติดตามการปฏิบัติตามนโยบายการบริหารความเสี่ยงของธุรกิจ ที่กำหนดไว้แล้ว 5. กำกับดูแลและสนับสนุนให้การบริหารความเสี่ยงประสบความสำเร็จทั้งในระดับองค์กรและระดับโครงการ (Enterprise Wide Risk Management) โดยมุ่งเน้นเพิ่มการให้คณะจัดการและพนักงานให้ความสำคัญและคำนึงถึงความเสี่ยง (Risk Awareness) ใน แต่ละปัจจัยเป็นหลักประกอบการตัดสินใจในการใช้ทรัพยากรและดำเนินการต่างๆ อย่างเหมาะสมและเพียงพอและให้การสนับสนุนการ ทำงานของ คณะอนุกรรมการบริหารความเสี่ยง (Risk Management Subcommittee) และ/หรือ ผู้บริหารความเสี่ยง (Risk Manager) 6. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทมอบหมาย การประชุมคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง กฎบัตรคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงกำหนดให้ควรมีการประชุมอย่างน้อยปีละ 4 ครั้ง สำหรับการประชุมคณะกรรมการบริหาร ความเสี่ยง ในปี 2553 ตามวาระปกติจัดขึ้นจำนวน 4 ครั้ง ซึ่งการเข้าร่วมประชุมของกรรมการบริหารความเสี่ยงแต่ละท่าน สรุปได้ดังนี้

รายนามคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง 1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8. 9. 10.

นายอัศวิน เตชะเจริญวิกุล นายธีรศักดิ์ นาทีกาญจนลาภ นายประเสริฐ เมฆวัฒนา นายสิทธิชัย ชัยเกรียงไกร นางฐาปณี เตชะเจริญวิกุล นายปีเตอร์ เอมิล รอมฮิลด์ นายสมพร ภูมิวัฒน์ (1) นายปฐพงศ์ เอี่ยมสุโร นายธีระพล เกียรติสุรนนท์ นายธีระ วีระธรรมสาธิต (1)

ตำแหน่ง

จำนวนครั้งที่เข้าประชุม

ประธานกรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ

4/4 4/4 4/4 2/4 0/4 4/4 2/3 4/4 4/4 2/3

หมายเหตุ (1) นายสมพร ภูมวิ ฒ ั น์ และนายธีระ วีระธรรมสาธิต ได้รบั การแต่งตัง้ ให้ดำรงตำแหน่งกรรมการบริหารความเสีย่ งเพิม่ เติม เมือ่ วันที่ 12 เมษายน 2553 โดยมติที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทครั้งที่ 3/2553 ประชุมเมื่อวันที่ 12 เมษายน 2553


รายงานประจำปี 2553

• บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) 81

6) คณะจัดการ เพือ่ ให้การดำเนินธุรกิจของทุกธุรกิจดำเนินไปในทิศทางเดียวกันอย่างสอดคล้องกับนโยบายทางธุรกิจ เป้าหมาย แผนการดำเนินงาน และกลยุทธ์ทางธุรกิจ ที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัท ฝ่ายบริหารจัดให้มีคณะจัดการประกอบด้วย ผู้บริหารระดับสูงใน แต่ละธุรกิจ และมีกรรมการผู้จัดการใหญ่ ในฐานะผู้นำฝ่ายบริหารเป็นประธาน คณะจัดการมีหน้าที่บริหารงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจของบริษัทในแต่ละธุรกิจ ภายใต้นโยบายทางธุรกิจ เป้าหมาย แผนการดำเนินงาน กลยุทธ์ทางธุรกิจต่างๆ ที่กำหนดไว้ ตลอดจนรับผิดชอบผลการดำเนินงานโดยรวม ควบคุมค่าใช้จ่ายและงบลงทุน ตามขอบเขตที่คณะกรรมการบริษัทอนุมัติในแผนงานประจำปี ดำเนินการตามนโยบายด้านบุคคล แก้ไขปัญหาหรือความขัดแย้งที่ม ี

ผลกระทบต่อองค์กร และดำรงไว้ซึ่งการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553 คณะจัดการ ประกอบด้วยผู้บริหารระดับสูงจำนวน 7 คน ดังนี้ 1. นายอัศวิน เตชะเจริญวิกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ 2. นางฐาปณี เตชะเจริญวิกุล กรรมการรองผู้จัดการใหญ่อาวุโส 3. นายปีเตอร์ เอมิล รอมฮิลด์ รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส กลุ่มสินค้าและบริการทางเทคนิค / กลุ่มธุรกิจต่างประเทศ 4. นายปฐพงศ์ เอี่ยมสุโร รองผู้จัดการใหญ่ กลุ่มสินค้าและบริการทางอุปโภคบริโภค 5. นายธีระพล เกียรติสุรนนท์ รองผู้จัดการใหญ่ กลุ่มสินค้าและบริการทางเวชภัณฑ์ 6. นายสมพร ภูมิวัฒน์ รองผู้จัดการใหญ่ กลุ่มบรรจุภัณฑ์ 7. นายธีระ วีระธรรมสาธิต ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ฝ่ายทรัพยากรบุคคลกลุ่มบริษัท การแบ่งแยกบทบาทหน้าที่ระหว่างคณะกรรมการบริษัทกับคณะจัดการ เพื่อให้การแบ่งแยกหน้าที่ในเรื่องการกำหนดนโยบายของบริษัท และการบริหารงานประจำของบริษัทออกจากกัน และเพื่อ ให้กรรมการบริษัททำหน้าที่สอดส่อง ดูแล และประเมินผลการบริหารงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ บริษัทจึงได้แบ่งแยกบทบาทหน้าที ่

ความรับผิดชอบระหว่างคณะกรรมการบริษัทกับคณะจัดการของบริษัทอย่างชัดเจน โดยคณะกรรมการบริษัททำหน้าที่ในการกำหนด นโยบายและกำกั บ ดู แ ลการดำเนิ น งานของคณะจั ด การของบริ ษั ท ในระดั บ นโยบายผ่ า นคณะกรรมการชุ ด ย่ อ ยชุ ด ต่ า งๆ ได้ แ ก่ คณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน คณะกรรมการบริหาร และคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง ขณะที่คณะจัดการของบริษัททำหน้าที่บริหารงานรายวันในด้านต่างๆ ให้เป็นไปตามนโยบายที่กำหนด ดังนั้น ประธานกรรมการบริษัท และกรรมการผู้จัดการใหญ่ จึงเป็นบุคคลคนละคนกันเสมอ โดยทั้งสองตำแหน่งต้องเป็นกรรมการบริษัท ทั้งนี้ คณะกรรมการสรรหาและ กำหนดค่าตอบแทนจะเป็นผู้สรรหาเพื่อเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทเพื่อพิจารณาแต่งตั้ง ประธานกรรมการต้องคอยสอดส่อง ดูแลการบริหารจัดการของฝ่ายจัดการ คอยให้คำแนะนำ ช่วยเหลือ แต่ต้องไม่มีส่วนร่วม และไม่ก้าวก่ายในการบริหารงานปกติประจำวัน โดยให้เป็นหน้าที่ของกรรมการผู้จัดการใหญ่ภายใต้กรอบอำนาจที่ได้รับจากคณะกรรมการบริษัท นอกจากนี้ คณะกรรมการบริษัทยังเป็น ผู้กำหนดแผนการสืบทอดตำแหน่งของผู้บริหารระดับสูง ผ่านคำแนะนำของคณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน โดยจะมีการ ทบทวนแผนดังกล่าวเป็นประจำทุกปี ประธานกรรมการ ไม่ได้เป็นกรรมการที่เป็นผู้บริหาร และไม่มีส่วนร่วมในการบริหารงานของบริษัท เพื่อให้แบ่งแยกหน้าที่ระหว่าง การกำกับดูแลเชิงนโยบายของบริษัทกับการบริหารงานได้อย่างชัดเจน นอกจากนี้ ประธานกรรมการยังมีภาวะผู้นำ ดูแลกรรมการมิให้อยู่ ภายใต้อิทธิพลของฝ่ายบริหาร โดยทำหน้าที่ประธานในที่ประชุมทั้งในการประชุมคณะกรรมการ และการประชุมผู้ถือหุ้นอย่างเป็นธรรม มีประสิทธิภาพ สนับสนุนและผลักดันให้ผู้เข้าร่วมประชุมใช้สิทธิออกเสียง ปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีอย่างเคร่งครัด กรรมการอิสระ บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) มีกรรมการบริษัททั้งหมด 15 คน โดยมีกรรมการอิสระจำนวน 5 คน คิดเป็นหนึ่งในสามของ จำนวนคณะกรรมการบริษัททั้งหมด ประกอบด้วย


82

1. นายสถาพร กวิตานนท์ กรรมการอิสระ 2. นายวีระวงค์ จิตต์มิตรภาพ กรรมการอิสระ 3. นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ กรรมการอิสระ 4. นายประสิทธิ์ โฆวิไลกูล กรรมการอิสระ 5. นางสาวพจนีย์ ธนวรานิช กรรมการอิสระ บริษทั ได้กำหนดคุณสมบัตกิ รรมการอิสระไว้เทียบเท่ากับคุณสมบัตทิ กี่ ำหนดในประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุนที่ ทจ. 28/2551 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ (แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุนที่ ทจ. 4/2552 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ ฉบับที่ 2) กล่าวคือ “กรรมการอิสระ” หมายถึง กรรมการที่มีคุณสมบัติ ดังนี้ 1. ถือหุ้นไม่เกินร้อยละหนึ่งของจำนวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัท บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้มีอำนาจควบคุมของบริษัท ทั้งนี้ ให้นับรวมการถือหุ้นของผู้ที่เกี่ยวข้องของกรรมการอิสระรายนั้นๆ ด้วย 2. ไม่เป็นหรือเคยเป็นกรรมการที่มีส่วนร่วมบริหารงาน ลูกจ้าง พนักงาน ที่ปรึกษาที่ได้เงินเดือนประจำ หรือผู้มีอำนาจควบคุมของ บริษัท บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม บริษัทย่อยลำดับเดียวกัน ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือของผู้มีอำนาจควบคุมของบริษัท เว้นแต่จะได้ พ้นจากการมีลักษณะดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่าสองปี ทั้งนี้ ลักษณะต้องห้ามดังกล่าวไม่รวมถึงกรณีที่กรรมการอิสระเคยเป็นข้าราชการ หรือที่ปรึกษา ของส่วนราชการซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้มีอำนาจควบคุมของบริษัท 3. ไม่เป็นบุคคลที่มีความสัมพันธ์ทางสายโลหิต หรือโดยการจดทะเบียนตามกฎหมาย ในลักษณะที่เป็น บิดามารดา คู่สมรส พี่น้อง และบุตร รวมทั้งคู่สมรสของบุตร ของผู้บริหาร ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ผู้มีอำนาจควบคุม หรือบุคคลที่จะได้รับการเสนอให้เป็นผู้บริหาร หรือผู้มีอำนาจควบคุมของบริษัทหรือบริษัทย่อย 4. ไม่มีหรือเคยมีความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับบริษัท บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้มีอำนาจควบคุมของ บริษัท ในลักษณะที่อาจเป็นการขัดขวางการใช้วิจารณญาณอย่างอิสระของตน รวมทั้งไม่เป็นหรือเคยเป็นผู้ถือหุ้นที่มีนัย หรือผู้มีอำนาจ ควบคุมของผู้ที่มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับบริษัท บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม ผู้ถือหุ้นรายใหญ่หรือผู้มีอำนาจควบคุมของบริษัท เว้นแต่จะได้พ้นจากการมีลักษณะดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่าสองปี ความสัมพันธ์ทางธุรกิจ รวมถึงการทำรายการทางการค้าที่กระทำเป็นปกติเพื่อประกอบกิจการ การเช่าหรือให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ รายการเกี่ยวกับสินทรัพย์หรือบริการ หรือการให้หรือรับความช่วยเหลือทางการเงิน ด้วยการรับหรือให้กู้ยืม ค้ำประกัน การให้สินทรัพย์ เป็นหลักประกันหนี้สิน รวมถึงพฤติการณ์อื่นทำนองเดียวกัน ซึ่งเป็นผลให้บริษัทหรือคู่สัญญามีภาระหนี้ ที่ต้องชำระต่ออีกฝ่ายหนึ่ง ตั้งแต่ ร้อยละสามของสินทรัพย์ที่มีตัวตนสุทธิของบริษัทหรือตั้งแต่ยี่สิบล้านบาทขึ้นไป แล้วแต่จำนวนใดจะต่ำกว่า ทั้งนี้ การคำนวณภาระหนี้ ดังกล่าวให้เป็นไปตามวิธีการคำนวณมูลค่าของรายการที่เกี่ยวโยงกันตามประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์ ในการทำรายการที่เกี่ยวโยงกันโดยอนุโลม แต่ในการพิจารณาภาระหนี้ดังกล่าว ให้นับรวมภาระหนี้ที่เกิดขึ้นในระหว่างหนึ่งปีก่อนวันที่มี ความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับบุคคลเดียวกัน 5. ไม่เป็นหรือเคยเป็นผู้สอบบัญชีของบริษัท บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้มีอำนาจควบคุมของบริษัท และไม่เป็นผู้ถือหุ้นที่มีนัย ผู้มีอำนาจควบคุม หรือหุ้นส่วนของสำนักงานสอบบัญชี ซึ่งมีผู้สอบบัญชีของบริษัท บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้มีอำนาจควบคุมของบริษัทสังกัดอยู่ เว้นแต่จะได้พ้นจากการมีลักษณะดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่า สองปี 6. ไม่เป็นหรือเคยเป็นผู้ให้บริการทางวิชาชีพใดๆ ซึ่งรวมถึงการให้บริการเป็นที่ปรึกษากฎหมายหรือที่ปรึกษาทางการเงิน ซึ่งได้รับ ค่าบริการเกินกว่าสองล้านบาทต่อปีจากบริษัท บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้มีอำนาจควบคุมของบริษัท และไม่เป็นผู้ถือหุ้นที่มีนัย ผู้มีอำนาจควบคุม หรือหุ้นส่วนของผู้ให้บริการทางวิชาชีพนั้นด้วย เว้นแต่จะได้พ้นจากการมีลักษณะดังกล่าว มาแล้วไม่น้อยกว่าสองปี


รายงานประจำปี 2553

• บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) 83

7. ไม่เป็นกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนของกรรมการของบริษัท ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือ ผู้ถือหุ้นซึ่งเป็นผู้ที่ เกี่ยวข้องกับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ 8. ไม่ประกอบกิจการที่มีสภาพอย่างเดียวกันและเป็นการแข่งขันที่มีนัยกับกิจการของบริษัท หรือบริษัทย่อย หรือไม่เป็นหุ้นส่วนที่มี นัยในห้างหุ้นส่วน หรือเป็นกรรมการที่มีส่วนร่วมบริหารงาน ลูกจ้าง พนักงาน ที่ปรึกษาที่รับเงินเดือนประจำ หรือถือหุ้นเกินร้อยละหนึ่ง ของจำนวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทอื่น ซึ่งประกอบกิจการที่มีสภาพอย่างเดียวกันและเป็นการแข่งขันที่มีนัยกับกิจการของ บริษัทหรือบริษัทย่อย 9. ไม่มีลักษณะอื่นใดที่ทำให้ไม่สามารถให้ความเห็นอย่างเป็นอิสระเกี่ยวกับการดำเนินงานของบริษัท ภายหลังได้รับการแต่งตั้งให้เป็นกรรมการอิสระที่มีลักษณะเป็นไปตามข้อ 1 ถึง 9 แล้ว กรรมการอิสระอาจได้รับมอบหมายจาก คณะกรรมการบริษัท ให้ตัดสินใจในการดำเนินกิจการของบริษัท บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม บริษัทย่อยลำดับเดียวกัน ผู้ถือหุ้น รายใหญ่ หรือผู้มีอำนาจควบคุมของบริษัท โดยมีการตัดสินใจในรูปแบบขององค์คณะ (collective decision) ได้ ในกรณีที่บุคคลที่บริษัทแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งกรรมการอิสระเป็นบุคคลที่มีหรือเคยมีความสัมพันธ์ทางธุรกิจหรือการให้บริการทาง วิชาชีพเกินมูลค่าที่กำหนดตามข้อ 4 หรือ ข้อ 6 ให้บริษัทได้รับการผ่อนผัน ข้อห้ามการมีหรือเคยมีความสัมพันธ์ทางธุรกิจหรือการให้ บริการทางวิชาชีพเกินมูลค่าดังกล่าว ก็ต่อเมื่อบริษัทได้จัดให้มีความเห็นคณะกรรมการบริษัทที่แสดงว่าได้พิจารณาตามหลักในมาตรา 89/7 แล้วว่า การแต่งตั้งบุคคลดังกล่าวไม่มีผลกระทบต่อการปฏิบัติหน้าที่และการให้ความเห็นที่เป็นอิสระ และจัดให้มีการเปิดเผยข้อมูล ต่อไปนี้ ในหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นในวาระพิจารณาแต่งตั้งกรรมการอิสระด้วย ก. ลักษณะความสัมพันธ์ทางธุรกิจหรือการให้บริการทางวิชาชีพ ที่ทำให้บุคคลดังกล่าวมีคุณสมบัติไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ที่กำหนด ข. เหตุผลและความจำเป็นที่ยังคงหรือแต่งตั้งให้บุคคลดังกล่าวเป็นกรรมการอิสระ ค. ความเห็นของคณะกรรมการของผู้ขออนุญาตในการเสนอให้มีการแต่งตั้งบุคคลดังกล่าวเป็นกรรมการอิสระ เพื่อประโยชน์ตามข้อ 5 และ ข้อ 6 คำว่า “หุ้นส่วน” หมายความว่า บุคคลที่ได้รับมอบหมายจากสำนักงานสอบบัญชี หรือผู้ให้บริการ ทางวิชาชีพ ให้เป็นผู้ลงลายมือชื่อในรายงานการสอบบัญชี หรือรายงานการให้บริการทางวิชาชีพ (แล้วแต่กรณี) ในนามของนิติบุคคลนั้น กรรมการอิสระที่มีความสัมพันธ์ในการให้บริการทางวิชาชีพ จากการพิจารณาคุณสมบัติของกรรมการอิสระพบว่า นายวีระวงค์ จิตต์มิตรภาพ เป็นผู้ให้บริการทางวิชาชีพในลักษณะของการเป็น ที่ปรึกษากฎหมายของบริษัท และในปี 2553 ได้รับค่าตอบแทนจากบริษัทในการให้บริการเป็นที่ปรึกษากฎหมายของบริษัท เป็นจำนวน เงินเกินกว่า 2,000,000 บาท ทำให้มีคุณสมบัติไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดตามประกาศคณะกรรมการตลาดทุน ที่ ทจ. 28/2551 เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ (แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการตลาดทุน ที่ ทจ. 4/2552 เรื่อง การขออนุ ญ าตและการอนุ ญ าตให้ เ สนอขายหุ้ น ที่ อ อกใหม่ ฉบั บ ที่ 2) แต่ เ นื่ อ งจากนายวี ร ะวงค์ จิ ต ต์ มิ ต รภาพ เป็ น ผู้ ที่ มี ค วามรู้ ความสามารถ ตลอดจนมีความเชี่ยวชาญในด้านกฎหมายต่างๆ และเป็นที่ยอมรับจากบุคคลทั่วไปรวมถึงองค์กรต่างๆ ที่มีบทบาทสำคัญ

ในการพัฒนาความเป็นมืออาชีพของกรรมการและส่งเสริมให้เกิดการกำกับดูแลกิจการที่ดีในประเทศไทย นอกจากนี้ นายวีระวงค์ จิตต์มิตรภาพ ยังได้ปฏิบัติหน้าที่ของตนอย่างเต็มความสามารถซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์อย่างมากต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัท โดยปฏิบัติ หน้าที่เป็นกรรมการอิสระ ด้วยความรับผิดชอบ ระมัดระวัง ซื่อสัตย์สุจริต รวมถึงไม่มีผลประโยชน์ขัดแย้งใดๆ เกิดจากปฏิบัติหน้าที่ตลอด ระยะเวลา 8 ปี ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทครั้งที่ 3/2553 ได้พิจารณาตามหลักในมาตรา 89/7 แล้ว และมีมติเป็นเอกฉันท์รับรองคุณสมบัติของ นายวีระวงค์ จิตต์มิตรภาพ ว่าไม่มีผลกระทบต่อการปฏิบัติหน้าที่และการให้ความเห็นที่เป็นอิสระ ทั้งนี้ บริษัทได้เปิดเผยข้อมูลนี้แล้วใน หนังสือนัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2553 ในวาระพิจารณาแต่งตั้งกรรมการ ซึ่งที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีมติอนุมัติแต่งตั้งนายวีระวงค์ จิตต์มิตรภาพ เป็นกรรมการอิสระต่อไป


84

เลขานุการบริษัท ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทครั้งที่ 5/2551 ได้แต่งตั้งให้ นายชินวัฒน์ ทองภักดี เป็นเลขานุการบริษัท โดยให้มีอำนาจหน้าที่ตามที่ กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และดำเนินการอื่นๆ ตามที่ คณะกรรมการกำกับตลาดทุนประกาศกำหนด

2. การสรรหากรรมการและผู้บริหาร 2.1 หลักเกณฑ์ วิธีการสรรหา และการแต่งตั้งบุคคลเป็นกรรมการบริษัท 1) วาระการดำรงตำแหน่งของกรรมการ ข้อบังคับบริษัท ข้อ 17 กำหนดให้ในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปีทุกครั้ง กรรมการจะต้องออกจากตำแหน่งอย่างน้อยจำนวนหนึ่งในสามของจำนวนกรรมการทั้งหมด โดยกรรมการที่ต้องออกจากตำแหน่งใน ปีแรก และปีที่สองภายหลังจดทะเบียนบริษัทนั้น ให้จับสลากว่าผู้ใดจะออก ส่วนในปีหลังๆ ต่อไปให้กรรมการที่อยู่ในตำแหน่งนานที่สุด เป็นผู้ออกจากตำแหน่ง ทั้งนี้ กรรมการผู้ออกจากตำแหน่งไปนั้นอาจได้รับการแต่งตั้งกลับเข้ามาเป็นกรรมการอีกวาระหนึ่งก็ได้ 2) การเสนอชื่อบุคคลเข้าเป็นกรรมการบริษัทโดยผู้ถือหุ้น ในปี 2553 บริษัทเปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นคนเดียวหรือหลายราย รวมกันที่ถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละห้าของจำนวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัท สามารถเสนอบุคคลเข้ารับการสรรหาเข้าดำรง ตำแหน่งกรรมการแทนกรรมการที่ครบรอบกำหนดออกตามวาระได้ล่วงหน้าก่อนการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี โดยผู้ถือหุ้นสามารถ ศึกษารายละเอียดตามข้อมูลที่เปิดเผยไว้ในเว็บไซต์บริษัท ที่ www.bjc.co.th โดยในปี 2553 บริษัทได้เปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นเสนอชื่อ บุคคลเข้าดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัทได้ตั้งแต่วันที่ 11 พฤศจิกายน 2553 จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2553 3) การสรรหากรรมการแทนกรรมการที่ครบรอบออกตามวาระ คณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทนจะเป็นผู้สรรหา และเสนอบุคคลที่เห็นว่ามีความเหมาะสมให้คณะกรรมการบริษัทพิจารณาก่อนเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นพิจารณาแต่งตั้งต่อไป ซึ่งการ แต่งตั้งกรรมการเป็นอำนาจของผู้ถือหุ้นทุกรายอย่างเท่าเทียมกันที่จะใช้สิทธิออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหุ้น 4) การแต่งตั้งกรรมการแทนตำแหน่งกรรมการที่ว่างลงเพราะเหตุอื่นนอกจากถึงคราวออกตามวาระ คณะกรรมการบริษัทจะ คัดเลือกบุคคลซึ่งมีคุณสมบัติเหมาะสม และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กฎหมายกำหนดเข้าเป็นกรรมการแทน (เว้นแต่ในกรณีที่วาระ กรรมการที่ได้ว่างลงนั้นจะเหลือน้อยกว่าสองเดือน ให้คณะกรรมการบริษัทเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาแต่งตั้ง) โดยบุคคลที่ เข้าแทนจะอยู่ในตำแหน่งได้เพียงเท่าวาระที่ยังเหลืออยู่ของกรรมการที่ตนแทน ทั้งนี้ มติของคณะกรรมการบริษัทในการแต่งตั้งบุคคลเข้าเป็นกรรมการในกรณีนี้ต้องประกอบด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า

สามในสี่ของจำนวนกรรมการที่ยังเหลืออยู่ 5) คุณสมบัติของบุคคลที่เข้ารับการพิจารณาแต่งตั้งเป็นกรรมการ กฎหมายกำหนดให้กรรมการต้องเป็นบุคคลธรรมดาและมีคุณสมบัติ ดังนี้ (1) บรรลุนิติภาวะ (2) ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย คนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ (3) ไม่เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ที่ได้กระทำโดยทุจริต (4) ไม่เคยถูกลงโทษไล่ออกหรือปลดออกจากราชการหรือองค์กร หรือหน่วยงานของรัฐ ฐานทุจริตต่อหน้าที่ นอกจากนี้ กรรมการต้องไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ (1) เป็นบุคคลที่ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ บุคคลล้มละลาย คนไร้ความสามารถ หรือ คนเสมือนไร้ความสามารถ (2) เป็นบุคคลที่อยู่ระหว่างที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยห้ามเป็นกรรมการ ผู้บริหาร หรือผู้มีอำนาจควบคุมบริษัท จดทะเบียน หรือเป็นบุคคลที่ขาดลักษณะความน่าไว้วางใจ ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ประกาศกำหนด


รายงานประจำปี 2553

• บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) 85

(3) อยู่ระหว่างถูกกล่าวโทษหรือถูกดำเนินคดีอาญาโดยหน่วยงานที่มีอำนาจตามกฎหมาย ในความผิดเกี่ยวกับการ กระทำอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือการบริหารงานที่มีลักษณะ เป็นการหลอกลวง ฉ้อฉล หรือทุจริต (4) อยู่ระหว่างระยะเวลาที่กำหนดตามคำสั่งขององค์กรที่มีอำนาจตามกฎหมายต่างประเทศ ห้ามมิให้เป็นผู้บริหารของ บริษัท (5) เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่ากระทำความผิดตาม ข้อ (3) หรือเคยถูกเปรียบเทียบปรับเนื่องจากการกระทำความผิด

ตาม (3) (6) มีเหตุอันควรเชื่อว่ามีหรือเคยมีพฤติกรรมที่แสดงถึงการประพฤติผิดต่อหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติด้วยความระมัดระวัง (Duty of Care) และซื่อสัตย์สุจริต (Duty of Loyalty) เพื่อประโยชน์ที่ดีที่สุดของกิจการและผู้ถือหุ้นโดยรวมของกิจการที่ ตนเป็นหรือเคยเป็นกรรมการ ผู้บริหารหรือผู้มีอำนาจควบคุม หรือมีหรือเคยมีส่วนร่วมหรือสนับสนุนการกระทำ ดังกล่าวของบุคคลอื่น (7) มี เ หตุ อั น ควรเชื่ อ ว่ า มี ห รื อ เคยมี พ ฤติ ก รรมที่ ส่ อ ไปในทางไม่ สุ จ ริ ต หรื อ ฉ้ อ ฉลผู้ อื่ น หรื อ มี ห รื อ เคยมี ส่ ว นร่ ว มหรื อ สนับสนุนการกระทำดังกล่าวของบุคคลอื่น (8) มีเหตุอันควรเชื่อว่ามีหรือเคยมีพฤติกรรมที่เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมหรือการเอาเปรียบผู้ลงทุน หรือมีหรือเคย มีส่วนร่วมหรือสนับสนุนการกระทำดังกล่าวของบุคคลอื่น (9) มีเหตุอันควรเชื่อว่ามีหรือเคยมีพฤติกรรมการอำพรางฐานะทางการเงินหรือผลการดำเนินงานที่แท้จริงของบริษัท

จดทะเบียนหรือบริษัทที่เคยเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน หรือจงใจแสดงข้อความอันเป็นเท็จในสาระสำคัญหรือ ปกปิดข้อความจริงอันเป็นสาระสำคัญที่ควรบอกให้แจ้งในเอกสารใดๆ ที่ต้องเปิดเผยต่อประชาชนหรือต้องยื่นต่อ สํานักงานคณะกรรมการกำกับตลาดทุน หรือคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ไม่ว่าจะเป็นการ กระทำในนามของตนเองหรือกระทำแทนนิติบุคคลหรือกิจการที่ตนมีอำนาจในการจัดการ หรือมีหรือเคยมีส่วนร่วม หรือสนับสนุนการกระทำดังกล่าวของบุคคลอื่น (10) มีเหตุอันควรเชื่อว่ามีหรือเคยมีพฤติกรรมที่แสดงถึงการละเลยการตรวจสอบดูแลตามสมควรเยี่ยงผู้บริหารหรือผู้ม ี

อำนาจควบคุ ม ของบริ ษั ท จดทะเบี ย นหรื อ บริ ษั ท ที่ เ คยเสนอขายหลั ก ทรั พ ย์ ต่ อ ประชาชน ที่ ต นเป็ น หรื อ เคยเป็ น กรรมการ ผู้บริหาร หรือผู้มีอำนาจควบคุม หรือบริษัทย่อยของบริษัทดังกล่าว เพื่อมิให้บริษัทฝ่าฝืนหรือปฏิบัติไม่เป็น ไปตามกฎหมาย วัตถุประสงค์ และข้อบังคับของบริษัท ตลอดจนมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น อันอาจก่อให้เกิดความไม่ เชื่อมั่นในตลาดทุนโดยรวม หรือความเสียหายต่อชื่อเสียง ฐานะ หรือการดำเนินธุรกิจของบริษัทนั้น ทั้งนี้ การพิจารณาเกี่ยวกับคุณสมบัติของกรรมการเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 8/2553 เรื่อง การกำหนดลักษณะขาดความน่าไว้วางใจของกรรมการและผู้บริหารของบริษัท และประกาศ คณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 19/2553 เรื่อง หลักเกณฑ์การแสดงชื่อบุคคลในระบบข้อมูลรายชื่อกรรมการและผู้บริหารของ บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ และประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สจ. 23/2553 เรื่อง แบบวิธีการ แจ้งหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลกรรมการและผู้บริหารของบริษัท 6) หลักเกณฑ์การแต่งตั้งกรรมการโดยที่ประชุมผู้ถือหุ้น มีดังนี้ 1. ผู้ถือหุ้นคนหนึ่งมีคะแนนเสียงเท่ากับจำนวนหนึ่งหุ้นต่อหนึ่งเสียง 2. ผู้ถือหุ้นแต่ละคนจะต้องใช้คะแนนเสียงที่มีอยู่ทั้งหมดตาม ข้อ 1. เลือกตั้งบุคคลเดียวหรือหลายคนเป็นกรรมการก็ได้ แต่จะแบ่งคะแนนเสียงให้แก่ผู้ใดมากน้อยเพียงใดไม่ได้ 3. บุคคลซึ่งได้รับคะแนนเสียงสูงสุดตามลำดับลงมาเป็นผู้ได้รับการเลือกตั้งเป็นกรรมการเท่าจำนวนกรรมการที่จะพึงมี

หรือจะพึงเลือกตั้งในครั้งนั้น ในกรณีที่บุคคลซึ่งได้รับการเลือกตั้งในลำดับถัดลงมามีคะแนนเสียงเท่ากันเกินจำนวน


86

กรรมการที่จะพึงมีหรือจะพึงเลือกตั้งในครั้งนั้น ให้ประธานในที่ประชุมลงคะแนนเสียงอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด เพื่อให้ได้จำนวนกรรมการที่จะพึงมี 2.2 วิธีการคัดเลือกผู้บริหารระดับสูง คณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทนเป็นผู้พิจารณาจากผลประเมินทั้งในด้านผลการปฏิบัติงาน ความสามารถ และ ศักยภาพในการเป็นผู้นำ และเสนอต่อคณะกรรมการบริหาร และ / หรือคณะกรรมการบริษัทเพื่อพิจารณา

3. ค่าตอบแทนกรรมการ และผู้บริหาร 3.1 ค่าตอบแทนที่เป็นตัวเงิน สิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553 (ก) ค่าตอบแทนกรรมการ ค่าตอบแทนสำหรับกรรมการต้องได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นเท่านั้น สำหรับค่าตอบแทนกรรมการ ในปี 2553 ที่ประชุม สามัญผู้ถือหุ้นเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2553 ได้อนุมัติค่าตอบแทนกรรมการ จำนวนเงินไม่เกิน 25 ล้านบาทต่อปี ประกอบด้วยค่าตอบแทน กรรมการประจำเดือน จำนวนไม่เกิน 15 ล้านบาทต่อปี และโบนัสกรรมการประจำปี จำนวนไม่เกิน 10 ล้านบาทต่อปี ทั้งนี้ มอบอำนาจให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน และประธานกรรมการในการกำหนด รายละเอียด และอัตราค่าตอบแทนที่จะจ่ายให้กับกรรมการแต่ละท่านตามหน้าที่และความรับผิดชอบ นายเจริญ สิรวิ ฒ ั นภักดี และคุณหญิงวรรณา สิรวิ ฒ ั นภักดี แสดงเจตนาไม่รบั ค่าตอบแทนตัง้ แต่วนั ที่ 1 เมษายน 2551 เป็นต้นมา และกรรมการจำนวน 3 คน ที่ได้รับเงินเดือน หรือค่าที่ปรึกษาประจำเดือนจากบริษัท ไม่มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนในฐานะกรรมการ ได้แก่ นายธีรศักดิ์ นาทีกาญจนลาภ นายอัศวิน เตชะเจริญวิกุล และนางฐาปณี เตชะเจริญวิกุล ในปี 2553 ค่าตอบแทนที่เป็นตัวเงินของคณะกรรมการบริษัทในรูปของค่าตอบแทนกรรมการ และโบนัสประจำปี เป็นจำนวน เงินรวมทั้งสิ้น 15,550,000.00 บาท รายละเอียดดังนี้

รายชื่อกรรมการบริษัท 1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8. 9. 10. 11. 12.

นายเจริญ สิริวัฒนภักดี (1) คุณหญิงวรรณา สิริวัฒนภักดี (1) นายชัยยุทธ ปิลันธน์โอวาท นายธีรศักดิ์ นาทีกาญจนลาภ (2) นายประเสริฐ เมฆวัฒนา นายอัศวิน เตชะเจริญวิกุล (2) นางฐาปณี เตชะเจริญวิกุล (2) นายสิทธิชัย ชัยเกรียงไกร นายฐาปน สิริวัฒนภักดี นายปณต สิริวัฒนภักดี นายสุวรรณ วลัยเสถียร (3) นายประสิทธิ์ โฆวิไลกูล (4)

ค่าตอบแทน คณะกรรมการบริษัท คณะกรรมการตรวจสอบ - - 900,000.00 - 900,000.00 - - 900,000.00 900,000.00 900,000.00 136,607.00 763,393.00

- - - - - - - - - - - -

โบนัส ปี 2553 - - 350,000.00 - 300,000.00 - - 3,000,000.00 - - - 220,000.00

รวม - - 1,250,000.00 - 1,200,000.00 - - 3,900,000.00 900,000.00 900,000.00 136,607.00 983,393.00


รายงานประจำปี 2553

• บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) 87

รายชื่อกรรมการบริษัท 13. 14. 15. 16.

นายสถาพร กวิตานนท์ นายวีระวงค์ จิตต์มิตรภาพ นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ นางสาวพจนีย์ ธนวรานิช รวม

ค่าตอบแทน คณะกรรมการบริษัท คณะกรรมการตรวจสอบ 900,000.00 900,000.00 900,000.00 900,000.00 9,000,000.00

540,000.00 180,000.00 180,000.00 - 900,000.00

โบนัส ปี 2553

รวม

1,200,000.00 - 360,000.00 220,000.00 5,650,000.00

2,640,000.00 1,080,000.00 1,440,000.00 1,120,000.00 15,550,000.00

หมายเหตุ (1) นายเจริญ สิริวัฒนภักดี และคุณหญิงวรรณา สิริวัฒนภักดี แสดงเจตนาไม่รับค่าตอบแทนตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2551 เป็นต้นมา (2) กรรมการบริษัทจำนวน 3 คน ที่ได้รับเงินเดือน หรือค่าที่ปรึกษาประจำเดือนจากบริษัท ไม่มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนในฐานะกรรมการ ได้แก่

นายธีรศักดิ์ นาทีกาญจนลาภ นายอัศวิน เตชะเจริญวิกุล และนางฐาปณี เตชะเจริญวิกุล (3) นายสุวรรณ วลัยเสถียร ลาออกจากการเป็นกรรมการ โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2553 (4) นายประสิทธิ์ โฆวิไลกูล เข้าดำรงตำแหน่งกรรมการแทนนายสุวรรณ วลัยเสถียร มีผลตั้งแต่วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2553 โดยมติที่ประชุม คณะกรรมการบริษัทครั้งที่ 2/2553 ประชุมเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2553 โดยการเสนอชื่อจากคณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน โดยในปี 2553 ได้รับค่าตอบแทนกรรมการสำหรับระยะเวลา ตั้งแต่ 23 กุมภาพันธ์ - 31 ธันวาคม 2553

กรรมการอิสระของบริษัทที่เป็นกรรมการอิสระของบริษัทใหญ่ บริษัทย่อย หรือ บริษัทย่อยลำดับเดียวกันที่ได้รับค่าตอบแทน กรรมการจากการดำรงตำแหน่งกรรมการอิสระของบริษัทในเครือทีซีซี มีจำนวน 4 คน ได้แก่ นายสถาพร กวิตานนท์ นายประสิทธิ์ โฆวิไลกูล นางสาวพจนีย์ ธนวรานิช และนายวีระวงค์ จิตต์มิตรภาพ ได้รับค่าตอบแทนกรรมการจากการดำรงตำแหน่งกรรมการอิสระ ของบริษัทในเครือทีซีซี ประจำปี 2553 ดังนี้ นายสถาพร กวิตานนท์ 1) บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) ค่าตอบแทนที่ได้รับจำนวน 2,640,000 บาท 2) บริษัท อาหารสยาม จำกัด (มหาชน) ค่าตอบแทนที่ได้รับจำนวน 720,000 บาท 3) บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ค่าตอบแทนที่ได้รับจำนวน 3,600,000 บาท นายประสิทธิ์ โฆวิไลกูล 1) บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) ค่าตอบแทนที่ได้รับจำนวน 983,393 บาท 2) บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ค่าตอบแทนที่ได้รับจำนวน 270,000 บาท 3) บริษัท อาหารสยาม จำกัด (มหาชน) ค่าตอบแทนที่ได้รับจำนวน 240,000 บาท นางสาวพจนีย์ ธนวรานิช 1) บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) ค่าตอบแทนที่ได้รับจำนวน 1,120,000 บาท 2) บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ค่าตอบแทนที่ได้รับจำนวน 2,501,500 บาท นายวีระวงค์ จิตต์มิตรภาพ 1) บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) ค่าตอบแทนที่ได้รับจำนวน 1,080,000 บาท 2) บริษัท อาหารสยาม จำกัด (มหาชน) ค่าตอบแทนที่ได้รับจำนวน 480,000 บาท


88

(ข) ค่าตอบแทนผู้บริหารระดับสูง ปี

จำนวนราย

เงินเดือนและโบนัสรวม (ล้านบาท)

2553 2552

8 8

58.44 62.58

3.2 ค่าตอบแทนอื่น (ก) เงินสมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ บริษัทได้สมทบเงินเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้แก่ผู้บริหารของบริษัท ดังนี้ ปี

จำนวนราย

2553 2552

8 8

เงินสมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ล้านบาท) 2.59 2.73

4. รายงานการกำกับดูแลกิจการปี 2553 ในปี 2553 บริษัทยังคงมุ่งมั่นที่จะดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของผู้ถือหุ้น และรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสียต่างๆ อย่าง สม่ำเสมอ คณะกรรมการบริษัทมีเจตนารมณ์อันแรงกล้าที่จะดำเนินธุรกิจภายใต้หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี โดยนำหลักเกณฑ์การ กำกับดูแลกิจการที่ดีสำหรับบริษัทจดทะเบียนปี 2549 ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตลอดจนกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ ของสํานักงานคณะกรรมการ กํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย คณะกรรมการกำกับตลาดทุน หรือหน่วยงานกำกับดูแลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในเรื่องต่างๆ มาเป็นแนวทางหลักในการกำกับดูแลและส่งเสริมให้บริษัท เป็นองค์กรที่มี ประสิทธิภาพ ในการบริหารจัดการ มีคณ ุ ธรรมและจริยธรรมในการดำเนินธุรกิจ มีความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ และมีความรับผิดชอบ ต่อสังคมและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย ซึ่งเป็นรากฐานอันสำคัญของการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืนขององค์กร ตามค่านิยม (Value) ที่ได้ให้ พนักงานยึดถือและปฏิบัติตาม เพื่อให้บรรลุความสำเร็จร่วมกันขององค์กร คือ B - Beyond Satisfaction = เพื่อความพึงพอใจสูงสุด บริษัทเชื่อมั่นในคุณค่าทางจิตใจและความพึงพอใจของลูกค้า เราจึงมุ่งเน้นการสร้างสรรค์คุณภาพและความเป็นเลิศในทุกส่วนของ องค์กร เพื่อสร้างคุณค่าความพึงพอใจอย่างสูงสุดให้กับกลุ่มลูกค้า ซึ่งหมายรวมถึงผู้บริโภค คู่ค้า พนักงาน และผู้ถือหุ้น J - Joint Success = บรรลุผลสำเร็จร่วมกัน บริษัทเชื่อมั่นในคุณค่าของความสำเร็จจากการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย เราจึงมุ่งมั่นก้าวไปสู่จุดหมายแห่งความสำเร็จ เพื่อสร้างคุณค่าและ ความภาคภูมิใจร่วมกัน ทั้งในส่วนขององค์กรและบุคลากร C - Caring for Community = รับผิดชอบต่อสังคม บริษัทเชื่อมั่นในคุณค่าความรับผิดชอบต่อสังคม เราจึงมุ่งเน้นการทำธุรกิจด้วยหลักคุณธรรม จริยธรรม และการตระหนักถึงความ รับผิดชอบทีม่ ตี อ่ ทรัพยากร สิง่ แวดล้อม ตลอดจนส่งเสริมคุณภาพชีวติ ทีด่ ที งั้ ภายในและภายนอกองค์กร เพือ่ ประโยชน์สขุ ร่วมกันในสังคม ตลอดปีที่ผ่านมา บริษัทยังคงยึดมั่นในการที่จะดำเนินธุรกิจให้มีความโปร่งใส และสอดคล้องกับหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี (Good Corporate Governance) ซึ่งครอบคลุมแนวปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีสำหรับบริษัทจดทะเบียน ปี 2549 ดังนี้


รายงานประจำปี 2553

• บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) 89

1) สิทธิของผู้ถือหุ้น บริษัทตระหนักเสมอถึงสิทธิของผู้ถือหุ้นและยังคงอำนวยความสะดวกในการใช้สิทธิของผู้ถือหุ้นในด้านต่างๆ ทั้งในฐานะนักลงทุน ในหลักทรัพย์และในฐานะเจ้าของบริษัทด้วยวิธีการและมาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับ เป็นธรรม และเชื่อถือได้ ถูกต้องสอดคล้องกับกฎหมาย ตลอดจนหลีกเลี่ยงการดำเนินการใดๆ ที่เป็นการจำกัดสิทธิ หรือโอกาสของผู้ถือหุ้นในการเข้าถือครองกิจการ (Take-over) หรือปกป้อง กรรมการจากการกระทำผิดหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย โดยสิทธิพื้นฐานของผู้ถือหุ้นในด้านต่างๆ มีดังต่อไปนี้ 1. สิทธิพื้นฐานในการซื้อ ขาย โอน หลักทรัพย์ที่ตนถืออยู่อย่างเป็นอิสระ หลักทรัพย์ของบริษัทอยู่ภายใต้การดูแลของบริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด (TSD) ซึ่งเป็นนายทะเบียนของ บริษัทที่มีมาตรฐานในการทำงานเป็นที่ยอมรับในระดับประเทศ ผู้ถือหุ้นจึงมั่นใจได้ว่าการซื้อ ขาย โอน หลักทรัพย์ที่ตนถืออยู่นั้นจะ สามารถซื้อ ขาย โอนได้อย่างปลอดภัย ภายใต้หน่วยงานที่มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับสากล 2. สิทธิในการได้รับส่วนแบ่งผลกำไรจากบริษัท การจ่ายเงินปันผลของบริษัทยังคงเป็นไปตามนโยบายการจ่ายเงินปันผลที่กำหนดไว้เป็นลายลักษณ์อักษร โดยการจ่าย เงินปันผลแต่ละครั้ง บริษัทจะแจ้งการประกาศจ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหุ้นทราบโดยทั่วถึงกันทุกครั้ง ผู้ถือหุ้นจึงได้รับสิทธิในการรับ เงินปันผลอย่างเท่าเทียมกัน 3. สิทธิในการได้รับข้อมูลอย่างเพียงพอสม่ำเสมอ ผู้ถือหุ้นจะได้รับทราบข้อมูลอย่างทันท่วงที เมื่อมีเหตุการณ์สำคัญที่อาจมีผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัท หรือที่มี ผลกระทบต่อการตัดสินใจในการลงทุนของผู้ถือหุ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยบริษัททำการเปิดเผยข้อมูลผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และเว็บไซต์ของบริษัท ภายใต้การปฏิบัติตามกฎระเบียบของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเรื่อง การเปิดเผยสารสนเทศอย่างเคร่งครัดและสม่ำเสมอ นอกจากนี้ บริษทั ยังได้กำหนดให้มนี โยบายการเปิดเผยข้อมูลสารสนเทศ (Disclosure Policy) ทีก่ ำหนดให้กรรมการผูจ้ ดั การใหญ่ หรือบุคคลที่กรรมการผู้จัดการใหญ่มอบหมายเป็นผู้มีหน้าที่เปิดเผยสารสนเทศของบริษัท และบริษัทย่อย โดยข้อมูลที่จะเปิดเผย จะผ่านการกลั่นกรองจากผู้บริหารระดับสูง หรือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในเรื่องนั้นๆ เช่น ยอดขาย กิจกรรมทางการตลาด จะผ่านการ พิจารณาจากรองผู้จัดการใหญ่ในธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับงบการเงิน รายได้ สถานะการเงิน จะต้องเป็นข้อมูล ที่สอดคล้องกับข้อมูลที่ได้ผ่านการสอบทาน หรือตรวจสอบแล้วจากคณะกรรมการตรวจสอบ แล้วแต่กรณี 4. สิทธิในการร้องขอให้บริษัทจัดประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ภายใต้ข้อบังคับของบริษัท ข้อ 32 วรรคสอง ผู้ถือหุ้นที่มีหุ้นนับรวมกันได้ไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้ ทั้งหมด หรือผู้ถือหุ้นไม่น้อยกว่า 25 คน รวมกันแล้วมีจำนวนหุ้นรวมกัน ไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด ทำหนังสือพร้อมระบุเหตุผลเพื่อขอให้คณะกรรมการบริษัทเรียกประชุมวิสามัญได้ ซึ่งคณะกรรมการบริษัทจะจัดให้มีการประชุมผู้ถือหุ้น ภายใน 1 เดือน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือจากผู้ถือหุ้น 5. สิทธิในการออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหุ้น ผู้ถือหุ้นสามารถแสดงความคิดเห็นในที่ประชุมผู้ถือหุ้นได้อย่างเป็นอิสระ และมีสิทธิออกเสียงตามจำนวนหุ้นที่ถืออยู่ตาม ข้อบังคับบริษัทข้อ 36 ที่กำหนดให้ ในการประชุมผู้ถือหุ้น ผู้ถือหุ้นทุกคนมีคะแนนเสียงหนึ่งเสียงต่อหนึ่งหุ้นในกรณีที่ผู้ถือหุ้นมีส่วนได้เสีย เป็นพิเศษในเรื่องอันใด ผู้ถือหุ้นจะออกเสียงลงคะแนนในเรื่องนั้นมิได้ ทั้งนี้ โดยทั่วไปการออกเสียงลงมติใดๆ หรือการอนุมัติกิจการใดๆ ในที่ประชุมผู้ถือหุ้นจะต้องได้รับคะแนนเสียงเห็นชอบจากเสียงข้างมากของผู้ถือหุ้น ซึ่งมาประชุมและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน อย่างไร ก็ตาม ในเรื่องที่มีความสำคัญจะต้องได้รับคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นซึ่งมาประชุม และมีสิทธิ ออกเสียงลงคะแนน เช่น • แก้ไขข้อบังคับ หรือหนังสือบริคณห์สนธิของบริษัท


90

• การขายหรือโอนกิจการของบริษัททั้งหมดหรือบางส่วนที่สำคัญให้แก่บุคคลอื่น • การซื้อหรือรับโอนกิจการของบริษัท การซื้อหรือรับโอนกิจการของบริษัทมหาชนอื่นหรือบริษัทเอกชนมาเป็นของบริษัท • การทำแก้ไข หรือเลิกสัญญาเกี่ยวกับการให้เช่ากิจการของบริษัททั้งหมด หรือบางส่วนที่สำคัญ การมอบหมายให้ บุคคลอื่นเข้าจัดการธุรกิจของบริษัทหรือการรวมกิจการกับบุคคลอื่น โดยมีวัตถุประสงค์จะแบ่งกำไรขาดทุนกัน • การเพิ่มทุนจดทะเบียนของบริษัทโดยการออกหุ้นเพิ่มทุน • การลดทุนของบริษัทจดทะเบียนไม่ว่าจะลดมูลค่าหุ้นแต่ละหุ้นให้ต่ำลง หรือลดจำนวนหุ้นให้น้อยลง หรือตัดหุ้น จดทะเบียนที่จำหน่ายไม่ได้ • การกู้เงินด้วยวิธีการออกหุ้นกู้เพื่อเสนอขายต่อประชาชน • การควบรวมบริษัทหรือเลิกบริษัท นอกจากนี้ ผู้ถือหุ้นยังมีสิทธิในการแต่งตั้งกรรมการในที่ประชุมผู้ถือหุ้น โดยใช้สิทธิออกเสียงที่มีเลือกบุคคลที่ตนเห็นว่ามีความ เหมาะสม รวมทั้งสิทธิในการถอดถอนกรรมการบริษัทเมื่อเห็นว่าขาดคุณสมบัติโดยมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า

สามในสี่ของจำนวนผู้ถือหุ้นซึ่งมาประชุมและมีสิทธิออกเสียง และมีหุ้นนับรวมกันได้ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนหุ้นที่ถือโดยผู้ถือหุ้น ที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียง 6. สิทธิในการเสนอวาระการประชุม และเสนอบุคคลเพื่อเข้ารับการเลือกตั้งเป็นกรรมการ บริษัทเปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นคนเดียวหรือหลายรายรวมกันที่ถือหุ้นตั้งแต่ร้อยละห้าของจำนวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมด มีสิทธิที่จะเสนอวาระและตัวบุคคลเพื่อเข้ารับการเลือกตั้งเป็นกรรมการในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปีได้ล่วงหน้า โดยในปี 2553 บริษัทได้เปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นเสนอวาระการประชุม และเสนอบุคคลเพื่อเข้ารับการเลือกตั้งเป็นกรรมการ ตั้งแต่วันที่ 11 พฤศจิกายน 2553 จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2553 ผ่านทางเว็บไซต์ของบริษัท ที่ www.bjc.co.th เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการบริษัทพิจารณา โดยหาก คณะกรรมการบริษัทปฏิเสธข้อเสนอของผู้ถือหุ้นเรื่องใด คณะกรรมการบริษัทจะชี้แจงให้ผู้ถือหุ้นทราบในวันประชุมผู้ถือหุ้น 7. การจัดประชุมผู้ถือหุ้น บริษัทได้กำหนดให้มีการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นปีละครั้ง ภายในเวลาไม่เกิน 4 เดือนนับแต่วันสิ้นสุดรอบปีบัญชีของบริษัท และ ในกรณีที่มีความจำเป็นเร่งด่วนต้องเสนอวาระเป็นกรณีพิเศษ ซึ่งเป็นเรื่องที่กระทบหรือเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้น หรือ เกีย่ วข้องกับเงือ่ นไขหรือกฎเกณฑ์ กฎหมาย ทีใ่ ช้บงั คับทีต่ อ้ งได้รบั อนุมตั จิ ากผูถ้ อื หุน้ แล้ว บริษทั จะเรียกประชุมวิสามัญผูถ้ อื หุน้ เป็นกรณีไป โดยการส่งหนังสือเชิญประชุมผู้ถือหุ้นนั้น บริษัทได้มอบหมายให้บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นนายทะเบียน หลักทรัพย์ของบริษัท เป็นผู้ดำเนินการจัดส่งหนังสือเชิญประชุมที่มีรายละเอียดวาระการประชุม ข้อมูลประกอบที่สำคัญและจำเป็น สำหรับการตัดสินใจ ความเห็นของคณะกรรมการ รายงานการประชุมที่ผ่านมา รายงานประจำปี พร้อมทั้งเอกสารประกอบการประชุม เอกสารที่ต้องใช้ในการมอบฉันทะ และระบุวิธีการใช้ และขั้นตอนการลงทะเบียนเพื่อเข้าร่วมประชุมอย่างชัดเจน โดยจัดส่งหนังสือเชิญ ประชุมผู้ถือหุ้นให้ผู้ถือหุ้นล่วงหน้า 21 วัน และได้ทำการประกาศลงหนังสือพิมพ์รายวันฉบับภาษาไทย ติดต่อกันล่วงหน้าก่อนวันประชุม ไม่น้อยกว่า 3 วัน เพื่อบอกกล่าวการประชุมผู้ถือหุ้นเป็นการล่วงหน้า และให้ผู้ถือหุ้นมีเวลาอย่างเพียงพอที่จะได้ศึกษาข้อมูลการประชุม และเตรียมตัวก่อนมาเข้าร่วมประชุม โดยบริษัทยังได้เผยแพร่ข้อมูลหนังสือเชิญประชุมผู้ถือหุ้นและเอกสารประกอบการประชุมผู้ถือหุ้น เปิดเผยในเว็บไซต์ของบริษัท ที่ www.bjc.co.th ก่อนล่วงหน้าวันประชุมอีกด้วย ทั้งนี้ ในปี 2553 บริษัทได้จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นในวันที่ 29 เมษายน 2553 ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 12 อาคารเบอร์ลี่ ยุคเกอร์ 99 ซอยรูเบีย ถนนสุขุมวิท 42 แขวงคลองเตยเหนือ เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร โดยสถานที่การจัดประชุมนั้นจัดขึ้นที่ตั้งสำนักงาน ของบริษัท ซึ่งตั้งอยู่ในสถานที่สะดวกในการคมนาคม และมีขนาดเหมาะสมสามารถรองรับผู้เข้าประชุมได้อย่างสะดวกสบายและ เพียงพอกับจำนวนผู้ถือหุ้น มีการบันทึกการประชุมทั้งในรูปแบบการจดบันทึก บันทึกเทป และถ่ายวิดีโอ ในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นดังกล่าว มีกรรมการเข้าร่วมประชุม รวม 14 ท่าน โดยมีกรรมการจำนวน 1 ท่าน ลาประชุม คิดเป็น สัดส่วนของกรรมการทีเ่ ข้าประชุมร้อยละ 93.33 ของจำนวนกรรมการทัง้ หมด กรรมการ ประกอบด้วย ประธานกรรมการ ประธานกรรมการ เฉพาะเรื่อง กรรมการผู้จัดการใหญ่ รวมทั้งมีผู้บริหารระดับสูง เข้าร่วมประชุม ขณะดำเนินการประชุม ประธานกรรมการเปิดโอกาสให้


รายงานประจำปี 2553

• บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) 91

ผู้ถือหุ้นสามารถซักถามข้อมูลจนเป็นที่กระจ่าง โดยคณะกรรมการบริษัทมีความพร้อมในการตอบข้อซักถามเหล่านั้น ในด้านรายงาน ทางการเงิน มีผสู้ อบบัญชีของบริษทั และผูบ้ ริหารระดับสูงทีค่ วบคุมดูแลสายการเงินและบัญชีอยูใ่ นทีป่ ระชุม เพือ่ ตอบข้อซักถามของผูถ้ อื หุน้ ภายใต้ความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริษัท โดยตลอดการประชุม ประธานกรรมการได้ดำเนินการประชุมอย่างครบถ้วนตามที่ กฎหมายกำหนด ไม่เพิ่มวาระการประชุมโดยไม่แจ้งให้ผู้ถือหุ้นทราบล่วงหน้า และผลการประชุมมีมติอนุมัติในทุกวาระ บริษัทอำนวยความสะดวกให้กับผู้ถือหุ้นที่ไม่สามารถเข้าร่วมประชุมด้วยตนเองสามารถมอบฉันทะให้กรรมการตรวจสอบและ กรรมการอิสระของบริษัทจำนวน 3 คน ซึ่งมีรายละเอียดชื่อและตำแหน่งระบุอย่างชัดเจนให้ผู้ถือหุ้นเลือกเพื่อเข้าร่วมประชุมและ ออกเสียงลงคะแนนแทน ตามรายละเอียดในหนังสือบอกกล่าวเชิญประชุมผู้ถือหุ้น หรือผู้ถือหุ้นอาจให้บุคคลใดๆ เข้าร่วมประชุมแทนตน ได้โดยใช้หนังสือมอบฉันทะตามแบบที่กระทรวงพาณิชย์กำหนดแบบหนึ่งแบบใดจากทั้ง 3 แบบที่บริษัทได้จัดส่งไปพร้อมกับหนังสือ

นัดประชุม นอกจากนี้ ผู้ถือหุ้นยังสามารถดาวน์โหลดหนังสือมอบฉันทะผ่านทางหน้าเว็บไซต์ของบริษัทได้อีกด้วย อย่างไรก็ตาม ในแต่ละ วาระการประชุมผู้ถือหุ้น ผู้ถือหุ้นสามารถขอให้มีการลงคะแนนเสียงด้วยวิธีลับได้หากมีผู้ถือหุ้นหนึ่งคนร้องขอ และมีผู้ถือหุ้นรายอื่นอีก 5 คน รับรองเพื่อให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีมติอนุมัติให้ลงคะแนนด้วยวิธีลับได้ ในวันประชุมบริษัทได้จัดให้มีการลงทะเบียนโดยใช้ระบบบาร์โค้ดที่แสดงถึงเลขทะเบียนของผู้ถือหุ้นแต่ละรายที่บริษัทได้จัด พิมพ์ไว้บนหนังสือมอบฉันทะเพื่อให้ผู้ถือหุ้นได้รับความสะดวกสบายในการประชุม และทำให้ขั้นตอนการลงทะเบียนเป็นไปอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ ในการใช้สิทธิออกเสียงแต่ละวาระบริษัทได้ใช้วิธีเก็บบัตรลงคะแนนของผู้ถือหุ้นเพื่อนำมาคำนวณผลการลงคะแนนเสียง ในแต่ละวาระ โดยเมื่อจบการประชุมผู้ถือหุ้นสามารถขอตรวจสอบรายละเอียดได้ ทันทีที่การประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปีสิ้นสุดลง บริษัทได้เร่งจัดทำข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับมติของที่ประชุม และเปิดเผย ผ่านระบบเผยแพร่ข้อมูลแบบอิเล็กทรอนิกส์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยภายในวันทำการถัดไป เพื่อให้ผู้ถือหุ้นที่ไม่ได้เข้าร่วม ประชุมสามารถรับทราบผลการประชุมได้อย่างรวดเร็ว สำหรับรายงานการประชุมผูถ้ อื หุน้ นัน้ บริษทั ได้จดั ทำและส่งให้กบั ตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย และกระทรวงพาณิชย์ และนำขึ้นเผยแพร่ที่เว็บไซต์ของบริษัท อนึ่ง ในปี 2553 ไม่มีการเรียกประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น แต่อย่างใด 2) การปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน บริษัทได้ปฏิบัติตามแนวปฏิบัติที่ดีต่อสิทธิของผู้ถือหุ้นอย่างครบถ้วน โดยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาบริษัทตระหนักอยู่เสมอว่า แม้

ผู้ถือหุ้นแต่ละรายจะถือหุ้นในจำนวนไม่เท่ากัน มีสิทธิออกเสียงไม่เท่ากัน ตามจำนวนหุ้นที่ถือ หรือแม้จะนักลงทุนสถาบัน หรือผู้ถือหุ้น ต่างชาติ แต่ผู้ถือหุ้นทุกรายมีสิทธิพื้นฐานในฐานะผู้ถือหุ้นที่ไม่แตกต่างกัน และต้องได้รับการปฏิบัติที่เท่าเทียมกันเสมอ ซึ่งบริษัทใส่ใจ อย่างยิ่งในทุกๆ รายละเอียดในการที่จะปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นด้วยความระมัดระวังอยู่เสมอ ที่จะไม่ทำให้ผู้ถือหุ้นเกิดความเข้าใจผิด ดังนั้น บริษัทจึงแสดงความจริงใจต่อผู้ถือหุ้นตลอดมาด้วยความเอาจริงจังและเอาใจใส่ผ่านแนวปฏิบัติ และกลไกต่างๆ ซึ่งสอดแทรกอยู่ใน กิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับผู้ถือหุ้น โดยเฉพาะกับผู้ถือหุ้นส่วนน้อย ซึ่งบริษัทได้ให้ความเอาใจใส่อย่างยิ่ง เช่น 1. ตั้งแต่ปี 2551 บริษัทได้บังคับใช้จรรยาบรรณธุรกิจ (Code of Conduct) กับกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกคน เพื่อ เป็นหลักในการปฏิบัติงานให้กับบริษัท ทั้งยังมุ่งเน้นในเรื่องแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับความขัดแย้งทางผลประโยชน์ โดยเฉพาะการ พิจารณาความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่เกี่ยวกับรายการที่เกี่ยวโยงกันตามข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จากธุรกรรม ที่เกิดขึ้นระหว่างบริษัท บริษัทย่อย บริษัทร่วม ตลอดจนบุคคลที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มั่นใจได้ว่ามีเงื่อนไขที่เป็นธรรม ไม่มีลักษณะเป็นการ ถ่ายเทผลประโยชน์ให้กับผู้เกี่ยวข้องรายใด 2. คณะกรรมการบริษัทได้กำหนดวาระการประชุมผู้ถือหุ้นไว้ล่วงหน้าพร้อมข้อมูลความเห็นคณะกรรมการบริษัทในทุกวาระ และไม่เคยเพิ่มวาระการประชุมผู้ถือหุ้นโดยไม่มีการแจ้งล่วงหน้า คณะกรรมการบริษัทเปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นได้ใช้สิทธิในการแต่งตั้ง กรรมการเป็นรายบุคคล โดยการใช้บัตรลงคะแนนเสียงเป็นรายบุคคล รวมทั้งใช้บัตรลงคะแนนเสียงเป็นแต่ละวาระการประชุม ประธาน ในที่ประชุมแจ้งผลคะแนนเสียงแต่ละวาระให้ทราบอย่างโปร่งใส 3. การชีแ้ จงสิทธิของผูถ้ อื หุน้ และวิธกี ารใช้สทิ ธิออกเสียงลงคะแนนโดยละเอียดในทีป่ ระชุมผูถ้ อื หุน้ ก่อนเริม่ การประชุมผูถ้ อื หุน้ นอกเหนือจากที่ได้จัดส่งไปพร้อมหนังสือบอกกล่าวนัดประชุม ตลอดจนให้สิทธิกับผู้ถือหุ้นซักถามในประเด็นต่างๆ อย่างเพียงพอก่อน ลงคะแนนเสียงในแต่ละวาระ


92

4. บริษัทได้จัดทำหนังสือมอบฉันทะรูปแบบที่ผู้ถือหุ้นสามารถกำหนดทิศทางการลงคะแนนได้ตามแบบที่กระทรวงพาณิชย์ กำหนด และได้จัดส่งไปพร้อมกับหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นโดยผู้ถือหุ้นที่ไม่สามารถเข้าประชุมสามารถมอบฉันทะให้ผู้อื่นเข้าประชุมได้ อันเป็นการช่วยรักษาสิทธิให้ผู้ถือหุ้น ทั้งนี้ ผู้ถือหุ้นสามารถมอบฉันทะให้กับกรรมการอิสระของบริษัท ท่านใดท่านหนึ่ง ซึ่งบริษัทได้ให้ รายละเอียดข้อมูลของกรรมการอิสระที่ผู้ถือหุ้นสามารถมอบฉันทะให้ออกเสียงแทนได้ไว้ในหนังสือเชิญประชุมผู้ถือหุ้นด้วย โดยบริษัท

ได้เปิดเผยแบบหนังสือมอบฉันทะ พร้อมทั้งรายละเอียดและขั้นตอนต่างๆ ไว้บนเว็บไซต์ของบริษัท ที่ www.bjc.co.th ล่วงหน้าก่อน วันประชุม โดยผู้ถือหุ้นสามารถสอบถามได้ทั้งทางโทรศัพท์ หรือช่องทางอื่นๆ นอกจากนี้ บริษัทยังได้ให้สิทธิแก่ผู้ถือหุ้นที่เข้าประชุมภายหลังจากได้เริ่มประชุมแล้ว มีสิทธิออกเสียงลงคะแนนสำหรับวาระ ที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาและยังไม่ได้มีการลงมติ และนับเป็นองค์ประชุมตั้งแต่วาระที่ได้เข้าประชุมและออกเสียงเป็นต้นไป เว้นแต่

ที่ประชุมผู้ถือหุ้นจะมีความเห็นเป็นอย่างอื่น 5. ภาษาที่ใช้ในการดำเนินการประชุมผู้ถือหุ้น บริษัทดำเนินการประชุมด้วยภาษาไทย เนื่องจากบริษัทเป็นบริษัทมหาชน จำกัดที่จัดตั้งขึ้นภายใต้กฎหมายแห่งราชอาณาจักรไทย อันมีภาษาไทยเป็นภาษาราชการ และผู้ถือหุ้นส่วนใหญ่ที่มาเข้าร่วมประชุม สามัญผู้ถือหุ้นประจำปีเป็นคนไทย 6. กำหนดมาตรการเกี่ยวกับการเก็บรักษาและป้องกันการใช้ข้อมูลภายในเป็นลายลักษณ์อักษรที่ชัดเจน และแจ้งแนวทาง ดังกล่าวให้ทุกคนในองค์กรถือปฏิบัติ โดยระบุอยู่ในจรรยาบรรณธุรกิจของบริษัท ซึ่งพนักงานและผู้บริหารทุกคนจะต้องลงลายมือชื่อ รับทราบข้อกำหนดในเรือ่ งจรรยาบรรณธุรกิจนีด้ ว้ ย นอกจากนี้ บริษทั มีความเข้มงวดในการแจ้งข้อมูลต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับ หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ตามมาตรา 59 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 โดยในกรณีที่กรรมการ และผู้บริหารของบริษัทมีการซื้อขายหุ้นของบริษัท จะต้องรายงานต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และส่งสำเนาให้บริษัทได้รับทราบด้วย สำหรับ วิธีการดูแลกรรมการและผู้บริหาร ในการนำข้อมูลภายในของบริษัทไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตนนั้น ได้มีการทำความเข้าใจกับกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกคน โดยบริษัทได้มอบหนังสือคู่มือเพื่อศึกษาและปฏิบัติตามกฎข้อบังคับอย่างเคร่งครัด ทั้งนี้ ในระหว่างปีที่ผ่านมาไม่ปรากฏกรรมการและผู้บริหารทำการซื้อขายหุ้นบริษัทในช่วง 3 สัปดาห์ก่อนงบการเงินเผยแพร่ และ 2 วัน หลังการเปิดเผยงบการเงิน อีกทั้งบริษัทยังได้กำหนดให้กรรมการ และผู้บริหารระดับสูงทุกคนต้องเปิดเผยข้อมูลเมื่อพบว่าอาจมี ผลประโยชน์ได้เสียในฐานะบุคคลที่สามทั้งทางตรงหรือทางอ้อมที่อาจส่งผลกระทบต่อบริษัทในธุรกรรมใดๆ โดยทันที 3) บทบาทของผู้มีส่วนได้เสีย บริษัทให้ความสำคัญในการดูแลและคำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มเสมอมา ทั้งภายในและภายนอกบริษัท โดยบริษัทปฏิบัติตาม ข้อกำหนดของกฎหมายและกฎระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สิทธิของผู้มีส่วนได้เสียได้รับการดูแลและปกป้อง ในปี 2553 บริษัท

ยังคงให้ความสำคัญกับบทบาทของผู้มีส่วนได้เสียของบริษัทอย่างสม่ำเสมอ ดังนี้ ผู้ถือหุ้น บริษัทมีความมุ่งมั่นที่จะดำเนินธุรกิจอย่างมีบรรษัทภิบาล มีความโปร่งใส เชื่อถือได้ และแน่วแน่ในการสร้างงานสร้างกิจการให้ มีฐานะทางการเงินทีม่ นั่ คงอย่างยัง่ ยืน เพือ่ เพิม่ มูลค่าหุน้ สูงสุดให้แก่ผถู้ อื หุน้ และสามารถจ่ายเงินปันผลให้แก่ผถู้ อื หุน้ ในอัตราทีเ่ หมาะสม และสม่ำเสมอ พนักงาน บริษัทตระหนักดีว่าพนักงานเป็นปัจจัยแห่งความก้าวหน้าขององค์กร บริษัทจึงสนับสนุนการพัฒนาให้พนักงานทุกคนมีความรู ้

ความสามารถสูง มีความภาคภูมิใจและมีความเชื่อมั่นในองค์กร นอกจากนี้ บริษัทยังจัดให้มีการดูแลพนักงานอย่างเสมอภาค การให้

ผลตอบแทนและสวัสดิการที่เหมาะสมและเป็นธรรม โดยมีสวัสดิการค่ารักษาพยาบาล กิจกรรมวันปีใหม่ ชมรมกีฬาต่างๆ เพื่อให้

พนักงานพักผ่อนหลังจากปฏิบัติภารกิจประจำวัน นอกจากนี้ บริษัทจัดกิจกรรมร่วมต่างๆ ระหว่างปี เพื่อให้พนักงานได้มีส่วนร่วมในการ ทำกิจกรรมต่างๆ เช่น การแสดงความคิดเห็นเพื่อพัฒนาองค์กร (Creative Thinking) การจัดให้มีโครงการสหกรณ์ออมทรัพย์ ขึ้นเพื่อ

เป็นเครื่องมือในการสร้างแรงจูงใจการปฏิบัติงานของพนักงานและรักษาบุคลากรไว้กับบริษัท ในระยะยาวโดยบริษัท สนับสนุนให้ พนักงานที่สมัครใจเข้าร่วมเป็นสมาชิกเก็บออมผ่านระบบสหกรณ์ให้มีลักษณะการออมที่มีความสม่ำเสมอ


รายงานประจำปี 2553

• บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) 93

ลูกค้า บริษัทคำนึงถึงความพอใจสูงสุดของลูกค้าเป็นสำคัญ บริษัทจึงมุ่งมั่นที่จะให้ลูกค้าได้รับสินค้าและบริการที่มีคุณภาพ ราคาที ่

เป็นธรรม และมีความรับผิดชอบต่อลูกค้า โดยบริษัทมุ่งมั่นที่จะพัฒนาสินค้า และให้บริการที่ปลอดภัย รวดเร็ว มีคุณภาพ ครบวงจร เพื่อสนองตอบความต้องการของลูกค้า และรักษาสัมพันธภาพที่ยั่งยืน โดยบริษัทจัดให้มีหน่วยงานรับผิดชอบในการให้ข้อเสนอแนะ ในสินค้า คำปรึกษาวิธีการแก้ปัญหา และรับข้อร้องเรียน เพื่อให้ลูกค้าได้รับความพึงพอใจอย่างที่สุดในสินค้าและบริการ คู่ค้า บริษัทปฏิบัติตามกรอบการแข่งขันทางการค้าที่สุจริตโดยยึดถือการปฏิบัติตามสัญญา จรรยาบรรณบริษัท และคำมั่นที่ให้ไว้กับ ลูกค้าอย่างเคร่งครัด และมีนโยบายในการส่งมอบสินค้าตามคุณภาพและตรงตามกำหนดเวลา คู่แข่งทางการค้า บริษัทเน้นการดำเนินธุรกิจอย่างมีจริยธรรม โปร่งใส มีการแข่งขันอย่างเป็นธรรมกับคู่แข่งขัน ภายใต้กรอบกติกาของการแข่งขัน ที่ดี ไม่แสวงหาข้อมูลที่เป็นความลับของคู่แข่งทางการค้าด้วยวิธีการที่ไม่สุจริตหรือไม่เหมาะสม เช่น การจ่ายเงินสินจ้างให้แก่พนักงาน ของคู่แข่ง เป็นต้น และไม่ทำลายชื่อเสียงของคู่แข่งทางการค้าด้วยการกล่าวหาในทางร้าย เจ้าหนี้ บริษัทปฏิบัติต่อเจ้าหนี้อย่างเป็นธรรม มีความรับผิดชอบและโปร่งใส โดยปฏิบัติตามเงื่อนไขข้อกำหนดของสัญญาและพันธะ ทางการเงินอย่างเคร่งครัด ตลอดจนไม่ใช้วิธีการที่ไม่สุจริต ปกปิดข้อมูลหรือข้อเท็จจริงอันจะทำให้เจ้าหนี้เกิดความเสียหาย กรณีที่ไม่ สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่ง ต้องรีบแจ้งให้เจ้าหนี้ทราบล่วงหน้า เพื่อร่วมกันพิจารณาหาแนวทางแก้ไข เช่น เจ้าหนี้ทางธุรกิจ สังคม อย่างเช่นที่ปฏิบัติมาอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอทุกๆ ปี บริษัทยังคงสนับสนุนกิจกรรมเพื่อส่งเสริมคุณภาพสังคมด้านต่างๆ ทั้งระดับท้องถิ่นที่บริษัทตั้งโรงงานอยู่ และระดับประเทศ โดยเฉพาะการพัฒนาศักยภาพด้านการศึกษาให้กับผู้ที่เรียนดีแต่ขาดแคลน ทุนทรัพย์ โดยการสนับสนุนทุนการศึกษาต่อเนือ่ งจนจบปริญญาตรี แก่นสิ ติ นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยของรัฐบาล โดยมูลนิธบิ ริษทั เบอร์ล ี่ ยุคเกอร์ จำกัด ผ่านสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา นอกจากนี้ บริษัทยังบริจาคและทำกิจกรรมเพื่อช่วยเหลือโรงเรียนขาดแคลน ในชนบทอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี 4) การเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใส การเปิดเผยข้อมูลที่ถูกต้อง แม่นยำ ทันท่วงทีและเหมาะสมกับช่วงเวลา เป็นตัวชี้วัดความโปร่งใสในการดำเนินธุรกิจที่สำคัญของ บริษทั เพือ่ เป็นการสร้างความเชือ่ มัน่ ให้กบั นักลงทุน ผูถ้ อื หุน้ และผูม้ สี ว่ นได้เสียทุกฝ่ายของบริษทั บริษทั จึงให้ความสำคัญของการเปิดเผย ข้อมูลอย่างครบถ้วนและโปร่งใส ผ่านทางช่องทางหลักในการเปิดเผยข้อมูลของบริษัท กล่าวคือ ผ่านช่องทางของตลาดหลักทรัพย์

แห่งประเทศไทยเป็นสำคัญ เพือ่ ให้ผมู้ สี ว่ นได้เสียทุกฝ่ายสามารถเข้าถึงข้อมูลได้โดยง่าย และเท่าเทียมกัน โดยยึดถือปฏิบตั ติ ามกฎหมาย กฎเกณฑ์ ข้อบังคับต่างๆ ที่กำหนดโดยสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และหน่วยงานอื่นของรัฐอย่างเคร่งครัด และติดตามการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอยู่อย่างสม่ำเสมอเพื่อให้มั่นใจได้ว่ากฎหมาย กฎเกณฑ์ ข้อบังคับที่บริษัทถือปฏิบัตินั้นมีความถูกต้องเพื่อเป็นหลักประกันให้ผู้ถือหุ้นเชื่อมั่นในการดำเนินธุรกิจที่โปร่งใส ถูกต้อง ตรงไปตรงมา เช่น 1. เปิดเผยข้อมูลสำคัญที่ต้องเปิดเผยอย่างถูกต้องครบถ้วนภายในระยะเวลาที่เหมาะสม หรือตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย เช่น ข้อมูลงบการเงิน ผลประกอบการของบริษัท รายการระหว่างกันของบริษัท บริษัทย่อย บริษัทร่วม และบุคคลที่เกี่ยวข้อง ตลอดจน สารสนเทศต่างๆ ที่กฎหมายกำหนดให้ต้องเปิดเผยเนื่องจากกระทบต่อสิทธิประโยชน์ หรือการตัดสินใจในการลงทุนของผู้ถือหุ้น หรือ นักลงทุน 2. เปิดเผยข้อมูลจำเป็นที่ควรทราบเมื่อเห็นว่าเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์กับผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มใดๆ เช่น วัตถุประสงค์ / ข้อบังคับของบริษัท โครงสร้างการถือหุ้นของผู้ถือหุ้น รายละเอียดเกี่ยวกับสิทธิออกเสียงของหลักทรัพย์ของบริษัท และค่าตอบแทนของ


94

กรรมการบริษัทและผู้บริหารระดับสูง รวมถึงคุณสมบัติ ประวัติ และความเป็นอิสระของกรรมการแต่ละคน ข้อมูลรายการระหว่างกัน รวมถึงโครงสร้างการจัดการ และแนวทางการดำเนินการตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี 3. จัดทำข้อมูลอย่างมีคุณภาพมาตรฐาน โดยเฉพาะข้อมูลงบการเงิน ผลประกอบการของบริษัท ซึ่งผ่านการพิจารณา สอบทาน ตรวจสอบอย่างเป็นระบบจากผู้สอบบัญชีอิสระภายนอกที่มีชื่อเสียง คณะกรรมการตรวจสอบที่มีประสบการณ์ความรู้ ความสามารถ ตลอดจนจัดทำรายงานความรับผิดชอบของคณะกรรมการต่อรายงานทางการเงินและแสดงไว้คู่กับรายงานผู้สอบบัญชี

ในรายงานประจำปี 4. ดูแลให้ข้อมูลต่างๆ ที่เปิดเผยให้มีความถูกต้อง ชัดเจน และเปิดเผยอย่างทั่วถึงกันอย่างมีประสิทธิภาพให้กับผู้เกี่ยวข้อง โดยผู้ลงทุนสามารถทราบข่าวสารของบริษัททั้งที่ผ่านระบบของตลาดหลักทรัพย์ และบนเว็บไซต์ของบริษัท 5. บริษัทได้มอบหมายให้กรรมการผู้จัดการใหญ่ เป็นผู้มีหน้าที่เปิดเผยข้อมูลต่างๆ ของบริษัท ให้แก่นักลงทุน โดยในปี 2553 บริษัทได้ร่วมงานวันนัดพบนักลงทุนที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในงาน Opportunity Day และให้ข้อมูลแก่นักวิเคราะห์และ นักลงทุนทั่วไป 6. รณรงค์ให้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานตระหนักถึงความสำคัญของการกำกับดูแลกิจการที่ดีและความโปร่งใสในการ ดำเนินงาน 5) ความรับผิดชอบของคณะกรรมการ โครงสร้าง ขอบเขต หน้าที่ ความรับผิดชอบ คณะกรรมการบริษัทตระหนักถึงหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนดไว้ ด้วยความระมัดระวังในการควบคุม ดูแลการดำเนินธุรกิจของบริษัท (Duty of Care) และต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต (Duty of Loyalty) โดยคำนึงถึงประโยชน์ ของบริษัทและผู้ถือหุ้น รวมทั้งตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสียของบริษัท ตลอดจนให้ความสำคัญกับหลักการกำกับดูแล กิจการที่ดี (Good Corporate Governance) ที่จะช่วยส่งเสริมให้บริษัทเติบโตควบคู่ไปกับสังคมอย่างยั่งยืน บริษทั จัดวางโครงสร้างบริษทั ให้มกี ารดูแลการบริหารของคณะจัดการได้อย่างใกล้ชดิ ในทุกเรือ่ งทีม่ คี วามสำคัญผ่านคณะกรรมการ ชุดย่อยชุดต่าง ๆ เพื่อให้มั่นใจได้ตลอดเวลาว่าคณะจัดการดำเนินธุรกิจตรงตามเป้าหมาย วิสัยทัศน์ พันธกิจที่คณะกรรมการบริษัทได้

วางไว้ ดังเช่นการให้คณะกรรมการบริหารรับผิดชอบในเรื่องการกำหนดทิศทาง และติดตามการดำเนินธุรกิจตามวิสัยทัศน์ ภารกิจ กลยุทธ์ เป้าหมาย แผนธุรกิจ ตลอดจนดูแลให้คณะผู้บริหารดำเนินการให้เป็นไปตามแผนธุรกิจและงบประมาณที่กำหนดไว้อย่างมี ประสิทธิภาพ หรือที่เกี่ยวกับการดูแลบริหารจัดการความเสี่ยงของบริษัทซึ่งต้องผ่านการเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง รวมไปถึงเรื่องการดูแลเรื่องการควบคุม และตรวจสอบภายในที่ต้องผ่านคณะกรรมการตรวจสอบ นอกจากนี้ ยังมีคณะกรรมการสรรหา และกำหนดค่าตอบแทนที่ดูแลเรื่องค่าตอบแทนและการสรรหากรรมการและผู้บริหารระดับสูง (รายละเอียดเกี่ยวกับขอบเขตหน้าที ่

ความรับผิดชอบของคณะกรรมการชุดย่อยชุดต่างๆ ปรากฏในหัวข้อโครงสร้างการจัดการ) บริษัทเล็งเห็นความสำคัญของการมีจำนวนกรรมการอิสระในสัดส่วนที่เหมาะสม เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ถือหุ้นรายย่อย ว่าบริษัทมีทิศทางการดำเนินธุรกิจที่โปร่งใส และเป็นไปเพื่อประโยชน์ของผู้ถือหุ้นทุกราย โดยในปี 2553 ได้มีการสรรหากรรมการอิสระ จำนวน 1 คน เข้าแทนตำแหน่งกรรมการที่ลาออกระหว่างวาระ และมีเป้าหมายที่จะสรรหาบุคคลที่มีความเหมาะสมเพิ่มเติมให้มีจำนวน กรรมการอิสระอย่างน้อยหนึ่งในสามของจำนวนกรรมการบริษัท บริษัทมุ่งเน้นให้การปฏิบัติงานของคณะกรรมการชุดย่อยชุดต่างๆ มีความชัดเจน บริษัทจึงกำหนดให้คณะกรรมการชุดย่อย แต่ละชุดมีกฎบัตรที่ระบุถึงขอบเขต หน้าที่ และรายละเอียดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ที่ชัดเจน โดยบริษัทได้เปิดเผยกฎบัตร ของคณะกรรมการชุดย่อยในเว็บไซต์ของบริษัท คณะกรรมการบริษัทจัดให้มีเลขานุการบริษัททำหน้าที่สนับสนุนการปฏิบัติงานของกรรมการบริษัทที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติ ตามกฎหมายเกี่ยวกับหน้าที่ความรับผิดชอบต่างๆ จัดทำรายงานการประชุมคณะกรรมการ รายงานการประชุมผู้ถือหุ้น รายงานประจำปี ตลอดจนจัดเก็บเอกสารตามที่กฎหมายกำหนด โดยเลขานุการบริษัทที่คณะกรรมการบริษัทแต่งตั้งขึ้นเป็นผู้ที่คณะกรรมการบริษัทเห็นว่า


รายงานประจำปี 2553

• บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) 95

มีความเหมาะสมเนื่องจากเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์สูงที่จะช่วยให้คำแนะนำแก่กรรมการในการปฏิบัติตาม กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง ความเพียงพอของระบบการควบคุมภายใน ในการประชุมคณะกรรมการบริษัทครั้งที่ 1/2554 วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2554 โดยมีคณะกรรมการตรวจสอบเข้าร่วมประชุมด้วย คณะกรรมการบริษัทได้ให้ความเห็นชอบตามที่คณะกรรมการตรวจสอบสรุปความเห็นในเรื่องความเพียงพอของระบบการควบคุมภายใน กล่าวคือ บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย (“กลุ่มบริษัท”) มีการควบคุมภายในที่เพียงพอ เหมาะสม รวมถึงมีการ ติดตามดูแลการดำเนินงานของกลุ่มบริษัทว่าสามารถป้องกันทรัพย์สินของบริษัทและกลุ่มบริษัทจากการที่ผู้บริหารนำไปใช้โดยมิชอบ หรื อ ไม่ มี อ ำนาจ รวมถึ ง ได้ มี ก ารปรั บ ปรุ ง แก้ ไ ขระบบการควบคุ ม ภายในให้ ส อดคล้ อ งกั บ สถานการณ์ ที่ เ ปลี่ ย นแปลงไปอย่ า งมี ประสิทธิภาพ เพื่อให้การดำเนินงานของบริษัทและกลุ่มบริษัทบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้และสอดคล้องกับกฎหมายและกฎระเบียบ ที่เกี่ยวข้องและจากการตรวจสอบงบการเงินของกลุ่มบริษัท ประจำปี 2553 โดยผู้สอบบัญชีของบริษัท ผู้สอบบัญชีของบริษัทมิได้ม ี

ข้อสังเกตเกี่ยวกับระบบการควบคุมภายในในลักษณะที่เป็นสาระสำคัญที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อการดำเนินงานของบริษัท แต่ประการใด การประเมินผลการปฏิบัติงานของกรรมการ บริษัทตระหนักเสมอถึงความสำคัญในการสร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงานร่วมกันของกรรมการบริษัท ทัศนคติที่ดีและการ แสดงความคิดเห็นอย่างสร้างสรรค์ในการดำเนินงาน และการหาทางออกในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ระหว่างคณะกรรมการเป็นสิ่งที่บริษัท สนับสนุนมาอย่างสม่ำเสมอ เพื่อประโยชน์ของบริษัท และผู้ถือหุ้น ตลอดจนผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับบริษัท บริษัทจึงใช้ความระมัดระวัง อย่างสูงในการดำเนินการใดๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อการทำงานของคณะกรรมการบริษัท อย่างไรก็ตาม บริษัทให้ความสำคัญกับการ ประเมินผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการบริษัทที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของคณะกรรมการบริษัท ซึ่งแต่เดิมบริษัท

มีการประเมินอย่างไม่เป็นทางการโดยประธานกรรมการเป็นผู้ประเมินภาพรวมจากการพบปะพูดคุยกับกรรมการแต่ละคนในโอกาส ต่างๆ ซึ่งหากเห็นว่ามีเรื่องใดที่เป็นประเด็นต้องพิจารณา ประธานกรรมการจะได้หารือกับคณะกรรมการบริษัทเพื่อหาวิธีการดำเนินการ ร่วมกัน ในปี 2553 บริษัทอยู่ระหว่างศึกษาวิธีการประเมินที่เหมาะสม เพื่อนำมาใช้ประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการบริษัท ให้มีความเป็นรูปธรรมมากขึ้น โดยคาดว่าจะเริ่มนำไปใช้ในการประเมินผลคณะกรรมการปี 2554 การพัฒนาความรู้ความสามารถของกรรมการ บริษัทสนับสนุนให้คณะกรรมการบริษัท และผู้บริหารระดับสูงเข้าร่วมสัมมนาหลักสูตรที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติหน้าที ่

รวมทั้งพบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับคณะกรรมการบริษัท และผู้บริหารระดับสูงขององค์กรต่างๆ อยู่เสมอ ทั้งหลักสูตรที่จัดโดย หน่วยงานที่ดูแลการฝึกอบรมของบริษัท และหลักสูตรที่จัดโดยหน่วยงานกำกับดูแลของรัฐหรือองค์การอิสระ เช่น หลักสูตรกรรมการ บริษัทของสถาบันกรรมการบริษัทไทยที่สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กำหนดให้กรรมการของบริษัท

จดทะเบียนต้องผ่านการอบรมอย่างน้อยหนึ่งหลักสูตร ซึ่งได้แก่ Director Certification Program (DCP), Director Accreditation Program (DAP) และ Audit Committee Program (ACP) ทั้งนี้ เพื่อนำความรู้และประสบการณ์มาพัฒนาองค์กรต่อไป การดูแลเรื่องการใช้ข้อมูลภายใน บริษัทกำหนดวิธีการดูแลกรรมการบริษัทและผู้บริหารในการนำข้อมูลภายในของบริษัทไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตน ตามที่ได้ กล่าวมาแล้วในหัวข้อ การปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน สำหรับกรณีจริยธรรมพนักงานบริษัท บริษัทมีคู่มือพนักงานที่ชัดเจน เพื่อ เป็นแนวทางในการปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานขององค์กร เนื้อหาคู่มือพนักงานประกอบด้วย ระเบียบข้อบังคับใน การทำงาน ค่าตอบแทน วินัยและการลงโทษ รวมทั้งการรักษาความลับและผลประโยชน์ของบริษัท ความซื่อสัตย์สุจริต เป็นต้น คู่มือ พนักงานนี้ได้มีการลงลายมือชื่อรับเป็นหลักฐานตั้งแต่พนักงานเริ่มเข้าปฏิบัติงานทุกคน ซึ่งเรื่องนี้จะถูกเน้นยำไว้ในจรรยาบรรณบริษัท อีกแห่งหนึ่งด้วย


96

จรรยาบรรณบริษัท ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 7/2551 ประชุมเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2551 ได้มีมติอนุมัติให้บริษัทจัดทำจรรยาบรรณ ธุรกิจที่เป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อให้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกคน เข้าใจถึงมาตรฐานด้านจริยธรรมที่บริษัทใช้ในการดำเนิน ธุรกิจ โดยคณะกรรมการจะติดตามให้มีการปฏิบัติตามจรรยาบรรณดังกล่าวอย่างจริงจัง ทั้งนี้ บริษัทได้เผยแพร่ให้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกคนทราบและถือปฏิบัติผ่านหน่วยงานภายในที่เกี่ยวข้อง และบนเว็บไซต์ของบริษัทแล้ว ตั้งแต่วันที่ 14 พฤศจิกายน 2551 ที่ www.bjc.co.th ค่าตอบแทนกรรมการบริษัทและผู้บริหาร บริษัทกำหนดค่าตอบแทนที่เหมาะสมแก่คณะกรรมการบริษัท โดยพิจารณาเปรียบเทียบกับการจ่ายค่าตอบแทนกรรมการของ บริษัทชั้นนำในประเทศ และเปรียบเทียบกับในกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกันตลอดจนผลการดำเนินงานของบริษัท หรือของแต่ละกลุ่มธุรกิจ โดยค่าตอบแทนของกรรมการบริษัทนั้น คณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทนจะเป็นผู้พิจารณาเสนอต่อคณะกรรมการบริษัท และที่ประชุมผู้ถือหุ้นพิจารณาอนุมัติ สำหรั บ ค่ า ตอบแทนของผู้ บ ริ ห ารระดั บ สู ง นั้ น คณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่ า ตอบแทนจะเป็ น ผู้ พิ จ ารณาเสนอต่ อ

คณะกรรมการบริษัทเป็นผู้พิจารณา โดยคณะกรรมการบริษัทจะพิจารณาจากหน้าที่ความรับผิดชอบ ผลการปฏิบัติงานของแต่ละคน ประกอบกับผลการดำเนินงานในแต่ละธุรกิจ รวมถึงการจ่ายค่าตอบแทนให้กับผู้บริหารในธุรกิจ หรืออุตสาหกรรมเดียวกันประกอบด้วย ซึ่งวิธีการจ่ายค่าตอบแทนข้างต้นนี้จะสอดคล้องกับผลการดำเนินงานของบริษัท และผลปฏิบัติงานของผู้บริหารแต่ละราย ซึ่งเป็นวิธ ี

ที่สะท้อนถึงผลการดำเนินงานอย่างแท้จริง และมีแรงจูงใจที่เพียงพอที่จะรักษาบุคคลผู้มีความรู้ความสามารถไว้ในบริษัท

5. การดูแลเรื่องการใช้ข้อมูลภายใน บริษัทให้ความสำคัญกับการเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใส และยังคงนโยบายและวิธีการดูแลผู้บริหารที่ชัดเจนในการห้ามนำ ข้อมูลภายในของบริษัทไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตน ตามที่ได้ระบุไว้ในจรรยาบรรณทางธุรกิจของบริษัทที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ของบริษัท

ที่ www.bjc.co.th มาตั้งแต่ปี 2551 โดยกำหนดให้บริษัท บริษัทย่อย บริษัทร่วมของบริษัทที่เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย ต้องปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับการใช้ข้อมูลภายใน โดยดำเนินการให้มีความเสมอภาค และยุติธรรมต่อผู้ถือหุ้น

ทุกรายอย่างเท่าเทียมกัน และเพื่อเป็นการป้องกันการกระทำผิดกฎหมายของบุคลากรทุกระดับของบริษัท และครอบครัวทุกคนที่ได้ รับทราบหรืออาจได้รับทราบข้อมูลภายในที่ยังไม่เปิดเผยต่อสาธารณชน บริษัทจึงห้ามบุคคลดังกล่าวทำการซื้อขายหุ้นหรือชักชวนให้ บุคคลอืน่ ซือ้ หรือขาย หรือเสนอซือ้ หรือเสนอขายหุน้ ของบริษทั บริษทั ย่อยและ/หรือบริษทั ร่วมของบริษทั ซึง่ จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย ไม่ว่าจะด้วยตนเองหรือผ่านนายหน้าในขณะที่ยังครอบครองข้อมูลที่ยังไม่เปิดเผยต่อสาธารณชนอยู่ โดยบริษัท และ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยถือว่าการซื้อขายหลักทรัพย์ในลักษณะดังกล่าวเป็นการซื้อขายหลักทรัพย์เพื่อเก็งกำไร หรือสร้างความ ได้เปรียบให้กับบุคคลกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง

6. บุคลากร

บริษัทมีพนักงานทั้งหมดจำนวน 6,471 คน โดยแบ่งออกตามสายธุรกิจ ดังนี้ 1. กลุ่มสินค้าและบริการทางอุตสาหกรรม จำนวน 2,388 คน 2. กลุ่มสินค้าและบริการทางอุปโภคบริโภค จำนวน 3,111 คน 3. กลุ่มสินค้าและบริการทางเวชภัณฑ์และทางเทคนิค จำนวน 552 คน 4. กลุ่มอื่นๆ จำนวน 420 คน


รายงานประจำปี 2553

• บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) 97

บริษัทจ่ายผลตอบแทนให้แก่พนักงานใน ปี 2553 รวมเป็นเงินทั้งสิ้น จำนวนประมาณ 2,457.2 ล้านบาท โดยเป็นเงินเดือน โบนัส เงินสมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และสวัสดิการอื่นๆ เป็นต้น บริษัทมีนโยบายในการพัฒนาพนักงาน ดังนี้ 1. ส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรให้มีขีดความสามารถและความรู้เพิ่มขึ้นตามศักยภาพของแต่ละบุคคล 2. ส่งเสริมให้บุคลากรมีอนาคตในหน้าที่การงานที่ดี 3. มีการจัดทำแผนพัฒนาบุคลากรให้สามารถเป็นผู้รับช่วงงานต่อพนักงานเดิมในตำแหน่งงานที่สำคัญ (Succession Plan) 4. มุ่งเน้นพัฒนาทักษะในการเป็นผู้นำ


98

การควบคุมภายใน ระบบการตรวจสอบภายในและการควบคุมภายใน บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) (“บริษัท”) ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการ บริหารความเสี่ยงและระบบการควบคุมภายในที่เพียงพอและเหมาะสมกับการดำเนินธุรกิจ รวมทั้งมีเจตนารมณ์ในการดำเนินธุรกิจให้เจริญเติบโตอย่างยั่งยืน โปร่งใส มีคุณธรรมและ สามารถตรวจสอบได้ รวมทั้งการกำหนดภาระหน้าที่ ความรับผิดชอบและอำนาจในการ ดำเนินการทั้งระดับบริหารและระดับปฏิบัติการอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร โดยครอบคลุม การควบคุมระบบการเงิน การดำเนินการ การใช้ทรัพยากร การดูแลทรัพย์สินของบริษัทและ กลุ่มบริษัท (“บีเจซี”) รวมทั้งกฎระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้บริษัทสามารถบริหารงาน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล สามารถลดหรือป้องกันความเสี่ยงต่างๆ รวมทั้ง บรรลุวิสัยทัศน์และพันธกิจของบีเจซีที่ตั้งไว้ โดยบริษัทมีการดำเนินการที่สำคัญดังนี้

“...คณะกรรมการบริษทั มุง่ เน้นให้ผบู้ ริหาร เป็นตัวอย่างทีด่ ี มีศลี ธรรม ซือ่ สัตย์สจุ ริต และปฏิบตั ติ ามจรรยาบรรณ ธุรกิจอย่างเคร่งครัด ซึง่ มีขอ้ กำหนดเป็นแนวทางปฏิบตั ไิ ว้ อย่างเป็นลายลักษณ์อกั ษร...”

1) สภาพแวดล้อมการควบคุม

บริษทั ได้กำหนดวิสยั ทัศน์ พันธกิจ ค่านิยม ตลอดจนวัฒนธรรมของบีเจซี ให้พนักงาน รับทราบโดยทั่วถึงกันไว้อย่างชัดเจน เป็นลายลักษณ์อักษร ในส่วนของการกำหนดเป้าหมาย การปฏิบัติงาน ได้มีการทบทวนเป้าหมายการปฏิบัติงานและพิจารณาถึงความเป็นไปได้ของ เป้าหมายที่กำหนด โดยใช้ Balanced Scorecard เป็นเครื่องพิจารณาผลตอบแทนของ พนักงาน บริษัทได้ทำการจัดโครงสร้างกลุ่มธุรกิจ โดยแบ่งออกเป็น 4 สายธุรกิจ ตามประเภท การดำเนินธุรกิจ เพื่อความชัดเจนและมีประสิทธิภาพในการดำเนินงาน นอกจากนี้ คณะ กรรมการบริษัทมุ่งเน้นให้ผู้บริหารดำเนินการเป็นตัวอย่างที่ดี มีศีลธรรม ซื่อสัตย์สุจริต และ ปฏิบัติตามจรรยาบรรณธุรกิจอย่างเคร่งครัด ซึ่งมีข้อกำหนดเป็นแนวทางปฏิบัติไว้อย่างเป็น ลายลักษณ์อักษร นอกจากนี้ บริษัทได้สื่อสารให้พนักงานทราบเกี่ยวกับจรรยาบรรณธุรกิจ ผ่านทาง Intranet ของบริษัท รวมทั้งกำหนดแนวทางในการปฏิบัติงานของผู้บริหารและ ผู้ปฏิบัติการทุกระดับ ตลอดจนกำหนดให้มีการพัฒนาบุคลากรทุกระดับอย่างต่อเนื่อง

2) การประเมินความเสี่ยง

บริษัทได้จัดตั้งคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง เพื่อประเมินความเสี่ยงที่สำคัญ ทั้งภายในและภายนอกที่มีผลกระทบต่อวิสัยทัศน์และพันธกิจของบีเจซี รวมทั้งกำหนด นโยบายการบริหารความเสี่ยง โดยแยกพิจารณาความเสี่ยงเป็น 4 ประเภทหลัก ได้แก่ ความ เสี่ยงด้านกลยุทธ์ ความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ ความเสี่ยงด้านการเงิน และความเสี่ยงด้านการ ปฏิบัติตามกฎระเบียบ คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงจะกำหนดกลยุทธ์ที่จะใช้บริหาร ความเสี่ยงให้สอดคล้องกับนโยบายการบริหารความเสี่ยง พร้อมทั้งวิเคราะห์ ประเมินผล และติดตามการปฏิบัติตามนโยบายการบริหารความเสี่ยงของธุรกิจที่กำหนดไว้ ทั้งนี้ เพื่อให้ สอดคล้องกับวิสัยทัศน์และพันธกิจของบีเจซี ตลอดจนกฎระเบียบ ข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง


รายงานประจำปี 2553

• บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) 99

3) กิจกรรมการควบคุม

บริษัทมีการกำหนดนโยบายและขั้นตอนในการปฏิบัติงานที่สำคัญในการดำเนินธุรกิจ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงาน ของบริษัทให้เป็นไปอย่างมีระบบและมีประสิทธิภาพ สามารถบรรลุวิสัยทัศน์และพันธกิจของบีเจซี รวมทั้งยังได้กำหนดขอบเขต อำนาจ หน้าที่ของฝ่ายบริหารในแต่ละระดับอย่างชัดเจน โดยมีการแบ่งแยกหน้าที่ความรับผิดชอบออกเป็นกลุ่มธุรกิจเพื่อกระจายการบริหารงาน ให้มีประสิทธิภาพ บริษัทได้จัดทำนโยบาย วิธีปฏิบัติ และตารางอำนาจอนุมัติพร้อมทั้งปรับปรุงให้เป็นปัจจุบันอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้เกิด ความคล่องตัวในการดำเนินธุรกิจของแต่ละหน่วยงานตลอดจนจัดทำการรายงานผลที่เป็นลายลักษณ์อักษรอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้ บริษัทยังมีการติดตามการดำเนินงาน และรายการที่เกี่ยวโยงกันหรือรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ให้มีความถูกต้องและ ครบถ้วนของบริษัทย่อยหรือบริษัทร่วมอย่างสม่ำเสมอ โดยมีกรรมการหรือผู้บริหารเข้าไปเป็นกรรมการในบริษัทย่อยและบริษัทร่วมเพื่อ ดูแลการบริหารงานอย่างใกล้ชิด เพื่อให้มั่นใจว่าเป็นรายการที่เกิดขึ้นจริงที่ดำเนินการตามเงื่อนไขทางธุรกิจปกติทั่วไป ตามประกาศ คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เรื่อง การเปิดเผยข้อมูลและการปฏิบัติการของบริษัทจดทะเบียนในรายการที่เกี่ยวโยง กัน พ.ศ. 2546

4) สารสนเทศและการสื่อสาร

การจัดระบบสารสนเทศและช่องทางการสื่อสารทั้งภายในและภายนอกบริษัทที่สามารถเชื่อมโยงกันได้อย่างทั่วถึง เพื่ออำนวย ต่อการแลกเปลี่ยนข้อมูล การวิเคราะห์ และการรายงานให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้รับรู้ข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วน ทันเวลาและเพียงพอต่อ การตัดสินใจ ตลอดจนการพัฒนาระบบสารสนเทศอย่างต่อเนื่อง โดยนำระบบ SAP มาใช้ เพื่อเป็นการสร้างโอกาสใหม่ทางธุรกิจและ ความได้เปรียบเชิงกลยุทธ์ รวมถึงมีการจัดทำการสำรองข้อมูลของระบบสารสนเทศทั้งหมด

5) การติดตามประเมินผล

คณะกรรมการบริษัทได้จัดให้มีคณะจัดการ เพื่อติดตามและประเมินผลการดำเนินงานอย่างสม่ำเสมอ โดยมีเจ้าหน้าที่ตรวจ สอบภายในของบริษัททำการตรวจสอบตามระบบการควบคุมภายในให้เป็นไปตามแผนการตรวจสอบประจำปี โดยฝ่ายตรวจสอบ ภายในสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีอิสระ สามารถเสนอรายงานและแนวทางการแก้ไขได้อย่างตรงไปตรงมาต่อคณะกรรมการตรวจสอบ และคณะจัดการ เพื่อดำเนินการในกรณีที่พบข้อบกพร่องที่เป็นสาระสำคัญจะมีการเสนอแนะเพื่อให้ทำการป้องกันและลดความเสี่ยงที่ อาจเกิดขึ้น โดยให้ทำการแก้ไขให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ และเพื่อให้ผู้บริหารมีความมั่นใจได้อย่างสมเหตุสมผลอยู่ตลอด เวลาว่าการควบคุมภายในยังมีประสิทธิผลอยู่เสมอ ทั้งนี้ ในการประชุมคณะกรรมการบริษัทครั้งที่ 1/2554 วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2554 โดยมีคณะกรรมการตรวจสอบเข้าร่วมประชุม ด้วย คณะกรรมการบริษัทได้ให้ความเห็นชอบตามที่คณะกรรมการตรวจสอบสรุปความเห็นในเรื่องความเพียงพอของระบบการควบคุม ภายใน กล่าวคือ บีเจซีมีการควบคุมภายในที่เพียงพอเหมาะสมรวมถึงมีการติดตามดูแลการดำเนินงานของบีเจซีว่าสามารถป้องกัน ทรัพย์สินของบีเจซีจากการที่ผู้บริหารนำไปใช้โดยมิชอบหรือไม่มีอำนาจ รวมถึงได้มีการปรับปรุงแก้ไขระบบการควบคุมภายในให้ สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้การดำเนินงานของบีเจซีบรรลุวิสัยทัศน์และพันธกิจของบีเจซีที่ กำหนดไว้ และสอดคล้องกับกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ จากการตรวจสอบงบการเงินของบีเจซี ประจำปี 2553 โดยผู้สอบบัญชีของบริษัท ผู้สอบบัญชีของบริษัทมิได้มีข้อ สังเกตเกี่ยวกับระบบการควบคุมภายในในลักษณะที่เป็นสาระสำคัญ ที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อการดำเนินงานของบริษัทแต่ ประการใด


100

ข้อมูลของนิติบุคคล ข้อมูลนิติบุคคลที่บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) ถือหุ้นตั้งแต่ร้อยละ 10 ขึ้นไป ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553

ชื่อ ที่ตั้ง ประเภทกิจการ ประเภทหุ้น

บริษัทย่อย

บีเจซี กล๊าส เวียดนาม ลิมิเต็ด ประเทศเวียดนาม บริษัท ไทย-สแกนดิค สตีล จำกัด ระยอง บริษทั อุตสาหกรรมทำเครือ่ งแก้วไทย กรุงเทพมหานคร จำกัด (มหาชน) บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ ฟู้ดส์ จำกัด กรุงเทพมหานคร บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ โลจิสติกส์ กรุงเทพมหานคร จำกัด เจซี ฟู้ดส์ เอสดีเอ็น บีเอชดี ประเทศมาเลเซีย บริษัท รูเบียอุตสาหกรรม จำกัด สมุทรปราการ บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ เซลล็อกซ์ กรุงเทพมหานคร จำกัด ไทยคอร์ป อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศเวียดนาม (เวียดนาม) คัมปะนี ลิมิเต็ด บริษัท บีเจซี เฮลท์แคร์ จำกัด กรุงเทพมหานคร (เดิมชื่อ : บริษัท บีเจซี เทรดดิ้ง จำกัด) บริษัท คอสม่า เมดิคอล จำกัด กรุงเทพมหานคร บริษัท มัณฑนา จำกัด กรุงเทพมหานคร บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ สเปเชียลตี้ส์ ก รุงเทพมหานคร จำกัด บีเจซี อินเตอร์เนชั่นแนล (เวียดนาม) ประเทศเวียดนาม ลิมิเต็ด (เดิมชื่อ : วีนา กล๊าส อินดัสทรีส์ จำกัด) บีเจซี อินเตอร์เนชั่นแนล คัมปะนี เขตปกครองพิเศษ ลิมิเต็ด ฮ่องกง บริษัท บีเจซี อินเตอร์เนชั่นแนล กรุงเทพมหานคร จำกัด บีเจซี กล๊าซ คัมปะนี ลิมิเต็ด เขตปกครองพิเศษ ฮ่องกง

พัฒนา ก่อสร้าง บริหาร และ - ดำเนินกระบวนการในการผลิต ในประเทศเวียดนาม เพื่อผลิต ทำการตลาด และจัดจำหน่าย บรรจุภัณฑ์ขวดแก้วคุณภาพสูง และผลิตภัณฑ์ที่คล้ายคลึงกัน ผลิตโครงสร้างเหล็กชุบสังกะสี สามัญ บุริมสิทธิ ผลิตบรรจุภัณฑ์แก้ว สามัญ

จำนวนหุ ้น มูลค่าหุ้นละ ทุนที่เรียก ออก ชำระแล้ ว (บาท) จำหน่ าย (บาท) -

4,560,000 1,300,000 117,000,000

สัดส่วน จำนวนหุ้น การถือหุ้น/ ที่ถือ การลงทุน (ร้อยละ) -

100.00

100 456,000,000 4,560,000 100 130,000,000 1,300,000 10 1,170,000,000 115,355,235

99.85 99.85 98.59

- 52,740,000 เหรียญสหรัฐ

ผลิตอาหารว่าง บริการด้านพิธีการออกสินค้า คลังสินค้า ขนส่งและจัดส่ง

สินค้า ผลิตอาหารว่าง ผลิตสบู่ เครื่องสำอางและ ลูกกวาด ผลิต การตลาด และ จัดจำหน่ายกระดาษอนามัย นำเข้า ส่งออก จัดจำหน่าย ค้าปลีก ค้าส่ง สินค้าต่างๆ ตามรายการที่ได้รับอนุญาต จำหน่ายยา เครื่องมือ และ อุปกรณ์ทางการแพทย์

สามัญ สามัญ

3,200,000 500,000

สามัญ สามัญ

12,000,000 70,000

สามัญ

90,000,000

สามัญ

20,000,000

จำหน่ายเวชภัณฑ์ จำหน่ายเครื่องสำอางและ เครื่องจักรกล จำหน่ายเคมีภัณฑ์

สามัญ สามัญ

50,000 500

100 1,000

1,325,000 500,000

50,000 500

100.00 100.00

สามัญ

18,250

3,500

63,875,000

18,095

99.15

- 14,000,000 เหรียญสหรัฐ

-

100.00

48,000,000 1 เหรียญ 2,200,000 48,000,000 ฮ่องกง เหรียญฮ่องกง 10,000,000 10 25,000,000 10,000,000

100.00

โรงงานผลิตขวดแก้วทุกชนิด นำเข้า ค้าส่ง ค้าปลีก จัดจำหน่ายวัตถุดิบ / สินค้า

ตามรายการที่ได้รับอนุญาต ค้าขาย นำเข้า และส่งออก นำเข้าและส่งออกสินค้า และ วัตถุดิบ ธุรกิจลงทุน ค้าขาย นำเข้า และส่งออก

-

- สามัญ สามัญ สามัญ

-

-

100 320,000,000 100 50,000,000

3,200,000 500,000

100.00 100.00

12,000,000 12,000,000 ริงกิต 70,000,000 69,892

100.00

10 900,000,000 85,354,470

94.84

1 ริงกิต 1,000

- 5,400,000,000 ดองก์

99.85

-

75.00

10 200,000,000 20,000,000

100.00

10,000 1 เหรียญ 10,000 ฮ่องกง เหรียญฮ่องกง

10,000

100.00 100.00


รายงานประจำปี 2553

• บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน)

101

ชื่อ ที่ตั้ง ประเภทกิจการ ประเภทหุ้น บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ (เมียนมาร์)

สหภาพเมียนมาร์ จำกัด ไทยคอร์ป อินเตอร์เนชั่นแนล เขตปกครองพิเศษ คัมปะนี ลิมิเต็ด ฮ่องกง รูเบีย อินเวสท์เม้นทส์ หมู่เกาะบริติช เวอร์จิ้น บริษัท ที.ซี.ซี.เทคโนโลยี จำกัด กรุงเทพมหานคร กิจการที่ควบคุมร่วมกัน บีเจซี โอ-ไอ กล๊าส พีทีอี แอลทีดี ประเทศสิงคโปร์ มาลายา กลาส โปรดักส์ เอสดีเอ็น ประเทศมาเลเซีย บีเอชดี บริษัท เบอร์ลี่ เอเชียติ๊ก โซดา จำกัด กรุงเทพมหานคร บริษัทร่วม บริษัท ไทย เบเวอร์เรจ แคน จำกัด สระบุรี

จำนวนหุ ้น มูลค่าหุ้นละ ทุนที่เรียก ออก ชำระแล้ ว (บาท) จำหน่ าย (บาท)

สัดส่วน จำนวนหุ้น การถือหุ้น/ ที่ถือ การลงทุน (ร้อยละ)

นำเข้าและส่งออก บริษัทลงทุน บริษัทลงทุน

สามัญ สามัญ สามัญ

510 1,000 จัค 510,000 จัค 510 17,000,000 1 เหรียญ 6,000,000 12,750,000 ฮ่องกง เหรียญฮ่องกง 30,000 1,000 30,000,000 30,000

บริการด้านสารสนเทศ

สามัญ

18,000,000

75.00 100.00

9,180,000

51.00

ผลิต ทำการตลาด และ สามัญ 154,450,000 1 เหรียญ 257,926,000 77,225,000 จำหน่ายบรรจุภัณฑ์แก้วและ สหรัฐ เหรียญสหรัฐ

ผลิตภัณฑ์ทเี่ กีย่ วกับแก้วทุกชนิด บุริมสิทธิ 103,476,000 - - 30,188,000 ผลิตและจำหน่ายบรรจุภัณฑ์ สามัญ 55,000,000 1 ริงกิต 55,000,000 27,500,000 แก้ว และสินค้าที่เกี่ยวข้อง บุริมสิทธิ ริงกิต

แปลงสภาพ 172,225 - - 86,112 ชนิดไถ่ถอน ได้แต่ไม่มีเงิน ปันผลสะสม จำหน่ายโซดาแอช สามัญ 6,400,000 6.25 40,000,000 3,200,000

50.00

ผลิต และขายบรรจุภัณฑ์ กระป๋อง และฝากระป๋อง อะลูมิเนียมสำหรับเครื่องดื่ม

บริษัท เบอร์ลี่ ไดน่าพลาส จำกัด กรุงเทพมหานคร ผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติกแข็ง มาลายา เวียดนาม กล๊าส ลิมิเต็ด ประเทศเวียดนาม ผลิตบรรจุภัณฑ์แก้วสำหรับ เบียร์ เครือ่ งดืม่ ไม่มแี อลกอฮอล์ และผลิตภัณฑ์อาหาร บริษัท ไทย มาลายา กลาส จำกัด สระบุรี ผลิต และจำหน่ายบรรจุภัณฑ์ แก้ว บริษัท แก้วกรุงไทย จำกัด พระนครศรีอยุธยา จำหน่ายเศษแก้ว พลาสติก และวัสดุที่ใช้แล้ว บริษัทอื่น บริษัท สยาม ซีเมนต์ เมียนมาร์ สหภาพเมียนมาร์ ตัวแทนจำหน่ายปูนซีเมนต์ เทรดดิ้ง จำกัด บริษัทที่หยุดดำเนินการ บริษัท บีเจซี มาร์เก็ตติ้ง จำกัด กรุงเทพมหานคร หยุดดำเนินการ บริษัท บีเจซี อินดัสเตรียล แอนด์ กรุงเทพมหานคร หยุดดำเนินการ เทรดดิ้ง จำกัด (เดิมชื่อ : บริษัท บีเจซี เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด) บริษัท ไทยฟลัวสปาร์แอนด์ กรุงเทพมหานคร หยุดดำเนินงาน มิเนอรัลส์ จำกัด บริษัท หินอ่อนและศิลา จำกัด กรุงเทพมหานคร หยุดดำเนินงาน บริษัท บีเจซี มารีน รีซอสเซส กรุงเทพมหานคร หยุดดำเนินการ ดีเวลล็อปเม้นท์ จำกัด

10 180,000,000

100.00

50.00 50.00

สามัญ

100,000,000

สามัญ -

3,039,334 -

100 303,933,400 - 29,100,000 เหรียญสหรัฐ

1,489,270 -

49.00 35.00

สามัญ

8,700,000

100 870,000,000

4,437,000

35.00

สามัญ

3,200,000

100 320,000,000

800,000

25.00

220 6,000 จัค 1,320,000 จัค

33

15.00

10 100,000,000 10,000,000 10 250,000,000 25,000,000

100.00 100.00

สามัญ

10 1,000,000,000 50,000,000

50.00

สามัญ สามัญ

10,000,000 25,000,000

สามัญ

20,000

100

2,000,000

20,000

100.00

สามัญ สามัญ

998,000 100,000

100 1,000

99,800,000 94,400,000

998,000 50,000

99.77 50.00


102

ข้อมูลการติดต่อ กลุม่ สินค้าและบริการทางอุตสาหกรรม ฝ่ายวิศวกรรม

ฝ่ายบรรจุภัณฑ์

99 อาคารเบอร์ลี่ ยุคเกอร์ ซอยรูเบีย ถนนสุขุมวิท 42 แขวงพระโขนง เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร โทรศัพท์ : (662) 367-1513 โทรสาร : (662) 381-4540 บริษัท อุตสาหกรรมทำเครื่องแก้วไทย จำกัด (มหาชน)

15 หมู่ 1 ถนนราษฎร์บูรณะ แขวงราษฎร์บูรณะ เขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร โทรศัพท์ : (662) 427-0060-3 โทรสาร : (662) 427-6603 บริษัท ไทย เบเวอร์เรจ แคน จำกัด

99 หมู่ 9 เขตประกอบการอุตสาหกรรม เอสไอแอล ถนนหนองปลากระดี่ ตำบลหนองปลิง อำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี โทรศัพท์ : (6636) 373-600 โทรสาร : (6636) 373-601 บริษัท เบอร์ลี่ ไดน่าพลาส จำกัด

99 อาคารเบอร์ลี่ ยุคเกอร์ ซอยรูเบีย ถนนสุขุมวิท 42 แขวงพระโขนง เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร โทรศัพท์ : (662) 381-5088 โทรสาร : (662) 381-5788 บริษัท ไทย มาลายา กลาส จำกัด

28 เขตประกอบการอุตสาหกรรม เอสไอแอล หมู่ 1 ต.บัวลอย อ.หนองแค จังหวัดสระบุร ี

โทรศัพท์ : (6636) 373-821-27 โทรสาร : (6636) 373-812-817

99 อาคารเบอร์ลี่ ยุคเกอร์ ซอยรูเบีย ถนนสุขุมวิท 42 แขวงพระโขนง เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร โทรศัพท์ : (662) 367-1171 โทรสาร : (662) 381-4541

บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ ฟู้ดส์ จำกัด

225/10 หมู่ 1 ถนนเทพารักษ์ ตำบลบางเสาธง อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ โทรศัพท์ : (662) 313-1470-3 โทรสาร : (662) 313-1031

บริษัท ไทย-สแกนดิค สตีล จำกัด

7 ถนนไอ-ห้า นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ตำบลมาบตาพุด อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง โทรศัพท์ : (6638) 683-066-70 โทรสาร : (6638) 683-065

บริษัท รูเบียอุตสาหกรรม จำกัด

70 หมู่ 13 ถนนปู่เจ้าสมิงพราย ตำบลบางหญ้าแพรก อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ โทรศัพท์ : (662) 385-9024 โทรสาร : (662) 385-9355

บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ โลจิสติกส์ จำกัด

99 อาคารเบอร์ลี่ ยุคเกอร์ ซอยรูเบีย กลุม่ สินค้าและบริการทางอุปโภคบริโภค ถนนสุขุมวิท 42 แขวงพระโขนง เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร ฝ่ายการตลาดกลุ่มสินค้าและบริการทาง โทรศัพท์ : (662) 367-1460 อุปโภคบริโภค

โทรสาร : (662) 712-2273 99 อาคารเบอร์ลี่ ยุคเกอร์ ซอยรูเบีย เจซี ฟู้ดส์ เอสดีเอ็น บีเอชดี

ถนนสุขุมวิท 42 แขวงพระโขนง ล็อต 1 จาลัน เปลาเบอร์ 23/1 เซคชั่น 23 เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 40300 ซา ฮารัม เซลังงอ มาเลเซีย

โทรศัพท์ : (662) 367-1603 โทรศัพท์ : (603) 5542-3566 โทรสาร : (662) 367-1827 โทรสาร : (603) 5542-0131 ฝ่ายขายกลุ่มสินค้าและบริการทาง ไทยคอร์ป อินเตอร์เนชั่นแนล อุปโภคบริโภค

(เวียดนาม) ลิมิเต็ด 99 อาคารเบอร์ลี่ ยุคเกอร์ ซอยรูเบีย 40 บา ฮูเยน ตวน กวน วาร์ด 6 ดิสทริก 3 ถนนสุขุมวิท 42 แขวงพระโขนง โฮจิมินห์ ซิตี้ เวียดนาม เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร โทรศัพท์ : (848) 3811- 7777 โทรศัพท์ : (662) 367-1671 (848) 3811- 9999 โทรสาร : (662) 367-1718 โทรสาร : (848) 3811- 7816 บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ เซลล็อกซ์ จำกัด

330 หมู่ 9 ถนนบางนา-ตราด ตำบลบางโฉลง อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ โทรศัพท์ : (662) 312-6115-8 โทรสาร : (662) 312-6173


รายงานประจำปี 2553

• บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน)

103

กลุ่มสินค้าและบริการทางเวชภัณฑ์และ แผนกการพิมพ์

99 อาคารเบอร์ลี่ ยุคเกอร์ ซอยรูเบีย เทคนิค

สำนักงานผู้แทนประจำประเทศ เวียดนาม

ฝ่ายเวชภัณฑ์

99 อาคารเบอร์ลี่ ยุคเกอร์ ซอยรูเบีย ถนนสุขุมวิท 42 แขวงพระโขนง เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร โทรศัพท์ : (662) 367-1243 โทรสาร : (662) 381-4550

ฟอสโก้ II, บล็อก อี ห้อง อี21 40 บา ฮูเยน ตวน กวน สตรีท ดิสทริค 3 โฮจิมินห์ ซิตี้ เวียดนาม โฮจิมินห์ ซิต ี้ โทรศัพท์ : (848) 3930-4312 โทรสาร : (848) 3930-5925 ฮานอย

โทรศัพท์ : (844) 2223-9241 โทรสาร : (844) 2223-9242

บริษัท คอสม่า เมดิคอล จำกัด 48 ซอยสมานฉันท์-บาโบส ถ.สุขุมวิท 42 แขวงพระโขนง เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร โทรศัพท์ : (662) 367-1252 โทรสาร : (662) 367-1246 แผนกเครื่องมือและนวัตกรรม

ทางการแพทย์

99 อาคารเบอร์ลี่ ยุคเกอร์ ซอยรูเบีย ถนนสุขุมวิท 42 แขวงพระโขนง เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร โทรศัพท์ : (662) 367-1318 โทรสาร : (662) 585-4747 แผนกเครื่องมือแพทย์และวัสดุ

ทางการแพทย์

99 อาคารเบอร์ลี่ ยุคเกอร์ ซอยรูเบีย ถนนสุขุมวิท 42 แขวงพระโขนง เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร โทรศัพท์ : (662) 367-1263 โทรสาร : (662) 367-1262 แผนกเคมีภัณฑ์อุตสาหกรรม

99 อาคารเบอร์ลี่ ยุคเกอร์ ซอยรูเบีย ถนนสุขุมวิท 42 แขวงพระโขนง เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร โทรศัพท์ : (662) 367-1755 โทรสาร : (662) 381-4540

ถนนสุขุมวิท 42 แขวงพระโขนง เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร โทรศัพท์ : (662) 367-1334 โทรสาร : (662) 367-1549

แผนกเครื่องเขียนและเครื่องใช้ สำนักงาน

99 อาคารเบอร์ลี่ ยุคเกอร์ ซอยรูเบีย ถนนสุขุมวิท 42 แขวงพระโขนง เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร โทรศัพท์ : (662) 367-1540 โทรสาร : (662) 367-1549 บริษัท ที.ซี.ซี. เทคโนโลยี จำกัด

เลขที่ 195 ชั้น 30 อาคารเอ็มไพร์ทาวเวอร์ ถนนสาทรใต้ แขวงยานนาวา กรุงเทพมหานคร โทรศัพท์ : (662) 626-0000 โทรสาร : (662) 626-0088

กลุ่มธุรกิจต่างประเทศ บริษัท บีเจซี อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด

99 อาคารเบอร์ลี่ ยุคเกอร์ ซอยรูเบีย ถนนสุขุมวิท 42 แขวงพระโขนง เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร โทรศัพท์ : (662) 367-1804 โทรสาร : (662) 712-2241 บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ (เมียนมาร์) จำกัด

เลขที่ 39 (บี) ทาว วัน สตรีท ดาก้อน ทาว์นชิป ย่างกุ้ง สหภาพพม่า

โทรศัพท์ : (951) 226-658 โทรสาร : (951) 221-598 สำนักงานกรุงเทพมหานคร

โทรศัพท์ : (662) 367-1029 โทรสาร : (662) 712-2241

บีเจซี อินเตอร์เนชั่นแนล คัมปะนี

ลิมิเต็ด

ห้องเลขที่ 1504 ซิลเวอร์คอร์ด ทาวเวอร์ 30 ถนนแคนตั้น จิมซาโจ่ย เกาลูน ฮ่องกง โทรศัพท์ : (662) 367-1455 โทรสาร : (662) 367-1441 บีเจซี กล๊าซ คัมปะนี ลิมิเต็ด

ห้องเลขที่ 1504 ซิลเวอร์คอร์ด ทาวเวอร์ 30 ถนนแคนตั้น จิมซาโจ่ย เกาลูน ฮ่องกง โทรศัพท์ : (662) 367-1455 โทรสาร : (662) 367-1441 ไทยคอร์ป อินเตอร์เนชั่นแนล คัมปะนี ลิมิเต็ด (ฮ่องกง)

ชั้น 38th ทาวเวอร์ วัน ลิปโป เซ็นเตอร์ 89 ควีนสแลนด์ ฮ่องกง โทรศัพท์ : (852) 3188-8333 โทรสาร : (852) 3188-8222


104

ข้อมูลบริษัท สำนักงานใหญ่และสำนักงานจดทะเบียน

นายทะเบียนหุ้นของบริษัท

บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด 99 อาคาร เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ ซอยรูเบีย อาคารสถาบันวิทยาการตลาดทุน ถนนสุขุมวิท 42 แขวงพระโขนง เขตคลองเตย 2/7 หมู่ 4 (โครงการนอร์ธปาร์ค) ถนนวิภาวดีรังสิต กรุงเทพมหานคร 10110 แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210 โทรศัพท์ : (662) 367-1111 โทรศัพท์ : (662) 596-9000 โทรสาร : (662) 367-1000, (662) 381-4545 โทรสาร : (662) 832-4994-6 อีเมล์ : bjc@bjc.co.th เว็บไซต์ : www.bjc.co.th ชื่อย่อหลักทรัพย์ของบริษัท ทะเบียนเลขที่ : 0107536000226 BJC ทุน : ทุนจดทะเบียน 1,588,125,000.00 บาท ทุนชำระแล้วเป็นเงิน 1,588,125,000.00 บาท หุ้นจดทะเบียน จำนวนหุ้น : หุ้นสามัญ 1,588,125,000 หุ้น ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ผู้สอบบัญชี ธนาคารหลัก บริษัท เคพีเอ็มจี ภูมิไชย สอบบัญชี จำกัด ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ชั้น 50-51 เอ็มไพร์ ทาวเวอร์ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) 195 ถนนสาทรใต้ แขวงยานนาวา เขตสาทร ธนาคารเครดิต อะกริกอล กรุงเทพมหานคร 10120 ธนาคารซิตี้แบงค์ โทรศัพท์ : (662) 667-2000 ธนาคารทหารไทย จำกัด โทรสาร : (662) 667-2222 ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) ที่ปรึกษากฎหมาย ธนาคารบีเอ็นพี พาริบาส์ บริษัท วีระวงค์ ชินวัฒน์ และเพียงพนอ จำกัด ธนาคารสแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ด (ไทย) จำกัด (มหาชน) ชั้น 22 อาคารเมอร์คิวรี่ ทาวเวอร์ ธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้แบงกิง้ คอร์ปอเรชั่น 540 ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน ธนาคารดอยซ์แบงค์ กรุงเทพมหานคร 10330 โทรศัพท์ : (662) 264-8000 โทรสาร : (662) 657-2222


รายงานประจำปี 2553

• บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน)

105

รายงานความรับผิดชอบของคณะกรรมการต่องบการเงิน คณะกรรมการบริษัทเป็นผู้รับผิดชอบต่องบการเงินรวมของบริษัทและบริษัทย่อย (บีเจซี) และสารสนเทศทางการเงินที่ปรากฏใน รายงานประจำปี งบการเงินดังกล่าวจัดทำขึ้นตามมาตรฐานการบัญชีที่รับรองทั่วไปในประเทศไทย โดยเลือกใช้นโยบายบัญชีที่เหมาะสมและ ถือปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอและใช้ดุลยพินิจอย่างระมัดระวังและประมาณการที่ดีที่สุดในการจัดทำ รวมทั้งมีการเปิดเผยข้อมูลสำคัญ

อย่างเพียงพอในหมายเหตุประกอบงบการเงิน คณะกรรมการได้จัดให้มีการดำรงรักษาไว้ซึ่งระบบควบคุมภายในที่มีประสิทธิภาพเพื่อให้มั่นใจได้อย่างมีเหตุผลว่าการบันทึกข้อมูล ทางบัญชีมีความถูกต้อง ครบถ้วนและเพียงพอที่จะดำรงรักษาไว้ซึ่งทรัพย์สินและเพื่อให้ทราบจุดอ่อน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการทุจริตหรือ การดำเนินการที่ผิดปกติอย่างมีสาระสำคัญ ในการนี้ คณะกรรมการบริษัทได้แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบซึ่งประกอบด้วย กรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหารเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบ เกี่ยวกับคุณภาพของรายงานทางการเงินและระบบควบคุมภายในและความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบเกี่ยวกับเรื่องนี้ปรากฏ ในรายงานของคณะกรรมการตรวจสอบซึ่งแสดงไว้ในรายงานประจำปีแล้ว คณะกรรมการมีความเห็นว่า ระบบควบคุมภายในของบริษัทโดยรวมอยู่ในระดับน่าพอใจและสามารถสร้างความเชื่อมั่นอย่างมี เหตุผลต่อความเชื่อถือได้ของงบการเงินของบริษัทและบริษัทย่อย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553

(เจริญ สิริวัฒนภักดี) ประธานกรรมการ

(อัศวิน เตชะเจริญวิกุล) กรรมการผู้จัดการใหญ่


106

รายงานการกำกับดูแลกิจการของคณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการตรวจสอบของบริ ษั ท เบอร์ ลี่ ยุ ค เกอร์ จำกั ด (มหาชน) (“บริ ษั ท ”) ประกอบด้ ว ยกรรมการอิ ส ระ 3 ท่ า น ซึ่ ง มี ค วามรู้ ความสามารถ ความเชี่ ย วชาญและ ประสบการณ์ สู ง โดยมี นายสถาพร กวิ ต านนท์ เป็ น ประธานคณะกรรมการตรวจสอบ นายวีระวงค์ จิตต์มิตรภาพ และ ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ เป็นกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการ ตรวจสอบของบริษัท (“คณะกรรมการตรวจสอบ”) ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎบัตรคณะกรรมการ ตรวจสอบที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัท และตามข้อกำหนดของคณะกรรมการ กำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ รวมทั้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งสรุปได้

ดังต่อไปนี้ 1. จัดให้มีการประชุมคณะกรรมการตรวจสอบ ในปี 2553 รวมทั้งสิ้น 6 ครั้ง โดย ประชุ ม ร่ ว มกั บ ฝ่ า ยบริ ห าร ฝ่ า ยตรวจสอบภายในของบริ ษั ท (“ฝ่ า ยตรวจสอบ”) และ ผู้ ส อบบั ญ ชี รั บ อนุ ญ าตของบริ ษั ท เคพี เ อ็ ม จี ภู มิ ไ ชย สอบบั ญ ชี จำกั ด (“ผู้ ส อบบั ญ ชี ” ) ซึ่งเป็นการประชุมตามวาระปกติ 5 ครั้ง และการประชุมในวาระพิเศษร่วมกับผู้สอบบัญชี โดยไม่มีฝ่ายจัดการของบริษัท จำนวน 1 ครั้ง โดยนายสถาพร กวิตานนท์ นายวีระวงค์ จิตต์มิตรภาพ และ ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ เข้าร่วมประชุม 4 ครั้ง 6 ครั้ง และ 6 ครั้ง ตามลำดับ 2. พิจารณาสอบทานงบการเงินของบริษัท รายงานของผู้สอบบัญชี ผลการตรวจสอบ งบการเงิน โดยซักถามและให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ ทั้งนี้ คณะกรรมการตรวจสอบ มีความเห็นว่า งบการเงินของบริษัท มีความถูกต้อง ครบถ้วน เชื่อถือได้ เปิดเผยข้อมูล

อย่างเพียงพอและเป็นไปตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป

“...คณะกรรมการตรวจสอบ

ของบริษทั ปฏิบตั หิ น้าที ่ ตามกฎบัตรคณะกรรมการ ตรวจสอบที่ได้รบั อนุมตั ิ จากคณะกรรมการบริษทั และตามข้อกำหนดของ

คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์...”

3. พิจารณาสอบทานรายการที่เกี่ยวโยงกัน เพื่อให้มั่นใจว่ารายการดังกล่าวมีความ ถู ก ต้ อ งเพี ย งพอ สมเหตุ ส มผล ยุ ติ ธ รรม และเปิ ด เผยอย่ า งโปร่ ง ใส ซึ่ ง คณะกรรมการ ตรวจสอบมีความเห็นว่า รายการที่เกี่ยวโยงกันดังกล่าวข้างต้น เป็นรายการที่สมเหตุสมผล ยุติธรรม และเพื่อประโยชน์สูงสุดของบริษัท พร้อมทั้งเปิดเผยข้อมูลอย่างครบถ้วน 4. พิจารณาสอบทานการปฏิบัติตามข้อกำหนดของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กฎหมาย และกฎระเบียบข้อบังคับ ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท รวมถึงการกำกับดูแลกิจการที่ดี ซึ่งคณะกรรมการ ตรวจสอบมีความเห็นว่า บริษัทได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กฎหมาย และกฎระเบียบข้อบังคับ ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท รวมถึงมีการกำกับดูแลกิจการที่ดี


รายงานประจำปี 2553

• บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน)

107

5. กำกับดูแลงานตรวจสอบภายใน โดยคณะกรรมการตรวจสอบได้ทบทวนกฎบัตรฝ่ายตรวจสอบและอนุมัติแผนการตรวจสอบ ตลอดจนรั บ ทราบรายงานการตรวจสอบและการบริหารความเสี่ ย งเป็ น รายไตรมาส โดยคณะกรรมการตรวจสอบมี ค วามเห็นว่า การตรวจสอบภายในได้ครอบคลุมกระบวนงานที่สำคัญ การปฏิบัติงานตรวจสอบภายในมีความเป็นอิสระและสอดคล้องกับมาตรฐาน วิชาชีพตรวจสอบภายใน 6. พิจารณาเสนอให้บริษัท เคพีเอ็มจี ภูมิไชย สอบบัญชี จำกัด เป็นผู้สอบบัญชีของบริษัทต่อไปในปี 2554 โดยพิจารณาจาก ผลการปฏิบัติงาน ความรู้ความสามารถและความเป็นอิสระ ทั้งนี้ ผู้สอบบัญชีจะได้รับค่าตอบแทนตามที่ได้เสนอต่อคณะกรรมการบริษัท เพื่อนำเสนอให้ที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นพิจารณาอนุมัติต่อไป คณะกรรมการตรวจสอบมีความเห็นว่า งบการเงินของบริษัท จัดทำขึ้นตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป การเปิดเผยรายการที ่

เกี่ยวโยงกันเป็นไปอย่างถูกต้อง มีการปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อกำหนดและข้อผูกพันต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท และยึดถือ หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี อีกทั้งมีระบบการควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยงที่เหมาะสม เพียงพอ และมีประสิทธิภาพ

(นายสถาพร กวิตานนท์) ประธานคณะกรรมการตรวจสอบ 23 กุมภาพันธ์ 2554


108

รายงานคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง คณะกรรมการบริษทั ของบริษทั เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) (“บริษทั ”) ยังคงตระหนักถึงความสำคัญของการบริหารความเสีย่ ง และการควบคุมความเสี่ยงอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ ภายใต้ภาวะการเปลี่ยนแปลงและการขยายตัวอย่างต่อเนื่องของธุรกิจ โดยกำหนดเป็นนโยบายการบริหารความเสี่ยงซึ่งอยู่ในทุกกระบวนการในการดำเนินธุรกิจ และดำเนินการเพื่อให้มั่นใจว่าความเสี่ยงนั้น ได้รับการประเมินและจัดการให้อยู่ในระดับที่บริษัทยอมรับได้ โดยมีคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง (“คณะกรรมการ”) ทำหน้าที่ ในการสนับสนุนการนำการบริหารความเสี่ยงไปปฏิบัติทั่วทั้งองค์กรเชิงบูรณาการ ในปี 2553 คณะกรรมการมีการประชุมรวมทั้งสิ้น 4 ครั้ง เพื่อกำกับดูแลการบริหารจัดการความเสี่ยงหลักของบริษัทและกลุ่มบริษัท (“บีเจซี”) และได้ดำเนินการตามแผนกลยุทธ์ ในการพัฒนาระบบการจัดการบริหารความเสี่ยงของบีเจซีให้มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือในการบริหารความเสี่ยงในทุกระดับของบีเจซี โดยประเมินความเสี่ยงของทุกกระบวนการที่มี นัยสำคัญ รวมถึงการจัดทำนโยบายและแนวทางปฏิบัติเรื่องการบริหารการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำมาจัดทำแผนและมี กระบวนการติดตามผลอย่างเป็นระบบ เพื่อป้องกันความสูญเสีย และส่งเสริมให้บีเจซีสามารถเปิดรับโอกาสทางธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง โดยสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้ 1. ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ มุ่งเน้นการดำเนินแผนกลยุทธ์เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับวิสัยทัศน์และพันธกิจของบีเจซี อีกทั้ง

ให้มั่นใจได้ว่าการกำหนดกลยุทธ์และวัตถุประสงค์ของบีเจซีสอดคล้องกับความเสี่ยงที่บริษัทยอมรับได้ 2. ความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ มุ่งเน้นกระบวนการปฏิบัติงานทุกขั้นตอน โดยให้ครอบคลุมทุกกระบวนการ การลงทุน เทคโนโลยี สารสนเทศ บุคลากรในการปฏิบัติงาน รวมถึงความเสี่ยงด้านความปลอดภัยที่อาจส่งผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินของบีเจซีได้ 3. ความเสี่ยงด้านการเงิน มุ่งเน้นการบริหารองค์กร โดยใช้นโยบายทางการเงินอย่างระมัดระวังภายใต้งบประมาณที่กำหนด เพื่อให้ได้รับผลตอบแทนที่เหมาะสม และให้เกิดความเชื่อมั่นว่าการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายในมีประสิทธิภาพเพียงพอกับ ระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้และเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว 4. ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติตามกฎระเบียบ มุ่งเน้นการปฏิบัติตามกฎระเบียบ ทั้งภายในและภายนอกบีเจซี รวมถึงกฎหมาย ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด คณะกรรมการได้ปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายอย่างรอบคอบ เต็มความสามารถ และมั่นใจว่าการจัดการความเสี่ยงมีความเพียงพอ และเหมาะสม สามารถบรรลุเป้าหมายทีก่ ำหนดไว้ และจัดการความเสีย่ งให้อยูใ่ นระดับทีย่ อมรับได้ โดยลดโอกาสการเกิดและผลกระทบ จากความเสี่ยงโดยรวม อีกทั้งการบริหารความเสี่ยงได้ถูกนำไปปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนสนับสนุนให้มีวัฒนธรรมการบริหาร ความเสี่ยง เพื่อประโยชน์สูงสุดต่อบีเจซี ผู้ถือหุ้น รวมถึงผู้มีส่วนได้เสียอื่นๆ อย่างเหมาะสม

(นายอัศวิน เตชะเจริญวิกุล) ประธานคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง 9 มีนาคม 2554


รายงานประจำปี 2553

• บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน)

109

ปัจจัยความเสี่ยง เศรษฐกิจโลกในช่วงครึ่งปีหลัง ปี 2553 ยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง แต่อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจเมื่อเทียบกับไตรมาส ก่อนหน้าของประเทศสำคัญๆ จะชะลอตัวลงจากครึ่งแรกของปี สถานการณ์ดังกล่าวอาจเป็นข้อจำกัดต่ออัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ของไทยในช่วงต้นปี 2554 ประกอบกับความผันผวนของการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศและอัตราแลกเปลี่ยน โดยการเคลื่อนย้าย เงินทุนเข้าสู่ภูมิภาคเอเชียในครึ่งปีหลังปี 2553 ยังคงเป็นไปอย่างต่อเนื่อง เมื่อรวมกับการเกินดุลบัญชีเดินสะพัด สถานการณ์ดังกล่าวจะ ยังคงสร้างแรงกดดันต่อการแข็งค่าของเงินบาท อย่างไรก็ตาม การเคลื่อนย้ายเงินทุนและอัตราแลกเปลี่ยน ยังมีความเสี่ยงที่จะผันผวน ตามสถานการณ์เศรษฐกิจและทิศทางนโยบายการเงินในประเทศสำคัญๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสหรัฐอเมริกา ซึ่งยังคงเป็นสถานการณ์ที่ยัง ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด นอกจากนี้ ปัญหาความไม่สงบทางการเมืองในประเทศและการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งของคนในชาติ รวมทั้ง เหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองที่อาจจะเกิดขึ้น และความล่าช้าของการดำเนินการตามมาตรการแก้ไขปัญหาทางการเมืองของ รัฐบาล มีความเสี่ยงที่จะเป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวและการลงทุนภายในประเทศ อย่างไรก็ตาม บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) (“บริษัท”) ได้ตระหนักถึงปัญหาต่างๆ และติดตามสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจ และการเมืองอย่างใกล้ชิด พร้อมไปกับการเตรียมมาตรการ และกลยุทธ์ต่างๆ เพื่อจัดการกับความเสี่ยงที่เกิดขึ้นให้อยู่ในระดับที่ยอมรับ ได้ เพื่อให้สามารถดำเนินธุรกิจและได้รับผลสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ นอกเหนือจากความเสี่ยงทั่วไปเกี่ยวกับภาวะผันผวนทางการเมือง และภาวะเศรษฐกิจโลกข้างต้นแล้ว บริษัทมีความเสี่ยงสำคัญ สรุปได้ดังนี้

1. ความเสี่ยงจากการขาดแคลนวัตถุดิบและราคาวัตถุดิบปรับตัวสูงขึ้น การผลิตของบริษัทและกลุ่มบริษัท (“บีเจซี”) จะสามารถทำได้เมื่อมีอุปทานของวัตถุดิบอย่างเพียงพอในแต่ละช่วงเวลาสำหรับ การผลิต แต่เนื่องจากวัตถุดิบหลักบางประเภทที่จำเป็นต่อการผลิต ได้แก่ ทรายแก้ว เยื่อกระดาษ ไขสบู่ มีแหล่งผลิตจำกัด ส่งผลทำให้ ราคาของวั ต ถุ ดิ บ ดั ง กล่ า วปรั บ ตั ว สู ง ขึ้ น รวมถึ ง ต้ น ทุ น ที่ ป รั บ ตั ว สู ง ขึ้ น ในส่ ว นของน้ ำ มั น เชื้ อ เพลิ ง ก๊ า ซหุ ง ต้ ม และก๊ า ซธรรมชาติ การขาดแคลนวัตถุดิบและราคาที่ปรับตัวสูงขึ้นของวัตถุดิบดังกล่าวจึงมีผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตของบีเจซีอย่างมาก

การบริหารความเสี่ยง

• ติดตามการเคลื่อนไหวของราคาวัตถุดิบดังกล่าวอย่างใกล้ชิด รวมถึงการจัดหาวัตถุดิบสำรองล่วงหน้าโดยการจัดทำสัญญา ซื้อขายโภคภัณฑ์ล่วงหน้า สำหรับน้ำมันเชื้อเพลิง ก๊าซหุงต้ม ก๊าซธรรมชาติ และเยื่อกระดาษ ในช่วงเวลาที่เหมาะสม • วางแผนการจัดซื้อทั้งในด้านปริมาณและราคาอย่างเหมาะสม เพื่อให้ได้ต้นทุนต่อหน่วยลดลง รวมทั้งบริหารการจัดเก็บสินค้า และวัตถุดิบให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม


110

• คัดเลือกผู้ขายเพื่อเป็นคู่ค้าทางธุรกิจร่วมกันในระยะยาว และจัดหาผู้ขายรายใหม่อย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการ ขาดแคลนวัตถุดิบจากผู้ขายหลักในปัจจุบัน • พัฒนาการผลิตโดยใช้วัตถุดิบทางเลือกอื่นเพื่อทดแทน เพื่อเตรียมการรับมือในกรณีที่เกิดภาวะขาดแคลนหรือการผันผวน ด้านราคา

2. ความเสี่ยงจากปริมาณความต้องการสินค้าของลูกค้ารายใหญ่สำหรับผลิตภัณฑ์บรรจุภัณฑ์ ความไม่ แ น่ น อนในความต้ อ งการปริ ม าณสิ น ค้ า ของลู ก ค้ า รายใหญ่ การเปลี่ ย นแปลงอย่ า งกะทั น หั น ย่ อ มกระทบต่ อ ผลการ ดำเนินงานของบริษัท แต่โอกาสเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวมีเป็นครั้งคราว เนื่องจากลูกค้ารายใหญ่ดังกล่าว เป็นบริษัทที่มีความสัมพันธ์กับ บริษัท โดยเป็นบริษัทย่อยในลำดับเดียวกันของบริษัทใหญ่

การบริหารความเสี่ยง

• ติดตามสถานการณ์ความต้องการของลูกค้า และมีการสื่อสารอย่างใกล้ชิดเพื่อทราบและเตรียมตัว

• ทำสัญญาซื้อขายระยะเวลา 1 - 3 ปีเป็นส่วนใหญ่

• กระจายการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ไปยังลูกค้าหลายกลุ่ม และขยายฐานลูกค้า

• มองหาโอกาสจากผลิตภัณฑ์ / ตลาดใหม่ อยู่เสมอ เพื่อกระจายความเสี่ยงจากการกระจุกตัวของลูกค้า

3. ความเสี่ยงจากพระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551 พระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551 เริ่มมีผลบังคับใช้ ในระหว่างปี 2552 โดย กฎหมายฉบับนี้ระบุให้ผู้ประกอบธุรกิจต้องรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย ผู้บริโภคในปัจจุบันได้ให้ความสนใจ ต่อความปลอดภัยในสินค้าเพิ่มมากขึ้น ตลอดจนมีความรู้และความเข้าใจมากขึ้น อย่างไรก็ตาม จากความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้า บริษัท ยังไม่เคยมีกรณีพิพาทใดๆ ที่สำคัญจากประเด็นดังกล่าว

การบริหารความเสี่ยง

• กระจายความเสี่ยงโดยซื้อความคุ้มครองเพิ่มเติมจากบริษัทประกันภัย เพื่อโอนรับความเสี่ยงในกรณี เกิดความเสียหายจาก สินค้าที่ไม่ปลอดภัย

• กระจายความเสี่ยงให้กับเจ้าของผลิตภัณฑ์สินค้า สำหรับสินค้าที่บริษัทเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้า

• สร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อลูกค้าและผู้ขายสินค้า รวมถึงสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจและตระหนักในเรื่องคุณภาพของสินค้า ตลอดจนเปิดช่องทางการรับแจ้งปัญหาและรับข้อร้องเรียนต่างๆ


รายงานประจำปี 2553

• บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน)

111

รายชื่อผู้ถือหุ้น รายชื่อผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ณ วันที่ 27 สิงหาคม 2553 ลำดับที่

ชื่อ - สกุล

ร้อยละ

1,121,704,820

70.631

201,944,730

12.716

1

บริษัท ทีซีซี โฮลดิ้ง จำกัด

2

UOB KAY HIAN PRIVATE LIMITED

3

บริษัท ผลมั่นคง จำกัด

47,617,500

2.998

4

สำนักงานประกันสังคม (2 กรณี)

21,601,900

1.360

5

AMERICAN INTERNATIONAL ASSURANCE COMPANY, LIMITED-TIGER

19,500,050

1.228

6

HSBC (SINGAPORE) NOMINEE PTE LTD

12,814,000

0.807

7

AMERICAN INTERNATIONAL ASSURANCE COMPANY, LIMITED-APEX

9,000,000

0.567

1,434,183,000

90.307

จำนวนหุ้น

ยอดรวม

อนึ่ง ณ ปัจจุบัน ไม่มีกรรมการบริษัทคนใดถือหุ้นในบริษัทและบริษัทย่อย


112

รายการระหว่างกัน สำหรับรอบปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 31 ธันวาคม 2552 บริษัทมีรายการธุรกิจที่สำคัญกับกิจการที่เกี่ยวข้องกัน สามารถ พิจารณาได้ในหมายเหตุประกอบงบการเงินรวมและงบการเงินของบริษัท เกี่ยวกับรายการที่เกิดขึ้นกับกิจการที่เกี่ยวข้องกัน โดยรายการ ธุรกิจที่สำคัญ พร้อมรายละเอียดของรายการ มีดังต่อไปนี้

1 รายการรายได้

1.1 รายการรายได้จากการขาย บริษัทที่เกี่ยวข้อง

ลักษณะการประกอบธุรกิจ

ความสัมพันธ์กับ บมจ. เบอร์ลี่ ยุคเกอร์

มูลค่ารายการ (พันบาท) สำหรับรอบปีสิ้นสุดวันที่

รายละเอียดของรายการ

31 ธันวาคม 2553 31 ธันวาคม 2552

บริษัทย่อย 1. บจ. บีเจซี เฮลท์แคร์ จำหน่ายยา เครื่องมือ และอุปกรณ์ บริษัทย่อยทางตรง ทางการแพทย์ 2. บจ. เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำหน่ายสารเสริมผลิตภัณฑ์อาหาร บริษัทย่อยทางตรง สเปเชียลตี้ส์ เครื่องดื่ม เครื่องสำอาง และ เคมีภัณฑ์ 3. บจ. เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ โลจิสติกส์ ขนส่งและบริการด้านคลังสินค้า บริษัทย่อยทางตรง 4. บจ. บีเจซี อินดัสเตรียล แอนด์ จำหน่ายผลิตภัณฑ์เทคโนโลยี บริษัทย่อยทางตรง เทรดดิ้ง ทางภาพ เครื่องเขียน เครื่องจักร และวัสดุก่อสร้าง 5. บจ. รูเบียอุตสาหกรรม ผลิตสบู่ เครื่องสำอางและลูกกวาด บริษัทย่อยทางตรง 6. บจ. เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ เซลล็อกซ์ ผลิตกระดาษ บริษัทย่อยทางตรง 7. บจ. เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ ฟู้ดส์ ผลิตอาหารว่าง บริษัทย่อยทางตรง 8. บมจ. อุตสาหกรรม ผลิตภาชนะแก้ว บริษัทย่อยทางตรง ทำเครื่องแก้วไทย 9. บจ.คอสม่า เมดิคอล จำหน่ายเวชภัณฑ์ บริษัทย่อยทางอ้อม 10. บจ.บีเจซี มาร์เก็ตติ้ง จำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภค บริษัทย่อยทางตรง 11. บจ. บีเจซี อินเตอร์เนชั่นแนล ตัวแทนจำหน่าย บริษัทย่อยทางตรง 12. บจ. ไทย-สแกนดิค สตีล ผลิตโครงสร้างเหล็กชุบสังกะสี บริษัทย่อยทางอ้อม 13. บจ. ที.ซี.ซี. เทคโนโลยี ให้บริการด้านโครงสร้างพื้นฐาน บริษัทย่อยทางตรง ระบบสารสนเทศ 14. ไทยคอร์ป อินเตอร์เนชั่นแนล ตัวแทนจำหน่าย บริษัทย่อยของบริษัทย่อยทางอ้อม (เวียดนาม) คัมปะนี ลิมิเต็ด 15. บจ. ไทย เบเวอร์เรจ แคน ผลิตกระป๋องอะลูมิเนียม 2 ชิ้น บริษัทย่อยทางตรง พร้อมฝา ผู้ส่งออก

35,842 4,046

1,839 1,706

1,405 1,273 1,097 9,609

97,793 19,561

บริษัทฯ ขายสินค้าให้กับบริษัทย่อย โดยราคาซื้อขายเป็นราคาบวกกำไร จากต้นทุนการได้มาของสินค้าและ บริการ ”

3,548 3,828

435 3,288 2,371 11,134

” ”

” ” ” ”

1,043 - 332 19 10

2,461 8 158 1,580 149

” ” ” ” ”

19,344

-

8,256

-


รายงานประจำปี 2553

• บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน)

113

บริษัทที่เกี่ยวข้อง

ลักษณะการประกอบธุรกิจ

ความสัมพันธ์กับ บมจ. เบอร์ลี่ ยุคเกอร์

มูลค่ารายการ (พันบาท) สำหรับรอบปีสิ้นสุดวันที่

รายละเอียดของรายการ

31 ธันวาคม 2553 31 ธันวาคม 2552

บริษัทย่อย 16. บจ. ไทย มาลายากลาส -

ผลิตขวดแก้ว รวมถึงบรรจุภัณฑ์ ที่ทำจากแก้ว

บริษัทร่วม 1. บจ. เบอร์ลี่ ไดน่าพลาส 2. บจ. แก้วกรุงไทย

บริษัทย่อยทางอ้อมของกิจการที่ควบคุม ร่วมกัน รวมทั้งสิ้น

จำหน่ายบรรจุภัณฑ์พลาสติกแข็ง บริษทั ร่วมโดย บริษทั ฯ ถือหุน้ ร้อยละ 49 ขายส่ง เศษแก้ว พลาสติก เศษวัสดุ บริษัทร่วมโดย บริษัทย่อยฯ ถือหุ้นร้อยละ 25 ใช้แล้ว

รวมทั้งสิ้น

254

-

86,075

146,314

6,081 286

2,940 -

6,367

2,940

บริษัทฯ ขายสินค้าให้กับบริษัทย่อย โดยราคาซื้อขายเป็นราคาบวกกำไร จากต้นทุนการได้มาของสินค้าและ บริการ

บริษัทย่อยขายสินค้าให้กับบริษัทร่วม โดยราคาซื้อขายเป็นราคาบวกกำไร จากต้นทุนการได้มาของสินค้าและ บริการ ”

กิจการอื่นที่เกี่ยวข้องกัน 1. บจ. ไทยเบฟเวอเรจ รีไซเคิล จัดจำหน่ายบรรจุภัณฑ์ ขวดแก้ว มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท 3,904,166 3,331,609 บริษัทฯ และบริษัทย่อยได้ขายสินค้า ให้กับกิจการที่เกี่ยวข้องกัน โดยราคา ซื้อขายเป็นราคาบวกกำไรจากต้นทุน การได้มาของสินค้าและบริการ 2. บจ. เบียร์ทพิ ย์ บริวเวอรี่ (1991) ผลิตสุรา มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท 482,828 454,337 ” 3. บมจ. เบียร์ไทย (1991) ผลิตสุรา มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท 361,730 300,781 ” 4. บจ. สุราบางยี่ขัน ผลิตสุรา มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท 323 1,056 ” 5. บจ. คอสมอส บริวเวอรี่ ผลิตสุรา มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท 179,208 118,042 ” (ประเทศไทย) 6. บจ. แพนอินเตอร์เนชั่นแนล นำเข้า ขายส่ง กระดาษกรอง มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท 347 277 ” (ประเทศไทย) อะไหล่ และเครื่องจักร 7. บจ. แก่นขวัญ ผลิตสุรา มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท 1,054 496 ” 8. บจ. กาญจนสิงขร ผลิตสุรา มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท 432 420 ” 9. บจ. หลักชัยค้าสุรา จำหน่ายสุรา มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท 588 456 ” 10. บจ. นทีชัย ผลิตสุรา มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท 350 327 ” 11. บจ. แสงโสม ผลิตสุรา มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท 672 721 ” 12. บจ. เทพอรุโณทัย ผลิตสุรา มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท 456 468 ” 13. บจ. ธนภักดี ผลิตสุรา มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท 322 333 ” 14. บจ. ยูไนเต็ด ไวน์เนอรี่ แอนด์ ผลิตสุรา มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท 5,573 5,304 ” ดิสทิลเลอร์ 15. บจ. นอร์ธปาร์ค กอล์ฟแอนด์ บริการสนามกอล์ฟและกีฬา มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท 62 94 ” สปอร์ตคลับ 16. บจ. อธิมาตร ผลิตสุรา มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท 412 417 ” 17. บจ. เอส.เอส. การสุรา ผลิตสุรา มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท 453 483 ” 18. บจ. วัฒนพัฒน์ เทรดดิ้ง จำหน่ายเบียร์ ไวน์ และเครื่องดื่ม มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท 244 41 ” ที่มีแอลกอฮอล์ 19. บจ. ป้อมทิพย์ ผลิตสุรา มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท 8,152 652 ”


114

บริษัทที่เกี่ยวข้อง

ลักษณะการประกอบธุรกิจ

ความสัมพันธ์กับ บมจ. เบอร์ลี่ ยุคเกอร์

มูลค่ารายการ (พันบาท) สำหรับรอบปีสิ้นสุดวันที่

รายละเอียดของรายการ

31 ธันวาคม 2553 31 ธันวาคม 2552

กิจการอื่นที่เกี่ยวข้องกัน 20. บจ. สปอร์ต แอนด์ รีครีเอชั่น เอ็นเตอร์ไพร์ซ 21. บจ. อาคเนย์แคปปิตอล 22. บจ. อาคเนย์ประกันชีวิต 23. บจ. อาคเนย์ประกันภัย 24. บจ. อาคเนย์กรุ๊ป 25. บจ. ทีซีซี โฮลดิ้ง 26. บมจ. ไทยเบฟเวอเรจ 27. บจ. เทอราโกร 28. บจ. เทอราโกร ไบโอ-เทค 29. บจ. เทอราโกร เทคโนโลยี 30. บจ. เทอราโกร เฟอร์ติไลเซอร์ 31. บจ. เฟื่องฟูอนันต์ 32. บจ. มงคลสมัย 33. บจ. สีมาธุรกิจ 34. บจ. บางนาพัฒนกิจ 35. บจ. ช.ชนะอนันตพาณิชย์ 36. บมจ. อินทรประกันภัย 37. บจ. ล้านช้าง ดีเวลลอปเม้นท์ 38. บจ. ไลฟ์สไตล์ ฟู้ดคอร์ทส 39. บจ. เอ็น.ซี.ซี.แมนเนจเม้นท์ แอนด์ ดิเวลลอปเม้นท์ 40. บจ. สุรากระทิงแดง (1988) 41. บมจ. อาหารสยาม 42. บจ. อุตสาหกรรมน้ำตาล สุพรรณบุรี 43. บจ. ทีซีซี แคปปิตอล แลนด์

บริการเกี่ยวกับการกีฬา มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท ธุรกิจรถยนต์ มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท ธุรกิจประกันชีวิต มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท ธุรกิจประกันวินาศภัย มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท ให้สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ - มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน เครื่องใช้สำนักงาน กับบริษัท เข้าถือหุ้นในบริษัทอื่น เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ และมีกรรมการร่วมกัน กับบริษัท ลงทุนเข้าถือหุ้นบริษัทต่างๆ มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท จำหน่ายไม้ยืนต้นและพืชไร่ มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท ประกอบกิจการโรงงานผลิต มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน ก๊าซชีวภาพ กับบริษัท พัฒนาระบบชลประทานและ มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน เทคโนโลยีชีวภาพ กับบริษัท ค้าส่งกากตะกอนชีวภาพที่เกิดจาก มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน ระบบน้ำเสีย กับบริษัท ผลิตสุรา มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท ผลิตสุรา มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท จัดสรรที่ดิน มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท คลังสินค้า ให้บริการเก็บรักษาสินค้า มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน กับบริษัท จัดสร้างศูนย์การค้า ตลาดสด มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน แผงลอย อาคารพาณิชย์ และ กับบริษัท

สถานที่จอดรถเพื่อให้เช่า รับประกันวินาศภัย มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน กับบริษัท พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ด้วยการซื้อ มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน ขาย เช่า ให้เช่า เช่าซื้อ ให้เช่าซื้อ กับบริษัท ศูนย์อาหาร ให้บริการให้ใช้ลิขสิทธิ์ มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน เครื่องหมายการค้า กับบริษัท ให้เช่าพื้นที่จัดแสดงสินค้าและ มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน นิทรรศการต่างๆ กับบริษัท ผลิตและจำหน่ายสุรา มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน กับบริษัท ผลิตและจำหน่ายอาหารแปรสภาพ มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน จากพืชผลการเกษตรเพือ่ การส่งออก กับบริษัท ส่งออก ผลิตน้ำตาลทราย จำหน่าย มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน ส่ง-ปลีกน้ำตาลทราย กับบริษัท พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน กับบริษัท

88 142 2,437 7,226 243

45 บริษัทฯ และบริษัทย่อยได้ขายสินค้า

ให้กับกิจการที่เกี่ยวข้องกัน โดยราคา ซื้อขายเป็นราคาบวกกำไรจากต้นทุน การได้มาของสินค้าและบริกา ร 912 ” 2,216 ” 1,500 ” 17 ”

594

1,536

36,506 1,497 12

57,922 1,489 41

” ” ”

2

177

1,191

1,551

385 387 245 195

467 375 420 103

” ” ” ”

390

509

58

5

170

195

292 32

110 55

731

330

7,291

1,775

478

145

6,814

4,834


รายงานประจำปี 2553

• บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน)

115

บริษัทที่เกี่ยวข้อง

ลักษณะการประกอบธุรกิจ

ความสัมพันธ์กับ บมจ. เบอร์ลี่ ยุคเกอร์

มูลค่ารายการ (พันบาท) สำหรับรอบปีสิ้นสุดวันที่

รายละเอียดของรายการ

31 ธันวาคม 2553 31 ธันวาคม 2552

กิจการอื่นที่เกี่ยวข้องกัน 44. บจ. ที.ซี.ซี.คอมเมอร์เชียล รับบริหารอาคารสำนักงาน มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน พร็อพเพอร์ตี้ แมนเนจเม้นท์ จำหน่ายอาหารและเครื่องดื่ม กับบริษัท 45. บจ. อนันตศิริพัฒนา เป็นผู้จัดการและดูแลผลประโยชน์ มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน เก็บผลประโยชน์ และจัดการ กับบริษัท

ทรัพย์สิน 46. บจ. ทีซีซี แลนด์ ขายฝาก จำนองจำนำ รับจำนำ มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน จดทะเบียน รับโอน ทำสัญญา กับบริษัท

นิติกรรมใดๆ เกี่ยวกับสิ่งปลูกสร้าง และเอกสิทธิ์ต่างๆ 47. บจ. ทีซซี ี แลนด์ คอมเมอร์เชียล รับจ้างโฆษณา การพัฒนาและ มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน ขายโฆษณาผ่านทางเว็บไซต์ กับบริษัท 48. บจ. ทีซซี ี แลนด์ ดีเวลลอปเม้นท์ พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ด้วยการซื้อ มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน ขาย เช่า ให้เช่า กับบริษัท 49. บจ. ทีซีซี แลนด์ รีเทล กิจการโรงแรม ภัตตาคาร บาร์ มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน ไนท์คลับ โบว์ลิ่ง อาบอบนวด กับบริษัท 50. บจ. ทีซีซี โฮเทลส์ กรุ๊ป ลงทุนในตราสารทุน มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน กับบริษัท 51. บจ. ทีซซี ี โฮเทลล์ แมนเนจเม้นท์ พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ด้วยการซื้อ มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน ขาย เช่า ให้เช่า เช่าซื้อ ให้เช่าซื้อ กับบริษัท 52. บจ. ทีซีซี โฮเทลคอลเล็คชั่น โรงแรม ภัตตาคาร มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท 53. บจ. ทีซีซี พร็อพเพอร์ตี้ พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ด้วยการซื้อ มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน ดิเวลลอปเม้นท์ ขาย เช่า ให้เช่า กับบริษัท 54. บจ. ทีซีซี แวลูโฮเทลส์ โรงแรมและภัตตาคาร มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน กับบริษัท 55. บจ. ทิพย์พัฒน อาร์เขต เช่าพื้นที่และบริการ มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน กับบริษัท 56. บจ. คริสตอลลา ปลูกอ้อย มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน กับบริษัท 57. บจ. คริสตอลลา เอ็นจิเนียริ่ง ค้าส่งเครื่องจักร เครื่องยนต์ มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน เครื่องมือกล เครื่องทุ่นแรง กับบริษัท

ยานพาหนะ เครื่องกำเนิดไฟฟ้า 58. บมจ. ไทยแอลกอฮอล์ ผลิตแอลกอฮอล์ มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน กับบริษัท 59. บจ. นำกิจการ ขาย/ส่ง/ปลีกสุรา มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน กับบริษัท 60. บจ. เพิ่มค่าพาณิชย์ ขายส่ง ขายปลีกน้ำตาลทราย มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน (เดิมชื่อน้ำตาลทิพย์ 1999) กับบริษัท 61. บจ. นำธุรกิจ ขายส่ง ขายปลีกสุรา มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน กับบริษัท 62. บจ. นำนคร จำหน่ายส่งสุรา มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน กับบริษัท

3,942 78

2,184 52

บริษัทฯ และบริษัทย่อยได้ขายสินค้า

ให้กับกิจการที่เกี่ยวข้องกัน โดยราคา ซื้อขายเป็นราคาบวกกำไรจากต้นทุน การได้มาของสินค้าและบริการ ”

10,333

7,003

671

666

1,149

722

1,722

1,848

3,291

2,667

63

114

112 411

110 2,176

” ”

-

307

4,598

1,421

727

974

141

570

402

504

727 110

1,067 229

521

681

679

692


116

บริษัทที่เกี่ยวข้อง

ลักษณะการประกอบธุรกิจ

ความสัมพันธ์กับ บมจ. เบอร์ลี่ ยุคเกอร์

มูลค่ารายการ (พันบาท) สำหรับรอบปีสิ้นสุดวันที่

รายละเอียดของรายการ

31 ธันวาคม 2553 31 ธันวาคม 2552

กิจการอื่นที่เกี่ยวข้องกัน 63. บจ. นำพลัง 64. บจ. นำเมือง 65. บจ. นำยุค 66. บจ. พรรณธิอร 67. บจ. สยามประชาคาร 68. บจ. สุราพิเศษทิพราช 69. บจ. ทีซีซี แลนด์ อินดัสเตรียล แอนด์ โลจิสติกส์ 70. บจ. ทีซีซีซีแอล วิทยุ 71. บมจ. ยูนิเวนเจอร์ 72. บจ. ไทย อะโกรโปรดักส์ 73. บจ. อุตสาหกรรมน้ำตาล อุตรดิตถ์ 74. บจ. ปากซอง แคปปิตอล 75. บจ. สิริวนา 76. บจ. ทีซีซี แลนด์ อินเตอร์ เนชั่นแนล (ประเทศไทย) 77. บจ. โกลเด้นท์เวลท์ 78. บมจ. โออิชิ กรุ๊ป 79. บจ. โออิชิ เทรดดิ้ง 80. บจ. เซอร์วิสอัลลายแอนซ์ 81. บจ. ทีซีซี แลนด์ โลจิสติกส์ 82. บจ. ทีซีซี แลนด์ อินดัสเตรียล

ขายส่ง ขายปลีกสุรา มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน กับบริษัท ขายส่ง ขายปลีกสุรา มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน กับบริษัท ขายส่ง ขายปลีกสุรา มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน กับบริษัท ลงทุนในบริษทั ทีท่ ำธุรกิจทีเ่ กีย่ วเนือ่ ง มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน ทางการเกษตรและอุตสาหกรรม กับบริษัท

ทางการเกษตร จัดสรรที่ดินและอาคาร ให้เช่า มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน อสังหาริมทรัพย์ กับบริษัท จำหน่ายสุรา มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน กับบริษัท รับจ้างบริหาร ให้บริการเป็นทีป่ รึกษา มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน และบริหารโครงการ กับบริษัท พัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อขาย มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน ให้เช่า กับบริษัท ผลิตและจำหน่ายนำเข้า ส่งออก มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน สังกะสีอ๊อกไซด์ กับบริษัท แปรรูปผลผลิตทางการเกษตร มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน กับบริษัท ส่งออก ผลิตน้ำตาลทราย จำหน่าย มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน ส่ง-ปลีกน้ำตาลทราย กับบริษัท ถือหุ้นในบริษัทอื่น มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน กับบริษัท พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน กับบริษัท พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน กับบริษัท ให้บริการเป็นที่ปรึกษาและ มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน การบริหารจัดการ กับบริษัท ภัตตาคารอาหารญี่ปุ่น มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน กับบริษัท ผลิต จำหน่ายส่งอาหารสำเร็จรูป มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน กึ่งสำเร็จรูป ประเภทอาหารญี่ปุ่น กับบริษัท รับจ้างบริหารลานจอดรถ มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน กับบริษัท พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน กับบริษัท พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน กับบริษัท

597 727 662

811 811 644

บริษัทฯ และบริษัทย่อยได้ขายสินค้า

ให้กับกิจการที่เกี่ยวข้องกัน โดยราคา ซื้อขายเป็นราคาบวกกำไรจากต้นทุน การได้มาของสินค้าและบริการ ” ”

5,997

6,688

310

206

420

419

2

90

-

(3)

2,793

3,207

1,206

836

4,599

355

183

295

111

23

-

1

1,324

2,068

280

-

21,084

5,910

424 2

- -

2

-


รายงานประจำปี 2553

• บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน)

117

บริษัทที่เกี่ยวข้อง

ลักษณะการประกอบธุรกิจ

ความสัมพันธ์กับ บมจ. เบอร์ลี่ ยุคเกอร์

มูลค่ารายการ (พันบาท) สำหรับรอบปีสิ้นสุดวันที่

รายละเอียดของรายการ

31 ธันวาคม 2553 31 ธันวาคม 2552

กิจการอื่นที่เกี่ยวข้องกัน 83. บจ. ทีซีซีซีแอล นราธิวาส พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน กับบริษัท 84. บจ. ทีซีซีซีแอล นอร์ธ พาร์ค พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน กับบริษัท 85. บจ. ทีซีซี ลักซ์ชูรีโฮเทลส์ โรงแรมและภัตตาคาร มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน แอนด์ รีสอร์ท กับบริษัท 86. บจ. ลาสติกา ค้ายางดิบ มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน กับบริษัท 87. บจ. นอร์ม ออกแบบตกแต่งภายใน มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน กับบริษัท 88. บจ. แอทมีเดียฟร้อนท์ ประกอบกิจการด้านการสื่อสาร มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน โฆษณา ประชาสัมพันธ์ทุกประเภท กับบริษัท 89. บจ. แอ็ก-เวล จำหน่ายปุ๋ย ยาปราบศัตรูพืช มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน ยาบำรุงพืช กับบริษัท 90. บจ. เดอะ แกรนด์ รับจัดการดูแลผลประโยชน์ มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน หลวงพระบาง เก็บเกี่ยวผลประโยชน์ และจัดการ กับบริษัท

ทรัพย์สินให้บุคคลอื่น 91. บจ. เครื่องดื่มแรงเยอร์ (2008) ผลิต จำหน่ายส่งปุ๋ย สุรา และพัสดุ มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท บรรจุสุรา (ขวด) 92. บจ. ธนสินธิ รับเหมาก่อสร้างอาคารทุกชนิด มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน กับบริษัท 93. บจ. นำรุ่งโรจน์ จำหน่ายส่งสุรา ที่ปรึกษาเกี่ยวกับ มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน แอลกอฮอล์ กับบริษัท 94. บจ. นำทิพย์ จำหน่ายไม้อัด มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน กับบริษัท 95. บจ. ทศภาค โฆษณาและประชาสัมพันธ์ มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน กับบริษัท 96. บจ. บ้านบึงเวชกิช สถานพยาบาล มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน กับบริษัท 97. บจ. เอ็น.ซี.ซี. เอ็กซิบิชั่น ให้บริการด้านการบริหารงานอาคาร มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน ออกาไนเซอร์ และบริหารโครงการต่างๆ กับบริษัท 98. บจ. ไทยเบฟเวอร์เรจ มาร์เก็ตติง้ จำหน่ายสุรานำเข้าจากต่างประเทศ มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท 99. บจ. แนตทูรา (2008) ธุรกิจพลังงาน ไบโอดีเซล มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน กับบริษัท 100. บจ. อีสเทิร์น ซีบอร์ด ประกอบกิจการนิคมอุตสาหกรรม มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท อินดัสเตรียล เอสเตรท (ระยอง) 101. บจ. ไทยเบฟเวอเรจ โลจิสติก ให้บริการขนส่ง และขนถ่ายสินค้า มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท 102. บจ. ไทยดริ้งค์ ประกอบกิจการผลิต จำหน่ายสุรา มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท เบียร์ โซดา 103. บจ. สุโขทัย พีดี พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท

8 10

- -

บริษัทฯ และบริษัทย่อยได้ขายสินค้า

ให้กับกิจการที่เกี่ยวข้องกัน โดยราคา ซื้อขายเป็นราคาบวกกำไรจากต้นทุน การได้มาของสินค้าและบริการ ”

6 2

- -

” ”

1

-

73

-

10

24

3

16

3,219

1,293

31,043

15,434

681

340

597 74

298

77

8,106

3,892

-

120

1 -

” ”

-

- - -

” ”

10 1 52

28,562 25 162


118

บริษัทที่เกี่ยวข้อง

ลักษณะการประกอบธุรกิจ

ความสัมพันธ์กับ บมจ. เบอร์ลี่ ยุคเกอร์

มูลค่ารายการ (พันบาท) สำหรับรอบปีสิ้นสุดวันที่

รายละเอียดของรายการ

31 ธันวาคม 2553 31 ธันวาคม 2552

กิจการอื่นที่เกี่ยวข้องกัน 104. บจ. พรรณธิอร เทรดดิ้ง 105. บจ. กาแลไนท์บาร์ซาร์ 106. บจ. ฟู้ดแอนด์ฟัน 107. บจ. สุรเศรษฐ์ 108. บจ. พันธไมตรี 109. บจ. ตะวันนา ไนท์บาซาร์ 110. บจ. บางนากลาส 111. บจ. ผลมั่นคง 112. บจ. ที.ซี.ซี. เซอร์วิส อพาร์ทเม้นท์ 113. บจ. ทีซีซีแอล ราชเทวี 114. บจ. ทีซีซีแอล อโศก 115. บจ. ทีซีซีแอล สุขุมวิท 24 116. บจ. ทีซีซีแอล เสนา 117. บจ. สุโขทัย ไบโอเอนเนอยี่ 118. บจ. เวิร์ลด์ บุ๊ค แอนด์ มีเดีย 119. บจ. เอสแอนด์เอส สุขุมวิท 120. บจ. แอสเซท เมเนจเม้นท์ แอดไวเซอรี่ 121. บจ. ไทยเบฟเวอเรจ เอ็นเนอร์ยี่ 122. บจ. ทีซีซี พีดี 11

ประกอบกิจการค้าน้ำตาล มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท ผลิตภัณฑ์นำ้ ตาล รวมถึงผลิตภัณฑ์ ทางการเกษตร ให้เช่าพืน้ ที่ ให้บริการสาธารณูปโภค มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท และบริการที่จอดรถ จำหน่ายปลีกอาหารและเครื่องดื่ม มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท ให้เช่าพื้นที่ มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท ผลิต จำหน่ายส่งขวดแก้ว มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน กับบริษัท ให้บริการรับปรึกษาทางธุรกิจ เป็นผู้ถือหุ้นของบริษัท ให้บริการฝึกอบรม ประกอบกิจการรับบริหารอาคาร มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน ที่พักอาศัย กับบริษัท พัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อขายหรือ มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน ให้เช่า กับบริษัท พัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อขายหรือ มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน ให้เช่า กับบริษัท พัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อขายหรือ มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน ให้เช่า กับบริษัท พัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อขายหรือ มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน ให้เช่า กับบริษัท ประกอบกิจการจัดตั้งหรือ มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท สร้างโรงงานเพื่อผลิตและจำหน่าย กระแสไฟฟ้า ศูนย์อาหาร ให้เช่าพื้นที่ ให้เช่า มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน ห้องพัก กับบริษัท พัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อขายหรือ มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน ให้เช่าเป็นทางการค้าหรือหากำไร กับบริษัท ประกอบกิจการให้คำปรึกษา มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน ด้านการลงทุนทุกประเภท และ กับบริษัท บริหารทรัพย์สินให้แก่บุคคลอื่น ประกอบกิจการโรงงานผลิต มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน ก๊าซชีวภาพ กับบริษัท พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ด้วยการซื้อ มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน ขาย เช่า ให้เช่า กับบริษัท

รวมทั้งสิ้น

253 1,103

- -

บริษัทฯ และบริษัทย่อยได้ขายสินค้า

ให้กับกิจการที่เกี่ยวข้องกัน โดยราคา ซื้อขายเป็นราคาบวกกำไรจากต้นทุน การได้มาของสินค้าและบริการ ”

752 267 531 1,196 276

- - - - -

” ” ” ” ”

116

-

302

-

5

-

112

-

8

-

9

-

48

-

359

-

2

-

223 124

- -

101

-

5,163,610

4,360,886


รายงานประจำปี 2553

• บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน)

119

1.2 รายการรายได้จากค่าเช่าและบริการ บริษัทที่เกี่ยวข้อง

ลักษณะการประกอบธุรกิจ

ความสัมพันธ์กับ บมจ. เบอร์ลี่ ยุคเกอร์

มูลค่ารายการ (พันบาท) สำหรับรอบปีสิ้นสุดวันที่

รายละเอียดของรายการ

31 ธันวาคม 2553 31 ธันวาคม 2552

บริษัทย่อย 1. บจ. บีเจซี อินดัสเตรียล แอนด์ จำหน่ายผลิตภัณฑ์เทคโนโลยี บริษัทย่อยทางตรง - 6 บริษัทฯ ได้แบ่งพื้นที่อาคารสำนักงาน เทรดดิ้ง ทางภาพ เครื่องเขียน เครื่องจักร ให้บริษัทย่อยเช่า และเรียกเก็บค่า

และวัสดุก่อสร้าง บริการสาธารณูปโภค โดยคิดตาม สัดส่วนพื้นที่เช่าและคำนวณราคา ค่าเช่าโดยเป็นราคาที่ตกลงกันตาม สัญญา ซึ่งใกล้เคียงกับราคาตลาด สัญญาเช่าอาคารสำนักงานมีระยะ เวลาปีต่อปี รวมถึงค่าบริการอื่นที่คิด ระหว่างกัน 2. บจ. เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ ฟู้ดส์ ผลิตอาหารว่าง บริษัทย่อยทางตรง 164 417 ” 3. บจ. เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ โลจิสติกส์ บริการด้านพิธีการออกสินค้า บริษัทย่อยทางตรง 56,028 55,962 ” 4. บจ. เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำหน่ายสารเสริมผลิตภัณฑ์อาหาร บริษัทย่อยทางตรง - 12 ” สเปเชียลตี้ส์ เครื่องดื่ม เครื่องสำอาง และ เคมีภัณฑ์ 5. บจ. บีเจซี เฮลท์แคร์ จำหน่ายยา เครื่องมือ และอุปกรณ์ บริษัทย่อยทางตรง - (7) ” ทางการแพทย์ 6. บจ. เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ เซลล็อกซ์ ผลิตกระดาษ บริษัทย่อยทางตรง 169 276 ” 7. บจ. รูเบียอุตสาหกรรม ผลิตสบู่ เครื่องสำอางและลูกกวาด บริษัทย่อยทางตรง 462 215 ” 8. บมจ. อุตสาหกรรม ผลิตภาชนะแก้ว บริษัทย่อยทางตรง 3,339 281 ” ทำเครื่องแก้วไทย 9. บจ. คอสม่า เมดิคอล จำหน่ายเวชภัณฑ์ บริษัทย่อยทางอ้อม 196 48 ” 10. บจ. ไทย-สแกนดิค สตีล ผลิตโครงสร้างเหล็กชุบสังกะสี บริษัทย่อยทางอ้อม 23 3,432 ” 11. บจ. ที.ซี.ซี. เทคโนโลยี ให้บริการด้านโครงสร้างพื้นฐาน บริษัทย่อยทางตรง 64 30 ” ระบบสารสนเทศ 12. บจ. หินอ่อนและศิลา หยุดดำเนินกิจการ บริษัทย่อยทางอ้อม 6 15 ” 13. บจ. ไทยเบเวอร์เรจแคน ผลิตกระป๋องอะลูมิเนียม 2 ชิ้น บริษัทย่อยทางตรง 2 - ” พร้อมฝา ผู้ส่งออก 14. ไทยคอร์ป อินเตอร์เนชั่นแนล ตัวแทนจำหน่าย บริษัทย่อยของบริษัทย่อยทางอ้อม 10 - ” (เวียดนาม) คัมปะนี ลิมิเต็ด 15. บจ. ไทย มาลายากลาส ผลิตขวดแก้ว รวมถึงบรรจุภัณฑ์ บริษัทย่อยทางอ้อมของกิจการที่ควบคุม 14 - ” ที่ทำจากแก้ว ร่วมกัน

รวมทั้งสิ้น

60,477

60,687


120

บริษัทที่เกี่ยวข้อง

ลักษณะการประกอบธุรกิจ

ความสัมพันธ์กับ บมจ. เบอร์ลี่ ยุคเกอร์

มูลค่ารายการ (พันบาท) สำหรับรอบปีสิ้นสุดวันที่

รายละเอียดของรายการ

31 ธันวาคม 2553 31 ธันวาคม 2552

บริษัทร่วม 1. บจ. เบอร์ลี่ เอเชียติ๊ก โซดา นำเข้าและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ บริษัทร่วมโดย บริษัทฯ ถือหุ้นร้อยละ 50 560 591 บริษัทฯ ได้แบ่งพื้นที่อาคารสำนักงาน โซดาแอช ให้บริษัทร่วมเช่า และเรียกเก็บค่า บริการสาธารณูปโภค โดยคิดตาม สัดส่วนพื้นที่เช่าและคำนวณราคา ค่าเช่าโดยเป็นราคาที่ตกลงกันตาม สัญญา ซึ่งใกล้เคียงกับราคาตลาด สัญญาเช่าอาคารสำนักงานมีระยะ เวลาปีต่อปี รวมถึงค่าบริการอื่นที่คิด ระหว่างกัน 2. บจ. เบอร์ลี่ ไดน่าพลาส จำหน่ายบรรจุภัณฑ์พลาสติกแข็ง บริษัทร่วมโดย บริษัทฯ ถือหุ้นร้อยละ 49 1,531 1,266 ” 3. บจ. แก้วกรุงไทย ขายส่ง เศษแก้ว พลาสติก เศษวัสดุ บริษัทร่วมโดย บริษัทย่อยฯ ถือหุ้นร้อยละ 25 13 - ” ใช้แล้ว

รวมทั้งสิ้น

2,104

1,857

กิจการอื่นที่เกี่ยวข้องกัน 1. บจ. ไทยเบฟเวอเรจ รีไซเคิล จัดจำหน่ายบรรจุภัณฑ์ ขวดแก้ว มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท - 760 บริษัทย่อยได้ให้กิจการที่เกี่ยวข้องเช่า

พื้นที่ โดยราคาค่าเช่าเป็นราคาที่ตกลง กันตามสัญญาซึ่งใกล้เคียงกับราคา ตลาด รวมถึงค่าบริการอื่นที่คิด ระหว่างกัน 2. บจ. อาคเนย์ประกันภัย ธุรกิจประกันวินาศภัย มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท 8 - ” 3. บมจ. ไทยเบฟเวอเรจ ลงทุนเข้าถือหุ้นบริษัทต่างๆ มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท 1 - ”

รวมทั้งสิ้น

9

760

1.3 รายการรายได้จากการปันส่วนค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ บริษัทที่เกี่ยวข้อง

ลักษณะการประกอบธุรกิจ

ความสัมพันธ์กับ บมจ. เบอร์ลี่ ยุคเกอร์

มูลค่ารายการ (พันบาท) สำหรับรอบปีสิ้นสุดวันที่

รายละเอียดของรายการ

31 ธันวาคม 2553 31 ธันวาคม 2552

บริษัทย่อย 1. บจ. บีเจซี อินดัสเตรียล แอนด์ จำหน่ายผลิตภัณฑ์เทคโนโลยี บริษัทย่อยทางตรง เทรดดิ้ง ทางภาพ เครื่องเขียน เครื่องจักร และวัสดุก่อสร้าง 2. บจ. เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ ฟู้ดส์ ผลิตอาหารว่าง บริษัทย่อยทางตรง 3. บจ. เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ โลจิสติกส์ บริการด้านพิธีการออกสินค้า บริษัทย่อยทางตรง คลังสินค้า ขนส่งและจัดส่งสินค้า 4. บจ. บีเจซี มาร์เก็ตติ้ง จำหน่ายสินค้าอุปโภคและบริโภค บริษัทย่อยทางตรง 5. บจ. เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำหน่ายสารเสริมผลิตภัณฑ์อาหาร บริษัทย่อยทางตรง สเปเชียลตี้ส์ เครื่องดื่ม เครื่องสำอาง และ เคมีภัณฑ์

1,804 12,755 15,837 - 1,329

3,312 6,697 16,403

บริษัทฯ เรียกเก็บค่าบริหารจัดการ (Management Fee) และค่าใช้จ่าย อื่นๆ ได้แก่ ค่าใช้จ่ายการบริหารงาน บุคคล ค่าบริการทางบัญชีและการเงิน ค่าใช้จ่ายด้านกฎหมาย และงานด้าน เทคโนโลยีสารสนเทศ จากบริษัทย่อย ตามสัดส่วนการใช้บริการจากต้นทุน ” ”

1,753 3,018

” ”


รายงานประจำปี 2553

• บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน)

121

บริษัทที่เกี่ยวข้อง

ลักษณะการประกอบธุรกิจ

ความสัมพันธ์กับ บมจ. เบอร์ลี่ ยุคเกอร์

มูลค่ารายการ (พันบาท) สำหรับรอบปีสิ้นสุดวันที่

รายละเอียดของรายการ

31 ธันวาคม 2553 31 ธันวาคม 2552

บริษัทย่อย 6. บจ. บีเจซี เฮลท์แคร์ 7. บจ. เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ เซลล็อกซ์ 8. บจ. รูเบียอุตสาหกรรม 9. บมจ. อุตสาหกรรม ทำเครื่องแก้วไทย 10. บจ.ไทย-สแกนดิค สตีล 11. บจ. คอสม่า เมดิคอล 12. เจซีฟู้ดส์ เอสดีเอ็น บีเอชดี 13. บจ. มัณฑนา 14. บจ. ที.ซี.ซี. เทคโนโลยี 15. บจ. ไทยเบเวอร์เรจแคน 16. บจ. ไทย มาลายากลาส

จำหน่ายยา เครื่องมือ และอุปกรณ์ บริษัทย่อยทางตรง ทางการแพทย์ ผลิตกระดาษ บริษัทย่อยทางตรง ผลิตสบู่ เครื่องสำอางและลูกกวาด บริษัทย่อยทางตรง ผลิตภาชนะแก้ว บริษัทย่อยทางตรง ผลิตโครงสร้างเหล็กชุบสังกะสี จำหน่ายเวชภัณฑ์ ผลิตอาหารว่าง จำหน่ายเครื่องสำอาง และ เครื่องจักรกล ให้บริการด้านโครงสร้างพื้นฐาน ระบบสารสนเทศ ผลิตกระป๋องอะลูมิเนียม 2 ชิ้น พร้อมฝา ผู้ส่งออก ผลิตขวดแก้ว รวมถึงบรรจุภัณฑ์ ที่ทำจากแก้ว

6,980 11,924 9,762 28,841

7,209 4,908 12,004 19,821

บริษัทฯ เรียกเก็บค่าบริหารจัดการ (Management Fee) และค่าใช้จ่าย อื่นๆ ได้แก่ ค่าใช้จ่ายการบริหารงาน บุคคล ค่าบริการทางบัญชีและการเงิน ค่าใช้จ่ายด้านกฎหมาย และงานด้าน เทคโนโลยีสารสนเทศ จากบริษัทย่อย ตามสัดส่วนการใช้บริการจากต้นทุน ” ” ”

บริษัทย่อยทางอ้อม บริษัทย่อยทางอ้อม บริษัทย่อยทางอ้อม บริษัทย่อยทางตรง

8,322 9,990 811 486

11,448 4,021 781 440

” ” ” ”

บริษัทย่อยทางตรง

599

27

บริษัทย่อยทางตรง

354

-

บริษัทย่อยทางอ้อมของกิจการที่ควบคุม ร่วมกัน

238

-

รวมทั้งสิ้น

110,032

91,842

บริษัทร่วม 1. บจ. เบอร์ลี่ เอเชียติ๊ก โซดา นำเข้าและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ บริษัทร่วมโดย บริษัทฯ ถือหุ้นร้อยละ 50 47 66 บริษัทฯ เรียกเก็บค่าบริหารจัดการ โซดาแอช (Management Fee) และค่าใช้จ่าย อื่นๆ ได้แก่ ค่าใช้จ่ายการบริหารงาน บุคคล ค่าบริการทางบัญชีและการเงิน ค่าใช้จ่ายด้านกฎหมาย และงานด้าน เทคโนโลยีสารสนเทศ จากบริษัทร่วม ตามสัดส่วนการใช้บริการจากต้นทุน 2. บจ. บีเจซี มารีน รีซอสเซส ธุรกิจให้เช่าบ่อเลี้ยงกุ้งและอุปกรณ์ บริษัทร่วมโดย บริษัทฯ ถือหุ้นร้อยละ 50 90 90 ” ดิเวลลอปเม้นท์ 3. บจ. เบอร์ลี่ ไดน่าพลาส จำหน่ายบรรจุภัณฑ์พลาสติกแข็ง บริษัทร่วมโดย บริษัทฯ ถือหุ้นร้อยละ 49 267 - ”

รวมทั้งสิ้น

404

156


122

1.4 รายการรายได้ดอกเบี้ยรับ บริษัทที่เกี่ยวข้อง

ลักษณะการประกอบธุรกิจ

ความสัมพันธ์กับ บมจ. เบอร์ลี่ ยุคเกอร์

รายละเอียดของรายการ

31 ธันวาคม 2553 31 ธันวาคม 2552

บริษัทย่อย 1. บจ. บีเจซี อินดัสเตรียล แอนด์ จำหน่ายผลิตภัณฑ์เทคโนโลยี บริษัทย่อยทางตรง เทรดดิ้ง ทางภาพ เครื่องเขียน เครื่องจักร และวัสดุก่อสร้าง 2. บจ. เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ ฟู้ดส์ ผลิตอาหารว่าง บริษัทย่อยทางตรง 3. บจ. เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำหน่ายสารเสริมผลิตภัณฑ์อาหาร บริษัทย่อยทางตรง สเปเชียลตี้ส์ เครื่องดื่ม เครื่องสำอาง และ เคมีภัณฑ์ 4. บจ. เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ เซลล็อกซ์ ผลิตกระดาษ บริษัทย่อยทางตรง 5. บมจ. อุตสาหกรรม ผลิตภาชนะแก้ว บริษัทย่อยทางตรง ทำเครื่องแก้วไทย 6. บจ. รูเบียอุตสาหกรรม ผลิตสบู่ เครื่องสำอางและลูกกวาด บริษัทย่อยทางตรง 7. บจ. ไทย-สแกนดิค สตีล ผลิตโครงสร้างเหล็กชุบสังกะสี บริษัทย่อยทางอ้อม 8. บจ. เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ โลจิสติกส์ บริการด้านพิธีการออกสินค้า บริษัทย่อยทางตรง คลังสินค้า ขนส่งและจัดส่งสินค้า 9. บีเจซี อินเตอร์เนชั่นแนล ตัวแทนจำหน่ายในต่างประเทศ บริษัทย่อยทางตรง คัมปะนี ลิมิเต็ด 10. บจ. ที.ซี.ซี. เทคโนโลยี ให้บริการด้านโครงสร้างพื้นฐาน บริษัทย่อยทางตรง ระบบสารสนเทศ รวมทั้งสิ้น

มูลค่ารายการ (พันบาท) สำหรับรอบปีสิ้นสุดวันที่ - 8,467 2,039

217 9,118 3,878

36,579 65,858

38,440 67,750

” ”

3,900 38 84

4,599 40 6

” ” ”

92

34

234

-

117,291

บริษัทฯ ได้รับดอกเบี้ยจากการให้กู้ยืม

แก่บริษัทย่อย ตามต้นทุนการกู้ยืม

และตามอัตราตลาด ณ วันที่กู้ ” ”

124,082

1.5 รายการรายได้อื่น บริษัทที่เกี่ยวข้อง

ลักษณะการประกอบธุรกิจ

ความสัมพันธ์กับ บมจ. เบอร์ลี่ ยุคเกอร์

มูลค่ารายการ (พันบาท) สำหรับรอบปีสิ้นสุดวันที่

รายละเอียดของรายการ

31 ธันวาคม 2553 31 ธันวาคม 2552

กิจการอื่นที่เกี่ยวข้องกัน 1. บจ. บอล คอร์ปเรชั่น ผลิตและจำหน่ายภาชนะบรรจุภณ ั ฑ์ เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของผู้ถือหุ้นของ 9,027 บริษัทย่อย 2. บจ. บ้านบึงเวชกิจ สถานพยาบาล มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน 10 กับบริษัท 3. บจ. เทอราโกร เฟอร์ติไลเซอร์ ค้าส่งกากตะกอนชีวภาพที่เกิดจาก มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน (3) ระบบน้ำเสีย กับบริษัท 4. บจ. ไทย อะโกรโปรดักส์ แปรรูปผลผลิตทางการเกษตร มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน - กับบริษัท 5. บมจ. อินทรประกันภัย รับประกันวินาศภัย มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน 6 กับบริษัท 6. บจ. ทีซีซี แลนด์ ขายฝาก จำนองจำนำ รับจำนำ มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน 11 จดทะเบียน รับโอน ทำสัญญา กับบริษัท

นิติกรรมใดๆ เกี่ยวกับสิ่งปลูกสร้าง และเอกสิทธิ์ต่างๆ

13,133 บริษัทย่อยได้รับส่วนลดจากการซื้อ

สินค้าสำเร็จรูปและบริการจากบริษัท ที่เกี่ยวข้อง 11 บริษัทย่อยได้รับดอกเบี้ยรับ, กำไรจาก การขายสินทรัพย์ และกำไรจากอัตรา แลกเปลี่ยนจากบริษัทที่เกี่ยวข้องกัน 3 ” 43

-

11


รายงานประจำปี 2553

• บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน)

123

บริษัทที่เกี่ยวข้อง

ลักษณะการประกอบธุรกิจ

ความสัมพันธ์กับ บมจ. เบอร์ลี่ ยุคเกอร์

มูลค่ารายการ (พันบาท) สำหรับรอบปีสิ้นสุดวันที่

รายละเอียดของรายการ

31 ธันวาคม 2553 31 ธันวาคม 2552

กิจการอื่นที่เกี่ยวข้องกัน 7. บจ. อาคเนย์ประกันภัย 8. บจ. ที.ซี.ซี. โฮลดิ้ง 9. บจ. ทีซีซี แคปปิตอล แลนด์

ธุรกิจประกันวินาศภัย เข้าถือหุ้นในบริษัทอื่น พัฒนาอสังหาริมทรัพย์

มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ และมีกรรมการร่วมกัน กับบริษัท มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน กับบริษัท รวมทั้งสิ้น

49 18

- -

5 9,123

บริษัทย่อยได้รับดอกเบี้ยรับ, กำไรจาก การขายสินทรัพย์ และกำไรจากอัตรา แลกเปลี่ยนจากบริษัทที่เกี่ยวข้องกัน ”

-

13,201

2 รายการค่าใช้จ่าย

2.1 รายการซื้อสินค้าและบริการ บริษัทที่เกี่ยวข้อง

ลักษณะการประกอบธุรกิจ

ความสัมพันธ์กับ บมจ. เบอร์ลี่ ยุคเกอร์

มูลค่ารายการ (พันบาท) สำหรับรอบปีสิ้นสุดวันที่

รายละเอียดของรายการ

31 ธันวาคม 2553 31 ธันวาคม 2552

บริษัทย่อย 1. บจ. บีเจซี อินดัสเตรียล แอนด์ จำหน่ายผลิตภัณฑ์เทคโนโลยี บริษัทย่อยทางตรง 3,041 21,454 บริษัทฯ ซื้อสินค้าสำเร็จรูปและบริการ เทรดดิ้ง ทางภาพ เครื่องเขียน เครื่องจักร จาก บริษัทย่อย โดยราคาขายคิดจาก และวัสดุก่อสร้าง ต้นทุนการได้มาของสินค้าและบริการ บวกกำไรตามที่ตกลงกัน 2. บจ. เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ โลจิสติกส์ บริการด้านพิธีการออกสินค้า บริษัทย่อยทางตรง 299,682 250,782 ” คลังสินค้า ขนส่งและจัดส่งสินค้า 3. บจ. รูเบียอุตสาหกรรม ผลิตสบู่ เครื่องสำอางและลูกกวาด บริษัทย่อยทางตรง 739,104 635,320 ” 4. บจ. บีเจซี มาร์เก็ตติ้ง จำหน่ายสินค้าอุปโภค และบริโภค บริษัทย่อยทางตรง 84 321 ” 5. บจ. เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำหน่ายสารเสริมผลิตภัณฑ์อาหาร บริษัทย่อยทางตรง 470,319 782,058 ” สเปเชียลตี้ส์ เครื่องดื่ม เครื่องสำอาง และ

เคมีภัณฑ์ 6. บจ. บีเจซี เฮลท์แคร์ จำหน่ายยา เครื่องมือ และอุปกรณ์ บริษัทย่อยทางตรง 160,873 418,304 ” ทางการแพทย์ 7. บจ. เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ เซลล็อกซ์ ผลิตกระดาษ บริษัทย่อยทางตรง 1,877,779 1,802,351 ” 8. บมจ. อุตสาหกรรม ผลิตภาชนะแก้ว บริษัทย่อยทางตรง 6,856,065 5,979,631 บริษัทฯ ซื้อขวดแก้ว จากบริษัทย่อย ทำเครื่องแก้วไทย ตามราคาตลาดสุทธิหักกำไรส่วนเพิ่ม

ที่ได้มีการตกลงกันระหว่างบริษัทฯ และบริษัทย่อย 9. บจ. เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ ฟู้ดส์ ผลิตอาหารว่าง บริษัทย่อยทางตรง 1,802,344 1,693,865 บริษัทฯ ซื้อสินค้าสำเร็จรูปและบริการ จาก บริษัทย่อย โดยราคาขายคิดจาก ต้นทุนการได้มาของสินค้าและบริการ บวกกำไรตามที่ตกลงกัน 10. บจ. คอสม่า เมดิคอล จำหน่ายเวชภัณฑ์ บริษัทย่อยทางอ้อม 2,998 1,960 ”


124

บริษัทที่เกี่ยวข้อง

ลักษณะการประกอบธุรกิจ

ความสัมพันธ์กับ บมจ. เบอร์ลี่ ยุคเกอร์

มูลค่ารายการ (พันบาท) สำหรับรอบปีสิ้นสุดวันที่

รายละเอียดของรายการ

31 ธันวาคม 2553 31 ธันวาคม 2552

บริษัทย่อย 11. บจ. ที.ซี.ซี. เทคโนโลยี 12. บจ. ไทย มาลายากลาส 13. บจ. ไทยเบเวอร์เรจแคน

ให้บริการด้านโครงสร้างพื้นฐาน ระบบสารสนเทศ ผลิตขวดแก้ว รวมถึงบรรจุภัณฑ์ ที่ทำจากแก้ว ผลิตกระป๋องอลูมิเนียม 2 ชิ้น พร้อมฝา ผู้ส่งออก

บริษัทย่อยทางตรง บริษัทย่อยทางอ้อมของกิจการที่ควบคุม ร่วมกัน บริษัทย่อยทางตรง รวมทั้งสิ้น

83,465 8,209 7,797

30,840 - -

บริษัทฯ ได้ว่าจ้าง บริษัทย่อย เป็น

ที่ปรึกษาและพัฒนาระบบสารสนเทศ โดยค่าตอบแทนที่จ่ายให้แก่บริษัท ย่อย เป็นราคาบวกกำไรจากต้นทุน การได้มาของบริการ บริษัทฯ ซื้อขวดแก้ว จากบริษัทย่อย ตามราคาตลาดสุทธิหักกำไรส่วนเพิ่ม ที่ได้มีการตกลงกันระหว่างบริษัทฯ และบริษัทย่อย บริษัทฯ ซื้อสินค้าสำเร็จรูปและบริการ จาก บริษัทย่อย โดยราคาขายคิดจาก ต้นทุนการได้มาของสินค้าและบริการ บวกกำไรตามที่ตกลงกัน

12,311,760 11,616,886

บริษัทร่วม 1. บจ. เบอร์ลี่ ไดน่าพลาส จำหน่ายบรรจุภัณฑ์พลาสติกแข็ง บริษัทร่วมโดย บริษัทฯ ถือหุ้นร้อยละ 49 28,218 20,602 บริษัทฯ และบริษัทย่อย ซื้อสินค้า สำเร็จรูปและบริการจาก บริษัทร่วม โดยราคาขายคิดจากต้นทุนการได้มา ของสินค้าและบริการ บวกกำไรตามที่ ตกลงกัน 2. บจ. เบอร์ลี่ เอเชียติ๊ก โซดา นำเข้าและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ บริษัทร่วมโดย บริษัทฯ ถือหุ้นร้อยละ 50 431,609 552,303 ” โซดาแอช 3. บจ. แก้วกรุงไทย ขายส่ง เศษแก้ว พลาสติก เศษวัสดุ บริษัทร่วมโดย บริษัทย่อย ถือหุ้น ร้อยละ 25 579,704 263,775 ” ใช้แล้ว

รวมทั้งสิ้น

1,039,531

836,680

กิจการอื่นที่เกี่ยวข้องกัน 1. บจ. พิเศษกิจ ขายส่งเศษแก้ว มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท 286,739 268,709 บริษัทฯ และบริษัทย่อย ซื้อสินค้า สำเร็จรูปและบริการจาก บริษัท

ที่เกี่ยวข้อง โดยราคาขายคิดจาก ต้นทุนการได้มาของสินค้าและบริการ บวกกำไรตามที่ตกลงกัน 2. บจ. คอสมอส บริวเวอรี่ ผลิตเบียร์ น้ำดื่มและน้ำโซดา มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท - 477 ”

(ประเทศไทย) 3. บจ. บางนากลาส ผลิต จำหน่ายขวดแก้ว มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน - 188 ” กับบริษัท 4. บจ. ไทยเบฟเวอเรจ รีไซเคิล จัดจำหน่ายบรรจุภัณฑ์ ขวดแก้ว มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท 1,656 50 ” 5. บจ. ทีซีซี โฮเทลคอลเล็คชั่น โรงแรม ภัตตาคาร มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท 110 413 ” 6. บจ. อาคเนย์แคปปิตอล ธุรกิจรถยนต์ มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท 6,283 5,493 ” 7. บจ. อาคเนย์ประกันภัย ธุรกิจประกันวินาศภัย มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท 16,729 13,729 ” 8. บจ. อาคเนย์ประกันชีวิต ธุรกิจประกันชีวิต มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท 3,794 - ”

รวมทั้งสิ้น

315,311

289,059


รายงานประจำปี 2553

• บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน)

125

2.2 รายการค่าเช่าและบริการจ่าย บริษัทที่เกี่ยวข้อง

ลักษณะการประกอบธุรกิจ

ความสัมพันธ์กับ บมจ. เบอร์ลี่ ยุคเกอร์

มูลค่ารายการ (พันบาท) สำหรับรอบปีสิ้นสุดวันที่

รายละเอียดของรายการ

31 ธันวาคม 2553 31 ธันวาคม 2552

บริษัทย่อย 1. บจ. รูเบียอุตสาหกรรม ผลิตสบู่ เครื่องสำอางและลูกกวาด บริษัทย่อยทางตรง

929

929

929

929

กิจการอื่นที่เกี่ยวข้องกัน 1. บจ. เทอราโกร จำหน่ายไม้ยืนต้นและพืชไร่ 2. บจ. ช.ชนะอนันตพาณิชย์ จัดสร้างศูนย์การค้า ตลาดสด แผงลอย อาคารพาณิชย์ และ สถานที่จอดรถเพื่อให้เช่า 3. บจ. อาคเนย์แคปปิตอล ธุรกิจรถยนต์ 4. บจ. อาคเนย์ประกันภัย ธุรกิจประกันวินาศภัย 5. บจ. เบียร์ทพิ ย์ บริวเวอรี่ (1991) ผลิตสุรา 6. บมจ. โออิชิ กรุ๊ป ภัตตาคารอาหารญี่ปุ่น 7. บมจ. ไทยเบฟเวอร์เรจ ลงทุนเข้าถือหุ้นบริษัทต่างๆ 8. บจ. ทิพย์พัฒน อาร์เขต เช่าพื้นที่และบริการ 9. บจ. ไทยดริ้งค์ ประกอบกิจการผลิต จำหน่ายสุรา เบียร์ โซดา 10. บมจ. อินทรประกันภัย รับประกันวินาศภัย 11. บจ. ทีซีซี แวลูโฮเทลส์ โรงแรมและภัตตาคาร 12. บจ. อาคเนย์ประกันชีวิต ธุรกิจประกันชีวิต 13. บจ. ป้อมทิพย์ ผลิตสุรา 14. บจ. ทีซีซี โฮเทลคอลเล็คชั่น โรงแรม ภัตตาคาร 15. บจ. ที.ซี.ซี. คอมเมอร์เชียล รับบริหารอาคารสำนักงาน พร็อพเพอร์ตี้ แมนเนจเม้นท์ จำหน่ายอาหารและเครื่องดื่ม

รวมทั้งสิ้น มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน กับบริษัท มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน กับบริษัท มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน กับบริษัท มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท

903 5,281 23,613 8,279 2 28

มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน กับบริษัท มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน กับบริษัท มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน กับบริษัท รวมทั้งสิ้น

314 12,006 1,012 113 - -

บริษัทย่อย เรียกเก็บค่าเช่าที่ดินจาก บริษัทฯ ตามราคาที่ตกลงกันตาม สัญญาซึ่งเป็นราคายุติธรรม ที่ใกล้เคียงกับราคาตลาด โดยคำนึง ถึงสภาพการใช้ประโยชน์ของพื้นที่ ร่วมกัน และมีการทำสัญญาแบบ ปีต่อปี

บริษัทย่อยเช่าที่ดินจากบริษัท

ที่เกี่ยวข้อง ตามราคาที่ตกลงกัน

ซึ่งเป็นราคายุติธรรม บริษัทย่อยเช่าพื้นที่อาคารสำนักงาน จากบริษัทที่เกี่ยวข้อง ตามราคาที ่

ตกลงกันซึ่งเป็นราคายุติธรรม บริษัทย่อยเช่ารถยนต์จากบริษัท

ที่เกี่ยวข้อง ตามราคาที่ตกลงกัน

ซึ่งเป็นราคายุติธรรม บริษัทที่เกี่ยวข้อง เรียกเก็บค่าบริการ และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ได้แก่ ค่าสาธาณูปโภค และงานด้าน เทคโนโลยีสารสนเทศ จากบริษัทย่อย ” ”

3,171 17

- -

” ”

221

-

4

-

4

-

2,096 7 72 41

74 - - -

43,739

13,519

” ” ” ”


126

2.3 รายการดอกเบี้ยจ่าย บริษัทที่เกี่ยวข้อง

ลักษณะการประกอบธุรกิจ

ความสัมพันธ์กับ บมจ. เบอร์ลี่ ยุคเกอร์

รายละเอียดของรายการ

31 ธันวาคม 2553 31 ธันวาคม 2552

บริษัทย่อย 1. บจ. มัณฑนา จำหน่ายเครื่องสำอาง และ บริษัทย่อยทางตรง เครื่องจักรกล 2. บจ. รูเบียอุตสาหกรรม ผลิตสบู่ เครื่องสำอางและลูกกวาด บริษัทย่อยทางตรง 3. บจ. เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ โลจิสติกส์ บริการด้านพิธีการออกสินค้า บริษัทย่อยทางตรง คลังสินค้า ขนส่งและจัดส่งสินค้า 4. บจ. บีเจซี มาร์เก็ตติ้ง จำหน่ายสินค้าอุปโภคและบริโภค บริษัทย่อยทางตรง 5. บจ.ไทย-สแกนดิค สตีล ผลิตโครงสร้างเหล็กชุบสังกะสี บริษัทย่อยทางอ้อม 6. บจ. เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำหน่ายสารเสริมผลิตภัณฑ์อาหาร บริษัทย่อยทางตรง สเปเชียลตี้ส์ เครื่องดื่ม เครื่องสำอาง และ เคมีภัณฑ์ 7. บจ. เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ ฟู้ดส์ ผลิตอาหารว่าง บริษัทย่อยทางตรง 8. บจ. บีเจซี เฮลท์แคร์ จำหน่ายยา เครื่องมือ และอุปกรณ์ บริษัทย่อยทางตรง ทางการแพทย์ 9. บจ. บีเจซี อินดัสเตรียล แอนด์ จำหน่ายผลิตภัณฑ์เทคโนโลยี บริษัทย่อยทางตรง เทรดดิ้ง ทางภาพ เครื่องเขียน เครื่องจักร

และวัสดุก่อสร้าง 10. บจ. ไทยฟลัวสปาร์ แอนด์ หยุดดำเนินการ บริษัทย่อยทางตรง มิเนอร์รัลส์ 11. บจ. บีเจซี อินเตอร์เนชั่นแนล ตัวแทนจำหน่าย บริษัทย่อยทางตรง 12. บจ. เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ เซลล็อกซ์ ผลิตกระดาษ บริษัทย่อยทางตรง

มูลค่ารายการ (พันบาท) สำหรับรอบปีสิ้นสุดวันที่

รวมทั้งสิ้น

บริษัทย่อยให้บริษัทฯ กู้ยืมเงิน โดย อัตราดอกเบี้ยกำหนดจาก ต้นทุน

การกู้ยืม และอัตราดอกเบี้ยท้องตลาด ณ วันที่ขอกู้ ” ”

271 376 154

202 22 245

665 699 608

854 693 278

” ” ”

37 2,347

1 1,996

” ”

1,705

1,059

47

78

57 43

127 -

” ”

7,009

5,555

2.4 รายการซื้ออะไหล่และอุปกรณ์ บริษัทที่เกี่ยวข้อง

ลักษณะการประกอบธุรกิจ

ความสัมพันธ์กับ บมจ. เบอร์ลี่ ยุคเกอร์

มูลค่ารายการ (พันบาท) สำหรับรอบปีสิ้นสุดวันที่

รายละเอียดของรายการ

ม.ค. - ธ.ค. 53 ม.ค. - ธ.ค. 52

กิจการอื่นที่เกี่ยวข้อง 1. บจ. บอล คอร์ปเรชั่น

ผลิตและจำหน่ายภาชนะบรรจุภณ ั ฑ์ เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของผู้ถือหุ้นของ บริษัทย่อย

รวมทั้งสิ้น

5,026

15,141 บริษัทย่อย ซื้ออะไหล่และอุปกรณ์

จากบริษัทที่เกี่ยวข้อง

5,026

15,141


รายงานประจำปี 2553

• บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน)

127

2.5 รายการค่าลิขสิทธิ์และค่าบริการทางเทคนิค บริษัทที่เกี่ยวข้อง

ลักษณะการประกอบธุรกิจ

ความสัมพันธ์กับ บมจ. เบอร์ลี่ ยุคเกอร์

มูลค่ารายการ (พันบาท) สำหรับรอบปีสิ้นสุดวันที่

รายละเอียดของรายการ

31 ธันวาคม 2553 31 ธันวาคม 2552

กิจการอื่นที่เกี่ยวข้องกัน 1. บจ. บอล คอร์ปเรชั่น

ผลิตและจำหน่ายภาชนะบรรจุภณ ั ฑ์ เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของผู้ถือหุ้นของ บริษัทย่อย

รวมทั้งสิ้น

23,578

24,592 บริษัทย่อยจ่ายค่าลิขสิทธิ์ให้แก่ บริษัทที่เกี่ยวข้องสำหรับข้อมูล เกี่ยวกับสิทธิด้านเทคโนโลยี

23,578

24,592

3 รายการลูกหนี้การค้า

บริษัทที่เกี่ยวข้อง

ลักษณะการประกอบธุรกิจ

ความสัมพันธ์กับ บมจ. เบอร์ลี่ ยุคเกอร์

มูลค่ารายการ (พันบาท) สำหรับรอบปีสิ้นสุดวันที่

รายละเอียดของรายการ

31 ธันวาคม 2553 31 ธันวาคม 2552

บริษัทย่อย 1. บจ. บีเจซี เฮลท์แคร์ จำหน่ายยา เครื่องมือ และอุปกรณ์ บริษัทย่อยทางตรง ทางการแพทย์ 2. บมจ. อุตสาหกรรม ผลิตภาชนะแก้ว บริษัทย่อยทางตรง ทำเครื่องแก้วไทย 3. บจ. เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำหน่ายสารเสริมผลิตภัณฑ์อาหาร บริษัทย่อยทางตรง สเปเชียลตี้ส์ เครื่องดื่ม เครื่องสำอาง และ

เคมีภัณฑ์ 4. บจ. รูเบียอุตสาหกรรม ผลิตสบู่ เครื่องสำอาง และลูกกวาด บริษัทย่อยทางตรง 5. บจ. เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ ฟู้ดส์ ผลิตอาหารว่าง บริษัทย่อยทางตรง 6. บจ. คอสม่า เมดิคอล จำหน่ายเวชภัณฑ์ บริษัทย่อยทางอ้อม 7. บจ. เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ เซลล็อกซ์ ผลิตกระดาษ บริษัทย่อยทางตรง 8. บจ. บีเจซี อินดัสเตรียล แอนด์ จำหน่ายผลิตภัณฑ์เทคโนโลยี บริษัทย่อยทางตรง เทรดดิ้ง ทางภาพ เครื่องเขียน เครื่องจักร และวัสดุก่อสร้าง 9. บจ. เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ โลจิสติกส์ บริการด้านพิธีการออกสินค้า บริษัทย่อยทางตรง คลังสินค้า ขนส่งและจัดส่งสินค้า 10. บจ. บีเจซี อินเตอร์เนชั่นแนล ตัวแทนจำหน่าย บริษัทย่อยทางตรง 11. บีเจซี อินเตอร์เนชั่นแนล ตัวแทนจำหน่ายในต่างประเทศ บริษัทย่อยทางตรง คัมปะนี ลิมิเต็ด 12. บจ. ที.ซี.ซี. เทคโนโลยี ให้บริการด้านโครงสร้างพื้นฐาน บริษัทย่อยทางตรง ระบบสารสนเทศ 13. บจ. ไทย-สแกนดิค สตีล ผลิตโครงสร้างเหล็กชุบสังกะสี บริษัทย่อยทางอ้อม 14. ไทยคอร์ป อินเตอร์เนชั่นแนล ตัวแทนจำหน่าย บริษัทย่อยของบริษัทย่อยทางอ้อม (เวียดนาม) คัมปะนี ลิมิเต็ด 15. บจ. ไทย มาลายากลาส ผลิตภาชนะแก้ว บริษัทย่อยทางอ้อมของกิจการที่ควบคุม ร่วมกัน

รวมทั้งสิ้น

294 6,430 91

2,377 5,336

เป็นรายการลูกหนี้การค้า ซึ่งเกิดขึ้น จากการขายตามหัวข้อ 1.1 รายการ รายได้จากการขาย ”

3,186

74 17 1,547 127 137

” ” ” ” ”

112

375

29 532

- 162

” ”

5

160

- 16,845

1,691 -

” ”

434

-

213 180 578 106 1,416

27,265

15,189


128

บริษัทที่เกี่ยวข้อง

ลักษณะการประกอบธุรกิจ

ความสัมพันธ์กับ บมจ. เบอร์ลี่ ยุคเกอร์

มูลค่ารายการ (พันบาท) สำหรับรอบปีสิ้นสุดวันที่

รายละเอียดของรายการ

31 ธันวาคม 2553 31 ธันวาคม 2552

บริษัทร่วม 1. บจ. เบอร์ลี่ ไดน่าพลาส 2. บจ. แก้วกรุงไทย

จำหน่ายบรรจุภัณฑ์พลาสติกแข็ง บริษัทร่วมโดยบริษัทฯ ถือหุ้นร้อยละ 49 ขายส่ง เศษแก้ว พลาสติก เศษวัสดุ บริษัทร่วมโดย บริษัทย่อยฯ ถือหุ้นร้อยละ 25 ใช้แล้ว

รวมทั้งสิ้น

3,302 825

1,073 -

4,127

1,073

เป็นรายการลูกหนี้การค้า ซึ่งเกิดขึ้น จากการขายตามหัวข้อ 1.1 รายการ รายได้จากการขาย ”

กิจการอื่นที่เกี่ยวข้องกัน 1. บจ. แอ็ก-เวล จำหน่ายปุ๋ย ยาปราบศัตรูพืช มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน - 4 เป็นรายการลูกหนี้การค้า ซึ่งเกิดขึ้น

ยาบำรุงพืช กับบริษัท จากการขายตามหัวข้อ 1.1 รายการ รายได้จากการขาย 2. บจ. อนันตศิริพัฒนา เป็นผู้จัดการและดูแลผลประโยชน์ มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน 7 14 ” เก็บผลประโยชน์ และจัดการทรัพย์สนิ กับบริษัท 3. บจ. อธิมาตร ผลิตสุรา มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท 33 69 ” 4. บจ. บางนาพัฒนกิจ คลังสินค้า ให้บริการเก็บรักษาสินค้า มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน 31 44 ” กับบริษัท 5. บมจ. เบียร์ไทย (1991) ผลิตสุรา มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท 36,007 29,759 ” 6. บจ. เบียร์ทพิ ย์ บริวเวอรี่ (1991) ผลิตสุรา มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท 34,093 31,497 ” 7. บจ. ช.ชนะอนันตพาณิชย์ จัดสร้างศูนย์การค้า ตลาดสด มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน - 221 ” แผงลอย อาคารพาณิชย์ และ กับบริษัท

สถานที่จอดรถเพื่อให้เช่า 8. บจ. คอสมอส บริวเวอรี่ ผลิตเบียร์น้ำดื่มและน้ำโซดา มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท 14,627 23,610 ” (ประเทศไทย) 9. บจ. คริสตอลลา เอ็นจิเนียริ่ง ค้าส่งเครื่องจักร เครื่องยนต์ มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน 72 48 ” เครื่องมือกล เครื่องทุ่นแรง กับบริษัท

ยานพาหนะ เครื่องกำเนิดไฟฟ้า 10. บจ. คริสตอลลา ปลูกอ้อย มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน 7 328 ” กับบริษัท 11. บจ. ธนสินธิ รับเหมาก่อสร้างอาคารทุกชนิด มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน 7,003 6,403 ” กับบริษัท 12. บจ. เพิ่มค่าพาณิชย์ ขายส่ง ขายปลีกน้ำตาลทราย มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน 62 35 ” (เดิมชื่อ บจ. น้ำตาลทิพย์ กับบริษัท

(1999)) 13. บจ. เฟื่องฟูอนันต์ ผลิตสุรา มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท 33 61 ” 14. บจ. โกลเด้นเวลธ์ ให้บริการเป็นที่ปรึกษาและ มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน 320 1,000 ” การบริหารจัดการ กับบริษัท 15. บจ. แก่นขวัญ ผลิตสุรา มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท 106 42 ” 16. บจ. กาญจนสิงขร ผลิตสุรา มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท 75 38 ” 17. บจ. ล้านช้าง ดีเวลลอปเม้นท์ พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ด้วยการซื้อ มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน 78 37 ” ขาย เช่า ให้เช่า เช่าซื้อ ให้เช่าซื้อ กับบริษัท 18. บจ. ไลฟ์สไตล์ ฟู้ดคอร์ทส ศูนย์อาหาร ให้บริการให้ใช้ลิขสิทธิ มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน 44 45 ” เครื่องหมายการค้า กับบริษัท 19. บจ. หลักชัยค้าสุรา จำหน่ายสุรา มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท 80 39 ”


รายงานประจำปี 2553

• บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน)

129

บริษัทที่เกี่ยวข้อง

ลักษณะการประกอบธุรกิจ

ความสัมพันธ์กับ บมจ. เบอร์ลี่ ยุคเกอร์

มูลค่ารายการ (พันบาท) สำหรับรอบปีสิ้นสุดวันที่

รายละเอียดของรายการ

31 ธันวาคม 2553 31 ธันวาคม 2552

กิจการอื่นที่เกี่ยวข้องกัน 20. บจ. มงคลสมัย 21. บจ. นทีชัย 22. บจ. แนตทูรา (2008) 23. บจ. นอร์ธปาร์ค กอล์ฟแอนด์ สปอร์ตคลับ 24. บจ. ปากซอง แคปปิตอล 25. บจ. แพนอินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) 26. บจ. พรรณธิอร 27. บจ. ป้อมทิพย์ 28. บจ. สุรากระทิงแดง (1988) 29. บจ. เอส.เอส.การสุรา 30. บจ. แสงโสม 31. บมจ. อาหารสยาม 32. บจ. สยามประชาคาร 33. บจ. สีมาธุรกิจ 34. บจ. อาคเนย์แคปปิตอล 35. บจ. อาคเนย์ประกันภัย 36. บจ. อาคเนย์กรุ๊ป 37. บจ. อาคเนย์ประกันชีวิต 38. บจ. สปอร์ต แอนด์ รีครีเอชั่น เอ็นเตอร์ไพร์ซ 39. บจ. สุราบางยี่ขัน 40. บจ. สุราพิเศษทิพราช 41. บจ. ทีซีซี แคปปิตอล แลนด์ 42. บจ. ที.ซี.ซี.คอมเมอร์เชียล พร็อพเพอร์ตี้ แมนเนจเม้นท์ 43. บจ. ทีซีซี โฮลดิ้ง 44. บจ. ทีซีซี โฮเทลคอลเล็คชั่น

ผลิตสุรา ผลิตสุรา ธุรกิจพลังงาน ไบโอดีเซล บริการสนามกอล์ฟและกีฬา

มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน กับบริษัท มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท

33 26 1

33 เป็นรายการลูกหนี้การค้า ซึ่งเกิดขึ้น

จากการขายตามหัวข้อ 1.1 รายการ รายได้จากการขาย 26 ” - ”

25

15

ถือหุ้นในบริษัทอื่น มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน กับบริษัท นำเข้า ขายส่ง กระดาษกรอง มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท อะไหล่ และเครื่องจักร ลงทุนในบริษทั ทีท่ ำธุรกิจทีเ่ กีย่ วเนือ่ ง มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน ทางการเกษตรและอุตสาหกรรม กับบริษัท

ทางการเกษตร ผลิตสุรา มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท ผลิตและจำหน่ายสุรา มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน กับบริษัท ผลิตสุรา มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท ผลิตสุรา มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท ผลิตและจำหน่ายอาหารแปรสภาพ มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน จากพืชผลการเกษตรเพือ่ การส่งออก กับบริษัท จัดสรรที่ดินและอาคาร ให้เช่า มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน อสังหาริมทรัพย์ กับบริษัท จัดสรรที่ดิน มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท ธุรกิจรถยนต์ มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท ธุรกิจประกันวินาศภัย มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท ให้สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์-เครื่องใช้ มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน สำนักงาน กับบริษัท ธุรกิจประกันชีวิต มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท บริการเกี่ยวกับการกีฬา มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท

28

35

121

80

1,251

1,074

26 450

- 29

” ”

37 67 3,810

63 59 573

” ” ”

75

123

37 - 2,328 46

37 1 38 1

” ” ” ”

277 9

52 -

” ”

25 37

484 37

” ”

849

616

1,627

1,177

63

192

64

135

ผลิตสุรา จำหน่ายสุรา พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ รับบริหารอาคารสำนักงาน จำหน่ายอาหารและเครื่องดื่ม เข้าถือหุ้นในบริษัทอื่น โรงแรม ภัตตาคาร

มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน กับบริษัท มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน กับบริษัท มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน กับบริษัท เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ และมีกรรมการร่วมกัน กับบริษัท มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท


130

บริษัทที่เกี่ยวข้อง

ลักษณะการประกอบธุรกิจ

ความสัมพันธ์กับ บมจ. เบอร์ลี่ ยุคเกอร์

มูลค่ารายการ (พันบาท) สำหรับรอบปีสิ้นสุดวันที่

รายละเอียดของรายการ

31 ธันวาคม 2553 31 ธันวาคม 2552

กิจการอื่นที่เกี่ยวข้องกัน 45. บจ. ทีซีซี โฮเทลส์ กรุ๊ป ลงทุนในตราสารทุน มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน กับบริษัท 46. บจ. ทีซีซี โฮเทลส์ พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ด้วยการซื้อ มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน แมนเนจเม้นท์ ขาย เช่า ให้เช่า เช่าซื้อ ให้เช่าซื้อ กับบริษัท 47. บจ. ทีซซี ี แลนด์ คอมเมอร์เชียล รับจ้างโฆษณา การพัฒนาและ มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน ขายโฆษณาผ่านทางเว็บไซต์ กับบริษัท 48. บจ. ทีซีซี แลนด์ พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ด้วยการซื้อ มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน ดีเวลลอปเม้นท์ ขาย เช่า ให้เช่า กับบริษัท 49. บจ. ทีซีซี แลนด์ รีเทล กิจการโรงแรม ภัตตาคาร บาร์ มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน ไนท์คลับ โบว์ลิ่ง อาบอบนวด กับบริษัท 50. บจ. ทีซีซี แลนด์ ขายฝาก จำนองจำนำ รับจำนำ มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน จดทะเบียน รับโอน ทำสัญญา กับบริษัท

นิติกรรมใดๆ เกี่ยวกับสิ่งปลูกสร้าง และเอกสิทธิ์ต่างๆ 51. บจ. ทีซีซี พร็อพเพอร์ตี้ พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ด้วยการซื้อ มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน ดีเวลลอปเม้นท์ ขาย เช่า ให้เช่า กับบริษัท 52. บจ. เทอราโกร ไบโอ-เทค ประกอบกิจการโรงงานผลิต มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน ก๊าซชีวภาพ กับบริษัท 53. บจ. เทอราโกร เฟอร์ติไลเซอร์ ค้าส่งกากตะกอนชีวภาพที่เกิดจาก มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน ระบบน้ำเสีย กับบริษัท 54. บจ. เทอราโกร จำหน่ายไม้ยืนต้นและพืชไร่ มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท 55. บจ. ไทย อะโกรโปรดักส์ แปรรูปผลผลิตทางการเกษตร มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน กับบริษัท 56. บมจ. ไทยแอลกอฮอล์ ผลิตแอลกอฮอล์ มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน กับบริษัท 57. บมจ. ไทยเบฟเวอเรจ ลงทุนเข้าถือหุ้นบริษัทต่างๆ มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท 58. บจ. ไทยเบฟเวอเรจ รีไซเคิล จัดจำหน่ายบรรจุภัณฑ์ ขวดแก้ว มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท 59. บจ.ไทยเบฟเวอเรจ เอ็นเนอร์ยี่ ประกอบกิจการโรงงานผลิต มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน ก๊าซชีวภาพ กับบริษัท 60. บจ. ธนภักดี ผลิตสุรา มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท 61. บจ. อุตสาหกรรมน้ำตาล ส่งออก ผลิตน้ำตาลทราย จำหน่าย มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน สุพรรณบุรี ส่ง-ปลีกน้ำตาลทราย กับบริษัท 62. บจ. อุตสาหกรรมน้ำตาล ส่งออก ผลิตน้ำตาลทราย จำหน่าย มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน อุตรดิตถ์ ส่ง-ปลีกน้ำตาลทราย กับบริษัท 63. บจ. อุตสาหกรรมน้ำตาลแม่วัง ส่งออก ผลิตน้ำตาลทราย จำหน่าย มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน ส่ง-ปลีกน้ำตาลทราย กับบริษัท 64. บจ. เทพอรุโณทัย ผลิตสุรา มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท 65. บจ. ทิพย์พัฒน อาร์เขต เช่าพื้นที่และบริการ มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน กับบริษัท 66. บจ. ยูไนเต็ด ไวน์เนอรี่ แอนด์ ผลิตสุรา มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท ดิสทิลเลอรี่

32 487 1,427

943 71 514

เป็นรายการลูกหนี้การค้า ซึ่งเกิดขึ้น

จากการขายตามหัวข้อ 1.1 รายการ รายได้จากการขาย ” ”

255

394

382

1,484

2,497

3,583

10

176

2

3

204

545

316 830

481 572

” ”

36

64

9,662 787,506 133

9,760 716,316 -

” ” ”

26 66

26 12

” ”

231

38

23

-

37 1,919

38 1,544

” ”

419

29


รายงานประจำปี 2553

• บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน)

131

บริษัทที่เกี่ยวข้อง

ลักษณะการประกอบธุรกิจ

ความสัมพันธ์กับ บมจ. เบอร์ลี่ ยุคเกอร์

มูลค่ารายการ (พันบาท) สำหรับรอบปีสิ้นสุดวันที่

รายละเอียดของรายการ

31 ธันวาคม 2553 31 ธันวาคม 2552

กิจการอื่นที่เกี่ยวข้องกัน 67. บมจ. ยูนิเวนเจอร์ ผลิตและจำหน่ายนำเข้า ส่งออก มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน สังกะสีอ๊อกไซด์ กับบริษัท 68. บจ. วัฒนพัฒน์ เทรดดิ้ง จำหน่ายเบียร์ ไวน์ และเครื่องดื่ม มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท ที่มีแอลกอฮอล์ 69. บจ. เวิร์ลด์ บุ๊ค แอนด์ มีเดีย ศูนย์อาหาร ให้เช่าพื้นที่ ให้เช่า มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน ห้องพัก กับบริษัท 70. บจ. โออิชิ เทรดดิ้ง ผลิต จำหน่ายส่งอาหารสำเร็จรูป, มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน กึ่งสำเร็จรูป กับบริษัท 71. บจ. เครื่องดื่มแรงเยอร์ (2008) ผลิต จำหน่ายส่งปุ๋ย สุรา และพัสดุ มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท บรรจุสุรา (ขวด) 72. บจ. เดอะ แกรนด์ หลวงพระบาง รับจัดการดูแลผลประโยชน์ มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน เก็บเกี่ยวผลประโยชน์ และจัดการ กับบริษัท

ทรัพย์สินให้บุคคลอื่น 73. บจ. สิริวนา พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน กับบริษัท 74. บจ. เอ็น.ซี.ซี. เอ็กซิบิชั่น ให้บริการด้านการบริหารงานอาคาร มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน ออกาไนเซอร์ และบริหารโครงการ กับบริษัท 75. บจ. บ้านบึงเวชกิจ สถานพยาบาล มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน กับบริษัท 76. บจ. ทศภาค โฆษณา ประชาสัมพันธ์ มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน กับบริษัท 77. บจ. เซอร์วิสอัลลายแอนซ์ รับจ้างบริหารลานจอดรถ มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน กับบริษัท 78. บจ. ตะวันนา ไนท์บาซาร์ ให้เช่าพื้นที่ มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท 79. บจ. ไทยเบฟเวอเรจ โลจิสติก ให้บริการขนส่ง และขนถ่ายสินค้า มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท 80. บจ. พรรณธิอร เทรดดิ้ง ประกอบกิจการค้าน้ำตาล มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท ผลิตภัณฑ์น้ำตาล รวมถึงผลิตภัณฑ์

ทางการเกษตร 81. บจ. พันธไมตรี ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท 82. บจ. ฟู้ดแอนด์ฟัน จำหน่ายปลีกอาหารและเครื่องดื่ม มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท 83. บจ. สุโขทัย พีดี พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท 84. บจ. สุรเศรษฐ์ ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท 85. บจ. ที.ซี.ซี.เซอร์วสิ อพาร์ทเม้นท์ ประกอบกิจการรับบริหารอาคาร มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน ที่พักอาศัย กับบริษัท 86. บจ. ทีซีซีซีแอล นราธิวาส พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน กับบริษัท 87. บจ. ทีซีซีซีแอล นอร์ธ พาร์ค พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน กับบริษัท 88. บจ. ทีซีซีซีแอล สุขุมวิท 24 พัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อขาย มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน ให้เช่า กับบริษัท 89. บจ. ทีซีซีซีแอล อโศก พัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อขายหรือ มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน ให้เช่า กับบริษัท

309 150

318 3

เป็นรายการลูกหนี้การค้า ซึ่งเกิดขึ้น

จากการขายตามหัวข้อ 1.1 รายการ รายได้จากการขาย ”

323 2,962

- 4,792

990

1,034

-

4

24

4

-

127

1,318

371

8

6

1

-

131 715 110

- - -

” ” ”

198 67 33 13 27 2

- - - - - -

” ” ” ” ”

1

-

1

-

12

-


132

บริษัทที่เกี่ยวข้อง

ลักษณะการประกอบธุรกิจ

ความสัมพันธ์กับ บมจ. เบอร์ลี่ ยุคเกอร์

มูลค่ารายการ (พันบาท) สำหรับรอบปีสิ้นสุดวันที่

รายละเอียดของรายการ

31 ธันวาคม 2553 31 ธันวาคม 2552

กิจการอื่นที่เกี่ยวข้องกัน 90. บจ. นำยุค 91. บจ. บางนากลาส 92. บมจ. อินทรประกันภัย 93. บจ. ผลมั่นคง 94. บจ. สุโขทัย ไบโอเอนเนอยี่ 95. บจ. อีสเทอร์น เคมีคอล 96. บจ. แอทมีเดียฟร้อนท์ 97. บจ. แอสเซท เมเนจเม้นท์ แอดไวเซอรี่ 98. บจ. ทีซีซีซีแอล เสนา 99. บจ. ทีซีซี พีดี 11

ขายส่ง ขายปลีกสุรา มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน กับบริษัท ผลิต จำหน่ายส่งขวดแก้ว มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน กับบริษัท รับประกันวินาศภัย มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน กับบริษัท ให้บริการรับปรึกษาทางธุรกิจ เป็นผู้ถือหุ้นของบริษัท ให้บริการฝึกอบรม ประกอบกิจการจัดตั้งหรือ มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท สร้างโรงงานเพื่อผลิตและ จำหน่ายกระแสไฟฟ้า จำหน่ายปลีกปุ๋ยและเคมีเกษตร มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน ยาบำรุงพืชและสัตว์ กับบริษัท ประกอบกิจการด้านการสื่อสาร มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน โฆษณา ประชาสัมพันธ์ทุกประเภท กับบริษัท พัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อขายหรือ มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน ให้เช่า กับบริษัท พัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อขายหรือ มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน ให้เช่า กับบริษัท พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ด้วยการซื้อ มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน ขาย เช่า ให้เช่า กับบริษัท

รวมทั้งสิ้น

28 25

- เป็นรายการลูกหนี้การค้า ซึ่งเกิดขึ้น

จากการขายตามหัวข้อ 1.1 รายการ รายได้จากการขาย - ”

9 15

- -

” ”

29

-

4

-

32

-

169

-

1

-

54

-

918,251

841,426

4 รายการเจ้าหนี้การค้า

บริษัทที่เกี่ยวข้อง

ลักษณะการประกอบธุรกิจ

ความสัมพันธ์กับ บมจ. เบอร์ลี่ ยุคเกอร์

มูลค่ารายการ (พันบาท) สำหรับรอบปีสิ้นสุดวันที่

รายละเอียดของรายการ

31 ธันวาคม 2553 31 ธันวาคม 2552

บริษัทย่อย 1. บจ. เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ โลจิสติกส์ บริการด้านพิธีการออกสินค้า บริษัทย่อยทางตรง คลังสินค้า ขนส่งและจัดส่งสินค้า 2. บจ. บีเจซี เฮลท์แคร์ จำหน่ายยา เครื่องมือ และอุปกรณ์ บริษัทย่อยทางตรง ทางการแพทย์ 3. บมจ. อุตสาหกรรม ผลิตภาชนะแก้ว บริษัทย่อยทางตรง ทำเครื่องแก้วไทย 4. บจ. เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ เซลล็อกซ์ ผลิตกระดาษ บริษัทย่อยทางตรง 5. บจ. เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำหน่ายสารเสริมผลิตภัณฑ์อาหาร บริษัทย่อยทางตรง สเปเชียลตี้ส์ เครื่องดื่ม เครื่องสำอาง และ เคมีภัณฑ์

74,477 10,271

5,981 55,958

เป็นรายการเจ้าหนี้การค้า ซึ่งเกิดขึ้น

จากการซื้อสินค้าและบริการ ตาม หัวข้อ 2.1 รายการซื้อสินค้า และบริการ ”

1,311,772

1,197,679

353,314 73,457

329,126 89,195

” ”


รายงานประจำปี 2553

• บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน)

133

บริษัทที่เกี่ยวข้อง

ลักษณะการประกอบธุรกิจ

ความสัมพันธ์กับ บมจ. เบอร์ลี่ ยุคเกอร์

มูลค่ารายการ (พันบาท) สำหรับรอบปีสิ้นสุดวันที่

รายละเอียดของรายการ

31 ธันวาคม 2553 31 ธันวาคม 2552

บริษัทย่อย 6. บจ. รูเบียอุตสาหกรรม ผลิตสบู่ เครื่องสำอางและลูกกวาด 7. บจ. เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ ฟู้ดส์ ผลิตอาหารว่าง 8. บจ. บีเจซี มาร์เก็ตติ้ง จำหน่ายสินค้าอุปโภคและบริโภค 9. บจ. บีเจซี อินดัสเตรียล แอนด์ จำหน่ายผลิตภัณฑ์เทคโนโลยี เทรดดิ้ง ทางภาพ เครื่องเขียน เครื่องจักร และวัสดุก่อสร้าง 10. บจ. คอสม่า เมดิคอล จำหน่ายเวชภัณฑ์ 11. บจ. ไทยเบเวอร์เรจแคน จำกัด ผลิตกระป๋องอะลูมิเนียม 2 ชิ้น พร้อมฝา ผู้ส่งออก 12. บจ. ไทย มาลายากลาส ผลิตภาชนะแก้ว

บริษัทย่อยทางตรง บริษัทย่อยทางตรง บริษัทย่อยทางตรง บริษัทย่อยทางตรง บริษัทย่อยทางอ้อม บริษัทย่อยทางตรง บริษัทย่อยทางอ้อมของกิจการที่ควบคุม ร่วมกัน รวมทั้งสิ้น

บริษัทร่วม 1. บจ. เบอร์ลี่ ไดน่าพลาส จำหน่ายบรรจุภัณฑ์พลาสติกแข็ง บริษัทร่วม โดยบริษัทฯ หุ้นร้อยละ 49 2. บจ. เบอร์ลี่ เอเชียติ๊ก โซดา นำเข้าและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ บริษัทร่วมโดยบริษัทฯ ถือหุ้นร้อยละ 50 โซดา แอช 3. บจ. แก้วกรุงไทย ขายส่ง เศษแก้ว พลาสติก เศษวัสดุ บริษัทร่วมโดย บริษัทย่อยฯ ถือหุ้นร้อยละ 25 ใช้แล้ว รวมทั้งสิ้น

114,826 275,482 - 2,343 498 5,583 8,525

103,149 222,242 10 11,065 631 -

-

2,230,548

2,015,036

5,454 160,700

5,558 123,793

58,980 225,134

เป็นรายการเจ้าหนี้การค้า ซึ่งเกิดขึ้น

จากการซื้อสินค้าและบริการ ตาม หัวข้อ 2.1 รายการซื้อสินค้า และบริการ ” ” ”

” ” ”

เป็นรายการเจ้าหนี้การค้า ซึ่งเกิดขึ้น จากการซื้อสินค้าและบริการ ตามหัวข้อ 2.1 รายการซื้อสินค้า

และบริการ ”

48,342

177,693

กิจการอื่นที่เกี่ยวข้องกัน 1. บจ. พิเศษกิจ ขายส่งเศษแก้ว มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท 25,952 22,194 เป็นรายการเจ้าหนี้การค้า ซึ่งเกิดขึ้น จากการซื้อสินค้าและบริการ ตามหัวข้อ 2.1 รายการซื้อสินค้า

และบริการ 2. บจ. บอล คอร์ปเรชั่น ผลิตและจำหน่ายภาชนะบรรจุภณ ั ฑ์ เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของผู้ถือหุ้นของ 1,444 2,124 ” บริษัทย่อย 3. บจ. อาคเนย์แคปปิตอล ธุรกิจรถยนต์ มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท 229 233 ” 4. บจ. อาคเนย์ประกันชีวิต ธุรกิจประกันชีวิต มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท 24 14 ” 5. บจ. คอสมอส บริวเวอรี่ ผลิตเบียร์น้ำดื่มและน้ำโซดา มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท 104 - ”

(ประเทศไทย)

รวมทั้งสิ้น

27,753

24,565


134

5 รายการเงินให้กู้ระยะสั้นแก่บริษัทที่เกี่ยวข้องกัน

บริษัทที่เกี่ยวข้อง

ลักษณะการประกอบธุรกิจ

ความสัมพันธ์กับ บมจ. เบอร์ลี่ ยุคเกอร์

มูลค่ารายการ (พันบาท) สำหรับรอบปีสิ้นสุดวันที่

รายละเอียดของรายการ

31 ธันวาคม 2553 31 ธันวาคม 2552

บริษัทย่อย 1. บจ. เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ เซลล็อกซ์ 2. บมจ. อุตสาหกรรม ทำเครื่องแก้วไทย 3. บจ. เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ ฟู้ดส์ 4. บีเจซี อินเตอร์เนชั่นแนล คัมปะนี ลิมิเต็ด 5. บจ. ที.ซี.ซี. เทคโนโลยี

ผลิตกระดาษ ผลิตภาชนะแก้ว

บริษัทย่อยทางตรง บริษัทย่อยทางตรง

6,000 -

ผลิตอาหารว่าง ตัวแทนจำหน่ายในต่างประเทศ

บริษัทย่อยทางตรง บริษัทย่อยทางตรง

20,000 -

48,200 8,098

” ”

ให้บริการด้านโครงสร้างพื้นฐาน ระบบสารสนเทศ

บริษัทย่อยทางตรง

42,000

-

รวมทั้งสิ้น

68,000

160,000 150,000

บริษัทฯ ให้บริษัทย่อยกู้ยืมเงิน

ระยะสั้น โดยออกตั๋วสัญญาใช้เงิน

ครบกำหนดเมื่อทวงถาม โดยมีอัตรา ดอกเบี้ยตามอัตราในท้องตลาด ”

366,298

6 รายการเงินกู้ระยะสั้นจากบริษัทที่เกี่ยวข้องกัน

บริษัทที่เกี่ยวข้อง

ลักษณะการประกอบธุรกิจ

ความสัมพันธ์กับ บมจ. เบอร์ลี่ ยุคเกอร์

มูลค่ารายการ (พันบาท) สำหรับรอบปีสิ้นสุดวันที่

รายละเอียดของรายการ

31 ธันวาคม 2553 31 ธันวาคม 2552

บริษัทย่อย 1. บจ. มัณฑนา จำหน่ายเครื่องสำอาง และ บริษัทย่อยทางตรง เครื่องจักรกล 2. บจ. เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ โลจิสติกส์ บริการด้านพิธีการออกสินค้า บริษัทย่อยทางตรง คลังสินค้า ขนส่งและจัดส่งสินค้า 3. บจ. บีเจซี มาร์เก็ตติ้ง จำหน่ายสินค้าอุปโภค และบริโภค บริษัทย่อยทางตรง 4. บจ. ไทยฟลัวสปาร์ แอนด์ หยุดดำเนินการ บริษัทย่อยทางตรง มิเนอรัลส์ 5. บจ. บีเจซี เฮลท์แคร์ จำหน่ายยา เครื่องมือ และอุปกรณ์ บริษัทย่อยทางตรง ทางการแพทย์ 6. บจ. บีเจซี อินดัสเตรียล แอนด์ จำหน่ายผลิตภัณฑ์เทคโนโลยี บริษัทย่อยทางตรง เทรดดิ้ง ทางภาพ เครื่องเขียน เครื่องจักร และวัสดุก่อสร้าง 7. บจ. เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำหน่ายสารเสริมผลิตภัณฑ์อาหาร บริษัทย่อยทางตรง สเปเชียลตี้ส์ เครื่องดื่ม เครื่องสำอาง และ เคมีภัณฑ์ 8. บจ. บีเจซี อินเตอร์เนชั่นแนล ตัวแทนจำหน่าย บริษัทย่อยทางตรง 9. บจ. รูเบียอุตสาหกรรม ผลิตสบู่ เครื่องสำอางและลูกกวาด บริษัทย่อยทางตรง 10. บจ. ไทย-สแกนดิค สตีล ผลิตโครงสร้างเหล็กชุบสังกะสี บริษัทย่อยทางอ้อม

รวมทั้งสิ้น

82,800 16,700

14,700 48,200

83,230 5,300

92,130 5,300

” ”

287,500

284,900

235,000

192,000

32,803

51,767

6,126 33,730 225,000

9,448 32,700 -

” ” ”

1,008,189

731,145

บริษัทฯ กู้เงินจาก บริษัทย่อยโดยออก ตั๋วสัญญาใช้เงินระยะสั้นชนิดจ่ายคืน เมื่อทวงถาม โดยจ่ายอัตราดอกเบี้ย

ในอัตราเดียว กับอัตราตลาด ”


รายงานประจำปี 2553

• บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน)

135

7 รายการเงินให้กู้ระยะยาวส่วนที่ถึงกำหนดชำระในหนึ่งปี

บริษัทที่เกี่ยวข้อง

ลักษณะการประกอบธุรกิจ

ความสัมพันธ์กับ บมจ. เบอร์ลี่ ยุคเกอร์

มูลค่ารายการ (พันบาท) สำหรับรอบปีสิ้นสุดวันที่

รายละเอียดของรายการ

31 ธันวาคม 2553 31 ธันวาคม 2552

บริษัทย่อย 1. บจ. เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ เซลล็อกซ์ 2. บมจ. อุตสาหกรรม ทำเครื่องแก้วไทย 3. บจ. รูเบียอุตสาหกรรม 4. บจ. เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ ฟู้ดส์

ผลิตกระดาษ ผลิตภาชนะแก้ว

บริษัทย่อยทางตรง บริษัทย่อยทางตรง

900,000 1,600,000

ผลิตสบู่ เครื่องสำอางและลูกกวาด บริษัทย่อยทางตรง ผลิตอาหารว่าง บริษทั ย่อยทางตรง

100,000 200,000

- -

2,800,000

-

รวมทั้งสิ้น

- -

บริษัทฯ ให้บริษัทย่อยกู้ยืมเงิน

ระยะยาวและมีอัตราดอกเบี้ยคงที ่

ร้อยละ 3.9 ต่อปี โดยมีกำหนดชำระ คืนในเดือนมีนาคม 2554 ” ” ”

8 รายการเงินให้กู้ระยะยาว

บริษัทที่เกี่ยวข้อง

ลักษณะการประกอบธุรกิจ

ความสัมพันธ์กับ บมจ. เบอร์ลี่ ยุคเกอร์

มูลค่ารายการ (พันบาท) สำหรับรอบปีสิ้นสุดวันที่

รายละเอียดของรายการ

31 ธันวาคม 2553 31 ธันวาคม 2552

บริษัทย่อย 1. บจ. เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ เซลล็อกซ์ 2. บมจ. อุตสาหกรรม ทำเครื่องแก้วไทย 3. บจ. รูเบียอุตสาหกรรม 4. บจ. เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ ฟู้ดส์

ผลิตกระดาษ ผลิตภาชนะแก้ว

บริษัทย่อยทางตรง บริษัทย่อยทางตรง

- -

ผลิตสบู่ เครื่องสำอางและลูกกวาด บริษัทย่อยทางตรง ผลิตอาหารว่าง บริษทั ย่อยทางตรง

- -

รวมทั้งสิ้น

-

900,000 1,600,000

บริษัทฯ ให้บริษัทย่อยกู้ยืมเงิน

ระยะยาวและมีอัตราดอกเบี้ยคงที ่

ร้อยละ 3.9 ต่อปี โดยมีกำหนดชำระ คืนในเดือนมีนาคม 2554 ”

100,000 200,000 2,800,000

” ”


136

9 รายการลูกหนี้อื่น - กิจการที่เกี่ยวข้องกัน

บริษัทที่เกี่ยวข้อง

ลักษณะการประกอบธุรกิจ

ความสัมพันธ์กับ บมจ. เบอร์ลี่ ยุคเกอร์

มูลค่ารายการ (พันบาท) สำหรับรอบปีสิ้นสุดวันที่

รายละเอียดของรายการ

31 ธันวาคม 2553 31 ธันวาคม 2552

บริษัทย่อย 1. บจ. บีเจซี อินดัสเตรียล แอนด์ จำหน่ายผลิตภัณฑ์เทคโนโลยี บริษัทย่อยทางตรง เทรดดิ้ง ทางภาพ เครื่องเขียน เครื่องจักร และวัสดุก่อสร้าง 2. บจ. เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ ฟู้ดส์ ผลิตอาหารว่าง บริษัทย่อยทางตรง 3. บจ. มัณฑนา จำหน่ายเครื่องสำอาง และ บริษัทย่อยทางตรง เครื่องจักรกล 4. บจ. บีเจซี มาร์เก็ตติ้ง จำหน่ายสินค้าอุปโภคและบริโภค บริษัทย่อยทางตรง 5. บจ. เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำหน่ายสารเสริมผลิตภัณฑ์อาหาร บริษัทย่อยทางตรง สเปเชียลตี้ส์ เครื่องดื่ม เครื่องสำอาง และ เคมีภัณฑ์ 6. บจ. บีเจซี เฮลท์แคร์ จำหน่ายยา เครื่องมือ และอุปกรณ์ บริษัทย่อยทางตรง ทางการแพทย์ 7. บจ. เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ เซลล็อกซ์ ผลิตกระดาษ บริษัทย่อยทางตรง 8. บมจ. อุตสาหกรรม ผลิตภาชนะแก้ว บริษัทย่อยทางตรง ทำเครื่องแก้วไทย 9. บจ. คอสม่า เมดิคอล จำหน่ายเวชภัณฑ์ บริษัทย่อยทางอ้อม 10. บจ. รูเบียอุตสาหกรรม ผลิตสบู่ เครื่องสำอางและลูกกวาด บริษัทย่อยทางตรง 11. บจ.ไทย-สแกนดิค สตีล ผลิตโครงสร้างเหล็กชุบสังกะสี บริษัทย่อยทางอ้อม 12. บีเจซี อินเตอร์เนชั่นแนล ตัวแทนจำหน่ายในต่างประเทศ บริษัทย่อยทางตรง คัมปะนี ลิมิเต็ด 13. เจซีฟู้ดส์ เอสดีเอ็น บีเอชดี ผลิตอาหารว่าง บริษัทย่อยทางอ้อม 14. บจ. ไทยเซ็นเซลล่า หยุดดำเนินการ บริษัทย่อยทางอ้อม 15. ไทยคอร์ป อินเตอร์เนชั่นแนล ตัวแทนจำหน่าย บริษัทย่อยของบริษัทย่อยทางอ้อม (เวียดนาม) คัมปะนี ลิมิเต็ด 16. มาลายากล๊าส โปรดักส์ ผลิตภาชนะแก้ว บริษัทย่อยทางตรงของกิจการที่ควบคุม เอสดีเอ็น บีเอชดี ร่วมกัน 17. มาลายา - เวียดนามกล๊าส ผลิตภาชนะแก้ว บริษัทย่อยทางอ้อมของกิจการที่ควบคุม ลิมิเต็ด จำกัด ร่วมกัน 18. บจ. ไทย มาลายากลาส ผลิตภาชนะแก้ว บริษัทย่อยทางอ้อมของกิจการที่ควบคุม ร่วมกัน 19. บจ. ไทยเบเวอร์เรจแคน จำกัด ผลิตกระป๋องอะลูมิเนียม 2 ชิ้น บริษัทย่อยทางตรง พร้อมฝา ผู้ส่งออก

รวมทั้งสิ้น

7,868 5,022 75

305 เป็นรายการลูกหนี้อื่น ซึ่งเกิดขึ้น

จากการรายได้ค่าเช่าและค่าบริการ และ/หรือ รายได้ค่าบริหารจัดการ ตามหัวข้อ 1.2 รายการรายได้จาก ค่าเช่าและค่าบริการ และ ข้อ 1.3 รายการรายได้จากการปันส่วน ค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ 2,170 ” 73 ”

- 1,556

24 1,557

” ”

5,361

4,082

12,441 35,081

18,387 11,133

” ”

6,418 3,803 2,759 467

908 2,834 1,759 10

” ” ” ”

155 - 11

405 248 (248) -

” ” ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ”

163

-

577 258

- -

” ”

364

-

82,379

43,647


รายงานประจำปี 2553

• บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน)

137

บริษัทที่เกี่ยวข้อง

ลักษณะการประกอบธุรกิจ

ความสัมพันธ์กับ บมจ. เบอร์ลี่ ยุคเกอร์

มูลค่ารายการ (พันบาท) สำหรับรอบปีสิ้นสุดวันที่

รายละเอียดของรายการ

31 ธันวาคม 2553 31 ธันวาคม 2552

บริษัทร่วม 1. บจ. เบอร์ลี่ ไดน่าพลาส 2. บจ. เบอร์ลี่ เอเชียติ๊ก โซดา 3. บจ. บีเจซี มารีน รีซอสเซส ดิเวลลอปเม้นท์ 4. บจ. แก้วกรุงไทย

จำหน่ายบรรจุภัณฑ์พลาสติกแข็ง บริษัทร่วมโดยบริษัทฯ ถือหุ้นร้อยละ 49 นำเข้าและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ บริษัทร่วมโดยบริษัทฯ ถือหุ้นร้อยละ 50 โซดา แอช ธุรกิจให้เช่าบ่อเลี้ยงกุ้งและอุปกรณ์ บริษัทร่วมโดยบริษัทฯ ถือหุ้นร้อยละ 50 ขายส่ง เศษแก้ว พลาสติก เศษวัสดุ บริษัทร่วมโดย บริษัทย่อย ถือหุ้นร้อยละ 25 ใช้แล้ว

รวมทั้งสิ้น

440 61

128 65

เป็นรายการลูกหนี้อื่น ซึ่งเกิดขึ้น จากการรายได้ค่าเช่าและค่าบริการ และ/หรือ รายได้ค่าบริหารจัดการ ตามหัวข้อ 1.2 รายการรายได้จาก ค่าเช่าและค่าบริการ และข้อ 1.3 รายการรายได้จากการปันส่วน ค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ ”

8

8

1,076

-

1,585

201

10 รายการเจ้าหนี้อื่น - กิจการที่เกี่ยวข้องกัน

บริษัทที่เกี่ยวข้อง

ลักษณะการประกอบธุรกิจ

ความสัมพันธ์กับ บมจ. เบอร์ลี่ ยุคเกอร์

มูลค่ารายการ (พันบาท) สำหรับรอบปีสิ้นสุดวันที่

รายละเอียดของรายการ

31 ธันวาคม 2553 31 ธันวาคม 2552

บริษัทย่อย 1. บจ. เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ โลจิสติกส์ ขนส่งและบริการด้านคลังสินค้า 2. บจ. บีเจซี อินเตอร์เนชั่นแนล ตัวแทนจำหน่าย 3. บจ. ไทยฟลัวสปาร์ แอนด์ หยุดดำเนินการ มิเนอรัลส์ 4. บจ. บีเจซี มาร์เก็ตติ้ง จำหน่ายสินค้าอุปโภคและบริโภค 5. บจ. ที.ซี.ซี. เทคโนโลยี ให้บริการด้านโครงสร้างพื้นฐาน ระบบสารสนเทศ

บริษัทย่อยทางตรง บริษัทย่อยทางตรง บริษัทย่อยทางตรง

3,613 5 4

26,317 เป็นรายการเจ้าหนี้อื่น ซึ่งเกิดขึ้นจาก รายการ ตามหัวข้อ 2.2 รายการ ค่าเช่าและบริการจ่าย และ/หรือ

หัวข้อ 2.3 รายการดอกเบี้ยจ่าย และ/ หรือหัวข้อ 2.4 รายการซื้ออะไหล่และ อุปกรณ์ 6 ” 4 ”

บริษัทย่อยทางตรง บริษัทย่อยทางตรง

188 11,018

- 24,874

รวมทั้งสิ้น

14,828

51,201

” ”


138

บริษัทที่เกี่ยวข้อง

ลักษณะการประกอบธุรกิจ

ความสัมพันธ์กับ บมจ. เบอร์ลี่ ยุคเกอร์

มูลค่ารายการ (พันบาท) สำหรับรอบปีสิ้นสุดวันที่

รายละเอียดของรายการ

31 ธันวาคม 2553 31 ธันวาคม 2552

บริษัทร่วม 1. บจ. เบอร์ลี่ ไดน่าพลาส

จำหน่ายบรรจุภัณฑ์พลาสติกแข็ง

กิจการอื่นที่เกี่ยวข้องกัน 1. บจ. อาคเนย์แคปปิตอล 2. บจ. อาคเนย์ประกันชีวิต 3. บจ. อาคเนย์ประกันภัย 4. บจ. ไทยเบฟเวอเรจ รีไซเคิล 5. บจ. ทีซีซี โฮเทลคอลเล็คชั่น 6. บจ. ธนสินธิ 7. บจ. ไทยดริ้งค์

บริษัทร่วมโดยบริษัทฯ ถือหุ้นร้อยละ 49

-

4

รวมทั้งสิ้น

-

4

ธุรกิจรถยนต์ มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท ธุรกิจประกันชีวิต มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท ธุรกิจประกันวินาศภัย มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท จัดจำหน่ายบรรจุภัณฑ์ ขวดแก้ว มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท โรงแรม ภัตตาคาร มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท รับเหมาก่อสร้างอาคารทุกชนิด มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน กับบริษัท ผลิตและจำหน่ายภาชนะบรรจุภณ ั ฑ์ มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท

รวมทั้งสิ้น

649 149 453 3,973 - 23

727 เป็นรายการเจ้าหนี้อื่น ซึ่งเกิดขึ้นจาก รายการ ตามหัวข้อ 2.2 รายการ ค่าเช่าและบริการจ่าย และ/หรือ

หัวข้อ 2.3 รายการดอกเบี้ยจ่าย และ/ หรือหัวข้อ 2.4 รายการซื้ออะไหล่และ อุปกรณ์ 144 ” 149 ” - ” 8 ” - ”

22 5,269

เป็นรายการเจ้าหนี้อื่น ซึ่งเกิดขึ้นจาก รายการ ตามหัวข้อ 2.2 รายการ ค่าเช่าและบริการจ่าย และ/หรือ

หัวข้อ 2.3 รายการดอกเบี้ยจ่าย และ/ หรือหัวข้อ 2.4 รายการซื้ออะไหล่และ อุปกรณ์

-

1,028

11 รายการสินทรัพย์หมุนเวียนอื่น

บริษัทที่เกี่ยวข้อง

ลักษณะการประกอบธุรกิจ

ความสัมพันธ์กับ บมจ. เบอร์ลี่ ยุคเกอร์

มูลค่ารายการ (พันบาท) สำหรับรอบปีสิ้นสุดวันที่

รายละเอียดของรายการ

31 ธันวาคม 2553 31 ธันวาคม 2552

กิจการอื่นที่เกี่ยวข้องกัน 1. บจ. โกลเด้นเวลธ์ ให้บริการเป็นที่ปรึกษาและ มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน การบริหารจัดการ กับบริษัท 2. บจ. ทีซีซี โฮลดิ้ง เข้าถือหุ้นในบริษัทอื่น เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ และมีกรรมการร่วมกัน กับบริษัท 3. บจ. ทศภาค โฆษณา ประชาสัมพันธ์ มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน กับบริษัท 4. บจ. แสงโสม ผลิตสุรา มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท 5. บจ. ไทยเบฟเวอร์เรจ มาร์เก็ตติง้ จำหน่ายสุรานำเข้าจากต่างประเทศ มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท 6. บจ. นำยุค ขายส่ง ขายปลีกสุรา มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน กับบริษัท

41 31

- เป็นรายการสินทรัพย์ ซึ่งเกิดขึ้นจาก การซื้อขายสินค้าและบริการ 1 ”

24

-

- - -

1 1 1

” ” ”


รายงานประจำปี 2553

• บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน)

139

บริษัทที่เกี่ยวข้อง

ลักษณะการประกอบธุรกิจ

ความสัมพันธ์กับ บมจ. เบอร์ลี่ ยุคเกอร์

มูลค่ารายการ (พันบาท) สำหรับรอบปีสิ้นสุดวันที่

รายละเอียดของรายการ

31 ธันวาคม 2553 31 ธันวาคม 2552

กิจการอื่นที่เกี่ยวข้องกัน 7. บจ. ทีซีซี แลนด์ 8. บจ. สิริวนา 9. บจ. พรรณธิอร 10. บจ. อาคเนย์ประกันภัย 11. บมจ. อินทรประกันภัย 12. บจ. ไทยดริ้งค์ 13. บจ. ทิพย์พัฒน อาร์เขต 14. บจ. ที.ซี.ซี.คอมเมอร์เชียล พร็อพเพอร์ตี้ แมนเนจเม้นท์ 15. บมจ. ไทยเบฟเวอเรจ 16. บจ. ไทยเบฟเวอเรจ โลจิสติก 17. บมจ. ยูนิเวนเจอร์ 18. บจ. สยามประชาคาร 19. บมจ. อาหารสยาม 20. บจ. อาคเนย์แคปปิตอล 21. บจ. อาคเนย์ประกันชีวิต 22. บจ. วัฒนพัฒน์เทรดดิ้ง

ขายฝาก จำนองจำนำ รับจำนำ มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน จดทะเบียน รับโอน ทำสัญญา กับบริษัท นิติกรรมใดๆ เกี่ยวกับสิ่งปลูกสร้าง และเอกสิทธิ์ต่างๆ พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน กับบริษัท ลงทุนในบริษทั ทีท่ ำธุรกิจทีเ่ กีย่ วเนือ่ ง มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน ทางการเกษตรและอุตสาหกรรม กับบริษัท

ทางการเกษตร ธุรกิจประกันวินาศภัย มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท รับประกันวินาศภัย มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน กับบริษัท ประกอบกิจการ ผลิต จำหน่ายสุรา มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท เบียร์ โซดา เช่าพื้นที่และบริการ มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน กับบริษัท รับบริหารอาคารสำนักงาน มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน จำหน่ายอาหารและเครื่องดื่ม กับบริษัท ลงทุนเข้าถือหุ้นบริษัทต่างๆ มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท ให้บริการขนส่ง และขนถ่ายสินค้า มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท ผลิตและจำหน่ายนำเข้า ส่งออก มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน สังกะสีอ๊อกไซด์ กับบริษัท จัดสรรที่ดินและอาคาร ให้เช่า มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน อสังหาริมทรัพย์ กับบริษัท ผลิตและจำหน่ายอาหารแปรสภาพ มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน จากพืชผลการเกษตรเพือ่ การส่งออก กับบริษัท ธุรกิจรถยนต์ มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท ธุรกิจประกันชีวิต มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท ผลิตสุรา มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท

รวมทั้งสิ้น

110

- เป็นรายการสินทรัพย์ ซึ่งเกิดขึ้นจาก การซือ้ ขายสินค้าและบริการ

1

2

155

16

339 8

66 4

” ”

8

-

-

38

-

1

965 16 79

10 - -

” ” ”

8

-

25

-

29 173 20

- - -

” ” ”

2,032

141


140

12 รายการสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น

บริษัทที่เกี่ยวข้อง

ลักษณะการประกอบธุรกิจ

ความสัมพันธ์กับ บมจ. เบอร์ลี่ ยุคเกอร์

มูลค่ารายการ (พันบาท) สำหรับรอบปีสิ้นสุดวันที่

รายละเอียดของรายการ

31 ธันวาคม 2553 31 ธันวาคม 2552

กิจการอื่นที่เกี่ยวข้องกัน 1. บจ. ช.ชนะอนันตพาณิชย์ 2. บจ. ไทยดริ้งค์

จัดสร้างศูนย์การค้า ตลาดสด มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน แผงลอย อาคารพาณิชย์ และ กับบริษัท สถานที่จอดรถเพื่อให้เช่า ประกอบกิจการ ผลิต จำหน่ายสุรา มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท เบียร์ โซดา

1,000

740 เป็นรายการสินทรัพย์ ซึ่งเกิดขึ้น

จากการซื้อขายสินค้าและบริการ

6

รวมทั้งสิ้น

1,006

-

740

13 รายการหนี้สินหมุนเวียนอื่น

บริษัทที่เกี่ยวข้อง

ลักษณะการประกอบธุรกิจ

ความสัมพันธ์กับ บมจ. เบอร์ลี่ ยุคเกอร์

มูลค่ารายการ (พันบาท) สำหรับรอบปีสิ้นสุดวันที่

รายละเอียดของรายการ

31 ธันวาคม 2553 31 ธันวาคม 2552

กิจการอื่นที่เกี่ยวข้องกัน 1. บจ. บอล คอร์ปเรชั่น ผลิตและจำหน่ายภาชนะบรรจุภณ ั ฑ์ เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของผู้ถือหุ้นของ บริษัทย่อย 2. บจ. อาคเนย์แคปปิตอล ธุรกิจรถยนต์ มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท 3. บจ. อาคเนย์ประกันชีวิต ธุรกิจประกันชีวิต มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท 4. บจ. อาคเนย์ประกันภัย ธุรกิจประกันวินาศภัย มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท 5. บจ. วัฒนพัฒน์เทรดดิ้ง จำหน่ายเบียร์ และโซดา มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท 6. บจ. ทีซีซี โฮเทลคอลเล็คชั่น โรงแรม ภัตตาคาร มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท 7. บจ. ช.ชนะอนันตพาณิชย์ จัดสร้างศูนย์การค้า ตลาดสด มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน แผงลอย อาคารพาณิชย์ และ กับบริษัท

สถานที่จอดรถเพื่อให้เช่า 8. บมจ. ไทยเบฟเวอเรจ ลงทุนเข้าถือหุ้นบริษัทต่างๆ มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท 9. บจ. เอ็น.ซี.ซี.แมนเนจเม้นท์ ให้เช่าพื้นที่จัดแสดงสินค้าและ มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน แอนด์ ดิเวลลอปเม้นท์ นิทรรศการต่างๆ กับบริษัท 10. บมจ. อาหารสยาม ผลิตและจำหน่ายอาหารแปรสภาพ มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน จากพืชผลการเกษตรเพือ่ การส่งออก กับบริษัท 11. บจ. โกลเด้นเวลท์ ให้บริการเป็นที่ปรึกษาและ มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน การบริหารจัดการ กับบริษัท 12. บจ. ทิพย์พัฒน อาร์เขต เช่าพื้นที่และบริการ มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน กับบริษัท 13. บจ. ทีซซี ี แลนด์ คอมเมอร์เชียล รับจ้างโฆษณา การพัฒนาและ มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน ขายโฆษณาผ่านทางเว็บไซต์ กับบริษัท 14. บจ. ทีซีซี แลนด์ ขายฝาก จำนองจำนำ รับจำนำ มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน จดทะเบียน รับโอน ทำสัญญา กับบริษัท

นิติกรรมใดๆ เกี่ยวกับสิ่งปลูกสร้าง และเอกสิทธิ์ต่างๆ

4,846 - - 130 - - 3,386

3,767 37 106 255 1 14 1,663

เป็นรายการหนี้สิน ซึ่งเกิดขึ้นจากการ ซื้ออะไหล่ เป็นรายการหนี้สิน ซึ่งเกิดขึ้นจากการ ซื้อขายสินค้าและบริการ ” ” ” ” ”

7,293 -

4,557 32

” ”

237

45

7 6

-

-

4

-

14

-


รายงานประจำปี 2553

• บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน)

141

บริษัทที่เกี่ยวข้อง

ลักษณะการประกอบธุรกิจ

ความสัมพันธ์กับ บมจ. เบอร์ลี่ ยุคเกอร์

มูลค่ารายการ (พันบาท) สำหรับรอบปีสิ้นสุดวันที่

รายละเอียดของรายการ

31 ธันวาคม 2553 31 ธันวาคม 2552

กิจการอื่นที่เกี่ยวข้องกัน 15. บจ. ทีซีซี โฮเทลส์ กรุ๊ป ลงทุนในตราสารทุน มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน กับบริษัท 16. บจ. ทีซีซี โฮลดิ้ง เข้าถือหุ้นในบริษัทอื่น เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ และมีกรรมการร่วมกัน กับบริษัท 17. บจ. ไทยเบฟเวอร์เรจ มาร์เก็ตติง้ จำหน่ายสุรานำเข้าจากต่างประเทศ มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท 18. บจ. พรรณธิอร ลงทุนในบริษทั ทีท่ ำธุรกิจทีเ่ กีย่ วเนือ่ ง มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน ทางการเกษตรและอุตสาหกรรม กับบริษัท

ทางการเกษตร 19. บจ. อาคเนย์กรุ๊ป ให้สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์-เครื่องใช้ มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน สำนักงาน กับบริษัท 20. บจ. ทีซีซี แคปปิตอล แลนด์ พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน กับบริษัท 21. บจ. นำยุค ขายส่ง ขายปลีกสุรา มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน กับบริษัท 22. บจ. แสงโสม ผลิตสุรา มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท 23. บมจ. อินทรประกันภัย รับประกันวินาศภัย มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน กับบริษัท 24. บจ. เทอราโกร เฟอร์ติไลเซอร์ ค้าส่งกากตะกอนชีวภาพที่เกิดจาก มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน ระบบน้ำเสีย กับบริษัท 25. บจ. สุรากระทิงแดง (1988) ผลิตและจำหน่ายสุรา มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน กับบริษัท

รวมทั้งสิ้น

17 21

- เป็นรายการหนี้สิน ซึ่งเกิดขึ้นจากการ ซื้อขายสินค้าและบริการ - ”

10 5

- -

” ”

4

-

35

-

2

-

2 2

- -

” ”

2

-

3

-

16,026

10,477

14 รายการหนี้สินไม่หมุนเวียนอื่น

บริษัทที่เกี่ยวข้อง

ลักษณะการประกอบธุรกิจ

ความสัมพันธ์กับ บมจ. เบอร์ลี่ ยุคเกอร์

มูลค่ารายการ (พันบาท) สำหรับรอบปีสิ้นสุดวันที่

รายละเอียดของรายการ

31 ธันวาคม 2553 31 ธันวาคม 2552

กิจการอื่นที่เกี่ยวข้องกัน 1. บมจ. ไทยเบฟเวอเรจ 2. บจ. ที.ซี.ซี.คอมเมอร์เชียล พร็อพเพอร์ตี้ แมนเนจเม้นท์ 3. บจ. ทิพย์พัฒน อาร์เขต 4. บจ. ช.ชนะอนันตพาณิชย์ 5. บจ. บ้านบึงเวชกิจ

ลงทุนเข้าถือหุ้นบริษัทต่างๆ รับบริหารอาคารสำนักงาน จำหน่ายอาหารและเครื่องดื่ม เช่าพื้นที่และบริการ จัดสร้างศูนย์การค้า ตลาดสด แผงลอย อาคารพาณิชย์ และ สถานที่จอดรถเพื่อให้เช่า สถานพยาบาล

มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน กับบริษัท มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน กับบริษัท มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน กับบริษัท

10,584 270

มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน กับบริษัท

10,584 เป็นรายการหนี้สิน ซึ่งเกิดขึ้นจากการ ซื้อขายสินค้าและบริการ 245 ”

471

471

50

50

703

703


142

บริษัทที่เกี่ยวข้อง

ลักษณะการประกอบธุรกิจ

ความสัมพันธ์กับ บมจ. เบอร์ลี่ ยุคเกอร์

มูลค่ารายการ (พันบาท) สำหรับรอบปีสิ้นสุดวันที่

รายละเอียดของรายการ

31 ธันวาคม 2553 31 ธันวาคม 2552

กิจการอื่นที่เกี่ยวข้องกัน 6. บจ. ทีซีซี แลนด์ ขายฝาก จำนองจำนำ รับจำนำ มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน จดทะเบียน รับโอน ทำสัญญา กับบริษัท นิติกรรมใดๆ เกี่ยวกับสิ่งปลูกสร้าง และเอกสิทธิ์ต่างๆ 7. บจ. โกลเด้นเวลท์ ให้บริการเป็นที่ปรึกษาและ มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน การบริหารจัดการ กับบริษัท 8. บจ. ทีซีซี แลนด์ รีเทล กิจการโรงแรม ภัตตาคาร บาร์ มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน ไนท์คลับ โบว์ลิ่ง อาบอบนวด กับบริษัท 9. บจ. กาแลไนท์บาซาร์ ให้เช่าพืน้ ที่ ให้บริการสาธารณูปโภค มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท และบริการที่จอด 10. บจ. เซอร์วิสอัลลายแอนซ์ รับจ้างบริหารลานจอดรถ มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน กับบริษัท 11. บจ. ตะวันนา ไนท์บาซาร์ ให้เช่าพื้นที่ มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท 12. บจ. ทีซซี ี แลนด์ คอมเมอร์เชียล รับจ้างโฆษณา การพัฒนาและ มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน ขายโฆษณาผ่านทางเว็บไซต์ กับบริษัท 13. บจ. ทีซซี ี แลนด์ ดีเวลลอปเม้นท์ พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ด้วยการซื้อ มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน ขาย เช่า ให้เช่า กับบริษัท 14. บจ. ทีซีซี โฮเทลส์ กรุ๊ป ลงทุนในตราสารทุน มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน กับบริษัท 15. บจ. พันธไมตรี ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท 16. บจ. ฟู้ดแอนด์ฟัน จำหน่ายปลีกอาหารและเครื่องดื่ม มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท 17. บจ. สุรเศรษฐ์ ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท 18. บจ. ที.ซี.ซี.เซอร์วสิ อพาร์ทเม้นท์ ประกอบกิจการรับบริหารอาคาร มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน ที่พักอาศัย กับบริษัท 19. บจ. บางนาพัฒนกิจ คลังสินค้า ให้บริการเก็บรักษาสินค้า มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน ให้เช่าคลังสินค้า กับบริษัท 20. บจ. ไลฟ์สไตล์ ฟู้ดคอร์ทส ศูนย์อาหาร ให้บริการให้ใช้ลิขสิทธิ์ มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน เครื่องหมายการค้า กับบริษัท 21. บจ. สยามประชาคาร จัดสรรที่ดินและอาคาร ให้เช่า มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกัน อสังหาริมทรัพย์ กับบริษัท 22. บจ. ไทยเบฟเวอเรจ โลจิสติก ให้บริการขนส่ง และขนถ่ายสินค้า มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท

รวมทั้งสิ้น

345 93 194

270 เป็นรายการหนี้สิน ซึ่งเกิดขึ้นจากการ ซื้อขายสินค้าและบริการ

169

-

68

-

194 25

- -

” ”

76

-

101

-

68 119 25 51

- - - -

” ” ” ”

25

-

25

-

50

-

200

-

13,906

93 93

12,509


รายงานประจำปี 2553

• บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน)

143

นโยบายการกำหนดราคาระหว่างกัน

รายการระหว่างกันข้างต้น เป็นไปตามที่ระบุในสัญญา และเงื่อนไขทางการค้าเป็นเช่นปกติการค้าทั่วไป รายการบัญชีระหว่าง กิจการที่เกี่ยวข้องกันได้กำหนดขึ้นโดยใช้ราคาตลาด หรือราคาที่ได้ตกลงกัน ตามสัญญา หากไม่มีราคาตลาดรองรับ ราคาขายสินค้า คำนวณโดยบวกกำไรจากต้นทุนที่เกิดขึ้นจริง

ความจำเป็นและความสมเหตุสมผลของรายการ

รายการระหว่างกัน เป็นรายการที่เกิดขึ้นจากการจัดสรรทรัพยากรร่วมกันในกลุ่มบริษัท เพื่อประโยชน์สูงสุดของกลุ่มบริษัท

ขั้นตอนการอนุมัติการทำรายการระหว่างกัน

บริษัทมีการกำหนดอำนาจดำเนินการไว้อย่างชัดเจนในแต่ละบริษัท โดยได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัท ซึ่งได้กำหนดนโยบาย ขั้นตอนการอนุมัติไว้อย่างชัดเจน ตลอดจนถึงรายการที่จะต้องขออนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น และการรายงานต่อตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย

นโยบายเกี่ยวกับรายการระหว่างกันในอนาคต

ในกรณีที่มีการเข้าทำรายการระหว่างกันในอนาคต บริษัทจะปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง หรือข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ฯ รวมทั้งเป็นไปตามมาตรฐานบัญชี เรื่องการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับบุคคล หรือกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกัน ซึ่งกำหนดโดยสภาวิชาชีพนักบัญชีแห่งประเทศไทย ในกรณีที่เป็นรายการที่เกิดขึ้นเป็นปกติ และเป็นรายการที่เกิดขึ้นต่อเนื่องในอนาคต บริษัทได้กำหนดหลักเกณฑ์ และแนวทางในการ ปฏิบัติให้เป็นไปตามลักษณะการค้าโดยทั่วไป โดยอ้างอิงกับราคาและเงื่อนไขที่เหมาะสมและยุติธรรม สมเหตุสมผล สามารถตรวจสอบ ได้ และนำเสนอให้คณะกรรมการบริษัทเป็นผู้พิจารณาอนุมัติในหลักเกณฑ์ และแนวทางในการปฏิบัติดังกล่าว


144

รายงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต เสนอ ผู้ถือหุ้นบริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) ข้าพเจ้าได้ตรวจสอบงบดุลรวม และงบดุลเฉพาะกิจการ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 2552 งบกำไรขาดทุนรวมและงบกำไร ขาดทุนเฉพาะกิจการ งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้นรวมและงบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้นเฉพาะกิจการ และ งบกระแสเงินสดรวมและงบกระแสเงินสดเฉพาะกิจการ สำหรับปีสิ้นสุดวันเดียวกันของแต่ละปีของบริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย และของเฉพาะบริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) ตามลำดับ ซึ่งผู้บริหารของกิจการเป็นผู้รับผิดชอบ ต่อความถูกต้องและครบถ้วนของข้อมูลในงบการเงินเหล่านี้ ส่วนข้าพเจ้าเป็นผู้รับผิดชอบในการแสดงความเห็นต่องบการเงินดังกล่าว จากผลการตรวจสอบของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติงานตรวจสอบตามมาตรฐานการสอบบัญชีที่รับรองทั่วไป ซึ่งกำหนดให้ข้าพเจ้าต้องวางแผนและปฏิบัติงานเพื่อ ให้ได้ความเชื่อมั่นอย่างมีเหตุผลว่า งบการเงินแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญหรือไม่ การตรวจสอบรวมถึงการใช้วิธี การทดสอบหลักฐานประกอบรายการ ทั้งที่เป็นจำนวนเงินและการเปิดเผยข้อมูลในงบการเงิน การประเมินความเหมาะสมของหลักการ บัญชีที่กิจการใช้และประมาณการเกี่ยวกับรายการทางการเงินที่เป็นสาระสำคัญ ซึ่งผู้บริหารเป็นผู้จัดทำขึ้น ตลอดจนการประเมิน ถึงความเหมาะสมของการแสดงรายการที่นำเสนอในงบการเงินโดยรวม ข้าพเจ้าเชื่อว่าการตรวจสอบดังกล่าวให้ข้อสรุปที่เป็นเกณฑ์ อย่างเหมาะสมในการแสดงความเห็นของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าเห็นว่า งบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการข้างต้นนี้ แสดงฐานะการเงินรวมและฐานะการเงินเฉพาะกิจการ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 2552 ผลการดำเนินงานรวมและผลการดำเนินงานเฉพาะกิจการ และกระแสเงินสดรวมและกระแสเงินสด เฉพาะกิจการ สำหรับปีสิ้นสุดวันเดียวกันของแต่ละปีของบริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย และของเฉพาะบริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) ตามลำดับ โดยถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป

(นิรันดร์ ลีลาเมธวัฒน์) ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต เลขทะเบียน 2316 บริษัท เคพีเอ็มจี ภูมิไชย สอบบัญชี จำกัด กรุงเทพมหานคร 24 กุมภาพันธ์ 2554


รายงานประจำปี 2553

• บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน)

145

บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย งบดุล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 2552 หมายเหตุ

สินทรัพย์ สินทรัพย์หมุนเวียน เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ลูกหนี้การค้า เงินให้กู้ยืมระยะยาวแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกัน ที่ถึงกำหนดชำระภายในหนึ่งปี เงินให้กู้ยืมระยะสั้นและลูกหนี้อื่นกิจการที่เกี่ยวข้องกัน สินค้าคงเหลือ สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น รวมสินทรัพย์หมุนเวียน สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน เงินลงทุนในบริษัทย่อย เงินลงทุนในกิจการที่ควบคุมร่วมกัน เงินลงทุนในบริษัทร่วม เงินลงทุนระยะยาวอื่น เงินให้กู้ยืมระยะยาวแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกัน สิทธิการเช่าที่ดิน ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ สินทรัพย์ไม่มีตัวตน สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น รวมสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน รวมสินทรัพย์

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้

งบการเงินรวม 2553 2552 (บาท)

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2553 2552

6 5, 7 5 5 8 9

1,223,766,253 841,072,404 5,390,403,718 4,561,623,654 - - 1,585,175 201,459 4,466,136,096 4,501,638,408 610,235,428 416,486,375 11,692,126,670 10,321,022,300

525,682,290 3,864,171,947 2,800,000,000 150,891,060 986,957,294 214,951,118 8,542,653,709

439,281,229 3,401,429,468 - 410,145,749 822,963,122 151,603,677 5,225,423,245

10 10 11 12 5 4, 13 4, 14 4, 15 16

- - 7,593,834,194 7,056,778,312 - - 3,513,340,391 - 412,199,849 398,538,530 231,912,768 231,912,768 836,709 836,709 836,709 836,709 - - - 2,800,000,000 55,603,143 57,881,444 - - 12,533,500,838 11,451,208,618 352,787,844 368,668,438 1,946,451,382 156,752,865 48,928,605 29,579,447 432,785,687 531,571,896 151,421,972 134,526,300 122,468,654 117,799,954 7,446,623 2,609,477 15,503,846,262 12,714,590,016 11,900,509,106 10,624,911,451

27,195,972,932 23,035,612,316 20,443,162,815 15,850,334,696


146

บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย งบดุล

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 2552 หมายเหตุ

หนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น หนี้สินหมุนเวียน เงินกู้ยืมระยะสั้นจากสถาบันการเงิน เจ้าหนี้การค้า เงินกู้ยืมระยะยาวที่ถึงกำหนดชำระภายในหนึ่งปี หุ้นกู้ที่ถึงกำหนดชำระภายในหนึ่งปี เงินกู้ยืมระยะสั้นและเจ้าหนี้อื่นกิจการที่เกี่ยวข้องกัน ภาษีเงินได้ค้างจ่าย หนี้สินหมุนเวียนอื่น รวมหนี้สินหมุนเวียน หนี้สินไม่หมุนเวียน เงินกู้ยืมระยะยาวจากสถาบันการเงิน หุ้นกู้ สำรองเงินบำเหน็จพนักงาน หนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี หนี้สินไม่หมุนเวียนอื่น รวมหนี้สินไม่หมุนเวียน รวมหนี้สิน

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้

17 5, 18 17 17 5, 17 19 17 17 20 15 21

งบการเงินรวม 2553 2552 (บาท)

647,509,889 3,132,480,735 433,500,000 3,029,587,561 5,269,757 323,378,815 1,996,115,445 9,567,842,202

2,033,500,000 2,666,776,088 369,000,000 - 1,031,848 242,230,386 1,792,315,934 7,104,854,256

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2553 2552

- 2,792,859,054 - 3,029,587,561 1,027,299,984 109,100,406 934,593,679 7,893,440,684

- 2,452,420,007 - - 782,345,813 137,565,412 804,201,010 4,176,532,242

2,068,250,000 582,500,000 1,576,000,000 1,896,566,466 3,027,794,439 1,896,566,466 400,779,026 365,008,474 111,022,423 488,250,341 488,250,341 - 111,794,374 93,523,740 73,596,947 4,965,640,207 4,557,076,994 3,657,185,836 14,533,482,409 11,661,931,250 11,550,626,520

- 3,027,794,439 98,812,273 - 79,726,546 3,206,333,258 7,382,865,500


รายงานประจำปี 2553

• บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน)

147

บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย งบดุล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 2552 หมายเหตุ

หนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น ส่วนของผู้ถือหุ้น ทุนเรือนหุ้น ทุนจดทะเบียน ทุนที่ออกและชำระแล้ว ส่วนเกินทุน ส่วนเกินมูลค่าหุ้น ส่วนเกินทุนจากการรวมธุรกิจภายใต้การควบคุม

เดียวกัน ส่วนเกินทุนจากการบริจาค ส่วนเกินทุนจากการจำหน่ายหุ้นของบริษัทที่ถือ

โดยบริษัทย่อย ผลต่างจากการแปลงค่างบการเงิน กำไรสะสม จัดสรรแล้ว ทุนสำรองตามกฎหมาย สำรองเพื่อขยายกิจการ ยังไม่ได้จัดสรร รวมส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัท ส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย รวมส่วนของผู้ถือหุ้น รวมหนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้

งบการเงินรวม 2553 2552 (บาท)

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2553 2552

22 23

1,588,125,000 1,588,125,000 3,751,379,641

1,588,125,000 1,588,125,000 3,751,379,641

1,588,125,000 1,588,125,000 3,751,379,641

1,588,125,000 1,588,125,000 3,751,379,641

4

(544,760,675) 36,867,563

(544,760,675) 36,867,563

- 36,867,563

- 36,867,563

23

32,173,940 32,173,940 (101,981,842) 5,053,889 247,811,996 247,811,996 87,400,260 87,400,260 6,321,628,021 5,146,652,483 11,418,643,904 10,350,704,097 1,243,846,619 1,022,976,969 12,662,490,523 11,373,681,066

- - 158,812,500 85,000,000 3,272,351,591 8,892,536,295 - 8,892,536,295

- - 158,812,500 85,000,000 2,847,284,492 8,467,469,196 - 8,467,469,196

27,195,972,932 23,035,612,316 20,443,162,815 15,850,334,696


148

บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย งบกำไรขาดทุน

สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 2552 หมายเหตุ

รายได้ รายได้จากการขายและการให้บริการ กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนสุทธิ เงินปันผลรับ รายได้อื่น รวมรายได้ ค่าใช้จ่าย ต้นทุนขายและต้นทุนการให้บริการ ค่าใช้จ่ายในการขาย ค่าใช้จ่ายในการบริหาร ค่าตอบแทนผู้บริหาร ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนสุทธิ รวมค่าใช้จ่าย ส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนในบริษัทร่วม กำไรก่อนต้นทุนทางการเงินและภาษีเงินได้ ต้นทุนทางการเงิน กำไรก่อนภาษีเงินได้ ภาษีเงินได้ กำไรสำหรับปี ส่วนของกำไรที่เป็นของ ผู้ถือหุ้นของบริษัท ผู้ถือหุ้นส่วนน้อย กำไรสำหรับปี กำไรต่อหุ้น

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้

งบการเงินรวม 2553 2552 (บาท)

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2553 2552

5 10, 11 25

26,081,835,262 22,799,172,446 18,334,467,548 16,629,208,332 42,856,576 31,933,265 - - - - 601,854,318 286,470,688 234,407,315 239,360,840 383,397,585 443,076,713 26,359,099,153 23,070,466,551 19,319,719,451 17,358,755,733

5 29 26, 29 27, 29 28, 29

18,939,633,856 17,197,802,242 14,500,671,280 13,176,442,501 2,957,071,899 2,973,674,997 2,356,761,616 2,351,198,386 1,374,745,175 932,745,192 844,601,862 590,525,281 59,991,825 72,701,720 59,991,825 72,701,720 - - 9,023,657 270,045 23,331,442,755 21,176,924,151 17,771,050,240 16,191,137,933

5, 30 31

62,221,246 3,089,877,644 (227,007,393) 2,862,870,251 (668,053,488) 2,194,816,763

63,731,008 1,957,273,408 (222,160,517) 1,735,112,891 (415,220,595) 1,319,892,296

- 1,548,669,211 (169,394,809) 1,379,274,402 (223,717,398) 1,155,557,004

- 1,167,617,800 (121,394,618) 1,046,223,182 (222,253,539) 823,969,643

1,905,465,443 289,351,320 2,194,816,763

1,262,101,459 57,790,837 1,319,892,296

1,155,557,004 - 1,155,557,004

823,969,643 - 823,969,643

1.20

0.79

0.73

33

0.52


ส่วนเกินทุน

งบการเงินรวม กำไรสะสม

4

4

34

ส่วนเกินทุนจากการรวมธุรกิจภายใต้การควบคุม

เดียวกัน

ยอดคงเหลือที่ปรับปรุงแล้ว

ผลกำไร (ขาดทุน) ที่ยังไม่เกิดขึ้นจริง

รายการปรับปรุงจากการเปลี่ยนแปลง สัดส่วนเงินลงทุน

ผลต่างจากการแปลงค่างบการเงิน

รายได้(ค่าใช้จ่าย) สุทธิของรายการที่รับรู้โดยตรง ในส่วนของผู้ถือหุ้น

กำไรสำหรับปี

รวมส่วนของรายได้และค่าใช้จ่ายที่รับรู้

ค่าตอบแทนที่จ่ายแก่ผู้ถือหุ้นของบริษัทย่อย ในการปรับโครงสร้างทางธุรกิจ

เงินปันผล

เงินปันผลของบริษัทย่อยจ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้นส่วนน้อย

เงินปันผลของบริษัทย่อยก่อนการปรับโครงสร้าง ธุรกิจ

ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552

-

35,026,576

4,124,423

4,124,423

-

-

-

-

-

-

(3,060,000)

-

-

- (35,037,000)

-

-

-

-

-

1,588,125,000 3,751,379,641 (544,760,675)

-

-

-

-

-

-

-

-

-

1,588,125,000 3,751,379,641 (510,788,098)

-

1,588,125,000 3,751,379,641 (545,814,674)

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้

ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 1 มกราคม 2552

36,867,563

-

-

-

-

-

-

-

-

-

36,867,563

-

36,867,563

32,173,940

-

-

-

-

-

-

-

-

-

32,173,940

-

32,173,940

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

5,053,889 247,811,996

-

-

-

-

13,960

-

13,960

13,960

-

5,039,929 247,811,996

-

5,039,929 247,811,996

ส่วนของ ผู้ถือหุ้น รวมส่วน ส่วนน้อย ของผู้ถือหุ้น

-

-

-

-

- (35,037,000)

-

13,960

(3,060,000) (8,820,000) (11,880,000)

- (40,181,599) (40,181,599)

- (428,766,547)

- (35,037,000)

37,198,267 1,299,313,686

57,790,837 1,319,892,296

87,400,260 5,146,652,483 10,350,704,097 1,022,976,969 11,373,681,066

-

-

- (428,766,547) (428,766,547) -

-

13,960 (20,592,570) (20,578,610)

13,960

- 1,257,977,036 1,262,115,419 -

- (20,592,570) (20,592,570)

- 1,257,977,036 1,262,101,459

-

-

-

35,026,576 100,959,770 135,986,346

87,400,260 4,317,441,994 9,555,452,225 1,034,780,301 10,590,232,526

-

87,400,260 4,317,441,994 9,520,425,649 933,820,531 10,454,246,180

ส่วนเกินทุนจาก ส่วนเกินทุนจาก ทุนเรือนหุ้น การรวมธุรกิจ การจำหน่ายหุ้น ผลต่างจาก รวมส่วนของ ที่ออกและ ส่วนเกิน ภายใต้การ ส่วนเกินทุน ของบริษัทที่ถือ การแปลงค่า ทุนสำรอง สำรองเพื่อ ผู้ถือหุ้น หมายเหตุ ชำระแล้ว มูลค่าหุ้น ควบคุมเดียวกัน จากการบริจาค โดยบริษัทย่อย งบการเงิน ตามกฎหมาย ขยายกิจการ ยังไม่ ได้จัดสรร ของบริษัท (บาท)

บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น

สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 2552

รายงานประจำปี 2553

149

• บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน)


34

ผลกำไร (ขาดทุน) ที่ยังไม่เกิดขึ้นจริง

ผลต่างจากการแปลงค่างบการเงิน

รายได้(ค่าใช้จ่าย) สุทธิของรายการที่รับรู้โดยตรง ในส่วนของผู้ถือหุ้น

กำไรสำหรับปี

รวมส่วนของรายได้และค่าใช้จ่ายที่รับรู้

ส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยเพิ่มขึ้นจากการซื้อ

เงินลงทุน

เงินปันผล

เงินปันผลของบริษัทย่อยจ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้นส่วนน้อย

ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

1,588,125,000 3,751,379,641 (544,760,675)

-

-

-

-

-

-

-

36,867,563

-

-

-

-

-

-

-

36,867,563

ส่วนเกินทุนจาก การรวมธุรกิจ ภายใต้การ ส่วนเกินทุน ควบคุมเดียวกัน จากการบริจาค

ส่วนเกินทุน

1,588,125,000 3,751,379,641 (544,760,675)

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้

ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 1 มกราคม 2553

ทุนเรือนหุ้น ที่ออกและ ส่วนเกิน หมายเหตุ ชำระแล้ว มูลค่าหุ้น

บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น

สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 2552

กำไรสะสม

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

32,173,940 (101,981,842) 247,811,996

-

-

-

- (107,035,731)

-

- (107,035,731)

-

5,053,889 247,811,996

- (107,035,731)

32,173,940

ส่วนของ ผู้ถือหุ้น รวมส่วน ส่วนน้อย ของผู้ถือหุ้น

- (107,035,731)

- (107,035,731)

- (107,035,731)

- (107,035,731)

-

- -

9,902,108 - (78,383,778) (78,383,778)

- (730,489,905)

9,902,108

87,400,260 6,321,628,021 11,418,643,904 1,243,846,619 12,662,490,523

-

- (730,489,905) (730,489,905)

-

- 1,905,465,443 1,798,429,712 289,351,320 2,087,781,032

- 1,905,465,443 1,905,465,443 289,351,320 2,194,816,763

-

-

87,400,260 5,146,652,483 10,350,704,097 1,022,976,969 11,373,681,066

ส่วนเกินทุนจาก การจำหน่ายหุ้น ผลต่างจาก รวมส่วนของ ของบริษัทที่ถือ การแปลงค่า ทุนสำรอง สำรองเพื่อ ผู้ถือหุ้น โดยบริษัทย่อย งบการเงิน ตามกฎหมาย ขยายกิจการ ยังไม่ ได้จัดสรร ของบริษัท (บาท)

งบการเงินรวม

150


หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้

ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 1 มกราคม 2552 กำไรสำหรับปี เงินปันผล ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 1 มกราคม 2553 กำไรสำหรับปี เงินปันผล ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553

งบการเงินเฉพาะกิจการ

1,588,125,000 3,751,379,641 - - - - 1,588,125,000 3,751,379,641 - - - - 1,588,125,000 3,751,379,641

34

34

36,867,563 - - 36,867,563

36,867,563 - - 158,812,500 - - 158,812,500

158,812,500 - -

ทุนเรือนหุ้น ส่วนเกินทุน ที่ออกและ ส่วนเกิน ส่วนเกินทุน ทุนสำรอง หมายเหตุ ชำระแล้ว มูลค่าหุ้น จากการบริจาค ตามกฎหมาย (บาท)

บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น

สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 2552

รวมส่วนของ ผู้ถือหุ้น ของบริษัท

85,000,000 2,847,284,492 8,467,469,196 - 1,155,557,004 1,155,557,004 - (730,489,905) (730,489,905) 85,000,000 3,272,351,591 8,892,536,295

85,000,000 2,452,081,396 8,072,266,100 - 823,969,643 823,969,643 - (428,766,547) (428,766,547)

กำไรสะสม สำรองเพื่อ ขยายกิจการ ยังไม่ ได้จัดสรร

รายงานประจำปี 2553

151

• บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน)


152

บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย งบกระแสเงินสด สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 2552 หมายเหตุ

กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน กำไรสำหรับปี รายการปรับปรุง ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย ดอกเบี้ยรับ ต้นทุนทางการเงิน เงินปันผลรับ หนี้สูญและหนี้สงสัยจะสูญ สินค้าล้าสมัยและเคลื่อนไหวช้า (กลับรายการ) กลับรายการการด้อยค่าเงินลงทุน รายได้ของมูลค่างานระหว่างก่อสร้างที่ยังไม่เรียกเก็บ สำรองเงินบำเหน็จพนักงาน (กำไร) ขาดทุนจากอัตราแลกเปลีย่ นทีย่ งั ไม่เกิดขึน้ จริง กำไรจากมูลค่ายุติธรรมของตราสารอนุพันธ์ที่ยัง

ไม่เกิดขึ้นจริง (กำไร) ขาดทุนจากการจำหน่ายอุปกรณ์ ขาดทุนจากการตัดจำหน่ายอุปกรณ์ การด้อยค่าของอุปกรณ์ ขาดทุนจากการตัดจำหน่ายสินทรัพย์ไม่มีตัวตน ส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนในบริษัทร่วม ภาษีเงินได้

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้

งบการเงินรวม 2553 2552 (บาท)

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2553 2552

2,194,816,763 1,415,980,556 (6,337,503) 227,007,393 - 13,098,960 95,574,788 - (3,357,606) 43,569,610 (9,743,625)

1,319,892,296 1,337,375,375 (5,006,441) 222,160,517 - 8,624,952 (7,620,582) - (90,107,254) 51,690,888 3,251,686

1,155,557,004 69,751,673 (120,641,411) 169,394,809 (601,854,318) 14,761,379 17,934,260 - (3,357,606) 15,215,660 1,382,716

823,969,643 61,398,720 (127,132,851) 121,394,618 (286,470,688) 13,856,195 40,584,725 (5,566,309) (90,107,254) 26,606,490 1,798,328

(1,072,008) (1,613,447) 6,553,318 54,612 369,460 (62,221,246) 668,053,488 4,580,733,513

(10,625,095) (5,130,137) 23,940,941 - 16,533,860 (63,731,008) 415,220,595 3,216,470,593

(671,577) 474,584 16,342 - 58 - 223,717,398 941,680,971

(4,077,494) 1,055,244 201,761 - 4,024,399 - 222,253,539 803,789,066


รายงานประจำปี 2553

• บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน)

153

บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย งบกระแสเงินสด สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 2552 หมายเหตุ

การเปลี่ยนแปลงในสินทรัพย์และหนี้สินดำเนินงาน ลูกหนี้การค้า ลูกหนี้อื่นกิจการที่เกี่ยวข้องกัน สินค้าคงเหลือ สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น เจ้าหนี้การค้า เจ้าหนี้อื่นกิจการที่เกี่ยวข้องกัน หนี้สินหมุนเวียนอื่น เงินบำเหน็จพนักงานจ่ายในระหว่างปี หนี้สินไม่หมุนเวียนอื่น จ่ายภาษีเงินได้ เงินสดสุทธิได้มาจาก (ใช้ไปใน) กิจกรรม ดำเนินงาน กระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุน รับดอกเบี้ย รับเงินปันผล ซื้อที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ ขายที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ ซื้อสินทรัพย์ไม่มีตัวตน เงินให้กู้ยืมระยะสั้นแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกัน เงินสดรับจากเงินให้กู้ยืมระยะสั้นแก่กิจการ ที่เกี่ยวข้องกัน เพิ่มทุนในบริษัทย่อย ซื้อเงินลงทุน เงินสดจ่ายสุทธิจากการซื้อบริษัทย่อย เงินสดสุทธิ (ใช้ไปใน) ได้มาจากกิจกรรมลงทุน

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้

งบการเงินรวม 2553 2552 (บาท)

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2553 2552

(518,593,105) (1,383,716) 397,335,370 (69,855,906) (4,668,700) 393,666,883 4,237,909 171,542,479 (17,603,753) 18,270,634 (453,931,449)

(252,501,714) 3,603,928 (231,905,222) 52,075,178 17,885,869 (287,969,106) 438,007 204,851,858 (33,635,535) (2,458,520) (390,051,186)

(479,727,380) (41,159,505) (181,928,432) (30,316,822) (4,837,147) 339,542,123 (32,089,814) 88,628,656 (3,005,509) (6,129,599) (269,078,077)

(862,369,054) 46,021,373 (366,680,195) (9,940,080) (2,359,632) (62,862,625) 35,192,919 400,455,232 (18,056,765) (3,274,817) (186,992,269)

4,499,750,159

2,296,804,150

321,579,465

(227,076,847)

6,090,167 48,559,927 (1,107,878,662) 4,839,165 (123,669,290) -

4,896,196 46,599,718 (618,696,105) 23,703,034 (21,196,178) -

89,984,862 601,854,318 (64,681,206) 3,365,841 (28,661,372) (79,702,463)

126,932,558 286,470,688 (53,684,505) 1,877,644 (2,413,033) (195,797,537)

4

- - - (2,814,901,483) (3,986,960,176)

- 378,000,000 - (537,055,882) (135,629,570) (3,513,340,391) - - (700,322,905) (3,150,236,293)

849,508,832 - (494,541,330) - 518,353,317


154

บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย งบกระแสเงินสด สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 2552 หมายเหตุ

กระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงิน จ่ายดอกเบี้ย จ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหุ้นของบริษัท จ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหุ้นส่วนน้อย จ่ายเงินปันผลของบริษัทย่อยก่อนการปรับโครงสร้าง ทางธุรกิจ เงินสดรับจากเงินกู้ยืมระยะสั้นจากสถาบันการเงิน ชำระคืนเงินกู้ยืมระยะสั้นจากสถาบันการเงิน เงินสดรับจากเงินกู้ยืมระยะสั้นจากกิจการ ที่เกี่ยวข้องกัน ชำระคืนเงินกู้ยืมระยะสั้นจากกิจการที่เกี่ยวข้องกัน เงินสดรับจากเงินกู้ยืมระยะยาวจากสถาบันการเงิน ชำระคืนเงินกู้ยืมระยะยาวจากสถาบันการเงิน เงินสดรับสุทธิจากการออกหุ้นกู้ เงินสดสุทธิ (ใช้ไปใน) ได้มาจากกิจกรรมจัดหาเงิน เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดเพิ่มขึ้นสุทธิ เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ณ วันต้นปี ผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนของเงินตรา ต่างประเทศคงเหลือสิ้นปี เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ณ วันสิ้นปี รายการที่ไม่ใช่เงินสด ค่าซื้ออุปกรณ์ส่วนที่ยังค้างชำระ

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้

งบการเงินรวม 2553 2552 (บาท)

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2553 2552

(255,301,077) (730,489,905) (78,383,778)

(224,895,954) (428,766,547) (40,181,599)

(104,062,657) (730,489,905) -

(119,607,014) (428,766,547) -

- 2,118,692,035 (3,736,500,000)

(11,880,000) 1,740,979,724 (1,650,555,888)

- - -

- - -

- - - - 1,109,447,520 35,000,000 (369,000,000) (733,500,000) 1,898,359,589 - (43,175,616) (1,313,800,264)

3,507,601,257 (3,230,557,272) 1,576,000,000 - 1,896,566,466 2,915,057,889

447,341,768 (21,538,421) - - - (122,570,214)

469,614,367 841,072,404

282,680,981 568,707,987

86,401,061 439,281,229

168,706,256 270,574,973

6

(86,920,518) 1,223,766,253

(10,316,564) 841,072,404

- 525,682,290

- 439,281,229

166,389,461

225,145,953

51,690

16,317,207


รายงานประจำปี 2553

• บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน)

155

หมายเหตุ

สารบัญ

บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 2552

หมายเหตุ

สารบัญ

1

ข้อมูลทั่วไป

20

สำรองเงินบำเหน็จพนักงาน

2

เกณฑ์การจัดทำงบการเงิน

21

หนี้สินไม่หมุนเวียนอื่น

3

นโยบายการบัญชีที่สำคัญ

22

ทุนเรือนหุ้น

4

การซื้อธุรกิจและการปรับโครงสร้างทางธุรกิจ

23

ส่วนเกินทุนและสำรอง

5

รายการที่เกิดขึ้นและยอดคงเหลือกับบุคคลหรือ กิจการที่เกี่ยวข้องกัน

24

ข้อมูลทางการเงินจำแนกตามส่วนงาน

25

รายได้อื่น

6

เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด

26

ค่าใช้จ่ายในการขาย

7

ลูกหนี้การค้า

27

ค่าใช้จ่ายในการบริหาร

8

สินค้าคงเหลือ

28

ค่าใช้จ่ายผลประโยชน์ตอบแทนพนักงาน

9

สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น

29

ค่าใช้จ่ายตามลักษณะ

10

เงินลงทุนในบริษัทย่อยและกิจการที่ควบคุมร่วมกัน

30

ต้นทุนทางการเงิน

11

เงินลงทุนในบริษัทร่วม

31

ภาษีเงินได้

12

เงินลงทุนระยะยาวอื่น

32

สิทธิประโยชน์จากการส่งเสริมการลงทุน

13

ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์

33

กำไรต่อหุ้น

14

สินทรัพย์ไม่มีตัวตน

34

เงินปันผล

15

ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี

35

เครื่องมือทางการเงิน

16

สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น

36

ภาระผูกพันกับกิจการที่ไม่เกี่ยวข้องกัน

17

หนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ย

37

เหตุการณ์ภายหลังรอบระยะเวลาที่รายงาน

18

เจ้าหนี้การค้า

38

มาตรฐานการรายงานทางการเงินที่ยังไม่ได้ใช้

19

หนี้สินหมุนเวียนอื่น


156

บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 2552

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้

งบการเงินนี้ได้รับอนุมัติให้ออกงบการเงินจากคณะกรรมการเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2554

1 ข้อมูลทั่วไป บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) “บริษัท” เป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นในประเทศไทย และมีที่อยู่จดทะเบียนตั้งอยู่ที่ อาคาร เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ เลขที่ 99 ซอยรูเบีย ถนนสุขุมวิท 42 กรุงเทพฯ 10110

บริษัทจดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อเดือนเมษายน ปี 2518

บริษัทใหญ่ และบริษัทใหญ่ในลำดับสูงสุดในระหว่างปี ได้แก่ บริษัท ที.ซี.ซี. โฮลดิ้ง จำกัด ซึ่งเป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นในประเทศไทย

บริษัท บริษัทย่อยและกิจการที่ควบคุมร่วมกันของบริษัทรวมกันเรียกว่า “กลุ่มบริษัท” ดำเนินธุรกิจหลักเกี่ยวกับการผลิต การจัด จำหน่าย และการให้บริการด้านต่างๆ ดังนี้

สินค้าและบริการทางอุตสาหกรรม

กลุ่มบริษัทเป็นผู้ผลิต จัดการตลาด และจัดจำหน่ายบรรจุภัณฑ์แก้ว กระป๋องอะลูมิเนียม และบรรจุภัณฑ์พลาสติกแข็ง และเป็น

ผู้ออกแบบ จัดหา และจัดจำหน่าย เครื่องมือและอุปกรณ์ ระบบควบคุมอัตโนมัติ เครื่องมือเพื่อการอุตสาหกรรม อุปกรณ์คลังสินค้า และ ขนส่งสินค้า และโครงเหล็กเสาไฟฟ้าแรงสูงชุบสังกะสี

สินค้าและบริการทางอุปโภคบริโภค

กลุ่มบริษัทเป็นผู้ผลิต จัดการตลาด และจัดจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคต่างๆ ได้แก่ กระดาษอนามัย สินค้าเครื่องใช้ส่วนตัว (สบู่ และแชมพู) ขนมขบเคี้ยว และลูกอม กลุ่มบริษัทจัดการตลาดและจัดจำหน่ายสินค้าทั้งที่เป็นตราของเบอร์ลี่ ยุคเกอร์ ควบคู่กับสินค้า

ภายใต้สัญญากับบริษัทอื่น นอกจากนั้น กลุ่มบริษัทให้บริการด้านพิธีการออกสินค้า คลังสินค้า ขนส่งและจัดส่งสินค้า ให้แก่กลุ่มบริษัท เดียวกัน และบริษัทอื่น

สินค้าและบริการทางเทคนิค

กลุ่มบริษัทเป็นผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายสินค้าหลากหลายเกี่ยวกับสินค้าเครื่องเขียน สารเคมีที่ใช้ในอุตสาหกรรม สารผสมอาหาร เภสัชภัณฑ์ เวชภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีทางภาพ และเครื่องมือทางการแพทย์

รายละเอียดของบริษัทย่อยและกิจการที่ควบคุมร่วมกัน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 2552 มีดังนี้ ชื่อกิจการ

บริษัทย่อยทางตรง บริษัท มัณฑนา จำกัด บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ ฟู้ดส์ จำกัด บริษัท รูเบีย อินเวสท์เม้นทส์ จำกัด บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ โลจิสติกส์ จำกัด บริษัท บีเจซี มาร์เก็ตติ้ง จำกัด

ลักษณะธุรกิจ

ประเทศ ที่กิจการจัดตั้ง

จำหน่ายเครื่องสำอางและเครื่องจักรกล ไทย ผลิตอาหารว่าง ไทย บริษัทลงทุน หมู่เกาะบริติช เวอร์จิ้น บริการด้านพิธีการออกสินค้า คลังสินค้าขนส่ง ไทย และจัดส่งสินค้า จำหน่ายสินค้าอุปโภคและบริโภค ไทย

กลุ่มบริษัทถือหุ้นร้อยละ 2553 2552

100.00 100.00 100.00 100.00

100.00 100.00 100.00 100.00

100.00

100.00


รายงานประจำปี 2553

• บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน)

157

บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 2552

ลักษณะธุรกิจ

ชื่อกิจการ

บริษัทย่อยทางตรง บริษัท บีเจซี เฮลท์แคร์ จำกัด บริษทั บีเจซี อินดัสเตรียล แอนด์ เทรดดิง้ จำกัด บริษัท ไทยฟลัวสปาร์ แอนด์ มิเนอรัลส์ จำกัด บริษัท บีเจซี อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ (เมียนมาร์) จำกัด บีเจซี อินเตอร์เนชั่นแนล คัมปะนี ลิมิเต็ด บริษัท รูเบียอุตสาหกรรม จำกัด บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ สเปเชียลตี้ส์ จำกัด บริษัท อุตสาหกรรมทำเครื่องแก้วไทย จำกัด (มหาชน) บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ เซลล็อกซ์ จำกัด บริษัท ที.ซี.ซี. เทคโนโลยี จำกัด บริษัท ไทยเบเวอร์เรจแคน จำกัด บริษัทย่อยทางอ้อม เจซี่ ฟู้ดส์ เอสดีเอ็น บีเอชดี บริษัท คอสม่า เมดิคอล จำกัด บีเจซี อินเตอร์เนชั่นแนล (เวียดนาม) ลิมิเต็ด บีเจซี กล๊าซ คัมปะนี ลิมิเต็ด # บริษัท ไทย-สแกนดิค สตีล จำกัด บริษัท หินอ่อนและศิลา จำกัด ไทยคอร์ป อินเตอร์เนชั่นแนล คัมปะนี ลิมิเต็ด ทีบีซี-บอล เบเวอร์เรจแคน โฮลดิ้ง ลิมิเต็ด # บริษัทย่อยของบริษัทย่อยทางอ้อม ไทยคอร์ป อินเตอร์เนชั่นแนล (เวียดนาม) คัมปะนี ลิมิเต็ด บีเจซี กล๊าซ เวียดนาม ลิมิเต็ด # กิจการที่ควบคุมร่วมกัน บีเจซี โอ-ไอ กล๊าส พีทีอี แอลทีดี บริษัทย่อยทางตรงของกิจการที่ควบคุมร่วมกัน มาลายากล๊าส โปรดักส์ เอสดีเอ็น บีเอชดี บริษัทย่อยทางอ้อมของกิจการที่ควบคุมร่วมกัน บริษัท ไทย มาลายากลาส จำกัด มาลายา - เวียดนามกล๊าส ลิมิเต็ด จำกัด

จำหน่ายผลิตภัณฑ์เครื่องมือและอุปกรณ์​์ ทางการแพทย์ จำหน่ายผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีทางภาพ เครื่องเขียน และวัสดุก่อสร้าง หยุดดำเนินการ ตัวแทนจำหน่าย นำเข้าและส่งออก ตัวแทนจำหน่าย ผลิตสบู่ เครื่องสำอางและลูกอม จำหน่ายเคมีภัณฑ์ ผลิตภาชนะแก้ว ผลิตกระดาษ ให้บริการระบบข้อมูลสารสนเทศ ผลิตกระป๋อง

ประเทศ ที่กิจการจัดตั้ง

กลุ่มบริษัทถือหุ้นร้อยละ 2553 2552

ไทย

100.00

100.00

ไทย

100.00

100.00

ไทย ไทย พม่า ฮ่องกง ไทย ไทย ไทย

100.00 100.00 100.00 100.00 99.85 99.15 98.59

100.00 100.00 100.00 100.00 99.85 99.15 98.59

ไทย ไทย ไทย

94.84 51.00 50.00*

94.84 51.00 50.00*

ผลิตอาหารว่าง จำหน่ายเวชภัณฑ์ ตัวแทนจำหน่าย ลงทุน ค้าขาย นำเข้า และส่งออก (ยังไม่ได้ดำเนินการ) ผลิตโครงสร้างเหล็กชุบสังกะสี หยุดดำเนินการ บริษัทลงทุน บริษัทลงทุน

มาเลเซีย ไทย เวียดนาม ฮ่องกง

100.00 100.00 100.00 100.00

100.00 100.00 98.59 -

ไทย ไทย ฮ่องกง ฮ่องกง

99.85 99.77 75.00 53.57

99.85 99.77 - -

ตัวแทนจำหน่าย

เวียดนาม

75.00

-

ผลิตภาชนะแก้ว (ยังไม่ได้ดำเนินการ)

เวียดนาม

100.00

-

บริษัทลงทุน

สิงคโปร์

50.00

-

ผลิตภาชนะแก้ว

มาเลเซีย

50.00

-

ผลิตภาชนะแก้ว ผลิตภาชนะแก้ว

ไทย เวียดนาม

35.00 35.00

- -

* บริษัทมีอำนาจในการกำหนดนโยบายทางการเงินและการดำเนินงานของบริษัทย่อย # งบการเงินของบริษัทจัดทำโดยผู้บริหาร ซึ่งยังไม่ได้ตรวจสอบโดยผู้สอบบัญชี เนื่องจากบริษัทดังกล่าวเพิ่งจดทะเบียนจัดตั้งและยังไม่ได้ดำเนินการ


158

บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 2552

เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2552 ไทยคอร์ป อินเตอร์เนชั่นแนล คัมปะนี ลิมิเต็ด บริษัทย่อยทางอ้อมของบริษัทได้จดทะเบียนเป็น นิติบุคคลที่ประเทศฮ่องกง โดยมีทุนจดทะเบียนจำนวนเงิน 25 ล้านเหรียญฮ่องกง แบ่งออกเป็นหุ้นสามัญจำนวน 25 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตรา ไว้หุ้นละ 1 เหรียญฮ่องกง และเมื่อวันที่ 22 กันยายน 2552 บีเจซี กล๊าส คัมปะนี ลิมิเต็ด บริษัทย่อยทางอ้อมของบริษัท ได้จดทะเบียน เป็นนิติบุคคลที่ประเทศฮ่องกง โดยมีทุนจดทะเบียนจำนวนเงิน 10,000 เหรียญฮ่องกง แบ่งออกเป็นหุ้นสามัญจำนวน 10,000 หุ้น มูลค่า ที่ตราไว้หุ้นละ 1 เหรียญฮ่องกง โดยมีบีเจซี อินเตอร์เนชั่นแนล คัมปะนี ลิมิเต็ด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัท ถือหุ้นในบริษัททั้งสองแห่ง อัตราร้อยละ 75 และ 100 ตามลำดับ เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2553 ทีบีซี-บอล เบเวอร์เรจแคน โฮลดิ้ง ลิมิเต็ด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยทางอ้อมของบริษัท ได้จดทะเบียนเป็น นิติบุคคลที่ประเทศฮ่องกง โดยมีทุนจดทะเบียนจำนวนเงิน 40 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา แบ่งออกเป็นหุ้นสามัญจำนวน 40 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 เหรียญสหรัฐอเมริกา โดยมีบริษัท ไทยเบเวอร์เรจแคน จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัท ถือหุ้นร้อยละ 53.57 เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2553 ไทยคอร์ป อินเตอร์เนชั่นแนล (เวียดนาม) คัมปะนี ลิมิเต็ด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัทย่อยทางอ้อม ของบริษัท ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลที่ประเทศเวียดนาม โดยมีทุนจดทะเบียนจำนวนเงิน 5,400 ล้านเวียดนามดอง โดยมี ไทยคอร์ป อินเตอร์เนชั่นแนล คัมปะนี ลิมิเต็ด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยทางอ้อมของบริษัทถือหุ้นทั้งหมด เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2553 บีเจซี กล๊าซ เวียดนาม ลิมิเต็ด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัทย่อยทางอ้อมของบริษัท ได้จดทะเบียนเป็น นิติบุคคลที่ประเทศเวียดนาม โดยมีเงินลงทุนตามกฎหมายจำนวนเงิน 15.82 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา หรือ 292,707 ล้านเวียดนามดอง และได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจ

2 เกณฑ์การจัดทำงบการเงิน งบการเงินนี้นำเสนอเพื่อวัตถุประสงค์ของการรายงานเพื่อใช้ในประเทศไทย และจัดทำเป็นภาษาไทย งบการเงินฉบับภาษาอังกฤษ ได้จัดทำขึ้นเพื่อความสะดวกของผู้อ่านงบการเงินที่ไม่คุ้นเคยกับภาษาไทย งบการเงินนี้จัดทำและแสดงหน่วยเงินตราเป็นเงินบาท และมีการปัดเศษในหมายเหตุประกอบงบการเงินเพื่อให้แสดงเป็นหลัก

พันบาท ยกเว้นที่ระบุไว้เป็นอย่างอื่น งบการเงินนี้ได้จัดทำขึ้นโดยถือหลักเกณฑ์การบันทึกตามราคาทุนเดิม ยกเว้นที่กล่าวไว้ในนโยบาย การบัญชี งบการเงินนี้จัดทำขึ้นตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน รวมถึงการตีความและแนวปฏิบัติทางการบัญชีที่ประกาศใช้โดย สภาวิชาชีพบัญชีฯ (“สภาวิชาชีพบัญชี”) กฎระเบียบและประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่เกี่ยวข้อง และ จัดทำขึ้นตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปของประเทศไทย

ระหว่างปี 2553 สภาวิชาชีพบัญชีได้ออกประกาศการจัดเลขระบุฉบับที่มาตรฐานการรายงานทางการเงินของไทยใหม่ ดังนี้ ฉบับเดิม

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 11 มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 26 มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 27

ฉบับใหม่

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 101 มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 102 มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 103

เรื่อง

หนี้สงสัยจะสูญและหนี้สูญ การรับรู้รายได้สำหรับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ การเปิดเผยข้อมูลในงบการเงินของธนาคารและ สถาบันการเงินที่คล้ายคลึงกัน


รายงานประจำปี 2553

• บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน)

159

บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 2552

ฉบับเดิม

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 34 มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 40 มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 42 มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 48

ฉบับใหม่

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 104 มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 105 มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 106 มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 107

เรื่อง

การบัญชีสำหรับการปรับโครงสร้างหนี้ที่มีปัญหา การบัญชีสำหรับเงินลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุน การบัญชีสำหรับกิจการที่ดำเนินธุรกิจเฉพาะด้านการลงทุน การแสดงรายการและการเปิดเผยข้อมูลสำหรับเครื่องมือ ทางการเงิน

กลุ่มบริษัทได้ใช้แม่บทการบัญชี (ปรับปรุง 2552) เพื่อจัดทำและนำเสนองบการเงิน ซึ่งออกโดยสภาวิชาชีพบัญชีระหว่างปี 2553 และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2553 การใช้แม่บทการบัญชีที่ปรับปรุงใหม่นี้ไม่มีผลกระทบที่เป็นสาระสำคัญกับงบการเงิน รวมหรืองบการเงินเฉพาะกิจการ ในระหว่างปี 2553 สภาวิชาชีพบัญชีได้ออกและปรับปรุงมาตรฐานการรายงานทางการเงินหลายฉบับ ซึ่งยังไม่มีผลบังคับในปัจจุบัน และไม่ได้มีการนำมาใช้สำหรับการจัดทำงบการเงินนี้ มาตรฐานการรายงานทางการเงินที่ได้ออกและปรับปรุงใหม่เหล่านี้ได้เปิดเผย ในหมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 38 ในการจัดทำงบการเงินให้เป็นไปตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ผูบ้ ริหารต้องใช้การประมาณและข้อสมมติฐานหลายประการ ซึ่งมีผลกระทบต่อการกำหนดนโยบายและการรายงานจำนวนเงินที่เกี่ยวกับ สินทรัพย์ หนี้สิน รายได้ และค่าใช้จ่าย ผลที่เกิดขึ้นจริง อาจแตกต่างจากที่ประมาณไว้ ประมาณการและข้อสมมติฐานที่ใช้ในการจัดทำงบการเงินจะได้รับการทบทวนอย่างต่อเนื่อง การปรับประมาณการทางบัญชีจะ บันทึกในงวดบัญชีที่ประมาณการดังกล่าวได้รับการทบทวน และในงวดอนาคตที่ได้รับผลกระทบ ข้อมูลเกี่ยวกับการประมาณความไม่แน่นอนและข้อสมมติฐานที่สำคัญในการกำหนดนโยบายการบัญชี มีผลกระทบสำคัญต่อการ รับรู้จำนวนเงินในงบการเงินซึ่งประกอบด้วยหมายเหตุประกอบงบการเงินต่อไปนี้

หมายเหตุประกอบงบการเงิน 4

การรวมธุรกิจ

หมายเหตุประกอบงบการเงิน 7

ลูกหนี้การค้า

หมายเหตุประกอบงบการเงิน 8

สินค้าคงเหลือ

หมายเหตุประกอบงบการเงิน 15

การใช้ประโยชน์ของขาดทุนทางภาษีเงินได้

หมายเหตุประกอบงบการเงิน 20

สำรองเงินบำเหน็จพนักงาน

หมายเหตุประกอบงบการเงิน 35

การตีมูลค่าของเครื่องมือทางการเงิน


160

บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 2552 3 นโยบายการบัญชีที่สำคัญ

(ก) เกณฑ์ในการจัดทำงบการเงินรวม

งบการเงินรวมประกอบด้วยงบการเงินของบริษัท บริษัทย่อยและกิจการที่ควบคุมร่วมกัน (รวมกันเรียกว่า “กลุ่มบริษัท”) และ ส่วนได้เสียของกลุ่มบริษัทในบริษัทร่วม งบการเงินของบริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ (เมียนมาร์) จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่จดทะเบียนในสหภาพพม่า บริษัทไม่ได้นำมารวม ในงบการเงินรวม เนื่องจากบริษัทย่อยดังกล่าวดำเนินงานภายใต้การควบคุมของรัฐบาลสหภาพพม่าทำให้บริษัทสูญเสียอำนาจในการ กำหนดนโยบายทางการเงินและการดำเนินงาน

การรวมธุรกิจ

การรวมธุรกิจบันทึกบัญชีโดยวิธีซื้อธุรกิจ ต้นทุนการซื้อธุรกิจบันทึกด้วยมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ที่ส่งมอบตราสารทุนที่ออก และหนี้สินที่เกิดขึ้นจนถึง ณ วันที่มีการแลกเปลี่ยน รวมถึงรายจ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการซื้อธุรกิจ การรวมธุรกิจของกิจการหรือการรวมธุรกิจภายใต้การควบคุมเดียวกันบันทึกบัญชีโดยใช้วิธีเสมือนว่าเป็นวิธีการรวมส่วนได้เสีย และตามแนวปฏิบัติที่ออกโดยสภาวิชาชีพในระหว่างปี 2553

บริษัทย่อย

บริษัทย่อยเป็นกิจการที่อยู่ภายใต้การควบคุมของกลุ่มบริษัท การควบคุมเกิดขึ้นเมื่อกลุ่มบริษัทมีอำนาจควบคุมทั้งทางตรงหรือ

ทางอ้อมในการกำหนดนโยบายทางการเงินและการดำเนินงานของกิจการนัน้ เพือ่ ได้มาซึง่ ประโยชน์จากกิจกรรมของบริษทั ย่อย งบการเงิน ของบริษัทย่อยได้รวมอยู่ในงบการเงินรวม นับแต่วันที่มีการควบคุมจนถึงวันที่การควบคุมสิ้นสุดลง นโยบายการบัญชีของบริษัทย่อย ได้ถูกเปลี่ยนตามความจำเป็นเพื่อให้เป็นนโยบายเดียวกันกับของกลุ่มบริษัท

กิจการที่ควบคุมร่วมกัน

กิจการที่ควบคุมร่วมกัน เป็นกิจการที่กลุ่มบริษัทมีส่วนร่วมในการควบคุมกิจกรรมเชิงเศรษฐกิจตามที่ตกลงไว้ในสัญญาและได้ รับความเห็นชอบเป็นเอกฉันท์ในการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ทางการเงินและการดําเนินงาน งบการเงินรวมของกลุ่มบริษัทได้รวมสินทรัพย์ หนี้สิน รายได้ และค่าใช้จ่าย ของกิจการที่ควบคุมร่วมกัน โดยใช้วิธีรวมตามสัดส่วน และนำเฉพาะส่วนที่เป็นของกลุ่มบริษัท มารวมกับ รายการชนิดเดียวกันตามเกณฑ์แต่ละบรรทัด นับแต่วันที่มีการร่วมควบคุมจนถึงวันที่การร่วมควบคุมสิ้นสุดลง

บริษัทร่วม

บริษัทร่วมเป็นกิจการที่กลุ่มบริษัทมีอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญโดยมีอำนาจเข้าไปมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบายทาง การเงินและการดำเนินงานแต่ไม่ถึงระดับที่จะควบคุมนโยบายดังกล่าว การมีอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญ ถูกสันนิษฐานว่ามีอยู่เมื่อกลุ่ม บริษัทมีอำนาจในการออกเสียงในกิจการอื่นตั้งแต่ร้อยละ 20 ถึงร้อยละ 50 งบการเงินรวมของกลุ่มบริษัทได้รวมส่วนแบ่งรายได้ ค่าใช้จ่าย และการเคลื่อนไหวของส่วนของเจ้าของของบริษัทร่วม นับจากวันที่มีอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญจนถึงวันที่การมีอิทธิพลอย่างมี นัยสำคัญสิ้นสุดลง เมื่อผลขาดทุนที่กลุ่มบริษัทได้รับปันส่วนจากบริษัทร่วมมีจำนวนเกินกว่าเงินลงทุนในบริษัทร่วม เงินลงทุนจะถูกทอน ลงจนเป็นศูนย์และหยุดรับรู้ส่วนผลขาดทุน เว้นแต่กรณีที่กลุ่มบริษัทมีภาระผูกพันตามกฎหมายหรืออนุมานหรือยินยอมที่จะชำระภาระ ผูกพันของบริษัทร่วม


รายงานประจำปี 2553

• บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน)

161

บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 2552

การตัดรายการในงบการเงินรวม

ยอดคงเหลือและรายการบัญชีระหว่างกิจการในกลุ่ม รวมถึงรายได้หรือค่าใช้จ่ายที่ยังไม่เกิดขึ้นจริงซึ่งเป็นผลมาจากรายการ ระหว่างกิจการในกลุ่ม ถูกตัดรายการในการจัดทำงบการเงินรวม กำไรที่ยังไม่เกิดขึ้นจริงซึ่งเป็นผลมาจากรายการกับบริษัทร่วมถูกตัด รายการกับเงินลงทุนเท่าที่กลุ่มบริษัทมีส่วนได้เสียในกิจการที่ถูกลงทุนนั้น ขาดทุนที่ยังไม่เกิดขึ้นจริงถูกตัดรายการในลักษณะเดียวกับ กำไรที่ยังไม่เกิดขึ้นจริง แต่เท่าที่เมื่อไม่มีหลักฐานการด้อยค่าเกิดขึ้น

(ข) เงินตราต่างประเทศ

รายการบัญชีที่เป็นเงินตราต่างประเทศ

รายการบัญชีที่เป็นเงินตราต่างประเทศแปลงค่าเป็นเงินบาทโดยใช้อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่เกิดรายการ

สินทรัพย์และหนี้สินที่เป็นตัวเงินและเป็นเงินตราต่างประเทศ ณ วันที่รายงาน แปลงค่าเป็นเงินบาทโดยใช้อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันนั้น กำไรหรือขาดทุนจากการแปลงค่าบันทึกในงบกำไรขาดทุน สินทรัพย์และหนี้สินที่ไม่เป็นตัวเงินซึ่งเกิดจากรายการบัญชีที่เป็นเงินตราต่างประเทศซึ่งบันทึกตามเกณฑ์ราคาทุนเดิม แปลงค่า เป็นเงินบาทโดยใช้อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่เกิดรายการ

กิจการในต่างประเทศ

สินทรัพย์และหนี้สินของกิจการในต่างประเทศแปลงค่าเป็นเงินบาทโดยใช้อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่รายงาน

ค่าความนิยมและรายการปรับปรุงมูลค่ายุติธรรมที่เกิดจากการซื้อกิจการในต่างประเทศ แปลงค่าเป็นเงินบาทโดยใช้อัตรา แลกเปลี่ยน ณ วันที่เกิดรายการ รายได้และค่าใช้จ่ายของกิจการในต่างประเทศ แปลงค่าเป็นเงินบาทโดยใช้อัตราแลกเปลี่ยนที่ใกล้เคียงกับอัตรา ณ วันที่เกิด รายการ ผลต่างจากอัตราแลกเปลี่ยนที่เกิดจากการแปลงค่า บันทึกไว้เป็นรายการแยกต่างหากในส่วนของผู้ถือหุ้นจนกว่ามีการจำหน่าย เงินลงทุนนั้นออกไป

(ค) เครื่องมือทางการเงินที่เป็นตราสารอนุพันธ์

เครื่องมือทางการเงินที่เป็นตราสารอนุพันธ์ได้ถูกนำมาใช้เพื่อจัดการความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงในอัตราแลกเปลี่ยน เงินตราต่างประเทศและอัตราดอกเบี้ยที่เกิดจากกิจกรรมดำเนินงาน และกิจกรรมจัดหาเงิน เครื่องมือทางการเงินที่เป็นตราสารอนุพันธ์

ไม่ได้มีไว้เพื่อค้า อย่างไรก็ตามตราสารอนุพันธ์ที่ไม่เข้าเงื่อนไข การกำหนดให้เป็นเครื่องมือป้องกันความเสี่ยงจะถือเป็นรายการเพื่อค้า เครื่องมือทางการเงินที่เป็นตราสารอนุพันธ์จะถูกบันทึกบัญชีในขั้นแรกด้วยมูลค่ายุติธรรม ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการทำรายการ ดังกล่าวบันทึกในงบกำไรขาดทุนเมื่อเกิดขึ้น การวัดมูลค่าใหม่ภายหลังการบันทึกครั้งแรกใช้มูลค่ายุติธรรม กำไรหรือขาดทุนจากการวัด มูลค่าใหม่ให้เป็นมูลค่ายุติธรรมบันทึกในงบกำไรขาดทุน อย่างไรก็ตามหากตราสารอนุพันธ์เข้าเงื่อนไขมีไว้เพื่อเป็นเครื่องมือป้องกัน ความเสี่ยง การบันทึกรายการกำไรหรือขาดทุนจากการตีราคาจะขึ้นอยู่กับประเภทของรายการที่ได้รับการป้องกันความเสี่ยง (ดูนโยบาย การบัญชีข้อ 3.ฆ)

มูลค่ายุติธรรมของสัญญาแลกเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ย ถือตามราคาอ้างอิงของนายหน้า ณ วันที่รายงาน


162

บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 2552

(ฆ) การป้องกันความเสี่ยง

มูลค่ายุติธรรมของสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า ถือตามราคาตลาดของสัญญาล่วงหน้า ณ วันที่รายงาน

การป้องกันความเสี่ยงจากมูลค่ายุติธรรม

ในกรณีที่เครื่องมือทางการเงินที่เป็นตราสารอนุพันธ์ถูกใช้ในการป้องกันความเสี่ยงต่อการเปลี่ยนแปลงในมูลค่ายุติธรรมของ สินทรัพย์ หนี้สิน หรือข้อผูกมัดแน่นอนที่ยังไม่มีการบันทึกบัญชี กำไรหรือขาดทุนจากการตีราคาตามมูลค่ายุติธรรมหรือองค์ประกอบ ที่เป็นเงินตราต่างประเทศของเครื่องมือทางการเงินที่ใช้ป้องกันความเสี่ยงถูกบันทึกในงบกำไรขาดทุน รายการที่ได้รับการป้องกัน ความเสี่ยงตีราคาตามมูลค่ายุติธรรมเพื่อให้สอดคล้องกับความเสี่ยงที่มีการป้องกัน กำไรหรือขาดทุนที่เกิดขึ้นถูกบันทึกในงบกำไรขาดทุน นอกจากนี้ บริษัทย่อยแห่งหนึ่งได้ทำประกันความเสี่ยงราคาก๊าซธรรมชาติ ค่าธรรมเนียมในการจัดทำและส่วนต่างของราคา ก๊าซธรรมชาติที่เกิดจากการทำสัญญา บันทึกเป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุน

การป้องกันความเสี่ยงจากกระแสเงินสด

ในกรณีที่เครื่องมือทางการเงินที่เป็นตราสารอนุพันธ์ได้ถูกใช้เพื่อป้องกันการเปลี่ยนแปลงในกระแสเงินสดของรายการสินทรัพย์ หรือหนี้สินที่บันทึกในบัญชี หรือของรายการที่คาดว่ามีโอกาสเกิดขึ้นค่อนข้างสูง กำไรหรือขาดทุนของเครื่องมือทางการเงินที่เป็นตราสาร อนุพันธ์ในส่วนที่มีประสิทธิผลจะถูกบันทึกโดยตรงในส่วนของผู้ถือหุ้น หากการป้องกันความเสี่ยงของรายการที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ได้ก่อให้เกิดการบันทึกสินทรัพย์ทางการเงินหรือหนี้สินทางการเงิน ในเวลาต่ อ มา กำไรหรือขาดทุนในส่วนที่เกี่ยวข้องกั บ เครื่ อ งมื อ ทางการเงิ น ซึ่ ง เดิ ม บั น ทึ ก สะสมไว้ ใ นส่ ว นของผู้ ถื อ หุ้ น จะถูกบันทึก ในงบกำไรขาดทุนในแต่ละระยะเวลาเดียวกันกับที่สินทรัพย์หรือหนี้สินที่ได้มานั้นมีผลกระทบต่องบกำไรขาดทุน หากการป้องกันความเสี่ยงของรายการที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ได้ก่อให้เกิดการบันทึกสินทรัพย์หรือหนี้สินที่ไม่ใช่เป็นสินทรัพย์หรือ หนี้สินทางการเงินในเวลาต่อมา หรือรายการที่คาดว่าจะเกิดขึ้นที่ไม่ใช่เป็นสินทรัพย์หรือหนี้สินทางการเงินกลายเป็นข้อผูกมัดแน่นอน ซึ่งต้องใช้การป้องกันความเสี่ยงจากมูลค่ายุติธรรม กำไรหรือขาดทุนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเครื่องมือทางการเงินซึ่งเดิมบันทึกสะสมไว้ ในส่วนของผู้ถือหุ้นจะถูกโอนออกจากส่วนของผู้ถือหุ้นและรับรู้ในงบกำไรขาดทุนในแต่ละระยะเวลาเดียวกันกับที่สินทรัพย์หรือหนี้สิน ที่ได้มานั้นมีผลกระทบต่องบกำไรขาดทุน สำหรับการป้องกันความเสี่ยงจากกระแสเงินสดแต่ละครั้งนอกเหนือจากที่กล่าวในสองวรรคก่อนหน้านี้ กำไรหรือขาดทุน ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเครื่องมือทางการเงินซึ่งเดิมบันทึกสะสมไว้ในส่วนของผู้ถือหุ้นจะถูกโอนออกจากส่วนของผู้ถือหุ้น และบันทึกใน งบกำไรขาดทุนในแต่ละระยะเวลาเดียวกันกับที่รายการที่คาดว่าจะเกิดขึ้นที่ได้รับการป้องกันความเสี่ยงนั้นมีผลกระทบต่องบกำไร ขาดทุน

การบันทึกบัญชีเมื่อหยุดป้องกันความเสี่ยง

การบัญชีเกี่ยวกับการป้องกันความเสี่ยงเลิกใช้โดยไม่ปรับปรุงย้อนหลัง เมื่อเครื่องมือป้องกันความเสี่ยงหมดอายุ หรือถูกขาย ไปแล้ว ถูกเพิกถอน หรือได้ใช้สิทธิตามสัญญาแล้ว หรือไม่เข้าเงื่อนไขการบันทึกบัญชีเกี่ยวกับการป้องกันความเสี่ยงอีกต่อไป กำไรหรือ ขาดทุนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเครื่องมือทางการเงินเพื่อใช้ป้องกันความเสี่ยงซึ่งเดิมบันทึกสะสมไว้ในส่วนของผู้ถือหุ้นให้ยังคงไว้ในส่วน ของผู้ถือหุ้น และรับรู้เมื่อรายการที่คาดว่าจะเกิดขึ้นได้บันทึกในงบกำไรขาดทุน ในกรณีรายการที่คาดว่าจะเกิดไม่เกิดขึ้น กำไรหรือ ขาดทุนซึ่งเดิมแสดงไว้ในส่วนของผู้ถือหุ้นจะรับรู้ในงบกำไรขาดทุนทันที


รายงานประจำปี 2553

• บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน)

163

บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 2552

(ง) เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด

เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดประกอบด้วย ยอดเงินสด ยอดเงินฝากธนาคารประเภทเผื่อเรียก และเงินลงทุนระยะสั้นที่มี สภาพคล่องสูง เงินเบิกเกินบัญชีธนาคารซึ่งจะต้องชำระคืนเมื่อทวงถาม ถือเป็นส่วนหนึ่งของรายการเทียบเท่าเงินสดในงบกระแสเงินสด

(จ) ลูกหนี้การค้าและลูกหนี้อื่น

ลูกหนี้การค้าและลูกหนี้อื่นแสดงในราคาตามใบแจ้งหนี้หักค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ

ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญประเมินโดยการวิเคราะห์ประวัติการชำระหนี้ และการคาดการณ์เกี่ยวกับการชำระหนี้ในอนาคตของ ลูกค้า ลูกหนี้จะถูกตัดจำหน่ายบัญชีเมื่อทราบว่าเป็นหนี้สูญ

(ฉ) สินค้าคงเหลือ

สินค้าคงเหลือแสดงในราคาทุนหรือมูลค่าสุทธิที่จะได้รับแล้วแต่ราคาใดจะต่ำกว่า

ต้นทุนของสินค้าคำนวณโดยใช้วิธีถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักและเข้าก่อนออกก่อน ต้นทุนสินค้าประกอบด้วยต้นทุนที่ซื้อ ต้นทุน

ในการดัดแปลงหรือต้นทุนอื่นเพื่อให้สินค้าอยู่ในสถานที่และสภาพปัจจุบัน ในกรณีของสินค้าสำเร็จรูปและสินค้าระหว่างผลิตที่ผลิตเอง ต้นทุนสินค้ารวมการปันส่วนของค่าโสหุ้ยการผลิตอย่างเหมาะสม โดยคำนึงถึงระดับกำลังการผลิตตามปกติ

มูลค่าสุทธิที่จะได้รับเป็นการประมาณราคาที่จะขายได้จากการดำเนินธุรกิจปกติ หักด้วยค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการขาย

กลุ่มบริษัทตั้งค่าเผื่อมูลค่าสินค้าลดลง สำหรับสินค้าที่เสื่อมคุณภาพ เสียหาย ล้าสมัยและค้างนาน

(ช) งานก่อสร้างตามสัญญาระหว่างก่อสร้าง

งานก่อสร้างตามสัญญาระหว่างก่อสร้างแสดงถึงมูลค่างานที่ยังไม่เรียกเก็บซึ่งคาดว่าจะเก็บได้จากลูกค้าสำหรับสัญญางาน ก่อสร้างที่มีอยู่ ณ วันนั้น ต้นทุนงานระหว่างก่อสร้างวัดมูลค่าด้วยต้นทุนการก่อสร้างบวกกำไรที่รับรู้ หักด้วยจำนวนที่เรียกเก็บจากลูกค้า และขาดทุนที่รับรู้ ต้นทุนการก่อสร้างรวมต้นทุนที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับงานก่อสร้างตามสัญญาและการปันส่วนต้นทุนคงที่และต้นทุน ผันแปรซึ่งเกิดขึ้นในงานก่อสร้างของกลุ่มบริษัท/บริษัทโดยขึ้นอยู่กับความสามารถในการดำเนินงานตามปกติ มูลค่างานก่อสร้างตามสัญญาระหว่างก่อสร้างที่ยังไม่เรียกเก็บจากลูกค้าแสดงเป็นส่วนหนึ่งของสินทรัพย์หมุนเวียนอื่นในงบดุล ผลต่างของจำนวนที่เรียกเก็บจากลูกค้าที่สูงกว่ารายได้ค่าก่อสร้างที่รับรู้แสดงเป็นส่วนหนึ่งของหนี้สินหมุนเวียนอื่นในงบดุล

(ซ) เงินลงทุน

เงินลงทุนในบริษัทย่อย กิจการที่ควบคุมร่วมกัน และบริษัทร่วม

เงินลงทุนในบริษัทย่อย กิจการที่ควบคุมร่วมกัน และบริษัทร่วม ในงบการเงินเฉพาะกิจการของบริษัท บันทึกบัญชีโดยใช้วิธี ราคาทุน ส่วนการบันทึกบัญชีเงินลงทุนในบริษัทร่วมในงบการเงินรวมใช้วิธีส่วนได้เสีย

เงินลงทุนในตราสารทุนอื่น

เงินลงทุนในตราสารทุนซึ่งไม่ใช่หลักทรัพย์ในความต้องการของตลาดแสดงในราคาทุนหักขาดทุนจากการด้อยค่า


164

บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 2552

การจำหน่ายเงินลงทุน

เมื่อมีการจำหน่ายเงินลงทุน ผลต่างระหว่างจำนวนเงินสุทธิที่ได้รับและมูลค่าตามบัญชี จะถูกบันทึกในงบกำไรขาดทุน

ในกรณีที่กลุ่มบริษัทจำหน่ายบางส่วนของเงินลงทุนที่ถืออยู่ การคำนวณต้นทุนสำหรับเงินลงทุนที่จำหน่ายไปและเงินลงทุนที่ยัง ถืออยู่ใช้วิธีถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก

(ณ) สิทธิการเช่าที่ดิน

สิทธิการเช่าที่ดินแสดงในราคาทุน หักด้วยค่าตัดจำหน่ายสะสม

ค่าตัดจำหน่าย

ค่าตัดจำหน่ายบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุน คำนวณโดยวิธีเส้นตรงตามอายุของสัญญา

(ญ) ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์

สินทรัพย์ที่เป็นกรรมสิทธิของกิจการ

ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์แสดงด้วยราคาทุนหักค่าเสื่อมราคาสะสมและขาดทุนจากการด้อยค่า

สินทรัพย์ที่เช่า

การเช่าซึ่งกลุ่มบริษัทได้รับส่วนใหญ่ของความเสี่ยงและผลตอบแทนจากการครอบครองทรัพย์สินที่เช่านั้นๆ ให้จัดประเภทเป็น สัญญาเช่าการเงิน ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ที่ได้มาโดยทำสัญญาเช่าการเงินบันทึกเป็นสินทรัพย์ด้วยมูลค่ายุติธรรมหรือมูลค่าปัจจุบัน ของจำนวนเงินขั้นต่ำที่ต้องจ่ายตามสัญญาเช่าแล้วแต่จำนวนใดจะต่ำกว่า หักด้วยค่าเสื่อมราคาสะสมและขาดทุนจากการด้อยค่า ค่าเช่าที่ชำระจะแยกเป็นส่วนที่เป็นค่าใช้จ่ายทางการเงิน และส่วนที่จะหักจากหนี้ตามสัญญา เพื่อทำให้อัตราดอกเบี้ยแต่ละงวดเป็น อัตราคงที่สำหรับยอดคงเหลือของหนี้สิน ค่าใช้จ่ายทางการเงินจะบันทึกโดยตรงในงบกำไรขาดทุน

ค่าเสื่อมราคา

ค่าเสื่อมราคาบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุน คำนวณโดยวิธีเส้นตรงตามเกณฑ์อายุการใช้งานโดยประมาณของ สินทรัพย์แต่ละรายการ ประมาณการอายุการใช้งานของสินทรัพย์แสดงได้ดังนี้

อาคารและส่วนปรับปรุงที่ดินและอาคาร

20 - 40 ปี

เครื่องจักรและอุปกรณ์

5 - 20

ปี

เครื่องตกแต่ง ติดตั้งและอุปกรณ์สำนักงาน

5 - 10

ปี

ยานพาหนะ

5 - 10

ปี

กลุ่มบริษัทไม่คิดค่าเสื่อมราคาสำหรับที่ดินและสินทรัพย์ที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง


รายงานประจำปี 2553

• บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน)

165

บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 2552

(ฎ) สินทรัพย์ไม่มีตัวตน

ค่าความนิยม

ค่าความนิยมจากการรวมธุรกิจ ได้แก่ต้นทุนการได้มาของสินทรัพย์สุทธิที่ระบุได้ส่วนที่เกินกว่ามูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์สุทธิ นั้น ค่าความนิยมติดลบจากการรวมธุรกิจ ได้แก่ มูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์สุทธิที่ระบุได้ ส่วนที่เกินกว่าต้นทุนการได้มาของสินทรัพย์ สุทธินั้น กลุ่มบริษัทได้มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีสำหรับค่าความนิยม ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2551 ดังนี้

ค่าความนิยมที่ได้มาก่อนวันที่ 1 มกราคม 2551

ค่าความนิยมและค่าความนิยมติดลบ แสดงในราคาทุน ณ วันที่เริ่มรับรู้รายการและตัดจำหน่ายตามระยะเวลาที่คาดว่าจะได้ รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจเป็นเวลา 20 ปี ณ วันที่ 1 มกราคม 2551 กลุ่มบริษัทหยุดตัดจำหน่ายค่าความนิยม ยอดคงเหลือของค่าความ นิยมได้ถูกทดสอบการด้อยค่าตามที่อธิบายในหมายเหตุประกอบงบการเงิน ข้อ 3 (ฐ) ค่าความนิยมติดลบที่ยกยอดมาในงบการเงิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 ถูกตัดรายการโดยการปรับปรุงกับกำไรสะสมที่ไม่ได้จัดสรร ณ วันที่ 1 มกราคม 2551

ค่าความนิยมที่ได้มาในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2551

ค่าความนิยมวัดมูลค่าด้วยราคาทุนหักค่าเผื่อการด้อยค่าสะสม ค่าความนิยมได้ถูกทดสอบการด้อยค่าตามที่อธิบายใน หมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 3 (ฐ) ค่าความนิยมติดลบรับรู้ทันทีในงบกำไรขาดทุน

สินทรัพย์ไม่มีตัวตนอื่นๆ

สินทรัพย์ไม่มีตัวตนอื่นๆ ที่กลุ่มบริษัทซื้อมาและมีอายุการใช้งานจำกัด แสดงในราคาทุนหักค่าตัดจำหน่ายสะสมและขาดทุน จากการด้อยค่า สินทรัพย์ไม่มีตัวตนอื่นถูกตัดจำหน่ายและบันทึกในงบกำไรขาดทุนโดยวิธีเส้นตรงตามเกณฑ์ระยะเวลาที่คาดว่าจะได้รับ ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจนับจากวันที่อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน ระยะเวลาที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจแสดงได้ดังนี้

ค่าลิขสิทธิ์ซอฟท์แวร์

5

ปี

ค่าสิทธิบัตรและเครื่องหมายการค้า

10

ปี

ช่องทางการจัดจำหน่าย

20

ปี

กลุ่มบริษัทไม่คิดค่าตัดจำหน่ายสำหรับสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่อยู่ระหว่างการติดตั้ง

(ฏ) สินทรัพย์อื่น

กล่องบรรจุเพื่อการขนส่งซึ่งแสดงรวมอยู่ในสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน ตัดจำหน่ายตามอายุการใช้งานในระยะเวลา 36 เดือน ถึง 60 เดือน

(ฐ) การด้อยค่า

ยอดสินทรัพย์ตามบัญชีของกลุ่มบริษัทได้รับการทบทวน ณ ทุกวันที่รายงานว่ามีข้อบ่งชี้เรื่องการด้อยค่าหรือไม่ ในกรณีที่ม ี

ข้อบ่งชี้จะทำการประมาณมูลค่าสินทรัพย์ที่คาดว่าจะได้รับคืน มูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืนของค่าความนิยมจะถูกประมาณ ณ ทุกวันที่ รายงาน ก็ต่อเมื่อมีข้อบ่งชี้เรื่องการด้อยค่า


166

บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 2552

ขาดทุนจากการด้อยค่ารับรู้เมื่อมูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์ หรือมูลค่าตามบัญชีของหน่วยสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดเงินสดสูงกว่า มูลค่าที่จะได้รับคืน ขาดทุนจากการด้อยค่าบันทึกในงบกำไรขาดทุน

การคำนวณมูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืน

มูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืนของสินทรัพย์ที่ไม่ใช่สินทรัพย์ทางการเงิน หมายถึงมูลค่าจากการใช้ของสินทรัพย์ หรือมูลค่ายุติธรรม ของสินทรัพย์หักต้นทุนในการขายแล้วแต่มูลค่าใดจะสูงกว่า ในการประเมินมูลค่าจากการใช้ของสินทรัพย์ ประมาณการกระแสเงินสด ที่จะได้รับในอนาคตจะคิดลดเป็นมูลค่าปัจจุบันโดยใช้อัตราคิดลดก่อนคำนึงภาษีเงินได้เพื่อให้สะท้อนมูลค่าที่อาจประเมินได้ในตลาด ปัจจุบัน ซึ่งแปรไปตามเวลาและความเสี่ยงที่มีต่อสินทรัพย์ สำหรับสินทรัพย์ที่ไม่ก่อให้เกิดกระแสเงินสดรับโดยอิสระจากสินทรัพย์อื่น จะพิจารณามูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืนรวมกับหน่วยสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดเงินสดที่สินทรัพย์นั้นเกี่ยวข้องด้วย

การกลับรายการด้อยค่า

ขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์ทางการเงิน จะถูกกลับรายการ เมื่อมูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืนเพิ่มขึ้นในภายหลัง และการ เพิ่มขึ้นนั้นสัมพันธ์โดยตรงกับขาดทุนจากการด้อยค่าที่เคยรับรู้ ขาดทุนจากการด้อยค่าของค่าความนิยมจะไม่มีการปรับปรุงกลับรายการ ขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์ที่ไม่ใช่สินทรัพย์ ทางการเงินอื่นๆ ที่เคยรับรู้ในงวดก่อนจะถูกประเมิน ณ ทุกวันที่ที่ออกรายงานว่ามีข้อบ่งชี้เรื่องการด้อยค่าหรือไม่ ขาดทุนจากการด้อยค่า จะถูกกลับรายการ หากมีการเปลี่ยนแปลงประมาณการที่ใช้ในการคำนวณมูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืน ขาดทุนจากการด้อยค่าจะถูกกลับ รายการเพียงเท่าที่มูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์ไม่เกินกว่ามูลค่าตามบัญชีภายหลังหักค่าเสื่อมราคาหรือค่าตัดจำหน่าย เสมือนหนึ่งไม่ เคยมีการบันทึกขาดทุนจากการด้อยค่ามาก่อน

(ฑ) หนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ย

หนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยบันทึกเริ่มแรกในราคาทุนหักค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการเกิดหนี้สิน ภายหลังจากการบันทึกหนี้สินที่มีภาระ ดอกเบี้ยจะบันทึกต่อมาโดยวิธีราคาทุนตัดจำหน่าย ผลต่างระหว่างยอดหนี้เริ่มแรกและยอดหนี้เมื่อครบกำหนดไถ่ถอน จะบันทึกใน งบกำไรขาดทุนตลอดอายุการกู้ยืม

(ฒ) เจ้าหนี้การค้าและเจ้าหนี้อื่น

(ณ) ผลประโยชน์พนักงาน

เจ้าหนี้การค้าและเจ้าหนี้อื่นแสดงในราคาทุน

โครงการสมทบเงิน

ภาระหนี้สินตามโครงการสมทบเงินจะบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุนเมื่อเกิดขึ้น

โครงการผลประโยชน์

สำรองเงินชดเชยเกษียณอายุสำหรับพนักงาน คำนวณสำหรับพนักงานทุกคน โดยพิจารณาจากระยะเวลาที่พนักงานทำงานมา และผลประโยชน์ที่พนักงานจะได้รับเมื่อเกษียณอายุ บริษัทมิได้จัดตั้งเป็นกองทุนแต่ได้บันทึกไว้เป็นหนี้สินในงบการเงิน เงินชดเชย เกษียณอายุของแต่ละปี พิจารณาจากผลประโยชน์ที่คาดว่าพนักงานจะได้รับเมื่อเกษียณอายุ ประกอบกับระยะเวลาในการทำงาน และ ปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง


รายงานประจำปี 2553

• บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน)

167

บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 2552

(ด) ประมาณการหนี้สิน

ประมาณการหนี้สินจะรับรู้ก็ต่อเมื่อกลุ่มบริษัทมีภาระหนี้สินตามกฎหมายที่เกิดขึ้นในปัจจุบันหรือที่ก่อตัวขึ้นอันเป็นผลมาจาก เหตุการณ์ในอดีต และมีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่นอนว่าประโยชน์เชิงเศรษฐกิจจะต้องถูกจ่ายไปเพื่อชำระภาระหนี้สินดังกล่าว และ สามารถประมาณจำนวนภาระหนี้สินได้อย่างน่าเชื่อถือ ถ้าผลกระทบดังกล่าวมีจำนวนที่เป็นสาระสำคัญ ประมาณการหนี้สินพิจารณา จากการคิดลดกระแสเงินสดที่จะจ่ายในอนาคตโดยใช้อัตราคิดลดในตลาดปัจจุบันก่อนคำนึงภาษีเงินได้ เพื่อให้สะท้อนจำนวนที่อาจ ประเมินได้ในตลาดปัจจุบันซึ่งแปรไปตามเวลาและความเสี่ยงที่มีต่อหนี้สิน

(ต) ส่วนต่างจากการรวมธุรกิจภายใต้การควบคุมดียวกัน

ส่วนต่างจากการรวมธุรกิจภายใต้การควบคุมเดียวกัน เกิดขึ้นจากการรวมกิจการหรือธุรกิจที่อยู่ภายใต้การควบคุมเดียวกันของ ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัท ซึ่งเป็นส่วนต่างระหว่างต้นทุนการรวมธุรกิจกับมูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์ที่ระบุได้สุทธิ ณ วันที่รวมธุรกิจ ส่วนต่างจากการรวมธุรกิจภายใต้การควบคุมเดียวกันให้บันทึกไว้เป็นรายการต่างหากในส่วนของผู้ถือหุ้นจนกว่ามีการจำหน่ายเงินลงทุน ออกไป

(ถ) รายได้

รายได้ที่รับรู้ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม และแสดงสุทธิจากส่วนลดการค้า การขายสินค้าและให้บริการ

รายได้จะรับรู้ในงบกำไรขาดทุนเมื่อได้โอนความเสี่ยงและผลตอบแทนของความเป็นเจ้าของสินค้าที่มีนัยสำคัญไปให้กับผู้ซื้อ แล้ว และจะไม่รับรู้รายได้ถ้าฝ่ายบริหารยังมีการควบคุมหรือบริหารสินค้าที่ขายไปแล้วนั้นหรือมีความไม่แน่นอนที่มีนัยสำคัญในการ ได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจจากการขายสินค้าหรือให้บริการนั้น ไม่อาจวัดมูลค่าของจำนวนรายได้และต้นทุนที่เกิดขึ้นได้อย่างน่าเชื่อถือ หรือมีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่นอนที่จะต้องรับคืนสินค้า รายได้จากการให้บริการรับรู้เมื่อมีการให้บริการ

รายได้ค่าเช่า

รายได้ค่าเช่ารับรู้ในงบกำไรขาดทุนโดยวิธีเส้นตรงตลอดอายุสัญญาเช่า ค่าใช้จ่ายเริ่มแรกที่เกิดขึ้นเป็นการเฉพาะเพื่อให้เกิด สัญญาเช่ารับรู้เป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่าทั้งสิ้นตามสัญญา ค่าเช่าที่อาจเกิดขึ้นรับรู้เป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีซึ่งค่าเช่านั้นเกิดขึ้น รายได้รับล่วงหน้าตามสัญญาเช่าระยะยาว ซึ่งแสดงภายใต้หนี้สินไม่หมุนเวียนอื่น บริษัทจะทยอยรับรู้รายได้ในแต่ละปีตามวิธี เส้นตรง ตามระยะเวลาของสัญญาเช่า ส่วนที่จะรับรู้เป็นรายได้ภายในหนึ่งปี จะแสดงไว้เป็นส่วนหนึ่งของหนี้สินหมุนเวียนอื่น

ดอกเบี้ยรับและเงินปันผลรับ

ดอกเบี้ยรับบันทึกในงบกำไรขาดทุนตามเกณฑ์คงค้าง เงินปันผลรับบันทึกงบกำไรขาดทุนในวันที่กลุ่มบริษัทมีสิทธิได้รับ เงินปันผล

รายได้อื่นรับรู้ตามเกณฑ์คงค้าง


168

บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 2552

(ท) ค่าใช้จ่าย

สัญญาเช่าดำเนินงาน

รายจ่ายภายใต้สัญญาเช่าดำเนินงานบันทึกในงบกำไรขาดทุนโดยวิธีเส้นตรงตลอดอายุสัญญาเช่า ประโยชน์ที่ได้รับตาม สัญญาเช่าจะรับรู้ในงบกำไรขาดทุนเป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่าทั้งสิ้นตามสัญญา ค่าเช่าที่อาจเกิดขึ้นจะบันทึกในงบกำไรขาดทุนในรอบ บัญชีที่มีรายการดังกล่าว

ต้นทุนทางการเงิน

ดอกเบี้ยจ่ายและค่าใช้จ่ายในทำนองเดียวกันบันทึกในงบกำไรขาดทุนในงวดที่ค่าใช้จ่ายดังกล่าวเกิดขึ้น ยกเว้นในกรณีที่มีการ บันทึกเป็นต้นทุนส่วนหนึ่งของสินทรัพย์ อันเป็นผลมาจากการใช้เวลายาวนานในการจัดหา ก่อสร้าง หรือการผลิตสินทรัพย์ดังกล่าว ก่อนที่จะนำมาใช้เองหรือเพื่อขาย ดอกเบี้ยซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของค่างวดตามสัญญาเช่าการเงินบันทึกในงบกำไรขาดทุนโดยวิธีอัตรา ดอกเบี้ยที่แท้จริง

ค่าใช้จ่ายอื่นรับรู้ตามเกณฑ์คงค้าง

(ธ) ภาษีเงินได้

ภาษีเงินได้จากกำไรหรือขาดทุนสำหรับปีประกอบด้วยภาษีเงินได้ปัจจุบันและภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี ภาษีเงินได้รับรู้ใน งบกำไรขาดทุนเว้นแต่ในส่วนที่เกี่ยวกับรายการที่บันทึกในส่วนของผู้ถือหุ้นรับรู้โดยตรงในส่วนของผู้ถือหุ้น

ภาษีเงินได้ปัจจุบัน

ภาษีเงินได้ปัจจุบัน ได้แก่ ภาษีที่คาดว่าจะจ่ายชำระโดยคำนวณจากกำไรประจำปีที่ต้องเสียภาษี โดยใช้อัตราภาษีที่ประกาศใช้ ตลอดจนการปรับปรุงทางภาษีที่เกี่ยวกับรายการในปีก่อนๆ

ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี

ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีบันทึกโดยคำนวณจากผลแตกต่างชั่วคราวที่เกิดขึ้นระหว่างมูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์และหนี้สิน และจำนวนที่ใช้เพื่อความมุ่งหมายทางภาษี ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีจะไม่ถูกรับรู้เมื่อเกิดจากผลแตกต่างชั่วคราวต่อไปนี้ การรับรู้ ค่าความนิยมในครั้งแรก การรับรู้สินทรัพย์หรือหนี้สินในครั้งแรกซึ่งเป็นรายการที่ไม่ใช่การรวมธุรกิจและรายการนั้นไม่มีผลกระทบต่อ กำไรทางบัญชีหรือกำไรทางภาษี และผลแตกต่างที่เกี่ยวข้องกับเงินลงทุนในบริษัทย่อย หากเป็นไปได้ว่าจะไม่มีการกลับรายการ ในอนาคตอันใกล้ ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีวัดมูลค่าโดยใช้อัตราภาษีที่คาดว่าจะใช้กับผลแตกต่างชั่วคราวเมื่อมีการกลับรายการโดย อิงกับกฎหมายที่ประกาศใช้หรือที่คาดว่ามีผลบังคับใช้ ณ วันที่รายงาน สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีจะบันทึกต่อเมื่อมีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่นอนว่ากำไรเพื่อเสียภาษีในอนาคตจะมีจำนวน เพียงพอกับการใช้ประโยชน์จากผลแตกต่างชั่วคราวดังกล่าว สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีจะถูกทบทวน ณ ทุกวันที่รายงานและ จะถูกปรับลดลงเท่าที่ประโยชน์ทางภาษีจะมีโอกาสถูกใช้จริง


รายงานประจำปี 2553

• บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน)

169

บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 2552 4 การซื้อธุรกิจและการปรับโครงสร้างทางธุรกิจ

การซื้อธุรกิจ

เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2553 บริษัท และ เอซีไอ อินเตอร์เนชั่นแนล พีทีวาย แอลทีดี (“เอซีไอ”) ได้ร่วมกันจัดตั้งบริษัท บีเจซี โอ-ไอ กล๊าส พีทีอี แอลทีดี (“บีเจซี โอ-ไอ”) (กิจการที่ควบคุมร่วมกัน) ซึ่งเป็นบริษัทจดทะเบียนในประเทศสิงคโปร์ด้วยอัตราส่วนการลงทุน

ร้อยละ 50:50 เพื่อวัตถุประสงค์ในการลงทุน โดยบริษัทชำระค่าหุ้นเป็นจำนวน 107.41 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา ต่อมาในวันเดียวกัน บีเจซี โอ-ไอ ได้เข้าซื้อหุ้นสามัญจำนวน 55 ล้านหุ้น หรือคิดเป็นร้อยละ 100 ของจำนวนหุ้นสามัญทั้งหมด และ หุ้นบุริมสิทธิแปลงสภาพชนิดไถ่ถอนได้แต่ไม่มีเงินปันผลสะสม จำนวน 0.17 ล้านหุ้น หรือคิดเป็นร้อยละ 100 ของจำนวนหุ้นบุริมสิทธิ ทั้งหมด ของมาลายา กล๊าส โปรดักส์ เอสดีเอ็น บีเอชดี ซึ่งเป็นผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์แก้วสำหรับเบียร์ เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ และ ผลิตภัณฑ์อาหารในประเทศมาเลเซียโดยชำระค่าหุ้นเป็นเงินสดจำนวน 89.3 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา ซึ่งบริษัทมีรายจ่ายทางตรงทั้งสิ้น ที่บริษัทจ่ายเพื่อให้ได้มาซึ่งเงินลงทุนจำนวน 36.61 ล้านบาท ภายหลังการซื้อหุ้นดังกล่าวส่งผลให้ บีเจซี โอ-ไอ มีส่วนได้เสียในบริษัท ไทย มาลายากลาส จำกัด และมาลายา - เวียดนามกล๊าส ลิมิเต็ด จำกัด ในสัดส่วนร้อยละ 35 นับตั้งแต่วันที่ซื้อธุรกิจ บริษัทย่อยของ กิจการที่ควบคุมร่วมกันได้ถูกนำมารวมเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มบริษัทโดยวิธีรวมตามสัดส่วน โดยมีสินทรัพย์สุทธิของกิจการที่ถูกซื้อ ณ วันที่ซื้อธุรกิจประกอบด้วยรายการต่อไปนี้ (พันบาท)

เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ลูกหนี้การค้า สินค้าคงเหลือ สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอตัดบัญชี ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ สินทรัพย์ไม่มีตัวตน เงินกู้ยืมระยะสั้น เจ้าหนี้การค้า ภาษีเงินได้นิติบุคคลค้างจ่าย หนี้สินหมุนเวียนอื่น เงินกู้ยืมระยะยาว หนี้สินอื่น สินทรัพย์และหนี้สินสุทธิที่ระบุได้ ค่าความนิยมจากการซื้อธุรกิจ สิ่งตอบแทนในการซื้อที่ได้จ่ายไป เงินสดที่ได้รับ กระแสเงินสดจ่าย - สุทธิ

101,954 306,236 469,619 118,371 38,485 1,455,083 1,578 (231,818) (77,008) (4,483) (121,810) (809,803) (10,263) 1,236,141 1,680,715 2,916,856 (101,954) 2,814,902


170

บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 2552

บริษัทอยู่ระหว่างดำเนินการประเมินราคาที่ดิน อาคาร อุปกรณ์ที่ได้มาจากการรวมธุรกิจโดยผู้ประเมินอิสระ ดังนั้น บริษัทยังไม่ได้

รับรู้รายการปรับปรุงด้วยมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ดังกล่าวในงบการเงินรวมสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2553 อย่างไรก็ตาม ผู้บริหารคาดว่าการประเมินราคาดังกล่าวจะเสร็จภายใน 12 เดือนนับจากวันที่ซื้อ งบการเงินรวมของบริษัทสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2553 ได้รวมงบการเงินของบริษัทข้างต้น ซึ่งจัดทำโดยผู้บริหารและยัง

ไม่ได้ตรวจสอบโดยผู้สอบบัญชี เนื่องจากบริษัทดังกล่าวมีรอบระยะเวลาบัญชีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน งบการเงินสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2553 ได้รับการตรวจสอบแล้วโดยผู้สอบบัญชีอื่น ยอดรวมสินทรัพย์ของกลุ่มบริษัทดังกล่าวคิดเป็นร้อยละ 9 ของสินทรัพย์รวม ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553 และมีผลกำไรสำหรับระยะเวลาตั้งแต่วันที่ซื้อธุรกิจถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2553 ได้รวมอยู่ในงบกำไรขาดทุน รวมสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2553 จำนวน 40.72 ล้านบาท ในเดือนพฤษภาคม 2552 บริษัทย่อยของบริษัทแห่งหนึ่งได้ซื้อส่วนได้เสียร้อยละ 25 ในบริษัท แก้วกรุงไทย จำกัด ซึ่งดำเนินธุรกิจ จำหน่ายขวด เศษแก้ว พลาสติก รวมทั้งเศษวัสดุใช้แล้วอื่นๆ โดยชำระค่าหุ้นเป็นเงินสดจำนวน 80 ล้านบาท และมีส่วนได้เสียที่ถือโดย บริษัทย่อยของบริษัทในสินทรัพย์สุทธิของผู้ถูกซื้อ ณ วันที่ซื้อธุรกิจ เป็นจำนวนเงิน 80.38 ล้านบาท งบการเงินรวมของบริษัทสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 ได้รวมส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนในบริษัทดังกล่าว นับตั้งแต่วันที่ ซื้อธุรกิจจนถึงวันสิ้นงวดที่รายงาน

การปรับโครงสร้างทางธุรกิจ

ในเดือนกรกฎาคม 2552 บริษัทได้ซื้อส่วนได้เสียร้อยละ 17 ในบริษัท ที.ซี.ซี. เทคโนโลยี จำกัด (“ทีซีซีที”) จากบริษัทใหญ่ในลำดับ สูงสุดส่งผลให้สัดส่วนการถือหุ้นรวมของบริษัทในทีซีซีที เพิ่มเป็นร้อยละ 51 บริษัทรับรู้การปรับโครงสร้างทางธุรกิจดังกล่าวตามเกณฑ์ การรวมธุรกิจที่อยู่ภายใต้การควบคุมเดียวกันและบันทึกบัญชีด้วยวิธีที่คล้ายคลึงกับวิธีการรวมส่วนได้เสีย ผลต่างระหว่างค่าตอบแทน ตามสัญญาที่บริษัทซื้อส่วนได้เสียร้อยละ 17 ในทีซีซีที จำนวนเงิน 35.04 ล้านบาท และมูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์ที่ระบุได้สุทธิของ ทีซีซีที ณ วันที่เกิดรายการเฉพาะส่วนของบริษัทจำนวนเงิน 36.09 ล้านบาท ทำให้เกิดส่วนเกินทุนจากการรวมธุรกิจภายใต้การควบคุม เดียวกัน จำนวน 1.05 ล้านบาท ซึ่งแสดงไว้ในส่วนของผู้ถือหุ้น

5 รายการที่เกิดขึ้นและยอดคงเหลือกับบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน บุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน ได้แก่ บุคคลหรือกิจการต่างๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับกลุ่มบริษัทและบริษัท โดยการเป็นผู้ถือหุ้น หรือ มีผู้ถือหุ้นร่วมกัน หรือมีกรรมการร่วมกัน รายการที่มีขึ้นกับบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกันได้กำหนดขึ้นโดยใช้ราคาตลาดหรือในราคา ที่ตกลงกันตามสัญญาหากไม่มีราคาตลาดรองรับ ความสัมพันธ์ที่กลุ่มบริษัทมีกับบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกันซึ่งมีการควบคุม หรือควบคุมร่วมกันในบริษัท หรือเป็นกิจการที่บริษัท ควบคุม หรือควบคุมร่วมกัน หรือเป็นบุคคลหรือกิจการที่มีรายการบัญชีกับกลุ่มบริษัท นอกเหนือจากบริษัทย่อย กิจการที่ควบคุมร่วมกัน และบริษัทร่วม (ดูหมายเหตุ 10 และ 11) มีดังนี้

ชื่อกิจการ

1 บริษัท ที.ซี.ซี. โฮลดิ้ง จำกัด 2 บริษัท ผลมั่นคง จำกัด

ประเทศที่จัดตั้ง / สัญชาติ

ลักษณะความสัมพันธ์

ไทย ไทย

เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ และมีกรรมการร่วมกันกับบริษัท เป็นผู้ถือหุ้น


รายงานประจำปี 2553

• บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน)

171

บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 2552

ชื่อกิจการ

3 บริษัท นครชื่น จำกัด 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30 31 32

บริษัท เบียร์ไทย (1991) จำกัด (มหาชน) บริษัท เบียร์ทิพย์ บริวเวอรี่ (1991) จำกัด บริษัท คอสมอส บริวเวอรี่ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท แสงโสม จำกัด บริษัท อธิมาตร จำกัด บริษัท แก่นขวัญ จำกัด บริษัท เทพอรุโณทัย จำกัด บริษัท กาญจนสิงขร จำกัด บริษัท หลักชัยค้าสุรา จำกัด บริษัท เฟื่องฟูอนันต์ จำกัด บริษัท เอส.เอส. การสุรา จำกัด บริษัท สีมาธุรกิจ จำกัด บริษัท ธนภักดี จำกัด บริษัท นทีชัย จำกัด บริษัท มงคลสมัย จำกัด บริษัท สุราบางยี่ขัน จำกัด บริษัท พิเศษกิจ จำกัด บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ รีไซเคิล จำกัด บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) บริษัท อาคเนย์แคปปิตอล จำกัด บริษัท อาคเนย์ประกันชีวิต จำกัด บริษัท อาคเนย์ประกันภัย จำกัด บริษัท ไทยเบฟเวอร์เรจ มาร์เก็ตติ้ง จำกัด บริษัท เทอราโกร จำกัด บริษัท ยูไนเต็ด ไวน์เนอรี่ แอนด์ดิสทิลเลอร์ จำกัด บริษัท อุตสาหกรรมน้ำตาลชลบุรี จำกัด บริษัท แพนอินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท นอร์ธปาร์ค กอล์ฟแอนด์ สปอร์ตคลับ จำกัด บริษัท ทีซีซี โฮเทลคอลเล็คชั่น จำกัด

ประเทศที่จัดตั้ง / สัญชาติ

ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย

ลักษณะความสัมพันธ์

มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท


172

บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 2552 ชื่อกิจการ ประเทศที่จัดตั้ง / สัญชาติ 33 บริษัท สปอร์ต แอนด์ รีครีเอชั่น เอ็นเตอร์ไพร์ซ จำกัด 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50 51 52 53 54 55 56 57 58 59 60

บริษัท เครื่องดื่มแรงเยอร์ (2008) จำกัด บริษัท อีสเทิร์น ซีบอร์ด อินดัสเตรียล เอสเตท (ระยอง) จำกัด บริษัท วัฒนพัฒน์ เทรดดิ้ง จำกัด บริษัท ป้อมทิพย์ จำกัด บริษัท กาแลไนท์บาซาร์ จำกัด บริษัท ตะวันนา ไนท์บาซาร์ จำกัด บริษัท ไทยดริ้งค์ จำกัด บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ โลจิสติก จำกัด บริษัท พรรณธิอร เทรดดิ้ง จำกัด บริษัท พันธไมตรี จำกัด บริษัท ฟู้ดแอนด์ฟัน จำกัด บริษัท สุโขทัย พีดี จำกัด บริษัท สุรเศรษฐ์ จำกัด บริษัท 28 คอมเมอร์เชียล จำกัด บริษัท ไนซ์โฮเต็ล จำกัด บริษัท สุโขทัย ไบโอเอนเนอยี่ จำกัด บริษัท อนันตศิริพัฒนา จำกัด บริษัท แอ็ก-เวล จำกัด บริษัท แอทมีเดียฟร้อนท์ จำกัด บริษัท บางนาพัฒนกิจ จำกัด บริษัท เจริญวรรณกิจ จำกัด บริษัท ช.ชนะอนันตพาณิชย์ จำกัด บริษัท คริสตอลลา จำกัด บริษัท คริสตอลลา เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด บริษัท เพิ่มค่าพาณิชย์ จำกัด (เดิมชื่อ บริษัท น้ำตาลทิพย์ (1999) จำกัด) บริษัท โกลเด้นท์เวลท์ จำกัด บริษัท ไอ ลอนดรี้ เซอร์วิส จำกัด

ลักษณะความสัมพันธ์

ไทย ไทย ไทย

มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท

ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย

มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกันกับบริษัท

ไทย ไทย

มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกันกับบริษัท


รายงานประจำปี 2553

• บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน)

173

บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 2552

ชื่อกิจการ

61 บริษัท อินทรประกันภัย จำกัด (มหาชน) 62 63 64 65 66 67 68 69 70 71 72 73 74 75 76 77 78 79 80 81 82 83 84 85 86 87 88 89

บริษัท ล้านช้าง ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด บริษัท ลาสติกา จำกัด บริษัท ไลฟ์สไตล์ ฟู้ดคอร์ทส จำกัด บริษัท เอ็น.ซี.ซี. แมเนจเม้นท์ แอนด์ ดิเวลลอปเม้นท์ จำกัด บริษัท เอ็น.ซี.ซี. เอ็กซิบิชั่น ออกาไนเซอร์ จำกัด บริษัท แนตทูรา (2008) จำกัด บริษัท หนองคาย คันทรี กอล์ฟคลับ จำกัด บริษัท นอร์ม จำกัด บริษัท นอร์ธปาร์ค กอล์ฟแอนด์สปอร์ต ครีเอชั่น จำกัด บริษัท นำกิจการ จำกัด บริษัท นำเมือง จำกัด บริษัท นำนคร จำกัด บริษัท นำพลัง จำกัด บริษัท นำธุรกิจ จำกัด บริษัท นำยุค จำกัด บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) บริษัท โออิชิ เทรดดิ้ง จำกัด บริษัท ปากซอง แคปปิตอล จำกัด บริษัท พรรณธิอร จำกัด บริษัท สุรากระทิงแดง (1988) จำกัด บริษัท เอส.เอ.เอส. เทรดดิ้ง จำกัด บริษัท เซอร์วิสอัลลายแอนซ์ จำกัด บริษัท อาหารสยาม จำกัด (มหาชน) บริษัท สยามประชาคาร จำกัด บริษัท สิริวนา จำกัด บริษัท อาคเนย์กรุ๊ป จำกัด บริษัท สุราพิเศษทิพราช จำกัด บริษัท ที.ซี.ซี. คอมเมอร์เชียล พร็อพเพอร์ตี้ แมนเนจเม้นท์ จำกัด

ประเทศที่จัดตั้ง / สัญชาติ

ลักษณะความสัมพันธ์

ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย

มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกันกับบริษัท

ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย

มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกันกับบริษัท


174

บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 2552 ชื่อกิจการ ประเทศที่จัดตั้ง / สัญชาติ 90 บริษัท ทีซีซี แคปปิตอล แลนด์ จำกัด 91 บริษัท ทีซีซี โฮเทลส์ กรุ๊ป จำกัด 92 บริษัท ทีซีซี โฮเทลส์ แมนเนจเม้นท์ จำกัด 93 บริษัท ทีซีซี แลนด์ จำกัด 94 บริษัท ทีซีซี แลนด์ คอมเมอร์เชียล จำกัด 95 บริษัท ทีซีซี แลนด์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด 96 บริษัท ทีซีซี แลนด์ อินดัสเตรียล แอนด์ โลจิสติกส์ จำกัด 97 บริษัท ทีซีซี แลนด์ อินดัสเตรียล จำกัด 98 บริษัท ทีซีซี แลนด์ อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด 99 บริษัท ทีซีซี แลนด์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด 100 บริษัท ทีซีซี แลนด์ เลเชอร์ จำกัด 101 บริษัท ทีซีซี แลนด์ โลจิสติกส์ จำกัด 102 บริษัท ทีซีซี แลนด์ รีเทล จำกัด 103 บริษัท ทีซีซี ลักซ์ชูรี โฮเทลส์ แอนด์ รีสอร์ท จำกัด 104 บริษัท ทีซีซี พร็อพเพอร์ตี้ ดิเวลลอปเม้นท์ จำกัด 105 บริษัท ทีซีซี แวลู โฮเทลส์ จำกัด 106 บริษัท ทีซีซีซีแอล กรุงธน จำกัด 107 บริษัท ทีซีซีซีแอล นราธิวาส จำกัด 108 บริษัท ทีซีซีซีแอล นอร์ธ พาร์ค จำกัด 109 บริษัท ทีซีซีซีแอล วิทยุ จำกัด 110 บริษัท เทอราโกร ไบโอ-เทค จำกัด 111 บริษัท เทอราโกร ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด 112 บริษัท เทอราโกร เฟอร์ติไลเซอร์ จำกัด 113 บริษัท เทอราโกร เทคโนโลยี จำกัด 114 บริษัท ไทย อะโกรโปรดักส์ จำกัด 115 บริษัท ไทยแอลกอฮอล์ จำกัด (มหาชน) 116 บริษัท เดอะ แกรนด์ หลวงพระบาง จำกัด 117 บริษัท อุตสาหกรรมน้ำตาลสุพรรณบุรี จำกัด

ลักษณะความสัมพันธ์

ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย

มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกันกับบริษัท

ไทย ไทย

มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกันกับบริษัท

ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย

มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกันกับบริษัท


รายงานประจำปี 2553

• บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน)

175

บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 2552

ชื่อกิจการ

118 บริษัท อุตสาหกรรมน้ำตาลอุตรดิตถ์ จำกัด 119 บริษัท ทิพย์พัฒน อาร์เขต จำกัด 120 บริษัท ยูนิเวนเจอร์ จำกัด (มหาชน) 121 บริษัท เวียงสิริ จำกัด 122 บริษัท เวิร์ลด์ บุ๊ค แอนด์ มีเดีย จำกัด 123 บริษัท นิมิตสุโขทัย จำกัด 124 บริษัท ธนสินธิ จำกัด 125 บริษัท ทศภาค จำกัด 126 บริษัท นำทิพย์ จำกัด 127 บริษัท นำรุ่งโรจน์ จำกัด 128 บริษัท บ้านบึงเวชกิจ จำกัด 129 บริษัท ที.ซี.ซี. เซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ จำกัด 130 บริษัท ทีซีซีซีแอล ราชเทวี จำกัด 131 บริษัท ทีซีซีซีแอล สุขุมวิท 24 จำกัด 132 บริษัท ทีซีซีซีแอล อโศก จำกัด 133 บริษัท สิริพัฒน์เทรดดิ้ง จำกัด 134 บริษัท สหปานีภัณฑ์ (2002) จำกัด 135 บริษัท บางนากลาส จำกัด 136 บริษัท ปรีดีประภา จำกัด 137 บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด 138 บริษัท ทีซีซีซีแอล เสนา จำกัด 139 บริษัท อุตสาหกรรมน้ำตาลแม่วัง จำกัด 140 บริษัท อีสเทอร์น เคมีคอล จำกัด 141 บริษัท แอสเซท เมเนจเม้นท์ แอดไวเซอรี่ จำกัด 142 บริษัท แกรนด์ ยูนิตี้ ดิเวลล็อปเมนท์ จำกัด 143 บริษัท แกรนด์ ยู ลิฟวิ่ง จำกัด 144 บริษัท ทีซีซี พีดี 11 จำกัด 145 บริษัท บอล คอร์ปเรชั่น จำกัด

ประเทศที่จัดตั้ง / สัญชาติ

ลักษณะความสัมพันธ์

ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย สหรัฐอเมริกา

มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกันกับบริษัท มีกรรมการร่วมกันและ (หรือ)ผู้ถือหุ้นร่วมกันกับบริษัท เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของผู้ถือหุ้นของบริษัทย่อย


176

บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 2552

นโยบายการกำหนดราคาสำหรับรายการแต่ละประเภทอธิบายได้ดังต่อไปนี้

รายการ

ขายสินค้าและบริการ ซื้อสินค้าและบริการ รายได้จากการปันส่วนค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ รายได้ค่าเช่าและบริการ ค่าเช่าและค่าบริการ ค่าลิขสิทธิ์และความช่วยเหลือทางเทคนิค รายได้อื่นและค่าใช้จ่ายอื่น ดอกเบี้ยรับและดอกเบี้ยจ่าย

นโยบายการกำหนดราคา

บวกกำไรจากต้นทุนการได้มาของสินค้าและบริการนั้น ราคาตลาดสุทธิจากกำไรส่วนเพิ่มของบริษัท คำนวณจากต้นทุนที่เกิดขึ้นจริง ราคาที่ตกลงกันตามสัญญา ราคาที่ตกลงกันตามสัญญา ราคาที่ตกลงกันตามสัญญา ราคาที่ตกลงกันตามสัญญา อัตราดอกเบี้ยกำหนดจากต้นทุนการกู้ยืมและอัตราดอกเบี้ยท้องตลาด

รายการที่สำคัญกับบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกันสำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 2552 สรุปได้ดังนี้

บริษัทย่อย ขายสินค้าและบริการ ซื้อสินค้าและบริการ รายได้ค่าเช่าและบริการ รายได้จากการปันส่วนค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ ค่าเช่าและค่าบริการ ดอกเบี้ยรับ ดอกเบี้ยจ่าย บริษัทร่วม ขายสินค้าและบริการ ซื้อสินค้าและบริการ รายได้ค่าเช่าและบริการ รายได้จากการปันส่วนค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ

งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะกิจการ 2553 2552 2553 2552 (พันบาท)

- - - - - - -

- - - - - - -

86,075 12,311,760 60,477 110,032 929 117,291 7,009

146,314 11,616,886 60,687 91,842 929 124,082 5,555

6,367 1,039,531 2,104 404

2,940 836,680 1,857 156

107 26 2,104 404

84 - 1,857 156


รายงานประจำปี 2553

• บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน)

177

บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 2552

กิจการอื่นที่เกี่ยวข้องกัน ขายสินค้าและบริการ ซื้อสินค้าและบริการ ซื้ออะไหล่และอุปกรณ์ ค่าลิขสิทธิ์ รายได้อื่น รายได้ค่าเช่า ค่าเช่าและค่าบริการ

งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะกิจการ 2553 2552 2553 2552 (พันบาท)

5,163,610 315,311 5,026 23,578 9,123 9 43,739

4,360,886 289,059 15,141 24,592 13,201 760 13,519

3,955,447 - - - - - 33,474

3,346,700 - - - - - -

บริษัทจ่ายค่าตอบแทนกรรมการและโบนัสให้แก่กรรมการบริษัทสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2553 จำนวนเงิน 16 ล้านบาท (2552 : 14 ล้านบาท)

ยอดคงเหลือกับกิจการที่เกี่ยวข้องกัน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 2552 มีดังนี้

ลูกหนี้การค้า - กิจการที่เกี่ยวข้องกัน

บริษัทย่อย บริษัทร่วม กิจการอื่นที่เกี่ยวข้องกัน รวม เงินให้กู้ยืมระยะสั้นและลูกหนี้อื่น กิจการที่เกี่ยวข้องกัน ประกอบด้วย ลูกหนี้อื่น - กิจการที่เกี่ยวข้องกัน เงินให้กู้ยืมระยะสั้นแก่กิจการที่เกี่ยวกัน รวม

งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะกิจการ 2553 2552 2553 2552 (พันบาท)

- 4,127 918,251 922,378

- 1,073 841,426 842,499

27,265 14 795,188 822,467

15,189 20 722,953 738,162

งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะกิจการ 2553 2552 2553 2552 (พันบาท)

1,585 - 1,585

201 - 201

82,891 68,000 150,891

43,848 366,298 410,146


178

บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 2552

ลูกหนี้อื่น - กิจการที่เกี่ยวข้องกัน

งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะกิจการ 2553 2552 2553 2552 (พันบาท)

บริษัทย่อย บริษัทร่วม รวม

เงินให้กู้ยืมแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกัน เงินให้กู้ยืมระยะยาว ส่วนที่ถึงกำหนดชำระในหนึ่งปี บริษัทย่อย บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ เซลล็อกซ์ จำกัด บริษัท อุตสาหกรรมทำเครื่องแก้วไทย จำกัด (มหาชน) บริษัท รูเบียอุตสาหกรรม จำกัด บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ ฟู้ดส์ จำกัด เงินให้กู้ยืมระยะสั้น บริษัทย่อย บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ เซลล็อกซ์ จำกัด บริษัท อุตสาหกรรมทำเครื่องแก้วไทย จำกัด (มหาชน) บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ ฟู้ดส์ จำกัด บริษัท ที.ซี.ซี. เทคโนโลยี จำกัด บีเจซี อินเตอร์เนชั่นแนล คัมปะนี ลิมิเต็ด เงินให้กู้ยืมระยะยาว บริษัทย่อย บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ เซลล็อกซ์ จำกัด บริษัท อุตสาหกรรมทำเครื่องแก้วไทย จำกัด (มหาชน) บริษัท รูเบียอุตสาหกรรม จำกัด บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ ฟู้ดส์ จำกัด

- 1,585 1,585

อัตราดอกเบี้ย 2553 2552 (ร

อยละต

อป

)

- 201 201

82,379 512 82,891

งบการเงินรวม 2553 2552

43,647 201 43,848

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2553 2552

(พันบาท)

3.90

-

-

-

900,000

-

3.90 3.90 3.90

- - -

- - - -

- 1,600,000 - 100,000 - 200,000 - 2,800,000

- - - -

1.60

1.75

-

-

6,000

160,000

- 1.75 1.60 1.80 - 3.00 1.85 - - 1.75

- - - - -

- - - - -

- 20,000 42,000 - 68,000

150,000 48,200 - 8,098 366,298

-

3.90

-

-

-

900,000

- - -

3.90 3.90 3.90

- - - -

- - - -

- 1,600,000 - 100,000 - 200,000 - 2,800,000


รายงานประจำปี 2553

• บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน)

179

บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 2552

สรุปเงินให้กู้ยืมแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกัน เงินให้กู้ยืมระยะยาวส่วนที่ถึงกำหนดชำระภายในหนึ่งปี เงินให้กู้ยืมระยะสั้น เงินให้กู้ยืมระยะยาว รวม

งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะกิจการ 2553 2552 2553 2552 (พันบาท)

- - - -

- - - -

2,800,000 68,000 - 2,868,000

- 366,298 2,800,000 3,166,298

รายการเคลื่อนไหวของเงินให้กู้ยืมแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกันสำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 2552 มีดังนี้

เงินให้กู้ยืมแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกัน เงินให้กู้ยืมระยะยาว ส่วนที่ถึงกำหนดชำระภายในหนึ่งปี บริษัทย่อย ณ วันที่ 1 มกราคม รับโอนจากเงินให้กู้ยืมระยะยาว ณ วันที่ 31 ธันวาคม เงินให้กู้ยืมระยะสั้น บริษัทย่อย ณ วันที่ 1 มกราคม เพิ่มขึ้น ลดลง ณ วันที่ 31 ธันวาคม

งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะกิจการ 2553 2552 2553 2552 (พันบาท)

- - -

- - -

- 2,800,000 2,800,000

- - -

- - - -

- - - -

366,298 79,702 (378,000) 68,000

1,024,485 195,798 (853,985) 366,298


180

บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 2552 เงินให้กู้ยืมแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกัน

เงินให้กู้ยืมระยะยาว บริษัทย่อย ณ วันที่ 1 มกราคม โอนออกไปเป็นส่วนที่ถึงกำหนดชำระภายในหนึ่งปี ณ วันที่ 31 ธันวาคม

เจ้าหนี้การค้า - กิจการที่เกี่ยวข้องกัน

- - -

บริษัทย่อย บริษัทร่วม กิจการอื่นที่เกี่ยวข้องกัน รวม เงินกู้ยืมระยะสั้นและเจ้าหนี้อื่น กิจการที่เกี่ยวข้องกัน ประกอบด้วย เจ้าหนี้อื่น - กิจการที่เกี่ยวข้องกัน เงินกู้ยืมระยะสั้นจากกิจการที่เกี่ยวข้องกัน รวม

เจ้าหนี้อื่น - กิจการที่เกี่ยวข้องกัน บริษัทย่อย บริษัทร่วม กิจการอื่นที่เกี่ยวข้องกัน รวม

งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะกิจการ 2553 2552 2553 2552 (พันบาท)

2,800,000 - 2,800,000

- 177,693 24,565 202,258

2,230,548 - - 2,230,548

2,015,036 - - 2,015,036

งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะกิจการ 2553 2552 2553 2552 (พันบาท)

5,269 - 5,269

2,800,000 (2,800,000) -

งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะกิจการ 2553 2552 2553 2552 (พันบาท)

- 225,134 27,753 252,887

- - -

1,032 - 1,032

19,111 1,008,189 1,027,300

51,201 731,145 782,346

งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะกิจการ 2553 2552 2553 2552 (พันบาท)

- - 5,269 5,269

- 4 1,028 1,032

14,828 - 4,283 19,111

51,201 - - 51,201


รายงานประจำปี 2553

• บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน)

181

บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 2552

เงินกู้ยืมจากกิจการที่เกี่ยวข้องกัน เงินกู้ยืมระยะสั้น บริษัทย่อย บริษัท บีเจซี มาร์เก็ตติ้ง จำกัด บริษัท บีเจซี เฮลท์แคร์ จำกัด บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ สเปเชียลตี้ส์ จำกัด บริษัท บีเจซี อินดัสเตรียล แอนด์ เทรดดิ้ง จำกัด บริษัท ไทยฟลัวสปาร์ แอนด์ มิเนอรัลส์ จำกัด บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ โลจิสติกส์ จำกัด บริษัท มัณฑนา จำกัด บริษัท บีเจซี อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด บริษัท รูเบียอุตสาหกรรม จำกัด บริษัท ไทย-สแกนดิค สตีล จำกัด เงินกู้ยืมระยะสั้นจากกิจการที่เกี่ยวข้องกัน

อัตราดอกเบี้ย 2553 2552 (ร

อยละต

1.00 1.00 1.00 1.00 0.88 1.00 1.00 1.00 1.00 1 - 1.85

อป

)

0.75 0.75 0.75 0.75 0.88 0.75 0.75 0.75 0.75 -

งบการเงินรวม 2553 2552

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2553 2552

(พันบาท)

- - - - - - - - - - -

- 83,230 - 287,500 - 32,803 - 235,000 - 5,300 - 16,700 - 82,800 - 6,126 - 33,730 - 225,000 - 1,008,189

92,130 284,900 51,767 192,000 5,300 48,200 14,700 9,448 32,700 - 731,145

รายการเคลื่อนไหวของเงินกู้ยืมจากกิจการที่เกี่ยวข้องกันสำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 2552 มีดังนี้

เงินกู้ยืมจากกิจการที่เกี่ยวข้องกัน เงินกู้ยืมระยะสั้น บริษัทย่อย ณ วันที่ 1 มกราคม เพิ่มขึ้น ลดลง ณ วันที่ 31 ธันวาคม

งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะกิจการ 2553 2552 2553 2552 (พันบาท)

- - - -

- - - -

731,145 3,507,601 (3,230,557) 1,008,189

305,341 447,342 (21,538) 731,145


182

บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 2552

ยอดคงเหลืออื่นของสินทรัพย์และหนี้สินกับกิจการที่เกี่ยวข้องกัน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 2552 มีดังนี้

สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น หนี้สินหมุนเวียนอื่น หนี้สินไม่หมุนเวียนอื่น

งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะกิจการ 2553 2552 2553 2552 (พันบาท)

2,032 1,006 16,026 13,906

141 740 10,477 12,509

- - - -

- - - -

สัญญาสำคัญที่ทำกับกิจการที่เกี่ยวข้องกัน

สัญญาให้บริการด้านระบบสารสนเทศ

บริษัท ที.ซี.ซี. เทคโนโลยี จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัท ได้เข้าทำสัญญาให้บริการกับบริษัทที่เกี่ยวข้องกันหลายแห่งเพื่อ ให้บริการดูแลรักษา พัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ และให้เช่าอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ โดยตกลงให้บริการในราคาและเงื่อนไขที่ระบุไว้ใน สัญญา

สัญญาซื้อขายขวดแก้ว

บริษัทได้ทำสัญญาซื้อขายขวดแก้วกับบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ รีไซเคิล จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่เกี่ยวข้องกัน เป็นระยะเวลาสามปี เริ่มตั้งแต่ 1 มกราคม 2553 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2555 โดยตกลงซื้อขายขวดแก้วในราคาและเงื่อนไขที่ระบุไว้ในสัญญา

สัญญาความช่วยเหลือด้านเทคนิค

บริษัท ไทยเบเวอร์เรจแคน จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยได้ลงนามในสัญญาความช่วยเหลือด้านเทคนิคกับบริษัท บอล คอร์ปเรชั่น จำกัด ซึ่งเป็นกิจการที่เกี่ยวข้องกัน โดยบริษัทดังกล่าวจะให้คำปรึกษาและความช่วยเหลือทางด้านเทคนิค บริษัทย่อยตกลงที่จะจ่าย ค่าที่ปรึกษาและช่วยเหลือทางเทคนิคตามข้อตกลงในสัญญา

สัญญาสิทธิ

บริษัท ไทยเบเวอร์เรจแคน จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยได้ลงนามในสัญญาสิทธิกับบริษัท บอล คอร์ปเรชั่น จำกัด ซึ่งเป็นกิจการ ที่เกี่ยวข้องกัน โดยบริษัทดังกล่าวจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิทางด้านเทคโนโลยี โดยบริษัทย่อยตกลงจะจ่ายลิขสิทธิ์รายปี ปีละ 125,000 เหรียญสหรัฐอเมริกา สำหรับระยะเวลาประมาณห้าปีแรก นับตั้งแต่วันที่ 10 กันยายน 2545 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2550 หลังจากนั้น นับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2551 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565 บริษัทย่อยจะต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์รายปีขั้นต่ำ และปรับเพิ่มขึ้นตามจำนวน ที่ผลิตและขายได้โดยบริษัทย่อยนั้น ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 2552 บริษัทย่อยดังกล่าวมีภาระผูกพันของค่าลิขสิทธิ์รายปีขั้นต่ำ ตลอดอายุสัญญาดังนี้


รายงานประจำปี 2553

• บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน)

183

บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 2552

ค่าลิขสิทธิ์รายปีขั้นต่ำ ภายในหนึ่งปี หลังจากหนึ่งปีแต่ไม่เกินห้าปี หลังจากห้าปี รวม

220,000 1,030,000 2,140,000 3,390,000

220,000 980,000 2,410,000 3,610,000

- - - -

- - - -

ภาระผูกพันอื่นๆ

ภาระผูกพันตามสัญญาเช่าดำเนินงานที่ยกเลิกไม่ได้ ภายในหนึ่งปี หลังจากหนึ่งปีแต่ไม่เกินห้าปี รวม

งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะกิจการ 2553 2552 2553 2552 (เงินเหรียญสหรัฐอเมริกา)

งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะกิจการ 2553 2552 2553 2552 (พันบาท)

82,776 83,640 166,416

32,789 53,147 85,936

19,860 36,711 56,571

18,791 31,718 50,509

หนี้สินที่อาจเกิดขึ้น

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553 บริษัทมีหนี้สินที่อาจเกิดขึ้นกับสถาบันการเงินหลายแห่ง จากการค้ำประกันการใช้วงเงินสินเชื่อจาก สถาบันการเงินของบริษัทย่อยและบริษัทร่วมเป็นจำนวนเงินรวม 674 ล้านบาท (2552 : 593 ล้านบาท)


184

บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 2552 6 เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด

เงินสดในมือ เงินฝากธนาคารประเภทกระแสรายวัน เงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์ เงินลงทุนระยะสั้นที่มีสภาพคล่องสูง เช็คในมือ รวม

งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะกิจการ 2553 2552 2553 2552 (พันบาท)

2,048 308,416 759,466 130,000 23,836 1,223,766

1,701 115,077 566,418 157,876 - 841,072

461 59,945 311,440 130,000 23,836 525,682

695 63,896 374,690 - - 439,281

ยอดเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ณ วันที่ 31 ธันวาคม จัดตามประเภทสกุลเงินตราได้ดังนี้

สกุลเงินบาทและสกุลเงินที่ใช้ในการดำเนินงานของบริษัทย่อย สกุลเงินเหรียญสหรัฐอเมริกา สกุลเงินยูโร อื่นๆ รวม

งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะกิจการ 2553 2552 2553 2552 (พันบาท)

1,025,637 165,963 9,663 22,503 1,223,766

830,136 10,879 57 - 841,072

525,474 208 - - 525,682

437,371 1,910 - - 439,281


รายงานประจำปี 2553

• บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน)

185

บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 2552 7 ลูกหนี้การค้า

งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะกิจการ หมายเหตุ 2553 2552 2553 2552 (พันบาท)

กิจการที่เกี่ยวข้องกัน กิจการอื่นๆ ลูกหนี้ตามสัญญาผ่อนชำระ หัก ดอกเบี้ยที่ยังไม่เกิดขึ้นตามสัญญาผ่อนชำระ หัก ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ รวม หนี้สูญและหนี้สงสัยจะสูญสำหรับปี

5

922,378 4,536,114 79,965 (4,240) 5,534,217 (143,813) 5,390,404 14,099

842,499 3,744,071 107,051 (2,284) 4,691,337 (129,713) 4,561,624 8,625

822,467 3,076,856 67,108 (4,240) 3,962,191 (98,019) 3,864,172 14,761

738,162 2,675,027 79,893 (2,277) 3,490,805 (89,376) 3,401,429 13,856

การวิเคราะห์อายุของลูกหนี้การค้ามีดังนี้

กิจการที่เกี่ยวข้องกัน ยังไม่ครบกำหนดชำระ เกินกำหนดชำระ น้อยกว่า 3 เดือน 3 - 6 เดือน 6 - 12 เดือน มากกว่า 12 เดือน รวม กิจการอื่นๆ ยังไม่ครบกำหนดชำระ เกินกำหนดชำระ น้อยกว่า 3 เดือน 3 - 6 เดือน 6 - 12 เดือน มากกว่า 12 เดือน หัก ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ สุทธิ

งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะกิจการ 2553 2552 2553 2552 (พันบาท)

453,313

666,719

808,189

734,667

415,119 40,038 7,389 6,519 922,378

165,846 6,212 1,249 2,473 842,499

13,516 439 259 64 822,467

3,427 64 4 - 738,162

2,819,126

2,657,178

2,054,094

1,769,418

1,477,892 169,118 45,554 100,149 4,611,839 (143,813) 4,468,026 5,390,404

973,106 94,358 18,801 105,395 3,848,838 (129,713) 3,719,125 4,561,624

894,978 96,448 26,482 67,722 3,139,724 (98,019) 3,041,705 3,864,172

821,789 80,621 11,149 69,666 2,752,643 (89,376) 2,663,267 3,401,429


186

บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 2552

โดยปกติระยะเวลาการให้สินเชื่อแก่ลูกค้าของกลุ่มบริษัท มีระยะเวลาตั้งแต่ 45 วันถึง 75 วัน

ยอดลูกหนี้การค้า ณ วันที่ 31 ธันวาคม จัดตามประเภทสกุลเงินตราได้ดังนี้

สกุลเงินบาทและสกุลเงินที่ใช้ในการดำเนินงานของบริษัทย่อย สกุลเงินเหรียญสหรัฐอเมริกา สกุลเงินยูโร สกุลเงินเหรียญสิงคโปร์ อื่นๆ รวม

งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะกิจการ 2553 2552 2553 2552 (พันบาท)

5,239,080 163,222 42,520 33,721 55,674 5,534,217

4,477,120 172,234 3,528 - 38,455 4,691,337

3,927,024 5,131 29,922 - 114 3,962,191

3,464,917 22,487 3,401 - - 3,490,805

8 สินค้าคงเหลือ

สินค้าสำเร็จรูป สินค้าระหว่างผลิต วัตถุดิบและวัสดุหีบห่อ ส่วนประกอบและอะไหล่ วัสดุอื่น สินค้าระหว่างทาง หัก ค่าเผื่อสินค้าล้าสมัยและเคลื่อนไหวช้า สุทธิ

งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะกิจการ 2553 2552 2553 2552 (พันบาท)

2,095,797 199,815 1,158,525 839,104 56,249 341,802 4,691,292 (225,156) 4,466,136

1,659,007 212,113 1,514,822 785,243 43,441 416,593 4,631,219 (129,581) 4,501,638

984,525 - 3,909 6,629 - 71,145 1,066,208 (79,251) 986,957

802,093 - 568 9,361 - 75,706 887,728 (64,765) 822,963

ต้นทุนของสินค้าคงเหลือที่บันทึกเป็นค่าใช้จ่ายและได้รวมในบัญชีต้นทุนขายสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2553 มีจำนวน 18,630 ล้านบาท (2552 : 17,290 ล้านบาท)


รายงานประจำปี 2553

• บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน)

187

บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 2552 9 สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น

งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะกิจการ หมายเหตุ 2553 2552 2553 2552 (พันบาท)

ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า ลูกหนี้เกษตรกร เงินทดรองจ่าย มูลค่างานที่ยังไม่ได้เรียกเก็บจากลูกค้า รายการปรับปรุงมูลค่ายุตธิ รรมของตราสารอนุพนั ธ์ ลูกหนี้อื่น อื่นๆ หัก ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ สุทธิ กลับรายการหนี้สูญและหนี้สงสัยจะสูญสำหรับปี

5

38,545 45,992 45,818 24,955 131,192 93,465 1,072 128,868 148,008 657,915 (47,680) 610,235 (1,000)

31,360 28,615 49,770 27,834 55,288 90,107 9,872 129,525 42,795 465,166 (48,680) 416,486 -

10,837 - 5,581 - 94,920 93,465 671 52,004 3,047 260,525 (45,574) 214,951 -

3,972 - 4,464 - 35,359 90,107 - 48,064 15,212 197,178 (45,574) 151,604 -


188

บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 2552 10 เงินลงทุนในบริษัทย่อยและกิจการที่ควบคุมร่วมกัน

บริษัทย่อย ณ วันที่ 1 มกราคม ซื้อเงินลงทุน จ่ายเงินเพิ่มทุน รับโอนจากการปรับโครงสร้างทางธุรกิจ กลับรายการค่าเผื่อการด้อยค่า ณ วันที่ 31 ธันวาคม กิจการที่ควบคุมร่วมกัน ณ วันที่ 1 มกราคม ซื้อเงินลงทุน ณ วันที่ 31 ธันวาคม รวม ณ วันที่ 1 มกราคม ซื้อเงินลงทุน จ่ายเงินเพิ่มทุน รับโอนจากการปรับโครงสร้างทางธุรกิจ กลับรายการค่าเผื่อการด้อยค่า ณ วันที่ 31 ธันวาคม

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2553 2552 (พันบาท)

7,056,778 - 537,056 - - 7,593,834

6,495,470 55,544 438,997 61,200 5,567 7,056,778

- 3,513,340 3,513,340

- - -

7,056,778 3,513,340 537,056 - - 11,107,174

6,495,470 55,544 438,997 61,200 5,567 7,056,778


บริษัทย่อย บริษัท มัณฑนา จำกัด บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ ฟู้ดส์ จำกัด บริษัท รูเบีย อินเวสท์เม้นทส์ จำกัด บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ โลจิสติกส์ จำกัด บริษัท บีเจซี มาร์เก็ตติ้ง จำกัด บริษัท บีเจซี เฮลท์แคร์ จำกัด บริษัท บีเจซี อินดัสเตรียล แอนด์ เทรดดิ้ง จำกัด บริษัท ไทยฟลัวสปาร์ แอนด์ มิเนอรัลส์ จำกัด บริษัท บีเจซี อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ (เมียนมาร์) จำกัด บีเจซี อินเตอร์เนชั่นแนล คัมปะนี ลิมิเต็ด บริษัท รูเบียอุตสาหกรรม จำกัด บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ สเปเชียลตี้ส์ จำกัด บริษัท อุตสาหกรรมทำเครื่องแก้วไทย จำกัด (มหาชน) บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ เซลล็อกซ์ จำกัด บริษัท ที.ซี.ซี. เทคโนโลยี จำกัด บริษัท ไทยเบเวอร์เรจแคน จำกัด บริษัท ไทย-สแกนดิค สตีล จำกัด บริษัท หินอ่อนและศิลา จำกัด รวม กิจการที่ควบคุมร่วมกัน บีเจซี โอ-ไอ กล๊าส พีทีอี แอลทีดี รวม

11,209,250 7,058,854

-

- 3,513,340

50.00

- 257,926**

3,504,453 1,039,531 96,237 1,074,000 200,000 4,990 7,058,854

98.59 1,170,000 1,170,000 3,504,453 94.84 900,000 900,000 1,039,531 51.00 180,000 180,000 96,237 50.00 1,000,000 1,000,000 1,074,000 34.13 586,000 586,000 200,000 5.00 99,800 99,800 4,990 7,595,910

494 320,041 30,000 50,000 102,550 200,000 250,000 1,999 25,000 2,076 9,856 77,123 70,504

98.59 94.84 51.00 50.00 34.13 5.00

494 320,041 30,000 50,000 102,550 200,000 250,000 1,999 25,000 2,076 546,912 77,123 70,504

วิธีราคาทุน 2553 2552

98.80 500 500 100.00 320,000 320,000 100.00 30,000 30,000 100.00 50,000 50,000 100.00 100,000 100,000 100.00 200,000 200,000 100.00 250,000 250,000 100.00 2,000 2,000 100.00 25,000 25,000 100.00 1,000,000* 1,000,000* 100.00 546,912 9,856 99.76 70,000 70,000 98.30 63,875 63,875

อยละ)

ทุนชำระแล้ว 2553 2552

98.80 100.00 100.00 100.00 100.00 100.00 100.00 100.00 100.00 100.00 100.00 99.76 98.30

(ร

สัดส่วนความเป็นเจ้าของ 2553 2552

(2,076)

-

- - - - - - (2,076)

- - - - - - - - - (2,076) - - -

- - - - - - - - - (2,076) - - - 3,504,453 1,039,531 96,237 1,074,000 200,000 4,990 7,593,834

494 320,041 30,000 50,000 102,550 200,000 250,000 1,999 25,000 - 546,912 77,123 70,504

8,702 36,738 - 25,000 - 64,000 - - - - - 43,994 17,617

- 21,344 - 15,000 - 117,600 - - - - - 22,764 17,042

เงินปันผลรับ 2553 2552

-

- (2,076) 11,107,174 7,056,778 554,334 239,870

-

3,504,453 201,871 - 1,039,531 85,355 - 96,237 10,557 6,120 1,074,000 60,500 40,000 200,000 - - 4,990 - - 7,056,778 554,334 239,870

494 320,041 30,000 50,000 102,550 200,000 250,000 1,999 25,000 - 9,856 77,123 70,504

ราคาทุน - สุทธิ 2553 2552

- 3,513,340

- - - - - - (2,076)

(พันบาท)

การด้อยค่า 2553 2552

งบการเงินเฉพาะกิจการ

เงินลงทุนในบริษัทย่อยและกิจการที่ควบคุมร่วมกัน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 2552 และเงินปันผลรับสำหรับแต่ละปี มีดังนี้

* สกุลเงินจัค

** สกุลเงินเหรียญสหรัฐอเมริกา

บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 2552

รายงานประจำปี 2553

189

• บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน)


190

บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 2552

รายการสำคัญของเงินลงทุนในบริษัทย่อยที่เกิดขึ้นในระหว่างปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2553 มีดังนี้

เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2553 บีเจซี อินเตอร์เนชั่นแนล คัมปะนี ลิมิเต็ด ได้รับชำระค่าหุ้นสามัญส่วนที่เหลือทั้งหมดจำนวนเงิน 45.79 ล้านเหรียญฮ่องกง ต่อเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2553 เพิ่มทุนจดทะเบียนจากเดิมจำนวน 100 ล้านเหรียญฮ่องกง เป็นจำนวน 200 ล้านเหรียญฮ่องกง เพื่อลงทุนเพิ่มในบริษัทย่อยทางอ้อมของบริษัทคือ ไทยคอร์ป อินเตอร์เนชั่นแนล คัมปะนี ลิมิเต็ด และ บีเจซี กล๊าส คัมปะนี ลิมิเต็ด และได้รับชำระค่าหุ้นสามัญในการเพิ่มทุนจดทะเบียนบางส่วนจำนวน 84.94 ล้านเหรียญฮ่องกง ในเดือนธันวาคม 2553

11 เงินลงทุนในบริษัทร่วม

ณ วันที่ 1 มกราคม ส่วนแบ่งกำไรสุทธิจากเงินลงทุนตามวิธีส่วนได้เสีย ซื้อเงินลงทุน โอนออกเนื่องจากการปรับโครงสร้างทางธุรกิจ รายได้เงินปันผล ณ วันที่ 31 ธันวาคม

งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะกิจการ 2553 2552 2553 2552 (พันบาท)

398,538 62,220 - - (48,559) 412,199

301,407 63,732 80,000 - (46,601) 398,538

231,913 - - - - 231,913

293,113 - - (61,200) - 231,913


บริษัท บี เจ ซี มารีน รีซอสเซส ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด บริษัท เบอร์ลี่ เอเชียติ๊ก โซดา จำกัด บริษัท เบอร์ลี่ ไดน่าพลาส จำกัด รวม

(ร

49.99 50.00 49.00

2553

49.99 50.00 49.00

2552

อยละ)

สัดส่วนความเป็นเจ้าของ

บริษัท บี เจ ซี มารีนรีซอสเซส ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด บริษัท เบอร์ลี่ เอเชียติ๊ก โซดา จำกัด บริษัท เบอร์ลี่ ไดน่าพลาส จำกัด บริษัท แก้วกรุงไทย จำกัด รวม

94,400 40,000 303,933

2553

94,400 40,000 303,933

2552

49.99 50.00 49.00 25.00

อยละ)

ทุนชำระแล้ว

49.99 50.00 49.00 25.00

(ร

สัดส่วนความเป็นเจ้าของ 2553 2552 (พันบาท)

2552

2552 (พันบาท)

2553

การด้อยค่า

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2553

11,972 24,872 195,069 231,913

2552

ราคาทุน - สุทธิ

12,243 31,161 272,931 82,203 398,538

วิธีส่วนได้เสีย 2553 2552

52,372 52,372 (40,400) (40,400) 11,972 24,872 24,872 - - 24,872 195,069 195,069 - - 195,069 272,313 272,313 (40,400) (40,400) 231,913

2553

วิธีราคาทุน 2553 2552

94,400 52,372 52,372 12,530 40,000 24,872 24,872 37,193 303,933 195,069 195,069 279,408 320,000 80,000 80,000 83,068 352,313 352,313 412,199

วิธีราคาทุน

94,400 40,000 303,933 320,000

ทุนชำระแล้ว 2553 2552

งบการเงินรวม

เงินลงทุนในบริษัทร่วม ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 2552 และเงินปันผลรับสำหรับแต่ละปี มีดังนี้

บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 2552

- 36,801 9,800 - 46,601

- 23,999 23,520 47,519

2553

- 36,801 9,800 46,601

2552

เงินปันผลรับ

- 23,999 23,520 1,040 48,559

เงินปันผลรับ 2553 2552

รายงานประจำปี 2553

191

• บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน)


192

บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 2552 12 เงินลงทุนระยะยาวอื่น

เงินลงทุนระยะยาวอื่น ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 2552 เป็นเงินลงทุนทั่วไปในตราสารทุน มีดังนี้ วิธีราคาทุน

บริษัท สยาม ซีเมนต์ เมียนมาร์ เทรดดิ้ง จำกัด * สกุลเงินจัค

สัดส่วนความเป็นเจ้าของ 2553 2552 (ร

15.00

อยละ)

15.00

ทุนชำระแล้ว 2553 2552 (พันจัค)

1,320*

1,320*

งบการเงินรวม 2553 2552

(พันบาท)

837

837

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2553 2552

837

837


ราคาทุน ณ วันที่ 1 มกราคม 2552 เพิ่มขึ้น โอน จำหน่าย ตัดจำหน่าย ผลต่างจากการเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยน เงินตราต่างประเทศ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 1 มกราคม 2553 เพิ่มขึ้น ได้มาจากการรวมธุรกิจ โอน จำหน่าย ตัดจำหน่าย ผลต่างจากการเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยน เงินตราต่างประเทศ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553

(ก) กลุ่มบริษัท

13 ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์

งบการเงินรวม

3,517,706 4,628 73,657 (10,476) (3,702) (1,522) 3,580,291 7,725 178,102 6,117 (914) - (8,591) 3,762,730

2,149,781 382 - - - - 2,150,163 113,646 77,959 (404) - - (1,144) 2,340,220

(26,175) 16,485,951

(3,139) 15,086,282 176,962 1,065,306 350,265 (60,095) (106,594)

14,563,817 222,681 388,224 (57,788) (27,513)

475 1,226,875

(1,231) 1,212,444 43,279 5,060 5,855 (9,436) (30,802)

1,167,282 78,803 22,732 (39,257) (15,885)

229 154,298

(398) 142,213 15,730 7,028 - (10,902) -

138,476 26,164 - (21,987) (42)

ที่ดินและส่วน อาคารและส่วน เครื่องจักรและ เครื่องตกแต่ง ติดตั้ง ปรับปรุงที่ดิน ปรับปรุงอาคาร อุปกรณ์ และอุปกรณ์สำนักงาน ยานพาหนะ (พันบาท)

บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 2552

(50,753) 778,423

- 320,562 753,860 121,628 (362,170) - (4,704)

436,659 378,277 (494,374) - -

สินทรัพย์ ระหว่างก่อสร้าง

(85,959) 24,748,497

(6,290) 22,491,955 1,111,202 1,455,083 (337) (81,347) (142,100)

21,973,721 710,935 (9,761) (129,508) (47,142)

รวม

รายงานประจำปี 2553

193

• บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน)


ค่าเสื่อมราคา ณ วันที่ 1 มกราคม 2552 ค่าเสื่อมราคาสำหรับปี โอน จำหน่าย ตัดจำหน่าย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 1 มกราคม 2553 ค่าเสื่อมราคาสำหรับปี โอน จำหน่าย ตัดจำหน่าย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553

งบการเงินรวม

33,429 1,603 - - - 35,032 1,597 - - - 36,629

1,849,630 154,964 - (10,130) (693) 1,993,771 157,053 - (914) - 2,149,910

6,923,528 1,058,899 1,002 (56,986) (7,795) 7,918,648 1,145,010 (3,335) (59,643) (104,876) 8,895,804

969,120 79,175 (1,156) (30,625) (14,673) 1,001,841 67,680 (9) (10,487) (30,671) 1,028,354

83,835 15,021 - (13,194) (41) 85,621 16,567 - (7,077) - 95,111

ที่ดินและส่วน อาคารและส่วน เครื่องจักรและ เครื่องตกแต่ง ติดตั้ง ปรับปรุงที่ดิน ปรับปรุงอาคาร อุปกรณ์ และอุปกรณ์สำนักงาน ยานพาหนะ (พันบาท)

บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 2552

- - - - - - - 3,300 - - 3,300

สินทรัพย์ ระหว่างก่อสร้าง

9,859,542 1,309,662 (154) (110,935) (23,202) 11,034,913 1,387,907 (44) (78,121) (135,547) 12,209,108

รวม

194


ค่าเผื่อการด้อยค่า ณ วันที่ 1 มกราคม 2552 เพิ่มขึ้น ลดลง ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 1 มกราคม 2553 เพิ่มขึ้น ลดลง ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553 มูลค่าสุทธิทางบัญชี ณ วันที่ 1 มกราคม 2552 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 1 มกราคม 2553 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553

งบการเงินรวม

2,658 2,112 - 4,770 55 - 4,825

1,665,418 1,581,750 1,607,995

- - - - - - -

2,116,352 2,115,131 2,303,591

7,638,344 7,166,589 7,589,102

1,945 - (900) 1,045 - - 1,045

198,144 210,585 198,503

18 - - 18 - - 18

- - - - - - -

54,641 56,592 59,187

ที่ดินและส่วน อาคารและส่วน เครื่องจักรและ เครื่องตกแต่ง ติดตั้ง ปรับปรุงที่ดิน ปรับปรุงอาคาร อุปกรณ์ และอุปกรณ์สำนักงาน ยานพาหนะ (พันบาท)

บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 2552

428,961 320,562 775,123

7,698 - (7,698) - - - -

สินทรัพย์ ระหว่างก่อสร้าง

12,101,860 11,451,209 12,533,501

12,319 2,112 (8,598) 5,833 55 - 5,888

รวม

รายงานประจำปี 2553

195

• บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน)


ราคาทุน ณ วันที่ 1 มกราคม 2552 เพิ่มขึ้น โอน จำหน่าย ตัดจำหน่าย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 1 มกราคม 2553 เพิ่มขึ้น โอน จำหน่าย ตัดจำหน่าย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553

(ข) บริษัท งบการเงินเฉพาะกิจการ

64,410 - - - - 64,410 - - - - 64,410

718,129 - - - - 718,129 - - - - 718,129

3,409 11,916 - (816) (473) 14,036 22,030 (68) - (15) 35,983

578,615 16,205 11,779 (895) (7,807) 597,897 10,172 2,226 (710) (22,679) 586,906

40,756 23,155 - (4,004) - 59,907 13,913 - (7,139) - 66,681

ที่ดินและส่วน อาคารและส่วน เครื่องจักรและ เครื่องตกแต่ง ติดตั้ง ปรับปรุงที่ดิน ปรับปรุงอาคาร อุปกรณ์ และอุปกรณ์สำนักงาน ยานพาหนะ (พันบาท)

บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 2552

3,790 8,789 (11,779) - - 800 2,735 (2,635) - - 900

สินทรัพย์ ระหว่างก่อสร้าง

1,409,109 60,065 - (5,715) (8,280) 1,455,179 48,850 (477) (7,849) (22,694) 1,473,009

รวม

196


ค่าเสื่อมราคา ณ วันที่ 1 มกราคม 2552 ค่าเสื่อมราคาสำหรับปี จำหน่าย ตัดจำหน่าย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 1 มกราคม 2553 ค่าเสื่อมราคาสำหรับปี โอน จำหน่าย ตัดจำหน่าย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553 มูลค่าสุทธิทางบัญชี ณ วันที่ 1 มกราคม 2552 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 1 มกราคม 2553 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553

งบการเงินเฉพาะกิจการ

476,539 27,439 - - 503,978 27,440 - - - 531,418

241,590 214,151 186,711

22,630 106 - - 22,736 105 - - - 22,841

41,780 41,674 41,569

1,427 12,029 30,710

1,982 1,314 (816) (473) 2,007 3,301 (21) - (14) 5,273

45,871 57,159 51,530

532,744 16,473 (873) (7,606) 540,738 18,018 (21) (695) (22,664) 535,376

32,258 42,855 41,368

8,498 9,647 (1,093) - 17,052 11,576 - (3,315) - 25,313

ที่ดินและส่วน อาคารและส่วน เครื่องจักรและ เครื่องตกแต่ง ติดตั้ง ปรับปรุงที่ดิน ปรับปรุงอาคาร อุปกรณ์ และอุปกรณ์สำนักงาน ยานพาหนะ (พันบาท)

บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 2552

3,790 800 900

- - - - - - - - - -

สินทรัพย์ ระหว่างก่อสร้าง

366,716 368,668 352,788

1,042,393 54,979 (2,782) (8,079) 1,086,511 60,440 (42) (4,010) (22,678) 1,120,221

รวม

รายงานประจำปี 2553

197

• บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน)


198

บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 2552

การค้ำประกันของบริษัทย่อย

ที่ดิน พร้อมสิ่งปลูกสร้าง เครื่องจักรและเครื่องมือของบริษัทย่อยมีภาระผูกพันตามบันทึกข้อตกลงการกู้ยืมระหว่าง บริษัท ไทย มาลายากลาส จำกัด กับธนาคารแห่งหนึ่งในประเทศตามที่กล่าวไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 17 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 2552 ที่ดินและส่วนปรับปรุงที่ดินสำหรับงบการเงินรวมได้รวมส่วนเกินอันเนื่องมาจากราคาที่ดิน

ที่เพิ่มขึ้นจำนวน 1,620 ล้านบาท ซึ่งเป็นผลต่างระหว่างมูลค่ายุติธรรมของที่ดินกับราคาทุนเดิมของที่ดินของบริษัทย่อย ณ วันที่บริษัท ซือ้ หุน้ ภาระภาษีเงินได้ทอี่ าจจะเกิดขึน้ จากส่วนเกินจากการตีราคาเพิม่ ขึน้ หากมีการจำหน่ายสินทรัพย์เหล่านีบ้ นั ทึกไว้เป็นหนีส้ นิ ภาษีเงินได้ รอการตัดบัญชีในงบการเงินรวม ต้นทุนการกู้ยืมที่เกี่ยวข้องกับการได้มาซึ่งสินทรัพย์ระหว่างก่อสร้างได้บันทึกเป็นส่วนหนึ่งของต้นทุนสินทรัพย์สำหรับงบการเงินรวม จำนวน 0.02 ล้านบาท (2552 : 111 ล้านบาท) มีอัตราดอกเบี้ยที่รับรู้ร้อยละ 1.80 (2552 : ร้อยละ 1.90 ถึงร้อยละ 2.00) ราคาทรัพย์สินของกลุ่มบริษัทก่อนหักค่าเสื่อมราคาสะสมของอาคารและอุปกรณ์ ซึ่งได้คิดค่าเสื่อมราคาเต็มจำนวนแล้ว แต่ยังคง ใช้งานจนถึง ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553 สำหรับงบการเงินรวม มีจำนวน 4,626 ล้านบาท (2552 : 3,912 ล้านบาท) และสำหรับงบการเงิน เฉพาะกิจการ มีจำนวน 546 ล้านบาท (2552 : 558 ล้านบาท)


ราคาทุน ณ วันที่ 1 มกราคม 2552 เพิ่มขึ้น จำหน่าย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 1 มกราคม 2553 เพิ่มขึ้น ได้มาจากการรวมธุรกิจ โอน จำหน่าย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553

14 สินทรัพย์ ไม่มีตัวตน

86,642 - (4,766) 81,876 1,680,715 - - - 1,762,591

ค่าความนิยม

บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 2552

- - - - 98,653 - - - 98,653

ช่องทาง การจัดจำหน่าย

4,067 - (4,067) - - - - - -

(พันบาท)

309,394 5,038 (49,961) 264,471 8,361 1,578 42,347 (18,289) 298,468

ค่าสิทธิบัตรและ เครื่องหมายการค้า ค่าลิขสิทธิ์ซอฟท์แวร์

งบการเงินรวม

- 16,159 - 16,159 25,818 - (41,977) - -

ค่าลิขสิทธิ์ซอฟท์แวร์ ระหว่างติดตั้ง

400,103 21,197 (58,794) 362,506 1,813,547 1,578 370 (18,289) 2,159,712

รวม

รายงานประจำปี 2553

199

• บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน)


ค่าตัดจำหน่าย ณ วันที่ 1 มกราคม 2552 ค่าตัดจำหน่ายสำหรับปี โอน จำหน่าย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 1 มกราคม 2553 ค่าตัดจำหน่ายสำหรับปี จำหน่าย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553 มูลค่าสุทธิทางบัญชี ณ วันที่ 1 มกราคม 2552 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 1 มกราคม 2553 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553

- - - - - - - -

- - 98,653

86,642 81,876 1,762,591

ช่องทาง การจัดจำหน่าย

- - - - - - - -

ค่าความนิยม

บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 2552

3,999 - -

68 - - (68) - - - -

(พันบาท)

88,678 58,718 85,207

220,716 27,229 (19) (42,173) 205,753 25,797 (18,289) 213,261

ค่าสิทธิบัตรและ เครื่องหมายการค้า ค่าลิขสิทธิ์ซอฟท์แวร์

งบการเงินรวม

- 16,159 -

- - - - - - - -

ค่าลิขสิทธิ์ซอฟท์แวร์ ระหว่างติดตั้ง

179,319 156,753 1,946,451

220,784 27,229 (19) (42,241) 205,753 25,797 (18,289) 213,261

รวม

200


รายงานประจำปี 2553

• บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน)

201

บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 2552 งบการเงินเฉพาะกิจการ ค่าสิทธิบัตรและ ค่าลิขสิทธิ์ซอฟท์แวร์ เครื่องหมายการค้า ค่าลิขสิทธิ์ซอฟท์แวร์ ระหว่างติดตั้ง (พันบาท)

ราคาทุน ณ วันที่ 1 มกราคม 2552 เพิ่มขึ้น จำหน่าย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 1 มกราคม 2553 เพิ่มขึ้น โอน จำหน่าย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553 ค่าตัดจำหน่าย ณ วันที่ 1 มกราคม 2552 ค่าตัดจำหน่ายสำหรับปี จำหน่าย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 1 มกราคม 2553 ค่าตัดจำหน่ายสำหรับปี จำหน่าย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553 มูลค่าสุทธิทางบัญชี ณ วันที่ 1 มกราคม 2552 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 และ 1 มกราคม 2553 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553

รวม

4,067 - (4,067) - - - - -

101,456 2,102 (57) 103,501 2,844 41,977 (16,335) 131,987

- 16,159 - 16,159 25,818 (41,977) - -

105,523 18,261 (4,124) 119,660 28,662 - (16,335) 131,987

68 - (68) - - - -

83,694 6,419 (32) 90,081 9,312 (16,335) 83,058

- - - - - - -

83,762 6,419 (100) 90,081 9,312 (16,335) 83,058

3,999 - -

17,762 13,420 48,929

- 16,159 -

21,761 29,579 48,929

ราคาทรัพย์สินของกลุ่มบริษัทก่อนหักค่าตัดจำหน่ายสะสมของสินทรัพย์ไม่มีตัวตน ซึ่งได้คิดค่าตัดจำหน่ายเต็มจำนวนแล้ว แต่ยังคง ใช้งานจนถึง ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553 สำหรับงบการเงินรวมมีจำนวน 176 ล้านบาท (2552 : 133 ล้านบาท) และสำหรับงบการเงิน เฉพาะกิจการมีจำนวน 67 ล้านบาท (2552 : 70 ล้านบาท)


202

บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 2552 15 ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี สินทรัพย์และหนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีภายหลังจากการนำมาหักกลบกันตามความเหมาะสม ได้แสดงในงบดุล โดยมี รายละเอียดดังนี้

สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี หนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี สุทธิ

งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะกิจการ 2553 2552 2553 2552 (พันบาท)

432,786 (488,250) (55,464)

531,572 (488,250) 43,322

151,422 - 151,422

134,526 - 134,526


สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี เงินลงทุน (ค่าเผื่อการด้อยค่า) ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ (ค่าเผื่อการด้อยค่า) สำรองและประมาณการหนี้สินอื่น ยอดขาดทุนยกไป รวม หนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ (จากการตีราคาเพิ่ม) รวม สุทธิ

83,165 1,030 247,255 200,122 531,572

(488,250) (488,250) 43,322

13

ณ วันที่ หมายเหตุ 1 มกราคม 2553

- - (135,820)

(70,422) (65) 20,366 (85,699) (135,820)

บันทึกเป็น (รายจ่าย)/รายได้ ในงบกำไรขาดทุน (หมายเหตุ 31)

รายการเคลื่อนไหวของสินทรัพย์และหนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีที่เกิดขึ้นในระหว่างปีมีดังนี้

บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 2552

- - 38,485

- - 38,485 - 38,485

(พันบาท)

การได้มาซึ่ง บริษัทย่อย

งบการเงินรวม

- - (1,451)

- - (1,451) - (1,451)

ผลต่างจาก อัตราแลกเปลี่ยน

(488,250) (488,250) (55,464)

12,743 965 304,655 114,423 432,786

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553

รายงานประจำปี 2553

203

• บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน)


204

บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 2552 ณ วันที่ หมายเหตุ 1 มกราคม 2552

สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี เงินลงทุน (ค่าเผื่อการด้อยค่า) ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ (ค่าเผื่อการด้อยค่า) สำรองและประมาณการหนี้สินอื่น ยอดขาดทุนยกไป รวม หนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ (จากการตีราคาเพิ่ม) รวม สุทธิ

81,127 3,638 241,10 0 184,435 510,300

2,038 (2,608) 6,155 15,687 21,272

83,165 1,030 247,255 200,122 531,572

13

(488,250) (488,250) 22,050

- - 21,272

(488,250) (488,250) 43,322

12,743 121,783 134,526

ณ วันที่ 1 มกราคม 2552

สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี เงินลงทุน (ค่าเผื่อการด้อยค่า) สำรองและประมาณการหนี้สินอื่น รวม

(พันบาท)

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552

ณ วันที่ 1 มกราคม 2553

สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี เงินลงทุน (ค่าเผื่อการด้อยค่า) สำรองและประมาณการหนี้สินอื่น รวม

งบการเงินรวม บันทึกเป็น (รายจ่าย)/รายได้ ในงบกำไรขาดทุน (หมายเหตุ 31)

14,413 87,971 102,384

งบการเงินเฉพาะกิจการ บันทึกเป็น (รายจ่าย)/รายได้ ในงบกำไรขาดทุน (หมายเหตุ 31) (พันบาท)

- 16,896 16,896 งบการเงินเฉพาะกิจการ บันทึกเป็น (รายจ่าย)/รายได้ ในงบกำไรขาดทุน (หมายเหตุ 31) (พันบาท)

(1,670) 33,812 32,142

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553

12,743 138,679 151,422

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552

12,743 121,783 134,526


รายงานประจำปี 2553

• บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน)

205

บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 2552

สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีที่เกิดจากผลแตกต่างชั่วคราวที่มิได้รับรู้ในงบการเงินมีรายละเอียดดังนี้

ยอดขาดทุนยกไป ผลแตกต่างชั่วคราว รวม

งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะกิจการ 2553 2552 2553 2552 (พันบาท)

- - -

- 1,099 1,099

- - -

- - -

16 สินทรัพย์ ไม่หมุนเวียนอื่น

เงินมัดจำ กล่องบรรจุเพื่อการขนส่ง สินทรัพย์ที่ไม่ได้ใช้งาน อื่นๆ รวม

งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะกิจการ 2553 2552 2553 2552 (พันบาท)

20,173 61,256 30,388 10,651 122,468

13,116 74,472 30,196 16 117,800

7,447 - - - 7,447

2,609 - - - 2,609


206

บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 2552 17 หนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ย

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 2552 หนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยเป็นหนี้สินที่ไม่มีหลักประกัน มีรายละเอียดดังนี้

งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะกิจการ หมายเหตุ 2553 2552 2553 2552 (พันบาท)

ส่วนที่หมุนเวียน เงินกู้ยืมระยะสั้นจากสถาบันการเงิน เงินกู้ยืมระยะยาวส่วนที่ถึงกำหนดชำระ ภายในหนึ่งปี หุ้นกู้ส่วนที่ถึงกำหนดชำระภายในหนึ่งปี เงินกู้ยืมระยะสั้นจากกิจการที่เกี่ยวข้องกัน รวมส่วนที่หมุนเวียน ส่วนที่ไม่หมุนเวียน เงินกู้ยืมระยะยาวจากสถาบันการเงิน หุ้นกู้ รวมส่วนที่ไม่หมุนเวียน รวม

647,510

2,033,500

-

-

5

433,500 3,029,588 - 4,110,598

369,000 - - 2,402,500

- 3,029,588 1,008,189 4,037,777

- - 731,145 731,145

2,068,250 1,896,566 3,964,816 8,075,414

582,500 3,027,794 3,610,294 6,012,794

1,576,000 1,896,566 3,472,566 7,510,343

- 3,027,794 3,027,794 3,758,939

หนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยแสดงตามระยะเวลาครบกำหนดการจ่ายชำระ ณ วันที่ 31 ธันวาคม ได้ดังนี้

ครบกำหนดภายในหนึ่งปี ครบกำหนดหลังจากหนึ่งปีแต่ไม่เกินห้าปี รวม

งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะกิจการ 2553 2552 2553 2552 (พันบาท)

4,110,598 3,964,816 8,075,414

2,402,500 3,610,294 6,012,794

4,037,777 3,472,566 7,510,343

731,145 3,027,794 3,758,939


รายงานประจำปี 2553

• บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน)

207

บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 2552

หุ้นกู ้

ส่วนที่หมุนเวียน หุ้นกู้ส่วนที่ถึงกำหนดชำระภายในหนึ่งปี ส่วนที่ไม่หมุนเวียน เงินต้น หัก ค่าตัดจำหน่ายสะสมของค่าใช้จ่ายในการออกหุ้นกู้ สุทธิ รวม

งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะกิจการ 2553 2552 2553 2552 (พันบาท)

3,029,588

-

3,029,588

-

1,900,000 (3,434) 1,896,566 4,926,154

3,030,000 (2,206) 3,027,794 3,027,794

1,900,000 (3,434) 1,896,566 4,926,154

3,030,000 (2,206) 3,027,794 3,027,794

ในระหว่างเดือนกรกฎาคม 2553 บริษัทได้ออกหุ้นกู้แบบไม่มีหลักประกัน จำนวน 1,900 ล้านบาท โดยมีกำหนดชำระคืนในเดือน กรกฎาคม 2558 ดอกเบี้ยกำหนดชำระทุกงวด 6 เดือน ในอัตราร้อยละ 3.45 ต่อปี ทั้งนี้ บริษัทต้องดำรงอัตราส่วนหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ย ต่อส่วนของผู้ถือหุ้นในอัตราส่วนไม่เกิน 1.75 ต่อ 1 โดยพิจารณาจากงบการเงินรวมประจำปี ในระหว่างเดือนมีนาคม 2551 บริษัทได้ออกหุ้นกู้แบบไม่มีหลักประกัน จำนวน 3,030 ล้านบาท โดยมีกำหนดชำระคืนในเดือน มีนาคม 2554 ดอกเบี้ยกำหนดชำระทุกงวด 6 เดือน ในอัตราร้อยละ 3.73 ต่อปี ทั้งนี้ บริษัทต้องดำรงอัตราส่วนหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ย ต่อส่วนของผู้ถือหุ้นในอัตราส่วนไม่เกิน 1.75 ต่อ 1 โดยพิจารณาจากงบการเงินรวมประจำปี ต่อมาเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2552 บริษัทได้เข้าทำสัญญาแลกเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ย (Interest rate swap) กับสถาบันการเงิน

แห่งหนึ่งเป็นระยะเวลา 1 ปี เริ่มตั้งแต่วันที่ 26 กันยายน 2552 ถึงวันที่ 26 กันยายน 2553 โดยบริษัทจ่ายดอกเบี้ยในอัตราลอยตัวของ เงินบาท อ้างอิงจากอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำระยะเวลา 6 เดือน ที่กำหนดโดยธนาคารพาณิชย์อ้างอิงจำนวน 4 แห่ง ถัวเฉลี่ยบวกอัตราร้อยละ 2.30 ต่อปี และรับดอกเบี้ยในอัตราคงที่ร้อยละ 3.73 ต่อปี ตามอัตราดอกเบี้ยของหุ้นกู้ของบริษัท โดยกำหนด จ่ายดอกเบี้ยทุกงวด 6 เดือน

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553 เงินกู้ยืมระยะสั้นจากสถาบันการเงินในงบการเงินรวม มีรายละเอียดดังนี้

1

2 เงินกู้ยืมระยะสั้นประเภทตั๋วสัญญาใช้เงินจากสถาบันการเงินหลายแห่ง จำนวน 288 ล้านบาท (2552 : 1,633.5 ล้านบาท)

เงินกู้ยืมระยะสั้นประเภทสัญญาเงินกู้ยืมกับสถาบันการเงินของบริษัท ไทยเบเวอร์เรจแคน จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อย จำนวน 360 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยคงที่ร้อยละ 2.125 ต่อปี กำหนดชำระดอกเบี้ยเป็นรายเดือน โดยกำหนดชำระเงินต้นเป็นรายงวด ที่เท่ากัน 4 งวด เริ่มงวดแรกในเดือนเมษายน 2554 งวดละ 90 ล้านบาทและงวดสุดท้ายในเดือนกรกฎาคม 2554 จำนวน 90 ล้านบาท


208

บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 2552

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 2552 เงินกู้ยืมระยะยาว มีรายละเอียดดังนี้

1 เงินกู้ยืมระยะยาวจากของบริษัท ประกอบด้วย เงินกู้ยืมจากสถาบันการเงิน ดังนี้

ในเดือนกรกฎาคม 2553 บริษัทได้ทำสัญญากู้ยืมเงินระยะยาวเป็นสกุลเงินบาท กับสถาบันการเงินแห่งหนึ่งในวงเงินรวม 2,500 ล้านบาท ซึ่ง ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553 มียอดคงเหลือจำนวน 1,576 ล้านบาท เงินกู้ยืมดังกล่าวมีกำหนดจ่ายชำระคืน เงินต้นทั้งหมดในปีที่ 5 นับจากวันเบิกเงินกู้งวดแรกและชำระดอกเบี้ยในอัตราคงที่ร้อยละ 3.59 ต่อปี ทุกงวด 6 เดือน

ภายใต้สัญญาเงินกู้ยืมได้กำหนดให้บริษัทต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขและข้อจำกัดบางประการ ตามที่ระบุไว้ในสัญญาเงินกู้ยืม เช่น การห้ามจดจำนองสินทรัพย์ การดำรงอัตราส่วนทางการเงิน เป็นต้น

2 เงินกู้ยืมระยะยาวของ บริษัท อุตสาหกรรมทำเครื่องแก้วไทย จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทย่อย ประกอบด้วย เงินกู้ยืมจาก สถาบันการเงิน ดังนี้

3 เงินกู้ยืมระยะยาว ของบริษัท ที.ซี.ซี. เทคโนโลยี จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อย ประกอบด้วย เงินกู้ยืมจากสถาบันการเงิน ดังนี้

เงินกู้ยืมสกุลเงินบาท วงเงินกู้ยืม จำนวนเงิน 100 ล้านบาท โดยมียอดคงค้าง ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553 เป็นจำนวนเงิน 32 ล้านบาท มีกำหนดระยะเวลา 2 ปี ครบกำหนดชำระคืนเป็นรายงวดที่เท่ากัน 5 งวด ทุกงวด 3 เดือน โดยชำระงวดละ ไม่น้อยกว่า 17 ล้านบาท เริ่มชำระงวดแรกในเดือนเมษายน 2552 และงวดสุดท้ายไม่เกินวันที่ 31 กรกฎาคม 2554 ชำระ ดอกเบี้ยทุกเดือนในอัตราดอกเบี้ยคงที่ร้อยละ 3.55 ต่อปี

ภายใต้สัญญาเงินกู้ยืมดังกล่าวได้กำหนดให้บริษัทย่อยต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขและข้อจำกัดบางประการ ตามที่ระบุไว้ใน สัญญาเงินกู้ยืม เช่น การดำรงอัตราส่วนทางการเงิน เป็นต้น

4 เงินกู้ยืมระยะยาว ของบริษัท ไทย มาลายากลาส จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยทางอ้อมของกิจการที่ควบคุมร่วมกันประกอบด้วย เงินกู้ยืมจากสถาบันการเงิน ดังนี้

เงินกู้ยืมสกุลเงินบาท โดยมียอดคงค้าง ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553 เป็นจำนวนเงิน 311 ล้านบาท โดยมีอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงกับ

MLR และมีกำหนดชำระดอกเบี้ยและชำระคืนเงินต้นเป็นประจำทุกไตรมาสซึ่งจะสิ้นสุดภายในเดือนมิถุนายน 2557

ในระหว่างปีปัจจุบัน บริษัทย่อยได้บรรลุข้อตกลงในการดำเนินการแก้ไขสัญญาเงินกู้ยืมระยะยาวกับธนาคาร เพื่อพักการชำระ คืนเงินต้นของบริษัทย่อยจำนวน 3 งวด ได้แก่ งวดสิ้นเดือนกันยายน 2553 งวดสิ้นเดือนธันวาคม 2553 และงวดสิ้นเดือน มีนาคม 2554 และขยายระยะเวลาการจ่ายชำระคืนเงินกู้ยืมออกไปเป็นระยะเวลา 9 เดือน

เงินกู้ยืมดังกล่าวค้ำประกันโดยการจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง เครื่องจักรและเครื่องมือของบริษัทย่อยตามที่กล่าวไว้ใน หมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 13

เงินกู้ยืมสกุลเงินบาท จำนวนเงิน 1,000 ล้านบาท กู้ในไตรมาส 3 ปี 2550 โดยมียอดคงค้าง ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553 เป็น

จำนวนเงิน 583 ล้านบาท (2552 : 917 ล้านบาท) มีกำหนดระยะเวลา 5 ปี ครบกำหนดชำระคืนเป็นรายงวดที่เท่ากัน 11 งวด ทุกงวด 3 เดือน โดยชำระงวดละ 83.5 ล้านบาท เริ่มชำระงวดแรกในเดือนตุลาคม 2552 และงวดสุดท้ายชำระคืน 81.5 ล้านบาท ในเดือนกรกฎาคม 2555 ชำระดอกเบี้ยทุกงวด 3 เดือนในอัตราดอกเบี้ยคงที่ร้อยละ 4.375 ต่อปี

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553 กลุ่มบริษัทและบริษัทมีวงเงินสินเชื่อซึ่งยังมิได้เบิกใช้เป็นจำนวนเงินรวม 16,274 ล้านบาท และ 2,291 ล้านบาท ตามลำดับ (2552 : 14,985 ล้านบาท และ 1,429 ล้านบาท ตามลำดับ)


รายงานประจำปี 2553

• บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน)

209

บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 2552

หนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ย ณ วันที่ 31 ธันวาคม จัดตามประเภทสกุลเงินตราได้ดังนี้

สกุลเงินบาทและสกุลเงินที่ใช้ในการดำเนินงานของบริษัทย่อย อื่นๆ รวม

งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะกิจการ 2553 2552 2553 2552 (พันบาท)

8,034,721 40,693 8,075,414

6,012,794 - 6,012,794

7,510,343 - 7,510,343

3,758,939 - 3,758,939

18 เจ้าหนี้การค้า

งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะกิจการ หมายเหตุ 2553 2552 2553 2552 (พันบาท)

กิจการที่เกี่ยวข้องกัน กิจการอื่นๆ รวม

5

252,887 2,879,593 3,132,480

202,258 2,464,518 2,666,776

2,230,548 562,311 2,792,859

2,015,036 437,384 2,452,420

ยอดเจ้าหนี้การค้า ณ วันที่ 31 ธันวาคม จัดตามประเภทสกุลเงินตราได้ดังนี้

สกุลเงินบาทและสกุลเงินที่ใช้ในการดำเนินงานของบริษัทย่อย สกุลเงินเหรียญสหรัฐอเมริกา สกุลเงินเยน สกุลเงินยูโร สกุลเงินเหรียญสิงคโปร์ สกุลเงินปอนด์สเตอร์ลิง อื่นๆ รวม

งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะกิจการ 2553 2552 2553 2552 (พันบาท)

1,678,005 1,105,796 239,537 63,894 578 14,118 30,552 3,132,480

1,212,178 1,212,182 138,530 72,840 - - 31,046 2,666,776

2,472,766 219,151 41,822 46,366 - - 12,754 2,792,859

2,160,658 218,940 10,153 44,911 - - 17,758 2,452,420


210

บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 2552 19 หนี้สินหมุนเวียนอื่น

งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะกิจการ หมายเหตุ 2553 2552 2553 2552 (พันบาท)

เจ้าหนี้ค่าซื้อสินทรัพย์ รายได้รับล่วงหน้า ภาษีหัก ณ ที่จ่ายรอนำส่ง เจ้าหนี้อื่น ค่าโฆษณาประชาสัมพันธ์ค้างจ่าย ค่านายหน้าค้างจ่าย อื่นๆ รวม

5

166,389 316,598 71,563 139,383 309,456 109,033 883,693 1,996,115

225,146 208,218 69,471 59,457 400,315 86,137 743,572 1,792,316

52 97,770 35,978 101,491 296,597 91,984 310,722 934,594

16,317 45,754 32,251 26,534 385,605 86,137 211,603 804,201

ยอดหนี้สินหมุนเวียนอื่น ณ วันที่ 31 ธันวาคม จัดตามประเภทสกุลเงินตราได้ดังนี้

สกุลเงินบาทและสกุลเงินที่ใช้ในการดำเนินงานของบริษัทย่อย สกุลเงินเหรียญสหรัฐอเมริกา อื่นๆ รวม

งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะกิจการ 2553 2552 2553 2552 (พันบาท)

1,837,607 158,508 - 1,996,115

1,785,341 825 6,150 1,792,316

933,797 797 - 934,594

804,201 - - 804,201


รายงานประจำปี 2553

• บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน)

211

บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 2552 20 สำรองเงินบำเหน็จพนักงาน

การเปลี่ยนแปลงในสำรองเงินบำเหน็จพนักงาน สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม มีดังนี้

ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 1 มกราคม เพิ่มขึ้น ได้รับจากการรวมธุรกิจ ลดลง ผลต่างจากการเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยน เงินตราต่างประเทศ ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม

งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะกิจการ 2553 2552 2553 2552 (พันบาท)

365,008 43,570 10,263 (17,602)

346,953 51,691 - (33,636)

98,812 15,216 - (3,006)

90,263 26,606 - (18,057)

(460) 400,779

- 365,008

- 111,022

- 98,812

21 หนี้สินไม่หมุนเวียนอื่น

รายได้รับล่วงหน้าจากสัญญาเช่าระยะยาว หนี้สินอื่น รวม

งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะกิจการ 2553 2552 2553 2552 (พันบาท)

90,475 21,319 111,794

81,400 12,124 93,524

62,694 10,903 73,597

67,603 12,123 79,726


212

บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 2552 22 ทุนเรือนหุ้น 2553 2552 มูลค่าหุ้น ต่อหุ้น จำนวนหุ้น จำนวนเงิน จำนวนหุ้น จำนวนเงิน (บาท) (พันหุ น/พันบาท)

ทุนจดทะเบียน ณ วันที่ 1 มกราคม - หุ้นสามัญ ณ วันที่ 31 ธันวาคม - หุ้นสามัญ หุ้นที่ออกและชำระแล้ว ณ วันที่ 1 มกราคม - หุ้นสามัญ ณ วันที่ 31 ธันวาคม - หุ้นสามัญ

1

1,588,125

1,588,125

1,588,125

1,588,125

1

1,588,125

1,588,125

1,588,125

1,588,125

1

1,588,125

1,588,125

1,588,125

1,588,125

1

1,588,125

1,588,125

1,588,125

1,588,125

23 ส่วนเกินทุนและสำรอง

ส่วนเกินมูลค่าหุ้น

ตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 มาตรา 51 ในกรณีที่บริษัทเสนอขายหุ้นสูงกว่ามูลค่าหุ้นที ่

จดทะเบียนไว้ บริษัทต้องนำค่าหุ้นส่วนเกินนี้ตั้งเป็นทุนสำรอง (“ส่วนเกินมูลค่าหุ้น”) ส่วนเกินมูลค่าหุ้นนี้จะนำไปจ่ายเป็นเงินปันผลไม่ได้

ส่วนเกินทุนจากการบริจาค

ส่วนเกินทุนจากการบริจาคจำนวนเงิน 37 ล้านบาท เป็นเงินที่ได้รับจากกรรมการบริษัท ที่ได้กำไรจากการจำหน่ายหุ้นเพิ่มทุนของ บริษัทในปี 2537 จำนวน 397,104 หุ้น ที่เหลือจากการจองซื้อและจำหน่ายต่อประชาชนทั่วไปในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ส่วนเกินทุนจากการบริจาคนี้จะนำไปจ่ายเป็นเงินปันผลไม่ได้

ส่วนเกินทุนจากการจำหน่ายหุ้นของบริษัทที่ถือโดยบริษัทย่อย

ส่วนเกินทุนจากการจำหน่ายหุน้ ของบริษทั ทีถ่ อื โดยบริษทั ย่อยจำนวน 32 ล้านบาท ได้แสดงไว้ภายใต้สว่ นของผูถ้ อื หุน้ ในงบการเงินรวม ตามแนวทางปฏิบัติสำหรับหุ้นซื้อคืน และจะนำไปจ่ายเป็นเงินปันผลไม่ได้

สำรองจากการป้องกันความเสี่ยง

ค่าปรับมูลค่าของเครื่องมือป้องกันความเสี่ยง ประกอบด้วย ผลสะสมของการเปลี่ยนแปลงสุทธิในมูลค่ายุติธรรมของเครื่องมือ ทางการเงินที่ใช้เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากกระแสเงินสดได้อย่างมีประสิทธิผล


รายงานประจำปี 2553

• บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน)

213

บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 2552

สำรองตามกฎหมาย

ตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 มาตรา 116 บริษัทจะต้องจัดสรรทุนสำรอง (“สำรองตาม กฎหมาย”) อย่างน้อยร้อยละ 5 ของกำไรสุทธิประจำปีหลังจากหักขาดทุนสะสมยกมา (ถ้ามี) จนกว่าสำรองดังกล่าวมีจำนวนไม่น้อยกว่า ร้อยละ 10 ของทุนจดทะเบียน เงินสำรองนี้จะนำไปจ่ายเป็นเงินปันผลไม่ได้ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 2552 สำรองตามกฎหมายที่แสดงในงบการเงินรวม ได้รวมสำรองตามกฎหมายของบริษัทย่อย ในส่วนที่เป็นของกลุ่มบริษัท เป็นจำนวนเงิน 89 ล้านบาท

สำรองเพื่อขยายกิจการ

สำรองเพื่อขยายกิจการประกอบด้วยสำรองภายในของกลุ่มบริษัทที่จัดสรรขึ้น เพื่อใช้ในการขยายธุรกิจของกลุ่มบริษัทในอนาคต สำรองเพื่อขยายกิจการนี้จะนำไปจ่ายเป็นเงินปันผลไม่ได้

ผลต่างจากการแปลงค่างบการเงิน

ผลต่างจากการแปลงค่างบการเงินแสดงในส่วนของเจ้าของประกอบด้วยผลต่างการแปลงค่าทั้งหมดจากงบการเงินของหน่วยงาน ในต่างประเทศและการแปลงค่าหนี้สินจากการป้องกันความเสี่ยงในเงินลงทุนสุทธิของบริษัท

24 ข้อมูลทางการเงินจำแนกตามส่วนงาน กลุ่มบริษัทได้นำเสนอข้อมูลทางการเงินจำแนกตามส่วนงานธุรกิจ รูปแบบหลักในการรายงานส่วนงานธุรกิจ พิจารณาจากระบบ การบริหารการจัดการและโครงสร้างการรายงานทางการเงินภายในของกลุ่มบริษัทเป็นเกณฑ์ในการกำหนดส่วนงาน

กลุ่มบริษัทเสนอส่วนงานธุรกิจที่สำคัญ ดังนี้

ส่วนงาน 1

สินค้าและบริการทางอุตสาหกรรม

ส่วนงาน 2

สินค้าและบริการทางอุปโภคบริโภค

ส่วนงาน 3

สินค้าและบริการทางเทคนิค

กลุ่มบริษัทดำเนินธุรกิจหลักเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น ดังนั้นฝ่ายบริหารจึงพิจารณาว่า กลุ่มบริษัทมีส่วนงานทางภูมิศาสตร์

เพียงส่วนงานเดียว


รายได้จากการขายและการให้บริการ 13,067.8 10,699.8 รายได้อื่น 137.8 165.2 รวมรายได้ 13,205.6 10,865.0 ต้นทุนขายและต้นทุนการให้บริการ 10,173.7 9,242.2 ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร 1,110.0 937.6 รวมค่าใช้จ่าย 11,283.7 10,179.8 ส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนในบริษัทร่วม 30.0 47.1 กำไรก่อนต้นทุนทางการเงินและภาษีเงินได้ 1,951.9 732.3 ต้นทุนทางการเงิน (123.6) (166.4) กำไรก่อนภาษีเงินได้ 1,828.3 565.9 ภาษีเงินได้ (437.4) (134.0) กำไรสำหรับปี 1,390.9 431.9

ส่วนงานที่ 1 2553 2552

ข้อมูลเกี่ยวกับผลการดำเนินงานตามส่วนงานธุรกิจ

7,223.5 46.3 7,269.8 4,803.9 1,811.3 6,615.2 - 654.6 (58.5) 596.1 (124.3) 471.8

8,068.5 39.7 8,108.2 5,558.1 1,995.9 7,554.0 - 554.2 (52.6) 501.6 (99.8) 401.8

ส่วนงานที่ 2 2553 2552

บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 2552

30.0 592.1 (3.4) 588.7 (168.4) 420.3

2,845.2 1,185.1 4,030.3

4,532.1 60.3 4,592.4

14.2 588.6 (17.2) 571.4 (164.9) 406.5

2,843.3 1,131.5 3,974.9

4,457.6 91.7 4,549.3

(ล

ส่วนงานที่ 3 2553 2552 2552

2.2 720.9 (176.8) 544.1 33.4 577.5

420.0 299.0 719.0 2.4 407.2 (115.4) 291.8 4.5 296.3

308.3 312.0 620.3

488.0 418.3 949.7 606.8 1,437.7 1,025.1

2553

านบาท)

อื่นๆ

- (729.2) (129.4) (599.8) (4.1) (595.7)

(57.4) (198.2) (255.6)

(74.6) (910.2) (984.8)

2553

รวม 2552

- (425.4) (135.3) (290.1) (3.5) (286.6)

62.2 3,089.9 (227.0) 2,862.9 (668.1) 2,194.8

63.7 1,957.3 (222.2) 1,735.1 (415.2) 1,319.9

- 18,939.6 17,197.8 (213.3) 4,391.8 3,979.1 (213.3) 23,331.4 21,176.9

- 26,081.8 22,799.2 (638.7) 277.3 271.3 (638.7) 26,359.1 23,070.5

ตัดรายการระหว่างกัน 2553 2552

214


เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ลูกหนี้การค้า เงินให้กู้ยืมระยะยาวแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกัน

ที่ถึงกำหนดชำระภายใน 1 ปี เงินให้กู้ยืมระยะสั้นและลูกหนี้อื่น

กิจการที่เกี่ยวข้องกัน สินค้าคงเหลือ สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น รวมสินทรัพย์หมุนเวียน เงินลงทุนในบริษัทร่วม เงินลงทุนระยะยาวอื่น เงินให้กู้ยืมระยะยาวแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกัน สิทธิการเช่าที่ดิน ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ สินทรัพย์ไม่มีตัวตน สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น รวมสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน รวมสินทรัพย์

139.8 790.9 69.6 2,601.4 205.8 - - 55.6 2,840.0 2.2 177.3 2.0 3,282.9 5,884.3

0.2 2,870.3 60.1 4,991.0

810.8 2,739.4 138.1 6,472.1

4,248.6 355.1 - - - - - 2.1 7,335.6 6,311.7 10.4 12.3 86.5 210.3 74.3 78.3 11,755.4 6,969.8 18,227.5 11,960.8

-

-

-

122.8 1,478.3

126.3 1,934.1

205.8 - - 55.8 2,997.1 3.8 164.5 0.7 3,427.7 5,787.3

193.2 783.7 70.1 2,359.6

-

37.3 1,275.3

ส่วนงานที่ 2 2553 2552

398.8 2,385.0

ส่วนงานที่ 1 2553 2552

ข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินตามส่วนงานธุรกิจ

บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 2552

39.2 - - - 69.0 - 4.4 14.0 126.6 3,266.4

649.0 931.2 92.8 3,139.8

-

25.1 1,441.7

อื่นๆ

-

658.1 100.0

2552

(2,800.0)

- (35.5) -

- (116.3)

ตัดรายการระหว่างกัน 2553 2552

รวม

-

1,223.7 5,390.5

2553

-

841.1 4,561.6

2552

481.5 394.1 (2,079.5) (1,246.0) 1.6 0.2 5.2 0.6 (0.6) - 4,466.1 4,501.6 309.7 202.7 - - 610.2 416.5 4,394.4 1,355.5 (4,915.6) (1,362.3) 11,692.1 10,321.0

2,800.0

677.0 121.0

านบาท)

2553

31.2 11,851.5 7,324.1 (15,932.9) (7,517.7) 412.2 398.5 - 0.8 0.8 - - 0.8 0.8 - - 2,800.0 - (2,800.0) - - - - - - - 55.6 57.9 22.5 691.4 500.9 1,597.5 1,619.0 12,533.5 11,451.2 - 72.6 58.8 1,861.3 81.8 1,946.5 156.7 8.6 160.4 146.8 4.2 1.4 432.8 531.6 2.9 24.3 28.1 7.9 7.9 122.5 117.9 65.2 12,801.0 10,859.5 (12,462.0) (8,607.6) 15,503.9 12,714.6 3,042.4 17,195.4 12,215.0 (17,377.6) (9,969.9) 27,196.0 23,035.6

658.7 847.0 83.6 2,977.2

-

19.4 1,368.5

(ล

ส่วนงานที่ 3 2553 2552

รายงานประจำปี 2553

215

• บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน)


รายจ่ายฝ่ายทุน ค่าเสื่อมราคา ค่าตัดจำหน่าย กำไรจากการจำหน่ายสินทรัพย์

1,307.6 330.5 2,364.7 - - - 111.0 - 9.5 120.5 2,485.2

171.6 491.6 4,578.6 582.5 - 1,600.0 134.1 - - 2,316.6 6,895.2

779.0 1,004.9 4.6 0.1

291.3 942.0 5.1 1.2

- - 1,200.0 102.0 - - 1,302.0 2,602.5

304.4 361.2 1,300.5

142.0 492.9 - -

134.7 286.6 5.2 1.1

298.7 272.2 3.6 4.8

ส่วนงานที่ 2 2553 2552

100.0 626.6 - -

ส่วนงานที่ 2 2553 2552

1,891.5 1,689.9 334.0 -

ส่วนงานที่ 1 2553 2552

เงินเบิกเกินบัญชีธนาคารและเงินกู้ยืมระยะสั้น

จากสถาบันการเงิน 530.5 เจ้าหนี้การค้า 1,904.5 เงินกู้ยืมระยะยาวที่ถึงกำหนดชำระภายในหนึ่งปี 401.5 หุ้นกู้ที่ถึงกำหนดชำระภายใน 1 ปี - เงินกู้ยืมระยะสั้นและเจ้าหนี้อื่น กิจการที่เกี่ยวข้องกัน 2,473.0 หนี้สินหมุนเวียนอื่น 834.7 รวมหนี้สินหมุนเวียน 6,144.2 เงินกู้ยืมระยะยาวจากสถาบันการเงิน 492.2 หุ้นกู้ - เงินกู้ยืมระยะยาวจากกิจการที่เกี่ยวข้องกัน - สำรองเงินบำเหน็จพนักงาน 152.1 หนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี - หนี้สินไม่หมุนเวียนอื่น 0.7 รวมหนี้สินไม่หมุนเวียน 645.0 รวมหนี้สิน 6,789.2

ส่วนงานที่ 1 2553 2552

บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 2552

32.3 13.2 - -

0.3 1.1 - 0.2

(ล

- - - 30.1 - - 30.1 753.0

73.3 179.2 722.9

- 470.4 - -

ส่วนงานที่ 3 2553 2552

- - - 26.7 - - 26.7 736.4

28.3 124.0 709.7

- 557.4 - -

(ล

ส่วนงานที่ 3 2553 2552

- 40.1 35.0 -

2552

- (5.9) - -

- (26.5) - -

ตัดรายการระหว่างกัน 2553 2552

5.3 2,319.5 9,567.9

647.5 3,132.5 433.5 3,029.6

2553

รวม

1.0 2,034.5 7,104.8

2,033.5 2,666.8 369.0 -

2552

อื่นๆ

199.4 83.2 18.3 0.4

านบาท)

2553

135.9 94.3 18.5 (1.1)

2552

- - - -

ตัดรายการระหว่างกัน 2553 2552

- - - -

รวม

1,145.4 1,387.9 28.1 1.6

2553

726.2 1,309.6 27.7 5.1

2552

1,576.0 - - - 2,068.2 582.5 1,896.6 3,027.8 - - 1,896.6 3,027.8 - - - (2,800.0) - - 111.0 98.8 - - 400.8 365.0 - - 488.3 488.3 488.3 488.3 101.6 93.5 - - 111.8 93.5 3,685.2 3,220.1 488.3 (2,311.7) 4,965.7 4,557.1 8,988.4 5,056.1 (4,465.6) (3,644.9) 14,533.6 11,661.9

1,107.1 791.8 (4,910.7) (1,340.1) 1,067.6 969.1 (37.3) 33.4 5,303.2 1,836.0 (4,953.9) (1,333.2)

17.0 49.9 32.0 3,029.6

2553

านบาท)

อื่นๆ

216


รายงานประจำปี 2553

• บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน)

217

บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 2552 25 รายได้อื่น

ดอกเบี้ยรับ กำไรจากการจำหน่ายทรัพย์สิน รายได้ค่าเช่าและค่าบริการ รายได้จากการขายเศษซาก รายได้ค่านายหน้า กลับรายการค่าเผื่อการด้อยค่าของเงินลงทุน อื่นๆ รวม

งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะกิจการ 2553 2552 2553 2552 (พันบาท)

6,337 1,614 52,058 37,555 1,703 - 135,140 234,407

5,006 5,131 29,479 50,140 243 - 149,362 239,361

120,641 - 200,602 - 312 - 61,842 383,397

127,133 - 182,259 - 2,437 5,567 125,681 443,077

26 ค่าใช้จ่ายในการขาย

ค่าใช้จ่ายในการจัดจำหน่าย ค่าใช้จ่ายการตลาด ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับบุคลากร อื่นๆ รวม

งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะกิจการ 2553 2552 2553 2552 (พันบาท)

1,007,050 1,285,563 373,938 290,521 2,957,072

973,679 1,154,375 387,722 457,899 2,973,675

725,157 1,190,485 279,995 161,125 2,356,762

652,979 1,125,198 296,380 276,641 2,351,198


218

บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 2552 27 ค่าใช้จ่ายในการบริหาร

ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับบุคลากร อื่นๆ รวม

งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะกิจการ 2553 2552 2553 2552 (พันบาท)

736,160 638,585 1,374,745

628,730 304,015 932,745

471,030 373,572 844,602

383,089 207,437 590,526

28 ค่าใช้จ่ายผลประโยชน์ตอบแทนพนักงาน

ผู้บริหาร เงินเดือนและค่าแรง เงินสมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพและโครงการผลประโยชน์ พนักงานอื่น เงินเดือนและค่าแรง เงินสมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพและโครงการผลประโยชน์ อื่นๆ รวม

งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะกิจการ 2553 2552 2553 2552 (พันบาท)

57,394 2,598 59,992

69,885 2,817 72,702

57,394 2,598 59,992

69,885 2,817 72,702

1,979,207 116,923 301,040 2,397,170

1,795,002 121,926 267,984 2,184,912

605,253 39,459 106,313 751,025

569,992 52,689 56,788 679,469

2,457,162

2,257,614

811,017

752,171

กลุ่มบริษัทได้จัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพสำหรับพนักงานของกลุ่มบริษัทบนพื้นฐานความสมัครใจของพนักงานในการเป็นสมาชิก ของกองทุน โดยพนักงานจ่ายเงินสะสมในอัตราร้อยละ 3 ถึงอัตราร้อยละ 7.5 ของเงินเดือนทุกเดือน และกลุ่มบริษัทจ่ายสมทบในอัตรา ร้อยละ 3 ถึง อัตราร้อยละ 7.5 ของเงินเดือนของพนักงานทุกเดือน กองทุนสำรองเลี้ยงชีพนี้ได้จดทะเบียนเป็นกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ตามข้อกำหนดของกระทรวงการคลังและจัดการกองทุนโดยผู้จัดการกองทุนที่ได้รับอนุญาต


รายงานประจำปี 2553

• บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน)

219

บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 2552 29 ค่าใช้จ่ายตามลักษณะ งบการเงินได้รวมการวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายตามหน้าที่ ค่าใช้จ่ายตามลักษณะได้เปิดเผยตามข้อกำหนดในมาตรฐานการรายงาน ทางการเงินฉบับต่างๆ ดังนี้

การเปลี่ยนแปลงในสินค้าสำเร็จรูปและงานระหว่างทำ สินค้าที่ซื้อมาเพื่อขาย วัตถุดิบและวัสดุสิ้นเปลืองที่ใช้ไป ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย ค่าใช้จ่ายผลประโยชน์ตอบแทนพนักงาน อื่นๆ รวมต้นทุนขาย ค่าใช้จ่ายในการขายและ ค่าใช้จ่ายในการบริหาร

งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะกิจการ 2553 2552 2553 2552 (พันบาท)

(491,161) 4,177,401 8,817,186 1,413,704 2,457,612 6,956,701

224,119 3,224,711 8,198,721 1,336,891 2,257,614 5,934,868

(183,041) 14,683,712 - 69,752 811,017 2,380,587

(302,147) 13,478,590 - 61,399 752,171 2,200,855

23,331,443

21,176,924

17,762,027

16,190,868

30 ต้นทุนทางการเงิน

งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะกิจการ หมายเหตุ 2553 2552 2553 2552 (พันบาท)

ดอกเบี้ยจ่าย กิจการที่เกี่ยวข้องกัน สถาบันการเงิน ค่าตัดจำหน่ายของต้นทุนการทำรายการ ในการออกหุ้นกู้ ส่วนที่บันทึกเป็นต้นทุนของ สินทรัพย์ระหว่างก่อสร้าง สุทธิ

5

- 225,384

- 220,480

7,009 160,746

5,555 114,048

1,640 227,024

1,792 222,272

1,640 169,395

1,792 121,395

(17) 227,077

(111) 222,161

- 169,395

- 121,395


220

บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 2552 31 ภาษีเงินได้

งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะกิจการ หมายเหตุ 2553 2552 2553 2552 (พันบาท)

ภาษีเงินได้ปัจจุบัน สำหรับปีปัจจุบัน ภาษีปีก่อนๆ ที่บันทึกต่ำไป (สูงไป) ภาษีเงินได้รอตัดบัญชี การเปลี่ยนแปลงของผลต่างชั่วคราว รวม การกระทบยอดเพื่อหาอัตราภาษีที่แท้จริง กำไรก่อนภาษีเงินได้ จำนวนภาษีตามอัตราภาษีเงินได้ การลดภาษีเงินได้ ผลกระทบจากความแตกต่างของอัตราภาษี

สำหรับกิจการในต่างประเทศ รายได้ที่ไม่ต้องเสียภาษี ค่าใช้จ่ายต้องห้ามทางภาษี รวม

538,506 (6,272) 532,234

436,417 75 436,492

241,521 (908) 240,613

254,368 28 254,396

15

135,820 668,054

(21,272) 415,220

(16,896) 223,717

(32,142) 222,254

งบการเงินรวม 2553 2552 อัตราภาษี อัตราภาษี (ร อยละ) (พันบาท) (ร อยละ) (พันบาท)

30

2,862,870 858,861 (15,450)

30

1,735,113 520,533 (15,657)

23

(3,251) (177,946) 5,840 668,054

24

- (112,173) 22,517 415,220


รายงานประจำปี 2553

• บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน)

221

บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 2552 การกระทบยอดเพื่อหาอัตราภาษีที่แท้จริง กำไรก่อนภาษีเงินได้ จำนวนภาษีตามอัตราภาษีเงินได้ การลดภาษีเงินได้ รายได้ที่ไม่ต้องเสียภาษี ค่าใช้จ่ายต้องห้ามทางภาษี รวม

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2553 2552 อัตราภาษี อัตราภาษี (ร อยละ) (พันบาท) (ร อยละ) (พันบาท)

30 16

1,379,274 413,782 (15,000) (181,652) 6,587 223,717

30 21

1,046,223 313,868 (15,000) (86,247) 9,633 222,254

การลดภาษีเงินได้นิติบุคคล

พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากรฉบับที่ 475 พ.ศ. 2551 ให้สิทธิแก่บริษัทที่มี หลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ โดยลดอัตราภาษีเงินได้ จากร้อยละ 30 เป็นร้อยละ 25 สำหรับกำไรสุทธิเฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 300 ล้านบาท เป็นเวลาสามรอบระยะเวลาบัญชีต่อเนื่องกันนับแต่ รอบระยะเวลาบัญชีแรกที่เริ่มในหรือหลัง 1 มกราคม 2551

32 สิทธิประโยชน์จากการส่งเสริมการลงทุน คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนอนุมัติให้ บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ เซลล็อกซ์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อย ได้รับสิทธิประโยชน์หลาย ประการในฐานะผู้ได้รับการส่งเสริมการลงทุนตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 สำหรับกิจการผลิตกระดาษ ตามหนังสือ ของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (“คณะกรรมการ”) เลขที่ 1541 (2)/2547 ลงวันที่ 6 กรกฎาคม 2547 เพื่อการผลิต กระดาษอนามัย และเลขที่ 1875 (2)/2547 ลงวันที่ 19 ตุลาคม 2547 เพื่อการผลิตเยื่อกระดาษ โดยมีสิทธิประโยชน์และเงื่อนไขที่สำคัญ ดังนี้

(ก) ให้ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าและภาษีสำหรับเครื่องจักรที่ได้รับอนุมัติโดยคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน

(ข) ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิที่ได้จากการประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริมรวมกันไม่เกินร้อยละ 100 ของเงินลงทุนไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียนมีกำหนดเวลา 8 ปี นับแต่วันที่เริ่มมีรายได้จากการประกอบกิจการนั้น ภาษี เงินได้นิติบุคคลที่ได้รับยกเว้นต้องมีมูลค่าไม่เกินจำนวน 1,207 ล้านบาท สำหรับบัตรส่งเสริมเลขที่ 1541 (2)/2547 และ ไม่เกินจำนวน 471 ล้านบาท สำหรับบัตรส่งเสริมเลขที่ 1875 (2)/2547 ทั้งนี้ จะเปลี่ยนตามจำนวนเงินลงทุนโดยไม่รวมค่าที่ดิน และทุนหมุนเวียนที่แท้จริงในวันเปิดดำเนินการ ตามโครงการที่ได้รับการส่งเสริม

(ค) ให้ได้รับลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลร้อยละ 50 สำหรับกำไรสุทธิที่ได้จากการประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริมมีกำหนด เวลา 5 ปี นับแต่วันที่สิ้นสุดสิทธิประโยชน์ตามข้อ (ข) (ง) ได้รับอนุญาตให้หักค่าขนส่ง ค่าไฟฟ้าและค่าน้ำประปาเป็น 2 เท่า ของค่าใช้จ่ายดังกล่าวเป็นระยะเวลา 10 ปี นับแต่วันที่เริ่มมี

รายได้จากการประกอบกิจการ


222

บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 2552

คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนอนุมัติให้ บริษัท ไทยเบเวอร์เรจแคน จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อย ได้รับสิทธิประโยชน์หลายประการ ในฐานะผู้ได้รับการส่งเสริมการลงทุนตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 เกี่ยวกับการผลิตกระป๋องอะลูมิเนียม ประเภท 4.18 กิจการผลิตภาชนะบรรจุสิ่งของที่ทำจากโลหะ ฉบับลงวันที่ 11 มิถุนายน 2550 ซึ่งพอสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้

(ก) ให้ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าและภาษีสำหรับเครื่องจักรที่ได้รับอนุมัติโดยคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน

(ข) ให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิที่ได้จากการประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริมมีกำหนดเวลา 7 ปี นับแต่

วันที่เริ่มมีรายได้จากการประกอบกิจการนั้น อย่างไรก็ตาม ภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ได้รับยกเว้นจะต้องรวมกันไม่เกินร้อยละ 100 ของเงินลงทุนไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน

(ค) ในกรณีที่ประกอบกิจการขาดทุนในช่วงเวลาได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลได้รับอนุญาตให้นำผลขาดทุนประจำปีท ี่

เกิดขึ้นในช่วงเวลานั้นไปหักออกจากกำไรสุทธิที่เกิดขึ้นภายหลังระยะเวลาได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลมีกำหนดเวลา ไม่เกิน 5 ปี นับแต่วันพ้นกำหนดเวลานับ

คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนอนุมัติให้ บริษัท ไทยเบเวอร์เรจแคน จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อย ได้รับสิทธิประโยชน์หลายประการ ในฐานะผู้ได้รับการส่งเสริมการลงทุนตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 เกี่ยวกับการผลิตฝากระป๋องอะลูมิเนียมสำหรับ บรรจุเครื่องดื่ม ประเภท 4.3 การผลิตผลิตภัณฑ์โลหะรวมทั้งชิ้นส่วนโลหะ ฉบับลงวันที่ 25 กรกฎาคม 2546 ซึ่งพอสรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้

(ก) ให้ได้รับส่วนลดสำหรับอากรขาเข้าในอัตราร้อยละ 50 สำหรับเครื่องจักรที่คณะกรรมการอนุมัติภายในระยะเวลาที่กำหนด

(ข) ให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิที่ได้จากการประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริมมีกำหนดเวลา 7 ปี นับแต่

วันที่เริ่มมีรายได้จากการประกอบกิจการนั้น อย่างไรก็ตาม ภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ได้รับยกเว้นจะต้องรวมกันไม่เกินร้อยละ 100 ของเงินลงทุนไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน

(ค) ในกรณีที่ประกอบกิจการขาดทุนในช่วงเวลาได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลได้รับอนุญาตให้นำผลขาดทุนประจำปีที่เกิดขึ้น ในช่วงเวลานั้นไปหักออกจากกำไรสุทธิที่เกิดขึ้นภายหลังระยะเวลาได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลมีกำหนดเวลาไม่เกิน 5 ปี นับแต่วันพ้นกำหนดเวลานับ

คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนอนุมัติให้บริษัท ไทยเบเวอร์เรจแคน จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อย ได้รับสิทธิประโยชน์หลายประการ ในฐานะผู้ได้รับการส่งเสริมการลงทุนตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 เกี่ยวกับการผลิตกระป๋องอะลูมิเนียมและ ฝากระป๋องอะลูมิเนียมสำหรับบรรจุเครื่องดื่ม ประเภท 4.6 การผลิตภาชนะบรรจุสิ่งของที่ทำจากโลหะ ฉบับลงวันที่ 15 สิงหาคม 2539 ซึ่งพอสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้

(ก) ให้ได้รับส่วนลดสำหรับอากรขาเข้าในอัตราร้อยละ 50 สำหรับเครื่องจักรที่คณะกรรมการอนุมัติภายในระยะเวลาที่กำหนด

(ข) ให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิที่ได้จากการประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริมมีกำหนดเวลา 7 ปี นับแต่

วันที่เริ่มมีรายได้จากการประกอบกิจการนั้น

(ค) ในกรณีที่ประกอบกิจการขาดทุนในช่วงเวลาได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลได้รับอนุญาตให้นำผลขาดทุนประจำปีที่เกิดขึ้น ในช่วงเวลานั้นไปหักออกจากกำไรสุทธิที่เกิดขึ้นภายหลังระยะเวลาได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลมีกำหนดเวลาไม่เกิน 5 ปี นับแต่วันพ้นกำหนดเวลานับ


รายงานประจำปี 2553

• บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน)

223

บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 2552

(ง) ได้รับอนุญาตให้หักภาษีเงินได้พึงประเมินในอัตราร้อยละ 5 ของรายได้ที่เพิ่มขึ้นจากปีก่อนจากการส่งออกเป็นระยะเวลา 10 ปี นับแต่วันที่มีรายได้จากการประกอบกิจการนั้น ทั้งนี้ รายได้จากการส่งออกของปีนั้นๆ จะต้องไม่ต่ำกว่ารายได้จากการส่งออก เฉลี่ยของสามปีย้อนหลัง ยกเว้นสองปีแรก

เนื่องจากเป็นกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนบริษัทย่อยจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขและข้อกำหนดตามที่ระบุไว้ในบัตรส่งเสริม การลงทุน คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนอนุมัติให้บริษัท ไทย มาลายากลาส จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยทางอ้อมของกิจการที่ควบคุมร่วมกัน ได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนสำหรับการผลิตขวดแก้วตามบัตรส่งเสริมการลงทุนเลขที่ 2089(2)/2548 เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2548 ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดบางประการ สิทธิพิเศษดังกล่าวรวมถึงการได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับ กำไรสุทธิที่ได้จากการประกอบกิจการที่ได้รับส่งเสริมเป็นระยะเวลา 7 ปีนับแต่วันที่เริ่มมีรายได้จากการประกอบกิจการนั้น (วันที่ 5 ตุลาคม 2550)

รายได้ที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนและที่ไม่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนสรุปได้ดังนี้ งบการเงินรวม

ขายต่างประเทศ ขายในประเทศ ตัดรายการระหว่างกัน รวมรายได้

กิจการที่ ได้รับ การส่งเสริม

323,289 2,890,201 (976,973) 2,236,517

2553 กิจการที่ ไม่ ได้รับ การส่งเสริม รวม

2,390,783 32,971,115 (11,516,580) 23,845,318

(พันบาท)

2,714,072 35,861,316 (12,493,553) 26,081,835

กิจการที่ ได้รับ การส่งเสริม

280,259 2,374,397 (820,723) 1,833,933

2552 กิจการที่ ไม่ ได้รับ การส่งเสริม

1,764,929 30,278,008 (11,077,698) 20,965,239

รวม

2,045,188 32,652,405 (11,898,421) 22,799,172

33 กำไรต่อหุ้น กำไรต่อหุ้นสำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 2552 คำนวณจากกำไรสำหรับปีที่เป็นส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทและ จำนวนหุ้นสามัญที่ออกจำหน่ายแล้วระหว่างปีโดยแสดงการคำนวณดังนี้

กำไรที่เป็นส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัท จำนวนหุ้นสามัญที่ออกจำหน่ายแล้ว กำไรต่อหุ้น (บาท)

งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะกิจการ 2553 2552 2553 2552 (พันบาท/พันหุ น)

1,905,465 1,588,125 1.20

1,262,101 1,588,125 0.79

1,155,557 1,588,125 0.73

823,970 1,588,125 0.52


224

บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 2552 34 เงินปันผล ในการประชุมคณะกรรมการของบริษัทเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2553 ได้มีมติอนุมัติให้จ่ายเงินปันผลระหว่างกาลสำหรับปี 2553 ในอัตราหุ้นละ 0.25 บาท เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 397 ล้านบาท โดยจ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้นแล้วเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2553 ในการประชุมสามัญประจำปีของผู้ถือหุ้นของบริษัท เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2553 ผู้ถือหุ้นมีมติอนุมัติการจัดสรรกำไรเป็นเงินปันผล ในอัตราหุ้นละ 0.33 บาท เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 524 ล้านบาท ซึ่งส่วนหนึ่งได้จ่ายเป็นเงินปันผลระหว่างกาลในอัตราหุ้นละ 0.12 บาท รวมเป็นจำนวนเงิน 191 ล้านบาท เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2552 คงเหลือการจ่ายเงินปันผลอีกในอัตราหุ้นละ 0.21 บาท รวมเป็นจำนวน เงิน 333 ล้านบาท โดยเงินปันผลดังกล่าวจ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้นในวันที่ 27 พฤษภาคม 2553 ในการประชุมคณะกรรมการของบริษัทเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2552 ได้มีมติอนุมัติให้จ่ายเงินปันผลระหว่างกาลสำหรับปี 2552 ในอัตราหุ้นละ 0.12 บาท เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 191 ล้านบาท โดยจ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้นแล้วเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2552 ในการประชุมสามัญประจำปีของผู้ถือหุ้นของบริษัท เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2552 ผู้ถือหุ้นมีมติอนุมัติการจัดสรรกำไรเป็นเงินปันผล ในอัตราหุ้นละ 0.30 บาท เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 476 ล้านบาท ซึ่งส่วนหนึ่งได้จ่ายเป็นเงินปันผลระหว่างกาลในอัตราหุ้นละ 0.15 บาท รวมเป็นจำนวนเงิน 238 ล้านบาท เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2551 คงเหลือการจ่ายเงินปันผลอีกในอัตราหุ้นละ 0.15 บาท รวมเป็นจำนวน เงิน 238 ล้านบาท โดยเงินปันผลดังกล่าวจ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้นในวันที่ 27 พฤษภาคม 2552

35 เครื่องมือทางการเงิน

นโยบายการจัดการความเสี่ยงทางด้านการเงิน

กลุ่มบริษัทมีความเสี่ยงจากการดำเนินธุรกิจตามปกติจากการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยและอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ และจากการไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดตามสัญญาของคู่สัญญา กลุ่มบริษัทไม่มีการถือหรือใช้เครื่องมือทางการเงินที่เป็นตราสารอนุพันธ์ เพื่อการเก็งกำไรหรือการค้า การจัดการความเสี่ยงเป็นส่วนที่สำคัญของธุรกิจของกลุ่มบริษัท กลุ่มบริษัทมีระบบในการควบคุมให้มีความสมดุลของระดับ

ความเสี่ยงที่ยอมรับได้ โดยพิจารณาระหว่างต้นทุนที่เกิดจากความเสี่ยงและต้นทุนของการจัดการความเสี่ยง ฝ่ายบริหารได้มีการควบคุม กระบวนการการจัดการความเสี่ยงของกลุ่มบริษัทอย่างต่อเนื่องเพื่อให้มั่นใจว่ามีความสมดุลระหว่างความเสี่ยงและการควบคุม ความเสี่ยง

การบริหารจัดการทุน

นโยบายของคณะกรรมการบริษัท คือการรักษาระดับเงินทุนให้มั่นคงเพื่อรักษานักลงทุน เจ้าหนี้และความเชื่อมั่นของตลาดและ ก่อให้เกิดการพัฒนาของธุรกิจในอนาคต คณะกรรมการได้มีการกำกับดูแลผลตอบแทนจากการลงทุน ซึ่งกลุ่มบริษัทพิจารณาจาก สัดส่วนของผลตอบแทนจากกิจกรรมดำเนินงานต่อส่วนของเจ้าของรวม ซึ่งไม่รวมส่วนได้เสียที่ไม่มีอำนาจควบคุม อีกทั้งยังกำกับดูแล ระดับการจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นสามัญ

ความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ย

ความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ย หมายถึง ความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดในอนาคตของอัตราดอกเบี้ยในตลาด ซึ่ง ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานและกระแสเงินสดของกลุ่มบริษัท เนื่องจากดอกเบี้ยของเงินกู้ยืมส่วนใหญ่มีอัตราคงที่ กลุ่มบริษัทมี


รายงานประจำปี 2553

• บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน)

225

บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 2552 ความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ยที่เกิดจากเงินกู้ยืม (ดูหมายเหตุข้อ 17) กลุ่มบริษัทได้ลดความเสี่ยงดังกล่าวโดยทำให้แน่ใจว่าดอกเบี้ยที่เกิด จากเงินกู้ยืมส่วนใหญ่มีอัตราคงที่ และใช้เครื่องมือทางการเงินที่เป็นตราสารอนุพันธ์ซึ่งเกี่ยวข้องกับการแลกเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ย เพื่อใช้ ในการจัดการความเสี่ยงที่เกิดจากความผันผวนของอัตราดอกเบี้ยที่เกิดจากเงินกู้ยืมเป็นการเฉพาะ

อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงของเงินกู้ยืม ณ วันที่ 31 ธันวาคม และระยะที่ครบกำหนดชำระหรือกำหนดอัตราใหม่มีดังนี้ งบการเงินรวม อัตรา อัตราดอกเบี้ยคงที่ครบกำหนดชำระ ดอกเบี้ย อัตราดอกเบี้ย หลังจาก 1 ปี ที่แท้จริง ลอยตัว ภายในหนึ่งปี แต่ภายใน 5 ปี (ร อยละต อป ) (ล านบาท)

ปี 2553 หมุนเวียน เงินกู้ยืมระยะสั้นจากสถาบันการเงิน เงินกู้ยืมระยะยาวที่ถึงกำหนดชำระ ภายในหนึ่งปี หุ้นกู้ส่วนที่ถึงกำหนดชำระภายในหนึ่งปี ไม่หมุนเวียน เงินกู้ยืมระยะยาวจากสถาบันการเงิน หุ้นกู้ รวม ปี 2552 หมุนเวียน เงินกู้ยืมระยะสั้นจากสถาบันการเงิน เงินกู้ยืมระยะยาวที่ถึงกำหนดชำระ ภายในหนึ่งปี ไม่หมุนเวียน เงินกู้ยืมระยะยาวจากสถาบันการเงิน หุ้นกู้ รวม

รวม

4.67

-

647.51

-

647.51

4.35 3.73

- -

433.50 3,029.59

- -

433.50 3,029.59

3.82 3.45

- - -

- - 4,110.60

2,068.25 1,896.57 3,964.82

2,068.25 1,896.57 8,075.42

1.93

-

2,033.50

-

2,033.50

4.34

-

369.00

-

369.00

4.34 3.73

- - -

- - 2,402.50

582.50 3,027.79 3,610.29

582.50 3,027.79 6,012.79


226

บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 2552

ปี 2553 หมุนเวียน หุ้นกู้ส่วนที่ถึงกำหนดชำระภายในหนึ่งปี เงินกู้ยืมระยะสั้นจากกิจการที่เกี่ยวข้องกัน ไม่หมุนเวียน เงินกู้ยืมระยะยาวจากสถาบันการเงิน หุ้นกู้ รวม ปี 2552 หมุนเวียน เงินกู้ยืมระยะสั้นจากกิจการที่เกี่ยวข้องกัน ไม่หมุนเวียน หุ้นกู้ รวม

งบการเงินเฉพาะกิจการ อัตรา อัตราดอกเบี้ยคงที่ครบกำหนดชำระ ดอกเบี้ย หลังจาก 1 ปี ที่แท้จริง ภายในหนึ่งปี แต่ภายใน 5 ปี (ร อยละต อป ) (ล านบาท)

รวม

3.73 0.75

3,029.59 1,008.19

- -

3,029.59 1,008.19

3.59 3.45

- - 4,037.78

1,576.00 1,896.57 3,472.57

1,576.00 1,896.57 7,510.35

0.75

731.15

-

731.15

3.73

- 731.15

3,027.79 3,027.79

3,027.79 3,758.94

ความเสี่ยงจากเงินตราต่างประเทศ

กลุ่ ม บริ ษั ท มี ค วามเสี่ ย งจากอั ต ราแลกเปลี่ ย นเงิ น ตราต่ า งประเทศ ซึ่ ง เกิ ด จากการซื้ อ สิ น ค้ า และการขายสิ น ค้ า ที่ เ ป็ น เงิ น ตรา ต่ า งประเทศ กลุ่ ม บริษัทได้ทำสัญญาซื้อขายเงินตราต่ า งประเทศล่ ว งหน้ า ซึ่ ง รายการดั ง กล่ า วจะมี อ ายุ ไ ม่ เ กิ น หนึ่ ง ปี เพื่อป้องกัน

ความเสี่ยงของสินทรัพย์และหนี้สินทางการเงินที่เป็นเงินตราต่างประเทศ สัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า ณ วันที่รายงาน เป็นรายการที่เกี่ยวข้องกับรายการซื้อและขายสินค้าที่เป็นเงินตราต่างประเทศในงวดถัดไป


รายงานประจำปี 2553

• บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน)

227

บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 2552 ณ วันที่ 31 ธันวาคม กลุ่มบริษัทและบริษัทมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศอันเป็นผลมาจากการมีสินทรัพย์ และหนี้สินที่เป็นเงินตราต่างประเทศดังนี้

งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะกิจการ หมายเหตุ 2553 2552 2553 2552 (พันบาท)

เงินเหรียญสหรัฐอเมริกา เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ลูกหนี้การค้า เจ้าหนี้การค้า หนี้สินหมุนเวียนอื่น ยอดบัญชีในงบดุลที่มีความเสี่ยง ประมาณการยอดขายสินค้า ประมาณการยอดซื้อสินค้า ยอดรวมความเสี่ยงทั้งสิ้น สัญญาซื้อเงินตราต่างประเทศ สัญญาขายเงินตราต่างประเทศ ยอดความเสี่ยงคงเหลือสุทธิ เงินเยน เจ้าหนี้การค้า ยอดบัญชีในงบดุลที่มีความเสี่ยง ประมาณการยอดซื้อสินค้า ยอดรวมความเสี่ยงทั้งสิ้น สัญญาซื้อเงินตราต่างประเทศ ยอดความเสี่ยงคงเหลือสุทธิ

6 7 18 19

165,963 163,222 (1,105,796) (158,508) (935,119)

10,879 172,234 (1,212,182) (825) (1,029,894)

208 5,131 (219,151) (797) (214,609)

1,910 22,487 (218,940) - (194,543)

- (76,564) (1,011,683)

20,012 (130,703) (1,140,585)

- (40,896) (255,505)

- (36,298) (230,841)

324,678 (97,903) (784,908)

622,269 (63,363) (581,679)

213,640 (86,702) (128,567)

295,459 (16,430) 48,188

18

(239,537) (239,537)

(138,530) (138,530)

(41,822) (41,822)

(10,153) (10,153)

(1,740) (241,277)

(153) (138,683)

(1,459) (43,281)

- (10,153)

33,312 (207,965)

92,217 (46,466)

33,019 (10,262)

13,447 3,294


228

บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 2552

งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะกิจการ หมายเหตุ 2553 2552 2553 2552 (พันบาท)

เงินยูโร เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ลูกหนี้การค้า เจ้าหนี้การค้า ยอดบัญชีในงบดุลที่มีความเสี่ยง ประมาณการยอดซื้อสินค้า ยอดรวมความเสี่ยงทั้งสิ้น สัญญาซื้อเงินตราต่างประเทศ ยอดความเสี่ยงคงเหลือสุทธิ สกุลเงินเหรียญสิงคโปร์ ลูกหนี้การค้า เจ้าหนี้การค้า ยอดบัญชีในงบดุลที่มีความเสี่ยง สัญญาซื้อเงินตราต่างประเทศ สัญญาขายเงินตราต่างประเทศ ยอดความเสี่ยงคงเหลือสุทธิ สกุลเงินปอนด์สเตอร์ลิง เจ้าหนี้การค้า ยอดบัญชีในงบดุลที่มีความเสี่ยง สัญญาซื้อเงินตราต่างประเทศ ยอดความเสี่ยงคงเหลือสุทธิ

6 7 18

9,663 42,520 (63,894) (11,711)

57 3,528 (72,840) (69,255)

- 29,922 (46,366) (16,444)

- 3,401 (44,911) (41,510)

(7,027) (18,738)

(16,834) (86,089)

(6,213) (22,657)

(12,068) (53,578)

47,201 28,463

102,607 16,518

35,052 12,395

52,650 (928)

7 18

33,721 (578) 33,143

- - -

- - -

- - -

434 (705) 32,872

4,042 - 4,042

434 - 434

- - -

18

(14,118) (14,118)

- -

- -

- -

206 (13,912)

20,888 20,888

- -

17,936 17,936


รายงานประจำปี 2553

• บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน)

229

บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 2552

งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะกิจการ หมายเหตุ 2553 2552 2553 2552 (พันบาท)

สกุลเงินต่างประเทศอื่น เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ลูกหนี้การค้า หนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ย เจ้าหนี้การค้า หนี้สินหมุนเวียนอื่น ยอดบัญชีในงบดุลที่มีความเสี่ยง ประมาณการยอดซื้อสินค้า ยอดรวมความเสี่ยงทั้งสิ้น สัญญาซื้อเงินตราต่างประเทศ ยอดความเสี่ยงคงเหลือสุทธิ

6 7 17 18 19

22,503 55,674 (40,693) (30,552) - 6,932

- 38,455 - (31,046) (6,150) 1,259

- 114 - (12,754) - (12,640)

- - - (17,758) - (17,758)

- 6,932

(87) 1,172

- (12,640)

- (17,758)

3,874 10,806

9,655 10,827

1,382 (11,258)

769 (16,989)


230

บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 2552

ในการบริหารความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศและอัตราดอกเบี้ย กลุ่มบริษัทใช้ตราสาร อนุพันธ์ทางการเงินดังนี้

สัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553 ยอดคงเหลือสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า สรุปได้ดังนี้

สกุลเงิน

สัญญาซื้อเงินตราต่างประเทศ เหรียญสหรัฐอเมริกา เยน ปอนด์สเตอร์ลิง ออสเตรเรียลดอลลาร์ ยูโร สิงคโปร์ดอลลาร์ ฟรังก์สวิตเซอร์แลนด์ รวม สัญญาขายเงินตราต่างประเทศ เหรียญสหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ดอลลาร์ รวม

งบการเงินรวม จำนวนเงินตรา อัตราถัวเฉลี่ย ต่างประเทศ ตามสัญญา

มูลค่า ตามสัญญา

งบการเงินเฉพาะกิจการ มูลค่า ยุติธรรม

จำนวนเงินตรา อัตราถัวเฉลี่ย ต่างประเทศ ตามสัญญา

(พันบาท)

มูลค่า ตามสัญญา

มูลค่า ยุติธรรม

11,121 91,501 4 83 1,162 18 44

29.20 0.36 47.55 30.06 40.62 22.99 31.18

324,678 33,312 206 2,492 47,201 434 1,382 409,705

324,741 33,941 203 2,611 46,491 441 1,419 409,847

7,454 90,700 - - 858 19 44

28.66 0.36 - - 40.84 22.99 31.18

213,640 33,019 - - 35,052 434 1,382 283,527

214,069 33,645 - - 34,304 441 1,418 283,877

2,849 31

34.36 22.83

97,903 705 98,608

97,350 720 98,070

2,484 -

34.90 -

86,702 - 86,702

86,382 - 86,382


รายงานประจำปี 2553

• บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน)

231

บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 2552 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 ยอดคงเหลือสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า สรุปได้ดังนี้ สกุลเงิน

งบการเงินรวม จำนวนเงินตรา อัตราถัวเฉลี่ย ต่างประเทศ ตามสัญญา

สัญญาซื้อเงินตราต่างประเทศ เหรียญสหรัฐอเมริกา เยน ปอนด์สเตอร์ลิง ออสเตรเรียลดอลลาร์ ยูโร สิงคโปร์ดอลลาร์ ฟรังก์สวิตเซอร์แลนด์ รวม สัญญาขายเงินตราต่างประเทศ เหรียญสหรัฐอเมริกา

มูลค่า ตามสัญญา

งบการเงินเฉพาะกิจการ มูลค่า ยุติธรรม

จำนวนเงินตรา อัตราถัวเฉลี่ย ต่างประเทศ ตามสัญญา

(พันบาท)

มูลค่า ตามสัญญา

มูลค่า ยุติธรรม

18,611 248,742 389 299 2,102 168 24

33.43 0.37 53.74 29.67 48.81 24.03 32.48

622,269 92,217 20,888 8,886 102,607 4,042 769 851,678

621,231 90,435 20,630 8,911 100,643 3,992 777 846,619

8,825 36,384 334 - 1,084 - 24

33.48 0.37 53.77 - 48.58 - 32.48

295,459 13,447 17,936 - 52,650 - 769 380,261

294,526 13,203 17,706 - 51,904 - 777 378,116

1,875

33.79

63,363

63,959

490

33.54

16,430

16,276

มูลค่ายุติธรรมของสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าคำนวณโดยใช้อัตราท้องตลาดที่กำหนดโดยธนาคารของกลุ่มบริษัท เสมือนว่าได้ยกเลิกสัญญาเหล่านั้น ณ วันที่รายงาน ความเสี่ยงทางด้านสินเชื่อ ความเสี่ยงทางด้านสินเชื่อ คือความเสี่ยงที่ลูกค้าหรือคู่สัญญาไม่สามารถชำระหนี้แก่กลุ่มบริษัทตามเงื่อนไขที่ตกลงไว้ เมื่อครบ กำหนด ฝ่ายบริหารได้กำหนดนโยบายทางด้านสินเชื่อเพื่อควบคุมความเสี่ยงทางด้านสินเชื่อดังกล่าวโดยสม่ำเสมอ โดยการวิเคราะห์ฐานะ ทางการเงินของลูกค้าทุกรายที่ขอวงเงินสินเชื่อในระดับหนึ่งๆ ณ วันที่ในรายงานไม่พบว่ามีความเสี่ยงจากสินเชื่อที่เป็นสาระสำคัญ ความเสี่ยงสูงสุดทางด้านสินเชื่อแสดงไว้ในราคาตามบัญชีของสินทรัพย์ทางการเงิน แต่ละรายการในงบดุล อย่างไรก็ตามเนื่องจากกลุ่ม บริษัทมีฐานลูกค้าจำนวนมาก ฝ่ายบริหารไม่ได้คาดว่าจะเกิดผลเสียหายที่มีสาระสำคัญจากการเก็บหนี้ไม่ได้

ความเสี่ยงจากสภาพคล่อง

กลุ่มบริษัทมีการควบคุมความเสี่ยงจากการขาดสภาพคล่องโดยการรักษาระดับของเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดให้เพียงพอ ต่อการดำเนินงานของกลุ่มบริษัท และเพื่อทำให้ผลกระทบจากความผันผวนของกระแสเงินสดลดลง


232

บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 2552

การกำหนดมูลค่ายุติธรรม

นโยบายการบัญชีและการเปิดเผยของกลุ่มบริษัทกำหนดให้มีการกำหนดมูลค่ายุติธรรมทั้งสินทรัพย์และหนี้สินทางการเงินและไม่ใช่ ทางการเงิน มูลค่ายุติธรรม หมายถึง จำนวนเงินที่ผู้ซื้อและผู้ขายตกลงแลกเปลี่ยนสินทรัพย์หรือชำระหนี้สินกัน ในขณะที่ทั้งสองฝ่าย มีความรอบรู้และเต็มใจในการแลกเปลี่ยนกัน และสามารถต่อรองราคากันได้อย่างเป็นอิสระในลักษณะของผู้ที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกัน วัตถุประสงค์ของการวัดมูลค่าและ/หรือการเปิดเผยมูลค่ายุติธรรมถูกกำหนดโดยวิธีต่อไปนี้ ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสมมติฐานในการ กำหนดมูลค่ายุติธรรมถูกเปิดเผยในหมายเหตุที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์และหนี้สินนั้นๆ เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ลูกหนี้การค้า และเงินให้กู้ยืมแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกัน มีราคาตามบัญชี ใกล้เคียงกับมูลค่า ยุติธรรม เนื่องจากเครื่องมือทางการเงินเหล่านี้จะครบกำหนดในระยะเวลาอันสั้น

เงินลงทุนระยะยาวอื่น มีมูลค่ายุติธรรมไม่ต่างจากมูลค่าตามบัญชี ณ วันที่รายงานอย่างมีสาระสำคัญ

เงินเบิกเกินบัญชีธนาคารและเงินกูย้ มื ระยะสัน้ จากสถาบันการเงิน เจ้าหนีก้ ารค้า เงินกูย้ มื ระยะสัน้ จากกิจการทีเ่ กีย่ วข้องกัน และหนีส้ นิ หมุนเวียนอื่น มีราคาตามบัญชี ณ วันที่รายงานของหนี้สินทางการเงินใกล้เคียงกับมูลค่ายุติธรรมเนื่องจากเครื่องมือทางการเงินเหล่านี้ จะครบกำหนดในระยะเวลาอันสั้น

มูลค่ายุติธรรมของหุ้นกู้ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 2552 มีดังนี้ งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะกิจการ มูลค่าตามบัญชี มูลค่ายุติธรรม มูลค่าตามบัญชี มูลค่ายุติธรรม (พันบาท)

หุ้นกู้ (หุ้นกู้อัตราดอกเบี้ยคงที่) ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552

4,926,154 3,027,794

4,955,663 3,055,265

4,926,154 3,027,794

4,955,663 3,055,265

มูลค่ายุติธรรมของหุ้นกู้ถือตามราคาตลาดของหุ้นกู้ ณ วันที่รายงาน

มูลค่ายุติธรรมของสัญญาแลกเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553 จำนวน 12.91 ล้านบาท รับรู้เป็นกำไรจากมูลค่า ยุติธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นจริงในงบกำไรขาดทุน สินทรัพย์และหนี้สินทางการเงินอื่น ส่วนใหญ่แสดงมูลค่ายุติธรรมโดยประมาณตามจำนวนเงินที่แสดงในงบดุล ส่วนข้อมูลเกี่ยวกับ มูลค่ายุติธรรมของสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าได้แสดงไว้แล้วข้างต้น


รายงานประจำปี 2553

• บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน)

233

บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 2552 36 ภาระผูกพันกับกิจการที่ ไม่เกี่ยวข้องกัน

ภาระผูกพันรายจ่ายฝ่ายทุน สัญญาที่ยังไม่ได้รับรู้ อาคารและสิ่งปลูกสร้างอื่น เครื่องจักรและอุปกรณ์ รวม

53,536 148,498 202,034

ภาระผูกพันตามสัญญาเช่าดำเนินงานที่ยกเลิกไม่ได้ ภายในหนึ่งปี หลังจากหนึ่งปีแต่ไม่เกินห้าปี หลังจากห้าปี รวม ภาระผูกพันอื่นๆ เลตเตอร์ออฟเครดิตสำหรับซื้อสินค้าและวัสดุที่ยังไม่ได้ใช้ สัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า หนังสือค้ำประกันจากธนาคาร รวม

งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะกิจการ 2553 2552 2553 2552 (พันบาท)

48,428 363,907 412,335

- - -

- - -

งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะกิจการ 2553 2552 2553 2552 (พันบาท)

84,140 53,982 19,543 157,665

67,383 83,781 6,636 157,800

- - - -

- - - -

330,313 484,510 292,412 1,107,235

295,475 788,315 264,300 1,348,090

79,488 397,574 197,068 674,130

92,829 385,716 114,888 593,433

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553 บริษัทย่อยแห่งหนึ่งของบริษัทมีภาระผูกพันกับบุคคลหรือกิจการที่ไม่เกี่ยวข้องกัน ประเภทคำสั่งซื้อที่ ผู้ขายสินค้าตกลงแล้วจำนวนรวม 63.96 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา และ 1,230.85 ล้านเยน


234

บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 2552 37 เหตุการณ์ภายหลังรอบระยะเวลาที่รายงาน ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2554 ได้มีมติเสนอให้จ่ายเงินปันผลสำหรับผลการดำเนินงานในปี 2553 ในอัตราหุ้นละ 0.60 บาท จำนวน 1,588,125,000 หุ้น รวมเป็นจำนวนเงิน 952.88 ล้านบาท ทั้งนี้ บริษัทได้จ่ายเงินปันผลระหว่างกาล ในเดือนกันยายน 2553 หุ้นละ 0.25 บาท รวมเป็นจำนวนเงิน 397 ล้านบาท คงเหลือจ่ายงวดสิ้นปีหุ้นละ 0.35 บาท รวมเป็นจำนวนเงิน 555.84 ล้านบาท

ทั้งนี้ มติดังกล่าวต้องได้รับการอนุมัติจากที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้น

38 มาตรฐานการรายงานทางการเงินที่ยังไม่ ได้ใช้ กลุ่มบริษัทยังไม่ได้ใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงินที่ออกและปรับปรุงใหม่ดังต่อไปนี้ ณ วันที่รายงาน เนื่องจากยังไม่มีการ บังคับใช้ มาตรฐานการรายงานทางการเงินที่ออกและปรับปรุงใหม่ดังต่อไปนี้กำหนดให้ถือปฏิบัติกับงบการเงินสำหรับรอบระยะเวลา บัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม ในปีดังต่อไปนี้ มาตรฐานการรายงานทางการเงิน

เรื่อง

ปีที่มีผลบังคับใช้

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1 (ปรับปรุง 2552)

การนำเสนองบการเงิน สินค้าคงเหลือ งบกระแสเงินสด นโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชี และข้อผิดพลาด เหตุการณ์ภายหลังรอบระยะเวลารายงาน สัญญาก่อสร้าง ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ สัญญาเช่า รายได้ ผลประโยชน์ของพนักงาน การบัญชีสำหรับเงินอุดหนุนจากรัฐบาล และการเปิดเผยข้อมูล เกี่ยวกับความช่วยเหลือจากรัฐบาล ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน เงินตราต่างประเทศ ต้นทุนการกู้ยืม การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน การบัญชีและการรายงานโครงการผลประโยชน์เมื่อออกจากงาน

2554 2554 2554 2554

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 2 (ปรับปรุง 2552) มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 7 (ปรับปรุง 2552) มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 8 (ปรับปรุง 2552) มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 10 (ปรับปรุง 2552) มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 11 (ปรับปรุง 2552) มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 16 (ปรับปรุง 2552) มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 17 (ปรับปรุง 2552) มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 18 (ปรับปรุง 2552) มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 19 มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 20 (ปรับปรุง 2552) มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 21 (ปรับปรุง 2552) มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 23 (ปรับปรุง 2552) มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 24 (ปรับปรุง 2552) มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 26

2554 2554 2554 2554 2554 2554 2556 2556 2554 2554 2554


รายงานประจำปี 2553

• บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน)

235

บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 2552

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน

เรื่อง

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 27 (ปรับปรุง 2552)

งบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 28 (ปรับปรุง 2552) เงินลงทุนในบริษัทร่วม มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 31 (ปรับปรุง 2552) ส่วนได้เสียในการร่วมค้า มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 33 (ปรับปรุง 2552) กำไรต่อหุ้น มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 34 (ปรับปรุง 2552) งบการเงินระหว่างกาล มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 36 (ปรับปรุง 2552) การด้อยค่าของสินทรัพย์ มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 37 (ปรับปรุง 2552) ประมาณการหนี้สิน หนี้สินที่อาจเกิดขึ้น และสินทรัพย์ ที่อาจเกิดขึ้น มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 38 (ปรับปรุง 2552) สินทรัพย์ไม่มีตัวตน มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 40 (ปรับปรุง 2552) อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 3 (ปรับปรุง 2552) การรวมธุรกิจ มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 5 (ปรับปรุง 2552) สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่ถือไว้เพื่อขายและการดำเนินงานที่ยกเลิก การตีความมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 สัญญาการก่อสร้างอสังหาริมทรัพย์

ปีที่มีผลบังคับใช้

2554 2554 2554 2554 2554 2554 2554 2554 2554 2554 2554 2554

ผู้บริหารคาดว่าจะถือปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่ออกและปรับปรุงใหม่ตามที่ประกาศโดยสภาวิชาชีพบัญชีฯ และได้ประเมินผลกระทบเบื้องต้นที่อาจเกิดขึ้นต่องบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการของกิจการ กิจการได้ประเมินผลกระทบ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นมากที่สุดต่องบการเงินที่เริ่มนำมาตรฐานรายงานทางการเงินที่ออกและปรับปรุงใหม่เหล่านี้มาถือปฏิบัติเป็นครั้งแรก ดังต่อไปนี้

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 16 (ปรับปรุง 2552) เรื่อง ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์

การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญจากการปรับปรุงมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 16 และมีผลกระทบต่อกลุ่มบริษัท ดังนี้ (ก) ต้นทุนการรื้อถอน การขนย้ายและการบูรณะสภาพของสินทรัพย์ ต้องถือเป็นต้นทุนของสินทรัพย์และอาจมีการคิดค่าเสื่อมราคาประจำปี (ข) การกำหนด ค่าเสื่อมราคา ต้องพิจารณาแต่ละส่วนแยกต่างหากจากกันเมื่อแต่ละส่วนประกอบนั้นมีสาระสำคัญ (ค) มูลค่าคงเหลือของที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ต้องมีการประมาณด้วยมูลค่าที่กิจการคาดว่าจะได้รับในปัจจุบันจากสินทรัพย์นั้น หากมีอายุและสภาพที่คาดว่าจะได้รับ ในปัจจุบันเมื่อสิ้นสุดอายุการใช้ประโยชน์ นอกจากนี้ ต้องมีการสอบทานมูลค่าคงเหลือและอายุการให้ประโยชน์อย่างน้อยทุกสิ้นปี มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 16 (ปรับปรุง 2552) อนุญาตให้กิจการเลือกปรับไปข้างหน้าสำหรับปีที่เริ่มนำมาถือปฏิบัติ ฝ่ายบริหาร มีความตั้งใจที่จะใช้ทางเลือกตามที่ระบุในมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 16 (ปรับปรุง 2552) นับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2554 ซึ่งไม่เกิด ผลกระทบต่องบการเงินปี 2553 หรือปีก่อนหน้านั้น ปัจจุบันฝ่ายบริหารอยู่ระหว่างการสอบทานผลกระทบต่องบการเงินหากได้ถือปฏิบัติ ตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 16 (ปรับปรุง 2552) นับจากวันที่ 1 มกราคม 2554


236

บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สำหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 2552

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 19 เรื่อง ผลประโยชน์ของพนักงาน

ในปัจจุบันไม่มีมาตรฐานการบัญชีไทยเกี่ยวกับผลประโยชน์ของพนักงาน อย่างไรก็ตาม กลุ่มบริษัทได้บันทึกบัญชีผลประโยชน์ หลังออกจากงานภายใต้โครงการผลประโยชน์ที่กำหนดไว้ภายใต้สำรองเงินบำเหน็จพนักงาน (ดูหมายเหตุข้อ 20) กลุ่มบริษัทไม่ได้บันทึก ผลประโยชน์ระยะยาวอื่น และผลประโยชน์เมื่อเลิกจ้างจนกว่าจะเกิดค่าใช้จ่ายขึ้น ตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 19 ใหม่นี้ได้รวม ข้อกำหนดในการรับรู้และต้นทุนในระหว่างงวดซึ่งได้มีการให้บริการ ข้อกำหนดมีความซับซ้อนและกำหนดให้มีข้อสมมติฐานตาม หลักการคณิตศาสตร์ประกันภัยเพื่อประเมินภาระผูกพันและค่าใช้จ่าย ยิ่งไปกว่านั้นภาระผูกพันได้ถูกประเมินโดยการการคิดลดกระแส เงินสดเนื่องจากอาจมีการจ่ายชำระในหลายๆ ปีภายหลังจากที่พนักงานได้ทำงานให้ การปฏิบัติในช่วงเปลี่ยนแปลงตามที่กำหนด ในมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 19 อนุญาตให้หนี้สินในช่วงการเปลี่ยนแปลงได้ถูกรับรู้และบันทึกบัญชีได้วิธีใดวิธีหนึ่งในสี่ทางเลือก

1. โดยวิธีปรับย้อนหลัง

2. โดยปรับกับกำไรสะสม ณ วันที่นำมาตรฐานการบัญชีมาใช้ครั้งแรก

3. โดยรับรู้เป็นค่าใช้จ่ายทันที ณ วันที่นำมาตรฐานการบัญชีมาใช้ครั้งแรก

4. โดยรับรู้เป็นค่าใช้จ่ายตามวิธีเส้นตรงภายในระยะเวลา 5 ปี นับจากวันที่นำมาตรฐานการบัญชีมาใช้ครั้งแรก

ปัจจุบันฝ่ายบริหารอยู่ระหว่างการสอบทานผลกระทบต่องบการเงินหากได้ถือปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 19 นับจากวันที่ 1 มกราคม 2554




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.