THAIBEV: Annual Report 2012 (THAI)

Page 1

The Circle of Happiness รายงานประจํ า ปี 2555

บริ ษั ท ไทยเบฟเวอเรจ จํ า กั ด (มหาชน)


The Circle of Happiness


เส้นทางแห่งความสําเร็จอันยาวนาน ของ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จํากัด (มหาชน) นั้น เริ่มจากเจตนารมณ์และวิสัยทัศน์อันชัดเจนจากผู้ก่อตั้ง ที่จะสร้าง “ความสุข” ให้คนไทย ด้วยเครื่องดื่มคุณภาพที่เข้าถึงได้กับทุกคน และจากคําสั้นๆ ว่า “ความสุข” นี่เอง ได้เป็นแรงบันดาลใจให้เรา... สืบทอดคุณภาพการผลิตจากรุ่นสู่รุ่น ใส่ใจคิดค้น และสร้างคุณค่า ทุกวันทุกเดือน สู่ทศวรรษ สร้างคน สร้างทีมงาน เติมความชํานาญ จากสิบ สู่ร้อย และพันหมื่น เพิ่มมิติความหลากหลายจากความเชี่ยวชาญเดิมสู่ ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ก้าวจากไทยสู่อาเซียน และก้าวต่อไปจนรอบโลก ผูกพันกับคนหลายเชื้อชาติ ในรสชาติระดับเหรียญทอง และเชื่อมความสุขของแต่ละคน สู่สังคมรวมอย่างอบอุ่นจริงใจ นี่คือ วัฎจักรแห่ง “ความสุข” ที่ผูกพัน เกี่ยวเนื่อง และเชื่อมกัน ด้วยความมุ่งมั่น และความภูมิใจ สร้างความสําเร็จร่วมกันกับคนไทยทั้งประเทศอย่างยั่งยืน


สารบัญ 3 / ข้อมูลสําหรับนักลงทุน 4 / ข้อมูลสําคัญทางการเงิน 8 / สารจากประธานกรรมการ 10 / สารจากกรรมการผู้อํานวยการใหญ่ 12 / คณะกรรมการบริษัท 14 / คณะกรรมการบริหาร คณะจัดการ 16 / รายละเอียดประวัติกรรมการและผู้บริหาร 28 / ผลิตภัณฑ์หลักในกลุ่มบริษัทไทยเบฟ 39 / รางวัล 50 / โครงสร้างการถือหุ้น 52 / รายงานจากคณะกรรมการบริษัท 64 / โครงสร้างองค์กร 68 / รายงานการดําเนินงานและสถานะทางการเงิน 90 / พนักงานของเรา ความสําเร็จของเรา 92 / ประกาศการจัดลําดับเครดิตองค์กร 93 / รายงานการกํากับดูแลกิจการ 106 / รายงานคณะกรรมการตรวจสอบ 107 / รายงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต 108 / งบการเงิน 212 / รายงานรายการกับกิจการที่เกี่ยวข้องกัน 228 / รวบรวมสารสนเทศที่เปิดเผยไปยังตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ (SGX) ในปี 2555 229 / ข้อมูลทั่วไป


รายงานประจํ า ปี 2555 บริ ษ ั ท ไทยเบฟเวอเรจ จํ า กั ด (มหาชน)

ข้อ มู ล สํ า หรั บ นั ก ลงทุน

3

ข้อมูล สําหรับนักลงทุน บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จํากัด (มหาชน) จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ (SGX-ST)

SGX Ticker / THBEV Reuters / tbev.si Bloomberg / thbev sp Google Finance / SIN:Y92

วันที่เสนอขายหลักทรัพย์ 30 พฤษภาคม 2549 ราคาเสนอขายหลักทรัพย์ S$0.28

สิ้นปีงบการเงิน 31 ธันวาคม บริษัทผู้สอบบัญชี บริษัท เคพีเอ็มจี ภูมิไชย สอบบัญชี จํากัด นโยบายการจ่ายเงินปันผล ไม่ต่ํากว่าร้อยละ 50 ของกําไรสุทธิ หลังหักเงินสํารองที่จัดสรรแล้วและเงินลงทุน

ราคาหุ้นไทยเบฟ

ราคาหุ้น * ราคาสูงสุดในรอบปี 2555 S$0.450 ราคาต่ําสุดในรอบปี 2555 S$0.245 * ข้อมูลตั้งแต่ 3 มกราคม 2555 ถึง 31 ธันวาคม 2555

ปริมาณการซื้อขายหุ้นไทยเบฟรายเดือน

ราคา (S$)

ปริมาณการซื้อขาย (ล้านหุ้น) 1,400

0.45

1,200

0.40

ราคาเปิดไทยเบฟ

0.35

SET (ปรับฐาน)

0.30

STI (ปรับฐาน)

.

1,000 800 600 400

0.25 ม.ค. ก.พ.

200 มี.ค. เม.ย. พ.ค.

มิ.ย.

ก.ค.

ติดต่อแผนกนักลงทุนสัมพันธ์: แผนกนักลงทุนสัมพันธ์ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จํากัด (มหาชน) 14 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 ประเทศไทย เว็บไซต์บริษัท: www.thaibev.com เว็บไซต์นักลงทุนสัมพันธ์: www.thaibev.com/ir.html อีเมล์แผนกนักลงทุนสัมพันธ์: ir@thaibev.com

ส.ค.

ก.ย. ต.ค. พ.ย.

ธ.ค.

2012

ม.ค. ก.พ.

มี.ค. เม.ย. พ.ค.

มิ.ย.

ก.ค.

ส.ค.

ก.ย.

ต.ค.

พ.ย.

ธ.ค.

ทีมนักลงทุนสัมพันธ์ : น้ําฝน อังศุธรรังสี โทรศัพท์: +662 785 5037 โทรสาร: +662 272 3026 อีเมล์: namfon.a@thaibev.com ถิรนันท์ กิตติพงษ์ โทรศัพท์: +662 785 5281 โทรสาร: +662 272 3026 อีเมล์: tiranan.k@thaibev.com กมลรัตน์ ลาภอํานวยผล โทรศัพท์: +662 785 5036 โทรสาร: +662 272 3026 อีเมล์: kamolrat.l@thaibev.com ณัชชา เลิศประพันธ์ โทรศัพท์: +662 785 5294 โทรสาร: +662 272 3026 อีเมล์: najchar.l@thaibev.com

ปัญญา ธงชัย โทรศัพท์: +662 785 5035 โทรสาร: +662 272 3026 อีเมล์: panya.t@thaibev.com

2555


ข้อ มู ล สํ า คั ญ ทางการเงิ น

4

ข้อมูลสําคัญ ทางการเงิน ปรับปรุงใหม่*

2555

2554

รายได้จากการขาย

161,044

132,187

รายได้รวม

175,492

132,784

ต้นทุนขาย

115,622

97,453

กําไรขั้นต้น

45,422

34,734

กําไรจากการดําเนินงาน

20,858

17,385

กําไรก่อนดอกเบี้ยจ่าย และภาษีเงินได้

35,306

17,739

กําไรสุทธิ

28,760

11,967

3,929

3,426

39,235

21,165

47,149

45,176

สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน

160,537

54,185

สินทรัพย์รวม

207,686

99,362

หนี้สินหมุนเวียน

30,593

21,239

หนี้สินไม่หมุนเวียน

92,122

14,920

122,715

36,159

84,971

63,203

207,686

99,362

งบกําไรขาดทุน (ล้านบาท)

ค่าเสื่อมราคาและค่าใช้จ่ายตัดบัญชี กําไรก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษีเงินได้ ค่าเสื่อมราคาและค่าใช้จ่ายตัดบัญชี

งบแสดงฐานะการเงิน (ล้านบาท) สินทรัพย์หมุนเวียน

หนี้สินรวม ส่วนของผู้ถือหุ้น หนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น

อัตราส่วนสภาพคล่อง อัตราส่วนทุนหมุนเวียน

เท่า

1.54

2.13

อัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็ว

เท่า

0.46

0.69

ระยะเวลาเก็บหนี้เฉลี่ย

วัน

8.16

7.65

ระยะเวลาสินค้าคงเหลือเฉลี่ย

วัน

100.27

108.05

ระยะเวลาชําระหนี้เฉลี่ย

วัน

16.42

16.96

วงจรเงินสด

วัน

92.01

98.74


รายงานประจํ า ปี 2555 บริ ษ ั ท ไทยเบฟเวอเรจ จํ า กั ด (มหาชน)

ข้อ มู ล สํ า คั ญ ทางการเงิ น

5

ปรับปรุงใหม่*

2555

2554

อัตราส่วนแสดงความสามารถในการทํากําไร อัตรากําไรขั้นต้น

%

28.20

26.28

อัตรากําไรก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษีเงินได้ ค่าเสื่อมราคาและ ค่าใช้จ่ายตัดบัญชี

%

24.36

16.01

อัตรากําไรก่อนดอกเบี้ยจ่ายและภาษีเงินได้

%

21.92

13.42

อัตราส่วนเงินสดต่อการทํากําไร

%

94.57

69.87

อัตรากําไรสุทธิ

%

17.86

9.05

อัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น

%

38.82

19.93

อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์

%

18.73

13.57

อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ถาวร

%

64.86

30.50

อัตราการหมุนเวียนของสินทรัพย์รวม

เท่า

1.05

1.50

อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น

เท่า

1.44

0.57

อัตราส่วนเงินกู้ยืมต่อส่วนของผู้ถือหุ้น

เท่า

1.23

0.29

อัตราส่วนเงินกู้ยืมต่อกําไรก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษีเงินได้ ค่าเสื่อมราคาและค่าใช้จ่ายตัดบัญชี

เท่า

2.65

0.86

อัตราส่วนความสามารถชําระดอกเบี้ย

เท่า

28.00

46.54

%

37.17

77.08

อัตราส่วนแสดงประสิทธิภาพในการดําเนินงาน

อัตราส่วนวิเคราะห์นโยบายทางการเงิน

อัตราการจ่ายเงินปันผล * ปรับปรุงตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน


ข้อ มู ล สํ า คั ญ ทางการเงิ น

6

รายได้รวม 2554

2555

132.2 พั น ล้า นบาท

161.0 พั น ล้า นบาท

3%

18%

21%

58%

จาก ธุรกิจอาหาร

จาก ธุรกิจเครื่องดื่ม ไม่มีแอลกอฮอล์

จาก ธุรกิจเบียร์

จาก ธุรกิจสุรา


รายงานประจํ า ปี 2555 บริ ษ ั ท ไทยเบฟเวอเรจ จํ า กั ด (มหาชน)

ข้อ มู ล สํ า คั ญ ทางการเงิ น

7

ปริมาณการขาย ล้านลิตร

1,005

643 570

552

2555

2554

สุรา

613 519

2555

2554

เบี​ียร์​์

2555

2554

เครื​ื่องดื่ืมไม่ ไ ่มีแอลกอฮอล์​์

* หมายเหตุ: ปริมาณขายของกลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ตั้งแต่ไตรมาสที่ 4 ของปี 2554 (ภายหลังจากบริษัทเข้าซื้อกิจการ บริษัท เสริมสุข จํากัด (มหาชน) (“เสริมสุข”)) ได้รวมปริมาณขายผลิตภัณฑ์ที่เสริมสุขเป็นเจ้าของตราสินค้าด้วย


เรียนท่านผู้ถือหุ้น ปี 2555 เป็นอีกปีหนึ่งที่บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จํากัด (มหาชน) สามารถสร้างความเติบโตในด้านรายได้และผลกําไรอย่างโดดเด่น โดยมาจากการเติบโตของยอดขายในทุกหน่วยธุรกิจ ความสามารถ ในการรักษาความเป็นผู้นําในตลาดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และ การขยายธุรกิจเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ผ่านเครือข่ายกระจายสินค้า ที่ครอบคลุมมากขึ้นในทุกภูมิภาคของประเทศ กําไรสุทธิของกลุ่มไทยเบฟเวอเรจในปี 2555 เท่ากับ 28,760 ล้านบาท เติบโตเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 140.3 หรือ 16,793 ล้านบาท เมื่อเทียบกับ ปีที่แล้ว ซึ่งสะท้อนถึงความเป็นผู้นําในตลาดเครื่องดื่มของเรา ผมรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ฝ่ายบริหารและพนักงานของเราสามารถ สร้างผลการดําเนินงานที่ดีเยี่ยมทําให้บริษัทเติบโตและจ่ายเงินปันผล ให้แก่ผู้ถือหุ้นได้อย่างต่อเนื่อง โดยจากผลประกอบการในปี 2555 ไทยเบฟเวอเรจได้จ่ายเงินปันผลรวมเป็นจํานวนเงินทั้งสิ้น 10,546 ล้านบาท หรือหุ้นละ 0.42 บาท ธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของเราเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะ สินค้าในหมวดสุราที่ได้รับความนิยมทั้งสุราขาวและสุราสี และบริษัท ยังคงมุ่งเน้นการส่งเสริมความแข็งแกร่งของตราสินค้าอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2555 บริษัทได้พัฒนาภาพลักษณ์ของตราสินค้าสุรา เช่น

แม่โขง เบลนด์ 285 และแสงโสม ให้มีความทันสมัยผ่านกิจกรรม ทางการตลาดทั้งในและต่างประเทศ ในปีนี้บริษัทยังคงขยายธุรกิจเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์อย่างต่อเนื่อง กลุม ่ บริษท ั ได้นาํ เสนอนวัตกรรมในธุรกิจเครือ่ งดืม ่ ชาเขียวโดยออกสินค้า เครื่องดื่มชาเขียวโออิชิในรูปแบบขวดแก้วคืนขวด ซึ่งบริษัทเป็นผู้บุกเบิก ตลาดชาเขียวในรูปแบบนี้ นอกจากนี้ในช่วงปลายปีกลุ่มบริษัทได้เปิดตัว เครื่องดื่มน้ําอัดลมคุณภาพเยี่ยมภายใต้ตราสินค้า “เอส” เพื่อกระจาย สินค้าเข้าตลาดร้านอาหารและร้านค้าผ่านช่องทางกระจายสินค้าที่ แข็งแกร่งและมีเครือข่ายทีค ่ รอบคลุมทัว่ ประเทศ ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ของเรา ได้รบ ั เสียงตอบรับทีน ่ า่ พอใจจากทัง้ ผูบ ้ ริโภคและคูค ่ า้ ของเรา และจะยังคง พัฒนานวัตกรรมด้านสินค้าและบริการเพื่อตอบสนองความต้องการ ของตลาดและเพื่อรักษาความเป็นผู้นําในธุรกิจเครื่องดื่มอย่างต่อเนื่อง การเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี 2558 นับเป็นโอกาส ที่ดีอย่างยิ่งในการขยายตลาดและโอกาสทางธุรกิจของไทยเบฟเวอเรจ จากที่เดิมครอบคลุมลูกค้าในประเทศจํานวน 65 ล้านคน เป็นการมอบ ความสุขและความพึงพอใจแก่ผู้บริโภคและคู่ค้ากว่า 600 ล้านคน ในอนาคตอันใกล้ บริษัทเล็งเห็นโอกาสในครั้งนี้ และเริ่มดําเนินการตาม แนวทางแผนธุรกิจเชิงรุกสําหรับตลาดอาเซียน ด้วยประสบการณ์


รายงานประจํ า ปี 2555 บริ ษ ั ท ไทยเบฟเวอเรจ จํ า กั ด (มหาชน)

สารจากประธานกรรมการ

9

สารจาก ประธานกรรมการ

ทางธุรกิจเครื่องดื่มอันยาวนานกว่า 3 ทศวรรษและรางวัลมากมาย ที่เราได้รับจากสถาบันต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ เป็นเครื่องยืนยัน ความสําเร็จและความพร้อมของบริษัทในการเป็นผู้นําธุรกิจและ ตราสินค้าไทยในการเข้าสู่ตลาดในภูมิภาคอาเซียนและในระดับสากล เพื่อนํารายได้และชื่อเสียงสู่ประเทศไทย ความเคลื่อนไหวครั้งสําคัญอีกประการหนึ่งในปี 2555 คือการลงทุน ในหุ้นเฟรเซอร์ แอนด์ นีฟ, ลิมิเต็ด บริษัทผู้ผลิตและจัดจําหน่าย เครื่องดื่มชั้นนําในภูมิภาคและธุรกิจอื่นๆ อีกมากมาย และประสบ ความสําเร็จมาอย่างยาวนาน เป็นการตอกย้ําความมุ่งมั่นของบริษัท ทีจ่ ะขยายธุรกิจในต่างประเทศเข้าไปในตลาดอาเซียน ซึง่ เป็นหนึง่ ในตลาด ที่มีอัตราการเติบโตสูงสุดในโลก รวมถึงเป็นการขยายธุรกิจในกลุ่ม เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ออกไป ไทยเบฟเวอเรจให้ความสําคัญกับทรัพยากรบุคคลและส่งเสริม การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง การเตรียมความพร้อมของบริษัทเพื่อก้าวสู่ ตลาดอาเซียนไม่ได้จํากัดเพียงเชิงนโยบายและทีมผู้บริหารเท่านั้น บริษัทยังได้ดําเนินการสร้างเสริมประสิทธิภาพและเริ่มปลูกฝังพนักงาน ในทุกระดับให้มองไปข้างหน้าในทิศทางเดียวกันผ่านโครงการฝึกอบรม รวมทั้งการให้ข้อมูลข่าวสารที่ทันต่อเหตุการณ์แก่พนักงาน

ในโอกาสนี้ ผมขอขอบคุณคณะผู้บริหารของไทยเบฟเวอเรจที่สามารถ บริหารธุรกิจของบริษัทในปี 2555 ให้มีการเติบโตอย่างน่าพอใจ และ พนักงานทุกท่านสําหรับความทุ่มเทความอุตสาหะและเป็นกําลังสําคัญ ในการมีส่วนร่วมในการขยายธุรกิจ รวมถึงผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย ซึ่งผม เชื่อว่าจะเป็นพื้นฐานที่แข็งแกร่งอันนํามาซึ่งความเติบโตอย่างยั่งยืน ของไทยเบฟเวอเรจต่อไปในอนาคต ในนามของคณะกรรมการบริษัทและผู้บริหารของไทยเบฟเวอเรจ ผมขอขอบคุณท่านผู้ถือหุ้นสําหรับความไว้วางใจและความเชื่อมั่น ในศักยภาพของไทยเบฟเวอเรจที่ท่านมอบให้แก่บริษัทตลอดมา

เจริญ สิริวัฒนภักดี ประธานคณะกรรมการบริษัท


เรียนท่านผู้ถือหุ้น ผมมีความยินดีที่จะเรียนให้ท่านทราบว่า กลุ่มบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จํากัด (มหาชน) สามารถสร้างผลการดําเนินงานทีน ่ า่ ภาคภูมใิ จในปี 2555 กล่าวคือ กลุ่มบริษัทมีรายได้รวมทั้งสิ้นมูลค่า 161,044 ล้านบาท คิดเป็นอัตรา การเติบโตร้อยละ 21.8 และกําไรสุทธิจํานวน 28,760 ล้านบาท เติบโตถึง ร้อยละ 140.3 เมือ่ เทียบกับปี 2554 ยอดขายทีเ่ พิม ่ ขึน ้ อย่างต่อเนือ่ งเป็นผล สืบเนื่องมาจากความเป็นผู้นําในธุรกิจเครื่องดื่มในประเทศ ที่มีความพร้อม ทั้งฐานการผลิตและเครือข่ายการกระจายสินค้าที่ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น ในช่วงต้นปี 2555 บริษัทได้เร่งดําเนินการฟื้นฟูฐานการผลิตที่ได้รับ ความเสียหายจากอุทกภัยในช่วงปลายปี 2554 ส่งผลให้โรงงานของบริษัท สามารถดําเนินงานได้ตามปกติภายในเวลาอันรวดเร็ว นอกจากนี้ บริษัทได้ ตระหนักถึงความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์น้ําท่วม จึงได้มีการย้ายฐาน การผลิตบางส่วนออกจากพื้นที่ซึ่งบริษัทเห็นว่ามีความเสี่ยงไปยังพื้นที่อื่น ส่วนฐานการผลิตซึ่งได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์น้ําท่วมที่ยังปักหลัก อยู่ที่เดิมก็ได้มีการติดตั้งระบบเขื่อนกั้นน้ํารอบโรงงาน เพื่อเสริมความมั่นใจ ในการดําเนินงานต่อไปในอนาคต บริษัทมุ่งเน้นรักษาความเป็นผู้นําในธุรกิจสุราโดยการลงทุนพัฒนา ตราสินค้าสุราอย่างต่อเนือ่ ง ในปีทผ ่ี า่ นมา บริษท ั ได้กาํ หนดตําแหน่งในตลาด ของสินค้าและกลุ่มเป้าหมายเพื่อเพิ่มความชัดเจนของแต่ละตราสินค้า และ พัฒนาเอกลักษณ์ของแต่ละตราสินค้าอย่างชัดเจนผ่านกิจกรรมการตลาด ที่ออกแบบโดยเฉพาะสําหรับแต่ละตราสินค้า เพื่อสร้างความแตกต่างและ สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในแต่ละกลุ่มเป้าหมายได้ดี ยิ่งขึ้น บริษัทปรับภาพลักษณ์ใหม่ให้กับสุราแม่โขงที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน

กว่า 200 ปี และนับเป็นตราสินค้าสุราแรกของประเทศไทย เพื่อความพร้อม ในการขยายตลาดไปยังต่างประเทศทั่วโลก รวมถึงตลาดในประเทศ อย่างเต็มรูปแบบ โดยยกระดับสุราแม่โขงสู่แบรนด์พรีเมียม แม้ว่าธุรกิจ เครื่องดื่มสุราของบริษัทจะเผชิญภาระการขึ้นภาษีสรรพสามิตของสินค้า สุราบางประเภทในปี 2555 แต่ความแข็งแกร่งของตราสินค้า ความทุ่มเท ของทีมขาย และการบริหารต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ ทําให้ยอดขาย กลับมาสู่ระดับปกติได้ในระยะเวลาอันสั้น และสร้างความเติบโตของยอดขาย โดยรวมทั้งปีของธุรกิจสุรากว่าร้อยละ 9.9 และอัตรากําไรสุทธิเพิ่มขึ้นเป็น ร้อยละ 40.4 การที่บริษัท เสริมสุข จํากัด (มหาชน) (“เสริมสุข”) เข้ามาเป็นบริษัทในกลุ่ม ไทยเบฟจากการซื้อกิจการในช่วงปลายปี 2554 ช่วยเสริมความแข็งแกร่ง ของบริษัทในการขยายเครือข่ายกระจายสินค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การจัดจําหน่ายสินค้าเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ รวมถึงการขยายธุรกิจไปสู่ ตลาดเครื่องดื่มน้ําอัดลม ซึ่งถือเป็นตลาดเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ที่ใหญ่ ที่สุดของประเทศไทย ในปี 2555 เสริมสุขเปิดตัวสินค้าน้ําอัดลมภายใต้ ตราสินค้า “เอส” ซึ่งเป็นเครื่องหมายการค้าของเสริมสุข โดยนําเสนอ เครื่องดื่มน้ําอัดลมหลากหลายรสชาติ ทั้งโคล่าและน้ําสี เช่น น้ําแดง น้ําเขียว น้ําส้ม และน้ําเลมอนไลม์ บริษัทมีความพร้อมในการบุกตลาดเครื่องดื่ม น้ําอัดลมอย่างเต็มรูปแบบ ผ่านการจัดกิจกรรมการตลาดอย่างต่อเนื่อง และจําหน่ายสินค้าครอบคลุมหลากหลายขนาดและบรรจุภัณฑ์ นอกจากนี้ เครือข่ายกระจายสินค้าของเสริมสุขมีสว่ นสําคัญในการช่วยขยายธุรกิจ ่ ชาเขียวของโออิชิออกไปสู่ตลาดใหม่ ภายใต้บรรจุภัณฑ์รักษ์โลก เครือ่ งดืม ในรูปแบบขวดแก้วคืนขวดในชื่อ “โออิชิ กรีนที ขวดแก้ว”


รายงานประจํ า ปี 2555 บริ ษ ั ท ไทยเบฟเวอเรจ จํ า กั ด (มหาชน)

สารจากกรรมการผู้อ ํ า นวยการใหญ่

11

สารจาก กรรมการผู้อํานวยการใหญ่

สําหรับธุรกิจอาหาร ในปีนี้ โออิชิได้ขยายธุรกิจจากเดิมที่มีร้านอาหาร ผลิตภัณฑ์อาหารประเภทแซนด์วิช และอาหารแช่แข็ง ไปสู่ธุรกิจขนมขบเคี้ยว โดยเปิดตัวผลิตภัณฑ์สาหร่ายทอดกรอบภายใต้ตราสินค้า “โอโนริ” เพื่อ เสริมศักยภาพและสร้างความหลากหลายของสินค้าให้ครอบคลุมทุกสาย ผลิตภัณฑ์ในธุรกิจอาหาร นอกจากการส่งเสริมความมั่นคงของธุรกิจในประเทศแล้ว บริษัทยังคง มุ่งมั่นสร้างการเติบโตของธุรกิจโดยการขยายไปสู่ตลาดในต่างประเทศ ความก้าวหน้าในต่างประเทศครั้งสําคัญในปีนี้ คือการลงทุนซื้อหุ้นใน เฟรเซอร์ แอนด์ นีฟ, ลิมิเต็ด (“F&N”) ซึ่งทําให้ F&N เข้าเป็นบริษัทร่วม ของไทยเบฟ F&N ได้รับการยอมรับอย่างสูงว่าเป็นหนึ่งในบริษัทชั้นนํา ในประเทศสิงคโปร์ที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนานร่วม 130 ปี มีตราสินค้า ที่มีชื่อเสียงมากมาย และเป็นการลงทุนที่บริษัทเล็งเห็นว่าสามารถส่งเสริม ธุรกิจเครื่องดื่มของบริษัทตามกลยุทธ์ระยะยาวของบริษัทได้เป็นอย่างดี ในช่วงปลายปี 2555 ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้เข้าร่วม ในโครงการซื้อขายหลักทรัพย์ระหว่างตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์และ ตลาดหลักทรัพย์มาเลเซีย (ASEAN Trading Link) ซึ่งเป็นการเริ่มต้น การเชื่อมโยงระบบการซื้อขายหลักทรัพย์ระหว่างตลาดหลักทรัพย์ ในอาเซียน เพื่อให้นักลงทุนซื้อขายหลักทรัพย์ระหว่างประเทศได้สะดวก ยิ่งขึ้น ซึ่งถือเป็นการเปิดช่องทางการลงทุนเพิ่มขึ้นให้สําหรับนักลงทุน ไทยและมาเลเซียที่สนใจลงทุนในหุ้นไทยเบฟ และหลักทรัพย์อื่นๆ ในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์

ด้วยวิสัยทัศน์และเป้าหมายทางธุรกิจที่ชัดเจน ธุรกิจของกลุ่มไทยเบฟจึงมี การเติบโตอย่างต่อเนื่องและมีจํานวนบุคลากรเพิ่มขึ้นตามการขยายตัวของ ธุรกิจ บริษัทให้ความสําคัญต่อทรัพยากรบุคคลซึ่งนับเป็นองค์ประกอบ ที่สําคัญสําหรับความสําเร็จของเราตลอดมา ในปี 2555 บริษัทจัดให้เป็น ปีแห่งการเพิ่มประสิทธิภาพองค์กร โดยมุ่งเน้นการพัฒนาการทํางานของ บุคลากรให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลใน 3 ด้าน ได้แก่ ความสามารถในการปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น (Faster Speed) การปรับปรุงและพัฒนากระบวนการทํางานเพื่อให้ได้ ผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น (Better Result) และการใช้ทรัพยากร อย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด (Cost Saving) ความสําเร็จทั้งมวลในปี 2555 นี้ มาจากการสนับสนุนการดําเนินงานของ ไทยเบฟจากทุกภาคส่วน ผมขอขอบคุณท่านผู้ถือหุ้น คู่ค้า คณะกรรมการ ผู้บริหารและพนักงานไทยเบฟทุกท่าน สําหรับความตั้งใจและการทุ่มเท แรงกายแรงใจที่มีให้แก่บริษัทของเราเสมอมา เราจะเติบโตไปด้วยกันภายใต้ การกํากับดูแลกิจการที่ดี และความตระหนักในความรับผิดชอบที่มีต่อสังคม อันจะนํามาซึ่งประโยชน์สูงสุดแก่ผู้มีส่วนร่วมทุกฝ่าย

ฐาปน สิริวัฒนภักดี กรรมการผู้อํานวยการใหญ่


คณะกรรมการบริ ษั ท

12

คณะกรรมการ บริษัท

1

2

3

4

5

8

9

10

11

12

15

16

17

18

19


รายงานประจํ า ปี 2555 บริ ษ ั ท ไทยเบฟเวอเรจ จํ า กั ด (มหาชน)

คณะกรรมการบริ ษั ท

13

6

13

7

14

1. นายเจริญ สิริวัฒนภักดี ประธานกรรมการ

12. ศาสตราจารย์นายแพทย์พรชัย มาตังคสมบั ติ กรรมการอิสระ

2. คุณหญิงวรรณา สิริวัฒนภักดี รองประธานกรรมการ

13. นายศักดิ์ทิพย์ ไกรฤกษ์ กรรมการอิสระ

3. นายณรงค์ ศรีสอ้าน รองประธานกรรมการ

14. พลเอกนายแพทย์ชูฉัตร กําภู ณ อยุธยา กรรมการอิสระ

4. นายโกเมน ตันติวิวัฒนพันธ์ รองประธานกรรมการ

15. นายวิวัฒน์ เตชะไพบูลย์ กรรมการ

5. นายภุชชงค์ ชาญธนากิจ กรรมการ

16. นายปณต สิริวัฒนภักดี กรรมการ

6. นางสาวกนกนาฏ รังษีเทียนไชย กรรมการ

17. นายฐาปน สิริวัฒนภักดี กรรมการผู้อํานวยการใหญ่

7. นายประสิทธิ์ โฆวิไลกูล กรรมการอิสระ และประธานกรรมการตรวจสอบ

18. นายสวัสดิ์ โสภะ กรรมการรองกรรมการผู้อํานวยการใหญ่

8. ศาสตราจารย์คนึง ฦๅไชย กรรมการอิสระ และกรรมการตรวจสอบ 9. นายมนู เลียวไพโรจน์ กรรมการอิสระ และกรรมการตรวจสอบ 10. นายอึ๊ง ตัก พัน กรรมการอิสระ และกรรมการตรวจสอบ 11. นายไมเคิล เล่า ไวย เคียง กรรมการอิสระ

20

21

19. นายอวยชัย ตันทโอภาส กรรมการรองกรรมการผู้อํานวยการใหญ่ 20. นายสิทธิชัย ชัยเกรียงไกร กรรมการรองกรรมการผู้อํานวยการใหญ่ 21. ดร. พิษณุ วิเชียรสรรค์ กรรมการผู้ช่วยกรรมการผู้อํานวยการใหญ่ * นางแววมณี โสภณพินิจ เลขานุการบริษัท / เลขานุการคณะกรรมการบริษัท นางสาวนันทิกา นิลวรสกุล รองเลขานุการคณะกรรมการบริษัท


คณะกรรมการบริ ห าร

14

คณะกรรมการ บริหาร

1

2

3

4

5

7

8

9

10

11

13

14

15

16

17


รายงานประจํ า ปี 2555 บริ ษ ั ท ไทยเบฟเวอเรจ จํ า กั ด (มหาชน)

คณะกรรมการบริ ห าร

15

คณะกรรมการ บริหาร

6

12

18

1. นายเจริญ สิริวัฒนภักดี ประธานกรรมการบริหาร

10. นายสิทธิชัย ชัยเกรียงไกร กรรมการรองกรรมการผู้อํานวยการใหญ่

2. คุณหญิงวรรณา สิริวัฒนภักดี รองประธานกรรมการบริหาร คนที่ 1

11. ดร. พิษณุ วิเชียรสรรค์ กรรมการผู้ช่วยกรรมการผู้อํานวยการใหญ่

3. นายณรงค์ ศรีสอ้าน รองประธานกรรมการบริหาร คนที่ 2

12. นายวิชัย ชัยยาวรานุรักษ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้อํานวยการใหญ่

4. นายโกเมน ตันติวิวัฒนพันธ์ รองประธานกรรมการบริหาร คนที่ 3

13. นายการณ์ จิตรวิมล ผู้ช่วยกรรมการผู้อํานวยการใหญ่

5. นายภุชชงค์ ชาญธนากิจ รองประธานกรรมการบริหาร คนที่ 4

14. นายแมทธิว กิจโอธาน ผู้ช่วยกรรมการผู้อํานวยการใหญ่

6. นางสาวกนกนาฏ รังษีเทียนไชย รองประธานกรรมการบริหาร คนที่ 5

15. นายฌอง เลอเบรอตง ผู้ช่วยกรรมการผู้อํานวยการใหญ่

7. นายฐาปน สิริวัฒนภักดี กรรมการผู้อํานวยการใหญ่

16. นายวิเชฐ ตันติวานิช ผู้ช่วยกรรมการผู้อํานวยการใหญ่

8. นายสวัสดิ์ โสภะ กรรมการรองกรรมการผู้อํานวยการใหญ่

17. นายมารุต บูรณะเศรษฐกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้อํานวยการใหญ่

9. นายอวยชัย ตันทโอภาส กรรมการรองกรรมการผู้อํานวยการใหญ่

18. นายประภากร ทองเทพไพโรจน์ ผู้ช่วยกรรมการผู้อํานวยการใหญ่

คณะจัดการ 1. นายฐาปน สิริวัฒนภักดี กรรมการผู้อํานวยการใหญ่ สายงานสนับสนุน

7. นายการณ์ จิตรวิมล ผู้ช่วยกรรมการผู้อํานวยการใหญ่ สายการผลิตเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์

2. นายสวัสดิ์ โสภะ กรรมการรองกรรมการผู้อํานวยการใหญ่ สายการผลิตสุรา

8. นายแมทธิว กิจโอธาน ผู้ช่วยกรรมการผู้อํานวยการใหญ่ สายงานธุรกิจต่างประเทศ

3. นายอวยชัย ตันทโอภาส กรรมการรองกรรมการผู้อํานวยการใหญ่ สายบริหารการขาย

9. นายฌอง เลอเบรอตง ผู้ช่วยกรรมการผู้อํานวยการใหญ่ สายงานแผนกลยุทธ์

4. นายสิทธิชัย ชัยเกรียงไกร กรรมการรองกรรมการผู้อํานวยการใหญ่ สายการเงินและบัญชี

10. นายวิเชฐ ตันติวานิช ผู้ช่วยกรรมการผู้อํานวยการใหญ่ สายงานบริหารทั่วไป

5. ดร. พิษณุ วิเชียรสรรค์ กรรมการผู้ช่วยกรรมการผู้อํานวยการใหญ่ สายการผลิตเบียร์

11. นายมารุต บูรณะเศรษฐกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้อํานวยการใหญ่ สายบริหารการตลาด

6. นายวิชัย ชัยยาวรานุรักษ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้อํานวยการใหญ่ สายธุรกิจต่อเนื่อง

12. นายประภากร ทองเทพไพโรจน์ ผู้ช่วยกรรมการผู้อํานวยการใหญ่ สายการเงินและบัญชี


รายละเอี ย ดประวั ติ ก รรมการและผู้ บ ริห าร

16

รายละเอียดประวัติ กรรมการและผู้บริหาร นายเจริญ สิริวัฒนภักดี

คุณหญิงวรรณา สิริวัฒนภักดี

ประธานกรรมการ ประธานกรรมการบริหาร

รองประธานกรรมการ รองประธานกรรมการบริหาร คนที่ 1

นายเจริญ สิริวัฒนภักดี ได้รับการแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จํากัด (มหาชน) เมื่อปี 2546 ดํารงตําแหน่ง ประธานกรรมการบริษัท เบียร์ไทย (1991) จํากัด (มหาชน) ตั้งแต่ปี 2544 ประธานกรรมการกลุ่มบริษัท สุรากระทิงแดง ตั้งแต่ปี 2547 ประธานกรรมการบริษัท ทีซีซี แลนด์ จํากัด ตั้งแต่ปี 2545 ประธานกรรมการบริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จํากัด (มหาชน) ตั้งแต่ปี 2544 ประธานกรรมการบริษัท เครืออาคเนย์ จํากัด ตั้งแต่ปี 2540 ประธานกรรมการ บริษัท ทีซีซี โฮลดิ้ง จํากัด ตั้งแต่ปี 2530 ท่านได้รบ ั ปริญญาดุษฎีบณ ั ฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาบริหารธุรกิจการเกษตร จากสถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ ปริญญาดุษฎีบณ ั ฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม จากมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ปริญญาศิลปศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการจัดการ จากมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ปริญญาศิลปศาสตร์ ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาบริหารธุรกิจ จากมหาวิทยาลัย อีสเทิร์นเอเชีย ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชา บริหารธุรกิจ จากมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ปริญญาบริหารธุรกิจ ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการจัดการ จากมหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ และปริญญาศิลปศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต กิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัย หอการค้าไทย ท่านได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก มหาวชิรมงกุฎ ปฐมดิเรกคุณากรณ์ และทุติยจุลจอมเกล้า นอกจากนั้น ท่านยังได้รับรางวัล “เพชรพาณิชย์” สาขาผู้ประกอบการ จากกระทรวงพาณิชย์

คุณหญิงวรรณา สิริวัฒนภักดี ได้รับการแต่งตั้งเป็นรองประธาน กรรมการเมื่อปี 2546 ดํารงตําแหน่งประธานกรรมการบริษัท เบียร์ทิพย์ บริวเวอรี่ (1991) จํากัด และประธานกรรมการ กลุ่มบริษัทแสงโสมตั้งแต่ปี 2547 ดํารงตําแหน่งรองประธาน กรรมการบริษัท ทีซีซี แคปปิตอล แลนด์ จํากัด ตั้งแต่ปี 2546 ตําแหน่งรองประธานกรรมการบริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จํากัด (มหาชน) ตั้งแต่ปี 2544 และดํารงตําแหน่งรองประธานกรรมการบริหารเครือ บริษัท ทีซีซี โฮลดิ้ง จํากัด ตั้งแต่ปี 2515 ท่านได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาเทคโนโลยีชีวภาพ จากมหาวิทยาลัยรามคําแหง ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขา บริหารธุรกิจ จากสถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ ปริญญาดุษฎี บัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาบริหารธุรกิจ จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาสังคมศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง และปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลตะวันออก ตําแหน่งทางด้านสังคม ท่านเป็นรองประธานกรรมการมูลนิธิ สถาบันโรคไตภูมิราชนครินทร์ กรรมการศิริราชมูลนิธิ กรรมการ มูลนิธิรามาธิบดี กรรมการมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช กรรมการมูลนิธิโรคไตแห่งประเทศไทย กรรมการมูลนิธิคืนช้าง สู่ธรรมชาติ กรรมการคณะกรรมการจัดหาและส่งเสริมผู้ให้โลหิต แห่งสภากาชาดไทย และกรรมการมูลนิธิศาลาเฉลิมกรุง ท่านได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก มหาวชิรมงกุฎ ปฐมดิเรกคุณาภรณ์ และทุติยจุลจอมเกล้า


รายงานประจํ า ปี 2555 บริ ษ ั ท ไทยเบฟเวอเรจ จํ า กั ด (มหาชน)

รายละเอี ย ดประวั ติ ก รรมการและผู้ บ ริห าร

17

นายณรงค์ ศรีสอ้าน

นายภุชชงค์ ชาญธนากิจ

รองประธานกรรมการ รองประธานกรรมการบริหาร คนที่ 2

กรรมการ รองประธานกรรมการบริหาร คนที่ 4

นายณรงค์ ศรีสอ้าน ได้รับการแต่งตั้งเป็นรองประธานกรรมการ เมื่อปี 2546 มีประสบการณ์ในวงการธนาคารมา 44 ปี ดํารงตําแหน่งรองประธานบริหาร ธนาคารกสิกรไทย จํากัด (มหาชน) ตั้งแต่ปี 2497 ถึงปี 2541 และเคยดํารงตําแหน่งกรรมการอิสระ บริษท ั ทรู คอร์ปอร์เรชัน ่ จํากัด (มหาชน) นอกจากนี้ ยังดํารงตําแหน่ง ประธานบริษัทมหาชนอีกหลายบริษัทในประเทศไทย รวมถึง ประธานกรรมการบริษัท โออิชิ กรุ๊ป จํากัด (มหาชน) และ ประธานกรรมการบริษัท ดั๊บเบิ้ล เอ (1991) จํากัด (มหาชน) (เดิมชื่อ บริษัท แอ๊ดวานซ์ อะโกร จํากัด (มหาชน)) ท่านได้รับปริญญา เศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

นายภุชชงค์ ชาญธนากิจ ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการ และรองประธานกรรมการบริหารเมื่อปี 2546 ดํารงตําแหน่ง กรรมการผู้จัดการบริษัท แอล เอส พี วี จํากัด ตั้งแต่ปี 2531 ถึง 2546 ตําแหน่งผู้อํานวยการบริหาร (การเงิน) กลุ่มบริษัท ที.ซี.ซี. ในปี 2526 ถึง 2531 ตําแหน่งกรรมการบริษท ั โรบินา เครดิต จํากัด ในปี 2523 ถึง 2525 และเป็นรองผู้จัดการบริษัท สินเอเชีย เครดิต จํากัด ตั้งแต่ปี 2518 ถึง 2522 ท่านสําเร็จการศึกษาปริญญาตรีบริหารธุรกิจและปริญญาโททางบัญชี จาก California State University, Long Beach ประเทศสหรัฐอเมริกา

นายโกเมน ตันติวิวัฒนพันธ์

นางสาวกนกนาฏ รังษีเทียนไชย

รองประธานกรรมการ รองประธานกรรมการบริหาร คนที่ 3

กรรมการ รองประธานกรรมการบริหาร คนที่ 5

นายโกเมน ตันติวิวัฒนพันธ์ ได้รับการแต่งตั้งเป็นรองประธาน กรรมการเมื่อปี 2546 มีประสบการณ์ในการบริหารบริษัท ในอุตสาหกรรมสุรามากกว่า 40 ปี ดํารงตําแหน่งประธานกรรมการ บริษัท สหสันติ์ (2529) จํากัด ตั้งแต่ปี 2529 และดํารงตําแหน่ง กรรมการผู้ช่วยผู้อํานวยการใหญ่ บริษัท สุรามหาราษฎร จํากัด (มหาชน) ตั้งแต่ปี 2529 ถึง 2542 ท่านจบการศึกษา ชั้นมัธยมปลายจากประเทศจีน

นางสาวกนกนาฏ รังษีเทียนไชย ได้รับการแต่งตั้งเป็นรองประธาน กรรมการบริหารตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2553 โดยก่อนหน้าที่จะ ดํารงตําแหน่งนี้ ท่านได้ดํารงตําแหน่งกรรมการรองกรรมการ ผู้อํานวยการใหญ่ตั้งแต่ปี 2546 ท่านมีประสบการณ์มากมาย ทางด้านการเงินและการบัญชี เคยเป็นกรรมการผู้ช่วยกรรมการ ผู้จัดการกลุ่มบริษัทแสงโสม ตั้งแต่ปี 2543 ถึง 2546 และเป็น ผู้อํานวยการฝ่ายบัญชีการเงิน กลุ่มบริษัทสุราทิพย์ ตั้งแต่ปี 2526 ถึง 2542 เป็นผู้จัดการฝ่ายบัญชีกลุ่มบริษัท ที.ซี.ซี. ในปี 2518 ถึง 2525 และเป็นสมุห์บัญชีบริษัท เจ แอนด์ เจโฮ จํากัด ระหว่างปี 2513 ถึง 2518 ท่านสําเร็จการศึกษาปริญญาตรีพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และได้รับเกียรติบัตรการเข้าร่วม การอบรมหลักสูตร Director Accreditation Program กับสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย


รายละเอี ย ดประวั ติ ก รรมการและผู้ บ ริห าร

18

นายประสิทธิ์ โฆวิไลกูล

ศาสตราจารย์คนึง ฦๅไชย

กรรมการอิสระ ประธานกรรมการตรวจสอบ

กรรมการอิสระและกรรมการตรวจสอบ

นายประสิทธิ์ โฆวิไลกูล ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการอิสระและ ประธานกรรมการตรวจสอบบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จํากัด (มหาชน) เมื่อปี 2555 ปัจจุบันท่านดํารงตําแหน่งกรรมการอิสระบริษัท โออิชิ กรุ๊ป จํากัด (มหาชน) กรรมการอิสระบริษัท อาหารสยาม จํากัด (มหาชน) กรรมการอิสระบริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จํากัด (มหาชน) กรรมการ คณะกรรมการจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่ กรมโยธาธิการ และผังเมือง กรรมการคณะกรรมการนโยบายเคหะแห่งชาติ กรรมการสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาจารย์พิเศษ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้บรรยายสํานักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา เนติบัณฑิตยสภา ตั้งแต่ปี 2535 กรรมการร่างกฎหมายกฤษฎีกา คณะกรรมการกฤษฎีกา คณะที่ 7 สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ตั้งแต่ปี 2532 ท่านได้รับปริญญานิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปริญญานิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต กิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย เนติบัณฑิตไทย จาก เนติบัณฑิตยสภา นิติศาสตรมหาบัณฑิต (LL.M.) มหาวิทยาลัย โคลัมเบีย (นิวยอร์ก) สหรัฐอเมริกา และปริญญานิติศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับ 2) จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ท่านได้รับ ประกาศนียบัตรการสอบสิทธิมนุษยชน มหาวิทยาลัยสตราบูร์ก ฝรั่งเศส และประกาศนียบัตรการประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ สถาบันปฏิรูปที่ดินไต้หวัน ร่วมกับ Lincoln Land Institute, Massachusetts, U.S.A. ในปี 2547 ท่านได้รับเกียรติบัตร การเข้าร่วมอบรมหลักสูตร Finance for Non – Finance Director (FN) Board Failure and How to Fix It, Improving the Quality of Financial Reporting และหลักสูตร Director Accreditation Program (DAP) ในปี 2548 กับสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการ บริษัทไทย

ศาสตราจารย์คนึง ฦๅไชย ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการอิสระ เมื่อปี 2547 ท่านมีประสบการณ์มากมายในภาครัฐและในวงการ กฎหมาย เป็นอัยการผู้ช่วยและอัยการประจํากรม กรมอัยการ ในปี 2489 ถึง 2516 และเป็นผู้อํานวยการสํานักนโยบายและ แผนมหาดไทย กระทรวงมหาดไทย ในปี 2516 ถึง 2518 เป็น รองปลัดกระทรวงมหาดไทย ในปี 2518 ถึง 2519 และเป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยในปี 2519 ถึง 2520 ท่านเริม ่ งานกฎหมายทีส ่ าํ นักงานกฎหมายบางกอกอินเตอร์แนชชัน ่ ลอว์ ตั้งแต่ปี 2519 ถึง 2528 และที่สํานักงานกฎหมายคนึง-ปรก ในปี 2529 ถึง 2535 ปัจจุบน ั เป็นกรรมการบริษท ั สํานักงานกฎหมาย คนึง แอนด์ พาร์ทเนอร์ส จํากัด กรรมการบริษัทสํานักงานกฎหมาย คนึง แอนด์ พาร์ทเนอร์ส อินเตอร์เนชั่นแนลคอนซัลแตนท์ซี จํากัด ประธานกรรมการบริษัท ไทยแลนด์ไอออนเวิคส์ จํากัด (มหาชน) และ กรรมการอิสระและกรรมการตรวจสอบของธนาคารกรุงเทพ จํากัด (มหาชน) นอกจากนี้ ในปี 2544 ยังได้รับรางวัลนักกฎหมายดีเด่นภาคเอกชน กองทุน ศาสตราจารย์ สัญญา ธรรมศักดิ์ ท่านสําเร็จการศึกษา ปริญญาตรีธรรมศาสตร์บัณฑิต จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และการเมือง ปริญญาตรี และปริญญาโททางกฎหมาย จากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ และปริญญาเนติบัณฑิตอังกฤษ จากสํานักเกรซ์อินน์ ประเทศอังกฤษ ท่านได้รับปริญญานิติศาสตร ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและจาก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เทคโนโลยีการจัดการดุษฎีบัณฑิต กิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และเป็นสมาชิก สมาคมเนติบัณฑิตยสภา


รายงานประจํ า ปี 2555 บริ ษ ั ท ไทยเบฟเวอเรจ จํ า กั ด (มหาชน)

รายละเอี ย ดประวั ติ ก รรมการและผู้ บ ริห าร

19

นายมนู เลียวไพโรจน์

นายอึ๊ง ตัก พัน

กรรมการอิสระและกรรมการตรวจสอบ

กรรมการอิสระและกรรมการตรวจสอบ

นายมนู เลียวไพโรจน์ ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการอิสระ เมื่อปี 2547 มีประสบการณ์มากมายในภาครัฐ โดยเป็น ผู้อํานวยการกอง เลขาธิการ ผู้ตรวจราชการ กระทรวงอุตสาหกรรม อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ระหว่างปี 2511 ถึง 2542 และปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมในปี 2542 ถึง 2547 ประธานกรรมการบริษัท ปตท. จํากัด (มหาชน) ในปี 2542 ถึง 2547 ประธานกรรมการเทคโนเน็ตเอเชียสิงคโปร์ ในปี 2537 ถึง 2551 เป็นประธานคณะมนตรีองค์การน้ําตาลระหว่างประเทศ แห่งประเทศอังกฤษ (The International Sugar Organization Council of England) ในปี 2538 ถึง 2539 นอกจากนี้เคยเป็น อาจารย์พิเศษคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ และมหาวิทยาลัยกรุงเทพ เป็นนายกสมาคม ธรรมศาสตร์ในพระบรมราชูปถัมภ์ ในปี 2546 ถึง 2547 และเป็นนายกสมาคมเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระหว่างปี 2543 ถึง 2549 ท่านสําเร็จการศึกษาปริญญาตรีเศรษฐศาสตร์บัณฑิต (เกียรตินิยมดี) จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และปริญญาโทเศรษฐศาสตร์ มหาบัณฑิต จาก University of Kentucky ประเทศสหรัฐอเมริกา วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 34 (พ.ศ. 2534 – 2535) และ ปริญญาเอกบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ นอกจากนี้ยังได้รับรางวัล Asian Productivity Organization Award ในปี 2548

นายอึ๊ง ตัก พัน ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการอิสระเมื่อปี 2549 ท่านมีประสบการณ์มากมายในวงการธนาคารและการเงิน โดยเริ่มต้นการทํางานด้านการธนาคารกับธนาคารซิตี้แบงก์ สิงคโปร์ เมื่อปี 2514 จากนั้นดํารงตําแหน่งอาวุโสในสถาบันการเงิน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เป็นรองประธานกรรมการบริหารของ OCBC Bank, Singapore ดูแลด้านธุรกิจการธนาคารระหว่างประเทศ และสถาบันการเงิน จากปี 2531 ถึง 2540 และต่อมาเมื่อปี 2541 ท่านได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้อํานวยการบริหารและเป็นประธานเจ้าหน้าที่ บริหารของ OCBC Bank, Malaysia ท่านเคยเป็นกรรมการผู้จัดการ ของ JP Morgan Chase จากปี 2542 ถึง 2545 เคยเป็น กรรมการผู้จัดการ และต่อมาเป็นที่ปรึกษาอาวุโสของ UBS AG. จากปี 2546 ถึง 2551 นอกจากนี้ยังเป็นกรรมการอิสระ ประธานคณะกรรมการตรวจสอบ และกรรมการสรรหาของ Engro Corporation Ltd. ท่านดํารงตําแหน่งกรรมการ บริษัท Sing Investment & Finance Limited และประธาน กรรมการอิสระ (Independent Non-Executive Chairman) ของ SP Chemical Holdings Ltd. ท่านสําเร็จการศึกษาปริญญาตรีศิลปศาสตร์ (เศรษฐศาสตร์และ ประวัติศาสตร์) จาก University of Singapore


รายละเอี ย ดประวั ติ ก รรมการและผู้ บ ริห าร

20

นายไมเคิล เล่า ไวย เคียง กรรมการอิสระ

ศาสตราจารย์นายแพทย์พรชัย มาตังคสมบัติ กรรมการอิสระ

นายไมเคิล เล่า ไวย เคียง ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการอิสระ ในปี 2549 ปัจจุบันเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัท Advisory Services of Octagon Advisors Pte. Ltd. และกรรมการ บริษัท Octagon Advisors (Shanghai) Co., Ltd. ในระหว่างเดือน มิถุนายน 2543 ถึงกันยายน 2547 เป็นรองประธานบริหารธนาคาร United Overseas Bank จํากัด รับผิดชอบงานด้านการบริหารและ บรรษัทภิบาลในการดําเนินงานธนาคารต่างประเทศ ท่านเคยเป็น ที่ปรึกษาบริษัท Asia Pulp and Paper Limited จากเดือน กุมภาพันธ์ 2542 ถึงพฤษภาคม 2543 ท่านดํารงตําแหน่ง หลายตําแหน่งที่ Monetary Authority of Singapore (MAS) จากเดือนกุมภาพันธ์ 2528 ถึงกรกฎาคม 2532 และจากเดือน เมษายน 2534 ถึงสิงหาคม 2540 ตําแหน่งสุดท้ายที่ MAS คือรองผู้อํานวยการอาวุโสด้าน Development and Domestic Institutions จากเดือนสิงหาคม 2532 ถึงมีนาคม 2534 เป็นผู้จัดการอาวุโส (Institutional Sales) ที่บริษัทจัดจําหน่าย หลักทรัพย์ J M Sassoon & Company และเป็นรองประธานบริหาร บริษัท The Central Depository (Pte) Limited จากเดือน พฤศจิกายน 2540 ถึงกุมภาพันธ์ 2542 ท่านสําเร็จการศึกษาปริญญาตรีบริหารธุรกิจ (เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง) จาก National University of Singapore และ Chartered Financial Analyst (CFA) จาก Institute of Chartered Financial Analysis

ศาสตราจารย์นายแพทย์พรชัย มาตังคสมบัติ ได้รับการแต่งตั้ง เป็นกรรมการอิสระเมื่อปี 2549 ท่านดํารงตําแหน่งอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดลตั้งแต่ปี 2542 ถึง 2550 ก่อนหน้านั้นเป็น คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ ตั้งแต่ปี 2534 ถึง 2542 และ ศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นสมาชิก International Union of Immunological Societies ตั้งแต่ปี 2514 และเป็น คณะกรรมการบริหาร International Union of Microbiological Societies ตั้งแต่ปี 2529 ถึง 2533 ท่านได้รับพระราชทาน เครื่องราชอิสริยาภรณ์สูงสุดในตระกูลช้างเผือก (มหาปรมาภรณ์ ช้างเผือก ม.ป.ช.) และสูงสุดในตระกูลมงกุฎไทย (มหาวชิรมงกุฎ ม.ว.ม.) และจุลจอมเกล้า (ตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ) และได้รับ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ Palmes Academiques (Commandeur) จากรัฐบาลสาธารณรัฐฝรั่งเศส นอกจากนี้ ยังเป็นนักวิจัยกิตติมศักดิ์ ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และศาสตราจารย์อาคันตุกะที่มหาวิทยาลัย โอซาก้า และมหาวิทยาลัยไซ่ง่อน ได้รับดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จาก มหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัยโอซาก้า ล่าสุดท่านได้รับรางวัล คุณูปการตลอดชีวิตจากสมาคมเทคโนโลยีชีวภาพประเทศญี่ปุ่น ในวาระการประชุมเฉลิมฉลองครบ 90 ปีของสมาคมฯ ในเดือนตุลาคม 2555 ที่นครโกเบ ประเทศญี่ปุ่น ท่านสําเร็จการศึกษาปริญญาตรี (B.A.) และปริญญาเอก แพทยศาสตร์ (M.D.) และปริญญาเอกทางวิทยาศาสตร์ (Ph.D.) จาก University of Wisconsin


รายงานประจํ า ปี 2555 บริ ษ ั ท ไทยเบฟเวอเรจ จํ า กั ด (มหาชน)

รายละเอี ย ดประวั ติ ก รรมการและผู้ บ ริห าร

21

นายศักดิ์ทิพย์ ไกรฤกษ์

พลเอกนายแพทย์ชูฉัตร กําภู ณ อยุธยา

กรรมการอิสระ

กรรมการอิสระ

นายศักดิ์ทิพย์ ไกรฤกษ์ ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการอิสระ เมื่อปี 2548 เป็นผู้มีประสบการณ์อย่างมากจากการรับราชการ ในกระทรวงต่างๆ หลายกระทรวง เริ่มต้นในปี 2514 สังกัด กระทรวงมหาดไทย ในปี 2522 ถึง 2547 เป็นนักการทูต กระทรวงการต่างประเทศ ได้ดํารงหลายตําแหน่ง อาทิ ตําแหน่ง เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ อัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา อธิบดีกรมพิธีการทูต อธิบดีกรมสารนิเทศ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศ และ เอกอัครราชทูต ณ กรุงพนมเปญ กรุงโตเกียว และกรุงวอชิงตัน เคยเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีเมื่อปี 2547 และปี 2547 ถึง กันยายน 2550 เป็นปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ท่านสําเร็จการศึกษาปริญญาตรีรฐั ศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัย บอสตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา ปริญญาโทรัฐประศาสนศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี และวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร และปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยโซก้า ประเทศ ญี่ปุ่น ท่านได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งประเทศไทยและ ต่างประเทศ อาทิ เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย (มหาวชิรมงกุฎ) เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก (มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก) เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า (ทุติยจุลจอมเกล้า) และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ ได้แก่ Order of the Sacred Treasure, Gold and Silver Star และ the Grand Cordon of the Order of the Rising Sun จาก ประเทศญี่ปุ่น ปัจจุบันท่านดํารงตําแหน่งนายกสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลกรุงเทพ

พลเอกนายแพทย์ชูฉัตร กําภู ณ อยุธยา ได้รับการแต่งตั้งเป็น กรรมการอิสระในปี 2549 รับราชการในกองทัพบกตั้งแต่ปี 2516 ถึง 2530 ในตําแหน่งศัลยแพทย์ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ดํารงตําแหน่งหัวหน้าภาควิชากายวิภาคศาสตร์ วิทยาลัยแพทยศาสตร์ พระมงกุฎเกล้า ตั้งแต่ปี 2530 ถึง 2534 ดํารงตําแหน่ง รองผู้บัญชาการ โรงเรียนเสนารักษ์ กรมแพทย์ทหารบก ตั้งแต่ปี 2534 ถึง 2537 จากนั้นในปี 2537 ถึง 2547 ดํารงตําแหน่ง หลายตําแหน่งในกรมแพทย์ทหารบก อาทิ ผู้อํานวยการสถาบันวิจัย วิทยาศาสตร์การแพทย์ทหาร กรมแพทย์ทหารบก ผูช้ ว่ ยเจ้ากรมแพทย์ รองเจ้ากรมแพทย์ ผู้อํานวยการศูนย์อํานวยการแพทย์พระมงกุฎเกล้า เจ้ากรมแพทย์ทหารบก และผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก ปัจจุบัน เป็นศัลยแพทย์อาวุโสและแพทย์ประจําสํานักงานแพทย์ประจําพระองค์ ท่านได้รับปริญญาตรีแพทย์ศาสตรบัณฑิต จาก Westf. Wilhelms Universität zu Munster และปริญญาเอกแพทย์ศาสตร ดุษฎีบัณฑิต จาก Georg-August Universität zu Goettingen ได้รับปริญญาบัตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรภาครัฐร่วมเอกชน (วปรอ 399) วุฒิบัตรผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยกรรมทั่วไป จากราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย และวุฒิบัตรวิทยาลัย การทัพบก (วทบ.) รุ่น 34 นอกจากนี้ยังเป็นสมาชิกถาวรของ ราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย สมาคมวิทยาลัยศัลยแพทย์ นานาชาติ และแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ อีกด้วย ท่านได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า (ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ) และเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่ง ช้างเผือก (มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก) และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทยชั้นสูงสุด (มหาวชิรมงกุฎ)


รายละเอี ย ดประวั ติ ก รรมการและผู้ บ ริห าร

22

นายวิวัฒน์ เตชะไพบูลย์

นายฐาปน สิริวัฒนภักดี

กรรมการ

กรรมการผู้อํานวยการใหญ่

นายวิวัฒน์ เตชะไพบูลย์ ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการในปี 2546 มีประสบการณ์ในวงการธนาคารมากว่า 18 ปี ดํารงตําแหน่งสําคัญ หลายตําแหน่งในธนาคารศรีนคร จํากัด (มหาชน) ตั้งแต่ปี 2522 ถึง 2541 อาทิ เลขานุการกรรมการผู้จัดการ รองผู้อํานวยการ ฝ่ายการค้า ผู้อํานวยการสาขา และรองประธาน ท่านสําเร็จการศึกษาปริญญาตรีนิติศาสตร์ จากมหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ และปริญญาโทบริหารธุรกิจ จาก Fairleigh Dickinson University ประเทศสหรัฐอเมริกา

นายปณต สิริวัฒนภักดี กรรมการ

นายปณต สิริวัฒนภักดี ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการเมื่อเดือน กุมภาพันธ์ 2550 เป็นกรรมการบริษัท เบียร์ไทย (1991) จํากัด (มหาชน) เมื่อปี 2543 ถึงปี 2547 เป็นกรรมการบริษัท เบียร์ทิพย์ บริวเวอรี่ (1991) จํากัด เมื่อปี 2547 และเป็นกรรมการกลุ่มบริษัท สุราบางยี่ขัน ตั้งแต่ปี 2545 และดํารงตําแหน่งกรรมการบริษัท โออิชิ กรุ๊ป จํากัด (มหาชน) ตั้งแต่ปี 2554 ท่านสําเร็จการศึกษาปริญญาตรี สาขาวิศวกรรมการผลิต จากมหาวิทยาลัยบอสตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา ปริญญาโท สาขา ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ จากมหาวิทยาลัยลอนดอน ประเทศ อังกฤษ และหลักสูตรวิศวกรรมอุตสาหกรรมและเศรษฐศาสตร์ จาก มหาวิทยาลัยแมสซาชูเซตส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา

นายฐาปน สิริวัฒนภักดี ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการ ผู้อํานวยการใหญ่ของบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จํากัด (มหาชน) ตั้งแต่ เดือนมกราคม 2551 โดยก่อนหน้าที่จะดํารงตําแหน่งนี้ ท่านได้ดํารงตําแหน่งกรรมการรองกรรมการผู้อํานวยการใหญ่ของ บริษัท ตั้งแต่ปี 2546 ในปี 2554 ท่านได้รับการแต่งตั้งให้ดํารง ตําแหน่งประธานกรรมการบริหารบริษัท โออิชิ กรุ๊ป จํากัด (มหาชน) ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2554 จากเดิมซึ่งดํารงตําแหน่ง รองประธานกรรมการกลุ่มบริษัทโออิชิ ตั้งแต่ปี 2549 และได้รับการ แต่งตั้งเป็นรองประธานกรรมการบริษัท เสริมสุข จํากัด (มหาชน) ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2554 นอกจากนี้ ท่านยังดํารงตําแหน่งในบริษัทชั้นนําอีกหลายแห่ง ในปัจจุบัน อาทิ บริษัท เบียร์ไทย (1991) จํากัด (มหาชน) กลุ่มบริษัทสุรากระทิงแดง บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จํากัด (มหาชน) กลุ่มบริษัทอาคเนย์ บริษัท อาหารสยาม จํากัด (มหาชน) และบริษัท ยูนิเวนเจอร์ จํากัด (มหาชน) ท่านได้รับการยอมรับในระดับสากลถึงความเป็นผู้นําในการส่งเสริม มาตรฐานการกํากับดูแลกิจการ โดยในปี 2554 ได้รับรางวัล Asian Corporate Director Recognition Award จากนิตยสาร Corporate Governance Asia นอกจากนี้ ท่านยังได้รับรางวัล Asian Excellence Recognition Awards: Asia’s Best CEO (Investor Relations) จากนิตยสารเดียวกันในปี 2554 และ 2555 ติดต่อกัน และในปี 2552 ท่านได้รับรางวัล Asia’s Best Company 2009, Thailand: Best CEO จากนิตยสาร FinanceAsia ท่านสําเร็จการศึกษาปริญญาตรีบริหารธุรกิจ สาขาการเงิน ปริญญาโท สาขาเศรษฐศาสตร์การเงินการธนาคาร จากมหาวิทยาลัย บอสตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา และปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต กิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการบริหารทั่วไป จากมหาวิทยาลัยรามคําแหง


รายงานประจํ า ปี 2555 บริ ษ ั ท ไทยเบฟเวอเรจ จํ า กั ด (มหาชน)

รายละเอี ย ดประวั ติ ก รรมการและผู้ บ ริห าร

23

นายสวัสดิ์ โสภะ กรรมการรองกรรมการผู้อํานวยการใหญ่

นายสวัสดิ์ โสภะ ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการบริษัทเมื่อเดือน เมษายน 2553 โดยก่อนหน้าที่จะดํารงตําแหน่งนี้ ท่านได้ ดํารงตําแหน่งรองกรรมการผู้อํานวยการใหญ่ของบริษัทตั้งแต่ ปี 2547 ท่านรับผิดชอบงานด้านการผลิตสุราและเทคนิค เคยเป็น กรรมการผู้จัดการบริษัท เบียร์ไทย (1991) จํากัด ในปี 2535 ถึง 2538 และเป็นรองประธานกรรมการบริหารบริษัท สุรากระทิงแดง (1988) จํากัด ตั้งแต่ปี 2538 ถึงปัจจุบัน เป็นผู้อํานวยการบริหาร กลุ่มบริษัท 43 และเป็นผู้ช่วยประธานกรรมการบริหาร รับผิดชอบ ด้านสุราและการผลิตแอลกอฮอล์ตั้งแต่ปี 2523 ถึง 2535 ท่านเริ่มชีวิตวิศวกรเมื่อปี 2507 ถึง 2518 ต่อมาได้เลื่อนเป็น หัวหน้าวิศวกรบริษัท สยามเคมี จํากัด ในช่วงปี 2506 ถึง 2507 เป็นวิศวกรที่โรงกลั่นน้ํามันบางจาก เป็นกรรมการในหลายองค์กร รวมทั้งมูลนิธิแถบนีละนิธิ สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สมาคมยิมนาสติกแห่งประเทศไทย และวิทยาลัยปิโตรเลียมและ ปิโตรเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมาธิการ วิสามัญประจําสํานักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร รับหน้าที่ พิจารณาร่างพระราชบัญญัติเรื่องการคุ้มครองการทํางาน หลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ และภาษีสรรพสามิต เป็นผู้ชํานาญการให้แก่ คณะกรรมาธิการสภาผู้แทนราษฎรด้านทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม และเป็นกรรมการด้านการเงินและอนุกรรมการโครงการ การผลิตแอลกอฮอล์เพื่อเป็นเชื้อเพลิง โครงการส่วนพระองค์ กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม ท่านเป็น นายกสมาคมชาวเหนือ นายกสมาคมนักเรียนเก่าบุญวาทย์วิทยาลัย จังหวัดลําปาง และนายกสมาคมลําปาง (กรุงเทพ) ท่านสําเร็จการศึกษาปริญญาตรีวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเคมี วิศวกรรม จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปริญญาโท การบริหาร โรงงานอุตสาหกรรม จากสถาบันเคนไซ คชุ เซ็นเตอร์ ประเทศญี่ปุ่น ปริญญาโทด้าน Dynamic Management International Executive Syracuse, University USA และได้รับเกียรติบัตร การเข้าร่วมการอบรมหลักสูตร Director Accreditation Program กับสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย ท่านได้รับปริญญา วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาเทคโนโลยี อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎลําปาง และปริญญาดุษฎีบัณฑิต กิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์เชิงยุทธศาสตร์

มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา นอกจากนี้ยังได้รับพระราชทาน เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก (เบญจมาภรณ์ ช้างเผือก) และเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย (จัตุรถาภรณ์มงกุฎไทย)

นายอวยชัย ตันทโอภาส กรรมการรองกรรมการผู้อํานวยการใหญ่

นายอวยชัย ตันทโอภาส ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการรองกรรมการ ผู้อํานวยการใหญ่เมื่อเดือนพฤษภาคม 2553 โดยก่อนหน้าที่จะ ดํารงตําแหน่งนี้ ท่านได้ดํารงตําแหน่งกรรมการผู้ช่วยกรรมการ ผู้อํานวยการใหญ่ของบริษัทตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2548 เคยเป็น ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและเป็นกรรมการผู้อํานวยการบริษัท ริช มอนเด้ (บางกอก) จํากัด ในเดือนกรกฎาคม 2538 ถึงธันวาคม 2545 และเดือนมกราคม 2531 ถึงกุมภาพันธ์ 2537 ตามลําดับ เคยเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัท สารินพรอพเพอร์ตี้ จํากัด ในเดือน มีนาคม 2537 ถึงมิถุนายน 2538 เป็นผู้จัดการกลุ่มผลิตภัณฑ์ บริษัท คอลเกตปาล์มโอลีฟ (ประเทศไทย) จํากัด ในเดือนกันยายน 2522 ถึงมิถุนายน 2526 และเดือนพฤษภาคม 2516 ถึงสิงหาคม 2522 ดํารงตําแหน่งด้านการขายและการตลาดหลายตําแหน่งใน บริษัท กรรณสูตเจเนอรัลแอสเซมบลี จํากัด ท่านสําเร็จการศึกษาปริญญาตรี Accounting จาก St. Louis University ประเทศสหรัฐอเมริกา ปริญญาโทบริหารธุรกิจ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่านได้รับเกียรติบัตรการร่วม การอบรมหลักสูตร Advance Management Program จาก INSEAD ประเทศฝรั่งเศส และได้รับเกียรติบัตรจากการอบรม หลักสูตร Director Certification Program (DCP) และหลักสูตร Role of the Chairman Program จากสมาคมส่งเสริมสถาบัน กรรมการบริษัทไทย


รายละเอี ย ดประวั ติ ก รรมการและผู้ บ ริห าร

24

นายสิทธิชัย ชัยเกรียงไกร

ดร. พิษณุ วิเชียรสรรค์

กรรมการรองกรรมการผู้อํานวยการใหญ่

กรรมการผู้ช่วยกรรมการผู้อํานวยการใหญ่

นายสิทธิชย ั ชัยเกรียงไกร ได้รบ ั การแต่งตัง้ เป็นกรรมการรองกรรมการ ผู้อํานวยการใหญ่เมื่อเดือนพฤษภาคม 2553 โดยก่อนหน้าที่จะ ดํารงตําแหน่งนี้ ท่านได้ดํารงตําแหน่งกรรมการผู้ช่วยกรรมการ ผู้อํานวยการใหญ่ของบริษัทตั้งแต่ปี 2546 ได้เข้าร่วมงานกับ กลุ่มบริษัท ที.ซี.ซี. ในปี 2533 มีประสบการณ์ในแวดวงการเงิน มากว่า 30 ปี รวมถึงดํารงตําแหน่งผู้จัดการฝ่ายการเงินและ การบัญชี Asia Voyages & Pansea Hotel ตั้งแต่ปี 2526 ถึง 2533 เป็นนักวิเคราะห์การเงินของบริษัท กู้ดเยียร์ (ประเทศไทย) จํากัด ระหว่างปี 2523 ถึง 2526 และเป็นผู้สอบบัญชีภายนอก บริษัท Coopers & Lybrand ตั้งแต่ปี 2520 ถึง 2523 ท่านสําเร็จการศึกษาปริญญาตรีบญ ั ชีบณ ั ฑิต (เกียรตินย ิ มอันดับหนึง่ ) จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และได้รับวุฒิบัตรคอมพิวเตอร์บริหาร จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และได้รับเกียรติบัตรการเข้าร่วม การอบรมหลักสูตร Director Certification Program รุน ่ ที่ 26/2546 กับสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย นอกจากนี้ยังได้รับ วุฒิบัตร Mini MBA สาขา Leadership Management จาก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในปี 2552 ท่านได้รับรางวัล Asia’s Best Company 2009, Thailand: Best CFO จากนิตยสาร FinanceAsia นอกจากนี้ ในปี 2554 และ 2555 ท่านได้รับรางวัล Asian Excellence Recognition Awards: Asia’s Best CFO (Investor Relations) จากนิตยสาร Corporate Governance Asia เป็นปีที่ 2 ติดต่อกัน

ดร. พิษณุ วิเชียรสรรค์ ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการ ผู้ช่วยกรรมการผู้อํานวยการใหญ่เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2547 โดยดํารงตําแหน่งหลายตําแหน่งในกลุ่มบริษัท รวมถึงตําแหน่ง ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการในปี 2543 ถึง 2546 และเป็น รองกรรมการผู้จัดการ ตั้งแต่ปี 2546 ถึง 2547 ในบริษัท เบียร์ไทย (1991) จํากัด (มหาชน) ปัจจุบันดํารงตําแหน่งกรรมการ ผู้จัดการบริษัท เบียร์ไทย (1991) จํากัด (มหาชน) และ บริษัท คอสมอส บริวเวอรี่ (ประเทศไทย) จํากัด เคยเป็นผู้อํานวยการ ฝ่ายพัฒนาและค้นคว้าวิศวกรรมตั้งแต่ปี 2540 ถึง 2543 และเป็นผู้ช่วยผู้อํานวยการโรงงานในปี 2537 ถึง 2539 ของ บริษัท คาร์ลสเบิร์ก บริวเวอรี่ (ประเทศไทย) จํากัด เคยเป็นที่ปรึกษา ของบริษัท แพนเอ็นจิเนียริ่งคอนซัลแทนต์ จํากัด ในปี 2535 ถึง 2537 และในปี 2520 ถึง 2536 เป็นอาจารย์ รวมถึงเคยเป็น ผู้บริหารคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อปี 2535 ถึง 2536 และเป็นผู้บริหารภาควิชาเทคโนโลยีอาหาร มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในปี 2532 ถึง 2535 เป็นอาจารย์สอน ด้านเทคโนโลยีอาหารที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในปี 2520 ถึง 2533 ท่านสําเร็จการศึกษาปริญญาเอกวิศวกรรมศาสตร์จาก Technical University Berlin ประเทศเยอรมนี ปริญญาโทด้านเทคโนโลยี (เกียรตินิยมอันดับสอง) สาขาเทคโนโลยีชีวภาพจาก Massey University ประเทศนิวซีแลนด์ และด้านการผลิตเบียร์จาก The Scandinavian School of Brewing ประเทศเดนมาร์ค และปริญญาตรีวิทยาศาสตร์ (วิทยาศาสตร์การอาหาร) จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


รายงานประจํ า ปี 2555 บริ ษ ั ท ไทยเบฟเวอเรจ จํ า กั ด (มหาชน)

รายละเอี ย ดประวั ติ ก รรมการและผู้ บ ริห าร

25

นายวิชัย ชัยยาวรานุรักษ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้อํานวยการใหญ่

กลุ่มบริษัทพรีเมียร์ ในปี 2539 ถึง 2542 ดํารงตําแหน่งกรรมการ ผู้จัดการ ธุรกิจกระดาษทิชชูและกระดาษอนามัย และตําแหน่งรอง กรรมการผู้จัดการการตลาดและการขาย บริษัท กระดาษไทยสก็อตต์ จํากัด ในปี 2536 ถึง 2538 และปี 2534 ถึง 2536 ตามลําดับ ท่านสําเร็จการศึกษาปริญญาโทบริหารธุรกิจ สาขาการตลาด จาก Oklahoma State University ประเทศสหรัฐอเมริกา

นายวิชัย ชัยยาวรานุรักษ์ ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยกรรมการ ผู้อํานวยการใหญ่เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2551 โดยก่อนหน้าที่จะ ดํารงตําแหน่งนี้ ท่านได้ดํารงตําแหน่งผู้บริหารในกลุ่มบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จํากัด (มหาชน) หลายตําแหน่ง อาทิเช่น กรรมการบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ โลจิสติก จํากัด กรรมการบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ มาร์เก็ตติ้ง จํากัด และผู้อํานวยการสํานักบัญชีการเงิน กลุ่มบริษัทการตลาด บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จํากัด (มหาชน)

นายแมทธิว กิจโอธาน ผู้ช่วยกรรมการผู้อํานวยการใหญ่

ท่านสําเร็จการศึกษาปริญญาตรี คณะพาณิชย์ศาสตร์และการบัญชี สาขาการบริหารการเงินการธนาคาร จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

นายการณ์ จิตรวิมล ผู้ช่วยกรรมการผู้อํานวยการใหญ่

นายการณ์ จิตรวิมล ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยกรรมการ ผู้อํานวยการใหญ่เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2554 และได้รับแต่งตั้งให้ ดํารงตําแหน่งกรรมการผู้จัดการของบริษัท ไทยดริ้งค์ จํากัด บริษัท เครื่องดื่มแรงเยอร์ (2008) จํากัด และบริษัท เอส.พี.เอ็ม อาหารและเครื่องดื่ม จํากัด โดยก่อนหน้าที่จะดํารงตําแหน่งนี้ ท่านได้ ดํารงตําแหน่งที่ปรึกษาของบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จํากัด (มหาชน) ในเดือนตุลาคม 2553 ถึงเดือนมกราคม 2554 ตําแหน่ง กรรมการผู้จัดการของบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ โลจิสติก จํากัด ตั้งแต่ เดือนมกราคม 2552 ถึงเดือนกันยายน 2553 และก่อนที่จะร่วมงาน กับบริษัท ท่านดํารงตําแหน่งรองกรรมการผู้อํานวยการใหญ่อาวุโส สายงานพัฒนาธุรกิจ ลงทุนและบริหารทรัพย์สิน ของบริษัท ทีซีซี แลนด์ อินดัสเตรียล แอนด์ โลจิสติกส์ จํากัด ในปี 2551 ดํารงตําแหน่ง รองผู้จัดการใหญ่ธุรกิจโลจิสติกส์ และตําแหน่งรองผู้จัดการใหญ่ สายธุรกิจสินค้าอุปโภคบริโภค บริษท ั เบอร์ล่ี ยุคเกอร์ จํากัด (มหาชน) ในปี 2550 และตั้งแต่ปี 2542 ถึง 2550 ตามลําดับ ดํารงตําแหน่ง รองผู้จัดการใหญ่ สายธุรกิจสินค้าอุปโภคบริโภค

นายแมทธิว กิจโอธาน ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยกรรมการ ผู้อํานวยการใหญ่เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2552 ท่านมีประสบการณ์ ทํางานมากมายทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ ระหว่างปี 2533 ถึงปี 2538 ท่านได้ร่วมงานกับบริษัท ลีเวอร์บราเธอร์ (ประเทศไทย) จํากัด ระหว่างปี 2538 ถึงปี 2547 ท่านดํารงตําแหน่ง หลายตําแหน่งที่บริษัท PepsiCo Inc. ทั้งในภูมิภาคเอเซียแปซิฟิคและ ต่างประเทศ โดยตําแหน่งสุดท้ายที่ปฏิบัติหน้าที่ในบริษัท PepsiCo Inc. คือ Brand Marketing Director, Asia Pacific ของบริษัท PepsiCo Inc. ต่อมาระหว่างปี 2547 ถึงปี 2549 ท่านดํารงตําแหน่ง Vice President, Business Management, Asia Pacific ของบริษัท Gillette Asia Pacific Group ประเทศสิงคโปร์ และในปี 2549 ถึงปี 2552 ท่านดํารงตําแหน่ง กรรมการและประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการของบริษัท ไมเนอร์ คอร์ปอเรชั่น จํากัด (มหาชน) อีกทั้งยังดํารงตําแหน่งกรรมการ ในหลายบริษัท อาทิ กรรมการบริษัท เวฟ เอ็นเตอร์เทนเมนท์ จํากัด (มหาชน) กรรมการบริษัท บีอีซี เวิลด์ จํากัด (มหาชน) และกรรมการ อิสระบริษัท โอเชียนกลาส จํากัด (มหาชน) ในเดือนกันยายนปี 2553 ท่านได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการ และกรรมการผู้จัดการ บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จํากัด (มหาชน) และกรรมการในกลุ่มบริษัท โออิชิ ท่านสําเร็จการศึกษาปริญญาตรี สาขาพาณิชย์ศาสตร์ จาก University of Toronto ประเทศแคนาดา และปริญญาโท สาขาการจัดการ จาก Imperial College (Management School), University of London ประเทศอังกฤษ


รายละเอี ย ดประวั ติ ก รรมการและผู้ บ ริห าร

26

นายฌอง เลอเบรอตง

นายวิเชฐ ตันติวานิช

ผู้ช่วยกรรมการผู้อํานวยการใหญ่

ผู้ช่วยกรรมการผู้อํานวยการใหญ่

นายฌอง เลอเบรอตง ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยกรรมการ ผู้อํานวยการใหญ่ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2551 โดยร่วมปฏิบัติงานกับ ผู้บริหารระดับสูงท่านอื่นๆ เพื่อพัฒนาและนํากลยุทธ์ต่างๆ มาปรับใช้ในการดําเนินงานของบริษัท รวมถึงทําให้การควบรวม กิจการอื่นๆ ในอนาคตของบริษัทดําเนินไปอย่างราบรื่น ก่อนหน้านั้นท่านเคยร่วมงานกับกลุ่มบริษัท The Boston Consulting Group (BCG) ตั้งแต่ปี 2532 ถึง 2548 หลังจาก ร่วมงานกับ BCG ในประเทศฝรั่งเศสเป็นระยะเวลา 5 ปี ได้เดินทาง มาประเทศไทยในปี 2537 เพื่อเปิดสํานักงาน BCG ในประเทศไทย และได้รับการแต่งตั้งเป็นหุ้นส่วนของบริษัทดังกล่าวในปี 2538 หลังจากที่ลาออกจาก BCG ในปี 2548 ได้ทํางานอิสระเป็นระยะเวลา หลายปีก่อนที่จะร่วมงานกับบริษัท ท่านมีประสบการณ์ในการทํางานในภูมิภาคเอเชียอย่างกว้างขวาง รวมถึงประสบการณ์ในการทํางาน ณ นครเซียงไฮ้ ประเทศจีน เป็นเวลาหลายปี และทํางานในฐานะที่ปรึกษาให้บริษัทต่างๆ ในหลายอุตสาหกรรม เช่น ธุรกิจสินค้าอุปโภคบริโภค ธนาคาร และธุรกิจพลังงาน โดยให้คําปรึกษาครอบคลุมประเด็นต่างๆ เช่น การพัฒนาตลาด การทําวิจัยผู้บริโภค การปรับโครงสร้างองค์กร และการบริหารจัดการด้านคุณค่า (Value Management) ท่านสําเร็จการศึกษาปริญญาโทบริหารธุรกิจจาก Wharton School, University of Pennsylvania

นายวิเชฐ ตันติวานิช ได้รับการแต่งตั้งเป็น ผู้ช่วยกรรมการ ผู้อํานวยการใหญ่ เมื่อเดือนพฤษภาคม 2555 ท่านเป็นผู้มี ประสบการณ์ด้านตลาดทุนมายาวนานกว่า 30 ปี โดยในปี 2545 ถึง 2553 ท่านได้ดํารงตําแหน่งหลายตําแหน่งในตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย โดยตําแหน่งสุดท้าย คือ รองผู้จัดการ รวมถึงเป็น ประธานที่ปรึกษา ตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) กรรมการบริษัท เซ็ทเทรด ดอท คอม จํากัด และบริษัท ตลาดอนุพันธ์ (ประเทศไทย) จํากัด (มหาชน) นอกจากนี้ ท่านยังเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้ง และเป็น ประธานเจ้าหน้าที่บริหารคนแรกของบริษัท แฟมมิลี่ โนฮาว จํากัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย บริหารสถานี โทรทัศน์ Money Channel สถานีโทรทัศน์เพือ่ เศรษฐกิจและการลงทุน แห่งแรกของประเทศไทย ก่อนหน้านี้ ท่านเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งและ ดํารงตําแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารคนแรกของ บริษัทหลักทรัพย์ จัดการกองทุน กรุงไทย จํากัด (มหาชน) ปัจจุบันท่านยังดํารงตําแหน่ง ประธานกรรมการบริหาร สถาบันพัฒนาผู้ประกอบการเชิงสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ รองประธานกรรมการ สถาบันวิทยาการตลาดทุน และที่ปรึกษา ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ และกรรมการบริหาร สภาหอการค้านานาชาติแห่งประเทศไทย ท่านสําเร็จการศึกษาปริญญาตรีเศรษฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชา เศรษฐศาสตร์การเงินและการคลัง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และปริญญาโทสาขาการเงิน และการตลาด จาก Hartford University รัฐคอนเนคติกัต ประเทศสหรัฐอเมริกา ท่านผ่าน การอบรมหลักสูตร Director Certification Program รุ่นที่ 2 ของสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) หลักสูตร Executive Leadership Program จาก Nida - Wharton รัฐเพนซิลวาเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา หลักสูตรผู้บริหารระดับสูง รุ่นที่ 1 สถาบันวิทยาการตลาดทุน (วตท.) หลักสูตร Certified Financial Planner : CFP รุ่นที่ 1 สมาคมนักวางแผนการเงินไทย และหลักสูตรผู้บริหารระดับสูงด้านการค้า และการพาณิชย์ (TEPCoT) รุ่นที่ 3 สถาบันวิทยาการการค้า


รายงานประจํ า ปี 2555 บริ ษ ั ท ไทยเบฟเวอเรจ จํ า กั ด (มหาชน)

รายละเอี ย ดประวั ติ ก รรมการและผู้ บ ริห าร

27

นายมารุต บูรณะเศรษฐกุล

นายประภากร ทองเทพไพโรจน์

ผู้ช่วยกรรมการผู้อํานวยการใหญ่

ผู้ช่วยกรรมการผู้อํานวยการใหญ่

นายมารุต บูรณะเศรษฐกุล ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยกรรมการ ผู้อํานวยการใหญ่ สายบริหารการตลาด และได้รับการแต่งตั้งเป็น กรรมการผู้จัดการบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ มาร์เก็ตติ้ง จํากัด เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2555 โดยก่อนหน้าที่จะดํารงตําแหน่งนี้ ท่านได้ดํารงตําแหน่งผู้ช่วยกรรมการผู้อํานวยการใหญ่ สายงาน สนับสนุนตั้งแต่ปี 2553 และตําแหน่งผู้อํานวยการสํานักกรรมการ ผู้อํานวยการใหญ่ของบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จํากัด (มหาชน) ตําแหน่งกรรมการผู้จัดการของบริษัท ไทยดริ้งค์ จํากัด และตําแหน่ง รองกรรมการผู้จัดการของบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ มาร์เก็ตติ้ง จํากัด ตั้งแต่ปี 2552 ก่อนที่จะร่วมงานกับบริษัทท่านดํารงตําแหน่ง Senior Executive Vice President (Marketing & Sales) & Chief Marketing Officer ของบริษัท กสท โทรคมนาคม จํากัด (มหาชน) ในปี 2548 ถึง 2552 ดํารงตําแหน่งกรรมการของบริษัท แคท บัซซ์ ทีวี จํากัด ในปี 2550 ถึง 2551 ดํารงตําแหน่งกรรมการของบริษัท ฮัทชิสัน ซีเอที ไวร์เลส มัลติมีเดีย จํากัด ในปี 2549 ถึง 2551 ดํารงตําแหน่งผู้อํานวยการฝ่ายการตลาด Digital Business ของ บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จํากัด (มหาชน) ในปี 2547 ถึง 2548 และดํารงตําแหน่งผู้จัดการฝ่ายการตลาด Channel Distribution Management ของบริษท ั แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วส ิ จํากัด (มหาชน) ในปี 2544 ถึง 2547 ท่านสําเร็จการศึกษาปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการ คอมพิวเตอร์ (สถิติประยุกต์ในธุรกิจ) จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการตลาดและการจัดการ ทั่วไป จาก Cleveland State University ประเทศสหรัฐอเมริกา

นายประภากร ทองเทพไพโรจน์ ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยกรรมการ ผู้อํานวยการใหญ่ เมื่อเดือนกรกฎาคม 2555 และได้ร่วมงานกับ กลุ่มบริษัท ทีซีซี ตั้งแต่ปี 2552 โดยดํารงตําแหน่งรองกรรมการ ผู้จัดการใหญ่สายการเงิน ของกลุ่มบริษัท ทีซีซี แลนด์ จากนั้น ปี 2553 ได้รบ ั การแต่งตัง้ ให้ดาํ รงตําแหน่งรองกรรมการผูจ้ ด ั การใหญ่ สายงานสนับสนุนองค์กรกลุ่มบริษัท ทีซีซี แลนด์ และกลุ่มบริษัท พรรณธิอร โดยในช่วงต้นปี 2555 ได้ดํารงตําแหน่งรองกรรมการ ผูจ้ ด ั การใหญ่ดา้ นการลงทุนและพัฒนาทีด ่ น ิ ของกลุม ่ บริษท ั ทีซซี ี แลนด์ ก่อนเข้าร่วมงานกับกลุ่มบริษัท ทีซีซี ท่านเคยร่วมงานกับ ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดในประเทศไทย และประเทศสิงคโปร์ ในปี 2545 จนถึงปี 2552 โดยตําแหน่งสุดท้าย คือ กรรมการ ผู้จัดการ ด้านการสรรหาเงินกู้ร่วมภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในช่วงปี 2538 – 2544 เคยดํารงตําแหน่ง ผู้อํานวยการ สายงานตลาดตราสารหนี้ ธนาคารเจพี มอร์แกน เชส ในเมือง นิวยอร์ค ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศสิงคโปร์ และประเทศฮ่องกง อีกทั้ง ในปี 2534 เคยร่วมงานด้านการเงินบรรษัทกับบริษัท มอร์แกนเกรนเฟลล์ (ประเทศไทย) จํากัด ท่านสําเร็จการศึกษา ระดับปริญญาตรีด้านการบริหารธุรกิจ จากมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ และปริญญาโท ด้านการบริหารธุรกิจ จากมหาวิทยาลัยเมอเซอร์ ประเทศสหรัฐอเมริกา, และปริญญาโท ด้านการเงิน จากมหาวิทยาลัยจอร์เจียสเตท ประเทศสหรัฐอเมริกา


ผลิ ต ภั ณ ฑ์ห ลั ก ในกลุ่ม บริ ษั ท ไทยเบฟ

28

ผลิตภัณฑ์หลัก ในกลุ่มบริษัทไทยเบฟ สุราสี มังกรทอง

หงส์ทอง

แสงโสม เหรียญทอง

เบลนด์ 285

เบลนด์ 285 ขนาด 1 ลิตร

เบลนด์ 285 ซิกเนเจอร์

แม่โขง

พระยา

คราวน์ 99

ดรัมเมอร์


รายงานประจํ า ปี 2555 บริ ษ ั ท ไทยเบฟเวอเรจ จํ า กั ด (มหาชน)

ผลิ ต ภั ณ ฑ์ห ลั ก ในกลุ่ม บริ ษั ท ไทยเบฟ

29

สุราขาว รวงข้าว 28 ดีกรี

รวงข้าว 30 ดีกรี

รวงข้าว 35 ดีกรี

รวงข้าว 40 ดีกรี

ไผ่ทอง 30 ดีกรี

ไผ่ทอง 35 ดีกรี

เสือขาว 28 ดีกรี

เสือขาว 30 ดีกรี

เสือขาว 35 ดีกรี

เสือขาว 40 ดีกรี

หมีขาว 30 ดีกรี

หมีขาว 35 ดีกรี

ไชยา

เจ้าพระยา

หนุมาน

แม่วังวารี

พญานาค

พญาเสือ

นิยมไทย 28 ดีกรี

หมีขาว 40 ดีกรี

นิยมไทย 30 ดีกรี

นิยมไทย 35 ดีกรี

นิยมไทย 40 ดีกรี

มังกรท่าจีน มังกรท่าจีน มังกรท่าจีน 30 ดีกรี 35 ดีกรี 40 ดีกรี

บางยี่ขัน


ผลิ ต ภั ณ ฑ์ห ลั ก ในกลุ่ม บริ ษั ท ไทยเบฟ

30

บรั่นดี เมอริเดียน

สุราผสม เสือดํา

อื่นๆ เซี่ยงชุน

ชูสิบนิ้ว

ชิโนบุ สาเก


รายงานประจํ า ปี 2555 บริ ษ ั ท ไทยเบฟเวอเรจ จํ า กั ด (มหาชน)

ผลิ ต ภั ณ ฑ์ห ลั ก ในกลุ่ม บริ ษั ท ไทยเบฟ

31

เบียร์ ช้างคลาสสิก

ช้างเอกซ์พอร์ต

อาชา

ช้างดราฟต์

ช้างไลท์

เฟดเดอร์บรอย

เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ นํ้าดื่มช้าง

โซดาช้าง

โซดาช้าง บิทเทอร์ ไลม์เลมอน

โซดาช้าง แอปเปิ้ล มิ้นต์

โซดาช้าง บลูเมจิก โทนิค

โซดาช้าง ประเภท คืนขวด


ผลิ ต ภั ณ ฑ์ห ลั ก ในกลุ่ม บริ ษั ท ไทยเบฟ

32

เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ - เสริมสุข เอส โคล่า

เอส กลิ่นสตรอเบอร์รี

เอส กลิ่นครีมโซดา

เอส กลิ่นส้ม

เอส กลิ่นเลมอนไลม์


รายงานประจํ า ปี 2555 บริ ษ ั ท ไทยเบฟเวอเรจ จํ า กั ด (มหาชน)

ผลิ ต ภั ณ ฑ์ห ลั ก ในกลุ่ม บริ ษั ท ไทยเบฟ

33

นํ้าดื่มคริสตัล

โซดาคริสตัล

พาวเวอร์ พลัส (เครื่องดื่มเกลือแร่)

แรงเยอร์


ผลิ ต ภั ณ ฑ์ห ลั ก ในกลุ่ม บริ ษั ท ไทยเบฟ

34

ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มโออิชิ โออิชิ กรีนที (500 มล.)

โออิชิ กรีนที (380 มล.)

โออิชิ กรีนที แบบกระป๋อง (320 มล.)

โออิชิ กรีนที ยูเอชที (250 มล.)

โออิชิ กรีนที ขวดแก้ว (400 มล.)

โออิชิ กรีนที (1000 มล.)

โออิชิ ชาคูลล์ซ่า (320 มล.)

โออิชิ ฟรุตโตะ (350 มล.)

อะมิโน โอเค พลัส (360 มล.)


รายงานประจํ า ปี 2555 บริ ษ ั ท ไทยเบฟเวอเรจ จํ า กั ด (มหาชน)

ผลิ ต ภั ณ ฑ์ห ลั ก ในกลุ่ม บริ ษั ท ไทยเบฟ

35

ผลิตภัณฑ์อาหารแช่แข็งสําเร็จรูป และขนมขบเคี้ยว โออิชิ เกี๊ยวซ่า

แซนด์วิช

ภัตตาคารอาหารญี่ปุ่น

คานิ

โอโนริ สาหร่ายทอดกรอบ


ผลิ ต ภั ณ ฑ์ห ลั ก ในกลุ่ม บริ ษั ท ไทยเบฟ

36

International Product Portfolio Thai Brands Chang Beer

Chang Beer 6 pack

Mekhong

Phraya

Single Malt Scotch Whisky Old Pulteney 12 year old

Balblair 1965

Old Pulteney 17 year old

Old Pulteney 21 year old

Old Pulteney 40 year old

anCnoc 12 year old

anCnoc 16 year old

Balblair 1975

anCnoc 22 year old

Balblair 1989

anCnoc 35 year old

Balblair 1997

Speyburn 10 year old

Balblair 2002

Speyburn Bradan Orach


รายงานประจํ า ปี 2555 บริ ษ ั ท ไทยเบฟเวอเรจ จํ า กั ด (มหาชน)

ผลิ ต ภั ณ ฑ์ห ลั ก ในกลุ่ม บริ ษั ท ไทยเบฟ

37

Blended Scotch Whisky Hankey Bannister Original

Catto’s Rare Old Scottish

Hankey Bannister 12 year old Regency

Catto’s 12 year old

Hankey Bannister 21 year old Partner’s Reserve

Catto’s 25 year old

MacArthur’s

Chinese Spirits Yuanjiang 6 year

Drummer

Vodka

Gin

Kulov

Caorunn

Coldstream

Chinese Wines Yuanjiang 9 year

Yu Lin Quan Big Classic 9 year

Longevity

Ningbo Pagoda


เหตุ ก ารณ์ส ํ า คั ญ

38

ตุลาคม 2546

2549

ก่อตั้งบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จํากัด (มหาชน) เพื่อเป็นบริษัทโฮลดิ้ง ในกิจการเกี่ยวกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

เหตุการณ์สําคัญ

พฤษภาคม

ตุลาคม

ประสบความสําเร็จในการนําหุ้น ของไทยเบฟจดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์

เข้าซื้อบริษัท Pacific Spirits (UK) Limited ซึ่งมีกิจการโรงกลั่นสุรา Inver House Distillers ในประเทศ สก็อตแลนด์ และเข้าซื้อ Best Spirits Company Limited

กันยายน 2551

เข้าซื้อหุ้นบริษัท โออิชิ กรุ๊ป จํากัด (มหาชน) (“โออิชิ”) จํานวนร้อยละ 43.9 และจําหน่ายหุ้นทั้งหมดใน บริษัท ไทยแอลกอฮอล์ จํากัด (มหาชน) จากนั้นในเดือน พฤศจิกายนได้ซื้อหุ้นโออิชิเพิ่มจากการทําคําเสนอซื้ออีก บริษัทจึงถือหุ้นในโออิชิเกินกว่ากึ่งหนึ่งของหุ้นที่จําหน่าย ได้ทั้งหมดของโออิชิ

พฤศจิกายน 2552

เข้าซื้อเงินลงทุนใน Yunnan Yulinquan Liquor Co., Ltd. ซึ่งมีกิจการโรงงาน ผลิตสุราขาวในประเทศสาธารณรัฐ ประชาชนจีน

พฤษภาคม 2553

ศูนย์กระจายสินค้าแห่งแรกของบริษัท ในจังหวัดนครราชสีมาเริ่มเปิดดําเนินการ และในเดือนมิถุนายน และเดือนสิงหาคม ศูนย์กระจายสินค้าจังหวัดชลบุรี และจังหวัด สุราษฎร์ธานีเริ่มเปิดดําเนินการ ตามลําดับ

ตุลาคม 2554

2555

เข้าซื้อหุ้นบริษัท เสริมสุข จํากัด (มหาชน) จํานวนร้อยละ 64.66 ซึ่งเป็นผู้นํา ด้านการผลิตและจัดจําหน่ายเครื่องดื่ม ในประเทศไทย

กุมภาพันธ์

เมษายน

สิงหาคม

เข้าทําสัญญาสปอนเซอร์กับ สโมสรฟุตบอลบาร์เซโลน่า และ เรอัล มาดริด ของประเทศสเปน เพื่อทําการประชาสัมพันธ์สินค้า ภายใต้เครื่องหมายการค้า “ช้าง” เป็นเวลา 3 ปี

โออิชิ ในฐานะผู้นําในธุรกิจอาหารญี่ปุ่น ได้ขยายสายผลิตภัณฑ์สู่ธุรกิจขนมขบเคี้ยว โดยเปิดตัวผลิตภัณฑ์สาหร่ายทอดกรอบ ภายใต้ตราสินค้า “โอโนริ” เป็นอันดับแรก เพื่อเสริมศักยภาพและสร้างความหลากหลาย ของสินค้าให้ครอบคลุมทุกสายผลิตภัณฑ์ ในธุรกิจอาหาร

เข้าซื้อหุ้นในเฟรเซอร์ แอนด์ นีฟ, ลิมิเต็ด (“F&N”) ผู้ผลิตและ จัดจําหน่ายเครื่องดื่ม อสังหาริมทรัพย์ และสิ่งพิมพ์ชั้นนํา ของสิงคโปร์ ส่งผลให้ F&N เข้าเป็นบริษัทร่วมของไทยเบฟ

กันยายน

ตุลาคม

พฤศจิกายน

โออิชิยํ้าภาพผู้นํานวัตกรรม ร่วมมือกับเสริมสุขออกผลิตภัณฑ์ โออิชิ กรีนที ขวดแก้ว วางจําหน่าย ในร้านอาหารและร้านค้าทั่วไป ในเครือข่ายเสริมสุข

บริษัท เบียร์ไทย (1991) จํากัด (มหาชน) เริ่มโครงการปรับเปลี่ยนเชื้อเพลิงหม้อไอนํ้า จากนํ้ามันเตาเป็นเชื้อเพลิงแข็ง เพือ่ ประหยัดพลังงานและอนุรก ั ษ์สงิ่ แวดล้อม

เสริมสุขเปิดตัวเครื่องดื่มเอส โคล่า เจาะตลาดนํ้าอัดลมในทุกช่องทาง การจําหน่าย ทุกพื้นที่ทั่วประเทศ


รายงานประจํ า ปี 2555 บริ ษ ั ท ไทยเบฟเวอเรจ จํ า กั ด (มหาชน)

รางวั ล

39

รางวัล 2555

“Asia’s Best CEO (Investor Relations) : Mr. Thapana Sirivadhanabhakdi” from 2nd Asian Excellence Recognition Awards 2012 By Corporate Governance Asia

“Asia’s Best CFO (Investor Relations) : Mr. Sithichai Chaikriangkrai” from 2nd Asian Excellence Recognition Awards 2012 By Corporate Governance Asia

“Best Investor Relations” from 2nd Asian Excellence Recognition Awards 2012 By Corporate Governance Asia

“Most Transparent Company Award 2012, Runner-Up in Foreign Listings” from 13th Investors’ Choice Awards 2012 By Securities Investors Association (Singapore)

“Most Organised Investor Relations” and “Best Annual Report in Thailand” from 2nd Annual Southeast Asia Institutional Investor Corporate Awards By Alpha Southeast Asia

“The Best of Asia” from 8th Corporate Governance Asia Recognition Awards 2012 By Corporate Governance Asia

Corporate Awards

“Best deal, Thailand” from the Asset Triple A Country Awards 2012 By The Asset

Product Awards Product : Hankey Bannister 40 Year Old Award : Supreme Champion Spirit From : International Spirits Challenge 2012

Product : Speyburn 25 year old Award : Best Highland Single Malt Whisky From : World Whiskies Awards 2012

Product : Phraya Award : Gold Medal From : Beverage Testing Institute 2012

Product : Caorunn Gin Award : Gold Medal, Travel Retail Masters From : The Spirits Business 2012

Product : Speyburn Bradan Orach Award : Double Gold Medal From : San Francisco World Spirits Competition 2012


The Circle of Happiness

40


รายงานประจํ า ปี 2555 บริ ษ ั ท ไทยเบฟเวอเรจ จํ า กั ด (มหาชน)

The Circle of Happiness

41

ความสุขแห่ง ความพึงพอใจ

ด้วยผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายครอบคลุมทุกความต้องการ และตอบโจทย์ในทุกโอกาสของผู้บริโภค ซึ่งเรารับรู้และสัมผัสได้จากการตอบรับด้วยรอยยิ้มของผู้บริโภค เมื่อได้ลิ้มรสชาติของผลิตภัณฑ์ที่สร้างสรรค์ และมีคุณภาพจากเรา ทุกความพึงพอใจของผู้บริโภคคือ “ความสุข” ของเราเช่นกัน


The Circle of Happiness

42

ความสุข 360 องศา

ด้วยการตอบ ด ยการตอบรัรรับที่ดีของ องผู ผู้บรริโภค ทำใ ผ ทำให้ ห้เรา ห รามุ มุ่งมั่นพ ม พัฒนาค นาคลั ลังส ล สินค ค้าและระบบการลำเ และระบบการลำเลี ลียงงสิ ล สินค ส ค้า ตลอดจนการใช้ชเทคโนโล ทคโนโลยี ยีให ย หม่ ม่ๆ เเพื ม พื่อเเพิ พิ่มประ ประสิ สิทธ ส ธิภาพและความรวดเร็วในการใ ในการให้ ห้บรริ​ิการ ห การดำเนิ นนงานของ งานของตั ตัวแทนขายของเรา จจึ​ึงครอบคลุมทั่วทุกภูมิภาคของประเทศและเต ต าคของประเทศและเตรีรียมพร้ มพรร้อม ขยาย “ความสุข” สู ส่ภูม มิ​ิภาคอาเซี าคอาเซ ซียน


รายงานประจํ า ปี 2555 บริ ษ ั ท ไทยเบฟเวอเรจ จํ า กั ด (มหาชน)

The Circle of Happiness

43


The Circle of Happiness

44

ความสุข ที่สร้างคุณค่า จากภายใน สู่ภายนอก


รายงานประจํ า ปี 2555 บริ ษ ั ท ไทยเบฟเวอเรจ จํ า กั ด (มหาชน)

The Circle of Happiness

45

เพราะเรารู้ว่า “ความสุข” ของคนทำงานคือ การค้นพบว่า ตนเองเป็นกลไกสำคัญในการผลักดันให้องค์กรมีการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน เราจึงมุ่งพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ความสามารถ กล้าคิดนอกกรอบ รวมทั้งการปลูกฝังในเรื่องของความรับผิดชอบ อดทน เสียสละ การใส่ใจ และคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม เพื่อมุ่งเน้นการสร้างวัฒนธรรมการทำงาน ที่เป็นมาตรฐานโลก


The Circle of Happiness

46


รายงานประจํ า ปี 2555 บริ ษ ั ท ไทยเบฟเวอเรจ จํ า กั ด (มหาชน)

The Circle of Happiness

47

ความสุข ที่เติบโต เคียงคู่กัน

ดวยตระหน ด้ นักถึงการได้รับความไวว้วางใจจากผู้ถือหุ้น การยอมรรับจากน นักลงทุน และพั พนธม มิตรทางธุรก กิจในด ด้านการเต ติบโตทางธุรก กิจที่ประสบความสำเร็จทั้งในและต ต่างประเทศ เราจึงให้ หความสำค คัญในการยกระด ดับและพัฒนาองค์กรให้มีขีดสมรรถนะสูง เพื่อม มุ่งเป็นองค์กรที่ดีเล ลิศ และมี มความโปรร่งใส ตลอดจนการกำก กับดูแลก กิจการที่ดี เพ พ่อสรร้างผลตอบแทนและ “ความสุข” ให้กับทุกคนที่ร่วมเด ดินทางก กับเรา


รายงานประจํ า ปี 2555 บริ ษ ั ท ไทยเบฟเวอเรจ จํ า กั ด (มหาชน)

48

49

ผมเข้ามาทำงานที่นี่ตั้งแต่ยังอายุน้อย แต่ได้รับโอกาสให้ทำโปรเจคใหญ่ ที่มีความท้าทาย งานแรกของที่นี่ คือ การก่อสร้างระบบ Biogas โดยนำน้ำกากส่าไปหมักให้เกิดแก๊สธรรมชาติและนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิง เป็นหนึง่ ในความภาคภูมใิ จทีน ่ อกจากจะช่วยลดการใช้พลังงานในโรงงาน ยังเป็นการช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอีกด้วยครับ คุณภมร สถิรมนวงศ์ (ซ้าย) หัวหน้าแผนกควบคุมงานเครื่องกล สำนักวิศวกรรม

นับเป็นเวลา 26 ปีที่ผมได้มีโอกาสเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร ได้ปฏิบัติหน้าที่ในหน่วยงาน ทรัพยากรบุคคลมาตลอด ได้เห็นความเจริญเติบโตขององค์กรอย่างต่อเนื่องจากอดีตถึงปัจจุบัน ที่ได้ก้าวเป็นบริษัทธุรกิจเครื่องดื่มชั้นนำทั้งในและต่างประเทศ ผมภาคภูมิใจที่ผมได้เป็นส่วนหนึ่งในองค์กร และพร้อมที่จะร่วมพัฒนา และสนับสนุนการเสริมสร้างองค์กรนี้ให้เข้มแข็งเติบโตยิ่งๆ ขึ้นไป ครับ คุณอดุลย์ จิตยานันท์ รองผู้อำนวยการสำนักทรัพยากรบุคคล

ทำงานตั้งแต่ปี 2538 โดยเริ่มจากการเป็นนักวิทยาศาสตร์ จนปัจจุบน ั เป็นหัวหน้าแผนกวิจย ั และพัฒนาอาวุโส หนึง่ ในความประทับใจ ที่มีตลอดมา คือ ได้มีโอกาสทำงานกับผู้ใหญ่สำนักทีมงานสุราที่น่ารัก เปิดโอกาสให้เราได้เรียนรู้ รวมทัง้ คอยสนับสนุน ช่วยเหลือและให้คำแนะนำ ส่งผลให้งานประสบความสำเร็จด้วยดีมาโดยตลอดค่ะ คุณเบญจมาศ ธรรมโหร (กลาง) หัวหน้าแผนกวิจัยและพัฒนาอาวุโส สำนักเทคนิคงานสุราและสิ่งแวดล้อม

ภูมิใจค่ะที่ได้มีโอกาสเข้ามาร่วมงานอยู่ในองค์กรชั้นนำ มีผู้บริหารและ บุคลากรที่มีคุณภาพ เป็นองค์กรที่เปิดโอกาสและสนับสนุนให้ พนักงานทุกคนได้เรียนรู้สิ่งใหม่อยู่เสมอ มีการสร้างวัฒนธรรมองค์กร ที่หลอมรวมพนักงานทุกคนให้เป็นครอบครัวเดียวกัน สิ่งเหล่านี้นี่เอง ทำให้ดิฉันเกิดแรงบันดาลใจที่จะไม่หยุดที่จะเรียนรู้และพัฒนาตัวเอง เพื่อนำไปสู่จุดหมายที่ตั้งไว้ คุณสิริกร สุขจิตสำราญ (ขวา) หัวหน้าแผนกความปลอดภัยและอาชีวอนามัย

สมการความสุขในการทำงานที่นี่ คือ ความปรารถนาอันแรงกล้า + ความสนุก = การเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขององค์กร ด้วยงานที่ทำอยู่ทำให้ได้มีโอกาสทำงานที่หลากหลายร่วมกับเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ซึ่งต้องใช้ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ บวกกับ พลังความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งสิ่งที่สำคัญที่สุด คือ การเปิดใจ เปิดตา เปิดหู รับฟังกันและกัน ของทุกฝ่าย ที่นี่ผู้ใหญ่ทุกท่านพร้อมเปิดโอกาส รับฟังและช่วยชีแ้ นะแนวทางให้ ทำให้มแี รงบันดาลใจในการสร้างสิง่ ใหม่ๆ ในองค์กร ความภูมิใจในการทำงานเกิดขึ้นทุกครั้งที่เราได้เห็นสิ่งที่เราทำ เกิดขึ้นจริงด้วยความร่วมมือของทุกฝ่ายและทีมงานที่รักกันค่ะ คุณมนุรดา พรชนะรักษ์ เจ้าหน้าที่ Brand Visual & Identity อาวุโส

ไทยเบฟเปรียบเหมือนบ้าน เพื่อนร่วมงานทุกคนเป็นเหมือน สมาชิกในครอบครัวที่ร่วมกันทำงานให้สำเร็จ ดิฉันเองมีความสุข ในการทำงานทุกชิ้น ทั้งระบบ Van Sales Automation (VSA) และ ระบบ ThaiBev Family (TBF) ที่มีการนำเอาเครื่อง PDA และ เทคโนโลยีทท ่ี น ั สมัยมาใช้กบ ั พนักงานขายและเอเย่นต์จำนวนหลายพันคน ทุกความสำเร็จมาจากแรงกายแรงใจที่ทุ่มเทของทุกคน ดิฉันมีความสุขและภูมิใจทุกครั้งที่เห็นผลงานที่พัฒนาขึ้นมาเป็นประโยชน์ ซึ่งเป็นแรงผลักดันที่ทำให้ดิฉันและทีมสามารถสร้างสรรค์ผลงานที่ดีต่อไป เมื่อทำงานด้วยความสุขและความภูมิใจ ความสุขนั้นก็จะขยายวงกว้าง ไปสู่คนรอบข้าง ทำให้ทุกคนเกิดความสุขในการทำงานทุกวันค่ะ

พวกเราทำงานที่มีมามากกว่า 10 ปี แต่พวกเราก็ไม่เคยหยุดนิ่ง ที่จะพัฒนาสิ่งใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา ผู้ใหญ่จะให้แนวทางในการทำงานว่า “การทำงานมันต้องมีการพัฒนาอยู่ตลอด” พวกเราจึงเริ่มจากการปรับปรุงเครื่องจักรที่ง่ายๆ ไปสู่เครื่องจักร ที่มีความซับซ้อนมากขึ้น ไม่ว่าจะล้มเหลวกี่ครั้งพวกเราก็ไม่เคยท้อถอย ซึ่งความภาคภูมิใจอันสูงสุด คือ การคิดค้นเครื่องเรียงถาดขวดโซดา ลงบนพาเลท ที่ได้รับรางวัลยอดเยี่ยมในการประกวด The Biggest Saver Contest 2012 พวกเราสัญญาว่าพวกเราจะคิดค้นต่อไปเพื่อปรับปรุง ประสิทธิภาพในการทำงานต่อไป คุณวรเทพ คำศรีโสด

คุณอรวรรณ โชติกาญจนวัฒน์

ดร.ณัฐธยาน์ โชคกนกนภา และทีมงาน

ผู้จัดการสำนักซ่อมบำรุง

รักษาการรองผู้อำนวยการฝ่ายสนับสนุนการขายงานบัญชี กลุ่มบริษัทป้อม

ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายสนับสนุนการขาย-งานพัฒนาศักยภาพการขาย

คุณทัศนีย์ อินทร์จันทร์ ผู้ช่วยหัวหน้าแผนกอะไหล่

คุณสมโภช การสมบัติ ผู้ช่วยหัวหน้าแผนกซ่อมสร้างอะไหล่และอุปกรณ์

คุณจำลอง มงคลทรัพย์ หัวหน้าหน่วยแผนกซ่อมสร้างอะไหล่

คุณณัฐวุฒิ เล้าวงษ์ ผู้จัดการสำนักวิศวกรรม

คุณสุกิตติ์ แก้วเจริญ หัวหน้าแผนกบรรจุ

คุณไพรวัลย์ อุปมะ หัวหน้าแผนกซ่อมบำรุงบรรจุ

กว่า 30 ปีที่ทำงานที่นี่ ดิฉันได้เห็นพัฒนาการขององค์กรอย่างไม่หยุดยั้ง และภูมิใจที่ได้เติบโตไปพร้อมกับองค์กร เพราะองค์กรไม่เคยลืมพนักงานทุกคน ที่ร่วมกันทำงาน องค์กรให้ความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ให้สวัสดิการที่ ครอบคลุมถึงครอบครัว โดยลูกสาวก็ได้รับโอกาสจากโครงการช้างเผือก ที่ให้ทุนการศึกษาสำหรับผู้ที่มีผลการเรียนดี ซึ่งโครงการนี้ก็เปิดโอกาสให้ลูก ได้เลือกเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในบริษัท ดิฉันดีใจที่ได้ทำงานที่ดีและเชื่อว่า ถ้าเรารักในสิ่งที่เราทำ ก็จะทำให้เราสามารถทำงานได้อย่างมีความสุข สามารถแบ่งปันความสุขให้แก่คนรอบข้าง และเกิดเป็นวัฏจักรความสุข ที่ไม่สิ้นสุด


โครงสร้ า งการถื อ หุ้น

โครงสร้ า งการถื อ หุ้น

รายงานประจํ า ปี 2555 บริ ษ ั ท ไทยเบฟเวอเรจ จํ า กั ด (มหาชน)

50

51

โครงสร้าง การถือหุ้น ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2555

บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ทุนจดทะเบียน 29,000,000,000 บาท ทุนชำระแล้ว 25,110,025,000 บาท โดยมีหุ้นสามัญ 25,110,025,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท

สายการผลิตสุรา

สายการผลิตเบียร์

สายบริหารการขาย

100%

บจ.แสงโสม

100%

บจ.เบียร์ทิพย์ บริวเวอรี่ (1991)

100%

บจ.เฟื่องฟูอนันต์

100%

บจ.คอสมอส บริวเวอรี่ (ประเทศไทย)

100%

บจ.มงคลสมัย

100%

บมจ.เบียร์ไทย (1991)

100%

บจ.ธนภักดี

100% 100% 100%

กลุ่มบริษัทผู้จัดจำหน่ายเบียร์

กลุ่มบริษัทผู้จัดจำหน่ายสุรา

กลุ่มบริษัทผู้แทนจำหน่าย 100%

บจ.ทิพย์ชโลธร

100%

บจ.กฤตยบุญ

กลุ่มบริษัทต่างประเทศ

สายบริหารการตลาด 100%

บจ.ไทยเบฟเวอเรจ มาร์เก็ตติ้ง

100%

100%

บจ.ช้างอินเตอร์เนชั่นแนล

100%

บจ.ช้าง คอร์ป

International Beverage Holdings Limited 100%

InterBev (Singapore) Limited

100%

InterBev (Cambodia) Co., Ltd.

100%

บจ.ป้อมทิพย์ (2012)

100%

บจ.นำยุค

100%

บจ.สุราทิพย์

100%

บจ.ป้อมกิจ

100%

บจ.นำกิจการ

100%

บจ.สุนทรภิรมย์

บจ.กาญจนสิงขร

100%

บจ.ป้อมคลัง

100%

บจ.นำพลัง

100%

บจ.ภิรมย์สุรางค์

100%

InterBev Malaysia Sdn. Bhd.

บจ.สุราพิเศษทิพราช

100%

บจ.ป้อมโชค

100%

บจ.นำเมือง

100%

Best Spirits Company Limited

บจ.สุราบางยี่ขัน

100%

บจ.ป้อมเจริญ

100%

บจ.นำนคร

100%

International Beverage Holdings (China) Limited

100%

บจ.ป้อมบูรพา

100%

บจ.นำธุรกิจ

100%

100%

บจ.วิทยาทาน

บจ.สุราแม่โขง

(6)

100%

บจ.อธิมาตร

100%

บจ.ป้อมพลัง

100%

บจ.นำรุ่งโรจน์

100%

บจ.เอส.เอส.การสุรา

100%

บจ.ป้อมนคร

100%

บจ.นำทิพย์

100%

100%

บจ.ทศภาค

100%

Super Brands Company Pte. Ltd.

100%

InterBev Trading (China) Limited

100%

Yunnan Yulinquan Liquor Co., Ltd.

International Beverage Holdings (UK) Limited

100%

บจ.แก่นขวัญ

100%

International Beverage Holdings Limited USA, Inc.

100%

บจ.เทพอรุโณทัย

100%

Blairmhor Limited (N)

100%

บจ.สุรากระทิงแดง (1988) *

100%

บจ.ยูไนเต็ด ไวน์เนอรี่ แอนด์ดิสทิลเลอรี่

100%

บจ.สีมาธุรกิจ

100%

บจ.นทีชัย

100%

บจ.หลักชัยค้าสุรา

100%

บจ.สุราพิเศษภัทรลานนา *

100%

บจ.ประมวลผล

กลุ่มบริษัทผู้จัดจำหน่ายสินค้าแก่ห้างค้าปลีกสมัยใหม่ 100%

กลุ่มบริษัทเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ 100% 99.84%

บจ.เอส.พี.เอ็มอาหารและเครื่องดื่ม

กลุ่มบริษัทโออิชิ

เครื่องดื่มน้ำอัดลม / เครื่องดื่มไม่อัดลม เครื่องดื่มน้ำโซดา / ผู้จัดจำหน่าย

บมจ.โออิชิ กรุ๊ป 100% 100% 100%

64.66%

บจ.โออิชิ เทรดดิ้ง

บมจ.เสริมสุข 100%

บจ.โออิชิ ราเมน Oishi International Holdings Limited

(1) 40%

ตามหมายเหตุของผู้สอบบัญชี หยุดดำเนินการ ไม่ได้ประกอบกิจการ บริษัทนี้อยู่ในสายธุรกิจต่อเนื่อง หรือ สายการผลิตสุราแล้วแต่กรณี ทั้งนี้ ได้แสดงชื่อบริษัทนี้อีกครั้งในกลุ่มอื่นๆ เพื่อประโยชน์และความชัดเจน ในการพิจารณาการถือหุ้นในกลุ่มบริษัท

สายธุรกิจต่อเนื่อง

กลุ่มบริษัทเสริมสุข

ชาเขียวญี่ปุ่น / เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม 89.26%

Note D N *

บจ.โมเดิร์นเทรด แมนเนจเม้นท์ (7)

กลุ่มบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

บจ.ไทยดริ้งค์

บจ.เสริมสุข โฮลดิ้งส์

กลุ่มบริษัทเครื่องหมายการค้า 100%

บจ.ไทยเบฟเวอเรจแบรนด์

บจ.ไทยโมลาส

100%

บจ.เบียร์อาชา

100%

บจ.อาหารเสริม

100%

บจ.เบียร์ช้าง

100%

บจ.แพนอินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย)

100%

บจ.จรัญธุรกิจ 52

100%

บจ.ไทยเบฟเวอเรจ เอ็นเนอร์ยี่

99.72%

100%

บจ.เบียร์ช้าง อินเตอร์เนชั่นแนล

กลุ่มอื่นๆ 100%

บจ.ไทยเบฟเวอเรจ เทรนนิ่ง บจ.สุราไทยทำ (N)

(D) (N)

40%

99.90%

บจ.ถังไม้โอ๊คไทย *

18.55%

บจ.สุราพิเศษสหสันติ์ (N)

41.45%

บจ.สุราพิเศษภัทรลานนา *

100%

7.54%

100%

Speyburn-Glenlivet Distillery Company Limited (D) (N)

100%

The Knockdhu Distillery Company Limited (D) (N)

100%

The Balblair Distillery Company Limited (D) (N)

100%

The Pulteney Distillery Company Limited (D) (N)

49.49%

Liquorland Limited

100%

Wee Beastie Limited (D) (N)

49.88%

Inver House Distribution SA (D) (N)

100%

Moffat & Towers Limited (D) (N)

Inver House Distillers Limited

33.83% 58.63%

Blairmhor Distillers Limited (D) (N)

บจ.สุรากระทิงแดง (1988) *

100%

Glen Calder Blenders Limited (D) (N)

100%

Hankey Bannister & Company Limited (D) (N)

100%

บจ.เสริมสุข เบเวอร์เรจ

100%

บจ.ถังไม้โอ๊คไทย *

100%

บจ.เครื่องดื่มแรงเยอร์ (2008)

100%

บจ.ไทยเบฟเวอเรจ รีไซเคิล

100%

R Carmichael & Sons Limited (D) (N)

100%

บจ.ไทยเบฟเวอเรจ โลจิสติก

100%

James Catto & Company Limited (D) (N)

100%

Mason & Summers Limited (D) (N)

100%

J MacArthur Jr & Company Limited (D) (N)

บจ.เพ็ทฟอร์ม (ไทยแลนด์)

100%

บจ.เสริมสุข เทรนนิ่ง

100%

Great Brands Limited (3)

หมายเหตุ (1) บริษัทนี้ได้จดทะเบียนจัดตั้งในประเทศฮ่องกง เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2555 (2) บริษัทนี้ได้จดทะเบียนจัดตั้ง เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2555 (3) บริษัทนี้ได้จดทะเบียนจัดตั้งในประเทศฮ่องกง เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2555 (4) บริษัทนี้ได้จดทะเบียนจัดตั้งในประเทศฮ่องกง เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2555

100%

บจ.สุราพิเศษสัมพันธ์ (N)

(2)

(5) International Beverage Holdings Limited (“IBHL”) ได้ซื้อหุ้นของบริษัทนี้ ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2555 ต่อมา IBHL ได้ขายเงินลงทุนในบริษัทนี้ให้แก่ InterBev Investment Limited เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2555 (6) บริษัทนี้ได้จดทะเบียนจัดตั้ง เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2555 (7) บริษัทนี้จดทะเบียนเปลี่ยนชื่อจาก บริษัท ป้อมทิพย์ จำกัด เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2555

100%

Beer Chang International Limited

100%

International Beverage Trading Limited

100%

InterBev Investment Limited (4) 28.63%

Fraser and Neave, Limited (5)


รายงานจากคณะกรรมการบริ ษั ท

52

รายงานจาก คณะกรรมการบริษัท รายละเอียดเกี่ยวกับจํานวนหุ้นและชนิดของหุ้น ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2555 ชนิดของ หุ้น

ทุนชําระแล้ว (บาท)

จํานวนหุ้น ที่ออกจําหน่าย

จํานวนหุ้นที่ถือ (ทางตรง สัดส่วนการ และทางอ้อม) ถือหุ้น % หมายเหตุ

ชื่อบริษัท / สถานที่ตั้ง

ประเภทธุรกิจ

1.

บริษัท เบียร์ไทย (1991) จํากัด (มหาชน) 15 หมู่ที่ 14 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

ผลิตเบียร์ นํ้าดื่ม และนํ้าโซดา

สามัญ

5,550,000,000.00

555,000,000

555,000,000

100.00%

2.

บริษัท เบียร์ทิพย์ บริวเวอรี่ (1991) จํากัด 15 หมู่ที่ 14 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

ผลิตเบียร์ นํ้าดื่ม และนํ้าโซดา

สามัญ

6,600,000,000.00

660,000,000

660,000,000

100.00%

3.

บริษัท คอสมอส บริวเวอรี่ (ประเทศไทย) จํากัด 15 หมู่ที่ 14 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

ผลิตเบียร์ นํ้าดื่ม และนํ้าโซดา

สามัญ

1,666,666,500.00

166,666,650

166,666,650

100.00%

4.

บริษัท แสงโสม จํากัด 14 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

ผลิตสุรา

สามัญ

7,500,000,000.00

750,000,000

750,000,000

100.00%

5.

บริษัท เฟื่องฟูอนันต์ จํากัด 333 หมู่ที่ 1 ตําบลท่าตูม อําเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี 25140

ผลิตสุรา

สามัญ

900,000,000.00

90,000,000

90,000,000

100.00%

6.

บริษัท มงคลสมัย จํากัด 14 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

ผลิตสุรา

สามัญ

700,000,000.00

70,000,000

70,000,000

100.00%

7.

บริษัท ธนภักดี จํากัด 315 หมู่ที่ 4 ตําบลแม่แฝก อําเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290

ผลิตสุรา

สามัญ

700,000,000.00

70,000,000

70,000,000

100.00%

8.

บริษัท กาญจนสิงขร จํากัด 14 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

ผลิตสุรา

สามัญ

700,000,000.00

70,000,000

70,000,000

100.00%

9.

บริษัท สุราบางยี่ขัน จํากัด 82 หมู่ที่ 3 ตําบลบางคูวัด อําเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี 12000

ผลิตสุรา

สามัญ

4,000,000,000.00

400,000,000

400,000,000

100.00%

10

บริษัท อธิมาตร จํากัด 170 หมู่ที่ 11 ตําบลนิคม อําเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ 31150

ผลิตสุรา

สามัญ

900,000,000.00

90,000,000

90,000,000

100.00%

11.

บริษัท เอส.เอส.การสุรา จํากัด 101 หมู่ที่ 8 ตําบลแก่งโดม อําเภอสว่างวีระวงศ์ จังหวัดอุบลราชธานี 34190

ผลิตสุรา

สามัญ

800,000,000.00

80,000,000

80,000,000

100.00%

12.

บริษัท แก่นขวัญ จํากัด 14 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

ผลิตสุรา

สามัญ

800,000,000.00

80,000,000

80,000,000

100.00%

13.

บริษัท เทพอรุโณทัย จํากัด 99 หมู่ที่ 4 ตําบลหาดคํา อําเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย 43000

ผลิตสุรา

สามัญ

700,000,000.00

70,000,000

70,000,000

100.00%

14.

บริษัท สุรากระทิงแดง (1988) จํากัด 15 หมู่ที่ 14 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

ผลิตสุรา

สามัญ

5,000,000,000.00

500,000,000

500,000,000

100.00%

15.

บริษัท ยูไนเต็ด ไวน์เนอรี่ แอนด์ดิสทิลเลอรี่ จํากัด ผลิตสุรา 14 อาคารแสงโสม ซอยยาสูบ 1 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

สามัญ

1,800,000,000.00

180,000,000

180,000,000

100.00%

16.

บริษัท สีมาธุรกิจ จํากัด 1 หมู่ที่ 6 ตําบลบ้านแดน อําเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ 60180

สามัญ

900,000,000.00

90,000,000

90,000,000

100.00%

ผลิตสุรา


รายงานประจํ า ปี 2555 บริ ษ ั ท ไทยเบฟเวอเรจ จํ า กั ด (มหาชน)

รายงานจากคณะกรรมการบริ ษั ท

53

ชนิดของ หุ้น

ทุนชําระแล้ว (บาท)

จํานวนหุ้น ที่ออกจําหน่าย

จํานวนหุ้นที่ถือ (ทางตรง สัดส่วนการ และทางอ้อม) ถือหุ้น % หมายเหตุ

ชื่อบริษัท / สถานที่ตั้ง

ประเภทธุรกิจ

17.

บริษัท นทีชัย จํากัด 14 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

ผลิตสุรา

สามัญ

800,000,000.00

80,000,000

80,000,000

100.00%

18.

บริษัท หลักชัยค้าสุรา จํากัด 46 หมู่ที่ 1 ตําบลหนองกลางนา อําเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี 70000

ผลิตสุรา

สามัญ

800,000,000.00

80,000,000

80,000,000

100.00%

19.

บริษัท สุราพิเศษทิพราช จํากัด ผลิตสุรา 14 อาคารแสงโสม ซอยยาสูบ 1 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

สามัญ

1,000,000,000.00

10,000,000

10,000,000

100.00%

20.

บริษัท โมเดิร์นเทรด แมนเนจเม้นท์ จํากัด 15 อาคารแสงโสม 2 ชั้นที่ 8 หมู่ที่ 14 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

ผู้จัดจําหน่ายเบียร์ สุรา และเครื่องดื่ม ไม่ผสมแอลกอฮอล์

สามัญ

10,000,000.00

1,000,000

1,000,000

100.00%

(1 )

(จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงชื่อบริษัท และที่ตั้งสํานักงานแห่งใหญ่ เมือ่ วันที่ 21 ธันวาคม 2555)

21.

บริษัท ป้อมกิจ จํากัด 523/1 หมู่ที่ 3 ตําบลจอหอ อําเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา 30310

ผู้จัดจําหน่ายเบียร์ และเครือ่ งดื่ม ไม่ผสมแอลกอฮอล์

สามัญ

10,000,000.00

1,000,000

1,000,000

100.00%

22.

บริษัท ป้อมคลัง จํากัด 22/1 ซอย 2 (ป่าพร้าว) ถนนป่าพร้าว ตําบลป่าแดด อําเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 50100

ผู้จัดจําหน่ายเบียร์ และเครื่องดื่ม ไม่ผสมแอลกอฮอล์

สามัญ

10,000,000.00

1,000,000

1,000,000

100.00%

23.

บริษัท ป้อมโชค จํากัด 16/1 หมู่ที่ 1 ถนนอู่ทอง ตําบลท่าวาสุกรี อําเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13000

ผู้จัดจําหน่ายเบียร์ และเครื่องดืม ่ ไม่ผสมแอลกอฮอล์

สามัญ

10,000,000.00

1,000,000

1,000,000

100.00%

24.

บริษัท ป้อมเจริญ จํากัด 135/3 หมู่ที่ 4 ถนนกาญจนวิถี ตําบลบางกุ้ง อําเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี 84000

ผู้จัดจําหน่ายเบียร์ และเครื่องดื่ม ไม่ผสมแอลกอฮอล์

สามัญ

10,000,000.00

1,000,000

1,000,000

100.00%

25.

บริษัท ป้อมบูรพา จํากัด 51/42 หมู่ที่ 3 ถนนสุขุมวิท ตําบลบ้านสวน อําเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี 20000

ผู้จัดจําหน่ายเบียร์ และเครื่องดื่ม ไม่ผสมแอลกอฮอล์

สามัญ

10,000,000.00

1,000,000

1,000,000

100.00%

26.

บริษัท ป้อมพลัง จํากัด 439 หมู่ที่ 11 ตําบลเมืองเก่า อําเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น 40000

ผู้จัดจําหน่ายเบียร์ และเครื่องดื่ม ไม่ผสมแอลกอฮอล์

สามัญ

10,000,000.00

1,000,000

1,000,000

100.00%

27.

บริษัท ป้อมนคร จํากัด 85/35, 85/36 ถนนเพชรเกษม ตําบลหน้าเมือง อําเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี 70000

ผู้จัดจําหน่ายเบียร์ และเครื่องดื่ม ไม่ผสมแอลกอฮอล์

สามัญ

10,000,000.00

1,000,000

1,000,000

100.00%

28.

บริษัท ป้อมทิพย์ (2012) จํากัด 40/53 หมู่ที่ 3 แขวงตลาดบางเขน เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210

ผู้จัดจําหน่ายเบียร์ และเครื่องดื่ม ไม่ผสมแอลกอฮอล์

สามัญ

10,000,000.00

1,000,000

1,000,000

100.00%

ผู้จัดจําหน่ายสุรา

สามัญ

10,000,000.00

1,000,000

1,000,000

100.00%

(จดทะเบียนจัดตั้ง เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2555)

29.

บริษัท นํายุค จํากัด 40/53 หมู่ที่ 3 แขวงตลาดบางเขน เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210

(2 )


รายงานจากคณะกรรมการบริ ษั ท

54

ชนิดของ หุ้น

ทุนชําระแล้ว (บาท)

จํานวนหุ้น ที่ออกจําหน่าย

จํานวนหุ้นที่ถือ (ทางตรง สัดส่วนการ และทางอ้อม) ถือหุ้น % หมายเหตุ

ชื่อบริษัท / สถานที่ตั้ง

ประเภทธุรกิจ

30.

บริษัท นํากิจการ จํากัด 523/1 หมู่ที่ 3 ตําบลจอหอ อําเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา 30310

ผู้จัดจําหน่ายสุรา

สามัญ

10,000,000.00

1,000,000

1,000,000

100.00%

31.

บริษัท นําพลัง จํากัด 22/1 ซอย 2 (ป่าพร้าว) ถนนป่าพร้าว ตําบลป่าแดด อําเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 50100

ผู้จัดจําหน่ายสุรา

สามัญ

10,000,000.00

1,000,000

1,000,000

100.00%

32.

บริษัท นําเมือง จํากัด 16/2 หมู่ที่ 1 ถนนอู่ทอง ตําบลท่าวาสุกรี อําเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13000

ผู้จัดจําหน่ายสุรา

สามัญ

10,000,000.00

1,000,000

1,000,000

100.00%

33.

บริษัท นํานคร จํากัด 149/3 ถนนจุลจอมเกล้า ตําบลท่าข้าม อําเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี 84130

ผู้จัดจําหน่ายสุรา

สามัญ

10,000,000.00

1,000,000

1,000,000

100.00%

34.

บริษัท นําธุรกิจ จํากัด 51/40-41 หมู่ที่ 3 ถนนสุขุมวิท ตําบลบ้านสวน อําเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี 20000

ผู้จัดจําหน่ายสุรา

สามัญ

10,000,000.00

1,000,000

1,000,000

100.00%

35.

บริษัท นํารุ่งโรจน์ จํากัด 439 หมู่ที่ 11 ตําบลเมืองเก่า อําเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น 40000

ผู้จัดจําหน่ายสุรา

สามัญ

10,000,000.00

100,000

100,000

100.00%

36.

บริษัท นําทิพย์ จํากัด 85/33, 85/34 ถนนเพชรเกษม ตําบลหน้าเมือง อําเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี 70000

ผู้จัดจําหน่ายสุรา

สามัญ

10,000,000.00

100,000

100,000

100.00%

37.

บริษัท ทิพย์ชโลธร จํากัด 15 หมู่ 14 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

ตัวแทนจําหน่าย เบียร์ สุรา และ เครื่องดื่มไม่ผสม แอลกอฮอล์

สามัญ

1,000,000.00

100,000

100,000

100.00%

38.

บริษัท กฤตยบุญ จํากัด 14 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

ตัวแทนจําหน่าย เบียร์ สุรา และ เครื่องดื่มไม่ผสม แอลกอฮอล์

สามัญ

5,000,000.00

500,000

500,000

100.00%

39.

บริษัท สุราทิพย์ จํากัด 14 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

ตัวแทนจําหน่าย เบียร์ สุรา และ เครื่องดื่มไม่ผสม แอลกอฮอล์

สามัญ

1,200,000.00

120,000

120,000

100.00%

40.

บริษัท สุนทรภิรมย์ จํากัด 14 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

ตัวแทนจําหน่าย เบียร์ สุรา และ เครื่องดื่มไม่ผสม แอลกอฮอล์

สามัญ

5,000,000.00

500,000

500,000

100.00%

41.

บริษัท ภิรมย์สุรางค์ จํากัด 14 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

ตัวแทนจําหน่าย เบียร์ สุรา และ เครื่องดื่มไม่ผสม แอลกอฮอล์

สามัญ

5,000,000.00

500,000

500,000

100.00%

42.

บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ เอ็นเนอร์ยี่ จํากัด 15 หมู่ที่ 14 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

จัดจําหน่าย ก๊าซชีวภาพ

สามัญ

860,000,000.00

8,600,000

8,600,000

100.00%

43.

บริษัท ไทยโมลาส จํากัด 14 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

จัดจําหน่าย กากนํ้าตาล

สามัญ

40,000,000.00

40,000

39,889

99.72%

44.

บริษัท อาหารเสริม จํากัด 15 หมู่ที่ 14 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

จัดจําหน่าย อาหารสัตว์และปุ๋ย

สามัญ

1,000,000.00

10,000

10,000

100.00%

45.

บริษท ั แพนอินเตอร์เนชัน ่ แนล (ประเทศไทย) จํากัด จัดจําหน่ายวัสดุ 15 หมู่ที่ 14 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล และบริการจัดซื้อ เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 จัดจ้าง

สามัญ

1,000,000.00

10,000

10,000

100.00%


รายงานประจํ า ปี 2555 บริ ษ ั ท ไทยเบฟเวอเรจ จํ า กั ด (มหาชน)

รายงานจากคณะกรรมการบริ ษั ท

55

ชนิดของ หุ้น

ทุนชําระแล้ว (บาท)

จํานวนหุ้น ที่ออกจําหน่าย

จํานวนหุ้นที่ถือ (ทางตรง สัดส่วนการ และทางอ้อม) ถือหุ้น % หมายเหตุ

ชื่อบริษัท / สถานที่ตั้ง

ประเภทธุรกิจ

46.

บริษัท จรัญธุรกิจ 52 จํากัด 15 หมู่ที่ 14 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

ผลิตอิฐและ จําหน่ายสุรา

สามัญ

121,800,000.00

1,218,000

1,218,000

100.00%

47.

บริษัท ถังไม้โอ๊คไทย จํากัด 15 หมู่ที่ 14 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

ผลิตถังไม้โอ๊ค

สามัญ

300,000,000.00

30,000,000

30,000,000

100.00%

48.

บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ รีไซเคิล จํากัด 15 หมู่ที่ 14 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

จัดจําหน่ายขวด

สามัญ

123,000,000.00

1,230,000

1,230,000

100.00%

49.

บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ โลจิสติก จํากัด 1 อาคารอีสท์ วอเตอร์ ซอยวิภาวดีรังสิต 5 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

บริการขนส่งและ จัดจําหน่าย

สามัญ

1,012,000,000.00

101,200,000

101,200,000

100.00%

50.

บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ มาร์เก็ตติ้ง จํากัด 15 หมู่ที่ 14 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

นําเข้าและส่งออก สุรา/ทําการตลาด ในต่างประเทศและ ตัวแทนจําหน่าย เครื่องดื่มไม่ผสม แอลกอฮอล์

สามัญ

300,000,000.00

30,000,000

30,000,000

100.00%

51.

บริษัท ทศภาค จํากัด 1 อาคารอีสท์วอเตอร์ ชั้น 20 ซอยวิภาวดีรังสิต 5 แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

ธุรกิจโฆษณา

สามัญ

25,000,000.00

2,500,000

2,500,000

100.00%

52.

บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ เทรนนิ่ง จํากัด 14 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

จัดอบรม

สามัญ

10,000,000.00

1,000,000

1,000,000

100.00%

53.

International Beverage Holdings Limited Room 901-2, Silvercord Tower 1 30 Canton Road, Tsim Sha Tsui Kowloon, Hong Kong

ธุรกิจลงทุน

สามัญ HKD 1,760,600,000.00 1,760,600,000 1,760,600,000

100.00%

54.

บริษัท ไทยเบฟเวอเรจแบรนด์ จํากัด 15 หมู่ที่ 14 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

ถือครอง เครื่องหมายการค้า

สามัญ

5,000,000.00

50,000

50,000

100.00%

55.

บริษัท เบียร์ช้าง จํากัด 15 หมู่ที่ 14 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

ถือครอง เครื่องหมายการค้า และผลิต หัวเชื้อเบียร์

สามัญ

1,000,000.00

10,000

10,000

100.00%

56.

บริษัท เบียร์อาชา จํากัด 14 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

ถือครอง เครื่องหมายการค้า และผลิต หัวเชื้อเบียร์

สามัญ

1,000,000.00

100,000

100,000

100.00%

57.

บริษัท สุราพิเศษภัทรลานนา จํากัด ธุรกิจลงทุน 14 อาคารแสงโสม ซอยยาสูบ 1 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

สามัญ

1,000,000,000.00

10,000,000

10,000,000

100.00%

58.

บริษัท ประมวลผล จํากัด 56 ถนนสุขาภิบาล ตําบลนครชัยศรี อําเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม 73120

ผลิตและ จัดจําหน่ายสุรา

สามัญ

350,000,000.00

3,500,000

3,500,000

100.00%

59.

บริษัท ไทยดริ้งค์ จํากัด 14 อาคารแสงโสม ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

จัดจําหน่าย เครื่องดื่ม

สามัญ

60,000,000.00

600,000

600,000

100.00%

60.

บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จํากัด (มหาชน) 57 อาคารปาร์ค เวนเชอร์ ชั้น 19-20 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

กิจการภัตตาคาร อาหารญี่ปุ่น และ จัดจําหน่ายอาหาร และเครื่องดื่ม

สามัญ

375,000,000.00

187,500,000

167,360,199

89.26%

(จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงที่ตั้งสํานักงานแห่งใหญ่ เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2555)

(3 )


รายงานจากคณะกรรมการบริ ษั ท

56

ชื่อบริษัท / สถานที่ตั้ง

ประเภทธุรกิจ

ชนิดของ หุ้น

ทุนชําระแล้ว (บาท)

จํานวนหุ้น ที่ออกจําหน่าย

จํานวนหุ้นที่ถือ (ทางตรง สัดส่วนการ และทางอ้อม) ถือหุ้น % หมายเหตุ

61.

บริษัท สุราไทยทํา จํากัด# 14 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

ผลิตและ จัดจําหน่ายสุรา

สามัญ

17,500,000.00

17,500

17,483

99.90%

62.

บริษัท สุราพิเศษสหสันติ์ จํากัด# จัดจําหน่ายสุรา 14 อาคารแสงโสม ซอยยาสูบ 1 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

สามัญ

100,000,000.00

1,000,000

1,000,000

100.00%

63.

บริษัท สุราพิเศษสัมพันธ์ จํากัด# จัดจําหน่ายสุรา 14 อาคารแสงโสม ซอยยาสูบ 1 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

สามัญ

100,000,000.00

1,000,000

1,000,000

100.00%

64.

บริษัท วิทยาทาน จํากัด 15 หมู่ที่ 14 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

ประชาสัมพันธ์ การอนุรักษ์ สิ่งแวดล้อม

สามัญ

5,000,000.00

500,000

500,000

100.00%

65.

InterBev (Singapore) Limited No. 138 Cecil Street # 05-02 Cecil Court Singapore 069538

จัดจําหน่าย เครื่องดื่ม แอลกอฮอล์

สามัญ

SGD 9,000,000.00

9,000,000

9,000,000

100.00%

66.

InterBev (Cambodia) Co., Ltd. No. 35, Street 322, Sangkat Boeung Keng Kang 1, Khan Camkamon Phnom Penh, Cambodia

จัดจําหน่าย เครื่องดื่ม แอลกอฮอล์

สามัญ

USD 200,000.00

1,000

1,000

100.00%

67.

InterBev Malaysia Sdn. Bhd. Unit C-25-02, First Floor 3 Two Square Commercial Centre No. 2, Jalan 19/1, 46300 Petaling Jaya Selangor, Malaysia

จัดจําหน่าย เครื่องดื่ม แอลกอฮอล์

สามัญ

MYR 100,000.00

100,000

100,000

100.00%

68.

Best Spirits Company Limited Room 901-2, Silvercord Tower 1 30 Canton Road, Tsim Sha Tsui Kowloon, Hong Kong

จัดจําหน่าย เครื่องดื่ม แอลกอฮอล์

สามัญ

HKD 15,300,000.00

15,300,000

15,300,000

100.00%

69.

International Beverage Holdings (UK) Limited Moffat Distillery, Airdrie, ML6 8PL Scotland

ธุรกิจลงทุน

สามัญ

GBP 71,670,000.00

71,670,000

71,670,000

100.00%

70.

International Beverage Holdings (China) Limited Room 901-2, Silvercord Tower 1 30 Canton Road, Tsim Sha Tsui Kowloon, Hong Kong

ธุรกิจลงทุน

สามัญ

HKD 210,500,000.00

21,050,000

21,050,000

100.00%

71.

บริษัท เอส.พี.เอ็มอาหารและเครื่องดื่ม จํากัด 79 หมู่ที่ 3 ตําบลลําลูกบัว อําเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม 73150

ผลิตและ จัดจําหน่ายนํ้าดื่ม และเครื่องดื่มชูกําลัง และตัวแทน จําหน่ายสุรา

สามัญ

606,250,000.00

60,625,000

60,526,250

99.84%

72.

บริษัท โออิชิ เทรดดิ้ง จํากัด 57 อาคารปาร์ค เวนเชอร์ ชั้น 19-20 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

ผลิตและ จัดจําหน่ายอาหาร และเครื่องดืม ่

สามัญ

420,000,000.00

4,200,000

3,748,870

89.26%

ร้านอาหาร บะหมีญ ่ ี่ปุ่น

สามัญ

158,000,000.00

1,580,000

1,410,289

89.26%

(จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงที่ตั้งสํานักงานแห่งใหญ่ เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2555)

73.

บริษัท โออิชิ ราเมน จํากัด 57 อาคารปาร์ค เวนเชอร์ ชั้น 19-20 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330 (จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงทีต ่ ั้งสํานักงานแห่งใหญ่ เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2555)


รายงานประจํ า ปี 2555 บริ ษ ั ท ไทยเบฟเวอเรจ จํ า กั ด (มหาชน)

รายงานจากคณะกรรมการบริ ษั ท

57

ชนิดของ หุ้น

ทุนชําระแล้ว (บาท)

จํานวนหุ้น ที่ออกจําหน่าย

จํานวนหุ้นที่ถือ (ทางตรง สัดส่วนการ และทางอ้อม) ถือหุ้น % หมายเหตุ

ชื่อบริษัท / สถานที่ตั้ง

ประเภทธุรกิจ

74.

จัดจําหน่าย เครื่องดืม ่ ในต่างประเทศ

สามัญ

HKD 50,000.00

50,000

44,629

89.26%

Oishi International Holdings Limited Room 901-1, Silvercord Tower 1 30 Canton RD TST KLN, Hong Kong

(4 )

(จดทะเบียนจัดตั้ง เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2555)

75.

บริษัท เบียร์ช้าง อินเตอร์เนชั่นแนล จํากัด# 15 หมู่ที่ 14 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

หยุดดําเนินกิจการ

สามัญ

1,000,000.00

100,000

100,000

100.00%

76.

บริษัท สุราแม่โขง จํากัด 14 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

ให้บริการคําปรึกษา

สามัญ

500,000.00

5,000

5,000

100.00%

77.

บริษัท ช้างอินเตอร์เนชั่นแนล จํากัด 15 หมู่ที่ 14 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

ให้บริการ ด้านโฆษณาและ ประชาสัมพันธ์

สามัญ

100,000.00

10,000

10,000

100.00%

78.

บริษัท ช้าง คอร์ป จํากัด 15 หมู่ที่ 14 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

ให้บริการ ด้านโฆษณาและ ประชาสัมพันธ์

สามัญ

100,000.00

10,000

10,000

100.00%

79.

Super Brands Company Pte. Ltd. 138 Cecil Street # 05-02 Cecil Court Singapore 069538

ถือครอง เครื่องหมายการค้า

สามัญ

SGD 8,210,000.00

8,210,000

8,210,000

100.00%

80.

Beer Chang International Limited No. 138 Cecil Street # 05-02 Cecil Court Singapore 069538

ยังไม่ดําเนินกิจการ

สามัญ

SGD 498,240.00

498,240

498,240

100.00%

81.

International Beverage Trading Limited XL House, One Bermudiana Road Hamilton HM 11, Bermuda

จัดจําหน่าย เครื่องดืม ่ แอลกอฮอล์

สามัญ

US$ 100,000.00

100,000

100,000

100.00%

82.

บริษัท เสริมสุข จํากัด (มหาชน) 252/35-36 อาคารสํานักงานเมืองไทยภัทรคอมเพล็กซ์ อาคาร 1 ชั้นที่ 27-28 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10310

ผลิตและ จัดจําหน่าย เครื่องดื่ม

สามัญ

265,900,484.00

265,900,484

171,923,138

64.66%

83.

InterBev Investment Limited Room 901-2, Silvercord Tower 1 30 Canton Road, Tsim Sha Tsui Kowloon, Hong Kong

ธุรกิจลงทุน

สามัญ

SGD 1,000,000.00

1,000,000

1,000,000

100.00%

(6 )

(7 )

(5 )

(จดทะเบียนจัดตั้ง เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2555)

84.

International Beverage Holdings Limited USA, Inc. 275 Madison Avenue, Suite 701 New York, NY 10016

จัดจําหน่าย เครื่องดื่ม แอลกอฮอล์

สามัญ

USD 1.00

1,000

1,000

100.00%

85.

Blairmhor Limited# Moffat Distillery, Airdrie, ML6 8PL Scotland

ธุรกิจลงทุน

สามัญ

£9,009,407.00

900,940,700

900,940,700

100.00%

86.

Inver House Distillers Limited Moffat Distillery, Airdrie, ML6 8PL Scotland

ผลิตและ จัดจําหน่ายสุรา

สามัญ

£10,000,000.00

10,000,000

10,000,000

100.00%

87.

InterBev Trading (China) Limited Room 01-03 Level 1, No. 63 Kunluo Road Shuangjiang Town, Eshan County Yuxi City, Yunnan, China 653200

จัดจําหน่าย เครื่องดื่ม แอลกอฮอล์

-

RMB 10,000,000.00

-

-

100.00%

(8 )

88.

Yunnan Yulinquan Liquor Co., Ltd. Yulin Village, Shuangjiang Town Eshan County, Yuxi City Yunnan, China 653200

ผลิตสุรา

-

RMB 159,388,200.00

-

-

100.00%

(8 )


รายงานจากคณะกรรมการบริ ษั ท

58

ชื่อบริษัท / สถานที่ตั้ง

ประเภทธุรกิจ

ชนิดของ หุ้น

ทุนชําระแล้ว (บาท)

จํานวนหุ้น ที่ออกจําหน่าย

จํานวนหุ้นที่ถือ (ทางตรง สัดส่วนการ และทางอ้อม) ถือหุ้น % หมายเหตุ

89.

Blairmhor Distillers Limited# Moffat Distillery, Airdrie, ML6 8PL Scotland

หยุดดําเนินกิจการ

สามัญ

£200.00

2,000

2,000

100.00%

90.

Wee Beastie Limited# Moffat Distillery, Airdrie, ML6 8PL Scotland

หยุดดําเนินกิจการ

สามัญ

£100.00

100

100

100.00%

91.

Moffat & Towers Limited# Moffat Distillery, Airdrie, ML6 8PL Scotland

หยุดดําเนินกิจการ

สามัญ

£1.00

1

1

100.00%

92.

Glen Calder Blenders Limited# Moffat Distillery, Airdrie, ML6 8PL Scotland

หยุดดําเนินกิจการ

สามัญ

£100.00

100

100

100.00%

93.

Hankey Bannister & Company Limited# Moffat Distillery, Airdrie, ML6 8PL Scotland

หยุดดําเนินกิจการ

สามัญ

£100.00

100

100

100.00%

94.

R Carmichael & Sons Limited# Moffat Distillery, Airdrie, ML6 8PL Scotland

หยุดดําเนินกิจการ

สามัญ

£30,000.00

30,000

30,000

100.00%

95.

J MacArthur Jr & Company Limited# Moffat Distillery, Airdrie, ML6 8PL Scotland

หยุดดําเนินกิจการ

สามัญ

£100.00

100

100

100.00%

96.

Mason & Summers Limited# 10 Foster Lane, London, EC2V 6HH England

หยุดดําเนินกิจการ

สามัญ

£10,030.00

10,030

10,030

100.00%

97.

James Catto & Company Limited# Moffat Distillery, Airdrie, ML6 8PL Scotland

หยุดดําเนินกิจการ

สามัญ

£50,000.00

50,000

50,000

100.00%

98.

The Knockdhu Distillery Company Limited# Moffat Distillery, Airdrie, ML6 8PL Scotland

หยุดดําเนินกิจการ

สามัญ

£100.00

100

100

100.00%

99.

Speyburn-Glenlivet Distillery Company Limited# Moffat Distillery, Airdrie, ML6 8PL Scotland

หยุดดําเนินกิจการ

สามัญ

£100.00

100

100

100.00%

หยุดดําเนินกิจการ

สามัญ

£2.00

2

2

100.00%

หยุดดําเนินกิจการ

สามัญ

£2.00

2

2

100.00%

102. บริษัท เสริมสุข โฮลดิ้งส์ จํากัด 252/35-36 อาคารเมืองไทยภัทรคอมเพล็กซ์ อาคาร 1 ชั้น 27-28 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10310

ธุรกิจลงทุน

สามัญ

350,000,000.00

50,000,000

32,329,995

64.66%

103. บริษัท เสริมสุข เบเวอร์เรจ จํากัด 252/35-36 อาคารเมืองไทยภัทรคอมเพล็กซ์ อาคาร 1 ชั้น 27-28 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10310

ผลิตและ จัดจําหน่าย เครื่องดื่ม

สามัญ

689,586,150.00

68,958,615

44,588,636

64.66%

100. The Pulteney Distillery Company

Limited# Moffat Distillery, Airdrie, ML6 8PL Scotland 101. The Balblair Distillery Company

Limited# Moffat Distillery, Airdrie, ML6 8PL Scotland


รายงานประจํ า ปี 2555 บริ ษ ั ท ไทยเบฟเวอเรจ จํ า กั ด (มหาชน)

รายงานจากคณะกรรมการบริ ษั ท

59

ชนิดของ หุ้น

ทุนชําระแล้ว (บาท)

จํานวนหุ้น ที่ออกจําหน่าย

จํานวนหุ้นที่ถือ (ทางตรง สัดส่วนการ และทางอ้อม) ถือหุ้น % หมายเหตุ

ชื่อบริษัท / สถานที่ตั้ง

ประเภทธุรกิจ

104. บริษัท เสริมสุข เทรนนิ่ง จํากัด 252/35-36 อาคารเมืองไทยภัทรคอมเพล็กซ์ อาคาร 1 ชั้น 27-28 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10310

บริการพัฒนา บุคลากรและ องค์กร

สามัญ

10,000,000.00

1,000,000

646,569

64.66%

(9 )

บริหารตราสินค้า

สามัญ

HKD 1,000,000.00

1,000,000

646,569

64.66%

(10)

106. บริษัท เครื่องดื่มแรงเยอร์ (2008) จํากัด 14 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

ผลิตและจําหน่าย เครื่องดื่มชูกําลัง

สามัญ

200,000,000.00

20,000,000

20,000,000

100.00%

107. Liquorland Limited 8 Westbank Road, Belfast, BT3 9JL

ลิขสิทธิ์

สามัญ

£495,000.00

495,000

245,000

49.49%

หยุดดําเนินกิจการ

สามัญ

EUR 40,000.00

2,500

1,247

49.88%

ผลิตและ จัดจําหน่าย บรรจุภัณฑ์พลาสติก

สามัญ

75,000,000.00

7,500,000

1,939,708

25.86%

ธุรกิจลงทุน

สามัญ

1,440,522,280.00 1,440,522,280

412,423,822

28.63%

(จดทะเบียนจัดตั้ง เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2555)

105. Great Brands Limited Room 901-2, Sivercord Tower 1 30 Canton Road, Tsim Sha Tsui, Kowloon

Hong Kong (จดทะเบียนจัดตั้ง เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2555)

Northern Ireland 108. Inver House Distribution SA# Avenue des Tilleuls, 62140 Marconne

France 109. บริษัท เพ็ทฟอร์ม (ไทยแลนด์) จํากัด 85 หมู่ที่ 11 ถนนบางงา-ท่าโขลง

ตําบลเขาสมอคอน อําเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี 15180 110. Fraser and Neave, Limited #21-00 Alexandra Point 438 Alexandra Road Singapore 119958

(11)

หมายเหตุ : # ปัจจุบันบริษัทเหล่านี้ไม่ได้ประกอบกิจการ (1)

เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2555 บริษัทนี้มีทุนจดทะเบียน 10,000,000 บาท และมีจํานวนหุ้นสามัญที่ออกจําหน่าย 1,000,000 หุ้น โดยบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จํากัด (มหาชน) ถือหุ้นโดยทางตรงและทางอ้อม จํานวน 1,000,000 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 100 ของทุนจดทะเบียนบริษัทนี้แล้ว

(2)

เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2555 บริษัทนี้มีทุนจดทะเบียน 10,000,000 บาท และมีจํานวนหุ้นสามัญที่ออกจําหน่าย 1,000,000 หุ้น โดยบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จํากัด (มหาชน) ถือหุ้นโดยทางตรงและทางอ้อม จํานวน 1,000,000 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 100 ของทุนจดทะเบียนบริษัทนี้แล้ว

(3)

เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2555 บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จํากัด (มหาชน) ได้ซื้อหุ้นสามัญของบริษัท ประมวลผล จํากัด จํานวน 3,449,998 หุ้น จากบริษัท สุราพิเศษภัทรลานนา จํากัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัท เป็นผลให้บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จํากัด (มหาชน) ถือหุ้นโดยทางตรง รวมจํานวนทั้งสิ้น 3,500,000 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 100 ของทุนจดทะเบียนบริษัทแล้ว

(4)

เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2555 Oishi International Holdings Limited มีทุนจดทะเบียน 50,000 เหรียญฮ่องกง และมีจํานวนหุ้นที่ออกจําหน่าย 50,000 หุ้น โดยบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จํากัด (มหาชน) ถือหุ้นโดยทางอ้อม จํานวน 50,000 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 100 ของทุนจดทะเบียน Oishi International Holding Limited ผ่านบริษัท โออิชิ กรุ๊ป จํากัด (มหาชน)

(5)

เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2555 Beer Chang International Limited เพิ่มทุนจดทะเบียนจาก 10,000 เหรียญสิงคโปร์ เป็น 498,240 เหรียญสิงคโปร์

(6)

เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2555 InterBev Investment Limited (“IBIL”) มีทุนจดทะเบียน 1,000,000 เหรียญสิงคโปร์ และมีจํานวนหุ้นที่ออกจําหน่าย 1,000,000 หุ้น โดยบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จํากัด (มหาชน) ถือหุ้นโดยทางอ้อม จํานวน 1,000,000 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 100 ของทุนจดทะเบียน IBIL โดยถือหุ้นผ่าน International Beverage Holdings Limited

(7)

บริษัทนี้มีทุนจดทะเบียนจํานวน 1 เหรียญสหรัฐ และมีทุนชําระแล้วซึ่งเป็น share premium จํานวน 11,799,999 เหรียญสหรัฐ

(8)

บริษัทนี้ได้จัดตั้งในรูปแบบเงินลงทุน จึงไม่มีการออกและจําหน่ายหุ้น

(9)

เมือ่ วันที่ 5 มิถน ุ ายน 2555 บริษท ั เสริมสุข เทรนนิง่ จํากัด มีทน ุ จดทะเบียน 10,000,000 บาท และมีจาํ นวนหุน ้ ทีอ่ อกจําหน่าย 1,000,000 หุน ้ โดยบริษท ั ไทยเบฟเวอเรจ จํากัด (มหาชน) ถือหุ้นโดยทางอ้อม จํานวน 1,000,000 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 100 ของทุนจดทะเบียนบริษัท เสริมสุข เทรนนิ่ง จํากัด ผ่านบริษัท เสริมสุข จํากัด (มหาชน)

(10) เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2555 Great Brands Limited มีทุนจดทะเบียน 1,000,000 เหรียญฮ่องกง และมีจํานวนหุ้นทีอ่ อกจําหน่าย 1,000,000 หุ้น โดยบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จํากัด (มหาชน) ถือหุ้นโดยทางอ้อม จํานวน 1,000,000 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 100 ของทุนจดทะเบียน Great Brands Limited ผ่านบริษัท เสริมสุข จํากัด (มหาชน) (11) International Beverage Holdings Limited (“IBHL”) ได้ซื้อหุ้นของบริษัทนี้ ซึ่งจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2555 ต่อมา IBHL ได้ขายเงินลงทุน ในบริษัทนี้ให้แก่ InterBev Investment Limited เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2555


รายงานจากคณะกรรมการบริ ษั ท

60

รายการแสดงผลประโยชน์โดยตรง และผลประโยชน์โดยอ้อมของกรรมการบริษัท ณ วันที่ 21 มกราคม 2556 ร้อยละ เพิ่ม (ลด) ของการ ระหว่าง จํานวนหุ้น ถือหุ้น รอบปีบัญชี (1) ผลประโยชน์โดยอ้อม

รายชื่อกรรมการ

ผลประโยชน์โดยตรง

1.

บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จํากัด (มหาชน)

นายเจริญ สิริวัฒนภักดี

-

-

30,000,000 กรรมการและคู่สมรสถือหุ้นโดยอ้อม

ร้อยละ ของการ จํานวนหุ้น ถือหุ้น 16,544,687,762

65.89

710,500,000

49.00

ผ่านบริษัทที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งสิ้น บริษัท สิริวนา จํากัด (2)

25.50

-

-

MM Group Limited (3)

Risen Mark Enterprise Ltd.(4)

-

-

MM Group Limited (4)

50,000 100.00

Golden Capital (Singapore) Limited (5)

-

-

MM Group Limited (5)

140,600,420 100.00

Shiny Treasure Holdings Limited

25,000

50.00

-

-

MM Group Limited

25,000

50.00

-

-

-

-

-

16,544,687,762

65.89

369,750,000

25.50

710,500,000

49.00

Maxtop Management Corp. (3)

-

-

MM Group Limited (3)

Risen Mark Enterprise Ltd.(4)

-

-

MM Group Limited (4)

50,000 100.00

Golden Capital (Singapore) Limited (5)

-

-

MM Group Limited (5)

140,600,420 100.00

Shiny Treasure Holdings Limited

25,000

50.00

-

-

-

MM Group Limited

25,000

50.00

-

-

-

Maxtop Management

2.

คุณหญิงวรรณา สิริวัฒนภักดี

Shiny Treasure Holdings Limited (2)

369,750,000

Corp. (3)

บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จํากัด (มหาชน)

30,000,000 กรรมการและคู่สมรสถือหุ้นโดยอ้อม

50,000 100.00

-

ผ่านบริษัทที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งสิ้น บริษัท สิริวนา จํากัด (2)

Shiny Treasure Holdings Limited (2)

50,000 100.00

3.

นายณรงค์ ศรีสอ้าน

บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จํากัด (มหาชน)

1

0.00

-

-

-

-

4.

นายโกเมน ตันติวิวัฒนพันธ์

บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จํากัด (มหาชน)

34,068,668

0.14

-

-

-

-

5.

นายภุชชงค์ ชาญธนากิจ

บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จํากัด (มหาชน)

1

0.00

-

-

-

-

6.

นางสาวกนกนาฏ รังษีเทียนไชย

บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จํากัด (มหาชน)

1

0.00

-

-

-

-

7.

นายประสิทธิ์ โฆวิไลกูล (6)

-

-

-

-

-

-

-

8.

ศาสตราจารย์คนึง ฦๅไชย

-

-

-

-

-

-

-

9.

นายมนู เลียวไพโรจน์

-

-

-

-

-

-

-

10. นายอึ๊ง ตัก พัน

-

-

-

-

-

-

11. นายไมเคิล เล่า ไวย เคียง

-

-

-

-

-

-

-

12. ศาสตราจารย์นายแพทย์พรชัย มาตังคสมบัติ

-

-

-

-

-

-

-

13. นายศักดิ์ทิพย์ ไกรฤกษ์

-

-

-

-

-

-

-

14. พลเอกนายแพทย์ชูฉัตร กําภู ณ อยุธยา

-

-

-

-

-

-

-

15. นายวิวัฒน์ เตชะไพบูลย์

บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จํากัด (มหาชน)

241,541,500

0.96

- ถือหุ้นโดยคู่สมรส

50,000,000

0.20

16. นายปณต สิริวัฒนภักดี

บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จํากัด (มหาชน)

107,000,000

0.43

-

-

-

-

17. นายฐาปน สิริวัฒนภักดี

บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จํากัด (มหาชน)

107,000,000

0.43

-

-

-

-

18. นายสวัสดิ์ โสภะ

บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จํากัด (มหาชน)

1

0.00

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

1

0.00

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

19. นายอวยชัย ตันทโอภาส 20. นายสิทธิชัย ชัยเกรียงไกร 21. ดร. พิษณุ วิเชียรสรรค์

หมายเหตุ

บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จํากัด (มหาชน) -

(1) เป็นการเปิดเผยตามหลักเกณฑ์ของพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจํากัด พ.ศ. 2535 (รวมทั้งที่มีการแก้ไขเพิ่มเติม) โดยแสดงการถือหุ้นในบริษัทที่ถือโดยกรรมการ ทั้งผลประโยชน์โดยตรงและผลประโยชน์โดยอ้อม โดยระบุจํานวนทั้งหมดที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงในระหว่างรอบปีบัญชี 2555 ทั้งนี้ ไม่มีกรรมการบริษัทคนใดถือหุ้นในบริษัท ในเครือ และบริษัทไม่มีการออกหรือเสนอขายหุ้นกู้ที่ยังไม่ครบกําหนดชําระเหลืออยู่ (2) บริษัท สิริวนา จํากัด ถือหุ้นในบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จํากัด (มหาชน) จํานวน 11,368,060,000 หุ้น ทั้งนี้ บริษัท สิริวนา จํากัด ถือหุ้นโดย Shiny Treasure Holdings Limited ส่วนกรรมการบริษัทถือหุ้นใน Shiny Treasure Holdings Limited ปรากฏตามข้อมูลที่แสดงในตารางข้างต้น (3) Maxtop Management Corp. ถือหุ้นในบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จํากัด (มหาชน) จํานวน 4,327,042,762 หุ้น (ตามรายงานการเปลี่ยนแปลงส่วนได้เสียของ Maxtop Management Corp. ที่ประกาศต่อตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2555) ทั้งนี้ Maxtop Management Corp. ถือหุ้นโดย MM Group Limited ส่วนกรรมการบริษัทถือหุ้นใน MM Group Limited ปรากฏตามข้อมูลที่แสดงในตารางข้างต้น (4) Risen Mark Enterprise Ltd. ถือหุ้นในบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จํากัด (มหาชน) จํานวน 833,335,000 หุ้น ทั้งนี้ Risen Mark Enterprise Ltd. ถือหุ้นโดย MM Group Limited ส่วนกรรมการบริษัทถือหุ้นใน MM Group Limited ปรากฏตามข้อมูลที่แสดงในตารางข้างต้น (5) Golden Capital (Singapore) Limited ถือหุ้นในบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จํากัด (มหาชน) จํานวน 16,250,000 หุ้น ทั้งนี้ Golden Capital (Singapore) Limited ถือหุ้นโดย MM Group Limited ส่วนกรรมการบริษัทถือหุ้นใน MM Group Limited ปรากฏตามข้อมูลที่แสดงในตารางข้างต้น (6) นายประสิทธิ์ โฆวิไลกูล ได้รับแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งกรรมการโดยที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจําปี 2555 เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2555


รายงานประจํ า ปี 2555 บริ ษ ั ท ไทยเบฟเวอเรจ จํ า กั ด (มหาชน)

รายงานจากคณะกรรมการบริ ษั ท

61

ข้อมูลผู้ถือหุ้น ณ วันที่ 11 มีนาคม 2556

ข้อมูลหุ้นทุน ทุนจดทะเบียน ทุนที่ออกและเรียกชําระค่าหุ้นแล้ว ชนิดของหุ้น จํานวนหุ้นที่ออกและเสนอขาย สิทธิในการออกเสียง

29,000,000,000 บาท 25,110,025,000 บาท หุ้นสามัญ มูลค่าหุ้นละ 1 บาท 25,110,025,000 หุ้น หนึ่งหุ้นต่อหนึ่งเสียง

การวิเคราะห์ข้อมูลผู้ถือหุ้น จํานวนหุ้นที่ถือ 1 – 999 1,000 – 10,000 10,001 – 1,000,000 1,000,001 ขึ้นไป

รวม

จํานวนผู้ถือหุ้น

ร้อยละ ของผู้ถือหุ้น

จํานวนหุ้น

ร้อยละของหุ้น

10

8.77

1,008

0.00

N/A

N/A

N/A

N/A

38

33.33

12,333,069

0.05

66

57.90

25,097,690,923

99.95

114

100.00

25,110,025,000

100.00

ดังนั้น ร้อยละ 25.83 ของหุ้นทั้งหมดของบริษัท จึงถือโดยผู้ถือหุ้นรายย่อย ซึ่งถือได้ว่าบริษัทได้ปฏิบัติตามกฎระเบียบของตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ ข้อ 723 แล้ว

ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ 20 รายแรก ลําดับที่ 1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8. 9. 10. 11. 12. 13. 14. 15. 16. 17. 18. 19. 20.

รวม

รายชื่อผู้ถือหุ้น บริษัท สิริวนา จํากัด The Central Depository (Pte) Limited Maxtop Management Corp. Sparkle View Development Limited นายฐาปน สิริวัฒนภักดี นางฐาปณี เตชะเจริญวิกุล นายปณต สิริวัฒนภักดี นางวัลลภา ไตรโสรัส นางอาทินันท์ พีชานนท์ นางวรางค์ ไชยวรรณ นายวิญญู ไชยวรรณ นายวานิช ไชยวรรณ นายวีรเวท ไชยวรรณ นายณัฐวรรธน์ เตชะไพบูลย์ นางสาววีณา ไชยวรรณ นางชมพูนุท เตชะไพบูลย์ นางนนทนา ไชยวรรณ นายวิวัฒน์ เตชะไพบูลย์ นายนฤทธิ์ จิวะสันติการ นายไชย ไชยวรรณ

จํานวนหุ้น

ร้อยละ

11,368,060,000

45.27

8,167,639,564

32.53

3,694,675,000

14.71

420,514,080

1.68

107,000,000

0.43

107,000,000

0.43

107,000,000

0.43

107,000,000

0.43

88,000,000

0.35

65,650,500

0.26

65,641,500

0.26

64,863,500

0.26

61,600,000

0.24

59,163,000

0.24

50,000,000

0.20

50,000,000

0.20

48,000,000

0.19

41,541,500

0.16

37,450,000

0.15

36,729,500

0.15

24,747,528,144

98.57


รายงานจากคณะกรรมการบริ ษั ท

62

ข้อมูลการกระจายการถือหุ้นภายใต้ชื่อผู้ถือหุ้น The Central Depository (Pte) Limited จํานวนหุ้นที่ถือ

จํานวนผู้ถือหุ้น

1 – 999

ร้อยละ ของผู้ถือหุ้น

จํานวนหุ้น

ร้อยละของหุ้น

10

0.10

2,766

0.00

1,000 – 10,000

6,116

61.50

30,698,011

0.38

10,001 – 1,000,000

3,767

37.88

235,116,903

2.88

52

0.52

7,901,821,884

96.74

9,945

100.00

8,167,639,564

100.00

1,000,001 ขึ้นไป

รวม

ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ 20 รายแรกภายใต้ชื่อผู้ถือหุ้น The Central Depository (Pte) Limited ลําดับที่ 1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8. 9. 10. 11. 12. 13. 14. 15. 16. 17. 18. 19. 20.

รวม

รายชื่อผู้ถือหุ้น Citibank Nominees Singapore Pte Ltd United Overseas Bank Nominees Pte Ltd DBS Nominees Pte Ltd HSBC (Singapore) Nominees Pte Ltd DBSN Services Pte Ltd UOB Kay Hian Pte Ltd Vivat Tejapaibul Merrill Lynch (Singapore) Pte Ltd Morgan Stanley Asia (S’pore) Securities Pte Ltd Raffles Nominees Pte Ltd BNP Paribas Securities Services Singapore DB Nominees (S) Pte Ltd Phillip Securities Pte Ltd Sunfield Pte Ltd OCBC Securities Private Ltd Lee Seng Tee Bank of Singapore Nominees Pte Ltd Summerlight Pte Ltd DBS Vickers Securities (S) Pte Ltd Yeo Johar

จํานวนหุ้น

ร้อยละ

3,337,565,227

40.86

1,349,873,642

16.53

1,114,197,145

13.64

627,015,111

7.68

406,750,474

4.98

307,941,000

3.77

200,000,000

2.45

141,042,658

1.73

130,436,260

1.60

59,764,439

0.73

59,113,109

0.72

15,575,352

0.19

15,503,659

0.19

12,000,000

0.15

11,736,000

0.14

10,000,000

0.12

8,575,000

0.10

8,000,000

0.10

7,595,000

0.09

5,100,000

0.06

7,827,784,076

95.83


รายงานประจํ า ปี 2555 บริ ษ ั ท ไทยเบฟเวอเรจ จํ า กั ด (มหาชน)

รายงานจากคณะกรรมการบริ ษั ท

63

สัญญาที่สําคัญซึ่งทํากับกิจการที่เกี่ยวข้องกันสําหรับปี 2555 ประกอบด้วย สัญญาซือ้ ขายขวดแก้ว ฉบับลงวันที่ 27 ธันวาคม 2555 โดยบริษท ั ไทยเบฟเวอเรจ รีไซเคิล จํากัด ซึง่ เป็นบริษท ั ย่อยของบริษท ั ได้ทาํ สัญญาซือ้ ขาย ขวดแก้วกับบริษท ั เบอร์ล่ี ยุคเกอร์ จํากัด (มหาชน) และบริษท ั ไทย มาลายา กลาส จํากัด ซึง่ เป็นกิจการทีเ่ กีย ่ วข้องกัน เพือ่ ซือ้ ขวดแก้วแล้วนํามา จําหน่ายให้กบ ั บริษท ั ย่อยอืน ่ ในกลุม ่ บริษท ั เป็นระยะเวลา 3 ปี เริม ่ ตัง้ แต่วน ั ที่ 1 มกราคม 2556 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2558 โดยตกลงซือ้ ขวดแก้ว ในราคาและเงือ่ นไขทีร่ ะบุในสัญญา สัญญาซือ้ ขายกากน้าํ ตาล โดยบริษท ั ไทยโมลาส จํากัด ซึง่ เป็นบริษท ั ย่อยของบริษท ั ได้ทาํ สัญญาซือ้ ขายกากน้าํ ตาลกับบริษท ั พรรณธิอร เทรดดิง้ จํากัด ซึง่ เป็นกิจการทีเ่ กีย ่ วข้องกัน เพือ่ นํามาจําหน่ายให้กบ ั บริษท ั ย่อยอืน ่ ในกลุม ่ บริษท ั โดยตกลงซือ้ กากน้าํ ตาลในราคาและเงือ่ นไขทีก ่ าํ หนดในสัญญา

มูลค่าสุทธิทางบัญชีของที่ดินและอาคารซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2555 มีดังนี้ (ล้านบาท) ทีด ่ น ิ

16,242

ส่วนปรับปรุงทีด ่ น ิ

611

อาคารและส่วนปรับปรุงอาคาร

11,227

รวม

28,080

บริษท ั ได้เช่าสถานทีห ่ ลายแห่งเพือ่ ใช้เป็นสํานักงานสาขาและคลังสินค้า การเช่าทัง้ หมดนีถ ้ อื เป็นสัญญาเช่าดําเนินงานไม่ใช่สญ ั ญาเช่าการเงิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2555 มูลค่าทีด ่ น ิ ซึง่ เป็นกรรมสิทธิข์ องบริษท ั ทีถ ่ อื ครองไว้เพือ่ การดําเนินธุรกิจในอนาคตมีจาํ นวนเงิน 811 ล้านบาท ซึง่ เป็น 2.4% ของกําไรก่อนภาษีเงินได้


โครงสร้า งองค์ก ร

64

โครงสร้าง องค์กร

คณะกรรมการตรวจสอบ

คณะกรรมการบริษัท

สำนักตรวจสอบภายใน

คณะกรรมการบริหาร

กรรมการผู้อำนวยการใหญ่

สำนักกรรมการผู้อำนวยการใหญ่

สำนักพัฒนาความเป็นเลิศ

สาย สนับสนุน

สาย บริหารทั่วไป

สาย แผนกลยุทธ์

สายการเงิน และบัญชี

สายบริหาร การขาย

สำนัก ทรัพยากรบุคคล

สำนัก สื่อสารองค์กร

สำนัก แผนกลยุทธ์

สำนัก บัญชีและงบประมาณ

กลุ่มบริหาร การขาย

สำนัก สารสนเทศ

สำนัก เลขานุการบริษัท

สำนัก บริหารจัดการทรัพย์สิน และการบริการ

สำนัก ประสานงานภายนอก สำนัก กฎหมาย

สำนัก การเงิน


รายงานประจํ า ปี 2555 บริ ษ ั ท ไทยเบฟเวอเรจ จํ า กั ด (มหาชน)

โครงสร้า งองค์ก ร

65

คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง

คณะกรรมการสรรหา

คณะกรรมการพิจารณาผลตอบแทน

เลขานุการบริษัท

สำนักประธานกรรมการบริหาร

สายบริหาร การตลาด

สายธุรกิจ ต่อเนื่อง

สายธุรกิจ ต่างประเทศ

สายการผลิต เครื่องดื่ม ไม่มีแอลกอฮอล์

สายการผลิต เบียร์

สายการผลิต สุรา

กลุ่มบริหาร การตลาด

กลุ่มธุรกิจ ต่อเนื่อง

กลุ่มธุรกิจ ต่างประเทศ

กลุ่มการผลิต เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์

กลุ่มการผลิต เบียร์

สำนัก การผลิตสุรา สำนัก เทคนิคงานสุรา และสิ่งแวดล้อม สำนัก วิศวกรรม สำนัก ผลิตหัวเชื้อสุรา

* ให้มีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 11 สิงหาคม 2554


ขอบเขตหน้า ที่ ค วามรั บ ผิ ด ชอบของแต่ล ะกลุ่ม /สํ า นั ก

66

ขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบ ของแต่ละกลุ่ม/สํานัก

สํานักประธานกรรมการบริหาร

สํานักบริหารจัดการทรัพย์สินและการบริการ

ประสานงานและกลั่นกรองงานเสนอประธานกรรมการบริหารและ รับผิดชอบงานเลขานุการประธานกรรมการบริหาร

รับผิดชอบการบริหารจัดการทรัพย์สินและงานบริการของบริษัทและ บริษัทในเครือทั้งหมด ภายใต้แผนกลยุทธ์การบริหารจัดการทรัพย์สิน และระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการงานบริการ เพื่อให้ทรัพย์สิน และงานบริการส่งเสริมพันธกิจของบริษัท ดูแลคุณภาพชีวิตพนักงาน ให้มค ี วามสุข ความสะดวก และความปลอดภัย และก้าวสูม ่ าตรฐานสากล ในการบริหารจัดการทรัพย์สินและการบริการอย่างยั่งยืน

สํานักกรรมการผู้อํานวยการใหญ่ ปฏิบัติงานเลขานุการกรรมการผู้อํานวยการใหญ่ รวมถึงจัดเตรียม และบริหารการนัดหมายและตารางการเดินทาง บริหารและจัดเก็บข้อมูล ที่สําคัญ สําหรับงานด้านการบริหารและการวางแผนกลยุทธ์ ติดต่อ ประสานงานกับหน่วยงานภายในและภายนอก รวมถึงองค์กรต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ จัดเตรียมการประชุมของคณะทํางาน ตามที่ได้รับมอบหมาย

สํานักสื่อสารองค์กร

รับผิดชอบในด้านการเพิ่มศักยภาพในการวิจัยและพัฒนา เพื่อสร้างคุณค่าทั้งด้านสินค้าและบริการ รวมทั้งรูปแบบธุรกิจใหม่ๆ เพื่อตอบสนองรูปแบบชีวิตของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปและการเจริญเติบโต ที่ยั่งยืนขององค์กร

ควบคุม ดูแล และรับผิดชอบในการดําเนินงานของสํานักสื่อสารองค์กร การโฆษณาและประชาสัมพันธ์ การสื่อสารทั้งภายในและภายนอกองค์กร และการสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ ให้ได้ประโยชน์สูงสุดสําหรับบริษัททาง ด้านภาพพจน์และความสัมพันธ์ที่ดี ดูแลการสร้างภาพลักษณ์องค์กร และดูแลการส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ขององค์กร (Corporate Social Responsibility) ทั้งนี้ ก็เพื่อเป็น การสนับสนุนธุรกิจและกิจกรรมต่างๆ ของบริษัทให้ดําเนินได้อย่างมี ประสิทธิภาพ

สํานักตรวจสอบภายใน

สํานักเลขานุการบริษัท

ช่วยคณะกรรมการบริษัทในการส่งเสริมการบริหารให้บริษัทมี ธรรมาภิบาล รายงานคณะกรรมการตรวจสอบในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการ บริหารความเสี่ยง การควบคุมภายใน และกระบวนการบริหารจัดการที่ดี ให้คําปรึกษาและวิธีการแก้ปัญหาในประเด็นของระบบการควบคุมภายใน ส่งเสริมให้หน่วยงานในองค์กรมีการดําเนินการเรื่องความเสี่ยง

จัดการประชุมและจัดทํารายงานการประชุมคณะกรรมการ และ ผู้ถือหุ้นของบริษัทและบริษัทย่อยรวมถึงคณะกรรมการกลุ่มย่อยต่างๆ ตามที่ได้รับมอบหมายจากฝ่ายจัดการ กํากับดูแลในการปฏิบัติหน้าที่ ตามกฎหมายบริษัทมหาชนจํากัด กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ในส่วนที่เกี่ยวกับหุ้นส่วนบริษัท กฎหมายหลักทรัพย์ และกฎเกณฑ์ ของตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับบริษัทและ/หรือ บริษัทย่อย และควบคุมการเปิดเผยข้อมูลที่สําคัญเพื่อให้เป็นไปตาม กฎหมายและกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องและสอดคล้องกับนโยบายของบริษัท สนับสนุนเลขานุการบริษัทในการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายและ กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการประสานงานกับสํานักกฎหมาย เพื่อให้คําปรึกษาแก่กรรมการบริษัทในการปฏิบัติตามกฎหมายและ กฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการปฏิบัติตามหลักการกํากับดูแล กิจการที่ดี ดูแลงานทะเบียนหุ้นและงานนักลงทุนสัมพันธ์ ประสานงาน กับบริษัทย่อยที่อยู่ในกลุ่มตามที่ได้รับมอบหมายรวมถึงการจัดทํา รายงานประจําปีของบริษัท

สํานักพัฒนาความเป็นเลิศ

สํานักทรัพยากรบุคคล วางแผนกลยุทธ์และกําหนดนโยบายในการบริหารบุคลากร รวมถึง กํากับดูแลการดําเนินงานด้านบริหารงานบุคคลของบริษัทและ บริษัทในเครือ เพื่อให้มั่นใจว่ามีการปฏิบัติที่ถูกต้องตามกรอบนโยบาย และสอดคล้องกับการเจริญเติบโตของธุรกิจและกฎหมายแรงงาน ที่เกี่ยวข้อง และพัฒนาบุคลากรให้มีศักยภาพที่เหมาะสมและให้บุคลากร มีความพึงพอใจและผูกพันในการทํางานกับองค์กร

สํานักสารสนเทศ รับผิดชอบในการให้บริการด้านสารสนเทศแก่หน่วยงานต่างๆ รวมถึงการพัฒนาระบบสารสนเทศให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของ ตลาดอยู่เสมอ เพื่อหน่วยธุรกิจจะได้มีข้อมูลและเครื่องมือในการ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับบริษัท


รายงานประจํ า ปี 2555 บริ ษ ั ท ไทยเบฟเวอเรจ จํ า กั ด (มหาชน)

ขอบเขตหน้า ที่ ค วามรั บ ผิ ด ชอบของแต่ล ะกลุ่ม /สํ า นั ก

67

สํานักประสานงานภายนอก

กลุ่มธุรกิจต่อเนื่อง

สร้าง กระชับ และขยายความสัมพันธ์กับหน่วยงานทั้งภาครัฐ และเอกชน ทั้งในระดับส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ระดับจังหวัด ลงไปถึง ในระดับท้องถิ่น โดยทําหน้าที่กลั่นกรองการให้การสนับสนุน และดูแล สิทธิประโยชน์ให้เกิดขึ้นอย่างเต็มประสิทธิภาพมากที่สุด รวมถึงนํา ความสัมพันธ์ที่สร้างขึ้น ไปเอื้อประโยชน์กับหน่วยงานต่างๆ ภายใน องค์กร ให้ได้รับสิทธิประโยชน์ครอบคลุมสูงสุดจากความสัมพันธ์นั้นๆ

ควบคุม ดูแล การดําเนินธุรกิจของบริษท ั ย่อยทัง้ หมดในความรับผิดชอบ ของกลุ่มธุรกิจต่อเนื่องให้เป็นไปตามนโยบายที่บริษัทกําหนด รวมถึง การให้คําแนะนํา และวางแผนทางธุรกิจเพื่อพัฒนาให้ธุรกิจดังกล่าว เกิดผลประโยชน์สูงสุดต่อบริษัท

สํานักกฎหมาย พิจารณาวิเคราะห์ ให้คําแนะนําปรึกษา ในประเด็นทางกฎหมายกับ หน่วยงานต่างๆ ของบริษัท เพื่อให้หน่วยงานนั้นๆ สามารถปฏิบัติงาน ได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย และเกิดประโยชน์สูงสุดกับบริษัท รวมทั้ง ดูแลรับผิดชอบงานด้านคดีความ งานนิติกรรมสัญญา งานจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนบริษัทและงานจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา

สํานักแผนกลยุทธ์ สํานักแผนกลยุทธ์อยู่ภายใต้สํานักงานบริหารโครงการ ทําหน้าที่ กํากับดูแลและประสานงานการดําเนินงานโครงการต่างๆ เพื่อนําไปสู่ การเปลี่ยนแปลงในบริษัท เป็นศูนย์กลางการบริหารจัดการเรื่อง การควบรวมกิจการ โดยดําเนินการร่วมกับสํานักการเงินในการประเมิน ความเหมาะสมตามกลยุทธ์ของบริษัทและการบริหารจัดการหลังการ ควบรวม และเป็นผู้นําในโครงการสําคัญต่างๆ ในส่วนของการกําหนด กลยุทธ์และการดําเนินการต่างๆ ตามกลยุทธ์ของบริษัท

กลุ่มธุรกิจต่างประเทศ กลุ่มธุรกิจต่างประเทศบริหาร และขยายธุรกิจต่างประเทศของบริษัท รับผิดชอบทั้งในด้านการผลิต (สําหรับโรงงานที่อยู่นอกประเทศไทย) ด้านการขาย และด้านการตลาด ครอบคลุมสินค้าทุกประเภททัง้ สินค้าไทย และสินค้าต่างประเทศ (สก็อตต์วิสกี้ สุราต่างๆ เบียร์ และเครื่องดื่มที่ ไม่มีแอลกอฮอล์) ที่ได้รับการพัฒนาเพื่อขายในตลาดต่างประเทศ

กลุ่มการผลิตเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ บริหารและกํากับดูแลการดําเนินงานการผลิตและการพัฒนาสินค้าของ กลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กําหนด และ เป็นไปตามนโยบายของบริษัท รวมทั้งส่งเสริมการพัฒนาวิธีการผลิต และการเพิ่มทักษะของบุคลากรเพื่อผลประโยชน์ที่ยั่งยืนของบริษัท

กลุ่มการผลิตเบียร์ บริหารและกํากับดูแลการดําเนินงานการผลิตของกลุ่มบริษัทเบียร์ ทั้ง 3 บริษัทให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กําหนด และเป็นไปตามนโยบาย ของบริษัท รวมทั้งส่งเสริมการพัฒนาการผลิตและทักษะบุคลากร เพื่อผลประโยชน์ที่ยั่งยืนของบริษัท

สํานักบัญชีและงบประมาณ ควบคุม ดูแล การดําเนินงานของบริษัทในด้านบัญชีและงบประมาณ เพื่อให้มั่นใจว่ามีการปฏิบัติที่ถูกต้องตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป ในประเทศไทย สามารถให้ข้อมูลทางการเงินอย่างครบถ้วนถูกต้อง และทันเวลา และเป็นไปตามระบบที่กําหนดโดยคณะกรรมการบริษัท

สํานักการผลิตสุรา บริหารและกํากับดูแลการดําเนินงานการผลิตของกลุ่มบริษัทสุรา ทั้ง 3 กลุ่มให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กําหนด และเป็นไปตามนโยบายของ บริษัท รวมทั้งส่งเสริมการพัฒนาการผลิตและทักษะบุคลากรเพื่อผล ประโยชน์ที่ยั่งยืนของบริษัท

สํานักการเงิน ควบคุม ดูแล การดําเนินงานด้านสนับสนุนของบริษัทในด้านการเงิน เพื่อให้มั่นใจว่าธุรกิจมีการดําเนินงานที่ถูกต้องตามหลักการ กฎระเบียบ และเป็นไปตามระบบที่กําหนดโดยคณะกรรมการบริษัท

กลุ่มบริหารการขาย ควบคุม ดูแล การดําเนินงานสนับสนุนการขาย โดยการประสานงาน กับฝ่ายผลิต และฝ่ายจัดส่งสินค้า (Logistics) เพื่อให้มั่นใจว่า การขายสินค้าเป็นไปตามแผนงานที่กําหนด

กลุ่มบริหารการตลาด สร้าง พัฒนา และขยายการขายผลิตภัณฑ์กลุ่มเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ และเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์สําหรับตลาดในประเทศและต่างประเทศ พัฒนาและดําเนินการตามกลยุทธ์ทางการตลาดและใช้งบประมาณ การตลาดอย่างสร้างสรรค์และคุ้มค่าเพื่อให้ได้มาซึ่งการตอบรับที่ดีที่สุด จากตลาด เพื่อส่งเสริมยอดขายและเพิ่มมูลค่าของตราสินค้า สร้างและ ส่งเสริมชื่อเสียงของบริษัทและตราสินค้าผ่านกิจกรรมต่างๆ ซึ่งรวมถึง การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ การประชาสัมพันธ์ การให้ความสนับสนุน การโฆษณา และการส่งเสริมการขาย

สํานักเทคนิคงานสุราและสิ่งแวดล้อม กําหนดกรรมวิธีการผลิตสุราและควบคุมการผลิตสุราของโรงงานสุรา ของบริษัท รวม 18 โรงงาน ให้เป็นไปตามข้อกําหนดของสุราแต่ละชนิด และมีคุณภาพตามมาตรฐานสุราของสํานักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม รวมทั้งการกําหนดกรรมวิธีจัดการด้านสิ่งแวดล้อมและควบคุมระบบ บําบัดน้ําเสียของโรงงานสุรา

สํานักวิศวกรรม กํากับดูแลงานด้านวิศวกรรมเพื่อสนับสนุนกิจกรรมของกลุ่มโรงงานสุรา และบริษท ั ในเครือ ให้เป็นไปตามเป้าหมายและเกิดประโยชน์สงู สุดของกลุม ่

สํานักผลิตหัวเชื้อสุรา ควบคุมดูแลกระบวนการผลิตหัวเชื้อสุราให้ได้คุณภาพตามที่กําหนดไว้ และปริมาณความต้องการ


รายงานการดํ า เนิ น งานและสถานะทางการเงิ น

68

รายงานการดําเนินงาน และสถานะทางการเงิน

ภาพรวม

บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จํากัด (มหาชน) (“ไทยเบฟ”) ก่อตั้งขึ้นในประเทศไทยในปี 2546 โดยมีจุดประสงค์เพื่อรวมกิจการที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจเบียร์และสุราชั้นนําของไทยที่เป็นของ ผู้ถือหุ้นและผู้ร่วมทุนรายอื่นๆ เข้ามาเป็นกลุ่มบริษัท ต่อมาในปี 2549 ไทยเบฟได้จดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ (“SGX”) ภายหลังจากจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ ไทยเบฟได้ขยายขอบเขตธุรกิจจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไปสู่ธุรกิจเครือ่ งดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ และอาหาร เพื่อเพิ่มความหลากหลายของสินค้า เพิ่มประสิทธิผลในช่องทางการขนส่ง รวมถึงกระจายความเสี่ยงของกิจการ ปัจจุบันไทยเบฟไม่เพียงแต่เป็นผู้ผลิตเครื่องดื่มชั้นนํา ในประเทศไทย แต่ยังเป็นผู้ผลิตทีใ่ หญ่ที่สุดรายหนึ่งในเอเชียอีกด้วย โดยแบ่งธุรกิจออกเป็น 4 สายธุรกิจ ได้แก่ สุรา เบียร์ เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ และอาหาร

วิสัยทัศน์ องค์กร

วิสัยทัศน์องค์กร คือ การเป็นบริษัทผลิตและจัดจําหน่ายเครื่องดื่ม ระดับแนวหน้าโดยมุ่งเน้นที่ความเป็นเลิศเชิงพาณิชย์ ความต่อเนื่อง ในการพัฒนาคุณภาพสินค้าให้อยู่ในระดับพรีเมี่ยม และความเป็น มืออาชีพ พันธกิจของเรา คือ การประสาน “สัมพันธภาพ” กับผู้มี ส่วนได้เสียที่มีความสําคัญกับบริษัทในทุกๆ ด้าน โดยมอบคุณค่าที่ สําคัญ 6 ประการ

• • • • • •

มอบผลิตภัณฑ์คุณภาพสูงสุดให้ลูกค้าทุกกลุ่ม ตอบสนองความต้องการของผู้แทนจําหน่ายโดยให้บริการ อย่างมืออาชีพ ให้ความสําคัญเรื่องผลตอบแทนจากการลงทุนให้แก่ผู้ถือหุ้น ด้วยการเติบโตของรายได้และผลกําไรที่มั่นคงและต่อเนื่อง เป็นแบบอย่างในด้านความเป็นมืออาชีพ ความโปร่งใส และการดําเนินธุรกิจด้วยหลักธรรมาภิบาล มอบความไว้วางใจ อํานาจ และรางวัลแก่พนักงาน เพื่อสร้างความร่วมรับผิดชอบ และ สร้างประโยชน์ให้แก่สังคม


รายงานประจํ า ปี 2555 บริ ษ ั ท ไทยเบฟเวอเรจ จํ า กั ด (มหาชน)

รายงานการดํ า เนิ น งานและสถานะทางการเงิ น

69

กลยุทธ์

พัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อขยายธุรกิจสู่ตลาดระดับสูงขึ้น อย่างต่อเนื่อง บริษัทยังคงกลยุทธ์ในการสร้างนวัตกรรมในผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง และมุ่งมั่นที่จะสร้างผลิตภัณฑ์ที่ตอบสนองต่อความต้องการของ ผู้บริโภค เราพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อขยายธุรกิจสู่ตลาดระดับสูงขึ้น ทั้งด้านคุณภาพและราคาให้เหมาะสมสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง ของตลาด ในปี 2555 บริษัทได้ปรับมีแผนการปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์ และสร้างบุคลิกใหม่ในแต่ละแบรนด์ให้แก่ผลิตภัณฑ์สุราสีของบริษัท โดยแบ่งกลุ่มตามอายุของผู้บริโภคเป็นสําคัญ กําหนดตําแหน่งสินค้า และกลุม ่ เป้าหมายให้ความชัดเจนมากกว่าเดิม เพือ่ สร้างความจงรักภักดี และสร้างการรับรู้ในตราสินค้ากับผู้บริโภค บริษัทได้วางตําแหน่ง สุราแสงโสมและหงษ์ทองเพื่อเป็นสุราสีสําหรับกลุ่มเป้าหมายทั่วไป และวางภาพลักษณ์สุราเบลนด์ 285 ให้เป็นสุราที่มีความเป็นสากล ทัดเทียมกับสุรานําเข้า นอกจากนี้ ในปีนี้บริษัทได้ปรับโฉมสุราแม่โขง ครั้งใหญ่ ผ่านการปรับเปลี่ยนรูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์ให้มีความทันสมัย เปลี่ยนฉลากเป็นภาษาอังกฤษ และการทํากิจกรรมทางการตลาด ทั้งในและนอกประเทศ เพื่อยกระดับสุราแม่โขงขึ้นสู่แบรนด์พรีเมี่ยม พร้อมบุกตลาดโลกและตลาดในประเทศ

ขยายธุรกิจไปสู่เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ บริษัทได้ขยายธุรกิจจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ไปสู่เครื่องดื่ม ไม่มีแอลกอฮอล์ที่มีการเติบโตสูง ด้วยการใช้เครือข่ายกระจายสินค้าที่มี อยู่เดิมและสร้างเครือข่ายใหม่ให้ครอบคลุมมากขึ้น การขยายสู่ตลาด เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ของบริษัททําผ่านการเพิ่มความหลากหลาย ของสินค้าของบริษัทและการเข้าซื้อกิจการ ในปี 2551 บริษัทได้เข้าซื้อ กิจการ บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จํากัด (มหาชน) (“โออิชิ”) บริษัทเครื่องดื่ม ชาเขียวอันดับหนึ่งของประเทศไทย และซื้อกิจการบริษัท เสริมสุข จํากัด (มหาชน) (“เสริมสุข”) ซึ่งเป็นบริษัทเครื่องดื่มที่มีเครือข่ายกระจาย สินค้าครอบคลุมที่สุดในประเทศไทยในปี 2554 ในปี 2555 โออิชิและเสริมสุขได้ร่วมมือกันออกเครื่องดื่มชาเขียวแบบ คืนขวดภายใต้ตราสินค้าโออิชิ ขยายสู่ตลาดร้านอาหารและร้านค้าปลีก นับเป็นเครื่องดื่มชาเขียวชนิดแรกที่เปิดตัวสู่ตลาดคืนขวด นอกจากนี้

เสริมสุขได้ออกสินค้าเครื่องดื่มน้ําอัดลม ภายใต้ตราสินค้า “เอส” สู่ตลาดประเทศไทย ผ่านการประชาสัมพันธ์เปิดตัวสินค้าอย่างยิ่งใหญ่ และใช้เครือข่ายกระจายสินค้าที่ทั่วถึงกว่า 200,000 จุดจําหน่าย ทั่วประเทศ กลยุทธ์กระจายธุรกิจไปสู่เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์นี้นับเป็นการเพิ่ม ความหลากหลายของสินค้าของบริษัทที่มีให้แก่คู่ค้า รวมทั้งเป็นการใช้ เครือข่ายการกระจายสินค้าที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด อีกทั้งยังช่วย กระจายความเสี่ยงของบริษัทโดยเฉพาะความเสี่ยงจากการขึ้นภาษี สรรพสามิตของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และเป็นการวางตําแหน่งของ บริษัทเพื่อเป็นผู้นําด้านธุรกิจเครื่องดื่มโดยรวม ไม่ใช่เพียงธุรกิจ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์

มุ่งรักษาความเป็นผู้นําตลาด ไทยเบฟเป็นผู้ผลิตเครื่องดื่มชั้นนําอันดับ 1 ในประเทศไทย บริษัท มีความมุ่งมั่นที่จะเสริมสร้างศักยภาพและรักษาความเป็นผู้นําตลาด ผ่านการสร้างนวัตกรรมผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบสนอง ต่อความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป โดยการออกสินค้าใหม่ บรรจุภัณฑ์ใหม่ หรือการปรับภาพลักษณ์สินค้าเดิมให้มีความทันสมัย มากขึ้น นอกจากนี้ บริษัทมีการลงทุนในส่วนประชาสัมพันธ์และ การตลาด โดยเน้นการสร้างตราสินค้าให้เป็นที่รู้จัก จดจําและนึกถึง เป็นอันดับแรก (Top of mind) ในผูบ ้ ริโภคกลุม ่ เป้าหมาย ผ่านกิจกรรม ทางการตลาดด้านดนตรี กีฬา และโครงการทําประโยชน์แก่สังคม

เพิ่มความแข็งแกร่งเครือข่ายการกระจายสินค้า เครือข่ายการกระจายสินค้าที่แข็งแกร่งและครอบคลุมนับเป็นจุดแข็ง หลักของไทยเบฟที่ทําให้บริษัทเป็นผู้นําในธุรกิจเครื่องดื่ม โดยเครือข่าย การกระจายสินค้าของบริษัทเริ่มต้นจากธุรกิจสุราที่มีมากว่า 30 ปี ขยายไปสู่ธุรกิจเบียร์ และเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ด้วยการสร้าง ความสัมพันธ์อันดีกับเอเย่นต์ผู้แทนจําหน่าย ร้านค้าทันสมัย ร้านค้า ปลีก และร้านอาหารผ่านทีมขายของบริษัท


รายงานการดํ า เนิ น งานและสถานะทางการเงิ น

70

บริษท ั มีความมุง่ มัน ่ ทีจ่ ะพัฒนาเครือข่ายการกระจายสินค้าอย่างต่อเนือ่ ง ในปี 2555 ได้สานต่อการทํางานร่วมกับเอเย่นต์เพื่อติดตั้งระบบข้อมูล ออนไลน์ซึ่งเป็นโครงการที่เริ่มทําในปี 2554 ที่ผ่านมา โดยโครงการนี้ อยู่ภายใต้ชื่อ “ไทยเบฟ แฟมิลี่” มีจุดประสงค์เพื่อให้เอเย่นต์สามารถ มีระบบของตัวเอง วางแผนการกระจายสินค้าและบริหารธุรกิจได้ดีขึ้น และยังช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทกับเอเย่นต์เพื่อพัฒนา แผนธุรกิจไปด้วยกัน ในปี 2554 มีเอเย่นต์เข้าร่วมโครงการ 35 ราย และเพิ่มขึ้นเป็นทั้งหมด 110 รายในปี 2555 บริษัทตั้งเป้าที่จะพัฒนา เอเย่นต์ในโครงการนี้รวม 250 ราย นอกจากนี้ บริษัทได้มีแผนต่อยอดความสัมพันธ์กับเอเย่นต์ด้วยการ เชิญทายาทธุรกิจรุ่นที่สองของเอเย่นต์ (Young Generation) มาทํา การฝึกอบรม เพื่อพัฒนาธุรกิจในอนาคตร่วมกับบริษัทได้ดียิ่งขึ้น

พัฒนาธุรกิจต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง หนึ่งในกลยุทธ์ที่สําคัญต่อการเติบโตของธุรกิจของไทยเบฟคือ การขยายธุรกิจในต่างประเทศ บริษัทก้าวสู่ตลาดต่างประเทศอย่าง ค่อยเป็นค่อยไปด้วยจุดมุ่งหมายในการสร้างรากฐานที่มั่นคงสําหรับ ธุรกิจ โดยมุ่งเน้นการสร้างตราสินค้าและช่องทางการจัดจําหน่ายซึ่งเป็น เส้นทางที่จะนําพาสินค้าเข้าไปสู่ตลาด (Route to Market) ซึ่งบริษัท เชื่อว่าเป็นปัจจัยสําคัญของความสําเร็จทางธุรกิจ

มุ่งพัฒนาศักยภาพของพนักงาน บริษัทเชื่อว่าทรัพยากรบุคคลเป็นหนึ่งในทรัพยากรที่มีคุณค่ามากที่สุด ขององค์กร ดังนั้นการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ความสามารถ จึงถือเป็นภารกิจที่ยิ่งใหญ่และสําคัญ ไทยเบฟได้สนับสนุนการพัฒนา คุณภาพและศักยภาพของพนักงานอย่างต่อเนื่องผ่านการจัดทํา หลักสูตรต่างๆ ที่มีความสอดคล้องและสนับสนุนกลยุทธ์ของบริษัท ในปี 2555 บริษัทได้ริเริ่มโครงการพัฒนาศักยภาพของพนักงานที่เป็น ผู้บริหารในระดับต้น (Supervisory Development Program: SDP) เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ รวมถึงทักษะในการบริหารงาน ภายใต้บริบทของกระแสโลกาภิวัฒน์และสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่มี การแข่งขันสูง รวมทั้งริเริ่มโครงการการจัดการองค์ความรู้ภายใน ไทยเบฟ (ThaiBev’s Knowledge Management: ThaiBev’s KM) ขึ้น เพื่อสร้างแรงขับเคลื่อนในการเรียนรู้ของบุคลากรในองค์กร ส่งเสริม ให้เกิดการแลกเปลี่ยนและแบ่งปันความรู้ ทักษะ รวมถึงประสบการณ์ ในการทํางาน เพื่อพัฒนาองค์กรให้ก้าวไปสู่การเป็นองค์กรแห่ง การเรียนรู้ที่ไม่หยุดนิ่ง พร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลงของโลกธุรกิจ

เศรษฐกิจไทย

ในปี 2555 บริษัทยังคงเน้นกิจกรรมเพื่อสร้างตราสินค้าในตลาด ต่างประเทศ ผลักดันสุราแม่โขงให้ก้าวสู่แบรนด์ระดับโลกภายใต้ คอนเซปต์ เดอะ สปิริต ออฟ ไทยแลนด์ ซึ่งจะมีกิจกรรมการเปิดตัว ค็อกเทลรสชาติใหม่ๆ ผ่านช่องทางโรงแรมชั้นนํา และเข้าเป็น ผู้สนับสนุนหลักในงาน แอมเบอร์ เล้านจ์ โมนาโค 2012 ปาร์ตี้ เอ็กซ์คลูซีฟ ภายใต้คอนเซปต์ของการแข่งขันรถยนต์สูตรหนึ่งหรือ เอฟวัน

เศรษฐกิจไทยในปี 2555 ขยายตัวจากปีก่อนหลังจากที่ภาคเอกชน เร่งซ่อมแซมความเสียหายจากอุทกภัยและการได้รับแรงสนับสนุน จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจไทย ได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกชัดเจนขึ้นตั้งแต่ ช่วงกลางปีเป็นต้นมา แต่ผลกระทบจํากัดอยู่เฉพาะการผลิต ภาคอุตสาหกรรมที่เน้นผลิตเพื่อการส่งออก ในส่วนของเสถียรภาพ ทางเศรษฐกิจนั้นถือว่าอยู่ในเกณฑ์ดี โดยอัตราการว่างงานอยู่ใน ระดับต่ําและอัตราเงินเฟ้อปรับตัวลงจากปีก่อนตามราคาอาหารสด ที่ลดลงเป็นสําคัญ

นอกจากนี้ การเข้าซื้อหุ้นในเฟรเซอร์ แอนด์ นีฟ, ลิมิเต็ด (“F&N”) ในปีนี้ นับเป็นก้าวที่สําคัญของบริษัทในการก้าวสู่การเป็นบริษัทผลิต และจัดจําหน่ายเครื่องดื่มชั้นนําในระดับนานาชาติ เพื่อความเป็นเลิศ ด้านการค้า มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์สู่ระดับแนวหน้า และมีความเป็น มืออาชีพ การลงทุนในหุ้น F&N สามารถส่งเสริมธุรกิจของบริษัท ทั้งในด้านขีดความสามารถในปัจจุบัน ผนวกกับความชํานาญและ ประสบการณ์ของบริษัทในด้านการผลิตและจัดจําหน่ายเครื่องดื่ม มีแอลกอฮอล์และเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์

สภาวะเศรษฐกิจของประเทศไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2555 มีทิศทางฟื้นตัวจากวิกฤตอุทกภัย ส่งผลให้การผลิตภาคอุตสาหกรรม การบริโภคและการลงทุนปรับตัวดีขึ้น นอกจากนี้ มาตรการช่วยเหลือ ฟื้นฟูวิกฤตอุทกภัยของภาครัฐรวมถึงการปรับค่าตอบแทนสําหรับ ข้าราชการก็มีบทบาทในการกระตุ้นเศรษฐกิจเช่นกัน อย่างไรก็ดี ในช่วง เดือนมิถุนายน ปัญหาวิกฤตหนี้ในกลุ่มประเทศยูโรโซนส่งผลกระทบ ต่อการส่งออกและการผลิตภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะการส่งออก ไปยังสหภาพยุโรปและญีป ่ น ุ่ ในขณะทีก ่ ารบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน


รายงานประจํ า ปี 2555 บริ ษ ั ท ไทยเบฟเวอเรจ จํ า กั ด (มหาชน)

รายงานการดํ า เนิ น งานและสถานะทางการเงิ น

71

ธุรกิจ ในประเทศ

ยังคงมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องจากผลการปรับขึ้นของค่าจ้างขั้นต่ํา และค่าตอบแทนข้าราชการ สําหรับไตรมาสที่ 3 เศรษฐกิจของไทยยังคง ขยายตัวจากการใช้จ่ายในประเทศเป็นหลัก ในขณะที่การส่งออกยังคง ได้รับผลกระทบต่อเนื่องจากวิกฤตเศรษฐกิจยุโรปและการชะลอตัวของ เศรษฐกิจจีน อย่างไรก็ดี สภาวะเศรษฐกิจไทยในไตรมาสสุดท้ายกลับมา ขยายตัวดีเทียบกับไตรมาสก่อนเนื่องจากกําลังซื้อและความเชื่อมั่นของ ผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้น สําหรับภาคการส่งออกก็ยังคงได้รับผลกระทบจาก การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกแต่เริ่มมีสัญญาณทรงตัวจากหลายกลุ่ม อุตสาหกรรม เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้าและชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

สําหรับธุรกิจเครื่องดื่มในไตรมาสแรกนั้นเริ่มมีการฟื้นตัวจากวิกฤต อุทกภัย ปัญหาการขาดแคลนสินค้าเริ่มคลี่คลายลง ในขณะที่ โรงงานต่างๆ เริ่มฟื้นฟูสภาพและกลับเข้าสู่กระบวนการผลิตอีกครั้ง ในช่วงปลายไตรมาสแรกมีการตื่นตัวในกลุ่มเอเย่นต์และร้านค้าเนื่องจาก กระแสข่าวการปรับขึ้นภาษีสรรพสามิตของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ส่งผลให้เอเย่นต์และร้านค้าเพิ่มยอดซื้อสุรามากกว่าปกติเพื่อเก็บ เข้าสต๊อค และเมื่อรัฐบาลประกาศปรับขึ้นภาษีสรรพสามิตในวันที่ 21 สิงหาคม 2555 พบว่าเกิดผลกระทบกับยอดจําหน่ายเครื่องดื่ม ในช่วงแรก เนื่องจากผู้บริโภคต้องใช้เวลาในการปรับตัวกับราคา สินค้าใหม่ที่สูงขึ้น

ภาษีสรรพสามิต วันที่ 21 สิงหาคม 2555 กระทรวงการคลังได้ออกกฎกระทรวง เพื่อปรับอัตราภาษีสรรพสามิตสําหรับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บางประเภท โดยการเก็บภาษีสรรพสามิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จะกําหนดอัตรา การเสียภาษีไว้สองประเภทซึ่งคํานวณจากปริมาณแอลกอฮอล์ต่อลิตร ที่เรียกว่าอัตราภาษีตามปริมาณ และคํานวณจากราคาโรงงาน เรียกว่า อัตราภาษีตามมูลค่า โดยจะเก็บที่อัตราภาษีที่สูงกว่า การปรับภาษี ในครั้งนี้มีการแก้ไขอัตราการคิดภาษีดังนี้

ในส่วนของกระแสการแข่งขันฟุตบอลยูโรในช่วงเดือนกรกฎาคม 2555 นัน ้ ไม่ช่วยผลักดันยอดจําหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ตามที่ผู้ประกอบการ คาดหวัง เนื่องจากช่วงเวลาในการแข่งขันเป็นช่วงเวลาที่ร้านอาหารและ สถานบันเทิงใกล้จะปิดบริการ ทําให้ผบ ู้ ริโภคส่วนใหญ่ชมการถ่ายทอดสด ที่บ้านมากกว่าที่ร้านอาหารและสถานบันเทิง

สุราขาว

ภาพรวมธุรกิจสุราในประเทศในปี 2555 มีการเติบโตเพิ่มขึ้นของ ยอดขายในช่วงครึ่งปีแรก เนื่องจากความตื่นตัวของเอเย่นต์ตามข่าว การปรับขึ้นภาษีสุรา โดยมียอดขายเพิ่มขึ้นทั้งสุราสีและสุราขาว และเมื่อ วันที่ 21 สิงหาคม 2555 รัฐบาลประกาศปรับภาษีสรรพสามิต ทั้งสุราขาว และสุราสี โดยปรับภาษีสุราขาวจากลิตรละ 120 บาท เป็น 150 บาท สุราผสมปรับขึ้นจาก 300 บาท เป็น 350 บาท ส่วนบรั่นดี ปรับภาษีจากอัตรา 48% ของราคาหน้าโรงงานเป็นอัตราเต็มเพดานที่ 50% ซึ่งการปรับภาษีในครั้งนี้ มีผลกระทบต่อการบริโภคในช่วงปลายปี

สุราผสม บรั่นดี

แก้ไขอัตราภาษีตามปริมาณ จาก 120 บาท เป็น 150 บาท ต่อลิตรแห่งแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ แก้ไขอัตราภาษีตามปริมาณ จาก 300 บาท เป็น 350 บาท ต่อลิตรแห่งแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ แก้ไขอัตราภาษีตามมูลค่า จาก 48% เป็น 50%

การปรับขึ้นภาษีในครั้งนี้ส่งผลกระทบต่อต้นทุนภาษีสรรพสามิต ของสุราขาว สุราผสม และบรั่นดีของบริษัท ให้มีต้นทุนเพิ่มขึ้น ประมาณ 25.0% 16.7% และ 4.2% ตามลําดับ บริษัทได้ปรับขึ้น ราคาสินค้าข้างต้นเพื่อให้สอดคล้องกับต้นทุนภาษีที่เพิ่มขึ้น

ธุรกิจสุรา

ธุรกิจสุราของไทยเบฟในปี 2555 ได้มีการเตรียมตัวรองรับข่าว การขึ้นภาษี โดยได้ปรับราคาขึ้นล่วงหน้าบางส่วนในช่วงครึ่งแรกของปี เพื่อลดผลกระทบ ภายหลังจากมีการประกาศขึ้นภาษีอย่างเป็นทางการ ในเดือนสิงหาคม บริษัทได้ปรับราคาขึ้นอีกครั้งเพื่อให้ครอบคลุมภาษีที่ เพิ่มขึ้น โดยในปีนี้บริษัทยังคงสามารถรักษาความเป็นผู้นําในตลาดสุรา ในประเทศได้เป็นอย่างดี ธุรกิจสุรามียอดขายเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.9 เมื่อ เทียบกับปีที่แล้วจากการเพิ่มขึ้นของราคาขาย และปริมาณขายรวมของ ธุรกิจสุราเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 โดยเป็นการปรับเพิ่มขึ้นทั้งในส่วนของ สุราสีและสุราขาว สินค้าสุราของไทยเบฟที่มีการเติบโตดีคือ “หงส์ทอง” และ “เบลนด์ 285” นอกจากนี้ต้นทุนกากน้ําตาลที่ลดลงช่วยส่งผลให้


รายงานการดํ า เนิ น งานและสถานะทางการเงิ น

72

ธุรกิจสุราในปี 2555 มีกําไรสุทธิ 18,744 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก ช่วงเดียวกันปีที่แล้วถึงร้อยละ 40.4

ธุรกิจเบียร์ ตลาดเบียร์ในประเทศในปี 2555 มีการเติบโตเล็กน้อย กระแส การแข่งขันฟุตบอลยูโรในช่วงกลางปีไม่ช่วยผลักดันยอดจําหน่ายเบียร์ ได้ตามคาดการณ์ เนื่องจากช่วงเวลาในการแข่งขันเป็นช่วงเวลาที่ ร้านอาหารและสถานบันเทิงใกล้จะปิดบริการ ทําให้ผู้บริโภคส่วนใหญ่ ชมการถ่ายทอดสดที่บ้านมากกว่าที่ร้านอาหารและสถานบันเทิง ส่งผลให้เม็ดเงินที่คาดว่าผู้บริโภคจะใช้จ่ายระหว่างการชมการแข่งขัน น้อยกว่าที่คาดหวังไว้ ธุรกิจเบียร์ของไทยเบฟในปี 2555 ค่อนข้างทรงตัว แม้ว่าบริษัท สามารถเพิ่มปริมาณขายเบียร์ในปีนี้ได้ร้อยละ 4 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า แต่การเพิ่มขึ้นของต้นทุนค่าวัตถุดิบ ค่าใช้จ่ายโฆษณาและรายการ ส่งเสริมการขายที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ธุรกิจเบียร์ขาดทุนในปีนี้

ธุรกิจเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ในปี 2555 มียอดขายหลักมาจาก เสริมสุขและโออิชิ ในปีนี้เสริมสุขได้เปิดตัวเครื่องดื่มน้ําอัดลมภายใต้ ตราสินค้า “เอส” ซึ่งเป็นเครื่องหมายการค้าของเสริมสุข โดยนําเสนอ เครื่องดื่มอัดลมโคล่าและน้ําสี ซึ่งถือเป็นการบุกเข้าสู่ตลาดเครื่องดื่ม น้ําอัดลมที่เป็นตลาดเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ที่ใหญ่ที่สุด โดยใช้ เครือข่ายการกระจายสินค้าที่ครอบคลุมของเสริมสุข นอกจากนี้ เครือข่ายกระจายสินค้าของเสริมสุขมีส่วนสําคัญในการขยายธุรกิจ เครื่องดื่มชาเขียวของโออิชิออกไปสู่ตลาดใหม่ ภายใต้บรรจุภัณฑ์ ขวดแก้วคืนขวดในชื่อ “โออิชิ กรีนที ขวดแก้ว” ในส่วนของน้ําดื่มช้าง ในปี 2555 ยังคงมีปริมาณขายที่เพิ่มขึ้น อย่างต่อเนื่อง จากการที่ตราสินค้าเริ่มเป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น มีการประชาสัมพันธ์ผ่านกิจกรรมทางการตลาดเพื่อเข้าถึงผู้บริโภค ได้มากขึ้นโดยใช้กลยุทธ์ “เอ็นเตอร์เทนเมนต์ ไลฟ์สไตล์” เน้นสื่อและ กิจกรรมตามการใช้ชีวิตแบบคนรุ่นใหม่ นอกจากนี้ บริษัทยังทํากิจกรรม ทางการตลาดผ่านทางกีฬาฟุตบอล ปรับบรรจุภัณฑ์น้ําดื่ม โซดา และ เบียร์ ให้เป็นลวดลายของทีมบาร์เซโลน่า และรีล มาดริด ที่บริษัทเป็น สปอนเซอร์ภายใต้ตราสินค้า “ช้าง”

ธุรกิจเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ตลาดเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ในปี 2555 เริ่มมีการฟื้นตัว ภายหลังจากที่ผู้ผลิตหลายรายประสบอุทกภัยในไตรมาสที่ 4 ของ ปี 2554 ส่งผลให้ภาพรวมของตลาดมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยกลุ่มที่มีการเติบโตมากที่สุด คือ ชาพร้อมดื่ม เครื่องดื่มเกลือแร่ และน้ําอัดลม ตามลําดับ ขณะที่ตลาดเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพเริ่มเข้ามา มีบทบาทมากขึน ้ ในตลาด ในส่วนของการแข่งขันพบว่าตลาดชาพร้อมดืม ่ และน้ําอัดลมเป็นหนึ่งในตลาดเครื่องดื่มที่มีการแข่งขันรุนแรงมากที่สุด ในปี 2555 ธุรกิจเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ของบริษัทในช่วงต้นปี 2555 ประสบปัญหาบางส่วนจากโรงงานที่ถูกน้ําท่วมเมื่อปลายปี 2554 ทําให้กาํ ลังการผลิตสินค้าบางประเภท โดยเฉพาะอย่างยิง่ เครือ่ งดืม ่ โออิชิ หยุดชะงัก ส่งผลให้ไม่มีสินค้าวางขายครบทุกประเภทบรรจุภัณฑ์ บริษัทได้พยายามแก้ปัญหานี้โดยการจ้างผลิต และใช้สายการผลิตอื่น ที่ไม่โดนผลกระทบจากน้ําท่วมเพื่อบรรเทาปัญหาสินค้าขาดแคลน สิ่งเหล่านี้ทําให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มสูงขึ้นในช่วงครึ่งแรกของปี อย่างไรก็ตาม ในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี โออิชิสามารถกลับมาเริ่มเดิน สายการผลิตอีกครั้ง

ธุรกิจเครือ่ งดืม ่ ไม่มแี อลกอฮอล์ในปี 2555 มียอดขาย 28,997 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 167 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา สาเหตุหลักมาจากการ รวมกิจการของเสริมสุขภายหลังจากการซื้อหุ้นบริษัทเสริมสุขแล้วเสร็จ ในเดือนตุลาคม 2554 กําไรสุทธิสาํ หรับเครือ่ งดืม ่ ไม่มแี อลกอฮอล์ในปีน้ี เป็นจํานวน 417 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 189.9


รายงานประจํ า ปี 2555 บริ ษ ั ท ไทยเบฟเวอเรจ จํ า กั ด (มหาชน)

รายงานการดํ า เนิ น งานและสถานะทางการเงิ น

73

ธุรกิจ ต่างประเทศ

ธุรกิจอาหาร ธุรกิจอาหารในประเทศไทยในปี 2555 ประสบปัญหาต้นทุนสินค้า อาหารที่เพิ่มขึ้นอันเนื่องจากราคาวัตถุดิบนําเข้าจากตลาดโลกที่ปรับตัว สูงขึ้นตามราคาน้ํามัน ในปี 2555 บริษัทได้ขยายธุรกิจอาหารเข้าสู่ตลาดขนมขบเคี้ยว โดยออกผลิตภัณฑ์สาหร่ายอบกรอบสไตล์ญี่ปุ่น “โอโนริ” ในเดือน เมษายน 2555 โดยมีการลงทุนทําโฆษณาประชาสัมพันธ์และกิจกรรม ต่างๆ ในช่วงแรกเพื่อสร้างการรับรู้ของตราสินค้า นอกจากนี้ บริษัทได้พัฒนาแบรนด์ร้านอาหารใหม่ขึ้นภายใต้ชื่อ “คาคาชิ” เพื่อเข้าสู่ธุรกิจร้านอาหารในกลุ่มคิวเอสอาร์ หรืออาหารจานด่วน (Quick Service Restaurant) ยอดขายของธุรกิจอาหารในปี 2555 จํานวน 5,319 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.9 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้าจากการขยายสาขาและ การปรับขึ้นราคาสินค้า โออิชิขยายสาขาร้านอาหารเพิ่มขึ้นทั้งหมด 44 สาขาในปีนี้ โดยเน้นการขยายร้านชาบูชิเป็นหลัก ซึ่งถือเป็นร้าน ที่มีการเติบโตที่สูง ณ สิ้นปี 2555 โออิชิมีร้านอาหารทั้งหมด 156 ร้าน ธุรกิจอาหารมีกําไรสุทธิ 66 ล้านบาท ปรับตัวลดลงร้อยละ 38.3 จากการเพิ่มขึ้นของต้นทุนวัตถุดิบและค่าใช้จ่ายในการสร้างตราสินค้า “โอโนริ”

ไทยเบฟสร้างความเติบโตของธุรกิจต่างประเทศ ภายใต้การดูแลของ อินเตอร์เนชั่นแนล เบฟเวอเรจ โฮลดิ้งส์ ลิมิเต็ด (“อินเตอร์เบฟ”) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่ไทยเบฟถือหุ้นร้อยละ 100 สํานักงานใหญ่ของ อินเตอร์เบฟตั้งอยู่ที่เกาะฮ่องกง และมีสาขาในประเทศสิงคโปร์ กัมพูชา มาเลเซีย อังกฤษ สหรัฐอเมริกา และจีน อินเตอร์เบฟจําหน่ายสินค้า ในกว่า 80 ประเทศ โดยจําหน่ายผลิตภัณฑ์สก็อตวิสกี้ของอินเวอร์เฮาส์ เบียร์ช้าง สุราไทย และผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ของไทยเบฟ ไวน์จน ี และสุราจีนของยูนนาน อวีห ้ ลิงฉวน ลิเคอร์ จํากัด (“อวีห ้ ลิงฉวน”) ศูนย์กลางการผลิตของธุรกิจต่างประเทศของไทยเบฟประกอบด้วย โรงงานสุรา 5 แห่งในสก็อตแลนด์ และโรงงานสุรา 1 แห่งในมณฑล ยูนนาน ประเทศจีน วิสัยทัศน์ของอินเตอร์เบฟ คือ การเป็นบริษัท เครื่องดื่มครบวงจร (ที่นําเสนอเครื่องผสมแอลกอฮอล์และเครื่องดื่ม ไม่ผสมแอลกอฮอล์) และมีตราสินค้าที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล สําหรับผู้บริโภคทั่วโลก และสร้างรายได้ในสัดส่วนที่มีนัยสําคัญต่อ รายได้รวมของไทยเบฟภายในระยะเวลา 5 ปี

กลยุทธ์ อินเตอร์เบฟยังคงมุ่งหน้าสร้างความเติบโตของธุรกิจตามกลยุทธ์หลัก 3 ประการ ดังนี้

การพัฒนาตราสินค้าหลักที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล อินเตอร์เบฟมุ่งเน้นการสร้างตราสินค้าหลักดังต่อไปนี้ ก) สุราซิงเกิลมอลท์ เช่น Balblair, Old Pulteney, Speyburn และ anCnoc ข) สุราเบลนด์ เช่น Hankey Bannister, Catto’s และ MacArthur’s ค) สินค้าส่งออกจากประเทศไทย เช่น เบียร์ช้าง สุราแม่โขง และสุราคราวน์ 99 แผนการขายและการตลาด และระดับการลงทุน มีการแบ่งสัดส่วน ตามกลยุทธ์ของแต่ละตราสินค้า โอกาสในแต่ละตลาด และขีดความ สามารถด้านการกระจายสินค้า ตัวอย่างเช่น การใช้ประโยชน์จาก การให้การสนับสนุนสโมสรฟุตบอล FC Barcelona เพื่อเพิ่มมูลค่าของ ตราสินค้าทั่วภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ และการใช้ประโยชน์ร่วมกับ การให้การสนับสนุนระดับภูมิภาคแก่ช่องโทรทัศน์ Fox Sports ในการถ่ายทอดการแข่งขันฟุตบอล La Liga ในการทํากิจกรรม


รายงานการดํ า เนิ น งานและสถานะทางการเงิ น

74

การตลาดเพื่อส่งเสริมยอดขายเบียร์ช้างและผลักดันการกระจายสินค้า ทั่วทั้งภูมิภาค

ในประเภทสุราที่มีความน่าสนใจ เช่น สุรารัมแต่งรส พรีเมียม จินน์ วอดกา และวิสกี้พิเศษต่างๆ

ความต้องการสินค้าสก็อตวิสกี้ภายใต้ตราสินค้าของเรา ซึ่งเพิ่มสูงขึ้น อย่างมากในช่วงเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะสุราซิงเกิลมอลท์ ส่งผลให้การเติบโตด้านมูลค่าของตราสินค้าเพิ่มขึ้นสูงกว่าการเติบโต ด้านปริมาณ เนื่องจากบริษัทยังคงดําเนินการเพื่อยกระดับกลุ่ม ผลิตภัณฑ์ของบริษัทและลงทุนในตราสินค้าหลักอย่างต่อเนื่อง ตัวอย่าง เช่น ความสําเร็จในการปรับปรุงบรรจุภัณฑ์ของสุรา Speyburn Single Malt ในปี 2555 เพื่อการเปลี่ยนแปลงจุดยืนราคาในตลาดต่างๆ และ ยังคงสร้างความเติบโตในตลาดหลักๆ รวมถึงตลาดสหรัฐอเมริกา รวมทั้งการที่สุรา Old Pulteney ได้รับรางวัล “World Whisky of the year 2012” จาก “Jim Murray’s Whisky Bible”

มุ่งเน้นสร้างการเติบโตในตลาดที่มีมูลค่าสูงสุด และตลาดใหม่ที่กําลังเติบโต

ความต้องการสินค้าสก็อตวิสกี้ที่เพิ่มขึ้นนํามาซึ่งนวัตกรรมที่น่าสนใจ ในกลุ่มผลิตภัณฑ์ของเรา โดยมีเป้าหมายในการเพิ่มมูลค่าและ ผลตอบแทนสูงสุดจากปริมาณสุราเก็บบ่มที่มีอยู่อย่างจํากัด ตัวอย่าง ที่เห็นได้ชัด คือ สุรา anCnoc ซึ่งออกสินค้า 4 รุ่นในรูปแบบจํากัด จํานวน (Limited Editions) ในปี 2555 โดย 2 รุน ่ มีวางจําหน่ายทัว่ โลก และอีก 2 รุ่นจัดจําหน่ายเฉพาะในประเทศสวีเดนและช่องทางค้าปลีก ธุรกิจเดินทางในระดับสากล สินค้าดังกล่าวได้รับการพัฒนาภายใต้ แนวคิดหลัก คือการวางจุดยืนของสินค้าว่าเป็น “Modern Tradition” โดยได้ร่วมงานกับ Mr. Peter Arkle นักวาดภาพประกอบ ชาวสก็อตแลนด์ เพื่อนําเสนอมุมมองที่สดใหม่และร่วมสมัยมากขึ้น ของสินค้าสุราซิงเกิลมอลท์แก่ผู้บริโภค สินค้ารุ่นดังกล่าวประสบ ความสําเร็จอย่างยิง่ และความร่วมมือครัง้ นีจ้ ะยังดําเนินต่อไปในปี 2556

การขยายกลุ่มผลิตภัณฑ์เพื่อตอบสนองความต้องการหลักๆ ของตลาดได้ดียิ่งขึ้น นวัตกรรมและการพัฒนาสินค้าที่เหมาะกับตลาดยังคงเป็นแนวคิดหลัก ของบริษท ั ตัวอย่างเช่น ในปี 2555 สุรา Old Pulteney ออกสินค้าใหม่ 5 รุน ่ เพือ่ ตอบสนองความต้องการทีแ่ ตกต่างของตลาด รวมถึงรุน ่ 40 ปี ซึ่งเป็นรุ่นที่ตลาดรอคอยมาเป็นเวลานาน ซึ่งเป็นรุ่นที่เก่าแก่ที่สุดและ หรูหรามีระดับที่สุดนับตั้งแต่มีการเริ่มผลิตสุรานี้ในปี ค.ศ. 1826 อินเตอร์เบฟยังคงมุ่งมั่นสร้างสรรค์นวัตกรรมสําหรับกลุ่มผลิตภัณฑ์ ของเรา เพื่อตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของผู้บริโภค ในตลาดหลักของเราในประเทศต่างๆ อีกทั้งพัฒนาตราสินค้าใหม่

อินเตอร์เบฟมีความมุง่ มัน ่ ในการสร้างความแข็งแกร่งของธุรกิจในระยะยาว ในตลาดสุราที่มีมูลค่าสูง เช่น สหรัฐอเมริกา และตลาดที่กําลังเติบโต อย่างรวดเร็ว เช่น ภูมิภาคยุโรปตะวันออก แอฟริกา และเอเซีย อินเตอร์เบฟยังคงเสริมสร้างความแข็งแกร่งของเส้นทางกระจายสินค้า และพัฒนาขีดความสามารถขององค์กรเพื่อรองรับการขยายธุรกิจของ เราในประเทศต่างๆ ทั่วโลก บริษัทดําเนินการพัฒนาธุรกิจอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งลงทุนในการพัฒนาบุคลากรเพื่อให้สอดคล้องกับการเติบโตของ ธุรกิจ วิธีการทํางานของเรามีทั้งการสร้างความร่วมมือกับคู่ค้าที่จัดจําหน่าย สินค้าให้แก่บริษท ั และในกรณีทส่ี ภาพตลาดเอือ้ อํานวย บริษท ั จะพิจารณา ลงทุนสร้างธุรกิจหรือเส้นทางกระจายสินค้าเองโดยดําเนินกลยุทธ์ การควบรวมและซื้อกิจการเพื่อสร้างประโยชน์สูงสุดในแต่ละตลาด

ความก้าวหน้าในปี 2555 ผลการดําเนินงานธุรกิจต่างประเทศ ผลการดําเนินงานของธุรกิจต่างประเทศ มีการเติบโตของรายได้กว่า ร้อยละ 29 เมื่อเทียบปีต่อปี ซึ่งเป็นอัตราการเติบโตสูงกว่าปี 2554 กําไรสุทธิเติบโตร้อยละ 44 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว และสูงกว่าการเติบโต ของรายได้ สาเหตุหลักมาจากยอดขายที่เพิ่มขึ้นของสก็อตวิสกี้ภายใต้ ตราสินค้าของเราในอังกฤษ ตลาดบางประเทศในยุโรปที่บริษัทมุ่งเน้น เป็นพิเศษ และสหรัฐอเมริกา รวมถึงการเติบโตของเบียร์ช้างในตลาด กลุ่มประเทศอาเซียน

กลุ่มผลิตภัณฑ์สก็อตวิสกี้ สินค้ากลุ่มสก็อตวิสกี้ยังคงสร้างยอดขายได้มากที่สุดในกลุ่มผลิตภัณฑ์ ของธุรกิจต่างประเทศ ในปี 2555 บริษัทเพิ่มการส่งออกสินค้าไปยัง ตลาดที่กําลังเติบโต เช่น ละตินอเมริกา รัสเซีย และยุโรปตะวันออก ยอดขายและปริมาณขายเติบโตดีในตลาดสหรัฐอเมริกา อังกฤษ และ ออสเตรเลีย และมีการเติบโตพอสมควรในภูมิภาคเอเซีย ซึ่งการพัฒนา ขีดความสามารถด้านการตลาดอย่างต่อเนื่องสําหรับกลุ่มผลิตภัณฑ์


รายงานประจํ า ปี 2555 บริ ษ ั ท ไทยเบฟเวอเรจ จํ า กั ด (มหาชน)

รายงานการดํ า เนิ น งานและสถานะทางการเงิ น

75

สก็อตวิสกีจ้ ะส่งเสริมการเติบโตของสินค้าในภูมภ ิ าคเอเซียต่อไปในอนาคต กลยุทธ์การสร้างความเติบโตในตลาดสหรัฐอเมริกาโดยการมุ่งเน้น 5 มลรัฐที่เป็นตลาดหลักของเรา สามารถสร้างการเติบโตได้อย่าง แข็งแกร่งเมื่อเทียบปีต่อปี โดยเฉพาะสุราซิงเกิลมอลท์ Speyburn และ Old Pulteney อินเตอร์เบฟยังคงมุ่งเน้นการสร้างตราสินค้าเพื่อ เพิ่มมูลค่าตราสินค้าของเราในตลาดต่างๆ

สุราไทย ในปี 2555 บริษัทยังคงมุ่งเน้นขายสุราไทยในกลุ่มประเทศอาเซียน อินเตอร์เบฟยังคงขยายตลาดสุราแม่โขงในภูมิภาคเอเซีย ยุโรปและ สหรัฐอเมริกา สุราแม่โขงมียอดขายเติบโตร้อยละ 25 เมื่อเทียบปีต่อปี สุรา Blend 285 มีปริมาณขายเติบโตอย่างแข็งแกร่งเมื่อเทียบกับ ปีที่แล้ว ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ายินดี แม้ว่าฐานการเปรียบเทียบอาจไม่ใช่ จํานวนที่สูงก็ตาม บริษัทส่งออกสุราแอดมิกซ์ Royal Legend Blended Spirit เป็นครั้งแรกในปีนี้ และการพัฒนาตราสินค้ายังคง ดําเนินไปอย่างต่อเนื่องเพื่อการนําเสนอสินค้าที่ตอบสนองตลาดสุราไทย ได้ดียิ่งขึ้น

บริษัทภาคภูมิใจอย่างยิ่งที่สุราเบลนด์ Hankey Bannister ซึ่งเป็น ตราสินค้าเรือธงของเราได้รับรางวัล Supreme Champion จากการ ประกวด 2012 International Spirits Competition ในปี 2555 นอกจากนี้ สุรา Speyburn 25 year ได้รับรางวัล Best Highland Single Malt Whisky จาก World Whisky Association และ สุรา Speyburn Bradan Orach ได้รับรางวัล Double Gold จาก การประกวด San Francisco Wine & Spirits Competition สุรา Caorunn Gin ซึ่งประกวดในประเภทสุราซุปเปอร์พรีเมียม จินน์ ได้รับรางวัล Gold in Travel Retail Masters, an outstanding accolade รางวัลเหล่านี้ล้วนเป็นเครื่องยืนยันคุณภาพของสินค้าหลัก ของเรา

ในปี 2555 สุรา Phraya Super Premium Rum มียอดขายเติบโต อย่างแข็งแกร่งเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว แต่การเติบโตดังกล่าวมีฐาน การเปรียบเทียบทีไ่ ม่สงู เช่นกัน อย่างไรก็ตาม มีความก้าวหน้าพอสมควร ในตลาดสหรัฐอเมริกา และมีกลุ่มเป้าหมายหลักเป็นตลาดส่งออกและ ร้านค้าปลอดภาษีในประเทศไทยซึ่งเป็นช่องทางที่เหมาะสมอย่างยิ่ง ในการสร้างความรับรู้ต่อตราสินค้าสําหรับกลุ่มนักเดินทาง

เบียร์ช้างในตลาดต่างประเทศ

ผลิตภัณฑ์ยูนนาน อวี้หลิงฉวน

อินเตอร์เบฟยังคงมุ่งเน้นการสร้างความเติบโตด้านยอดขายของ เบียร์ช้างและการขยายสู่ตลาดใหม่ๆ ในต่างประเทศ ยอดขายเบียร์ช้าง ในตลาดต่างประเทศสร้างผลงานได้อย่างยอดเยี่ยมอีกครั้งในปี 2555 โดยเติบโตกว่าร้อยละ 80 ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากความสําเร็จของ กลยุทธ์การตลาดโดยใช้สโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาทั่วทั้งภูมิภาคเอเซีย ตะวันออกเฉียงใต้

ในปี 2555 ผลิตภัณฑ์ยูนนาน อวี้หลิงฉวนมีการเติบโตและมีผลกําไร ที่ดีขึ้นเนื่องจากบริษัทยังคงดําเนินการปรับเปลี่ยนสัดส่วนการจําหน่าย สินค้าเพื่อยกระดับสินค้าสู่ความเป็นพรีเมียมและกําหนดการมุ่งเน้น เฉพาะบางตราสินค้าหลัก

อังกฤษ สหรัฐอเมริกา และออสเตรเลีย ยังคงเป็นตลาดที่เบียร์ช้าง มุ่งเน้นและให้ความสําคัญสูงสุด ในปี 2555 เบียร์ช้างทําผลงานได้ดี เกินความคาดหมายในตลาดประเทศกลุ่มสแกนดิเนเวีย ซึ่งนับเป็น ปัจจัยที่น่าสนใจอย่างยิ่ง ในปีต่อไป กิจกรรมการตลาดของเบียร์ช้างในตลาดต่างประเทศยังคง มุ่งเน้นกีฬาและดนตรี ภายใต้แนวคิด “ชีวิตของเรา...ใช้ซะ” หรือ “Live Like You Mean It” เพื่อเข้าถึงและตอกย้ําตราสินค้าในใจ ผู้บริโภคให้ชัดเจนยิ่งขึ้น

บริษัทมุ่งเน้นสร้างความแข็งแกร่งของเครือข่ายการจัดจําหน่ายสินค้า ในและโดยรอบเมืองคุนหมิง ซึ่งมีส่วนช่วยในการขยายสัดส่วนการขาย สินค้าระดับสูงมากขึ้น อีกทั้งส่งเสริมการดําเนินงานและกระบวนการ ทํางานอย่างมีระบบเพื่อการวางแผนงานที่มีประสิทธิภาพและลงทุน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของทีมผู้บริหาร ในปี 2555 อินเตอร์เบฟเริ่มส่งออกตราสินค้าต่างๆ จากประเทศจีน โดยมุ่งเน้นช่องทางการค้าปลีกธุรกิจเดินทาง


รายงานการดํ า เนิ น งานและสถานะทางการเงิ น

76

การเข้าซื้อหุ้นในบริษัทเฟรเซอร์ แอนด์ นีฟ ลิมิเต็ด (“F&N”) หนึ่งในเป้าหมายหลักของการสร้างความเติบโตทางธุรกิจของบริษัทคือ การขยายไปสู่ตลาดในต่างประเทศเพื่อก้าวขึ้นเป็นบริษัทผู้ผลิตและ จัดจําหน่ายเครื่องดื่มขนาดใหญ่ของภูมิภาค ความก้าวหน้าในตลาด ต่างประเทศครั้งสําคัญในปีนี้ คือการลงทุนซื้อหุ้นในบริษัทเฟรเซอร์ แอนด์ นีฟ ลิมิเต็ด (“F&N”) ซึ่งทําให้ F&N เข้าเป็นบริษัทร่วมของ ไทยเบฟ F&N ได้รับการยอมรับอย่างสูงว่าเป็นหนึ่งในบริษัทชั้นนํา ในประเทศสิงคโปร์ที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน มีตราสินค้าที่มีชื่อเสียง มากมาย และเป็นการลงทุนที่บริษัทเล็งเห็นว่าสามารถส่งเสริมธุรกิจ เครื่องดื่มของบริษัทตามกลยุทธ์ระยะยาวของบริษัทได้เป็นอย่างดี

เพิ่มความหลากหลายและขยายโอกาสเติบโตในตลาดประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เติบโตในระดับสูง F&N เป็นบริษัทเครื่องดื่มขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศสิงคโปร์ และ มีสินค้าวางจําหน่ายกว่า 30 ประเทศ ดังนั้นการลงทุนในหุ้นจะเพิ่ม ความหลากหลายแก่ธุรกิจของบริษัทในเชิงภูมิศาสตร์ในทันทีและ ช่วยส่งเสริมบริษัทในการมุ่งเน้นตลาดร่วมที่บริษัทดําเนินการอยู่ใน ปัจจุบัน การลงทุนในหุ้นจะขยายโอกาสเติบโตในตลาดประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เติบโตในระดับสูง ซึ่งมีกลุ่ม ประชากรและมีแนวโน้มกําลังซื้อของกลุ่มผู้บริโภคที่มีความน่าสนใจ อย่างยิ่ง

ศักยภาพในการสร้างความร่วมมือ บริษัทสนใจในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีและมั่นคงกับฝ่ายบริหาร ของ F&N และผู้มีส่วนได้เสียทั้งหลายของ F&N บริษัทเชื่อว่า F&N และบริษัทสามารถสร้างประโยชน์จากประสบการณ์ของทั้งสองฝ่าย ตลอดจนความรู้และความเชี่ยวชาญในธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม และมุ่งหวังจะได้ทําการศึกษาศักยภาพและความเป็นไปได้ในการสร้าง ความร่วมมือในด้านต่างๆ ระหว่างสองฝ่ายต่อไปในอนาคต

เหตุผลในการลงทุนในหุ้น

สินทรัพย์มีคุณภาพสูงและเครื่องหมายการค้ามีความน่าสนใจ อย่างยิ่ง F&N เป็นธุรกิจคุณภาพสูงและมีประวัติความเป็นมาถึง 130 ปี ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ F&N มีกลุ่มผลิตภัณฑ์และ เครื่องหมายการค้าที่ครอบคลุมและหลากหลายเครื่องหมายการค้า เครือ่ งดืม ่ ไม่มแี อลกอฮอล์ของ F&N ประกอบด้วยเครือ่ งหมายการค้า ที่เป็นที่รู้จักดีในระดับสากล เช่น 100PLUS F&N F&N Seasons และ Ice Mountain การสร้างนวัตกรรมของสินค้าอย่างต่อเนื่องและการพัฒนาคุณภาพ ของบริษท ั ยังคงเป็นแรงผลักดันให้เกิดความเติบโตตามลักษณะธุรกิจ ปกติทั่วไป เป็นการรักษาสถานะความเป็นผู้นําของตลาด เป็นการ เพิ่มมูลค่าเครื่องหมายการค้าและเป็นการเพิ่มประสิทธิผลหลัก

สอดคล้องกับกลยุทธ์ของบริษัท การลงทุนในหุ้นเป็นขั้นตอนที่สมเหตุสมผลเพื่อบรรลุถึงเป้าหมาย วิสัยทัศน์ของบริษัทในการก้าวสู่การเป็นบริษัทผลิตและจัดจําหน่าย เครื่องดื่มชั้นนําในระดับนานาชาติ เพื่อความเป็นเลิศด้านการค้า มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์สู่ระดับแนวหน้า และมีความเป็นมืออาชีพ การลงทุนในหุ้น F&N สามารถส่งเสริมธุรกิจของบริษัทเป็นอย่างดี ทั้งในด้านขีดความสามารถในปัจจุบัน ผนวกกับความชํานาญและ ประสบการณ์ของบริษัทในด้านการผลิตและจัดจําหน่ายเครื่องดื่ม มีแอลกอฮอล์และเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ อีกทั้งช่วยส่งเสริม ภาพลักษณ์ของบริษัทในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มอย่างมี นัยสําคัญ


รายงานประจํ า ปี 2555 บริ ษ ั ท ไทยเบฟเวอเรจ จํ า กั ด (มหาชน)

รายงานวิ เ คราะห์แ ละคํ า ชี ้แ จงของฝ่า ยบริ ห าร

77

รายงานวิเคราะห์ และคําชี้แจงของฝ่ายบริหาร ผลการดําเนินงานสําหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2555

ในปี 2554 บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ โลจิสติก จํากัด (ทีบีแอล) ซึ่งเป็น บริษัทย่อยของบริษัทได้ซื้อหุ้นของบริษัท เสริมสุข จํากัด (มหาชน) (เสริมสุข) ซึ่งเป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นในประเทศไทยและจดทะเบียนกับ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย บริษัทได้รวมสินทรัพย์และหนี้สิน ทั้งหมดของเสริมสุขอยู่ในงบแสดงฐานะการเงินรวมตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน 2554 ผลการดําเนินงานและกระแสเงินสดได้รวม อยู่ในงบกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จรวมและงบกระแสเงินสดรวมตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2554 บริษัทได้แสดงกิจการของเสริมสุขอยู่ในส่วนงาน ธุรกิจเครื่องดื่มไม่ผสมแอลกอฮอล์ งบการเงินรวมสําหรับปีสิ้นสุด วันที่ 31 ธันวาคม 2554 ได้ปรับปรุงใหม่เพื่อแสดงมูลค่ายุติธรรม ของเสริมสุข ณ วันที่ซื้อ โดยถือปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงาน ทางการเงินฉบับที่ 3 จากรายงานของผู้ประเมินราคาอิสระซึ่งเสร็จ เรียบร้อยในไตรมาสที่ 3 ของปี 2555 ค่าความนิยมจากการซื้อธุรกิจ ที่เคยประเมินขั้นต้นและรายงานไว้จํานวน 4,100 ล้านบาท ได้ปรับปรุง ใหม่เป็นจํานวน 3,975 ล้านบาท รายละเอียดของการปรับปรุงนี้ ได้เปิดเผยอยู่ในหมายเหตุประกอบงบการเงินของปีนี้ ข้อ5(ก) สําหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2555 อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล ในประเทศไทยได้ปรับลดจาก 30% เหลือ 23% เพื่อส่งเสริมความ สามารถสู่การแข่งขันในตลาดโลก ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2555 เป็นต้นมา ได้มีการปรับขึ้นอัตรา ค่าแรงขั้นต่ําเป็นวันละ 300 บาท ใน 7 จังหวัดของประเทศไทย คือ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร นครปฐม และภูเก็ต ซึ่งเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 35.7 ถึง 39.5 อัตราค่าแรงขั้นต่ําในจังหวัดอื่นๆ ได้ปรับขึ้นประมาณร้อยละ 39.5 ถึง 40 แต่ยังต่ํากว่าวันละ 300 บาทและจะได้รับการปรับเป็น 300 บาท ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2556 ผลของการปรับนี้กระทบต่อต้นทุน เงินเดือนและค่าแรงของบริษัทในปี 2555 ประมาณ 100 ล้านบาท กระทรวงการคลังได้ประกาศปรับขึ้นอัตราภาษีสรรพสามิตสุรามีผล ตั้งแต่วันที่ 22 สิงหาคม 2555 เป็นต้นมา การเก็บภาษีสรรพสามิต สุราทําได้ 2 วิธี แล้วแต่วิธีใดจะให้ภาษีสูงกว่า คือภาษีตามมูลค่าหรือ ภาษีตามปริมาณ อัตราภาษีตามมูลค่าคิดเป็นร้อยละจากราคาขาย ณ โรงงาน อัตราภาษีตามปริมาณคิดเป็นจํานวนเงินบาทต่อลิตรจาก ปริมาณแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ อัตราภาษีตามปริมาณสําหรับสุราขาว เพิม ่ จาก 120 บาท เป็น 150 บาทต่อลิตรแอลกอฮอล์บริสท ุ ธิ์ และสําหรับ สุราผสมเพิ่มจาก 300 บาทเป็น 350 บาทต่อลิตรแอลกอฮอล์บริสุทธิ์

ซึ่งได้ภาษีสูงกว่าอัตราตามมูลค่าซึ่งไม่ได้เปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ สําหรับ สุราบรั่นดีอัตราภาษีตามมูลค่าเพิ่มจากร้อยละ 48 เป็น 50 จาก ราคาขาย ณ โรงงาน ได้ภาษีสูงกว่าอัตราตามปริมาณซึ่งไม่ได้ เปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ อัตราภาษีสรรพสามิตใหม่นี้ทําให้ต้นทุนภาษีของ สุราขาว สุราผสม และสุราบรั่นดีของบริษัทเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 25 ร้อยละ 16.7 และร้อยละ 4.2 ตามลําดับ อย่างไรก็ตามบริษัทได้ปรับ ราคาขายไปยังลูกค้าเนื่องจากการขึ้นภาษีดังกล่าว ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2555 International Beverage Holdings Limited (IBHL) บริษัทย่อยของบริษัทได้ซื้อหุ้นสามัญประมาณร้อยละ 29 ของ Fraser and Neave, Limited (F&N) ซึ่งเป็นนิติบุคคล ที่จัดตั้งขึ้นในประเทศสิงคโปร์และจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ประเทศ สิงคโปร์ ต่อมา IBHL ได้โอนหุ้นทั้งหมดของ F&N ให้แก่ InterBev Investment Limited (IBIL) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่ถือหุ้นทั้งหมด โดย IBHL ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2555 ธุรกิจหลักของ F&N คือ การผลิตและจําหน่ายเครื่องดื่มไม่ผสมแอลกอฮอล์ ผลิตภัณฑ์นม และเบียร์ การพัฒนาและลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ และการพิมพ์และ สิ่งพิมพ์ ที่ดําเนินการโดยบริษัทย่อย กิจการร่วมค้าและบริษัทร่วม บริษัทได้รับรู้ผลการดําเนินงานของ F&N ในงบการเงินรวมด้วย วิธีส่วนได้เสียเป็นยอดรวม โดยไม่ได้แสดงแยกเป็นส่วนงานธุรกิจ ตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 ของปี 2555 เป็นต้นมา


รายงานวิ เ คราะห์แ ละคํ า ชี ้แ จงของฝ่า ยบริ ห าร

78

กลุ่มบริษัท ในปี 2555 บริษัทได้รวมผลการดําเนินงานของเสริมสุข และ F&N ไว้ในกลุ่มบริษัท ตัดรายการ ระหว่างกัน

F&N

รวม (ล้านบาท)

(817)

-

161,044

4,867

-

-

45,422

26,081

1,694

-

11,461

39,236

17,460

605

-

10,695

28,760

128,117

4,150

(81)

-

132,186

34,115

618

-

-

34,733

21,338

(173)

-

-

21,165

12,386

(419)

-

-

11,967

(908.6)

-

21.8

กลุ่มไทยเบฟ

เสริมสุข

139,360

22,501

40,555

ปี 2555 รายได้จากการขาย กําไรขั้นต้น กําไรสุทธิก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษีเงินได้ ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจําหน่าย กําไรสุทธิ ปี 2554 รายได้จากการขาย กําไรขั้นต้น กําไรสุทธิก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษีเงินได้ ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจําหน่าย (ขาดทุน) กําไรสุทธิ (ขาดทุน) % เพิ่มขึ้น (ลดลง) 8.8

442.2

18.9

687.5

-

-

30.8

22.2

1,079.2

-

-

85.4

41.0

244.4

-

-

140.3

รายได้จากการขาย กําไรขั้นต้น กําไรสุทธิก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษีเงินได้ ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจําหน่าย (ขาดทุน) กําไรสุทธิ

บริษัทมีรายได้จากการขายรวมในปี 2555 จํานวน 161,044 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 21.8% หรือ 28,858 ล้านบาท จากปีที่แล้วซึ่งมีจํานวน 132,186 ล้านบาท เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของรายได้จากการขาย ในธุรกิจสุราประมาณ 9.9% ธุรกิจเบียร์ประมาณ 4.0% ธุรกิจเครือ่ งดืม ่ ไม่ผสมแอลกอฮอล์ประมาณ 167.0% และธุรกิจอาหารประมาณ 28.9% รายได้จากการขายไม่รวมเสริมสุข มีจํานวน 139,360 ล้านบาทเพิ่มขึ้น 8.8% หรือ 11,243 ล้านบาท กําไรขั้นต้นจํานวน 45,422 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 10,689 ล้านบาท หรือ 30.8% เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของกําไรขั้นต้นในธุรกิจสุรา ประมาณ 19.6% ธุรกิจเบียร์ประมาณ 12.4% ธุรกิจเครื่องดื่มไม่ผสม แอลกอฮอล์ประมาณ 188.1% และธุรกิจอาหารประมาณ 26.8% กําไรขั้นต้นไม่รวมเสริมสุข มีจํานวน 40,555 ล้านบาทเพิ่มขึ้น 18.9% หรือ 6,440 ล้านบาท กําไรสุทธิก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษีเงินได้ ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจําหน่าย (EBITDA) จํานวน 39,236 ล้านบาทเพิ่มขึ้น 18,071 ล้านบาท หรือ 85.4% เนื่องจากการเพิ่มขึ้นในธุรกิจสุราประมาณ 24.7%

ธุรกิจเครื่องดื่มไม่ผสมแอลกอฮอล์ประมาณ 1,536.1% และจาก ผลการดําเนินงานของ F&N แม้ว่าจะมีการลดลงในธุรกิจอาหาร ประมาณ 1.9% และการเพิ่มขึ้นของผลขาดทุนในธุรกิจเบียร์ประมาณ 277.5% กําไรสุทธิก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษีเงินได้ ค่าเสื่อมราคาและ ค่าตัดจําหน่ายไม่รวมผลการดําเนินงานของเสริมสุขและ F&N มีจํานวน 26,081 ล้านบาทเพิ่มขึ้น 22.2% หรือ 4,743 ล้านบาท กําไรสุทธิก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษีเงินได้ ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจําหน่าย ไม่รวม F&N มีจํานวน 27,775 ล้านบาท กําไรสุทธิจํานวน 28,760 ล้านบาทเพิ่มขึ้น 16,793 ล้านบาท หรือ 140.3% เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของกําไรสุทธิในธุรกิจสุราประมาณ 40.4% ธุรกิจเครื่องดื่มไม่ผสมแอลกอฮอล์ประมาณ 189.9% และ จากผลการดําเนินงานของ F&N แม้จะมีผลขาดทุนสุทธิเพิ่มขึ้น ในธุรกิจเบียร์ประมาณ 12.7% และการลดลงของกําไรสุทธิในธุรกิจ อาหารประมาณ 38.3% กําไรสุทธิไม่รวมผลการดําเนินงานของ เสริมสุข และ F&N จํานวน 17,460 ล้านบาทเพิ่มขึ้น 41.0% หรือ 5,074 ล้านบาท กําไรสุทธิไม่รวมผลการดําเนินงานของ F&N จํานวน 18,065 ล้านบาท


รายงานประจํ า ปี 2555 บริ ษ ั ท ไทยเบฟเวอเรจ จํ า กั ด (มหาชน)

รายงานวิ เ คราะห์แ ละคํ า ชี ้แ จงของฝ่า ยบริ ห าร

79

หน่วย: ล้านบาท เบียร์

% เทียบกับ รายได้

เครื่องดื่ม ไม่ผสม แอลกอฮอล์

% เทียบกับ รายได้

อาหาร

% เทียบกับ รายได้

สุรา

% เทียบกับ รายได้

รายได้จากการขาย

93,122

100.0

34,153

100.0

28,997

100.0

5,319

100.0

(547)

100.0

161,044

100.0

ต้นทุนขาย

60,489

65.0

30,349

88.9

21,882

75.5

3,273

61.5

(371)

67.8

115,622

71.8

กําไรขั้นต้น

32,633

35.0

3,804

11.1

7,115

24.5

2,046

38.5

(176)

32.2

45,422

28.2

ค่าใช้จ่ายในการขาย

3,416

3.7

3,481

10.2

4,912

16.9

582

10.9

(159)

29.1

12,232

7.6

ค่าใช้จ่ายในการบริหาร

5,064

5.4

1,817

5.3

2,175

7.5

1,376

25.9

(77)

14.1

10,355

6.4

24,153

25.9

(1,494)

(4.4)

28

0.1

88

1.7

60

(11.0)

22,835

14.2

280

0.3

0.5

600

2.1

30

0.6

(60)

11.0

1,011

0.6

24,433

26.2

(3.9)

628

2.2

118

2.2

-

-

23,846

14.8

253

0.3

121

0.4

253

0.9

8

0.2

-

-

635

0.4

5,436

5.8

(292)

(0.9)

(42)

(0.1)

44

0.8

-

-

5,146

3.2

18,744

20.1

(1,162)

(3.4)

417

1.4

66

1.2

-

-

18,065

11.2

ปี 2555

กําไรจากการดําเนินงาน (ขาดทุน) รายได้อื่น/ดอกเบี้ยรับ กําไรก่อนดอกเบี้ยจ่าย และภาษีเงินได้ (ขาดทุน) ต้นทุนทางการเงิน ภาษีเงินได้ กําไรสุทธิ (ขาดทุน) ไม่รวม F&N

161 (1,333)

รายการ ตัดบัญชี

% เทียบกับ รายได้

รวม

% เทียบกับ รายได้

ผลการดําเนินงานของ F&N ผลการดําเนินงาน

11,461

7.1

ต้นทุนทางการเงิน

(766)

(0.5)

กําไรสุทธิ (ขาดทุน) ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจําหน่าย กําไรก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษีเงินได้ ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจําหน่าย (ขาดทุน) ไม่รวม F & N

18,744

20.1

(1,162)

417

1.4

66

1.2

-

-

28,760

17.9

1,471

1.6

797

(3.4) 2.3

1,368

4.7

293

5.5

-

-

3,929

2.4

25,904

27.8

(536)

(1.6)

1,996

6.9

411

7.7

-

-

27,775

17.2

กําไรก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษีเงินได้ ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจําหน่ายของ F&N

11,461

7.1

กําไรก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษีเงินได้ ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจําหน่าย (ขาดทุน)

39,236

24.4

หน่วย: ล้านบาท เบียร์

% เทียบกับ รายได้

เครื่องดื่ม ไม่ผสม แอลกอฮอล์

% เทียบกับ รายได้

อาหาร

% เทียบกับ รายได้

สุรา

% เทียบกับ รายได้

รายได้จากการขาย

84,764

100.0

32,855

100.0

10,862

100.0

4,126

100.0

(421)

100.0

132,186

100.0

ต้นทุนขาย

57,488

67.8

29,472

89.7

8,392

77.3

2,512

60.9

(411)

97.6

97,453

73.7

กําไรขั้นต้น

27,276

32.2

3,383

10.3

2,470

22.7

1,614

39.1

(10)

2.4

34,733

26.3

ค่าใช้จ่ายในการขาย

3,089

3.6

2,870

8.7

1,929

17.8

428

10.4

(39)

9.3

8,277

6.3

ค่าใช้จ่ายในการบริหาร

5,225

6.2

1,921

5.8

1,177

10.8

1,015

24.6

(23)

5.5

9,315

7.0

18,962

22.4

(1,408)

(4.3)

(636)

(5.9)

171

4.1

52

(12.4)

17,141

13.0

357

0.4

0.6

54

0.5

31

0.8

(52)

12.4

598

0.5

19,319

22.8

(3.7)

(582)

(5.4)

202

4.9

-

-

17,739

13.4

228

0.3

115

0.4

105

1.0

7

0.2

-

-

455

0.3

5,736

6.8

(284)

(0.9)

(223)

(2.1)

88

2.1

-

-

5,317

4.0

13,355

15.8

(1,031)

(3.1)

(464)

(4.3)

107

2.6

-

-

11,967

9.1

ผลการดําเนินงาน

-

-

ต้นทุนทางการเงิน

-

-

ปี 2554

กําไรจากการดําเนินงาน (ขาดทุน) รายได้อื่น/ดอกเบี้ยรับ กําไรก่อนดอกเบี้ยจ่าย และภาษีเงินได้ (ขาดทุน) ต้นทุนทางการเงิน ภาษีเงินได้ กําไรสุทธิ (ขาดทุน) ไม่รวม F&N

208 (1,200)

รายการ ตัดบัญชี

% เทียบกับ รายได้

รวม

% เทียบกับ รายได้

ผลการดําเนินงานของ F&N

กําไรสุทธิ (ขาดทุน) ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจําหน่าย กําไรก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษีเงินได้ ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจําหน่าย (ขาดทุน)

13,355

15.8

(1,031)

(3.1)

(464)

(4.3)

107

2.6

-

-

11,967

9.1

1,447

1.7

1,058

3.2

704

6.5

217

5.3

-

-

3,426

2.6

20,766

24.5

(0.4)

122

1.1

419

10.2

-

-

21,165

16.0

(142)


รายงานวิ เ คราะห์แ ละคํ า ชี ้แ จงของฝ่า ยบริ ห าร

80

หน่วย: ล้านบาท เพิ่มขึ้น (ลดลง)

สุรา

%

เบียร์

รายได้จากการขาย

8,358

9.9

1,298

4.0

ต้นทุนขาย

3,001

5.2

877

3.0

กําไรขั้นต้น

5,357

19.6

421

12.4

ค่าใช้จ่ายในการขาย

327

10.6

611

21.3

ค่าใช้จ่ายในการบริหาร

(161)

(3.1)

(104)

(5.4)

27.4

(86)

(6.1)

(21.6)

(47)

(22.6)

5,114

26.5

(133)

(11.1)

25

11.0

กําไรจากการดําเนินงาน (ขาดทุน) รายได้อื่น/ดอกเบี้ยรับ กําไรก่อนดอกเบี้ยจ่าย และภาษีเงินได้ (ขาดทุน) ต้นทุนทางการเงิน ภาษีเงินได้ กําไรสุทธิ (ขาดทุน) ไม่รวม F&N

5,191 (77)

(300) 5,389

(5.2) 40.4

6

%

5.2

เครื่องดื่ม ไม่ผสม แอลกอฮอล์

%

รายการ ตัดบัญชี

%

อาหาร

18,135

167.0

1,193

28.9

(126)

13,490

160.7

761

30.3

40

4,645

188.1

432

26.8

(166)

2,983

154.6

154

36.0

998

84.8

361

35.6

664

104.4

(83)

546 1,011.1

%

รวม

%

(29.9)

28,858

21.8

9.7

18,169

18.6

(1,660.0)

10,689

30.8

(120)

(307.7)

3,955

47.8

(54)

(234.8)

1,040

11.2

(48.5)

8

15.4

5,694

33.2

(1)

(3.2)

(8)

(15.4)

413

69.1

1,210

207.9

(84)

(41.6)

-

-

6,107

34.4

148

141.0

1

14.3

-

-

180

39.6

(8)

(2.8)

181

81.2

(44)

(50.0)

-

-

(131)

(12.7)

881

189.9

(41)

(38.3)

-

-

(171)

(3.2)

6,098

51.0

11,461

-

ผลการดําเนินงานของ F&N ผลการดําเนินงาน ต้นทุนทางการเงิน กําไรสุทธิ (ขาดทุน) ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจําหน่าย กําไรก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษีเงินได้ ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจําหน่าย (ขาดทุน) ไม่รวม F&N

(766)

-

5,389

40.4

(131)

(12.7)

881

189.9

(41)

(38.3)

-

-

16,793

140.3

24

1.7

(261)

(24.7)

664

94.3

76

35.0

-

-

503

14.7

5,138

24.7

(394)

(277.5)

(8)

(1.9)

-

-

6,610

31.2

กําไรก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษีเงินได้ ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจําหน่ายของ F&N

1,874 1,536.1

11,461

-

กําไรก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษีเงินได้ ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจําหน่าย (ขาดทุน)

18,071

85.4

ธุรกิจสุรา ในปี 2555 รายได้จากการขายจํานวน 93,122 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 8,358 ล้านบาทหรือ 9.9% สาเหตุสําคัญเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของ ปริมาณขาย ราคาขาย และส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ซึ่งมีหลายระดับ ราคา ปริมาณขายสุรารวมจํานวน 570.2 ล้านลิตรเพิ่มขึ้น 3.3%. กําไรขั้นต้นจํานวน 32,633 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5,357 ล้านบาทหรือ 19.6% สาเหตุสําคัญเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของรายได้จากการขายและ การลดลงของต้นทุนวัตถุดิบแม้จะมีการเพิ่มขึ้นของต้นทุนค่าแรงงาน

กําไรก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษีเงินได้ ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจําหน่าย (EBITDA) จํานวน 25,904 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5,138 ล้านบาท หรือ 24.7% สาเหตุสําคัญเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของกําไรขั้นต้นและ การลดลงของค่าใช้จ่ายเกี่ยวเนื่องกับการใช้กําลังการผลิตไม่เต็มที่ แม้จะมีการเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่ายพนักงาน กําไรสุทธิจํานวน 18,744 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5,389 ล้านบาทหรือ 40.4% สาเหตุสําคัญเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของ กําไรก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษีเงินได้ ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจําหน่าย (EBITDA) และการลดลง ของภาษีเงินได้เนื่องจากอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลลดลง


รายงานประจํ า ปี 2555 บริ ษ ั ท ไทยเบฟเวอเรจ จํ า กั ด (มหาชน)

รายงานวิ เ คราะห์แ ละคํ า ชี ้แ จงของฝ่า ยบริ ห าร

81

ธุรกิจเบียร์ ในปี 2555 รายได้จากการขายจํานวน 34,153 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,298 ล้านบาทหรือ 4.0% สาเหตุสําคัญเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของ ปริมาณขายเบียร์ ปริมาณขายเบียร์รวม จํานวน 643.1ล้านลิตร เพิ่มขึ้น 4.9%.

กําไรก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษีเงินได้ ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจําหน่าย (EBITDA) มีผลขาดทุนจํานวน 536 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 394 ล้านบาท หรือ 277.5% สาเหตุสําคัญเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่ายโฆษณา และส่งเสริมการขาย และค่าใช้จ่ายพนักงาน

กําไรขั้นต้นจํานวน 3,804 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 421 ล้านบาทหรือ 12.4% สาเหตุสําคัญเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของรายได้จากการขาย และการลดลงของค่าเสื่อมราคา แม้จะมีการเพิ่มขึ้นของต้นทุนวัตถุดิบ และค่าแรงงาน

ขาดทุนสุทธิจํานวน 1,162 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 131 ล้านบาทหรือ 12.7% สาเหตุสําคัญเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของผลขาดทุนของ กําไรก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษี ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจําหน่าย (EBITDA) แม้จะมีการลดลงของค่าเสื่อมราคา

ธุรกิจเครื่องดื่มไม่ผสมแอลกอฮอล์ ในปี 2555 บริษัทได้รวมผลการดําเนินงานของเสริมสุข ไว้ในกลุ่มธุรกิจเครื่องดื่มไม่ผสมแอลกอฮอล์ ตัดรายการ ระหว่างกัน

กลุ่มไทยเบฟ

เสริมสุข

รวม (ล้านบาท)

รายได้จากการขาย

7,313

22,501

กําไรขั้นต้น

2,248

4,867

-

7,115

302

1,694

-

1,996

605

-

417

ปี 2555

กําไรสุทธิก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษีเงินได้ ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจําหน่าย กําไรสุทธิ (ขาดทุน)

(188)

(817)

28,997

ปี 2554 รายได้จากการขาย

6,793

4,150

(81)

10,862

กําไรขั้นต้น

1,852

618

-

2,470

กําไรสุทธิก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษีเงินได้ ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจําหน่าย (ขาดทุน)

295

(173)

-

122

กําไรสุทธิ (ขาดทุน)

(45)

(419)

-

(464)

% เพิ่มขึ้น (ลดลง) รายได้จากการขาย กําไรขั้นต้น กําไรสุทธิก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษีเงินได้ ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจําหน่าย กําไรสุทธิ (ขาดทุน)

7.7

442.2

21.4

687.5

-

188.1

2.4

1,079.2

-

1,536.1

244.4

-

189.9

(317.8)

(908.6)

167.0


รายงานวิ เ คราะห์แ ละคํ า ชี ้แ จงของฝ่า ยบริ ห าร

82

ในปี 2555 รายได้จากการขายจํานวน 28,997 ล้านบาทเพิ่มขึ้น 18,135 ล้านบาทหรือ 167.0% รายได้การขายไม่รวมเสริมสุข มีจํานวน 7,313 ล้านบาทเพิ่มขึ้น 520 ล้านบาทหรือ 7.7% สาเหตุ สําคัญเนื่องจากส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ซึ่งมีหลายระดับราคา ปริมาณขายเครื่องดื่มโออิชิซึ่งประกอบด้วยชาเขียว ชาดําและเครื่องดื่ม ไม่ผสมแอลกอฮอล์อื่น ๆ รวมจํานวน 251.9 ล้านลิตรเพิ่มขึ้น 8.7% ปริมาณขายเครื่องดื่มให้พลังงานมีจํานวน 7.4 ล้านลิตรลดลง 12.4% ปริมาณขายโซดาจํานวน 31.1 ล้านลิตรและน้ําดื่มจํานวน 198.7 ล้านลิตรตามลําดับ ลดลง 11.3% และ เพิ่มขึ้น 14.9 % ตามลําดับ กําไรขั้นต้นจํานวน 7,115 ล้านบาทเพิ่มขึ้น 4,645 ล้านบาทหรือ 188.1% กําไรขั้นต้นไม่รวมเสริมสุขมีจํานวน 2,248 ล้านบาทเพิ่มขึ้น 396 ล้านบาทหรือ 21.4% สาเหตุสําคัญเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของ ราคาขายสุทธิ แม้จะมีการเพิ่มขึ้นของต้นทุนค่าแรงงาน กําไรก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษีเงินได้ ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจําหน่าย (EBITDA) จํานวน 1,996 ล้านบาทเพิ่มขึ้น 1,874 ล้านบาทหรือ 1,536.1 % กําไรฯไม่รวมเสริมสุขมีจํานวน 302 ล้านบาทเพิ่มขึ้น 7 ล้านบาทหรือ 2.4% สาเหตุสาํ คัญเนือ่ งจากการเพิม ่ ขึน ้ ของกําไรขัน ้ ต้น แม้จะมีการเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่ายพนักงาน กําไรสุทธิจํานวน 417 ล้านบาทเพิ่มขึ้น 881 ล้านบาทหรือ 189.9% กําไรสุทธิไม่รวมเสริมสุขมีผลเป็นขาดทุนจํานวน 188 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 143 ล้านบาทหรือ 317.8% สาเหตุสําคัญเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของ ดอกเบี้ยจ่ายจากเงินกู้ที่ใช้ซื้อหุ้นเสริมสุข

ธุรกิจอาหาร ตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 ปี 2555 บริษัทได้ขยายธุรกิจอาหารสู่ตลาด ขนมขบเคี้ยวโดยออกผลิตภัณฑ์สาหร่ายอบกรอบสไตล์ญี่ปุ่น “โอโนริ” โดยได้ดําเนินกิจกรรมทางการตลาดทั่วประเทศเพื่อขยายการรับรู้และ การตอบรับในตราสินค้าและผลิตภัณฑ์ใหม่นี้ ในปี 2555 รายได้จากการขายจํานวน 5,319 ล้านบาทเพิ่มขึ้น 1,193 ล้านบาทหรือ 28.9% รายได้จากการขายไม่รวมธุรกิจ ขนมขบเคี้ยวมีจํานวน 5,260 ล้านบาทเพิ่มขึ้น 1,134 ล้านบาทหรือ 27.5% สาเหตุสําคัญเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของจํานวนสาขาร้านอาหาร และการปรับราคาจําหน่าย กําไรขั้นต้นจํานวน 2,046 ล้านบาทเพิ่มขึ้น 432 ล้านบาทหรือ 26.8% กําไรขั้นต้นไม่รวมธุรกิจขนมขบเคี้ยวมีจํานวน 2,088 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 474 ล้านบาทหรือ 29.4% สาเหตุสําคัญเนื่องจากการเพิ่มขึ้น ของรายได้จากการขาย แม้ว่าต้นทุนอาหารจะเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจาก การจัดเตรียมรายการอาหารให้มีความหลากหลายและต้นทุนวัตถุดิบ และค่าแรงงานที่เพิ่มสูงขึ้น กําไรก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษีเงินได้ ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจําหน่าย (EBITDA) จํานวน 411 ล้านบาทลดลง 8 ล้านบาทหรือ 1.9% กําไรฯ ไม่รวมธุรกิจขนมขบเคีย ้ วมีจาํ นวน 543 ล้านบาทเพิม ่ ขึน ้ 124 ล้านบาท หรือ 29.6% สาเหตุสําคัญเนื่องจากอัตรากําไรขั้นต้นที่สูงขึ้น แม้จะมี ค่าใช้จ่ายพนักงานเพิ่มสูงขึ้น กําไรสุทธิจํานวน 66 ล้านบาทลดลง 41 ล้านบาทหรือ 38.3% กําไรสุทธิไม่รวมธุรกิจขนมขบเคี้ยวจํานวน 168 ล้านบาทเพิ่มขึ้น 61 ล้านบาทหรือ 57.0% สาเหตุสําคัญเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของ กําไรก่อน ดอกเบี้ยจ่าย ภาษีเงินได้ ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจําหน่าย (EBITDA) และการลดลงของภาษีเงินได้เนื่องจากการลดลงของอัตราภาษี


รายงานประจํ า ปี 2555 บริ ษ ั ท ไทยเบฟเวอเรจ จํ า กั ด (มหาชน)

รายงานวิ เ คราะห์แ ละคํ า ชี ้แ จงของฝ่า ยบริ ห าร

83

ฐานะการเงิน สินทรัพย์

กระแสเงินสด

สินทรัพย์รวม ณ สิน ้ เดือนธันวาคม 2555 จํานวน 207,686 ล้านบาท เพิม ่ ขึน ้ 108,324 ล้านบาทหรือ 109.0% เมือ่ เทียบกับ ณ สิน ้ ปี 2554 สินทรัพย์หมุนเวียนเพิ่มขึ้น 1,973 ล้านบาท สาเหตุสําคัญ เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของสินค้าคงเหลือ สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนเพิ่มขึ้น 106,351 ล้านบาท สาเหตุสําคัญเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของเงินลงทุน ในบริษัทร่วมและสินทรัพย์ประเภทที่ดิน อาคารและอุปกรณ์

เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2555 จํานวน 4,545 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากต้นงวดจํานวน 1,103 ล้านบาท ซึ่งมีแหล่งที่มาและแหล่งที่ใช้ไปดังต่อไปนี้

หนี้สิน หนี้สินรวม ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2555 จํานวน 122,714 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 86,555 ล้านบาทหรือ 239.4% เมื่อเทียบกับ ณ สิ้นปี 2554 สาเหตุสําคัญเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของเงินกู้ยืมจากสถาบันการเงิน เพื่อใช้ในการลงทุนในบริษัทร่วม

เงินสดสุทธิได้มาจากกิจกรรมดําเนินงานจํานวน เงินสดสุทธิใช้ไปในกิจกรรมลงทุนจํานวน เงินสดสุทธิได้มาจากกิจกรรมจัดหาเงินจํานวน เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดเพิ่มขึ้นสุทธิ ผลกระทบจากการแปลงค่างบการเงินจํานวน เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ณ วันต้นงวด เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ณ วันสิ้นงวด

หน่วย : ล้านบาท 19,726 (94,897) 75,417 246 857 3,442 4,545

หน่วย : ล้านบาท 16,007 10,373 77,773 104,153

เงินสดสุทธิได้มาจากกิจกรรมดําเนินงานจํานวน 19,726 ล้านบาท ส่วนสําคัญมาจากกําไรสุทธิจํานวน 28,778 ล้านบาท รวมกับ รายการที่ไม่ใช่เงินสดจากค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจําหน่ายจํานวน 3,929 ล้านบาท และหักส่วนแบ่งกําไรจากเงินลงทุนในบริษัทร่วม จํานวน 13,611 ล้านบาทและสินทรัพย์และหนี้สินดําเนินงานและอื่นๆ เพิ่มขึ้นจํานวน 630 ล้านบาท

ส่วนของผู้ถือหุ้นรวม ณ สิ้นเดือน ธันวาคม 2555 จํานวน 84,971 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 21,769 ล้านบาท หรือ 34.4% เมื่อเทียบกับ ณ สิ้นปี 2554 สาเหตุสําคัญเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของยอดกําไรสะสมสุทธิ ที่ประกอบด้วยกําไรสุทธิสําหรับปีและเงินปันผลจ่าย

เงินสดสุทธิใช้ไปในกิจกรรมลงทุนจํานวน 94,897 ล้านบาท ส่วนสําคัญมาจากลงทุนในบริษัทร่วมและการซื้อสินทรัพย์ประเภทที่ดิน อาคารและอุปกรณ์

กําหนดชําระคืนเงินกู้ ภายใน ธันวาคม 2556 ภายใน ธันวาคม 2557 ระหว่าง มกราคม 2558 - ธันวาคม 2560 รวม

ส่วนของผู้ถือหุ้น

เงินสดสุทธิได้มาจากกิจกรรมจัดหาเงินจํานวน 75,417 ล้านบาท ส่วนสําคัญมาจากการเพิ่มขึ้นของเงินเบิกเกินบัญชีและเงินกู้ยืมจาก สถาบันการเงินโดยหักกับเงินปันผลจ่าย


รายงานวิ เ คราะห์แ ละคํ า ชี ้แ จงของฝ่า ยบริ ห าร

84

อัตราส่วนทางการเงิน 31 ธ.ค. 2555

31 ธ.ค. 2554 (ปรับปรุงใหม่)

อัตราส่วนสภาพคล่อง (เท่า)

1.54

2.13

อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (เท่า)

1.44

0.57

หนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (เท่า)

1.23

0.29

มูลค่าสินทรัพย์สุทธิต่อหุ้น (บาท)

3.38

2.52

มค. - ธ.ค. 2555

มค. - ธค. 2554

8

7

58

48

20

26

อายุหนี้เฉลี่ยของลูกหนี้การค้า (วัน) อัตราการหมุนเวียนสินค้า (วัน) ธุรกิจสุรา สินค้าสําเร็จรูป (ไม่รวมสุราเดิม) ธุรกิจเบียร์ สินค้าสําเร็จรูป


รายงานประจํ า ปี 2555 บริ ษ ั ท ไทยเบฟเวอเรจ จํ า กั ด (มหาชน)

รายงานวิ เ คราะห์แ ละคํ า ชี ้แ จงของฝ่า ยบริ ห าร

85

ผลตอบแทนผู้ถือหุ้น เงินปันผล คณะกรรมการบริษัทมีนโยบายที่จะเสนอต่อผู้ถือหุ้นให้จ่ายเงินปันผลในอัตราไม่น้อยกว่า 50% ของกําไรสุทธิหลังจากหักทุนสํารองต่างๆ โดย พิจารณาประกอบกับแผนการลงทุน และความจําเป็นเหมาะสมอื่นๆ ที่คณะกรรมการเห็นสมควร สําหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2555 คณะกรรมการเสนอให้จ่ายเงินปันผลเป็นจํานวนเงินรวมทั้งสิ้น 10,546.21 ล้านบาท ปี 2555

ปี 2554

10,546.21

9,290.71

25,110

25,110

เงินปันผลระหว่างกาลต่อหุ้น (บาท)

0.14

0.15

เงินปันผลงวดสุดท้ายต่อหุ้น (บาท)

0.28

0.22

เงินปันผลรวมต่อหุ้น (บาท)

0.42

0.37

อัตราการจ่ายเงินปันผล (%)

37.17

77.08

อัตราการจ่ายเงินปันผลไม่รวมผลประกอบการของ F&N (%)

59.15

77.08

38.82

19.93

1.13

0.48

25,110

25,110

เงินปันผลสําหรับปี (ล้านบาท) จํานวนหุ้นที่ออก (ล้านหุ้น)

ผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น ผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้นเฉลี่ย (%) กําไรต่อหุ้น กําไรต่อหุ้นสามัญถัวเฉลี่ยถ่วงน้ําหนัก (บาท) จํานวนหุ้นถัวเฉลี่ยถ่วงน้ําหนักสําหรับปี (ล้านหุ้น)


การบริ ห ารความเสี ่ ย ง

86

การบริหารความเสี่ยง

ความเสี่ยงด้านการแข่งขันในตลาด ปี 2555 ตลาดสินค้าทั่วไปต่างมุ่งเน้นแก้ปัญหาหลังน้ําท่วม บริษัทผู้ผลิตสินค้าจํานวนมากไม่สามารถผลิตสินค้าป้อนตลาด ได้เพียงพอต่อความต้องการหลังจากประสบอุทกภัยใหญ่ช่วงไตรมาส 4 ปีที่แล้ว บริษัทที่ประกอบกิจการค้าขายสินค้าก็มุ่งเน้นแก้ปัญหา ด้านโลจิสติกส์ติดขัดมาตั้งแต่ปลายปี โดยเฉพาะบริษัทกระจายสินค้า โมเดิร์นเทรดที่มีศูนย์กระจายสินค้าอยู่ในเขตอุทกภัย การแข่งขัน ทางการตลาดในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้จึงไม่รุนแรง เพราะต่างฝ่าย ต่างเน้นแก้ปัญหาหลังน้ําท่วมทั้งด้านการผลิตและการจัดจําหน่าย แต่หลังจากไตรมาสแรกการแข่งขันเริ่มเข้าสู่สภาวะปกติ ความรุนแรง แตกต่างกันในแต่ละกลุ่มสินค้า เช่น ตลาดสุราขาว การแข่งขัน จะน้อยที่สุด ตามด้วยกลุ่มสุราสี การแข่งขันจะเริ่มทวีขึ้นแต่ยังไม่มาก ตลาดเบียร์ การแข่งขันสูงระหว่างสองค่ายใหญ่เหมือนทุกปีที่ผ่านมา กลุ่มเครื่องดื่มไม่ผสมแอลกอฮอล์ การแข่งขันจะสูงที่สุด เนื่องจาก มีการเปลี่ยนแปลงในตลาดค่อนข้างมากในปีนี้ เช่น มีผู้เข้ามาแข่งขัน รายใหม่ในตลาดชาเขียว และการเปลีย ่ นแปลงครัง้ ใหญ่ในตลาดน้าํ อัดลม ซึ่งจะกล่าวถึงในอันดับต่อไป การแข่งขันตลาดสุราขาวไม่สูงนัก เนื่องจากสินค้าของกลุ่มบริษัท ไทยเบฟฯ เป็นผู้นําตลาด คู่แข่งขันทางการตลาด คือ กลุ่มสุราชุมชน ซึ่งกระจายอยู่ทั่วทุกภาคในประเทศไทย คู่แข่งสําคัญในกลุ่มสุราชุมชน อยู่ที่ภาคเหนือ ภาคใต้ และภาคตะวันออก ส่วนตลาดใหญ่ในภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ ผูบ ้ ริโภคยังคงมีความภักดีในตราสินค้าของบริษท ั ฯ ค่อนข้างสูง สําหรับตลาดสุราปีนี้มีการปรับเพิ่มภาษีสรรพสามิต ดังนั้น กิจกรรมส่วนใหญ่ คือ การบริหารราคาไม่ให้เกิดผลกระทบต่อ ผู้บริโภคมากเกินไป ในการนี้ บริษัทฯ ได้มีการปรับราคาเป็นสองช่วง เพื่อลดผลกระทบโดยเฉพาะผลกระทบด้านจิตวิทยา การปรับภาษี สรรพสามิตเพิ่มขึ้นจะเป็นการผลักดันให้ตลาดสุราเลี่ยงภาษีเพิ่มขึ้น ซึง่ เป็นปัญหาทีภ ่ าครัฐต้องเข้ามาดูแลจัดการ เพราะจะทําให้สญ ู เสียรายได้ ตลาดสุราสีแบ่งเป็นสองกลุม ่ คือ กลุม ่ สุราสีในประเทศและสุราสีตา่ งประเทศ แม้จะแตกต่างกันทัง้ ภาพลักษณ์และราคาแต่การแข่งขันระหว่างสองกลุม ่ ยังมีอยูบ ่ า้ งทีต ่ ลาดออฟเทรดหรือตลาดทีซ่ อ้ื ไปบริโภคทีบ ่ า้ น โดยตลาดนี้ สุราในประเทศเป็นผูน ้ าํ ตลาด ส่วนตลาดออนเทรดหรือตลาดร้านกลางคืน เช่น ร้านอาหาร สถานบันเทิง เป็นตลาดที่สุราต่างประเทศมุ่งทํากิจกรรม ทางการตลาด เพราะเป็นแหล่งบริโภคที่สุราต่างประเทศมีส่วนแบ่งธุรกิจ ในอัตราค่อนข้างสูง จึงทุ่มงบประมาณทํากิจกรรมอย่างต่อเนื่องเพื่อ

ปกป้องธุรกิจ ตลาดนี้ สุราไทย เช่น เบลนด์ 285 ซึ่งเป็นตราสินค้าของ บริษัทฯ สามารถเข้าไปแย่งตลาดได้ การแข่งขันตลาดสุราสีแม้จะสูงกว่า ตลาดสุราขาวแต่ก็ยังถือว่าน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มสินค้าอื่น เช่น เบียร์ และสินค้าเครื่องดื่มไม่ผสมแอลกอฮอล์ ตลาดเบียร์การแข่งขันทั้งสองค่ายใหญ่ยังเน้นที่กิจกรรมส่งเสริมกีฬา โดยเฉพาะกีฬาฟุตบอล ไทยเบฟสนับสนุนสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย และอีกหลายสโมสรฟุตบอลใหญ่ภายในประเทศ รวมถึงการสนับสนุน ทีมฟุตบอลเอเวอร์ตน ั ในประเทศอังกฤษและสมาคมฟุตบอล เรียลมาดริด และบาร์เซโลน่าในประเทศสเปน นอกจากกีฬาแล้ว ยังเน้นกิจกรรม ทางการตลาดผ่านทางดนตรีซึ่งทั้งสองค่ายมีกิจกรรมคล้ายๆ กัน การแข่งขันจะทําผ่านกิจกรรมทั้งสองประเภทที่ร้านค้าหรือลานกิจกรรม ในจังหวัดหลักๆ ทั่วประเทศ ด้านการโฆษณาผ่านสื่อปีนี้ค่อนข้างจํากัด เนื่องจากข้อจํากัดต่างๆ ทางกฎหมายทําให้การโฆษณาผ่านสื่อ ขาดประสิทธิภาพและไม่คุ้มค่า ตลาดเครื่องดื่มไม่ผสมแอลกอฮอล์เป็นตลาดที่การแข่งขันสูงที่สุด ทั้งนี้ เนื่องมาจากหลายปัจจัย เช่น การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภค ที่หันมาดื่มเครื่องดื่มสุขภาพมากขึ้นทําให้มีการแข่งขันข้ามกลุ่มสินค้า การเข้าตลาดเครือ่ งดืม ่ ชาเขียวของคูแ่ ข่งขันรายใหม่และการเปลีย ่ นแปลง ครั้งใหญ่ของตลาดเครื่องดื่มน้ําอัดลม การแข่งขันตลาดชาเขียวเริ่ม ร้อนแรงตั้งแต่ไตรมาสแรกก่อนเข้าหน้าร้อน เนื่องจากผู้ผลิตรายใหม่ ทีเ่ พิง่ เข้ามาทําตลาดทุม ่ งบประมาณส่งเสริมสินค้าอย่างหนักและต่อเนือ่ ง ในทุกช่องทางการจัดจําหน่าย ทัง้ นี้ เนือ่ งจากเพิง่ ลงทุนสร้างโรงงานใหม่ พร้อมเครื่องจักรจึงจําเป็นต้องรีบผลักดันยอดขายเพื่อให้เครื่องจักร ได้ทาํ งานเต็มที่ ทําให้บริษท ั ฯ จําเป็นต้องปกป้องส่วนแบ่งตลาด โดยจําเป็น ต้องใช้เงินในกิจกรรมส่งเสริมการขายเพิม ่ มากกว่าทีก ่ าํ หนดไว้ในแผนงาน ทําให้มีผลกระทบต่อผลกําไรในปีนี้ ในส่วนของตลาดน้ําอัดลม หลังจาก บริษท ั เสริมสุข จํากัด (มหาชน) หมดสัญญาการผลิตและกระจายสินค้า กับตราสินค้าต่างประเทศไปเมื่อสิ้นเดือนตุลาคม บริษัทฯ ได้แนะนํา สินค้าใหม่คือ “เอส” โคล่าออกสู่ตลาดเพื่อเข้าแทนในตลาดน้ําอัดลม คืนขวดทีต ่ ราสินค้าต่างประเทศตัดสินใจเลิกทําตลาด สินค้า “เอส” โคล่า เป็นสินค้าตัวแรกที่บริษัทฯ แนะนําสู่ตลาดและมีกําหนดที่จะแนะนําสินค้า น้ําอัดลมตัวอื่นๆ ภายใต้ตราสินค้า “เอส” ตามมา โดยสรุปแล้วการแข่งขันทางการตลาดถือเป็นเรื่องปกติในประเทศไทย ที่เปิดให้มีการแข่งขันเสรี ความเสี่ยงทางธุรกิจคือการสูญเสีย ส่วนแบ่งตลาดและผลกําไรที่อาจลดลงเนื่องมาจากความจําเป็น


รายงานประจํ า ปี 2555 บริ ษ ั ท ไทยเบฟเวอเรจ จํ า กั ด (มหาชน)

การบริ ห ารความเสี่ ย ง

87

ในการใช้งบประมาณเพิ่มเพื่อปกป้องธุรกิจ ฝ่ายบริหารมีความมั่นใจว่า แม้ความเสี่ยงประเภทนี้จะมีอยู่ แต่ด้วยทีมงานที่มีประสบการณ์สูง ในทุกกลุ่มสินค้าเครื่องดื่มจะสามารถบริหารความเสี่ยงที่กล่าวมาแล้ว ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จนสามารถลดความเสี่ยงลงมาอยู่ในระดับที่ สามารถรับได้

ความเสี่ยงด้านภาษีและระเบียบข้อบังคับ ปีที่ผ่านมากรมสรรพสามิตได้ปรับอัตราภาษีสุราขึ้นทั้งสุราขาวและสุราสี ซึ่งเป็นเรื่องปกติเนื่องจากภาครัฐจะพิจารณาปรับภาษีสรรพสามิต ทุกๆ สองปี ปีที่ผ่านมาการปรับภาษีสรรพสามิตเพิ่มขึ้นในอัตรา ค่อนข้างสูงซึ่งเป็นผลให้ราคาสุราขาวและสุราสีปรับเพิ่มขึ้นระหว่าง 8-10 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นที่มาของความเสี่ยง เนื่องจากหากราคาสินค้า สูงอาจทําให้การบริโภคลดลงและที่สําคัญหากไม่สามารถบริหารราคา ในช่วงการปรับภาษีได้ดีแล้ว อาจทําให้เกิดผลกระทบด้านจิตวิทยาต่อ ผู้บริโภค การเปลี่ยนแปลงอัตราภาษีเป็นเรื่องปกติของธุรกิจเครื่องดื่ม ผสมแอลกอฮอล์ ดังนั้น แม้จะเป็นความเสี่ยงแต่ไทยเบฟมีผู้บริหาร ทีม ่ ป ี ระสบการณ์จงึ สามารถบริหารความเสีย ่ งทีเ่ กีย ่ วข้องกับการปรับภาษี ได้เป็นอย่างดี ในส่วนของระเบียบข้อบังคับต่างๆ สถานการณ์ยังไม่เปลี่ยนแปลงจาก ปีที่ผ่านมา ภาครัฐมีการออกกฎหมายลูกใหม่ๆ เพิ่มเติมจากเดิม และ ยังคงบังคับใช้อย่างเคร่งครัด ทําให้การทํากิจกรรมทางการตลาดต่างๆ เป็นไปด้วยความยากลําบากขึ้น มีผลต่อการขยายตลาดในอนาคต ซึ่งถือเป็นความเสี่ยงทางธุรกิจ ไทยเบฟเป็นบริษัทที่จดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์จึงระมัดระวังเรื่องนี้เป็นพิเศษ และตั้งแต่กฎหมาย ฉบับนี้เริ่มบังคับใช้ ไทยเบฟได้จัดให้มีผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายประจํา อยู่ทุกภาคการตลาดทั่วประเทศเพื่อให้คําแนะนําและดูแลให้กิจกรรม ที่จัดขึ้นเป็นไปภายใต้กรอบกฎหมาย และยังให้ความรู้เกี่ยวกับกฎหมาย ฉบับนีก ้ บ ั ผูเ้ กีย ่ วข้อง ทัง้ ผูบ ้ ริหาร พนักงาน และลูกค้า เพือ่ ลดความเสีย ่ ง ด้านนี้ให้อยู่ในระดับที่สามารถรับได้

ความเสี่ยงด้านการจัดหาวัสดุหลักประกอบการผลิต ความเสี่ยงด้านการจัดหาวัสดุหลักประกอบการผลิต มี 2 ประการ คือ 1) ความเสี่ยงด้านราคา สําหรับสินค้าที่มีผลกระทบต่อต้นทุนสูงและ/ หรือเป็นสินค้าที่มีความผันผวนด้านราคา เช่น ข้าวมอล์ท ฮอปส์ กากน้ําตาล กระป๋อง ขวดแก้ว และน้ํามันเตา ไทยเบฟได้ลด

ความเสี่ยงโดยการทําสัญญาซื้อล่วงหน้าสําหรับการผลิตปี 2556 ไปแล้วเป็นส่วนใหญ่ และสามารถจัดซื้ออยู่ภายในงบประมาณได้ 2) ความเสี่ยงด้านปริมาณที่จะส่งมอบ ได้มีการคัดเลือกคู่ค้าชั้นนํา ในธุรกิจนั้นๆ ที่มีกําลังการผลิตสอดคล้องกับความต้องการของ บริษัท และกําหนดเป็นนโยบายการจัดหาว่า จะต้องมีการจัดซื้อ วัสดุหลักแต่ละประเภทจากผู้ขายอย่างน้อย 2 ราย และผู้ขาย วัสดุหลักรายสําคัญจะต้องจัดทําแผนบริหารความเสี่ยงรายงาน ให้แก่ฝ่ายจัดซื้อทราบปีละ 1 ครั้ง เป็นอย่างน้อย

ความเสี่ยงด้านการเงินและการลงทุน การดําเนินธุรกิจและการขยายงานของไทยเบฟต้องใช้เงินลงทุน จํานวนมาก ซึ่งมีความเสี่ยงและความไม่แน่นอนหลายประการ ธุรกิจ ของบริษัทเป็นอุตสาหกรรมที่ใช้เงินลงทุนจํานวนมาก การคิดค้นหา ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ สร้างโรงงานใหม่ บํารุงรักษาและพัฒนาโรงงานเดิมนั้น ต้องใช้จ่ายในการลงทุนอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ จะต้องมีค่าใช้จ่าย ในการติดตามการพัฒนาตลาดผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มในประเทศและ ต่างประเทศอยู่ตลอดเวลา การลงทุนที่ผ่านมาได้อาศัยเงินกู้จากแหล่งภายนอก และจากการใช้ กระแสเงินสดภายในของบริษัท ไทยเบฟคาดว่าแหล่งเงินทุนที่จะใช้ ขยายธุรกิจในอนาคต หรือใช้ปรับปรุงโรงงานผลิตเบียร์และโรงงานสุรา จะมาจากการกู้เงินเพิ่มและจากการใช้กระแสเงินสดภายใน ทั้งนี้ไทยเบฟ ได้ดําเนินการจัดหาวงเงินกับสถาบันการเงิน ทั้งวงเงินกู้เบิกเกินบัญชี วงเงินตั๋วสัญญาใช้เงิน และการออกตั๋วแลกเงิน โดยปัจจุบันไทยเบฟ มีวงเงินที่เป็นสภาพคล่องดังกล่าวเป็น 4 เท่าของยอดขายเฉลี่ยใน 1 เดือน นอกจากนี้ ไทยเบฟมีการลงทุนในกิจการในต่างประเทศ ที่ต้องใช้เงินลงทุนเป็นสกุลเงินตราต่างประเทศจํานวนมาก และไทยเบฟ ต้องพิจารณาแหล่งที่มาของเงินทุน มีการพิจารณาสกุลเงินที่จะใช้ ในการกู้เงิน การบริหารต้นทุนดอกเบี้ย การบริหารอัตราแลกเปลี่ยน การบริหารความเสีย ่ งดังกล่าวนี้ จัดการโดยให้สายงานการเงินของบริษท ั เข้ามามีส่วนวางแผนการลงทุนต่างๆ อยู่เสมอ เพื่อที่จะได้รับทราบข้อมูล สําหรับใช้ในการจัดเตรียมโครงสร้างทางการเงินที่เหมาะสมต่อไป


การบริ ห ารความเสี ่ ย ง

88

การปฏิบัติตามระเบียบกฎหมาย และการควบคุมดูแลสิ่งแวดล้อม ไทยเบฟให้ความสําคัญกับการจัดการให้สอดคล้องตามหรือให้ดีกว่า ระเบียบกฎหมายและการควบคุมดูแลสิ่งแวดล้อม และบริษัทมุ่งมั่น ในการปรับปรุงพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการผลิตให้ทันสมัย อยู่เสมอ ดังจะเห็นได้จากการกําหนดให้มีการนําระบบบริหารงานต่างๆ มาใช้ เช่น มาตรฐาน GMP (Good Manufacturing Practice), HACCP (Hazard and Critical Control Point), มาตรฐานระบบ การจัดการคุณภาพ (ISO 9001: 2008), มาตรฐานระบบการจัดการ คุณภาพความปลอดภัยด้านอาหาร (ISO 22000:2005), มาตรฐาน การรับรองความสามารถห้องปฏิบัติการทดสอบและสอบเทียบ (ISO 17025), ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ในการทํางาน (OHSAS 18001), มาตรฐานระบบการจัดการสิง่ แวดล้อม (ISO 14001:2004) เป็นต้น อีกทั้งไทยเบฟให้ความสําคัญในการอนุรักษ์และลดภาวะโลกร้อน โดยเน้นการประหยัดพลังงาน การใช้พลังงานทดแทนโดยคํานึงถึง การใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีคุณค่าในระยะยาว มีการจัดการ ประกวด The Biggest Saver Contest 2012 ปัจจุบันโรงงาน ผลิตเบียร์ของไทยเบฟได้จัดทํา Carbon Footprint ซึ่งเป็นการแสดง ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากผลิตภัณฑ์แต่ละหน่วย ตลอดวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่การได้มาซึ่งวัตถุดิบ การขนส่ง การประกอบชิ้นส่วน การใช้งานและการกําจัดซากผลิตภัณฑ์หลังใช้งาน ซึ่งเป็นการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมอย่างหนึ่งที่บอกว่า ผลิตภัณฑ์ได้ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ออกมาปริมาณ เท่าใด อีกทั้งเป็นข้อมูลในการพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการ ในการลดปริมาณการปลดปล่อยก๊าซ CO2 ต่อไป

-

-

-

-

นอกจากนี้ โรงงานต่างๆ ได้ส่งผลงานการพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม เข้าประกวดจนได้รับรางวัลในระดับประเทศ เช่น - บริษัท เบียร์ทิพย์ บริวเวอรี่ (1991) จํากัด ได้รับรางวัล อุตสาหกรรมดีเด่น ประเภทการบริหารงานคุณภาพ ประจําปี 2555 รางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น ประเภทการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม และรางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น ประเภทการจัดการพลังงาน โดยกระทรวงอุตสาหกรรม - บริษัท เบียร์ไทย (1991) จํากัด (มหาชน) ได้รับรางวัลอุตสาหกรรม ดีเด่น ประเภทการรักษาคุณภาพสิง่ แวดล้อม และรางวัลอุตสาหกรรม ดีเด่น ประเภทการจัดการพลังงาน โดยกระทรวงอุตสาหกรรม - บริษัท แก่นขวัญ จํากัด ได้รับรางวัลดีเด่น Thailand Energy Awards ประจําปี 2555 ประเภทโครงการพลังงานหมุนเวียน ทีไ่ ม่เชือ่ มโยงกับระบบสายส่งไฟฟ้า (Off-Grid) โดยกระทรวงพลังงาน รางวัลอุตสาหกรรมสีเขียวระดับที่ 3 ระบบสีเขียว (Green Industry) ประจําปี 2555 โดยกระทรวงอุตสาหกรรม รางวัลสถานประกอบการ

-

-

ดีเด่น ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อม ในการทํางานระดับประเทศ ปี 2555 โดยกรมสวัสดิการและ คุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน และรางวัลการจัดการของเสีย ภายในโรงงานที่ดีตามหลัก 3Rs (3Rs Award) ปี 2555 โดยกรมโรงงานอุตสาหกรรม บริษัท ธนภักดี จํากัด ได้รับรางวัลอุตสาหกรรมสีเขียวระดับที่ 3 ระบบสีเขียว (Green Industry) ประจําปี 2555 โดยกระทรวง อุตสาหกรรม บริษัท ยูไนเต็ด ไวน์เนอรี่ แอนด์ดิสทิลเลอรี่ จํากัด ได้รับรางวัล อุตสาหกรรมสีเขียวระดับที่ 3 ระบบสีเขียว (Green Industry) ประจําปี 2555 โดยกระทรวงอุตสาหกรรม และรางวัลการจัดการ ของเสียภายในโรงงานที่ดีตามหลัก 3Rs (3Rs Award) ปี 2555 โดยกรมโรงงานอุตสาหกรรม บริษัท อธิมาตร จํากัด ได้รับรางวัลอุตสาหกรรมดีเด่นประเภท การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมและรางวัลอุตสาหกรรมสีเขียวระดับ 4 วัฒนธรรมสีเขียว (Green Culture) ประจําปี 2555 โดยกระทรวง อุตสาหกรรม และรางวัลสถานประกอบการดีเด่น ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานระดับประเทศ ปี 2555 โดยกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน บริษัท สุราบางยี่ขัน จํากัด ได้รับรางวัลอุตสาหกรรมสีเขียวระดับ 4 วัฒนธรรมสีเขียว (Green Culture) ประจําปี 2555 โดยกระทรวง อุตสาหกรรม และรางวัลสถานประกอบการดีเด่น ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานระดับประเทศ ปี 2555 โดยกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน รางวัล การจัดการของเสียภายในโรงงานที่ดีตามหลัก 3Rs (3Rs Award) ปี 2555 และรางวัลเกียรติคุณสําหรับโรงงานอุตสาหกรรม ที่มีศักยภาพในการลดการใช้น้ําดีเด่น ปี 2555 โดยกรมโรงงาน อุตสาหกรรม บริษัท สีมาธุรกิจ จํากัด ได้รับรางวัลอุตสาหกรรมสีเขียวระดับที่ 3 ระบบสีเขียว (Green Industry) ประจําปี 2555 รางวัลโครงการ ธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อม โดยกระทรวงอุตสาหกรรม และรางวัล สถานประกอบการดีเด่น ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และ สภาพแวดล้อมในการทํางานระดับประเทศ ปี 2555 โดยกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน บริษัท เอส.เอส.การสุรา จํากัด ได้รับรางวัลการใช้ประโยชน์ของเสีย ได้ทั้งหมด (Zero Waste to Landfill Achievement Award) ประจําปี 2555 โดยกรมโรงงานอุตสาหรรม และ รางวัลสถานประกอบการดีเด่น ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานระดับประเทศ ปี 2555 โดยกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน บริษัท มงคลสมัย จํากัด ได้รับรางวัลการใช้ประโยชน์ของเสีย ได้ทั้งหมด (Zero Waste to Landfill Achievement Award) ประจําปี 2555 และรางวัลการจัดการของเสียภายในโรงงานที่ดี ตามหลัก 3Rs (3Rs Award) ปี 2555 โดยกรมโรงงานอุตสาหกรรม


รายงานประจํ า ปี 2555 บริ ษ ั ท ไทยเบฟเวอเรจ จํ า กั ด (มหาชน)

การบริ ห ารความเสี่ ย ง

89

-

-

-

-

และรางวัลสถานประกอบการดีเด่น ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานระดับประเทศ ปี 2555 โดยกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน บริษัท กาญจนสิงขร จํากัด และบริษัท เฟื่องฟูอนันต์ จํากัด ได้รับรางวัลการใช้ประโยชน์ของเสียได้ทั้งหมด (Zero Waste to Landfill Achievement Award) ประจําปี 2555 และรางวัล การจัดการของเสียภายในโรงงานที่ดีตามหลัก 3Rs (3Rs Award) ปี 2555 โดยกรมโรงงานอุตสาหกรรม บริษัท สุราพิเศษทิพราช จํากัด ได้รับรางวัลการใช้ประโยชน์ของเสีย ได้ทั้งหมด (Zero Waste to Landfill Achievement Award) ประจําปี 2555 และรางวัลการจัดการของเสียภายในโรงงานที่ดี ตามหลัก 3Rs (3Rs Award) ปี 2555 และรางวัลเกียรติคุณ สําหรับโรงงานอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในการลดการใช้นํา้ ดีเด่น ปี 2555 โดยกรมโรงงานอุตสาหกรรม บริษัท เทพอรุโณทัย จํากัด ได้รับรางวัลสถานประกอบการดีเด่น ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน ระดับประเทศ ปี 2555 โดยกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน และรางวัลการจัดการของเสียภายในโรงงานที่ดี ตามหลัก 3Rs (3Rs Award) ปี 2555 โดยกรมโรงงานอุตสาหกรรม บริษัท นทีชัย จํากัด และบริษัท หลักชัยค้าสุรา จํากัด ได้รับรางวัล สถานประกอบการดีเด่น ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และ สภาพแวดล้อมในการทํางานระดับประเทศ ปี 2555 โดยกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน

ความเสี่ยงด้านอุทกภัย จากการเกิดอุทกภัยในปี 2554 ทําให้เกิดผลกระทบอย่างกว้างขวางต่อ ธุรกิจต่างๆ ในประเทศ รวมถึงการดําเนินธุรกิจบางส่วนของกลุ่มบริษัท ไทยเบฟที่ต้องหยุดชะงักในช่วงของการเกิดอุทกภัยอันเป็นผลจาก เส้นทางการคมนาคมหลายสายถูกตัดขาด มีผลให้การขนส่งวัตถุดิบ และพัสดุบรรจุภัณฑ์ การกระจายสินค้า รวมถึงการเดินทางมาทํางาน ของพนักงานมีความยากลําบาก ในปี 2555 กลุม ่ บริษท ั ไทยเบฟได้ดาํ เนินการป้องกันความเสีย ่ งอย่างดี กล่าวคือ - ในด้านการประกันภัย กลุ่มบริษัทไทยเบฟได้ทําประกันภัยอย่าง ครบถ้วนเพื่อได้รับความคุ้มครองจากการทําประกันภัยที่เกิดจาก ภัยธรรมชาติและธุรกิจหยุดชะงัก - ได้ฟื้นฟูโรงงานที่ถูกน้ําท่วม คือ โรงงานเสริมสุข จังหวัดปทุมธานี, โรงงานโออิชิ ในนิคมอุตสาหกรรมนวนคร กลับมาผลิตได้ 100% อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ ยังได้ขยายโรงงานโออิชิไปผลิตที่อําเภอ วังม่วง จังหวัดสระบุรี และในนิคมอุตสาหกรรมอมตะ จังหวัดชลบุรี ซึ่งเป็นพื้นที่สูง ไม่มีโอกาสที่จะเกิดน้ําท่วม - โรงเบียร์สองแห่งของบริษท ั ทีต ่ ง้ั อยูท ่ อ่ี าํ เภอบางบาลและอําเภอวังน้อย

ซึ่งเป็นพื้นที่ที่รัฐบาลประกาศเป็นพื้นที่รับน้ําในอนาคต ไทยเบฟ ได้มีการดําเนินการลงทุนเสริมเขื่อนคันล้อมถาวรและเสริมแนวคัน ป้องกันน้ําท่วมรอบโรงงานให้แข็งแรงและสูงขึ้นกว่าเดิม รวมทั้ง โรงงานสุราในจังหวัดปทุมธานีและโรงงานสุราในจังหวัดสุราษฏร์ธานี ก็ได้ลงทุนก่อสร้างเขื่อนคันล้อมคอนกรีตแบบถาวร ซึ่งแล้วเสร็จ ทําให้มน ่ั ใจว่าแม้จะเกิดน้าํ ท่วมขึน ้ อีกและรุนแรงกว่าเดิม โรงงานทุกแห่ง ของกลุม ่ บริษท ั ไทยเบฟก็จะมีความปลอดภัยและสามารถดําเนินธุรกิจ ได้อย่างต่อเนื่อง

การเตรียมความพร้อมด้านบุคลากรเพื่อความมั่นคง และการเติบโตขององค์กร ไทยเบฟให้ความสําคัญกับการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล อย่างต่อเนื่อง มีการกําหนดกลยุทธ์ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เพื่อ เตรียมความพร้อมของบุคลากรให้สามารถรองรับกับการเจริญเติบโต ทางธุรกิจขององค์กร นอกจากนี้ ไทยเบฟยังมีการปรับปรุงนโยบาย และกระบวนการภายในของการบริหารทรัพยากรบุคคลให้ทันสมัย เป็นปัจจุบัน และมีมาตรฐานในการปฏิบัติ เพื่อให้สอดคล้องต่อ ความท้าทายของสภาพการแข่งขันที่เปลี่ยนแปลงไป ไทยเบฟได้ดําเนินการเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กรผ่านการปลูกฝังค่า นิยมร่วม (ThaiBev Core Values) ที่มีความสอดคล้องและสนับสนุน กับวิสัยทัศน์และพันธกิจขององค์กรอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2554 ทั้งนี้ การที่องค์กรสามารถหล่อหลอมพนักงานให้ยึดมั่นและปฏิบัติงาน ตามแนวทางของค่านิยมร่วมเดียวกันจะช่วยสร้างความผูกพันระหว่าง พนักงาน อันจะนําไปสู่วัฒนธรรมองค์กรที่เข้มแข็งต่อไป ในปีที่ผ่านมา ไทยเบฟได้พัฒนากระบวนการในการสรรหาและพัฒนา บุคลากรอย่างเป็นระบบและมีความสอดคล้องกับกลยุทธ์ในการดําเนิน ธุรกิจ มีการจัดทําแผนพัฒนารายบุคคล (Individual Development Plan) และแผนการเตรียมความพร้อมของบุคลากรเพื่อทดแทน ในตําแหน่งงานที่สําคัญ (Successor) อย่างเป็นรูปธรรม ส่งผลให้ การวางแผนอัตรากําลังคนของบริษท ั เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล นอกจากนี้ ไทยเบฟยังผลักดันให้มก ี ารใช้ระบบบริหารผลการปฏิบต ั งิ าน ในองค์กรอย่างจริงจัง โดยมีการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุน ในการบริหารจัดการข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับผลการปฏิบัติงานให้มีความ ถูกต้อง ครบถ้วน และสะดวกต่อการใช้งาน อย่างไรก็ตาม การเจริญเติบโตทางธุรกิจขององค์กรที่มีความก้าวหน้า อย่างรวดเร็ว มีการขยายงานทัง้ ในประเทศและต่างประเทศอย่างต่อเนือ่ ง ถือเป็นความท้าทายทีส ่ าํ คัญของการบริหารทรัพยากรบุคคล ซึง่ บริษท ั ฯ ได้มีการวางแผนและกําหนดกลยุทธ์ในการดําเนินการเพื่อเร่งสร้างและ พัฒนาบุคลากรให้มีความพร้อมกับการขยายธุรกิจขององค์กรไว้แล้ว


พนั ก งานของเราความสํ า เร็จ ของเรา

90

พนักงานของเรา... ความสําเร็จของเรา

การเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กร พวกเราชาวไทยเบฟมีความเชื่อว่าการมีวัฒนธรรมองค์กรที่เข้มแข็ง ถือเป็นรากฐานที่สําคัญของการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน ตลอดปีที่ผ่านมาไทยเบฟมีการดําเนินกิจกรรมต่างๆ มากมาย เพือ่ เป็นการเสริมสร้างความรูค ้ วามเข้าใจและกระตุน ้ ให้เกิดการมีสว่ นร่วม ระหว่างพนักงานทั่วทั้งองค์กร อันจะนําไปสู่พฤติกรรมในการทํางาน ร่วมกันตามแนวทางของคุณค่าองค์กร (ThaiBev Core Values) คณะกรรมการส่งเสริมวัฒนธรรมและจริยธรรมองค์กรได้กําหนดให้ ปี 2555 เป็นปีแห่งการเพิ่มประสิทธิภาพองค์กร โดยมุ่งเน้นการ พัฒนาการทํางานของบุคลากรให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและ ประสิทธิผลใน 3 ด้าน

ความสามารถในการปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง ได้อย่างรวดเร็วขึ้น (Faster Speed)

การปรับปรุงและพัฒนากระบวนการทํางานเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ ที่ดีกว่าเดิม (Better Result)

การใช้ทรัพยากรต่างๆ ให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด (Cost Saving)

ทั้งนี้ ไทยเบฟได้ริเริ่มโครงการประกวดผลงานในด้านการเพิ่ม ประสิทธิภาพของการทํางาน (The Biggest Saver Contest 2012) โดยมีพนักงานจากหน่วยงานต่างๆ ให้ความสนใจและส่งผลงาน เข้าร่วมประกวดเป็นจํานวนมาก โครงการดังกล่าวถือเป็นช่องทาง ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างพนักงาน รวมทั้งเป็นโอกาสให้เกิดการ นําแนวคิดต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ไปต่อยอดในการทํางาน ด้วยวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ทางธุรกิจที่ชัดเจน ไทยเบฟของเราจึงมีการ เติบโตอย่างต่อเนื่อง มีจํานวนบุคลากรเพิ่มขึ้นตามการขยายตัวของ

ธุรกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม ความเชื่อมั่นในพลัง ของความเป็นน้ําหนึ่งใจเดียวกันที่เกิดขึ้นบนพื้นฐานของการมีค่านิยม ในการทํางานร่วมกันจะทําให้สามารถฟันฝ่าอุปสรรคต่างๆ ไปได้

การพัฒนาบุคลากรเชิงกลยุทธ์ เพราะเรามีความเชื่อว่าทรัพยากรบุคคลเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่า มากที่สุดขององค์กร ดังนั้น การพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ความสามารถ จึงถือเป็นภารกิจที่ยิ่งใหญ่และสําคัญ ทั้งนี้ ไทยเบฟ ได้มก ี ารจัดทําหลักสูตรต่างๆ เพือ่ พัฒนาพนักงานโดยมีความสอดคล้อง และสนับสนุนต่อกลยุทธ์ทางธุรกิจของบริษัท ในปี 2555 ไทยเบฟได้ริเริ่มโครงการพัฒนาศักยภาพของพนักงาน ที่เป็นผู้บริหารในระดับต้น (Supervisory Development Program: SDP) โดยดําเนินโครงการร่วมกับคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ รวมถึง ทักษะในการบริหารงาน ภายใต้บริบทของกระแสโลกาภิวัฒน์และ สภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่มีการแข่งขันสูงและมีการเปลี่ยนแปลง อยู่ตลอดเวลา โดยครอบคลุมยุทธศาสตร์ของการเรียนรู้ที่สําคัญ ประกอบด้วย

• • • • • •

การจัดการเชิงกลยุทธ์ (Strategic Management) การเงินและการบัญชี (Finance and Accounting) การขายและการตลาด (Sales and Marketing) การปฏิบัติการ (Operation) การจัดการห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain and Logistics) การบุคคล (Human Resources)

นอกเหนือจากการที่พนักงานผู้ได้รับการคัดเลือกให้เข้าโครงการ SDP จะได้รับการถ่ายทอดหลักการและแนวคิดที่สําคัญรวมถึงความรู้และ แนวทางในการบริหารสมัยใหม่จากผู้ทรงคุณวุฒิของจุฬาลงกรณ์


รายงานประจํ า ปี 2555 บริ ษ ั ท ไทยเบฟเวอเรจ จํ า กั ด (มหาชน)

พนั ก งานของเราความสํ า เร็จ ของเรา

91

มหาวิทยาลัยแล้ว ผู้เข้าโครงการ SDP ยังได้รับโอกาสที่สําคัญ โดยผู้บริหารระดับสูงของบริษัทได้ร่วมเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้และแบ่งปัน ประสบการณ์ตรงในการบริหารองค์กรให้ประสบความสําเร็จแก่ ผู้เข้าโครงการ SDP อีกด้วย ทั้งนี้ บริษัทมีแผนงานที่ต่อเนื่องใน การดําเนินโครงการพัฒนาศักยภาพของพนักงานสําหรับผู้บริหาร ในระดับกลางและในระดับสูงในปีต่อๆ ไปอีกด้วย ในปีทผ ่ี า่ นมา เรายังได้รเิ ริม ่ โครงการการจัดการองค์ความรูภ ้ ายในไทยเบฟ (ThaiBev’s Knowledge Management: ThaiBev’s KM) ขึ้น เพื่อช่วยสร้างพลวัตหรือแรงขับเคลื่อนในการเรียนรู้ของบุคลากร ในองค์กร ส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนและแบ่งปันความรู้ ทักษะ รวมถึงประสบการณ์ในการทํางาน เพื่อพัฒนาองค์กรให้ก้าวไปสู่ การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรูท ้ ไ่ี ม่หยุดนิง่ พร้อมรับกับการเปลีย ่ นแปลง ของโลกธุรกิจ

การสร้างสมดุลในการทํางาน ในไทยเบฟ พวกเราให้ความสําคัญกับการสร้างความสมดุลใน การทํางาน (Work Life Balance) เราอยากเห็นทุกคนมีรอยยิ้ม มีความสนุก และมีความสุขในการทํางานและกิจกรรมต่างๆ ร่วมกัน โดยในปี 2555 ที่ผ่านมา พวกเรามีโครงการดีๆ ที่สร้างสรรค์ขึ้น เพื่อให้เพื่อนพนักงานทุกคนมีโอกาสได้ทํากิจกรรมและแบ่งปัน ประสบการณ์ดีๆ ร่วมกัน สร้างความผูกพันและความเป็นน้ําหนึ่ง ใจเดียวกันของพวกเราชาวไทยเบฟ ปณิธานที่แน่วแน่ของไทยเบฟคือการสร้างและพัฒนาบุคลากรให้มี ความรู้ความสามารถควบคู่ไปกับการมีคุณธรรมและจริยธรรม รวมถึง การสร้างโอกาสในความก้าวหน้าของบุคลากรควบคู่ไปกับการเติบโต ทางธุรกิจขององค์กร


ประกาศการจั ด ลํ า ดั บ เครดิ ต องค์ก ร

92

ประกาศการจัดลําดับ เครดิตองค์กร

เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2555 ในการทบทวนการจัดอันดับประจําปีนั้น บริษัท จัดอันดับเครดิต ทริสเรทติ้ง (“TRIS”) จัดอันดับเครดิตองค์กรในระดับที่ AA เครดิต พินิจแนวโน้ม Negative และเพื่อสร้างความคล่องตัวในตลาดการเงินระดับสากล บริษัทได้ให้สถาบันจัดอันดับ เครดิตที่มีชื่อเสียงในสากล Standard and Poor’s (“S&P”) และ Moody’s Investors Service Pty Limited (“Moody’s”) จัดอันดับเครดิตให้บริษัทเช่นกัน โดย S&P ประกาศผลการจัดอันดับเครดิตองค์กร ที่ระดับ BBB และ CreditWatch เท่ากับ Negative (อ้างอิงจากประกาศ Ratings Direct โดย S&P ณ 19 กรกฎาคม 2555) และ Moody’s ประกาศผลการจัดอันดับเครดิตองค์กร ที่ระดับ Baa2 และ Watch Status เท่ากับ Possible Downgrade (อ้างอิงจากประกาศ Global Credit Research Credit Opinion โดย Moody’s ณ 19 กรกฎาคม 2555) ทั้งนี้ ทาง TRIS, S&P และ Moody’s อยู่ระหว่างการพิจารณาเครดิตของบริษัท เนื่องจากการซื้อหุ้น Fraser and Neave, Limited (F&N) หมายเหตุ: TRIS ได้จัดอันดับเครดิตให้ประเทศไทยเท่ากับ AAA, S&P ให้ BBB+ และ Moody’s ให้ Baa1 ผลการจัดอันดับเครดิตของ TRIS, S&P และ Moody’s สามารถเปลี่ยนแปลง เพิกถอน เมื่อมีเหตุการณ์ อย่างหนึ่งอย่างใดเกิดขึ้น อันอาจมีผลกระทบต่อการจัดอันดับเครดิต และ/หรือทุก ๆ ปี และ/หรือทบทวน การจัดอันดับเครดิตตามที่บริษัทจัดอันดับเครดิตเห็นสมควร


รายงานประจํ า ปี 2555 บริ ษ ั ท ไทยเบฟเวอเรจ จํ า กั ด (มหาชน)

รายงานการกํ า กั บ ดูแ ลกิ จ การ

93

รายงาน การกํากับดูแลกิจการ การกํากับดูแลกิจการตามหลักบรรษัทภิบาลที่ดี การประกอบธุรกิจภายใต้กฎหมายและกฎระเบียบที่ใช้บังคับกับบริษัทเป็นความตั้งใจและมุ่งมั่นของ THBEV ส่งผลให้ THBEV ในฐานะบริษท ั ไทยซึง่ จดทะเบียนอยูใ่ นตลาดหลักทรัพย์สงิ คโปร์ได้รบ ั รางวัล Corporate Governance Asia Recognition Award 2010 และ 2011 ติดต่อกันเป็นเวลาสองปีจากนิตยสาร Corporate Governance Asia และรองชนะเลิศรางวัล “Most Transparent Company Award 2010” ในประเภทบริษัทต่างประเทศที่จดทะเบียน จากสมาคมผู้ลงทุนในหลักทรัพย์แห่งประเทศสิงคโปร์ (Securities Investors Association (Singapore) (SIAS))

การปฏิบัติงานของคณะกรรมการบริษัท หลักเกณฑ์ที่ 1 คณะกรรมการบริษัทมีหน้าที่กํากับดูแลธุรกิจและภารกิจของบริษัทให้เป็นไปตามมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นและตามกฎหมายที่ใช้บังคับกับบริษัท ทั้งนี้ คณะกรรมการบริษัทจะต้องใช้วิจารณญาณ และความรอบคอบในการตัดสินใจทางธุรกิจ และปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตเพื่อรักษา ผลประโยชน์สูงสุดของบริษัท ในปี 2555 การประชุมคณะกรรมการบริษท ั รวม 11 ครัง้ ดังมีรายละเอียดในการเข้าประชุมของกรรมการแต่ละท่าน นับถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2555 ต่อไปนี้

ชื่อ

ตําแหน่ง

จํานวนครั้งที่เข้าประชุม/ จํานวนครั้งของการประชุมทั้งหมด

1.

นายเจริญ สิริวัฒนภักดี

ประธานกรรมการ

2.

คุณหญิงวรรณา สิริวัฒนภักดี

รองประธานกรรมการ

9/11 7/11

3.

นายณรงค์ ศรีสอ้าน

รองประธานกรรมการ

11/11

4.

นายโกเมน ตันติวิวัฒนพันธ์

รองประธานกรรมการ

10/11

5.

นายภุชชงค์ ชาญธนากิจ

กรรมการ

11/11

6.

นางสาวกนกนาฏ รังษีเทียนไชย

กรรมการ

11/11

7.

นายสถาพร กวิตานนท์ (1)

กรรมการอิสระและประธานกรรมการตรวจสอบ

-/11

8.

นายประสิทธิ์ โฆวิไลกูล (2)

กรรมการอิสระและประธานกรรมการตรวจสอบ

10/11

9.

ศาสตราจารย์คนึง ฦๅไชย

กรรมการอิสระและกรรมการตรวจสอบ

11/11

10.

นายมนู เลียวไพโรจน์

กรรมการอิสระและกรรมการตรวจสอบ

11/11

11.

นายอึ๊ง ตัก พัน

กรรมการอิสระและกรรมการตรวจสอบ

11/11

12.

นายไมเคิล เล่า ไวย เคียง

กรรมการอิสระ

10/11

13.

ศาสตราจารย์นายแพทย์พรชัย มาตังคสมบัติ

กรรมการอิสระ

9/11

14.

นายศักดิ์ทิพย์ ไกรฤกษ์

กรรมการอิสระ

8/11 11/11

15.

พลเอกนายแพทย์ชูฉัตร กําภู ณ อยุธยา

กรรมการอิสระ

16.

นายวิวัฒน์ เตชะไพบูลย์

กรรมการ

9/11

17.

นายปณต สิริวัฒนภักดี

กรรมการ

11/11

18.

นายฐาปน สิริวัฒนภักดี

กรรมการผู้อํานวยการใหญ่

10/11

19.

นายสวัสดิ์ โสภะ

กรรมการรองกรรมการผู้อํานวยการใหญ่

9/11

20.

นายอวยชัย ตันทโอภาส

กรรมการรองกรรมการผู้อํานวยการใหญ่

11/11

21.

นายสิทธิชัย ชัยเกรียงไกร

กรรมการรองกรรมการผู้อํานวยการใหญ่

10/11

22.

ดร. พิษณุ วิเชียรสรรค์

กรรมการผู้ช่วยกรรมการผู้อํานวยการใหญ่

11/11

หมายเหตุ

(1) นายสถาพร กวิตานนท์ พ้นจากตําแหน่งกรรมการอิสระและประธานกรรมการตรวจสอบ เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2555 เนื่องจากถึงแก่กรรม (2) นายประสิทธิ์ โฆวิไลกูล ได้รับแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งกรรมการอิสระและประธานกรรมการตรวจสอบของบริษัท โดยที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจําปี 2555 เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2555


รายงานการกํ า กั บ ดูแ ลกิ จ การ

94

เรื่องที่ต้องได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัท คณะกรรมการบริษัทมีหน้าที่รับผิดชอบสูงสุดในการบริหารจัดการธุรกิจ และการดําเนินงานของบริษัทรวมถึงการบริหารงานบริษัทย่อยให้เป็นไป ตามแผนธุรกิจหลักของบริษัท ตามมติของผู้ถือหุ้นโดยสุจริต ภายใต้ กฎหมาย วัตถุประสงค์ และข้อบังคับของบริษัท รวมถึงการกํากับดูแล ให้บริษัทและบริษัทย่อยปฏิบัติตามกฎระเบียบของตลาดหลักทรัพย์ สิงคโปร์อีกด้วย นอกจากนี้ คณะกรรมการบริษัทยังรับผิดชอบกําหนด วิสัยทัศน์และกลยุทธ์ในการดําเนินงานของบริษัทและกํากับควบคุมดูแล ให้ฝ่ายจัดการดําเนินงานตามนโยบายที่กาํ หนดไว้ รวมถึงรายงานข้อมูล ทางการเงินและข้อมูลทั่วไปต่อผู้ถือหุ้นและนักลงทุนทั่วไปอย่างถูกต้อง และเพียงพอ ทั้งนี้ คณะกรรมการบริษัทจะต้องประชุมกันไม่น้อยกว่า 4 ครั้งต่อปี ตามกฎหมาย โดยในระหว่างปี 2555 คณะกรรมการบริษัทได้มี การประชุมเกินกว่าจํานวนครั้งที่กฎหมายกําหนดเพื่อพิจารณาวาระ ที่ฝ่ายบริหารเสนอ

การฝึกอบรม กรรมการบริษัททุกท่านได้ผ่านการอบรมหลักสูตร Director Accreditation Program (DAP) จากสมาคมส่งเสริมสถาบัน กรรมการบริษัทไทย นอกจากนี้ กรรมการบางท่านยังได้ผ่านการอบรม ในหลักสูตร Director Certification Program (DCP) จากสถาบัน เดียวกันอีกด้วย นอกจากนี้ บริษัทยังส่งเสริมและสนับสนุนให้ กรรมการบริษัทเข้าใจกฎหมายของประเทศสิงคโปร์และกฎระเบียบของ ตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ที่มีผลบังคับใช้กับบริษัท โดยสนับสนุนให้ กรรมการเข้ารับการฝึกอบรมในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน ตามที่เห็นสมควร รวมถึงทําหน้าที่แจ้งข้อมูลข่าวสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ให้กรรมการทราบอยู่เสมอ ทั้งนี้ กรรมการบริษัททุกท่านได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ และความรับผิดชอบของกรรมการ ณ วันที่เสนอให้แต่งตั้งให้เป็น กรรมการบริษัทแล้ว

องค์ประกอบ และแนวทางปฏิบัติ ของคณะกรรมการบริษัท หลักเกณฑ์ที่ 2 คณะกรรมการบริษัท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2555 คณะกรรมการบริษท ั ประกอบด้วย กรรมการ 21 ท่าน จากทั้งหมด 22 ท่าน (โดยยังไม่รวมตําแหน่ง กรรมการที่ว่างอยู่จํานวน 1 ตําแหน่ง) และในจํานวนนี้มีกรรมการอิสระ 8 ท่าน ซึ่งมากกว่าหนึ่งในสามของจํานวนกรรมการทั้งหมด กรรมการบริษัททุกท่านล้วนเป็นผู้มีประสบการณ์ทางธุรกิจมาเป็น เวลานาน หรือเป็นผู้ที่มีตําแหน่งหน้าที่อันทรงเกียรติ

คณะกรรมการบริหาร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2555 คณะกรรมการบริหารประกอบด้วย กรรมการ จํานวน 18 ท่าน แต่งตั้งจากคณะกรรมการบริษัท และ ผู้บริหารระดับสูง คณะกรรมการบริษัทได้มอบอํานาจแก่คณะกรรมการ บริหารในการทําหน้าที่บริหารกิจการแทนคณะกรรมการบริษัท ในการนี้ กรรมการบริหารบางท่านได้รับมอบหมายให้ดูแลงานในสายงานต่างๆ ภายใต้การกํากับดูแลของกรรมการผู้อํานวยการใหญ่ นอกจากนี้ คณะกรรมการบริหารอาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการชุดต่างๆ ทั้งนี้ เพื่อช่วยกรรมการบริหารในการสนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่ของ คณะกรรมการบริษัทในการกํากับดูแลกิจการของบริษัทให้ดําเนินไป อย่างคล่องตัว คณะกรรมการบริหารจะประชุมกันเดือนละหนึ่งครั้งเพื่อปรึกษาหารือ เกี่ยวกับการดําเนินธุรกิจของบริษัท ยกเว้นในกรณีที่มีความจําเป็น เร่งด่วนจะจัดการประชุมตามสมควรแก่กรณี นอกจากนี้ กรรมการบริหารบางท่านยังได้รับการแต่งตั้งให้ดํารง ตําแหน่งกรรมการในบริษัทย่อย ทั้งที่อยู่ในประเทศและต่างประเทศ เพื่อควบคุมดูแลการบริหารงานต่างๆ ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ตามนโยบายของบริษัทและได้รับประโยชน์สูงสุด


รายงานประจํ า ปี 2555 บริ ษ ั ท ไทยเบฟเวอเรจ จํ า กั ด (มหาชน)

รายงานการกํ า กั บ ดูแ ลกิ จ การ

95

หน้าที่ความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริหาร มีดังต่อไปนี้ • จัดทําและนําเสนอนโยบายทางธุรกิจ เป้าหมาย แผนการดําเนินงาน กลยุทธ์ทางธุรกิจ และงบประมาณประจําปีของบริษัทและบริษัทย่อย ต่อคณะกรรมการบริษัท • กําหนดแผนธุรกิจ งบประมาณ และอํานาจบริหารต่างๆ ของบริษัท และบริษัทย่อย เพื่อขออนุมัติต่อคณะกรรมการบริษัท • ควบคุมดูแลการดําเนินธุรกิจของบริษัทและบริษัทย่อยให้เป็นไปตาม นโยบายทางธุรกิจ เป้าหมาย แผนการดําเนินงาน กลยุทธ์ทางธุรกิจ งบประมาณ และอํานาจบริหารต่างๆ ตามที่ได้รับอนุมัติจาก คณะกรรมการบริษัท ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเอื้อต่อ สภาพธุรกิจ • พิจารณาอนุมต ั ก ิ ารใช้จา่ ยเงินเพือ่ การลงทุนหรือการดําเนินงานต่างๆ การกู้ยืมหรือการขอสินเชื่อใดๆ จากสถาบันการเงิน การให้กู้ยืมเงิน ตลอดจนการเข้าเป็นผู้ค้ําประกัน เพื่อการทําธุรกรรมตามปกติของ บริษัทและบริษัทย่อย ตามที่คณะกรรมการบริษัทกําหนด • พิจารณาอนุมัติงบประมาณการขึ้นเงินเดือนหรือปรับระดับเงินเดือน พนักงานประจําปี และการจ่ายเงินรางวัลประจําปี (เงินโบนัส) ให้แก่ พนักงานของบริษัทและบริษัทย่อย • พิจารณาอนุมัตส ิ ั่งจ่ายเงินตามที่คณะกรรมการบริษัทกําหนด • เสนอโครงสร้างองค์กรและการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพของ บริษัทและบริษัทย่อยต่อคณะกรรมการบริษัท • คัดเลือก ว่าจ้าง เลิกจ้าง เลื่อนตําแหน่ง ลงโทษทางวินัย โยกย้าย ปรับระดับ ขึ้นเงินเดือน ปรับอัตราเงินเดือน กําหนดโบนัส สวัสดิการ หรือสิทธิประโยชน์อย่างอื่น ตลอดจนพิจารณาความดีความชอบ ประการอื่นของพนักงานของบริษัททุกระดับตําแหน่ง และให้มีอํานาจ มอบหมายให้กรรมการผู้อํานวยการใหญ่หรือผู้ได้รับมอบหมายให้ ทําการแทนของบริษัท เป็นผู้มีอํานาจแทนบริษัทในการลงนามใน สัญญาจ้างที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ภายใต้งบประมาณที่ได้รับอนุมัติจาก คณะกรรมการบริษัท

• อนุมัติการแต่งตั้งผู้แทนของบริษัทเข้าดํารงตําแหน่งเป็นกรรมการ และ/หรืออนุกรรมการในบริษัทย่อย เพื่อควบคุมดูแลการบริหารงาน ต่างๆ ตามที่ได้รับอนุมัติจากบริษัท ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และได้รับประโยชน์สูงสุด • กํากับดูแลและอนุมัติเรื่องที่เกี่ยวกับการดําเนินงานของบริษัท และ อาจแต่งตั้งหรือมอบหมายหรือมอบอํานาจให้บุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือหลายคนกระทําการอย่างหนึง่ อย่างใดแทนคณะกรรมการบริหาร ได้ตามที่เห็นสมควร เช่น แต่งตั้งคณะอนุกรรมการย่อยในการ พิจารณาการขึ้นเงินเดือนหรือกําหนดเงินโบนัสแก่พนักงานในระดับ ผู้บริหารตั้งแต่ผู้อํานวยการสํานักขึ้นไปจนถึงรองกรรมการ ผู้อํานวยการใหญ่ แต่งตั้งคณะอนุกรรมการย่อยชุดต่างๆ ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในกิจการเฉพาะทาง เพื่อบริหารและ กลั่นกรองงาน ก่อนที่จะนําเสนอต่อคณะกรรมการบริหาร โดยคณะกรรมการบริหารสามารถยกเลิก เปลี่ยนแปลง หรือแก้ไข ขอบเขตแห่งการมอบอํานาจนั้นๆ ได้ และ • ปฏิบัติหน้าที่อื่นใดตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัท ทั้งนี้ การมอบหมายอํานาจหน้าที่และความรับผิดชอบของ คณะกรรมการบริหารนั้น จะต้องไม่มีลักษณะเป็นการอนุมัติการเข้าทํา รายการที่ทําให้คณะกรรมการบริหาร หรือผู้รับมอบอํานาจจาก คณะกรรมการบริหาร สามารถอนุมัติรายการที่ตนหรือบุคคลที่อาจมี ความขัดแย้ง มีสว่ นได้เสีย หรืออาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์อน ่ื ใด กับบริษัทหรือบริษัทย่อยของบริษัท (ตามที่นิยามไว้ในประกาศ คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์) ซึ่งการอนุมัติ รายการในลักษณะดังกล่าวจะต้องเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท และ/หรือที่ประชุมผู้ถือหุ้น แล้วแต่กรณี เพื่อพิจารณาอนุมัติรายการ ดังกล่าวตามที่ข้อบังคับของบริษัทหรือบริษัทย่อยหรือกฎหมาย ที่เกี่ยวข้องกําหนด


รายงานการกํ า กั บ ดูแ ลกิ จ การ

96

ในปี 2555 มีการประชุมคณะกรรมการบริหารรวม 12 ครั้ง ดังมีรายละเอียดของการเข้าประชุมของกรรมการบริหารแต่ละท่าน นับถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2555 ต่อไปนี้

ชื่อ

ตําแหน่ง

จํานวนครั้งที่เข้าประชุม/ จํานวนครั้งของการประชุมทั้งหมด

1.

นายเจริญ สิริวัฒนภักดี

ประธานกรรมการบริหาร

2.

คุณหญิงวรรณา สิริวัฒนภักดี

รองประธานกรรมการบริหาร คนที่ 1

10/12 6/12

3.

นายณรงค์ ศรีสอ้าน

รองประธานกรรมการบริหาร คนที่ 2

12/12

4.

นายโกเมน ตันติวิวัฒนพันธ์

รองประธานกรรมการบริหาร คนที่ 3

11/12

5.

นายภุชชงค์ ชาญธนากิจ

รองประธานกรรมการบริหาร คนที่ 4

12/12 11/12

6.

นางสาวกนกนาฏ รังษีเทียนไชย

รองประธานกรรมการบริหาร คนที่ 5

7.

นายฐาปน สิริวัฒนภักดี

กรรมการผู้อํานวยการใหญ่

8.

นายสวัสดิ์ โสภะ

กรรมการรองกรรมการผู้อํานวยการใหญ่

10/12

9.

นายอวยชัย ตันทโอภาส

กรรมการรองกรรมการผู้อํานวยการใหญ่

11/12

7/12

10. นายสิทธิชัย ชัยเกรียงไกร

กรรมการรองกรรมการผู้อํานวยการใหญ่

11/12

11. ดร. พิษณุ วิเชียรสรรค์

กรรมการผู้ช่วยกรรมการผู้อํานวยการใหญ่

12/12

12. นายวิชัย ชัยยาวรานุรักษ์

ผู้ช่วยกรรมการผู้อํานวยการใหญ่

11/12

13. นายการณ์ จิตรวิมล

ผู้ช่วยกรรมการผู้อํานวยการใหญ่

12/12

14. นายแมทธิว กิจโอธาน

ผู้ช่วยกรรมการผู้อํานวยการใหญ่

7/12

15. นายฌอง เลอเบรอตง

ผู้ช่วยกรรมการผู้อํานวยการใหญ่

11/12

16. นายวิเชฐ ตันติวานิช (1)

ผู้ช่วยกรรมการผู้อํานวยการใหญ่

7/12

17. นายมารุต บูรณะเศรษฐกุล

ผู้ช่วยกรรมการผู้อํานวยการใหญ่

10/12

18. นายประภากร ทองเทพไพโรจน์ (2)

ผู้ช่วยกรรมการผู้อํานวยการใหญ่

6/12

ผู้ช่วยกรรมการผู้อํานวยการใหญ่

4/12

19. นายพลภัทร สุวรรณศร หมายเหตุ

(3)

(1) นายวิเชฐ ตันติวานิช ได้รับแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งผู้ช่วยกรรมการผู้อํานวยการใหญ่ เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2555 โดยคําสั่งประธานกรรมการบริหาร ครั้งที่ 2/2555 เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2555 และได้รับแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งกรรมการบริหารโดยที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 3/2555 เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2555 (2) นายประภากร ทองเทพไพโรจน์ ได้รับแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งผู้ช่วยกรรมการผูอ้ ํานวยการใหญ่ เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2555 โดยคําสั่งประธานกรรมการบริหาร ครั้งที่ 3/2555 เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2555 และได้รับแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งกรรมการบริหารโดยที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 5/2555 เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2555 (3) นายพลภัทร สุวรรณศร พ้นจากตําแหน่งกรรมการบริหารและตําแหน่งผู้ช่วยกรรมการผู้อํานวยการใหญ่ เนื่องจากได้รับแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่ง ที่ปรึกษากรรมการผู้อํานวยการใหญ่ เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2555


รายงานประจํ า ปี 2555 บริ ษ ั ท ไทยเบฟเวอเรจ จํ า กั ด (มหาชน)

รายงานการกํ า กั บ ดูแ ลกิ จ การ

97

คณะจัดการ คณะกรรมการบริษัทอนุมัติการตั้งคณะจัดการโดยให้อํานาจแก่ กรรมการผู้อํานวยการใหญ่ในการกํากับดูแล ทั้งนี้ กรรมการ ผู้อํานวยการใหญ่ได้แต่งตั้งคณะจัดการขึ้นในเดือนมกราคม 2551 โดยสมาชิกในคณะจัดการมาจากผู้บริหารระดับสูงที่ดูแลสายงานต่างๆ ตั้งแต่เริ่มตั้งคณะจัดการมาถึงปัจจุบันได้มีการเปลี่ยนแปลง ผู้ดํารงตําแหน่งเป็นคณะจัดการ เนื่องจากการแต่งตั้งเพิ่มเติมและ การเปลี่ยนหน้าที่ความรับผิดชอบ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2555 คณะจัดการประกอบด้วยผู้บริหารระดับสูง 12 ท่าน ได้แก่ นายฐาปน สิริวัฒนภักดี นายสวัสดิ์ โสภะ นายอวยชัย ตันทโอภาส นายสิทธิชัย ชัยเกรียงไกร ดร. พิษณุ วิเชียรสรรค์ นายวิชัย ชัยยาวรานุรักษ์ นายการณ์ จิตรวิมล นายแมทธิว กิจโอธาน นายฌอง เลอเบรอตง นายวิเชฐ ตันติวานิช นายมารุต บูรณะเศรษฐกุล และนายประภากร ทองเทพไพโรจน์ โดยมีนายฐาปน สิริวัฒนภักดี เป็นประธานคณะจัดการ

คณะกรรมการลงทุน ในการลงทุนเพื่อขยายกิจการของบริษัท บริษัทได้ดําเนินการอย่าง ระมัดระวังและรอบคอบ โดยคณะกรรมการบริหารของบริษัทได้แต่งตั้ง คณะกรรมการลงทุน ประกอบด้วยผู้บริหารระดับสูงจากสายงานต่างๆ จํานวน 9 ท่าน โดยมีนายณรงค์ ศรีสอ้าน เป็นประธานกรรมการ นายฐาปน สิริวัฒนภักดี และนายสิทธิชัย ชัยเกรียงไกร เป็นรองประธาน กรรมการ ทําหน้าที่พิจารณาและให้ความเห็นในการเข้าซื้อ/ขายกิจการ ทรัพย์สิน รวมทั้งการควบรวมธุรกิจของกลุ่มบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จํากัด (มหาชน) ทั้งในและต่างประเทศเพื่อให้คณะกรรมการบริหาร พิจารณาดําเนินการ

คณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการบริษัทแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ ประกอบด้วยกรรมการ 4 ท่าน ได้แก่ นายประสิทธิ์ โฆวิไลกูล ศาสตราจารย์คนึง ฦๅไชย นายมนู เลียวไพโรจน์ และนายอึ๊ง ตัก พัน โดยมีนายประสิทธิ์ โฆวิไลกูล เป็นประธานกรรมการตรวจสอบ และนายสมศักดิ์ แซ่ก๊วย ผู้อํานวยการสํานักตรวจสอบภายใน เป็นเลขานุการคณะกรรมการตรวจสอบ กรรมการตรวจสอบมีคุณสมบัติเช่นเดียวกับกรรมการอิสระและ ไม่เป็นกรรมการที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัทให้ตัดสินใจ ในการดําเนินงานของบริษัท บริษัทย่อย บริษัทร่วม หรือนิติบุคคล ที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ในการนี้ นายอึ๊ง ตัก พัน ได้รับแต่งตั้งจากคณะกรรมการบริษัทให้เป็นหัวหน้าคณะกรรมการ ตรวจสอบในส่วนของการทําธุรกรรมระหว่างกลุ่มบริษัทกับบุคคล ที่มีส่วนได้เสีย

คณะกรรมการตรวจสอบจะจัดประชุมอย่างน้อยไตรมาสละ 1 ครั้งหรือ มากกว่านั้น หากมีกรณีจําเป็นเร่งด่วน โปรดพิจารณาในรายงาน ของคณะกรรมการตรวจสอบถึงผลการปฏิบัติงานตามหน้าที่และ ความรับผิดชอบของคณะกรรมการตรวจสอบในปี 2555 (หมายเหตุ :- นายสถาพร กวิตานนท์ พ้นจากตําแหน่งกรรมการอิสระ และประธานคณะกรรมการตรวจสอบ เนื่องจากถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2555)

คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง คณะกรรมการบริษัทแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง ประกอบด้วยกรรมการบริษัทและพนักงานซึ่งเป็นผู้บริหาร รวม 17 ท่าน กรรมการบริษัทได้แก่ นายณรงค์ ศรีสอ้าน นายภุชชงค์ ชาญธนากิจ นางสาวกนกนาฏ รังษีเทียนไชย นายฐาปน สิริวัฒนภักดี นายสวัสดิ์ โสภะ นายอวยชัย ตันทโอภาส นายสิทธิชัย ชัยเกรียงไกร ดร. พิษณุ วิเชียรสรรค์ และผู้บริหารได้แก่ นายวิชัย ชัยยาวรานุรักษ์ นายการณ์ จิตรวิมล นายแมทธิว กิจโอธาน นายฌอง เลอเบรอตง นายวิเชฐ ตันติวานิช นายมารุต บูรณะเศรษฐกุล นายประภากร ทองเทพไพโรจน์ นายเฉลิม พรรัชกิจ และนายมหินทร์ กรัยวิเชียร โดยมีนายณรงค์ ศรีสอ้าน เป็นประธานกรรมการบริหารความเสี่ยง และนายสมศักดิ์ แซ่ก๊วย ผู้อํานวยการสํานักตรวจสอบภายใน เป็นเลขานุการคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง ทั้งนี้ ผู้ช่วยกรรมการ ผู้อํานวยการใหญ่จะเป็นกรรมการบริหารความเสี่ยงโดยตําแหน่ง คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงมีหน้าที่พิจารณาและอนุมัตินโยบาย การบริหารความเสี่ยงและกรอบการบริหารความเสี่ยงของบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่อย พิจารณาและวิเคราะห์ ความเสี่ยงทั้งภายในและภายนอกที่เกี่ยวข้องหรือมีผลกระทบต่อ การดําเนินธุรกิจ กําหนดระดับความเสี่ยงของปัจจัยต่างๆ ที่บริษัท และบริษัทย่อยพึงรับได้ กําหนดและทบทวนหลักเกณฑ์การบริหาร ความเสี่ยงทางด้านต่างๆ พิจารณาแผนฉุกเฉินของฝ่ายต่างๆ ให้ สามารถนําไปปฏิบัติเมื่อมีความจําเป็น อนุมัติแผนการบริหารความเสี่ยง กํากับดูแลและติดตามความมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลของ การบริหารความเสี่ยง และจัดทํารายงานการบริหารความเสี่ยง ระบบเตือนภัย และมาตรการป้องกันให้ครอบคลุมความเสี่ยง ในการดําเนินธุรกิจต่อคณะกรรมการบริษัท

คณะกรรมการสรรหา คณะกรรมการบริษัทแต่งตั้งคณะกรรมการสรรหา โดยในปี 2555 คณะกรรมการสรรหาประกอบด้วยนายประสิทธิ์ โฆวิไลกูล นายมนู เลียวไพโรจน์ และคุณหญิงวรรณา สิริวัฒนภักดี โดยมีนายประสิทธิ์ โฆวิไลกูล เป็นประธานกรรมการสรรหา และนายธิติ สุวรรณรัตน์ เป็นเลขานุการคณะกรรมการสรรหา ทั้งนี้ กรรมการสรรหาข้างมาก รวมถึงประธานคณะกรรมการสรรหามาจากกรรมการอิสระ


รายงานการกํ า กั บ ดูแ ลกิ จ การ

98

คณะกรรมการสรรหามีหน้าที่สรรหาบุคคลที่สมควรได้รับการเสนอชื่อ เป็นกรรมการ และ/หรือกรรมการผู้อํานวยการใหญ่ และกําหนดวิธีการ และหลักเกณฑ์ในการสรรหา

คณะกรรมการพิจารณาผลตอบแทน คณะกรรมการบริษัทแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาผลตอบแทน โดยในปี 2555 คณะกรรมการพิจารณาผลตอบแทนประกอบด้วย นายประสิทธิ์ โฆวิไลกูล นายมนู เลียวไพโรจน์ และ ศาสตราจารย์คนึง ฦๅไชย โดยมีนายประสิทธิ์ โฆวิไลกูล เป็นประธาน กรรมการพิจารณาผลตอบแทน และนายธิติ สุวรรณรัตน์ เป็นเลขานุการคณะกรรมการพิจารณาผลตอบแทน ทั้งนี้ กรรมการพิจารณาผลตอบแทนทุกท่านมาจากกรรมการอิสระ คณะกรรมการพิจารณาผลตอบแทนมีหน้าที่กําหนดวิธีการและ หลักเกณฑ์ในการกําหนดค่าตอบแทนประเภทต่างๆ ที่เหมาะสม รวมถึง การพิจารณาสอบทานการให้ค่าตอบแทนของเจ้าหน้าที่บริหารระดับสูง

สมาชิกภาพของคณะกรรมการบริษัท หลักเกณฑ์ที่ 4 เพื่อให้เกิดความโปร่งใสในการแต่งตั้งกรรมการของบริษัท คณะกรรมการสรรหาจะทบทวนและประเมินคุณสมบัติของผู้ที่จะเป็น กรรมการ (รวมทั้งกรรมการบริหาร) ก่อนที่จะเสนอชื่อต่อคณะกรรมการ บริษัท นอกจากนี้ คณะกรรมการสรรหายังมีหน้าที่ทบทวนการครบวาระ และการต่อวาระการดํารงตําแหน่งของกรรมการแต่ละท่าน ให้คณะกรรมการบริษัทพิจารณาเพื่อเสนอการแต่งตั้งต่อที่ประชุม ผู้ถือหุ้นในการประชุมสามัญประจําปี เพื่อให้เป็นไปตามที่ข้อบังคับของ บริษัทกําหนด

หลักเกณฑ์ที่ 3

นอกจากนี้ คณะกรรมการพิจารณาผลตอบแทนจะกําหนดวิธีการและ หลักเกณฑ์ในการกําหนดค่าตอบแทนประเภทต่างๆ ที่เหมาะสมและ สมเหตุสมผลให้แก่กรรมการและกรรมการบริหาร รวมถึงการสอบทาน ปรับปรุง แก้ไข หรือเพิกถอนวิธีการและหลักเกณฑ์ดังกล่าว เพื่อเสนอ ต่อที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจําปีของบริษัทเพื่ออนุมัติ และพิจารณา สอบทานการให้ค่าตอบแทนของเจ้าหน้าที่บริหารระดับสูง เพื่อเสนอ ต่อที่ประชุมคณะกรรมการของบริษัทตามสมควรแก่กรณี

ประธานกรรมการบริษัทเป็นผู้ส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่าง คณะกรรมการบริษัท คณะกรรมการบริหาร และฝ่ายจัดการ และ เป็นผู้อนุมัติการกําหนดวาระของการประชุมคณะกรรมการบริษัท และคณะกรรมการบริหารในฐานะที่เป็นประธานกรรมการบริหาร และ กรรมการผู้อํานวยการใหญ่เป็นผู้ควบคุมการให้ข้อมูลเพื่อให้มั่นใจว่า คณะผู้บริหารและคณะกรรมการบริษัทได้รับข้อมูลของบริษัทเพื่อ ประกอบการพิจารณาดําเนินการต่างๆ ภายในกําหนดระยะเวลา

ในการดําเนินงานตามหน้าที่ที่รับผิดชอบนั้น คณะกรรมการสรรหา และคณะกรรมการพิจารณาผลตอบแทนได้ปฏิบัติตามกฎหมายและ กฎระเบียบของตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ที่มีผลบังคับใช้กับบริษัท ทั้งนี้ ในการปฏิบัติหน้าที่ คณะกรรมการสรรหาและคณะกรรมการ พิจารณาผลตอบแทนได้จัดทํากฎระเบียบว่าด้วยการปฏิบัติงาน และนําเสนอต่อคณะกรรมการบริษัทเพื่อพิจารณาอนุมัติด้วย

ประธานกรรมการและกรรมการผู้อํานวยการใหญ่

ประธานกรรมการบริษัทและกรรมการผู้อํานวยการใหญ่ต่างทําหน้าที่ ของตนเพื่อกํากับดูแลการดําเนินธุรกิจให้สอดคล้องกับนโยบายของ คณะกรรมการบริษัทและตามโครงสร้างองค์กรของบริษัท


รายงานประจํ า ปี 2555 บริ ษ ั ท ไทยเบฟเวอเรจ จํ า กั ด (มหาชน)

รายงานการกํ า กั บ ดูแ ลกิ จ การ

99

ผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการบริษัท

นโยบายพัฒนาผลตอบแทน

หลักเกณฑ์ที่ 5

หลักเกณฑ์ที่ 7

ในการดําเนินกิจการของบริษัท คณะกรรมการได้ปฏิบัติหน้าที่ ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและระมัดระวัง รวมถึงรักษาผลประโยชน์ของ บริษัท กรรมการจะประเมินตนเองในการปฏิบัติตามหน้าที่และ ความรับผิดชอบ เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายและมติของผู้ถือหุ้น

คณะกรรมการพิจารณาผลตอบแทนได้รบ ั มอบหมายจากคณะกรรมการ บริษัทให้เป็นผู้กําหนดค่าตอบแทนของกรรมการบริษัทและ/หรือ ผู้บริหาร เพื่อเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นพิจารณาอนุมัติต่อไป โดยการปรึกษาหารือกับประธานกรรมการบริษัท

การเข้าถึงข้อมูล

ในกรณีที่กรรมการในคณะกรรมการพิจารณาผลตอบแทนมีส่วนได้ ส่วนเสียในเรื่องที่พิจารณา กรรมการท่านนั้นจะไม่ร่วมพิจารณา และอนุมัติเรื่องดังกล่าว

หลักเกณฑ์ที่ 6 บริษัทมีความมุ่งมั่นให้คณะกรรมการบริษัทได้รับข้อมูลที่เพียงพอ ครบถ้วน ต่อเนื่อง และทันเวลาก่อนการประชุมคณะกรรมการบริษัท ทุกครั้ง ทั้งนี้ กรรมการบริษัทสามารถติดต่อเลขานุการบริษัทได้ โดยตรงอย่างอิสระ เลขานุการบริษัทมีหน้าที่ให้คําปรึกษาแก่คณะกรรมการบริษัทในเรื่อง ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติตามกฎหมายบริษัทมหาชน กฎหมายหุ้นส่วน บริษัท รวมถึงกฎหมายหลักทรัพย์และระเบียบต่างๆ ที่ใช้บังคับแก่บริษัท โดยการประสานงานและปรึกษาหารือกับสํานักกฎหมาย ทั้งนี้ เพื่อให้ มั่นใจได้ว่าบริษัทได้ปฏิบต ั ิตามกฎหมายและกฎระเบียบที่มีผลบังคับใช้ กับบริษัท บริษัทจึงได้จัดตั้งสายงานกํากับดูแล (Compliance Unit) ภายใต้สํานักเลขานุการบริษัททําหน้าที่ดูแลรับผิดชอบหน่วยงาน ดังกล่าว และสนับสนุนการทํางานของเลขานุการบริษัท คณะกรรมการ บริษัทจะเป็นผู้อนุมัติการแต่งตั้งและถอดถอนเลขานุการบริษัท ในปีนี้เลขานุการบริษัทได้เข้าร่วมในการประชุมคณะกรรมการบริษัท และการประชุมคณะกรรมการบริหารทุกครั้ง

ระดับและประเภทของผลตอบแทน หลักเกณฑ์ที่ 8 การกําหนดระดับและประเภทของผลตอบแทนสําหรับกรรมการบริษัท และกรรมการบริหารนั้นเป็นไปตามผลประกอบการของบริษัท ภาระหน้าที่ ความรับผิดชอบและผลงานเฉพาะบุคคล ซึ่งรวมถึง ผู้บริหารระดับสูงของบริษัทด้วย การอนุมัติค่าตอบแทนกรรมการบริษัท จะดําเนินการตามขั้นตอนและ หลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ชัดเจนและโปร่งใสตามกฎหมายและสอดคล้องกับ Code of Corporate Governance 2005 ของตลาดหลักทรัพย์ สิงคโปร์ อนึ่ง บริษัทได้ทําสัญญาว่าจ้างระยะยาวกับ ดร. พิษณุ วิเชียรสรรค์ ซึ่งดํารงตําแหน่งกรรมการบริษัท กรรมการผู้จัดการบริษัท เบียร์ไทย (1991) จํากัด (มหาชน) และกรรมการผู้จัดการบริษัท คอสมอส บริวเวอรี่ (ประเทศไทย) จํากัด และเป็นผู้เชี่ยวชาญอาวุโสด้านเทคนิค การผลิตเบียร์


รายงานการกํ า กั บ ดูแ ลกิ จ การ

100

การเปิดเผยข้อมูลผลตอบแทน หลักเกณฑ์ที่ 9 กรรมการและผู้บริหารระดับสูงของบริษัทได้รับผลตอบแทนในรอบปีบัญชี สิ้นสุด วันที่ 31 ธันวาคม 2555 แบ่งตามระดับค่าตอบแทน ทุกๆ จํานวนเงิน 250,000 เหรียญสิงคโปร์ (โดยคํานวณจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ 1 เหรียญสิงคโปร์ = 24.50 บาท) มีรายละเอียดดังต่อไปนี้ 9.1 ระดับผลตอบแทน หน่วย: เหรียญสิงคโปร์ ระดับผลตอบแทน ชื่อ

ตํ่ากว่า 250,000

250,000 ถึง 499,999

500,000 หรือเทียบเท่าขึ้นไป

9.1.1 กรรมการบริษัท 1.

นายเจริญ สิริวัฒนภักดี

2.

คุณหญิงวรรณา สิริวัฒนภักดี

3.

นายณรงค์ ศรีสอ้าน

4.

นายโกเมน ตันติวิวัฒนพันธ์

5.

นายภุชชงค์ ชาญธนากิจ

6.

นางสาวกนกนาฏ รังษีเทียนไชย

7.

นายสถาพร กวิตานนท์ (1)

8.

นายประสิทธิ์ โฆวิไลกูล (2)

9.

ศาสตราจารย์คนึง ฦๅไชย

10. นายมนู เลียวไพโรจน์ 11. นายอึ๊ง ตัก พัน 12. นายไมเคิล เล่า ไวย เคียง 13. ศาสตราจารย์นายแพทย์พรชัย มาตังคสมบัติ 14. นายศักดิ์ทิพย์ ไกรฤกษ์ 15. พลเอกนายแพทย์ชูฉัตร กําภู ณ อยุธยา 16. นายวิวัฒน์ เตชะไพบูลย์ 17. นายปณต สิริวัฒนภักดี 18. นายฐาปน สิริวัฒนภักดี 19. นายสวัสดิ์ โสภะ 20. นายอวยชัย ตันทโอภาส 21. นายสิทธิชัย ชัยเกรียงไกร 22. ดร. พิษณุ วิเชียรสรรค์

• • • • • • • • • • • • • • • • • • • • • •


รายงานประจํ า ปี 2555 บริ ษ ั ท ไทยเบฟเวอเรจ จํ า กั ด (มหาชน)

รายงานการกํ า กั บ ดูแ ลกิ จ การ

101

ระดับผลตอบแทน ชื่อ

ตํ่ากว่า 250,000

250,000 ถึง 499,999

500,000 หรือเทียบเท่าขึ้นไป

9.1.2 ผู้บริหารระดับสูง 1.

นายวิชัย ชัยยาวรานุรักษ์

2.

นายการณ์ จิตรวิมล

3.

นายแมทธิว กิจโอธาน

4.

นายฌอง เลอเบรอตง

5.

นายวิเชฐ ตันติวานิช (3)

6.

นายมารุต บูรณะเศรษฐกุล

7.

นายประภากร ทองเทพไพโรจน์ (4)

8.

นายพลภัทร สุวรรณศร (5)

หมายเหตุ

• • • • • • • •

(1) นายสถาพร กวิตานนท์ พ้นจากตําแหน่งกรรมการอิสระและประธานกรรมการตรวจสอบ เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2555 เนื่องจากถึงแก่กรรม (2) นายประสิทธิ์ โฆวิไลกูล ได้รับแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งกรรมการอิสระและประธานกรรมการตรวจสอบของบริษัท โดยที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจําปี 2555 เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2555 (3) นายวิเชฐ ตันติวานิช ได้รับแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งผู้ช่วยกรรมการผู้อํานวยการใหญ่ เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2555 โดยคําสั่งประธานกรรมการบริหาร ครั้งที่ 2/2555 เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2555 และได้รับแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งกรรมการบริหารโดยที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 3/2555 เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2555 (4) นายประภากร ทองเทพไพโรจน์ ได้รับแต่งตั้งให้ดาํ รงตําแหน่งผู้ช่วยกรรมการผูอ้ ํานวยการใหญ่ เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2555 โดยคําสั่งประธานกรรมการบริหาร ครั้งที่ 3/2555 เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2555 และได้รับแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งกรรมการบริหารโดยที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 5/2555 เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2555 (5) นายพลภัทร สุวรรณศร พ้นจากตําแหน่งกรรมการบริหารและตําแหน่งผู้ช่วยกรรมการผู้อํานวยการใหญ่ เนื่องจากได้รับแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่ง ที่ปรึกษากรรมการผู้อํานวยการใหญ่ เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2555


รายงานการกํ า กั บ ดูแ ลกิ จ การ

102

9.2 ประเภทผลตอบแทน รายละเอียดผลตอบแทนแยกตามประเภท (1) เงินเดือน (2) เงินโบนัส รวมถึงเงินที่จ่ายโดยอ้างอิงกับผลประกอบการของบริษัท (3) ประโยชน์อื่น และ (4) ค่าตอบแทนในรูปแบบหุ้นและผลประโยชน์ระยะยาว ซึ่งกรรมการและผู้บริหารระดับสูงของบริษัทได้รับในรอบปีบัญชี สิ้นสุด วันที่ 31 ธันวาคม 2555 มีรายละเอียดดังนี้ ประเภทผลตอบแทน

ชื่อ

เงินเดือน

โบนัส รวมถึงเงินที่จ่าย โดยอ้างอิงกับ ผลประกอบการของบริษัท

ประโยชน์อื่น

ค่าตอบแทน ในรูปแบบหุ้น หรือ ผลประโยชน์ระยะยาว

9.2.1 กรรมการบริษัท 1.

นายเจริญ สิริวัฒนภักดี

80%

20%

-

-

2.

คุณหญิงวรรณา สิริวัฒนภักดี

80%

20%

-

-

3.

นายณรงค์ ศรีสอ้าน

48%

52%

-

-

4.

นายโกเมน ตันติวิวัฒนพันธ์

80%

20%

-

-

5.

นายภุชชงค์ ชาญธนากิจ

74%

26%

-

-

6.

นางสาวกนกนาฏ รังษีเทียนไชย

47%

53%

-

-

7.

นายสถาพร กวิตานนท์ (1)

100%

-

-

-

8.

นายประสิทธิ์ โฆวิไลกูล (2)

100%

-

-

-

9.

ศาสตราจารย์คนึง ฦๅไชย

100%

-

-

-

10. นายมนู เลียวไพโรจน์

100%

-

-

-

11. นายอึ๊ง ตัก พัน

100%

-

-

-

12. นายไมเคิล เล่า ไวย เคียง

100%

-

-

-

13. ศาสตราจารย์นายแพทย์พรชัย มาตังคสมบัติ

100%

-

-

-

14. นายศักดิ์ทิพย์ ไกรฤกษ์

100%

-

-

-

15. พลเอกนายแพทย์ชูฉัตร กําภู ณ อยุธยา

100%

-

-

-

16. นายวิวัฒน์ เตชะไพบูลย์

100%

-

-

-

17. นายปณต สิริวัฒนภักดี

100%

-

-

-

18. นายฐาปน สิริวัฒนภักดี

51%

49%

-

-

19. นายสวัสดิ์ โสภะ

52%

48%

-

-

20. นายอวยชัย ตันทโอภาส

52%

48%

-

-

21. นายสิทธิชัย ชัยเกรียงไกร

49%

51%

-

-

22. ดร. พิษณุ วิเชียรสรรค์

51%

49%

-

-


รายงานประจํ า ปี 2555 บริ ษ ั ท ไทยเบฟเวอเรจ จํ า กั ด (มหาชน)

รายงานการกํ า กั บ ดูแ ลกิ จ การ

103

ประเภทผลตอบแทน

ชื่อ

เงินเดือน

โบนัส รวมถึงเงินที่จ่าย โดยอ้างอิงกับ ผลประกอบการของบริษัท

ประโยชน์อื่น

ค่าตอบแทน ในรูปแบบหุ้น หรือ ผลประโยชน์ระยะยาว

9.2.2 ผู้บริหารระดับสูง 1.

นายวิชัย ชัยยาวรานุรักษ์

53%

47%

-

-

2.

นายการณ์ จิตรวิมล

81%

19%

-

-

3.

นายแมทธิว กิจโอธาน

60%

40%

-

-

4.

นายฌอง เลอเบรอตง

60%

40%

-

-

5.

นายวิเชฐ ตันติวานิช (3)

92%

8%

-

-

6.

นายมารุต บูรณะเศรษฐกุล

53%

47%

-

-

7.

นายประภากร ทองเทพไพโรจน์ (4)

85%

15%

-

-

8.

นายพลภัทร สุวรรณศร (5)

47%

53%

-

-

หมายเหตุ

(1) นายสถาพร กวิตานนท์ พ้นจากตําแหน่งกรรมการอิสระและประธานกรรมการตรวจสอบ เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2555 เนื่องจากถึงแก่กรรม (2) นายประสิทธิ์ โฆวิไลกูล ได้รับแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งกรรมการอิสระและประธานกรรมการตรวจสอบของบริษัท โดยที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจําปี 2555 เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2555 (3) นายวิเชฐ ตันติวานิช ได้รับแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งผู้ชว่ ยกรรมการผู้อํานวยการใหญ่ เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2555 โดยคําสั่งประธานกรรมการบริหาร ครั้งที่ 2/2555 เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2555 และได้รับแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งกรรมการบริหารโดยที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 3/2555 เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2555 (4) นายประภากร ทองเทพไพโรจน์ ได้รับแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งผู้ช่วยกรรมการผู้อํานวยการใหญ่ เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2555 โดยคําสั่งประธานกรรมการบริหาร ครั้งที่ 3/2555 เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2555 และได้รับแต่งตัง้ ให้ดํารงตําแหน่งกรรมการบริหารโดยที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 5/2555 เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2555 (5) นายพลภัทร สุวรรณศร พ้นจากตําแหน่งกรรมการบริหารและตําแหน่งผู้ช่วยกรรมการผู้อํานวยการใหญ่ เนื่องจากได้รับแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่ง ที่ปรึกษากรรมการผู้อํานวยการใหญ่ เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2555

ทั้งนี้ ตามมติของที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 2/2547 เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2547 กรรมการ และ/หรือกรรมการบริหารของ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จํากัด (มหาชน) และ/หรือบริษัทย่อยที่ได้รับเงินเดือนประจําจากบริษัทใดบริษัทหนึ่งแล้ว จะไม่ได้รับค่าตอบแทนในฐานะกรรมการ และ/หรือกรรมการบริหารอีก

ความรับผิดชอบ

คณะกรรมการตรวจสอบ

หลักเกณฑ์ที่ 10

หลักเกณฑ์ที่ 11

คณะกรรมการบริษท ั มีหน้าทีร่ บ ั ผิดชอบดูแลให้การประเมินผลประกอบการ ของบริษัทมีความสมดุลและง่ายต่อการทําความเข้าใจ นอกจากนั้น ยังมีหน้าที่จัดทํางบการเงินรายไตรมาสและประจําปีให้กับผู้ถือหุ้น ของบริษัท ทั้งนี้ บริษัทจะเปิดเผยงบการเงินรายไตรมาสของ สามไตรมาสแรกให้ผู้ถือหุ้นทราบภายใน 45 วันนับจากวันสิ้นสุดแต่ละ ไตรมาส และรายงานผลประกอบการประจําปีภายใน 60 วันนับจาก วันสิ้นสุดรอบปีบัญชี นอกจากนี้ เมื่อเปิดเผยงบการเงินแล้ว ผู้บริหาร ระดับสูงยังได้เข้าร่วมในการบรรยายสรุปผลประกอบการประจําไตรมาส และร่วมประชุมผ่านทางโทรศัพท์ เพื่อให้เป็นที่แน่ใจว่านักลงทุนได้รับ ข้อมูลทันต่อเวลา

คณะกรรมการบริษัทแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ โดยในปี 2555 ประกอบด้วยกรรมการอิสระ 4 ท่าน เป็นสัญชาติไทย 3 ท่าน และ สัญชาติสิงคโปร์ 1 ท่าน ซึ่งมีหน้าที่ความรับผิดชอบตามที่กําหนด ไว้ในกฎบัตรของคณะกรรมการตรวจสอบ อาทิเช่น ทําหน้าที่ดูแล ให้บริษัทและบริษัทย่อยมีระบบการตรวจสอบและการควบคุมภายใน ที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ ดูแลกระบวนการจัดทําและการเปิดเผย ข้อมูลในรายงานทางการเงินของบริษัทและบริษัทย่อยให้มีความถูกต้อง ครบถ้วนเป็นที่เชื่อถือได้ ตลอดจนสอบทานให้บริษัทและบริษัทย่อย ปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบ หรือข้อกําหนดของตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทยและตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ รวมถึงการสอบทาน


รายงานการกํ า กั บ ดูแ ลกิ จ การ

104

การทํารายการระหว่างบริษัทและบริษัทย่อยกับบุคคลที่เกี่ยวโยงกัน เพื่อป้องกันมิให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์

การควบคุมภายใน หลักเกณฑ์ที่ 12

คณะกรรมการตรวจสอบยังได้เสนอความเห็นการพิจารณาแต่งตั้ง ผู้สอบบัญชี และค่าสอบบัญชีของบริษัทและบริษัทในเครือต่อ คณะกรรมการบริษัทเพื่อขออนุมัติต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้น โดยในที่ประชุม สามัญผู้ถือหุ้นประจําปี 2555 เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2555 ได้มีมติ เป็นเอกฉันท์อนุมัติให้แต่งตั้งนางสาวนิตยา เชษฐโชติรส ผู้สอบบัญชี รับอนุญาตเลขที่ 4439 หรือ นายนิรันดร์ ลีลาเมธวัฒน์ ผู้สอบบัญชี รับอนุญาตเลขที่ 2316 หรือ นางสาวอรวรรณ ศิรริ ต ั นวงศ์ ผูส ้ อบบัญชี รับอนุญาตเลขที่ 3757 คนใดคนหนึ่งของบริษัท เคพีเอ็มจี ภูมิไชย สอบบัญชี จํากัด (“เคพีเอ็มจี”) เป็นผู้สอบบัญชีของบริษัท ซึ่งการแต่งตั้งผู้สอบบัญชีดังกล่าวจะเป็นไปตามข้อ 713(1) ของคู่มือเกี่ยวกับการขอให้รับหลักทรัพย์เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ (คู่มือเกี่ยวกับการขอให้รับหลักทรัพย์) ตามงบการเงินสําหรับปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2555 กลุ่มบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ ซึ่งประกอบด้วย บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่อยทั้งหมด ได้ชําระค่าสอบบัญชีให้แก่ผู้สอบบัญชี เป็นจํานวนเงินทั้งสิ้นประมาณ 65.4 ล้านบาท โดยค่าสอบบัญชีเฉพาะ ของบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จํากัด (มหาชน) จํานวนเงิน 7,555,000 บาท เป็นไปตามที่ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจําปี 2555 ทั้งนี้ บริษัทไม่มีการจ่ายค่าใช้จ่ายอื่นนอกเหนือจากค่าสอบบัญชี (Non-Audit Fee) ให้แก่ผู้สอบบัญชี โดยปกติการแต่งตั้งผู้สอบบัญชีของบริษัทและบริษัทย่อยในกลุ่ม ไทยเบฟเวอเรจจะแต่งตั้งบริษัทสอบบัญชี กล่าวคือ เคพีเอ็มจีและ บริษัทในกลุ่มเคพีเอ็มจีในประเทศต่างๆ เป็นผู้สอบบัญชีของบริษัท และบริษัทย่อย อย่างไรก็ดี ในปี 2555 มีบริษัทย่อยในต่างประเทศของ บริษัทจํานวน 4 บริษัท คือ อินเตอร์เนชั่นแนล เบฟเวอเรจ โฮลดิ้งส์ ลิมิเต็ด ยูเอสเอ อิงค์, เบสท์ สปิริตส์ คอมพานี ลิมิเต็ด, อินเตอร์เบฟ มาเลเซีย เอสดีเอ็น บีเอชดี และอินเตอร์เบฟ (แคมโบเดีย) คอมพานี ลิมิเต็ด ได้ใช้บริการผู้สอบบัญชีจากสํานักงานอื่นไม่ใช่เคพีเอ็มจี ซึ่งคณะกรรมการตรวจสอบและคณะกรรมการบริษัทได้พจิ ารณา จนเป็นที่พอใจแล้วเห็นว่าการแต่งตั้งดังกล่าวไม่ลดทอนมาตรฐานและ ประสิทธิภาพของการตรวจสอบบัญชีของสํานักงานตรวจสอบบัญชี ของบริษัท ดังนั้น การแต่งตั้งผู้สอบบัญชี จึงเป็นไปตามข้อ 716 ของคู่มือเกี่ยวกับการขอให้รับหลักทรัพย์

คณะกรรมการบริษัทยึดมั่นในระบบควบคุมการบริหารงานภายใน ที่เหมาะสม ดังนั้นเพื่อรักษาผลประโยชน์จากการลงทุนของผู้ถือหุ้น และทรัพย์สินของบริษัท คณะกรรมการบริษัทจึงได้แต่งตั้ง คณะกรรมการบริหาร ซึ่งกรรมการบริหารแต่ละท่านรับผิดชอบดูแล สายงานและหน่วยธุรกิจต่างๆ ให้มีการควบคุมในระดับที่เหมาะสม เพียงพอทั้งด้านการเงิน การดําเนินงานและการปฏิบัติตามกฎหมาย และระเบียบต่างๆ รวมทั้งนโยบายด้านการบริหารความเสี่ยง เพื่อเป็นการสนับสนุนการควบคุมภายในส่วนที่เกี่ยวกับการปฏิบัติตาม กฎระเบียบ คณะกรรมการบริษัทได้มอบหมายให้สํานักเลขานุการบริษัท ทําหน้าที่ในการกํากับดูแลการปฏิบัติตามกฎหมายบริษัทจํากัด บริษัทมหาชนจํากัด และกฎหมายหลักทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับบริษัท นอกเหนือไปจากการปฏิบัติตามกฎหมายและกฎระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องแล้ว คณะกรรมการบริษัทยังได้อนุมัติให้ประกาศใช้ จรรยาบรรณบริษัทเป็นแนวทางปฏิบัติแก่กรรมการ ผู้บริหาร และ พนักงานของบริษัทด้วย ซึ่งคณะกรรมการบริษัทได้กําหนดนโยบาย และหลักในการปฏิบัติสําหรับการดําเนินการเกี่ยวกับข้อมูลเพื่อป้องกัน การใช้ข้อมูลภายในเพื่อผลประโยชน์ส่วนตนหรือผู้อื่นในทางมิชอบ โดยกําหนดให้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของบริษท ั มีหน้าที่ รับผิดชอบในการป้องกันมิให้มีการเปิดเผยข้อมูลที่ยังมิได้เปิดเผยต่อ สาธารณชนซึง่ อาจส่งผลกระทบต่อราคาหุน ้ และตราสารทางการเงินอืน ่ ๆ ของบริษัท ก่อนที่ตลาดหลักทรัพย์จะได้รับข้อมูลนั้น และเปิดเผยข้อมูล ดังกล่าวผ่านระบบข้อมูลของตลาดหลักทรัพย์ หรือในขณะที่ ข้อมูลดังกล่าวยังมีความอ่อนไหวต่อราคาซื้อขายหลักทรัพย์ นอกจากนี้ คณะกรรมการบริษัทได้กําหนดนโยบายเกี่ยวกับการซื้อขาย หลักทรัพย์สําหรับกรรมการ และผู้บริหารของบริษัท โดยกําหนดห้าม มิให้กรรมการและผู้บริหารซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัทในช่วงเวลา 2 อาทิตย์ ก่อนวันประกาศงบการเงินของบริษัทในแต่ละไตรมาส ในช่วงสามไตรมาสแรกของรอบปีบัญชี หรือในระยะเวลาหนึ่งเดือน ก่อนรอบปีบัญชี จนถึงวันที่ได้ประกาศงบการเงินของบริษัทต่อ สาธารณชน หรือซื้อขายหลักทรัพย์โดยหวังผลตอบแทนในระยะสั้น อนึ่ง ตามข้อบังคับบริษัท กรรมการต้องแจ้งให้บริษัทและ ตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ทราบถึงรายละเอียดการถือหุ้นของบริษัท ที่ตนถืออยู่ ณ เวลาที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการ ตลอดจน การเปลี่ยนแปลงการถือหุ้นของบริษัทที่ตนถืออยู่ในระหว่างที่ตนยัง ดํารงตําแหน่งเป็นกรรมการภายใน 2 วันทําการ นับจากวันที่มีการ เปลี่ยนแปลงดังกล่าว ทั้งนี้ เลขานุการบริษัทได้ประกาศรายละเอียดที่


รายงานประจํ า ปี 2555 บริ ษ ั ท ไทยเบฟเวอเรจ จํ า กั ด (มหาชน)

รายงานการกํ า กั บ ดูแ ลกิ จ การ

105

ได้รบ ั แจ้งจากกรรมการดังกล่าวโดยทันที ผ่านระบบของตลาดหลักทรัพย์ สิงคโปร์ (SGXNET) และจัดส่งสําเนารายละเอียดดังกล่าวให้กรรมการ ท่านอื่นภายใน 7 วัน จากการควบคุมภายในที่บริษัทได้กําหนดขึ้นและถือปฏิบัติอยู่อย่าง ต่อเนื่อง การตรวจสอบอย่างเป็นอิสระโดยผู้ตรวจสอบภายในและ ผู้ตรวจสอบภายนอก และการสอบทานโดยฝ่ายบริหาร คณะกรรมการ บริษัทโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการตรวจสอบ มีความเห็นว่า ระบบการควบคุมภายในของกลุ่มบริษัทไทยเบฟ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2555 ต่อการควบคุมความเสี่ยงด้านการเงิน การดําเนินงาน และ การปฏิบัติตามกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องมีความเพียงพอ คณะกรรมการบริษัททราบดีว่า ระบบการควบคุมภายในสามารถ ให้ความมั่นใจอย่างสมเหตุสมผล แต่ไม่ใช่มั่นใจอย่างสมบูรณ์ว่า บริษัท จะไม่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ใดๆ ที่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้า ได้อย่างสมเหตุสมผลในความมุ่งมั่นที่จะให้บรรลุวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ อย่างไรก็ดี คณะกรรมการบริษท ั ทราบดีวา่ ไม่มรี ะบบการควบคุมภายในใด ทีจ่ ะสามารถให้ความมัน ่ ใจได้อย่างสมบูรณ์วา่ ข้อผิดพลาดทีม ่ สี าระสําคัญ การพิจารณาตัดสินใจที่ขาดการไตร่ตรอง การปฏิบต ั ิที่ผิดพลาด การสูญเสีย การทุจริตหรือรายการผิดปกติต่างๆ จะไม่เกิดขึ้น

การตรวจสอบภายใน หลักเกณฑ์ที่ 13 บริษัทจัดตั้งสํานักตรวจสอบภายในซึ่งเป็นหน่วยงานอิสระขึ้นภายใน บริษัท เพื่อสนับสนุนการดําเนินงานของคณะกรรมการบริษัทผ่าน คณะกรรมการตรวจสอบ ด้วยการประเมินและปรับปรุงประสิทธิภาพของ กระบวนการบริหารความเสี่ยง ระบบการควบคุมภายในและการกํากับ ดูแลตามหลักธรรมาภิบาล ในการนี้ คณะกรรมการตรวจสอบได้แต่งตั้ง ผู้อํานวยการสํานักตรวจสอบภายในให้ดํารงตําแหน่งเลขานุการ คณะกรรมการตรวจสอบ และรายงานการปฏิบัติงานโดยตรงต่อ ประธานคณะกรรมการตรวจสอบและรายงานการบริหารงานต่อ กรรมการผู้อํานวยการใหญ่ สํานักตรวจสอบภายในได้ประเมินความ เพียงพอและความมีประสิทธิภาพของระบบการควบคุมภายในของ กลุ่มบริษัทอย่างเป็นอิสระและเที่ยงธรรม โดยปฏิบัติงานภายใต้กรอบ การทํางานที่ระบุไว้ในกฎบัตรของการตรวจสอบภายในซึ่งได้รับ การอนุมัติจากคณะกรรมการตรวจสอบ สํานักตรวจสอบภายในได้จัดทํา แผนการตรวจสอบตามวิธีการตรวจสอบตามความเสี่ยงซึ่งทําให้ กิจกรรมการตรวจสอบถูกกําหนดอยู่ในแนวทางเดียวกับความเสี่ยงที่ สําคัญของกลุ่มบริษัทไทยเบฟ การประเมินความเสี่ยงจะให้ความสําคัญ และกําหนดช่วงเวลาของการตรวจสอบอย่างเหมาะสมในกิจกรรมที่มี ความเสี่ยงสูงและการควบคุมภายในที่สําคัญ รวมถึงการปฏิบัติ

ตามนโยบาย กฎระเบียบและข้อบังคับของบริษัท ในระหว่างปี สํานักตรวจสอบภายในได้ดําเนินการตรวจสอบตามแผน การตรวจสอบภายในที่ได้รับอนุมัติ โดยรายงานผลการตรวจสอบ ทั้งหมดซึ่งมีรายละเอียดของประเด็นที่ตรวจพบและข้อเสนอแนะแก่ ฝ่ายบริหารซึ่งเป็นผู้มห ี น้าที่ดําเนินการแก้ไข และทุกไตรมาส สํานักตรวจสอบภายในจะรายงานสถานะของแผนการตรวจสอบ สิ่งที่ตรวจพบ และการดําเนินการของผู้บริหารต่อประเด็นสําคัญ ที่ตรวจพบแก่คณะกรรมการตรวจสอบ ประเด็นสําคัญที่ตรวจพบจะมี การพิจารณาหารือและติดตามผลในที่ประชุมคณะกรรมการตรวจสอบ โดยคณะกรรมการตรวจสอบจะกํากับดูแลความเหมาะสมและระยะเวลา ในการดําเนินการแก้ไข ป้องกัน และปรับปรุงของฝ่ายบริหาร คณะกรรมการตรวจสอบมั่นใจว่าสํานักตรวจสอบภายในมีทรัพยากร ที่เพียงพอและเป็นหน่วยงานที่เหมาะสมต่อการปฏิบัติงานตามหน้าที่ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การสื่อสารกับผู้ถือหุ้น หลักเกณฑ์ที่ 14 การสื่อสารกับผู้ถือหุ้นนั้นมิใช่มีเพียงแค่การประกาศผ่านระบบของ ตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ (SGXNET) เท่านั้น แต่หน่วยงานนักลงทุน สัมพันธ์ ยังได้ทํางานอย่างใกล้ชิดกับผู้บริหารระดับสูงเพื่อให้สามารถ ส่งข้อมูลต่างๆ ถึงผู้ถือหุ้นในเวลาที่เหมาะสม หน่วยงานดังกล่าวมีหน้าที่ สรุปผลประกอบการประจําไตรมาส หลังจากที่บริษัทได้เปิดเผย ผลประกอบการรายไตรมาสและรายปีแล้ว เพื่อให้ผู้ถือหุ้นสามารถ สอบถามผู้บริหารเกี่ยวกับประเด็นทางการเงิน การตลาด หรือกลยุทธ์ อื่นๆ นอกจากนี้ ในระหว่างไตรมาส ทีมงานนักลงทุนสัมพันธ์ยังได้ พบกับนักลงทุนเป็นประจําเพื่อสื่อสารถึงนโยบายและกลยุทธ์ของบริษัท ทําให้นักลงทุนสามารถเข้าใจการดําเนินงานของบริษัทได้เป็นอย่างดี และยังนําเสนอรายละเอียดต่างๆ ผ่านทางเว็บไซต์ของบริษัท โดยปรับเปลี่ยนข้อมูลให้มีความทันสมัยอยู่เสมออีกด้วย ในขณะเดียวกัน หน่วยงานนักลงทุนสัมพันธ์ยังมีหน้าที่รายงาน ให้ผู้บริหารทราบความคิดเห็นหรือข้อกังวลใจของนักลงทุนด้วย ท่านสามารถหารายละเอียดที่อยู่และข้อมูลการติดต่อหน่วยงานดังกล่าว ได้จากรายงานประจําปีฉบับนี้ หรือจากเว็บไซต์ของบริษัทที่ http://www.thaibev.com/ir.html


รายงานคณะกรรมการตรวจสอบ

106

รายงานคณะกรรมการตรวจสอบ เรียน ท่านผู้ถือหุ้น บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จํากัด (มหาชน)

ตามที่คณะกรรมการบริษัทได้แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ ประกอบด้วย กรรมการอิสระจํานวน 4 ท่าน ซึ่งมีคุณสมบัติเหมาะสมในการปฏิบัติงาน ตามหน้าที่ความรับผิดชอบ ได้แก่ นายประสิทธิ์ โฆวิไลกูล เป็นประธาน คณะกรรมการตรวจสอบ นายคนึง ฦไชย นายมนู เลียวไพโรจน์ และ นายอึ๊ง ตัก พัน เป็นกรรมการตรวจสอบ เพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามกฎบัตร คณะกรรมการตรวจสอบที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัท ซึ่งได้ กําหนดอํานาจ หน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการตรวจสอบ ไว้อย่างชัดเจน

6. พิจารณาหารือกับผู้สอบบัญชีและตัวแทนฝ่ายบริหาร เพื่อรับทราบ ประเด็นสําคัญที่อาจเป็นปัญหาเกี่ยวกับการบริหารงานและอาจมี ผลกระทบต่อการดําเนินธุรกิจของบริษัท ให้ข้อเสนอแนะที่จะช่วยให้ การนําเสนอรายงานทางการเงินและการเปิดเผยข้อมูลต่างๆ ทําได้ดีขึ้น รวมทั้งให้คําแนะนําอื่นๆ ต่อฝ่ายบริหารตามความเหมาะสม

ในปี 2555 คณะกรรมการตรวจสอบได้จัดการประชุมตามวาระปกติและ วาระพิเศษ จํานวน 7 ครั้ง โดยมีผู้บริหารระดับสูง ผู้ตรวจสอบภายใน และ ผู้สอบบัญชีของบริษัทฯ เข้าร่วมประชุมในวาระที่เกี่ยวข้อง ผลการปฏิบัติ งานของคณะกรรมการตรวจสอบในสาระสําคัญ สรุปได้ดังนี้

8. พิจารณาให้ความเห็นชอบบริษัทย่อยในการแต่งตั้งผู้สอบบัญชีอื่นที่ แตกต่างจากผู้สอบบัญชีของบริษัท เพื่อให้แน่ใจว่าการแต่งตั้งดังกล่าว ไม่ลดทอนมาตรฐานและประสิทธิภาพของการตรวจสอบบัญชีของบริษัท และเพื่อให้การแต่งตั้งผู้สอบบัญชีของบริษัทย่อยดังกล่าวเป็นไปตาม Rule 716 ของคู่มือเกี่ยวกับการขอให้รับหลักทรัพย์

1. สอบทานงบการเงินรายไตรมาสและงบการเงินประจําปีของบริษัท รวมทั้งงบการเงินรวมของบริษัทและบริษัทย่อย เพื่อให้มั่นใจว่า งบการเงินดังกล่าวถูกต้องตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปและเปิดเผย ข้อมูลอย่างเพียงพอ จากนั้น จึงรายงานผลการสอบทานงบการเงิน ของคณะกรรมการตรวจสอบพร้อมงบการเงินรายไตรมาสเสนอต่อ คณะกรรมการบริษัทฯ เพื่อพิจารณาอนุมัติ และนําเสนองบการเงิน ประจําปีต่อคณะกรรมการบริษัทฯ เพื่อให้ความเห็นชอบและนําเสนอ ต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นพิจารณาอนุมัติต่อไป 2. ประเมินความเพียงพอและความเหมาะสมของระบบการควบคุมภายใน ผ่านการกํากับดูแลการตรวจสอบของสํานักตรวจสอบภายใน และ ผ่านการตรวจสอบของผู้สอบบัญชี โดยให้การสนับสนุนและส่งเสริม ความเป็นอิสระในการทํางานของสํานักตรวจสอบภายในและผู้สอบบัญชี อย่างเต็มที่ ได้ประชุมร่วมกับผู้ตรวจสอบภายในและผู้สอบบัญชี เพื่อพิจารณาประเด็นข้อเสนอแนะที่สําคัญเสนอให้ฝ่ายบริหารและ คณะกรรมการบริษัท เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดําเนินงานและ การควบคุมภายใน 3. พิจารณารายการที่เกี่ยวโยงกันหรือรายการที่อาจมีความขัดแย้งทาง ผลประโยชน์ เพื่อให้แน่ใจว่ามีการดําเนินการสอดคล้องกับนโยบาย การเข้าทํารายการระหว่างกันที่ได้รับการอนุมัติจากผู้ถือหุ้น เป็นรายการ ที่สมเหตุสมผล เป็นไปเพื่อประโยชน์สูงสุดต่อบริษัท และมีการเปิดเผย ข้อมูลอย่างเพียงพอ ถูกต้องและครบถ้วน

7. ประเมินความเป็นอิสระของผู้สอบบัญชี พิจารณาเสนอแต่งตั้ง และเสนอค่าตอบแทนผู้สอบบัญชีของบริษัท

คณะกรรมการตรวจสอบมีความเห็นว่า ในรอบปีบัญชี 2555 สิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2555 บริษัทมีรายงานทางการเงินที่ถูกต้อง ตามควรในสาระสําคัญตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปและเปิดเผยข้อมูล อย่างเพียงพอ ระบบการควบคุมภายในของบริษัทฯ มีความเพียงพอ เหมาะสมตามลักษณะของธุรกิจ โดยไม่พบข้อบกพร่องของการควบคุม ภายในที่จะมีผลกระทบอย่างเป็นสาระสําคัญ การปฏิบัติตามกฎหมายว่า ด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ตลอดจนกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ ทีเ่ กีย ่ วข้องกับธุรกิจเป็นไปโดยถูกต้อง รายการทีเ่ กีย ่ วโยงกัน หรือรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์เป็นรายการทางการค้า อันเป็นธุรกิจปกติทั่วไป ถูกต้อง สมเหตุสมผล เป็นประโยชน์สูงสุดต่อบริษัท และมีการเปิดเผยข้อมูลอย่างเพียงพอ ถูกต้องและครบถ้วน นอกจากนี้ ยังมีการพัฒนาด้านการกํากับดูแลกิจการที่ดอี ย่างต่อเนื่อง สําหรับรอบปีบัญชี 2556 คณะกรรมการตรวจสอบได้เสนอต่อ คณะกรรมการบริษัท ว่าเห็นสมควรเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณา อนุมัติแต่งตั้งผู้สอบบัญชีจากบริษัท เคพีเอ็มจี ภูมิไชย สอบบัญชี จํากัด ให้เป็นผู้สอบบัญชีของกลุ่มบริษัทฯ และอนุมัติค่าสอบบัญชีสําหรับปี 2556 โดยได้พิจารณาแล้วเห็นว่า ผู้สอบบัญชีเป็นผู้มีคุณสมบัติเหมาะสม มีความรู้ความสามารถ ความชํานาญในวิชาชีพและมีผลการปฏิบัติงาน ที่ผ่านมาเป็นที่ยอมรับและน่าพอใจ ตลอดจนมีความเป็นอิสระและไม่มี ความสัมพันธ์หรือไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับบริษัทและบริษัทย่อย ในส่วน ค่าสอบบัญชีนั้น ได้พิจารณาแล้วว่าอยู่ในระดับที่เหมาะสม

4. สอบทานการถือปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ กฎหมายและกฎระเบียบข้อบังคับต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง กับธุรกิจของบริษัท 5. พิจารณาอนุมัติแผนการตรวจสอบตามผลการประเมินความเสี่ยงของ สํานักตรวจสอบภายในทีจ่ ด ั ทําเป็นราย 3 ปี เพือ่ ให้ครอบคลุมความเสีย ่ ง และทุกกิจกรรมของบริษัท รวมทั้งได้กํากับดูแลงานตรวจสอบภายในว่า เป็นไปตามแผนทีไ่ ด้วางไว้ รับทราบรายงานการตรวจสอบเป็นรายไตรมาส และให้แนวทางในการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น

นายประสิทธิ์ โฆวิไลกูล ประธานคณะกรรมการตรวจสอบ 27 กุมภาพันธ์ 2556


รายงานประจํ า ปี 2555 บริ ษ ั ท ไทยเบฟเวอเรจ จํ า กั ด (มหาชน)

รายงานของผู้ส อบบั ญ ชี รั บ อนุ ญ าต

107

รายงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต เสนอ ผู้ถือหุ้นบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จํากัด (มหาชน)

ข้าพเจ้าได้ตรวจสอบงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการของ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่อย และของเฉพาะ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จํากัด (มหาชน) ตามลําดับ ซึ่งประกอบด้วย งบแสดงฐานะการเงินรวมและงบแสดงฐานะการเงินเฉพาะกิจการ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2555 งบกําไรขาดทุนรวมและงบกําไรขาดทุน เฉพาะกิจการ งบกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จรวมและงบกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ เฉพาะกิจการ งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้นรวมและ งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้นเฉพาะกิจการ และงบกระแส เงินสดรวมและงบกระแสเงินสดเฉพาะกิจการ สําหรับปีสิ้นสุดวันเดียวกัน รวมถึงหมายเหตุสรุปนโยบายการบัญชีที่สําคัญและหมายเหตุเรื่องอื่นๆ ความรับผิดชอบของผู้บริหารต่องบการเงินรวม และงบการเงินเฉพาะกิจการ ผู้บริหารเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดทําและการนําเสนองบการเงินรวม และงบการเงินเฉพาะกิจการเหล่านี้โดยถูกต้องตามที่ควรตามมาตรฐาน การรายงานทางการเงิน และรับผิดชอบเกี่ยวกับการควบคุมภายใน ที่ผู้บริหารพิจารณาว่าจําเป็นเพื่อให้สามารถจัดทํางบการเงินรวมและ งบการเงินเฉพาะกิจการที่ปราศจากการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริง อันเป็นสาระสําคัญไม่ว่าจะเกิดจากการทุจริตหรือข้อผิดพลาด ความรับผิดชอบของผู้สอบบัญชี ข้าพเจ้าเป็นผู้รับผิดชอบในการแสดงความเห็นต่องบการเงินรวม และงบการเงินเฉพาะกิจการดังกล่าวจากผลการตรวจสอบของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติงานตรวจสอบตามมาตรฐานการสอบบัญชี ซึ่งกําหนด ให้ข้าพเจ้าปฏิบัติตามข้อกําหนดด้านจรรยาบรรณ รวมถึงวางแผนและ ปฏิบัติงานตรวจสอบเพื่อให้ได้ความเชื่อมั่นอย่างสมเหตุสมผลว่า งบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการปราศจากการแสดงข้อมูล ที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสําคัญหรือไม่ การตรวจสอบรวมถึงการใช้วิธีการตรวจสอบเพื่อให้ได้มาซึ่งหลักฐาน การสอบบัญชีเกี่ยวกับจํานวนเงินและการเปิดเผยข้อมูลในงบการเงิน วิธก ี ารตรวจสอบทีเ่ ลือกใช้ขน ้ึ อยูก ่ บ ั ดุลยพินจิ ของผูส ้ อบบัญชี ซึง่ รวมถึง การประเมินความเสี่ยงจากการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็น สาระสําคัญของงบการเงิน ไม่ว่าจะเกิดจากการทุจริตหรือข้อผิดพลาด ในการประเมินความเสี่ยงดังกล่าว ผู้สอบบัญชีพิจารณาการควบคุม ภายในที่เกี่ยวข้องกับการจัดทําและการนําเสนองบการเงินโดยถูกต้อง ตามที่ควรของกิจการ เพื่อออกแบบวิธีการตรวจสอบที่เหมาะสมกับ สถานการณ์ แต่ไม่ใช่เพื่อวัตถุประสงค์ในการแสดงความเห็นต่อ ประสิทธิผลของการควบคุมภายในของกิจการ การตรวจสอบรวมถึง การประเมินความเหมาะสมของนโยบายการบัญชีที่ผู้บริหารใช้และ ความสมเหตุสมผลของประมาณการทางบัญชีที่จัดทําขึ้นโดยผู้บริหาร รวมทั้งการประเมินการนําเสนองบการเงินโดยรวม ข้าพเจ้าเชื่อว่าหลักฐานการสอบบัญชีที่ข้าพเจ้าได้รับเพียงพอและ เหมาะสมเพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการแสดงความเห็นของข้าพเจ้า

ความเห็น ข้าพเจ้าเห็นว่า งบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการข้างต้นนี้ แสดงฐานะการเงินรวมและฐานะการเงินเฉพาะกิจการของบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่อย และของเฉพาะบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จํากัด (มหาชน) ตามลําดับ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2555 ผลการดําเนินงานรวมและผลการดําเนินงานเฉพาะกิจการ และกระแสเงินสดรวมและกระแสเงินสดเฉพาะกิจการ สําหรับปีสิ้นสุด วันเดียวกัน โดยถูกต้องตามที่ควรในสาระสําคัญตามมาตรฐาน การรายงานทางการเงิน การเน้นข้อมูลและเหตุการณ์ โดยมิได้เป็นการแสดงความเห็นอย่างมีเงื่อนไขต่องบการเงินข้างต้น ข้าพเจ้าขอให้สงั เกตเรือ่ งทีไ่ ด้กล่าวไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 5 กลุ่มบริษัทได้ว่าจ้างผู้ประเมินราคาอิสระเพื่อประเมินมูลค่ายุติธรรมของ สินทรัพย์และหนี้สินของกิจการในต่างประเทศที่บริษัทได้เข้าไปลงทุน อย่างไรก็ตาม การประเมินราคาดังกล่าวยังไม่เสร็จสิ้น ดังนั้น จํานวนค่า ้ิ สุดและอาจมีการปรับปรุง ทัง้ นีข้ น ้ึ อยูก ่ บ ั ความนิยมยังไม่กาํ หนดเป็นทีส ่ น ผลการประเมินราคาขั้นสุดท้ายจากผู้ประเมินราคาอิสระ หลังจากกลุ่มบริษัทได้ซื้อเงินลงทุนสําหรับกิจการในต่างประเทศ กิจการ ในต่างประเทศดังกล่าวได้ขายส่วนงานธุรกิจที่สําคัญไปให้กับบุคคลอื่น กิจการที่กลุ่มบริษัทลงทุนดังกล่าวได้รับรู้กําไรจากการขายส่วนงาน ธุรกิจนี้จํานวน 119,214 ล้านบาท และตามปกติแล้วกลุ่มบริษัท จะรับรู้ส่วนแบ่งกําไรจากกิจการที่กลุ่มบริษัทลงทุนนี้ตามวิธีส่วนได้เสีย เป็นจํานวนทัง้ สิน ้ 35,191 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม เนือ่ งจากการประเมิน มูลค่ายุติธรรมตามที่กล่าวไว้ในวรรคก่อนหน้ายังไม่เสร็จสิ้น กลุ่มบริษัท จึงรับรู้ส่วนแบ่งกําไรตามสัดส่วนเพียงส่วนที่ไม่เกินมูลค่ายุติธรรมของ กิจการที่กลุ่มบริษัทลงทุน ซึ่งส่วนแบ่งกําไรที่รับรู้เป็นจํานวน 13,437 ล้านบาท โดยมูลค่ายุติธรรมดังกล่าวกําหนดจากการประเมินมูลค่าที่มี โดยผูป ้ ระเมินอิสระอีกรายหนึง่ ตามรายงานลงวันที่ 20 ธันวาคม 2555

(นิรันดร์ ลีลาเมธวัฒน์) ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต เลขทะเบียน 2316 บริษัท เคพีเอ็มจี ภูมิไชย สอบบัญชี จํากัด กรุงเทพมหานคร 27 กุมภาพันธ์ 2556


งบการเงิ น

108

งบแสดงฐานะการเงิน บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่อย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2555 และ 2554

งบการเงินรวม

สินทรัพย์

หมายเหตุ

2555

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2554

2555

2554

(ปรับปรุงใหม่) (พันบาท)

สินทรัพย์หมุนเวียน เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด

7

4,544,966

3,442,423

28,230

11,188

เงินลงทุนชั่วคราว

8

2,289

12,804

-

-

6, 9

3,582,909

3,618,526

-

-

898,567

962,737

12,012

12,256

27,557

-

578

-

6

1,246,307

2,289,738

24,857,102

15,237,613

สินค้าคงเหลือ

10

32,972,438

30,552,267

-

-

สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น

11

3,874,071

4,297,832

37,996

17,672

47,149,104

45,176,327

24,935,918

15,278,729

ลูกหนี้การค้า ลูกหนี้อื่น เงินให้กู้ยืมระยะยาวส่วนที่ถึงกําหนดชําระภายในหนึ่งปี เงินให้กู้ยืมระยะสั้นและลูกหนี้อื่น กิจการที่เกี่ยวข้องกัน

รวมสินทรัพย์หมุนเวียน

สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน เงินลงทุนในบริษัทร่วม

12

104,319,644

149,161

-

-

เงินลงทุนในบริษัทย่อย

13

-

-

80,352,046

80,189,702

8

319,788

233,838

-

-

6

57,385

53,461

2,314,565

645,565

2,216

-

20

-

เงินลงทุนระยะยาวอื่น เงินให้กู้ยืมระยะยาวและลูกหนี้อื่น กิจการที่เกี่ยวข้องกัน เงินให้กู้ยืมระยะยาวอื่น อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน

14

858,720

678,274

-

-

ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์

15

45,320,061

43,367,421

48,737

52,799

ค่าความนิยม

16

7,038,303

7,033,920

-

-

สินทรัพย์ไม่มีตัวตนอื่น

17

158,690

171,108

15,797

14,318

สิทธิการเช่า

18

174,167

191,672

-

-

สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี

19

397,383

341,088

29,506

30,840

สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น

20

1,890,333

1,965,367

296,187

305,918

รวมสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน

160,536,690

54,185,310

83,056,858

81,239,142

รวมสินทรัพย์

207,685,794

99,361,637

107,992,776

96,517,871

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้


รายงานประจํ า ปี 2555 บริ ษ ั ท ไทยเบฟเวอเรจ จํ า กั ด (มหาชน)

งบการเงิ น

109

งบแสดงฐานะการเงิน บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่อย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2555 และ 2554

งบการเงินรวม

หนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น

หมายเหตุ

2555

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2554

2555

2554

(ปรับปรุงใหม่) (พันบาท)

หนี้สินหมุนเวียน เงินเบิกเกินบัญชีธนาคารและเงินกู้ยืมระยะสั้น จากสถาบันการเงิน เจ้าหนี้การค้า เจ้าหนี้อื่น

21

11,334,945

5,226,897

8,370,341

3,500,000

6, 22

5,108,142

5,297,250

-

-

23

4,213,194

3,685,932

165,962

153,597

21

4,672,275

1,800,000

1,533,200

1,200,000

6, 21

302,862

145,911

9,608,376

8,924,330

2,814,991

2,925,761

118,744

50,791

เงินกู้ยืมระยะยาวจากสถาบันการเงิน ส่วนที่ถึงกําหนดชําระภายในหนึ่งปี เงินกู้ยืมระยะสั้นและเจ้าหนี้อื่น กิจการที่เกี่ยวข้องกัน ภาษีเงินได้ค้างจ่าย

39,043

44,958

-

-

2,107,487

2,112,481

61,021

62,458

30,592,939

21,239,190

19,857,644

13,891,176

6, 21

105

449

13,874,900

10,528,000

เงินกู้ยืมระยะยาวจากสถาบันการเงิน

21

88,146,177

11,200,000

9,666,800

11,200,000

หนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี

19

1,374,053

1,252,186

-

-

ภาระผูกพันผลประโยชน์พนักงาน

24

2,437,451

2,340,532

134,088

139,313

163,681

126,919

-

-

92,121,467

14,920,086

23,675,788

21,867,313

122,714,406

36,159,276

43,533,432

35,758,489

ประมาณการหนี้สินระยะสั้น หนี้สินหมุนเวียนอื่น รวมหนี้สินหมุนเวียน

หนี้สินไม่หมุนเวียน เงินกู้ยืมระยะยาวและเจ้าหนี้อื่น กิจการที่เกี่ยวข้องกัน

หนี้สินไม่หมุนเวียนอื่น รวมหนี้สินไม่หมุนเวียน รวมหนี้สิน

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้


งบการเงิ น

110

งบแสดงฐานะการเงิน บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่อย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2555 และ 2554

งบการเงินรวม

หนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น

หมายเหตุ

2555

2554

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2555

2554

(ปรับปรุงใหม่) (พันบาท)

ส่วนของผู้ถือหุ้น ทุนเรือนหุ้น

25

ทุนจดทะเบียน

29,000,000

29,000,000

29,000,000

29,000,000

ทุนที่ออกและชําระแล้ว

25,110,025

25,110,025

25,110,025

25,110,025

(19,718,440)

(19,732,321)

31,035

-

17,215,737

17,215,737

17,215,737

17,215,737

ผลต่างจากการปรับโครงสร้างทางธุรกิจ ส่วนเกินมูลค่าหุ้นสามัญ

26

กําไรสะสม จัดสรรเป็นสํารองตามกฎหมาย

26

ยังไม่ได้จัดสรร องค์ประกอบอื่นของส่วนของผู้ถือหุ้น

26

รวมส่วนของบริษัทใหญ่ ส่วนได้เสียที่ไม่มีอํานาจควบคุม รวมส่วนของผู้ถือหุ้น รวมหนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้

5

2,900,000

2,900,000

2,900,000

2,900,000

52,399,129

32,956,589

19,157,349

15,533,620

3,469,585

1,300,272

45,198

-

81,376,036

59,750,302

64,459,344

60,759,382

3,595,352

3,452,059

-

-

84,971,388

63,202,361

64,459,344

60,759,382

207,685,794

99,361,637

107,992,776

96,517,871


รายงานประจํ า ปี 2555 บริ ษ ั ท ไทยเบฟเวอเรจ จํ า กั ด (มหาชน)

งบการเงิ น

111

งบกําไรขาดทุน บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่อย สําหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2555 และ 2554

งบการเงินรวม หมายเหตุ

2555

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2554

2555

2554

(ปรับปรุงใหม่) (พันบาท)

รายได้ รายได้จากการขาย

6, 27 35

รายได้ค่าธรรมเนียมการจัดการ เงินปันผลรับ

13

ดอกเบี้ยรับ กําไรสุทธิจากอัตราแลกเปลี่ยน รายได้อื่น

28

รวมรายได้

ค่าใช้จ่าย

161,043,747

132,186,530

-

-

-

-

3,382,629

3,083,243

6,135

840

11,946,667

8,117,843

73,992

37,554

981,610

373,120

-

83,586

-

267

756,878

672,312

62,483

6,761

161,880,752

132,980,822

16,373,389

11,581,234

115,621,965

97,453,289

-

-

-

-

1,258,548

1,168,966

6, 27, 32

ต้นทุนขาย ต้นทุนการให้บริการ ค่าใช้จ่ายในการขาย

29

12,231,705

8,276,586

-

-

ค่าใช้จ่ายในการบริหาร

30

10,386,173

9,155,310

437,551

390,547

1,945,523

-

28,642

-

3

-

160,277

-

-

33

1,401,361

454,770

1,702,949

1,191,468

141,586,727

115,500,232

3,427,690

2,750,981

-

-

12,945,699

8,830,253

ขาดทุนสุทธิจากอัตราแลกเปลี่ยน ค่าเสียหายจากมหาอุทกภัยของไทย ต้นทุนทางการเงิน รวมค่าใช้จ่าย ส่วนแบ่งกําไร(ขาดทุน)จากเงินลงทุนในบริษัทร่วม (สุทธิจากภาษีเงินได้)

12

33,905,120

กําไรก่อนภาษีเงินได้ ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้

13,611,095

34

กําไรสําหรับปี

(5,145,582)

(196,639) 17,283,951

(5,317,352)

(254,051)

(271,078)

28,759,538

11,966,599

12,691,648

8,559,175

28,493,113

12,030,959

12,691,648

8,559,175

-

-

การแบ่งปันกําไร ส่วนที่เป็นของบริษัทใหญ่

266,425

ส่วนที่เป็นของส่วนได้เสียที่ไม่มีอํานาจควบคุม กําไรสําหรับปี กําไรต่อหุ้นขั้นพื้นฐาน หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้

36

(64,360)

28,759,538

11,966,599

12,691,648

8,559,175

1.13

0.48

0.51

0.34


งบการเงิ น

112

งบกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่อย สําหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2555 และ 2554

งบการเงินรวม หมายเหตุ

2555

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2554

2555

2554

(ปรับปรุงใหม่) (พันบาท)

กําไรสําหรับปี

28,759,538

11,966,599

12,691,648

8,559,175

155,649

291,897

-

-

15

902,694

46,074

-

-

24

(20,973)

(22,148)

21,110

35,387

กําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น ผลต่างจากอัตราแลกเปลี่ยนจากการแปลงค่า หน่วยงานต่างประเทศ การตีมูลค่าที่ดินใหม่ กําไร(ขาดทุน)จากการประมาณการตามหลักการ คณิตศาสตร์ประกันภัยสําหรับ โครงการผลประโยชน์พนักงาน ส่วนแบ่งกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นจาก เงินลงทุนในบริษัทร่วม

1,263,831

-

-

-

40,865

2,345

-

-

(4,222)

(7,077)

การเปลี่ยนแปลงในมูลค่ายุติธรรมสุทธิ ของเงินลงทุนเผื่อขาย ภาษีเงินได้เกี่ยวกับองค์ประกอบของ กําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น กําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นสําหรับปี - สุทธิจากภาษี กําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จรวมสําหรับปี

34

(177,865)

343,950

2,164,201

662,118

16,888

28,310

30,923,739

12,628,717

12,708,536

8,587,485

30,651,462

12,672,093

12,708,536

8,587,485

-

-

12,708,536

8,587,485

การแบ่งปันกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จรวม ส่วนที่เป็นของบริษัทใหญ่ ส่วนที่เป็นของส่วนได้เสียที่ไม่มีอํานาจควบคุม กําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จรวมสําหรับปี

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้

272,277 30,923,739

(43,376) 12,628,717


5

5

37

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้

ปรับปรุงใหม่

ส่วนของผู้ถือหุ้น ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554 ปรับปรุงใหม่ ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554 ตามที่รายงานในปีก่อน การปรับปรุงการปันส่วนราคาซื้อ ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554

กําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จสําหรับปี กําไรหรือขาดทุน กําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น รวมกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จสําหรับปี ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554

รายการกับผู้ถือหุ้นที่บันทึกโดยตรง เข้าส่วนของผู้ถือหุ้น เงินปันผลให้ผู้ถือหุ้นของบริษัท การได้มาซึ่งส่วนได้เสียที่ไม่มีอํานาจควบคุม โดยอํานาจควบคุมไม่เปลี่ยนแปลง การได้มาซึ่งส่วนได้เสียที่ไม่มีอํานาจควบคุม ซึ่งอํานาจควบคุมเปลี่ยนแปลง รวมรายการกับผู้เป็นเจ้าของที่บันทึกโดยตรง เข้าส่วนของผู้ถือหุ้น

สําหรับปีสน ิ้ สุดวันที่ 31 ธันวาคม 2554 ปรับปรุงใหม่ ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 1 มกราคม 2554

หมายเหตุ

25,110,025

-

25,110,025

25,110,025

(19,732,321)

(19,732,321) -

(19,732,321)

-

-

-

-

-

-

-

(19,732,321)

-

25,110,025

ทุนเรือนหุ้น ผลต่างจากการ ที่ออกและ ปรับโครงสร้าง ชําระแล้ว ทางธุรกิจ

บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่อย สําหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2555 และ 2554

17,215,737

-

17,215,737

17,215,737

-

-

-

-

-

17,215,737

ส่วนเกิน มูลค่า หุ้นสามัญ

2,900,000

-

2,900,000

2,900,000

-

-

-

-

-

2,900,000

ทุนสํารอง ตามกฎหมาย

กําไรสะสม

32,956,589

(246,962)

33,203,551

(1,631,492)

(1,631,492) -

2,930,551

-

2,930,551

2,930,551

375,033

291,897

(1,631,492)

375,033

291,897

-

-

-

-

-

2,555,518

(27,009) 12,003,950 32,956,589

-

-

-

-

(1,923,389)

(ปรับปรุงใหม่)

12,030,959

(8,788,586)

-

(77)

(8,788,509)

29,741,225

ยังไม่ได้ จัดสรร

1,213

(585)

1,798

1,213

1,213

1,213

-

-

-

-

-

-

1,300,272

(585)

1,300,857

1,300,272

668,143

668,143

-

-

-

-

-

632,129

ผลต่างจากการ เปลี่ยนแปลงใน รวมองค์ ผลต่างจาก ส่วนเกินทุน มูลค่ายุติธรรม ประกอบอื่น การแปลงค่า จากการ ของเงินลงทุน ของส่วนของ งบการเงิน ตีราคสินทรัพย์ เผื่อขาย ผูถ ้ ือหุ้น

องค์ประกอบอื่นของส่วนของผู้ถือหุ้น

งบการเงินรวม

งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น

59,750,302

(247,547)

59,997,849

59,750,302

12,672,093

641,134

12,030,959

(8,788,586)

-

(77)

(8,788,509)

55,866,795

รวมส่วนของ ผู้ถือหุ้น ของบริษัท

3,452,059

(67,031)

3,519,090

(64,360) 20,984 (43,376) 3,452,059

3,212,828

3,277,592

(30)

(64,734)

282,607

ส่วนของ ส่วนได้เสีย ที่ไม่มีอํานาจ ควบคุม

63,202,361

(314,578)

63,516,939

63,202,361

12,628,717

662,118

11,966,599

(5,575,758)

3,277,592

(107)

(8,853,243)

56,149,402

(พันบาท)

รวมส่วนของ ผู้ถือหุ้น

รายงานประจํ า ปี 2555 บริ ษ ั ท ไทยเบฟเวอเรจ จํ า กั ด (มหาชน) งบการเงิ น

113


5

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้

กําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จสําหรับปี กําไร กําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น รวมกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จสําหรับปี ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2555

รายการกับผู้ถือหุ้นที่บันทึกโดยตรง เข้าส่วนของผู้ถือหุ้น เงินปันผลให้ผู้ถือหุ้นของบริษัท 37 กลับรายการผลต่างจากการปรับโครงสร้างทางธุรกิจ เนื่องจากการจําหน่ายเงินลงทุนในบริษัทย่อย รวมรายการกับผู้เป็นเจ้าของที่บันทึกโดยตรง เข้าส่วนของผู้ถือหุ้น

สําหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2555 ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554 ปรับปรุงใหม่

หมายเหตุ

13,881 13,881

-

25,110,025

-

-

-

(19,718,440) 17,215,737

-

-

ส่วนเกิน มูลค่า หุ้นสามัญ

(19,732,321) 17,215,737

ผลต่างจากการ ปรับโครงสร้าง ทางธุรกิจ

-

25,110,025

ทุนเรือนหุ้น ที่ออกและ ชําระแล้ว

บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่อย สําหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2555 และ 2554

2,900,000

-

-

-

-

2,900,000

ทุนสํารอง ตามกฎหมาย

ยังไม่ได้ จัดสรร

3,659,168

728,617

155,727

(1,475,765)

728,617

155,727

-

-

-

-

2,930,551

(10,964) 28,482,149 52,399,129

-

-

-

(1,631,492)

22,351

21,138

21,138

-

-

-

-

1,213

1,263,831

1,263,831

1,263,831

-

-

-

-

-

3,469,585

2,169,313

2,169,313

-

-

-

-

1,300,272

งบการเงินรวม องค์ประกอบอื่นของส่วนของผู้ถือหุ้น ผลต่างจากการ เปลี่ยนแปลงใน ส่วนแบ่งกําไร รวมองค์ ผลต่างจาก ส่วนเกินทุน มูลค่ายุติธรรม ขาดทุนเบ็ดเสร็จ การแปลงค่า จากการตีราคา ของเงินลงทุน อื่นจากเงินลงทุน ประกอบอื่นของ เผื่อขาย ในบริษัทร่วม ส่วนของผู้ถอื หุ้น งบการเงิน สินทรัพย์

28,493,113

(9,039,609)

-

(9,039,609)

32,956,589

กําไรสะสม

งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น

81,376,036

30,651,462

2,158,349

28,493,113

(9,025,728)

13,881

(9,039,609)

59,750,302

รวมส่วนของ ผู้ถือหุ้น ของบริษัท

2,453

(9,157,165)

63,202,361

(พันบาท)

รวมส่วนของ ผู้ถือหุ้น

3,595,352

272,277

5,852

266,425

84,971,388

30,923,739

2,164,201

28,759,538

(128,984) (9,154,712)

(11,428)

(117,556)

3,452,059

ส่วนของ ส่วนได้เสีย ที่ไม่มีอํานาจ ควบคุม

งบการเงิ น

114


หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้

ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554

รวมกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จสําหรับปี 25,110,025

-

-

กําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น

-

-

25,110,025

ทุนเรือนหุ้นที่ออก และชําระแล้ว

-

37

หมายเหตุ

กําไร

กําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จสําหรับปี

รวมรายการกับผู้เป็นเจ้าของที่บันทึกโดยตรงเข้าส่วนของผู้ถือหุ้น

เงินปันผลให้ผู้ถือหุ้นของบริษัท

รายการกับผู้ถือหุ้นที่บันทึกโดยตรงเข้าส่วนของผู้ถือหุ้น

ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 1 มกราคม 2554

สําหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2554

บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่อย สําหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2555 และ 2554

17,215,737

-

-

-

-

-

17,215,737

2,900,000

-

-

-

-

-

2,900,000

ทุนสํารอง ตามกฎหมาย

15,533,620

8,587,485

28,310

8,559,175

(8,788,509)

(8,788,509)

15,734,644

ยังไม่ได้จัดสรร

กําไรสะสม

งบการเงินเฉพาะกิจการ ส่วนเกิน มูลค่าหุ้นสามัญ

งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น

60,759,382

8,587,485

28,310

8,559,175

(8,788,509)

(8,788,509)

60,960,406

(พันบาท)

รวมส่วนของ ผู้ถือหุ้นของบริษัท

รายงานประจํ า ปี 2555 บริ ษ ั ท ไทยเบฟเวอเรจ จํ า กั ด (มหาชน) งบการเงิ น

115


หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้

ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2555

รวมกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จสําหรับปี 25,110,025

-

-

กําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น

-

-

-

25,110,025

ทุนเรือนหุ้นที่ออก และชําระแล้ว

-

37

หมายเหตุ

กําไร

กําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จสําหรับปี

รวมรายการกับผู้เป็นเจ้าของที่บันทึกโดยตรงเข้าส่วนของผู้ถือหุ้น

เนื่องจากการจําหน่ายเงินลงทุนในบริษัทย่อย

กลับรายการผลต่างจากการปรับโครงสร้างทางธุรกิจ

เงินปันผลให้ผู้ถือหุ้นของบริษัท

รายการกับผู้ถือหุ้นที่บันทึกโดยตรงเข้าส่วนของผู้ถือหุ้น

ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 1 มกราคม 2555

สําหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2555

บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่อย สําหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2555 และ 2554

31,035

-

-

17,215,737

-

-

-

-

31,035

-

-

-

17,215,737

ส่วนเกิน มูลค่าหุ้นสามัญ

2,900,000

-

-

-

-

-

-

2,900,000

12,708,536

12,708,536

64,459,344

16,888

16,888

19,202,547

12,691,648

(9,008,574)

31,035

(9,039,609)

60,759,382

(พันบาท)

รวมส่วนของ ผู้ถือหุ้นของบริษัท

12,691,648

(9,039,609)

-

(9,039,609)

15,533,620

ยังไม่ได้จัดสรร

กําไรสะสม ทุนสํารอง ตามกฎหมาย

งบการเงินเฉพาะกิจการ

31,035

-

-

ผลต่างจากการ ปรับโครงสร้าง ทางธุรกิจ

งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น

งบการเงิ น

116


รายงานประจํ า ปี 2555 บริ ษ ั ท ไทยเบฟเวอเรจ จํ า กั ด (มหาชน)

งบการเงิ น

117

งบกระแสเงินสด บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่อย สําหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2555 และ 2554

งบการเงินรวม หมายเหตุ

2555

2554

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2555

2554

(ปรับปรุงใหม่) (พันบาท)

กระแสเงินสดจากกิจกรรมดําเนินงาน กําไรสําหรับปี รายการปรับปรุง ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจําหน่าย ดอกเบี้ยรับ ต้นทุนทางการเงิน ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ยังไม่เกิดขึ้นจริง (กลับรายการ) หนี้สูญและหนี้สงสัยจะสูญ ตัดจําหน่ายเงินจ่ายล่วงหน้าแก่ผู้ชํานาญการ ตัดจําหน่าย (กลับรายการ) ค่าเผื่อสินค้าเสื่อมสภาพและล้าสมัย กําไรจากการจําหน่ายอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน (กําไร) ขาดทุนจากการจําหน่ายและตัดบัญชี ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์และสินทรัพย์ไม่มีตัวตน (กลับรายการ) ขาดทุนจากการด้อยค่าอาคารและอุปกรณ์ กําไรจากการขายเงินลงทุน เงินปันผลรับ ค่าใช้จ่ายผลประโยชน์พนักงาน ส่วนแบ่ง(กําไร)ขาดทุนจากเงินลงทุนในบริษัทร่วม 12 (สุทธิจากภาษีเงินได้) ภาษีเงินได้ 34 การเปลี่ยนแปลงในสินทรัพย์และหนี้สินดําเนินงาน ลูกหนี้การค้า ลูกหนี้กิจการที่เกี่ยวข้องกัน สินค้าคงเหลือ สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น เจ้าหนี้การค้า เจ้าหนี้กิจการที่เกี่ยวข้องกัน หนี้สินหมุนเวียนอื่น จ่ายผลประโยชน์พนักงาน หนี้สินไม่หมุนเวียนอื่น เงินสดได้มาจากกิจกรรมดําเนินงาน จ่ายภาษีเงินได้ เงินสดสุทธิได้มาจากกิจกรรมดําเนินงาน

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้

28,759,538

11,966,599

3,928,795

3,426,108

(73,992) 1,401,361 298,019 (7,684) 50,000 (194,208) -

(37,554) 454,770 34,917 16,364 50,000 288,022 (139,454)

(15,574) (197,055) (42,760) (6,135) 235,380

248,665

(13,611,095) 5,145,582 25,670,172 23,977 696,803 (2,228,452) 485,967 (182,953) 100,744 435,689 (138,888) 231,281 25,094,340 (5,368,595) 19,725,745

588,270

(840) 193,908

12,691,648 23,803 (981,610) 1,702,949 111,828 9,375 3,092

(32,975) (11,946,667) 17,594

8,559,175 24,024 (373,120) 1,191,468 9,375 1,819

(8,117,843) 26,461

196,639

-

-

5,317,352

254,051

271,078

22,603,766

1,853,088

1,592,437

(570,848) (1,535,293) (2,301,656) (2,427,783) 266,284 (32,075) 579,886 (103,143) 21,880 16,501,018 (4,353,917) 12,147,101

(4,848) (20,348) 158,766 38,250 776

2,025,684

(188,985) 1,836,699

(42,609) (11,026) 123,940 4,072 (18,280) 1,648,534 (348,952) 1,299,582


งบการเงิ น

118

งบกระแสเงินสด บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่อย สําหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2555 และ 2554

งบการเงินรวม หมายเหตุ

2555

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2554

2555

2554

(ปรับปรุงใหม่) (พันบาท)

กระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุน รับดอกเบี้ย รับเงินปันผล เงินลงทุนชั่วคราว เงินให้กู้ยืมแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกัน รับชําระคืนเงินให้กู้ยืมแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกัน เงินให้กู้ยืมระยะยาวอื่น เงินลงทุนในบริษัทย่อย เงินลงทุนในบริษัทร่วม เงินลงทุนระยะยาวอื่น ซื้ออสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน ขายอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน ซื้อที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ ขายที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ ซื้อสินทรัพย์ไม่มีตัวตน ขายสินทรัพย์ไม่มีตัวตน สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่นเพิ่มขึ้น เงินจ่ายสุทธิจากการซื้อบริษัทย่อยทางอ้อม เงินสดสุทธิได้มาจาก (ใช้ไปใน) กิจกรรมลงทุน

73,789

37,377

867,636

317,799

6,135

840

11,946,667

8,117,843

(13,570,095) 2,288,600 287,915 (21,866)

(386,250) 1,404,965

(13,107,900) 2,195,500 (142,277) (18,789) 2,238 (1,955) (356) (2,637,897)

(1,710,104) (9,039,609) 42,473,225 (37,602,884) 8,282,350 (4,427,600) (1,200,000) (3,224,622)

(1,107,557) (8,788,509) 20,600,000 (22,100,000) 8,173,420 (5,350,700) 12,400,000 (2,500,000) 1,326,654

12,514

(29,833) 39,576 (90,111,990) (47,068) (161,129) (4,821,368) 157,730 (40,648)

(94,897,097)

273,217 (3,164,562) 49,529 (31,971) 2,538 (2,225) (9,057,106) (11,892,371)

(1,352,909) (9,039,609) (117,556) 751,421 128,090,116 (122,733,217) 81,618,453 (1,800,000) 75,416,699

(388,673) (8,788,509) (64,734) (190,673) 39,482,237 (40,326,910) 12,400,000 (2,500,000) (377,262)

218 24,977 5

(8) -

19

(7,686) 25

กระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงิน จ่ายดอกเบี้ย จ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหุ้นของบริษัท จ่ายเงินปันผลให้ส่วนได้เสียที่ไม่มีอํานาจควบคุม เงินเบิกเกินบัญชีธนาคาร เงินสดรับจากเงินกู้ยืมระยะสั้นจากสถาบันการเงิน ชําระคืนเงินกู้ยืมระยะสั้นจากสถาบันการเงิน เงินสดรับจากเงินกู้ยืมจากกิจการที่เกี่ยวข้องกัน ชําระคืนเงินกู้ยืมจากกิจการที่เกี่ยวข้องกัน เงินสดรับจากเงินกู้ยืมระยะยาวจากสถาบันการเงิน ชําระคืนเงินกู้ยืมระยะยาวจากสถาบันการเงิน เงินสดสุทธิได้มาจาก (ใช้ไปใน) กิจกรรมจัดหาเงิน เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดเพิ่มขึ้น (ลดลง) สุทธิ เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ณ วันที่ 1 มกราคม ผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนของเงินตราต่างประเทศ คงเหลือสิ้นปี เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ณ วันที่ 31 ธันวาคม หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้

245,347 3,442,423

7

(122,532)

17,042

3,358,696

11,188

(11,661) 22,849

857,196

206,259

-

-

4,544,966

3,442,423

28,230

11,188


รายงานประจํ า ปี 2555 บริ ษ ั ท ไทยเบฟเวอเรจ จํ า กั ด (มหาชน)

งบการเงิ น

119

หมายเหตุประกอบงบการเงิน บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่อย สําหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2555 และ 2554

หมายเหตุ

สารบัญ

หมายเหตุ

สารบัญ

1

ข้อมูลทั่วไป เกณฑ์การจัดทํางบการเงิน ผลกระทบจากเหตุการณ์มหาอุทกภัยของไทย นโยบายการบัญชีที่สําคัญ การซื้อบริษัทย่อยและส่วนได้เสียที่ไม่มีอํานาจควบคุม บุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด เงินลงทุนอื่น ลูกหนี้การค้า สินค้าคงเหลือ สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น เงินลงทุนในบริษัทร่วม เงินลงทุนในบริษัทย่อย อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ ค่าความนิยม สินทรัพย์ไม่มีตัวตนอื่น สิทธิการเช่า ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น หนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ย

22

29

เจ้าหนี้การค้า เจ้าหนี้อื่น ภาระผูกพันผลประโยชน์พนักงาน ทุนเรือนหุ้น สํารอง รายงานทางการเงินจําแนกตามส่วนงาน รายได้อื่น ค่าใช้จ่ายในการขาย

30

ค่าใช้จ่ายในการบริหาร

31

ค่าใช้จ่ายผลประโยชน์ของพนักงาน

32

ค่าใช้จ่ายตามลักษณะ

33

ต้นทุนทางการเงิน

34

ภาษีเงินได้

35

สิทธิประโยชน์จากการส่งเสริมการลงทุน

36

กําไรต่อหุ้นขั้นพื้นฐาน

37

เงินปันผล

38

เครื่องมือทางการเงิน

39

ภาระผูกพันกับบุคคลหรือกิจการที่ไม่เกี่ยวข้องกัน

40

เหตุการณ์ภายหลังรอบระยะเวลารายงาน

41

มาตรฐานการรายงานทางการเงินที่ยังไม่ได้ใช้

42

การจัดประเภทรายการใหม่

2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21

23 24 25 26 27 28


งบการเงิ น

120

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้ งบการเงินนี้ได้รับอนุมัติให้ออกงบการเงินจากคณะกรรมการเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2556

1. ข้อมูลทั่วไป บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จํากัด (มหาชน) “บริษัท” เป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นในประเทศไทย และมีที่อยู่จดทะเบียนตั้งอยู่เลขที่ 14 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร บริษัทจดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์ประเทศสิงคโปร์เมื่อเดือนพฤษภาคม 2549 บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่อย “กลุ่มบริษัท” ดําเนินธุรกิจหลักเกี่ยวกับการผลิตและการจัดจําหน่าย เครื่องดื่มผสม แอลกอฮอล์และไม่ผสมแอลกอฮอล์ และร้านอาหารญี่ปุ่น รายละเอียดของบริษัทย่อยและบริษัทร่วม ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2555 และ 2554 มีดังนี้

ชื่อกิจการ

ลักษณะธุรกิจ

ประเทศที่ กิจการจัดตั้ง

บริษัทถือหุ้น ร้อยละ 2555

2554

บริษัทย่อยทางตรง 1.

บริษัท เบียร์ไทย (1991) จํากัด (มหาชน)

ผลิตเบียร์ นํ้าดื่มและนํ้าโซดา

ไทย

100.00

100.00

2.

บริษัท เบียร์ทิพย์ บริวเวอรี่ (1991) จํากัด

ผลิตเบียร์ นํ้าดื่มและนํ้าโซดา

ไทย

100.00

100.00

3.

บริษัท คอสมอส บริวเวอรี่ (ประเทศไทย) จํากัด

ผลิตเบียร์ นํ้าดื่มและนํ้าโซดา

ไทย

100.00

100.00

4.

บริษัท แสงโสม จํากัด

ผลิตสุรา

ไทย

100.00

100.00

5.

บริษัท เฟื่องฟูอนันต์ จํากัด

ผลิตสุรา

ไทย

100.00

100.00

6.

บริษัท มงคลสมัย จํากัด

ผลิตสุรา

ไทย

100.00

100.00

7.

บริษัท ธนภักดี จํากัด

ผลิตสุรา

ไทย

100.00

100.00

8.

บริษัท กาญจนสิงขร จํากัด

ผลิตสุรา

ไทย

100.00

100.00

9.

บริษัท สุราบางยี่ขัน จํากัด

ผลิตสุรา

ไทย

100.00

100.00

10. บริษัท อธิมาตร จํากัด

ผลิตสุรา

ไทย

100.00

100.00

11. บริษัท เอส. เอส. การสุรา จํากัด

ผลิตสุรา

ไทย

100.00

100.00

12. บริษัท แก่นขวัญ จํากัด

ผลิตสุรา

ไทย

100.00

100.00

13. บริษัท เทพอรุโณทัย จํากัด

ผลิตสุรา

ไทย

100.00

100.00

14. บริษัท สุรากระทิงแดง (1988) จํากัด

ผลิตสุรา

ไทย

100.00

100.00

ั ยูไนเต็ด ไวน์เนอรี่ แอนด์ ดิสทิลเลอรี่ จํากัด ผลิตสุรา 15. บริษท

ไทย

100.00

100.00

16. บริษัท สีมาธุรกิจ จํากัด

ผลิตสุรา

ไทย

100.00

100.00

17. บริษัท นทีชัย จํากัด

ผลิตสุรา

ไทย

100.00

100.00

18. บริษัท หลักชัยค้าสุรา จํากัด

ผลิตสุรา

ไทย

100.00

100.00

19. บริษัท สุราพิเศษทิพราช จํากัด

ผลิตสุรา

ไทย

100.00

100.00

20. บริษัท โมเดิร์นเทรด แมนเนจเม้นท์ จํากัด

ผู้จัดจําหน่ายเบียร์ สุรา และ ไทย

100.00

100.00

ไทย

100.00

100.00

(เดิมชื่อบริษัท ป้อมทิพย์ จํากัด) 21. บริษัท ป้อมกิจ จํากัด

เครื่องดื่มไม่ผสมแอลกอฮอล์ ผู้จัดจําหน่ายเบียร์ และ เครื่องดื่มไม่ผสมแอลกอฮอล์


รายงานประจํ า ปี 2555 บริ ษ ั ท ไทยเบฟเวอเรจ จํ า กั ด (มหาชน)

งบการเงิ น

121

ชื่อกิจการ

ลักษณะธุรกิจ

ประเทศที่ กิจการจัดตั้ง

บริษัทถือหุ้น ร้อยละ 2555

2554

ไทย

100.00

100.00

ไทย

100.00

100.00

ไทย

100.00

100.00

ไทย

100.00

100.00

ไทย

100.00

100.00

ไทย

100.00

100.00

เครื่องดื่มไม่ผสมแอลกอฮอล์

ไทย

100.00

-

29. บริษัท นํายุค จํากัด

ผู้จัดจําหน่ายสุรา

ไทย

100.00

100.00

30. บริษัท นํากิจการ จํากัด

ผู้จัดจําหน่ายสุรา

ไทย

100.00

100.00

31. บริษัท นําพลัง จํากัด

ผู้จัดจําหน่ายสุรา

ไทย

100.00

100.00

32. บริษัท นําเมือง จํากัด

ผู้จัดจําหน่ายสุรา

ไทย

100.00

100.00

33. บริษัท นํานคร จํากัด

ผู้จัดจําหน่ายสุรา

ไทย

100.00

100.00

34. บริษัท นําธุรกิจ จํากัด

ผู้จัดจําหน่ายสุรา

ไทย

100.00

100.00

35. บริษัท นํารุ่งโรจน์ จํากัด

ผู้จัดจําหน่ายสุรา

ไทย

100.00

100.00

36. บริษัท นําทิพย์ จํากัด

ผู้จัดจําหน่ายสุรา

ไทย

100.00

100.00

37. บริษัท ทิพย์ชโลธร จํากัด

ตัวแทนจําหน่ายเบียร์ สุรา และ ไทย

100.00

100.00

ไทย

100.00

100.00

ไทย

100.00

100.00

ไทย

100.00

100.00

เครื่องดื่มไม่ผสมแอลกอฮอล์

ไทย

100.00

100.00

42. บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ เอ็นเนอร์ยี่ จํากัด

จัดจําหน่ายก๊าซชีวภาพ

ไทย

100.00

100.00

43. บริษัท เครื่องดื่มแรงเยอร์ (2008) จํากัด

ผลิตและจําหน่ายเครื่องดื่มชูกําลัง

ไทย

-

100.00

บริษัทย่อยทางตรง (ต่อ) 22. บริษัท ป้อมคลัง จํากัด

ผู้จัดจําหน่ายเบียร์ และ เครื่องดื่มไม่ผสมแอลกอฮอล์

23. บริษัท ป้อมโชค จํากัด

ผูจ้ ด ั จําหน่ายเบียร์ และ เครือ่ งดืม ่ ไม่ผสมแอลกอฮอล์

24. บริษัท ป้อมเจริญ จํากัด

ผูจ้ ด ั จําหน่ายเบียร์ และ เครือ่ งดืม ่ ไม่ผสมแอลกอฮอล์

25. บริษัท ป้อมบูรพา จํากัด

ผูจ้ ด ั จําหน่ายเบียร์ และ เครือ่ งดืม ่ ไม่ผสมแอลกอฮอล์

26. บริษัท ป้อมพลัง จํากัด

ผู้จัดจําหน่ายเบียร์ และ เครื่องดื่มไม่ผสมแอลกอฮอล์

27. บริษัท ป้อมนคร จํากัด

ผูจ้ ด ั จําหน่ายเบียร์ และ เครือ่ งดืม ่ ไม่ผสมแอลกอฮอล์

28. บริษัท ป้อมทิพย์ (2012) จํากัด

ผู้จัดจําหน่ายเบียร์ และ

เครื่องดื่มไม่ผสมแอลกอฮอล์ 38. บริษัท กฤตยบุญ จํากัด

ตัวแทนจําหน่ายเบียร์ สุรา และ เครื่องดื่มไม่ผสมแอลกอฮอล์

39. บริษัท สุราทิพย์ จํากัด

ตัวแทนจําหน่ายเบียร์ สุรา และ เครื่องดื่มไม่ผสมแอลกอฮอล์

40. บริษัท สุนทรภิรมย์ จํากัด

ตัวแทนจําหน่ายเบียร์ สุรา และ เครื่องดื่มไม่ผสมแอลกอฮอล์

41. บริษัท ภิรมย์สุรางค์ จํากัด

ตัวแทนจําหน่ายเบียร์ สุรา และ


งบการเงิ น

122

บริษัทถือหุ้น ร้อยละ

ลักษณะธุรกิจ

ประเทศที่ กิจการจัดตั้ง

2555

2554

44. บริษัท ไทยโมลาส จํากัด

จัดจําหน่ายกากนํ้าตาล

ไทย

99.72

99.72

45. บริษัท อาหารเสริม จํากัด

จัดจําหน่ายอาหารสัตว์และปุ๋ย

ไทย

100.00

100.00

บริการจัดซื้อจัดจ้าง

ไทย

100.00

100.00

47. บริษัท จรัญธุรกิจ 52 จํากัด

ผลิตอิฐและจําหน่ายสุรา

ไทย

100.00

100.00

48. บริษัท ถังไม้โอ๊คไทย จํากัด

ผลิตถังไม้โอ๊ค

ไทย

100.00

100.00

49. บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ รีไซเคิล จํากัด

จัดจําหน่ายขวด

ไทย

100.00

100.00

50. บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ โลจิสติก จํากัด

บริการขนส่งและจัดจําหน่าย

ไทย

100.00

100.00

51. บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ มาร์เก็ตติ้ง จํากัด

นําเข้าและส่งออกสุรา/

เครื่องดื่มไม่ผสมแอลกอฮอล์

ไทย

100.00

100.00

52. บริษัท ธนสินธิ จํากัด

ก่อสร้าง

ไทย

-

100.00

53. บริษัท ทศภาค จํากัด

ธุรกิจโฆษณา

ไทย

100.00

100.00

54. บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ เทรนนิ่ง จํากัด

จัดอบรม

ไทย

100.00

100.00

55. International Beverage Holdings Limited

ธุรกิจลงทุน

ฮ่องกง

100.00

100.00

56. บริษัท ไทยเบฟเวอเรจแบรนด์ จํากัด

ถือครองเครื่องหมายการค้า

ไทย

100.00

100.00

57. บริษัท เบียร์ช้าง จํากัด

ถือครองเครื่องหมายการค้า ไทย

100.00

100.00

และผลิตหัวเชื้อเบียร์

ไทย

100.00

100.00

59. บริษัท สุราพิเศษภัทรลานนา จํากัด

ธุรกิจลงทุน

ไทย

100.00

100.00

60. บริษัท ประมวลผล จํากัด

ผลิตและจัดจําหน่ายสุรา

ไทย

100.00

100.00

61. บริษัท ไทยดริ้งค์ จํากัด

จัดจําหน่ายเครื่องดื่ม

ไทย

100.00

100.00

62. บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จํากัด (มหาชน)

กิจการภัตตาคารอาหารญี่ปุ่น และจัดจําหน่ายอาหารและเครื่องดื่ม

ไทย

89.26

89.26

63. บริษัท สุราไทยทํา จํากัด #

ผลิตและจัดจําหน่ายสุรา

ไทย

99.90

99.90

64. บริษัท สุราพิเศษสหสันติ์ จํากัด #

จัดจําหน่ายสุรา

ไทย

100.00

100.00

65. บริษัท สุราพิเศษสัมพันธ์ จํากัด #

จัดจําหน่ายสุรา

ไทย

100.00

100.00

66. บริษัท วิทยาทาน จํากัด

ประชาสัมพันธ์การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

ไทย

100.00

100.00

67. InterBev (Singapore) Limited

จัดจําหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

สิงคโปร์

100.00

100.00

68. InterBev (Cambodia) Co., Ltd.

จัดจําหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

กัมพูชา

100.00

100.00

69. InterBev Malaysia Sdn. Bhd.

จัดจําหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

มาเลเซีย

100.00

100.00

70. Best Spirits Company Limited

จัดจําหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

ฮ่องกง

100.00

100.00

ชื่อกิจการ บริษัทย่อยทางตรง (ต่อ)

46. บริษัท แพนอินเตอร์เนชั่นแนล

(ประเทศไทย) จํากัด

จัดจําหน่ายวัสดุและ

ทําการตลาดในต่างประเทศ และตัวแทนจําหน่าย

และผลิตหัวเชื้อเบียร์ 58. บริษัท เบียร์อาชา จํากัด

ถือครองเครื่องหมายการค้า

บริษัทย่อยทางอ้อม


รายงานประจํ า ปี 2555 บริ ษ ั ท ไทยเบฟเวอเรจ จํ า กั ด (มหาชน)

งบการเงิ น

123

ชื่อกิจการ

ลักษณะธุรกิจ

ประเทศที่ กิจการจัดตั้ง

ธุรกิจลงทุน ธุรกิจลงทุน

บริษัทถือหุ้น ร้อยละ 2555

2554

สหราชอาณาจักร

100.00

100.00

ฮ่องกง

100.00

100.00

ไทย

99.84

99.84

อาหารและเครื่องดื่ม

ไทย

89.26

89.26

75. บริษัท โออิชิ ราเมน จํากัด

ร้านอาหารบะหมี่ญี่ปุ่น

ไทย

89.26

89.26

76. Oishi International Holdings Limited

จัดจําหน่ายเครื่องดื่ม ในต่างประเทศ

ฮ่องกง

89.26

-

77. บริษัท เบียร์ช้าง อินเตอร์เนชั่นแนล จํากัด #

หยุดดําเนินกิจการ

ไทย

100.00

100.00

78. บริษัท สุราแม่โขง จํากัด

ให้บริการคําปรึกษา

ไทย

100.00

100.00

79. บริษัท ช้างอินเตอร์เนชั่นแนล จํากัด

ให้บริการด้านโฆษณาและประชาสัมพันธ์

ไทย

100.00

100.00

80. บริษัท ช้าง คอร์ป จํากัด

ให้บริการด้านโฆษณา และประชาสัมพันธ์

ไทย

100.00

100.00

81. Super Brands Company Pte. Ltd.

ถือครองเครื่องหมายการค้า

สิงคโปร์

100.00

100.00

82. Beer Chang International Limited

ยังไม่ดําเนินกิจการ

สิงคโปร์

100.00

100.00

83. International Beverage Trading Limited

จัดจําหน่ายเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์

เบอร์มิวดา

100.00

100.00

84. บริษัท เสริมสุข จํากัด (มหาชน)

ผลิตและจัดจําน่ายเครื่องดื่ม

ไทย

64.66

64.66

85. InterBev Investment Limited

ธุรกิจลงทุน

ฮ่องกง

100.00

-

เแอลกอฮอล์

สหรัฐอเมริกา

100.00

100.00

87. Blairmhor Limited *#

ธุรกิจลงทุน

สหราชอาณาจักร

100.00

100.00

88. Inver House Distillers Limited *

ผลิตและจัดจําหน่ายสุรา

สหราชอาณาจักร

100.00

100.00

89. InterBev Trading (China) Li mited **

จัดจําหน่ายเครื่องดื่ม

สาธารณรัฐ

แอลกอฮอล์

ประชาชนจีน

100.00

100.00

ผลิตสุรา

สาธารณรัฐ ประชาชนจีน

100.00

100.00

บริษัทย่อยทางอ้อม (ต่อ) 71. International Beverage Holdings (UK)

Limited 72. International Beverage Holdings (China)

Limited 73. บริษัท เอส. พี. เอ็มอาหารและเครื่องดื่ม จํากัด

ผลิตและจัดจําหน่าย นํ้าดื่มและเครื่องดื่มชูกําลัง และตัวแทนจําหน่ายสุรา

74. บริษัท โออิชิ เทรดดิ้ง จํากัด

ผลิตและจัดจําหน่าย

บริษัทย่อยของบริษัทย่อยทางอ้อม 86. International Beverage Holdings Limited

USA, Inc. *

90. Yunnan Yulinquan Liquor Co., Ltd. **

จัดจําหน่ายเครื่องดื่ม

91. Blairmhor Distillers Limited *#

หยุดดําเนินกิจการ

สหราชอาณาจักร

100.00

100.00

92. Wee Beastie Limited *#

หยุดดําเนินกิจการ

สหราชอาณาจักร

100.00

100.00

93. Moffat & Towers Limited *#

หยุดดําเนินกิจการ

สหราชอาณาจักร

100.00

100.00

94. Glen Calder Blenders Limited *#

หยุดดําเนินกิจการ

สหราชอาณาจักร

100.00

100.00


งบการเงิ น

124

ลักษณะธุรกิจ

ประเทศที่ กิจการจัดตั้ง

95. Hankey Bannister & Company Limited *#

หยุดดําเนินกิจการ

96. R. Carmichael & Sons Limited *#

ชื่อกิจการ

บริษัทถือหุ้น ร้อยละ 2555

2554

สหราชอาณาจักร

100.00

100.00

หยุดดําเนินกิจการ

สหราชอาณาจักร

100.00

100.00

97. J MacArthur Junior & Company Limited *# หยุดดําเนินกิจการ

สหราชอาณาจักร

100.00

100.00

98. Mason & Summers Limited *#

สหราชอาณาจักร

100.00

100.00

บริษัทย่อยของบริษัทย่อยทางอ้อม (ต่อ)

หยุดดําเนินกิจการ

99. James Catto & Company Limited *#

หยุดดําเนินกิจการ

สหราชอาณาจักร

100.00

100.00

100. The Knockdhu Distillery Co., Ltd. *#

หยุดดําเนินกิจการ

สหราชอาณาจักร

100.00

100.00

101. Speyburn-Glenlivet Distillery Co., Ltd. *#

หยุดดําเนินกิจการ

สหราชอาณาจักร

100.00

100.00

102. The Pulteney Distillery Co., Ltd. *#

หยุดดําเนินกิจการ

สหราชอาณาจักร

100.00

100.00

103. The Balblair Distillery Co., Ltd. *#

หยุดดําเนินกิจการ

สหราชอาณาจักร

100.00

100.00

104. บริษัท เสริมสุข โฮลดิ้งส์ จํากัด ***

ธุรกิจลงทุน

ไทย

64.66

64.66

105. บริษัท เสริมสุข เบเวอร์เรจ จํากัด ***

ผลิตและจัดจําหน่ายเครื่องดื่ม

ไทย

64.66

64.66

106. บริษัท เสริมสุข เทรนนิ่ง จํากัด ***

บริการพัฒนาบุคลากร และองค์กร

ไทย

64.66

-

107. Great Brands Limited ***

บริหารตราสินค้า

ฮ่องกง

64.66

-

108. บริษัท เครื่องดื่มแรงเยอร์ (2008) จํากัด

ผลิตและจําหน่ายเครื่องดื่มชูกําลัง

ไทย

64.66

-

109. Liquorland Limited ****

ลิขสิทธิ์

สหราชอาณาจักร

49.49

49.49

110. Inver House Polska Limited ****

จัดจําหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

โปแลนด์

-

84.00

111. Inver House Distribution SA ****#

หยุดดําเนินกิจการ

ฝรั่งเศส

49.88

49.88

112. บริษัท เพ็ทฟอร์ม (ไทยแลนด์) จํากัด *****

ผลิตและจัดจําหน่ายบรรจุภัณฑ์พลาสติก ไทย

25.86

25.86

113. Fraser and Neave, Limited ******

ธุรกิจลงทุน

28.63

-

บริษัทร่วมของบริษัทย่อยทางอ้อม

* ** *** **** ***** ****** #

สิงคโปร์

บริษัทย่อยของ International Beverage Holdings (UK) Limited บริษัทย่อยของ International Beverage Holdings (China) Limited บริษัทย่อยของ บริษัท เสริมสุข จํากัด (มหาชน) บริษัทร่วมของ International Beverage Holdings (UK) Limited บริษัทร่วมของ บริษัท เสริมสุข จํากัด (มหาชน) บริษัทร่วมของ InterBev Investment Limited ปัจจุบันบริษัทเหล่านี้ไม่ได้ประกอบกิจการ

เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2554 International Beverage Trading Limited (“IBTL”) ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลที่ประเทศเบอร์มิวดา โดยมี ทุนจดทะเบียน จํานวนเงิน 0.1 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา แบ่งออกเป็นหุ้นสามัญจํานวน 100,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 เหรียญสหรัฐอเมริกา มี International Beverage Holdings Limited ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัทถือหุ้นทั้งหมด ในการประชุมคณะกรรมการบริหารของบริษท ั เมือ่ วันที่ 24 มกราคม 2554 คณะกรรมการบริหารมีมติอนุมต ั ใิ นหลักการให้บริษท ั จรัญธุรกิจ 52 จํากัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัท ขายทรัพย์สินของบริษัท เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2554 ถังปลอดเชื้อ Aseptic ที่โรงงานจังหวัดปทุมธานีของบริษัทย่อยทางอ้อมแห่งหนึ่งยุบตัว เป็นเหตุให้การผลิตของ สายการผลิต Cold Aseptic Filling ต้องหยุดชะงักลง บริษัทย่อยดังกล่าวและผู้ขายเครื่องจักรอยู่ระหว่างการดําเนินการตรวจสอบถึงสาเหตุของ เหตุการณ์ดังกล่าวและหารือเกี่ยวกับความรับผิดชอบของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องควบคู่ไปกับการดําเนินการซ่อมแซมบางส่วน ต่อมาผู้ขายเครื่องจักรได้ ตกลงกับบริษัทย่อยเพื่อจัดส่งถังใบใหม่มาทดแทนโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย และบริษัทย่อยเป็นผู้จ่ายค่าติดตั้ง


รายงานประจํ า ปี 2555 บริ ษ ั ท ไทยเบฟเวอเรจ จํ า กั ด (มหาชน)

งบการเงิ น

125

ในการประชุมคณะกรรมการบริษัท เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2554 คณะกรรมการบริษัทมีมติอนุมัติให้บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ โลจิสติก จํากัด ซึ่งเป็น บริษัทย่อยของบริษัทซื้อหุ้นสามัญในบริษัท เสริมสุข จํากัด (มหาชน) “เสริมสุข” จํานวน 265,900,484 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 100 ของจํานวนหุ้นที่ ออกและชําระแล้วทั้งหมดของเสริมสุข ในราคา 58 บาทต่อหุ้นจากผู้ถือหุ้นของเสริมสุขทุกราย โดยทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของกิจการ โดยสมัครใจ (Voluntary Tender Offer) ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554 บริษัทย่อยดังกล่าวถือหุ้นสามัญที่ออกและชําระแล้วในเสริมสุขคิดเป็น ร้อยละ 64.66 ในการประชุมคณะกรรมการบริหารของบริษัท เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2554 คณะกรรมการบริหารมีมติอนุมัติให้บริษัทขายหุ้นสามัญในบริษัท ธนสินธิ จํากัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัท จํานวน 19,998 หุ้น หรือคิดเป็นร้อยละ 99.99 ของจํานวนหุ้นทั้งหมดในราคาหุ้นละ 1,995.98 บาท เท่ากับ มูลค่าที่ประเมินโดยที่ปรึกษาทางการเงิน โดยบริษัทได้ดําเนินการเรียบร้อยแล้วในเดือนเมษายน 2555 ในการประชุมคณะกรรมการบริหารของบริษัท เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2554 คณะกรรมการบริหารมีมติอนุมัติให้บริษัท อาหารเสริม จํากัด ซึ่งเป็น บริษท ั ย่อยของบริษท ั ขายทรัพย์สน ิ ในธุรกิจผลิตและจําหน่ายปุย ๋ เป็นจํานวนเงิน 14,687,205.21 บาท เท่ากับมูลค่าทีป ่ ระเมินโดยทีป ่ รึกษาทางการเงิน ในการประชุมสามัญประจําปีของผูถ ้ อื หุน ้ ของบริษท ั เมือ่ วันที่ 27 เมษายน 2555 ผูถ ้ อื หุน ้ มีมติอนุมต ั ใิ ห้บริษท ั ซือ้ หุน ้ สามัญของ บริษท ั เสริมสุข จํากัด (มหาชน) จํานวน 171,923,138 หุน ้ หรือคิดเป็นร้อยละ 64.66 ของจํานวนหุน ้ ทัง้ หมดจาก บริษท ั ไทยเบฟเวอเรจ โลจิสติก จํากัด ซึง่ เป็นบริษท ั ย่อย ของบริษัท ในการประชุมสามัญประจําปีของผู้ถือหุ้นของบริษัท เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2555 ผู้ถือหุ้นมีมติอนุมัติให้บริษัทซื้อหุ้นสามัญของ บริษัท ประมวลผล จํากัด จํานวน 3,499,998 หุน ้ หรือคิดเป็นร้อยละ 99.99 ของจํานวนหุน ้ ทัง้ หมดจาก บริษท ั สุราพิเศษภัทรลานนา จํากัด ซึง่ เป็นบริษท ั ย่อยของบริษท ั โดยบริษัทได้ดําเนินการเรียบร้อยแล้วในเดือนพฤษภาคม 2555 เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2555 Oishi International Holdings Limited ซึ่งเป็นบริษัทย่อยทางอ้อมของบริษัท ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลที่ เขตบริหารพิเศษฮ่องกง แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยมีทุนจดทะเบียนเป็นจํานวนเงิน 50,000 เหรียญฮ่องกง แบ่งออกเป็นหุ้นสามัญ จํานวน 50,000 หุ้น มูลค่าตราไว้หุ้นละ 1 เหรียญฮ่องกง เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2555 Great Brands Limited ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัทย่อยทางอ้อมของบริษัท ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลที่ เขตบริหาร พิเศษฮ่องกง แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยมีทุนจดทะเบียนเป็นจํานวนเงิน 1,000,000 เหรียญฮ่องกง แบ่งออกเป็นหุ้นสามัญ จํานวน 1,000,000 หุน ้ มูลค่าตราไว้หุ้นละ 1 เหรียญฮ่องกง เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2555 บริษัท เสริมสุข เทรนนิ่ง จํากัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัทย่อยทางอ้อมของบริษัท ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลใน ประเทศไทย โดยมีทน ุ จดทะเบียนเป็นจํานวนเงิน 10,000,000 บาท แบ่งเป็นหุน ้ สามัญจํานวน 1,000,000 หุน ้ มูลค่าทีต ่ ราไว้หน ุ้ ละ 10 บาท ชําระหุน ้ ในคราวแรกหุ้นละ 2.50 บาท เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2555 บริษัทย่อยแห่งหนึ่งของบริษัทได้ซื้อหุ้นสามัญ ของ Fraser and Neave, Limited ซึ่งเป็นบริษัทจดทะเบียนใน ตลาดหลักทรัพย์ประเทศสิงคโปร์ จํานวน 313,036,775 หุน ้ คิดเป็นส่วนได้เสียประมาณร้อยละ 22 ของบริษท ั ดังกล่าว เมือ่ รวมกับการซือ้ หุน ้ ทัง้ ก่อน และหลังจากผู้ถือหุ้นอื่นๆในตลาดจํานวน 99,387,047 หุ้น ทําให้ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2555 กลุ่มบริษัทมีส่วนได้เสียรวมประมาณร้อยละ 28.63 ในบริษัทดังกล่าว (ดูข้อมูลเพิ่มเติมในหมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 5) เมือ่ วันที่ 8 พฤศจิกายน 2555 บริษท ั และบริษท ั ย่อยอีกสองบริษท ั ได้ทาํ สัญญาซือ้ ขายหุน ้ เพือ่ โอนหุน ้ สามัญทัง้ หมดของบริษท ั เครือ่ งดืม ่ แรงเยอร์ (2008) จํากัด (“แรงเยอร์”) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัท ให้กับบริษัทย่อยทางอ้อมแห่งหนึ่งและบริษัทย่อยของบริษัทย่อยทางอ้อมดังกล่าวอีกสองบริษัท เป็นจํานวนเงินรวม 248 ล้านบาท ส่งผลให้แรงเยอร์มีฐานะเป็นบริษัทย่อยของบริษัทย่อยทางอ้อมของบริษัท ตั้งแต่วันที่ 30 พฤศจิกายน 2555 เป็นต้นไป เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2555 บริษัท ป้อมทิพย์ (2012) จํากัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัท ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลในประเทศไทย โดยมี ทุนจดทะเบียนเป็นจํานวนเงิน 10,000,000 บาท แบ่งเป็นหุ้นสามัญจํานวน 1,000,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2555 InterBev Investment Limited ซึ่งเป็นบริษัทย่อยทางอ้อมของบริษัท ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลที่ เขตบริหาร พิเศษฮ่องกง แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยมีทุนจดทะเบียนเป็นจํานวนเงิน 1,000,000 เหรียญสิงคโปร์ แบ่งออกเป็นหุ้นสามัญ จํานวน 1,000,000 หุ้น มูลค่าตราไว้หุ้นละ 1 เหรียญสิงคโปร์ มี International Beverage Holdings Limited ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัทถือหุ้นทั้งหมด


งบการเงิ น

126

2. เกณฑ์การจัดทํางบการเงิน (ก) เกณฑ์การถือปฏิบัติ งบการเงินนี้จัดทําขึ้นตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน รวมถึงแนวปฏิบัติทางการบัญชีที่ประกาศใช้โดยสภาวิชาชีพบัญชีฯ (“สภาวิชาชีพบัญชี”) กฎระเบียบและประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่เกี่ยวข้อง

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2555 สภาวิชาชีพบัญชีได้ออกและปรับปรุงมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับอื่นๆ ซึ่งมีผลบังคับสําหรับงบการเงินที่เริ่ม ในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2556 เป็นต้นไป และไม่ได้มีการนํามาใช้สําหรับการจัดทํางบการเงินนี้ มาตรฐานการรายงานทางการเงินที่ออกและ ปรับปรุงใหม่ดังกล่าวได้เปิดเผยในหมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 41 (ข) เกณฑ์การวัดมูลค่า งบการเงินนี้จัดทําขึ้นโดยถือหลักเกณฑ์การบันทึกตามราคาทุนเดิม ยกเว้นรายการที่สําคัญที่แสดงในงบแสดงฐานะทางการเงินดังต่อไปนี้ -

สินทรัพย์ทางการเงินเผื่อขายวัดมูลค่าด้วยราคายุติธรรม หนี้สินผลประโยชน์พนักงานวัดมูลค่าด้วยวิธีคิดลดแต่ละหน่วยจากการประมาณการตามหลักคณิตศาสตร์ประกันภัย

(ค) สกุลเงินที่นําเสนองบการเงิน งบการเงินนี้จัดทําและแสดงหน่วยเงินตราเป็นเงินบาท ข้อมูลทางการเงินทั้งหมดมีการปัดเศษในงบการเงินและในหมายเหตุประกอบงบการเงินเพื่อให้ แสดงเป็นหลักพันบาทและล้านบาท ยกเว้นที่ระบุไว้เป็นอย่างอื่น (ง) การประมาณการและใช้วิจารณญาณ ในการจัดทํางบการเงินให้เป็นไปตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ผู้บริหารต้องใช้วิจารณญาณ การประมาณและข้อสมมติฐานหลายประการ ซึ่งมีผลกระทบต่อการกําหนดนโยบายการบัญชีและการรายงานจํานวนเงินที่เกี่ยวกับ สินทรัพย์ หนี้สิน รายได้ และค่าใช้จ่าย ผลที่เกิดขึ้นจริงอาจ แตกต่างจากที่ประมาณไว้ ประมาณการและข้อสมมติฐานที่ใช้ในการจัดทํางบการเงินจะได้รับการทบทวนอย่างต่อเนื่อง การปรับประมาณการทางบัญชีจะบันทึกในงวดบัญชีที่ ประมาณการดังกล่าวได้รับการทบทวนและในงวดอนาคตที่ได้รับผลกระทบ ข้อมูลเกี่ยวกับการประมาณความไม่แน่นอนและข้อสมมติฐานที่สําคัญในการกําหนดนโยบายการบัญชี มีผลกระทบสําคัญต่อการรับรู้จํานวนเงินใน งบการเงินซึ่งประกอบด้วยหมายเหตุประกอบงบการเงินต่อไปนี้ หมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 3 หมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 4 (ธ) หมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 5 หมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 15 หมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 19 หมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 24

ผลกระทบจากเหตุการณ์มหาอุทกภัยของไทย ภาษีเงินได้ของงวดปัจจุบันและภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี การรวมธุรกิจ การตีมูลค่าของที่ดิน การใช้ประโยชน์ของขาดทุนทางภาษี การวัดมูลค่าของภาระผูกพันของโครงการผลประโยชน์พนักงาน


รายงานประจํ า ปี 2555 บริ ษ ั ท ไทยเบฟเวอเรจ จํ า กั ด (มหาชน)

งบการเงิ น

127

3. ผลกระทบจากเหตุการณ์มหาอุทกภัยของไทย ในช่วงปลายเดือนมีนาคม 2554 ได้เกิดเหตุการณ์นาํ้ ท่วมขึน ้ ทีบ ่ ริเวณภาคใต้ของประเทศไทย ทําให้โรงงานสุราแห่งหนึง่ ของบริษท ั ทีจ่ งั หวัดสุราษฎร์ธานี ต้องปิดทําการชั่วคราวเพื่อซ่อมแซมปรับปรุงเนื่องจากผลกระทบของเหตุการณ์ดังกล่าว บริษัทได้ทํากรมธรรม์ประกันภัยโรงงานสุรานี้ไว้แล้ว ประกอบด้วย กรมธรรม์คุ้มครองความเสี่ยงภัยทุกชนิด (IAR) และกรมธรรม์ประกันภัยธุรกิจหยุดชะงัก (BI) บริษัทได้ดําเนินการสํารวจความเสียหาย ร่วมกับบริษัทประกันภัย และเชื่อว่ากรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวจะสามารถชดเชยความเสียหายได้ทั้งจํานวน โดย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554 กลุ่มบริษัทได้บันทึกลูกหนี้ค่าสินไหมทดแทนที่คาดว่าจะได้รับคืนจากบริษัทประกันภัยเป็นจํานวนเงินประมาณ 193.04 ล้านบาท และบันทึกสํารอง ค่าเผื่อสินค้าและอุปกรณ์เสียหายและประมาณการหนี้สินด้วยจํานวนเดียวกัน ในเดือนกันยายน 2554 ได้เกิดเหตุการณ์นาํ้ ท่วมขึน ้ ทีบ ่ ริเวณภาคกลางของประเทศไทย ทําให้โรงงานเบียร์แห่งหนึง่ ของบริษท ั ทีจ่ งั หวัดพระนครศรีอยุธยา และโรงงานผลิตอาหารและเครือ่ งดืม ่ ไม่มแี อลกอฮอล์อก ี แห่งหนึง่ ของบริษท ั ทีจ่ งั หวัดปทุมธานีตอ้ งปิดทําการชัว่ คราวเนือ่ งจากผลกระทบของเหตุการณ์ ดังกล่าว อย่างไรก็ตาม บริษัทได้ทํากรมธรรม์ประกันภัยไว้แล้ว ประกอบด้วยกรมธรรม์คุ้มครองความเสี่ยงภัยทุกชนิด (IAR) และกรมธรรม์ประกันภัย ธุรกิจหยุดชะงัก (BI) ซึ่งเชื่อว่ากรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวจะสามารถชดเชยความเสียหายได้ โดยได้ทยอยเริ่มการผลิตใหม่ในส่วนงานต่างๆ และได้ ดําเนินการผลิตทั้งหมดทุกส่วนงานแล้ว ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2555 ในเดือนตุลาคม 2554 การดําเนินงานของบริษัทย่อยแห่งหนึ่งที่จังหวัดปทุมธานีได้รับผลกระทบจากน้ําท่วมของไทย เป็นผลให้ต้องหยุดการผลิตที่ โรงงานดังกล่าว ซึ่งผู้บริหารได้ดําเนินการแก้ปัญหาจากน้ําท่วมดังกล่าวเพื่อลดผลกระทบต่อสินทรัพย์และการดําเนินงานของบริษัท โดยได้ทยอย เริ่มการผลิตใหม่ในส่วนงานต่างๆ และได้ดําเนินการผลิตทั้งหมดทุกส่วนงานแล้ว ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2555 กลุ่มบริษัทได้รับรู้ค่าใช้จ่ายและเงินชดเชยจากการประกันภัยอันเนื่องมาจากมหาอุทกภัย ดังนี้ สําหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม

งบการเงินรวม 2555

2554

(ล้านบาท) เงินชดเชยได้รับจากบริษัทประกันภัย ได้รับชําระแล้วภายในวันที่ 31 ธันวาคม ได้รับชําระหลังจากวันที่ 31 ธันวาคม ยังไม่ได้รับชําระ เงินชดเชยจากการประกันภัยที่ได้รับรู้แล้วสะสม หัก เงินชดเชยที่เคยรับรู้ในงวดก่อน เงินชดเชยจากการประกันภัยที่ได้รับรู้ในแต่ละปี ตัดจําหน่ายสินค้าสูญหาย ตัดจําหน่ายทรัพย์สินสูญหาย สํารองค่าเผื่อมูลค่าสินค้าลดลง สํารองค่าเผื่อด้อยค่าอาคารและอุปกรณ์ ความเสียหายจากธุรกิจหยุดชะงัก

815

139

1

55

1,015

1,440

1,831

1,634

(1,634) 197

1,634

-

(229)

(26)

(319)

-

(250)

(10)

(589)

-

(173)

ค่าใช้จ่ายอื่นซึ่งเกิดจากเนื่องจากมหาอุทกภัย

(144)

(234)

รวมค่าใช้จ่ายจากมหาอุทกภัย

(180)

(1,794)

กําไร (ขาดทุน) สุทธิจากมหาอุทกภัยที่รับรู้

17

(160)


งบการเงิ น

128

ค่าใช้จ่ายซึ่งเกิดขึ้นจากมหาอุทกภัยข้างต้นนั้นหากแยกเป็นค่าใช้จ่ายตามหน้าที่ในงบกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จจะแยกได้ดังนี้ สําหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม

งบการเงินรวม 2555

2554

(ล้านบาท) รายได้อื่น

(24)

(30)

ต้นทุนขาย

(28)

25

ค่าใช้จ่ายในการบริหาร

35

165

(17)

160

รวมค่าใช้จ่ายจากมหาอุทกภัย

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2555 กลุ่มบริษัทมีเงินชดเชยจากประกันภัยที่คาดว่าจะได้รับคืนในอนาคตจํานวน 1,016 ล้านบาท ซึ่งค่าใช้จ่ายดังกล่าวได้รับ การพิจารณาว่ามีความเป็นไปได้ทจ่ี ะได้รบ ั แต่ไม่ถงึ กับสรุปได้วา่ จะได้รบ ั อย่างแน่นอน นอกจากนี้ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2555 ได้มก ี ารประเมินเงินชดเชย จากการหยุดชะงักทางธุรกิจเป็นเงิน 261 ล้านบาทสําหรับกลุม ่ บริษท ั จํานวนเงินเหล่านีถ ้ ก ู พิจารณาว่าเป็นสินทรัพย์ทอ่ี าจเกิดขึน ้ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2555 จึงยังไม่รับรู้ในผลประกอบการของกลุ่มบริษัท สําหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2555

4. นโยบายการบัญชีที่สําคัญ นโยบายการบัญชีที่นําเสนอดังต่อไปนี้ได้ถือปฏิบัติโดยสมํ่าเสมอสําหรับงบการเงินทุกรอบระยะเวลาที่รายงาน (ก) เกณฑ์ในการจัดทํางบการเงินรวม งบการเงินรวมประกอบด้วยงบการเงินของบริษัท และบริษัทย่อย (รวมกันเรียกว่า “กลุ่มบริษัท”) และส่วนได้เสียของกลุ่มบริษัทในบริษัทร่วม การรวมธุรกิจ กลุ่มบริษัทบันทึกบัญชีสําหรับการรวมธุรกิจตามวิธีซื้อ ยกเว้นในกรณีที่เป็นการรวมธุรกิจภายใต้การควบคุมเดียวกัน การควบคุม หมายถึงอํานาจในการกําหนดนโยบายทางการเงินและการดําเนินงานของกิจการเพื่อให้ได้มาซึ่งประโยชน์จากกิจกรรมของกิจการนั้น ในการพิจารณาอํานาจในการควบคุม กลุ่มบริษท ั ต้องนําสิทธิในการออกเสียงที่เกิดขึ้นมารวมในการพิจารณา วันที่ซื้อกิจการคือวันที่อํานาจใน การควบคุมนั้นได้ถูกโอนไปยังผู้ซื้อ การกําหนดวันที่ซื้อกิจการและการระบุเกี่ยวกับการโอนอํานาจควบคุมจากฝ่ายหนึ่งไปยังอีกฝ่ายหนึ่งต้องใช้ ดุลยพินิจเข้ามาเกี่ยวข้อง ค่าความนิยม ถูกวัดมูลค่า ณ วันที่ซื้อ โดยวัดจากมูลค่ายุติธรรมของสิ่งตอบแทนที่โอนให้ซึ่งรวมถึงการรับรู้จํานวนส่วนได้เสียที่ไม่มีอํานาจควบคุมใน ผู้ถูกซื้อ หักด้วยมูลค่าสุทธิ (มูลค่ายุติธรรม) ของสินทรัพย์ที่ระบุได้ที่ได้มาและหนี้สินที่รับมาซึ่งวัดมูลค่า ณ วันที่ซื้อ สิ่งตอบแทนที่โอนให้ ต้องวัดด้วยมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ที่โอนไป หนี้สินที่กลุ่มบริษัทก่อขึ้นเพื่อจ่ายชําระให้แก่เจ้าของเดิม และส่วนได้เสียในส่วน ของเจ้าของที่ออกโดยกลุ่มบริษัท ทั้งนี้สิ่งตอบแทนที่โอนให้ยังรวมถึงมูลค่ายุติธรรมของหนี้สินที่อาจเกิดขึ้นและมูลค่าของโครงการจ่ายโดยใช้หุ้นเป็น เกณฑ์ที่ออกแทนโครงการของผู้ถูกซื้อเมื่อรวมธุรกิจ หากการรวมธุรกิจมีผลให้สิ้นสุดความสัมพันธ์ของโครงการเดิมระหว่างกลุ่มบริษัทและผู้ถูกซื้อ ให้ใช้ราคาที่ต่ํากว่าระหว่าง มูลค่าจากการยกเลิกสัญญาตามที่ระบุในสัญญาและมูลค่าองค์ประกอบนอกตลาด ไปหักจากสิ่งตอบแทนที่โอนให้ และรับรู้ เป็นค่าใช้จ่ายอื่น หนี้สินที่อาจเกิดขึ้นของบริษัทที่ถูกซื้อที่รับมาจากการรวมธุรกิจ รับรู้เป็นหนี้สินหากมีภาระผูกพันในปัจจุบันซึ่งเกิดขึ้นจากเหตุการณ์ในอดีต และ สามารถวัดมูลค่ายุติธรรมได้อย่างน่าเชื่อถือ กลุ่มบริษัทวัดมูลค่าส่วนได้เสียที่ไม่มีอํานาจควบคุมตามอัตราส่วนได้เสียในสินทรัพย์สุทธิที่ได้มาจากผู้ถูกซื้อ


รายงานประจํ า ปี 2555 บริ ษ ั ท ไทยเบฟเวอเรจ จํ า กั ด (มหาชน)

งบการเงิ น

129

ต้นทุนทีเ่ กีย ่ วข้องกับการซือ้ ของกลุม ่ บริษท ั ทีเ่ กิดขึน ้ ซึง่ เป็นผลมาจากการรวมธุรกิจ เช่น ค่าทีป ่ รึกษากฎหมาย ค่าธรรมเนียมวิชาชีพและค่าทีป ่ รึกษาอืน ่ ๆ ถือเป็นค่าใช้จ่ายเมื่อเกิดขึ้น การรวมธุรกิจภายใต้การควบคุมเดียวกัน การรวมธุรกิจซึ่งเกิดจากการโอนส่วนได้เสียในกิจการภายใต้การควบคุมของผู้ถือหุ้นซึ่งควบคุมกลุ่มบริษัท ถือเป็นการเข้าครอบครองเสมือนว่าได้เกิด ขึ้นตั้งแต่วันต้นงวดของปีเปรียบเทียบก่อนหน้าสุดหรือ ณ วันที่มีการรวมธุรกิจภายใต้การควบคุมเดียวกันแล้วแต่วันใดจะหลังกว่า เพื่อปรับปรุง งบการเงินเปรียบเทียบ สินทรัพย์และหนี้สินที่ได้มาจะถูกรับรู้ด้วยมูลค่าตามบัญชีก่อนการจัดทํางบการเงินรวมภายใต้การควบคุมของผู้ถือหุ้นที่ กลุ่มบริษัทมีส่วนควบคุม ส่วนประกอบอื่นของส่วนของเจ้าของที่ได้มาจากการรวมธุรกิจถือเป็นส่วนหนึ่งของทุนของกลุ่มบริษัท เว้นแต่ส่วนที่ได้มานั้น ได้รับรู้เป็นส่วนหนึ่งของส่วนเกินมูลค่าหุ้น เงินสดจ่ายในการรวมธุรกิจรับรู้โดยตรงในส่วนของเจ้าของ บริษัทย่อย บริษท ั ย่อยเป็นกิจการทีอ่ ยูภ ่ ายใต้การควบคุมของกลุม ่ บริษท ั การควบคุมเกิดขึน ้ เมือ่ กลุม ่ บริษท ั มีอาํ นาจควบคุมทัง้ ทางตรงหรือทางอ้อมในการกําหนด นโยบายทางการเงินและการดําเนินงานของกิจการนั้น เพื่อได้มาซึ่งประโยชน์จากกิจกรรมของบริษัทย่อย งบการเงินของบริษัทย่อยได้รวมอยู่ใน งบการเงินรวม นับแต่วันที่มีการควบคุมจนถึงวันที่การควบคุมสิ้นสุดลง นโยบายการบัญชีของบริษัทย่อยได้ถูกเปลี่ยนตามความจําเป็นเพื่อให้เป็นนโยบายเดียวกันกับของกลุ่มบริษัท ผลขาดทุนในบริษัทย่อยจะต้องถูก ปันส่วนไปยังส่วนได้เสียที่ไม่มีอํานาจควบคุมแม้ว่าการปันส่วนดังกล่าวจะทําให้ส่วนได้เสียที่ไม่มีอํานาจควบคุมมียอดคงเหลือติดลบก็ตาม การสูญเสียอํานาจควบคุม เมื่อมีการสูญเสียอํานาจควบคุม กลุ่มบริษัทตัดรายการสินทรัพย์และหนี้สินในบริษัทย่อย ส่วนได้เสียที่ไม่มีอํานาจควบคุมและส่วนประกอบอื่นใน ส่วนของเจ้าของที่เกี่ยวข้องกับบริษัทย่อยนั้น กําไรหรือขาดทุนที่เกิดขึ้นจากการสูญเสียอํานาจควบคุมในบริษัทย่อยรับรู้ในกําไรหรือขาดทุน ส่วนได้เสีย ในบริษัทย่อยเดิมที่ยังคงเหลืออยู่ให้วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรม ณ วันที่สูญเสียอํานาจควบคุม และจัดประเภทเงินลงทุนเป็นเงินลงทุนตามวิธีส่วนได้ เสียหรือเป็นสินทรัพย์ทางการเงินเผื่อขาย ขึ้นอยู่กับระดับของอิทธิพลที่คงเหลืออยู่ บริษัทร่วม บริษท ั ร่วมเป็นกิจการทีก ่ ลุม ่ บริษท ั มีอท ิ ธิพลอย่างมีนย ั สําคัญ โดยมีอาํ นาจเข้าไปมีสว่ นร่วมในการตัดสินใจเกีย ่ วกับนโยบายทางการเงินและการดําเนินงาน แต่ไม่ถึงระดับที่จะควบคุมนโยบายดังกล่าว การมีอิทธิพลอย่างมีนัยสําคัญถูกสันนิษฐานว่ามีอยู่เมื่อกลุ่มบริษัทมีอํานาจในการออกเสียงในกิจการอื่น ในอัตราตั้งแต่ร้อยละ 20 ถึง ร้อยละ 50 เงินลงทุนในบริษัทร่วมบันทึกในงบการเงินรวมโดยใช้วิธีส่วนได้เสีย (เงินลงทุนตามวีธีส่วนได้เสียของบริษัทที่ถูกลงทุน) โดยรับรู้รายการเริ่มแรกด้วย ราคาทุน รวมถึงต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อที่เกิดจากการทํารายการดังกล่าว งบการเงินรวมได้รวมส่วนแบ่งของกลุ่มบริษัทในกําไรหรือขาดทุน และกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นของบริษัทที่ถูกลงทุน ภายหลังจากการปรับปรุงนโยบาย การบัญชีให้เป็นนโยบายเดียวกันกับของกลุ่มบริษัท นับจากวันที่มีอิทธิพลอย่างมีนัยสําคัญ จนถึงวันที่การมีอิทธิพลอย่างมีนัยสําคัญนั้นสิ้นสุดลง เมื่อส่วนแบ่งผลขาดทุนที่กลุ่มบริษัทได้รับมีจํานวนเกินกว่าส่วนได้เสียในบริษัทที่ไปลงทุนนั้น มูลค่าตามบัญชีของส่วนได้เสียของกลุ่มบริษัท จะถูก ทอนลงจนเป็นศูนย์และจะไม่รับรู้ส่วนแบ่งผลขาดทุนอีกต่อไป เว้นแต่กรณีที่กลุ่มบริษัทมีภาระผูกพันตามกฎหมายหรือต้องจ่ายเงินเพื่อชําระภาระ ผูกพันแทนในนามของผู้ถูกลงทุน การตัดรายการในงบการเงินรวม ยอดคงเหลือและรายการบัญชีระหว่างกิจการในกลุ่ม รวมถึงรายได้หรือค่าใช้จ่ายที่ยังไม่เกิดขึ้นจริงซึ่งเป็นผลมาจากรายการระหว่างกิจการในกลุ่ม ถูกตัดรายการในการจัดทํางบการเงินรวม กําไรที่ยังไม่เกิดขึ้นจริงซึ่งเป็นผลมาจากรายการกับบริษัทร่วมถูกตัดรายการกับเงินลงทุนเท่าที่กลุ่มบริษัท มีส่วนได้เสียในกิจการที่ถูกลงทุนนั้น ขาดทุนที่ยังไม่เกิดขึ้นจริงถูกตัดรายการในลักษณะเดียวกับกําไรที่ยังไม่เกิดขึ้นจริง แต่เท่าที่เมื่อไม่มีหลักฐาน การด้อยค่าเกิดขึ้น


งบการเงิ น

130

(ข) เงินตราต่างประเทศ รายการบัญชีที่เป็นเงินตราต่างประเทศ รายการบัญชีที่เป็นเงินตราต่างประเทศแปลงค่าเป็นเงินบาทโดยใช้อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่เกิดรายการ สินทรัพย์และหนี้สินที่เป็นตัวเงินและเป็นเงินตราต่างประเทศ ณ วันที่รายงาน แปลงค่าเป็นเงินบาทโดยใช้อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันนั้น กําไรหรือขาดทุน จากการแปลงค่าบันทึกในกําไรหรือขาดทุน สินทรัพย์และหนี้สินที่ไม่เป็นตัวเงินซึ่งเกิดจากรายการบัญชีที่เป็นเงินตราต่างประเทศซึ่งบันทึกตามเกณฑ์ราคาทุนเดิม แปลงค่าเป็นเงินบาทโดยใช้ อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่เกิดรายการ กิจการในต่างประเทศ สินทรัพย์และหนี้สินของกิจการในต่างประเทศแปลงค่าเป็นเงินบาทโดยใช้อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่รายงาน ค่าความนิยมและรายการปรับปรุงมูลค่ายุติธรรมที่เกิดจากการซื้อกิจการในต่างประเทศ แปลงค่าเป็นเงินบาทโดยใช้อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่รายงาน รายได้และค่าใช้จ่ายของกิจการในต่างประเทศแปลงค่าเป็นเงินบาทโดยใช้อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยที่ใกล้เคียงกับอัตรา ณ วันที่เกิดรายการ ผลต่างจากอัตราแลกเปลี่ยนที่เกิดจากการแปลงค่า บันทึกในกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น และแสดงเป็นรายการผลต่างจากอัตราแลกเปลี่ยนในส่วนของ ผู้ถือหุ้น จนกว่ามีการจําหน่ายเงินลงทุนนั้นออกไป เมื่อมีการชําระหนี้รายการที่เป็นตัวเงินที่เป็นลูกหนี้หรือเจ้าหนี้กับหน่วยงานในต่างประเทศ ซึ่งรายการดังกล่าวมิได้คาดหมายว่าจะมีแผนการชําระหนี้ หรือไม่มีความเป็นไปได้ว่าจะชําระเงินในอนาคตอันใกล้ กําไรและขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนจากรายการทางการเงินดังกล่าวจะถูกพิจารณาเป็น ส่วนหนึ่งของเงินลงทุนสุทธิในหน่วยงานต่างประเทศ และรับรู้ในกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น และแสดงเป็นรายการผลต่างจากอัตราแลกเปลี่ยนในส่วน ของผู้ถือหุ้น จนกว่ามีการจําหน่ายเงินลงทุนนั้นออกไป (ค) เครื่องมือทางการเงินที่เป็นตราสารอนุพันธ์ สัญญาอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าได้แสดงเป็นรายการนอกงบแสดงฐานะการเงิน (ฆ) เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดในงบกระแสเงินสดประกอบด้วย ยอดเงินสด ยอดเงินฝากธนาคารประเภท เผื่อเรียก และเงินลงทุนระยะสั้นที่มีสภาพคล่องสูง เงินเบิกเกินบัญชีธนาคารซึ่งจะต้องชําระคืนเมื่อทวงถามถือเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมจัดหาเงินใน งบกระแสเงินสด (ง) ลูกหนี้การค้าและลูกหนี้อื่น ลูกหนี้การค้าและลูกหนี้อื่น (รวมยอดคงเหลือกับบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน) แสดงในราคาตามใบแจ้งหนี้หักค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญประเมินโดยการวิเคราะห์ประวัติการชําระหนี้ และการคาดการณ์เกี่ยวกับการชําระหนี้ในอนาคตของลูกค้า ลูกหนี้จะถูกตัด จําหน่ายบัญชีเมื่อทราบว่าเป็นหนี้สูญ (จ) สินค้าคงเหลือ สินค้าคงเหลือแสดงในราคาทุนหรือมูลค่าสุทธิที่จะได้รับแล้วแต่ราคาใดจะต่ํากว่า ต้นทุนของสินค้าคํานวณโดยใช้วิธีถัวเฉลี่ยถ่วงน้ําหนัก ต้นทุนสินค้าประกอบด้วยราคาทุนที่ซื้อ ต้นทุนในการดัดแปลงหรือต้นทุนอื่นเพื่อให้สินค้าอยู่ ในสถานที่และสภาพปัจจุบัน ในกรณีของสินค้าสําเร็จรูปและสินค้าระหว่างผลิตที่ผลิตเอง ต้นทุนสินค้าคํานวณโดยการใช้ต้นทุนมาตรฐานซึ่งได้รับ การปรับปรุงให้ใกล้เคียงกับราคาทุนถัวเฉลี่ยรวมการปันส่วนของค่าโสหุ้ยการผลิตอย่างเหมาะสม โดยคํานึงถึงระดับกําลังการผลิตตามปกติ มูลค่าสุทธิที่จะได้รับเป็นการประมาณราคาที่จะขายได้จากการดําเนินธุรกิจปกติหักด้วยค่าใช้จ่ายที่จําเป็นโดยประมาณในการขาย


รายงานประจํ า ปี 2555 บริ ษ ั ท ไทยเบฟเวอเรจ จํ า กั ด (มหาชน)

งบการเงิ น

131

(ฉ) สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่ถือไว้เพื่อขาย สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน (หรือกลุ่มสินทรัพย์ที่ยกเลิกซึ่งประกอบด้วยสินทรัพย์และหนี้สิน) ที่คาดว่ามูลค่าตามบัญชีที่จะได้รับคืนส่วนใหญ่มาจาก การขายมากกว่ามาจากการใช้สินทรัพย์นั้นต่อไป จัดเป็นประเภทสินทรัพย์ที่ถือไว้เพื่อขาย สินทรัพย์ (หรือส่วนประกอบของกลุ่มสินทรัพย์ที่ยกเลิก) วัดมูลค่าด้วยจํานวนที่ต่ํากว่าระหว่างมูลค่าตามบัญชีกับมูลค่ายุติธรรมหักต้นทุนในการขาย ผลขาดทุนจากการด้อยค่าสําหรับกลุ่มสินทรัพย์ที่ยกเลิก นําไปปันส่วนให้กับค่าความนิยมเป็นลําดับแรก แล้วจึงปันส่วนให้กับยอดคงเหลือของสินทรัพย์และหนี้สินตามสัดส่วน ยกเว้นไม่ปันส่วนรายการ ขาดทุนให้กับสินค้าคงเหลือ สินทรัพย์ทางการเงิน สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี และอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน ซึ่งสินทรัพย์เหล่านี้ วัดมูลค่าด้วยเกณฑ์ที่แตกต่างกันตามนโยบายการบัญชีของกลุ่มบริษัท ผลขาดทุนจากการด้อยค่าสําหรับการลดมูลค่าในครั้งแรกและผลกําไรและ ขาดทุนจากการจากการวัดมูลค่าในภายหลังรับรู้ในกําไรหรือขาดทุน ผลกําไรรับรู้ไม่เกินยอดผลขาดทุนจากการด้อยค่าสะสมที่เคยรับรู้ (ช) เงินลงทุน เงินลงทุนในบริษัทย่อยและบริษัทร่วม เงินลงทุนในบริษัทย่อยและบริษัทร่วมในงบการเงินเฉพาะกิจการของบริษัท บันทึกบัญชีโดยใช้วิธีราคาทุน ส่วนการบันทึกบัญชีเงินลงทุนในบริษัทร่วม ในงบการเงินรวมใช้วิธีส่วนได้เสีย เงินลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุนอื่น ตราสารหนี้ซึ่งกลุ่มบริษัทตั้งใจและสามารถถือจนครบกําหนดจัดประเภทเป็นเงินลงทุนที่จะถือจนครบกําหนด เงินลงทุนที่จะถือจนครบกําหนดแสดงใน ราคาทุนตัดจําหน่ายหักด้วยขาดทุนจากการด้อยค่าของเงินลงทุน ผลต่างระหว่างราคาทุนที่ซื้อมากับมูลค่าไถ่ถอนของตราสารหนี้จะถูกตัดจ่ายโดยวิธี อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุของตราสารหนี้ที่เหลือ ตราสารทุนซึ่งเป็นหลักทรัพย์ในความต้องการของตลาดจัดประเภทเป็นเงินลงทุนเผื่อขาย ภายหลังการรับรู้มูลค่าในครั้งแรก เงินลงทุนเผื่อขายแสดง ในมูลค่ายุติธรรม และการเปลี่ยนแปลงที่ไม่ใช่ผลขาดทุนจากการด้อยค่าและผลต่างจากสกุลเงินตราต่างประเทศของรายการที่เป็นตัวเงิน บันทึก โดยตรงในส่วนของผู้ถือหุ้น ส่วนผลขาดทุนจากการด้อยค่าและผลต่างจากการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศรับรู้ในกําไรหรือขาดทุน เมื่อมีการตัด จําหน่ายเงินลงทุน จะรับรู้ผลกําไรหรือขาดทุนสะสมที่เคยบันทึกในส่วนของผู้ถือหุ้นโดยตรงเข้าในกําไรหรือขาดทุน ในกรณีที่เป็นเงินลงทุนประเภทที่มี ดอกเบี้ย จะต้องบันทึกดอกเบี้ยในกําไรหรือขาดทุนโดยวิธีอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง เงินลงทุนในตราสารทุนซึ่งไม่ใช่หลักทรัพย์ในความต้องการของตลาดแสดงในราคาทุนหักขาดทุนจากการด้อยค่า มูลค่ายุติธรรมสําหรับหลักทรัพย์เผื่อขายจะใช้ราคาเสนอซื้อ ณ วันที่รายงาน การจําหน่ายเงินลงทุน เมื่อมีการจําหน่ายเงินลงทุน ผลต่างระหว่างจํานวนเงินสุทธิที่ได้รับและมูลค่าตามบัญชีและรวมถึงกําไรหรือขาดทุนสะสมจากการตีราคาหลักทรัพย์ที่ เกี่ยวข้องที่เคยบันทึกในส่วนของผู้ถือหุ้น จะถูกบันทึกในกําไรหรือขาดทุน ในกรณีที่กลุ่มบริษัทจําหน่ายบางส่วนของเงินลงทุนที่ถืออยู่ การคํานวณต้นทุนสําหรับเงินลงทุนที่จําหน่ายไปและเงินลงทุนที่ยังถืออยู่ใช้วิธีถัวเฉลี่ย ถ่วงน้ําหนัก โดยปรับใช้กับมูลค่าตามบัญชีของเงินลงทุนที่เหลืออยู่ทั้งหมด (ซ) อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนได้แก่อสังหาริมทรัพย์ที่ถือครองเพื่อหาประโยชน์จากรายได้ค่าเช่าหรือจากมูลค่าที่เพิ่มขึ้นหรือทั้งสองอย่าง ทั้งนี้ไม่ได้มี ไว้เพื่อขายตามปกติธุรกิจหรือใช้ในการผลิตหรือจัดหาสินค้าหรือให้บริการหรือใช้ในการบริหารงาน อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนแสดงในราคาทุนหักค่าเสื่อมราคาสะสมและขาดทุนจากการด้อยค่า ต้นทุนรวมค่าใช้จา่ ยทางตรงเพือ่ ให้ได้มาซึง่ อสังหาริมทรัพย์เพือ่ การลงทุน ต้นทุนการก่อสร้างทีก ่ จิ การก่อสร้างเองรวมถึงต้นทุนวัตถุดบ ิ ค่าแรงทางตรง และต้นทุนทางตรงอื่นเพื่อให้อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนอยู่ในสภาพพร้อมใช้งานและรวมถึงต้นทุนการกู้ยืม


งบการเงิ น

132

ค่าเสื่อมราคาจะบันทึกในกําไรหรือขาดทุน ซึ่งคํานวณโดยวิธีเส้นตรงตามอายุการใช้งานโดยประมาณของสินทรัพย์แต่ละรายการ ประมาณการอายุ การใช้งานของสินทรัพย์แสดงได้ดังนี้ อาคาร

20

ปี

เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการใช้งานของอสังหาริมทรัพย์โดยจัดประเภทไปเป็นที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ มูลค่ายุติธรรม ณ วันที่มีการจัดประเภทใหม่ ถือเป็นราคาทุนของสินทรัพย์ต่อไป (ฌ) ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ การรับรู้และการวัดมูลค่า สินทรัพย์ที่เป็นกรรมสิทธิ์ของกิจการ ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์แสดงด้วยราคาทุนหักค่าเสื่อมราคาสะสมและขาดทุนจากการด้อยค่า ยกเว้นที่ดินที่แสดงด้วยราคาที่ตีใหม่ ราคาที่ตีใหม่ หมายถึงมูลค่ายุติธรรมซึ่งกําหนดจากเกณฑ์การใช้งานของสินทรัพย์ที่มีอยู่จริง ณ วันที่มีการตีราคาใหม่หักด้วยค่าเผื่อการด้อยค่าของสินทรัพย์ ราคาทุนรวมถึงต้นทุนทางตรงที่เกี่ยวข้องกับการได้มาของสินทรัพย์ ต้นทุนของการก่อสร้างสินทรัพย์ที่กิจการก่อสร้างเอง รวมถึงต้นทุนของวัสดุ แรงงานทางตรง และต้นทุนทางตรงอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดหาสินทรัพย์เพื่อให้สินทรัพย์นั้นอยู่ในสภาพที่พร้อมจะใช้งานได้ตามความประสงค์ ต้นทุนในการรื้อถอน การขนย้าย การบูรณะสถานที่ตั้งของสินทรัพย์และต้นทุนการกู้ยืม นอกจากนี้ต้นทุนอาจรวมถึงกําไรหรือขาดทุนจากการป้องกัน ความเสี่ยงกระแสเงินสดจากการซื้อที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ที่เป็นเงินตราต่างประเทศ ซึ่งถูกโอนจากกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น สําหรับเครื่องมือที่ ควบคุมโดยลิขสิทธ์ซอฟต์แวร์ซึ่งไม่สามารถทํางานได้โดยปราศจากลิขสิทธ์ซอฟต์แวร์นั้นให้ถือว่าลิขสิทธ์ซอฟต์แวร์ดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของอุปกรณ์ ส่วนประกอบของรายการที่ดิน อาคารและอุปกรณ์แต่ละรายการที่มีอายุการให้ประโยชน์ไม่เท่ากันต้องบันทึกแต่ละส่วนประกอบที่มีนัยสําคัญ แยกต่างหากจากกัน กําไรหรือขาดทุนจากการจําหน่ายที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ คือผลต่างระหว่างสิ่งตอบแทนสุทธิที่ได้รับจากการจําหน่ายกับมูลค่าตามบัญชีของที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ โดยรับรู้สุทธิเป็นรายได้อื่นในกําไรหรือขาดทุน เมื่อมีการขายสินทรัพย์ที่ตีราคาใหม่ จํานวนเงินที่บันทึกอยู่ในส่วนเกินทุนจาก การตีราคาของสินทรัพย์จะถูกโอนไปยังกําไรสะสม สินทรัพย์ที่เช่า การเช่าซึ่งกลุ่มบริษัทได้รับส่วนใหญ่ของความเสี่ยงและผลตอบแทนจากการครอบครองทรัพย์สินที่เช่านั้นๆ ให้จัดประเภทเป็นสัญญาเช่าการเงิน ส่วนที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ที่ได้มาโดยทําสัญญาเช่าการเงินบันทึกเป็นสินทรัพย์ด้วยมูลค่ายุติธรรมหรือมูลค่าปัจจุบันของจํานวนเงินขั้นต่ําที่ต้อง จ่ายตามสัญญาเช่าแล้วแต่จํานวนใดจะต่ํากว่า หักด้วยค่าเสื่อมราคาสะสมและขาดทุนจากการด้อยค่า ค่าเช่าที่ชําระจะแยกเป็นส่วนที่เป็นค่าใช้จ่าย ทางการเงินและส่วนที่จะหักจากหนี้ตามสัญญา เพื่อทําให้อัตราดอกเบี้ยแต่ละงวดเป็นอัตราคงที่สําหรับยอดคงเหลือของหนี้สิน ค่าใช้จ่ายทางการเงิน จะบันทึกโดยตรงในกําไรหรือขาดทุน สินทรัพย์ที่ตีราคาใหม่ การตีราคาใหม่ดาํ เนินการโดยผูเ้ ชีย ่ วชาญในการประเมินราคาทีม ่ ค ี วามเป็นอิสระอย่างสม่าํ เสมอ กลุม ่ บริษท ั มีนโยบายในการประเมินราคาทีด ่ น ิ ทุกๆ สาม ถึงห้าปี หรือเมื่อมีปัจจัยที่มีผลกระทบอย่างมีสาระสําคัญต่อมูลค่าที่ดิน เพื่อให้มั่นใจว่าราคาตามบัญชีของสินทรัพย์ที่ได้รับการประเมินไม่แตกต่าง อย่างเป็นสาระสําคัญจากมูลค่ายุติธรรม ณ วันที่รายงาน มูลค่าของสินทรัพย์ส่วนที่ตีเพิ่มขึ้นจะบันทึกไปยังกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นและแสดงเป็น “ส่วนเกินทุนจากการตีราคาสินทรัพย์” ในองค์ประกอบอื่น ของส่วนของผู้ถือหุ้น ยกเว้นกรณีที่เคยประเมินมูลค่าของสินทรัพย์ลดลงและรับรู้ขาดทุนในกําไรหรือขาดทุนของสินทรัพย์ชิ้นเดียวกันนั้นแล้ว ในกรณี ที่มูลค่าของสินทรัพย์ลดลงจากการตีราคาใหม่จะบันทึกในกําไรหรือขาดทุนสําหรับมูลค่าที่ลดลงเฉพาะจํานวนที่ลดลงมากกว่าส่วนเกินทุนจาก การตีราคาสินทรัพย์ที่เคยบันทึกไว้ครั้งก่อนในกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นของสินทรัพย์ชิ้นเดียวกันนั้น ในกรณีที่มีการจําหน่ายสินทรัพย์ที่ตีราคาใหม่


รายงานประจํ า ปี 2555 บริ ษ ั ท ไทยเบฟเวอเรจ จํ า กั ด (มหาชน)

งบการเงิ น

133

ส่วนเกินทุนจากการตีราคาของสินทรัพย์ที่จําหน่ายจะโอนโดยตรงไปยังกําไรสะสมและไม่รวมในการคํานวณกําไรหรือขาดทุนจากการจําหน่ายสินทรัพย์ ต้นทุนที่เกิดขึ้นในภายหลัง ต้นทุนในการเปลี่ยนแทนส่วนประกอบจะรับรู้เป็นส่วนหนึ่งของมูลค่าตามบัญชีของรายการที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ ถ้ามีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่ กลุ่มบริษัทจะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตจากรายการนั้น และสามารถวัดมูลค่าต้นทุนของรายการนั้นได้อย่างน่าเชื่อถือ ชิ้นส่วนที่ถูกเปลี่ยน แทนจะถูกตัดจําหน่ายตามมูลค่าตามบัญชี ต้นทุนที่เกิดขึ้นในการซ่อมบํารุงที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ที่เกิดขึ้นเป็นประจําจะรับรู้ในกําไรหรือขาดทุน เมื่อเกิดขึ้น ค่าเสื่อมราคา ค่าเสื่อมราคาคํานวณจากมูลค่าเสื่อมสภาพของรายการอาคารและอุปกรณ์ ซึ่งประกอบด้วยราคาทุนของสินทรัพย์หรือต้นทุนในการเปลี่ยนแทนอื่น หักด้วยมูลค่าคงเหลือของสินทรัพย์ ค่าเสื่อมราคาบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายในกําไรหรือขาดทุน คํานวณโดยวิธีเส้นตรงตามเกณฑ์อายุการใช้งานโดยประมาณของส่วนประกอบของสินทรัพย์ แต่ละรายการ ประมาณการอายุการใช้งานของสินทรัพย์แสดงได้ดังนี้ ส่วนปรับปรุงที่ดิน อาคารและสิ่งปลูกสร้าง ส่วนปรับปรุงอาคาร เครื่องจักรและอุปกรณ์ ถังไม้โอ๊ค เครื่องตกแต่ง ติดตั้งและเครื่องใช้สํานักงาน ยานพาหนะ

3-30 10-40 1.5-30 4-40 10-20 3-10 3-10

ปี ปี ปี ปี ปี ปี ปี

กลุ่มบริษัทไม่คิดค่าเสื่อมราคาสําหรับที่ดินและสินทรัพย์ที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง วิธีการคิดค่าเสื่อมราคา อายุการให้ประโยชน์ของสินทรัพย์ และมูลค่าคงเหลือ ถูกทบทวนอย่างน้อยที่สุดทุกสิ้นรอบปีบัญชี และปรับปรุงตาม ความเหมาะสม (ญ) สินทรัพย์ไม่มีตัวตน ค่าความนิยม ค่าความนิยมที่เกิดจากการซื้อกิจการของบริษัทย่อยรับรู้ในสินทรัพย์ไม่มีตัวตน การรับรู้มูลค่าเริ่มแรกของค่าความนิยม ได้อธิบายในหมายเหตุ ประกอบงบการเงิน 4(ก) ภายหลังจากการรับรู้เริ่มแรก ค่าความนิยมจะถูกวัดมูลค่าด้วยวิธีราคาทุนหักผลขาดทุนจากการด้อยค่าสะสม สําหรับ ตราสารทุน – การบัญชีด้านผู้ลงทุน มูลค่าตามบัญชีของค่าความนิยมรวมอยู่ในมูลค่าตามบัญชีของเงินลงทุน และผลขาดทุนจากการด้อยค่าใน เงินลงทุนต้องไม่ถูกปันส่วนให้สินทรัพย์ใดๆ ที่เป็นส่วนหนึ่งของมูลค่าตามบัญชีของเงินลงทุนรวมถึงค่าความนิยม รายจ่ายในการวิจัยและพัฒนา รายจ่ายในขั้นตอนการวิจัย ได้แก่ การสํารวจตรวจสอบเพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้ความเข้าใจใหม่ทางด้านวิทยาศาสตร์หรือทางด้านเทคนิค รับรู้ในกําไร หรือขาดทุนเมื่อเกิดขึ้น ขัน ้ ตอนพัฒนาเกีย ่ วข้องกับแผนงานหรือการออกแบบสําหรับผลิตภัณฑ์และกระบวนการใหม่หรือปรับปรุงให้ดขี น ้ึ กว่าเดิม รายจ่ายทีเ่ กิดจากการพัฒนา รับรู้เป็นสินทรัพย์ได้ก็ต่อเมื่อสามารถวัดมูลค่าของรายการต้นทุนการพัฒนาได้อย่างน่าเชื่อถือ ผลิตภัณฑ์หรือกระบวนการนั้นมีความเป็นไปได้ทาง เทคนิคและทางการค้า ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่จะก่อให้เกิดประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคต และกลุ่มบริษัทมีความตั้งใจและมีทรัพยากรเพียงพอที่จะ นํามาใช้เพื่อทําให้การพัฒนาเสร็จสิ้นสมบูรณ์ และนําสินทรัพย์มาใช้ประโยชน์หรือนํามาขายได้ รายจ่ายในการพัฒนารับรู้เป็นสินทรัพย์รวมถึงต้นทุน


งบการเงิ น

134

สําหรับวัตถุดิบ ต้นทุนแรงงานทางตรง ต้นทุนที่เกี่ยวข้องโดยตรงในการจัดเตรียมสินทรัพย์เพื่อให้สามารถนํามาใช้ประโยชน์ตามประสงค์และต้นทุน การกู้ยืมสามารถนํามารวมเป็นส่วนหนึ่งของราคาทุนของสินทรัพย์ รายจ่ายในการพัฒนาอื่นรับรู้ในกําไรหรือขาดทุนเมื่อเกิดขึ้น รายจ่ายในการพัฒนาซึ่งรับรู้เป็นสินทรัพย์แสดงราคาด้วยราคาทุนหักค่าตัดจําหน่ายสะสมและผลขาดทุนจากการด้อยค่าสะสม สินทรัพย์ไม่มีตัวตนอื่นๆ สินทรัพย์ไม่มีตัวตนอื่นๆ ที่กลุ่มบริษัทซื้อมาและมีอายุการใช้งานจํากัด แสดงในราคาทุนหักค่าตัดจําหน่ายสะสมและผลขาดทุนจากการด้อยค่าสะสม รายจ่ายภายหลังการรับรู้รายการ รายจ่ายภายหลังการรับรู้รายการจะรับรู้เป็นสินทรัพย์เมื่อก่อให้เกิดประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคต โดยรวมเป็นสินทรัพย์ที่สามารถระบุได้ที่เกี่ยวข้อง นั้น ค่าใช้จ่ายอื่นรวมถึงค่าความนิยมและตราผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นภายในรับรู้ในกําไรหรือขาดทุนเมื่อเกิดขึ้น ค่าตัดจําหน่าย ค่าตัดจําหน่ายคํานวณจากราคาทุนของสินทรัพย์หรือจํานวนอื่นที่ใช้แทนราคาทุนหักด้วยมูลค่าคงเหลือ ค่าตัดจําหน่ายรับรู้ในกําไรหรือขาดทุนโดยวิธีเส้นตรงซึ่งโดยส่วนใหญ่จะสะท้อนรูปแบบที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์ในอนาคตจากสินทรัพย์นั้นตามระยะ เวลาที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์จากสินทรัพย์ไม่มีตัวตนซึ่งไม่รวมค่าความนิยม โดยเริ่มตัดจําหน่ายสินทรัพย์ไม่มีตัวตนเมื่อสินทรัพย์นั้นพร้อมที่จะให้ ประโยชน์ ระยะเวลาที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์สําหรับปีปัจจุบันและปีเปรียบเทียบแสดงได้ดังนี้ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เครื่องหมายการค้า สิทธิการดําเนินกิจการ

ปี ปี 10 ปี

3-10 3-20

วิธีการตัดจําหน่าย ระยะเวลาที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์และมูลค่าคงเหลือ จะได้รับการทบทวนทุกสิ้นรอบปีบัญชีและปรับปรุงตามความเหมาะสม (ฎ) สิทธิการเช่า สิทธิการเช่าแสดงในราคาทุนหักค่าตัดจําหน่ายสะสมและผลขาดทุนจากการด้อยค่าสะสม ค่าตัดจําหน่ายบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายในกําไรหรือขาดทุน คํานวณโดยวิธีเส้นตรงตามอายุของสัญญา (ฏ) การด้อยค่า ยอดสินทรัพย์ตามบัญชีของกลุ่มบริษัทได้รับการทบทวน ณ ทุกวันที่รายงานว่ามีข้อบ่งชี้เรื่องการด้อยค่าหรือไม่ ในกรณีที่มีข้อบ่งชี้จะทําการประมาณ มูลค่าสินทรัพย์ที่คาดว่าจะได้รับคืน สําหรับค่าความนิยมจะประมาณมูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืนทุกปี ในช่วงเวลาเดียวกัน ขาดทุนจากการด้อยค่ารับรู้เมื่อมูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์สูงกว่ามูลค่าที่จะได้รับคืน ขาดทุนจากการด้อยค่าบันทึกในกําไรหรือขาดทุน เว้นแต่เมื่อมี การกลับรายการการประเมินมูลค่าของสินทรัพย์เพิ่มของสินทรัพย์ชิ้นเดียวกันที่เคยรับรู้ในส่วนของผู้ถือหุ้นและมีการด้อยค่าในเวลาต่อมา ในกรณีนี้ จะรับรู้ในส่วนของผู้ถือหุ้น เมือ่ มีการลดลงในมูลค่ายุตธ ิ รรมของสินทรัพย์ทางการเงินเผือ่ ขาย ซึง่ ได้บน ั ทึกในส่วนของผูถ ้ อื หุน ้ และมีความชัดเจนว่าสินทรัพย์ดงั กล่าวมีการด้อยค่า ยอดขาดทุนซึง่ เคยบันทึกในส่วนของผูถ ้ อื หุน ้ จะถูกบันทึกในกําไรหรือขาดทุนโดยไม่ตอ้ งปรับกับยอดสินทรัพย์ทางการเงินดังกล่าว ยอดขาดทุนทีบ ่ น ั ทึก ในกําไรหรือขาดทุนเป็นผลต่างระหว่างราคาทุนที่ซื้อกับมูลค่ายุติธรรมในปัจจุบันของสินทรัพย์ หักขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์ทางการเงิน นั้นๆ ซึ่งเคยรับรู้แล้วในกําไรหรือขาดทุน การคํานวณมูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืน มูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืนของสินทรัพย์ทางการเงินสําหรับหลักทรัพย์เผื่อขาย คํานวณโดยอ้างอิงถึงมูลค่ายุติธรรม


รายงานประจํ า ปี 2555 บริ ษ ั ท ไทยเบฟเวอเรจ จํ า กั ด (มหาชน)

งบการเงิ น

135

มูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืนของสินทรัพย์ที่ไม่ใช่สินทรัพย์ทางการเงิน หมายถึง มูลค่าจากการใช้ของสินทรัพย์หรือมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์หัก ต้นทุนในการขายแล้วแต่มูลค่าใดจะสูงกว่า ในการประเมินมูลค่าจากการใช้ของสินทรัพย์ ประมาณการกระแสเงินสดที่จะได้รับในอนาคตจะคิดลดเป็น มูลค่าปัจจุบันโดยใช้อัตราคิดลดก่อนคํานึงภาษีเงินได้เพื่อให้สะท้อนมูลค่าที่อาจประเมินได้ในตลาดปัจจุบัน ซึ่งแปรไปตามเวลาและความเสี่ยงที่มีต่อ สินทรัพย์ สําหรับสินทรัพย์ที่ไม่ก่อให้เกิดกระแสเงินสดรับโดยอิสระจากสินทรัพย์อื่น จะพิจารณามูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืนรวมกับหน่วยสินทรัพย์ที่ ก่อให้เกิดเงินสดที่สินทรัพย์นั้นเกี่ยวข้องด้วย การกลับรายการด้อยค่า ขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์ทางการเงินจะถูกกลับรายการ เมื่อมูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืนเพิ่มขึ้นในภายหลัง และการเพิ่มขึ้นนั้นสัมพันธ์ โดยตรงกับขาดทุนจากการด้อยค่าที่เคยรับรู้ในกําไรหรือขาดทุน สําหรับสินทรัพย์ทางการเงินที่บันทึกโดยวิธีราคาทุนตัดจําหน่าย การกลับรายการ จะถูกบันทึกในกําไรหรือขาดทุน ส่วนสินทรัพย์ทางการเงินที่เป็นตราสารทุนที่จัดประเภทเป็นหลักทรัพย์เผื่อขาย การกลับรายการจะถูกรับรู้โดยตรงใน กําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น ขาดทุนจากการด้อยค่าของค่าความนิยมจะไม่มีการปรับปรุงกลับรายการ ขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์ที่ไม่ใช่สินทรัพย์ทางการเงินอื่นๆ ที่เคยรับรู้ในงวดก่อนจะถูกประเมิน ณ ทุกวันที่ที่ออกรายงานว่ามีข้อบ่งชี้เรื่องการด้อยค่าหรือไม่ ขาดทุนจากการด้อยค่าจะถูกกลับรายการ หากมี การเปลี่ยนแปลงประมาณการที่ใช้ในการคํานวณมูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืน ขาดทุนจากการด้อยค่าจะถูกกลับรายการเพียงเท่าที่มูลค่าตามบัญชีของ สินทรัพย์ไม่เกินกว่ามูลค่าตามบัญชีภายหลังหักค่าเสื่อมราคาหรือค่าตัดจําหน่าย เสมือนหนึ่งไม่เคยมีการบันทึกขาดทุนจากการด้อยค่ามาก่อน (ฐ) หนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ย หนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยบันทึกเริ่มแรกในมูลค่ายุติธรรมหักค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการเกิดหนี้สิน ภายหลังจากการบันทึกหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยจะบันทึก ต่อมาโดยวิธีราคาทุนตัดจําหน่าย ผลต่างระหว่างยอดหนี้เริ่มแรกและยอดหนี้เมื่อครบกําหนดไถ่ถอนจะบันทึกในกําไรหรือขาดทุนตลอดอายุการกู้ยืม โดยใช้วิธีอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (ฑ) เจ้าหนี้การค้าและเจ้าหนี้อื่น เจ้าหนี้การค้าและเจ้าหนี้อื่น (รวมยอดคงเหลือกับบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน) แสดงในราคาทุน (ฒ) ผลประโยชน์ของพนักงาน โครงการสมทบเงิน โครงการสมทบเงินเป็นโครงการผลประโยชน์พนักงานหลังออกจากงาน ซึ่งกิจการจ่ายสมทบเป็นจํานวนเงินที่แน่นอนไปอีกกิจการหนึ่งแยกต่างหาก (กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ) และจะไม่มีภาระผูกพันตามกฎหมายหรือภาระผูกพันโดยอนุมานที่จะต้องจ่ายสมทบเพิ่มเติม ภาระผูกพันในการสมทบ เข้าโครงการสมทบเงินจะถูกรับรู้เป็นค่าใช้จ่ายพนักงานในกําไรหรือขาดทุนในรอบระยะเวลาที่พนักงานได้ทํางานให้กับกิจการ โครงการผลประโยชน์ที่กําหนดไว้ โครงการผลประโยชน์ที่กําหนดไว้เป็นโครงการผลประโยชน์หลังออกจากงานนอกเหนือจากโครงการสมทบเงิน ภาระผูกพันสุทธิของกลุ่มบริษัทจาก โครงการผลประโยชน์ที่กําหนดไว้ถูกคํานวณแยกต่างหากเป็นรายโครงการจากการประมาณผลประโยชน์ในอนาคตที่เกิดจากการทํางานของพนักงาน ในปัจจุบันและในงวดก่อนๆ ผลประโยชน์ดังกล่าวได้มีการคิดลดกระแสเงินสดเพื่อให้เป็นมูลค่าปัจจุบัน ทั้งนี้ได้สุทธิจากต้นทุนบริการในอดีตที่ยังไม่รับรู้ และมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์โครงการ อัตราคิดลดเป็นอัตรา ณ วันที่รายงานจากพันธบัตรที่ได้รับการจัดอันดับเครดิตระดับ AA ซึ่งมีระยะเวลา ครบกําหนดใกล้เคียงกับระยะเวลาของภาระผูกพันของกลุ่มบริษัท และมีสกุลเงินเดียวกับสกุลเงินของผลประโยชน์ที่คาดว่าจะจ่าย การคํานวณนั้นจัดทําโดยนักคณิตศาสตร์ประกันภัยที่ได้รับอนุญาตเป็นประจําทุกปี โดยวิธีคิดลดแต่ละหน่วยที่ประมาณการไว้ เมื่อมีการคํานวณผล ของผลประโยชน์ของพนักงานของกลุ่มบริษัท การรับรู้เป็นสินทรัพย์จํากัดเพียงยอดรวมของต้นทุนในอดีตที่ยังไม่รับรู้และมูลค่าปัจจุบันของประโยชน์ เชิงเศรษฐกิจที่มีในรูปของการได้รับคืนในอนาคตจากโครงการหรือการหักการสมทบเข้าโครงการในอนาคด ในการคํานวณมูลค่าปัจจุบันของประโยชน์ เชิงเศรษฐกิจ มีการพิจารณาถึงความต้องการเงินทุนขั้นต่ําสําหรับโครงการต่างๆ ของกลุ่มบริษัท ผลประโยชน์เชิงเศรษฐกิจมีให้กับกลุ่มบริษัท ถ้าถูกรับรู้ภายในระยะเวลาของโครงการ หรือการจ่ายชําระของหนี้สินของโครงการ เมื่อมีการเพิ่มผลประโยชน์ในโครงการผลประโยชน์ สัดส่วนที่เพิ่มขึ้นของผลประโยชน์ที่เกี่ยวข้องกับต้นทุนบริการในอดีตของพนักงานรับรู้ในกําไร หรือขาดทุนโดยวิธีเส้นตรงตามระยะเวลาถัวเฉลี่ยจนถึงวันที่ผลประโยชน์นั้นเป็นสิทธิขาด ผลประโยชน์ที่เป็นสิทธิขาดจะรับรู้เป็นค่าใช้จ่ายในกําไรหรือ ขาดทุนทันที


งบการเงิ น

136

กลุ่มบริษัทรับรู้กําไรขาดทุนจากการประมาณการตามหลักการคณิตศาสตร์ประกันภัยทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น และรับรู้ค่าใช้จ่าย ของโครงการผลประโยชน์ที่กําหนดไว้ในกําไรหรือขาดทุน ผลประโยชน์ระยะยาวอื่น ภาระผูกพันสุทธิของกลุ่มบริษัทที่เป็นผลประโยชน์ระยะยาวของพนักงานนอกเหนือจากโครงการบํานาญ เป็นผลประโยชน์ในอนาคตที่เกิดจากการ ทํางานของพนักงานในปัจจุบันและงวดก่อน ซึ่งผลประโยชน์นี้ได้คิดลดกระแสเงินสดเพื่อให้เป็นมูลค่าปัจจุบันและสุทธิจากมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ ที่เกี่ยวข้อง อัตราคิดลดเป็นอัตรา ณ วันที่รายงานจากพันธบัตรที่ได้รับการจัดอันดับเครดิตระดับ AA ซึ่งมีระยะเวลาครบกําหนดใกล้เคียงกับระยะ เวลาของภาระพูกพันของกลุ่มบริษัท โดยคํานวณตามวิธีคิดลดแต่ละหน่วยที่ประมาณการไว้ กําไรขาดทุนจากการประมาณการตามหลักการ คณิตศาสตร์ประกันภัยรับรู้ในกําไรหรือขาดทุนเมื่อเกิดขึ้น ผลประโยชน์เมื่อเลิกจ้าง ผลประโยชน์เมื่อเลิกจ้างรับรู้เป็นค่าใช้จ่ายเมื่อกลุ่มบริษัทแสดงเจตนาผูกพันอย่างชัดเจนเกี่ยวกับการเลิกจ้าง และไม่มีความเป็นไปได้ที่จะยกเลิก มีรายละเอียดอย่างเป็นทางการทั้งการเลิกจ้างก่อนวันเกษียณตามปกติ หรือการสนับสนุนการออกจากงานโดยสมัครใจ ผลประโยชน์เมื่อเลิกจ้างรับรู้ เป็นค่าใช้จ่ายเมื่อกลุ่มบริษัทเสนอให้มีการออกจากงานโดยสมัครใจ และมีความเป็นไปได้ที่จะได้รับการตอบรับข้อเสนอนั้น และสามารถประมาณจํานวน ของการยอมรับข้อเสนอได้อย่างสมเหตุสมผล มีการคิดลดกระแสเงินสดหากระยะเวลาการจ่ายผลประโยชน์เกินกว่า 12 เดือนนับจากวันที่รายงาน ผลประโยชน์ระยะสั้นของพนักงาน ภาระผูกพันผลประโยชน์ระยะสั้นของพนักงานวัดมูลค่าโดยมิได้คิดลดกระแสเงินสดและรับรู้เป็นค่าใช้จ่ายเมื่อพนักงานทํางานให้ หนี้สินรับรู้ด้วยมูลค่าที่คาดว่าจะจ่ายชําระสําหรับการจ่ายโบนัสเป็นเงินสดระยะสั้นหรือการปันส่วนกําไร หากกลุ่มบริษัทมีภาระผูกพันตามกฎหมายหรือ ภาระผูกพันโดยอนุมานที่จะต้องจ่ายอันเป็นผลมาจากการที่พนักงานได้ทํางานให้ในอดีตและภาระผูกพันนี้สามารถประมาณได้อย่างสมเหตุสมผล (ณ) ประมาณการหนี้สิน ประมาณการหนี้สินจะรับรู้ก็ต่อเมื่อกลุ่มบริษัทมีภาระหนี้สินตามกฎหมายที่เกิดขึ้นในปัจจุบันหรือที่ก่อตัวขึ้นอันเป็นผลมาจากเหตุการณ์ในอดีต และมี ความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่นอนว่าประโยชน์เชิงเศรษฐกิจจะต้องถูกจ่ายไปเพื่อชําระภาระหนี้สินดังกล่าว ประมาณการหนี้สินพิจารณาจากการคิดลด กระแสเงินสดที่จะจ่ายในอนาคตโดยใช้อัตราคิดลดในตลาดปัจจุบันก่อนคํานึงถึงภาษีเงินได้ เพื่อให้สะท้อนจํานวนที่อาจประเมินได้ในตลาดปัจจุบันซึ่ง แปรไปตามเวลาและความเสี่ยงที่มีต่อหนี้สิน ประมาณการหนี้สินส่วนที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากเวลาที่ผ่านไปรับรู้เป็นต้นทุนทางการเงิน (ด) ผลต่างจากการปรับโครงสร้างทางธุรกิจ ผลต่างจากการปรับโครงสร้างทางธุรกิจ เกิดขึ้นจากการปรับโครงสร้างทางธุรกิจที่อยู่ภายใต้การควบคุมเดียวกันของผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัท ซึ่งเป็นผลต่างระหว่างต้นทุนในการรวมธุรกิจกับมูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์ที่ระบุได้สุทธิ ณ วันที่รวมธุรกิจ (ยกเว้นกิจการที่ไม่ได้อยู่ภายใต้ การควบคุมเดียวกัน จะปรับมูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์สุทธิที่ระบุได้ให้เป็นมูลค่ายุติธรรม) โดยบริษัทได้ปรับปรุงผลต่างจากการปรับโครงสร้าง ทางธุรกิจแสดงไว้ภายใต้ส่วนของผู้ถือหุ้น และจะตัดจําหน่ายเมื่อขายเงินลงทุนออกไป (ต) รายได้ รายได้ที่รับรู้ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มและแสดงสุทธิจากส่วนลดการค้าและส่วนลดพิเศษ การขายสินค้าและให้บริการ รายได้รับรู้ในกําไรหรือขาดทุนเมื่อได้โอนความเสี่ยงและผลตอบแทนของความเป็นเจ้าของสินค้าที่มีนัยสําคัญไปให้กับผู้ซื้อแล้ว และจะไม่รับรู้รายได้ ถ้าฝ่ายบริหารยังมีการควบคุมหรือบริหารสินค้าที่ขายไปแล้วนั้นหรือมีความไม่แน่นอนที่มีนัยสําคัญในการได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจจาก การขายสินค้าหรือให้บริการนั้น ไม่อาจวัดมูลค่าของจํานวนรายได้และต้นทุนที่เกิดขึ้นได้อย่างน่าเชื่อถือ หรือมีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่นอนที่จะต้อง รับคืนสินค้า รายได้จากการให้บริการรับรู้เมื่อมีการให้บริการ เมื่อผลงานบริการตามสัญญาที่ให้สามารถประมาณได้อย่างน่าเชื่อถือ รายได้ตามสัญญาจะถูกรับรู้ในกําไรหรือขาดทุน โดยคํานวณจากความสําเร็จ ของกิจกรรมบริการตามสัญญา ณ วันที่รายงาน หากมูลค่าของผลงานตามสัญญาไม่อาจประมาณได้อย่างน่าเชื่อถือ รายได้ตามสัญญาจะบันทึก เท่ากับต้นทุนที่คาดว่าจะได้รับคืน


รายงานประจํ า ปี 2555 บริ ษ ั ท ไทยเบฟเวอเรจ จํ า กั ด (มหาชน)

งบการเงิ น

137

รายได้ตามสัญญาก่อสร้าง รายได้ค่าก่อสร้างประกอบด้วย จํานวนเมื่อเริ่มแรกตามที่ตกลงไว้ในสัญญาบวกจํานวนที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสัญญาอันเกิดจากการดัดแปลง งาน การเรียกร้องค่าเสียหาย หรือการจ่ายเงินเพื่อจูงใจหากมีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่จะก่อให้เกิดรายได้และสามารถวัดมูลค่าได้อย่างน่าเชื่อถือ เมื่อสามารถประมาณผลของงานก่อสร้างตามสัญญาได้อย่างน่าเชื่อถือ รายได้และต้นทุนค่าก่อสร้างจะถูกรับรู้ในงบกําไรขาดทุนตามสัดส่วนของ ขั้นความสําเร็จของงานก่อสร้าง ขั้นความสําเร็จของงานก่อสร้างประมาณโดยอ้างอิงกับการสํารวจงานที่ทํา เมื่อไม่สามารถประมาณผลของงานก่อสร้างได้อย่างน่าเชื่อถือ รายได้ ค่าก่อสร้างจะถูกรับรู้ได้ไม่เกินกว่าต้นทุนค่าก่อสร้างที่เกิดขึ้นและมีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่จะได้รับต้นทุนนั้นคืน ผลขาดทุนที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจาก งานก่อสร้างรับรู้ในกําไรหรือขาดทุนทันที ค่านายหน้า สําหรับรายการค้าที่กลุ่มบริษัทเข้าลักษณะการเป็นตัวแทนมากกว่าการเป็นตัวการ กลุ่มบริษัทจะรับรู้รายได้ด้วยจํานวนเงินสุทธิเป็นค่านายหน้า การลงทุน รายได้จากการลงทุนประกอบด้วยรายได้ค่าเช่าจากอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน เงินปันผลและดอกเบี้ยรับจากการลงทุนและเงินฝากธนาคาร รายได้ค่าเช่า รายได้ค่าเช่าจากอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนรับรู้ในกําไรหรือขาดทุนโดยวิธีเส้นตรงตลอดอายุสัญญาเช่า ค่าใช้จ่ายเริ่มแรกที่เกิดขึ้นเป็นการเฉพาะ เพื่อให้เกิดสัญญาเช่ารับรู้เป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่าทั้งสิ้นตามสัญญา ค่าเช่าที่อาจเกิดขึ้นรับรู้เป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีซึ่งค่าเช่านั้นเกิดขึ้น ดอกเบี้ยรับและเงินปันผลรับ ดอกเบี้ยรับบันทึกในกําไรหรือขาดทุนตามเกณฑ์คงค้าง เงินปันผลรับบันทึกในกําไรหรือขาดทุนในวันที่กลุ่มบริษัทมีสิทธิได้รับเงินปันผล (ถ) ต้นทุนทางการเงิน ต้นทุนทางการเงินประกอบด้วยดอกเบี้ยจ่ายของเงินกู้ยืมและประมาณการหนี้สินส่วนที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากเวลาที่ผ่านไป และสิ่งตอบแทนที่คาดว่าจะต้อง จ่าย ขาดทุนจากการจําหน่ายสินทรัพย์ทางการเงินที่ถือไว้เพื่อขาย ขาดทุนจากมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ทางการเงินที่รับรู้ในกําไรหรือขาดทุน และ ขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์ทางการเงิน (นอกเหนือลูกหนี้การค้า) รับรู้ในกําไรหรือขาดทุน ต้นทุนการกู้ยืมที่ไม่ได้เกี่ยวกับการได้มา การก่อสร้างหรือการผลิตสินทรัพย์ที่เข้าเงื่อนไข รับรู้ในกําไรหรือขาดทุน โดยใช้วิธีอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (ท) สัญญาเช่าดําเนินงาน รายจ่ายภายใต้สัญญาเช่าดําเนินงานบันทึกในกําไรหรือขาดทุนโดยวิธีเส้นตรงตลอดอายุสัญญาเช่า ค่าเช่าที่อาจเกิดขึ้นต้องนํามารวมคํานวณจํานวนเงินขั้นต่ําที่ต้องจ่ายตามระยะเวลาที่คงเหลือของสัญญาเช่า เมื่อได้รับการยืนยันการปรับค่าเช่า การจําแนกประเภทสัญญาเช่า ณ วันที่เริ่มต้นข้อตกลง กลุ่มบริษัทจะพิจารณาว่าข้อตกลงดังกล่าวประกอบด้วยสัญญาเช่า หรือมีสัญญาเช่าเป็นส่วนประกอบหรือไม่ โดยพิจารณา จากสินทรัพย์ท่ม ี ีลักษณะเฉพาะเจาะจง ถ้าการปฏิบัติตามข้อตกลงนั้นขึ้นอยู่กับการใช้สินทรัพย์ที่มีลักษณะเฉพาะเจาะจง และข้อตกลงนั้นจะนําไปสู่ สิทธิในการใช้สินทรัพย์ ถ้าทําให้กลุ่มบริษัทมีสิทธิในการควบคุมการใช้สินทรัพย์ ณ วันที่เริ่มต้นข้อตกลง หรือมีการประเมินข้อตกลงใหม่ กลุ่มบริษัทแยกค่าตอบแทนสําหรับสัญญาเช่า และส่วนที่เป็นองค์ประกอบอื่นโดยใช้มูลค่า ยุติธรรมเป็นเกณฑ์ในการแยก หากกลุ่มบริษัทสรุปว่าเป็นสัญญาเช่าการเงิน แต่ไม่สามารถแบ่งแยกจํานวนดังกล่าวได้อย่างน่าเชื่อถือ ให้รับรู้สินทรัพย์ และหนี้สินในจํานวนที่เท่ากับมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ที่มีลักษณะเฉพาะเจาะจงนั้น หลังจากนั้นจํานวนหนี้สินจะลดลงตามจํานวนที่จ่าย และต้นทุน ทางการเงินตามนัยจากหนี้สินจะรับรู้โดยใช้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมส่วนเพิ่มของกลุ่มบริษัท


งบการเงิ น

138

(ธ) ภาษีเงินได้ ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้สําหรับปีประกอบด้วยภาษีเงินได้ของงวดปัจจุบันและภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี ภาษีเงินได้ของงวดปัจจุบันและภาษีเงินได้รอ การตัดบัญชีรับรู้ในกําไรหรือขาดทุน เว้นแต่ในส่วนที่เกี่ยวกับรายการที่เกี่ยวข้องในการรวมธุรกิจ หรือรายการที่รับรู้โดยตรงในส่วนของผู้ถือหุ้นหรือ กําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น ภาษีเงินได้ของงวดปัจจุบันได้แก่ภาษีที่คาดว่าจะจ่ายชําระหรือได้รับชําระ โดยคํานวณจากกําไรหรือขาดทุนประจําปีที่ต้องเสียภาษี โดยใช้อัตราภาษีที่ ประกาศใช้หรือที่คาดว่ามีผลบังคับใช้ ณ วันที่รายงาน ตลอดจนการปรับปรุงทางภาษีที่เกี่ยวกับรายการในปีก่อนๆ ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีบันทึกโดยคํานวณจากผลแตกต่างชั่วคราวที่เกิดขึ้นระหว่างมูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์และหนี้สินและจํานวนที่ใช้เพื่อ ความมุ่งหมายทางภาษี ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีจะไม่ถูกรับรู้เมื่อเกิดจากผลแตกต่างชั่วคราวต่อไปนี้ การรับรู้ค่าความนิยมในครั้งแรก การรับรู้ สินทรัพย์หรือหนีส ้ น ิ ในครัง้ แรกซึง่ เป็นรายการทีไ่ ม่ใช่การรวมธุรกิจและรายการนัน ้ ไม่มผ ี ลกระทบต่อกําไรขาดทุนทางบัญชีหรือทางภาษี และผลแตกต่าง ที่เกี่ยวข้องกับเงินลงทุนในบริษัทย่อยหากเป็นไปได้ว่าจะไม่มีการกลับรายการในอนาคตอันใกล้ ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีวัดมูลค่าโดยใช้อัตราภาษีที่คาดว่าจะใช้กับผลแตกต่างชั่วคราวเมื่อมีการกลับรายการโดยใช้อัตราภาษีที่ประกาศใช้หรือ ที่คาดว่ามีผลบังคับใช้ ณ วันที่รายงาน ในการกําหนดมูลค่าของภาษีเงินได้ของงวดปัจจุบันและภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี กลุ่มบริษัทต้องคํานึงถึงผลกระทบของสถานการณ์ทางภาษีที่ไม่ แน่นอนและอาจทําให้จํานวนภาษีที่ต้องจ่ายเพิ่มขึ้น และมีดอกเบี้ยที่ต้องชําระ กลุ่มบริษัทเชื่อว่าได้ตั้งภาษีเงินได้ค้างจ่ายเพียงพอสําหรับภาษีเงินได้ ที่จะจ่ายในอนาคต ซึ่งเกิดจากการประเมินผลกระทบจากหลายปัจจัย รวมถึงการตีความทางกฎหมายภาษีและจากประสบการณ์ในอดีต การประเมินนี้ อยู่บนพื้นฐานการประมาณการและข้อสมมติฐานและอาจจะเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจเกี่ยวกับเหตุการณ์ในอนาคต ข้อมูลใหม่ๆ อาจจะทําให้กลุ่มบริษัท เปลี่ยนการตัดสินใจโดยขึ้นอยู่กับความเพียงพอของภาษีเงินได้ค้างจ่ายที่มีอยู่ การเปลี่ยนแปลงในภาษีเงินได้ค้างจ่ายจะกระทบต่อค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ ในงวดที่เกิดการเปลี่ยนแปลง สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีและหนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีสามารถหักกลบได้เมื่อกิจการมีสิทธิตามกฎหมายที่จะนําสินทรัพย์ภาษีเงินได้ ของงวดปัจจุบันมาหักกลบกับหนี้สินภาษีเงินได้ของงวดปัจจุบันและภาษีเงินได้นี้ประเมินโดยหน่วยงานจัดเก็บภาษีหน่วยงานเดียวกันสําหรับหน่วยภาษี เดียวกันหรือหน่วยภาษีต่างกัน สําหรับหน่วยภาษีต่างกันนั้นกิจการมีความตั้งใจจะจ่ายชําระหนี้สินและสินทรัพย์ภาษีเงินได้ของงวดปัจจุบันด้วย ยอดสุทธิหรือตั้งใจจะรับคืนสินทรัพย์และจ่ายชําระหนี้สินในเวลาเดียวกัน สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีจะบันทึกต่อเมื่อมีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่นอนว่ากําไรเพื่อเสียภาษีในอนาคตจะมีจํานวนเพียงพอกับการใช้ ประโยชน์จากผลแตกต่างชั่วคราวดังกล่าว สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีจะถูกทบทวน ณ ทุกวันที่รายงานและจะถูกปรับลดลงเท่าที่ประโยชน์ ทางภาษีจะมีโอกาสถูกใช้จริง (น) กําไรต่อหุ้น กลุ่มบริษัทแสดงกําไรต่อหุ้นขั้นพื้นฐานสําหรับหุ้นสามัญ กําไรต่อหุ้นขั้นพื้นฐานคํานวณโดยการหารกําไรหรือขาดทุนของผู้ถือหุ้นสามัญของบริษัท ด้วยจํานวนหุ้นสามัญถัวเฉลี่ยถ่วงน้ําหนักที่ออกจําหน่ายระหว่างปีปรับปรุงด้วยจํานวนหุ้นสามัญที่ซื้อคืน


รายงานประจํ า ปี 2555 บริ ษ ั ท ไทยเบฟเวอเรจ จํ า กั ด (มหาชน)

งบการเงิ น

139

5. การซื้อบริษัทย่อยและส่วนได้เสียที่ไม่มีอํานาจควบคุม (ก) บริษัท เสริมสุข จํากัด (มหาชน) ในระหว่างปี 2554 บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ โลจิสติก จํากัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัทได้ทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์บริษัท เสริมสุข จํากัด (มหาชน) “เสริมสุข” ทั้งหมดของกิจการโดยสมัครใจ (Voluntary Tender Offer) สําหรับหุ้นสามัญทั้งหมดของเสริมสุขจํานวน 265,900,484 หุ้น เสริมสุข เป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นในประเทศไทยและจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นผู้ผลิตและจําหน่ายเครื่องดื่มน้ําอัดลม น้ําดื่ม โซดา และเครื่องดื่มชนิดอื่น การซื้อธุรกิจนี้ทําให้บริษัทได้ขยายประเภทสินค้าเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์และเพิ่มเครือข่ายการกระจายสินค้า โดยมีระยะเวลา รับซื้อรวม 25 วันทําการ ตั้งแต่วันที่ 15 กันยายน 2554 ถึงวันที่ 19 ตุลาคม 2554 ณ วันที่ 30 กันยายน 2554 บริษัทย่อยได้ชําระค่าหุ้นสามัญจํานวน 138,890,750 หุ้น คิดเป็นส่วนได้เสียร้อยละ 52.2 ของจํานวนหุ้นทั้งหมดของ เสริมสุข เป็นจํานวนเงิน 8,056 ล้านบาท ส่งผลให้เสริมสุขเป็นบริษัทย่อยของกลุ่มบริษัทตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2554 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554 บริษัทย่อยได้ชําระค่าหุ้นสามัญจํานวน 171,923,138 หุ้น คิดเป็นส่วนได้เสียร้อยละ 64.66 ของจํานวนหุ้นทั้งหมด ของเสริมสุข เป็นจํานวนเงิน 9,972 ล้านบาท ซึ่งค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการซื้อจํานวน 24.6 ล้านบาท ที่เกี่ยวข้องกับค่าธรรมเนียมหนังสือสนับสนุน ทางการเงินและค่าธรรมเนียมยื่นคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ ค่าใช้จ่ายดังกล่าวได้ถูกรวมอยู่ในค่าใช้จ่ายในการบริหารในงบกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จรวมของ บริษัทสําหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2554 ตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 3 ผู้บริหารต้องประมาณการมูลค่ายุติธรรมของธุรกิจที่ซื้อมา ณ วันที่ซื้อ ในระหว่างช่วงระยะเวลาใน การวัดมูลค่าซึ่งต้องไม่เกินกว่าหนึ่งปีนับจากวันที่ซื้อ ผู้ซื้อต้องปรับย้อนหลังประมาณการที่เคยรับรู้ไว้ ณ วันที่ซื้อ เพื่อสะท้อนผลของข้อมูลเพิ่มเติมที่ ได้รับเกี่ยวกับข้อเท็จจริงและสถานการณ์แวดล้อมที่มีอยู่ ณ วันที่ซื้อ การกําหนดมูลค่ายุติธรรมที่สุดของธุรกิจที่ซื้อมาในระหว่างปี 2554 นั้นขึ้นอยู่กับ การประเมินมูลค่ายุติธรรมและผลของการปันส่วนราคาซื้อ ณ วันที่ออกงบการเงินรวมสําหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2554 มูลค่ายุติธรรมของธุรกิจที่ซื้อมาในระหว่างปี 2554 เป็นมูลค่าที่ประมาณการ โดยผู้บริหาร รายงานของผู้ประเมินราคาอิสระในการประเมินมูลค่ายุติธรรมและการปันส่วนราคาซื้อได้เสร็จสิ้นภายหลังในไตรมาสที่ 3 ของปี 2555 ดังนั้น มูลค่ายุติธรรมของธุรกิจที่ซื้อมาได้ถูกปรับปรุงในงบการเงินรวมสําหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2554 งบกําไรขาดทุนรวม งบกําไรขาดทุน เบ็ดเสร็จรวม งบแสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของผู้ถือหุ้นรวมและงบกระแสเงินสดรวมสําหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2554 ที่ได้รวมอยู่ใน งบการเงินฉบับนี้ ได้ถูกปรับปรุงเพื่อสะท้อนถึงค่าความนิยมจากการซื้อธุรกิจจํานวน 3,975 ล้านบาท จากเดิมที่เคยประเมินขั้นต้นและรายงานไว้ จํานวน 4,100 ล้านบาท


งบการเงิ น

140

งบการเงินรวมสําหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2554 ที่ได้รวมอยู่ในงบการเงินนี้จึงได้รับการปรับปรุงใหม่ ดังนี้ งบแสดงฐานะการเงินรวม ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554

ที่แสดงไว้เดิม

ที่ปรับปรุงใหม่ (ล้านบาท)

31,645

30,552

67

161

42,673

43,367

7,159

7,034

173

171

เจ้าหนี้อื่น

3,756

3,686

หนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี

1,299

1,252

องค์ประกอบอื่นของส่วนของผู้ถือหุ้น

1,301

1,300

33,204

32,957

3,519

3,452

มูลค่าที่รับรู้ที่ แสดงไว้เดิม

ปรับปรุง มูลค่ายุติธรรม

มูลค่าที่รับรู้ที่ ปรับปรุงใหม่ (ล้านบาท)

915

-

915

ลูกหนี้การค้า - สุทธิ

1,138

-

1,138

สินค้าคงเหลือ

2,397

ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ - สุทธิ

8,698

802

9,500

36

-

36

458

(12)

446

สินค้าคงเหลือ เงินลงทุนระยะยาวอื่น ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ ค่าความนิยม สินทรัพย์ไม่มีตัวตนอื่น

กําไรสะสมยังไม่จัดสรร ส่วนได้เสียที่ไม่มีอํานาจควบคุม สินทรัพย์สุทธิ ณ วันที่ซื้อธุรกิจประกอบด้วยรายการต่อไปนี้

เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด

สินทรัพย์ไม่มีตัวตน สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี

(1,005)

1,39 2

สินทรัพย์อื่น

1,129

เจ้าหนี้การค้า

(1,266)

-

(1,266)

หนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี

(1,308)

274

(1,034)

หนี้สินอื่น

(3,116)

80

(3,036)

สินทรัพย์สุทธิที่ระบุได้

9,081

193

9,274

ค่าความนิยม

4,100

(125)

3,975

ส่วนได้เสียที่ไม่มีอํานาจควบคุม

(3,209)

(68)

(3,277)

สิ่งตอบแทนในการซื้อที่ต้องจ่ายไป

9,972

-

9,972

เงินสดที่ได้รับ กระแสเงินสดจ่ายสุทธิ

(915) 9,057

54

-

1,183

(915) 9,057

ค่าความนิยมส่วนใหญ่เนื่องมาจากทักษะและความสามารถในการผลิตสินค้าเครื่องดื่มและการกระจายสินค้าโดยผ่านเครือข่ายของบริษัท เสริมสุข จํากัด (มหาชน)


รายงานประจํ า ปี 2555 บริ ษ ั ท ไทยเบฟเวอเรจ จํ า กั ด (มหาชน)

งบการเงิ น

141

สําหรับงวดสามเดือนตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2554 สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2554 เสริมสุขมีรายได้เป็นจํานวนเงิน 4,150 ล้านบาท และขาดทุน จํานวนเงิน 419 ล้านบาท ซึ่งรวมเป็นส่วนหนึ่งของผลการดําเนินงานของกลุ่มบริษัท ผลการดําเนินงานของเสริมสุขสําหรับงวดสามเดือนสิ้นสุด วันที่ 31 ธันวาคม 2554 ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ น้ําท่วมครั้งใหญ่ของไทย ฝ่ายบริหารคาดว่าหากกลุ่มบริษัทได้มีการซื้อธุรกิจตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2554 จะมีรายได้รวมจํานวนเงิน 150,269 ล้านบาท และกําไรรวมสําหรับปีสน ้ิ สุดวันที่ 31 ธันวาคม 2554 จํานวนเงิน 12,441 ล้านบาท ในการกําหนดมูลค่าดังกล่าว ฝ่ายบริหารใช้สมมติฐานในการปรับปรุงมูลค่ายุติธรรม โดยถือเสมือนว่า การรวมกิจการที่เกิดขึ้นในระหว่างงวดนั้นได้ เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2554 (ข) Fraser and Neave, Limited เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2555 International Beverage Holdings Limited ซึ่งเป็นบริษัทย่อยทางตรงของบริษัทได้ซื้อหุ้นสามัญของ Fraser and Neave, Limited “F&N” ซึ่งเป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นในประเทศสิงคโปร์และจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ประเทศสิงคโปร์ จํานวน 313,036,775 หุ้น คิดเป็นส่วนได้เสียประมาณร้อยละ 22 ของ F&N ณ วันที่ซื้อ และได้ชําระเงินค่าหุ้นให้กับผู้ถือหุ้นเดิมจํานวน 3 ราย ในราคา หุ้นละ 8.88 เหรียญสิงคโปร์ เป็นจํานวนเงินรวม 2,779.8 ล้านเหรียญสิงคโปร์เสร็จเรียบร้อย ตามสัญญาซื้อขายลงวันที่ 18 กรกฎาคม 2555 การซื้อหุ้นนี้ได้รับอนุมัติจากตลาดหลักทรัพย์ประเทศสิงคโปร์ให้สามารถดําเนินการก่อนการอนุมัติของผู้ถือหุ้นได้ แล้วจึงนําเข้าที่ประชุมวิสามัญ ผู้ถือหุ้นเพื่อให้สัตยาบันภายในสามเดือนนับจากวันอนุมัติดังกล่าว เมื่อรวมกับการซื้อหุ้นก่อนหน้านี้จากผู้ถือหุ้นอื่นๆ ในตลาดจํานวน 62,624,547 หุ้น ทําให้ ณ วันที่ 14 สิงหาคม 2555 กลุ่มบริษัทมีส่วนได้เสียรวม ประมาณร้อยละ 26 ใน F&N ส่งผลให้ F&N ซึ่งดําเนินธุรกิจหลักเกี่ยวกับการผลิตและจําหน่ายเครื่องดื่มไม่ผสมแอลกอฮอล์ ผลิตภัณฑ์นม และ เบียร์ การพัฒนาและลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ และการพิมพ์และสิ่งพิมพ์ ที่ดําเนินการโดยบริษัทย่อย กิจการร่วมค้า และบริษัทร่วมของ F&N เป็น บริษัทร่วมของบริษัท ตั้งแต่วันที่ 14 สิงหาคม 2555 หลังจากวันที่ 14 สิงหาคม 2555 บริษัทย่อยของบริษัทได้ซื้อหุ้นสามัญ ของ Fraser and Neave, Limited เพิ่มเติมจากผู้ถือหุ้นอื่นๆ ในตลาด จํานวนรวม 36,762,500 หุ้น ต่อมาเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2555 ได้โอนหุ้นทั้งหมดจํานวน 412,423,822 หุ้น ให้แก่ InterBev Investment Limited ซึ่งเป็นบริษัทย่อยทางอ้อมของบริษัทและถือหุ้นทั้งหมดโดย International Beverage Holdings Limited ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2555 กลุ่มบริษัทมีส่วนได้เสียรวมใน Fraser and Neave, Limited ประมาณร้อยละ 28.63


งบการเงิ น

142

สินทรัพย์สุทธิของกิจการที่กลุ่มบริษัทลงทุน ณ วันที่ซื้อธุรกิจ และยังไม่ปรับปรุงตามสัดส่วนความเป็นเจ้าของ ซึ่งถือโดยกลุ่มบริษัท ประกอบด้วย รายการต่อไปนี้

มูลค่าตามบัญชี

ปรับปรุง มูลค่ายุติธรรม

เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด

26,281

-

26,281

เงินฝากประจํา

15,196

-

15,196

ลูกหนี้การค้า - สุทธิ

13,877

-

13,877

155,002

-

155,002

6,689

-

6,689

เงินลงทุนในบริษัทร่วม

37,618

-

37,618

สินทรัพย์เพื่อการลงทุน

71,382

-

71,382

ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ – สุทธิ

18,801

-

18,801

4,875

-

4,875

973

-

973

สินทรัพย์อื่น

17,835

-

17,835

เจ้าหนี้การค้า

(13,325)

-

(13,325)

เงินกู้ยืม

(98,300)

-

(98,300)

(3,238)

-

(3,238)

(46,034)

-

(46,034)

อสังหาริมทรัพย์และสินทรัพย์ที่มีไว้เพื่อขาย สินค้าคงเหลือ

สินทรัพย์ไม่มีตัวตน สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี

หนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี หนี้สินอื่น สินทรัพย์สุทธิที่ระบุได้ ค่าความนิยม ส่วนได้เสียที่ไม่มีอํานาจควบคุม สิ่งตอบแทนในการซื้อที่ต้องจ่ายไป เงินสดที่ได้รับ กระแสเงินสดจ่ายสุทธิ

207,632

-

มูลค่าที่รับรู้ (ล้านบาท)

207,632 30,169 (147,689) 90,112

(7,588) 82,524

ปัจจุบันบริษัทอยู่ในระหว่างดําเนินการประเมินมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์สุทธิที่ระบุได้ของ F&N ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในระยะเวลาหนึ่งปีนับจาก วันที่ซื้อเงินลงทุน บริษัทจึงได้ใช้มูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์สุทธิที่ระบุได้ในการบันทึกบัญชีเงินลงทุนในบริษัทร่วม และจะทําการปรับปรุงมูลค่า ยุติธรรมของสินทรัพย์สุทธิเมื่อการประเมินดังกล่าวดําเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้ว หลังจากกลุ่มบริษัทได้เข้าซื้อเงินลงทุนสําหรับกิจการในต่างประเทศ กิจการในต่างประเทศดังกล่าวได้ขายส่วนงานธุรกิจที่สําคัญไปให้กับบุคคลอื่น กิจการที่กลุ่มบริษัทลงทุนดังกล่าวได้รับรู้กําไรจากการขายส่วนงานธุรกิจนี้จํานวน 119,214 ล้านบาท และตามปกติแล้วกลุ่มบริษัทจะรับรู้ส่วนแบ่ง กําไรจากกิจการที่กลุ่มบริษัทลงทุนนี้ตามวิธีส่วนได้เสีย เป็นจํานวนทั้งสิ้น 35,191 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการประเมินมูลค่ายุติธรรมตามที่ กล่าวไว้ในวรรคก่อนหน้ายังไม่เสร็จสิ้น ผู้บริหารพิจารณาว่ากลุ่มบริษัทควรรับรู้ส่วนแบ่งกําไรตามสัดส่วนเพียงส่วนที่ไม่เกินมูลค่ายุติธรรมของกิจการที่ กลุ่มบริษัทลงทุน ซึ่งส่วนแบ่งกําไรที่รับรู้เป็นจํานวน 13,437 ล้านบาท โดยมูลค่ายุติธรรมดังกล่าวกําหนดจากการประเมินมูลค่าที่มีโดยผู้ประเมิน อิสระอีกรายหนึ่ง ตามรายงานลงวันที่ 20 ธันวาคม 2555


รายงานประจํ า ปี 2555 บริ ษ ั ท ไทยเบฟเวอเรจ จํ า กั ด (มหาชน)

งบการเงิ น

143

6. บุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน เพื่อวัตถุประสงค์ในการจัดทํางบการเงิน บุคคลหรือกิจการเป็นบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกันกับกลุ่มบริษัทและบริษัท หากกลุ่มบริษัทและบริษัทมี อํานาจควบคุมหรือควบคุมร่วมกันทั้งทางตรงและทางอ้อมหรือมีอิทธิพลอย่างมีสาระสําคัญต่อบุคคลหรือกิจการในการตัดสินใจทางการเงินและ การบริหารหรือในทางกลับกัน หรือกลุม ่ บริษท ั อยูภ ่ ายใต้การควบคุมเดียวกันหรืออยูภ ่ ายใต้อท ิ ธิพลอย่างมีสาระสําคัญเดียวกันกับบุคคลหรือกิจการนัน ้ การเกี่ยวข้องกันนี้อาจเป็นรายบุคคลหรือเป็นกิจการ ความสัมพันธ์ที่มีกับบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกันนอกเหนือจากบริษัทย่อยทางตรง บริษัทย่อยทางอ้อม บริษัทย่อยของบริษัทย่อยทางอ้อมและ บริษัทร่วมของบริษัทย่อยทางอ้อม (ตามที่แสดงไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 1) มีดังนี้

ชื่อกิจการ

ประเทศที่ จัดตั้ง/ สัญชาติ

ลักษณะความสัมพันธ์

1.

บริษัท ไทยแอลกอฮอล์ จํากัด (มหาชน)

ไทย

กรรมการและผู้ถือหุ้นรายใหญ่ถือหุ้นใหญ่ทางอ้อม

2.

บริษัท สินเอกพาณิชย์ จํากัด

ไทย

กรรมการและผู้ถือหุ้นรายใหญ่ถือหุ้นใหญ่ทางอ้อม

3.

บริษัท บางเลนการเกษตร จํากัด

ไทย

กรรมการและผู้ถือหุ้นรายใหญ่ถือหุ้นใหญ่ทางอ้อม

4.

บริษัท พิเศษกิจ จํากัด

ไทย

กรรมการและผู้ถือหุ้นรายใหญ่ถือหุ้นใหญ่ทางอ้อม

5.

บริษัท นํ้าตาลทิพย์กําแพงเพชร จํากัด

จํากัด)

ไทย

กรรมการและผู้ถือหุ้นรายใหญ่ถือหุ้นใหญ่ทางอ้อม

6.

บริษัท อุตสาหกรรมนํ้าตาลชลบุรี จํากัด

ไทย

กรรมการและผู้ถือหุ้นรายใหญ่ถือหุ้นใหญ่ทางอ้อม

7.

บริษัท นํ้าตาลทิพย์สุโขทัย จํากัด

ไทย

กรรมการและผู้ถือหุ้นรายใหญ่ถือหุ้นใหญ่ทางอ้อม

8.

บริษัท อุตสาหกรรมนํ้าตาลสุพรรณบุรี จํากัด

ไทย

กรรมการและผู้ถือหุ้นรายใหญ่ถือหุ้นใหญ่ทางอ้อม

9.

บริษัท อาคเนย์ประกันภัย จํากัด (มหาชน)

ไทย

กรรมการและผู้ถือหุ้นรายใหญ่ถือหุ้นใหญ่ทางอ้อม

10. บริษัท อาคเนย์ประกันชีวิต จํากัด (มหาชน)

ไทย

กรรมการและผู้ถือหุ้นรายใหญ่ถือหุ้นใหญ่ทางอ้อม

11. บริษัท อาคเนย์แคปปิตอล จํากัด

ไทย

กรรมการและผู้ถือหุ้นรายใหญ่ถือหุ้นใหญ่ทางอ้อม

12. บริษัท ที.ซี.ซี. เทคโนโลยี จํากัด

ไทย

กรรมการและผู้ถือหุ้นรายใหญ่ถือหุ้นใหญ่ทางอ้อม

ไทย

กรรมการและผู้ถือหุ้นรายใหญ่ถือหุ้นใหญ่ทางอ้อม

14. บริษัท บางนากลาส จํากัด

ไทย

กรรมการและผู้ถือหุ้นรายใหญ่ถือหุ้นใหญ่ทางอ้อม

15. บริษัท ทีซีซี โฮเทลคอลเล็คชั่น จํากัด

ไทย

กรรมการและผู้ถือหุ้นรายใหญ่ถือหุ้นใหญ่ทางอ้อม

16. บริษัท เทอราโกร ไบโอ-เทค จํากัด

ไทย

กรรมการและผู้ถือหุ้นรายใหญ่ถือหุ้นใหญ่ทางอ้อม

17. บริษัท เพิ่มค่าพาณิชย์ จํากัด

ไทย

กรรมการและผู้ถือหุ้นรายใหญ่ถือหุ้นใหญ่ทางอ้อม

18. บริษัท บีเจซี อินดัสเตรียล แอนด์ เทรดดิ้ง จํากัด

ไทย

กรรมการและผู้ถือหุ้นรายใหญ่ถือหุ้นใหญ่ทางอ้อม

19. บริษัท นอร์ธ ปาร์ค เรียลเอสเตท จํากัด

ไทย

กรรมการและผู้ถือหุ้นรายใหญ่ถือหุ้นใหญ่ทางอ้อม

20. บริษัท ทีซีซี พีดี 11 จํากัด

ไทย

กรรมการและผู้ถือหุ้นรายใหญ่ถือหุ้นใหญ่ทางอ้อม

(เดิมชื่อ บริษัท อุตสาหกรรมนํ้าตาลแม่วัง

13. บริษัท อุตสาหกรรมทําเครื่องแก้วไทย จํากัด

(มหาชน)


งบการเงิ น

144

ชื่อกิจการ

ประเทศที่ จัดตั้ง/ สัญชาติ

ลักษณะความสัมพันธ์

21. บริษัท ทิพย์พัฒน อาร์เขต จํากัด

ไทย

กรรมการและผู้ถือหุ้นรายใหญ่ถือหุ้นใหญ่ทางอ้อม

22. บริษัท อาหารสยาม จํากัด (มหาชน)

ไทย

กรรมการและผู้ถือหุ้นรายใหญ่ถือหุ้นใหญ่ทางอ้อม

23. บริษัท บีเจซี เฮลท์แคร์ จํากัด

ไทย

กรรมการและผู้ถือหุ้นรายใหญ่ถือหุ้นใหญ่ทางอ้อม

24. บริษัท วัฒนพัฒน์เทรดดิ้ง จํากัด

ไทย

กรรมการและผู้ถือหุ้นรายใหญ่ถือหุ้นใหญ่ทางอ้อม

25. Silvercord Capital (Singapore) Limited

สิงคโปร์

กรรมการและผู้ถือหุ้นรายใหญ่ถือหุ้นใหญ่ทางอ้อม

26. บริษัท พรรณธิอร เทรดดิ้ง จํากัด

ไทย

กรรมการและผู้ถือหุ้นรายใหญ่ถือหุ้นใหญ่ทางอ้อม

27. บริษัท ตะวันออก เคมีเกิ้ล จํากัด

ไทย

กรรมการและผู้ถือหุ้นรายใหญ่ถือหุ้นใหญ่ทางอ้อม

28. กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และ

ไทย

กรรมการและผู้ถือหุ้นรายใหญ่ถือหน่วยลงทุน

สิทธิเรียกร้องนิวโนเบิล 29. กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และ

ส่วนใหญ่ทางอ้อม ไทย

สิทธิเรียกร้องไดนามิค แอสเส็ทส์ 30. กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และ

ส่วนใหญ่ทางอ้อม ไทย

สิทธิเรียกร้องเบสท์ ฟอร์จูน 31. กองทุนรวมรีเจนท์โกลด์พร็อพเพอร์ตี้ฟันด์

กรรมการและผู้ถือหุ้นรายใหญ่ถือหน่วยลงทุน

กรรมการและผู้ถือหุ้นรายใหญ่ถือหน่วยลงทุน ส่วนใหญ่ทางอ้อม

ไทย

กรรมการและผู้ถือหุ้นรายใหญ่ถือหน่วยลงทุน ส่วนใหญ่ทางอ้อม

32. บริษัท พลาซ่าแอทธินี โฮเต็ล (ประเทศไทย)

ไทย

จํากัด 33. บริษัท นอร์ธปาร์ค กอล์ฟ แอนด์ สปอร์ตคลับ

กรรมการและผู้ถือหุ้นรายใหญ่ เป็นกรรมการและถือหุ้นใหญ่ทางอ้อม

ไทย

จํากัด

กรรมการและผู้ถือหุ้นรายใหญ่ เป็นกรรมการและถือหุ้นใหญ่ทางอ้อม

34. บริษัท เบอร์ลี่ยุคเกอร์ จํากัด (มหาชน)

ไทย

กรรมการและผู้ถือหุ้นรายใหญ่ถือหุ้นใหญ่ทางอ้อม

35. บริษัท ไทย เบเวอร์เรจ แคน จํากัด

ไทย

กรรมการและผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ถือหุ้นทางอ้อมร้อยละ 50

36. บริษัท พี เอส รีไซเคิล จํากัด

ไทย

กรรมการและผู้ถือหุ้นรายใหญ่เป็นญาติ กับผู้มีอํานาจควบคุม

37. T.C.C. International Limited

ฮ่องกง

ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ถือหุ้นใหญ่ทางอ้อม

38. Best Wishes Co., Ltd.

ฮ่องกง

ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ถือหุ้นใหญ่ทางอ้อม

39. บริษัท บางกอกกล๊าส จํากัด

ไทย

ถือหุ้นโดยบริษัทย่อยแห่งหนึ่ง

40. บริษัท เดอะเพ็ท จํากัด

ไทย

ถือหุ้นโดยบริษัทย่อยแห่งหนึ่ง

41. บริษัท ฝาจีบ จํากัด (มหาชน)

ไทย

ถือหุ้นโดยบริษัทย่อยแห่งหนึ่ง


รายงานประจํ า ปี 2555 บริ ษ ั ท ไทยเบฟเวอเรจ จํ า กั ด (มหาชน)

งบการเงิ น

145

ชื่อกิจการ

ประเทศที่ จัดตั้ง/ สัญชาติ

42. TCC Assets Ltd.

หมู่เกาะบริติชเวอร์จิน กรรมการและผู้ถือหุ้นรายใหญ่ถือหุ้นใหญ่ทางตรง

43. F&N Group และบุคคลหรือกิจการ

สิงคโปร์

ที่เกี่ยวข้องกันกับ F&N Group 44. ผู้บริหารสําคัญ

ลักษณะความสัมพันธ์

บริษัทย่อยทางตรงถือหุ้นร้อยละ 28.63 ใน Fraser and Neave, Limited ซึ่งเป็นบริษัทใหญ่

ไทย

บุคคลที่มีอํานาจและความรับผิดชอบการวางแผน สั่งการและ ควบคุมกิจกรรมต่างๆ ของกิจการ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม ทั้งนี้ รวมถึงกรรมการ (ไม่ว่าจะทําหน้าที่ในระดับบริหารหรือไม่) ของกลุ่มบริษัทและบริษัท

นโยบายการกําหนดราคาสําหรับรายการแต่ละประเภทอธิบายได้ดังต่อไปนี้ รายการ

นโยบายการกําหนดราคา

ขายสินค้า

ราคาที่ตกลงร่วมกันโดยอ้างอิงจากอัตราตลาด

การให้บริการ

ราคาที่ตกลงกันตามสัญญา

ซื้อสินค้า/วัตถุดิบ

ราคาที่ตกลงร่วมกันโดยอ้างอิงจากอัตราตลาด

การรับบริการ

ราคาที่ตกลงกันตามสัญญา

ซื้อขายที่ดิน อาคารและอุปกรณ์

ราคาที่ตกลงกันตามสัญญา

ซื้อขายเงินลงทุน

ราคาที่ตกลงกันตามสัญญา

ดอกเบี้ยรับและดอกเบี้ยจ่าย

อัตราที่ตกลงร่วมกันกับผู้ถือหุ้นโดยอ้างอิงจากอัตราดอกเบี้ยจากสถาบันการเงิน


งบการเงิ น

146

รายการที่สําคัญกับบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกันสําหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม สรุปได้ดังนี้ งบการเงินรวม สําหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม

2555

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2554

2555

2554

(ล้านบาท) บริษัทย่อย รายได้ค่าธรรมเนียมการจัดการ

-

-

3,383

3,083

ต้นทุนการให้บริการ

-

-

357

315

ดอกเบี้ยรับ

-

-

968

363

ดอกเบี้ยจ่าย

-

-

1,032

830

เงินปันผลรับ

-

-

11,947

8,118

รายได้อื่น

-

-

28

1

ค่าใช้จ่ายในการบริหาร

-

-

11

6

ซื้อเงินลงทุน

-

-

386

-

เพิ่มทุนในบริษัทย่อย

-

-

-

143

-

-

บริษัทร่วม ส่วนแบ่งกําไรจากเงินลงทุนในบริษัทร่วม (สุทธิจากภาษีเงินได้)

13,611

(197)

ผู้บริหารสําคัญ ค่าตอบแทนผู้บริหารสําคัญ ผลประโยชน์ระยะสั้นของพนักงาน

447

423

390

358

9

9

9

9

456

432

399

367

903

1,192

-

-

23

111

-

-

10,489

10,620

-

-

201

232

-

-

-

-

104

103

รายได้อื่น

126

354

2

4

ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร

616

495

3

2

ซื้ออาคารและอุปกรณ์

767

30

-

-

ขายอาคารและอุปกรณ์

19

-

-

-

จําหน่ายเงินลงทุน

40

-

-

-

ผลประโยชน์หลังออกจากงาน รวมค่าตอบแทนผู้บริหารสําคัญ กิจการอื่นที่เกี่ยวข้องกัน ขายสินค้า รายได้ค่าบริการ ซื้อวัตถุดิบและพัสดุบรรจุ โสหุ้ยการผลิต ต้นทุนการให้บริการ


รายงานประจํ า ปี 2555 บริ ษ ั ท ไทยเบฟเวอเรจ จํ า กั ด (มหาชน)

งบการเงิ น

147

ยอดคงเหลือกับกิจการที่เกี่ยวข้องกัน ณ วันที่ 31 ธันวาคม มีดังนี้ ลูกหนี้การค้า - กิจการที่เกี่ยวข้องกัน

งบการเงินรวม 2555

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2554

2555

2554

(ล้านบาท) กิจการอื่นที่เกี่ยวข้องกัน บริษัท เบอร์ลี่ยุคเกอร์ จํากัด (มหาชน)

52

-

-

-

บริษัท ทีซีซี โฮลดิ้ง จํากัด

6

-

-

-

บริษัท เทอราโก ไบโอ-เทค จํากัด

5

-

-

-

บริษัท พี เอส รีไซเคิล จํากัด

4

10

-

-

บริษัท พิเศษกิจ จํากัด

4

5

-

-

บริษัท ไทยแอลกอฮอล์ จํากัด (มหาชน)

-

221

-

-

อื่นๆ

6

5

-

-

รวม

77

241

-

-


-

บริษัท เฟื่องฟูอนันต์ จํากัด

บริษัท มงคลสมัย จํากัด

บริษัท ธนภักดี จํากัด

บริษัท กาญจนสิงขร จํากัด

บริษัท สุราบางยี่ขัน จํากัด

บริษัท อธิมาตร จํากัด

บริษัท เอส.เอส. การสุรา จํากัด

บริษัท แก่นขวัญ จํากัด

บริษัท เทพอรุโณทัย จํากัด

บริษัท สุรากระทิงแดง (1988) จํากัด

-

บริษัท นทีชัย จํากัด

บริษัท หลักชัยค้าสุรา จํากัด

บริษัท สุราพิเศษภัทรลานนา จํากัด

บริษัท ประมวลผล จํากัด

-

บริษัท ป้อมคลัง จํากัด

บริษัท ป้อมโชค จํากัด

(เดิมชื่อ บริษัท ป้อมทิพย์ จํากัด)

บริษัท ป้อมกิจ จํากัด

-

-

บริษัท สีมาธุรกิจ จํากัด

บริษัท โมเดิร์นเทรด แมนเนจเม้นท์ จํากัด

-

ดิสทิลเลอรี่ จํากัด

บริษัท ยูไนเต็ด ไวน์เนอรี่ แอนด์

-

จํากัด

บริษัท แสงโสม จํากัด

-

-

บริษัท คอสมอส บริวเวอรี่ (ประเทศไทย)

-

บริษัท เบียร์ไทย (1991) จํากัด (มหาชน)

บริษัท เบียร์ทิพย์ บริวเวอรี่ (1991) จํากัด

บริษัทย่อย

เงินให้ กู้ยืม ระยะสั้น

เงินให้กู้ยืมระยะสั้นและลูกหนี้อื่นกิจการที่เกี่ยวข้องกัน

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

ลูกหนี้อื่น

2555

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

รวม

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

เงินให้ กู้ยืม ระยะสั้น

งบการเงินรวม

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

ลูกหนี้อื่น

2554

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

รวม

-

-

-

-

12

83

-

-

-

-

785

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

92

เงินให้ กู้ยืม ระยะสั้น

5

6

5

12

-

-

1

3

2

2

21

5

4

4

3

24

1

1

1

2

2

4

13

20

ลูกหนี้อื่น

2555

5

6

5

12

12

83

1

3

2

2

806

5

4

4

3

24

1

1

1

2

2

4

13

112

รวม

-

-

-

-

-

-

-

107

-

-

1,121

-

-

68

-

-

-

-

-

-

-

-

-

1,230

เงินให้ กู้ยืม ระยะสั้น

งบการเงินเฉพาะกิจการ

5

6

5

11

-

-

1

2

2

2

25

4

6

5

4

24

1

1

1

3

7

4

18

24

ลูกหนี้อื่น

2554

5

6

5

11

-

-

1

109

2

2

1,146

4

6

73

4

24

1

1

1

3

7

4

18

1,254

(ล้านบาท)

รวม

งบการเงิ น

148


-

บริษัท ป้อมเจริญ จํากัด

บริษัท ป้อมบูรพา จํากัด

บริษัท ป้อมพลัง จํากัด

บริษัท ป้อมนคร จํากัด

บริษัท นํายุค จํากัด

บริษัท นํากิจการ จํากัด

บริษัท นําพลัง จํากัด

บริษัท นําเมือง จํากัด

บริษัท นํานคร จํากัด

บริษัท นําธุรกิจ จํากัด

บริษัท นํารุ่งโรจน์ จํากัด

บริษัท นําทิพย์ จํากัด

บริษัท ทิพย์ชโลธร จํากัด

บริษัท กฤตยบุญ จํากัด

บริษัท สุราทิพย์ จํากัด

บริษัท สุนทรภิรมย์ จํากัด

บริษัท ภิรมย์สุรางค์ จํากัด

บริษัท เครื่องดื่มแรงเยอร์ (2008) จํากัด

บริษัท ไทยโมลาส จํากัด

บริษัท ธนสินธิ จํากัด

บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จํากัด (มหาชน)

บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ รีไซเคิล จํากัด

บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ โลจิสติก จํากัด

บริษัท ไทยเบฟเวอเจ มาร์เก็ตติ้ง จํากัด

บริษัท ทศภาค จํากัด

International Beverage Holdings Limited

รวมบริษัทย่อย

บริษัทย่อย (ต่อ)

เงินให้ กู้ยืม ระยะสั้น

เงินให้กู้ยืมระยะสั้นและลูกหนี้อื่นกิจการที่เกี่ยวข้องกัน

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

ลูกหนี้อื่น

2555

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

รวม

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

เงินให้ กู้ยืม ระยะสั้น

งบการเงินรวม

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

ลูกหนี้อื่น

2554

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

รวม

24,254

10,050

26

-

11,031

376

-

-

-

-

84

267

358

560

530

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

เงินให้ กู้ยืม ระยะสั้น

601

140

-

1

46

2

1

-

-

-

14

33

29

45

26

9

16

11

9

11

8

19

23

5

4

5

3

ลูกหนี้อื่น

2555

24,855

10,190

26

1

11,077

378

1

-

-

-

98

300

387

605

556

9

16

11

9

11

8

19

23

5

4

5

3

รวม

14,753

-

228

-

10,825

411

-

5

155

11

-

379

213

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

เงินให้ กู้ยืม ระยะสั้น

งบการเงินเฉพาะกิจการ

484

-

1

-

45

3

-

1

-

1

15

32

28

43

24

10

16

12

8

12

9

19

25

5

4

5

5

ลูกหนี้อื่น

2554

15,237

-

229

-

10,870

414

-

6

155

12

15

411

241

43

24

10

16

12

8

12

9

19

25

5

4

5

5

(ล้านบาท)

รวม

รายงานประจํ า ปี 2555 บริ ษ ั ท ไทยเบฟเวอเรจ จํ า กั ด (มหาชน) งบการเงิ น

149


-

บริษัท แก้วกรุงไทย จํากัด

บริษัท พิเศษกิจ จํากัด

-

รวมกิจการอื่นที่เกี่ยวข้องกัน

รวม 1,246

1,246

6

-

-

-

2

4

4

7

45

57

1,121

ลูกหนี้อื่น

2555

1,246

1,246

6

-

-

-

2

4

4

7

45

57

1,121

รวม

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

เงินให้ กู้ยืม ระยะสั้น

งบการเงินรวม

2,290

2,290

6

8

15

36

225

-

9

-

-

531

1,460

ลูกหนี้อื่น

2554

2,290

2,290

6

8

15

36

225

-

9

-

-

531

1,460

รวม

24,254

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

เงินให้ กู้ยืม ระยะสั้น

603

2

-

-

-

-

2

-

-

-

-

-

-

ลูกหนี้อื่น

2555

24,857

2

-

-

-

-

2

-

-

-

-

-

-

รวม

14,753

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

เงินให้ กู้ยืม ระยะสั้น

งบการเงินเฉพาะกิจการ

485

1

1

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

ลูกหนี้อื่น

2554

15,238

1

1

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

รวม (ล้านบาท)

139 ล้านบาท)

* ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2555 กลุ่มบริษัทได้รับจดหมายแจ้งเงินชดเชยจากการประกันภัยบางส่วนจํานวน 1,831 ล้านบาท (31 ธันวาคม 2554: 1,634 ล้านบาท) ได้รับชําระแล้วเป็นจํานวนเงิน 815 ล้านบาท (31 ธันวาคม 2554:

-

-

-

-

-

-

อื่นๆ

(เดิมชื่อ บริษัท อุตสาหกรรมน้ําตาลแม่วัง จํากัด)

บริษัท น้ําตาลทิพย์กําแพงเพชร จํากัด

บริษัท อุตสาหกรรมนํ้าตาลสุพรณบุรี จํากัด

อุตรดิตถ์ จํากัด)

(เดิมชื่อ บริษัท อุตสาหกรรมนํ้าตาล

บริษัท นํ้าตาลทิพย์สุโขทัย จํากัด

บริษัท ไทยแอลกอฮอล์ จํากัด (มหาชน)

สิทธิเรียกร้องนิวโนเบิล

กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และ

สิทธิเรียกร้องเบสท์ ฟอร์จูน -

-

บริษัท พรรณธิอร เทรดดิ้ง จํากัด

กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และ

-

เงินให้ กู้ยืม ระยะสั้น

บริษัท อาคเนย์ประกันภัย จํากัด (มหาชน)

กิจการอื่นที่เกี่ยวข้องกัน

เงินให้กย ู้ ม ื ระยะสัน ้ และลูกหนีอ้ น ื่ กิจการทีเ่ กีย ่ วข้องกัน

งบการเงิ น

150


-

บริษัท สุราทิพย์ จํากัด

บริษัท สุนทรภิรมย์ จํากัด

บริษัท กฤตยบุญ จํากัด

บริษัท เครื่องดื่มแรงเยอร์ (2008) จํากัด

-

รวมกิจการอื่นที่เกี่ยวข้องกัน

รวม

-

-

อื่นๆ

สิทธิเรียกร้องนิวโนเบิล

กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และ

บริษัท เดอะเพ็ท จํากัด

สิทธิเรียกร้องเบสท์ ฟอร์จูน -

-

บริษัท ที.ซี.ซี.เทคโนโลยี จํากัด

กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และ

-

-

บริษัท นอร์ธ ปาร์ค เรียลเอสเตท จํากัด

กิจการอื่นที่เกี่ยวข้องกัน

รวมบริษัทย่อย

(ประเทศไทย) จํากัด -

-

บริษัท แพนอินเตอร์เนชั่นแนล

-

บริษัท เบียร์ไทย (1991) จํากัด (มหาชน)

เงินให้ กู้ยืม ระยะยาว

บริษัท สุรากระทิงแดง (1988) จํากัด

บริษัทย่อย

เงินให้กู้ยืมระยะยาวและลูกหนี้อื่นกิจการที่เกี่ยวข้องกัน

-

-

-

-

-

-

-

-

-

57

57

7

5

6

7

32

ลูกหนี้อื่น

2555

-

-

-

-

-

-

-

-

-

57

57

7

5

6

7

32

รวม

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

เงินให้ กู้ยืม ระยะยาว

งบการเงินรวม

-

-

-

-

-

-

-

-

-

53

53

7

4

5

7

30

ลูกหนี้อื่น

2554

-

-

-

-

-

-

-

-

-

53

53

7

4

5

7

30

รวม

32

2,304

-

-

-

-

-

-

-

2,304

-

-

377

176

781

938

เงินให้ กู้ยืม ระยะยาว

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

11

10

7

3

1

1

ลูกหนี้อื่น

2555

1

32

10 2,315

-

-

-

-

7

3

2,305

-

377

176

781

938

รวม

635

-

-

-

-

-

-

-

635

-

119

-

-

-

67

449

เงินให้ กู้ยืม ระยะยาว

งบการเงินเฉพาะกิจการ

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

11

10

7

3

1

1

ลูกหนี้อื่น

2554

10 646

-

-

-

-

7

3

636

1

119

-

-

-

67

449

รวม (ล้านบาท)

รายงานประจํ า ปี 2555 บริ ษ ั ท ไทยเบฟเวอเรจ จํ า กั ด (มหาชน) งบการเงิ น

151


งบการเงิ น

152

สรุปเงินให้กู้ยืมแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกัน

งบการเงินรวม 2555

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2554

2555

2554

(ล้านบาท) เงินให้กู้ยืมระยะสั้น

-

-

24,254

14,753

เงินให้กู้ยืมระยะยาว

-

-

2,304

635

-

-

26,558

15,388

รวมเงินให้กู้ยืมแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกัน

รายการเคลื่อนไหวของเงินให้กู้ยืมแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกันสําหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม มีดังนี้ เงินให้กู้ยืมแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกัน

งบการเงินรวม 2555

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2554

2555

2554

(ล้านบาท) เงินให้กู้ยืมระยะสั้น บริษัทย่อย ณ วันที่ 1 มกราคม

-

-

14,753

1,977

เพิ่มขึ้น

-

-

11,670

13,108

ลดลง

-

-

ณ วันที่ 31 ธันวาคม

-

-

24,254

14,753

ณ วันที่ 1 มกราคม

-

-

635

2,499

เพิ่มขึ้น

-

-

1,788

ลดลง

-

-

ณ วันที่ 31 ธันวาคม

-

-

(2,169)

(332)

เงินให้กู้ยืมระยะยาว บริษัทย่อย

(119) 2,304

(1,864) 635


รายงานประจํ า ปี 2555 บริ ษ ั ท ไทยเบฟเวอเรจ จํ า กั ด (มหาชน)

งบการเงิ น

153

เงินให้กู้ยืมและลูกหนี้อื่นกิจการที่เกี่ยวข้องกันทั้งหมดของกลุ่มบริษัทและบริษัท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2555 และ 2554 จัดตามประเภทสกุลเงินตรา ได้ดังนี้ งบการเงินรวม 2555

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2554

2555

2554

(ล้านบาท) สกุลเงินบาทและสกุลเงินที่ใช้ใน การดําเนินงานของบริษัทย่อย

-

-

16,982

15,884

สกุลเงินเหรียญสิงคโปร์

-

-

10,190

-

รวม

-

-

27,172

15,884

เจ้าหนี้การค้า - กิจการที่เกี่ยวข้องกัน

งบการเงินรวม 2555

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2554

2555

2554

(ล้านบาท) กิจการอื่นที่เกี่ยวข้องกัน บริษัท ไทย มาลายา กลาส จํากัด

848

903

-

-

บริษัท ไทย เบเวอร์เรจ แคน จํากัด

170

158

-

-

บริษัท เพ็ทฟอร์ม (ไทยแลนด์) จํากัด

162

31

-

-

บริษัท ฝาจีบ จํากัด (มหาชน)

107

105

-

-

บริษัท เดอะเพ็ท จํากัด

58

58

-

-

บริษัท บางกอกกล๊าส จํากัด

54

31

-

-

บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ ฟู้ดส์ จํากัด

13

-

-

-

บริษัท พรรณธิอร เทรดดิ้ง จํากัด

11

113

-

-

บริษัท พิเศษกิจ จํากัด

11

21

-

-

บริษัท พีเอส รีไซเคิล จํากัด

10

17

-

-

บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จํากัด (มหาชน)

10

-

-

-

อื่นๆ

5

1

-

-

รวม

1,459

1,438

-

-


-

บริษัท เฟื่องฟูอนันต์ จํากัด

บริษัท มงคลสมัย จํากัด

บริษัท ธนภักดี จํากัด

บริษัท กาญจนสิงขร จํากัด

บริษัท สุราพิเศษทิพราช จํากัด

บริษัท สุราบางยี่ขัน จํากัด

บริษัท อธิมาตร จํากัด

บริษัท เอส.เอส. การสุรา จํากัด

บริษัท แก่นขวัญ จํากัด

บริษัท ยูไนเต็ด ไวน์เนอรี่ แอนด์ ดิสทิลเลอรี่ จํากัด

บริษัท สีมาธุรกิจ จํากัด

บริษัท หลักชัยค้าสุรา จํากัด

บริษัท สุราพิเศษภัทรลานนา จํากัด

-

บริษัท ป้อมคลัง จํากัด

บริษัท ป้อมโชค จํากัด

บริษัท ป้อมเจริญ จํากัด

บริษัท ป้อมบูรพา จํากัด

บริษัท ป้อมพลัง จํากัด

บริษัท ป้อมนคร จํากัด

บริษัท นํายุค จํากัด

บริษัท นํากิจการ จํากัด

บริษัท นําพลัง จํากัด

(เดิมชื่อ บริษัท ป้อมทิพย์ จํากัด)

บริษัท ป้อมกิจ จํากัด

-

-

บริษัท แสงโสม จํากัด

บริษัท โมเดิร์นเทรด แมนเนจเม้นท์

-

เงินกู้ยืม ระยะสั้น

บริษัท เบียร์ทิพย์ บริวเวอรี่ (1991) จํากัด

บริษัทย่อย

เงินกู้ยืมระยะสั้นและเจ้าหนี้อื่นกิจการที่เกี่ยวข้องกัน

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

เจ้าหนี้อื่น

2555

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

รวม

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

เงินกู้ยืม ระยะสั้น

งบการเงินรวม

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

เจ้าหนี้อื่น

2554

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

รวม

494

404

519

149

258

221

184

176

394

116

171

-

101

129

-

-

-

-

532

-

-

79

-

240

475

1,193

เงินกู้ยืม ระยะสั้น

2

8

5

2

1

2

1

2

2

3

1

-

2

3

1

1

1

1

8

-

1

1

1

2

10

12

เจ้าหนี้อื่น

2555

496

412

524

151

259

223

185

178

396

119

172

-

103

132

1

1

1

1

540

-

1

80

1

242

485

1,205

รวม

466

590

1,105

158

103

183

266

124

299

230

78

10

18

-

-

-

-

-

320

5

-

-

-

97

279

132

เงินกู้ยืม ระยะสั้น

งบการเงินเฉพาะกิจการ

-

2

7

4

1

2

1

2

2

2

1

-

1

2

-

-

-

-

6

-

1

-

1

1

7

15

เจ้าหนี้อื่น

2554

468

597

1,109

159

103

185

267

126

301

232

79

10

19

2

-

-

-

-

326

5

1

-

1

98

286

147

รวม (ล้านบาท)

งบการเงิ น

154


-

บริษัท นําธุรกิจ จํากัด

บริษัท นํารุ่งโรจน์ จํากัด

บริษัท นําทิพย์ จํากัด

บริษัท ทิพย์ชโลธร จํากัด

บริษัท กฤตยบุญ จํากัด

บริษัท ภิรมย์สุรางค์ จํากัด

บริษัท ไทยเบฟเวอเรจแบรนด์ จํากัด

บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ เอ็นเนอร์ยี่ จํากัด

บริษัท ไทยโมลาส จํากัด

บริษัท ถังไม้โอ๊คไทย จํากัด

บริษัท อาหารเสริม จํากัด

-

บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ โลจิสติก จํากัด

บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ มาร์เก็ตติ้ง จํากัด

บริษัท ธนสินธิ จํากัด

บริษัท ทศภาค จํากัด

บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ เทรนนิ่ง จํากัด -

(ประเทศไทย) จํากัด

บริษัท เบียร์ช้าง จํากัด

บริษัท ไทยดริ้งค์ จํากัด

บริษัท เบียร์อาชา จํากัด

บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จํากัด (มหาชน)

รวมบริษัทย่อย

บริษัท คอสมอส บริวเวอรี่

-

(ประเทศไทย) จํากัด

บริษัท จรัญธุรกิจ 52 จํากัด

-

-

บริษัท นํานคร จํากัด

บริษัท แพนอินเตอร์เนชั่นแนล

-

เงินกู้ยืม ระยะสั้น

บริษัท นําเมือง จํากัด

บริษัทย่อย (ต่อ)

เงินกู้ยืมระยะสั้นและเจ้าหนี้อื่นกิจการที่เกี่ยวข้องกัน

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

เจ้าหนี้อื่น

2555

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

รวม

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

เงินกู้ยืม ระยะสั้น

งบการเงินรวม

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

เจ้าหนี้อื่น

2554

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

รวม

9,144

-

2

27

53

210

-

-

-

101

-

17

20

47

126

124

228

-

-

-

-

560

386

381

500

527

เงินกู้ยืม ระยะสั้น

436

-

-

1

1

2

3

81

-

248

1

-

1

-

1

1

1

-

-

-

-

3

5

4

4

6

เจ้าหนี้อื่น

2555

9,580

-

2

28

54

212

3

81

-

349

1

17

21

47

127

125

229

-

-

-

-

563

391

385

504

533

รวม

8,636

-

10

25

1

84

-

-

-

84

-

8

25

13

146

-

255

14

137

405

28

486

761

489

585

617

เงินกู้ยืม ระยะสั้น

งบการเงินเฉพาะกิจการ

275

11

-

2

1

3

1

48

1

125

-

-

2

-

1

-

1

-

1

2

1

2

4

4

3

4

เจ้าหนี้อื่น

2554

8,911

11

10

27

2

87

1

48

1

209

-

8

27

13

147

-

256

14

138

407

29

488

765

493

588

621

รวม (ล้านบาท)

รายงานประจํ า ปี 2555 บริ ษ ั ท ไทยเบฟเวอเรจ จํ า กั ด (มหาชน) งบการเงิ น

155


-

บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จํากัด (มหาชน)

-

บริษัท อาคเนย์แคปปิตอล จํากัด

บริษัท บิสซิเนส โพรเซสเอาท์ซอร์สซิ่ง จํากัด

บริษัท ทีซีซี โฮเทลคอลเล็คชั่น จํากัด

บริษัท ไทย มาลายา กลาส จํากัด

บริษัท ตะวันออกเคมีเกิ้ล จํากัด

อื่นๆ

รวมกิจการอื่นที่เกี่ยวข้องกัน

รวม 303

303

39

-

-

6

8

8

18

21

27

37

139

เจ้าหนี้อื่น

2555

303

303

39

-

-

6

8

8

18

21

27

37

139

รวม

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

เงินกู้ยืม ระยะสั้น

งบการเงินรวม

146

146

37

7

11

10

-

9

7

31

13

21

-

เจ้าหนี้อื่น

2554

146

146

37

7

11

10

-

9

7

31

13

21

-

รวม

9,144

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

เงินกู้ยืม ระยะสั้น

464

28

2

-

-

-

8

3

14

1

-

-

-

เจ้าหนี้อื่น

2555

9,608

28

2

-

-

-

8

3

14

1

-

-

-

รวม

8,636

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

เงินกู้ยืม ระยะสั้น

งบการเงินเฉพาะกิจการ

288

13

2

-

-

2

-

3

5

1

-

-

-

เจ้าหนี้อื่น

2554

เงินกู้ยืมระยะสั้นและเจ้าหนี้อื่นกิจการที่เกี่ยวข้องกันทั้งหมดของกลุ่มบริษัทและบริษัท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2555 และ 2554 เป็นสกุลเงินบาทและสกุลเงินที่ใช้ในการดําเนินงานของบริษัทย่อย

-

บริษัท ที.ซี.ซี. เทคโนโลยี จํากัด

(ประเทศไทย) จํากัด -

-

บริษัท อาคเนย์ประกันภัย จํากัด (มหาชน)

บริษัท พลาซ่าแอทธินี โฮเต็ล

-

เงินกู้ยืม ระยะสั้น

บริษัท ธนสินธิ จํากัด

กิจการอื่นที่เกี่ยวข้องกัน

เงินกู้ยืมระยะสั้นและเจ้าหนี้อื่นกิจการที่เกี่ยวข้องกัน

8,924

13

2

-

-

2

-

3

5

1

-

-

-

รวม (ล้านบาท)

งบการเงิ น

156


-

บริษัท เฟื่องฟูอนันต์ จํากัด

บริษัท ธนภักดี จํากัด

บริษัท มงคลสมัย จํากัด

บริษัท กาญจนสิงขร จํากัด

บริษัท สุราพิเศษทิพราช จํากัด

บริษัท สุราบางยี่ขัน จํากัด

บริษัท อธิมาตร จํากัด

บริษัท เอส.เอส.การสุรา จํากัด

บริษัท แก่นขวัญ จํากัด

บริษัท เทพอรุโณทัย จํากัด

-

-

บริษัท ป้อมคลัง จํากัด

บริษัท ป้อมโชค จํากัด

บริษัท ป้อมเจริญ จํากัด

บริษัท ป้อมบูรพา จํากัด

บริษัท ป้อมนคร จํากัด

บริษัท นํายุค จํากัด

บริษัท นําธุรกิจ จํากัด

บริษัท นําเมือง จํากัด

บริษัท นํานคร จํากัด

บริษัท นําพลัง จํากัด

บริษัท นํากิจการ จํากัด

บริษัท นํารุ่งโรจน์ จํากัด

-

บริษัท หลักชัยค้าสุรา จํากัด

บริษัท ป้อมกิจ จํากัด

-

บริษัท ไทยเบฟเวอเรจแบรนด์ จํากัด

-

ดิสทิลเลอรี่ จํากัด

บริษัท สีมาธุรกิจ จํากัด

บริษัท ยูไนเต็ด ไวน์เนอรี่ แอนด์

-

บริษัท เบียร์ทิพย์ บริวเวอรี่ (1991) จํากัด

บริษัท แสงโสม จํากัด

บริษัทย่อย

เงินกู้ยืม ระยะยาว

เงินกู้ยืมระยะยาวและเจ้าหนี้อื่นกิจการที่เกี่ยวข้องกัน

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

เจ้าหนี้อื่น

2555

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

รวม

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

เงินกู้ยืม ระยะยาว

งบการเงินรวม

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

เจ้าหนี้อื่น

2554

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

รวม

901

1,710

9

394

686

755

702

266

380

68

423

136

540

14

384

577

126

115

261

184

264

1,539

118

320

191

234

325

130

1,242

เงินกู้ยืม ระยะยาว

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

เจ้าหนี้อื่น

2555

901

1,710

9

394

686

755

702

266

380

68

423

136

540

14

384

577

126

115

261

184

264

1,539

118

320

191

234

325

130

1,242

รวม

319

1,275

-

163

375

525

110

146

372

48

352

76

309

-

130

302

73

18

70

-

98

1,018

109

157

77

79

158

-

3,090

เงินกู้ยืม ระยะยาว

งบการเงินเฉพาะกิจการ

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

เจ้าหนี้อื่น

2554

319

1,275

-

163

375

525

110

146

372

48

352

76

309

-

130

302

73

18

70

-

98

1,018

109

157

77

79

158

-

3,090

รวม (ล้านบาท)

รายงานประจํ า ปี 2555 บริ ษ ั ท ไทยเบฟเวอเรจ จํ า กั ด (มหาชน) งบการเงิ น

157


-

บริษัท ถังไม้โอ๊คไทย จํากัด

-

บริษัท เบียร์ช้าง จํากัด

บริษัท เบียร์อาชา จํากัด

รวม

-

-

-

-

-

-

-

-

-

เจ้าหนี้อื่น

2555

-

-

-

-

-

-

-

-

-

รวม

-

-

-

-

-

-

-

-

-

เงินกู้ยืม ระยะยาว

งบการเงินรวม

-

-

-

-

-

-

-

-

-

เจ้าหนี้อื่น

2554

-

-

-

-

-

-

-

-

-

รวม

13,875

75

285

177

60

38

43

31

172

เงินกู้ยืม ระยะยาว

-

-

-

-

-

-

-

-

-

เจ้าหนี้อื่น

2555

13,875

75

285

177

60

38

43

31

172

รวม

10,528

64

246

458

59

32

23

20

177

เงินกู้ยืม ระยะยาว

งบการเงินเฉพาะกิจการ

-

-

-

-

-

-

-

-

-

เจ้าหนี้อื่น

2554

เงินกู้ยืมระยะยาวและเจ้าหนี้อื่นกิจการที่เกี่ยวข้องกันทั้งหมดของกลุ่มบริษัทและบริษัท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2555 และ 2554 เป็นสกุลเงินบาทและสกุลเงินที่ใช้ในการดําเนินงานของบริษัทย่อย

-

(ประเทศไทย) จํากัด

บริษัท คอสมอส บริวเวอรี่

-

บริษัท จรัญธุรกิจ 52 จํากัด

(ประเทศไทย) จํากัด

-

-

บริษัท อาหารเสริม จํากัด

บริษัท แพนอินเตอร์เนชั่นแนล

-

บริษัท นําทิพย์ จํากัด

บริษัทย่อย (ต่อ)

เงินกู้ยืม ระยะยาว

เงินกู้ยืมระยะยาวและเจ้าหนี้อื่นกิจการที่เกี่ยวข้องกัน

10,528

64

246

458

59

32

23

20

177

รวม (ล้านบาท)

งบการเงิ น

158


รายงานประจํ า ปี 2555 บริ ษ ั ท ไทยเบฟเวอเรจ จํ า กั ด (มหาชน)

งบการเงิ น

159

สรุปเงินกู้ยืมจากกิจการที่เกี่ยวข้องกัน

งบการเงินรวม 2555

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2554

2555

2554

(ล้านบาท) เงินกู้ยืมระยะสั้น

-

-

9,144

8,636

เงินกู้ยืมระยะยาว

-

-

13,875

10,528

รวมเงินกู้ยืมจากกิจการที่เกี่ยวข้องกัน

-

-

23,019

19,164

รายการเคลื่อนไหวของเงินกู้ยืมจากกิจการที่เกี่ยวข้องกันสําหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม มีดังนี้ เงินกู้ยืมจากกิจการที่เกี่ยวข้องกัน

งบการเงินรวม 2555

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2554

2555

2554

(ล้านบาท) เงินกู้ยืมระยะสั้น บริษัทย่อย ณ วันที่ 1 มกราคม

-

-

8,636

5,938

เพิ่มขึ้น

-

-

2,801

5,371

ลดลง

-

-

(2,293)

(2,673)

ณ วันที่ 31 ธันวาคม

-

-

9,144

8,636

ณ วันที่ 1 มกราคม

-

-

10,528

10,403

เพิ่มขึ้น

-

-

5,481

2,803

ลดลง

-

-

(2,134)

(2,678)

ณ วันที่ 31 ธันวาคม

-

-

เงินกู้ยืมระยะยาว บริษัทย่อย

13,875

10,528

สัญญาสําคัญที่ทํากับบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน สัญญาให้บริการด้านงานสนับสนุน บริษัททําสัญญากับบริษัทย่อยหลายแห่งในการให้บริการด้านงานสนับสนุนซึ่งได้แก่ งานด้านทรัพยากรบุคคล ธุรการ บัญชี การเงิน ประชาสัมพันธ์ ประสานงานภายนอก เทคโนโลยี กฎหมาย เลขานุการและทะเบียนหุน ้ และตรวจสอบภายใน มีกาํ หนดระยะเวลา 1 ปี เริม ่ ตัง้ แต่วน ั ที่ 1 มกราคม 2547 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2547 และหากไม่มีการแจ้งยกเลิกสัญญาก่อนสัญญาหมดอายุภายใน 30 วัน ให้ถือว่าสัญญาฉบับนี้มีผลใช้บังคับกันต่อไปอีก คราวละหนึ่งปี โดยบริษัทย่อยมีภาระผูกพันที่จะต้องจ่ายค่าบริการในอัตราร้อยละ 0.5 ของรายได้หลักของบริษัทย่อย ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2550 มีการปรับอัตราค่าบริการด้านงานสนับสนุนดังกล่าวเป็นร้อยละ 1 ของรายได้หลัก การปรับอัตราค่าบริการเกิดจาก การพัฒนาสินค้าใหม่ การทดลองและทดสอบคุณภาพ วิเคราะห์ วิจัยและสํารวจตลาดสําหรับสินค้าใหม่และการจัดหาข้อมูลต่างๆ


งบการเงิ น

160

สัญญาบริการดูแลรักษาและพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ บริษัทได้ทําสัญญากับบริษัท ที.ซี.ซี. เทคโนโลยี จํากัด ซึ่งเป็นกิจการที่เกี่ยวข้องกันในการรับบริการการดูแลรักษาและพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ โดยจะต้องจ่ายชําระค่าเช่าระบบ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ลิขสิทธิ์ซอฟท์แวร์และค่าบริการเป็นรายเดือน ตลอดอายุสัญญาเป็นระยะเวลา 5 ปี เริ่มตั้งแต่ วันที่ 31 พฤษภาคม 2549 โดยตกลงค่าบริการและเงื่อนไขตามที่ระบุในสัญญา ต่อมามีการทําสัญญาเพิ่มเติมหลายฉบับตามการเพิ่มขึ้นของจํานวน ผู้ใช้บริการ โดยจะสิ้นสุดวันที่ 31 สิงหาคม 2557 สัญญาบริการจัดซื้อจัดจ้าง บริษัท แพนอินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จํากัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัทได้ทําสัญญาบริการจัดซื้อจัดจ้างกับบริษัทย่อยอื่นหลายแห่งเพื่อให้ ทําหน้าที่ในการจัดซื้อสินค้าและจัดหาบริการต่างๆ ที่จําเป็นให้แก่บริษัทย่อยดังกล่าว โดยตกลงเรียกเก็บค่าบริการในอัตราร้อยละ 1 ของมูลค่าสินค้า และบริการที่ซื้อมา ภายใต้สัญญาจัดซื้อจัดจ้างนี้ สัญญาซื้อขายกากน้ําตาล บริษัท ไทยโมลาส จํากัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัทได้ทําสัญญาซื้อขายกากน้ําตาลกับบริษัทที่เกี่ยวข้องกันหลายแห่งเพื่อนํามาจําหน่ายให้กับบริษัท ย่อยอื่นในกลุ่มบริษัท ซึ่งกําหนดว่าผู้ขายจะขายกากน้ําตาลให้แก่ผู้ซื้อดังกล่าวตามเงื่อนไขต่างๆ ดังนี้ จํานวน ราคา คุณภาพ การส่งมอบและรับมอบ การชําระเงิน ความรับผิดชอบ การชั่งน้ําหนักและเก็บตัวอย่างวิเคราะห์กากน้ําตาล และการตรวจวิเคราะห์คุณภาพของกากน้ําตาล เป็นต้น ซึ่งได้ ตกลงร่วมกัน โดยผู้ขายต้องจัดหากากน้ําตาลตามสัญญาดังกล่าว สัญญาซื้อขายขวดแก้ว บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ รีไซเคิล จํากัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัทได้ทําสัญญาซื้อขายขวดแก้วกับบริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จํากัด (มหาชน) ซึ่งเป็น กิจการที่เกี่ยวข้องกัน เพื่อนํามาจําหน่ายให้กับบริษัทย่อยอื่นในกลุ่มบริษัท เป็นระยะเวลา 2 ปี 8 เดือน เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2550 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2552 โดยตกลงซื้อขวดแก้วในราคาและเงื่อนไขที่ระบุในสัญญา เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2552 บริษัทย่อยดังกล่าวได้ทําสัญญาซื้อขายขวดแก้วฉบับใหม่ เป็นระยะเวลา 3 ปี เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2555 โดยตกลงซื้อขวดแก้วในราคาและเงื่อนไขที่ระบุในสัญญา สัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิเครื่องหมายการค้า - บริษัทย่อย 3 บริษัทได้ทําสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิเครื่องหมายการค้ากับบริษัท เบียร์ช้าง จํากัด บริษัท เบียร์อาชา จํากัด และ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจแบรนด์ จํากัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัท บริษัทย่อยจะได้รับสิทธิเครื่องหมายการค้า “ตราช้าง” “ตราอาชา” และ “ตราเฟดเดอร์บรอย” สําหรับการจําหน่ายน้ําดื่ม โซดา เบียร์ เบียร์สดและเบียร์ทําจากข้าวมอลท์ โดยต้องจ่ายค่าธรรมเนียมอนุญาตให้ใช้สิทธิใน อัตราร้อยละ 2 ของยอดขายสุทธิ ณ หน้าโรงงาน (ก่อนภาษีมูลค่าเพิ่ม) หักด้วยภาษีสรรพสามิต เงินกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ และเงินกองทุนสนับสนุนทีวีสาธารณะ -

บริษัท สุราบางยี่ขัน จํากัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัทได้ทําสัญญากับบริษัทย่อย 12 บริษัทในการให้ใช้สิทธิเครื่องหมายการค้าสําหรับสุราขาว และสุราผสมเชี่ยงชุนตามที่ระบุไว้ในสัญญา โดยตกลงเรียกเก็บค่าธรรมเนียมอนุญาตการใช้เครื่องหมายการค้าในอัตราขวดละ 0.50 - 1.50 บาทตามขนาดบรรจุ และได้มีการปรับค่าธรรมเนียมเป็น 0.50 - 1.20 บาทตามขนาดบรรจุเมื่อเดือนมกราคม 2553

สัญญาแต่งตั้งผู้จัดจําหน่ายสินค้า บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ มาร์เก็ตติ้ง จํากัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัทได้ทําสัญญาแต่งตั้งผู้จัดจําหน่ายสินค้ากับบริษัทย่อย 2 บริษัท เพื่อเป็น ผู้จัดจําหน่ายผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องดื่มในราคาและเงื่อนไขที่ระบุไว้ในสัญญา เป็นระยะเวลา 5 ปี เริ่มตั้งแต่วันที่ 3 ตุลาคม 2551 ถึงวันที่ 2 ตุลาคม 2556 สัญญาซื้อขายก๊าซชีวภาพ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ เอ็นเนอร์ยี่ จํากัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัท ได้ทําสัญญาซื้อขายก๊าซชีวภาพกับบริษัทที่เกี่ยวข้องกัน 3 บริษัท เป็นระยะเวลา 19 ปี มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปี 2552 ถึง 2571 เพื่อนําก๊าซชีวภาพไปใช้เป็นเชื้อเพลิงในกระบวนการผลิตสุราตามราคาและเงื่อนไขที่ระบุในสัญญา และต่อมาในปี 2553 ได้ทําสัญญาดังกล่าวกับบริษัทที่เกี่ยวข้องกันเพิ่มอีก 2 บริษัท ระยะเวลา 18 ปี มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปี 2553 ถึง 2571


รายงานประจํ า ปี 2555 บริ ษ ั ท ไทยเบฟเวอเรจ จํ า กั ด (มหาชน)

งบการเงิ น

161

สัญญากู้ยืมเงินหมุนเวียน ในเดือนมิถุนายน 2554 บริษัทได้ทําสัญญากู้ยืมเงินหมุนเวียนโดยใช้วงเงินกู้ร่วมกันกับบริษัทย่อยหลายแห่ง เพื่อให้กู้ยืมแก่บริษัทย่อย เป็นวงเงิน ให้กู้ร่วมไม่เกิน 10,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 5 ต่อปี กําหนดชําระคืนเมื่อ ทวงถาม ต่อมาในเดือนกันยายน 2554 บริษัทได้ทําสัญญา กู้ยืมเงินหมุนเวียนเพื่อให้กู้ยืมแก่บริษัทย่อยของบริษัทแห่งหนึ่ง เป็นวงเงินให้กู้จํานวน 15,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 5 ต่อปี กําหนดชําระ คืนเมื่อทวงถาม ในปี 2554 บริษัทได้ทําสัญญากู้ยืมเงินหมุนเวียนกับบริษัทย่อยหลายแห่งเพื่อกู้ยืมจากบริษัทย่อย เป็นวงเงินกู้รวมจํานวน 55,900 ล้านบาท อัตรา ดอกเบี้ยร้อยละ 5 ต่อปี กําหนดชําระคืนเมื่อทวงถาม สัญญาเงินกู้ที่มีกําหนดชําระคืน ในเดือนกรกฎาคม 2555 บริษท ั ได้ทาํ สัญญาเงินกูท ้ ม ่ี ก ี าํ หนดชําระคืนกับบริษท ั ย่อยแห่งหนึง่ เพือ่ ใช้ในการลงทุนเป็นวงเงินให้กไู้ ม่เกิน 1,000 ล้านเหรียญ สิงคโปร์ กําหนดชําระคืนเมื่อครบหนึ่งปีนับจากวันเบิกเงินกู้หรือตามระยะเวลาที่บริษัทตกลงให้ขยายออกไป ในเดือนธันวาคม 2555 International Beverage Holdings Limited ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัท ได้ทําสัญญาเงินกู้ที่มีกําหนดชําระคืนกับบริษัท ย่อยทางอ้อมแห่งหนึ่งเพื่อใช้ในการลงทุน เป็นวงเงินให้กู้ 3,662.3 ล้านเหรียญสิงคโปร์ กําหนดชําระคืนเป็นรายงวดทุกๆ 6 เดือนเป็นระยะเวลา 5 ปี ซึ่งสามารถตกลงขยายระยะเวลากันได้ ภาระผูกพันที่มีกับบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน งบการเงินรวม 2555

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2554

2555

2554

(ล้านบาท) ภาระผูกพันรายจ่ายฝ่ายทุน อาคารและสิ่งปลูกสร้างอื่น

38

-

-

-

เครื่องจักรและอุปกรณ์

125

-

-

-

รวม

163

-

-

-

ภายในหนึ่งปี

227

214

53

52

หลังจากหนึ่งปีแต่ไม่เกินห้าปี

243

317

44

56

รวม

470

531

97

108

118

1,421

-

-

67

109

67

109

สัญญาซื้อวัตถุดิบ

36

-

-

-

สัญญาจ้างควบคุมดูแลการผลิตเบียร์

23

24

-

-

สัญญาอื่นๆ

51

18

37

56

295

1,572

104

165

ภาระผูกพันตามสัญญาเช่าดําเนินงาน ที่ยกเลิกไม่ได้

ภาระผูกพันอื่นๆ สัญญาซื้อกากนํ้าตาล สัญญาบริการดูแลรักษาและพัฒนา ระบบคอมพิวเตอร์

รวม


งบการเงิ น

162

7. เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด งบการเงินรวม 2555

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2554

2555

2554

(ล้านบาท) เงินสดในมือ

124

55

-

-

เงินฝากธนาคารประเภทกระแสรายวัน

1,021

895

1

1

เงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์

2,468

2,112

27

10

เงินลงทุนระยะสั้นที่มีสภาพคล่องสูง

932

380

-

-

4,545

3,442

28

11

รวม

ยอดเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ณ วันที่ 31 ธันวาคม จัดตามประเภทสกุลเงินตราได้ดังนี้ งบการเงินรวม 2555

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2554

2555

2554

(ล้านบาท) สกุลเงินบาทและสกุลเงินที่ใช้ใน การดําเนินงานของบริษัทย่อย

4,401

3,217

28

11

สกุลเงินปอนด์สเตอร์ลิง

81

3

-

-

สกุลเงินเหรียญฮ่องกง

34

215

-

-

สกุลเงินเหรียญสหรัฐอเมริกา

28

7

-

-

อื่นๆ

1

-

-

-

รวม

4,545

3,442

28

11


รายงานประจํ า ปี 2555 บริ ษ ั ท ไทยเบฟเวอเรจ จํ า กั ด (มหาชน)

งบการเงิ น

163

8. เงินลงทุนอื่น งบการเงินรวม 2555

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2554

2555

2554

(ปรับปรุงใหม่) (ล้านบาท) เงินลงทุนชั่วคราว เงินฝากระยะสั้นกับสถาบันการเงิน

-

1

-

-

เงินลงทุนระยะสั้นอื่น

2

12

-

-

2

13

-

-

120

73

-

-

10

12

-

-

195

154

-

-

-

-

เงินลงทุนระยะยาวอื่น เงินลงทุนในตราสารประเภทเผื่อขาย เงินลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล ตราสารทุนอื่นที่ไม่อยู่ในความต้องการของตลาด หัก ค่าเผื่อการลดมูลค่าของเงินลงทุน

รวม

(5)

(5)

200

161

-

-

320

234

-

-

322

247

-

-

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 บริษัทย่อยทางอ้อมแห่งหนึ่งได้ลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลจํานวนเงิน 8.5 ล้านบาท มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 5.9 และ ร้อยละ 4.25 ต่อปี ครบกําหนดไถ่ถอนในปี 2556 และปี 2557 พันธบัตรดังกล่าวถูกนําไป ค้ําประกันการใช้ไฟฟ้าทั้งจํานวน และต่อมาในระหว่าง ปี 2553 บริษัทย่อยดังกล่าวได้ลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลเพิ่มจํานวนเงิน 3.66 ล้านบาท มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4.125 ต่อปี ครบกําหนดไถ่ถอน ในปี 2559 พันธบัตรดังกล่าวถูกนําไปค้ําประกันการใช้ก๊าซธรรมชาติทั้งจํานวน เงินลงทุนอื่นทั้งหมดของกลุ่มบริษัท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2555 และ 2554 เป็นสกุลเงินบาท


งบการเงิ น

164

9. ลูกหนี้การค้า งบการเงินรวม หมายเหตุ

2555

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2554

2555

2554

(ล้านบาท) กิจการที่เกี่ยวข้องกัน

77

241

-

-

กิจการอื่นๆ

3,576

3,459

-

-

รวม

3,653

3,700

-

-

-

-

3,619

-

-

16

-

-

2554

2555

หัก ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ สุทธิ

6

(70) 3,583

(81)

หนี้สูญและ (กลับรายการ) หนี้สงสัยจะสูญสําหรับปี

(8)

การวิเคราะห์อายุของลูกหนี้การค้ามีดังนี้ งบการเงินรวม 2555

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2554

(ล้านบาท) กิจการที่เกี่ยวข้องกัน ยังไม่ครบกําหนดชําระ

69

102

-

-

เกินกําหนดชําระ : น้อยกว่า 3 เดือน

4

135

-

-

6 - 12 เดือน

1

4

-

-

มากกว่า 12 เดือน

3

-

-

-

77

241

-

-

3,157

3,101

-

-

364

299

-

-

3 - 6 เดือน

24

40

-

-

6 - 12 เดือน

14

5

-

-

มากกว่า 12 เดือน

17

14

-

-

3,576

3,459

-

-

กิจการอื่นๆ ยังไม่ครบกําหนดชําระ เกินกําหนดชําระ : น้อยกว่า 3 เดือน

หัก ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ

สุทธิ

-

-

3,506

(70)

3,378

-

-

3,583

3,619

-

-

โดยปกติระยะเวลาการให้สินเชื่อแก่ลูกค้าของกลุ่มบริษัทมีระยะเวลาตั้งแต่ 7 วันถึง 165 วัน

(81)


รายงานประจํ า ปี 2555 บริ ษ ั ท ไทยเบฟเวอเรจ จํ า กั ด (มหาชน)

งบการเงิ น

165

ยอดลูกหนี้การค้า ณ วันที่ 31 ธันวาคม จัดตามประเภทสกุลเงินตราได้ดังนี้ งบการเงินรวม 2555

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2554

2555

2554

(ล้านบาท) สกุลเงินบาทและสกุลเงินที่ใช้ใน การดําเนินงานของบริษัทย่อย

3,526

3,604

-

-

สกุลเงินยูโร

33

3

-

-

สกุลเงินเหรียญสหรัฐอเมริกา

13

12

-

-

สกุลเงินเหรียญแคนนาดา

11

-

-

-

3,583

3,619

-

-

2554

2555

รวม

10. สินค้าคงเหลือ งบการเงินรวม 2555

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2554

(ปรับปรุงใหม่) (ล้านบาท) สินค้าสําเร็จรูป

13,586

11,860

-

-

สุราเก็บบ่ม

10,145

9,316

-

-

สินค้าระหว่างผลิต

4,366

4,060

-

-

วัตถุดิบ

1,727

2,971

-

-

พัสดุบรรจุ

2,561

1,799

-

-

อะไหล่

523

526

-

-

อื่นๆ

616

767

-

-

33,524

31,299

-

-

-

-

หัก ค่าเผื่อมูลค่าสินค้าลดลง สุทธิ

(552)

(747)

32,972

30,552

-

-

115,817

96,997

-

-

- การปรับลดมูลค่าเป็นมูลค่าสุทธิที่คาดว่าจะได้รับ

732

731

-

-

- กลับรายการการปรับลดมูลค่า

(927)

(275)

-

-

-

-

ต้นทุนของสินค้าคงเหลือที่บันทึกเป็นค่าใช้จ่าย และได้รวมในบัญชีต้นทุนขาย - ต้นทุนขาย

สุทธิ

115,622

97,453


งบการเงิ น

166

11. สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น งบการเงินรวม 2555

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2554

2555

2554

(ล้านบาท) ภาษีสรรพสามิตจ่ายล่วงหน้า

1,526

2,948

-

-

เงินมัดจํา

810

135

12

-

ภาษีมูลค่าเพิ่มรอเรียกคืน

484

478

26

17

ภาษีสรรพสามิตรอเรียกคืน

694

522

-

-

อื่นๆ

360

215

-

1

รวม

3,874

4,298

38

18

ยอดสินทรัพย์หมุนเวียนอื่นทั้งหมดของกลุ่มบริษัทและบริษัท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2555 และ 2554 เป็นสกุลเงินบาทและสกุลเงินที่ใช้ในการดําเนิน งานของบริษัทย่อย

12. เงินลงทุนในบริษัทร่วม งบการเงินรวม 2555

2554

(ล้านบาท) ณ วันที่ 1 มกราคม ส่วนแบ่งกําไร (ขาดทุน) สุทธิจากเงินลงทุนตามวิธีส่วนได้เสียในบริษัทร่วม ส่วนแบ่งกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นจากบริษัทร่วม ซื้อเงินลงทุน ผลต่างจากการแปลงค่าในการจัดทํางบการเงินรวม ณ วันที่ 31 ธันวาคม

149 13,611

123 (196)

1,264

-

90,112

217

(816) 104,320

5 149

หลังจากกลุ่มบริษัทได้เข้าซื้อเงินลงทุนสําหรับกิจการในต่างประเทศ กิจการในต่างประเทศดังกล่าวได้ขายส่วนงานธุรกิจที่สําคัญไปให้กับบุคคลอื่น กิจการที่กลุ่มบริษัทลงทุนดังกล่าวได้รับรู้กําไรจากการขายส่วนงานธุรกิจนี้จํานวน 119,214 ล้านบาท และตามปกติแล้วกลุ่มบริษัทจะรับรู้ส่วนแบ่ง กําไรจากกิจการที่กลุ่มบริษัทลงทุนนี้ตามวิธีส่วนได้เสีย เป็นจํานวนทั้งสิ้น 35,191 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการประเมินมูลค่ายุติธรรมตามที่ กล่าวไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 5 ยังไม่เสร็จสิ้น ผู้บริหารพิจารณาว่ากลุ่มบริษัทควรรับรู้ส่วนแบ่งกําไรตามสัดส่วนเพียงส่วนที่ไม่เกินมูลค่า ยุติธรรมของกิจการที่กลุ่มบริษัทลงทุน ซึ่งส่วนแบ่งกําไรที่รับรู้เป็นจํานวน 13,437 ล้านบาท โดยมูลค่ายุติธรรมดังกล่าวกําหนดจากการประเมิน มูลค่าที่มีโดยผู้ประเมินอิสระอีกรายหนึ่ง ตามรายงานลงวันที่ 20 ธันวาคม 2555


จํากัด

25.86

49.88

84.00

49.49

-

1,574

75

2

-

69

1,428

154

75

2

8

69

-

ทุนชําระแล้ว 2555 2554

89,343

30

1

-

18

89,294

56

30

1

7

18

-

ราคาทุน 2555 2554

-

-

-

-

-

-

(7)

-

-

(7)

-

-

การด้อยค่า 2555 2554

89,343

30

1

-

18

89,294

49

30

1

-

18

-

ราคาทุน-สุทธิ จากการด้อยค่า 2555 2554

104,320

195

-

-

130

103,995

149

21

-

-

128

-

มูลค่าตาม วิธีส่วนได้เสีย 2555 2554

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

เงินปันผลรับ 2555 2554 (ล้านบาท)

กลุ่มบริษัทไม่มีเงินลงทุนในบริษัทร่วมซึ่งจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ดังนั้นจึงไม่มีราคาที่เปิดเผยต่อสาธารณชน ยกเว้น Fraser and Neave, Limited ซึ่งเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ประเทศ สิงคโปร์ ณ วันที่รายงาน มีราคาปิดอยู่ที่ 9.70 เหรียญสิงคโปร์ต่อหุ้น มูลค่ายุติธรรมของเงินลงทุนใน Fraser and Neave, Limited เท่ากับ 100,161 ล้านบาท

รวม

25.86

49.88

Inver House Distribution SA

บริษัท เพ็ทฟอร์ม (ไทยแลนด์)

-

49.49

28.63

Inver House Polska Limited

Liquorland Limited

บริษัทย่อยทางอ้อม

ถือหุ้นโดยบริษัทย่อยของ

Fraser and Neave, Limited

ถือหุ้นโดยบริษัทย่อยทางอ้อม

บริษัทร่วม

สัดส่วนความเป็นเจ้าของ 2555 2554 (ร้อยละ)

งบการเงินรวม

เงินลงทุนในบริษัทร่วม ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2555 และ 2554 และเงินปันผลรับจากเงินลงทุนสําหรับแต่ละปี มีดังนี้

รายงานประจํ า ปี 2555 บริ ษ ั ท ไทยเบฟเวอเรจ จํ า กั ด (มหาชน) งบการเงิ น

167


งบการเงิ น

168

13. เงินลงทุนในบริษัทย่อย งบการเงินเฉพาะกิจการ 2555

2554

(ล้านบาท) ณ วันที่ 1 มกราคม ซื้อเงินลงทุน เพิ่มทุนในบริษัทย่อย จําหน่าย ณ วันที่ 31 ธันวาคม

80,190

80,047

386

-

-

143

(224) 80,352

80,190

ในการประชุมคณะกรรมการบริหารของบริษัทเมื่อวันที่ 25 เมษายน 2554 คณะกรรมการบริหารมีมติอนุมัติในหลักการให้ International Beverage Holdings Limited ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัทเพิ่มทุนจํานวน 36.5 ล้านเหรียญฮ่องกง InterBev (Singapore) Limited ซึ่งเป็นบริษัทย่อยทาง อ้อมของบริษัทเพิ่มทุนจํานวน 6 ล้านเหรียญสิงคโปร์ และ Super Brands Company Pte. Ltd. ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัทย่อยทางอ้อมของ บริษัทเพิ่มทุนจํานวน 8.2 ล้านเหรียญสิงคโปร์ การดําเนินการเพิ่มทุนใน International Beverage Holdings Limited ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ บริษัท InterBev (Singapore) Limited ซึ่งเป็นบริษัทย่อยทางอ้อม และ Super Brands Com pany Pte. Ltd. ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัทย่อย ทางอ้อมของบริษัท เสร็จเรียบร้อยเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2554 20 มิถุนายน 2554 และ 27 มิถุนายน 2554 ตามลําดับ เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2555 บริษัทได้ซื้อหุ้นสามัญของ บริษัท ประมวลผล จํากัด (“ประมวลผล”) จากบริษัท สุราพิเศษภัทรลานนา จํากัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัท จํานวน 3,499,998 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 99.99 ของทุนจดทะเบียนของประมวลผล ในราคาหุ้นละ 107.5 บาท รวมเป็นจํานวนเงิน 376.25 ล้านบาท


รายงานประจํ า ปี 2555 บริ ษ ั ท ไทยเบฟเวอเรจ จํ า กั ด (มหาชน)

งบการเงิ น

169

เงินลงทุนในบริษัทย่อย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2555 และ 2554 และเงินปันผลรับจากเงินลงทุนสําหรับแต่ละปี มีดังนี้

สัดส่วนความเป็นเจ้าของ 2555

2554

งบการเงินเฉพาะกิจการ ทุนชําระแล้ว ราคาทุน 2555

2554

2555

เงินปันผลรับ 2554

2555

(ร้อยละ)

2554

(ล้านบาท)

บริษัทย่อย บริษัท เบียร์ไทย (1991) จํากัด (มหาชน)

100.00

100.00

5,550

5,550

12,500

12,500

344

78

จํากัด

100.00

100.00

6,600

6,600

12,500

12,500

1,703

462

บริษัท เบียร์ทิพย์ บริวเวอรี่ (1991) บริษัท แสงโสม จํากัด

100.00

100.00

7,500

7,500

7,500

7,500

135

90

บริษัท เฟื่องฟูอนันต์ จํากัด

100.00

100.00

900

900

900

900

66

29

บริษัท มงคลสมัย จํากัด

100.00

100.00

700

700

691

691

22

6

บริษัท ธนภักดี จํากัด

100.00

100.00

700

700

697

697

26

11

บริษัท กาญจนสิงขร จํากัด

100.00

100.00

700

700

700

700

36

8

บริษัท สุราบางยี่ขัน จํากัด

100.00

100.00

4,000

4,000

4,000

4,000

1,388

1,092

บริษัท อธิมาตร จํากัด

100.00

100.00

900

900

900

900

68

52

บริษัท เอส.เอส. การสุรา จํากัด

100.00

100.00

800

800

800

800

51

41

บริษัท แก่นขวัญ จํากัด

100.00

100.00

800

800

800

800

75

74

บริษัท เทพอรุโณทัย จํากัด

100.00

100.00

700

700

700

700

57

52

บริษัท สุรากระทิงแดง (1988) จํากัด

100.00

100.00

5,000

5,000

5,000

5,000

310

305

100.00

100.00

1,800

1,800

1,800

1,800

94

76

บริษัท สีมาธุรกิจ จํากัด

100.00

100.00

900

900

888

888

166

114

บริษัท ยูไนเต็ด ไวน์เนอรี่ แอนด์ ดิสทิลเลอรี่ จํากัด บริษัท นทีชัย จํากัด

100.00

100.00

800

800

800

800

-

-

บริษัท หลักชัยค้าสุรา จํากัด

100.00

100.00

800

800

766

766

41

27

บริษัท สุราพิเศษทิพราช จํากัด

100.00

100.00

1,000

1,000

1,010

1,010

-

-

บริษัท โมเดิร์นเทรด แมนเนจเม้นท์ (เดิมชื่อ บริษัท ป้อมทิพย์ จํากัด)

100.00

100.00

10

10

10

10

246

-

บริษัท ป้อมกิจ จํากัด

100.00

100.00

10

10

10

10

175

74

บริษัท ป้อมคลัง จํากัด

100.00

100.00

10

10

10

10

110

-

บริษัท ป้อมโชค จํากัด

100.00

100.00

10

10

10

10

104

25

บริษัท ป้อมเจริญ จํากัด

100.00

100.00

10

10

10

10

82

39

บริษัท ป้อมบูรพา จํากัด

100.00

100.00

10

10

10

10

176

83

บริษัท ป้อมพลัง จํากัด

100.00

100.00

10

10

10

10

57

-

บริษัท ป้อมนคร จํากัด

100.00

100.00

10

10

10

10

106

25

บริษัท ป้อมทิพย์ (2012) จํากัด

100.00

-

10

-

10

-

-

-

บริษัท นํายุค จํากัด

100.00

100.00

10

10

10

10

522

454

บริษัท นํากิจการ จํากัด

100.00

100.00

10

10

10

10

583

586

บริษัท นําพลัง จํากัด

100.00

100.00

10

10

10

10

118

102

บริษัท นําเมือง จํากัด

100.00

100.00

10

10

10

10

368

339

บริษัท นํานคร จํากัด

100.00

100.00

10

10

10

10

263

215

บริษัท นําธุรกิจ จํากัด

100.00

100.00

10

10

10

10

357

319


งบการเงิ น

170

สัดส่วนความเป็นเจ้าของ 2555

2554

งบการเงินเฉพาะกิจการ ทุนชําระแล้ว ราคาทุน 2555

2554

2555

เงินปันผลรับ 2554

2555

(ร้อยละ)

2554

(ล้านบาท)

บริษัทย่อย (ต่อ) บริษัท นํารุ่งโรจน์ จํากัด

100.00

100.00

10

10

10

10

442

460

บริษัท นําทิพย์ จํากัด

100.00

100.00

10

10

10

10

249

214

บริษัท ทิพย์ชโลธร จํากัด

100.00

100.00

1

1

3

3

261

192

บริษัท กฤตยบุญ จํากัด

100.00

100.00

5

5

27

27

844

382

บริษัท สุราทิพย์ จํากัด

100.00

100.00

1

1

7

7

294

204

บริษัท สุนทรภิรมย์ จํากัด

100.00

100.00

5

5

25

25

271

295

บริษัท ภิรมย์สุรางค์ จํากัด

100.00

100.00

5

5

24

24

207

147

บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ เอ็นเนอร์ยี่ จํากัด

100.00

100.00

860

860

864

864

-

-

-

100.00

-

200

-

200

-

-

บริษัท ไทยโมลาส จํากัด

99.72

99.72

40

40

35

35

237

103

บริษัท อาหารเสริม จํากัด

100.00

100.00

1

1

32

32

26

37

100.00

100.00

1

1

34

34

27

26

บริษัท จรัญธุรกิจ 52 จํากัด

100.00

100.00

122

122

84

84

-

-

บริษัท ถังไม้โอ๊คไทย จํากัด

100.00

100.00

300

300

296

296

-

-

บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ รีไซเคิล จํากัด

100.00

100.00

123

123

134

134

-

136

บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ โลจิสติก จํากัด

100.00

100.00

1,012

1,012

1,012

1,012

-

-

บริษท ั ไทยเบฟเวอเรจ มาร์เก็ตติง้ จํากัด

100.00

100.00

300

300

300

300

299

327

-

100.00

-

20

-

24

-

31

บริษัท เครื่องดื่มแรงเยอร์ (2008) จํากัด

บริษัท แพนอินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จํากัด

บริษัท ธนสินธิ จํากัด บริษัท ประมวลผล จํากัด

100.00

-

350

-

376

-

-

-

บริษัท ทศภาค จํากัด

100.00

100.00

25

25

61

61

14

15

บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ เทรนนิ่ง จํากัด

100.00

100.00

3

3

2

2

7

16

100.00

100.00

8,006

8,006

8,006

8,006

-

-

International Beverage Holdings Limited บริษัท คอสมอส บริวเวอรี่ (ประเทศไทย) จํากัด

100.00

100.00

1,667

1,667

4,139

4,139

428

70

บริษัท ไทยเบฟเวอเรจแบรนด์ จํากัด

100.00

100.00

5

5

39

39

-

-

บริษัท เบียร์ช้าง จํากัด

100.00

100.00

1

1

4,318

4,318

83

118

บริษัท เบียร์อาชา จํากัด

100.00

100.00

1

1

130

130

24

31

บริษัท สุราพิเศษภัทรลานนา จํากัด

100.00

100.00

1,000

1,000

1,015

1,015

-

-

บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จํากัด (มหาชน)

89.26

89.26

375

375

6,207

6,207

385

536

100.00

100.00

บริษัท ไทยดริ้งค์ จํากัด รวม

60

60

60

60

-

-

54,589

54,449

80,352

80,190

11,947

8,118

บริษท ั ไม่มเี งินลงทุนในบริษท ั ย่อยซึง่ จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ดังนัน ้ จึงไม่มรี าคาทีเ่ ปิดเผยต่อสาธารณชน ยกเว้นบริษท ั โออิชิ กรุป ๊ จํากัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ณ วันที่รายงาน บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จํากัด (มหาชน) มีราคาปิดอยู่ที่ 157.00 บาทต่อหุ้น มูลค่ายุติธรรมของเงินลงทุนในบริษัท โออิชิ กรุ๊ป จํากัด (มหาชน) เท่ากับ 26,276 ล้านบาท


รายงานประจํ า ปี 2555 บริ ษ ั ท ไทยเบฟเวอเรจ จํ า กั ด (มหาชน)

งบการเงิ น

171

14. อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน งบการเงินรวม 2555

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2554

2555

2554

(ล้านบาท) ราคาทุน ณ วันที่ 1 มกราคม

808

912

-

-

-

30

-

-

ซื้อ

161

-

-

-

โอนจากที่ดิน อาคารและอุปกรณ์

101

-

-

-

(134)

-

-

1,070

808

-

-

130

126

-

-

โอนจากที่ดิน อาคารและอุปกรณ์

44

-

-

-

ค่าเสื่อมราคาสําหรับปี

37

4

-

-

211

130

-

-

-

786

-

-

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554 และ ณ วันที่ 1 มกราคม 2555

678

678

-

-

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2555

859

-

-

-

สินทรัพย์ซึ่งได้มาจากการรวมธุรกิจ

จําหน่าย ณ วันที่ 31 ธันวาคม

-

ค่าเสื่อมราคาและขาดทุนจากการด้อยค่า ณ วันที่ 1 มกราคม

ณ วันที่ 31 ธันวาคม มูลค่าสุทธิทางบัญชี ณ วันที่ 1 มกราคม 2554

อสังหาริมทรัพย์เพือ่ การลงทุนของกลุม ่ บริษท ั ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2555 และ 2554 ประเมินราคาโดยบริษท ั ไทยประเมินราคา ลินน์ ฟิลลิปส์ จํากัด ซึ่งเป็นผู้ประเมินราคาอิสระ และกรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง ราคาประเมิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2555 เป็นเงินจํานวน 906.83 ล้านบาท (31 ธันวาคม 2554: 906.83 ล้านบาท) อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนประกอบด้วยทรัพย์สินที่มีคุณสมบัติเชิงพาณิชย์เพื่อให้เช่าแก่บุคคลที่สามและที่ดินที่ไม่ได้ใช้งาน ทั้งนี้ได้มีการโอน ทรัพย์สินจากที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ (ดูหมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 15) ไปเป็นอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน เนื่องจากกลุ่มบริษัทไม่ใช้ ประโยชน์จากทรัพย์สินนั้นอีกต่อไป กลุ่มบริษัทได้ตัดสินใจที่จะนําทรัพย์สินนั้นให้เช่าแก่บุคคลที่สาม


ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2555

เงินตราต่างประเทศ

ผลต่างจากการเปลีย ่ นแปลงอัตราแลกเปลีย ่ น

16,242

-

-

(36)

โอนไปอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน

จําหน่าย

944

-

134

15,200

15,200

ส่วนเกินทุนจากการตีราคาที่ดิน

ได้มาจากการรวมธุรกิจ

เพิ่มขึ้น

ณ วันที่ 1 มกราคม 2555

ราคาทุน/ ราคาประเมินใหม่

1 มกราคม 2555

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554 และ

เงินตราต่างประเทศ -

-

จําหน่าย

ผลต่างจากการเปลีย ่ นแปลงอัตราแลกเปลีย ่ น

-

46

4,184

11

10,959

ที่ดิน

โอน

ส่วนเกินทุนจากการตีราคาที่ดิน

ได้มาจากการรวมธุรกิจ

เพิ่มขึ้น

ณ วันที่ 1 มกราคม 2554

ราคาทุน/ ราคาประเมินใหม่

15. ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์

1,557

-

-

7

-

-

1

1,549

1,549

-

-

38

-

15

4

1,492

ส่วน ปรับปรุง ที่ดิน

21,800

8

(99)

158

-

-

521

21,212

21,212

87

(87)

836

-

978

164

19,234

อาคาร ส่วนปรับปรุง อาคารและ ส่วนปรับปรุง อาคารเช่า

50,501

22

(929)

1,578

-

-

737

49,093

49,093

85

(922)

2,231

-

3,023

399

44,277

เครื่องจักร และอุปกรณ์

2,754

3

-

-

-

-

29

2,722

2,722

12

(18)

-

-

-

19

2,709

ถังไม้โอ๊ค

งบการเงินรวม

1,349

-

(76)

46

-

-

165

1,214

1,214

2

(60)

18

-

46

149

1,059

เครื่องตกแต่ง ติดตั้งและ เครื่องใช้ สํานักงาน

4,534

-

(162)

7

-

-

422

4,267

4,267

7

(41)

11

-

932

208

3,150

ยานพาหนะ

1,733

(12)

(4)

(1,861)

-

-

2,856

754

754

1

(1)

(3,134)

-

322

2,135

1,431

สินทรัพย์ ระหว่าง ก่อสร้าง และติดตั้ง

100,470

21

(1,270)

(101)

944

-

4,865

96,011

96,011

194

(1,129)

-

46

9,500

3,089

84,311

รวม (ล้านบาท)

งบการเงิ น

172


ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2555 ภายใต้กรรมสิทธิ์ของกลุ่มบริษัท ภายใต้สัญญาเช่าการเงิน

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554 และ 1 มกราคม 2555 ภายใต้กรรมสิทธิ์ของกลุ่มบริษัท ภายใต้สัญญาเช่าการเงิน

ค่าเสื่อมราคาและขาดทุนจากการด้อยค่า ณ วันที่ 1 มกราคม 2554 ค่าเสื่อมราคาสําหรับปี ขาดทุนจากการด้อยค่า จําหน่าย ผลต่างจากการเปลีย ่ นแปลงอัตราแลกเปลีย ่ น เงินตราต่างประเทศ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554 และ 1 มกราคม 2555 ค่าเสื่อมราคาสําหรับปี ขาดทุนจากการด้อยค่า โอนไปอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน จําหน่าย ผลต่างจากการเปลี่ยนแปลงอัตรา แลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2555 มูลค่าสุทธิทางบัญชี ณ วันที่ 1 มกราคม 2554 ภายใต้กรรมสิทธิ์ของกลุ่มบริษัท ภายใต้สัญญาเช่าการเงิน

611 611

16,242

655

15,200

-

-

-

16,242

655

15,200

669

-

-

10,959

(20)

-

-

-

-

669

72

-

-

894

-

10,959

1

-

-

-

-

946

-

-

-

70

-

-

823

-

ที่ดิน

ส่วน ปรับปรุง ที่ดิน

11,227

-

11,227

11,474

15

11,459

10,436

-

10,436

10,573

6

(68)

(53)

(37)

987

9,738

56

(58)

64

878

8,798

อาคาร ส่วนปรับปรุง อาคารและ ส่วนปรับปรุง อาคารเช่า

12,503

-

12,503

12,513

-

12,513

9,759

-

9,759

37,998

8

(501)

-

(192)

2,103

36,580

64

(488)

524

1,962

34,518

เครื่องจักร และอุปกรณ์

968

-

968

760

-

760

874

-

874

1,786

2

(339)

29

-

132

1,962

7

(11)

-

131

1,835

ถังไม้โอ๊ค

งบการเงินรวม

433

-

433

395

-

395

323

-

323

916

-

(69)

-

3

163

819

2

(54)

-

135

736

เครื่องตกแต่ง ติดตั้งและ เครื่องใช้ สํานักงาน

1,640

-

1,640

1,616

-

1,616

663

3

660

2,894

-

(153)

-

-

396

2,651

6

(38)

-

196

2,487

ยานพาหนะ

1,696

-

1,696

754

-

754

1,431

-

1,431

37

-

-

-

37

-

-

-

-

-

-

-

สินทรัพย์ ระหว่าง ก่อสร้าง และติดตั้ง

45,320

-

45,320

43,367

15

43,352

35,114

3

35,111

55,150

16

(1,130)

(44)

(189)

3,853

52,644

136

(649)

588

3,372

49,197

รวม (ล้านบาท)

รายงานประจํ า ปี 2555 บริ ษ ั ท ไทยเบฟเวอเรจ จํ า กั ด (มหาชน) งบการเงิ น

173


งบการเงิ น

174

ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ระหว่างก่อสร้าง ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2555 บริษัทย่อยทางอ้อมแห่งหนึ่งมีสินทรัพย์ระหว่างก่อสร้างและติดตั้ง เป็นงานก่อสร้างภายใต้โครงการเครื่องจักรบรรจุขวด PET แบบ Cold Aseptic Filling และโครงการก่อสร้างอื่นๆ จํานวนรวมทั้งสิ้นประมาณ 680.24 ล้านบาท (2554: 898.69 ล้านบาท) การได้มาซึ่งโครงการดังกล่าวข้างต้นไม่มีต้นทุนการกู้ยืมที่เกี่ยวข้องโดยตรงจึงไม่ได้บันทึกเป็นส่วนหนึ่งของต้นทุนสินทรัพย์ (2554: ต้นทุนการกู้ยืม 15.37 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยที่รับรู้ร้อยละ 2.05 ถึงร้อยละ 3.70 ต่อปี) (ดูหมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 33) เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2554 บริษัทย่อยทางอ้อมแห่งหนึ่งได้ประเมินราคาที่ดินใหม่โดยผู้ประเมินราคาอิสระ โดยใช้เกณฑ์ตามราคาตลาด บริษัทย่อย ทางอ้อมดังกล่าวได้ปรับปรุงมูลค่าที่ดินเพิ่มขึ้นจํานวน 46.07 ล้านบาท และปรับปรุงไปยังกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นภายใต้ส่วนเกินทุนจากการตีราคา ที่ดินเพิ่มขึ้นด้วยจํานวนเดียวกัน มีหนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีที่เกี่ยวข้องเป็นจํานวนเงิน 9.21 ล้านบาท ในระหว่างปี 2555 บริษัทย่อยหลายแห่งได้ประเมินราคาที่ดินใหม่โดยผู้ประเมินราคาอิสระ โดยใช้เกณฑ์ตามราคาตลาด บริษัทย่อยดังกล่าวได้ ปรับปรุง มูลค่าที่ดินเพิ่มขึ้นจํานวน 944 ล้านบาท และปรับปรุงไปยังกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นภายใต้ส่วนเกินทุนจากการตีราคาที่ดินเพิ่มขึ้นด้วย จํานวนเดียวกัน มีหนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีที่เกี่ยวข้องเป็นจํานวนเงิน 174.29 ล้านบาท ราคาทรัพย์สินของกลุ่มบริษัทก่อนหักค่าเสื่อมราคาสะสมของอาคารและอุปกรณ์ ซึ่งได้คิดค่าเสื่อมราคาเต็มจํานวนแล้วแต่ยังคงใช้งานจนถึง ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2555 มีจํานวน 35,508 ล้านบาท (2554: 30,916 ล้านบาท)

งบการเงินเฉพาะกิจการ

ส่วนปรับปรุง อาคารเช่า

เครื่องตกแต่ง ติดตั้งและ เครื่องใช้ สํานักงาน

ยานพาหนะ

สินทรัพย์ ระหว่าง ก่อสร้าง และติดตั้ง

10

138

18

3

169

เพิ่มขึ้น

2

18

1

1

22

โอน

1

-

-

(1)

-

จําหน่าย

-

(1)

(4)

-

(5)

รวม (ล้านบาท)

ราคาทุน ณ วันที่ 1 มกราคม 2554

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554 และ 1 มกราคม 2555

13

155

15

3

186

เพิ่มขึ้น

-

9

3

5

17

โอน

-

-

-

-

-

-

(3)

จําหน่าย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2555

-

(2)

(5)

13

162

18

5

198

ณ วันที่ 1 มกราคม 2554

2

105

15

-

122

ค่าเสื่อมราคาสําหรับปี

2

13

1

-

16

จําหน่าย

-

(4)

-

ค่าเสื่อมราคาและขาดทุนจากการด้อยค่า

(1)

(5)

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554 และ 1 มกราคม 2555

4

117

12

-

133

ค่าเสื่อมราคาสําหรับปี

3

13

1

-

17

จําหน่าย

-

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2555

7

(1) 129

-

-

13

-

(1) 149


รายงานประจํ า ปี 2555 บริ ษ ั ท ไทยเบฟเวอเรจ จํ า กั ด (มหาชน)

งบการเงิ น

175

งบการเงินเฉพาะกิจการ

ส่วนปรับปรุง อาคารเช่า

เครื่องตกแต่ง ติดตั้งและ เครื่องใช้ สํานักงาน

ยานพาหนะ

สินทรัพย์ ระหว่าง ก่อสร้าง และติดตั้ง

ภายใต้กรรมสิทธิ์ของบริษัท

8

33

3

3

47

ภายใต้สัญญาเช่าการเงิน

-

-

-

-

-

8

33

3

3

47

ภายใต้กรรมสิทธิ์ของบริษัท

9

38

3

3

53

ภายใต้สัญญาเช่าการเงิน

-

-

-

-

-

9

38

3

3

53

ภายใต้กรรมสิทธิ์ของบริษัท

6

33

5

5

49

ภายใต้สัญญาเช่าการเงิน

-

-

-

-

-

6

33

5

5

49

รวม (ล้านบาท)

มูลค่าสุทธิทางบัญชี ณ วันที่ 1 มกราคม 2554

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554 และ 1 มกราคม 2555

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2555

ราคาทรัพย์สน ิ ของบริษท ั ก่อนหักค่าเสือ่ มราคาสะสมของส่วนปรับปรุงทรัพย์สน ิ ทีเ่ ช่าและอุปกรณ์ ซึง่ ได้คด ิ ค่าเสือ่ มราคาเต็มจํานวนแล้วแต่ยงั คงใช้งาน จนถึง ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2555 มีจํานวน 105 ล้านบาท (2554: 102 ล้านบาท)

16. ค่าความนิยม งบการเงินรวม หมายเหตุ

2555

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2554

2555

2554

(ล้านบาท) ราคาทุน ณ วันที่ 1 มกราคม

7,193

3,203

-

-

-

3,975

-

-

6

15

-

-

7,199

7,193

-

-

159

154

-

-

2

5

-

-

161

159

-

-

ณ วันที่ 1 มกราคม

7,034

3,049

-

-

ณ วันที่ 31 ธันวาคม

7,038

7,034

-

-

ได้มาจากการรวมธุรกิจ

5

ผลต่างจากการเปลี่ยนแปลงอัตรา แลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ณ วันที่ 31 ธันวาคม ขาดทุนจากการด้อยค่า ณ วันที่ 1 มกราคม ผลต่างจากการเปลี่ยนแปลงอัตรา แลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ณ วันที่ 31 ธันวาคม มูลค่าสุทธิทางบัญชี


งบการเงิ น

176

17. สินทรัพย์ไม่มีตัวตนอื่น โปรแกรม คอมพิวเตอร์

งบการเงินรวม เครื่องหมาย สิทธิการ การค้า ดําเนินกิจการ

รวม (ล้านบาท)

ราคาทุน ณ วันที่ 1 มกราคม 2554

136

380

18

534

ได้มาจากการรวมธุรกิจ

15

-

21

36

เพิ่มขึ้น

29

3

-

32

(7)

-

(11)

(18)

1

3

-

4

174

386

28

588

32

8

-

40

(2)

-

-

(2)

-

4

-

4

204

398

28

630

ณ วันที่ 1 มกราคม 2554

59

320

3

382

ค่าตัดจําหน่ายสําหรับปี

20

12

4

36

-

-

(2)

(2)

-

1

-

1

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554 และ 1 มกราคม 2555

79

333

5

417

ค่าตัดจําหน่ายสําหรับปี

28

8

21

57

(1)

-

-

(1)

-

(2)

-

(2)

จําหน่าย ผลต่างจากการเปลี่ยนแปลง อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554 และ 1 มกราคม 2555 เพิ่มขึ้น จําหน่าย ผลต่างจากการเปลี่ยนแปลง อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2555 ค่าตัดจําหน่ายและขาดทุนจากการด้อยค่า

จําหน่าย ผลต่างจากการเปลี่ยนแปลง อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ

จําหน่าย ผลต่างจากการเปลี่ยนแปลง อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2555

106

339

26

471

ณ วันที่ 1 มกราคม 2554

77

60

15

152

ณ 31 ธันวาคม 2554 และ 1 มกราคม 2555

95

53

23

171

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2555

98

59

2

159

มูลค่าสุทธิทางบัญชี

ค่าตัดจําหน่ายของสิทธิบต ั รและเครือ่ งหมายการค้าถูกปันส่วนไปยังต้นทุนของสินค้าคงเหลือ และรับรูใ้ นต้นทุนขายเมือ่ สินค้าถูกจําหน่าย ค่าตัดจําหน่าย ของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนอื่นบันทึกในต้นทุนขาย ขาดทุนจากการด้อยค่ารับรู้เป็นต้นทุนขายในงบกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ


รายงานประจํ า ปี 2555 บริ ษ ั ท ไทยเบฟเวอเรจ จํ า กั ด (มหาชน)

งบการเงิ น

177

งบการเงินเฉพาะกิจการ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ (ล้านบาท) ราคาทุน ณ วันที่ 1 มกราคม 2554

57

เพิ่มขึ้น

2

จําหน่าย

(4)

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554 และ 1 มกราคม 2555

55

เพิ่มขึ้น

8

จําหน่าย

-

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2555

63

ค่าตัดจําหน่ายและขาดทุนจากการด้อยค่า ณ วันที่ 1 มกราคม 2554 ค่าตัดจําหน่ายสําหรับปี ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554 และ 1 มกราคม 2555 ค่าตัดจําหน่ายสําหรับปี ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2555

33 8 41 6 47

มูลค่าสุทธิทางบัญชี ณ วันที่ 1 มกราคม 2554

24

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554 และ 1 มกราคม 2555

14

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2555

16


งบการเงิ น

178

18. สิทธิการเช่า งบการเงินรวม (ล้านบาท) ราคาทุน ณ วันที่ 1 มกราคม 2554

262

ผลต่างจากการเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ

14

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554 และ วันที่ 1 มกราคม 2555

276

ผลต่างจากการเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ

(2)

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2555

274

ค่าตัดจําหน่ายและขาดทุนจากการด้อยค่า ณ วันที่ 1 มกราคม 2554

68

ค่าตัดจําหน่ายสําหรับปี

12

ผลต่างจากการเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ

4

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554 และ วันที่ 1 มกราคม 2555

84

ค่าตัดจําหน่ายสําหรับปี

14

ผลต่างจากการเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ

2

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2555

100

มูลค่าสุทธิทางบัญชี ณ วันที่ 1 มกราคม 2554

194

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554 และ วันที่ 1 มกราคม 2555

192

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2555

174

19. ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี สินทรัพย์และหนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี ณ วันที่ 31 ธันวาคม มีดังนี้ งบการเงินรวม สินทรัพย์ 2555

หนี้สิน 2554

2555

2554

(ล้านบาท) รวม

1,101

1,002

(2,078)

(1,913)

การหักกลบรายการของภาษี

(704)

(661)

704

661

สินทรัพย์ (หนี้สิน) ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีสุทธิ

397

341

(1,374)

(1,252)


รายงานประจํ า ปี 2555 บริ ษ ั ท ไทยเบฟเวอเรจ จํ า กั ด (มหาชน)

งบการเงิ น

179

งบการเงินเฉพาะกิจการ สินทรัพย์ 2555

หนี้สิน 2554

2555

2554

(ล้านบาท) รวม การหักกลบรายการของภาษี สินทรัพย์ (หนี้สิน) ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีสุทธิ

30

31

-

-

-

-

-

-

30

31

-

-

ได้มา จากการ รวมธุรกิจ

31 ธันวาคม 2555

รายการเคลื่อนไหวของสินทรัพย์และหนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีรวมที่เกิดขึ้นในระหว่างปีมีดังนี้ งบการเงินรวม บันทึกเป็น(รายจ่าย) / รายได้ใน ณ วันที่ 1 มกราคม 2555

กําไรหรือ ขาดทุน

กําไรขาดทุน เบ็ดเสร็จอื่น

ณ วันที่

(ล้านบาท) สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี 163

28

-

-

191

15

6

-

-

21

1

-

-

-

1

301

22

-

-

323

12

1

-

-

13

470

11

4

-

485

ยอดขาดทุนยกไป

22

8

-

-

30

อื่นๆ

18

19

-

-

37

รวม

1,002

95

4

-

1,101

ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน เงินลงทุนระยะยาว สินค้าคงเหลือ ประมาณการหนี้สิน หนี้สินผลประโยชน์พนักงาน

การหักกลบรายการของภาษี

(661)

(704)

341

397

หนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์

(1,845)

(13)

(174)

-

(2,032)

อื่นๆ

(68)

30

(8)

-

(46)

รวม

(1,913)

17

(182)

-

(2,078)

การหักกลบรายการของภาษี

661

704

(1,252)

สุทธิ

(911)

(1,374)

112

(178)

-

( 977)


งบการเงิ น

180

งบการเงินรวม บันทึกเป็น(รายจ่าย) / รายได้ใน ณ วันที่ 1 มกราคม 2554

กําไรหรือ ขาดทุน

กําไรขาดทุน เบ็ดเสร็จอื่น

ได้มา จากการ รวมธุรกิจ

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554 (ล้านบาท)

ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์

64

53

-

74

191

อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน

22

-

-

-

22

1

-

-

-

1

299

(20)

-

87

366

12

1

-

3

16

313

10

13

250

586

ยอดขาดทุนยกไป

89

(84)

-

21

26

การลดภาษีเงินได้

-

(221)

(8)

สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี

เงินลงทุนระยะยาว สินค้าคงเหลือ ประมาณการหนี้สิน หนี้สินผลประโยชน์พนักงาน

อื่นๆ

11

รวม

811

1 (260)

-

(229)

-

11

23

5

446

1,002

การหักกลบรายการของภาษี

(661) 341

หนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์

(1,192)

(38)

การลดภาษีเงินได้

-

12

อื่นๆ

-

-

รวม

(1,192)

(26)

(14) 354 (1) 339

(999) (35) (1,034)

การหักกลบรายการของภาษี

(2,243) 366 (36) (1,913) 661 (1,252)

สุทธิ

(381)

(286)

344

(588)

(911)


รายงานประจํ า ปี 2555 บริ ษ ั ท ไทยเบฟเวอเรจ จํ า กั ด (มหาชน)

งบการเงิ น

181

งบการเงินเฉพาะกิจการ บันทึกเป็น (รายจ่าย) / รายได้ใน ณ วันที่ 1 มกราคม 2555

ณ วันที่ กําไรหรือ ขาดทุน

กําไรขาดทุน เบ็ดเสร็จอื่น

31 ธันวาคม 2555

(ล้านบาท) สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี สินทรัพย์ไม่มีตัวตน

3

-

-

3

หนี้สินผลประโยชน์พนักงาน

28

3

(4)

27

รวม

31

3

(4)

30

งบการaเงินเฉพาะกิจการ บันทึกเป็น (รายจ่าย) / รายได้ใน ณ วันที่ 1 มกราคม 2554

ณ วันที่ กําไรหรือขาดทุน

กําไรขาดทุน เบ็ดเสร็จอื่น

31 ธันวาคม 2554

(ล้านบาท) สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี สินทรัพย์ไม่มีตัวตน หนี้สินผลประโยชน์พนักงาน การลดภาษีเงินได้ รวม

4

1

-

5

50

2

(11)

41

-

(19)

4

(15)

54

(16)

(7)

31

20. สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น หมายเหตุ

2555

งบการเงินรวม 2554

39

1,579

1,629

296

305

เงินมัดจํา

205

218

-

-

อื่นๆ

106

118

-

1

รวม

1,890

1,965

296

306

เงินจ่ายล่วงหน้าแก่ผู้ชํานาญการ

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2555 2554 (ล้านบาท)


งบการเงิ น

182

21. หนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ย งบการเงินรวม หมายเหตุ

2555

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2554

2555

2554

(ล้านบาท) ส่วนที่หมุนเวียน เงินเบิกเกินบัญชีธนาคาร ส่วนที่มีหลักประกัน

1,112

336

-

-

12

39

-

-

5

3

-

-

-

268

-

-

2,243

4,581

600

3,500

7,770

-

7,770

-

193

-

-

-

11,335

5,227

8,370

3,500

ส่วนที่ไม่มีหลักประกัน

1,533

1,800

1,533

1,200

ไม่มีหลักประกันโดยมีการคํ้าประกัน

3,139

-

-

-

-

-

9,144

8,636

16,007

7,027

19,047

13,336

9,667

11,200

9,667

11,200

78,479

-

-

-

-

-

13,875

10,528

88,146

11,200

23,542

21,728

104,153

18,227

42,589

35,064

ส่วนที่มีหนังสือสนับสนุนทางการเงิน ส่วนที่ไม่มีหลักประกัน เงินกู้ยืมระยะสั้นจากสถาบันการเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน ส่วนที่มีหนังสือสนับสนุนทางการเงิน ส่วนที่ไม่มีหลักประกัน ตั๋วแลกเงิน ส่วนที่ไม่มีหลักประกัน สินเชื่อทรัสต์รีซีท ส่วนที่ไม่มีหลักประกัน เงินเบิกเกินบัญชีธนาคารและเงินกู้ยืม ระยะสั้นจากสถาบันการเงิน เงินกู้ยืมระยะยาวจากสถาบันการเงิน ส่วนที่ถึงกําหนดชําระภายในหนึ่งปี

เงินกู้ยืมระยะสั้นจากกิจการที่เกี่ยวข้องกัน ส่วนที่ไม่มีหลักประกัน

6

ส่วนที่ไม่หมุนเวียน เงินกู้ยืมระยะยาวจากสถาบันการเงิน ส่วนที่ไม่มีหลักประกัน ไม่มีหลักประกันโดยมีการคํ้าประกัน เงินกู้ยืมระยะยาวจากกิจการที่เกี่ยวข้องกัน ส่วนที่ไม่มีหลักประกัน รวม

6


รายงานประจํ า ปี 2555 บริ ษ ั ท ไทยเบฟเวอเรจ จํ า กั ด (มหาชน)

งบการเงิ น

183

หนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยแสดงตามระยะเวลาครบกําหนดการจ่ายชําระ ณ วันที่ 31 ธันวาคม ได้ดังนี้ งบการเงินรวม 2555

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2554

2555

2554

(ล้านบาท) ครบกําหนดภายในหนึ่งปี

16,007

7,027

19,047

13,336

ครบกําหนดหลังจากหนึ่งปีแต่ไม่เกินห้าปี

88,146

11,200

23,542

21,728

104,153

18,227

42,589

35,064

รวม ลักษณะที่สําคัญต่างๆ ของเงินกู้ยืม มีดังนี้

(ก) เงินเบิกเกินบัญชีธนาคารกําหนดชําระคืนทันทีที่เรียกคืน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2555 กลุ่มบริษัทมีวงเงินเบิกเกินบัญชีธนาคารรวมเป็นเงิน จํานวน 5,557 ล้านบาท (2554: 4,612 ล้านบาท) ซึ่งบางส่วนมีหนังสือสนับสนุนทางการเงินซึ่งออกโดยบริษัท (ข) เงินกู้ยืมระยะสั้นจากสถาบันการเงิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2555 กลุ่มบริษัทมีวงเงินกู้ยืมระยะสั้นกับสถาบันการเงินหลายแห่งรวมเป็นเงิน จํานวน 46,750 ล้านบาท (2554: 41,335 ล้านบาท) อัตราดอกเบี้ยตามที่สถาบันการเงินกําหนดเป็นครั้งๆ กลุ่มบริษัทเบิกใช้วงเงินกู้ยืม ระยะสั้นรวมเป็นเงินจํานวน 2,243 ล้านบาท (2554: 4,849 ล้านบาท) ประกอบด้วยตั๋วสัญญาใช้เงินที่ออกโดยกลุ่มบริษัทให้แก่สถาบัน การเงินภายในประเทศเป็นเงินจํานวน 2,243 ล้านบาท (2554: 4,581 ล้านบาท) และบริษัทย่อยทางอ้อมแห่งหนึ่งซึ่งมีวงเงินสินเชื่อ ทรัสต์รีซีทกับสถาบันการเงินเป็นวงเงินจํานวน 800 ล้านบาท ใช้สินเชื่อทรัสต์รีซีทเป็นจํานวนเงิน 193 ล้านบาท เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2552 คณะกรรมการบริษัทอนุมัติวงเงินให้บริษัทออกและเสนอขายตั๋วแลกเงินระยะสั้นวงเงินรวมไม่เกิน 10,000 ล้านบาท ซึง่ ในระหว่างเดือนกันยายน และตุลาคม 2555 บริษท ั ได้ออกและเสนอขายตัว๋ แลกเงินระยะสัน ้ จํานวนเงินตามหน้าตัว๋ 5,700 ล้านบาท และ 4,300 ล้านบาทตามลําดับ กับสถาบันการเงินในประเทศสองแห่ง ตั๋วแลกเงินดังกล่าวเป็นตั๋วแลกเงินระยะสั้นที่เสนอขายและเปลี่ยนมือ ภายในกลุ่มนักลงทุนสถาบันและ/หรือผู้ลงทุนรายใหญ่ นิยามตามประกาศของคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ซึ่ง ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2555 จํานวนเงินตามหน้าตั๋วคงเหลือ 7,800 ล้านบาท (ค) ในเดือนพฤศจิกายน 2553 บริษัทย่อยทางอ้อมแห่งหนึ่งได้ทําสัญญากู้ยืมระยะยาวจํานวน 600 ล้านบาท กับสถาบันการเงินแห่งหนึ่ง กําหนด ชําระคืนเป็นรายเดือนจํานวน 6 งวด งวดละ 100 ล้านบาท โดยเริ่มชําระตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2555 ถึงเดือนตุลาคม 2555 ดอกเบี้ย กําหนดชําระเป็นรายเดือน ในอัตราร้อยละ 2.92 ต่อปี ในเดือนสิงหาคม 2554 บริษัทได้ทําสัญญากู้ยืมระยะยาวจํานวน 2,400 ล้านบาท กับสถาบันการเงินแห่งหนึ่ง กําหนดชําระคืนเป็นรายเดือน จํานวน 12 งวด งวดละ 200 ล้านบาท โดยเริ่มชําระตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2555 ถึงเดือนมิถุนายน 2556 ดอกเบี้ยกําหนดชําระเป็นรายเดือน ในอัตราร้อยละ 4.07 ต่อปี


งบการเงิ น

184

ในเดือนพฤศจิกายน 2554 บริษัทได้ทําสัญญากู้ยืมระยะยาวจํานวนรวม 10,000 ล้านบาท กับสถาบันการเงินสามแห่ง เริ่มชําระตั้งแต่ เดือนพฤศจิกายน 2556 ถึงเดือนพฤศจิกายน 2559 ดอกเบี้ยกําหนดชําระเป็นรายเดือน รายหกเดือน และรายสามเดือน โดยมีอัตราดอกเบี้ย อยู่ในช่วงร้อยละ 3 ถึง 4.3 ต่อปีสําหรับสถาบันการเงินที่หนึ่ง สอง และสาม ตามลําดับ รายละเอียดดังนี้

จํานวนเงิน (ล้านบาท)

จํานวนงวด

กําหนดชําระคืน ยอดชําระต่องวด (ล้านบาท) 166.60

30 พ.ย. 56

2,000

12

(งวดสุดท้าย 167.40)

ถึง 13 พ.ย. 57

ส่วน Tranche A

1,500

1

1,500

14 พ.ย. 57

ส่วน Tranche B

1,500

1

1,500

14 พ.ค. 58

ส่วน Tranche C

1,000

1

1,000

16 พ.ย. 58

ส่วน Tranche A

1,000

1

1,000

4 ก.พ. 59

ส่วน Tranche B

1,000

1

1,000

4 พ.ค. 59

ส่วน Tranche C

1,000

1

1,000

4 ส.ค. 59

ส่วน Tranche D

1,000

1

1,000

4 พ.ย. 59

สถาบันการเงิน

ลําดับที่ 1

กําหนดจ่ายชําระ

ลําดับที่ 2

ลําดับที่ 3

รวม

10,000

เงินกู้ยืมระยะยาวจากสถาบันการเงินดังกล่าวเป็นเงินกู้ยืมที่ไม่มีหลักประกัน (ง)

ในการประชุมสามัญประจําปีของผู้ถือหุ้นของบริษัทย่อยทางตรงเมื่อวันที่ 25 เมษายน 2555 ผู้ถือหุ้นมีมติอนุมัติให้บริษัทดังกล่าวออกและ เสนอขายหุ้นกู้ ภายในวงเงินไม่เกิน 3,000 ล้านบาท เพื่อใช้ในการดําเนินธุรกิจและขยายธุรกิจของบริษัท หุ้นกู้มีระยะเวลาไม่เกิน 10 ปี ในกรณี ที่บริษัทดังกล่าวได้ไถ่ถอนหรือชําระคืนหุ้นกู้ที่ได้ออกภายในวงเงินข้างต้น บริษัทสามารถออกหุ้นกู้ทดแทนเพิ่มเติมอีกได้ภายใต้เงื่อนไขและ วงเงิน (Revolving)

(จ)

ในเดือนสิงหาคม 2555 บริษัทย่อยแห่งหนึ่งในต่างประเทศ ได้ทําสัญญาเงินกู้ยืมระยะสั้นเป็นสกุลเงินเหรียญสิงคโปร์ จํานวนเงิน 2,800 ล้านเหรียญสิงคโปร์ กับสาขาของธนาคารต่างประเทศในสิงคโปร์จํานวน 3 แห่ง เงินกู้ยืมระยะสั้นดังกล่าวมีกําหนดชําระคืนเป็น ระยะเวลา 1 ปี และในเดือนธันวาคม 2555 บริษัทย่อยดังกล่าวได้ชําระคืนเงินกู้ก่อนครบกําหนดทั้งจํานวนพร้อมดอกเบี้ยคงค้างให้กับธนาคาร ผู้ให้กู้เรียบร้อยแล้วโดยไม่มีค่าปรับ

(ฉ) ในเดือนธันวาคม 2555 บริษัทย่อยแห่งหนึ่งในต่างประเทศ ได้ทําสัญญาเงินกู้ยืมระยะยาวเป็นสกุลเงินเหรียญสิงคโปร์ จํานวนเงิน 3,300 ล้านเหรียญสิงคโปร์ กับสาขาของธนาคารต่างประเทศในสิงคโปร์จํานวน 7 แห่ง เงินกู้ยืมระยะยาวดังกล่าวมีระยะเวลา 5 ปี และ มีกําหนดชําระคืนเป็นรายงวดทุกๆ 6 เดือน ทางบริษัทย่อยดังกล่าวได้มีการเบิกเงินกู้จํานวนทั้งหมดในเดือนเดียวกัน และนําเงินที่ได้ไปชําระคืน เงินกู้ยืมระยะสั้นจํานวน 2,800 ล้านเหรียญสิงคโปร์ในข้อ (จ) ข้างต้น เงินกู้ยืมดังกล่าวเป็นเงินกู้ยืมที่ไม่มีหลักประกัน แต่มีการค้ําประกันโดย บริษัท


รายงานประจํ า ปี 2555 บริ ษ ั ท ไทยเบฟเวอเรจ จํ า กั ด (มหาชน)

งบการเงิ น

185

ยอดหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ย ณ วันที่ 31 ธันวาคม จัดตามประเภทสกุลเงินตราได้ดังนี้ งบการเงินรวม 2555

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2554

2555

2554

(ล้านบาท) สกุลเงินบาทและสกุลเงินที่ใช้ใน การดําเนินงานของบริษัทย่อย สกุลเงินเหรียญสิงคโปร์ รวม

22,535

18,227

42,589

35,064

81,618

-

-

-

104,153

18,227

42,589

35,064

22. เจ้าหนี้การค้า งบการเงินรวม หมายเหตุ

2555

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2554

2555

2554

(ล้านบาท) กิจการที่เกี่ยวข้องกัน

6

1,459

1,438

-

-

กิจการอื่นๆ

3,649

3,859

-

-

รวม

5,108

5,297

-

-

2554

2555

ยอดเจ้าหนี้การค้า ณ วันที่ 31 ธันวาคม จัดตามประเภทสกุลเงินตราได้ดังนี้ งบการเงินรวม 2555

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2554

(ล้านบาท) สกุลเงินบาทและสกุลเงินที่ใช้ใน การดําเนินงานของบริษัทย่อย

4,745

4,971

-

-

สกุลเงินออสเตรเลีย

151

144

-

-

สกุลเงินยูโร

137

159

-

-

63

10

-

-

สกุลเงินปอนด์สเตอร์ลิง อื่นๆ

12

13

-

-

รวม

5,108

5,297

-

-


งบการเงิ น

186

23. เจ้าหนี้อื่น งบการเงินรวม 2555

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2554

2555

2554

(ล้านบาท) ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย

1,990

1,520

120

78

ค่าส่งเสริมการขายค้างจ่าย

1,171

1,007

-

-

เจ้าหนี้ค่าสินทรัพย์

519

473

1

6

เงินรับล่วงหน้าค่าสินค้าจากลูกค้า

275

267

-

-

อื่นๆ

258

419

45

70

รวม

4,213

3,686

166

154

ยอดเจ้าหนี้อื่น ณ วันที่ 31 ธันวาคม จัดตามประเภทสกุลเงินตราได้ดังนี้ งบการเงินรวม 2555 2554

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2555 2554 (ล้านบาท)

สกุลเงินบาทและสกุลเงินที่ใช้ใน การดําเนินงานของบริษัทย่อย

3,896

3,467

166

154

สกุลเงินเหรียญสหรัฐอเมริกา

156

27

-

-

สกุลเงินเหรียญสิงคโปร์

104

-

-

-

53

30

-

-

2

161

-

-

สกุลเงินยูโร สกุลเงินเยนญี่ปุ่น อื่นๆ

2

1

-

-

รวม

4,213

3,686

166

154


รายงานประจํ า ปี 2555 บริ ษ ั ท ไทยเบฟเวอเรจ จํ า กั ด (มหาชน)

งบการเงิ น

187

24. ภาระผูกพันผลประโยชน์พนักงาน งบการเงินรวม 2555

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2554

2555

2554

(ล้านบาท) งบแสดงฐานะการเงิน ภาระผูกพันในงบแสดงฐานะการเงินสําหรับ ผลประโยชน์ระยะสั้นของพนักงาน - การลาหยุดพักผ่อนประจําปีสะสม

9

6

-

-

- รางวัลการทํางานเป็นระยะเวลานาน

68

83

-

-

- ประมาณการผลตอบแทนผู้บริหาร

18

27

-

-

2

2

-

-

2,358

2,250

134

139

2,455

2,368

134

139

18

27

-

-

ผลประโยชน์ระยะยาวของพนักงาน

ผลประโยชน์หลังออกจากงาน - กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ - โครงการจ่ายชดเชยตามกฎหมาย แรงงานไทย รวม ส่วนที่หมุนเวียน ประมาณการหนี้สินระยะสั้น ส่วนที่ไม่หมุนเวียน ภาระผูกพันผลประโยชน์พนักงาน

2,437

2,341

134

139

รวม

2,455

2,368

134

139

235

194

18

25

235

194

18

25

21

22

(21)

(35)

43

22

(56)

(35)

สําหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม งบกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ รับรู้ในกําไรหรือขาดทุน โครงการจ่ายชดเชยตามกฎหมายแรงงานไทย

รับรู้ในกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น (กําไร) ขาดทุนจากการประมาณตามหลักการ คณิตศาสตร์ประกันภัยที่รับรู้ในระหว่างปี (กําไร) ขาดทุนสะสมจากการประมาณตาม หลักการคณิตศาสตร์ประกันภัยที่รับรู้

กลุ่มบริษัทถือปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 19 เรื่องผลประโยชน์พนักงาน ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2554 กลุ่มบริษัท และบริษัทได้เลือกบันทึกภาระผูกพันในช่วงเปลี่ยนแปลงทั้งหมด ณ วันที่ 1 มกราคม 2554 เป็นเงินรวม 1,044 ล้านบาทสําหรับกลุ่มบริษัทและ 167 ล้านบาทสําหรับบริษัท ทั้งนี้ได้มีการปรับปรุงกําไรสะสม ณ วันที่ 1 มกราคม 2554 แล้ว


งบการเงิ น

188

โครงการจ่ายชดเชยตามกฎหมายแรงงานไทย กลุ่มบริษัทและบริษัทจัดการโครงการบําเหน็จบํานาญพนักงานตามข้อกําหนดของพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ในการให้ผล ประโยชน์เมื่อเกษียณแก่พนักงานตามสิทธิและอายุงาน ภาระผูกพันตามงบแสดงฐานะการเงินมีดังต่อไปนี้ งบการเงินรวม 2555

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2554

2555

2554

(ล้านบาท) มูลค่าปัจจุบันของภาระผูกพันที่ไม่ได้จัดให้มีกองทุน

2,394

2,319

43

22

2,437

2,341

190

174

(กําไร) ขาดทุนจากการประมาณตามหลักการ คณิตศาสตร์ประกันภัยที่ยังไม่รับรู้ ภาระผูกพันตามงบแสดงฐานะการเงิน

(56) 134

(35) 139

การเปลี่ยนแปลงในมูลค่าปัจจุบันของภาระผูกพันของโครงการผลประโยชน์ งบการเงินรวม 2555 2554

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2555 2554 (ล้านบาท)

ภาระผูกพันของโครงการผลประโยชน์ ณ วันที่ 1 มกราคม

2,341

1,044

139

167

ผลประโยชน์จ่ายโดยโครงการ

(156)

(103)

ต้นทุนบริการปัจจุบัน และดอกเบี้ย

235

194

18

25

เบ็ดเสร็จอื่น

21

22

(21)

(35)

ซื้อบริษัทย่อย

-

1,184

-

-

ขายบริษัทย่อย

(4)

-

-

-

2,341

134

139

2554

2555

(2)

(18)

(กําไร) ขาดทุน จากการประมาณตามหลักการ คณิตศาสตร์ประกันภัยที่รับรู้ในกําไรขาดทุน

ภาระผูกพันของโครงการผลประโยชน์ ณ วันที่ 31 ธันวาคม

2,437

ค่าใช้จ่ายที่รับรู้ในกําไรหรือขาดทุน (ดูหมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 31) งบการเงินรวม 2555

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2554

(ล้านบาท) ต้นทุนบริการปัจจุบัน ดอกเบี้ยจากภาระผูกพัน รวม

153

137

13

17

82

57

5

8

235

194

18

25


รายงานประจํ า ปี 2555 บริ ษ ั ท ไทยเบฟเวอเรจ จํ า กั ด (มหาชน)

งบการเงิ น

189

ค่าใช้จ่ายดังกล่าวข้างต้นรับรู้ในรายการต่อไปนี้ในงบกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ งบการเงินรวม 2555 2554

ต้นทุนขายและต้นทุนการให้บริการ ค่าใช้จ่ายในการขาย ค่าใช้จ่ายในการบริหาร รวม

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2555 2554 (ล้านบาท)

46

55

17

24

107

33

-

-

82

106

1

1

235

194

18

25

(กําไร) และขาดทุนจากการประมาณตามหลักการคณิตศาสตร์ประกันภัยที่รับรู้ในกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น งบการเงินรวม 2555 2554

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2555 2554 (ล้านบาท)

รวมในกําไรสะสม ณ 1 มกราคม

22

-

(35)

-

รับรู้ระหว่างปี

21

22

(21)

(35)

ณ 31 ธันวาคม

43

22

(56)

(35)

ข้อสมมติหลักในการประมาณการตามหลักการคณิตศาสตร์ประกันภัย ณ วันที่รายงาน (แสดงโดยวิธีถัวเฉลี่ยถ่วงน้ําหนัก) งบการเงินรวม 2555 2554

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2555 2554 (ร้อยละต่อปี)

อัตราคิดลด

3.5 - 3.6

3.5 - 3.6

3.6

3.6

การเพิ่มขึ้นของเงินเดือนในอนาคต

5.0 - 6.5

5.0 - 6.5

5.0

5.0

ข้อสมมติฐานเกี่ยวกับอัตรามรณะในอนาคตถือตามข้อมูลทางสถิติที่เผยแพร่ทั่วไปและตารางมรณะ


งบการเงิ น

190

25. ทุนเรือนหุ้น มูลค่าหุ้น ต่อหุ้น (บาท)

2555

2554

จํานวนหุ้น

จํานวนเงิน

จํานวนหุ้น

จํานวนเงิน (ล้านหุ้น/ล้านบาท)

1

29,000

29,000

29,000

29,000

1

29,000

29,000

29,000

29,000

1

25,110

25,110

25,110

25,110

1

25,110

25,110

25,110

25,110

ทุนจดทะเบียน ณ วันที่ 1 มกราคม - หุ้นสามัญ ณ วันที่ 31 ธันวาคม - หุ้นสามัญ หุ้นที่ออกและชําระแล้ว ณ วันที่ 1 มกราคม - หุ้นสามัญ ณ วันที่ 31 ธันวาคม - หุ้นสามัญ

ผู้ถือหุ้นสามัญจะได้รับสิทธิในการรับเงินปันผลจากการประกาศจ่ายเงินปันผลและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนนหนึ่งเสียงต่อหนึ่งหุ้นในที่ประชุมของบริษัท สําหรับหุ้นของบริษัทซึ่งถือโดยกลุ่มบริษัท สิทธิทั้งหมดจะถูกระงับไว้จนกว่าหุ้นเหล่านี้จะออกใหม่ ส่วนเกินมูลค่าหุ้น ตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจํากัด พ.ศ. 2535 มาตรา 51 ในกรณีที่บริษัทเสนอขายหุ้นสูงกว่ามูลค่าหุ้นที่จดทะเบียนไว้ บริษัท ต้องนําค่าหุ้นส่วนเกินนี้ตั้งเป็นทุนสํารอง (“ส่วนเกินมูลค่าหุ้น”) ส่วนเกินมูลค่าหุ้นนี้จะนําไปจ่ายเป็นเงินปันผลไม่ได้

26. สํารอง สํารองประกอบด้วย การจัดสรรกําไร และ/หรือ กําไรสะสม สํารองตามกฎหมาย ตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจํากัด พ.ศ. 2535 มาตรา 116 บริษัทจะต้องจัดสรรทุนสํารอง (“สํารองตามกฎหมาย”) อย่างน้อยร้อยละ 5 ของกําไรสุทธิประจําปีหลังจากหักขาดทุนสะสมยกมา (ถ้ามี) จนกว่าสํารองดังกล่าวมีจํานวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของ ทุนจดทะเบียน เงินสํารองนี้จะนําไปจ่ายเป็นเงินปันผลไม่ได้ องค์ประกอบอื่นของส่วนของผู้ถือหุ้น ผลต่างจากการแปลงค่างบการเงิน ผลต่างจากการแปลงค่างบการเงินแสดงในส่วนของเจ้าของประกอบด้วยผลต่างการแปลงค่าทั้งหมดจากงบการเงินของหน่วยงานในต่างประเทศ ผลต่างจากการเปลี่ยนแปลงในมูลค่ายุติธรรม ผลต่างจากการเปลี่ยนแปลงในมูลค่ายุติธรรมแสดงในส่วนของเจ้าของประกอบด้วยผลรวมการเปลี่ยนแปลงในมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ทาง การเงินเผื่อขายจนกระทั่งมีการตัดรายการหรือเกิดการด้อยค่า


รายงานประจํ า ปี 2555 บริ ษ ั ท ไทยเบฟเวอเรจ จํ า กั ด (มหาชน)

งบการเงิ น

191

ผลต่างจากการเปลี่ยนแปลงในการตีราคาสินทรัพย์ใหม่ ผลต่างจากการเปลี่ยนแปลงในการตีราคาสินทรัพย์ใหม่แสดงในส่วนของเจ้าของประกอบด้วยผลรวมของการเปลี่ยนแปลงสุทธิของการตีราคาที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ที่แสดงในงบการเงินด้วยการตีราคาใหม่จนกระทั่งมีการขายหรือจําหน่าย การเคลื่อนไหวในทุนสํารอง การเคลื่อนไหวในทุนสํารองแสดงรายการในงบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น

27. ข้อมูลทางการเงินจําแนกตามส่วนงาน กลุ่มบริษัทได้นําเสนอข้อมูลทางการเงินจําแนกตามส่วนงานธุรกิจและส่วนงานภูมิศาสตร์ รูปแบบหลักในการรายงานส่วนงานธุรกิจ พิจารณาจากระบบ การบริหารการจัดการและโครงสร้างการรายงานทางการเงินภายในของกลุ่มบริษัทเป็นเกณฑ์ในการกําหนดส่วนงาน การกําหนดราคาระหว่างส่วนงานอยู่บนเงื่อนไขที่ตกลงร่วมกันทั้งสองฝ่าย ผลได้ (เสีย) สินทรัพย์และหนี้สินตามส่วนงาน รวมรายการที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับส่วนงาน หรือที่สามารถปันส่วนให้กับส่วนงานได้อย่างสมเหตุสมผล รายการที่ไม่สามารถปันส่วนได้ส่วนใหญ่ประกอบด้วย ผลกระทบสุทธิจากอัตราแลกเปลี่ยนทั้งส่วนของรายได้และค่าใช้จ่าย เงินกู้ยืมและต้นทุนทางการ เงินบางส่วน และเงินลงทุนบางรายการ ในการจัดทําข้อมูลทางการเงินจําแนกตามส่วนงาน หนี้สินและดอกเบี้ยจ่ายที่ไม่สามารถปันส่วนได้ว่าเกี่ยวข้องกับส่วนงานใด จะถูกปันส่วนตามเกณฑ์ ร้อยละของสินทรัพย์สุทธิของแต่ละส่วนงาน โดยผู้บริหารเชื่อว่าเกณฑ์ดังกล่าวได้แสดงหนี้สินของแต่ละส่วนงานได้อย่างเหมาะสมและใกล้เคียงกับ ความเป็นจริง ส่วนงานธุรกิจ กลุ่มบริษัทเสนอส่วนงานธุรกิจที่สําคัญดังนี้ ธุรกิจสุรา ธุรกิจเบียร์ ธุรกิจเครื่องดื่มไม่ผสม แอลกอฮอล์ ธุรกิจอาหาร

ผลิตและจําหน่ายสุรายี่ห้อต่างๆ (ส่วนใหญ่ขายภายนอกกลุ่มบริษัท) ผลิตและจําหน่ายเบียร์ยี่ห้อต่างๆ (ส่วนใหญ่ขายภายนอกกลุ่มบริษัท) ผลิตและจําหน่ายนํ้าดื่ม นํ้าโซดา กาแฟสําเร็จรูป เครื่องดื่มชูกําลัง เครื่องดื่มชาเขียว และเครื่องดื่มกลิ่นผลไม้ยี่ห้อต่างๆ (ส่วนใหญ่ขายภายนอกกลุ่มบริษัท) และ ภัตตาคารร้านอาหารญี่ปุ่น และจัดจําหน่ายอาหารและเครื่องดื่ม (ส่วนใหญ่ขายภายนอกกลุ่มบริษัท)

ส่วนงานภูมิศาสตร์ กลุ่มบริษัทมีฐานการดําเนินธุรกิจส่วนใหญ่อยู่ในประเทศไทย โดยส่วนหนึ่งของสินค้าที่ผลิตได้จะส่งไปจําหน่ายโดยตรงหรือผ่านทางบริษัทย่อยในต่าง ประเทศให้กับลูกค้าภายนอก สําหรับฐานการดําเนินธุรกิจในต่างประเทศจะเป็นของบริษัทย่อย ในการนําเสนอการจําแนกส่วนงานภูมิศาสตร์ รายได้ตามส่วนงานแยกตามเขตภูมิศาสตร์ได้กําหนดจากสถานที่ตั้งของลูกค้า สินทรัพย์ตามส่วนงาน แยกตามสถานที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของสินทรัพย์


5,436

ค่าใช้จ่าย (รายได้) ภาษีเงินได้ 417

(42)

375

29,222

253

2,175

4,912

21,882

29,597

566

34

28,997

(464)

(223)

(687)

11,603

105

1,177

1,929

8,392

10,916

48

6

10,862

66

44

110

5,239

8

1,376

582

3,273

5,349

28

2

5,319

107

88

195

3,962

7

1,015

428

2,512

4,157

30

1

4,126

2554

ธุรกิจอาหาร 2555

-

-

-

(607)

-

(77)

(159)

(371)

(607)

(60)

-

(547)

2555

-

-

-

(473)

-

(23)

(39)

(411)

(473)

(52)

-

(421)

2554

18,065

5,146

23,211

138,844

635

10,355

12,232

115,622

162,055

937

74

161,044

2555

กําไร (ขาดทุน) สําหรับปี

- ต้นทุนทางการเงิน

28,760

(766)

(1,976)

(1,031)

(284)

(1,315)

34,378

115

1,921

2,870

29,472

33,063

200

8

32,855

2554

- ขาดทุนสุทธิจากอัตราแลกเปลี่ยน

(1,162)

(292)

(1,454)

35,768

121

1,817

3,481

30,349

34,314

153

8

34,153

2555

ตัดรายการ ระหว่างกัน

13,437

13,355

5,736

19,091

66,030

228

5,225

3,089

57,488

85,121

334

23

84,764

2554

ธุรกิจเบียร์ 2555

ธุรกิจเครื่องดื่มไม่ผสม แอลกอฮอล์

- ส่วนแบ่งกําไรจากเงินลงทุนในบริษท ั ร่วม

รายการที่จําแนกส่วนงานไม่ได้

สําหรับปี

18,744

24,180

กําไร (ขาดทุน) ก่อนภาษีเงินได้

กําไร (ขาดทุน) ที่จําแนกส่วนงานได้

69,222

รวมค่าใช้จ่ายที่จําแนกส่วนงานได้

253

5,064

ค่าใช้จ่ายในการบริหาร

ต้นทุนทางการเงิน

3,416

60,489

ต้นทุนขาย

ค่าใช้จ่ายในการขาย

93,402

250

รายได้อื่น

รวมรายได้ที่จําแนกส่วนงานได้

30

93,122

2554

ธุรกิจสุรา

2555

ดอกเบี้ยรับ

รายได้จากการขาย

ข้อมูลเกี่ยวกับผลได้(เสีย)ตามส่วนงานธุรกิจ

2554

11,967

-

-

-

11,967

5,317

17,284

115,500

455

9,315

8,277

97,453

132,784

560

38

132,186

(ล้านบาท)

รวม

งบการเงิ น

192


3,751

19,368

9,730

28,164

11,381

14,567

2,216

2555

5,109

26,404

10,997

13,516

1,891

2554

285

2,447

1,132

1,174

141

2555

287

2,001

1,018

885

98

2554

103,691

25,399

45,320

32,972

2555

17 36 30

(กลับรายการ) ขาดทุนจากการด้อยค่า

กําไร (ขาดทุน) จากการขายสินทรัพย์

1,454

ค่าเสื่อมราคา

ค่าตัดจําหน่าย

1,935

รายจ่ายฝ่ายทุน

รวมหนี้สิน

- เงินกู้ยืมจากสถาบันการเงิน

รายการที่จําแนกส่วนงานไม่ได้

18,217

8,749

หนี้สินอื่น

รวมหนี้สินที่จําแนกส่วนงานได้

9,468

หนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ย

20

(1)

20

1,427

1,063

18,418

9,338

39

-

6

791

196

5,441

2,389

10

-

7

1,051

166

5,869

2,118

8

(225)

36

1,332

2,166

16,229

6,499

115

589

10

694

15,050

11,018

5,909

(4)

-

13

280

609

1,209

924

-

-

13

204

352

854

567

73

(189)

72

3,857

4,906

122,714

81,618

41,096

18,561

22,535

207,686

3,052

18,633

3,493

11,740

4,135

2554

ธุรกิจอาหาร

รวมสินทรัพย์ 9,080

51,589

3,506

11,452

3,675

2555

ธุรกิจเครื่องดื่มไม่ผสม แอลกอฮอล์

103,995

54,447

9,935

17,226

24,428

2554

ธุรกิจเบียร์

- เงินลงทุนในบริษัทร่วม

รายการที่จําแนกส่วนงานไม่ได้

รวมสินทรัพย์ที่จําแนกส่วนงานได้

9,380

18,127

ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์

สินทรัพย์อื่น

26,940

2555

ธุรกิจสุรา

สินค้าคงเหลือ

ข้อมูลเกี่ยวกับฐานะทางการเงินตามส่วนของธุรกิจ

รวม 2554

145

588

50

3,376

16,631

36,159

-

36,159

17,932

18,227

99,362

-

99,362

25,443

43,367

30,552

(ล้านบาท)

รายงานประจํ า ปี 2555 บริ ษ ั ท ไทยเบฟเวอเรจ จํ า กั ด (มหาชน) งบการเงิ น

193


งบการเงิ น

194

ข้อมูลจําแนกตามส่วนงานภูมิศาสตร์ รายละเอียดข้อมูลทางการเงินจําแนกตามส่วนงานภูมิศาสตร์ในงบการเงินรวมสําหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม มีดังนี้ งบการเงินรวม รายได้

ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์

2555

2554

2555

2554

(ล้านบาท) ประเทศไทย

155,642

127,905

43,963

41,909

ต่างประเทศ

6,413

4,879

1,357

1,458

162,055

132,784

45,320

43,367

รวม

28. รายได้อื่น งบการเงินรวม 2555

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2554

2555

2554

(ล้านบาท) กําไรจากการจําหน่ายทรัพย์สิน

65

292

-

2

กําไรจากการขายเงินลงทุน

43

-

33

-

รายได้จากการขายเศษวัสดุ

304

45

-

-

อื่นๆ

345

335

29

5

รวม

757

672

62

7

2554

2555

29. ค่าใช้จ่ายในการขาย งบการเงินรวม 2555

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2554

(ล้านบาท) ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับบุคลากร

3,383

2,125

-

-

ค่าใช้จ่ายการตลาดและโฆษณาประชาสัมพันธ์

4,277

3,022

-

-

ค่ายานพาหนะเดินทาง

1,526

1,303

-

-

ค่าขนส่ง

1,037

753

-

-

249

206

-

-

อื่นๆ

1,760

868

-

-

รวม

12,232

8,277

-

-

ค่านายหน้า


รายงานประจํ า ปี 2555 บริ ษ ั ท ไทยเบฟเวอเรจ จํ า กั ด (มหาชน)

งบการเงิ น

195

30. ค่าใช้จ่ายในการบริหาร งบการเงินรวม 2555

2554

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2555

2554

(ล้านบาท) ค่าตอบแทนผู้บริหาร

371

358

399

367

4,262

3,334

13

8

กําลังการผลิตว่างเปล่า

997

1,328

-

-

ค่ายานพาหนะเดินทาง

414

212

1

1

ค่าเช่า

433

445

1

1

ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจําหน่าย

847

613

1

-

เงินบริจาค

515

604

3

3

ค่าจ้างและค่าบริการอื่นๆ

709

695

-

-

อื่นๆ

1,838

1,566

20

11

รวม

10,386

9,155

438

391

2554

2555

ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับบุคลากร

31. ค่าใช้จ่ายผลประโยชน์ของพนักงาน งบการเงินรวม 2555

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2554

(ล้านบาท) ผู้บริหาร เงินเดือนและค่าแรง

223

219

223

219

โบนัส

150

122

150

122

3

3

3

3

80

88

23

23

456

432

399

367

เงินเดือนและค่าแรง

6,862

5,275

260

237

โบนัส

1,465

767

92

52

707

492

12

11

106

96

5

5

1,396

1,145

94

90

10,536

7,775

463

395

10,992

8,207

862

762

ต้นทุนบําเหน็จบํานาญ – โครงการสมทบเงิน ที่กําหนดไว้ อื่นๆ

พนักงานอื่น

ค่าล่วงเวลาและเบี้ยเลี้ยง ต้นทุนบําเหน็จบํานาญ – โครงการสมทบเงิน ที่กําหนดไว้ อื่นๆ

รวมค่าใช้จ่ายผลประโยชน์ของพนักงาน


งบการเงิ น

196

โครงการผลประโยชน์ที่กําหนดไว้ รายละเอียดของโครงการผลประโยชน์ที่กําหนดเปิดเผยในหมายเหตุประกอบงบการเงิน 24 โครงการสมทบเงินที่กําหนดไว้ กลุ่มบริษัทได้จัดตั้งกองทุนสํารองเลี้ยงชีพสําหรับพนักงานของกลุ่มบริษัทบนพื้นฐานความสมัครใจของพนักงานในการเป็นสมาชิกของกองทุน โดยพนักงานจ่ายเงินสะสมในอัตราร้อยละ 2 ถึงอัตราร้อยละ 3 ของเงินเดือนทุกเดือน และบริษัทจ่ายสมทบในอัตราร้อยละ 2 ถึงอัตราร้อยละ 3 ของ เงินเดือนของพนักงานทุกเดือน กองทุนสํารองเลี้ยงชีพนี้ได้จดทะเบียนเป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพตามข้อกําหนดของกระทรวงการคลังและจัดการ กองทุนโดยผู้จัดการกองทุนที่ได้รับอนุญาต

32. ค่าใช้จ่ายตามลักษณะ งบกําไรขาดทุนได้รวมการวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายตามหน้าที่ ค่าใช้จ่ายตามลักษณะได้เปิดเผยตามข้อกําหนดในมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับต่างๆ ดังนี้ งบการเงินรวม 2555

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2554

2555

2554

(ล้านบาท) รวมอยู่ในต้นทุนขายและต้นทุนการให้บริการ การเปลี่ยนแปลงในสินค้าสําเร็จรูปและ งานระหว่างทํา

(2,979)

(971)

-

-

วัตถุดิบ วัสดุสิ้นเปลืองและ ภาษีสรรพสามิตใช้ไป

106,265

90,074

-

-

ค่าใช้จ่ายผลประโยชน์ของพนักงาน

3,034

2,468

437

387

ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจําหน่าย

2,215

2,177

23

24

ค่าใช้จ่ายการตลาดและส่งเสริมการขาย

1,694

839

-

-

ค่าโฆษณาและประชาสัมพันธ์

2,582

2,183

-

-

4,262

3,334

412

375

ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจําหน่าย

847

613

1

-

ค่าเช่า

433

445

1

1

รวมอยู่ในค่าใช้จ่ายในการขาย

รวมอยู่ในค่าใช้จ่ายในการบริหาร ค่าใช้จ่ายผลประโยชน์ของพนักงาน


รายงานประจํ า ปี 2555 บริ ษ ั ท ไทยเบฟเวอเรจ จํ า กั ด (มหาชน)

งบการเงิ น

197

33. ต้นทุนทางการเงิน หมายเหตุ

งบการเงินรวม 2555 2554

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2555 2554 (ล้านบาท)

ดอกเบี้ยจ่าย กิจการที่เกี่ยวข้องกัน

6

สถาบันการเงิน กิจการภายนอกอื่นๆ รวมดอกเบี้ยจ่าย ต้นทุนทางการเงินอื่น

-

-

1,032

830

1,035

413

671

312

3

8

-

-

1,038

421

1,703

1,142

363

49

-

49

1,401

470

1,703

1,191

-

-

1,703

1,191

หัก จํานวนที่รวมอยู่ในต้นทุนของ สินทรัพย์ระหว่างก่อสร้าง

-

สุทธิ

1,401

(15) 455

34. ภาษีเงินได้ ภาษีเงินได้ที่รับรู้ในกําไรหรือขาดทุน งบการเงินรวม หมายเหตุ

2555

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2554

2555

2554

(ล้านบาท) ภาษีเงินได้ของงวดปัจจุบัน สําหรับปีปัจจุบัน ภาษีงวดก่อนๆ ที่บันทึกตํ่าไป (สูงไป)

ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี การเปลี่ยนแปลงของผลต่างชั่วคราว การลดอัตราภาษีเงินได้ ขาดทุนทางภาษีที่สามารถใช้ได้ รวมภาษีเงินได้

5,249

5,027

9

4

5,258

5,031

259 (2) 257

247 8 255

19 (104)

(7)

(3)

(3)

-

209

-

19

(8)

84

-

-

(112)

286

(3)

5,146

5,317

254

16 271


งบการเงิ น

198

ภาษีเงินได้ที่รับรู้ในกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น งบการเงินรวม

ก่อนภาษี เงินได้

2555 รายได้ (ค่าใช้จ่าย) ภาษีเงินได้

สุทธิจากภาษี เงินได้

ก่อนภาษี เงินได้

2554 รายได้ (ค่าใช้จ่าย) ภาษีเงินได้

155

-

155

292

-

292

903

(174)

729

46

340

386

สินทรัพย์ทางการเงินเผื่อขาย

41

(8)

33

2

-

2

กําไร(ขาดทุน)จากการประมาณ ตามหลักคณิตศาสตร์ประกันภัย

(21)

4

(17)

(22)

4

(18)

ส่วนแบ่งกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น เงินลงทุนในบริษัทร่วม

1,264

-

1,264

-

-

-

รวม

2,342

(178)

2,164

318

344

662

ก่อนภาษี เงินได้

2555 รายได้ (ค่าใช้จ่าย) ภาษีเงินได้

สุทธิจากภาษี เงินได้

ก่อนภาษี เงินได้

2554 รายได้ (ค่าใช้จ่าย) ภาษีเงินได้

21

(4)

17

35

(7)

28

21

(4)

17

35

(7)

28

สุทธิจากภาษี เงินได้ (ล้านบาท)

ผลต่างจากการแปลงค่าหน่วยงาน ในต่างประเทศ การตีราคาที่ดิน อาคารและอุปกรณ์

งบการเงินเฉพาะกิจการ

สุทธิจากภาษี เงินได้ (ล้านบาท)

กําไร(ขาดทุน)จากการประมาณ ตามหลักคณิตศาสตร์ประกันภัย รวม


รายงานประจํ า ปี 2555 บริ ษ ั ท ไทยเบฟเวอเรจ จํ า กั ด (มหาชน)

งบการเงิ น

199

การกระทบยอดเพื่อหาอัตราภาษีที่แท้จริง งบการเงินรวม 2555 อัตราภาษี (ร้อยละ)

2554 (ล้านบาท)

อัตราภาษี (ร้อยละ)

(ล้านบาท)

กําไร (ขาดทุน) สําหรับปี

28,759

11,967

ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้รวม

5,146

5,317

กําไรก่อนภาษีเงินได้รวม

33,905

17,284

จํานวนภาษีตามอัตราภาษีเงินได้

23.00

7,798

การลดภาษีเงินได้ - ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี

30.00

5,185

-

209

(746)

31

ผลกระทบจากความแตกต่างของอัตราภาษีสําหรับกิจการ ในต่างประเทศ รายได้ที่ไม่ต้องเสียภาษี ค่าใช้จ่ายต้องห้ามทางภาษี การใช้ขาดทุนทางภาษีที่เดิมไม่ได้บันทึก

(2,710)

(179)

745

98

48

(5)

2

(26)

9

4

ผลขาดทุนในปีปัจจุบันที่ไม่รับรู้เป็นสินทรัพย์ภาษีเงินได้ รอการตัดบัญชี ภาษีงวดก่อนๆ ที่บันทึกตํ่าไป (สูงไป) รวม

15.18

5,146

30.76

5,317

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2555 อัตราภาษี (ร้อยละ)

2554 (ล้านบาท)

อัตราภาษี (ร้อยละ)

(ล้านบาท)

กําไร (ขาดทุน) สําหรับปี

12,692

8,559

ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้รวม

254

271

กําไรก่อนภาษีเงินได้รวม

12,946

8,830

จํานวนภาษีตามอัตราภาษีเงินได้

23.00

การลดภาษีเงินได้ - ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี

30.00

-

รายได้ที่ไม่ต้องเสียภาษี ค่าใช้จ่ายต้องห้ามทางภาษี ภาษีงวดก่อนๆ ที่บันทึกตํ่าไป (สูงไป) รวม

2,978

19

(2,748)

(2,435)

26

30

(2) 1.96

2,649

254

8 3.07

271

การลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล พระราชกฤษฎีกาตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร ฉบับที่ 530 พ.ศ. 2554 ลงวันที่ 21 ธันวาคม 2554 ให้ลด อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลสําหรับกําไรสุทธิเป็นระยะเวลาสามรอบระยะเวลาบัญชีได้แก่ปี 2555 2556 และ 2557 จากอัตราร้อยละ 30 เหลืออัตรา ร้อยละ 23 สําหรับรอบระยะเวลาบัญชี 2555 ที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2555 และร้อยละ 20 ของกําไรสุทธิสําหรับสองรอบระยะเวลาบัญชี ถัดมา (2556 และ 2557) ที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2556 และ 2557 ตามลําดับ


งบการเงิ น

200

ทั้งนี้เป็นที่เชื่อได้ว่ารัฐบาลจะดําเนินการแก้ไขกฎหมายเพื่อให้อัตราภาษีไม่สูงไปกว่าร้อยละ 20 สําหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2558 เป็นต้นไป ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2554 ในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของ ประเทศ

35. สิทธิประโยชน์จากการส่งเสริมการลงทุน คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนอนุมต ั ใิ ห้บริษท ั ย่อยสองแห่งได้รบ ั สิทธิประโยชน์หลายประการในฐานะผูไ้ ด้รบ ั การส่งเสริมการลงทุนตามพระราชบัญญัติ ส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 เกี่ยวกับการผลิตก๊าซชีวภาพและการผลิตเครื่องดื่ม ซึ่งพอสรุปสาระสําคัญได้ดังนี้ การผลิตก๊าซชีวภาพ (ก) ให้ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าและภาษีสําหรับเครื่องจักรที่ได้รับอนุมัติโดยคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (ข) ให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสําหรับกําไรสุทธิที่ได้จากการประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริมมีกําหนดเวลาแปดปี นับแต่วันที่เริ่มมีรายได้ จากการประกอบกิจการนั้น (ค) ให้ได้รับลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลร้อยละ 50 สําหรับกําไรสุทธิที่ได้จากการประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริมมีกําหนดเวลาห้าปี นับแต่ วันที่สิ้นสุดสิทธิประโยชน์ตามข้อ (ข) และ (ง)

ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องนําเงินปันผลที่ได้รับจากกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนไปรวมคํานวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตลอดระยะเวลาที่ได้ รับยกเว้นภาษีเงินได้แปดปีนั้น

การผลิตเครื่องดื่ม (ก) ให้ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าและภาษีสําหรับเครื่องจักรที่ได้รับอนุมัติโดยคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (ข) ให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสําหรับกําไรสุทธิที่ได้จากการประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริมมีกําหนดเวลาแปดปี นับแต่วันที่เริ่มมีรายได้ จากการประกอบกิจการนั้น และ (ค) ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องนําเงินปันผลที่ได้รับจากกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนไปรวมคํานวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตลอดระยะเวลาที่ได้รับ ยกเว้นภาษีเงินได้แปดปีนั้น เนื่องจากเป็นกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน บริษัทย่อยดังกล่าวจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขและข้อกําหนดตามที่ระบุไว้ในบัตรส่งเสริมการลงทุน รายได้ที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนและที่ไม่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนสรุปได้ดังนี้ งบการเงินรวม 2555

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2554

2555

2554

(ล้านบาท) กิจการที่ได้รับการส่งเสริม

4,252

4,796

-

-

กิจการที่ไม่ได้รับการส่งเสริม

156,792

127,390

-

-

รวมรายได้

161,044

132,186

-

-

สิทธิประโยชน์ที่ให้แก่ผู้ประกอบกิจการในเขตปลอดอากร ในปี 2547 บริษัทย่อยอีกแห่งหนึ่งได้รับอนุมัติจากกรมศุลกากรให้เป็นผู้ประกอบกิจการในเขตปลอดภาษีอากร และให้จัดตั้งพื้นที่โรงงานของบริษัท ดังกล่าวเป็นเขตปลอดอากร โดยบริษัทย่อยดังกล่าวจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร ทั้งอากรนําเข้าและส่งออก ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีสรรพสามิต ตลอดจนสิทธิประโยชน์อื่นตามที่กฎหมายกําหนด


รายงานประจํ า ปี 2555 บริ ษ ั ท ไทยเบฟเวอเรจ จํ า กั ด (มหาชน)

งบการเงิ น

201

36. กําไรต่อหุ้นขั้นพื้นฐาน กําไรต่อหุ้นขั้นพื้นฐานสําหรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2555 และ 2554 คํานวณจากกําไรสําหรับปีที่เป็นส่วนของผู้ถือหุ้นสามัญของบริษัท และจํานวนหุ้นสามัญที่ออกจําหน่ายแล้วระหว่างปีโดยแสดงการคํานวณดังนี้ งบการเงินรวม 2555

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2554

2555

2554

(ล้านบาท/ล้านหุ้น) กําไรที่เป็นส่วนของผู้ถือหุ้นสามัญ ของบริษัท (ขั้นพื้นฐาน) จํานวนหุ้นสามัญที่ออกจําหน่ายแล้ว กําไรต่อหุ้นขั้นพื้นฐาน (บาท)

28,493

12,031

12,692

8,559

25,110

25,110

25,110

25,110

1.13

0.48

0.51

0.34

37. เงินปันผล ในการประชุมคณะกรรมการบริษัท เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2555 มีมติเป็นเอกฉันท์ อนุมัติการจ่ายเงินปันผลระหว่างกาล ปี 2555 สําหรับจํานวนหุ้น สามัญทั้งหมด 25,110 ล้านหุ้น ในอัตราหุ้นละ 0.14 บาท รวมเป็นจํานวนเงิน 3,515 ล้านบาท เงินปันผลระหว่างกาลดังกล่าวได้จ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้น เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2555 ในการประชุมสามัญประจําปีของผู้ถือหุ้นของบริษัท เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2555 ผู้ถือหุ้นมีมติอนุมัติการจัดสรรกําไรเป็นเงินปันผล ในอัตราหุ้นละ 0.37 บาท เป็นจํานวนเงินทั้งสิ้น 9,290 ล้านบาท ซึ่งส่วนหนึ่งได้จ่ายเป็นเงินปันผลระหว่างกาลในอัตราหุ้นละ 0.15 บาท รวมเป็นเงินจํานวน 3,766 ล้านบาท เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2554 และบริษัทได้จ่ายเงินปันผลส่วนที่เหลือ ในอัตราหุ้นละ 0.22 บาท รวมเป็นจํานวนเงิน 5,524 ล้านบาท ในวันที่ 24 พฤษภาคม 2555 ในการประชุมคณะกรรมการบริษท ั เมือ่ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2555 คณะกรรมการมีมติให้ความเห็นชอบการเสนอจ่ายเงินปันผลในอัตราหุน ้ ละ 0.37 บาท รวมเป็นจํานวนเงิน 9,290 ล้านบาท โดยได้จ่ายเป็นเงินปันผลระหว่างกาลไปแล้วในอัตราหุ้นละ 0.15 บาท รวมเป็นจํานวนเงิน 3,766 ล้านบาท คงเหลือการจ่ายเงินปันผลในอัตราหุ้นละ 0.22 บาท รวมเป็นจํานวนเงิน 5,524 ล้านบาท ซึ่งได้จ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้นในวันที่ 24 พฤษภาคม 2555 ในการประชุมคณะกรรมการของบริษัทเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2554 คณะกรรมการบริษัทมีมติอนุมัติการจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลปี 2554 สําหรับจํานวนหุ้นสามัญทั้งหมด 25,110 ล้านหุ้น ในอัตราหุ้นละ 0.15 บาท รวมเป็นจํานวนเงิน 3,766 ล้านบาท เงินปันผลระหว่างกาลดังกล่าว ได้จ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้นเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2554 ในการประชุมสามัญประจําปีของผู้ถือหุ้นของบริษัทเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2554 ผู้ถือหุ้นมีมติอนุมัติการจัดสรรกําไรเป็นเงินปันผลในอัตราหุ้นละ 0.35 บาท เป็นจํานวนเงินทั้งสิ้น 8,788 ล้านบาท ซึ่งส่วนหนึ่งได้จ่ายเป็นเงินปันผลระหว่างกาลในอัตราหุ้นละ 0.15 บาท รวมเป็นจํานวนเงิน 3,766 ล้านบาท เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2553 และบริษัทจ่ายเงินปันผลส่วนที่เหลือในอัตราหุ้นละ 0.20 บาท รวมเป็นจํานวนเงิน 5,022 ล้านบาท เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2554


งบการเงิ น

202

38. เครื่องมือทางการเงิน นโยบายการจัดการความเสี่ยงทางด้านการเงิน กลุ่มบริษัทมีความเสี่ยงจากการดําเนินธุรกิจตามปกติจากการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยและอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ และจาก การไม่ปฏิบัติตามข้อกําหนดตามสัญญาของคู่สัญญา กลุ่มบริษัทไม่มีการถือหรือออกเครื่องมือทางการเงินที่เป็นตราสารอนุพันธ์ เพื่อการเก็งกําไร หรือการค้า การจัดการความเสี่ยงเป็นส่วนที่สําคัญของธุรกิจของกลุ่มบริษัท กลุ่มบริษัทมีระบบในการควบคุมให้มีความสมดุลของระดับความเสี่ยงให้เป็น ที่ยอมรับได้ โดยพิจารณาระหว่างต้นทุนที่เกิดจากความเสี่ยงและต้นทุนของการจัดการความเสี่ยง ฝ่ายบริหารได้มีการควบคุมกระบวนการการจัดการ ความเสี่ยงของกลุ่มบริษัทอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มั่นใจว่ามีความสมดุลระหว่างความเสี่ยงและการควบคุมความเสี่ยง การบริหารจัดการทุน นโยบายของคณะกรรมการบริษัท คือการรักษาระดับเงินทุนให้มั่นคงเพื่อรักษานักลงทุน เจ้าหนี้และความเชื่อมั่นของตลาดและก่อให้เกิดการพัฒนา ของธุรกิจในอนาคต คณะกรรมการได้มีการกํากับดูแลผลตอบแทนจากการลงทุน ซึ่งกลุ่มบริษัทพิจารณาจากสัดส่วนของผลตอบแทนจากกิจกรรม ดําเนินงานต่อส่วนของเจ้าของรวม ซึ่งไม่รวมส่วนได้เสียที่ไม่มีอํานาจควบคุม อีกทั้งยังกํากับดูแลระดับการจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นสามัญ ความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ย ความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ย หมายถึงความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดในอนาคตของอัตราดอกเบี้ยในตลาด ซึ่งส่งผลกระทบต่อ การดําเนินงานและกระแสเงินสดของกลุ่มบริษัท เนื่องจากดอกเบี้ยของเงินกู้ยืมส่วนใหญ่มีอัตราคงที่ กลุ่มบริษัทมีความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ยที่ เกิดจากเงินกู้ยืม (ดูหมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 21) กลุ่มบริษัทได้ลดความเสี่ยงดังกล่าวโดยทําให้แน่ใจว่าดอกเบี้ยที่เกิดจากเงินกู้ยืมส่วนใหญ่ มีอัตราคงที่ อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงของเงินให้กู้ยืม ณ วันที่ 31 ธันวาคม และระยะที่ครบกําหนดชําระหรือกําหนดอัตราใหม่มีดังนี้

อัตราดอกเบี้ย ที่แท้จริง (ร้อยละต่อปี)

งบการเงินเฉพาะกิจการ หลังจาก 1 ปี ภายใน 1 ปี แต่ภายใน 5 ปี

รวม (ล้านบาท)

ปี 2555 หมุนเวียน เงินให้กู้ยืมแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกัน

5.00

24,254

-

24,254

5.00

-

2,304

2,304

24,254

2,304

26,558

5.00

14,753

-

14,753

5.00

-

635

635

14,753

635

15,388

ไม่หมุนเวียน เงินให้กู้ยืมแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกัน รวม ปี 2554 หมุนเวียน เงินให้กู้ยืมแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกัน ไม่หมุนเวียน เงินให้กู้ยืมแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกัน รวม


รายงานประจํ า ปี 2555 บริ ษ ั ท ไทยเบฟเวอเรจ จํ า กั ด (มหาชน)

งบการเงิ น

203

อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงของหนี้สินทางการเงินที่มีภาระดอกเบี้ย ณ วันที่ 31 ธันวาคม และระยะที่ครบกําหนดชําระหรือกําหนดอัตราใหม่มีดังนี้

อัตราดอกเบี้ย ที่แท้จริง (ร้อยละต่อปี)

ภายใน 1 ปี

งบการเงินรวม หลังจาก 1 ปี แต่ภายใน 5 ปี

เงินเบิกเกินบัญชีธนาคาร

2.02

1,129

-

1,129

เงินกู้ยืมจากสถาบันการเงิน

3.06

2,436

-

2,436

ตั๋วแลกเงิน

3.23

7,770

2.67

4,672

-

4,672

2.04

-

88,146

88,146

16,007

88,146

104,153

รวม (ล้านบาท)

ปี 2555 หมุนเวียน

7,770

เงินกู้ยืมระยะยาวส่วนที่ถึงกําหนดชําระ ภายในหนึ่งปี ไม่หมุนเวียน เงินกู้ยืมจากสถาบันการเงิน รวม ปี 2554 หมุนเวียน เงินเบิกเกินบัญชีธนาคาร

2.46

378

-

378

เงินกู้ยืมจากสถาบันการเงิน

3.41

4,849

-

4,849

3.69

1,800

-

1,800

3.49

-

11,200

11,200

7,027

11,200

18,227

เงินกู้ยืมระยะยาวส่วนที่ถึงกําหนดชําระ ภายในหนึ่งปี ไม่หมุนเวียน เงินกู้ยืมจากสถาบันการเงิน รวม

อัตราดอกเบี้ย ที่แท้จริง (ร้อยละต่อปี)

งบการเงินเฉพาะกิจการ หลังจาก 1 ปี ภายใน 1 ปี แต่ภายใน 5 ปี

รวม (ล้านบาท)

ปี 2555 หมุนเวียน เงินกู้ยืมจากสถาบันการเงิน

3.21

600

-

600

4.12

1,533

-

1,533

เงินกู้ยืมจากกิจการที่เกี่ยวข้องกัน

5.00

9,144

-

9,144

ตั๋วแลกเงิน

3.23

7,770

-

7,770

เงินกู้ยืมจากสถาบันการเงิน

3.39

-

9,667

9,667

เงินกู้ยืมจากกิจการที่เกี่ยวข้องกัน

5.00

-

13,875

13,875

19,047

23,542

42,589

เงินกู้ยืมระยะยาวส่วนที่ถึงกําหนดชําระ ภายในหนึ่งปี

ไม่หมุนเวียน

รวม


งบการเงิ น

204

อัตราดอกเบี้ย ที่แท้จริง (ร้อยละต่อปี)

งบการเงินเฉพาะกิจการ หลังจาก 1 ปี ภายใน 1 ปี แต่ภายใน 5 ปี

รวม (ล้านบาท)

ปี 2554 หมุนเวียน เงินกู้ยืมจากสถาบันการเงิน

3.45

3,500

-

3,500

4.07

1,200

-

1,200

5.00

8,636

-

8,636

เงินกู้ยืมจากสถาบันการเงิน

3.49

-

11,200

11,200

เงินกู้ยืมจากกิจการที่เกี่ยวข้องกัน

5.00

-

10,528

10,528

13,336

21,728

35,064

เงินกู้ยืมระยะยาวส่วนที่ถึงกําหนดชําระ ภายในหนึ่งปี เงินกู้ยืมจากกิจการที่เกี่ยวข้องกัน ไม่หมุนเวียน

รวม

ความเสี่ยงจากเงินตราต่างประเทศ กลุ่มบริษัทมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ซึ่งเกิดจากการซื้อสินค้าและการขายสินค้าที่เป็นเงินตราต่างประเทศ กลุ่มบริษัท ได้ทําสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า เพื่อป้องกันความเสี่ยงของสินทรัพย์และหนี้สินทางการเงินที่เป็นเงินตราต่างประเทศ สัญญาซื้อขาย เงินตราต่างประเทศล่วงหน้า ณ วันที่รายงานเป็นรายการที่เกี่ยวข้องกับรายการซื้อและขายสินค้าที่เป็นเงินตราต่างประเทศในงวดถัดไป ณ วันที่ 31 ธันวาคม กลุ่มบริษัทและบริษัทมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศอันเป็นผลมาจากการมีสินทรัพย์และหนี้สินที่เป็น เงินตราต่างประเทศดังนี้ งบการเงินรวม หมายเหตุ

2555

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2554

2555

2554

(ล้านบาท) เงินเหรียญสิงคโปร์ เงินกู้ยืมระยะยาวจากสถาบันการเงิน ส่วนที่ถึงกําหนดชําระในหนึ่งปี

(3,139)

-

-

-

เงินกู้ยืมระยะยาวจากสถาบันการเงิน

(78,479)

-

-

-

(104)

-

-

-

(81,772)

-

-

-

เจ้าหนี้อื่น

23

ยอดบัญชีในงบแสดงฐานะการเงินทีม ่ ค ี วามเสีย ่ ง เงินเหรียญสหรัฐอเมริกา เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด

7

28

7

-

-

ลูกหนี้การค้า

9

13

12

-

-

2

2

-

-

(10)

(12)

-

-

(156)

(27)

-

(1)

(123)

(18)

-

(1)

ลูกหนี้อื่น เจ้าหนี้การค้า เจ้าหนี้อื่น ยอดบัญชีในงบแสดงฐานะการเงินทีม ่ ค ี วามเสีย ่ ง

23


รายงานประจํ า ปี 2555 บริ ษ ั ท ไทยเบฟเวอเรจ จํ า กั ด (มหาชน)

งบการเงิ น

205

งบการเงินรวม หมายเหตุ

2555

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2554

2555

2554

(ล้านบาท) เงินเหรียญสหรัฐอเมริกา (ต่อ) ประมาณการยอดซื้อสินทรัพย์ ประมาณการยอดซื้อสินค้า ประมาณการหนี้สินอื่น ยอดรวมความเสี่ยงทั้งสิ้น สัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศ ยอดความเสี่ยงคงเหลือสุทธิ

-

(95)

-

-

(661)

(707)

-

-

(25)

(2)

-

-

(809)

(822)

-

(1)

221

499

-

-

(588)

(323)

-

(1)

1

-

-

-

3

-

-

เงินยูโร เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ลูกหนี้การค้า

9

33

เจ้าหนี้การค้า

22

(137)

(159)

-

-

เจ้าหนี้อื่น

23

(53)

(30)

-

-

ยอดบัญชีในงบแสดงฐานะการเงินที่มีความเสี่ยง

(156)

(186)

-

-

ประมาณการยอดซื้อสินค้า

(372)

(691)

-

-

(76)

(645)

-

-

ประมาณการยอดซื้อสินทรัพย์ ประมาณการหนี้สินอื่น

(172)

-

-

-

ยอดรวมความเสี่ยงทั้งสิ้น

(776)

(1,522)

-

-

สัญญาซื้อเงินตราต่างประเทศ

437

633

-

-

ยอดความเสี่ยงคงเหลือสุทธิ

(339)

(889)

-

-

-

-

เงินปอนด์สเตอร์ลิง เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด เงินกู้ยืมระยะสั้นจากสถาบันการเงิน เจ้าหนี้การค้า เจ้าหนี้อื่น

81

3

-

(221)

-

-

(63)

(10)

-

-

(1)

(1)

-

-

(229)

-

-

ยอดบัญชีในงบแสดงฐานะการเงินทีม ่ ค ี วามเสีย ่ ง

17

ประมาณการยอดซื้อสินค้า

(15)

-

-

-

(119)

(59)

-

-

(117)

(288)

-

-

-

-

-

-

ประมาณการยอดจ่ายค่าโฆษณา ประชาสัมพันธ์ ยอดรวมความเสี่ยงทั้งสิ้น สัญญาซื้อเงินตราต่างประเทศ

64

ยอดความเสี่ยงคงเหลือสุทธิ

(53)

59 (229)


งบการเงิ น

206

หมายเหตุ

งบการเงินรวม 2555 2554

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2555 2554 (ล้านบาท)

เงินเหรียญออสเตรเลีย เจ้าหนี้การค้า

22

เจ้าหนี้อื่น

(151)

(144)

-

-

(1)

-

-

-

ยอดบัญชีในงบแสดงฐานะการเงินทีม ่ ค ี วามเสีย ่ ง

(152)

(144)

-

-

ประมาณการยอดซื้อสินค้า

(288)

(868)

-

-

ยอดรวมความเสี่ยงทั้งสิ้น

(440)

(1,012)

-

-

สัญญาซื้อเงินตราต่างประเทศ

420

782

-

-

ยอดความเสี่ยงคงเหลือสุทธิ

(20)

(230)

-

-

34

215

-

-

34

215

-

-

(2)

(161)

-

-

(2)

(161)

-

-

(284)

(8)

-

-

(2)

-

-

-

(288)

(169)

-

-

สัญญาซื้อเงินตราต่างประเทศ

282

160

-

-

ยอดความเสี่ยงคงเหลือสุทธิ

(6)

(9)

-

-

ลูกหนี้การค้า

11

-

-

-

เจ้าหนี้การค้า

(2)

-

-

-

9

-

-

-

(1)

-

-

-

ยอดรวมความเสี่ยงทั้งสิ้น

8

-

-

-

ยอดความเสี่ยงคงเหลือสุทธิ

8

-

-

-

เงินเหรียญฮ่องกง เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด

7

ยอดบัญชีในงบแสดงฐานะการเงินทีม ่ ค ี วามเสีย ่ ง เงินเยนญี่ปุ่น เจ้าหนี้อื่น ยอดบัญชีในงบแสดงฐานะการเงินทีม ่ ค ี วามเสีย ่ ง ประมาณการยอดซื้อเครื่องจักร ประมาณการหนี้สินอื่น ยอดรวมความเสี่ยงทั้งสิ้น

23

เงินตราต่างประเทศอื่นๆ

ยอดบัญชีในงบแสดงฐานะการเงินทีม ่ ค ี วามเสีย ่ ง ประมาณการหนี้สินอื่น

ความเสี่ยงทางด้านสินเชื่อ ความเสี่ยงทางด้านสินเชื่อ คือความเสี่ยงที่ลูกค้าหรือคู่สัญญาไม่สามารถชําระหนี้แก่กลุ่มบริษัทตามเงื่อนไขที่ตกลงไว้เมื่อครบกําหนด ฝ่ายบริหารได้กําหนดนโยบายทางด้านสินเชื่อเพื่อควบคุมความเสี่ยงทางด้านสินเชื่อดังกล่าวโดยสม่ําเสมอ โดยการวิเคราะห์ฐานะทางการเงินของ ลูกค้าทุกรายที่ขอวงเงินสินเชื่อในระดับหนึ่งๆ ณ วันที่รายงานไม่พบว่ามีความเสี่ยงจากสินเชื่อที่เป็นสาระสําคัญ ความเสี่ยงสูงสุดทางด้านสินเชื่อ แสดงไว้ในราคาตามบัญชีของสินทรัพย์ทางการเงินแต่ละรายการในงบแสดงฐานะการเงิน อย่างไรก็ตามเนื่องจากกลุ่มบริษัทมีฐานลูกค้าจํานวนมาก ฝ่ายบริหารไม่ได้คาดว่าจะเกิดผลเสียหายที่มีสาระสําคัญจากการเก็บหนี้ไม่ได้


รายงานประจํ า ปี 2555 บริ ษ ั ท ไทยเบฟเวอเรจ จํ า กั ด (มหาชน)

งบการเงิ น

207

ความเสี่ยงจากสภาพคล่อง กลุ่มบริษัทมีการควบคุมความเสี่ยงจากการขาดสภาพคล่องโดยการรักษาระดับของเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดให้เพียงพอต่อการดําเนินงาน ของกลุ่มบริษัท และเพื่อทําให้ผลกระทบจากความผันผวนของกระแสเงินสดลดลง การกําหนดมูลค่ายุติธรรม นโยบายการบัญชีและการเปิดเผยของกลุ่มบริษัทกําหนดให้มีการกําหนดมูลค่ายุติธรรมทั้งสินทรัพย์และหนี้สินทั้งทางการเงินและไม่ใช่ทางการเงิน มูลค่ายุติธรรม หมายถึงจํานวนเงินที่ผู้ซื้อและผู้ขายตกลงแลกเปลี่ยนสินทรัพย์หรือชําระหนี้สินกัน ในขณะที่ทั้งสองฝ่ายมีความรอบรู้และเต็มใจใน การแลกเปลี่ยนกัน และสามารถต่อรองราคากันได้อย่างเป็นอิสระในลักษณะของผู้ที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกัน วัตถุประสงค์ของการวัดมูลค่าและ/หรือ การเปิดเผยมูลค่ายุติธรรมถูกกําหนดโดยวิธีต่อไปนี้ ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสมมติฐานในการกําหนดมูลค่ายุติธรรมถูกเปิดเผยใน หมายเหตุที่ เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์และหนี้สินนั้นๆ มูลค่ายุติธรรมของลูกหนี้การค้าและลูกหนี้อื่น และเงินให้กู้ยืมและลูกหนี้กิจการที่เกี่ยวข้องกันเป็นมูลค่าที่ใกล้เคียงกับมูลค่าตามบัญชี มูลค่ายุติธรรมของเงินลงทุนระยะยาวอื่นเป็นมูลค่าที่ใกล้เคียงกับราคาที่บันทึกในบัญชี อัตราดอกเบี้ยของเงินลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลเป็นอัตราคงที่ มูลค่ายุติธรรมของเจ้าหนี้การค้า เงินกู้ยืมจากกิจการที่เกี่ยวข้องกันและกิจการอื่น เจ้าหนี้กิจการที่เกี่ยวข้องกัน และหนี้สินหมุนเวียนอื่นเป็นมูลค่าที่ ใกล้เคียงกับมูลค่าตามบัญชี มูลค่ายุติธรรมของเงินกู้ยืมเป็นมูลค่าที่ใกล้เคียงกับมูลค่าตามบัญชี เงินกู้ยืมมีอัตราดอกเบี้ยใกล้เคียงกับอัตราดอกเบี้ยในตลาด หากมีราคาตลาด มูลค่ายุติธรรมของสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าถือตามราคาตลาดของวันที่ทําสัญญาล่วงหน้า ในกรณีที่ไม่มีราคา ตลาด ให้ประมาณมูลค่ายุติธรรมโดยการคิดลดจากผลต่างระหว่างราคาล่วงหน้าตามสัญญา กับราคาล่วงหน้าของสัญญาปัจจุบัน ณ วันที่รายงานที่ ครบกําหนดในวันเดียวกัน โดยใช้อัตราดอกเบี้ยประเภทที่ใช้กับธุรกรรมการเงินที่ปลอดความเสี่ยง เช่น พันธบัตรรัฐบาล มูลค่ายุติธรรมของสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า ณ วันที่ 31 ธันวาคม มีดังนี้ สกุลเงิน 2555

งบการเงินรวม 2554

2555

(ล้าน)

2554

(ล้านบาท)

สัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศ สินทรัพย์ เงินเหรียญสิงคโปร์

399.10

0.70

10,058

17

เงินปอนด์สเตอร์ลิง

-

0.04

-

2

10,058

19

รวม หนี้สิน เงินยูโร เงินปอนด์สเตอร์ลิง เงินเหรียญออสเตรเลีย เงินเหรียญสหรัฐอเมริกา เงินเยนญี่ปุ่น รวม

11

15

436

636

4

4

188

183

13

24

415

769

7

16

223

504

789

387

281

159

1,543

2,251


งบการเงิ น

208

39. ภาระผูกพันกับบุคคลหรือกิจการที่ไม่เกี่ยวข้องกัน งบการเงินรวม 2555 2554

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2555 2554 (ล้านบาท)

ภาระผูกพันรายจ่ายฝ่ายทุน สัญญาที่ยังไม่ได้รับรู้ ที่ดิน

52

86

-

-

641

131

-

-

เครื่องจักรและอุปกรณ์

1,028

251

-

-

โปรแกรมคอมพิวเตอร์

7

14

-

-

1,728

482

-

-

ภายในหนึ่งปี

455

365

8

6

หลังจากหนึ่งปีแต่ไม่เกินห้าปี

379

342

17

10

91

113

-

-

925

820

25

16

2,224

2,226

-

-

-

-

อาคารและสิ่งปลูกสร้างอื่น

รวม ภาระผูกพันตามสัญญาเช่าดําเนินงานที่ยกเลิกไม่ได้

หลังจากห้าปี รวม ภาระผูกพันอื่นๆ สัญญาซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า สัญญาขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า

(11)

(19)

สัญญาซื้อสินค้าและวัตถุดิบ

1,376

2,365

-

-

สัญญาจ้างผู้ชํานาญการ

1,242

1,316

210

222

เลตเตอร์ออฟเครดิตสําหรับซื้อ สินค้าและวัสดุที่ยังไม่ได้ใช้

366

219

-

-

สัญญาบริการ

747

525

1

8

สัญญาโฆษณาและสปอนเซอร์

509

270

-

-

สัญญาซื้อกากนํ้าตาล

959

195

-

-

หนังสือคํ้าประกันจากธนาคาร

368

296

40

34

31

4

-

-

7,811

7,397

251

264

สัญญาอื่นๆ รวม ภาระผูกพันรายจ่ายฝ่ายทุนที่สําคัญ

บริษัทย่อยทางอ้อมแห่งหนึ่งได้ทําสัญญาก่อสร้างอาคารโรงงานและติดตั้งเครื่องจักรกับบริษัทหลายแห่ง ในปี 2552 บริษัทย่อยดังกล่าวลงทุน ในโครงการก่อสร้างอาคารโรงงานและติดตั้งเครื่องจักรสําหรับผลิตเครื่องดื่มและบรรจุขวด PET แบบ Cold Aseptic Filling ภายในวงเงินไม่เกิน 1,430 ล้านบาท และต่อมาในปี 2553 บริษัทย่อยดังกล่าวได้มีการลงทุนเพิ่มเติมสําหรับโครงการก่อสร้างอาคารและเครื่องจักรบรรจุแบบกล่อง UHT ภายในวงเงินไม่เกิน 980 ล้านบาท โครงการดังกล่าวได้เริ่มดําเนินการผลิตและจัดจําหน่ายในปี 2554


รายงานประจํ า ปี 2555 บริ ษ ั ท ไทยเบฟเวอเรจ จํ า กั ด (มหาชน)

งบการเงิ น

209

ภาระผูกพันอื่นๆ ที่สําคัญ สัญญาว่าจ้างผู้ชํานาญการ ในปี 2547 บริษัทและบริษัทย่อย 4 บริษัท ทําสัญญาว่าจ้างผู้ชํานาญการผู้หนึ่งในการควบคุมดูแลการผลิตและปรุงสุรา “หัวเชื้อสุรา” โดยมีระยะ เวลาจ้าง 40 ปี นับแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2547 ถึงวันที่ 1 สิงหาคม 2587 ภายใต้เงื่อนไขของสัญญา บริษัทและบริษัทย่อยมีภาระต้องจ่ายค่าจ้างแก่ ผู้ชํานาญการเป็นรายเดือน รวมเดือนละจํานวน 4.3 ล้านบาท โดยเพิ่มค่าจ้างในอัตราร้อยละ 5 ทุกๆ รอบ 12 เดือน ในช่วงเวลา 20 ปีแรก นับตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2547 ถึงวันที่ 1 สิงหาคม 2567 หลังจากนั้นบริษัทและบริษัทย่อยจะจ่ายค่าจ้างเหมาเป็นรายเดือน รวมเดือนละจํานวน 0.25 ล้านบาทจนครบกําหนดตามสัญญา ค่าจ้างภายใต้สัญญาเป็นจํานวนเงินรวม 1,766.2 ล้านบาท ต่อมามีการทําบันทึกข้อตกลงแนบท้าย เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2549 ให้บริษัทและบริษัทย่อยจ่ายเงินจํานวนรวม 2,000 ล้านบาท ให้แก่ผู้ชํานาญการท่านนี้เพิ่มเติม ดังนั้นค่าจ้างทั้งสิ้น ภายใต้สัญญาทั้งส่วนที่บริษัทและบริษัทย่อยได้จ่ายไปแล้วและส่วนที่ยังไม่ได้จ่ายมีจํานวนเงินรวม 3,766.2 ล้านบาท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2555 ค่าจ้างที่จะจ่ายตลอดอายุสัญญาคงเหลือมีจํานวนเงิน 1,241.7 ล้านบาท สัญญาสปอนเซอร์ เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2555 บริษัทย่อยแห่งหนึ่งได้ทําสัญญาสปอนเซอร์กับสโมสรฟุตบอล 2 แห่งในประเทศสเปน เป็นเวลา 3 ปี ตั้งแต่วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2555 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2558 และตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2555 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2557 เพื่อทําการประชาสัมพันธ์สินค้า ของบริษท ั ตามขอบเขตทีร่ ะบุในสัญญา (โดยสามารถใช้ชอ่ื ทางการค้า เครือ่ งหมายการค้า รูปภาพ และตราสัญลักษณ์ของสโมสร) บริษท ั ย่อยดังกล่าว มีภาระผูกพันต้องจ่ายเงินรวม 6.55 ล้านยูโร ตลอดระยะเวลา 3 ปี ตามเงื่อนไขที่กําหนดไว้ในสัญญา ในปี 2553 บริษัทย่อยแห่งหนึ่งได้ต่อสัญญาสปอนเซอร์กับสโมสรฟุตบอลเอฟเวอร์ตันในสหราชอาณาจักรเป็นเวลา 3 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2554 ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2557 เพื่อทําการประชาสัมพันธ์ธุรกิจของกลุ่มบริษัทไป ทั่วโลก ภายใต้เงื่อนไขของสัญญาบริษัทย่อยดังกล่าว มีภาระผูกพันต้องจ่ายเงินขั้นต่ําจํานวน 0.6 ล้านปอนด์สเตอร์ลิง และสูงสุดจํานวน 2.6 ล้านปอนด์สเตอร์ลิงต่อปี โดยขึ้นอยู่กับผลงานของ ทีมฟุตบอลเอฟเวอร์ตันในแต่ละปี สัญญาแต่งตั้งผู้จัดจําหน่ายสินค้า ในปี 2551 บริษัทย่อยทางอ้อมแห่งหนึ่งได้ต่อสัญญาแต่งตั้งให้บริษัทในประเทศแห่งหนึ่งเป็นผู้จัดจําหน่ายผลิตภัณฑ์ประเภทชาเขียว โดยสัญญา มีกําหนดระยะเวลา 3 ปี นับตั้งแต่แต่วันที่ 4 พฤศจิกายน 2551 ถึงวันที่ 3 พฤศจิกายน 2554 ต่อมาได้มีการต่ออายุสัญญาอีก 3 ปี มีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 4 พฤศจิกายน 2554 สิ้นสุดวันที่ 3 พฤศจิกายน 2557 สัญญาซื้อขายขวดพีอีทีบรรจุร้อน ในปี 2548 บริษัทย่อยทางอ้อมแห่งหนึ่งได้ทําสัญญาซื้อขวดพีอีทีบรรจุร้อนกับบริษัทผู้ผลิตขวดในประเทศแห่งหนึ่ง ตามปริมาณที่บริษัทย่อย ทางอ้อมกําหนดในแต่ละเดือนเป็นระยะเวลา 15 ปี ตามราคาที่ระบุในสัญญา โดยเริ่มซื้อขายงวดแรกเมื่อพ้นระยะเวลา 150 วัน นับตั้งแต่วันที่ลงนาม ในสัญญา สัญญาซื้อขายวัตถุดิบและวัสดุบรรจุภัณฑ์ ในปี 2550 บริษัทย่อยและบริษัทย่อยทางอ้อมได้ทําสัญญาซื้อขายวัตถุดิบและวัสดุบรรจุภัณฑ์กับบริษัทในประเทศแห่งหนึ่ง ให้เป็นผู้ดําเนินการ กระจายสินค้าสู่ร้านค้าในเครือ และควบคุมการบริหารวัตถุดิบและวัสดุบรรจุภัณฑ์ โดยบริษัทย่อยทั้งสองบริษัทตกลงที่จะชําระค่าบริการตามอัตราที่ระบุ ไว้ในสัญญา โดยสัญญาดังกล่าวมีกําหนดระยะเวลา 3 ปี เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2550 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2553 และสามารถต่ออายุสัญญา ได้อีก 3 ปี ต่อมาในเดือนเมษายน 2553 บริษัทย่อยดังกล่าวได้ทําสัญญาฉบับใหม่มีกําหนดระยะเวลา 2 ปี 8 เดือน เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2553 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2555 สัญญาว่าจ้างขนส่งสินค้า ในปี 2550 บริษัทย่อยและบริษัทย่อยทางอ้อมได้ทําสัญญาว่าจ้างขนส่งสินค้ากับบริษัทในประเทศแห่งหนึ่ง เพื่อขนส่งสินค้าจากโรงงานผลิตสินค้า ไปยังปลายทางที่กําหนด โดยมีอัตราค่าขนส่งสินค้าคิดเป็นราคาต่อเที่ยวรถตามที่ระบุในสัญญา สัญญามีกําหนดระยะเวลา 3 ปี เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2550 ถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2553 ต่อมาเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2553 บริษัทย่อยดังกล่าวได้ทําสัญญาปรับอัตราค่าขนส่ง สินค้าใหม่ สัญญามีกําหนดระยะเวลา 3 ปี เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2555 และต่ออายุสัญญาได้คราวละ 1 ปี สัญญาจะสิ้นสุดเมื่อฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กําหนดในสัญญา หรือยกเลิกสัญญาด้วยการแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรล่วงหน้า ไม่น้อยกว่า 30 วัน


งบการเงิ น

210

สัญญาสิทธิการดําเนินกิจการ บริษัทย่อยแห่งหนึ่งทําสัญญาการใช้สิทธิเพื่อดําเนินกิจการร้านอาหารญี่ปุ่นในราชอาณาจักรไทยในฐานะผู้ได้รับอนุญาตหลักกับบริษัทต่างประเทศ แห่งหนึ่ง สัญญามีกําหนดระยะเวลา 10 ปี เริ่มตั้งแต่วันที่ 20 พฤษภาคม 2551 โดยสัญญาสามารถต่ออายุออกไปอีกคราวละ 10 ปี หากไม่มี การส่งหนังสือแจ้งยกเลิกสัญญาก่อนสัญญาหมดอายุภายใน 180 วัน โดยบริษัทตกลงที่จะชําระค่าธรรมเนียมการอนุญาตให้ใช้สิทธิเริ่มแรก ค่าธรรมเนียมการอนุญาตให้ใช้สิทธิ และค่าสิทธิตามที่ระบุไว้ในสัญญา ต่อมาเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2554 ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารของบริษัท มีมติยกเลิกสัญญาดังกล่าว โดยบริษัทไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยใดๆ สําหรับการยกเลิกสัญญาก่อนถึงวันที่ครบกําหนดสัญญา เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2552 บริษัทย่อยดังกล่าวทําสัญญาการใช้สิทธิเพื่อดําเนินกิจการร้านอาหารญี่ปุ่นในราชอาณาจักรไทยในฐานะผู้ได้รับอนุญาต หลักกับบริษัทต่างประเทศอีกแห่งหนึ่ง สัญญามีกําหนดระยะเวลา 10 ปี เริ่มตั้งแต่วันที่ 29 มิถุนายน 2552 โดยสัญญาสามารถต่ออายุออกไปอีก คราวละ 10 ปี หากไม่มีการส่งหนังสือแจ้งยกเลิกสัญญาก่อนสัญญาหมดอายุภายใน 180 วัน โดยบริษัทตกลงที่จะชําระค่าธรรมเนียมการอนุญาตให้ ใช้สิทธิเริ่มแรก ค่าธรรมเนียมการอนุญาตให้ใช้สิทธิ และค่าสิทธิ ตามที่ระบุไว้ในสัญญา สัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติ เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2552 บริษัทย่อยทางอ้อมแห่งหนึ่ง ได้ทําสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติกับบริษัทในประเทศแห่งหนึ่งตามเงื่อนไขที่กําหนด ไว้ในสัญญา มีกําหนดระยะเวลา 7 ปี เริ่มตั้งแต่วันที่ 21 ธันวาคม 2552 ถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2559 และสามารถต่ออายุสัญญาได้โดยแจ้งเป็น ลายลักษณ์อักษรก่อนระยะเวลาของสัญญาจะสิ้นสุดลงไม่น้อยกว่า 90 วัน

40. เหตุการณ์ภายหลังรอบระยะเวลาที่รายงาน ในการประชุมคณะกรรมการบริษัทเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2556 กรรมการมีมติให้ความเห็นชอบการเสนอจ่ายเงินปันผลในอัตราหุ้นละ 0.42 บาท รวมเป็นจํานวนเงิน 10,546 ล้านบาท โดยได้จ่ายเป็นเงินปันผลระหว่างกาลไปแล้วในอัตราหุ้นละ 0.14 บาท รวมเป็นจํานวนเงิน 3,515 ล้านบาท คงเหลือการจ่ายเงินปันผลในอัตราหุ้นละ 0.28 บาท รวมเป็นจํานวนเงิน 7,031 ล้านบาท ในการประชุมสามัญประจําปีของผู้ถือหุ้นของบริษัทร่วมแห่งหนึ่งของกลุ่มบริษัทเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2556 ได้มีมติอนุมัติการจัดสรรกําไรเป็น เงินปันผลสําหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2555 ในอัตราหุน ้ ละ 0.12 เหรียญสิงคโปร์ โดยเงินปันผลดังกล่าวได้จา่ ยในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2556

41. มาตรฐานการรายงานทางการเงินที่ยังไม่ได้ใช้ กลุ่มบริษัทยังไม่ได้ใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงินที่ออกและปรับปรุงใหม่ดังต่อไปนี้ ณ วันที่รายงาน เนื่องจากยังไม่มีการบังคับใช้ มาตรฐาน การรายงานทางการเงินที่ออกและปรับปรุงใหม่กําหนดให้ถือปฏิบัติกับงบการเงินสําหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม ในปีดังต่อไปนี้

มาตรฐานการรายงานทางการเงิน มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 21 (ปรับปรุง 2552) มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 8

เรื่อง ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของ อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ส่วนงานดําเนินงาน

ปีที่มีผลบังคับใช้ 2556 2556

กลุ่มบริษัทยังไม่ได้ใช้มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 21 (ปรับปรุง 2552) ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ เนื่องจากมาตรฐานการรายงานทางการเงินนี้กําหนดให้ถือปฏิบัติกับงบการเงินสําหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2556 ผู้บริหารคาดว่าจะนํามาตรฐานการรายงานทางการเงินใหม่ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชีมาใช้และถือปฏิบัติ โดยผู้บริหารพิจารณาถึงผลกระทบที่ อาจเกิดขึ้นจากการใช้มาตรฐานการบัญชีที่ปรับปรุงใหม่ดังกล่าวต่องบการเงินรวมหรืองบการเงินเฉพาะกิจการ ซึ่งมีผลกระทบที่มีสาระสําคัญต่อ งบการเงินในงวดที่ถือปฏิบัติ มาตรฐานการบัญชีดังกล่าวมีดังต่อไปนี้


รายงานประจํ า ปี 2555 บริ ษ ั ท ไทยเบฟเวอเรจ จํ า กั ด (มหาชน)

งบการเงิ น

211

มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 21 (ปรับปรุง 2552) – ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ การเปลี่ยนแปลงหลักการของมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 21 เพื่อเสนอแนวคิดของสกุลเงินต่างๆ ที่ใช้ในการรายงาน ซึ่งเป็นสกุลเงินที่พิจารณาว่า เป็นสกุลเงินในสภาวะแวดล้อมทางเศรษฐกิจที่กิจการนั้นประกอบกิจการ มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 21 กําหนดให้กิจการระบุสกุลเงินที่ใช้รายงานและ แปลงค่ารายการที่เป็นสกุลต่างประเทศให้เป็นสกุลเงินที่ใช้ในการดําเนินงาน และรายงานผลกระทบจากการแปลงค่าดังกล่าวตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 21 ซึง่ มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 21 ได้ให้คาํ นิยามสําหรับเงินตราต่างประเทศคือ เงินตราสกุลอืน ่ นอกเหนือจากสกุลเงินทีใ่ ช้ในการดําเนินงาน ของกิจการ ผู้บริหารกําหนดสกุลเงินที่ใช้ในการดําเนินงานของบริษัทเป็นสกุลเงินบาท ดังนั้นการถือปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 21 สําหรับรอบระยะ เวลาบัญชีที่เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2556 จะไม่ได้รับผลกระทบที่มีสาระสําคัญต่อสินทรัพย์ หนี้สิน และกําไรสะสมของกลุ่มบริษัท มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 8 – เรื่อง ส่วนงานดําเนินงาน มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 8 นําเสนอหลักการที่เปลี่ยนไปจากเดิม โดยมีหลักการเปิดเผยส่วนงานดําเนินงานจากข้อมูลภายในที่

นําเสนอให้ผู้มีอํานาจตัดสินใจสูงสุดด้านการดําเนินงาน การเปลี่ยนนโยบายการบัญชีดังกล่าวกระทบเพียงการเปิดเผยข้อมูลเท่านั้นไม่มีผลกระทบต่อ งบการเงินของกลุ่มบริษัท

42. การจัดประเภทรายการใหม่ รายการบางรายการในงบการเงินปี 2554 ได้มีการจัดประเภทรายการใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับการนําเสนองบการเงินปี 2555 การจัดประเภทรายการ ที่มีสาระสําคัญเป็นดังนี้

ก่อนจัด ประเภทใหม่

2554 งบการเงินรวม ปรับปรุงรายการ จากการปันส่วน จัดประเภท ราคาซื้อธุรกิจ* รายการใหม่

หลังจัด ประเภทใหม่ (ล้านบาท)

งบแสดงฐานะการเงิน เงินลงทุนเผื่อขาย

73

-

เงินลงทุนระยะยาวอื่น

67

94

(73)

-

73

234

สินทรัพย์ไม่มีตัวตนอื่น

271

(2)

(98)

171

หนี้สินไม่หมุนเวียนอื่น

225

-

(98)

127

92

-

งบกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ เงินปันผลรับ

-

-

1

1

กําไรสุทธิจากอัตราแลกเปลี่ยน

-

-

84

84

(4)

(85)

672

(4)

-

รายได้อื่น

761

การจัดประเภทรายการใหม่นี้เนื่องจากผู้บริหารเห็นว่ามีความเหมาะสมกับธุรกิจของกลุ่มบริษัทมากกว่า *

รายการปรับปรุงดังกล่าวไม่ใช่การจัดประเภทรายการใหม่ แต่เป็นการปรับปรุงย้อนหลังเพื่อสะท้อนถึงผลของการประเมินราคาอิสระและการปันส่วนราคาซื้อของธุรกิจที่ซื้อมา ในระหว่างปี 2554 (ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ในหมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 5)


ร า ย ง า น ร า ย ก า ร กั บ กิ จ ก า ร ที่ เ กี่ ย ว ข้ อ ง กั น

212

รายการกับกิจการที่เกี่ยวข้องกัน บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จํากัด (มหาชน) สําหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2555

มูลค่ารวมของรายการกับกิจการ ที่เกี่ยวข้องกันสําหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2555 (ไม่รวมรายการที่มีมูลค่าน้อยกว่า 100,000 เหรียญสิงคโปร์* และรายการที่ดําเนินการ ตามที่ได้รับอนุมัติจากผู้ถือหุ้น) (หน่วย : พันบาท) ก

รายได้จากการขายและรายได้ค่าบริการ

1

บจก.เทอราโกร เฟอร์ติไลเซอร์

2 3

มูลค่ารวมของรายการกับกิจการ ที่เกี่ยวข้องกันตามที่ได้รับอนุมัติ ตาม GENERAL MANDATE (ไม่รวม รายการที่มีมูลค่าน้อยกว่า 100,000 เหรียญสิงคโปร์*) (หน่วย : พันบาท)

8,446.50

-

บจก.พิเศษกิจ

-

42,023.74

บจก.พี เอส รีไซเคิล

-

94,443.05

4

บมจ.เบอร์ลี่ ยุคเกอร์

-

126,852.43

5

บจก.นํ้าตาลทิพย์สุโขทัย

-

9,675.87

6

บจก.ทีซีซี โฮลดิ้ง

-

6,014.72

7

บจก.ทีซีซี โฮเทลคอลเล็คชั่น

-

3,312.03

8

บจก.เทอราโกร ไบโอ-เทค

29,488.89

-

9

บมจ.ไทยแอลกอฮอล์

10

บจก.ตะวันออกเคมีเกิ้ล

รายได้อื่น ๆ

1 2

-

442,273.33

142,621.30

-

บจก.พิเศษกิจ

-

16,623.94

บจก.พี เอส รีไซเคิล

-

3,394.80

3

บมจ.เบอร์ลี่ ยุคเกอร์

-

2,733.58

4

บมจ.อาคเนย์ประกันภัย ***

-

53,957.58

5

บจก.แก้วกรุงไทย

-

42,482.05

ต้นทุนขาย

1

บจก.พี เอส รีไซเคิล

-

224,139.49

2

บจก.นํ้าตาลทิพย์กําแพงเพชร **

-

31,907.07

3

บจก.อุตสาหกรรมนํ้าตาลสุพรรณบุรี

-

49,665.51

4

บจก.อาคเนย์แคปปิตอล

-

9,722.65

5

บจก.ที.ซี.ซี. เทคโนโลยี

-

7,074.05

6

บจก.ไทย เบเวอร์เรจ แคน

-

1,808,600.85

7

บมจ.เบอร์ลี่ ยุคเกอร์

-

1,486,124.52

8

บมจ.อาคเนย์ประกันภัย ***

-

113,568.88

9

บมจ.อาคเนย์ประกันชีวิต ***

-

6,893.71

10

บจก.นํ้าตาลทิพย์สุโขทัย

-

98,724.70

11

บจก.เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ ฟู้ดส์

-

101,522.45

12

กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้องนิวโนเบิล

-

16,606.80

13

บจก.ทีซีซี โฮเทลคอลเล็คชั่น

-

3,027.69

14

บจก.พรรณธิอร เทรดดิ้ง

-

1,426,639.36

15

บจก.ไทย มาลายา กลาส

138,143.51

3,012,208.77

16

บจก.ธนสินธิ

-

12,191.43


รายงานประจํ า ปี 2555 บริ ษ ั ท ไทยเบฟเวอเรจ จํ า กั ด (มหาชน)

ร า ย ง า น ร า ย ก า ร กั บ กิ จ ก า ร ที่ เ กี่ ย ว ข้ อ ง กั น

213

มูลค่ารวมของรายการกับกิจการ ที่เกี่ยวข้องกันสําหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2555 (ไม่รวมรายการที่มีมูลค่าน้อยกว่า 100,000 เหรียญสิงคโปร์* และรายการที่ดําเนินการ ตามที่ได้รับอนุมัติจากผู้ถือหุ้น)

มูลค่ารวมของรายการกับกิจการ ที่เกี่ยวข้องกันตามที่ได้รับอนุมัติ ตาม GENERAL MANDATE (ไม่รวม รายการที่มีมูลค่าน้อยกว่า 100,000 เหรียญสิงคโปร์*)

ค่าใช้จ่ายในการขาย

1

บจก.อาคเนย์แคปปิตอล

-

11,357.90

2

บมจ.เบอร์ลี่ ยุคเกอร์

-

57,475.17

3

บจก.พลาสติกเอกชน

3,168.00

-

4

บมจ.อาคเนย์ประกันภัย ***

-

22,295.26

5

บจก.เอ็น.ซี.ซี.แมนเนจเม้นท์ แอนด์ ดิเวลลอปเม้นท์

-

4,941.09

6

บจก.เอฟ แอนด์ บี อินเตอร์เนชั่นแนล

-

3,361.98

7

บจก.ทิพย์พัฒน อาร์เขต

-

3,605.91

8

บจก.แอทมีเดียฟร้อนท์

-

6,346.15

ค่าใช้จ่ายในการบริหาร

1

บจก.บางนากลาส

-

4,868.80

2

บจก.อาคเนย์แคปปิตอล

-

139,439.44

3

บจก.ที.ซี.ซี. เทคโนโลยี

-

55,492.60

4

บมจ.เบอร์ลี่ ยุคเกอร์

-

4,946.04

5

บมจ.อาคเนย์ประกันภัย ***

-

60,092.31

6

บมจ.อาคเนย์ประกันชีวิต ***

-

9,620.70

7

บจก.พลาซ่าแอทธินี โฮเต็ล (ประเทศไทย)

-

48,352.77

8

บจก.นอร์ธปาร์ค กอล์ฟแอนด์สปอร์ตคลับ

-

13,316.25

9

บจก.ทีซีซี โฮเทลคอลเล็คชั่น

8,668.89

8,880.33

10

กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้องไดนามิค แอสเส็ทส์

5,510.33

-

11

BEST WISHES CO., LTD

5,795.73

-

12

กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้องเบสท์ ฟอร์จูน

37,494.35

-

13

บจก.ทิพย์พัฒน อาร์เขต

2,753.71

3,294.98

14

INTERCONTINENTAL SINGAPORE

2,994.38

-

15

บจก.เอ็กซ์เซลเล้นท์ เอ็นเนอร์ยี่ อินเตอร์เนชั่นแนล

2,584.00

-

16

บจก.ตะวันออกเคมีเกิ้ล

6,885.00

-

17

บจก.บิสซิเนส โพรเซส เอาท์ซอร์สซิ่ง

18

บจก.เลิศรัฐการ

ขายทรัพย์สิน

1

บมจ.อาคเนย์ประกันภัย ***

2

บจก.เทอราโกร ไบโอ-เทค

ซื้อทรัพย์สิน

1

บจก.ที.ซี.ซี. เทคโนโลยี

2

บมจ.เบอร์ลี่ ยุคเกอร์

3

บมจ.อาคเนย์ประกันชีวิต ***

4 5

-

7,634.40

2,724.56

-

3,096.83

-

14,493.58

-

3,335.24

-

13,364.28

-

4,200.00

-

บมจ. อาหารสยาม

530,436.69

-

บจก.ธนสินธิ

214,253.81

-

39,915.61

-

ขายเงินลงทุน

1

บจก.ทีซีซี แลนด์

* ** ***

อัตราแลกเปลี่ยน 25.28 บาท ต่อ 1 เหรียญสิงคโปร์ เดิมชื่อ : บจก. อุตสาหกรรมนํ้าตาลแม่วัง แปรสภาพจากบริษัทจํากัดเป็นบริษัทมหาชน หมายเหตุ : 1. บริษัท ธนสินธิ เดิมเคยเป็นบริษัทย่อยทางตรงของ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จํากัด (มหาชน) เนื่องจากเราได้ขาย บริษัท ธนสินธิ จํากัด เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2555 บริษัท ธนสินธิ จํากัด จึงไม่ได้เป็นบริษัทย่อยทางตรง ของ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จํากัด (มหาชน) อีกต่อไป


ร า ย ง า น ร า ย ก า ร กั บ กิ จ ก า ร ที่ เ กี่ ย ว ข้ อ ง กั น

214 ภาคผนวก เรื่องการแก้ไขเพิ่มเติมและต่ออายุธุรกรรมที่ได้รับอนุมัติจากผู้ถือหุ้น สําหรับธุรกรรมที่ทํากับบุคคลที่มีส่วนได้เสีย (Shareholders' Mandate) นี้ จะเสนอให้ที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจําปี 2556 พิจารณาอนุมัติต่อไป

ภาคผนวก การแก้ไขเพิ่มเติมและต่ออายุธุรกรรมที่ได้รับอนุมัติจากผู้ถือหุ้น สําหรับธุรกรรมที่ทํากับบุคคลที่มีส่วนได้เสีย

1. ความเดิม คณะกรรมการของบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จํากัด (มหาชน) (“บริษัท”) อ้างถึง (ก) หนังสือเชิญประชุมสามัญผู้ถือหุ้นของบริษัท ฉบับลงวันที่ 9 เมษายน 2556 (“หนังสือเชิญประชุม”) พร้อมกับรายงานประจําปี 2555 (“รายงานประจําปี”) ในการเรียกประชุมสามัญผู้ถือหุ้นของบริษัท (“การประชุม สามัญผู้ถือหุ้น”) ซึ่งจะได้จัดขึ้นในวันที่ 25 เมษายน 2556 และ (ข) มติการประชุมที่ 9 ตามที่ระบุไว้ในหนังสือเชิญประชุม

2. คํานิยาม คํานิยามดังต่อไปนี้ หรือคําจํากัดความตามที่ตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ได้ให้นิยามไว้ จะมีผลบังคับใช้ในภาคผนวกนี้ตลอดทั้งฉบับ (รวมถึงตาราง ต่างๆ ที่แนบรวมอยู่ในภาคผนวก) เว้นแต่ในกรณีที่มีการกล่าวเป็นอย่างอื่น “ตลาดหลักทรัพย์รับอนุมัติ” หมายถึงตลาดหลักทรัพย์ซึ่งมีกฎระเบียบที่รักษาผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้นเกี่ยวกับธุรกรรมของบุคคลที่มีส่วนได้เสียซึ่ง มีลักษณะตามที่กําหนดไว้ในหมวด 9 ของคู่มือเกี่ยวกับการรับหลักทรัพย์ “บุคคลที่เกี่ยวข้อง”

(ก) เกี่ยวข้องกับกรรมการ กรรมการผู้อํานวยการใหญ่ ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้ถือหุ้นที่มีอํานาจควบคุม (กรณีเป็น บุคคลธรรมดา) (1) บุคคลที่มีความสัมพันธ์ทางสายโลหิตในลําดับติดกัน (กล่าวคือ คู่สมรส บุตรธิดา บุตรบุญธรรม บุตรที่ ติดมากับคู่สมรส พี่น้องร่วมสายโลหิต และบิดามารดา) (2) ผูด ้ แู ลทรัพย์สน ิ (Trustee) ของทรัสต์ (Trust) ใดๆ ซึง่ บุคคลทีม ่ ค ี วามสัมพันธ์ทางสายโลหิตในลําดับติดกัน เป็นผู้รับผลประโยชน์ หรือเป็นผู้ที่ได้รับเลือกให้ได้รับผลประโยชน์ในกรณีของทรัสต์ให้อํานาจทรัสตีตัดสินใจ (Discretionary Trust) และ (3) บริษัทใดๆ ซึ่งบุคคลที่มีความสัมพันธ์ทางสายโลหิตในลําดับติดกันมีส่วนได้เสียรวมกัน (ไม่ว่าทางตรงหรือ ทางอ้อม) ร้อยละ 30 หรือมากกว่า และ (ข) เกี่ยวกับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้ถือหุ้นที่มีอํานาจควบคุม (ซึ่งเป็นบริษัท) บริษัทอื่นใดซึ่งเป็นบริษัทย่อย หรือบริษัท ที่ถือหุ้น (Holding Company) หรือบริษัทย่อยของบริษัทที่ถือหุ้น หรือบริษัทที่ตนและ/หรือบริษัทอื่นหรือบริษัท หลายแห่งรวมกัน (ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม) มีส่วนได้เสียรวมกันร้อยละ 30 หรือมากกว่า

“บริษัทร่วม”

บริษัทใดๆ ซึ่งบริษัทหรือ “กลุ่ม” ถือหุ้นอย่างน้อยร้อยละ 20 แต่ไม่เกินร้อยละ 50

“บาท”

สกุลเงินบาทตามกฎหมายของประเทศไทย

“ซีดีพี (CDP)”

ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ของตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ (The Central Depository (Pte) Limited)

“การควบคุม”

การมีอํานาจควบคุมการตัดสินใจ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม เกี่ยวกับนโยบายด้านการเงินและการดําเนินงานของบริษัท

“ผู้ถือหุ้นที่มีอํานาจควบคุม” หมายถึงบุคคลซึ่ง (ก) ถือหุ้นไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมร้อยละ 15 หรือมากกว่า ของจํานวนหุ้นที่ออกแล้วทั้งหมดของบริษัท (ไม่รวมหุ้นที่ได้ซื้อคืนมา (Treasury Shares)) ทั้งนี้ ตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์อาจกําหนดให้ บุคคลที่มีลักษณะดังกล่าว ไม่เป็นผู้ถือหุ้นที่มีอํานาจควบคุมก็ได้ หรือ (ข) ในทางปฏิบัติแล้ว มีอํานาจควบคุมบริษัท “กรรมการ”

กรรมการของบริษัท

“บุคคลที่มีความเสี่ยง”

บริษัท บริษัทย่อยของบริษัทที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ หรือตลาดหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาต หรือ บริษัทร่วมของบริษัทที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ หรือตลาดหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาต ซึ่งถูกควบคุม โดย “กลุ่ม” หรือ “กลุ่ม” และบุคคลที่มีส่วนได้เสีย

“กลุ่ม”

บริษัท บริษัทย่อยของบริษัท และบริษัทร่วมของบริษัท


รายงานประจํ า ปี 2555 บริ ษ ั ท ไทยเบฟเวอเรจ จํ า กั ด (มหาชน)

ร า ย ง า น ร า ย ก า ร กั บ กิ จ ก า ร ที่ เ กี่ ย ว ข้ อ ง กั น

215

“กรรมการอิสระ”

ให้มีความหมายตามที่ระบุไว้ในข้อ 10.1 ของภาคผนวกนี้

“ธุรกรรมที่ทํากับบุคคล ที่มีส่วนได้เสีย”

ธุรกรรมที่ทําระหว่างบุคคลที่มีความเสี่ยง (Entity at Risk) กับบุคคลที่มีส่วนได้เสีย (Interested Person)

“บุคคลที่มีส่วนได้เสีย”

กรรมการ กรรมการผู้อํานวยการใหญ่ หรือผู้ถือหุ้นที่มีอํานาจควบคุมของบริษัท หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับกรรมการ กรรมการผู้อํานวยการใหญ่ หรือผู้ถือหุ้นที่มีอํานาจควบคุม

“คู่มือเกี่ยวกับ การรับหลักทรัพย์”

คู่มือเกี่ยวกับการขอให้รับหลักทรัพย์เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนของตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์

“ผู้ถือหุ้น”

ผู้ถือหุ้นจดทะเบียนในเงินทุนของบริษัท

“ธุรกรรมที่ได้รับอนุมัติ จากผู้ถือหุ้น”

ธุรกรรมที่ได้รับอนุมัติโดยทั่วไปจากผู้ถือหุ้น (General Mandate) ซึ่งได้รับอนุมัติจากผู้ถือหุ้นและถูกขอให้พิจารณา อนุมัติต่ออายุธุรกรรมเพื่อให้บริษัทและบริษัทย่อย สามารถเข้าทําธุรกรรมที่เป็นธุรกรรมที่เกิดเป็นประจํา อันมีลักษณะ เป็นไปทางการค้าหรือก่อให้เกิดรายได้ หรือจําเป็นในการดําเนินกิจการประจําวัน กับบุคคลที่มีสว่ นได้เสียของบริษัท ตามประเภทที่ได้มีการกําหนดไว้

“SGX-ST”

ตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์

“บริษัทย่อย”

ให้มีความหมายตาม มาตรา 5 ของพระราชบัญญัติบริษัทของประเทศสิงคโปร์ (บทที่ 50)

3. ธุรกรรมที่ได้รับอนุมัติจากผู้ถือหุ้น ตามหนังสือชี้ชวนของบริษัท ฉบับลงวันที่ 19 พฤษภาคม 2549 (“หนังสือชี้ชวน”) ธุรกรรมที่ได้รับอนุมัติจากผู้ถือหุ้นนั้น ถือเสมือนว่าได้รับ ความเห็นชอบจากผู้ถือหุ้นแล้วเพื่อว่าบริษัทและบริษัทย่อยที่เป็นบริษัทที่มีความเสี่ยง (Entity at Risk) ตามความหมายที่กําหนดไว้ในข้อ 904(2) ของคู่มือเกี่ยวกับการรับหลักทรัพย์ สามารถเข้าทําธุรกรรมซึ่งเป็นกิจการอันเป็นปกติธุรกิจของบริษัทกับประเภทของบุคคลที่มีส่วนได้เสียได้ โดยการ เข้าทําธุรกรรมดังกล่าวจะต้องเป็นธุรกรรมที่ได้กระทําขึ้นเสมือนหนึ่งเป็นธุรกรรมที่ทํากับบุคคลภายนอกและเป็นไปตามข้อกําหนดทางการค้าปกติ ทั้งนี้ รายละเอียดของธุรกรรมที่ทํากับบุคคลที่มีส่วนได้เสีย และธุรกรรมที่ได้รับอนุมัติจากผู้ถือหุ้นได้เปิดเผยไว้ในหน้า 124-148 ของหนังสือชี้ชวนของ บริษัท โดยธุรกรรมดังกล่าวได้รับการแก้ไขเพิ่มเติมให้เป็นปัจจุบันในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นปีก่อนๆ ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2550 วันที่ 28 เมษายน 2551 วันที่ 29 เมษายน 2552 วันที่ 29 เมษายน 2553 วันที่ 29 เมษายน 2554 และวันที่ 27 เมษายน 2555 ตามรายละเอียด ที่ระบุไว้ในหน้า 180 ถึง 189 หน้า 201 ถึง 212 หน้า 206 ถึง 217 หน้า 195 ถึง 209 หน้า 203 ถึง 213 และหน้า 216 ถึง 229 ของรายงาน ประจําปีของบริษัทสําหรับรอบปีบัญชี สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2549 2550 2551 2552 2553 และ 2554 ตามลําดับ (ธุรกรรมที่ได้รับอนุมัติ จากผู้ถือหุ้น (“ธุรกรรมที่ได้รับอนุมัติจากผู้ถือหุ้น”))

4. การเสนอการแก้ไขเพิ่มเติมและการต่ออายุธุรกรรมที่ได้รับอนุมัติจากผู้ถือหุ้น 4.1 เสนอให้แก้ไขธุรกรรมที่ได้รับอนุมัติจากผู้ถือหุ้นเพื่อใช้กับธุรกรรมที่ทํากับบุคคลที่มีส่วนได้เสียของกลุ่มกับบุคคลที่เกี่ยวข้องของผู้ถือหุ้นที่มี อํานาจควบคุม ซึ่งก็คือ นายเจริญ สิริวัฒนภักดี และคุณหญิงวรรณา สิริวัฒนภักดี (โดยบุคคลที่เกี่ยวข้องกับผู้ถือหุ้นที่มีอํานาจควบคุม ให้เรียกรวมกันว่า “บุคคลที่มีส่วนได้เสียที่ได้รับอนุมัติ” และ “บุคคลที่มีส่วนได้เสียที่ได้รับอนุมัติ” แต่ละราย) 4.2 เนื่องจากนายเจริญ สิริวัฒนภักดี และคุณหญิงวรรณา สิริวัฒนภักดี เป็นผู้มีส่วนได้เสียในนิติบุคคลอื่นๆ หลายแห่งซึ่งประกอบกิจการทาง การค้าแตกต่างกันไปในหลายภาคธุรกิจ ดังนั้น หากกลุ่มต้องเข้าทําธุรกรรมเพื่อผลประโยชน์ของกลุ่มกับนิติบุคคลเหล่านั้นรวมไปถึงบุคคล ที่มีส่วนได้เสียที่ได้รับอนุมัติจากผู้ถือหุ้นเป็นครั้งคราว โดยธุรกรรมที่ทํากับบุคคลที่มีส่วนได้เสียที่ได้รับอนุมัติจากผู้ถือหุ้นดังกล่าว อาจจัดเป็น ธุรกรรมที่ทํากับบุคคลที่มส ี ่วนได้เสีย ซึ่งบริษัทต้องปฏิบัติตามกฎข้อ 906 ของคู่มือเกี่ยวกับการรับหลักทรัพย์ โดยการขออนุมัติจากผู้ถือหุ้น เสียก่อน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับมูลค่าของธุรกรรมนั้นๆ ดังนั้น วัตถุประสงค์ในการต่ออายุธุรกรรมที่ได้รับอนุมัติจากผู้ถือหุ้น (ซึ่งได้แก้ไขคํานิยามของ บุคคลที่มีส่วนได้เสียที่ได้รับอนุมัติ) ก็เพื่อลดความจําเป็นที่จะต้องจัดการประชุมผู้ถือหุ้น เมื่อมีการเข้าทําธุรกรรมที่มีแนวโน้มเป็นธุรกรรม ที่ทํากับบุคคลที่มส ี ่วนได้เสียซึ่งต้องเป็นธุรกรรมที่ได้รับอนุมัติ (ตามที่ให้นิยามไว้ในตาราง 1 ของภาคผนวกนี้ (“ธุรกรรมที่ได้รับอนุมัติ”)) กับ บุคคลที่มีส่วนได้เสีย ซึ่งเป็นบุคคลที่มีส่วนได้เสียที่ได้รับอนุมัติ ทั้งนี้ ธุรกรรมดังกล่าวทั้งหมดนั้น จะต้องทําขึ้นตามข้อกําหนดทางการค้า อันเป็นปกติ และไม่ก่อให้เกิดความเสียหายใดๆ ต่อผลประโยชน์ของบริษัทและผู้ถือหุ้นรายย่อยของบริษัท


ร า ย ง า น ร า ย ก า ร กั บ กิ จ ก า ร ที่ เ กี่ ย ว ข้ อ ง กั น

216

4.3 คํานิยามที่มีอยู่ของ “บุคคลที่มีส่วนได้เสียที่ได้รับอนุมัติ” ในธุรกรรมที่ได้รับอนุมัติจากผู้ถือหุ้นซึ่งได้รับอนุมัติจากผู้ถือหุ้นในการประชุมสามัญ ผู้ถือหุ้นในวันที่ 27 เมษายน 2555 ได้มีการระบุรายชื่อของบุคคลที่มีส่วนได้เสียไว้อย่างเฉพาะเจาะจง อย่างไรก็ดี วิธีดังกล่าวทําให้ไม่สามารถ ทีจ่ ะแก้ไขรายชือ่ ของบุคคลทีม ่ ส ี ว่ นได้เสียในระหว่างทีธ ่ รุ กรรมทีไ่ ด้รบ ั อนุมต ั จิ ากผูถ ้ อื หุน ้ นัน ้ ยังมีผลบังคับใช้อยู่ ซึง่ อาจจะมีความจําเป็นต้องกระทํา เช่นในกรณีที่บางบริษัทในรายชื่อนั้นในภายหลังสิ้นสภาพการเป็นบุคคลที่มีส่วนได้เสียและกรณีที่จะเพิ่มรายชื่อของบริษัทที่จัดตั้งขึ้นหรือ ซื้อกิจการมาไว้ในรายชื่อดังกล่าวเพื่อประโยชน์ต่อกลุ่ม บริษัทจึงมีความเห็นว่า การแก้ไขนิยามของ “บุคคลที่มีส่วนได้เสียที่ได้รบ ั อนุมัติ” ให้เป็น ประเภทของบุคคลที่มีส่วนได้เสีย โดยได้เพิ่มคํานิยามอื่นๆ ตามคู่มือเกี่ยวกับการรับหลักทรัพย์ด้วยนั้น จะเป็นประโยชน์ต่อกลุ่มแทนที่จะเป็น การยึดถือรายชื่อที่กําหนดไว้อย่างเฉพาะเจาะจง เพื่อวัตถุประสงค์ให้เกิดความชัดเจนและความยืดหยุ่น 4.4 นอกจากนี้ เพื่อเป็นข้อมูลให้กับผู้ถือหุ้น บุคคลที่มีส่วนได้เสียที่ได้รับอนุมัติ ณ วันที่ของภาคผนวกนี้ จะรวมถึงแต่ไม่จํากัดเฉพาะรายชื่อบริษัท และองค์กรตามที่ระบุไว้ในตาราง 2 ของภาคผนวกนี้ เพื่อไม่ให้เป็นที่สงสัย ตาราง 2 ของภาคผนวกนี้ไม่ได้ระบุรายชื่อทั้งหมดของบุคคล ที่มีส่วนได้เสียที่ได้รับอนุมัติ 4.5 ธุรกรรมใดๆ ที่ทํากับบุคคลที่มีส่วนได้เสียที่ได้รับอนุมัติ ซึ่งไม่อยู่ภายใต้ขอบเขตของธุรกรรมที่ได้รับอนุมัติจากผู้ถือหุ้น ให้เป็นไปตามข้อบังคับ บทบัญญัติที่เกี่ยวข้องในหมวด 9 ของคู่มือเกี่ยวกับการรับหลักทรัพย์ 4.6 การเสนอแก้ไขเพิ่มเติมธุรกรรมที่ได้รับอนุมัติจากผู้ถือหุ้นฉบับปัจจุบันนี้ ได้ระบุไว้ในตาราง 1 ของภาคผนวกนี้ โดยได้ขีดเส้นใต้ข้อความที่เสนอ ให้แก้ไขเพิ่มเติม และขีดฆ่าข้อความที่เสนอให้มีการแก้ไขตัดทอน เพื่อให้ผู้ถือหุ้นใช้อ้างอิงได้ง่าย

5. รายละเอียดของธุรกรรมที่ได้รับอนุมัติจากผู้ถือหุ้น 5.1 รายละเอียดของธุรกรรมที่ได้รับอนุมัติจากผู้ถือหุ้นตามที่มีการเสนอแก้ไข รวมถึงพื้นฐานของเหตุผลและผลประโยชน์ต่อบริษัทที่จะได้รับ รวมทั้ง ขั้นตอนการตรวจสอบการกําหนดราคาของธุรกรรมที่ทํากับบุคคลที่มีส่วนได้เสีย และข้อมูลทั่วไปที่เกี่ยวกับหมวด 9 ของคู่มือเกี่ยวกับ การรับหลักทรัพย์ ได้ระบุไว้ในตาราง 1 ของภาคผนวกนี้ 5.2 นอกเหนือจากการเสนอแก้ไขเพิ่มเติมประเภทของบุคคลที่มีส่วนได้เสียที่ได้รับอนุมัติจากผู้ถือหุ้น ที่กําหนดไว้ในข้อ 4 ข้างต้นนั้น หัวข้ออื่นๆ ของ ธุรกรรมที่ได้รับอนุมัติจากผู้ถือหุ้น รวมถึงประเภทของธุรกรรมที่ได้รับอนุมัติ และขั้นตอนการตรวจสอบธุรกรรมที่ทํากับบุคคลที่มีส่วนได้เสียใน ส่วนที่เกี่ยวกับธุรกรรมที่ได้รับอนุมัติจากผู้ถือหุ้น ซึ่งเสนอเพื่อพิจารณาอนุมัติการต่ออายุนั้นจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงและได้ระบุในตาราง 1 ของ ภาคผนวกนี้ ดังนั้น ขอบเขตของธุรกรรมที่ได้รับอนุมัติจากผู้ถือหุ้น จะพิจารณาได้จากการเสนอแก้ไขเพิ่มเติมตามที่กล่าวไว้ข้างต้น 5.3 สําหรับวาระการแก้ไขเพิ่มเติมและต่ออายุธุรกรรมที่ได้รับอนุมัติจากผู้ถือหุ้นเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2555 จะมีผลบังคับใช้ (เว้นแต่ถูกเพิกถอน หรือเปลี่ยนแปลง) จนถึงการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นครั้งถัดไป ดังนั้น กรรมการจึงเสนอให้ธุรกรรมที่ได้รับอนุมัติจากผู้ถือหุ้นฉบับที่มีการเสนอ แก้ไขเพิ่มเติมซึ่งเสนอเพื่อพิจารณาอนุมัติต่ออายุในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นที่จะจัดขึ้นในวันที่ 25 เมษายน 2556 นี้ มีผลบังคับใช้จนถึง การประชุมสามัญผู้ถือหุ้นของบริษัทในครั้งถัดไป

6. ความเห็นของที่ปรึกษาการเงินอิสระ 6.1 เอสเอซี แคปปิตอล ไพรเวท ลิมิเต็ด (SAC Capital Private Limited) (“เอสเอซี แคปปิตอล”) ได้รับแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษาการเงินอิสระ ในส่วนที่เกี่ยวกับธุรกรรมที่ได้รับอนุมัติจากผู้ถือหุ้น 6.2 เมื่อพิจารณาถึงข้อกําหนดและเหตุผลของธุรกรรมที่ได้รับอนุมัติจากผู้ถือหุ้นตามที่ได้เสนอแก้ไข และขั้นตอนการตรวจสอบของบริษัทในส่วน ที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมที่ได้รับอนุมัติจากผู้ถือหุ้น รวมทั้งบทบาทของคณะกรรมการตรวจสอบในการบังคับใช้ธุรกรรมที่ได้รับอนุมัติจากผู้ถือหุ้น และปัจจัยอื่นๆ แล้วนั้น เอสเอซี แคปปิตอล มีความเห็นว่าขั้นตอนการตรวจสอบตามที่บริษัทได้กําหนดไว้เพื่อกําหนดราคาของธุรกรรมที่ทํา กับบุคคลที่มีส่วนได้เสียตามที่ได้ระบุไว้ในธุรกรรมที่ได้รับอนุมัติจากผู้ถือหุ้นของตาราง 1 ของภาคผนวกนี้ ถ้าบังคับใช้อย่างเคร่งครัด มีความเพียงพอที่จะทําให้แน่ใจว่าธุรกรรมที่ทําขึ้นกับบุคคลที่มีส่วนได้เสียจะเป็นธุรกรรมที่ดําเนินการไปตามข้อกําหนดที่เป็นเงื่อนไขการค้า ปกติและไม่ก่อให้เกิดความเสียหายใดๆ ต่อผลประโยชน์ของบริษัทและผู้ถือหุ้นรายย่อยของบริษัท


รายงานประจํ า ปี 2555 บริ ษ ั ท ไทยเบฟเวอเรจ จํ า กั ด (มหาชน)

ร า ย ง า น ร า ย ก า ร กั บ กิ จ ก า ร ที่ เ กี่ ย ว ข้ อ ง กั น

217

6.3 หนังสือความเห็นของเอสเอซี แคปปิตอล ที่ให้แก่กรรมการอิสระ ฉบับลงวันที่ 9 เมษายน 2556 ได้จัดทําเป็นสําเนาแนบในตาราง 3 ของ ภาคผนวกนี้

7. คําแถลงของคณะกรรมการตรวจสอบ 7.1 คณะกรรมการตรวจสอบได้พิจารณาข้อกําหนดของธุรกรรมที่ได้รับอนุมัติจากผู้ถือหุ้น ตามที่ได้รับการเสนอให้แก้ไขเพิ่มเติม และยืนยันว่า ขั้นตอนการตรวจสอบของบริษัทเพื่อกําหนดราคาของธุรกรรมที่ได้รับอนุมัติจากผู้ถือหุ้นตามที่ระบุในตาราง 1 ของภาคผนวกของธุรกรรม ที่ได้รับอนุมัติจากผู้ถือหุ้น ถ้าบังคับใช้อย่างเคร่งครัด มีความเพียงพอที่จะทําให้แน่ใจว่าธุรกรรมที่ทําขึ้นกับบุคคลที่มีส่วนได้เสียจะเป็นธุรกรรม ที่ดําเนินการไปตามข้อกําหนดทางการค้าอันเป็นปกติ และไม่ก่อให้เกิดความเสียหายใดๆ ต่อผลประโยชน์ของบริษัทและผู้ถือหุ้นรายย่อยของ บริษัท 7.2 ในระหว่างการตรวจสอบ ถ้าคณะกรรมการตรวจสอบมีความเห็นว่า การควบคุมภายในและขั้นตอนการตรวจสอบตามที่กล่าวในตาราง 1 ของ ภาคผนวกนี้ ไม่เหมาะสมหรือไม่เพียงพอที่จะทําให้แน่ใจว่าธุรกรรมที่ทํากับบุคคลที่มีส่วนได้เสียจะเป็นธุรกรรมที่ทําขึ้นตามข้อกําหนดทางการค้า อันเป็นปกติ และไม่ก่อให้เกิดความเสียหายใดๆ ต่อผลประโยชน์ของบริษัทและผู้ถือหุ้นรายย่อยของบริษัท บริษัทจะดําเนินการขออนุมัติธุรกรรม จากผู้ถือหุ้นใหม่ โดยพิจารณาจากการควบคุมภายในและขั้นตอนการตรวจสอบชุดใหม่

8. ผลประโยชน์ของกรรมการและผู้ถือหุ้นหลัก ผลประโยชน์ของกรรมการและผู้ถือหุ้นหลักของบริษัทในหุ้นทุนที่ออกของบริษัท ณ วันที่ 21 มกราคม 2556 และวันที่ 11 มีนาคม 2556 ตามลําดับ สามารถอ่านได้จากรายงานประจําปีในส่วนที่เกี่ยวกับงบการเงิน สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2555 ซึ่งบริษัทจะได้แจกจ่าย หรือได้แจกจ่ายให้ผู้ถือหุ้น

9. การงดออกเสียง เนื่องจากนายเจริญ สิริวัฒนภักดี และ คุณหญิงวรรณา สิริวัฒนภักดี ผู้ซึ่งดํารงตําแหน่งกรรมการบริษัทและเป็นผู้ถือหุ้นที่มีอํานาจควบคุมของบริษัท และนายฐาปน สิริวัฒนภักดี และนายปณต สิริวัฒนภักดี ผู้ซึ่งดํารงตําแหน่งกรรมการของบริษัทจะงดออกเสียงและตกลงดําเนินการเพื่อให้มั่นใจว่า ผู้ที่เกี่ยวข้องของบุคคลดังกล่าวจะงดออกเสียงในวาระที่ 9 ซึ่งเป็นมติสามัญเกี่ยวกับการเสนอแก้ไขเพิ่มเติมและการต่ออายุธุรกรรมที่ได้รับอนุมัติจาก ผู้ถือหุ้นในส่วนที่เกี่ยวกับโครงสร้างการถือหุ้นของบริษัท (ถ้ามี) ในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจําปี 2556 นี้ ทั้งนี้ บุคคลที่มีส่วนได้เสียดังกล่าว จะไม่รับเป็นผู้รับมอบฉันทะของผู้ถือหุ้นเพื่อลงคะแนนเสียงในวาระดังกล่าวอีกด้วย เว้นแต่จะเป็นการมอบฉันทะอันเป็นการเฉพาะเจาะจงเป็นพิเศษ ซึ่งผู้ถือหุ้นเป็นผู้กําหนดเพื่อให้ลงคะแนนเสียงตามที่ระบุไว้ในวาระดังกล่าว

10. คําแนะนําของกรรมการอิสระ 10.1 กรรมการซึ่งเป็นอิสระและไม่มีส่วนได้เสียในการเสนอการแก้ไขเพิ่มเติมและการต่ออายุธุรกรรมที่ได้รับอนุมัติจากผู้ถือหุ้น ได้แก่ นายโกเมน ตันติวิวัฒนพันธ์ นายณรงค์ ศรีสอ้าน นางสาวกนกนาฏ รังษีเทียนไชย นายสวัสดิ์ โสภะ นายอวยชัย ตันทโอภาส นายสิทธิชัย ชัยเกรียงไกร ดร. พิษณุ วิเชียรสรรค์ นายวิวัฒน์ เตชะไพบูลย์ นายภุชชงค์ ชาญธนากิจ พลเอกนายแพทย์ชูฉัตร กําภู ณ อยุธยา ศาสตราจารย์นายแพทย์พรชัย มาตังคสมบัติ นายไมเคิล เล่า ไวย เคียง นายศักดิ์ทิพย์ ไกรฤกษ์ ศาสตราจารย์คนึง ฦๅไชย นายมนู เลียวไพโรจน์ นายประสิทธิ์ โฆวิไลกูลและนายอึ๊ง ตัก พัน (“กรรมการอิสระ”) กรรมการอิสระมีความเห็นว่าการเข้าทําธุรกรรมที่ได้รับ อนุมัติตามที่ได้ระบุไว้ในตาราง 1 ของภาคผนวกนี้ และกับบุคคลที่มีส่วนได้เสียที่ได้รับอนุมัติดังกล่าว เป็นธุรกรรมที่ได้ทําขึ้นตามข้อกําหนด ทางการค้าปกติเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของกลุ่มบริษัทและเพื่อประโยชน์สูงสุดของบริษัท 10.2 ตามเหตุผลที่ได้ระบุไว้ในตาราง 1 ของภาคผนวกนี้ กรรมการอิสระแนะนําให้ผู้ถือหุ้นออกเสียงลงคะแนนเพื่อเห็นชอบกับวาระที่ 9 ซึ่งเป็น มติสามัญเกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่มเติมและการต่ออายุธุรกรรมที่ได้รับอนุมัติจากผู้ถือหุ้น ในการประชุมสามัญผู้ถอื หุ้นประจําปี 2556 นี้


ร า ย ง า น ร า ย ก า ร กั บ กิ จ ก า ร ที่ เ กี่ ย ว ข้ อ ง กั น

218

11. คําแถลงความรับผิดชอบของกรรมการ คณะกรรมการและกรรมการแต่ละท่านต่างรับผิดชอบความถูกต้องของข้อมูลตามที่ระบุไว้ในภาคผนวกนี้ โดยกรรมการได้ดําเนินการสอบถามข้อมูล ต่างๆ ที่จําเป็นและเหมาะสมทั้งหมดตามความรู้และความเชื่อของตนอย่างดีที่สุด และยืนยันว่าภาคผนวกนี้มีความเพียงพอและถูกต้อง และเปิดเผย ข้อเท็จจริงที่เป็นสาระสําคัญเกี่ยวกับการเสนอการแก้ไขเพิ่มเติมและการต่ออายุธุรกรรมที่ได้รับอนุมัติจากผู้ถือหุ้น บริษัท และบริษัทย่อย รวมทั้ง กรรมการไม่ทราบข้อเท็จจริงใดๆ เกี่ยวกับการละเว้น ซึ่งก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในข้อมูลที่ระบุในภาคผนวก สําหรับข้อมูลในภาคผนวกที่ถูกตัดทอน จากฉบับที่ได้จด ั พิมพ์หรือจากแหล่งข้อมูลที่มีการเปิดเผยต่อสาธารณะ หรือได้รับจากแหล่งที่สามารถอ้างอิงชื่อนั้น ความรับผิดชอบของกรรมการ แต่เพียงประการเดียวคือกรรมการจะต้องมั่นใจว่าข้อมูลดังกล่าว เป็นข้อมูลที่ได้รับตัดทอนอย่างเหมาะสมและถูกต้องจากแหล่งที่มาเหล่านั้น และ/หรือ มีการเผยแพร่ซ้ําในหนังสือเวียนในรูปแบบและบริบทที่เหมาะสม

12. คํายินยอมของที่ปรึกษาการเงินอิสระ เอสเอซี แคปปิตอล ได้ให้ความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรและมิได้เพิกถอนซึ่งความยินยอมในการออกภาคผนวกฉบับนี้ รวมถึงชื่อ ความเห็น ตามที่ระบุไว้ในข้อ 6.2 ของภาคผนวกนี้และหนังสือของเอสเอซี แคปปิตอล ถึงกรรมการอิสระฉบับลงวันที่ 9 เมษายน 2556 ตามแบบและเนื้อหา ที่ปรากฏในภาคผนวกฉบับนี้

13. สิ่งที่ผู้ถือหุ้นต้องปฏิบัติ 13.1 ผู้ถือหุ้นนอกเหนือจากผู้ที่ถือหุ้นของบริษัทผ่านศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ของตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ (“ซีดีพี”) ซึ่งไม่สามารถเข้าร่วม ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจําปี 2556 ได้ และประสงค์จะแต่งตั้งผู้รับมอบฉันทะให้เข้าร่วมประชุมและออกเสียงลงคะแนนในการประชุมสามัญ ผูถ ้ อื หุน ้ ประจําปี 2556 แทนตน จะต้องกรอกข้อความในหนังสือมอบฉันทะทีไ่ ด้แนบมาพร้อมกับหนังสือเชิญประชุมสามัญผูถ ้ อื หุน ้ ประจําปี 2556 ลงนาม โดย (ก) ส่งมาที่สํานักเลขานุการบริษัท บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จํากัด (มหาชน) อาคาร แสงโสม ชั้น 6 เลขที่ 14 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900 ประเทศไทยไม่ช้ากว่า 24 ชั่วโมง ก่อนเวลาเริ่มการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจําปี 2556 หรือ (ข) ส่งมาที่สถานที่จัดการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจําปี 2556 ก่อนเริ่มประชุม โดยส่งถึงเลขานุการบริษัทตามวิธีการที่ระบุไว้ใน แบบหนังสือมอบฉันทะ ทั้งนี้ การที่ผู้ถือหุ้นส่งหนังสือมอบฉันทะมายังบริษัทไม่เป็นการตัดสิทธิผู้ถือหุ้นคนดังกล่าวในการเข้าร่วมประชุมและ ออกเสียงลงคะแนนในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นด้วยตนเอง ถ้าผู้ถือหุ้นสามารถกระทําได้ 13.2 บุคคลใดซึ่งถือหุ้นโดยมีบัญชีหลักทรัพย์อยู่กับซีดีพี สามารถแจ้งให้ซีดีพีใช้สิทธิออกเสียงลงคะแนนตามจํานวนหุ้นซึ่งฝากไว้ในบัญชีหลักทรัพย์ ของตน โดยผู้ถือหุ้นจะต้องกรอกแบบคําสั่งออกเสียง (Voting Instruction Form) ซึ่งได้แนบมาพร้อมกับหนังสือเชิญประชุมประจําปี 2556 ลงนามและส่งกลับตามวิธีการในข้อกําหนดที่ระบุไว้ในแบบคําสั่งออกเสียงโดยเร็วที่สุด เพื่อให้แบบคําสั่งออกเสียงไปถึงยังซีดีพี ตามที่อยู่ที่ระบุ ไว้ในแบบคําสั่งออกเสียงภายในเวลา 17.00 น (ตามเวลาสิงคโปร์) ของวันที่ 18 เมษายน 2556 อย่างไรก็ตาม จะพบว่าตามกฎหมายไทย ประกอบกับข้อมูลที่เปิดเผยในหนังสือชี้ชวนของบริษัท ลงวันที่ 19 พฤษภาคม 2549 เฉพาะซีดีพีเท่านั้นที่จะมีรายชื่อปรากฏเป็นผู้ถือหุ้นของ หุ้นดังกล่าว ดังนั้นซีดีพีจะเป็นผู้ถือหุ้นและมีสิทธิตามกฎหมายในการออกเสียงลงคะแนนในเรื่องต่างๆ ในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจําปี 2556 แต่เพียงผู้เดียว 13.3 บุคคลใดซึ่งถือหุ้นโดยมีบัญชีหลักทรัพย์อยู่กับซีดีพี ที่ประสงค์จะเข้าร่วมและใช้สิทธิออกเสียงลงคะแนนภายใต้ชื่อตนเอง ในการประชุมสามัญ ผู้ถือหุ้นประจําปี 2556 ผู้ถือหุ้นรายดังกล่าวจะต้องดําเนินการโอนหุ้นของตนเองออกจากระบบของซีดีพี และทําการจดทะเบียนการโอนหุ้น ดังกล่าวในสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นภายในวันที่ 8 เมษายน 2556 ซึ่งเป็นวันที่บริษัทจะทําการปิดสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นเพื่อพักการโอนหุ้น และ กําหนดรายชื่อผู้ถือหุ้นที่มีสิทธิในการเข้าร่วมประชุม และออกเสียงลงคะแนนในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจําปี 2556 นอกจากนี้ หุ้นที่ถูกโอน ออกจากระบบของซีดีพี จะไม่สามารถซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ได้จนกว่าจะถูกโอนกลับเข้าไปฝากในระบบซีดีพี ในการนี้ การโอน ดังกล่าวจะต้องมีการเสียภาษีและค่าธรรมเนียมต่างๆ ทั้งนี้หากท่านต้องการคําแนะนําเกี่ยวกับกระบวนการโอนหุ้นและทะเบียนหุ้น ท่านสามารถ ติดต่อ ซีดีพี ได้ที่ (65) 6535 7511 (หรือผ่านอีเมลล์ cdp@sgx.com)


รายงานประจํ า ปี 2555 บริ ษ ั ท ไทยเบฟเวอเรจ จํ า กั ด (มหาชน)

ร า ย ง า น ร า ย ก า ร กั บ กิ จ ก า ร ที่ เ กี่ ย ว ข้ อ ง กั น

219

14. เอกสารที่สามารถขอตรวจสอบได้ เอกสารดังต่อไปนี้สามารถขอตรวจสอบได้ที่สํานักงานจดทะเบียนของบริษัท ณ เลขที่ 14 อาคารแสงโสม ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900 ประเทศไทย โดยแจ้งต่อเลขานุการบริษัท ในระหว่างวันและเวลาทําการปกติภายในระยะเวลา 3 เดือนนับตั้งแต่วันที่ระบุใน ภาคผนวกฉบับนี้ (ก)

หนังสือความเห็นของ เอสเอซี แคปปิตอล ส่งถึงกรรมการอิสระ ฉบับลงวันที่ 9 เมษายน 2556 และ

(ข)

หนังสือให้ความยินยอมของ เอสเอซี แคปปิตอล

15. อื่นๆ 15.1 ตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ จะไม่รับผิดชอบสําหรับความถูกต้องของคําแถลงหรือความเห็นหรือรายงานที่ปรากฏในภาคผนวกฉบับนี้ 15.2 ถ้าท่านมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับเนื้อหา หรือไม่แน่ใจว่าควรจะกระทําการใด ท่านควรปรึกษานายหน้าซื้อขายหุ้นของท่าน ผู้จัดการธนาคาร ที่ปรึกษากฎหมาย นักบัญชี หรือที่ปรึกษาอิสระอื่นที่มีความเชี่ยวชาญทันที 15.3 ถ้าท่านขายหุ้นสามัญของบริษัททั้งหมดไปแล้ว กรุณาส่งเอกสารฉบับนี้ให้กับผู้ซื้อ หรือธนาคาร หรือนายหน้าซื้อขายหุ้น หรือตัวแทนที่ดําเนิน การขายเพื่อส่งต่อไปยังผู้ซื้อ


ร า ย ง า น ร า ย ก า ร กั บ กิ จ ก า ร ที่ เ กี่ ย ว ข้ อ ง กั น

220

ตาราง 1 ของภาคผนวก การอนุมัติโดยทั่วไปในการดําเนินธุรกรรมกับบุคคลที่มีส่วนได้เสีย บริษัทคาดว่าในการดําเนินธุรกรรมตามปกตินั้น บริษัทอาจยังคงต้องเข้าทําธุรกรรมบางประเภทกับบุคคลที่มีส่วนได้เสียของบริษัท ซึ่งรวมถึง แต่ไม่จํากัดเพียงประเภทของธุรกรรมที่จะกล่าวถึงด้านล่างนี้ ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาถึงลักษณะของธุรกรรมด้านธุรกิจการค้าที่ต้องการความรวดเร็ว บริษัทเห็นว่าน่าจะเป็นประโยชน์ต่อบริษัทที่จะได้รับการอนุมัติจากผู้ถือหุ้นให้เข้าทําธุรกรรมกับบุคคลที่มีส่วนได้เสียดังกล่าวสําหรับการดําเนินธุรกรรม ตามปกติของบริษัท ทั้งนี้ ธุรกรรมดังกล่าวจะต้องทําขึ้นตามข้อกําหนดทางการค้าอันเป็นปกติ และไม่ก่อให้เกิดความเสียหายใดๆ ต่อผลประโยชน์ ของบริษัทและผู้ถือหุ้นรายย่อย ตามที่กําหนดไว้ในหมวด 9 ของคู่มือเกี่ยวกับการรับหลักทรัพย์ บริษัทจดทะเบียนสามารถขออนุมัติจากผู้ถือหุ้นในการทําธุรกรรมประจํากับ บุคคลที่มีสว่ นได้เสีย โดยธุรกรรมดังกล่าวมีลก ั ษณะเป็นไปในทางการค้าหรือก่อให้เกิดรายได้ หรือจําเป็นในการดําเนินกิจการประจําวัน ธุรกรรมเหล่านี้ อาจไม่รวมถึง ธุรกรรมเกี่ยวกับการซื้อหรือขายสินทรัพย์ การเข้าทําข้อตกลง หรือการดําเนินธุรกิจต่างๆ ที่มิได้เป็นส่วนหนึ่งของการดําเนินกิจการ ประจําวันของบริษัท ตามที่กําหนดไว้ในข้อ 920(1) ของคู่มือเกี่ยวกับการรับหลักทรัพย์ การอนุมัติโดยทั่วไปสําหรับการดําเนินธุรกรรมกับบุคคลที่มีส่วนได้เสียจะต้องได้ รับการต่ออายุทุกปี ข้อมูลที่จําเป็นตามที่กําหนดไว้ในข้อ 920(1)(ข) มีดังต่อไปนี้ (ก) ประเภทของบุคคลที่มีส่วนได้เสียซึ่งบริษัทที่มีความเสี่ยง (ตามคํานิยามที่ได้กําหนดไว้ในข้อ 904(2) ของคู่มือเกี่ยวกับการรับหลักทรัพย์) จะดําเนินธุรกรรมด้วย (ข) ลักษณะของธุรกรรมที่ได้รับอนุมัติ (ค) พื้นฐานของเหตุผลและผลประโยชน์ที่มีต่อบริษัทที่มีความเสี่ยง (ง)

วิธีหรือขั้นตอนในการกําหนดราคาธุรกรรม

(จ)

ความเห็นของที่ปรึกษาการเงินอิสระว่าวิธีหรือขั้นตอนดังกล่าวในข้อ (ง) เพียงพอหรือไม่เพื่อให้แน่ใจได้ว่าธุรกรรมทั้งหลายจะมีการดําเนินการ ตามข้อกําหนดในทางการค้าปกติและจะไม่ทําให้ผลประโยชน์ของบริษัทและผู้ถือหุ้นรายย่อยเสียหาย (เท่าที่สามารถปรับใช้ได้)

(ฉ) ความเห็นจากคณะกรรมการตรวจสอบ ในกรณีคณะกรรมการตรวจสอบมีความคิดเห็นที่แตกต่างออกไปจากความเห็นของที่ปรึกษาการเงิน อิสระ (เท่าที่สามารถปรับใช้ได้) (ช) คําแถลงจากบริษัทว่าบริษัทจะดําเนินการขออนุมัติจากผู้ถือหุ้นของบริษัทอีกครั้ง ถ้าวิธีหรือขั้นตอนการดําเนินการในข้อ (ง) ข้างต้นนั้น เป็นวิธีหรือขั้นตอนที่ไม่เหมาะสม และ (ซ) คําแถลงว่าบุคคลที่มีส่วนได้เสียจะงดออกเสียง และได้ดําเนินการใดๆ เพื่อให้แน่ใจว่าผู้ที่เกี่ยวข้องของบุคคลดังกล่าวจะงดออกเสียงในวาระที่ เกี่ยวกับการอนุมัติธุรกรรมนั้นด้วย ธุรกรรมที่ได้รับอนุมัติจากผู้ถอื หุ้นถ้าได้รับการต่ออายุ จะมีผลบังคับใช้จนถึงการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นครั้งถัดไป เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของธุรกรรมที่ได้รับอนุมัติจากผู้ถือหุ้น คํานิยามและความหมายในภาคผนวก ซึ่งมีธุรกรรมที่ได้รับอนุมัติจากผู้ถือหุ้น ฉบับนี้เป็นเอกสารแนบ จะมีผลใช้บังคับ เว้นแต่ในกรณีที่กําหนดไว้ดังต่อไปนี้

“กลุ่ม” หมายถึง บริษัท บริษัทย่อยของบริษัท และบริษัทร่วมของบริษัทซึ่งนับเป็น “บุคคลที่มีความเสี่ยง” ตามความหมายที่กําหนดไว้ใน ข้อ 904(2) ของคู่มือเกี่ยวกับการรับหลักทรัพย์ และ

“กลุ่มไทยเบฟ” หมายถึง บริษัทและบริษัทย่อยของบริษัท


รายงานประจํ า ปี 2555 บริ ษ ั ท ไทยเบฟเวอเรจ จํ า กั ด (มหาชน)

ร า ย ง า น ร า ย ก า ร กั บ กิ จ ก า ร ที่ เ กี่ ย ว ข้ อ ง กั น

221

ประเภทของบุคคลที่มีส่วนได้เสียที่ได้รับอนุมัติ ธุรกรรมที่ได้รับอนุมัติจากผู้ถือหุ้นสามารถนํามาใช้ได้กับธุรกรรมของ “กลุ่ม” ดังต่อไปนี้ : (ก) รายชื่อที่ระบุในตาราง 2 ของภาคผนวก – รายชื่อบุคคลที่มีส่วนได้เสียที่ได้รับอนุมัติ และ (ข) (1) บริษท ั ย่อยทัง้ ทางตรงและทางอ้อม และ (2) บริษท ั และ/หรือนิตบ ิ ค ุ คลทีอ่ ยูภ ่ ายใต้การควบคุมของบุคคลทีม ่ ส ี ว่ นได้เสียตามทีร่ ะบุในตาราง 2 ของภาคผนวกนี้ บุคคลที่เกี่ยวข้องของนายเจริญ สิริวัฒนภักดี และคุณหญิงวรรณา สิริวัฒนภักดี ผู้ถือหุ้นที่มีอํานาจควบคุมของบริษัท (โดยบุคคลที่เกี่ยวข้องกับ ผู้ถือหุ้นที่มีอํานาจควบคุม ให้เรียกรวมกันว่า “บุคคลที่มีส่วนได้เสียที่ได้รับอนุมัติ” และ “บุคคลที่มีส่วนได้เสียที่ได้รับอนุมัติ” แต่ละราย) ธุรกรรมกับบุคคลที่มีส่วนได้เสียที่ได้รับอนุมัติซึ่งไม่ได้อยู่ภายในขอบเขตของธุรกรรมที่ได้รับอนุมัติจากผู้ถอื หุ้น ต้องอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องที่ กําหนดไว้ในหมวด 9 ของคู่มือเกี่ยวกับการรับหลักทรัพย์ ธุรกรรมที่ได้รับการอนุมัติ (Mandated Transactions) ธุรกรรมที่เกี่ยวกับการให้หรือการได้รับซึ่งสินค้าและบริการในกิจการอันเป็นปกติธุรกิจของกลุ่มบริษัทหรือที่จําเป็นสําหรับการดําเนินกิจการประจําวัน ของกลุ่มบริษัทที่ทํากับบุคคลที่มีส่วนได้เสียบุคคลที่มีส่วนได้เสียที่ได้รับอนุมัติ (ทั้งนี้ไม่รวมถึงการซื้อหรือขายสินทรัพย์ การเข้าทําข้อตกลง หรือ การดําเนินธุรกิจทั้งหลายที่มิได้เป็นส่วนหนึ่งของการดําเนินกิจการประจําวันของบริษัท) ซึ่งเป็นธุรกรรมที่จะอยู่ภายใต้ธุรกรรมที่ได้รับอนุมัติจาก ผู้ถือหุ้นแล้ว (Shareholders’ Mandate) (“ธุรกรรมที่ได้รับการอนุมัติ (Mandated Transactions)”) ได้แก่ (ก) การซื้อวัตถุดิบและวัสดุในการบรรจุหีบห่อ (Packaging Material) จากบุคคลที่มีส่วนได้เสียบุคคลที่มีส่วนได้เสียที่ได้รับอนุมัติ รวมถึง ขวดแก้วใหม่และขวดแก้วที่ใช้แล้ว กระป๋องอลูมิเนียม กากน้ําตาล สมุนไพรเพื่อใช้ในการผลิตหัวเชื้อเบียร์ (Beer Concentrate) กล่องกระดาษ (Carton) และฝาครอบ (Cap) (ข) การทําประกันและการบริการธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการทําประกันกับบุคคลที่มีส่วนได้เสียบุคคลที่มีส่วนได้เสียที่ได้รับอนุมัติ (ค) การซื้อของใช้เพื่อการบริโภคทุกประเภทในสํานักงานและในสถานที่เก็บสินค้าจากบุคคลที่มีส่วนได้เสียบุคคลที่มีส่วนได้เสียที่ได้รับอนุมัติ รวมถึง กระดาษชําระและน้ําตาลสําหรับใช้ในสํานักงาน เศษเหล็ก ถุงใส่มอลท์ และแผ่นไม้ (ง)

การได้รับบริการต่างๆ จากบุคคลที่มีส่วนได้เสียบุคคลที่มีส่วนได้เสียที่ได้รับอนุมัติ รวมถึงการจัดซื้อจัดจ้าง บริการที่เกี่ยวกับการจัดเตรียม สถานที่พัก พาหนะ และสิ่งอํานวยความสะดวกสําหรับกรรมการของบริษัท และ/หรือ ของบริษัทย่อย การฝึกอบรมพนักงาน การติดต่อสื่อสาร ด้านโทรคมนาคม และการอนุญาตให้ใช้ซอฟท์แวร์ ตลอดจนบริการทําการตลาด การโฆษณา และการบริหารงาน รวมถึงการบริการการผลิต และการจัดจําหน่ายสินค้า

(จ)

การเช่า หรือการเช่าช่วง สํานักงาน คลังสินค้า รถโดยสาร และที่ดินจากบุคคลที่มีส่วนได้เสียบุคคลที่มีส่วนได้เสียที่ได้รับอนุมัติ

(ฉ) การให้บริการกับบุคคลที่มีส่วนได้เสียบุคคลที่มีส่วนได้เสียที่ได้รับอนุมัติ รวมถึงการจัดซื้อจัดจ้าง การให้บริการพัฒนาสินทรัพย์ การโฆษณา ประชาสัมพันธ์ และบริการการขาย ตลอดจนการให้บริการการผลิต (ช) การให้เช่าหรือให้เช่าช่วงสํานักงาน คลังสินค้า รถยนต์โดยสาร และที่ดินกับบุคคลที่มีส่วนได้เสียบุคคลที่มีส่วนได้เสียที่ได้รับอนุมัติ (ซ) การขายกากน้ําตาลและผลผลิตพลอยได้ให้แก่บุคคลที่มีส่วนได้เสียบุคคลที่มีส่วนได้เสียที่ได้รับอนุมัติ รวมถึงปุ๋ย ขวดแก้วที่ใช้แล้ว และเศษวัสดุ จากโรงงาน เช่น อลูมิเนียม เศษแก้ว และเศษกระดาษ (ฌ) การขายเบียร์ สุรา น้ําดื่ม โซดา และสินค้าอื่นๆ ให้แก่บุคคลที่มีส่วนได้เสียบุคคลที่มีส่วนได้เสียที่ได้รับอนุมัติ และ (ญ) การให้หรือรับซึ่งสินค้าและ/หรือบริการอื่นๆ ที่เกิดขึ้นจากหรือเกี่ยวเนื่องกับการให้หรือรับซึ่งสินค้าและ/หรือบริการตามข้อ (ก) ถึง (ฌ) ดังกล่าว ข้างต้น


ร า ย ง า น ร า ย ก า ร กั บ กิ จ ก า ร ที่ เ กี่ ย ว ข้ อ ง กั น

222

เหตุผลและประโยชน์ของธุรกรรมที่ได้รับการอนุมัติจากผู้ถือหุ้น กลุ่มบริษัทมีการเข้าทําหรือจะเข้าทําธุรกรรมที่เป็นการทําธุรกิจปกติกับบุคคลที่มีส่วนได้เสียธุรกรรมเหล่านี้เป็นธุรกรรมที่เกิดเป็นประจํา และอาจเกิดขึ้น ในช่วงเวลาใดก็ได้ หรือเกิดขึ้นทุกๆ ช่วงระยะเวลาหนึ่ง กรรมการบริษัทจึงมีความเห็นว่า การแก้ไขเพิ่มเติมนี้จะเป็นประโยชน์ต่อกลุ่มบริษัทที่จะทํา ธุรกรรม หรือยังคงทําธุรกรรมต่อไปกับบุคคลที่มีส่วนได้เสียที่ได้รับอนุมัติ กรรมการบริษัทเชื่อว่ากลุ่มบริษัทจะได้รับประโยชน์จากการทําธุรกรรมต่างๆ กับบุคคลที่มีส่วนได้เสียที่ได้รับอนุมัติ ธุรกรรมที่ได้รับอนุมัติจากผู้ถือหุ้น และการต่ออายุธุรกรรมที่ได้รับอนุมัติจากผู้ถือหุ้นในแต่ละปี จะช่วยลดความจําเป็นที่จะต้องจัดประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อให้ผู้ถือหุ้นอนุมัติเป็นครั้งคราวเมื่อมี การเข้าทําธุรกรรมกับบุคคลที่มีแนวโน้มเป็นบุคคลที่มีส่วนได้เสียกับบุคคลที่มีส่วนได้เสียที่ได้รับอนุมัติจากผู้ถอื หุ้น ซึ่งจะเป็นการลดเวลาในการบริหาร จัดการและค่าใช้จ่ายในการจัดประชุมผู้ถือหุ้นอย่างมีนัยสําคัญโดยไม่ขัดกับวัตถุประสงค์ของบริษัทหรือมีผลกระทบในด้านลบกับโอกาสในการประกอบ ธุรกิจของบริษัทแต่อย่างใด ธุรกรรมที่ได้รับการอนุมัติจากผู้ถือหุ้น มีเจตนาเพื่ออํานวยความสะดวกในการทําธุรกรรมที่เป็นการดําเนินธุรกรรมตามปกติของบริษัทซึ่งในบางครั้ง เป็นธุรกรรมที่ทํากับบุคคลที่มีส่วนได้เสียที่ได้รับอนุมัติจากผู้ถือหุ้นซึ่งตั้งอยู่บนเงื่อนไขที่ว่าธุรกรรมดังกล่าวเป็นธุรกรรมที่ดําเนินการเป็นไปตาม ข้อกําหนดทางการค้าปกติและไม่ก่อให้เกิดความเสียหายใดๆ ต่อผลประโยชน์ของบริษัทและผู้ถือหุ้นรายย่อย การเปิดเผยมูลค่ารวมของการทําธุรกรรมกับบุคคลที่มีส่วนได้เสีย ซึ่งดําเนินการตามธุรกรรมที่ได้รับอนุมัติจากผู้ถือหุ้นที่เกิดขึ้นในระหว่างรอบปีบัญชี ปัจจุบัน จะจัดทําตามแบบที่กําหนดไว้ในคู่มือเกี่ยวกับการรับหลักทรัพย์ และเป็นไปตามขอบเขตที่กําหนดโดยตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ และจะต้อง เปิดเผยในรายงานประจําปี สําหรับปีบัญชีนั้นๆ ขั้นตอนการตรวจสอบธุรกรรมที่ทํากับบุคคลที่มีส่วนได้เสีย (Review Procedures for Interested Person Transactions) คณะกรรมการตรวจสอบของบริษัทได้พิจารณา ตรวจสอบ และอนุมัติ (ถ้ามีข้อกําหนดระบุไว้) ธุรกรรมที่กลุ่มบริษัททํากับบุคคลที่มีส่วนได้เสีย ทั้งนี้ เพื่อวัตถุประสงค์ในการตรวจสอบธุรกรรมดังกล่าว คณะกรรมการของบริษท ั ได้แต่งตัง้ นายอึง๊ ตัก พัน (Mr. Ng Tat Pun) ซึง่ เป็นกรรมการอิสระและ กรรมการตรวจสอบ ให้เป็นหัวหน้าคณะกรรมการตรวจสอบในส่วนของการทําธุรกรรมระหว่างกลุ่มบริษัทกับบุคคลที่มีส่วนได้เสีย (Lead Independent Director for Interested Person Transactions) (“หัวหน้ากรรมการอิสระในการพิจารณาการทําธุรกรรมกับบุคคลที่มีส่วนได้เสีย”) นอกจากนี้ บริษัทยังกําหนดขั้นตอนการอนุมัติในการทําธุรกรรมเพื่อให้แน่ใจว่าธุรกรรมที่ทํากับบุคคลที่มีส่วนได้เสียได้กระทําขึ้นเสมือนหนึ่งเป็นธุรกรรมที่ทํากับ บุคคลภายนอกและเป็นไปตามข้อกําหนดทางการค้าปกติ (On an Arm’s Length Basis and Normal Commercial Terms) ขั้นตอนการตรวจสอบและข้อจํากัดในการอนุมัติ โดยทั่วไป กลุ่มบริษัทได้กําหนดขั้นตอนการอนุมัติในการทําธุรกรรมเพื่อให้แน่ใจว่าธุรกรรมที่กลุ่มบริษัททํากับบุคคลที่มีส่วนได้เสีย รวมถึงธุรกรรม ที่ได้รับอนุมัติที่ทํากับบุคคลที่มีส่วนได้เสียที่ได้รับการอนุมัติ (Mandated Interested Persons) ได้กระทําขึ้นเสมือนหนึ่งเป็นธุรกรรมที่ทํากับบุคคล ภายนอกและเป็นไปตามข้อกําหนดทางการค้าปกติและสอดคล้องกับนโยบายและข้อปฏิบัติในทางการค้าปกติของกลุ่มบริษัท และบนเงื่อนไขที่มิได้ เอื้อประโยชน์ต่อบุคคลที่มีส่วนได้เสียมากไปกว่าที่ได้ให้แก่หรือที่ได้รับจากบุคคลภายนอก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ได้มีการนําขั้นตอนในการตรวจสอบต่อไปนี้มาบังคับใช้ (1) การจัดหาและการจัดซื้อสินค้าและการได้รับบริการ (ก) การจัดหาและการจัดซื้อสินค้าทั้งหลายที่กระทําเป็นประจําโดยกลุ่มบริษัท ซึ่งเป็นไปตามทางการค้าปกติของกลุ่มบริษัทหรือที่จําเป็นสําหรับ การดําเนินกิจการประจําวันของกลุ่มบริษัท ซึ่งรวมถึงการจัดหาและการจัดซื้อซึ่งเป็นธุรกรรมที่ได้รับการอนุมัติที่ทํากับบุคคลที่มีส่วนได้เสีย ที่ได้รับการอนุมัติ (เช่น ธุรกรรมที่กล่าวถึงในข้อ (ก) (ข) (ค) (ง) และ (ญ) ข้างต้น ภายใต้หัวข้อ “การอนุมัติโดยทั่วไปในการดําเนิน ธุรกรรมกับบุคคลที่มีส่วนได้เสีย - ธุรกรรมที่ได้รับการอนุมัติ (General Mandate for Interested Person Transactions Mandated Transactions)”) ธุรกรรมดังกล่าวจะอยู่ภายใต้บังคับของขั้นตอนการควบคุมภายใน (Internal Control Procedures) ซึ่งระบุถึงรายละเอียดในประเด็นต่างๆ เช่น องค์ประกอบของอํานาจในการอนุมัติภายใน ข้อจํากัดในการอนุมัติ จํานวนคู่ค้าที่เป็นผู้เสนอ ราคา (อย่างน้อยสองราย) และขั้นตอนในการตรวจสอบ โดยหลักการดังกล่าวนี้กําหนดขึ้นเพื่อให้บริษัทได้รับสินค้าและ/หรือบริการที่ดีที่สุด ภายใต้เงือ่ นไขทีด ่ ท ี ส่ี ด ุ จากการเสนอราคาแข่งขัน (ตามทีเ่ หมาะสม) ดังนัน ้ ในการกําหนดว่าราคาและเงือ่ นไขทีบ ่ ค ุ คลทีม ่ สี ว่ นได้เสียนําเสนอนัน ้ ยุตธิ รรมและสมเหตุสมผลหรือไม่นน ้ั จะนําปัจจัยต่างๆ มาใช้ในการพิจารณา ซึง่ รวมถึงแต่ไม่จาํ กัดเพียงปัจจัยเกีย ่ วกับตารางเวลาการส่งมอบ การปฏิบัติตามรายละเอียดที่กําหนด ความเป็นมาในอดีต (Track Record) ประสบการณ์และความเชี่ยวชาญ การให้ราคาพิเศษ (Preferential Rate) ส่วนลดหรือการคืนเงินกรณีที่มีการซื้อจํานวนมาก นอกจากนี้ จะมีการตรวจสอบธุรกรรมแต่ละธุรกรรมที่กลุ่มบริษัท


รายงานประจํ า ปี 2555 บริ ษ ั ท ไทยเบฟเวอเรจ จํ า กั ด (มหาชน)

ร า ย ง า น ร า ย ก า ร กั บ กิ จ ก า ร ที่ เ กี่ ย ว ข้ อ ง กั น

223

ทํากับบุคคลที่มีส่วนได้เสีย ซึ่งธุรกรรมดังกล่าวอาจจะต้องได้รับการอนุมัติเป็นการล่วงหน้าจากผู้มีอํานาจอนุมัติที่เป็นกรรมการหรือผู้ดํารง ตําแหน่งจัดการของกลุ่มบริษัท (ซึ่งไม่เป็นบุคคลที่มีส่วนได้เสียหรือไม่เป็นบุคคลที่เกี่ยวข้องกับบุคคลที่มีส่วนได้เสีย) และเป็นบุคคลที่ไม่มี ส่วนได้เสียในธุรกรรมดังกล่าว ไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อม (“ผู้มีอํานาจอนุมัติ”) ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับมูลค่าของธุรกรรม ดังนี้ ข้อจํากัดในการอนุมัติ

ผู้มีอํานาจอนุมัติ

ธุรกรรมที่ทํากับบุคคลที่มีส่วนได้เสียที่มีมูลค่าไม่เกิน 500,000 บาท

รองกรรมการผู้จัดการ หรือเจ้าหน้าที่ในตําแหน่งที่เทียบเท่า

ธุรกรรมที่ทํากับบุคคลที่มีส่วนได้เสียที่มีมูลค่าเกิน 500,000 บาทแต่ไม่เกิน 5,000,000 บาท

กรรมการผู้จัดการ หรือเจ้าหน้าที่ในตําแหน่งที่เทียบเท่า

ธุรกรรมที่ทํากับบุคคลที่มีส่วนได้เสียที่มีมูลค่าเกิน 5,000,000 บาทแต่ไม่เกิน 10,000,000 บาท

รองประธานกรรมการ หรือเจ้าหน้าที่ในตําแหน่งที่เทียบเท่า

ธุรกรรมที่ทํากับบุคคลที่มีส่วนได้เสียที่มีมูลค่าเกิน 10,000,000 บาทแต่ไม่เกิน 20,000,000 บาท

ประธานกรรมการ

ธุรกรรมที่ทํากับบุคคลที่มีส่วนได้เสียที่มีมูลค่าเกิน 20,000,000 บาทแต่ไม่เกินร้อยละ 3 ของมูลค่าสินทรัพย์ มีตัวตนสุทธิของกลุ่มไทยเบฟที่ได้รับการตรวจสอบล่าสุด

รองประธานกรรมการ และ/หรือประธานกรรมการจํานวน สองท่าน หรือเจ้าหน้าที่ในตําแหน่งที่เทียบเท่า

ธุรกรรมที่ทํากับบุคคลที่มีส่วนได้เสียที่มีมูลค่าเกิน ร้อยละ 3 ของมูลค่าสินทรัพย์มีตัวตนสุทธิของกลุ่มไทยเบฟที่ได้รับ การตรวจสอบล่าสุด

กรรมการตรวจสอบจํานวนสองท่าน โดยหนึ่งในจํานวนดังกล่าว จะต้องเป็นหัวหน้ากรรมการอิสระในการทําธุรกรรมกับบุคคล ที่มีส่วนได้เสีย

ในส่วนที่เกี่ยวกับข้อ (ญ) ข้างต้น ภายใต้หัวข้อ “การอนุมัติโดยทั่วไปในการดําเนินธุรกรรมกับบุคคลที่มีส่วนได้เสีย - ธุรกรรมที่ได้รับ การอนุมต ั ”ิ ผูม ้ อี าํ นาจอนุมต ั ิ (พิจารณาจากมูลค่าของธุรกรรม) จะยังต้องประเมินและอนุมต ั วิ า่ ธุรกรรมทีเ่ สนอเป็นธุรกรรมทีเ่ กิดขึน ้ จากหรือ เกี่ยวเนื่องกับการให้หรือการรับสินค้าและ/หรือบริการตามข้อ (ก) (ข) (ค) และ (ง) ของหัวข้อดังกล่าวข้างต้น (ข) ในกรณีที่บริษัทไม่ได้รับข้อเสนอราคาแข่งขัน (Competitive Quotations) (ตัวอย่างเช่น ไม่มีผู้ขายสินค้าและบริการที่คล้ายคลึงที่เป็น บุคคลภายนอกที่ไม่มีความเกี่ยวข้องใดๆ (โดยพิจารณาถึงจํานวน รายละเอียด ตารางการส่งมอบ และอื่นๆ) หรือถ้าสินค้านั้นโดยลักษณะ แล้วเป็นสินค้าที่มีลักษณะเฉพาะ) ผู้มีอํานาจอนุมัติตามที่ระบุไว้ข้างต้น (ซึ่งไม่เป็นบุคคลที่มีส่วนได้เสียหรือไม่เป็นบุคคลที่เกี่ยวข้องกับบุคคล ที่มีส่วนได้เสีย) และเป็นบุคคลที่ไม่มีส่วนได้เสียในธุรกรรมดังกล่าว ไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อม จะเป็นผู้พิจารณาราคาและเงื่อนไขที่บุคคลที่มี ส่วนได้เสียนําเสนอนั้นว่ายุติธรรมและสมเหตุสมผลหรือไม่ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับมูลค่าของธุรกรรมที่ทํากับบุคคลที่เกี่ยวข้อง (ค) การซื้อขวดแก้วตามเงื่อนไขของสัญญาซื้อขวดแก้ว ฉบับลงวันที่ 23 ธันวาคม 2552 27 ธันวาคม 2555 ระหว่าง บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ รีไซเคิล จํากัด (เดิมชื่อ บริษัท บางนา โลจิสติค จํากัด) และบริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จํากัด (มหาชน) และบันทึกเพิ่มเติมต่อท้ายสัญญา ซื้อขายขวดแก้วที่ทําขึ้นเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2554 ระหว่าง บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ รีไซเคิล จํากัด และบริษัท ไทยมาลายา กลาส จํากัด (“สัญญาซือ้ ขายขวดแก้ว”) (Glass Bottle Purchase Agreement) นัน ้ จะถูกรวมอยูใ่ นธุรกรรมทีไ่ ด้รบ ั อนุมต ั จิ ากผูถ ้ อื หุน ้ โดยมีเงือ่ นไขว่า ถ้ามีการแก้ไขเงื่อนไขที่เป็นสาระสําคัญใดๆ รวมถึงการปรับเปลี่ยนเกี่ยวกับราคาซื้อขวดแก้วตามที่สัญญาได้อนุญาตไว้ และการต่ออายุหรือ การขยายระยะเวลาของสัญญาซื้อขวดแก้ว เงื่อนไขดังกล่าวจะต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการและคณะกรรมการตรวจสอบของบริษัท (2) ธุรกรรมอื่นๆ ที่ทํากับบุคคลที่มส ี ่วนได้เสียอันมีลักษณะที่เกิดขึ้นเป็นประจํา (ก) บริษัทมีความประสงค์ที่จะดําเนินธุรกรรมกับบุคคลที่มีส่วนได้เสียที่ไม่ได้ระบุรวมไว้ในข้อ (1) ข้างต้น ซึ่งธุรกรรมดังกล่าวเป็นธุรกรรมที่มี ลักษณะเป็นธุรกรรมที่เกิดขึ้นเป็นประจํา และเป็นไปในทางการค้าปกติของกลุ่มบริษัท และจําเป็นต่อการดําเนินกิจการประจําวันของกลุ่ม บริษัท โดยธุรกรรมดังกล่าวรวมถึงธุรกรรมที่เกี่ยวกับการขายสินค้า และการให้บริการแก่บุคคลที่มีส่วนได้เสีย การให้เช่าหรือการให้เช่าช่วง ทรัพย์สินให้แก่ หรือการเช่าหรือการเช่าช่วงทรัพย์สินจากบุคคลที่มีส่วนได้เสีย และธุรกรรมที่ได้รับการอนุมัติที่ทํากับบุคคลที่มีส่วนได้เสีย ที่ได้รับการอนุมัติตามที่อ้างถึงในข้อ (จ) (ฉ) (ช) (ซ) (ฌ) และ (ญ) ภายใต้หัวข้อ “การอนุมัติทั่วไปในการดําเนินธุรกรรมกับบุคคลที่มี ส่วนได้เสีย - ธุรกรรมที่ได้รับการอนุมัติ” ข้างต้น โดยบริษัทประสงค์ที่จะเข้าทําธุรกรรมโดยใช้ราคาตลาดหรือราคาสินค้าหรือบริการที่จะให้


ร า ย ง า น ร า ย ก า ร กั บ กิ จ ก า ร ที่ เ กี่ ย ว ข้ อ ง กั น

224

ในขณะนั้น และในราคาตลาดในขณะนั้นสําหรับการเช่า/ให้เช่าและการเช่า/ให้เช่าช่วงทรัพย์สินตามเงื่อนไขทางการค้าปกติที่มิได้เอื้อประโยชน์ ต่อบุคคลที่มีส่วนได้เสียมากไปกว่าที่มีต่อบุคคลภายนอก (เท่าที่สามารถปรับใช้ได้) (รวมทั้ง การให้ราคาพิเศษ ส่วนลดที่ให้แก่ลูกค้าพิเศษ (favored customer) หรือในกรณีที่มีการซื้อสินค้าเป็นจํานวนมาก (เท่าที่สามารถปรับใช้ได้)) หรือประการอื่นใดตามวิธีปฏิบัติทาง อุตสาหกรรมที่นํามาบังคับใช้ ทั้งนี้ (1) ในส่วนของการขายสินค้าและการให้บริการให้แก่บุคคลที่มีส่วนได้เสียโดยมิได้มีการเสนอขายหรือให้บริการแก่บุคคลภายนอก รายการดังกล่าวจะต้องจัดให้มีราคาของผู้จัดหาสินค้าหรือบริการที่คล้ายคลึงกันอย่างน้อยสองรายซึ่งเป็นบุคคลภายนอกที่มิใช่บุคคล ที่มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับบุคคลที่มีส่วนได้เสีย และ (2) ในส่วนของการเช่า/ให้เช่า หรือเช่า/ให้เช่าช่วงทรัพย์สิน บริษัทจะต้องสอบถามจากผู้ให้เช่าและ/หรือผู้เช่าทรัพย์สินที่มีขนาดสถานที่ตั้ง และการใช้ประโยชน์อย่างเดียวกันอย่างน้อยสองรายซึ่งเป็นบุคคลภายนอกที่มิใช่บุคคลที่มีส่วนได้เสียหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับบุคคล ที่มีส่วนได้เสีย นอกจากนี้ จะมีการตรวจสอบธุรกรรมแต่ละธุรกรรมที่กลุ่มบริษัททํากับบุคคลที่มีส่วนได้เสีย และธุรกรรมดังกล่าวอาจจะต้องได้รับ การอนุมัติเป็นการล่วงหน้าจากผู้มีอํานาจอนุมัติที่เป็นกรรมการหรือผู้ดํารงตําแหน่งจัดการของกลุ่มบริษัท (ซึ่งไม่เป็นบุคคลที่มีส่วนได้เสีย หรือเป็นบุคคลที่เกี่ยวข้องกับบุคคลที่มีส่วนได้เสีย) และเป็นบุคคลที่ไม่มีส่วนได้เสียในธุรกรรมดังกล่าวไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อม ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับมูลค่าทางธุรกรรม ข้อจํากัดในการอนุมัติ

ผู้มีอํานาจอนุมัติ

ธุรกรรมที่ทํากับบุคคลที่มีส่วนได้เสียที่มีมูลค่าไม่เกิน 200,000 บาท

รองกรรมการผู้จัดการหรือเจ้าหน้าที่ในตําแหน่งที่เทียบเท่า

ธุรกรรมที่ทํากับบุคคลที่มีส่วนได้เสียที่มีมูลค่าเกิน 200,000 บาทแต่ไม่เกิน 500,000 บาท

กรรมการผู้จัดการหรือเจ้าหน้าที่ในตําแหน่งที่เทียบเท่า

ธุรกรรมที่ทํากับบุคคลที่มีส่วนได้เสียที่มีมูลค่าเกิน 500,000 บาทแต่ไม่เกิน 5,000,000 บาท

รองประธานกรรมการหรือเจ้าหน้าที่ในตําแหน่งที่เทียบเท่า

ธุรกรรมที่ทํากับบุคคลที่มีส่วนได้เสียที่มีมูลค่าเกิน 5,000,000 บาทแต่ไม่เกินร้อยละ 3 ของมูลค่าสินทรัพย์ มีตัวตนสุทธิของกลุ่มไทยเบฟที่ได้รับการตรวจสอบล่าสุด

ประธานกรรมการ

ธุรกรรมที่ทํากับบุคคลที่มีส่วนได้เสียที่มีมูลค่าเกินร้อยละ 3 ของมูลค่าสินทรัพย์มีตัวตนสุทธิของกลุ่มไทยเบฟที่ได้รับ การตรวจสอบล่าสุด

กรรมการตรวจสอบจํานวนสองท่าน โดยหนึ่งในจํานวนดังกล่าว จะต้องเป็นหัวหน้ากรรมการอิสระในส่วนของการทําธุรกรรมกับ บุคคลที่มีส่วนได้เสีย

ในส่วนที่เกี่ยวกับข้อ (ญ) ข้างต้น ภายใต้หัวข้อ “การอนุมัติโดยทั่วไปในการดําเนินธุรกรรมกับบุคคลที่มีส่วนได้เสีย - ธุรกรรมที่ได้รับ การอนุมัติ” ผู้มีอํานาจอนุมัติ (พิจารณาจากมูลค่าของธุรกรรม) จะยังต้องประเมินและอนุมัติว่าธุรกรรมที่เสนอเป็นธุรกรรมที่เกิดขึ้นจาก หรือเกี่ยวเนื่องกับการให้หรือการรับสินค้าและ/หรือบริการตามข้อ (จ) (ฉ) (ช) (ซ) และ (ฌ) ภายใต้หัวข้อดังกล่าวข้างต้น


รายงานประจํ า ปี 2555 บริ ษ ั ท ไทยเบฟเวอเรจ จํ า กั ด (มหาชน)

ร า ย ง า น ร า ย ก า ร กั บ กิ จ ก า ร ที่ เ กี่ ย ว ข้ อ ง กั น

225

(ข) ในกรณีที่ไม่มีอัตราหรือราคาตลาดในขณะนั้น ไม่ว่าเนื่องมาจากลักษณะของสินค้าที่เสนอขายหรือการให้บริการ หรือเนื่องมาจากการไม่มี หรือไม่สามารถหาราคาจากบุคคลภายนอกหรือแหล่งอื่นใดในทางปฏิบัติได้ กลุ่มบริษัทจะกําหนดราคาสําหรับสินค้าและบริการเหล่านี้ ตามหลักปฏิบัติในทางการค้าปกติและตามนโยบายการกําหนดราคาของกลุ่มบริษัทซึ่งจะสอดคล้องกับส่วนต่างกําไร (Margin) ปกติที่ กลุ่มบริษัทจะได้รับจากสินค้าและบริการที่มีลักษณะคล้ายคลึงที่กลุ่มบริษัททํากับบุคคลภายนอก โดยในการกําหนดราคาสําหรับธุรกรรม ที่พึงชําระโดยบุคคลที่มีส่วนได้เสียที่ได้รบ ั การอนุมัติสําหรับสินค้าหรือบริการดังกล่าวนี้ บริษัทจะนําปัจจัยต่างๆ ต่อไปนี้มาพิจารณา ซึ่งรวม ถึงแต่ไม่จํากัดเพียง จํานวน ปริมาณการบริโภค ข้อกําหนดของลูกค้า รายละเอียด ระยะเวลาของสัญญาและกลยุทธ์ (Strategic Purpose) ของธุรกรรม ในส่วนของการเช่า/ให้เช่าและการเช่า/ให้เช่าช่วงทรัพย์สินนั้น ถ้าไม่มีราคาตลาดของค่าเช่าในขณะนั้น ไม่ว่า เนื่องจากการไม่มีหรือไม่สามารถหาราคาค่าเช่าเปรียบเทียบได้ในทางปฏิบัติหรือโดยเหตุประการอื่น กลุ่มบริษัทจะกําหนดอัตราค่าเช่า ตามวิธป ี ฏิบต ั ใิ นทางธุรกิจอันเป็นปกติและตามนโยบายการกําหนดราคาของกลุม ่ บริษท ั นอกจากนี้ เมือ่ พิจารณาถึงมูลค่าของธุรกรรมทีท ่ าํ กับ บุคคลที่มีส่วนได้เสีย ผู้มีอํานาจให้การอนุมัติที่ระบุไว้ในข้อ (ก) ข้างต้น (ซึ่งไม่เป็นบุคคลที่มีส่วนได้เสียหรือไม่เป็นบุคคลที่เกี่ยวข้องกับ บุคคลทีม ่ ส ี ว่ นได้เสีย) และเป็นบุคคลทีไ่ ม่มส ี ว่ นได้เสียในธุรกรรมดังกล่าว ไม่วา่ โดยตรงหรือโดยอ้อม จะเป็นผูก ้ าํ หนดว่าราคาและเงือ่ นไขต่างๆ ที่บุคคลที่มีส่วนได้เสียเสนอมานั้นยุติธรรมและสมเหตุสมผลหรือไม่ (3) ธุรกรรมที่ทํากับบุคคลที่มีส่วนได้เสียที่ไม่เกิดขึ้นเป็นประจํา บริษัทอาจทําธุรกรรมกับบุคคลที่มีส่วนได้เสียที่ไม่ได้ระบุรวมไว้ในข้อ (1) และ (2) ข้างต้น และไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของธุรกรรมที่ได้รับอนุมัติจาก ผู้ถือหุ้นเป็นครั้งคราว ซึ่งธุรกรรมดังกล่าวไม่ได้เกิดขึ้นเป็นประจําหรือเป็นธุรกรรมที่มิได้ทําขึ้นตามทางการค้าปกติของกลุ่มบริษัท หรือไม่จําเป็น สําหรับการดําเนินกิจการประจําวันของกลุ่มบริษัท ทั้งนี้ ธุรกรรมดังกล่าวรวมถึง ธุรกรรมเกี่ยวกับการซื้อหรือขายสินทรัพย์ การเข้าทําข้อตกลง หรือการดําเนินธุรกิจทั้งหลายที่มิได้เป็นส่วนหนึ่งของการดําเนินกิจการประจําวันของบริษัท ดังนั้น บริษัทจึงประสงค์ที่จะเข้าทําธุรกรรมดังกล่าว โดยปฏิบัติตามข้อกําหนดของคู่มือเกี่ยวกับการรับหลักทรัพย์ (Listing Manual) รวมถึงข้อจํากัดการอนุมัติ การได้รับอนุมัติ และข้อกําหนด ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องภายใต้ข้อ 905 และ 906 ของคู่มือเกี่ยวกับการรับหลักทรัพย์ นอกจากนี้ บริษัทจะตรวจสอบแต่ละธุรกรรมที่ได้กระทํา และ แต่ละธุรกรรมที่ได้กระทําจะต้องได้รับอนุมัติเป็นการล่วงหน้าจากผู้มีอํานาจอนุมัติที่เป็นกรรมการหรือผู้ดํารงตําแหน่งจัดการของกลุ่มบริษัทตาม ที่กําหนดไว้ข้างล่างนี้ (ซึ่งไม่เป็นบุคคลที่มีส่วนได้เสียและไม่เป็นบุคคลที่เกี่ยวข้องกับบุคคลที่มีส่วนได้เสีย) และเป็นบุคคลที่ไม่มีส่วนได้เสียใน ธุรกรรมดังกล่าว ไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อม โดยผู้มีอํานาจอนุมัติจะต้องทําการตรวจสอบธุรกรรม เพื่อให้แน่ใจว่าธุรกรรมดังกล่าวเป็นธุรกรรม ที่กระทําขึ้นตามข้อกําหนดทางการค้าปกติและไม่มีผลกระทบต่อผลประโยชน์ของบริษัทและผู้ถือหุ้นรายย่อยของบริษัท ข้อจํากัดในการอนุมัติ

ผู้มีอํานาจอนุมัติ

ธุรกรรมที่ทํากับบุคคลที่มีส่วนได้เสียที่มีมูลค่าไม่เกิน 200,000 บาท

รองกรรมการผู้จัดการหรือเจ้าหน้าที่ในตําแหน่งที่เทียบเท่า

ธุรกรรมที่ทํากับบุคคลที่มีส่วนได้เสียที่มีมูลค่าเกิน 200,000 บาทแต่ไม่เกิน 500,000 บาท

กรรมการผู้จัดการหรือเจ้าหน้าที่ในตําแหน่งที่เทียบเท่า

ธุรกรรมที่ทํากับบุคคลที่มีส่วนได้เสียที่มีมูลค่าเกิน 500,000 บาทแต่ไม่เกิน 5,000,000 บาท

รองประธานกรรมการหรือเจ้าหน้าที่ในตําแหน่งที่เทียบเท่า

ธุรกรรมที่ทํากับบุคคลที่มีส่วนได้เสียที่มีมูลค่าเกิน 5,000,000 บาทแต่ไม่เกินร้อยละ 3 ของมูลค่าสินทรัพย์ มีตัวตนสุทธิของกลุ่มไทยเบฟที่ได้รับการตรวจสอบล่าสุด

ประธานกรรมการ

ธุรกรรมที่ทํากับบุคคลที่มีส่วนได้เสียที่มีมูลค่าเกินร้อยละ 3 ของมูลค่าสินทรัพย์มีตัวตนสุทธิของกลุ่มไทยเบฟที่ได้รับการ ตรวจสอบล่าสุด

กรรมการตรวจสอบจํานวนสองท่าน โดยหนึ่งในจํานวนดังกล่าว จะต้องเป็นหัวหน้ากรรมการอิสระในส่วนของการทําธุรกรรมกับ บุคคลที่มีส่วนได้เสีย

ในกรณีที่ธุรกรรมที่กระทํากับบุคคลที่มีส่วนได้เสียต้องได้รับการอนุมัติจากผู้ถือหุ้นของบริษัท ในกรณีเช่นว่านี้อาจต้องมีการให้ข้อมูลเพิ่มเติมแก่ ผู้ถือหุ้นและอาจต้องทําการแต่งตั้งที่ปรึกษาทางการเงินอิสระเพื่อให้ความเห็นในธุรกรรมดังกล่าว


ร า ย ง า น ร า ย ก า ร กั บ กิ จ ก า ร ที่ เ กี่ ย ว ข้ อ ง กั น

226

ขั้นตอนในการตรวจสอบอื่นๆ คณะกรรมการตรวจสอบของบริษัทที่นําโดยหัวหน้ากรรมการอิสระในการทําธุรกรรมกับบุคคลที่มีส่วนได้เสียนั้น จะต้องดําเนินการตรวจสอบธุรกรรม ที่ทํากับบุคคลที่มีส่วนได้เสียทุกธุรกรรม รวมถึงธุรกรรมที่ได้รับการอนุมัติด้วย ทั้งนี้ เพื่อให้แน่ใจว่ากลุ่มบริษัทได้ปฏิบัติตามกฎระเบียบของ ตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ (โดยเฉพาะ หมวด 9 ของคู่มือเกี่ยวกับการรับหลักทรัพย์) นอกจากนี้ กลุ่มบริษัทจะต้องดําเนินการตามขั้นตอนดังต่อไปนี้ เพื่อระบุธุรกรรมของบุคคลที่มีส่วนได้เสีย (รวมถึงธุรกรรมที่ได้รับการอนุมัติ) และ บุคคลที่มีส่วนได้เสีย (รวมถึงบุคคลที่มีส่วนได้เสียที่ได้รับการอนุมัติ) รวมถึงการบันทึกธุรกรรมที่ทํากับบุคคลที่มีส่วนได้เสียทุกธุรกรรม (ก) ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน (Chief Financial Officer) ของกลุ่มบริษัทจะต้องเก็บรักษาทะเบียนธุรกรรมทั้งหลายที่กลุ่มบริษัททํากับบุคคล ที่มีส่วนได้เสีย รวมทั้งบุคคลที่มีส่วนได้เสียที่ได้รับการอนุมัติ (และเกณฑ์ในการเข้าทําธุรกรรมดังกล่าวรวมทั้งข้อเสนอราคาเพื่อใช้สนับสนุนเกณฑ์ ดังกล่าว) ไม่ว่าจะเป็นธุรกรรมที่ได้รับการอนุมัติหรือไม่ได้รับการอนุมัติจากผู้ถือหุ้นก็ตาม และ (ข) ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงินของกลุ่มบริษัทจะจัดส่งรายงานธุรกรรมที่กลุ่มบริษัทเข้าทํากับบุคคลที่มีส่วนได้เสียทุกธุรกรรมซึ่งได้มีการบันทึก ตลอดจนหลักเกณฑ์การเข้าทําธุรกรรมที่กลุ่มบริษัททํากับบุคคลที่มีส่วนได้เสียซึ่งได้มีการบันทึกไว้ให้แก่คณะกรรมการตรวจสอบเป็นรายไตรมาส นอกจากนี้ แผนการตรวจสอบภายในประจําปีของบริษัทจะระบุครอบคลุมถึงการตรวจสอบธุรกรรมที่ทํากับบุคคลที่มีส่วนได้เสียทั้งหลาย รวมทั้ง ขั้นตอนการตรวจสอบที่กาํ หนดขึ้นเพื่อตรวจสอบธุรกรรมที่กลุ่มบริษัททํากับบุคคลที่มีส่วนได้เสีย รวมทั้งธุรกรรมที่ได้รับการอนุมัติ หรือธุรกรรม ที่กลุ่มบริษัททํากับบุคคลที่มีส่วนได้เสียที่ใช้บังคับอยู่ ที่ได้มีการต่ออายุหรือแก้ไขใหม่ในระหว่างรอบปีบัญชีปัจจุบัน ตามธุรกรรมที่ได้รับการอนุมัติ จากผู้ถือหุ้นแล้ว นอกจากนี้ คณะกรรมการตรวจสอบที่นําโดยหัวหน้ากรรมการอิสระในการทําธุรกรรมกับบุคคลที่มีส่วนได้เสียนั้น จะดําเนินการตรวจสอบการควบคุม ภายในและขั้นตอนในการตรวจสอบสําหรับธุรกรรมที่ทํากับบุคคลที่มีส่วนได้เสียเป็นรายไตรมาส เพื่อพิจารณาว่าธุรกรรมเหล่านั้นมีการควบคุมภายใน และขั้นตอนในการตรวจสอบที่เพียงพอ และ/หรือสามารถปฏิบัติได้ในทางการค้า ทั้งนี้ เพื่อให้แน่ใจว่าการทําธุรกรรมระหว่างกลุ่มบริษัทและ บุคคลทีม ่ สี ว่ นได้เสียได้ทาํ ขึน ้ ตามข้อกําหนดอันเป็นปกติในทางการค้าและไม่มผ ี ลกระทบต่อผลประโยชน์ของบริษท ั และผูถ ้ อื หุน ้ รายย่อยของบริษท ั โดยในส่วนที่เกี่ยวเนื่องกับการตรวจสอบนั้น คณะกรรมการตรวจสอบของบริษัทจะต้องดําเนินการให้แน่ใจว่าบริษัทได้ปฏิบัติตามขั้นตอนการตรวจสอบ ทีก ่ าํ หนดไว้แล้วหรือไม่ นอกจากนี้ ในระหว่างการตรวจสอบทีก ่ ระทําขึน ้ เป็นครัง้ คราวโดยคณะกรรมการตรวจสอบของบริษท ั ถ้าคณะกรรมการตรวจสอบ ของบริษัทมีความเห็นว่า การควบคุมภายในและขั้นตอนการตรวจสอบสําหรับธุรกรรมที่ทํากับบุคคลที่มีส่วนได้เสียนั้น ไม่เหมาะสมหรือไม่เพียงพอ ที่จะแน่ใจได้ว่าธุรกรรมที่ทํากับบุคคลที่มีส่วนได้เสียนั้น จะทําขึ้นตามข้อกําหนดปกติในทางการค้าและจะไม่กระทบต่อผลประโยชน์ของบริษัทและ ผู้ถือหุ้นรายย่อยของบริษัท คณะกรรมการตรวจสอบของบริษัทจะนําเรื่องเสนอกลับไปยังผู้ถือหุ้นเพื่อขอให้ผู้ถือหุ้นมีมติเกี่ยวกับธุรกรรมที่ได้รับอนุมัติ จากผู้ถือหุ้นใหม่ ซึ่งจะอยู่บนหลักเกณฑ์ของการควบคุมภายในและขั้นตอนในการตรวจสอบธุรกรรมกับบุคคลที่มีส่วนได้เสียที่ได้รับการอนุมัติชุดใหม่ (ตามกฎข้อ 920(1)(ข)(4) และ (7) ของคู่มือเกี่ยวกับการรับหลักทรัพย์) ทั้งนี้ ในระหว่างระยะเวลาที่ขออนุมัติจากผู้ถือหุ้นอีกครั้งนั้น ธุรกรรมที่ทํา กับบุคคลที่มีส่วนได้เสียทั้งหมดจะต้องได้รับการตรวจสอบและได้รับการอนุมัติเป็นการล่วงหน้าจากคณะกรรมตรวจสอบ เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการตรวจสอบการควบคุมภายในและขั้นตอนในการตรวจสอบดังกล่าวข้างต้น สมาชิกรายใดๆ ของคณะกรรมการ ตรวจสอบที่ไม่เป็นอิสระ จะต้องละเว้นจากการมีส่วนร่วมในการตรวจสอบ การควบคุมภายในและขั้นตอนในการตรวจสอบของคณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการตรวจสอบของบริษัทจะมีความรับผิดชอบโดยรวมในการกําหนดขั้นตอนการตรวจสอบ และมีอํานาจในการมอบหมายอํานาจให้แก่ บุคคลหรือคณะกรรมการอื่นๆ ภายในกลุ่มบริษัทตามที่เห็นสมควร


รายงานประจํ า ปี 2555 บริ ษ ั ท ไทยเบฟเวอเรจ จํ า กั ด (มหาชน)

ร า ย ง า น ร า ย ก า ร กั บ กิ จ ก า ร ที่ เ กี่ ย ว ข้ อ ง กั น

227

ตาราง 2 ของภาคผนวก ตัวอย่างรายชื่อบุคคลที่มีส่วนได้เสียที่ได้รับอนุมัติ ณ วันที่ของภาคผนวก บุคคลที่มีส่วนได้เสียที่ได้รับอนุมัติ ณ วันที่ของภาคผนวกนี้ จะรวมถึงแต่ไม่จํากัดเฉพาะรายชื่อของบริษัทและองค์กรตามที่ระบุไว้นี้เท่านั้น เพื่อไม่ให้ เป็นที่สงสัย รายชื่อดังกล่าวนี้ไม่ได้ระบุรายชื่อทั้งหมดของบุคคลที่มีส่วนได้เสียที่ได้รับอนุมัติ 1.

บริษัท ทีซีซี โฮลดิ้ง จํากัด

26.

กองทุนรวมรีเจนท์โกลด์พร็อพเพอร์ตี้ฟันด์

2.

บริษัท บางนากลาส จํากัด

27.

บริษัท สยามประชาคาร จํากัด

3.

บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ เซลล็อกซ์ จํากัด

28.

บริษัท อาคเนย์แคปปิตอล จํากัด

4.

บริษัท บีเจซี อินดัสเตรียล แอนด์ เทรดดิ้ง จํากัด (1)

29.

บริษัท อาคเนย์ประกันภัย จํากัด (มหาชน) (5)

5.

บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ ฟู้ดส์ จํากัด

30.

บริษัท อาคเนย์ประกันชีวิต จํากัด (มหาชน) (6)

6.

บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ โลจิสติกส์ จํากัด

31.

บริษัท อุตสาหกรรมน้ําตาลสุพรรณบุรี จํากัด

7.

บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จํากัด (มหาชน)

32.

บริษัท ที.ซี.ซี. เซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ จํากัด (7)

8.

บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ สเปเชียลตี้ส์ จํากัด

33.

บริษัท เทอราโกร จํากัด (8)

9.

บริษัท บีเจซี มาร์เก็ตติ้ง จํากัด

34.

บริษัท เครืออาคเนย์ จํากัด (9)

10.

บริษัท บีเจซี เฮลท์แคร์ จํากัด (2)

35.

บริษัท ที.ซี.ซี. คอมเมอร์เชียล พร็อพเพอร์ตี้ แมนเนจเม้นท์ จํากัด

11.

บริษัท ชลิตลาภ จํากัด

36.

บริษัท ที.ซี.ซี. เทคโนโลยี จํากัด

37.

บริษัท ไทย เบเวอร์เรจ แคน จํากัด

(3)

12.

บริษัท เพิ่มค่าพาณิชย์ จํากัด

13.

บริษัท โกลเด้นเวลธ์ จํากัด

38.

บริษัท อุตสาหกรรมน้ําตาลชลบุรี จํากัด

14.

บริษัท อินทรประกันภัย จํากัด (มหาชน)

39.

บริษัท อุตสาหกรรมทําเครื่องแก้วไทย จํากัด (มหาชน)

15.

บริษัท เลควิว กอล์ฟ แอนด์ ยอร์ช คลับ จํากัด

40.

บริษัท น้ําตาลทิพย์กําแพงเพชร จํากัด (10)

16.

บริษัท เลควิว แลนด์ จํากัด

41.

บริษัท นิวอิมพีเรียล โฮเต็ล จํากัด (มหาชน)

42.

บริษัท น้ําตาลทิพย์สุโขทัย จํากัด (11)

(4)

17.

บริษัท ทีซีซี แวลูโฮเทลล์ จํากัด

18.

บริษัท เอ็น. ซี. ซี. แมนเนจเม้นท์ แอนด์ ดิเวลลอปเม้นท์ จํากัด

43.

บริษัท พรรณธิอร เทรดดิ้ง จํากัด

19.

กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้องนิวโนเบิล

44.

บริษัท ไทยแอลกอฮอล์ จํากัด (มหาชน)

20.

บริษัท หนองคาย คันทรี กอล์ฟคลับ จํากัด

45.

บริษัท ไทย มาลายา กลาส จํากัด

21.

บริษัท นอร์ธปาร์ค กอล์ฟแอนด์สปอร์ตคลับ จํากัด

46.

เฟรเซอร์ แอนด์ นีฟ, ลิมิเต็ด

22.

บริษัท พี เอส รีไซเคิล จํากัด

47.

บริษัท ยูนิเวนเจอร์ จํากัด (มหาชน)

23.

บริษัท พิเศษกิจ จํากัด

24.

บริษัท พลาซ่าแอทธินี โฮเต็ล (ประเทศไทย) จํากัด

25.

บริษัท ควีนส์ปาร์ค โฮเต็ล จํากัด

หมายเหตุ (1) บริษัทนี้เดิมชื่อ บริษัท บีเจซี เอ็นจิเนียริ่ง จํากัด (2) บริษัทนี้เดิมชื่อ บริษัท บีเจซี เทรดดิ้ง จํากัด (3) บริษัทนี้เดิมชื่อ บริษัท น้ําตาลทิพย์ (1999) จํากัด (4) บริษัทนี้เดิมชื่อ บริษัท โรงแรมแม่ปิง (1988) จํากัด (5) บริษัทนี้เดิมชื่อ บริษัท อาคเนย์ประกันภัย (2000) จํากัด และได้แปรสภาพจากบริษัทจํากัดเป็นบริษัทมหาชนจํากัด (6) บริษัทได้แปรสภาพจากบริษัทจํากัดเป็นบริษัทมหาชนจํากัด (7) บริษัทนี้เดิมชื่อ บริษัท ธารา โฮเต็ล จํากัด (8) บริษัทนี้เดิมชื่อ บริษัท ทีซีซี อะโกร จํากัด (9) บริษัทนี้เดิมชื่อ บริษัท ที.ซี.ซี. แคปปิตอล จํากัด (10) บริษัทนี้เดิมชื่อ บริษัทอุตสาหกรรมน้ําตาลแม่วัง จํากัด (11) บริษัทนี้เดิมชื่อ บริษัท อุตสาหกรรมน้ําตาลอุตรดิตถ์ จํากัด


ร ว บ ร ว ม ส า ร ส น เ ท ศ ที่ เ ปิ ด เ ผ ย ไ ป ยั ง ต ล า ด ห ลั ก ท รั พ ย์ สิ ง ค โ ป ร์ ( S G X ) ใ น ปี 2 5 5 5

228

รวบรวมสารสนเทศที่เปิดเผยไปยัง ตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ (SGX) ในปี 2555 การปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์และตามแนวทางการปฏิบัติที่ดี บริษัทตระหนักถึงความสําคัญของความโปร่งใสในการเปิดเผยข้อมูล ในปี 2555 บริษัทได้รายงานต่อตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ รวมทั้งสิ้นจํานวน 93 ครั้ง ในเรื่องดังต่อไปนี้ 1. รายงานเกี่ยวกับงบการเงิน รวม 4 ครั้ง 2. รายงานเรื่องส่วนได้เสียของผู้ถือหุ้นรายใหญ่ (Substantial Shareholders) และของกรรมการ และการเปลี่ยนแปลงส่วนได้เสีย รวม 36 ครั้ง นอกจากนี้ ในกรณีที่เลขานุการบริษัทได้รับรายงานการเปลี่ยนแปลงส่วนได้เสียจากกรรมการท่านใด จะรายงานให้กรรมการท่านอื่นทราบ 3. รายงานเรื่องการเกี่ยวข้องกับการดํารงตําแหน่งของกรรมการและผู้บริหารระดับสูงต่างๆ ของบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จํากัด (มหาชน) รวม 5 ครั้ง คือ 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5

นายสถาพร กวิตานนท์ พ้นจากการดํารงตําแหน่ง กรรมการอิสระและประธานกรรมการตรวจสอบ ในเดือนกุมภาพันธ์ 2555 นายประสิทธิ์ โฆวิไลกูล ได้รับการแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่ง กรรมการอิสระและประธานกรรมการตรวจสอบ ในเดือนเมษายน 2555 นายพลภัทร สุวรรณศร พ้นจากการดํารงตําแหน่ง ผู้ช่วยกรรมการผู้อํานวยการใหญ่ สายงานบริหารทั่วไป ในเดือนพฤษภาคม 2555 นายวิเชฐ ตันติวานิช ได้รับการแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่ง ผู้ช่วยกรรมการผู้อํานวยการใหญ่ สายงานบริหารทั่วไป ในเดือนพฤษภาคม 2555 นายประภากร ทองเทพไพโรจน์ ได้รับการแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่ง ผู้ช่วยกรรมการผู้อํานวยการใหญ่ ในเดือนกรกฎาคม 2555

4. รายงานเรื่องการได้มาและจําหน่ายไปซึ่งทรัพย์สินและเรื่องที่เกี่ยวข้อง รวม 10 ครั้ง จากการที่ อินเตอร์เนชั่นแนล เบฟเวอเรจ โฮลดิ้งส์ ลิมิเต็ด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยโดยตรงของบริษัท เข้าซื้อหุ้นสามัญของเฟรเซอร์ แอนด์ นีฟ, ลิมิเต็ด และต่อมาโอนให้กับ อินเตอร์เบฟ อินเวสท์เมนท์ ลิมิเต็ด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยโดยอ้อมของบริษัท และจากการจัดตั้งบริษัทย่อยโดยอ้อม คือ (1) โออิชิ อินเตอร์เนชั่นแนล โฮลดิ้งส์ ลิมิเต็ด (2) บริษัท เสริมสุข เทรนนิ่ง จํากัด (3) เกรท แบรนด์ส ลิมิเต็ด และ (4) อินเตอร์เบฟ อินเวสท์เมนท์ ลิมิเต็ด รวมทั้งจากการขายหุ้นสามัญ ร้อยละ 99.99 ของบริษัทที่ถือในบริษัท เครื่องดื่มแรงเยอร์ (2008) จํากัด ให้แก่บริษัท เสริมสุข โฮลดิ้งส์ จํากัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยโดยอ้อม ของบริษัท 5. รายงานเรื่องอื่นๆ ทั้งที่เป็นการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ และเป็นการให้ข้อมูลให้แก่นักลงทุน รวม 38 ครั้ง ซึ่งเป็น การกําหนดวันปิดสมุดทะเบียนหุ้นเพื่อกําหนดสิทธิต่างๆ ของผู้ถือหุ้น การใช้วงเงินสินเชื่อ สรุปรายละเอียดผลประกอบการในไตรมาสต่างๆ สําหรับนักลงทุน และการรายงานซึ่งเกี่ยวข้องกับบริษัทและบริษัทย่อย เป็นต้น


รายงานประจํ า ปี 2555 บริ ษ ั ท ไทยเบฟเวอเรจ จํ า กั ด (มหาชน)

ข้ อ มู ล ทั่ ว ไ ป

229

ข้อมูลทั่วไป (อ้างอิงตามโครงสร้างการถือหุ้น) • ติดต่อธุรกิจ • ชื่อบริษัท บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จํากัด (มหาชน)

• ที่อยู่

• โทรศัพท์

• โทรสาร

• หมายเหตุ

เลขที่ 14 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล

(02) 785 5555

(02) 785 5882

(02) 785 5555

(02) 785 5885

(055) 728 400-15

(055) 728 416

(02) 785 5555

(02) 785 5885

(035) 289 333-45

(035) 289 371

(02) 785 5555

(02) 785 5885

(035) 362 175-8

(035) 362 179

(02) 785 5555

(02) 785 5885

(02) 278 4321

(02) 278 4381

(034) 321 778-9

(034) 321 777

โรงงาน 1

(034) 611 053

(034) 611 778

โรงงาน 2

(037) 285 016-20

(037) 285 237

โรงงาน

(02) 278 4321

(02) 278 4381

(055) 449 126-30

(055) 449 131

โรงงาน

(053) 849 550-4

(053) 849 555

โรงงาน

(02) 278 4321

(02) 278 4381

(034) 611 783-5

(034) 611 786

เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900 สายการผลิตเบียร์ 1.

บริษัท เบียร์ไทย (1991) จํากัด (มหาชน)

เลขที่ 15 หมู่ที่ 14 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900 เลขที่ 349 หมู่ที่ 2 ตําบลแม่ลาด อําเภอคลองขลุง

โรงงาน

จังหวัดกําแพงเพชร 62120 2.

บริษัท เบียร์ทิพย์ บริวเวอรี่ (1991) จํากัด

เลขที่ 15 หมู่ที่ 14 ถนนวิภาวดีรงั สิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900 เลขที่ 68 หมู่ที่ 2 ตําบลนํ้าเต้า อําเภอบางบาล

โรงงาน

จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13250 3.

บริษัท คอสมอส บริวเวอรี่ (ประเทศไทย) จํากัด

เลขที่ 15 หมู่ที่ 14 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900 เลขที่ 77 หมู่ที่ 1 ถนนพหลโยธิน กม. 54

โรงงาน

ตําบลลําไทร อําเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13170 4.

บริษัท วิทยาทาน จํากัด

เลขที่ 15 หมู่ที่ 14 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900

สายการผลิตสุรา 1.

บริษัท แสงโสม จํากัด

เลขที่ 14 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900 เลขที่ 49 หมู่ที่ 4 ตําบลหอมเกร็ด อําเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม 73110 เลขที่ 37/3 หมู่ที่ 7 ตําบลวังขนาย อําเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี 71110

2.

บริษัท เฟื่องฟูอนันต์ จํากัด

เลขที่ 333 หมู่ที่ 1 ตําบลท่าตูม อําเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี 25140

3.

บริษัท มงคลสมัย จํากัด

เลขที่ 14 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900 เลขที่ 149 หมู่ที่ 5 ถนนวังสีสูบ-งิ้วงาม ตําบลผาจุก อําเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ 53000

4.

บริษัท ธนภักดี จํากัด

เลขที่ 315 หมู่ที่ 4 ตําบลแม่แฝก อําเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290

5.

บริษัท กาญจนสิงขร จํากัด

เลขที่ 14 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900 เลขที่ 50 หมู่ที่ 7 ตําบลวังขนาย อําเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี 71110

โรงงาน


ข้ อ มู ล ทั่ ว ไ ป

230

• ติดต่อธุรกิจ • ชื่อบริษัท 6.

บริษัท สุราพิเศษทิพราช จํากัด

• ที่อยู่

• โทรศัพท์

• โทรสาร

• หมายเหตุ

เลขที่ 14 อาคารแสงโสม ซอยยาสูบ 1

(02) 278 4321

(02) 278 4381

(034) 527 100

(034) 527 111

โรงงาน

(02) 598 2850-6

(02) 598 2858

โรงงาน

(02) 278 4321

(02) 278 4381

(02) 278 4321

(02) 278 4381

เลขที่ 170 หมู่ที่ 11 ตําบลนิคม

(044) 681 010-2

(044) 627 202

โรงงาน

อําเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ 31150

(044) 681 223-4

(045) 426 532-5

(045) 426 536

โรงงาน

(02) 278 4321

(02) 278 4381

เลขที่ 309 หมู่ที่ 6 ถนนนํ้าพอง-กระนวน

(043) 441 013-5

(043) 441 017

ตําบลนํ้าพอง อําเภอนํ้าพอง

(043) 441 479

(043) 441 438

จังหวัดขอนแก่น 40310

(043) 441 439

เลขที่ 99 หมู่ที่ 4 ตําบลหาดคํา

(042) 449 711-13

อําเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย 43000

(042) 449 715

ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900 เลขที่ 488 หมู่ที่ 1 ตําบลวังด้ง อําเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 71190 7.

บริษัท สุราบางยี่ขัน จํากัด

เลขที่ 82 หมู่ที่ 3 ตําบลบางคูวัด อําเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี 12000 เลขที่ 14 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900

8.

บริษัท สุราแม่โขง จํากัด

เลขที่ 14 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900

9.

บริษัท อธิมาตร จํากัด

(044) 627 200-1 10. บริษัท เอส.เอส.การสุรา จํากัด

เลขที่ 101 หมู่ที่ 8 ตําบลแก่งโดม อําเภอสว่างวีระวงศ์ จังหวัดอุบลราชธานี 34190

11. บริษัท แก่นขวัญ จํากัด

เลขที่ 14 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900

12. บริษัท เทพอรุโณทัย จํากัด

(042) 449 714

โรงงาน

โรงงาน

(042) 462 658-9 13. บริษัท สุรากระทิงแดง (1988) จํากัด

เลขที่ 15 หมู่ที่ 14 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล

(02) 278 4321

(02) 278 4381

(034) 830 213-6

(034) 830 213-6

(02) 278 4321

(02) 278 4381

เลขที่ 54 หมู่ที่ 2 ถนนสุขาภิบาล ตําบลนครชัยศรี

(034) 331 954

(034) 331 955

โรงงาน

อําเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม 73120

(034) 227 754-7

เลขที่ 1 หมู่ที่ 6 ตําบลบ้านแดน

(056) 279 088-9

(056) 350 660

โรงงาน

(02) 278 4321

(02) 278 4381

(077) 357 170-3

(077) 357 174

โรงงาน

(032) 741 761-2

(032) 741 763

โรงงาน

(02) 278 4321

(02) 278 4381

เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900 เลขที่ 8 หมู่ที่ 5 ถนนเศรษฐกิจ 1 ตําบลนาดี

โรงงาน

อําเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร 74000 14. บริษัท ยูไนเต็ด ไวน์เนอรี่ แอนด์ดิสทิลเลอรี่ จํากัด

เลขที่ 14 อาคารแสงโสม ซอยยาสูบ 1 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900

15. บริษัท สีมาธุรกิจ จํากัด

อําเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ 60180 16. บริษัท นทีชัย จํากัด

เลขที่ 14 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900 เลขที่ 1 หมู่ที่ 2 ถนนทางหลวง หมายเลข 41 ตําบลท่าโรงช้าง อําเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี 84130

17. บริษัท หลักชัยค้าสุรา จํากัด

เลขที่ 46 หมู่ที่ 1 ตําบลหนองกลางนา อําเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี 70000

18. บริษัท สุราพิเศษภัทรลานนา จํากัด

เลขที่ 14 อาคารแสงโสม ซอยยาสูบ 1 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900


รายงานประจํ า ปี 2555 บริ ษ ั ท ไทยเบฟเวอเรจ จํ า กั ด (มหาชน)

ข้ อ มู ล ทั่ ว ไ ป

231

• ติดต่อธุรกิจ • ชื่อบริษัท 19. บริษัท ประมวลผล จํากัด

• ที่อยู่

• โทรศัพท์

• โทรสาร

• หมายเหตุ

เลขที่ 56 ถนนสุขาภิบาล ตําบลนครชัยศรี

(034) 331 157

(034) 331 787

โรงงาน

(02) 785 7441

(02) 973 4658

(044) 955 101-3

(044) 955 104-5

อําเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม 73120 สายบริหารการขาย กลุ่มบริษัทผู้จัดจําหน่ายเบียร์ 1.

บริษัท ป้อมทิพย์ (2012) จํากัด*

เลขที่ 40/53 หมู่ที่ 3 แขวงตลาดบางเขน เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210

2.

บริษัท ป้อมกิจ จํากัด

เลขที่ 523/1 หมู่ที่ 3 ตําบลจอหอ อําเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา 30310

3.

บริษัท ป้อมคลัง จํากัด

เลขที่ 22/1 ซอย 2 (ป่าพร้าว) ถนนป่าพร้าว

(053) 275 211

ตําบลป่าแดด อําเภอเมืองเชียงใหม่

(053) 275 211 ต่อ 212

จังหวัดเชียงใหม่ 50100 4.

บริษัท ป้อมโชค จํากัด

เลขที่ 16/1 หมู่ที่ 1 ถนนอู่ทอง

(035) 241 032

ตําบลท่าวาสุกรี อําเภอพระนครศรีอยุธยา

(035) 241 032 ต่อ 211

จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13000 5.

บริษัท ป้อมเจริญ จํากัด

เลขที่ 135/3 หมู่ที่ 4 ถนนกาญจนวิถี

(077) 914 242

(077) 914 248

(038) 287 268

(038) 273 205

(043) 224 222-4

(043) 340 438

(032) 312 772-4

(032) 312 770-1

(02) 785 7441

(02) 973 4658

เลขที่ 523/1 หมู่ที่ 3 ตําบลจอหอ

(044) 955 100-3

(044) 955 107

อําเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา 30310

ต่อ 2050

เลขที่ 22/1 ซอย 2 (ป่าพร้าว) ถนนป่าพร้าว

(053) 275 211

ตําบลบางกุ้ง อําเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี 84000 6.

บริษัท ป้อมบูรพา จํากัด

เลขที่ 51/42 หมู่ที่ 3 ถนนสุขุมวิท ตําบลบ้านสวน อําเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี 20000

7.

บริษัท ป้อมพลัง จํากัด

เลขที่ 439 หมู่ที่ 11 ตําบลเมืองเก่า อําเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น 40000

8.

บริษัท ป้อมนคร จํากัด

เลขที่ 85/35, 85/36 ถนนเพชรเกษม ตําบลหน้าเมือง อําเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี 70000

*

บริษัทนี้ได้จดทะเบียนจัดตั้ง เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2555

กลุ่มบริษัทผู้จัดจําหน่ายสุรา 1.

บริษัท นํายุค จํากัด

เลขที่ 40/53 หมู่ที่ 3 แขวงตลาดบางเขน เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210

2.

3.

บริษัท นํากิจการ จํากัด

บริษัท นําพลัง จํากัด

ตําบลป่าแดด อําเภอเมืองเชียงใหม่

(053) 275 211 ต่อ 212

จังหวัดเชียงใหม่ 50100 4.

บริษัท นําเมือง จํากัด

เลขที่ 16/2 หมู่ที่ 1 ถนนอู่ทอง

(035) 242 691

(035) 241 032

(077) 914 242

(077) 914 248

(038) 287 268-9

(038) 272 525

(043) 224 222-4

(043) 220 222

(032) 312 772-4

(032) 312 770-1

ตําบลท่าวาสุกรี อําเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13000 5.

บริษัท นํานคร จํากัด

เลขที่ 149/3 ถนนจุลจอมเกล้า ตําบลท่าข้าม อําเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี 84130

6.

บริษัท นําธุรกิจ จํากัด

เลขที่ 51/40-41 หมู่ที่ 3 ถนนสุขม ุ วิท ตําบลบ้านสวน อําเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี 20000

7.

บริษัท นํารุ่งโรจน์ จํากัด

เลขที่ 439 หมู่ที่ 11 ตําบลเมืองเก่า อําเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น 40000

8.

บริษัท นําทิพย์ จํากัด

เลขที่ 85/33, 85/34 ถนนเพชรเกษม ตําบลหน้าเมือง อําเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี 70000


ข้ อ มู ล ทั่ ว ไ ป

232

• ติดต่อธุรกิจ • ชื่อบริษัท

• ที่อยู่

• โทรศัพท์

• โทรสาร

เลขที่ 15 อาคารแสงโสม 2 ชั้นที่ 8 หมู่ที่ 14

(02) 785 7441

(02) 973 4658

(02) 785 5555

(02) 617 9688

(02) 785 5555

(02) 617 9688

(02) 785 5555

(02) 617 9688

(02) 785 5555

(02) 617 9688

(02) 785 5555

(02) 617 9688

(02) 785 5555

(02) 785 5929

(02) 785 5555

(02) 785 5929

(02) 785 5555

(02) 785 5929

(02) 785 5555

(02) 785 5980

(02) 785 7000

(02) 785 7125

(02) 785 7000

(02) 785 7148

(02) 785 7000

(02) 785 7165

(02) 785 7000

(02) 785 7320-2

(02) 785 7131-4

(02) 785 7125

(02) 785 5555

(02) 785 5885

(02) 785 7032

(02) 785 7085

กลุ่มผู้จัดจําหน่ายสินค้าแก่ห้างค้าปลีกสมัยใหม่ 1.

บริษัท โมเดิร์นเทรด แมนเนจเม้นท์ จํากัด*

ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 *

บริษัทนี้จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงชื่อบริษัทและที่ตั้งสํานักงานแห่งใหญ่ เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2555

กลุ่มบริษัทผู้แทนจําหน่าย 1.

บริษัท ทิพย์ชโลธร จํากัด

เลขที่ 15 หมู่ที่ 14 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900

2.

บริษัท กฤตยบุญ จํากัด

เลขที่ 14 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900

3.

บริษัท สุราทิพย์ จํากัด

เลขที่ 14 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900

4.

บริษัท สุนทรภิรมย์ จํากัด

เลขที่ 14 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900

5.

บริษัท ภิรมย์สุรางค์ จํากัด

เลขที่ 14 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจก ั ร กรุงเทพมหานคร 10900

สายบริหารการตลาด 1.

บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ มาร์เก็ตติ้ง จํากัด

เลขที่ 15 หมู่ที่ 14 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900

2.

บริษัท ช้างอินเตอร์เนชั่นแนล จํากัด

เลขที่ 15 หมู่ที่ 14 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900

3.

บริษัท ช้าง คอร์ป จํากัด

เลขที่ 15 หมู่ที่ 14 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900

4.

บริษัท ทศภาค จํากัด

เลขที่ 1 อาคารอีสท์วอเตอร์ ชั้น 20 ซอยวิภาวดีรังสิต 5 แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900

สายธุรกิจต่อเนื่อง 1.

บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ เอ็นเนอร์ยี่ จํากัด

เลขที่ 15 หมู่ที่ 14 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900

2.

บริษัท ไทยโมลาส จํากัด

เลขที่ 14 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900

3.

บริษัท อาหารเสริม จํากัด

เลขที่ 15 หมู่ที่ 14 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900

4.

บริษัท แพนอินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จํากัด

เลขที่ 15 หมู่ที่ 14 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900

5.

บริษัท จรัญธุรกิจ 52 จํากัด

เลขที่ 15 หมู่ที่ 14 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900

6.

บริษัท ถังไม้โอ๊คไทย จํากัด

เลขที่ 15 หมู่ที่ 14 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900

7.

บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ รีไซเคิล จํากัด

เลขที่ 15 หมู่ที่ 14 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900

• หมายเหตุ


รายงานประจํ า ปี 2555 บริ ษ ั ท ไทยเบฟเวอเรจ จํ า กั ด (มหาชน)

ข้ อ มู ล ทั่ ว ไ ป

233

• ติดต่อธุรกิจ • ชื่อบริษัท 8.

บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ โลจิสติก จํากัด

• ที่อยู่

• โทรศัพท์

• โทรสาร

เลขที่ 1 อาคารอีสท์ วอเตอร์ ซอยวิภาวดีรังสิต 5

(02) 785 5555

(02) 785 5975

(02) 785 7000

(02) 785 7025

(034) 993 355

(034) 993 354

(02) 785 8888

(02) 717 3920

(02) 785 8888

(02) 785 8889

(02) 785 8888

(02) 785 8889

• หมายเหตุ

ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900 กลุ่มบริษัทเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ 1.

บริษัท ไทยดริ้งค์ จํากัด

เลขที่ 14 อาคารแสงโสม ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900

2.

บริษัท เอส.พี.เอ็มอาหารและเครือ่ งดื่ม จํากัด

เลขที่ 79 หมู่ที่ 3 ตําบลลําลูกบัว อําเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม 73150

กลุม ่ บริษท ั จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มบริษัทโออิชิ 1.

บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จํากัด (มหาชน)*

เลขที่ 57 อาคารปาร์ค เวนเซอร์ ชั้น 19-20 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

2.

บริษัท โออิชิ เทรดดิ้ง จํากัด*

เลขที่ 57 อาคารปาร์ค เวนเซอร์ ชั้น 19-20 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

3.

บริษัท โออิชิ ราเมน จํากัด*

เลขที่ 57 อาคารปาร์ค เวนเซอร์ ชัน ้ 19-20 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

4.

Oishi International Holdings Limited**

Room 901-1, Silvercord Tower 1 30 canton RD TST KLN, Hong Kong

*

บริษัทนี้ได้จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงที่ตั้งสํานักงานแห่งใหญ่ เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2555

**

บริษัทนี้ได้จดทะเบียนจัดตั้งในประเทศฮ่องกง เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2555

กลุ่มบริษัทเสริมสุข 1.

บริษัท เสริมสุข จํากัด (มหาชน)

252/35-36 อาคารสํานักงานเมืองไทย-ภัทรคอมเพล็กซ์ (02) 693 2255-65

(02) 693 2266

อาคาร 1 ชั้นที่ 27-28 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10310 2.

บริษัท เสริมสุข โฮลดิ้งส์ จํากัด

252/35-36 อาคารเมืองไทย-ภัทรคอมเพล็กซ์

(02) 693 2255-65

(02) 693 2266

(02) 693 2255-65

(02) 693 2266

(036) 489 116-7

(036) 489 115

(02) 693 2255-65

(02) 693 2266

อาคาร 1 ชัน ้ 27-28 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10310 3.

บริษัท เสริมสุข เบเวอร์เรจ จํากัด

252/35-36 อาคารเมืองไทย-ภัทรคอมเพล็กซ์

อาคาร 1 ชั้น 27-28 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10310 4.

บริษัท เพ็ทฟอร์ม (ไทยแลนด์) จํากัด

85 หมู่ที่ 11 ถนนบางงา-ท่าโขลง ตําบลเขาสมอคอน

อําเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี 15180 5.

บริษัท เสริมสุข เทรนนิ่ง จํากัด*

252/35-36 อาคารเมืองไทย-ภัทรคอมเพล็กซ์

อาคาร 1 ชั้น 27-28 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10310 6.

Great Brands Limited**

Room 901-1, Silvercord, Tower 1 30 Canton Road, Tsim Sha Tsui

Kowloon, Hong Kong

โรงงาน


ข้ อ มู ล ทั่ ว ไ ป

234

• ติดต่อธุรกิจ • ชื่อบริษัท 7.

บริษัท เครื่องดื่มแรงเยอร์ (2008) จํากัด

• ที่อยู่

• โทรศัพท์

• โทรสาร

• หมายเหตุ

เลขที่ 14 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร

(02) 785 7000

(02) 785 7025

โรงงาน

(02) 785 7341

(02) 785 7345

(02) 278 4321

(02) 278 4381

กรุงเทพมหานคร 10900 *

บริษัทนี้ได้จดทะเบียนจัดตั้ง เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2555

**

บริษัทนี้ได้จดทะเบียนจัดตั้งในประเทศฮ่องกง เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2555

กลุ่มอื่น ๆ 1.

บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ เทรนนิง่ จํากัด

เลขที่ 14 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900

2.

บริษัท สุราไทยทํา จํากัด

เลขที่ 14 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900

ไม่ได้ ประกอบ กิจการ

3.

4.

บริษัท สุราพิเศษสหสันติ์ จํากัด

บริษัท สุราพิเศษสัมพันธ์ จํากัด

เลขที่ 14 อาคารแสงโสม ซอยยาสูบ 1

(02) 278 4321

(02) 278 4381

ไม่ได้

ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล

ประกอบ

เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900

กิจการ

เลขที่ 14 อาคารแสงโสม ซอยยาสูบ 1

(02) 278 4321

(02) 278 4381

ไม่ได้

ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล

ประกอบ

เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900

กิจการ

กลุ่มบริษัทเครื่องหมายการค้า 1.

บริษัท ไทยเบฟเวอเรจแบรนด์ จํากัด

เลขที่ 15 หมู่ที่ 14 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล

(02) 785 5555

(02) 617 9688

(02) 785 5555

(02) 617 9688

(02) 785 5555

(02) 617 9688

(02) 785 5555

(02) 617 9688

เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900 2.

บริษัท เบียร์อาชา จํากัด

เลขที่ 14 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900

3.

บริษัท เบียร์ช้าง จํากัด

เลขที่ 15 หมู่ที่ 14 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900

4.

บริษัท เบียร์ช้าง อินเตอร์เนชัน ่ แนล จํากัด

เลขที่ 15 หมู่ที่ 14 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900

ดําเนินการ

กลุ่มบริษัทต่างประเทศ* 1.

International Beverage Holdings Limited

Room 901-2, Silvercord Tower 1

(852) 2375 6648

(852) 2375 6188

(65) 6435 2880

(65) 6536 9930

(65) 6509 3410

(65) 6265 1819

(855) (23) 727 424

(855) (23) 727 424

(603) 7960 1839

(603) 7960 3361

(603) 2050 1888

(603) 2031 8618

30 Canton Road, Tsim Sha Tsui

Kowloon, Hong Kong 2.

InterBev (Singapore) Limited

No. 138 Cecil Street # 05-02 Cecil Court, Singapore 069538 24 Penjuru Road

#07-01 CWT Commodity Hub Singapore 609128 3.

InterBev (Cambodia) Co., Ltd.

No. 35, Street 322 Sangkat Boeung Keng Kang 1 Khan Chamkamon, Phnom Penh, Cambodia

4.

InterBev Malaysia Sdn. Bhd.

Unit C-25-02, First Floor 3 Two Square Commercial Centre

No. 2, Jalan 19/1, 46300 Petaling Jaya Selangor, Malaysia Suite 6.01, 6th Floor Plaza See Hoy Chan, Jalan Raja Chulan 50200 Kuala Lumpur, Malaysia

หยุด


รายงานประจํ า ปี 2555 บริ ษ ั ท ไทยเบฟเวอเรจ จํ า กั ด (มหาชน)

ข้ อ มู ล ทั่ ว ไ ป

235

• ติดต่อธุรกิจ • ชื่อบริษัท 5.

Best Spirits Company Limited

• ที่อยู่

• โทรศัพท์

• โทรสาร

Room 901-2, Silvercord Tower 1

(852) 2375 6648

(852) 2375 6188

Moffat Distillery, Airdrie, ML6 8PL, Scotland

(44) 1236 769377

(44) 1236 779001

(852) 2375 6648

(852) 2375 6188

(65) 6435 2880

(65) 6536 9930

(65) 6435 2880

(65) 6536 9930

(1) 441 292 7337

(1) 441 295 5655

(1) 646 896 3800

(1) 646 896 3801

(44) 1236 769377

(44) 1236 769781

• หมายเหตุ

30 Canton Road, Tsim Sha Tsui

Kowloon, Hong Kong 6.

International Beverage Holdings (UK) Limited

7.

International Beverage Holdings (China)

Room 901-2, Silvercord Tower 1

Limited

30 Canton Road, Tsim Sha Tsui

Kowloon, Hong Kong 8.

Super Brands Company Pte. Ltd.

No. 138 Cecil Street # 05-02 Cecil Court Singapore 069538

9.

Beer Chang International Limited

No. 138 Cecil Street # 05-02 Cecil Court Singapore 069538

10. International Beverage Trading Limited

XL House, One Bermudiana Road Hamilton HM 11, Bermuda

11. International Beverage Holdings Limited

USA, Inc. 12. Blairmhor Limited

275 Madison Avenue, Suite 701

New York, NY10016 Moffat Distillery, Airdrie, ML6 8PL, Scotland

NonTrading

13. Inver House Distillers Limited

Moffat Distillery, Airdrie, ML6 8PL, Scotland

(44) 1236 769377

(44) 1236 769781

14. InterBev Trading (China) Limited

Room 01-03, Level 1, No. 63 Kunluo Road

(89) 8774 010319

(86) 8774 010319

(86) 8774 022068

(86) 8774 022199

Shuangjiang Town, Eshan County, Yuxi City Yunnan, China 653200 15. Yunnan Yulinquan Liquor Co., Ltd.

Yulin Village, Shuangjiang Town Eshan County, Yuxi City, Yunnan China 653200

16. Blairmhor Distillers Limited

Moffat Distillery, Airdrie, ML6 8PL, Scotland

(44) 1236 769377

(44) 1236 769781

Dormant

17. Wee Beastie Limited

Moffat Distillery, Airdrie, ML6 8PL, Scotland

(44) 1236 769377

(44) 1236 769781

Dormant

18. Moffat & Towers Limited

Moffat Distillery, Airdrie, ML6 8PL, Scotland

(44) 1236 769377

(44) 1236 769781

Dormant

19. Glen Calder Blenders Limited

Moffat Distillery, Airdrie, ML6 8PL, Scotland

(44) 1236 769377

(44) 1236 769781

Dormant

20. Hankey Bannister & Company Limited

Moffat Distillery, Airdrie, ML6 8PL, Scotland

(44) 1236 769377

(44) 1236 769781

Dormant

21. R Carmichael & Sons Limited

Moffat Distillery, Airdrie, ML6 8PL, Scotland

(44) 1236 769377

(44) 1236 769781

Dormant

22. J MacArthur Jr & Company Limited

Moffat Distillery, Airdrie, ML6 8PL, Scotland

(44) 1236 769377

(44) 1236 769781

Dormant

23. Mason & Summers Limited

10 Foster Lane, London, EC2V 6HH, England

(44) 1236 769377

(44) 1236 769781

Dormant

24. James Catto & Company Limited

Moffat Distillery, Airdrie, ML6 8PL, Scotland

(44) 1236 769377

(44) 1236 769781

Dormant

25. The Knockdhu Distillery Company Limited

Moffat Distillery, Airdrie, ML6 8PL, Scotland

(44) 1236 769377

(44) 1236 769781

Dormant

26. Speyburn-Glenlivet Distillery Company

Moffat Distillery, Airdrie, ML6 8PL, Scotland

(44) 1236 769377

(44) 1236 769781

Dormant

27. The Pulteney Distillery Company Limited

Moffat Distillery, Airdrie, ML6 8PL, Scotland

(44) 1236 769377

(44) 1236 769781

Dormant

28. The Balblair Distillery Company Limited

Moffat Distillery, Airdrie, ML6 8PL, Scotland

(44) 1236 769377

(44) 1236 769781

Dormant

Limited


ข้ อ มู ล ทั่ ว ไ ป

236

• ติดต่อธุรกิจ • ชื่อบริษัท 29. Liquorland Limited

• ที่อยู่

• โทรศัพท์

• โทรสาร

8 Westbank Road, Belfast, BT3 9JL

(44) 289 077 3990

(44) 289 037 0566

• หมายเหตุ

Northern Ireland 30. Inver House Distribution SA

Avenue des Tilleuls, 62140 Marconne, France

(33) 2 181 6170

(33) 2 181 1321

31. InterBev Investment Limited*

Room 901-2, Silvercord Tower 1

(852) 2375 6648

(852) 2375 6188

(65) 6318 9393

(65) 6271 7936

Dormant

30 Canton Road, Tsim Sha Tsui

Kowloon, Hong Kong 32. Fraser and Neave, Limited**

#21-00 Alexandra Point 438 Alexandra Road, Singapore 119958

*

บริษัทนี้ได้จดทะเบียนจัดตั้งในประเทศฮ่องกง เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2555

**

International Beverage Holdings Limited (“IBHL”) ได้ซื้อหุ้นของบริษัทนี้ ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2555 ต่อมา IBHL ได้ขายเงินลงทุนในบริษัทนี้ให้แก่ InterBev Investment Limited เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2555

ที่ปรึกษากฎหมาย บริษั ท วีระวงค์ , ชินวั ฒน์ และเพี ย งพนอ จํ า กั ด ชั้น 22 อาคารเมอร์ คิวรี่ ทาวเวอร์ 540 ถนนเพลินจิต แขวงลุมพิ นี เขตปทุ มวัน กรุงเทพฯ 10330

ที่ปรึกษาการปฏิบัติตามกฎระเบียบ ของตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ Allen & Overy LLP 50 Collyer Quay #09-01 OUE Bayfront Singapore 049321

ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต นางสาวนิตยา เชษฐโชติรส ผู ้ส อบบัญ ชี รับ อนุ ญ าตเลขที่ 4439 หรือ นายนิรั นดร์ ลีลาเมธวัฒ น์ ผู้ ส อบบัญ ชีรั บ อนุ ญ าตเลขที่ 2316 หรื อ นางสาวอรวรรณ ศิริรัต นวงศ์ ผู้ส อบบัญ ชี รั บ อนุ ญ าตเลขที่ 3757 คนใดคนหนึ่ง ของบริษัท เคพี เอ็ม จี ภู มิไ ชย สอบบั ญ ชี จํ า กั ด ได้ รั บ การแต่ง ตั้ง เป็ นผู้ สอบบั ญ ชี รับ อนุญ าตของบริษั ท เมื่อ วั น ที่ 27 เมษายน 2555

รายงานฉบับนี้ส่วนหนึ่งจัดพิมพ์ด้วยกระดาษที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม



บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) 14 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทร. +66 2 785 5555 แฟ็กซ์. +66 2 785 5882 www.thaibev.com


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.