โ ด ยอ า จ า ร ย ไ พ โ ร จ น พ ท ย เ ม ธ ี อ า จ า ร ย พ เ ศ ษม ห า ว ท ย า ล ย ั ศ ล ิ ป า ก ร
เนื้อหาในหนังสือ : นิทรรศการเสน่ห์ไทยเพิ่มมูลค่าธุรกิจ ตอน ไทยโทน-เสน่ห์สีไทย
ไทยโทน-เสน่ห์สีไทย “สี” เป็นองค์ประกอบหลักหนึ่งของงานทัศนศิลป์ มีอิทธิพลอย่างยิ่งในการแสดงอารมณ์ ความรู้สึก ไปจนถึง บุคลิกภาพเฉพาะตน มนุษย์รู้จักนำสีมาใช้ในชีวิตประจำวันตั้งแต่บรรพกาล โดยนำมาระบายลงบนสิ่งของ ภาชนะเครื่องใช้ รูป แกะสลัก เพื่อให้สิ่งของดังกล่าวเด่นชัด มีความเหมือนจริงมากขึ้น รวมถึงการใช้สีวาดลงบนผนังถ้ำ หน้าผา ก้อนหิน เพื่อ ถ่ายทอดเรื่องราวให้รู้สึกถึงพลังอำนาจ การใช้สีทาตามร่างกายเพื่อกระตุ้นให้เกิดความฮึกเหิม หรือใช้สีเป็นสัญลักษณ์ในการ ถ่ายทอดความหมาย สมัยเริ่มแรก มนุษย์รู้จักใช้สีเพียงไม่กี่สี โดยค้นพบจากแหล่ง ต่างๆ ทั้งพืช สัตว์ ดิน และแร่ธาตุนานาชนิด รวมถึงขี้เถ้าเขม่าควันไฟ สีที่ สีที่มนุษย์ใช้ทั่วไปได้มาจาก พบตามธรรมชาติเหล่านี้ใช้ถู ทา ต่อมาเมื่อมีการย่างเนื้อสัตว์ พบว่า ไขมัน • สสารที่มีอยู่ตามธรรมชาติจากพืช สัตว์ แร่ธาตุ แล้วนำมา ใช้โดยตรง หรือด้วยการสกัด ดัดแปลง ที่หยดลงดิน ทำให้ดินมีสีเปลี่ยนไปที่น่าสนใจ สามารถนำมาระบายลงบน • สสารที่ได้จากการสังเคราะห์และผลิตด้วยกระบวนการทาง วัตถุและติดแน่นทนนาน ไขมันจึงกลายเป็นส่วนผสม ในฐานะสารชนิดที่ เคมี เพื่อให้นำมาใช้สะดวกขึ้น เป็นผลิตภัณฑ์ที่เราใช้กันใน เป็นส่วนประกอบของสี ทำหน้าที่เกาะติดผิวหน้าของวัสดุที่ทาหรือระบาย ปัจจุบัน แสง พลังงานชนิดเดียวที่ให้สีในรูปของ “รังสี” (ray) ที่มี • นอกจากไขมัน ในเวลาต่อมาก็มีพัฒนาการด้านส่วนผสมที่มีคุณสมบัติเกาะ ติดผิวหน้าที่ดีขึ้น ทั้งไข่ขาว ขี้ผึ้ง (wax) น้ำมันลินสีด (linseed oil) กาว ยางไม้ (Gum Arabic หรือยางไม้จากต้นอคาเซีย) เคซีน (casein หรือตะกอนโปรตีนจากนม) และสารพลาสติกโพลีเมอร์ (polymer) ทำให้เกิดสีชนิดต่างๆ ที่สร้างสรรค์ความงามอย่างไม่มีขีดจำกัด องค์ความรู้ “สีไทย” สีไทยเป็นต้นทุนวัฒนธรรมที่แสดงถึงอัตลักษณ์เฉพาะ ภูมิปัญญาอันทรงคุณค่านี้มีทั้งเรื่องที่มาของ “ชื่อสี” การ “ปรุง” สีจากวัตถุดิบต่างๆ และการ “จับคู่สี” เพื่อให้งานทรงพลัง แสดงความหมาย ซึ่งประการหลังนี้เป็นแบบอย่างหรือสไตล์ เฉพาะตัว รวมถึงเทคนิคในการนำไปใช้ องค์ความรู้เรื่องสีไทยเป็นความรู้เฉพาะของครูช่าง การใช้สีไทยปรากฏหลักฐานในงานจิตรกรรมฝาผนังซึ่งส่วนใหญ่ นิยมใช้สีฝุ่น เพราะสามารถแสดงรายละเอียดบนผนังได้มาก การคุมโทนสีและการเกลี่ยสีทำได้ง่าย สีฝุ่นทำให้พื้นผิวงานมีความ แห้ง ด้าน ยิ่งเมื่อมีการปิดทอง เนื้อทองไม่กระจายไปติดส่วนอื่นๆ แต่สีฝุ่นส่วนมากไม่คงทน เพราะความชื้นจากสภาพดินฟ้า อากาศที่แทรกซึมเข้าสู่ผนังปูน คำเรียกสีไทยเป็นชื่อเรียกชองช่างตั้งแต่สมัยโบราณ แต่หลักฐานการเรียกชื่อสีไทยที่มีการบันทึกไว้ ค่อนข้างหายาก และครูช่างศิลปะไทยที่ “ปรุง” สีใช้เอง มีความรู้เรื่องชื่อเรียก และรู้ค่าสีที่แท้จริงยิ่งหายาก การเสื่อมขององค์ความรู้สีไทยเริ่มมาอย่างๆ ราวร้อยปีก่อน มีเอกสารของฝรั่งเศสระบุว่า ผง “ปรัสเซียน บลู” (Prussian Blue) ซึ่งเป็นสีสังเคราะห์สีน้ำเงินเข้ม เข้ามาถึงเมืองไทยในสมัยรัชกาลที่ ๔ ช่างไทยนิยมใช้เขียนงาน จิตรกรรมฝาผนังและใช้ย้อมผ้า พอถึงรัชกาลที่ ๕ ความนิยมก็เปลี่ยนจากสีปรัสเซียนบลูมาเป็นสีฟ้าสด “อัลตรามา รีน” (Ultramarine Blue) ซึ่งสังเคราะห์ขึ้นครั้งแรกในโลกเมื่อปี ๒๓๗๓ แต่ช่างไทยนิยมเรียกว่า “ครามฝรั่ง” เริ่มจากสีน้ำเงินประเดิมแรก จากนั้นสีสังเคราะห์นานาสีก็โถมเข้าสู่ตลาด เพราะให้สีสันที่สดใสและใช้งานสะดวกกว่า จนชื่อเรียกสีไทยและการปรุงสี แทบมลายไปจากวิถีชีวิตของคนไทย ยังเหลืออยู่ก็มักจะเป็นความรู้เฉพาะตัวครูช่าง ซึ่งมักเปิด เผยในหมู่ลูกศิษย์และลูกหลานใกล้ชิด ทุกวันนี้ ยังมีการใช้สีไทยในการทำงานศิลปะแนวอนุรักษ์ ส่วนการนำสีไทยมาใช้ในการ ออกแบบร่วมสมัยนั้นแทบไม่พบ แม้ชื่อสีไทยบางชื่อยังคงมีการเรียกขานอยู่บ้าง เช่น สีแดงเลือดนก สีน้ำตาลไหม้ สีคราม สี เหลืองจำปา ฯลฯ แต่นับวันก็เหลือน้อยลง ศิลปินและนักออกแบบรุ่นใหม่ไม่คุ้นชื่อเรียกสีไทย ไม่รู้จักโครงสีและสัดส่วนการใช้ 1
๑. หมู่สีแดง (red)
เนื้อหาในหนังสือ : นิทรรศการเสน่ห์ไทยเพิ่มมูลค่าธุรกิจ ตอน ไทยโทน-เสน่ห์สีไทย
งานเพื่อออกแบบ เพราะขาดแหล่งอ้างอิงที่ชัดเจนและเป็นมาตรฐาน จึงเลือกใช้ระบบสี CMYK ที่เป็นระบบสีตาย (solid color) หรือระบบแพนโทน (Pantone) ซึ่งที่เป็นชื่อบริษัทที่ดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับสีสิ่งพิมพ์ มีการระบุค่าสีและหลักการ อ้างอิงเพื่อควบคุมขนาดของเม็ดสกรีนในสภาวะการพิมพ์ จนกลายเป็นความนิยมใช้ในการออกแบบสิ่งพิมพ์ สถาปัตยกรรม และงานออกแบบตกแต่งภายใน ผ้าและสิ่งทอ ผลิตภัณฑ์ และงานหัตถอุตสาหกรรม
การแบ่งหมู่สีไทย และวัสดุการปรุง สีหลักที่ปรากฏใช้ในงานจิตรกรรมไทยสมัยก่อนมีอยู่ ๕ หมู่หลัก คือ สีดำ ขาว แดง เหลือง คราม รวมเรียกว่า “สี เบญจรงค์” ส่วนสีที่แปลกออกไปก็เกิดจากการผสมสี ๕ สีหลักดังกล่าว แตกออกเป็นอีก ๕ หมู่สี ได้แก่ สีส้ม สีเขียว สีม่วง สี น้ำตาล สีทอง เพื่อความเข้าใจสีไทยในภาพรวม จึงใคร่เรียงลำดับสีทั้งหมวดหลักเดิมและสีที่เกิดจากผสมใหม่ในลักษณะกลุ่มโทนสี เดียวกัน
๑. หมู่สีแดง
ตัวอย่างเหล่านี้
สีแดงถือว่ามีความสำคัญที่สุดในงานศิลปกรรมไทย เนื่องจากเป็นหมู่สีที่มีการใช้งานมาก และเป็นโครงสีส่วน รวม ด้วยเชื่อกันว่าสีแดงแทนสัญลักษณ์ความว่างเปล่า เป็นสีบรรยากาศของสวรรค์ เป็นสีแห่งความ ศักดิ์สิทธิ์ เช่นเดียวกับประเทศในเอเชียส่วนใหญ่ที่มักจะใช้สีแดงเป็นหลัก ด้วยความเชื่อว่าสีแดงคือสีแห่งรุ่น อรุณ สีแห่งความเป็นมงคล ในหมู่สีแดงมีความแตกต่างจากชื่อที่เรียกตามวัสดุสีที่มาจากธรรมชาติ ทั้งที่เป็นพืช และแร่ธาตุ ดัง
สีชาดหรือ สีแดงชาด (vermillion, bright red, crimson) เป็นสีเดียวกับสีชาดก้อน ซึ่งเป็นแร่ธาตุชนิดหนึ่ง เรียกว่าซินนาบาร์ (cinnabar) ใช้เข้ายาแผนโบราณเพื่อรักษาโรคเกี่ยวกับกระดูก สีชาดถือเป็นแม่สีของสีไทย บันทึกเกี่ยวกับที่มาของชาดยังไม่มีการยืนยันแน่ชัด เพียงแต่มีระบุไว้ 2 อย่าง ข้อมูลหนึ่งบอกว่า ชาดเป็นแร่ธาตุ เหมือนก้อนหินที่นำเข้าจากจีน ได้แก่ ชาดก้อน ชาดหรคุณจีน ชาดจอแส ชาดผง และชาดหรคุณไทย (สีแดงค่อนข้างเหลือง) ชาดหรคุณจีนเป็นสีที่เป็นโลหะหนัก จึงใช้เขียนตัดเส้นบนแผ่นทองคำเปลวได้ดีกว่าชาดชนิดอื่น และได้รับความนิยมใช้ในงาน จิตรกรรมไทย อีกข้อหนึ่งหนึ่งบอกว่า ชาดเป็นสีที่ได้จากพืชชนิดหนึ่ง เรียกว่า “ต้นชาดหรคุณ” โดยการนำเมล็ดหรือก้าน มาโขลก ละลายน้ำ กรองเอาแต่ตะกอน ใช้ระบายหรือเขียนลวดลายตกแต่งเล็กๆ น้อยๆ ภายหลังมีสีชาดมาจากเมืองจีน ซึ่งทำมาจาก พืชชนิดเดียวกันแต่เนื้อละเอียดและสีสดกว่า ช่างเขียนจึงหันมานิยมใช้สีชาดจากเมืองจีนกันมาก ใช้ระบายพื้นภาพและตกแต่ง ลวดลาย ตลอดจนตัดเส้นต่างๆ สีแดงลิ้นจี่ ตะวันตกเรียกว่า crimson เป็นสีแดงเข้มเหมือนแดงก่ำ ทำมาจากแมลงโคชีนิล (Cochineal) เป็นสี สำเร็จมาจากเมืองจีนที่เรียกว่า “อินจี” ชาวงิ้วนิยมใช้ทาปาก เนื้อสีทำเป็นผลึกเล็กๆ ทาเคลือบบนแผ่นกระดาษ เมื่อจะใช้ก็ เอาผลึกมาละลายกับน้ำ สีดินแดง เป็นสีที่มีคุณลักษณะแดงคล้ำเพราะได้จากดินแดง หรือเกิดจากสนิมแร่เหล็ก (red iron oxide) สีดินแดงเทศ เป็นสีดินแดงจากอินเดีย (hermatite) เนื้อสีค่อนข้างแข็งกว่าดินแดงไทยและสีสดใสกว่า และมีใช้น้อย (ตัวอย่างงานสีดินแดงเทศจากอินเดียหาดูได้ในงานจิตรกรรมในวัดที่สร้างขึ้นต้นกรุงรัตนโกสินทร์ เช่น วัดดุสิตตาราม พระที่นั่ง พุทไธสวรรค์ เป็นต้น) นอกจากนี้ยังมีสีดินแดงเทศจากเมืองจีน เนื้อเป็นผงละเอียด เป็นสีที่ช่างไทยยังใช้จนปัจจุบัน สี 2
เนื้อหาในหนังสือ : นิทรรศการเสน่ห์ไทยเพิ่มมูลค่าธุรกิจ ตอน ไทยโทน-เสน่ห์สีไทย
สีหงสบาท เป็นชื่อสีเก่าที่พบหลักฐานเรียกมาตั้งแต่ปี ๒๓๙๗ แปลว่า เท้า ของหงส์ เป็นสีไทยในหมู่สีแดงออกชมพู เป็นสีขั้นที่สองที่เกิดจากการผสมระหว่างสี สีที่มีชื่อนำด้วยคำว่า “หง” ลิ้นจี่กับสีขาว เจือสีรงเล็กน้อย โดยเปรียบเทียบสีจากเท้าหงส์ หรือหงอนไก่ คือมีสี สีในหมู่สีแดงและหมู่สีเสน ที่มีการผสมให้อ่อน จะ ใช้คำว่า “หง” นำหน้า เช่น หงชาด (สีชาดอ่อน) แดงชมพูอมม่วง สีแดงชมพูอมเหลือง สีแดงเรื่อ (มีชื่อภาษาอังกฤษไหม)
หงดิน (สีดินแดงอ่อน) หงเสน (สีเสนอ่อน) เป็นต้น
สีชมพู (pink) หรือศรีชมภู เป็นสีเดียวกับหงชาด หรือสีชาดอ่อน สีหม้อใหม่ หรือ ไลท์เรด (Light Red) หรือสีหงเสน (สีเสนผสมขาว) ตำราคชบาลกำหนดลักษณะสีของช้างเผือกว่า เป็นสีหม้อใหม่ สีอิฐ คือสีแดงเสน ผสมกับดำนิดหน่อย สีแดงเลือดนก เป็นสีไทยในหมู่สีแดง เกิดจากการผสมระหว่างสีแดงกับสีลิ้นจี่ กับสีดำเขม่า เป็นสีแดงเข้ม สีจะสดก ว่าสีเลือดหมู
๒. หมู่สีเหลือง ในหมู่สีเหลือง มีลักษณะต่างกันบ้างเล็กน้อย ดังนี้ สีเหลืองดิน ทำจากดินชนิดหนึ่งที่มีเนื้อสีเหลืองหม่น ไมใคร่สดใส เนื้อสีติดจะหยาบ ใช้ระบายพื้นดาดๆ ทั่วไป ไม่ ใคร่ใช้เขียนสิ่งละเอียดประณีตเท่าใดนัก สีนี้ตรงกับสี Yellow Ocher สีเหลืองรง (yellow, gamboge tint) เป็นสีไทยในหมู่สีเหลือง บางทีเรียกว่า “รงทอง” เป็นสีในแม่สีไทย เป็นสี เหลืองสดใสกว่าสีเหลืองดิน คำว่า “รงค์” นั้นหมายถึง “สี” โดยเฉพาะ แต่ช่างเขียนนิยมเรียกว่า “รง” ห้วนๆ เป็นที่รู้กันว่า หมายถึงสีเหลืองสดที่ได้จากยางต้นรงทอง (หมายถึงสีเหลืองพระจันทร์ หรือ gamboge tint ไม่ใช่เหลืองมะนาว) สีเหลืองรงนั้นได้จากยางของต้นไม้ยืนต้นชนิดหนึ่งเรียกว่า ต้นรง (ชื่อพฤกษศาสตร์ Gracinia Hanbury Hook) ขึ้น อยู่ตามป่าและบนเกาะบางแห่งแถบจังหวัดชายทะเลภาคตะวันออกของอ่าวไทย บริเวณเกาะลังกา และแถบอินเดียใต้ การเตรี ยมเก็บรง บางแห่งยังวิธีสับยางรงจากต้น บางแห่งลอกเปลือกแล้วนำมาทุบให้แหลก นำมาเคี่ยวไล่น้ำให้ระเหยออกจนยางรง งวดขึ้นได้ที่ จึงกรอกน้ำยายางรงในกระบอกไม้ไผ่ขนาดย่อมๆ ทิ้งไว้ให้เย็น ยางรงจะจับตัวแข็ง เมื่อผ่ากระบอกออกเนื้อรงจะมี ลักษณะเป็นแท่งกลมๆ ยาว เมื่อจะนำมาใช้ ก็ฝนกับน้ำให้รงละลายออกเป็นสี เพื่อใช้เขียนระบายภาพ สีเหลืองหรดาล (orpiment) มาจากหินสีเหลืองที่เป็นแร่ชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยธาตุสารหนูและกํามะถัน ปรากฏใน ธรรมชาติ 2 ชนิดคือ หรดาลแดงกับหรดาลกลีบทอง ซึ่งมักอยู่ปนกัน ในการใช้งาน นำมาฝนบนหินกับน้ำจะได้น้ำสีเหลือง ใช้ เขียนลายรดนํ้าและสมุดดํา ไม่นิยมนำมาเขียนภาพ เพราะเขียนแล้วเป็นปรปักษ์กับปูน ทำให้สีเปลี่ยนเป็นสีดำ สีเหลืองจำปา เกิดจากการผสมสีเหลืองรงกับสีขาดเล็กน้อย เป็นสีเหลืองเข้ม โดยการเปรียบเทียบกับดอกจำปา เนื่องจาที่ช่างเขียนใช้เขียนและระบายรูปภาพนั้นมีคุณสมบัติอ่อน กลาง แก่ ต่างกันหลายระดับ จำแนกตามลักษณะได้ดังนี้ สีเหลืองไพล เป็นสีเหลืองอ่อนอมเขียวนิดหน่อย เกิดจากการผสมฝุ่นขาวกับเหลืองรง เจือครามนิดหน่อย
๓. หมู่สีส้ม
สีเสน (light red, vermillion, red lead) เป็นสีไทยในหมู่สีแดง บางทีจึงเรียกว่า สีแดงเสน (red lead) หรือสีแสด คำว่า เสน มาจากคำว่า “ซิ๊น” ซึ่งเป็นภาษาจีน ฝรั่งใช้ทาเหล็กเพื่อกันสนิม เพราะสีเสนเกิดจาก 3
เนื้อหาในหนังสือ : นิทรรศการเสน่ห์ไทยเพิ่มมูลค่าธุรกิจ ตอน ไทยโทน-เสน่ห์สีไทย
สนิมดีบุก หรือออกไซด์ของตะกั่ว ที่ปล่อยให้ระเหยขึ้นไปจับกับภาชนะที่รองรับเบื้องบนแล้วเกิดเป็นสี ซึ่งมักนำเข้ามาจากจีน เป็นสีที่ละลายน้ำยาก ใช้เวลาบดนาน เป็นสีที่มีน้ำหนักมาก สีแดงเสนมีคุณลักษณะเป็นสีแดงส้มหรือแดงอมเหลืองแก่ เป็นสีที่ สดและสว่างมาก มีคุณสมบัติพิเศษที่ไม่สามารถเทียบสีผสมโดยวิธีปกติได้ สีหงเสน เป็นเสนปนฝุ่นขาว หรือเสนอ่อน เรียกอีกอย่างว่าสีหม้อใหม่
๔. หมู่สีเขียว (green)
๔. หมู่สีเขียว
สีเขียวถือว่าเป็นสีสวรรค์ หมายถึงฟ้า เป็นสีป้องกันภัย คนสมัยก่อน เมื่อเรียกสีเขียวจะหมายความไปถึงสี ฟ้า สีน้ำเงินด้วย เช่น คำว่า สุดหล้าฟ้าเขียว หมายถึง ท้องฟ้าสีครามนั่นเอง สีเขียยวในหมู่สีไทย จะมีเฉด สีที่กรองลงมาจากหมู่สีแดง เพราะมีวัสดุที่ให้สีเขียวหลากหลาย รวมถึงการเทียบสีกับธรรมชาติ
สีเขียวตั้งแช เป็นสีเขียวที่นำเข้าจากเมืองจีน เกิดจากการนำทองแดงแช่ในกรดเกลือประมาณ ๑-๒ สัปดาห์ จะเกิด เป็นสนิมทองแดงปรากฏให้เห็นเป็นสีเขียว จากนั้นขูดออกแล้วผ่านน้ำให้หมดความเค็ม นำมาบดใช้เป็นสีเขียวเขียนรูป ชื่อนี้ เป็นภาษาจีนจากคำว่า ตั้ง หมายถึง ทองเหลือง ทองแดง แช หมายถึง เขียว เป็นสีครามอมเหลือง บางทีเรียกว่า เขียวตั้งแชฅ (Green Bronzes) สีเขียวตังแชมาจากสนิมเขียว (เกิดจากการแช่แผ่นทองแดงในกรดน้ำส้มสายชูหรือพวกงานโลหะจะเห็น สนิมเขียว) หรือที่เราเห็นบนรูปปั้นเวลาที่ทำปฎิกิริยากับอากาศไปนานๆ มีการเอาวิธีนั้นมาทำสีในพวกเครื่องศิลาดลด้วย สีเขียวใบแค เป็นสีเขียวเข้มค่อนข้างดำ เกิดจากการผสมยางรงกับเขม่าหรือหมึกจีน หรือนำสีรงผสมกับสีคราม ก็จะ ได้สีเขียวเข้มมากยิ่งขึ้น สีเขียวมะกอก เป็นสีไทยในหมู่สีเขียว เกิดจากการผสมระหว่างสีเหลืองรงกับสีครามนิดหน่อย และสีเสนเล็กน้อย โดยการเปรียบเทียบสีจากผลมะกอก มีความใกล้เคียงกับสีเขียวไพร
๕. หมู่สีดำ (black)
๕. หมู่สีดำ
สีดำเขม่า (lamp black) บางทีเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สีเขม่า ซึ่งเป็นภาษาเขมร แปลว่า ดำ ตรงกับที่มา จากการเอาเขม่าจากควันไฟที่ลอยขึ้นไปจับรวมตัวกันเป็นก้อนตามปล่องไฟหรือก้นกระทะ มาบดกับน้ำ กาวเพื่อให้ได้สีดำใช้เขียนภาพ เขม่าจากไฟฟืนจะมีเนื้อสีหยาบ ส่วนเขม่าจากการเผาไหม้ของน้ำมันยางจะ มีเนื้อละเอียดมาก ยังมีสีถ่านที่ได้จากการเผาระดูกสัตว์จนไหม้เป็นถ่านดำแล้วบดละเอียด
สีเทา สีมอหมึก เป็นสีไทยในหมู่สีดำ สีเทาบางทีเรียก สีมอหมึกอ่อน หรือสีสวาด เกิดจากการผสมกันระหว่างสีดำ หรือสีดำเขม่ากับสีขาว สีเขม่าชนิดดีมักห่อขายเป็นแหนบเล็กๆ สีดำอีกชนิดเรียกว่า “หมึก” เป็นสีดำผสมยางไม้ปั้นเป็นแท่ง นำมาฝนละลายกับน้ำเพื่อใช้ตัดเส้นดำที่เป็นส่วนละเอียด
สีฝุ่นขาว (white lead) ช่างรุ่นเก่าเรียกสีขาวว่า “ฝุ่น” ตามภาษาจีนกวางตุ้งที่เรียกแป้งว่า ฝุ่น เกิด จาก ๖. หมู่สีขาว ออกไซด์ของตะกั่ว (zinc oxide) โดยใช้ความร้อนจากก๊าซคาร์บอน รมแผ่นตะกั่วทำให้เกิดสนิมขาว เนื้อ สีละเอียดและขาวจัด สีขาวกะบัง ทำจากดินเนื้อละเอียดสีขาวที่เรียกว่า Braytar เป็นสีที่มีน้ำหนักมาก นำมาแช่น้ำแล้วกรอง ให้สะอาด เกรอะจนแห้ง (เกรอะ คือ การกรองโดยแยกเอาแต่ส่วนที่เป็นน้ำใสหรือส่วนละเอียดที่นอนก้น) เหลือเนื้อดินบริสุทธิ์ ที่เรียกว่า กะบัง จากนั้นป่นให้ละเอียด แล้วผสมกาวทา มีสีขาวหม่นอมเทา มักใช้ทาหรือระบายเพื่อรองพื้น หรือทางาน หยาบๆ สีปูนขาว (carbonate of lime) ทำจากเปลือกหอยหรือหินปูนเผาไฟให้สุก แล้วแช่น้ำปูน หินจะละลายเป็นแป้ง นำ มาเกรอะจนแห้งแล้วบดให้ละเอียดก่อนใช้ มักนิยมทาระบายในงานหยาบๆ 4
เนื้อหาในหนังสือ : นิทรรศการเสน่ห์ไทยเพิ่มมูลค่าธุรกิจ ตอน ไทยโทน-เสน่ห์สีไทย
สีควายเผือก เป็นสีไทยในหมู่สีขาว ออกไปทางชมพู เกิดจากการผสมสีฝุ่นหรือสีขาวผ่องกับสีแดงลิ้นจี่ เจือรงเล็ก น้อย บางทีเรียกว่า สีสำลาน (เหลืองปนแด) ใช้เทียบสีจากสีควายเผือกนั่นเอง
สีคราม เป็นสีไทยในหมู่สีคราม (สีน้ำเงิน) ที่มีขั้นตอนทำที่ยุ่งยากและซับซ้อน กล่าวคือ การนำใบครามมา
๗. หมู่ หมักกับน้ำปูน และช่างก่อหม้อครามก็ต้องมีประสบการณ์ในการเตรียมสีครามอีกด้วย น้ำเงิน(blue ๗. หมู่สีน้ำเงิน สีท่ไี ด้จากต้นครามมีชื่อเรียกต่างกันออกไปหลายนัย เช่น สีขาบ สีน้ำเงิน สีกรมท่า การที่เรียกสีครามต่าง
กันออกไปเช่นนี้ก็เนื่องมาจาก ลักษณะอ่อนหรือแก่ สีที่มีชื่อนำด้วยคำว่า “มอ” ของสีคราม พอจะอธิบายได้ว่า สีครามหรือสีดำ ที่มีการผสมให้อ่อนด้วยการเจือสี สีขาบ (green, verdant) เป็นสีไทยในหมู่สี คราม เกิดจากการ ขาว จะมีคำว่า “มอ” นำหน้า แสดงให้รู้ว่าหม่น ผสมสีครามกับสีขาว เป็นสีค่อนไปทางสีฟ้าหม่นกลางๆ หรือจางลง เช่น มอคราม (สีครามอ่อน) มอหมึก เล็กน้อย พ้องกับสี (สีหมึกอ่อน) เป็นต้น ปีกของนกตะขาบ จึงเรียกสั้นๆ ว่าสีขาบ สีน้ำเงิน ลักษณะสีครามที่ค่อนไปทางเขียว คล้ายสีเปลวไอร้อน จากเนื้อแร่เงินหลอมละลายในเป้า จึงเรียกสีน้ำเงิน สีกรมท่า เป็นสีครามมืด เป็นสีนุ่งของข้าราชการในกรมท่า การนุ่งผ้าของข้าราชการในกรมต่างๆ สมัยก่อน มีความ หมายให้รู้ว่าสังกัดกรมกองใด เช่น กรมท่า-นุ่งผ้าสีคราม กลาโหม-นุ่งผ้าสีลูกหว้า เป็นต้น สีน้ำไหล (sea green) เป็นสีไทยในหมู่สีคราม เกิดจากการผสมระหว่างสีครามกับสีขาว เจือเหลืองรงเล็กน้อย เป็นสี ฟ้าอ่อนอมเขียว โดยการเปรียบเทียบจากสีน้ำที่สะท้อนสีฟ้า สีลูกหว้า เป็นสีไทยในหมู่สีม่วง ถ้าเป็นสีทางจิตรกรรมไทยจะหมายถึงสีม่วงแดงเข้ม เกิดจากการผสมสี ๘. หมู่สีม่วง คราม เจือด้วยสีลิ้นจี่ หรือการนำเอาขี้ครั่ง (รังของตัวครั่งที่ติดอยู่กับต้นฉำฉา) มาชงน้ำร้อน แล้วนำไปต้ม จนเดือด กรองด้วยผ้าขาวบาง แล้วเคี่ยวจนแห้ง เหลือกากตะกอนเป็นสีแดงคล้ำอย่างสีลูกหว้า นำตะกอน ไปบดให้ละเอียดแล้วผสมกาวเพื่อใช้เขียนระบาย แต่ถ้าเป็นสีที่ใช้ย้อมผ้า จะใช้ผลลูกหว้าสุก คั้นเอาแต่น้ำ แล้วนำไปต้มย้อม จะได้สีม่วงอ่อน เป็นคนละสีกับทางจิตรกรรมไทย สีลูกหว้าเป็นสีนุ่งประจำกระทวง กลาโหม คนที่ใส่นุ่งลูกหว้า จึงมักเรียกว่านุ่งผ้า “สีกลาโหม” สีม่วงเม็ดมะปราง เป็นสีไทยในหมู่สีม่วง เกิดจากการผสมระหว่างสีแดงลิ้นจี่กับคราม เจือสีขาวและสีดำเล็กน้อย โดยการเปรียบเทียบสีจากเม็ดมะปรางที่ผ่าเมล็ดออกแลัวสังเกตสีที่อยู่ด้านใน สีน้ำตาลไหม้ เป็นสีไทยในหมู่สีดินสีน้ำตาล เกิดจากการผสมระหว่างสีคราม สีดินแดง สีเหลืองดินและ ๙. หมู่สีน้ำตาล เจือสีดำเขม่า เป็นสีน้ำตาลเข้ม โดยการเปรียบเทียบสีจากน้ำตาลที่ไหม้ไฟ เรียกว่าสีน้ำตาลไหม้ สีกะปิ เป็นสีน้ำตาลอมม่วงหม่นๆ เหมือนสีของกะปิ สีทองแดง (copper colour) สีเหมือนแผ่นทองแดง สีนาก (red gold) คือสีเดียวกับสีทองแดง
๑๐. หมู่สืทอง
สีทอง คือสีเหลือง เช่น ศรีหัวขมิ้น หรือสีใบไม้สุกเหลือง สีเหลืองทอง (golden) เป็นสีเดียวกับสีรงทอง สีทองคำ/ทองคำเปลว สีที่เป็นเอกลักษณ์ของไทย เป็นสีศักดิ์สิทธิ์ และถือว่าเป็นสีที่มีค่ามากที่สุด 5
เนื้อหาในหนังสือ : นิทรรศการเสน่ห์ไทยเพิ่มมูลค่าธุรกิจ ตอน ไทยโทน-เสน่ห์สีไทย
จากการวิเคราะห์ในวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอก มหาวิทยาลัยศิลปากร เรื่อง “การสร้างประสบการณ์สุนทรียะ จากสีไทย” ของอาจารย์ไพโรจน์ พิทยเมธี พบคำเรียกสีไทยจำนวน ๒๒๑ ชื่อสี ดังนี้
แดงฉาด แดงฉัน ชาดก้อน หงชาด ชาดจอแส ชาดอ้ายมุ่ย ขาดหรคุณ แดงตัวเปี๊ย ชมพู ฝุ่นแดง ดินแดงเทศ ดินแดง ดินแดงผสมแดง ดินแดงปนดินเหลือง ดินแดงปนเขม่าดำ ดินแดงตัด แดงตัด หงดินตัด นิลุบล หงดิน หม้อใหม่ อิฐ ฝุ่นแดงผสมดินแดง หงสบาท เท้านกพิราบ ก้ามปูหลุด บัวโรย ท้องสิงห์ ดอกอุบล แดงดอกกมุท ลิ้นจี่ เส้น หัวโขน แดงดอกชบา หมากสุก นวนรหงส์ โลหิต แดงก่ำ น้ำครั่ง ดอกทับทิม แดงยอ แดงมณี กร่ำกรุ่น สุก/แดงสุก ก้ามปูอสุรา ดอกบานเย็น น้ำหาง น้ำหมาก กุหลาบ ฝาด สุกกร่ำ หางเหยี่ยว แฉด แดงดอกคำ ฝง เกสรชมพู่ เหลือง รงทอง เปลือกข้าวโพด หรดาล เลื่อมประภัสสร เลื่อมเหลือง จำปา จำปาแดง ดอกบวบ ไม้กฤษณา เหลือง ดิน เหลืองดินผสมดินแดง เหลืองไพล ปีต เหลืองตะกั่ว ลูกจันทร์ มุกสุข ขี้ผึ้ง เนื้อ มะตูมสุก กากี ประโหด เสน หงเสน เสนปน เหลือง แสด ส้ม เมฆสนทยา ก้านดอกกรรณิการ์ ลูกพิกุล เสนทอง มหากศุก จันทร์ เขียว เขียวสมอ เขียวไพล เขียวตั้งแช เชียวชินสี เขียวขี้ทอง เขียวขี้ม้า เขียวฝรั่ง เขียวหิน เขียวขาบ เขียวก้านตอง เขียวนวล เขียวก้ามปู เขียวปนดำ เขี่ยวไข่ครุฑ ตองอ่อน เขียวตอง เขียวหัวไพล ก้านมะลิ เขียวไข่กา ไม้ไผ่ ยอดตองอ่อน เขียวใบไม้ ถั่วเขียว เขียวถั่ว เขียวนกกาลิง เขียวตะพุ่น เขียวมอ เขียวขี้นกการเวก เขียวนิล เขียวน้ำไหล หญ้าแพรกอ่อน มรกต เขียวแก่ เขียวคราม เขียวมะพูด เขียวฟ้า โศก เขียงรงกา เทาเขียว เขียวขจี หญ้าบ้าน เข้มขาบ มหาดไทย ขนคอหางนก ยูง ดำหมึก ดำเขม่า ดำมืด มอหมึก มอมืด หมึกจีน น้ำรัก สัมฤทธิ์ ปีกกา เขม่ายาง/เขม่าแหนบ หมอก เทา เหลืองเทา สวาด เหล็ก ดำทมิน ดำ กาฬ นิลกาฬ นิล นิละ ฝุ่น ปูนขาว ขาวผ่อง นวล/นวลละออง นวลจันทร์ นวลเทา ช้างเผือก ควายเผือก/สำราล ฟ้าแลบ ขาวกะบัง โอทาต กลีบบัว ขาว ขาวขาบ คราม ครามหม้อ ครามฝรั่ง ครามก้อน ครามจีน มอคราม เมฆคราม เมฆครามปนดำ เมฆ เมฆมอ ฟ้า น้ำไหล น้ำเงิน ขาบ ตาแมว กรมท่า มอมืด น้ำเงินนกพิราบ ขาบดำ กลาโหม ตากุ้ง ม่วง ม่วงคราม ม่วงเม็ดมะปราง ม่วงดอกตะแบก ม่วงดอกผักตบ ม่วงชาด ดอกอัญชัน เผือก ม่วงตอง ม่วงเขียว เปลือกมังคุด พวงอังกาบ ลูกหว้า ดอกบานเย็น น้ำตาลไหม้ กะปิ ทองแดง นาก มะตูมสุก ฟาง ดิน น้ำผึ้ง น้ำตาล กรัก ดำแดง/แดงดำ สัก ทอง ทองคำ เลื่อมพราย เหลืองเพียงทอง เหลืองละเลื่อม
6
เนื้อหาในหนังสือ : นิทรรศการเสน่ห์ไทยเพิ่มมูลค่าธุรกิจ ตอน ไทยโทน-เสน่ห์สีไทย
การผสมสีไทยโทน นอกจากการผสมให้สีอ่อนและสีเข้มขึ้นโดยใช้สีขาวและสีดำแล้ว ช่างไทยจะใช้สีหลักจับกันเป็นคู่ๆ สีต่างสีซึ่งเกิดขึ้น ใหม่ด้วยวิธีผสมสีจะมีชื่อเรียก ดังนี้
สีแดง
+
สีเหลือง
สีส้ม
สีดินแดง
+
สีเหลือง
สีอิฐ
สีชาด
+
สีเหลือง
สีแสด
สีเหลือง
+
สีคราม
สีเขียว
สีเหลือง
+
สีดำ
สีเขียว มืด
สีคราม
+
สีแดง
สีม่วง
ค่าของสี ค่าชองสีเป็นคำขยายเรียกสีที่มีการผสมให้อ่อน หรือเข้มขึ้น (tint, shade) หรือน้ำหสักสีสีเดียว หรือหลายสี ที่เห็น “ค่าน้ำหนัก” อ่อน-แก่ หลาย ระดับ ต่างๆกัน ใกล้เคียง กลมกลืนกัน • วิธีการผสมสีเพื่อให้ “อ่อนลง” ถ้าเทียบกับ หลักการผสมสีของช่างเขียนฝ่ายตะวันตก จะ ตรงกับการทำสีต่างๆ ให้จางลงที่เรียกว่าทินท์ (tint) • วิธีการผสมสีเพื่อให้ “เข้มขึ้น” คือการทำให้สี คล้ำลงด้วยการเติมสีดำผสมลงไปตามขนาดที่ ต้องการ จะมีชื่อลงท้ายสีที่เกิดใหม่จำพวกนี้ ว่า “ตัด” โดยเฉพาะประเภทสีแดง เป็น แดง ตัด ถ้าเป็นบางสีเช่นสีครามก็จะใช้คำว่า “ผ่าน” กลายเป็น ผ่านคราม หรือครามที่เข้ม ขึ้น วิธีการผสมเช่นนี้ตรงกันกับการผสมสีของ ช่างฝ่ายตะวันตก คำว่า “เฉด” (shade)
นอกจากการผสมสีขึ้นใหม่ด้วยวิธีจับคู่ดังกล่าวนี้ ช่างเขียนยังเพิ่มเติม “สีที่ สาม” ร่วมลงไปในสีที่เกิดใหม่ เป็นการผสมร่วมกันระหว่างสีหลักรวมสามสี ต่างกันใน เรื่องสัดส่วน สุดแต่ว่าจะใช้สีคู่ใดเป็นหลัก และเจือสีใดร่วมลงตามพอใจของช่างเขียนแต่ละคน สามารถผสมให้เกิดสีมากมาย ขึ้นอยู่กับประสบการณ์และความชำนาญของช่างเขียน ตัวอย่างสีที่เกิดขึ้นใหม่ด้วยวิธีการผสมนี้มีชื่อเรียกต่างออกไป ดังนี้
สีคราม
+
สีเหลือง
เจือสีขาว
สีน้ำไหล
สีคราม
+
สีเหลือง
เจือสีดำ
สีไพล
7
เนื้อหาในหนังสือ : นิทรรศการเสน่ห์ไทยเพิ่มมูลค่าธุรกิจ ตอน ไทยโทน-เสน่ห์สีไทย
สีคราม
+
สีขาว
เจือสีดำ
สีเมฆ
สีคราม
+
สีดำ
เจือสีขาว
สีผ่าน คราม
สีแดง
+
สีเหลือง
เจือสีดำ
สีน้ำรัก
สีแดง
+
สีขาว
เจือสีคราม
สีดอก ตะแบก
สีดินแดง
+
สีดำ
เจือสีขาว
สีกะปิ
ศัพท์เทคนิคเฉพาะของการใช้สีไทย • เจือ คือการผสมสีที่ ๓ ลงไปในการผสมสีหลักสองสี • ถ่วง คือการลดค่าสีที่จะใช้ให้เข้มขึ้น ด้วยการใช้สีดำหรือสีคู่ตรงข้าม เช่น การถ่วงดำ คือการลดค่าสีนั้นๆ ด้วยการผสมสีดำ เป็นต้น • โฉบ คือการลงสีบางๆ ไปบนสีที่รองพื้นเอาไว้ก่อนหน้า เพื่อให้สีรองพื้นช่วยขับสีที่โฉบลงไป ทำให้มีความสดใสกว่าการระบายโดยไม่มีรองพื้น เช่น การ ทาสีรงทองรองพื้น แล้วโฉบสีแดงชาด จะได้สีแดงชาดที่สดขึ้น เป็นต้น • อม คือการเรียกสีที่เพิ่มต่อท้ายสีหลัก หมายถึงสีนั้นมีค่าสีอยู่เล็กน้อย เช่น สีขามอมเหลือง หมายความว่าสีขาวมีสีเหลืองอมอยู่เล็กน้อย เป็นต้น • ซับหนุน คือเทคนิคการทำให้สีที่ระบายมีความสดใส โดดเด่นขึ้น เช่น สีครามต้องซับหนุนด้วยสีเสน หมายความว่า ทาสีเสนแล้วจึงลงสีคราม การทาสีรง
ฟื้น “สีไทย” สร้างเสน่ห์ร่วมสมัย การใช้ต้นทุนทางวัฒนธรรมมาสร้างเสน่ห์ธุรกิจ เป็นแนวโน้มเชิงบวก แต่ต้นทุนหลายอย่างกำลังหดหาย เช่นเดียวกับ เรื่องสีไทย มีนักวิชาการ ศิลปิน ครูช่าง จำนวนไม่มากที่ศึกษาเรื่องสีไทย วิธีการปรุงสีไทยตามสูตรโบราณ ส่วนมากเป็นการ 8
เนื้อหาในหนังสือ : นิทรรศการเสน่ห์ไทยเพิ่มมูลค่าธุรกิจ ตอน ไทยโทน-เสน่ห์สีไทย
ปรุงสีเพื่อใช้ในงานจิตรกรรมไทย เช่น งานจิตรกรรมไทย การทำหัวโขน และ การย้อมผ้า การนำสีไทยไปใช้ในงานออกแบบทุกแขนง จะต้องใช้การเทียบเฉด สีให้ตรงกับคู่มือสีไทยไทน เพื่อเลียนแบบเฉดสีให้ใกล้เคียงมากที่สุด โดย บุคลิกลักษณะโดยรวมของสีไทยโทนจะมีความนุ่นนวล มีกลิ่นอายแบบตะวัน ออก และมีอารมณ์ที่หลากหลาย ขึ้นอยู่กับปริมาณการใช้สีและการจับคู่สี) โดยมีลักษณะเด่นของความงาม ดังนี้ ๑. การใช้สีไทยในเรื่องของความเชื่อ ความศรัทธาที่แตกต่าง เช่น การใช้สีแดงขาด เพื่อแสดงถึงความศักดิ์สิทธิ์ แสดงบรรยากาศของสวรรค์ เป็นต้น ๒. ความงามของวัสดุสีไทย เพราะสีไทยปรุงจากวัสดุธรรมชาติ ๓. ความงามเฉดสีไทย ที่มีบุคลิกที่แตกต่าง ๔. ความงดงามด้านวรรณศิลป์จากชื่อเรียกสีไทย ที่มีความหมายที่ ดี ส่วนใหญ่เป็นชื่อที่มาจากธรรมชาติ สีไทยยังทำให้ผู้ดูผู้ชมผลงานได้ภาคภูมิใจในภูมิปัญญาของแผ่นดิน ผ่านงานออกแบบที่เปี่ยมด้วยคุณค่า
ผู้สืบสานการปรุงสีไทย ครูช่างที่ยังสืบสานการปรุงสีไทยใช้ในการทำงานจนทุกวันนี้ และเป็นที่ยอมรับมากที่สุดในวงการศิลปะไทย คือ อาจารย์วีร ธรรม ตระกูลเงินไทย ผู้ปรุงสีใช้ในจิตรกรรมไทยและงานพัสตรา ภรณ์ โดยค้นคว้าความรู้เรื่องสีไทยมานานกว่า ๓๐ ปี ด้วยความ เชื่อว่า “อะไรที่คนโบราณทำได้ เราคนสมัยใหม่ก็ต้องทำได้ และ ควรจะทำได้ดีกว่าด้วยซ้ำ”* ปัจจุบัน อาจารย์วีรธรรม เป็นผู้นำในการฟื้นผ้าทอยกทอง โบราณในชุมชนในนามหมู่บ้านทอผ้าไหมยกทอง จันทร์โสมา ต.ท่าสว่าง อ.เมือง จ.สุรินทร์ ท่านเป็นอาจารย์พิเศษสอนการทก ผ้ายกทองโบราณให้นักเรียนในโครงการศิลปาชีพ สวนจิตรลดา และเป็นผู้ออกแบบผ้าตัดชุดให้ผู้นำ รวมทั้งผ้าคลุมไหล่สำหรับ ภริยาผู้นำในชาติเอเปค (APEC 2003) เมื่อประเทศไทยเป็นเจ้า ภาพปี ๒๕๔๖ *นิตยสารสารคดี เรื่อง ตามหาสีไทยจากครูช่างโบราณ ถึงงานดี ไซน์ไทยๆ, ฉบับที่ ๓๕๐ เดือนเมษายน ๒๕๕๗
ศิลปิน ครูช่าง และนักวิชาการที่ศึกษาเรื่องสีไทย • อาจารย์ประยูร อุลุชาฎะ หรือ “น. ณ ปากน้ำ” (ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) ประจำปีพุทธศักราช 2535) กล่าวถึงสีในศิลปะไทย • อาจารย์สมชาติ มณีโชติ และอาจารย์วิทย์ พิณคันเงิน ศึกษาเรื่องชื่อสี วัสดุดต้นกำเนิด คุณลักษณะของสี • อาจารย์กุลพันธารา จันทรโพธิ์ศรี และอาจารย์ชมพูนุท ประศาสน์เศรษฐ นำกระบวนการและเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์มาศึกษาผงสี โครงสร้างและองค์ประกอบ • รศ.สน สีมาตรัง ศึกษาเรื่องสีด้านศิลปะ • อาจารย์วรรณิภา ณ สงขลา ศึกษาเรื่องชื่อสีโบราณ • อาจารย์จุลทัศน์ พยาครานนท์ ศีกษาเรื่องสีในศิลปะไทยและสูตรการปรุงสี • อาจารย์วิบูลย์ ลี้สุวรรณ กล่าวถีงสีในแง่ภูมิปัญญาช่างไทย • อาจารย์อมร ศรีพจนารถ กล่าวถึงการใช้สีในงานจิตรกรรมและหัวโขน • อาจารย์กาญจนา นาคสกุล ศึกษาคำเรียกสีไทยในภาษาไทยจากวรรณคดีไทย • ดร.พิชัย ตุรงคินานนท์ ผลงานวิจัยและสร้างสรรค์จิตรกรรมร่วมสมัยชุด “สีแห่งพุทไธสวรรย์” (เปรียบเทียบสีในผลงานจิตรกรรมไทยในพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ เพื่อ สร้างสรรค์งานจิตรกรรมร่วมสมัย) • อาจารย์ไพโรจน์ ทิพยเมธี, การวิเคราะห์องค์กรประกอบการออกแบบเลขนศิลป์ที่แสดงเอกลักษณ์ไทย, วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโท มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๕๑ • อาจารย์ไพโรจน์ ทิพยเมธี, การสร้างประสบการณ์สุนทรียะจากสีไทย, วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอก มหาวิทยาลัยศิลปากร,
9
เนื้อหาในหนังสือ : นิทรรศการเสน่ห์ไทยเพิ่มมูลค่าธุรกิจ ตอน ไทยโทน-เสน่ห์สีไทย
ค้นคว้าความรู้เรื่อง “สีไทย” จากเอกสารต่างๆ • หนังสือ สัพะ-พะ-จะ-นะ, พ.ศ. ๒๓๙๗ • หนังสือ อักขราภิธานศรับท์, พ.ศ. ๒๔๑๖ • หนังสือ บันทึกความรู้ต่างๆ ของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ประทานแก่ พระยาอนุมานราชธน, พ.ศ. ๒๕๐๖ • หนังสือ ภาพจิตรกรรมไทย ของอาจารย์อมร ศรีพจนารถ, พ.ศ. ๒๕๑๔ • หนังสือ หัวโขน ของบุญชัย เบญจรงคกุล, พ.ศ. ๒๕๔๓ • บทสัมภาษณ์อาจาย์จุลทรรศน์ พยาฆรานนท์ ผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปะไทย • บทสัมภาษณ์อาจารย์วีรธรรม ตระกูลเงินไทย ผู้สืบทอดการปรุงสีแบบไทยโบราณ • เอกสารประกอบการสอนของรองศาสตราจารย์ สุรศักดิ์ เจริญวงศ์ • การวิเคราะห์องค์กรประกอบการออกแบบเลขนศิลป์ที่แสดงเอกลักษณ์ไทย, วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโท มหาวิทยาลัย ศิลปากร ของอาจารย์ไพโรจน์ ทิพยเมธี , ๒๕๕๑ • การสร้างประสบการณ์สุนทรียะจากสีไทย, วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอก มหาวิทยาลัยศิลปากร ของอาจารย์ไพโรจน์ พิทยเมธี • ตามหาสีไทยจากครูช่างโบราณ ถึงงานดีไซน์ไทยๆ, นิตยสารสารคดี ฉบับที่ ๓๕๐ เดือนเมษายน ๒๕๕๗. • สีไทยโทน นวัตกรรมการออกแบบไทย, นิตยสาร idesign ฉบับที่ ๑๔๐ เดือนสิงหาคม-กันยายน ๒๕๕๗.
10
ไพโรจน์ พิทยเมธี Pairoj Pittayamatee เกิด 5 พฤษภาคม 2512 ที่อยู่ 182,184 ซ.จรัญสนิทวงศ์ 62 แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพฯ 10700 โทร 081-621-0946 อีเมลล์ cre8zone_31@hotmail.com การศึกษา ประถมศึกษา โรงเรียนอนุบาลประจวบคีรีขันธ์ มัธยมศึกษา โรงเรียนวัดบวรนิเวศ ศิลปะบัณฑิต ประยุกต์ศิลปศึกษา คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร จบปีการศึกษา 2535 ศิลปมหาบัณฑิต นิเทศศิลป์ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร จบปีการศึกษา 2552 ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (Ph.D.) ทัศนศิลป์ คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร (กำลัง ศึกษา) การทำงาน 2538-2556 - ก่อตั้งบริษัท ครีเอทโซน จำกัด เอ็ดเวอร์ไทซิ่งและกราฟิกดีไซน์ 2545-2548 - เป็นคณะกรรมการและเลขาธิการสมาคมศิษย์เก่ามัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 2548 - ออกแบบและจัดนิทรรศการ "Design in my life" เนื่องใน 50 ปี คณะมัณฑนศิลป์ 2548 - ประธานจัดงาน Gift Festival 2548 เนื่องในโอกาสครบรอบ 50 ปี คณะมัณฑนศิลป์ 2548 - ประธานจัดสัมมนาและนิทรรศการ "ตื่นเถิดกราฟิกไทย" 2548 - กรรมการวิภาคหลักสูตรสาขาการออกแบบนิเทศศิลป์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จ 2538-ปัจจุบัน - เป็นวิทยากรรับเชิญเรื่อง Fine art -Design -Graphic Design -Branding และ Photography ให้กับ สถานศึกษาและหน่วยงานต่างๆทั่วประเทศ 2550-ปัจจุบัน-อาจารย์พิเศษ คณะวิชาการออกแบบเครื่องเคลือบดินเผา วิทยาลัยราชสุดา (คนพิการทางการ ได้ยิน) มหาวิทยาลัยมหิดล 2550-2555 -อาจารย์พิเศษ คณะสถาปัตยกรรมและการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า พระนครเหนือ วิชา - Art Appreciation และ Design Analysis http://www.facebook.com/artanndesign 2553-กรรมการวิภาคหลักสูตรสาขานิเทศศิลป์ และประยุกต์ศิลป์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย 2553-ปัจจุบัน-อาจารย์ประจำหลักสูตร สาขานิเทศศิลป์ และประยุกต์ศิลป์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
2555-ปัจจุบัน- อาจารย์พิเศษ ภาควิชาออกแบบนิเทศศิลป์ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิชา - Thai Art for Visual Communication Design, Color in Visual Communication arts และ Computer In Visualization 2557-ปัจจุบัน- อาจารย์พิเศษ คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัย ศิลปากร วิชา - Color in Art
การแสดงงานและผลงานวิชาการ 2535 ร่วมแสดงงานครบรอบ 36 ปี คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 2536 ร่วมแสดงงานจิตรกรรมของบริษัท โตชิบ้า (ประเทศไทย) จำกัด 2548 ร่วมแสดงภาพถ่ายวัฒนธรรมวันกรมพระยานริศรา นุวัติวงศ์ 2547 ร่วมแสดงงานออกแบบกราฟิกในนิทรรศการ 7 Sense ของนักศึกษาปริญญาโท นิเทศศิลป์ มหาวิทยาลัย ศิลปากร 2548 ร่วมแสดงนิทรรศการ "ตื่นเถิดกราฟิกไทย" 2548 แสดงจิตรกรรม โครงการย้อนรอย ไทยวิจิตร ครั้งที่ 1 2549 ร่วมแสดงงานจิตรกรรมกับกลุ่ม "ต้นน้ำ" 2553 ได้รับคัดเลือกให้นำเสนอผลงาน และตีพิมพ์ผลงานวิจัย ในงานศิลปากรวิจัย ครั้งที่ 3 หัวข้อ "การวิเคราะห์ องค์ประกอบการออกแบบเลขนศิลป์ที่แสดงเอกลักษณ์ไทย" 2553 เป็นวิทยากรบรรยายในงาน "Somewhere Thai" ในมุมมองเกี่ยวกับการค้นหาอัตลักษณ์ไทยในงาน ออกแบบ 2553 เป็นวิทยากรบรรยายในรายการ"ดีไซน์ไปบ่นไป" หัวข้อ "ไทยแล้วไปไหน" ในมุมมองเกี่ยวกับการค้นหาอัต ลักษณ์ไทยในงาน ออกแบบ ในงาน "Somewhere Thai" 2554 เป็นวิทยากรบรรยายและเวิร์คช็อปในงาน "Creative Guru Thailand" 3 ภูมิภาค กรุงเทพ, ขอนแก่น, เชียงใหม่ เรื่องการพัฒนาการออกแบบกราฟิกของที่ระลึกให้มีเอกลักษณ์ไทย 2554 บทความ "เลขนศิลป์ออกแบบไทย" ตีพิมพ์ในหนังสือ IMTGD.FORUM 2010 : SOMEWHERE THAI 2555 แสดงงานนิทรรศการกราฟิกและภาพถ่าย “แรงบันดาลไทย” 2555 เป็นวิทยากรบรรยายหัวข้อ “การหาแรงบันดาลใจ” ในงาน “แรงบันดาลไทย” 2555 เป็นวิทยากรบรรยายหัวข้อ “การออกแบบนวัตศิลป์” ในงาน “เชิดชูครูช่าง” ที่ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร องค์การต่างประเทศ (ศศป) 2555 เป็นวิทยากรบรรยายหัวข้อ “กราฟิกดีไซน์กับความเป็นไทย อยู่ร่วมกันได้อย่างไร” พิพิธพาเพลิน มิวเซียม สยาม 2555 แสดงงานภาพถ่ายในนิทรรศการ “สยามแอพ"
2557 ได้รับคัดเลือกให้นำเสนอผลงาน และตีพิมพ์ผลงานวิจัย ในงานสัปดาห์วิจัยแห่งชาติ 2557 2558 แสดงงาน PSG PHD1/13 Decode/content to process
ไพโรจน์ พิทยเมธี การศึกษา - ศิลปะบัณฑิต (ประยุกต์ศิลป์ฯ) มหาวิทยาลัยศิลปากร - ศิลปะมหาบัณฑิต (นิเทศ ศิลป์) มหาวิทยาลัยศิลปากร - กำลังศึกษา ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (Ph.D.) (ทัศนศิลป์) มหาวิทยาลัยศิลปากร, อาจารย์พิเศษ ภาควิชาออกแบบนิเทศศิลป์ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร