1
ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๒๐ วันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๖๐
2
จดหมายข่าวเทวาลัย ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๒๐ วันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๖๐
วาดภาพโดย น.ส.สุธรี า ศรีตระกูล (อักษรศาสตร์#80)
จดหมายข่าวเทวาลัย ที่ปรึกษา
รศ.ดร.กิ่งกาญจน์ เทพกาญจนา คณบดี รศ.ดร.สุรเดช โชติอุดมพันธ์ รองคณบดี ผศ.ดร.นิรดา จิตรกร ผู้ช่วยคณบดี ผศ.ดร.อาทิตย์ ชีรวณิชย์กุล ผู้ช่วยคณบดี อ.William Whorton
ผู้รับผิดชอบงานประชาสัมพันธ์ และสื่อสารองค์กร ผศ.ดร.ศิรประภา ชวะนะญาณ ผู้ช่วยคณบดี (Siraprapa.C@chula.ac.th)
ภาพปก งาน "ธ เสด็จนิวัตฟ้า ขับแก้วก�ำสรวล" ศิลปิน นักรบ มูลมานัส
ปาฐกถาพิเศษชุด อักษราภิวัตน์
อ่านจดหมายข่าวเทวาลัยฉบับย้อนหลังได้ท่ี http://www.arts.chula.ac.th/~sandbox/dhevalai/ ส่งข่าวประชาสัมพันธ์ได้ท่ี http://artscu.net คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถนนพญาไท เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 โทร. (662) 218 - 4870 www.arts.chula.ac.th
3
ปาฐกถาพิเศษชุด อักษราภิวัตน์ หัวข้อ "ร้องปรัชญาและสนทนาปรัชญา กับมารค ตามไท" โดย รองศาสตราจารย์ ดร.มารค ตามไท
8 การปฐมนิเทศนักศึกษาแลกเปลี่ยน
5
ข่าวจากภาควิชาภาษาไทย
15
ข่าวจากสาขาวิชาภาษาอิตาเลียน
10 มากกว่าเรื่องการเมืองร่วมสมัย?: ร่วมกันเข้าใจสถานการณ์และ
16
ข่าวจากภาควิชาศิลปการละคร
23
ข่าวจากภาควิชาวรรณคดีเปรียบเทียบ
ความขัดแย้งสเปน-กาตาลูญญา
12
ฅนอักษรฯ
24
ข่าวบริการวิชาการ: ใคร ทำ�อะไร ที่ไหน
25
ปฏิทินกิจกรรม เดือนตุลาคม
ผศ.สรรควัฒน์ ประดิษฐพงษ์
18
4
บุญญาพระอยู่ยงั้ จวบสุเมรุเหี้ยนลง เกินกัลป์กว่าอสง- ชนส�่ำเทพส�่ำฉ้วย พระด�ำเนินสงบสิ้น ชนเนื่องเนืองนองมา โหยไห้เหือดน�้ำตา ยอยกกรสู่เกล้า ปราการมีอาจกัน้ ใจผ่านเกินทวาร์ ลินลาศเลื่อนถึงปรา- ตั้งจิตจงเจตน์หมัน้ มองเมรุพาโศกเศร้า งามเงื่อนดุจสวรรค์ งามหากโศกจาบัลย์ รอรับพระบาทฯสู่ฟ้า
ยืนยง ห่อนม้วย ขัยอยู่ ซื่อเฮย แซ่ซร้องสรรเสริญ สังขาร์ อยู่เฝ้า ยังย่าง กราบด้วยภักดี เพียงตา ที่กั้น สาทแห่ง ท่านนา กราบก้มเกศา เสียขวัญ สู่หล้า ใจราษฏร์ จากพื้นกลับสรวง
26 ตุลาคม 2560 พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมพิ ลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร (ผศ.ดร.ชานป์วชิ ช์ ทัดแก้ว ร้อยกรอง) พระบรมสาทิสลักษณ์: ไทรเติ้ล เงาะอาศัย
5
ภาควิชาภาษาไทย
"ธ เสด็จนิวัตฟ้า ขับแก้วก�ำสรวล:
พระราชพิธีพระบรมศพในวรรณคดีไทยและกวีนิพนธ์ โศกาลัยน้อมร�ำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ" เนื่ อ งในพระราชพิ ธี ถ วายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช วันที่ ๒๕-๒๙ ตุลาคม ๒๕๖๐ ภาควิชาภาษาไทย และศูนย์วิจัยภาษาและ วรรณคดีไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอเชิญร่วมงาน "ธ เสด็จนิวัตฟ้า ขับแก้วก�ำสรวล: พระราช พิ ธี พ ระบรมศพในวรรณคดี ไ ทยและกวี นิ พ นธ์ โ ศกาลั ย น้อมร�ำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ" วันอังคารที่ ๒๔ ตุลาคม ๒๕๖๐ เวลา ๑๒.๓๐ - ๑๖.๐๐ น. ณ ห้องอเนกประสงค์ ชั้น ๙ อาคารมหาจักรีสิรินธร คณะ อักษรศาสตร์
๑๒.๓๐ น. ลงทะเบียน ๑๓.๐๐-๑๓.๑๕ น. พิธีเปิด ๑๓.๑๕-๑๔.๔๕ น. การบรรยายเรื่อง "พระราชพิธี พระบรมศพในวรรณคดีไทย" วิทยากร ศ.ดร.ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต ๑๔.๔๕-๑๕.๐๐ น. พักรับประทานอาหารว่าง การอ่านกวีนิพนธ์โศกาลัย ๑๕.๐๐-๑๖.๐๐ น. น้ อ มร� ำ ลึ ก ในพระมหากรุ ณ าธิ คุ ณ พระบาทสมเด็ จ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โดย อาจารย์ประยอม ซองทอง (ศิลปินแห่งชาติ) ม.ร.ว.อรฉัตร ซองทอง อาจารย์ ชมัยภร บางคมบาง (ศิลปินแห่งชาติ) ผศ.ดร. ญาดา อรุณ เวช อารัมภีร คณาจารย์ นิสิตเก่า และนิสิตปัจจุบัน ภาค วิชาภาษาไทย ฟังการบรรเลงและขับร้องพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๙ และร่วมร้องเพลงภูมิแผ่นดิน นวมินทร์มหาราชา ลงทะเบียนร่วมงานได้ที่ https://goo.gl/forms/ nyMxRj5VgebQCHqG3 หรือโทร. 0 2218 4687 หรือทางกล่องข้อความเฟซบุ๊ก เพจ เอกภาษาไทย อักษรฯ จุฬาฯ ภาพประกอบ: นักรบ มูลมานัส
6
ชุดปาฐกถาพิเศษ "อักษราภิวัตน์"
เพื่อเฉลิมฉลองวาระ ๑๐๐ ปีคณะอักษรศาสตร์
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยขอเชิญชวนทุกท่านเข้าร่วมฟังชุดปาฐกถาพิเศษ "อักษราภิวัตน์" ซึ่งจัดขึ้นในวาระที่คณะอักษรศาสตร์ ครบรอบ 100 ปี หัวข้อ "พระมหากษัตริย์กับสังคมไทย: มุมมองทางประวัติศาสตร์" โดย ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร. ปิยนาถ บุนนาค วันเสาร์ที่ 28 ตุลาคม 2560 เวลา 13.00 น. เป็นต้นไป ณ ห้องอเนกประสงค์ ชั้น 9 อาคารมหาจักรีสิรินธร สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 0-2218-4899 ลงทะเบียนล่วงหน้าได้ที่ https://drive.google.com/open?id=1ab0M3Lq_zRq4ahDH5dmktP63ytVlS_1izVsAhhsyvZ0
7
ชุดปาฐกถาพิเศษ "อักษราภิวัตน์"
เพื่อเฉลิมฉลองวาระ ๑๐๐ ปีคณะอักษรศาสตร์
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยขอเชิญชวนทุกท่านเข้าร่วมฟังชุดปาฐกถาพิเศษ "อักษราภิวัตน์" ซึ่งจัดขึ้นในวาระที่คณะอักษรศาสตร์ ครบรอบ 100 ปี หัวข้อ "รอดได้เพราะแม่ไม้เพลงไทย" โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.เจตนา นาควัชระ วันที่ 11 พฤศจิกายน 2560 เวลา 13.00 น. เป็นต้นไป ณ ห้องอเนกประสงค์ ชั้น 9 อาคารมหาจักรีสิรินธร สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 0-2218-4899 ลงทะเบียนล่วงหน้าได้ที่ https://drive.google.com/open?id=1fouogkGl0KQH8rt3hNI9fh1VzlwA6Y5uYYW49kWxF7s
8
ปาฐกถาพิเศษชุด อักษราภิวัตน์ หัวข้อ "ร้องปรัชญาและสนทนาปรัชญากับมารค ตามไท" โดย รองศาสตราจารย์ ดร.มารค ตามไท
ฝ่ายวิจัยและภาควิชาปรัชญา วันที่ 6 ตุลาคม 2560 เวลา 13.00-16.00 น. คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดปาฐกถาพิเศษชุด อักษราภิวัตน์ หัวข้อ "ร้องปรัชญาและสนทนาปรัชญากับมารค ตามไท" โดย รอง ศาสตราจารย์ ดร.มารค ตามไท ณ ห้องอเนกประสงค์ ชั้น 9 อาคาร มหาจักรีสิรินธร คณะอักษรศาสตร์
9
10
การปฐมนิเทศนักศึกษาแลกเปลี่ยน ฝ่ายพัฒนาความเป็นนานาชาติฯ
ฝ่ายพัฒนาความเป็นนานาชาติฯ คณะอักษร ศาสตร์ได้จัดปฐมนิเทศนักศึกษาแลกเปลี่ยน ระบบทวิภาค ภาคการศึกษาต้น ปีการ ศึกษา 2560 เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2560 เวลา 15.00 น. ณ ห้อง 815 อาคารมหาจักรีสิริน ธร ในการนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.วิลิตา ศรี อุฬารพงศ์ รองคณบดีฝ่ายพัฒนาหลักสูตร พัฒนาการเรียนการสอนและบริการวิชาการ ได้ให้เกียรติบรรยายสรุปเรื่องการเรียนการ สอนในคณะอักษรศาสตร์และกฎเกณฑ์ข้อ
บังคับต่าง ๆ คุณมาลี สังข์จุ้ย นายทะเบียน คณะอักษรศาสตร์ ได้กล่าวเรื่องกำ�หนดการ ลงทะเบียนเรียนในภาคการศึกษาปลาย ปี การศึกษา 2560 และการตรวจสอบข้อมูล ต่าง ๆ คุณบุษกร ธรณี รักษาการแทนผู้ อำ�นวยการสารนิเทศมนุษยศาสตร์ กล่าว แนะนำ�เกี่ยวกับศูนย์สารนิเทศมนุษยศาสตร์ การใช้ห้องสมุด และบริการต่าง ๆ ที่ นักศึกษาสามารถใช้เพื่อช่วยเสริมการเรียน ในห้องและเพื่อค้นหาความรู้เพิ่มเติม หลัง
จากนั้น นายณัฏฐ์ ไตรภูมิ ผู้แทนนิสิตคณะ อักษรศาสตร์และตัวแทนจากคณะกรรมการ นิสิตอักษรศาสตร์ได้นำ�เสนอกิจกรรมและ ให้คำ�แนะนำ�ทั้งทางด้านการเรียนและการใช้ ชีวิตในคณะอักษรศาสตร์ ในช่วงท้าย รอง ศาสตราจารย์ ดร.กิ่งกาญจน์ เทพกาญจนา คณบดีคณะอักษรศาสตร์ ได้กล่าวให้โอวาท แก่คณะนักศึกษาแลกเปลี่ยน และกล่าวปิด การปฐมนิเทศท่ามกลางบรรยากาศที่อบอุ่น และเป็นกันเอง
11
12
“มากกว่าเรื่องการเมืองร่วมสมัย?: ร่ ว ม กั น เ ข้ า ใ จ ส ถ า น ก า ร ณ์ แ ล ะ ความขั ด แย้ ง สเปน-กาตาลู ญ ญา” สาขาวิชาภาษาสเปน
เมื่อวันจันทร์ที่ 9 ตุลาคม 2560 ศูนย์ยุโรปศึกษาแห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับสาขาวิชาภาษาสเปน ภาควิชาภาษาตะวันตก ได้จัดงานเสวนาสาธารณะ หัวข้อ “มากกว่าเรื่องการเมืองร่วมสมัย?: ร่วมกันเข้าใจ สถานการณ์และความขัดแย้งสเปน-กาตาลูญญา” ณ ห้อง 802 อาคารเฉลิมราชกุมารี 60 พรรษา (จามจุรี 10) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยเชิญผู้เชี่ยวชาญทั้งหมด 4 ท่าน มาร่วมแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ ดังนี้
1) รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ ผู้เชี่ยวชาญด้าน เศรษฐกิจและการเมืองระหว่างประเทศ 2) อ.ดร.สุกิจ พู่พวง อาจารย์ประจำ�สาขาวิชาภาษา สเปน ภาควิชาภาษาตะวันตก คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ผู้นำ�การเสวนา) 3) อ.ดาบิด กูเตียร์เรซ อาจารย์ประจำ�สาขาวิชาภาษา สเปน ภาควิชาภาษาตะวันตก คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 4) คุณณภัทร พุ่มศิริ เจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุล สถาน เอกอัครราชทูตบราซิลประจำ�ประเทศไทย
13
งานเสวนาครั้งนี้มีผู้ลงทะเบียนร่วมงานทั้งหมดกว่า 170 ท่าน สื่อมวลชนหลายส�ำนักได้รายงาน สรุป และอ้างอิงประเด็นเสวนา เช่น PPTVHD ช่อง 36 (https://www.pptvhd36.com/news/ประเด็น ร้อน/66985) นิตยสาร WAY (https:// waymagazine.org/spain-cataloniaconflict-2017/) ส�ำนักข่าว The Standard (https://thestandard.co/catalonia-postponeunilateral-declaration-of-independence/) Voice TV (https://news.voicetv.co.th/ world/531091.html) ประชาไท (https:// prachatai.com/journal/2017/10/73629) และ The Thailanders (http://thethailanders.com/ ความย้อนแย้งของประชามต/)
14
ลิงก์ของการบันทึกภาพเคลื่อนไหวส่วนหนึ่ง ในช่วงถาม-ตอบ: https://www.youtube.com/watch?v=eUedzgVa4Ss
15
สาขาวิชาภาษาอิตาเลียน
งานสัปดาห์ภาษาอิตาเลียนสากลครั้งที่ 17 ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วม "งาน สั ป ดาห์ ภ าษาอิ ต าเลี ย นสากล ครั้งที่ 17" ซึ่งจะจัดขึ้นที่คณะ อักษรศาสตร์ จุฬาฯ ตั้งแต่วันที่ 30 ตุลาคม - 3 พฤศจิกายน 2560 โดยจะมีพิธีเปิดงานในวัน พุธที่ 1 พฤศจิกายน 2560 เวลา 16.00 น. ณ โถงชั้นล่าง อาคาร มหาจักรีสิรินธร หัวข้อหลักของ งานปีนี้ คือ "ภาษาอิตาเลียน ณ โรงภาพยนตร์ ภาษาอิตาเลียนใน ภาพยนตร์"
16
กิจกรรมเฉลิมฉลองในโอกาสครบรอบ 130 ปี ความสัมพันธ์การทูตไทย-ญี่ปุ่น
“สงคราม ภาพวาด ผู้คน ฯลฯ” (Bangkok Notes) ภาควิชาศิลปการละคร
Photo credit: Teeraphan Ngowjeenanan
ละครร่ ว มสมั ย ที่ ป ระทั บ ใจผู้ ช มมาแล้ ว ใน หลายภาษาทั่วโลก เจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ ร่วมกับ โครงการศิลปะการละครนานาชาติ (World Performances @ Drama Chula) ภาค วิชาศิลปการละคร คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภูมิใจนำ�เสนอ ละครเวทีความร่วมมือไทยญี่ปุ่น “สงคราม ภาพวาด ผู้คน ฯลฯ” (“Bangkok Notes”) เขียนบทและกำ�กับการแสดงโดย ศาสตราจารย์ โอริสะ ฮิราตะ (Prof. Oriza Hirata) นักการละครผู้มีอิทธิพลต่อวงการ ละครญี่ปุ่นและทั่วโลก นอกจากนี้ “สงคราม ภาพวาด ผู้คน ฯลฯ” ยังเป็นกิจกรรมในวาระ
ครบรอบ 130 ปีความสัมพันธ์การทูตไทยญี่ปุ่น และได้รับเกียรติจากเครือข่ายละคร กรุงเทพ (Bangkok Theatre Network) ให้เป็นการแสดงเปิดเทศกาลละครกรุงเทพ 2560 (Bangkok Theatre Festival 2017: “Sharing Moments”) ในวันพฤหัสบดีที่ 2 พฤศจิกายนนี้ ที่ศูนย์ศิลปการละครสดใส พันธุมโกมลอีกด้วย ละคร “สงคราม ภาพวาด ผู้คน ฯลฯ” (“Bangkok Notes”) ดัดแปลงบทจาก “Tokyo Notes” (“โตเกียว โน้ตส์”) ซึ่ง บรรยายให้ผู้ชมได้เห็นการค่อยๆ สลายตัว ของความสัมพันธ์ในครอบครัว รวมไปถึง ความสัมพันธ์ของมนุษย์ในสังคม ผ่านการ
เล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นในพิพิธภัณฑ์ศิลปะแห่ง หนึ่งในอนาคตอันใกล้ ละครเรื่องนี้ได้รับคำ� ชื่นชมจากทั้งผู้ชมและนักวิจารณ์ทั้งในญี่ปุ่น และนานาชาติ “Tokyo Notes” (“โตเกียว โน้ตส์”) ได้รับการแปลมาแล้ว 10 ภาษา และ จัดแสดงมาแล้ว 23 เมือง ใน 16 ประเทศ นอกจากนี้ยังทำ�ให้เกิดโครงการละครความ ร่วมมือระหว่างประเทศมาแล้ว 4 โครงการ ได้แก่ “Seoul Notes” ณ ประเทศเกาหลีใต้ ในปี 2546 “Taipei Notes” ในเทศกาล Taipei Arts Festival ประเทศไต้หวัน เมื่อ เดือนกันยายนที่ผ่านมา (บัตรจำ�หน่ายหมด ทุกใบภายใน 2 ชั่วโมง) “สงคราม ภาพวาด ผู้คน ฯลฯ” (“Bangkok Notes”) ในเทศกาล ละครกรุงเทพปีนี้ และ “Manila Notes” ณ
17
ประเทศฟิลิปปินส์ ในปีหน้า เพื่อให้ “สงคราม ภาพวาด ผู้คน ฯลฯ” (“Bangkok Notes”) สื่อสารแก่นความคิดและสร้างความบันเทิงให้ผู้ชมชาวไทยอย่างเต็ม ที่ อาจารย์ ดร.สาวิตา ดิถียนต์ นักเขียนบทละครเวทีและโทรทัศน์ และอาจารย์ประจำ�ภาควิชาศิลปการละคร คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงได้ปรับบริบทเรื่องราวและบทสนทนา ให้มีความเป็นละครเวทีไทย และศาสตราจารย์ โอริสะ ฮิราตะ ได้ คัดเลือกนักแสดงมืออาชีพชาวไทยกว่า 20 คนมาร่วมแสดง ทั้งรุ่น เล็กรุ่นใหญ่จากหลากหลายคณะละคร เช่น สุมณฑา สวนผลรัตน์ (จุ๋ม) เจ้าของรางวัล IATC Thailand Award สาขานักแสดงหญิงยอด เยี่ยม ปี 2555 ดวงใจ หิรัญศรี (เพียว) คณะละครอนัตตา ธีรวัฒน์ มุ ลวิไล (คาเงะ) ผู้ก่อตั้งคณะละคร B-Floor เจ้าของรางวัล Bangkok Theatre Festival Award สาขานักแสดงชายยอดเยี่ยม ปี 2557 ณัฐ นวลแพง ผู้ก่อตั้งคณะละครเสาสูง และ วรัฏฐา ทองอยู่ (แอน) เจ้าของรางวัล IATC Thailand Award สาขานักแสดงหญิงยอดเยี่ยม ปีที่แล้ว เป็นต้น “สงคราม ภาพวาด ผู้คน ฯลฯ” (“Bangkok Notes”) จึงนับเป็น ความร่วมมือครั้งสำ�คัญอีกครั้งของคณะละครเวทีของไทยด้วยความ สนับสนุนของเจแปนฟาวน์เดชั่น หลังจากละครเวทีเรื่อง “ยักษ์ตัว แดง” (“Akaoni”) เมื่อปี 2540 ซึ่งทำ�ให้เกิดการก่อตั้งเครือข่าย ละครกรุงเทพและเทศกาลละครกรุงเทพในเวลาต่อมา และละครเวที เรื่อง “สาวชาวนา” (“Nogyo Shojo”) เมื่อปี 2552 ซึ่งจัดแสดงทั้งที่ เทศกาลละครกรุงเทพและ Festival/Tokyo สรุปข้อมูลกิจกรรม วันและเวลา วันพฤหัสบดี ถึงวันเสาร์ที่ 2 – 4 และ 9 -11 พฤศจิกายน 2560 เวลา 19.30 น. (วันเสาร์เพิ่มรอบบ่ายเวลา 14.00 น.) *รอบปฐมทัศน์ วันพฤหัสบดีที่ 2 พฤศจิกายน 2560 พร้อมพิธีเปิด เทศกาลละครกรุงเทพ 2560* (ประตูโรงละครเปิดก่อนการแสดง เริ่ม 10 นาที) สถานที่ ศูนย์ศิลปการละครสดใส พันธุมโกมล คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย (มีที่จอดรถภายในอาคารมหาจักรีสิรินธร หรือเดินจาก สถานีรถไฟฟ้าสยาม ทางออกที่ 6 ตามถนนอังรีดูนังต์ ประมาณ 10 นาที) ราคาบัตร 600 บาท (นักเรียน นักศึกษา 300 บาท ศิลปินและผู้ชมอายุไม่เกิน 27 ปี 400 บาท) จองบัตรที่ www.BangkokTheatreFestival.com หรือ 08 1559 7252 และ 0 2218 4802 *แสดงเป็นภาษาไทย มีคำ�แปลภาษาญี่ปุ่นและอังกฤษฉายประกอบ* Photo credit: Teeraphan Ngowjeenanan
18
ฅนอักษรฯ เรียบเรียงโดย มีเกียรติ แซ่จิว
คุณนงเยาว์ จันทร์เขียน
ผศ.สรรควัฒน์ ประดิษฐพงษ์
‘หากคุณเชื่อมั่นในตัวลูกศิษย์ คุณก็ควรจะให้เขาได้มีพื้นที่หายใจและ กิจการนิสิตประจ�ำปี 2559 ที่ผ่านมา คงการันตีคุณค่าของคนๆ หนึ่งได้เป็น อย่างดีว่าในสิ่งที่เขาท�ำมีคนมองเห็นมาโดยตลอด ฅนอักษรฯ ประจ�ำฉบับ ปล่อยให้พวกเขาได้ท�ำงานตามที่พวกเขารู้สึกว่าควรจะเป็น’* อาจเป็นค�ำกล่าวที่ไม่เกินเลยไปนัก หากเทียบเคียงกับแนวคิดที่ ผศ. สรรค- นี้ จึงถือโอกาส ‘บุกรุก’ พื้นที่ความเป็นส่วนตัว เพื่อพาคนอ่านย้อนมอง วัฒน์ ประดิษฐพงษ์ หรือ“ครู(บุส)ก้า” มีต่อนิสิตฯ ที่อยู่ในความดูแลตลอด เรื่องราวระหว่างทางของอาจารย์ไปด้วยกัน 7 ปีที่ผ่านมาในฐานะรองคณบดีฝ่ายกิจการนิสิต อย่างน้อยๆ คงต้องมีใจรัก เป็นที่ตั้ง ไม่อย่างนั้นเชื่อแน่ว่า 7 ปีคงเป็นภาระที่หนักและขมขื่นจนเกินไป ในฅนอักษรฯ หลายๆ ครั้ง ผู้เขียนจึงเห็นว่าคนที่เห็นคุณค่าของคนส่วน ใหญ่มักเป็นคนเช่นนี้ เช่นที่ตลอดระยะเวลา 7 ปีของการด�ำรงต�ำแหน่งรอง คณบดีฝ่ายกิจการนิสิต ที่ครูบุสก้าของนิสิตฯ ได้มีส่วนร่วมผลักดันใน กิจกรรมต่างๆ มากมายนับไม่ถ้วน รางวัลยกย่องเชิดชูเกียรติอาจารย์ด้าน
*ความตอนหนึ่งที่ศาสตราจารย์เกียรติคุณเบเนดิกส์ แอนเดอร์สัน กล่าวกับ ศาสตราจารย์ทักษ์ เฉลิมเตียรณ สมัยที่ยังเป็นนักศึกษาปริญญาเอกอยู่ใน มหาวิทยาลัยคอร์แนล ในหนังสือ ‘อ่านจนแตก วรรณกรรม ความทันสมัย และความเป็นไทย’
19
หากมิใช่คนใกล้ตัวหรือสนิทมักคุ้น เราคงไม่เคยรู้ว่า อาจารย์ เคยเป็นไกด์มาก่อน เมื่ออาจารย์แนะน�ำตัวและเท้าความให้ เราฟัง “ครูก้า ชื่อจริง สรรควัฒน์ ประดิษฐพงษ์ ชื่อเล่นบุสก้า อักษรฯ รหัส 30 เอกอิตาเลียน โทไทยศึกษา เป็นรุ่นแรกที่เรียนไทย ศึกษา จบปริญญาตรีแล้วได้ทุนไปอิตาลี แต่ก่อนหน้านั้นตอน ซัมเมอร์ก็ไปเป็นไกด์ จวนจะเปิดเทอมอาจารย์ชัตสุณี (รศ. ชัตสุณี สินธุสิงห์) ก็โทรศัพท์มาหา ถามว่าอยากสอนหนังสือ ไหม ก็เลยทิ้งอาชีพไกด์มาเป็นครู กินเงินเดือนรายชั่วโมง ชั่วโมงละ 300 บาท รายได้ตอนนั้น ราวปีพ.ศ. 2534 คือ 1200 บาท ซึ่งจริงๆ แล้วเงินเดือน 1200 นี่อยู่ไม่ได้หรอก แต่ อาศัยว่าตอนเป็นไกด์มีเงินเก็บอยู่บ้าง ก็อยู่ช่วงหนึ่ง จากนั้น ก็ได้ไปอิตาลี ไปโบโลญญา (Bologna) แล้วย้ายไปเซียนา (Siena) ก่อนจะกลับมาบรรจุปี 2536 แล้วคราวนี้ก็อยู่ยาวเลย แต่ก็จะมีช่วงหนึ่งหายไปท�ำปริญญาโทด้วย” ตอนนั้นปี 2536 ที่มาเป็นอาจารย์ แล้วอาจารย์เข้ามาข้อง เกี่ยวกับงานกิจการนิสิตได้อย่างไร “ตอนปีหนึ่งเป็นรองหัวหน้าชั้นปี ครูก็ท�ำกิจกรรมหมดทุกสิ่ง อย่าง แต่ท�ำเพื่อความสนุก เพื่อนท�ำเราก็ท�ำ ตอนนั้นเปราะบางมาก พอมีเพื่อนบอกว่างานไหนไม่ได้หน้าเราไม่ท�ำ เราก็ เทเลย (หัวเราะร่าเริง) ก็มีอะไรแบบนี้เหมือนกัน แต่จริงๆ แล้ว ก็ท�ำคล้ายๆเดิมนั่นละแค่ไม่ได้ไปสมัครเป็นกรรมการ เท่านั้นเอง คือเป็นเด็กกิจกรรม แต่ไม่ได้มีต�ำแหน่งอะไรใน คณะเลย อ้อ แต่เป็นประธานชมรมดนตรีสากลของหอพัก นิสิตฯ ส่วนงานของกิจการนิสิตนี่ คงต้องบอกว่าตั้งแต่ตอน เป็นอาจารย์พิเศษแล้ว งานรับผิดชอบแรกคืองานคุมค่าย ไป ตั้งแต่ยังไม่บรรจุ เหมือนเป็นพี่ค่าย ยังผูกพันกับรุ่นน้องยัง อยากไปค่าย ตอนนั้นก็จะมีอาจารย์น�้ำทิพย์ (ผศ.ดร.น�้ำทิพย์ ภิงคารวัฒน์) อาจารย์เนื่องน้อย (รศ.เนื่องน้อย บุณยเนตร) ไปด้วย จากนั้นก็ไปเรียนที่อิตาลี กลับมาก็ยังเป็นครูค่ายต่อ คราวนี้อาจารย์รุ่นพี่ปล่อยให้ไปเองแล้ว ส่วนเป็นครูกิจการ นิสิตก็เป็น แต่ว่าบทบาทไม่ค่อยมีเท่าไหร่ หน้าที่หลักๆ เหมือนจะเป็นฝ่ายค้างคืนกับเด็กเสียมากกว่า” ตอนเป็นรองคณบดีกิจการนิสิต งานส�ำคัญที่รู้สึกว่าตัวเอง ท�ำได้แล้วก็น่าจะมีคนท�ำต่อไปเรื่อยๆ คือการให้ภาพที่เขาไม่ เคยเห็นมาก่อน “ก็ให้ค�ำปรึกษาในฐานะรุ่นพี่ เห็นงานมาก่อน ถึงวันนี้ก็ยัง เป็นอยู่ เพราะนิสิตฯ เขามีเวลาเห็นในมหาวิทยาลัยเพียง 4 ปี พ้นจากนี้ไปเขาไม่เห็นแล้ว เรามีหน้าที่เล่าให้เขาฟัง ว่ามัน เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ แต่ไม่ได้บังคับให้เขาเลือก เช่นเป็นต้น ว่า เราอาจจะไม่เคยรู้ว่า นิสิตแทบจะไม่มีความรู้สึกผูกพัน อะไรกับตึกเก่า-ตึกเทวาลัยเลย เพราะพอเขาปิดตึกซ่อมเกิน 4 ปีปุ๊บ เด็กรุ่นใหม่ก็จะไม่รู้จักเทวาลัยเลย ซึ่งคนรุ่นเก่าเขา
20
ก่อนจะเป็นรองคณบดี อาจารย์เป็นผอ.ศูนย์ บริการวิชาการด้วย แบ่งเวลาอย่างไร “คือถ้าตอนเป็นครูเฉยๆ พอตื่นขึ้นมาก็จะเริ่มเตรียม การเรียนการสอนเป็นอัตโนมัติเลย พอเป็นผอ.ศูนย์ บริการวิชาการ พอตื่นนอนขึ้นมาหัวก็จะคิดปั๊ปว่า จะท�ำอะไรดี จะสอนอะไรให้สังคมดี จะหาเงินให้ คณะยังไงดี มีอะไรต้องท�ำวันนี้บ้างหนอ ฯลฯ แล้ว พอครูรับต�ำแหน่งเป็นรองกิจฯ ปุ๊บ แต่พอตื่นเช้ามา หัวเรายังคิดเป็นงานของศูนย์บริการวิชาการอยู่เลย เป็นอยู่อย่างนี้ทุกวัน คิดว่า ไม่ใช่แล้ว เลยไปปรึกษา กับคณบดีประพจน์ให้พิจารณาหาอาจารย์คนอื่นมา เป็นผอ.แทน พอหาได้ เช้าวันถัดมาจึงเริ่มคิดถึงแต่ เรื่องเด็ก และเป็นอย่างนั้นมา 7 ปี แบบที่ใครพูดค�ำ ว่า “เด็กอักษร”แล้วจะสะดุ้งเลย รู้สึกว่าจะต้องรับ ผิดชอบเด็กคณะอักษรฯ ตลอดเวลา แต่เรื่องแบ่ง เวลาสารภาพว่าแบ่งไม่เก่ง คือมาทุ่มให้งานกิจการ นิสิตฯ มันอินกับตรงนี้ งานวิจัยไม่มี งานวิชาการ กลายเป็นโน้ตในเฟสบุ๊ก ดีที่มีสอน มีแปลอยู่บ้าง แต่ ก็ไม่เป็นชิ้นเป็นอัน เพราะงานส่วนใหญ่มาอยู่กิจการ นิสิตฯ เยอะ ก็มาทุ่มตรงนี้จริงๆ ตอนนั้นใจอยู่กับ ความคิดที่ว่าจะท�ำยังไงให้นิสิตมีประสบการณ์ชีวิต มากกว่าการเรียนในห้องเรียน ท�ำยังไงถึงจะ ประสานพี่เก่า คิดอย่างนั้นตลอดเวลาจริงๆ” จะผูกพันอยู่กับตึกเทวาลัย เด็กรุ่นใหม่จะติดอยู่กับตึกบรมฯ อะไรอย่างนี้เป็นต้น รุ่นใหม่ ไม่ “อิน”ว่าเทวาลัยคืออะไร พอเล่าให้เขาฟังว่าเราเคยท�ำอะไรที่ตึกนั้นบ้าง เขาก็จะตาพองขึ้นมาว่า ท�ำได้ด้วยเหรอ ขึ้นได้ด้วยเหรอ ตึกนี้มันแตะต้องได้ด้วยเหรอ อะไรอย่างนี้ เราก็บอกลองดูสิ ให้ เด็กลองท�ำกิจกรรม เช่นกลับไปท�ำพิธีโปรยใบจามจุรีอะไรอย่างนี้ พอเด็กลองท�ำเด็กก็ชอบ เด็กก็ ขอบคุณ คือถ้าไม่มีใครบอกเขา เขาจะไม่มีวันเข้าไปท�ำที่ตึกเก่าเลย เขานึกว่าเป็นตึกศักดิ์สิทธิ์ คือเราไปบอกในสิ่งที่เขาไม่ทันเห็น แต่ไม่ได้บังคับให้เขารักในสิ่งที่เราเคยรักนะ คิดว่า หน้าที่ของ เราคือ ให้ข้อมูล จากนั้นก็สุดแท้แต่เขาแล้วว่าจะเลือกหรือเปล่า” เป็นรองคณบดีกิจการนิสิตมา 7 ปี บทบาทหน้าที่ตอนที่ท�ำงาน ขอบเขตมันขนาดไหน “อาจไม่เชื่อ แต่ตอนนั้นไม่เคยคิดจริงๆ ว่าจะได้เป็นรองคณบดี พอเริ่มมีเสียงว่าตัวเต็งอาจจะ เป็นเรา ยังคิดค�ำพูดปฏิเสธไว้เลย (หัวเราะร่าเริง) แต่พอได้รับการทาบทามจริงๆ มันตื้นตัน เหมือนผู้ใหญ่ไว้ใจเราทั้งที่เราคิดว่าเราอาจจะเด็กไปหรือเปล่า เพราะจะว่าไปรองคณบดีกิจการ นิสิตที่เราเคยรู้จักต้องไม่เด็ก เป็นผู้ใหญ่ด้วยซ�้ำ แต่พอได้เข้าไปท�ำ ได้เห็นงาน ก็เริ่มรู้สึกดีใจที่ได้ ท�ำ เพราะมีงานหนึ่งที่อยากท�ำมากคือเรื่องเงินทุน อยากท�ำเรื่องทุนให้ดี อยากสัมภาษณ์ทุนให้ดี อยากช่วยเด็ก อยากจะดูว่าจนจริงไม่จนจริง ถ้าจนจริงควรจะได้เงินเยอะกว่านี้หรือเปล่า เรื่อง ทุนเป็นเรื่องที่อยากท�ำมาก แล้วเรื่องกิจกรรมก็เป็นเรื่องที่ส�ำคัญ เพราะคณะเราเด็กเอาแต่เรียน ไง แล้วพอกิจกรรมปุ๊บ ทุกคนก็จะติดกับการตีกลองร้องเพลง ซึ่งจริงๆ เรารู้สึกว่ามันมีเยอะกว่า นั้น มีจิตอาสาที่เราท�ำได้ แต่มันเป็นงานที่ต้องใช้เวลา ตอนนี้ไม่แน่ใจว่าคนเริ่มปรับสายตามา มองกิจการนิสิตฯ ดีขึ้นแล้วหรือยัง เพราะกิจการนิสิตฯ มันเป็นที่ที่จริงๆ แล้ว ควรจะส่งเสริมให้ นิสิตฯ ไปร่วมฟัง ไปท�ำโน่นท�ำนี่ มันจะท�ำให้เด็กกลมขึ้น ไม่ใช่มีมิติเดียวคือเรียนเพื่อสร้าง โปรไฟล์”
อุปสรรคของการท�ำงานกิจการนิสิต “การสื่อสารกับความคาดหวัง เด็กจะคาดหวังกับ เราอย่างหนึ่ง ผู้ใหญ่จะคาดหวังกับเราอย่างหนึ่ง อาจต้องถามว่าโดยทั่วๆ ไป อาจารย์ในคณะเองคิด ว่ารองกิจฯ คืออะไรหรือ โดยส่วนใหญ่มักจะคิดว่า รองกิจฯ เป็นคนดูแลวินัย ต้องแต่งตัวตามนี้ๆ ครู ไม่ค่อยได้ยินอาจารย์ท่านไหนที่มานั่งจับเข่าคุยกัน เรื่องกิจกรรมพัฒนานิสิต ราวกับว่าไม่เคยคิดว่า เป็นงานของเรา แต่พอรับน้องที ตีกลองร้องเพลง เสียงดังปุ๊บโทร.มาหา บอกว่าเด็กปิดทางเดิน ทีนี้ พอเราโทร.บอกเด็ก เด็กก็รู้สึกว่าเรามาจี้ แต่จริงๆ คือเรามาจาก 10 สายไง และมีเราจี้อยู่คนเดียว อัน นี้ก็เป็นปัญหาหนึ่ง คือความคาดหวัง เด็กก็คาด หวังว่าเราจะปล่อยทุกอย่าง กรุยทางให้ทุกอย่าง ซึ่งบางครั้งมันไม่ถูกไม่ต้องก็มีเหมือนกัน เราก็ต้อง รั้งๆ เอาไว้บ้าง แต่เด็กเนี่ยไฟแรงมาก เขารู้สึก ว่าการท�ำกิจกรรมคือการปล่อยของ ไม่ควรจะมี ใครไปขัดขวาง และไม่ควรจะมีอาจารย์ไปอยู่ตรง นั้นด้วยซ�้ำ อุปสรรคก็คือนั่นล่ะ การสื่อสารกับการ เป็นกันชน และเราต้องเป็นคนอยู่ตรงกลาง
21
“อีกเรื่องซึ่งเป็นความรู้สึกอึดอัดและส�ำคัญไม่แพ้กันนอกจากเรื่อง ของเงินทุน คือครูรู้สึกว่าเด็กคณะเรามีปัญหาทางด้านการปรับตัว และจิตใจเยอะ ซึ่งตัวครูเองก็เป็น ตอนเป็นนิสิตฯ ปีหนึ่ง เราก็มี ปัญหาแบบหนึ่งของเรา คือครูมาจากเด็กวัดราชาฯ โรงเรียนชาย ล้วน ครอบครัวก็ร�่ำไม่รวยอะไร ทักษะที่ครูขาดคือการเข้าสังคม บางสังคม มีอะไรบางอย่างที่ครูต้องการเรียนรู้ตอนเป็นนิสิตถ้าย้อน เวลาได้อะไรอย่างนี้ คราวนี้พอเรารู้สึกว่าเด็กเรามีปัญหาเรื่องเงิน เรื่องทุนบ้าง ปัญหาเรื่องส่วนตัวบ้าง หรืออะไรก็แล้วแต่ ครูก็อยาก ให้เขาเข้ามาหาเรา มาบอกเรา มาขอค�ำปรึกษาจากเรา แต่สิ่งเหล่า นี้จะไม่เกิดขึ้นเลยถ้านิสิตกลัวครู คือไม่ต้องรักก็ได้ แต่ไม่อยากให้ กลัว นั่นก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ครูยอมที่จะเป็นคนที่อาจารย์หลายๆ ท่านขัดใจที่ไม่ดูแลเรื่องการแต่งกาย (อีกเหตุผลหนึ่งเพราะมันเป็น ประเด็นที่ยังเถียงกันได้ไม่รู้จบ) เพียงเพื่อให้เด็กเดินเข้ามาหาครู อันนี้เป็นโจทย์แรกที่เข้ามาท�ำหน้าที่ตรงนี้ของครู ครูมักจะบอกใคร เสมอว่า ครูเป็นรองคณบดีฝ่ายกิจการนิสิต ไม่ใช่ครูฝ่ายปกครอง” มีกิจกรรมไหนที่ประทับใจเป็นพิเศษไหม “มี 3 กิจกรรมที่ครูชอบมากคือ 1.อักษรน้องใหม่ใจอาสา เป็นกิจกรรมที่พานิสิตใหม่ทุกคน ท�ำ กิจกรรมจิตอาสาร่วมกัน มีคนตั้งค�ำถามว่า จิตอาสา ท�ำไมอาจารย์ ต้องบังคับ ครูบอกขอเหอะครูขอแค่หนเดียวให้เขารู้ว่าเขาท�ำแล้วเขา ชอบหรือไม่ชอบ ถ้าเขาไม่ชอบก็เรื่องของเขาแล้ว แต่ถ้าเขาชอบ เขา ก็จะได้รู้ว่ามันเป็นอย่างนี้ กิจกรรมอักษรน้องใหม่ใจอาสาตอนเช้าจะ เป็นกิจกรรมจิตอาสา ส่วนตอนบ่ายเป็นเรียนรู้วัฒนธรรม 2.กิจกรรมพบผู้ปกครอง ซึ่งอาจารย์ส่วนใหญ่จะไม่ชอบ แต่ครูชอบ เพราะครูรู้สึกว่าปัญหาใหญ่ของเด็กอักษรฯ ส่วนหนึ่งคือ การปะทะ กับพ่อแม่ตอน “เข้าเอก” รู้สึกปัญหาที่เราเจอบ่อยๆ คือเด็กจะเลือก เอกไม่ถูก หลายๆครั้งต้องทะเลาะกับพ่อแม่ แล้วท้ายที่สุดหลายคน ยอมพ่อแม่ ไม่ต่างอะไรกับการจบม. 3 แล้วถูกบังคับให้เรียนสายวิทย์ ตอนอยู่ม. 4 เพราะฉะนั้นพบผู้ปกครองของครูคือครูอยากเล่าให้ ผู้ปกครองฟังว่า ตกลงแล้วคณะเราสอนอะไร จะได้มีความเข้าใจ จากนั้นครูก็จะพยายามบอกว่า แล้วเด็กเขาจะเรียนรู้วิชาเอกของเขา ในหนึ่งปีเอง อยากให้คนเป็นพ่อแม่ฟังเขาบ้าง เขาก�ำลังจะกลายเป็น ผู้ใหญ่แล้ว อันนี้คือสารหลักของการพบผู้ปกครองเลยนะ 3. เตรียมความพร้อมให้บัณฑิต แต่เป็นโครงการระยะสั้น งานนั้น ชอบมากนะ ทั้งตัวครูเองและรุ่นพี่ช่วยกันท�ำ ทุกอย่างมาผสมมาผนึก ร่วมกัน มาดูว่าเด็กอักษรฯ ขาดอะไรบ้างแล้วก็ลิสต์เลย มีทักษะทุก อย่างให้เรียนรู้ มี Excel มีการ manage มีการลงภาษี งานนั้นเป็น งานที่อยากท�ำให้เด็กมากทั้งๆที่ก็แอบรู้ว่านิสิตไม่ค่อยเข้าร่วม ถ้า เป็นการวิจัย ก็เป็นงานวิจัยที่ครูภูมิใจ มันตกผลึกมาจากสิ่งที่ได้มา จากการสอบถามและการประสานกับทางรุ่นพี่บอกว่าเราขาดอะไร” ส่วนงานอื่นๆ อย่างงานค่าย เป็นงานที่เด็กท�ำ เราไปเฉยๆ เราไม่ค่อย มีบทบาทอะไรมากมาย แต่มีอยู่ค่ายหนึ่งตอนหลังๆ คืออันนี้ต้องพูด “ค่ายอักษรฯ เมื่อตอนครูอยู่ตอนปี 2530 จนถึงปีนี้ มันเหมือนเดิม ตลอด แค่เปลี่ยนที่เปลี่ยนโรงเรียนไปเรื่อยๆ จนวันหนึ่งครูก็ตั้งค�ำถาม กับเด็กว่า หนูยังแฮปปี้กับการท�ำค่ายนี้อยู่ไหม คือไปอยู่ 7 วัน 10 วัน
อยู่กับเด็กประถม ซึ่งมันไม่ได้ใช้ความสามารถอะไรมากมายนอกจากความอดทน หรือว่าความใจดี และถ้าเกิดเรามองกลับกัน เอาความต้องการของเขาเป็นที่ตั้งล่ะ ค่ายจะออกมาเป็นอย่างไร ตอนนั้นในที่ประชุมคณะกรรมการนิสิตมีเด็กต่างจังหวัด เยอะ ครูเลยถามว่า เวลาพูดถึงพี่อักษรฯ แล้วไปต่างจังหวัด หนูอยากให้ไปท�ำอะไร เด็กต่างจังหวัดคนหนึ่งยกมือตอบทันทีว่าอยากให้ไปสอนภาษาอังกฤษให้พวกผมที่ จะสอบแอดมิชชั่นแต่ไม่มีเงินเรียนพิเศษ ครูก็เลยบอกเด็กให้พิจารณาเรื่องนี้ให้ดี ในที่สุดก็มีชาวค่ายรุ่นหนึ่งฟังครู ครูก็เลยติดต่อผู้อ�ำนวยการโรงเรียนที่รู้จักที่ สุพรรณฯ โดยเริ่มจากการไปสอนภาษาอังกฤษให้เด็กประถม สอน O-Net ด้วยนะ ตอนนั้น พอเด็กไปออกค่าย เขาก็บอกว่าสิ่งที่เขาเตรียมไปทั้งหมดมันใช้ไม่ได้เลย คือเขาคาดหวังว่าเด็กป.6จะมีความรู้ระดับนึง พอๆกับเด็กป. 6 ในกรุงเทพฯที่เขา รู้จัก แต่จริงๆ แล้ว มันน่าใจหายว่ามันน้อยกว่านั้น ครูเลยบอกว่า ที่เราเคยได้ยินมา เรื่องภาษาอังกฤษเด็กไทย นี่แหละภาพจริงล่ะ ตอนนั้นเขาภูมิใจมากนะ รู้สึกดีใจที่ ได้เปลี่ยนภาพค่าย แต่ความภูมิใจมันไม่ได้จบแค่นั้น ครูเองก็ยังเป็นห่วงอยู่ว่าเด็กที่ ไปสอนจะเป็นอย่างไรบ้าง ก็โทร.ถามผอ. ทางนั้นก็บอกว่า อาจารย์คะจากเดิมเด็ก
22
ไม่ชอบภาษาอังกฤษเลย แต่ก่อนพอครูสอนภาษาอังกฤษ เข้ามาเด็กอุดหูเลยนะ ไม่เรียน และไม่มีความหวังใดๆ กับ การเรียนภาษาอังกฤษเลย บางครั้งในการสอบ ส่งกระดาษ ค�ำตอบตั้งแต่กระดาษค�ำถามยังไปไม่ถึงก็มี แต่ปรากฏว่า พอมีพี่ๆไปออกค่ายสอนภาษา เด็กกลับมาตั้งใจเรียนเยอะ ขึ้น เราได้ฟังแค่นี้ก็หัวใจพองขึ้นมาแล้ว แล้วพอปีหนึ่งผ่าน ไป ครูก็โทร.กลับไปถามว่าเป็นอย่างไรบ้าง เขาก็บอกว่า ปัญหาตอนนั้นคือ ผลการสอบภาษาอังกฤษของโรงเรียน เขาเป็นบ๊วยในกลุ่มโรงเรียน แต่ตอนนี้เป็นอันดับสูงสุด เรา ได้ยินแล้วก็ตื้นตันร่วมยินดีไปกับเขาด้วย ตอนหลังก็ชอบ แนวนี้ คืออยากพาเด็กอักษรฯ ไปสอนภาษาอังกฤษให้เด็ก ต่างจังหวัด หนึ่งคือตัวเขาได้ กับสองได้เห็นภาพจริง คือ การสร้างเด็กให้เก่งคงไม่ยากเท่าไหร่ แต่สร้างแรงบันดาลใจนี่ยาก แล้วเขาก็ท�ำได้ด้วย” อักษรฯ 100 ปี ครูมีอะไรอยากจะฝากถึง “เราเป็ น คณะที่ เ ก่ า แก่ แ ละส่ ง เสริ ม ให้ นิ สิ ต มี ค วามคิ ด วิเคราะห์โดยผ่านวรรณกรรม ประวัติศาสตร์ ปรัชญา การ ละคร และอื่นๆเท่าที่เราจะท�ำได้ ความคิดของคนแต่ละ ยุคสมัยก็ไม่เหมือนกัน เพราะฉะนั้นเป็นเรื่องปรกติจริงที่ นิสิตปัจจุบันกับรุ่นพี่หรืออาจารย์จะมีแก๊ปบ้าง อันที่จริงก็ คงจะมีทุกรุ่นนั่นล่ะ แต่พอครูมาอยู่ตรงกลางระหว่าง generation ต่างๆ ก็จะเห็นชัดขึ้นมาก ตัวครูซึ่งอาจารย์ หลายๆท่านอาจไม่ค่อยมีแก๊ปกับเด็กเท่าไหร่ แต่เด็กก็อาจ จะคิดว่าครูแก่คร�่ำครึก็ได้ ครูก็ไม่แน่ใจตัวเองเหมือนกัน จริงๆ ครูเองอาจมีแก๊ปกับเพื่อนก็ได้ ครูพบว่าเด็กรุ่นนี้เขา โตมากับวิธีคิดแบบหนึ่ง ทุกอย่างต้องตอบได้ค�ำอธิบาย ต้องมีที่มาที่ไปไม่ใช่ความเชื่ออย่างเดียว ครูว่าในแง่นี้เขา เก่งนะ แต่ค�ำการตั้งค�ำถามบางอย่างของเขาก็ท�ำให้ผู้ใหญ่ หลายคนยกมือทาบอกเหมือนกัน เช่น ค�ำถามที่ว่าอะไร คือการท�ำดี ความกตัญญูต้องมีขอบเขตไหม ท�ำไมเราต้อง นับถือผู้มีอาวุโส เป็นต้น แต่ความบกพร่องเขาก็มี เป็นต้น ว่าเขารู้สึกว่าทุกอย่างต้องออกสื่อโซเชียลตลอดเวลา ครูก็ รู้สึกว่าเยอะไป เรื่องบางเรื่องมาคุยกันก็ได้แต่กลับวางหรา ไว้หน้าสื่อแล้วรอให้คู่กรณีมาตอบกลับแล้วนับยอดไลค์ คือถ้าครูเป็นคู่กรณีครูไม่เข้ามาตอบเลยนะ ซึ่งก็จะมีคน เห็นว่าเราเงียบเป็นการยอมรับไปเสียอีก อยู่ยากมาก ส�ำหรับในโอกาสอักษรฯ 100 ปี ครูก็เชื่อว่า เด็กอักษรฯ จะสามารถเผยแพร่ ศ าสตร์ ท างอั ก ษรออกไปให้ สั ง คม ทั่วไปเข้าใจดีมากขึ้น และเข้าใจว่า สายศิลป์ส�ำคัญต่อ ประเทศชาติ ต่อโลกอย่างไร ท�ำไมเราจึงต้องมีอักษร ศาสตร์ อักษรศาสตร์ไม่ควรเป็นวิชาเฉพาะกลุ่ม แต่มนุษย์ ทุกคนควรมีความรู้ความคิดทางอักษรศาสตร์เป็นพื้นฐาน และครูเชื่อว่า ในปีที่ 100 ของคณะ เราจะเผยแพร่ความ คิดนั้นออกไปได้ ครูทั้งเชื่อและหวังเช่นนั้นจริงๆ”
23
นววิถี วิธีวิทยา : New Turns in the Humanities ภาควิชาวรรณคดีเปรียบเทียบ คณะอักษรศาสตร์ ร่วมกับชุดโครงการ เวทีวิจัยมนุษยศาสตร์ไทย ภายใต้การสนับสนุนของส�ำนักงานกองทุน สนับสนุนการวิจัย (สกว.) ขอเชิญร่วมงานประชุมวิชาการ "นววิถี วิธี วิทยา : New Turns in the Humanities" ในวันศุกร์ที่ 10 พฤศจิกายน 2560 เวลา 9:00-16:00 น. ณ ห้องอเนกประสงค์ ชั้น 9 อาคารมหาจักรี สิรินธร คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภายในงานพบกับการน�ำเสนอทฤษฎีและวิธีวิทยาใหม่ๆ ทาง มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่สามารถประยุกต์ใช้ในการศึกษา วรรณกรรม ได้แก่ Affective Turn, Sensory Studies, Cultural
Memory, Spatial Turn, Translational Turn, Cinematic Gaze, Posthumanism, Ecocriticism และ Digital Literature ลงทะเบียนส�ำรองที่นั่งได้ที่ https://goo.gl/tLhrZJ และตรวจสอบราย ชื่อผู้ลงทะเบียนส�ำรองที่นั่งได้ที่เพจ Thai Humanities Forum นี้ ตั้งแต่ วันศุกร์ที่ 3 พฤศจิกายน 2560 เป็นต้นไป
24
ข่าวบริการวิชาการ: ใคร ท�ำอะไร ที่ไหน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รักสงบ วิจิตรโสภณ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รักสงบ วิจิตรโสภณ ภาควิชาภาษาอังกฤษ ได้รับเลือกจาก British Academy ประเทศสหราชอาณาจักรให้ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยและการแลกเปลี่ยน ด้านการวิจัยและนวัตกรรม ประจ�ำปี 2017-2018 ภายใต้โครงการ Newton Fund โดยผู้ ช่วยศาสตราจารย์.ดร.รักสงบ เป็นหัวหน้าโครงการวิจัย British – Thai Collaboration on National Corpora: Capacity, Mobility, Research ซึ่งร่วมมือกับ Dr. Andrew Hardie อาจารย์ประจ�ำภาควิชา Linguistics and English Language และผู้อ�ำนวยการ Centre for Corpus Approaches to Social Science มหาวิทยาลัย Lancaster ประเทศ สหราชอาณาจักร เป็นระยะเวลา 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2560 – 30 กันยายน 2561
ผู้ช่วยศาสตราจารย์สรรควัฒน์ ประดิษฐพงษ์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์สรรควัฒน์ ประดิษฐพงษ์ ภาควิชาภาษาตะวันตก ได้รับเชิญจากชมรม มัคคุเทศก์ภาษาอิตาเลียนแห่งประเทศไทย เป็นวิทยากรโครงการ "พัฒนาทักษะการใช้ ภาษาอิตาเลียนในการปฏิบัติงานน�ำเที่ยว" ระหว่างวันที่ 13-15 ตุลาคม 2560 ณ จังหวัด เชียงใหม่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วริตตา ศรีรัตนา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วริตตา ศรีรัตนา ภาควิชาภาษาอังกฤษ มีก�ำหนดไปน�ำเสนอผลงาน ทางวิชาการหัวข้อ “‘and miraculously Post-Modern became Ost-Modern’: How On or About 1910 and 1924 Karel Čapek Helped to Add and Strike off the ‘P’” ในงานประชุมวิชาการระดับนานาชาติ Modern Capitals and Historical Peripheries: Central Europe from the Perspective of Contested Modernities ณ สถาบัน ปรัชญา ศูนย์การวิจัยด้านมนุษยศาสตร์ บัณฑิตยสภาแห่งประเทศฮังการี กรุงบูดาเปสต์ ประเทศฮังการี ในวันที่ 21 ตุลาคม 2560 งานประชุมวิชาการระดับนานาชาตินี้จัดโดย สถาบันปรัชญา ศูนย์การวิจัยด้านมนุษยศาสตร์ บัณฑิตยสภาแห่งประเทศฮังการี โดยได้รับ การสนับสนุนจากโครงการวิจัยฮังการี-ลิทัวเนียหัวข้อ Conception of Creative City within Central Europe: Historical Images and Empirical Indices ตามข้อตกลง ทวิภาคีระหว่างบัณฑิตยสภาแห่งประเทศฮังการีและบัณฑิตยสภาแห่งประเทศลิทัวเนีย
25
ปฏิทินกิจกรรมคณะอักษรศาสตร์ เดือนตุลาคม 2560
24
28
ภาควิชาภาษาไทย
ฝ่ายวิจัย
ธ เสด็จนิวัตฟ้า ขับแก้วก�ำสรวล: พ ร ะ ร า ช พิ ธี พ ร ะ บ ร ม ศ พ ใ น วรรณคดีไทยและกวีนิพนธ์โศกาลัย น้อมร�ำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ (เวลา 12.30-16.00 น. ณ ห้อง อเนกประสงค์ ชั้น 9 อาคารมหาจักรี สิรินธร)
ชุดปาฐกถาพิเศษ "อักษราภิวัตน์" หัวข้อ "พระมหากษัตริย์กับสังคม ไทย: มุมมองทางประวัติศาสตร์" โดย ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร. ปิยนาถ บุนนาค (เวลา 13.00 น. เป็นต้นไป ณ ห้องอเนกประสงค์ ชั้น 9 อาคารมหาจักรีสิรินธร)
26
Year 9, No. 20: 21 October 2017 News from the International Affairs Section
Collaboration with Pace University
On Monday, October 9, 2017, Theresa Frey, Director of
faculty staff exchange and joint research. As for the
Education Abroad, Pace University, visited the Faculty
incoming students from Pace, Ms. Frey indicated that
of Arts to introduce Pace University and discuss the
Thailand is an attractive destination for Pace students
arrangement of possible exchange programs. The visit
for an exchange program.
was a result of the signed University level MoU with
interested in attending an intensive summer program
Chulalongkorn University being considered their priority
on Thai language and culture. Exchange students from
partnership. Receiving Ms. Frey were Asst. Prof. Nirada
BALAC were very helpful in providing useful information
Chitrakara, Ph.D., Assistant Dean, Asst. Prof. Penpisa
and sharing their experiences. A number of Thai BALAC
Srivoranart, Ph.D., Deputy Director of BALAC Program,
students showed great interest in choosing Pace as their
and BALAC student representatives. The participating
exchange university.
BALAC students included both Thai and exchange
Pace University and the Faculty of Arts officially started
students.
their partnership in 2016 when the Faculty level MoU
As Pace University is welcoming international students,
was signed for the joint project between Pace’s School
varieties of options were presented. In addition to their
of Performing Arts and our Department of Dramatic Arts.
famous Manhattan Campus, an exchange student can
With the University MoU signed, Pace University expected
opt for the Worcester Campus at Pleasantville, NY for
that both institutions could get their collaboration off the
the countryside atmosphere.
ground by the year 2018.
On campus housing is
available at both locations. Both campuses also provide extensive courses for students to choose from, ranging from the ones at the School of Arts and Sciences, to the ones in economics, business, and education.
There
are also courses available for exchange students at the graduate level.
Moreover, Pace is also open for
These students are also
27
The 8th Governing Board Meeting of SEAMEO Qitep in Yogyakarta, Indonesia
During October 3-5, 2017, as requested by the Ministry of Education, Asst. Prof. Nirada Chitrakara, Ph.D. represented Thailand at the 8th Governing Board Meeting of SEAMEO Qitep in Yogyakarta, Indonesia. Organized by the SEAMEO Qitep committee in Indonesia, the meeting consists of Governing Board members and representatives from 9 Southeast Asian countries including Brunei Darussalam, Cambodia, Laos PDR, Malaysia, Indonesia, Myanmar, Singapore, Thailand, and Vietnam. The program commenced with the election of the new Chairperson, Vice-Chairperson, and Rapporteur of the Meeting. The Governing Board Member for Singapore (Cedric Kai Wah Leong) was appointed Chairperson, the Governing Board Member for Brunei Darussalam (Hajah Suriani binti Haji Noor Hashim) was appointed Vice Chairperson, and the Governing Board Member for Myanmar (Dr. Yi Yi Maw) was appointed Rapporteur.
28
Courtesy Visit by French Embassy AttachĂŠ
On October 11, 2017, Associate Pro-
sidered the Faculty of Arts as the close
fessor Kingkarn Thepkanjana, PhD, Dean
partner of the Embassy, given a number
of the Faculty of Arts, welcomed Caroline
of collaborative projects the Faculty has
Schmitt, AttachĂŠ of the Cooperation for
so far engaged with the Embassy, not only
the French Language, French Embassy.
under the aegis of the French Section, but
Also present at the meeting were Associ-
also the Department of Dramatic Arts. Af-
ate Dean Suradech Chotiudompant, PhD,
ter the meeting with the Dean, Ms Schmitt
and Suwanna Sathapatpattana, PhD,
was invited to meet other members of
Head of the French Section, Western
the French Section in order to learn more
Languages Department. Having recently
about French teaching in Thailand as well
assumed the post in Thailand, Ms Schmitt
as to explore other cooperative possibil-
expressed her wish to collaborate with
ities.
the Faculty of Arts, especially the French Section, as her work was the promotion of French language and culture. She con-
29
Meeting with YAAE Director
On October 12, 2017, Yunnan Around Asia Education (YAAE) Director Ma Chi visited the Bachelor of Arts Program in Language and Culture (BALAC), Faculty of Arts. Welcomed by Associate Dean Suradech Chotiudompant, PhD, and BALAC Deputy Director Penpisa Srivoranart, PhD, Ms Ma Chi introduced the YAAE, which is an organization that prepares those students in China, especially in the Yannan province, for Thai universities. According to the Director, the number of those students wishing to study in Thailand has been on the increase and the YAAE has
over the years successfully recruited many students to Chiang Mai University and would now like to expand its networking to include the BALAC program in order to meet the needs of those who would like to study at Chulalongkorn University. The meeting amicably concluded with the YAAE’s invitation for a BALAC representative to visit its office in China to assess the possibility of this cooperation.
30
Meeting with Université de Caen Normandie (UNICAEN) Delegates
On October 17, 2017, a team of representatives from the Université de Caen Normandie visited Chulalongkorn University to establish an academic network as well as to explore collaborative possibilities. The team comprised Benoît Veron, PhD, Vice President for International Affairs and Head of the International Relations Office, Anne Prunet, PhD, Head of the French as a Foreign Language (FLE) Studies, and Mr Adrien Bernard, International Development Manager, and they were warmly welcome by CU International Office Director Kaewjai Nacaskul, Faculty of Arts Associ-
ate Dean Suradech Chotiudompant, PhD, and French Section Representative Sirivan Chulakorn, PhD. Dr Veron expressed his wish to strengthen the academic relationship between the two institutes, given the fact that UNICAEN also has strong research interests in those areas similarly covered by CU researchers, such as aging society and climate change. In addition to research collaboration possibilities, Dr Prunet also introduced the French as a Foreign Language program, in which CU students may participate both as exchange and
visiting students. UNICAEN was also interested in sending their students to various faculties of Chulalongkorn University, as part of their international outreach initiative. The meeting concluded with both parties’ pledge to work toward an Memorandum of Understanding to pave the way for concrete collaborative projects.
31
In celebration of the 130th anniversary of Thailand and Japan’s diplomatic relations
Bangkok Notes A Thailand-Japan theatre collaboration led by Prof. Oriza Hirata Bangkok Theatre Festival 2017’s opening performance ภาควิชาศิลปการละคร
Photo credit: Teeraphan Ngowjeenanan
A contemporary play that has touched the audience’s heart around the world [Venue] Sodsai Pantoomkomol Centre for Dramatic Arts Faculty of Arts, Chulalongkorn University (10-minute walk on Henri Dunant Road from BTS Siam, Exit 6; discounted parking in Maha Chakri Sirindhorn Building) [Date & Time] Thursday to Saturday, November, 2-4 and 9-11, 2017 7:30pm (with 2pm performance on Saturday) *The premiere on November 2 is also the official opening ceremony of Bangkok Theatre Festival 2017 * [Tickets] Bt 600 (Students: Bt 300;
Artists and audiences younger than 27 years old: Bt 400) Book at www.BangkokTheatreFestival. com, or 08 1559 7252 and 0 2218 4802 *In Thai, with Japanese and English surtitles* A contemporary Japanese classic, in Thai for the first time Japan Foundation Bangkok and the “World Performances @ Drama Chula” programme by Department of Dramatic Arts, Faculty of Arts, Chulalongkorn University present Bangkok Notes, with the original script written and directed by Prof. Oriza Hirata, an internationally acclaimed artist and scholar. The curtain
raiser for “Bangkok Theatre Festival 2017: Sharing Moments” at Sodsai Pantoomkomol Centre for Dramatic Arts, this production is also part of the celebration of the 130th anniversary of Thailand and Japan’s diplomatic relations. Adapted from Tokyo Notes—which was inspired by Yasujiro Ozu’s film “Tokyo Story”—the story of Bangkok Notes takes place in the lobby of an art museum in the near future in Bangkok. A major war is being waged in Europe and many paintings, including those by Vermeer, have been moved here. Thai family members, friends and lovers continue their fragmentary conversation
32
on how to take care of their ageing parents, future careers, love, inheritance and whatnot. The play portrays how Bangkok people lead their ordinary everyday lives, reveal a whole range of problems and crises of our modern society. Tokyo Notes has been translated into 15 languages for productions in many cities around the world, including at Festival d’Avignon in France. One of the most critically acclaimed works of Hirata’s “contemporary colloquial theatre”, the play has also created artistic collaboration and cultural exchange in Seoul Notes (2013), Taipei Notes (September 2017, as part of Taipei Arts Festival, with support from Taiwan’s Ministry of Culture), Bangkok Notes (November 2017, as part of Bangkok Theatre Festival, with support from Japan Foundation) and Manila Notes, next year. To make sure that the Thai script communicates well with the local Thai audience, Sawita Diteeyont, Chulalongkorn University lecturer whose PhD thesis is on play adaptation and who is writing TV drama scripts, has been working on the adaptation closely with the Japanese director and Thai actors. Leading the 20-member cast are Sumontha Suanpholrat and Varattha Tongyoo, both of whom have won IATC (International Association of Theatre Critics) Thailand Awards for best performance by a female actor in 2012 and 2016 respectively. Undergraduate and graduate students in theatre portray the supporting roles. Also in the cast are Anatta Theatre Group’s Duangjai Hirunsri, B-Floor Theatre’s Teerawat Mulvilai, Sao Soong Theatre’s Nut Nualpang, and hence this Thailand-Japan collaboration project has brought together artists from various groups of Bangkok Theatre Network—the same way Hideki Noda’s Red Demon (Akaoni) and Nikorn Sae Tang’s Girl of the Soil (Nogyo Shojo) did in 1997 and 2009. Playwright/Director: Prof. Oriza Hirata Born in 1962, in Tokyo, Prof. Oriza Hirata is a playwright and theatre director. He is the leader of the Seinendan theatre company as well as the artistic director of the Komaba Agora Theatre and Kinosaki International Arts Centre. He is also a research professor at Tokyo University of the Arts’ Centre of Innovation (COI) and a visiting professor at Osaka University and Shikoku Gakuin University. Prof. Hirata has developed a completely new theatrical style with his Seinendan company, which he founded in 1982. This new style has had a strong influence on Japanese theatre since the 1990s, in disciplines as vast as literature or linguistics. He is also active in the field of pedagogy, and his method has been included in official Japanese textbooks for middle schools since 2002, primary schools since 2011, and many students stage his plays in their classes. Moreover, Prof. Hirata has played a fundamental role by actively bringing regional theatre companies to Tokyo audiences for nearly twenty years. He is one of the most influential figures in contemporary Japanese theatre, working regularly with international artists, notably in France, with Frederic Fisbach, Arnaud Meunier, and Laurent Gutmann. As author of nearly thirty plays—among them Tokyo Notes (1995 Kishida Kunio Prize) and Citizens of Seoul—he recently developed, with Prof. Hiroshi Ishiguro robot theatre project. Thanks to co-operation between Japan Foundation Bangkok and “World Performances @ Drama Chula” have watched their production of Sayonara and Metamorphosis (Android Version) in 2012 and 2015. Among many other awards, he was honoured by France’s Ministry of Culture with the insignia of “Chevalier of the Order of Arts and Letters” in 2011.
Photo credit: Teeraphan Ngowjeenanan
33
CALENDAR OF EVENTS 24
28
Department of Thai
Research Affairs Division
Royal Funeral Rites in Thai Aksarapiwat Talk Series "The Literature and Elegiac Poems Monarch and Thai Society: A in Honor of King Rama IX Historical
Perspective"
by
(12:30-16:00 hrs, 9th floor, Professor Emeritus Dr PiyaMaha Chakri Sirindhorn Build- nat Bunnag (13:00-16:30 hrs, ing)
9th floor, Maha Chakri Sirindhorn Building)
The Faculty of Arts Public Relations and Internal Communications Assistant Professor Dr Siraprapa Chavanayarn –PR Coordinator
Please send any announcements or information on your current as well as past events to Ms Kankanok Chimsang at artspr08@hotmail.com, pr.arts.chulalongkorn@gmail.com Tel. 662 218 4885
The Faculty of Arts Public Relations and Internal Communications Assistant Professor Dr Siraprapa Chavanayarn –PR Coordinator
Please send any announcements or information on your current as well as past events at artscu.net Tel. 662 218 4885