บิทเติ้ล : ลูกไก่นักเล่าเรื่อง

Page 1

บิทเติ้ล : ลูกไก่นักเล่าเรื่อง

! !

คุณเคยได้ยินเรื่องเล่าเกี่ยวกับลูกไก่ตัวที่แปดไหม?

ลูกไก่ตัวสุดท้ายที่ตัดสินใจไม่กระโดดลงไปในกองไฟกับแม่และพี่ๆ ทั้งเจ็ดของมัน แต่มันกลับเลือกที่ ออกมาจากกองไฟ และเดินตามหาความฝันของตัวเอง … เดิมตามความฝันที่ลอยเคว้งคว้างอยู่ท่ามกลางกลุ่ม ดาวมากมาย

!

เขากำลังเล่าเรื่องนี้ให้ผมฟังอย่างตั้งอกตั้งใจ สายตามองสูงบ่งบอกถึงภาพความคิดที่เขาพยายาม สื่อสารถึงผม “ชีวิตเราอยากเป็นนักเล่าเรื่อง เราอยากเล่าเรื่อง” เขาบอกผมอย่างนั้น บิทเติ้ล หรือ สุขุมพันธ์ ฐิติธนพันธ์ หนุ่มผิวสีน้ำผึ้งผู้ตกหลุมรักในการเล่าเรื่องอย่างเต็มหัวใจ ผมพบ กับเขาที่โรงละครแห่งหนึ่งใจกลางมหานครที่วุ่นวายนี้ เสียงร้องเอื้อนสำเนียงลูกทุ่งของเขาดังแว่วมาในอากาศ ทันทีที่ผมก้าวเข้ามาด้านหลังของโรงละคร ในยามบ่ายที่ร้อนระอุ ผมกลับพบว่ามันชื่นใจราวกับลมเย็นยามค่ำ ใช่ เขากำลังเล่าเรื่องที่คล้ายกับนิทานในวัยเด็กให้ผมฟัง

!

“พ่อแม่เราทั้งคู่เนี่ย มาจากต่างจังหวัด เป็นลูกหลานชาวนา” เขาเกริ่นอย่างเรียบง่าย “ทั้งคู่แกก็จะเล่า เรื่อง เล่าเรื่องเกี่ยวกับท้องไร่ท้องนา เมื่อก่อนเขาเคยเลี้ยงควาย เคยมีปลิงมาดูดขาเขา หรือว่าแม่เคยกิน แตงโมแล้วขี้ออกมามีเม็ดแตงโม แล้วมันก็ขึ้นมาเป็นต้น เราก็ฟังเรื่องอย่างนี้มาตั้งแต่เด็ก” นั่นเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ใจของเขาคะนึงถึงเสน่ห์และบรรยากาศอันเรียบง่ายของท้องทุ่งนามาตั้งแต่ยัง เล็ก โตมากับเพลงลูกทุ่ง น่าจะเป็นคำที่อธิบายความรักในทำนองเพลงซื่อของเขาได้ดีที่สุดคำหนึ่ง พอๆ กับคำ ว่า โตมากับ โต จรัล หรือ พิสิษฐ์ ฐิติธนพันธ์ โปรดิวเซอร์ลูกทุ่งมือทอง ผู้ที่เคยสร้างชื่อให้กับ มนต์สิทธิ์ คำ สร้อย และ ฝน ธนสุนทร มาแล้ว

!

“เราโตมากับครอบครัวที่พ่อทำเพลง ใช่ พ่อทำเพลง ก็ฟังเพลง...” หนุ่มหน้าคมพูดพลางครุ่นคิด “เนื้อหาของเพลงมันทำให้เราสนใจ คำนี้มันแปลว่าอะไร? เราก็ถามแบบเด็กๆ คำมันแปลก เออมันดี! สนุกดี เพลงลูกทุ่งมันก็ทำให้เรามีคลังคำ เห้ย! คำนี้มันแปลกดีว่ะ” นับจากนั้นเพลงลูกทุ่งก็ถูกกลืนไปเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของเขา บ่อยครั้งที่ออกไปร้องเพลงหน้าชั้นเรียน สมัยประถม “เราร้องเพลงแต่เพลงลูกทุ่งเลยนะ ร้องเพลงสตริงได้ไม่กี่เพลงเอง” นั่นคือสมัยที่บริตนีย์ สเปียส์ และ สไปซ์เกิลส์ กำลังครองหน้าปัดวิทยุเมืองไทย และแน่นอนวงร็อคไทยๆ อย่าง แคลช เพิ่งตีตลาด จน ทำให้ วัยรุ่นหมาดๆ ในยุคนั้นแห่กันตามกระแสเป็นยกใหญ่ แต่บิทเติ้ลกลับบอกว่า “ไม่รู้ ไม่รู้จักเท่าไหร่” “พอมัธยมก็เริ่มรู้สึกแปลกแยก แล้วก็เริ่มฟังเพลงแบบ ฟังบอดี้แสลม ฟังตาม มากเข้าก็ฟังแจ๊ส ฟังห่า อะไร ไปไกลแล้ว แล้วก็ไม่สนเพลงลูกทุ่งด้วย คือฟังอยู่ที่ประมาณมอสองมอสาม แล้วพอถึงมอสามเริ่มแปรไป ฟังอย่างอื่น” “จนกระทั่งเข้ามหาวิทยาลัย ค่อยรู้สึกว่า เฮ้ย! ฟังเพลงลูกทุ่งหน่ะเพราะที่สุดสำหรับเรา เราว่ามัน กระทบใจ อันนี้แหละเรา ไม่ใช่อันอื่น … มันเป็นอะไรที่เราถวิลหา”

!


จากความสนุกที่ได้ฟังเพลง ได้ร้องเพลง นำทางให้บิทเติ้ลเริ่มสนใจในการแต่งเพลงมาตั้งแต่สมัย ประถม ในหัวข้อซื่อๆ อย่างการ แอบรักของคิดถึงเธอคนนั้น ความรักและคิดถึงต่อเด็กผู้หญิงคนหนึ่งครั้งสมัย อนุบาลสาม “พอจบอนุบาลสามก็ย้ายโรงเรียน ปรากฏว่าคิดถึงแจน ทำไงดี มันกลัดกลุ้ม กูก็เป็นบ้าอะไรไม่รู้หยิบ กระดาษมานั่งเขียน คิดถึง… ร้องเป็นเพลง คิดถึง… ซึ่งมันไม่เป็นเพลง มันเป็นเหี้ยอะไรก็ไม่รู้ เขียนแบบ คิดถึงเธอ ฉันไม่เจอเธอตั้งนานแล้วอะไรประมาณนั้น คือจำไม่ได้ … ทำอย่างนี้มาเรื่อยจนถึงปอสี่”

!

แม้เป็นในตอนนั้นจะแต่งเพลงออกมาไม่เป็นเพลง แต่มันก็ได้ทำหน้าที่ในการเล่าเรื่องของมัน เขาชอบ ที่เพลงแต่ละเพลงได้ทำงาน ทำหน้าที่นำผู้ฟังไปสู่เรื่องราวที่มีอารมณ์ความรู้สึก และมีความเป็นมนุษย์อยู่ข้าง ใน “เพลงลูกทุ่งมันเป็นการเล่าเรื่อง ที่มันเล่าเรื่องมากๆ คือสเตชั่นมันชัดมาก” หนุ่มลูกทุ่งว่าอย่างนั้น สิ่งที่เขาชอบในเพลงแต่ละเพลง คือการที่มันได้ทำงาน ทำหน้าที่นำผู้ฟังไปสู่เรื่องราวที่มีอารมณ์ความ รู้สึก และมีความเป็นมนุษย์อยู่ข้างใน ซึ่งเพลงลูกทุ่ง (โดยเฉพาะเพลงลูกทุ่งเก่าๆ) สามารถทำหน้าที่นี้ได้เป็น อย่างดี “คิดถึงพี่หน่อยนะกลอยใจพี่ เนี่ย! คำพวกนี้ พอเรามานั่งโฟกัสกับมัน กลอยใจ กลอยคือของที่เขาเอา มากินเวลาที่ไม่มีข้าว เขาถึงขุดหัวกลอยขึ้นมากินในวันที่มันไม่มีอะไรกินแล้ว เพราะฉะนั้น คิดถึงพี่หน่อยจะ กลอยใจ คือ กูไม่มีอะไรแล้วใจ คือกลอยหน่ะ เอามาใช้ให้กับใจได้ในเวลาที่พี่แห้งผาก” สิ่งเหล่านี้เขาได้ซึมซับมาจากผู้เป็นพ่อ ที่มักพาเขาไปนั่งอยู่ข้างๆ ในยามคัดเพลง “เด็กไม่เข้าใจเด็กก็ ถาม พ่อก็คอยอธิบายให้เราฟังว่าเพลงนี้จะเอาให้ใครร้อง เพลงนี้ดียังไงหรือไม่ดียังไง เพลงนี้มันหมายความว่า ยังไง”

!

“พ่อเนี่ยเล่นดนตรีไม่ได้นะ เล่นดนตรีไม่ได้เลยนะ แต่ว่าพ่อสามารถ พ่อแต่งเพลงได้ด้วย แล้วนักแต่ง เพลงลูกทุ่งส่วนใหญ่ที่แต่งเพลงให้พ่อก็เล่นดนตรีไม่ค่อยได้นะครับ พ่อบอกว่า เนี่ย! คนนี้เป็นคนขับรถบรรทุก เขาแต่งเพลงนี้มาให้ คือเขาอัดใส่คลาสเซท แล้วก็ร้องด้วยเสียงเขา เขาคิดเองของเขา” หลังจากเพลงรักที่ไม่เป็นเพลงถึงน้องแจนเมื่อตอนอนุบาลสาม บิทเติ้ลในวัยมัธยมได้แต่งเพลงที่เป็นเพ ลงจริงๆ ส่งให้พ่อของเขาเช่นกัน “ปกติหน้าที่ของเรา คือเวลามีนักแต่งเพลงส่งมา เราจะเป็นคนเซท วาง วาง วาง เอาไปวางไว้ข้างโต๊ะ พ่อก็จะนั่งเลือก วันหนึ่งที่พ่อไม่อยู่ เราก็เอาของเขามากางหมดเลยทั้งแผง เชื่อมโยง อันนี้คืออย่างนี้ แล้วก็คิด ถ้าเราจะแต่งเพลงเราจะแต่งยังไง เราก็แต่ง แล้วก็อัด ดัดเสียงให้มันใหญ่ๆ หน่อย ให้เหมือนนักแต่งเพลงส่ง มา ใส่คลาสเซทแล้วไปวาง นี่คือครั้งแรกที่เราทำ พ่อฟังก็เรียกไปถาม ‘นี่แต่งเองใช่ไหม?’ แล้วเขาก็แนะนำ … พี่ก็ทำอย่างนี้มาเรื่อย”

!

การเขียนเพลงพรรณาถึงสาวเจ้าก็ดำเนินต่อไปเรื่อย พร้อมๆ กับการเริ่มเขียนนิยายเป็นของตัวเอง “ที่บ้านมีหนังสือวางเยอะแยะ เราก็อ่าน มีพี่สาวลูกป้ามาอยู่ด้วยก็พอจะมีหนังสือนิยายอยู่ ก็ไปเอามา อ่าน แล้วเราก็แบบเริ่มเขียนเองบ้าง ตั้งแต่เด็กๆ ก็น่าจะเริ่มเล่าเรื่องแล้ว” หนึ่งในนิยายที่เขากำลังเขียนอยู่ คือเรื่อง ลูกไก่ตัวที่แปด “คือเรื่องดาวลูกไก่ ลูกไก่ตัวนี้ไม่ยอม กระโดดฆ่าตัวตายเข้ากองไฟ ยังมีชีวิตอยู่ ก็อยากทำตามความฝัน ใช้ชีวิตไล่ตามความฝันต่อไปจนกระทั่งเจอ


นู่นเจอนี่ จนเกิดความเข้าใจบางอย่างเกี่ยวกับแม่และพี่ คือมันไม่เข้าใจว่าทำไมถึงต้องตายแบบ เสียค่าโง่ ตอน หลังมันก็พยายามทำความเข้าใจ”

!

งานเขียนนิยายและเขียนเพลง จึงเป็นสองเส้นที่เขาทำคู่ขนานกันไป จนกระทั่งเส้นทั้งสองลากมาเจอ กับการทำละคร “เคยทำละครตอนมอห้า” เขาหวนถึงจุดเริ่มต้นของการก้าวของสู่วงการละครเวที “เราได้ดูละครของ สามเสน มันมีทุกปีตั้งแต่เราอยู่มอหนึ่ง ไปดูทุกปีเลย ตอนนั้นรู้สึกว่า เหี้ยทำไมเขาจำบทกันได้ แล้วมันก็เจ๋ง หว่ะ อยู่บนเวทีแล้วมีไฟ แล้วแสดงเป็นตัวละคร แบบไอ้เชี่ยนี่แม่ง! เป็นแค่ไอ้หัวเกรียนที่ทุกๆ คนรู้จักมัน หรือ พี่ที่ธรรมดาๆ แม่งก็เท่ขึ้นมา มีสาวกรี๊ด เราอยากบ้าง อีกอย่างในชุมนุมผู้หญิงสวยมาก” “มอห้าเสร็จเราก็เริ่มโตขึ้น เราเริ่มเขียนบทละคร เขียนเรื่องแรกออกมา ก็สนุก กลายเป็นว่าเราได้ทำ ทุกอย่างที่เราชอบ คือเราเขียนหนังสือได้เราก็เขียนเป็นบทละคร เราแต่งเพลงประกอบละครได้เราก็แต่งดนตรี แล้วเราก็ได้ขึ้นไปเล่นด้วย ได้ทำทุกอย่างที่เราชอบในชิ้นเดียว กลายเป็นว่าสนุกมาก”

!

ทุกวันนี้บิทเติ้ลก้าวมาเป็นนักแสดงละครอิสระ ควบคู่ไปกับงานเขียนและงานดนตรีที่เขารัก เพลงรัก 2475, ปีศาจหัวโต และกลับมาเถิดวันทอง รวมถึงละครเวทีอีกหลายเรื่องที่เขาได้ร่วมแสดง น่าจะเป็นบท พิสูจน์ความชอบในการถ่ายทอดเรื่องราวผ่านการแสดงของเขาได้เป็นอย่างดี แววตาของเขาเป็นประกายเอ่อล้น ด้วยความสุขทุกครั้ง เมื่อเขาได้เป็นคนเล่าเรื่องบนเวที

!

“เราพบว่าจริงๆ แล้ว ทั้งหมดรวมกันแล้วมันเป็นอย่างเดียว มันคือ การเล่าเรื่อง เหมือนกัน” เรื่องเล่า เป็นสิ่งที่พลุ่งพล่านสะสมอยู่ในตัวเขาตลอดเวลา หลายครั้งเขามักจะหลุดเขาไปในโลกของ ความคิด และการได้เล่าเรื่องก็เป็นทางที่ทำให้เขาได้ถ่ายเทความคิดเหล่านั้นออกไป ไม่ว่าจะเป็นการแสดง ละคร การแต่งนิยาย การร้องเพลง หรือการแต่งเพลง โดยเฉพาะกับเพลงลูกทุ่ง “เรามองว่าที่เราทำมาทั้งหมดเป็นภาพสะท้อนของชีวิต มันเป็น Slide of Life ก้อนนี้ ก้อนนี้ ก้อนนี้ อ๋อ! ตรงนี้กูคิดอย่างนี้ แสดงว่านี่แหละฟังก์ชันมันเป็นอย่างนี้” นอกจากการเล่าเรื่องจะเป็นภาพสะท้อนของชีวิตของคนเล่าแล้ว มันยังเป็นภาพสะท้อนของสังคมใน ช่วงระยะเวลาหนึ่งอีกด้วย “เพลงสันคีรีศรีประจวบ น้ำท่วมน้องว่าดีกว่าฝนแล้ง มันบันทึกว่าครั้งหนึ่งเคยมีน้ำ ท่วมแล้วมีคนคิดอย่างนี้อยู่ เพลงมันได้บันทึกไว้”

!

“การเล่าเรื่องหน่ะเสพติด” เมื่อมีเรื่องเล่า ร่างกายก็จะสั่งให้เราหาทางเล่ามันออกมาอยู่เสมอๆ ไม่ต้องแปลกใจหากคุณได้พบชาย ผู้นี้เกากีตาร์ร้องเพลงอย่างอิ่มเอมตามสถานีรถไฟ หรือแม้แต่ในรถเมล์ “เริ่มต้นก่อนคือเราไปทำแอคติ้ง วิชาวิเคราะห์ตัวละคร เสือกไปเจอคนเปิดหมวกแล้วพูดเรื่องการเมือง อยู่ตรงนั้น แล้วเราก็นั่งวิเคราะห์เขานานมากว่าทำไมเขาถึงมา … แล้วทีนี้หลังจากนั้นก็ เออ! เราน่าจะเล่า เรื่องของเรา เล่าเพลงที่เราแต่งบ้างนะ” หลังจากนั้น นักศึกษาปีสองคนหนึ่งก็เริ่มใช้เวลาว่างไปกับการเล่าเรื่องด้วยการเล่นดนตรีเปิดหมวก “ไปเปิดหมวกตั้งแต่ปีสอง ที่สถานีรถไฟบางซื่อ ตอนนั้นอยากได้ตังค์ทำเพลง แล้วก็อยากร้องเพลงให้ คนฟัง … ตอนแรกกลัวมาก พอไปถึงก็ไปติดป้ายบอกว่า ผมหาตังค์เข้าห้องอัด ทำเพลงของผมเอง แล้วบอก ว่านี่เราเล่นเพลงที่เราแต่ง … ปรากฏว่ามันดีมาก พวกป้าๆ ที่ขายของอยู่แถวนั้นชอบ เอาน้ำมาให้บ้าง มาขอ


เพลงบ้าง กูอิ่ม ฟิน กินทุกอย่าง แล้วทุกวันนี้คุณป้าที่ปกติเคยไปซื้อแล้วหน้าแกจะบึ้งๆ แกใจดีมาก … ฟิน มี ตังค์เข้าห้องอัด”

!

แม้จะเล่นกีตาร์ไม่เก่ง แต่ใจความสำคัญของการเล่นดนตรีเปิดหมวกคือการได้เล่าเรื่องออกไป และได้ ปฏิสัมพันธ์กันระหว่างคนฟังและคนเล่า ครั้งหนึ่งสำเนียงลูกทุ่งของเขาเคยทำให้นักศึกษาสาวถึงกับกลั้นน้ำตา ไว้ไม่อยู่ “ตอนนั้นเราอกหักเว้ย เราก็ออกไปร้องไปเล่น ระหว่างนั้นก็มีคนมายืนอยู่ข้างหน้าแล้วร้องไห้ เล่น เพลงนี้ ‘นานกว่าจะทำใจ กว่าจะเรียนรู้มันเป็นอย่างไร’ มีนักศึกษายืนร้องไห้อยู่ข้างหน้า เราก็ เออ! อะไรจะ ขนาดนั้น” ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาการออกไปเล่าเรื่องก็กลายเป็นสิ่งเสพติดสำหรับบิทเติ้ล “การเล่าเรื่องหน่ะเสพติด มันต้องเล่าอีกแล้ว มันไม่ไหวแล้ว วันหนึ่งก็เลยตื่นเช้ามา หยิบกีตาร์วิ่งขึ้น รถเมล์ เล่นบนรถเมล์ เล่นไปเรื่อยๆ นั่งรถเมล์เปลี่ยนสายไปเรื่อยๆ ร้องให้คนฟัง แล้วก็มีความรู้สึกว่าทำแล้ว มันดี เดี๋ยวก็ตายแล้ว ทำไปเถอะ”

!

คุกกี้รันคั่นเวลา เป็นหนึ่งในผลิตผลทางการเล่าเรื่องของบิทเติ้ล แม้เจ้าตัวบอกว่าไม่จริงจัง แต่พ่อของ เขามองไกลกว่านั้น “คือแต่งแกล้งไอ้อ้อย เพราะเห็นมันตั้งสเตตัสเราก็เลยแกล้งมัน บอกว่าทิ้งกูไปแล้วยังจะกล้าส่งคุกกี้รัน มาอีก เราก็บอก เฮ้ยเจ๋งหว่ะ! ก็เลยแต่งเดี๋ยวนั้นเลย แล้วก็อัดขึ้น ปรากฏว่าพ่อฟัง ก็บอกว่า เพลงอะไรเนี่ย แล้วเขาก็ขำ แล้วเขาก็บอกว่าเอาไปทำจริงๆ จังๆ ไหม เลย เออ! ทำก็ได้” จนถึงตอนนี้ยอดผู้ฟังในยูทูปพุ่งทะลุหกหมื่นราย พร้อมประทับตรานักร้องหน้าใหม่แห่งค่ายอาร์สยาม เป็นที่เรียบร้อย

!

“เรามองว่าเราอยากเป็นนักเล่าเรื่อง เราอยากเล่าเรื่อง ก็มีคนถามเราว่าตกลงจะเอายังไงกันแน่ ทำ อะไรอยู่บ้าง เขียนหนังสือ เขียนเพลง แสดงละคร ก็สนุกที่จะทำไปเรื่อยๆ มันจะเป็นช่วงแหละ เหมือน พยายามสร้างมาแล้วมันก็หมด ก็ทำใหม่ ตอนนี้อยากให้คนอินกับสิ่งที่เรามองเห็นคุณค่า อย่างเพลงลูกทุ่งมัน มีคุณค่า เราก็ร้องไป เราว่ามันทำให้จิตใจคนละเอียดขึ้นเวลาสัมผัสกับความเป็นมนุษย์ของสิ่งพวกนี้ เรา พยายามทำซึ่งศักยภาพเราไม่ได้เก่งกาจ เพราะฉะนั้นเราทำเท่าที่ศักยภาพเรามี”

!

บนโลกนี้คงจะมีลูกไก่อีกนับร้อยนับพันตัวที่เดินตามหาความฝัน หลายตัวยังไม่แน่ใจด้วยซ้ำว่าฝันของ มันคืออะไร แต่ลูกไก่ตัวนี้ที่ชื่อว่า บิทเติ้ล รู้แล้วว่าความสุขของมันคืออะไร แม้ การเล่าเรื่อง อาจจะไม่ใช่สิ่งที่ ยิ่งใหญ่เท่าไหร่นัก แต่กับเจ้าลูกไก่ตัวเล็กๆ ตัวหนึ่ง จะต้องการอะไรไปมากกว่านี้อีกหล่ะ จริงไหม?

! ! !

บิทเติ้ล : ลูกไก่นักเล่าเรื่อง สารคดีบุคคลโดย ษฎาวุฒิ อุปลกะลิน


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.