PIYADA S.
จักรยาน เป็นพาหนะประหลาด... มันพาเราเดินทางไปข้างหน้าตามวงล้อที่กำ�ลังหมุน แต่กลับพาความคิดเราหวนไปเมื่อครั้งยังเป็นเด็ก ความสดใส ตื่นเต้น อยากรู้ อยากลอง ยังคงเกิดขึ้นทุกครั้งเมื่อเริ่มปั่น
SPIN IN Songkhla First published in 2015
Senior Project Faculty of Information Communication and Technology Program in Communication Arts , Major in Journalism Silpakorn University By PIYADA SAKARIN
Wake Up
สองล้อก�ำลังหมุนไปด้วยแรงขา พาเราเดินทางทัว่ เมือง สงขลา ริมฝัง่ ทะเลยามเช้า ขณะแสงอาทิตย์ก�ำลังโผล่พน้ น�้ำ หยิบจักรยานคู่ใจออกมาปั่น ทุกวันนี้ผู้คนมากมายต่างหันมาปั่นจักรยาน ไม่ว่าจะ ใช้ ในชีวิตประจ�ำวัน เช่นปั่นไปท�ำงาน ปั่นไปซื้อกับข้าว ปั่น ออกก�ำลังกาย หรือปั่นเล่นในหมู่บ้าน แต่ส�ำหรับบางคน จักรยานคือพาหนะเดินทาง ที่สามารถพาเราไปเปิดโลก เปิดตา เปิดใจ ปั่นให้เห็นมุมที่ต่างออกไป เรามีความฝันว่าอยากลองปั่นจักรยานเที่ยวในต่าง ประเทศอย่างญี่ปุ่น หรือฝันไกลๆ อย่างไปปั่นจักรยานที่ เนเธอแลนด์ แต่ดว้ ยความเป็นมือใหม่หดั ปัน่ เลยต้องลอง ซ้อมขา ประเดิมจักรยานทริปแรก ด้วยการกลับมาปั่น จักรยานที่บ้านเกิดอย่างเมืองสงขลา หลังจากลองประเดิมทริปแรกแล้ว เราพบว่าสงขลาไม่ ได้เป็นเพียงเมืองเล็กๆ เงียบๆ แสนน่าเบือ่ อย่างทีค่ ดิ เมือง แห่ ง นี้ ก ลั บ ซ่ อ นมุ ม น่ า รั ก ๆ ไว้ ม ากมาย ไม่ ว ่ า จะเป็ น ประวัติศาสตร์บ้านเมือง ทิวทัศน์ที่งดงาม วิถีชีวิตผู้คน รวมถึงอาหารการกิน ลองจอดรถยนต์ ไว้ จับจักรยานปั่นไปดููเมืองสงขลา จะ ได้รู้ว่า ในตรอก ซอก ซอย เล็กๆ ของเมืองสงขลา ยังคง รอคอยนักเดินทางปั่นไปหา
CONTENTS B I K E TYPE
12
ABOUT SONGKHLA
22
T R I P 1 B O RYA N G B E G I N
30
TRIP2 SEE SEA
68
T R I P 3 B R E AT H E
96
T R I P 4 KO H YO R
122
LO CA L D I S H
168
A bicycle ride around the world begins with a single pedal stroke – Scott
Stoll -
BIKE TYPE ทุกวันนี้จักรยานมากหน้าหลายตา เข้ามาปั่นกันบนท้องถนน ชื่อก็ ได้ยินมา มากมายเยอะแยะไปหมด แต่ก็จำ�ไม่ได้ แยก ไม่ออกสักทีคันไหนชื่ออะไร เราจะมาบอกวิธีสังเกตจักรยานชนิด ต่างๆ ง่ายๆ กัน รับรองว่าหลังจากนี้ เห็นจักรยานปุ๊บ ก็ ตะโกนบอกชื่อดังๆ แบบมั่นใจได้เลย
จักรยานเสือหมอบ Road bike
แฮนด์โค้งงอ
วงล้อมีขนาดใหญ่ แต่หน้ายาง บาง เล็ก ไม่ค่อยมีดอกยาง
ถ้าเราเปรียบจักรยานกับเสือ จักรยานเสือหมอบสร้างมาเพือ่ ท�ำความเร็วบน ถนนทางเรียบโดยเฉพาะ เฟรมมีน�้ำหนักเบา ล้อวงใหญ่แต่หน้ายางมีขนาดเล็ก เพื่อลดแรงเสียดทานกับพื้นถนน แฮนด์มีลักษณะโค้งต�่ำลง เวลาปั่นจะได้ก้มตัว ให้ลู่ลมท�ำความเร็วได้เพิ่มขึ้น
จักรยานเสือภูเขา Mountain bike
แฮนด์ตรง
มีโช๊คกันกระแทก
วงล้อมีขนาดใหญ่ หน้ายางหนา
ส่วนเสือตัวนี้เกิดมาเพื่อลุยจริงๆ แม้จะไม่ปราดเปรียวรวดเร็วเหมือนเสือ หมอบ แต่ไม่ว่าเส้นทางจะโหด หิน ขึ้นเขา ลงห้วย แค่ไหน เสือภูเขาก็สามารถไปได้ ลักษณะเด่นของเสือภูเขาคือแฮนด์ตรง มีโช๊คกันกระแทก มีระบบเกียร์ และหน้า ยางของขนาดใหญ่ท�ำให้สามารถลุยในทางวิบากได้ดี
17
จักรยานไฮบริด Hybrid bike
แฮนด์ตรง เหมือนเสือภูเขา หน้ายางบาง เล็ก เหมือนเสือหมอบ
เฟรมบางเล็ก เหมือนเสือหมอบ
ลูกผสมของเสือหมอบ และเสือภูเขา ด้วยลักษณะรูปร่างที่ดูปราดเปรียว เหมือนเสือหมอบ แต่มแี ฮนด์ตรงและมีเกียร์เหมือนเสือภูเขา แม้ท�ำความเร็วได้ ไม่ เท่าเสือหมอบ แต่ก็สามารถปั่นบนพื้นขรุขระ หลุมบ่อ รวมทั้งมีเกียร์ช่วยให้ขึ้น สะพานได้จึงเหมาะส�ำหรับปั่นในเมือง ท�ำให้มีชื่อเรียกอีกชื่อว่า city bike
จักรยานพับ Folding bike
มีข้อต่อ สามารถพับ ให้มีขนาด เล็กลงได้
จักรยานยอดฮิตในยุคนี้เพราะจากความเล็กกระทัดรัด น�้ำหนักเบา พกพา สะดวก โดยเฉพาะการเดินทางร่วมกับขนส่งมวลชน ด้วยล้อที่เล็ก ท�ำให้ ไม่ สามารถท�ำความเร็วได้มากนัก เหมาะกับการเดินทางระยะสั้น
19
จักรยานฟิกซ์เกียร์ Fixed bike
ไม่มีเกียร์
ปั่นฟรีขาไม่ได้
จักรยานเกียร์เดียว ไม่มีเบรค ไม่สามารถปั่นฟรีขาได้ท�ำให้ผู้ปั่นต้องปั่นตาม รอบที่หมุน สามารถปั่นถอยหลังได้ จักรยานชนิดนี้ได้รับความนิยมอย่างมาก ในหมู่วัยรุ่น มีการออกแบบท่าทางพิเศษต่างๆ ในการปั่น ในเมืองไทยเรียกได้ว่าจักรยานฟิกเกียร์ ท�ำให้กระแสจักรยานกลับมาคึกคัก ในหมูค่ นรุน่ ใหม่ ด้วยตัวเฟรม ล้อ รวมถึงแฮนด์ ผูป้ น่ั สามารถออกแบบสี รูปทรง ได้เอง จักรยานชนิดนี้จึงสามารถบอกสไตล์ของผู้ปั่นได้ ในตัว
จักรยานทัวร์ริ่ง Touring bike
มีอุปกรณ์เสริม เพื่อแบกสัมภาระ เดินทางไกล
จักรยานทีอ่ อกแบบมาเพือ่ ใช้ปน่ั ท่องเทีย่ วระยะไกล มีรปู ทรงทีค่ ล้ายเสือหมอบ แต่มีความแข็งแรงทนทางมากกว่ารวมทั้งมีอ๊อฟชั่นส�ำหรับขนสัมภาระระหว่าง เดินทาง ยางนอกหนากว่าปกติ
21
จักรยานบี เอ็ม เอ็กซ์ BMX bike
ล้อขนาดเล็ก
เฟรมแข็งแรง ลุยทางวิบากได้ดี
จักรยาน BMX หรือจักรยานโมโตครอส จักรยานวิบาก เกิดขึ้นเพื่อให้เด็กที่ ไม่มีเงินซื้อมอเตอร์ ไซค์วิบากได้ ใช้ฝึกฝน ลักษณะจักรยาน เฟรม จุดเชื่อม ออกแบบมาให้ทนทานมาก แฮนด์ยกสูง มักมีล้อขนาด 20 นิ้ว
จักรยานแม่บ้าน Utility bike
ตะกร้าใส่ของ
จักรยานธรรมดาที่สามารถพบเห็นได้ทั่วไป ใช้งานง่ายไม่มีฟังก์ชั่นอะไรมาก มีนำ�้ หนักมากต้องใช้แรงในการปัน่ มากตามไปด้วย อาจมีการติดตัง้ อ๊อฟชัน่ เสริม เช่นตะกร้า หรือที่นั่งส�ำหรับเด็ก ข้อดีส�ำคัญคือราคาถูกกว่าจักรยานชนิดอื่น
23
SONG KHLA หากพูดว่า “ไปเที่ยวสงขลา“ หลายคน คงนึกถึงเมืองการค้าชื่อดังอย่างหาดใหญ่ แต่รหู้ รือไม่ ตัวเมืองสงขลา กลับซ่อนทีเ่ ทีย่ ว ที่กิน น่ารักๆ ไว้เพียบ ประวัติศาสตร์ที่ยาวนานของเมืองนี้ ท�ำให้เมืองท่าชายทะเล เมืองศูนย์ราชการ ที่ ไม่ได้คราคร�่ำไปด้วยนักท่องเที่ยว ยังคง อนุรักษ์วิถีชีวิตเรียบง่ายไว้ เมืองเล็กๆ แห่งนี้ จะมีอะไรดึงดูดให้เทีย่ ว? เราเชือ่ ว่าค�ำถามนีจ้ ะมีค�ำตอบหลังอ่านจบ คุณต้องอยากเก็บกระเป๋า ไปปั่นจักรยาน เทีย่ วเมืองสงขลา แล้วหลงรักเมืองนีเ้ หมือน เราแน่ๆ
SONG KHLA
G A
ABOUT songkhla
เดิมดินแดนแถบนี้ถูกปกครองโดยอาณาจักร ศรีวิชัย เมื่อพ่อค้าชาวต่างชาติเข้ามาค้าขายกับ เมืองสงขลาทางเรือ เมื่อเดินเรือมาถึงปากอ่าว มองเห็นเกาะสองเกาะ ลักษณะคล้ายสิงห์สองตัว ก�ำลังหมอบอยู่เหนือผืนน�้ำ จึงเรียกเมืองนี้ว่า “สิงหลา” แปลว่าเกาะรูปสิงห์ ด้วยที่ตั้งของเมืองสงขลาเก่านั้นอยู่บริเวณหัว เขาแดง มีลักษณะเป็นภูเขาสูง ท�ำให้ผู้มาค้าขาย กับชาวสงขลา เรียกชาวเมืองว่า “ชาวสิงขร” ต่อมาเมือ่ ชนชาติอนื่ ๆ เข้ามาค้าขายกับสงขลา มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นชาวจีน ชวา มาลายู หรือฝรั่ง ยุ โ รปชาติ ต ่ า งๆ จึ ง พากั น เรี ย กเมื อ งแห่ ง นี้ ว ่ า “singora” และเพี้ยนมาเป็นสงขลาในที่สุด
HISTORY
Songkhla
สงขลาฝั่งหัวเขาแดง
เมืองสงขลาฝั่งแหลมสน
เมืองสงขลา เมืองที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน ตามหลักฐานบันทึก เมื่อประมาณพุทธศัตวรรษ ที่ 22 แขกมลายูชื่อ “ดะโต๊ะ โมกอลล์” เข้ามาสร้าง เมืองเป็นรัฐมุสลิมขึ้นตรงกับกรุงศรีอยุธยา ต่อมา “สุลต่านสุไลมาน” บุตรชายคนโตของดะ โต๊ะ โมกอลล์ ปกครองเมืองสงขลาต่อ ได้ท�ำการ ค้ากับชาติต่างๆ จนรุ่งเรืองได้รับการสนับสนุน จากชาติยโุ รปให้เป็นเมืองท่า มีการสร้างก�ำแพง คู ประตู ป้อม รอบเมือง ต่อมาสงขลาเกิดแข็งเมืองกับกรุงศรีอยุธยา กรุงศรีอยุธยาจึงส่งก�ำลังมาปราบแต่ไม่ส�ำเร็จ เมืองสงขลาเป็นอิสระนานถึง 26 ปี ในสมั ย สมเด็ จ พระนารายณ์มหาราช เมือ ง สงขลาก็ถูกปราบ กรุงศรีอยุธยาสามารถจับเจ้า เมือง และท�ำลายป้อม คู ประตู และหอรบ จน ราบคาบ
เมืองสงขลาถูกทิ้งร้างมานานจนสมัย สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี เสด็จมาปราบหัวเมืองต่างๆ แล้ว เจอเมืองสงขลา เห็นว่าที่เดิมคงปรับปรุงไม่ได้ จึง รับสั่งให้ย้ายเมือง พร้อมแต่งตั้งผู้ปกครองเมือง เมือ่ เมืองสงขลาถูกย้ายมาใหม่ ทีบ่ ริเวณเชิงเขา มีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบเชิงเขาแคบๆ เป็น ป่าสนยื่นออกไปในทะเลสาบ ผู ้ ป กครองเมื อ งสงขลาคนใหม่ เป็ น ชาวจี น ฮกเกีย้ น ทีส่ ว่ นกลางแต่งตัง้ ให้มาปกครองเมือง ซึง่ นับเป็นต้นตระกูล “ณ สงขลา” หลังจากก่อร่างสร้างเมืองใหม่ เมืองสงขลาก็ กลับมาท�ำการค้าขายจนเจริญรุ่งเรืองอีกครั้ง มี ผูค้ นเพิม่ มากขึน้ บ้านเมืองเริม่ คับแคบ ไม่สามารถ ขยายเมื อ งได้ เพราะมี เ ขตพื้ น ที่ จ�ำกั ด ทั้ ง ยั ง ขาดแคลนน�้ำจืด เมืองสงขลาจึงต้องย้ายเมืองอีก ครั้ง
* แผนที่ประวัติศาสตร์ การย้ายเมืองสงขลา
ง
Gulf of Thailand
าแด
เข หัว
น
มส
แหล
าง
บ่อย
Songkhla Lake
N
เมืองสงขลาบ่อยาง พระบาทสมเด็จพระนัง่ เกล้าเจ้าอยูห่ วั (ร.3) ทรง รับสั่งให้เจ้าเมืองสงขลา พระยาวิเชียร์คีรี (เถี้ยน เส้ง) ย้ายเมืองไปฝั่งตรงข้ามทะเลสาบ หรือต�ำบล บ่อยาง ในปัจจุบัน มีการสร้างเมืองใหม่ ตั้งจวนเจ้าเมือง ก�ำแพง เมือง วัดวาอาราม รวมทั้งวางศาลหลักเมือง หลังจากสร้างบ้านแปลงเมืองใหม่นบั 10 ปี เมือง สงขลาก็ ได้เจริญรุ่งเรืองอย่างรวดเร็ว ปัจจุบันเมืองสงขลาบ่อยางมีอายุ ครบ 173 ปี
29
HOW TO GO
Songkhla จากกรุงเทพฯ ถึงเมืองสงขลาเราสามารถเลือกเดิน ทางไปได้หลากหลายวิธี ไม่ว่าจะขับรถไปเอง รถไฟ รถ ทัวร์ เครื่องบิน หรือใครอยากจะปั่นจักรยานไปถึง สงขลาก็ยังได้ ระยะทางห่างจากกรุงเทพ 950 กิโลเมตร ใช้เวลาเดิน ทางด้วยรถยนต์ประมาณ 12 ชม. ใครอยากมาเที่ยว เราว่าควรเผื่อเวลาไว้ 3 วันขึ้นไป เพื่อจะได้เดินทางท่อง เที่ยวในสงขลาแบบสบายๆ การเดินทางใช้เส้นทาง หลวงหมายเลข 4 ผ่าน เพชรบุรี ประจวบคีรขี นั ธ์ ชุมพร เข้าทางหลวงหมายเลข 41 ตรงไป อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช เข้าทางหลวง หมายเลข 43 ที่ อ .รั ต ภู มิ เลี้ ย วซ้ า ยเข้ า ทางหลวง หมายเลข 414 ตรงไปยังเมืองสงขลา เฉพาะรถทัวร์มีเส้นทางเดินรถตรงเข้าเมืองสงขลา ส่วนรถไฟ และเครือ่ งบิน ต้องไปลงทีอ่ .หาดใหญ่ แล้วต่อ รถเข้าเมืองสงขลาระยะทาง 26 กิโลเมตร
31
TRIP ONE
Boryang Begin 5 km
OLD PLACES HAVE SOUL
เริ่มต้นทริปแรก ด้วยการกลับไปหาจุดเริ่มต้น ของเมืองสงขลาแห่งนี้ที่ “ย่านเมืองเก่าสงขลา” หากใครหลงใหลในกลิ่นอายความคลาสสิค ของบ้านเมือง รวมถึงวิถีชีวิตของผู้คนท้องถิ่น เรียกได้วา่ ทริปนีถ้ อื เป็นการเริม่ ต้นทีด่ ี ด้วยระยะทางไม่ ไ กล มี ส ถานที่ แ วะชมมากมาย ทั้ ง ยั ง มี อาหารอร่อยให้เลือกชิมตลอดเส้นทาง ปัจจุบันย่านเมืองเก่ายังอยู่คู่กับเมืองสงขลา อาคารบ้านเรือน สถาปัตยกรรมไทย จีน และ ตึกแถวทรงชิโนโปตุกีสเก่าแก่ ยังคงหลงเหลือให้ เห็นสลับกันไปตลอดถนน รวมทัง้ เรือ่ งราว วิถชี วี ติ และวัฒนธรรมของคนทัง้ 3 เชือ้ ชาติ ประกอบด้วย ไทย จี น และมุ ส ลิ ม ที่ ยั ง คงอยู ่ ด ้ ว ยกั น อย่ า ง สมานฉันท์
พิพิธภัณฑ์พธำ�มะรงค์ เราเริ่มต้นทริปที่พิพิธภัณฑ์พธ�ำมะรงค์ หรือบ้านป๋า ค�ำติดปากของเราคนสงขลา เราเริ่มที่นี่ เพราะเป็นศูนย์บริการนักท่องเที่ยว มีแผนที่ เอกสารแจกฟรี และเจ้าหน้าที่คอยให้ค�ำแนะน�ำ บ้านป๋า เป็นบ้านเรือนไทยใต้ถุนโล่งตั้งอยู่กลางเมืองสงขลา ลักษณะบ้านเป็นเรือนไม้ยกพื้น ชั้นเดียว หลังคาทรงปั้นหยาสองหลังคู่มีชานเปิดโล่งเชื่อมถึงกัน มีบันไดขึ้นด้านหน้า บ้านหลังนีส้ ร้างมาจากความทรงจ�ำของ ฯพณฯ พลเอกเปรมติณสูลานนท์ อดีตเคยเป็นบ้าน ของรองอ�ำมาตย์โทขุนวินิจทัณฑกรรม (บึ้ง ติณสูลานนท์) บิดาของท่าน เมื่อยังด�ำรงต�ำแหน่ง เป็นพะท�ำมะรงพิเศษ หรือพัศดีที่เมืองสงขลา บนบ้านแบ่งเป็นห้องต่างๆ จัดแสดงข้าวของเครือ่ งใช้ รวมทัง้ ข้อมูลประวัตติ ระกูลติณสูลานนท์
37
พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ สงขลา จากพิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ พ ธ�ำมะรงค์ เพี ย งข้ า มแยก บริเวณตรงข้ามก�ำแพงเมืองเก่าแห่งเดียวที่หลง เหลืออยู่ในสงขลา คือพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ สงขลา ลักษณะอาคารที่ออกแบบด้วยสถาปัตยกรรม จีนผสมยุโรป ทาสีแดง ตัดกับสีขาวของอาคาร ตรง หน้าต่างและประตู ท�ำให้อาคารหลังนี้ ดูโดดเด่น ภายในจั ด แสดงข้ า วของเครื่ อ งใช้ งานศิ ล ปะ ตั้งแต่ยุคทราวดี จนถึงของท้องถิ่นของชาวสงขลา และจังหวัดใกล้เคียง ที่มีการล�ำดับการจัดแสดง พร้อมข้อมูลประกอบที่เข้าใจง่าย
เดิมที่นี่เป็นคฤหาสน์ของผู้ช่วยเจ้าเมืองสงขลา พระยาสุนทรานุรักษ์ (เนตร ณ สงขลา) เมือ่ ปี พ.ศ. 2421 ต่อมาเมือ่ พ.ศ.2517-2520 ได้ท�ำการ บูรณะซ่อมแซมเพื่อใช้เป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา จนถึงปัจจุบัน
43
ย่านเมืองเก่าสงขลา หลังออกจากพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติสงขลา เราปั่นตรงไปเรื่อยๆ เข้าถนนนครใน สู่ย่านเมือง เก่าสงขลา “เมืองสงขลาฝั่งบ่อยาง” แรกเริ่มมีถนนสอง สายคือ ถนนนครนอก เป็นถนนเส้นนอกติดกับ ทะเลสาบ และถนนนครใน เป็นถนนเส้นในเมือง ต่อมา มีการตัดถนนสายใหม่เพิ่มอีก 1 สาย เรียกว่าถนนเก้าห้อง หรือย่านเก้าห้อง เพื่อเป็น ถนนเข้างานสมโภชเสาหลักเมือง ในเวลาต่อมา เรียกกันว่า ถนนนางงาม ถนนบริเวณย่านเมืองเก่าทัง้ สามเส้นนี้ ต่างเป็น ทาง oneway ตลอดถนนนครใน นครนอก และนางงาม มีบา้ น เรื อ นห้ อ งแถวไม้ ส ไตล์ จี น ฮกเกี้ ย น ตึ ก แถวปู น คลาสสิคทรงชิโรโปตุกสี ทีผ่ สมผสานศิลปะจีนและ ยุโรปไว้ด้วยกัน เรียงรายสลับกันกันทั้งสองฟาก ฝั่งถนน ตึกหลายหลังท�ำให้เราอดใจไม่ได้ที่จะแวะ จอดจักรยานเพื่อถ่ายภาพกับตึกเก่าที่คงสภาพ ความรุ่งเรืองในอดีตของเมืองแห่งนี้ไว้
45
49
ปัน่ จนสุดถนน ก็เจอประตูเมืองสงขลา เราเลีย้ วซ้าย เข้าถนนพัทลุง ชาวสงขลาเรียกบริเวณนี้ว่าบ้านบน ส่วนใหญ่เป็นบ้านเรือนของชุมชนชาวมุสลิม บนถนนพัทลุงมีมัสยิดอุศาสนอิสลาม หรือมัสยิด บ้ า นบนตั้ ง อยู ่ มั ส ยิ ส เก่ า แก่ ข องสงขลา สร้ า งเมื่ อ ประมาณปี พ.ศ.2390 หรือหลังเมืองสงขลาลงเสา หลักเมืองเพียง 5 ปี สถาปัตยกรรมของมัสยิสที่ดูคล้ายโบสถ์ของวัด กลาง ซึง่ อยูบ่ ริเวณใกล้ๆ กัน เชือ่ ว่าสมัยนัน้ ใช้ชา่ งกลุม่ เดียวกันเป็นผูส้ ร้าง แสดงให้เห็นถึงความเป็นน�ำ้ หนึง่ ใจ เดียวกันของคนในยุคนั้น ถึงสี่แยกเราเลี้ยวซ้ายเข้าถนนนางงาม ถนนสาย เล็กๆแต่เต็มไปด้วยร้านรวงทัง้ อาหาร ขนม และของฝาก โดยเฉพาะร้านอาหารดัง้ เดิม คนสงขลาเรียกถนนแถบ นี้ว่า “เก้าห้อง” เพราะแรกเริ่มเดิมทีถนนสายนี้มีห้อง แถวเรี ย งติ ด กั น เก้ า ห้ อ งจึ ง เรี ย กติ ด ปากกั น มาจน ปัจจุบัน
51
ย่านเมืองเก่าแห่งนี้ไม่ได้มเี พียงถนนสายหลัก 3 สาย ที่คนทั่วไปรู้จักกัน ระหว่างถนนทั้ง 3 เส้นจะมี ถนนเส้นเล็กๆ ตัดผ่านตลอด แถมชื่อถนนยังเป็น ชื่อเมืองต่างๆ เช่น ถนนยะลา ถนนปัตตานี ถนน นราธิวาส ถนนยะหริ่ง ถนนหนองจิก เป็นต้น ใคร มาเที่ยวก็ลองมานับกันได้ ว่ามีกี่จังหวัด กี่อ�ำเภอ บนถนนเส้นเล็กๆ เหล่านี้ ไม่ใช่แค่ชื่อถนนที่น่าสนใจ บนถนนเส้นเล็ก เส้น น้อย หลบซ่อนร้านรวงน่ารักๆ ไว้เพียบ เช่นร้าน อาหารในสวนสวยๆ อย่างร้าน The Secret Garden ที่ถนนรามัญ หรือจะเป็นบ้านเรือนเก่าแก่ของคนสงขลา ทีช่ าว บ้านยังคงน่ารัก ยิ้มทักทายนักท่องเที่ยว ตอนเราปัน่ จักรยานผ่านคุณลุงคุณป้าทีก่ �ำลัง นั่งคุยกัน นอกจากคุณลุงคุณป้าหันมาทักทาย แล้วยังแนะน�ำอีกว่า “ไปถนนนครในสิ เส้นนัน้ มีบา้ น สวยๆ เต็มเลย” ได้ยนิ แล้วเราก็อดไม่ได้ทจี่ ะยิม้ ตอบ พร้อมขอบคุณ บรรยากาศเงียบ สงบ ไม่พลุกพล่าน แต่กลับ เต็มไปด้วยเสน่ห์ และรอยยิม้ ความเป็นมิตรจากเจ้า บ้านแห่งนี้ ก�ำลังรอให้นกั ท่องเทีย่ วได้มาสัมผัส และ มาหลงรักเมืองเก่าแห่งนี้
53
นอกจากเราจะได้ชมอาคารบ้านเรือนเก่าแก่ และผู้คนที่ เป็นมิตรในย่านเมืองเก่าสงขลาแล้ว ย่านนี้ยังขึ้นชื่อเรื่อง อาหารอร่อย ให้เลือกชม เลือกชิม รวมทั้งเลือกชอปของ ฝากพื้นเมืองให้เลือกซื้อ เลือกหาอีกด้วย โดยเฉพาะถนนนางงาม ถนนสายนี้เต็มไปด้วย ร้าน อาหารท้องถิน่ เก่าแก่เลือ่ งชือ่ ทัง้ ร้านขนมไทย ร้านไอศกรีม ร้านกาแฟโบราณ ร้านซาลาเปา ใครมาต้องไม่พลาดโจ๊กเกาะไท ข้าวสตูรา้ นเกียดฟัง่ สตู แบบจีนกินคู่กับข้าวสวยร้อนๆ เต้าคั่วป้าจวบ ก๋วยเตี๋ยวใต้ โรงงิว้ หรือจะลองก๋วยเตีย๋ วหางหมู และร้านแต้ เฮีย้ ง อิว๊ ร้าน อาหารไทย จีนแต้จิ๋ว เกือบ 80 ปี ที่ร้านอาหารแห่งนี้ยังคง สร้างสรรค์ และรักษาความอร่อยทุกเมนู ให้ชาวสงขลาแ ละ นักท่องเที่ยวมาลิ้มลอง แล้วล้างปากด้วยของหวานอย่างไอศกรีมยิว ไอศกรี มวนิลาราดด้วยไข่แดง หรือร้านสอง-แสน ร้านขนมไทย โบราณประจ�ำเมืองสงขลา ขายส�ำปันนี ขีม้ อด ทองเอก ข้าว ฟ่างกวน ขนมเทียนสด ซึ่งเป็นขนมโบราณ หากินยากแล้ว นี่แค่ยกตัวอย่าง ถนนเส้นนี้ยังมีร้านอาหารอีกเพียบ ที่ สลับกันเปิดให้บริการตลอดทั้งวัน เรียกได้ว่ามีเวลาทั้งวัน เพือ่ ชิมอาหารให้ครบทุกร้านบนถนนนางงาม วันเดียวก็คง ไม่พอ
55
ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง เป็นสถานที่เคารพ สักการะของชาวสงขลา สร้างขึ้นพร้อมกับการสร้าง เมือ งสงขลาฝั่งบ่อยาง ภายในบริเวณมีโรงงิ้ว โรงเรียน และศาลเจ้าพ่อหลักเมือง อาคารลักษณะเป็นศาลเจ้าแบบเก๋งจีน สร้าง สมัยพระยาวิเชียรคีรี (เถี้ยนเส้ง ณ สงขลา) เป็นผู้ ส�ำเร็จราชการเมืองสงขลา ในปี พ.ศ. 2385 ภายใน ศาลประดิษฐานหลักเมืองท�ำด้วยไม้ชัยพฤกษ์ ที่ พระบาทสมเด็ จ พระนั่ ง เกล้ า เจ้ า อยู ่ หั ว (ร.3) พระราชทาน เป็นเวลาเกือบ 200 ปีแล้ว ที่ศาลเจ้า หลักเมืองยังคงอยู่เป็นหลักคู่เมืองสงขลา
57
วัดกลาง (วัดมัชฌิมาวาส) จากซุม้ ประตูโดดเด่นแตกต่างจากวัดทัว่ ไป เป็น ศิ ล ปะจี น กั บ ยุ โ รป ทางเดิ น ในวั ด ปู ด ้ ว ยอิ ฐ แดง ต้นไม้ร่มรื่นขนาบสองข้าง อุโบสถเป็นโบราณ สถานสถาปัตยกรรมสมัยรัตนโกสิสตอนต้น เป็น ศิ ล ปะประยุ ก ต์ ไ ทย-จี น ภายในอุ โ บสถมี ภ าพ จิตรกรรมฝาผนัง เช่น ภาพท่าเรือสงขลาที่หัวเขา แดงที่มีการค้าขายกันคึกคัก แสดงถึงวิถีชีวิตของ ผู้คนในอดีต
ปั่นต่อไปถึงวัดกลาง หรือชื่อทางการว่า วัด มัชฌิมาวาส ที่ถนนไทรบุรี วัดขนาดใหญ่เป็นพระ อารามหลวง ส�ำคัญที่สุดในจังหวัดสงขลา อายุ กว่า 400 ปี สร้างตอนปลายอยุธยา เดิมเรียกว่า วัดยายศรีจันทร์ ว่ากันว่ายายศรีจันทร์ คหบดีผู้ มัง่ คัง่ ในเมืองสงขลาได้อทุ ศิ เงินสร้างขึน้ ต่อมามีผู้ สร้างวัดเลียบ ทางทิศเหนือ และวัดโพธิ์ ทางทิศใต้ ชาวสงขลาจึงเรียกวัดยายศรีจนั ทร์วา่ “วัดกลาง”
59
ใกล้ๆ กันมีพิพิธภัณฑ์ภัทรศิลป์ จัดแสดงโบราณวัตถุ รวบรวมได้จากทั่วเมืองสงขลา สทิงพระ ระโนด และอื่นๆ ของทางภาคใต้ เป็นหลักฐานที่ส�ำคัญทางประวัติศาสตร์ รวมถึงมีศาลาฤาษีดัดตน สร้างสมัย ร.4 เป็นหลังคา ทรงไทย แต่ตัวอาคารแบบตะวันตกเปิดโล่ง ก่อด้วยอิฐเผา ไม่โบกปูนทับพื้นผิว ผนังส่วนบนเหนือประตูโค้งทั้งสี่ด้าน เขียนภาพฤาษีดัดตนเพื่อรักษาโรคภัยไข้เจ็บในท่าต่างๆ มี ค�ำโคลงบรรยายประกอบภาพ หน้าบันทั้ง 2 ด้านจารึก ต�ำรายา มุมก�ำแพงทั้งทั้งสี่ทิศ มีรูปปั้นยักษ์ นั่งประจ�ำทั้ง 4 มุม มีชื่อว่า ท้าวกุเวร เป็นเจ้าแห่งยักษ์ทั้งปวงผู้ดูแลอยู่ทางทิศ เหนือ ท้าวธตรฐ เป็นจอมภูตหรือจอมคนธรรพ์อยูท่ ศิ ตะวัน ออก ท้าววิรฬ ุ หก เป็นจอมเทวดาหรือจอมกุมภัณฑ์อยูท่ ศิ ใต้ และท้าววิรูปักษ์ เป็นจอมนาคอยู่ทิศตะวันตก
61
ตัดเข้าถนนยะลา ถนนสายเล็กๆ เพื่อเข้าถนน นครนอก เส้นริมทะเลสาบ ทีซ่ า้ ยมือเรียงรายไปด้วย อู่จอดเรือประมง ถนนเส้นนี้ต้องปั่นด้วยความระมัดระวัง เพราะมี รถบรรทุกวิ่งผ่านตลอด สุดสายถนนยะลา ตัดมุมถนนนครนอกนี้มีตึก เก่ า ที่ ยั ง คงหลงเหลื อ ร่ อ งรอยจากระเบิ ด สมั ย สงครามโลกครั้งที่สอง อยู่หลังหนึ่ง เป็นอาคารปูน สามชัน้ ตัวอาคารสีเหลือง ดูซดี จางไปตามการเวลา ปัจจุบันตึกแห่งนี้อาจดูคล้าย ว่าจะถูกกลืนหาย ไปกับตึกอื่นๆ แต่ส�ำหรับคนรุ่นก่อน ตึกนี้เหมือนสิ่ง สะท้ อ นความเจ็ บ ปวดจากสงคราม ที่ ยั ง คงทิ้ ง บาดแผลเอาไว้เสมอ
อีกด้านหนึง่ บนถนนนครนอก ตรอกเล็กๆ ตรงไปยังริมทะเลสาบสงขลา ท่าเรือ ประมงเก่าแก่ เรือประมงที่ก�ำลังจอดเรียงราย วิถีชีวิตการท�ำประมงที่ยังคงอยู่คู่ เมืองสงขลา
ปัจจุบัน หับ โห้ หิ้น ได้กลายเป็นท่าเรือประมง เปิดให้เอกชนเช่าเป็นแพปลา แต่อย่างไรก็ตาม เจ้าของที่นี่ยังคงอนุรักษ์ตัวอาคาร และปล่องโรงสี เก่า โดยให้มีการบูรณะอยู่สม�่ำเสมอ จนปัจจุบันโรงสีแดงเป็นเอกลักษณ์ โดดเด่น ประจ�ำย่านเมืองเก่าแห่งนี้ ทั้งยังก่อตั้งกลุ่มภาคีคนรักสงขลา ที่รวบรวม กลุ่มคนทั้งรุ่นเก่ารุ่นใหม่ ผู้คนหลายฝ่ายทั้งจาก ภาครัฐ และเอกชน ที่มีใจอยากอนุรักษ์ย่านเมือง เก่าแห่งนี้เอาไว้ ร่วมมือกันวางแผนฟื้นฟู และ อนุรักษ์พร้อมผลักดันให้ย่านเมืองเก่าสงขลา เติบโตเป็นถนนสายวัฒนธรรม โดยการรักษา สภาพแวดล้อม วิถีชีวิต และลักษณะเฉพาะทาง วัฒนธรรมของท้องถิ่นไว้ โดยมีส�ำนักงานอยู่ที่หับ โห้ หิ้น สามารถเข้าไป ติดต่อขอข้อมูล หรือแวะเข้าไปทักทายกันได้
ปลายถนนเส้นนี้ อาคารไม้สีแดงหลังใหญ่ตั้ง ตระหง่าอยู่ คนสงขลาเรียกว่า โรงสีแดง เพราะอดีต อาคารแห่งนี้เคยเป็นโรงสีข้าวขนาดใหญ่ในเมือง สงขลา เจ้าของเป็นชาวจีนฮกเกี้ยนมีความเชื่อว่า สีแดงเป็นสีน�ำโชค จึงทาสีอาคารเป็นสีแดงทั้งหลัง ตั้งชื่อตามป้ายที่ยังคงติดอยู่หน้าทางเข้า ว่า “หับ โห้ หิ้ น ” เป็ น ภาษาจี น ฮกเกี้ ย นแปลว่ า สวน สมานฉันท์อันเจริญรุ่งเรือง โรงสีแห่งนีด้ �ำเนินกิจการ จนเจริญรุง่ เรืองสมชือ่ รับข้าวเปลือกจากอ.ระโนด อ.หัวไทร และพัทลุง บรรทุกลงเรือ ล่องทะเลสาบสงขลา มาเทียบท่าเรือ ด้านหลังของโรงสี มีคนงานเชือ้ สายจีนกว่า 10 คน เปิดเครื่องสีข้าวทั้งวันทั้งคืนติดต่อกันเป็นเดือนๆ ข้ า วที่ สี เ สร็ จ จะส่ ง ไปขายเมื อ งต่ า งๆ เลยไปถึ ง มาเลเซีย แต่หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 สงบลง กิจการโรงสีก็ซบเซา จนเลิกกิจการไป
67
N
MAP 1 2 3 4 5 6 7 8
TRIP 1 BORYANG BEGIN
พิพิธภัณฑ์พธำ�มรงค์ (จุดเริ่มต้น) กำ�แพงเมืองเก่า พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ สงขลา ประตูเมืองเก่า วัดมัชฌิมาวาส (วัดกลาง) ศาลเจ้าหลักเมือง ถนนนางงาม วัดยางทอง หับ โห้ หิ้น (โรงสีแดง)
TRIP TWO
See Sea
7 km
SM TH AN FE
หลังจากเที่ยวเมืองเก่า ตกเย็นแดดร่ม ลมตก ผูค้ นสงขลามากหน้าหลายตา ต่างเปลีย่ นเสือ้ ผ้า เป็นชุดกีฬา มาออกก�ำลังกาย เราเลยอดไม่ได้ที่ จะปลดล็อคโซ่คล้องจักรยานออกปั่นทริปต่อไป กัน เส้นทางเทีย่ วชมทะเลทัง้ สองของสงขลาในระยะ ทาง 7 กิโลเมตร ของเมืองที่ได้ชอื่ ว่าเมืองสองทะเล เมือ่ ทะเลสาบนำ�้ จืด หลอมรวมกับนำ�้ เค็มจากทะเล อ่าวไทย ทิวสนริมทะเลทอดตัวยาวให้ร่มเงา อีก ทั้งมีเส้นทางจักรยานแยกจากถนนเป็นสัดส่วน ท�ำให้เส้นทางนีเ้ ป็นทีช่ นื่ ชอบของนักปัน่ ทัง้ หน้าใหม่ หน้าเก่า ส�ำหรับเรา เส้นทางนี้เราคุ้นชินเป็นอย่างดี เพราะเป็นเส้นทางปัน่ จักรยานออกก�ำลังกายของ บ้านเรา เรามักมาปั่นจักยานกับพ่อ เราสลับกัน อัด สลับกันผ่อนได้ตลอดเส้น แต่ครั้งนี้เรามาลองปั่นช้าๆ ค่อยๆ มองสิ่งที่ ผ่านตา ให้สองเลเมืองสงขลาซึมถึงใจกัน
MELL HE SEA ND EEL THE SKY
เขาตังกวน จากหน้าพิพิธภัณฑ์พธ�ำมรงค์ ถนนจะนะ เลี้ยวซ้ายเข้าถนนรามวิถี ปั่นตรง ไปเรือ่ ยๆ เจอแยกไฟแดง ปัน่ ตรงไปเจอทางขึน้ เนิน ถนนทีต่ ดั ผ่านเขาน้อย และเขา ตังกวน ตรงนี้มีจุดบริการลิฟท์โดยสารขึ้นสู่ยอดเขาตังกวน เราจอดจักรยานไว้หน้าสถานีบริการ ล็อกจักรยานไว้กบั ราวเหล็กทีท่ �ำไว้เพือ่ จักรยานโดยเฉพาะ และพกของอื่นๆติดตัวไปด้วย เพราะทัง้ เขาน้อย และเขาตังกวนต่างมีเจ้าถิน่ อย่างลิงแสม ทีอ่ าจนึกสนุกอยาก มาเล่นกับจักรยานของเราก็ ได้ หลังจ่ายค่าโดยสาร เราขึน้ ลิฟท์ ไปสูย่ อดเขาทีม่ คี วามสูง 2,000 ฟุต จากระดับ น�้ำทะเล ใช้เวลาเพียง 3 นาที ก็ถึงยอดเขา เมื่อออกจากลิฟท์สิ่งแรกที่ได้เห็นคือ วิวทะเล 180 องศา เมื่อออกจากสถานี มีป้ายจุดชมวิวสองเส้นทางให้เลือก คือ city view กับ see view เรียกได้ว่าบน เขาตังกวนนี้ เราสามารถชมเมืองสงขลาได้ครบทั้งเมืองเลยทีเดียว เรานั่งมองวิวทะเล พร้อมกับหูฟังที่เสียบเครื่องเล่น แล้วเปิดเพลงที่ชอบเบาๆ สายลมที่พัดผ่านให้ ใบไม้จากต้นไม้ ใหญ่ไหวตามลม กระทบผิว เรานั่งขีดเขียน อะไรไปเรื่อยเปื่อยจนลืมเวลา บรรยากาศสบายๆ บนยอดเขาตังกวนนี้เหมือนมี มนตรา ท�ำให้เราติดใจจนต้องแวะเวียนขึ้นไปนั่งเล่นอีก
บนเขาตังกวน เป็นที่ประดิษฐานของเจดีย์พระธาตุ เจดีย์ที่เป็นโบราณสถาน ส�ำคัญคู่เมือง ซึ่งสร้างในสมัยอาณาจักรนครศรีธรรมราช เป็นศิลปะสมัยทวาราวดี ก่ออิฐถือปูนทรงระฆัง ต่อมาในปี 2409 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้าฯ ให้ พระยาวิเชียรศรี (เม่น) ท�ำการบูรณปฏิสงั ขรณ์พระธาตุเจดียห์ ลวงให้สงู กว่าของ เก่า และต่อมาในปี พ.ศ.2539 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล อดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าพระราชทานพระบรมสารีริกธาตุ ประดิษฐานไว้ ณ พระธาตุเจดีย์หลวง เพื่อไว้เป็นที่สักการบูชาของชาวเมืองสงขลา ไม่ไกลกันมีประภาคาร อีกหนึ่งอาคารส�ำคัญบนเขาตังกวน สร้างในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั เริม่ สร้างเมือ่ ปี พ.ศ.2439 สมัยพระยา วิเชียรคีรี (ชม) เป็นผูส้ �ำเร็จราชการเมืองสงขลา โดยสมเด็จพระบรมวงศ์เธอกรม พระยาด�ำรงราชานุภาพ ได้โปรดให้ กรมทหารเรือท�ำเครือ่ งหมายประดับประกอบ ตัวโคม และส่งแบบฐานปูนให้ข้าหลวงออกมาจัดการก่อสร้างประภาคาร ตาม พระราชด�ำริพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
77
การขึ้นสู่ยอดเขาตังกวน ท�ำได้ 2 วิธี วิธีแรกคือการขึ้นลิฟต์โดยสารจากจุดบริการ ที่บริเวนถนนตัดระหว่างเขาตังกวน และเขาน้อย ราคาค่าบริการ คนละ 30 บาท เด็ก 20 บาท เปิดบริการวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 10.00 19.00 น. วันเสาร์ - อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ 8.00 - 19.00 น. อีกวิธคี อื การเดินขึน้ บันไดฝัง่ ตะวันตก ตรงข้าม ลิฟต์โดยสาร ตลอดระยะทางเป็นบันไดหิน สลับ กับจุดพัก ขอดีคือจะสามารถชมวิวผ่านมุมมอง ใหม่ จากบริเวณบันไดนาค ถึงวิหารแดงมีจ�ำนวน 145 ขั้น
จากยอดเขามี ท างเดิ น เป็ น บั น ไดหิ น แคบๆ ทอดตัวลงไปสู่วิหารแดง วิหารที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.4) มีพระราชด�ำริสร้าง พลับพลาที่ประทับ แต่ยังไม่แล้วเสร็จ ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2432 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั (ร.5) เสด็จประพาสเมืองสงขลา โปรดเกล้าฯ ให้สร้าง จนแล้วเสร็จ วิ ว หน้ า วิ ห ารแดง หั น หน้ า ไปด้ า นทะเลสาบ สงขลา ภายในศาลาวิหารแดง เป็นเสามีช่องทาง เดินทะลุถึงกัน แต่ละช่องมีขนาดเท่ากัน ด้านหน้า เป็นทางเดินลงไป เชิงเขาทางบันได
79
83
สวนสองทะเล จากเขาตังกวน ปั่นตรงไปผ่านสระบัว บริเวณ รอบสระเต็มไปด้วยต้นไม้นอ้ ยใหญ่รม่ รืน่ เป็นทีพ ่ กั ผ่อนหย่อนใจแห่งหนึง่ ของชาวสงขลา ปัน่ ต่อไปทาง แหลมสนอ่อน หาดทรายที่มีทิวสนขึ้นตลอดแนว กว่า 100ต้น ปั่นตรงตามเส้นทางจักรยาน เข้าวง เวี ย นสวนสองทะเล จนเจอประติ ม ากรรม พญานาคพ่นน�้ำ ที่ก�ำลังพ่นน�้ำลงสู่ทะเลสาบ สงขลา ฝั่งตรงข้ามเป็นท่าเรือน�้ำลึก ที่คอยขับ เคลื่อนเศรษฐกิจ ประติ ม ากรรมพญานาคพ่ น น�้ ำ นั้ น ถื อ เป็ น สัญลักษณ์หนึ่งของจังหวัดสงขลา โดยเอา คติ
ของล�ำตัว 1.20 เมตร สูงประมาณ 9 เมตร พ่น น�้ำลงสู่ปากอ่าวทะเลสาบสงขลา ส่วนที่สอง สะดือพญานาค ตั้งอยู่บริเวณลาน ชมดาว สนามสระบัว แหลมสมิหลา ขนาดเส้นผ่า ศูนย์กลางของล�ำตัว 1.20 เมตร ยาว 5.00 เมตร สูง 2.50 เมตร ลักษณะล�ำตัวโค้งครึ่งวงกลม เพื่อ ให้ลอดใต้สะดือพญานาคเพื่อเเป็นสิริมงคล ส่วนที่สาม หางพญานาค ตั้งอยู่บริเวณชาย หาดสมิหลา ริมถนนสะเดา (หลังสนามกอล์ฟ) เส้น ผ่าศูนย์กลาง 1.20เมตร ยาว 4.00เมตร สูง 4.50เมตร
ความเชือ่ เกีย่ วกับ พญานาคทีเ่ ชือ่ ว่า “พญานาค” เป็นสัญลักษณ์ของการ ก�ำเนิดน�้ำและความอุดม สมบู ร ณ์ ชาวใต้ จึ ง นั บ ถื อ พญานาคเป็ น สิ่ ง ศักดิส์ ทิ ธิ์ และกราบไหว้ขอพร เพือ่ เป็นสิรมิ งคลแก่ ชีวิต เป็นประติมากรรมลอยตัว สามารถมองเห็น รอบด้ า น เป็ น โลหะทองเหลื อ งรมสนิ ม เขี ย ว ออกแบบโดย อาจารย์มนตรี สังข์มสุ กิ านนท์ มีการ สร้างขึ้นเป็น 3 ส่วน ส่วนทีห่ นึง่ หัวพญานาค ตัง้ อยูบ่ ริเวณสวนสอง ทะเล ปลายแหลมสนอ่อน มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 85
87
อนุสาวรีย์กรมหลวงชุมพร เขตอุดมศักดิ์ เลีย้ วเข้าบริเวณลานอนุสาวรียก์ รมหลวงชุมพร เขต อุดมศักดิ์ หรือที่คุ้นเคยกันอีกชื่อหนึ่งว่า “เสด็จเตี่ย” เป็นทีเ่ คารพนับถือของผูค้ นในภาคใต้โดยเฉพาะผูค้ นที่ ประกอบอาชีพประมง เพราะมีความเชื่อว่าท่านจะช่วย เหลือให้แคล้วคลาดจากภัยอันตรายจากพายุและเพศ ภัยต่างๆ ผู้คนนิยมมาสักการะขอพรอย่างไม่ขาดสายทั้งคน ในพื้นที่ และนักท่องเที่ยว ทั้งศาลกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ที่ภายในจะมี พระบรมรูปให้สักการะบูชา และอนุสาวรีย์พระบรมรูป กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ พระบรมรู ป ของท่ า นหั น หน้ า ออกทะเล สง่ า งาม บริเวณรอบๆ อนุสาวรีย์มีปืนใหญ่ จรวด และปืนกลที่ จ�ำลองไว้ รวมทั้งที่นั่งพักหันหน้าออกสู่ทะเลสาบ ให้นั่ง ผู้คนมองวิวทะเลได้ ที่แห่งนี้เหมือนเป็นที่พักผ่อนของ ชาวสงขลา ที่นิยมมาพักผ่อนกันกับครอบครัว บริเวณนี้ เราได้เห็นถึงวิถชี วี ติ ชาวประมงทีย่ งั คงออก เรือหาปลา รวมทั้งเรือขนส่งสินค้าล�ำโต ที่ก�ำลังหล่อ เลี้ยง เศรษฐกิจของเมืองสงขลา
89
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ มีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ ทรง เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้า อยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาโหมด สายสกุลบุนนาค เมื่อวันอาทิตย์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ.2423 ศึกษาส�ำเร็จ วิชาทหารจากโรงเรียนนายเรือ ประเทศอังกฤษ ทรงเข้า รั บ ราชการในกระทรวงทหารเรื อ ในรั ช กาลที่ 5 วาง รากฐานปรับปรุงราชนาวีไทย ให้มีสมรรถภาพทัดเทียม กับอารยประเทศ ทรงด�ำรงต�ำแหน่งเสนาบดีกระทรวง ทหารเรือในรัชกาลที่ 6 ท�ำให้กองทัพเรือไทยรุ่งเรืองเป็น ปึกแผ่นมาถึงปัจจุบัน ด้ ว ยพระอั จ ฉริ ย ะปรี ช าชาญ จึ ง น้ อ มถวายพระ สมัญญานามว่า องค์บิดาของทหารเรือไทย บริเวณนี้มีที่จอดรถจักรยานไว้บริการ บริเวณรอบ ข้างลาน มีร้านขายดอกไม้ธูปเทียนเครื่องสักการะต่างๆ รวมทั้งร้านค้า ร้านอาหารก็มีให้ ได้เลือกมากมาย
ดวงอาทิตก�ำลังคล้อยต�่ำลง เราปั ่ น กลั บ เข้ า วงเวี ย นสวนสองทะเล ออก ทางออกที่สอง ปั่นบนเส้นทางริมทะเลสาบสงขลา ผ่านท่าแพขนานยนต์ ปั่นไปตามทาง จนเจอแยก เราเลี้ยวขวาเพื่อกลับไปสระบัว ถึงแยกสระบัว เรา เลือกเลี้ยวซ้ายไม่ปั่นผ่านเขาตังกวน แต่ปั่นไปทาง หาด สมิหลาแทน ปัน่ ตามเส้นทาง ผ่านหน้าโรงแรม บี. พี. สมิหลาบีช ถึงแยกโรงเรียนมหาวชิราวุธ เลี้ยวขวาเข้าถนนสะเดา ปั่นจนสุดสายถนนสะเดา แล้วเลีย้ วซ้ายเข้าถนนรามวิถี เลีย้ วขวาทีส่ แี่ ยกหอ นาฬิกา ปั่นตรงไปเพื่อกลับพิพิธภัณฑ์พธ�ำมรงค์
95
ทะเลอ่าวไทย
ทะเลสาบสงขลา
N
MAP 1 2 3 4 5 6 7 8 9
TRIP 2 SEE SEA
พิพิธภัณฑ์พธำ�มรงค์ (จุดเริ่มต้น) เขาตังกวน สะดือพญานาค แหลมสนอ่อน หัวพญานาค อนุสาวรีย์กรมหลวงชุมพรฯ ท่าแพขนานยนต์ รูปปั้นนางเงือก เขาน้อย
TRIP THREE
Breathe
10 km
ลมทะเลพัดเอือ่ ยๆ มาปะทะใบหน้า เส้นผมพริว้ ไปตามลม เส้นทางที่ 3 เส้นทางเรียบริมชายหาด สมิหลา หาดชลาทัศน์ ถึงเก้าเส้ง หมู่บ้านชาว ประมงในเมืองสงขลา ที่ยังคงมีวิถีชีวิตชาวประมง ออกเรือหาปลาอยู่ เส้นทางริมหาด ยาวตรงจนถึงเก้าเส้ง มีทาง จักรยานตลอดเส้นทาง ท�ำให้ปั่นง่าย ชมวิวทะเล เกลียวคลืน่ ซัดกระทบฝัง่ ทิวสนเรียง รายให้ร่มเงาริมชายหาด ฟังเพลงเบาๆ ไปพลาง ปั่นเรื่อยๆ ไม่รีบร้อน ทริปนี้ เราเหมือนได้พักสูดหายใจลึกๆ ให้เต็ม ปอด พักสมองให้ปลอดโปร่งจากเรื่องวุ่นวาย ต่างๆ
THE BEACH IS WHERE I BELONG มาพักหายใจกันเถอะ!
หาดสมิหลา จากพิพิธภัณฑ์พธํามะรงค์ ถนนจะนะ ปั่นตรง ไปถนนปละท่า จนสุดสาย เลี้ยวซ้ายเข้าถนนชลาทัศน์ จนถึงวงเวียนหาดชลาทัศน์ วงเวียนแห่งนีเ้ ป็น รูปคนนั่งอ่านหนังสือ เป็นสัญลักษณ์แสดงให้คน ได้ เ ห็ น ถึ ง ความส�ำคั ญ ของการอ่ า นหนั ง สื อ หาความรูต้ ลอดเวลา ตัง้ อยูส่ ดุ หาดด้านทิศเหนือ สุดถนนชลาทัศน์ บนฟุตบาท มีทางเล็กๆ พอ ให้จักรยานปั่นผ่าน ตรงไปหาดสมิหลาได้ หาดสมิ ห ลา สถานที่ ท ่ อ งเที่ ย วส�ำคั ญ ของ สงขลา มีรูปปั้นเงือกทองบนโขดหินเล็กๆ ริมหาด เป็นสัญลักษณ์ที่เรียกได้ว่าเป็นแลนด์มาร์คของ สงขลาเลยก็วา่ ได้ แขกไปใครมาต่างก็ตอ้ งแวะเวียน มาถ่ายรูปคู่นางเงือกกัน บริเวณรอบๆ จัดเป็นที่พักผ่อน เป็นศาลาไทย รวมทั้งม้านั่งใต้สนต้นใหญ่ร่มรื่น
มีต�ำนานเกี่ยวกับนางเงือก เป็นเรื่องนิยายปรัมปราโบราณว่า “วันดีคืนดี นางเงือกจะมานั่งหวีผมบนชายหาดด้วยหวีทองค�ำ จนวันหนึ่ง มี ชายชาวประมงเดินผ่านมา ท�ำให้นางเงือกตกใจ รีบหนีลงทะเลไป โดยลืมหวี ทองค�ำไว้ ชาวประมงเห็นดังนัน้ ก็เก็บหวีทองค�ำไว้ และเฝ้าคอยนางเงือกทีร่ มิ หาด อยู่เสมอ แต่นางเงือกก็ ไม่เคยกลับมาอีกเลย” ส�ำหรับ “นางเงือกทอง” ของเมืองสงขลา สร้างขึน้ เมือ่ พ.ศ.2509 ในท่านัง่ หวี ผม หล่อขึ้นด้วยบรอนซ์รมด�ำ โดยฝีมือการออกแบบ ปั้น และหล่อ โดยอาจารย์ จิตร บัวบุศย์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม)
มองไปในทะเล เกาะหนูเกาะแมว ก�ำลังหมอบ เคียงคู่กัน เรือน้อยใหญ่จอดอยู่ไม่ไกล มีเล่าเกี่ยว กับเกาะสองเกาะเล็กๆ นี้ว่า “พ่อค้าชาวจีนคนหนึ่งเดินทางค้าขายที่สงขลา ด้วยส�ำเภา วันหนึ่งซื้อหมากับแมว ลงเรือไปด้วย หมากับแมวอยู่บนเรือนานๆ เกิดความเบื่อหน่าย จึงปรึกษากันว่าจะหนี หมากับแมวรูว้ า่ พ่อค้ามีแก้ว วิเศษ ท�ำให้ ไม่จมน�้ำ แมวจึงคิดอุบาย ให้หนูไปขโมยแก้ววิเศษ หนูขอ หนีขนึ้ ฝัง่ ไปด้วย ทัง้ สามว่ายนำ�้ หนีจากเรือ หนูอม ดวงแก้วเอาไว้ ในปาก
แต่หนูนึกได้ว่าถ้าถึงฝั่ง หมากับแมวคงแย่งเอา ดวงแก้วไป จึงคิดหนี แมวซึ่งว่ายตามมาก็คิดเช่น กัน จึงว่ายน�้ำไปหาหนู หนูตกใจว่ายน�้ำหนีไม่ทันระวัง แก้ววิเศษที่อมไว้ จึงตกลงจมหายไปในน�้ำ หนูและแมวต่างหมดแรง จมน�้ำตายกลายเป็นเกาะหนูเกาะแมวที่อ่าวหน้า เมือง ส่วนหมาตะเกียดตะกายว่ายน�ำ้ จนถึงฝัง่ ก็สนิ้ ใจ ตายด้วยความเหน็ดเหนือ่ ย กลายเป็นหินทีเ่ ขาตัง กวนอยู่ริมอ่าวสงขลา ส่วนแก้ววิเศษแตกละเอียด กลายเป็นหาดทราย”
109
หาดชลาทัศน์ ปั่นริมหาดชลาทัศน์ ไปเรื่อยๆ รับลมทะเลที่พัด เบาๆ พอให้สดชื่น หาดทรายที่ทอดยาวนี้ เป็น ศูนย์รวมกิจกรรมของชาวสงขลา และนักท่องเทีย่ ว มากมาย ไม่ว่าจะเป็นครอบครัวที่ก�ำลังปิคนิค ใต้ ร่มเงาต้นสน เด็กๆ ก�ำลังวิ่งเล่นว่าวริมชายหาด วัยรุ่นที่ก�ำลังเล่นบานาน่าโบ๊ทในทะเล หรือกีฬา เอ็กซ์ตรีม อย่างเรือใบ ไคต์เซิร์ฟ(Kite Surf) และ พารามอเตอร์ (Paramotor) ตลอดแนวหาดชลาทัศน์มีสถานที่พักผ่อน หย่อนใจมากมาย ไม่ว่าจะเป็นสนามเด็กเล่น หรือ ลานกิจกรรม พร้อมเก้าอี้ม้านั่งพักผ่อน ทุกเช้า เย็น ชาวสงขลาจะออกมาพักผ่อน ออกก�ำลังกาย 111
113
เก้าเส้ง ปั่นกินลมชมวิวไปเพลินๆ รู้ตัวอีกทีเราก็เห็นเรือ ประมงจอดเรียงรายริมหาด ถึงหมู่บ้านชาวประมงเก้า เส้ง ทางโค้งเราเลีย้ วเข้าซอยเล็กๆ ซ้ายมือ ปัน่ ตรงไปจน เจอทางแยกซ้ายมีป้ายเขียนว่า วัดเขาเก้าแสน เราเลี้ยว ไปตามทาง มีทางขึ้นเขาอยู่ขวามือ เราออกแรงปั่นขึ้น เขา ใช้เกียร์จนสุด กว่าจะถึงยอดเขา ก็ท�ำเอาเหงือ่ ตกไป หลายหยด เขาเก้าเส้งเป็นโขดหินริมชายหาด มีหินก้อนหนึ่งตั้ง โดดเด่นเหนือก้อนอื่น คล้ายจะเลื่อนตกลงมาตลอด เวลา ชาวบ้านเรียกหินก้อนนี้ว่า “หัวนายแรง”
ตามต�ำนานเล่ากันว่า “ครั้ ง นั้ น ทางเมื อ งนครศรี ธ รรมราชก�ำหนดบรรจุ พระบรมสารีริกธาตุในเจดีย์ จัดงานเฉลิมฉลองใหญ่โต บรรดา 12 หัวเมืองปักษ์ ใต้ต่างก็น�ำเงินทองไปบรรจุใน พระบรมธาตุ เมืองที่นายแรงเป็นเจ้าเมืองก็เป็นเมืองขึ้น นครศรีธรรมราชด้วย ประกอบกับนายแรงมีความศรัทธา ในพุทธศาสนา จึงขนเงินทองเป็นจ�ำนวนมากถึง เก้าแสน บรรทุกเรือส�ำเภา พร้อมด้วยไพร่พลออกเดินทางไป เมืองนครศรีธรรมราช ขณะก�ำลังเดินทางเรือส�ำเภาถูก คลื่นลมจนช�ำรุด จึงเข้าจอดเรือที่ชายฝั่งหาดทรายแห่ง หนึ่ง เพื่อซ่อมแซมเรือ ยั ง ไม่ ทั น ซ่ อ มเสร็ จ ก็ ท ราบข่ า วว่ า ทางเมื อ ง นครศรีธรรมราชได้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุเสร็จแล้ว นายแรงเสียใจมาก จึงให้ ไพร่พลขนเงินทองบรรจุไว้บน ยอดเขาลูกหนึ่ง สั่งให้ลูกเรือตัดหัวของตนไปวางไว้ที่ยอด เขา นายแรงกลั้นใจตาย ลูกเรือต้องจ�ำใจตัดหัวเจ้านายไป วางไว้บนยอดเขาตามค�ำสัง่ เขาลูกนีภ้ ายหลังเรียกว่า “เขา เก้าแสน” เรียกเพีย้ นไปเป็น “เก้าเส้ง” ส่วนก้อนหินทีป่ ดิ ทับ บนยอดเขาเรียกว่า “หัวนายแรง” ชาวบ้านเชื่อว่าดวง วิญญานของนายแรงยังอยู่เป็นปู่โสมเฝ้าทรัพย์มาจนทุก วันนี้”
117
119
หลังจากนัง่ ทอดอารมบนโขดหิน มองดูววิ เกาะหนู เกาะแมว และหาดชลาทัศน์ ที่ทอดยาวจนถึงหาดสมิหลา ทั้งเรือประมงล�ำน้อย ที่กลับมาจากหาปลาแล่น ผ่านไป ชาวประมงที่ก�ำลังทอดแหริมหาด ท�ำให้หวนนึกขึ้นว่า เมืองสงขลาบ้าน เกิดของเรานี้ มีดีมากกว่าที่เราเคยเห็น เพียงแค่เรามองให้ละเอียดขึ้น เมืองเล็กๆ แห่งนี้สามารถเติมเต็มความสุขในชีวิตให้เราเสมอ
ทะเลอ่าวไทย
N
MAP 1 2 3 4 5 6
TRIP 3 BREATHE
พิพิธภัณฑ์พธำ�มรงค์ (จุดเริ่มต้น) หางพญานาค รูปปั้นคนอ่านหนังสือ หาดสมิหลา หาดชลาทัศน์ เก้าเส้ง
TRIP FOUR
Koh Yor
20 km
SIMPLE LIFE IS A BEAUTIFUL LIFE “เกาะยอ” เกาะเล็กๆ ในทะเลสาบสงขลา ที่มี สะพานติณสูลานนท์เชื่อมกับแผ่นดิน เกาะยอ ขึ้นชื่อเรื่องผ้าทอ และอาหารทะเลที่มี ร้านเปิดเรียงรายรอบเกาะ เราเคยรูจ้ กั เกาะยอเพียง แค่นี้.. วิถีชีวิตอันเรียบง่ายของคนในเกาะยอ การท�ำ ประมงพื้นบ้าน และการแปรรูปอาหารทะเลในครัว เรือนอย่างการท�ำกะปิ นอกจากนีเ้ กาะยอยังเต็มไป ด้วยสวนผลไม้นานาชนิด หรือที่คนท้องถิ่นเรียก กันว่า”สวนสมรม” บรรยากาศอันเงียบสงบในเกาะยอ รวมทัง้ ผูค้ น บนเกาะทีเ่ ป็นมิตรกับนักท่องเทีย่ ว ท�ำให้เราหลงรัก เกาะเล็กๆ แห่งนี้โดยไม่รู้ตัว
ทริปนีเ้ ป็นการปัน่ จักรยานทางไกลครัง้ แรก เรา เลยเตรียมตัวหาข้อมูลเส้นทางก่อนปั่น เกาะยอ มีเส้นทางไปได้ 3 เส้นทาง คือ เส้นทาง หลักที่ผ่านถนนกาญจนวนิช แล้วเลี้ยวขวาที่ห้า แยกน�้ำกระจาย เส้นทางที่สองคือ ข้ามแพขนานยนต์ แล้วปั่น อ้อมหัวเขาแดง
ส่วนเส้นทางทีส่ าม เส้นทางทีเ่ ราเลือกปัน่ ไปเป็น เส้นทางปั่นเรียบริมทะเลสาบ ปั่นตามถนนติณสู ลานนท์ตลอดเส้น เราเลือกเส้นทางนี้ เพราะระยะ ทางสั้น รถไม่มาก หลังจากปั่นมานาน ก่อนขึ้นสะพานตินสูลา นนท์ ซ้ายมือมีสวนประวัตศิ าสตร์ พณฯเปรม ติณ สูลานนท์ เราเลี้ยวเข้าไปแวะพักที่นี่
สวนประวัตศิ าสตร์ พณฯ เปรม ติณสูลานนท์ หรือที่คนสงขลาเรียกกันติดปากว่า สวนป๋าเปรม เป็นสวนสาธารณะ ริมทะเลสาบติดกับคอสะพานติณสูลานนท์ ร่มรืน่ ไปด้วยต้นไม้ ภายในสวนมีบริการให้เช่า จักรยานปั่นเล่น ซึ่งเป็นที่นิยมของคนที่มาพักผ่อน และ มาออกก�ำลังกายยในสวนแห่งนี้มาก นอกจากนี้ ภ ายในสวนประวั ติ ศ าสตร์ มี ห อ ประวัติศาสตร์ พณฯ เปรม ติณสูลานนท์ มีประวัติ และ ผลงานของท่าน เพื่อเชิดชูเกียรติคุณงามความดี ในเวลาราชการ ในสวนป๋าเปรมมีรถรางให้บริการ พร้อมวิทยากรให้ค�ำบรรยาย
133
135
สะพานติณสูลานนท์ หลังพักจนหายเหนือ่ ยเราปัน่ ข้ามสะพานสะพานติณ สูลานนท์ตรงเข้าเกาะยอ สะพานติณสูลานนท์ หรือคนสงขลาเรียกติดปาก กันว่า สะพานติณฯ สะพานป๋า หรือสะพานเปรม เป็น สะพานคอนกรีตทีย่ าวทีส่ ดุ ในประเทศไทยเชือ่ มเกาะยอ 2 ด้าน ระหว่างฝั่งบ้านน�้ำกระจาย อ�ำเภอเมืองสงขลา และบ้านเขาเขียว อ�ำเภอสิงหนคร ความยาวของสะพาน 2 ช่วงแรก 940 เมตร และ 1,700 เมตร ตามล�ำดับ รวม เป็น 2,640 เมตร เคยได้ ยิ น มาว่ า เวลาข้ า มสะพานให้ ก ลั้ น หายใจ พร้อมอธิฐาน แล้วค�ำขอนัน้ จะเป็นจริง แต่เราว่าคงใช้กบั สะพานติณฯ ไม่ได้แน่ๆ อีกอย่างที่เราเพิ่งรู้เมื่อได้มาปั่นจักรยานคือ วิวจาก บนสะพานเมื่อมองช้าๆ สวยกว่าเมื่อมองเร็วๆ ผ่าน กระจกรถยนต์
137
139
วัดแหลมพ้อ ในอดีตเมื่อปี พ.ศ.2360 พระบามสมเด็จพระ จุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั ได้ทรงเสด็จประพาสทางน�ำ้ ขึ้นท่าเรือที่บริเวณหน้าวัด “องค์ พ ระนอน” ซึ่ ง เป็ น พระพุ ท ธรู ป ปาง ปรินิพพานที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย พระบาทมี ลวดลายภาพศิลปะ สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ 2537 ประดิษฐานบนฐานที่ไม่สงู นัก เพราะทีต่ งั้ วัดอยูใ่ กล้ ถนนเชิงสะพานติณสูลานนท์ฝั่งเกาะยอ จึงท�ำให้ เป็นสิ่งที่สะดุดตาของผู้ที่สัญจรผ่านไปมา
ระหว่างปัน่ อยูบ่ นสะพานมองเห็นพระนอน องค์ ใหญ่ หลังลงสะพานเจอทางแยกเลี้ยวซ้ายเข้าวัด “วัดแหลมพ้อ” หรือที่หลายคนเรียก “วัดพระ นอน” ถือว่าเป็นวัดที่เก่าแก่อีกวัดหนึ่งในจังหวัด สงขลา สั น นิ ษ ฐานว่ า สร้ า งขึ้ น ตั้ ง แต่ ส มั ย รัตนโกสินทร์ตอนต้น ว่ากันว่าเนื่องจากในพื้นที่บริเวณวัดเป็นแหลม ยื่นออกไปอีกทั้งมีต้นพ้ออยู่เป็นจ�ำนวนมาก จึง เรียกชื่อวัดกันต่อมาว่า “วัดแหลมพ้อ”
141
ผ้าทอเกาะยอ แต่กลับไม่พบหลักฐานที่ปรากฏแน่ชัดว่า ชาว เกาะยอ เริ่มทอผ้ากันตั้งแต่เมื่อไร ทราบเพียงว่าที่ เกาะยอมีการทอผ้ามานับเป็นร้อยๆ ปีแล้ว ตั้งแต่ เมื่อมีการอพยพมาตั้งถิ่นฐานท�ำมาหากินอยู่บน เกาะยอสืบสานการถ่ายทอดภายในครอบครัว เมื่อปีพ.ศ. 2375 ชาวบ้านเกาะยอได้น�ำผ้าทอ ขึ้นถวายพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เมือ่ เสด็จนิวตั เิ มืองสงขลา ทรงตรัสถามถึงชือ่ ลาย ผ้า ชาวบ้านได้ทูลว่า เป็นผ้าลายยกดอกก้านแย่ง หรือทีล่ ายคอนกเขา เนือ่ งจากว่ามีลายคล้ายลาย ขนคอนกเขา ชาวบ้านสมัยนัน้ นิยมใช้พาดบ่าเวลา ไปวัด พระองค์จงึ พระราชทานชือ่ ลายผ้าให้ ใหม่วา่ “ลายราชวัตร” และว่า กิจวัตร หรือการกระท�ำ
เราปั่นเข้าไปในเกาะเพื่อไปเจอป้ารมย์ ช่างทอผ้า ของเกาะยอ บ้านของป้ารมย์หาไม่ยาก เราปัน่ ตาม ป้ายบอกทาง กลุม่ แม่บา้ นเกษตรกรทอผ้าเกาะยอ กลุม่ ราชวัตรแสงส่องหล้าที1่ หรือหากไม่แน่ใจ ลอง แวะถามชาวบ้านแถวนั้นดูได้ ชาวบ้านเกาะยอใจดี บอกทางแน่นอน ผ้าทอเกาะยอเป็นผ้าทอพื้นเมืองของต�ำบล เกาะยอ อ�ำเภอเมือง จังหวัดสงขลา เป็นสินค้าที่ มีชื่อเสียงของจังหวัด มีความประณีต และสีสันที่ สวยงาม โดยมีการทอยกดอกทีม่ ลี วดลายเฉพาะ ถือเป็นสัญลักษณ์หัตถกรรมพื้นบ้านของภาคใต้ และยั ง เป็ น สุ ด ยอดผลิ ต ภั ณ ฑ์ หนึ่ ง ต�ำบลหนึ่ ง ผลิตภัณฑ์ OTOP ปี 2549
143
“อยากดูวิธีปั่นด้ายด้วยไหม?” ป้ารมย์ถามพลางลุกไปหยิบเครื่องปั่นด้ายเข้าหลอดมาโชว์เรา ป้าให้ เราลองปั่นดูบ้าง เลยท�ำให้รู้ว่าแค่การปั่นด้ายที่ดูเหมือนง่ายนั้นไม่ง่ายเลย “เด็กรุน่ ใหม่ไม่คอ่ ยทอผ้ากันแล้ว เหลือก็แค่รนุ่ ป้าทีย่ งั ทอกันอยู่ ก็ ไม่รเู้ หมือนกันว่าต่อไปผ้าทอเกาะยอ จะยังมีอยู่ไหม ทอผ้าสักผืนต้องใช้สมาธิ ใช้ความตั้งใจมาก ถ้าผิดเส้นเดียวก็ต้องแก้ ใหม่หมด เวลาท�ำก็ เหมือนได้ฝึกสมาธิให้เราไปด้วย” หลังนั่งคุยกับป้ารมย์อีกสักพักเราก็บอกลาป้า เพื่อไปที่อื่นต่อ
145
147
วัดท้ายยอ วัดที่เก่าแก่ที่สุดบนเกาะอายุกว่า 200 ปี มี“กุฏิเรือนไทยปั้นหยา” เป็น เอกลักษณ์ สร้างตามหลักมงคลสูตรด้วยไม้ เรือนทรงสมส่วนสวยงาม หลังคา มุงด้วยกระเบื้องดินเผาเกาะยอ ตัวเสาเรือนสร้างแบบภาคใต้โบราณคือไม่ฝงั ลงดิน แต่จะใช้วธิ ตี งั้ เสาไม้อยูบ่ น ฐานปูนแทน ซึ่งหาได้ยากในปัจจุบัน
149
วัดเขากุฏิ เราปั่นต่อไปที่เขากุฏิ จุดสูงที่สุดของเกาะยอ ทีว่ ดั นีเ้ ป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวเกาะยอ เพราะ มี “เจดียส์ มเด็จเจ้าเกาะยอ” ทีส่ ร้างอย่างสมส่วน สวยงามให้สักการบูชา ทุกๆ ปีในวันขึ้น 15 ค�่ำ เดือน 6 บนเกาะยอจะมีงานประเพณีแห่ผา้ ขึน้ เขา กุฏิ ทีจ่ ดั สืบต่อกันมาช้านาน นับเป็นบรรยากาศ ที่เปี่ยมไปด้วยพลังแห่งศรัทธา
ทางขึ้นวัดเขากุฏเป็นทางขึ้นเขา ระยะทาง ประมาณ 600 เมตร เรียกว่าเป็นจุดทดสอบพวก น่องเหล็ก ต้องใช้จักรยานมีเกียร์ช่วยถึงจะไหว แต่ถา้ ปัน่ ไม่ไหวเข็นขึน้ ไปก็คงไม่ผดิ เพราะเราท�ำ มาแล้ว เมื่ อ ขึ้ น ไปถึ ง วั ด เขากุ ฏ ต้ อ งบอกว่ า คุ ้ ม ค่ า เหนือ่ ย เพราะบนยอดเขาบรรยากาศร่มรืน่ มอง ไปเห็นวิวเกาะยอ
151
153
เกาะยอโฮมสเตย์ เราวางแผนนอนพักที่โฮมสเตย์ลุงเดชา 1 คืน จะได้มีเวลาเที่ยวให้ทั่ว โฮมสเตย์ของลุงเดชาเป็น “ขน�ำ” กลางทะเล ขน�ำคือบ้านหลังเล็กๆ กลางทะเล ที่ชาวประมงสร้างไว้เพื่อเฝ้ากระชังปลา “เราเรียกว่า ขน�ำ จริงๆ เป็นที่พักของชาวประมง ผมเอามาดัดแปลงท�ำเป็น โฮมสเตย์กลางนำ�้ ตัง้ แต่ท�ำมาสิง่ แวดล้อมไม่เคยเปลีย่ น เพราะผมจะบอกทุกท่าน ที่มาเสมอว่า ให้พยายามช่วยกันอนุรักษ์ธรรมชาติ อย่าทิ้งขยะ ผมมีถุงขยะให้ แทบทุกจุดบนขน�ำ ปูปลาเลยยังมีเหมือนเดิม” ลุงเดชา มีสุวรรณ ผู้ริเริ่มท�ำโฮม สเตย์เจ้าแรกในเกาะยอ บอกเรา
155
157
โฮมสเตย์ของลุงเดชาหาไม่ยาก เพราะอยู่ตรง ข้ามศาลเจ้าไท้ก๋ง ศาลเจ้าศักดิ์สิทธิ์แห่งเดียวใน เกาะยอ ที่สร้างในสมัยรัชกาลที่ 3 เพราะขณะนั้น คนจีนเข้ามาค้าขายกับไทยเป็นจ�ำนวนมาก ส่วน หนึง่ ได้ตงั้ รกรากสืบเชือ้ สายในเกาะยอ และได้สร้าง ศาลเจ้าไท้ก๋งขึ้นเพื่อสักการะบูชา และสร้างขวัญ ก�ำลังใจแก่ชาวเกาะยอ ขน�ำหนึ่งหลังราคา 2000 บาท จุคนได้ราว 10 คน แต่ลุงบอกว่า ถ้ามาน้อยกว่า หรือมากกว่านี้ ก็ยนิ ดีรบั คิดค่าบริการเพียง 200 บาทต่อคน ต่อ คืนเท่านัน้ จริงๆขน�ำหลังหนึง่ รับน�ำ้ หนักได้เกิน 20 คน เสียด้วยซ�้ำ แต่ลุงกลัวคับแคบเลยให้อยู่กัน ประมาณ 10 คน ราคานี้รวมค่ารับส่งจากฝั่งถึงขน�ำ อาหารเช้า กาแฟ ค่าบริการน�ำเทีย่ วดูวถิ ชี วี ติ ชาวประมง เรียก ว่า คุ้มยิ่งกว่าคุ้ม
“ผมมีความสุขแค่ได้พูดจาแลกเปลี่ยนกับพวก คุณพอแล้ว เมื่อก่อนผมไม่รู้ว่าอะไรคือสิ่งที่ท�ำให้ ผมมีความสุข ตอนนีผ้ มพบแล้ว มันคือการบริการ นักท่องเทีย่ ว การได้พดู คุยกับพวกคุณนีแ่ หละ แต่ ผมเพิ่งมาค้นพบตัวเองตอนแก่ แอบเสียดาย” พูดจบลุงก็หัวเราะลั่น ระหว่างทางผ่านหลักไม้มากมาย ลุงอธิบายว่า นีค่ อื กระชังปลาส�ำหรับเลีย้ งปลากะพงขาว ซึง่ เป็น ปลาเศรษฐกิจของชาวเกาะยอ ปลาทีน่ จี่ ะรสดีกว่า ที่อื่นๆ เพราะถูกเลี้ยงในทะเลสาบที่มี 3 น�้ำ คือ น�้ำ เค็ม น�้ำกร่อย และน�้ำจืด ท�ำให้ปลามีสุขภาพดี นอกจากปลากะพงขาวแล้ว ที่เกาะยอยังมีปลา ท้องถิ่นอย่างปลาท่องเที่ยว ที่มีเฉพาะฤดูฝน วิถชี วี ติ การท�ำประมงท้องถิน่ ในเกาะยอยังคงมี ให้เห็น ไม่ว่าจะเป็นการออกเรือหาปลา ไปจนถึง การแปรรูป เช่นการท�ำปลาแดดเดียว ปลาหวาน หรือกุ้งการท�ำกะปิจากกุ้งเคย
159
จากขน�ำ เรากลับขึ้นฝั่งในช่วงสาย ก่อนกลับ ลุงชวนเราชิมผลไม้อย่างจ�ำปะดะขนุน ที่ลุงปลูกเองหน้าบ้าน สวนของลุงเป็นสวนสมรม “สวนสมรม” เป็นภาษาใต้ หมายถึงสวนที่ปลูก พืชไม้หลายชนิดไว้ด้วยกัน เหมือนเกษตรผสม ผสานของทางภาคกลาง ในสวนมี จ�ำปาดะ จ�ำปาดะขนุน เงาะ ทุเรียน ลองกอง สะตอ ลูกเนียง สวา (ละมุด) ปุ๋ยที่ใช้ ก็เป็นปุ๋ยชีวภาพที่ลุงหมักเอง ช่วงที่เราไปเป็นฤดูจ�ำปาดะขนุนพอดี จะปาดะ ขนุนนั้นจะมีลักษณะรูปร่างเหมือนขนุน แต่รสชาติ
เหมือนจ�ำปะดะ เป็นผลไม้ประจ�ำเกาะยอ แต่ทเี่ ตะตา เราคือวัสดุหน้าตาประหลาดทีห่ อ่ ผลจ�ำปะดะขนุน “นี่เขาเรียกว่า โคระ เอาไว้ครอบจ�ำปาดะกัน แมลง เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่มีมานมนานแล้ว ใช้ดีกว่าถุงพลาสติกเสียอีก” ลุงเดชาอธิบายถึง อุปกรณ์หน้าตาประหลาดที่เราสงสัย อิม่ หน�ำอยูก่ ลางธรรมมาชาติมานานถึงเวลาที่ เราต้องบอกลาลุงเดชา เราจากลากันด้วยรอยยิม้ แห่งมิตรภาพ และความประทับใจ
161
163
พิพิธภัณฑ์คติชนวิทยา สถาบันทักษิณคดีศึกษา ก่อนกลับเข้าเมืองสงขลา เราแวะไปชมพิพิธภัณฑ์คติชน วิทยา สถาบันทักษิณคดีศึกษา สถาบันทักษิณคดีศกึ ษาแห่งนีเ้ ป็นพิพธิ ภัณฑ์ทจ่ี ดั แสดงวิถี ชี วิ ต ของชาวใต้ วั ฒ นธรรมท้ อ งถิ่ น ที่ มี เ อกลั ก ษณ์ เ ฉพาะ ประวัตศิ าสตร์โบราณคดี และศิลปหัตถกรรมอันเป็นมรดกทาง วัฒนธรรมทีแ่ สดงให้เห็นถึงภูมปิ ญ ั ญาของกลุม่ ชนทีอ่ าศัยอยู่ ในภาคใต้ของประเทศไทย จั ด แสดงเป็ น ห้ อ งต่ า งๆ ได้ อ ย่ า งน่ า สนใจ เช่ น ห้ อ ง ประวัตศิ าสตร์และชาติพนั ธุ์ ห้องอาชีพหลักของชาวใต้ ห้องผ้า ทอพืน้ เมืองที่ มีผา้ ทอสวยๆ ห้องการละเล่นพืน้ เมือง ห้องศิลปะ หัตกรรม ห้องอิสลามศึกษา ฯลฯ เมือ่ มาเทีย่ วแล้วจะได้ทงั้ ความ รู้ และความเพลิดเพลินกลับไป อีกทัง้ ทีน่ ยี่ งั เป็นจุดชมวิวทิวทัศน์ของเกาะยอจากมุมสูง บน หอคอยสูง มองเห็นสะพานติณสูลานนท์ ทีเ่ ชือ่ มเกาะยอกับฝัง่ แผ่นดิน
167
169
N
MAP 1 2 3 4 5 6 7 8 9
TRIP 4 KOH YOR
สวนประวัติศาสตร์ พณฯ เปรม ติณสูลานนท์ สะพานติณสูลานนท์ วัดแหลมพ้อ ตลาดเกาะยอ กลุ่มทอผ้า เกาะยอ วัดท้ายยอ เกาะยอโฮมสเตย์ (โฮมสเตย์ ลุงเดชา) วัดเขากุฏ พิพิธภัณฑ์คติชนวิทยา สถาบันทักษิณคดีศึกษา
LO CA L DISH สงขลา เมืองที่มีวัฒนธรรมอันหลากหลายหลอม รวมอยู่ด้วยกัน สิ่งหนึ่งที่แสดงออกอย่างชัดเจนคือ วัฒนธรรมการกินของคนสงขลา คนสงขลากินอาหารท้องถิ่นที่แปลก แตกต่างจาก อาหารของจังหวัดอืน่ ๆ อาหารเหล่านี้ มีต�ำหรับจากทัง้ ไทย จีน และมุสลิม ผสานรวมกันเป็นอาหารที่มีรสชาติ และหน้าตาเฉพาะตัวของสงขลา ไม่เพียงแค่คนต่างถิ่นไม่เคยได้ชิม ปัจจุบันแม้แต่คน สงขลาเอง บางอย่างยังหาทานยาก ใครได้แวะมาเที่ยว เมืองสงขลา เราเลยไม่อยากให้พลาด ลองแวะไปชิมอาหารท้องถิน่ โบราณดัง้ เดิมแท้ๆ ของ สงขลากัน..
ข้าวสตู อาหารเก่าแก่ของสงขลา สตูทสี่ งขลาจะไม่เหมือนกับสตู อาหารฝรั่งเสียทีเดียวเพราะ สูตรของที่นี่นั้นประกอบไป ด้วย เนื้อหมู เนื้อไก่ ไส้อ่อน ตับ ม้าม และเลือดหมูก้อน มี นำ�้ ซุปสีเข้ม โรยด้วยต้นหอมหัน่ ซอย เสิรฟ ์ ร้อนๆ กินพร้อม กับข้าวสวย ตัดกับน�้ำจิ้มรสเปรี้ยวนิด หวานหน่อย สตูของสงขลา อาจดูคล้ายๆต้มเลือดหมู แต่ต่างกันที่ น�ำ้ ซุป ทีม่ คี วามข้น เพราะใส่กะทิ และเครือ่ งยาจีน ทีส่ ง่ กลิน่ หอม กลมกล่อมให้อาหารจานนี้น่าทานยิ่งขึ้น สตูเข้ามาในเมืองสงขลาโดยกุก๊ ชาวจีนไหหล�ำคนหนึง่ ที่ เคยประจ�ำบนเรือฝรัง่ เมื่อมาลงหลักปักฐานที่สงขลา ก็น�ำ สูตรสตูเข้ามาแล้วใส่เครือ่ งยาจีนให้ถกู ปากขึน้ แต่เนือ่ งด้วย สมัยนัน้ มีสงครามโลกท�ำให้วถั ดุ บิ ส�ำคัญอย่างเนยหายาก จึงหันมาใช้กะทิแทน และสืบทอดมาจนปัจจุบัน
175
ไข่ครอบ เป็ น ภู มิ ป ั ญ ญาการถนอมอาหารอย่ า งหนึ่ ง ของ ครอบครัวชาวประมงพื้นบ้านแถบริมทะเลสาบสงขลา สมัยก่อนก่อนท�ำเพื่อถนอมอาหาร รักษาไข่แดงที่เหลือ จ�ำนวนมากจากการใช้ ไข่ขาวย้อมด้ายอวน แห โดยการน�ำ ไข่แดงหมักเกลือแล้วนึ่ง สมัยก่อนไข่ครอบถือเป็นของหากินยากเพราะ มีขายก็ ต่อเมื่อมีการย้อมเส้นด้าย ในช่วง 1-2 สัปดาห์ แต่ในปัจจุบนั นัน้ ท�ำขายเป็นอาชีพกันหลายครัวเรือน ใน ตลาดนัดวันต่างๆ ของสงขลา ในร้านข้าวแกงก็มีจ�ำหน่าย
177
ข้าวมันแกงไก่ อาหารเก่าแก่ดงั้ เดิมของชาวสงขลาอีกอย่างหนึง่ คือ ข้าวมันแกงไก่ ทีแ่ ตกต่างจากข้าวมันไก่ธรรมดาอยูม่ าก เพราะข้าวมันแกงไก่นนั้ รับประทานกับเครือ่ งเคียงหลาย ชนิด เช่น กุ้งหวาน , น�้ำพริกมะขาม , น�้ำพริกกระเทียม , ปลาไส้ตันทอดกรอบ และผักสดต่างๆ แกงไก่ แกงด้วยเครื่องแกงเผ็ดกับน�้ำกะทิ ปรุงรส หวาน มัน เค็ม ราดข้าวน�้ำขลุกขลิก ส่วนข้าวมัน หุงด้วยน�้ำกะทิ ต่างจากข้าวมันไก่ ที่หุง ด้วยน�้ำซุปไก่
179
เต้าคั่ว ออกเสียงตามภาษาท้องถิน่ ว่า “ท่าวคัว้ ” ชือ่ ของอาหาร ท้องถิ่นชนิดหนึ่งของคนสงขลา ส่วนประกอบของเต้าคั่ว มีเส้นหมี่ลวก , ผักบุ้งหั่นลวก , ถั่วงอกลวก, หมูสามชั้น (ต้มแล้วหั่นเป็นชิ้นบางๆ) , ไข่ต้มผ่าครึ่ง , เต้าหู้ทอดหั่น บางๆ , แตงกวาหั่น, กุ้งชุบแป้งทอด ส่วนประกอบทัง้ หมดนีจ้ ะต้องราดด้วยนำ�้ ราดเต้าคัว่ ที่ มีส่วนผสมของน�้ำตาลปี้ป น�้ำปลา น�้ำส้มสายชูกระเทียม สับ เคี่ยวจนน�้ำกึ่งเหนียวกึ่งใส มีรสเค็มรสหวานน�ำ รส เปรี้ยวตาม คลุกเคล้าส่วนผสมทั้งหมดให้เข้ากัน เต้าคั่วสามารถหาทานได้ทั่วไปในจังหวัดสงขลา หรือ บริเวณถนนนางงามก็มรี า้ นเต้าคัว่ เจ้าดัง ชือ่ ร้าน “ป้าจวบ”
181
T HA NKS ขอบคุณ..ค�ำทีเ่ ราอยากบอกทุกคนทีร่ ว่ ม เดินทางไปกับเรา ขอบคุณ..ครอบครัวทีค่ อยอยูเ่ คียงข้างกัน เสมอ ทุกคนคือก�ำลังใจทีด่ ที สี่ ดุ ของเรา ♥ ขอบคุณ..ทีป่ รึกษา และกรรมการทุกๆ คน ที่ทั้งเคี่ยว ทั้งเข็น ให้หนังสือเล่มนี้ออกมา ขอบคุณ..เพื่อนๆ ที่ท�ำให้เรายังคงยิ้มได้ แล้วก้าวไปด้วยกัน สุดท้าย ขอบคุณสงขลา ทีท่ �ำให้สองขาเรา ยังคงก้าวต่อไป
จุลนิพนธ์ฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาในหลักสูตรปริญญานิเทศศาสตร์บัณฑิต สาขานิเทศศาสตร์ เอกวารสาร และหนังสือพิมพ์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร ปีการศึกษา 2557
ลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยศิลปากร