การถ่ายภาพเพื่อการสื่อสาร บทนําของการสื่อสาร การติดต่อสื่อสาร คือ กระบวนการในการส่งผ่านหรือสื่อความหมายระหวา่ง บุคคล สังคม มนุษย์เป็น สัตว์ สังคม ที่สมาชิกสามารถใช้ความสามารถของตนสื่อความหมาย ให้ผู้อื่นเข้าใจได้ โดยแสดงออกในรูปของ ความ ต้องการ ความปรารถนา ความรู้สึกนึกคิด ความรู้และประสบการณ์ต่างๆ จากบุคคลหนึ่งไปสู่อีกบุคคลหนึ่ง การติ ดต่อสื่อสารจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ในฐานะที่เป็นศูนย์กลางแห่งสถานการณ์และพฤติกรรมที่ก่อให้เกิด ประโยชน์แก่มนุษย์ มนุษย์สามารถส่งข่าวสารไปยังมนุษย์อีกผู้หนึ่ง ซึ่งทำหน้าที่ เป็นผู้รับ (Receiver) โดยมนุษย์ ที่ ทำหน้าที่เป็นผู้ส่ง (Sender) เจตนาที่จะใหเ้ กิดผลกระทบต่อพฤติกรรมของมนุษย์ที่ทำหน้าที่เป็นผู้รับ ฉะนั้น จึง อาจให้คํานิยามการติดต่อสื่อสารอย่างง่ายๆว่า การติดต่อสื่อสาร หมายถงึ ศิลปะแห่งการถ่ายทอดข่าวสาร ความ รู้สึกนึกคิด และทัศนคติจากบุคคลหนึ่งไปสู่อีกบุคคลหนึ่ง (วิรัช ลภิรัตนกุล (2527) ใน วิทยา ดํารงเกียรติศักดิ์, 2537:19) องค์ประกอบของการสื่อสาร 1. ผู้ส่งสาร (Communicator or Sender) เป็นผู้ที่ทำหน้าที่ รวบรวมข้อมูลข่าวสาร จัดเป็นระเบียบ ก่อนที่จะส่ง สารนํ้นไปยังผู้รับ เพื่อทําหน้าที่เป็นผู้ถ่ายทอดสารนั้น 2. สาร (Message) เป็นข้อมูลในลักษณะต่าง ๆ ได้แก่ความรู้ เกี่ยวกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งได้มาจากหน่วยงานทางวิชาการ จากการค้นพบจากนักวิชาการ หรือหน่วยงานวิจัย อื่น ๆ 3. ช่องทางข่าวสาร (Channel) คือช่องทางที่ใช้ในการส่งข่าวสารนั้นๆ ซึ่งได้แก่ สื่อหรือวิธีการส่งเสริมในรูป แบบต่าง ๆ เช่นแผ่นพับ, แผ่นโฆษณา, หนังสือพิมพ,์ นิทรรศการ, วิทย,ุ โทรทัศน์ เป็นต้น 4. ผู้รับสาร (Receiver) ผู้รับสารในที่นี้ หมายถึง บุคคล เป้าหมาย ซึ่งผู้ส่งสารต้องการใ เพื่อห้ผู้รับสารเข้าใจ ตามที่ผู้ส่งต้องการ และนำความรู้ต่างๆนั้น ไปใช้ในการแก้ปัญหาหรือประกอบอาชีพ แล้วแต่จุดประสงค์ ของ ผู้ส่งสาร ซึ่งผู้รับสารนั้น ป็นจุดหมายปลายทางของผู้ส่งนั่นเอง นักสื่อสารหรือนักนิเทศศาสตร์ ในฐานะเป็นผู้ส่งสาร (sender) ซึ่งรับข่าวสารจากหน่วยงานต่างๆ หรือเป็นผู้ที่ ผลิตข่าวสารนั้นๆ เพื่อนําข่าวสารนั้นไปถ่ายทอดสู่บุคคลเป้าหมาย จึงต้องมีการจัดเตรียมข่าวสาร(message) ต่างๆ ให้เป็นระบบ และยังต้องอาศัย สื่อ เป็นช่องทางในการส่งข่าวสาร (Channel) หากไม่มีช่องทางก็ไม่สามารถไปถึง ผู้รับ (receiver) ได้
วิธีการในการใช้สื่อ มีรูปแบบคล้ายคลึงกับวิธีการเผยแพร่ หรือผลิตสื่อการสอน ได้แก่ 1. การสื่อสารแบบรายบุคคล เช่น การพบปะพูดคุย หรือการสอนแบบ ตัวต่อตัว 2. การสื่อสารแบบกลุ่ม ได้มีการใช้สื่อในรูปแบบต่างๆ เช่น การสาธิต, การประชุม, การบรรยายเป็นต้น 3. การสื่อสารแบบมวลชน ใช้สื่อในรูปแบบของเอกสารสิ่งพิมพ์ต่างๆ, หนังสือพิมพ,์ วิทย,ุ โทรทัศน,์ รวมถึง แผ่นโฆษณา จากการศึกษาถึงการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ของมนษุย์ คือ ตา หู จมูก ลิ้น และ ผิวหนัง จะเห็นได้ว่า ในวัน หนึ่งๆ มนษุย์เราจะใชัประสาทสัมผัสต่างๆ เป็นร้อยละ ดังนี้ (บุญสม วราเอกศิร,ิ 2538: 164) - จักษุสัมผัส - โสตสัมผัส - นาสิกสัมผัส
83.0% 11.0% 3.5%
- กายสัมผัส - รสสัมผัส
1.5% 1.0%
อย่างไรก็ตาม ประสาทสัมผัสต่างๆ ทั้ง 5 นั้น มนุษย์ไม่ได้รับในอัตราที่เท่ากัน เป็นค่าเฉลี่ยเท่านั้น ยังมีปัจจัย อื่นๆ อีกหลายประการที่เกี่ยวข้อง จากข้อมูลดังกล่าว เป็นผลส่งให้การผลิตสื่อที่ดีนั้น ควรมีลักษณะเป็นรูปธรรม โดยการนําภาพ มาใช้ประกอบในการผลิตสื่อแต่ละชนิด เพราะเป็นสิ่งแรกที่มนุษย์สามารถรับสัมผัสได้มากที่สุด ซึ่งประกอบกับ ธรรมชาติของตัวภาพเอง สามารถสื่อสารได้ด้วยตัวเอง บางครั้งไม่ต้อง ใช้สื่ออื่นมาประกอบ ภาพ สามารถ บอกอารมณ์ ความรู้สึกได้เป็นอย่างดี
ประเภทของสื่อที่เกี่ยวข้องกับภาพถ่าย ณรงค์ สมพงษ์ (2535: 33) ได้กล่าวถึงการจัดแยกประเภทของสื่อ โดยมุ่งเทคนิคต่างๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับวัสดุที่ ใช้ในการผลิตสื่อนั้น ได้แยกไว้ดังนี้ 1. 2. 3. 4.
ภาพถ่าย (Photography) รูปภาพ (Illustration) ภาพยนตร์ (Film) การบันทึกภาพวิดีโอ (Video recording)
หากสังเกตดูจะพบว่า ภาพถ่ายได้ถูกจัดว่าเป็น วัสดุที่ใช้เป็นพื้นฐาน อาจเป็นเพราะว่า สื่อที่น่าสนใจ แทบทุก ชนิด มักจะมีภาพถ่ายประกอบอยู่ด้วยเสมอ เคยมีผู้กล่าวว่า “ ภาพ 1 ภาพมีความหมายมากกว่าคําพันคํา ” ถ้านัก สื่อสาร สามารถนําภาพถ่ายมาใช้ในการผลิตสื่อแต่ละชนิด ก็จะช่วยให้การสื่อความหมายได้และมีประสิทธิภาพ มากขึ้น ในฐานะนักนิเทศศาสตร์ ต้องยอมรับว่า การถ่ายภาพ เพื่อนำไปใช้ในการผลิตสื่อรูปแบบต่างๆ นั้น เป็นสิ่งจํา เป็น และต้องเรียนรู้และศึกษา โดยการเรียนรู้ การใช้อุปกรณ์ที่เป็นพื้นฐาน จากนั้นจึงศึกษาถึงการจัด องค์ประกอบ ภาพ การสร้างจุดสนใจของภาพ เการรียนรู้ทฤษฎีต่างๆ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้งาน ในการสื่อสารรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารรายบุคคล รายกลุ่ม หรือ สื่อมวลชน นักนิเทศศาสตร์ ควรมีศิลปะในการถ่ายภาพ เรียนรู้ ที่ จะนําภาพถ่าย ไปใช้ผลิตสื่อในรูปแบบอื่นๆ ได้ด้วยตนเอง เพื่อความรวดเร็ว ประหยัดเวลา และสามารถถ่ายทอด ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตรงตามจุดประสงค์และเป้าหมายที่ตั้งไว้ การถ่ายภาพกลายเป็นสิ่งจําเป็นสำหรับนัก สื่อสารและนักนิเทศศาสตร์ หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตสื่อโดยตรง เพื่องานส่งเสริมและเผยแพร่ การนำภาพนิ่ง ที่ได้จากการถ่ายภาพ มานําเสนอ จัดพิมพ์เป็นเอกสาร ใช้อธิบายความหมาย เช่น การผลิตแผ่นโฆษณาประชาสัม พันธ์ ประกอบข่าว, นิตยสาร, ตํารา ฯลฯ หรือจัดทำเป็นภาพนิ่ง ใช้จัดนิทรรศการ ย่อมน่าสนใจกว่าสื่ออื่น ที่ ไม่ใช้ภาพประกอบแน่นอน
สรุป งานด้านการสื่อสาร คืองานที่ทําหน้าที่เผยแพร่ข่าวสาร ความรู้ไปสู่บุคคลเป้าหมาย โดยใช้สื่อต่า ๆ เป็น ช่อง ทางในการเผยแพร่ และทํานองเดียวกันนี้เอง ภาพถ่ายได้ถูกนำมาใช้ในการเผยแพร่ และใช้เป็นพื้นฐานในการผลิต สื่อต่างๆ เช่น การผลิตสไลด์ประกอบเสียง การผลิตแผ่นพับ, โปสเตอร,์ เอกสาร เผยแพร่ จดหมายข่าว, แผ่นปลิว รวมถึงนําความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการผลิตรายการโทรทัศน์และภาพยนตร์อีกด้วย
ภาพถ่ายที่ดี ย่อมมาจากการถ่ายภาพที่ดี การถ่ายภาพที่ดีนั้นมาจากปัจจัยหลายประการ เช่น พื้นฐาน ความรู้ทาง ศิลปะ และประสบการณ์ ดังนั้น การนำภาพถ่ายไปใช้ในการผลิตสื่อต่างๆ ก็สมควรที่จะใช้เฉพาะภาพถ่ายที่ดี เพื่อ ให้สื่อนั้นสามารถทําหน้าที่เผยแพร่ ถ่ายทอดความรู้ได้เป็นอย่างดีเช่นกัน
การวิจัยเกี่ยวกับการใช้ภาพนิ่ง Brown, Lewis and Harcherood, 1969: หน้า 198; Heinech, Molenda and Russell, 1982: หน้า 84-85 ในวิทยา ดํารงเกียรติศกัดิ์ (2532:231) ได้กล่าวถึง การวิจัยที่เกี่ยวกับการใช้ภาพนิ่ง ไว้ดังนี้ • รูปภาพ เป็นเครื่องมือที่ช่วยทําใหเ้กิดความสนใจที่มีประสิทธิภาพ • รูปภาพช่วยในการตีความหมายและการจดจําเนื้อหา • รูปภาพช่วยในการถ่ายทอดความคิดที่เป็นนามธรรมออกมาในรูปของรูปธรรม • รูปภาพใช้งานเพราะไม่ต้องใช้อุปกรณ์มาก • รูปภาพมีราคาถูก • รูปภาพใช้ได้หลายแบบและใช้ในการถ่ายทอดความรู้ให้แก่บุคคลได้ทุกระดับ ทุกสาขาวิชา ประโยชน์ของภาพถ่ายแยกตามประโยชน์ ที่จะได้รับ รูปภาพ หรือภาพถ่าย ดังที่กล่าวมาอาจพอสรุปได้ว่า ภาพถ่ายช่วยให้เกิด ความสนใจ เมื่อนําไปใช้ ประกอบกับการผลิตสื่อชนิดต่าง ๆ ก็จะยิ่งให้ผลดียิ่งขึ้น ประโยชนท์ ี่จะเกิดกับบุคคลเป้าหมาย 1. ทําให้เข้าใจความหมาย โดยดูจากภาพถ่าย ไม่ต้องอธิบาย 2. ช่วยใหเ้ รียนรู้ได้ดีขึ้น 3. ช่วยสร้างความสนใจในสื่อนั้นๆ เช่น แผ่นพับ, โปสเตอร์ การจัดนิทรรศการ 4. ช่วยเกิดการจดจํา นําไปใช้เป็นหลักฐานเพื่อการศึกษาภายหลัง เก็บไว้ได้นาน ประโยชนที่จะเกิดกับ ประโยชน์ ที่จะเกิดกับนักสื่อสาร 1. ประหยัดเวลาในการสื่อสาร และสามารถอธิบายข่าวสารได้อย่างรวดเร็ว 2. ถ้าจัดเรียบเรียงให้เป็นระบบ มีระเบียบ จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการถ่ายทอดความรู้ได้ 3. ทําให้การถ่ายทอดมีประสิทธิภาพและน่าสนใจ สามารถดึงดูด กระตุ้นผู้เรียน (บุคคลเป้าหมาย) ได้ 4. ใช้สร้างสรรค์แนวความคิด ปรับใช้ในการผลิตสื่อชนิดอื่นๆ ต่อไป 5. เก็บเป็นหลักฐานในการผลิตงานหรือนําเสนอในรูปแบบอื่นๆ ได้ไม่ จํากัด ประโยชน์ของภาพถ่ายในด้านการถ่ายทอดความรู้ 1. ใช้ขยายวัตถุขนาดเล็ก ให้ใหญ่ขึ้น เพื่ออธิบายให้ความรู้ มองภาพได้ชัดเจน เช่น เมล็ดพันธุ์พืชขนาดเล็ก โรค พืชที่เกิดขึ้นในส่วนต่างๆของต้นพืช แมลง ศัตรูพืชชนิดต่างๆ เป็นต้น หรือสิ่งของขนาดเล็กเพื่อการศึกษา 2. ใช้ย่อวัตถุขนาดใหญ่ ให้เล็กลง เพื่อใช้อธิบายหรือมองเห็นภาพรวมๆ ได้ เช่น ภาพถ่ายทางอากาศ สภาพป่า ไม้, เขื่อน, พื้นที่ทางการเกษตร, สภาพภูมิทัศน์ เป็นต้น 3. เก็บภาพตามระยะเวลาหรือภาพในอดีต เพื่อใช้นำมาศึกษาหาข้อมูล ในการแก้ปัญหา ศึกษาวิจัย เช่น การ เจริญเติบโตของพืช และสัตว์ เก็บเป็นระยะๆ ทุกขั้นตอน สามารถนำมาจัดลําดับ ใช้ภาพถ่ายนี้ผลิตเป็นสื่อ เพื่อกา
รถ่ายทอดความรู้ได้ รวมถึงขั้นตอนการทํางานต่างๆ เช่นการสาธิตวิธีการต่างๆ บันทึกเก็บไว้เป็นขั้นตอน เพื่อจัด พิมพ์อีกครั้ง 4. ใช้ในการประชาสัมพันธ์ และโฆษณา ซึ่งมักนิยมใช้ภาพถ่ายมาประกอบ เพื่อกระตุ้นความสนใจ การแนะนำ สถานที่ท่องเที่ยว สร้างภาพพจน์ที่ดีแก่หน่วยงาน และสร้างความน่าเชื่อถือให้เกิดขึ้น หรือชักชวนให้เกิด การก ระทําอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งภาพสีและภาพสไลด์ นักนิเทศศาสตร์สามารถนำภาพถ่ายมาใช้ประกอบในการ จัดทํา ต้นฉบับ หรือจัดพิมพ์เอง โดยแบ่งตามวิธีการใช้ในแต่ละงานดังนี้ ก. ใช้โดยตรง ได้แก่ การนําภาพที่ถ่าย แล้วอัดขยายตามขนาดที่ต้องการ เพื่อใช้อธิบายความหมายต่าง ๆ การถ่ายเป็นภาพสไลด์ เพื่อนำเสนอผลงาน แสดงส่วนที่สําคัญ ใช้อธิบายความหมายเพื่อเสริมสร้างความเข้าใจ ข. ใช้เพื่องานพิมพ์ ได้แก่ การจัดภาพถ่ายลงในสิ่งพิมพ์ แผ่นพับ, ส่งหนังสือพิมพ,์ วารสารต่าง ๆ, แผ่นปลิว, ผลิตภาพพลิก, จดหมายข่าว, เอกสารเผยแพร่ ชนิดต่างๆ จัดทําโปสเตอร,์ ใช้ในการจัดนิทรรศการ ค. ใช้ทางอ้อม หมายถึง เมื่อได้เรียนรู้พื้นฐานและเทคนิคการถ่ายภาพแล้ว สามารถนําเทคนิคต่าง ๆ เหล่านั้น ไป ประยุกต์ ปรับใช้ในการผลิตสื่อประเภทอื่นๆ ได้แก่ การผลิตสไลด์ประกอบเสียง การผลิตรายการวิดิทัศน์ การจัด รายการโทรทัศน์ การบันทึก ป็นฟิล์มภาพยนตร์ การนําภาพถ่ายในการสื่อสารไปใช้ประโยชน์ กล่าวโดยสรุป ภาพถ่ายได้ถูกนํามาใช้ในการสื่อสารในรูปแบบต่างๆ อย่างแพร่หลาย ด้วยเหตุผลที่สามารถ ช่วย ให้ผู้ส่งสารประหยัดเวลาอธิบายได้เป็นรูปธรรมมากขึ้น ในด้านผู้รับสารเอง ก็จะใช้เวลาน้อย และให้ความสนใจ เพิ่มมากขึ้น ในการรับรู้การถ่ายทอดนั้นๆ อีกทั้งภาพถ่าย ได้ถูกนำไปประกอบใช้ ในการผลิตสื่อชนิดต่างๆ อีก มากมาย ดังนั้น ไมว่าจะเป็นภาพถ่ายชนิดใดก็ตาม เช่น ภาพถ่ายใกล้ ภาพทิวทัศน์ ภาพผลผลิตเกษตร และภาพ ลักษณะอื่น ๆ อีกหลาย รูปแบบ ไม่มีข้อกําหนดตายตัวว่าจะเกี่ยวข้องทั้ง คน สัตว์ สิ่งของ และสถานที่ ควรที่จะ ศึกษารูปแบบของการถ่ายภาพในแต่ละชนิด ให้ครบถ้วน เพื่อนำไปใช้ให้ถูกต้องตามสภาพการณ์ และเวลานั้นๆ และไม่ได้จํากัดขอบเขตในการนําไปใช้งาน จึงสามารถนําภาพถ่ายและเทคนิคต่างๆ ไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับ งานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้อีก
มุมมองของการถ่ายภาพเพื่อการประชาสัมพันธ์ ภาพเป็นองค์ประกอบที่สำคัญมากในงานวารสารศาสตร์ เนื่องจากการสื่อสารด้วยภาพจะให้ความสมบูรณ์ในการ ทำความเข้าใจเนื้อหาได้ง่ายขึ้น อาจจะดีกว่าการเขียนหรือการบอกเล่าด้วยวาจา เป็นการช่วยสร้างความเข้าใจให้ตรงกันระหว่างผู้ เขียนและผู้อ่าน อันเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการสื่อความหมาย การใช้ภาพถ่ายในการรายงานข่าว มีความสำคัญมากกับงานหนังสือพิมพ์ โดยมีวัตถุประสงค์ของการถ่ายภาพเพื่อการ รายงานข่าวตามลักษณะหน้าที่ดังนี้ 1. ภาพเป็นข่าว/ภาพข่าว คือภาพที่มีความเป็นข่าวในตัวของภาพเอง โดยไม่มีเนื้อข่าวประกอบ ส่วนใหญ่เป็นภาพเร้า อารมณ์ เช่น ภาพอุบัติเหตุ ภัยพิบัติ ภาพข่าวอาชญากรรม ภาพข่าวสังคมต่างๆ เป็นต้น 2. ภาพประกอบข่าว คือภาพที่ตีพิมพ์เพื่อประกอบข่าวที่นำเสนอในหน้าหนังสือพิมพ์ โดยภาพที่ประกอบข่าว มีทั้ง ภาพที่ได้จากสถานที่เกิดเหตุ หรือเป็นภาพที่นำมาจากแฟ้มภาพ 3. ภาพประกอบรายงานพิเศษ หรือคอลัมน์ประจำ ส่วนใหญ่หนังสือพิมพ์ไม่ตีพิมพ์ภาพประกอบคอลัมน์ประจำ บาง ชิ้นมีลักษณะคาบเกี่ยวระหว่างรายงานพิเศษกับคอลัมน์ประจำ จึงจัดไว้ในกลุ่มเดียวกัน 4. ภาพประกอบการแนะนำเนื้อหาเด่นในเล่ม คือภาพที่เสนอประกอบการแนะนำเนื้อหาเด่นในเล่ม ปกติภาพประเภท นี้ จะเป็นภาพเดียวกับภาพถ่ายในเล่ม โดยย่อขนาดเล็กลง 5. ภาพประกอบอื่นๆ เป็นภาพที่นำมาประกอบการนำเสนอเนื้อหาต่างๆ ที่ไม่ใช่ข่าว รายงานพิเศษ คอลัมน์ประจำ หรือกรอบแนะนำเนื้อหาเด่นในฉบับ ส่วนใหญ่เป็นภาพที่ตีพิมพ์ในโอกาสพิเศษต่างๆ คุณลักษณะของภาพที่จะนำลงพิมพ์ ภาพที่จะนำลงพิมพ์ ควรประกอบด้วยคุณลักษณะใหญ่ๆ 2 ประการคือ 1. คุณลักษณะทางการเสนอเรื่องราว 2. คุณลักษณะทางภาพ คุณภาพของภาพข่าว ภาพข่าว มีจุดมุ่งหมายเพื่อการสื่อสาร ในเชิงคุณค่าของข่าว (News Value) ในขณะที่ภาพถ่ายทั่วไป มุ่งที่ ศิลปะ การจัด องค์ประกอบภาพ (Composition) เป็นสำคัญ 1. ภาพข่าวควรมีองค์ประกอบของความน่าสนใจ 2. ภาพข่าวต้องมีคุณภาพด้านเนื้อหาสมบูรณ์พอ ที่จะบอกเรื่องราวของเหตุการณ์ให้ผู้อ่านเข้าใจได้ 3. ภาพข่าวต้องสื่อความหมายในเรื่องที่ต้องการสื่อได้อย่างชัดเจน 4. ภาพข่าวจะตอบคำถาม ให้แก่ผู้อ่านได้เหมือนกับได้อ่านความนำของข่าว 1 ข่าว คือ ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร อย่างไร (Who What When Where How) 5. ภาพข่าวคารจะต้องมีคุณภาพดีพอ สามารถเก็บรายละเอียดของเรื่องได้ มีความคมชัดและสื่อเรื่องราวทุกอย่างได้ ครบถ้วน 6. ควรเป็นภาพที่มีความคมชัด ชัดเจน ไม่ไหวหรือพร่ามัว 7. มีความสอดคล้องกับเหตุการณ์ หรือข่าว ภาพต้องตรงกับเนื้อหาข่าว
8. ภาพนั้นๆ สามารถใช้แทนตัวหนังสือได้ สามารถแสดงเหตุการณ์หรือการกระทำได้อย่างชัดเจน ในกรณีที่ตัว หนังสือไม่สามารถบรรยายได้ เช่น ภาพแผนผัง ภาพสเกตช์ ภาพข่าวกับการรายงานข่าวประเภทต่างๆ การเลือกภาพเพื่อใช้ในการรายงานข่าว ดำเนินการโดยบรรณาธิการข่าว ที่ต้องอาศัยทักษะและประสบการณ์ในการคัด เลือกภาพ เพื่อนำมาประกอบการรายงานข่าว หรือใช้เป็นภาพข่าว ร่วมกับการใช้คำบรรยายภาพเพื่อเสริมให้ข่าวสมบูรณ์ ภาพข่าวที่ใช้ในการรายงานข่าว ต้องเป็นภาพที่บันทึกในสถานที่จริง สถาณการณ์จริง เหตุการณ์จริง ดังนั้น ช่างภาพ ต้องบันทึกภาพอย่างรวดเร็ว และฉับไว ดังนั้นภาพที่ได้มา บางครั้งอาจจะไม่สมบูรณ์ในเรื่องของการจัดองค์ประกอบ แสงเงา ที่ สวยงามไปบ้าง ซึ่งอาจจะไม่ใช่สิ่งสำคัญมากนักสำหรับงานภาพข่าว ความสำคัญอยู่ที่ ภาพนั้นสามารถบอกเรื่องราวได้มากน้อย เพียงใด สามารถสื่อสารไปยังผู้่อ่านให้เข้าใจชัดเจนได้เพียงใด ช่างภาพข่าวจึงต้องกล้าเข้าไปในเหตุการณ์ กล้าตัดสินใจอย่าง รวดเร็วที่จะกดชัตเตอร์เมื่อใด ภาพข่าวบุคคลสำคัญ 1. ควรเป็นภาพที่สื่อความหมายชัดเจน ดึงดูดความสนใจให้ผู้อ่านหยุดมอง และกระตุ้นให้ติตามเนื้อหาของข่าว 2. เรื่องราวของภาพ อารมณ์ของภาพ ความแปลกตาของภาพ และมุมที่สวยงามของภาพ 3. มีความคมชัดในตำแหน่งที่ถูกต้อง หรือในจุดสำคัญของเหตุการณ์ หรือบุคคลที่จะเป็นข่าว ต้องมีความคมชัด มากกว่าส่วนอื่น 4. การจัดสภาพแสงเงาที่เหมาะสม จะช่วยเสริมให้ภาพนั้นน่าสนใจและสวยงามขึ้น ภาพข่าวกีฬา 1. ควรให้ความสำคัญหรือเน้นไปที่ การที่ผู้แข่งขันพยายามช่วงชิงความได้เปรียบในเกมส์การแข่งขัน เช่น กีฬาฟุตบอล ช่างภาพควรเน้นไปที่คู่แข่งขันกำลังแย่งชิง การครอบครองบอลด้วยลีลาต่างๆ โดยเฉพาะท่าทางที่แปลกตาและน่าสนใจ ลักษณะ การเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อที่ดูเป็นธรรมชาติ 2. อย่าลืมที่จะต้องถ่ายให้เห็นอุปกรณ์ในการเล่นกีฬานั้นๆ ด้วย ในขณะที่คู่แข่งขันกำลังแย่งชิงกัน หรือกำลังเล่นอยู่ โดยให้เห็นใบหน้าที่แสดงถึงอารมณ์และความรู้สึกของการแย่ชิงและป้องกันอุปกรณ์กีฬานั้น 3. เป็นความจำเป็น สำหรับช่างภาพที่ควรจะต้องมีอุปกรณ์อื่นๆ ประกอบ เพื่อให้สามารถได้ภาพถ่ายที่ดี เช่นการมี เลนส์เฉพาะสำหรับการถ่ายภาพกีฬา เช่นเลนส์เทเลโฟโต้ เลนส์ซูม ขาตั้งกล้อง เป็นต้น 4. ความรู้ในกีฬาประเภทนั้นๆ ความสามารถ ประสบการณ์ และการตัดสินใจ ในการรอจังหวะกดชัตเตอร์ ในช่วง เวลาที่เหมาะสมของช่างภาพ จะทำให้ได้ภาพข่าวกีฬาที่สวยงาม 5. ฉากหลัง (Background) ถึงแม้จะไม่ใช่สิ่งที่สำคัญในอันดับต้นๆ แต่เป็นองค์ประกอบอย่างหนึ่ง ที่จะทำให้ภาพข่าว ดูน่าสนใจมากขึ้น โดยทั่วไปแล้วจะอยู่นอกระยะชัด แต่เป็นส่วนเสริมให้ภาพมีเรื่องราวและสื่อสารได้ครบถ้วน ดังนั้นถ้าเป็นไป ได้ ควรเลือกฉากหลังที่มีผู้ชมนั่งชมอยู่บนอัฒจันทร์หรือตามขอบสนาม จะทำให้ภาพน่าสนใจขึ้น หลักการถ่ายภาพข่าวสำหรับช่างภาพข่าว 1. ว่องไว ช่างภาพต้องมีหูตาไว รู้ว่าอะไรเป็นข่าว อะไรไม่เป็นข่าว พร้อมที่จะถ่ายภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเสมอ โดย การเตรียมพร้อมตนเองและเครื่องมือ (กล้องถ่ายรูป) ที่พร้อมใช้ตลอดเวลา เมื่อมีเหตุการณ์เกิดขึ้น สามารถหยิบกล้องและกด ชัตเตอร์ได้ทันที และให้ถ่ายไว้ให้มากที่สุด เท่าที่จะทำได้ ยิ่งถ่ายไว้มากๆ ยิ่งดี ทำให้มีโอกาสได้เลือกภาพมากขึ้น
2. ใจกล้า กล้าที่จะเลี่ยงกับอันตรายต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ ซึ่งอาจจะทำให้ได้ภาพที่ดีๆ ก็เป็นไปได้ อย่างไรก็ตาม ช่าง ภาพจำเป็นต้องดูความเหมาะสม และใช้ความระมัดะวังเป็นพิเศษด้วย เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดอันตรายให้มากที่สุด 3. หน้าด้าน ถึงแม้ว่าจะถูกด่า ถูกไล่อย่างไรก็ตาม อย่าอาย หรืออย่าประหม่า ถ้าจะต้องถ่ายภาพการประชุม หรือสถาน ที่ที่มีผู้คนเป็นจำนวนมาก การฝึกถ่ายภาพบ่อยๆ และสร้างความมั่นใจ จะช่วยให้ความอาย ความประหม่าค่อยๆ หายไปได้ 4. อดทน ช่างภาพที่ไม่มีความอดทน บางครั้งอาจไม่ได้ภาพดีๆ โดยเฉพาะการถ่ายภาพข่าวบางประเภท อาจจะต้องใช้ เวลาในการรอนาน กว่าจะถ่ายภาพได้ หรืออาจจะต้องเดินทางด้วยความยากลำบาก เพื่อให้ได้ภาพ คำบรรยายภาพ คือถ้อยคำที่ใช้ในการอธิบายภาพ เพื่อบอกเรื่องราวหรือเหตุการณ์ในภาพ ให้คนดูเข้าใจภาพ สำหรับภาพข่าว เพื่อให้รู้ว่า ภาพนั้นๆ เป็นเรื่องอะไร ที่ไหน เมื่อไร และอย่างไร หรือเป็นภาพใคร ทำอะร ที่ไหน เมื่อไร และอย่างไร เป็นคำบรรยายสั้นๆ แต่ ครอบคลุมความเข้าใจได้หมด สำหรับภาพข่าวที่ใช้ประกอบข่าว คำบรรยายจะต้องเป็นส่วนหนึ่งที่มีอยู่ในข่าว เพื่อคนที่ไม่อยากอ่านข่าว เพียงอ่านคำ บรรยายภาพก็พอเข้าใจและรู้เรื่องได้ ภาพไม่ต่างกับข้อเขียน ในการเสนอต่อประชาชน จะต้องมีหลักการว่า ในภาพนั้นสื่ออะไรต่อผู้อ่าน หรือต้องการให้ผู้ อ่านรู้เรื่องอะไร การบรรยายภาพควรเขียนในส่วนที่ประชาชนยังไม่ทราบ อาจจะเป็นลักษณะการขยายความก็ได้ ประเภทของคำบรรยาย 1. อธิบายภาพหรือคำบรรยายภาพ ที่เป็นส่วนหนึ่งของข่าว ภาพซึ่งมีเรื่องราวรายละเอียดพิมพ์ในหน้าเดียวกัน คำ อธิบายภาพหรือคำบรรยายภาพ ไม่จำเป็นต้องให้ละเอียดมากนัก เขียนิย่างสั้นๆ ได้ใจความ โดยอาจบอกชื่อบุคคลในภาพ หรือ สาระสำคัญของภาพเท่านั้น เพื่อให้ผู้อ่านเห็นภาพเหตุการณ์ชัดเจนขึ้น 2. อธิบายภาพหรือคำบรรยายภาพ ซึ่งพิมพ์เรื่องไว้คนละหน้า คำอธิบายประเภทนี้ ค่อนข้างยาว ให้รายละเอียดมากขึ้น ขณะเดียวกัน เป็นการเชิญชวนให้ติดตามเรื่องราวละเอียดในหน้าถัดไป 3. ภาพข่าวหรือภาพเป็นข่าว บางครั้งภาพที่มีคุณค่าทางข่าวสูง โดยไม่จำเป็นต้องมีการเขียนข่าวละเอียด เพียงแต่อ่านดู จากภาพ ที่สามารถเข้าใจได้ กรณีเช่นนี้คำอธิบายหรือคำบรรยาย จำเป็นต้องให้รายละเอียดมากขึ้น พอที่จะครอบคลุมสาระสำคัญ ของประเด็นข่าวได้ครบถ้วนทั้งหมด 4. ภาพประกอบ จะแตกต่างจากภาพประเภทแรกคือ ภาพนี้จะแสดงรายละเอียดบางอย่าง ซึ่งไม่สามารถจะอธิบายด้วย คำพูด หรือภาษาเขียนได้อย่างแจ่มแจ้งในเนื้อเรื่อง การใช้ภาพประกอบ จะช่วยให้ผู้อ่านเพิ่มความเข้าใจเนื้อเรื่องในรายละเอียด มากขึ้น เช่น เรื่องที่แสดงวิธีทำต่างๆ ถ้าให้ดูภาพประกอบแล้ว เกิดความเข้าใจ คำอธิบายประเภทนี้ จึงมีความยาว ละเอียด ครอบคลุมเนื้อหาที่ต้องการอธิบายตามขั้นตอน เช่น วิธีทำขนม ทำอาหาร เป็นต้น 5. คำบรรยาย ควรกระชับ เฉพาะในส่วนที่ไม่ปรากฎชัดเจนในภาพเท่านั้น ไม่ควรอธิบายในส่วนที่ผู้ดูเห็นชัดเจนอยู่ แล้ว 6. ไม่ควรใส่ความเห็นในคำบรรยายภาพ ไม่ควรมีการวินิจฉัยใส่ความคิดเห็นของผู้เขียน ควรอธิบายตามข้อเท็จจริงที่ ปรากฏเท่านั้น โดยเฉพาะภาพเหตุการณ์ข่าว
7. หากเป็นภาพบุคคล ควรระบุชื่อ นามสกุลให้ชัดเจน ถ้าเป็นภาพกลุ่มบุคคล ควรชี้ชัดลงไปเลยว่า บุคคลไหน อยู่ ตำแหน่งใดในภาพ เป็นใคร ชื่ออะไร หากต้องการกล่าวถึงหลายคนในภาพเดียวกัน ควรเขียนระบุให้ชัดเจนลงไป อย่าคาดว่าผู้ อ่านจะรู้จักบุคคลในภาพทั้งหมด ถึงแม้ว่าบางคนในภาพ จะเป็นบุคคลสำคัญที่รู้จักกันทั่วไปก็ตาม 8. เขียนประโยคที่เป็นปัจจุบันเสมอ เพื่อแสดงถึงควมสดของเหตุการณ์ ยกเว้นกรณีที่เป็นภาพข่าว ซึ่งอาจจะไม่ได้มา ในวันเกิดเหตุการณ์หรือวันรายงานข่าว ก็สามารถอธิบายถึงเหตุการณ์ที่ได้รายงานข่าวแล้วไม่ระบุวันเวลา ที่เกิดเหตุ เพื่อป้องกัน ความับสน 9. ระมัดระวังความถูกต้องของสิ่งที่เขียน เพราะภาพนั้นไม่ได้บอกชัดเจนในบางสิ่ง เช่น เวลา สถานที่ จึงควรมีการ ตรวจสอบให้แน่นอน โดยเฉพาะในกรณีที่นำภาพลักษณะใกล้เคียงกัน หรือจากเหตุการณ์ในอดีตมาประกอบข่าวปัจจุบัน ต้อง ระบุให้ชัดเจนว่าเป็นภาพจากไหน เมื่อไร เพื่อไมให้เกิดการเข้าใจผิดได้ 10. การใช้ตัวอักษรบรรยายภาพ ควรมีขนาดแตกต่างจากตัวอักษรในเนื้อข่าว เพื่อให้เกิดความเด่นและไม่สับสนกับเนื้อ ข่าว สำหรับการกำหนดตำแหน่งคำบรรยายภาพ สามารถวางได้ในหลายตำแหน่งของภาพ เช่น บรรยายใต้ภาพ บรรยาย เหนือภาพ แต่ส่วนมากนิยมไว้ใตภาพมากกว่า เพราะเหมาะกับระดับสายตาผู้อ่าน หนังสือพิมพ์หลายฉบับ เขียนข้อความไว้บนส่วนหนึ่งส่วนใดของภาพ อาจเป็นเพราะต้องการประหยัดเนื้อที่ ในกรณี เช่นนี้ คำบรรยายต้องสั้น กัทัดรัด และได้ใจความ ไม่ต้องการรายละเอียด แต่มีข้อเสียคือ ทำให้การสื่อความด้วยภาพไม่ชัดเจน และทำให้คุณค่าของภาพเสียไป ดังนั้น ควรให้รายละเอียดของภาพโดยยังทรงคุณค่าของภาพไว้ บทบาททางเทคโนโลยีกับภาพข่าว ปัจจุบันเทคโนโลยีสมัยใหม่มีบทบาทต่อวงการหนังสือพิมพ์ ทำให้รูปลักษณ์ของหนังสือพิมพ์เปลี่ยนแปลง มีการ พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว หนังสือพิมพ์หลายฉบับจำเป็นต้องปรับรุงและพัฒนาตามเทคโนโลยี แต่ผู้ที่ได้รับประโยชน์คือประชาชน ในหน้าหนังสือพิมพ์ สิ่งที่จะขาดไม่ได้คือภาพถ่าย ไม่ว่าจะเป็นภาพ ณ ที่เกิดเหตุ ภาพประกอบข่าวและสารคดี ช่างภาพเมื่อถ่าย ภาพเสร็จแล้ว ต้องรีบดำเนินการส่งภาพกลับมายังสำนักพิมพ์ให้เร็วที่สุด เพื่อให้กองบรรณาธิการข่าว เลือกภาพที่เหมาะสม เตรียมพิมพ์ต่อไป ปัจจุบันช่างภาพสามารถส่งภาพกลับมาสำนักพิมพ์ได้ด้วยวิธีการที่สะดวก ง่าย และรวดเร็วกว่าสมัยก่อนมาก เพราะปัจจุบัน ช่างภาพข่าวทั้งหมด ใช้กล้องถ่ายภาพดิจิทัล (Digital Camera) ซึ่งไม่ต้องใช้ฟิล์มในการบันทึกภาพ โดยจะบันทึก ภาพเป็นสัญญาณดิจิทัล ที่มีความละเอียดสูง และจะเก็บสัญญาณภาพไว้ในหน่วยความจำ ซึ่งสะดวกในการพกพา เมื่อต้องการใช้ งาน ก็ส่งข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือสามารถส่งข้อมูลภาพทางสัญญาณโทรศัพท์ได้ นอกจากนี้ ได้มีการพัฒนาการเก็บ รักษาข้อมูลที่เป็นภาพต่างๆ และสามารถแปลงสัญญาณ โดยการเปลี่ยนชุดข้อมูลดังกล่าวเป็นระบบดิจิทัล ภาพต่างๆ จะถูกเก็บไว้ อย่างเป็นหมวดหมู่ ในรูปแบบของแผ่นดิสก์ หรือแผ่นโฟโต้ซีดี (Photo CD) สามารถนำมาใช้งานได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว