คู่มือวางแผนการเรียน

Page 1

จะพบใครเมื่อมีปัญหา เรียนไม่เข้าใจ

- ปรึกษาอาจารย์ผู้สอน,หัวหน้าภาค - ปรึกษาอาจารย์ที่ปรึกษา,รองคณบดี เรียนไม่ไหวบางวิชา - ปรึกษาอาจารย์ผู้สอน - ปรึกษาอาจารย์ที่ปรึกษา นักศึกษาชั้นปีที่ 1 - 4 ที่ได้ - รีบไปพบอาจารย์ที่ปรึกษาหรืออาจารย์ประจํา คะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ถงึ 1.50 แผนกแนะแนวและจัดหางานเพือ่ วางแผนการ เรียน การเพิกถอนบางวิชาหรือหาทางแก้ไข ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่นักศึกษาโดยตรง อยากเปลี่ยนวิชาเลือกอิสระ/ - ปรึกษาอาจารย์ / หัวหน้าภาค/ผู้ช่วยคณบดี เนื้อหาของแต่ละวิชาที่เรียน รองคณบดีหรือคณบดีคณะที่นักศึกษาสังกัด และชื่อผู้สอน หรือเปลี่ยนวิชาเอก-โท นักศึกษาวิชาทหาร (รด.) - ติดต่ออาจารย์ประจําแผนกบริการและสวัสดิการนักศึกษา ฝ่ายบริการการศึกษาและ สวัสดิการ ไม่เข้าใจการคิดคะแนนเฉลี่ย- - ปรึกษาอาจารย์ที่ปรึกษา สะสมและวิธีคดิ เกรด - ปรึกษาอาจารย์ประจําแผนกแนะแนวและ จัดหางาน ฝ่ายบริการการศึกษาและสวัสดิการ อยากรู้เรื่องการพ้นสถานภาพ - ปรึกษาอาจารย์ที่ปรึกษา นักศึกษา (Retired) - ปรึกษาอาจารย์ประจําแผนกแนะแนวและ จัดหางาน ฝ่ายบริการการศึกษาและสวัสดิการ อยากรู้เรื่องสถานภาพรอพินิจ - ปรึกษาอาจารย์ที่ปรึกษา (On Probation) - ปรึกษาอาจารย์ประจําแผนกแนะแนวและจัดหางาน ฝ่ายบริการการศึกษาและสวัสดิการ ใช้ห้องสมุดไม่เป็น - สอบถามบรรณารักษ์และเจ้าหน้าที่ประจํา ห้องสมุด

คู่มือวางแผนการเรียนและบริการงานทะเบียน

1


มีปัญหาเรื่องข้อบังคับและกฎ ระเบียบของมหาวิทยาลัย

- ปรึกษาอาจารย์ที่ปรึกษา - ปรึกษาอาจารย์ /หัวหน้าภาค/ผู้ช่วยคณบดี รองคณบดีหรือคณบดีคณะที่นักศึกษาสังกัด - ปรึกษาอาจารย์ประจําแผนกพัฒนานักศึกษา ฝ่ายบริการการศึกษาและสวัสดิการ ขาดการอุปการะด้านการเงิน - ปรึกษาอาจารย์ประจําแผนกทุนการศึกษา อย่างกระทันหัน ฝ่ายบริการการศึกษาและสวัสดิการ เจ็บป่วยกระทันหันหรือ - ติดต่อห้องพยาบาล มีแพทย์และพยาบาลให้ ได้รับอุบัติเหตุภายใน การรักษาและปฐมพยาบาล มีบริการเรื่องยา มหาวิทยาลัย และห้องพักผ่อน หากมีเหตุฉุกเฉินจะให้บริการ นําส่งโรงพยาบาล มีความเครียด ไม่สบายใจ - ปรึกษาอาจารย์แนะแนวหรือจิตแพทย์ ได้ที่ ไม่รู้ว่าจะปรึกษาใคร แผนกแนะแนวและจัดหางาน ฝ่ายบริการการศึกษา และสวัสดิการ ของหายหรือเก็บของได้ - ติดต่ออาจารย์ประจําแผนกบริการและสวัสดิการ นักศึกษา ฝ่ายบริการการศึกษาและสวัสดิการ มีปัญหาไม่เข้าใจกับเพือ่ นนักศึกษ- ปรึกษาอาจารย์ที่ปรึกษา - ปรึกษาอาจารย์ประจําแผนกพัฒนานักศึกษา ฝ่ายบริการการศึกษาและสวัสดิการ ต้องการใช้ห้องเรียนเพือ่ ประชุม - ติดต่อเลขานุการฝ่ายวิชาการ ติวพิเศษ และอืน่ ๆ หรือรองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา รับจดหมายลงทะเบียน ธนาณัติ - ติดต่อขอรับได้ที่แผนกบริการและสวัสดิการ พัสดุไปรษณีย์ นักศึกษา ฝ่ายบริการการศึกษาและสวัสดิการ - ปรึกษาอาจารย์ที่ปรึกษา ปัญหาอืน่ ๆ - ปรึกษาอาจารย์ประจําแผนกพัฒนานักศึกษา/ อาจารย์ประจําแผนกแนะแนวและจัดหางาน ฝ่ายบริการการศึกษาและสวัสดิการ

2

คู่มือวางแผนการเรียนและบริการงานทะเบียน


แผนกทุนการศึกษา มหาวิทยาลัยกรุงเทพ มีทุนการศึกษาประเภทต่างๆ ทั้งทุนจากภายนอก เช่น กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อ การศึกษา และทุนภายใน เช่น ทุนเรียนดียอดเยี่ยม รางวัลเรียนดี ทุน Bu Creative ทุนฉุกเฉิน ฯลฯ ให้แก่ นักศึกษา สามารถเข้าไปดูรายละเอียดได้ที่ http://scholarship.bu.ac.th แผนกแนะแนวและจัดหางาน แผนกแนะแนวและจัดหางาน มีภารกิจในการส่งเสริมการเรียนรู้และบริการทางการศึกษาให้นักศึกษา ได้แก่ บริการแนะแนวปรึกษาด้านการเรียน การใช้ชีวิต การศึกษาต่อ อาชีพ บริการปรึกษา โดยจิตแพทย์ และ การจัดกิจกรรม หรือโครงการที่มุ่งพัฒนาบัณฑิตให้มีความพร้อมก่อนสําเร็จการศึกษา รวมทั้งงานบริการ วิชาการแก่สังคม สามารถดูรายละเอียดได้ที่ http://bueds.bu.ac.th/coun_index.html แผนกพัฒนานักศึกษา แผนกพัฒนานักศึกษา มีหน้าที่รับผิดชอบงานด้านการส่งเสริมและคุ้มครองสวัสดิภาพนักศึกษา การ ติดตามดูแลความประพฤติ การให้คําปรึกษาด้านกฎหมายหรือ ข้อบังคับด้านวินัยนักศึกษา การวินิจฉัยปัญหา ด้านระเบียบวินัย การประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐ เช่น เจ้าหน้าที่ตํารวจ/ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการ ดูแลความประพฤตินักศึกษา/ การจัดโครงการ/ กิจกรรมเกี่ยวกับการลด ละ เลิกอบายมุข ต่างๆ ตลอดจนการ จัดพิธีประสาทปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัย สามารถดูรายละเอียดได้ที่ http://buees.bu.ac.th/dev_index.html แผนกบริการและสวัสดิการนักศึกษา แผนกบริ ก ารและสวั ส ดิ ก ารนั ก ศึ ก ษามี ภ ารกิ จ ให้ บ ริ ก ารนั ก ศึ ก ษาเรื่ อ งต่ า งๆ ได้ แ ก่ ลงทะเบี ย น ยานพาหนะ/ ประกันอุบัติเหตุ/ รับแจ้ง-รับมอบของหาย ให้บริการเช่าตู้ LOCKER /บริการเรื่อง เรียนรักษา ดินแดงและเรื่องทหาร/ บั ตรโดยสารรถไฟครึ่งราคา /บริการห้องพยาบาล และห้องพั กผ่อน สามารถดู รายละเอียดได้ที่ http://bueds.bu.ac.th/ssw_index.html

คู่มือวางแผนการเรียนและบริการงานทะเบียน

3


กิจกรรมนักศึกษา มหาวิทยาลัยกรุงเทพมีนโยบายในการให้การสนับสนุนการทํากิจกรรมต่างๆ ของนักศึกษา เพราะ มหาวิทยาลัยตระหนักอยู่เสมอว่า นอกจากที่นักศึกษาจะเป็นผู้ที่มีความรู้ทางด้านวิชาการแล้ว ยังได้มุ่งหมายที่ จะให้นักศึกษามีพลานามัยและความคล่องแคล่วทางด้านกีฬา ความรอบรู้และจัดเจนในขนบธรรมเนียม วั ฒ นธรรม ประเพณี เพื่ อ ให้ นั ก ศึ ก ษามหาวิ ท ยาลั ย เป็ น ผู้ ที่ มี ค วามสมบู ร ณ์ ด้ า นร่ า งกาย สั ง คม อารมณ์ สติปัญญา และเจตคติ คณะกรรมการนักศึกษา สโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยกรุงเทพ เป็ น องค์ ก รนั ก ศึ ก ษาที่ ม หาวิ ท ยาลั ย สนั บ สนุ น ให้ จั ด ตั้ ง ขึ้ น เพื่ อ เป็ น การส่ ง เสริ ม ให้ นั ก ศึ ก ษามี ประสบการณ์ด้านต่างๆ ที่นอกเหนือจากการเรียนรู้ในหลักสูตร และเป็นศูนย์กลางในการดําเนินงานกิจกรรม นักศึกษาทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย โดยประกอบด้วย 1. คณะกรรมการบริหารงานสโมสรนักศึกษา จํานวน 11 ตําแหน่ง 2. คณะกรรมการคณะ ได้แก่ ประธานนักศึกษาคณะต่างๆ และวิทยาลัยนานาชาติ 3. คณะกรรมการชมรมต่างๆ ในปัจจุบันการดําเนินกิจกรรมต่างๆ ในรูปของชมรมมีทั้งหมด 29 ชมรม โดยแบ่งความรับผิดชอบ ขึ้นอยู่กับฝ่ายต่างๆ (ตามแผนภูมิโครงสร้างคณะกรรมการนักศึกษา) ที่ทําการสโมสรนักศึกษา ตั้งอยู่ที่อาคาร A6 วิทยาเขตรังสิต ที่ทําการกิจกรรมนักศึกษา ตั้งอยู่ที่ศูนย์กิจกรรมนักศึกษา (Student Activities Center : SAC) หลังอาคาร A6 วิทยาเขตรังสิต

4

คู่มือวางแผนการเรียนและบริการงานทะเบียน


แผนภูมิโครงสร้างคณะกรรมการนักศึกษา

คู่มือวางแผนการเรียนและบริการงานทะเบียน

5


การทํานุบํารุงศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยกรุงเทพมีนโยบายส่งเสริมการทํานุบํารุงศิลปวัฒนธรรม ทั้งนี้เพื่อ 1. รักษาไว้ซึ่งเอกลักษณ์ของความเป็นไทย โดยยึดมั่นในสถาบันหลัก คือ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ 2. ส่งเสริมทํานุบํารุงและฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรม ประเพณีที่เกี่ยวกับชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ 3. ส่งเสริมเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมความเป็นอยู่ อันเป็นสมบัติที่สืบต่อกันมาเป็นระยะเวลา อันยาวนาน คู่กับประวัติศาสตร์ 4. ส่งเสริมให้อนุชนภาคภูมิใจในความเป็นชาติที่มีขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรมอันดีงาม 5. เป็นผู้นําสังคมภายนอกให้รักษาไว้ซึ่งเอกลักษณ์ของชาติ และช่วยกันอนุรักษ์สิ่งที่ดีงามไว้เป็น สมบัติสืบไป สถานที่จัดกิจกรรมนักศึกษา มหาวิทยาลัยจัดสถานที่ต่างๆ ทั้ งวิทยาเขตกล้วยน้ําไทและวิทยาเขตรังสิต เพื่อเอื้ออํานวยความ สะดวกสําหรับให้นักศึกษาทํากิจกรรม นักศึกษาสามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่สํานักกีฬาและกิจกรรม นักศึกษา การกีฬา มหาวิ ท ยาลั ย ได้ ใ ห้ ก ารส่ ง เสริ ม และสนั บ สนุ น กิ จ การด้ า นการกี ฬ าควบคู่ ไ ปกั บ การส่ ง เสริ ม ด้ า น การศึกษา ทั้งนี้เพื่อให้นักศึกษามีสุขภาพพลานามัยที่สมบูรณ์ งานด้านกีฬาที่จัดให้แก่นักศึกษามี 2 ลักษณะ คือ กีฬาเพื่อการแข่งขันและกีฬาเพื่อสุขภาพ 1. กีฬาเพื่อการแข่งขัน มหาวิทยาลัยส่งเสริมและสนับสนุนนักศึกษาที่มีความสนใจ มีความสามารถ และทักษะทางการกีฬาให้ได้รับการสนับสนุนในเรื่องทุนการศึกษา รวมไปถึงการจัดหาผู้ฝึกสอน วัสดุอุปกรณ์ สถานที่ฝึกซ้อม เครื่องอํานวยความสะดวกต่างๆ ให้แก่นักกีฬา เพื่อเตรียมความ พร้อมในการเข้าร่วมการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัย แห่งประเทศไทย รวมถึงการแข่งขันในรายการ ต่างๆ ทั้งภายในและภายนอก 2. กีฬาเพื่อสุขภาพ มหาวิทยาลัยได้จัดให้มีศูนย์ส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์กีฬาในร่ม พร้อมทั้งอุปกรณ์ใน การออกกําลังกายอย่างครบครันทั้งสองวิทยาเขต โดยมีอาจารย์ที่มีความชํานาญด้านกีฬาและ วิทยาศาสตร์การกีฬา คอยให้คําแนะนําโดยสถานที่ให้บริการด้านกีฬา จะเปิดให้บริการในวัน จันทร์ – วันเสาร์ เวลา 08.30 – 20.00 (โดยประมาณ) รายละเอียดเพิ่มเติม http://ssao.bu.ac.th

6

คู่มือวางแผนการเรียนและบริการงานทะเบียน


ภาคพิเศษมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ภาคพิ เ ศษมหาวิ ท ยาลั ย กรุ ง เทพ จั ด การเรี ย นการสอนที่ วิ ท ยาเขตกล้ ว ยน้ํ า ไท มี ห ลั ก สู ต รที่ เ ป็ น ทางเลือกสําหรับผู้สนใจ โดยมีการเรียนการสอนนอกเวลาเรียนปกติ นักศึกษาภาคพิเศษ สามารถใช้บริการที่ ภาคพิเศษ เกี่ยวกับกิจกรรมต่างๆ สวัสดิการสําหรับนักศึกษา ในช่วงเวลานอกทําการ เช่น การทําบัตรจอดรถ การให้คําปรึกษาเกี่ยวกับการลงทะเบียนเรียน การเรียนการสอน การใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัย การขอข้อมูล ต่างๆ ฯลฯ นักศึกษาสามารถดูรายละเอียดต่างๆ ได้ที่ http://special.bu.ac.th, Facebook : http://facebook.com/SpecialPrograms.BU ภาคพิเศษมีคณะกรรมการบริหารงานสโมสรนักศึกษาภาคพิเศษ ทําหน้าที่ดูแลการจัดกิจกรรมต่างๆ ให้แก่นักศึกษาภาคพิเศษ โดยมีคณะกรรมการ 11 ตําแหน่ง ดังนี้ 1. นายกสโมสรนักศึกษาภาคพิเศษ 2. อุปนายกสโมสรนักศึกษา คนที่ 1 3. อุปนายกสโมสรนักศึกษา คนที่ 2 4. เหรัญญิก 5. เลขานุการ 6. ประธานฝ่ายวิชาการ 7. ประธานฝ่ายกีฬา 8. ประธานฝ่ายบําเพ็ญประโยชน์ 9. ประธานฝ่ายศิลปวัฒนธรรม 10. ประธานฝ่ายนักศึกษาสัมพันธ์ ที่ทําการภาคพิเศษ ตั้งอยู่ที่ อาคาร 2 ชั้น 1 วิทยาเขตกล้วยน้ําไท ที่ทําการสโมสรนักศึกษาภาคพิเศษ ตัง้ อยู่ที่ อาคาร 1 ชั้น 1 วิทยาเขตกล้วยน้ําไท

คู่มือวางแผนการเรียนและบริการงานทะเบียน

7


การติดต่อสื่อสารในสายกิจการนักศึกษา โทรศัพท์สายตรง และ e-Mail address - รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา e-2902-299 ต่อ 2151 e-Mail : chatchawarn.h@bu.ac.th - ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา e-2902-299 ต่อ 2153 e-Mail : ampharat.v@bu.ac.th - ผู้อํานวยการฝ่ายบริการการศึกษาและสวัสดิการ 0-2902-0299 ต่อ 2531 e-Mail : prasit.s@bu.ac.th - ผู้อํานวยการสํานักกีฬาและกิจกรรมนักศึกษา e-2902-299 ต่อ 2532 e-Mail : akom.s@bu.ac.th - ผู้อํานวยการสํานักทะเบียนนักศึกษา 0-2902-0299 ต่อ 2534 e-Mail : pornpun.s@bu.ac.th - ผู้ช่วยผู้อํานวยการสํานักกีฬาและกิจกรรมนักศึกษา 0-2902-0299 ต่อ 2578 e-Mail : saengsom.t@bu.ac.th

8

คู่มือวางแผนการเรียนและบริการงานทะเบียน


วิทยาเขตกล้วยน้ําไท โทร. 0-2350-3500 (อัตโนมัติ 100 หมายเลข) ฝ่ายบริการการศึกษาและสวัสดิการ - แผนกแนะแนวและจัดหางาน ต่อ 1561, 1562 - แผนกบริการและสวัสดิการนักศึกษา ต่อ 1566 - แผนกพัฒนานักศึกษา ต่อ 1564, 1565 - แผนกทุนการศึกษา ต่อ 1569, 1599 - ห้องพยาบาล ต่อ 1555 สํานักกีฬาและกิจกรรมนักศึกษา - แผนกกิจกรรมนักศึกษา ต่อ 1574,1575 - แผนกกีฬา ต่อ 1572,1573 - ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพ ต่อ 1594 - ห้องพักนักกีฬาชาย ต่อ 1595 - ห้องพักนักกีฬาหญิง ต่อ 1596 - ห้องรับรองฟิตเนส ต่อ 1597 สํานักทะเบียนนักศึกษา - แผนกทะเบียนนักศึกษากล้วยน้ําไท ต่อ 1551 – 1553 วิทยาเขตรังสิต โทร. 0-0902-0299 (อัตโนมัติ 50 หมายเลข) - แผนกแนะแนวและจัดหางาน - แผนกบริการและสวัสดิการนักศึกษา - แผนกพัฒนานักศึกษา - แผนกทุนการศึกษา - ห้องพยาบาล สํานักกีฬาและกิจกรรมนักศึกษา - แผนกกิจกรรมนักศึกษา - แผนกกีฬา สํานักทะเบียนนักศึกษา - แผนกทะเบียนนักศึกษารังสิต - แผนกตรวจสอบและออกเอกสารสําคัญ เลขานุการรองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา งานธุรการสายกิจการนักศึกษา แผนกการเงินกิจกรรมนักศึกษา

ต่อ 2561-2563 ต่อ 2556, 2567 ต่อ 2543, 2544 ต่อ 2588, 2599 ต่อ 2555 ต่อ 2574, 2575 ต่อ 2572, 2573 ต่อ 2552, 2553 ต่อ 2554, 2556-2558 ต่อ 2152 ต่อ 2568 ต่อ 2570, 2571

คู่มือวางแผนการเรียนและบริการงานทะเบียน

9


บทบาทสําคัญของนักศึกษาในการ “สืบสานวัฒนธรรมคุณภาพ” ตามระบบการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยกรุงเทพ มหาวิทยาลัยกรุงเทพใช้ “วัฒนธรรมคุณภาพ” ตามระบบการประกันคุณภาพการศึกษา เพื่อพัฒนาศักยภาพและประสิทธิภาพของนักศึกษาให้แข็งแกร่ง นักศึกษามีบทบาทสําคัญยิ่งใน “การสืบสานวัฒนธรรมคุณภาพ” นี้ โดยการมีส่วนร่วมกับการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัย ดังนี้ 1. การสร้างทักษะ การประกันคุณภาพด้วย “วงจรคุณภาพ PDCA” (Deming’s Cycle) PLAN DO CHECK ACT

= วางแผน = ดําเนินการ = ประเมินผล = ปรับปรุง

2. การนําทักษะ “วงจรคุณภาพ” มาพัฒนา การเรียนรู้ของตนและส่งเสริมภารกิจ ของมหาวิทยาลัย 1) ด้านการเรียนการสอน โดยใช้วางแผนและ พัฒนาการเรียนรู้กิจกรรม ติดตาม ประเมินผลและ ปรับปรุงการเรียนของตน โดยเฉพาะ การเข้าไป ประเมินผลการสอนของคณาจารย์ทกุ รายวิชา เพื่อ ปรับปรุงคุณภาพและกระบวนการสอน 2) ด้านการวิจัย โดยใช้วางแผนการทํางาน โครงงาน วิทยานิพนธ์ ให้ข้อมูลหรือเป็นส่วนหนึ่งของการวิจัย 3) ด้านการให้บริการทางวิชาการแก่สังคม ด้วยการมีส่วนร่วมในกิจกรรมและประเมินผลกิจกรรม การบริการวิชาการแก่สังคมของมหาวิทยาลัย 4) ด้านการทํานุบํารุงศิลปวัฒนธรรม ด้วยกิจกรรมด้านการสืบสานศิลปวัฒนธรรม และ ภูมิปัญญาไทยในระดับคณะ ชุมชน และมหาวิทยาลัย

10

คู่มือวางแผนการเรียนและบริการงานทะเบียน


การคิดคะแนนเฉลี่ย คะแนนเฉลี่ย คะแนนเฉลี่ยมี 2 ประเภท 1. คะแนนเฉลี่ยประจําภาค (GPA.= Grade Point Average) หมายถึง ผลเฉลี่ย ของคะแนนที่ได้ในแต่ละวิชาของแต่ละภาคการศึกษา 2. คะแนนเฉลี่ยสะสม (CUM.GPA.= Cumulative Grade Point Average) หมายถึง ผลเฉลี่ยของคะแนนที่ได้ตั้งแต่ภาคเรียนที่ 1 ที่เริ่มศึกษา ถึงภาคเรียน สุดท้ายที่ทราบผลสอบ วิธีคิดคะแนนเฉลี่ยประจําภาคและคะแนนเฉลี่ยสะสม 1. วิธีคิดคะแนนเฉลี่ยประจําภาค (GPA.= Grade Point Average) วิธีคดิ คะแนนเฉลี่ยประจําภาคทําได้ตามลําดับขัน้ ตอนต่อไปนี้ คือ 1.1 แทนค่าเกรดที่ได้ในแต่ละวิชา โดยจะกําหนดให้ A มีคา่ เท่ากับ 4.00 B+ มีคา่ เท่ากับ 3.50 B มีคา่ เท่ากับ 3.00 C + มีคา่ เท่ากับ 2.50 C มีคา่ เท่ากับ 2.00 D + มีคา่ เท่ากับ 1.50 D มีคา่ เท่ากับ 1.00 0 F มีคา่ เท่ากับ W (Withdrawal) หมายถึง การขอเพิกถอนวิชา หรือ ขอยุติการเรียน ในวิชานั้น หรือ ถูกมหาวิทยาลัยตัดสิทธิ์สอบโดยจะไม่นําหน่วยกิตของ วิชาที่ W ไปคิดคะแนนเฉลี่ยทั้ง 2ประเภท) 1.2 นําค่าเกรดที่สอบได้ของแต่ละวิชาคูณกับจํานวนหน่วยกิต 1.3 นําค่าที่คณ ู ได้จากข้อ 1.2 ของทุกวิชารวมกัน 1.4 นําผลรวมข้อ 1.3 หารด้วยจํานวนหน่วยกิตทั้งหมดในภาคเรียน (ยกเว้น W ไม่นับหน่วยกิต)

คู่มือวางแผนการเรียนและบริการงานทะเบียน

11


ตัวอย่าง

ภาคเรียนที่ 1 วิชา หน่วยกิต เกรด Microeconomics I 3 A Fundamentals of Mathemat 3 C+ for Economics Fundamental English I 3 B Reasoning 3 C Ethics 3 B D+ Politics and Economics in So 3 18 คะแนนเฉลี่ยประจําภาคเรียนที่ 1 (GPA.)

48.00 18

คะแนนที่ได้ 4.00 x 3 12.00 2.50 x 3 7.50 3.00 x 3 2.00 x 3 3.00 x 3 1.50 x 3

9.00 6.00 9.00 4.50 48.00

= 2.66

2. วิธีคิดคะแนนเฉลี่ยสะสม (CUM.GPA.=Cumulative Grade Point Aver วิธีคดิ คะแนนเฉลี่ยสะสม ทําได้โดย นําค่าของคะแนนที่ได้ทั้งหมดหารด้วย จํานวนหน่วยกิตทั้งหมดที่เรียนมาแล้ว ตัวอย่าง ภาคเรียนที่ 1 วิชา หน่วยกิต เกรด คะแนนที่ได้ Microeconomics I 3 A 4.00 x 3 12.00 Fundamentals of Mathemat 3 C 2.00 x 3 6.00 for Economics Fundamental English I 3 B+ 3.50 x 3 10.50 Reasoning 3 C 2.00 x 3 6.00 Ethics 3 B 3.00 x 3 9.00 D+ 1.50 x 3 4.50 Politics and Economics in So 3 18 48.00 คะแนนเฉลี่ยประจําภาคเรียนที่ 1 (GPA.)

12

คู่มือวางแผนการเรียนและบริการงานทะเบียน

48.00 18

= 2.66


ตัวอย่าง

ภาคเรียนที่ 2 วิชา หน่วยกิต Principles of Accounting I 3 Macroeconomics I 3 3 Mathematics for Economist Fundamental English II 3 General Psychology 3 Man and Environment 3 18

คะแนนที่ได้ เกรด D 1.00 x 3 3.00 C+ 2.50 x 3 7.50 C+ 2.50 x 3 7.50 B 3.00 x 3 9.00 A 4.00 x 3 12.00 F 0x3 0.00 39.00

39.00 = 2.16 18 คะแนนเฉลี่ยสะสม (CUM.GPA.) = 48.00+39.00 = 87.00 = 2.41 36 18+18 หมายเหตุ ทศนิยมของคะแนนเฉลี่ยทั้ง 2 ประเภทใช้จุดทศนิยม 2 จุด และไม่ปัด เศษไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น คะแนนเฉลี่ยประจําภาคเรียนที่ 2 (GPA.)

การเพิกถอนวิชา (Withdrawal) วิชาที่ขอเพิกถอนจะบันทึก W ซึ่งจะไม่นําจํานวน หน่วยกิตของวิชานั้นมารวมในการคิดคะแนนเฉลี่ยประจําภาคและคะแนนเฉลี่ยสะสม ตัวอย่าง

ภาคเรียนที่ 1 วิชา หน่วยกิต Microeconomics I 3 Fundamentals of Mathemat 3 for Economics Fundamental English I 3 Reasoning 3 Ethics 3 Politics and Economics in So 3 15 คะแนนเฉลี่ยประจําภาคเรียนที่ 1 (GPA.) =

คะแนนที่ได้ เกรด A 4.00 x 3 12.00 C 2.00 x 3 6.00 B+ D+ B W

3.50 x 3 1.50 x 3 3.00 x 3 -

42.00 15

=

10.50 4.50 9.00 42.00 2.80

คู่มือวางแผนการเรียนและบริการงานทะเบียน

13


ตัวอย่าง

ภาคเรียนที่ 2 วิชา หน่วยกิต Principles of Accounting I 3 Macroeconomics I 3 3 Mathematics for Economist Fundamental English II 3 General Psychology 3 Man and Environment 3 15 คะแนนเฉลี่ยประจําภาคเรียนที่ 2 (GPA.) คะแนนเฉลี่ยสะสม (CUM.GPA.)

=

เกรด A F B D+ C W

คะแนนที่ได้ 4.00 x 3 12.00 0x3 0.00 3.00 x 3 9.00 1.50 x 3 4.50 2.00 x 3 6.00 31.50

31.50 = 2.10 15 42.00+31.50 = 73.50 = 2.45 15+15 30

การคิดคะแนนเฉลี่ยเมือ่ ได้ F ตัวอย่างที่ 1 วิชาที่ได้ F และไม่ได้ลงทะเบียนเรียนซ้ําในวิชาเดิม ให้นําหน่วยกิตของวิชาที่ได้ F ทุกวิชา มาคิดคะแนนทุกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นคะแนนเฉลี่ย ประจําภาคหรือคะแนนเฉลี่ยสะสม ภาคเรียนที่ 1 คะแนนที่ได้ วิชา หน่วยกิต เกรด Microeconomics I 3 A 4.00 x 3 12.00 Fundamentals of Mathemat 3 C 2.00 x 3 6.00 for Economics Fundamental English I 3 B+ 3.50 x 3 10.50 Reasoning 3 C 2.00 x 3 6.00 Ethics 3 B+ 3.50 x 3 10.50 F 0x3 0.00 Politics and Economics in So 3 18 45.00 คะแนนเฉลี่ยประจําภาคเรียนที่ 1 (GPA.)

14

คู่มือวางแผนการเรียนและบริการงานทะเบียน

45.00 18

=

2.50


ภาคเรียนที่ 2 วิชา หน่วยกิต Principles of Accounting I 3 Macroeconomics I 3 3 Mathematics for Economist Fundamental English II 3 General Psychology 3 Man and Environment 3 18

คะแนนที่ได้ เกรด D 1.00 x 3 3.00 C+ 2.50 x 3 7.50 C+ 2.50 x 3 7.50 B 3.00 x 3 9.00 A 4.00 x 3 12.00 C+ 2.50 x 3 7.50 46.50

46.50 = 2.58 18 คะแนนเฉลี่ยสะสม (CUM.GPA.) = 45.00+46.50 = 91.50 = 2.54 18+18 36 คะแนนเฉลี่ยประจําภาคเรียนที่ 2 (GPA.)

วิชาที่ได้ F และได้เรียนซ้ําในวิชาเดิม ให้นําหน่วยกิตที่ได้ F มาคิดคะแนนเฉลี่ยประจําภาค แต่เมื่อได้เรียนซ้ําในวิชาเดิม จะไม่นําหน่วยกิตที่ได้ F ในครั้งแรกไปคํานวณคะแนนเฉลี่ยสะสม ภาคเรียนที่ 1 คะแนนที่ได้ วิชา หน่วยกิต เกรด Microeconomics I 3 A 4.00 x 3 12.00 Fundamentals of Mathemat 3 C 2.00 x 3 6.00 for Economics Fundamental English I 3 B 3.00 x 3 9.00 Reasoning 3 C 2.00 x 3 6.00 Ethics 3 B+ 3.50 x 3 10.50 F* 0x3 0.00 Politics and Economics in So 3 18 43.50 ตัวอย่างที่ 2

คะแนนเฉลี่ยประจําภาคเรียนที่ 1 (GPA.)

43.50 18

= 2.41

คู่มือวางแผนการเรียนและบริการงานทะเบียน

15


ภาคเรียนที่ 2 วิชา หน่วยกิต Politics and Economics in So 3 Macroeconomics I 3 Mathematics for Economist 3 Fundamental English II 3 General Psychology 3 Man and Environment 3 18

เกรด D+ C C B+ A F

คะแนนที่ได้ 1.50 x 3 4.50 2.00 x 3 6.00 2.00 x 3 6.00 3.50 x 3 10.50 4.00 x 3 12.00 0x3 0.00 39.00

คะแนนเฉลี่ยประจําภาคเรียนที่ 2 (GPA.)

= 2.16

คะแนนเฉลี่ยสะสม (CUM.GPA.)

= 82.50 = 2.50 33

39.00 18 = 43.50+39.00 15+18

หมายเหตุ 1. พึงสังเกตว่าตัวหารซึ่งเป็นจํานวนหน่วยกิตนั้น หากลงเรียนซ้ําใน วิชาเดิมให้นับหน่วยกิตสะสมเพียงครั้งเดียว ถ้าลงซ้ําหลายครั้ง ให้คดิ ครั้งสุดท้าย ดังนั้นหน่วยกิตในภาคเรียนที่ 1 จาก 18 หน่วยกิต จะคิดเป็น 15 หน่วยกิต เพราะวิชาที่ได้ F ในภาคเรียนที่ 1 ได้ลงซ้ําในภาคเรียนที่ 2 แล้ว ส่วนวิชาที่ได้ F ในภาค เรียนที่ 2 คือ วิชา Man and Environment ยังต้องนํามาคิดคะแนน เฉลี่ยสะสมอยู่เนื่องจากยังไม่ได้ลงเรียนซ้ํา 2. คะแนนเฉลี่ยประจําภาคที่จะนํามาคิดคะแนนเฉลี่ยสะสมนั้น ให้นํา มาในรูปของเศษส่วนเท่านั้น

16

คู่มือวางแผนการเรียนและบริการงานทะเบียน


การคิดคะแนนเฉลี่ยสะสมเมือ่ ลงทะเบียนวิชาทีเ่ คยสอบได้ D หรือ D+ การคิดคะแนนเฉลี่ยสะสมเมื่อลงทะเบียนวิชาที่เคยสอบได้ D หรือ D+ เพือ่ ปรับคะแนนเฉลี่ยสะสม (ซึ่งจะต้องสอบได้ตั้งแต่ 12 หน่วยกิตขึน้ ไป) จะไม่นําหน่วยกิตและเกรดที่ได้ในครั้งแรกไปคํานวณคะแนนเฉลี่ยสะสม ตัวอย่าง

ภาคเรียนที่ 1 วิชา หน่วยกิต Microeconomics I 3 Fundamentals of Mathemat 3 for Economics Fundamental English I 3 Reasoning 3 Ethics 3 Politics and Economics in So 3 18 คะแนนเฉลี่ยประจําภาคเรียนที่ 1 (GPA.) =

คะแนนที่ได้ เกรด A 4.00 x 3 12.00 C 2.00 x 3 6.00 B C+ C D*

3.00 x 3 2.50 x 3 2.00 x 3 1.00 x 3

43.50 18

=

9.00 7.50 6.00 3.00 43.50 2.41

คู่มือวางแผนการเรียนและบริการงานทะเบียน

17


ภาคเรียนที่ 2 วิชา หน่วยกิต Politics and Economics in S 3 Macroeconomics I 3 Fundamental English II 3 General Psychology 3 Man and Environment 3 3 Mathematics for Economist 18

เกรด B C+ B C+ C C

คะแนนที่ได้ 3.00 x 3 9.00 2.50 x 3 7.50 3.00 x 3 9.00 2.50 x 3 7.50 2.00 x 3 6.00 2.00 x 3 6.00 45.00

คะแนนเฉลี่ยประจําภาคเรียนที่ 2 (GPA.)

45.00 = 2.50 18 คะแนนเฉลี่ยสะสม (CUM.GPA.) = 40.50+45.00 = 85.50 = 2.59 15+18 33 ข้อสังเกต ในภาคเรียนที่ 1 สอบได้ 18 หน่วยกิต และคะแนนที่ได้ คือ 43.50 แต่ เมื่อลงทะเบียนวิชาที่เคยสอบได้ D ในภาคเรียนที่ 2 จะไม่นําหน่วยกิตและ คะแนนที่ได้ในวิชานั้นมาคํานวณ ดังนั้น หน่วยกิตและคะแนนที่ได้จึงเป็น 15 และ 40.50

18

คู่มือวางแผนการเรียนและบริการงานทะเบียน


การเรียน Summer มีการคิดคะแนนเฉลี่ยประจําภาค และคะแนนเฉลี่ยสะสมโดยนําค่าเกรดที่ได้ และจํานวนหน่วยกิตไปคํานวณรวมกับภาคที่ผ่านมา หมายเหตุ ถ้าวิชาใดที่เรียนภาคฤดูร้อนแล้ว F หรือแก้ F ได้ ก็ให้คดิ เหมือนภาคปกติ ตัวอย่าง

ภาคเรียนที่ 1 วิชา หน่วยกิต Microeconomics I 3 Fundamentals of Mathemat 3 for Economics Fundamental English I 3 Reasoning 3 Ethics 3 Politics and Economics in So 3 18

เกรด A D+ B+ C+ B F*

คะแนนที่ได้ 4.00 x 3 12.00 1.50 x 3 4.50 3.50 x 3 2.50 x 3 3.00 x 3 0x3

10.50 7.50 9.00 0.00 43.50

43.50 = 2.41 18

คะแนนเฉลี่ยประจําภาคเรียนที่ 1 (GPA.) ตัวอย่าง

ภาคเรียนที่ 2 วิชา หน่วยกิต Principles of Accounting I 3 Macroeconomics I 3 Fundamental English II 3 General Psychology 3 Politics and Economics in So 3 15 คะแนนเฉลี่ยประจําภาคเรียนที่ 2 (GPA.) คะแนนเฉลี่ยสะสม (CUM.GPA.) =

เกรด คะแนนที่ได้ C 2.00 x 3 6.00 B 3.00 x 3 9.00 D+ 1.50 x 3 4.50 A 4.00 x 3 12.00 C 2.00 x 3 6.00 37.50

=

37.50 = 2.50 15 43.50+37.50 = 81.00 = 2.70 15+15 30

คู่มือวางแผนการเรียนและบริการงานทะเบียน

19


ตัวอย่าง ภาคฤดูร้อน วิชา หน่วยกิต เกรด Man and Environment 3 A Mathematics for Economist 3 C+ 6

คะแนนที่ได้ 4.00x 3 12.00 2.50 x 3 7.50 19.50

คะแนนเฉลี่ยประจําภาคฤดูร้อน (GPA.) =

19.50 = 3.25 6 คะแนนเฉลี่ยสะสม (CUM.GPA.) = 43.50+37.50+19.50 = 100.50 = 2.79 15+15+6 36 อนึ่งการดูคะแนนเฉลี่ยสะสม สําหรับนักศึกษาที่จะรอพินิจ (On Probation) หรือพ้นสถานภาพนักศึกษา (Retired) ให้ดูในระเบียบมหาวิทยาลัยกรุงเทพ หมวดที่ 12 ข้อ 32 สิ่งทีค่ วรระวัง การคิดคะแนนเฉลี่ยสะสมเมื่อสิ้นปีการศึกษาแต่ละปี จะคํานวณโดย นําจํานวนภาคการศึกษาไปหารไม่ได้โดยเด็ดขาด เช่น ปีที่ 1 จะหารด้วย 2 ไม่ได้ ปีที่ 2 จะหารด้วย 4 ไม่ได้ ต้องคิดคะแนนเฉลี่ยสะสมด้วยวิธีที่ถกู ต้อง ตามขัน้ ตอน (ดูหน้า 3-10)

20

คู่มือวางแผนการเรียนและบริการงานทะเบียน


นักศึกษารอพินิจ (On Probation) นักศึกษารอพินิจคือ นักศึกษาที่ได้คะแนนเฉลี่ยสะสมเมื่อสิ้นปีการศึกษาอยู่ระหว่าง 1.50 - 1.74 และ จะต้องทําคะแนนเฉลี่ยสะสมให้ได้ไม่ต่ํากว่า 1.75 เมื่อสิ้นปีการศึกษาที่มีสถานภาพรอพินิจ มิฉะนั้นจะพ้น สถานภาพนักศึกษา (Retired) การประเมินสถานภาพรอพินิจจะประเมินทุกสิ้นปีการศึกษา นักศึกษาสามารถขอรับเอกสารและ สอบถามรายละเอียดได้ที่แผนกแนะแนวและจัดหางานทั้ง 2 วิทยาเขต ซึ่งนักศึกษารอพินิจจะอยู่ในการดูแล ของอาจารย์แนะแนว โดยอาจารย์แนะแนวจะให้การปรึกษาในเรื่องของการลงทะเบียน การวางแผนการเรียน และอื่น ๆ ถือว่านักศึกษามีอาจารย์แนะแนวเป็นอาจารย์ที่ปรึกษา จะทําอย่างไรเมื่อมีสถานภาพรอพินิจ 1. นักศึกษาหลักสูตรปริญญาตรีภาคปกติที่มีสถานภาพรอพินิจจะต้องลงทะเบียนเรียนในแต่ละภาค ไม่ต่ํากว่า 12 หน่วยกิต แต่ไม่เกิน 16 หน่วยกิต และไม่เกิน 10 หน่วยกิตในภาคฤดูร้อน 2. นักศึกษาหลักสูตรปริญญาตรีภาคพิเศษ ที่มีสถานภาพรอพินิจจะต้องลงทะเบียนเรียนในแต่ละ ภาคไม่ต่ํากว่า 9 หน่วยกิต แต่ไม่เกิน 13 หน่วยกิต และไม่เกิน 10 หน่วยกิตในภาคฤดูร้อน 3. นักศึกษาต้องติดต่อกับแผนกแนะแนวและจัดหางานทุกครั้งก่อนการลงทะเบียนเรียน การขอเพิ่มลดวิชา และการเพิกถอนวิชา หมายเหตุ นักศึกษาหลักสูตรปริญญาตรีต่อเนื่องทั้งภาคปกติและภาคพิเศษไม่มีสถานภาพรอพินิจ

การสอบกลางภาคและปลายภาคทุกครั้ง นักศึกษาต้องนําบัตรประจําตัวนักศึกษามาแสดงเป็นหลักฐาน และแต่งกายให้ถูกตามระเบียบ

คู่มือวางแผนการเรียนและบริการงานทะเบียน

21


งานทะเบียนนักศึกษาที่ควรทราบ สํานักทะเบียนนักศึกษาเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบดําเนินการและให้บริการนักศึกษาเกี่ยวกับงาน ทะเบียนทุกภาคการศึกษา ตั้งแต่แรกกเข้าจนกระทั่งสําเร็จการศึกษา เช่น การลงทะเบียนเรียน การลาพัก การศึกษา การเพิกถอนวิชา การย้ายคณะ /ภาควิชา การแก้ไขข้อมูลส่วนตัว การประกาศเกรด การทําบัตร นักศึกษา การแจ้งจบการศึกษา และการขอหลักฐานทางการศึกษา ฯลฯ ซึ่งสํานักทะเบียนนักศึกษามีที่ทําการ ทั้ง 2 วิทยาเขต ดังนี้ วิทยาเขตกล้วยน้ําไท ที่ตั้ง อาคาร 2 ชั้น 1 วันทําการ จันทร์ – ศุกร์ เวลาทําการ ภาคปกติ : 08.30 น. – 17.00 น. ภาคพิเศษ : 17.00 น. – 19.30 น. โทรศัพท์ 0-2350-3500 ต่อ 1551 – 1553 วิทยาเขตรังสิต ที่ตั้ง อาคาร A3 ชั้น 1 วันทําการ จันทร์ – ศุกร์ เวลาทําการ 08.30 น. – 16.30 น. โทรศัพท์ 0-2902-0299 ต่อ 2550 – 2554, 2556 – 2558 หรือติดต่อทางอินเทอร์เน็ตที่ records_office@bu.ac.th , http://www.facebook.com/BURecords หรือ http://twitter.com/Bu_Records นักศึกษาทุกคนควรทําความเข้าใจเกี่ยวกับงานทะเบียนนักศึกษา เพื่อประโยชน์กับนักศึกษาเองและ ป้องกันปัญหาต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น โดยขอแนะนํางานที่นักศึกษาต้องติดต่อกับสํานักทะเบียนนักศึกษา ดังนี้

22

คู่มือวางแผนการเรียนและบริการงานทะเบียน


นักศึกษาที่กําลังศึกษาอยู่

คู่มือวางแผนการเรียนและบริการงานทะเบียน

23


ขั้นตอนการลงทะเบียนเรียนล่วงหน้าทางอินเทอร์เน็ต ลงทะเบียนเรียน แบบเซตวิชา Online Registration - Set menu ภาคปกติ หลักสูตร 4 ปี (ชั้นปีที่ 1, 2) (ยกเว้น ภาคฤดูร้อนลงทะเบียนเป็นรายวิชา) ภาคพิเศษ ทุกหลักสูตร (ทุกชั้นปี) (ยกเว้น นอกรุ่น) 1. 2. 3. 4. 5. 6. 7.

เข้าสู่เว็บไซต์ http://ursa.bu.ac.th/setregistration/ รับข้อตกลง/ Next ใส่รหัสนักศึกษา และ password กด Login เลือกกลุม่ วิชาที่ต้องการลงทะเบียน แบบ Full set หรือ Sub set หน้าจอจะแสดงเซตวิชา ทีล่ งทะเบียนเรียน เลือกเซตที่ต้องการ และกด Next ตรวจสอบ รหัสและชื่อวิชา ใส่ password/ submit เลือกวิธีการชําระเงิน/ Next ขั้นตอนการลงทะเบียนเรียนล่วงหน้าทางอินเทอร์เน็ต ลงทะเบียนเรียน แบบเซตวิชา http://ursa.bu.ac.th/setregistration/

ยอมรับข้อตกลง/ Next ใส่รหัสนักศึกษาและ password กด Login

เลือกการลงทะเบียน แบบ Full Set หรือ Subset Set

ใส่ password/ submit

เลือกวิธีการชําระเงิน/ Next 24

คู่มือวางแผนการเรียนและบริการงานทะเบียน


ขั้นตอนการลงทะเบียนเรียนล่วงหน้าทางอินเทอร์เน็ต ลงทะเบียนเรียน แบบรายวิชา Online Registration - Course Section ภาคปกติ - หลักสูตร 4 ปี ( ชั้นปีที่ 3, 4, นอกรุ่น) และภาคฤดูร้อน (ทุกชั้นปี) ภาคพิเศษ นอกรุ่น ทุกหลักสูตร 1. 2. 3. 4. 5. 6. 7.

เข้าสู่เว็บไซต์ http://ursa.bu.ac.th/setregistration2/ รับข้อตกลง/ Next ใส่รหัสนักศึกษา และ password กด Login กรอกรหัสวิชาและกลุ่มที่ต้องการลงทะเบียนเรียน/ Add ตรวจสอบ รหัสและชื่อวิชา/ Next ใส่ password/ submit เลือกวิธีการชําระเงิน/ Next ขั้นตอนการลงทะเบียนเรียนล่วงหน้าทางอินเทอร์เน็ต ลงทะเบียนเรียน แบบรายวิชา http://ursa.bu.ac.th/setregistration2/ ยอมรับข้อตกลง/ Next ใส่รหัสนักศึกษาและ password กด Login กรอกรหัสวิชาและกลุ่มที่ต้องการลงทะเบียน ใส่ password/ submit เลือกวิธีการชําระเงิน/ Next คู่มือวางแผนการเรียนและบริการงานทะเบียน

25


ขั้นตอนการลงทะเบียนปรับรายวิชาทางอินเทอร์เน็ต การลงทะเบียนเรียนปรับรายวิชาเป็นการบริการเฉพาะการเพิ่มวิชาสําหรับนักศึกษาที่เคยลงทะเบียน เรียนล่วงหน้าและชําระเงินค่าลงทะเบียนเรียนเรียบร้อยแล้วเท่านั้น และไม่สามารถลดวิชาได้ไม่ว่าในกรณีใดๆ มีขั้นตอนดังนี้ 1. เข้าสู่เว็บไซต์ http://ums.bu.ac.th/record/adddrop/index.html 2. เลือกปุ่ม ลงทะเบียนปรับรายวิชา (เพิ่มวิชาเท่านั้น) ใส่รหัสนักศึกษา และ password คลิก๊ Login 3. หน้าจอจะแสดงรายวิชาที่ลงทะเบียนเรียนและชําระเงินเรียบร้อยแล้ว 4. ลงทะเบียนเรียนในวิชาที่ต้องการเพิ่มได้เลย 5. สําหรับกรณีทสี่ ามารถลงทะเบียนปรับวิชาได้ คือ ลงทะเบียนเรียนในวิชาที่เคยเรียนแล้ว, ลงทะเบียนเรียนให้ครบเซต, ลงทะเบียนเรียนแล้วไม่ผ่านพืน้ ความรู้ ขั้นตอนการลงทะเบียนปรับรายวิชาทางอินเทอร์เน็ต http://ums.bu.ac.th/record/adddrop/index.html เลือกลงทะเบียนปรับรายวิชา (เพิ่มวิชาเท่านั้น) ใส่รหัสนักศึกษา และ password คลิ๊ก Login หน้าจอจะปรากฏวิชาที่ลงทะเบียนเรียนและ ชําระเงินเรียบร้อยแล้ว ลงทะเบียนในวิชาที่ต้องเพิ่มได้เลย

26

คู่มือวางแผนการเรียนและบริการงานทะเบียน


ขั้นตอนการลงทะเบียนเรียนล่าช้า นักศึกษาที่อยู่ในรุ่นและไม่ได้ลงทะเบียนเรียนล่วงหน้าทางอินเทอร์เน็ตหรือลงทะเบียนเรียนแต่ไม่ได้ ชําระเงินตามกําหนดถือเป็นโมฆะต้องลงทะเบียนเรียนใหม่ในวันลงทะเบียนเรียนล่าช้าหรือช่วงเพิ่ม-ลดวิชาโดย นักศึกษาจะต้องลงชื่อกับอาจารย์ที่จุดรับลงทะเบียนเรียน 1. ติดต่อขอลงทะเบียนเรียนในวันลงทะเบียนล่าช้าหรือช่วงเพิ่ม-ลดวิชา โดยให้นักศึกษาขอลงชื่อ ลงทะเบียนเรียนล่าช้ากับอาจารย์ที่จุดรับลงทะเบียนเรียน 2. ลงทะเบียนเรียนได้เฉพาะวิชา/Section ที่มีที่นั่งว่างเท่านั้น 3. ชําระเงินค่าลงทะเบียนเรียนภายในวันที่ระบุในใบรายงานผลการลงทะเบียนเรียน ขั้นตอนการลงทะเบียนเรียนล่าช้า นักศึกษาในรุ่นที่ไม่ได้ลงทะเบียนล่วงหน้าทาง อินเทอร์เน็ตหรือลงทะเบียนแล้วไม่ชําระเงินติดต่อ ขอลงทะเบียนเรียนในวันลงทะเบียนล่าช้าหรือช่วง เพิ่ม-ลดวิชา ให้นักศึกษาลงชื่อเพื่อลงทะเบียนเรียน ได้กับอาจารย์ที่จดรับลงทะเบียนเรียน

ลงทะเบียนเรียนได้เฉพาะวิชา/Section ที่มที ี่นั่งว่างเท่านั้น

ชําระเงินค่าลงทะเบียนเรียนภายในวันที่ ระบุในใบรายงานผลการลงทะเบียน

คู่มือวางแผนการเรียนและบริการงานทะเบียน

27


การลงทะเบียนเรียนเพิ่ม – ลดวิชา การขอเพิ่มวิชา (Adding) หมายถึง การที่นักศึกษา มีความประสงค์ที่จะลงทะเบียนเรียนในรายวิชานั้นๆ การขอลดวิชา (Dropping) หมายถึง การที่นักศึกษา มีความประสงค์ที่จะไม่เรียนในรายวิชานั้นๆ ภายหลังจากที่ได้ลงทะเบียนเรียน และชําระเงินเรียบร้อยแล้ว รายวิชาที่ขอลดนั้น จะไม่บันทึกในใบรายงานผล การศึกษา การขอเพิ่ มวิ ชา การขอลดวิช า รายวิชานั้นจะต้องไม่ ขัดกับจํานวนหน่วยกิต ตามข้อบังคับของ มหาวิทยาลัย ข้อ11.3 ระยะเวลาที่ดําเนินการ เพิ่ม – ลดวิชา การดําเนิ นการเพิ่ ม – ลดวิชา นักศึกษาสามารถดําเนิ นการได้ในสั ปดาห์ แรกนับจากวั นเปิดภาค การศึกษาทุกภาคการศึกษา การเพิ่ม – ลดวิชา สามารถดําเนินการได้ 2 ช่องทาง คือ 1. การเพิ่ม – ลดวิชา ที่มหาวิทยาลัย 2. การเพิ่ม – ลดวิชา ทางอินเทอร์เน็ต ขั้นตอนการเพิ่ม - ลดวิชา ที่มหาวิทยาลัย 1. นักศึกษากรอกแบบฟอร์มบัตรขอเพิ่ม–ลดวิชา (สทบ.021) 2. เขียนรหัสวิชา/ Section/ หน่วยกิต ที่นักศึกษามีความประสงค์ที่จะลงทะเบียนเรียนในช่องเพิ่ม (Add) 3. นําใบรายงานผลการลงทะเบียนเรียนชําระเงินที่ธนาคาร 4. เขียนรหัสวิชา/ Section/ หน่วยกิต ที่นักศึกษามีความประสงค์ที่จะลดวิชาในช่องลด (Drop) 5. การลดวิชายอดเงินที่นักศึกษาขอลดวิชาจะตั้งยอดไว้ในการลงทะเบียนเรียนในภาคถัดไป

28

คู่มือวางแผนการเรียนและบริการงานทะเบียน


ขั้นตอนการเพิม่ - ลดวิชา ที่มหาวิทยาลัย กรอกแบบฟอร์มขอเพิ่ม – ลดวิชา

กรอกรหัสวิชา/Section/หน่วยกิต ที่ต้องการเพิ่มในช่องเพิ่มวิชา หรือกรอกรหัสวิชา/Section/หน่วยกิต ที่ต้องการลดวิชาในช่องลดวิชา *การเพิ่มวิชาจะสมบูรณ์เมื่อมีการชําระเงินค่าลงทะเบียนเรียนแล้วเท่านั้น *การลดวิชาจะมีผลทันทีเมื่อทําการลดวิชา

นําใบรายงานผลการลงทะเบียน/ใบเสร็จรับเงิน (กค.018) ไปชําระ เงินที่ธนาคารหรือช่องทางอื่นๆที่สะดวก *ในกรณีทมี่ ีการลดวิชาเพียงอย่างเดียวจะมีการตั้งยอดคืนเงินไว้ใน ระบบการลงทะเบียนเรียน*

คู่มือวางแผนการเรียนและบริการงานทะเบียน

29


ขั้นตอนการเพิม่ - ลดวิชา ทางอินเทอร์เน็ต การลงทะเบียนเรียนเพิ่ ม-ลดวิชาทางอินเทอร์เน็ตนักศึกษาจะต้องมีสถานภาพเป็นนักศึ กษาของ มหาวิทยาลัย และได้มีการชําระเงินในการลงทะเบียนครั้งแรกของภาคการศึกษาปัจจุบันเรียบร้อยแล้ว ดังนั้น นักศึกษาที่ไม่ได้ลงทะเบียนเรียนล่วงหน้าหรือไม่ได้ชําระเงินค่าลงทะเบียนตามกําหนดจะไม่สามารถใช้บริการได้ 1. เข้า http://ursa.bu.ac.th/index_main.cfm 2. เลือกบริการงานทะเบียนนักศึกษา 3. เลือกระบบลงทะเบียนเพิ่มลดวิชาทางอินเทอร์เน็ต (Online Add-Drop) 4. เลือก เพิ่ม – ลด (Online Adding – Dropping of Courses) 5. เลือก ปีการศึกษา/ ภาคการศึกษา 6. ใส่รหัสนักศึกษา/ Password แล้ว กด Login 7. เมื่อบันทึกวิชาจนครบตามจํานวนที่นักศึกษาลงทะเบียนแล้วกด Save 8. พิมพ์ใบรายงานผลการลงทะเบียน/ ใบเสร็จรับเงิน (กค.018)

30

คู่มือวางแผนการเรียนและบริการงานทะเบียน


ขั้นตอนการเพิม่ – ลดวิชาทางอินเทอร์เน็ต http://ursa.bu.ac.th/index_main.cfm เลือกบริการงานทะเบียนนักศึกษา

เลือกระบบลงทะเบียนเพิ่มลดวิชาทางอินเทอร์เน็ต (Online Add-Drop)

เลือกหัวข้อเพิ่ม–ลด (Online Adding – Dropping of Courses) ระบุภาคและปีการศึกษาใส่รหัสนักศึกษา/Password แล้ว กด Login ปฏิบัติตามขั้นตอน เมื่อได้วิชาครบตามจํานวนที่ นักศึกษาลงทะเบียนแล้วกด Save

พิมพ์ใบรายงานผลการลงทะเบียน/ใบเสร็จรับเงิน (กค.018) เพื่อนําไปชําระเงินที่ธนาคารหรือช่องทางอื่นๆ ที่ สะดวก *กรณีลดวิชาเพียงอย่างเดียวไม่สามารถพิมพ์ใบ รายงานผลได้และระบบจะตั้งยอดคืนเงินไว้*

คู่มือวางแผนการเรียนและบริการงานทะเบียน

31


ขั้นตอนการลงทะเบียนเรียนของนักศึกษาเทียบโอน นั ก ศึ ก ษาเที ย บโอนหมายถึ ง นั ก ศึ ก ษามหาวิ ท ยาลั ย กรุ ง เทพที่ ล าออกแล้ ว หรื อ นั ก ศึ ก ษาจาก มหาวิทยาลัยอื่นที่ได้สมัครเข้าศึกษาใหม่โดยขอเทียบโอนหน่วยกิตที่ได้เรียนมาแล้ว การลงทะเบียนเรียนของนักศึกษาเทียบโอนจะแตกต่างจากนักศึกษาที่เข้าใหม่ทั่วไป เนื่องจากฝ่ายรับ สมัค รนั กศึ ก ษาจะดํ า เนิน การให้ นั ก ศึ ก ษาขึ้น ทะเบีย นนัก ศึก ษาเช่น เดี ย วกับนั กศึ ก ษาทั่ว ไปและชํ า ระเงิ น ตามปกติ แต่นักศึกษาจะไม่ สามารถเรียนได้ตามรายวิชาที่จัดให้ทุกวิชา เพราะบางวิ ชาในเซ็ตที่จัดให้นั้น นักศึกษาได้รับการเทียบโอนมาแล้ว ฉะนั้น นักศึกษาต้องมาติดต่อสํานักทะเบียนนักศึกษาตามวันนัดที่ฝ่ายรับ สมัครนักศึกษาแจ้งให้ทราบ โดยปฏิบัติตามขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. ตรวจสอบรายชื่อวิชาตามใบเสร็จรับเงินว่าวิชาใดเป็นวิชาที่ได้รับเทียบโอนมาแล้ว ซึ่งนักศึกษาไม่ ต้องเรียนอีก 2. นักศึกษาวางแผนการเรียน โดยลดวิชาที่ได้รับโอนแล้ว และหาวิชาอื่นเพื่อมาเรียนทดแทนวิชาที่ นักศึกษาจะขอลดวิชาโดยใช้ Degree Plan ประกอบ 3. กรอกรายชื่อวิชาที่ต้องการลดและเพิ่มวิชา และติดต่อสํานักทะเบียนนักศึกษา ซึ่งจะลงทะเบียน ให้ตามที่นักศึกษาต้องการแล้วออกใบเสร็จรับเงินให้ใหม่ 4. กรณีที่ค่าหน่วยกิตของวิชาที่ลดและเพิ่มไม่แตกต่างกัน นักศึกษาไม่ต้องชําระเงินเพิ่ม นักศึกษาไป ติดต่อแผนกการเงินเพื่อบันทึกข้อมูล ถือว่าการลงทะเบียนสมบูรณ์แล้ว 5. กรณีที่ค่าหน่วยกิตของวิชาที่ลดและเพิ่มแตกต่างกัน เช่น วิชาที่ลดนั้นไม่มีค่าห้องปฏิบัติการ แต่ วิ ช าที่ ล งเพิ่ ม มี ค่ า ห้ อ งปฏิ บั ติ ก าร หรื อ นั ก ศึ ก ษาลงทะเบี ย นเรี ย นเพิ่ ม 3 วิ ช าแต่ ล ดวิ ช าไป 2 วิ ช า ฉะนั้ น นักศึกษาต้องชําระเงินเพิ่ม โดยไปชําระเงินที่ธนาคารที่มหาวิทยาลัยกําหนด

32

คู่มือวางแผนการเรียนและบริการงานทะเบียน


ขั้นตอนการลงทะเบียนเรียนของนักศึกษาเทียบโอน ตรวจสอบรายชื่อวิชาตามใบเสร็จรับเงิน วิชาใดได้รับเทียบโอน

ติดต่อลงทะเบียนที่จุดรับลงทะเบียน

ลดวิชาที่ได้รับ โอนและเพิ่มวิชา กรณีไม่มีค่าหน่วยกิต ที่ต้องชําระเงินเพิ่ม

กรณีมีค่าหน่วยกิต ที่ต้องชําระเงินเพิ่ม

ติดต่อแผนกการเงินเพื่อ บันทึกข้อมูล

ชําระเงินที่ธนาคารตาม วันที่กําหนดในใบเสร็จ

สําหรับการลงทะเบียนเรียนในภาคการศึกษาถัดไป ให้นักศึกษาดูกําหนดการลงทะเบียนเรียนใน ปฏิทินการศึกษาในเว็บไซต์สํานักทะเบียนนักศึกษา http://recordsoffice.bu.ac.th ถ้านักศึกษาสามารถ ลงทะเบียนตามเซ็ตวิชาที่จัดไว้ได้ครบจํานวนหน่วยกิตขั้นต่ํา (ภาคปกติ 12 หน่วยกิตและภาคพิเศษ 9 หน่วย กิต) ให้นักศึกษาลงทะเบียนตามเวลาที่กําหนดได้เลย แต่ถ้าไม่สามารถลงทะเบียนเรียนได้ครบจํานวนหน่วยกิต ขั้นต่ําให้นักศึกษามาลงทะเบียนที่สํานักทะเบียนนักศึกษาตามวันที่กําหนดให้สําหรับนักศึกษาโอน นักศึกษา ย้ายคณะ/ ภาควิชา ซึ่งจะประกาศให้ทราบในแต่ละภาค

คู่มือวางแผนการเรียนและบริการงานทะเบียน

33


ขั้นตอนการลงทะเบียนเรียนข้ามสถาบัน นักศึกษาที่ลงทะเบียนในภาคการศึกษานั้นเป็นภาคสุดท้ายที่จะสําเร็จการศึกษา และมหาวิทยาลัย กรุงเทพไม่ได้เปิดสอนวิชานั้น นักศึกษาสามารถขอเรียนข้ามสถาบันได้ 1. ขอแบบฟอร์มคําร้องขอลงทะเบียนเรียนข้ามสถาบัน (สทบ.142) ได้ที่สํานักทะเบียนนักศึกษา หรือที่สํานักวิชาการ และยื่นคําร้องไว้ที่คณะ 2. นักศึกษาต้องถ่ายสําเนารายละเอียดวิชาของสถาบันที่จะไปเรียนและของมหาวิทยาลัยกรุงเทพใน หลักสูตรรุ่นของตนเองที่เข้าศึกษา เพื่อให้คณบดีพิจารณา 3. เขียนคําร้องพร้อมแนบรายละเอียดวิชาและ Transcript 4. ยื่นคําร้องได้ที่คณะที่นักศึกษาสังกัด เพื่อให้คณบดีพิจารณาและแจ้งผลให้นักศึกษาทราบ 5. กรณี ไ ด้ รั บ อนุ มั ติ ทางสํ า นั ก วิ ช าการจะโทรแจ้ ง ให้ ม ารั บ ทราบและรั บ หนั ง สื อ ส่ ง ตั ว เพื่ อ ไป ลงทะเบียนเรียนกับสถาบันนั้นๆ กรณีไม่อนุมัติ ทางคณะฯ ที่นักศึกษาสังกัดจะเป็นผู้แจ้งให้ทราบเอง 6. นําใบเสร็จรับเงินที่ลงทะเบียนเรียนกับสถาบันอื่น ส่งที่สํานักทะเบียนมหาวิทยาลัยกรุงเทพ หาก ไม่ได้ลงทะเบียนเรียนกับสถาบันนั้น ต้องแจ้งยกเลิกเรื่องเรียนข้ามสถาบันที่สํานักทะเบียนนักศึกษา 7. กรณีเรียนเป็นภาคสุดท้ายและคาดว่าจะสําเร็จการศึกษาต้องแจ้งจบการศึกษาตามกําหนดภายใน ปฏิทินงานทะเบียนนักศึกษาด้วย 8. กรณี ไ ม่ มี วิ ช าที่ ล งทะเบี ย นที่ ม หาวิ ท ยาลั ย กรุ ง เทพ นั ก ศึ ก ษาต้ อ งยื่ น คํ า ร้ อ งลาพั ก และชํ า ระ ค่าธรรมเนียมที่สํานักทะเบียนนักศึกษามหาวิทยาลัยกรุงเทพด้วย 9. นักศึกษาติดตามผลการสอบในวิชาที่เรียนข้ามสถาบันและนําส่งสํานักทะเบียนนักศึกษาด้วย

34

คู่มือวางแผนการเรียนและบริการงานทะเบียน


ขั้นตอนการลงทะเบียนเรียนข้ามสถาบัน ยื่นคําร้องขอลงทะเบียนเรียนข้ามสถาบันพร้อม แนบรายละเอียดวิชาและผลใบรายงานผลที่คณะ

คณบดีพิจาณาและ แจ้งผลให้นักศึกษา

ไม่อนุมัติ

คณะฯแจ้งผลให้ นักศึกษาทราบ

อนุมัติ คณะส่งคําร้องไปที่สํานักวิชาการ เพื่อออกหนังสือส่งตัวให้นักศึกษา ไปยื่นกับสถาบันที่จะไปเรียน ลงทะเบียนกับสถาบันที่จะไปเรียน นําใบเสร็จที่ลงทะเบียนส่งที่สาํ นักทะเบียน นักศึกษา หากไม่ลงทะเบียนต้องแจ้งยกเลิก ที่สํานักทะเบียนนักศึกษา หากเป็นภาคสุดท้ายและคาดว่าจะสําเร็จ ต้องแจ้งจบการศึกษาตามกําหนด ในปฏิทินการศึกษา ติดตามผลการเรียนและนําส่งสํานักทะเบียน มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

คู่มือวางแผนการเรียนและบริการงานทะเบียน

35


ขั้นตอนการขอกลับเข้ามาศึกษาใหม่ ในกรณีที่นักศึกษาได้พ้นสถานภาพนักศึกษาไปแล้ว เนื่องจากนักศึกษาลาออกเองหรือถูกจําหน่ายชื่อ ด้วยสาเหตุใดก็ตาม ยกเว้นถูกลงโทษทางวินัย มีความประสงค์จะกลับมาศึกษาต่อ สามารถยื่นเรื่องขอกลับเข้า ศึกษาใหม่ได้ ถ้านักศึกษาได้คะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ํากว่า 1.75 โดยปฏิบัติตามขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. ขอแบบฟอร์มคําร้องขอกลับเข้ามาศึกษาใหม่ (สทบ.123) ที่สํานักทะเบียนนักศึกษา และเขียน ข้อมูลให้ครบถ้วน 2. ขอใบรายงานผลการศึกษา (Transcript) 3. ยื่นคําร้องและ Transcript ที่สํานักทะเบียนนักศึกษา 4. ติดตามผลการอนุมัติที่สํานักทะเบียนนักศึกษาจะนัดให้มาฟังผลประมาณ 2 สัปดาห์จากวันที่ยื่น คําร้อง 5. สํานักทะเบียนนักศึกษาส่งคําร้องให้คณบดีพิจารณา 6. ชําระค่าธรรมเนียมการขอกลับเข้าศึกษาใหม่ที่แผนกการเงินจํานวน 1,000 บาท 7. กรอกระเบียนประวัตินักศึกษา (สทบ.124) โดยใช้รหัสนักศึกษาใหม่ที่สํานักทะเบียนนักศึกษา กําหนดให้ใหม่ตามปีการศึกษาที่กลับเข้าศึกษาใหม่ พร้อมส่งสําเนาบัตรประชาชน สําเนาทะเบียนบ้าน รูปถ่าย ชุดนักศึกษาขนาด 1 นิ้ว 4 รูป 8. ลงทะเบียนเรียนวิชาตามหลักสูตรที่คณบดีอนุมัติให้เรียน ซึ่งอาจเป็นตามรุ่นปีการศึกษาเดิมก่อน พ้นสถานภาพนักศึกษา หรือตามรุ่นปีการศึกษาที่กลับเข้าศึกษาใหม่ ตามที่คณบดีเห็นสมควร

36

คู่มือวางแผนการเรียนและบริการงานทะเบียน


ขั้นตอนการขอกลับเข้ามาศึกษาใหม่ ยื่นคําร้องขอกลับเข้ามาศึกษาใหม่ที่สํานักทะเบียน พร้อมแนบใบรายงานผลการเรียน

สํานักทะเบียนนักศึกษาส่งคําร้องให้คณบดีพิจารณา อนุมัติ ชําระค่าธรรมเนียม 1,000 บาท

กรอกระเบียนประวัตินักศึกษา + ส่งสําเนาบัตร ประชาชน/ สําเนาทะเบียนบ้าน/ รูปถ่ายสวม ชุดนักศึกษา 1 นิ้ว 4 รูป ลงทะเบียนเรียนด้วยรหัสนักศึกษาใหม่

ชําระค่าลงทะเบียนเรียน และทําบัตรนักศึกษาใหม่

คู่มือวางแผนการเรียนและบริการงานทะเบียน

37


ขั้นตอนการชําระเงินค่าลงทะเบียนเรียน นัก ศึ ก ษาที่ ล งทะเบี ย นเรี ย นทางอิ น เทอร์ เน็ ต สามารถพิ ม พ์ ใ บรายงานผลการลงทะเบี ย นเรี ย น/ ใบเสร็จรับเงิน (กค.018) ผ่านทางอินเทอร์เน็ตหรือติดต่อขอรับด้วยตนเองที่สํานักทะเบียนนักศึกษาตามวันที่ กําหนดไว้ในปฏิทินการศึกษา มีขั้นตอนดังนี้ 1. เข้าไปที่ http://ursa.bu.ac.th/setregistration2/rocs1p.cfm ใส่ Username และ Password กด Login 2. ชําระเงินที่ธนาคารตามวันที่ระบุไว้ในเอกสารและเก็บส่วนที่ธนาคารคืนให้ไว้เป็นหลักฐาน 3. นักศึกษาสามารถเลือกช่องทางการชําระเงินอื่นๆ ที่สะดวกได้ตามประกาศของฝ่ายการคลัง โดย อ่านรายละเอียดได้ทางอินเทอร์เน็ตที่ http://ursa.bu.ac.th/announce/announce.cfm

ขั้นตอนการชําระเงินค่าลงทะเบียนเรียน พิมพ์ใบรายงานผลการลงทะเบียน/ ใบเสร็จรับเงิน (กค.018) ทางอินเทอร์เน็ตหรือขอรับด้วยตนเองได้ที่ สํานักทะเบียน นักศึกษาตามวันที่กําหนด

ชําระเงินที่ธนาคารตามวันที่ระบุในเอกสาร และเก็บส่วนทีธ่ นาคารคืนให้ไว้เป็นหลักฐาน

นักศึกษาสามารถเลือกช่องทางการชําระเงินอื่นๆ ที่สะดวกได้ตามประกาศของฝ่ายการคลัง โดยอ่านรายละเอียดได้ทางอินเทอร์เน็ตที่ http://ursa.bu.ac.th/announce/announce.cfm

38

คู่มือวางแผนการเรียนและบริการงานทะเบียน


ขั้นตอนการขอลงทะเบียนเรียนวิชาที่มีตารางเรียนตรงกัน 1. ขอแบบฟอร์มคําร้องขอลงทะเบียนเรียนวิชาที่มีตารางเรียนตรงกัน (สทบ.137) ได้ที่สาํ นัก ทะเบียนนักศึกษา และเขียนข้อมูลให้ครบถ้วน 2. นําแบบฟอร์มไปยื่นที่คณะเพื่อขออนุมัติจากคณบดีคณะทีน่ ักศึกษาสังกัด 3. นําแบบฟอร์มที่ได้รับอนุมัติจากคณบดีแล้ว มาลงทะเบียนเรียน ในวันลงทะเบียนเรียนเพิ่ม-ลด วิชาพร้อมบัตรประจําตัวนักศึกษา

การขอลงทะเบียนเรียนวิชาที่มีตารางเรียนตรงกัน ขอคําร้องลงทะเบียนเรียนวิชาที่มี ตารางเรียนตรงกันที่สํานักทะเบียนนักศึกษา

นําคําร้องไปยื่นที่คณะเพื่อขออนุมัติจากคณบดี

นําคําร้องที่ได้รับอนุมัติจากคณบดี มาลงทะเบียนในวันเพิ่ม-ลดวิชา พร้อมบัตรประจําตัวนักศึกษา

คู่มือวางแผนการเรียนและบริการงานทะเบียน

39


ขั้นตอนขอลงทะเบียนเรียนวิชาที่มีตารางสอบตรงกัน (ยื่นเรื่องผ่านอินเทอร์เน็ต) กํา หนดการขอสอบห้ อ งพิ เ ศษ กรณี ที่ ต ารางสอบวิ ช าที่ ล งทะเบี ย นเรี ย นตรงกั น เปิ ด บริ ก ารทาง อินเทอร์เน็ตโดยเข้าไปที่ http://ursa.bu.ac.th/ คลิกที่ Registration Request for Courses with Examination - Schedule Conflicts นักศึกษาจะขออนุมัติลงทะเบียนเรียนวิชาที่มีเวลาสอบตรงกันได้ ทาง อินเทอร์เน็ตในกรณีใดกรณีหนึ่ง ดังต่อไปนี้ 1. มีความประสงค์ที่จะลงทะเบียนเรียน เพื่อที่จะสําเร็จการศึกษาภายในภาคการศึกษา หรือปี การศึกษานั้นๆ โดยนักศึกษาหลักสูตรปริญญาตรี จะต้องมีจํานวนหน่วยกิตสะสมตั้งแต่ 99 ขึ้นไป นักศึกษาหลักสูตรปริญญาตรีต่อเนื่อง จะต้องมีจํานวนหน่วยกิตสะสมตั้งแต่ 33 ขึ้นไป 2. มีความประสงค์ที่จะลงทะเบียนเรียน เนื่องจากวิชาที่ขออนุมัติไม่อยู่ในรายชื่อวิชาที่จะเปิดในภาค การศึกษาถัดไป 3. มีความประสงค์ที่จะลงทะเบียนเรียน เนื่องจากวิชาที่ขออนุมัติเป็นวิชาบังคับก่อน หรือพื้นความรู้ ซึ่งได้กําหนดไว้ในหลักสูตรของคณะที่นักศึกษาสังกัด และมีความจําเป็นต้องลงทะเบียนเรียนในภาคการศึกษา นี้ (กรณีนักศึกษาไม่สามารถดําเนินการได้ทางอินเทอร์เน็ต นักศึกษาต้องเขียนคําร้องตารางสอบตรงกันเพื่อให้ คณบดีพิจารณาอนุมัติ เมื่อคณบดีอนุมัติแล้วนักศึกษาต้องนําคําร้องตารางสอบตรงกันไปติดต่อที่สํานักวิชาการ และนําคําร้องที่สํานักวิชาการลงนามแล้วมายื่นที่จุดลงทะเบียนที่มหาวิทยาลัยเท่านั้น)

40

คู่มือวางแผนการเรียนและบริการงานทะเบียน


ขั้นตอนการขอลงทะเบียนเรียนวิชาที่มีตารางสอบตรงกัน

หน้าเว็บ URSA Online ที่ http://ursa.bu.ac.th แล้วเลือก Registration Request for Courses with Examination-Schedule Conflicts หน้าเว็บระบบโดยตรงได้ที่ http://exconf.bu.ac.th/record/examScheduleConflicts/main.aspx

เลือกข้อ “ขออนุมัติลงทะเบียนเรียนวิชาที่มีเวลาสอบตรงกัน/ Registration Request for Courses with Examination-Schedule Conflicts” กรอกรหัสนักศึกษา1 (Student ID) รหัสผ่าน (Password) และคลิกที่ปุ่ม “Login” ให้นักศึกษากรอกรหัสวิชา (Course) กลุม่ (Section) หลักสูตร (Program) สาเหตุที่ขออนุมัติลงทะเบียนเรียน แล้วคลิกที่ปุ่ม “Add” แต่ถ้าต้องการลบวิชาที่ขออนุมัติลงทะเบียนเรียน ให้คลิกที่ปุ่ม “Delete”

ตรวจสอบวิชาที่ขออนุมัติและวิชาที่มีเวลาสอบตรงกัน หากถูกต้องให้กรอกเบอร์ โทรศัพท์และรหัสผ่านยืนยัน จากนั้นกด “Submit” ระบบจะส่งอีเมล์เกี่ยวกับวิชาที่ ขออนุมัติ นักศึกษาจึงจะลงทะเบียนเพิ่มในวิชาที่ได้ขออนุมัติไว้ได้ที่สํานักทะเบียน หมายเหตุ รหัสนักศึกษา1 : นักศึกษาที่ใช้อีเมล์ E-mail@bulive.net ให้ระบุชื่อผู้ใช้งาน (Username) เข้าใช้งานแทนรหัสนักศึกษา ตัวอย่างรูปแบบ firstname.last

คู่มือวางแผนการเรียนและบริการงานทะเบียน

41


ขั้นตอนขอลงทะเบียนเรียนวิชาที่มีตารางสอบตรงกัน (สําหรับนักศึกษาที่ขาดคุณสมบัติการยื่นเรือ่ งผ่านอินเทอร์เน็ต) 1. ขอแบบฟอร์มคําร้องขอลงทะเบียนเรียนวิชาที่มีตารางสอบตรงกัน (สทบ.138) ได้ที่สาํ นักทะเบียน นักศึกษาและเขียนข้อมูลให้ครบถ้วน 2. นําแบบฟอร์มคําร้องไปยื่นที่คณะเพื่อขออนุมัติจากคณบดีคณะที่นักศึกษาสังกัด 3. นําแบบฟอร์มคําร้องที่คณบดีอนุมัติแล้วไปยื่นสํานักวิชาการก่อนวันลงทะเบียนเรียน 4. ติดต่อลงทะเบียนเรียนในวันลงทะเบียนเรียนปรับรายวิชา หรือวันลงทะเบียนเรียนเพิ่ม-ลดวิชา

ขั้นตอนขอลงทะเบียนเรียนวิชาที่มีตารางสอบตรงกัน ขอคําร้องลงทะเบียนเรียนและ เขียนข้อมูลให้ครบถ้วน

ติดต่อคณะเพื่อขออนุมัติจาก คณบดีคณะทีน่ ักศึกษาสังกัด

นําแบบฟอร์มที่คณบดีอนุมัติแล้ว ไปยื่นที่สํานักวิชาการ

ลงทะเบียนเรียนในวันปรับรายวิชา หรือ วันลงทะเบียนเรียนเพิ่ม-ลดวิชา

42

คู่มือวางแผนการเรียนและบริการงานทะเบียน


ขั้นตอนการขอทําบัตรแทนบัตรนักศึกษาเข้าห้องสอบ (เฉพาะการสอบกลางภาคและปลายภาคเท่านัน้ ) นักศึกษาที่ไม่มีบัตรนักศึกษาและจะต้องเข้าห้องสอบ มหาวิทยาลัยให้ใช้บัตรประชาชน ใบขับขี่ บัตร ประจําตัวข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจและพาสปอร์ตแทนได้ แต่ถ้าไม่มีบัตรใดๆ ทั้งสิ้น นักศึกษาจะต้องติดต่อสํานัก ทะเบียนนักศึกษาก่อนเข้าห้องสอบ 1. ติดต่อลงชื่อเพื่อขอทําบัตรแทนบัตรนักศึกษาได้ที่สํานักทะเบียนนักศึกษา 2. สํานักทะเบียนนักศึกษาออกบัตรแทนบัตรนักศึกษาพร้อมทั้งให้นักศึกษาลงชื่อ 3. นักศึกษานําบัตรแทนบัตรนักศึกษาเข้าห้องสอบ ไปยื่นและลงชื่อต่อหน้ากรรมการคุมสอบ หมายเหตุ ถ้านักศึกษาเข้าห้องสอบโดยไม่มีบัตรใด ๆ และไม่ติดต่อสํานักทะเบียนนักศึกษาก่อนเข้าห้องสอบ จะถูกตัดเวลาสอบ 30 นาที

ขั้นตอนการขอบัตรแทนบัตรนักศึกษาเข้าห้องสอบ (เฉพาะการสอบกลางภาคและปลายภาคเท่านัน้ ) ลงชื่อเพื่อขอทําบัตรแทนเข้าห้องสอบ

สํานักทะเบียนนักศึกษาออก บัตรแทนบัตรนักศึกษา พร้อมให้นักศึกษาลงชื่อ

นําบัตรแทนบัตรนักศึกษา เข้าห้องสอบไปยื่นและลงชื่อ ต่อหน้ากรรมการผู้คุมสอบ

คู่มือวางแผนการเรียนและบริการงานทะเบียน

43


ขั้นตอนการขอเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล 1. ขอแบบฟอร์ ม คํ าร้ องขอเปลี่ย นคํ านํา หน้ าชื่อ /ชื่ อ/นามสกุ ล (สทบ.135) ได้ที่ สํานัก ทะเบี ย น นักศึกษา เขียนข้อมูลให้ครบถ้วนและนําแบบฟอร์มมายื่นที่สํานักทะเบียนนักศึกษาพร้อมหลักฐาน 2. สํานักทะเบียนนักศึกษา จะส่งผลการเปลี่ยนชื่อ-นามสกุลให้นักศึกษาทราบทาง e-Mail ภายใน 1 วันทําการนับจากวันยื่นเรื่อง 3. นักศึกษาติดต่อทําบัตรประจําตัวนักศึกษาใหม่ได้ที่สํานักทะเบียนนักศึกษาพร้อมทั้งแนบบัตร ประจําตัวนักศึกษาเดิมและชําระค่าธรรมเนียมในการขอทําบัตรประจําตัวนักศึกษาใหม่ 4. นักศึกษารอรับบัตรประจําตัวนักศึกษาใหม่ (หากต้องการถ่ายรูปใหม่ต้องแจ้งล่วงหน้า) หมายเหตุ หลักฐานประกอบการขอเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล ได้แก่ - สําเนาใบเปลี่ยนชื่อ หรือ นามสกุล จํานวน 1 ฉบับ (เฉพาะนักศึกษาชั้นปีที่ 1-2 จํานวน 2 ฉบับ) - สําเนาบัตรประชาชนหรือสําเนาทะเบียนบ้านที่แก้ไขเรียบร้อยแล้ว จํานวน 1 ฉบับ

ขั้นตอนการขอเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล ยื่นคําร้องขอเปลี่ยนชื่อ – นามสกุลพร้อมหลักฐาน

แจ้งผลให้นักศึกษาทราบทาง e-Mail วันรุ่งขึ้น

กรอกคําร้องขอทําบัตรประจําตัวนักศึกษาใหม่ ที่สํานักทะเบียนนักศึกษา (แนบบัตรประจําตัวเดิม)

ชําระค่าธรรมเนียมในการขอทําบัตรประจําตัว นักศึกษาใหม่

นักศึกษารอรับบัตรประจําตัวนักศึกษาใหม่

44

คู่มือวางแผนการเรียนและบริการงานทะเบียน


ขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงที่อยู่ นักศึกษาที่มีการเปลี่ยนแปลงที่อยู่จากเดิมที่เคยแจ้งไว้ จะต้องแจ้งให้มหาวิทยาลัยทราบที่อยู่ปัจจุบัน เพื่อใช้ในการติดต่อนักศึกษา การเปลี่ยนที่อยู่สามารถเปลี่ยนได้ 2 ช่องทาง ดังนี้ 1. ดําเนินการด้วยตนเองที่เคาน์เตอร์สํานักทะเบียนนักศึกษา 2. ดําเนินการผ่านทางอินเทอร์เน็ต 1. การดําเนินการด้วยตนเองที่สํานักทะเบียนนักศึกษา 1. ขอแบบฟอร์มคําร้องขอเปลี่ยนที่อยู่ (สทบ.128) ได้ที่สํานั กทะเบียนนักศึกษาและเขียนข้อมูลให้ ครบถ้วน 2. นําแบบฟอร์มมายื่นที่สํานักทะเบียนนักศึกษา กรณีเปลี่ยนแปลงที่อยู่ตามทะเบียนบ้านให้ยื่นพร้อม หลักฐาน - บัตรประตัวนักศึกษา หลักฐาน - สําเนาบัตรประชาชน หรือ สําเนาทะเบียนบ้าน

ขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงที่อยู่ด้วยตนเองทีส่ ํานักทะเบียนนักศึกษา ขอแบบฟอร์มได้ที่สํานักทะเบียนนักศึกษา และเขียนข้อมูลให้ครบถ้วน

ยื่นแบบฟอร์มคําร้องขอเปลี่ยนที่อยู่ที่สํานักทะเบียนนักศึกษา กรณีเปลี่ยนแปลงที่อยู่ตามทะเบียนบ้านให้ยื่นพร้อมหลักฐาน หลักฐาน - บัตรประตัวนักศึกษา - สําเนาบัตรประชาชน หรือ สําเนาทะเบียนบ้าน

คู่มือวางแผนการเรียนและบริการงานทะเบียน

45


2. ดําเนินการทาง URSA ONLINE นักศึกษาสามารถขอเปลี่ยนที่อยู่ได้ผ่านทาง URSA ONLINE ตามขั้นตอนและรายละเอียดที่แจ้งไว้ พร้อมส่งหลักฐานเพิ่มเติมได้ที่สํานักทะเบียนนักศึกษา ภายใน 7 วันหลังจากที่ได้ดําเนินการทาง URSA ONLINE โดยมีขั้นตอนดังนี้ 1. เข้า http://ursa.bu.ac.th/index_main.cfm 2. เลือก Personal data 3. ใส่ User Name และ Password 4. เปลี่ยนที่อยู่ติดต่อได้เลือก Mailing Address 5. เปลี่ยนที่อยู่ตามทะเบียนบ้านเลือก Permanent Address

ขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงที่อยู่ทางอินเทอร์เน็ต

เข้า http://ursa.bu.ac.th/index_main.cfm เลือก Personal data/ ใส่ User Name และ Password

เปลี่ยนที่อยู่ติดต่อได้ เลือก Mailing Address เปลี่ยนที่อยู่ตามสําเนาทะเบียนบ้าน เลือก Permanent Address

เมื่อดําเนินการแก้ไขแล้วให้นาํ สําเนาทะเบียนบ้านใหม่ ส่งที่สํานักทะเบียน ภายใน 7 วัน

46

คู่มือวางแผนการเรียนและบริการงานทะเบียน


ขั้นตอนการเตรียมตัวสอบกลางภาค/ปลายภาค นักศึกษาทุกคนที่ลงทะเบียนเรียนต้องเข้าสอบกลางภาค และสอบปลายภาค ตามกําหนดการของ มหาวิทยาลัย ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้ 1. ตรวจสอบวิชา/Section และวัน-เวลา-ห้องสอบ ทางอินเทอร์เน็ต 2. เข้าไปที่ http://ursa.bu.ac.th/index_main.cfm เลือก Examination Schedule ใส่ Username และ Password 3. การเข้าสอบนักศึกษาต้องแต่งกายชุดนักศึกษาให้เรียบร้อยและถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย 4. เตรียมอุปกรณ์การสอบให้พร้อม เช่น ปากกา ดินสอ ยางลบ เป็นต้น หากมีเอกสารข้อความที่ เกี่ยวข้องการสอบด้วยให้ไว้หน้าห้องสอบ มิฉะนั้นจะถือว่ามีเจตนาทุจริต 5. นักศึกษาต้องเข้าห้องสอบให้ตรงเวลา หากนักศึกษาเข้าสอบไม่ทันภายในครึ่งชั่วโมงแรกของการ สอบจะไม่มีสิทธิ์เข้าสอบวิชานั้น 6. นําบัตรประจําตัวนักศึกษามาแสดงในการเข้าสอบทุกครั้ง หากไม่มีบัตรนักศึกษาจะต้องติดต่อ สํานักทะเบียนนักศึกษาก่อนเข้าห้องสอบ

ขั้นตอนการเตรียมตัวสอบกลางภาค/ปลายภาค ตรวจสอบวิชา/Section และวัน-เวลา-ห้องสอบทางอินเทอร์เน็ต เข้าไปที่ http://ursa.bu.ac.th/index_main.cfm การเข้าสอบต้องแต่งกายชุดนักศึกษาให้ถูกต้องตามระเบียบ ของมหาวิทยาลัย เตรียมอุปกรณ์การสอบให้พร้อม เข้าห้องสอบให้ตรงเวลา แสดงบัตรประจําตัวนักศึกษาในการเข้าสอบ

คู่มือวางแผนการเรียนและบริการงานทะเบียน

47


ขั้นตอนการขอสอบปลายภาคกรณีพิเศษ ในกรณีที่นักศึกษาไม่สามารถมาสอบกลางภาคได้ นักศึกษาสามารถยื่นคําร้องขอสอบปลายภาคกรณี พิเศษได้ โดยยื่นคําร้องที่ สํานักทะเบียนนักศึกษาได้ ภายใน 5 วันทํ าการนับจากวันที่ข าดสอบพร้ อมแนบ หลักฐานประกอบ 1. ขอแบบฟอร์มคําร้องขอสอบปลายภาคกรณีพิเศษ (สทบ.129) ได้ที่สํานักทะเบียนนักศึกษาและ เขียนข้อมูลให้ครบถ้วน นําแบบฟอร์มมายื่นที่สํานักทะเบียนนักศึกษาพร้อมหลักฐาน 2. สํานักทะเบียนนักศึกษารวบรวมคําร้องส่งสํานักวิชาการ เพื่อเสนอคณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง พิจารณา 3. แจ้งผลให้นักศึกษาทราบทาง e-Mail ถ้าได้รับอนุมัติจะต้องไปติดต่อสํานักวิชาการเพื่อขอทราบ ห้องสอบพิเศษ ตามวัน/ เวลาที่แจ้ง 4. ถ้าไม่ได้รับอนุม้ตินักศึกษาขอเพิกถอนวิชาได้ตามวัน-เวลาที่กําหนดไว้ใ นปฏิทินงานทะเบียน นักศึกษา การขอสอบปลายภาคกรณีพิเศษสามารถทําแด้ในกรณีที่นักศึกษาขาดสอบ เนื่องจากเหตุผ ล จําเป็น ดังต่อไปนี้ 1. เจ็บป่วยหนักและนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลอย่างน้อย 1 วัน โดยต้องมีใบรับรองแพทย์ระบุ ชัดเจนว่าไม่สามารถมาสอบได้ 2. ประสบอุบัติเหตุทําให้ได้รับบาดเจ็บหรือต้องอยู่ในที่เกิดเหตุเพื่อแก้ไขปัญหา 3. บิดา/ มารดาหรือผู้ปกครองเจ็บป่วยหนักหรือประสบอุบัติเหตุร้ายแรงต้องนอนพักรักษาตัวใน โรงพยาบาลหรือเสียชีวิต 4. เกิดภัยพิบัติแก่ทรัพย์สินของนักศึกษาหรือครอบครัว นอกเหนือจากเหตุผลข้างต้นไม่อนุญาตให้ทําเรื่องขอสอบปลายภาคกรณีพิเศษ

48

คู่มือวางแผนการเรียนและบริการงานทะเบียน


ขั้นตอนการขอสอบปลายภาคกรณีพิเศษ ยื่นแบบฟอร์มคําร้องขอสอบปลายภาคกรณีพิเศษที่ สํานักทะเบียนนักศึกษา พร้อมหลักฐาน สํานักทะเบียนนักศึกษาตรวจสอบคําร้อง พร้อมหลักฐานที่แนบ สํานักทะเบียนนักศึกษาส่งคําร้อง ให้คณะกรรมการพิจารณา

นักศึกษาตรวจสอบผล ทาง e-Mail ตามวันที่นัด

อนุมัติ สํานักวิชาการแจ้งผลการพิจารณา เพื่อทราบวัน-เวลา-สถานที่สอบ หากได้รับอนุมัติแต่ไม่เข้าสอบ ตามกําหนดจะได้เกรด F วิชานั้น

ไม่อนุมัติ สํานักทะเบียนนักศึกษา แจ้งผลการพิจารณา นักศึกษาเพิกถอนวิชา ทางอินเทอร์เน็ต

คู่มือวางแผนการเรียนและบริการงานทะเบียน

49


ขั้นตอนการขอสอบชดเชยปลายภาค ในกรณีที่นักศึกษาไม่สามารถมาสอบปลายภาคได้ นักศึกษาสามารถยื่นคําร้องขอสอบชดเชยปลาย ภาคได้ โดยยื่นคําร้องที่สํานักทะเบียนนักศึกษาภายใน 5 วันทําการนับจากวันที่ขาดสอบ พร้อมแนบหลักฐาน ประกอบ 1. ขอแบบฟอร์มคําร้องขอสอบชดเชยปลายภาค (สทบ.141) ที่สํานักทะเบียนนักศึกษา และเขียน ข้อมูลให้ครบถ้วนนําแบบฟอร์มมายื่นพร้อมหลักฐาน 2. สํานักทะเบียนนักศึกษารวบรวมคําร้องส่งสํานักวิชาการ เพื่อเสนอคณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง พิจารณา 3. แจ้งผลให้นักศึกษาทราบทาง e-Mail ถ้าได้รับอนุมัติจะต้องไปติดต่อสํานักวิชาการเพื่อขอทราบ ห้องสอบพิเศษ ตามวัน/เวลาที่แจ้ง ถ้าไม่ได้รับอนุมัติสํานักทะเบียนนักศึกษาจะแจ้งผล 4. ถ้าไม่ได้รั บอนุม้ตินักศึกษาขอเพิกถอนวิชาได้ตามวัน-เวลาที่กําหนดไว้ใ นปฏิทินงานทะเบียน นักศึกษา การขอสอบชดเชยปลายภาคสามารถทําได้ในกรณีทนี่ ักศึกษาขาดสอบ เนื่องจากเหตุผลจําเป็น ดังต่อไปนี้ 1. เจ็บป่วยหนักและนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลอย่างน้อย 1 วัน โดยต้องมีใบรับรองแพทย์ระบุ ชัดเจนว่าไม่สามารถมาสอบได้ 2. ประสบอุบัติเหตุทําให้ได้รับบาดเจ็บหรือต้องอยู่ในที่เกิดเหตุเพื่อแก้ไขปัญหา 3. บิดา/ มารดาหรือผู้ปกครองเจ็บป่วยหนักหรือประสบอุบัติเหตุร้ายแรงต้องนอนพักรักษาตัวใน โรงพยาบาลหรือเสียชีวิต 4. เกิดภัยพิบัติแก่ทรัพย์สินของนักศึกษาหรือครอบครัว นอกเหนือจากเหตุผลข้างต้นไม่อนุญาตให้ทําเรื่องขอสอบปลายภาคกรณีพิเศษ

50

คู่มือวางแผนการเรียนและบริการงานทะเบียน


ขั้นตอนการขอสอบชดเชยปลายภาค

ยื่นแบบฟอร์มคําร้องขอสอบชดเชยปลายภาค ที่สํานักทะเบียนนักศึกษา พร้อมหลักฐาน

สํานักทะเบียนนักศึกษาตรวจสอบคําร้องพร้อมหลักฐานทีแ่ นบ สํานักทะเบียนนักศึกษาส่งคําร้องให้คณะกรรมการพิจารณา

นักศึกษาตรวจสอบผลทาง e-Mail ตามวันที่นัด

อนุมัติ สํานักวิชาการแจ้งผลการพิจารณา เพื่อทราบ วัน-เวลา-สถานที่สอบหาก ได้รับอนุมัติแต่ไม่เข้าสอบตามกําหนดจะ ได้เกรด F วิชานั้น

ไม่อนุมัติ สํานักทะเบียนนักศึกษา แจ้งผลการพิจารณา ได้รับเกรดตามความเป็นจริง

คู่มือวางแผนการเรียนและบริการงานทะเบียน

51


ขั้นตอนการขอเพิกถอนวิชากรณีพิเศษ ในกรณีที่นักศึกษาไม่สามารถมาสอบปลายภาคได้ นักศึกษาสามารถยื่นคําร้องขอเพิกถอนกรณีพิเศษ เสนอผู้อํานวยการสํานักทะเบียนนั กศึ กษาภายใน 5 วันทําการนับจากวันที่ขาดสอบพร้ อมแนบหลั กฐาน ประกอบ 1. ขอแบบฟอร์มคําร้องขอเพิกถอนวิชากรณีพิเศษ (สทบ.109) ได้ที่สํานักทะเบียนนักศึกษาและ เขียนข้อมูลให้ครบถ้วน นําแบบฟอร์มมายื่นที่สํานักทะเบียนนักศึกษา พร้อมหลักฐาน 2. สํานักทะเบียนนักศึกษา จะแจ้งผลการขอเพิกถอนวิชากรณีพิเศษให้นักศึกษาทราบทาง e-Mail ในวันประกาศผลสอบทางอินเทอร์เน็ต การเพิกถอนวิชากรณีพิเศษสามารถทําได้ในกรณีที่นักศึกษาขาดสอบเนื่องจากเหตุผลจําเป็น ต่อไปนี้ 1. เจ็บป่วยหนักและนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลอย่างน้อย 1 วัน โดยต้องมีใบรับรองแพทย์ระบุ ชัดเจนว่าไม่สามารถมาสอบได้ 2. ประสบอุบัติเหตุทําให้ได้รับบาดเจ็บหรือต้องอยู่ในที่เกิดเหตุเพื่อแก้ไขปัญหา 3. บิดา/มารดาหรื อผู้ ป กครอง เจ็ บป่ว ยหนั ก หรือ ประสบอุ บัติเ หตุร้ า ยแรงต้อ งนอนรัก ษาตั วใน โรงพยาบาล หรือเสียชีวิต 4. เกิดภัยพิบัติแก่ทรัพย์สินของนักศึกษาหรือครอบครัวนอกเหนือจากเหตุผลข้างต้น ไม่อนุญาตให้ ทําเรื่องขอเพิกถอนวิชากรณีพิเศษ หลักฐานประกอบ บัตรประจําตัวนักศึกษา และหลักฐานต่างๆ เช่น ใบรับรองแพทย์ ใบเสร็จค่าใช้จ่าย ใบ รายงานผลการศึกษาแบบไม่เป็นทางการ(Unofficial Transcript) เป็นต้น

52

คู่มือวางแผนการเรียนและบริการงานทะเบียน


ขั้นตอนการขอเพิกถอนวิชากรณีพิเศษ

ยื่นแบบฟอร์มคําร้องขอเพิกถอนวิชากรณี พิเศษที่สํานักทะเบียนนักศึกษาพร้อมหลักฐาน

สํานักทะเบียนตรวจสอบคําร้อง พร้อมหลักฐานที่นักศึกษาแนบ

ผู้อํานวยการสํานักทะเบียนนักศึกษา พิจารณาคําร้อง

นักศึกษาตรวจสอบผล ทาง e-Mail ตามวันที่นัด

อนุมัติ บันทึก W ในใบรายงานผลการศึกษา

ไม่อนุมัติ ได้รับเกรดตามความเป็นจริง

คู่มือวางแผนการเรียนและบริการงานทะเบียน

53


ขั้นตอนการขอย้ายคณะ/ภาควิชา นักศึกษาที่มีความประสงค์จะขอย้ายคณะหรือภาควิชา สามารถยื่นคําร้องขอย้ายคณะ/ภาควิชา ได้ หลังจากเรียนในคณะหรือภาควิชาเดิมแล้วอย่างน้อย 2 ภาคการศึกษา (สําหรับหลักสูตรภาคปกติ 4 ปี) หรือ 1 ปีการศึกษา (สําหรับหลักสูตรภาคพิเศษ 4 1/2 ปี) 1. ขอแบบฟอร์มคําร้องขอย้ายคณะ/ภาควิชา (สทบ.111) และกรอกแบบฟอร์มคําร้องขอเทียบ รายวิชากรณี ย้ายคณะ/เปลี่ยนภาควิ ชา (สทบ.112)โดยนักศึกษาจะต้ องกรอกรายละเอียดวิชาโดยดูจาก Transcript เขียนข้อมูลให้ครบถ้วน 2. นําแบบฟอร์มมายื่นที่สํานักทะเบียนนักศึกษา พร้อมบัตรประจําตัวนักศึกษา และ Transcript 3. สํานักทะเบียนนักศึกษาออกใบนัดฟังผลการอนุมัติทางอีเมล์ 4. นักศึกษาต้องมาชําระเงินค่าธรรมเนียมตามวันนัด กรณีอนุมัติ จะต้องดําเนินการ ดังต่อไปนี้ - ทําบัตรประจําตัวนักศึกษาใหม่ เฉพาะนักศึกษาย้ายคณะเท่านั้น - ชําระเงินค่าธรรมเนียมการย้ายคณะ/ภาควิชา จํานวน 500 บาท 5. สํานักทะเบียนนักศึกษาได้แนบไฟล์ใบเทียบโอนวิชา (สทบ. 112) ให้นักศึกษาทางอีเมล์ นักศึกษา จะต้องพิมพ์เอกสารฉบับนี้เก็บไว้เป็นหลักฐาน เพื่อใช้ประกอบการลงทะเบียน 6. การเทียบโอนวิชา หรือขอยกเลิกวิชา จะมีผลเมื่อมีการประกาศผลการเรียนของคณะ/ภาควิชา ใหม่แล้ว

54

คู่มือวางแผนการเรียนและบริการงานทะเบียน


ขั้นตอนการขอย้ายคณะ/ภาควิชา ยื่นแบบฟอร์มคําร้องขอย้ายคณะ/ภาควิชา และกรอกคําร้องขอเทียบรายวิชา ที่สํานักทะเบียนนักศึกษา

สํานักทะเบียนแจ้งผล ทางอีเมล์

อนุมัติ - พิมพ์เอกสารการเทียบโอนวิชา เก็บเป็นหลักฐาน - ชําระค่าธรรมเนียมการย้ายคณะ/ภาควิชา 500 บาท - ชําระค่าทําบัตรนักศึกษา (เฉพาะย้ายคณะ) 300 บาท

ไม่อนุมัติ นักศึกษาไม่ต้องติดต่อ สํานักทะเบียนนักศึกษา

การเทียบโอนวิชาหรือ ขอยกเลิกวิชา จะมีผลเมื่อประกาศผลการเรียน ของคณะใหม่แล้ว

คู่มือวางแผนการเรียนและบริการงานทะเบียน

55


ขั้นตอนการขอย้ายรอบ นักศึกษาที่มีความประสงค์จะขอย้ายรอบจากภาคปกติไปเรียนภาคพิเศษ หรือภาคพิเศษไปเรียนภาค ปกติจะต้องลงทะเบียนเรียนมาแล้วไม่ต่ํากว่าสิบแปดหน่วยกิตคะแนนเฉลี่ยสะสม 2.00 ขึ้นไป การย้ายรอบจะ กระทําได้เพียงครั้งเดียว โดยยื่นคําร้องที่สํานักทะเบียนนักศึกษา ตามปฏิทินการศึกษา 1. ขอแบบฟอร์ ม คํ า ร้ อ งขอย้ า ยรอบ (สทบ.113) ได้ ที่ สํ า นั ก ทะเบี ย น-นั ก ศึ ก ษา เขี ย นข้ อ มู ล ให้ ครบถ้วนและนําแบบฟอร์มมายื่นที่สํานักทะเบียนนักศึกษา พร้อมบัตรประจําตัวนักศึกษาและ Transcript 2. สํานักทะเบียนนักศึกษา จะออกใบนัดให้มาฟังผล 10 วันทําการ นับจากวันยื่นเรื่อง 3. มาฟังผลตามวันนัด ถ้าอนุมัติ จะต้องดําเนินการเรื่องดังต่อไปนี้ - ชําระค่าธรรมเนียมการย้ายรอบ 500 บาท - ทําบัตรประจําตัวนักศึกษาใหม่ 300 บาท 4. นักศึกษาจะได้รับแบบฟอร์มคําร้องขอเทียบรายวิชากรณีย้ายรอบ (สทบ.112) ที่คณบดีลงนาม แล้วเก็บไว้เป็นหลักฐาน

56

คู่มือวางแผนการเรียนและบริการงานทะเบียน


ขั้นตอนการขอย้ายรอบ

ยื่นแบบฟอร์มคําร้องขอย้ายรอบที่สํานักทะเบียนนักศึกษา พร้อมแนบใบรายงานผลการศึกษา แบบไม่เป็นทางการและบัตรนักศึกษา

นักศึกษาฟังผล ที่สํานักทะเบียนตามวันนัด

อนุมัติ - ชําระค่าธรรมเนียมการย้าย คณะ/ภาควิชา 500 บาท - ชําระค่าทําบัตรนักศึกษา (เฉพาะย้ายคณะ) 300 บาท

ไม่อนุมัติ นักศึกษาลงชื่อรับทราบ

นักศึกษาได้รับเอกสาร ประกอบการย้าย คณะ/ภาควิชา (สทบ.112) เพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐาน

คู่มือวางแผนการเรียนและบริการงานทะเบียน

57


ขั้นตอนการขอเปลี่ยนวิชาโท นักศึกษาที่มีความประสงค์จะขอเปลี่ยนวิชาโท ต้องติดต่อคณบดี/หัวหน้าภาคของคณะที่นักศึกษา สังกัด เพื่อขอคําปรึกษาและพิจารณาอนุมัติ โดยมีขั้นตอนดังนี้ 1. ขอแบบฟอร์มคําร้องเปลี่ยนวิชาโท ที่สํานักทะเบียนนักศึกษา หรือขอแบบฟอร์มจากคณะที่ นักศึกษาสังกัด และเขียนข้อมูลให้ครบถ้วน 2. นําแบบฟอร์มคําร้องขอเปลี่ยนวิชาโทไปพบคณบดี เพื่อขออนุมัติ 3. นําแบบฟอร์มที่คณบดีอนุมัติแล้วมายื่นที่สํานักทะเบียนนักศึกษาเสร็จสมบูรณ์ หลักฐาน Unofficial Transcript หมายเหตุ - คณะนิเทศศาสตร์ใช้คําร้องขอเปลี่ยนวิชาโท (สทบ.140) - คณะมนุษย์ศาสตร์ใช้คําร้องขอเปลี่ยนวิชาโท (สทบ.140/1)

ขั้นตอนการขอเปลี่ยนวิชาโท ขอแบบฟอร์มคําร้องขอเปลี่ยนวิชาโท ที่สํานักทะเบียนนักศึกษาหรือคณะที่นักศึกษาสังกัด นําแบบฟอร์มไปพบคณบดีเพื่อพิจารณา นําแบบฟอร์มที่คณบดีอนุมัติแล้วมายื่น ที่สํานักทะเบียนนักศึกษา

สํานักทะเบียนนักศึกษาดําเนินการเปลี่ยนวิชาโท ตามที่คณบดีอนุมัติ

58

คู่มือวางแผนการเรียนและบริการงานทะเบียน


ขั้นตอนการขอทําบัตรประจําตัวนักศึกษาใหม่ นักศึกษาที่ต้องการทําบัตรประจําตัวนักศึกษาใหม่ เนื่องจากบัตรนักศึกษาหาย/ บัตรนักศึกษาชํารุด/ บัตรนักศึกษาหมดอายุ/ นักศึกษาเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล (ดําเนินการแก้ไขข้อมูลให้เรียบร้อยพร้อมแนบบัตร ประจําตัวนักศึกษาเดิม) และ การย้ายคณะ/ ย้ายรอบ (ต้องได้รับอนุมัติก่อนพร้อมแนบบัตรประจําตัวนักศึกษา เดิม) โดยมีขั้นตอน ดังนี้ 1. ขอแบบฟอร์มคําร้องขอทําบัตรประจําตัวนักศึกษา (สทบ.102) ที่สํานักทะเบียนนักศึกษาและ เขียนข้อมูลให้ครบถ้วน 2. ชําระค่าธรรมเนียม 300 บาท 3. สํานักทะเบียนนักศึกษาจะพิมพ์บัตรประจําตัวนักศึกษาใหม่ สามารถรอรับได้ 4. หากต้ อ งการถ่ า ยรู ป นั ก ศึ ก ษาใหม่ จ ะต้ อ งแจ้ ง ที่ สํ า นั ก ทะเบี ย นนั ก ศึ ก ษา โดยสํ า นั ก ทะเบี ย น นักศึกษาจะดําเนินการถ่ายรูปให้กับนักศึกษาและนักศึกษาและรอรับบัตรได้

ขั้นตอนการขอทําบัตรประจําตัวนักศึกษาใหม่ ยื่นแบบฟอร์มคําร้องขอทํา บัตรประจําตัวนักศึกษาใหม่

ชําระค่าธรรมเนียม 300 บาท

ถ่ายรูป (เฉพาะนักศึกษาที่ต้องการรูปใหม่) รอรับบัตรประจําตัวนักศึกษา

คู่มือวางแผนการเรียนและบริการงานทะเบียน

59


ขั้นตอนการขอลาพักการศึกษา นักศึกษาที่ไม่ได้ลงทะเบียนเรียนในภาคการศึกษาใด จะต้องยื่นเรื่องขอลาพักการศึกษาภายในสามสิบ วันหลังเปิดภาคการศึกษามิฉะนั้นจะถูกจําหน่ายชื่อออกจากทะเบียนนักศึกษา 1. ขอแบบฟอร์มคําร้องขอลาพักการศึกษา (สทบ.104) ได้ที่สํานักทะเบียนนักศึกษา เขียนข้อมูลให้ ครบถ้วน นําแบบฟอร์มมายื่นที่สํานักทะเบียนนักศึกษา 2. สํานักทะเบียนตรวจสอบข้อมูล ให้นักศึกษาลงชื่อในสมุดบันทึกลาพักการศึกษา นักศึกษานํา แบบฟอร์มไปชําระค่าธรรมเนียมการขอลาพักการศึกษา จํานวน 500 บาทต่อภาคการศึกษา ที่ฝ่ายการคลัง 3. นําแบบฟอร์มและใบเสร็จรับเงิน กลับมายื่นที่สํานักทะเบียนนักศึกษาพร้อมลงชื่อส่งแบบฟอร์มใน สมุดบันทึกการลาพักการศึกษาอีกครั้ง 4. สํานักทะเบียนนักศึกษา จะเขียนวันที่ให้นักศึกษาดูรายละเอียดข้อมูลรายวิชาทางอินเทอร์เน็ต ของภาคการศึกษาที่จะกลับมาเรียนให้นักศึกษาทราบในใบเสร็จรับเงิน และคืนใบเสร็จรับเงินให้นักศึกษา หมายเหตุ - นักศึกษาหลักสูตรปริญญาตรี 4 ปีภาคปกติที่ไม่ลงทะเบียนภาคฤดูร้อนไม่ต้องขอลาพัก การศึกษาเนื่องจากภาคฤดูร้อนไม่ใช่ภาคการศึกษาบังคับ - นักศึกษาสามารถชําระเงินค่าลาพักการศึกษาได้ที่สํานักทะเบียนกรณีมีบัตรนักศึกษา

60

คู่มือวางแผนการเรียนและบริการงานทะเบียน


ขั้นตอนการขอลาพักการศึกษา ยื่นแบบฟอร์มคําร้องขอลาพักการศึกษา ที่สํานักทะเบียนนักศึกษา นักศึกษาลงชื่อในสมุดลาพัก และชําระค่าธรรมเนียม การขอลาพักการศึกษาจํานวน 500 บาท ที่ฝ่ายการคลัง ส่งคําร้องคืนสํานักทะเบียนนักศึกษาและลงชื่อ ส่งคําร้องในสมุดลาพักอีกครั้ง

นัดดูข้อมูลรายวิชา ทางอินเทอร์เน็ตภาคการศึกษาที่จะกลับมาเรียน

คู่มือวางแผนการเรียนและบริการงานทะเบียน

61


ขั้นตอนการประกาศเกรดทางอินเทอร์เน็ต มหาวิทยาลัยกําหนดประกาศผลสอบของแต่ละภาคการศึกษา ในสัปดาห์แรกของการเปิดภาคเรียน โดยนักศึกษาสามารถเข้าไปดูเกรดได้ทางอินเทอร์เน็ต ตามขั้นตอนดังนี้ 1. ตรวจสอบกําหนดการประกาศเกรดจากปฏิทินงานทะเบียนนักศึกษา 2. เข้าสู่เว็บไซต์ http://ursa.bu.ac.th/index_main.cfm 3. เลือกปุ่ม Grade Report ใส่รหัสนักศึกษา และ password คลิ๊ก ENTER 4. หน้าจอจะแสดงรายวิชาที่ลงทะเบียนเรียนไว้ในเทอมนั้น ๆ 5. หากวิชาใดมีการประกาศเกรดแล้ว จะปรากฏอักษรเป็นเกรดที่ได้ 6. หากวิชาใดปรากฏอักษรเป็น R แสดงว่าวิชานั้นยังไม่ประกาศเกรด

ขั้นตอนการประกาศเกรดทางอินเทอร์เน็ต http://ursa.bu.ac.th/index_main.cfm เลือกปุ่ม Grade Report ใส่รหัสนักศึกษาและ password คลิ๊ก ENTER หน้าจอจะปรากฎวิชาที่ลงทะเบียนเรียนในเทอมนั้นๆ วิชาที่ประกาศเกรดแล้วจะปรากฎอักษร เป็นเกรดที่ได้รับ

วิชาใดยังไม่ประกาศเกรดจะปรากฎ อักษรเป็น R

62

คู่มือวางแผนการเรียนและบริการงานทะเบียน


ขั้นตอนการขอตรวจสอบผลการเรียน มหาวิทยาลัยกําหนดประกาศผลสอบของแต่ละภาคการศึกษาในสัปดาห์แรกของการเปิดภาคเรียน สําหรับนักศึกษาที่ไม่แน่ใจว่าเกรดของวิชาใดถูกต้องหรือไม่ สามารถขอตรวจสอบเกรดได้ตามกําหนดการ ประกาศเกรดที่แจ้งให้ทราบทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งสํานักทะเบียนนักศึกษาจะส่งคําร้องไปที่คณะที่วิชานั้นๆ สังกัด เพื่อตรวจสอบโดยตรง 1. ขอแบบฟอร์มคําร้องขอตรวจสอบผลการเรียน (สทบ.110) ได้ที่สํานักทะเบียนนักศึกษา และ เขียนข้อมูลให้ครบถ้วนและนําแบบฟอร์มมายื่นที่สํานักทะเบียนนักศึกษาพร้อมบัตรประจําตัวนักศึกษา 2. ส่งแบบฟอร์มคําร้องขอตรวจสอบผลการเรียน (สทบ.110) ให้คณะตรวจสอบ 3. สํานักทะเบียนนักศึกษา จะแจ้งผลการตรวจสอบผลการเรียนให้นักศึกษาทราบทาง e-Mail ตาม วันที่นัด 4. คณะแจ้งผลกลับที่สํานักทะเบียนนักศึกษา

ขั้นตอนการขอตรวจสอบผลการเรียน ยื่นแบบฟอร์มคําร้องขอตรวจสอบ ผลการเรียน

ส่งคําร้องให้คณะตรวจสอบ

แจ้งผลการตรวจสอบผลการเรียนให้ นักศึกษาทราบทาง e-Mail ตามวันนัด

คู่มือวางแผนการเรียนและบริการงานทะเบียน

63


ขั้นตอนการขอลาออก นักศึกษาประสงค์จะลาออกให้นําบัตรนักศึกษามาขอแบบฟอร์มคําร้อง ขอลาออก (สทบ.121) ได้ที่ สํานักทะเบียนนักศึกษาและเขียนข้อมูลให้ครบถ้วนหลังจากนั้นนําแบบฟอร์มมายื่นที่สํานักทะเบียนนักศึกษา ทางเจ้าหน้าที่จะทําการตรวจสอบข้อมูลแล้วลงนามพร้อมประทับตราสํานักทะเบียนนักศึกษาและให้นักศึกษา ลงชื่อในสารบัญทะเบียนและคืนคําร้องขอถอนเงินค่าประกันความเสียหายให้นักศึกษาไปติดต่อที่ฝ่ายการคลัง เพื่อขอรับเงินประกันความเสียหายคืน 1,000 บาท 1. ขอแบบฟอร์มคําร้องขอลาออก (สทบ.121) ได้ที่สํานักทะเบียนนักศึกษา และเขียนข้อมูลให้ ครบถ้วน 2. นําแบบฟอร์มมายื่นที่สํานักทะเบียนนักศึกษาพร้อมหลักฐาน เจ้าหน้าที่ตรวจสอบข้อมูลแล้วลงนาม และประทับตราสํานักทะเบียนนักศึกษาลงชื่อในสารบัญทะเบียนนักศึกษาและคืนแบบฟอร์มคําร้องขอถอนเงิน ค่าประกันความเสียหาย (สทบ.122) ให้นักศึกษา 3. นําแบบฟอร์มคําร้องขอถอนเงินค่าประกันความเสียหายที่ได้รับคืนไปติดต่อที่ฝ่ายการคลังเพื่อ ขอรับเงินประกันความเสียหายคืน 1,000 บาท (เป็นเช็ค) และเงินคงเหลือในบัญชี (ถ้ามี) หมายเหตุ หากนักศึกษามีปัญหาเกี่ยวกับห้องสมุด จะต้องนําแบบฟอร์มไปยื่นที่สํานักหอสมุดกลางเพื่อ ตรวจสอบว่ามีวัสดุค้างส่งหรือไม่แล้วจึงนําแบบฟอร์มกลับมายื่นที่สํานักทะเบียนนักศึกษาอีกครั้ง หลักฐาน บัตรประจําตัวนักศึกษา (ถ้าบัตรประจําตัวนักศึกษาหายให้ใช้สําเนาบัตรประชาชน 2 ฉบับ)

64

คู่มือวางแผนการเรียนและบริการงานทะเบียน


ขั้นตอนการขอลาออก ยื่นแบบฟอร์มคําร้องขอลาออกที่ สํานักทะเบียน นักศึกษาพร้อมบัตรนักศึกษา(หากไม่มีบัตรนักศึกษา ให้สําเนาบัตรประชาชน 2 ฉบับ)

สํานักทะเบียนนักศึกษาตรวจสอบข้อมูลในคอมพิวเตอร์ พร้อมลงนามในคําร้อง - กรณีเป็นนักศึกษากองทุนติดต่อแผนกทุนฯ - กรณีมีเอกสารค้างส่งห้องสมุดติดต่อห้องสมุด

ให้นักศึกษาลงนามในใบปะหน้าขอลาออก และสารบัญทะเบียนนักศึกษา

ติดต่อฝ่ายการคลังเพื่อขอเงินค่าประกันความ เสียหายคืน และเงินคงเหลือในบัญชี (ถ้ามี)

คู่มือวางแผนการเรียนและบริการงานทะเบียน

65


การขอเอกสารประกอบการเบิกค่าเล่าเรียน นักศึกษาสามารถขอเอกสารประกอบการเบิกค่าเล่าเรียน ซึ่งประกอบด้วย ใบก่อตั้งมหาวิทยาลัย รายละเอียดค่าหน่วยกิตและค่าธรรมเนียมต่างๆ ประจําภาคการศึกษา สําหรับใช้เป็นเอกสารประกอบการเบิก ค่าเล่าเรียนต่อหน่วยงานต่างๆ โดยติดต่อที่สํานักทะเบียนนักศึกษาได้ตั้งแต่ ก่อนเปิดภาคการศึกษา 1 สัปดาห์ ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้ 1. ติดต่อที่เคาน์เตอร์สํานักทะเบียนนักศึกษาได้ทั้ง 2 วิทยาเขต 2. แสดงบัตรประจําตัวนักศึกษา 3. ชําระเงินค่าธรรมเนียม ชุดละ 10 บาท ผ่านบัตรนักศึกษา 4. รับเอกสารได้ทันที

การขอเอกสารประกอบการเบิกค่าเล่าเรียน ติดต่อเคาน์เตอร์สํานักทะเบียนนักศึกษา เพื่อแจ้งความประสงค์

แสดงบัตรประจําตัวนักศึกษา

ชําระเงินค่าธรรมเนียม โดยหักเงินผ่านบัตรนักศึกษา

รับเอกสารประกอบ การเบิกค่าเล่าเรียนได้ทันที

66

คู่มือวางแผนการเรียนและบริการงานทะเบียน


การขอใบรับรองการเป็นนักศึกษา นักศึกษาสามารถขอใบรับรองสถานภาพการเป็นนักศึกษาได้ทั้ง ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ โดย ปฏิบัติดังนี้ 1. ติดต่อที่เคาน์เตอร์สํานักทะเบียนนักศึกษาได้ทั้ง 2 วิทยาเขต 2. แสดงบัตรประจําตัวนักศึกษา 3. ชําระเงินค่าธรรมเนียม ฉบับละ 10 บาท ผ่านบัตรนักศึกษา 4. รอรับใบรับรอง ใช้เวลาประมาณ 10-15 นาที

การขอใบรับรองการเป็นนักศึกษา ติดต่อเคาน์เตอร์สํานักทะเบียนนักศึกษา เพือ่ แจ้งความประสงค์

แสดงบัตรประจําตัวนักศึกษา

ชําระเงินค่าธรรมเนียม โดยหักเงินผ่านบัตรนักศึกษา

รอรับใบรับรองการเป็นนักศึกษา ประมาณ 10-15 นาที

คู่มือวางแผนการเรียนและบริการงานทะเบียน

67


การขอใบรายงานผลการศึกษา (Transcript) นั กศึก ษาสามารถขอใบรายงานผลการศึ ก ษา ซึ่ ง จะแสดงผลการศึ ก ษาในแต่ล ะภาคการศึ ก ษาที่ นักศึกษาได้ลงทะเบียนเรียน โดยแบ่งเป็น ใบรายงานผลการศึกษาแบบไม่เป็นทางการ (Unofficial Transcript) เป็นเอกสารที่ไม่มีนายทะเบียนลงนามรับรอง สามารถใช้เป็นเอกสารประกอบการติดต่อกับแผนก ทุนการศึกษา หรือใช้ประกอบการขอคําปรึกษาในการวางแผนการเรียน เป็นต้น ค่าธรรมเนียม ฉบับละ 10 บาท โดยมีขั้นตอนดังนี้ 1. ติดต่อที่เคาน์เตอร์สํานักทะเบียนนักศึกษาได้ทั้ง 2 วิทยาเขต 2. แสดงบัตรประจําตัวนักศึกษา 3. ชําระเงินค่าธรรมเนียม ฉบับละ 10 บาท ผ่านบัตรนักศึกษา 4. รอรับเอกสารได้ทันที ใบรายงานผลการศึกษาแบบเป็นทางการ (Official Transcript) เป็นเอกสารที่มีนายทะเบียนลงนามรับรอง สามารถใช้เป็นเอกสารประกอบการสมัครงาน หรือศึกษาต่อ ค่าธรรมเนียมฉบับละ 20 บาท มีทั้งฉบับภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยมีขั้นตอนดังนี้ 1. ติดต่อที่เคาน์เตอร์สํานักทะเบียนนักศึกษาได้ทั้ง 2 วิทยาเขต 2. แสดงบัตรประจําตัวนักศึกษา 3. ชําระเงินค่าธรรมเนียม ฉบับละ 20 บาท ผ่านบัตรนักศึกษา 4. รอรับเอกสารใช้เวลาประมาณ 10-15 นาที

68

คู่มือวางแผนการเรียนและบริการงานทะเบียน


การขอใบรายงานผลการศึกษา

ติดต่อเคาน์เตอร์สํานักทะเบียนนักศึกษา เพื่อแจ้งความประสงค์

แสดงบัตรประจําตัว นักศึกษา

ใบรายงานผลการศึกษา แบบเป็นทางการ

ใบรายงานผลการศึกษาแบบไม่เป็นทางการ

ชําระเงินค่าธรรมเนียม ฉบับละ 20 บาท โดยหักเงินผ่านบัตรนักศึกษา

ชําระเงินค่าธรรมเนียม ฉบับละ 10 บาท โดยหักเงินผ่านบัตรนักศึกษา

รอรับเอกสาร ประมาณ 10-15 นาที

รับเอกสารได้ทันที

คู่มือวางแผนการเรียนและบริการงานทะเบียน

69


การขอใบรับรองอนุปริญญานิติศาสตร์ นักศึกษาคณะนิติศาสตร์ ที่ศึกษาจนครบหลักสูตรอนุปริญญานิติศาสตร์ (108 หน่วยกิต และมี CUM GPA. ≥ 2.00) สามารถขอใบรับรองอนุปริญญานิติศาสตร์ เพื่อใช้เป็นเอกสารในการสมัครสอบตั๋วทนาย มี ขั้นตอนดังนี้ 1. นักศึกษาจะต้องลงชื่อเพื่อแจ้งความประสงค์ที่คณะนิติศาสตร์ ในภาคการศึกษาที่ศึกษาครบ หลักสูตรอนุปริญญานิติศาสตร์ พร้อมกับส่งรูปถ่ายสวมชุดนักศึกษา ขนาด 2 นิ้ว จํานวน 1 รูป 2. เมื่อสภามหาวิทยาลัยอนุมัติรายชื่อผู้สําเร็จการศึกษาอนุปริญญานิติศาสตร์เรียบร้อยแล้ว ให้ นักศึกษามาติดต่อที่สํานักทะเบียนนักศึกษา วิทยาเขตกล้วยน้ําไท เพื่อขอรับใบรับรองอนุนิติศาสตร์ 3. แสดงบัตรประจําตัวนักศึกษา 4. ชําระเงินค่าธรรมเนียม ฉบับละ 10 บาท ผ่านบัตรนักศึกษา 5. รับเอกสารได้ทันที

การขอใบรับรองอนุปริญญานิติศาสตร์ แจ้งความประสงค์ที่คณะนิตศิ าสตร์ พร้อมส่งรูปถ่าย สวมชุดนักศึกษา ขนาด 2 นิ้ว จํานวน 1 รูป

เมื่อสภามหาวิทยาลัยอนุมัติรายชื่อผู้สําเร็จ ติดต่อสํานักทะเบียนนักศึกษา วิทยาเขตกล้วยน้าํ ไท

แสดงบัตรประจําตัวนักศึกษา ชําระเงินค่าธรรมเนียม โดยหักเงินผ่านบัตรนักศึกษา

รับเอกสารได้ทันที

70

คู่มือวางแผนการเรียนและบริการงานทะเบียน


นักศึกษาที่คาดว่าจะสําเร็จการศึกษา

คู่มือวางแผนการเรียนและบริการงานทะเบียน

71


ขั้นตอนการขอแจ้งจบการศึกษา นั ก ศึ ก ษาที่ ล งทะเบี ย นเรี ย นเป็ น ภาคสุ ด ท้ า ยและคาดว่ า จะสํ า เร็ จ การศึ ก ษาในภาคนั้ น จะต้ อ ง ดําเนินการแจ้งจบการศึกษาทางอินเทอร์เน็ต ที่ http://ursa.bu.ac.th/rfg/ ระหว่างวันเปิดภาคการศึกษาถึง วันสุดท้ายของการสอบกลางภาคภายในเวลา 24.00 น. สําหรับนักศึกษาที่แจ้งจบแล้วแต่ไม่สําเร็จการศึกษา จะต้องทําการแจ้งจบใหม่จนกว่าจะสําเร็จการศึกษาที่เคาน์เตอร์สํานักทะเบียนนักศึกษา กรณีที่นักศึกษาไม่ได้แจ้งจบภายในระยะเวลาที่กําหนด สามารถแจ้งจบล่าช้าและยื่นคําร้องขอแจ้ง จบที่สํานักทะเบียนนักศึกษา ได้ภายในวันสุดท้ายของการสอบปลายภาคในภาคนั้น โดยเสียค่าปรับวันละ 50 บาทแต่ไม่เกิน 1,000 บาท (นับรวมวันหยุด) 1. ขอแบบฟอร์มคําร้องขอแจ้งจบการศึกษา (สทบ.116) ที่สํานักทะเบียนนักศึกษาและเขียนข้อมูล ให้ครบถ้วน 2. นําแบบฟอร์มที่ได้รับอนุมัติแล้วไปชําระเงินค่าปรับที่ฝ่ายการคลัง 3. นําแบบฟอร์มและใบเสร็จรับเงินมายื่นส่งคืนสํานักทะเบียนนักศึกษา หมายเหตุ - การขอหลักฐานสําเร็จการศึกษาให้ดูรายละเอียดทางอินเทอร์เน็ต ที่ “BU Announcement” และมหาวิทยาลัยจะคืนเงินค่าประกันความเสียหายและค่าลงทะเบียนเรียนล่วงหน้า (ถ้ามี) ให้ นักศึกษาโดยการโอนเงินเข้าบัญชีธนาคาร ดังนั้น นักศึกษาจะต้องแจ้งเลขที่บัญชีธนาคารของ ตนเองทางอินเทอร์เน็ตใน URSA Online ที่ Student Information เลือก Bank Account Number ให้เรียบร้อยก่อนสิ้นสุดการสอบปลายภาค - นักศึกษาสามารถชําระค่าปรับได้ที่สํานักทะเบียนนักศึกษากรณีมีบัตรนักศึกษา - นักศึกษาที่สําเร็จการศึกษาแล้ว สํานักทะเบียนนักศึกษาจะส่งหลักฐานสําเร็จการศึกษาทาง ไปรษณีย์หลังการประชุมสภาตามที่อยู่ที่ระบุไว้ในการแจ้งจบการศึกษา โดยหักค่าธรรมเนียมใน การดําเนินการจากเงินประกันความเสียหาย ในการแจ้งจบการศึกษานักศึกษาจะต้องยินยอมให้ทางมหาวิทยาลัยหักเงินประกันความเสียด้วย ฉะนั้น

72

คู่มือวางแผนการเรียนและบริการงานทะเบียน


ขั้นตอนการขอแจ้งจบการศึกษา ตรวจสอบผลการเรียนให้ครบ ตามหลักสูตรทีก่ ําหนด

การแจ้งจบการศึกษา ผ่านอินเทอร์เน็ต สําหรับนักศึกษาที่คาดว่าจะ สําเร็จการศึกษาและไม่เคยแจ้ง จบการศึกษาในภาคการศึกษา ที่ผ่านมาให้แจ้งจบการศึกษาที่ http://ursa.bu.ac.th/rfg เริ่มตั้งแต่วันเปิดภาคการศึกษา จนถึงวันสุดท้ายของการสอบ กลางภาค

การแจ้งจบการศึกษา ผ่านเคาน์เตอร์สํานักทะเบียนนักศึกษา สําหรับนักศึกษาที่เคย แจ้งจบการศึกษาในภาค การศึกษาที่ผ่านมาเริ่ม ตั้งแต่วันเปิดภาค การศึกษาจนถึงวัน สุดท้ายของการสอบ กลางภาค

สําหรับนักศึกษาที่แจ้งจบ ไม่ทันภายในวันที่กําหนด ยื่นคําร้องขอแจ้งจบล่าช้า ภายในวันสุดท้ายของ การสอบปลายภาคเสีย ค่าปรับวันละ 50 บาท แต่ไม่เกิน 1,000 บาท (นับรวมวันหยุด)

แจ้งเลขที่บญ ั ชีธนาคารสําหรับโอนเงินประกันความเสียหาย และยอดเงินคงเหลือ (ถ้ามี) ทางอินเทอร์เน็ตโดยเข้า ไปที่ URSA Online เลือก Student Information เลือก Bank Account Number ให้เรียบร้อยก่อนสิ้นสุดการสอบปลายภาค ตรวจสอบกิจกรรมนักศึกษารหัส 49 เป็นต้นไป โดยนําสมุดเพชรไปพบอาจารย์ที่ปรึกษา ที่คณะฯ เพื่อตรวจสอบจํานวนกิจกกรมว่าครบตามที่กําหนดหรือไม่ ขอหลักฐานการศึกษาดูรายละเอียดที่ “BU Announcement”

คู่มือวางแผนการเรียนและบริการงานทะเบียน

73


การขอใบรับรองศึกษาเป็นภาคสุดท้าย สําหรับนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนเป็นภาคสุดท้าย สามารถขอใบรับรองที่ระบุว่ากําลังศึกษาเป็นภาค สุดท้ายตามหลักสูตรปริญญาตรี ได้ทั้ง ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ โดยปฏิบัติดังนี้ 1. ติดต่อที่เคาน์เตอร์สํานักทะเบียนนักศึกษาได้ทั้ง 2 วิทยาเขต 2. แสดงบัตรประจําตัวนักศึกษา 3. ชําระเงินค่าธรรมเนียม ฉบับละ 10 บาท ผ่านบัตรนักศึกษา 4. รอรับใบรับรอง ใช้เวลาประมาณ 10-15 นาที

การขอใบรับรองศึกษาเป็นภาคสุดท้าย ติดต่อเคาน์เตอร์ สํานักทะเบียนนักศึกษา

แสดงบัตรประจําตัวนักศึกษา

ชําระเงินค่าธรรมเนียม โดยหักเงินผ่านบัตรนักศึกษา

รอรับหลักฐานการศึกษา ประมาณ 10-15 นาที

74

คู่มือวางแผนการเรียนและบริการงานทะเบียน


การขอใบรับรองเรียนครบหลักสูตร กําลังรอฟังผล สําหรับนักศึกษาที่เรียนครบหลักสูตร และกําลังรอผลสอบปลายภาคสามารถขอใบรับรองที่ระบุว่า ศึกษาครบหลักสูตรปริญญาตรี ขณะนี้กําลังรอผลสอบภาคสุดท้าย เริ่มขอได้ตั่งแต่วันแรกของการสอบปลาย ภาคจนกระทั่งเกรดประกาศครบทุกวิชา ได้ทั้ง ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ โดยปฏิบัติดังนี้ 1. ติดต่อที่เคาน์เตอร์สํานักทะเบียนนักศึกษาได้ทั้ง 2 วิทยาเขต 2. แสดงบัตรประจําตัวนักศึกษา 3. ชําระเงินค่าธรรมเนียม ฉบับละ 10 บาท ผ่านบัตรนักศึกษา 4. รอรับใบรับรอง ใช้เวลาประมาณ 10-15 นาที

การขอใบรับรองเรียนครบหลักสูตร กําลังรอฟังผล ติดต่อเคาน์เตอร์ สํานักทะเบียนนักศึกษา

แสดงบัตรประจําตัวนักศึกษา

ชําระเงินค่าธรรมเนียม โดยหักเงินผ่านบัตรนักศึกษา

รอรับหลัก,ฐานการศึกษา ประมาณ 10-15 นาที

คู่มือวางแผนการเรียนและบริการงานทะเบียน

75


การขอใบรับรองรอสภา สําหรับนักศึกษาที่ศึกษาเป็นภาคสุดท้าย และแจ้งจบการศึกษาแล้ว เมื่อผลสอบปลายภาคประกาศ เกรดครบทุกวิชาแล้ว นักศึกษาสามารถขอใบรับรองรอสภา โดยจะระบุว่านักศึกษาสอบไล่ได้ครบทุกวิชา และ สําเร็จการศึกษาขั้นปริญญาตรี กําลังดําเนินการขออนุมัติสภา เพื่อใช้เป็นเอกสารประกอบการสมัครงาน หรือ สมัครเรียน ได้ทั้ง ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ โดยขั้นตอนดังนี้ 1. ติดต่อที่เคาน์เตอร์สํานักทะเบียนนักศึกษาได้ทั้ง 2 วิทยาเขต เพื่อแจ้งความประสงค์ พร้อมกับส่ง รูปถ่ายสวมชุดนักศึกษา ขนาด 2 นิ้ว 2. แสดงบัตรประจําตัวนักศึกษา 3. ชําระเงินค่าธรรมเนียม ฉบับละ 10 บาท ผ่านบัตรนักศึกษา 4. นัดรับใบรับรองรอสภา หลังจากวันที่แจ้งความประสงค์ 3 วันทําการ การขอใบรับรองรอสภา ติดต่อเคาน์เตอร์สํานักทะเบียนนักศึกษา พร้อมส่งรูปถ่ายสวมชุดนักศึกษา ขนาด 2 นิ้ว

แสดงบัตรประจําตัวนักศึกษา

ชําระเงินค่าธรรมเนียม โดยหักเงินผ่านบัตรนักศึกษา

นัดรับหลักฐานการศึกษา หลังจากวันที่แจ้งความประสงค์ 3 วันทําการ

76

คู่มือวางแผนการเรียนและบริการงานทะเบียน


การส่งรูปถ่ายสวมชุดครุยของผู้สาํ เร็จการศึกษา นักศึกษาที่ศึกษาเป็นภาคสุดท้าย และแจ้งจบการศึกษาแล้ว เมื่อการสอบปลายภาคเสร็จสิ้น นักศึกษา ทุกคนต้องส่งรูปถ่ายสวมชุดครุยขนาด 2 นิ้ว จํานวน 4 รูป (พื้นหลังสีฟ้า) ที่สํานักทะเบียนนักศึกษาภายใน ระยะเวลาที่กําหนด ซึ่งดูได้จากประกาศที่ http://ursa.bu.ac.th/announce เพื่อนําไปใช้จัดทําใบรับรอง สําเร็จการศึกษา และจัดทําทําเนียบบัณฑิต โดยขั้นตอนดังนี้ กรณีติดต่อด้วยตนเอง 1. ติดต่อที่เคาน์เตอร์สํานักทะเบียนนักศึกษาได้ทั้ง 2 วิทยาเขต เพื่อแจ้งความประสงค์ 2. กรอกแบบฟอร์ม พร้อมกับส่งรูปถ่ายสวมชุดครุย ขนาด 2 นิ้ว จํานวน 4 รูป โดยเขียนชื่อ-สกุล รหัสนักศึกษา คณะ/ ภาควิชา ด้านหลังรูป โดยนํารูปใส่ซองพลาสติกที่ได้รับ ซองละ 2 รูป 3. ตรวจสอบที่อยู่ กรณีส่งรูปทางไปรษณีย์ สําหรับนักศึกษาที่ไม่สามารถส่งรูปด้วยตนเองได้ 1. กรอกแบบฟอร์มการส่งรูปถ่ายชุดครุย โดยดาวน์โหลดที่ http://recordsoffice.bu.ac.th/ 2. เขียนชื่อ-สกุล รหัสนักศึกษา คณะ/ ภาควิชา ด้านหลังรูป ทั้ง 4 รูป 3. ส่งแบบฟอร์มและรูปถ่าย มาที่ สํานักทะเบียนนักศึกษา มหาวิทยาลัยกรุงเทพ 9/1 หมู่ 5 ถ.พหลโยธิน ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120 4. ถ้าต้องการเปลี่ยนแปลงที่อยู่ ให้กรอกแบบฟอร์มแจ้งเปลี่ยนที่อยู่ส่งมาด้วย โดยดาวน์โหลดที่ http://recordsoffice.bu.ac.th/

คู่มือวางแผนการเรียนและบริการงานทะเบียน

77


การส่งรูปถ่ายสวมชุดครุย นักศึกษาที่ศึกษาเป็นภาคสุดท้าย และแจ้งจบการศึกษาแล้ว เมื่อการสอบปลายภาคเสร็จสิ้น นักศึกษาทุกคนต้องส่งรูปถ่ายสวมชุดครุยขนาด 2 นิ้ว จํานวน 4 รูป (พืน้ หลังสีฟ้า) ที่สํานักทะเบียนนักศึกษาภายในระยะเวลาที่กําหนด ซึ่งดูได้จากประกาศที่ http://ursa.bu.ac.th/announce

กรณีติดต่อด้วยตนเอง

กรณีส่งรูปทางไปรษณีย์

กรอกแบบฟอร์ม พร้อมกับส่งรูปถ่าย สวมชุดครุย ขนาด 2 นิ้ว จํานวน 4 รูป

กรอกแบบฟอร์มการส่งรูปถ่ายชุดครุย โดยดาวน์โหลดที่ http://recordsoffice.bu.ac.th/

ตรวจสอบที่อยู่ ถ้าต้องการเปลี่ยนแปลงที่อยู่ ให้กรอกแบบฟอร์มแจ้งเปลี่ยนที่อยู่ ส่งมาด้วย โดยดาวน์โหลดที่ http://recordsoffice.bu.ac.th/ ส่งแบบฟอร์มและรูปถ่ายมาที่ สํานักทะเบียนนักศึกษา

สํานักทะเบียนนักศึกษาจะจัดส่งหลักฐานการสําเร็จการศึกษาทางไปรษณีย์ ในวันรุ่งขึ้นหลังจากวันประชุมสภามหาวิทยาลัย

78

คู่มือวางแผนการเรียนและบริการงานทะเบียน


นักศึกษาที่สําเร็จการศึกษา

คู่มือวางแผนการเรียนและบริการงานทะเบียน

79


ขั้นตอนการขึน้ ทะเบียนบัณฑิตทางอินเทอร์เน็ต 1. เข้าสู่เว็บไซต์ http://ursa.bu.ac.th/commence/ 2. กรอกเลขประจําตัวประชาชน (สําหรับนักศึกษาไทย) หรือ เลขที่หนังสือเดินทาง (นักศึกษาต่างชาติ) 3. ในกรณีทใี่ ส่เลขประจําตัวประชาชนถูกต้อง ที่หน้าจอจะปรากฏข้อมูลของนักศึกษา หากไม่มี การแสดงข้อมูลให้ตรวจสอบความถูกต้องได้ที่แผนกตรวจสอบและออกเอกสารสําคัญ สํานักทะเบียนนักศึกษา โทร.0-2902-0299 ต่อ 2556-2558 วันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 08.30-17.00 น. หรือ e-Mail : records_office@bu.ac.th 4. หากตัวสะกดชื่อ-นามสกุลภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษผิด ขอให้บัณฑิตเขียนแก้ไขให้ถูกต้อง พร้อมสําเนาบัตรประชาชนแล้วส่ง e-Mail ถึง อ.ปุษยาพร (pussayaporn.u@bu.ac.th) หรือ อ.วาทิต (vatit.g@bu.ac.th) หรือโทรสาร 0-2516-4415 5. กรอกแบบสํารวจภาวะการหางานทําของบัณฑิต (บัณฑิตจะต้องกรอกให้ครบทุกข้อ) 6. กรอกข้อมูลขึ้นทะเบียนบัณฑิต คือ เข้าร่วมพิธี หรือ ไม่เข้าร่วมพิธี 6.1 ถ้าเข้าร่วมพิธี โปรดระบุเพิ่มว่ากรณีที่ไม่สามารถเข้าร่วมพิธีในวันประสาทปริญญาบัตร บัณฑิตจะขอรับใบปริญญาบัตรด้วยตนเองที่สํานักทะเบียนนักศึกษา วิทยาเขตกล้วยน้ําไท หรือให้จัดส่งใบปริญญาบัตรทางไปรษณีย์ตามที่อยู่ที่แจ้งไว้ ถ้าไม่เข้าร่วมพิธี ให้ระบุเหตุผล และแจ้งความประสงค์ในการขอรับใบปริญญาบัตร 6.2 การเช่าชุดครุยวิทยฐานะจากมหาวิทยาลัย โปรดระบุส่วนสูง (ซม.) เพื่อการจัดเตรียมชุด ให้เหมาะสมกับบัณฑิต - ระดับปริญญาโทและปริญญาเอกจะต้องเช่าตัวเสื้อครุยฯ และปกเสื้อครุยฯจากมหาวิทยาลัย - ระดับปริญญาตรี สามารถเช่าจากมหาวิทยาลัยหรืออาจจัดหาตัวเสื้อครุยฯ มาเอง แต่ต้องเช่าปกเสื้อครุยจากมหาวิทยาลัย หมายเหตุ ระดับอนุปริญญา ให้แต่งกายด้วยเครื่องแบบนักศึกษา ไม่ต้องเช่าชุดครุย 6.3 แจ้งข้อมูลที่อยูป่ ัจจุบันว่ามีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ พร้อมทั้งกรอก e-Mail ที่สามารถ ติดต่อได้ ถ้าเปลี่ยนแปลงให้กรอกรายละเอียดเฉพาะที่เปลี่ยนแปลง และหลังจากกรอก ข้อมูลครบถ้วนแล้วให้กด “ตกลง” 7. ที่หน้าจอจะสรุปข้อมูลเกี่ยวกับจํานวนเงินที่บัณฑิตจะต้องชําระ หากถูกต้องให้กด “ตกลง” เพื่อยืนยันอีกครั้งหรือกด “ย้อนกลับ” เพื่อกลับไปแก้ไข หลังจากนักศึกษากด "ตกลง” แล้วจะไม่สามารถแก้ไขข้อมูลได้ 8. พิมพ์ใบแจ้งการชําระเงิน หรือกรอกแบบฟอร์มใบแจ้งการชําระเงินที่ได้รับจากมหาวิทยาลัย ให้ครบทุกช่อง เพื่อไปชําระเงินตามวันที่และธนาคารที่มหาวิทยาลัยกําหนดไว้ และเก็บสําเนา ใบแจ้งการชําระเงินไว้เป็นหลักฐานในการรับชุดครุยฯ จากร้านคัทลียาตามเวลาที่กําหนดหรือที่ มหาวิทยาลัยในวันฝึกซ้อมรับปริญญาบัตร 80

คู่มือวางแผนการเรียนและบริการงานทะเบียน


9. บัณฑิตที่ชําระเงินเรียบร้อยแล้ว ให้ตรวจสอบข้อมูลการขึ้นทะเบียนบัณฑิตอีกครั้งภายหลังจาก การชําระเงินแล้วประมาณ 5 วันทําการ โดยใช้เลขประจําตัวประชาชนในการเข้าตรวจสอบข้อมูล ถ้าการขึ้นทะเบียนบัณฑิตสมบูรณ์แล้วจะแสดงข้อความว่า “การชําระเงินเรียบร้อยแล้ว” และให้ บัณฑิตเข้าร่วมการฝึกซ้อมรับปริญญาบัตรตามกําหนดการได้ ขั้นตอนการขึน้ ทะเบียนบัณฑิตทางอินเทอร์เน็ต ขึ้นทะเบียนบัณฑิตทางอินเทอร์เน็ต http://ursa.bu.ac.th/commence/ กรอกเลขประจําตัวประชาชน (นักศึกษาไทย) หรือ เลขที่หนังสือเดินทาง (นักศึกษาต่างชาติ) ใส่เลขประจําตัวประชาชนแล้วข้อมูลไม่ขึ้น โปรดติดต่อสํานักทะเบียนนักศึกษา ตัวสะกดชื่อ-นามสกุลผิด ติดต่อ อ.ปุษยาพร หรือ อ.วาทิต กรอกแบบสํารวจภาวะการหางานทําของบัณฑิต กรอกข้อมูลขึ้นทะเบียนบัณฑิต ได้แก่ เข้าร่วมพิธี ไม่เข้าร่วมพิธี การเช่าชุดครุย แจ้งที่อยู่ปัจจุบัน พิมพ์ใบแจ้งการชําระเงินหรือ กรอกแบบฟอร์มใบแจ้งการชําระเงิน ชําระเงินตามวันที่และธนาคารที่มหาวิทยาลัยกําหนดไว้ ตรวจสอบข้อมูลการขึ้นทะเบียนบัณฑิต หลังจากชําระเงิน 5 วัน http://ursa.bu.ac.th/commence/

คู่มือวางแผนการเรียนและบริการงานทะเบียน

81


การขอหลักฐานการสําเร็จการศึกษา เมื่อสภามหาวิทยาลัยอนุมัติรายชื่อผู้สําเร็จการศึกษาประจําภาคแล้ว สํานักทะเบียนนักศึกษาจะ ดําเนินการจัดส่งหลักฐานการสําเร็ จการศึกษาให้กับผู้สําเร็จการศึกษาทางไปรษณีย์ ซึ่งประกอบด้วย ใบ รายงานผลการศึกษา (Transcript) จํานวน 3 ฉบับ และใบรับรองสําเร็จการศึกษาภาษาไทย 1 ฉบับ ภาษาอังกฤษ 1ฉบับ สําหรับค่าธรรมเนียมในการดําเนินการ สํานักทะเบียนนักศึกษาจะหักจากเงินประกัน ความเสียหายที่นักศึกษาจะได้รับ เมื่อสําเร็จการศึกษา (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://recordsoffice.bu.ac.th/) ถ้านักศึกษาต้องการหลักฐานการสําเร็จการศึกษาเพิ่มเติม โปรดดําเนินการดังนี้ 1. ติดต่อที่เคาน์เตอร์สํานักทะเบียนนักศึกษาได้ทั้ง 2 วิทยาเขต เพื่อแจ้งความประสงค์ พร้อมกับส่ง รูปถ่ายสวมชุดครุย ขนาด 2 นิ้ว ตามจํานวนเอกสารที่ต้องการ 2. แสดงบัตรประจําตัวนักศึกษา หรือบัตรประจําตัวประชาชน 3. ชําระเงินค่าธรรมเนียม ใบรายงานผลการศึกษา ฉบับละ 20 บาท และใบรับรองสําเร็จการศึกษา ฉบับละ 10 บาท 4. รอรับเอกสาร ประมาณ 10-15 นาที

82

คู่มือวางแผนการเรียนและบริการงานทะเบียน


การขอหลักฐานการสําเร็จการศึกษา เมื่อสภามหาวิทยาลัยอนุมัติรายชื่อผู้สําเร็จการศึกษาแล้ว

กรณีนักศึกษายินยอม ให้เงินประกันความเสียหาย

กรณีนักศึกษาไม่ยินยอม ให้เงินประกันความเสียหาย

สํานักทะเบียนนักศึกษาจัดส่งเอกสาร การสําเร็จการศึกษาทางไปรษณีย์ ลงทะเบียนด่วนพิเศษ (EMS)

ติดต่อเคาน์เตอร์สํานักทะเบียนนักศึกษา เพื่อแจ้งความประสงค์ พร้อมส่งรูปถ่าย สวมชุดครุยขนาด 2 นิ้ว แสดงบัตรประจําตัวนักศึกษา หรือบัตรประจําตัวประชาชน ชําระเงินค่าธรรมเนียม รอรับเอกสาร ประมาณ 10 - 15 นาที

คู่มือวางแผนการเรียนและบริการงานทะเบียน

83


รายละเอียดค่าใช้จ่าย ปีการศึกษา 2556 1. หมวดค่าเล่าเรียน 1.1 ค่าหน่วยกิตวิชา 1.2 ค่าหน่วยกิตวิชาชีพ - คณะบริหารธุรกิจ รหัสวิชา BC (ยกเว้น วิชา BC424 BC426 BC427 BC428 BC429 เก็บค่าหน่วยกิตวิชาตามปีที่เข้าศึกษา) - คณะนิเทศศาสตร์ รหัสวิชา PRT CJR ADV PFA BRC BDC FLM COM - คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รหัสวิชา CS IT - SE MA115 - คณะศิลปกรรมศาสตร์ รหัสวิชา FA รหัสวิชา PD CD VA FD - คณะวิศวกรรมศาสตร์ รหัสวิชา CE EE EL IE ME MI - คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ รหัสวิชา ARF รหัสวิชา ARC INT 1.3 ค่าหน่วยกิตวิชาโครงงาน/โครงการ - คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รหัสวิชาโครงงาน CS291 CS292 CS497 CS498 IT497 IT498 SE421 - คณะศิลปกรรมศาสตร์ รหัสวิชาโครงงาน VA406 CD458 FD457 PD457 คณะวิศวกรรมศาสตร์ รหัสวิชาโครงงาน CE481 CE482 EE481 EE482 EL481 EL482 MI481 MI482 - คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ รหัสวิชาโครงงาน ARC552 INT458 INT458

84

คู่มือวางแผนการเรียนและบริการงานทะเบียน

หน่วยกิตละ

1,400 บาท

หน่วยกิตละ

1,700 บาท

หน่วยกิตละ

1,700 บาท

หน่วยกิตละ

1,700 บาท

หน่วยกิตละ หน่วยกิตละ หน่วยกิตละ หน่วยกิตละ หน่วยกิตละ

1,900 2,000 1,700 1,900 2,000

หน่วยกิตละ

3,000 บาท

หน่วยกิตละ หน่วยกิตละ

3,500 บาท 3,000 บาท

หน่วยกิตละ

3,500 บาท

บาท บาท บาท บาท บาท


2. หมวดค่าเล่าเรียนเหมาจ่าย 2.1 คณะบริหารธุรกิจ สาขาการเป็นเจ้าของธุรกิจ แบ่งจ่ายภาคการศึกษาที่ 1 และ 2 ภาคละ 49,500 บาท 2.2 คณะบริหารธุรกิจ สาขาการตลาด แบ่งจ่ายภาคการศึกษาที่ 1 และ 2 ภาคละ 20,500 บาท และภาคฤดูร้อนภาคละ 11,000 บาท 2.3 คณะบริหารธุรกิจ สาขาการจัดการธุรกิจสมัยใหม่ แบ่งจ่ายภาคการศึกษาที่ 1 และ 2 ภาคละ 20,500 บาท และภาคฤดูร้อนภาคละ 11,000 บาท 3. หมวดค่าบํารุงและค่าธรรมเนียมประจําภาค 3.1 ค่าธรรมเนียมการศึกษา ภาคปกติ-ภาคบ่าย 3.2 ค่าธรรมเนียมการศึกษา ภาคพิเศษ

หลักสูตรละ

396,000 บาท

หลักสูตรละ

195,000 บาท

หลักสูตรละ

195,000 บาท

ภาคละ ภาคละ

4. หมวดค่าบํารุงพิเศษ ก. วิชาที่มีการเรียนภาคปฏิบัติและกิจกรรมประกอบวิชา สามารถดูรายละเอียด แต่ละภาคการศึกษา ได้ที่ BU Announcement ใน URSA Online หรือที่ http://ursa.bu.ac.th/announce/announce.cfm ภาคละ ข. ค่าบํารุงโครงการพิเศษ คณะบริหารธุรกิจ - สาขาวิชาการตลาด เฉพาะกลุ่มวิชาเอกเลือกด้านธุรกิจบริการและบันเทิง - สาขาวิชาการจัดการระหว่างประเทศ เฉพาะกลุ่มวิชาเอก เลือกด้านเป็นผู้ประกอบการและการจัดการระดับโลก - สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ ค. ค่าธรรมเนียมการศึกษาภาคฤดูร้อน (สําหรับนักศึกษาที่ลงทะเบียน) - หลักสูตรภาษาไทย ภาคปกติ-ภาคบ่าย ภาคละ - หลักสูตรภาษาไทย ภาคพิเศษ ภาคละ 5. หมวดค่าธรรมเนียมปกติ 5.1 ค่าขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษา 5.2 ค่าขึ้นทะเบียนบัณฑิต (ตามอัตราที่กําหนดในแต่ละปี)

11,000 บาท 9,100 บาท

2,000 บาท

2,500 บาท 2,000 บาท

1,000 บาท

คู่มือวางแผนการเรียนและบริการงานทะเบียน

85


6. หมวดค่าธรรมเนียมพิเศษ 6.1 ค่าธรรมเนียมย้ายคณะ 6.2 ค่ารักษาสถานภาพนักศึกษา 6.3 ค่าทําบัตรทดแทน - กรณีบัตรเดิมชํารุด - กรณีสูญหาย 7. 7.1 7.2 7.3 7.4 7.5 7.6

ครั้งละ ภาคละ

500 บาท 500 บาท

ฉบับละ ฉบับละ

300 บาท 300 บาท

หมวดอื่นๆ ค่าประกันความเสียหาย (คืนให้เมื่อพ้นสภาพนักศึกษา) บัตรประจําตัวนักศึกษา ฉบับละ ฉบับละ ค่าใบรายงานผลการศึกษา ค่าออกใบรับรองอื่นๆ ฉบับละ ค่าปฐมนิเทศ ค่าประกันอุบัติเหตุ (ระยะเวลาและอัตราตามที่กําหนดในแต่ละปี)

2,000 300 20 10 300

บาท บาท บาท บาท บาท

8. ค่า STUDIO (เฉพาะนักศึกษาคณะศิลปกรรมศาสตร์)

ภาคละ

1,100 บาท

9. ค่าปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ - เฉพาะภาควิชาออกแบบนิเทศศิลป์ ชั้นปีที่ 2-4 - เฉพาะภาควิชาการออกแบบผลิตภัณฑ์

ภาคละ ภาคละ

3,000 บาท 4,000 บาท

10. ค่าปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ทางวิศวกรรมศาสตร์

ภาคละ

2,400 บาท

86

คู่มือวางแผนการเรียนและบริการงานทะเบียน


การชําระค่าลงทะเบียนเรียนประจําภาคการศึกษา มหาวิทยาลัยกําหนดให้มีการชําระค่าเล่าเรียน และค่าธรรมเนียมต่างๆ ด้วยวิธี ดังต่อไปนี้ 1. ชําระค่าลงทะเบียนผ่านเคาน์เตอร์ธนาคาร ด้วยเงินสดเท่านัน้ - ธ.กรุงเทพ ธ.กสิกรไทย ธ.ไทยพาณิชย์ ธ.ทหารไทย ธ.ยูโอบี ทุกสาขาทั่วประเทศ โดยนําใบรายงานผลการลงทะเบียน/ใบเสร็จรับเงิน (กค.018) ส่วนที่ 1 และส่วนที่ 2 ประกอบการชําระเงิน 2. ชําระค่าลงทะเบียนผ่านเครือ่ ง ATM โดยเลือกรายการ "ชําระเงิน" - ธ.กรุงเทพ : เลือกรายการ ชําระเงิน – สถาบันการศึกษา เวลา 06.00 น. - 23.00 น. "มหาวิทยาลัยกรุงเทพ" : ใส่หมายเลขอ้างอิง คือ Cust. no XXXXXXXXXX (กดรหัสนักศึกษา 10 หลัก) Ref. no XXXXXXXXX (กดเลขที่อ้างอิง 9 หลัก) - ธ.กสิกรไทย : เลือกรายการ ชําระเงิน เวลา 06.00 น. - 22.00 น. : โดยกด รหัสบริษัทของมหาวิทยาลัย คือ "80007" : ใส่หมายเลขสมาชิก/บัญชี หมายถึง กดเลข 19 หลัก คือ รหัสนักศึกษา 10 หลักต่อด้วยเลขที่อ้างอิง 9 หลัก - ธ.ไทยพาณิชย์ : เลือกรายการชําระค่าสินค้าและบริการ เวลา 06.00 น. - 23.00 น. : โดยใส่ เลขทีบ่ ัญชีของมหาวิทยาลัย คือ "0353014766" : ใส่หมายเลขอ้างอิง คือ Cust. no XXXXXXXXXX (กดรหัสนักศึกษา 10 หลัก) Ref. no XXXXXXXXX (กดเลขที่อ้างอิง 9 หลัก)

คู่มือวางแผนการเรียนและบริการงานทะเบียน

87


3. ชําระค่าลงทะเบียนทางโทรศัพท์ (ควรเป็นเครื่องFax เพื่อจะได้มีหลักฐานการชําระเงิน) - ธ.กรุงเทพ โทร. 1333 หรือ 0-2645-5555 เวลา 06.00 น. - 23.00 น. ด้วยบัตร ATM ของ ธ.กรุงเทพ : กดเลือกรายการ บริการรับชําระ-ชําระค่าลงทะเบียนเรียน : ใส่ เลขประจําตัวผู้เสียภาษีอากรของมหาวิทยาลัย คือ "4107036467#" : ใส่หมายเลขรหัสนักศึกษา (10 หลัก) XXXXXXXXXX แล้วตามด้วยเครื่องหมาย # : ใส่หมายเลขอ้างอิง (9 หลัก) XXXXXXXXX แล้วตามด้วยเครื่องหมาย # - ธ.กสิกรไทย โทร. 0-2888-8888 ด้วยบัตร ATM เวลา 06.00 น. - 22.00 น ของ ธ.กสิกรไทย : กดเลือกรายการ ชําระค่าสินค้าและบริการ : โดยกด รหัสบริษัทของมหาวิทยาลัย คือ "80007" : ใส่หมายเลขสมาชิก/บัญชี หมายถึง กดเลข 19 หลัก คือรหัสนักศึกษา 10 หลักต่อด้วยเลขที่อ้างอิง 9 หลัก - ธ.ไทยพาณิชย์ โทร. 0-2777-7777 ด้วยบัตร ATM ของ เวลา 06.00 น. - 23.00 น. ธ.ไทยพาณิชย์ : กดเลือกรายการ ชําระค่าสินค้าและบริการ : โดยใส่ เลขทีบ่ ัญชีของมหาวิทยาลัย คือ "0353014766" : ใส่หมายเลขอ้างอิง คือ Cust. no XXXXXXXXXX (กดรหัสนักศึกษา 10 หลัก 4. ชําระค่าลงทะเบียนผ่านทาง Internet (ควรพิมพ์เอกสารการชําระค่าลงทะเบียนไว้เพื่อ เป็นหลักฐานด้วย) - ธ.กสิกรไทย ผ่าน www.goto TFB.com/tfbebank เวลา 06.00 น. - 22.00 น. โดยมีบัญชีออมทรัพย์ หรือ กระแสรายวัน : โดยกด รหัสบริษัทของมหาวิทยาลัย คือ "80007" : ใส่หมายเลขสมาชิก/บัญชี หมายถึง กดเลข 19 หลัก คือรหัสนักศึกษา 10 หลักต่อด้วยเลขที่อ้างอิง 9 หลัก เวลา 06.00 น. - 23.00 น. - ธ.ไทยพาณิชย์ ผ่าน www.SCBEASY.com โดยมีบัญชี ออมทรัพย์ หรือ กระแสรายวัน : โดยใส่ เลขทีบ่ ัญชีของมหาวิทยาลัย คือ "0353014766" : ใส่หมายเลขอ้างอิง คือ Cust. no XXXXXXXXXX (กดรหัสนักศึกษา 10 หลัก) Ref. no XXXXXXXXX (กดเลขที่อ้างอิง 9 หลัก)

88

คู่มือวางแผนการเรียนและบริการงานทะเบียน


- ธ.ยูโอบี ผ่าน www.UOB.co.th โดยนักศึกษาต้องมีบัญชีกับธนาคารและเปิดใช้ บริการ UOB Cyber Banking : โดยใส่เลขรหัสนักศึกษา 10 หลัก : ใส่หมายเลขอ้างอิง 9 หลัก 5. ชําระค่าลงทะเบียนผ่าน Mobile Banking - ธ.กสิกรไทย โดยชําระทางโทรศัพท์มือถือในระบบ DTAC, GSM ผู้ใช้บริการจะต้องมีบัญชี ออมทรัพย์ หรือ กระแสรายวันของธ.กสิกรไทย เวลา 06.00 น. - 22.00 น. : โดยกด รหัสบริษัทของมหาวิทยาลัย คือ "80007" : ใส่หมายเลขสมาชิก/บัญชี หมายถึง กดเลข 19 หลัก คือรหัสนักศึกษา 10 หลักต่อด้วยเลขที่อ้างอิง 9 หลัก 6. ชําระค่าลงทะเบียนผ่านบัตรเครดิต รับเฉพาะบัตรเครดิตของธนาคารกรุงเทพ บัตรเครดิตที่มีเครื่องหมาย VISA หรือ MASTER CARD ซึ่งนักศึกษาสามารถใช้บริการนี้ได้ที่ เคาน์เตอร์แผนกการเงิน อาคาร 9 ชั้น 1 วิทยาเขตกล้วยน้ําไท (อังคาร-เสาร์ เวลาทําการ) ทั้งนี้ยังไม่รวมอัตราค่าธรรมเนียมในการชําระค่าลงทะเบียนเรียนด้วยบัตร เครดิต (สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่แผนกการเงิน วิทยาเขตกล้วยน้ําไท) 7. ชําระค่าลงทะเบียนผ่านบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ (ระบบPaylite) นักศึกษาสามารถชําระค่าลงทะเบียนเรียน โดยการผ่อนชําระระบบแบ่งจ่ายรายเดือน Paylite จากบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ (เลือกผ่อนชําระเป็น 4, 6, และ 10 เดือน) ในอัตรา 0.89% ต่อเดือน โดย นักศึกษาสามารถใช้บริการนี้ในการชําระค่าลงทะเบียนเรียนได้ที่แผนกการเงิน อาคาร 9 ชั้น 1 วิทยาเขต กล้วยน้ําไท (อังคาร-เสาร์ เวลาทําการ)

คู่มือวางแผนการเรียนและบริการงานทะเบียน

89


หมายเหตุ ผู้ปกครองสามารถโอนเงินจากบัญชีธนาคารพาณิชย์ต่างๆ ที่มีอยู่เข้าบัญชี ธ.กรุงเทพ ธ.กสิกรไทย ธ.ทหารไทย ธ.ไทยพาณิชย์ ธ.ยูโอบี ของนักศึกษาที่มีบัตร ATM เพื่อให้สามารถชําระค่าลงทะเบียน โดยไม่ต้องถือเงินสด ค่าลงทะเบียนของ นักศึกษาท่านใดก็ให้ใช้บัตร ATM ของ นักศึกษาท่านนั้น ห้ามใช้บัตรของท่านอื่น ต้องชําระค่าลงทะเบียนทั้งหมดครั้งเดียว ห้ามแยกชําระเป็นหลายยอด นักศึกษาจะต้องชําระค่าลงทะเบียนเรียน ภายในวันที่กําหนดในใบรายงานผลฯ (ก.ค.018) มิฉะนั้นจะ ถือว่าการลงทะเบียนเป็นโมฆะ และนักศึกษาจะต้องติดต่อขอลาพักการศึกษาในภาคนั้นที่แผนก ทะเบียนภายในวันที่กําหนด ซึ่งดูได้จากปฏิทินการศึกษาในเว็บไซต์สํานักทะเบียน นักศึกษา (http://recordsoffice.bu.ac.th) มิฉะนั้นจะถูกจําหน่ายชื่อออกจากทะเบียนนักศึกษา หรือ ในกรณี ที่นักศึกษาต้องการลงทะเบียนเรียนในภาคนั้นสามารถนําใบรายงานผลฯ (กค.018) ที่เลยกําหนดการ ชําระเงินมาติดต่อขอลงทะเบียนใหม่ได้ที่สํานักทะเบียนนักศึกษา ภายในกําหนดการลงทะเบียนเพิ่มลดวิชา ใบรายงานผลฯ (กค.018) จะเป็นใบเสร็จรับเงินที่สมบูรณ์ เมื่อมีการประทับตราของธนาคารและลง ลายมือชื่อผู้รับเงินของธนาคารที่รับชําระค่าลงทะเบียน หรือมีอักษรคอมพิวเตอร์ของธนาคารพิมพ์ลง ในใบ กค.018 หรือ เมื่อมีการประทับตราของมหาวิทยาลัยและลงลายมือเจ้าหน้าที่แผนกการเงินของ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เมื่อชําระค่าเล่าเรียน และค่าธรรมเนียมต่างๆ แล้ว มหาวิทยาลัยขอสงวนสิทธิ์ไม่คืนให้ไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น ถ้านักศึกษาไม่ได้ชําระค่าลงทะเบียนเรียนตามวิธีการที่มหาวิทยาลัยกําหนด หากเกิดปัญหาในการ ลงทะเบียน ทางมหาวิทยาลัยจะไม่รับผิดชอบใดๆ ทั้งสิ้น

90

คู่มือวางแผนการเรียนและบริการงานทะเบียน


ข้อบังคับมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ว่าด้วย การศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2552 ---------------------โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงข้อบังคับว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี อาศัยอํานาจตามความใน มาตรา 34 (2) แห่งพระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ. 2546 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550 สภามหาวิทยาลัยกรุงเทพ ในการประชุมครั้งที่ 1 ปีการศึกษา 2552 เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 มีมติ เห็นสมควรให้วางข้อบังคับไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1. ข้อบังคับนี้เรียกว่า “ข้อบังคับมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ว่าด้วย การศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2552” ข้อ 2. ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 เป็นต้นไป ข้อ 3. ข้อบังคับ คําสั่ง หรือประกาศอื่นใดที่ขัดแย้งกับข้อบังคับนี้ ให้เป็นอันยกเลิกและให้ใช้ ข้อบังคับนี้บังคับแทน ข้อ 4. ในข้อบังคับนี้ “คณะ” หมายถึง หน่วยงานที่มีการจัดการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัย “ภาควิชา” หมายถึง สาขาวิชาที่เปิดสอนในคณะต่างๆ “คณะกรรมการพิจารณารับสมัครเข้าเป็นนักศึกษาพิเศษ” หมายถึง รองอธิการบดีฝ่าย กิจการนักศึกษา รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ คณบดีวิทยาลัยนานาชาติและคณบดีที่เกี่ยวข้อง โดยมี ผู้อํานวยการฝ่ายรับสมัครนักศึกษาเป็นกรรมการและเลขานุการ “คณะกรรมการปกครองนักศึกษา” หมายถึง รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา ผู้ช่วย อธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา คณบดีคณะนิติศาสตร์ คณบดีคณะที่นักศึกษาสังกัด ผู้อํานวยการฝ่ายบริการ การศึกษาและสวัสดิการ โดยมีหัวหน้าแผนกพัฒนานักศึกษาเป็นกรรมการและเลขานุการ “คณบดี” หมายถึง ผู้บริหารที่มีหน้าที่รับผิดชอบงานของคณะนั้นๆ “หัวหน้าภาควิชา” หมายถึง หัวหน้าผู้มีหน้าที่รับผิดชอบงานของภาควิชานั้นๆ “อาจารย์ที่ปรึกษา” หมายถึง อาจารย์ที่ได้รับแต่งตั้งจากมหาวิทยาลัยให้เป็นผู้ให้คําปรึกษา ในด้านวิชาการแก่นักศึกษา “นักศึกษา” หมายถึง ผู้ที่ศึกษาระดับปริญญาตรีทั้งภาคปกติและภาคพิเศษ “นักศึกษาพิเศษ” หมายถึง ผู้ที่มหาวิทยาลัยพิจารณาแล้วเห็นว่าสามารถเข้าศึกษาในรายวิชา ที่ขอศึกษาได้โดยมีหรือไม่มีการประเมินผลการเรียน ข้อ 5. ให้อธิการบดีรักษาการตามข้อบังคับนี้

คู่มือวางแผนการเรียนและบริการงานทะเบียน

91


หมวดที่ 1 ระบบการศึกษา มหาวิทยาลัยดําเนินการศึกษาโดยการประสานงานด้านวิชาการร่วมกันระหว่างคณะหรือภาควิชา ต่างๆ เพื่อที่จะอํานวยการศึกษาให้แก่นักศึกษาต่างคณะ ต่างภาควิชาได้มีโอกาสศึกษาร่วมกันในลักษณะวิชา เดียวกัน ข้อ 6. ระบบการศึกษาของมหาวิทยาลัยใช้ระบบทวิภาคโดยแบ่งเวลาการศึกษาในหนึ่งปีการศึกษา ออกเป็นสองภาคการศึกษาปกติ ได้แก่ ภาคการศึกษาที่หนึ่งและภาคการศึกษาที่สอง มีระยะเวลาการศึกษา ไม่น้อยกว่าภาคการศึกษาละสิบห้าสัปดาห์และอาจมีภาคการศึกษาฤดูร้อนต่อจากภาคการศึกษาที่สองได้ โดย มีระยะเวลาการศึกษาไม่น้อยกว่าแปดสัปดาห์ โดยให้เพิ่มชั่วโมงการศึกษาในแต่ละวิชาให้เท่ากับภาคการศึกษา ปกติ ภาคการศึกษาฤดูร้อนเป็นภาคการศึกษาที่ไม่บังคับสําหรับนักศึกษาหลักสูตรปริญญาตรีภาคปกติ สําหรับนักศึกษาหลักสูตรปริญญาตรีภาคพิเศษ หลักสูตรปริญญาตรีต่อเนื่องทั้งภาคปกติและ ภาคพิเศษภาคการศึกษาฤดูร้อนเป็นภาคการศึกษาบังคับ ข้อ 7. “หน่วยกิต” หมายถึง หน่วยที่แสดงปริมาณการศึกษา ซึ่งมหาวิทยาลัยจัดให้แก่นักศึกษา 7.1 วิชาที่ใช้เวลาบรรยายสัปดาห์ละหนึ่งชั่วโมงตลอดภาคการศึกษามีค่าเป็นหนึ่งหน่วยกิต 7.2 วิชาที่ใช้เวลาปฏิบัติทดลองสัปดาห์ละสองชั่วโมงตลอดภาคการศึกษามีค่าเป็นหนึ่ง หน่วยกิต ยกเว้น บางวิชาอาจจะกําหนดเวลาให้เป็นอย่างอื่นได้ตามความเหมาะสม

92

คู่มือวางแผนการเรียนและบริการงานทะเบียน


หมวดที่ 2 คุณสมบัติของผู้สมัครเข้าเป็นนักศึกษา ข้อ 8. ผู้สมัครเข้าเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัยต้องมีลักษณะและคุณสมบัติดังต่อไปนี้ 8.1 หลักสูตรปริญญาตรี 8.1.1 ไม่ เ ป็ น ผู้ ที่ เ ป็ น โรคติ ด ต่ อ อย่ า งร้ า ยแรง โรคสั ง คมรั ง เกี ย จ และโรคที่ จ ะ เบียดเบียนหรือขัดขวางการศึกษา 8.1.2 ไม่เป็นผู้ที่มีความประพฤติเสื่อมเสียอย่างร้ายแรงหรือถูกคัดชื่อออกหรือถูกไล่ ออกจากสถาบันการศึกษาเดิมและจะต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ 8.1.3 เป็นผู้สําเร็จการศึกษาประโยคมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.ศ.ห้าหรือ ม.หก) หรื อ ประโยคมั ธ ยมศึ ก ษาตอนปลายสายอาชี พ (ม.ศ.หก หรื อ ปวช.) หรื อ ประกาศนี ย บั ต รอื่ น ที่ กระทรวงศึกษาธิการเทียบเท่า สําหรับผู้สําเร็จการศึกษาหลักสูตรอนุปริญญา (ปวส. หรือ ปวท.) หรือประกาศนียบัตร อื่นที่กระทรวงศึกษาธิการเทียบเท่ามาสมัครเข้าศึกษาต่อหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.) หรือวิทยา ศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) โดยได้รับการยกเว้นหรือเทียบโอนหน่วยกิตของรายวิชาที่กําหนดไว้ในหลักสูตรได้ 8.1.4 เป็ น ผู้ สํ า เร็ จ การศึ ก ษาระดั บ ปริ ญ ญาตรี ส าขาวิ ช าใดสาขาวิ ช าหนึ่ ง จาก มหาวิทยาลัยกรุงเทพ และสมัครเข้าศึกษาเพื่อรับปริญญาตรีในสาขาวิชาอื่น 8.1.5 เป็ น ผู้ สํ า เร็ จ การศึ ก ษาระดั บ ปริ ญ ญาตรี จ ากสถาบั น อุ ด มศึ ก ษาทั้ ง ในและ ต่างประเทศ ซึ่งสํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรองและสมัครเข้าศึกษาเพื่อรับปริญญาตรีใน สาขาวิชาใดสาขาวิชาหนึ่ง 8.2 หลักสูตรปริญญาตรีต่อเนื่อง 8.2.1 ไม่ เ ป็ น ผู้ ที่ เ ป็ น โรคติ ด ต่ อ อย่ า งร้ า ยแรง โรคสั ง คมรั ง เกี ย จ และโรคที่ จ ะ เบียดเบียนหรือขัดขวางการศึกษา 8.2.2 ไม่เป็นผู้ที่มีความประพฤติเสื่อมเสียอย่างร้ายแรงหรือถูกคัดชื่อออกหรือถูกไล่ ออกจากสถาบันการศึกษาเดิมและจะต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ 8.2.3 เป็ นผู้ สําเร็ จการศึกษาหลักสู ตรอนุปริ ญญา (ปวส. หรือ ปวท.หรือ ป.กศ. ชั้นสูง) จากสถาบันการศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการรับรอง และต้องไม่เป็นผู้ได้รับอนุปริญญาตามหลักสูตร ปริญญาตรี 8.2.4 เป็นผู้สําเร็จการศึกษาตรงตามสาขาวิชาที่จะเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี ที่มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

คู่มือวางแผนการเรียนและบริการงานทะเบียน

93


หมวดที่ 3 การคัดเลือกเข้าเป็นนักศึกษา ข้อ 9. การคัดเลือกผู้สมัครเข้าเป็นนักศึกษาให้เป็นไปตามระเบียบการการคัดเลือกเพื่อเข้าศึกษาใน มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ซึ่งมหาวิทยาลัยจะประกาศให้ทราบเป็นคราวๆ ไป

หมวดที่ 4 การขึ้นทะเบียนนักศึกษาและการลงทะเบียนเรียน ข้อ 10. การขึ้นทะเบียนนักศึกษา 10.1 ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกเข้าเป็นนักศึกษาต้องขึ้นทะเบียนนักศึกษาด้วยตนเองตามวันเวลา และสถานที่ที่มหาวิทยาลัยกําหนด 10.2 ผู้ ที่ ไ ด้ รั บ การคั ด เลื อ กเข้ า เป็ น นั ก ศึ ก ษาจะมี ส ถานภาพเป็ น นั ก ศึ ก ษาต่ อ เมื่ อ ได้ ขึ้ น ทะเบียนนักศึกษาแล้ว โดยต้องนําหลักฐานต่างๆ ที่กําหนดไว้ไปรายงานตัวต่อฝ่ายรับสมัครนักศึกษา 10.3 สําหรับภาคการศึกษาแรกที่เข้าเป็นนักศึกษาในมหาวิทยาลัยจะต้องลงทะเบียนเรียน วิชาต่างๆ พร้อมกับการขึ้นทะเบียนนักศึกษา 10.4 ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกเข้าเป็นนักศึกษาที่ไม่อาจขึ้นทะเบียนนักศึกษาตามวันเวลาที่ กําหนดจะต้องแจ้งเหตุขัดข้องให้ฝ่ายรับสมัครนักศึกษาทราบล่วงหน้าเป็นลายลักษณ์อักษรก่อนวันขึ้นทะเบียน นักศึกษา มิฉะนั้นจะถือว่าสละสิทธิ์ ข้อ 11. การลงทะเบียนเรียน 11.1 มหาวิทยาลัยจะจัดให้มีการลงทะเบียนเรียนวิชาต่างๆ ในแต่ละภาคการศึกษาให้เสร็จ สิ้นก่อนวันเปิดภาคการศึกษานั้นๆ 11.2 ในกรณีมีเหตุอันสมควร มหาวิทยาลัยอาจประกาศปิดวิชาใดวิชาหนึ่งหรือจํากัดจํานวน นักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนวิชาใดวิชาหนึ่งก็ได้ การประกาศปิดวิชาบางวิชาที่มีนักศึกษาลงทะเบียนเรียนไป แล้วจะต้องกระทําภายในเจ็ดวันแรกของภาคการศึกษาปกติหรือสามวันแรกของภาคการศึกษาฤดูร้อน 11.3 จํานวนหน่วยกิตที่นักศึกษาจะลงทะเบียนเรียนให้กระทําตามเกณฑ์ต่อไปนี้ 11.3.1 นั กศึ กษาหลั กสู ตรปริ ญ ญาตรีภาคปกติใ นแต่ละภาคการศึ ก ษาปกติ ข องปี การศึกษา นักศึกษาต้องลงทะเบียนเรียนไม่ต่ํากว่าสิบสองหน่วยกิตและไม่เกินยี่สิบสองหน่วยกิต นักศึกษารอ พินิจต้องลงทะเบียนเรียนไม่ต่ํากว่าสิบสองหน่วยกิตและไม่เกินสิบหกหน่วยกิต สําหรับภาคการศึกษาฤดูร้อน นักศึกษาลงทะเบียนเรียนได้ไม่เกินเก้าหน่วยกิต

94

คู่มือวางแผนการเรียนและบริการงานทะเบียน


11.3.2 นักศึกษาหลักสูตรปริญญาตรีภาคพิเศษ ในแต่ละภาคการศึกษาปกติของปี การศึกษา นักศึกษาต้องลงทะเบียนเรียนไม่ต่ํากว่าเก้าหน่วยกิตและไม่เกินสิบแปดหน่วยกิต นักศึกษารอพินิจ ต้องลงทะเบียนเรียนไม่ต่ํากว่าเก้าหน่วยกิตและไม่เกินสิบสามหน่วยกิต สําหรับภาคการศึกษาฤดูร้อนนักศึกษา ลงทะเบียนเรียนได้ไม่เกินเก้าหน่วยกิต 11.3.3 นักศึกษาหลักสูตรปริญญาตรีต่อเนื่องภาคปกติ ในแต่ละภาคการศึกษาปกติ ของปีการศึกษา นักศึกษาต้องลงทะเบียนเรียนไม่ต่ํากว่าสิบสองหน่วยกิตและไม่เกินยี่สิบสองหน่วยกิต นักศึกษาหลักสูตรปริญญาตรีต่อเนื่องภาคพิเศษในแต่ละภาคการศึกษาปกติของปีการศึกษา นักศึกษาต้อง ลงทะเบียนเรียนไม่ต่ํากว่าเก้าหน่วยกิตและไม่เกินสิบแปดหน่วยกิต สําหรับภาคการศึกษาฤดูร้อน นักศึกษา ลงทะเบียนเรียนได้ไม่เกินเก้าหน่วยกิต 11.3.4 นั ก ศึ ก ษาทุ ก หลั ก สู ต รอาจลงทะเบี ย นเรี ย นต่ํ า กว่ า หรื อ สู ง กว่ า หน่ ว ยกิ ต ที่ กําหนดไว้ตามข้อ 11.3.1 หรือ 11.3.2 หรือ 11.3.3 ได้ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นอันสมควรหรือการลงทะเบียน เรียนเป็นภาคสุดท้ายที่คาดว่าจะสําเร็จการศึกษา โดยได้รับอนุมัติจากคณบดีคณะที่นักศึกษาสังกัด สําหรับนักศึกษาที่เข้าศึกษาในปีการศึกษาแรกให้ลงทะเบียนเรียนตามจํานวนหน่วยกิตที่มหา วิทยาลัยกําหนดเฉพาะภาคการศึกษาแรก โดยไม่มีการลดวิชาหรือเพิ่มวิชาเรียนยกเว้นการขอเพิกถอนวิชา 11.4 การลงทะเบียนเรียนแต่ละวิชาในแต่ละภาคการศึกษาจะต้องไม่มีเวลาเรียนและเวลา สอบตรงกัน เว้นแต่จะได้รับอนุมัติเป็นรายกรณีจากคณบดีคณะที่นักศึกษาสังกัด 11.5 การลงทะเบี ย นเรี ย นวิ ช าต่ า งๆ นั ก ศึ ก ษาจะต้ อ งลงทะเบี ย นเรี ย นวิ ช าพื้ น ความรู้ (Prerequisite) ก่อน ซึ่งได้กําหนดไว้ในหลักสูตร 11.6 นักศึกษาต้องลงทะเบียนเรียนล่วงหน้า (Preregistration) ตามวันเวลา สถานที่พร้อม ทั้งชําระค่าหน่วยกิตและค่าธรรมเนียมต่างๆ ตามที่มหาวิทยาลัยกําหนด ในกรณีที่นักศึกษาไม่ได้ลงทะเบียน เรียนล่วงหน้าไว้ นักศึกษาสามารถขออนุมัติลงทะเบียนเรียนล่าช้าจากผู้อํานวยการสํานักทะเบียนนักศึกษาได้ ภายในสัปดาห์แรกนับจากวันเปิดภาคการศึกษาทุกภาคการศึกษา 11.7 ในกรณีที่นักศึกษาไม่ได้ลงทะเบียนเรียนในภาคการศึกษาใด (ยกเว้นภาคการศึกษา ฤดูร้อนของหลักสูตรปริญญาตรีภาคปกติ) จะต้องยื่นคําร้องขอลาพักการศึกษาเพื่อรักษาสถานภาพนักศึกษา ต่อสํานักทะเบียนนักศึกษาพร้อมทั้งชําระค่าธรรมเนียมภายในสามสิบวันนับจากวันเปิดภาคการศึกษาจนกว่า จะพ้นสถานภาพนักศึกษา มิฉะนั้นจะถูกจําหน่ายชื่อออกจากทะเบียนนักศึกษา 11.8 การลงทะเบียนเรียนวิชาเป็นพิเศษโดยไม่นับหน่วยกิตรวมในจํานวนหน่วยกิตตาม หลักสูตร (Audit) มีหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ 11.8.1 ให้นักศึกษาลงทะเบียนเรียนวิชาเป็นพิเศษโดยไม่นับหน่วยกิต (Audit) ได้โดย ต้องได้รับอนุมัติจากคณบดีคณะที่นักศึกษาสังกัดและชําระค่าหน่วยกิตตามปกติ 11.8.2 การลงทะเบียนเรียนวิชาเป็นพิเศษโดยไม่นับหน่วยกิตไม่บังคับให้สอบและไม่ มีผลการเรียน การบันทึกรายวิชาที่ลงทะเบียนเรียนเป็นพิเศษในช่องผลการเรียนจะบันทึกสัญลักษณ์ "NC" เฉพาะผู้ที่มีเวลาเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละแปดสิบของเวลาเรียนทั้งหมดของวิชานั้น คู่มือวางแผนการเรียนและบริการงานทะเบียน

95


11.8.3 มหาวิทยาลัยอาจอนุมัติให้บุคคลภายนอกลงทะเบียนเรียนวิชาเป็นพิเศษ โดย ไม่นับหน่วยกิตได้เมื่อได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการพิจารณารับสมัครเข้าเป็นนักศึกษาพิเศษ 11.9 การลงทะเบียนเรียนเพื่อปรับคะแนนเฉลี่ยสะสม ให้นักศึกษาทุกหลักสูตรที่ลงทะเบียน เรียนวิชาและสอบได้ตั้งแต่สิบสองหน่วยกิตขึ้นไป สามารถลงทะเบียนเรียนวิชาที่เคยสอบได้ลําดับขั้น D หรือ D+ หรือวิชาใหม่ทั้งในหรือนอกหลักสูตรของคณะที่นักศึกษาสังกัดเพื่อปรับคะแนนเฉลี่ยสะสมได้ การลงทะเบียนเรียนเพื่อปรับคะแนนเฉลี่ยสะสม สําหรับวิชาที่ไม่ผ่านวิชาบังคับก่อน หรือพื้นความรู้ (Prerequisite) จะต้องได้รับอนุมัติจากคณบดีคณะที่นักศึกษาสังกัดและต้องนําทุกวิชาที่ ลงทะเบียนเรียนไปรวมในการคํานวณคะแนนเฉลี่ยสะสม 11.10 การลงทะเบียนเรียนข้ามภาค 11.10.1 นักศึกษาที่มีสิทธิ์ลงทะเบียนเรียนข้ามภาค ต้องเป็นนักศึกษาที่ยังไม่ สําเร็จการศึกษา เมื่อพ้นภาคการศึกษาสุดท้ายที่ควรจะสําเร็จการศึกษาตามหลักสูตรคณะที่นักศึกษาสังกัด หรือเป็นนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนในภาคการศึกษานั้นเป็นภาคการศึกษาสุดท้ายที่จะสําเร็จการศึกษาตาม หลักสูตรคณะที่นักศึกษาสังกัดหรือเป็นนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนวิชาที่มีวิชาต่อเนื่องที่ต้องเรียนในภาค การศึกษาถัดไป 11.10.2 นักศึกษาจะลงทะเบียนเรียนวิชาเดียวกันทั้งภาคปกติและภาคพิเศษไม่ได้ ในกรณีที่วิชานั้นเปิดสอนพร้อมกันทั้งภาคปกติและภาคพิเศษ 11.10.3 ในกรณีที่มีการเปิดสอนวิชาเดียวกันทั้งภาคปกติและภาคพิเศษ นักศึกษา ต้องเลือกลงทะเบียนเรียนวิชาที่เปิดสอนในภาคที่นักศึกษาสังกัดอยู่เว้นแต่มีเหตุจําเป็นอันสมควรให้อยู่ในดุลย พินิจของคณบดีคณะที่นักศึกษาสังกัด 11.10.4 การลงทะเบียนเรียนข้ามภาค จํานวนหน่วยกิตที่นักศึกษาลงทะเบียน เรียนทุกวิชารวมกันแล้วต้องไม่เกินจํานวนหน่วยกิตสูงสุดที่กําหนดไว้ตามข้อ 11.3 11.10.5 นักศึกษาลงทะเบียนเรียนข้ามภาคได้เฉพาะในช่วงการลงทะเบียนเรียน เพิ่ม-ลดวิชาของทุกภาคการศึกษา

96

คู่มือวางแผนการเรียนและบริการงานทะเบียน


หมวดที่ 5 การเทียบวิชาและโอนหน่วยกิต ข้อ 12. นั ก ศึ ก ษาทุ ก หลั ก สู ต รสามารถเที ย บวิ ช าเรี ย นและโอนหน่ ว ยกิ ต จากการศึ ก ษาในระบบ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อให้นักศึกษาทุกคนสามารถเทียบโอนผลการเรียนได้ โดยเฉพาะการศึกษาในระบบจะเป็นการเทียบวิชาและโอนหน่วยกิตของนักศึกษาจากสถาบันอุดมศึกษาที่ ประสงค์จะเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัย แบ่งออกเป็นสองประเภท คือการเทียบโอนหน่วยกิตมาศึกษาต่อ และ การขอศึกษาปริญญาที่สอง ส่วนการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเป็นการโอนความรู้และให้ หน่วยกิตเข้าสู่การศึกษาในระบบ การศึกษาในระบบ 12.1 การเทียบโอนหน่วยกิตมาศึกษาต่อต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ต่อไปนี้ 12.1.1 คุณสมบัติของนักศึกษาที่ขอเทียบโอน (1) เป็นผู้มีความประพฤติดี (2) เป็ น หรื อ เคยเป็ น นั ก ศึ ก ษาในสถาบั น อุ ด มศึ ก ษาซึ่ ง สํ า นั ก งาน คณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง (3) เป็ นผู้ที่ ค ณะกรรมการพิ จ ารณารั บสมั ค รเข้ า เป็นนั กศึก ษาพิเ ศษ เห็นสมควรรับเทียบโอน 12.1.2 การเทียบโอนหน่วยกิตให้ใช้เกณฑ์ดังนี้ (1) หั ว หน้ า ภาควิ ช าที่ นั ก ศึ ก ษาขอเที ย บโอนเข้ า มาศึ ก ษาต่ อ จะเป็ น ผู้พิจารณารายละเอียดวิชาและทดสอบเพื่อเทียบโอนหน่วยกิตโดยความเห็นชอบของคณบดีคณะที่นักศึกษาสังกัด (2) วิชาที่ขอเทียบโอนหน่ วยกิ ตได้ นั้นจะต้องเป็นวิชาที่มีเนื้อหาวิชา เทียบเคียงกันได้หรือมีเนื้อหาสาระครอบคลุมไม่น้อยกว่าสามในสี่ของวิชาที่ขอเทียบโอน (3) การเทียบโอนหน่วยกิตเป็นรายวิชาหรือกลุ่มรายวิชาในหลักสูตร ปริญญาตรี จะต้องสอบได้ไม่ต่ํากว่าระดับคะแนนตัวอักษร C หรือแต้มระดับคะแนน 2.00 หรือเทียบเท่า หรือ ได้ระดับคะแนนตัวอักษร S (4) จํานวนหน่วยกิตที่มหาวิทยาลัยจะพิจารณารับโอนได้ไม่เกินเก้าสิบ หน่วยกิต 12.1.3 นั ก ศึ ก ษาที่ ข อเที ย บโอนจะต้ อ งใช้ เ วลาศึ ก ษาในมหาวิ ท ยาลั ย อี ก เป็ น ระยะเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปีการศึกษาจึงจะมีสิทธิ์สําเร็จการศึกษา 12.1.4 การคํา นวณคะแนนเฉลี่ย สะสมเพื่อ การสํา เร็จ การศึก ษาและได้รับ ปริญญาของมหาวิทยาลัยจะคํานวณคะแนนเฉลี่ยสะสมเฉพาะผลการศึกษาของวิชาที่ศึกษาในมหาวิทยาลัย หลังรับโอนหน่วยกิตเท่านั้น

คู่มือวางแผนการเรียนและบริการงานทะเบียน

97


12.1.5

เอกสารที่ต้องนํามาแสดง (1) ใบรายงานผลการศึกษา (Transcript) ที่สถาบันอุดมศึกษาเดิมออก

ให้เป็นทางการ (2) รายละเอียดประจําวิชา (Course Description) ของสถาบันอุดมศึกษาเดิม (3) หนังสือรับรองความประพฤติจากอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาเดิม 12.1.6 ผู้ที่ประสงค์จะขอเทียบโอนหน่วยกิตมาศึ กษาต่อ จะต้องติ ดต่ อแสดง ความจํานงกับฝ่ายรับสมัครนักศึกษาล่วงหน้าเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งเดือนก่อนเปิดภาคการศึกษาที่ขอเทียบโอน 12.2 การขอศึกษาปริญญาที่สอง ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ต่อไปนี้ 12.2.1 คุณสมบัติของผู้ขอศึกษาปริญญาที่สอง (1) เป็ น ผู้ สํ า เร็ จ การศึ ก ษาขั้ น ปริ ญ ญาตรี จ ากสถาบั น อุ ด มศึ ก ษาที่ สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง (2) เป็ น ผู้ ไ ม่ มี โ รคติ ด ต่ อ ร้ า ยแรง โรคสั ง คมรั ง เกี ย จและโรคที่ จ ะ เบียดเบียนหรือขัดขวางการศึกษา (3) เป็นผู้มีความประพฤติดี 12.2.2 การขอศึกษาปริญญาที่ส อง ต้องเป็นสาขาวิชาหรือปริญญาที่มีชื่อไม่ เหมือนกับสาขาวิชาหรือปริญญาเดิมที่สําเร็จการศึกษามาแล้ว ชื่อสาขาวิชาหรือปริญญาใช้การแยกคณะวิชา ของมหาวิทยาลัยเป็นเกณฑ์ 12.2.3 ได้รับยกเว้นการเรียนรายวิชาในหมวดวิชาศึกษาทั่ว ไปของหลัก สูต ร ปริญญาตรีที่ขอศึกษาปริญ ญาที่สอง ในกรณีที่คณบดีคณะที่นักศึกษาสังกัดพิจารณาแล้วเห็นว่าผู้ขอศึกษา ปริญญาที่สอง ยังขาดความรู้ในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป ก็อาจกําหนดให้ศึกษาเพิ่มเติมวิชาเหล่านั้นได้โดยให้นับ หน่วยกิตต่างหาก 12.2.4 ต้องลงทะเบียนเรียนวิชาเพิ่มเติมอีกไม่น้อยกว่าสามสิบหน่วยกิต 12.2.5 ต้ อ งลงทะเบี ย นเรี ย นกระบวนวิ ช าบั ง คั บ ของสาขาวิ ช าให้ ค รบตาม หลักสูตรคณะที่นักศึกษาสังกัดได้กําหนดไว้ 12.2.6 การพิจารณากระบวนวิชาที่เคยศึกษามาแล้วในปริญญาเดิมให้อยู่ในดุลยพินิจของคณบดีคณะที่นักศึกษาสังกัดและเป็นไปตามประกาศสํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาเรื่อง หลักเกณฑ์การเทียบวิชาเรียนและโอนหน่ ว ยกิ ต สํา หรั บ หลั ก สู ต รระดั บ ที่ ไ ม่ สู ง กว่ า ปริ ญ ญาตรี เพื่ อ เข้ า ศึ ก ษาในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ. 2542 12.2.7 กรณีที่คณบดีคณะที่นักศึกษาสังกัดพิจารณาเห็นว่าผู้ขอศึกษาปริญญาที่ สองยังขาดพื้นความรู้ในบางวิชา ก็อาจกําหนดให้ศึกษาเพิ่มเติมวิชาเหล่านั้นได้ 12.2.8 ระยะเวลาในการศึ ก ษาปริ ญ ญาที่ ส องไม่ เ กิ น ห้ า ปี ก ารศึ ก ษาสํ า หรั บ การศึกษาภาคปกติ หรือไม่เกินเจ็ดปีการศึกษาสําหรับการศึกษาภาคพิเศษ

98

คู่มือวางแผนการเรียนและบริการงานทะเบียน


12.2.9 การกําหนดแผนการศึกษาของนักศึกษาปริญญาที่สองนั้นคณบดีคณะที่ นักศึกษาสังกัดจะเป็นผู้กําหนดขึ้น โดยพิจารณาจากกระบวนวิชาของปริญญาเดิมเป็นเกณฑ์ 12.2.10 เอกสารที่ต้องนํามาแสดงในวันสมัคร (1) หนังสือสําคัญรับรองวุฒิ เช่น ปริญญาบัตร หรือใบรับรองการสําเร็จ การศึกษา (2) ใบรายงานผลการศึกษา (Transcript) ที่สถาบันอุดมศึกษาเดิมออก ให้เป็นทางการ (3) รายละเอียดประจําวิชา (Course Description) ของคณะวิชาที่ ได้รับปริญญามาแล้วจากสถาบันอุดมศึกษาเดิม 12.2.11 การสมัครเข้าศึกษาปริญญาที่สอง ผู้ที่ประสงค์จะสมัครเข้าศึกษาปริญญา ที่สองจะต้องติดต่อแสดงความจํานงกับฝ่ายรับสมัครนักศึกษาล่วงหน้าเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งเดือนก่อนเปิด ภาคการศึกษาที่ขอศึกษาปริญญาที่สอง 12.3 การเรียน การวัดผลและการประเมินผลการศึกษาของนักศึกษาที่ขอเทียบโอนและ นักศึกษาปริญญาที่สองให้เป็นไปตามข้อบังคับนี้ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย 12.4 การเทียบวิชาเรียนและโอนหน่วยกิตจากการศึกษานอกระบบและ/หรือการศึกษา ตามอัธยาศัย ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ต่อไปนี้ 12.4.1 เป็นผู้ที่ผ่านการคัดเลือกเข้าเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัยแล้วสามารถ เทียบความรู้เป็นรายวิชาหรือกลุ่มรายวิชาตามหลักสูตรของคณะวิชาที่นักศึกษาสังกัด 12.4.2 การเที ย บประสบการณ์ จ ากการทํ า งานให้ คํ า นึ ง ถึ ง ความรู้ ที่ ไ ด้ จ าก ประสบการณ์เป็นหลัก 12.4.3 คณบดีเป็นผู้กําหนดวิธีการประเมินวิชาในสังกัดของคณะวิชาเพื่อการ เทียบโอนความรู้ในแต่ละรายวิชาหรือกลุ่มรายวิชาและเกณฑ์การตัดสินของการประเมินในแต่ละวิธี เพื่อเทียบ โอนหน่วยกิตโดยความเห็นชอบของรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการหรือผู้ที่รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการมอบหมาย 12.4.4 ผลการประเมินต้องได้ไม่ต่ํากว่าระดับคะแนนตัวอักษร C หรือแต้มระดับ คะแนน 2.00 หรือเทียบเท่า หรือระดับคะแนนตัวอักษร S และการคํานวณคะแนนเฉลี่ยสะสมเพื่อการสําเร็จ การศึกษาจะคํานวณเฉพาะผลการศึกษาและวิชาที่ศึกษาในมหาวิทยาลัยเท่านั้น

คู่มือวางแผนการเรียนและบริการงานทะเบียน

99


12.4.5

การบันทึกผลการเรียนให้บันทึกตามวิธีการประเมิน ได้แก่ - หน่วยกิตจากการทดสอบมาตรฐานให้บันทึก "CS" (Credits from Standardized Test) - หน่วยกิตจากการทดสอบที่ไม่ใช่การทดสอบมาตรฐานให้บันทึก "CE" (Credits from Exam) - หน่วยกิตจากการประเมินการศึกษา/อบรมที่จัดขึ้นโดยหน่วยงานอื่นที่ ไม่ใช่สถาบันอุดมศึกษาให้บันทึก "CT" (Credits from Training) - หน่วยกิตจากการเสนอแฟ้มสะสมผลงานให้บันทึก "CP" (Credits from Portfolio) 12.4.6 นั ก ศึ ก ษาที่ ข อเที ย บโอนจะต้ อ งใช้ เ วลาศึ ก ษาในมหาวิ ท ยาลั ย เป็ น ระยะเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปีการศึกษา และมหาวิทยาลัยจะรับเทียบโอนหน่วยกิตไม่เกินสามในสี่ของจํานวน หน่วยกิตรวมของหลักสูตรระดับปริญญาตรี

หมวดที่ 6 นักศึกษาพิเศษ ข้อ 13. การสมัครเข้าเป็นนักศึกษาพิเศษ จะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ 13.1 ผู้สมัครเข้าเป็นนักศึกษาพิเศษ ต้องแสดงความจํานงต่อคณะกรรมการพิจารณารับ สมัครเข้าเป็นนักศึกษาพิเศษของมหาวิทยาลัยล่วงหน้าเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งเดือนก่อนเปิดภาคการศึกษา โดยระบุวิชาที่ขอเข้าศึกษาพร้อมเหตุผลในการขอศึกษา 13.2 นักศึกษาพิเศษจะต้องลงทะเบียนเรียนตามรายวิชาที่ได้รับอนุมัติพร้อมทั้งชําระ ค่าลงทะเบียนเรียนและค่าธรรมเนียมต่างๆ ตามประกาศของ มหาวิทยาลัย 13.3 นักศึกษาพิเศษที่ลงทะเบียนเรียนเป็นรายวิชาและขอรับผลการเรียนให้ใช้ข้อบังคับ มหาวิทยาลัยเกี่ยวกับการศึกษาขั้นปริญญาตรี 13.4 การเข้าศึกษาในฐานะนักศึ กษาพิเศษ ไม่ก่อให้เกิดสิท ธิ์ที่จะเปลี่ยนสถานภาพเป็น นักศึกษาปกติของมหาวิทยาลัย ยกเว้นแต่จะได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการพิจารณารับสมัครเข้าเป็นนักศึกษา พิเศษเป็นรายกรณี

100

คู่มือวางแผนการเรียนและบริการงานทะเบียน


หมวดที่ 7 การขอเพิ่มวิชา การขอลดวิชา และการขอเพิกถอนวิชา ข้อ 14. การขอเพิ่มวิชา (Adding) ให้กระทําได้ภายในสัปดาห์แรกนับจากวันเปิดภาคการศึกษาทุก ภาคการศึกษา ข้อ 15. การขอลดวิชา (Dropping) ให้กระทําได้ภายในสัปดาห์แรกนับจากวันเปิดภาคการศึกษาทุก ภาคการศึกษา รายวิชาที่ขอลดนั้นจะไม่บันทึกในใบรายงานผลการศึกษา ข้อ 16. การขอเพิ่มวิชา การขอลดวิชา รายวิชานั้นจะต้องไม่ขัดกับจํานวนหน่วยกิตตามข้อ 11.3 ข้อ 17. การขอเพิกถอนวิชา (Withdrawal) 17.1 การขอเพิกถอนวิชา จะกระทําได้เมื่อพ้นสามสัปดาห์นับจากวันสิ้นสุดการสอบกลาง ภาคการศึกษาที่หนึ่งหรือภาคการศึกษาที่สอง หรือเมื่อพ้นสัปดาห์แรกนับจากวันสิ้นสุดการสอบกลางภาคของ ภาคการศึกษาฤดูร้อนจนถึงวันสุดท้ายของการเรียนการสอนในภาคการศึกษานั้นๆ รายวิชาที่ขอเพิกถอนนั้นจะ บันทึกสัญลักษณ์ W ในใบรายงานผลการศึกษา 17.2 การขอเพิ ก ถอนวิ ช ากรณี พิ เ ศษเกิ ด ขึ้ น ในกรณี ที่ นั ก ศึ ก ษาขาดสอบปลายภาค นักศึกษาสามารถยื่นคําร้องขออนุมัติเพิกถอนกรณีพิเศษจากผู้อํานวยการสํานักทะเบียนนักศึกษาได้ภายในห้า วันทําการนับจากวันที่ขาดสอบ เนื่องจากสาเหตุดังต่อไปนี้ 17.2.1 เจ็บป่วยหนักและนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลอย่างน้อย 1 วัน โดย ต้องมีใบรับรองแพทย์ระบุชัดเจนว่าไม่สามารถสอบได้ 17.2.2 ประสบอุบัติเหตุทําให้ได้รับบาดเจ็บหรือต้องอยู่ในที่เกิดเหตุเพื่อแก้ไขปัญหา 17.2.3 บิดา/มารดา/หรือผู้ปกครองเจ็บป่วยหนักหรือประสบอุบัติเหตุร้ายแรง ต้องนอนรักษาตัวในโรงพยาบาลหรือเสียชีวิต 17.2.4 เกิดภัยพิบัติแก่ทรัพย์สินของนักศึกษาหรือครอบครัว

คู่มือวางแผนการเรียนและบริการงานทะเบียน

101


หมวดที่ 8 ค่าหน่วยกิตและการคืนเงินค่าหน่วยกิต ข้อ 18. ค่าหน่วยกิต ค่าบํารุงและค่าธรรมเนียมต่างๆ ให้เป็นไปตามประกาศของมหาวิทยาลัย ข้อ 19. การคืนเงินค่าหน่วยกิต 19.1 นักศึกษามีสิทธิ์ขอค่าหน่วยกิตคืนได้เต็มจํานวนในรายวิชาที่มหาวิทยาลัยประกาศ ปิดวิชา 19.2 นักศึกษามีสิทธิ์ขอค่าหน่วยกิตคืนได้เต็มจํานวนสําหรับผู้ที่มหาวิทยาลัยประกาศผล สอบให้ทราบภายหลังการลงทะเบียนเรียน ในกรณีดังต่อไปนี้ 19.2.1 พ้ น สถานภาพนั ก ศึ ก ษาเนื่ อ งจากคะแนนเฉลี่ ย สะสมไม่ ถึ ง เกณฑ์ ที่ มหาวิทยาลัยกําหนดตามข้อ 32.1 และ 32.2 และยื่นเรื่องขอเงินคืนภายในสี่สัปดาห์หลังจากมหาวิทยาลัย ประกาศรายชื่อนักศึกษาที่พ้นสถานภาพนักศึกษา 19.2.2 สํ า เร็ จ การศึ ก ษา นั ก ศึ ก ษาที่ ล งทะเบี ย นเรี ย นภาคการศึ ก ษาถั ด ไปไว้ ล่วงหน้าแล้วและเมื่อมหาวิทยาลัยประกาศผลสอบภาคการศึกษาที่ผ่านมาทําให้สําเร็จการศึกษา มหาวิทยาลัย จะคืนค่าหน่วยกิตให้ภายในสี่สัปดาห์หลังจากสภามหาวิทยาลัยอนุมัติให้เป็นผู้สําเร็จการศึกษา 19.3 นั ก ศึ ก ษาที่ ข อลดวิ ช าภายในสั ป ดาห์ แ รกนั บ จากวั น เปิ ด ภาคการศึ ก ษาทุ ก ภาค การศึกษามีสิทธิ์ที่จะขอค่าหน่วยกิตวิชานั้นคืนได้ร้อยละสี่สิบ 19.4 นักศึกษาที่ได้รับอนุมัติให้ลาพักการศึกษาภายในสัปดาห์แรกนับจากวันเปิดภาค การศึกษาทุกภาคการศึกษา มีสิทธิ์ที่จะขอค่าหน่วยกิตคืนทุกรายวิชาที่ลงทะเบียนเรียนได้ร้อยละสี่สิบ

หมวดที่ 9 ระยะเวลาการศึกษา ข้อ 20. กําหนดระยะเวลาในการศึกษาของนักศึกษาหลักสูตรปริญญาตรี 20.1 นักศึกษาภาคปกติ มีกําหนดระยะเวลาการศึกษาไม่น้อยกว่าสามปีการศึกษาและ อย่างมากไม่เกินแปดปีการศึกษา และต้องเรียนให้ได้หน่วยกิตครบตามหลักสูตรคณะที่นักศึกษาสังกัด 20.2 นักศึกษาภาคพิเศษ มีกําหนดระยะเวลาการศึกษาไม่น้อยกว่าสามปีการศึกษา และ อย่างมากไม่เกินสิบสองปีการศึกษา และต้องเรียนให้ได้หน่วยกิตครบตามหลักสูตรคณะที่นักศึกษาสังกัด ข้อ 21. กําหนดระยะเวลาในการศึกษาของนักศึกษาหลักสูตรปริญญาตรีต่อเนื่อง 21.1 นักศึกษาภาคปกติ มีกําหนดระยะเวลาการศึกษาไม่น้อยกว่าสองปีการศึกษาและ อย่างมากไม่เกินสี่ปีการศึกษา และต้องเรียนให้ได้หน่วยกิตครบตามหลักสูตรคณะที่นักศึกษาสังกัด

102

คู่มือวางแผนการเรียนและบริการงานทะเบียน


21.2 นักศึกษาภาคพิเศษ มีกําหนดระยะเวลาการศึกษาไม่น้อยกว่าสองปีการศึกษาและ อย่างมากไม่เกินหกปีการศึกษา และต้องเรียนให้ได้หน่วยกิตครบตามหลักสูตรคณะที่นักศึกษาสังกัด อนึ่ง ในกรณีที่มีเหตุผลจําเป็นนักศึกษาสามารถยื่นคําร้องขออนุมัติขยายระยะเวลา การศึ ก ษาโดยการพิ จ ารณาจากคณบดีค ณะที่ นั กศึ ก ษาสั งกั ด และรองอธิ ก ารบดี ฝ่ า ยวิช าการเห็ น สมควร นักศึกษาทุกหลักสูตรสามารถขออนุมัติขยายระยะเวลาการศึกษาต่อสภามหาวิทยาลัยได้อีกหนึ่งปีการศึกษา หากนักศึกษายังไม่สําเร็จการศึกษาในระยะเวลาเวลาดังกล่าวด้วยเหตุจําเป็นอันสมควรอย่างยิ่ง อธิการบดีอาจ พิจารณานําเสนอสภามหาวิทยาลัยเพื่อขออนุมัติขยายระยะเวลาการศึกษาต่อไปได้อีก ทั้งนี้ ให้อยู่ในดุลยพินิจ ของสภามหาวิทยาลัย

หมวดที่ 10 การวัดผล และการประเมินผลการศึกษา ข้อ 22. การสอบ นักศึกษาทุกคนต้องเข้าสอบทุกครั้งที่มีการสอบทุกประเภทได้แก่ การสอบย่อย การ สอบกลางภาคและการสอบปลายภาค หากไม่เข้าสอบให้ถือว่านักศึกษาได้คะแนนศูนย์ในการสอบครั้งนั้น ผู้ที่ ขาดสอบจะต้องแจ้งเหตุที่ขาดสอบพร้อมหลักฐานต่อสํานักทะเบียนนักศึกษาภายในห้าวันทําการนับจากวันที่ ขาดสอบเพื่อที่สํานักทะเบียนนักศึกษาจะทํารายงานเสนอคณบดีที่เกี่ยวข้องต่อไป ข้อ 23. การคิดคะแนนในภาคการศึกษาหนึ่งๆ จะต้องมีการสอบในวิชาที่เรียนอย่างน้อยสองครั้ง และการคิดคะแนนสอบโดยปกติให้คิดตามหลักเกณฑ์ดังนี้ 23.1 การสอบกลางภาคและคะแนนทําการต่างๆ รวมแล้วไม่เกินร้อยละสี่สิบ 23.2 การสอบปลายภาค คิดคะแนนอย่างต่ําร้อยละหกสิบ อนึ่ง หากอาจารย์ผู้สอนเห็นสมควรให้คิดคะแนนแตกต่างไปจากข้อบังคับนี้ก็ให้ อนุโลมเป็นอย่างอื่นได้ แต่ต้องได้รับอนุมัติจากรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ ข้อ 24. ผลการสอบแต่ละวิชาจะจัดออกเป็นลําดับขั้นซึ่งมีหน่วยคะแนนประจําดังนี้ ลําดับขั้น ความหมาย แต้มระดับคะแนน A ดีเยี่ยม 4.00 B+ ดีมาก 3.50 B ดี 3.00 C+ ค่อนข้างดี 2.50 C พอใช้ 2.00 D+ ค่อนข้างอ่อน 1.50 D อ่อน 1.00 F ตก 0 คู่มือวางแผนการเรียนและบริการงานทะเบียน

103


การให้ F จะกระทําได้ดังต่อไปนี้ 24.1 นักศึกษาเข้าสอบแต่สอบตก 24.2 นักศึกษาขาดสอบโดยมิได้ดําเนินการยื่นคําร้องขอเพิกถอนก่อน 24.3 นักศึกษาทําผิดระเบียบการสอบและได้รับการตัดสินให้สอบตก ข้อ 25. นอกจากลําดับขั้นดังกล่าวในข้อ 24 แล้ว ผลการศึกษาของวิชาหนึ่งๆ อาจจะแสดงได้ด้วย สัญลักษณ์ดังต่อไปนี้ W (Withdrawal) หมายความว่า การขอเพิกถอนวิชาโดยได้รับอนุมัติหรือถูกมหาวิทยาลัย เพิกถอนวิชาและไม่นับหน่วยกิต I (Incomplete) หมายความว่า การวัดผลยังไม่สมบูรณ์ S (Satisfactory) หมายความว่า การเรียนเป็นที่น่าพอใจนักศึกษาสอบผ่านวิชานั้น U (Unsatisfactory) หมายความว่า การเรียนไม่เป็นที่น่าพอใจนักศึกษาจะต้องลงทะเบียน เรียนซ้ําเพื่อเปลี่ยน U เป็น S NC (No Credit) หมายความว่า การลงทะเบียนเรียนวิชานั้นเป็นกรณีพิเศษและไม่นับ หน่วยกิต CS (Credits from Standardized Test) หมายความว่า หน่วยกิตจากการทดสอบมาตรฐาน CE (Credits from Exam) หมายความว่า หน่วยกิต จากการทดสอบที่ไม่ใช่ การทดสอบมาตรฐาน CT (Credits from Training) หมายความว่า หน่วยกิตจากการประเมิน การศึกษา/อบรมที่จัดขึ้นโดยหน่วยงานอื่นที่ไม่ใช่ สถาบันอุดมศึกษา CP (Credits from Portfolio) หมายความว่า หน่วยกิตจากการเสนอแฟ้มสะสม ผลงาน 25.1 การให้ W จะกระทําได้เฉพาะวิชาที่นักศึกษาได้ลงทะเบียนเรียนไว้แล้ว โดยจะต้อง เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ 25.1.1 นักศึกษาขอเพิกถอนวิชานั้นตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในข้อ 17 25.1.2 นั ก ศึ ก ษาขอเพิ ก ถอนวิ ช าที่ ล งทะเบี ย นเรี ย นทุ ก วิ ช า โดยมี เ หตุ ผ ลอั น สมควรและได้รับอนุมัติจากคณบดีคณะที่นักศึกษาสังกัด 25.1.3 นั ก ศึ ก ษาขอเพิ ก ถอนวิ ช านั้ น เนื่ อ งจากป่ ว ยในวั น ที่ มี ก ารสอบโดยมี ใบรับรองแพทย์แสดงเป็นหลักฐานหรือมีเหตุจําเป็นสุดวิสัยและได้รับอนุมัติจากผู้อํานวยการสํานักทะเบียน นักศึกษาตามข้อ 17.2 และยื่นคําร้องภายในห้าวันทําการนับจากวันที่ขาดสอบ 25.1.4 นักศึกษาทําผิดระเบียบการสอบและมหาวิทยาลัยมีคําสั่งให้เพิกถอนวิชา 25.1.5 นักศึกษาไม่มีสิทธิ์เข้าสอบ เนื่องจากได้รับการตัดสินว่ามีเวลาเรียนไม่ถึง ร้อยละ 80 ในวิชานั้น 104

คู่มือวางแผนการเรียนและบริการงานทะเบียน


25.2 การให้ I จะกระทําได้ดังต่อไปนี้ 25.2.1 อาจารย์ผู้สอนเห็นสมควรให้รอผลการศึกษาเพราะนักศึกษาทํางานที่เป็น ส่วนประกอบของวิชานั้นยังไม่สมบูรณ์ ทั้งนี้ต้องได้รับอนุมัติจากคณบดีที่เกี่ยวข้อง 25.2.2 นักศึกษาที่ได้รับสัญลักษณ์ I ในวิชาใดจะต้องรีบติดต่อกับผู้สอนในวิชา นั้นหรือคณบดีที่เกี่ยวข้องเพื่อหาทางทําให้การสอบมีผลสมบูรณ์ภายในสามสัปดาห์ นับตั้งแต่วันประกาศผล การสอบในวิชานั้นๆ มิฉะนั้นสัญลักษณ์ I จะเปลี่ยนเป็น F โดยอัตโนมัติ หากมิได้รับการอนุมัติเป็นลายลักษณ์ อักษรให้ต่อเวลาจากคณบดีคณะที่เกี่ยวข้อง ข้อ 26. การประเมินผลการศึกษา 26.1 การประเมินผลการศึกษา ให้กระทําเมื่อสิ้นภาคการศึกษาแต่ละภาค 26.2 การนับจํานวนหน่วยกิตสะสมของนักศึกษาเพื่อให้ครบหลักสูตรให้นับเฉพาะหน่วย กิตที่สอบได้เท่านั้น 26.3 คะแนนเฉลี่ยให้แสดงผลโดยใช้จุดทศนิยมสองตําแหน่งโดยปัดเศษทิ้งไปในทุกกรณี ซึ่งการคํานวณคะแนนเฉลี่ยมีสองประเภทคือ 26.3.1 คะแนนเฉลี่ยประจําภาค (Grade Point Average) คํานวณจากผล การศึกษาของนักศึกษาในภาคการศึกษานั้น โดยเอาผลรวมของผลคูณของหน่วยกิตกับแต้มระดับคะแนนของ ทุกวิชาหารด้วยผลรวมของหน่วยกิตของทุกวิชาที่ศึกษาในภาคการศึกษานั้นๆ 26.3.2 คะแนนเฉลี่ยสะสม (Cumulative Grade Point Average) คํานวณจาก ผลการศึกษาของนักศึกษาตั้งแต่เริ่มเข้าศึกษา จนถึงการสอบครั้งสุดท้ายโดยเอาผลรวมของผลคูณของหน่วยกิต กั บ แต้ ม ระดั บ คะแนนของวิ ช าที่ ศึ ก ษาทั้ ง หมดหารด้ ว ยผลรวมของหน่ ว ยกิ ต ของวิ ช าที่ ศึ ก ษาทั้ ง หมด นัก ศึ ก ษาที่ ล งทะเบี ย นเรี ย นวิ ช าใดมากกว่ า หนึ่ ง ครั้ งให้ นั บ หน่ ว ยกิ ต สะสมได้ เ พี ย งครั้ ง เดี ย วและให้ นํ า ผล การศึกษาครั้งสุดท้ายมาใช้ในการคํานวณคะแนนเฉลี่ยสะสม ข้อ 27. การเข้าชั้นเรียน นักศึกษาต้องเข้าเรียนทุกชั่วโมงการสอน หากป่วยหรือมีธุระจําเป็นขาดเรียนได้แต่ต้องไม่เกิน ร้อยละยี่สิบของเวลาเรียนในวิชานั้น การขาดเรียนในกรณีที่ป่วยจะต้องยื่นใบลาต่ออาจารย์ผู้สอนวิชานั้นทันที และมีใบรับรองแพทย์ประกอบด้วย หากเวลาเรียนของนักศึกษาไม่ครบร้อยละแปดสิบในวิชาใดอาจถูกตัดสิทธิ์ สอบพร้อมกับบันทึก W และต้องลงทะเบียนเรียนวิชานั้นซ้ํา ข้อ 28. การเรียนซ้ําในกรณีที่สอบตก 28.1 นักศึกษาที่สอบตกในวิชาบังคับจะต้องลงทะเบียนเรียนวิชานั้นซ้ําจนกว่าจะสอบได้ 28.2 นักศึกษาที่สอบตกในวิชาเอกเลือก (Major Elective) หรือวิชาโท (Minor) หรือวิชา เลือกอิสระ (Free Elective) จะลงทะเบียนเรียนวิชานั้นซ้ําอีกหรือเลือกวิชาอื่นแทนได้โดยขออนุมัติ ลงทะเบียนเรียนและเปลี่ยนวิชาเดิมจากคณบดีคณะที่นักศึกษาสังกัด

คู่มือวางแผนการเรียนและบริการงานทะเบียน

105


หมวดที่ 11 การขอสอบปลายภาคกรณีพิเศษ ข้อ 29. ในกรณีที่นักศึกษาไม่สามารถมาสอบกลางภาคหรือสอบปลายภาคได้ นักศึกษาสามารถยื่นคํา ร้องพร้อมหลักฐานประกอบต่อสํานักทะเบียนนักศึกษาภายในห้าวันทําการนับจากวันขาดสอบ เพื่อขอสอบ ปลายภาคกรณีพิเศษหรือขอสอบชดเชยปลายภาค เนื่องจากสาเหตุดังต่อไปนี้ 29.1 นักศึกษาเข้ารับการผ่าตัด หรือเจ็บป่วยหนักถึงขั้นต้องนอนพักรักษาในโรงพยาบาล โดยมีใบรับรองแพทย์และหลักฐานในการเข้ารับการรักษา 29.2 นักศึกษาประสบอุบัติเหตุทําให้ได้รับบาดเจ็บ หรือต้องอยู่ในที่เกิดเหตุเพื่อแก้ไขปัญหา 29.3 บิดามารดาหรือผู้ปกครองซึ่งให้ความอุปการะทางการเงิน หรือบุคคลอื่นที่สําคัญใน ครอบครัวของนักศึกษาเจ็บป่วยอย่างหนัก หรือประสบอุบัติเหตุร้ายแรงจนถึงขั้นต้องนอนรักษาตัวอยู่ที่ โรงพยาบาลหรือเสียชีวิต 29.4 เกิดภัยพิบัติแก่ทรัพย์สินของนักศึกษา นักศึกษาหรือผู้ปกครองสามารถยื่นคําร้องพร้อมหลักฐานประกอบต่อสํานักทะเบียน นักศึกษาทันทีหรืออย่างช้าภายในห้าวันทําการนับจากวันที่ขาดสอบ หากในขณะที่ยื่นคําร้องนั้นยังมีหลักฐาน ไม่พร้อมก็สามารถขอผ่อนผันได้และคณบดีคณะที่นักศึกษาสังกัดจะพิจารณาคําร้องของนักศึกษาให้เสร็จสิ้น ภายในสองสัปดาห์หลังการสอบกลางภาคหรือสอบปลายภาค 29.5 นักกีฬาทีมชาติที่ต้องไปแข่งขันต่างประเทศหรือนักศึกษาที่ได้รับทุนแลกเปลี่ยนที่ ต้องเดินทางไปต่างประเทศหรือนักศึกษาที่ต้องไปปฏิบัติงานตามคําสั่งของราชการในช่วงสอบให้ทําคําร้องทันที ที่ทราบว่าต้องเดินทางผ่านผู้อํานวยการสํานักกีฬาและกิจกรรมนักศึกษาหรือคณบดีคณะที่นักศึกษาสังกัด แล้วแต่กรณีเพื่อเสนอรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการพิจารณาสั่งการ อนึ่ง สําหรับนักศึกษาที่ได้รับอนุมัติให้สอบปลายภาคกรณีพิเศษหรือขอสอบชดเชย ปลายภาค แต่นักศึกษาขาดสอบไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใดนักศึกษาจะถูกบันทึกสัญลักษณ์ F สําหรับวิชาที่ไม่เข้า สอบนั้น

106

คู่มือวางแผนการเรียนและบริการงานทะเบียน


หมวดที่ 12 สถานภาพ การจําแนกและการพ้นสถานภาพนักศึกษา ข้อ 31. สถานภาพนักศึกษาและการจําแนกสถานภาพนักศึกษา นักศึกษาหลักสูตรปริญญาตรีที่สอบได้คะแนนเฉลี่ยสะสมต่ํากว่า 1.75 แต่ไม่ต่ํากว่า 1.50 เมื่อสิ้นปีการศึกษามีสถานภาพเป็นนักศึกษารอพินิจ สําหรับนักศึกษาหลักสูตรปริญญาตรีต่อเนื่องไม่มี สถานภาพรอพินิจ การจําแนกสถานภาพรอพินิจของนักศึกษาจะกระทําเมื่อนักศึกษาได้ศึกษาครบรอบ 1 ปี นับ แต่แรกเข้าและทุกรอบปีตั้งแต่ปีแรกเป็นต้นไป ข้อ 32 การพ้นสถานภาพนักศึกษา นักศึกษาจะพ้นสถานภาพนักศึกษาในกรณีดังต่อไปนี้ 32.1 นักศึกษาที่สอบได้คะแนนเฉลี่ยสะสมต่ํากว่า 1.50 การพ้นสถานภาพนักศึกษา จะ กระทําเมื่อสิ้นภาคการศึกษาปกติแต่ละภาคการศึกษา ยกเว้นนักศึกษาที่เข้าศึกษาเป็นปีแรก ซึ่งการพ้น สถานภาพจะกระทําเมื่อสิ้นภาคการศึกษาฤดูร้อนของปีการศึกษาแรกที่เข้าศึกษาหรือสิ้นภาคการศึกษาที่หนึ่ง ของปีการศึกษาถัดไปจากปีแรกที่เข้าศึกษาแล้วแต่กรณี ทั้งนี้โดยการนับให้นักศึกษาใหม่ได้มีโอกาสศึกษาจน ครบรอบ 1 ปีเป็นเกณฑ์ 32.2 นักศึกษารอพินิจที่สอบได้คะแนนเฉลี่ยสะสมต่ํากว่า 1.75 เมื่อสิ้นภาคการศึกษาฤดู ร้อนของปีการศึกษาที่มีสถานภาพรอพินิจ หรือสิ้นภาคการศึกษาที่หนึ่งของปีการศึกษาถัดไปที่มีสถานภาพรอพินิจ 32.3 นักศึกษาที่มีระยะเวลาการศึกษาครบตามข้อ 20 หรือข้อ 21 แต่สอบได้หน่วยกิตยัง ไม่ครบตามหลักสูตรคณะที่นักศึกษาสังกัด 32.4 นักศึกษาที่ถูกตัดคะแนนความประพฤติครั้งเดียวหรือหลายครั้งรวมกันเกินยี่สิบคะแนน 32.5 สําเร็จการศึกษาตามหลักสูตร 32.6 ตาย 32.7 ลาออก 32.8 ถูกถอนสถานภาพนักศึกษาหรือถูกจําหน่ายชื่อออกจากทะเบียนนักศึกษา เพราะ - ใช้หลักฐานการศึกษาปลอมสมัครเข้าเป็นนักศึกษา - ประพฤติผิดข้อบังคับของมหาวิทยาลัยอย่างร้ายแรง - ไม่ลงทะเบียนเรียน และไม่ได้ปฏิบัติตามข้อบังคับข้อ 11.7

คู่มือวางแผนการเรียนและบริการงานทะเบียน

107


หมวดที่ 13 การเทียบชั้นปีของนักศึกษา ข้อ 33. การเทียบชั้นปีของนักศึกษา ให้เทียบจากจํานวนหน่วยกิตที่สอบได้ตามอัตราส่วนของหน่วยกิ ตของหลักสูตรนั้น 33.1 นักศึกษาหลักสูตรปริญญาตรีทั้งภาคปกติและภาคพิเศษ 33.1.1 นักศึกษาที่สอบได้ต่ํากว่าสามสิบสามหน่วยกิตให้เทียบเท่าเป็นนักศึกษา ชั้นปีที่หนึ่ง 33.1.2 นักศึกษาที่สอบได้ตั้งแต่สามสิบสามหน่วยกิตขึ้นไป แต่ต่ํากว่าหกสิบหก หน่วยกิตให้เทียบเท่าเป็นนักศึกษาชั้นปีที่สอง 33.1.3 นักศึกษาที่สอบได้ตั้งแต่หกสิบหกหน่วยกิตขึ้นไป แต่ต่ํากว่าเก้าสิบเก้า หน่วยกิตให้เทียบเท่าเป็นนักศึกษาชั้นปีที่สาม 33.1.4 นั ก ศึ ก ษาที่ ส อบได้ ตั้ ง แต่ เ ก้ า สิ บ เก้ า หน่ ว ยกิ ต ขึ้ น ไปให้ เ ที ย บเท่ า เป็ น นักศึกษาชั้นปีที่สี่ 33.2 นักศึกษาหลักสูตรปริญญาตรีต่อเนื่องทั้งภาคปกติและภาคพิเศษ 33.2.1 นักศึกษาที่สอบได้ต่ํากว่าสามสิบสามหน่วยกิตให้เทียบเท่าเป็นนักศึกษา ชั้นปีที่สาม 33.2.2 นั กศึ ก ษาที่ ส อบได้ ตั้ง แต่ ส ามสิ บ สามหน่ว ยกิ ตขึ้ น ไป ให้เ ทีย บเท่ า เป็ น นักศึกษาชั้นปีที่สี่

108

คู่มือวางแผนการเรียนและบริการงานทะเบียน


หมวดที่ 14 การลาพักการศึกษา ข้อ 34. การลาพักการศึกษา หมายถึง การขอรักษาสถานภาพนักศึกษาในกรณีที่นักศึกษามีความ ประสงค์จะไม่ลงทะเบียนเรียนในแต่ละภาคการศึกษาหลังจากที่ได้ศึกษาในมหาวิทยาลัยมาแล้วอย่างน้อยหนึ่ง ภาคการศึกษา ยกเว้นจะได้รับอนุมัติเป็นกรณีพิเศษจากคณบดีคณะที่นักศึกษาสังกัด 34.1 นั กศึ ก ษาที่ มี ความประสงค์จ ะขอลาพัก การศึก ษาในกรณีใ ดกรณีหนึ่ งดั งต่อ ไปนี้ จะต้องยื่นคําร้องเพื่อขอรักษาสถานภาพนักศึกษาต่อสํานักทะเบียนนักศึกษา 34.1.1 เจ็บป่วยจนต้องรักษาตัวเป็นเวลานานตามคําสั่งแพทย์โดยมีใบรับรอง แพทย์จากโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลของรัฐหรือเอกชน 34.1.2 ได้ รั บ ทุ น แลกเปลี่ ย นนั ก ศึ ก ษาระหว่ า งประเทศหรื อ ทุ น อื่ น ใดซึ่ ง มหาวิทยาลัยเห็นสมควรสนับสนุน 34.1.3 นักศึกษาที่ไม่ได้ลงทะเบียนเรียนในแต่ละภาคการศึกษาตามที่มหาวิทยาลัย กําหนด 34.1.4 มีเหตุจําเป็นสุดวิสัยที่คณบดีคณะที่นักศึกษาสังกัดพิจารณาแล้วเห็นสมควร 34.2 นักศึกษาที่ขอลาพักการศึกษา เมื่อได้รับอนุมัติแล้วจะต้องปฏิบัติดังต่อไปนี้ 34.2.1 ระหว่างที่ได้รับอนุมัติให้ลาพักการศึกษา นักศึกษาจะต้องชําระค่ารักษา สถานภาพนักศึกษาทุกภาคการศึกษาจนกว่าจะพ้นสถานภาพนักศึกษามิฉะนั้นจะถูกจําหน่ายชื่อออกจาก ทะเบียนนักศึกษา 34.2.2 การนับระยะเวลาการศึกษาให้นับระยะเวลาที่ขอลาพักการศึกษาทุกครั้ง อยู่ในระยะเวลาการศึกษาตามข้อ 20 และข้อ 21 ด้วย ยกเว้นนักศึกษาที่ขอลาพักการศึกษาเนื่องจากถูกเกณฑ์ เข้ารับราชการทหาร 34.2.3 นักศึกษาที่ได้รับอนุมัติให้ลาพักการศึกษาเมื่อจะกลับเข้าศึกษาต่อต้อง รายงานตัวต่อสํานักทะเบียนนักศึกษาก่อนที่จะลงทะเบียนเรียน 34.3 หากเป็นการขอลาพักการศึกษาระหว่างภาคการศึกษาจะมีผลดังต่อไปนี้ 34.3.1 ถ้านักศึกษาขอลาพักการศึกษาภายในสัปดาห์แรกนับจากวันเปิดภาค การศึกษาทุกภาคการศึกษา วิชาที่ลงทะเบียนเรียนทั้งหมดจะไม่บันทึกในใบรายงานผลการศึกษา 34.3.2 ถ้านักศึกษาขอลาพักการศึกษาภายหลังกําหนดเวลาในข้อ 34.3.1 และ ได้รับอนุมัติจากคณบดีคณะที่นักศึกษาสังกัด วิชาที่ลงทะเบียนเรียนทั้งหมดจะบันทึกสัญลักษณ์ W ในใบ รายงานผลการศึกษา

คู่มือวางแผนการเรียนและบริการงานทะเบียน

109


หมวดที่ 15 การย้ายคณะ เปลีย่ นภาควิชา หรือการขอย้ายรอบ ข้อ 35. การย้ายคณะหรือเปลี่ยนภาควิชา 35.1 นักศึกษาหลักสูตรปริญญาตรี 35.1.1 นักศึกษาภาคปกติ ที่ประสงค์จะย้ายคณะหรือเปลี่ยนภาควิชาจะต้อง ศึกษาอยู่ในคณะหรือภาควิชาเดิมไม่น้อยกว่าสองภาคการศึกษาปกติ ทั้งนี้ไม่นับภาคการศึกษาที่ได้รับอนุมัติให้ ลาพักการศึกษาหรือถูกมหาวิทยาลัยให้พักการศึกษา 35.1.2 นักศึกษาภาคพิเศษ ที่ประสงค์จะย้ายคณะหรือเปลี่ยนภาควิชาจะต้อง ศึกษาอยู่ในคณะหรือภาควิชาเดิมไม่น้อยกว่าหนึ่งปีการศึกษา ยกเว้นนักศึกษาที่เริ่มเข้าศึกษาในภาคการศึกษา ที่สอง ต้องศึกษาอยู่ในคณะหรือภาควิชาเดิมไม่น้อยกว่าสองภาคการศึกษา ทั้งนี้ไม่นับภาคการศึกษาที่ได้รับ อนุมัติให้ลาพักการศึกษาหรือถูกมหาวิทยาลัยให้พักการศึกษา 35.1.3 ในการยื่ นคําร้องขอย้ ายคณะหรือเปลี่ยนภาควิชานักศึ กษาต้องแสดง เหตุผลประกอบและอยู่ในดุลยพินิจของคณบดีที่เกี่ยวข้องที่จะพิจารณาอนุมัติเป็นรายกรณี 35.1.4 การย้ายคณะหรือเปลี่ยนภาควิชาจะสามารถกระทําได้ไม่เกินสองครั้ง ตลอดการมีสถานภาพเป็นนักศึกษา โดยยื่นคําร้องขออนุมัติจากคณบดีที่เกี่ยวข้องและต้องดําเนินการให้เสร็จ สิ้นก่อนการลงทะเบียนเรียนประจําภาคการศึกษานั้นๆ 35.1.5 เมื่ อ นั ก ศึ ก ษาได้ รั บ อนุ มั ติ ใ ห้ ย้ า ยคณะหรื อ เปลี่ ย นภาควิ ช าใหม่ แ ล้ ว นักศึกษาต้องแสดงความจํานงว่าวิชาต่างๆ ที่ได้ศึกษามาแล้ววิชาใดจะนํามาคํานวณเพื่อหาค่าคะแนนเฉลี่ย สะสม โดยผ่านการอนุมัติจากคณบดีคณะที่นักศึกษาขอย้ายเข้าสังกัดใหม่ การคํานวณคะแนนเฉลี่ยสะสมใหม่ จะคํานวณเมื่อคะแนนของคณะหรือภาควิชาใหม่ได้แสดงผลการเรียนแล้ว 35.1.6 นัก ศึ ก ษาที่ ย้ า ยคณะหรื อ เปลี่ ย นภาควิ ช า จะต้อ งชํ า ระค่ า ธรรมเนี ย ม ตามที่มหาวิทยาลัยกําหนด 35.2 นักศึกษาหลักสูตรปริญญาตรีต่อเนื่อง 35.2.1 นักศึกษาหลักสูตรปริญญาตรีต่อเนื่องที่ประสงค์จะย้ายคณะหรือเปลี่ยน ภาควิชาจะต้องศึกษาอยู่ในคณะหรือภาควิชาเดิมไม่น้อยกว่าหนึ่งภาคการศึกษา ทั้งนี้ไม่นับภาคการศึกษาที่ ได้รับอนุมัติให้ลาพักการศึกษาหรือถูกมหาวิทยาลัยให้พักการศึกษา 35.2.2 การย้ายคณะหรือเปลี่ยนภาควิชาจะกระทําได้ต่อเมื่อมีคุณสมบัติระดับ อนุปริญญาครบถ้วนสําหรับคณะหรือภาควิชานั้นๆ 35.2.3 การย้ายคณะหรือเปลี่ยนภาควิชาจะกระทําได้เพียงครั้งเดียวโดยยื่นคํา ร้ อ งขออนุมั ติจ ากคณบดี ที่ เกี่ ย วข้ องและต้ องดํ าเนิน การให้เ สร็จสิ้น ก่อ นการลงทะเบี ย นเรียนประจํา ภาค การศึกษานั้นๆ

110

คู่มือวางแผนการเรียนและบริการงานทะเบียน


35.2.4 เมื่ อ นั ก ศึ ก ษาได้ รั บ อนุ มั ติ ใ ห้ ย้ า ยคณะหรื อ เปลี่ ย นภาควิ ช าใหม่ แ ล้ ว นักศึกษาต้องแสดงความจํานงว่าวิชาต่างๆ ที่ได้ศึกษามาแล้ววิชาใดจะนํามาคํานวณเพื่อหาคะแนนเฉลี่ยสะสม โดยผ่านการอนุมัติจากคณบดีคณะที่นักศึกษาขอย้ายเข้าสังกัดใหม่ การคํานวณคะแนนเฉลี่ยสะสมใหม่จะ คํานวณเมื่อคะแนนของคณะหรือภาควิชาใหม่ได้แสดงผลการเรียนแล้ว 35.2.5 นักศึกษาที่ย้ายคณะหรือเปลี่ยนภาควิชาจะต้องชําระค่าธรรมเนียมตามที่ มหาวิทยาลัยกําหนด ข้อ 36. การขอย้ายรอบ นักศึกษาขอย้ายรอบจากภาคปกติไปเรียนภาคพิเศษหรือจากภาคพิเศษไป เรียนภาคปกติได้ โดยมีหลักเกณฑ์ดังนี้ 36.1 ลงทะเบียนเรียนมาแล้วไม่ต่ํากว่าสิบแปดหน่วยกิตไม่นับวิชาที่ขอเพิกถอน (W) และ สอบได้คะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ํากว่า 2.00 36.2 การขอย้ายรอบจะกระทําได้เพียงครั้งเดียวโดยยื่นคําร้องขออนุ มัติจากคณบดีที่ เกี่ยวข้องผ่านสํานักทะเบียนนักศึกษาภายในสัปดาห์แรกของเดือนเมษายนของทุกปีการศึกษา และเมื่อได้รับ อนุมัติให้ย้ายแล้วจะขอย้ายกลับไม่ได้โดยเด็ดขาด 36.3 นักศึกษาชายที่ได้รับอนุมัติให้ย้ายรอบจะไม่มีสิทธิ์เรียนวิชาทหาร 36.4 เมื่อได้รับอนุมัติให้ย้ายรอบแล้ว จะต้องมีวิชาที่ลงทะเบียนเรียนต่ออย่างน้อยหนึ่งปี การศึกษาตามหลักสูตรคณะที่นักศึกษาสังกัด 36.5 นักศึกษาขอย้ายรอบที่มีผลการเรียนดี มีสิทธิ์ได้รับปริญญาเกียรตินิยมตามข้อบังคับ กําหนดสําหรับนักศึกษาภาคพิเศษที่ย้ายไปเรียนภาคปกติ วิชาที่เคยเรียนในภาคการศึกษาฤดูร้อนของภาค พิเศษให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของภาคการศึกษาปกติของหลักสูตรภาคพิเศษ

คู่มือวางแผนการเรียนและบริการงานทะเบียน

111


หมวดที่ 16 การกลับเข้ามาศึกษาใหม่ ข้อ 37. นักศึกษาที่พ้นสถานภาพการเป็นนักศึกษา สามารถกลับเข้ามาศึกษาใหม่ได้ โดยมีหลักเกณฑ์ ต่อไปนี้ 37.1 คุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์กลับเข้ามาศึกษาใหม่ 37.1.1 มีความประพฤติเรียบร้อย 37.1.2 ได้คะแนนเฉลี่ยสะสมจนถึงภาคการศึกษาสุดท้ายก่อนพ้นสถานภาพการ เป็นนักศึกษาไม่ต่ํากว่า 1.75 37.1.3 ไม่เป็นผู้ที่พ้นสถานภาพการเป็นนักศึกษาเนื่องจากถูกลงโทษทางวินัย 37.2 การยื่นคําร้องขอกลับเข้ามาศึกษาใหม่ นักศึกษาจะต้องติดต่อกับสํานักทะเบียน นักศึกษาล่วงหน้าอย่างน้อยหนึ่งเดือนก่อนวันเปิดภาคการศึกษาโดยแจ้งเหตุผลประกอบการขอกลับเข้ามา ศึกษาใหม่ 37.3 เมื่อได้รับอนุมัติให้กลับเข้ามาศึกษาใหม่ นักศึกษาจะได้รับรหัสประจําตัวนักศึกษา ใหม่และจะต้องชําระค่าหน่วยกิตและค่าธรรมเนียมต่างๆ ในอัตราเดียวกันกับที่มหาวิทยาลัยเรียกเก็บจาก นักศึกษาใหม่ในปีการศึกษานั้นๆ 37.4 นักศึกษาที่กลับเข้ามาศึกษาใหม่นั้นให้เรียนจนครบหน่วยกิต ตามหลักสูตรเดิมที่เข้า มาศึกษาหรือหลักสูตรปัจจุบันของคณะที่นักศึกษาสังกัด หากมีวิชาใดที่ลงทะเบียนเรียนและสอบได้แล้ว แต่ไม่ อาจจะปรับเข้ากับหลักสูตรนั้นได้ ก็ให้เรียนวิชาเพิ่มเติมซึ่งคณบดีคณะที่นักศึกษาสังกัดจะเป็นผู้ให้คําปรึกษาใน การจัดแผนการศึกษาให้ 37.5 เมื่อกลับเข้ามาศึกษาใหม่ การนับระยะเวลาที่เหลือจนถึงการสําเร็จการศึกษาให้นับ ต่อจากภาคการศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนครั้งสุดท้าย ทั้งนี้เมื่อรวมที่เรียนทั้งสิ้นต้องไม่เกินที่กําหนดไว้ในข้อ 20 หรือ ข้อ 21

112

คู่มือวางแผนการเรียนและบริการงานทะเบียน


หมวดที่ 171 นักศึกษาที่กระทําทุจริตในการสอบ ข้อ 38. นักศึกษาที่กระทําทุจริตในการสอบจะต้องได้รับโทษซึ่งคณะกรรมการวินิจฉัยความผิดได้ตัดสิน 38.1 คณะกรรมการวินิจฉัยความผิดประกอบด้วย - ประธานกรรมการสอบไล่หรือผู้ที่ประธานกรรมการสอบไล่มอบหมายทําหน้าที่ เป็นประธาน - กรรมการคุมตึกสอบอย่างน้อยสามคน - ผู้แทนจากสํานักทะเบียนนักศึกษาหนึ่งคน - ผู้แทนจากฝ่ายบริการการศึกษาและสวัสดิการหนึ่งคน มติของคณะกรรมการวินิจฉัยความผิดให้ถือเป็นที่สุด 38.2 ลักษณะของการกระทําทุจริตในการสอบและโทษมีดังต่อไปนี้ 38.2.1 การกระทําลักษณะที่หนึ่ง (1) ผู้ใดโดยเจตนากระทําทุจริต นําเอกสารหรือสิ่งใดๆ ซึ่งมีข้อความที่ เกี่ยวข้องกับวิชาที่สอบนั้นเข้าไปในห้องสอบโดยที่ผู้ออกข้อสอบมิได้อนุญาตไว้ในข้อสอบ หรือตระเตรียม กระทําการดังกล่าว (2) ผู้ใดโดยเจตนากระทําทุจริต ส่งเอกสารหรือข้อความใดที่เกี่ยวข้อง กับวิชาที่สอบหรือคําตอบของวิชานั้นให้ผู้อื่นลอก หรือลอกหรือจะลอกเอกสาร ข้อความหรือคําตอบที่ผู้อื่นส่ง ให้ไม่ว่าโดยวิธีใดๆ (3) สอบแทนกันในวิชาที่มีหรือไม่มีการบันทึกหน่วยกิต นักศึกษาจะถูก ลงโทษ ดังต่อไปนี้ - ปรับตกในวิชาที่กระทําทุจริต และ - พัก การเรี ย นสองภาคการศึ ก ษา โดยเริ่ม ตั้ งแต่ ภาคการศึก ษา ถัดไป ทั้งนี้ให้หมายความรวมถึงภาคการศึกษาฤดูร้อนด้วย อนึ่ง หากผู้ที่เข้าสอบแทนหรือผู้ที่ส่งข้อความให้ผู้อื่นสําเร็จการศึกษาแล้ว ให้งดการออกเอกสารรับรองการสําเร็จการศึกษาและเอกสารที่เกี่ยวข้องทุกประเภทไว้มีกําหนดหนึ่งปีนับจาก วันที่ลงในคําสั่งของมหาวิทยาลัยกรุงเทพ

1

หมวดที่ 17 แก้ไขเพิ่มเติมตามมติที่ประชุมสภามหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2554

คู่มือวางแผนการเรียนและบริการงานทะเบียน

113


38.2.2

การกระทําลักษณะที่สอง ผู้ใดโดยเจตนากระทําทุจริต ส่งเสียง แสดงสัญญาณ หรือกระทําการใด อันเป็นการลอกข้อสอบ หรือพยายามจะลอกข้อสอบ หรือให้ผู้อื่นลอกข้อสอบ โดยมิได้มีการส่งหรือรับเอกสาร หรือข้อความใดๆ นักศึกษาจะถูกลงโทษ ดังต่อไปนี้ - ปรับตกในวิชาที่กระทําทุจริตนั้น 38.2.3 การกระทําลักษณะที่สาม ผู้ใดกระทําการอันเป็นการก่อให้เกิดปัญหาในการสอบแต่ไม่ถึงขั้นทุจริต ให้คณะกรรมการวินิจฉัยความผิดพิจารณาลงโทษอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง ดังต่อไปนี้ - ปรับตกในวิชาที่กระทํานั้น - เพิกถอนวิชาที่กระทํานั้น - ทําทัณฑ์บน - ตักเตือนเป็นลายลักษณ์อักษร 38.2.4 การกระทําลักษณะที่สี่ ผู้ใดกระทําการตามลักษณะที่หนึ่งถึงลักษณะที่สามในการทดสอบย่อย หรือการเก็บคะแนนระหว่างภาคการศึกษา ให้คณะกรรมการวิชาการของแต่ละคณะวิชาเป็นผู้พิจารณาลงโทษ อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง ดังต่อไปนี้ - ปรับตกในวิชาที่กระทํานั้น - เพิกถอนวิชาที่กระทํานั้น - ได้คะแนน "0" ในการทดสอบย่อยหรือการเก็บคะแนนครั้งนั้น - ทําทัณฑ์บน - ตักเตือนเป็นลายลักษณ์อักษร 38.2.5 การกระทําลักษณะที่ห้า ในกรณีเกิดการกระทําทุจริตในการสอบอื่นนอกจากที่ระบุไว้แล้ว หรือมี การกล่าวหาในภายหลังการสอบได้เสร็จสิ้นไปแล้วว่าได้เกิดการกระทําทุจริตขึ้นในการสอบครั้งใด ให้ คณะกรรมการวินิจฉัยความผิดพิจารณากําหนดโทษนักศึกษาที่กระทํา หรือพยายามกระทําทุจริตได้ตามความ ร้ายแรง โดยเทียบเคียงกับลักษณะการกระทําผิดและโทษตามระเบียบข้างต้น อนึ่ง หากนักศึกษาผู้ใดกระทําทุจริตในการสอบลักษณะที่หนึ่ง เป็นครั้งที่ สอง ให้ลงโทษพักการเรียนสามภาคการศึกษา และนักศึกษาคนใดกระทําทุจริตลักษณะที่หนึ่ง เป็นครั้งที่สาม ให้นักศึกษาผู้นั้นพ้นสถานภาพนักศึกษา

114

คู่มือวางแผนการเรียนและบริการงานทะเบียน


หมวดที่ 18 ข้อบังคับ มารยาทและความประพฤติของนักศึกษา ได้ยกเลิก และออกข้อบังคับมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ว่าด้วยข้อบังคับ มารยาท และความประพฤติของ นักศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๕ ประกาศ ณ วันที่ ๕ ตุลาคม ๒๕๕๕ แทน ดังรายละเอียดหน้า 147

หมวดที่ 19 การสําเร็จการศึกษา ข้อ 41. การสําเร็จการศึกษา ในภาคการศึกษาสุดท้ายที่นักศึกษาลงทะเบียนเรียนวิชาต่างๆ ครบตาม หลั ก สู ต รตลอดจนข้ อ กํ า หนดของคณะที่ นั ก ศึ ก ษาสั ง กั ด และทํ า กิ จ กรรมนอกหลั ก สู ต รครบถ้ ว นตามที่ มหาวิทยาลัยกําหนดพร้อมทั้งขอแจ้งจบแล้วถ้านักศึกษามีคะแนนเฉลี่ยสะสมตั้งแต่ 2.00 ขึ้นไป จึงถือว่าเรียน สําเร็จการศึกษาหลักสูตรระดับปริญญาตรี ข้อ 42. การให้ปริญญา 42.1 นักศึกษาที่จะรับปริญญาต้องมีคุณสมบัติดังนี้ 42.1.1 สอบได้จํานวนหน่วยกิตครบตามหลักสูตรคณะที่นักศึกษาสังกัด 42.1.2 ได้คะแนนเฉลี่ยสะสมตั้งแต่ 2.00 ขึ้นไป จากระบบ 4 ระดับคะแนนหรือ เทียบเท่า 42.1.3 มีความประพฤติเรียบร้อยเหมาะสมกับปริญญาที่จะได้รับ 42.1.4 ไม่มีพันธะด้านหนี้สินใดๆ กับมหาวิทยาลัย 42.2 นักศึกษาที่สอบได้หน่วยกิตครบตามหลักสูตรแต่คะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ถึง 2.00 จะ รับปริญญาได้ก็ต่อเมื่อลงทะเบียนเรียนวิชาซึ่งนักศึกษาเคยสอบแล้วได้ลําดับขั้น D หรือ D+ หรือจะลงทะเบียน เรียนวิชาใหม่ที่ได้รับอนุมัติจากคณบดีคณะที่นักศึกษาสังกัดจนกว่าจะทําคะแนนเฉลี่ยสะสมได้ถึง 2.00 ขึ้นไป ภายในระยะเวลาที่กําหนดไว้ใน ข้อ 20 และข้อ 21 ข้อ 43 การให้ปริญญาเกียรตินิยม 43.1 ปริญญาเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง จะต้องมีคุณสมบัติดังนี้ 43.1.1 เป็นผู้ที่สอบได้คะแนนเฉลี่ยสะสมตั้งแต่ 3.50 ขึ้นไปโดยไม่เคยสอบวิชาใด ได้ลําดับขั้น D หรือ D+ หรือ F หรือ U ไม่เคยลงทะเบียนเรียนซ้ําในวิชาใดและลงทะเบียนเรียนทั้งสิ้นไม่เกิน 150 หน่วยกิต 43.1.2 สอบได้ ห น่ ว ยกิ ต ครบตามที่ กํ า หนดไว้ ภ ายในสี่ ปี ก ารศึ ก ษาสํ า หรั บ นักศึกษาหลักสูตรปริญญาตรีภาคปกติ หรือภายในห้าปีการศึกษาสําหรับนักศึกษาหลักสูตรปริญญาตรีภาค พิเศษ ทั้งนี้ไม่นับภาคการศึกษาที่ได้รับอนุมัติให้ลาพัก คู่มือวางแผนการเรียนและบริการงานทะเบียน

115


43.2 ปริญญาเกียรตินิยมอันดับสอง จะต้องมีคุณสมบัติดังนี้ 43.2.1 เป็นผู้ที่สอบได้คะแนนเฉลี่ยสะสมตั้งแต่ 3.25 ขึ้นไป โดยไม่เคยสอบวิชา ใดได้ลําดับขั้น F หรือ U และไม่เคยลงทะเบียนเรียนซ้ําในวิชาใด และลงทะเบียนเรียนทั้งสิ้นไม่เกิน 150 หน่วยกิต 43.2.2 สอบได้ ห น่ ว ยกิ ต ครบตามที่ กํ า หนดไว้ ภ ายในสี่ ปี ก ารศึ ก ษาสํ า หรั บ นักศึกษาหลักสูตรปริญญาตรีภาคปกติ หรือภายในห้าปีการศึกษาสําหรับนักศึกษาหลักสูตรปริญญาตรีภาค พิเศษ ทั้งนี้ไม่นับภาคการศึกษาที่ได้รับอนุมัติให้ลาพัก อนึ่ง นักศึกษาที่ขอเทียบโอน นักศึกษาที่ขอศึกษาปริญญาที่สอง นักศึกษาหลักสูตร ปริญญาตรีต่อเนื่อง นักศึกษาหลักสูตรปริญญาตรีสําหรับผู้จบอนุปริญญาหรือเทียบเท่าและนักศึกษาเรียนข้าม สถาบันไม่มีสิทธิ์ได้รับปริญญาเกียรตินิยม ทั้งนี้ไม่รวมถึงนักศึกษาที่ไปในโครงการแลกเปลี่ยนกับสถาบัน ต่างประเทศและเทียบโอนหน่วยกิตกลับมา ข้อ 44. การให้อนุปริญญา นักศึกษาที่จะยื่นคําร้องขอรับอนุปริญญาได้ จะต้องเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติดังนี้ 44.1 มีความประพฤติเรียบร้อย 44.2 เป็นผู้ที่มีผลการศึกษาตามข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้ 44.2.1 ศึกษาและสอบได้หน่วยกิตสะสมไม่ต่ํากว่าที่หลักสูตรอนุปริญญาที่คณะ กําหนด และได้คะแนนเฉลี่ยสะสมตั้งแต่ 2.00 ขึ้นไป หรือ 44.2.2 ศึกษาและสอบได้หน่วยกิตครบถ้วนตามหลักสูตรระดับปริญญาตรี และ จําเป็นต้องยุติการศึกษาโดยได้คะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ถึง 2.00 แต่ไม่ต่ํากว่า 1.75 ข้อ 45. นั ก ศึ ก ษาหลั ก สู ต รปริ ญ ญาตรี ต่ อ เนื่ อ งและนั ก ศึ ก ษาหลั ก สู ต รปริ ญ ญาตรี สํ า หรั บ ผู้ จ บ อนุปริญญาหรือเทียบเท่าไม่มีสิทธิ์ยื่นคําร้องขอรับอนุปริญญา ข้อ 46. การอนุมัติให้ปริญญา 46.1 โดยปกติสภามหาวิทยาลัยจะพิจารณาอนุมัติให้ปริญญาปีละสามครั้ง คือ เมื่อสิ้น ภาคการศึกษาที่หนึ่ง ภาคการศึกษาที่สอง และภาคการศึกษาฤดูร้อน 46.2 มหาวิทยาลัยจะจัดให้มีพิธีประสาทปริญญาปีละหนึ่งครั้งซึ่งจะประกาศให้ทราบเป็น คราวๆ ไป ข้อ 47. นักศึกษาข้ามสถาบันหมายถึง นักศึกษามหาวิทยาลัยกรุงเทพที่ลงทะเบียนรายวิชาเพื่อศึกษา กับสถาบันอุดมศึกษาอื่นทั้งภายในและภายนอกประเทศ หรือนักศึกษาจากสถาบันอุดมศึกษาอื่นที่ลงทะเบียน รายวิชา เพื่อศึกษากับมหาวิทยาลัยกรุงเทพ โดยขอรับผลการศึกษาเพื่อโอนหน่วยกิต ข้อ 48. คุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์ลงทะเบียนรายวิชาเพื่อศึกษากับมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้แก่ 48.1 เป็นผู้ที่กําลังศึกษาอยู่ในสถาบันระดับอุดมศึกษาอื่นทั้งภายในและภายนอกประเทศ 48.2 นักศึกษาต้องยื่นคําร้องต่อสํานักทะเบียนนักศึกษาก่อนเปิดภาคการศึกษาไม่น้อย กว่าสองสัปดาห์ เพื่อขออนุมัติจากรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ

116

คู่มือวางแผนการเรียนและบริการงานทะเบียน


48.3 นักศึกษาที่ได้รับอนุมัติให้ลงทะเบียนต้องชําระค่าหน่วย-กิตและค่าธรรมเนียมตาม ข้อบังคับของมหาวิทยาลัยกรุงเทพทุกประการ ข้อ 49. คุณสมบัติของนักศึกษามหาวิทยาลัยกรุงเทพที่มีความประสงค์จะลงทะเบียนรายวิชาเพื่อ ศึกษากับสถาบันอุดมศึกษาอื่น ได้แก่ 49.1 เป็นนักศึกษาที่ลงทะเบียนในภาคการศึกษานั้นเป็นภาคสุดท้ายที่จะสําเร็จการศึกษา และมหาวิ ท ยาลั ย กรุ ง เทพมิ ไ ด้ เ ปิ ด สอนวิ ช านั้ น ทั้ ง ภาคปกติ แ ละภาคพิ เ ศษหรื อ เป็ น นั ก ศึ ก ษาโครงการ แลกเปลี่ยนที่ต้องเดินทางไปศึกษาในมหาวิทยาลัยต่างประเทศทําให้การเรียนไม่เป็นไปตามเวลาในหลักสูตร 49.2 สถาบันอุดมศึกษานั้นต้องเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่มหาวิทยาลัยกรุงเทพให้ความ เห็นชอบและรับรองระบบการวัดผล 49.3 นักศึกษาที่ประสงค์จะใช้สิทธิ์ดังกล่าวต้องยื่นคําร้องที่สํานักทะเบียนนักศึกษาก่อน เปิดภาคการศึกษาไม่น้อยกว่าสองสัปดาห์ เพื่อขออนุมัติจากรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ 49.4 นักศึกษาที่ได้รับอนุมัติให้ลงทะเบียนเพื่อศึกษาข้ามสถาบันต้องปฏิบัติตามข้อบังคับ ว่าด้วยการลงทะเบียนของสถาบันที่นักศึกษาไปลงทะเบียนเรียน 49.5 เป็นหน้าที่ของนักศึกษาที่จะต้องติดตามให้สถาบันที่นักศึกษาไปลงทะเบียน ส่งผล การศึกษาโดยตรงมาที่รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการมหาวิทยาลัยกรุงเทพ เพื่อดําเนินการโอนหน่วยกิตตาม ขั้นตอนต่อไป

คู่มือวางแผนการเรียนและบริการงานทะเบียน

117


ข้อบังคับมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ว่าด้วย ข้อบังคับ มารยาท และความประพฤติของนักศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๕ -----------------------------------------โดยที่เห็นเป็นการสมควรให้กําหนดข้อบังคับมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ว่าด้วย ข้อบังคับ มารยาท และ ความประพฤติของนักศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๕ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๓๔ (๒) แห่งพระราชบัญญัติ สถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ. ๒๕๔๖ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ สภามหาวิทยาลัยกรุงเทพมีมติ เห็นสมควรให้วางข้อบังคับไว้ดังต่อไปนี้

หมวด ๑ บททั่วไป ข้อ ๑. ข้อบังคับนี้เรียกว่า “ข้อบังคับมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ว่าด้วยข้อบังคับ มารยาท และความ ประพฤติของนักศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๕” ข้อ ๒. ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป ข้อ ๓. ให้ยกเลิก “ข้อบังคับมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ว่าด้วย การศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. ๒๕๕๒ หมวดที่ ๑๘ เรื่องข้อบังคับ มารยาท และความประพฤติของนักศึกษา” และให้ใช้ข้อบังคับนี้แทน บรรดาประกาศ คําสั่ง ระเบียบ หรือข้อบังคับอื่นใดที่ขัดหรือแย้งกับข้อบังคับนี้ให้ใช้ข้อบังคับ นี้แทน ข้อ ๔. ในข้อบังคับนี้ “มหาวิทยาลัย” หมายความว่า มหาวิทยาลัยกรุงเทพ “อธิการบดี” หมายความว่า อธิการบดีมหาวิทยาลัยกรุงเทพ “นักศึกษา” หมายความว่า นักศึกษาระดับปริญญาตรี “ผู้ถูกกล่าวหา” หมายความว่า นักศึกษาที่ถูกสอบสวนทางวินัยตามข้อบังคับนี้ “คณะกรรมการปกครอง” หมายความว่า คณะกรรมการสอบสวนผู้ทําหน้าที่ดําเนินการ สอบสวนนักศึกษามหาวิทยาลัยกรุงเทพ “คณะกรรมการอุทธรณ์ หมายความว่า คณะกรรมการสอบสวนผู้ทําหน้าที่ดําเนินการ พิจารณาคําร้องขออุทธรณ์คําสั่งลงโทษการสอบสวนนักศึกษา มหาวิทยาลัยกรุงเทพ “ที่ประชุมผู้บริหาร” หมายความว่ า ที่ ป ระชุ ม ผู้ บ ริ ห ารระดั บ อธิ ก ารบดี แ ละรอง อธิการบดี 118

คู่มือวางแผนการเรียนและบริการงานทะเบียน


หมวด ๒ วินัยนักศึกษา ข้อ ๕. นั ก ศึ ก ษาต้ อ งประพฤติ ต นเป็ น ผู้ สุ ภ าพเรี ย บร้ อ ยเคารพต่ อ ประกาศ กฎ คํ า สั่ ง ระเบี ย บ ข้อบังคับของมหาวิทยาลัย หรือคําสั่งโดยชอบของอาจารย์หรือบุคลากรของมหาวิทยาลัยโดยเคร่งครัด ข้อ ๖. นั ก ศึก ษาต้ อ งแต่ งกายกถู ก ต้อ งตามข้ อบั ง คั บ ของมหาวิ ท ยาลัย หากเป็น เวลาปิ ดทํ า การ นักศึกษาประสงค์จะเข้ามาในบริเวณมหาวิทยาลัยจะต้องแต่งกายสุภาพ และต้องมีบัตรประจําตัวนักศึกษาด้วย ทุกครั้งที่เข้าในมหาวิทยาลัย ข้อ ๗. นักศึกษาต้องประพฤติตนเป็นสุภาพชน มีความสุภาพอ่อนโยน และมีสัมมาคารวะต่อผู้อาวุโส ไม่ประพฤติในสิ่งอาจนํามาซึ่งความเสื่อมเสียแก่ชื่อเสียงของตนเองและของมหาวิทยาลัย ข้อ ๘. นักศึกษาต้องไม่กระทําการดังต่อไปนี้ ๘.๑ เล่ น การพนั น หรื อมี ส่ ว นเกี่ ย วข้อ งไม่ว่ า ในกรณี ใ ดๆ ใช้ ห รื อ มี ไว้ เ พื่ อใช้ ซึ่ งอุ ป กรณ์ สําหรับเล่นการพนันภายในมหาวิทยาลัย หรือภายในบริเวณที่เป็นทรัพย์สินของมหาวิทยาลัย ๘.๒ พกพาอาวุธ หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งอาวุธ หรือสิ่งซึ่งสามารถใช้แทนเป็นอาวุธภายใน มหาวิทยาลัย หรือภายในบริเวณที่เป็นทรัพย์สินของมหาวิทยาลัย ๘.๓ ครอบครองหรือเสพสิ่งเสพติด หรือนําสิ่งเสพติดที่ต้องห้ามตามกฎหมายทุกประเภท เข้ามาภายในมหาวิทยาลัย หรือภายในบริเวณที่เป็นทรัพย์สินของมหาวิทยาลัยรวมทั้งครอบครองหรือดื่ม เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เครื่องดองของเมาภายในมหาวิทยาลัย หรือภายในบริเวณที่เป็นทรัพย์สนิ ของมหาวิทยาลัย ๘.๔ กระทําความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ภายในมหาวิทยาลัย หรือภายในบริเวณที่เป็นทรัพย์สิน ของมหาวิทยาลัย ๘.๕ กระทําหรือมีส่วนเกี่ยวข้องในการกระทําความผิดทางอาญา ไม่ว่าโดยเจตนาหรือ ประมาทซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อชื่อเสียงของมหาวิทยาลัย ๘.๖ กระทําหรือมีพฤติกรรมอันส่อให้เห็นด้วยพฤติการณ์ใดๆ ว่าเป็นผู้กระทํา ผู้ยุยงส่งเสริม หรือผู้สนับสนุนให้มีการกระทํา เพื่อก่อให้เกิดความเสียหายไม่ว่าในทางใดๆ ต่อประกาศ คําสั่ง ระเบียบ ข้อบังคับ ของมหาวิทยาลัย ตลอดจนความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดี ความเจริญและเกียรติคุณของมหาวิทยาลัย ๘.๗ แต่งกายด้วยเครื่องแบบนักศึกษาของมหาวิทยาลัยเข้าไปในสถานที่อันไม่เหมาะสม หรือไม่สมควรที่อาจนํามาซึ่งความเสื่อมเสียไม่ว่ากรณีใดๆ แก่ตนเองหรือมหาวิทยาลัย ๘.๘ กระทําหรือพยายามกระทําด้วยประการใดๆ อันเป็นการก่อกวนความสงบเรียบร้อย หรื อเข้าร่วมในการทะเลาะวิวาท หรือทํ าร้ายร่างกาย ไม่ว่ากับผู้ ใ ด เป็นเหตุใ ห้เกิดความเสียหายแก่ ชีวิต ร่างกาย จิตใจ เสรีภาพ ชื่อเสียง ทรัพย์สิน ตลอดจนสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใด ๘.๙ ปลอมเอกสาร หรือใช้เอกสารปลอมเพื่อแสวงหาประโยชน์อันมิควรได้โดยชอบด้วย กฎหมายสําหรับตนเองหรือผู้อื่น โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือมหาวิทยาลัย ๘.๑๐ หมิ่นประมาท หรือดูหมิ่นคณาจารย์ บุคลากร นักศึกษาของมหาวิทยาลัยหรือผู้อื่น คู่มือวางแผนการเรียนและบริการงานทะเบียน

119


หมวด ๓ การแต่งตั้งคณะกรรมการปกครอง ข้อ ๙. ให้อธิการบดีแต่งตั้งคณะกรรมการปกครองขึ้นชุดหนึ่ง เป็นคณะกรรมการถาวร เพื่อสอบสวน และพิจารณาโทษแก่นักศึกษาที่กระทําผิดตามข้อบังคับนี้ โดยมีผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา เป็น ประธานกรรมการ และกรรมการอื่นอีกสี่คน ประกอบด้วย หัวหน้างานในสายกิจการนักศึกษาหรือผู้แทนที่มี ความรู้ด้านกฎหมาย คณบดีที่ผู้ถูกกล่าวหาสังกัดหรือผู้แทนผู้อํานวยการฝ่ายบริการการศึกษาและสวัสดิการ หัวหน้าแผนกพัฒนานักศึกษา เป็นกรรมการและเลขานุการ ข้อ ๑๐. เมื่อปรากฏว่ามีการกระทําความผิดตามข้อบังคับนี้ ให้ประธานกรรมการดําเนินการเรียก ประชุมคณะกรรมการปกครองโดยไม่ชักช้า เพื่อพิจารณาประเด็นที่นักศึกษากระทําความผิด และให้วางแนว ทางการสอบสวนพยานหลักฐาน รายละเอียดของพฤติการณ์ ตลอดจนกําหนดวิธีปฏิบัติอันจําเป็นเกี่ยวกับเรื่อง ที่กระทําความผิด เพื่อให้การสอบสวนได้ความจริงและเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย

หมวด ๔ อํานาจและหน้าที่ของคณะกรรมการปกครอง ข้อ ๑๑. ให้คณะกรรมการปกครองมีอํานาจและหน้าที่ดังต่อไปนี้ ๑๑.๑ รวบรวมพยานหลักฐานที่จําเป็นและเกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นพยานบุคคล พยาน เอกสาร พยานวัตถุ เพื่อให้ทราบข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ต่างๆ อันเกี่ยวกับเรื่องที่กระทําความผิด ๑๑.๒ กรณีการสอบสวนมีข้อบ่งชี้ว่านักศึกษาได้กระทําความผิดในเรื่องอื่น นอกจากเรื่อง ที่ถูกสอบสวน หรือหากการสอบสวนพาดพิงไปถึงนักศึกษาผู้อื่นว่าร่วมในการกระทําความผิดในเรื่องที่ถูก สอบสวนนั้นด้วย ให้คณะกรรมการปกครองสามารถดําเนินการสอบสวนและพิจารณา โทษกรณีดังกล่าวได้ใน คราวเดียวกัน ๑๑.๓ ทํารายงานผลการสอบสวน เสนอต่ออธิการบดีเพื่อลงนามในคําสั่ง ลงโทษ หรือ ลงนามเพื่อรับทราบในกรณีที่คณะกรรมการปกครองพบว่านักศึกษาไม่มีความผิด

120

คู่มือวางแผนการเรียนและบริการงานทะเบียน


หมวด ๕ การสอบสวนและรายงานผลการสอบสวน ข้อ ๑๒. ในกรณีที่นักศึกษากระทําความผิดซึ่งเป็นความผิดเล็กน้อยตามตารางข้อบังคับ มารยาท และความประพฤติของนักศึกษา ให้รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเรียกนักศึกษา ผู้นั้นมาดําเนินการอย่างหนึ่งอย่างใด หรือหลายอย่างรวมกันดังต่อไปนี้ โดยไม่ต้องตั้งคณะกรรมการปกครอง เพื่อดําเนินการสอบสวนก็ได้ ๑๒.๑ ตักเตือนด้วยวาจา ๑๒.๒ ตักเตือนเป็นลายลักษณ์อักษร ๑๒.๓ แจ้งให้ผู้ปกครองทราบ ๑๒.๔ ทํากิจกรรมบําเพ็ญประโยชน์ ข้อ ๑๓. ในกรณี ที่ มี ก ารแต่ ง ตั้ ง คณะกรรมการปกครอง ให้ ค ณะกรรมการปกครองดํ า เนิ น การ สอบสวนให้แล้วเสร็จภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่มหาวิทยาลัยทราบถึงการกระทําความผิด ถ้ามีเหตุจําเป็นไม่ สามารถดําเนินการให้แล้วเสร็จภายในกําหนดเวลาดังกล่าวได้ ให้คณะกรรมการปกครองรายงานเหตุแห่งความ จําเป็นนั้น เพื่อขอขยายระยะเวลาการสอบสวนต่ออธิการบดีก่อนวันครบกําหนดเวลาดังกล่าว โดยให้เป็นดุลย พินิจของอธิการบดีในการสั่งขยายระยะเวลาการสอบสวนได้ครั้งละไม่เกินสามสิบวัน ทั้งนี้ไม่เกินสองครั้ง ข้อ ๑๔. ให้คณะกรรมการปกครองเรียกผู้ถูกกล่าวหามารับทราบข้อกล่าวหา โดยให้คณะกรรมการ ปกครองดําเนินการดังต่อไปนี้ ๑๔.๑ แจ้ ง ให้ ผู้ ถู ก กล่ า วหาทราบถึ ง ข้ อ กล่ า วหา โดยผู้ ถู ก กล่ า วหาสามารถแถลงรั บ สารภาพ หรือแก้ข้อกล่าวหาการกระทําความผิดด้วยวาจาหรือลายลักษณ์อักษร ทั้งนี้ผู้ถูกกล่าวหามีสิทธินํา พยานบุคคล พยานเอกสาร หรือพยานวัตถุมาเสนอต่อคณะกรรมการปกครองเพื่อประกอบการพิจารณา ๑๔.๒ กรณีที่ผู้ถูกกล่าวหาทักท้วง ขอแก้ไขหรือให้ถ้อยคําเพิ่มเติมในวันที่รับทราบข้อ กล่าวหา ให้คณะกรรมการปกครองบันทึกถ้อยคํานั้นไว้ และอ่านให้ผู้ถูกกล่าวหาฟัง พร้อมทั้งให้ลงลายมือชื่อ ๑๔.๓ กรณี ที่ ผู้ ถู ก กล่ า วหารั บ สารภาพว่ า ได้ ก ระทํ า ความผิ ด จริ ง ให้ ค ณะกรรมการ ปกครองบันทึกถ้อยคํารับสารภาพ รวมทั้งเหตุแห่งการกระทําความผิด และพิจารณาโทษตามข้อ ๑๗ ถึง ข้อ ๑๙ ข้อ ๑๕. เมื่อคณะกรรมการปกครองได้ทําการสอบสวนและรวบรวมพยานหลักฐานต่างๆ เสร็จแล้ว ให้ลงมติว่าผู้ถูกกล่าวหาได้กระทําความผิดจริงหรือไม่ ต้องรับโทษเพียงใด ในการลงมติ ให้คณะกรรมการปกครองแสดงความเห็น พร้อมกับลงมติทีละคนว่าผู้ถูก กล่าวหากระทําความผิดหรือไม่ อย่างไร ในกรณีที่คะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานคณะกรรมการมีสิทธิลงคะแนนเสียงชี้ขาดอีกครั้งหนึ่ง

คู่มือวางแผนการเรียนและบริการงานทะเบียน

121


ข้อ ๑๖. เมื่อคณะกรรมการปกครองได้ประชุมพิจารณาและมีมติตาม ข้อ ๑๕ แล้ว ให้รายงานผล การสอบสวนต่ออธิการบดีเพื่อลงนามในคําสั่งลงโทษ หรือลงนามเพื่อรับทราบในกรณีที่ผู้ถูกกล่าวหาไม่มี ความผิด ทั้งนี้รายงานผลการสอบสวนต้องมีการสรุปข้อเท็จจริง พยาน หลักฐาน และถ้อยคําให้การของผู้ถูก กล่าวหา พร้อมทั้งมติของคณะกรรมการปกครองว่าผู้ถูกกล่าวหากระทําความผิดหรือไม่ หากพบว่าได้กระทํา ความผิดจริงให้ระบุโทษตามข้อ ๑๗

หมวด ๖ โทษและวิธีการลงโทษ ข้อ ๑๗. โทษทางวินัย มี ๖ สถาน ดังนี้ ๑๗.๑ ตักเตือนด้วยวาจาหรือเป็นลายลักษณ์อักษร ๑๗.๒ ทํากิจกรรมบําเพ็ญประโยชน์ ๑๗.๓ ทําทัณฑ์บน และแจ้งผู้ปกครอง พร้อมทั้งให้มารายงานตัวตามระยะเวลาที่กําหนด ๑๗.๔ พักการเรียน มีกําหนดไม่เกินสองปีการศึกษา ๑๗.๕ จําหน่ายชื่อออกจากทะเบียนนักศึกษา ๑๗.๖ ชะลอสิทธิการเข้าร่วมพิธีประสาทปริญญาบัตร มีกําหนดไม่เกินสองปีการศึกษา ข้อ ๑๘. หากปรากฏว่าผู้ถูกกล่าวหาเคยถูกลงโทษทางวินัยมาก่อน ให้คณะกรรมการ ปกครอง ลงโทษสถานหนักต่อไป ข้อ ๑๙. การพักการเรียนให้เริ่มตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ผู้ถูกกล่าวหากระทําความผิด

122

คู่มือวางแผนการเรียนและบริการงานทะเบียน


หมวด ๗ การอุทธรณ์ ข้อ ๒๐. นักศึกษาที่ถูกลงโทษตามข้อบังคับนี้มีสิทธิยื่นอุทธรณ์คําสั่งลงโทษต่ออธิการบดีภายในสิบ ห้าวันนับแต่วันที่ทราบคําสั่งลงโทษ ทั้งนี้ การอุทธรณ์ไม่เป็นเหตุให้ทุเลาการบังคับตามคําสั่งลงโทษ คําร้องขอ อุทธรณ์คํ าสั่งลงโทษต้ องทํ าเป็นหนังสือโดยระบุข้อโต้แย้ ง พร้อมทั้งเหตุผลสนับสนุ น และลงลายมือชื่อผู้ อุทธรณ์ด้วย ข้อ ๒๑. ให้อธิการบดีมีคําสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการอุทธรณ์ขึ้นมาคณะหนึ่งเพื่อพิจารณาอุทธรณ์ โดย ให้รองอธิการบดีเป็นประธานกรรมการ และกรรมการอื่นอีกไม่เกินสามคนที่มิได้เป็นคณะกรรมการปกครอง พิจารณาคําร้องขออุทธรณ์คําสั่งลงโทษ และเสนอให้ที่ประชุมผู้บริหารเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาดให้แล้วเสร็จภายใน สิบห้าวันนับแต่วันที่มีคําสั่งแต่งตั้ง ทั้งนี้ มติของที่ประชุมผู้บริหารให้ถือเป็นที่สุด กรณีมีเหตุจําเป็นไม่สามารถดําเนินการให้แล้วเสร็จภายในกําหนดเวลาตามวรรคแรกได้ ให้ คณะกรรมการอุทธรณ์รายงานเหตุแห่งความจําเป็นนั้น เพื่อขอขยายระยะเวลาการพิจารณาคําร้องอุทธรณ์ต่อ อธิการบดีก่อนวันครบกําหนดเวลาดังกล่าว โดยให้เป็นดุลยพินิจของอธิการบดีในการสั่งขยายระยะเวลาการ พิจารณาคําร้องอุทธรณ์ได้ครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน ทั้งนี้ไม่เกินสองครั้ง ข้อ ๒๒. ให้อธิการบดีรักษาการตามข้อบังคับนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๕ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๕

(ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์) นายกสภามหาวิทยาลัย

คู่มือวางแผนการเรียนและบริการงานทะเบียน

123


ตารางท้ายข้อบังคับ มารยาทและความประพฤติของนักศึกษา ลักษณะความผิดซึ่งถือเป็นความผิดเล็กน้อย ๑. กระทําผิดระเบียบการจราจรภายในและบริเวณใกล้เคียงมหาวิทยาลัย ๒. ส่งเสียงอื้ออึง ทําให้ผู้อื่นได้รบั ความอับอาย หรือเดือดร้อนรําคาญภายในมหาวิทยาลัย หรือ ภายในบริเวณที่เป็นทรัพย์สนิ ของมหาวิทยาลัย ๓. ทําให้ผู้อื่นกลัว หรือตื่นตระหนก ๔. แสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมต่อหน้าธารกํานัล ๕. สูบบุหรี่นอกเขตพื้นที่ที่กําหนด ๖. พูดจาส่อเสียด เสียดสี หรือแสดงกริยาไม่เหมาะสมต่อของอาจารย์ บุคลากร และนักศึกษา ของ มหาวิทยาลัย

124

คู่มือวางแผนการเรียนและบริการงานทะเบียน


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.