ภาค 1 ค�ำสอนพื้นฐานแห่งพระพุทธศาสนา
พระพุทธศาสนา : มุมมองสมัยใหม่
1
บทที่ 1 พระพุทธศาสนา : มุมมองสมัยใหม่ ในภาคแรกของหนังสือเล่มนี้ เป็นความตัง้ ใจของผูเ้ ขียนเอง ที่จะให้ครอบคลุมถึงสิ่งที่เรียกว่า หลักธรรมพื้นฐานของ พระพุทธศาสนาหรือค�ำสอนระดับเบื้องต้นของพระพุทธศาสนา การส�ำรวจนีจ้ ะครอบคลุมไปถึงพุทธประวัติ อริยสัจ 4 มรรค 8 กรรม การเกิดใหม่ ปฏิจจสมุปบาท ไตรลักษณ์ และค�ำสอนเรื่องขันธ์ 5 ก่อนที่จะลงไปในรายละเอียดของ แต่ละหัวข้อ อยากจะพูดถึงหลักการของพระพุทธศาสนา และมุมมองสมัยใหม่เสียก่อน การที่ประชาชนในช่วงเวลา ที่แตกต่างกัน ต่างวัฒนธรรมกัน จะเข้าถึงพระพุทธศาสนา ย่อมมีหลากหลายวิธี แต่ผเู้ ขียนเชือ่ ว่าเป็นเรือ่ งทีม่ ปี ระโยชน์ ทีจ่ ะเปรียบเทียบมุมมองต่อพระพุทธศาสนาระหว่างมุมมอง แบบใหม่กบั มุมมองแบบเดิม การพิจารณาเชิงเปรียบเทียบ ในลักษณะนีเ้ ป็นสิง่ ทีม่ ปี ระโยชน์ เพราะการเข้าใจประชาชน ในต่างช่วงเวลาและต่างวัฒนธรรมมองปรากฏการณ์เฉพาะ อย่าง อาจช่วยท�ำให้เราได้มองเห็นถึงทัศนะอันจ�ำกัดของ เราเอง
2
ต้นไม้แห่งโพธิ
พระพุทธศาสนา ได้เข้ามาปลุกเร้าความสนใจของชาวตะวัน ตกได้อย่างเป็นทีน่ า่ สังเกต และมีหลายคนในสังคมตะวันตก ทีไ่ ด้หนั มาประกาศตัวนับถือพระพุทธศาสนา หรือมาให้การ สนับสนุนพระพุทธศาสนา ตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุด คือค�ำพูด ของนักวิทยาศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งศตวรรษที่ 20 อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein: 1879 – 1955) ที่ว่า แม้ว่า เขาจะเป็นคนไม่นบั ถือศาสนาอย่างจริงจัง แต่ถา้ เขาจะเลือก นับถือศาสนา เขาเลือกที่จะนับถือพุทธศาสนา มันฟังดูน่า ประหลาดตรงที่ว่า ค�ำพูดดังกล่าวเป็นค�ำพูดของผู้ที่ได้รับ การยอมรับว่าเป็นบิดาของวิทยาการทางตะวันตกสมัยใหม่ อย่ า งไรก็ ต าม ถ้ า เราลองมองดู สั ง คมตะวั น ตกในสมั ย ปัจจุบันอย่างใกล้ชิด เราจะพบนักดาราศาสตร์ชาวพุทธใน ฝรัง่ เศส นักจิตวิทยาชาวพุทธในอิตาลี และตุลาการชาวพุทธ ในอังกฤษเป็นต้น ไม่เกินความจริงเลยทีจ่ ะกล่าวว่าพระพุทธ ศาสนาได้ ก ลายเป็ น ที่ นิ ย มของนั ก ปราชญ์ ชั้ น แนวหน้ า ชาวตะวันตกในพืน้ ทีแ่ ห่งวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์อย่าง รวดเร็ว ข้าพเจ้าจะลองพยายามหาเหตุผลส�ำหรับเรื่องนี้ แต่ก่อนที่จะลงมือ ข้าพเจ้าใคร่ขอเปรียบเทียบสถานการณ์ ในชุมชนและประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาตามจารีต ดั้งเดิมของชุมชนในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเอเชียตะวันออก พระพุทธศาสนา : มุมมองสมัยใหม่
3
ในยุโรปและอเมริกา พระพุทธศาสนาได้รบั การยอมรับอย่าง กว้างขวางในด้านความก้าวหน้าแห่งภูมิปัญญา มีเหตุมีผล มีความทันสมัย ข้าพเจ้าขอบอกตามตรงว่า ค่อนข้างจะ ตกใจเมือ่ แรกทีเ่ ดินทางไปยังประเทศทางตะวันออกเฉียงใต้ แล้วพบว่า ผู้คนส่วนมาก มองพระพุทธศาสนาว่าเป็นสิ่งที่ ล้าสมัยไม่เป็นเหตุเป็นผล และผสมปนเปอยู่กับความเชื่อ ผิดๆ ที่ไม่ทันสมัย นี่คือหนึ่งในสองทัศนคติที่แพร่หลายที่ เป็นอุปสรรคต่อความชื่นชมต่อพระพุทธศาสนาในดินแดน แถบนั้น ข้อที่มักเข้าใจผิดอีกประการหนึ่ง ที่เป็นผลลบต่อ พระพุ ท ธศาสนาในดิ น แดนแถบนี้ ก็ คื อ ความคิ ด ที่ ว ่ า พระพุทธศาสนาเป็นสิ่งที่ลึกซึ้ง และเป็นนามธรรมเกินไป จนไม่มีใครเข้าใจได้ บางทีอาจจะต้องอาศัยภูมิปัญญาแบบ ตะวันตก ทีจ่ ะช่วยป้องกันชาวยุโรปและอเมริกา จากความ เข้าใจผิดอันนี้ โดยรวบยอด เมื่อข้าพเจ้ามองดูทัศคติเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาทีแ่ พร่หลายในตะวันตกและตะวันออก ข้าพเจ้าพบว่ามีจุดต่างกันอย่างเห็นได้ชัด นี่คือเหตุผลที่ว่า ท�ำไมข้าพเจ้าจึงเริ่มต้นการตรวจสอบพระพุทธศาสนาโดย ขอเริ่มต้นจากมุมมองที่แตกต่างกัน ในทางตะวันตก พระพุทธศาสนามีภาพลักษณ์อย่างหนึ่ง ในประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาแบบจารีต ความคิด ค�ำนึงเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาก็เป็นอีกอย่างหนึ่ง ท่าทีที่ 4
ต้นไม้แห่งโพธิ
เป็นเชิงลบที่แพร่หลายอยู่ในชุมชนเช่นนั้น ได้ครอบง�ำ ประชาชนก่อนที่พวกเขาจะหันมานับถือพระพุทธศาสนา เสียอีก โดยนัยนี้ผู้คนไม่ว่าในที่ไหนๆ จึงจ�ำเป็นที่ต้องมี มุมมองทีส่ มดุลต่อพระพุทธศาสนา โดยทีไ่ ม่มอี คติและไม่มี แนวคิดชนิดทีต่ ดั สินถูกผิดไว้ลว่ งหน้า บทความทีเ่ ป็นบทน�ำ นี้ จึงไม่ได้มุ่งไปที่ชาวตะวันตกเพียงอย่างเดียว แต่ยังมุ่งไป ทีผ่ คู้ นในประเทศทีน่ บั ถือพระพุทธศาสนาแบบจารีตทีก่ ำ� ลัง ท�ำตัวเหินห่างจากศาสนาของตนด้วยเหตุผลทางสังคมและ วัฒนธรรมที่หลากหลาย และก็อาจกล่าวได้ว่า แม้ภาพลั ก ษณ์ ข องพระพุ ท ธศาสนาในความคิ ด ค� ำ นึ ง ของชาว ตะวันตกค่อนข้างจะจ�ำกัดอยูบ่ า้ งก็ตาม แต่ขา้ พเจ้าก็หวังว่า ในบทถัดไป จะได้มีการแสดงหลักค�ำสอนทางพระพุทธศาสนาที่ชัดเจนและมีเป้าหมายยิ่งขึ้น ณ ตอนนี้ เรายังจะอยู่ที่ทัศนะของชาวตะวันตกที่มีต่อ พระพุทธศาสนา ลักษณะประการแรกสุดที่น่าชื่นชมมาก คือการไม่ผกู ติดกับวัฒนธรรม นัน่ คือการไม่จำ� กัดตนเองอยู่ ในสังคม เชื้อชาติหรือกลุ่มชาติพันธุ์ ศาสนาที่ผูกติดอยู่กับ วั ฒ นธรรมก็ ดั ง เช่ น ศาสนายู ด ายและศาสนาฮิ น ดู แต่ พระพุทธศาสนามิได้เป็นศาสนาทีผ่ กู ติดอยูก่ บั วัฒนธรรมใด วัฒนธรรมหนึง่ นัน่ คือเหตุผลทีว่ า่ ท�ำไมในเชิงประวัตศิ าสตร์ เราจึงมีพระพุทธศาสนาแบบอินเดีย พระพุทธศาสนาแบบ พระพุทธศาสนา : มุมมองสมัยใหม่
5
ศรีลังกา พระพุทธศาสนาแบบไทย พระพุทธศาสนาแบบ พม่า พระพุทธศาสนาแบบจีน พระพุทธศาสนาแบบญี่ปุ่น พระพุทธศาสนาแบบทิเบตและอื่นๆ ในอนาคตอันใกล้นี้ ข้าพเจ้ามั่นใจว่าเราจะเห็นการเกิดขึ้นของพระพุทธศาสนา แบบอังกฤษ พระพุทธศาสนาแบบฝรัง่ เศส พระพุทธศาสนา แบบอิตาลี พระพุทธศาสนาแบบอเมริกาขึ้นมาอีก ความ เป็นไปได้อันนี้ เนื่องจากว่าพระพุทธศาสนาไม่ผูกติดอยู่กับ วั ฒ นธรรม การที่ พ ระพุ ท ธศาสนาสามารถเคลื่ อ นจาก วัฒนธรรมหนึง่ ไปสูอ่ กี วัฒนธรรมหนึง่ ได้โดยง่าย ก็เนือ่ งจาก ว่าพระพุทธศาสนาให้ความส�ำคัญกับการปฏิบัติด้านใน มากกว่ า รู ป แบบภายนอกของพฤติ ก รรมทางศาสนา พระพุทธศาสนาย�ำ้ เน้นให้ทกุ คนพัฒนาจิตของตน ไม่ใช่เรือ่ ง การแต่งตัว ไม่ใช่อาหารที่จะรับประทาน ไม่ใช่รูปทรงการ ไว้ผม เป็นต้น ประเด็นที่ 2 ที่อยากจะให้ตระหนัก ก็คือความเป็นปฏิบัติ นิยมของพระพุทธศาสนา นั่นคือการน�ำไปสู่การปฏิบัติ พระพุทธศาสนาพูดถึงปัญหาในเชิงปฏิบตั ิ พระพุทธศาสนา ไม่ ส นใจค� ำ ถามทางทฤษฎี ห รื อ อภิ ป รั ช ญา วิ ธี ก ารของ พระพุทธศาสนาคือการเข้าไปก�ำหนดปัญหาจริงๆ และ เข้าไปเกีย่ วข้องกับปัญหานัน้ โดยวิธกี ารเชิงปฏิบตั ิ วิธกี ารนี้ มีลักษณะใกล้กับแนวคิดเรื่องประโยชน์นิยม (Utilita6
ต้นไม้แห่งโพธิ
rianism) และการแก้ปัญหาด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ของตะวันตกเป็นอย่างมาก โดยรวบยอด เราอาจกล่าว ได้ว่า วิธีการทางพระพุทธศาสนารวมอยู่ในหลักการที่ว่า ‘ถ้ามันใช้ได้ ก็ใช้มัน’ ท่าทีอันนี้ คือส่วนเติมเต็มของการ ปฏิบตั ทิ างการเมือง เศรษฐกิจ และทางวิทยาศาสตร์ในโลก ตะวันตกสมัยใหม่ ท่าทีที่เป็นปฏิบัตินิยมของพระพุทธศาสนา มีปรากฏอย่าง ชัดเจนในจูฬมาลุงกยสูตร อันเป็นพระสูตรที่พระพุทธองค์ ทรงเปรียบเทียบเรื่องคนถูกยิงจนได้รับบาดเจ็บ เรื่องมีอยู่ ว่า มีชายคนหนึง่ ถูกยิงด้วยลูกศรแล้วสนใจทีจ่ ะรูว้ า่ ใครเป็น คนยิง ยิงมาจากทิศทางไหน หัวลูกศรเป็นกระดูกหรือเป็น เหล็ก คันลูกศรเป็นไม้หรือเป็นสิ่งอื่นใดเสียก่อน ก่อนที่จะ ดึงลูกศรออก ความคิดของเขาเหมือนกับผู้ที่ต้องการรู้ถึง ก�ำเนิดของจักรวาล ว่าเป็นนิรันดร์หรือไม่ มีที่สิ้นสุดหรือไม่ เป็นต้น ก่อนที่จะยอมรับเอาแนวการปฏิบัติทางศาสนา บุคคลเช่นนีจ้ ะตายเปล่าก่อนทีจ่ ะได้รบั ค�ำตอบให้กบั ปัญหา ที่เกี่ยวข้อง เหมือนกับชายคนดังกล่าวที่จะต้องตายเปล่า ก่อนที่เขาจะได้รับค�ำตอบทุกอย่างเกี่ยวกับต้นก�ำเนิดและ ธรรมชาติของลูกศร
พระพุทธศาสนา : มุมมองสมัยใหม่
7
เรือ่ งนีแ้ สดงให้เห็นถึงการเริม่ ต้นในเชิงปฏิบตั ขิ องพระพุทธองค์และของพระพุทธศาสนา มีอะไรจะบอกเรามากมาย เกีย่ วกับค�ำถามของเหตุการณ์เฉพาะหน้าและการแก้ปญ ั หา ทางวิทยาศาสตร์ เราไม่อาจที่จะพัฒนาความก้าวหน้าของ ปัญญาได้เลยถ้าเราไปตั้งค�ำถามผิดๆ นี่เป็นเรื่องที่จ�ำเป็น อันดับแรก สิง่ จ�ำเป็นรีบด่วนทีส่ ดุ ส�ำหรับพวกเราทุกคน คือ การลดและก� ำ จั ด เสี ย ซึ่ ง ความทุ ก ข์ พระพุ ท ธองค์ ท รง ตระหนักถึงความจริงข้อนี้ ในที่สุดทรงชี้ให้เห็นถึงความไร้ ประโยชน์ของการมัวกะเก็งเกี่ยวกับก�ำเนิดและธรรมชาติ ของจักรวาล เหมือนกับชายในเรื่องดังกล่าว พวกเราเอง ก็ถูกยิงด้วยลูกศร แต่เป็นลูกศรคือความทุกข์ ดังนั้น เราจะต้องถามค�ำถามเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการถอน ลูกศรคือความทุกข์ และไม่พงึ ไปเสียเวลาอันมีคา่ กับค�ำถาม ที่ไม่เกี่ยวข้อง แนวคิดนี้แสดงให้เห็นได้ง่ายๆ เราทุกคนจะ เห็นได้ว่า ในชีวิตประจ�ำวันของเรา การตัดสินใจเลือกของ เราขึ้ น อยู ่ กั บ ล� ำ ดั บ ของความส� ำ คั ญ ตั ว อย่ า งสมมุ ติ ว ่ า เราก�ำลังท�ำอาหาร ในขณะที่หม้อถั่วก�ำลังเดือด เราตัดสินใจปัดฝุน่ เฟอร์นเิ จอร์หรือกวาดพืน้ แต่ในขณะทีเ่ ราก�ำลังยุง่ กับงานนั้นๆ อยู่ ทันใดนั้นเราก็ได้กลิ่นไหม้ของบางสิ่ง เราจะต้องเลือกว่าจะปัดฝุน่ หรือกวาดพืน้ ต่อดี หรือรีบรุดไป ยังเตาเพื่อปิดสวิตซ์เสีย เพื่อที่จะรักษาอาหารมื้อเย็นไว้ 8
ต้นไม้แห่งโพธิ
ท�ำนองเดียวกัน ถ้าเราต้องการพัฒนาปัญญา เราจะต้อง จัดล�ำดับความส�ำคัญให้ชัดเจน ประเด็นนี้เห็นได้ชัดเจน จากอุปมาของบุรุษผู้ถูกยิงด้วยลูกศร ประเด็นที่ 3 ทีอ่ ยากจะพูดถึง คือค�ำสอนว่าด้วยความส�ำคัญ ของการตรวจสอบความจริง โดยวิธีการใช้ประสบการณ์ ส่วนบุคคล ประเด็นนี้ เห็นได้ชัดเจนในค�ำสอนที่พระพุทธองค์ตรัสสอนชาวกาลามะในเกสปุตติสูตร กาลามะเป็น ชุมชนคนเมืองทีเ่ หมือนกับผูค้ นในโลกปัจจุบนั ซึง่ ได้มาเจอะ เจอกับพากย์ของความจริงที่แตกต่างและขัดแย้งกันอยู่ เสมอ จากอาจารย์ส�ำนักต่างๆ พระพุทธองค์ทรงตรัสสอน พวกเขามิได้ยอมรับอะไรง่ายๆ เพียงแค่ได้ยินค�ำร�่ำลือ มิให้ เชื่ออะไรง่ายๆ เพียงเพราะเป็นคัมภีร์อันศักดิ์สิทธิ์ มิให้ ยอมรับอะไร เพียงเพราะคนทั้งหลายเชื่อถือ หรือเพียง เพราะความน่าเชื่อถือ หรือเพียงเพราะความเคารพต่อครู อาจารย์ พระพุทธองค์ยังทรงไปไกลยิ่งไปอีก ถึงกับแนะน�ำ มิให้พวกเขายอมรับค�ำสอนของพระองค์เอง โดยที่ยังไม่ได้ ตรวจสอบความจริงด้วยประสบการณ์ส่วนบุคคล พระพุทธองค์ทรงตรัสสอนชาวกาลามะให้ตรวจสอบทุกสิ่ง ที่พวกเขาได้ยินได้ฟังด้วยประสบการณ์ของตนเอง คือเมื่อ มารู้ด้วยตนเองว่าสิ่งเหล่านี้มีโทษ ก็ควรหลีกเลี่ยงเสีย พระพุทธศาสนา : มุมมองสมัยใหม่
9
อีกด้านหนึ่ง เมื่อมารู้ด้วยตนเองว่า สิ่งเหล่านี้มีประโยชน์ สิ่งที่น�ำไปสู่สันติภาพ และความสงบ–สิ่งนั้นควรปลูกฝังให้ มีขึ้นในตน พวกเราเองก็จะต้องตัดสินความจริงที่เราได้รับ การสั่งสอนมาผ่านประสบการณ์ของตน ในพระด�ำรัสทีพ่ ระองค์ตรัสสอนชาวกาลามะ ข้าพเจ้าคิดว่า เราสามารถเห็นได้อย่างชัดเจนถึงเรื่องการพึ่งพาตนเองใน การได้มาซึ่งความรู้ เราควรจะใช้จิตของเราให้เป็นหลอด ทดลองส่วนตัว เราจะพบได้ดว้ ยตัวเราเองว่า เมือ่ ความโลภ และความโกรธมิได้มอี ยูท่ จี่ ติ ของเรา ก็จะส่งผลให้ความสงบ และความสุขเกิดขึ้น นี่เป็นเรื่องง่ายๆ ที่ใครๆ ก็สามารถ ทดลองดูได้ การตรวจสอบความถูกต้องของค�ำสอนผ่าน ประสบการณ์ส่วนบุคคลเป็นสิ่งส�ำคัญ เพราะสิ่งที่พระองค์ ทรงตรัสสอนจะมีประสิทธิผล จะเป็นสิ่งที่มาเปลี่ยนแปลง ชีวติ ของเราได้ ก็ตอ่ เมือ่ ได้มาผ่านการทดลองส่วนบุคคลและ สร้างค�ำสอนนั้นให้เป็นของเราเอง เมื่อเราสามารถตรวจ สอบความจริงของค�ำสอนของพระพุทธเจ้าจากประสบการณ์ของเราเอง เราก็สามารถมัน่ ใจได้วา่ เราก�ำลังก้าวหน้า ในหนทางแห่งความดับทุกข์ อนึ่ง มีความคล้ายกันเป็นอย่างมากในการแสวงหาความรู้ ระหว่างวิธีการของพระพุทธองค์ และวิธีการทางวิทยา10
ต้นไม้แห่งโพธิ
ศาสตร์ พระพุทธองค์ทรงย�้ำเน้นในเรื่องของการสังเกต ซึ่งในลักษณะหนึ่งนั้น ถือเป็นกุญแจน�ำไปสู่การได้มาซึ่ง ความรูแ้ บบพุทธวิธี และการสังเกตนีเ่ องทีก่ อ่ ให้เกิดอริยสัจ ข้อแรกในอริยสัจ 4 คืออริยสัจว่าด้วยทุกข์ การสังเกตนี่เอง ที่เป็นเครื่องตรวจสอบความก้าวหน้าในองค์มรรคและการ สังเกตนี่เองที่ยืนยันการเข้าถึงความสิ้นทุกข์โดยสิ้นเชิง ดังนัน้ ไม่วา่ จะในเบือ้ งต้น ในท่ามกลางและในทีส่ ดุ แห่งพุทธ มรรคาอันน�ำพาไปสูค่ วามหลุดพ้น การสังเกตล้วนมีบทบาท ส�ำคัญ เรือ่ งนีม้ ไิ ด้แตกต่างไปจากบทบาทของการสังเกตทางวิทยาศาสตร์แบบตะวันตก หลักการทางวิทยาศาสตร์ได้สอนว่า เมือ่ เราสังเกตปัญหา อันดับแรก เราจะวางเป็นทฤษฎีทวั่ ไป และต่อมาถึงจะตั้งสมมติฐานเฉพาะ กระบวนการอันเดียว กันนี้ก็พบได้ในกรณีของอริยสัจ 4 ณ ตรงนี้ หลักทฤษฎี ทั่วไปก็คือทุกสิ่งทุกอย่างจะต้องมีสาเหตุ ในขณะที่สมมุติฐานเฉพาะก็คือว่าสาเหตุแห่งความทุกข์ก็คือตัณหาและ อวิชชา (อริยสัจข้อที่ 2) ข้อสมมุตฐิ านนี้ สามารถตรวจสอบ ได้โดยวิธีการทดลองซึ่งมีอยู่ในชั้นตอนของมรรคมีองค์ 8 โดยวิธีการของการเข้าสู่องค์มรรค ความจริงของอริยสัจ ข้อที่ 2 ก็จะเกิดขึ้น และความจริงของอริยสัจข้อที่ 3 คือ การสิ้นทุกข์ ก็เป็นสิ่งสามารถตรวจสอบได้ โดยการปลูกฝัง พระพุทธศาสนา : มุมมองสมัยใหม่
11
องค์มรรคขึน้ มา ตัณหาและอวิชชาก็จะถูกก�ำจัดออกไปและ ความสุขอันสูงสุดแห่งพระนิพพานก็เป็นสิ่งที่เราบรรลุได้ กระบวนการเชิงทดลองอันนี้ ซึง่ สอดคล้องกันกับการปฏิบตั ิ ทางวิทยาศาสตร์ ก็จะเกิดขึ้น : ไม่เฉพาะแต่พระพุทธองค์ เท่านั้นที่ได้ถึงความสิ้นสุดแห่งทุกข์ แต่จากประวัติศาสตร์ ทุกๆ คนที่เดินตามเส้นทางเดินของพระพุทธองค์ ก็จะถึงที่ สิ้นสุดแห่งทุกข์ได้เช่นกัน ด้วยเหตุน้ี เมื่อเรามาดูคำ� สอนของพระพุทธองค์อย่างใกล้ชิด เราจะพบว่า วิธกี ารของพระองค์มสี ว่ นร่วมกันกับวิธกี าร ทางวิทยาศาสตร์เป็นอย่างมาก นี่เป็นเรื่องที่ไปกระตุ้นให้ ชาวตะวันตกพากันหันมาสนใจพระพุทธศาสนากันเป็น จ�ำนวนมาก เราเริม่ พบว่าท�ำไมไอน์สไตน์ ถึงได้ให้ขอ้ คิดเห็น ทีเ่ ป็นการเสริมเกียรติให้กบั ตนเอง ข้อสอดคล้องกันระหว่าง พุทธวิธีกับวิธีการของวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ จะเห็นได้ ชัดเจนยิ่งขึ้น ถ้าเราจะได้มาตรวจสอบท่าทีของพระพุทธศาสนาต่อข้อเท็จจริงแห่งประสบการณ์ ซึ่งก็เหมือนกับ วิทยาศาสตร์นั่นคือเชิงวิเคราะห์ ตามหลักการของพระพุทธศาสนา ข้อมูลประสบการณ์แบ่ง ออกเป็น 2 องค์ประกอบ คือองค์ประกอบภายนอก และ องค์ประกอบภายใน พูดอย่างหนึง่ ว่า สิง่ ทีเ่ รารับรูท้ อี่ ยูร่ อบ 12
ต้นไม้แห่งโพธิ
ตัวเรา และตัวเราเองซึ่งเป็นตัวผู้รับรู้ พระพุทธศาสนาได้ บันทึกวิธกี ารวิเคราะห์แบบนีไ้ ว้ในขอบเขตของปรัชญาและ จิ ต วิ ท ยาไว้ น านแล้ ว ความหมายก็ คื อ พระพุ ท ธองค์ ไ ด้ วิเคราะห์ขอ้ มูลของประสบการณ์ออกเป็นองค์ประกอบหรือ ปัจจัยหลายอย่าง องค์ประกอบพืน้ ฐานทีส่ ำ� คัญทีส่ ดุ คือขันธ์ 5 อันได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ขันธ์ 5 นี้ สามารถมองได้จากอีกมุมหนึ่งเป็นธาตุ 18 และสามารถ ที่จะวิเคราะห์ให้ละเอียดลึกไปยิ่งกว่านั้นเป็นปัจจัย 72 กระบวนการที่จะน�ำมาใช้ในที่น่ีคือการวิเคราะห์ เพื่อให้มี การแบ่งข้อมูลประสบการณ์ออกเป็นองค์ประกอบย่อย ต่างๆ พระพุทธองค์ไม่ทรงพอพระทัยด้วยแนวคิดเกี่ยวกับ ประสบการณ์ทคี่ ลุมเครือ แต่พระองค์จะตรวจดูเนือ้ หา แยก ประสบการณ์ออกเป็นองค์ประกอบย่อย เหมือนกับเราแยก ปรากฏการณ์แห่งรถม้าออกมาเป็นล้อ เป็นเพลา เป็นตัวรถ เป็นต้น วัตถุประสงค์ของวิธกี ารนี้ คือการได้แนวคิดทีช่ ดั เจน ยิง่ ขึน้ ว่าปรากฏการณ์เหล่านีท้ ำ� หน้าทีอ่ ย่างไร ตัวอย่าง เมือ่ เราเห็นดอกไม้ ได้ยินเสียงเพลง หรือพบกันเพื่อน ประสบการณ์เหล่านีท้ งั้ หมด เกิดขึน้ โดยเป็นผลของการรวมกันของ ธาตุที่เป็นองค์ประกอบ
พระพุทธศาสนา : มุมมองสมัยใหม่
13
นี่เรียกว่าวิธีการวิเคราะห์ของพระพุทธศาสนา และวิธีการ นีก้ ม็ ไิ ด้แปลกแยกไปจากวิทยาศาสตร์และปรัชญาสมัยใหม่ เราพบว่าวิธกี ารวิเคราะห์มกี ารน�ำไปใช้ในทางวิทยาศาสตร์ กันอย่างกว้างขวาง ในทางปรัชญาวิธีการวิเคราะห์มีอยู่ ในความคิดของนักปรัชญายุโรปมากมาย ที่ชัดที่สุดคือ เบอร์ทรันด์ รัสเซลล์ (Bertrand Russell: 1872 – 1970) ได้ท�ำการเปรียบเทียบปรัชญาวิเคราะห์กับพุทธศาสนา ตอนต้น พบว่าในวิทยาศาสตร์และปรัชญาตะวันตก มีความ สอดคล้องกันเป็นอย่างมากกับวิธีการวิเคราะห์ที่มีสอนกัน ในพระพุทธศาสนา นี่คือลักษณะส�ำคัญประการหนึ่งที่เป็น ที่คุ้นเคยและยอมรับกัน ที่เป็นสิ่งดึงดูดปัญญาชนและ นักวิชาการตะวันตกสมัยใหม่ให้หันมาสนใจพุทธปรัชญา นักจิตวิทยาสมัยใหม่ ก็ได้ให้ความสนใจเป็นอย่างยิง่ กับการ วิเคราะห์จิตในทางพระพุทธศาสนาที่หลากหลาย : ความ รู้สึก การรับรู้และความจงใจ ได้มีการหันมาสนใจค�ำสอน โบราณทางพระพุทธศาสนากันเป็นจ�ำนวนมาก เพือ่ ทีจ่ ะได้ เข้าใจในสาขาวิชาของตนให้แตกฉาน ความสนใจในค�ำสอนของพระพุทธองค์–ซึ่งมีในหลายๆ พื้นที่ของความใกล้ชิดกันระหว่างพุทธปรัชญากับวิทยาศาสตร์ ปรัชญาและจิตวิทยาสมัยใหม่ในปัจจุบัน–ได้ขึ้นถึง จุดสุดยอดในศตวรรษที่ 20 อันเนื่องมาจากความส�ำเร็จ 14
ต้นไม้แห่งโพธิ
อันน่าทึ่งของทฤษฎีสัมพันธภาพและควอนตัมฟิสิกส์อัน แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการล่าสุดในด้านวิทยาศาสตร์การ ทดลองและทางทฤษฎี ตรงนี้เช่นกัน จะเห็นได้ว่าไม่เพียง แต่พระพุทธองค์จะทรงคาดหวังกับวิธกี ารทางวิทยาศาสตร์ (นั่นคือ การสังเกต การทดลอง และการวิเคราะห์) แต่ใน บทสรุปเกีย่ วกับธรรมชาติของมนุษย์และจักรวาลในบางแง่ พระพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์ไปด้วยกันได้ ยกตัวอย่าง ความส�ำคัญของจิตซึง่ เป็นตัวก่อให้เกิดประสบการณ์ซึ่งถูกละเลยมานานในทางตะวันตก ตอนนี้ได้รับการ ยอมรับกันแล้วเมื่อไม่นานมานี้ มีนักฟิสิกส์ที่มีชื่อเสียงคน หนึ่ง ได้ออกมาให้ข้อสังเกตว่าจริงๆ แล้ว จักรวาลนั้นเป็น อะไรบางอย่างคล้ายกับความคิดอันยิ่งใหญ่ นี่เท่ากับเป็น การเดิ น ตามค� ำ สอนของพระพุ ท ธองค์ ที่ ต รั ส สอนไว้ ใ น ธรรมบท ว่าจิตคือผู้สร้างทุกสิ่งทุกอย่าง ท�ำนองเดียวกัน สัมพันธภาพระหว่างวัตถุและพลังงาน–นั่นคือการยอมรับ กันว่า มิได้เป็นการแบ่งกันในระดับพื้นฐานระหว่างจิตกับ วัตถุ–ได้รบั การยืนยันโดยการพัฒนาในด้านวิทยาศาสตร์เชิง ทดลองเมื่อเร็วๆ นี้ มองโดยภาพรวมก็คือว่า ในบริบทของวัฒนธรรมตะวัน ตกในปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์ นักจิตวิทยาและนักปรัชญา พระพุทธศาสนา : มุมมองสมัยใหม่
15
ได้พบว่าในพระพุทธศาสนา มีสิ่งที่กลมกลืนสอดคล้องกับ หลักพืน้ ฐานของความคิดทางตะวันตกอยูม่ ากมาย นอกจาก นั้น ยังพบว่าพระพุทธศาสนาเป็นสิ่งที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง แม้วิธีการหลักและข้อสรุปของวิทยาศาสตร์แบบตะวันตก จะมี ส ่ ว นคล้ า ยกั น กั บ วิ ธี ก ารทางพระพุ ท ธศาสนา แต่ วิทยาศาสตร์ก็ยังขาดมิติแห่งการปฏิบัติ เพื่อลุถึงความ เปลี่ยนแปลงภายใน ขณะที่ในพระพุทธศาสนาได้มีข้อ ก�ำหนดถึงความเปลีย่ นแปลงภายในไว้อย่างชัดเจน ในขณะ ที่วิทยาศาสตร์สอนเราให้สร้างเมือง สร้างทางด่วน สร้าง โรงงาน สร้างฟาร์มให้ดีขึ้น แต่วิทยาศาสตร์ก็ไม่ได้สอนให้ สร้างคนให้ดีขึ้น ดังนั้น ผู้คนในโลกยุคปัจจุบัน จึงพากันหัน มาสนใจพระพุทธศาสนา อันเป็นปรัชญาโบราณทีม่ หี ลายๆ ลักษณะที่เป็นเหมือนกับวิทยาศาสตร์ และก็ได้อยู่เลย วัตถุนิยม (Materialism) ของโลกตะวันตก เลยข้อจ�ำกัด ของวิทยาศาสตร์เชิงปฏิบัติดังที่พวกเราทราบ
16
ต้นไม้แห่งโพธิ