ห นึ่ ง
ลมหายใจ only one breath
คณะสงฆ์วัดป่านานาชาติ จัดพิมพ์ถวายเป็นมุทิตาสักการะ เนื่องในวาระเจริญอายุมงคลครบรอบ 79 ปี ของพระเดชพระคุณพระราชสุเมธาจารย์ (หลวงพ่อสุเมโธ) วันที่ 27 กรกฎาคม 2556
หนึ่งลมหายใจ only one breath
โดย หลวงพ่อสุเมโธ (พระราชสุเมธาจารย์) แปล/เรียบเรียง : ธมฺมาภินนฺโท ภิกฺขุ
จัดพิมพ์ถวายเป็นมุทิตาสักการะ เนื่องในวาระเจริญอายุมงคลครบรอบ 79 ปี ของพระเดชพระคุณพระราชสุเมธาจารย์ (หลวงพ่อสุเมโธ) วันที่ 27 กรกฎาคม 2556
สงวนสิทธิ์ในการพิมพ์จ�ำหน่าย หากประสงค์จัดพิมพ์เป็นธรรมบรรณาการ โปรดติดต่อ เจ้าอาวาสวัดป่านานาชาติ ต.บุ่งหวาย อ.วารินช�ำราบ จ.อุบลราชธานี 34310 ภาพประกอบ : วัดอมราวดี พิมพ์ครั้งที่ 1 : กรกฎาคม 2556 จ�ำนวนพิมพ์ : 10,000 เล่ม พิมพ์ที่ : ศิริธรรมออฟเซ็ท 429 ม.12 ถ.อุบล-ตระการ อ.เมือง จ.อุบลราชธานี โทรศัพท์ 0-4531-7491-5 โทรสาร 0-4531-7496 Dhammaintrend ร่วมเผยแพร่และแบ่งปันเป็ นธรรมทาน
ค�ำน�ำ หลวงพ่อสุเมโธ เป็นพระมหาเถระผู้มีบทบาทและความส�ำคัญเป็นอย่างยิ่ง ต่อคณะสงฆ์ชาวต่างประเทศ สายวัดหนองป่าพง ท่านเป็นผู้บุกเบิกก่อตั้งวัดป่า นานาชาติ โดยการมอบหมายจากหลวงปู่ชา เมื่อปี พ.ศ. 2518 นับจากนั้นมา จนกระทัง่ ปัจจุบนั วัดป่านานาชาติกก็ ลายเป็นสถานทีฝ่ กึ ฝนและเริม่ ต้นชีวติ พรหมจรรย์ ของกุลบุตรชาวต่างประเทศจ�ำนวนมาก ที่ได้เข้ามาบวชเป็นภิกษุในพระพุทธศาสนา นอกจากนัน้ การทีห่ ลวงพ่อได้เสียสละและอุทศิ ชีวติ เพือ่ บ�ำเพ็ญสมณธรรม และปฏิบัติศาสนกิจมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน พร้อมทั้งการเป็นผู้มีความมั่นคง ต่อชีวิตพรหมจรรย์ มีความซื่อตรงต่อพระธรรมวินัย ได้เป็นแบบอย่างอันประเสริฐ และเป็นแรงบันดาลทีม่ คี า่ อย่างยิง่ ส�ำหรับภิกษุผเู้ ป็นกุลบุตรชาวต่างประเทศ คุณปู การ อันส�ำคัญยิง่ เหล่านี้ ตลอดทัง้ ปฏิปทาและค�ำสอนของหลวงพ่อ เป็นสิง่ ทีเ่ หล่าคณะสงฆ์ วัดป่านานาชาติ ผู้เป็นภิกษุชาวต่างประเทศรุ่นหลัง ต่างตระหนักและมีความซาบซึ้ง ส�ำนึกเป็นอย่างยิ่ง เพื่อเป็นการแสดงออกซึ่งส�ำนึกแห่งกตัญญูกตเวทิตาธรรมต่อหลวงพ่อ สุเมโธ และเป็นเครื่องแสดงมุทิตาสักการะ เนื่องในโอกาสอันเป็นมงคล ที่หลวงพ่อ สุเมโธเจริญอายุครบรอบ 79 ปี ในวันที่ 27 กรกฎาคม ปีนี้ คณะสงฆ์วัดป่า นานาชาติ จึงได้จัดแปลและจัดพิมพ์หนังสือ “หนึง่ ลมหายใจ” เพื่อแจกจ่ายเป็น ธรรมบรรณาการแก่ญาติโยมชาวไทย ทีม่ ากราบแสดงมุทติ าสักการะต่อหลวงพ่อ และ แก่พทุ ธศาสนิกชนโดยทัว่ ไป โดยธรรมบรรยายทัง้ 5 เรือ่ ง ได้คดั แปลมาจากต้นฉบับ ธรรมบรรยายภาคภาษาอังกฤษในหนังสือ “The way it is” ซึ่งหลวงพ่อได้ให้ การบรรยายระหว่างที่ท่านพ�ำนักอยู่ที่วัดอมราวดี ประเทศอังกฤษ
คณะสงฆ์วัดป่านานาชาติ กรกฎาคม 2556
สารบัญ
ส า ร บั ญ
หนึ่งลมหายใจ
1
อาการของใจ
15
ขันติธรรมนั้นเกื้อกูล
27
ยอมรับสภาวะตามที่เป็นจริงของสิ่งทั้งปวง 33 สุขนั้นหรือยั่งยืน
43
ห นึ่ ง ล ม ห า ย ใ จ only one breath
อปารุตา เตสํ อมตสฺส ทฺวารา เย โสตวนฺโต ปมุญฺจนฺตุ สทฺธํ เราเปิดประตูแห่งอมตธรรมแล้ว เหล่าชนผู้ใฝ่สดับจงเปิดศรัทธาออกรับเถิด
พุทธพจน์
5
พระราชสุเมธาจารย์ (หลวงพ่อสุเมโธ)
ห นึ่ ง ล ม ห า ย ใ จ * เมือ่ เช้านี้ ผมมีโอกาสคุยกับท่านสุพพะโต ท่านเล่าว่า ท่านไม่เคยปฏิบัติอานาปานสติได้ผล หรือมีสติอยู่กับลมหายใจได้เลย ผมก็เลยถาม ท่ า นว่ า แล้ ว ท่ า นมี ส ติ อ ยู ่ กั บ ลมหายใจเข้ า สักครั้งหนึ่งได้ไหม ท่านตอบว่าได้ ผมถามท่าน ต่อว่าแล้วลมหายใจออกล่ะ ท่านก็ตอบว่าได้ ผมจึงบอกท่านไป “นั่นล่ะ ท่านท�ำได้แล้ว”
* แปลจากเรื่อง Only one breath หนังสือ The way it is ธรรมบรรยายแก่คณะสงฆ์ ที่วัดอมราวดี ช่วง Winter retreat เดือนมกราคม พ.ศ. 2529 และ พ.ศ. 2532
ไม่มีอะไรให้ทำ� มากไปกว่านั้นหรอก แต่ ถึงกระนัน้ ก็ตาม ผูป้ ฏิบตั กิ ม็ กั จะคาดหวังให้เกิด คุณวิเศษ ได้เข้าไปสัมผัสกับสภาวะสมาธิทวี่ เิ ศษ มหัศจรรย์ พอท�ำอย่างนั้นไม่ได้ ก็เลยพลอยคิด ไปว่าเราปฏิบัติอานาปานสติไม่ได้ผล การใช้ชวี ติ เพือ่ คุณค่าด้านจิตใจ ต้องอาศัย การสละออก การเสียสละ หรือการปล่อยวาง
2
ห นึ่ ง ล ม ห า ย ใ จ only one breath
ไม่ใช่เรื่องของการได้ หรือการเอา แม้แต่การได้ฌานก็ยังเป็นเรื่องของ การสละออกไป ไม่ใช่เรื่องของการบรรลุถึง เมื่อเราสละละวางได้มาก เท่าใด ปล่อยวางออกไปได้มากเท่าใด หลังจากนั้น สภาวะของฌาน ก็จะเกิดขึ้นมาเองตามธรรมชาติ ท่าทีจงึ ถือเป็นสิง่ ทีม่ คี วามส�ำคัญมากทีส่ ดุ เมือ่ จะปฏิบตั อิ านาปานสติ ภาวนา ให้ผปู้ ฏิบตั เิ พียงแต่ใส่ใจอยูก่ บั ลมหายใจเข้า มีสติระลึกรูจ้ ากต้นลม ไปจนถึงปลายลม ชั่วระยะลมหายใจเข้าครั้งเดียวเท่านั้นก็พอ จากนั้น ก็ ป ฏิ บั ติ แ บบเดี ย วกั น ส� ำ หรั บ ลมหายใจออก แค่ นั้ น ก็ ถื อ ว่ า ปฏิ บั ติ อานาปานสติได้อย่างสมบูรณ์แล้ว การมีสติระลึกรู้ให้ได้เพียงเท่านั้นล่ะ คือ ผลของสมาธิจิตที่อาศัยวิธีก�ำหนดสติให้อยู่กับลมหายใจ โดยเริ่มจาก ช่วงต้นลมหายใจเข้า ไปจนถึงสุดลมหายใจเข้า เริม่ จากช่วงต้นลมหายใจออก ไปจนสุดลมหายใจออก ท่าทีของการปฏิบตั ติ อ้ งประกอบไปด้วยความปล่อยวาง อย่างเดียวอยูต่ ลอดระยะ ไม่ยดึ ติดกับความคิดเห็น หรือความรูส้ กึ ทีเ่ กิดจาก ความคิดเห็นอันนัน้ เพือ่ ว่าผู้ปฏิบตั จิ ะได้พร้อม ทีจ่ ะก�ำหนดรู้ลมหายใจเข้า ครั้งต่อไป หรือลมหายใจออกครั้งถัดไป ได้อย่างเต็มที่ตามสภาวะที่มัน ปรากฏ โดยที่ไม่ต้องแบกถือสิ่งใดไปด้วย ดังนั้น การปฏิบัติอานาปานสติ จึงเป็นวิถีแห่งการสละออก และการปล่อยวาง มากกว่าจะเป็นเรื่องของ การบรรลุถึง หรือการประสบผลส�ำเร็จ อันตรายในการปฏิบัติภาวนาได้แก่ นิสัยที่มักเข้าไปยึดติดอยู่กับ สิ่งต่างๆ และการอยากได้สภาวะจากการปฏิบัติ ดังนั้น แนวทางที่ช่วย
ห นึ่ ง ล ม ห า ย ใ จ only one breath
ได้มากที่สุดคือ หลักการปล่อยวาง ไม่ใช่เรื่องของการบรรลุหรือการได้รับ ผลส�ำเร็จ อย่างวันนี้ ถ้าเราเห็นว่า เมื่อวานเราท�ำสมาธิได้ผลเต็มขีดเต็มขั้น ยอดเยี่ยมสมบูรณ์ที่สุด เป็นไปตามที่ใฝ่ฝันถึงมาตลอดเลย วันนี้ เราก็เลย พยายามจะให้ได้สภาวะการปฏิบัติที่ยอดเยี่ยม เหมือนกับเมื่อวานนี้ แต่ปรากฏว่าเรากลับยิ่งฟุ้งซ่านและหงุดหงิดร�ำคาญมากกว่าที่เคยเป็นมา เสียอีก มาตอนนี้ ท�ำไมถึงเป็นอย่างนัน้ ไปได้ล่ะ? ท�ำไมไม่เห็นได้สภาวะ ที่เราต้องการ? ที่เป็นดังนี้ ก็เพราะว่าเราดิ้นรนที่จะให้บรรลุสิ่งที่เราจ�ำเอาไว้ แทนทีจ่ ะฝึกฝนปฏิบตั ไิ ปกับสภาวะตามทีเ่ ป็นอยูจ่ ริงๆ ตามทีม่ นั ปรากฏอยู่ ในขณะนี้ ดังนั้น แนวทางที่ถูกต้องคือ แนวทางแห่งการเจริญสติ และ การเฝ้าดูสภาวะตามที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ไม่ใช่ไปจ�ำเอาเรื่องตั้งแต่เมื่อวาน แล้วพยายามท�ำเลียนแบบให้ได้อย่างนั้นอีกครั้ง ปี แ รกที่ ผ มปฏิ บั ติ ภ าวนา ผมไม่ มี ค รู บ าอาจารย์ เ ลย ผมพั ก อยู่ในกุฏิหลังเล็กๆ ที่จังหวัดหนองคาย เป็นเวลาประมาณ 10 เดือน แล้วก็เกิดสภาวะความรู้เห็นภายในที่ทะลุปรุโปร่ง การอยู่วิเวกรูปเดียว นานกว่า 10 เดือน โดยไม่ได้พดู กับใคร ไม่ได้ไปไหนเลย ทุกอย่างจึงเริม่ สงบ ระงับลงหลังผ่านไปได้หลายเดือน ตอนนัน้ ผมเชือ่ ว่า ผมเป็นผู้บรรลุธรรม อย่างสมบูรณ์แล้ว เป็นพระอรหันต์แล้ว ผมมั่นใจถึงขนาดนั้นเลยล่ะ มาตอนหลังถึงได้รู้ว่าผมยังไม่ได้บรรลุ จ�ำได้ว่า ปีนั้นที่หนองคายเกิดภาวะข้าวยากหมากแพง ท� ำให้ ไม่ค่อยมีอาหารให้ฉันกันได้เต็มที่นัก ผมมีอาการขาดสารอาหาร ผมจึงคิด
3
4
ห นึ่ ง ล ม ห า ย ใ จ only one breath
ไปว่า “สภาวะที่เกิด น่าจะเป็นผลมาจากการขาดอาหาร แสดงว่า เพียงแค่ เราอดอาหารก็จะท�ำได้...” ตอนที่อยู่หนองคาย ผมยังจ�ำได้ว่า ร่างกายผม อ่อนแอมาก เนื่องจากขาดสารอาหารจนติง่ หูผมเริม่ ปริออก ตอนทีต่ ื่นนอน ตอนเช้า ผมต้องดึงเปลือกตาให้เปิดออก เพราะมันติดหนึบอยูก่ บั ของเหลว ที่ไหลออกมาจากเปลือกตา เวลาที่เราไม่สบาย อยู่มาวันหนึ่ง พระชาวแคนาดาน�ำนมข้น 3 กระป๋องมาให้ผม ทางทวีปเอเชียเขาจะมีนมข้นหวาน ที่บรรจุกระป๋องและมีรสอร่อยมาก นอกจากนี้ ท่านยังน�ำกาแฟผงพร้อมชง พร้อมทัง้ กระติกใส่นำ�้ ร้อนมาให้ดว้ ย ผมจึงชงใส่ถ้วย โดยเติมกาแฟหน่อยหนึ่ง ใส่นมข้นหวานลงไป รินน�้ำร้อน เติมลงไปแล้วก็ลงมือฉัน มันอร่อยจับใจมาก จนแทบลืมโลกไปเลยทีเดียว ถือเป็นครั้งแรกที่ผมได้ฉันของหวาน หรืออะไรที่มีรสชาติในรอบหลาย สัปดาห์ และการที่ได้รับอาหารไม่เพียงพอ และอยู่ในภาวะอ่อนเปลี้ยเพลีย แรง เมือ่ ได้ฉนั สิง่ นีเ้ ข้าไป จึงเหมือนกับรถได้นำ�้ มันค่าออกเทนสูง บรืน้ นน... ! ผมรีบฉันต่อไปทันทีโดยไม่รอช้า ฉันแบบหยุดไม่ได้ มิหน�ำซ�้ำผมยังชง นมทั้ง 3 กระป๋อง ผสมกับกาแฟจ�ำนวนก�ำลังพอดีส่วนนั้น แล้วฉันต่อ จนหมดเกลี้ยง จิตใจของผม เหมือนกับเคลิ้มลอยไปในห้วงอวกาศ หรือมี อาการคล้ายๆ อย่างนั้นเลย ผมเลยคิดว่า “บางที เคล็ดลับอาจจะอยู่ตรงนี้ ละกระมัง เพียงแต่ต้องหาใครสักคนซื้อนมข้นมาให้สักกระป๋อง” เมื่อผมไปอยู่ที่วัดหนองป่าพงในปีต่อมา ผมก็เฝ้าแต่คิดว่า “อืม... ตอนที่เราอยู่หนองคาย เกิดประสบการณ์ทางสมาธิที่หวือหวาเยอะแยะไป
ห นึ่ ง ล ม ห า ย ใ จ only one breath
หมด เห็นภาพนิมิตสวยงาม มีสภาวะภายในที่น่าอัศจรรย์หลั่งไหลพรั่งพรู ออกมาไม่ขาดสาย พร้อมทั้งรู้เห็นอะไรได้ทะลุปรุโปร่ง เหมือนกับรู้แจ้ง เห็นจริงไปทุกอย่าง ถึงกับคิดไปว่าเราเองบรรลุเป็นพระอรหันต์ไปแล้ว” ตอนนั้น เป็นปีแรกที่วัดหนองป่าพง ไม่มีอะไรให้ผมท�ำมากนัก ผมจึงตั้งใจ ท�ำอะไรทุกอย่างเหมือนทีเ่ คยปฏิบตั ิ ตอนทีอ่ ยูจ่ งั หวัดหนองคาย เพือ่ ให้บรรลุ สภาวะต่างๆ เหล่านี้ แต่หลังจากเวลาผ่านไปได้สกั ระยะ แม้จะใช้กาแฟเข้มๆ หลายถ้วยมาช่วย ก็ไม่เห็นผลอะไรขึน้ มาอีกเลย ไม่มที ที า่ ว่าผมจะได้สมั ผัส กับความปีตเิ บิกบาน สภาวธรรมขัน้ สูงน่าอัศจรรย์ และความรูเ้ ห็นทีป่ รุโปร่ง สว่างไสว เหมือนที่ผมเคยท�ำได้ในปีแรกเลย ดังนั้น หลังจากผ่านไป หนึ่งพรรษาที่วัดหนองป่าพง ผมจึงคิดว่า “ที่นี่คงไม่เหมาะกับเรา ดูท่าแล้ว ต้องออกจากวัดไปดีกว่า แล้วหาวิธีให้สภาวะที่เคยเกิดที่หนองคาย เกิดซ�ำ้ ขึ้นมาอีก” จากนั้น ผมจึงกราบลาหลวงพ่อชา และไปพักอยู่บนเขา “ภูเพ็ก” ที่จังหวัดสกลนคร ในทีส่ ดุ ผมก็ไปพักในจุดทีร่ ม่ รืน่ เป็นสัปปายะบนภูเพ็ก แต่อย่างไร ก็ตาม ที่นั่น ต้องออกไปบิณฑบาตตั้งแต่ก่อนเช้าตรู่ และต้องเดินลงเขาไป ซึ่งต้องอาศัยการปีนป่ายพอสมควร ต้องรอจนกว่าชาวบ้านจะน�ำอาหาร มาใส่บาตร หลังจากนั้น ผมต้องปีนกลับขึ้นเขาตลอดทางไปยังที่พัก แล้วฉันอาหารให้เสร็จก่อนเที่ยงวัน ซึ่งมีความล�ำบากพอสมควร ผมพักอยูก่ บั พระไทยอีกรูปหนึง่ ผมยอมรับว่าท่านเป็นพระทีด่ มี าก ผมเองก็คอ่ นข้างประทับใจในตัวท่าน แต่พอเราพักอยูด่ ว้ ยกันบนภูเขาลูกนี้
5
6
ห นึ่ ง ล ม ห า ย ใ จ only one breath
ท่านกลับอยากให้ผมสอนภาษาอังกฤษให้ท่าน ผมโกรธท่านมาก จนแทบ นึกอยากจะฆ่าท่านเลยล่ะในบางครั้ง พื้นที่แถบนั้นอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์อยู่เป็นจ�ำนวนมาก บางครั้ง จะมี เครื่องบินเฮลิคอปเตอร์ มาบินวนอยู่เหนือศีรษะเพื่อตรวจดูพวกเรา ครั้งหนึ่ง เจ้าหน้าที่ทางการถึงกับขึ้นภูเขามา น�ำตัวผมลงไปที่ตัวจังหวัด เพราะสงสัยว่าผมเป็นสายลับของคอมมิวนิสต์หรือเปล่า อยู ่ ต ่ อ มาผมเกิด ล้ ม ป่ ว ยลงอย่ า งรุ น แรง อาการหนั ก มากจน ญาติโยมต้องพาผมลงจากภูเขา ท�ำให้ผมต้องติดค้างอยู่ที่กระต๊อบ สภาพ ทรุดโทรมหลังหนึ่ง ใต้หลังคาสังกะสีข้างหนองน�้ำ ในช่วงฤดูร้อน ที่มีพวก แมลงบินหึง่ ตอมตามหูตามรูตา่ งๆ ทัง้ อัตคัดเรือ่ งการขบฉัน ผมเกือบจะเอา ชีวิตไม่รอด เมื่อมาย้อนนึกดูแล้ว ผมเกือบจะผ่านช่วงนั้นมาไม่ได้เลยล่ะ แต่ว่า ในช่วงเวลานั้นนั่นเอง ภายในกระต๊อบมุงสังกะสี ที่ความ เปลี่ยนแปลงอย่างเป็นเรื่องเป็นราวปรากฏขึ้นมาให้เห็น ตอนนั้น ผมรู้สึก หมดก�ำลังใจ ทัง้ ยังมีอาการป่วย สุขภาพก็ออ่ นแอ และหดหูท่ อ้ แท้อย่างทีส่ ดุ จิตใจร้อนรุม่ เหมือนตกนรกทัง้ เป็น เนือ่ งจากความร้อนอบอ้าว และมีอาการ กระสับกระส่าย ผมรู้สึกเหมือนก�ำลังจะถูกเผาให้สุก และทุกข์ทรมานมาก แล้วการเปลี่ยนแปลงบางอย่างก็เกิดขึ้น ชั่วขณะนั้นนัน่ เอง ผม ข่มจิตใจเอาไว้ ไม่ยอมยึดเข้ากับอารมณ์ฝ่ายลบพวกนั้น และเริ่มก�ำหนด
ห นึ่ ง ล ม ห า ย ใ จ only one breath
อานาปานสติ อาศัยลมหายใจเพือ่ ท�ำให้จติ แน่วแน่ แล้วสภาวะอะไรหลายอย่าง ก็เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว หลังจากนั้นมา สุขภาพผมก็ฟื้นตัวขึ้นมา จนได้เวลาเข้าพรรษาถัดไปพอดี ผมจึงเดินทางกลับ ทั้งผมเองก็ได้สัญญา กับหลวงพ่อชาไว้ก่อนหน้าแล้วว่า ผมจะกลับไปจ�ำพรรษาที่วัดหนองป่าพง ผ้าจีวรของผมขาดวิ่น และเต็มไปด้วยรอยปะ สภาพของผมดูไม่ได้เลย ทันทีที่หลวงพ่อชาเห็นผม ท่านถึงกับหัวเราะออกมาอย่างเต็มที่ ผมเอง ก็ดีใจมาก ที่ได้กลับไปหลังจากผ่านเรื่องสารพัดมา ผมได้เพียรพยายามปฏิบัติเรื่อยมา โดยสิ่งที่ผมต้องการมาตลอด ตอนนั้น เป็นแค่ความทรงจ�ำเกี่ยวกับประสบการณ์ความรู้เห็นภายใน ท�ำให้ผมหลงลืมความรู้เห็นภายในที่ปรากฏอยู่จริงๆ ผมไปยึดติดอยู่กับ ข้อวัตรปฏิบัติ ที่เป็นแนวทางแบบฤษีโยคี เหมือนเช่นที่เคยถือปฏิบัติ ในปีแรก ซึง่ เป็นช่วงทีก่ ารบ�ำเพ็ญเพียร แบบฤษีโยคีให้ผลดีมาก ในตอนนัน้ การขาดแคลนอาหาร และการปลีกตัวหลีกเร้นอยู่ผู้เดียว เหมือนจะช่วย ส่งเสริมสนับสนุนให้ผมเกิดความรู้เห็นภายใน จนท�ำให้หลายปีต่อมา ผมพยายามสร้างเงื่อนไขปัจจัยไปในทางที่จะท�ำให้เกิดความรู้เห็นภายใน ที่วิเศษอัศจรรย์เหล่านั้นอีก แต่ว่าสองสามปีต่อจากนั้น เหมือนจะเป็นสองสามปีที่ผ่านไปโดย เปล่าประโยชน์ ไม่เห็นมีอะไรเกิดขึ้นเลย ผมพักอยู่บนภูเขาแห่งนี้ 6 เดือน ก่อนทีจ่ ะกลับไปวัดหนองป่าพง เพือ่ ตัดสินใจอยูต่ อ่ และท�ำตามความรูเ้ ห็น ภายในที่เกิดกับผม หนึ่งในความรู้เห็นภายในของปีแรกนั้นก็คือ ผม
7
8
ห นึ่ ง ล ม ห า ย ใ จ only one breath
ควรจะไปหาครูบาอาจารย์ และควรจะฝึกใช้ชีวิตอยู่ภายใต้ข้อวัตรวินัย ทีค่ รูบาอาจารย์แนะน�ำสัง่ สอนให้ ดังนัน้ ผมจึงปฏิบตั ติ ามนัน้ ผมเกิดส�ำนึก ซาบซึ้งว่าหลวงพ่อชาเป็นครูบาอาจารย์ที่ประเสริฐ และมีมาตรฐานในเรื่อง พระวินัยที่ถูกต้องเหมาะสม ผมจึงอาศัยอยู่กับท่าน ถึงความรู้เห็นภายใน ทั้งหลาย ที่เคยเกิดกับผม จะเป็นสิ่งที่ถูกต้อง แต่ผมก็ยังไปยึดติดอยู่กับ สัญญา (ความทรงจ�ำ) ในเรื่องนั้น คนเราจะยึดติดกับสิ่งที่มีลักษณะพิเศษเฉพาะ เช่น การอบรม กรรมฐานแบบเก็บตัวปฏิบัติ และการเข้าอบรมกรรมฐานแบบหลักสูตร ทีส่ ามารถควบคุมจัดการอะไรต่างๆ ได้ และทุกอย่างถูกจัดแจงไว้เรียบร้อย บรรยากาศก็เงียบสงบ เมือ่ เป็นแบบนี้ ถึงแม้วา่ เราจะเกิดความรูเ้ ห็นภายใน ขึ้นมา แต่ตรงนั้น ก็จะไม่มีการสะท้อนภาวะตามจริงให้เห็นได้เสมอไป เพราะผู้ปฏิบัติสรุปเสียแล้วว่า การจะมีความรู้เห็นภายในขึ้นมาได้ จ�ำเป็น ต้องอาศัยเงื่อนไขปัจจัยเหล่านั้น ที่ จ ริ ง แล้ ว ความรู ้ เ ห็ น ภายในเป็ น เรื่ อ งของการด� ำ เนิ น ชี วิ ต ด้วยปัญญารู้เห็นอย่างแจ่มแจ้งมากกว่า ไม่ใช่แค่การมีความรู้เห็นขึ้นมา เป็นครั้งคราว ซึ่งยิ่งเราได้ตรึกตรองพิจารณา ไปในทางธรรมะได้มาก เท่าใด ทุกสิ่งทุกอย่างจะปรากฏให้เรารู้เห็นได้อย่างชัดเจน เราจะมองเห็น ชีวิตได้อย่างแท้จริงตามที่มันปรากฏแก่เรา เมื่อใดที่เราคิดว่า เราต้อง ได้ เ งื่ อ นไขพิ เ ศษเท่ า นั้ น จึง จะเกิ ด ความรู ้ เ ห็ น ที่ ชั ด เจน แล้ ว เราก็ จ ะ ไม่ตระหนักถึงความจริงในเรือ่ งนัน้ ในทีส่ ดุ เราจะสร้างความซับซ้อนสับสน ให้กับการปฏิบัติของเราเอง
ห นึ่ ง ล ม ห า ย ใ จ only one breath
ดังนั้น ผมจึงหันมาฝึกการปล่อยวาง คือ ไม่ไปเป็นห่วงกังวล ว่าจะบรรลุธรรมหรือส�ำเร็จผลอะไร ตัง้ ใจว่าให้ประสบผลส�ำเร็จไปทีละน้อย เท่าที่จะเป็นไปได้ ด้วยการฝึกให้มีความอดทนมากขึ้นทีละนิด ให้รู้จัก อ่อนน้อมถ่อมตนมากขึน้ ทีละน้อย หัดเผือ่ แผ่มนี �้ำใจให้มากขึน้ ผมตัดสินใจ ฝึกฝนไปตามแนวทางนี้ แทนที่จะด�ำเนินไปตามแนวทางเดิมของตน ที่ จ้องจะควบคุมและพลิกเปลี่ยนสิ่งแวดล้อม โดยมีเจตนาตระเตรียมการ ให้ตนเอง ด้วยความมุ่งหวังว่าจะได้บรรลุสภาวะอันสูงส่ง ดูๆ ไปแล้ว ก็ เห็นได้ชัดว่า การยึดติดในประสบการณ์ความรู้เห็นภายในนั่นเอง เป็นตัว ปัญหา ถึงความรู้เห็นที่ได้ จะเป็นความรู้เห็นที่ถูกต้องก็ตาม แต่ก็ยังมี การยึดติดอยู่กับสัญญาในเรื่องนั้น ตัวความรู้เห็นภายในนั่นล่ะที่จะบอกออกมาเองว่า เราควรจะ ปล่อยวางประสบการณ์ความรู้เห็นภายในเสียให้หมด ไม่ต้องไปยึดติดกับ ความรู้เห็นภายในเหล่านั้น แค่พยายามปล่อยวางความรู้เห็นภายในที่เรามี ออกไป เพราะถ้าไม่เช่นนั้นแล้ว ความรู้เห็นทั้งหมดนั้น ก็จะกลายเป็น แค่สัญญา และสัญญาทั้งหลาย ก็จะกลับมาปรุงแต่งใจ ถ้าหากเรายึดติด ในสัญญาเหล่านั้น มันก็จะพาให้เราผิดหวัง แต่ละชั่วขณะ มันก็เป็นไปของมันอยู่อย่างนั้น เมื่อเรามาปฏิบัติ อานาปานสติ ก�ำหนดลมหายใจเข้าหนึ่งครั้ง ณ ปัจจุบันขณะนี้ มันก็มี สภาวะอยู่อย่างนี้ มันไม่เหมือนกับลมหายใจเข้าของเมื่อวานนี้ เราไม่ได้
9
10
ห นึ่ ง ล ม ห า ย ใ จ only one breath
นึกถึงลมหายใจเข้าของเมือ่ วานนี้ และลมหายใจออกของเมือ่ วานนี้ ในขณะ ที่เราก�ำลังหายใจอยู่ในขณะนี้ เราอยู่กับลมหายใจอันนี้อย่างสมบูรณ์ ตาม สภาวะที่มันเป็น ขอให้จับหลักไว้แค่ตรงนี้ ความสามารถในการสอดส่อง เห็นความจริง มีฐานอยู่ทกี่ ารตัง้ หลักสติของเรา ไว้กบั สภาวะตามทีเ่ ป็นจริง ในขณะปัจจุบัน ไม่ได้อยู่กับแนวคิดเกี่ยวกับสิ่งที่เราอยากจะบรรลุ แล้วก็ ดิ้นรนขวนขวายจะให้บรรลุ ณ ที่นี่และเดี๋ยวนี้ การดิ้นรนพยายามเพื่อจะ บรรลุสภาวะที่ประเสริฐยอดเยี่ยมของเมื่อวานนี้ ให้ได้ในขณะนี้ เดี๋ยวนี้ ย่อมแสดงว่าเราไม่ได้ระลึกรูอ้ ยูก่ บั สภาวะตามทีม่ นั เป็นอยูใ่ นขณะนี้ แม้แต่ อานาปานสติภาวนาก็เช่นกัน ถ้าหากเราเจริญอานาปานสติ ด้วยความหวัง ว่าจะเห็นผล เหมือนอย่างทีท่ �ำได้เมือ่ วานนี้ ก็ยงิ่ เป็นไปไม่ได้เลย ทีจ่ ะท�ำให้ ผลนั้นเกิดขึ้นมาอีกครั้ง ช่วงฤดูหนาวที่แล้ว ท่านวิปัสสี ปฏิบัติภาวนาอยู่ในห้องบูชา พระ แล้วก็มีใครบางคนท�ำเสียงค่อนข้างดังรบกวนท่าน เมื่อได้คุยกับท่าน วิปัสสีเกี่ยวกับเรื่องนี้ ท�ำให้ผมรู้สึกอนุโมทนา เพราะท่านเล่าว่า ทีแรกท่าน ก็รู้สึกร�ำคาญ แต่ต่อมาท่านก็คิดตกว่า เสียงก็เป็นส่วนหนึ่งของการภาวนา เช่นกัน ดังนั้น ท่านจึงเปิดใจยอมรับอะไรก็ตาม ที่อยู่ภายในศาลาปฏิบัติ ธรรม ไม่ว่าจะเป็นเสียง ความเงียบ หรืออะไรทั้งหมด นี่ล่ะคือตัวปัญญา แต่วา่ ถ้าเราสามารถท�ำให้เสียงหยุดได้ เช่น เมือ่ ลมพัดประตูกระแทก เราก็ เดินไปปิดประตูเสีย ถ้าหากมีอะไรที่เราบังคับจัดการได้ เราก็ไปจัดการเสีย แต่ส่วนใหญ่แล้วในชีวิตของเรา เราไม่มีอำ� นาจจะไปบังคับบัญชา อะไรได้ เราไม่มีสิทธิ์ขอให้ทุกอย่างเงียบสนิทเพื่อเห็นแก่การปฏิบัติภาวนา
ห นึ่ ง ล ม ห า ย ใ จ only one breath
“ของเรา” หากเรารู้จักไตร่ตรองตามจริง เราจะไม่เอาแต่ใจ อยากให้มีแต่ ความเงียบสนิทและสภาพแวดล้อมที่เป็นสัปปายะทุกอย่าง แต่เราจะมีใจ เปิดกว้าง รับได้ทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเสียงหนวกหู สิ่งรบกวน ความเงียบ ความสุข ความฟุ้งซ่าน ความเจ็บปวด จิตจะรับได้ทุกสภาวะ ไม่มุ่งรับรู้ แต่สภาวะที่ละเอียดประณีตอย่างหนึ่งอย่างใด และในเมื่อเรารู้จักปรับให้ สอดคล้องกับสภาวะ เราก็จะควบคุมจิตของเราไว้ได้ ตรงนี้เอง ที่ปัญญาเป็นสิ่งจ�ำเป็น เพื่อให้เกิดความก้าวหน้าอย่าง แท้จริง เราจะก้าวหน้าได้ ต้องอาศัยปัญญา ไม่ใช่อาศัยความจงใจ การ บังคับกะเกณฑ์ หรือการจัดการเงื่อนไขทางสภาพแวดล้อม ด้วยการก�ำจัด สิง่ ทีเ่ ราไม่ตอ้ งการ และพยายามตระเตรียมตัวเอง เพือ่ ว่าจะสามารถท�ำตาม ความอยากที่จะบรรลุผลส�ำเร็จ ตัณหาเป็นสิง่ ทีเ่ ร้นลึกสังเกตยาก แต่หากเรารู้ทนั ว่า เจตนาของเรา ทีต่ อ้ งการจะบรรลุสภาวะบางอย่าง ก็คอื ตัวตัณหานัน่ เอง เราก็จะปล่อยวางได้ ถ้าเรานั่งปฏิบัติตรงนี้ ด้วยความอยากจะบรรลุฌานที่หนึ่ง พอเราตระหนัก ขึน้ มาได้วา่ ตัณหานัน้ ต่างหากล่ะ ทีเ่ ป็นตัวเข้ามาขัดขวางไม่ให้บรรลุ เราก็จะ ปล่อยวางตัณหาได้ แต่ทงั้ นีม้ ไิ ด้หมายความว่าเราจะไม่ยอมท�ำอานาปานสติ เสียเลย เพียงแต่ต้องเปลี่ยนท่าทีในการปฏิบัติ ทีเ่ ราจะท�ำได้ในตอนนีก้ ค็ อื ขอให้เจริญสติโดยก�ำหนดลมหายใจเข้า หนึ่งครั้ง พวกเราแทบทุกคนท�ำกันได้อยู่แล้วล่ะ มนุษย์เราทุกคนมีกำ� ลัง
11
12
ห นึ่ ง ล ม ห า ย ใ จ only one breath
สมาธิเพียงพอ ทีจ่ ะก�ำหนดสมาธิได้ตงั้ แต่ชว่ งต้นลมหายใจเข้า ไปจนถึงช่วง ปลายลมหายใจเข้า แต่ถึงช่วงสมาธิของเรา จะมีกำ� ลังอ่อนมาก จนกระทั่ง ไม่สามารถก�ำหนดสมาธิ ไปจนสุดระยะลมหายใจได้ ก็ไม่เห็นจะเป็นอะไรเลย อย่างน้อย เราก็อาจจะก�ำหนดสมาธิ ไปจนถึงกลางช่วงลมหายใจได้ ท�ำได้ เท่านี้ยังดีกว่ายอมถอดใจ หรือไม่ยอมพยายามอะไรเลย เพราะอย่างน้อย ทีส่ ดุ เราก็ก�ำหนดสมาธิได้แล้วหนึง่ วินาที และถือได้ว่าตรงนีเ้ ป็นจุดเริม่ ต้น ในการฝึกก�ำหนดและส�ำรวมจิตให้อยู่กบั อารมณ์เดียว เช่น ลมหายใจ จาก นั้น จึงฝึกยืดระยะสมาธิออกไปอีก ให้ได้นานขึ้น แค่หนึ่งช่วงลมหายใจเข้า ก็พอ ถ้ายังท�ำไม่ได้ ก็ให้ได้สักครึ่งช่วงลมหายใจเข้าก็ได้ หรือสักหนึ่งในสี่ ของช่วงลมหายใจเข้า หรือเท่าใดก็ได้ อย่างน้อย ก็ถอื ว่าเราได้เริม่ ลงมือแล้ว นอกจากนี้ เรายังต้องพยายามอบรมจิตให้รู้จักยินดีพอใจ ที่สามารถท�ำได้ ขนาดนัน้ แทนทีจ่ ะรูส้ กึ ต่อว่าติเตียนว่าเราไม่ได้บรรลุฌานทีห่ นึง่ หรือฌานทีส่ ี่ ถ้าการปฏิบตั สิ มาธิภาวนา กลายเป็นภาระอีกเรือ่ งหนึง่ ทีเ่ ราจ�ำต้องท�ำ เราก็จะรู้สึกผิด หากท�ำไม่ได้ตามที่ตั้งใจไว้ เมื่อเป็นแบบนี้ เราก็เริ่ม จะกดดันตัวเอง โดยไม่ตระหนักรู้ว่าเราก� ำลังท�ำอะไรอยู่ ชีวิตก็จะมี เรื่องให้ชวนหดหู่และท้อแท้ แต่ถ้าหากเราให้ความใส่ใจกับการใช้ชีวิต ประจ�ำวัน ด้วยความสุขุมรอบคอบ เราจะเห็นว่าชีวิตประจ�ำวันมีส่วน ที่น่ายินดีพอใจอยู่เป็นอันมาก ซึ่งเราอาจจะสังเกตไม่เห็น หากเรามีเรื่อง กดดันและหมกมุ่นกังวล เมื่อเราต้องท�ำอะไรออกไปด้วยความกดดัน เราจะรู ้ สึ ก ว่ า เป็ น ภาระหนั ก เป็ น เรื่ อ งน่ า เบื่ อ และต้ อ งฝื น ยอมท�ำ อย่างเสียไม่ได้ โดยที่ไม่มีกะจิตกะใจและรู้สึกปฏิเสธ
ห นึ่ ง ล ม ห า ย ใ จ only one breath
แต่การได้มีโอกาสมาอยู่ในพื้นที่แถบชนบท ซึ่งมีต้นไม้ มีทุ่งกว้าง และมีเวลาได้ปลีกวิเวกเข้ากรรมฐานแบบนี้ ได้นงั่ ได้เดิน ไม่มอี ะไรมากมาย ให้ท�ำ หรือว่า การได้สวดมนต์ทำ� วัตรเช้า ท�ำวัตรเย็น ก็สามารถน�ำความ ปลาบปลืม้ ยินดีมาให้เราได้ ถ้าหากเรารูจ้ กั เปิดใจรับ ญาติโยมต่างน�ำข้าวปลา อาหารมาถวาย อาหารการขบฉันก็ค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ ต่างรูปต่างฉัน อาหารกันด้วยความมีสติและสงบส�ำรวม แต่ถ้าหากเราท�ำอะไร แบบ สักแต่ว่าท�ำและท�ำด้วยความรู้สึกบีบคั้นเก็บกด มันก็จะกลายเป็นเรื่อง น่าเบือ่ หน่าย หลายสิง่ หลายอย่าง ทีค่ อ่ นข้างจะน่ารืน่ รมย์ยนิ ดีอยูแ่ ล้ว ก็จะ ไม่น่ายินดีอีกต่อไป เราจะไม่สามารถรื่นรมย์ยินดีกับสิ่งเหล่านั้นได้ ถ้าหาก เราท�ำออกมาด้วยความกดดัน ขาดความเอาใจใส่ และท�ำไปด้วยความดิน้ รน ทะเยอทะยาน อารมณ์พวกนี้จะเป็นแรงผลัก ที่ท�ำลายความน่ารื่นรมย์ และความงดงามน่าอัศจรรย์ในชีวิตของเรา การรัก ษาความสนใจอยู่กับลมหายใจ ถือ เป็ น การพัฒ นาสติ ได้อย่างแท้จริง แต่ถ้าหากว่า เราหลุดไปอยู่กับความคิด หรือเผลอไปตาม ความฟุ้งซ่าน ก็ไม่เห็นเป็นอะไร ไม่ต้องไปบีบคั้นตัวเอง อย่าท�ำตัวแบบ เจ้านายจอมโหด หรือไปลงโทษตัวเอง และท�ำตัวเองให้หมดสภาพ ขอให้ชชี้ อ่ ง บอกทางให้กับตนเอง และฝึกฝนอบรมตน เพื่อจะได้ก้าวต่อไปข้างหน้า ให้ แนะแนวทางให้กบั ตนเอง แทนทีจ่ ะไปบีบคัน้ และกดดันตัวเอง นิพพาน คือ การประจักษ์แจ้งความไม่ยดึ มัน่ ถือมัน่ ได้อย่างหมดจดลึกซึง้ เราไม่สามารถ บังคับตัวเราให้บรรลุนิพพานได้ ท�ำแบบนั้นไม่ใช่หนทางที่จะพาให้บรรลุ นิพพานได้อย่างแน่นอน หนทางอยูท่ นี่ แี่ ละเดีย๋ วนี้ ถ้าเราใช้วธิ บี งั คับผลักดัน
13
14
ห นึ่ ง ล ม ห า ย ใ จ only one breath
ให้ตนเองบรรลุนิพพาน เราจะยิ่งอยู่ห่างไกลพระนิพพาน หรือ เลยข้าม พระนิพพานไป บางครั้ง ก็เป็นเรื่องที่หนักหนาสาหัสเอาการ ในการที่จะเผาผลาญ ท�ำลายความยึดมั่นถือมั่นในจิตใจของเราให้หมดสิ้นไป การประพฤติ พรหมจรรย์ เป็นการท�ำลายแบบถอนรากถอนโคน และเผาผลาญตัวตนและ อวิชชาให้พินาศสิ้นสูญ ความบริสุทธิ์ที่เกิดจากการท�ำลาย เปรียบเสมือน เพชร ที่ผ่านการเผาในเปลวเพลิง แล้วท�ำให้ได้เพชร ที่มีเนื้องามบริสุทธิ์ เช่นเดียวกับการด�ำเนินชีวิตของเรา ณ ที่นี้ จ�ำต้องอาศัยความมุ่งมั่นตั้งใจ ทีจ่ ะเผาท�ำลายความเห็นผิดว่าเป็นตัวตน ตัณหาทิฐิ ความฟุง้ ซ่าน และความ โลภ ทั้งหลายทั้งปวงให้หมดสิ้น จนถึงขัน้ ทีไ่ ม่มอี ะไรหลงเหลืออยู่นอกจาก ความบริสทุ ธิห์ มดจดเท่านัน้ จากนัน้ ไป เมือ่ เหลือเพียงความบริสทุ ธิ์ ก็ไม่มี ผู้ใด ไม่มีสิ่งใด มีแต่สิ่งที่เป็นอยู่อย่างนั้น มีแต่ความเป็นเช่นนั้นเอง และความเป็นเช่นนั้นก็ต้องปล่อยวางด้วย เส้นทางด�ำเนินไป ก็จะ เป็นเพียงการด�ำรงอยูอ่ ย่างเรียบง่าย ณ ทีน่ แี่ ละเดีย๋ วนี้ เป็นการด�ำรงอยูก่ บั สภาวะทั้งหลายตามที่เป็นจริง มากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ ไม่มีที่ไหนให้ต้องไป ไม่มี สิ่งใดให้ต้องท�ำ ไม่มีอะไรให้ต้องเป็น ไม่มีอะไรให้ต้องก�ำจัด เพราะว่า เมื่อช�ำระสะสางหมดแล้ว ก็ไม่มีอวิชชาหลงเหลืออยู่ มีเพียงความบริสุทธิ์ ความแจ่มแจ้ง และปัญญารู้เท่าทัน
อาการของใจ* บางครั้งผู้ปฏิบัติก็เอาจริงเอาจังกับการ ปฏิบัติภาวนาเกินไป เนื่องจากไปเล็งผลเลิศว่า ต้องควบคุมจิตใจให้ได้ และต้องขับไล่สภาวะ ทางอารมณ์ ซึ่งไม่เป็นที่ต้องการออกไปให้ได้ การปฏิบัติภาวนาเลยกลายเป็นเรื่องให้ต้องกลุ้ม กังวล การฝึกสมาธิกลายเป็นสิ่งที่จ�ำต้องฝืนท�ำ ท่าทีแบบโลกๆ ลักษณะนี้ มักจะเข้าไปมีผล ต่อเรื่องอะไรก็ได้ที่เราท�ำอยู่
*แปลจากเรื่อง Consciousness and sensitivity หนังสือ The way it is ธรรมบรรยาย ที่พุทธสมาคม ย่านวิคตอเรีย กลางกรุงลอนดอน เดือนกันยายน พ.ศ. 2532
อย่ามองการปฏิบตั ภิ าวนาว่าเป็นสิง่ พิสจู น์ ตัดสินคุณค่าความเป็นคนของเรา แต่ให้มองว่า เป็ นการได้ โอกาส ได้ จั ง หวะที่ จ ะมี ส ติ เ ฝ้ า ดู ตัวเอง ที่จะได้อยู่อย่างเรียบง่าย กับตัวเองและ กับอารมณ์หรือสภาวะอะไรก็ตาม ทีป่ รากฏแก่เรา ในขณะนี้ ขอให้เรียนรู้ทจี่ ะอยู่กบั สภาวะตามเป็น
16
ห นึ่ ง ล ม ห า ย ใ จ only one breath
จริงของเรา ด้วยความสงบสบาย แทนที่จะพยายามเป็นอะไร หรือพยายาม บรรลุผลส�ำเร็จตามที่เราอยากจะได้ แบบอย่างวิธีคิดทั้งหมดนัน้ ยังถือว่า มีรากฐานอยู่บนความหลงผิด อาตมายังจ�ำได้ เมื่อตอนที่เริ่มฝึกสมาธิภาวนาที่ประเทศไทย นิสัย ทะเยอทะยานและดึงดันของอาตมา ก็เริ่มเข้ามาออกลวดลาย แนวทาง ทีอ่ าตมาใช้ด�ำเนินชีวติ เข้ามามีบทบาทต่อวิธกี ารทีอ่ าตมาใช้ฝกึ สมาธิภาวนา ด้วย เมื่อทราบเช่นนัน้ อาตมาจึงเริ่มเฝ้าสังเกตดูอาการนัน้ เริ่มต้นที่จะ ปล่อยวางเรื่องทั้งหลายออกไป แล้วก็ต้องยอมรับแม้กระทั่งแนวโน้มนิสัย เช่นว่านัน้ ด้วย พร้อมทั้งสนใจดูสภาวะของมันตามความเป็นจริง ยิ่งเรา ปลงใจต่อสภาวะตามที่เป็นจริงนี้ได้เท่าใด เราก็จะยิ่งเข้าใจธรรมะ ซึ่งเป็น หนทางแห่งการหลุดพ้นจากความทุกข์ได้มากยิ่งขึ้นเท่านัน้ ให้โยมลองสังเกตดูนะว่า เรือ่ งต่างๆ มีผลต่อจิตใจของโยมอย่างไร บ้าง ถ้าโยมเพิ่งเลิกงานหรือเพิ่งออกจากบ้านมา ก็ตั้งใจดูว่าเรื่องงานเรื่อง บ้าน ส่งผลอะไรต่อจิตใจของโยมบ้าง ไม่ใช่ให้ไปต�ำหนิอะไรนะ เราไม่ได้ มาที่นกี่ ันเพื่อหาเรื่องต�ำหนิจับผิด หรือคิดไปในท�ำนองว่า ...อุตส่าห์มาถึง ที่นี่แล้ว จิตใจของเรา ก็ยังไม่ยอมสงบ ไม่บริสุทธิ์ ยังไม่นงิ่ อีก แสดงว่างาน ยังมีอะไรทีข่ าดตกบกพร่องอยู.่ .. เพียงแต่ให้ตงั้ ข้อสังเกตการด�ำเนินธุระหน้าที่ ในชีวติ เช่น การทีไ่ ด้คยุ กับผูค้ น ต้องรับโทรศัพท์ ต้องพิมพ์งาน ต้องเดินทาง ฝ่ากรุงลอนดอนในชั่วโมงเร่งด่วน บางครั้ง ก็ต้องท�ำงานร่วมกับคนที่เรา
ห นึ่ ง ล ม ห า ย ใ จ only one breath
ไม่ชอบ ต้องท�ำงานในสถานการณ์ที่ยุ่งยาก สร้างความน่าหงุดหงิดร�ำคาญ ให้เราสังเกตดูเท่านัน้ ไม่ใช่ให้ไปต�ำหนิติเตียน เพียงแต่ให้ยอมรับว่า เรื่อง เหล่านี้มีผลกระทบต่อตัวเราจริงๆ ขอให้ตระหนักว่า สิ่งนี้คือประสบการณ์แห่งการรับรู้ และการ สะท้อนความรู้สึกออกมาจากการรับรู้ อันเป็นเนื้อหาใจความของสิ่งมีชีวิต ที่เกิดมาเป็นมนุษย์ เมื่อเราเกิดขึ้นมาแล้ว ก็ต้องด�ำเนินชีวิตต่อไป ในฐานะ ของสิ่งมีชีวิตที่รับรู้อะไรได้ มีรูปแบบชีวิตที่ตอบสนองทางอารมณ์ได้อย่าง ว่องไว เพราะฉะนัน้ สิ่งที่ออกมาจากโลกแห่งวัตถุวิสัย* ที่เข้ามากระทบเรา ที่เข้ามาสัมผัสเรา ย่อมต้องส่งผลกระทบต่อเรา มันเป็นธรรมดาของมัน เช่นนัน้ เอง ไม่มีอะไรผิดปกติเลย แต่ชีวิตมนุษย์ที่ประกอบด้วยอวิชชา ได้ ถือเอาสิ่งทั้งปวงโดยความเป็นตัวตน ดังนัน้ เราจึงจ้องจะตั้งแง่ให้ทุกอย่าง เป็นเรื่องตัวตนอยู่ท่าเดียว เช่น “เราไม่น่าหวั่นไหวกับเรื่องต่างๆ ที่เข้ามา กระทบเลย เราไม่ควรจะมีอารมณ์โกรธ ขุ่นเคือง หรือมีความโลภ ไม่ควร จะหงุดหงิดและท้อแท้ ไม่ควรที่จะริษยา หึงหวง กลัว หรือวิตกกังวล เรา ไม่นา่ จะรูส้ กึ อะไรอย่างนีเ้ ลย ถ้าเรามีสขุ ภาพปกติ พลานามัยดี เราก็คงไม่ตอ้ ง ประสบปัญหาอะไรแบบนี้ ถ้าหากเราเหมือนชาวบ้านเขา เป็นคนสมบูรณ์ แข็งแรง เราก็คงจะไม่หวั่นไหวอะไรง่ายๆ เหมือนพวกแรด ที่มีหนังหนา ห่อหุ้มตัว อะไรทะลุผ่านเข้าไปไม่ได้” * โลกซึ่งประกอบด้วยสิ่งต่างๆ ที่เราเข้าไปรับรู้ – ผู้แปล
17
18
ห นึ่ ง ล ม ห า ย ใ จ only one breath
จึงให้ตระหนักว่า ในฐานะทีเ่ ป็นมนุษย์ เรามีรปู แบบชีวติ ทีเ่ กิดความ รู้สึกตอบสนองได้ง่ายมาก เราไม่ได้มีอะไรผิดปกติหรอก มันเป็นของมัน อยูอ่ ย่างนัน้ ชีวติ ก็เป็นแบบนีล้ ะ่ เราด�ำรงชีวติ อยูใ่ นสังคมทีม่ วี ถิ ที างของมัน แบบนัน้ ไม่ว่าจะอาศัยอยู่กลางกรุงลอนดอน หรือเขตชานเมือง หรือว่า ที่ไหนๆ ก็ต้องมีเรื่องให้เราเสียเวลาบ่น เพราะมันไม่สมบูรณ์แบบ มีเรื่อง อะไรต่อมิอะไรมากมายที่น่าหงุดหงิดร�ำคาญในชีวิตของเรา แต่การที่มี ความรู้สึกตอบสนองต่ออะไรได้ง่าย ก็เป็นอย่างนี้ล่ะ ความรู้สึกตอบสนอง ต่อสิง่ กระทบ มีนยั ยะอยูอ่ ย่างนัน้ เอง คือ เมือ่ มีอะไรเกิดขึน้ ไม่วา่ จะน่ายินดี หรือไม่น่ายินดี น่าเพลิดเพลิน เจ็บปวด สวยงาม หรือน่ารังเกียจ เราก็ จะเกิดความรู้สึกต่ออารมณ์พวกนัน้ ดังนัน้ แล้ว จึงมีอยูห่ นทางเดียวทีจ่ ะพาเราออกไปจากความทุกข์ คือ โดยอาศัยการเจริญสติ เมื่อเรามีสติรู้เห็นได้อย่างแท้จริงว่าไม่มีตัวตน เราก็ จะไม่รบั เอาประสบการณ์ในชีวติ ผ่านความส�ำคัญผิดว่ามีสตั ว์บคุ คล เราอาจ จะหาทางท�ำตัวเองไม่ให้รบั รูก้ บั อะไรได้กจ็ ริง เช่น อาจจะปิดตาลง ใส่ทอี่ ดุ หู เข้าไปในหู แล้วพยายามไม่รู้สึกรู้สากับอะไรทั้งนัน้ ปิดกั้นทุกอย่างออกไป สภาวะของสมาธิบางอย่าง ก็มีลักษณะอย่างนั้นเหมือนกัน คือตัดขาด จากการรับรู้ทางประสาทสัมผัส และถ้าเราอยู่ในสภาวะเช่นนัน้ ได้ระยะหนึง่ เราจะรู้สึกสงบมากเพราะไม่มีอะไรมากวนใจเราได้ในช่วงนัน้ ไม่มีอารมณ์ รบกวนที่เป็นเรื่องรุนแรง ยั่วยวน ชวนตื่นเต้น หรือท�ำให้หดหู่ท้อแท้
ห นึ่ ง ล ม ห า ย ใ จ only one breath
เพียงแต่ว่า ถ้าหากเรามีสติ เราก็จะหยั่งถึงความบริสุทธิ์แห่งใจของ เรา ซึ่งเป็นสิ่งประเสริฐสุด ธรรมชาติที่แท้จริงของเรา มีความประเสริฐสงบ และผ่องใส แต่ก็นนั่ แหละ หากเรายังมีทัศนะที่ผิดอยู่เกี่ยวกับเรื่องนี้ เราก็ จะไปคิดเสียแต่ว่า “เราต้องอยู่ในสภาวะที่ไม่รับรู้อารมณ์อะไรทั้งนัน้ ให้ได้ ตลอดเวลา ลอนดอนก็อยู่ไม่ได้อีกต่อไป แม้แต่พุทธสมาคมแห่งนี้ก็มี เสียงดังรบกวนเกินไป” ถ้าหากความสงบสุขและความราบรื่นของเรา ขึ้นอยู่กับเงื่อนไข ปัจจัยที่แน่นอนตายตัวแล้ว เราก็จะรู้สึกยึดมั่นอย่างเหนียวแน่น ต้องตก ไปเป็นทาส เราจะอยากบังคับควบคุมสถานการณ์ แล้วเราก็ยิ่งจะผิดหวัง มากขึน้ ไปอีก หากมีอะไรมาขัดจังหวะ และก้าวก่ายความสงบของเรา เราจะ คิดไปในท�ำนองว่า “เห็นทีต้องหาที่สักแห่งแล้วล่ะ เป็นถ�ำ้ ก็เข้าท่านะ หรือว่า เราต้องหาตู้เก็บอารมณ์* มาไว้ใช้ส่วนตัว และหาบรรยากาศที่เป็นสัปปายะ ทุกอย่าง เราต้องจัดการเงื่อนไขต่างๆ ที่ท�ำให้เราควบคุมอะไรได้ดังใจนึก เพื่อให้เราเข้าถึงความสุขสงบลึกซึ้ง ที่เกิดจากความบริสุทธิ์ของใจได้” แต่ ถึงกระนัน้ ก็ตาม เราจะเห็นได้วา่ มันก็ยงั ยืนพืน้ อยูบ่ นฐานคือตัณหา ใช่ไหม? ยังเป็นความคิดเห็นที่เกี่ยวข้องอยู่กับตัวตน เป็นความปรารถนาจะสัมผัส ประสบการณ์แบบนัน้ เพราะเราจ�ำประสบการณ์นนั้ ได้ เราชอบใจ เลยอยาก จะสัมผัสประสบการณ์แบบนัน้ อีกครั้ง * ตูเ้ ก็บอารมณ์ แปลจากค�ำในภาษาอังกฤษคือ Sensory deprivation tank หรือเรียกอีกชือ่ หนึง่ ว่า Floatation tank หรือ Isolation tank ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ชาวตะวันตกน�ำมาประยุกต์ใช้ประโยชน์เวลาที่ต้องการให้จิตใจ สงบผ่อนคลาย หรือทางการแพทย์ใช้รักษาอาการทางจิต เช่น โรคเครียด อาการนอนไม่หลับ เป็นต้น Sensory deprivation tank มีลักษณะเป็นตู้ คล้ายแค็ปซูลในหนังอวกาศ ภายในตู้จะมีการควบคุมอุณหภูมิ เก็บเสียง และใส่น�้ำเกลือไว้ในนัน้ ผู้ใช้จะเข้าไปนอนแช่ลอยอยู่บนน�้ำเกลือภายในตู้ - ผู้แปล
19
20
ห นึ่ ง ล ม ห า ย ใ จ only one breath
ครั้งหนึง่ ในระหว่างช่วงเข้าอบรมกรรมฐาน อาตมาได้ยินเสียง ของผูป้ ฏิบตั ทิ มี่ อี าการกลืนน�ำ้ ลายบ่อยๆ อาตมานัง่ อยูใ่ กล้แถวนัน้ พอดี และ ได้ยินเขากลืนน�้ำลาย “เอื๊อก... เอื๊อก...” เสียงก็ไม่ได้ดังอะไรนักหนาหรอก นะ แต่หากยังยึดติดกับบรรยากาศที่เงียบสงัด เสียงกลืนเพียงแค่นกี้ ็ทำ� ให้ หงุดหงิดได้แล้ว ดังนั้น อาตมาจึงรู้สึกร�ำคาญ จนอยากจะโยนคนนั้น ออกไปจากศาลาปฏิบตั ธิ รรมเลยทีเดียว แต่พอได้พจิ ารณาดูแล้ว อาตมาก็รวู้ า่ ปัญหาอยู่ที่ตัวอาตมาเอง ไม่ใช่ผู้ปฏิบัติคนนัน้ การมีสติและความเข้าใจในธรรมะเท่านัน้ ทีจ่ ะช่วยให้เรารูจ้ กั ปรับตัว และยอมรับสภาพชีวิต หรือประสบการณ์ในชีวิตได้ทั้งหมด โดยไม่ต้อง ไปบงการกะเกณฑ์อะไร เมื่อมีสติรู้ตัว เราจะไม่ไปยึดติดอยู่กับเรื่องจุกจิก หยุมหยิมสารพัดทีเ่ ราชืน่ ชอบ แล้วก็ตอ้ งหวาดหวัน่ พรัน่ พรึง ต่อโอกาสเสีย่ ง ที่จะต้องวิบัติพลัดพรากจากสิ่งเหล่านัน้ การบ�ำเพ็ญสมาธิที่ถูกต้องตรงทาง จะช่วยให้เราอาจหาญและรู้จักปรับสภาพ รู้จักผ่อนปรนกับชีวิต และกับ ทุกเรื่องที่เข้ามาพัวพัน เราควบคุมอะไรไม่ได้มากนักอยู่แล้ว ใช่ไหม? ไม่ได้มากเท่าที่เรา อยากจะท�ำได้ เพื่อควบคุมชีวิตของเรา เรารู้ดีอยู่แล้วว่า เราควบคุมอะไร ไม่ได้มากมายเลยจริงๆ หลายเรื่องก็อยู่นอกเหนือการควบคุมของเราอย่าง สิ้นเชิง เรื่องทั้งหลายก็ดำ� เนินของมันไป และพระแม่ธรรมชาติ ก็มีวิถีทาง ของท่านที่จะแสดงให้เราเห็นว่า ท่านจะไม่คล้อยตามความประสงค์ของเรา เป็นแน่ แล้วไหนจะเรือ่ งค่านิยมตามสมัยทัง้ หลาย การปฏิรปู ระบบ สภาวการณ์
ห นึ่ ง ล ม ห า ย ใ จ only one breath
ที่ เปลี่ ย นแปลง เรื่ อ งปั ญ หาประชากร เรื่ อ งของเครื่ อ งบิ น โทรทั ศ น์ เทคโนโลยี และเรือ่ งมลภาวะ เราไปบังคับหรือท�ำอะไรได้บา้ ง เพือ่ ทีเ่ ราจะได้ ไม่ได้รบั ผลกระทบจากเรือ่ งพวกนัน้ หรือเลือกรับผลเฉพาะในส่วนทีเ่ ราชืน่ ชอบ หากเรามัวแต่ใช้ชีวิตของเราไปในการดิ้นรนขวนขวาย เพื่อควบคุม บัญชาทุกสิ่งทุกอย่าง ก็รังแต่จะเพิ่มความทุกข์ขึ้นมาเท่านัน้ เอง ถึงแม้ว่าเรา จะแค่กะเกณฑ์ควบคุมสิง่ ต่างๆ เพียงเล็กน้อย เพือ่ ให้ได้ในสิง่ ทีเ่ ราต้องการ ก็ตาม เรื่องมันก็ยังคงจะเป็น เหมือนอย่างอาตมากับคนที่นงั่ กลืนน�้ำลาย ในศาลาปฏิบัติธรรม คือ เราก็คงต้องจ้องจะโกรธ เมื่อเพื่อนบ้านเปิดวิทยุ เสียงดังเกินไป เมื่อเครื่องบินบินต�ำ่ เกินไป หรือเมื่อมีรถดับเพลิงวิ่งผ่าน ถึงตอนนี้ มีสิ่งหนึง่ ที่เราต้องตระหนักก็คือ เมื่อเรามีร่างกาย เราก็ ต้องอาศัยอยูก่ บั ร่างกายนีไ้ ปจนตลอดชีวติ และร่างกายก็มคี ณ ุ สมบัตทิ รี่ บั รู้ อะไรได้และมีความรูส้ กึ ตอบสนองได้ มันเป็นของมันเช่นนีเ้ อง เป็นความหมาย ของชีวิตที่เกิดขึ้นมา พอร่างกายเกิดขึ้นแล้ว ต่อไปก็เริ่มแก่ตัว จากนัน้ ก็เข้าสู่วัยชรา และต่อด้วยความเจ็บป่วย เกิดโรคภัย สิ่งนี้เป็นส่วนหนึง่ ของ ประสบการณ์ความเป็นมนุษย์ของเรา และท้ายที่สุดก็ต้องพบกับความตาย เราจึงต้องยอมรับความตาย และยอมรับว่าต้องพลัดพรากจากบุคคลอันเป็น ที่รักทั้งหลาย สิ่งนีต้ ้องเกิดกับพวกเราทุกคน พวกเราทั้งหมดจะต้องเห็น พ่อแม่ของเราเสียชีวิต หรืออาจจะเห็นลูกของเราเอง คู่ครองของเรา เพื่อน หรือบุคคลอันเป็นทีร่ กั ของเราเสียชีวติ ประสบการณ์ของมนุษย์ทตี่ า่ งมีเสมอ เหมือนกัน ก็คือ ประสบการณ์แห่งการพลัดพรากจากผู้ที่เป็นที่รัก
21
22
ห นึ่ ง ล ม ห า ย ใ จ only one breath
เมือ่ รูจ้ กั ความเป็นของธรรมดาเช่นนัน้ เอง เราจะพบว่าเราจะสามารถ ยอมรับความจริงของชีวิตได้มากขึ้น และจะไม่รู้สึกเศร้าโศกหรือสับสนกับ สิง่ ทีจ่ ะเกิดขึน้ กับชีวติ เมือ่ เรามีความเข้าใจชีวติ และมองเห็นชีวติ ในแนวทาง ทีถ่ กู ต้อง เราจะไม่สร้างทัศนะทีผ่ ดิ เกีย่ วกับชีวติ ไม่ปรุงแต่งความหวาดกลัว ความต้องการ ความขมขื่น ความขุ่นเคือง และการวิพากษ์วิจารณ์จับผิด เข้ามาใส่ชวี ติ เราจะมีศกั ยภาพในการยอมรับ สิง่ ทีจ่ ะเกิดขึน้ กับชีวติ ของเรา ในฐานะทีเ่ ป็นปัจเจกบุคคล ถึงแม้วา่ เราจะเกิดอารมณ์ตอบสนองได้งา่ ยดาย เป็นอย่างยิ่ง แต่เราก็ยังเป็นสิ่งมีชีวิตในจักรวาลที่แข็งแกร่งได้ด้วยเช่นกัน เราลองพิจารณาดูสถานที่ที่มนุษย์เราใช้เป็นแหล่งด�ำรงชีวิต เช่น ชาวเผ่าเอสกิโม ในตอนเหนือของทวีปอาร์กติก และประชาชนที่อาศัยอยู่ ตามทะเลทราย สถานที่ที่ไม่น่าย่างกรายเข้าไปในโลกนีท้ ั้งหมด ล้วนแต่มี การตั้งถิ่นฐานของมนุษย์กันอยู่เป็นปกติ เมื่ออยู่ในภาวะจ�ำยอม มนุษย์เรา เอาชีวิตรอดได้ทั้งนัน้ ไม่ว่าในที่ไหนๆ ความเข้าใจธรรมะยังช่วยให้เรามีท่าทีที่ไม่หวาดหวั่นอีกด้วย เรา จะเริม่ ประจักษ์วา่ เราสามารถยอมรับอะไรก็ได้ทเี่ กิดขึน้ ไม่มอี ะไรเลยให้ตอ้ ง หวั่นเกรง เมื่อเป็นเช่นนัน้ เราก็จะสามารถปล่อยวางชีวิต แต่เราก็ยังคง ด�ำเนินชีวิตต่อไป แต่ไม่ได้คาดหวังอะไรจากชีวิต และไม่พยายามไปบังคับ ควบคุมอะไร เราจะมีปัญญา มีสติ มีศักยภาพในการปรับตัวไปตามกระแส แทนที่จะโดนลากดึงไปตามคลื่นแห่งชีวิตที่ขึ้นๆ ลงๆ
ห นึ่ ง ล ม ห า ย ใ จ only one breath
ขอให้เรียนรู้ที่จะใช้เวลาอยู่เงียบๆ แล้วคอยรับฟังตนเอง โดย อาศัยลมหายใจและร่างกาย ตามจังหวะอันเป็นธรรมชาติของการหายใจ และสภาวะอาการทีร่ ่างกายรู้สกึ อยู่ในปัจจุบนั จงใส่ใจสังเกตอยู่กบั ร่างกาย เนื่องจากร่างกายเป็นสภาวะในธรรมชาติ ร่างกายไม่ใช่เราอย่างแท้จริง ลมหายใจก็ไม่ใช่ “ของเรา” อีกต่อไป ไม่ใช่สิ่งที่เป็นบุคคล เรายังคงหายใจ ถึงแม้เราจะเป็นบ้า หรือเจ็บป่วยก็ตาม และในขณะที่เรานอนหลับเราก็ ยังคงหายใจ ร่างกายเป็นผูห้ ายใจ และร่างกายหายใจตัง้ แต่เกิดไปจนวันตาย ดังนัน้ ลมหายใจจึงเป็นสิง่ ทีเ่ ราใช้เป็นอารมณ์ส�ำหรับก�ำหนดดู หรือให้ความ สนใจ หากเราคิดมากเกินไป ความคิดก็จะยุ่งเหยิงและซับซ้อน แต่เมื่อเรา หันมาใส่ใจอยู่แต่กับลมหายใจตามปกติของร่างกายในปัจจุบันขณะได้ ในขณะนัน้ เราไม่ตอ้ งคิดอะไรเลยก็ได้ แต่จะตืน่ รูอ้ ยูก่ บั จังหวะลีลาตามธรรมชาติ ถึงอย่างนัน้ ก็ตาม เราอาจจะสร้างปัญหาขึ้นมาอีกก็ได้ โดยคิดว่า “แย่จงั ...ก�ำหนดจิตอยูก่ บั ลมหายใจไม่ได้เลย....” อย่างนีเ้ ป็นต้น ก็เลยเป็นเหตุ ให้เกิดความรู้สึกเป็น “ตัวฉัน” ขึ้นมา ซึ่งพยายามจะมีสติอยู่กับลมหายใจ ของฉัน แต่ตามความจริงแล้ว ในชัว่ ขณะทีเ่ ราอยูก่ บั ลมหายใจได้อย่างพอดิบ พอดี จะไม่มีความรู้สึกมีตัวตนขึ้นมา ตัวตนของเราจะผุดขึ้นมาในขณะ ที่เราเริ่มคิด หากเราไม่คิดก็ไม่มีตัวตน และหากเรามีสติรู้สึกตัว ความคิด ก็จะไม่ผุดออกมาจากความเห็นผิดๆ ว่า “เราเป็นตัวตน” เมื่อเป็นดังนัน้ ความคิดก็จะเป็นเครื่องมือในการตรึกตรองพิจารณา หรือดึงความสนใจ ไว้กบั ธรรมะ แทนทีจ่ ะไปก่อปัญหา คิดจับผิด และวิตกกังวล เกีย่ วกับเรือ่ ง ของตัวเองและเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน
23
24
ห นึ่ ง ล ม ห า ย ใ จ only one breath
ลองพิจารณาดูก็ได้ เวลาที่เราโกรธเราต้องคิดใช่ไหม? ถ้าหากเรา เลิกคิดความโกรธก็หายไป การทีจ่ ะโกรธได้ เราต้องคิด เช่น “มันพูดอย่างนัน้ กับฉันได้ยังไง... มันกล้าดียังไง น่ารังเกียจจริงๆ” แต่ถ้าหากเราได้หยุดคิด โดยอาศัยลมหายใจเป็นตัวช่วย ในที่สุดแล้ว ความรู้สึกทางกายที่มาพร้อม กับความโกรธ ก็จะค่อยจางหายไป แล้วความโกรธก็จะหายไป ดังนัน้ ถ้าหากเรารู้สึกโกรธ แค่ให้พิจารณาดูว่ามันรู้สึกเป็นอย่างไร เช่นเดียวกับ ดูความรู้สึกทางกาย ความรู้สึกโกรธก็เหมือนๆ กันกับอารมณ์อย่างอื่น นัน่ เอง ขอให้ไตร่ตรองและพิจารณาดูอารมณ์ที่เรารู้สึกอยู่ ให้ปฏิบัติไปกับ อารมณ์ แต่ไม่ใช่ให้วเิ คราะห์ หรือวิพากษ์วจิ ารณ์ แต่ให้พจิ ารณาอย่างเดียว ว่าอารมณ์นนั้ มีอาการเป็นอย่างไร บางครั้ง คนก็พูดกันว่า “รู้สึกสับสนมากเวลาที่ปฏิบัติสมาธิ จะท�ำ อย่างไรดีนะ จึงจะไล่ความสับสนออกไปได้?” การอยากจะก�ำจัดความสับสน นัน่ ล่ะ ทีเ่ ป็นตัวปัญหา พอรูส้ กึ สับสนแล้วก็ไม่อยากจะมีความสับสน นัน่ ล่ะ ยิง่ สร้างความสับสนให้มากยิง่ ขึน้ ไปอีก แล้วความสับสนแสดงอาการอย่างไร? เมื่อเกิดความรู้สึกที่เข้มข้น กระตุ้นอารมณ์ได้มาก เราก็จะสังเกต เห็นได้ค่อนข้างชัดเจน ส่วนอารมณ์ที่เรามักไม่ค่อยใส่ใจหรือมองข้าม จะ เป็นสภาวะอารมณ์ที่มีน�้ำหนักเบากว่า เช่น ความรู้สึกความสับสนเล็กๆ น้อยๆ ความลังเลสงสัย ความรู้สึกไม่มั่นคงปลอดภัย หรือความกังวล ดังนัน้ แล้ว ในอีกด้านหนึง่ เราจึงอยากจะก�ำจัดหรือท�ำลายอารมณ์นนั้ ออกไป ท่าเดียว โดยคิดแต่ว่า “เราจะขับไล่อารมณ์นี้ออกไปด้วยวิธีไหนนะ เวลา ปฏิบัติสมาธิ เราจะก�ำจัดความกลัว และความวิตกกังวลได้อย่างไรนะ?”
ห นึ่ ง ล ม ห า ย ใ จ only one breath
โดยอาศัยความเข้าใจที่ถูกต้อง เราจะมองเห็นได้ว่าความอยากจะ “ก�ำจัดท�ำลาย” นัน่ เองที่ท�ำให้เป็นทุกข์ เราอดทนต่อความรู้สึกไม่มั่นคง ปลอดภัยได้ ถ้าหากเรารู้สภาวะตามที่มันเป็นจริง และรู้ว่ามันเป็นสิ่งที่ ต้องเปลี่ยนแปลง ไม่เที่ยงทน แล้วเราก็จะเริ่มได้ความมั่นอกมั่นใจได้มาก ยิ่งขึ้นไปเรื่อยๆ ในการอาศัยแค่ความรู้สึกตัวและมีสติระลึกรู้เพียงอย่าง เดียว แทนที่จะไปพยายามคิดค้นข้อปฏิบัติเพื่อที่จะได้กลายเป็นผู้บรรลุ คุณธรรม มีการนึกเออออเอาเองว่า เดี๋ยวนี้เรายังไม่ได้บรรลุธรรม เราจึงมี ปัญหาอุปสรรคมากมาย เราต้องเปลี่ยนแปลงชีวิต เราจะต้องเปลี่ยนแปลง ตัวเองให้ตา่ งจากเดิม ทีเ่ ป็นอยูใ่ นปัจจุบนั นี้ เรายังไม่ดพี อ ดังนัน้ เราจะต้อง ปฏิบัติภาวนา ด้วยความตั้งใจว่า สักวันหนึง่ ในอนาคตเราจะได้เป็นในสิ่ง ที่เราปรารถนาจะเป็น ตราบใดที่เรายังมองไม่เห็นความหลงผิดในวิธีคิดของเรา แนวคิด เช่นนั้นก็จะยังคงด�ำเนินอยู่ต่อไป เราจะไม่มีวันเป็นในสิ่งที่เราคาดหวัง จะเป็นได้เลย ไม่วา่ เราจะใช้ความพยายามไปในการปฏิบตั ภิ าวนามากแค่ไหน ก็ตาม ถึงจะผ่านการบ�ำเพ็ญเพียรปีแล้วปีเล่าเพื่อจะได้บรรลุธรรม เราก็ จะยังคงรูส้ กึ เหมือนกับล้มเหลวอยูเ่ สมอ ทัง้ นี้ ก็เนือ่ งมาจากเรายังคงมีทศั นะ ที่ยังผิดอยู่ เกี่ยวกับเรื่องอะไรทั้งหมด
25
26
ห นึ่ ง ล ม ห า ย ใ จ only one breath
ขั น ติ ธ รรมนั้ น เกื้ อ กู ล * ความสงบและความนิง่ อาจกลับกลาย เป็นเรื่องที่น่าเบื่อหน่ายอย่างยิ่ง พร้อมทั้งสร้าง ความสับสนวุ่นวาย และความสงสัย ให้ ก็ได้ ความวุ่นวายเป็นปัญหาปกติธรรมดา เพราะโลก ที่ต้องเกี่ยวข้องกับอารมณ์ คือ โลกแห่งความ วุ่นวายสับสน ร่างกายก็วุ่นวาย จิตใจก็วุ่นวาย สังขารสิ่งปรุงแต่งทั้งหลาย เปลี่ยนแปลงอยู่ ตลอดเวลา หากเราไปเอาจริงเอาจังกับอารมณ์ ที่แสดงออกต่อความเปลี่ยนแปลง เราก็จะมีแต่ ความวุ่นวายเท่านัน้ *แปลจากเรื่อง Patience หนังสือ The way it is ธรรมบรรยาย ที่วัดอมราวดี ช่วง Winter retreat วันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2531
จึ ง จ� ำ เป็ น ต้ อ งท� ำ ความเข้ า ใจความ วุ่นวายอย่างรอบคอบ ให้เห็นถูกต้องตามที่มัน เป็นจริง การฝึกฝนปฏิบัติไม่ใช่เพียงแค่ใช้กำ� ลัง ใจ ตรึงตัวเองไว้กับเบาะนัง่ สมาธิเท่านัน้ ไม่ใช่
28
ห นึ่ ง ล ม ห า ย ใ จ only one breath
ทั้งการทดสอบเพื่อจะได้ผ่านด่านไปเป็นมนุษย์จอมพลัง ที่สามารถเอาชนะ ความวุ่นวายได้ ความคิดเห็นแบบนัน้ มีแต่จะเป็นการเพิ่มความส�ำคัญตน ให้มากขึ้นไปเท่านั้น แต่เรื่องนี้เป็นการไตร่ตรองพิจารณาความวุ่นวาย อย่างถ่องแท้ ด้วยการสังเกตเห็น และท�ำความรูจ้ กั สภาวะตามความเป็นจริง ของมันได้ การจะท�ำได้อย่างนี้ ก็ต้องฝึกฝนความอดทน ความอดทนนัน้ เป็นสิ่งที่เราต้องเรียนรู้ และฝึกหัดอย่างตั้งใจ ครัง้ แรกทีอ่ าตมาไปอยูว่ ดั หนองป่าพง อาตมาไม่เข้าใจภาษาอีสานเลย ตอนนัน้ หลวงพ่อชาอยูใ่ นช่วงทีม่ กี ำ� ลังวังชาเต็มที่ และทุกๆ เย็น ท่านจะแสดง ธรรมวันละ 3 ชั่วโมง ท่านจะเทศน์ของท่านไปได้เรื่อยๆ ใครต่างก็ศรัทธา เลื่อมใสท่าน ท่านเทศน์เก่งและมีอารมณ์ขันมาก ไม่ว่าใครต่างก็รู้สึกสนุก ไปกับการแสดงธรรมของท่านทั้งนัน้ แต่ว่าต้องฟังภาษาอีสานรู้เรือ่ งด้วยนะ อาตมานัง่ อยู่ตรงนัน้ และเอาแต่คิดว่า “เมื่อไหร่ หลวงพ่อจะเทศน์ จบเสียทีนะ เสียเวล�ำ่ เวลา” อาตมาหงุดหงิดอารมณ์เสียมาก จึงคิดเลยไปว่า “พอกันที ไปดีกว่า” แต่ก็ไม่กล้าพอที่จะลุกหนีไป จึงได้แต่นงั่ แช่อยู่ตรงนัน้ คิดอยู่แต่ว่า “ย้ายไปอยู่วัดอื่นดีกว่า ที่นที่ ่าจะไม่ไหว ไม่ทนอีกต่อไปแล้ว” และในขณะนัน้ นัน่ เอง หลวงพ่อก็มองมาที่อาตมา พร้อมด้วยรอยยิ้มเป็น ประกายเบิกบาน แล้วพูดกับอาตมาว่า “Are you all right?” เท่านัน้ แหละ ความโกรธที่ระอุอยู่ต่อเนื่องมาเป็นเวลา 3 ชั่วโมง ก็สลายหายไปหมด
ห นึ่ ง ล ม ห า ย ใ จ only one breath
น่าคิดไหม หลังจากที่นงั่ เดือดปุดๆ อยู่ตรงนัน้ นานถึง 3 ชั่วโมง ความโกรธกลับหายไปเสียเฉยๆ อาตมาจึงตั้งปฏิญาณว่าจะต้องฝึกตัวเอง ให้มีความอดทน แล้วอาตมาฝึกฝนความอดทนในช่วงเวลานั้นนั่นเอง อาตมามาฟังเทศน์ทกุ ๆ กัณฑ์ไม่ขาด นัง่ ให้นานเท่าทีร่ า่ งกายจะทนไหว อาตมา ตั้งใจว่าต้องไม่พลาดสักกัณฑ์ และพยายามจะไม่หาเรื่องหลบ จะฝึกเอา ความอดทนอย่างเดียว และเมื่อฝึกฝนไปตามนัน้ อาตมาก็เริ่มมองเห็นว่า การได้มโี อกาสอดทน กลับช่วยเกือ้ กูลต่ออาตมาเป็นอย่างมาก ความอดทน เป็นรากฐานทีม่ นั่ คง ให้อาตมามีความรูแ้ ละความเข้าใจในธรรมะได้แจ่มแจ้ง ลึกซึ้งขึ้น ถ้าไม่รู้จักอดทนเสียแล้ว อาตมาก็คงจะได้แต่ระหกระเหิน และ เที่ยวเตลิดไปไหนต่อไหนอีก ชาวตะวันตกจ�ำนวนไม่นอ้ ย เดินทางมาวัดหนองป่าพง แต่กห็ นีหาย ไปหมด เนือ่ งจากขาดความอดทน พวกเขาไม่ตอ้ งการทนนัง่ ฟังเทศน์ตลอด 3 ชัว่ โมง หากแต่ตอ้ งการไปยังสถานทีท่ จี่ ะบรรลุธรรมได้ฉบั พลัน และท�ำได้ เร็วดังใจทันทีตามที่ต้องการ แม้ในการปฏิบัติด้านจิตใจ ตัณหาและความ ทะยานอยากอันเกีย่ วข้องกับตัวตน ก็ยงั มาคอยบงการเราได้ตลอด เราจึงไม่ สามารถรูซ้ งึ้ ถึงสภาวะตามทีเ่ ป็นจริงได้ เมือ่ อาตมาย้อนพิจารณา ใคร่ครวญ ดู ถึงชีวิตตอนที่อยู่วัดหนองป่าพงนัน้ ก็เห็นได้เลยว่า มีความเป็นสัปปายะ เป็นอย่างยิง่ ได้ครูบาอาจารย์ผปู้ ระเสริฐ อาหารการขบฉันพอเพียง พระสงฆ์ ก็ประพฤติดีปฏิบัติชอบ ญาติโยมก็เป็นคนใจบุญสุนทร์ทานมาก และ
29
30
ห นึ่ ง ล ม ห า ย ใ จ only one breath
มีสงิ่ เกือ้ กูลส่งเสริมการปฏิบตั ธิ รรม ส�ำหรับอาตมาได้ถงึ ขนาดนีถ้ อื ว่าดีทสี่ ดุ แล้ว เป็นโอกาสทีด่ เี ลิศแล้ว ถึงอย่างนัน้ ชาวตะวันตกหลายคนก็มองไม่เห็น เพราะมัวแต่คดิ กันว่า “อันนีก้ ไ็ ม่ถกู ใจ อันนัน้ ก็ไม่ถกู ใจ มันน่าจะเป็นอย่างนัน้ นะ” แถมคิดไปอีกว่า “เราคิดว่าอย่างนัน้ ..... เราเห็นว่าอย่างนี.้ ....... ไม่อยาก ให้มีเรื่องนัน้ เรื่องนี้ มารบกวนเลย” อาตมาจ�ำได้ตอนทีข่ นึ้ ไปอยูท่ วี่ ดั ถ�ำ้ แสงเพชร ซึง่ สมัยนัน้ เป็นสถานที่ สงบวิเวกมาก อาตมาไปพักในถ�้ำ ชาวบ้านได้ช่วยกันสร้างแท่นแบบยกพื้น ถวาย เพราะลึกเข้าไปในท้ายถ�ำ้ มีงเู หลือมตัวใหญ่อาศัยอยู่ ตอนเย็นวันหนึง่ ขณะที่อาตมาก�ำลังนัง่ อยู่บนแท่นใกล้ๆ กับแสงเทียน บรรยากาศวิเวก วังเวงมาก แสงสว่างจากเทียน ก็ทอดแสงสร้างเงาจากกลุ่มก้อนหินต่างๆ ดูประหลาดพิกล อาตมาจึงเริม่ รูส้ กึ กลัวขึน้ มา และแล้วทันใดนัน้ เอง อาตมา ก็ต้องสะดุ้งตกใจ เมื่อมองขึ้นไป แล้วเห็นนกฮูกตัวใหญ่ที่จับอยู่ด้านบน ตรงนัน้ พอดี พร้อมกับจ้องมองมาที่อาตมา ตัวมันใหญ่มากด้วย อาตมา ไม่รู้ว่าจริงๆ แล้ว ตัวมันใหญ่ขนาดนัน้ หรือเปล่า แต่มันดูตัวใหญ่มาก เมือ่ กระทบกับแสงเทียน แถมมันยังจ้องมองอาตมาอีกด้วย อาตมาจึงคิดว่า “เอาล่ะ... ถ้าจะมีอะไร ที่ทำ� ให้ที่นนี่ ่ากลัว มันจะเป็นอะไรไปได้บ้าง” แล้ว อาตมาก็พยายามไล่คดิ ไปถึงโครงกระดูกบ้าง ผีสางบ้าง เจ้าแม่กาลีทมี่ เี ขีย้ วโง้ง มีเลือดเปรอะเต็มปากบ้าง หรือนึกถึงสัตว์ประหลาดร่างใหญ่ตัวเขียวบ้าง ถึงตอนนัน้ อาตมาถึงกับหัวเราะออกมา เพราะมันกลายเป็นเรื่องน่าตลก ไปซะแล้ว อาตมาก็เลยรู้ว่าอาตมาหายกลัวแล้ว
ห นึ่ ง ล ม ห า ย ใ จ only one breath
ตอนนัน้ อาตมายังเป็นพระนวกะพรรษายังน้อย อยู่มาคืนหนึง่ หลวงพ่อชา พาอาตมาไปงานท�ำบุญประจ�ำหมูบ่ า้ น คิดว่าตอนนัน้ ท่านสติมนั โต ก็อยูด่ ว้ ยกัน เราต่างเป็นนักปฏิบตั ทิ เี่ อาจริงเอาจังมาก ไม่ชอบเรือ่ งทีไ่ ร้สาระ และงมงาย ดังนั้น การไปร่วมงานท�ำบุญประจ�ำหมู่บ้าน จึงเป็นเรื่องที่ อยากจะท�ำเป็นอันดับสุดท้าย เพราะว่าหมูบ่ า้ นแถบนัน้ ชอบเครือ่ งล�ำโพงขยาย เสียง แต่หลวงพ่อชาก็ยงั พาอาตมา และท่านสติมนั โตไปงานนีจ้ นได้ พวกเรา ต้องนั่งฟังเสียงดังอึกทึกหนวกหูจากล�ำโพงขยายเสียงตลอดคืน และ พระก็เทศน์ตลอดคืนด้วย ส่วนอาตมาก็ได้แต่คิดว่า “เฮ้อ... อยากจะกลับ ถ�ำ้ แล้ว พวกสัตว์ประหลาดตัวเขียว พวกผีสาง ยังดีกว่านีอ้ กี ” อาตมาสังเกต ดูว่า ท่านสติมันโต ซึ่งเป็นคนที่เอาจริงเอาจังไม่มีใครเกิน ท่าทางหงุดหงิด หัวเสียมาก ออกอาการต�ำหนิไม่พอใจ และไม่มีความสุขเอาเลย พวกเรา จึงได้แต่นงั่ อยู่ด้วยความทรมาน อาตมาคิดว่า “ท�ำไม หลวงพ่อชาต้องพา พวกเรามาอยู่กับอะไรแบบนีด้ ้วยนะ” จากนั้นอาตมาจึงเริ่มหันกลับมามองตัวเอง อาตมายังจ�ำได้ถึง ตอนทีน่ งั่ พิจารณาว่า “เราจะนัง่ หัวเสียกับเรือ่ งนีท้ ำ� ไม แล้วเรือ่ งนีม้ นั แย่จริงๆ หรือเปล่า สิง่ ทีแ่ ย่คอื การทีเ่ ราวุ่นวายไปกับมันเองต่างหากเล่า สิง่ ทีเ่ ป็นทุกข์ คือใจของเราเอง ไม่ว่าจะเป็นล�ำโพงขยายเสียง เสียงหนวกหู สิ่งกวนใจ หรือความง่วงเหงาหาวนอน เราเองก็ทนกับมันได้อยู่แล้ว อะไรแย่ๆ ในใจ ต่างหากที่เป็นฝ่ายเกลียดชัง ทั้งต่อต้านปฏิเสธ หรืออยากจะหนี นีต่ ่างหาก ล่ะ ที่เป็นตัวความทุกข์ทรมานที่แท้จริง”
31
32
ห นึ่ ง ล ม ห า ย ใ จ only one breath
แล้วตอนเย็นวันนัน้ เอง อาตมาก็ได้เห็นความทุกข์ทรมานในจิตใจ ทีอ่ าตมาปรุงแต่งขึน้ มาเอง จากสิง่ ทีจ่ ริงๆ แล้วอาตมาสามารถทนได้ อาตมา ยังนึกถึงเรื่องนัน้ ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ลึกซึ้งแจ่มแจ้งว่า สิ่งที่อาตมาคิดว่า เป็นความทุกข์ทรมานเป็นอีกอย่างหนึง่ สิ่งที่เป็นตัวความทุกข์ทรมานก็เป็น อีกอย่างหนึง่ ตอนแรกอาตมารูส้ กึ ต�ำหนิผคู้ น ต�ำหนิลำ� โพงขยายเสียง เรือ่ ง วุ่นวาย ต�ำหนิเสียง และความอึดอัดไม่สะดวกสบาย อาตมาคิดว่านัน่ เป็น ตัวปัญหา หลังจากนัน้ จึงเห็นได้ว่า นัน่ ไม่ใช่ปัญหาหรอก ใจของอาตมา เองต่างหากที่มีปัญหา ดังนัน้ หากเราจะพิจารณาไตร่ตรองธรรมะ เราศึกษาเอาได้จาก สถานการณ์ต่างๆ ที่เราไม่ค่อยชอบก็ได้ หากมีความตั้งใจและความอดทน ที่จะท�ำ
ย อ ม รั บ ส ภ า ว ะ ต า ม ที่ เป็ น จริ ง ของสิ่ ง ทั้ ง ปวง*
*แปลจากเรื่อง Accepting the way things are หนังสือ The way it is ปรารภธรรมะกับคณะสงฆ์ ช่วง Winter retreat ที่วัดอมราวดี วันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2531
วันนี้ พวกเรามีใครบ้างไหมทีป่ ฏิบตั ิ เพือ่ มุ่งจะให้เป็นอะไรสักอย่างขึ้นมา ในลักษณะที่ว่า “ฉันจะต้องท�ำอย่างนี้ ฉันจะต้องเอาให้ได้อย่างนัน้ ต้องก�ำจัดท�ำลายบางสิง่ จะต้องท�ำอะไรสักอย่าง” ความรู้สึกกดดันบังคับแบบนัน้ ตามมาครอบง�ำ บงการแม้แต่ในเวลาที่เราปฏิบัติธรรม การที่ให้ เห็นตามที่มันเป็นจริงนี้ ก็ไม่ใช่ว่าต้องยอมให้ อะไรเป็ น ไปตามเวรตามกรรมหรื อ ไม่ ส นใจ อะไรเลย ปล่อยปละละเลยไปเสียหมด แต่เป็น การเปิดใจรับอย่างแท้จริง ต่อสภาวะทีส่ งิ่ ทัง้ หลาย ต้องเป็นไป ตามที่ปรากฏอยู่ในขณะนี้ ตัวอย่าง เช่น เดี๋ยวนี้ คือ ณ ปัจจุบันขณะนี้ มีสภาวะ ที่ ก� ำ ลั ง เป็ นของมั น อยู ่ แ บบนี้ สภาวะเช่ นนี้ มันจะเป็นไปอย่างอืน่ ไปไม่ได้เลย ซึง่ มันก็ชดั เจน อยู่แล้วถึงขนาดนี้
34
ห นึ่ ง ล ม ห า ย ใ จ only one breath
ในขณะนี้ ไม่ว่าเราจะมีความรู้สึกอย่างใด จะดี จะแย่ หรือ เป็น กลางๆ จะสุข หรือจะทุกข์ จะเห็นแจ่มแจ้งในธรรมะ หรือ หลงผิดอย่าง เต็มที่ จะเห็นแจ่มแจ้งในธรรมะได้ครึง่ หนึง่ หรือเห็นผิดเพียงครึง่ หนึง่ ก็ตาม หรือว่า จะเห็นผิดไปตั้งสามส่วน เห็นแจ้งในธรรมะได้เพียงหนึง่ ส่วน หรือ ว่า จะสมหวัง หรือผิดหวังก็แล้วแต่ นี่ล่ะ คือ สภาวะที่กำ� ลังเป็นอยู่ แล้ว มันก็ไม่มีทางเป็นไปอย่างอื่นได้เลย ณ ขณะนี้ ร่างกายเรารู้สึกอย่างไร ก็ขอเพียงให้สังเกต ร่างกายตามที่กำ� ลัง รู้สึก รู้สึกมีน�้ำหนัก เดินติดพื้นดิน มีกายหยาบ รู้สึกหิว รู้สึกกระหาย รู้สึก ร้อน รู้สึกหนาว เจ็บป่วยไม่สบาย บางครั้งก็รู้สึกดี บางครั้งก็รู้สึกแย่ นี่ล่ะ คือ สภาวะตามที่เป็นจริง สภาพร่างกายของมนุษย์ก็เป็นเช่นนี้เอง เมื่อเห็น ตามนัน้ แนวโน้มนิสัยที่อยากให้มันเป็นไปอย่างอื่นจากนี้ ก็จะหายไป แต่ ทัง้ นี้ ก็ไม่ได้หมายความว่า เราจะไม่พยายามท�ำอะไรให้มนั ดีขนึ้ แต่เราจะท�ำ ด้วยความเข้าใจ และใช้สติปัญญา แทนที่จะท�ำไปตามอ�ำนาจของตัณหา เพราะความหลงผิด เรื่องของโลกก็เป็นเช่นนี้ สิ่งทั้งหลายต่างก็ด�ำเนินไป หิมะตก ดวงอาทิตย์สอ่ งแสง ผูค้ นผ่านมาแล้วผ่านไป คนทีเ่ ห็นผิดก็มี คนทีเ่ จ็บปวด ก็มี คนขี้เกียจก็มี รู้สึกมีก�ำลังใจก็มี บ้างก็หดหู่เศร้าสร้อย บ้างก็รู้สึก หมดศรัทธา บ้างก็ติฉนิ นินทากัน ต่างฝ่ายต่างรู้สึกผิดหวังในกันและกัน มีทั้งการประพฤตินอกใจกัน ลักขโมยกัน ขี้เหล้าเมายา ติดสิ่งเสพย์ติด ก่อสงครามกัน ก็เป็นอย่างนี้เรื่อยมาตลอด
ห นึ่ ง ล ม ห า ย ใ จ only one breath
ส�ำหรับในหมู่คณะอย่าง วัดอมราวดีแห่งนี้ เราก็สามารถสังเกต เห็น สิ่งทั้งหลายตามสภาวะที่มันเป็นจริงได้ ตอนนี้ เป็นช่วงสุดสัปดาห์ จึง มีญาติโยมเดินทางมาท�ำบุญถวายภัตตาหารกันมากขึน้ ก็เลยดูพลุกพล่าน มี เสียงจ้อกแจ้กจอแจ บางครั้ง เด็กๆ ก็วิ่งเล่นไปมาและส่งเสียงดังเจี๊ยวจ๊าว ญาติโยมช่วยกันโขลกช่วยกันซอยผัก และสับหัน่ เครือ่ งเคราต่างๆ อะไรต่อมิ อะไรดูอลหม่านไปหมด เราสามารถสังเกตให้เห็นได้ว่า “มันเป็นของมันอยู่ อย่างนัน้ เอง” แทนที่จะมัวแต่คิดว่า “คนพวกนี้มาท�ำลายความสงบของเรา” ความคิดทีว่ า่ “ไม่อยากให้เป็นอย่างนีเ้ ลย” หรือว่า “น่าจะเป็นแบบอืน่ นะ” อาจจะสะท้อนออกมา ถ้าหากเราชอบให้มื้ออาหารมีแต่ความสงบเงียบ เป็นระเบียบเรียบร้อย ไม่มอี ะไรวุน่ วายแบบนัน้ ไม่มเี สียงดังเอะอะ หรือเสียง รบกวนน่าร�ำคาญ แต่ชวี ติ เป็นเช่นนีเ้ อง นีค่ อื วิถที างทีช่ วี ติ เป็นไป โลกมนุษย์ เป็นแบบนี้เอง ดังนัน้ หากเราได้รวมเอาทุกๆ เรื่องมาไว้ในใจ พิจารณาเห็น ว่ามันเป็นอย่างนีน้ ี่เอง ก็จะช่วยให้เราสามารถรับได้ กับความเปลี่ยนแปลง และแปรปรวน ที่เปลี่ยนจากความเงียบ ไปเป็นความวุ่นวายอึกทึก เปลี่ยน จากเรื่องที่อยู่ใต้การบังคับจัดการ ไปเป็นเรื่องที่สับสนและยุ่งเหยิง เราอาจจะกลายเป็นชาวพุทธที่เห็นแก่ตัวไปก็ได้ หากต้องการใช้ ชีวิตอย่างเงียบสงบ อยากจะปฏิบัติอย่างเดียว และอยากมีเวลาเหลือเฟือ ไว้นงั่ สมาธิและศึกษาธรรมะ แล้วบ่นว่า ไม่อยากพบปะผู้มาเยี่ยมเยือน ไม่อยากคุยเรื่องไร้สาระกับผู้คน ไม่อยากนัน่ ไม่อยากนี่ อีกจิปาถะ เรา
35
36
ห นึ่ ง ล ม ห า ย ใ จ only one breath
มีโอกาสที่จะเป็นคนเห็นแก่ตัวที่สุดก็ได้ ทั้งที่อยู่ในสถานะที่เป็นพระนี่ล่ะ เราอาจต้องการจัดระเบียบโลกให้คล้อยไปกับความใฝ่ฝันและแนวคิดของ ตนเอง แล้วเมื่อมันไม่เป็นไปตามนัน้ เราก็ไม่อยากจะแยแสอะไรกับมัน เสียอีก ดังนัน้ แทนที่จะไปจัดการอะไรต่อมิอะไร ให้พ้องกับความต้องการ ของเรา พระพุทธองค์ทรงสอนให้เฝ้าสังเกต สิ่งทั้งหลายตามสภาวะความ เป็นจริงของมัน แล้วมันจะช่วยบรรเทาเบาบางเรือ่ งอะไรลงได้เยอะมาก หาก เรายอมรับสภาวะของสิง่ ทัง้ หลายตามความเป็นจริงได้ ถึงแม้มนั จะเป็นสิง่ ที่ ไม่ถูกใจเลยก็ตาม ทั้งนี้เพราะตัวความทุกข์จริงๆ อยู่ที่แค่ความไม่อยากให้ มันเป็นแบบนัน้ แบบนี้ ไม่ว่าอะไรก�ำลังจะไปได้ดี หรือก�ำลังจะไปได้ไม่ดีก็ตาม ถ้าหากเรา ยอมรับสภาวะตามที่เป็นจริงของสิ่งทั้งหลายไม่ได้ จิตใจก็มักจะผลิต ความทุกข์ออกมาในรูปใดรูปหนึง่ เสมอ ดังนัน้ ถ้าหากเรายึดมัน่ ในสิง่ ทีก่ ำ� ลัง ไปได้ดี เราก็จะเริม่ เป็นกังวล ว่ามันจะไปได้ไม่ดี แม้ทงั้ ทีจ่ ริงแล้ว มันจะก�ำลัง ไปได้ดีอยู่ก็ตาม ผมได้ลองสังเกตกับเรื่องเล็กๆ น้อยๆ เช่น ในวันที่มี แดดออก ใจหนึง่ ผมก็ลิงโลดยินดี ถัดมา อีกใจหนึง่ ก็คิดว่า “แต่เออนะ .... ที่ประเทศอังกฤษแสงแดดหายวับไปได้ ภายในเวลาชั่วอึดใจเท่านัน้ นีน่ า” ทันทีที่ผมยึดติดในความส�ำคัญมั่นหมายอย่างหนึง่ ผมก็ลิงโลด ยินดีที่มีแสงแดด ในขณะถัดมา ความคิดในแง่ไม่สบายใจก็เกิดขึ้นว่า แต่แสงแดดอาจอยู่ได้ไม่นานนะ ไม่ว่าอะไรก็ตามทีเ่ รายึดมัน่ จะน�ำเราไปหา
ห นึ่ ง ล ม ห า ย ใ จ only one breath
สิ่งที่เป็นขั้วตรงกันข้ามเสมอ แล้วเมื่ออะไรเกิดติดขัดขึ้นมา ใจก็มักจะคิด ในท�ำนองว่า น่าจะดีกว่านี้ ดังนัน้ ความทุกข์จึงเกิดได้ไม่ว่าที่ไหน หากมี การยึดมั่นถือมั่นด้วยอ�ำนาจของตัณหา โลกแห่งประสาทสัมผัสมีทั้งความน่ารื่นรมย์ยินดี และความเจ็บ ปวดทรมาน เป็นสิ่งที่ทั้งสวยงาม น่ารังเกียจ และเป็นกลางๆ มีความต่าง ในทุกระดับชั้น มีความเป็นไปได้ทุกอย่างอยู่ในนัน้ ความรู้สึกทางประสาท สัมผัส เกี่ยวข้องอยู่กับเพียงเรื่องพวกนี้ แต่เมื่อใดที่เกิดความไม่รู้ หรือเกิด ความรูส้ กึ เป็นตัวเป็นตนขึน้ มาว่า “ข้าพเจ้าต้องการแต่ความสนุกเพลิดเพลิน เท่านัน้ ไม่เอาความเจ็บปวด ข้าพเจ้าอยากได้แต่สงิ่ สวยงามเท่านัน้ ไม่อยาก เจอสิ่งที่น่ารังเกียจ เจ้าประคู้น....ขอคุณพระคุณเจ้า โปรดดลบันดาลให้ ข้าพเจ้า มีสุขภาพแข็งแรง มีผิวพรรณงดงาม มีทรวดทรงองค์เอวต้องตา ตรึงใจ หน้าตาอ่อนวัยไปนานๆ ขอให้มีเงินมีทองไหลมาเทมา มีความมั่งคั่ง ร�่ำรวย มีอ�ำนาจวาสนา อย่าเจ็บอย่าไข้ อย่าเป็นโรคมะเร็ง รอบๆ ตัวมีแต่ สิ่งสดสวยงดงาม อะไรที่ว่าดีเลิศและน่าเพลิดเพลินเจริญใจที่สุด จงมาอยู่ ล้อมรอบข้าพเจ้าด้วยเถิด” ต่อจากนัน้ ความหวัน่ กลัว ก็จะตามมาติดๆ ว่า “เอ... เราอาจจะเจอ เรื่องแย่ๆ ก็ได้นะ อาจจะเป็นโรคเรื้อน ติดเอดส์ เป็นโรคมะเร็ง หรือโรค พาร์กินสัน เราอาจถูกปฏิเสธ ถูกเหยียดหยาม หรือโดนเอารัดเอาเปรียบ ถูกทิ้งให้เดียวดายอยู่ข้างนอก ทั้งหิวโหยและเจ็บป่วยอยู่ท่ามกลางอากาศ
37
38
ห นึ่ ง ล ม ห า ย ใ จ only one breath
อันหนาวเหน็บ ในบรรยากาศทีอ่ นั ตราย มีเสียงสุนขั ป่าเห่าหอน และลมพัด กระโชกแรง” ส�ำนึกอันเกิดจากอัตตาตัวตน จะรู้สึกกลัวเป็นอย่างยิ่ง หากไม่ได้ การยอมรับ ถู กกีดกัน หรือ ถูกดูหมิ่นเหยีย ดหยามในสัง คม กลัว ว่าจะถูกทอดทิ้ง ไม่เป็นที่ต้องการ กลัวความแก่ชรา กลัวว่าจะถูกปล่อยให้ ตายอย่างโดดเดีย่ ว ทัง้ ยังมีความกลัวอันตรายทางด้านสุขภาพร่างกาย กลัว เหตุการณ์ทจี่ ะท�ำให้รา่ งกายจะตกอยูใ่ นอันตราย และความกลัวต่อสิง่ ทีไ่ ม่รู้ จัก สิ่งลึกลับ กลัวภูตผี และชีวิตวิญญาณที่มองไม่เห็นตัว ดังนัน้ คนเราจึงมุ่งเข้าหาสิ่งที่จะท�ำให้เกิดสวัสดิภาพ ไม่ว่าจะเป็น เรือนชานบ้านช่อง ที่อบอุ่นและสะดวกสบาย มีไฟฟ้าและระบบท�ำความอุ่น แบบครบครัน และยังท�ำประกันชีวติ และประกันอุบตั ภิ ยั ทุกประเภท ซึง่ ได้จา่ ย ภาษีและเบีย้ ประกันเรียบร้อย มีสญ ั ญาคุม้ ครองตามกฎหมาย สิง่ ต่างๆ เหล่านี้ ช่วยให้คนเรารูส้ กึ มัน่ คงปลอดภัย หรือไม่กไ็ ขว่คว้าหาความมัน่ คงทางอารมณ์ ภายใน อย่างเช่นว่า “ที่รัก โปรดบอกทีเถอะว่า เธอยังรักฉันอยู่เสมอ โปรด บอกหน่อยได้ไหมว่า เธอจะรักฉัน แม้จริงๆ แล้วเธอจะไม่ได้หมายความ ตามที่พูดก็ตาม” ทั้งนีก้ ็เพื่อท�ำให้อุ่นใจ และรู้สึกมั่นคงในทุกเรื่อง แล้ว ความปรารถนาอย่างว่านัน้ ก็มักจะพาให้เป็นกังวล เพราะการไปยึดติด ในความต้องการ ฉะนัน้ พวกเราจึงมาพากเพียรภาวนาให้เกิดแสงสว่างทางปัญญา ขึน้ มา เพือ่ ยกระดับจิตใจอย่างมนุษย์ให้สงู ขึน้ มากกว่าพัฒนาสิง่ ทีเ่ ป็นหลัก
ห นึ่ ง ล ม ห า ย ใ จ only one breath
ประกันทางด้านวัตถุ อย่างพวกเราซึง่ เป็นพระภิกษุ ทีเ่ ลีย้ งชีพโดยอาศัยผูอ้ นื่ ต้องพร้อมรับกับความเสี่ยงที่ว่าอาจจะไม่มีอะไรจะฉัน อาจไม่มีที่พักคุ้มฟ้า คุ้มฝนให้ อาจจะไม่มียาให้ฉนั อาจจะไม่มีจีวรดีๆ ให้นุ่งห่ม ถึงญาติโยม จะมีความศรัทธาเลือ่ มใส แต่เราจะเออออคิดเอาเอง แล้วด่วนสรุปก็ไม่ได้วา่ เราคู่ควรให้เขาศรัทธาเลื่อมใส เราจึงต้องมีความส�ำนึกซาบซึ้งต่อปัจจัยไทยทานที่ญาติโยมน�ำมา ถวาย และรูจ้ กั ขัดเกลานิสยั ให้เป็นผูร้ จู้ กั ประมาณความต้องการและมักน้อย สันโดษ และต้องหัดให้พร้อมที่จะปล่อยวาง และสละทุกอย่างเมื่อใดก็ได้ ไม่ให้มคี วามคิดประเภททีว่ า่ “บ้านหลังนีเ้ ป็นของฉัน จากนีไ้ ปจนตลอดชีวติ ก็ต้องเป็นของฉัน” ไม่ว่าเรื่องอะไรจะเกิดขึ้นในลักษณะใดก็ตาม เราต้อง ปรับตัวให้เข้ากับวิถีชีวิต และให้สอดคล้องกับกาลเทศะ แทนที่จะเอาแต่ได้ อย่างเดียว ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น มันก็เป็นเช่นนัน้ เองล่ะ แม้ผมจะป่วยเป็น โรคอะไร จะเผชิญเหตุเศร้าสลด หรือพบกับภัยพิบัติร้ายแรง หรือประสบ ผลส�ำเร็จ พบเรื่องที่ดีที่สุดจนถึงแย่ที่สุด ก็ยังพูดได้อยู่นนั่ ล่ะว่า มันเป็น ของมันอย่างนัน้ เอง เมื่อเข้าใจได้อย่างนัน้ ก็จะท�ำให้ยอมรับได้ ไม่โกรธ เกลียด ไม่ละโมบอยากได้ และมีความสามารถที่จะรับมือกับชีวิตได้ตาม สถานการณ์ที่เกิดขึ้น
39
40
ห นึ่ ง ล ม ห า ย ใ จ only one breath
เรามาอยู่ทนี่ ไี่ ม่ใช่ว่าเพือ่ ทีจ่ ะเป็นอะไร หรือก�ำจัดท�ำลายอะไร ไม่ใช่ จะมาเปลีย่ นแปลง หรือท�ำอะไรเพือ่ ตัวเอง หรือเรียกร้องเอาโน่นเอานี่ แต่เพือ่ ที่จะได้มีสติตื่นรู้มากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อจะได้พิจารณา ศึกษาสังเกต และรู้จัก ธรรมะ เราไม่ต้องห่วงหรอกว่ามันจะเปลี่ยนไปในทางที่แย่ลง ถึงจะเปลี่ยน ไปในทิศทางใด เราก็มีสติปัญญาเป็นเครื่องรับมือได้ และสิ่งที่ผมสัมผัสได้ ในความเป็นพระภิกษุ ก็คือชีวิตที่ปราศจากความหวาดกลัวอย่างแท้จริง เพราะเหตุที่ ชั่วชีวิตนี้ไม่มีบ้านที่พักพิงแท้จริงให้เราได้ เราจึงต้อง ปรับตัวรับมือ ใช้สติปัญญาเรียนรู้ จากสถานการณ์ทุกอย่าง ชีวิตนี้ เป็น เพียงช่วงเปลีย่ นผ่านอีกจังหวะหนึง่ ทีเ่ ราเข้ามาเกีย่ วข้องพัวพันด้วย เป็นการ เดินทางผ่านโลกแห่งประสาทสัมผัส และในภพแห่งประสาทสัมผัสแห่งนี้ ก็ไม่มีที่พักพิง ไม่มีบ้าน ไม่มีที่พึ่งพาอาศัย และทุกอย่างนัน้ ก็ล้วนแต่เป็น สิ่งไม่เที่ยงแท้ยั่งยืนเสียด้วย เป็นสิ่งที่จะต้องแปรปรวนเสื่อมสภาพ และ เปลี่ยนแปลงไปได้ทุกขณะ นี่แหละเป็นลักษณะธรรมชาติธรรมดาของมัน มันเป็นอย่างนัน้ เอง ไม่มีอะไรน่าเศร้าหรอก หากเราไม่ไปเรียกร้องหาความ มั่นคงปลอดภัยจากมันอีกต่อไป โลกทีป่ รากฏให้เห็นอยูน่ ี้ มีความจริงประจ�ำตัวอยูว่ า่ ไม่มที ใี่ ห้พกั พิง ได้เลย ดังนัน้ ผูส้ ละโลกหรือผูอ้ อกบวชเป็นบรรพชิต จึงได้รบั การเรียกขาน ว่า ผู้ประกาศความจริงอันประเสริฐ เพราะหัวใจส�ำคัญทางพระศาสนา ไม่ ได้นำ� เสนอสิง่ ทีจ่ ะสร้างความหลงผิดตามแนวความคิดอย่างโลกๆ ซึง่ มุง่ เน้น เอาบ้านที่พักพิง หรือความมั่นคงปลอดภัยในความหมายด้านวัตถุอีกแล้ว
ห นึ่ ง ล ม ห า ย ใ จ only one breath
หากแต่เรามีความศรัทธาเลือ่ มใส ในพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ และ การได้รับโอกาสในฐานะเป็นพระภิกษุผู้เจริญภาวนา ที่จะท�ำให้รู้เห็นอะไร ได้อย่างแจ่มแจ้ง และรู้อย่างชัดเจน จนปลดเปลื้องจิต ให้เป็นอิสระจาก ความทุกข์ความห่วง ทีเ่ กิดจากการเข้าไปหลงยึดเอาภพแห่งประสาทสัมผัส ว่าเป็นบ้านที่พักพิง ความมัน่ หมายเรือ่ งการเป็นเจ้าข้าวเจ้าของ และการเข้าไปผูกตัวเอง ไว้กับสิ่งต่างๆ เป็นภาพมายาของชีวิตในโลก ความส�ำคัญผิดว่ามีตัวตน ได้ส่งภาพลวงตาสารพัดรูปแบบออกมาหลอกล่อ ผ่านสิ่งที่เรารู้สึกว่าต้อง ปกป้องหวงแหนอยู่ตลอด เราจึงรู้สกึ ว่าตัวเองตกอยู่ในอันตรายตลอดเวลา มีบางอย่างที่ต้องเป็นห่วงเป็นกังวลอยู่เสมอ มีบางอย่างที่ท�ำให้หวาดกลัว แต่ทันทีที่ภาพมายาเหล่านัน้ พังทลายลงไปด้วยอ�ำนาจของสติปัญญา ก็จะ ไม่มีความหวาดกลัวอีกต่อไป เราจะเห็นสิ่งนี้เป็นเพียงการเดินทาง เป็นการ เปลี่ยนผ่าน ในโลกแห่งความรู้สึกทางประสาทสัมผัส พร้อมกันนัน้ เราก็ จะสมัครใจยินดีที่จะศึกษาบทเรียนต่างๆ ที่เข้ามาสอนเรา ไม่ว่าบทเรียน เหล่านัน้ จะดีหรือร้ายก็ตาม
41
42
ห นึ่ ง ล ม ห า ย ใ จ only one breath
สุ ข นั้ น หรื อ ยั่ ง ยื น * พวกเราได้ฝึกสมาธิภาวนา เฝ้าดูลม หายใจ พิจารณาลมหายใจเข้า ลมหายใจออก เราใช้ความใส่ใจไปแบบตรงๆ มีสติรับรู้ไปยัง ร่างกายทีก่ �ำลังเดิน ยืน นัง่ และนอน แล้วแทนที่ จะปล่อยให้ถูกชักจูงให้หลงใหลไปตาม เราจะ เปิดใจรับรูต้ อ่ สภาวะทัง้ หลายตามทีม่ นั ปรากฏอยู่ ในปัจจุบันขณะ
*แปลจากเรื่อง Happiness forever หนังสือ The way it is ธรรมบรรยาย ที่ประเทศ สวิสเซอร์แลนด์ เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2526
ให้สงั เกตอาการว่า แม้กระทัง่ ในสถานที่ ทีส่ วยงามขนาดนี้ เราก็ยงั ท�ำตัวเองให้เป็นทุกข์ขนึ้ มาได้ เมื่อเรามาอยู่ที่นี่แล้ว เราก็อาจจะอยากไป อยูท่ อี่ นื่ เมือ่ ตอนทีเ่ ราก�ำลังเดิน เราก็อยากจะนัง่ เมื่อเราก�ำลังนัง่ เรากลับรู้สึกอยากจะลุกไปเดิน ขณะที่ก�ำลังปฏิบัติสมาธิ เราก็ไปคิดเสียอีกว่า จะไปท�ำอะไรต่อดีนะ หลังจากเสร็จจากการ
44
ห นึ่ ง ล ม ห า ย ใ จ only one breath
อบรมกรรมฐาน พอเสร็จจากอบรมกรรมฐานเข้าจริงๆ เราก็อยากจะกลับ มาที่นี่อีก ดูสิไม่มีอะไรให้สมหวังเลย ก่อนที่เราจะมาเข้าอบรมกรรมฐานครั้งนี้ เราก�ำลังมีปัญหาอยู่ทาง บ้าน และคอยแต่คิดว่า “เมื่อไหร่จะได้ไปเข้าอบรมกรรมฐานสักที อดใจ รอแทบไม่ไหวแล้ว” แล้วพอมาอยูท่ นี่ เี่ ราก็คอยคิดว่า “รอไม่ไหวแล้ว เมือ่ ไหร่ จะอบรมกรรมฐานเสร็จเสียที” บางครั้งเราอาจจะนั่งได้อย่างสงบ แล้ว คิดว่า “อยากให้เป็นอย่างนี้ไปตลอดเลย” หรือบางครั้ง เราก็พยายามจะให้ เกิดสภาวะปีติสุข เหมือนเมื่อวาน แต่กลับเป็นว่ายิ่งหงุดหงิดเข้าไปใหญ่ เมือ่ เราได้สภาวะทีม่ ปี ตี สิ ขุ เราก็กลับไปนึกถึงเรือ่ งกิน และสิง่ ทีจ่ ะท�ำ แล้วเราก็รู้สึกแย่ที่ปีติสุขหายไป หรืออาจจะไม่มีปีติสุขอะไรเลยก็ได้ มีแต่ ความทรงจ�ำที่ขมขื่น และความโกรธความผิดหวังที่ประดังขึ้นมา คนอื่นๆ ทุกคน มีปีติสุข เราเลยรู้สึกผิดหวัง เพราะดูเหมือนว่าแต่ละคนที่มาปฏิบัติ จะได้อะไรจากการเข้าอบรมกรรมฐานครัง้ นี้ มีแต่เราทีไ่ ม่เห็นจะได้อะไรเลย นี่ แ หละเป็ น วิ ธี ที่ เราจะได้ เริ่ ม ต้ น สั ง เกตว่ า ทุ ก อย่ า งมี ก าร เปลี่ยนแปลง เมื่อเป็นดังนี้ เราก็มีโอกาสที่จะสังเกตเห็นว่า เราสร้างปัญหา หรือยึดติดกับความดี หรือสร้างเรือ่ งให้มนั ยุง่ ยากซับซ้อน จากสภาวะต่างๆ รอบด้านในแต่ละช่วงขณะได้อย่างไร คือ เราจะอยากได้ในสิ่งที่ไม่มีบ้าง หวงแหนรักษาสิ่งที่มีอยู่แล้วบ้าง อยากก�ำจัดสิ่งที่มีอยู่แล้วบ้าง นี่แหละคือ ปัญหาเรื่องความอยากของมนุษย์เรา เรามัวแต่จะแส่ส่ายหาเรื่องโน้นเรื่องนี้ อยู่ตลอดเวลา
ห นึ่ ง ล ม ห า ย ใ จ only one breath
อาตมาจ�ำได้วา่ เมือ่ ตอนทีย่ งั เป็นเด็ก แล้วอยากได้ของเล่นอยูอ่ ย่าง หนึง่ อาตมารับปากกับโยมแม่ว่า ถ้าโยมแม่ให้ของเล่นชิน้ นัน้ กับอาตมาแล้ว อาตมาจะไม่อยากได้อะไรอีกเลยตลอดไป ของเล่นชิน้ นัน้ ต้องให้ความสุขกับ อาตมาอย่างเต็มที่แน่ อาตมามั่นใจอย่างนัน้ อาตมาเองก็ไม่ได้โกหกโยมแม่ ด้วย เพราะสิ่งเดียวที่ขัดขวางไม่ให้อาตมามีความสุขในตอนนัน้ ก็คือ การ ที่อาตมาไม่มีของเล่นที่อยากได้ ในที่สุด โยมแม่ก็ซื้อของเล่นมาให้อาตมา อาตมามีความสุขอยู่กับ ของเล่นอันใหม่ได้เพียงแค่หา้ นาทีเท่านัน้ ต่อจากนัน้ อาตมาก็เริม่ รูส้ กึ อยาก ได้ของอย่างอืน่ อีก ดังนัน้ เมือ่ อาตมาได้สงิ่ ทีต่ อ้ งการ อาตมาก็รสู้ กึ พึงพอใจ และมีความสุขอยูห่ รอก แต่หลังจากนัน้ ความต้องการอย่างอืน่ ก็โผล่ตามมา อาตมายังคงจ�ำเรื่องนี้ได้อย่างชัดเจน เพราะตอนที่อยู่ในวัยเด็กขนาดนัน้ อาตมาแน่ใจเหลือเกินว่า ถ้าหากอาตมาได้ของเล่นที่อยากจะได้ อาตมา จะต้องมีความสุขตลอดไป แต่แล้ว อาตมาก็ต้องมาพบกับความจริงที่ว่า ความสุขตลอดไปนัน้ ไม่มีทางเป็นไปได้หรอก
45
ประวัติย่อ
พระราชสุเมธาจารย์ (หลวงพ่อสุเมโธ) นามเดิม โรเบิร์ต แจ๊กแมน (Robert Jackman) เกิด 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2477 ที่เมืองซีแอตเติล ประเทศสหรัฐอเมริกา พ.ศ. 2497 - 2500 พบพระพุทธศาสนาระหว่างเป็นทหารเรือ ที่ประเทศญี่ปุ่น และซานฟรานซิสโก พ.ศ. 2507 จบปริญญาโท ที่ University of California, Berkeley - เป็นอาสาสมัคร Peace Corp สอนภาษาอังกฤษ ที่มาเลเซีย 2 ปี - สอนภาษาอังกฤษ ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ - เรียนกรรมฐานกับพระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทธิ) ที่วัดมหาธาตุ - บรรพชาเป็นสามเณร ทีว่ ดั เนินตะนาว จ.หนองคาย - อุปสมบทที่วัดศรีสะเกษ จ.หนองคาย โดย ท่านเจ้าคุณพระธรรมปริยัติมุนี เป็นพระอุปัชฌาย์ - เป็นลูกศิษย์หลวงปู่ชา สุภทฺโท ที่วัดหนองป่าพง จ.อุบลราชธานี
พ.ศ. 2518 หลวงปู่ชา สุภทฺโท มอบหมายให้ท่าน ตั้งวัดป่านานาชาติ บ้านบุ่งหวาย พ.ศ. 2519 เดินทางกลับบ้านเพื่อเยี่ยมมารดาที่ป่วย แล้วเดินทางไปอังกฤษ ได้พบกับ Mr. George Sharp ประธาน English Sangha Trust - ประธาน English Sangha Trust นิมนต์ หลวงปู่ชา สุภทฺโท ไปที่ Hemstead และ ถวายที่ให้ตั้งส�ำนักสงฆ์ หลวงพ่อสุเมโธ ได้อยู่ดูแลที่นนั่ พ.ศ. 2524 เป็นเจ้าอาวาสวัดจิตตวิเวก ประเทศอังกฤษ พ.ศ. 2527 - 2553 เป็นเจ้าอาวาสวัดอมราวดี ประเทศอังกฤษ พ.ศ. 2535 รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น พระสุเมธาจารย์ พ.ศ. 2547 รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น พระราชสุเมธาจารย์ พ.ศ. 2553 จ�ำพรรษาที่วัดอมราวดี 24 พฤศจิกายน 2553 - ลาออกจากการเป็นเจ้าอาวาสวัดอมราวดี - พ�ำนักทีว่ ดั สาขาต่างๆ ในสายหลวงพ่อชา สุภทฺโท ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ