ฝ่ายเลขานุการฯ 73/1 อาคารสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ถนนพระรามที่ 6 เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
โทรศัพท์ 02-644-8150-9 ต่อ 552-553 โทรสาร 02-644-8106
รายงานประจำปี 2550 Annual Report 2007
BRT Program 73/1 NSTDA Building, Rama VI Road, Rajathevee Bangkok 10400 Tel.02-644-8150-9 ext. 552-553 Fax. 02-644-8106
http://brt.biotec.or.th
โครงการพัฒนาองค์ความรู้และศึกษานโยบาย การจัดการทรัพยากรชีวภาพในประเทศไทย
Biodiversity Research and Training Program
โครงการ BRT ก้าวไกล สนับสนุนงานวิจัย แหล่งองค์ความรู้ ใหม่ เผยแพร่ภูมิปัญญาไทย ใส่ ใจปัญหาสิ่งแวดล้อม รายงานประจำปี 2550 Annual Report 2007
AW �� Annual.indd 1
28/9/07 17:13:55
รายงานประจำปี โครงการ BRT 2550 BRT ๒๕๕o ๒๕๕o BRT Annual Report 2007
จัดทำโดย: โครงการพัฒนาองค์ความรู้และศึกษานโยบาย การจัดการทรัพยากรชีวภาพในประเทศไทย (โครงการ BRT) 73/1 อาคารสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ถนนพระรามที่ 6 เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 โทรศัพท์ 0-2644-8150-9 ต่อ 552-553 โทรสาร 0-2644-8106 http://brt.biotec.or.th บรรณาธิการ: วิสุทธิ์ ใบไม้ และ รังสิมา ตัณฑเลขา กองบรรณาธิการ: เอื้องฟ้า บรรเทาวงษ์, สุกัญญา ประกอบธรรม, ปานกมล ศรสุวรรณ, วิภามาศ ไชยภักดี, ณัฐฐา วัฒนรัชกิจ และถาวร สาริมานนท์ รูปเล่ม: บริษัท หนึ่งเก้าสองเก้า จำกัด พิมพ์ที่: โรงพิมพ์กรุงเทพ (1984) จำกัด โทรศัพท์ 0-2247-1940-7 กันยายน 2550 อ้างอิง: วิสุทธิ์ ใบไม้ และ รังสิมา ตัณฑเลขา. 2550. รายงานประจำปีโครงการ BRT 2550. จัดทำโดยโครงการ BRT. โรงพิมพ์กรุงเทพ (1984) จำกัด กรุงเทพฯ. 72 หน้า. ISBN: 978-974-229-357-4 Published by: Biodiversity Research and Training Program (BRT) 73/1 NSTDA Building, Rama VI Road, Rajdhevee, Bangkok 10400 Tel: 0-2644-8150-9 Ext 552-553 Fax: 0-2644-8106 Editors: Visut Baimai, and Rungsima Tanthalakha Editorial Board: Aruengfha Bantaowong, Sukanya Prakobtum, Pankamon Sornsuwan, Wipamat Chaipakdee, Nattha Wattanarachakij and Thaworn Sarimanon layout: 1929 Co.,Ltd. Printed by: Bangkok Printing (1984) Co.,Ltd. Tel: 0-2247-1940-7 September 2007 For Citation: Visut Baimai and Rungsima Tanthalakha. 2007. BRT Annual Report 2007. Bangkok Printing (1984) Co.,Ltd., Bangkok. 72 p.
Book Annual2007.indb 2
28/9/07 17:16:51
สารบัญ
5 6 7 8
สารจากประธานคณะกรรมการนโยบาย สารจากผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย สารจากผู้อำนวยการศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
10 12 15 16 22 26 34 35 36 38 40 46 47
ชุดโครงการวิจัยใน BRT 2550 ผลงานเด่นโครงการ BRT หน่วยงานสนับสนุนทุนโครงการ BRT ชุดโครงการป่าเมฆ-เขานัน : ภาวะโลกร้อนกับผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ “หมู่เกาะทะเลใต้” : พื้นที่เสี่ยงต่อการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ ทองผาภูมิตะวันตก : ชุมชนเข้มแข็ง นิเวศวิทยา : วางรากฐานการวิจัยและพัฒนาบุคลากร หาดขนอม : ศึกษา ค้นคว้า วิจัย ในโรงเรียน นิเวศเกษตร : เกษตรพอเพียง สิ่งแวดล้อมศึกษา : เรียนรู้ท้องถิ่น การจัดการข้อมูล : คืนความรู้สู่ชุมชน เครือข่ายฐานข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพ สิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ในประเทศไทย
49 50 50 51 54 55 62 69
รายงานการเงิน ปีงบประมาณ 2550 คณะกรรมการนโยบายโครงการ BRT คณะกรรมการบริหารโครงการ BRT การประชุมวิชาการประจำปีโครงการ BRT ครั้งที่ 10 ผลการประกวดโปสเตอร์ดีเด่น ผลงานทางวิชาการปี 2550 รายชื่อโครงการปี 2550 ปฏิทินกิจกรรมปี 2550
Book Annual2007.indb 3
28/9/07 17:16:53
Book Annual2007.indb 4
28/9/07 17:16:58
สารจากประธานคณะกรรมการนโยบาย
ภาวะโลกร้อนและสรรพชีวิต การนำเสนอในภาพยนตร์เรื่อง “The Inconvenient Truth” โดยอดีต ประธานาธิบดี อัล กอร์ ได้กระตุ้นความตื่นตัวเรื่องมหันตภัยโลกร้อนขึ้นมาทั่วโลก จากข้อมูลเรื่องอุณหภูมิของโลก ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ ปริมาณน้ำ แข็งขั้วโลก ปริมาณหิมะบนยอดเขาสูง ล้วนบ่งชี้ว่าโลกร้อนขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งจะส่งผลต่อ ดินฟ้าอากาศและสรรพชีวิตทั่วโลก ระดับน้ำทะเลที่จะสูงขึ้นคงจะท่วมเกาะและที่ต่ำให้ จมลงอยู่ใต้ทะเล ทำลายความหลากหลายทางชีวภาพ ลดพื้นที่เพาะปลูก และที่อยู่ อาศัยของประชาชน ทำให้เกิดความปั่นป่วนหมดทั้งโลก นำไปสู่ความรุนแรงและล่ม สลายทางอารยธรรมได้ การวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพที่ผ่านมา อาจเน้นเรื่องความเข้าใจสรรพ ชีวิตน้อยใหญ่อันหลากหลาย ซึ่งก็ยังจะต้องทำต่อไป แต่อาจจะต้องตั้งคำถามว่า ถ้า ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นจากภาวะโลกร้อน ชีวิตอะไรบ้างที่จะสูญพันธุ์ไปและจะนำไปรักษา ไว้ที่อื่นอย่างไรได้บ้าง การวิจัยผลกระทบทุกๆ ด้านที่จะเกิดจากอุณหภูมิของโลกที่สูง ขึ้น จะมีทางอย่างไรหรือไม่ในการลดผลกระทบทางลบ ทั้งหมดอาจเป็นการตั้งรับที่จะ แก้ไขปัญหาได้จริง มนุษย์คงจะต้องถึงปรับเปลี่ยนอารยธรรม ซึ่งทำได้ยาก นอกจาก วิกฤตสุดๆ ต่อความอยู่รอด และมีผู้เชื่อว่าเรากำลังเข้าไปสู่จุดนั้นจริงๆ
(ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ ประเวศ วะสี) ประธานคณะกรรมการนโยบาย
BRT รายงานประจำปี 2550 Book Annual2007.indb 5
5 28/9/07 17:17:06
สารจากผู้อำนวยการ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
ปัจจุบันภาวะโลกร้อนกำลังได้รับความสนใจจากประชาคมโลกอย่างมาก เนื่องจากเชื่อกันว่าปัญหา ดังกล่าวจะทวีความรุนแรง และนำพาภัยพิบัติและโรคภัยไข้เจ็บร้ายแรงมาสู่มวลมนุษยชาติในอนาคต หากไม่ได้รับการดูแลที่เหมาะสม การป้องกันและแก้ไขปัญหาผลกระทบจากภาวะโลกร้อนจำต้องอาศัย องค์ความรู้และการจัดการอย่างเป็นระบบด้วยความร่วมมือจากทุกฝ่าย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาภาวะโลกร้อนมาระยะ หนึ่งแล้ว จึงได้เริ่มสะสมองค์ความรู้เพื่อทำความเข้าใจกับผลกระทบจากภาวะโลกร้อนและหาแนวทาง เตรียมรับและปรับตัวตลอดจนป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น ในขณะที่โครงการ BRT ซึ่งเป็นแหล่ง ความรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศ ได้ทำการศึกษาติดตามภาวะโลกร้อนกับผลกระทบ ต่อความหลากหลายทางชีวภาพและการคุกคามของชนิดพันธุ์ต่างถิ่นในระบบนิเวศป่าเมฆ เพื่อให้ได้ ข้อมูลมาอธิบายผลกระทบของภาวะโลกร้อนที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงความหลากหลายทางชีวภาพ ความร่วมมือในการตอบสนองต่อปัญหาระดับชาติและระดับโลกเช่นนี้ ถือเป็นการประสานพลังกัน ในการจัดการ ซึ่งต้องการการเชื่อมโยงความรู้หลากหลายศาสตร์ หลายมิติ บนพื้นฐานความเชื่อที่ว่า “ความรู้ใช้แก้ปัญหาได้” และต้องการกลไกการจัดการความรู้ที่มีประสิทธิภาพด้วย หากสังคมไทยตื่นตัวและรวมพลังกันใช้ความรู้ในการแก้ปัญหา เป็นสังคมแห่งปัญญา เชื่อได้ว่า สังคมไทยจะมีความเจริญรุ่งเรืองทัดเทียมอารยประเทศได้
(ศาสตราจารย์ ดร.ปิยะวัติ บุญ-หลง) ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
6 Book Annual2007.indb 6
BRT Annual Report 2007 28/9/07 17:17:12
สารจากผู้อำนวยการศูนย์พันธุวิศวกรรม และเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่ทั่วโลกกำลังให้ความสำคัญ คือ ภาวะโลกร้อน ซึ่งส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศอย่าง มากมาย ดังจะเห็นได้จากภัยพิบัติต่างๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ผ่านมา ถึงแม้ปัญหานี้ยังไม่รุนแรงในประเทศไทย แต่ คงต้องร่วมมือกันหลายฝ่าย เชื่อมโยงกับความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อตอบรับกับปัญหาที่จะเกิดขึ้น ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ศช.) ให้ความสำคัญต่อการวิจัยและพัฒนาพร้อมกับการ สะสมและจัดการองค์ความรู้ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาประเทศ ในช่วงเวลาที่ผ่านมา มีการวิจัยและพัฒนาทั้งทางด้าน พลังงานทางเลือก การพัฒนาสายพันธุ์พืชที่ทนต่อสภาวะต่างๆ รวมทั้งศึกษาและติดตามภาวะโลกร้อน อาทิ ศึกษา ความสัมพันธ์ระหว่างพืชและสัตว์ในแปลงถาวรขนาดใหญ่ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ รวมทั้งชุดโครงการป่าเมฆ-เขา นันของโครงการ BRT ผลการศึกษาทั้งหมดนี้จะแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ของการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศที่มี ผลต่อการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศและการสูญเสียชนิดพันธุ์ในประเทศไทย โครงการ BRT และคณะนักวิจัยจากสถาบันการศึกษาต่างๆ ได้ช่วยกันดำเนินการวิจัยและบริหารจัดการองค์ ความรู้จนประสบความสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรมมากมาย รวมทั้งได้นำผลงานวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพไปเผย แพร่สู่สาธารณชนมากขึ้น เช่น การจัดมหกรรมไดโนเสาร์ ที.เร็กซ์ “ซู” & ไดโนเสาร์ไทย ที่ได้ความรู้และแรงบันดาล ใจให้กับเยาวชนไทยในการเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ดีในอนาคต ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ ขอเป็นกำลังใจให้โครงการ BRT และคณะนักวิจัยทุกท่าน ปฏิบัติภารกิจต่างๆ ให้สำเร็จลุล่วงและบังเกิดผลประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติตลอดไป
(ศาสตราจารย์ ดร.มรกต ตันติเจริญ) ผู้อำนวยการศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
BRT รายงานประจำปี 2550 Book Annual2007.indb 7
7 28/9/07 17:17:17
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
ปี พ.ศ. 2550 เป็นปีที่ 12 ของโครงการ BRT ที่กำลังผ่านไปอย่างรวดเร็วพร้อมกับผลงาน และกิจกรรมหลากหลายรูปแบบที่ทยอยออกสู่สายตาสาธารณชน ทั้งด้านการสนับสนุนงานวิจัย วิทยานิพนธ์ ฝึกอบรม และการบริหารจัดการข้อมูล ตลอดทั้งปีที่ผ่านมาโครงการ BRT มีสัดส่วน การใช้งบประมาณทั้งหมด 36.6 ล้านบาท (166 โครงการ) โดยจัดสรรให้กับงานวิจัยแบบมุ่งเป้า เป็นชุดโครงการ 15.1 ล้านบาท (79 โครงการ) หรือคิดเป็นสัดส่วน 41% งานวิจัยที่ไม่เป็นชุด โครงการ 13.7 ล้านบาท (55 โครงการ) คิดเป็นสัดส่วน 37% และการบริหารจัดการข้อมูล 7.8 ล้านบาท (32 โครงการ) คิดเป็นสัดส่วน 22% มีผลงานตีพิมพ์ในวารสารวิชาการทั้งต่างประเทศ และในประเทศรวมทั้งสิ้น 89 เรื่อง และยื่นจดสิทธิบัตร 2 เรื่อง จะเห็นว่าการวิจัยแบบมุ่งเป้าที่จัดเป็นชุดโครงการเริ่มมีสัดส่วนการใช้งบประมาณขยายตัวขึ้น จากปีที่แล้ว แสดงถึงการเน้นงานวิจัยเพื่อนำไปสู่การตอบสนองต่อผู้ใช้และผู้กำหนดนโยบาย รวมทั้งการสร้างกลุ่มนักวิจัยที่เข้มแข็ง เชื่อมโยง และต่อยอดการใช้ประโยชน์มากขึ้น นอกจากจะ ขมวดผลงานวิจัยจากชุดโครงการที่มีอยู่เดิม เช่น ชุดโครงการทองผาภูมิตะวันตก ชุดโครงการ ป่าเมฆ-เขานัน และชุดโครงการวิจัยทะเลที่หาดขนอม-หมู่เกาะทะเลใต้ อย่างเข้มข้นแล้ว โครงการ BRT ยังได้พัฒนาชุดโครงการใหม่ๆ ที่น่าสนใจ เช่น ความหลากหลายทางชีวภาพในระบบนิเวศ เกษตร (Farmland Biodiversity) ชุดโครงการวิจัยนิเวศวิทยา ชุดโครงการวิจัยท้องถิ่นร่วมกับ โรงเรียนที่หาดขนอม และชุดโครงการวิจัยเรื่องไผ่ที่ทำร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
Outputs จากการสนับสนุนทุน 1) การตีพิมพ์บทความในวารสารวิชาการนานาชาติ (เรื่อง) 1.1) ตีพิมพ์เรียบร้อยแล้ว (published) 1.2) อยู่ระหว่างการตีพิมพ์ (in press) 2) การตีพิมพ์บทความในวารสารวิชาการภายในประเทศ (เรื่อง) 3) จำนวนหนังสือทางวิชาการ (เรื่อง) 4) จำนวนนิวสปีชีส์ (ชนิด) 5) จำนวนบัณฑิตใหม่ (คน) 6) การยื่นจดสิทธิบัตร (รายการ) 7) ผลงานวิจัยที่นำไปใช้ประโยชน์ (จำนวนนิทรรศการ)
8 Book Annual2007.indb 8
จำนวน 105 89 16 13 6 15 36 2 10
BRT Annual Report 2007 28/9/07 17:17:24
โครงการ BRT ยังได้ปลุกกระแสการวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพที่สัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทั้งทางชีวภาพและกายภาพ ซึ่งเกี่ยวโยงกับภาวะโลกร้อนที่ทุกภาคส่วนกำลังตื่นตัวกันอยู่ในขณะนี้ โดยโครงการ BRT จัดทัพนักวิจัยทางด้านนิเวศวิทยากับ สิ่งแวดล้อมไว้ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2548 ในชุดโครงการป่าเมฆ-เขานัน จ.นครศรีธรรมราช จนได้ผลงานวิจัยที่เริ่มเป็นรูปธรรมทั้งด้าน ชีวภาพและกายภาพ และสามารถตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยต่อสาธารณชนได้ โครงการ BRT เริ่มมีกิจกรรมและผลงานการบริหารจัดการข้อมูลมากขึ้น โดยตลอดทั้งปีที่ผ่านมาโครงการ BRT ได้นำผล งานวิจัยไปเผยแพร่สู่สาธารณชน จนสามารถสร้างกระแสตอบรับจากสังคมอย่างสูง ดังเช่นนิทรรศการขนาดใหญ่ “ไดโนเสาร์ เอ็กซ์โป ที.เร็กซ์ “ซู” & ไดโนเสาร์ไทย” และนิทรรศการเคลื่อนที่ของโครงการ BRT ที่ทำต่อเนื่องกันมาหลายครั้ง สะท้อนให้เห็น ถึงผลงานวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพของไทยที่ได้เจริญงอกงามและสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตส่งต่อไปถึงผู้ใช้ปลายทางได้ อย่างน่าภาคภูมิใจ นอกจากนั้น โครงการ BRT ยังสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมกับนักวิจัยในการบริหารจัดการข้อมูลในมิติต่างๆ ได้มากขึ้น เช่น การจัดนิทรรศการ การจัดทำฐานข้อมูลเพื่อจัดเก็บผลงานวิจัย การทำสื่อสิ่งพิมพ์และการเผยแพร่ข้อมูลจากงาน วิจัยผ่านสื่อสารมวลชนแขนงต่างๆ จึงพอจะมองเห็นแนวโน้มของการบริหารจัดการผลงานวิจัยที่สามารถตอบสนองต่อความ ต้องการของสังคมแห่งการเรียนรู้มากขึ้นในอนาคต วิทยานิพนธ์ 4.2
วิจัยอื่นๆ 9.5
ทองผาภูมิตะวันตก 1.2 ป่าเมฆ-เขานัน 5.3
วิจัยอื่นๆ 9.5
ทะเล 0.9 หาดขนอม 0.6 นิเวศเกษตร 3.2 สิ่งแวดล้อมศึกษา 0.8 นิเวศวิทยา 3.1
บริหารจัดการข้อมูล 7.8
บริหารจัดการข้อมูล 7.8
แสดงงบประมาณชุดโครงการที่โครงการ BRT ให้การสนับสนุน (หน่วย : ล้านบาท)
BRT รายงานประจำปี 2550
ชุดโครงการ 15.1 แสดงงบประมาณกลุ่มโครงการที่โครงการ BRT ให้การสนับสนุน (หน่วย : ล้านบาท)
การเผยแพร่ผลงานวิจัยที่สมควรได้รับการกล่าวถึง คือ การจัดนิทรรศการ “ไดโนเสาร์เอ็กซ์โป ที.เร็กซ์ “ซู” & ไดโนเสาร์ไทย” โดยโครงการ BRT ร่วมมือกับ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้เช่า ที.เร็กซ์ “ซู” จากพิพิธภัณฑ์ฟิลด์ ชิคาโก ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่มีความยิ่งใหญ่ระดับโลกมาจัดนิทรรศการร่วมกับไดโนเสาร์ ไทยที่ได้รับความร่วมมือจากกรมทรัพยากรธรณี ระหว่างเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2550 – มกราคม พ.ศ. 2551 ที่องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ที่ ร่วมมือจัดนิทรรศการในครั้งนี้ ฝ่ายเลขานุการฯ ได้ทุ่มเททั้งกำลังกายและกำลังใจ เพื่อภารกิจอันยิ่งใหญ่นี้มานานหลายเดือน เพื่อให้เด็ก นักเรียน เยาวชนและคนไทย ได้มีโอกาสเรียนรู้และหาประสบการณ์อันล้ำค่าจากชุดนิทรรศการไดโนเสาร์ดังกล่าว นับว่าเป็นอานิสงส์ที่ทรงคุณค่าของการพัฒนาการศึกษาไทยอย่างยิ่ง โครงการ BRT ต้องขอขอบคุณพันธมิตรหลัก คือ สำนักงานกองทุนสนับสนุน การวิจัย (สกว.) และศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ศช.) ที่ ให้การสนับสนุนทั้งด้านงบประมาณและให้กำลังใจแก่ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่โครงการ BRT อย่างดีตลอดเวลา 12 ปีที่ผ่านมา ตลอดจนพันธมิตรร่วม ได้แก่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) โททาล อีแอนด์พี ประเทศไทย และมูลนิธิโททาล สาธารณรัฐ ฝรั่งเศส ที่ให้การสนับสนุนงานวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศไทยจน ผลิดอกออกผลมาจนถึงทุกวันนี้
Book Annual2007.indb 9
วิทยานิพนธ์ 4.2
(ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.วิสุทธิ์ ใบไม้) ผู้อำนวยการโครงการ BRT
9 28/9/07 17:17:25
หมู่เกาะทะเลใต้ : พื้นที่เสี่ยง วิจัยนิเวศทางทะเลที่หมู่เกาะทะเลใต้ จ.นครศรีธรรมราช ซึ่ง กำลังประสบปัญหาน้ำทะเลขุ่น แนวปะการังเริ่มแตกหัก หญ้าทะเล และสาหร่ายทะเลเริ่มได้รับผลกระทบ
ทองผาภูมิตะวันตก : ชุมชนเข้มแข็ง
ป่าเมฆ-เขานัน : ภาวะโลกร้อน
หลังจากการทำงานวิจัยภายใต้ชุดโครงการทองผาภูมิตะวันตก มาเป็นเวลากว่า 6 ปี โครงการ BRT และ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้เปิดเผยองค์ความรู้จากท้องถิ่นที่พัฒนาต่อยอด ในชุมชน
ดำเนินการที่อุทยานแห่งชาติเขานัน จ.นครศรีธรรมราช เพื่อ วิเคราะห์ลักษณะของป่าที่ปกคลุมด้วยเมฆตลอดทั้งปี ซึ่ง เปราะบางต่อภาวะการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก
10 Book Annual2007.indb 10
BRT Annual Report 2007 28/9/07 17:17:42
ชุดโครงการวิจัยใน BRT 2550
นิเวศวิทยา : วางรากฐานการวิจยั และพัฒนาบุคลากร เริ่มวางรากฐานให้นิสิตนักศึกษารุ่นใหม่เข้าสู่เส้นทางวิจัย นิเวศวิทยาอย่างจริงจัง โดยจัดตั้งหลักสูตรนิเวศวิทยา ปริญญาโท-เอก ที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พร้อมทั้งระดม ที ม นั ก นิ เ วศวิ ท ยาชั ้ น นำของประเทศไทย จั ด ทำตำรา นิเวศวิทยาเล่มแรกของประเทศไทย
นิเวศเกษตร : เศรษฐกิจพอเพียง
หาดขนอม : ศึกษา ค้นคว้า วิจัยในโรงเรียน
ชุดโครงการใหม่ของโครงการ BRT เน้นการสนับสนุนการวิจัย ความหลากหลายทางชีวภาพในระบบนิเวศเกษตร เพื่อค้นหา องค์ความรู้ของท้องถิ่นในการจัดการ และวางแผนในการ อนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรชีวภาพ
นำร่องการวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพและติดตามระบบ นิเวศระยะยาวโดยครูและนักเรียนใน 8 โรงเรียนที่ อ.ขนอม จ.นครศรีธรรมราช
จัดการข้อมูล : คืนความรู้สู่สังคม
สิ่งแวดล้อมศึกษา : เรียนรู้ท้องถิ่น
โครงการ BRT จัดกิจกรรมหลากหลายรูปแบบทยอยออกสู่ สายตาสาธารณชนตลอดทั้งปีที่ผ่านมา ทั้งนิทรรศการขนาด ใหญ่อย่างเช่น “ซู” และการตระเวนจัดนิทรรศการเคลื่อนที่ ของโครงการ BRT หลายต่อหลายครั้ง
พัฒนากระบวนการสร้างวัฒนธรรมการร่วมคิดร่วมทำของนัก วิจัยและนิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี โดยใช้ ทรัพยากรท้องถิ่น ได้แก่ “ไผ่” เป็นโจทย์วิจัย
BRT รายงานประจำปี 2550 Book Annual2007.indb 11
11 28/9/07 17:18:02
ผลงานวิจัยฟอสซิล และนิทรรศการ ที.เร็กซ์ “ซู”
ผลการวิจัยฟอสซิลของไทยก้าวไกลในเวทีระดับชาติ และระดับโลก นอกจากจะมีการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการอย่าง ต่อเนื่องแล้ว ยังได้พัฒนาต่อยอดอีกหลายด้าน ทั้งการจัด นิทรรศการ ที.เร็กซ์ “ซู” และไดโนเสาร์ไทย ซึ่งยิ่งใหญ่ใน ระดับโลกจาก The Field Museum Chicago ที่องค์การ พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ โดยได้รับความไว้วางใจจาก บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และเครือข่ายพันธมิตรโดยกรม ทรัพยากรธรณี และกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ขณะนี้มีผู้เข้าชมแล้วประมาณ 200,000 คน และยังได้รับการ ขยายเวลาการจัดนิทรรศการไปถึงเดือนมกราคม พ.ศ. 2551 นอกจากนี ้ ก ารวิ จ ั ย ฟอสซิ ล ยั ง มี ค วามพร้ อ มจนสามารถ รวบรวมตัวอย่างฟอสซิลที่สำรวจพบในประเทศไทยมาจัด แสดงอย่างสมบูรณ์ที่สุดในพิพิธภัณฑ์สิรินธร ซึ่งจะเปิดการ แสดงอย่างยิ่งใหญ่เป็นครั้งแรก โดยกรมทรัพยากรธรณีใน ปลายปีนี้ เช่นเดียวกับที่พิพิธภัณฑ์เหมืองถ่านหินแม่เมาะ จ.ลำปาง ที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยได้เปิดให้ผู้ สนใจเข้ า ชมฟอสซิ ล สั ต ว์ เ ลี ้ ย งลูก ด้ ว ยนมซึ ่ ง เป็ น ผลการ สนับสนุนงานวิจัยโดยโครงการ BRT อย่างต่อเนื่อง ด้วย ความสำเร็ จ อย่ า งกว้ า งขวางของการวิ จ ั ย ฟอสซิ ล ทำให้ ดร.วราวุ ธ สุธ ี ธ ร ผู ้ เ ชี ่ ย วชาญด้ า นฟอสซิ ล จากกรม ทรัพยากรธรณี ซึ่งเป็นผู้รับทุนของโครงการ BRT ได้รับรางวัล Morris F. Skinner Award เป็นรางวัลสำหรับผู้ที่มีผลงาน วิจัยโดดเด่นด้านโบราณชีววิทยาสัตว์มีกระดูกสันหลังอีกด้วย
การวิจัยภาวะโลกร้อนในชุดโครงการป่าเมฆ-เขานัน
ชุดโครงการป่าเมฆ-เขานัน เริ่มต้นเมื่อปลายปี พ.ศ. 2548 เป็นชุดโครงการวิจัยเชิงพื้นที่ (Area-based project) ของโครงการ BRT ที่ได้ออกแบบให้นักวิจัยร่วมกันศึกษา สภาวะภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง (Climate change) โดยเน้น การศึกษาที่บริเวณระบบนิเวศที่เรียกว่า “ป่าเมฆ” อุทยานแห่ง ชาติเขานัน จ.นครศรีธรรมราช โดยได้ติดตั้งสถานีตรวจวัด อากาศอัตโนมัติทั่วบริเวณป่าเมฆและเขานัน พร้อมกับวิจัย และติดตามสถานภาพ (Monitoring) ของพืชและสัตว์หลาย ชนิดระยะยาว เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงด้านชีวภาพและ กายภาพตามระดับชั้นความสูงจากระดับ 200 เมตร ไปจน
12 Book Annual2007.indb 12
กระทั่งถึง 1,400 เมตร ซึ่งจะทำให้สามารถเข้าใจแถบการ เปลี่ยนแปลงระบบนิเวศ (Ecotone) ที่ป่าเมฆและเขานันได้ ชุดโครงการป่าเมฆ-เขานันยังได้พบสิ่งมีชีวิตต่างถิ่นหลายชนิด (Alien species) เช่น เฟิร์นก้านดำ (Adiantum latifolium Lam.) ซึ ่ ง เป็ น เฟิ ร ์ น จากอเมริ ก ากลาง และ มดน้ ำ ผึ ้ ง (Anoplolepis gracilipes) ซึ่งอยู่ในบัญชีชนิดพันธุ์ต่างถิ่น รุกรานที่ร้ายแรงของโลกจำนวน 100 ชนิด ตามการจัดของ Global Invasive Species ที่ควรเฝ้าระวัง เนื่องจากป่าเมฆ เป็นพื้นที่ที่น่าสนใจ เป็นแหล่งต้นน้ำที่สำคัญ ชุดโครงการป่า เมฆ-เขานันได้จัดการสำรวจแบบทีม (Expedition) ในเดือน เมษายน พ.ศ. 2550 ได้มีนักวิจัยที่มีความชำนาญเฉพาะทาง หลายท่านเข้าร่วม ทำให้ได้ข้อมูลเบื้องต้นของสิ่งมีชีวิตเฉพาะ ถิ่นที่พบเฉพาะป่าเมฆ สภาวะแวดล้อม และสภาวะภูมิอากาศ ที่เปลี่ยนแปลงไป (Climate change) ซึ่งจะมีผลกระทบต่อ พื้นที่ป่าเมฆอันเปราะบาง
BRT Annual Report 2007 28/9/07 17:18:08
ผลงานเด่นโครงการ BRT 2550
ผลงานวิจัยทะเลขนอมเข้าช่วยคลี่คลายข้อพิพาทด้านสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น จากการที่โครงการ BRT ได้ให้การสนับสนุนงานวิจัยชุด โครงการความหลากหลายทางชี ว ภาพทางทะเลกว่ า 14 โครงการ ในพืน้ ทีห่ าดขนอม-หมูเ่ กาะทะเลใต้ จ.นครศรีธรรมราช ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 เป็นต้นมา ทำให้ได้องค์ความรู้จาก ทรัพยากรชีวภาพในท้องถิ่น เช่น หญ้าทะเลผืนใหญ่ในเกาะท่า ไร่ และโลมาสีชมพูที่ขนอม ซึ่งข้อมูลดังกล่าวได้รับการนำไป ใช้ประกอบการพิจารณาคลี่คลายข้อพิพาทในท้องถิ่นโดยคณะ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติระหว่างชุมชนในพื้นที่ขนอม และบริษัทเอกชนรายหนึ่ง ในการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกในพื้นที่ อ่าวเตล็ด หมู่ที่ 6 ต.ท้องเนียน อ.ขนอม จ.นครศรีธรรมราช กรณีนี้จึงกล่าวได้ว่า ข้อมูลทางวิชาการของโครงการ BRT มี ความพร้อมสำหรับให้บริการแก่หน่วยงานต่างๆ ในการนำไป ใช้ประโยชน์
กระป๋องกำจัดไรฝุ่น จากการวิจัยไรฝุ่นและสารสกัดสมุนไพรกำจัดไรฝุ่นใน ชุ ด โครงการทองผาภู ม ิ ต ะวั น ตกมาอย่ า งต่ อ เนื ่ อ งทำให้ ผศ.ดร.อำมร อินทรสังข์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้า คุณทหารลาดกระบัง ได้คิดค้นและพัฒนากระป๋องกำจัดไรฝุ่น พร้อมจดสิทธิบัตร 2 รายการ และเตรียมเผยแพร่ให้กับ บริษัทเอกชน กระป๋องกำจัดไรฝุ่นนี้ยังได้รับรางวัลผลิตภัณฑ์ ต้นแบบดีเด่นจากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณ ทหารลาดกระบัง และเตรียมพัฒนาสูตรกำจัดไรฝุ่นอีกหลาย รายการ BRT รายงานประจำปี 2550 Book Annual2007.indb 13
13 28/9/07 17:18:19
หอยทาก-การยอมรับในระดับสากล
ผลงานวิจัยหอยทากของไทยอย่างต่อเนื่อง โดย รศ.ดร.สมศักดิ์ ปัญหา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทำให้ได้รับรางวัลสภาวิจัย : ผลงานวิจัยประเภทชมเชย ประจำปี พ.ศ. 2549 ซึ่งเป็นผลมาจากการสนับสนุนทุนจากโครงการ BRT พร้อม กันนั้นผลงานหอยทากไทยยังได้รับการยอมรับในระดับโลก โดย รศ.ดร.สมศักดิ์ ปัญหา ได้รับการแต่งตั้งให้เป็น President of UNITAS MALACOLOGIA (The World Scientific Society of Malacology) และประเทศไทยได้รับ เกียรติเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม 2010 World Congress of Malacology ถือว่าเป็นครั้งแรกของทวีปเอเชียที่ได้รับเกียรตินี้
การเผยแพร่ความรู้สู่สาธารณชน
ในช่วงปี พ.ศ. 2550 ที่ผ่านมา โครงการ BRT ได้นำผล งานวิ จ ั ย ความหลากหลายทางชี ว ภาพไปจั ด นิ ท รรศการ เคลื่อนที่ของโครงการ BRT ที่ทำต่อเนื่องกันมาถึง 10 ครั้ง เช่น ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตสกลนคร ในงาน เปิดพิพิธภัณฑ์องค์ความรู้ งานพฤกษาสยามที่เดอะมอลล์ งาน
สัปดาห์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เป็นต้น รวมไป ถึงงานวิจัยที่สามารถนำไปขยายผลในท้องถิ่นได้ ได้รับการเผย แพร่อย่างทั่วถึงทั้งในส่วนกลางและท้องถิ่นของประเทศไทย สะท้อนให้เห็นถึงผลงานวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพของ ไทยที่ได้เจริญงอกงามและสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตส่งต่อไป ถึงผู้ใช้ปลายทางได้อย่างน่าภาคภูมิใจ นอกจากนั้น งานวิจัยรา แมลง และไรน้ำนางฟ้า จากการสนับสนุนของโครงการ BRT ยังได้รับคัดเลือกให้ไปจัดแสดงนิทรรศการในงาน “Science News from Asia-Power of Asia, Power of Science” กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นการนำเสนอความก้าวหน้า ทางวิ ท ยาศาสตร์ ท ี ่ แ ต่ ล ะประเทศได้ ค ิ ด ค้ น หรื อ พั ฒ นาขึ ้ น แสดงถึงความร่ำรวยทรัพยากรชีวภาพของประเทศไทยที่ได้รับ ความสนใจและเผยแพร่อย่างกว้างขวางในระดับสากล
ฐานข้อมูล
โครงการ BRT ได้เห็นความสำคัญและปรับปรุงฐาน ข้อมูลอย่างต่อเนื่อง จึงได้บริหารจัดการให้เกิดเครือข่ายฐาน ข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพ หรือ NBIDS : Network of Biodiversity Database System ภายใต้ความร่วมมือ ระหว่างโครงการ BRT และหน่วยวิจัยซับซ้อน มหาวิทยาลัย วลัยลักษณ์ เพื่อบรรจุข้อมูลวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพ ในโครงการ BRT มีบริการแบบ online ผ่าน Internet เช่น บริการค้นหาข้อมูลที่ออกแบบเพื่อตอบสนองความต้องการ
14 Book Annual2007.indb 14
ของผู้ใช้ที่หลากหลายและมีระบบช่วยการตัดสินใจในส่วน บริ การวิ เคราะห์ ข้ อมูล สรุป ข้ อมูล ในรูป แบบรายงานแบบ อัตโนมัติ ในรูปแบบเชิงพื้นที่และ GIS และบริการสร้างภาพ ข้อมูลด้วยกราฟทั้ง 2 และ 3 มิติ ฐานข้อมูลดังกล่าวได้จัดเก็บผลงานวิจัยในชุดโครงการ วิจัยของโครงการ BRT เช่น ชุดโครงการทองผาภูมิตะวันตก ชุดโครงการป่าเมฆ-เขานัน และชุดโครงการหาดขนอม-หมู่ เกาะทะเลใต้ นอกจากนั้นยังได้จัดเก็บข้อมูลในโครงการวิจัย ขนาดใหญ่ เช่น พรรณไม้วงศ์อบเชย และพรรณไม้วงศ์เปล้า เป็นต้น ปัจจุบันมีข้อมูลในระบบทั้งสิ้น 78 โครงการ มีรายการ ข้อมูลสิ่งมีชีวิตทั้งสิ้น 22,994 รายการ ข้อมูลทางกายภาพ 2,731 รายการ เผยแพร่ ส ิ ่ ง ตี พ ิ ม พ์ ท างวิ ช าการรวม 109 รายการ ประกอบด้วยบทคัดย่อ 40 รายการ โปสเตอร์ 15 รายการ และหนั ง สื อ 4 รายการ เผยแพร่ ท างเว็ บ ไซต์ www.nbids.org BRT Annual Report 2007 28/9/07 17:18:22
หน่วยงานสนับสนุนทุนโครงการ BRT ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ศช.) จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2526 ตามมติคณะรัฐมนตรี ดำเนินการภายใต้ระบบราชการในสังกัดกระทรวง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อสนับสนุนทุนวิจัยในสาขาเทคโนโลยีชีวภาพแก่หน่วยงาน วิจัยต่างๆ ในภาครัฐ ซึ่งจะเน้นการพัฒนาความสามารถพื้นฐานทางพันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2534 ได้ถูกรวมเข้าไปอยู่ภายใต้การดูแลของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และเปลี่ยนวิธีการ บริหารจากระบบราชการ เป็นระบบงานที่มีความเป็นอิสระ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุน การวิจัย พ.ศ. 2535 อยู่ภายใต้การกำกับของสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่ ใช้ ร ะเบี ย บราชการในการบริ ห ารเพื ่ อ ให้ เ กิ ด ความคล่ อ งตั ว และมี ร ะบบกองทุ น ที ่ ม ี ประสิทธิภาพโดยที่ไม่ต้องทำวิจัยเอง วัตถุประสงค์ในการก่อตั้งคือเพื่อส่งเสริมนักวิจัย กลุ่ม วิจัย และชุมชนวิจัยในพื้นที่ต่างๆ ของประเทศที่มีศักยภาพ ให้สามารถสร้างปัญญาและผลิตผลงานที่มีคุณภาพ เพื่อให้การ พัฒนาประเทศเป็นไปอย่างยั่งยืน กลุ่ม ปตท. หมายถึง บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) และ บริษัทที่ ปตท. ร่วมลงทุน ทั้งหมด ในธุรกิจปิโตรเลียม และธุรกิจพลังงานที่เกี่ยวเนื่อง ตั้งแต่ต้นทางที่ธุรกิจสำรวจและ ผลิตก๊าซธรรมชาติ ต่อเนื่องไปถึงธุรกิจน้ำมัน ธุรกิจปิโตรเคมีและการกลั่นอย่างครบวงจร ด้วยกลยุทธ์การบริหารงานเป็นกลุม่ บริษทั เชือ่ มโยงกันทัง้ ธุรกิจนี้ ส่งผลให้กลุม่ ปตท. มีวสิ ยั ทัศน์ ชัดเจนในการสร้างมูลค่าทางธุรกิจในระยะยาว มีพลังร่วมในการสร้างประโยชน์และการดำเนินงาน ทำให้ศักยภาพของกลุ่มมี ความแข็งแกร่ง เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน รวมทั้งสามารถบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติของประเทศได้อย่างคุ้มค่า และมีประสิทธิภาพสูงสุด บริษัทโททาล เกิดขึ้นจากการรวมตัวกันของสามบริษัทน้ำมันขนาดใหญ่ ได้แก่ บริษัทโททาล ของฝรั่งเศส บริษัทเปโตรฟินา (PetroFina) ของเบลเยี่ยม และบริษัท แอฟ อกิแตน (Elf Aquitaine) ของฝรั่งเศส ปัจจุบันบริษัทโททาลเป็นผู้ผลิตน้ำมันและก๊าซธรรมชาติที่ ใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลก ธุรกิจของบริษัทครอบคลุมตั้งแต่การสำรวจ การผลิต โรงกลั่น ปิโตรเคมี การตลาดและการขนส่งน้ำมัน ดำเนินธุรกิจในประเทศต่างๆ มากกว่า 130 ประเทศ นอกจากนี้บริษัทโททาลยังให้ ความสนใจและมีส่วนร่วมในการช่วยอนุรักษ์พลังงานสำหรับอนาคตโดยการพัฒนาพลังงานหมุนเวียน เช่น พลังงานลม พลังงาน แสงอาทิตย์ และเชื้อเพลิงทางเลือกอื่นๆ มูลนิธิโททาล สาธารณรัฐฝรั่งเศส จัดตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1992 โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะช่วยส่ง เสริม และสนับสนุนการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของโลกควบคู่ไปกับการดำเนินกิจกรรมของ บริษัทในเครือโททาล การดำเนินการของมูลนิธิเริ่มต้นจากความสนใจในเรื่องการรักษาระบบ นิเวศวิทยาและความหลากหลายทางชีวภาพของพืช ต่อมาในปี ค.ศ. 1997 ได้มุ่งความสนใจ ไปยังระบบนิเวศวิทยาในทะเลและชายฝัง่ จนกระทัง่ ปี ค.ศ. 2003 มูลนิธไิ ด้มงุ่ สนับสนุนการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพในทะเล โดยเฉพาะประเด็น ชนิดพันธุต์ า่ งถิน่ (Invasive species) พืน้ ทีอ่ นุรกั ษ์ พืน้ ทีช่ มุ่ น้ำ และการฟืน้ ฟูสภาพพืน้ ทีท่ างทะเลทีถ่ ูกทำลาย BRT รายงานประจำปี 2550 Book Annual2007.indb 15
15 28/9/07 17:18:24
ชุดโครงการป่าเมฆ-เขานัน ภาวะโลกร้อนกับผลกระทบ ต่อความหลากหลายทางชีวภาพ
16 Book Annual2007.indb 16
BRT Annual Report 2007 28/9/07 17:18:33
ชุดโครงการป่าเมฆ-เขานัน เริ่มต้นเมื่อปลายปี พ.ศ. 2548 โดยโครงการพัฒนา องค์ความรู้และศึกษานโยบายการจัดการทรัพยากรชีวภาพในประเทศไทย (โครงการ BRT) ร่วมกับบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เป็นชุดโครงการวิจัยเชิงพื้นที่ (Areabased project) ยุคใหม่ของโครงการ BRT ที่ได้ออกแบบให้นักวิจัยร่วมกันวางแผน วางรูปแบบตารางบันทึกผลการทดลอง มีทิศทางการวิจัยที่ชัดเจน มีหุ้นส่วน รวมทั้งมี ระบบฐานข้อมูล (NBIDS-BRT) ที่คอยรวบรวมและจัดการข้อมูลให้กับนักวิจัยในชุด โครงการ พื้นที่ชุดโครงการอยู่ในบริเวณเทือกเขานครศรีธรรมราชคือ เขานัน มีเนื้อที่ ประมาณ 406 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมอยู่ในท้องที่กิ่งอ.นบพิตำ อ.ท่าศาลา และอ.สิชล จ.นครศรีธรรมราช ซึ่งมีลักษณะภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน มี ยอดสูงที่สุดประมาณ 1,438 เมตรจากระดับน้ำทะเล สภาพป่าบนเขานันเป็นป่าดงดิบชื้น ที่ยังอุดมสมบูรณ์ อีกทั้งปกติมีเมฆปกคลุมเสมอๆ อันเป็นลักษณะเฉพาะของป่าเมฆ ซึ่ง เป็นบริเวณพิเศษทางภูมิศาสตร์ที่มีความชื้นสูงและอุณหภูมิต่ำ ทำให้ไอน้ำมีการ ควบแน่นเป็นละอองตลอดวัน จึงเป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำลำธารที่สำคัญ ป่าเมฆสามารถ พบได้บนเขาบริเวณเส้นศูนย์สูตรที่มีความสูงเพียง 500 เมตรจากระดับน้ำทะเลเท่านั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยทางกายภาพและระยะห่างจากระดับน้ำทะเล เนื่องจากป่าเมฆมีลักษณะสังคมพืช ลักษณะของพืช สภาพภูมิอากาศและลักษณะ ดินที่มีความพิเศษ โดยลักษณะอากาศจะมีความชื้นสัมพัทธ์สูงและอุณหภูมิต่ำทำให้เกิด ความสมดุลทางธรรมชาติมายาวนาน จึงทำให้ป่าเมฆได้รับผลกระทบอย่างมากจากภาวะ โลกร้อนทั้งทางตรงและทางอ้อม การเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้ส่งผลต่อการดำรง ชีวิตของพืชและสัตว์ที่อยู่ในป่าเมฆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพืชอิงอาศัยที่พบเป็นจำนวนมาก รวมทั้งสิ่งมีชีวิตประจำถิ่น ซึ่งมีอยู่อย่างมากมายที่ป่าเมฆ จากการศึกษาวิจัยป่าเมฆที่เขานันมาเป็นเวลาต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 ทำให้ เปิดเผยองค์ความรู้พื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับป่าเมฆและเขานันมากมาย สรุปกิจกรรมและ ผลงานวิจัยเด่นได้ดังนี้
BRT รายงานประจำปี 2550 Book Annual2007.indb 17
17 28/9/07 17:18:46
งานวิจัยป่าเมฆ-เขานัน เปิดรับสมัครทุนนักศึกษาร่วมวิจัยโลกร้อน โครงการ BRT และนักวิจัยในชุดโครงการได้ระดมความคิดเห็นหลายต่อหลายครั้งในการกำหนด ทิศทางการวิจัย ในที่สุดได้ตั้งเป้าหมายไว้ที่การวิจัยโลกร้อน ผลการดำเนินงานของชุดโครงการป่าเมฆ-เขานันในรอบปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2549-2550) ได้ปรากฏองค์ความรู้ด้านความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต ในพื้นที่เขานันและป่าเมฆอย่างมากมาย จนเป็นที่มาของกรอบงานวิจัยใน ชุดโครงการป่าเมฆ-เขานันปีที่ 2 (พ.ศ. 2550-2551) ซึ่งเกิดจากการประชุม ระดมความคิดระหว่างโครงการ BRT และนักวิจัยในชุดโครงการหลายต่อ หลายครั้ง โดยมีเป้าหมายเพื่อศึกษาวิจัยด้านนิเวศวิทยาท่ามกลางภูมิ อากาศที่เปลี่ยนแปลงไปอันเนื่องมาจากภาวะโลกร้อน ตลอดจนปัจจัยต่างๆ ที่มีผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ รวมทั้งการสร้างความรู้เกี่ยว กับระบบนิเวศป่าเมฆ กรอบงานวิจัยปีที่ 2 ที่เปิดรับทุนประกอบด้วยงาน วิจัย 6 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่ม 1 งานวิจัยนิเวศวิทยา กลุ่ม 2 งานวิจัยชีววิทยา พื้นฐาน กลุ่ม 3 Emerging Eco-Science กลุ่ม 4 การศึกษาทางด้าน สังคม เศรษฐกิจและวัฒนธรรม กลุ่ม 5 การสำรวจอย่างรวดเร็วแบบทีม (Expedition) และกลุ่ม 6 การศึกษา ทางด้านธรณีวิทยา นักศึกษาที่สนใจอ่านรายละเอียดได้ใน http://brt.biotec.or.th สามารถส่งข้อเสนอ โครงการวิทยานิพนธ์มาได้ที่โครงการ BRT ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
“ชุดโครงการป่าเมฆ-เขานัน” สนับสนุนเจ้าหน้าที่อุทยานศึกษาวิจัย โครงการ BRT ได้ร่วมมือกับเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติเขานัน เฝ้าติดตามสถานภาพของ สิ่งมีชีวิต ทั้งพืชและสัตว์ ในระบบนิเวศป่าเมฆและเขานัน โครงการ BRT ได้ร่วมมือกับเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติเขานัน เฝ้า ติดตามสถานภาพของสิ่งมีชีวิต ทั้งพืชและสัตว์ในระบบนิเวศป่าเมฆ ซึ่งเป็น ระบบนิ เ วศที ่ เ ปราะบาง พบได้ ย าก และมี แ นวโน้ ม จะลดลง โดยได้ สนับสนุนโครงการวิจัยที่มีเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติเขานันเป็นผู้ทำวิจัย จำนวนทั้งสิ้น 6 โครงการ เช่น การศึกษาสถานภาพของกล้วยไม้และขิงตาม เส้นทางศึกษาธรรมชาติ การเฝ้าติดตามสถานภาพของผีเสื้อกลางคืนขนาด ใหญ่และด้วงบางชนิด เป็นต้น นอกจากนั้นยังได้ศึกษาการเปลี่ยนแปลงทาง ด้านชีพลักษณ์ (Phenology) ของป่าประ ซึ่งเป็นพืชดัชนีชนิดหนึ่งที่ได้รับ ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศ โดยให้เจ้าหน้าที่อุทยาน แห่งชาติเขานันทำการเฝ้าสังเกตการแตกยอดและการออกช่อดอกของต้น ประ ซึ่งถ้าสภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงไป ย่อมมีผลกระทบต่อเวลาที่ต้น ประจะแตกยอด และระยะเวลาที่แตกยอดของต้นประด้วย
18 Book Annual2007.indb 18
BRT Annual Report 2007 28/9/07 17:18:52
ติดตั้งสถานีตรวจวัดอากาศทั่วเขานัน ชุดโครงการป่าเมฆ-เขานัน เป็นชุดโครงการแรกของโครงการ BRT ที่ ได้สนใจศึกษาสภาวะภูมิอากาศ ที่เปลี่ยนแปลงไป (Climate change) อันเป็นผลพวงจากภาวะโลกร้อน ชุดโครงการป่าเมฆ-เขานัน เป็นชุดโครงการแรกของโครงการ BRT ที่ ได้สนใจการศึกษาสภาวะภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป (Climate change) อันเป็นผลพวงจากภาวะโลกร้อนที่กำลังเป็นปัญหาสำคัญระดับโลกใน ปัจจุบัน โดยชุดโครงการวิจัยดังกล่าวเน้นการศึกษาที่บริเวณระบบนิเวศที่ เรียกว่า “ป่าเมฆ” และที่อุทยานแห่งชาติเขานัน โดยได้ติดตั้งสถานีตรวจวัด อากาศอัตโนมัติที่บริเวณป่าประและที่ป่าเมฆ ในขณะเดียวกันได้ติดตั้ง สถานีตรวจวัดอากาศตามหน่วยพิทักษ์ 8 สถานีของอุทยานแห่งชาติเขานัน และได้วางแผนที่จะนำ Data logger ไปติดตั้งตามระดับความสูงต่างๆ เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของอากาศตามระดับชั้นความสูงจากระดับ 200 เมตร ไปจนกระทั่งถึง 1,400 เมตร จะทำให้สามารถเข้าใจแถบการ เปลี่ยนแปลงระบบนิเวศ (Ecotone) ที่เขานันได้ เนื่องจากมีข้อมูลเปรียบ เทียบการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของข้อมูลอุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ ปริมาณแสงอัลตราไวโอเลต ปริมาณน้ำฝน ทิศทางลม ความเร็วลม อุณหภูมิดิน ความชื้นในดิน ความเปียกของใบ เป็นต้น
การสำรวจป่าเมฆแบบทีมครั้งแรกในประเทศไทย ภารกิจในรูปแบบทีมสำรวจที่ ไม่เคยมีมาก่อนในประเทศไทย ทำให้ ได้ข้อมูลเบื้องต้นของสิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นที่พบ เฉพาะในป่าเมฆ รวมทั้งลักษณะของป่าเมฆที่ ไม่เคยเปิดเผยที่ ใดมาก่อน โครงการ BRT ร่วมกับบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) จัดการสำรวจ ป่าเมฆแบบทีม (Cloud forest expedition) เพื่อสำรวจความหลากหลาย ทางชีวภาพและเก็บข้อมูลทางกายภาพบริเวณป่าเมฆ ณ ยอดสันเย็นที่ ระดับความสูง 1,400 เมตรจากระดับน้ำทะเล ของอุทยานแห่งชาติเขานัน จ.นครศรีธรรมราช ระหว่างวันที่ 16 – 23 เมษายน พ.ศ. 2550 โดยมีนัก วิจัยของชุดโครงการวิจัยป่าเมฆ-เขานันหลายท่าน รวมทั้งเจ้าหน้าที่อุทยานฯ ปฏิบัติภารกิจในรูปแบบทีมสำรวจที่ไม่เคยมีมาก่อนในประเทศไทย ทำให้ ได้ข้อมูลเบื้องต้นของสิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นที่พบเฉพาะป่าเมฆจำนวนไม่น้อย กว่าร้อยชนิด พืชและสัตว์ที่หายากและคาดว่าน่าจะเป็นชนิดใหม่ของโลก หลายชนิด รวมทั้งข้อมูลลักษณะของป่าเมฆที่พบว่า ความสูงของทรงพุ่มและความสูงของต้นไม้จะลดลงเมื่อระดับความสูงจาก น้ำทะเลเพิ่มขึ้น โดยมีเปอร์เซ็นต์ปริมาณพืชอิงอาศัยปกคลุมเพิ่มขึ้นเมื่อความสูงจากระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้นด้วย นอกจากนี้ยังพบ ว่าความชื้นสัมพัทธ์จะลดลงเมื่ออุณหภูมิอากาศเพิ่มขึ้นที่ป่าเมฆ และคุณภาพของแหล่งน้ำที่ป่าเมฆมีปริมาณออกซิเจนที่ละลาย น้ำต่ำเนื่องจากปริมาณแสงส่องลงมาน้อยลง ทำให้สาหร่ายและแพลงก์ตอนพืชสังเคราะห์แสงไม่ได้
BRT รายงานประจำปี 2550 Book Annual2007.indb 19
19 28/9/07 17:19:04
“เอเลี่ยนสปีชีส์” ภัยเงียบของระบบนิเวศป่าเมฆ-เขานัน นักวิจยั BRT ค้นพบสิ่งมีชีวติ ต่างถิ่น หรือ เอเลี่ยนสปีชีส ์ อย่างน้อย 5 ชนิด ที่ปรับตัวได้ดี ในสภาพแวดล้อม ของระบบนิเวศป่าเมฆ หวั่นแย่งอาหารสิ่งมีชีวติ ท้องถิ่น ส่งผลให้สญ ู พันธุ์ และทำให้ระบบนิเวศเสียสมดุล จากการสำรวจและศึกษาโดยนักวิจัยของโครงการ BRT ในช่วงระยะ เวลา 1-2 ปีที่ผ่านมา พบสิ่งมีชีวิตต่างถิ่นหลายชนิด เช่น เฟิร์นก้านดำ (Adiantum latifolium Lam.) ซึ่งเป็นเฟิร์นจากอเมริกากลางที่กระจายพันธุ์ เข้ามาอยู่ในพื้นที่ป่าเมฆ-เขานัน จนทำให้หลายบริเวณที่เดิมเคยมีพืชพื้นเมือง หลายชนิดขึ้นปกคลุมถูกแทนที่ด้วยเฟิร์นก้านดำชนิดนี้ นอกจากนี้ยังพบมด ฟาร์โรห์ (Monomorium pharaonis) มดต่างถิ่นจากอาฟริกาที่ประสบความ สำเร็จในการปรับตัวเข้ารุกรานเกือบทุกทวีป มีถิ่นอาศัยตามบ้านเรือน และ สร้างความรำคาญ นักวิจัยประหลาดใจที่พบมดชนิดนี้ที่ป่าเมฆ ซึ่งคาดว่าน่าจะ ติดสัมภาระจากนักวิจัยหรือนักท่องเที่ยวขึ้นไป และยังพบมดต่างถิ่นที่อุทยาน แห่งชาติเขานันที่ควรเฝ้าระวังอีกชนิด ได้แก่ มดน้ำผึ้ง (Anoplolepis gracilipes) ซึ่งอยู่ในบัญชีชนิดพันธุ์ต่างถิ่นรุกรานที่ร้ายแรงของโลกจำนวน 100 ชนิด ตามการจัดของ Global Invasive Species นอกจากนี้ยังพบมดต่างถิ่นชนิดอื่นๆ เช่น มดคันไฟ (Solenopsis geminata) และมดละเอียดหัวท้ายดำ (Monomorium floricola) เป็นต้น ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเฝ้าระวังกันต่อไปว่าสิ่ง มีชีวิตต่างถิ่นนี้จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อสังคมพืชและสัตว์ในป่าเมฆ-เขานันอย่างไร
20 Book Annual2007.indb 20
BRT Annual Report 2007 28/9/07 17:19:06
“ป่าประธรรมชาติ ที่อุทยานแห่งชาติเขานัน” ป่าประผืนเดียว และผืนสุดท้ายของโลก ชุมชนรายรอบเขานันเก็บหาลูกประที่ทำได้เพียงปีละครั้ง ช่วงเดือนสิงหาคมถึงกันยายนของทุกปี คิดเป็น มูลค่ารวมถึง 2.6 ล้านบาทต่อปี นับว่าเป็นรายได้เสริมที่ดีอย่างหนึ่งของชุมชน โครงการ BRT เล็งเห็นถึงความสำคัญทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และ วัฒนธรรมของชุมชนรายรอบเขานัน จ.นครศรีธรรมราช จึงสนับสนุนให้นัก วิจัยของชุดโครงการป่าเมฆ-เขานัน ลงพื้นที่สอบถาม สังเกต และเก็บข้อมูล ด้านวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น การใช้ประโยชน์จากป่าของชุมชนและการ ประเมินมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ประโยชน์จากป่า ประ ซึ่งตั้งอยู่ทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือของที่ทำการอุทยานแห่งชาติเขานัน เป็นป่าประธรรมชาติผืนใหญ่ ผืนสุดท้ายของประเทศไทย และน่าจะเป็นป่า ประผืนเดียวของโลก ที่ชุมชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน โดยการเก็บหาลูกประที่ ทำได้เพียงปีละครั้ง ช่วงเดือนสิงหาคมถึงกันยายนของทุกปี โดยคิดเป็น มูลค่ารวมถึง 2.6 ล้านบาทต่อปี นับว่าเป็นรายได้เสริมที่ดีอย่างหนึ่งของ ชุมชน ป่าประจึงมีความสำคัญต่อทั้งชุมชน สัตว์ป่า และระบบนิเวศ ดังนั้นทุกฝ่ายจึงควรอนุรักษ์ป่าประผืนสุดท้ายแห่งนี้ให้เกิด ความยั่งยืนและอยู่คู่กับภูมิทัศน์เขานันตลอดไป
การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ชุดโครงการป่าเมฆ-เขานัน หนังสือ “เขานัน-ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน” รวบรวมข้อมูลลักษณะของป่าเมฆมากที่สุดในประเทศ ไทย และยังมีข้อมูลทรัพยากรชีวภาพอีกถึง 170 ชนิด ตลอดระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมาข้อมูลทางวิชาการในชุดโครงการป่าเมฆ-เขา นันได้ผลิตออกมามากมาย โครงการ BRT จึงจัดให้มีการนำความรู้จากงานวิจัยไป เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้กับเยาวชน และชุมชนท้องถิ่น โดยได้รับความร่วมมือ จากหุ้นส่วนหลายฝ่ายทั้งนักวิจัย ผู้ประสานงานโครงการฯ และอุทยานแห่งชาติ ใน การจัดทำโปสเตอร์ประชาสัมพันธ์จำนวนทั้งสิ้น 15 โครงการและนำไปติดไว้ ณ ที่ทำการอุทยานแห่งชาติเขานัน นอกจากนั้นฝ่ายเลขานุการฯ ยังได้จัดทำจดหมาย ข่าวเพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารและกิจกรรมต่างๆ ในชุดโครงการฯ อย่างต่อเนื่อง และล่าสุดได้จัดทำหนังสือ “เขานัน-ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลก ร้อน” ที่รวบรวมข้อมูลลักษณะป่าเมฆมากที่สุดในประเทศไทย พร้อมทั้งข้อมูลสิ่ง มีชีวิตชนิดเด่นและน่าสนใจในพื้นที่เขานันและป่าเมฆจำนวนทั้งสิ้น 170 ชนิด นอกจากนั้นยังมีข้อมูลทางด้านสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมที่สำคัญของชุมชน รายรอบเขานันอีกด้วย BRT รายงานประจำปี 2550 Book Annual2007.indb 21
21 28/9/07 17:19:16
“หมู่เกาะทะเลใต้” พื้นที่เสี่ยงต่อการสูญเสียความ หลากหลายทางชีวภาพ
22 Book Annual2007.indb 22
BRT Annual Report 2007 28/9/07 17:19:23
โครงการ BRT ได้พัฒนาชุดโครงการวิจัย “ความหลากหลายทางชีวภาพ ทางทะเล ในพื้นที่หมู่เกาะทะเลใต้” อ.ขนอม จ.นครศรีธรรมราช ขึ้นเมื่อปลายปี พ.ศ. 2548 โดยมีหุ้นส่วนสำคัญในการร่วมสนับสนุนทุนวิจัยคือ มูลนิธิโททาล (TOTAL FOUNDATION) และบริษัทโททาล อีแอนด์พี ไทยแลนด์ (TOTAL E&P THAILAND) ชุดโครงการดังกล่าวมีระยะเวลาดำเนินการ 3 ปี (พ.ศ. 2549-2551) เน้นการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างบูรณาการทั้งด้านชีวภาพและกายภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการติดตามตรวจสอบระบบนิเวศทางทะเลในระยะยาว เพื่อ ศึกษาการเปลี่ยนแปลงปัจจัยทางกายภาพที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงความหลาก หลายของสิ่งมีชีวิตในทะเล พื้นที่วิจัยของชุดโครงการอยู่บริเวณหมู่เกาะทะเลใต้ ได้แก่ เกาะแตน เกาะ ราบ เกาะวังนอก เกาะวังใน เกาะมัดสุ่ม และเกาะท่าไร่ ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยว ทางธรรมชาติที่สวยงาม และยังเป็นแหล่งอาศัยของสิ่งมีชีวิตทางทะเลอีกจำนวน มาก ได้กลายเป็นพื้นที่เสี่ยงจากการพัฒนาอันเนื่องมาจากโครงการก่อสร้างพื้น ฐานที่กำลังเป็นข้อพิพาท คือ การสร้างท่าเรือน้ำลึก อีกทั้งยังมีรีสอร์ทและการ ท่องเที่ยวที่มาจากเกาะสมุย ทำให้พื้นที่หมู่เกาะทะเลใต้ เริ่มมีปัญหาการบริหาร จัดการจากการท่องเที่ยว จากการศึกษาวิจัยอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลา 1 ปี โครงการ BRT ได้ จัดกิจกรรมในพื้นที่มากมาย สรุปได้ดังนี้
BRT รายงานประจำปี 2550 Book Annual2007.indb 23
23 28/9/07 17:19:27
จากการสำรวจชนิดพันธุ์สู่การวิจัยนิเวศวิทยา โครงการ BRT ร่วมกับนักวิจัยด้านทะเลจัดทำกรอบงานวิจัยนิเวศวิทยาทางทะเลในปี พ.ศ. 2551 เพื่อตอบ ปัญหาการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยทางกายภาพที่มีผลต่อความอยู่รอดของสิ่งมีชีวิต จากการศึกษาวิจัยและสำรวจชนิดพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตทาง ทะเลในหมู่เกาะทะเลใต้ ทำให้ทราบว่าบริเวณดังกล่าวมีความหลาก หลายของสิ่งมีชีวิตทางทะเลสูง ในขณะเดียวกันก็พบว่าพื้นที่ดัง กล่าวกำลังเผชิญกับภาวะคุกคามทั้งจากตะกอนที่เพิ่มมากขึ้น น้ำขุ่น ทำให้ปริมาณแสงลดลง ปริมาณสารอาหารและการไหลเวียนของ มวลน้ำ รวมทั้งอุณหภูมิน้ำที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อแนวปะการัง สาหร่าย และหญ้าทะเล จนอาจทำให้สิ่งมีชีวิตในทะเลทั้งในระดับ ประชากร และระดับประชาคมเปลี่ยนแปลงไป จนอาจก่อให้เกิด ปัญหาต่อความอยู่ดีกินดีของชุมชนที่ประกอบอาชีพประมงเป็นหลัก กรอบงานวิจัยนิเวศวิทยาจึงได้รับการพัฒนาขึ้นจากกลุ่มนักวิจัยในชุดโครงการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลง ของปัจจัยทางกายภาพที่มีผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพของทรัพยากรสิ่งมีชีวิตทางทะเลระยะยาว ซึ่งกำลังเปิดรับ ทุนสำหรับนิสิตนักศึกษาที่สนใจ ดูรายละเอียดได้ใน http://brt.biotec.or.th และสามารถส่งข้อเสนอโครงการวิทยานิพนธ์มา ได้ที่โครงการ BRT ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผลงานวิจัยทะเลขนอมเข้าช่วยคลี่คลายข้อพิพาทด้านสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น โครงการ BRT ได้นำเสนอข้อมูลผลงานวิจยั ทรัพยากรชีวภาพที่ทะเลขนอมให้กบั คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน แห่งชาติ : กรณีการสร้างท่าเรือน้ำลึก อ่าวเตล็ด อ.ขนอม จ.นครศรีธรรมราช จากการที่ชุมชนในพื้นที่อ่าวเตล็ด ได้ร้องเรียนมายัง คณะอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ว่าจะมีการก่อสร้าง ท่าเรือขนส่งสินค้าโดยบริษัทเอกชนรายหนึ่งในพื้นที่อ่าวเตล็ด หมู่ที่ 6 ต.ท้องเนียน อ.ขนอม จ.นครศรีธรรมราช เมื่อวัน ศุกร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2550 คณะอนุกรรมการสิทธิใน ทรัพยากรน้ำ ชายฝั่ง และแร่ จึงได้ขอให้โครงการ BRT เข้า ร่ ว มชี ้ แ จงและให้ ข ้ อ มู ล ความหลากหลายทางชี ว ภาพทาง ทะเลในพื้นที่ดังกล่าว เนื่องจากโครงการ BRT ได้ให้การ สนับสนุนงานวิจัยชุดโครงการความหลากหลายทางชีวภาพ ทางทะเลกว่า 14 โครงการ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 เป็นต้นมา ผลงานวิจัยทรัพยากรชีวภาพทางทะเล เช่น หญ้าทะเลผืนใหญ่ในเกาะ ท่าไร่ และโลมาสีชมพูที่ขนอม ได้ใช้ประกอบการพิจารณาคลี่คลายข้อพิพาทในท้องถิ่น กรณีนี้จึงกล่าวได้ว่า ข้อมูลทางวิชาการ ของโครงการ BRT มีความพร้อมสำหรับให้บริการแก่หน่วยงานต่างๆ ในการนำไปใช้ประโยชน์
24 Book Annual2007.indb 24
BRT Annual Report 2007 28/9/07 17:19:29
เผยแพร่ความรู้ หนังสือ “ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้” ครั้งแรกของการเปิดเผยความลี้ลับใต้ท้องทะเลหมู่เกาะทะเลใต้ที่ ไม่เคยปรากฏมาก่อน
ข้อมูลจากการวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเลในชุดโครงการหาดขนอม-หมู่เกาะ ทะเลใต้ ได้ผลิตออกมามากมายตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 และตามเจตนารมณ์ของโครงการ BRT ที่ ต้องการให้ผลงานวิจัยกลับไปสู่ชุมชนอย่างแท้จริง โครงการ BRT จึงได้นำผลงานวิจัยไปเผยแพร่ ให้ ชุ ม ชน เยาวชน และสาธารณชนทราบ โดยการจั ด การความรู ้ ใ นรู ป แบบต่ า งๆ ทั ้ ง การ ประชาสัมพันธ์ข่าวสาร ข้อมูลวิจัย และกิจกรรมต่างๆ ผ่านจดหมายข่าวของโครงการ BRT และยัง แจกจ่ายไปตามหน่วยงานต่างๆ และโรงเรียนอีกหลายร้อยแห่ง นอกจากนั้นโครงการ BRT ยังได้ ประชาสัมพันธ์ความรู้ในรูปแบบโปสเตอร์ในงานนิทรรศการความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเลที่ หาดขนอม ซึ่งจัดโดยชุมชนในพื้นที่และชมรมธุรกิจท่องเที่ยวขนอม กรมทรัพยากรทางทะเลและ ชายฝั่ง งานนิทรรศการ “อนุรักษ์หญ้าทะเลไทยอ่าวขนอม น้อมเกล้าถวายพระเจ้าอยู่หัว” จัดโดย ชมรมพิทักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งขนอม และล่าสุดโครงการ BRT ได้จัดทำหนังสือกึ่งวิชาการชื่อว่า “ลมหายใจหมู่เกาะ ทะเลใต้” ที่มีข้อมูลความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในทะเลขนอมเกือบร้อยชนิด ภาพของสิ่งมีชีวิตใต้ท้องทะเลที่สวยงาม ที่มีทั้งสิ่ง มีชีวิตชนิดใหม่ และสัตว์ทะเลหายาก พร้อมทั้งภาพธรรมชาติอันสวยงามของหาดขนอม-หมู่เกาะทะเลใต้ นอกจากนี้ยังมีข้อมูล ของระบบนิเวศแบบต่างๆ ในพื้นที่ขนอม และแนวทางการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในพื้นที่อีกด้วย
สร้างความเข้มแข็งในท้องถิ่น โครงการ BRT ร่วมปลูกจิตสำนึกด้านการอนุรักษ์ระบบนิเวศทางทะเลให้กับเยาวชน และชุมชนในพื้นที่ขนอม อย่างต่อเนื่อง โครงการ BRT ร่วมกับมูลนิธิโททาล และบริษัทโททาล อีแอนด์พี ไทยแลนด์ จัดโครงการฝึกอบรมเพื่อติดตามตรวจสอบ ระบบนิเวศทางทะเลอย่างต่อเนื่องทุกสามเดือน โดยมีครู นักเรียน เจ้าหน้าที่อุทยานฯ และชุมชนในพื้นที่ขนอมให้ความสนใจและเข้า ร่วมกิจกรรมดังกล่าว เช่น โครงการติดตามตรวจสอบระบบนิเวศ แนวหญ้ า ทะเล โครงการค่ า ยเยาวชนรั ก ษ์ ท ะเลที ่ ห าดขนอม เป็นต้น การฝึกอบรมดังกล่าวมีทั้งการบรรยายให้ความรู้โดยผู้ เชี่ยวชาญด้านสิ่งมีชีวิตทางทะเลในสาขาต่างๆ และการฝึกปฏิบัติ ภาคสนาม และล่าสุดโครงการ BRT ร่วมกับ ผศ.ดร.อัญชนา ประเทพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จัดโครงการฝึกอบรมเชิง ปฏิบัติการเรื่องความหลากหลายของสาหร่ายทะเลและการเก็บรวบรวมตัวอย่างโดยใช้พื้นที่บริเวณหมู่เกาะทะเลใต้เป็นพื้นที่ ศึกษา มีนักศึกษาจากหลายสถาบันให้ความสนใจเข้าร่วมกิจกรรม BRT รายงานประจำปี 2550 Book Annual2007.indb 25
25 28/9/07 17:19:35
ทองผาภูมิตะวันตก : ชุมชนเข้มแข็ง
26 Book Annual2007.indb 26
BRT Annual Report 2007 28/9/07 17:19:37
ในรอบปีที่ผ่านมา งานวิจัยในชุดโครงการทองผาภูมิตะวันตกได้ ดำเนินงานอย่างสอดคล้องกับเป้าหมายของชุดโครงการในระยะที่ 2 (พ.ศ. 2548-2550) ที ่ เน้ น ให้ ชุม ชนในพื ้ น ที ่ ม ี ค วามเข้ ม แข็ ง สามารถจั ด การ ทรัพยากรชีวภาพด้วยฐานความรู้ที่ได้จากงานวิจัย และเน้นการสร้างฐาน ความรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพของพื้นที่เพื่อสนับสนุนระบบการ ศึกษาท้องถิ่นที่เข้มแข็ง สรุปกิจกรรมและผลงานวิจัยเด่นในรอบปีที่ผ่านมา ได้ดังนี้
การประชุมวิชาการทองผาภูมิตะวันตก จัดขึ้นเมื่อวันที่ 19-22 มีนาคม พ.ศ. 2550 โรงแรม เอกไพลิน ริเวอร์แคว รีสอร์ท จ.กาญจนบุรี ภายใต้หัวข้อ การจัดการงานวิจัยเชิงพื้นที่ (Area-based research) เชื่อม โยงความรู้สู่อนาคตทองผาภูมิ เพื่อนำเสนอผลงานทางวิชา การและของดีห้วยเขย่งซึ่งเป็นผลมาจากการทำงานวิจัยใน พื้นที่ ฝ่ายเลขานุการโครงการ BRT คณะนักวิจัยและนิสิต นักศึกษาในชุดโครงการต้องทำงานกันอย่างหนัก โดยมีการ ประชุมเพื่อจัดเตรียมงานทั้งสิ้น 7 ครั้ง ครั้งแรกเป็นการจัด ประชุ ม เพื ่ อ ระดมความคิ ด เห็ น เกี ่ ย วกั บ รู ป แบบของการ ประชุมเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 หลังจากนั้นได้ มีการประชุมอย่างต่อเนื่องอีก 6 ครั้ง โดยเป็นการประชุม ภายในกลุ่มย่อยระบบนิเวศน้ำ ระบบนิเวศสังคมมนุษย์ กลุ่มการใช้ประโยชน์ กลุ่มระบบนิเวศบก (พืช) และกลุ่มระบบนิเวศบก (สัตว์) ผลที่ได้จากการประชุมของแต่ละกลุ่มย่อยคือ บทความทางวิชา การ จำนวน 48 เรื่อง และบทความในจดหมายข่าว BRT ฉบับที่ 21 ซึ่งเป็นฉบับพิเศษที่ได้ตีพิมพ์ไป เรียบร้อยแล้ว นอกจากนี้กำลังอยู่ในระหว่างการจัดทำเป็นหนังสือ “รายงานการวิจัยในโครงการ BRT 2550 : ชุดโครงการทองผาภูมิตะวันตก” พิมพ์ 4 สีตลอดทั้งเล่ม ความยาวประมาณ 600 หน้า การประชุมวิชาการทองผาภูมิตะวันตกครั้งนี้ได้รับความสนใจจากผู้เข้าร่วมประชุมทั้งนักวิจัย นิสิตนักศึกษา ชาวบ้าน และภาคเอกชนเข้าร่วมกว่า 300 คน มีการบรรยาย 37 เรื่อง โปสเตอร์ 38 เรื่อง และนิทรรศการแสดงผลงานในชุดโครงการทองผาภูมิตะวันตก ซึ่งได้นำผลิตภัณฑ์ซึ่งเป็นผลงาน จากชุดโครงการมาจัดแสดง อาทิ กระป๋องกำจัดไรฝุ่น หนังสือใหม่จากชุดโครงการ จดหมายข่าวฉบับ ทองผาภูมิตะวันตก ประมวลภาพข่าวจากหนังสือพิมพ์ บทความที่ลงในนิตยสารต่างๆ วีซีดีรายการ โทรทัศน์ ประมวลภาพกิจกรรมในพื้นที่ นอกจากนี้ ทีมงานของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ยังได้ ร่วมจัดนิทรรศการในหัวข้อ “หญ้าแฝก” อีกด้วย BRT รายงานประจำปี 2550 Book Annual2007.indb 27
27 28/9/07 17:19:40
ผลงานเด่น ทุนทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ชายแดนตะวันตก ผศ.จารุวรรณ ขำเพชร และคณะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พบว่า ชุมชนในพื้นที่ชุดโครงการทองผาภูมิตะวันตกมีความหลากหลายของวิถีชีวิต สังคม และวัฒนธรรม แต่ละครอบครัวได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐทำเกษตร แผนใหม่ในรูปเกษตรเชิงเดี่ยวเพื่อการพาณิชย์ที่ต้องใช้ปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลง ซึ่งยังผลให้ระบบการจัดการทรัพยากรธรรมชาติแบบเกื้อกูลและความหลาก หลายของระบบนิเวศถูกทำลายไปได้
เห็ดโคนกับการจัดการที่ยั่งยืน อาจารย์จิรนันท์ ธีระกุลพิศุทธิ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พบว่า ในสวน ป่าทองผาภูมิพบเห็ดโคนทั้งสิ้น 4 ชนิด มูลค่ารวมสุทธิจากการใช้ประโยชน์จาก เห็ดโคนของชาวบ้านมีค่า 685,821 บาท/ปี โดยภูมิปัญญาชาวบ้านล้วนแฝงความ หมายเอาไว้ซึ่งการพึ่งพิงประโยชน์จากเห็ดโคนอย่างยั่งยืน เช่น วิธีการเก็บต้องใช้ มือถอน เวลาดึงเห็ดอย่าดึงทั้งก้าน เป็นต้น แสดงให้เห็นถึงวิสัยทัศน์ของคนใน สมัยก่อนที่ต้องการให้มีเห็ดโคนไว้ใช้ประโยชน์ได้ตลอดไป
หญ้าแฝก “หญ้าแฝก” มีความสำคัญในการช่วยรักษาดิน เพราะมีรากที่ยาวและหยั่ง ลึกเข้าไปในดินจึงป้องกันการกัดเซาะของผิวดินได้เป็นอย่างดีและทำให้ดินเกิด ความชุ่มชื้น บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) จึงส่งเสริมให้มีการปลูกหญ้าแฝกใน พื้นที่ ต.ห้วยเขย่ง อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี ตามบริเวณริมถนนที่ลาดชัน บริเวณไหล่เขา และริมสระน้ำ เป็นต้น นอกจากนี้ชาวบ้านในตำบลห้วยเขย่ง ยัง นำหญ้าแฝกมาใช้ประโยชน์ในการทำผลิตภัณฑ์หลากหลายอย่างเพื่อจำหน่ายเป็น รายได้เสริม เช่น ทำหมวก ตะกร้า เป็นต้น
28 Book Annual2007.indb 28
BRT Annual Report 2007 28/9/07 17:19:44
ชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้จัดโครงการ ครอบครัวเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการ ส่งเสริมแนวความคิดเรื่องการอยู่อย่างพอเพียงให้แก่ ชุมชนห้วยเขย่ง โดยมุ่งเน้นให้ชุมชนตระหนักถึงการ ลดรายจ่ายของครอบครัว เรียนรู้และฝึกปฏิบัติเรื่อง การออมเงิน โดยครอบครัวที่เข้าร่วมโครงการจะได้รับ การสนับสนุนให้มีการเลี้ยงสัตว์และปลูกผักกินเองใน ครอบครัว ภายใต้ข้อกำหนดร่วมกันของผู้เข้าร่วม โครงการ เช่น สมาชิกในครอบครัวต้องงดหรืออดเหล้าทุกวันพระ, ออมเงินอย่างน้อยวันละ 1 บาท, จดบันทึกรายรับ–รายจ่ายทุกวัน เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันโครงการกำลังอยู่ระหว่างการดำเนิน งานและมีครอบครัวที่สนใจเข้าร่วมโครงการเป็นจำนวนมาก
คนกับช้างบริเวณผืนป่าทองผาภูมิตะวันตก นายพิเชฐ นุ่นโต และ รศ.ดร.สมโภชน์ ศรีโกสา มาตร มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่าช้างส่วนใหญ่มีแนว โน้มแสดงพฤติกรรมตอบสนองต่อสิ่งเร้าโดยการหยุด อยู่กับที่หรือหลบซ่อนตัว ผู้วิจัยกำลังดำเนินการแก้ ปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างในขั้นต่อไป โดย นำผลการศึกษาพฤติกรรมการตอบสนองของช้างต่อ สิ่งเร้ามาประเมินวิธีการที่ดีที่สุดในการขับไล่ช้างให้ เหมาะสมกับพื้นที่
ถ่ายทอดเทคโนโลยี..ขยายพันธุ์พืชสู่ชุมชน ดร.พัชรินทร์ เก่งกาจ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ได้คัดเลือกพืชดอก หอมชนิดที่เหมาะสมมาทำการขยายพันธุ์เพื่อถ่ายทอด เทคโนโลยีให้กับชุมชนในพื้นที่ 5 ชนิด ได้แก่ คำมอก หลวง ข้าหลวงหลังลาย ตะลุมพุก เอื้องแซะ และยี่หุบ ปลี ซึ่งพบว่าพืชแต่ละชนิดมีความเหมาะสมในการ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีที่แตกต่างกันไป
BRT รายงานประจำปี 2550 Book Annual2007.indb 29
29 28/9/07 17:19:48
ชันโรงกับบทบาทผู้ผสมเกสรลิ้นจี่ที่ ต.ห้วยเขย่ง นายพงษ์ ศ ั กดิ ์ จิ ณฤทธิ ์ และ รศ.ดร.สาวิ ต รี มาไลยพั นธุ ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พบว่า แมลงที่เข้าผสมเกสรลิ้นจี่ในแปลง ทดลองมากที่สุดคือชันโรงชนิด Trigona collina ระยะห่างระหว่างรัง ชันโรงกับต้นลิ้นจี่ที่จะช่วยให้การผสมเกสรมีคุณภาพสูงสุดต้องมีระยะ ไม่เกิน 5-10 เมตร ถ้าพบชันโรงจำนวน 110 ตัวต่อต้น จะทำให้การติด ผลสูงสุดถึง 82 เปอร์เซ็นต์ งานวิจัยดังกล่าว อาจนำไปสู่การแก้ไข ปั ญ หาผลผลิ ต ลิ ้ น จี ่ ใ นพื ้ น ที ่ ท ี ่ ป ระสบปั ญ หาติ ด ผลน้ อ ยและไม่ ม ี คุณภาพ
หญ้าและการใช้ประโยชน์ นางสาวสุคนธ์ทิพย์ บุญวงศ์ และ ดร.ก่องกานดา ชยามฤต กรม อุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช พบว่าในพื้นที่ทองผาภูมิตะวัน ตก มีหญ้าทั้งหมด 66 ชนิด ใน 40 สกุล ในจำนวนนี้เป็นหญ้าที่เป็น พืชต่างถิ่น (Alien species) จำนวน 2 ชนิด คือ หญ้ากินนี และหญ้า รูซี่ ซึ่งแพร่กระจายเข้ามาจากการวางแนวท่อก๊าซ นอกจากนี้ยังพบว่า ชาวบ้านในพื้นที่มีการนำหญ้าบางชนิดมาใช้ประโยชน์ ได้แก่ หญ้าคา และหญ้าไม้กวาด เป็นต้น
การค้นพบสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ ในช่วงปีที่ผ่านมาพบสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ของโลกในทองผาภูมิตะวันตก 1 ชนิด คือ มวนมอส (Timasius chesadai Chen, Nieser & Lekprayoon, 2006) และสิ่งมีชีวิตรายงานใหม่ในประเทศ ไทย 7 ชนิด ได้แก่ มวนหัวหนาม (Ochterus marginatus (Latreille, 1804)) เฟิร์น 5 ชนิด และ 1 พันธุ์ เช่น Adiantum philippense L. var. subjunonicum H. Christ, Arachniodes coniifolia (Moore) Ching ไผ่ 2 ชนิด ได้แก่ ไผ่มันหมู (Dendrocalamus copelandii (Gamble ex Brandis) N.H. Xia & C.M.A. Stapleton) และไผ่หกลำ (Gigantochloa macrostachya Kurz)
สิทธิบัตร 2 รายการ งานวิจัยไรฝุ่น โดย ผศ.ดร.อำมร อินทรสังข์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง ได้ยื่นจดสิทธิบัตร จำนวน 2 รายการ คือ สูตรสมุนไพรควบคุมกำจัดไรฝุ่นที่มีสารสกัดจาก กานพลูเป็นส่วนประกอบหลัก 1 รายการ และสูตรสมุนไพรควบคุมกำจัดไรฝุ่นที่มีสารสกัดจากอบเชย เป็นส่วนประกอบหลัก 1 รายการ ซึ่งเป็นผลมาจากการทำงานวิจัยไรฝุ่นในพื้นที่ ต.ห้วยเขย่ง อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 และปัจจุบันกำลังพัฒนากระป๋องกำจัดไรฝุ่นจากสาร ธรรมชาติดังกล่าว เตรียมวางจำหน่ายในท้องตลาด
30 Book Annual2007.indb 30
BRT Annual Report 2007 28/9/07 17:19:51
เส้นทางศึกษาธรรมชาติ : พุหนองปลิง ในปี พ.ศ. 2550 โครงการ BRT และ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้ร่วมขยายงานการ พัฒนาและส่งเสริมการเรียนรู้ในท้องถิ่นแก่เยาวชนและชุมชนห้วยเขย่ง โดยได้จัดโครงการสร้างเส้น ทางศึกษาธรรมชาติพุหนองปลิง ณ หมู่บ้านท่ามะเดื่อ ต.ห้วยเขย่ง อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี ซึ่งมุ่ง เน้นให้ครู-นักเรียน เยาวชนและชุมชนในพื้นที่ ต.ห้วยเขย่ง ได้ใช้เส้นทางศึกษาธรรมชาติและพื้นที่ ธรรมชาติพุหนองปลิงเป็นแหล่งเรียนรู้ ทั้งในเรื่องระบบนิเวศย่อย ทรัพยากรธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม รวมทั้งภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งโครงการนี้ได้รับความร่วมมือจากชุมชนและหน่วยงานใน ท้องถิ่นเป็นอย่างดี อาทิ ผู้ใหญ่บ้านและคณะกรรมการหมู่บ้านท่ามะเดื่อ สภาผู้นำ ต.ห้วยเขย่ง และ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (ออป.) เป็นต้น ปัจจุบันโครงการดังกล่าวกำลังอยู่ระหว่างการดำเนินงาน โดยมีทีมงานจากหลายภาคส่วนเข้า ร่วมดำเนินการ อาทิ ทีมงานจาก ออป. ได้ทำการสำรวจแนวการตัดผ่านของเส้นทาง ซึ่งมีระยะทาง ประมาณ 300-400 เมตร โดยตัดผ่านจุดศึกษาธรรมชาติที่น่าสนใจหลายจุด เช่น จุดที่มองเห็นระบบ นิเวศพุได้ชัดเจน จุดศึกษาระบบรากพืช ดงเตย ดงห้อมช้าง และดงพืชอิงอาศัย เป็นต้น นอกจากนี้ ทางโครงการ BRT กำลังดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากงานวิจัยและข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อ ใช้ประกอบการจัดทำจุดศึกษาและคู่มือศึกษาธรรมชาติต่อไป
BRT รายงานประจำปี 2550 Book Annual2007.indb 31
31 28/9/07 17:19:52
หนังสือและเอกสารวิชาการ องค์ความรู้ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการทำวิจัยในพื้นที่ได้ถูกนำมาเผยแพร่จัดทำเป็น หนังสือกึ่งวิชาการ ภายใต้ชุดโครงการทองผาภูมิตะวันตกจำนวน 3 เล่ม คือ พรรณไม้ ในป่าพุที่ทองผาภูมิตะวันตก โดย อาจารย์ปริญญนุช ดรุมาศ และคณะ ภาควิชา พฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกที่ ทองผาภูมิตะวันตก โดย ผศ.ดร.วิเชฏฐ์ คนซื่อ และคณะ ภาควิชาชีววิทยา คณะ วิ ท ยาศาสตร์ จุ ฬ าลงกรณ์ ม หาวิ ท ยาลั ย มวนน้ ำ ที ่ ท องผาภู ม ิ ต ะวั น ตก โดย รศ.ดร.จริยา เล็กประยูร และคณะ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย นอกจากนี้ยังได้รวบรวมผลงานทั้งหมดนำเสนอผ่านจดหมายข่าว BRT ฉบับที่ 21 พิเศษ เนื่องในการประชุมวิชาการทองผาภูมิตะวันตก
32 Book Annual2007.indb 32
BRT Annual Report 2007 28/9/07 17:19:54
เผยแพร่ความรู้ โรงเรี ย นในพื ้ น ที ่ : โครงการ BRT ได้ น ำคาราวาน นิทรรศการผลงานวิจัยในชุดโครงการทองผาภูมิตะวันตกลง พื้นที่เพื่อเผยแพร่ความรู้สู่ชุมชนและเยาวชนอย่างต่อเนื่อง โดย เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 ได้จัดนิทรรศการของดีห้วย เขย่ง เนื่องในวันปลูกต้นไม้ห้วยเขย่ง ที่โรงเรียนบ้านห้วยเขย่ง อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี โดยนำเสนอของดีห้วยเขย่ง อาทิ พืช และสัตว์ชนิดใหม่ของโลก ชนิดที่หายากและควรค่าแก่การ อนุรักษ์ รวมทั้งสิ่งมีชีวิตบางชนิดที่มีศักยภาพในการนำไปใช้ ประโยชน์ หลังจากนั้นวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2550 จัดนิทรรศการของป่าสร้างรายได้ ที่โรงเรียนสมาคมป่าไม้ฯ ต.ห้วยเขย่ง อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี เนื่องในงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ งานนี้เน้นนำเสนอ ข้อมูลมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ของทรัพยากร โดยได้หยิบยกเห็ดโคนขึ้นมาเป็นกรณีตัวอย่าง รวมถึงความเชื่อและ ภูมิปัญญาชาวบ้านที่มีส่วนสำคัญในการอนุรักษ์เห็ดโคน มหกรรมพืชสวนโลก 2006 : จัดเมื่อ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 – 31 มกราคม พ.ศ. 2550 จ.เชียงใหม่ ผลงานวิจัยในชุด โครงการทองผาภูมิตะวันตกได้มีโอกาสเข้าไปมีส่วนช่วยสร้าง สีสันในซุ้มนิทรรศการของ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ภายใต้ หัวข้อ Biodiversity in Thong Pha Phum นำเสนอเรื่องราว พุหนองปลิงห้องเรียนธรรมชาติ สิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ของโลก สิ่งมี ชีวิตหายากและพบครั้งแรกในประเทศไทย รวมถึงเรื่องราวของ ชุมชนห้วยเขย่งกับโครงการเศรษฐกิจพอเพียง ได้รับความสนใจ จากนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติจำนวนมาก สื่อสาธารณะ : ผลงานวิจัยในพื้นที่ยังได้ถูกนำเสนอผ่าน สารคดีและสื่อสาธารณะหลากหลายรูปแบบ ได้แก่ รายการ “คน หวงแผ่นดิน” โดย บริษัท พาโนรามา เวิลด์ไวด์ จำกัด ได้ ถ่ายทอดความงามของธรรมชาติและวิถีชีวิตแบบพอเพียงของ ชุมชนห้วยเขย่งที่สอดรับกับองค์ความรู้ด้านความหลากหลาย ทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี ในตอน “ภูมิ ปัญญาคืนถิ่นทองผาภูมิตะวันตก” ออกอากาศในเช้าวันเสาร์ ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 ทางช่อง 11 รายการ “นักสำรวจ” เป็นรายการสำหรับเด็กได้นำเสนอเรื่องราวของพุ หนองปลิงจำนวน 2 ตอน ปูราชินี และเตยใหญ่ ออกอากาศเมื่อวันที่ 1, 8, 15 และ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2549 ตาม ลำดับ ทั้งนี้เพื่อให้เยาวชนไทยได้รู้จักกับทรัพยากรท้องถิ่นของไทย รายการ Family news alert ออกอากาศทาง จานดาวเทียมสามารถช่อง NBT 5 เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 ที่ผ่านมา ได้สัมภาษณ์ รศ.สุชาตา ชินะ จิตร ผู้อำนวยการ สกว.ฝ่าย 3 และนายถาวร สาริมานนท์ ฝ่ายเลขานุการโครงการ BRT ถึงความเป็นมาของ โครงการ BRT และหนังสือ สามสี เรื่องของฉันที่เกี่ยวพันกับ “พุ” ซึ่งเป็นหนังสือการ์ตูนสำหรับเยาวชน เผยแพร่ ชีววิทยาและความสำคัญของทรัพยากรชนิดนี้เพื่อการอนุรักษ์อย่างยั่งยืน BRT รายงานประจำปี 2550 Book Annual2007.indb 33
33 28/9/07 17:19:59
นิเวศวิทยา : วางรากฐานการวิจัยและพัฒนาบุคลากร นิเวศวิทยา เป็นอีกหนึ่งสาขาวิชาที่โครงการ BRT ได้ให้ความสำคัญมาโดยตลอด โดยเฉพาะในการดำเนินการ ระยะที่สองและระยะที่สามของโครงการ และในปีงบประมาณ 2550 นี้ โครงการ BRT ได้สนับสนุนงานวิจัย และ พัฒนางานทางด้านวิชาการที่เกี่ยวข้องกับนิเวศวิทยาในหลายรูปแบบ ดังนี้
ตำรานิเวศวิทยาเล่มแรกในประเทศไทย
เพื่อเป็นการพัฒนาคู่ขนานไปกับการผลิตบุคลากรด้านนิเวศวิทยา โครงการ BRT ได้ระดมทีมผู้เชี่ยวชาญด้าน นิเวศวิทยา นำโดย ศ.ดร.วรเรณ บรอคเคลแมน และคณะ ซึ่งเป็นนักนิเวศวิทยาที่มีผลงานเป็นที่ยอมรับในระดับ นานาชาติ และมีประสบการณ์การทำงานวิจัยทางนิเวศวิทยาในเมืองไทยมาอย่างยาวนาน จัดทำตำราเรียนนิเวศวิทยา เล่มแรกในประเทศไทย ตำราดังกล่าวจะพัฒนาขึ้นโดยมีกลุ่มเป้าหมายคือนักศึกษาในระดับปริญญาตรีตอนปลาย และนักศึกษาในระดับปริญญาโท-เอกตอนต้น เพื่อเป็นการปูพื้นฐานด้านนิเวศวิทยาที่มีตัวอย่างจากงานวิจัยใน ประเทศไทย หรือประเทศใกล้เคียงที่มีลักษณะทางระบบนิเวศคล้ายคลึงกัน โดยจะพยายามดำเนินการจัดทำทั้งสอง ภาษา ได้แก่ ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2552
หลักสูตรการเรียนด้านนิเวศวิทยา
โครงการ BRT ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จ.นครศรีธรรมราช พัฒนาหลักสูตรสาขานิเวศวิทยาและ ความหลากหลายทางชีวภาพระดับปริญญาโทและปริญญาเอก โดยมีเป้าหมายเพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพและมี ความรู้ ความสนใจ ในสาขาวิชาดังกล่าวอย่างจริงจัง รวมถึงพัฒนางานวิจัยที่สามารถตอบโจทย์ที่สังคมต้องการได้ หลักสูตรนี้มีกำหนดเปิดการสอนในปีการศึกษา 2550
พื้นที่เขาสามร้อยยอด จ.ประจวบคีรีขันธ์
นอกจากการมุ่งเน้นในการพัฒนาบุคลากรและตำราทางวิชาการแล้ว โครงการ BRT ยังได้ตระหนักถึงความ สำคัญของงานวิจัยด้านนิเวศวิทยา โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงแต่ยังขาดงานวิจัยสนับสนุน อย่างเช่น พื้นที่ชุ่มน้ำ เป็นต้น โครงการ BRT จึงได้หารือกับ ผศ.ฟิลลิป ราวด์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัย มหิดล เพื่อรวบรวมงานวิจัยที่ผ่านมาทั้งหมดในพื้นที่เขาสามร้อยยอด จ.ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำธรรมชาติ ขนาดใหญ่ และนำผลงานดังกล่าวมาทบทวน เพื่อตั้งโจทย์วิจัยโดยเน้นในเรื่องการอนุรักษ์ความหลากหลายทาง ชีวภาพ และพยายามเชื่อมโยงโจทย์วิจัยดังกล่าวให้เข้ากับปัญหาของเรื่องโรคไข้หวัดนก
34 Book Annual2007.indb 34
BRT Annual Report 2007 28/9/07 17:20:02
หาดขนอม : ศึกษา-ค้นคว้า-วิจัย ในโรงเรียน โครงการ BRT และบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญด้านการเรียน การสอนสำหรับนักเรียน ที่มุ่งเน้นให้นักเรียนได้มีโอกาสทำวิจัยด้วยการร่วมสังเกต ตั้งคำถาม ศึกษาทดลอง ไปจนถึงการสรุปและวิเคราะห์ผล เพื่อเสริมสร้างแนวคิดในเชิงวิทยาศาสตร์ให้กับ นักเรียนจากการเรียนรู้ด้านทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น โครงการ BRT จึงได้พัฒนาโครงการ วิจัยขึ้นโดยร่วมกับคณาจารย์และนักศึกษา สาขาวิทยาศาสตร์เชิงคำนวณ มหาวิทยาลัยวลัย ลักษณ์ และคณาจารย์และนักศึกษาจากภาควิชาชีววิทยา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จำนวน ทั้งสิ้น 6 โครงการ โดยมีโรงเรียนต้นแบบในชุมชนขนอม อ.ขนอม จ.นครศรีธรรมราช ที่เข้าร่วม โครงการจำนวนทั้งสิ้น 3 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนชุมชนบ้านบางโหนด โรงเรียนขนอมพิทยา และโรงเรียนบ้านท่าม่วง โครงการวิจัยดังกล่าวจะมีครูและนักเรียนเป็นผู้ทำวิจัย โดยมีโจทย์วิจัยที่เกิดจากการ สังเกตและตั้งคำถามจากการพบเห็นวิถีชีวิตชุมชนที่เกี่ยวพันกับทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น ตัวอย่างเช่น การศึกษาความหลากหลาย ความชุกชุม และช่วงเวลาวางไข่ของปลาทะเลที่ชาว ประมงจับได้ การศึกษาประชากรของหอยกันที่พบมากบริเวณป่าชายเลนและเป็นทรัพยากรทาง เศรษฐกิจที่สำคัญของชุมชนบ้านท่าม่วง การศึกษาลักษณะดินป่าชายเลน และสัตว์ไม่มีกระดูก สันหลังขนาดใหญ่ที่คลองบางแพง การศึกษาการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศจากข้อมูลอากาศและ โครงสร้างของเมฆ และการศึกษาผลของภูมิอากาศและฤดูกาลต่อความหลากหลายของลูกน้ำยุง เป็นต้น นอกจากนี้ยังสร้างจิตสำนึกด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลให้กับนักเรียน โดยการให้ นักเรียนไปสำรวจและติดตามสถานภาพของหญ้าทะเลที่บริเวณเกาะท่าไร่ และฝึกอบรมการ สำรวจทรัพยากรทางทะเลอื่นๆ อีกด้วย BRT รายงานประจำปี 2550 Book Annual2007.indb 35
35 28/9/07 17:20:06
นิเวศเกษตร : เกษตรพอเพียง ในปี พ.ศ. 2550 โครงการ BRT ได้เปิดตัวชุดโครงการใหม่ล่าสุดที่มีแนวทางการดำเนิน งานสอดคล้องกับแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง คือ ชุดโครงการความหลากหลายทางชีวภาพใน พื้นที่เกษตร (Farmland Biodiversity) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดการพัฒนาแผนอนุรักษ์ และการใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่เกษตรอย่างยั่งยืนบนแนวคิด เศรษฐกิจพอเพียง โครงการ BRT ได้จัดทำแผนพัฒนางานวิจัยด้านความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ เกษตร และได้ประชาสัมพันธ์เชิญชวนนักวิจัยและนิสิตนักศึกษาจากสถาบันการศึกษาใน ภูมิภาคต่างๆ ของประเทศไทย ทั้งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ ให้เข้า ร่วมงานวิจัยด้านดังกล่าว ซึ่งผลตอบรับค่อนข้างดี ในปี พ.ศ. 2550 มีผู้สนใจส่งข้อเสนอ โครงการมายังโครงการ BRT ทั้งสิ้น 8 โครงการ ผ่านการพิจารณาทั้งสิ้น 6 โครงการ ยังอยู่ ระหว่างการพิจารณา 2 โครงการ และคาดว่ายังมีโครงการที่อยู่ระหว่างการพัฒนาข้อเสนอ โครงการอีกมาก ในส่วนของโครงการที่ได้รับการสนับสนุนมีผลการดำเนินงานที่น่าสนใจ ดังนี้
36 Book Annual2007.indb 36
BRT Annual Report 2007 28/9/07 17:20:09
กิจกรรมสร้างนักวิจัยเกษตรในท้องถิ่น จ.น่าน มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่เกษตร ผ่านทางนักวิจัยชุมชน โดยมีพื้นที่ดำเนินงานอยู่ที่ 3 ตำบลของ อ.เมือง จ.น่าน ได้แก่ ต.เรือง ต.ไชย สถาน และต.กองควาย และ 1 ตำบลของ อ.สันติสุข ได้แก่ ต.ดู่พงษ์ ได้ฝึกอบรมให้ชุมชนสามารถนำ กระบวนการที่ได้ไปกำหนดโจทย์ปัญหาที่สอดคล้อง และทดลองทำวิจัยจริงในพื้นที่ ปัจจุบันมีเกษตรกร เข้าร่วมโครงการเป็นจำนวนมาก และเกิดงานวิจัยที่ดำเนินการโดยชุมชนในขณะนี้ทั้งสิ้น 8 เรื่อง เช่น การเปรียบเทียบวิธีการใช้ปุ๋ยชีวภาพในนาข้าวระหว่างวิธีเทลงปากต้าง (ร่องน้ำที่คันนา) และวิธีการพ่น และการเปรียบเทียบผลผลิตข้าวระหว่างพันธุ์หวัน 1 กับพันธุ์ กข 6 เป็นต้น ซึ่งอยู่ระหว่างการดำเนิน งานทดลองและเฝ้าติดตามผลการวิจัยในพื้นที่จริง
กิจกรรมสร้างนักวิจัยเกษตร จ.เชียงใหม่ มุ่งเน้นการฝึกอบรมให้นักศึกษาระดับปริญญาตรีได้เกิดทักษะและสามารถพัฒนาสมรรถนะเกี่ยว กับการทำงานวิจัยในพื้นที่เกษตรและการทำงานวิจัยร่วมกับชุมชนในท้องถิ่น ปัจจุบันมีนักศึกษาเข้าร่วม โครงการ 8 คน จากหลากหลายมหาวิทยาลัย และมีงานวิจัยที่เกิดขึ้นจากความสนใจของนักศึกษา 8 เรื่อง เช่น การศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่เกษตรและสวนรอบบ้านต่อความมั่นคงทาง อาหารของครัวเรือน และการศึกษานิเวศวิทยา การจัดการ และการใช้ประโยชน์จากผักหวานป่า เป็นต้น
กิจกรรมสร้างนักวิจัยเกษตร จ.กาญจนบุรี มุ่งเน้นฝึกอบรมครู-นักเรียน ให้สามารถเป็นแกนนำหรือเป็นผู้นำในการจัดกิจกรรมด้านความ หลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่เกษตร ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา มีครู-นักเรียนเข้าร่วมโครงการกว่า 30 คน คณะครูที่ผ่านการฝึกอบรมจะได้นำแนวคิดจากการฝึกอบรมไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนา กระบวนการเรียนการสอนด้านเกษตรพอเพียงและการเรียนรู้เรื่องระบบนิเวศย่อย
BRT รายงานประจำปี 2550 Book Annual2007.indb 37
37 28/9/07 17:20:14
สิ่งแวดล้อมศึกษา : เรียนรู้ท้องถิ่น การดำเนินงานในชุดโครงการศูนย์สิ่งแวดล้อมศึกษา เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 มีการจัดตั้งศูนย์สิ่งแวดล้อมศึกษาขึ้น 4 ศูนย์ ใน 4 ภูมิภาค ของประเทศไทย (โดยได้รับทุนจากกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม) มี วัตถุประสงค์เพื่อให้เยาวชนและชุมชนในท้องถิ่นได้ใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม รวมทั้งภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ทรงคุณค่าเป็น ฐานการเรียนรู้ ปัจจุบันโครงการ BRT ยังคงเห็นความสำคัญและให้การ สนับสนุนการดำเนินงานในชุดโครงการนี้อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งพัฒนา กิจกรรมใหม่ๆ ดังนี้
38 Book Annual2007.indb 38
BRT Annual Report 2007 28/9/07 17:20:21
ศูนย์สิ่งแวดล้อมศึกษาพุเตย - ชุมชนและครูร่วมกันวิจัยท้องถิ่น โครงการ BRT ได้ให้การสนับสนุนการวิจัยท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วมของครู นักเรียน และชุมชน ให้ร่วมกันค้นหาข้อมูล ความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นในพื้นที่ป่าชุมชนบ้านพุเตย ต.ท่าเสา อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี จากผลการ ดำเนินงานที่ผ่านมาของคณะนักวิจัยท้องถิ่น ซึ่งประกอบด้วย ผู้รู้ท้องถิ่นบ้านพุเตย อาทิ น้าบุญมา พันธุ์แสน น้าสมเกียรติ บุณย เลขา และคณะครูจากโรงเรียนบ้านพุเตย อาทิ ครูสุนีย์ ศรีชัย ครูวีนัส อินเกาะช้าง รวมทั้งอาจารย์ปิยะพร พิทักษ์ตันสกุล จาก มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี ทำให้พบพรรณพืชที่น่าสนใจในพื้นที่ศูนย์สิ่งแวดล้อมศึกษาพุเตยมากถึง 101 ชนิด และมีการ เก็บข้อมูลในแบบบันทึกข้อมูลอย่างเป็นระบบ (Data sheet) โดยขณะนี้การดำเนินงานของโครงการดังกล่าวกำลังอยู่ระหว่างการ วิจัยปัจจัยของฤดูกาลที่มีผลต่อพรรณพืชในพื้นที่ป่าพุเตย และการนำข้อมูลวิจัยมาจัดทำศูนย์เรียนรู้ที่โรงเรียนบ้านพุเตย
“ไผ่” - งานวิจัยบูรณาการ โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี จากบทเรียนและประสบการณ์การดำเนินงานในชุดโครงการศูนย์สิ่งแวดล้อมศึกษา ทำให้ทางโครงการ BRT เล็งเห็นความ สำคัญเกี่ยวกับการพัฒนาบุคลากรในการทำงานวิจัยท้องถิ่นมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาด้านศักยภาพความรู้ความสามารถ วิธีคิด รูปแบบและกระบวนการวิจัย จึงได้ขยายขอบเขตการดำเนินงานโดยร่วมกับทางมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี พัฒนา งานวิจัยแบบบูรณาการ โดยเน้นกระบวนการสร้างวัฒนธรรมการร่วมคิดร่วมทำของนักวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏ และใช้ ทรัพยากรในท้องถิ่น คือ “ไผ่” เป็นโจทย์วิจัย การดำเนินงานนี้นับว่าสอดคล้องกับการดำเนินงานของโครงการวิจัย Window II มหาวิทยาลัยราชภัฏ ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ซึ่งมุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนาเชิงพื้นที่ ร่วมกับการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรี โท และเอก เพื่อเป็นการพัฒนาบัณฑิตให้มีความสามารถในการนำความรู้ไป วิเคราะห์และแก้ปัญหาที่มีอยู่จริงในพื้นที่ โครงการ BRT ได้สร้างเวทีพัฒนาข้อเสนอโครงการวิจัยระหว่างนักวิจัยมหาวิทยาลัย ราชภัฏร่วมกับผู้เชี่ยวชาญ พร้อมทั้งกระตุ้นความคิดเรื่องความเป็นเลิศทางวิชาการในท้องถิ่นให้แก่มหาวิทยาลัยราชภัฏ ในขณะ นี้ได้รับข้อเสนอโครงการมาแล้ว ทั้งสิ้น 11 โครงการ ซึ่งยังอยู่ระหว่างกระบวนการพัฒนาและพิจารณาข้อเสนอโครงการต่อไป BRT รายงานประจำปี 2550 Book Annual2007.indb 39
39 28/9/07 17:20:27
การจัดการข้อมูล : คืนความรู้สู่ชุมชน การสร้างความรู้ความเข้าใจแก่สาธารณชนในเรื่องทรัพยากรธรรมชาติเพื่อให้ เกิดความตระหนักในการอนุรักษ์และเห็นคุณค่าของทรัพยากรไทยเป็นภารกิจหลัก ของโครงการ BRT ที่ได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องตลอดปี พ.ศ. 2550 สรุปกิจกรรม ได้ดังนี้
40 Book Annual2007.indb 40
BRT Annual Report 2007 28/9/07 17:20:33
การจัดนิทรรศการขนาดใหญ่ “ไดโนเสาร์เอ็กซ์ โป ที.เร็กซ์ “ซู” & ไดโนเสาร์ ไทย” โครงการ BRT ได้นำฟอสซิลไดโนเสาร์ ที.เร็กซ์ ที่สมบูรณ์ที่สุดในโลก หรือ “SUE” จาก The Field Museum, Chicago, USA ที่ได้ประกาศศักดาไปแล้วทั่วโลกทั้งในอเมริกาและญี่ปุ่น มาจัดนิทรรศการในประเทศไทย ระหว่างวันที่ 7 กรกฎาคม-30 กันยายน พ.ศ. 2550 ที่องค์การ พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ในโอกาสนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิด งาน “ไดโนเสาร์เอ็กซ์โป ที.เร็กซ์ “ซู” & ไดโนเสาร์ไทย” ในวันจันทร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 การจัดนิทรรศการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมกิจกรรมเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวฯ ในวโรกาสอันเป็นมหามงคลยิ่ง ทรงมีพระชนมายุครบ 80 พรรษา และประกาศ ขึ้นแผนที่โลกว่า ประเทศไทยเป็นแหล่งโลกล้านปีที่เก่าแก่แห่งหนึ่ง และเคยเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของ บรรพญาติของ ที.เร็กซ์ อีกทั้งยังเป็นการเปิดโลกทัศน์ของ “ฟอสซิล” ซึ่งเป็นตัวอย่างที่ดีของการ เชื่อมโยงงานวิจัยระหว่างสาขาวิชาการต่างๆ เช่น ความรู้ด้านชีววิทยา โบราณคดี ธรณีวิทยา ฯลฯ “ซู” ได้เข้าไปในห้องปฏิบัติการฟิสิกส์และคณิตศาสตร์ จึงสามารถค้นหาการเชื่อมโยงที่ยิ่งใหญ่นี้ได้ นอกจากนี้เยาวชนและประชาชนยังได้สัมผัสความอลังการของ ที.เร็กซ์ ที่ชื่อ “ซู” และได้มีโอกาส ศึกษาการค้นพบที่ยิ่งใหญ่ของโลก และที่สำคัญโครงการ BRT ยังได้นำผลงานวิจัยด้านบรรพชีวิน ที่ได้ร่วมประสานงานในทุกแง่มุมของความหลากหลายทางชีวภาพตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539 ซึ่งมีการค้น พบองค์ความรู้ใหม่ และได้สร้างผู้เชี่ยวชาญไทยหลายคนที่มีความสามารถทัดเทียมกับผู้เชี่ยวชาญ ชาวต่างประเทศ ผลงานวิจัยภายใต้การสนับสนุนดังกล่าวมีจำนวนมหาศาล จึงถือว่าเป็นมหกรรม ทางวิชาการด้านความหลากหลายทางบรรพชีวินที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประเทศไทย จึงเป็นความภาค ภูมิใจอย่างยิ่งของโครงการ BRT นอกจากความยิ่งใหญ่ของนิทรรศการ “ซู” แล้วโครงการ BRT ยังได้รับไมตรีจิตจากบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ที่ได้สนับสนุนงบประมาณค่าเช่า “ซู” และยังได้บ้านที่อบอุ่นสำหรับ “ซู” ที่ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) รวมทั้งองค์กรพันธมิตรที่ร่วมจัดงานอย่างไม่ เหน็ดเหนื่อยโดยกรมทรัพยากรธรณี และกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
BRT รายงานประจำปี 2550 Book Annual2007.indb 41
41 28/9/07 17:20:40
นิทรรศการเคลื่อนที่ ในช่วงที่ผ่านมา โครงการ BRT ได้จัดนิทรรศการเผยแพร่ความรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพไปตามสถานที่ต่างๆ ดังนี้ 1) ชุด “Biodiversity in I-san” เนื่องในพิธีเปิดอาคารพิพิธภัณฑ์องค์ความรู้ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขต เฉลิมพระเกียรติ จ.สกลนคร วันที่ 22-24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 มีผู้เข้าร่วมชม ประมาณ 1,000 คน เป็นการนำเสนอสิ่งมีชีวิตที่มีความสำคัญและมีศักยภาพในภาค อีสาน ได้แก่ เห็ดหลากหลายชนิด พรรณไม้ไทยในถิ่นอีสานมากกว่า 40 ชนิด ไรน้ำ นางฟ้าสัตว์เศรษฐกิจตัวใหม่ และสัตว์หน้าดินกับการตรวจวัดคุณภาพน้ำ 2) ชุด “Biodiversity in Thong Pha Phum” ในมหกรรมพืชสวนโลก 2006 ตั้งแต่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 – 31 มกราคม พ.ศ. 2550 จ.เชียงใหม่ ผลงาน วิจัยในชุดโครงการทองผาภูมิตะวันตกได้มีโอกาสเข้าไปมีส่วนช่วยสร้างสีสันภายใน ซุ้มนิทรรศการของ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) มีเรื่องราวของพุหนองปลิง ห้องเรียนธรรมชาติ สิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ของโลก หายากและพบครั้งแรกในประเทศไทย รวมถึงเรื่องราวของชุมชนห้วยเขย่งกับโครงการเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งได้รับความ สนใจจากนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติจำนวนมาก 3) ชุด “Marine Biodiversity” ในงานอนุรักษ์หญ้าทะเลไทย อ่าวขนอม น้อม เกล้าถวายพระเจ้าอยู่หัวฯ จัดโดยกลุ่มอนุรักษ์ในพื้นที่หาดขนอม จ.นครศรีธรรมราช ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 โดยโครงการ BRT ได้นำผลงานทรัพยากรทาง ทะเลในพื้นที่ขนอม อาทิ หญ้าทะเล ทากเปลือย กัลปังหา ไปจัดแสดง มีผู้เข้าชม ประมาณ 500 คน 4) ชุด “Beautiful Plants and Animals” ในงานพฤกษาสยาม ครั้งที่ 3 ระหว่างวันที่ 30 มีนาคม – 8 เมษายน พ.ศ. 2550 ที่ห้อง MCC Hall เดอะมอลล์ บางแค จัดแสดงพันธุ์ไม้ชนิดใหม่และสกุลใหม่ของโลก “เครือเทพรัตน์” พร้อมด้วย นิทรรศการสัตว์ไทยที่คนกรุงน้อยคนนักจะรู้จัก อาทิ กิ้งกือไทย แย้และจิ้งเหลนไทย มีผู้เข้าชมประมาณ 20,000 คน 5) ชุด “ไม้นี้ก็ชื่อว่าน” ในงานพฤกษาสยาม ครั้งที่ 4 ระหว่างวันที่ 24 สิงหาคม – 2 กันยายน พ.ศ. 2550 ที่ห้อง MCC Hall เดอะมอลล์ บางกะปิ จัด แสดงทั้งความหลากหลายของสายพันธุ์ว่านไทย ทั้งว่านหายาก และว่านท้องถิ่น มีผู้ เข้าร่วมชมกว่า 20,000 คน
42 Book Annual2007.indb 42
BRT Annual Report 2007 28/9/07 17:20:46
6) ชุด “ของดีห้วยเขย่ง” จัดเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 เนื่องในวันปลูกต้นไม้ห้วยเขย่ง ที่โรงเรียนบ้านห้วยเขย่ง อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี โดยนำเสนอของดีห้วยเขย่ง อาทิ พืชและสัตว์ชนิดใหม่ ของโลก ชนิดที่หายากและควรค่าแก่การอนุรักษ์ รวมทั้งสิ่งมีชีวิตบาง ชนิดที่มีศักยภาพในการนำไปใช้ประโยชน์ ซึ่งมีผู้เข้าร่วมประมาณ 500 คน 7) ชุด “Global Warming Impact on Biodiversity” ในงาน หยุดโลกร้อนด้วยชีวิตพอเพียง วันที่ 5-6 มิถุนายน พ.ศ. 2550 อิมแพ็ค เมืองทองธานี นำเสนอการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิที่มีผลต่อการ กระจายพันธุ์ของเงาะป่า ซึ่งขึ้นในป่าดิบชื้นในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ 8) ชุด “ของป่าสร้างรายได้” ในงานสัมมนาระดับชาติ ป่าชุมชน : กระบวนการเรียนรู้ในการจัดการทรัพยากรอย่างมีส่วนร่วมของสังคม ไทย วันที่ 9-10 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ตึก 50 ปี มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ นำเสนอตัวเลขมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ของเห็ดโคน พร้อมกับความเชื่อและภูมิปัญญาในการอนุรักษ์เห็ดโคนของชุมชนตำบล ห้วยเขย่ง มีผู้เข้าร่วมประชุมประมาณ 300 คน 9) ชุด “เศรษฐกิจพอเพียงและภูมิปัญญาไทย” ในงานมหกรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ 2550 ระหว่างวันที่ 8-19 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ไบเทค บางนา นำเสนอกิ้งกือไทยสัตว์ที่ตอบสนองแนวพระ ราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง และไม้รักกับภูมิปัญญาและการอนุรักษ์ 10) ชุด “ตามล่าหาฟอสซิลสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในประเทศไทย” ในงานไดโนเสาร์เอ็กซ์โป ที.เร็กซ์ “ซู” & ไดโนเสาร์ไทย ระหว่างวันที่ 7 กรกฎาคม – 30 กั น ยายน พ.ศ. 2550 ที ่ อ งค์ ก ารพิ พ ิ ธ ภั ณ ฑ์ วิทยาศาสตร์แห่งชาติ เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยด้านบรรพชีวินในยุคหลัง สิ้นสุดไดโนเสาร์ก้าวสู่ยุคสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเพื่อให้มองเห็นภาพความ หลากหลายในอดีตได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
BRT รายงานประจำปี 2550 Book Annual2007.indb 43
43 28/9/07 17:20:55
เอกสารทางวิชาการและกึ่งวิชาการ ได้มีการจัดทำหนังสือและวารสารเพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยอย่างต่อเนื่อง ดังนี้ 1) “การจัดการทรัพยากรท้องถิ่นโดยชุมชน” โดย รศ.ดร.สมศักดิ์ สุขวงศ์ ศูนย์ฝึกอบรม วนศาสตร์ชุมชนแห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก นับเป็นการถ่ายทอดประสบการณ์การทำงานด้านป่า ชุมชนโดยผู้เขียนที่มีความเชี่ยวชาญและทำงานด้านนี้มาเป็นเวลาร่วม 10 ปี 2) “เขานัน–ป่าเมฆ ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน” เป็นผลงานเล่มแรกจากผลงานวิจัยในชุด โครงการป่าเมฆ-เขานัน จ.นครศรีธรรมราช ที่เปิดเผยถึงความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรในพื้นที่ พร้อมด้วยข้อมูลสิ่งมีชีวิตต่างถิ่นที่กำลังคุกคามและการเชื่อมโยงเกี่ยวพันกับภาวะโลกร้อน 3) “ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้” หนังสือเล่มนี้เป็นผลมาจากการสนับสนุนงานวิจัยความ หลากหลายทางชีวภาพทางทะเลเป็นครั้งแรกของโครงการ BRT ที่หาดขนอม-หมู่เกาะทะเลใต้ จ.นครศรีธรรมราช จึงได้หยิบยกทรัพยากรทางทะเลที่สวยงามในพื้นที่มาเผยแพร่แก่นักท่องเที่ยว และผู้สนใจ 4) จดหมายข่าว BRT จำนวน 4 ฉบับ เป็นวารสารราย 3 เดือน ที่นำผลงานของนักวิจัย และนักศึกษามาเผยแพร่ โดยจัดทำเป็นบทความทั้งเรื่องยาวและเรื่องสั้นรวมกว่า 200 เรื่อง พร้อมพิมพ์เผยแพร่แจกจ่ายแก่โรงเรียนและผู้สนใจ 4.1) จดหมายข่าว BRT ฉบับที่ 20 เดือนตุลาคม พ.ศ. 2549 นำเสนอภายใต้หัวข้อ “ทุนทางธรรมชาติเพื่อการพัฒนาประเทศไทย” 4.2) จดหมายข่าว BRT ฉบับที่ 21 เดือนธันวาคม พ.ศ. 2549 นำเสนอภายใต้หัวข้อ “การประชุมวิชาการประจำปีโครงการ BRT ครั้งที่ 10” 4.3) จดหมายข่าว BRT ฉบับที่ 21 พิเศษ เดือนมีนาคม พ.ศ. 2550 ภายใต้หัวข้อ “ขุมทรัพย์ทองผาภูมิ มรดกโลกผืนป่าตะวันตก” เนื่องในการประชุมวิชาการทองผาภูมิตะวันตก 4.4) จดหมายข่าว BRT ฉบับที่ 22 เดือนมีนาคม พ.ศ. 2550 ภายใต้หัวข้อ “ฟอสซิล : หลากชีวิตโลกล้านปี” 5) หนังสือ “พรรณไม้ภูเรือ” โดย ศ.ดร.ประนอม จันทรโณทัย และคณะ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งโครงการ BRT สนับสนุนงบประมาณบางส่วน หนังสือเล่มนี้เป็นผลมา จากการทำงานศึกษาด้านพฤกษศาสตร์ในพื้นที่ภาคอีสานและการสนับสนุนงานวิจัยอย่างต่อ
44 Book Annual2007.indb 44
BRT Annual Report 2007 28/9/07 17:20:59
เนื่องจากโครงการ BRT 6) หนังสือ “วิจัยกิ้งกือเรื่องไม่ยาก” โดย รศ.ดร.สมศักดิ์ ปัญหา ภาควิชาชีววิทยา คณะ วิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นหนังสือกิ้งกือเล่มแรกที่มีเนื้อหาสาระทางวิชาการครบ ครัน และถือเป็นโครงการนำร่องเรื่องสัตว์เศรษฐกิจพอเพียงที่โครงการ BRT พร้อมจะตอบสนอง โครงการพระราชดำริฯ 7) หนังสือ “พรรณไม้ดอกหอมพื้นเมืองที่หายากและใกล้สูญพันธุ์ในประเทศไทย” โดย ดร.ปิยะ เฉลิมกลิ่น สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย เป็นหนังสือที่รวบรวม ข้อมูลพรรณไม้ดอกหอมพื้นเมืองของไทยไว้อย่างครบถ้วนกว่า 240 ชนิด ซึ่งเป็นผลจากการ สนับสนุนงานวิจัยพรรณไม้ดอกหอมพื้นเมืองอย่างต่อเนื่องตลอดจนการขยายผลต่อยอดสู่การ อนุรักษ์และขยายพันธุ์ 8) หนังสือ “พรรณไม้วงศ์ไม้ก่อของไทย” โดย ดร.จำลอง เพ็งคล้าย และคณะ กรมอุทยาน แห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช นับเป็นการรวบรวมผลงานวิจัยพรรณไม้วงศ์ไม้ก่อของไทยที่สมบูรณ์ ที่สุด 119 ชนิด ในจำนวนนี้เป็นชนิดใหม่ของโลก 3 ชนิด และ 1 สายพันธุ์ 9) หนังสือ “ข้าว มารดาแห่งธัญพืชของคนอุษาคเนย์” โดย นายเสถียร ฉันทะ นักวิชาการโรง พยาบาลเวียงแก่น จ.เชียงราย ถือเป็นผลงานด้านภูมิปัญญาไทยต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรชีวภาพ ซึ่ง เป็นงานวิจัยอีกสาขาหนึ่งที่โครงการ BRT ให้การสนับสนุน จนก่อเกิดเป็นหนังสือเล่มนี้ที่เป็นเสมือน ขุมปัญญาที่คนรุ่นหลังสามารถค้นคว้าหาความรู้ได้สืบไป
ข่าวทางหน้าหนังสือพิมพ์และเว็บไซต์ ตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2549 – สิงหาคม พ.ศ. 2550 ข่าวของโครงการ BRT ได้ถูกเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ไปตามสื่อ ต่างๆ ทั้งทางหนังสือพิมพ์ เว็บไซต์ รายการวิทยุ จดหมายข่าว และทางโทรทัศน์ นอกจากนี้ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2549 โครงการ BRT ได้เริ่มพัฒนาระบบและหน้าเว็บไซต์ของโครงการฯ ใหม่ โดยสามารถเข้าชมได้ทาง http://brt.biotec.or.th โดยมีผู้ที่ สนใจเข้าไปค้นหาข้อมูลต่างๆ จากข้อมูลสถิติที่จัดเก็บโดยเว็บไซต์ truehits.net (http://truehits.net) ตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. 2549 – สิงหาคม พ.ศ. 2550 ไม่ต่ำกว่า 100,000 ครั้ง จากคอมพิวเตอร์ที่เลขเครื่องต่างกัน (IP) กว่า 14,000 เครื่อง จุดเด่ นของเว็บไซต์โครงการ BRT คือ การให้บริการฐานข้อมูลงานวิจัย ซึ่งได้รวบรวมงานวิจัย และงานวิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า 800 เรื่อง ที่โครงการ BRT ให้การสนับสนุนทุนวิจัยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ฐานข้อมูลดังกล่าวจะช่วยให้นักวิจัย นิสิต/นักศึกษา และผู้ ที่สนใจสามารถเข้าสืบค้นข้อมูลงานวิจัยทางความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อให้เป็นแหล่งอ้างอิงได้ต่อไป
BRT รายงานประจำปี 2550 Book Annual2007.indb 45
45 28/9/07 17:21:07
เครือข่ายฐานข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพ NBIDS : Network of Biodiversity Database System เครือข่ายฐานข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพ หรือ NBIDS : Network of Biodiversity Database System เกิด ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2549 ภายใต้ความร่วมมือระหว่างโครงการ BRT และหน่วยวิจัยซับซ้อน มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เพื่อบรรจุ ข้อมูลวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพในโครงการ BRT มีบริการแบบ online ผ่าน Internet เช่น บริการค้นหาข้อมูลที่ ออกแบบเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ที่หลากหลายและมีระบบช่วยการตัดสินใจในส่วนบริการวิเคราะห์ข้อมูล สรุป ข้อมูลในรูปแบบรายงานแบบอัตโนมัติ ในรูปแบบเชิงพื้นที่และ GIS และบริการสร้างภาพข้อมูลด้วยกราฟทั้ง 2 และ 3 มิติ ฐานข้อมูลดังกล่าวได้จัดเก็บผลงานวิจัยในชุดโครงการวิจัยของโครงการ BRT เช่น ชุดโครงการทองผาภูมิตะวันตก ชุด โครงการป่าเมฆ-เขานัน และชุดโครงการหาดขนอม-หมู่เกาะทะเลใต้ นอกจากนั้นยังได้จัดเก็บข้อมูลในโครงการวิจัยขนาดใหญ่ เช่น พรรณไม้วงศ์อบเชย และพรรณไม้วงศ์เปล้า เป็นต้น ปัจจุบันนี้มีข้อมูลในระบบทั้งสิ้น 78 โครงการ ดังสรุปได้ในตาราง
สรุปรายการข้อมูลผลงานวิจัยในโครงการ BRT ณ สิงหาคม พ.ศ. 2550 • ข้อมูลนักวิจัย • ข้อมูลจุดศึกษา • ข้อมูลทางกายภาพ • ข้อมูลสิ่งมีชีวิต o อันดับ o วงศ์ o สิ่งมีชีวิต
64 2,824 2,731 22,994 229 986 4,801
คน จุดศึกษา รายการ รายการ อันดับ วงศ์ ชนิด
• New species • New record for Thailand • New genus • สิ่งตีพิมพ์ทางวิชาการ • บทคัดย่อ • โปสเตอร์ • หนังสือ
4 148 6 106 40 15 4
ชนิด ชนิด ชนิด รายการ รายการ รายการ รายการ
ในแต่ละโครงการ นักวิจัยสามารถดาวน์โหลดสิ่งตีพิมพ์ทางวิชาการ, โปสเตอร์, บทคัดย่อ, บทความเผยแพร่, และเส้นทาง ศึกษาวิจัยได้ นอกจากนี้ฐานข้อมูลยังแสดงภาพในลักษณะของแฟ้มภาพ บริการค้นหาข้อมูล สร้างกราฟ จัดทำรายงานข้อมูล ทั้งหมด แสดงรูปอนุกรมวิธานและแสดงจุดศึกษา สิ่งมีชีวิตที่พบ ณ จุดศึกษานั้นบน Google Earth
ตัวอย่างฟังก์ชันการใช้งานในเว็บไซต์ฐานข้อมูล NBIDS 1.กราฟเปรียบเทียบข้อมูลกับระดับความสูง นักวิจัยสามารถสร้างกราฟแท่ง 2 ด้านที่แสดงเปรียบเทียบระหว่างข้อมูลกับ ระดับความสูงจากน้ำทะเล 2. คลังภาพ (Photo gallery) เป็นส่วนเก็บรวบรวมรูปภาพในแต่ละโครงการ เมื่อเลือกรูปภาพที่ต้องการ เว็บไซต์จะแสดง รูปภาพ ซึ่งเป็นรูปที่มีความละเอียดต่ำ และจะซูมภาพเพื่อมาแสดงโดยใช้ความละเอียดสูงให้ดู 4 จุดบนรูปภาพในบริเวณที่ตี กรอบสีขาว พร้อมทั้งแสดงรายละเอียดของรูปภาพ ชื่อสปีชีส์, ชื่อทั่วไป, ชื่อวงศ์, ชื่อสกุล, ชื่อลำดับ, การใช้ประโยชน์, ชื่อภาพ, ความละเอียด และบอกพิกัดที่พบสิ่งมีชีวิตชนิดนั้นด้วย 3. การค้นหาข้อมูลสิ่งมีชีวิต จะแสดงรายละเอียดของชื่อจุดศึกษา, ชื่อวงศ์, ชื่อวิทยาศาสตร์, ชื่อทั่วไป, ปุ่มดูรายละเอียด และปุ่มแก้ไขแต่ละสิ่งมีชีวิตที่ได้ค้นหา พร้อมทั้งแสดงรายละเอียดเพิ่มเติมพร้อมรูปภาพของสิ่งมีชีวิตแต่ละตัวโดยแสดงเป็น บอลลูนเมื่อชี้ที่รูปสปีชีส์ 4. การค้นหาบนแผนที่ นักวิจัยสามารถดูได้ว่าแต่ละจุดบนเส้นทางศึกษา พบสิ่งมีชีวิตอะไรบ้าง จะเห็นชื่อจุดศึกษา ละติจูด ลองจิจูด ภาพของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด ชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อทั่วไป ชื่อวงศ์ วันที่เก็บข้อมูล และปุ่มแก้ไขข้อมูล นักวิจัย สามารถแก้ไขข้อมูลผ่านเว็บไซต์และบันทึกข้อมูลที่ปรับแก้ไขได้ ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.nbids.org (กำลังอยู่ในระหว่างเปิดให้บริการแก่บุคคลทั่วไป)
46 Book Annual2007.indb 46
BRT Annual Report 2007 28/9/07 17:21:08
สิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ ในประเทศไทย ในปีงบประมาณ 2550 นักวิจัยของโครงการ BRT ได้ค้นพบสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ของโลก (New species) จำนวน 17 ชนิด และสิ่งมีชีวิตรายงานใหม่ในประเทศไทย (New record) จำนวน 37 ชนิด ดังนี้
สิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ของโลก (New species) 1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8. 9. 10. 11. 12. 13. 14. 15. 16. 17.
เชื้อรา เชื้อรา เชื้อรา เชื้อรา ไกลดิงแบคทีเรีย พืชวงศ์กระดังงา กิ้งกือ กิ้งกือ หอยทาก ฟอสซิลปลาโบราณ ฟอสซิลปลาน้ำจืด ฟอสซิลฉลามน้ำจืด ฟอสซิลสัตว์กินเนื้อ ฟอสซิลสมเสร็จโบราณ ฟอสซิลบ่าง ฟอสซิลหมีหมา ฟอสซิลไพรเมต
BRT รายงานประจำปี 2550 Book Annual2007.indb 47
Lauriomyces cylindricus Somrithipol & E.B.G. Jones Lauriomyces ellipticus Somrithipol & E.B.G. Jones Lauriomyces sakaeratensis Somrithipol, Kosol et E.B.G. Jones, sp. nov. Falcocladium turbinatum Somrithipol, Sudhom, Tippawan & E.B.G. Jones Aureispira marina gen.nov., sp.nov. Polyalthia kanchanaburiana S. Khumchompoo & A. Thongpukdee Sinocallipus thai sp.n. Desmoxytes purpurosea Enghoff, Sutcharit & Panha, 2007 Phuphania globosa Tumpeesuwan, Naggs & Panha, 2007 Isanichthys palustris Cavin & Suteethorn, 2006 Ferganoceratodus martini Cavin et al., 2007 Acrorhizodus khoratensis Capetta et al., 2006 Chaprongictis phetchaburiensis Peigne et al., 2006 Siamolophus krabiense Ducrocq et al., 2006 Dermotherium chimaera Marivaux et al., 2006 Maemohcyon potisati Peigne et al., 2006 Muangthanhinius siami Marivaux et al., 2006
47 28/9/07 17:21:15
สิ่งมีชีวิตรายงานใหม่ ในประเทศไทย (New record) 1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8. 9. 10. 11. 12. 13. 14. 15. 16. 17. 18. 19. 20. 21. 22. 23. 24. 25. 26. 27. 28. 29. 30. 31. 32. 33. 34. 35. 36. 37.
แพลงก์ตอนสัตว์ สาหร่ายน้ำจืดสีแดง สาหร่ายน้ำจืดสีแดง สาหร่ายน้ำจืดสีแดง สาหร่ายน้ำจืดสีแดง สาหร่ายน้ำจืดสีแดง สาหร่ายน้ำจืดสีแดง สาหร่ายน้ำจืดสีแดง สาหร่ายน้ำจืดสีแดง สาหร่ายน้ำจืดสีแดง สาหร่ายน้ำจืดสีแดง สาหร่ายน้ำจืดสีแดง สาหร่ายน้ำจืดสีแดง สาหร่ายน้ำจืดสีแดง สาหร่ายน้ำจืดสีแดง สาหร่ายน้ำจืดสีแดง สาหร่ายน้ำจืดสีแดง เฟิร์น เฟิร์น พืชวงศ์หญ้า พืชวงศ์กระดังงา พืชวงศ์กระดังงา พืชวงศ์อบเชย พืชวงศ์อบเชย พืชวงศ์อบเชย พืชวงศ์อบเชย พืชวงศ์อบเชย พืชสกุลพริกไทย พืชสกุลพริกไทย พืชสกุลพริกไทย พืชสกุลพริกไทย พืชสกุลพริกไทย พืชสกุลไทร พืชสกุลไทร พืชสกุลไทร พืชสกุลไทร พืชสกุลไทร
Armatalona macrocopa (Sars, 1894) Batrachospermum macrosporum Montagne Batrachospermum vagum (Roth) C.Agardh Batrachospermum gelatinosum (Linnaeus) de Candolle Batrachospermum boryanum Sirodot Batrachospermum diatyches Entwisle Batrachospermum iriomotense Kumano Batrachospermum nonocense Kumano et Liao Batrachospermum nova-guinense Kumano et John Stone Sirodotia huillensis (Welwitsch ex West G.S. West) Skuja Caloglossa leprieurii (Montagne) G. Marteus Bostrychia moritziana (Sonder) J. Agardh Audouinella cylindrica Agardh Audouinella glomerata Jao Compsopogon minutus Jao Compsopogon coeruleus (Balbis) Montagne Compsopogonopsis fruticosa (Jao) Seto Aglaomorpha drynarioides (Hook.) M.C. Roos Aglaomorpha heraclea (Kunze) Copel. Ischaemum hubbardii Bor Polyalthia corticosa (Pierre) Finet & Gagnep. Miliusa longiflora (Hook.f. & Thomson) Baill. Ex Finet & Gagnep. Litsea castanea Hook.f. Litsea cordata (Jack) Hook.f. Litsea firma (Blume) Hook.f. Litsea hirsutissima Gamble Litsea tomentosa Blume Piper caninum Blume Piper muricatum Blume Piper magnibaccum C.DC. Piper ramipilum C.DC. Piper ridleyi C.DC. Ficus araneosa King Ficus binnendijkii (Miq.) Miq. Ficus depressa Blume Ficus dubia Wall. ex King Ficus beccarii King
48 Book Annual2007.indb 48
BRT Annual Report 2007 28/9/07 17:21:16
รายงานการเงิน ปีงบประมาณ 2550 สิ้นสุดการรายงาน ณ วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2550 (ประมาณการเดือนกันยายน พ.ศ. 2550) (หน่วย: ล้านบาท) 16.57
ยอดเงินคงเหลือ ณ วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2549 (1)
รายรับ
1. เงินสนับสนุนจาก สกว. 2. เงินสนับสนุนจาก ศช. 3. ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร รวมรายรับ (2)
20.00 20.00 0.04 40.04
รายจ่าย
1. เงินอุดหนุน : โปรแกรม 1 โปรแกรม 2 โปรแกรม 3 โปรแกรม 4 โปรแกรม 5 โปรแกรม 6 โปรแกรม 7 2. ค่าบริหารโครงการ รวมรายจ่าย (3)
12.64 6.57 7.28 3.70 12.23 3.45 0.04 2.73 48.63
รายรับมากกว่า(น้อยกว่า)รายจ่าย (1+2-3)
BRT รายงานประจำปี 2550 Book Annual2007.indb 49
7.99
49 28/9/07 17:21:17
คณะกรรมการนโยบายโครงการ BRT 1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8. 9. 10. 11. 12. 13. 14. 15.
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ประเวศ วะสี ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ผู้อำนวยการศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ ศาสตราจารย์ ดร.ถาวร วัชราภัย ศาสตราจารย์ ดร.เอกวิทย์ ณ ถลาง ดร.อำพล เสนาณรงค์ แพทย์หญิงเพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ นายพิสิษฐ์ ณ พัทลุง ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.วิสุทธิ์ ใบไม้
ประธานกรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการและเลขานุการ
คณะกรรมการบริหารโครงการ BRT 1. ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.วิสุทธิ์ ใบไม้ 2. ศาสตราจารย์ ดร.วรเรณ บรอคเคลแมน 3. ศาสตราจารย์ ดร.อมรา พงศาพิชญ์ 4. รองศาสตราจารย์ นพ.ประสิทธิ์ ผลิตผลการพิมพ์ 5. รองศาสตราจารย์ ดร.วันชัย ดีเอกนามกูล 6. รองศาสตราจารย์ ดร.สมศักดิ์ สุขวงศ์ 7. รองศาสตราจารย์ สุชาตา ชินะจิตร 8. ดร.วีระชัย ณ นคร 9. นายสุรพล ดวงแข 10. นางรังสิมา ตัณฑเลขา
50 Book Annual2007.indb 50
ประธานกรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการและเลขานุการ
BRT Annual Report 2007 28/9/07 17:21:18
การประชุมวิชาการประจำปีโครงการ BRT ครั้งที่ 10 “ทุนทางธรรมชาติเพื่อการพัฒนาประเทศไทย” 8-11 ตุลาคม พ.ศ. 2549 มาริไทม์ ปาร์ค แอนด์ สปา รีสอร์ท จ.กระบี่
ประเทศไทยมี “ทุนทางธรรมชาติ” ไม่น้อยไปกว่าชาติไหนในโลก บรรพ บุรุษของเราสามารถดำรงอยู่และสร้างความเจริญรุ่งเรืองให้กับประเทศมา จนถึงปัจจุบันด้วยความหลากหลายของทรัพยากรธรรมชาติในแผ่นดิน แต่ ต้นทุนเป็นสิ่งที่สามารถหมดไปถ้ารู้จักใช้แต่ไม่รักษาหรือทำให้เพิ่มพูน ความ เชื่อในอดีตมีส่วนช่วยให้ธรรมชาติหลายอย่างยังคงอยู่เป็นต้นทุนถึงลูกหลาน มาบัดนี้ความเจริญทางวิทยาการเข้ามาแทนที่ความเชื่อเหล่านั้น คำถามที่จะ ต้องเร่งหาคำตอบก็คือเราจะใช้ประโยชน์จากต้นทุนที่มีอยู่อย่างไร และจะ รักษาต้นทุนอย่างไรเพื่อให้คงอยู่ต่อไปถึงรุ่นลูกรุ่นหลานของเรา
BRT รายงานประจำปี 2550 Book Annual2007.indb 51
51 28/9/07 17:21:24
วันที่ 8-11 ตุลาคม พ.ศ. 2549 โครงการ BRT จัดการ ประชุมวิชาการประจำปี ครั้งที่ 10 ที่มาริไทม์ ปาร์ค แอนด์ สปา รีสอร์ท จ.กระบี่ ภายใต้หัวข้อ “ทุนทางธรรมชาติเพื่อการ พัฒนาประเทศไทย” มีผู้เข้าร่วมประชุมทั้งนักวิจัย อาจารย์ นิสิตนักศึกษา ครู ชาวบ้าน และภาคเอกชนกว่า 350 คน โดย มี ฯพณฯ อำพล เสนาณรงค์ องคมนตรี ได้ให้เกียรติเป็น ประธานเปิดการประชุม โดยมีเจ้าบ้านคือนายสำคัญ เพชรทอง รองอธิการบดีสถาบันการพลศึกษาประจำวิทยาเขตกระบี่ เป็น ผู้กล่าวต้อนรับ มีการนำเสนอหัวข้อการบรรยายพิเศษ เสวนา และการเสนอผลงานวิจัย พอสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้ ด้านนโยบาย : คุณสันติ บางอ้อ ผู้ทรงคุณวุฒิ และ อดีตรองเลขาธิการสภาพัฒน์ฯ บรรยายพิเศษเรื่อง “การ พัฒนาประเทศบนฐานความหลากหลายทางชีวภาพ ตามแผน พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10” เพื่อให้ผู้เข้า ร่วมประชุมได้รับทราบแผนงานของยุทธศาสตร์ความหลาก หลายทางชีวภาพที่ดำเนินการโดยสภาพัฒน์ฯ โดยเฉพาะการ พัฒนาในช่วง 5 ปี (พ.ศ. 2550-2554) ต่อจากนี้ไปที่เน้นการ สร้างสมดุลระหว่างเศรษฐกิจกับทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อการ สร้างสังคมพอเพียง การเสวนา “BRT เปิดบ้าน...สู่สังคม” โดย รศ.ดร.สมศักดิ์ ปัญหา และ ดร.นิพาดา เรือนแก้ว จาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดำเนินรายการโดย คุณประพจน์ ภู่ทองคำ บริษัท ว็อชด็อก จำกัด มานำเสนอนโยบายการ บริหารงานของโครงการ BRT ด้านประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรม : อาจารย์กลิ่น คงเหมือนเพชร ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์เมืองกระบี่
52 Book Annual2007.indb 52
บรรยายพิเศษ “ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเมืองกระบี่” ในอดีต กระบี่เคยเป็นเมืองท่าที่รุ่งเรือง นอกจากนี้ในหลายๆ พื้นที่ของ จ.กระบี ่ ย ั ง มี ห ลั ก ฐานทางโบราณคดี ห ลายชิ ้ น ที ่ ท ำให้ น ั ก โบราณคดีสันนิษฐานว่าที่นี่น่าจะเป็นแหล่งกำเนิดมนุษย์โบราณ อีกแห่งหนึ่ง การบรรยายด้านประวัติศาสตร์อีกเรื่องหนึ่งที่มี ความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน คือ การนำประวัติของนักวิจัย ความหลากหลายทางชีวภาพที่ยิ่งใหญ่ในอดีตมาเปิดเผยใน “ย้อนรอยนักสำรวจยุคบุกเบิกของไทย ร่วมจารึกไว้ในแผ่น ดิน” โดย ดร.จำลอง เพ็งคล้าย ราชบัณฑิต ซึ่งทำให้คนรุ่น หลังได้รู้การทำงานที่ยากลำบากและอดทนของนักวิจัยรุ่นก่อน ซึ่งเป็นสิ่งที่นักวิจัยรุ่นหลังควรยึดถือเป็นแบบอย่าง ด้านศิลป วัฒนธรรมได้นำคณะ “บันเทิงรวมมิตร” แสดงรำมโนห์รา และ ลิเกป่า ด้านวิชาการ : บรรยายพิเศษ “ความหลากหลายทาง ชีวภาพในระบบนิเวศเกษตร” โดยคุณ Kevin Kamp จาก โครงการ SAFE ได้เปิดประเด็นให้ผู้เข้าร่วมประชุมเข้าใจ ความสำคัญของพื้นที่เกษตรกรรม ซึ่งเป็นอีกระบบนิเวศหนึ่ง ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพที่เอื้อต่อวิถีชีวิตของเกษตรกร ไทย โดยพื้นที่ธรรมชาติรอบๆ นาข้าว ไม่ว่าจะเป็นต้นไม้ใหญ่ ป่าละเมาะ ขอบแปลงขอบถนน พื้นที่ชุ่มน้ำ คูน้ำ ฯลฯ ล้วนแต่ เป็นแหล่งพึ่งพิงอาศัยของสิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิดที่ให้บริการ ทางระบบนิเวศ และการเสวนา “การบริหารจัดการงานวิจัย แบบมุ่งเป้าหมาย : กรณีศึกษาชุดโครงการวิจัย “ป่าเมฆ” อุทยานแห่งชาติเขานัน จ.นครศรีธรรมราช และชุดโครงการ วิจัย “ความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเล” อุทยานแห่งชาติ BRT Annual Report 2007 28/9/07 17:21:32
หาดขนอม-หมู่เกาะทะเลใต้ จ.นครศรีธรรมราช” โดย ผศ.ดร.ปิติวงษ์ ตันติโชดก มหาวิทยาลัยวลัย ลักษณ์, ผศ.ดร.มัลลิกา เจริญสุธาสินี มหาวิทยาลัย วลัยลักษณ์, ผศ.ดร.กฤษณะเดช เจริญสุธาสินี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ดำเนินรายการโดยนาย ประพจน์ ภู่ทองคำ บริษัท ว็อชด็อก จำกัด ถือ เป็นการเปิดตัวชุดโครงการใหม่ของโครงการ BRT นั่นคือชุดโครงการป่าเมฆ-เขานัน อุทยานแห่งชาติเขา นัน จ.นครศรีธรรมราช ที่ได้พันธมิตรเก่าอย่างบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) มาร่วมสนับสนุน และชุด โครงการวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเล อุ ท ยานแห่ ง ชาติ ห าดขนอม-หมู ่ เ กาะทะเลใต้ จ.นครศรีธรรมราช ที่มีพันธมิตรใหม่อย่างบริษัท โททาล อีแอนด์พี ประเทศไทย และมูลนิธิโททาล ประเทศฝรั่งเศส มาร่วมสนับสนุนทุนวิจัยที่ให้ความ สำคั ญ กั บ สิ ่ ง แวดล้ อ มของไทย นอกจากนี ้ ชุ ด โครงการข้างต้นยังมีการประชุมกลุ่มย่อยที่ได้รับ ความสนใจเป็นอย่างดีอีกด้วย การบรรยาย “ชนิด พันธุ์ต่างถิ่น (Alien species) และการจัดการน้ำ อับเฉา (Ballast management)” โดย อาจารย์ นนทิวิชญ ตัณฑวณิช จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นั บ เป็ น ประเด็ น ที ่ ไ ด้ ร ั บ ความสนใจและมี ค วาม สำคัญในการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพทั้ง ในระดับประเทศและระดับโลก การเสนอผลงานวิจัย : มีเรื่อง “พืชวงศ์ชาฤาษี ที่มีความสวยงามและมีศักยภาพในการพัฒนาเป็น ไม้เศรษฐกิจของไทยในอนาคต” โดย ดร.ปราณี ปาลี จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ “ภูมิปัญญาท้องถิ่น กับการจัดการทรัพยากรชีวภาพ: มองผ่านเรื่องข้าว และไม้วงศ์ก่อของชุมชนทางภาคเหนือตอนบน” โดย คุณเสถียร ฉันทะ นักวิชาการจากโรงพยาบาลเวียง แก่น “ประเทศไทยไม่มีซาลาแมนเดอร์มีแต่นิวท์” โดย ผศ.ดร.วิ เ ชฏฐ์ คนซื ่ อ จุ ฬ าลงกรณ์ มหาวิทยาลัย “ค้างคาวหน้ายักษ์จมูกปุ่ม” โดยคุณ สุรชิต แวงโสธรณ์ จากสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี แ ห่ ง ประเทศไทย และ “การศึ ก ษา พฤติ ก รรมของชะนี ” โดย ดร.โทมั ส โซ ซาวิ น ี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี พร้อม กันนี้ได้เปิดตัว “ฐานข้อมูลสืบค้นการบริหารจัดการ โครงการวิจัยและวิทยานิพนธ์ของโครงการ BRT” BRT รายงานประจำปี 2550 Book Annual2007.indb 53
โดย ผศ.ดร.ภั ท รสิ น ี ภั ท รโกศล จุ ฬ าลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ด้ า นการศึ ก ษา : มี ก ารบรรยายพิ เ ศษ “บทบาทของ ปตท. กับการพัฒนาการศึกษา” โดย ดร.ส่งเกียรติ ทานสัมฤทธิ์ ผู้บริหารจากบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) พันธมิตรของโครงการ BRT ที่ได้ให้เกียรติมาบรรยายบทบาทของการวิจัยความ หลากหลายทางชีวภาพที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาท้อง ถิ่นและเยาวชน ในมุมมองของ ปตท. ซึ่งเป็นภาค ธุรกิจเอกชนที่ได้คืนกำไรให้กับสังคม ต่อจากนั้นได้ มีการบรรยายพิเศษจากคุณมารุต จาติเกตุ มูลนิธิ การศึกษาไทย ผู้ที่มีประสบการณ์ใน “การส่งเสริม การเรียนรู้ของเยาวชน” ในภาคปฏิบัติโดยเฉพาะ ระบบนิเวศย่อยในพื้นที่เกษตรกรรม ซึ่งเป็นประเด็น ที่ควรส่งเสริมให้เยาวชนเรียนรู้มากยิ่งขึ้นท่ามกลาง กระแสโลกาภิวัตน์ นอกจากนี้ โครงการ BRT ยังได้ เชิ ญ คุ ณ Richard Dawson, Field Study Council (FSC) และ British Council ผู้เชี่ยวชาญ ด้านการพัฒนาศูนย์สิ่งแวดล้อมศึกษาของ FSC ประเทศอังกฤษ มาถ่ายทอด “ประสบการณ์และ แนวทางการพั ฒ นาศู น ย์ ส ิ ่ ง แวดล้ อ มศึ ก ษาใน ประเทศไทย” ปิดท้ายด้วยเสวนา “บทบาทนักวิจัยท้องถิ่น ต่อการพัฒนาศูนย์สิ่งแวดล้อมศึกษา” โดย อาจารย์ ปิ ย ะพร พิ ท ั ก ษ์ ต ั น สกุล มหาวิ ท ยาลั ย ราชภั ฏ กาญจนบุรี นางสุนีย์ ศรีชัย โรงเรียนบ้านพุเตย และนายบุญมา พันธุ์แสน ผู้แทนชุมชนบ้านพุเตย ดำเนินรายการโดยนายประพจน์ ภู่ทองคำ บริษัท ว็อชด็อก จำกัด รายการนี้เป็นจุดเด่นหนึ่งของการ ประชุม เนื่องจากเป็นการรายงานผลการทำงานร่วม กันระหว่าง อาจารย์จากมหาวิทยาลัยท้องถิ่น ครู และปราชญ์ชาวบ้าน ที่ได้สวมบทบาทเป็นนักวิจัย ท้องถิ่นเก็บข้อมูลโดยใช้องค์ความรู้ของปราชญ์ชาว บ้ า นเป็ น ตั ว นำ ซึ ่ ง เต็ ม ไปด้ ว ยประสบการณ์ ท ี ่ ม ี คุณค่า สุด ท้ า ยสรุ ป และกล่ า วปิ ด การประชุ ม โดย ศ.ดร.วิสุทธิ์ ใบไม้ ผู้อำนวยการ โครงการ BRT พร้ อ มกั บ ขอบคุ ณ ผู ้ เ ข้ า ร่ ว มประชุ ม ทุ ก ท่ า นและ สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตกระบี่ ในฐานะเจ้า ภาพร่วม
53 28/9/07 17:21:36
ผลการประกวดโปสเตอร์ดีเด่น ในการประชุมวิชาการประจำปี โครงการ BRT ครั้งที่ 10 8-11 ตุลาคม พ.ศ. 2549 มาริไทม์ ปาร์ค แอนด์ สปา รีสอร์ท จ.กระบี่ รางวัลโปสเตอร์ดีเด่น ประเภทออกแบบ 3 รางวัล ได้แก่
1.ความหลากหลายของกล้วยไม้ในอุทยานแห่งชาติเขานัน โดย ดร.ชุมพล คุณวาสี และคณะ ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2.การกระจายของกะท่างน้ำในสกุล Tylototriton Anderson, 1871 ในประเทศไทย โดย นายปรวีร์ พรหมโชติ และผศ.ดร.วิเชฏฐ์ คนซื่อ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย 3. Distribution pattern of the renieramycin-producing sponge Xestospongia sp. and its association with other reef organisms in the Gulf of Thailand โดยอาจารย์อุดม ศักดิ์ ดรุมาศ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
รางวัลโปสเตอร์ดีเด่น ประเภทสวยงาม 3 รางวัล ได้แก่
1.ความหลากหลายของเทอริโดไฟต์ในอุทยานแห่งชาติเขานัน จ.นครศรีธรรมราช โดย รศ.ดร. ทวีศักดิ์ บุญเกิด และคณะ ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2.ความหลากหลายชนิดของแพลงก์ตอนไดอะตอมทะเลบริเวณหมู่เกาะช้าง จ.ตราด โดย น.ส.เกสร เทียรพิสุทธ์ และ ผศ.สุนันท์ ภัทรจินดา ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 3.พืชวงศ์หญ้า (Gramineae) ในเขตอุทยานแห่งชาติภูเรือ จ.เลย โดย น.ส. ชุตินันท์ เจริญชัย และ ศ.ดร.ประนอม จันทรโณทัย ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
รางวัลโปสเตอร์ดีเด่น ประเภทสื่อสารสาธารณชน 3 รางวัล ได้แก่
1.ความหลากหลายของพืชที่มีท่อลำเลียงบริเวณหน้าผาและสันเขาหิน บนเทือกเขาสันกาลาคีรี ในเขต อ.เบตง จ.ยะลา โดย นายเจริญศักดิ์ แซ่ไว่ และผศ.ดร.กิติเชษฐ์ ศรีดิษฐ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 2.มะเดื่อกินได้ โดย นายภานุมาศ จันทร์สุวรรณ และคณะ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ แห่งชาติ 3. Effects of herbivory and season of clearing on species composition and algal succession in a tropical intertidal shore, Phuket, Thailand โดย น.ส.จารุวรรณ มะยะกูล และ ผศ.ดร.อัญชนา ประเทพ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
54 Book Annual2007.indb 54
BRT Annual Report 2007 28/9/07 17:21:36
ผลงานทางวิชาการปี 2550 1. ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ 1.1 ตีพิมพ์เรียบร้อยแล้ว (published) จำนวน 89 เรื่อง 1. Aowphol, A., K. Thirakhupt, J. Nabhitabhata & H.K. Voris. 2006. Foraging ecology of the Tokay gecko, Gekko gecko in a residential area in Thailand. Amphibia-Reptilia 27: 491-503. 2. Beamish, F.W.H., P. Sa-ardrit & S. Tongnunui. 2006. Habitat characteristics of the cyprinidae in small rivers in Central Thailand. Environmental Biology of Fishes 76: 237-253. 3. Boonkerd, T. 2006. The species of the genus Aglaomorpha Schott (Polypodiaceae) in Thailand. The Natural History Journal of Chulalongkorn University 6(2): 47-55. 4. Bunchalee, P. & P. Chantaranothai. 2006. Notes on Polyalthia (Annonaceae). Thailand. Thai Forest Bulletin (Botany): 34: 1-3. 5. Cappetta, H., E. Buffetaut, G. Cuny & V. Suteethorn. 2006. A new Elasmobranch assemblage from the Lower Cretaceous of Thailand. Palaeontology 49(3): 547-555. 6. Cavin, L., V. Suteethorn, E. Buffetaut & H. Tong. 2007. A new Thai Mesozoic lungfish (Saracopterygii, Dipnoi) with an insight into post – Palaeozoic dipnoan evolution. Zoological Journal of the Linnean society 149: 141-177. 7. Cavin, L. & V. Suteethorn. 2006. A new Semionotiform (Actinopterygii, Neopterygii) from Upper Jurassic – Lower Cretaceous deposits of North – East Thailand, with comments on the relationships of Semionotiforms. Palaeontology 49(2): 339-35. 8. Chaimanee, Y. 2006. Late Pleistocene vertebrate records from Southeast Asia. In Encycopedia of Quaternary, pp. 3189-3197. Elsevier. 9. Chaimanee, Y., C. Yamee, P. Tian, K. Khaowiset, B. Marandat, P. Tafforeau, C. Nemoz & J-J. Jaeger. 2006. Khoratpithecus piriyai, a Late Miocene hominoid of Thailand. Amer. J. Phys. Anthrop. 131(3): 311-323. 10. Chaisongkram, W. & P. Chantaranothai. 2006. A revision of the genus Aristida L. (Poaceae) in Thailand. The Natural History Journal of Chulalongkorn University 6(2): 125-134. 11. Chantarasuwan, B. & S. Thong-Aree. 2006. Five species of Ficus (Moraceae) new for Thailand. Thai Forest Bulletin (Botany) 34: 25-37. 12. Chantasingh, D., K. Pootanakit, V. Champreda, P. Kanokrattana & L. Eurwilaichitr. 2006. Cloning, expression, and characterization of a xylanase 10 from Aspergillus terreus (BCC129) in Pichia pastoris. Protein Expression and Purification 46: 143-149. 13. Chavanich, S., P. Koeysin, V. Viyakarn, S. Piyatiratitivorakul, P. Menasaveta, K. Suwanborirux & S. Poovachiranon. 2005. A tunicate from Thai coral reef: a potential source of new anticancer compounds. Coral Reefs 24(4): 621. 14. Cuny, G., V. Suteethorn & S. Kamha. 2005. A review of the hybodont sharks from the Mesozoic of Thailand. International Conference on Geology, Geotechnology and Mineral Resources of Indochina (GEOINDO 2005) 28-30 November 2005, Khon Kaen, Thailand. pp. 588. 15. Cuny, G., V. Suteethorn, S. Kamha, E. Buffetaut & M. Philippe. 2006. A new hybodont shark assemblage from the Lower Cretaceous of Thailand. Historical Biology 18(1): 21-31. 16. Deepralard, K., T. Pengsuparp, M. Moriyasu, K. Kawanishi & R. Suttisri. 2007. Chemical constituents of Mitrephora maingayi. Biochemical Systematics and Ecology 35: 696-699.
BRT รายงานประจำปี 2550 Book Annual2007.indb 55
55 28/9/07 17:21:37
17. Dhitisudh, L., Y. Peerapornpisal & P. Vacharapiyasophon. 2005. Use of phytoplankton for monitoring water quality in Doi Tao Reservoir, Chiang Mai Province, Thailand. Phycologia 44(4) supplement: 27. 18. Ducrocq, S., Y. Chaimanee & J-J. Jaeger. 2006. New primates from the late Eocene of Thailand: a contribution to primate diversity in the Paleogene of Asia. J. Hum. Evol. 51: 153-157. 19. Ducrocq, S., Y. Chaimanee, J.-J. Jaeger & G. Metais. 2006. A new ceratomorph (Perissodactyla, Mammalia) from the Late Eocene of Southeast Asia. Journal of Vertebrate Paleontology 26(4): 1024-1027. 20. Feng, Q.-L., C. Chonglakmani, D. Helmcke, R. Ingavat-Helmcke & B.-P. Liu. 2005. Correlation of Triassic Stratigraphy between the Simao and Lampang-Phrae Basins: implications for the tectonopaleogeography of Southeast Asia. Journal of Asian Earth Science 24: 777-785. 21. Feng, Q.-L., K. Malila, N. Wonganan, C. Chonglakmani, D. Helmcke, R. Ingavat-Helmcke & M. Caridroit. 2005. Permian and Triassic Radiolaria from Northwest Thailand : paleogeographic implications. Revue de Micropaleontologie 48: 237-255. 22. Hamada, Y., N. Urasopon, I. Hadi & S. Malaivijitnond. 2006. Body size and proportions and pelage color of free-ranging Macaca mulatta from a zone of hybridization in northern Thailand. International Journal of Primatology 27: 497-513. 23. Hosoya, S., V. Arunpairojana, C. Suwannachart, A. Kanjana-Opas & A. Yokota. 2006. Aureispira marina gen. nov., sp. nov., a gliding, arachidonic acid containing bacteria isolated from Thai Southern coastlines. International Systematic and Evolution Microbiology 200(56): 2931-2935. 24. Jongjitvimol, T. & W. Wattanachaiyingcharoen. 2006. Pollen food sources of the stingless bees Trigona apicalis Smith, 1857, Trigona collina Smith, 1857 and Trigona fimbriata Smith, 1857 (Apidae, Meliponinae) in Thailand. The Natural History Journal of Chulalongkorn University 6(2): 75-82. 25. Jongjitvimol, T. & W. Wattanachaiyingcharoen. 2007. Distribution, nesting sites and nest structures of the stingless bee species, Trigona collina Smith, 1857 (Apidae, Meliponinae) in Thailand. The Natural History Journal of Chulalongkorn University 7(1): 25-34. 26. Kaewsri, W., Y. Paisooksantivatana, U. Veesommai, W. Eiadthong & S. Vajrodaya. 2007. Phylogenetic analysis of Thai Amomum (Alpinioideae: Zingiberaceae) using AFLP markers. Kasetsart J. (Nat. Sci.) 41: 213-226. 27. Kantachot, C., P. Chantaranothai & A. Thammathaworn. 2007. Contributions to the leaf anatomy and taxonomy of Thai Myrtaceae. The Natural History Journal of Chulalongkorn University 7(1): 35-45. 28. Katsarapong, W., W. Srisang, K. Jaroensutasinee & M. Jaroensutasinee. 2007. Thailand National Biodiversity Database System with web Mathematica and Google Earth. Transactions on Engineering, Computing and Technology 19: 397-400. 29. Khumchompoo, S. & A. Thongpukdee. 2005. Miliusa longiflora (Hook.f. & Thomson) Baill. ex Finet & Gagnep. (Annonaceae), a new record for Thailand. Thai Forest Bulletin (Botany) 33: 32-34. 30. Khumchompoo, S. & A. Thongpukdee. 2005. Polyalthia kanchanaburiana (Annonaceae): a new species from Thailand. Thai Forest Bulletin (Botany) 33: 35-41. 31. Khunwasi, C., B. Na Songkhla, P. Traiperm & G. Staples. 2005. Four new combinations in Argyreia Lour. (Convolvulaceae). Thai Forest Bulletin (Botany) 33: 42-43. 32. Kittipananakul, N. & C. Ngamriabsakul. 2006. Pollen and pollinator limitation of seed initiation in Etlingera littoralis (J. Konig) Giseke (Zingiberaceae) in Klong Klai Basin, Khao Nan National Park, Thailand. Walailak J. Sci. & Tech. 3(2): 207-217. 33. Kotrnon, K., A. Thammathaworn & P. Chantaranothai. 2007. Comparative anatomy of the genus Pyrrosia Mirbel (Polypodiaceae) in Thailand. The Natural History Journal of Chulalongkorn University 7(1): 75-85.
56 Book Annual2007.indb 56
BRT Annual Report 2007 28/9/07 17:21:37
34. Liengpornpan, S., M. Jaroensutasinee & K. Jaroensutasinee. 2006. Mating habits and nesting habitats of the croaking gourami Trichopsis vittata. Acta Zoologica Sinica 52: 846-853. 35. Liengpornpan, S., M. Jaroensutasinee & K. Jaroensutasinee. 2007. Male body size, female preference and male-male competition in croaking gouramis Trichopsis vittata. Acta Zoologica Sinica 53(2): 233-240. 36. Malaivijitnond, S., O. Takenaka, Y. Kawamoto, N. Urasopon, I. Hadi & Y. Hamada. 2007. Anthropogenic macaque hybridization and genetic pollution of a threatened population. Natural History Journal of Chulalongkorn University 7(1): 11-23. 37. Malaivijitnond, S., W. Sae-low & Y. Hamada. 2007. The Human-ABO blood group of free-ranging long-tailed macaques (Macaca fascicularis) and its parapatric rhesus macaques (M. mulatta) in Thailand. Journal of Medical Primatology 27: 1-9. 38. Marivaux, L., Y. Chaimanee, P. Tafforeau & J-J. Jaeger. 2006. New stresirrhine primate from the late Eocene of Peninsular Thailand (Krabi Basin). Amer. J. Phys. Anthrop. 130(4): 425-434. 39. Marivaux, L., L. Bocat, Y. Chaimanee, J-J. Jaeger, B. Marandat, P. Srisuk, P. Tafforeau & C. Yamee. 2006. Cynocephalid dermopterans from the paleogene of South Asia (Thailand, Myanmar, and Pakistan): systematic, evolutionary and paleobiogeographic implications. Zool. Scripta 35: 395-420. 40. Merceron, G., S. Taylor, R. Scott, Y. Chaimanee & J-J. Jaeger. 2006. Dietary characterization of the homonoid Khoratphithecus (Miocene of Thailand): evidence from dental topographic and microwear texture analyses. Naturwissenschaften 93(7): 329-393. 41. Ngernsaengsaruay, C., D.J. Middleton & K. Chayamrit. 2005. Five new records of Litsea (Lauraceae) for Thailand. Thai Forest Bulletin (Botany) 33: 81-93. 42. Peerapornpisal, Y., M. Nualcharoen, S. Suphan, T. Kunpradid, T. Inthasotti, R. Mungmai, L. Dhitisudh, M. Sukchotiratana & S. Kumano. 2006. Diversity and habitat characteristics of freshwater red algae (Rhodophytes) in some water resources of Thailand. ScienceAsia 32(1): 63-70. 43. Peigne, S., Y. Chaimanee, C. Yamee, P. Tian & J-J. Jaeger. 2006. A new Amphicyonid (Mammalia, Carnivora, Amphicyonidae) from the late middle Miocene of northern Thailand and a review of the amphicyonine record in Asia. J. Asian Earth Science 26: 519-532. 44. Peigne, S., Y. Chaimanee, C. Yamee, P. Srisuk, B. Marandat & J.J. Jaeger. 2006. A new member of the Mustelida (Mammalia: Carnivora) from the Paleogene of southern Asia. Journal of Vertebrate Paleontology 26(3): 788793. 45. Pekkoh, J. & Y. Peerapornpisal. 2005. Planktonic cyanobacteria and their toxins in some water resources in Thailand. Phycologia 44(4) supplement: 79-80. 46. Pe’rez-Huerta, A., C. Chonglakmani & A. Chitnarin. 2007. Permian brachiopods from new localities in northeast Thailand: Implications for paleobiogeographic analysis. Journal of Asian Earth Sciences 30: 504-517. 47. Phengklai, C. 2006. A synoptic account of the Fagaceae of Thailand. Thai Forest Bulletin (Botany) 34: 53-175. 48. Philippe, M., G. Cuny, V. Suteethorn, N. Teerarungsigul, G. Barale, F. Thevenard, J. Le Loeuff, E. Buffetaut, T. Gaona, A. Kosir & H. Tong. 2005. A Jurassic amber deposit in Southern Thailand. Historical Biology 17: 1-6. 49. Pierce, A.J. & K. Pobprasert. 2007. A portable system for continuous monitoring of bird nests using digital video recorders. J. Field Ornithol. 78(3): 1-7. 50. Pierce, A.J. & P.D. Round. 2006. Everett’s White-eye Zosterops everetti in Khao Yai, north-east Thailand. Forktail 22: 116-117. 51. Pierce, A.J. 2004. Orange-headed Thrush (Zoothera citrine) eating elastic bands. Nat. Hist. Bull. Siam Soc. 52(2): 217-220.
BRT รายงานประจำปี 2550 Book Annual2007.indb 57
57 28/9/07 17:21:38
52. Pierce, A.J., K. Tokue, K. Pobprasert & W. Sankamethawee. 2007. Cooperative breeding in the Puff-throated Bulbul Alophoixus palidus in Thailand. The Raffles Bulletin of Zoology 55(1): 187-189. 53. Pinruan, U., S. Lumyong, K.D. Hyde & E.B.G. Jones. 2007. Occurrence of fungi on tissues of the peatswamp palm Licuala longicalycata. Fungal Diversity 25: 157-173. 54. Pollar, M., M. Jaroensutasinee & K. Jaroensutasinee. 2007. Morphometric analysis of Tor tambroides by stepwise discriminant and neural network analysis. Transactions on Engineering, Computing and Technology 19: 392396. 55. Pongchroen, W., V. Rukachaisirikul, S. Phongpaichit, N. Rungjindamai & J. Sakayaroj. 2006. Pimarane diterpene and cytochalasin derivatives from the endophytic fungus Eutypella scoparia PSU - D44. J. Nat. Prod. 69(5): 856 -858. 56. Prasankok, P., H. Ota, M. Toda & S. Panha. 2007. Allozyme variation in the camaenid tree snails Amphidromus atricallosus (Gould, 1843) and A. inversus (Muller, 1774). Zoological Science 24: 189-197. 57. Prathepha, P. 2007. Identification of variant transcripts of Waxy gene in non-glutinous rice (O. sativa L.) with different amylose content. Pakistan Journal of Biological Sciences 10(15): 2500-2504. 58. Prayong, N. & S. Srikosamatara. 2006. Small carnivores and other mammals in a small protected area of 50 2 km in Thong Pha Phum Forest, western Thailand. Nat. Hist. Bull. Siam Soc. 54(1): 139-153. 59. Ratanachomsri, U., R. Sriprang, W. Sornlek, B. Buaban, V. Champreda, S. Tanapongpipat & L. Eurwilaichitr. 2006. Thermostable xylanase from Marasmius sp.: purification and characterization. Journal of Biochemistry and Molecular Biology 39(1): 105-110. 60. Round, P.D. 2006. Cooperative provisioning of nestlings in the White-crested Laughingthrush Garrulax leucolophus. Forktail 22: 138-139. 61. Round, P.D., G.A. Gale & W.Y. Brockelman. 2006. A comparison of bird communities in mixed fruit orchards and natural forest at Khao Luang, southern Thailand. Biodiversity and Conservation 15: 2873-2891. 62. Saeung, A., Y. Otsuka, V. Baimai, P. Somboon, B. Pitasawat, B. Tuetun, A. Junkum, H. Takaoka & W. Choochote. 2007. Cytogenetic and molecular evidence for two species in the Anopheles barbirostris complex (Diptera: Culicidae) in Thailand. Parasitol. Res. DOI 10.1007/s00436-007-0645-1 63. Sathapattayanon, A. & T. Boonkerd. 2005. Pteridophyte diversity along a gradient of disturbance within and near abandoned opencast mines in Thong Pha Phum District, Kanchanaburi Province, Thailand. Fern Gaz. 17(3): 179. 64. Sinev, A.Y., S. Nachai & L. Sanoamuang. 2007. Occurrence of the Australian cladoceran Armatalona macrocopa (Sars, 1894) (Cladocera: Anomopoda: Chydoridae) in Thailand. Invertebrate Zoology 4(1): 25-29. 65. Somrithipol, S. & E.B.G. Jones. 2007. Lauriomyces cylindricus and Lauriomyces ellipticus spp. nov., two new hyphomycetes from tropical forest of Thailand. Nova Hedwigia 84(3-4): 479-486. 66. Somrithipol, S., N. Sudhom, S. Tippawan & E.B.G. Jones. 2007. A new species of Falcocladium (Hyphomycetes) with turbinate vesicles from Thailand. Sydowia 59(1): 148-153. 67. Somrithipol, S., S. Kosol & E.B.G. Jones. 2006. Lauriomyces sakaeratensis sp. nov., a new hyphomycetes on decaying Dipterocarpus costatus fruits from Sakaerat Biosphere Reserve, Thailand. Nova Hedwigia 82: 209-215. 68. Sripalakit, P., U. Wichai & A. Saraphanchotiwitthaya. 2006. Biotranformation of various natural sterols to androstenones by Mycobacterium sp. and some steroid-converting microbial strains. Journal of Molecular Catalysis B: Enzymatic 41: 49-54. 69. Sripalwit, P., C. Wongsawad, P. Wongsawad & S. Anuntalabhochai. 2007. High annealing temperaturerandom amplified polymorphic DNA (HAT-RAPD) analysis of three paramphistome flukes from Thailand. Experimental Parasitology 115: 98-102.
58 Book Annual2007.indb 58
BRT Annual Report 2007 28/9/07 17:21:39
70. Srisang, W., K. Jaroensutasinee & M. Jaroensutasinee. 2007. Assessing habitat-suitability models with virtual species at Khao Nan National Park, Thailand. Transactions on Engineering, Computing and Technology 19: 340-345. 71. Stoev, P., H. Enghoff, S. Panha & M. Fuangarworn. 2007. A second species in the millipede suborder Sinocallipodidea Shear, 2000 (Diplopoda: Callipodida). Zootaxa 1450: 63-68. 72. Suksri, S., S. Premcharoen, C. Thawatphan & S. Sangthongprow. 2005. Ethonobotany in Bung Khong Long Non-Hunting area, Northeast Thailand. Kasetsart J. (Nat. Sci.) 39: 519-533. 73. Sutcharit, C., F. Naggs & S. Panha. 2007. Systematic review of the land snail genus Neocepolis Pilsbry, 1891 (Pulmonata: Camaenidae) from north Vietnam. Journal of Natural History 41(9-12): 691-631. 74. Sutcharit, C., T. Asami & S. Panha. 2006. Evolution of whole-body enantiomorphy in the tree snail genus Amphidromus. Journal of Evolutionary Biology 20(2): 661-672. 75. Sutin, S., M. Jaroensutasinee & K. Jaroensutasinee. 2007. Water quality and freshwater fish diversity at Khao Luang National Park, Thailand. Transactions on Engineering, Computing and Technology 19: 373-376. 76. Suwanphakdee, C., S. Masuthon, P. Chantaranothai, K. Chayamarit & N. Chansuvanich. 2006. Notes on the genus Piper L. (Piperaceae) in Thailand. Thailand. Thai Forest Bulletin (Botany): 34: 206-214. 77. Taechowisan, T., A. Wanbanjob, T. Tuntiwachwuttikul & W.C. Taylor. 2006. Identification of Streptomyces sp. Tc022, an endophyte in Alpinia galanga, and the isolation of actinomycin D. Annals of Microbiology 2(56): 113-117. 78. Techaprasan, J., C. Ngmriabsakul, S. Klinbunga, S. Chusacultanachai & T. Jenjittikul. 2006. Genetic variation and species identification of Thai Boesenbergia (Zingiberaceae) analyzed by chloroplast DNA polymorphism. Journal of Biochemistry and Molecular Biology 39(4): 361-370. 79. Thongroy, P., L.M. Liao & A. Prathep. 2007. Diversity, abundance and distribution of macroalgae at Sirinart Marine National Park, Phuket Province, Thailand. Botanica Marina 50: 88-96. 80. Traiperm, P., T. Boonkerd, P. Chantaranothai & D.A. Simpson. 2007. Ischaemum hubbardii Bor (Poaceae), a new record for Thailand. The Natural History Journal of Chulalongkorn University 7(1): 67-70. 81. Tumpeesuwan, C., F. Naggs & S. Panha. 2007. A new genus and new species of dyakiid snail (Pulmonata: Dyakiidae) from the Phu Phan Range, Northeastern Thailand. The Raffles Bulletin of Zoology 55(2): 373-379. 82. Unagul, P., P. Wongsa, P. Kittakoop, S. Intamas, P. Srikitikulchai & M. Tanticharoen. 2005. Production of red pigments by the insect pathogenic fungus Cordyceps unilateralis BCC 1869. J. Ind. Microbiol. Biotechnol. 32: 135-140. 83. Ward-Campbell, B.M.S., F.W.H. Beamish & C. Kongchaiya. 2005. Morphological characteristics in relation to diet in five co-existing Thai fish species. Journal of Fish Biology 67: 1266-1279. 84. Warrit, N., D.R. Smith & C. Lekprayoon. 2006. Genetic subpopulations of Varroa mites and their Apis cerana hosts in Thailand. Apidologie 37: 19-30. 85. Watanasit, S., S. Tongjerm & D. Wiwatwitaya. 2005. Composition of canopy ants (Hymenoptera: Formicidae) at Ton Nga Chang Wildlife Sanctuary, Songkhla Province, Thailand. Songklanakarin J. Sci. Technol. 27: 665-673. 86. Wattanaratchakit, N. & S. Srikosamatara. 2006. Small mammals around a Karen village in Northern Mae Hong Son Province, Thailand: abundance, distribution and human consumption. Nat. Hist. Bull. Siam Soc. 54(2): 195-207. 87. Wirasathiena, L., T. Pengsuparpa, R. Suttisria, H. Uedab, M. Moriyasub & K. Kawanishi. 2007. Inhibitors of aldose reductase and advanced glycation end-products formation from the leaves of Stelechocarpus caulflorus R.E. Fr. Phytomedicine 14: 546-550. 88. Wongsa, P., K. Tasanatai, P. Watts & N.H. Jones. 2005. Isolation and in vitro cultivation of the insect pathogenic fungus Cordyceps unilateralis. Mycol. Res. 109(8): 936-940. 89. Yimkao, P. & S. Srikosamatara. 2006. Ecology and site-based conservation of the White-handed gibbon (Hylobates lar L.) in human-use forests in Mae Hong Son Province, Northern Thailand. Nat. Hist. Bull. Siam Soc. 54(1): 109-138.
BRT รายงานประจำปี 2550 Book Annual2007.indb 59
59 28/9/07 17:21:39
1.2 อยู่ระหว่างการตีพิมพ์ (In press) จำนวน 16 เรื่อง 1. Bunwong, S. & P. Chantaranothai. Taxonomic notes on Elephantopus and Iodocephalus in Thailand. Thai Forest Bulletin (Botany). 2. Chaimanee, Y., C. Yamee, B. Marandat & J-J. Jaeger. First microvertebrates from the Middle Miocene intermontane Mae Moh Basin (Thailand): Biochronological and paleoenvironment implications. Bull. Carnegie Museum. 3. Darumas, U., S. Chavanich & K. Suwanborirux. 2007. Distribution pattern of the renieramycin-producing sponge Xestospongia sp. and its association with other reef organisms in the Gulf of Thailand. Zoological Studies. 4. Enghoff, H., C. Sutcharit & S. Panha. 2007. The shocking pink drakon millipede, Desmoxytes purpurosea, a colourful new species from Thailand (Diplopoda: Polydesmida: Paradoxosomatidae). Zootaxa. 5. Hosoya, S., V. Arunpairojana, C. Suwannachart, A. Kanjana-Opas & A. Yokota. 2007. Aureispira maritima sp. nov., isolated from marine barnacle. International Systematic and Evolution Microbiology. 6. Le Loeuff, J., V. Suteethorn & E. Buffetaut. 2006. The oldest mentions of fossil vertebrate footprints in Thailand: A reassessment of Bishop Pallegoix and Henri Mouhot’s Writings. Historical Biology, Taylor & Francis. 7. Mattapha, S. & P. Chantaranothai. 2007. Notes on the genus Indigofera (Leguminosae) for Thailand. Thai Forest Bulletin (Botany). 8. Panha, S., C. Sutcharit & D.G. Can. Re-description of Mollendorffia from Vietnam. The Nautilus. 9. Phonsena, P. 2007. Scaphium lychnophorum (Hance) Pierre (Sterculiaceae) new for Thailand. Thai Forest Bulletin (Botany) 35. 10. Pinnoi, A., R. Jeewon, J. Sakayaroj, K.D. Hyde & E.B.G. Jones. 2007. Berkleasmium crunisia sp. nov. and its teleomorphic affinities to the Pleosporales based on 18S, 28S and ITS-5.8S rDNA sequence analyses. Mycologia. 11. Pinruan, A., J. Sakayaroj, K.D. Hyde & E.B.G. Jones. 2007. Thaliomyces setulis gen. et. sp. nov. (Diaporthales, Soedariomycetidae) and its anamorph Craspedodidymum, is described based on nuclear SSU and LSU rDNA sequences. Fungal Diversity. 12. Somrithipol, S. & E.B.G. Jones. Calcarisporium phaeopodium sp. nov., a new hyphomycete from Thailand. Sydowia. 13. Soontornchainaksaeng, P., P. Chantaranothai & C. Senakun. Cytological investigation of Macaranga in comparison to Mallotus (Euphorbiaceae) in Thailand. Thai Forest Bulletin (Botany). 14. Srisukchayakul, P., C. Suwanachart, Y. Sangnoi, A. Kanjana-Opas, S. Hosoya, A. Yokota & V. Arunpairojana. 2007. Rapidithrix thailandica gen. nov., sp. nov., a marine gliding bacteria isolated from Andaman sea, the southern coastline of Thailand. International Systematic and Evolution Microbiology. 15. Sutcharit, C. & S. Panha. Systematic revision of the genus Sarika. Raffle Bulletin of Zoology. 16. Warrit, N. Possible recent introduction of a small carpenter bee, Ceratina (Ceratinidia) compacta, into Thailand (Hymenoptera, Apidae). Journal of the Kansas Entomological Society.
2. ในวารสารวิชาการภายในประเทศ จำนวน 13 เรื่อง 1. จิรนันท์ ธีระกุลพิศุทธิ์, อมรศรี ขุนอินทร์ และจารุวรรณ ขำเพชร. 2549. การศึกษาภูมิปัญญาชาวบ้านที่เกี่ยวข้องกับความหลาก หลายและการเกิดของเห็ดโคนในสวนป่าทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี. เห็ดไทย (มกราคม-ธันวาคม 2549): 28-41. 2. ดุษณี ธนะบริพัฒน์, อรไท สุขเจริญ และวิบูลย์ศรี เรืองทวีสิน. 2550. การหาสภาวะที่เหมาะสมในการผลิตเอนไซม์ไซลาเนสจาก เชื้อรา Fusarium moniliforme TISTR 3175 ในอาหารแข็ง. วารสารพระจอมเกล้าลาดกระบัง 15(1): 22-30. 3. ธัชคณิน จงจิตวิมล และวันดี วัฒนชัยยิ่งเจริญ. 2549. พลวัตประชากรในการหาอาหารของชันโรง Trigona apicalis Smith,
60 Book Annual2007.indb 60
BRT Annual Report 2007 28/9/07 17:21:40
1857, T. collina Smith, 1857 และ T. fimbriata Smith, 1857. NU Science Journal 3(1): 85-94. 4. ปรีชา ประเทพา และศุภชัย สมัปปิโต. 2549. ความสัมพันธ์ระหว่างชนิดเอ็นโดสเปิร์มของข้าวกับลำดับเบสของยีนแวคซี. วารสาร วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 25(3): 1-8. 5. ภัทรวรรณ เลิศสุชาตวนิช, ดวงแข สิทธิเจริยชัย, องุ่น ลิ่ววานิช, กำธร ธีรคุปต์ และวัชโรบล ธีรคุปต์. 2549. การประเมินผลกระทบ จากการท่องเที่ยวแบบโฮมสเตย์ต่อประชากรหิ่งห้อย ณ บ้านโคกเกตุ จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารวิจัยวิทยาศาสตร์ (Section T) 5(2): 8595. 6. ยุวดี พีรพรพิศาล, จีรพร เพกเกาะ, ดวงกมล โพธิ์หวังประสิทธิ์, ธนพล ทนคำดี, อดินุช หงษ์สิริชาติ และทัตพร คุณประดิษฐ์. 2550. การประเมินคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำนิ่งโดยใช้แพลงก์ตอนพืชชนิดเด่นด้วย AARL-PP Score. วารสารวิจัยเทคโนโลยีการประมง 1(1): 771-781. 7. ลลิตา ปัจฉิม, สุชนา ชวนิชย์, ศุภิชัย ตั้งใจตรง, วรณพ วิยกาญจน์ และธรรมศักดิ์ ยีมิน. 2549. การแพร่กระจายของตัวอ่อน ปะการังบริเวณเกาะคราม จังหวัดชลบุรี. วารสารวิจัยวิทยาศาสตร์ (Section T) 5(1): 25-37. 8. ศศิกาญจน์ รัตนทวีโสภณ และโสมสกาว เพชรานนท์. 2549. การประเมินมูลค่าประโยชน์ด้านนันทนาการของอุทยานแห่งชาติ ภูกระดึง. วารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 13(2): 60-78. 9. สุคนธ์ วงศ์ชนะ, วิจิตต์ วรรณชิต และสาระ บำรุงศรี. 2549. โครงสร้างดอก เพศดอก และการติดผลของสะตอ (Parkia speciosa Hassk.). วารสารวิชาการเกษตร 24(1): 20-33. 10. สุคนธ์ทิพย์ บุญวงศ์, ประนอม จันทรโณทัย และอัจฉรา ธรรมถาวร. 2547. อนุกรมวิธานพืชเผ่า Vernonieae (Asteraceae) ใน ประเทศไทย. วารสารวิจัย มข. ฉบับบัณฑิตศึกษา 4: 1-11. 11. เสธ์ ทรงพลอย และวิมล เหมะจันทร. 2549. ประชาคมปลาและโครงสร้างแหล่งที่อยู่ปะการังบริเวณหาดเจ้าหลาว จังหวัดจันทบุรี. วารสารวิจัยวิทยาศาสตร์ (Section T) 5(2): 97-107. 12. อาภารัตน์ มหาขันธ์, อุษา กลิ่นหอม, มยุรี ตั้งธนานุวัฒน์, เจษฎา ทิพยะสุขศรี และวัลลภา อรุณไพโรจน์. 2550. การศึกษา คุณสมบัติด้านอาหารของสาหร่ายเห็ดลาบ (Nostoc commune Voucher, Cyanophyta). วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 21(1): 6973. 13. อาภารัตน์ มหาขันธ์. 2550. สาหร่ายเห็ดลาบ ใยอาหารจากป่าดูนลำพัน. บทสัมภาษณ์. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 21(1): 11-16.
3. การตีพิมพ์บทความในหนังสือ (บรรณาธิการ) จำนวน 2 เรื่อง 1. Chayamarit, K. & P.C. van Welzen. 2005. Euphorbiaceae (Genera A-F). In T. Santisuk & K. Larsen (eds.), Flora of Thailand, Vol. 8 Part 1, The Forest Herbarium, National Park, Wildlife and Plant Conservation Department, Bangkok, pp. 1-303. 2. Chayamarit, K. & P.C. van Welzen. 2007. Euphorbiaceae (Genera G-Z). In T. Santisuk & K. Larsen (eds.), Flora of Thailand, Vol. 8 Part 2, The Forest Herbarium, National Park, Wildlife and Plant Conservation Department, Bangkok, pp. 305-592.
4. การตีพิมพ์หนังสือ จำนวน 6 เรื่อง ดังนี้ 1. พรรณไม้ภูเรือ. จัดพิมพ์โดยศูนย์วิจัยอนุกรมวิธานประยุกต์ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2. รายงานประจำปี 2550. จัดพิมพ์โดยโครงการ BRT 3. บทคัดย่อโครงการวิจัยและวิทยานิพนธ์ 2550. จัดพิมพ์โดยโครงการ BRT 4. บันทึกการประชุมวิชาการประจำปีโครงการ BRT ครั้งที่ 10. จัดพิมพ์โดยโครงการ BRT 5. เขานัน-ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน. จัดพิมพ์โดยโครงการ BRT 6. ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้. จัดพิมพ์โดยโครงการ BRT
BRT รายงานประจำปี 2550 Book Annual2007.indb 61
61 28/9/07 17:21:40
รายชื่อโครงการปี 2550 1. ชุดโครงการทองผาภูมิตะวันตก จำนวน 15 โครงการ 1. จินรภา โพธิกสิกร (มหิดล) : การสำรวจความหลากหลายของยุงพาหะนำโรคพยาธิ filaria ในเขตระบาดของโรคเท้าช้างชนิด Wulcherreria bancrofti ณ เขตติดต่อไทย-พม่า อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี ประเทศไทย 2. จิรนันท์ ธีระกุลพิศุทธิ์ (มก.) : การศึกษาภูมิปัญญาชาวบ้านเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์และการแปรรูปของป่าเป็นผลิตภัณฑ์พื้นบ้าน 3. นัทธินี ธีรพรวงษ์งามดี (มก.) สมเพ็ชร์ มังกรดิน : การประเมินโปรแกรมการท่องเที่ยวที่เหมาะสมของตำบลห้วยเขย่ง อำเภอ ทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี 4. นุกูล แสงพันธุ์ (วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสุพรรณบุรี) : การเพาะเลี้ยง และการใช้ประโยชน์ไรน้ำ (Cladocerans) 3 ชนิด ที่ พบชุกชุมในเขตตำบลห้วยเขย่ง อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี 5. พิเชฐ นุ่นโต (มหิดล) สมโภชน์ ศรีโกสามาตร : การประยุกต์ใช้การเรียนรู้แบบมีเงื่อนไขเพื่อใช้ไล่ช้าง กรณีศึกษา ณ อุทยานแห่ง ชาติทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี 6. สิทธิพงษ์ วงศ์วิลาศ (จุฬาฯ) : การศึกษาวงจรชีวิตและการกระจายตัวของผึ้งม้าน (Apis andreniformis) ในพื้นที่ตำบลห้วยเขย่ง และบริเวณใกล้เคียงในเขตอำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี 7. สิทธิพงษ์ วงศ์วิลาศ (จุฬาฯ) สุรีรัตน์ เดี่ยววาณิชย์ : การเลือกสร้างรังและวงจรชีวิตของผึ้งมิ้ม Apis florea และผึ้งม้าน Apis andreniformis ในตำบลห้วยเขย่ง อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี 8. สุพรรณี ศฤงฆาร (มก.) เพ็ญพร เจนการกิจ : การจัดการป่าอนุรักษ์โครงการทองผาภูมิ 72 พรรษามหาราช เพื่อให้เป็นเขตกันชน ของอุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ 9. อารยา คนธิคามี (จุฬาฯ) นิพาดา เรือนแก้ว : ผลกระทบของการจัดการพื้นที่ต่อความหลากหลายของแบคทีเรียในดินที่อำเภอ ทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี 10. โครงการ BRT : รายการ Family News Alert สัมภาษณ์ผู้บริหารและผู้เขียนหนังสือ BRT “เรื่องของฉันที่เกี่ยวพันกับ พุ” ออก อากาศวันที่ 17 พฤศจิกายน 2549 ทาง NBT 5 11. โครงการ BRT : รายการ คนหวงแผ่นดิน ทำสารคดีงานวิจัยจาก BRT “ภูมิปัญญาท้องถิ่นคืนทองผาภูมิตะวันตก” ออกอากาศทาง ช่อง 11 วันที่ 4 พฤศจิกายน 2549 12. โครงการ BRT : นิทรรศการเคลื่อนที่ ชุด “Biodiversity in Thong Pha Phum” ในซุ้มของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) งาน มหกรรมพืชสวนโลก 13. โครงการ BRT : นิทรรศการ “ขุมทรัพย์ทองผาภูมิ” ณ หมู่บ้านห้วยเขย่ง อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี วันที่ 31 พฤษภาคม 2550 14. โครงการ BRT : โครงการจัดทำหนังสือ “รายงานการวิจัยในโครงการ BRT 2550 : ชุดโครงการทองผาภูมิตะวันตก” 15. โครงการ BRT : โครงการจัดพิมพ์หนังสือ “ทองผาภูมิตะวันตกเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา”
2. ชุดโครงการป่าเมฆ-เขานัน จำนวน 20 โครงการ 1. ณรงค์ รักเคี่ยน (อช.เขานัน) : การผลิดอกออกผลของไทรและชนิดของสัตว์ที่กินผลไทรบางชนิดในอุทยานแห่งชาติเขานัน จังหวัด นครศรีธรรมราช 2. นันทวัฒน์ ทวีรัตน์ (อช.เขานัน) : การติดตามสถานภาพของแมลงคุ้มครองด้วงและผีเสื้อกลางคืนขนาดใหญ่บางชนิดด้วยกับดัก แสงไฟ 3. พัฒนพร รินทร์จักร (อช.เขานัน) : การติดตั้งเครื่องหมายบอกพิกัดในเส้นทางศึกษาธรรมชาติ ณ อุทยานแห่งชาติเขานัน จังหวัด นครศรีธรรมราช 4. พัฒนพร รินทร์จักร (อช.เขานัน) : การศึกษาชนิดและการกระจายตัว ช่วงเวลาการออกดอกและติดฝักของกล้วยไม้ป่า ที่เส้นทาง ศึกษาธรรมชาติ บริเวณอุทยานแห่งชาติเขานัน
62 Book Annual2007.indb 62
BRT Annual Report 2007 28/9/07 17:21:41
5. มานพ แก้วชัด (อช.เขานัน) : ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศต่อต้นประ 6. สมพร ขวัญหีด (อช.เขานัน) : นิเวศวิทยาและการกระจายตัวของพืชวงศ์ขิงในเขตอุทยานแห่งชาติเขานัน 7. มัลลิกา เจริญสุธาสินี (มวล.) : การสำรวจแบบทีม (Expedition) ยอดสันเย็น เขานัน จังหวัดนครศรีธรรมราช 8. มัลลิกา เจริญสุธาสินี (มวล.) : ประสานงานชุดโครงการป่าเมฆ อุทยานแห่งชาติเขานัน และหาดขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช 9. ระวี ถาวร (RECOFTC) : การศึกษาเบื้องต้นเรื่องสถานภาพเศรษฐกิจ สังคม และความสัมพันธ์ของชุมชนกับทรัพยากรชีวภาพ ท้องถิ่นเพื่อพัฒนายุทธศาสตร์การจัดการความหลากหลายทางชีวภาพอย่างมีส่วนร่วม: กรณีศึกษาอุทยานแห่งชาติเขานัน จังหวัด นครศรีธรรมราช 10. สืบพงศ์ ธรรมชาติ (มวล.) : ความหลากหลายทางประเพณีและวัฒนธรรมในพื้นที่รายรอบเขานัน 11. โสภาค จันทฤทธิ์ (มอ.) ศุภฤกษ์ วัฒนสิทธิ์ : องค์ประกอบของชนิดของมดบนเรือนยอดในป่าดิบชื้นของอุทยานแห่งชาติเขานัน จังหวัดนครศรีธรรมราช 12. ชุมพล คุณวาสี (จุฬาฯ) : ความหลากหลายของกล้วยไม้ในอุทยานแห่งชาติเขานัน จังหวัดนครศรีธรรมราช (ปีที่ 2) 13. ต่อศักดิ์ ลีลานันท์ (จุฬาฯ) : ความหลากหลายของไบรโอไฟต์ในอุทยานแห่งชาติเขานัน จังหวัดนครศรีธรรมราช (ปีที่ 2) 14. ทวีศักดิ์ บุญเกิด (จุฬาฯ) : ความหลากหลายของเทอริโดไฟต์ในอุทยานแห่งชาติเขานัน จังหวัดนครศรีธรรมราช (ปีที่ 2) 15. นันทศักดิ์ ปิ่นแก้ว (มก.) : ความหลากหลายของผีเสื้อหนอนม้วนใบวงศ์ย่อย Olethreutinae ในอุทยานแห่งชาติเขานัน จังหวัด นครศรีธรรมราช (ปีที่ 2) 16. จารุจินต์ นภีตะภัฏ (อพวช.) : การศึกษาความหลากหลายของผีเสื้อกลางวัน ในอุทยานแห่งชาติเขานัน จังหวัดนครศรีธรรมราช (ปี ที่ 2) 17. วัชระ สงวนสมบัติ (อพวช.) : ความหลากชนิดของนกบนพื้นที่ระดับสูง ในอุทยานแห่งชาติเขานัน จังหวัดนครศรีธรรมราช (ปีที่ 2) 18. ภานุมาศ จันทร์สุวรรณ (อพวช.) : ชีพลักษณ์ของมะเดื่อ-ไทร และความหลากชนิดของสัตว์ที่กินผลมะเดื่อ-ไทรบางชนิด ในอุทยาน แห่งชาติเขานัน จังหวัดนครศรีธรรมราช (ปีที่ 2) 19. โครงการ BRT : โครงการจัดทำหนังสือภาพ “ป่าเมฆ” 20. โครงการ BRT : โครงการจัดพิมพ์หนังสือ “เขานัน-ป่าเมฆ : ธรรมชาติกับภาวะโลกร้อน”
3. ชุดโครงการทะเล จำนวน 8 โครงการ 1. จิตติมา แจ้งใจ (ร.ร.ท้องเนียนคณาภิบาล) : การสร้างจิตสำนึกของทรัพยากรหญ้าทะเลให้กับเด็กและเยาวชนในพื้นที่ ณ บริเวณ อุทยานแห่งชาติขนอม หมู่เกาะทะเลใต้ จังหวัดนครศรีธรรมราช 2. ชัยโรจน์ ใหญ่ประเสริฐ (มวล.) กฤษณะเดช เจริญสุธาสินี : การติดตามความหลากหลายทางชีวภาพ การถูกทำลายและการฟอก ขาวของปะการัง โดย GeoComputing ของข้อมูลกายภาพและดาวเทียมพร้อมการยืนยันภาคสนามสำหรับฐานข้อมูล NBIDS-BRT 3. นิคม อ่อนสี (จุฬาฯ) ปราโมทย์ โศจิศุภร : การไหลเวียนของน้ำและการแพร่กระจายของตะกอนแขวนลอยบริเวณชายฝั่งขนอม-หมู่ เกาะทะเลใต้ 4. ปิติวงษ์ ตันติโชดก (มวล.) : นิทรรศการอนุรักษ์หญ้าทะเลไทยอ่าวขนอม น้อมเกล้าถวายพระเจ้าอยู่หัว 5. อัญชนา ประเทพ (มวล.) : บริหารจัดการชุดโครงการหาดขนอม-หมู่เกาะทะเลใต้ 6. อัญชนา ประเทพ (มอ.) : ความหลากหลายของสาหร่ายทะเลและการเก็บรวบรวมตัวอย่าง โดยใช้พื้นที่บริเวณอุทยานแห่งชาติ ขนอม หมู่เกาะทะเลใต้ จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นพื้นที่ศึกษา 7. โครงการ BRT : นิทรรศการเคลื่อนที่ ชุด “Marine Biodiversity” ในงานอนุรักษ์หญ้าทะเลไทย อ่าวขนอม น้อมเกล้าถวาย พระเจ้าอยู่หัว” จัดโดยกลุ่มอนุรักษ์ในพื้นที่หาดขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช 8. โครงการ BRT : โครงการจัดพิมพ์หนังสือ “ลมหายใจหมู่เกาะทะเลใต้”
4. ชุดโครงการหาดขนอม จำนวน 6 โครงการ BRT รายงานประจำปี 2550 Book Annual2007.indb 63
63 28/9/07 17:21:41
1. จินตนา บุญฤกษ์ (ร.ร.บ้านท่าม่วง) : ความหลากหลายทางชีวภาพ ความชุกชุม และช่วงเวลาวางไข่ของปลาที่จับได้ในเขตอำเภอ ขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช 2. เดือนนภา คงเพชร (ร.ร.บ้านบางโหนด) : การศึกษาเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศจากข้อมูลอากาศและโครงสร้างของเมฆ 3. ปิยะ พละคช (ร.ร.ขนอมพิทยา) : การศึกษาผลของภูมิอากาศและฤดูกาลต่อความหลากหลายของลูกน้ำยุง Aedes sp. และ Culex sp. 4. สถาพร ภัทรวังฟ้า (ร.ร.บ้านท่าม่วง) : การเปลี่ยนแปลงความหนาแน่นประชากร ขนาด และระยะสืบพันธุ์ของหอยกัน (Polymesoda sp.) ณ บ้านท่าม่วง อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช 5. สถาพร ภัทรวังฟ้า (ร.ร.บ้านท่าม่วง) : ลักษณะดินป่าชายเลน และสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังขนาดใหญ่ที่คลองบางแพน 6. สมศักดิ์ ปัญหา (จุฬาฯ) : โครงการวิจัยแบบรวดเร็ว เรื่องอนุกรมวิธานของกิ้งกือและไส้เดือนในแนวหินปูนหาดขนอม
5. นิเวศเกษตร จำนวน 9 โครงการ 1. Kevin Kamp : โครงการนำร่องความหลากหลายทางชีวภาพในระบบนิเวศเกษตร 2. ถวิล ชนะบุญ (สถาบันวิจัยวลัยรุกขเวช) : โครงการความหลากหลายทางชีวภาพและความสัมพันธ์กับวิถีชีวิตชาวบ้านในพื้นที่ทุ่ง กุลาร้องไห้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย 3. บุศรา ลิ้มนิรันดร์กุล (มช.) : โครงการเสริมสร้างสมรรถนะการวิจัยสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีด้านความหลากหลายชีวภาพ ในพื้นที่เกษตร 4. บุศรา ลิ้มนิรันดร์กุล (มช.) : โครงการกระบวนการกลุ่มกับการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพทางเกษตรเพื่อความยั่งยืนวิถี ชีวิตชุมชนในพื้นที่ชุ่มน้ำ กรณีศึกษา ตำบลโพนงาม อำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร 5. บุศรา ลิ้มนิรันดร์กุล (มช.) : โครงการปรับปรุงความหลากหลายทางชีวภาพทางเกษตรในภูมินิเวศเกษตรที่มีการผลิตข้าวเป็นพืช หลักในจังหวัดพะเยา 6. ปิยะ จันทร์หอมฟุ้ง (มมส.) : โครงการการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพของพืชอาหารในพื้นที่เกษตรข้าวอินทรีย์ 7. พยอม วุฒิสวัสดิ์ (สำนักงานเกษตรจังหวัดน่าน) : การพัฒนาแผนอนุรักษ์และองค์ความรู้ท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับความหลากหลาย ทางชีวภาพในพื้นที่เกษตร 8. มารุต จาติเกตุ (มูลนิธิการศึกษาไทย) : โครงการนิเวศเกษตรชุมชนเพื่อความเป็นอยู่อย่างพอเพียงของจังหวัดนครศรีธรรมราช 9. มารุต จาติเกตุ (มูลนิธิการศึกษาไทย) : โครงการนิเวศเกษตรชุมชนเพื่อความเป็นอยู่อย่างพอเพียงของจังหวัดกาญจนบุรี
6. นิเวศวิทยา จำนวน 12 โครงการ 1. Geoge A. Gale (มจธ.) : The Second Tropical Field Ecology Symposium 2. Stephen Elliott (มช.) : การจัดตั้งพื้นที่ทดลองเพื่อดัดแปลงวิธีพรรณไม้โครงสร้างสำหรับการฟื้นฟูป่าเพื่อการกลับคืนมาของ ความหลากหลายทางชีวภาพในระบบนิเวศป่าผลัดใบ 3. ขวัญข้าว สิงหเสนี (มช.) ประสิทธิ์ วังภคพัฒนวงศ์ : การตั้งตัวตามธรรมชาติของต้นกล้าไม้ยืนต้นในพื้นที่ทดสอบการฟื้นฟูป่าที่ บ้านแม่สาใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 4. จุฑามาศ สุคนธปฏิภาค (มหิดล) สมโภชน์ ศรีโกสามาตร : นิเวศวิทยาของพื้นที่ชุ่มน้ำวิทยาเขตศาลายาและศักยภาพในการ ปรับปรุงความรู้พื้นฐานที่ต้องรู้ต่ำสุดทางนิเวศวิทยา 5. ชัยพิชิต แสงให้สุข (รามคำแหง) ธรรมศักดิ์ ยีมิน : ผลกระทบของคลื่นสึนามิต่อการลงเกาะของตัวอ่อนประการังบริเวณอุทยาน แห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ จังหวัดพังงา 6. ดาภะวัลย์ คำชา (มจธ.) George A. Gale : อิทธิพลของอาหารที่มีอยู่ต่อการเคลื่อนที่ของนกปรอดโอ่งเมืองเหนือ 7. นิติ สุขุมาลย์ (มจธ.) โทมัสโซ ซาวีนี : การใช้ประโยชน์พื้นที่ ลักษณะการเคลื่อนที่ และอาณาเขตถิ่นที่อยู่อาศัยของไก่ฟ้าพญาลอ และไก่ฟ้าหลังขาว ณ แปลงศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพมอสิงโต อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ 8. ปรัชญาพร วันชัย (จุฬาฯ) กำธร ธีรคุปต์ : การใช้วิทยุติดตามในการศึกษาขนาดของเขตอาศัยและกิจกรรมของเต่าหกดำ
64 Book Annual2007.indb 64
BRT Annual Report 2007 28/9/07 17:21:42
Manouria emys phayrei (Blyth, 1853) 9. มนูญ ปลิวสูงเนิน (มจธ.) โทมัสโซ ซาวีนี : การใช้พื้นที่และพฤติกรรมการกินอาหารของนางอายในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤา ไน 10. วังวร สังฆเมธาวี (มจธ.) George A. Gale : Post-fledging survival and juvenile dispersal of the cooperative breeding Puff-throated Bulbul (Alophoixus pallidus) 11. สุรชิต แวงโสธรณ์ (วว.) : การสำรวจประชากรและการติดตามตรวจสอบการย้ายถ้ำของค้างคาวหน้ายักษ์จมูกปุ่ม Hipposidereros halophyllus สัตว์ถิ่นเดียวของไทย 12. แอนดรู เพียร์ซ (มจธ.) : การใช้กล้องบันทึกภาพเคลื่อนไหวเพื่อศึกษาชนิดของสัตว์ผู้ล่าที่เข้าทำลายนกในป่า อุทยานแห่งชาติเขา ใหญ่
7. สิ่งแวดล้อมศึกษา จำนวน 9 โครงการ 1. กาญจนา เชียงทอง (มรภ.กาญจนบุรี) : วิธีการผลิตหน่อไม้ไผ่รวกนึ่งของชุมชนตำบลท่าเสา อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี 2. ขวัญนารี กล้าปราบโจร (มรภ.กาญจนบุรี) : การบริหารต้นทุนและการประเมินมูลค่าการผลิตโดยรวมของผลิตภัณฑ์จากไผ่เพื่อการ พัฒนาที่ยั่งยืนในเขตชุมชนตำบลท่าเสา อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี 3. ธีระพันธ์ โชคอุดมชัย (มรภ.กาญจนบุรี) : ความสัมพันธ์กับเศรษฐกิจในครัวเรือนของชุมชนตำบลท่าเสา อำเภอไทรโยค จังหวัด กาญจนบุรี 4. บุญรอด ชลารักษ์ (มรภ.กาญจนบุรี) : ความเป็นมาของชุมชนไทรโยค : ศึกษากรณีชุมชนตำบลท่าเสา อำเภอไทรโยค จังหวัด กาญจนบุรี 5. ปิยะพร พิทักษ์ตันสกุล (มรภ.กาญจนบุรี) : การสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพของป่าชุมชนบ้านพุเตย ตำบลท่าเสา อำเภอ ไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี โดยผู้รู้ท้องถิ่น 6. ปิยะพร พิทักษ์ตันสกุล (มรภ.กาญจนบุรี) : สังคมสิ่งมีชีวิตของระบบนิเวศไผ่ในป่าชุมชนบ้านพุเตย ตำบลท่าเสา อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี 7. ภาวินีย์ ธนาอนวัช (มรภ.กาญจนบุรี) : การวิเคราะห์ทางเศรษฐกิจของไผ่ปลูกในชุมชนตำบลท่าเสา อำเภอไทรโยค จังหวัด กาญจนบุรี 8. สมาพร เรืองสังข์ (มรภ.กาญจนบุรี) : การคัดแยกแบคทีเรียละลายหินฟอสเฟต (PFM) จากดินบริเวณรากไผ่ในป่าชุมชนบ้านพุเตย ตำบลท่าเสา อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี 9. อัญญาณี คล้ายสุบรรณ์ (มรภ.กาญจนบุรี) : การจัดการความรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่นของไผ่ในตำบลท่าเสา อำเภอไทรโยค จังหวัด กาญจนบุรี
8. การจัดประชุม, การบรรยายพิเศษ และอื่นๆ จำนวน 10 โครงการ 1. กาญจนภาชน์ ลิ่วมโนมนต์ (มก.) : การประชุมวิชาการสาหร่ายและแพลงก์ตอนแห่งชาติ ครั้งที่ 3 ในหัวข้อ “เรียนรู้ให้เข้าใจและ พัฒนาเพื่อใช้ประโยชน์” 2. เดชา วิวัฒน์วิทยา (มก.) : มดในประเทศไทย ครั้งที่ 3: การบริหารจัดการมดกับเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเทอดพระเกียรติเนื่องใน วโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมายุ 80 พรรษา 3. ประนอม จันทรโณทัย (มข.) : โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการนักพฤกษศาสตร์รุ่นเยาว์ 4. วีณา เมฆวิชัย (จุฬาฯ) : โครงการค่ายอนุรักษ์นกยูงสำหรับเยาวชน ครั้งที่ 2 ณ สำนักงานเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง อำเภอ ลานสัก จังหวัดอุทัยธานี 5. สมโภชน์ ศรีโกสามาตร (มหิดล) : การประชุมเรื่องการร่วมสนับสนุนทุนวิจัยระหว่าง สกว. BRT กับมหาวิทยาลัยราชภัฏ ประจำปี 2550 ประเด็น การปฏิรูปการเรียนรู้ การจัดการท่องเที่ยว และอาหารไทยในมิติวัฒนธรรม 6. สมศักดิ์ ปัญหา (จุฬาฯ) : BRT ให้ข้อมูลแก่ผู้ประกอบการส่งออกกล้วยไม้
BRT รายงานประจำปี 2550 Book Annual2007.indb 65
65 28/9/07 17:21:42
7. สมศักดิ์ ปัญหา (จุฬาฯ) : บรรยายพิเศษ “Conservation significance, if any, of tree plantations in the tropics of Southeast Asia” โดย Prof. Robert F. Inger ผู้เชี่ยวชาญจาก The Field Museum, Chicago, USA 8. สมศักดิ์ ปัญหา (จุฬาฯ) : บรรยายพิเศษให้กับกลุ่มผู้บริหาร บริษัท ปูนซีเมนต์ไทย เกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพ 9. สมหญิง สุนทรวงษ์ (RECOFTC) : สัมมนาวิชาการระดับชาติ “ป่าชุมชน : กระบวนการเรียนรู้ในการจัดการทรัพยากรอย่างมีส่วน ร่วมในสังคมไทย” 10. โครงการ BRT : BRT Student Forum ครั้งที่ 1
9. การจัดการข้อมูล (การจัดพิมพ์หนังสือ, การจัดทำฐานข้อมูล) จำนวน 22 โครงการ 1. กฤษณะเดช เจริญสุธาสินี (มวล.) : โครงการระบบฐานข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพระดับประเทศ 2. ประนอม จันทรโณทัย (มข.) : โครงการจัดพิมพ์หนังสือ “พรรณไม้ภูเรือ” 3. ปราณี ปาลี (มน.) : โครงการจัดพิมพ์หนังสือ “พืชวงศ์ชาฤาษี” 4. ปิยะ อัครวิฑูรย์ (บ.ทรูมูฟ จำกัด) : โครงการจัดทำ BRT webboard 5. ละออศรี เสนาะเมือง (มข.) : การสร้างฐานข้อมูลแพลงก์ตอนน้ำจืดของประเทศไทย รวมทั้งการผลิตโมโนกราฟและหนังสือคู่มือ 6. สมศักดิ์ ปัญหา (จุฬาฯ) : การสร้างฐานข้อมูลกิ้งกือของประเทศไทย รวมทั้งการผลิตโมโนกราฟและหนังสือคู่มือ 7. สมศักดิ์ ปัญหา (จุฬาฯ) : การสร้างฐานข้อมูลหอยทากบกของประเทศไทย รวมทั้งการผลิตโมโนกราฟและหนังสือคู่มือ 8. สมศักดิ์ ศิวิชัย (ศช.) : การตรวจสอบและรวบรวมรายชื่อเห็ดราในประเทศไทย 9. สมศักดิ์ สุขวงศ์ (RECOFTC) : โครงการจัดพิมพ์หนังสือ “การจัดการทรัพยากรของท้องถิ่นโดยชุมชน” 10. โครงการ BRT : โครงการจัดทำหนังสือ นิเวศวิทยา 11. โครงการ BRT : โครงการจัดทำหนังสือ รายงานประจำปี 2550 12. โครงการ BRT : โครงการจัดทำหนังสือ บทคัดย่อโครงการวิจัยและวิทยานิพนธ์ 2550 13. โครงการ BRT : โครงการจัดทำหนังสือ บันทึกการประชุมวิชาการประจำปีโครงการ BRT ครั้งที่ 10 14. โครงการ BRT : โครงการจัดทำจดหมายข่าวราย 3 เดือน (BRT Newsletter) ฉบับที่ 21 ประจำเดือนธันวาคม 2549 15. โครงการ BRT : โครงการจัดทำจดหมายข่าวราย 3 เดือน (BRT Newsletter) ฉบับที่ 21 (พิเศษ) ประจำเดือนมีนาคม 2550 16. โครงการ BRT : โครงการจัดทำจดหมายข่าวราย 3 เดือน (BRT Newsletter) ฉบับที่ 22 ประจำเดือนมีนาคม 2550 17. โครงการ BRT : ไดโนเสาร์เอ็กซ์โป ที.เร็กซ์ “ซู” & ไดโนเสาร์ไทย 18. โครงการ BRT : นิทรรศการ “พฤกษาสยาม ครั้งที่ 4: มหัศจรรย์เส้นทางสายว่าน” 19. โครงการ BRT : นิทรรศการ “มูลค่าเศรษฐศาสตร์ของทรัพยากร (เห็ดโคน) และภูมิปัญญาในการอนุรักษ์” เนื่องในงานสัมมนาป่า ชุมชนฯ 20. โครงการ BRT : นิทรรศการ Global Warming Impact on Biodiversity เนื่องในวันสิ่งแวดล้อมโลก 21. โครงการ BRT : นิทรรศการ ชุด “Beautiful Plants and Animals” ในงานพฤกษาสยาม ห้อง MCC Hall เดอะมอลล์บางแค 22. โครงการ BRT : นิทรรศการ ชุด “Biodiversity in I-san” มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จังหวัดสกลนคร
10. โครงการวิจัย จำนวน 23 โครงการ 1. 2. 3. 4. 5. 6.
ศุภศิลป์ มณีรัตน์ (มอ.) : การศึกษาความหลากหลายของแบคทีเรียที่ย่อยสลายน้ำมันหล่อลื่นเครื่องยนต์ที่ใช้แล้วในดิน ปานมุก วัชระปิยะโสภณ (มช.) : ความหลากหลายทางพันธุกรรมและความสัมพันธ์ทางไฟโลเจเนติกของไซยาโนแบคทีเรียในน้ำพุรอ้ น E.B. Gareth Jones (ศช.) : Potential Application of Fungal Isolates from Palms E.B. Gareth Jones (ศช.) : การศึกษาเปรียบเทียบความหลากหลายของราที่พบบนปาล์มในประเทศไทย สายัณห์ สมฤทธิ์ผล (ศช.) : สังคมเชื้อราบนซากเมล็ดพืชวงศ์ยาง ประเสริฐ ศรีกิติกุลชัย (ศช.) : การศึกษาความสัมพันธ์ของราไซลาเรียที่เจริญบนดินปลวกในประเทศไทย
66 Book Annual2007.indb 66
BRT Annual Report 2007 28/9/07 17:21:43
7. ปณรัตน์ ผาดี (มรภ.มหาสารคาม) : การศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพของเชื้อราในน้ำและปลาในลุ่มน้ำชี 8. จิรนันท์ เตชะประสาน (ศช.) : ความหลากหลายทางพันธุกรรมของพืชสกุลเปราะ (Kaempferia) ในประเทศไทยจากข้อมูลลำดับ เบสดีเอ็นเอในคลอโรพลาสต์ (psbA-trnH และ petA-psbJ) และลายพิมพ์ AFLP 9. ประนอม จันทรโณทัย (มข.) : อนุกรมวิธานและการใช้ประโยชน์ของพืชสกุลหางกระรอก (วงศ์ถั่ว) ในประเทศไทย 10. วิไลวรรณ อนุสารสุนทร (มช.) : อนุกรมวิธานของ Goniothalamus (Blume) Hook. f. & Thoms. (Annonaceae) ในประเทศ ไทย 11. ก่องกานดา ชยามฤต (กอส.) : การศึกษาด้านอนุกรมวิธานและการใช้ประโยชน์ไม้รัก รวมถึงพรรณไม้ชนิดอื่นๆ ในวงศ์มะม่วง (Anacardiaceae) ของประเทศไทย 12. ปรีชา ประเทพา (มมส.) : สัณฐานวิทยาและการวิเคราะห์พันธุกรรมของข้าววัชพืชในแปลงปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในทุ่งกุลา ร้องไห้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย 13. สุชนา ชวนิชย์ (จุฬาฯ) : การศึกษาชนิดพันธุ์สัตว์และพืชน้ำต่างถิ่นที่ถูกนำเข้ามาเลี้ยงเป็นสัตว์หรือพืชสวยงาม 14. ปิยะ เฉลิมกลิ่น (วว.) : การพัฒนารูปแบบการใช้ประโยชน์ของไม้ดอกหอมในด้านไม้ดอกไม้ประดับและน้ำมันหอมระเหย 15. ประสุข โฆษวิฑิตกุล (มน.) : ความหลากหลายของไส้เดือนดินในภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย 16. เฉลียว กุวังคะดิลก (มหิดล) : อนุกรมวิธานและพันธุศาสตร์เชิงประชากรของแมลงริ้นดำ (Diptera: Simuliidae) ในประเทศไทย 17. สั ง วรณ์ กิ จ ทวี (มหิ ด ล) : นิ เ วศวิ ท ยาพั น ธุศ าสตร์ แ ละกลไกการแยกสปี ช ี ส ์ ข องแมลงเบี ย น (ศั ต รู แ มลงวั น ผลไม้ ) Diachasmimorpha longicaudata complex ในประเทศไทย 18. เวช ชูโชติ (มช.) : การศึกษาพันธุศาสตร์เชิงประชากรยุงก้นปล่องชนิด Anopheles barbirostris และ An. campestris ใน ประเทศไทย 19. ภัทรดร ภิญโญพิชญ์ (จุฬาฯ) : การโคลนยีนที่กำหนดการสร้างเปปไทด์ต้านจุลินทรีย์จากกบบางชนิดในวงศ์ Ranidae ที่พบใน ประเทศไทย 20. กนกพร ไตรวิทยากร (มหิดล) : การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของค้างคาวหน้ายักษ์จมูกปุ่ม (Hipposideros halophyllus) สัตว์ประจำถิ่นของไทย 21. สมศักดิ์ ปัญหา (จุฬาฯ) : ความหลากหลายทางชีวภาพและสภาพแวดล้อมบรรพกาลมหายุคซีโนโซอิคของไทย 22. สุรชิต แวงโสธรณ์ (วว.) : การสำรวจและจัดทำคู่มือทรัพยากรธรรมชาติเขาสมอคอน อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี 23. กฤษฎา บุญชัย (โครงการยุทธศาสตร์นโยบายฐานทรัพยากร) : สถานการณ์และแนวโน้มการบริหารจัดการความหลากหลายทาง ชีวภาพ
11. โครงการวิทยานิพนธ์ จำนวน 32 โครงการ 1. อรพรรณ สกุลแก้ว (มอ.) อนุชิต พลับรู้การ : สารออกฤทธิ์ต้านเชื้อราแคนดิดาในแบคทีเรียไกลดิงจากทะเล 2. อรรถชัย คันธะชุมภู (มก.) อนงค์ จีรภัทร์ : ปริมาณ องค์ประกอบ และการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียของสารโพลีแซคคาไรด์ที่สกัดจาก สาหร่ายสีน้ำตาลบางชนิด 3. นพดล คงกฤตยาพันธ์ (มก.) อนงค์ จีรภัทร์ : การแปรผันของอะเดลโฟพาราไซด์และสัณฐานวิทยาของสาหร่ายวุ้น Gracilaria salicornia (C. Agardh) Dawson 4. บุญส่ง กองสุข (มข.) ละออศรี เสนาะเมือง : ความหลากชนิดของออสทราคอดในแหล่งน้ำของจังหวัดศรีสะเกษ 5. ณัฏฐวดี ภูคำ (มก.) สุนันท์ ภัทรจินดา : ความหลากหลายชนิดของคาลานอยด์โคพีพอดในน่านน้ำไทย ทะเลอันดามัน 6. สุธินี สินุธก (มอ.) อัญชนา ประเทพ : ความแปรผันตามฤดูกาลของการกระจายตัว ความหนาแน่น และช่วงชีวิตของสาหร่าย 7. กาญจนา วงค์กุณา (มช.) กันยา สันทนะโชติ : การทบทวนอนุกรมวิธานของ Fissidens Hedw. (Fissidentaceae, Bryophyta) ในประเทศไทย 8. กนกอร ศรีม่วง (มฟล.) ประภัสสร อึ้งวณิชยพันธ์ : ความหลากหลายทางพันธุกรรมและชีววิทยาของกล้วยไม้สกุลสิรินธรเนีย 9. เสถียร ดามาพงษ์ (มน.) เชิดศักดิ์ ทัพใหญ่ : การศึกษาอนุกรมวิธานของพืชวงศ์กล้วยไม้บริเวณดอยผ้าห่มปก อุทยานแห่งชาติ ดอยผ้าห่มปก จังหวัดเชียงใหม่
BRT รายงานประจำปี 2550 Book Annual2007.indb 67
67 28/9/07 17:21:43
10. สุพัตร ฤทธิรัตน์ (มอ.) คำนูณ กาญจนภูมิ : การเก็บรักษาโพรโทคอร์มกล้วยไม้เขากวางอ่อนโดยการแช่แข็ง 11. นิอร คงประดิษฐ์ (มอ.) คำนูณ กาญจนภูมิ : การขยายพันธุ์กล้วยไม้กะเรกะร่อนปากเป็ดในหลอดทดลองและการเก็บรักษาโพรโท คอร์มโดยเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดเทียม 12. ณัฐดนัย ลิขิตตระการ (มก.) จิราพร ตยุติวุฒิกุล : ความหลากหลายของเสี้ยนนมในอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ จังหวัด เชียงใหม่ 13. ทิพวัลย์ หมวดทรัพย์ (มอ.) กิติเชษฐ์ ศรีดิษฐ : ความหลากหลายของพืชที่มีท่อลำเลียงบริเวณคลองบางวันและคลองตำหนังใน อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา 14. ชูเกียรติ ละอองผล (มอ.) กิติเชษฐ์ ศรีดิษฐ : การศึกษาสังคมพืชบนบกตามแนวชายฝั่งคาบสมุทรไทย 15. วิวิชชุตา เดชรักษา (มศก.) ดวงเดือน ไกรลาศ : การติดเชื้อพยาธิตัวอ่อนระยะเซอร์คาเรียของหอยน้ำจืดตระกูล Thiaridae ใน ภาคเหนือของประเทศไทย 16. ศิริลักษณ์ โชติแสงศรี (มศก.) ดวงเดือน ไกรลาศ : การติดเชื้อตัวอ่อนพยาธิใบไม้ระยะเซอร์คาเรียของหอยน้ำจืดวงศ์ Thiaridae ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย 17. เอสรา มงคลชัยชนะ (จุฬาฯ) จริยา เล็กประยูร : อนุกรมวิธานของมวนจิงโจ้น้ำ (Hemiptera: Gerridae) ในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่กลอง 18. จีรนันท์ รัตนบุญทา (มข.) นฤมล แสงประดับ : ความหลากชนิดและการกระจายตัวของตัวอ่อนแมลงปอในแม่น้ำพอง 19. รัชนี พุทธปรีชา (มอ.) เสาวภา อังสุภานิช : ประชาคมสัตว์หน้าดินขนาดใหญ่ในบริเวณที่มีกิจกรรมของมนุษย์ในทะเลสาบสงขลา ตอนนอก 20. ยุรี เชาวน์พิพัฒน์ (มหิดล) สังวรณ์ กิจทวี : การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของแมลงเบียน Diachasmimorpha longicaudata complex ในประเทศไทย โดยเทคนิค PCR-SSCP ที่ยีนบริเวณ 28S, 16S และ ITS 21. เอกลักษณ์ รัตนโชติ (มอ.) อัญชนา ประเทพ : ผลของความหนาแน่นต่อการเติบโต การทดแทนประชากร และการสืบพันธุ์ของ หญ้าทะเล Enhalus acoroides (L.f.) Royle บริเวณอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม จังหวัดตรัง 22. รุสนี เล่งเจ๊ะ (มอ.) อนุชิต พลับรู้การ : สารที่มีฤทธิ์ต้านเอนไซม์อะซีติลโคลีนเอสเตอเรสจากฟองน้ำไทยในสกุล Corticium 23. สุนันต์ ใจสมุทร (มอ.) อนุชิต พลับรู้การ : ระเบียนการออกฤทธิ์ต้านเชื้อวัณโรคของอนุพันธ์เทอร์ปีนอยด์จากฟองน้ำไทยในสกุล Hyrtios 24. นภัสสร ฉันทธำรงศิริ (มอ.) ฉัตรชัย วัฒนาภิรมย์สกุล : สารออกฤทธิ์ต้านมาลาเรียจากฟองน้ำ Ciocalapata sp. 25. สาลินี ขจรพิสิฐศักดิ์ (จุฬาฯ) กำธร ธีรคุปต์ : อนุกรมวิธานของปลาหลดปลากระทิง (Synbranchiformes: Mastacembelidae) ในลุ่มน้ำเจ้าพระยา 26. ฉัตรพรรษ พงษ์เจริญ (จุฬาฯ) กำธร ธีรคุปต์ : แบบชีวประวัติของงูกลุ่มโฮมาลอปซีนในและนอกแอ่งโคราช ประเทศไทย 27. กฤษฎา คทาวุธพูนพันธ์ (จุฬาฯ) อรวรรณ สัตยาลัย : ผลของอะทราซีนต่อการเจริญระยะต้นและการเจริญของอวัยวะสร้างเซลล์ สืบพันธุ์ของกบนา Hoplobatrachus rugulosus (Wiegmann, 1834) 28. รัชต โปชยะวณิช (จุฬาฯ) กำธร ธีรคุปต์ : กิจกรรมตามฤดูกาลของสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกที่ระดับความสูงต่างกันบริเวณลำน้ำสาน น้อย เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง 29. สมชาย นิ่มนวล (มจธ.) Geoge A. Gale : การศึกษาผลของอาหารต่อรูปแบบการหาอาหารและน้ำหนักตัวของนกชายเลนอพยพ ในพื้นที่การจัดการลุ่มน้ำอ่าวไทยตอนใน 30. ชวพิชญ์ ไวทยการ (มช.) ประสิทธิ์ วังภคพัฒนวงศ์ : ผลของไม้ปลูกและชุมชีพนกต่อการตั้งตัวของกล้าไม้ธรรมชาติในพื้นที่ฟื้นฟู ป่าด้วยวิธีพรรณไม้โครงสร้าง 31. พฤกษ์ จิรสัตยาภรณ์ (มหิดล) ศันสนีย์ ชูแวว : ป่าทามกับความพออยู่พอกินระดับครัวเรือน กรณีศึกษาลุ่มน้ำสงครามตอนล่าง 32. ศิรินทิพย์ จันทร์ถึง (มหิดล) สุมาลี เทพสุวรรณ : การประเมินความเสี่ยงต่อความเสียหายของทรัพยากรการท่องเที่ยว และ อันตรายจากการท่องเที่ยว บริเวณน้ำตกห้วยยาง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
68 Book Annual2007.indb 68
BRT Annual Report 2007 28/9/07 17:21:44
ปฏิทินกิจกรรมปี 2550 ลำดับ 1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8. 9. 10. 11. 12. 13. 14. 15. 16. 17. 18. 19. 20. 21. 22. 23. 24. 25. 26. 27. 28. 29. 30. 31. 32. 33. 34. 35. 36. 37. 38.
กิจกรรม ประชุมวิชาการประจำปีโครงการ BRT ครั้งที่ 10 ลงนามความร่วมมือโครงการวิจัยขนอม-ป่าเมฆ ระหว่าง BRT - PTT จัดกิจกรรมศึกษาธรรมชาตินอกห้องเรียน เข้าร่วมประชุม “วนวัฒน์เท้าเปล่าและเทคโนโลยีพื้นบ้านในการจัดการป่า” เข้าร่วมประชุมวิชาการ “วิทยาศาสตร์ท้องถิ่น เส้นทางสู่ครูผู้สร้าง” ประชุม “คณะกรรมการบริหารโครงการ BRT ครั้งที่ 2/2549 บรรยายพิเศษ “Biodiversity & Industry” ให้ SCG กิจกรรม “ค่ายผู้นำเยาวชน ปตท.รักษ์ธรรมชาติ” ครั้งที่ 5 เตรียมงานประชุมวิชาการทองผาภูมิตะวันตก ประชุมร่วมกับคณะเศรษฐศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ ประชุมร่วมกับพิพิธภัณฑ์เด็กเรื่อง “นิทรรศการซู” สัมมนาเรื่อง “รักษ์สิ่งแวดล้อมตามรอยพ่อ กิน อยู่อย่างพอเพียง” เข้าร่วมประชุม “โครงการเกษตรยั่งยืน” ร่วมกับ SAFE ประชุมกลุ่มย่อย “น้ำ” ในชุดโครงการทองผาภูมิฯ ประชุมกลุ่มย่อย “สังคมมนุษย์” ในชุดโครงการทองผาภูมิฯ เข้าร่วมรับฟังผลการดำเนินงานวิจัยสิ่งแวดล้อมศึกษา สัมมนา “พัฒนาเศรษฐกิจจากฐานความหลากหลายทางชีวภาพ” ประชุมกลุ่มย่อย “การใช้ประโยชน์” ในชุดโครงการทองผาภูมิฯ ประชุมคณะกรรมการนโยบายโครงการ BRT ครั้งที่ 1/2549 ประชุมความหลากหลายทางชีวภาพระบบนิเวศเกษตร สำรวจสถานที่การจัดประชุมวิชาการในชุดโครงการทองผาภูมิตะวันตก ประชุม “นิทรรศการฟอสซิลไดโนเสาร์ทีเร็กซ์ “ซู” ครั้งที่ 1/2550 ประชุมกลุ่มย่อย “พืช” ในชุดโครงการทองผาภูมิฯ ประชุม “BRT Student forum” ครั้งที่ 1/2550 ประชุมคณะกรรมการวิชาการ ในชุดโครงการทองผาภูมิตะวันตก ประชุม “The Second Tropical Field Ecology Syposium” สัมมนาพิเศษ โดย Robert F. Inger ประชุมหารือร่วมกับบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) ประชุม “นิทรรศการฟอสซิลไดโนเสาร์ทีเร็กซ์ “ซู” ครั้งที่ 2/2550 ประชุมกลุ่มย่อย “สัตว์” ในชุดโครงการทองผาภูมิฯ ประชุม “Expedition เขานัน” เข้าร่วมประชุมกับมรภ.กาญจนบุรี เรื่อง “ไผ่” ประชุมความหลากหลายทางชีวภาพระบบนิเวศเกษตร จัดนิทรรศการความหลากหลายทางชีวภาพในภาคอีสาน ประชุม “การพัฒนาโจทย์วิจัยในพื้นที่พุเตย” ประชุมวิชาการโครงการ BRT : ชุดโครงการทองผาภูมิตะวันตก จัดนิทรรศการพฤกษาสยาม ครั้งที่ 3 เข้าร่วม “พิธีเปิดงานพฤกษาสยาม ครั้งที่ 3”
BRT รายงานประจำปี 2550 Book Annual2007.indb 69
วันที่ 8-11 ตค.49 3 ตค.49 4-5 พย.49 8-9 พย.49 11 พย.49 21 พย.49 23 พย.49 24-26 พย.49 29 พย.49 30 พย.49 1 ธค.49 4 ธค.49 7 ธค.49 8 ธค.49 13 ธค.49 14 ธค.49 18 ธค.49 19 ธค.49 22 ธค.49 5 มค.50 5-7 มค.50 9 มค.50 11 มค.50 18 มค.50 19 มค.50 25-28 มค.50 26 มค.2550 29 มค.50 30 มค.50 31 มค.50 4 กพ.50 12 กพ.50 8 กพ.50 21-23 กพ.50 1-2 มีค.50 19-21 มีค.50 30 มี.ค.-8 เมย. 50 2 เมย.50
สถานที่ จ.กระบี่ ปตท. จ.กาญจนบุรี ม.เกษตรศาสตร์ ร.ร.มิราเคิลแกรนด์ อาคารสวทช. จ.กาญจนบุรี จ.กาญจนบุรี อาคารสวทช. ม.เกษตรศาสตร์ พิพิธภัณฑ์เด็กฯ หอประชุมสหประชาชาติ ร.ร.ปริ๊นต์พาเลส อาคารสวทช. อาคารสวทช. กรมส่งเสริมฯ ร.ร.มิราเคิล แกรนด์ อาคารสวทช. อาคารสวทช. อาคารสวทช. จ.กาญจนบุรี อาคารสวทช. อาคารสวทช. อาคารสวทช. อาคารสวทช. มจธ. บางขุนเทียน จุฬาฯ อาคารสวทช. อาคารสวทช. อาคารสวทช. อาคารสวทช. มรภ.กาญจนบุรี อาคารสวทช. จ.สกลนคร มรภ.กาญจนบุรี จ.กาญจนบุรี THE MALL บางแค THE MALL บางแค
69 28/9/07 17:21:45
39. 40. 41. 42. 43. 44. 45. 46. 47. 48. 49. 50. 51. 52. 53. 54. 55. 56. 57. 58. 59. 60. 61. 62. 63. 64. 65. 66. 67. 68. 69. 70. 71. 72. 73. 74. 75. 76. 77. 78. 79. 80.
เข้าร่วมประชุมเตรียมโครงการ “ผู้พิทักษ์สายน้ำตำบลห้วยเขย่ง“ เข้าร่วมประชุมกับพิพิธภัณฑ์เด็กเรื่อง “นิทรรศการซู” ประชุม “ทุน E & BD” เข้าร่วมดูรูปแบบการฟื้นฟูเขาหินปูนของบริษัทในเครือปูนซิเมนต์ไทย ประชุมเรื่อง “นิทรรศการซู” โครงการสำรวจแบบทีม (Expedition) ประชุมร่วมกับ อพวช.เรื่อง “นิทรรศการซู” นำเสนอแผนประชาสัมพันธ์ “นิทรรศการซู” ประชุม “นิทรรศการซู” ประชุม “สรุปงานโครงการ Expedition” ติดตามโครงการความหลากหลายในพื้นที่เกษตร ประชุม “นิทรรศการซู” ประชุมหารือการสร้างเส้นทางศึกษาธรรมชาติพุหนองปลิง จัดนิทรรศการขุมทรัพย์ทองผาภูมิ ประชุมการนำเสนอโจทย์วิจัยในพื้นที่พุเตย เข้าร่วมประชุม “มดในประเทศไทย” ครั้งที่ 3 จัดนิทรรศการ “หยุดโลกร้อนด้วยชีวิตพอเพียง” เข้าร่วมประชุมกับโครงการอสพ. เตรียมการประชุมวิชาการโครงการ BRT ครั้งที่ 11 ประชุม “ เตรียมงานการประชุมวิชาการประจำปีครั้งที่ 11” ประชุม “เตรียมงานพฤกษาสยามครั้งที่ 4” ประชุมการถ่ายทอดเทคโนโลยีสมุนไพรควบคุมไรฝุ่น ประชุมปรับแผนการดำเนินงานชุดโครงการขนอม ประชุม “งานนิทรรศการซู” ประชุมคณะกรรมการบริหารโครงการ BRT ครั้งที่ 1/2550 ประชุมนำเสนอโจทย์วิจัยในพื้นที่พุเตย งาน “แถลงข่าวไดโนเสาร์เอ็กซ์โป” ประชุมชุดโครงการขนอม ประชุมชุดโครงการป่าเมฆ อุทยานแห่งชาติเขานัน เข้าร่วมพิธีเปิด “งานไดโนเสาร์เอ็กซ์โป” เตรียมการประชุมวิชาการประจำปี ครั้งที่ 11 สำรวจเส้นทางศึกษาธรรมชาติพุหนองปลิง เข้าร่วมกิจกรรม “งานสัปดาห์วิทยาศาสตร์ฯ” ประชุม “ป่าชุมชน: การจัดการทรัพยากรอย่างมีส่วนร่วมของสังคมไทย” ประชุมคณะทำงานโครงการจัดทำหนังสือนิเวศวิทยา จัดนิทรรศการวันวิทยาศาสตร์ โรงเรียนสมาคมป่าไม้แห่งประเทศไทยอุทิศ จัดนิทรรศการงานพฤกษาสยาม ครั้งที่ 4 เข้าร่วม “พิธีเปิดงานพฤกษาสยาม ครั้งที่ 4” ประชุมร่วมกับโททาล เรื่อง “กรอบการวิจัยปีที่ 2” ประชุมหารือเรื่อง “นิทรรศการซู” เตรียมการประชุมวิชาการประจำปีโครงการ BRT ครั้งที่ 11 ประชุมคณะทำงานโครงการจัดทำหนังสือนิเวศวิทยา
70 Book Annual2007.indb 70
4-5 เมย.50 5 เมย.50 9 เมย.50 10-11 เมย.50 11 เมย.50 16-26 เมย.50 2 พค.50 4 พค.50 11 พค.50 15 พค.50 23 พค.50 23 พค.50 28 พค.50 31 พค.50 31 พค.-1 มิย.50 4 มิย.50 5 มิย.50 6 มิย.50 11 มิย.50 15-17 มิย.50 19 มิย.50 25 มิย.50 30 มิย.50 4 กค.50 5 กค.50 8-10 กค.50 7 กค.50 20 กค.50 21 กค.50 23 กค.50 3-5 สค.50 5-7 สค.50 8-19 สค.50 9-10 สค.50 14 สค.50 16-18 สค.50 24 สค. -2 ก.ย.50 23 สค.50 28 สค.50 29 สค.50 30 สค.50 11 กย.50
จ.กาญจนบุรี พิพิธภัณฑ์เด็กฯ อาคารสวทช. จ.นครศรีธรรมราช อาคารสวทช. จ.นครศรีธรรมราช อาคารสวทช. อาคารสวทช. อพวช. อาคารสวทช. ม.เชียงใหม่ อพวช. อาคารสวทช. จ.กาญจนบุรี มรภ.กาญจนบุรี ม.เกษตรศาสตร์ อิมแพ็ค เมืองทองธานี สำนักพระราชวัง อาคารสวทช. จ.กาญจนบุรี เดอะมอลล์ อุทยานวิทยาศาสตร์ฯ อาคารสวทช. อาคารสวทช. อาคารสวทช. จ.กาญจนบุรี อพวช. อาคารสวทช. อาคารสวทช. อพวช. มรภ.อุดรธานี จ.กาญจนบุรี ไบเทค บางนา ม.เกษตรศาสตร์ ม.มหิดล จ.กาญจนบุรี THE MALL บางกะปิ THE MALL บางกะปิ กรุงเทพฯ อาคารสวทช. อาคารสวทช. ม.มหิดล
BRT Annual Report 2007 28/9/07 17:21:46
ตราสัญลักษณ์โครงการ BRT ประกอบด้วยภาพช้าง, ต้นไม้, ตัว อักษรภาษาอังกฤษ “BRT” และ ข้อความ “The Thai Response to Biodiversity” ใช้สีเขียวทั้งหมด ความหมายโดยรวมต้องการสื่อถึงโครงการ BRT : Biodiversity Research and Training Program หรือโครงการพัฒนาองค์ความรู้ และศึกษานโยบายการจัดการทรัพยากรชีวภาพในประเทศไทย ที่จัดตั้ง ขึ้นเพื่อสนับสนุนการศึกษาวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพทั้งด้านพืช สัตว์ และจุลินทรีย์ในประเทศไทย ช้าง : เป็นตัวแทนของความหลากหลายทางชีวภาพของสรรพสัตว์ใน ประเทศไทย โดยเฉพาะสัตว์คุ้มครอง สัตว์สงวน สัตว์หายาก รวมไปถึงสัตว์ ที่เป็นเอกลักษณ์ของประเทศไทย ต้นไม้ : เป็นตัวแทนของความหลากหลายทางชีวภาพของพืชใน ประเทศไทย ซึ่งมีความหลากหลายของชนิดพันธุ์ทำหน้าที่เป็นแหล่งที่อยู่ อาศัยของสิ่งมีชีวิตนานาชนิดรวมทั้งจุลินทรีย์ ตัวอักษร BRT : เป็นคำย่อของ Biodiversity Research and Training Program ซึ่งเป็นชื่อโครงการในภาษาอังกฤษ ข้อความ “The Thai Response to Biodiversity” : สื่อถึงการที่ ประเทศไทยมีความตื่นตัวและตอบสนองต่อวาระของโลกที่สนับสนุนการ วิจัยและอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ สีเขียวของตราสัญลักษณ์ : สื่อถึงความอุดมสมบูรณ์ ป่า ธรรมชาติ และการอนุรักษ์
BRT รายงานประจำปี 2550 Book Annual2007.indb 71
71 28/9/07 17:21:47
ขอขอบคุณ นักวิจัยและนิสิตนักศึกษาที่เอื้อเฟื้อภาพประกอบ ดังนี้ รศ.ดร. ทวีศักดิ์ บุญเกิด, ผศ.ดร. อำมร อินทรสังข์, ผศ.ดร. มัลลิกา เจริญสุธาสินี, ผศ.ดร. กฤษณะเดช เจริญสุธาสินี, ผศ.ดร. อัญชนา ประเทพ, นายสุรชิต แวงโสธรณ์, ดร. ชัชวาล ใจซื่อกุล, ดร. จิรศักดิ์ สุจริต, นางสาว จิรนันท์ ธีระกุลพิศุทธิ์, นายพัฒนพร รินทจักร์, นายสมพร ขวัญหีด, นายสันติชัย โจมฤทธิ์, นายอติชาต อินทองคำ, นายธัชคณิณ จงจิตวิมล, นายสมชาย นิ่มนวล, นางสาวเพียงพักตร์ สุขรักษ์, นางสาวชุตินันท์ เจริญชัย, นายพิเชฐ นุ่นโต, นางสาวจิตรา ตีระเมธี, นางสาวสุคนทิพย์ บุญวงศ์, นายพงษ์ศักดิ์ จิณฤทธิ์, นางสาวทิพวัลย์ หมวดทรัพย์, นายทัศนัย จีนทอง , นายเรืองฤทธิ์ พรหมดำ,
จุฬาฯ สจล. ม.วลัยลักษณ์ ม. วลัยลักษณ์ ม.สงขลานครินทร์ วว. จุฬาฯ จุฬาฯ ม.เกษตรศาสตร์ อช. เขานัน อช. เขานัน อช. เขานัน ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลฯ ชุมพร ม.นเรศวร มจธ. จุฬาฯ ม.ขอนแก่น ม.มหิดล ม.บูรพา ม.ขอนแก่น ม.เกษตรศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ อพวช. ม.วลัยลักษณ์
72 Book Annual2007.indb 72
BRT Annual Report 2007 28/9/07 17:21:50
ฝ่ายเลขานุการฯ 73/1 อาคารสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ถนนพระรามที่ 6 เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
โทรศัพท์ 02-644-8150-9 ต่อ 552-553 โทรสาร 02-644-8106
รายงานประจำปี 2550 Annual Report 2007
BRT Program 73/1 NSTDA Building, Rama VI Road, Rajathevee Bangkok 10400 Tel.02-644-8150-9 ext. 552-553 Fax. 02-644-8106
http://brt.biotec.or.th
โครงการพัฒนาองค์ความรู้และศึกษานโยบาย การจัดการทรัพยากรชีวภาพในประเทศไทย
Biodiversity Research and Training Program
โครงการ BRT ก้าวไกล สนับสนุนงานวิจัย แหล่งองค์ความรู้ ใหม่ เผยแพร่ภูมิปัญญาไทย ใส่ ใจปัญหาสิ่งแวดล้อม รายงานประจำปี 2550 Annual Report 2007
AW �� Annual.indd 1
28/9/07 17:13:55